Golden Bhuddha Exhibition Design Process
สัมพันธวงศ์
นิทรรศการ พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร จุดประสงค์ : เพื่อให้ผู้ที่จะขึ้นไปชมพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ได้รับความรู้ในแง่มุมต่างๆ ที่ เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธรูปองค์นี้อย่างรอบด้าน เพื่อให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและเกิดความ ประทับใจอย่างเต็มที่เมื่อขึ้นไปชมองค์พระ แกนเรื่อง ที่จะสื่อสารต่อผู้ชม พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย สร้าง ด้วยทองคำ�เนื้อเจ็ดน้ำ�สองขา เคยมีปูนพอกทับอยู่ เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระยาไกร ต่อมา ได้อัญเชิญมายังวัดไตรมิตร แล้วเกิดเหตุการณ์ปูนกะเทาะออก ทำ�ให้องค์พระทองคำ�ที่ซ่อนอยู่ ภายในปรากฏออกมา ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า พระพุทธ มหาสุวรรณปฏิมากร อัญเชิญมาประดิษฐานในพระมหามณฑป เมื่อ พ.ศ. 2550 ในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (แกนเรื่องนี้อาจทำ�เป็นจารึกข้อความสั้นๆ เพื่อเป็นบทนำ�เล่าเรื่องสรุปย่อเกี่ยวกับ องค์พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ให้ผู้ชมได้รับทราบข้อมูลโดยรวม ก่อนเข้าชมรายละเอียด ประเด็นต่างๆ ที่จัดแสดงในนิทรรศการ) ประเด็นที่จะนำ�เสนอ จากแกนเรื่องโดยรวมเกี่ยวกับพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร สามารถแยกเป็น ประเด็นที่จะนำ�เสนอได้ตามลำ�ดับ คือ ๑. พระพุทธรูป > กำ�เนิดและพัฒนาการของพระพุทธรูป ๒. ปางมารวิชัย > ความหมายของปางมารวิชัย ๓. ศิลปะสุโขทัย > ลักษณะของพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย อายุสมัยและแหล่งที่มา ๔. สร้างด้วยทองคำ�เนื้อเจ็ดน้ำ�สองขา > เนื้อทองคำ� > วิธีการหล่อพระพุทธรูป > กุญแจกล (แสดงว่ามีการหล่อเป็นส่วนๆ) ๕. เคยมีปูนพอกทับอยู่ > ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสาเหตุที่มีการพอกปูนทับ > วิธีการพอกและปั้นปูน ลงรัก ปิดทอง / ลักษณะองค์พระเมื่อครั้งยังมีปูนพอกอยู่ ๖. เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระยาไกร > ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสาเหตุที่มาประดิษฐานที่ วัดพระยาไกร > วิธีการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในสมัยโบราณ ๗. การเชิญมายังวัดไตรมิตร จนถึงเหตุการณ์ปูนกะเทาะ > สาเหตุที่เชิญจากวัดพระยาไกร มายังวัดไตรมิตร > ประวัติวัดไตรมิตร > เหตุการณ์ปูนกะเทาะ > ข่าวใหญ่ ๘. ได้รับพระราชทานนาม > การพระราชทานนาม / ความสอดคล้องกับนามพระพุทธ มหามณีรัตนปฏิมากร ๙. การอัญเชิญมาประดิษฐานในพระมหามณฑป > รายละเอียดการสร้างพระมหามณฑป > วิธีการอัญเชิญมาประดิษฐานในพระมหามณฑป