เอกสารจัดการความรู้

Page 1

เอกสารจัดการความรู้ โครงการ “OTOP ชุมพร สู่สากลด้วยการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Marketing : E- Marketing)”

สํ านักงานพัฒนาชุ มชนจังหวัดชุ มพร กลุ่มงานยุทธศาสตร์ การพัฒนาชุ มชน โทร 077-511330


2

สรุปบทเรียนองค์ความรู้ โครงการริเริ่มสร้างสรรค์ “OTOP ชุมพร สู่สากลด้วยการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Marketing : E- Marketing)” ------------------------------------------------------------การวิเคราะห์บทเรียนผลการดําเนินงานที่ผ่านมาโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ - ผลการตรวจประเมิน PA และ IPA ปี ๒๕๕๕ หมวด ๑ (PA) ได้ ๙๘.๕๐ คะแนน และ หมวด ๒ ได้ ๘๔.๐๐ คะแนน รวม ๑๘๒.๕๐ คะแนน (อยู่ลําดับที่ ๑๐ จาก ๓๑ จังหวัด) โดย หมวดที่ ๑ : PA คะแนนหายไปเพราะหลักฐานเชิงประจักษ์ไม่ครบ หมวดที่ ๒ : IPA คะแนนหายไป คือ การจัดทําแผนการขับเคลื่อน IPA ไปรวมกับ PA ซึ่ง ต้องแยกกัน และการประกวดการจัดนิทรรศการ ปัญหาอื่นๆ ๑.ความไม่ครบถ้วนของเอกสาร เช่น เอกสารการลงนามคํารับรองระหว่างพัฒนาการอําเภอ กับ พัฒนากร ๒.อําเภอส่งเอกสารครบแต่ล่าช้า เช่น เอกสารการถ่ายทอดตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย จาก ระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล เอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์ตัวชี้วัด PA เป็นต้น ข้อสังเกตทั่วไป ๑.พัฒนากรส่วนใหญ่ไม่อยากร่วมโครงการเนื่องจากงานปกติ งานนโยบายเร่งด่วน และงาน คํารับรองการปฏิบัติราชการ (PA) เยอะมากอยู่แล้ว เป็นภาระ และเบื่อไม่อยากทําเอกสาร ๒.การจัดสรรรางวัลไม่จูงใจ ข้อเสนอแนะ ๑.ควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินงานโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่ควรทําเป็นรายบุคคล โดยเน้นการทํางานเป็นทีม และปรับเปลี่ยนรูปแบบการนําเสนอผลงาน ๒.โครงการริเริ่มสร้างสรรค์ที่ผ่านมายังไม่แสดงให้เห็นนวัตกรรม เพราะเป็นการทํางานตาม ภารกิจปกติของกรมการพัฒนาชุมชน ควรจัดทําโครงการริเริ่มใหม่ๆที่ไม่ใช่งานประจํา และงาน นโยบาย โดยเป็นโครงการที่ส่งผลต่อลูกค้าหลักของสํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สถานการณ์ รัฐบาลปัจจุบันได้กําหนดให้ “การส่งเสริมอาชีพผลิตสินค้า OTOP” เป็นนโยบายที่สําคัญใน การบริหารจัดการโครงการหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐาน คุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดย ส่งเสริมให้มีศูนย์กระจาย และแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลัก ประกอบกับการที่ ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ ซึ่งจะเป็นโอกาส และผลกระทบกับ OTOP ซึ่งไม่ อาจหลีกเลี่ยงได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยอาจ ได้รับผลกระทบจากคู่แข่งและสภาพการแข่งขันในตลาดเพิ่มสูงขึ้น กรมการพัฒนาชุมชนได้จัดทํายุทธศาสตร์ฟื้นฟู OTOP ต่อยอดสู่สากล (OTOP Revitalization) โดยกําหนดวิสัยทัศน์ “ยกระดับ OTOP ต่อยอดสู่สากล”มีเป้าหมาย “ผลิตภัณฑ์ OTOP ได้รับการพัฒนา ยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ เข้าถึงแหล่งทุนและการตลาด เชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ”


3

นอกจากนี้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สินค้า OTOP สามารถได้รบั ประโยชน์จากการมีโอกาสส่งสินค้าไปขายในตลาดอาเซียนได้มากขึ้น สิ่งทีส่ ําคัญอย่าง ยิ่งสําหรับผูผ้ ลิต OTOP คือ การเพิ่มช่องทางการตลาดทีส่ ามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย มีความสามารถ ในการรองรับคําสั่งซื้อที่มีปริมาณมาก ดังนัน้ จะต้องให้คําแนะนํา และเชื่อมโยงเครื อข่ าย

จังหวัดชุมพร มี 8 อําเภอ มีกลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP จํานวน 168 ราย 452 ผลิตภัณฑ์ มีผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ ๕ ดาว จํานวน 11 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่งจําหน่ายทั้ง ภายในประเทศและต่างประเทศ แต่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP บางส่วนยังมีตลาดจํากัดโดย จําหน่ายเฉพาะภายในจังหวัด จึงต้องมีการประชาสัมพันธ์ และสร้างช่องทางการตลาดที่สามารถเข้าถึง ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ง่าย ทั่วถึง และตลอดเวลา โดยจัดทําเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า จากการทบทวนผลการดําเนินงานที่ผ่านมา และสถานการณ์ข้างต้นสํานักงานพัฒนาชุมชน จังหวัด จึงได้จัดทําโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ ประจําปี 2556 โครงการ OTOP ชุมพรสู่สากลด้วย การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Marketing : E- Marketing) ขึ้น โดยมีกรอบแนวความคิด วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดของโครงการ ดังนี้

กรอบแนวความคิดทฤษฎีที่ใช้


4


5


6


7


8


9

สรุปกรอบแนวความคิด


10


11

จากสถานการณ์ และกรอบแนวความคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ชุมพร ได้กําหนดวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานของโครงการ ดังนี้

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ สินค้า OTOP ของจังหวัดชุมพร บนตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E- Marketing) จํานวน ๘ อําเภอ 2. เพื่อบริการการสั่งซื้อสินค้า OTOP จากการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketing) แก่ผู้บริโภค 3. เพื่อส่งเสริมช่องทางการตลาดแก่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้มีรายได้จากการ จําหน่าย สินค้า OTOP เพิ่มขึ้น 4. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของพัฒนากร ในการส่งเสริมช่องทางการตลาด และการ ประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP

เป้าหมาย 1. กลุ่มเป้าหมาย พัฒนาการอําเภอ และนักวิชาการพัฒนาชุมชน จํานวน ๖2 คน 2. กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่มีผลิตภัณฑ์เด่น อําเภอละ 1 คน รวม 8 คน 3. ระบุเป้าหมายเชิงพื้นที่ สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอ ๘ อําเภอ

ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ 1 มีการประชาสัมพันธ์ สินค้า OTOP บนตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E- Marketing) จํานวน ๘ อําเภอ ตัวชี้วัดที่ 2 มีการสั่งซื้อสินค้า OTOP จากการประชาสัมพันธ์บนตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E- Marketing) อย่างน้อย 4 ผลิตภัณฑ์ ตัวชี้วัดที่ 3 กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีรายได้จากการจําหน่าย สินค้า OTOP ตัวชี้วัดที่ 4 ร้อยละ ๖๐ ของพัฒนากร มีผลิตภัณฑ์ชุมชน จําหน่ายบนตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E- Marketing)


12

กระบวนการหรือขั้นตอนการดําเนินงาน 1. ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความรู้ความเข้าใจเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ในแนวทางการ ดําเนินงานตามคํารับรองการปฏิบัติราชการภายใน (IPA) ประจําปี ๒๕๕๖ 2. อําเภอคัดเลือกผลิตภัณฑ์ตามประเภทผลิตภัณฑ์ และจัดทํารายละเอียดข้อมูลผลิตภัณฑ์ พร้อมภาพถ่าย 3. ประชุมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และผู้ประกอบการจัดทําเว็บไซต์ EMarketing ด้วยเว็บไซต์สําเร็จรูป Webiz! (เว็บบิส) ซึ่ง ออกแบบและพัฒนาโดย INCquity เป็นการนําเสนอเว็บไซต์สําเร็จรูปแนวคิดใหม่ที่อํานวยความสะดวกสูงสุด ให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการมีเว็บไซต์ด้วยระบบวิธีการใช้งานและการจัดการเนื้อหาที่ ง่าย รายละเอียดตามภาพประกอบ


13

โดยมีขั้นตอนการจัดทําเว็บไซต์ ดังนี้

ขั้นตอนที่ ๒ เลือกชื่อเว็บไซต์ โดยถ้าไม่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้ใส่ Domain คือ .in.th ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนให้เจ้าของเว็บไซต์ทางหน้า Webcam


14

ขั้นตอนที่ ๓ กรอกข้อมูลที่อยู่ธุรกิจ เพื่อเชื่อมโยงกับ Google Map

ขั้นตอนที่ ๔ รอรับรหัสยืนยันผ่าน SMS และกรอกข้อมูลรหัสยืนยัน

ขั้นตอนที่ ๕ เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์


15

หน้าเว็บไซต์เริ่มแรกที่ยังไม่ได้ปรับแต่ง

หน้าเว็บไซต์ที่ปรับแล้ว


16

4. 5. 6. 7.

อําเภอจัดทําเว็บไซต์ และประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ อําเภอ และผู้ประกอบการจําหน่ายสินค้า อําเภอสรุปผลการดําเนินงาน คัดเลือกอําเภอที่มีนวัตกรรมดีเด่น ตามโครงการ คัดสรรนวัตกรรมดีเด่น OTOP E-Marketing Chumphon ๕๖ 8. ประกาศผลการคัดเลือกเชื่อมโยงกับแรงจูงใจ

ผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการ ๑.มีการประชาสัมพันธ์ สินค้า OTOP บนตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E- Marketing) จํานวน ๘ อําเภอ ๒.มีการสั่งซื้อสินค้า OTOP จากการการประชาสัมพันธ์บนตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E- Marketing) จํานวน ๑๖๖ ผลิตภัณฑ์ ๓.กลุ่ มผู้ผ ลิต ผู้ป ระกอบการ OTOP มี รายได้ จากการจําหน่ าย สินค้ า OTOP จํานวน 3,495,244 บาท ๔.ร้อยละ ๑๐๐ ของพัฒนากร มีผลิตภัณฑ์ชุมชน จําหน่ายบนตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E- Marketing)

ผลผลิตหรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้น นวัตกรรม คือ เว็บไซต์ E- Marketing ประโยชน์จากนวัตกรรม เป็นการปรับปรุง ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์และการออกแบบของ สินค้าและบริการของหน่วยงานที่ส่งถึงลูกค้า ผู้รับบริการ ทําให้ • ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประหยัดเงินในการประชาสัมพันธ์สินค้า • ประหยัดเวลาและลดขั้นตอนทางการตลาด • ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีตลาดกว้างใหญ่ไพศาลทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ นวัตกรรมใหม่ คือ การจัดทํา QR CODE ติดบนผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ลูกค้า หรือผู้สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้ Smart Phone และมีโปรแกรม Scan QR CODE สามารถ Scan QR CODE เพื่อเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ E – Marketing ซึ่งจะทําให้จูงใจลูกค้า และลูกค้าสามารถเข้าดูข้อมูล ผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้หลากหลายมากขึ้น นวัตกรรมใหม่ คือ การจัดทํา AR CODE ซึ่ง AR หรือ Augmented Reality ก็คือ การนํา เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) ผสมเข้ากับเทคโนโลยีภาพที่มีลักษณะคล้ายๆ กับ QR Code เพื่อทําให้เห็นภาพสามมิติ ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ผ่านกล้อง webcam ประโยชน์จากการใช้ AR Code 1. เป็นการสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ชอบและสนใจเทคโนโลยี 2. ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาตําแหน่งและรายละเอียดของสินค้าที่ตนต้องการได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน 3. ผู้ประกอบการสามารถสร้าง Campaign ต่างๆ เพื่อสร้างความสนใจในตัวสินค้าจึง


17

สามารถดึงดูดลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้เพิ่มมากขึ้น 4.เพิ่มโอกาสของการค้าทาง Internet (E-commerce) เนื่องจากการผู้ซื้อสามารถเห็นภาพ จําลองของสินค้าก่อนทําการสั่งซื้อสินค้า จึงเป็นการเปิดตลาดให้มีผู้ใช้บริการช่องทางนี้เพิ่ม มากขึ้น โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน เนื่องจากไม่จําเป็นต้องมีหน้าร้านเพื่อให้บริการ จึง ไม่ต้องเสียค่าเช่าสถานที่ ค่าน้ํา ค่าไฟฟ้า ฯลฯ

การนําไปใช้ประโยชน์ การส่งผลต่อลูกค้าหลัก • นวัตกรรมที่เกิดขึ้นส่งผลต่อลูกค้าหลัก อย่างชัดเจน คือ กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP โดยมีกลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ จํานวน 100 กลุ่ม • ผู้ประกอบการ OTOP มีรายได้จากการจําหน่าย สินค้า OTOP เพิ่มขึ้น • นวัตกรรมใหม่คือ การจัดทํา QR CODE ติดบนผลิตภัณฑ์ • นวัตกรรมที่เกิดขึ้นส่งผลต่อผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย อย่างชัดเจน ได้แก่ เจ้าหน้าที่พัฒนา ชุมชนมีความรู้ความสามารถประชาสัมพันธ์ และขายสินค้า OTOP ทางตลาด อิเล็กทรอนิกส์

Best 8.2 BestPractice Practice ขนะเลิศ สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอหลังสวน

หมายเหตุ ถ้ามี Smart Phone ให้ลงโปรแกรม i-nigma เพื่อ Scan QR CODE และลง โปรแกรม Aurasma เพื่อดึง Clip Video มาชมได้ทันทีที่เปิดโปรแกรม Aurasma ส่องดู ภาพ หลังจาก Scan QR CODE แล้ว


18

ปัจจัยความสําเร็จ - มีการปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง - มีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว คือ หมู่บ้าน OVC บ้านเกาะพิทักษ์ หมู่ที่ ๑๔ ตําบล บางน้ําจืดเพื่อดึงดูดใจให้กับผู้เข้ามาชมเว็บไซต์ และประเพณีแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง โดยนํา Link clip video จากเว็บไซต์ You tube มานําเสนอหน้าเว็บไซต์ - มียอดจําหน่ายสูงสุด เป็นเงิน 3,027,042 บาท รองชนะเลิศอันดับ ๑ สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอทุ่งตะโก

ปัจจัยความสําเร็จ - มีการปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง - มีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว คือ สวนนายดําเพื่อดึงดูดใจให้กับผู้เข้ามาชม เว็บไซต์ - มีการระบุวิธีการสั่งซื้อสินค้าที่ชัดเจน และมีการสั่งซื้อสินค้าผ่านทาง Line


19

รองชนะเลิศอันดับ ๒ สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอสวี

ปัจจัยความสําเร็จ

- มีการปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง - มีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์เด่นของอําเภอ คือ กาแฟเขาทะลุ โดยนํา Link clip video จากเว็บไซต์ You tube มานําเสนอหน้าเว็บไซต์ ผลลัพธ์ของการดําเนินงาน ๑.อภิปรายผล ปัจจัยแห่งความสําเร็จในการทําตลาดอิเล็กทรอนิกส์ การทําการตลาดในปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบเพื่อให้ธุรกิจสามารถมอบความสะดวก และรวดเร็วให้กับผู้บริโภค อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งใน ชีวิตประจําวันของทุกคนในสังคม ดังนั้นการนําเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทําการตลาดก็จะ เป็นสิ่งสําคัญที่ทําให้ธุรกิจมีความได้เปรียบและยังเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดได้อีกทาง E-Marketing เป็นส่วนผสมแนวความคิดทางการตลาด และทางเทคนิค รวมเข้าไว้ด้วยกันทั้ง ด้าน การออกแบบ (Design), การพัฒนา (Development), การโฆษณาและการขาย (Advertising and Sales) เป็น ต้น (ตัวอย่างกิจกรรมได้แก่ Search Engine Marketing, E-mail Marketing, Affiliate Marketing, Viral Marketing ฯลฯ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่ธุรกิจและลูกค้า เนื่องจากระบบทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถสนับสนุนการร้องขอข้อมูลของลูกค้า การจัดเก็บประวัติ และพฤติกรรมของลูกค้าเอาไว้ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ส่งผลต่อ การเพิ่มและรักษาฐานลูกค้า (Customer Acquisition and Retention) และอํานวยประโยชน์ใน การประกอบธุรกิจอย่างครบถ้วน


20

ในขณะที่ การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) จะมีรูปแบบที่แตกต่างจาก EMarketing อย่างชัดเจน โดยการตลาดแบบดั้งเดิมนั้นจะมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย จะไม่เน้นทํา กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และมักจะใช้วิธี การแบ่งส่วนตลาด (Marketing Segmentation) โดย ใช้ เกณฑ์สภาพประชากรศาสตร์ หรือสภาพภูมิศาสตร์ และสามารถครอบคลุมได้บางพื้นที่ ในขณะที่ถ้า เป็น E-Marketing จะสามารถครอบคลุมได้ทั่วโลกเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต่างๆ จึงได้ให้ความ สนใจกับอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก รวมถึงได้มีการนําเอาแนวคิด E-Marketing มาประยุกต์ใช้อย่าง แพร่หลาย เพื่อทําการตลาดออนไลน์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด สําหรับการตลาดออนไลน์ไม่ได้แตกต่างจากการตลาดดั้งเดิม คือยังคงใช้4 P แต่เนื่องจาก เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ทําให้เพิ่มองค์ประกอบการตลาดอีก 2 P คือ Personalization และ Privacy ซึ่งจะช่วยให้ E-Commerce ประสบความสําเร็จ

๒.ข้อเสนอแนะ ๒.๑ ระดับนโยบาย - กรมการพัฒนาชุมชนควรมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรในระดับจังหวัด และระดับ อําเภอในด้านการตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การตลาดเชิงรุก และการนําเทคโนโลยีมาใช้ใน การปฏิบัติงาน เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และการเป็น นักพัฒนาแบบมืออาชีพ เพราะสถานการณ์ในปัจจุบันได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ จึงต้อง แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆมาใช้ในการทํางาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าของกรมฯ และ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กรมการพัฒนาชุมชน ๒.๒ ระดับปฏิบัติการ - สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ควรปรับเปลี่ยนรูปแบบ และวิธีการทํางาน โดยเน้น การทํางานเป็นทีมแบบ Cross function เพื่อให้การสนับสนุนทางวิชาการแก่สํานักงานพัฒนาชุมชน อําเภอ และผู้บริหารควรให้ความสําคัญกับการปรับปรุงระบบงาน โดยการกําหนดทิศทางการทํางานที่ ชัดเจน การสื่อสารยุทธศาสตร์ทั่วทั้งองค์กร การนิเทศ และสอนแนะงาน รวมทั้งการติดตาม ประเมินผล เพื่อทราบปัญหา และปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องในลักษณะ PDCA: PLAN DO


21

CHECK ACT และเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานโดยการจัดการความรู้ภายในองค์กร การพัฒนา บุคลากร และสร้างขวัญและกําลังใจในการทํางาน สําหรับการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และกระทรวงมหาดไทย ในเรื่อง OTOP ควรบูรณาการการทํางานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นตผ.จังหวัด และ KBO ในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP ตามยุทธศาสตร์ ฟื้นฟู OTOP ต่อยอดสู่ สากล OTOP Revitalization - สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอ ควรมุ่งเน้นการทํางานเป็นทีม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP พัฒนาการอําเภอควรบูรณาการกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นตผ.อําเภอ ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ และสนับสนุนพัฒนากร ได้มีการพัฒนาตนเอง ทั้งด้านองค์ ความรู้สมัยใหม่ และเทคโนโลยีสารสนเทศ - หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด ควรให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ OTOP ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดควรให้การสนับสนุนงบประมาณงบ ยุทธศาสตร์จังหวัดในการสร้างช่องทางการตลาด การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และสถาบันการศึกษา ควรให้การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (R & D) การสนับสนุนด้านวิชาการ และด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ เช่น การทํา E-Commerce, การตลาดออนไลน์อื่นๆ เป็นต้น


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.