Lampang Hand&Heart

Page 1

2 หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดลำ�ปาง

LAMPANG Hand & Heart

เที่ยวตามรอยภูมิปัญญา ท่องวิถีงานทำ�มือ สัมผัสประสบการณ์แหล่งชุมชน ร่วมเรียนรู้วัฒนธรรม

1


“ยิ้มไม่หุบเลย เวลามีนักท่องเที่ยวเข้ามาดู ยิ่งเวลาได้ สอนให้พวกเขา มันจะตื่นเต้นเสมอ ยิ่งเวลาได้แลกเปลี่ยน ความคิดกัน ยิ่งสนุก” โสภณ จรันรัก ช่างแกะสลัก หมู่บ้านท่องเที่ยวแกะสลักบ้านหลุกใต้

“งานของเราไม่ได้มีแค่หาเงิน แต่มันมีการหาคุณค่าจาก ตัวงานด้วย คือการได้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เข้ามาเรียน รู้ในงานของเรา มันคือการเผยแพร่” อรุณี ผัดวัง ครูช่างเซรามิก หมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิกบ้านศาลาเม็ง

2

3


ค�ำน�ำผู้เขียน Lampang Hand&Heart นันท์นิชา คำ�แหวน พิมพ์ครั้งแรก: มีนาคม พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานคร จำ�นวน 130 หน้า โทรศัพท์ 08-3943-8986 อีเมล์ opore33@gmail.com ที่ปรึกษา

อาจารย์ ดร.กันยิกา ชอว์ อาจารย์อริน เจียจันทร์พงษ์ อาจารย์บรรยง สุวรรณผ่อง อาจารย์วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง อาจารย์ภมรศรี แดงชัย

ภาพ

ทีปกาญจน์ คำ�แหวน พาทินธิดา เจริญสวัสดิ์

ภาพประกอบ อัญชุลี โกกิละวาที กราฟิก

นันท์นิชา คำ�แหวน

จั ง หวั ด ลํ า ปางเป น แหล ง อารยธรรมล า นนาไทยที่ น  า สน ใจไมนอยไปกวาจังหวัดใดๆ เสน่ห์ของชาวลำ�ปางคือ วีถิชีวีตที่เรียบง่าย คงไว้ซึ้งขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาแตโบราณเปนเมืองที่มี เอกลักษณโดดเดนเปนของตนเอง วัดวาอารามและสถาปัตยกรรมท้องถิ่น รถม้าพาหนะคููเมืองแห ล่งทองเที่ยวทางธรรมชาติที่คงความบริสุทธิ์สวยงาม มีเครื่องปั้นดินเผา ที่ทำ�จากดินขาวขึ้นชื่อ และอีกหนึ่งงานทำ�มือลำ�ปางที่พึ่งมีชื่อเสียงได้ไม่ นาน คืองานแกะสลักไม้ สิ่งขึ้นชื่อเหล่านี้ทำ�ให้นครลำ�ปางกลายเป็นจุด หมายที่นักเดินทางมักแวะมาเยี่ยมชม หนังสือเล่มนี้จะแนะนำ�หมู่บ้านท่องเที่ยว 2 หมู่บ้าน มีตัวเดิน เรื่องคืองานทำ�มืออันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองลำ�ปาง ที่มีศักยภาพใน การต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้าไปสัมผัสประสบการณ์กับคนในชุมชน ไม่ เพียงแต่จะได้ลงมือผลิตชิ้นงานจริง แต่ยังได้เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีของชุมชน และหนังสือเล่มนี้เสมือนเป็นผู้ช่วยของฉัน มันจะบอกเล่าเรื่อง ราวอันเป็นเสน่ห์แห่ง 2 หมู่บ้านท่องเที่ยว โดยวิธีการค้นคว้าหาข้อมูล ทั้งจากการสัมภาษณ์ และเอกสารงานวิจัย หรือหนังสือต่างๆ รวมไป ถึงความทรงจำ�ดีๆของฉัน ถูกรวบรวมกลั่นกรอง และเรียบเรียงออกมา เป็นหนังสือเล่มนี้ หวังว่าผู้ช่วยของฉัน จะช่วยคุณให้กล้าลองไปสัมผัส ประสบการณ์ใหม่ๆ เติมเต็มชีวิตเรา จากชีวิตของวิถีชุมชน

u o y k n a h t นันท์นิชา คำ�แหวน

4

5


8 LAMPANG ล�ำปางเมืองเก่าพันกว่าปี กับวิถี การท่ อ งเที่ ย วแบบใหม่ ที่ พ ร้ อ ม ต้อนรับนักท่องเที่ยวหัวใจลุยลุย

14

THE AMAZING

WOOD CARVING

เมืองแห่งไม้แกะสลัก ที่โดดเด่นด้วยเส หน่ ห ์ ก ารแกะสั ต ว์ ต ่ า งๆได้ ง ดงาม พร้อมซึบซับวิถีชีวิตที่เรียบง่าย พอ เพียงแบบชาวบ้านหลุก และวิวทิวเขาที่ ไม่อาจละสายตา

THE ORIGINAL

CERAMIC

48

เมื่ อ พู ด ถึ ง เซรามิ ก ก็ ต ้ อ งล� ำ ปาง เท่ า นั้ น ตอนนี้ มี ห มู ่ บ ้ า นเซรามิ ก ที่ พร้ อ มต้ อ นรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วเข้ า มา สั ม ผั ส ประสบการณ์ ง านศิ ล ปะ และ เรียนรู้วิถีชีวิตช่างปั้นอีกด้วย

6

7


สะพานรัชฎาภิเศก สะพานเก่าแก่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

THE

LAMPANG ตำ�นานเมืองล้านนา ทรงคุณค่าแห่งวิถีชีวิต ล�ำปางจากเมืองที่รุ่งโรจน์ในอดีตสู่เมืองที่บางคนมอง เป็นทางผ่าน แต่หากสัมผัสล�ำปางอย่างแท้จริงแล้ว จะพบว่าเป็น เมืองทีเ่ ต็มไปด้วยเสน่หข ์ องอารยธรรมล้านนาทีน ่ า่ สนใจ มีรถม้า ทีไ่ ม่เหมือนใคร มีเครือ ่ งปัน ้ ดินเผาทีท ่ ำ� จากดินขาวขึน ้ ชือ ่ และชาม ตราไก่ที่คุ้นตา และงานแกะสลักไม้อันเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยาก รวมไปถึงอาหารการกินก็อร่อย ธรรมชาติที่งดงามให้ลองก้าว เดินอย่างละเมียดละไม ซึบซับวิถีเรียบง่ายของล�ำปางดู แล้วจะรู้ ว่าที่นี่ไม่ใช่เมืองทางผ่านอีกต่อไป

8

9


ทำ�ไมต้องลำ�ปาง

อากาศและผู้คน

‘เครื่องปั้นลือนาม งานพระธาตุลือไกล อนุรักษ์ช้างไทยให้ลือโลก’ เป็นประจ�ำที่ฉันต้องท่องค�ำขวัญนี้ มาตั้งแต่ชั้นประถม ฉันเคยสงสัยในค�ำขวัญจังหวัดล�ำปางมาเสมอว่า ‘เครื่องปั้นดินเผา’ ของเรามีชื่อเสียงลือนามไปไกลจรืง หรือ ขณะนี้ฉันได้ศึกษาเรื่องราวของเครื่องปั้นดินเผา อันเป็นเอกลักษณ์ที่งดงามของจังหวัด จึงได้รู้ว่าของของเราดีจริง ไม่ เพียงแค่คุณภาพของถ้วยตราไก่ แต่ล�ำปางยังเป็นต้นก�ำเนิดของเซรามิกในประเทศไทยอีกด้วย นอกจากนั้นฉันยังได้ค้นพบ ของดีอกี อยา่ งในจังหวัดล�ำปาง ทีแ่ มไ้ มไ่ ดถ้ กู บรรจุอยูใ่ นค�ำขวัญ แตง่ าน ’แกะสลักไม’้ ของล�ำปาง ยังมีเสนห่ แ์ ละความสวยงาม ที่หาที่ไหนเหมือนไม่ได้เช่นกัน ย้อนกลับไปเมื่อ 1300 ปีก่อน ‘ล�ำปาง’ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบล้อม รอบด้วยภูเขา มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกอย่างหลากหลายตั้งแต่ เขลางค์นคร, เวียงละกอน, นครล�ำปาง ฯลฯ ความเจริญของล�ำปางเริ่มขึ้นมาเรื่อยๆ หลังจากการปกครองถูกเปลี่ยนมาสู่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น นครล�ำปาง จึงกลายเป็นเมืองศูนย์การค้าที่ส�ำคัญของภาคเหนือ เพราะเป็นจังหวัดทางผ่านไปยังหัวเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่ จนในรัช สมัยของสมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยูห่ วั จึงไดเ้ ปลีย่ นจากค�ำวา่ “เมือง” มาใชเ้ ปน็ จังหวัดแทน และเริม่ เขา้ สูร่ ะบบการปกครอง โดยการดูแลจากกรุงเทพมหานคร ล�ำปางมักจะถูกมองข้าม ว่าเป็นเพียงจังหวัดทางผ่านไปเชียงใหม่มานาน แต่ส�ำหรับฉันเมืองนี้มีอะไร มากกว่านั้นที่หลายคนไม่รู้ เสน่ห์ของล�ำปางคือบรรยกาศของความเป็นเมืองที่ไม่เจริญมากเกินไป มีห้างสรรพสินค้า มีร้าน รวงต่างๆอ�ำนวยความสะดวกมากมาย แต่ในขณะเดียวกันเรากลับพบความ ‘บ้านๆ’ อยู่ในนั้น นอกจากนั้นล�ำปางยังเป็น เมืองทีเ่ ต็มไปดว้ ยศิลปินงานหัตถกรรมมากมาย สรา้ งมูลคา่ ทัง้ การสง่ ออกนอกประเทศและในประเทศใหแ้ กจ่ งั หวัด โดยเฉพาะ งานเซรามิก และงานแกะสลักไม้ ที่ต้องใช้ความช�ำนาญ ปราณีต และพิถีพิถันทุกขั้นตอน กว่าจะได้ออกมาแต่ละชิ้น ท�ำให้ ล�ำปางเป็นต้นก�ำเนิดของผลิตภัณฑ์เซรามิกในประเทศไทย และเป็นแหล่งผลิตงานแกะสลักไม้ ส่งต่อไปยังหลายจังหวัดใน ประเทศไทย

อาจจะเคยได้ยินกันบ่อยๆว่า ‘ลำ�ปางหนาวมาก’ นี่คือเรื่องจริงไม่อิงข่าวลือ ในช่วงหน้าหนาวลำ�ปาง จะหนาวในอุณหภูมิที่ต่ำ�สุดๆเพียง 8 องศา และสูงสุด 38 องศาเท่านั้น (สถิติค่ามาตรฐาน 30 ปี, กรมอุตุนิยมวิทยา) แสดงให้เห็นว่า ถ้ามาหน้าร้อนช่วงมีนาคม - พฤษภาคม ก็จะร้อนแบบทนได้ ไม่ทรมาณรุนแรง เดินชิลล์ๆ และถ้าช่วงหน้า หนาวเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ แนะนำ�หลังปีใหม่ไปสัก 1 อาทิตย์ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสอากาศหนาวแบบทั้งวันทั้ง คืนของจริง ส่วนบรรยกาศในเมืองไม่พลุกพล่าน รถไม่ติด ผู้คนส่วนใหญ่เดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ และ รถยนต์ ถ้าจะปั่นจักรยานเที่ยวรอบๆเมืองก็ไม่เป็นปัญหา เพราะรถที่นี่จะขับช้า คอยระมัดระวังรถม้าเสมอ สำ�หรับคนรัก

ลำ�ปางอยู่ที่ไหน

10

ลำ�ปางเป็นหนึ่งในจังหวัดภาคเหนือตอนบน ที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีภูเขาโอบล้อม ทำ�ให้มี ทัศนยภาพที่สวยงาม มองไปทางไหนส่วนมากจะเห็นภูเขาทอดยาวไปตามทางทิศเหนือสู่ทิศใต้ของจังหวัด นอกจากนั้น ลำ�ปางยังเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของภาคเหนือ รองมาจากเชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน และเพชรบูรณ์ มี อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดข้างเคียงถึง 7 จังหวัด ทิศเหนือติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา ทิศใต้ติดต่อ กับจังหวัดตาก ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดแพร่ และสุโขทัย และทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดลำ�พูน ทำ�ให้ลำ�ปางเป็น เมืองทางผ่าน ข้ามไปได้หลายจังหวัด ในหนังสือเล่มนี้ ฉันจะพาไปสัมผัสบรรยกาศของหมู่บ้านท่องเที่ยวในทิศใต้ที่ติดต่อกับจังหวัดตาก และเป็นทางผ่านไปกรุงเทพ ซึ่งก็คือหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก บ้านศาลาเม็ง อ.เกาะคา และอีกหนึ่งหมู่บ้านอยู่ทางทิศ ตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดแพร่และสุโขทัย คือหมู่บ้านท่องเที่ยวแกะสลักไม้ บ้านหลุก อ.แม่ทะ เห็นไหมว่าก่อนจะผ่าน ลำ�ปางไปจังหวัดอื่นๆ นักท่องเที่ยวสามารถแวะเที่ยวลำ�ปางสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนชิลล์ๆกันก่อนได้นะ โดยเฉพาะ 2 หมู่บ้าน ที่ฉันภูมิใจจะนำ�เสนอนี้

อยากไปแล้วเดินทางอย่างไรดี รถทัวร์ : บริษัท นิววิริยะทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 5422 5899 บริษัท สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495-6 บริษัท นครชัยแอร์ โทร. 0 2936 0009 บริษัท สยามเฟิสท์ทัวร์ โทร. 0 2954 3601-7 รถไฟ : การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถด่วนรถเร็ว และรถธรรมดา จากกรุงเทพฯไปลำ�ปาง ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการการเดินทาง โทร 1690, 022204334 เครื่องบิน : สายการบินนกแอร์ ให้บริการเที่ยวบินจากดอนเมืองสู่ลำ�ปางทุกวัน วันละ 4 เที่ยวบิน และขากลับวันละ 4 เช่นกัน และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ ให้บริการวันละ 3 เที่ยวบินต่อวัน รถยนต์ส่วนตัว : รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใชทางหลวงหมายเลข 1 ถึงกิโลเมตรที่ 52 แยก ซาย เขา ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านสิงห์บุรีชัยนาท เขานครสวรรค์แล้ว แยกซ้าย เขาทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำ�แพงเพชร และ ตากตรงเขาสู่จังหวัดลําปาง รวมระยะทางทั้งสิ้น 599 กิโลเมตร ใชเวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง หรือใช้ทางสายใหม่จาก พิษณุโลกเขาอําเภอเด่นชัยแลวเดินทางสู่จังหวัดลําปาง ส่วนการเดินทางภายในจังหวัด ในตัวเมืองจะมีรถรับส่งรอบเมือง คนลำ�ปางจะเรียกว่า “รถสี่ล้อ” สี เหลืองเขียวสดใส เห็นได้เด่นชัด ถ้าผ่านมาก็สามารถโบกได้เลย และบอกว่าจะไปไหนพร้อมตกลงราคา นอกจากนั้นยังมี รถม้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์คู่เมืองลำ�ปางมาช้านาน บริการนำ�เที่ยวรอบเมืองเช่นกัน

11


การท่องเที่ยวในจังหวัด ในส่วนของแหล่งท่องเที่ยวทั่วไปนั้น ทางด้านโบราณสถาน และโบราณวัตถุจังหวัดลำ�ปาง มีหลาย แห่งซึ่งหลากหลาย โดยแต่ละแห่งจะแสดงถึงประวัติศาสตร์และความเป็นอยู่ของชาวลำ�ปางในแต่ละยุคแต่ละสมัยไว้อย่าง ชัดเจน ทั้งวิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมายาวนานจนถึงปัจจุบัน เช่น วัดพระ ธาตุลำ�ปางหลวง วัดไหล่หิน และวัดที่มีการผสมผสานของศิลปะแบบล้านนา กับสถาปัตยกรรมของพม่าจนได้ชื่อว่าเป็นดิน แดนที่มีวัด และอาคารบ้านเรือน ตามแบบสถาปัตยกรรมพม่ามากที่สุดในประเทศไทย เป็นต้น

วัดศรีชุม ประวัติศาสตร์ศิลปะวัดสไตล์พม่า

รถม้าเมืองลำ�ปาง

ถนนลอดทางรถไฟ

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อ.แม่เมาะ จ.ลำ�ปาง

วัดพระธาตุลำ�ปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำ�ปาง

12

นอกจากนั้นทางด้านธรรมชาติ จะมีอุทยานแห่งชาติรวมทั้งหมด 4 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติถ้ำ�ผาไท อุทยานแห่งชาติดอยจง และอุทยานแห่งชาติแม่วะ ซึ่งแต่ละแห่งมีน้ำ�ตกที่สวยงามพร้อมด้วย ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ แนะนำ�ว่าอย่าไปช่วงหน้าฝน หลายอุทยานจะปิดเนื่องจากอาจเกิดอันตรายจากน้ำ�ป่า ไหลหลากได้ และลำ�ปางเป็นอีกหนึ่งเมืองที่มีผลงานสร้างสรรค์ “ทำ�มือ” มากมาย โดยที่เป็นเอกลักษณ์อันโดด เด่น คือ เซรามิค และงานแกะสลัก ซึ่งแต่ละชิ้นเป็นงานหัตถกรรม ที่ปราณีตและงดงามในทุกขั้นตอน นอกจากนั้นจังหวัด ลำ�ปางได้พัฒนา 2 หมู่บ้าน คือ บ้านหลุกใต้ อ.แม่ทะ และบ้านศาลาเม็ง อ.เกาะคา ให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่ไม่เพียงแต่การเข้าชมการสาธิตงานทำ�มือ หรือเลือกซื้อสินค้าแล้ว ยังมีโฮมเสตย์จากการต้อนรับจากชาวบ้านให้เข้ามา สัมผัสประสบการณ์ เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีอย่างแท้จริง

13


1 THE AMAZING

WOOD CARVING

หมู่บ้านท่องเที่ยวแกะสลักไม้ บ้านหลุกใต้ อ.แม่ทะ จ.ลำ�ปาง

14

15


เรื่องในบท

อุปกรณ์ในการแกะสลัก

18

22

36

40

แว่วเสียงสิ่ว

วิถีแห่งหลุกใต้

สุชาติ แก้วชุ่ม

เที่ยวสร้างสรรค์

เปน็ เวลากวา่ 50 ปีทหี่ มูบ่ า้ นหลุกใตน้ เี้ ต็มไปดว้ ย เสียงสิ่วกระทบไม้ ขับกล่อมคนในชุมชนด้วยวิถี งานท�ำมืออันปราณีต สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่นจน กลายเปน็ อาชีพหลัก และเปน็ อุตสหากรรมในครัว เรือนขนาดย่อม

วัฒธนธรรม ประเพณี และความเชือ่ ทีห่ ลากหลาย หล่อหลอมให้คนในชุมชนมีวิถีชีวิตที่เป็นไปใน ทิศทางเดียวกัน เกิดเป็นเสน่ห์ที่หาไม่ได้จาก หมู่บ้านไหน ต้องที่นี่ ‘บ้านหลุกใต้’ เท่านั้น

ลู ก ชายคนเดี ย วของนายจั น ดี แก้ ว ชุ ่ ม ครู ภูมิปัญญารุ่นที่ 3 ของประเทศ ผู้ริเริ่มงานแกะ สลักไมแ้ หง่ บา้ นหลุก จนมาถึงมือลุงชาติผสู้ บื สาน เจตนารมณ์มาจนปัจุบัน

ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นของผู้น�ำอย่างก�ำนันณรงค์ วงศ์กันทา ท�ำให้หมู่บ้านหลุกใต้กลายเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจ ไม่เพียงแต่เข้า มาเที่ยวชม แต่จะต้องลงมือและเปิดใจ ร่วมสนุก ไปกับชาวบ้าน

28

32

46

48

ผลงานสร้างสรรค์

โสภณ จรันรัก

ลองลงใจ

SAP Wood

กระบวนการที่ปราณีต ใส่ใจในทุกรายละเอียด สู่ งานแกะสลักอันเลืองชื่อ เก็บทุกรายละเอียดที่ บอกเลา่ ถึงทอ่ นไมข้ นาดใหญ่ แปรรูปมาเปน็ งาน ศิลปะอันทรงคุณค่า 16

ขั้นตอนการขัดไม้ให้เรียบหลังจากแกะลายไม้เสร็จ

ครู ช ่ า งอายุ น ้ อ ยที่ สุ ด ในหมู ่ บ ้ า น แต่ ม ากด้ ว ย ทักษะและสเนห่ ก์ ารแกะชา้ งทีไ่ มเ่ หมือนใคร พลัด ถิน่ มาไกลจากแดนอีสาน สูก่ รุงเทพฯ และปักหลัก ชีวิตไว้กับบ้านหลุกใต้ตลอดไป

นักท่องเที่ยวจากอีกซีกโลก ข้ามน�้ำข้ามทะเลมา ลองจับสิว่ กับครูชา่ งทีพ่ รอ้ มตอ้ นรับนักทอ่ งเทีย่ ว เข้ามาร่วมสัมผัสประสบการณ์งานท�ำมือ

ต่อยอดงานคุณค่าฝีมือช่างดั้งเดิม ด้วยไอเดีย สร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่ โดยคณะอาจารย์และ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 17


เอกลักษณ์หมู่บ้าน

แว่วเสียงสิ่ว หมู่บ้านแห่งวิถีพอเพียง อยู่อย่างเรียบง่าย ซึบซับความเป็นชุมชน

18

ด้านหน้าของกระท่อมหลังเล็ก สถานที่ทำ�งานแกะสลักไม้

เพียง 30 กิโลเมตรจากตัวเมืองล�ำปาง ผ่านท้องทุ่งนากว้างใหญ่ 3 รอบของการเดินทาง ผา่ นถนนเสน้ นี้ ตัง้ แตป่ ลายฝนตน้ หนาว ราวเดือนพฤจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ภาพของชาวนาเก็บเกีย่ ว ข้าวในทุ่งนาเขียวขจี จนถึงการเก็บเกี่ยวพืชทนน�้ำ เก็บฟางท่ามกลางท้องนาที่เปลี่ยนเป็นสีน�้ำตาล ภาพ ฉายซ�ำ้ ตลอดสองข้างทางระหว่างทางเข้าหมูบ่ า้ น ท�ำให้ตอ้ งลดกระจกลง ปิดแอร์ทกุ ครัง้ สัมผัสความสวยงาม ด้วยดวงตาผ่านเลนส์กล้องถ่ายรูป แดดที่ดูให้ความร้อน แต่กลับมีลมที่ให้ความเย็นปะทะตัว พร้อมกลิ่น อ่อนๆของฟางข้าวที่ท�ำให้รู้สึกสดชื่นอย่างหาที่ไหนไม่ได้ ถนนคอนกรีตสายเล็กๆขนาดสองเลน แทบจะเหมือนของหมู่บ้านในชนบททั่วไปของ ไทย ชาวบ้านปั่นจักรยานผ่าน บ้างก็เดินเท้า สะท้อนชีวิตที่เรียบง่าย ท่ามกลางความไม่เร่งรีบ เสียงสิ่ว เลื่อยไฟฟ้า และขวาน กระทบไม้ดังแว่วๆให้ได้ยินโดยตลอด แม้จะไม่เห็นภาพว่าเสียงที่ได้ยินดังมาจาก ไหน แต่หากสังเกตุให้ดี จะมีป้ายบอกชื่อครูช่างติดอยู่หน้าบ้าน ทางแยกขา้ งหนา้ มีปา้ ยไมต้ งั้ สงา่ ชัดเจนบอกวา่ ‘หมูบ่ า้ นทอ่ งเทีย่ ว OTOP บา้ นหลุกใต’้ พร้อมกับแผนที่บอกต�ำแหน่งสถานที่ส�ำคัญที่ควรไปเยี่ยมชมในหมู่บ้าน ขับต่อจากป้ายมาอีก เริ่มเห็นบ้าน เรือนที่ส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ตั้งเรียงกัน หน้าบ้านมีไม้ท่อนใหญ่วางอยู่เป็นกอง และแน่นอนเกือบทุกหลังมี คนก�ำลังแกะสลักอย่างขมักเขม้น ตามถนนคอนกรีตมาอีกหน่อยได้พบกับวงเวียนแปลกตา ท�ำจากไม้แกะ สลักอย่างสวยงาม อันเป็นเครื่องหมายบอกว่าถึงแล้วบ้านหลุกใต้ หมู่บ้านแกะสลักไม้ที่ก�ำลังตามหา สภาพภูมปิ ระเทศสว่ นใหญข่ องหมูบ่ า้ นเปน็ ทีร่ าบกวา้ ง มีภเู ขาและป่าโปรง่ สลับทางดา้ น ตะวันออกและ มีแม่น�้ำ, ห้วย, หนอง, คลองบึง ที่เป็นแหล่งน�้ำธรรมชาติอยู่มาก ในปี 2547 บ้านหลุกใต้ได้ รับการจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP โดยมีสินค้างานแกะสลักที่ได้รับการคัดสรรติดอันดับ 1-5 ดาว ของกรมพัฒนาชุมชนและรัฐบาลถึง 660 รายการ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยเฉลี่ยประมาณ 40 คณะต่อปี

วงเวียนกลางสี่แยก

19 สะพานไม้โบราณ หรือสะพานขัวไม้ มุง


จุดแรกที่เข้าไปจอด คือตึกแถวชั้นเดียวที่ถูกแบ่งออกเป็นห้องๆ วางผังในลักษณะครึ่ง วงกลม และดึงดูุดด้วยป้ายที่ท�ำจากท่อนไม้ขนาดใหญ่ เหมือนตัดมาทั้งต้น สูงเด่นท�ำให้ต้องเหลียวมอง ‘ศูนย์แสดงสินค้างานแกะสลักไม้’ ทันทีที่ลงจากรถ เสียงเครื่องยนต์ดับลง เสียงสิ่วกระทบไม้แทรกขึ้นมา ทันที จังหวะการตอก ต๊อก ต๊อก ต๊อก ที่สลับกันไปมา มองไปตามเสียงนั้นในระยะไม่ไกลจึงพบกับคุณลุง คุณป้าก�ำลังก้มหน้าก้มตา แกะสลักอย่างขมักเขม้น แววตาที่ดูมุ่งมั่นและตั้งใจจดจ่อลงไปที่ไม้ท่อนนั้น ถูก ผละออกด้วยเสียงเรียกสวัสดีจากฉัน สีหน้าที่ดูจริงจังแปรเปลี่ยนเป็นรอยยิ้มแสดงการต้อนรับอย่างจริงใจ ในทันที “ที่นี่เหมือนเป็นที่ท�ำงานและตั้งของขายไปด้วย เวลานักท่องเที่ยวมาก็มาจอดตรงนี้ได้ ของครบหมด” คุณป้าเล่าใหฟ้ งั ซึง่ ลานครึง่ วงกลมตรงนีเ้ ปรียบไดก้ บั ศูนย์แสดงสินคา้ ขนาดยอ่ ม แสดงทัง้ สินค้าและวิธีการสร้างสรรค์ผลงานแต่ละชิ้น ให้นักท่องเที่ยวไม่เพียงแต่มาเดินเลือกซื้อ แต่ยังได้เห็นการ แปรรูปของไม้ท่อนขนาดใหญ่ มาสู่งานศิลปะชั้นเลิศ สัมผัสได้ถึงคุณค่าของผลงานแต่ละชิ้น ที่กว่าจะได้มา ศิลปินรุ่นใหญ่ต้องทุ่มเทด้วยความตั้งใจขนาดไหน

20

ศูนย์แสดงสินค้าแกะสลักไม้

เด็กเล่นน้ำ�ที่สะพานขัวมุง

ถนนที่เต็มไปด้วยทุ่งนาสองข้างทาง

ชาวบ้านกำ�ลังเตรียมต้นไคร้ เพื่อสานตะกร้า

‘สล่า’ เป็นภาษาพื้นเมือง แปลว่า ช่าง รวมถึงช่างแกะสลักไม้ด้วย ซึ่งนับเป็นเวลา 50 กว่าปีมาแล้ว ที่หมู่บ้านแห่งนี้แว้วเสียงสิ่วกระทบไม้อยู่ทุกเช้า-ค�่ำ กลายเป็นส�ำเนียงเฉพาะถิ่นอันคุ้นหูที่ ขับกล่อมผู้คนผ่านกาลเวลามานานแสนนาน พื้นที่ของชุมชนเล็กๆแห่งนี้อุดมไปด้วยสล่า ผู้เชียวชาญการ แกะสลักไม้ สบื ทอดกันมารุน่ สูร่ นุ่ กลายเปน็ อุตสหากรรมเล็กๆในครัวเรือน สง่ ขายทัว่ ประเทศ รายไดเ้ ฉลีย่ ตอ่ ครัวเรือน 700 บาทตอ่ วัน ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ยอดการสัง่ จากลูกคา้ แตล่ ะครัง้ โดยชา่ งทีน่ คี่ ลา้ ยเปน็ มือปืน ท�ำ ชิน้ งานตัง้ แต่เริม่ จากเป็นไม้ทอ่ นใหญ่ๆ ตัดแต่ง แกะสลัก ได้รปู ร่างประมาณหนึง่ จึงขายส่งต่อให้ชา่ งจังหวัด อืน่ ไปต่อยอดผลิตภัณฑ์ตอ่ ไป หรือสล่าบางคนก็สร้างสรรค์งานไม้ออกมาอย่างสมบูรณ์วางขายทีศ่ นู ย์แสดง สินค้าของหมู่บ้าน แต่ส่วนใหญ่จะรับท�ำตามสั่งเสียมากกว่า “ท�ำวางขายเองมันไม่คุ้ม กว่าจะมีคนมาซื้อ ต้องใช้เวลา ท�ำตามที่เขาสั่งมาดีกว่า ท�ำเสร็จได้เงินเลย” คุณป้าพูดพลางชี้ไปที่ชั้นวางสินค้าแกะสลักที่ยัง รอการขาย โดยชิ้นงานที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านคือ การแกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ช่างที่บ้าน หลุกจะมีความช�ำนาญเป็นพิเศษ ซึ่งลายแกะของช่างแต่ละคน จะไม่สามารถเหมือนกันเลย ขึ้นอยู่กับการ ฝึกฝน การลงน�้ำหนัก และความคิดสร้างสรรค์ของช่างแต่ละคน บอกลาคุณลุงคุณป้าทีศ่ นู ย์แสดงสินคา้ พรอ้ มทิง้ ค�ำสัญญาไวว้ า่ เดีย๋ วจะกลับมาซือ้ อะไร ติดไม้ติดมือ และถามทางไปชมแม่น�้ำจาง ทั้งสองแย่งกันบอกทางอย่างน่ารัก สรุปได้ความว่า ต้องตรงไป จากวงเวียนและจะเจอเลยไม่ไกลมาก รู้ตัวอีกทีตอนนี้เท้าเหยียบอยู่บนสะพานไม้เก่าแก่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘สะพานขัว ไม้มุง’ ดูแล้วเคยทรุดโทรมและได้รับการซ่อมแซมมาก่อน สังเกตจากเนื้อไม้ที่ผุเก่า แต่ได้รับการทาสีใหม่ ทับ บนสะพานนัน้ มีเด็กๆผูช้ าย และเณรนอ้ ยหม่ จีวรสีเหลือง ก�ำลังเลน่ นำ�้ กันอยา่ งสนุกสนาน เสียงดังเจือ้ ย เจ้วแทรกซ้อนเสียงกระโดดน�้ำไปมา ในแม่น�้ำนั้นน�้ำไหลผ่านอย่างเชื่องช้า เพราะบนผิวน�้ำแออัดไปด้วย ดอกบัว กลายเป็นกิจกรรมสนุกๆของเด็กๆ คือการแย่งกันเก็บดอกบัว ระหว่างสองข้างริมแม่น�้ำนั้นเอง มีกระท่อมเล็กๆ ตั้งอยู่จ�ำนวนหนึ่ง มองเข้าไปพบกับชาวบ้านที่ ดูก�ำลังกม้ ตากม้ ตาท�ำอะไรอยา่ งตัง้ ใจ ดึงดูดใหต้ อ้ งเดินเขา้ ไปหา และพบวา่ บางหลังท�ำงานแกะสลักไม้ และ บางหลังก�ำลังสานตะกร้า จึงได้รู้ว่านอกจากอาชีพแกะสลักไม้แล้ว ชาวบ้านที่นี่บางคนยังสานตะกร้าจาก ต้นไคร้ ส่งขายเป็นรายได้เสริมจากอาชีพแกะสลักและท�ำการเกษตรอีกด้วย ที่น่าอิจฉาคือสถานที่ท�ำงาน ที่แม้เป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ ถูกสร้างเพื่อบังแดดบังฝน อยา่ งงา่ ยๆ แตก่ ลับสมบูรณ์แบบดว้ ยรอยยิม้ แหง่ ความสุขจากการท�ำงานดว้ ยฝีมอื อันปราณีต จากวัตถุดบิ ทางธรรมชาติกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่า หล่อหลอมจากแรงกายและแรงใจ บ้านหลุกใต้มองเผินๆ อาจคล้ายหมู่บ้านชนบททั่วไป แต่ที่ไม่เหมือนใครคือ ชาวบ้านผู้ เต็มเสน่ห์ไปด้วยภูมิปัญญางานช่าง ซึ่งทุกคนล้วนแต่เป็นศิลปินเอกประจ�ำหมู่บ้าน

21


วิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณี

วิถีแห่งหลุกใต้ แหล่งชุมชนที่เต็มไปด้วยวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน

22

หลัวผิงไฟพระเจ้าในประเพณีตานข้าวจี่ข้าวหลามข้าวใหม่

บนถนนสองเลนของหมู่บ้านแทบจะไม่มีรถยนต์สักคันให้วุ่นวาย แต่จะเป็นจักรยาน แทนที่ขี่สวนกันไปมา แสดงได้ถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ไม่เร่งรีบ สบายๆไปกับการเดินทางและการใช้ ชีวติ คุณยายคนหนึง่ ก�ำลังปัน่ จักรยานไปทีไ่ หนสักแหง่ พอผา่ นหนา้ วัด แกจอดชิดซา้ ยและยกมือไหวพ้ รอ้ ม เอามือลูบหัว และขับไปต่อด้วยสีหน้าเปื้อนยิ้ม และนั่นท�ำให้อดยิ้มตามแกไม่ได้ รายละเอียดเล็กน้อยเช่น การหยุดไหว้พระนี้ มันดูเป็นเสน่ห์ที่แสดงถึงความละเมียดละไมในการด�ำรงชีวิตของชาวบ้านหลุกใต้ ตามค�ำบอกเล่าของลุงชาติ แก้วชุ่ม ช่างแกะสลักมือหนึ่งของหมู่บ้านเล่าถึงประเพณี วัฒนธรรมความเชือ่ ทอ้ งถิน่ ของชุมชนบา้ นหลุกใตว้ า่ ทัง้ หมดนัน้ ไดร้ บั การถา่ ยทอดและปฏิบตั สิ บื ตอ่ กันมา จากบรรพบุรษุ ของชุมชนอยา่ งตอ่ เนือ่ ง ชุมชนบา้ นหลุกใตม้ ปี ระเพณีวฒ ั นธรรมความเชือ่ ทีเ่ ปน็ รูปแบบของ วิถีล้านนาทางภาคเหนือแท้ๆ แต่ก็มีความแตกต่างจากประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อในแต่ละบริบทพื้นที่ ของชุมชนนั้นๆ โดยสมาชิกในชุมชนบ้านหลุกใต้ให้ความส�ำคัญในเรื่องของความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจ�ำ ชุมชนและประเพณีที่มีความโดดเด่นในชุมชนซึ่งก็คือ เจ้าพ่อท้าวพรมแสนเมืองเจ้าพ่อแสนมุมเมืองจะเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาคุ้มครองสมาชิกในชุมชนบ้านหลุกใต้ แต่ที่โดดเด่นหาจากหมู่บ้านไหนไม่ได้คือ ในทุกๆปีจะมีการจัดประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อ บ้านเพือ่ เปน็ สิรมิ งคลใหก้ บั ชุมชนบา้ นหลุกใตแ้ ละสมาชิกในชุมชน โดยสมาชิกในชุมชนจะเขา้ รว่ มประเพณี เพือ่ มาท�ำการขอพรขอโชคจากเจา้ พอ่ เพือ่ เปน็ การปกปักรักษาคุม้ ครองและเปน็ เครือ่ งยึดเหนีย่ วจิตใจใหก้ บั สมาชิกในชุมชนบ้านหลุกใต้โดยส่วนใหญ่สมาชิกในชุมชนบ้านหลุกใต้จะให้ความส�ำคัญ ให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมในประเพณีนี้เป็นอย่างมาก และในปัจจุบันชุมชนบ้านหลุกใต้นอกจากมีประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้านที่เป็นประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อที่มีการสืบทอดต่อกันมาแล้ว ยังมีประเพณีท้องถิ่นอื่นๆอีกด้วย เช่น ประเพณีตามข้าว

พระสงฆ์เดินทางด้วยรถสามล้อยนต์

สะพานขัวไม้มุง


จี่–ข้ามหลาม–ข้าวใหม่ ประเพณีแห่ไม้ค�้ำศรี ประเพณีสรงน�้ำพระธาตุวัดบ้านหลุก–วัดดอยผาปูน ประเพณี ปี๋ใหม่เมือง (ประเพณีสงกรานต์) การรดน�้ำด�ำหัวผู้สูงอายุ เป็นต้น ประเพณีดังกล่าวสมาชิกในชุมชนบ้าน หลุกใต้ให้ความส�ำคัญและมีการเข้าร่วมเป็นอย่างมากและเป็นศูนย์รวมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของสมาชิกใน ชุมชนให้มกี ารประพฤติปฏิบตั ติ นอยูใ่ นศีลธรรมรวมถึงการท�ำความดี และยังแสดงใหเ้ ห็นถึงการรวมกลุม่ กัน ของสมาชิกในชุมชนเพื่อที่จะเข้ามาร่วมท�ำกิจกรรมการสืบทอดประเพณีต่างๆร่วมกันในชุมชนส่วนใหญ่ สมาชิกในชุมชนที่เข้าร่วมจะอยู่ในช่วงวัยกลางคนและวัยผู้สูงอายุ พระครูไพโรจน์ยติกติ เจ้าอาวาสวัดบ้านหลุก เลา่ วา่ “เด็กๆสมัยนี้ ไมค่ อ่ ยเขา้ วัดแลว้ นอก จจากจะมีงานบุญใหญ่จริงๆ ส่วนใหญ่เด็กจะเข้าไปเรียนในเมือง อยู่หอพัก หรือไปเรียนต่างจังหวัด น้อยคน จะมาร่วมประเพณีบา้ นเรา หรือแมแ้ ตง่ านแกะสลักทีพ่ อ่ แมต่ วั เองท�ำก็ไมเ่ ห็นจะแตะกันสักเทา่ ไหร”่ อาจเพราะ ขาดการปลูกจิตส�ำนึกและสืบทอดจากสมาชิกในชุมชน ส่วนใหญ่กลุ่มเด็กและเยาวชนจะไม่ค่อยอยู่ช่วยงาน และร่วมงานในประเพณีต่างๆในชุมชนมากนักจึงท�ำให้ประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อของชุมชนบ้านหลุกใต้ อาจจะไม่เป็นที่รู้จักของกลุ่มเยาวชนและเด็กในอนาคต ตารางกิจกรรมประเพณี เดือน

ประเพณี

มกราคม

ประเพณีตานข้าวจี่ – ข้าวหลาม - ข้าวใหม่ / สรงน้ำ�พระธาตุวัดบ้านหลุก

กุมภาพันธ์

ประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้าน วันขึ้น 5 ค่ำ�เดือน 5

มีนาคม

วันมาฆบูชาวันขึ้น 15 ค่ำ�เดือน 3

เมษายน

15 เมษายน ประเพณีแห่ไม้ค้ำ�ศรีวัดบ้านหลุก 17 เมษายน ประเพณีเลี้ยงผีปู่ - ผีย่า / ประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้าน

พฤษภาคม

สรงน้ำ�พระธาตุวัดดอยผาปูน / วันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ�เดือน 6

ป้ายวัดบ้านหลุก

พระพุทธรูปประจำ�วัดบ้านหลุก

ร่างทรงผีเจ้าพ่อ

พิธีเลี้ยงผีพ่อเจ้าบ้าน

มิถุนายน กรกฎาคม

วันอาสาฬหบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ�เดือน 8 / ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา แรม 1 ค่ำ� เดือน 8

สิงหาคม กันยายน

24

ตุลาคม

ประเพณีตาลเปรตพลี (วันออกพรรษา) วันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 11 /ตานก๋วยสลาก

พฤศจิกายน

ประเพณียี่เป็ง (วันลอยกระทง) วันขึ้น 15 ค่ำ�เดือน 12

ธันวาคม

ประเพณีตานข้าวจี่ – ข้าวหลาม – ข้าวใหม่ สีดำ� : ประเพณีสากล สีครีม : ประเพณีท้องถิ่น

25


สรงน้ำ�พระธาตุวัดบ้านหลุก

ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า

ประเพณีสรงน้ำ�พระธาตุวัดบ้านหลุก จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ตรงกับเดือนสี่เป็ง (นับแบบ พื้นเมือง) มีการสรงน้ำ�พระธาตุและการเปลี่ยนผ้าห่มของพระธาตุวัดบ้านหลุก พระภิกษุ สามเณรในวัดบ้านหลุกและสมาชิก ในชุมชนบ้านหลุกจะมีการเตรียมสิ่งของและจัดเตรียมงานสรงน้ำ�พระธาตุ สมาชิกในชุมชนได้มีส่วนร่วมและได้ร่วมทำ�บุญ

ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า จัดขึ้นช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ โดยจะมีกิจกรรมการรดน้ำ�ดำ�หัวผู้ใหญ่ในชุมชน บ้านหลุกใต้และจะมีการเลือกวันใดวันหนึ่งที่ไม่ตรงวันพระตามปฏิทิน ในการทำ�การเลี้ยงผีปู่-ผีย่า ในประเพณีนี้จะมีร่างทรง (ม้านั่ง) ของผีปู่ผีย่า คือ คุณยายศรีปัน โสภาแปง เป็นสมาชิกในชุมชนบ้านหลุกใต้ที่มีความเชื่อและความศรัทธาให้ความ เคารพนับถือในเรื่องผีปู่-ผีย่า และสมาชิกในชุมชนบ้านหลุกใต้ให้ความเคารพนับถือกันกันเป็นอย่างมาก โดยก่อนหน้าที่จะ มีการจัดประเพณีการเลี้ยงผีปู่-ผีย่าสมาขิกชุมชนบ้านหลุกใต้ จะมีการเปลี่ยนขันดอกดอกไม้ขันอัญเชิญของพ่อเฝ้าบ้าน เพื่อ ความเป็นสิริมงคล ปกป้อง รักษาชุมชนบ้านหลุกใต้และเป็นการจัดเตรียมสถานที่ก่อนเข้าสู่วันที่จัดสมาชิกในชุมชนนิยมมา สักการบูชาและขอพรจากผีปู่-ผีย่า ในเรื่องการประกอบอาชีพการค้าขาย การเดินทางไปต่างจังหวัด ความปลอดภัย โดยปีนี้ ประเพณีเลี้ยงผีปู่-ผีย่าทางชุมชนบ้านหลุกใต้ จัดขึ้นในวันที่ 14 เมษายน 2558 ร่วมกับการทอดผ้าป่าสำ�นึกรักบ้านเกิดของ ชุมชนบ้าน- หลุกใต้เพื่อเป็นการให้ลูกหลานของสมาชิกในชุมชนที่กลับมายังชุมชนในช่วงสงกรานต์ได้เข้าร่วมประเพณีเลี้ยง ผีปู่-ผีย่า เพื่อความเป็นสิริมงคลและขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่อยู่คู่กับชุมชนได้ปกป้องรักษาคุ้มครองปลอดภัยตลอดทั้งปีและ เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ ซึ่งทุกๆปีที่ผ่านมาทางชุมชนบ้านหลุกได้จัดประเพณีเลี้ยงผีปู่-ผีย่าในทุกๆวันที่ 17 เมษายน ซึ่ง เป็นวันที่ลูกหลานของสมาชิกในชุมชนเดินทางกลับต่างจังหวัด

ประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้าน ประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้าน คือ ประเพณีที่มีไว้เพื่อสักการบูชาเจ้าพ่อบ้านซึ่งผีเจ้าพ่อบ้านของบ้านหลุก ใต้จะมีอยู่สองแห่ง คือ พ่อแสนมุมเมืองหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าพ่อเฝ้าบ้าน (ฝั่งใต้) จะอยู่บริเวณศาลาอเนกประสงค์ของ ชุมชนบ้านหลุกใต้โดยจัดประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้านขึ้นในวันที่ 17 เมษายนของทุกๆปี และอีกหนึ่งแห่ง คือ พ่อท้าวพรมแสน เมือง (ฝั่งเหนือ) จะอยู่ที่บริเวณข้างวัดบ้านหลุก โดยจะจัดประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้านในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งประเพณี เลี้ยงผีเจ้าบ้านจะจัดขึ้นปีละครั้งการจัดประเพณีดังกล่าวจะมีเครื่องของต่างๆมาถวายให้กับผีเจ้าพ่อบ้านมีการเปลี่ยนขมิ้นน้ำ� ส้มป่อยและจัดสถานที่ในงานโดยคนเฒ่าคนแก่หรือผู้สูงอายุในชุมชนจะเป็นผู้จัดการในการเตรียมของและขั้นตอนต่างๆ ซึ่ง ได้มีการสืบต่อจากรุ่นสู่รุ่นและในปัจจุบันยังมีวัยรุ่นและวัยอื่นๆเข้าร่วมประเพณีนี้ในชุมชนบ้านหลุกใต้ และชุมชนใกล้เคียง เข้าร่วมประเพณีนี้โดยมีจิตศรัทธาและเคารพนับถือของแต่ละบุคคลในประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้าน มีกิจกรรมการรดน้ำ�ดำ�หัวผี เจ้าพ่อบ้าน (พ่อเฝ้าบ้าน) และการขออโหสิกรรม การขอขมาผีเจ้าพ่อบ้านในสิ่งที่ตนได้ล่วงเกินส่วนใหญ่สมาชิกในชุมชนบ้าน หลุกใต้จะมาขอพรต่อทั้งสองท่านในเรื่องของการประกอบอาชีพการค้าขาย และการเดินทางโดยปลอดภัยซึ่งผีเจ้าพ่อบ้านทั้ง สองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่ชุมชนบ้านหลุกใต้และเป็นที่เคารพนับถือมาเป็นเวลานาน

ประเพณีตานข้าวจี่-ข้าวหลาม-ข้าวใหม ประเพณีตานข้าวจี่-ข้าวหลาม-ข้าวใหม่ตรงกับเดือนสี่เป็ง (นับแบบพื้นเมือง) หรือตรงกับช่วงเดือน ธันวาคม-มกราคม คือ สมาชิกในชุมชนจะนำ�ข้าวจี่ข้าวหลามและข้าวที่เป็นผลผลิตใหม่ในแต่ละปีของสมาชิกในชุมชนนำ� มาถวาย และทำ�พิธีเพื่อความเป็นสิริมงคลตอบแทนพระแม่ธรณีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์และขอบคุณที่ทำ�ให้ผลผลิตทางการเกษตร มีผลผลิตที่ดีมีความอุดมสมบูรณ์ โดยจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจของสมาชิกในชุมชนเพื่อเป็นกำ�ลังใจในการประกอบ อาชีพและการดำ�รงชีวิต ในประเพณีนี้จะมีการสร้างเจดีย์จากการใช้ไม้จี้ที่มีลักษณะเป็นไม้หนามชาวเหนือ เรียกว่า ไม้หลัว พระเจ้า โดยสมาชิกในชุมชนจะนำ�ไม้ดังกล่าวมารวมกันไว้ที่วัดบ้านหลุกและจะช่วยกันสร้างก่อเป็นรูปเจดีย์ขนาดใหญ่ ซึ่ง ทำ�ให้เห็นถึงความสามัคคีและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสมาชิกในชุมชน เมื่อสร้างเสร็จจะตั้งทิ้งไว้เมื่อครบเข้าสู่เดือน ห้า (นับแบบพื้นเมือง) จะทำ�การเผาทิ้งเพื่อสำ�นึกบุญคุณของบรรพบุรุษของแต่ละครอบครัวสำ�นึกในที่ทำ�มาหากินของแต่ละ ครอบครัว ประเพณีแห่ไม้ค้ำ�ศรี ประเพณีแห่ไม้ค้ำ�ศรี จัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งแต่ละปีจะมีการกำ�หนดวันไม่ตรงกัน สำ�หรับ ในปีนี้ชุมชนบ้านหลุกใต้จัดขึ้นในวันที่ 15 เมษายน 2558 โดยจะมีกิจกรรมสรงน้ำ�พระในวัดบ้านหลุกและในแต่ละหมวดของ ชุมชนทั้งหมด 26 หมวดจำ�นวน 3 หมู่บ้านจะมีการแห่ไม้ค้ำ�ศรีไปยังวัดบ้านหลุกโดยจะนำ�ไม้ค้ำ�ศรีไปค้ำ�ต้นโพธิ์ของวัดเพื่อ ความเป็นสิริมงคล และมีวัตถุประสงค์เพื่อซ่อมแซมหรือสมทบทุนให้กับวัดบ้านหลุกหรือกิจกรรมต่างๆภายในชุมชนบ้านหลุก ซึ่งจะมีการประชุมและหาข้อตกลงในการจัดงาน

26

ขบวนแห่ไม้ค้ำ�ศรี

27


ผลิตภัณฑ์เด่น และกระบวน สร้างสรรค์ผลงาน

ผลงานสร้างสรรค์

ไม้ขนาดไม่ใหญ่นัก บางต้นขนาด 2 คนโอบ บางต้นขนาด 5 คนโอบ วางเรียงกันอยู่ บริเวณลานหนา้ กระทอ่ มไม้ ทถี่ กู สรา้ งขึน้ อยา่ งงา่ ยๆ จากไม้ และมุงหลังคาดว้ ยหญา้ คา ในนัน้ มีคนอยู่ 3-4 คน บ้างก�ำลังตัดไม้ต้นใหญ่เหล่านั้น บ้างก�ำลังแกะสลักไม้อย่างตั้งใจ หมูบ่ า้ นหลุกมีผลิตภัณฑ์ไมแ้ กะสลักทีเ่ ปน็ เอกลักษณ์และไดร้ บั ความนิยมอยูห่ ลายอยา่ ง โดยมีผลิตภัณฑ์หลักและผลิตภัณฑ์ที่ขายดี และเป็นสินค้าเด่น มีรูปทรงและลวดลายพิเศษที่หาการแกะ อย่างช�ำนาญแบบนี้ได้ยาก คือ ไม้แกะสลักเป็นรูปหัวช้าง ไม้แกะสลักเป็นรูปกวางหมอบ ไม้แกะสลักเป็น รูปสิงโต และไม้แกะสลักเป็นรูปช้าง นอกจากนั้นที่บ้านหลุกแห่งนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกซึ่งจะผลิตตาม ลูกค้าสั่งเท่านั้น ได้แก่ ครกไม้ โมบายไม้แกะสลักเป็นรูปนก ไม้แกะสลักเป็นรูปอินเดียนแดงและคาวบอย และไม้แกะสลักเป็นรูปดอกไม้ เช่น ดอกชบา และดอกทิวลิป หากจะให้เขียนกรรมวิธกี ารแกะสลักอย่างย่อทีส่ ดุ ก็คงไม่มอี ะไรไปมากกว่า “ตัด-แต่งแกะ-เหลา-ย่าง-ขัด” เริม่ ต้นด้วยการใช้เลือ่ ยไฟฟ้าตัดไม้ทอ่ นยักษ์ แต่งขึน้ โครงคร่าวๆเป็นรูปร่างทีต่ อ้ งการ “ภาพมันอยู่ในหัว ท�ำทุกวันจนชิน ตัดโครงไปให้ได้รูปร่างมากที่สุด แล้วค่อยใช้สิวกับค้อนทุบแต่งต่อ” พี่ โสภณ สล่าผู้อายุน้อยที่สุดในหมู่บ้านเล่าให้ฟัง โดยเฉลี่ยแล้วช่างแกะสลักสามารถแกะสลักไม้ได้ 5-6 ชิ้น ต่อวัน แล้วแต่ขนาดและความยากง่ายในการแกะสลัก สมาธิที่ต้องจดจ่ออย่างตั้งใจ มื่อที่สั่นๆเล็กน้อยของฉัน แสดงออกถึงความประหม่าและ ตื่นเต้น หลังจากได้ลองจับสิ่วหัวเล็ก และค้อนขนาดเบามือพอที่จะยกไหว วินาทีที่สิ่วแตะลงบนหูช้าง เพื่อ สร้างลวดลายเป็นพื้นผิวให้เสมือนจริงมากขึ้น ค้อนกระทบสิ่วลงพร้อมกัน เส้นแรกแน่นอนมันเบี้ยว “ไม่ เป็นไรๆ ลองเส้นต่อไปอีก” พี่โสภณหัวเราะและพูดให้ก�ำลังใจ เส้นต่อๆไปมันเริ่มดีขึ้นเรื่อย จากใจสั่นๆ เพราะความตื่นเต้น ตอนนี้มันนิ่งลงพร้อมกับมือ ที่สามารถควบคุมทิศทางได้ดี จนส�ำเร็จการท�ำริ้วเส้นที่ หูช้างได้ถึง 2 ข้าง แต่พี่โสภณก็ต้องแก้ 2-3 เส้นแรกที่ท�ำเบี้ยวให้ ความคล่องแคล่วและช�ำนาญของครูช่าง

กระบวนการที่ปราณีต ใส่ใจในทุกรายละเอียด สู่งานแกะสลักอันเลืองชื่อ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลัก

ช้างแกะสลักไม้จามจุรี

ศูนย์สาธิตและเรียนรู้การแกะสลั ก 29


ท�ำให้หูช้างนั้นดูสมบูรณ์แบบเหมือนไม่เคยพลาดมาก่อน หลังจากการแกะสลักโดยใช้สวิ่ แกะเป็นรูปร่างแล้วผิวของชิน้ งานจะไม่เรียบจะต้องน�ำชิน้ งานมาเหลาเพื่อให้ชิ้นงานมีความเรียบโดยใช้เต่าเหลา ซึ่งมี 2 ขนาดเล็ก, ใหญ่ตามชิ้นงาน ต่อมาน�ำชิ้น งานที่แกะสลักเสร็จเรียบร้อยมาท�ำการย่างไฟ เพื่อให้ชิ้นงานแห้ง ซึ่งจะง่ายต่อการน�ำไปขัดให้เรียบโดยใช้ เวลาประมาณในการย่างไฟจนกว่าชิ้นงานจะแห้ง และสุดท้ายกระบวนการขัดด้วยกระดาษทราย โดยการ ขัดหยาบจะใช้กระดาษทรายเบอร์ 80 ถ้าต้องการให้ชิ้นงานมีความละเอียดมากยิ่งขึ้นให้ใช้กระดาษทราย เบอร์ 100 ขั้นตอนขัดนี้เอง คล้ายจะดูง่าย พี่โสภณเลยเปิดโอกาสให้ลองลงมืออีกรอบ กระดาษ ทรายเบอร์ 80 ถูกยกขึ้นเทียบกับมือของครูช่าง “มือพี่กับกระดาษทรายนี่ อันไหนหยาบกว่ากัน แต่มือพี่ มันหยาบกร้านด้วยประสบการณ์นะ มือยิ่งด้าน เขาบอกว่าแสดงว่าเป็นคนขยันท�ำงาน” กระดาษทรายถูกขัดๆไปตามลายไม้อย่างชา้ ๆ อาจจะไมค่ ลอ่ งเทา่ ครูชา่ ง แตม่ อื ใหมห่ ดั ขัดอย่างฉันต้องระมัดระวังอย่างมาก หากขัดผิดทิศทางลายไม้ กระดาษทรายจะกินเนื้อไม้เข้าไป ท�ำให้ผิว

30

ของผลงานเป็นขุยขึ้นมา พี่โสภณต้องมาตามแก้ให้อีก ขั้นตอนนี้ฉันถูกปล่อยให้ท�ำอย่างเพลิดเพลิน อาจ จะเพราะงา่ ยและไมต่ อ้ งใหฝ้ มี อื มาก ขอแคเ่ ขา้ ใจและรูจ้ กั เนือ้ ไมท้ เี่ ราจับอยู่ ใสค่ วามตัง้ ใจและสมาธิลงไปอีก หน่อย หัวช้างแกะสลักอันนี้ก็เข้าเส้นชัยของค�ำว่าสมบูรณ์แล้ว ส่วนเศษไม้ที่เหลือจากการแกะสลักก็จะถูกน�ำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น การอบชิ้นงาน แกะสลัก การอบเห็ดฟาง หรือตอไม้ รากไม้ ขุดน�ำมาท�ำครก เป็นต้น ส่วนขี้เลื่อยจะมีโรงงานปูนมารับเพื่อ น�ำไปใช้ประโยชน์ต่อไป จะเห็นได้ว่าการแกะสลักสามารถน�ำไม้ไปใช้ทุกส่วนอย่างคุ้มค่า ตั้งแต่ไม้ท่อนใหญ่ กลายร่างมาเป็นหัวช้าง และผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกมากมาย ต้องใช้ค�ำ ว่า ‘กว่า’ ทีช่ า่ งคนหนึง่ จะสรา้ งสรรค์ผลงานออกมาไดเ้ สร็จสมบูรณ์ ตอ้ งใชท้ งั้ แรงกายและแรงใจ ใสช่ วี ติ และ วิญญาณลงไปในไม้แต่ละชิ้น งานฝีมือเช่นนี้ หากใจไม่รักพอก็คงไม่สามารถยึดเป็นอาชีพได้ รายได้ที่ไม่ มากมาย เพียงพอแค่อยู่กินแบบสบายๆ อาจจะไม่ใช่แรงจูงใจที่ส�ำคัญส�ำหรับครูช่างทุกคนในหมู่บ้านหลุก ใต้ แต่เป็นเพราะความสุขในแต่ละวินาทีที่ได้จดจ่ออยู่กับท่อนไม้เหล่านั้น คือความสุขจากงานศิลปะที่หา จากไหนไม่ได้

31


12 34

32

ตัดแต่งไม้

แกะสลัก

การขึ้ น รู ป หยาบคื อ การนำ� ไม้ที่หามาได้ตามขนาดที่ต้องการมาวัด ขนาดวาดภาพเค้าโครงของชิ้นงานจาก นั้นตัดด้วยเลื่อยยนต์หรือเลื่อยไฟฟ้าให้ ได้ขนาดตามที่ต้องการ

เนื่ อ งจากการขึ้ น รู ป ด้ ว ย เลื่อยยนต์เป็นการขึ้นรูปแบบหยาบ ไม่ ได้ ล งรายละเอี ย ดในงานแกะสลั ก ดั ง นั้น ก่อนที่จะทำ�การแกะสลักจะต้อง ขึ้ น รู ป โดยละเอี ย ดก่ อ นเพื่ อ จะได้ รู้ ถึ ง สัดส่วนที่แท้จริงโดยใช้มีดและขวานแต่ ในปัจจุบันได้นำ�เลื่อยยนตร์ขนาดเล็กมา ประกอบด้วย

ขัดเรียบ

เนื่ อ งจากการขึ้ น รู ป ด้ ว ย เลื่อยยนต์เป็นการขึ้นรูปแบบหยาบ ไม่ ได้ ล งรายละเอี ย ดในงานแกะสลั ก ดั ง นั้น ก่อนที่จะทำ�การแกะสลักจะต้อง ขึ้ น รู ป โดยละเอี ย ดก่ อ นเพื่ อ จะได้ รู้ ถึ ง สัดส่วนที่แท้จริงโดยใช้มีดและขวานแต่ ในปัจจุบันได้นำ�เลื่อยยนตร์ขนาดเล็กมา ประกอบด้วย

ผิงไฟ

การย่างไฟ คือ ขั้นตอน การนำ�ชิ้นงานที่แกะสลักเสร็จเรียบร้อย มาทำ�การย่างไฟ เพื่อให้ชิ้นงานแห้ง ซึ่ง จะง่ า ยต่ อ การนำ�ไปขั ด ให้ เรี ย บโดยใช้ เวลาประมาณในการย่างไฟจนกว่าชิ้น งานจะแห้ง

33


ครูช่างที่โดดเด่น

โสภณ จรันรัก ครูช่างอายุน้อยที่สุดในหมู่บ้าน แต่มากด้วย ทักษะและสเน่ห์การแกะช้างที่ไม่เหมือนใคร

34

หนุม่ เมืองสุรนิ ทร์ผมู้ คี วามถนัดด้านการแกะสลักช้างไม้ จบั พลัดจับผลูตามภรรยามาอยูเ่ มืองล�ำปาง ก่อนหน้านี้เขาและภรรยาพบรักกันที่มหาวิทยาลัยหนึ่งในกรุงเทพฯ และต่างคนต่างพบว่าเมืองใหญ่ที่เร่ง รีบและวุ่นวาย ไม่ใช่แนวทางชีวิตที่ต้องการ จึงทิ้งการงานที่กรุงเทพ ย้ายมาอยู่ด้วยกันที่บ้านเกิดของฝ่าย หญิง คือบ้านหลุกใต้ อ.แม่ทะ จ.ล�ำปาง ใต้หลังคาที่ท�ำจากหญ้าคา ดูร่มรื่นและเย็นสบายขัดกับอากาศร้อนๆภายนอกที่ฉันก�ำลังยืนอยู่ มองเข้าไปเห็นชายคนหนึ่งอายุราว 30 ปี ก�ำลังตั้งใจจับสิ่วตอกไม้อย่างขมักเขม้น ก�ำนันณรงค์เรียกให้ชาย คนนั้นหันมาพร้อมกับแนะน�ำให้ฉันรู้จัก “นี่พี่โสภณ ช่างมือหนึ่งจากแดนอีสาน” และหันกลับมาแนะน�ำตัว ฉัน “นอ้ งเขามาจากกรุงเทพ ท�ำรายงานนะ่ ชว่ ยดูหนอ่ ยนะ” ก�ำนันณรงค์พดู พลางชีบ้ อกใหฉ้ นั ไปนัง่ ใกลๆ้ ชายคนนัน้ “อา้ ว เด็กกรุงเทพเหรอ เมือ่ กอ่ นพีก่ อ็ ยูก่ รุงเทพนะ เราก็เด็กบา้ นนอกคนนึง ทีด่ นิ้ รนหาชีวติ ดีๆ ในเมืองหลวง นั่งเรียนในตึกสูงๆ ท�ำงานในตึกสูงๆ กลับบ้านที่สุรินทร์แต่ละทีก็ฟังดูเหมือนจะเท่ ชาวบ้าน สมัยนั้นส่วนใหญ่เรียนแถวบ้าน และกลับมาท�ำไร่ท�ำนา แต่พ่อแม่พี่อยากให้เรียนสูงๆ เข้ากรุงเทพ คือแปล ว่าเจริญในสายตาของเขา” คุณโสภณ จรันรัก หรือเจ้าตัวขอให้ฉันเรียกว่าพี่โสภณ เปิดบทสนทาด้วยการ เล่าถึงชีวิตสมัยวัยรุ่นด้วยท่าทีอารมณ์ดี และมีอารมณ์ขัน ท�ำให้ฉันอดยิ้มตามไปด้วยไม่ได้ เพียงแค่ไม่กี่นาทีที่ได้เข้ามานั่งใต้ร่มหญ้าคา สถานที่ท�ำงานเล็กๆแห่งนี้ สัมผัสได้ถึงความอบอุ่น และเป็นกันเองจากพี่โสภณ ลุงชัย และแม่นา พ่อตาแม่ยายของพี่โสภณนั่นเอง ที่ทั้งคู่มีหน้าที่ส่วนของแกะ สลักและขัดเรียบ ซึง่ ลุงชัยนีเ่ อง ครูชา่ งผูฝ้ กึ สอนงานแกะสลักให้พโี่ สภณจนช�ำนาญและรักในงานไม้ เป็นการ สืบทอดงานฝีมอื แกค่ นรุน่ ใหม่ “ตอนนัน้ พีย่ งั จับสิว่ ไมเ่ ปน็ ดว้ ยซำ �้ เดือนแรกตอ้ งฝึกทุกวัน ทัง้ วัน พลาดแทง มือเลือดไหลบ้าง” พี่โสภณเล่าพร้อมชี้ไปที่แผลเป็นที่มือ แผลเป็นที่บอกถึงประสบการณ์ตอนนั้น “พ่อแก ก็อดทนนะ แกอยากใหม้ คี นมาชว่ ยท�ำออเดอร์ทเี่ พิม่ ขึน้ ทุกวันๆ ท�ำคนเดียวก็ไมไ่ หว มีเรามาชว่ ยงานก็เดิน เร็วขึ้น” ด้วยพื้นเพมาจากครอบครัวชาวนาอยู่แล้ว และเป็นคนชอบงานศิลปะ การปรับตัวเข้ากับชุมชน บ้านหลุกใต้ จึงไม่ใช่เรื่องยากใช้เวลา 2 เดือนก็สามารถแกะได้อย่างช�ำนาญ จนตอนนี้รวมเป็นเวลากว่า 9 ปีกบั ประสบการณ์ชา่ งแกะสลักไมท้ ชี่ �ำนาญการแกะชา้ งเปน็ พิเศษ สังเกตุไดจ้ ากรอบตัวพีโ่ สภณตอนนีเ้ ต็ม ไปด้วยชา้ งทีข่ นึ้ โครงหยาบรอการแกะสลัก จึงอดสงสัยจะถามไมไ่ ดว้ า่ พีโ่ สภณแกะชา้ งเปน็ อยา่ งเดียวเหรอ “ไม่หรอก อย่างอื่นก็แกะได้ แต่ช้างเราถนัดที่สุด เลยออกมาสวยในแบบเราที่สุด ช่างแต่ละคนจะช�ำนาญ ไม่เหมือนกันนะ อย่างพ่อก็จะแกะกวางได้เก่งไม่เหมือนใคร” ส�ำหรับพีโ่ สภณแล้วการแกะสลักไม้เป็นรูปช้างนัน้ เป็นสิง่ ทีต่ อ้ งใช้เวลาและอาศัยความละเอียดมาก โดยเริม่ จากขัน้ ตอนในการตัดไมเ้ พือ่ ขึน้ โครงซึง่ จะตอ้ งประมาณใหไ้ มม้ ขี นาดพอดีและสมสว่ น นอกจากนัน้ ยังต้องแกะรายละเอียดต่าง ๆ โดยเฉพาะการแกะสลักรอยพับรอยย่นของหนังช้างให้เป็นธรรมชาติและ เหมือนจริงและดูมชี วี ติ มากทีส่ ดุ สว่ นทีย่ ากทีส่ ดุ ตอนแกะสลักชา้ งนัน้ อยูท่ ชี่ ว่ งโคง้ ของงวงชา้ ง “มันตอ้ งเจาะ รูตรงกลางนี้ จะยากหน่อย โค้งๆเข้าไปมันใช้เวลานานที่สุด” จริงอย่างที่พี่โสภณว่า ตลอดเวลาที่ฉันนั่งดู ชว่ งทีแ่ กะงวงชา้ งใชเ้ วลานานและดูชา้ ลงเปน็ พิเศษ พีโ่ สภณจะตอบค�ำถามของฉันชา้ ลง เงยหนา้ มองไมไ่ ด้ เพราะต้องจดจ่ออย่างตั้งใจในจังหวะนั้น

35


“แรกๆเรายังไม่ได้รักงานนี้หรอก เราแค่สนุกและมันส์มือ” ดูท่าทางจะมันส์มือจริงๆ เพราะมือพี่โสภณไม่ปล่อยออกจากสิ่วเลยเป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมงแล้วที่เรานั่งคุยกันตรงนี้ “ท�ำไปเรื่อยๆก็ เพลิน ไม่ต้องไปคิดถึงตัวเงินนะ มันน้อยอยู่แล้ว งานตรงนี้มันได้ความอิ่มใจ” น่าแปลกที่คนเคยผ่านชีวิต แสงสีจากกรุงเทพฯมาแล้วกลับไม่คิดถึงค�ำว่าตัวเงินแม้แต่น้อย “อยู่แบบนี้เราสบายใจ ไม่ต้องคอยเร่งรีบ หาเงิน หาเวลา และต้องรีบใช้เงิน ใช้เวลา แต่ละวันตอนนี้ใช้เงินไม่ถึง 50 กินผักตามรั้ว หมูไก่เราก็เลี้ยงเอง ครอบครัวเล็กๆแต่ก็มีความสุข จะว่าพอเพียงรึป่าวไม่รู้นะ แต่มันอิ่มท้อง อิ่มใจก็จบนะ” รายได้จากการแกะสลักช้างต่อตัวอยู่ที่ 100 บาท วันหนึ่งท�ำได้ 7 ตัว ค่าต้นทุนจะตกอยู่ ทีต่ วั ละ 25 บาท เพราะฉะนัน้ พีโ่ สภณจะมีรายไดต้ อ่ วันเฉลีย่ น 525 บาท และลูกคา้ หลักคือเหลา่ รา้ นคา้ จาก หมู่บ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่ จะมารับไปต่อยอดสินค้า อาจจะโดยการขัดหรือลงสีเพิ่มเติม เป็นต้น ช่วง ทีง่ านเยอะทีส่ ดุ ก็คอื ทุกช่วงเลย ยกเวน้ หนา้ ฝน “ฝนมาก็ท�ำงานล�ำบากเหมือนกันนะ ฝนตกหนักๆ สาดเขา้ มาไม้ชื้นไปหมด แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะช่วงนั้นออเดอร์จะน้อย ก็หันไปแวะเกี่ยวข้าวกันหน่อย เงินไม่มา ทางงานแกะไม้ รายได้เราลดลงช่วงนั้น แต่เราก็ยังมีกินนะ ข้าวที่ตุนไว้จากนาตัวเอง หมูไก่ผักปลามีหมด

36

สบายๆ” รอยยิม้ เต็มแก้มของพีโ่ สภณยืนยันกับฉัน แลว้ วา่ พีม่ คี วามสุขกับงานและชีวติ จริงๆ พีโ่ สภณ บอกว่า ตอนนีห้ าคนท�ำงานแกะสลักหน้าใหม่ๆยาก ขึ้นทุกที ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องแรงงานเท่านั้น แต่ถือ เปน็ งานทีต่ อ้ งท�ำด้วยใจรักด้วย ซึง่ หัวใจการท�ำงาน แกบอกว่า “แกะสลักไม้” นั้นคืองานฝีมือ ถือเป็น งานศิลปะที่คนท�ำจะต้องมีใจก่อน ถ้าใจไม่รักแล้ว ท�ำยังไงก็ออกมาไม่ไดีแน่นอน พีโ่ สภณพูดประโยค คมๆให้ฟงั วา่ “มันเหมือนเรามีแฟนนัน่ แหละ ถา้ ไม่ อยู่ด้วยรัก ยังไงก็ไม่รอด” แดดร�ำไรสอ่ งผา่ นเขา้ มา เงาของพีโ่ สภณ บรรจบลงบนช้างตัวนั้น ช้างที่ดูคล้ายจะไม่มีชีวิต เพราะเป็นเพียงเศษไม้ขึ้นรูป แต่พี่โสภณบอกว่า “ผลงานทุกชิ้นมันเป็นแค่ไม้หั่นๆมาก็จริง แต่หลัง จากที่พี่แกะเสร็จแล้ว มันมีชีวิตขึ้นมาจริงๆนะ” พี่ โสภณรีบตอบขึ้นมาทันทีที่เห็นหน้าฉันดูสงสัย “พี่ ใส่วิญญาณของพี่ลงไป ทุกความตั้งใจในงานฝีมือ พวกนี้ เราต้องใช้เวลาทุ่มเทและใส่ใจจดจ่อกับมัน สุดท้ายมันจะมีชีวิตผ่านออกมาทางความสวยงาม ที่คนเห็นด้วยตานั่นแหละ” จากท่อนไม้จามจุรีขนาดใหญ่ ตัดแต่ง กลายเป็นท่อนไม้ก�ำลังดี ตอกแต่งด้วยแรงกายให้ เปน็ ทรง ก่อนใช้หวั ใจทีเ่ ปีย่ มศิลปะตอกสร้างรูปร่าง อันน่าพึงพอใจ ที่กว่าจะได้แม้เพียงสักชิ้นต้อง ออกแรงยกค้อนนับพันนับหมื่นครั้ง เหล่านี้ คือ เสน่ห์ภูมิปัญญาเก่าแก่ที่ไม่เคยสิ้นมนต์ขลังและ เปรียบเสมือนเป็นเครื่องเตือนใจว่าไม่วา่ การงานที่ ยากเย็นเพียงใด ขอเพียงมีใจรักและมุ่งมั่น ยังไงก็ จะประสบความส�ำเร็จได้สกั วัน แต่การประสบความ ส�ำเร็จในทีน่ หี้ มายถึง ส�ำเร็จดา้ นความสุขและความ พึงพอใจต่อชีวติ ซึง่ พีโ่ สภณคือหนึง่ ในตัวอย่างของ ผู้ที่พอเพียงกับชีวิตอย่างแท้จริง 37


ครูช่างที่โดดเด่น

สุชาติ แก้วชุ่ม ลูกชายนายจันดี แก้วชุ่ม ผู้ริเริ่มงานแกะสลักไม้ แห่งบ้านหลุก ผู้สืบสานเจตนารมณ์มาจนปัจุบัน

38

เวลาคล้อยบ่ายแก่ๆเข้ามา แดดร่มลมตกเหมาะแก่การปั่นจักรยานไปตามถนนรอบ หมู่บ้าน เริ่มต้นลัดเลาะจากบ้านของก�ำนันณงรงค์ ด้วยความมุ่งมั่นแน่วแน่ว่าจ�ำทางไปหาช่างเก่าแก่ที่สุด ของหมู่บ้านได้ ตามค�ำบอกเล่าของก�ำนันคือตรงไปเรื่อยๆ เจอวงเวียนไม้แกะสลักแล้วเลี้ยวขวา ระหว่างที่ ปั่นไปเรื่อยๆนั้น มีจักรยานขับสวนกันไปมา กลุ่มเด็กผู้ชายกลุ่มใหญ่อายุราว 10-13 ปี จ�ำนวน 7 คน หยอก กันบนหลังอาน มือหนึ่งของทุกคนจะถือไอติมแท่ง ดูท่าทีสนุกสนาน ท�ำให้อดยิ้มตามและคิดถึงช่วงวัยเด็ก ของตัวเองไม่ได้ ผ่านจากกลุ่มเด็กๆไปสักพัก เหงื่อเริ่มซึมตามร่างกาย แต่ลมเย็นๆก็ช่วยให้ผ่อนคลาย ไดด้ ที เี ดียว ด้านหน้าคือวงเวียนตัง้ สง่า เป็นเอกลักษณ์บา้ นหลุกใต้ เลีย้ วขวาไปอีกหน่อย ก็จริงอย่างทีก่ �ำนัน ณงรงค์ว่า ป้ายขนาดใหญ่มีต้นไม้บังลางๆ เขียนว่า “ศูนย์สาธิตและฝึกสอนงานแกะสลัก โดยครูช่างสุชาติ แก้วชุ่ม” มาถึงแล้ว สถานที่ท�ำงานของครูช่างผู้เป็นสายเลือดเพียงคนเดียวของนายจันทร์ดี แก้วชุ่ม ผู้น�ำ ความรู้ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม มาเผยแพร่และสอนให้คนในหมู่บ้านมีอาชีพ จนได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติจากส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 3 ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม เมื่อปี 2546 และท�ำให้บ้านหลุกใต้เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงด้านงานแกะ สลักไม้มาจนถึงทุกวันนี้ ศูนย์สาธิตและฝึกสอนงานแกะสลัก โดยครูช่างสุชาติ แก้วชุ่ม ก่อตั้งเป็นขึ้นเป็นพิเศษ ในปี 2556 จากนโยบายการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ของก�ำนันณรงค์ วงศ์กันทา ต้องการใช้พื้นที่ บริเวณใกล้ๆศูนย์แสดงสินค้า เป็นที่รวบรวมช่างแกะสลักไม้ เพื่อเวลานักท่องเที่ยวเข้ามา สามาถแวะชม กระบวนการผลิตอยา่ งใกลช้ ดิ จากชา่ งฝีมอื โดยเฉพาะชา่ งคนส�ำคัญอยา่ งลุงชาติ ผูเ้ ปน็ ครูชา่ งเกา่ แกป่ ระจ�ำ หมู่บ้าน ลุงชาติเลยต้องย้ายสถานที่ท�ำงานเดิมจากใต้ถุนบ้านตัวเอง มาที่นี่ มองผ่านเข้าไปในกระท่อมไม้เล็กๆ แต่มีลานกว้างที่พื้นเต็มไปด้วยเศษไม้ และหุ่นแกะ สลักช้างตัวใหญ่ที่ยังไม่ส�ำเร็จเรียบร้อย มีมอเตอไซค์ หรือเรียกว่า ‘รถเครื่อง’ ในภาษาเหนือ 1 คันจอดอยู่ และมีหนุ่ แกะสลักไมท้ ดี่ คู ลา้ ยจะเปน็ หลวงพอ่ เกษม เขมโก แหง่ ส�ำนักสุสานไตรลักษณ์ เปน็ หุน่ คนแกะสลัก ไม้ที่ดูเหมือนจริงมาก แม้จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ตาม ด้านข้างหุ่นแกะสลักหลวงพ่อนั้น ชายวัยกลางคนคน หนึ่งก�ำลังนั่งท�ำงานแกะสลักอยู่หันมาตามเสียงสวัสดี พร้อมยิ้มต้อนรับอย่างยินดี ผละจากสิ่วในมือ ลุก ขึ้นหาเก้าอี้ให้แขกไม่ได้รับเชิญอย่างฉันนั่ง สุชาติ แล้วชุ่ม หรือลุงชาติ เป็นผู้สืบทอดการแกะสลักไม้รุ่นต่อต่อจากพ่อจันทร์ดี โดย เริ่มการท�ำงานแกะสลักไม้ตั้งแต่เยาว์วัยจนถึงปัจจุบัน นับได้ตอนนี้ก็ประมาณ 20 ปีแล้ว ลุงชาติได้พัฒนา ฝีมืองานแกะสลักของตนเองจนสามารถท�ำงานแกะสลักไม้ได้อย่างช�ำนาญ แต่เดิมมีการรวมกลุ่มการท�ำ แกะสลักจากกลุ่มเล็กเป็นกลุ่มใหญ่ โดยสมาชิกในกลุ่มการแกะสลักคือสมาชิกในชุมชนบ้านหลุกใต้ เมื่อ สมาชิกในกลุม่ มีความช�ำนาญในการแกะสลักก็แยกออกจากกลุม่ น�ำความรูค้ วามสามารถในการแกะสลักไป ประกอบอาชีพของตนเองในครัวเรือน กลายเป็นงานอุตสาหกรรมในครัวเรือนทีส่ ร้างรายได้เลีย้ งชีพได้อย่าง ดี 39


ลุงชาติเล่าว่า “ลุงเติบโตมากับเสียงค้อนตีกับสิ่ว ตอนเด็กๆจะร�ำคาญมาก ไม่เข้าใจว่า ท�ำไมพ่อถึงหลงใหลในงานไม้ท�ำได้ทั้งวันทั้งคืน และยังยินดีสอนให้คนในหมู่บ้านแบบไม่คิดตังด้วย” ลุง ชาติเล่าไปพร้อมกับมือก็ท�ำงานไปอย่างไม่หยุด “จนอายุได้สัก 12 พ่อก็เริ่มสอนให้จับค้อนจับสิ่ว ค่อยๆท�ำ มาเรื่อยๆจนเสพติดเหมือนพ่อ” คงจะจริงอย่างที่ลุงชาติว่า หากไม่เสพติดจริงๆ ก็คงไม่ยึดเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบัน ตอนนีล้ งุ สุชาติจริงจังกับการปลูกจิตส�ำนึกใหก้ บั สมาชิกในชุมชนบ้านหลุกใต้ให้เห็นถึงความส�ำคัญของงาน แกะสลักการไมล่ ะทิง้ สิง่ ทีบ่ รรพบุรษุ ของตนเองไดถ้ า่ ยทอดวิชาความรูใ้ ห้มาใช้ประโยชน์และยังได้ถา่ ยทอด ความรู้งานแกะสลักให้กับรุ่นต่อไป โดยการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยในชุมชน และส่วนตัว ลุงสุชาติได้พัฒนาฝีมือความสามารถงานแกะสลักของตนเองอยู่ตลอดเวลา ได้ทดลองแกะสลักงานใหม่ๆ แกะสลักอย่างหลากหลายและเพิ่มจ�ำนวนงานแกะสลักจนท�ำให้มีความสามารถและศักยภาพในการแกะ สลักที่โดดเด่นในชุมชนบ้านหลุกใต้ “ภูมิใจมากกก ลุงเคยสงสัยนะ ว่าพ่อเขาท�ำเพื่ออะไร ท�ำไมไม่ปลูกข้าว ปลูกผักเหมือ นๆชาวบ้าน แต่ตอนนี้เข้าใจแล้ว เวลาท�ำบุญไปให้เขาก็จะบอกเขาเสมอว่า อย่าลืมมองลงมานะพ่อตอนนี้ หมูบ่ า้ นเราเต็มไปด้วยลูกศิษย์พอ่ ทัง้ นัน้ ” ลุงชาติกล่าว และจริงอย่างทีแ่ กว่า ตอนนีง้ านแกะสลักไม้ในชุมชน

40

บ้านหลุกใต้มีจำ�นวนเพิ่มขึ้นและสร้างรายได้ความมั่นคงให้กับสมาชิกในชุมชน มีการส่งเสริมอาชีพงาน แกะสลักให้แก่ลูกหลานอย่างจริงจัง ซึ่งลุงชาติเองเป็นหนึ่งในวิทยากรงานแกะสลักให้กับโรงเรียนบ้าน หลุกประจำ�วิชางานประดิษฐ์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โดยทำ�การสอนงานแกะสลักเบื้องต้นให้ กับนักเรียนและเป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยในชุมชนให้แก่กลุ่มคณะศึกษาดูงานและบุคคลทั่วไปที่มี ความสนใจมาศึกษาดูงานและปฏิบัติงานแกะสลัก ลุงชาติละจากการแกะไม้แล้วหันมาเล่าด้วยสายตาที่ดูมุ่งมั่นว่า “เอาตรงๆ ก็เหนื่อยนะ เด็กมันไม่ค่อยฟังบ้าง น้อยคนที่อยากเรียนรู้จริงๆ แต่ลุงคิดว่ามันคือหน้าที่ หน้าที่สำ�คัญด้วย ลุงคงรับไม่ ได้แน่ๆถ้าวันนึงหมู่บ้านนี้จะไม่มีการแกะสลักไม้ คงร้องไห้อยู่บนสวรรค์กับพ่อ” ส่วนความรู้สึกที่มีนักท่องเที่ยวเข้าเรียนรู้การแกะสลัก “โอ้ย ดีใจนะ ลุงชอบ คนไทย หรือฝรั่งก็ได้ สนุกดี ยิ่งนักท่องเที่ยวสอนง่าย เพราะเขาพร้อมจะเรียนรู้กับเรา” สำ�หรับอนาคตงานแกะสลักในชุมชนบ้านหลุกใต้ลุงชาติบอกว่ายังขาดผู้สืบทอดงาน แกะสลัก ถึงแม้ว่าบุตรหลานของตนเองจะสามารถทำ�งานแกะสลักได้แต่บุตรหลานของตนอาจจะไม่มีแนว โน้มกลับมาทำ�งานแกะสลักในชุมชน หรืออาจจะมีโอกาสค่อนข้างน้อย และอุปสรรคที่เกิดขึ้นในอนาคต คือ ไม้ที่นำ�มาทำ�งานแกะสลักเริ่มหายากและแนวโน้มผู้ประกอบอาชีพงานแกะสลักจะลดน้อยลง

41


วิสัยทัศน์ผู้นำ� ก�ำนันณรงค์ วงศ์กน ั ทะ ผูน ้ ำ� ต�ำบลนาครัว และผูผ ้ ลัก ดันหมู่บ้านหลุกใต้สู่การท่องเที่ยวสร้างสรรค์

42

หลักการจัดการการท่อง เที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กว่า 4 ปีของการด�ำรงต�ำแหน่งด�ำนันต�ำบลนาครัว ก�ำนันเล่าถึงที่มาว่า “แต่ก่อนนั้นทั้ง 3 หมู่บ้านอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านเดียวคือ “บ้านหลุก” มีครอบครัวอยู่อาศัยร่วม 700 ครัวเรือน ท�ำให้การ ปกครองและงบประมาณในการพัฒนาที่ได้รับไม่ทั่วถึง ก็เลยแยกออกมาจากหมู่ 6 เพิ่มเป็นหมู่ 11 เรียกว่า หลุบแพะ พอปี 2542 แยกออกมาอีกจากหมู่ 6 เป็นหลุกใต้ โดยเอาวัดเป็นศูนย์กลาง ซึ่งหลุบใต้มีที่ตั้งอยู่ ทางทิศใต้ของวัด เมื่อแยกออกมาก็ต้องมีผู้ใหญ่บ้านคอยดูแล จึงมีการรับสมัครผู้ใหญ่บ้าน ปี 2554 ก�ำนัน เสีย ก็เลยลงก�ำนันและได้ต�ำแหน่งก�ำนัน” เดิมทีงานแกะสลักเป็นอาชีพที่คนภายนอกยังไม่รู้จัก จึงเริ่มต้นจากการน�ำไปขายเอง (หาบขายในเมืองล�ำปางและภาคกลาง) จนมาช่วงหลัง ๆ ได้ส่งไปขายที่บ้านถวาย จ.เชียงใหม่ แต่ไม่ได้ ท�ำเป็นรูปร่างส�ำเร็จ ท�ำเป็นแค่หุ่นดิบ ขัดเงา ไม่ได้ลงสี และให้เขาน�ำไปต่อยอดเองไม่ว่าจะเป็นการลงสี เดินเส้น เดินลายเพิ่มมูลค่า เช่น จาก 50 บาท กลายเป็น 200 บาท มาช่วงหลังจากที่นายณรงค์ได้เข้ารับ ต�ำแหน่งก�ำนัน จึงมีความคิดว่าบ้านหลุกน่าจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวได้ ประกอบ กับได้เกิดความคิดว่าเราน่าจะท�ำให้สังคมภายนอกรู้ว่าเรามีงานพวกนี้อยู่ในบ้าน แล้วก็เกิดความคิดว่าจะ ท�ำยังไงให้คนภายนอกรู้จัก เพราะเมื่อก่อนไม่มีคนรู้จักบ้านหลุกเลย ในอินเทอร์เนตก็ไม่รู้จักบ้านหลุกเลย เลยคิดว่าจะท�ำยังไงให้คนรู้จักบ้านหลุก เลยไปลองเสนอเรื่องเข้าการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดล�ำปาง วิธี แรกทีเ่ ริม่ โปรโมตคือ การถา่ ยท�ำวิดโิ อแนะน�ำหมูบ่ า้ นอัพคลิปลงยูทปู และท�ำเฟซบุก๊ ของบา้ นหลุก เผยแพร่ กิจกรรมต่าง ๆเข้าไป ท�ำให้หลัง ๆ เวลาคีย์เข้ามาก็ได้เจอบ้านหลุกตามเว็บไซต์ต่างๆ กลายเป็นที่รู้จักมาก ขึ้น บ้านหลุกได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาชุมชนอย่างสม�่ำเสมอ แต่เป็นงบประมาณ จ�ำนวนทีละนอ้ ย แตไ่ ดเ้ ยอะขึน้ ตอนไดร้ บั รางวัลหมูบ่ า้ นโอทอปเพือ่ การทอ่ งเทีย่ ว 7 แสนบาท เอามาพัฒนา ปรับปรุงภูมิทัศน์ เช่น สะพานไม้โบราณ ปลูกดอกไม้ต้นไม้ให้ร่มรื่น และปรับปรุงวักบ้านหลุก ก่อนหน้านั้น จะมีแค่งานแกะสลัก แต่เนื่องจากอ�ำเภอแม่ทะไม่ใช่ทางผ่าน ต้องตั้งใจเข้ามา แค่งานแกะสลักจึงคิดว่าไม่ พอแล้ว เลยท�ำการปรับปรุงสถานที่ส�ำคัญต่างๆในหมู่บ้าน เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่นอกจากจะเที่ยวชมการ แกะสลักแล้ว ยังสามารถสัมผัสบรรยกาศสวยๆรอบหมู่บ้านได้อีกด้วย

43


แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังไม่ค่อยประสบความส�ำเร็จเท่าที่ควร น่าจะต้องมีจุดท่องเที่ยวใกล้ เคียงมากกว่านี้ เมื่อก่อนตอนเศรษฐกิจดี ๆ คนเข้ามาดูเครื่องแกะสลักเยอะ แต่ตอนนี้ร้านค้าเปิดบ้างไม่ เปิดบ้างเพราะคนต้องออกไปขายสินค้าข้างนอก (ต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ สมุย) บาง คนก็ขายส่ง บางคนก็ไปหาบขาย ก�ำนันณรงค์กล่าวว่า “เราก็ท�ำทุกอย่างแล้ว แต่ก็ไม่มีคนเข้ามา คนเข้า มาเสียเวลาเข้าก็อยากไปท�ำอย่างอื่น ถ้าเป็นหน้านาทางเข้ามาในหมู่บ้านจะสวย (หน้าฝน) ปกติทุกปีหลัง ฤดูเก็บเกี่ยวจะมีการปลูกพืชฤดูแล้ง เช่น ถั่วเหลือง จริง ๆ ก็พยายามปรับปรุงภูมิทัศน์ แรก ๆ ก็สวย พอ เริม่ เกา่ แลว้ ก็ไมม่ งี บประมาณเขา้ มาบ�ำรุงรักษา เทศบาลก็ไมม่ าดูแล ไมม่ งี บให้ เคยคิดจะเสริมการทอ่ งเทีย่ ว จากน�้ำ ล่องเรือชม มีแพ มีบัว แต่ตอนนี้ในล�ำน�้ำมีจอกแหน ฝนไม่ตก น�้ำไม่นอง บัวไม่ขึ้น ทั้งหมดเกิดจาก ธรรมชาติ”

44

แตอ่ ยา่ งไรก็ตามก�ำนันณรงค์ยงั เชือ่ วา่ เสนห่ ข์ องหมูบ่ า้ นทอ่ งเทีย่ วการแกะสลักไม้ บา้ น หลุกใต้ คือวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชน ที่พร้อมต้อนรับให้นักท่องเที่ยวเข้ามาโฮมเสตย์ อยู่ร่วมสัมผัส ประสบการณ์อย่างพอเพียงกับชาวบ้าน ด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีอาชีพหลักคืองานแกะสลัก อาชีพรองคือ ท�ำนา ปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ รายได้จากการแกะสลักอาจไม่มาก แต่คนในชุมชนก็รวยไปด้วยความสุขที่มา จากความพอเพียง การันตีโดยรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอพียงต้นแบบ จากส�ำนักงานพัฒนาชุมชน ซึ่ง แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งก�ำนันณรงค์ส่งเสริมให้คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติมาเสมอ นโยบายในปี 2559 บ้านหลุกจะเน้นโปรโมตเรื่องโฮมสเตย์ให้มากขึ้น นอกจากการเข้า ชมงานสาธิตการแกะสลัก การเที่ยวชมสะพานไม้โบราณ รวมไปถึงไหวสักการะพระธาติดอยผาปูน ที่วัด บ้านหลุกแล้ว การเชิญชวนนักท่องเที่ยวเข้าร่วมสัมผัสประสบการณ์กับชาวบ้าน ก็เป็นเสน่ห์ส�ำคัญที่อยาก พัฒนาในปีนี้

45


ลองลงใจ ครูชา่ งพร้อมต้อนรับนักท่องเทีย ่ วจากทัว ่ โลก เข้ามาร่วมประสบการณ์แกะสลัก

46

ความคิดเห็นนัก ท่องเที่ยว เสียงส�ำเนียงภาษาแปลกหูดังลอดผ่านรั้วบ้านของพี่โสภณออกมา ชาวบ้านเดินจ�ำนวนหนึ่งเดิน มามุงดูด้วยท่าทีตื่นเต้น บางคนเดินเข้าไปใกล้ๆศูนย์สาธิตงานแกะสลักไม้ และก�ำลังลุ้นเชียร์หญิงฝรั่งคน หนึ่ง ซึ่งในมือจับค้อนและสิ่วอย่างตั้งใจ “โนๆ ต้องลงเบาๆ เดี๋ยวไม้หัก” เสียงติดตลกของพี่โสภณ จรันรัก ดังขึ้นเป็นระยะๆ ด้วยภาษาไทยค�ำอังกฤษค�ำ แต่ท่าทางมือไม้ไปเต็มร้อย กลุม่ นักท่องเทีย่ วจากประเทศอเมริกาจ�ำนวนทัง้ หมด 14 คน โดยการน�ำมาของมหาวิทยาลัยโยนก มหาวิทยาลัยท้องถิ่นของคนล�ำปาง ทั้งหมดนั้นเป็นนักศึกษาอายุราว 19-23 ปีคละกันไป เป็นกลุ่มที่รวม ตัวจากความสนใจศึกษาชีวิตพื้นถิ่นของคนเอเชีย ไปมาแล้วกว่า 7 ประเทศ และตอนนี้ประเทศไทย พวก เขาเลือกหมู่บ้านหลุกใต้นี้เป็นห้องเรียนขนาดย่อม “ฉันเป็นคนเสนอหมู่บ้านนี้เอง” ลอเรนท์ สาววัยรุ่นที่ ก�ำลังยืนถ่ายรูปเพื่อนๆจากมุมไกลบอกกับฉันเป็นภาษอังกฤษ “ฉันเห็นจากเว็บไซต์หนึ่ง และสนใจตรงที่ เป็นหมูบ่ า้ นเล็กๆทีย่ งั ไม่คอ่ ยมีนกั ท่องเทีย่ วเข้ามามาก แต่เต็มไปด้วยเสน่หข์ องคนท�ำงานฝีมอื และการใช้ ชีวติ ของพวกเขามันนา่ ประหลาดใจมากกวา่ ทีใ่ นเว็บไซต์บอกไว้ หลังจากทีพ่ วกเราไปนอนโฮมเสตย์มาเมือ่ คืน ฉันประทับการใช้ชีวิตของผู้คนที่นี่มาก พวกเขาไม่มีเงินมาก แต่ดูมีความสุขมาก” นอกจากร่วมลงมือแกะสลักแล้ว กลุ่มของลอเรนท์ ยังไปแวะชมวัดบ้านหลุก สะพานไม้โบราณ ตลาดเช้า และเดินถำ�้ ทีว่ ดั พระธาตุดอยผาปูน ฉันถามลอเรนท์วา่ อยากกลับมาอีกไหม เธอตอบวา่ “แนน่ อน อยากมาอยู่เลยละ ฉันอาจไม่ได้หลงใหลในงานแกะสลักไม้ แต่ว่าชอบวิถีชีวิตของคนที่นี่ ไม่ต้องมีเงินสัก บาทก็อยู่ได้ ไม่เหมือนบ้านฉัน ไม่มีเงินก็คือคนไร้บ้านเลยละ” เมือ่ รถบัสขนาดเล็กเคลือ่ นตัวออกจากหมูบ่ า้ นไปชา้ ๆ พรอ้ มกับการมาสง่ ของชาวบา้ น ยืนโบกมือ ต่อกันนานพอสมควร พอที่จะเห็นว่ารถบัสนั้นเล็กไกลตา ฉันได้ยินชาวบ้านพูดกันว่า “เสียดายเนอะมาก�ำ เดียว มันอู้ม่วนดี”

47


การพัฒนา

SAP Wood ต่อยอดงานคุณค่าฝีมือช่างดั้งเดิม ด้วยไอ เดียสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่

48

เชิงพาณิชย์และเครื่อข่ายชุมชน

อาชีพแกะสลักไม้อยู่คู่หมู่บ้านหลุกใต้มานานกว่า 40 ปีก็จริง แต่เป็นการสร้างงานโดย ท�ำตามแบบที่ลูกค้าสั่งมา ชาวบ้านจึงมีฝีมือการแกะสลักอย่างช�ำนาญ แต่ยังไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ เรื่องงานออกแบบ นักศึกษาและอาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบหัตอุตสาหกรรม มหาวิยา ลัยธรรมศาสตร์ จึงเห็นไอเดียตรงนี้และคิดต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก และอาศัยทักษะ ภูมิปัญญาเชิงช่างในชุมชนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โดยเข้ามาร่วมสร้างสรรค์ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวม ทั้งหมด 30 ผลงาน ภายใต้การจดทะเบียนเป็นสินค้า OTOP ชื่อว่า SAP Wood อาจารย์กติ ติพงษ์ เกียรติวภิ าค อาจารย์ประจ�ำสาขาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม เลา่ ถึงที่ มาของแนวคิดผลิตภัณฑ์ SAP และการออกแบบผลิตภัณฑ์ SAP ว่าต้องการมุ่งเน้นเรื่องราวและภาพ ลักษณ์ที่น่าจดจํา โดยเน้นไปที่ความหายาก ทักษะช่างฝีมือและคุณค่าดั้งเดิม การสร้างมูลค่าจากความ เรียบง่ายเป็นการออกแบบเพื่อใช้แนวทางทักษะดั้งเดิมการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อคงเอกลักษณ์ลักษณะ เฉพาะตัวท�ำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณค่าและมีมูลค่าสะท้อนถึงขั้นตอนการผลิต ผลงานที่เป็นทักษะชั้นยอด การ ใช้ศิลปะให้น้อยลง แต่คงมีคุณค่าในการจดจํา มีการเปลี่ยนแปลง มาสู่รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความสวยงาม และเนน้ ประโยชน์ใชส้ อย ลวดลายจากเครือ่ งมือแกะสลักใหเ้ กิดความหยาบกระดา้ งและนุม่ นวล ผสมผสาน เป็นตัวกระตุ้นใหเกิดอารมณ์และความรู้สึกจากตัววัสดุ ซึ่งที่มาของชื่อ SAP นั้นมาจากคําว่า Sapwood หมายถึงกระพี้ไม้ และเมื่อละคําว่า Wood ออกให้เหลือคําว่า SAP จะมีความหมายว่า น�้ำเลี้ยงต้นไม้หรือโลหิต ซึ่งสะท้อนความหมายในเชิง ปรัชญาจากธรรมชาตินําไปสู่ความเป็นสมัยใหม่อย่างยั่งยืน ส่วนข้อความประกอบ ใช้คําว่า Sustainable Artistry Products ซึ่งต้องการสะท้อนถึงแนวโน้มของการออกแบบผลิตภัณฑ์ในแนวยั่งยืน อีกทั้งอักษร ตัวต้นของค�ำทั้งสองค�ำยังประกอบตรงกับชื่อผลิตภัณฑ์ SAP หลังจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ไปเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2558 ท�ำให้เกิดยอดขายขึ้น มากมายในช่วงแรก มียอดสั่งซื้อทั้งจากไทยปละประเทศญี่ปุ่น แต่ต่อมาการผลักดันโครงการและคนดูแล ถูกเปลีย่ นมือไปเรือ่ ยๆ ท�ำใหก้ ารบริหารแบรนด์ไมเ่ สถียร ในอนาคตอาจารย์กติ ติพงษ์กย็ งั อยากเห็นคนรุน่ ใหม่เข้ามาต่อยอดตรงนี้ เพราะสามารถเพิ่มรายได้ให้ชาวบ้านได้มาก และยังท�ำให้หมู่บ้านหลุกใต้ เป็นที่ รู้จักในวงกว้างอีกด้วย

49


2 THE ORIGINAL

CERAMIC

หมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก อ.เกาะคา จ.ลำ�ปาง

50

51


เรื่องในบท

หลังจากขึ้นรูปสวยงามจึงนำ�มาตากแดด

18

22

36

40

ชุมชนเซรามิก

วิถีศาลาเม็ง

เย็นศักดิ์ ธรรมวันทา

เที่ยวสร้างสรรค์

แหล่งรวมโรงงานเซรามิกที่มากที่สุดในประเทศ เต็ ม ไปด้ ว ยช่ า งฝี มื อ และทรงคุ ณ ค่ า ด้ ว ย เอกลักษณ์ทางผลิตภัณฑ์ ทีบ่ า้ นศาลาเม็ง อาชีพ เซรามิกคืออุตสหกรรมในครัวเรือนที่สร้างราย ได้แก่ชุมชน

วั ฒ ธนธรรม ประเพณี และวิ ถี ชีิ ต ที่ เรี ย บง่ า ย สะทอ้ นหลักเศรษฐกิจพอเพียง เกิดเปน็ เสนห่ ข์ อง ความสุขที่ยั่งยืน กับที่นี่ ‘บ้านศาลาเม็ง’

เจ้าของโฮมเสตย์ที่พ้อมเปิดบ้านต้อนรับนักท่อง เที่ยวเข้ามาอยู่ร่วมสัมผัสประสบการณ์กับคนใน ชุมชน ด้วยวิถีพอเพียงอย่างแท้จริง

ดว้ ยวิสยั ทัศน์ของผูน้ �ำทีเ่ ปิดบา้ นศาลาเม็ง ใหเ้ ต็ม ไปด้วยศักยภาพของการต้อนรับนักท่องเที่ยวใน รูปแบบเชิงสรา้ งสรรค์ เทีย่ วแบบไดป้ ระสบการณ์ ใหม่ และจริง จากชาวบ้านในชุมชนกลับไป

28

32

46

48

ปั้นดินปั้นถ้วย

อรุณี ผัดวัง

ร่วมสร้างสรรค์

พร้อมสู่ AEC

ต้นก�ำเนิดเครื่องปั้นดินเผาประเทศไทย อุดมไป ด้ ว ยช่ า งคุ ณ ภาพที่ สื บ ทอดต่ อ กั น มาอย่ า ง ยาวนาน จนกลายเป็นแหล่งที่มีโรงงานเซรามิ กมากที่สุดในประเทศไทย 52

ขั้นตอนการขัดเรียบ หลังจากการแกะสลัก

ครูชา่ งช�ำนาญการผูค้ ลุกคลีกบั ดินมาตัง้ แตเ่ ด็กๆ เติบโตไปเปน็ สาวโรงงานเซรามิก จนตามความฝ ฝัน ผันตัวเป็นเจ้าของโรงงานได้ในที่สุด

สาวกรุงเทพออกตามหาเซรามิกราคาถูก จนได้ มาเจอกับโรงงานแหม่มเซรามิก นอกจากจะได้ เซรามิกราคาถูก คุณภาพดีกลับไปแล้ว ยังได้ ประสบการณ์สร้างสรรค์เซรามิกในแบบตัวเอง ติดมือกลับไปด้วย

ด้วยลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้านศาลาเม็ง เป็นจุด อ�ำเภอทางผ่านไปยังหลายจังหวัด และต่อเนื่อง ไปได้หลายประเทศ พร้อมเรียกตัวเองให้เป็น สถานที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อน บ้าน

53


เอกลักษณ์หมู่บ้าน

ชุมชนเซรามิก แหล่ ง รวมโรงงานเซรามิ ก ที่ ม ากที่ สุ ด ใน ประเทศ สร้างรายได้แก่ชุมชน

54

สะพานทางเข้าหมู่บ้านตกแต่งด้วยแจกันเซรามิก

“อ�ำเภอทางผา่ น” คือชือ่ ขนานนามของอ�ำเภอเกาะคามาแตน่ าน เนือ่ งจากเกาะคา เปน็ จุดผ่านเพื่อไปเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ดังนั้นน้อยคนนักจะรู้ว่า อ�ำเภอแห่งนี้มีหมู่บ้านเซรา มิกซ่อนตัวอยู่ เปน็ ชุมชนทีเ่ ปิดตอ้ นรับนักทอ่ งเทีย่ วใหม้ าสัมผัสประสบการณ์ เรียนรูว้ ฒ ั นธรรม วิถชี วี ติ และ ได้ทดลองท�ำเซรามิกในรูปแบบของตัวเอง ตามถนนคอนกรีตเส้นใหญ่ขนาด 4 เลนมาจากตัวเมืองล�ำปางประมาณ 15 กิโลเมตร ก็ น�ำพาใหม้ าถึงหมูบ่ า้ นศาลาเม็ง ระหวา่ งทางเห็นชาวบา้ นทีน่ ที่ า้ แดดทา้ ลมกันอยา่ งไมห่ วัน่ ในการท�ำนา และ ดูเหมือนจะมีการปลูกข้าวโพดบ้าง แต่ไม่มากเท่านาข้าว สะพานสีขาวพาดขา้ มแมน่ ำ �้ ตกแตง่ แปลกตาไมเ่ หมือนสะพานทีใ่ ด ดว้ ยการใสแ่ จกันเซ รามิกเป็นรั้วทั้งสะพาน ทิ้งสายตามองจากสะพานลอยไปที่ขอบฟ้า เห็นภูเขาไกลๆ บอกเป็นนัยๆว่าที่นี่คือ ภาคเหนือ เปน็ วิวทีด่ แู ลว้ ชืน่ ตาชืน่ ใจ อากาศทีร่ อ้ นก็ถกู คลายใหเ้ ย็นดว้ ยลมทีพ่ ดั ไปตามการไหลของแมน่ ำ�้ หมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก บ้านศาลาเม็ง อ.เกาะคา จ.ล�ำปาง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านศาลาเม็ง หมู่ที่ 9 ต�ำบลท่าผา อ�ำเภอเกาะคา จังหวัดล�ำปาง ชาวบ้านส่วนใหญ่มอี าชีพผลิตเครือ่ งปัน้ ดินเผา หรือเซรามิก เป็นอุตสาหกรรม ในครัวเรือน มานานกว่า 20 ปี ซึ่งย้อนกลับไปก่อนหน้านี้คนในหมู่บ้านจะออกไปรับจ้างท�ำงานที่โรงงานเซ รามิกในตัวจังหวัด แต่เมื่อมีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ติดตัว จึงกลับมาตั้งโรงงานเล็กๆของ ตัวเอง ชวนคนข้างบ้าน คนในชุมชน และคนรุ่นต่อๆมาๆให้เข้ามาท�ำงานที่โรงงานเล็กๆใต้ถุนบ้าน จน เป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ระหว่างทางที่รถแล่นไปบนท้องถนนแห่งวิถีชีวิต ที่มีลมหายใจของชาวบ้านคืองานปั้น ดินเผา มองดีๆ บา้ นแตล่ ะหลังนอกจากจะตกแตง่ รัว้ และก�ำแพงของตัวเองดว้ ยเศษเซรามิกทีแ่ ตกแลว้ สว่ น ใหญ่จะเห็นป้ายชื่อโรงงานติดอยู่ ชาวบ้านที่นี่ท�ำบ้านของตัวเองให้กลายเป็นโรงงานเซรามิกเล็กๆ อุตสห กรรมใน ครัวเรือนที่สร้างรายได้อาจจะไม่มหาศาล แต่เป็นรายได้ที่เสริมสร้างอาชีพ นอกเหนือจากการ ท�ำการเกษตรเหมือนหมู่บ้านทั่วไป

หัวสะพานทางเข้าหมู่บ้าน

ศูนย์บริการนักท่องเที 55่ยว


ปัจจุบนั มีโรงงานเซรามิกกระจายอยูใ่ น 3 ชุมชน คือบ้านศาลาเม็ง ศาลาบัวบก และศาลา ไชย รวมกัน 59 โรงงาน และอยู่ห่างจากวัดพระธาตุล�ำปางหลวงเพียง 2 กิโลเมตร ซึ่งวัดพระธาตุล�ำปาง หลวงนี้โด่งดัง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวอยู่แล้ว และเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาและมีความ หลากหลายทางวิถีชีวิตชุมชน บนถนนทีม่ รี ถมอเตอร์ไซค์ขบั สวนกันไปมา บ้างก็จกั รยาน แต่บางตาด้วยรถยนต์ สะท้อน ถึงกิจวัติประจ�ำวันที่ดูสบายๆ ไม่เร่งรีบ มีการยิ้มทักทายกันเสมอ คล้ายว่าทุกคนบนถนนนั้นรู้จักกัน กลาย เป็นความรู้สึกอบอุ่นที่เกิดขึ้นในใจสายตานักท่องเที่ยวอย่างฉัน เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2558 จังหวัดล�ำปางจึงยกระดับชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์ ภายใต้แนวทางการพัฒนาบนฐานราก ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอยู่ ให้เกิดรูปแบบ การท่องเที่ยวใหม่ โดยยึดความยั่งยืนของชุมชนและความเป็นสุขเป็นที่ต้ัง สร้างกระบวนการท่องเที่ยวที่ มุ่งเน้นให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมเรียนรู้ มีโอกาสได้สัมผัสความเป็นชุมชนวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่าง แทจ้ ริง ทัง้ ในแง่ของศิลปวัฒนธรรมประเพณี และผลิตภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ทีส่ บื ทอดตอ่ เนือ่ งกันมาอยา่ งยาวนาน

56

ความยัง่ ยืนทีท่ างจังหวัดผลักดันนัน้ คือการหาความสุขจากชุมชนของตัวเอง ไมจ่ �ำเปน็ ตอ้ งพากันออกไปท�ำงานในเมืองอีกแลว้ ในหมูบ่ า้ นเต็มไปดว้ ยความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรภูมปิ ญ ั ญา ทีส่ บื ทอดตอ่ กันมา อยา่ งการท�ำเครือ่ งปัน้ ดินเผา จนวันนีท้ ที่ างจังหวัดเขา้ มาชว่ ยดูแลใหเ้ ปิดเปน็ แหลง่ ทอ่ ง เที่ยวหมู่บ้านศาลาเม็งกลายเป็นสถานที่ที่ต้อง ‘แวะเรียนรู้’ และ ‘อยู่สัมผัส’กับ ประสบการณ์ใหม่จากชาว บ้านที่นี่ โดยกิจกรรมการท่องเที่ยว เลือกซื้อสินค้าเซรามิกราคาถูกจากโรงงานที่ศูนย์แสดงและ จ�ำหน่ายสินค้าเซรามิก, เยี่ยมชมกระบวนการผลิตเซรามิคในโรงงานทุกโรงงาน และนักท่องเที่ยวสามารถ ตกแต่งลวดลาย วาดภาพ เขียนข้อความบนผลิตภัณฑ์ด้วยมือของตัวเอง เพื่อน�ำไปเป็นของฝากเป็นชิ้น เดียวในโลกอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีโฮมเสตย์รองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์การเรียน รู้วัฒนธรรมประเพณี และอยู่ร่วมกับคนในชุมชน จ�ำนวน 3 หลัง

ศูนย์แสดงสินค้าแกะสลักไม้

57


วิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณี

วิถีศาลาเม็ง

“ไปตางใดมา” ค�ำทักทายภาษาเหนือที่แปลว่า “ไปไหนมา” เป็นปกติที่ชาวบ้านจะพูด ค�ำนี้แทนค�ำว่าสวัสดี แรกๆฉันยังไม่ชินนัก ก็จะยกมือไหว้สวัสดีก่อนแล้วบอกว่าสบายดี แต่จริงๆเราควร ตอบว่าเราไปที่ไหนมา และต่อด้วยการแนะน�ำตัวเองว่าเป็นใครมาจากไหน แม้ว่าจะไม่เคยรู้จักกันเลย คุณ ลุงคุณป้าก็จะทักทายเราด้วยค�ำน่ารักๆแบบนี้ “ไปตางใดมา” พร้อมกับรอยยิ้มจริงใจที่หาได้ยาก แต่หาได้ มากจากบ้านศาลาเม็ง ชาวบ้านในหมู่บ้านศาลาเม็ง แต่ละคนจะประกอบอาชีพแตกต่างกันไป ส่วนหนึ่งได้ยึด การท�ำเซรามิกเป็นอาชีพหลัก อีกส่วนหนึ่งก็จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมควบคู่ไปกับการท�ำงานอื่นใน ยามว่าง เมื่อถึงฤดูท�ำนา หรือเข้าหน้าฝน ออเดอร์จากลูกค้าช่วงนี้จะน้อย ช่างเซรามิกบางคนก็จะพักงาน และไปปลูกข้าว แต่บางคนก็ยังคงท�ำเซรามิกควบคู่ไปด้วย โดยจะปลูกข้าวในตอนกลางวันและท�ำงานท�ำ เซรามิกในตอนกลางคืน สว่ นใหญจ่ ะตืน่ ไปตลาดสดภายในหมูบ่ า้ น ซึง่ เปิดเฉพาะตอนเชา้ เทา่ นัน้ เพือ่ หาซือ้ ของ มาท�ำอาหาร ตั้งแต่ตี 4 – ตี 5 หลังจากที่รับประทานอาหารเช้าและท�ำธุระส่วนตัวเสร็จแล้วก็จะแยกย้าย กันไปท�ำงานของตน ตามโรงงานเซรามิกบ้านต่างๆที่มีมากกว่า 60 ครัวเรือน โดยการจ้างช่างของแต่ละ โรงงาน จะเป็นคนในหมู่บ้านทั้งหมด ถือว่าเป็นการสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน เข้างานตั้งแต่ 8 โมงเช้า เลิกงาน 4 โมงเย็น ระหว่างทางขับ “รถเครื่อง” หรือมอเตอร์ไซต์กลับบ้านนั้น ชาวบ้านจะแวะซื้อกับข้าว หรือผักปลาตามข้างทาง หรือหน้าบ้านของแต่ละคนที่จะน�ำผักสวนครัวที่ปลูกเอง หรือปลา ไก่ เนื้อหมูที่ เลี้ยงเองออกมาขายหน้าบ้าน เรียกได้ว่าคุณภาพของวัตถุดิบการท�ำอาหารที่นี่ออกแกนิกส์ ปลอดสารและ ยังราคาถูกอีกด้วย

แหล่งชุมชนที่เต็มไปด้วยวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน

58

ชาวบ้านขายของตามหน้าบ้านของตน

การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานยนต์

คุณป้าหลังจากซื้อผัก59 เสร็จ


ประเพณีสรงน้ำ�พระธาตุวัดบ้านหลุก จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ตรงกับ เดือนสี่เป็ง (นับแบบพื้นเมือง) มีการสรงน้ำ�พระธาตุและการเปลี่ยนผ้าห่มของพระธาตุวัดบ้านหลุก พระ ภิกษุ สามเณรในวัดบ้านหลุกและสมาชิกในชุมชนบ้านหลุกจะมีการเตรียมสิ่งของและจัดเตรียมงานสรง น้ำ�พระธาตุ สมาชิกในชุมชนได้มีส่วนร่วมและได้ร่วมทำ�บุญประเพณีสรงน้ำ�พระธาตุโดยจะมีการจัด งานขึ้นในทุกๆปี เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของสมาชิกในชุมชนและเป็นการร่วมทำ�บุญร่วมกันของ สมาชิกในชุมชน

ตารางกิจกรรมประเพณี เดือน

ประเพณี

มกราคม

ประเพณีตานข้าวจี่ – ข้าวหลาม - ข้าวใหม่ / สรงน้ำ�พระธาตุวัดบ้านหลุก

กุมภาพันธ์

ประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้าน วันขึ้น 5 ค่ำ�เดือน 5

ป้ายวัดบ้านหลุก

พระพุทธรูปประจำ�วัดบ้านหลุก

ร่างทรงผีเจ้าพ่อ

พิธีเลี้ยงผีพ่อเจ้าบ้าน

มีนาคม เมษายน

15 เมษายน ประเพณีแห่ไม้ค้ำ�ศรีวัดบ้านหลุก 17 เมษายน ประเพณีเลี้ยงผีปู่ - ผีย่า / ประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้าน

พฤษภาคม

สรงน้ำ�พระธาตุวัดดอยผาปูน

มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม 60

ประเพณีตานข้าวจี่ – ข้าวหลาม – ข้าวใหม่ 61


สรงน้ำ�พระธาตุวัดบ้านหลุก ประเพณีสรงน้ำ�พระธาตุวัดบ้านหลุก จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ตรงกับเดือนสี่เป็ง (นับแบบพื้นเมือง) มีการสรงน้ำ�พระธาตุและการเปลี่ยนผ้าห่มของพระธาตุวัดบ้านหลุก พระภิกษุ สามเณรในวัดบ้านหลุกและสมาชิกในชุมชนบ้านหลุกจะมี การเตรียมสิ่งของและจัดเตรียมงานสรงน้ำ�พระธาตุ สมาชิกในชุมชนได้มีส่วนร่วมและได้ร่วมทำ�บุญประเพณีสรงน้ำ�พระธาตุโดยจะมีการ จัดงานขึ้นในทุกๆปี เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของสมาชิกในชุมชนและเป็นการร่วมทำ�บุญร่วมกันของสมาชิกในชุมชน

ประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้าน ประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้าน คือ ประเพณีที่มีไว้เพื่อสักการบูชาเจ้าพ่อบ้านซึ่งผีเจ้าพ่อบ้านของบ้านหลุกใต้จะมีอยู่ สองแห่ง คือ พ่อแสนมุมเมืองหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าพ่อเฝ้าบ้าน (ฝั่งใต้) จะอยู่บริเวณศาลาอเนกประสงค์ของชุมชนบ้านหลุกใต้โดยจัด ประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้านขึ้นในวันที่ 17 เมษายนของทุกๆปี และอีกหนึ่งแห่ง คือ พ่อท้าวพรมแสนเมือง (ฝั่งเหนือ) จะอยู่ที่บริเวณข้าง วัดบ้านหลุก โดยจะจัดประเพณีเลี้ยงผีเจ้าพ่อบ้านในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งประเพณีเลี้ยงผีเจ้าบ้านจะจัดขึ้นปีละครั้งการจัดประเพณีดัง กล่าวจะมีเครื่องของต่างๆมาถวายให้กับผีเจ้าพ่อบ้านมีการเปลี่ยนขมิ้นน้ำ�ส้มป่อยและจัดสถานที่ในงานโดยคนเฒ่าคนแก่หรือผู้สูงอายุ ในชุมชนจะเป็นผู้จัดการในการเตรียมของและขั้นตอนต่างๆ ซึ่งได้มีการสืบต่อจากรุ่นสู่รุ่นและในปัจจุบันยังมีวัยรุ่นและวัยอื่นๆเข้าร่วม ประเพณีนี้ในชุมชนบ้านหลุกใต้ และชุมชนใกล้เคียงเข้าร่วมประเพณีนี้โดยมีจิตศรัทธาและเคารพนับถือของแต่ละบุคคลในประเพณีเลี้ยง ผีเจ้าพ่อบ้าน มีกิจกรรมการรดน้ำ�ดำ�หัวผีเจ้าพ่อบ้าน (พ่อเฝ้าบ้าน) และการขออโหสิกรรม การขอขมาผีเจ้าพ่อบ้านในสิ่งที่ตนได้ล่วงเกิน ส่วนใหญ่สมาชิกในชุมชนบ้านหลุกใต้จะมาขอพรต่อทั้งสองท่านในเรื่องของการประกอบอาชีพการค้าขาย และการเดินทางโดยปลอดภัย ซึ่งผีเจ้าพ่อบ้านทั้งสองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่ชุมชนบ้านหลุกใต้และเป็นที่เคารพนับถือมาเป็นเวลานาน

62

63


ผลิตภัณฑ์เด่น และกระบวน สร้างสรรค์ผลงาน

ปั้นดินปั้นถ้วย

หากจะพูดถึงสินคา้ เดน่ ของหมูบ่ า้ นศาลาเม็ง คงตอ้ งบอกไดว้ า่ เปน็ “ถว้ ยตราไก”่ ของดี เมืองล�ำปาง มียอดสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องของทุกโรงงาน ซึ่งหลายโรงงานขยับขยายจากเล็กๆกลายเป็นใหญ่ ส่งประดับประเทศแล้วก็มี และหนึ่งในนั้นคือโรงงานโมเดลเลอร์เซรามิคส์ ดีไซน์ ที่มีลักษณะการผลิตในรูป แบบที่หลากหลาย ทั้งเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผลิตประจ�ำอย่างถ้วยตราไก่ และผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆตาม ความตอ้ งการของลูกคา้ หรือการผลิตเพือ่ ออกจาหนา่ ยเองตามงานตา่ งๆ ผลิตภัณฑ์ของโรงงานโมเดลเลอ ร์เซรามิคส์ ดีไซน์ ตั้งแต่เริ่มต้นทาการผลิตในปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบันได้ท�ำการผลิตงานเซรามิคที่เป็น ผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการใช้สอย ในปี พ.ศ. 2554 ผลิตภัณฑ์ที่ขายดี 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. แก้วกาแฟ 2.ถ้วย 3. แก้วน้า 4. ชุดกาน้าชา 5. ถ้วยน้าจิ้ม ล�ำปางเองเปน็ แหลง่ ดินขาวชัน้ เลิศ ซึง่ เปน็ วัตถุดบิ หลักทีใ่ ชใ้ นกระบวนการผลิตเซรามิค ส�ำหรับลักษณะดินขาวที่ดีนั้น คุณอรอุมา พูลผล หรือน้าอร เจ้าของโรงงานโมเดลเลอร์เซรามิกบอกว่าควร เป็นดินที่มีเนื้อละเอียด มีสีขาวไม่มี สิ่งปลอมปน โดยเป็นดินที่ใช้ทาเซรามิคโดยเฉพาะ สาหรับการจัดหา ดินขาวเพือ่ ใชใ้ นการผลิตซึง่ โรงงานเปน็ ผูด้ าเนินการจัดซือ้ ทัง้ หมด ซึง่ จะท�ำการสัง่ ซือ้ ผา่ นทางโทรศัพท์ กับ ทางบริษัทที่ จ�ำหน่ายดินขาว ซึ่งทางโมเดลเลอร์เซรามิคส์ ดีไซน์ ได้ท�ำการจัดหาและจัดซื้อกับบริษัทลา ปางดินขาว ซึ่งปริมาณการสั่งซื้อในแต่ละรอบประมาณ 3 ตันหรือ 3,000 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ มูลค่าการสั่ง ซือ้ ตัน ละ 2,000 บาท หรือราคากิโลกรัมละ 2.00 บาท ราคาของดินขาว จะขึน้ อยูก่ บั รุน่ ของดินหรือ คุณภาพ ของดินตามการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น แต่ก่อนนั้นน้าอรบอกว่า ราคาดินขาวอยู่ที่ตันละ 1300 บาทเท่านั้น แต่ ตอนนั้นดินเริ่มน้อยลง ความต้องการยังคงมีเรื่อยๆ เพราะโรงงานใหม่ก็เปิดมามากมาย ราคาดินเลยเพิ่ม มากขึ้น น้าอรจึงใช้วิธีน�ำเศษดินที่เหลือจากการตกแต่งและขึ้นรูป มาผสมกับดินใหม่ที่สั่งซื้อมา เพื่อความ ประหยัดและรักษาสิ่งแวดล้อมไปในตัวด้วย

ต้นก�ำเนิดเครือ ่ งปัน ้ ดินเผาประเทศไทย ซึง ่ แน่น ไปด้วยคุณภาพและประสบการณ์

64

การเรียงเข้าชั้นก่อนส่งเข้าเตาเผา

หน้าโรงงานโมเลเลอร์เซรามิคส์

ขั้นตอนการพ่ 65นสี


1 4 2 5 3 6 เตรียมดิน

ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบต่างๆที่ใช้ในกระบวนการผลิต คือ ขั้นตอนนี้จะ เป็นการเตรียมดิน โดยการปั่นดินรวมกันในถังปั่นดิน จนเนื้อดินเหลวและ ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน พร้อมเข้าสู่การขึ้นรูป

ขึ้นรูป

ขั้นตอนกระบวนการขึ้นรูป มี 2 แบบ คือ แบบที่หนึ่งเป็นการขึ้น รูปโดยการใช้เครื่องปั้นอัตโนมัติ ซึ่งจะมีความสะดวกและรวดเร็วในการปั้น การปั้นโดยใช้เครื่องปั้นอัตโนมัติจะใช้ปั้นชิ้นงาน จาพวกถ้วย ส่วนอีกรูป แบบหนึ่งคือการปั้นโดยใช้เครื่องปั้นที่ใช้แรงงานคนในการปั้นซึ่งจะมีความ ล่าช้าในการปั้น การปั้นโดยเครื่องปั้นที่ใช้แรงงานคนจะเหมาะสาหรับชิ้น งานที่มีขนาดเล็ก

แต่งผิว

หลังจากนำ�ชิ้นงานที่แกะออกจากแม่พิมพ์ไปตากแดดจนแห้ง สนิท โดยใช้เวลาประมาณ 1 วันแล้ว จากนั้นนามาแต่งผิวให้เรียบโดยใช้มีด ตัดส่วนทีเป็นเศษเกินออก และใช้ ฟองน้าชุบน้าเช็ดที่ชิ้นงานเพื่อให้ชิ้นงาน มีผิวเรียบเสมอกัน จากนั้นนาไปผึ่งแดดให้แห้ง

66

วาดลาย

ขั้นตอนการวาดลายและลงสี คือ นำ�ชิ้นงานที่ผ่านการตกแต่ง พื้นผิวแล้วมาวาดลายและ ระบายสีตามลวดลายที่ต้องการด้วยพู่กัน เมื่อ ทาการวาดลายและลงสีเรียบร้อยแล้ว ให้นำ�ชิ้นงานมา ผึ่งแดดให้แห้ง

เคลือบเงา

ขั้นตอนการเคลือบเงา คือ การนาชิ้นงานที่ผ่านการวาดลาย และลงสีเรียบร้อยแล้วมาชุบ ในน้าเคลือบ เมื่อชุบเสร็จแล้วนาฟองน้ามา เช็ดตรงส่วนฐานของชิ้นงานเพื่อให้ชิ้นงานนั้นสามารถที่จะ ตั้งได้ จากนั้น นาชิ้นงานไปผึ่งแดดให้แห้ง

ตรวจคุณภาพ

การตรวจสอบคุณภาพ คือ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์เซรามิคสา เร็จรูปที่ผ่าน ขั้นตอนการเผาแล้ว มาตรวจดูความเรียบร้อยว่าผลิตภัณฑ์ ชิ้นใดมีข้อบกพร่อง รอยร้าว หรือรอย ตาหนิ หรือการแตกหักหรือไม่ ถ้า ตรวจพบว่ามีผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่องให้ทาการคัดออก เพื่อ คุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ที่ดี ก่อนนาออกจาหน่าย

67


ครูช่างที่โดดเด่น

อรุณี ผัดวัง ครูช่างช�ำนาญการผู้คลุกคลีกับดินมาตั้งแต่ เด็กๆ จนผันตัวเป็นเจ้าของโรงงาน

68

คุณอรุณี ผัดวัง หรือน้าแหม่ม เจ้าของโรงงานแหม่มเซรามิก กับประสบการณ์การท�ำงาน เกี่ยวกับเซรามิกกว่า 32 ปี โดยเริ่มต้นตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี จนตอนนี้พัฒนาตัวเองจากลูกจ้างในโรงงาน เซรามิกมาตลอด 3 โรงงาน ทัง้ ในเมืองและในหมูบ่ า้ นศาลาเม็ง สะสมประสบการณ์สรา้ งโรงงานเปน็ ของตัว เองเมือ่ 2 ปีกอ่ น ความช�ำนาญดา้ นเซรามิกในทุกขัน้ ตอน ผันตัวกลายเปน็ ครูชา่ งซึง่ ไมเ่ พียงแตส่ อนงานให้ ลูกจ้างในโรงงาน แต่ยังมีใจรักในการสอนให้คนในชุมชนที่อยากจะประกอบอาชีพด้านนี้ และนักท่องเที่ยว ทีส่ นใจอีกดว้ ย ซึง่ คุณอรุณจี ะใชเ้ วลาหยุดของโรงงานวันอาทิตย์ เปิดโรงงานใหค้ นเขา้ มาเรียนรูอ้ ยา่ งไมห่ วง วิชา ในเวลากวา่ 3 ชัว่ โมงทีฉ่ นั ไดค้ ลุกคลีอยูใ่ นโรงงานแหมม่ เซรามิก โรงงานเล็กๆใตถ้ นุ บา้ น บรรยกาศครึกครื้นด้วยคนงาน 9 คน ต่างคนต่างก้มหน้าท�ำงาน แต่ปากก็ขยับพูดคุยกันอย่างสนิทสนม ระหวา่ งทีน่ า้ แหมม่ พาเดินเขา้ ไปทักทายทัง้ คุณลุงคุณป้าในสว่ นของหนา้ ทีต่ า่ งๆ ทุกคนยิม้ แยม้ ตอ้ นรับเปน็ อย่างดี รู้สึกได้ถึงความอบอุ่นและเป็นกันเองจากรอยยิ้มเหล่านั้น น้าแหม่มเล่าถึงจุดเริ่มต้นของโรงงานเล็กๆแห่งนี้ให้ฟังอย่างภูมิใจว่า “น้าเติบโตมากับดิน เห็นมันมาตั้งแต่ เด็กๆ แรกๆก็เริ่มหัดเอาที่โรงงานในเมือง เริ่มจากเด็กแพ็คของ จนมาปั้นดิน วาดลาย แต่งผิว หรือเคลือบ เงา ท�ำมาหมดทุกขัน้ ตอน รวมเวลาจนถึงตอนนีก้ ็ 32 ปีมาแล้ว” ด้วยประสบการณ์ทมี่ ากล้นนี้ ท�ำให้สามารถ ก�ำเนิดโรงงานของตัวเองขึ้นมาได้ “แรกๆมีลูกค้าแค่ 2-3 รายเอง ลูกจ้างก็ท�ำกัน 3 คน ช่วยกันท�ำทุกขั้นตอน จนหลังๆ สินค้าของเราเริม่ เปน็ ทีร่ จู้ กั มากขึน้ ในตลาดลา่ ง ถว้ ยชามของเราอาจจะไมไ่ ดโ้ ดดเดน่ เรือ่ งการดีไซน์ แตเ่ นน้ กลุ่มลูกค้าใหญ่ รับไปขาย 10-20 บาท” น้าแหม่มเล่าพร้อมชี้ไปที่ลังถ้วยตราไก่พร้อมส่งขายให้พ่อค้า คนกลาง สิง่ ทีน่ า่ สนใจส�ำหรับนา้ แหมม่ มากก็คอื แมว้ นั หยุดอาทิตย์ นา้ แหมม่ ไมย่ อมทีจ่ ะหยุดพัก แต่เลือกที่จะใช้เวลาว่างเปิดโรงงานสอนวิชาให้กับคนที่สนใจอาชีพช่างเซรามิก “เราโตมากับสิ่งเหล่านี้ เรา ไม่อยากเห็นมันหมดไป หรือวิชาความรูต้ ายไปพรอ้ มเรา แมว้ า่ ตลาดเซรามิกของล�ำปางจะเติบโตขึน้ เรือ่ ยๆ มีโรงงานใหญ่ๆ เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยมากมาย แต่กระบวนการแบบดั้งเดิมก็ควรอนุรักษ์ไว้ มันยังมี รายละเอียดอีกหลายอย่าง ทีค่ วรส่งต่อให้คนรุน่ ต่อไป” น้าแหม่มกล่าวพร้อมชีไ้ ปทีต่ ารางเรียนของวันอาทิตย์ ที่แปะอยู่บนเสาไม้กลางโรงงาน โดยจะเริ่มตอนเช้า 10 โมงถึงเที่ยง และบ่ายโมงถึง 4 โมง แล้วแต่ว่าคน อยากจะเรียนขั้นตอนอะไร ก็เลือกมาตามเวลา ซึ่งคนที่เข้ามาศึกษาส่วนใหญ่เป็นวัย 30 ปีขึ้นไป จนถึงวัย เกษียณอย่าง 60 ปี “บางคนพึ่งเกษียณงานประจ�ำมา แต่ยังมีแรง ก็เลือกมาเรียนรู้และไปเป็นลูกจ้างใน โรงงานแถวหมู่บ้าน เงินๆเล็กๆน้อยๆ แต่ก็ท�ำให้ไม่เหงานะ” น้าแหม่มกล่าว

69


ฉันถามต่อถึงว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า อยากเห็นเซรามิกล�ำปางเติบโตไปอย่างไร น้า แหม่มตอบว่า “จริงๆตอนนี้ถ้าพูดถึงการขาย เซรามิกล�ำปางเติบโตมากเลยนะ ขายได้ไกลถึง เมืองนอก สวยและมีคุณภาพไม่แพ้ใคร แต่สิ่งที่ อยากเห็นจริงๆคือเด็กรุ่นใหม่มาสานต่อ เพราะ เดี๋ยวนี้งานแบบนี้มันคือการใช้แรงงานในโรงงาน คล้ายสาวโรงงานนั่นแหละ ไม่มีใครเขาอยากท�ำ กันแล้ว เด็กๆก็เขา้ ไปเรียนในเมือง ท�ำงานในหอ้ ง แอร์กนั หมด นอ้ ยคนจะสนใจในวิถงี านชา่ งแบบนี้ จริงๆ อย่างลูกชายป้า ก็ไม่เอานะ ตั้งใจสร้างให้ เขาสานต่อ แต่เขากลับชอบงานที่ออฟฟิตบิ๊กซี มากกว่า ไม่เป็นไร เราท�ำไปให้ดีตราบเท่าที่ยังมี แรง”

70

71


ครูช่างที่โดดเด่น

เย็นศักดิ์ ธรรมวันทา เจ้าของบ้านโฮมเสตย์ เปิดบ้านรับนักท่องเทีย ่ ว เข้ามาร่วมสัมผัสวิถีชีวิต

72

เคยได้ยินมาบ้างว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นอย่างไร แต่ไม่เคยได้เห็นกับตาตัวเองสักที จนวันนี้ วันที่ยืนอยู่หน้าบ้านไม้ชั้นเดียว นอกชานเรือนเป็นพื้นที่ส�ำหรับแปลงผักและต้นไม้ ดอกไม้นานา ชนิด ภายใต้หมวกจักรสานใบนั้น ปรากฏริ้วรอยแห่งประสบการณ์บนใบหน้าของชายสูงวัย การแต่งกาย ดว้ ยเสือ้ คลุมผา้ มอ้ ฮอ่ มผืนเกา่ ทว่ งทา่ คลอ่ งแคลว่ แมแ้ ขนซา้ ยดูเหมือนพึง่ จะไดร้ บั การบาดเจ็บมา และแวว ตาอันอบอุน่ แตด่ มู งั่ คงและจริงใจ กระทัง่ ค�ำพูดค�ำจาดว้ ยภาษาพืน้ เมือง ดูสบายๆและเปน็ มิตรอยา่ งตอ้ นรับ เย็นศักดิ์ ธรรมวันทา หรือลุงเย็น อายุ 63 ปี อาศัยที่บ้านหลังนี้มากว่า 20 ปีกับภรรยา คู่ชีวิต จนเมื่อประมาณปีที่แล้วตัดสินใจเปิดบ้านหลังนี้ ให้เป็นที่พักพิง และแหล่งเรียนรู้แก่นักท่องเที่ยวที่ ต้องการเข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนในท้องถิ่น ในสวนเล็กๆของลุงเย็นมีต้นพุดขนาดโตเต็มวัยอยู่ 6-7 ต้น ทุกต้นออกดอกสวยงาม เลีย้ งไว้เพือ่ ส�ำหรับเก็บขาย ไดร้ าคากิโลละ 100 บาท โดยจะมีนกั ศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาล�ำปาง เปน็ ลูกคา้ ประจ�ำ น�ำไปใชใ้ นวิชาเรียนงานฝีมอื “ดอกไมข้ องลุงเคยชนะการแขง่ ขันระดับประเทศมาแลว้ นะ เด็ก เขาเอาไปใช้ท�ำพวงมาลัยบ้าง ท�ำพานบ้าง ถ่ายรูปมาให้ดู สวยมาก เห็นแล้วภูมิใจ” นอกจากนั้น ยังมีต้นมะนาว ต้นมะม่วง และต้นขนุน แย่งกันออกผลผลิตอย่างสวยงาม ปลอดสารพิษร้อยเปอร์เซ็น ถัดไปด้านหลังสวน แว่วเสียงไก่ส่งเสียงสลับกันไปมา ประมาณ 6 ตัวที่ลุงเย็น เลี้ยงเพื่อเอาไข่ ย้อนกลับไปเมื่อ 7 ปีก่อน บ้านหลังนี้เคยเป็นโรงงานเซรามิกเหมือนๆกับบ้านทั่วไปใน ชุมชนศาลาเม็ง ที่มีอาชีพหลักเป็นช่างเซรามิก แต่ด้วยเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ บวกกกับการบริหารงานของสองสามีภรรยาที่เป็นไปอย่างล�ำบาก ท�ำให้ต้องตัดสินใจปิดกิจการลง “ตรงนัน้ เคยตัง้ เตาเผาถว้ ย เผาชาม” ลุงเย็นพูดพลางชีไ้ ปทีซ่ งิ ค์ลา้ งจานติดรัว้ “เราเห็น เขาขายดิบขายดีกันนะ โรงงานนหมู่บ้านผุดขึ้นเหมือนเห็ด ลุงก็เป็นหนึ่งในกองเห็ดนั่น ใครรอดใครเก่งก็ แล้วไป แต่ใครสู้ไม่ไหวก็ต้องถอย แบบลุงกับป้านี่แหละ” ดูคล้ายว่าการปิดกิจการในครั้งนั้นจะไม่ใช่ความ ล้มเหลวส�ำหรับลุงเย็น แต่เปรียบเสมือนเป็นบทเรียนราคาแพงที่สอนให้รู้จักชีวิต “ลุงเคยอยากรวย อยากเป็นเจ้าของกิจการใหญ่โต แต่สุดท้ายโรงงานที่เราสร้างมากับ มือมันหายไปในพริบตา ตอนนัน้ ลุงคิดไดเ้ ลย วา่ ไมใ่ ชแ่ ลว้ ก�ำลังเดินผิดทาง” ลุงเย็นพูดถึงจุดเปลีย่ นส�ำคัญ ของการเลือกทางเดินเศรษฐกิจพอเพียงอย่างทุกวันนี้ ซึ่งหากวันนั้นโรงงานไม่เกิดปัญหา ลุงเย็นคงไม่ได้ เปน็ แรงผลักดันส�ำคัญของคนในหมูบ่ า้ นใหห้ นั มาท�ำเกษตรในครัวเรือน เมือ่ กอ่ นชาวบา้ นท�ำการเกษตรแค่ ท�ำไร่ท�ำนา ไม่ได้มีการปลูกผัก หรือเลี้ยงสัตว์เอง ซื้อจากที่อื่นเข้ามาค้าขายกันที่ตลาดใหญ่ของหมู่บ้าน แต่ตอนนี้ไม่ต้องไปถึงตลาดใหญ่ ช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ 3-6 โมง ชาวบ้านจะตั้งโต๊ะหน้า บ้านขายพืชผักจากสวนครัวของตนเอง เลิกงานจากโรงงานมาก็จอดมอเตอร์ไซค์แวะซื้อได้เลย “ลุงเริ่มต้น จากบ้านตัวเองก่อน ปลูกผักกินเอง และเลี้ยงไก่เอาไข่กินเอง หรือเอาไปแบ่งให้เพื่อนบ้านบ้าง เขาเห็นเรา ท�ำแล้วดี ผักปลอดสารแต่หวานอร่อย ไข่ไก่ก็สดมีคุณภาพ ก็เริ่มมีคนมาถามขอเคล็ดลับบ้าง วิธีเริ่มต้นยัง ไงและดูแลต่อยังไง ลุงก็เริ่มเข้าไปช่วยเริ่มจากบ้านข้างๆ ยาวไปจนท้ายหมู่บ้าน เป็นการบอกต่อๆกันไป” 73


รายไดจ้ ากการสอนวิชาพอเพียงไมต่ อ้ งพูดถึง เพราะไมใ่ ชส่ งิ่ ทีล่ งุ เย็นคาดหวัง “ลุงแคอ่ ยากใหพ้ วกเราอยู่ ได้กันอย่างสบายๆ ไม่หวังร�่ำรวยจากโลกอุตสหกรรม ลุงเคยพลาดและรู้ว่ามันไม่ใช่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน พ่อ หลวงสอนมาอย่างไร ค�ำสอนไม่เคยเก่าเลย” จริงอยู่ สิ่งที่ลุงเย็นท�ำอาจไม่ได้ยิ่งใหญ่ขนาดเปลี่ยนโลกทั้งโลก หรือท�ำให้มวลมนุษย์ ชาติหลุดพ้นจากความล�ำบากยากจน แต่ส�ำหรับมุมเล็กๆ มุมหนึ่งบนโลกอย่างหมู่บ้านศาลาเม็ง ปฏิเสธ ไม่ได้ว่า สิ่งที่ลุงเย็นก�ำลังท�ำอยู่มีความหมาย ไม่เพียงมีความหมายตอ่ อนาคตของชาวบา้ นหนุม่ สาวโรงงานเซรามิก แตอ่ กี ทางหนึง่ มันยังได้ช่วยเติมเต็มความหมายบางอย่างที่ลงในหัวใจของชายสูงวัย ผู้เคยตามหาความมั่งคั่งจากระบบ ทุนนิยม “บ้านลุงไมใ่ ชโ่ ฮมสเตย์ธรรมดาๆนะ ไมใ่ ห้แค่นอนแล้วกลับไปหรอก ต้องมาลงสวนกับ ลุงด้วย” ลุงเย็นพูดพลางหัวเราะอารมณ์ดี ตั้งแต่เปิดบ้านมาได้เกือบปี มีนักท่องเที่ยวเข้ามาพักที่บ้านลุง

74

เย็นแล้วถึง 6 กลุ่ม พักนานที่สุดคือ 3 คืน กิจกร รมหลักๆที่ลุงเย็นชวนนักท่องเที่ยวเข้ามามีส่วน ร่วม คือเข้าครัวทำ�อาหารถิ่นกับป้าแสง ภรรยา ลุงเย็น เข้าสวนให้อาหารไก่ และเก็บดอกพุดกับ ลุงเย็น นอกจากนั้นอาจจะเป็นการรดน้ำ�ต้นไม้ หรือลงผักสวนครัวในแปลง “สิ่งที่นักท่องเที่ยวเขาได้กลับไปไม่ใช่ แค่มิตภาพดีๆหรอก เขาได้เรียนรู้วิถีชีวิตง่ายๆ สบายๆอย่างเรา รู้จักการปลูกผัก ดูแลไก่ เคยมี คนกรุงเทพที่มาพัก แล้ววันนึงเขากลับมาเที่ยว ลำ�ปางอีกรอบมาแวะหาเรา พร้อมกับเอาผักสลัด ที่เขาปลูกเองมาฝาก และบอกว่าหลังจากกลับ ไปจากบ้านลุง เขาลองปลูกผักเองเลย ตามที่ลุง แนะนำ�” ลุงเย็นเล่าด้วยรอยยิ้มที่ดูภาคภูมิใจ ที่สุด ยามแสงฟ้าเริ่มสว่าง ลุงเย็นเดินออก จากรั้ ว บ้ า นพร้ อ มบรรจงสวมหมวกคู่ ใจอย่ า ง ช้าๆ ก่อนก้าวเท้าออกไปพร้อมการมาเยือนของ วันใหม่ พ้นจากประตูที่ไม่เคยคล้องกุญแจ ซึ่ง เจ้ า ของบ้ า นให้ เ หตุ ผ ลว่ า แถวนี้ ไ ม่ เ คยมี ข โมย ภายในช่วงเวลาไม่กี่นาทีของการเดินออกกำ�ลัง กายยามเช้า ลุงเย็นทักทายชาวบ้านที่เดินสวน กันไปมา นับแล้วได้ 8 คนถ้วน มิตรภาพก่อตัว ขึ้นในฉากของยามเช้าอันสดใส ซึ่งคงไม่เกินเลย หากการเกิดขึ้นในครั้งนี้ จะเป็นมิตรภาพต่อไป อีกยาวนาน

75


วิสัยทัศน์ผู้นำ� ก�ำนันณรงค์ วงศ์กน ั ทะ ผูน ้ ำ� ต�ำบลนาครัว และผูผ ้ ลัก ดันหมู่บ้านหลุกใต้สู่การท่องเที่ยวสร้างสรรค์

76

หลักการจัดการการท่อง เที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คุณสมยศ สาปค�ำ นายยกเทศมนตรีเทศบาลต�ำบลท่าผา อ.เกาะคา จ.ล�ำปาง กล่าวว่า ว่า อ�ำเภอเกาะคาตัง้ อยูก่ อ่ นถึงตัวเมืองล�ำปางประมาณ 16 กิโลเมตร เป็นเส้นทางผ่านจากรุงเทพถึงเชียงใหม่ และมีแหล่งท่องเที่ยวที่ส�ำคัญหลายแห่ง อาทิ วัดพระธาตุล�ำปางหลวง วัดพระธาตุจอมปิง และวัดไหล่หิน ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวอยู่แล้ว ประกอบกับเพื่อสอดรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยว จากตัวเลข รายได้จากการท�ำบุญของนักทอ่ งเทีย่ วทีเ่ ขา้ มาเทีย่ ววัดพระธาตุล�ำปางหลวง เฉลีย่ เดือนละ 1 ลา้ นบาท และ มีจ�ำนวนนักท่องเที่ยวเฉลี่ยเดือนละ 1 แสนคน นับว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง ทางเทศบาลจังหวัดล�ำปาง จึงได้ทุ่มงบประมาณส่งเสริมให้เปิดเป็นบ้านท่องเที่ยวเซรามิกของต�ำบลท่าผา เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ใหม่เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเดิม เนื่องจากในชุมชนต�ำบลท่าผา คนในชุมชนประกอบอาชีพเซรามิกแบบ ศิลปะท�ำมือมานาน ปัจจุบันมีทั้งหมดกว่า 60 โรงงาน ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์การท�ำเซรามิกแบบเดิม และสง่ เสริมกิจกรรมการทอ่ งเทีย่ วของจังหวัดล�ำปาง จึงไดเ้ ปิดตัวอยา่ งเปน็ ทางการเมือ่ เดือนกรกฎาคม ปี 2558 การเปิดตัวหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้น เพื่อเป็นการส่ง เสริมและประชาสัมพันธ์หมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก บ้านศาลาเม็ง และบ้านศาลาบัวบก ให้เป็นที่รู้จักทั้งคน ภายในและคนภายนอกจังหวัด และนักท่องเที่ยวภายในและภายนอกประเทศมากยิ่งขึ้น และเพื่อรองรับ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อีกทัง้ นโยบายรัฐบาลประกาศวาระแห่งชาติให้ปี 2558 เป็นปีทอ่ งเทีย่ ว วิถีไทย หรือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการสร้างกระแสให้นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายได้มีการ เรียนรู้ ได้มาสัมผัสความเป็นวิถีชีวิตของชุมชน และความเป็นอยู่อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และที่ส�ำคัญอีกหนึ่งประการคือ การ สร้างงานสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชนในชุมชน และจังหวัดต่อไป ด้ ว ยเอกลั ก ษณ์ ที่ โ ดดเด่ น ของต�ำบลท่ า ผา มี ห มู ่ บ ้ า นที่ ร าษฎรประกอบอาชี พ เครือ่ งปัน้ ดินเผามานานกวา่ 20 ปี มีวถิ ชี วี ติ และภูมปิ ญ ั ญาของตัวเอง รวมถึงอ�ำเภอเกาะคาแหง่ นีม้ โี บราณ สถานแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวภายในอ�ำเภอเกาะคา ที่ผ่าน มาถือว่าเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีโรงงานเซรามิกตั้งอยู่กว่า 60 โรงงาน ซึ่งกระจายอยู่ในสองหมู่บ้าน แต่มากที่สุดที่บ้านศาลาเม็ง และตัวหมู่บ้านห่างจากวัดพระธาตุล�ำปางหลวง เพียง 2 กิโลเมตร ถือวา่ เปน็ เอกลักษณ์ทางภูมปิ ญ ั ญา และมีความหลากหลายทางวิถชี มุ ชน ทัง้ นีเ้ พือ่ พัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ตลอดจนเชื่อมโยงตลาดการท่อง เที่ยว โดยยึดความยั่งยืนของชุมชนและความสุขเป็นที่ตั้ง สอดคล้องกับวิถีชุมชนที่จะน�ำมาสู่ภาพของการ ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงกับนักท่องเที่ยวและชุมชนต่อไป

77


ร่วมสร้างสรรค์ แวะสักนิด มีแต่ได้ ทัง ้ ประสบการณ์และเซรามิก โดยฝีมือตัวเอง

78

ความคิดเห็นนัก ท่องเที่ยว ขณะที่ก�ำลังเก็บข้อมูลอยู่ที่โรงงานแหม่มเซรามิก ฉันได้พบกับคุณพิริยา ลือศักดิ์ หรือ พี่แนน สาวกรุงเทพ อาชีพเซลล์ขายสารเคมีที่บริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง มากับแฟนหนุ่มเพื่อมาเที่ยวในหมู่บ้าน ศาลาเม็ง โดยตั้งใจอยากจะเห็นและทดลองท�ำเซรามิกอย่างใกล้ชิด และซื้อเซรามิกติดมือกลับไปในราคา โรงงาน “รู้ัจักจากรีวิวในพันทิพค่ะ เห็นบอกว่าถ้าอยากได้เซรามิกถูกๆต้องมาที่บ้านศาลาเม็ง พอดีวา่ เปน็ ทางผา่ นกลับกรุงเทพดว้ ย เลยมาแวะดู” พีแ่ นนเลา่ ใหฟ้ งั ถึงทีม่ าวา่ รูจ้ กั หมูบ่ า้ นนีไ้ ดอ้ ยา่ งไร ใน ขณะทีม่ อื ก็ก�ำลังเลือกถว้ ยตราไกส่ วยๆไปดว้ ย นา้ แหมม่ เจา้ ของโรงงานจึงชวนใหพ้ แี่ นนลองท�ำถว้ ยดู ทา่ ที ที่ดูตื่นเต้นของพี่แนนท�ำให้ฉันอดหัวเราะตามไม่ได้ พีแ่ นนเริม่ จากลองเช็ดคราบถว้ ยทีป่ น้ั เสร็จแลว้ ดว้ ยเครือ่ ง วิธงี า่ ยๆทีส่ ามารถท�ำตามได้ ง่ายๆ ต่อมาจึงได้ลองวาดลายบนถ้วยที่เธอพึ่งเช็ดเสร็จ “วาดลายอะไรก็ได้ เต็มที่เลย สีเยอะแยะ” น้า แหมม่ พูดชวนอยา่ งเปน็ กันเอง และแนน่ อนพีแ่ นนก็จดั เต็มไปตามสไตล์ของเธอ จากนัน้ นา้ แหมม่ ก็ขอทีอ่ ยู่ พร้อมบอกว่าถ้าเผาเสร็จ จะส่งไปให้ที่กรุงเทพ รับกลับเลยไม่ได้ เพราะต้องใช้เวลาเผานานถึง 8 ชั่วโมง ฉันถามพี่แนนว่าสนุกไหม “สนุกมาก ตื่นเต้น และไม่คิดว่าน้าแหม่มจะใจดีกล้าให้ลอง ท�ำ ถึงตั้งใจจะมาขอลองท�ำดูก็เถอะ” เธอพูดแกมหยอกน้าแหม่มเล่น “นอกจากเราจะได้ถ้วยในแบบของ เรากลับไปแล้ว พี่ว่าชาวบ้านที่นี่น่ารัก มีเสน่ห์ที่ความใจดี เราได้เห็นกระบวนการท�ำอย่างใกล้ชิดไม่มีกั๊ก เลย เปิดโลกใหม่พี่มากนะ คิดว่ามันจะง่ายๆ ที่ไหนได้เห็นขายกัน 10-20 บาทนี่ไม่คุ้มเลย” “อยากกลับมาอีกไหมคะ” ฉันถามพีแ่ นน เธอตอบว่า “แน่นอน คราวนีจ้ ะไปเสนอบริษทั ให้พาเป็นกรุ้ปมาลงเวลาต้องลงพื้นที่ที่ล�ำปาง เห็นว่ามีโฮมเสตย์ด้วย คราวหน้าต้องลอง”

79


การพัฒนา

พร้อมสู่ AEC Apelitecest ea quos ne ent verspedit excesci lictur acessimust labo. Ut mini

80

เชิงพาณิชย์และเครื่อข่ายชุมชน

Olo quia quo modisquo officid ut maiorep elestet acepro torehen ducitio nemoluptas estrum qui velibustion con ped et autat. Tio cusandu ntioribus qui odit, simet utem. Ita debisciis int vidiatur suntiisciae perferorecto to ipsaecatisi con coresse cestia nos eosto vendi doluptatiis sit labo. Nem que evellup tatusan daector iosaniet officto quiae. Nem fuga. Nam dolutentiur, omnit iniment otatem faciae doloreh entisciendam aut officia nonsequae dolupta ecessedist, sunda qui dolor as aut molor am, et, etum, occuptibea aut quassec eribusdam im aut lab in niscipidem voluptation et quibers pernam nonsecusae pa doles exernam liquia nonseribus est, quis que lautate molorrovidel is et quae eni conest aspit maioriti ut aut oditasin ratem quis molorum ra cum harum eum doluptias mo et fugiaes cum imodis ea dolescilis adiam nimagnitio earit exces res in comnimint am quia anis a sed experibea dolorporis mos verro optatur? Agnimag natium expliqu odipita tempossent peris ut vellore entius utatiur? Dus, explaut et eum reratiatur molo maior amus ipidict emporrum fugia-

81


การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่ไม่ใช่ เพียงเทีย ่ วตามแพ็คเกจท่องเทีย ่ วเดิมๆ แต่ เ ที่ ย วในแบบตั ว คุ ณ เน้ น สั ม ผั ส วิ ถี ชี วิ ต วั ฒ น ธ ร ร ม ป ร ะ เ พ ณี แ ล ะ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานอย่าง ลึกซึ้ง โดย 2 หมู ่ บ ้ า นท่ อ งเที่ ย วเชิ ง สร้างสรรค์แห่งจังหวัดล�ำปาง จังหวัด ที่ จ ะไม่ ใ ช่ ท างผ่ า นอี ก ต่ อ ไป แต่ จ ะเป็ น จั ง ห วั ด ที่ คุ ณ ต ้ อ ง จ อ ด เ พื่ อ รั บ ประสบการณ์ที่หาที่ไหนไม่ได้

LAMPANG creative travel guide

82


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.