จดหมายข่าว สปสช. เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ฉบับเดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๑

Page 1

จดหมายข่ า ว สปสช. เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ฉบับเดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๑

ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๑

สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ๙๑/๑ อาคารพีซีทาวเวอร์ (ชั้น ๑๐) หมู่ ๑ ถนนกาญจนวิถี ตำ�บลบางกุ้ง อำ�เภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. ๐๗๗ ๒๗๔ ๘๑๑ โทรสาร ๐๗๗ ๒๗๔ ๘๑๘


จากใจผู้บริหาร พญ.อุทุมพร กำ�ภู ณ อยุธยา ประธานอปสข. เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี กล่าวถึงการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี ๒๕๖๒ ให้มี คุณภาพว่าการทำ�หน้าที่ของอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (อปสข.) เขต ๑๑ ยึดมั่นถึงการใช้กลไกการเงินการคลังเพื่อสนับสนุน ให้เกิดความเข้มแข็งของระบบสุขภาพทุกระดับในเขต ตั้งแต่ระบบ สุขภาพชุมชน ระบบสุขภาพอำ�เภอ รวมถึงระบบสุขภาพจังหวัดและ ระบบสุขภาพระดับเขต ซึ่งในปี ๖๒ มีแผนที่จะมุ่งเน้น ๒ ประเด็น คือ พญ.อุทุมพร กำ�ภู ณ อยุธยา ๑. การสนับสนุนระบบบริการเพือ่ ให้เกิดการยกระดับ คุณภาพการดูแลสุขภาพประชาชนตามกลุ่มวัย ๒. การสนับสนุนการมีสว่ นร่วมของภาคีเครือข่ายด้าน สุขภาพ มีการยกระดับคุณภาพการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย ซึ่งมีการประสานงานและทำ�งานร่วมกับเขตสุขภาพและ คณะอนุ ก รรมการควบคุ ม คุ ณ ภาพและมาตรฐานบริ ก าร สาธารณสุข (อคม.) เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ส่วนในด้านการ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ในปี ๖๒ จะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ผ่านการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของ ระบบสุขภาพชุมชนด้วย สำ�หรับกลไกการเงินการคลังที่ทำ�งานผ่าน อปสข. คือ กองทุนระดับเขต ๑๔ กองทุนงบ บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาพื้นที่ระดับเขต/จังหวัด (Global budgets) งบ (PPA) & งบจ่าย ตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ (QOF) จะเน้นให้มีการประสานงานและการจัดการแบบมีส่วนร่วมในทุกระดับ โดย เฉพาะระดับจังหวัดเพื่อสนับสนุนประเด็นหลัก ๒ ประเด็นข้างต้น และได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า โดยตัว อปสข. เองนั้น ไม่ได้มีพื้นที่ (catchment area) ในด้านการจัดการระบบสุขภาพ แต่คณะอนุกรรมการแต่ละท่านจะมีพื้นที่ในความรับผิดชอบของตัวเองในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพ ดังนั้น อนุกรรมการแต่ละท่านจึงสามารถขับเคลื่อนตามทิศทางดังกล่าวในพื้นที่ของตัวเองได้ และ อปสข. จะเป็นตัวช่วยใน การสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมพลังระหว่างคณะอนุกรรมการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

หน้า ๑


จากใจผู้บริหาร นายธงชัย สิทธิยุโณ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ได้ย้ำ�ว่าสำ�นักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ ในการส่งเสริมและ พัฒนาให้เกิดระบบหลักประกันสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงได้ด้วยความ มั่นใจ ได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประชาชนและผู้ ให้บริการมีความ พึงพอใจในระบบ ซึ่งสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต ๑๑ นายธงชัย สิทธิยุโณ สุราษฎร์ธานี ได้ดำ�เนินการตามบทบาทดังกล่าวในพื้นที่ ในปี ๒๕๖๒ นี้ เน้นการเข้าถึงบริการของกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มผู้ต้องขัง และกลุ่มพระสงฆ์ นอกจากนั้นทางสำ�นักงานฯ เน้นการทำ�งานแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ หน่วยบริการ ภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ ทุกระดับ ผ่านกลไกกองทุนท้องถิ่นฯ ในการดำ�เนินงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพ และการรักษาพยาบาลเชิงรุก เป้าหมายสุดท้ายเพื่อให้ระบบสุขภาพภาคประชาชนเข้มแข็ง และ ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานได้ โดยที่ “ระบบหลักสุขภาพไทยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (leave no one behind)”

เรื่องเล่า เร้าพลัง จดหมายข่าว สปสช. เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ใน รูปแบบ E-book เริ่มต้นปีงบประมาณปี ๒๕๖๒ ซึ่งได้ เกริ่นนำ�ด้วยการกล่าวถึงนโยบายการดำ�เนินงานพัฒนา ระบบหลักประกันสุขภาพประจำ�ปี ๒๕๖๒ ของผู้บริหาร ซึ่งเรื่องเล่า เร้าพลัง ในฉบับนี้จะสมทบเรื่องของการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในมุมของท้องถิ่น ที่เรียกว่ากองทุนหลักประกันสุขภาพ สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรือที่เรียกกันว่ากองทุนสุขภาพตำ�บล ซึ่งเป็นความร่วมมือของสำ�นักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับองค์การบริหารส่วนตำ�บล (อบต.) และเทศบาล โดยร่วมกันจัดตั้งกองทุน ขึ้นเพื่อนำ�ไปใช้ ในกิจกรรมแก้ไขปัญหาสุขภาพให้กับประชาชนในตำ�บล เช่น การป้องกันโรคระบาด การส่งเสริม ฟื้นฟูสุขภาพให้กับเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ โดยกองทุนสุขภาพตำ�บลและประชาชนทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของ

หน้า ๒


จดหมายข่าว พาคุณผู้อ่านมาที่ อบต.เชิงทะเล ตั้งอยู่ที่อำ�เภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยจะนำ�เสนอมุมของการ ดำ�เนินงานสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและ การรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่คือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำ�บล (รพ.สต.) บ้านบางเทา และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล (รพ.สต.) เชิงทะเล ในการดำ�เนินการ สาธารณสุขมูลฐาน (อังกฤษ : Primary health care) คือการดูแลสุขภาพที่จำ�เป็นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติ หลักการทั่วไปใช้ ในการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล ครอบครัว และคนในชุมชน ซึ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต. เชิงทะเลสนับสนุนงบประมาณให้ รพ.สต. เป็นกองทัพในการดำ�เนินงานร่วมกับทีม อสม. ในพื้นที่ ซึ่งผลงานนั้น มีรางวัล อสม. ดีเด่น สาขาสาธารณสุขมูลฐานและงานหลักประกันสุขภาพระดับภาค ปี ๒๕๕๗ นางนัฐริกา มานะบุตร และรางวัล อสม. ดีเด่น สาขาสาธารณสุขมูลฐานและงานหลักประกันสุขภาพระดับประเทศ ปี ๒๕๖๐ นางอุไรวรรณ จำ�ปาดะ เป็นตัวรับประกันคุณภาพ ซึ่งการดำ�เนินงานมีศูนย์สาธารณสุขมูลฐานที่ตั้งอยู่ที่มัสยิด มูการ์ร่ม เปิดการทำ�งานทุกวันจันทร์เริ่มตั้งแต่ ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ น. จะแบ่งทีมให้คำ�ปรึกษา ตรวจสุขภาพประจำ�อยู่ที่ ศูนย์สาธาณสุขฯ และแบ่งทีม ศสมช. สัญจรลงพื้นที่เยี่ยมบ้านด้วยรถมอเตอร์ไซค์ ๓ ล้อพ่วงข้าง เพราะถนน ในชุมชนแคบๆ ประโยชน์ของรถพ่วงข้างก็ขนกันไปได้ทั้งทีมด้วย ไม่ต้องเอารถมอเตอร์ ไซค์ ไปหลายคัน เมื่อ จดหมายข่าวมาถึง อบต. เชิงทะเล พบทีม อสม. รวมทั้ง รพ.สต. และนายมาแอ่น สำ�ราญ นายก อบต. เชิงทะเล ได้กล่าวถึงการดำ�เนินงานของศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน ว่า ก่อนหน้าที่จะได้รับตำ�แหน่งเป็นนายก อบต. เชิงทะเลนั้นเป็นผู้ ใหญ่บ้านที่บ้านบางเทามาก่อน ทำ�ให้มีความสนิทกับชาวบ้าน เห็นถึงปัญหาสิ่งที่เกิดขึ้น จึง เห็นถึงความสำ�คัญในการดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสุขภาพของชาวบ้าน และกรรมการกองทุนสุขภาพ ตำ�บลเชิงทะเลให้ความสำ�คัญด้านนี้ ลงมติสนับสนุนงบประมาณการทำ�งาน ร่วมกันเป็นต้นทุนดูแลสุขภาพใน พื้นที่ โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เชิงทะเล เป็นต้นทุนด้านงบประมาณ รพ.สต. ในพื้นที่เป็นต้นทุนด้าน ดูแลรักษาคนเจ็บคนป่วย และทีม อสม. ก็เป็นกองทุนด้านอาสาลงไปดูแลเฝ้าระวังในชุมชน นายกมาแอ่น ยังกล่าวอีกว่า โรคเบาหวาน ความดัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกิน การออกกำ�ลังกาย ตัวนายกเองยังเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงด้วยเลย การให้ความรู้ส่งเสริมสุขภาพ ก็ต้องย้ำ� ต้องเตือน ต้องตรวจร่างกาย เฝ้าระวังในพฤติกรรมการเป็นอยู่ก่อนที่จะเป็นโรคกันมากมาย ทีมงาน อสม. และ รพ.สต. บ้านบางเทา เล่าให้ฟังว่า ทีมงานดำ�เนินงานองค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐานด้วยการ บริการแบบผสมผสาน 4 ด้านได้อย่างครบถ้วนคือ ด้านการป้องกันโรค จะมีโครงการเยี่ยมบ้านด้วยรถพ่วงข้าง คัดกรองโรค ตรวจยุงลาย ดูแลแม่หลังคลอด ดูแลสุขภาพเด็กแรกเกิด และฝึกกายภาพให้ผู้สูงอายุ ตรวจความ

หน้า ๓


ดันโลหิต ส่วนด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ให้ความรู้ด้านอาหารที่หวาน มัน เค็ม ปริมาณ ไขมันในอาหาร ดูแลร้านค้า ตลาดนัด เพื่อ คุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นประชาชนในพื้นที่ เช่น ดูส่วนผสม เก็บตัวอย่างสารฟอกขาว เป็นต้น ถ้าเป็นด้านการรักษาพยาบาลทีม รพ.สต. กับ อสม. ก็จะทำ�แผลที่บ้าน พยาบาลและเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ก็ ดู แ ลรั ก ษาสุ ข ภาพให้ กับ ประชาชน และด้านการฟืน้ ฟูสขุ ภาพ ก็จะเป็นด้านกายภาพ บำ�บัดให้กับผู้สูงอายุติดเตียง หรือคนพิการ อัมพาต อัมพฤกษ์ ทีห่ ลังจากกลับจากโรงพยาบาล มาพักฟื้นที่บ้าน ซึ่งการดำ�เนินงานมีคำ�ขวัญที่ ยึ ดถื อ ในการทำ � งานศู น ย์ สาธารณสุข มูลฐาน บ้านบางเทาว่า “เข้าถึง พึ่งได้ ใส่ ใจสุขภาพ ทำ�ด้วยใจ ไปให้สุดแรง” และเมื่อลงพื้นที่ถึงบ้านผู้สูงอายุก็จะได้ยินคำ�ว่า “มาแล้วหล่าว” พอเยี่ยมดูแล ตรวจ ร่างกาย ทำ�กายภาพบำ�บัดเสร็จก็บอกลากัน ผู้สูงอายุที่ ไปเยี่ยมก็โบกมือแล้วตะโกนดังๆ ว่า “มาหล่าวนะ” นายกมาแอ่น ได้กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เชิงทะเล ได้เข้าโครงการจัด บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำ�หรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง แต่สิ่งที่อยากจะทำ�มากกว่านั้นคือ การดูแล ผู้สูงอายุ ศูนย์พักฟื้นผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ ไม่ซึมเศร้า มีกิจกรรมกายภาพบำ�บัด บริโภค อาหารที่เหมาะสม มีการกินยาที่ถูกขนาด ถูกมื้อ ออกกำ�ลังกายที่เหมาะสมกับวัย ทำ�ให้สุขภาพของผู้สูงอายุใน พื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น พัชรี เพชรอักษร รายงาน

หน้า ๔


หน้า ๕


http://suratthani.nhso.go.th บรรณาธิการที่ปรึกษา

นายอุทัย หมั่นเทียนติพันธ์ นางสาวจุรีรัตน์ ยงค์ นายธงชัย สิทธิยุโณ

บรรณาธิการ

นายชญานิน เอกสุวรรณ

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

นางสาวพัชรี เพชรอักษร สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี ๙๑/๑ อาคารพีซีทาวเวอร์ (ชั้น ๑๐) หมู่ ๑ ถนนกาญจนวิถี ตำ�บลบางกุ้ง อำ�เภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. ๐๗๗ ๒๗๔ ๘๑๑ โทรสาร ๐๗๗ ๒๗๔ ๘๑๘


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.