ChaiBuRi District
2 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 3
4 KLONGNOI MAGAZINE
02
ด้านกายภาพ
CONTENT
ขนาดและที่ตั้ง / ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ / ทรัพยากรธรรมชาติ / การคมนาคม
07 15
ด้านประวัติความเป็นมาของชุมชน ด้านโครงสร้างของชุมชน การปกครอง / ประชากร การศึกษา / ศาสนา ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม / สถานที่สำ�คัญ
24
ด้านโครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ เกษตรกรรม / การประมง การปศุสัตว์ / กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน / แหล่งท่องเที่ยว
36
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ / ด้านสังคม / ด้านวัฒนธรรม
56 68
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำ�บลแบบบูรณาการความเป็นมา การดำ�เนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำ�บลแบบบูรณาการ ตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเภทกิจกรรมที่จะเข้าไปดำ�เนินการในพื้นที่ (ระบุร้อยละของกิจกรรม) รูปแบบกิจกรรมที่จะเข้าไปดำ�เนินการในพื้นที่ ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ/กิจกรรมในการดำ�เนินการ
KLONGNOI MAGAZINE 5
ED I TOR TA LK
หนังสือประวัตศิ าสตร์ต�ำ บลคลองน้อยเป็นหนังสือทีจ่ ดั ทำ�ขึน้ เพื่อนำ�เสนอข้อมูลต่างๆ ของตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่ง เนื้อหาในหนังสือฉบับนี้ประกอบไปด้วยขนาดและที่ตั้ง ลักษณะ ภูมปิ ระเทศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมภายในตำ�บลการ คมนาคมทัง้ ทางบก ทางน้�ำ และทางอากาศ ตลอดจนการบอกเล่า ถึงประวัติความเป็นมาของตำ�บลคลองน้อยจากปราชญ์ชาวบ้าน ภายในชุมชน โครงสร้างของชุมชน โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและ สังคม การดำ�เนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำ�บล แบบบูรณาการ และโครงการยกระดับศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว OTOP เป็นต้น หนังสือฉบับนี้ถ่ายทอดความเป็นมาองค์ความรู้ ในด้านต่างๆ ข้างต้นของตำ�บลคลองน้อยให้กับผู้ที่สนใจศึกษา ได้ศึกษาและค้นคว้าถึงเรื่องราวของตำ�บลคลองน้อยที่ผ่านการ วิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นกระบวนการ ทีมวิศวกรตำ�บลคลองน้อยได้รวบรวมเอาข้อมูลต่างๆ ในตำ�บล คลองน้อยมารวบรวมไว้ ในหนังสือประวัติศาสตร์ตำ�บล นอกจาก หนังสือดังกล่าวจะถ่ายทอดเรื่องราวในตำ�บลคลองน้อยแล้งยัง ถ่ายทอดในแง่มุมของการดำ�เนินงานระหว่างวิศวกรสังคมและ ชาวบ้านในตำ�บลคลองน้อยอีกด้วย ซึ่งการดำ�เนินงานดังกล่าว
มีดีที่ชัยบุรี 6 KLONGNOI MAGAZINE
ID : TVSURAT
จึงอยูใ่ นรูปแบบของโครงการทีท่ างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อาจารย์ทปี่ รึกษาตำ�บล และวิศวกรสังคมตำ�บลคลองน้อยได้รว่ ม กันคิดและก่อตั้งโครงการดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุน ในด้านของสัมมาชีพของชาวบ้านภายในชุมชนให้เกิดการพึ่งพา ตนเองได้ ในสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ�และเกิดภาวะการระบาด ของโรคโควิด-19 ดังนัน้ หนังสือประวัตศิ าสตร์ต�ำ บลคลองน้อยทีจ่ ดั ทำ�โดยวิศวกร สังคมตำ�บลคลองน้อยภายใต้ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม รายตำ�บลแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีนนั้ ได้ด�ำ เนินการรวบรวมนำ�เอาข้อมูลพืน้ ฐานทัง้ เชิงโครงสร้างพืน้ ฐาน ของตำ�บล ดังที่ ได้กล่าวไปข้างต้น ผู้จัดทำ�ขอขอบคุณกระทรวง การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี U2T มหาลัยสู่ตำ�บล และ ผศ.ดร สุกัญญา ไหมเครือแก้ว อาจารย์ทปี่ รึกษา ที่ได้อนุเคราะห์ ให้ค�ำ แนะนำ�และ ความช่วยเหลือจนสำ�เร็จลุลวงไปได้ด้วยดี หากผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย วิศวกรสังคมตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
pomnarong@gmail.com
@BorKorPom
KLONGNOI TEAM ประธานตำ�บลคลองน้อย รองประธานตำ�บลคลองน้อย รองประธานตำ�บลคลองน้อย สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก
นางศศิธร บุญบรรเทิง (ประชาชน) นางสาว มลฤทัย รัตนรังษี (บัณฑิต) นางสาว นัทริยา คงดี (บัณฑิต) นาย ยุทธศักดิ์ ชุมสวัสดิ์ (ประชาชน) นาง รมิดา พลวิฑูรย์ (ประชาชน) นาง โสวรส โปเกลี้ยง (ประชาชน) นาย นันทศักดิ์ ผุยอุทา (ประชาชน) นางสาว นัชรี เมืองน้อย (บัณฑิต) นางสาว ทิตยาภรณ์ ศักดิ์จันทร์ (บัณฑิต) นางสาว สุทธิดา โอรส (บัณฑิต) นางสาว เสาวลักษณ์ หมื่นงาม (บัณฑิต) นางสาว วิลาวัณย์ ชูคำ� (บัณฑิต) นาย ภากร สมนิล (บัณฑิต) นาย ปัญญวัต รักษาวงค์ (บัณฑิต) นางสาว ณัฏฐาเนตร ทองหรบ (บัณฑิต) นาย นัจมีย์ บุตรแขก (นักศึกษา) นางสาว อารีญา ฤทธิ์วรุณ (นักศึกษา) นางสาว อาทิตติญา ใจกว้าง (นักศึกษา) นางสาว อรยา พัฒชู (นักศึกษา)
KLONGNOI MAGAZINE 7
ด้านกายภาพ ขนาดและที่ตั้ง ตำ�บลคลองน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำ�เภอชัยบุรี อยู่ ห่างจากที่ว่าการอำ�เภอชัยบุรีประมาณ 6 กม. จำ�นวนพื้นที่ โดยประมาณ 98 .70 ตร.กม. หรือ 61,689 ไร่ จำ�นวนหมู่บ้าน มีหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน ได้แก่
อาณาเขตของตำ�บล ทิศเหนือ ติด ต.ไทรโสภา อ.พระแสง จ.สุราษฏร์ธานี ทิศใต้ ติด ต.ชัยบุรี อ.ชัยบุรี จ.สุราษฏร์ธานี ทิศตะวันออก ติด ต.สองแพรก อ.ชัยบุรี จ.สุราษฏร์ธานี ทิศตะวันตก ติด ต.คลองยา อ.อ่าวลึก และ อ.ปลายพระยา จ.กระบี่
หมู่ 1 บ้านปลายศอก หมู่ 2 บ้านบางหอย หมู่ 3 บ้านปลายคลองศอก หมู่ 4 บ้านควนฮาย หมู่ 5 บ้านน้ำ�แดง หมู่ 6 บ้านหินคุ้งคั้ง หมู่ 7 บ้านปลายคลองบางปัด หมู่ 8 บ้านยูงงาม หมู่ 9 บ้านคลองปราบ หมู่ 10 บ้านชาติพัฒนา
8 KLONGNOI MAGAZINE
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
อันดับเนื้อที่
1 บ้านปลายศอก 3 2 บ้านบางหอย 6 3
บ้านปลายคลองศอก
7
4 บ้านควนฮาย 1 5
บ้านน้ำ�แดง 4
6 บ้านหินคุ้งคั้ง 5 7
บ้านปลายคลองบางปัด
10
8 บ้านยูงงาม 2 9
บ้านคลองปราบ
9
10 บ้านชาติพัฒนา 8
คำ�ขวัญของตำ�บล
“น้ำ�ตกสวยงาม ป่าแหล่งน้ำ�ต้นธาร ตำ�นานลิเกป่า ปาล์ม ยางพารา พืชเศรษฐกิจ”
KLONGNOI MAGAZINE 9
ลักษณะภูมิประเทศ
ตำ�บลคลองน้อยมีลักษณะเป็นที่ราบสูงสลับเทือกเขา (เขาห้ายอด) ที่ทอด ยาวไปตามแนวทิศตะวันตกของพื้นที่ และเป็นแนวกั้นเขตตำ�บลคลองน้อยกับ อำ�เภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ มีลำ�คลองไหลผ่าน 5 สาย ได้แก่ คลองปราบ คลองบางหอย คลองศอก คลองบางปัด และคลองน้ำ�ทุ่น ที่มีต้นกำ�เนิดมาจากแหล่งน้ำ�ธรรมชาติ 2 แหล่ง คือ ป่าแหล่งน้ำ� หมู่ 9 และน้ำ�ตกผาแดง หมู่ 10 ลักษณะของดินเป็นดินร่วน ปนทราย เหมาะแก่การทำ�สวนยางพารา ปาล์มน้ำ�มัน และผลไม้จำ�พวก ทุเรียน มังคุด ลองกอง
10 KLONGNOI MAGAZINE
ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัด ผ่านอ่าวไทย และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านมหาสมุทรอินเดียว ส่ง ผลให้สภาพภูมิอากาศของตำ�บลคลองน้อย มีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดู ฝน และมีฤดูฝนยาวนาน ฤดูรอ้ นอยูใ่ นระหว่างเดือน มกราคม – เมษายน ฤดู ฝนอยู่ใน ระหว่างเดือน พฤษภาคม – ธันวาคม โดยฝนจะตกชุกมากในช่วง เดือนมิถุนายน-สิงหาคม
ทรัพยากรธรรมชาติ
ป่าไม้ : พื้นที่ป่าไม้ในตำ�บลคลองน้อยมีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ โดย ขึ้นหนาแน่นบริเวณเขาห้ายอด หมู่10 และมีพื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์ โดย มีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ร่วมกันใน ชุมชน ทีม่ งุ่ เน้นการอนุรกั ษ์ปา่ ไม้และสิง่ แวดล้อมเพือ่ การใช้ประโยชน์อย่างยัง่ ยืน 3 แห่ง ได้แก่ 1. ป่าพรุเรือยาว หมู่ 4 2. สวนป่าชุมชนป่าแหล่งน้ำ� หมู่ 9 3. ป่าชุมชนบ้านหินคุ้งคั้ง หมู่ 6
KLONGNOI MAGAZINE 11
แหล่งน้ำ�อุปโภค บริโภค
เป็นน้ำ�ที่ได้จากน้ำ�ฝน และน้ำ�ดิบจากคลองบางหอย คลองบางปัด ป่าแหล่งน้ำ� สระน้ำ� และน้ำ�ใต้ผิวดิน โดยนำ�มาผ่านกระบวนการประปาเพื่อใช้ในการอุปโภค ไม่สามารถนำ�มาใช้เพือ่ การบริโภคได้ ประชาชนต้องซือ้ น้ำ�เพือ่ บริโภค แหล่งน้ำ�เพือ่ การเกษตรยังมีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงแล้งฝน จะมีปัญหาขาดแคลนน้ำ�มาก และยังไม่สามารถหาแหล่งน้ำ�สำ�หรับทำ�การเกษตรได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นของประชาชน
การคมนาคม
ถนนสาย 4037 คือถนนสายหลักและเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างจังหวัด สุราษฎร์ธานีและจังหวัดกระบี่ และยังเป็นถนนทีน ่ ำ�เข้าสูต ่ ำ�บลคลองน้อย โดยเชือ่ ม ต่อหมู่ 2 บ้านบางหอย หมู่ 5 บ้านน้ำ�แดง (ทอนใต้) หมู่ 1 บ้านปลายศอก และ มีถนนสาย 4009 เชื่อมต่อคลองบางไฟไหม้ หมู่ 4 ส่วนถนนภายในตำ�บลมี จำ�นวน 43 สาย ดังรายละเอียดในตาราง 12 KLONGNOI MAGAZINE
* ข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำ�บลคลองน้อย (พ.ศ. 2562)
KLONGNOI MAGAZINE 13
ด้านประวัติความเป็นมาของชุมชน
ชื่อตำ�บลคลองน้อยมีที่มาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีลำ�คลองเล็กๆ หลายสาย สันนิษฐานว่าในพืน้ ทีต่ ำ�บลคลองน้อย มีชาวบ้านอยูอ่ าศัยกันมานานแล้ว แต่ทสี่ ามารถ สืบหาประวัติที่มีการบันทึกไว้ และจากคำ�บอกเล่าของคนเก่าแก่ในตำ�บลพบว่า ในราว ปีพ.ศ. 2444 หลายหมูบ ่ า้ นในตำ�บลคลองน้อย ยังรวมอยูก ่ บ ั ตำ�บลสองแพรก อำ�เภอ พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี โดยบ้านบางหอย(หมู่ 2) และบ้านน้ำ�แดง (หมู่ 5) รวมอยู่ กับหมู่ 4 และบ้านปลายศอก (หมู่ 1) รวมอยู่กับหมู่ 1 ต.สองแพรก อ.พระแสง ใน ปีพ.ศ. 2519 จึงมีการก่อตั้งหมู่บ้านควนฮาย โดยแยกออกจากบ้านปลายศอก และปี พ.ศ. 2521 ก่อตั้งหมู่บ้านปลายคลองบางปัด โดยแยกออกจากบ้านบางหอย... ต่อมาในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่การ ปกครองอำ�เภอพระแสงใหม่ โดยแยกพื้นที่ตำ�บลสองแพรกบางส่วนออกมาตั้งเป็น กิ่งอำ�เภอชัยบุรี มีผลบังคับใช้วันที่ 17 มีนาคม ปีเดียวกัน ในปีพ.ศ.2525 บ้านปลาย ศอก จึงได้แยกออกจาก ต.สองแพรก อ.พระแสง มาตั้งเป็นหมู่ 1 ตำ�บลคลองน้อย กิง่ อำ�เภอชัยบุรี และในปีเดียวกันนีเ้ องก็ได้กอ่ ตัง้ หมูบ ่ า้ นเพิม่ ขึน ้ อีก 2 หมูบ ่ า้ น คือบ้าน ปลายคลองศอกและบ้านหินคุ้งคั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ได้มีการประกาศตั้งตำ�บลคลองน้อยขึ้น บ้านบางหอย บ้านปลายคลองศอก บ้านควนฮาย และบ้านน้ำ�แดง จึงแยกออกจาก ต.สองแพรก อ.พระแสง มาตั้งเป็นหมู่ 2 หมู่ 3 และหมู่ 5 ส่วนบ้านหินคุ้งคั้ง เป็นหมู่ 6 และบ้าน ปลายคลองบางปัด เป็นหมู่ 7 ต.คลองน้อย กิ่งอำ�เภอชัยบุรี ตามลำ�ดับ ต่อมาได้ มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำ�เภอชัยบุรี อำ�เภอพระแสง ขึ้นเป็น อำ�เภอชัยบุรี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 โดยให้มผ ี ลตัง้ แต่ วันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน ในปีพ.ศ. 2538 และปีพ.ศ. 2540 ได้มีการก่อตั้งหมู่บ้านอีก 2 หมู่ ได้แก่ หมู่ 8 บ้านยูงงาม และหมู่ 9 บ้านคลองปราบตามลำ�ดับ โดยแยกมาจากหมู่ 6 บ้านหินคุ้งคั้ง และปี พ.ศ.2549 จึงก่อตั้งบ้านชาติพัฒนา หมู่ 10 เป็นหมู่สุดท้าย 14 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 15
ChaiBuRi District
16 KLONGNOI MAGAZINE
ด้านโครงสร้างของชุมชน การปกครอง
หน่วยงานปกครองท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำ�บลคลองน้อย ตั้งอยู่ที่ 1/1 หมู่ 1 ตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเขตเลือกตั้ง 1 เขต หน่วยเลือกตั้งจำ�นวน 11 หน่วย มีจำ�นวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562) 5,305 คน แบ่งเป็น เพศชาย 2,649 คน เพศหญิง 2,656 คน
ประชากร
ตำ�บลคลองน้อยมีครัวเรือนทั้งสิ้น 2,429 ครัวเรือน มีจำ�นวนประชากรทั้งสิ้น 7,646 คน แบ่งเป็นเพศหญิง 3,760 คน เพศชาย 3,886 คน มีครัวเรือนยากจน (จปฐ) 205 ครัวเรือน มีคนจน (จปฐ) ที่ไปลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 147 คน ประชากรส่วนใหญ่มอี าชีพเป็นเกษตรกรชาวสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำ�มัน และ ปลูกหมาก ข้าวไร่ ผักสวนครัว (จำ�พวกสมุนไพร) และผลไม้ เช่น กล้วย มังคุด ลองกอง แซมตามร่องสวน และประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป
KLONGNOI MAGAZINE 17
18 KLONGNOI MAGAZINE
การศึกษา
ตำ�บลคลองน้อย มีสถานศึกษาในสังกัดสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน (สพฐ) 4 แห่ง มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำ�บลคลองน้อย 3 แห่ง และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำ�บลคลองน้อย 1 แห่ง ดังนี้ เป็นโรงเรียนระดับอนุบาล-ประถมศึกษา 3 โรง ได้แก่ 1. โรงเรียนบ้านบางหอย หมู่ 2 2. โรงเรียนบ้านควนพัฒนาประชาสรรค์ หมู่ 4 3. โรงเรียนบ้านปลายคลอง หมู่ 6 เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมต้น 1 โรง ได้แก่ 1. โรงเรียนบ้านปลายศอก หมู่ 1 เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน -ระดับอนุบาล 2 แห่ง ได้แก่ 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองน้อย หมู่ 1 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนฮาย หมู่ 4 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านยูงงาม หมู่ 8
• • •
KLONGNOI MAGAZINE 19
ศาสนา ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม
ชาวตำ�บลคลองน้อย นับถือศาสนาพุทธ ประเพณีทชี่ าว ตำ�บลให้ความสำ�คัญ ได้แก่ ประเพณีงานบุญเดือนสิบ (ชิง เปรต) ซึง่ นิยมจัดในวันแรม 13-15 ค่ำ� เดือน 10 เพราะ นอกจากเป็นการอุทศิ บุญกุศลให้แก่บรรพบุรษุ ทีล่ ว่ งลับแล้ว ยังถือเป็นวันรวมญาติทเี่ ดินทางไปทำ�มาหากินต่างถิน่ ให้ได้ กลับมาพบปะสังสรรค์ ไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบกันและกัน นอกจากนีย้ งั มีประเพณีสงกรานต์ ทีช่ าวตำ�บลคลองน้อย ทุกครัวเรือนจะมาทำ�กิจกรรมงานบุญร่วมกันเพื่อสิริ มงคล เนื่องจากถือเป็นวันขึน ้ ปีใหม่ไทย โดยในช่วงเช้าจะ เดินทางไปทำ�บุญตักบาตร ฟังธรรม สรงน้ำ�พระ และร่วม กันทำ�ความสะอาดบริเวณวัดหรือสำ�นักสงฆ์ในหมู่บ้าน ตลอดจนทำ�กิจกรรมจิตอาสาต่างๆ เช่น การบูรณะหรือ ทำ�ความสะอาดอาคารสถานที่สาธารณะสมบัติต่างๆ ใน ตำ�บล ในช่วงสาย-บ่ายจึงเป็นช่วงเวลารดน้ำ�ดำ�หัวขอพร ญาติผู้ใหญ่ในบ้าน และผู้หลักผู้ใหญ่ในชุมชน ในช่วง เย็น-ค่ำ� จะเป็นช่วงเวลาของการสังสรรค์รื่นเริง ชาวตำ�บลคลองน้อยยังมีภมู ปิ ญ ั ญาทีโ่ ดด เด่นคือ “การละเล่นลิเกป่า” ที่ถ่ายทอดจาก รุ่นสู่รุ่นเฉพาะทายาทในตระกูลลิเกมานาน กว่า 100 ปี แม้ปัจจุบันจะหลงเหลือคนที่เล่น ลิเกป่าได้ไม่กี่คน แต่เมื่อมีประกอบพิธีกรรม ตามความเชื่อ เช่น การแก้บน ทรงเจ้า ก็มัก มีการแสดงลิเกป่าเป็นหนึ่งในการละเล่นเซ่น สังเวยเสมอ 20 KLONGNOI MAGAZINE
สถานที่สำ�คัญ ศาสนสถาน
ศาสนสถานในตำ�บลคลองน้อยล้วนเป็นพุทธสถาน ประกอบด้วย วัด 1 แห่ง สำ�นักสงฆ์ 4 แห่ง คือ 1. สำ�นักสงฆ์บ้านปลายศอก หมู่ 1 2. วัดบางหอย หมู่ 2 บ้านบางหอย 3. ที่พักสงฆ์บ้านควนฮายพัฒนา หมู่ 4 4. สำ�นักสงฆ์บ้านยูงงาม หมู่ 8 5. สำ�นักสงฆ์ป่าแหล่งน้ำ� หมู่ 9 โดยสำ�นักสงฆ์บ้านปลายศอกและวัดบางหอยเป็นวัดเก่าแก่ที่เป็นศูนย์รวมใจชาวตำ�บล คลองน้อยมาตั้งแต่ครั้งยังรวมอยู่กับตำ�บลสองแพรก อำ�เภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
KLONGNOI MAGAZINE 21
ด้านโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ และอาชีพ เกษตรกรรม
ประชากรในตำ�บลคลองน้อยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม โดยมีการทำ�สวนยางพารามากที่สุด รองลง มาคือการทำ�สวนปาล์มน้ำ�มัน และอื่นๆ ดังตาราง
22 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 23
กลุ่มสายใยจากกาบหมาก หมู่ 3
กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกาบหมากมีที่ทำ�การอยู่ที่ บ้านเลขที่ 13 หมู่ 3 ต.คลองน้อย อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี ก่อตั้งกลุ่มโดย นาง จินดา เข็มเพชร พื้นเพเดิมเป็นชาวอำ�เภอเวียงสระ เมือ่ มีครอบครัวจึงย้ายตามสามีมาอยูต่ ำ�บลคลองน้อย อำ�เภอชัยบุรี ประกอบอาชีพหลักทำ�สวนยางพารา โดยมีการปลูกหมากแซมในพื้นที่สวนเพื่อเพิ่มรายได้ ในปีพ.ศ. 2557 ได้นำ�กาบหมากแห้งที่หล่นตามพื้น มาประดิษฐ์เป็นสิงโต เจ้าแม่กวนอิม และเรือสุพรรณ หงส์ ที่มีความสวยงามมาก โดยมีแรงบันดาลใจจาก 2 สาเหตุคือ 1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้ที่นำ�กาบหมากมาทำ�เป็น หมาน้ำ�และภาชนะใส่ของ 2. เกิดนิมิตเห็นเป็นภาพและกระบวนการทำ�หลาย ครั้ง จึงลงมือทดลองทำ�ตามที่ เห็นในนิมติ โดยทดลองทำ�เป็นรูปสิงโต ใช้เวลาทำ� 3 วันต่อเนือ่ ง โดยทำ�จากสวนหัวลงมา ใช้กาบหมากโดย ประมาณ 30 ชิ้น จากนั้นจึงฝึกทำ�ของตกแต่งตั้งโชว์ จากกาบหมากจากนิมต ิ อีกหลายชิน ้ ได้แก่ เรือพนม พระจำ�ลองรูปเรือสุพรรณหงส์ โดยได้แนวความคิดมา จากประเพณีชักพระ พระอวโลกิเตศวร เจ้าแม่กวน อิม พญานาค ตาลปัตรพระ โคมไฟ จนได้รับความ สนใจจากหน่วยงานราชการในอำ�เภอและจังหวัด และ ได้รับการติดต่อให้นำ�ผลงานไปแสดงโชว์ในงานต่างๆ 24 KLONGNOI MAGAZINE
ของอำ�เภอชัยบุรแี ละจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่งผลให้ชอื่ เสียงงานศิลปะจากกาบหมากตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอ ชัยบุรี เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ต่อมานางจินดาได้รับ การส่งเสริมจากพัฒนาการอำ�เภอชัยบุรี และอบต. คลองน้อย ให้ก่อตั้งกลุ่มสัมมาชีพจากกาบหมาก จึง ได้เริม่ ทดลองทำ�เครือ่ งแต่งตัวสตรีและเครือ่ งใช้จากกาบ หมาก ได้แก่ กระเป๋าถือ ปิน ่ ปักผม มงกุฎประดับผม เด็ก รองเท้าแตะ นอกจากนี้ยังประดิษฐ์กระเช้าใส่ผล ไม้ พานไทยธรรม กระเช้าใส่ไวน์จากกาบหมาก เมือ่ มี กลุม่ แม่บา้ นชาวสวนใกล้เคียงให้ความสนใจทำ�เพือ่ หา รายได้เสริม จึงเริม่ ฝึกสอนให้แก่กลุม่ แม่บา้ น และรวม ตัวกันก่อตั้ง “กลุ่มสายใยจากกาบหมาก” มีสมาชิก เริ่มต้น 5 คน และจดเป็นสินค้า OTOP ปัจจุบันมี สมาชิกกลุ่ม 15 คน
KLONGNOI MAGAZINE 25
กาบหมาก
26 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 27
28 KLONGNOI MAGAZINE
แหล่งท่องเที่ยว
ประเภทแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
KLONGNOI MAGAZINE 29
ถ้ำ�น้ำ�ตกผาแดง ตั้งอยู่หมู่ 10 บ้านชาติพัฒนา ตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากที่ทำ�การอำ�เภอชัยบุรีประมาณ 15 กิโลเมตรถ้ำ�น้ำ�ตกผาแดงเพิ่งถูกค้นพบประมาณปี พ.ศ.2558 โดยผู้ใหญ่สุพจน์ ชูจินดา อดีตผู้ใหญ่ บ้านหมู่ 10 และชาวบ้านทีเ่ ข้าไปหาของป่าแถวนัน ้ แล้ว ติดฝนจึงได้ค้นพบถ้ำ�โดยบังเอิญ จากนั้นผู้ใหญ่สุ พจน์จึงได้ลงพื้นที่เข้าสำ�รวจลักษณะถ้ำ� และพบว่ามี ถ้ำ�ซ่อนตัวอยู่ในป่า 3 ถ้ำ� ได้แก่ 1. ถ้ำ�หินผุถ้ำ�หินย้อย ตั้งชื่อตามลักษณะของถ้ำ�ที่ มีน้ำ�ย้อยจากเพดานถ้ำ� ลงมากระทบหินเบื้องล่าง 2. ถ้ำ�น้ำ� ตัง้ ชือ่ ตามลักษณะทีอ่ ยูใ่ กล้บริเวณน้ำ�ตก ผาแดง และเป็นถ้ำ�ที่ต้องเดินลุยน้ำ�ที่มีความเย็นเข้าไป ข้างในตามช่องทางน้ำ�ไหล ภายในถ้ำ�ค้างคาวจำ�นวน มาก สุดปลายถ้ำ�มีน้ำ�ตกสูงประมาณ 30 เมตร ไหล จากเพดานถ้ำ�ลงมากระทบหิน การเข้า-ออกไปชม น้ำ�ตกจะต้องดำ�น้ำ�เข้าไป 3. ถ้ำ�หินยาว ตัง้ ชือ่ ตามลักษณะถ้ำ�ทีม่ ก ี อ้ นหินรูป ร่างยาว ถ้ำ�นีม้ กั มีพระธุดงค์เวียนมาจำ�พรรษา และเป็น ถ้ำ�ทีท่ มี นักข่าวนายอนุวตั เฟือ่ งทองแดง ได้มาถ่ายทำ� รายการ “อนุวตั จัดให้” ออกอากาศทางช่อง 35 (ช่อง 7) เมื่อปีพ.ศ. 2559 ถ้ำ�นี้มีความลึกประมาณ 30 เมตร และมีเพดานถ้ำ�สูงมาก พื้นถ้ำ�เป็นโคลน ต่อมา 30 KLONGNOI MAGAZINE
คณะกรรมการหมูบ่ า้ นได้ชว่ ยกันตัง้ ชือ่ ว่า “ถ้ำ�น้ำ�ตกผาแดง” เนือ่ งจากภายในมีหน ิ ย้อยสี แดงสวยงามมาก สุดปลายถ้ำ�มีโถงสีทองทีถ่ อื เป็นไฮไลท์ การเข้าชมความสวยงามภายใน ถ้ำ�นี้นักท่องเที่ยวจะต้องใส่ถุงเท้าให้เรียบร้อยเพื่อความสะอาดภายในถ้ำ� เมื่อเข้าไปข้าง ในจะพบกับความน่าตื่นตาของหินงอกหินย้อยหลากหลายรูปทรง โดยเฉพาะหินย้อย ขนาดใหญ่ทมี่ ลี ก ั ษณะเหมือนผ้าม่านห้อยระย้าอยูต ่ รงใจกลางถ้ำ� นับเป็นจุดเด่นสำ�หรับ การถ่ายภาพเป็นที่ระลึก KLONGNOI MAGAZINE 31
ตำ�นานถ้ำ�น้ำ�ตกผาแดง เดิมทีไม่มีใครรู้ มาก่อนว่ายอดเขาทีเ่ ป็นทีต่ งั้ ถ้ำ�น้ำ�ตกผาแดง นั้นมีถ้ำ�ซ่อนอยู่ การค้นพบถ้ำ�เกิดขึ้นจาก ชาวบ้านรายหนึ่งฝันซ้ำ�ๆ ติดต่อกันหลาย คืนว่า มีคนมาชี้บอกว่าบริเวณนี้มีถ้ำ� ให้ ช่วยมาสำ�รวจ พร้อมนำ�ทางขึ้นไปสู่ถ้ำ�นั้น ในฝันชาวบ้านได้เห็นความใหญ่โตสวยงาม ของโถงถ้ำ� ที่มีหินงอกหินย้อยหลากหลาย รูปร่างลักษณะ ส่องประกายแพรวพราว ระยิบระยับ บางก้อนมีรปู ร่างคล้ายพระพุทธ รูป พืน ้ ถ้ำ�เต็มไปด้วยหาดทรายสีทองอร่าม และในถ้ำ�มีน้ำ�ตกสวยงาม ชาวบ้านราย นั้นจึงนำ�ความฝันไปเล่าให้ผู้ใหญ่บ้านและ คณะกรรมการฟัง แต่ก็ยังไม่มีใครกล้าขึ้น ไปสำ�รวจ ผ่านไปราว 2-3 วัน ด้วยความ ฉงนใจ และต้องการพิสูจน์ความฝันว่าจะ เป็นจริงหรือไม่ ชาวบ้านจึงนัดรวมตัวกัน อีกครัง้ เพือ่ ขึน้ ไปสำ�รวจถ้ำ� ซึง่ การเดินทางก็ เต็มไปด้วยความยากลำ�บาก เพราะต้องเดิน เท้าบุกป่า ป่ายปืนเขาสูงเป็นระยะทางไกลจึง ขึ้นถึงปากถ้ำ�ได้ และยังต้องใช้เชือกโรยตัว จากปากถ้ำ�ลงไปในถ้ำ� แต่เมือ่ เข้าสูภ ่ ายในถ้ำ� แล้ว คณะสำ�รวจก็ได้พบความสวยงามตรง ตามความฝันทีช่ าวบ้านรายนัน ้ เล่าให้ฟงั ทุก ประการ โดยเฉพาะหินใหญ่สีแดงก้อนหนึ่ง บนผนังถ้ำ�ที่มรี ป ู ร่างคล้ายพระพุทธรูปปาง 32 KLONGNOI MAGAZINE
สมาธิ และน้ำ�ตกภายในถ้ำ� จึงเห็นตรงกันว่า ควรตัง้ ชือ่ ถ้ำ�ใหม่ทคี่ น้ พบนีว้ า่ “ถ้ำ�น้ำ�ตกผา แดง” ตามลักษณะของหินใหญ่สีแดงก้อน นั้น และน้ำ�ตกที่ค้นพบภายในถ้ำ�แห่งนี้
MKD 32
KLONGNOI MAGAZINE 33
ป่าพรุเรือยาว ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านควนฮาย ติดกับสำ�นำ�สงฆ์บ้าน ควนฮายพัฒนา เป็นพื้นที่ป่าพรุที่มี ต้นไม้ขนาดใหญ่เป็นจำ�นวนมาก เดิมชาวบ้าน ในพื้นที่ใช้ป่าพรุแห่งนี้เป็นเส้นทางเดินเท้าไปยังเขต อำ�เภอ และมักจะมาตัดต้นไม้ในป่าพรุนำ�มาขุดเป็น เรือยาว เพือ่ เป็นพาหนะเดินทางไปยังวัดสมัยสุวรรณ (วัดโตรม) เป็นที่มาให้ชาวบ้านตั้งชื่อว่า “ป่าพรุเรือ ยาว” ในปี พ.ศ.2560 หน่วยงาน ป.ภ. จังหวัด สุราษฎร์ธานี ได้ให้ความช่วยเหลือในการขุดสระน้ำ� ขนาดใหญ่พน ื้ ที่ 11 ไร่ เพือ่ ใช้เป็นแหล่งน้ำ�ของหมูบ ่ า้ น เพือ่ ใช้ในการทำ�การเกษตร ต่อมาผูน ้ ำ�ชุมชนและชาว บ้านหมู่ 4 ได้ร่วมกันปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณรอบ สระน้ำ� เพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาว บ้าน ในปี พ.ศ. 2563 คณะกรรมการหมู่บ้านและ ชาวบ้านได้รว่ มกันสำ�รวจป่าพรุ เพือ่ การพัฒนาทีด ่ น ิ ป่าพรุให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และร่วมกันสร้างทางเดินศึกษาระบบนิเวศในบริเวณ ป่าพรุ เป็นระยะทาง 300 เมตร พร้อมด้วยศาลาพัก ชมธรรมชาติ และป้ายทางเข้า โดยใช้งบประมาณจาก กทบ.และประชารัฐ ในโครงการเสริมสร้างความเข้ม แข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพือ่ การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน “โครงการส่งเสริมการท่องเทีย่ วป่าพรุ บ้านควนฮาย” งบประมาณปี 2563 จำ�นวนเงิน 200,000 บาท 34 KLONGNOI MAGAZINE
ขนาดเนื้อที่ ประมาณ 70 ไร่ พันธุ์ไม้สำ�คัญ หม้อข้าวหม้อแกงลิง ข้างแหก เหม็ด นอกจากนี้ยังมีเตย ย่านแดง ย่าน คลุ้ม ชิ่ง มะเดื่อว่านพญาจงอาง พันธุ์สัตว์ท้องถิ่นที่พบ หอยกวัก ปลามัด (ปลาดุกอำ�พัน) เขียดงู ลักษณะเด่น เป็นป่าพรุที่อุดมสมบูรณ์ ร่มรื่น แทบจะไม่มียุงหรือแมลงรบกวน และ มีต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงจำ�นวนมาก (มี 3 สายพันธุ์คือ พันธุ์ดอกสีแดง สีเขียว และสี ขาว) ในช่วงฤดูฝน ราวเดือนมิถน ุ ายน-ตุลาคม หม้อข้าวหม้อแกงลิงจะงอกขึน ้ หนาแน่น บางจุดมีเถาเลื้อยพันขึ้นไปตามไม้ใหญ่เป็นแพหนาเหมือนม่าน
KLONGNOI MAGAZINE 35
พืน ้ ทีส่ ำ�นักสงฆ์ทต ี่ ด ิ กันมีบอ่ น้ำ�ผุดจากใต้ดน ิ โดยไม่เคยเหือดแห้ง น้ำ�มีลก ั ษณะใส รส กร่อย ปัจจุบันผญ.บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 ได้ทำ�การขุดสระน้ำ�ขนาดใหญ่ เพื่อเป็นที่กักเก็บน้ำ�สำ�หรับทำ�การเกษตร บริเวณสระใหญ่นี้มีทิวทัศน์ทีสวยงามมาก เนื่องจากสามารถมองเห็นทิวเขาผาแดง และเขาห้ายอดที่อยู่เบื้องหลังได้ชัดเจน จึงเป็น ที่พักผ่อนหย่อนใจยอดนิยมของชาวบ้าน โดยปัจจุบันคณะกรรมการหมู่บ้านโดยการ ขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี กำ�ลังอยู่ระหว่างพัฒนาป่าพรุให้เป็น ศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศน์ป่าพรุ และมีลานกางเต็นท์สำ�หรับรองรับนักแคมป์ป้ิงที่มาพิชิต ถ้ำ�น้ำ�ตกผาแดง 36 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 37
แหล่งท่องเที่ยว
ประเภทศาสนสถาน
38 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 39
วัดบางหอย
ตั้ ง อ ยู่ ที่ ตำ � บ ล ค ล อ ง น้ อ ย อำ � เ ภ อ ชั ย บุ รี จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี อยู่ ห่ า งจากอำ � เภอ 2 กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อ 80 ปีก่อน โดยหลวงพ่อโทน ธมมทินโน ซึง่ ท่านเดินทางธุดงค์มาจากจังหวัดกระบี่ และมาจำ�พรรษา ทีบ่ ริเวณนีแ้ ละได้สร้างวัดขึน้ มา แต่หลังจากทีห่ ลวงพ่อโทน มรณภาพ วัดบางหอยก็กลายเป็นวัดร้าง จนกระทัง่ ปีพ.ศ. 2537 นายหนวง ทัพเมือง อดีตผูใ้ หญ่บา้ นบางหอย ร่วม กับนายเอียง สมทรัพย์ นายเตี้ยม เพ็งเคียน นายสว่าง ขาวประกอบ พร้อมด้วยราษฎรในหมู่บ้านบางหอยและ หมู่บ้านใกล้เคียง ได้ช่วยกันบุกเบิกวัดบางหอยที่เต็มไป ด้วยป่ารกชัฏให้กลับคืนเป็นวัดที่สวยงามอีกครั้ง และได้ สร้างที่พักสงฆ์ชั่วคราวขึ้น จากนั้นนายเอียง สมทรัพย์ อาจารย์สมยศ สโมสร และราษฎรอีกจำ�นวนหนึ่งได้เดิน ทางไปนิมนต์พระอาจารย์ฉาย จากวัดพรุดินนา จังหวัด กระบี่ ให้มาจำ�พรรษาที่วัดบางหอย เมื่อพระอาจารย์ฉาย มรณภาพ พระใบฎีการ่านได้มาจำ�พรรษาทีว่ ด ั แห่งนี้ ท่าน ได้ดำ�เนินการยกฐานะวัดร้างให้เป็นวัดบางหอย โดยได้รบ ั วิสุงคามสีมาในวันที่ 20 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 พระใบฎีการ่านจำ�พรรษาอยู่ที่วัดบางหอยจนถึงปีพ.ศ. 2556 จึงได้ย้ายไปจำ�พรรษาที่สำ�นักสงฆ์ปลายศอก... ต่อมาคืนหนึ่งในปีพ.ศ. 2562 นางกาญจน์ สมทรัพย์ ได้ ฝันถึงหลวงพ่อโทน ความฝันนั้นดลจิตใจให้นางกาญจน์ เดินทางมาค้นหารูปหลวงพ่อโทนที่วัดบางหอยและได้พบ จึงมีความคิดทีจ่ ะปัน ้ รูปเหมือนหลวงพ่อโทนให้ชาวบ้านได้ สักการบูชา เมือ่ ชาวบ้านทราบข่าวจึงไดร่วมกันจัดสร้างรูป
40 KLONGNOI MAGAZINE
ปั้นหลวงพ่อโทนขึ้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ปีพ.ศ. 2563 พระครูพิทักษ์ สุวรรณนะเขต เจ้าคณะอำ�เภอชัยบุรี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดบางหอย และในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันนัน ้ เองพระครูพท ิ ก ั ษ์สวุ รรณะเขต ร่วมด้วย ชาวบ้านก็ได้ทำ�พิธีอัญเชิญรูปเหมือนหลวงพ่อโทนขึ้นประดิษฐานที่วัดบางหอย เพื่อให้ ชาวบ้านได้สักการบูชามาจนปัจจุบัน KLONGNOI MAGAZINE 41
สำ�นักสงฆ์บ้านปลายศอก
สำ�นักสงฆ์บา้ นปลายศอก ก่อตัง้ เมือ่ ปี พ.ศ. 2512 บน ที่ดินจำ�นวน 13 ไร่ของคุณพ่อยี่ นามบุศย์ (อดีตผู้ใหญ่ บ้านปลายศอก) และคุณแม่ผล นามบุศย์ ซึ่งท่านได้มอบ ทีด่ นิ ถวายเป็นพุทธบูชา สิง่ ศักดิสทิ ธิท์ สี่ ำ�คัญของสำ�นังสงฆ์ แห่งนี้คือ “หลวงพ่อขาว” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่พี่น้อง ชาวตำ�บลคลองน้อยเคารพบูชา และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว จิตใจของชาวบ้าน ต่างก็พดู กันว่า”บนได้ไหว้รบั ” หลวงพ่อ ขาวองค์นี้ปั้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2443 ณ วัดสามพัน และ หลายปีหลังจากนั้นคณะพุทธบริษัทของสำ�นักสงฆ์บ้าน ปลายศอกได้ไปขอพระพุทธรูปองค์นจี้ ากเจ้าอาวาสวัดสาม พันเพื่อมาเป็นหลักทางใจให้นำ�สู่การประพฤติดีประพฤติ ชอบตามหลักศาสนาพุทธ ท่านเจ้าอาวาสจึงอนุญาตให้ อัญเชิญหลวงพ่อขาวมาประดิษฐานที่สำ�นักสงฆ์ปลาย ศอกได้ตามความประสงค์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 คณะ สาธุชนได้รว่ มกันบริจาคทรัพย์และร่วมแรงกายสร้างศาลา ฉลองอายุครบ 115 ปี ถวายแด่หลวงพ่อขาว โดยปัจจุบน ั หลวงพ่อขาวอายุครบ 150 ปี จึงนับเป็นพระพุทธรูปเก่า แก่ที่สุดของตำ�บลคลองน้อย 42 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 43
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
โครงสร้างทางสังคมของตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามองค์ ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่ความสัมพันธ์ทางสังคม ค่านิยม ความเชื่อ อัตลักษณ์ ระบบความรู้ มีลักษณะดังนี้ 1. ความสัมพันธ์ทางสังคม ชาวตำ�บลคลองน้อยมีสายสัมพันธ์ที่เหนียวแน่น สามัคคี เนื่องจากมีความ ผูกพันเกี่ยวข้องกันทางสายเลือด และเกี่ยวดองกันจากการแต่งงาน 2. ค่านิยม ชาวตำ�บลคลองน้อยมีค่านิยมว่า “ทำ�ดีได้ดี” การทำ�ดีเพื่อส่วนรวมและการรักษาสัจจะ ทำ�ให้ ได้รับความนับหน้าถือตาจากคนทั่วไป ส่งผลให้เมื่อพูดสิ่งใดออกไปในภายหลัง ก็มีแต่คนเชื่อถือ ไว้เนื้อ เชื่อใจ และยังทำ�ให้ชื่อเสียงวงศ์ตระกูลถูกกล่าวขานไปในทางที่ดีสืบไป 3. ความเชื่อ ชาวตำ�บลคลองน้อยนับถือศาสนาพุทธ จึงมีความเชื่อเรื่องบุญบาปตามหลักคำ�สอนของ ศาสนาพุทธ และยึดมั่นการทำ�บุญตามประเพณีในวันสำ�คัญทางพุทธศาสนา เช่น การทอดกฐินในช่วง เทศกาลเข้าพรรษา การทำ�บุญอุทิศแก่บรรพบุรุษในประเพณีงานบุญเดือนสิบ และมีความเชื่อด้านการ ทรงเจ้า เรื่องลี้ลับเล่าขาน และตำ�นานที่เล่าสืบทอดกันมาแต่อดีต โดยเฉพาะตำ�นานพญานาค ซึ่งเป็น เสมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผู้ปกปักรักษาสถานที่สำ�คัญทางธรรมชาติของตำ�บล เช่น เขาห้ายอด ถ้ำ�น้ำ�ตกผา แดง ป่าแหล่งน้�ำ ป่าพรุเรือยาว มีอยู่จริง ส่งผลให้เกิดพิธีกรรมประจำ�ปีทางพุทธศาสนาเพื่ออุทิศกุศล ถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำ�สถานที่ 4. อัตลักษณ์ ชุมชนเกษตรกรชาวสวนที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ 5. ระบบความรู้ ชาวตำ�บลคลองน้อยส่วนใหญ่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษาในตำ�บล เนื่องจาก มีความสะดวกในการรับส่ง และเมือ่ เรียนจบในระดับสูงสุดทีต่ �ำ บลมีสอนแล้ว จึงส่งต่อไปเรียนยังอำ�เภอ เมื่อเรียนจบในระดับชั้นสูงสุดที่อำ�เภอมีสอน หากบุตรหลานมีความประสงค์จะเรียนต่อ จึงจะส่งบุตร หลานไปเรียนยังต่างอำ�เภอหรือจังหวัดใกล้เคียง
แต่การระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้สง่ ผลกระทบต่อวิถชี วี ติ ทุกมิติ จึงทำ�ให้เกิดการเปลีย่ นแปลง ทางสังคมของตำ�บลคลองน้อยใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1.ด้านเศรษฐกิจ ชาวตำ�บลคลองน้อยได้รับผลกระทบการราคาผลผลิตยางพาราตกต่ำ�ต่อเนื่องมาก่อน ที่จะเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 อำ�เภอชัยบุรี โดยเกษตรอำ�เภอชัยบุรี ประมงอำ�เภอชัยบุรี และ พัฒนาชุมชมอำ�เภอชัยบุรี จึงได้เร่งบรรเทาปัญหาแก่ประชาชนโดยการสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยาง ให้ท�ำ การเกษตรผสมผสาน อาทิ การปลูกผลไม้ พืชเศรษฐกิจอายุสนั้ และการเลีย้ งสัตว์ อาทิ ปลาน้�ำ จืด กบ สุกร เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและจำ�หน่าย อันเป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ครัวเรือน อีก ทัง้ ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพใหม่โดยนำ�วัสดุทมี่ มี ากในท้องถิน่ มาพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าประจำ�ตำ�บล อาทิ เครือ่ งใช้จากกาบหมาก เครือ่ งแกงสด ซึง่ สามารถช่วยแก้ปญ ั หาด้านรายได้ ให้แก่ชาวตำ�บล แต่เมือ่ 44 KLONGNOI MAGAZINE
เกิดสถานการณ์การระบาดของไวรัส โควิด-19 นับตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา การรวมกลุ่มเพื่อ ผลิตสินค้า และการงานเทศกาลเพื่อจำ�หน่ายสินค้าชุมชนเป็นไปอย่างยากลำ�บาก ส่วนราคาผลไม้ก็ตกต่ำ� ส่ง ผลกระทบต่อชาวตำ�บลที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไปให้มีรายได้ลดลงอย่างมาก เนื่องจากเกษตรกรชาวสวนทั้งในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียงต้องตัดค่าจ้างแรงงานเพื่อลดภาระต้นทุน อีกทั้งการเดินทางข้ามอำ�เภอหรือข้ามจังหวัดเพื่อ รับจ้างไม่สามารถทำ�ได้ ทำ�ให้ประชากรกลุ่มอาชีพนี้ขาดรายได้ 2. ด้านสังคม การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำ�ให้ชาวตำ�บลต้องเว้นระยะห่างตามมาตรการเฝ้าระวังโรค จึงไม่ สามารถจัดงานรืน่ เริง และกิจกรรมทีม่ กี ารรวมกลุม่ ขนาดใหญ่ตามวิถชี วี ติ ปกติทเี่ คยทำ�มาได้ ยิง่ มีการระบาดหลาย ระลอก โดยแต่ละระลอกทวีความรุนแรงและกินระยะเวลายาวนานมากขึ้น ก็ยิ่งทำ�ให้ชาวตำ�บลมีความเครียด สะสมสูง โดยมีสาเหตุของความเครียดจากหลายปัจจัย ได้แก่ KLONGNOI MAGAZINE 45
2.2.1 ความกังวลด้านสุขภาพ อาทิ กลัวติดเชือ้ จากผูต้ ดิ เชือ้ ไม่แสดงอาการ กลัวการฉีดวัคซีนเนือ่ งจาก ไม่แน่ใจในประสิทธิภาพและผลข้างเคียงไม่พงึ ประสงค์ทอี่ าจเกิดขึน้ ภายหลังการฉีด หรือยังไม่ได้รบั การฉีดวัคซีนเนื่องจากไม่อยู่ในเงื่อนไขที่สาธารณะสุขกำ�หนด 2.2.2 ความกังวลด้านรายได้ อาทิ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้เนื่องจากสถานประกอบการยกเลิก หรือชะลอการจ้างเนื่องจากต้องลดภาระต้นทุน ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามคำ�สั่ง ศบค. มีราย ได้ลดลงเนื่องจากไม่มีสถานที่จำ�หน่ายสินค้า ราคาสินค้าตกต่ำ� ฯลฯ 2.2.3 ความกังวลเรื่องภาระเลี้ยงดู อาทิ ต้องแบ่งเวลาดูแลบุตรหลาน และมีค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์เพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานศึกษาปิดไม่กำ�หนด 2.2.4 ความกังวลด้านการศึกษา ภาระด้านการเรียนการสอนออนไลน์ที่ไม่มีความชำ�นาญ หรือขาด อุปกรณ์ หรืออยู่ในจุดอับสัญญาณ มีการบ้าน รายงาน แบบประเมินมากเกินไป 2.2.5 ความกังวลด้านสถานภาพชีวติ คู่ มาตรการเว้นระยะห่างก่อให้เกิดความห่างเหินในความสัมพันธ์ ระหว่างสามีภรรยา หรือคู่รัก เช่น เกิดปัญหาการนอกใจ ความระแวง
46 KLONGNOI MAGAZINE
3. ด้านวัฒนธรรม การระบาดของไวรัสโควิด-19 เปิดโอกาสให้สื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทใน วิถีชีวิตของชาวตำ�บลอย่างมากโดยกะทันหัน ส่งผลให้รูปแบบการจัดกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ เปลี่ยนแปลงไป เช่น เกิดการถ่ายทอดพิธีทำ�บุญออนไลน์ ผ่านทางไลน์กลุ่มหมู่บ้าน ไลน์กลุ่ม ตำ�บล ทดแทนการเดินทางไปร่วมพิธีที่วัด ซึ่งอาจส่งผลทั้งแง่บวกและลบต่อการเปลี่ยนแปลง ทางวัฒนธรรมในอนาคต ไม่วา่ จะเป็นด้านภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ อัตลักษณ์ของชุมชน ความเชือ่ ค่า นิยม ทัศนคติและรูปแบบการดำ�เนินชีวติ ขณะเดียวกันก็เกิดความตืน่ ตัวต่อการเห็นความสำ�คัญ ของการใช้สอื่ ออนไลน์เป็นช่องทางหลักในการจำ�หน่ายสินค้าและบริการ โดยเฉพาะในกลุม่ ผูน้ �ำ ชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน และธุรกิจท่องเที่ยวเอกชนในตำ�บล
KLONGNOI MAGAZINE 47
การดำ�เนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำ�บลแบบบูรณาการ ตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อโครงการ
4) การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy
“โครงการยกระดับศักยภาพชุมชนตำ�บลคลองน้อย (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ให้แก่ชุมชนคิดเป็น อำ�เภอชัยบุรี เพือ่ เสริมสร้างรายได้จากสินค้าชุมชน และ ร้อยละ 31.13 ของกิจกรรมทั้งหมด ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้ รูปแบบกิจกรรมที่จะเข้าไปดำ�เนินการในพื้นที่ เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ขายสินค้าและบริการผ่านสมาร์ทโฟน” 1) การจ้างงานตามภารกิจต่างๆ ของมหาวิทยาลัย จำ�นวน รา งบประมาณ 2,640,000 บาท วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรมในการดำ�เนินการ 20 2)อัตการวิ เคราะห์ขอ้ มูลศักยภาพตำ�บล การกำ�กับ ติดตาม 1) เพื่อยกระดับสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน
และสินค้า OTOP ของตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยระบบเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ขายสินค้า และบริการผ่านสมาร์ทโฟน 2) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน และจัดทำ�ฐานข้อมูลชุมชนของ ตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยสื่อ ประชาสัมพันธ์ 3) เพื่อพัฒนาสัมมาชีพใหม่ เพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ ชุมชน และครัวเรือนยากจนในตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอ ชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 4) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริม เศรษฐกิจหมุนเวียน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประเภทกิจกรรมที่จะเข้าไปดำ�เนินการในพื้นที่ (ระบุ ร้อยละของกิจกรรม)
1) การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับ สินค้า OTOP/อาชีพอืน่ ๆ) คิดเป็นร้อยละ 20.80 ของกิจกรรม ทั้งหมด 2) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับ การท่องเที่ยว) คิดเป็นร้อยละ 19.53 ของกิจกรรมทั้งหมด 3) การนำ�องค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/ เทคโนโลยีดา้ นต่างๆ) คิดเป็นร้อยละ 28.55 ของกิจกรรมทัง้ หมด 48 KLONGNOI MAGAZINE
และประเมินผล ระดับ National System Integrator งบ ประมาณ 25,800 บาท 3) การวิเคราะห์ขอ้ มูลศักยภาพตำ�บล การกำ�กับ ติดตาม และประเมินผล ระดับ Regional System Integrator งบ ประมาณ. 34,400 บาท 4) การสนับสนุนการดำ�เนินกิจกรรมของโครงการราย ตำ�บล (ระดับ System Integrator) งบประมาณ 43,000 บาท 5) ยกระดับสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชมุ ชน และ สินค้า OTOP ของตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอชัยบุรี จังหวัด สุราษฎร์ธานี ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัลขายสินค้า และ บริการผ่านสมาร์ทโฟน งบประมาณ 166,400 บาท 6) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน และจัดทำ�ฐานข้อมูลชุมชน ตำ�บล คลองน้อย อำ�เภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยสื่อ ประชาสัมพันธ์ งบประมาณ 156,200 บาท 7) พัฒนาสัมมาชีพใหม่ เพิม่ รายได้หมุนเวียนให้แก่ชมุ ชน และครัวเรือนยากจน ตำ�บลคลองน้อย อำ�เภอชัยบุรจี งั หวัด สุราษฎร์ธานี งบประมาณ 228,400 บาท 8) ถ่ายทอดองค์ความรูด้ า้ นเทคโนโลยีดา้ นเทคโนโลยีเพือ่ ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมงบ ประมาณ 249,000 บาท
KLONGNOI MAGAZINE 49
50 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 51
52 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 53
54 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 55
56 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 57
58 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 59
60 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 61
62 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 63
64 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 65
66 KLONGNOI MAGAZINE
KLONGNOI MAGAZINE 67