Surat Law Journal

Page 1




Editor’s Talk

ส่งข้อมูล ข่าวสาร จดหมายที่ อีเมล์ suratlawjournal@gmail.com

Credit Team

สวัสดีคะ่ นิตยสาร “สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นลั ” (Surat law journal) ฉบับนี้เป็นฉบับปฐมฤกษ์ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ท่านอา จารย์จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ ให้เกียรติขึ้นปก และแนะนำ�รายละเอียดวิธีในการจัดทำ�นิตยสารเพื่อเผยแพร่ความ รู้ด้านกฎหมายให้คนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดใกล้เคียง ได้ทราบข้อมูลและปัญหาข้อกฎหมายต่างๆ ดั่งคำ�พูดที่ว่า “ที่ ใดมี สังคม ที่นั่นย่อมต้องมีกฎหมาย” เพราะมนุษย์เป็น “สัตว์สังคม” ชอบอยู่รวมกันเป็นพวก พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การรวมกลุ่มอยู่ ร่วมกัน มีลักษณะเป็นระเบียบแบบแผน และมีระบบความสัมพันธ์ ละเอียดอ่อนมากกว่าสัตว์อื่นๆ การรวมกลุ่มอย่างมีระเบียบ แบบแผน เรียกว่ามนุษย์มวี ฒ ั นธรรม สังคมจึงถือได้วา่ เป็นเบ้าหลอมให้มนุษย์เป็น สมาชิกที่ดีของสังคม มนุษย์จึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ตามแนวความ คิดของ “ฮาร์ท” (Hart) เพื่อให้มนุษย์กระทำ�ตาม หรือละเว้นการกระทำ� เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคม เราจึงเห็นได้ว่าชีวิตและกฎหมาย จึงเป็นของคู่กัน เราจะอ้างว่าเราไม่รู้กฎหมายไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจึง ต้องศึกษาและเรียนรู้กฎหมายใหม่ๆ ที่ออกมาอยู่เสมอ นิตยสาร “สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล” (Surat law journal) เป็น นิตยสารราย 2 เดือนที่แจกฟรีให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มที่สนใจ โปรด ติดตามและอ่านดูนะคะ เพ็ญศรี ทองมุสิทธิ์ บรรณาธิการบริหาร

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

ฝ่ายผลิตนิตยสาร

ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ศาสตราจารย์ ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล

นักเขียนรับเชิญ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์ เกรียงศักดิ์ รอดพันธุ์ชู

ติดต่อโฆษณา

s

(คุณณรงค์) โทร. 081 684 6242 (คุณป้อม) โทร. 084 940 2289

บรรณาธิการบริหาร : เพ็ญศรี ทองมุสิทธิ์ บรรณาธิการเนื้อหา : ศศิธร บุญบรรเทิง ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาด : ณรงค์ พฤกษาไพบูลย์ ที่ปรึกษาฝ่ายผลิต : ณรงค์ พฤกษาไพบูลย์ / ดีมานด์ กรุ๊ป ฝ่ายภาพ / ฝ่ายศิลป์ : ดีมานด์ กรุ๊ป / บ. คิด ทำ�ดี มีเดีย จก. ฝ่ายโฆษณา / ประชาสัมพันธ์ : จิตติกา ชูปัญญา ฝ่ายการเงินและสมาชิก : สมฤทัย ณรงค์เปลี่ยน

สำ�นักงาน

บ.คิด ทำ�ดี มีเดีย จก. เลขที่ 62/9 หมู่ 9 ต.ขุนทะเล อ.เมืองสุราษฎร์ฯ จ.สุราษฎร์ธานี โทร. 081 684 6242, 084 940 2289 อีเมล์ suratlawjournal@gmail.com เฟซบุ๊ก www.facebook.com/demandgroup เว็บไซต์ www.demandgroup.net



Content 08 เรื่องเด่นจากปก : ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทย

10 คุยเฟื่องเรื่องรัฐธรรมนูญ : ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม

12 14 16 17 18 22 25

กฏหมายเรื่องใกล้ตัว : รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา สิทธิประชาชน : เกรียงศักดิ์ รอดพันธุ์ชู เรื่องเล่าจากอดีต : อาจารย์เพ็ญศรี ทองมุสิทธิ์ ฎีกาพิสดาร : อาจารย์เพ็ญศรี ทองมุสิทธิ์ สัมภาษณ์พิเศษ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี งานกับชีวิต : อาจารย์ จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จริยธรรมกับนักการเมือง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วันว่าง : ล่องเรือยอร์ชจากสมุยสู่ทะเลใน สุข สุขภาพ : ถึงเวลาระวัง !!! “ไข้หวัดใหญ่ Victoria” ร้านอาหารน่าชิม : อิ่มอร่อย หรอยจังฮู้ ที่ ร้านระแนงน้ำ�

26 30 32 34 หนังสือน่าอ่าน


Behind the Scenes


ข่าวสังคม โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เส้นทางสู่ต�ำแหน่งทางวิชาการ”

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยคณะนิตศิ าสตร์ จัดโครงการแลกเปลีย่ น เรียนรู้ “เส้นทางสู่ต�ำแหน่งทางวิชาการ” เมื่ีอวันที่ 15 ตุลาคม 2556 ณ โรงแรม อลงกต รีสอร์ท อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ บุคลากรสายวิชาการ 27 ท่าน ได้มคี วามรูค้ วามเข้าใจในโอกาสเข้าสูต่ �ำแหน่งทาง วิชาการ โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์พัฒนะ เรือนใจดี ผอ.เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง เป็นผู้บรรยาย

เปิดรับสมัครสอบอัยการผู้ช่วย

อธิบดีอยั การภาค 6 และผูอ้ �ำนวยการ ส�ำนักอ�ำนวยการ สภอ. 6 ได้เดินทางเข้าร่วมรับฟังการแถลงนโยบายประจ�ำปีงบประมาณ 2557 โดยนายอรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด ณ ศูนย์ราชการ กทม. เพื่อรับทราบและน�ำไปปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดการเปิดรับสมัครสอบ อัยการผู้ช่วยดังนี้ เดือนพฤศจิกายน 2556 รับจ�ำนวน 50 อัตรา (สนามเล็ก) / เดือนมีนาคม – มิถุนายน 2557 รับจ�ำนวนมาก (สนามใหญ่) / เดือน ตุลาคม – ธันวาคม 2557 รับผู้ที่เก่งภาษาต่างประเทศ

มรส. ฝึกทักษะมวยกับฮีโร่โอลิมปิก

ชมรมมวยไทย มวยสากลสมัครเล่น มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรม “ฝึกทักษะมวย กับฮีโร่โอลิมปิก” โดยมีนกั ชกฮีโร่โอลิมปิกขวัญใจ คนไทยและคนใต้ วรพจน์ เพชรขุม้ มาเป็นครูฝกึ ร่วมด้วย ขันติพงษ์ ต.พิทกั ษ์กลการ นักชกเจ้าของ ฉายา “ตลกโลหิต” โดยกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึน้ ทุกวันพุธ ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ที่ หอประชุมวชิราลงกรณ์ หน้ากองพัฒนานักศึกษา นักศึกษาที่สนใจศิลปะการป้องกันตัว ไม่ว่า จะเป็ น มวยไทยหรื อ มวยสากล สามารถเข้ า ร่วมกิจกรรมได้ตามวันเวลาดังกล่าว โดยไม่เสีย ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สอบถามรายละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม ที่ อาจารย์ นนทชัย โมรา ทีป่ รึกษาชมรมมวยไทย มวยสากล สมัครเล่น มรส. โทรศัพท์ 08-1697-5630

เปิดตัว “ศูนย์เรียนรู้รักษ์แบน”

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ทีผ่ า่ นมานี้ นายสมศักย์ ภูรศี รีศกั ดิ์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการท่องเทีย่ ว และกีฬา พร้อมนายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ ผูว้ า่ ราชการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดตัวองค์กร สาธารณประโยชน์แห่งแรกของจังหวัดสุราษฎร์ฯ ภายใต้ชื่อ “ศูนย์เรียนรูร้ กั ษ์แบน” เกาะเต่า โดย มีประธานศูนย์ฯ คุณร�ำลึก อัศวชิน ให้การต้อนรับ

8 Surat Law Journal

เปิดสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา

ส�ำหรับผู้ที่สนใจสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการในต�ำแหน่ง ผู้ช่วยผู้พิพากษาประจ�ำปี 2556 (สนามใหญ่) ขณะนี้ ได้มีการประกาศเปิดรับสมัคร แล้ว โดยท่านที่สนใจสามารถสมัครได้ด้วยตนเองทางอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ www. ojc.coj.go.th/exam ได้ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2556 เวลา 8.30 น. ถึง วันพุธที่ 18 ธันวาคม 2556 เวลา 16.30 น.

โครงการสร้างปะการังเทียมมัจฉาแอร์-บ้านปลาเกาะสมุย

วันที่ 18 - 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา โครงการมัจฉาแอร์-บ้านปลาเกาะสมุย และชมรม ผู้น�ำสหกรณ์ชั้นสูงและนักบริหารสหกรณ์ชั้นสูงแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1 - 19 ได้จัด ให้มีกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ณ ลานหน้าทอน ตามโครงการมัจฉาแอร์ เกาะสมุย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นจิตส�ำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแก่ ชาวสมุยและประชาชนทั่วไป ด้วยการทิ้งเครื่องบินที่หมดอายุการใช้งานลงสู่ท้อง ทะเล ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นที่สร้างปะการังเทียมให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น�้ำ ซึ่งเป็นการ ดึงดูดสัตว์ทะเลให้กลับคืนสูถ่ นิ่ เดิม และยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้มี การท�ำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดย กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอด จนประชาชนชาวสมุยเป็นอย่างยิ่ง

ศูนย์ของฝาก OTOP “ร้อย ดร.ณัฐกิตติ์ ตัง้ พูลสินธนา ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การ เกาะเซ็นเตอร์” เปิดแคมเปญใหญ่ “CPN Joy to the World”

ใหญ่ สายงานการตลาด บริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จ�ำกัด (มหาชน) เปิดแคมเปญใหญ่ “CPN Joy to the World” ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขปลายปีที่ยิ่งใหญ่และ จัดต่อเนื่องยาวนานถึง 60 วัน ตัง้ แต่วนั ที่ 14 พฤศจิกายน 2556 ถึง 12 มกราคม 2557 ทีศ่ นู ย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา และเซ็นทรัลเฟสติวัล

เปิ ด ให้ บ ริ ก ารนั ก ท่ อ งเที่ ย ว ชมช้อปกับสินค้า OTOP (ตึกข้าง โรงแรมร้อยเกาะ) ท่านสามารถ แวะซื้อสินค้าโอทอปทั้งของกิน ของใช้ เพื่อน�ำไปเป็นของฝากได้ โทรศัพท์ 08-1892-4677


สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 9


เรื่องเด่นจากปก เรื่อง : เพ็ญศรี ทองมุสิทธิ์ เรียบเรียง : ศศิธร บุญบรรเทิง

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทย

ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ในแวดวงกฎหมายของเมืองไทยเรานั้น มีท่านผู้ทรงเกียรติที่ ได้รับการยกย่องให้เป็น “แบบอย่างที่ดี” ในการท�ำงานอยู่หลายท่าน แต่ในช่วงเวลาที่ประเทศเข้าสู่ภาวะการณ์ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางความคิด เช่นตอนนี้ ชื่อเสียงของท่านผู้นี้ ดูเหมือนจะถูกกล่าวขานในฐานะที่เป็นนักกฎหมายผู้ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง มากกว่าใคร.. เพราะนอกเหนือจากการด�ำรงต�ำแหน่งตุลาการศาล รัฐธรรมนูญทีต่ อ้ งท�ำหน้าทีอ่ ย่างเทีย่ งตรงเพื่อประเทศชาติ และประชาชนในภาวะทีย่ ากล�ำบากแล้ว ท่านยังเป็นอาจารย์ ผูท้ รงคุณวุฒิ ทีท่ �ำหน้าทีป่ ระสิทธิป์ ระสาทวิชากฎหมายให้ แก่นักกฎหมายรุ่นใหม่ในสถาบันการศึกษาชั้นน�ำของ ประเทศหลายแห่งด้วย ด้วยเหตุนี้เราจึงขออนุญาตให้ท่านได้แสดงความคิด เห็นทีม่ ตี อ่ วงการกฎหมายเมืองไทย รวมไปถึงอนาคตทีจ่ ะ เป็นไปท่ามกลางกระแสความขัดแย้งทางความคิดที่ดู เหมือนจะรุนแรงขึน้ ทุกวัน ซึง่ ท่านได้กรุณาแสดงทัศนะไว้ อย่างน่าสนใจว่า....

ท่านคิดว่าปัจจัยใดบ้างที่จะส่งเสริมให้ท่านเป็นนักกฎหมาย ผู้สามารถด�ำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ขณะเดียวกันก็สร้าง ผลงานที่มีประสิทธิผลต่อประชาชนและประเทศได้ “ด้วยความที่ผมเรียนแผนกนิติศาสตร์ที่สอนกันอยู่ใน คณะรัฐศาสตร์ ท�ำให้ผมได้เปรียบคนที่เรียนนิติศาสตร์ ล้วนๆ อย่างแน่นอน ผมได้เปรียบในแง่ที่ว่า เวลาผมคิด หรือแก้ปญ ั หา แม้วา่ เป็นปัญหาในทางคดี ผมไม่ได้เริม่ คิด 10 Surat Law Journal

จากตัวกฎหมายออกไป แต่ผมจะคิดว่าเรื่องนี้ ต้นเหตุอยู่ ตรงไหน แล้วผลควรจะเป็นอย่างไร ผลทีถ่ กู ต้อง เป็นธรรม ทางออกที่ดีที่สุดของปัญหานี้ควรจะเป็นอย่างไร แล้วถึง จะกลับมาหากฎหมายให้เป็นกระบวนวิธเี ดิน ผมยังเข้าใจ ว่าวิธีคิดช่วงแรกนี่ ผมคิดไม่ต่างจากนักรัฐศาสตร์ แต่ว่า ในตอนท้าย ตอนหากระบวนวิธีเดิน ผมหันมาใช้วิธีการ ทางกฎหมาย คือต้องหาหลักกฎหมายมาสนับสนุน มา แปลความ ตีความ ไปจนกระทั่งบรรลุถึงจุดนั้นได้ อย่างนี้ ถึงจะเรียกว่าใช้ ได้ และถือว่าเป็นจุดที่รัฐศาสตร์และ นิติศาสตร์ผสานกันลงตัวพอดี ถูกไหม... แต่วา่ นักกฎหมายจ�ำนวนไม่นอ้ ยที่ ไม่ได้คดิ อย่างนี้ ท่าน ท�ำในท�ำนองที่ว่า ปัญหานี้ ไม่ยาก แค่เอากฎหมายมาดู แล้วก็เดินไปตามขั้นตอนของกฎหมาย สุดท้าย ผลลัพธ์ ออกมาอย่างไรก็ ซตพ. (ซึ่งต้องพิสูจน์) แต่ไม่ได้เช็ค ไม่ ได้พสิ ูจน์ค�ำตอบว่าค�ำตอบถูกกฎหมายนัน่ มันไปถึงความ เป็ น ธรรมหรื อ ไม่ มั น เป็ น ค�ำตอบที่ ดี ที่ สุ ด ส�ำหรั บ การ แก้ปัญหานี้หรือไม่ และด้วยศักยภาพที่เราพอจะมี มัน มีหนทางอื่นที่ดีกว่านั้นหรือไม่ เพราะฉะนั้น ถ้ามองในแง่ อย่างที่ผมว่านี้ ผมได้ประโยชน์”


แม้วา่ คนทีเ่ รียนนิตศิ าสตร์สามารถทีจ่ ะท่องจ�ำกฎหมาย ท่านคิดว่าสถาบันการศึกษาที่ผลิตนักกฎหมายให้ประเทศ เราในวันนี้ ควรจะมุง่ เน้นการพัฒนาหลักสูตร หรือวิธกี ารเรียน ได้หมด มีความเก่งในการใช้กฎหมายได้อย่างแม่นย�ำเพียง ใดก็ตาม แต่ถ้าใช้แล้ว ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความ การสอนกันใหม่หรือไม่ อย่างไร “ผมเห็นว่า การเรียนกฎหมายนัน้ ควรจะเรียนในลักษณะ ทีผ่ มเรียนน่าจะได้ประโยชน์กว่าเรียนกฎหมายล้วนๆ แท้ๆ โดยไม่มศี าสตร์แขนงอื่นเข้ามาประกอบด้วย และด้วยเหตุ นี้ ผมจึงได้ชื่นชมในระบบการเรียนการสอนกฎหมาย ระบบ การศึกษากฎหมายของสหรัฐอเมริกา ว่าคนที่จะมาเรียน กฎหมายต้องไปเรียนสาขาอื่นมาก่อน ได้ปริญญาตรีสาขา อื่นมาก่อน มาเรียนกฎหมายเป็นปริญญาที่ 2 และประเทศ ญี่ปุ่นในขณะนี้ก็ก�ำลังเอาอย่าง ซึ่งมันจะท�ำให้นักเรียน กฎหมาย นักกฎหมาย ไม่ถูกครอบง�ำด้วยกฎหมาย แต่จะ เรียนกฎหมายอย่างคนที่มีวิจารณญาณ อย่างน้อยก็มี ศาสตร์ของตัวเป็นตัวตัง้ อยู่ คอยเถียงกับกฎหมายอยูต่ ลอด เวลา มันจะท�ำให้กระบวนการเรียนกฎหมายเป็นการเรียน อย่างวิเคราะห์และปราศจากการถูกครอบง�ำโดยตัวกฎหมาย ผมได้เสนอแนะให้มกี ารปฏิรปู ระบบการศึกษากฎหมาย ของประเทศ ให้เป็นในทิศทางแบบสหรัฐอเมริกาอย่างนี้ มานาน แต่ว่ายังไม่ส�ำเร็จนะ จะลองค่อยๆ ผลักดันต่อไป การเรียนกฎหมายโดยวิธีท่องจ�ำนั้น เป็นการเรียนที่ผิดวิธี และไม่มที างเก่งได้ ถึงแม้จะสอบได้คะแนนดีทสี่ ดุ แต่ก็ไม่ ถือว่าเก่ง ต่อให้ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ก็ยังไม่เก่ง ผมพบว่ากฎหมายมีลักษณะคล้ายค�ำนวณมาก คล้าย เรขาคณิต คล้ายตรีโกณมิติ มากกว่าวิชาทางอักษรศาสตร์ สังคมศาสตร์ทั่วไป เพราะฉะนั้น จะใช้วิธีการท่องจ�ำไม่ได้ แล้วก็มีกระบวนการที่ต้องใช้ไหวพริบและปฏิภาณที่ต้อง สลับอะไรเยอะไปหมด ถ้าจะให้เก่งนะ... เคยมีงานส�ำรวจ ที่สหรัฐอเมริกาว่าคนที่เก่งกฎหมาย ใช้กฎหมายได้อย่าง มีทักษะ ส่วนใหญ่จะเป็นนักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ที่มาเรียนกฎหมาย เพราะฉะนั้น การเรียนกฎหมายแบบ ท่อง จึงไม่ถกู วิธี และทีส่ �ำคัญ แม้วา่ จะเรียนแบบเอาระบบ เอาความเข้าใจ เอาปัญหาเป็นตัวตั้งแล้ว ก็ยังไม่เพียงพอ มันยังขาดส่วนยอดสุดของวิชาการทางนิตศิ าสตร์ ซึง่ ส่วน ยอดสุดที่ว่านี้คือความสงบสุขของสังคม ประโยชน์และ ความสุขของประชาชน ของประเทศชาติ ซึ่งเป็นยอด เดียวกันกับรัฐศาสตร์และทุกสรรพศาสตร์

สงบสุขและประโยชน์ของประชาชนไม่เกิด อย่างนี้ ไม่ถอื ว่า เก่ง เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น นี่ก็จะท�ำให้นิติศาสตร์ขัดแย้ง กับรัฐศาสตร์ ซึ่งในความเป็นจริง สองศาสตร์นี้ ไม่ควรจะ ขัดแย้งกัน เพราะทั้งสองศาสตร์นี้ เขาเป็นคู่ฝาแฝดกัน (หัวเราะ) เขาท�ำงานเพื่อสิง่ เดียวกันมาแต่เดิม ตัง้ แต่กอ่ น การก่อตั้งศาสตร์พวกนี้ แล้วมาแยกขาดจากกันในตอน หลังเท่านัน้ เอง และคล้ายกับว่าเป็นการศึกษาเฉพาะด้าน แต่เวลาคนท�ำปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์ได้ปริญญาอะไร... Ph.D. ใช่แล้ว คนทีท่ �ำปริญญาเอกทางกฎหมายก็ได้ Ph.D. แล้ว Ph.D. ย่อมาจากอะไรครับ Philosophy of Doctor/ Doctor of Philosophy ท�ำไมไม่เป็น Doctor of Political Science หรือ Doctor of Law ล่ะ... นั่นเพราะว่าเป็น Philosophy (ปรัชญา) คือเป็นตรรกะ ที่ในที่สุดทุกศาสตร์ จะไปรวมกัน ทุกศาสตร์มขี นึ้ เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ มีขึ้นเพื่อรับใช้มนุษยชาติ ไม่ใช่มีขึ้นเพื่อศาสตร์นั้นๆ เอง ฉะนั้นจึงไม่ควรมีอะไรขัดแย้งกัน...” วันนี้เรามิอาจปฏิเสธได้ว่า “กฎหมายคือทางออกของ ปัญหา” เราจึงควรใช้เครื่องมือนี้อย่างมีเหตุมีผล และ แน่นอนเหตุผลนัน้ ไม่ได้มอี ยูเ่ ฉพาะในตัวบทกฎหมายเท่านัน้ หากมีความสงบสุขของมวลมนุษยชาติเป็นที่สุด นี่เองจึง เป็นสิง่ ทีน่ กั กฎหมายในวันนีแ้ ละอนาคตควรตระหนักเหนือ อื่นใด...

สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 11


พระประมุขของไทย ในฐานะที่ท�ำงานอยู่ ในท�ำเนียบรัฐบาลโดยหน้าที่ต่างๆ กันถึง 15 ปี ผมขอยืนยันว่าพระองค์ทรงมี มาตรฐานเดียวโดยตลอด จะต่างกันก็ที่โอกาส เช่น คณะรัฐมนตรีบางคณะเข้ามาในช่วงที่ทรงพระประชวร บางคณะมีราชการงานเมืองต้องเข้าเฝ้าฯ ขอพระราชทานมหากรุณาบ่อย หรือห่างตามเหตุการณ์ ในการมีพระราชด�ำริ พระราชด�ำรัส และการทรงงานใดๆ ไม่มีเลยสักเรื่องที่จะแสดงว่าทรงรับเอาประโยชน์ส่วนพระองค์ แม้พสกนิกรจะเต็มใจถวาย สมัยจอมพลถนอมเป็นนายกฯ คราวหนึ่งประจวบโอกาส ครองราชย์ครบ 25 ปี (พ.ศ.2514) รัฐบาลจะสร้างพระบรม ราชานุสาวรีย์และถาวรวัตถุใหญ่โต “ที่สุดในประเทศ” ถวาย รับสั่งว่า “สิ้นเปลืองและไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สร้าง ถนนกันรถติดดีกว่า” นี่คือที่มาของ “ถนนรัชดาภิเษก” สมัยคุณบรรหารเป็นนายกฯ เคยกราบบังคมทูลว่าจะสร้าง ทาวเวอร์ หรือหอคอยสูงใหญ่ข้างสะพานพระราม 9 ใช้เป็นหอ ดูววิ หอโทรคมนาคม และเฉลิมพระเกียรติ รับสัง่ ว่า “เทคโนโลยี สมัยนี้ ไม่ต้องสร้างหอโทรคมนาคม และเปลืองเงินเปล่าๆ” นายกฯ คนหนึ่งเคยกราบบังคมทูลถามว่าที่พระอนุสาวรีย์ กรมหลวงชุมพรฯ หน้าท�ำเนียบรัฐบาลนั้น ตอนพลบค�่ำคนมัก มาจุดประทัดแก้บน บางทีกย็ งิ ปืนสนัน่ หวัน่ ไหว ดังรบกวนมาถึง สวนจิตรฯ หรือไม่ รับสั่งว่า “อยู่ที่หลักการว่าท�ำอย่างนั้นผิด กฎหมายไหม ถ้าผิดก็ตอ้ งห้าม แต่ถา้ เป็นเสรีภาพก็ตอ้ งปล่อย ไป ร�ำคาญหนวกหูก็ต้องทน อย่าใช้มาตรฐานสวนจิตรฯ หรือ ท�ำเนียบรัฐบาลมาตัดสิน” สมัยนายกฯ ทักษิณ เคยกราบบังคมทูลว่าเมื่อประทับรักษา พระองค์ทวี่ งั ไกลกังวลอย่างนี้ รัฐบาลจะขอพระราชทานพระบรม ราชานุญาตให้ส�ำนักพระราชวังปรับปรุงวังไกลกังวล ให้สะดวก สบายสมกับที่จะใช้เป็นที่ประทับยาวนาน รวมทั้งจะปรับปรุง

12 Surat Law Journal

โรงพยาบาลหัวหินให้ทันสมัยพร้อมทุกประการ รับสั่งว่า การปรับปรุงโรงพยาบาลเป็นประโยชน์แก่ทุกคน ถ้ามีงบก็ควรท�ำ แต่การปรับปรุงวังไกลกังวลเป็นเรื่องพระส�ำราญ “แค่นี้ก็พออยู่ พอเพียงแล้ว” รัฐบาลหลายคณะ เคยออกกฎหมายทีม่ งุ่ จะเฉลิมพระเกียรติ เช่นมีค�ำว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพ ิ ลอดุลยเดช มหาราช” มีพระราชกระแสให้รฐั บาลน�ำกลับไปปรับปรุง เพราะ “ไม่อาจทรงสถาปนาพระองค์เองได้” เช่นเดียวกับที่ใน พ.ศ. 2512 ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติยศทหาร ซึ่งถวายพระยศทางทหารเป็น จอมพล จนร่างพระราชบัญญัติ นัน้ ตกไปเองในทีส่ ดุ รัชกาลนีท้ รงลงพระปรมาภิไธยตรากฎหมาย มาแล้ว ทั้งที่เป็นพระราชบัญญัติ พระราชก�ำหนด พระราช กฤษฎีกานับหมื่นฉบับ ทรงวินจิ ฉัยฎีกานักโทษ ฎีการ้องทุกข์ขอ พระราชทานความเป็นธรรมอีกหลายพันราย บางรายขอพระราชทาน ยืมเงิน บางรายขอความเป็นธรรมเรื่องแต่งตัง้ โยกย้าย รายหนึง่ พ่อตาย ลูกชายบวชหน้าไฟให้พอ่ อยูม่ าก็ไม่ยอมสึก แม่มลี กู ชาย คนเดียว ท�ำหนังสือถวายฎีกาว่าเดือดร้อนหนัก ขอพระมหา กรุณาให้ลกู สึกมาช่วยเลีย้ งแม่เถิด โปรดให้ตรวจสอบแล้วมีพระ ราชกระแสว่า แท้จริงแม่ไม่ได้อยากให้ลูกสึก แต่ปัญหาคือแม่ ล�ำบากยากจน จึงโปรดให้กรมประชาสงเคราะห์เข้าไปช่วยดูแล สอนอาชีพให้ และหาเครื่องมือท�ำมาหากินไปให้แม่ ลงท้ายแม่ ก็ท�ำมาหากินได้ ส่วนลูกก็อยู่ไปจนเป็นสมภาร


คุยเฟื่องเรื่องรัฐธรรมนูญ โดย : ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิษณุ เครืองาม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงสงเคราะห์ทั้งส่วนรวม และพระองค์เอง เพื่อจะได้มพี ระอนามัยดี ทรงงานเพื่อส่วนรวม ต่อไป จึงทรงดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ ทรงเล่นคอมพิวเตอร์ ทรงฉายภาพ ทรงกีฬา ทรงวาดรูป ปัน้ รูป ทรงงานไม้งานช่าง จะทรงจับงานด้านใดก็ทรงท�ำได้ดี ทีค่ นไม่ใคร่ทราบคือ ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษในเรื่อง ภาษาไทย การศึกษา ระบบสิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข และ พุทธศาสนา ส่วนที่ทรงพระปรีชาทางดิน น�้ำ ระบบระบายน�้ำ และการแก้ปัญหาจราจรนั้นเป็นที่ทราบทั่วไปอยู่แล้ว เมื่อ ครั้ ง ยั ง เป็ น เลขาธิ ก ารคณะรั ฐ มนตรี ผมเคยได้ รั บ พระมหากรุณาพระราชทานค�ำแนะน�ำเรื่องการใช้ถ้อยค�ำภาษา ไทยหลายหน ครั้งหนึ่งได้ถวาย “รายชื่อ” บุคคลให้ทรงแต่งตั้ง รับสั่งถามว่า ตั้งกี่คน ผมกราบบังคมทูลว่าคนเดียว ตรัสว่า คนเดียวเรียกว่า “ชื่อ” ถ้า “รายชื่อ” ต้องหลายคน อีกคราวหนึ่ง มีหนังสือกราบบังคมทูลว่า “ทู ลเกล้ า ทู ล กระหม่อมมาเพื่อทรงพิจารณา” ทรงพระสรวลตรัสว่า “ถ้า ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ก็อยู่บนกระหม่อมยังไม่ถึงฉัน ถ้าจะให้ ถึงฉัน ต้องทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายมาเพื่อทรงพิจารณา” ในทางพระพุทธศาสนา ก็ปรากฏว่าทรงรอบรูท้ งั้ ในทางปฏิบตั ิ และปริยัติ ทรงรู้จักพระเป็นอันมาก เมื่อตรัสถึงเหตุการณ์ครั้ง ใดจะทรงย้อนไปถึงเรื่องราวครัง้ เก่าก่อน เช่น “ครัง้ สมเด็จพระ สังฆราชยังเป็นพระธรรมวราภรณ์” “ครั้งเจ้าคุณประยุทธยัง เป็นพระราชวรมุนี” และเคยตรัสเล่าเรื่องราวความเป็นอัคร ศาสนูปถัมภกว่า ต้องทรงอุปถัมภ์และคุ้มครองทุกศาสนาโดย ไม่เลือกปฏิบตั ิ ทรงเล่าพระราชทานว่า ครัง้ หนึง่ ควีนจากประเทศ หนึง่ ทูลถามว่า พุทธศาสนาไม่มพี ระเจ้า แล้วชาวพุทธนับถืออะไร กัน เหตุใดไม่ยกพระพุทธเจ้าเป็น God เสียเลย ได้ทรงตอบว่า พุทธศาสนานับถือ “ธรรมะ” เรานับถือธรรมะยิง่ กว่าพระพุทธเจ้า เสียอีก เพราะธรรมะเป็นเครื่องคุม้ ครองโลก และได้ตรัสเล่าต่อ ไปว่า แม้ศาสนาอื่นก็ยังต้องทรงอุปถัมภ์ ฉะนั้นในฝ่ายพุทธ ศาสนาขอให้ทกุ คนวางใจเถิดว่า จะเป็น เถรวาท มหายาน รามัญ นิกาย มหานิกาย ธรรมยุต ก็ต้องทรงคุ้มครองและพระราชทาน ความเป็นธรรมเสมอกัน รัชกาลที่ 5 นัน้ อะไรที่ไม่เคยมี และไม่มคี นไทยคนใดนึกว่า ชีวิตนี้จะมี แต่ก็ทรงบันดาลหรือวางรากฐานให้มีขึ้นเป็นขึ้น ทั่วถ้วน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล รถไฟ ไปรษณีย์ เลิกทาส จนคนรุ่นก่อนหน้านั้นต้องคิดว่าเหลือเชื่อ แต่รัชกาลที่ 9 นั้น อะไรที่ควรจะมี ควรจะคิดออก ควรจะท�ำเป็นนานแล้ว แต่ผู้มี อ�ำนาจหน้าที่ ไม่ใคร่คิด ไม่ใคร่ท�ำ ก็ทรงบันดาลหรือวางรากฐาน ให้มีให้เป็นขึ้น เช่น เขื่อน ฝาย ประตูระบายน�้ำ ถนน สะพาน การสงเคราะห์คนเป็นโรคเรือ้ น คนประสบภัยธรรมชาติ การแก้ ปัญหาจราจร การเพิ่มผลผลิตการเกษตร การแก้ปัญหาความ ยากจน ปัญหาพลังงาน สมัยผมเป็นเลขาธิการ ครม. ต้องทูลเกล้าฯ ถวายเอกสาร ใส่ซองขนาดใหญ่สีขาวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย รับสั่งว่า ต่อไปหน้าซองไม่ต้องเขียนเลขที่หนังสือ จะได้หมุนเวียนกลับ

ลงมาใช้หลายหน ไม่ต้องทิ้ง แม้แต่เรื่องเล็กๆ ก็ควรประหยัด เวลาร่างกฎหมาย โปรดให้ถวายปะหน้า 2 แผ่น เผื่อว่าทรงลง พระปรมาภิไธยแล้วหมึกซึมเลอะ จะได้ประหยัดเวลา ไม่ต้อง รอถวายใหม่ เวลาตั้งรัฐมนตรีใหม่จะต้องเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ ปฎิญาณ จะตรัสว่าให้รบี มา จะได้รบี ไปท�ำงาน ไม่ตอ้ งห่วงว่าติด เสาร์ อาทิตย์ ประเทศไทยพระเจ้าแผ่นดินไม่มีวันหยุดราชการ พระมหากรุณาธิคณ ุ ปานนีจ้ ะหาได้จากที่ ไหนอีก เจ้าประคุณ เอ๋ย! ปี 2538 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีสวรรคต ลอง คิดดูว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงวิปโยคขนาดไหน เสด็จไปทรงสดับพระพิธีธรรมที่พระที่นั่งดุสิตฯ ทุกราตรี แต่ ทราบกันบ้างหรือไม่ว่า พอพระสวดจบ เสด็จลงมาประทับที่ พระที่นั่งราชกรัณยสภาใกล้ๆ กัน พระราชทานค�ำแนะน�ำการ แก้ปัญหาจราจรแทบทุกคืน ปี 2553 อยู่ระหว่างประชวรประทับในโรงพยาบาล พระราช กรณียกิจอื่นภายนอกโรงพยาบาลทรงงดเสียเกือบสิ้น แต่การ เสด็จไปเปิดประตูระบายน�ำ้ คลองลัดโพธิ์ ทอดพระเนตรโครงการ แก้ปญ ั หาน�ำ้ ท่วมและเปิดสะพานระบายการจราจรเพื่อพสกนิกร ของพระองค์ เป็นเรื่องที่ทรงถือเป็นกิจส�ำคัญ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ฯ ทรงเป็นยอดแห่งผูอ้ ดทน อดกลัน้ ในการประกอบ พระราชกรณียกิจนั้นย่อมมีทั้งร้อนทั้งหนาว ยาวนาน และ น่าเหนื่อยหนัก ดูเอาจากการพระราชทานปริญญาบัตรเถิด แม้แต่ ทีต่ อ้ งทรงอดกลัน้ ด้วยขันติบารมีในค�ำจ้วงจาบหรือระคายเคือง เบื้องพระยุคลบาทอีกไม่รู้เท่าไร อย่าลืมว่า พระชนมพรรษา 83 แล้ว ทรงงานมา 64 ปีแล้ว ดะไลลามะเคยพูดว่า “ใครอย่ามาชมตัวท่านเลยว่าเป็น ยอดคน ไปดูที่พระเจ้าแผ่นดินเมืองไทยเถิด” ผมเคยไปเฝ้าฯ เจ้าชายจิกมี กษัตริยห์ นุม่ แห่งภูฏานตรัสว่า “กษั ต ริ ย ์ ข องท่ า นเป็ น แบบอย่ า งของข้ า พเจ้ า ในการจะ ครองราชย์ ให้คนรัก” สุลต่านบรูไนทีเ่ ป็นผูแ้ ทนกษัตริย์ 25 ประเทศ ถวายพระพร ในคราวฉลองการครองราชย์สมบัติครบ 60 ปี เมื่อพ.ศ. 2549 เคยทูลว่า การครองราชย์นานถึง 60 ปีเป็นเพียงตัวเลข ส�ำคัญ อยูท่ วี่ า่ 60 ปีนนั้ ได้ท�ำอะไร “เป็นทีป่ ระจักษ์แล้วว่า ฝ่าพระบาท ทรงท�ำทุกอย่างตลอด 60 ปี ให้เป็นประโยชน์ต่อชาวไทย ชาว เอเซีย และชาวโลก วาระนี้จึงทรงเป็นความภาคภูมิใจของ บรรดาพระราชามหากษัตริย์ทั้งปวงโดยทั่วกัน” เมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีพ.ศ. 2552 มีพระราชด�ำรัส ตอนหนึ่งว่า “ความสุข ความสวัสดีของพระองค์จะมีได้ก็ด้วย การทีบ่ า้ นเมืองมีความเรียบร้อย” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ พระองค์นมี้ แี ต่ทรงให้พวกเรามาตลอด แต่พระราชด�ำรัสนีม้ นี ยั เป็นทั้งสิ่งที่ “ทรงหวัง” “ทรงบอกให้รู้” และ “ทรงขอ” ซึ่งน่า จะทรงประสงค์ยิ่งกว่าค�ำถวายพระพร “ทรงพระเจริญ” ไหนว่า “ธ ประสงค์ ใด จงสฤษดิ์ดังหวังวรหฤทัย” แล้ว เรื่องอย่างนี้ เราคนไทยจะพร้อมใจกันจัดถวายได้ไหมครับ... สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 13


กฏหมายเรื่องใกล้ตัว โดย : รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศักดิ์ของกฎหมาย

กรณีกฎหมายศักดิ์ต�่ำกว่า ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า

ปัญหาในเรื่องศักดิ์ของกฎหมายที่ว่า กฎหมายที่มีศักดิ์ ต�ำ่ กว่าจะแก้ไขกฎหมายทีม่ ศี กั ดิส์ งู กว่า เกิดขึน้ ในระบบกฎหมาย ไทยหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หลายครั้ง ได้แก่ (1) กรณีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) มาตรา 230 ที่ให้ตราพระราชกฤษฎีกาแล้วมีผลเป็นการ แก้ไขเปลีย่ นแปลงพระราชบัญญัติ ทัง้ ทีพ่ ระราชบัญญัตมิ ศี กั ดิ์ สูงกว่า (2) กรณีตามพระราชบัญญัติทุน พ.ศ.2542 ที่ให้ตราพระ ราชกฤษฎีกาแล้วมีผลเสมือนหนึง่ เป็นการแก้ไขเปลีย่ นแปลง พระราชบัญญัติ (3) กรณีตามพระราชบัญญัตปิ รับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 มาตรา 49 ที่ให้ตราพระราชกฤษฎีกาแล้วมีผล เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติ (4) ข้อเสนอที่ให้มกี ารตราพระราชกฤษฎีกางดใช้รฐั ธรรมนูญ บางมาตรา ปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นปัญหาทีน่ า่ สนใจศึกษาว่า แท้จริง แล้วนั้นเป็นกรณีที่กฎหมายศักดิ์ต�่ำกว่าแก้ ไขเปลี่ยนแปลง กฎหมายทีม่ ศี กั ดิส์ งู กว่าหรือไม่ โดยประเด็นที่ได้รบั ความสนใจ ล่าสุด คือ ข้อเสนอที่ให้มีการตราพระราชกฤษฎีการงดใช้ รัฐธรรมนูญบางมาตรา เพื่อปฏิรูปการเมืองก่อนจะให้มีการ เลือกตั้งทั่วไป ในบทความนี้จะได้พิจารณาประเด็นปัญหาต่างๆ ข้างต้น ตามล�ำดับดังนี้ คือ (1) แนวคิด ที่มา ความหมาย และผลของ “ศักดิ์ของ กฎหมาย” (2) รัฐธรรมนูญก�ำหนดให้พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ (3) พระราชบัญญัตกิ �ำหนดให้พระราชกฤษฎีกามีผลเสมือน เป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติ (4) พระราชบัญญัติก�ำหนดให้พระราชกฤษฎีกาแก้ ไข เปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติ (5) ข้อเสนอที่ให้มกี ารตราพระราชกฤษฎีกางดใช้รฐั ธรรมนูญ บางมาตรา แนวคิด ที่มา ความหมาย และผลของ “ศักดิ์ของ กฎหมาย” แนวความคิดเรื่องศักดิ์ของกฎหมายนั้นได้ปรากฏเป็น ครัง้ แรกในสมัยโบราณ โดยเริ่มตั้งแต่สมัยกรีกโรมัน เนื่องมา จากในสมัยนีเ้ ป็นการเริม่ ต้นแนวความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญหรือ กฎหมายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางปกครอง และมีการแบ่งแยก

14 Surat Law Journal

ระหว่างกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน แต่แนวความคิด ดังกล่าวก็ไม่ได้เด่นชัดเท่าทีค่ วร เพราะถือว่ากฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับชีวติ ประจ�ำวันมากกว่า ส่วนกฎหมาย มหาชนเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการประชุมของสภาโคมิเชีย (comitia) และสภาซีเนต (senate) ที่จะรู้กันในหมู่ผู้ปกครอง เท่านัน้ แต่ถงึ อย่างไรก็มกี ารยอมรับว่าประเทศจ�ำเป็นทีจ่ ะต้อง มีกฎเกณฑ์ ฉะนั้นเมื่ออ�ำนาจอยู่ในเงื้อมมือของสภาทั้งสอง กฎเกณฑ์ทสี่ ภาทัง้ สองออกจึงถือได้วา่ เป็นกฎหมายสูงสุดของ ประเทศ ซึ่งถือว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวมีความใกล้เคียงกับสิ่งที่ เรียกว่ารัฐธรรมนูญมาก อย่างไรก็ตาม ในสมัยโรมันนัน้ เองก็เริม่ มีแนวความคิดเรื่อง “กฎหมายเหนือกฎหมาย” (law above law) ชัดเจนขึ้นแล้ว ซึ่งนักคิดในสมัยนั้นก็คือ ซิเซโร (cicero) ก็ดี ไกอุส (gaius) ก็ดี ได้เริ่มอธิบายอย่างจริงจังว่ากฎหมายมีสองประเภทคือ กฎหมายธรรมดาและกฎหมายที่อยู่สูงกว่าขึ้นไป โดยซิเซโร ถือว่ากฎหมายธรรมดาเป็นกฎหมายที่ไม่เทีย่ งแท้ ส่วนกฎหมาย ที่อยู่สูงกว่านั้นเป็นกฎหมายที่เที่ยงแท้ ส่วนไกอุสนั้นเรียก กฎหมายธรรมดาว่าเป็นกฎหมายเฉพาะ (jus civile) ทีใ่ ช้กบั ชาว พืน้ เมืองภายในรัฐ (civitas) ส่วนกฎหมายทีอ่ ยูส่ งู กว่านัน้ เรียก ว่ากฎหมายทั่วไป (jus gentium) ซึ่งใช้แก่รัฐทั้งปวง จากแนว ความคิดดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากฎหมายที่มนุษย์เป็นผู้ออก นั้นไม่ได้เป็นกฎหมายที่มีค่าบังคับสูงสุดเป็นล้นพ้น หากแต่ ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์อื่นที่อยู่สูงกว่า และเป็นที่มาของค�ำ อธิบายของนักปราชญ์ ในสมัยต่อมา โดยเฉพาะนักปราชญ์ ทางกฎหมายรัฐธรรมนูญที่แบ่งกฎหมายภายในรัฐออกเป็น สองระดับ บรรดาพระราชก�ำหนดทัง้ หลายเป็นเพียงกฎหมาย ธรรมดาหรือกฎหมายที่มีศักดิ์ต�่ำ ส่วนรัฐธรรมนูญนั้นเป็น กฎหมายที่อยู่สูงกว่า โดยกฎหมายที่มีศักดิ์ต�่ำกว่าไม่สามารถ ขัดแย้งกับกฎหมายที่มีฐานะอยู่ในล�ำดับศักดิ์ที่สูงกว่าได้ ถ้าเราวิเคราะห์ถึงที่มาทางด้านรูปแบบของกฎหมาย หรือ กฎเกณฑ์แห่งกฎหมายที่เกิดขึ้นในระบบกฎหมายตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ากฎเกณฑ์แห่งกฎหมายเกิดขึ้นได้ เพราะมีกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายที่เหนือกว่าให้อ�ำนาจ และจะ เป็นเช่นนี้ ไปเรื่อยๆ จนถึงกฎเกณฑ์ที่สูงสุดที่เราเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็อาจได้รับมอบอ�ำนาจ มาจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ไล่จนไปถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก สุด เมื่อถามต่อไปว่ารัฐธรรมนูญฉบับแรกสุดได้รบั มอบอ�ำนาจ มาจากสิ่งใด เราจะพบว่าไม่มีรัฐธรรมนูญใดก่อนหน้านี้ที่ให้ อ�ำนาจ เราก็ต้องสมมติว่ามีกฎเกณฑ์พื้นฐาน (grundnorm


หรือ norme fondamentale) ที่ถือว่ารัฐธรรมนูญนั้นใช้ได้ ซึ่ง เราจะพบว่าสิ่งที่เราเรียกว่ากฎหมายนั้น อันเป็นค�ำรวมๆ ที่ กว้างทีส่ ดุ นัน้ รวมกันเป็นหนึง่ เดียวทีเ่ รียกว่า “ระบบกฎหมาย” ซึ่งหมายถึงกฎเกณฑ์ทั้งหลายทั้งหมดที่มีอยู่และถูกก�ำหนด ตาม “ล�ำดับศักดิ์” ของกฎหมายนั่นเอง ซึ่งถ้าเราวิเคราะห์ ตามหลักการดังกล่าว เราจะพบว่า รัฐธรรมนูญเป็นเพียง กฎหมายสูงสุดทีจ่ ดั ตัง้ องค์กรของรัฐขึน้ มาและมอบอ�ำนาจให้ องค์กรเหล่านั้นออกกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายในรูปแบบต่างๆ ตามที่ได้รบั มอบอ�ำนาจมา เพื่อทีจ่ ะสร้างนิตสิ มั พันธ์ขนึ้ ระหว่าง กันในการทีจ่ ะท�ำให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามทีร่ ฐั ธรรมนูญ ได้ก�ำหนดไว้ เรื่องล�ำดับศักดิ์ของกฎหมายถือก�ำเนิดมาจากแนวความ คิดทีว่ า่ เมื่อกฎหมายที่ใช้อยูใ่ นสังคมต่างๆ ได้เริม่ ก่อตัวขึน้ ใน สังคมโดยมาจากวิวัฒนาการที่แตกต่างกันตามความเป็นอยู่ และขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีของคนในสังคมเหล่านั้น

นีอ้ งค์กรในภาครัฐได้ถอื ก�ำเนิดขึน้ มามากมาย ด้วยความจ�ำเป็น ต่างๆ กฎเกณฑ์ที่ออกโดยองค์กรของรัฐเหล่านั้นก็มีมากมาย ตามไปด้วย การที่มีกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับมากมายเช่นนี้โอกาส ทีก่ ฎเกณฑ์เหล่านัน้ จะขัดหรือแย้งกันย่อมเกิดขึน้ ได้ ซึง่ ท�ำให้ ปัญหาที่ตามมาก็คือ เราจะใช้กฎเกณฑ์ ใดเป็นหลักและเมื่อ ใช้บังคับกฎเกณฑ์ที่เป็นหลักแล้ว ผลที่ตามมาต่อกฎเกณฑ์ อื่นๆ จะเป็นเช่นไร เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีการก�ำหนด หลักการทีส่ �ำคัญในการจัดระบบของกฎหมายทีม่ มี ากมายเหล่า นั้น โดยการก�ำหนดหลักความส�ำคัญของกฎหมายที่เราเรียก ว่า “ศักดิ์ของกฎหมาย” ขึ้น เพื่อให้ทราบว่ากฎหมายฉบับใด มีความส�ำคัญมากกว่าในกรณีทเี่ กิดความขัดแย้งกัน และกรณี ที่กฎหมายที่มีค่าบังคับเท่ากันแล้วเกิดความขัดแย้งกัน ผลที่ ตามมาของการขัดกันดังกล่าวจะเป็นอย่างไร รวมทั้งอ�ำนาจ และขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมายที่ ได้รับอ�ำนาจมาจาก กฎหมายแม่บทในกรณีต่างๆ จะเป็นเช่นไร

จนเกิดเป็นกฎหมายที่ใช้บงั คับกับคนในสังคมเกิดขึน้ กฎหมาย ต่างๆ เหล่านัน้ ได้ถกู พัฒนาขึน้ ไปตามสภาพของสังคมในขณะ นั้น จนเกิดเป็นกฎหมายหลายรูปแบบแตกต่างกันไป เช่น ใน สมัยก่อนนั้นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับคนในสังคมมาจากผู้ที่มี อ�ำนาจสูงสุดในขณะนั้น ซึ่งก็คือผู้ปกครอง ขุนนาง หัวหน้า เผ่า ฯลฯ ต่อมาเมื่อสังคมได้เจริญเติบโตขึ้นมาและได้มีการ ติดต่อกับสังคมอื่นๆ กฎเกณฑ์ที่จะใช้บังคับก็จะต้องมากขึ้น และแตกต่างกันไปตามลักษณะของการใช้บังคับ นอกจาก นัน้ กฎเกณฑ์ตา่ งๆ เหล่านีย้ งั เกิดจากความตกลงร่วมกันของ คนในสังคม ไม่วา่ จะเป็นกฎเกณฑ์ทเี่ ป็นลายลักษณ์อกั ษรหรือ ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อมีกฎเกณฑ์ ใหม่เพิ่มมากขึ้น กฎ เกณฑ์ที่ล้าสมัยก็จ�ำเป็นที่จะต้องหมดไปและไม่สามารถน�ำ กลับมาใช้ได้อีก กฎหมายที่ใช้อยู่ในสังคมนั้น ประกอบไปด้วยกฎเกณฑ์ที่ ตราขึน้ ในหลายรูปแบบ และหลากหลายองค์กร ซึง่ ในปัจจุบนั

ดังนั้น “ศักดิ์ของกฎหมาย” จึงหมายถึง การจัดล�ำดับชั้น ตามความส�ำคัญของกฎหมายว่ากฎหมายใดอยู่ในล�ำดับที่สูง หรือต�ำ่ กว่ากันอย่างไร เพื่อประโยชน์ ในการขจัดความขัดแย้ง เมื่อ เกิ ด ปั ญ หากฎหมายหลายรู ป แบบที่ มี เ นื้ อ หาขั ด หรื อ แย้งกัน ในประเทศไทยเรานั้นไม่ได้มีการบัญญัติเรื่องศักดิ์ ของกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่เมื่อพิเคราะห์จาก รัฐธรรมนูญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าในระบบ กฎหมายของประเทศไทยได้มีการจัดระบบเรื่องศักดิ์ของ กฎหมายโดยดูจากมาตราต่างๆ ที่ก�ำหนดในรัฐธรรมนูญ บรรณานุกรม

มานิตย์ จุมปา (บรรณาธิการ), ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย, พิมพ์ครั้งที่ ๖, กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๘. ค�ำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.๒๕๔๐), พิมพ์ ครั้ง&l

สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 15


สิทธิประชาชน โดย : เกรียงศักดิ์ รอดพันธ์ุชู เลขานุการศาลยุติธรรมประจำ�ภาค 8

ศาลยุติธรรม

ตามหลักพื้นฐานของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในระบอบประชาธิปไตย อ�ำนาจปกครองบ้าน เมือง ได้จ�ำแนกออกเป็น 3 ส่วน คือ อ�ำนาจ นิตบิ ญ ั ญัติ อ�ำนาจบริหาร และอ�ำนาจตุลาการ และได้ก�ำหนดให้ผู้ ใช้อ�ำนาจทั้งสามแยกต่าง หากจากกัน คือ - รัฐสภา เป็นผู้ ใช้อ�ำนาจนิติบัญญัติ - คณะรัฐมนตรี เป็นผู้ ใช้อ�ำนาจบริหาร - ศาล เป็นผู้ ใช้อ�ำนาจตุลาการ ดังนัน้ ศาลจึงเป็นองค์กรทีท่ �ำหน้าทีพ่ จิ ารณา และพิพากษาคดี แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาล ชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ศาลชั้นต้น เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นถัดจาก ศาลอุทธรณ์ลงมา เป็นศาลทีพ่ จิ ารณาและชีข้ าด ตัดสินคดีเป็นครั้งแรก มีทั้งในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด ส�ำหรับในกรุงเทพมหานคร เนื่องจาก มีคดีความมาก จึงได้แยกศาลตามประเภทของ คดีเป็นศาลแพ่งและศาลอาญา หากเป็นคดี เล็กๆ น้อยๆ ก็ให้พิจารณาโดยศาลแขวง ซึ่ง ในปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้มีการเพิ่มเขต อ�ำนาจศาลของศาลแขวงในบางท้องทีข่ นึ้ โดยจัดตัง้ เป็นศาลจังหวัด ส�ำหรับศาลชัน้ ต้นในจังหวัดอื่นๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร จะมีอ�ำนาจพิจารณาพิพากษาทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาก็คือศาลจังหวัด และมีศาลแขวงท�ำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีเล็กๆ น้อยๆ ส่วนกรณีที่เป็นคดีประเภทอื่นๆ เช่น คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีล้มละลาย คดีเยาวชนและ ครอบครัว ก็ให้พิจารณาโดยศาลเหล่านั้นที่อยู่ในเขตอ�ำนาจ ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอ�ำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์ ค�ำพิพากษาหรือค�ำสั่งของ ศาลชัน้ ต้นทีอ่ ยูใ่ นเขตอ�ำนาจ กับมีอ�ำนาจวินจิ ฉัยชีข้ าดคดีทศี่ าลอุทธรณ์มอี �ำนาจวินจิ ฉัยได้ตามกฎหมายอื่นในเขตท้องทีท่ มี่ ไิ ด้ อยู่ในเขตศาลอุทธรณ์ภาค เว้นแต่คดีที่อยู่นอกเขตศาลอุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้ อยู่ในดุลพินิจของศาล อุทธรณ์ที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่อุทธรณ์เช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะได้ โอนมาตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมาย ศาลฎีกา เป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุดซึ่งมีอยู่เพียงศาลเดียว มีเขตอ�ำนาจทั่วราชอาณาจักร มีอ�ำนาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์ค�ำพิพากษาหรือค�ำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการฎีกา และมีอ�ำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทอี่ ทุ ธรณ์ค�ำพิพากษาหรือค�ำสัง่ ของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายเฉพาะ เช่น คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สนิ ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอ�ำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมี อ�ำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งค�ำร้องค�ำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย ค�ำสั่งหรือค�ำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นที่สุด

16 Surat Law Journal


สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 17


เรื่องเล่าจากอดีต โดย : อาจารย์เพ็ญศรี ทองมุสิทธิ์ อาจารย์ประจำ�คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มนุษย์เมื่อเกิดมาแล้วต้องอยูร่ ว่ มกัน เป็นสังคม กฎหมายจึงนับว่าเป็นส่วน ส�ำคัญทีจ่ ะละเพิกเฉยไม่ได้ กฎหมายแพ่ง และพาณิชย์จงึ อธิบาย “สภาพของบุคคล” ไว้วา่ “การเริม่ ต้นชีวติ นัน้ เริม่ ตัง้ แต่เมื่อ คลอดแล้วอยูร่ อดเป็นทารก และสิน้ สุด ลงเมื่อตาย” เมื่อเราเริ่มต้นชีวิตคลอด จากครรภ์มารดาแล้ว สิทธิและหน้าทีข่ อง บุคคลย่อมเกิดขึ้นทันที กฎหมายจึงเข้า มามีส่วนยุ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลในสังคม ซึง่ เราอาจจะมีค�ำถามว่า “คลอด” หมาย ถึงคลอดโดยวิธีธรรมชาติเสมอไปไหม ค�ำตอบคือ ไม่ใช่ เพราะในปัจจุบนั ผูห้ ญิง บางคนกลัวการคลอดโดยวิธีธรรมชาติ จึงใช้วิธีผ่าตัดเพราะฉะนั้นการคลอดจะ สมบู ร ณ์ ต ่ อ เมื่อ ทารกนั้ น ออกมาจาก ท้องแม่จนหมดตัวแล้ว สามารถหายใจ ได้ด้วยตนเอง มีค�ำถามต่อไปอีกว่าต้อง ตัดสายสะดือ ตัดรกก่อนไหม ในทาง กฎหมายไม่ได้ถือเป็นสาระส�ำคัญของ การมีสภาพบุคคลแต่อย่างใด การหายใจ ของทารกจะเป็นระยะเวลาเพียงเล็กน้อย ไม่ถึง 1 นาที ก็ถือว่ามีสภาพเป็นบุคคล แล้วสามารถที่จะมีสิทธิ คือเป็นเจ้าของ สิทธิ อย่างเช่น มีความสามารถที่จะมี กรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ทีม่ ผี ยู้ กให้ ถ้าหาก เด็กตายก่อนเกิดหรือในขณะเกิดไม่อาจ ทีจ่ ะถือว่าเด็กนัน้ มีสภาพเป็นบุคคลตาม กฎหมายได้เพราะไม่มชี วี ติ อยู่ แต่ถา้ เกิด มาแล้วและมีชวี ติ รอด ผูน้ นั้ ก็ยอ่ มมีสภาพ บุคคล หรือเรียกว่าบุคคลธรรมดา มีความ สงสัยต่อไปว่าแล้วถ้าพ่อของเด็กตาย ขณะทีเ่ ด็กยังอยูใ่ นท้องแม่ เด็กจะมีสทิ ธิ ในการเป็นทายาทในการรับมรดกของพ่อ ที่ตายไปหรือไม่ ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง จะเห็นว่าไม่อาจมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ได้อย่างเช่นบุคคลธรรมดาทั่วไป ทั้งๆ ที่

18 Surat Law Journal

ชีวิตกับกฎหมาย

ความเป็นจริงแล้วเด็กนั้นเป็นลูกที่แท้ จริงของพ่อผู้ตาย ด้วยเหตุนี้ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 15 วรรค 2 จึงเล็งเห็นความส�ำคัญเหตุการณ์ ในอนาคตเกีย่ วกับเด็กทีอ่ ยูใ่ นท้องแม่วา่ ควรได้รับสิทธิหรือประโยชน์ ในขณะที่ เด็กนั้นยังอยู่ในท้องแม่มีสิทธิที่จะรับ มรดกของพ่อได้ หากพ่อตายไปขณะที่ เด็กนั้นยังอยู่ในท้องแม่โดยมีเงื่อนไขว่า เด็กที่คลอดออกมามีชีวิตรอดอยู่หรือมี สภาพเป็นบุคคล สรุปว่าเด็กที่ยังอยู่ใน ท้องแม่ถึงแม้ยังไม่ได้คลอดหรือเกิดมา เป็นบุคคลก็สามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ถ้า

ภายหลังเกิดมาแล้วไม่ตาย พูดง่ายๆ คือ ไม่ตายตัง้ แต่อยูใ่ นท้องแม่นะ แต่กฎหมาย มีปัญหาต่อไปอีกว่าชายผู้เป็นพ่อของ เด็กในท้องแม่นั้นเป็นลูกของพ่อผู้ตาย หรือไม่ หรือเป็นลูกของใคร ซึง่ เป็นปัญหา คาบเกีย่ วในกรณีทแี่ ม่ขาดจากการสมรส กับพ่อและแม่ได้มีการสมรสใหม่หรือไม่ ....ฉบับหน้าจะมาไขข้อปัญหาการเป็นลูก ที่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อนั้นมีหลัก เกณฑ์ว่าอย่างไร ถ้าพ่อและแม่ไม่ได้ สมรสกันลูกจะเป็นลูกทีช่ อบด้วยกฎหมาย หรื อ ไม่ ลู ก สามารถมี สิ ท ธิ แ ละหน้ า ที่ อย่างไรบ้าง


ฎีกาพิสดาร

เรื่อง : อ.เพ็ญศร ทองมุสิทธิ์

โดย : อาจารย์เพ็ญศรี ทองมุสิทธิ์ อาจารย์ประจำ�คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

“บุกรุก”

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2553 โจทก์ร่วมกับจ�ำเลยตกลงยก บ้านที่เกิดเหตุให้แก่บุตร และให้บุตรอยู่ในอ�ำนาจปกครองของโจทก์ ร่วม อีกทั้งยังได้มีการย้ายชื่อจ�ำเลยออกจากบ้านเกิดเหตุไปแล้วภาย หลังจากจดทะเบียนหย่า 8 วัน ย่อมแสดงว่าบ้านที่เกิดเหตุเป็นบ้าน ที่โจทก์ร่วมกับบุตรพักอาศัยอยู่ด้วยกันภายหลังจากที่โจทก์ร่วมกับ จ�ำเลยหย่าขาดจากกันแล้ว จ�ำเลยไม่มสี ทิ ธิใดๆ ทีจ่ ะมาพักอาศัยอยูใ่ น บ้านเกิดเหตุอีก มิฉะนั้นการหย่าและข้อตกลงเรื่องจดทะเบียนหย่า ระหว่างโจทก์ร่วมกับจ�ำเลยจะไม่มีผลแต่ประการใด เมื่อจ�ำเลยไม่มี สิทธิพกั อาศัยอยูใ่ นบ้านเกิดเหตุ การกระท�ำของจ�ำเลยทีเ่ ข้าไปในบ้าน เกิดเหตุช่วงเวลาดึกประมาณเที่ยงคืนถึงหนึ่งนาฬิกาเช่นนี้ ถือได้ว่า เป็นการเข้าไปในเคหสถานซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้อื่นโดย ไม่มีเหตุอันสมควร

“การรับฟังพยานหลักฐาน”

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11707/2554 สัญญากู้เงินมีการขูดลบ ต่อเติมข้อความในสัญญาหลายแห่งโดยไม่มกี ารลงลายมือชื่อก�ำกับ ไว้ เหตุดงั กล่าวแต่ประการเดียวยังไม่อาจรับฟังเป็นยุตไิ ด้วา่ สัญญา กู้เงินดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ส�ำหรับส�ำเนารายงานประจ�ำวัน เกีย่ วกับคดีทจี่ �ำเลยอ้างว่าแจ้งความด�ำเนินคดีเรื่องเอกสารปลอม จ�ำเลยมิได้อ้างส่งต่อศาลชั้นต้น แต่เพิ่งแนบมาท้ายอุทธรณ์และ ฎีกา โดยไม่ปรากฏเหตุขัดข้องใด จึงเป็นการยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อ กฎหมาย ไม่อาจรับเป็นพยานหลักฐานได้

“การรับฟังพยานบอกเล่า”

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7240/2554 แม้ชั้นพิจารณา โจทก์จะมี ผูเ้ สียหายเบิกความเป็นพยานว่า จ�ำเลยไม่เคยเอาอวัยวะเพศจ�ำเลย สอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศผู้เสียหาย ตาและยายผู้เสียหายเบิก ความในท�ำนองเดียวกันว่า เมื่อถอดกางเกงของผู้เสียหายออกมา ดูอวัยวะเพศไม่มีรอยช�้ำบวมก็ตาม แต่ตามบันทึกค�ำให้การของ ผู้เสียหาย ตาและยายผู้เสียหายซึ่งได้ ให้การต่อพนักงานสอบสวน หลังเกิดเหตุไม่นาน โดยผู้เสียหายให้การต่อหน้าพนักงานอัยการ และนักสังคมสงเคราะห์ ค�ำให้การของบุคคลทัง้ สามต่อเนื่องเชื่อม โยงเหตุการณ์เป็นล�ำดับขั้นตอนสมเหตุผล นอกจากนี้ ยายผู้เสีย หายเบิกความว่า เหตุที่เบิกความแตกต่างจากที่ให้การไว้เนื่องจาก ไม่ประสงค์ ให้จ�ำเลยซึ่งเป็นลุงผู้เสียหายได้รับโทษจ�ำคุก ทั้งจ�ำเลยได้ชดใช้เงินให้จนฝ่ายผู้เสียหายพอใจและไม่ติดใจ ด�ำเนินคดีแก่จ�ำเลย เชื่อว่าผู้เสียหาย ตาและยายผู้เสียหายเบิกความในชั้นพิจารณาเพื่อช่วยเหลือจ�ำเลย ค�ำให้การ ชัน้ สอบสวนของพยานโจทก์มนี �้ำหนักน่าเชื่อถือยิง่ กว่าค�ำเบิกความในชัน้ พิจารณา แม้บันทึกค�ำให้การในชัน้ สอบสวน จะเป็นพยานบอกเล่า แต่ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้นน่าเชื่อว่าจะ พิสูจน์ความจริงได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (1) พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน�้ำหนักให้รับฟัง สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 19


สัมภาษณ์พิเศษ เรื่อง/ภาพ : ณรงค์ พฤกษาไพบูลย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มหาวิทยาลัย 5 มิติ เพื่อคนสร้างคนคุณภาพสู่สังคมสุราษฎร์ธานี ในขณะที่รัฐบาลก�ำลังให้ความส�ำคัญกับโครงการ IMTGT (Indonesia Malaysia Thailand Great Triangle) ด้วยจะสร้างให้เป็นสามเหลี่ยมเศรษฐกิจแห่งใหม่ที่ทรงอิทธิพลบนแผนที่โลก... หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเอง ต่างก็ขานรับและก็ลุกขึ้นมาเตรียมความพร้อม เพราะในอนาคตอันใกล้สรุ าษฎร์ฯ จะกลายเป็นศูนย์กลาง ของการเดินทางและการขนส่งจากฟากฝั่งอ่าวไทยไป สู่อันดามัน และการท่องเที่ยวก็จะบูมอย่างที่ ไม่เคยเป็น มาก่อน ด้วยเหตุนเี้ ราจึงต้องเร่งพัฒนาคุณภาพของคนให้ มีศักยภาพตามทันกระแส และสถานที่แห่งส�ำคัญที่มี บทบาทในด้านการพัฒนาคนมากที่สุดก็หนีไม่พ้นสถาบัน การศึกษา ในคอลัมน์บทสัมภาษณ์พิเศษฉบับปฐมฤกษ์นี้ เราจึงขอโอกาสเข้าพบ “ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ประโยชน์ คุ ป ต์ ก าญจนากุ ล ” อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ สุราษฎร์ธานี เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับทิศทางของการพัฒนา “คน” อันเป็นตัวแปรส�ำคัญของการพัฒนาประเทศสู่ อินเตอร์....

ทิศทางการบริหารงานในมหาวิทยาลัยในอีก 4 ปี ต่อจากนี้ ไปจะเป็นอย่างไร “ผมตั้งเป้าไว้ว่าเราจะเป็นมหาวิทยาลัย 5 มิติ มิติที่ 1 จะเกิดขึ้นในปีแรกคือมหาวิทยาลัยเขียวสะอาด ซึ่งต้อง เป็นไปทั้งทางด้านกายภาพและด้านจิตใจ ทางกายภาพก็ หมายถึงสภาพแวดล้อมโดยรวมทัว่ ไปครับ เพราะบรรยากาศ ทีน่ า่ อยูม่ อี ทิ ธิพลต่อการเรียนรูท้ ดี่ ขี นึ้ ของนักศึกษา ในขณะ เดียวกันก็ช่วยเสริมบรรยากาศที่ดีในการท�ำงานให้แก่ บุคลากรของเราด้วย นโยบายที่สนับสนุนให้มิตินี้เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรมก็มีหลายประการครับ ยกตัวอย่างเช่น การลดใช้พลังงาน ขณะนีเ้ ราพยายามรณรงค์ ให้ ใช้รถไฟฟ้า วิง่ แทนมอเตอร์ไซด์ นอกจากนีเ้ ราก็ดแู ลปรับปรุงภูมทิ ศั น์ ให้สวยงามตลอดเวลา ส่วนด้านจิตใจนั้นก็หมายถึงการ 20 Surat Law Journal

เป็ น ครอบครั ว เดี ย วกั น ความสมั ค รสมานสามั ค คี กั น ของชาวมรส. ซึ่งจะเกิดได้เราต้องมองส่วนรวมเป็นหลัก มิตทิ ี่ 2 ทีจ่ ะเกิดตามมาก็คอื การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการ เรียนรู้ เพราะแท้ที่จริงแล้วคอนเซปท์ของมหาวิทยาลัยก็ คือการเป็นห้องสมุด ขณะนี้เรามีความพยายามที่จะสร้าง Learning resources center โดยให้เป็นศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศที่มีครบทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความสะดวกต่อการสืบค้น ในปีที่ 3 มิติที่ 3 ก็คือมหาวิทยาลัยแห่งอาเซียนก็จะมี ความชัดเจนขึ้นครับ เรามีโครงการระยะยาวซึ่งจะจัด กิจกรรมเริม่ ต้นกับไทยทีวสี ชี อ่ ง 3 ในเดือนกันยายนทีผ่ า่ น มานี้ ชื่อว่า “ABC” A ก็คือ Awareness ซึ่งจะเกิดขึ้น ในปีแรก หมายถึงการสร้างความตระหนัก เป็นการเตรียม ความพร้อมนักศึกษาและหลักสูตรสู่สากล ส่วน B คือ Booster จะเกิดขึ้นในปีถัดมา คือเริ่มมีการแลกเปลี่ยน นักศึกษาระหว่างประเทศ ส่วน C คือ Competitiveness & Corporation ความสามารถในการแข่งขันและความร่วม ไม้ร่วมมือ ซึ่งจะเกิดในปี 2558 เป็นปีที่เข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนพอดีครับ ส่วนมิติที่ 4 ก็คือการเป็น มหาวิทยาลัยคุณภาพ เมื่อเราท�ำทุกอย่างตามที่ตั้งเป้า หมายไว้ครบถ้วนและส�ำเร็จ ผมเชื่อว่าเราจะเป็นมหาวิทยาลัย แห่งคุณภาพของประเทศได้ ไม่ใช่แค่ชาวสุราษฎร์ฯ หรือ ภาคใต้ตอนบนเท่านั้น และมันก็จะท�ำให้เกิดมิติที่ 5 ตาม มาคื อ มหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง ความสุ ข เพราะสุ ด ท้ า ยแล้ ว Happy organization จะก่อให้เกิดการพัฒนาที่มีคุณภาพ และยั่งยืนครับ


สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 21


อีกไม่นานเราจะก้าวสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนแล้ว ในเรื่องของการพัฒนา ศักยภาพคนและการพัฒนาหลักสูตร ท่ า นมี แ นวทางอย่ า งไรที่ จ ะให้ ไ ปถึ ง ยุทธศาสตร์ที่ท่านกล่าวมา

“เราขับเคลื่อนด้วยสิ่งที่ผมเรียกว่า ‘5 สร้าง 3 พัฒนา’ สร้างแรกคือการพัฒนาคน ตอนนี้ เ ราอยู ่ ใ นระหว่ า งประสานงานกั บ มหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อสรรหาอาจารย์ที่มี วุฒิปริญญาเอกเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่เพียง 10% โดยตั้งเป้าว่าให้สัดส่วนของอาจารย์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีเท่ากันคือ ฝัง่ ละ 50% นอกจากนีต้ อ้ งส่งเสริมให้คณาจารย์ มีความก้าวหน้าไปสู่ต�ำแหน่งทางวิชาการใน ระดับรองศาสตราจารย์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ เพราะนีค่ อื หัวใจส�ำคัญของการสร้างคุณภาพของมหาวิทยาลัย และต้อง ไม่ลืมการดูแลเรื่องความเป็นอยู่ อาทิ เงินเดือน สวัสดิการด้านต่างๆ แต่เรื่องคนไม่ได้จ�ำกัดที่อาจารย์เท่านั้นครับ เรา ต้องการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตควบคูไ่ ปด้วย ในโลกวันข้างหน้าความรูย้ งั เป็นเรื่องส�ำคัญก็จริงอยูค่ รับ แต่ตอ้ งปฏิบตั ิ ได้จริงด้วย ดังนั้นมรส.จึงจับมือกับสถานประกอบการต่างๆ เพื่อน�ำนักศึกษาไปฝึกงาน นอกจากนี้เราต้องสร้างความ เป็นเลิศในเรื่องการเรียนการสอนและส่งเสริมงานด้านการวิจยั เพราะค�ำตอบของเราคือคุณภาพ เยาวชนคนสุราษฎร์ฯ เป็นเด็กทีม่ คี วามชาญฉลาด มีไหวพริบดีไม่แพ้ ใครนะครับ เพียงแต่โอกาสทีจ่ ะไปยืนแข่งขันกับผูอ้ ื่นนัน้ ไม่คอ่ ยมี ท�ำให้ เยาวชนของเราขาดทักษะในด้านนี้ มรส.ก็มีหน้าที่ช่วยหาช่องทางฝึกฝน เปรียบเหมือนการปั้นให้เขายืนอยู่ในสังคม ได้และเป็นที่ยอมรับ สร้างที่ 2 คือสร้างระบบธรรมาภิบาล ไม่ว่าสร้างคณาจารย์ สร้างคุณภาพบัณฑิต และสร้าง ความเป็นเลิศต่างๆ ทีผ่ มกล่าวไปนัน้ จ�ำเป็นต้องอยูภ่ ายใต้ความถูกต้อง เทีย่ งธรรม มีความไว้วางใจ โปร่งใส มากความ รับผิดชอบ และตรวจสอบได้ ส่วนสร้างที่ 3 คือสร้างความเป็นนานาชาติ เพราะเราก�ำลังจะเข้าสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน และต่อไปก็หนีไม่พ้นที่จะต้องติดต่อกับคนทั่วโลก ดังนั้นเรื่องการพัฒนาหลักสูตรไปสู่มาตรฐานการศึกษา โลกเป็นเรื่องทีเ่ ราต้องท�ำ รวมไปถึงระบบการสื่อสารต่างๆ ด้วย ตอนนีเ้ ราได้ท�ำเว็บไซต์สองภาษา โดยจัดจ้างชาวต่าง ประเทศมาท�ำงานร่วมกันกับบุคลากรของเรา เพื่อเปลี่ยนระบบการท�ำงานใหม่ และเตรียมพร้อมคณาจารย์ของเรา ไปด้วย เรื่องการเรียนภาษาเป็นสิ่งจ�ำเป็นมากในเวลานี้ครับ นอกจากภาษาอังกฤษแล้วยังมีภาษาจีนและภาษาบาฮาซา มลายู เพราะชาวอาเซียนใช้เยอะมาก ซึ่งเราได้เปิดหลักสูตรทั้งสองภาษานี้ ไปแล้ว โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยมาลายา แห่งประเทศมาเลเซีย และมหาวิทยาลัยในประเทศจีน โดยมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกัน กับประเทศจีนเรา มีโปรแกรมที่เรียกว่า 2+2 คือเรียนที่ มรส. 2 ปี และเรียนที่มหาวิทยาลัยในจีนอีก 2 ปี ส่วนที่วิทยาลัยนานาชาติการ ท่องเทีย่ วทีส่ มุยก็มกี ารแลกเปลีย่ นนักศึกษาอย่างต่อเนื่องเช่นกันครับ เป็นโครงการร่วมระหว่าง มรส. กับมหาวิทยาลัย กว่างซี และมหาวิทยาลัยชนชาติยูนาน ในคุนหมิง ที่จริงโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาเราท�ำมานานแล้วครับ และ ไม่ใช่แค่สองประเทศนีเ้ ท่านัน้ แต่ยงั มีฮงั การี และเมืองบูดาเปสต์ ซึง่ เป็นหลักสูตรด้านการท่องเทีย่ วเช่นกัน โดยร่วม กับมหาวิทยาลัย CCCT (College of Commerce, Catering & Tourism) และอีกหนึง่ โครงการทีก่ �ำลังขับเคลื่อนคือการตัง้ ศูนย์อาเซียนศึกษาเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศพม่า เพราะสุราษฎร์ฯ เป็นเมืองศูนย์กลางการเดินทางของภาคใต้ตอนบนและเป็นทางผ่านไปสูร่ ะนองซึง่ เป็นเมืองท่าไปสูพ ่ ม่า เวลานีก้ �ำลัง ด�ำเนินการเซ็น MOU กับมหาวิทยาลัยชุมชน และจะได้เชิญอาจารย์จากพม่ามาสอนต่อไป ในอนาคตผมยังคิดไปถึง การแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยต่างชาติแบบคณะต่อคณะ คือให้แต่ละคณะด�ำเนินการด้วยตนเอง ซึ่งน่า จะยิ่งท�ำให้การเรียนการสอนของเรากว้างไกลและขยับสู่คุณภาพระดับสากลได้เร็วขึ้นครับ และด้วยสโลแกนของ สถาบันทีว่ า่ “สร้างปัญญา ศรัทธาความดี” ผมจึงเน้นว่าเราต้องสร้างคนให้มคี วามเก่ง โดยก�ำกับควบคูไ่ ปกับจริยธรรมครับ” 22 Surat Law Journal


มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 23


งานกับชีวิต เรื่อง : ศศิธร บุญบรรเทิง ภาพ : ณรงค์ พฤกษาไพบูลย์

จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ

คณบดีคณะนิติศาสตร์

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยรู้จักเขาคนนี้ ในวัยที่ยังเป็นหนุ่มน้อย คงแทบไม่เชื่อสายตาว่าเด็กโรงเรียนวัด จะกลายมาเป็นทนายความได้ และที่น่าประหลาดใจกว่าก็คือวันนี้เขาเป็นครูบาอาจารย์คนส� ำคัญ ผู้ด�ำรง ต�ำแหน่งคณบดี คณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีคนปัจจุบัน... จากเด็กหนุม่ ที่ ไม่มจี ดุ มุง่ หมายในชีวติ แห่ง อ�ำเภอพุนพิน มุ่งหน้าเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อ เรี ย นร�่ำ เรี ย นกฎหมายจนสามารถคว้ า ปริญญาโทมานอนกอด และยึดอาชีทนายความ ในเมืองหลวงนานนับสิบปีจนไม่คิดว่าจะได้ กลับบ้านเกิด แต่แล้วชีวติ ก็กลับพลิกผัน ผลัก ดันให้เขาเดินหน้าสู่อาชีพอาจารย์ ในถิ่นเก่า โดยไม่คิดฝันมาก่อน และยังได้รับโอกาสอัน ดีจากผู้หลักผู้ ใหญ่ของสถาบันให้ท�ำงานด้าน บริหาร เริม่ จากเป็นรองคณบดี คณะนิตศิ าสตร์ จนกระทั่งสภามีมติแต่งตั้งเป็นคณบดี มีวาระ การด�ำรงต�ำแหน่ง 4 ปี นับตั้งแต่ 1 มีนาคม พ.ศ.2556 – 1 มีนาคม พ.ศ.2560 เส้นทางชีวิตที่ ไม่น่าเป็นไปได้กลับเป็นไป ได้เพราะอะไร...นัน่ เป็นประการแรกทีท่ �ำให้เรา อยากพบและพูดคุยกับเขา “อาจารย์จิตรดา รมย์ รัตนวุฒิ” ขณะเดียวกันก็ใคร่รู้ว่าการ บริหารงานการศึกษาเพื่อสร้างนักกฎหมาย คุณภาพป้อนสู่สังคมสุราษฎร์ฯและประเทศ ภายใต้การน�ำของเขานั้นเป็นอย่างไร และ ต่อจากนี้ ไปคือการพูดคุยระหว่างเรา.....

ก่อนอืน่ ต้องขอให้อาจารย์เท้าความว่าท�ำไมจึง มาเป็นอาจารย์ ทั้งที่จริงๆ ไม่เคยใฝ่ฝันมาก่อน และความเป็น “ครู” ได้ให้อะไรกับอาจารย์บ้าง

“ตอนที่เรียนอยู่มัธยมปลาย ผมรู้เพียงว่า ถ้าเรียนจบกฎหมายก็จะต้องไปเป็นทนายความ (ยิ้ม) ตอนนั้นผมเองก็ยังไม่มีแนวทางว่าชีวิต จะไปทางไหน ตัง้ ใจจะเลือกเรียนรัฐประศาสนศาสตร์ ด้วยซำ�้ ไป แต่พชี่ ายแนะน�ำว่าน่าจะไปเรียนกฎหมาย ทีร่ ามค�ำแหง ผมก็เลยเบนเข็มมาทางกฎหมาย ท่ามกลางความคาดหมายจากคนในหมู่บ้าน และพ่ อ แม่ ว ่ า อย่ า งไรผมก็ ค งเรี ย นไม่ จ บ 24 Surat Law Journal


(หัวเราะ) ต้องยอมรับครับว่าสมัยผมยังวัยรุ่น แม่ของผม จะได้รับเกียรติจากฝ่ายปกครองให้ไปพบบ่อยๆ ถึงขนาด แม่ออกปากว่าไม่ต้องไปเรียนหรอก แต่ผมก็ไปโดยไม่ขอ เงิน แล้วก็เรียนจบภายใน 3 ปีด้วย จากนั้นก็มีโอกาสไป ฝึกงานที่ส�ำนักงานทนายความแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมาก เลยติดลมบนเป็นทนายความอยูท่ กี่ รุงเทพฯ เกือบสิบปี จ�ำ ได้ว่าตอนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจมีงานเยอะมากครับ เพราะ หนี้แค่เงินหมื่นยังฟ้องร้อง แต่หลังจากนั้นเศรษฐกิจดีขึ้น หนี้เป็นล้านๆ ไม่ฟ้องกันเลย (ยิ้ม) ในเมื่ออยากจะเป็น ทนายว่าความแต่ไม่มีความจะให้ว่า ก็ต้องเปลี่ยนชีวิต ก็ ตัดสินใจว่าคงจะต้องท�ำงานวิชาการ และคงเป็นชะตาลิขติ ด้วยครับที่ได้ โอกาสเป็นครูบาอาจารย์ และได้รบั มอบหมาย ให้บริหารงานส�ำคัญ ซึ่งท�ำให้ผมพบว่าเราท�ำได้ ผมเชื่อว่า คนเราท�ำได้ทุกเรื่องถ้ามีความตั้งใจจริง การเป็นอาจารย์ท�ำให้ผมเห็นสิง่ หนึง่ ซึง่ สะกิดความรูส้ กึ ลึกๆ ของผม นัน่ ก็คอื ความคาดหวังของนักศึกษา เขามอง เราเป็นแบบอย่างและเป็นผู้น�ำทาง ดังนั้นผมจะไม่ได้ ให้ ความส�ำคัญแค่ด้านวิชาการอย่างเดียว แต่ผมใส่ใจความ เป็นไปในชีวิตของเขาด้วย เวลาผมเห็นนักศึกษาไม่ตั้งใจ เรียน ผมก็จะคุยกับเขาง่ายๆ ว่าชีวติ เริม่ ต้นของผมมันก็ไม่ ได้ดีเหมือนพวกคุณนั่นแหละ แต่คนเราเปลี่ยนแปลงตัว เองได้นะ เหมือนกับต้นไม้ ต่อให้ส่วนต้นจะคดเคี้ยว แต่ ถ้าส่วนปลายดีก็ยังน�ำไปสร้างบ้านได้ (ยิ้ม) เวลาที่ผมได้ เจอลู ก ศิ ษ ย์ ลู ก หาที่ จ บออกไปและพบว่ า วั น นี้ เ ขาเป็ น ข้าราชการ เป็นทนายความแล้ว ผมจะภูมใิ จว่าอย่างน้อยๆ เราได้มีส่วนช่วยเหลือสังคม เพราะการเป็นครูบาอาจารย์ คือผู้สร้างคนครับ”

ถ้าจะให้อาจารย์อธิบายถึงความส�ำคัญของกฎหมายให้ ประชาชนทั่วไปเข้าใจง่าย และเกิดความตระหนักที่จะเรียนรู้ อาจารย์จะอธิบายอย่างไร

“กฎหมายก็คอื กฎกติกาของสังคม มันจึงเป็นเรื่องจ�ำเป็น ที่ทุกคนต้องรู้ เพราะเกี่ยวข้องกับความสงบสุขของพวก เราเอง แต่เราไม่จ�ำเป็นต้องรูท้ กุ เรื่อง ขนาดตัวผมเองเป็น อาจารย์ด้านกฎหมายแต่ก็ไม่ได้รู้กฎหมายทุกเรื่อง เพราะ มันมีเยอะมาก เอาแค่เฉพาะเรื่องพืน้ ฐานทีเ่ กีย่ วข้องกับการ ใช้ชีวิตทั่วไปและเรื่องที่ตนเองต้องเกี่ยวข้องอยู่ก็พอครับ กฎหมายนัน้ ไม่ใช่เรื่องทีส่ กั แต่ใช้ไปตามต�ำราหรือตัวอักษร แต่ต้องใช้จิตวิญญาณในการพิจารณาด้วยครับ ไม่เช่นนั้น จะเกิดความวุ่นวายไม่จบ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น กฎหมาย จราจร วันนี้เราทุกคนมักเข้าใจไปตามตัวอักษรว่าขับรถไม่ ติดป้ายทะเบียนเป็นความผิดต้องถูกปรับเท่านั้น ทั้งๆ ที่ จริงๆ มี 3 ขั้นตอนในการลงโทษคือ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ และปรับ หมายความว่าถ้าปรับทันทีโดยเป็นความผิดครั้ง แรก ต�ำรวจก็คือผู้ท�ำผิดกฎหมายเสียเอง ประชาชนทีถ่ กู

ปรับก็เดือดร้อน แต่ถา้ ทัง้ สองฝ่ายมีความรูแ้ ละน�ำมาใช้แบบ มีจิตวิญญาณ สังคมก็จะมีความเอื้ออาทรต่อกันมากขึ้น ผลก็คือมีความสุขมากขึ้นด้วยครับ”

ความเป็นมาและหลักสูตรของคณะนิติศาสตร์ มรส. เป็น อย่างไร

“คณะนิติศาสตร์ถือเป็นคณะใหม่ครับ เราเปิดสอนรุ่น แรกเมื่อปี พ.ศ. 2550 ตอนนี้ผลิตบัณฑิตไปแล้ว 3 รุ่น มี หลักสูตร 3 ภาคคือ ภาคเรียนปกติ เรียนวันจันทร์-ศุกร์ ส่วนภาค กศ.บท. (กศ.บท. หมายถึง โครงการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรประจ�ำท้องถิ่น ) จะเรียนวันเสาร์อาทิตย์ เพื่อรองรับคนที่ ไม่มีเวลาในวันปกติ และมีภาค บัณฑิต ส�ำหรับผูท้ จี่ บปริญญาตรีในสาขาต่างๆ มาแล้ว แต่ ต้องการเรียนวิชากฎหมายเพิ่มเติมเพื่อน�ำไปใช้ ในธุรกิจ หรืออาชีพ โดยจะได้รับปริญญาตรีทางด้านกฎหมายเมื่อ เรียนจบและยกเว้นวิชาพื้นฐานด้วย มีระยะเวลาเรียน 2 ปีครึง่ ซึง่ ทีผ่ า่ นมาได้รบั ความสนใจจากนักธุรกิจชัน้ น�ำ ทหาร ต�ำรวจ ตลอดจนข้าราชการในท้องถิน่ มาก ปัจจุบนั มีนกั ศึกษา ต่อรุ่น 50 คนครับ ส่วนในระดับปริญญาโท เรามีก�ำหนด เปิดหลักสูตรในปีการศึกษา 2557 นีค้ รับ ผมอยากจะบอก ว่า มรส. พยายามจะเปิดโอกาสแก่ทุกคนได้มาเรียนวิชา กฎหมาย เพราะฉะนั้นอะไรที่ท�ำได้ เราก็ท�ำครับ”

อาจารย์คิดว่า ในโลกวันนี้ผู้ที่จะเป็นนักศึกษาวิชากฎหมาย ที่ดีควรมีคุณสมบัติเด่นเรื่องใด และปัจจัยอะไรบ้างที่สถาน ศึ ก ษาจะส่ ง เสริ ม ให้ พ วกเขาก้ า วไปสู ่ ค วามส�ำเร็ จ ในอาชี พ นักกฎหมายได้ในอนาคต

“นักศึกษาวิชากฎหมายจะต้องเป็นคนอ่านมาก ฟังมาก ครับ ถึงจะไม่เน้นการท่องจ�ำเหมือนการเรียนสมัยก่อน เป็นการเรียนเพื่อเข้าใจเสียมากกว่า แต่นักศึกษาก็ยังทิ้ง การจดจ�ำไม่ได้ ฉะนั้นจะต้องเป็นคนขยัน หูไวตาไว และ หมัน่ หาความรูเ้ พิม่ เติมอยูต่ ลอดเวลา ซึง่ ทางคณะก็พยายาม ส่งเสริมนักศึกษาในเรื่องนีด้ ว้ ยการจัดกิจกรรมหรือโครงการ ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการหาความรู้นอกห้องเรียน เช่น “โครงการพีช่ วนน้องเรียน” ทีช่ ว่ ยดึงศักยภาพของนักศึกษา ทัง้ รุน่ พีแ่ ละรุน่ น้องออกมา นักศึกษารุน่ พีก่ ็ได้ทบทวนความ รู้ ส่วนรุน่ น้องก็มที ปี่ รึกษาแนะน�ำ และยังเป็นการน�ำความ รูท้ เี่ รียนมานัง่ ถกกัน เป็นการเปิดมุมมองความรูเ้ หมือนติว ไปในตั ว ด้ ว ย ขณะเดี ย วกั น ก็ เ ชิ ญ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ จ าก ส่วนกลาง ซึ่งแต่ละท่านเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทาง กฎหมายและมีประสบการณ์ ในการท�ำงานมากมายมาเป็น อาจารย์พเิ ศษ เช่น ศาสตราจารย์พเิ ศษ จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม ท่านเหล่านี้จะช่วยเพิ่มพูนมุมมองด้านการ พิจารณากฎหมายและอื่นๆ แก่นักศึกษาได้มากครับ สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 25


ในฐานะทีเ่ ป็นผูบ้ ริหารในวันนี้ อาจารย์ได้วางเป้าหมายของ คณะนิติศาสตร์ มรส. ในอนาคตไว้อย่างไร

“ผมตั้งเป้าว่าเราจะก้าวไปถึงความเป็น ‘ตักศิลาทาง ด้านกฎหมาย’ คือเป็นศูนย์รวมองค์ความรูท้ างด้านกฎหมาย ของภาคใต้ตอนบนครับ สถาบันการศึกษามีหน้าที่เป็น แหล่งข้อมูลให้แก่ประชาชน สิง่ ทีเ่ ราพยายามท�ำคือพิจารณา ท้องถิน่ ของเราเองว่าศาสตร์ทางด้านกฎหมายเฉพาะเรื่อง ไหนบ้างทีม่ คี วามจ�ำเป็นต่อสังคม เราก็จะจัดหลักสูตรการ อบรมต่างๆ เกีย่ วกับกฎหมายด้านนัน้ ขึน้ มา เช่น กฎหมาย ทรัพย์สนิ ทางปัญญา กฎหมายทีเ่ กีย่ วกับการขนส่ง กฎหมาย ด้านการปกครองท้องถิน่ หรืออื่นๆ แต่ทกี่ �ำลังด�ำเนินการ อยูแ่ ล้วในตอนนีก้ ค็ อื การบริการทางวิชาการด้านกฎหมาย เพื่อการเผยแพร่ความรูด้ า้ นกฎหมายไปสูป่ ระชาชนทัว่ ไป และช่วยเหลือให้ค�ำแนะน�ำฟรีด้วยครับ โดยเรามี ‘ศูนย์ ศึกษาอบรมและช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย’ อยู่ ทีค่ ณะนิตศิ าสตร์ ชัน้ 2 มีคณาจารย์ของเราสับเปลีย่ นกัน ให้ค�ำปรึกษา และยังมีรายการวิทยุที่ สวท. FM.89.75 MHz เป็ น รายการตอบปั ญ หาด้ า นกฎหมายแก่ ป ระชากรใน ท้องถิ่น และมีแผนว่าในปีนจี้ ะมีการขยับขยายน�ำรายการ มาผลิตในสถาบันเองด้วยครับ นอกจากนีย้ งั มีบริการความ รู้ ให้แก่องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่น โดยแบ่ง เป็น 2 ลักษณะ คือไปตามค�ำร้องขอ เป็นความประสงค์ ขององค์กรที่แจ้งมายังเราว่าต้องการให้ไปเติมเต็มข้อมูล กฎหมายในเรื่องใด อีกลักษณะคือเราเข้าไปบริการให้ขอ้ มูล ในเรื่องใดเรื่องหนึง่ ทีม่ คี วามจ�ำเป็นต่อเขาเอง เช่นทีเ่ ราท�ำ ‘โครงการส�ำนึกรักบ้านเกิด’ ซึ่งเราปลูกฝังนักศึกษาของ เราว่า เมื่อใดก็ตามที่ชุมชนของคุณมีปัญหาทางกฎหมาย คุณจะนิง่ ดูดายไม่ได้ ต้องช่วยกันแก้ เพราะอาชีพของคุณ ต้องท�ำให้สังคมสงบสุข โดยเราจะส่งวิทยากรซึ่งก็เป็น อาจารย์ทมี่ คี วามรูแ้ ละเชีย่ วชาญในเรื่องนัน้ ๆ ลงไปในพืน้ ที่ นักศึกษาจะท�ำหน้าที่ผู้ประสานงานให้เกิดการพบปะพูด คุยกันระหว่างชาวบ้านและวิทยากร นอกจากจะเป็นการ ช่วยสังคมแล้ว ก็ยังเป็นโอกาสในการฝึกทักษะที่ดีมากให้ แก่นักศึกษาด้วย ซึ่งจะท�ำให้เขาตอบตัวเองได้ ในที่สุดว่า หลังจากส�ำเร็จการศึกษาแล้ว คุณจะไปเป็นอะไรต่อครับ”

อีกไม่นานเราจะก้าวไปสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาจารย์ คิดว่าคนสุราษฎร์ฯ ควรตื่นตัวในกฎหมายเรื่องใดเป็นพิเศษ หรือไม่

“ถ้าในภาพรวมผมคิดว่าประชาชนต้องรูส้ ทิ ธิของตัวเอง ก่อนว่ามีแค่ไหน เพียงไร และอย่างน้อยต้องรูว้ า่ มีใครบ้าง ที่จะเป็นที่พึ่งพิงหรือให้ค�ำแนะน�ำในด้านกฎหมายได้เมื่อ มีปัญหา ที่จริงตอนนี้ก็มีองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน มากมายทีท่ �ำหน้าทีป่ กป้องสิทธิของประชาชน แต่ประชาชน ไม่รู้ว่ามี...ตรงนี้เราก็พยายามให้ข้อมูลแก่ประชาชนผ่าน 26 Surat Law Journal

ช่องทางที่มีอยู่ เช่น รายการวิทยุ และศูนย์ช่วยเหลือฯ ส่วนในแง่กฎหมายเฉพาะที่ควรรู้นั้น ผมมองว่าสุราษฎร์ฯ เป็นเมืองที่มีทรัพยากรมาก เป็นทั้งเมืองเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวอีกด้วย ดังนั้น การรุ ก ล�้ ำ สิ่ ง แวดล้ อ มจะเยอะและมี ค วามรุ น แรงมาก ประชาชนในแต่ละท้องถิน่ จะต้องรวมตัวกันให้เหนียวแน่น โดยเฉพาะผู้น�ำชุมชนจะต้องมีความเข้มแข็ง มีความรู้ ใน กฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่เช่นนั้นก็จะเหมือนไม้ซีกงัด ไม้ซงุ ส่วนสถาบันการศึกษาในท้องถิน่ ก็มหี น้าทีเ่ ป็นพีเ่ ลีย้ ง ให้ประชาชนว่า ถ้าวันดีคืนดีมีคนมาตั้งโรงงานในชุมชน มาทิ้งน�้ำเสีย มาบุกรุกป่า มาคราดหอย เขาจะต้องต่อสู้ เพื่อรักษาสิทธิอ์ ย่างไร ขัน้ ตอนเป็นแบบไหน เราไม่จ�ำเป็น ต้องคุยให้ชาวบ้านเข้าใจตัวบทกฎหมายหรอกครับ แต่ตอ้ ง พยายามให้เขารูว้ า่ ตัวเองมีสทิ ธิ์ จะใช้สทิ ธิ์ และรักษาสิทธิ์ อย่างไร แค่นี้ก็จะช่วยได้มากแล้วครับ” การพูดคุยในครั้งนี้ นอกจากจะได้บทสรุปที่เป็นการ ตอกยำ�้ ว่าความตัง้ ใจจริงคือปัจจัยทีน่ �ำไปสูค่ วามส�ำเร็จแล้ว ยังสะกิดให้ตระหนักถึงความส�ำคัญของกฎหมายด้วย ถ้า วันนีเ้ รายังคิดกันเพียงว่ากฎหมายเป็นเรื่องไกลตัว ประเทศ ชาติของเราคงเดินหน้าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้ไม่สวยงามเต็มภาคภูมิ เรียนรู้เพียงวันละนิด แค่คิด ชีวิตที่สดใสก็รออยู่ข้างหน้าไม่ไกลแล้ว...


จริยธรรมกับนักการเมือง เรื่อง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบนั ได้ก�ำหนดให้มบี ทบัญญัตเิ กีย่ วกับ จริยธรรมของนักการเมืองซึ่งน�ำไปสู่ข้อโต้เถียงในวงกว้างว่า ท�ำไมจึ ง ให้ ค วามส�ำคั ญ กั บ เรื่อ งดั ง กล่ า วในขณะที่ ป ั ญ หา เรื่องอื่นๆ นั้นสมควรถูกหยิบยกมาแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพราะ ถึงอย่างไรบทบัญญัติในเรื่องจริยธรรมคงไม่สามารถแก้ ไข ปัญหาความประพฤติของนักการเมืองบางกลุ่มได้ หากพิจารณาถึงความหมายของค�ำว่า “จริยธรรม” ในมุม มองของวิชาปรัชญาแล้ว วิชาจริยธรรม (Ethics) จะศึกษา เกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จ�ำแนกว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ ถูกต้องดีงาม และสิ่งใดเป็นสิ่งที่ผิดที่ ไม่ควรปฏิบัติ โดยมีคน จ�ำนวนมากเข้าใจว่าจริยธรรมนัน้ เป็นสิง่ ทีอ่ ยูภ่ ายในจิตใจของ แต่ละปัจเจกชน ซึง่ แต่ละคนนัน้ อาจมีมาตรฐานทางจริยธรรม ที่แตกต่างกัน ส�ำหรับแง่มุมทางกฎหมายนั้นพจนานุกรมแบล็ค ลอว์ (Black’s Law Dictionary) ได้นิยามไว้ว่า “จริยธรรม คือ หน้าที่ทางศีลธรรมและจริยธรรมที่บุคคลพึงมีต่อบุคคลอื่น ซึ่งอาจจะอยู่ ในรูปของกฎเกณฑ์อันถือเป็นมาตรฐานที่ต้อง ปฏิบัติตาม” อันเป็นการท�ำให้มาตรฐานทางจริยธรรมนั้นอยู่ ในรูปของข้อก�ำหนดเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติดังเช่น จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ (Professional Ethics) หรือ จริยธรรมในวิชาชีพ (Code of Ethics) ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพ ในแต่ละสาขาควรประพฤติปฏิบตั ิ โดยได้มผี กู้ ล่าวไว้วา่ จริยธรรม ในแต่ละวิชาชีพควรมีองค์ประกอบดังนี้ 1. มาตรฐานความประพฤติสว่ นบุคคลทีผ่ อู้ ยูใ่ นวิชาชีพนัน้ พึงปฏิบัติ หรือไม่พึงปฏิบัติ 2. จุดส�ำคัญในการปฏิบัติตนในลักษณะหรือวิธีการท�ำงาน ตามวิชาชีพ 3. ลักษณะความสัมพันธ์อันพึงมีต่อบุคคลอื่น ทั้งในระดับ เดียวกัน หรือในระดับที่สูงกว่า หรือต�่ำกว่า 4. ความคาดหวังทีอ่ งค์กรอยากให้ผนู้ นั้ รับผิดชอบต่อสังคม และชุมชน ส�ำหรับในต่างประเทศได้มีนักคิดหลายท่านที่วิพากษ์ถึง จริยธรรมของนักการเมืองจนน�ำไปสู่การจัดท�ำกฎหมายที่มี ลักษณะเป็นการควบคุมจริยธรรมของนักการเมืองขึ้น เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยสภาคองเกรส (Congress) ได้จดั ท�ำ ประมวลจริยธรรมของนักการเมือง ค.ศ. 1978 (The Ethics in Government Act of 1978) ขึน้ ภายหลังจากคดีวอเตอร์เกท (Watergate Scandal) อันอื้อฉาวโดยมีวัตถุประสงค์จะสร้าง มาตรฐานทางจริยธรรมทางการเมือง โดยมุ่งหวังให้ผู้ด�ำรง ต�ำแหน่งทางการเมืองจะต้องมีความโปร่งใสในการท�ำงานและ สามารถตรวจสอบได้ ในขณะเดียวกันก็จะต้องเป็นผูท้ มี่ คี ณ ุ ธรรม และจริยธรรมควบคู่กันไป โดยที่กฎหมายดังกล่าวได้ก�ำหนด

หลักเกณฑ์เกีย่ วกับการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สนิ และหนีส้ นิ รวมถึงการรับสิทธิประโยชน์ตา่ งๆ ไว้อย่างละเอียดและเป็นระบบ ซึ่งต่อมาได้มีการก่อตั้งส�ำนักงานจริยธรรมของรัฐ (Office of Government Ethics) รวมกับส�ำนักงานการจัดการบุคลากร (Office of Personal Management) เพื่อท�ำหน้าที่ในการก�ำหนด นโยบายด้านการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรม ติดตามดูแลให้ ค�ำแนะน�ำแก่เจ้าหน้าที่ด้านจริยธรรมที่มีประจ�ำอยู่ในหน่วยงาน ของรัฐ โดยทีผ่ อู้ �ำนวยการของส�ำนักงานจริยธรรมแห่งรัฐมีอ�ำนาจ ในการก�ำหนดทิศทางโดยรวมเกีย่ วกับการป้องกันการขัดกันของ ผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งกล่าวโดยสรุป หลักการส�ำคัญของกฎหมายดังกล่าว ครอบคลุมถึง 1. การก�ำหนดให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างระดับสูงของรัฐต้อง ยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สนิ เมื่อเข้ารับต�ำแหน่งใหม่และเมื่อพ้นจาก ต�ำแหน่งเพื่อให้ส�ำนักงานจริยธรรมตรวจสอบความถูกต้องและ เปิดเผยต่อสาธารณะในกรณีที่มีผู้ร้องขอ 2. การก�ำหนดข้อห้ามในการด�ำเนินกิจกรรมบางประการของ เจ้าหน้าที่ของรัฐภายหลังการพ้นจากต�ำแหน่ง 3. การก�ำหนดบทลงโทษทางแพ่งส�ำหรับผู้ละเมิดกฎหมาย ฉบับนี้ 4. การก่อตัง้ ส�ำนักงานจริยธรรมแห่งรัฐเพื่อให้ค�ำปรึกษาเกีย่ ว กับการกระท�ำที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 5. การแต่งตัง้ ทีป่ รึกษาจากบุคคลภายนอกเพื่อสอบสวนฟ้อง ร้องด�ำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระท�ำผิดกฎหมาย 6. การก�ำหนดมิให้เจ้าหน้าทีห่ รือลูกจ้างระดับสูงมีรายได้หรือ ด�ำเนินกิจกรรมที่จะได้รับผลตอบแทนนอกเหนือไปจากการ จ้างงานของรัฐ หลายท่านอาจจะคิดว่าข้อก�ำหนดเหล่านีน้ นั้ มีอยูใ่ นกฎหมาย หลายๆ ฉบับของประเทศไทยอยูแ่ ล้ว แต่หากได้ท�ำการศึกษาให้ ละเอียดจะพบว่า ยังมีชอ่ งว่างอีกหลายประการซึง่ จะน�ำมาสูก่ าร ขัดกันของผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ ในหน้าที่ ซึง่ กฎหมายของประเทศอื่นๆ เช่นสหรัฐอเมริกาดังที่ ได้กล่าวมา นัน้ มีลกั ษณะทีก่ �ำหนดรายละเอียดปลีกย่อยไว้ โดยสมควรโดยที่ มิได้มีบทบัญญัติที่มีลักษณะครอบคลุมกว้างๆ และต้องอาศัย การตีความซึ่งอาจจะน�ำมาสู่ปัญหาในภายหลัง ดังนั้นแนวทาง หนึ่งที่น่าจะน�ำมาพิจารณาคือ การจัดท�ำประมวลจริยธรรมที่มี ลักษณะรวบรวมบทบัญญัตทิ มี่ กี ารกระจายอยูต่ ามกฎหมายต่างๆ มาจัดหมวดหมู่ให้เรียบร้อย และมีรายละเอียดชัดเจนเพื่อเป็น แนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนของนักการเมืองต่อไป ซึ่ง หากผู้ ใดเป็นผูท้ มี่ จี ริยธรรมอย่างทีก่ ล่าวอ้างเอาไว้ตอนหาเสียง ก็คงจะไม่มคี วามเดือดร้อนใดๆ เกิดขึน้ มาจากประมวลจริยธรรม ดังกล่าว สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 27


วันว่าง เรื่อง : ศศิธร บุญบรรเทิง ภาพ : ณรงค์ พฤกษาไพบูลย์

ล่องเรือยอร์ช จากสมุยสู่ทะเลใน

28 Surat Law Journal


มีโอกาสได้ตามคณะข้าราชการไปต้อนรับท่านอธิบดีกรมการปกครอง ‘ชวน ศิรินันท์พร’ ที่เดินทางมาเยี่ยมเยียนผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อบ้านเพื่อ เมือง ในฉบับปฐมฤกษ์นี้จึงเก็บเกี่ยวเอาเรื่องราวดีๆ ของสถานที่ท่องเที่ยว ที่ถูกจัดให้อยู่ใน ‘ระดับเวิลด์คลาส’ มาฝาก...

ทีแ่ ห่งนัน้ คือเกาะกลางอ่าวไทยทีม่ ชี ื่อ ว่า ‘สมุย’ สมุยมีเนื้อที่ 247 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ 1 ใน 3 เป็นที่ราบซึ่งรายล้อมภูเขา ใหญ่ตรงกลางเกาะเอาไว้ และโด่งดังไป ทัว่ โลกในเรื่องชายหาดว่าสวยงาม สะอาด สะอ้าน นอกจากนีย้ งั มีนำ�้ ตก วัดวาอาราม สถานที่ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ ตลอด จนมีประเพณีและศิลปในการด�ำเนินชีวติ ทีน่ า่ สนใจให้ชม และยังเต็มไปด้วยโรงแรม และรีสอร์ทระดับ 5 ดาว สนามกอล์ฟ และ สปาระดับมาตรฐานโลก นอกจากนี้ยัง เป็นศูนย์กลางการเดินทางระหว่างเกาะ ต่างๆ กลางอ่าวไทย สมุยในวันนี้จึงเป็น ความกลมกลืนระหว่างธรรมชาติกบั ความ เจริญที่เป็นเสน่ห์เฉพาะตัวอย่างยิ่ง และแม้จะมีชายหาดทีส่ วยงามอยูท่ วั่ ทั้งเกาะ แต่หาดที่ ได้รับความนิยมจาก ชาวต่างชาติมากจนแทบไม่มวี นั หลับใหล ก็คอื ‘หาดเฉวง’ และ ‘หาดละไม’ เพราะ มีเวิ้งหาดที่เต็มไปด้วยทรายละเอียดสี ขาวยาวสุดลูกหูลูกตา เหมาะแก่การท�ำ กิจกรรมทางน�ำ้ และกิจกรรมบนชายหาด ทุกชนิด และยังคลาคล�่ำไปด้วยร้านค้า และบริการด้านการท่องเที่ยวครบครัน

ไม่ ว ่ า จะเป็ น ร้ า นอุ ป กรณ์ กี ฬ าทางน�้ำ โรงเรียนสอนด�ำน�้ำ ร้านอาหาร ผับ บาร์ ร้านเสือ้ ผ้า ร้านสินค้าทีร่ ะลึก ห้างสรรพ สินค้า ฯลฯ นักท่องเทีย่ วทีเ่ ดินทางมาสมุย จึงไม่ยอมพลาดทีจ่ ะมาสัมผัสบรรยากาศ อันแสนคึกคัก โดยเฉพาะในยามค�่ำคืน เช่นเดียวกับคณะของเราที่เลือกมาแวะ พักในรีสอร์ทงามริมหาดเฉวง และได้ ดื่มด�่ำบรรยากาศแสนที่จะ Chill & Chic จนเต็มอิ่มในคืนแรก เช้าวันที่ 2 ของการท่องเที่ยว คณะ ของเราตื่นแต่เช้าด้วยความตื่นเต้น เพราะ วันนี้มีโปรแกรมท่องเที่ยวที่ ไม่ธรรมดา รออยู่ นัน่ คือการล่องเรือยอร์ชสูท่ ะเลใน หลังจากชาวคณะมาพร้อมเพรียงกันที่ ท่าเรือผู้ ใหญ่นนท์ เราจึงบ่ายหน้าฝ่าทะเล ครามสู ่ ‘อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ห มู ่ เ กาะ อ่างทอง’ ซึง่ อยูห่ า่ งจากสมุยไปทางทิศ ตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร หมูเ่ กาะ อ่างทองประกอบด้วยเกาะเล็กเกาะน้อย 42 เกาะ เดิ ม เคยเป็ น พื้ น ที่ ห วงห้ า ม ของกองทั พ เรื อ แต่ เ พราะมี ทิ ว ทั ศ น์ สวยงามและมี ค วามหลากหลายทาง กายภาพและระบบนิเวศ กรมป่าไม้จงึ ได้ พิจารณาให้หมู่เกาะแห่งนี้เป็นอุทยาน

แห่งชาติทางทะเล และเป็นอุทยานแห่ง ชาติล�ำดับที่ 21 ของไทย จุดท่องเที่ยวบนหมู่เกาะอ่างทองนี้มี หลากหลาย เกาะทีเ่ ป็นทีต่ งั้ ของทีท่ �ำการ อุทยานคือ ‘เกาะวัวตาหลับ’ ซึ่งนักท่อง เทีย่ วนิยมเดินทางมาเล่นนำ�้ และอาบแดด เมื่อขึน้ ไปยังจุดชมทิวทัศน์บนยอดเขาจะ มองเห็นหมู่เกาะอ่างทองทอดตัวเรียง เป็นจังหวะ สวยเสียจนลืมความเหนื่อย นอกจากนี้ ยังมี ‘ถ�้ำบัวโบก’ ซึ่งมีความ แปลกและเด่นด้านธรณีวทิ ยา โดยเฉพาะ หินงอกหินย้อยที่มีรูปร่างคล้ายดอกบัว บาน แต่ไฮไลท์ของการท่องเที่ยวในวัน นี้ก็คือการชม ‘ทะเลใน’ บนเกาะแม่ เกาะ ทะเลในเป็นทะเลสาบน�ำ้ เค็มเพียง แห่งเดียวกลางอ่าวไทย นักธรณีวิทยา ให้ขอ้ สันนิษฐานว่าเกิดจากการยุบตัวของ หินชั้นล่าง ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับ การก�ำเนิดหมูเ่ กาะแห่งนีเ้ มื่อหลายล้าน ปีมาแล้ว ชาวเกาะสมุยเล่าว่าวันดีคืนดี จะมีปลาตัวใหญ่ยักษ์ว่ายวนขึ้นมายัง ผิวน�้ำบริเวณทะเลใน และห้ามทักเด็ด ขาด! เพราะจะท�ำให้ปลาตกใจจากไป เชื่อ กันว่าจะให้ผู้ทักประสบเคราะห์ร้ายแรง ชนิดคาดไม่ถึง แม้จะไม่มีใครพิสูจน์ว่า สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 29


เรื่องนี้มีมูลความจริงมากน้อยแค่ไหน แต่ชาวคณะของเราก็ไม่มีใครกล้าปริปาก ทักปลา แม้จะตัวเล็กเท่าปลาซิวปลาสร้อยก็ตาม... ระหว่างการเดินทางสู่ทะเลใน เราได้พบเห็นนักท่องเที่ยวพายคายัคลัดเลาะ ชมทิวทัศน์ของเพิงผารอบเกาะต่างๆ เป็นระยะ สลับกับนักท่องเที่ยวที่ก�ำลัง Snorkeling จึงร้องถามไกด์ผู้น�ำทางท�ำให้ทราบว่านักท่องเที่ยวเหล่านี้เดินทางมา กับทัวร์ ในลักษณะ One Day Trip ซึง่ จะมีบริษทั ทัวร์ ให้บริการมากมายอยูบ่ นเกาะสมุย สนนราคาไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก จุดที่สามารถด�ำน�้ำตื้นได้ดีก็คือบริเวณ ‘เกาะ สามเส้า’ ‘เกาะท้ายเพลา’ และ ‘เกาะวัวกันตัง’ ทั้ง 3 เกาะนี้มีแนวปะการังน�้ำตื้น ที่สวยงามมาก และยังมีเส้นทางเดินชมธรรมชาติที่น่าสนใจทั้งทางบกและทางน�้ำ อีกหลายเส้นทางด้วย อาจเป็นเพราะมัวแต่ Snorkeling กันแบบลืมวัยแล้ว พอขึ้นเรือล�ำหรูเพื่อเดิน ทางกลับ ชาวคณะของเราเลยเริม่ สัปหงก ร่วงผ็อยไปทีละคนสองคนจนเกือบหมด ทั้งล�ำเรือ จะคึกคักก็เพียงกัปตันกิตติมศักด์ ‘ผู้ ใหญ่วิทย์’ แห่งเกาะสมุยเท่านั้น เพราะต้องท�ำหน้าที่สารถีน�ำพาชาวคณะเข้าฝั่งทั้งที่เครื่องยนต์ดับไปเครื่องหนึ่ง ด้วยเหตุสุดวิสัย แม้จะถึงฝั่งสมุยในเวลาเย็นย�่ำด้วยความเพลีย แต่ชาวคณะของ เราก็กลับตาสว่างทันทีเมื่อมีอาหารหน้าตาดี แถมอร่อยอย่างแรงของ ‘ร้านบุปผา’ ณ หาดบ่อผุด มาตั้งวางอยู่ตรงหน้า แล้วเราก็จบวันด้วยเสียงเพลงที่เพราะบ้าง ไม่เพราะบ้างจากนักร้องจ�ำเป็นในคณะ แต่ถึงอย่างนั้นก็มีความสุขและประทับ ใจเสียจนไม่อยากแยกย้ายกลับไปพักผ่อน เช้าวันที่ 3 ชาวคณะใช้เวลาช่วงสุดท้ายนี้ ตระเวนท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ บนเกาะ เพราะนอกจากชายหาดสวยแล้ว สมุยยังมีสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วชื่อดังอีกมาก ที่ชาวคณะไม่ยอมพลาดก็คือวัดพระใหญ่ สถานที่ประดิษฐาน ‘พระใหญ่’ หรือ ‘พระพุทธโคดม’ พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่เล่าลือกันว่าศักดิ์สิทธิ์เหลือประมาณ ดังนั้นแม้จะมีโปรแกรมท่องเที่ยวหนาแน่นแค่ไหน ก็ต้องขอเบียดคิวให้ได้แวะมา สักการะขอพรสัก 10 นาทีก็ยังดี พระใหญ่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 มีขนาด หน้าตักกว้าง 5 วา 9 นิ้ว สูง 6 วา ประดับด้วยกระเบื้องสีเหลืองทองทั้งองค์ เป็น พระพุทธรูปกลางแจ้งที่ใหญ่ทสี่ ดุ ของภาคใต้ รอบๆ บริเวณมีศาสนสถานทีป่ ระดิษฐาน

30 Surat Law Journal


พระพุทธรูปปางต่างๆ และเจ้าแม่กวนอิม หากเดินขึ้นไปตามบันไดทางขึ้นสู่องค์ พระซึ่งสูง 60 ขั้น จะมองเห็นเกาะพะงันและทัศนียภาพโดยรอบที่บอกได้ค�ำเดียว ว่าสวยมาก เมื่อพูดถึงสถานที่ที่มีความส�ำคัญต่อจิตวิญญาณ ที่ที่ ไม่ควรพลาดชม อีกแห่งคือ ‘เจดียแ์ หลมสอ’ เพราะงดงามมลังเมลืองด้วยใช้กระเบือ้ งสีทองประดับ ทั้งองค์ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างโดย ‘หลวงพ่อแดง’ พระภิกษุที่ชาว สมุยเคารพให้ความเคารพนับถือยิ่ง เพราะไม่เพียงท่านจะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบยาม ที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น แม้มรณภาพไปนานแล้วด้วยอุบัติเหตุเรืออับปางตั้งแต่ พ.ศ. 2519 แต่วันนี้สรีระสังขารของท่านก็ยังคงไม่เน่าเปื่อย นับเป็นปาฏิหาริย์แห่งบุญ บารมีที่ชาวพุทธควรมาชมให้ประจักษ์แก่สายตา จากนั้นเราเดินทางไปชมความสวยงามของประติมากรรมธรรมชาติ ที่เป็น สัญลักษณ์ของเกาะสมุยไปแล้วก็คอื ‘หินตา-หินยาย’ หินปูนทีม่ รี ปู ร่างดูคล้ายกับ อวัยวะเพศชายและหญิง ก่อเกิดเป็นต�ำนานเล่าขานความเป็นมาว่า หินทั้งคู่เกิด จากร่างของตายายคูห่ นึง่ ทีเ่ รือล่มเสียชีวติ ตรงหน้าหาด นอกจากนี้ ยังไม่ควรพลาด ‘น�้ำตกหินลาด’ น�้ำตกขนาดกลางที่มีชั้นเตี้ยๆ ลดหลั่นกันลงมาเป็นทางยาว ระดับ น�้ำไม่แรง บางช่วงเป็นแอ่งสามารถลงเล่นน�้ำอย่างปลอดภัย และถ้าเดินทางมา ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ สองข้างทางสู่น�้ำตกซึ่งเป็นสวน ‘ลางสาด’ ของชาวบ้าน จะแข่งกันออกผล เหลืองอร่ามไปทั้งต้น อีกแห่งที่ ไม่ควรพลาดคือ ‘น�้ำตกหน้าเหมือง’ หรือ ‘หน้าเมือง’ มีอยู่ 2 แห่ง อยู่ห่างจากหน้าทอน 14 กม. น�้ำตกหน้าเหมือง 1 นั้นมีถนนตัดเข้าถึงน�้ำตก มีความสูงราว 15 เมตร ในช่วงบ่าย แสงแดดจะส่องกระทบละอองน�้ำมองเห็นเป็นรุ้งกินน�้ำตัวเล็กๆ พาดกลางน�้ำตกดู สวยงามมาก ส่วนน�้ำตกหน้าเมือง 2 นั้นต้องเดินเท้าขึ้นเขาสูงไปราว 30 นาที น�้ำ จึงไหลแรง ถูกใจผู้ที่ชอบความท้าทาย แม้จะกลับสูแ่ ผ่นดินใหญ่แล้ว แต่ใจก็ยงั อดคิดถึงวันคืนแห่งความสุขบนเกาะสมุย ไม่ได้ นับเป็นโชคดีของคนไทยจริงๆ ที่ธรรมชาติได้เนรมิตสถานที่ท่องเที่ยวอันมี ทรัพยากรธรรมชาติครบพร้อม เมื่อมาผสานกับวิถีชีวิตของผู้คนและความเจริญ ที่พอเหมาะพอดี สมุยจึงเป็นดินแดนที่ใครๆ ก็ถวิลหา อย่าว่าแต่ฝรั่งตาน�้ำข้าว แม้คนไทยเราเองก็คลั่งไคล้สมุยจนแทบไม่อยากจากจร...

เกร็ดความรู้เรื่องกฎหมายเมื่อไปเที่ยว ในการไปท่องเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ อาทิ ด�ำน�้ำชมปะการัง หรือเดินป่า ถ้านักท่องเทีย่ วเผลอไปเหยียบปะการังหักเสียหาย หรือเก็บพันธุ์ ไม้ ป่าออกมาภายนอก จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร

ตอบ

ประเด็นแรก ถ้าเราเผลอไปเหยียบปะการังหักเสียหายนั้นไม่มีความผิดค่ะ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจที่จะเหยียบปะการัง แต่ถ้าเราตั้งใจเดินเหยียบย�่ำ หรือเผลอ เหยียบปะการังเสียหายมาก จะอ้างว่าเผลอเหยียบปะการังไม่ได้ มีความผิดตาม พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 16 (2) มีโทษจ�ำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ และมาตรา 24 มีความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 มาตรา 29 มีโทษจ�ำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ตามมาตรา 71 ทวิ ประเด็นที่สอง ถ้าเราก็บพันธุ์ไม้ป่าออกมาภายนอกนั้นมีความผิดตามพระราช บัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา16 (7),(8) มีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท ตามมาตรา 26 หรือมาตรา 27 และมีความผิดตามพระราชบัญญัตปิ า่ ไม้พทุ ธศักราช 2484 มาตรา 29 มีโทษจ�ำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้ง จ�ำทั้งปรับตามมาตรา 71 ทวิ เช่นกันค่ะ สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 31


สุข สุขภาพ เรื่อง : อมฤตา

ถึงเวลาระวัง !!! “ไข้หวัดใหญ่ Victoria”

เข้าสูช่ ว่ งปลายฝนต้นหนาวคราใด ก็เป็นอันรูท้ วั่ กันว่า ถึงเวลาทีเ่ รา ต้องดูแลสุขภาพอย่างเข้มข้น เพื่อเลี่ยงให้พ้นจาก “ไข้หวัดใหญ่” ที่นับวันเชื้อจะพัฒนาสายพันธุ์ให้เข้มแข็งมากขึ้นทุกที เช่นเดียวกับปีนี้ที่พบการระบาดครั้งใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ สายพันธุ์ เอช3เอ็น2 (H3N2) สายพันธุ์ย่อยวิคตอเรีย (A/Victoria/361/2011-like) ในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกาตามที่เป็นข่าวโด่งดังมาตั้งแต่ต้นปี จากข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและ ป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้รายงานว่าตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2555 - 5 มกราคม 2556 พบผู้ป่วยเป็นไข้หวัด ใหญ่จากเชื้อชนิดนี้สูงถึง 28,747 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตเป็นเด็ก 20 ราย แม้ว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3N2 จะไม่ใช่สายพันธุ์ ใหม่ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ และในสหรัฐฯ ก็มีการผลิตวัคซีนป้องกันส�ำเร็จมานานแล้ว แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าครั้งนี้เป็นการ ระบาดตามฤดูกาลที่มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่าปีก่อนๆ และมีการเริ่มต้นระบาดเร็วกว่าปกติ แม้ว่าเวลานี้ในประเทศไทยจะยังไม่พบการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดนี้ คงพบเพียงแต่ไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ H3N2 สาย พันธุ์ย่อยเพิร์ธ (A/Perth/16/2009) แต่ถึงอย่างนั้นก็คงต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น เพราะตามธรรมชาติของการแพร่ระบาดเชื้อ จะสามารถแพร่จากซีกโลกเหนือเข้ามาในไทยได้ โดยกระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่าเชื้อน่าจะถึงบ้านเราในกลางปีนี้ ซึ่งก็คือ ช่วงเวลานีน้ นั่ เอง!!... แต่กม็ ขี า่ วดีวา่ กระทรวงสาธารณสุขได้ส�ำรองวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุย์ อ่ ยวิคตอเรีย (A/Victoria/361/2011like) ไว้แล้ว รวมถึงยาโอเซลทามิเวียร์ที่จะใช้ ในการรักษาด้วย เป็นอันเบาใจไปได้ ในเรื่องการแพร่ระบาดที่รุนแรงจนมีอัตราการ เสียชีวิตสูง แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยสูงสุดเราจึงจ�ำเป็นต้องดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองอย่างถูกต้องด้วย โดย เฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจ�ำตัวโดยเฉพาะโรคที่ท�ำให้ภูมิต้านทานของ ร่างกายลดลง เช่น โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ เด็กเล็ก และสตรีมีครรภ์ แน่นอนว่าวิธกี ารป้องกันโรคทีด่ ที สี่ ดุ นัน้ ไม่ใช่การแห่ไปฉีดวัคซีน เพราะเป็นการสิน้ เปลืองโดยใช่เหตุเนื่องจากวัคซีนมีราคาสูง ทั้งยังตัดโอกาสของผู้ป่วยที่มีความจ�ำเป็นต้องได้รับยาจริงๆ ดังนั้นมาลงมือป้องกันโรคด้วยตนเองด้วยวิธีการง่ายๆ กันดีกว่า.... • รับประทานอาหารให้ครบหมู่ในปริมาณเพียงพอ และ ควรเป็นอาหารสดใหม่ทผี่ า่ นกระบวนการปรุงสุก ยิง่ ทานขณะ ยังร้อนได้ยงิ่ ดี ส่วนผักผลไม้ทตี่ อ้ งรับประทานสดนัน้ ต้องผ่าน การล้างท�ำความสะอาดอย่างพิถีพิถันก่อนน�ำมารับประทาน และควรเลือกผลไม้พื้นบ้านตามฤดูกาลเป็นหลัก • ดื่มน�้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี • ออกก�ำลังกายอย่างสมำ�่ เสมอ หลีกเลีย่ งบุหรี่ และเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ หากจ�ำเป็น ต้องดูแลผู้ป่วย ต้องสวมหน้ากากอนามัยและให้ผู้ป่วยสวม หน้ากากอนามัยด้วย และหลังดูแลผู้ป่วยทุกครั้งควรล้างมือ ซอกนิ้ว ซอกเล็บให้สะอาดทันทีด้วยน�้ำสะอาดและสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์ • ไม่ใช้เสือ้ ผ้า โดยเฉพาะผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น • ใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น • หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน�้ำสะอาดและสบู่ หรือเจล แอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง ไอ จาม หรือจับต้องสิ่ง อ�ำนวยความสะดวกสาธารณะ เช่น ราวบันได หูจับบนรถ สาธารณะ เครื่องใช้ส�ำนักงานส่วนกลาง ลูกบิดประตู ฯลฯ

32 Surat Law Journal

แต่หากพบว่าตนเองเสียท่าให้แก่ไข้หวัดไปเสียแล้ว คุณ ควรไปพบแพทย์ ในทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคให้ ชัดเจนว่าป่วยเป็นไข้หวัดชนิดใดกันแน่ ซึ่งไม่เพียงเป็นผลดี ต่อการรักษาอาการป่วยเท่านัน้ หากยังเป็นผลดีตอ่ การป้องกัน ไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปสู่คนในครอบครัวและสังคมด้วย สิ่งที่คุณต้องดูแลตัวเองหลังจากรับเชื้อก็คือ... • ควรหยุดงานหรือหยุดเรียนเป็นเวลา 3-7 วัน เพื่อให้ ร่างกายได้พักฟื้น และลดการแพร่ระบาด • ควรแยกห้องพักให้เป็นสัดส่วน และสวมหน้ากากอนามัย เมื่อต้องอยู่กับผู้อื่น • ไม่ใช้ข้าวของเครื่องใช้และเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น และควร แยกท�ำความสะอาดต่างหาก • ใช้ทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ ไอ จาม และทิ้งเศษ ทิชชูลงในถังขยะที่มีฝาปิด จากนั้นล้างมือให้สะอาดด้วยน�้ำ และสบู่ • งดการเดินทางไกลทุกกรณี รวมทั้งการเดินทางไปในที่ แออัดหรือสถานที่อันเป็นแหล่งชุมชน ถึงไข้หวัดใหญ่จะเป็นโรคทีเ่ ราคุน้ เคยแต่กเ็ ป็นโรคทีป่ ระมาท ไม่ได้ เพราะเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตในแต่ละปีไม่น้อย ทีเดียว คุณจึงควรดูแลตัวเองเสียตั้งแต่วันนี้ ใช่เพียงเพื่อ ตัวเองเท่านั้น หากยังรวมไปถึงคนอันเป็นที่รักด้วย


สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 33


ร้านอาหารน่าชิม เรื่อง : นายตะลอนชิม ภาพ : ณรงค์ พฤกษาไพบูลย์

อิ่มอร่อย หรอยจังฮู้ ที่ ร้านระแนงน�้ำ

มีโอกาสได้ผ่านมาพุนพิน ประตูสู่อ่าวบ้านดอน ถิ่นที่มีชื่อในฐานะเป็นเมืองสองผสานระหว่างความเก่า แก่ที่ทรงคุณค่ากับความทันสมัยของสังคมเมืองทั้งที ตามประสานักชิม ก็ต้องแวะเสาะหาร้านอาหารรสเด็ด มาฝากคุณผู้อ่านกันสักหน่อย... ว่าแล้วก็ชักชวนสารถีขับรถมุ่งตรงมาที่ “ระแนงน�้ำ” ร้าน อาหารน่านัง่ ริมน�ำ้ ตาปี เคยได้ยนิ ชื่อเสียงมานานว่ามีบรรยากาศ ดีดนตรีไพเราะ และอาหารอร่อยจนติดอันดับร้านดังของอ�ำเภอ มาตัง้ แต่เปิดเมื่อ 15 ปีทแี่ ล้วและยาวนานมาถึงวันนี.้ ..เราเลือก มุมเหมาะ โต๊ะริมระเบียงในบรรยากาศโอเพ่นแอร์ที่สามารถ มองเห็นทิวทัศน์ริมฝั่งน�้ำที่ยังคงเป็นธรรมชาติสวยได้ถนัด ไม่นานนัก “คุณตู่” และ “คุณอ้อม” ภรรยาและบุตรสาวของ ท่าน “จักรา วรกุล” นายก อบต.มะลวน ผู้เป็นเจ้าของร้าน ก็ออกมาต้อนรับด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม แม้คุณตู่จะเป็นผู้หญิงทันสมัย แต่ภายใต้บุคลิกที่เก๋ไก๋นั้น เธอกลับบอกว่าชอบเข้าครัวเป็นชีวิต โดยเป็นลูกมือช่วยคุณ แม่ คุณน้าท�ำอาหารมาตั้งแต่ยังสาว ครั้นเมื่อน้าคิดจะเปิด ร้านอาหาร เธอจึงเข้ามามีส่วนร่วมจนกลายมาเป็นเจ้าของ และผู้บริหารเต็มตัว เธอเล่าว่าที่มาของชื่อร้านนั้นเกิดจาก ความคิดร่วมกันของเธอ น้าและสามี ด้วยร้านในระยะแรกนัน้ ก่อสร้างด้วยไม้ไผ่ตเี ป็นระแนงดูเป็นกันเอง ก่อนจะปรับเปลีย่ น รูปแบบร้านมาสูย่ คุ ปัจจุบนั ทีม่ หี ลายโซนหลากอารมณ์ ให้เลือก นั่งตามใจชอบ ทั้งเรือนไม้ชิลล์ๆ ศาลาไม้มุงจาก และลานร่ม ไม้ โดยเธอจะอยูป่ ระจ�ำร้านคอยดูแลความเรียบร้อยทุกอย่าง ด้วยตนเองทุกวัน เมื่อถามว่าท�ำอย่างไรร้านระแนงน�ำ้ จึงกลาย

34 Surat Law Journal

เป็นร้านอาหารติดลมบนที่มีลูกค้าไม่ขาดสาย เธอตอบว่า... “ทีส่ ำ� คัญก็คอื รสชาติอาหารและการบริการค่ะ ดิฉนั เน้นว่า ต้องอร่อยและสดใหม่ เรื่องอร่อยหรือไม่อร่อย ความร้อนมี ผลมากค่ะ ต่อให้อาหารจะรสเพี้ยน แต่ความร้อนก็ช่วยกลบ ได้ ดิฉันให้ความส�ำคัญในเรื่องนี้มาก เพราะเราเองก็รู้สึกดีที่ ได้ทานอาหารปรุงเสร็จใหม่ๆ สังเกตไหมคะว่าเวลาทีเ่ ราไปงาน แต่งงานที่มีคนมาก ขนาดจัดจานสวย ใช้วัตถุดิบดี มองดูน่า ทาน แต่พอทานจริงๆ กลับรูส้ กึ ไม่อร่อยเท่าไรเลย ก็เพราะมัน ชืดไปแล้ว ดิฉนั ก็เลยอยากให้ลกู ค้าได้รบั สิง่ นีด้ ว้ ย เวลามีแขก จอง ไม่ว่าจะจัดเลี้ยง หรือมาเป็นส่วนตัวแล้วสั่งอาหารไว้ล่วง หน้า ดิฉันจะสอบถามลูกค้าเลยว่าจะถึงร้านกี่โมงคะ เพื่อเรา จะได้เตรียมอาหารถูกเวลา จะไม่ปรุงแล้วตัง้ ทิง้ ไว้จนเย็น และ จะขอความกรุณาลูกค้าด้วยว่า ถ้ามาเลทจากเวลาที่บอกให้ โทร.มาแจ้งทางร้านสักนิด เพื่อเราจะได้ปรับเวลาตาม บางครัง้ ลูกค้าก็บอกว่า ไม่เป็นไร อยากให้อาหารลงโต๊ะทันทีที่มาถึง ดิฉันก็ต้องพยายามอธิบายลูกค้าว่า แค่นั่งรอที่โต๊ะไม่นานนัก แต่คุณจะได้ทานอาหารที่อร่อยกว่า ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะเห็น ด้วยค่ะ (ยิ้ม) ส่วนเรื่องการบริการ ดิฉันจะบอกบอกพนักงาน เสมอว่า ลูกค้าคือคนส�ำคัญของคุณ เพราะฉะนั้นต้องดูแล อย่าให้ขาดตกบกพร่อง ถึงอาหารจะอร่อยแค่ไหน แต่ถ้าการ


บริการไม่ดี ก็ไม่มีใครอยากมาอีก บางวันมีลูกค้าเข้าก่อนที่ร้าน จะเปิด ดิฉันก็รับนะคะ ไม่อยากให้ลูกค้าผิดหวัง ไหนๆ ก็เดิน ทางมาแล้ว อีกอย่างเราก็พักอยู่ที่นี่ แต่ก็จะขอโทษลูกค้าว่าวัน นีพ้ นักงานเสิรฟ์ อาจจะแต่งตัวไม่เรียบร้อยนะคะ เพราะยังไม่ถงึ เวลาที่เขาเตรียมตัวท�ำงาน” จานเด็ด “Don’t Miss” ของระแนงน�้ำซึ่งเป็นเมนูสร้างชื่อ มาตั้งแต่เปิดร้านก็คือ “ลาบปลาช่อน” ที่คุณตู่บอกเราว่าเธอ ลุยตลาดไปคัดสรรปลาช่อนขนาดต่างๆ ด้วยตัวเองทุกเช้า ถ้า มาหลายคนหน่อยไซส์ของปลาก็จะโตตามหมูค่ ณะไปด้วย และ แน่นอนว่าราคาก็จะต่างไปตามน�ำ้ หนัก แหม...ขนาดชิมไปมาตัง้ หลายวันแล้ว ถึงตอนนี้รสชาติของปลาตาใสที่น�ำมาทอดจน กรอบเหลือง ราดเครื่องปรุงลาบสีจัดจ้าน ยังติดลิ้นติดใจอยู่... อีกจานที่พลาดไม่ได้คือ “แกงคั่วหอยขม” รสชาติเข้มข้นตาม แบบฉบับแกงใต้ หอมเครื่องแกงติดจมูก เพราะแม่ครัวลงมือ โขลกน�ำ้ พริกทุกชนิดเองทุกวัน โรยหน้าด้วยใบชะพลูและยีห่ ร่า อย่างละนิด เข้ากันดีจริงๆ แล้วตัดรสเผ็ดด้วย “กุ้งแม่น�้ำราด ซอส” นำ�้ ซอสของทีน่ นี่ บั เป็นหนึง่ ในตองอู เพราะแม่ครัวไม่เคย พึ่งซอสส�ำเร็จรูป แต่ถ้าชื่นชอบรสเปรี้ยว แซ่บนิดๆ ขอแนะน�ำ “ย�ำระแนงน�้ำ” ที่โดดเด่นด้วยกุ้งแก้ว หมึกหอมทอด เคล้ากับ เครื่องย�ำที่ประกอบด้วยสมุนไพรนานาชนิด โรยด้วยมะม่วง หิมพานต์ควั่ กรอบกรุบ อีกจานหนึง่ ทีต่ อ้ งชิม คือ “น�ำ้ พริกปลาทู” แม้จะเป็นอาหารพืน้ ๆ ทีเ่ ราคุน้ อยูใ่ นครัวทีบ่ า้ น แต่ดว้ ยฝีมอื ปรุง ฉบับไร้เทียมทาน เมนูนี้ก็เลยกลายเป็นอาหารยอดนิยมที่แขก ขาประจ�ำต้องออเดอร์ทุกครั้ง ขายดิบขายดีจนเจ้าของร้านเอง ยังประหลาดใจ ถ้าอยากทราบว่าเด็ดดวงขนาดไหน มีทางเดียว ที่คุณท�ำได้คือลองชิม แต่ถ้าอยากจะลิ้มลองเมนูใหม่ๆ คุณตู่และคุณอ้อมแนะน�ำ “หอยหลอดผัดฉ่า” ทีเ่ ธอเลือกเฉพาะหอยหลอดสดตัวโตๆ น�ำ มาผัดกับเครื่องสมุนไพร พอให้หอยสะดุง้ ไฟ เวลาเคีย้ วหมุบหมับ ได้รสหวานของหอยเต็มปากเต็มค�ำ ตามมาด้วย “ซี่ โครงหมูอบ สับปะรด” หรือ “ขาหมูอบแห้ง” ทีเ่ ด็กก็ทานได้ ผู้ ใหญ่กท็ านดี ถ้ามีไวน์แดงสักหน่อยความอร่อยจะยิ่งเพิ่มเป็นทวีคูณ ที่เก๋อีกประการคือทางร้านสั่งผลิตน�้ำดื่มแบรนด์ของตนเอง จากโรงงานผลิ ต น�้ ำ ที่ ไ ด้ ม าตรฐานสู ง ดื่ม แล้ ว รู ้ สึ ก สะอาด กระปรีก้ ระเปร่า เดินทางมาเหนื่อยๆ จิบนำ�้ เย็นๆ สักแก้ว ระหว่าง รออาหารจานร้อน เฮ้อ...ชื่นใจ ถ้าคุณมีโอกาสผ่านมาพุนพิน อย่าลืมแวะมาเติมพลังให้ท้องของคุณที่นี่ โดยเฉพาะมื้อค�่ำ เพราะภาพพระอาทิ ต ย์ ที่ ก�ำลั ง ทอแสงทองก่ อ นลาลั บ ฟ้ า ช่างงดงามเสียจริงๆ...

บริการพิเศษ ร้านระแนงน�้ำ

ร้านระแนงน�ำ้ ซอยธาราธิบดี 19 ถนนสุราษฎร์-พุนพิน โลตัส

ไป จ.พังงา

ปิดท้ายนี้คุณอ้อม ระแนงน�้ำ ฝากบอกว่า นอกจากจะมี บริการอาหารตามปกติแล้ว ทางร้านยังรับบริการจัดเลี้ยง ต่างๆ พร้อมเครื่องเสียงและเค้กฉลองฟรี และมีวงดนตรี โฟล์คซองบรรเลงขับกล่อมไปจนถึงแขกหมด สนใจจัดเลีย้ ง สามารถติดต่อที่คุณอ้อมได้ โดยตรงตามเบอร์ข้างล่าง

แม่น�้ำตาปี

เปิดบริการเวลา 10.00-22.00 น. หยุดทุกวันที่ 20 ของเดือน

ส�ำรองที่นั่ง หรือจองสถานที่จัดงาน ติดต่อ คุณตู่ หรือคุณอ้อม โทร.08 1956 7276, 0 7731 1109, 0 7724 0373 สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 35


หนังสือน่าอ่าน เรื่อง : ลอว์แมน

รวมหนังสือที่คัดแล้วน่าสนใจ ที่ผู้ชอบอ่านหนังสือไม่ควรพลาด เพราะได้รวบรวมจากคนส่วนใหญ่และผู้รักการอ่าน มาแนะน�ำว่าหนังสือเล่มไหนที่น่าอ่าน น่าศึกษา ค�ำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ ละเมิด จัดการงานนอก สั่ง ลาภมิควรได้

เตรียมสอบเข้านิติศาสตร์ ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป

ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ : หนี้

มรดก

ผู้แต่ง : ดร.สุนทร มณีสวัสดิ์ ปีที่พิมพ์ : ครั้งที่ 3 : พฤษภาคม 2555 จ�ำนวนหน้า : 388 หน้า

ผู้แต่ง : กีรติ กาญจนรินทร์ จัดพิมพ์ โดย : ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภา ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 / สิงหาคม 2554 จ�ำนวนหน้า : 386 หน้า

ค�ำอธิบายกฎหมายลักษณะพยานว่า ด้วย พยานเอกสาร

สารบาญค�ำพิพากษาฎีกา ประจ�ำ พ.ศ. 2553

ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความ ผิดและลหุโทษ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-6 อาญา ข้อสัญญาที่ ไม่เป็นธรรม

ผู้แต่ง : ดร.วารี นาสกุล ปรับปรุงโดย : จรัญ ภักดีธนากุล

ผู้แต่ง : ปิติกุล จีระมงคลพาณิชย์ ปีที่พิมพ์ : ครั้งที่ 3 : พฤศจิกายน 2552 จ�ำนวนหน้า : 168 หน้า

ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ปีที่พิมพ์ : ครั้งที่ 10 : มีนาคม 2556 จ�ำนวนหน้า: 428 หน้า

36 Surat Law Journal

ผู้แต่ง : พรรษวัฒน์ พูนทองพันธ์, ประ พัฒน์พงศ์ ปรีชา, อนุวัฒน์ บุญนันท์ ปีที่พิมพ์ : ครั้งที่ 5 : พฤษภาคม 2555 จ�ำนวนหน้า : 328 หน้า

ผู้แต่ง : ไพโรจน์ วายุภาพ บรรณาธิการ, ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ ผูช้ ว่ ยบรรณาธิการ ปีที่พิมพ์ : 2554 จ�ำนวนหน้า : 626 หน้า

จ�ำนวนหน้า : 784 หน้า ส�ำนักพิมพ์ : Athataya Milennuim, CO,LTD.


ร้านอาหารภูณิศา

11/1 หมู่ 1 ถนนข้างโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ต.เขาหัวควาย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี Tel. 08-0529-6111, 08-0529-7111

เปิดเวลา 11.00 น.-20.00 น. ร้านหยุด วันที่ 16-17 ของทุกเดือน

แกงส้มปลากดคลองหน่อไม้ดอง กุ้งแม่น�้ำผัดซอสมะขาม

ใบเหรียงผัดไข่ใส่กุ้งแก้ว

บรรยากาศห้องแอร์

โปรโมชั่นจากใจถึงใจ จากร้าน “คอฟฟี่ รูม” เลี้ยงวันเกิด หรือ เลี้ยงฉลองงานเล็กๆ บรรยากาศส่วนตัวและ สนุกสนาน ร้องคาราโอเกะ เชิญได้ที่ชั้นบน (ไม่คิดค่าห้อง และค่าร้องคาราโอเกะ)

Coffee Room

โทร. 077-431 629, 086-9489382

ถนนวิชิตภักดี อ.ไชยา (ใจกลางตลาดไชยา ขับเลียบถนนริมทางรถไฟ ร้านอยู่ติดถนน)

สุราษฎร์ฯ ลอว์ เจอร์นัล 37


38 Surat Law Journal


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.