Prachid osmep masterplan3

Page 1


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


CONTENTS คำนำ 6 บทสรุปผู้บริหาร 8 บทนำ 36

1 2 3 ความสำคัญ โครงสร้าง และสถานการณ์ทส ่ี ง่ ผล ต่อวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทย

ผลการส่งเสริมวิสาหกิจ การวิเคราะห์จด ุ แข็ง ขนาดกลางและขนาดย่อม จุดอ่อน โอกาสและ ทีผ ่ า่ นมา ภัยคุกคามของ วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทย

บทบาทความสำคัญและ โครงสร้างของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย 45

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) 68

ปัจจัยและสภาวการณ์ที่มี ผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมไทย 48

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) 69

การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของ วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย 80

ผลการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเด็นสำคัญต่างๆ 70

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 159 ภาคผนวก ข ตารางแผนการดำเนินงาน หน่วยงานดำเนินการ และอักษรย่อหน่วยงาน 163

4 5 6 7

กรอบแนวคิด ทิศทาง วิสย ั ทัศน์ และเป้าหมาย การส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย

ยุทธศาสตร์การส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย

ปัจจัยความสำเร็จ ของแผน

การแปลงแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.25552559) ไปสูก ่ ารปฏิบต ั ิ

แผนยุทธศาสตร์และนโยบาย ที่เกี่ยวข้อง 88

ยุทธศาสตร์การส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย 102 ยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุน ปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการ ดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมไทย 103 ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขัน ของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย 118 ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่าง สมดุลตามศักยภาพของพื้นที่ 129 ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้าง ศักยภาพของวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมไทยให้ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ 135 ความเชื่อมโยงระหว่าง ยุทธศาสตร์และประเด็นการ ดำเนินงานที่สำคัญภายใต้ ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ 139

เงื่อนไขปัจจัยความสำเร็จของ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม 146

กระบวนการแปลงแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม สู่การปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม พ.ศ. 2543 150

กรอบแนวคิด 96 ทิศทางการส่งเสริม 96 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายการส่งเสริม 97

แนวทางการสร้างการมีส่วน ร่วม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการผลักดันแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมสู่การปฏิบัติ 153 แนวทางและกลไกการติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน ตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม 154


6

บทสรุ คำนำปผู้บริหาร

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดตั้งขึ้น ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ในฐานะหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งเป็นศูนย์กลางประสาน ระบบการทำงานของส่ว นราชการ องค์กรของรั ฐ หรื อรั ฐ วิ สาหกิ จ ที ่ มี หน้าทีส ่ ง่ เสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพือ ่ ให้เกิดการบูรณาการ งานส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมา สสว. ได้จัดทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ.2545-2549) เสนอผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2546 และจัดทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2550-2554) เสนอผ่านความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 แล้วนั้น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ถือได้วา่ เป็นกลไกหลักในการเสริมสร้าง ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เป็นแหล่งการ จ้างงานที่สำคัญ อีกทั้งยังเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาความยากจนของ ประเทศ ดังนั้น สสว. จึงได้จัดทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ขึ้น เพื่อเป็น แนวทางใน การพั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มของไทยให้ มี ก ารเติ บ โต อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ซึ่งในการจัดทำแผนการส่งเสริมฯ นี้ ได้มีการ พิจารณาถึงความเชื่อมโยงสอดรับกับแผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น แผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงทีม ่ บ ี ทบาทเกีย ่ วข้องกับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม รวมถึงแผนพั ฒ นากลุ่มจั ง หวั ด นอกจากนั ้ น ยั ง ได้ม ี การระดมความคิดจากการประชุมระดมสมองหรือประชุมเชิงปฎิบัติการ ร่วมกับผู้ประกอบการ นั ก วิ จ ั ย คณาจารย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการรวบรวมและศึกษาข้อมูลต่างๆ ทั้งในด้านบริบทการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นและที่มีผลต่อการพัฒนาในอนาคต สภาพปัญหาความต้องการ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจน ผลการพัฒนาของ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 25502554) เพื่อนำมากำหนดเป็นทิศทางและแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559)

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 25552559) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก อันได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทย (2) ยุทธศาสตร์เสริมสร้างขีดความสามารถในการ แข่ง ขั น ของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (3) ยุทธศาสตร์ ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มไทยให้ เ ติ บ โตอย่ า งสมดุ ล ตามศักยภาพของพื้นที่ และ (4) ยุทธศาสตร์เสริมสร้างศักยภาพของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ ในการจัดทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ฉบับนี้ มีคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้คณะกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ได้ให้คำแนะนำ ปรึกษา พร้อมทั้งให้ข้อมูล ข้อคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาโครงสร้างและเนื้อหาสาระของแผนการส่งเสริมฯ ให้มี ความสมบูรณ์ โดยมุ่งหวังให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม นำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของ หน่ว ยงานอย่างมี ค วามเชื่อ มโยงและเกื ้ อ หนุ น ระหว่างกั น เพื ่ อ ให้ก าร ส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย มีความเป็นบูรณาการและมีพลังขับเคลื่อนอย่างมีทิศทางเดียวกัน และ นำไปสู่การจัดสรรงบประมาณที่เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการส่งเสริม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยต่อไป

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เมษายน 2554

7

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


8

บทสรุปผู้บริหาร

บทสรุปผู้บริหาร

9

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


10

บทสรุปผู้บริหาร

บทสรุปผู้บริหาร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ถือเป็นกลไก หลักในการเสริมสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทย โดยสร้างรายได้และจ้างงาน อีก ทั้งเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความยากจน ในปี 2553 ประเทศไทยมีจำนวนวิสาหกิจรวมทั้งสิ้น ประมาณ 2,924,912 ราย โดยร้อยละ 99.60 เป็น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การจ้างงานของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคิดเป็นร้อยละ 77.86 ของการจ้างงานรวมของประเทศ มูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมคิดเป็นร้อยละ 42.35 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมทัง้ ประเทศ และมูลค่าการส่งออก ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคิดเป็นร้อยละ 28.40 ของมูลค่าการส่งออกรวมของประเทศ ผลการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัย คุกคาม พบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมี จุดแข็งด้านความคล่องตัว ยืดหยุ่น สามารถปรับตัว เข้ากับสถานการณ์แวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว มีความสามารถและความเชี่ยวชาญ ด้านทักษะงานฝีมือและงานบริการ (Craftsmanship & Hospitality) และด้านการผลิตสินค้าและ

บริการเพือ่ ตอบสนองความต้องการของกลุม่ ผูบ้ ริโภค เป้าหมาย ในขณะทีม่ จี ดุ อ่อนด้านการบริหารจัดการ ธุรกิจ ความสามารถในการพัฒนาสินค้าและบริการ โอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ความสามารถใน ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินธุรกิจ และขาดโอกาสทางการตลาด และการเข้าถึงข้อมูลการตลาดเชิงลึก อย่างไรก็ตาม รู ป แบบการดำเนิ น ธุ ร กิ จ สมั ย ใหม่ เ อื้ อ ต่ อ การ ประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม ทั้งการรับช่วงการผลิต (Outsource) และ การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายทางธุรกิจ นอกจากนี้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังได้รับโอกาส จากนโยบายของรัฐที่ให้ความสำคัญและสนับสนุน สำหรั บ ภั ย คุ ก คามที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่สำคัญ ได้แก่ การรวม กลุ่ ม ทางเศรษฐกิ จ และการเปิ ด เสรี ที่ อ าจก่ อ ให้ เกิดการแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้น นอกจากนั้น การ เปลี่ย นแปลงของสถานการณ์ โ ลกทั้ง ในมิ ติด้า น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมยังเป็น ปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจ

สรุปการประเมินผลตามแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554)

ผลการดำเนินงานตามการพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านต่างๆ

การดำเนิ น งานตามแผนการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 25502554) สามารถสรุปผลได้ ดังนี้

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้รวบรวมข้อมูลจากส่วนราชการและหน่วยงาน ของรัฐทีไ่ ด้ดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมเพื่อนำมาประมวลผลการดำเนินงานตาม แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ทัง้ ในส่วนของกิจกรรม ที่ ใ ช้ ง บประมาณดำเนิ น การจากกองทุ น ส่ ง เสริ ม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และกิจกรรมที่ ใช้งบประมาณดำเนินการของหน่วยงาน ภาครัฐและ เอกชนอื่นๆ โดยสามารถสรุปสาระสำคัญของผล การดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ในปี 2550–2552 ได้ ดังนี้

H เป้าหมายที่ 1 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของ

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการขยายตัว อย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในปี 2554 พบว่า สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในระหว่างปี 2551-2553 ลดลงอย่างต่อเนือ่ งคิดเป็นร้อยละ 38.10 37.80 และ 37.10 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ตามลำดับ โดยมีสาเหตุหลักจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2551 ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการสั่งซื้อสินค้า จากกลุม่ ประเทศผูซ้ อ้ื หลักของไทย และปัญหาความ ขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ

เป้าหมายที่ 1

42%

H เป้าหมายที่ 2 อัตราการขยายตัวมูลค่าการส่งออก

ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพิม่ มากขึน้ ไม่น้อยกว่าอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออก รวม พบว่า ในระหว่างปี 2551-2553 อัตราการ ขยายตัวของการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มไทยน้ อ ยกว่ า อั ต ราการขยายตั ว ของ การส่งออกรวมของประเทศ

H เป้าหมายที่ 3 ผลิตภาพการผลิตโดยรวม (Total Factor Productivity: TFP) ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม มีการขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ต่อปี รวมทั้งผลิตภาพการผลิตโดยรวมของสาขา เป้ า หมายและผลิ ต ภาพแรงงานของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี พบว่า ผลิตภาพด้านต่างๆ ยังไม่เป็นไปตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้

เป้าหมายที่ 2

เป้าหมายที่ 3

TFP3%

11

การพัฒนาบุคลากรและ สถานประกอบการ การดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมระหว่างปี 2550-2552 มีผู้ประกอบการ และแรงงานที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งสิ้น 1,426,481 คน และมีสถานประกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการพัฒนายกระดับ ประสิทธิภาพและศักยภาพในการดำเนินธุรกิจรวม ทั้งสิ้น 67,463 ราย

1,426,481 คน 67,463 ราย

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


12

บทสรุปผู้บริหาร

การพัฒนานวัตกรรมและทรัพย์สิน ทางปัญญา

การพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจ

การดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในด้านการพัฒนานวัตกรรมและทรัพย์สนิ ทางปัญญาระหว่าง ปี 2550-2552 พบว่า มี จำนวนผลงานนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาคิดค้น ขึ้นใหม่รวมทั้งสิ้น 133 รายการ ได้แก่ การพัฒนา นวัตกรรมในอุตสาหกรรมชิน้ ส่วนยานยนต์ โดยเป็น การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านชิ้นส่วนยานยนต์รวม 6 ผลิตภัณฑ์ และสร้างนวัตกรรมใหม่ในอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนยานยนต์รวม 100 รายการ การพัฒนา นวัตกรรมในอุตสาหกรรมสิง่ ทอ ซึง่ สามารถต่อยอด ผลงานวิจัยสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มี คุณสมบัติพิเศษ (Functional Textile) จำนวน 15 รายการ และการปรับปรุงประสิทธิภาพและ คุณภาพของกระบวนการผลิตชิน้ ส่วนในอุตสาหกรรม เหล็กจำนวน 12 รายการ

ในปี 2550-2552 มีการสนับสนุนปัจจัยเอื้อ ในการดำเนินธุรกิจรวมทั้งสิ้น 71 รายการ สรุปได้ ดังนี้

100

133 6

15 12

นวัตกรรมใหม่ ในอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนยานยนต์

ด้านการบริหารจัดการ ระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัย

มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ได้แก่ ฐานข้อมูลเพือ่ สนับสนุนองค์ความรู้ท่ีสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ฐานข้อมูลผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในสาขาธุรกิจสำคัญเพือ่ รองรับการขยาย ตลาดไปยังกลุ่มประเทศเป้าหมายตามกรอบความ ร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ฐานข้อมูล อุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่องเบื้องต้น รวมทั้ง พั ฒ นาระบบสารสนเทศอุ ต สาหกรรมใน อุตสาหกรรมแม่พมิ พ์ และปรับปรุงโปรแกรมระบบ ฐานข้อมูลเพือ่ คำนวณค่าดัชนีในระดับอุตสาหกรรม มีการจัดตั้งศูนย์บริการต่างๆ ได้แก่ ศูนย์บริการ ด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ศูนย์บริการร่วมลงทุนในภูมิภาค ศูนย์บริการข้อมูล และองค์ความรู้สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (SME Corner) หน่วยบริการองค์ความรู้ สิ่ ง ทอและแฟชั่ น เพื่ อ ให้ บ ริ ก ารองค์ ค วามรู้ แ ละ แนวโน้มแฟชัน่ และวัสดุสง่ิ ทอ รวมทัง้ ศูนย์เชีย่ วชาญ ด้านแม่พิมพ์ นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาความร่วมมือ การให้บริการด้านวิทยาศาสตร์ร่วมกับสถาบันการ ศึกษา หน่วยงานและสถาบันการวิจัยต่างๆ เพื่อ ต่อยอดผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์

พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ที่มีคุณสมบัติพิเศษ

การปรับปรุงประสิทธิภาพ และคุณภาพของกระบวนการผลิต ชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมเหล็ก

ผลิตภัณฑ์ใหม่ด้าน ชิ้นส่วนยานยนต์

ด้านการ บริหารจัดการ ระบบฐานข้อมูล ที่ทันสมัย

ด้านการตลาด

ด้านการเงิน

ด้านการตลาด มีการพัฒนาช่องทางการตลาดและ ด้านการเงิน มีการสนับสนุนเงินทุนเพือ่ การปรับปรุง

การส่งเสริมการตลาดเพื่อรองรับการให้บริการแก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดงานแสดงสินค้า การเจรจาธุรกิจ การ เผยแพร่ ท างสื่ อ วิ ท ยุ / โทรทั ศ น์ / สิ่ ง พิ ม พ์ / สารคดี เป็นต้น ซึ่งจากการสนับสนุนเงินทุนให้กับวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมสู่ตลาดอาเซียน (SMEs Capacity Building: Win for ASEAN Market) มี ผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมการจับคู่ทางธุรกิจ จำนวน 2,060 ราย เกิดมูลค่าการซือ้ ขายจำนวน 200 ล้านบาท รวมทั้งมีการเสริมสร้างขีดความสามารถ ในการส่งออกไปยังประเทศอาเซียนโดยเฉพาะใน กลุม่ ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และ เวียดนาม (CLMV) จำนวน 1,876 ราย และทำให้เกิดการพัฒนาแผนที่ การตลาด (Market Mapping) ใน 4 ประเทศ 5 กลุม่ สินค้าและบริการ ตลอดจนมีการสนับสนุนเงิน อุดหนุนให้กบั ผูป้ ระกอบการในการขยายตลาดไปยัง ต่างประเทศในกลุ่ม ASEAN+6 จำนวน 732 ราย จัด Road Show เพื่อขยายฐานการค้าในตลาด ASEAN+6 รวมทั้งมีการประชุมเจรจาการค้าต่างๆ และการพัฒนาการรวมกลุม่ อุตสาหกรรมภาคเอกชน ในการส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็ง

ฟื้นฟูเครื่องจักร (Machine Fund) ให้แก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 214 ราย โดยมี วงเงินสินเชื่อที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้รับจากสถาบันการเงินจำนวน 1,696 ล้านบาท สามารถเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร จำนวน 1,153 เครื่อง (โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2550) และ มี ก ารสนั บ สนุ น เงิ น ทุ น เสริ ม สร้ า งศั ก ยภาพการ ประกอบธุ ร กิ จ และการสนั บ สนุ น ที่ป รึ ก ษาธุ ร กิ จ (Capacity Building Fund) ประกอบด้วย เงินทุน สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อ ขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ (Internationalization Fund: Inter Fund ที่สนับสนุนให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ จำนวน 407 ราย วงเงินที่ได้อนุมัติ 28.63 ล้านบาท ก่ อ ให้ เ กิ ด ยอดขายจากการขยายธุ ร กิ จ ไปยั ง ต่ า ง ประเทศจำนวน 74.05 ล้านบาท และยอดขายทีค่ าด ว่าจะได้รับหลังจากขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ จำนวน 756.46 ล้านบาท นอกจากนั้น ยังมีการ สนับสนุนทางการเงินเพื่อการคุ้มครองทรัพย์สิน ทางปัญญา (Intellectual Property Fund: IP Fund) จำนวน 12 ราย โดยมีวงเงินอนุมัติ 2.78 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนการทำกิจกรรม การขยายตลาดไปยังต่างประเทศด้านระบบสนับสนุน SMEs ด้านทรัพย์สินทางปัญญาจำนวน 254 ราย สนับสนุนการนำผลงานจดลิขสิทธิ์/สิทธิบตั รจำนวน 4 ราย และมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยื่น ขอจดลิขสิทธิ์ / สิทธิบตั ร จำนวน 44 คำขอ มียอดขาย จากการขอซือ้ สิทธิ์ / ซือ้ ผลงาน จำนวน 0.76 ล้านบาท 13

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


14

บทสรุปผู้บริหาร

ด้านการ พัฒนาพื้นที่ เขตภูมิภาค

ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และสิทธิประโยชน์

ด้านการพัฒนาพื้นที่เขตภูมิภาค

ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ได้ดำเนินการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และสิทธิประโยชน์

เครื อ ข่ า ยและห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงการจัดงานแสดงสินค้า และจำหน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส ำหรั บ กลุ่ ม อาชี พ และ ผลิตภัณฑ์ชมุ ชน การพัฒนาผูป้ ระสานงานเครือข่าย วิสาหกิจ (Cluster Development Agent) ในธุรกิจ ท่องเที่ยวและอุต สาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ จำนวน 283 ราย โดยมีวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ รับการพัฒนายกระดับขีดความสามารถด้านองค์ความรู้ บริหารจัดการ จำนวน 1,402 ราย ซึง่ การดำเนินการ ดังกล่าวครอบคลุมพืน้ ทีท่ กุ ภูมภิ าค

ได้พัฒนาปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อลดอุปสรรคและ เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ได้แก่ •การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทในตลาด หลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยให้ลดอัตราภาษี เงินได้ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิเฉพาะในส่วนที่ไม่ เกิน 20 ล้านบาท •การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับภาษี ทีต่ อ้ งเสีย ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีไม่เกิน 5,000 บาท •การแก้ไขเพิม่ เติมหลักเกณฑ์และเงือ่ นไขการยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลของธุรกิจ เงินร่วมลงทุนที่เข้า ไปถื อ หุ้น ในวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม •การยกเว้นภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาและภาษีเงินได้ นิติบุคคลสำหรับรายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ประเภทวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ช่วยทำให้ ประหยัดพลังงาน •การยกเว้นภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาให้กบั วิสาหกิจ ชุมชนที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ ใช่นิติบุคคลที่มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1.8 ล้าน บาทในปีภาษี

ด้านการส่งเสริม ระบบและเครื่องมือทาง เทคโนโลยีเพื่ออำนวย ความสะดวกให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม

ด้านการส่งเสริมระบบและเครื่องมือทาง เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

โดยได้จดั ทำระบบโครงข่ายเชือ่ มโยงธุรกิจและพัฒนา ซอฟต์แวร์มาตรฐานกลาง พัฒนาระบบสารสนเทศ ด้านอุตสาหกรรม พัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เครือข่ายและห่วงโซ่อปุ ทาน จัดตัง้ อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคเหนือ และศูนย์บม่ เพาะและพัฒนาผูป้ ระกอบการ ในธุรกิจซอฟต์แวร์

ด้านการยกระดับ ความรู้และทักษะ บุคลากร

ด้านการยกระดับความรู้และทักษะบุคลากร

ได้พฒ ั นาผูใ้ ห้บริการอุตสาหกรรม (service provider) ทำให้สามารถสร้างบริกรธุรกิจทีจ่ ะให้ความช่วยเหลือ แก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสาขาต่างๆ เช่น บริกรธุรกิจด้านวินิจฉัยสถานประกอบการ (Shindan หรือ นักวินิจฉัยสถานประกอบการ) บริกรธุรกิจด้านที่ปรึกษาธุรกิจขนาดเล็ก (APECIBIZ) ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ปรึกษาระดับอาชีพตาม แนวทางการพัฒนาที่ปรึกษาธุรกิจขนาดเล็กของ กลุ่ มประเทศความร่ว มมื อ ทางเศรษฐกิ จ เอเชี ย แปซิฟิก (APEC) บริกรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ซึง่ เป็นการสร้างและพัฒนาบริกรธุรกิจผ่านกระบวนการ ฝึกอบรมและการฝึกปฏิบัติ และบริกรธุรกิจด้าน ออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ในด้านธุรกิจ การออกแบบ เป็นต้น

ในภาพรวม จากการติดตามผลการส่งเสริมตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2550-2554 ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าภาครัฐให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมมากขึ้น แต่การส่งเสริมดังกล่าวยังคงจำกัดอยู่ในภาคการผลิตเป็นส่วนใหญ่ ยังมีข้อจำกัด ด้านข้อมูลการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับท้องถิ่น ยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณสำหรับการพัฒนาองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจปัญหาและ ความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของบุคลากรภาครัฐและเอกชนที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง กับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนยังขาดการบูรณาการการดำเนินงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมระหว่างหน่วยงานทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ข้อจำกัดเหล่านีส้ ง่ ผลให้ตวั ชีว้ ดั การเพิม่ ผลิตภาพ การเพิม่ สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเพิ่มสัดส่วนมูลค่าการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมยังไม่บรรลุเป้าหมาย

15

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


16

บทสรุปผู้บริหาร

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง คนเป็นศูนย์กลาง ของการพัฒนา สร้างสมดุล การพัฒนา

สสว. ได้จดั ทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยให้เติบโต อย่างต่อเนือ่ งยัง่ ยืน และสามารถแข่งขันได้ในบริบท ที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกปัจจุบัน ทั้งนี้ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) มีความ สอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาลและ แผนยุทธศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 -2559) ที่ยังคงยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง” และ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” อีกทั้ง “สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ รวมทั้ง ยังมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของกระทรวง อุตสาหกรรมและกระทรวงต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ตลอด จนแผนระดับกลุ่มจังหวัดที่คำนึงถึงความต้องการ ศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัด และความพร้อมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน

กรอบแนวคิด

ทิศทางการส่งเสริม

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) มีกรอบแนวคิดในการ ผลักดันให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็น พลังขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย โดยให้ความ สำคัญกับการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อ มเพื่อ ให้ดำเนิน ธุร กิจโดยใช้ค วามรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับสาขาธุรกิจและระดับ ผูป้ ระกอบการ และมุง่ สนับสนุนตามระยะการเติบโต ของธุรกิจ ได้แก่ ขั้นเริ่มต้นธุรกิจ (Start-up) ที่ หมายถึงธุรกิจที่มีระยะเวลาการดำเนินธุรกิจไม่เกิน 3 ปี ขั้นเติบโต (Growth & Maturity) และขั้นการ ปรับเปลีย่ นธุรกิจ (Turn around) ซึง่ จะครอบคลุม มิติเชิงพื้นที่ทั้งระดับภาพรวมประเทศ กลุ่มจังหวัด และรายจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการ กระจายความเจริญจากส่วนกลางสู่ภูมิภาคและ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่

ทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) จะมุ่งเน้นการ พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยการเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในเชิงคุณภาพ ประสิทธิภาพ การสร้างสรรค์และนวัตกรรม ให้กับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจ รายย่อย กระตุ้นให้เกิดการรวมตัวและเชื่อมโยง กันทางธุรกิจ เน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่โดยคำนึง ถึงปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และ เอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ในด้านการเสริมสร้าง ศั ก ยภาพเพื่ อ เตรี ย มพร้ อ มสู่ ก ารรวมกลุ่ ม ทาง เศรษฐกิจและการเปิดเสรีจะมุ่งเน้นการสนับสนุน ด้านโครงสร้างพืน้ ฐานและการสร้างสภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการค้าและดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ทัง้ นี้ เงือ่ นไขปัจจัยความสำเร็จของแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 ยังขึ้น อยู่กับความต่อเนื่องของการสนับสนุนจากภาครัฐ ศักยภาพและความพร้อมของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงที่อาจ ส่งผลกระทบในบางช่วงเวลา

ความรู้

ความคิด สร้างสรรค์

นวัตกรรม

เอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรม

17

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


18

บทสรุปผู้บริหาร

วิสัยทัศน์การส่งเสริม

เป้าหมายการส่งเสริม

กลุ่มเป้าหมายการส่งเสริม

พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย ให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย

เป้าหมายของยุทธศาสตร์ กำหนดให้สะท้อนถึงผล การดำเนินงานของหน่วยงานและสอดคล้องกับ นโยบายการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม ซึ่งแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ได้กำหนด เป้าหมายการส่งเสริม โดยพิจารณาจากข้อมูลใน ปัจจุบนั ประกอบกับผลการส่งเสริมทีผ่ า่ นมา และการ คาดการณ์จากแนวโน้มสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไว้ 5 ประการ ได้แก่

เพือ่ ให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริมอย่างชัดเจน แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ การคัดเลือก ดังนี้

พันธกิจ เพือ่ ให้การดำเนินงานของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555 - 2559) มุ่งสู่วิสัยทัศน์ “พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้เติบโตอย่างสมดุลและยัง่ ยืน เพือ่ เป็นพลังขับเคลือ่ นหลักของเศรษฐกิจไทย” จึงได้กำหนดพันธกิจของการพัฒนา ดังนี้ พันธกิจ 1

สนับสนุนปัจจัยเกื้อหนุนที่จำเป็นและเหมาะสมต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ทั้งภาคการผลิต การค้า และบริการ พันธกิจ 2

เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย โดยใช้องค์ความรู้ ทักษะฝีมือ เทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และวัฒนธรรม

พันธกิจ 3

ส่งเสริมบทบาทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยแต่ละพืน้ ทีใ่ นการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงคุณค่าทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล พันธกิจ 4

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้มีศักยภาพในทางการค้าและการลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ

• เป็ น สาขาธุ ร กิ จ ที่ ส ร้ า งประโยชน์ แ ละรายได้ ใ ห้ ประเทศได้มาก และใช้วัตถุดิบในประเทศ

• เป็นสาขาธุรกิจที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการ แข่งขันและเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 1. วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการจดทะเบียน สาขาธุรกิจใหม่ที่มีโอกาสในอนาคต (New Wave) นิติบุคคลเพิ่มขึ้นและสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 250,000 วิสาหกิจ • เป็นสาขาธุรกิจที่ตอบสนองต่อนโยบายสำคัญ ภายในปี 2559 ของรัฐ เช่น นโยบายการกระจายรายได้ การสร้าง งานสร้างอาชีพ การสร้างความได้เปรียบทางการ 2. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสาขากลุ่ม แข่งขันจากการสร้างมูลค่าเพิม่ ให้แก่สนิ ค้าและบริการ เป้ า หมายได้ รั บ การพั ฒ นาขี ด ความสามารถการ • เป็นสาขาธุรกิจที่คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม แข่งขันในเชิงลึกไม่น้อยกว่า 30,000 รายภายใน และสร้างความสมดุลในสังคม ปี 2559 • เป็นสาขาธุรกิจที่ดำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมอัน 3. เครือข่ายวิสาหกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและ ดีงามของไทย ขนาดย่อมได้รบั การพัฒนาให้มคี วามเข้มแข็งไม่นอ้ ย กว่า 60 เครือข่ายวิสาหกิจต่อปี จากเกณฑ์การคัดเลือกกลุม่ เป้าหมายข้างต้น สามารถ ระบุสาขาธุรกิจทีไ่ ด้รบั ความสำคัญเป็นพิเศษได้ ดังนี้ 4. ปจั จัยแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจได้รบั การพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขเพือ่ ให้ลดอุปสรรคและเอือ้ อำนวยความ • กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรม สะดวกในการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง • กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและเกษตรแปรรูป • กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และขนาดย่อมมากขึ้น • กลุ่มธุรกิจการค้าปลีกและค้าส่ง 5. การบริ ห ารจั ด การด้ า นงานส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ • กลุ่มธุรกิจบริการและท่องเที่ยว ขนาดกลางและขนาดย่อม มีประสิทธิภาพและทำงาน เชิงบูรณาการ

19

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


20

บทสรุปผู้บริหาร

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

1

ยุทธศาสตร์ที่

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กำหนดยุทธศาสตร์และ กลยุทธ์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนี้ ยุทธศาสตร์ท่ี 1 สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอือ้ ต่อการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ท่ี 2 เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่างสมดุลตามศักยภาพของพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แผนการส่งเสริม SMEs ฉบับที่ 3 : ภาพรวมยุทธศาสตร์

4

เสริมสร�างขีดความ สามารถในการแข�งขัน

เสริมสร�างศักยภาพ ให�เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว�างประเทศ

2

ส�งเสริมให�เติบโตอย�างสมดุล ตามศักยภาพของพื้นที่

3

สนับสนุนปัจจัยแวดล้อม ให้เอือ้ ต่อการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

บทบาทสำคัญประการหนึง่ ของภาครัฐในการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คือ สร้างปัจจัย แวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมทุกกลุ่ม เช่น การแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ ส่งเสริมการเข้าถึง แหล่งเงินทุน การจัดทำฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่างๆ รวมถึงการแก้ไขและบรรเทาผลกระทบจาก สถานการณ์ทไ่ี ม่ปกติตา่ งๆ เช่น ภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติ การชุมนุมทางการเมือง ความผันผวนทางเศรษฐกิจ ดังนัน้ ในการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมจึงต้องดำเนินการสนับสนุนปัจจัย พื้นฐาน 2 ส่วน คือ • การสร้างปัจจัยแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการดำเนิน ธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในทุก ระดับการเติบโตของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและ ธรรมาภิบาล รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายการทำงาน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของภาค รัฐอย่างมีบูรณาการ

กลยุทธ์ที่ 1.1 พัฒนาศักยภาพหน่วยงานและ เจ้าหน้าทีท ่ เ่ี กีย ่ วข้องกับการส่งเสริมและพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

พัฒนาให้เจ้าหน้าทีข่ องหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้รับ การพัฒนาความรูค้ วามสามารถ เข้าใจสภาพปัญหา และความต้องการทีแ่ ท้จริงของผูป้ ระกอบการ เข้าใจ แนวทางการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม รวมทั้งผลักดันให้มีสถาบันสำหรับการ พัฒนาความรูข้ องผูท้ เ่ี กีย่ วข้องตัง้ แต่ระดับผูก้ ำหนด นโยบายจนถึงระดับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การส่งเสริม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มเป็ น ไปอย่ า ง ประสิทธิภาพ กลยุทธ์ที่ 1.2 พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม และข้อมูลองค์ความ รู้เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการส่งเสริมและ ดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม โดยการเชื่อมโยงและบูรณาการการจัดทำ • การสร้างภูมิคุ้มกันจากปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและ ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภายนอกประเทศ การฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบ เพือ่ ให้สามารถอ้างอิงข้อมูลได้จากฐานข้อมูลเดียวกัน ทีเ่ กิดขึน้ กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จาก ลดความซ้ ำ ซ้ อ นของการจั ด ทำระบบฐานข้ อ มู ล สถานการณ์ฉกุ เฉินและสถานการณ์ทเ่ี ปลีย่ นแปลง เกิดความคุ้มค่า และเป็นประโยชน์ในการวางแผน การส่ ง เสริ ม และการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งขยายและสร้าง ช่องทางให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถ เข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

1 สนับสนุนป�จจัยแวดล�อมให�เอื้อต�อการดำเนินธุรกิจ ฐานข�อมูล IPs

KM

กฏระเบียบ

เทคโนโลยี & นวัตกรรม

เงินทุน การตลาด

CSR

บุคลากร

บริหารความเสี่ยง

21

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


22

บทสรุปผู้บริหาร

กลยุทธ์ที่ 1.3 ทบทวน ปรับปรุง และผลักดัน กฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการภาษีและการ ให้สิทธิประโยชน์ เพื่อเอื้อและลดอุปสรรคต่อ การดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

ผลักดันให้เกิดการทบทวน ปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ ขัน้ ตอน วิธกี ารปฏิบตั ิ ให้สอดคล้องกับ สถานการณ์และความต้องการทางด้านธุรกิจ เพื่อ ลดอุปสรรค อำนวยความสะดวก สร้างโอกาสให้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และส่งเสริมให้ ภาครัฐใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการสร้างแรง จูงใจให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนิน การตามทิศทางทีส่ อดคล้องกับนโยบายของรัฐ อาทิ การลดอัตราภาษี การให้สิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริม การลงทุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ภาครัฐจัดให้ เป็นต้น รวมทั้งการใช้กฎหมาย กฎระเบียบเป็นเครื่องมือใน การส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรม ความโปร่งใสเพือ่ ลด ความได้เปรียบ/เสียเปรียบในการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์ท่ี 1.4 เสริมสร้างระบบและเตรียมความ พร้อมเพือ ่ ให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงเงินทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการทางการเงิน

ส่งเสริมและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมเข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้น โดยการเตรียม ความพร้อมให้แก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ ส่งเสริมบทบาทของ สถาบันการเงินให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม การเชื่อมโยงบริการทาง การเงินกับโครงการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมของหน่วยงานต่างๆ การเพิม่ ช่องทาง หรือโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน และแหล่งเงินทุนอื่นๆ การปรับปรุงระบบ การค้ ำ ประกั น สิ น เชื่ อ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม รวมทั้งการส่งเสริมระบบข้อมูลกลาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และ ผลักดันให้หน่วยงานแหล่งเงินทุนต่างๆ นำข้อมูลจาก ฐานข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในประกอบการพิจารณา

กลยุทธ์ที่ 1.5 สร้างความเข้มแข็งให้แก่กลไก และเครือข่ายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

ผลั ก ดั น ให้ ก ารส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมเป็นวาระแห่งชาติ และส่งเสริมให้หน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน นำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไปใช้เป็นกรอบการดำเนินงาน และจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งพัฒนาเครือข่าย ความร่วมมือในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน ทัง้ ในส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งสร้างกลไกการติดตามและ ประเมินผล และพัฒนาตัวชี้วัดการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม กลยุทธ์ที่ 1.6 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมให้ดำเนินธุรกิจโดยใช้หลักธรรมาภิบาล และสนับสนุนการประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม

ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มให้ มี ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจอย่าง มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมและสิ่ ง แวดล้ อ ม และใช้ธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจ เช่น การ สนับสนุนเงินทุน การให้สทิ ธิประโยชน์ในการดำเนิน ธุรกิจ (ภาษี การส่งเสริมการลงทุน ค่าธรรมเนียม) เป็นต้น

กลยุทธ์ท่ี 1.7 สร้างกลไกและระบบการยกระดับ ความรูค ้ วามสามารถทักษะบุคลากรของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการจัดการ การผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของ ภาคธุรกิจ

ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความ ต้องการของภาคธุรกิจโดยการพัฒนาหลักสูตรการ ศึกษาการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกปฏิบัติงานใน สถานประกอบการ การส่งเสริมให้นำระบบการจ่าย ค่ า ตอบแทนตามมาตรฐานฝี มื อ แรงงานมาใช้ ใ ห้ มากขึ้น การสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาบุคลากร โดยการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ พร้อมทั้งดำเนินการ ส่งเสริมพัฒนาผูใ้ ห้บริการแก่ผปู้ ระกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (นักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และ ทีป่ รึกษา) ให้มศี กั ยภาพและความสามารถในการให้ บริการ มีจำนวนที่เพียงพอ และมีอัตราค่าบริการ ที่เหมาะสมที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงได้

กลยุทธ์ที่ 1.9 พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการตลาดให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม

ส่งเสริมการสร้างเครื่องมือและกลไกเพื่ออำนวย ความสะดวกทางด้ า นการตลาดให้ แ ก่ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม โดยการสร้างองค์ความรู้ ด้านการตลาดเพื่อให้บริการแก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม การส่งเสริมพืน้ ทีท่ างการค้าสำหรับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยจัดให้มี โครงสร้างพื้นฐานด้านการตลาด บริการทางการค้า อย่างครบวงจร การส่งเสริมสิง่ อำนวยความสะดวก ด้านโลจิสติกส์ การสร้างกลไกตลาดที่มีจริยธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส รวมทั้งส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีบทบาทในการจัดซื้อ จัดจ้างภาครัฐมากขึ้น เช่น การกำหนดสัดส่วนการ จัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดโครงการจัดซื้อจัดจ้างให้ เป็นการเฉพาะแก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การปรับปรุงกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติ การให้ สิทธิพิเศษในการยื่นข้อเสนอโครงการ เป็นต้น

กลยุทธ์ท่ี 1.8 เพิม ่ ประสิทธิภาพหน่วยให้บริการ ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สน ิ ทางปัญญา กลยุทธ์ท่ี 1.10 สร้างภูมค ิ ม ุ้ กัน ฟืน ้ ฟู และบรรเทา คุณภาพมาตรฐาน และสนับสนุนให้วสิ าหกิจขนาด ผลกระทบทีเ่ กิดขึน ้ กับวิสาหกิจขนาดกลางและ กลางและขนาดย่อมเข้าถึงบริการได้อย่างทัว่ ถึง ขนาดย่อม

สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนำ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม และทรัพย์สนิ ทางปัญญาไปประยุกต์ใช้ใน การดำเนินธุรกิจ โดยการให้ความรู้ สนับสนุนเงินทุน สิทธิประโยชน์ และข้อมูลให้แก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พร้อมทัง้ สนับสนุนการเพิม่ ศักยภาพ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของหน่วยที่ให้บริการ ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สนิ ทางปัญญา และ การรับรองมาตรฐาน เพื่อให้มีความเพียงพอและ สอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างความพร้อมเพื่อ รองรับสถานการณ์ฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆ เช่น ภัยธรรมชาติ การชุมนุมต่างๆ ความผันผวนทาง เศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถแก้ไข ฟื้นฟู และบรรเทา ผลกระทบทีเ่ กิดกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยกำหนดมาตรการช่วยเหลือต่างๆ เช่น การจัดสรร เงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การระดมทุน การลดภาระค่าใช้จ่าย การเสริมสภาพ คล่อง การจัดหาพืน้ ทีป่ ระกอบการ พร้อมทัง้ สนับสนุน ให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ความสำคัญ กับการสร้างภูมิคุ้มกันจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ การดำเนินธุรกิจ เช่น การบริหารความเสี่ยงจาก ปัจจัยทีส่ ง่ ผลกระทบต่อธุรกิจ (อาทิ การทำประกันภัย การทำสัญญาซื้อ-ขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า) และการสนับสนุนการจัดทำระบบศูนย์ข้อมูลระบบ เตือนภัยให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น 23

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


24

บทสรุปผู้บริหาร

2

ยุทธศาสตร์ที่

เสริมสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขันของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

สภาวการณ์ตา่ งๆ ทัง้ ในด้านเศรษฐกิจ การค้า สังคม และเทคโนโลยี ได้เกิดการเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว ซึง่ ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในภาคธุรกิจและภาค อุตสาหกรรมต่างๆ โดยตรง โดยเฉพาะปัจจัยด้านการ แข่งขันทางธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากในอดีตทีว่ สิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ ประเทศไทยอาศัยความได้เปรียบทางด้านทรัพยากร ธรรมชาติและต้นทุนด้านแรงงานที่ทำให้สามารถ ผลิตสินค้าให้มรี าคาทีต่ ำ่ แต่ปจั จุบนั กลับกลายเป็น ข้อจำกัดและทำให้ต้องเผชิญกับภาวะการถดถอย ทางการแข่งขัน เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติที่เริ่ม ลดน้อยลง รวมถึงมีผแู้ ข่งขันทีม่ ตี น้ ทุนแรงงานต่ำกว่า และมีทรัพยากรมากกว่าก้าวขึน้ มาเป็นคูแ่ ข่งรายใหม่ อย่างต่อเนือ่ ง ทำให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทีเ่ คยได้เปรียบ ต้องพัฒนาและเพิม่ ขีดความสามารถ ในการดำเนินธุรกิจ เพือ่ ให้สามารถอยูร่ อดได้ภายใต้ การแข่งขันในปัจจุบัน

กลยุทธ์ที่ 2.1 เพิ่มผลิตภาพและพัฒนา ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม จำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ ประเมินศักยภาพของธุรกิจ เพื่อให้ทราบถึงความ สามารถในการดำเนินธุรกิจ และนำมาเป็นแนวทาง ในการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิต โดยในระยะ เริ่ ม ต้ น ต้ อ งอาศั ย ผู้ เ ชี่ ย วชาญเพื่ อ ให้ ค ำปรึ ก ษา หรืออาจนำรูปแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมา ประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งสนับสนุน การพัฒนาบุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มให้ มี ค วามรู้ แ ละทั ก ษะในการวิ เ คราะห์ และประเมินศักยภาพของธุรกิจ และควรส่งเสริมให้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มมี ก ารดำเนิ น ธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ ภาครัฐควรเพิ่มศักยภาพของหน่วยงานที่ให้บริการ (Service Provider) ให้สอดคล้องและเพียงพอต่อ การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของ ความต้องการ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มครอบคลุ ม ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การเพิม่ ผลิตภาพในการดำเนิน ธุรกิจ การยกระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การบริหารจัดการ มาตรฐานและ คุณภาพของสินค้าและบริการ การขยายโอกาสทาง การตลาด และการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจัยเหล่านี้จะมีส่วนสนับสนุนให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในภาคการผลิต ภาคการค้า และภาคบริการมีความเข้มแข็งและ สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

กลยุทธ์ที่ 2.2 ส่งเสริมการสร้างพันธมิตรทาง กลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนาสินค้าและบริการของ ธุรกิจ การรวมกลุ่มและการพัฒนาเครือข่าย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สอดคล้อง วิสาหกิจ กับความต้องการของตลาด โดยใช้เทคโนโลยี การพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจ การรวมกลุ่มและ นวัตกรรม ภูมิปัญญา และทุนทางวัฒนธรรม

เครื อ ข่ า ยวิ ส าหกิ จ เป็ น แนวทางสำคั ญ ที่ ท ำให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพทางการแข่งขันเพิ่มขึ้น จากการนำ ศักยภาพทีแ่ ตกต่างกันมาเกือ้ หนุนกัน และเชือ่ มโยง การดำเนิ น ธุ ร กิ จ ร่ ว มกั น ของสมาชิ ก เครื อ ข่ า ย ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยพัฒนา เครือข่ายร่วมกับหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันทีเ่ กีย่ วข้อง ซึง่ ทำให้เกิดการแลกเปลีย่ น ข้อมูลและองค์ความรูร้ ะหว่างสมาชิก ช่วยลดต้นทุน ในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการ เพิม่ ผลิตภาพ (Productivity) การส่งเสริมเครือข่าย วิสาหกิจในลักษณะนี้ สามารถดำเนินการได้โดยการ จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ เพือ่ เป็นทิศทางการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจเป้าหมาย และพัฒนาผู้ประสานการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ ให้เป็นผู้นำในการผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มและ พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของเครือข่ายอย่าง ต่อเนื่อง

การพัฒนาสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมให้สามารถตอบสนองความต้องการ ของตลาด ภาครัฐควรกระตุน้ ให้วสิ าหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยการ สนับสนุนที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และเงินทุนให้แก่ ผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการโดยการ ประยุ ก ต์ ใ ช้ ภู มิ ปั ญ ญาผสานกั บ เทคโนโลยี แ ละ นวัตกรรม เสริมสร้างความเข้าใจเกีย่ วกับการคุม้ ครอง ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้ผ้ปู ระกอบการทราบถึง การคุ้มครองทางกฎหมายในสินค้าและบริการที่ได้ พัฒนาขึ้น สนับสนุนให้มีการทำวิจัยและพัฒนา เชิงประยุกต์และใช้ประโยชน์จากงานศึกษาวิจัยที่มี อยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งสนับสนุน ให้เกิดเครือข่ายนักออกแบบ นักการตลาด และนัก พัฒนาผลิตภัณฑ์ ในห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) เพือ่ ให้มบี ทบาทในการริเริม่ ผลิตสินค้าและบริการใหม่

25

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


26

บทสรุปผู้บริหาร

กลยุทธ์ท่ี 2.6 พลิกฟืน ้ ธุรกิจเพือ ่ ความอยูร่ อด กลยุทธ์ที่ 2.4 ยกระดับคุณภาพสินค้าและ บริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ สามารถพลิกฟื้นการดำเนินธุรกิจเพื่อความอยู่รอด ให้ได้มาตรฐานสากล

การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มจำเป็ น ที่ จ ะต้ อ งมี ก าร พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการ อย่างต่อเนื่อง และยกระดับการผลิตสินค้าและ บริการให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะมาตรฐานตามที่ กฎหมายกำหนด ตลอดจนกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ (Professional Certification) และเกณฑ์คณ ุ ภาพ ธุรกิจในธุรกิจภาคการค้าและบริการ นอกจากนี้ เพือ่ ให้การยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภาครัฐควรสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมเข้าถึงบริการของหน่วยงานรับรองมาตรฐาน ต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็ว และส่งเสริมให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมทีม่ ศี กั ยภาพได้การรับรอง มาตรฐานระดับสากล เพื่อให้เกิดการยอมรับจาก ผู้บริโภค รวมทั้งส่งเสริมให้ธุรกิจบริการนำแนวทาง วิศวกรรมและการจัดการบริการมาประยุกต์ใช้ใน การดำเนินงาน เพื่อให้ธุรกิจมีการดำเนินงานที่เป็น ระบบและมีความน่าเชื่อถือ

กลยุทธ์ท่ี 2.5 สร้างโอกาสและเพิม ่ ช่องทางการ ตลาดให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

การพั ฒ นาด้ า นการตลาดสามารถดำเนิ น การได้ โดยการให้ความรู้พื้นฐานด้านการตลาด สนับสนุน กิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาด พัฒนาตราสินค้า และ เพิ่มช่องทางการตลาดอย่างทั่วถึงในประเทศและ ระหว่างประเทศ เช่น การค้าผ่านระบบสารสนเทศ กิจการการค้าระหว่างประเทศ (Trading Firm) เป็นต้น โดยการพัฒนาร้านค้าส่งให้สามารถช่วยเหลือ และเชือ่ มโยงกับร้านค้าปลีกดัง้ เดิม เพือ่ ยกระดับภาค การค้าในภาพรวม และสนับสนุนให้มีการนำข้อมูล ด้ า นการตลาดเชิ ง ลึ ก มาใช้ ป ระโยชน์ ป ระกอบใน การดำเนินธุรกิจ

หรือลดผลกระทบจากการเลิกกิจการ ทำได้โดยการ สนับสนุนที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญในการปรับปรุง การดำเนินธุรกิจ ตลอดจนสนับสนุนด้วยมาตรการ ทางการเงิน เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมสามารถฟืน้ ฟูธรุ กิจและปรับรูปแบบการดำเนิน ธุรกิจ รวมทัง้ ส่งเสริมให้มหี น่วยงานกลางทำหน้าที่ รวบรวมข้อมูลประสานงานเพือ่ ช่วยเหลือและอำนวย ความสะดวกแก่ผปู้ ระกอบการในการปรับปรุงธุรกิจ และขายหรือซื้อกิจการ กลยุทธ์ที่ 2.7 สร้างและพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการใหม่

การสร้างและพัฒนาผูป้ ระกอบการรายใหม่ สามารถ ดำเนินการได้โดยการสร้างแรงจูงใจและจิตสำนึก ในการเป็นผู้ประกอบการ เสริมสร้างทัศนคติและ ประสบการณ์ เ กี่ ย วกั บ การประกอบธุ ร กิ จ ให้ แ ก่ นักเรียน นักศึกษาประชาชนทั่วไป เสริมสร้างความ สามารถในการผลิตสินค้าและบริการที่มีความแตก ต่างและมีมลู ค่าสูง และส่งเสริมให้มกี ารจดทะเบียน นิตบิ คุ คล สนับสนุนให้มวี สิ าหกิจเพือ่ สังคม (Social Enterprise: SE) และเครือข่ายของวิสาหกิจเพื่อ สังคม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ รวม ทัง้ สร้างผูป้ ระกอบการการค้า (Merchandizer) เพื่อ กระตุน้ และเชือ่ มโยงให้ผผู้ ลิตสินค้าสามารถจำหน่าย สินค้าและบริการได้มากขึ้น

3

ยุทธศาสตร์ที่

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่าง สมดุลตามศักยภาพของพื้นที่

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย มีอยู่อย่างหนาแน่นในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล เช่นเดียวกับการจ้างงานส่วนใหญ่ของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แสดงให้เห็นถึง ความไม่สมดุลของการพัฒนาเชิงพื้นที่ แม้ว่าพื้นที่ อืน่ มิได้มศี กั ยภาพด้อยไปกว่าพืน้ ทีก่ รุงเทพมหานคร และปริมณฑล ทั้งนี้ ศักยภาพของพื้นที่สามารถ จำแนกได้เป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งหมายถึงศักยภาพ ของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่เป็น เอกลักษณ์ สามารถสร้างมูลค่าเพิม่ (value-added) และความโดดเด่นให้แก่สินค้าและบริการ 2) ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึงศักยภาพของพื้นที่ที่ เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 3) ดา้ นทรัพยากรและสิง่ แวดล้อม ซึง่ หมายถึงความ อุดมสมบูรณ์ ความหลากหลายของทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีเฉพาะในพื้นที่ และ เป็ น ประโยชน์ ใ นการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งยุทธศาสตร์นี้มุ่งเน้น การส่ ง เสริ ม ตามความหมายของศั ก ยภาพพื้น ที่ ดังกล่าวรวมถึงยังส่งเสริมการบูรณาการ การสร้าง เครือข่ายการทำงาน และกลไกการดำเนินการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทัง้ ในระดับพืน้ ที่ และระหว่างพื้นที่

กลยุทธ์ที่ 3.1 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมและผู้ประกอบการชุมชน ให้พัฒนา บนพืน ้ ฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งแก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งผู้ประกอบการ ชุมชนอย่างสมดุล ด้วยการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ ทีส่ ร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างคุณค่าทางสังคม และ วัฒนธรรมในท้องถิน่ โดยคำนึงถึงความหลากหลาย และความแตกต่างของพื้นที่ ใช้ประโยชน์จากข้อมูล ในพืน้ ที่ พัฒนาความรูแ้ ละทักษะฝีมอื แรงงานในแต่ละ พื้นที่ สนับสนุนการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสรรค์สินค้าและบริ ก าร พัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งจำหน่าย สินค้าและ/หรือแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งจัดกิจกรรม เชื่อมโยงการท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมการเข้าถึง แหล่ ง เงิ น ทุ น โดยการพั ฒ นาความเข้ ม แข็ ง ของ องค์กรการเงินระดับฐานราก

27

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


28

บทสรุปผู้บริหาร

4

กลยุทธ์ท่ี 3.2 เพิม ่ ศักยภาพของวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมในเขตเศรษฐกิจชายแดน และพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์ที่

พั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มและ แรงงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดนและพื้นที่ ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ให้มีความรู้ ความสามารถ พร้อมรับและพร้อมรุกภายใต้บริบทใหม่ทางเศรษฐกิจ ซึง่ จะเกิดขึน้ ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กับประเทศเพือ่ นบ้านและประเทศในภูมภิ าค ตลอด จนพัฒนาพืน้ ทีใ่ ห้เอือ้ ต่อการค้า การลงทุน และการ ท่องเที่ยว

กลยุทธ์ท่ี 3.3 สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและ กลยุทธ์ที่ 3.4 การบูรณาการความร่วมมือ ขนาดย่อมในการใช้ประโยชน์และบริหารจัดการ ระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงสร้างความ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เข้มแข็งเครือข่ายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาด ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและ กลางและขนาดย่อมไทยในระดับพื้นที่

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับ พื้ น ที่ เ ห็ น ถึ ง ความ สำคัญของการใช้ประโยชน์จากสิง่ บ่งชีท้ างภูมศิ าสตร์ (Geographical Indications: GI) ในการสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการที่มีคุณลักษณะ พิเศษ ซึ่งสะท้อนลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ตามแหล่ง ภูมิศาสตร์ รวมทั้งผลักดันให้มีการบริหารจัดการ ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่

ส่ ง เสริ ม การบู ร ณาการและสร้ า งเครื อ ข่ า ยการ ทำงาน เพิ่มบทบาทของหน่วยงานและพัฒนากลไก การดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ทั้งในระดับพื้นที่ และระหว่างพื้นที่ โดย การให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ทบทวน องค์ประกอบคณะกรรมการ เพือ่ ให้สำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นองค์ประกอบ ของคณะกรรมการทุกระดับ ผลักดันนโยบายและ แนวทาง เพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่อย่างทั่วถึงและ สอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมอย่างแท้จริง

เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้ เชือ่ มโยงกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

การเชื่อมโยงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ สามารถรองรับกับกระแสโลกาภิวัตน์และเชื่อมโยง กั บ เศรษฐกิ จ ระหว่ า งประเทศเป็ น เรื่ อ งที่ มี ค วาม จำเป็นเป็นอย่างยิง่ เนือ่ งจาก ปัจจุบนั การค้าระหว่าง ประเทศมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก รายได้จากการส่งออก เป็นรายได้หลักของประเทศทั้งในส่วนภาพรวมของ ประเทศและในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ในอนาคตยังคงต้องพึ่งพิง ความแข็งแกร่งและ เสถียรภาพของภาคการค้าระหว่างประเทศเป็นสำคัญ ดังนัน้ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่ อ ให้ เ กิ ด การเชื่ อ มโยงการดำเนิ น ธุ ร กิ จ กั บ ต่างประเทศจึงต้องมุง่ เน้นการสร้างความรูค้ วามเข้าใจ เกี่ ย วกั บ สถานการณ์ ก ารค้ า ระหว่ า งประเทศให้ แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ข้อตกลงภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึง่ จะมี ผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจในธุรกิจสาขาต่างๆ การสนับสนุนการปรับปรุงการประกอบธุรกิจให้ กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถ เตรียมพร้อมและรองรับการแข่งขันที่มีมากขึ้นทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังให้ความ สำคัญต่อการส่งเสริมศักยภาพและขยายโอกาส การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศให้กบั วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงสนับสนุนการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับธุรกิจในต่างประเทศ

กลยุทธ์ที่ 4.1 เสริมสร้างความพร้อมให้กับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการ เข้าสู่การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน

เสริมสร้างองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ความเข้าใจเกี่ยว กับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศซึ่งมีผลต่อ การประกอบธุรกิจในหลายๆ สาขาธุรกิจ เช่น ข้อตกลง ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเปิดเสรี ทางการค้าให้แก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สนับสนุนการศึกษาทิศทางผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อ ชีน้ ำสาขาธุรกิจทีค่ าดว่าจะได้รบั ผลกระทบตลอดจน ปรับปรุงการประกอบธุรกิจให้สามารถรองรับการ แข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ กลยุทธ์ที่ 4.2 เสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในการประกอบ ธุรกิจระหว่างประเทศ

เสริ ม สร้ า งความรู้ ค วามสามารถให้ กั บ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมในการดำเนินธุรกิจการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ รวมทัง้ การสร้างโอกาส ในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศในรูปแบบต่างๆ กลยุทธ์ท่ ี 4.3 สร้างความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมกับธุรกิจในต่างประเทศ

สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมภิ าคอาเซียน เพือ่ การสร้างพันธมิตร ทางธุรกิจ และสร้างความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน ทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก

29

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


30

บทสรุปผู้บริหาร

แผนการส่งเสริมฯ ฉบับที่ 3 : ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ ความเชื่อมโยงระหว่างยุ ท ธศาสตร์ แ ละ ประเด็ น การดำเนิ น งานที่ ส ำคั ญ ภายใต้ ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ประกอบด้ว ย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ท่ี 1 สนับสนุนปัจจัย แวดล้อมให้เอือ้ ต่อการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างขีด ความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อ มไทย ยุ ท ธศาสตร์ที่ 3 ส่ง เสริ ม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เติบโต อย่างสมดุลตามศักยภาพของพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มไทยให้ เ ชื่ อ มโยงกั บ เศรษฐกิ จ ระหว่ า ง ประเทศ มีความเกีย่ วเนือ่ งกันในด้านปัจจัยแวดล้อม ซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นฐานในการสนับสนุนการพัฒนา วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มในทุ ก มิ ติ การพัฒนาหน่วยงานและบุคลากร (ทัง้ ระดับผูบ้ ริหาร และเจ้าหน้าที่) ที่มีหน้าที่ ใ นการให้บริการ และ สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การ

1

พัฒนาเครือข่าย การรวมกลุ่มทั้ง ในระดับธุรกิจ รายสาขา (Cluster) ระดับกลุ่มผู้ประกอบการ หรือ ระดับพืน้ ทีท่ ง้ั ในประเทศและต่างประเทศ และการจัด ทำฐานข้อมูล ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญ สำหรับทุกยุทธศาสตร์ ขณะที่การพัฒนาศักยภาพ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่นโดย คำนึงถึงศักยภาพของพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่สำคัญใน การสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในท้องถิ่น (ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 3) รวมทั้งจะต้องพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย โดย การเตรียมความพร้อมให้แก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในพื้นที่ (ยุทธศาสตร์ที่ 3 และ 4) ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพ ให้ ส ามารถขยายการค้ า และการลงทุ น ไปยั ง ต่ า ง ประเทศได้ (ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 4) ดังแผนภาพ

2

สนับสนุนป�จจัยแวดล�อม ให�เอื้อต�อการดำเนินธุรกิจ 1

การพัฒนาศักยภาพ SMEs ในท�องถิ่น โดยคำนึงถึง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล�อม

3

ส�งเสริม ให�เติบโตอย�างสมดุล ตามศักยภาพของพื้นที่

เสริมสร�างขีดความสามารถ ในการแข�งขัน การพัฒนาความสามารถ SMEs ในการค�า ระหว�างประเทศ

2

3

ķ ÒăôïĂãêăíĊŝëôąüăô เจ�าหน�าที่ส�งเสริม SMEs ķ ÒăôÙĂåèĄáăêÓŝþòĊö 4.&T ķ ÒăôûôŝăØčÕôĈþÓŜăó

จากความเชือ่ มโยงระหว่างยุทธศาสตร์ดงั กล่าว รวมถึง การวิเคราะห์ภาพรวมแนวโน้มบริบทการเปลีย่ นแปลง ของโลก สถานการณ์ปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามรวมถึงข้อจำกัดของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า การพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ และบรรลุเป้าหมายหลักที่ได้กำหนดไว้ในแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับ ที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) มี 3 ประเด็นที่มีความ จำเป็ น ต้ อ งเร่ ง ดำเนิ น การให้ เ กิ ด ผลภายในระยะ 1-2 ปีแรกของแผนการส่งเสริมฯ ได้แก่ การพัฒนา ระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

4

4

เสริมสร�างศักยภาพให�เชื่อมโยง กับเศรษฐกิจระหว�างประเทศ

การเตรียมความพร�อม 4.&T ĐêïĈĖêèĆĕæŜăØē ĐêÒăôčÓŝăûĊŜ "&$

การจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม และการเตรียมความพร้อมและยกระดับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในด้านการค้าการ ลงทุนในต่างประเทศเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิม่ ประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในการกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาค และท้องถิ่น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันให้แก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้พร้อมเข้าสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

31

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


32

บทสรุปผู้บริหาร

การแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ไปสู่การปฏิบัติ

เงื่อนไขปัจจัยความสำเร็จของแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ ประเทศไทยให้สามารถบรรลุตามพันธกิจวิสัยทัศน์ และเป้าหมายของการส่งเสริมที่ได้กำหนดไว้นั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยสำคัญหลายประการในการ ขับเคลื่อนการดำเนินงาน ดังนี้ 1. การพัฒนาปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนิน ธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำเป็น อย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องจัดทำฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมของประเทศให้ มี ข้ อ มู ล ที่ ส มบู ร ณ์ ครบถ้วน และสามารถใช้ขอ้ มูลจากฐานเดียวกันเพือ่ กำหนดนโยบายและแนวทางการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งสร้างองค์ความ รู้อันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงจำเป็นต้องทบทวน ปรับปรุง และผลักดันกฎหมาย กฎระเบียบ และ สิทธิประโยชน์ของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อเอื้อและ ลดอุ ป สรรคในการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม 2. การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม จำเป็นต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณ อย่างเพียงพอ ต่อเนื่อง และสอดคล้องเชื่อมโยงกับ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้เกิดความเข้มแข็ง ยั่งยืน และเป็นกลไกสำคัญใน การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

3. แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม จะสัมฤทธิ์ผลและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการ พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่ เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นอันได้แก่ คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) และคณะกรรมการบริหารงานกลุม่ จังหวัด แบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) จะต้องนำแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปใช้เป็นแนวทาง ในการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน อย่างมีความเชื่อมโยง และเกื้อหนุนระหว่างกันเพื่อ ให้ ก ารบู ร ณาการและมี พ ลั ง ขั บ เคลื่ อ นอย่ า งมี ทิศทางเดียวกัน 4. บุคลากรทีเ่ กีย่ วข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมของภาครัฐ ภาคเอกชนทุกระดับ จำเป็นต้องได้รบั การพัฒนาศักยภาพ เพือ่ ให้เกิดการ เรียนรูท้ เ่ี ป็นระบบและต่อเนือ่ ง ทัง้ ด้านความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ความรูอ้ น่ื ๆ ทีท่ นั ต่อบริบทการเปลีย่ นแปลง รวมทัง้ เข้าใจถึงนโยบายและทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ อันจะส่งผล ให้ ก ารดำเนิ น งานส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลาง และขนาดย่อมมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับ ความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อย่างแท้จริง

การแปลงแผนการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลาง และขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ไปสู่ การปฏิบตั ิ เป็นกระบวนการสำคัญทีท่ ำให้วสิ าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการส่งเสริมและ พัฒนาตามเป้าหมายและยุทธศาสตร์ทก่ี ำหนดไว้ ซึง่ ได้กำหนดกลไกหลักที่เกี่ยวข้อง แหล่งงบประมาณ สนับสนุน และวิธีการติดตามประเมินผลไว้ใน พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ

ขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ทั้งนี้ ในขั้นตอนการแปลง แผนการส่งเสริมฯ เน้นการมีส่วนร่วมและการสร้าง ความเข้าใจให้กบั หน่วยงาน ทัง้ หน่วยงานทีก่ ำหนด นโยบาย หน่วยงานปฏิบัติ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งใน ระดับประเทศ ระดับภูมภิ าค ระดับท้องถิน่ พร้อมทัง้ กำหนดให้ มี ก ารติ ด ตามประเมิ น ผลเพื่ อ ให้ ก าร ดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การแปลงแผนการส่งเสริมฯ ไปสู่การปฏิบัติ คณะกรรมการส�งเสริมฯ รัฐบาล ก.น.จ. สศช. สงป. ก.พ.ร. หน�วยงานนโยบายอื่นๆ

คณะกรรมการบริหาร สสว.

สสว. แผนการส�งเสริม SMEs

นโยบายรัฐบาล แผนบริหารราชการแผ�นดิน แผ�นพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 แผนงบประมาณระดับประเทศ

จัดทำ / ผลักดัน แผนการ ส�งเสริมฯ

การดำเนินงานโดยงบประมาณภาระกิจหน�วยงาน / งบประมาณอื่นๆ กระทรวง

ระดับประเทศ

แผน/ยุทธศาสตร�ส�วนกลาง หน�วยงานดำเนินการ

ระดับภูมิภาค

แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ�มจังหวัด หน�วยงานดำเนินการ

ก.บ.จ. ก.บ.ก.

แผนพัฒนาท�องถิ่น หน�วยงานดำเนินการ

อปท.

ระดับท�องถิ่น

ส�วนราชการ หน�วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค�การเอกชนและหน�วยงานที่เกี่ยวข�อง

กองทุนส�งเสริม SMEs แผนปฏิบัติการ ส�งเสริม SMEs ประจำป� ส�วนราชการ หน�วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค�การเอกชน (ทุกระดับ)

จังหวัด

ติดตามประเมินผลการส�งเสริม SMEs

33

ประสาน จัดทำแผน ปฏิบัติการฯ / ผลักดันสู� การปฏิบัติ

ติดตาม ประเมินผล

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


34

บทสรุปผู้บริหาร

1. กระบวนการแปลงแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543

2. แนวทางการสร้างการมีสว่ นร่วม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการผลักดัน แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมสู่การปฏิบัติ

2.1 ผลักดันให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม มีความรู้ ความเข้าใจแนวทางการดำเนินการตาม แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสำนั ก งานส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มจะส่ ง เสริ ม ให้ ทุ ก ภาคส่ ว นมี ส่ ว นร่ ว ม ในการให้ความเห็น เสนอปัญหาและความต้องการ และร่วมดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมตามบทบาทที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ 1.2 งบประมาณ ในการดำเนินการตามแผนการ ขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ทกุ ภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถ เข้าใจในทิศทางเดียวกัน ดำเนินการโดยใช้งบประมาณจากกองทุนฯ หรือใช้ 2.2 สร้างความเชือ่ มโยงและผลักดันแผนสูก่ ารปฏิบตั ิ งบประมาณภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในทุกระดับ ตั้งแต่ในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค 1.3 การติดตามและประเมินผล เมือ่ แผนการส่งเสริม และท้องถิ่น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แปลงเป็นแผน ปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมแล้ว หน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินงานตามแผน ปฏิบตั กิ ารดังกล่าวจะต้องรายงานผลการดำเนินงาน และจัดทำข้อมูลสถิติเกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม 1.1 กลไกหลักที่เกี่ยวข้อ งในการแปลงแผนการ ส่งเสริมฯ สู่การปฏิบัติ โครงสร้างกลไกการส่งเสริม พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบ ด้วย คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การเอกชนและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. แนวทางและกลไกการติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานตาม แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

1) สร้างความเชือ่ มโยงและผลักดันแผนการส่งเสริมฯ สูก่ ารกำหนดนโยบายและดำเนินการในระดับประเทศ โดยผลักดันให้รฐั บาล สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนัก งบประมาณ (สงป.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา ระบบราชการ (ก.พ.ร.) คณะกรรมการนโยบายการ บริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การเอกชนในส่วนกลาง เช่น กระทรวง กรม นำแผนการส่งเสริมฯ ไปเป็นแนวทางในการกำหนด นโยบายและการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มตามบทบาทที่ เ กี่ ย วข้ อ งของแต่ ล ะ หน่วยงาน ตลอดจนใช้เป็นกรอบในการพิจารณา โครงการที่ควรสนับสนุน

1. การติดตามความก้าวหน้า และประเมินผล การดำเนินงาน

เพื่อทราบผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคในการ ดำเนินงาน ตามแผนงานโครงการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม และทบทวนปรับปรุง แนวทางที่กำหนดไว้เพื่อให้แผนการส่งเสริมฯ มี ความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 2. กลไกการติดตามประเมินผล

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทำหน้าทีก่ ำหนดแนวทางการติดตามความก้าวหน้า และการติดตามประเมินผล โดยการประสานงาน ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจั ด ทำรายงานผลต่ อ คณะกรรมการบริ ห าร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2) ผลักดันให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ และคณะกรรมการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลาง ขนาดย่อมเป็นแนวทางสำคัญในภูมภิ าค โดยส่งเสริม และขนาดย่อม ให้จังหวัด คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบ บูรณาการ (ก.บ.จ.) และกลุม่ จังหวัด คณะกรรมการ บริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) นำแผนการส่งเสริมฯ ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุม่ จังหวัด รวมทัง้ ใช้ในการพิจารณาโครงการที่ควรสนับสนุน 3) ผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นำแผนการส่งเสริมฯ ไปใช้เป็นแนวทางในการจัด ทำแผนพั ฒ นาและดำเนิ น การพั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่น

35

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


36

บทสรุปผู้บริหาร

ความเป็นมา ขั้นตอนและ กระบวนการจั ด ทำแผน รวมทั้ ง องค์ ป ระกอบของ

บทนำ

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) 37

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


38

บทนำ

(2) การสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยเฉพาะ การแก้ไขปัญหาทั้งภายในและภายนอกวิสาหกิจ

บทนำ พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม พ.ศ. 2543 กำหนดให้คณะกรรมการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จัดทำ นโยบายและแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่ อ มเพื่ อ เสนอขอความเห็ น ชอบจาก คณะรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นแนวทางหลักของประเทศ ที่ทุก หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนร่ ว มมื อกั น ดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม ซึง่ เป็นกลุม่ วิสาหกิจส่วนใหญ่ของประเทศและ มีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มแี ผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม รวมทั้งสิ้น 2 ฉบับ ได้แก่ แผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) และแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 25502554) ซึ่งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ในฐานะหน่วยงานประสานและ จัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ได้นำแผนการส่งเสริมฯ ดังกล่าวไป เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและองค์กรเอกชนที่ เกีย่ วข้อง เพือ่ ให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีเอกภาพ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ตามแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและนโยบาย รัฐบาล

อย่ า งยิ่ ง ผู้ ป ระกอบการที่ ใ ช้ ฐ านความรู้ ส มั ย ใหม่ (New Economy) เพื่อให้เป็นพลังขับเคลื่อนหลัก ในการสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจไทยการสร้าง มูลค่าเพิ่มการสร้างงานและสร้างรายได้

(3) วิสาหกิจชุมชน

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) มุ่งแก้ไขผลกระทบที่ เกิดจากปัญหาวิฤตทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการสร้าง ความเข้มแข็งในฐานะทางการเงินและการดำเนินการ ฟื้นฟูและขยายโอกาสทางการตลาดของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ควบคู่กับการส่งเสริม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มให้ เ กิ ด ความ เข้ ม แข็ ง ในเชิ ง โครงสร้ า งโดยเน้ น การสร้ า งและ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและบริการภาครัฐให้มี ความพร้อมและกระจายอย่างทั่วถึง การลดปัญหา และอุ ป สรรคในการประกอบธุ ร กิ จ ที่ เ กิ ด จาก กฎระเบียบและข้อบังคับของภาครัฐ รวมถึงการ เสริมสร้างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ เติบโตอย่างยัง่ ยืนด้วยการยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขัน เสริมสร้างศักยภาพของผูป้ ระกอบการ และยกระดับทักษะของแรงงานในวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม การส่งเสริมเทคโนโลยีการวิจัย พัฒนาและการสร้างนวัตกรรม รวมทั้งส่งเสริม ความเชือ่ มโยงและการรวมกลุม่ วิสาหกิจ (Cluster) นอกจากนัน้ ยังมุง่ เน้นแก้ไขปัญหาและวางรากฐาน เพือ่ ให้เกิดการเติบโตในวิสาหกิจยุทธศาสตร์สำคัญ เฉพาะกลุ่ม คือ (1) วิสาหกิจส่งออก ซึ่งเน้นการวางตำแหน่งทาง ยุทธศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ (Product Positioning) ทีม่ โี อกาสและศักยภาพสูงในตลาดส่งออก และการ ยกระดับสินค้าและบริการส่งออกจากสภาพการ แข่งขันทีถ่ กู บีบคัน้ 2 ทาง (Nut-Cracker) ไปสูต่ ลาด ในระดับที่สูงขึ้น

ให้มีการใช้ทรัพยากรและ ภูมปิ ญ ั ญาในท้องถิน่ ในการผลิตสินค้าและบริการให้ ตรงกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพสูง รวมทัง้ มีการเชือ่ มโยงและเกิดกลุม่ การพัฒนาร่วมกัน แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) มุ่งส่งเสริมให้วสิ าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มเติ บ โตและพั ฒ นาใน 2 แนวทางทั้งการเติบโตเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นผล จากการพั ฒ นาขี ด ความสามารถทางนวั ต กรรม และการเพิ่มผลิตภาพโดยรวม ส่วนอีกแนวทาง เป็นการส่งเสริมการเติบโตในเชิงขนาดที่ควบคู่ไป กับคุณภาพ โดยพัฒนาจากธุรกิจขนาดเล็กเป็น ขนาดย่อม ขนาดกลาง และขยายตัวไปเป็นวิสาหกิจ ขนาดใหญ่ในที่สุด ซึ่งยังคงต้องให้ความสำคัญกับ ทักษะฝีมือ องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และ ผลิตภาพด้วยเช่นกัน โดยเน้นระดับผู้ประกอบการ และกิ จ การระดั บ ประเภทกิ จ การและกลุ่ ม ธุ ร กิ จ (Cluster) รายสาขา รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในภูมิภาคและท้องถิ่น อีกทั้ง ยังมี การดำเนิ น การในประเด็นที่ต่อเนื่องจากแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) โดยเน้นการพัฒนาสภาพแวดล้อม สิง่ อำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อ ต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม และเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทาง ปัญญา รวมทั้ง สนับสนุนการปรับตัวไปสู่กิจการ ที่ใช้ฐานความรู้ ทักษะฝีมือและมีความสามารถใน การปรับตัวต่อไป

ขนาดกลางและขนาดย่ อ มที่ ยั ง คงมี อ ยู่ จ ากการ พัฒนาที่ผ่านมา รวมทั้งดำเนินการในประเด็นที่มี ความสำคัญอย่างต่อเนื่องจากแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทัง้ 2 ฉบับ ตลอด จนกำหนดแนวทางเพื่ อ บรรเทาผลกระทบและ รองรับเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น วิกฤต ทางการเงินของโลก (Hamburger crisis) หรือ เหตุ ก ารณ์ ไ ม่ ส งบทางการเมื อ งที่ เ กิ ด ขึ้ น หรื อ สถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงที่ จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หรือการเปิดเสรีทางการค้า การลงทุนต่างๆ ทีเ่ พิม่ มากขึน้ อีกทัง้ ให้ความสำคัญ ต่อการพัฒนาบุคลากรที่มีหน้าที่ในการให้บริการ และสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นแผนแม่บทในระดับของการประสานงาน ดังนัน้ แผนการส่งเสริมฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) นี้ จึงได้จัดทำให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับ แผนและยุทธศาสตร์ท่เี กี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ อาทิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ทีย่ งั คงยึดหลัก “ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเป็นศูนย์กลาง ของการพัฒนา” อีกทั้ง “สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ ขณะเดียวกันก็สอดรับกับนโยบายของ รัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจจาก ปัญหาวิกฤตทางการเงินของโลก การสร้างเศรษฐกิจ ฐานความรู้และการสร้างสรรค์ และการยกระดับ ผลิ ต ภาพและประสิ ท ธิ ภ าพและการเสริ ม สร้ า ง โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ ของกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงต่างๆ ที่ เกี่ยวข้อง ตลอดจนแผนระดับกลุ่มจังหวัดที่คำนึง ถึงความต้องการ ศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่น ในกลุม่ จังหวัด และความพร้อมของภาครัฐและภาค ธุรกิจเอกชน

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับนี้ ซึ่งเป็นฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) เป็น ในการจัดทำแผนการส่งเสริมฯ นอกจากมีนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ทจ่ี ดั ทำขึน้ เพือ่ มุง่ สูค่ วามเป็นสากล ของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มุ่งเน้น ขนาดย่อม และพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจ 39

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


40

บทนำ

ขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นกรอบแนวคิดแล้ว ยังมีการรับฟังข้อมูลจากผู้มีส่วนร่วมในการกำหนด ความต้องการในการพัฒนาพื้นที่ของกลุ่มจังหวัด มาพิจารณาให้เกิดความผสมผสานไม่ขัดแย้งกัน เพื่อให้ได้แผนในลักษณะของการชี้นำแนวทางและ มาตรการที่ ค รอบคลุ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมในทุกระดับและทุกมิติ สามารถนำไปเป็น แนวทางในการพัฒนาทีต่ อ่ เนือ่ งจากแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) และสามารถผลักดันไปสู่การปฏิบัติ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในระยะ 5 ปีของแผน

สาขาต่างๆ เพื่อนำไปสู่การกำหนดกรอบแนวคิด การส่งเสริม ประเด็นสำหรับการจัดทำแนวทางการ พัฒนาและส่งเสริมภายใต้แผนการส่งเสริมฯ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ฉบับนี้มีองค์ประกอบ สำคัญ 8 ส่วนด้วยกัน คือ บทนำ แสดงความเป็นมา ขัน้ ตอน และกระบวนการ

จัดทำแผน รวมทัง้ องค์ประกอบของแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ทั้งนี้ ขั้นตอนการจัดทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 มีรายละเอียด บทที่ 1 แสดงบทบาท ความสำคัญ และโครงสร้าง ดังนี้ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ ไทย จำแนกตามมิตสิ ำคัญทางเศรษฐกิจต่างๆ รวม 1. พิจารณาความเชื่อมโยงและความสอดคล้องกับ ถึงสถานการณ์และโครงสร้างทางเศรษฐกิจและ แผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับต่างๆ ที่ สังคมที่มีผลกระทบต่อกระบวนการดำเนินธุรกิจ เกี่ยวข้อง ได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) นโยบาย ของประเทศไทย ของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ บทที่ 2 แสดงผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม รวมถึงแผนกลุ่มจังหวัด และขนาดย่อมของประเทศไทยทีผ่ า่ นมา ตามกรอบ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2. ประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2545-2549) และแผนการส่งเสริม ขนาดย่อมทีผ่ า่ นมาในช่วงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545- 2550-2554) 2549) และผลการดำเนินงานส่งเสริมในช่วงแผน การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับ บทที่ 3 แสดงผลการวิเคราะห์จดุ อ่อน จุดแข็ง โอกาส ที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) และภั ย คุ ก คามของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมของประเทศไทย จำแนกตามปัจจัยสำคัญ 3. ประมวลสถานการณ์ ทั้ ง ภายในและภายนอก ที่มีผลกระทบต่อการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ประเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจ และขนาดย่อมของไทย ขนาดกลางและขนาดย่อมในระยะ 5 ปีขา้ งหน้า รวม ทั้งสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากธุรกิจเอง ควบคู่กับ บทที่ 4 แสดงกรอบแนวคิด ทิศทาง วิสัยทัศน์และ การระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เป้ า หมายการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ผู้ประกอบการครอบคลุมภาคการผลิต ภาคการค้า ขนาดย่อม ตามยุทธศาสตร์แผนการส่งเสริมวิสาหกิจ และภาคบริการ ตัวแทนองค์กรภาคเอกชน และ ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555ภาควิชาการ ในลักษณะของการจัดประชุมระดม 2559) ประกอบด้วย แผนยุทธศาสตร์และนโยบายที่ ความคิดเห็น รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิใน เกี่ย วข้ อ งกรอบแนวคิ ด และทิ ศ ทางการส่ ง เสริ ม

วิสยั ทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายการส่งเสริม รวมถึง กลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริม ซึ่งจากนโยบายได้ กำหนดกลุม่ อุตสาหกรรมทีใ่ ห้ความสำคัญเป็นพิเศษ ในแผนการส่งเสริมฯ ฉบับนี้ คือ กลุ่มอุตสาหกรรม เทคโนโลยีและนวัตกรรม กลุม่ อุตสาหกรรมการเกษตร และเกษตรแปรรูป กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กลุ่มธุรกิจภาคการค้าปลีกและการค้าส่ง และกลุ่ม อุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว บทที่ 5 แสดงยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจ

(Cluster) ระดับกลุ่มผู้ประกอบการ หรือระดับพื้นที่ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นการพัฒนาร่วมกันในทุก ยุทธศาสตร์ ขณะทีก่ ารพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมร่วมกันระหว่าง 2 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้ ว ยด้ า นการพั ฒ นาศั ก ยภาพวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่นโดยคำนึงถึง ศักยภาพของพืน้ ทีท่ ง้ั ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิง่ แวดล้อม (ยุทธศาสตร์ท่ี 2 และ 3) ด้านการ เตรียมความพร้อมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในพืน้ ทีส่ ปู่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ยุทธศาสตร์ที่ 3 และ 4) และด้านการยกระดับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมสู่การค้าการลงทุนในต่างประเทศ (ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 4)

ขนาดกลางและขนาดย่อมตามกรอบแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ยุทธศาสตร์ที่ สอดคล้องกับกรอบแนวคิดตามลำดับของภารกิจ ได้แก่ บทที่ 6 แสดงปัจจัยความสำเร็จของแผนฯ ประเด็น ความสำคัญทีเ่ ป็นปัจจัยเกือ้ หนุนให้แผนการส่งเสริมฯ ยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อ สามารถบรรลุผลได้ตามวิสยั ทัศน์และเป้าหมายของ การดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การส่งเสริมดังที่ได้กำหนดไว้ในบทที่ 4 ซึ่งมีความ ไทย จำเป็นต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถใน การแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บทที่ 7 แสดงกระบวนการแปลงแผนการส่งเสริม ไทย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่การปฏิบัติ ซึ่ง ประกอบด้วยกลไกหลัก แหล่งงบประมาณ และแนวทาง ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ การติดตามประเมินผล ตามทีร่ ะบุไว้ในพระราชบัญญัติ ขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่างสมดุลตามศักยภาพ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 ของพื้นที่ รวมทัง้ เสนอแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม สร้าง ความรูค้ วามเข้าใจและการผลักดันแผนการส่งเสริม ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สูก่ ารปฏิบตั ิ และ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มไทยให้ เ ชื่ อ มโยงกั บ เสนอแนวทางการติดตามประเมินผลเพื่อให้การ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึง่ ยุทธศาสตร์ทง้ั 4 ประการนี้ มีความสัมพันธ์กัน ทั้งในด้านการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการ ส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึง่ พัฒนากลไกเพือ่ สนับสนุนในทุกยุทธศาสตร์ ส่วนด้าน การพัฒนาหน่วยงานและบุคลากรทัง้ ระดับผู้บริหาร และเจ้าหน้าทีท่ ม่ี หี น้าทีใ่ นการให้บริการและสนับสนุน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และด้านการพัฒนา เครือข่าย การรวมกลุ่มทั้งในระดับธุรกิจรายสาขา 41

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


ความสำคัญ โครงสร้าง และสถานการณ์ที่ส่งผล ต่อวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทย


44

บทที่ 1

ความสำคัญโครงสร้างและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

ความสำคัญ โครงสร้างและสถานการณ์ ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นกลไกหลักในการเสริมสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงาน อีกทัง้ ยังเป็นเครือ่ งมือในการแก้ไขปัญหาความยากจน และในการสร้างสังคมผู้ประกอบการด้วยการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ จึงถือได้ว่าวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมมีบทบาทในการเป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศ ที่มีความสำคัญ

รูปที่ 1-1 ความสำคัญ และโครงสร้างของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมของไทย ปี 2553 2,924,912

13,496,088

8,847,797

6,177,688

11,745 0.40%

2,988,581 22.14%

5,100,830 57.65%

4,423,408 71.60%

100%

บทบาทความสำคัญและโครงสร้างของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ในปี 2553 ประเทศไทยมีจำนวนวิสาหกิจรวมทั้งสิ้น 2,924,912 ราย โดยร้อยละ 99.60 เป็นวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (รูปที่ 1-1 และตารางที่ 1-1) เมื่อ จำแนกตามกลุ่มวิสาหกิจพบว่า วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการค้าและซ่อมบำรุง คิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 47.49 ของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทัง้ ประเทศ ส่วน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคบริการมี สัดส่วนประมาณร้อยละ 33.76 และภาคการผลิต ประมาณร้อยละ 18.71 ของจำนวนวิสาหกิจรวม ของประเทศ (ตารางที่ 1-2) สำหรับสถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม พบว่าตั้งอยู่ค่อนข้างหนาแน่นในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล คิดเป็นจำนวน ประมาณ 110 รายต่อตารางกิโลเมตร ขณะที่ในส่วน ภูมภิ าคมีสถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมเพียงประมาณ 4 รายต่อตารางกิโลเมตร เท่านัน้ โดยผูป้ ระกอบการส่วนใหญ่มกี ารกระจุกอยู่ ในจังหวัดที่ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ของแต่ละภูมิภาค

75%

50%

25%

2,913,167 99.60%

10,507,507 77.86%

3,746,967 42.35%

1,754,280 28.40%

0%

SMEs

ที่มา: รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2553 และแนวโน้มปี 2554

ในปี 2553 การจ้างงานของประเทศไทยในกิจการ ทุกขนาด มีจำนวนรวมทัง้ สิน้ 13,496,088 คน โดย ร้อยละ 77.86 เป็นการจ้างงานในวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (รูปที่ 1-1 และตารางที่ 1-1) แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการเป็นแหล่งการ จ้างงานของประเทศ เมื่อพิจารณาการจ้างงานของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำแนกตามกลุม่ วิสาหกิจพบว่า ภาคบริการมีการจ้างงานสูงสุดคิด เป็นร้อยละ 35.82 ของการจ้างงานรวม ส่วนภาค การผลิต และภาคการค้าและซ่อมบำรุงมีการจ้างงาน ร้อยละ 33.25 และร้อยละ 30.93 ของการจ้างงาน รวมของประเทศตามลำดับ (ตารางที่ 1-2)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2553 มีมูลค่าทั้งสิ้น 10,102,986 ล้านบาท โดยแบ่งออก เป็น GDP ในภาคเกษตรจำนวน 1,255,189 บาท และ GDP นอกภาคเกษตรจำนวน 8,847,797 บาท คิดเป็นร้อยละ 12.42 และร้อยละ 87.58 ของ GDP รวมของประเทศ ตามลำดับ ซึ่ง GDP ของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมมีมูลค่า 3,746,967 ล้าน บาท (รูปที่ 1-1) คิดเป็นร้อยละ 42.35 ของ GDP นอกภาคเกษตรหรือคิดเป็นร้อยละ 37.09 ของ GDP รวมของประเทศ (ตารางที่ 1-1) มีการขยายตัว เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 7.80 เมื่อพิจารณา GDP จำแนกตามขนาดของวิสาหกิจ พบว่า ในปี 2553 วิสาหกิจขนาดย่อมมีมูลค่า GDP อยู่ที่ 2,490,703 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 24.65 ของ มูลค่า GDP ของประเทศ) โดยมีการขยายตัวเพิม่ ขึน้ จากปีก่อนหน้าร้อยละ 7.10 ในขณะที่ GDP ของ วิสาหกิจขนาดกลางมีมูลค่า 1,256,264 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 12.43 ของ GDP ของประเทศ) และ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 9.52 เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มวิสาหกิจ พบว่า ภาค บริการมีสัดส่วนของ GDP ต่อ GDP(SMEs) มาก ที่สุดคิดเป็นร้อยละ 37.56 สำหรับภาคการผลิต และภาคการค้าและซ่อมบำรุงมีสัดส่วนของ GPD ต่อ GDP ต่อ GDP(SMEs) ที่ร้อยละ 33.99 และ ร้อยละ 28.19 ตามลำดับ (ตารางที่ 1-2) ในปี 2553 ประเทศไทยมีมลู ค่าการส่งออกรวมทัง้ สิน้ 6,177,688 ล้านบาท โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2552 คิดเป็นร้อยละ 18.80 การส่งออกในส่วนของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคิดเป็นมูลค่า 1,754,280 ล้านบาท (รูปที่ 1-1) เพิ่มขึ้นในอัตรา ร้อยละ 10.39 จากปีก่อนหน้า (ตารางที่ 1-1) ขณะ ที่มูลค่าการนำเข้าของประเทศมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 5,832,231 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ในอัตรา ร้อยละ 26.64 โดยเป็นการนำเข้าของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมคิดเป็นมูลค่า 1,775,084 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ ในอัตราร้อยละ 28.84 จากปีกอ่ นหน้า (ตารางที่ 1-1) เห็นได้ว่า มูลค่าการค้าระหว่าง ประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ ไทย ในปี 2553 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับที่สูง 45

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


46

บทที่ 1

ความสำคัญโครงสร้างและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

ในปี 2553 การจัดตั้งใหม่ของกิจการนิติบุคคล (ซึ่งเป็นกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เกือบทั้งสิ้น) มีจำนวน 50,776 ราย เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนหน้า 9,533 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.11 (ตารางที่ 1-1) โดยเป็นการจดทะเบียนจัดตัง้ ในส่วน ภูมิภาคสูงถึง 30,009 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 59.1 ของจำนวนกิจการนิตบิ คุ คลทีจ่ ดั ตัง้ ใหม่ และเมื่อพิจารณาจำแนกตามประเภทธุรกิจ พบว่า ประเภทกิจการทีม่ กี ารจดทะเบียนจัดตัง้ ใหม่มากทีส่ ดุ

คือ ธุรกิจบริการนันทนาการจำนวน 5,637 ราย รองลงมา คือธุรกิจการก่อสร้างอาคารทั่วไปจำนวน 4,855 รายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จำนวน 2,650 ราย และธุรกิจให้คำปรึกษาด้านบริหารจัดการจำนวน 1,368 ราย ส่วนการสิ้นสภาพของนิติบุคคลในปี 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 29,169 ราย โดยลดจาก จำนวน 58,251 ราย ในปี 2552 หรือลดลงในอัตรา ร้อยละ 49.9 (ตารางที่ 1-1)

ตารางที่ 1-1 บทบาทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อระบบเศรษฐกิจไทย พ.ศ.2552

พ.ศ.2553

การเปลี่ยนแปลง

จำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ราย)

2,896,106

2,913,167

0.59%

การจ้างงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (คน)

9,701,354

10,507,507

77.86%

8.31%

GDP SMEs (ล้านบาท)

3,417,860.70

3,746,967.00

9.63%

มูลค่าการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ล้านบาท)

1,589,199.87

1,754,280.00

28.40%

10.39%

1,377,740.25

1,775,084.00

28.84%

การจัดตั้งธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (รวม)

41,243.00

50,776.00

23.11%

การเลิกธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (รวม)

58,251.00

29,169.00

-49.93%

• สัดส่วนการจ้างงานของ SMEs ต่อการจ้างงานรวม • GDP SMEs : GDP รวม • สัดส่วนการส่งออกของ SMEs ต่อการส่งออกรวม

มูลค่าการนำเข้าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ล้านบาท)

• สัดส่วนการนำเข้าของ SMEs ต่อการนำเข้ารวม

99.01% 78.20%

37.76%

30.56%

29.92%

99.60%

37.09%

30.44%

(ร้อยละ)

จำนวนวิสาหกิจ

ปี

จำนวนการจ้างงาน

สัดส่วน GDP SMEs

2552

2553

2552

2553

2552

2553

ภาคการผลิต

18.89

18.71

34.23

33.25

31.98

33.99

ภาคการค้า

47.36

47.49

30.02

30.93

29.88

28.19

ภาคบริการ

33.68

33.76

35.74

35.82

37.88

37.57

ไม่ระบุ/อื่นๆ

0.07

0.04

0.01

0.00

0.26

0.25

รวม

100

100

100

100

100

100

ที่มา: รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2553 และแนวโน้มปี 2554

บทบาทต่อระบบเศรษฐกิจ • สัดส่วนจำนวน SMEs ต่อจำนวนวิสาหกิจรวม

ตารางที่ 1-2 สัดส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำแนกตามลักษณะธุรกิจ

จำนวนวิสาหกิจ (ร้อยละ)

จำนวนการจ้างงาน (ร้อยละ)

สัดส่วน GDP SMEs (ร้อยละ) 0.26

0.01

47.36

33.68

ปี 2552

34.23

35.74

ปี 2552

31.98

ปี 2552

37.88

0.07 18.89

30.02

29.88 0.25

47.49

33.76

ปี 2553

33.25

30.93

ปี 2553

33.99

ปี 2553

37.57

0.04 18.71

35.82

28.19

ที่มา: รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2553 และแนวโน้มปี 2554

ภาคการผลิต

ภาคการค้า

ภาคบริการ

47

ไม่ระบุ / อื่นๆ

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


48

บทที่ 1

ความสำคัญโครงสร้างและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

ปัจจัยและสภาวการณ์ที่มีผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

1

มาตรการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

1.1 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ในระยะแรก (มาตรการเร่งด่วน) ในปี 2552

ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจการเงินของสหรัฐอเมริกา (Hamburger crisis) และสถานการณ์ความไม่สงบ ทางการเมืองในประเทศ เป็นแรงฉุดให้สถานการณ์ ทางเศรษฐกิจของประเทศทรุดลงจนมีอัตราการ เติบโตทางเศรษฐกิจติดลบในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 รัฐบาลจึงได้จัดทำแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะ เร่งด่วนขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยเลือก ใช้ แ นวทางการกระตุ้ น การใช้ จ่ า ยภาคประชาชน การบรรเทาปัญหาผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้างและผู้มี รายได้น้อย การช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผล กระทบรุนแรงจากสถานการณ์การเมือง โดยมี เป้าหมายเพื่อช่วยเหลือและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 4 ด้าน คือ การบริโภคภายในประเทศ การใช้จ่าย และการลงทุนภาครัฐ การลงทุนภาคเอกชน และ ภาคการส่งออกและการท่องเทีย่ ว ให้เติบโตต่อไปได้ โดยรายละเอียดสามารถสรุปได้ ดังนี้

1.1.1 กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ มุ่งเน้นให้เกิดการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยและลด ค่าครองชีพของประชาชนทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากภาวะ วิกฤตเศรษฐกิจ โดยการออกมาตรการเพือ่ เพิม่ รายได้ และลดภาระค่าครองชีพเพือ่ ให้ประชาชนมีเงินเหลือ ในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการอื่นๆ มากขึ้น ตัวอย่างโครงการทีส่ ำคัญ ได้แก่ โครงการเช็คช่วยชาติ โครงการประกันราคาพืชผล โครงการเบี้ยกตัญญู โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน (อสม.) โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน ลดค่าครองชีพ และโครงการธงฟ้าช่วยประชาชน

1.1.2 เพิ่มการใช้จ่ายและการลุงทุนภาครัฐ เป็นโครงการทีเ่ น้นการลงทุนโดยภาครัฐเพือ่ กระตุน้ เศรษฐกิจ เกิดการสร้างงานและรายได้รวมทัง้ พัฒนา ศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากและยกระดับ คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชนบทตัวอย่าง เช่น โครงการเรียนฟรี 15 ปี โครงการต้นกล้าอาชีพ โครงการชุมชนพอเพียง โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ขนาดเล็กเพื่อการเกษตร โครงการถนนปลอดฝุ่น และโครงการปรับปรุงสถานีอนามัยและที่พักอาศัย ตำรวจชั้นประทวนทั่วประเทศ

1.1.3 ช่วยเหลือและส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน เป็นโครงการทีเ่ น้นการให้ความช่วยเหลือ และส่งเสริม ภาคเอกชนเพื่อลดการเลิกจ้างกระตุ้นให้เกิดการ ลงทุนใช้จ่ายเพื่อสร้างงานในระบบเศรษฐกิจ เช่น โครงการเพิ่ ม ค่ า ลดหย่ อ นภาษี เ งิ น ได้ จ ากการ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ โครงการค้ำประกันสินเชื่อของ บรรษัทประกันสินเชือ่ อุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม โครงการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร และ มาตรการลดภาษีให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และการงดเก็บภาษีจาก การปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน

1.1.4 บรรเทาผลกระทบจากภาวะหดตัว ของภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว เพือ่ ให้การช่วยเหลือภาคการส่งออกและการท่องเทีย่ ว ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยกระตุ้นการท่องเที่ยวและลดความเสี่ยงในการ ประกอบธุรกิจของผูส้ ง่ ออก เช่น โครงการรับประกัน ความเสี่ยงให้ผู้ส่งออก โครงการฟื้นฟูความเชือ่ มัน่ ประเทศไทย โครงการสนับสนุนการท่องเที่ยวโดย การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐาน ปรับภูมทิ ศั น์และระบบ รั ก ษาความปลอดภั ย ในแหล่ ง ท่ อ งเที่ย วสำคั ญ ๆ รวมถึงการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า 3 เดือน ลดค่า ธรรมเนียม Landing Fee ยกเว้นค่าเข้าชมอุทยาน แห่ง ชาติใ นพื้นที่จั ง หวัดท่องเที่ยว และกระตุ้น การท่องเทีย่ วภายในประเทศ โดยค่าใช้จา่ ยจากการ อบรมสัมมนาสามารถนำมาหักภาษีได้ 2 เท่า เป็นต้น

1.2 แผนฟืน ้ ฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (พ.ศ. 2553-2555)

จากการที่สถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจโลกมีความ รุนแรงและฟืน้ ตัวได้ชา้ กว่าทีค่ าดการณ์ไว้ รัฐบาลจึง ได้ออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ต่อจาก มาตรการฟื้ น ฟู เ ศรษฐกิ จ ระยะเร่ ง ด่ ว นเพื่ อ ช่ ว ย กระตุน้ เศรษฐกิจและเพิม่ การจ้างงาน ผ่านการลงทุน ของรัฐควบคู่ไปกับการสร้างขีดความสามารถใน การแข่งขันในระยะยาว เพื่อส่งเสริมการเติบโตของ เศรษฐกิจไทย โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1) ปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการกระจายน้ำ และ พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการ ผลิตให้แก่ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม 2) ปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ให้ ทันสมัยในระดับสากล เพื่อลดต้นทุนและพัฒนาให้ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาค 3) เพิม่ ศักยภาพในการสร้างรายได้ของอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว 4) พัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เพือ่ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว 5) ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ทั้ง ระบบให้ทันสมัย (Education Modernization Program) การปรับปรุงอาคารเรียน ห้องเรียน ห้อ งสมุด และห้องปฏิบัติก ารของโรงเรียนให้มี มาตรฐานเดียวกัน และทันสมัยทัว่ ประเทศ เพือ่ เป็น การสนุ บ สนุ น การยกระดั บ คุ ณ ภาพมาตรฐาน การศึกษาและการเรียนรู้ของไทย 6) ปฏิรูปคุณภาพระบบสาธารณสุขเพื่อลดต้นทุน การรักษาพยาบาลในระยะยาว 7) ลงทุนเพื่อการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต ในระดับชุมชนและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ชุมชนและประชากรพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้มีชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น

49

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


50

บทที่ 1

ความสำคัญโครงสร้างและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

ซึ่งการดำเนินการตามแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังกล่าว ช่วยให้เศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มเติ บ โตอย่ า ง ต่อเนือ่ ง ส่งเสริมให้มกี ารจ้างงานเพิม่ มากขึน้ และทำ ให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้

1.3 มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง

2) กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ได้รับความ ช่วยเหลือด้านการค้ำประกันสินเชือ่ ผ่านบรรษัทประกัน สินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม รวมถึงมาตรการ ด้ า นภาษี เ พื่ อ สนั บ สนุ น การท่ อ งเที่ ย วโดยการ ลดหย่อนภาษี ทัง้ ในส่วนของผูซ้ อ้ื โปรแกรมท่องเทีย่ ว ในประเทศจากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือบริษัท ทั ว ร์ ที่ ส ามารถนำมาหั ก ลดหย่ อ นภาษี เ งิ น ได้ บุคคลธรรมดา และบริษัทที่ไปออกงานแสดงสินค้า ทั้งในและต่างประเทศสามารถนำค่าใช้จ่ายมาหัก ภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ขณะที่บริษัทที่มีการจัดฝึก อบรมสัมมนาให้แก่พนักงานสามารถนำรายจ่าย มาหักภาษีนิติบุคคลได้เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสามารถหัก ค่าเสือ่ มราคาของทรัพย์สนิ ทีซ่ อ้ื มา รวมถึงมาตรการ ยกเว้นภาษีที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย

มาตรการนี้ จ ำแนกความช่ ว ยเหลื อ ของรั ฐ บาล ตามกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่ม ผู้ประกอบการค้าขายรายย่อย กลุ่มผู้ประกอบการ ธุรกิจท่องเทีย่ ว กลุม่ ผูใ้ ช้แรงงาน ประชาชนทัว่ ไปและ ผูไ้ ด้รบั บาดเจ็บ-ตาย ซึง่ ในส่วนมาตรการทีเ่ กีย่ วข้อง กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอยูใ่ น 3 กลุม่ แรก รายละเอียดดังนี้ 3) กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ได้รับความช่วยเหลือในด้าน การเงิน นอกจากนั้น รัฐบาลยังกำหนดมาตรการ 1) กลุม่ ผูป้ ระกอบการค้าขายรายย่อย ซึง่ ได้รบั ความ เพื่อรักษาการจ้างงานโดยการให้เงินช่วยเหลือแก่ ช่วยเหลือด้านการเงิน ทัง้ เงินให้เปล่า เงินทุนหมุนเวียน ผู้ประกอบการ มาตรการด้านภาษีเพื่อชะลอกระแส ดอกเบีย้ ต่ำผ่านธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน เงินสดจ่ายออกของผูป้ ระกอบการด้วยการขยายเวลา ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ยื่ น แบบและนำส่ ง ภาษี ร วมถึ ง การขยายหรื อ แห่งประเทศไทย (ธพว.) เป็นต้น รวมถึงมาตรการ เลือ่ นกำหนดเวลาการนำส่งเงินสมทบแก่สำนักงาน ด้านภาษี เช่น การยกเว้นการชำระภาษี การขยายเวลา ประกันสังคมอีกด้วย การยื่นแบบภาษีต่างๆ เป็นต้น อีกทั้งจัดให้มีพื้นที่ ค้าขายชั่วคราว

2

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

2.1 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC): โอกาส และผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม

2.1.1 การดำเนินงานด้านวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน

การดำเนิ น การพั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ ยึดการดำเนินงานตามพิมพ์เขียวนโยบายของอาเซียน ด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ASEAN Policy Blueprint for SME Development: APBSD) ปี 2547–2557 ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ มาตรการนโยบายสำหรั บ การพั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาคอาเซียน โดย สาระสำคัญ มีดังนี้

เป้าหมายของการจัดทำพิมพ์เขียวนโยบายของ อาเซียนด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (APBSD)

• เร่งการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในแต่ละประเทศไปพร้อมๆ กันโดยคำนึงถึงระดับ การพัฒนาที่แตกต่างกัน • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มในภู มิ ภ าคด้ ว ยการ สนับสนุนให้เข้าถึงข่าวสาร การตลาด การพัฒนา บุคลากร การเงิน และเทคโนโลยี

พันธกิจของการจัดทำพิมพ์เขียวนโยบายของ • เสริมสร้างความยืดหยุ่นของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมเพือ่ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับ อาเซียนด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง และอุปสรรคทางการเงิน และขนาดย่อม (APBSD)

ต่างๆ รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความ • เพื่อพัฒนาและเพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรม ท้าทายขึ้น การเป็นผูป้ ระกอบการ และนวัตกรรมสำหรับวิสาหกิจ • เพิ่ม ความสำคั ญ ของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาค ขนาดย่อมในอาเซียนต่อการเติบโตและการพัฒนา • เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของเศรษฐกิจโดยรวม ในอาเซียนให้เรียนรู้มีความคิดสร้างสรรค์และมอง การณ์ไกล • เพือ่ สนับสนุนความร่วมมือและการสร้างเครือข่าย ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอาเซียน รวมทั้ ง ความร่ ว มมื อ กั บ ธุ ร กิ จ ภายนอกภู มิ ภ าค

51

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


52

บทที่ 1

ความสำคัญโครงสร้างและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

โครงการและกิจกรรมเป้าหมายด้านวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน

3) การจัดทำ ASEAN SME Plan of Action เป็น การกำหนดแผนการดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมร่วมกันในภูมิภาค โดย แบ่งเป็น 4 ประเด็น คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การ พัฒนาเทคโนโลยีการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยสำนัก เลขาธิการอาเซียนอยู่ระหว่างการปรับปรุงร่างแผน ดังกล่าวก่อนเสนอให้อาเซียนลงมติเห็นชอบ

สำหรับการดำเนินการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนัน้ ได้มกี ารจัดตัง้ ASEAN SME Agencies Working Group (ASEAN SMEWG) โดยมีการประชุมหารือ เป็ น ประจำทุ ก ปี เ พื่ อ จั ด ทำและดำเนิ น โครงการ หรือกิจกรรมด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยมีความ คืบหน้า ดังนี้ 4) การศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดตั้ง SME Regional Development Fund เป็นโครงการซึ่ง 1) การจัดตั้ง SME Council เป็นเวทีพบปะหารือ ประเทศไทยเป็นประเทศหลักในการดำเนินโครงการ ของภาครัฐ (ในระดับผูอ้ ำนวยการหน่วยงานส่งเสริม ความคืบหน้าล่าสุดมีผลการศึกษารูปแบบของ SME วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเทศต่างๆ) Fund ในภูมภิ าคต่างๆ ของโลก ซึง่ เน้นในกลุม่ ประเทศ และภาคเอกชน เพื่อเป็นช่องทางในการเสริมสร้าง สหภาพยุโรปเป็นหลัก เนื่องจากมีความชัดเจนใน เครือข่ายความร่วมมือ รวมทั้งเพื่อเป็นแหล่งข้อมูล ด้านกองทุนเพือ่ การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ในการกำหนดนโยบายในการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดย่อม สำหรับการดำเนินงานในลำดับต่อไปจะ ขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างมีประสิทธิภาพ และ จัดทำกรอบแนวคิดของกองทุนสำหรับอาเซียน ตรงกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในภูมิภาคได้มากขึ้น โดยมีการประชุม ร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและต้องรายงาน ผลการปฏิบัติงานตรงต่อเวทีรัฐมนตรีเศรษฐกิจ 2.1.2 โอกาส และผลกระทบจากประชาคม อาเซียน (ASEAN Economic Minister) เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) การรวมกลุม่ ทางเศรษฐกิจของอาเซียนเป็นประชาคม 2) การจัดทำ ASEAN SME White Paper สำหรับ เศรษฐกิจอาเซียน เป็นปัจจัยสำคัญทีช่ ว่ ยเสริมสร้าง ความคืบหน้าล่าสุดที่ประชุมได้พิจารณากรอบของ ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และเพิม่ ความสามารถ SME White Paper และขอความร่วมมือจากประเทศ ในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลก จากการเปิด ญีป่ นุ่ ในการพัฒนา White Paper ให้มคี วามสมบูรณ์ เสรีทง้ั ในด้านการค้าและการบริการ การลงทุน การ ยิง่ ขึน้ เนือ่ งจากญีป่ นุ่ เป็นประเทศทีม่ คี วามก้าวหน้า เคลือ่ นย้ายเงินทุน และแรงงาน รวมถึงความร่วมมือ ในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการ ในภูมิภาคนี้ ซึ่งญี่ปุ่นตอบรับในการช่วยเหลือโดย ลงทุน เพือ่ ลดอุปสรรคทางด้านการค้าและการลงทุน เริ่มต้นที่การศึกษานโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาด ซึง่ จะนำไปสูก่ ารพัฒนามาตรฐานการครองชีพ เพิม่ กลางและขนาดย่อมใน 6 ประเทศที่มีนโยบาย ความกินดีอยูด่ ขี องประชาชน และลดความเหลือ่ มล้ำ และข้อมูลชัดเจน ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ทางสังคมของประเทศสมาชิก ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม และจะมีการ จั ด จ้ า งที่ ป รึ ก ษาไทยเพื่ อ สำรวจข้ อ มู ล ดั ง กล่ า ว ในประเทศลาว กัมพูชา พม่า และบรูไน

โอกาส และผลกระทบจากประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนต่อสมาชิกอาเซียน สรุปได้ดังนี้

• การลงทุนในอาเซียนทำได้โดยเสรี สามารถย้าย ฐานการผลิตไปยังประเทศที่เหมาะเป็นแหล่งผลิต • ยกระดับความเป็นอยูข่ องประชาชนภายในประเทศ ความร่วมมือด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งจากผลการศึกษาการรวมกลุ่มของอาเซียนไปสู่ ระบบโลจิสติกส์ในภูมิภาคสะดวกและต้นทุนถูกลง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศของประเทศสมาชิ ก อาเซี ย น • ความตกลงการค้าเสรีของอาเซียนกับคู่ค้าต่างๆ ขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 8-10 ต่อปี เช่น ASEAN +1, +3, +6 ก่อให้เกิดความได้เปรียบ ทางภาษีนำเข้าเหนือกว่าคู่แข่งอื่นนอกกลุ่มอาเซียน • ตลาด 10 ประเทศรวมเป็นตลาดใหญ่ขึ้นทำให้ ตลาดของไทยใหญ่มากขึน้ จาก 63 ล้านคนในประเทศ ผลกระทบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อ ไทย เพิม่ ขึน้ เป็น 580 ล้านคนในประชากรของอาเซียน ประเทศไทย อีกทัง้ สามารถขยายไปภายใต้ความตกลงทางการค้า เสรีทอ่ี าเซียนได้ทำกับประเทศคูค่ า้ สำคัญ 6 ประเทศ • ขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้าจากการ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และ ยกเลิกอุปสรรคภาษีและที่มิใช่ภาษีเปิดโอกาสให้มี นิวซีแลนด์ กับอีก 1 กลุ่มประเทศคือ สหภาพยุโรป การเคลือ่ นย้ายสินค้าเสรี และคาดว่าการส่งออกไทย อีกทั้งผู้บริโภคอาเซียนเข้าถึงสินค้าที่มีคุณภาพใน ไปอาเซียนจะขยายตัวได้ไม่ตำ่ กว่าร้อยละ 18-20 ต่อปี ราคาที่ถูกลง • เปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ประเทศไทยมี • นำจุดแข็งของแต่ละประเทศมาใช้ประโยชน์ในการ ความเข้มแข็ง เช่น ท่องเทีย่ ว โรงแรมร้านอาหาร ทำให้ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น ไทยมีรายได้จากการค้าบริการไปต่างประเทศเพิม่ ขึน้ » กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม มีจุดเด่นในด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ และแรงงาน • สร้างเสริมโอกาสการลงทุน เมื่อมีการเคลื่อนย้าย » สิงคโปร์ มาเลเซีย มีจุดเด่นในด้านเทคโนโลยี เงินทุนได้เสรียง่ิ ขึน้ อุปสรรคการลงทุนระหว่างอาเซียน และนวัตกรรม จะลดลง รวมทัง้ ดึงดูดการลงทุนจากประเทศทีส่ าม » อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นฐานการผลิต • เพิม่ ขีดความสามารถของไทยจากการใช้ทรัพยากร • ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ รวมถึงการกีดกันทางการค้า การผลิตร่วมกัน และการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ที่มิใช่ภาษีหมดไปภายในภูมิภาคอาเซียนทำให้การ ร่วมกับสมาชิกอาเซียนประเทศอื่นทำให้เกิดความ นำเข้าวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากแหล่งผลิตใน ได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Comparative Advantage) อาเซียน มีความได้เปรียบด้านราคาและคุณภาพ และลดต้นทุนการผลิต • ประกอบธุรกิจบริการได้โดยเสรี สามารถตั้งฐาน • เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก ธุรกิจในประเทศสมาชิกอาเซียน และสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาคมโลก

53

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


54

บทที่ 1

ความสำคัญโครงสร้างและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

2.2 ความคืบหน้าความตกลงการค้าเสรีของ กลุ่มประเทศอาเซียนที่มีผลต่อประเทศไทย

ปัจจุบันอาเซียนมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับ 6 ประเทศคู่ค้า คือ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และอีก 1 กลุม่ ประเทศ อันได้แก่ สหภาพยุโรป โดยในปี 2553 ความตกลง การค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้วทุกฉบับ มีผลให้ไทย และประเทศคู่เจรจาต้องทยอยลดภาษีสินค้าหรือ ยกเลิกภาษีเหลือร้อยละ 0 สำหรับสินค้าเพิม่ เติมอีก หลายรายการ โดยความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน กำหนดให้ยกเลิกภาษีสนิ ค้าทุกรายการในกลุม่ บัญชี ลดภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป (ประกอบด้วยประเทศจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน เดิม 6 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน และสิงคโปร์) นอกจากนี้ ยังมี ความตกลงการค้าเสรีทอ่ี าเซียนได้ลงนามกับประเทศ อื่นอีก 3 ฉบับ เริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2553 คือ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ความตกลง การค้าเสรีอาเซียน-เกาหลีใต้ (เฉพาะไทยกับเกาหลีใต้ เพราะประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น และเกาหลีใต้ ลดภาษีไปก่อนแล้ว) และความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ทัง้ นี้ ภายใต้กรอบ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย และความ ตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ยังไม่มีสินค้ารายการใดที่มีภาษีร้อยละ 0 ทันที แต่จะทยอยลดภาษีจนเหลือร้อยละ 0 ภายในระยะ เวลาที่ตกลงไว้

2.2.1 ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน กรอบการเจรจา

ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในทุกด้าน การเจรจาแบ่งเป็น 1) การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 2) การเปิดเสรีด้านการค้าบริการ และการลงทุน 3) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่างๆ

การดำเนินการ

1) การเปิดเสรีการค้าสินค้า (ที่มีผลบังคับใช้แล้ว) ไทยกับจีนเริ่มลดภาษีระหว่างกันในสินค้าเกษตร พิกัด 07-08 (ผักและผลไม้) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 ภายใต้ ก รอบการลดภาษีสินค้า กลุ่ม แรก (Early Harvest) อาเซียน-จีน หรือ 3 เดือน ก่อน ประเทศอาเซียนอื่นๆ • การเปิดเสรีการค้าสำหรับสินค้ากลุ่มแรก (Early Harvest) ในสินค้าพิกดั 01-08 และสินค้าเฉพาะอีก 2 รายการ คือ ถ่านหิน แอนทราไซด์และถ่านหิน โค้ก/เซมิโค้ก ตัง้ แต่วนั ที่ 1 มกราคม 2547 โดยประเทศ อาเซียนเดิมและจีน ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ในปี 2549 ส่วนอาเซียนใหม่ให้ยืดหยุ่นได้ถึงปี 2553 • การเปิดเสรีการค้าสำหรับสินค้าทั่วไป ได้จัดทำ ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าโดย (1) สินค้าปกติ เริ่มลดภาษีตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 และ ลดลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2553 (2) สินค้าอ่อนไหว เริ่มลดภาษีปี 2555 และจะลดเป็นร้อยละ 0-5 ในปี 2561 (3) สินค้าอ่อนไหวสูง จะคงอัตราภาษีไว้ได้ถึง ปี 2558 จึงจะลดภาษีมาอยู่ที่ไม่เกิน ร้อยละ 50 2) กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า โดยจำแนกเป็น (1) สินค้าเกษตรพื้นฐาน ใช้หลักพิจารณาแหล่งกำเนิด สินค้าที่กำเนิดหรือผลิตมาโดยใช้วัตถุดิบจากใน ประเทศทั้งหมด (Wholly obtained) (2) สินค้า อืน่ ๆ มูลค่าการใช้วตั ถุดบิ จากในกลุม่ สมาชิกอาเซียน ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 (3) กฎแหล่งกำเนิดสินค้า เฉพาะสำหรับบางสินค้า

3) การเปิดเสรีดา้ นบริการ เปิดตลาดกลุม่ ที่ 1 ตัง้ แต่ 1 กรกฎาคม 2550 โดยไทยเปิดตลาดเพิ่มขึ้นจาก ข้อผูกพันองค์การการค้าโลก ครอบคลุมบริการบาง 2.2.2 ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียนประเภทในสาขาวิชาชีพ การศึกษา สุขภาพ ท่องเทีย่ ว ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive และขนส่งสินค้าทางเรือ Economic Partnership Agreement: 4) ความตกลงด้านการลงทุน ลงนามความตกลงด้าน การลงทุน เมือ่ วันที่ 15 สิงหาคม 2552 มีผลบังคับ ใช้ภายใน 6 เดือนหลังจากวันทีล่ งนามความตกลงกับ ประเทศที่ให้สัตยาบัน ส่วนประเทศที่ให้สัตยาบัน หลังจากนัน้ มีผลหลังจากให้สตั ยาบันแล้ว 30 วัน

AJCEP)

กรอบการเจรจา

ครอบคลุมใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1) การเปิดเสรี (การค้าสินค้าการค้าบริการและการลงทุน) 2) กฎเกณฑ์ ทางการค้า (กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า) 3) การ อำนวยความสะดวกทางการค้า (พิธีการศุลกากร 5) บั น ทึ ก ความเข้ า ใจว่ า ด้ ว ยความร่ ว มมื อ ด้ า น การค้าไร้กระดาษ) และ 4) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา จีน และอาเซียน 9 ประเทศ ในด้านต่างๆ เช่น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ยกเว้นไทย) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ ความร่ ว มมื อ ด้ า นทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาระหว่ า ง อาเซียนและจีน ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน สรุปผลความตกลงฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้ ครัง้ ที่ 15 เมือ่ วันที่ 15 ตุลาคม 2552 1) การเปิดเสรีการค้าสินค้าระหว่างอาเซียนกับญีป่ นุ่ สินค้าร้อยละ 96.70 ของมูลค่านำเข้าจากอาเซียน จะถูกนำมาลด/ยกเลิกภาษีนำเข้า โดยร้อยละ 90 การดำเนินการขั้นต่อไป ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำข้อผูกพันการเปิด ของมูลค่าสินค้านำเข้าจะลดเป็น 0 ทันทีที่ความ ตลาดด้านการค้าบริการกลุม่ ที่ 2 ซึง่ คาดหวังว่าจะ ตกลงมีผลใช้บังคับ ให้มีการลงนามในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซียน-จีน 2) การค้าบริการและการลงทุน ยังไม่มีการเปิดเสรี แต่ให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการการค้าบริการ และคณะอนุกรรมการการลงทุนภายใน 1 ปี นับจาก ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจไทย จีนถือเป็นคู่เจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) วันที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ เพื่อหารือและเจรจา ที่ มี ศั ก ยภาพสู ง สำหรั บ ภาคการส่ ง ออกของไทย ต่อไป เพราะได้ปัจจัยบวกจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปี 2553 ที่คาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 10.0 และการ 3) กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ยกเลิกภาษีสนิ ค้าปกติทกุ รายการภายใต้ความตกลง 1) สินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากในกลุ่มสมาชิก การค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ของจีนและ 6 2) สินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากนอกกลุ่ม ใช้หลักการ สมาชิกอาเซียนเดิม จึงคาดว่าผูส้ ง่ ออกไทยมีแนวโน้ม ใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมดการแปรสภาพ จะใช้สิทธิเพิ่มขึ้นในปี 2553 นี้ สินค้าไทยที่น่าจะได้ อย่างเพียงพอ หรือกำหนดมูลค่าของวัตถุดบิ ประโยชน์ คือ สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป แป้ง มันสำปะหลัง สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ชิน้ ส่วนประกอบ ยานยนต์รถยนต์ส่วนบุคคล รถกระบะ เครื่องปรับ อากาศและชิน้ ส่วนท่อเหล็ก อัญมณีและเครือ่ งประดับ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ด้ายใยยาวสังเคราะห์ เลนส์ แฟลช ส่วนประกอบมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องเสียง 55

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


56

บทที่ 1

ความสำคัญโครงสร้างและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

4) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจจะส่งเสริมความร่วมมือ กันในการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้า และการลงทุนในสาขาการค้า ทรัพย์สนิ ทางปัญญา พลังงาน ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศการพัฒนา บุคลากร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การ ท่องเทีย่ ว การขนส่งและโลจิสติกส์ การเกษตรประมง และป่าไม้ สิ่งแวดล้อม และสาขาอื่นๆ

2.2.3 ความตกลงการค้าเสรีอาเซียนสาธารณรัฐเกาหลี กรอบการเจรจา

ครอบคลุมการเปิดเสรีในด้านการค้าสินค้า การค้า บริการ และการลงทุน โดยมีการตกลงเรือ่ งกฎเกณฑ์ • ความตกลงหุ้นส่ว นเศรษฐกิจ อาเซีย น-ญี่ปุ่น ทางการค้า การระงับข้อพิพาท และการดำเนิน (AJCEP) มีผลบังคับใช้กับไทยแล้วตั้งแต่วันที่ โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ 1 มิถุนายน 2552 • คณะรัฐมนตรีของไทย ให้ความเห็นชอบกรอบ เจรจาการค้ า บริ ก ารและการลงทุ น เมื่ อ วั น ที่ 23 มิถุนายน 2552 และรัฐสภาให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 การดำเนินการขั้นต่อไป

อาเซียนและญีป่ นุ่ อยูร่ ะหว่างจัดตัง้ คณะอนุกรรมการ ว่าด้วยการค้าบริการและคณะอนุกรรมการว่าด้วย การลงทุน เพื่อการจัดทำข้อบทด้านการค้าบริการ และการลงทุน ภายในเดือนสิงหาคม 2554

ผลกระทบที่เกิดกับธุรกิจไทย

การลด/ยกเลิกภาษีสนิ ค้าภายใต้ความตกลงหุน้ ส่วน เศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) และความตกลงหุ้น ส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) จะช่วย เปิดโอกาสให้สินค้าไทยสามารถเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น ได้มากขึ้น แม้จะมีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของ ญี่ปุ่นในปีนี้อาจขยายตัวเพียงร้อยละ 1.90 ต่ำกว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของคู่เจรจาความตกลง การค้าเสรีอื่นของไทย เนื่องจากการลด/ยกเลิก ภาษีสินค้าของ AJCEP เพิ่มเติมจาก JTEPA ถึง 71 รายการ จะช่วยให้ผู้ส่งออกไทยสามารถเลือกใช้ สิทธิจากความตกลงการค้าเสรีที่ให้ประโยชน์สูงสุด หากผู้ประกอบการไทยสามารถปรับโครงสร้างการ ผลิ ต ให้ ส อดคล้ อ งกั บ กฎแหล่ ง กำเนิ ด สิ น ค้ า ของ AJCEP แล้ว จะช่วยให้มลู ค่าการส่งออกภายใต้ความ ตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น

สรุปผลความตกลงฯ

1) กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งครอบคลุมด้านต่างๆ ลงนามเมื่อ 13 ธันวาคม 2548 มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2550 มีสาระ สำคัญกำหนดขอบเขตการเจรจาและความร่วมมือ ต่างๆ 2) ความตกลงว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาท ลงนาม เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2550 มีสาระสำคัญกำหนดแนวทาง การไกล่เกลี่ยหรือคลี่คลายปัญหาที่อาจเกิดขึ้นใน การปฏิบัติตามพันธกรณี 3) ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2550 สำหรับไทยมีผลบังคับ ใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2552 มีสาระสำคัญในการเปิด เสรีการค้าสินค้า โดยลดภาษีนำเข้าสินค้าจำนวน ร้อยละ 90 ของรายการสินค้าและมูลค่าการนำเข้า ให้เหลือศูนย์ ปี 2553 สำหรับสาธารณรัฐเกาหลี และภายในปี 2555-2563 สำหรับกลุ่มประเทศ อาเซียน 4) กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า จะต้องเป็นไปตาม กฎเกณฑ์ ดังนี้ 1) สินค้าทีผ่ ลิตหรือใช้วตั ถุดบิ ทัง้ หมด ในประเทศผู้ส่งออกกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า 2) กฎเกณฑ์ทั่วไป สินค้าที่ผลิตในประเทศภาคีโดย มีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 3) กฎเฉพาะสินค้า (PSR) และ 4) กฎเกณฑ์อน่ื ๆ เช่น การสะสมแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น

5) ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ส่วนไทยมีผลบังคับใช้ เมือ่ วันที่ 1 มิถนุ ายน 2552 โดยเกาหลีใต้จะเปิดตลาด ในระดับทีส่ งู กว่าข้อผูกพันรอบอุรกุ วัยรวม 43 สาขา ส่วนไทยจะเปิดเสรีสาขาบริการภายใต้กรอบกฎหมาย ปัจจุบนั และในสาขาทีส่ นับสนุนนโยบายให้ไทยเป็น ศูนย์กลางของภูมิภาค

2.2.4 ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย กรอบการเจรจา

• ครอบคลุมการค้าสินค้า บริการ การลงทุน ความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจ กลไกการระงับข้อพิพาท และ ให้ความยืดหยุ่นแก่กลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV)

6) ความตกลงว่าด้วยการลงทุน มีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2552 มีสาระสำคัญในการเปิดเสรี • การเปิดเสรีการค้าสินค้า ความตกลงว่าด้วยการ และให้ความคุม้ ครองการลงทุนระหว่างกัน โดยจะมี ค้าสินค้ามีผลบังคับใช้แล้วตัง้ แต่เมือ่ วันที่ 1 มกราคม 2553 โดยลดภาษีสนิ ค้าส่วนใหญ่เป็นร้อยละ 0 ภายใน การจัดทำตารางการเปิดเสรีภายใน 5 ปี ปี 2554 และช้าสุดภายในปี 2558 7) ความร่ ว มมื อ ด้ า นเศรษฐกิ จ ครอบคลุ ม ความ ร่วมมือ 19 สาขา เช่น พิธีการศุลกากรวิสาหกิจ • การค้าบริการและการลงทุน ให้เจรจาภายหลัง ขนาดกลางและขนาดย่อม และท่องเที่ยว เป็นต้น ข้อตกลงการค้าสินค้า โดยให้มีการเปิดเสรีการค้า บริ ก ารและการลงทุ น รายสาขาและอยู่ ร ะหว่ า ง การเจรจา การดำเนินการขั้นต่อไป อาเซี ย นและเกาหลี ใ ต้ จ ะประชุ ม คณะกรรมการ ดำเนินงานความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลีใต้ การดำเนินการขั้นต่อไป ครัง้ ที่ 4 ภายในปี 2554 นี้ เสนอรัฐสภาขอความเห็นชอบกรอบเจรจาการค้า บริการและการลงทุน ผลกระทบที่เกิดกับธุรกิจไทย

ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลีใต้ ที่เพิ่งมี ผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ส่งผลให้ เกาหลีใต้ยกเลิกภาษีสินค้าให้กับไทยสูงถึงร้อยละ 92.30 ของพิกดั สินค้า คาดว่าผูส้ ง่ ออกไทยมีแนวโน้ม จะใช้สิทธิความตกลงการค้าเสรีเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ผู้ส่งออกไทยรั บ รู้ ถึ ง สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ท างภาษี แ ละ ปรับตัวให้สามารถใช้สทิ ธิความตกลงการค้าเสรีเพือ่ การส่งออกได้มากขึ้น สินค้าไทยที่จะได้ประโยชน์ คือ น้ำมันดิบ น้ำตาลและกากน้ำตาล ยางรถยนต์ ดีบกุ ผง ทองแดงแผ่น มอเตอร์ไฟฟ้า และเครื่องปรับกระแส ไฟฟ้า รวมถึง เส้นด้าย กุ้งแช่เย็น/แช่แข็ง ปลาหมึก แป้งมันสำปะหลัง อัญมณีและเครื่องประดับ

ผลกระทบที่เกิดกับธุรกิจไทย

อินเดียเป็นตลาดส่งออกที่มีความสำคัญในการทำ ความตกลงการค้าเสรีมากที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องจาก ภายหลังความตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดีย (TIFTA) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2547 จนสินค้า นำร่อง 82 รายการของไทยมีภาษีร้อยละ 0 ในปี 2549 แล้วการส่งออกจากไทยไปอินเดียขยายตัว ในอัตราทีส่ งู กว่าการนำเข้าของไทยจากอินเดีย ส่งผล ให้ ไ ทยกลายเป็ น ฝ่ า ยเกิ น ดุ ล การค้ า กั บ อิ น เดี ย นับแต่นั้นมา คาดว่าการลดภาษีสินค้ากว่า 5,000 รายการ ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA) ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

57

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


58

บทที่ 1

ความสำคัญโครงสร้างและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

และที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2553 นี้คือ ความ ริเริม่ แห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลาย สาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC ได้แก่ ประเทศ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลงั กาและ ไทย) ช่วยให้การส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นในปีนี้ นอก เหนือจากแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ อินเดียที่คาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 8.80 เป็นลำดับ 2 ของเอเชียรองจากจีน สินค้าไทยที่น่าจะส่งออกได้ เพิ่มขึ้นภายใต้ TIFTA คือ ปลาแซลมอนปรุงแต่ง ปลาซาร์ดนี ปลาแมคเคอเรล ปู และอาหารสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ยางพารา ยางและ ผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องทำความเย็น วิทยุ โทรทัศน์ หม้อแปลงไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ ส่วนภายใต้ AIFTA คือ ปลากระป๋อง น้ำผลไม้ เครื่องยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ อุปกรณ์ไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม เฟอร์นิเจอร์ เครือ่ งสำอาง ผักและพืชประเภทถัว่ อาหารปรุงแต่ง น้ำผลไม้

2.2.5 การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Agreement: AANZFTA) กรอบการเจรจา

หัวข้อหลักของการเจรจา ได้แก่ การค้าสินค้ากฎ ว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และประเด็นกฎหมาย และสถาบัน

แนวทางการเจรจา

เป็นการเจรจาทุกเรื่องไปพร้อมกันหมด (Single undertaking) กล่าวคือ มีการเจรจาทุกหัวข้อไป พร้อมกัน และตกลงยอมรับผลการเจรจาทัง้ หมดใน คราวเดียว โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ได้ลงนามความตกลงเพื่อจัดตั้งเขต

การค้าเสรีระหว่างอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ แล้ว ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 การมีผลบังคับใช้ความตกลง

ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2553 กับประเทศ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บรูไน มาเลเซีย พม่า ฟิลปิ ปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย สำหรับประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย และลาว ความ ตกลงจะมีผลบังคับใช้ในอีก 60 วันหลังจากวันที่ให้ สัตยาบัน การดำเนินการขั้นต่อไป

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อ รองรับการปฏิบตั ติ ามความตกลงก่อนทีจ่ ะให้สตั ยาบัน ดังนี้ 1) กรมศุลกากรปรับตารางภาษีและกฎว่าด้วยแหล่ง กำเนิดสินค้าจากระบบ HS 2002 เป็น HS 2007 และกระทรวงการคลังออกประกาศการลดภาษีตาม ความตกลง 2) กรมการค้าต่างประเทศออกประกาศการลดภาษี สำหรับสินค้าทีม่ โี ควตานำเข้าและเตรียมความพร้อม ในการออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจไทย

ออสเตรเลี ย เป็ น ตลาดส่ ง ออกสำคั ญ ของไทยที่ ผูป้ ระกอบการไทยใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้า เสรีในการส่งออกสินค้ามากทีส่ ดุ นับตัง้ แต่ความตกลง การค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 โดยในแต่ละปี ประเทศไทยมีมูลค่า การส่งออกสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีใน สั ด ส่ ว นที่ม ากกว่ า ครึ่ง หนึ่ง ของมู ล ค่ า การส่ ง ออก สินค้าจากไทยไปออสเตรเลีย สาเหตุส่วนหนึ่งอาจ เกิดจากออสเตรเลียยกเลิกภาษีสินค้าให้กับไทยถึง ร้อยละ 83.20 ของรายการสินค้าทัง้ หมดทันทีทค่ี วาม ตกลงทางการค้าเสรี มีผลบังคับในปี 2548 และในปี 2553 ออสเตรเลียจะต้องยกเลิกภาษีให้กบั สินค้าไทย เพิ่มเติมอีกรวมเป็น 7,900 รายการในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ (AANZFTA) ทีเ่ ริม่ มีผลบังคับใช้เมือ่ วันที่ 12 มีนาคม 2553 จะทำให้สนิ ค้าราว 6,000 รายการ มีภาษีเหลือร้อยละ 0 ทันที สินค้าทีน่ า่ จะได้ประโยชน์ คือ ยางรถยนต์ ถุงมือยาง เครื่องปรับอากาศ วิทยุ ติดรถยนต์ รถยนต์ และส่วนประกอบ อาหารทะเลสด กระป๋อง ข้าว ผลไม้ สิง่ ทอ เครือ่ งแต่งกาย ผลิตภัณฑ์ หนัง อัญมณี เครื่องใช้ไฟฟ้า

2.2.6 ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนสหภาพยุโรป (ASEAN-EU Free Trade Agreement) กรอบการเจรจา

เมื่อปี 2550 อาเซียนและสหภาพยุโรปได้ประกาศ เจตนารมณ์ที่จะเจรจา FTA ระหว่างภูมิภาคต่อ ภูมภิ าคครอบคลุมเรือ่ งการเปิดตลาดสินค้า บริการ นิวซีแลนด์ เป็นตลาดส่งออกทีเ่ ล็กทีส่ ดุ ของไทยในกลุม่ ประเทศ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้าน คู่เจรจา โดยไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปนิวซีแลนด์ ต่างๆ เพียงร้อยละ 0.40 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย ปั จ จุ บั น ไทยและนิ ว ซี แ ลนด์ มี ค วามตกลงการค้ า แผนการเจรจา เสรีรวม 2 ฉบับ คือ ความตกลงการค้าเสรีไทย- กำหนดให้มีการเจรจาปีละ 4 ครั้ง โดยการเจรจา นิวซีแลนด์ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ครัง้ แรกจะมีขน้ึ ในเดือนมกราคม 2551 ในการเจรจา และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย- แต่ละครั้ง สหภาพยุโรปจะจัดให้มีการสัมมนาหรือ นิวซีแลนด์ ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 ประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารเพือ่ เพิม่ ศักยภาพในการเจรจา ซึ่งความตกลงการค้าเสรีทั้งสองฉบับกำหนดให้ ของอาเซียนก่อน นิวซีแลนด์ต้องยกเลิกภาษีสินค้าให้ไทยในปี 2553 เพิ่มอีก 518 รายการ ส่งผลให้สินค้าไทยที่ได้รับการ ในเดือน มีนาคม 2552 สหภาพยุโรปแจ้งว่าการเจรจา ยกเว้นภาษีเพิม่ เป็นเกือบ 6,600 รายการ โดยสินค้า มีความล่าช้า และมีปัญหาในเรื่องการเจรจาการค้า ทีไ่ ด้ประโยชน์จากการยกเลิกภาษีในปีนค้ี อื พลาสติก กับพม่า และยืนยันต้องการปรับรูปแบบการเจรจา ยางรถยนต์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า และถังเหล็กกล้า ให้เป็นทวิภาคีกบั ประเทศอาเซียนทีม่ คี วามพร้อมแต่ สำหรับบรรจุก๊าซและของเหลว ทั้งนี้นิวซีแลนด์ถือ เนือ่ งจากสหภาพยุโรป มีขอ้ จำกัดด้านทรัพยากรจึง เป็นประเทศคูเ่ จรจาเพียงแห่งเดียวทีใ่ ห้สทิ ธิผสู้ ง่ ออก เจรจาได้เพียง 3 ประเทศก่อน คือ สิงคโปร์ เวียดนาม เป็นผู้รับรองแหล่งกำเนิดสินค้าได้ด้วยตัวเอง และไทย

59

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


60

บทที่ 1

ความสำคัญโครงสร้างและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

3

การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม

จากการศึ ก ษารวบรวมข้ อ มู ล จากธนาคารแห่ ง ประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง บรรษัทประกันสินเชือ่ อุตสาหกรรม ขนาดย่อม (บสย.) กองทุนร่วมลงทุนเพื่อยกระดับ ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย (บริหาร จัดการ โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม) กองทุนรวมเพือ่ ร่วมลงทุนในวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (บริษทั หลักทรัพย์จดั การ กองทุนรวมวรรณ จำกัด หรือ บลจ.วรรณ เป็น ผู้จัดการกองทุน) และบริษัทหลักทรัพทย์จัดการ เงินร่วมลงทุน ข้าวกล้า จำกัด (บลท.ข้าวกล้า) มีผล การดำเนินการ (ตารางที่ 1-3) ดังนี้ ด้านสินเชื่อ (Loan)

วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มได้ รั บ สิ น เชื่ อ ระหว่างปี 2550-2553 เป็นจำนวน 4,579,770 ราย คิดเป็นมูลค่า 11,483,241.62 ล้านบาท โดย เป็นสินเชื่อโดยธนาคารพาณิชย์ มูลค่า 11,149,172 ล้านบาท และสินเชื่อโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มูลค่า 334,069.62 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมได้รบั การค้ำประกันสินเชือ่ จากบรรษัท ประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ระหว่างปี 2550-2553 จำนวน 22,773 ราย คิดเป็นมูลค่า 74,025.77 ล้านบาท ด้านทุน (Equity)

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงแหล่งทุน (Equity) ทั้งในรูปแบบกองทุนร่วมลงทุน (Venture Capital) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ระหว่างปี 2550-2553 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 52 ราย ในมูลค่า 155,233.48 ล้านบาท โดยเป็นในส่วนของ กองทุนร่วมลงทุน มูลค่า 552.43 ล้านบาท และ ส่วนของตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) มูลค่า 154,681.05 ล้านบาท

ตารางที่ 1-3 การเข้าถึงเงินทุนของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม

ปี

สินเชื่อ (Loan)

สินเชื่อ (Loan)

ธนาคารพาณิชย์

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ

จำนวน (ราย)

มูลค่า (ล้านบาท)

จำนวน (ราย)

มูลค่า (ล้านบาท)

2550

867,390

2,774,714

268,809

52,560.29

2551

872,370

2,906,745

211,609

2552

917,067

2,608,806

214,442

2553

957,772 3,614,599

รวม

สินเชื่อรวม จำนวน (ราย)

มูลค่า (ล้านบาท)

ทุน (Equity)

การค้ำประกัน สินเชื่อ

กองทุนร่วมลงทุน (Venture Capital)

ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)

จำนวน (ราย)

มูลค่า (ล้านบาท)

จำนวน (ราย)

1,136,199 2,827,274.29

2,298

6,628.66

10

301.47

6

38,268.98

16

38,570.45

64,626.30

1,083,979

1,366

3,253.46

13

221.96

3

22,152.86

16

22,374.82

95,240.65

1,131,509 2,704,046.65

5,763 21,558.47

2

29

11

39,130.85

13

39,159.85

2,858,907

270,311 121,642.38

1,228,083 2,980,549.38

13,346 42,585.18

0

0

7

55,128.36

7

55,128.36

11,149,172

965,171 334,069.62

4,579,770 11,483,241.62

22,773 74,025.77

25

552.43

2,971,371.30

มูลค่า จำนวน (ล้านบาท) (ราย)

มูลค่า (ล้านบาท)

ทุนรวม

27 154,681.05

จำนวน (ราย)

มูลค่า (ล้านบาท)

52 155,233.48

ทีม่ า : - ข้อมูลธนาคารพาณิชย์ จากธนาคารแห่งประเทศไทย - ข้อมูลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) / ธนาคารเพือ่ การส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) / ธนาคารออมสิน / ธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) / ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) - เฉพาะปี 2552-2553) จากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง - ข้อมูลการค้ำประกันสินเชือ่ จากบรรษัทประกันสินเชือ่ อุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) - ข้อมูลกองทุนร่วมลงทุน (Venture Capital) รวบรวมจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) / บริษทั หลักทรัพย์จดั การกองทุนรวมวรรณ จำกัด (บลจ.วรรณ) และบริษทั หลักทรัพทย์จดั การเงินร่วมลงทุนข้าวกล้า จำกัด (บลท.ข้าวกล้า) ในเครือธนาคารกสิกรไทย หมายเหตุ: จำนวน (ราย) อาจจะมีการนับซ้ำ เนือ่ งจาก วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อาจจะใช้บริการมากกว่า 1 แหล่งเงินทุน *มูลค่าตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หมายถึง มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalisation)

จากข้อมูลการเข้าถึงเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมดังกล่าว และจากการศึกษาวิเคราะห์ ข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ เช่น รายงานการศึกษา การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงิน ปี 2551 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การสำรวจวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมด้านการใช้บริการทางการ เงินตามรายงานสถานการณ์วสิ าหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ปี 2551 และแนวโน้มปี 2552 โดย

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มาตรการด้านการเงินเพื่อการส่งเสริม และช่วย เหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผ่านสถาบัน การเงินเฉพาะกิจ (SFIs) โดยสำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง กระทรวงการคลัง และแผนพัฒนาระบบ สถาบันการเงิน ระยะที่ 2 ปี 2553-2557 โดยกระทรวง การคลัง แสดงให้เห็นว่าวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มจำนวนมากไม่ ส ามารถเข้ า ถึ ง เงิ น ทุ น โดยมีสาเหตุสำคัญ ดังนี้

61

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


62

บทที่ 1

ความสำคัญโครงสร้างและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

ด้านสินเชื่อ (Loan)

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีข้อจำกัดใน การเข้าถึงเงินทุน เนื่องจากปัจจัยสำคัญ 3 ด้าน คือ 1) ด้านทีเ่ กิดจากผูป้ ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมเอง เช่น ไม่มีหลักทรัพย์หรือมี หลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอต่อวงเงินสินเชื่อ ไม่มรี ะบบการบันทึกบัญชีทเ่ี ป็นมาตรฐาน ไม่มปี ระวัติ ธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงินย้อนหลัง รวมทั้ ง มี ค วามสามารถในการดำเนิ น ธุ ร กิ จ และ ชำระหนี้ต่ำ 2) ด้านสถาบันการเงินซึ่งจะมีความ ระมัดระวังในการพิจารณาสินเชือ่ ให้แก่ผปู้ ระกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังไม่สามารถให้บริการ ทางการเงินอย่างเพียงพอและทั่วถึงเมื่อเทียบกับ ความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม เนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินทุน กฎระเบียบ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) การไม่ได้รับเงิน ชดเชยจากการดำเนินงานตามนโยบายภาครัฐ และ 3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งยังขาดระบบหรือกลไก เสริมสร้างประสิทธิภาพในการใช้บริหารจัดการธุรกิจ เช่น ระบบพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา นักวินิจฉัยที่มีอยู่ยังไม่ เป็นระบบและไม่เพียงพอกับความต้องการ ระบบ การค้ำประกันยังไม่เอือ้ ต่อการขยายสินเชือ่ ให้วสิ าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมได้อย่างกว้างขวาง ไม่มี ระบบข้อมูลกลางที่จะช่วยทั้งผู้ประกอบการในการ วิเคราะห์สถานะของกิจการและแนวโน้มธุรกิจ และ ช่วยสถาบันการเงินในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ ตามระดั บ ความเสี่ ย งและโอกาสทางธุ ร กิ จ ของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อีกทั้งยังขาด กฎระเบียบและมาตรการที่เอื้อต่อการขยายบริการ ทางการเงินให้แก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อีกด้วย

ด้านทุน (Equity)

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังเข้าถึงแหล่ง ทุนได้ไม่มากนัก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture capital: VC) หรือการระดมทุนผ่าน ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ทั้งนี้เนื่องจาก ธุรกิจเงินทุนร่วมลงทุน (โดยเฉพาะของภาคเอกชน) จะมุ่ ง เน้ น เข้ า ร่ ว มลงทุ น กั บ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลาง และขนาดย่อมที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์สูง ในส่วน ของผู้ประกอบการมองว่า การมีผู้ร่วมลงทุนจาก ภายนอกอาจกระทบต่อแนวคิดการทำธุรกิจเดิม ผลตอบแทนจากการลงทุ น จะต้ อ งถู ก แบ่ ง ตาม สัดส่วนการถือหุ้น ผู้ประกอบการจะต้องจัดทำแผน ธุรกิจนำเสนอให้กับบริษัทเงินร่วมลงทุนซึ่งตนเอง ไม่คุ้นเคย ธุรกิจเงินร่วมลงทุนเป็นแนวทางในการ ระดมทุนแนวใหม่ในสังคมไทย ซึ่งผู้ประกอบการไม่ คุ้นเคยเมื่อเปรียบเทียบกับช่องทางอื่นๆ ประกอบ กับโครงสร้างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไทยไม่ ดึ ง ดู ด บริ ษั ท เงิ น ร่ ว มลงทุ น เข้ า มาลงทุ น เนื่องจากการบริหารจัดการ การจัดทำระบบบัญชี และการจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลของผูป้ ระกอบการ ยังไม่ได้ม าตรฐาน จึงเป็นอุป สรรคต่อการขยาย ตัวของธุรกิจเงินร่วมลงทุน สำหรับการระดมทุนผ่าน ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ยังมีบทบาทค่อน ข้างน้อย ซึง่ อาจเกิดจากทัศนคติของผูป้ ระกอบการ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มที่ ไ ม่ ต้องการ สูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการ และเกรงว่าจะ ต้องเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเมือ่ เข้าตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) รวมทั้งกระบวนการและขั้นตอน ในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่ ใช้ระยะเวลานานและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

4

แนวโน้มการเปลีย ่ นแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในระดับโลก 4.3 การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของโลก ในช่ ว งแผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ประชากรสูงอายุ ในโลกจะเพิ่มขึ้นอีก 81.86 ล้านคน การเป็นสังคม 4.1 การเปลี่ยนแปลงกฎกติกาใหม่ของโลก การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ในโลกรวมถึงวิกฤต ผูส้ งู อายุของประเทศต่างๆ มีผลกระทบต่อการเคลือ่ น เศรษฐกิจที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนกฎ ย้ายกำลังคนข้ามประเทศ เกิดความหลากหลาย ระเบียบในการบริหารจัดการเศรษฐกิจโลก และ ทางวัฒนธรรม ขณะเดียวกัน โครงสร้างการผลิต การดำเนินเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม ครอบคลุมถึง เปลี่ยนจากการใช้แรงงานเข้มข้นเป็นการใช้องค์ กฎระเบียบด้านการค้าการลงทุน การเงิน การคุม้ ครอง ความรู้และเทคโนโลยีมากขึ้น ควบคู่กับการพัฒนา ทรัพย์สินทางปัญญา พันธกรณีและข้อตกลงเกี่ยว เทคโนโลยีเพื่อใช้ทดแทนกำลังแรงงานที่ขาดแคลน กับการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ มาตรการทาง โครงสร้างการใช้จ่ายงบประมาณเปลี่ยนแปลงไป การค้าที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อน และ ประเทศที่ เ ข้ า สู่ สั ง คมผู้ สู ง อายุ จ ะมี ร ายจ่ า ยด้ า น กฎระเบียบด้านสังคมมีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดย สุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้งบประมาณสำหรับการลงทุน เฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน ที่ให้ความสำคัญกับการ พัฒนาด้านอื่น ๆ ลดลง ส่งเสริมให้เกิดความเคารพและรักษาศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน อาจเป็น โอกาสหรืออุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะ ต่อไป 4.4 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิโลกสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 0.2 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ ส่งผลให้สภาพ ภูมอิ ากาศแปรปรวนก่อให้เกิดภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติ 4.2 การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกแบบหลาย บ่อยครั้ง และทวีความรุนแรง เช่น แผ่นดินไหว ดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิด อุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง ศูนย์กลาง การขยายตัวของขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ เช่น ไฟป่า ระบบนิเวศในหลายพื้นที่ของโลกอ่อนแอ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ส่งผลต่อการรวม สูญเสียพันธุ์พืชและสัตว์พื้นผิวโลกเปลี่ยนแปลง กลุม่ ทางเศรษฐกิจในภูมภิ าคต่างๆ ของโลกจะมีมาก ทางกายภาพ โดยเฉพาะการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่ง ขึ้น และการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญต่อประเทศ เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น นำไปสู่การย้ายถิ่น ไทยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ของประชากรที่อยู่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลรวม ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ได้แก่ การรวมกลุ่ม ทั้งสร้า งความเสีย หายต่อ โครงสร้า งพื้ นฐานเขต ในกรอบอนุภมู ภิ าค และการเป็นประชาคมเศรษฐกิจ ท่องเทีย่ วเขตอุตสาหกรรม ทีม่ กี ารลงทุนสูงบริเวณ อาเซียนในปี 2558 รวมทั้งกรอบความร่วมมืออื่นๆ พื้นที่ชายฝั่ง การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช เช่น กรอบความร่วมมือเอเชีย-แปซิฟิค จะมีผล จากสภาพอากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลง สร้างความเสียหาย กระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย แก่ผลผลิตทางการเกษตรและธัญญาหารของโลก โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะรองรับ รวมทั้งกระทบต่อภาคสังคม เช่น ปัญหาความ ยากจนการอพยพย้ายถิ่นและการแย่งชิงทรัพยากร การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

63

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


64

บทที่ 1

ความสำคัญโครงสร้างและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

สถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อ SMEs ในปัจจุบัน 4.5 ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของ โลกมีแนวโน้มจะเป็นปัญหาสำคัญ

ความต้องการพืชพลังงาน สินค้าเกษตรและอาหารมี แนวโน้มเพิม่ ขึน้ จากการเพิม่ ประชากรโลกแต่การผลิต พืชอาหารลดลงด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ เทคโนโลยี ที่มีอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ทำให้ เกิดความขัดแย้งระหว่างการผลิตพืชอาหารและพืช พลังงานในอนาคต ส่งผลให้ผลผลิตอาหารสู่ตลาด ลดลง ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชากรโลก หรือมีราคาสูงเกินกว่ากำลังซื้อ โดยเฉพาะในกลุ่ม ประเทศยากจน อาจนำไปสูก่ ารเกิดวิกฤตอาหารโลก

4.6 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ปัจจุบนั เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร นาโน เทคโนโลยี และเทคโนโลยีชีวภาพ อาจเป็นโอกาส ในการพัฒนา หรือเป็นภัยคุกคาม เช่น การจารกรรม ข้อมูลธุรกิจหรือข้อมูลส่วนบุคคล ประเทศที่พัฒนา เทคโนโลยีได้ช้าจะกลายเป็นผู้ซื้อและมีผลิตภาพต่ำ ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ และการเข้าถึง เทคโนโลยีที่ไม่เท่าเทียมกันของกลุ่มคนในสังคมจะ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาจึงเป็นความ ท้าทายในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และลดความเหลื่อมล้ำ

4.7 การก่อการร้ายสากลเป็นภัยคุกคาม ประชาคมโลก

การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติมีแนวโน้ม ขยายตัวทั่วโลกและรุนแรง มีรูปแบบและโครงข่าย ที่ซับซ้อนมากขึ้น อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของ ประเทศหากมีความเสียหายเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ผลกระทบทางจิตวิทยาที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการ จับจ่ายใช้สอย ภาวะการว่างงานทีจ่ ะตามมาอันเนือ่ ง จากการชะลอตัวของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ เกีย่ วข้องกับการท่องเทีย่ ว เช่น สายการบิน โรงแรม และภัตตาคาร เป็นต้น รวมทั้ง รัฐบาลต้องทุ่มเท งบประมาณเพื่อใช้ในการต่อต้านการก่อการร้าย อั น จะส่ ง ผลต่ อ เศรษฐกิ จ โดยรวมของประเทศ ให้ชะลอตัว ดังนั้น แม้ว่าประเทศไทยมิได้เกี่ยวข้อง โดยตรงกับปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ ที่เป็น สาเหตุของการก่อการร้าย หากแต่มีโอกาสที่จะได้ รับผลกระทบจากเหตุการณ์ก่อการร้ายอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาการ ส่งออกและเงินทุนจากต่างประเทศ จึงจำเป็นต้อง เตรียมความพร้อมในการรับมือหากเกิดเหตุการณ์ ดังกล่าวขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของ ประเทศไทยได้

การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจ โลกแบบหลายศูนย์กลาง ปัญหาความมั่นคง ทางอาหารและ พลังงานของโลก การเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศของโลก

ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี

การเปลี่ยนแปลง กฏกติกาใหม่ของโลก

การรวมกลุ่ม ทางเศรษฐกิจ การก่อการร้ายสากล อันเป็นภัยคุกคาม ประชาคมโลก

การเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุของโลก

65

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


ผลการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ที่ผ่านมา


68

บทที่ 2

ผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผ่านมา

ผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมที่ผ่านมา การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ถือเป็นประเด็นการพัฒนาที่สำคัญของหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะหลังวิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2540 ในประเทศไทยได้เกิดการพัฒนากลไกเชิงสถาบันในด้าน การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ชัดเจน เช่น การออกพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 และการจัดตัง้ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รวมทัง้ มีการกำหนดนโยบายรัฐบาลเพือ่ การบริหารประเทศในเรือ่ งการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นกลุม่ วิสาหกิจส่วนใหญ่ ของประเทศให้เกิดความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันได้มากยิง่ ขึ้นทัง้ ระดับในประเทศและระดับ นานาชาติ อันจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคมให้แก่ประเทศชาติ ทีผ่ า่ นมา ประเทศไทยได้มกี ารจัดทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึง่ กำหนดทิศทาง การพัฒนาโดยเป็นแผนระยะ 5 ปี เพือ่ ให้การขับเคลือ่ นนโยบายและการดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีบรู ณาการและมีความชัดเจนมากยิง่ ขึน้ ประกอบด้วย

1

ผลการดำเนินงาน:

จากการประเมินผลการส่งเสริมตามแผนการส่งเสริม แผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) พบว่า การส่งเสริมของภาครัฐดำเนินการ (พ.ศ.2545-2549) ได้ผลในระดับหนึง่ เนือ่ งจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ ข้อจำกัดด้านองค์ความรูค้ วามเชีย่ วชาญของบุคลากร ภาครัฐ และระบบจัดการงานส่งเสริมที่ยังไม่เป็น ทิศทางการส่งเสริม: แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เอกภาพ ทำให้การส่งเสริมด้านผลิตภาพ การสนับสนุน ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) ได้จัดทำขึ้นในขณะที่ ให้เกิดธุรกิจรายใหม่ การผลักดันและจูงใจวิสาหกิจ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังอยู่ในสภาพที่ได้รับ ขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสูร่ ะบบและมีธรรมาภิบาล ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและอยู่ใน รวมทัง้ การเพิม่ สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ สถานภาพทีเ่ ริม่ ฟืน้ ตัว จึงมุง่ เน้นในเรื่องการบรรเทา ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังไม่บรรลุ ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น การฟื้นฟู เป้าหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการให้ต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ และขยายผลต่อไป ขนาดย่อมให้สร้างความแข็งแกร่งในเชิงโครงสร้าง

2

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554)

ทิศทางการส่งเสริม:

) เป้าหมายที่

1 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จนมี สัดส่วนเพิ่มเป็นร้อยละ 42 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ มวลรวมของประเทศในปี 2554 พบว่า สัดส่วนมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในระหว่างปี 2551-2553 ลดลงอย่าง ต่อเนื่อง คือมีสัดส่วนร้อยละ 38.10 ร้อยละ 37.80 และร้อยละ 37.10 ตามลำดับ ทั้งนี้ สาเหตุหลัก เนื่องมาจากวิกฤตทางเศรษฐกิจการเงินของสหรัฐ อเมริกา (Hamburger crisis) ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มผู้ประกอบ การส่งออก ประกอบกับปัญหาความขัดแย้งทาง การเมืองที่ยืดเยื้อมาหลายปี

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) มุ่งเน้นการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระดับธุรกิจราย สาขา (Sector) ในพืน้ ที่ และในระดับผูป้ ระกอบการ โดยการส่งเสริมให้ความสำคัญในเรื่องการปรับตัว ด้านประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และการเพิ่ม ผลิตภาพการผลิต การจัดการ ความสามารถในการ สร้างนวัตกรรม และการคำนึงถึงความรับผิดชอบ ต่อผูบ้ ริโภคสังคมและสิง่ แวดล้อม รวมทัง้ ได้ผลักดัน ) เป้าหมายที่ 2 เรื่องการพัฒนาปรับปรุงระบบการจัดการและการ อัตราการขยายตัวมูลค่าการส่งออกของวิสาหกิจ ทำงานของภาครัฐในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่า และขนาดย่อมเพือ่ ให้มปี ระสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ อัตราการขยายตัวการส่งออกรวม พบว่า ในระหว่าง ปี 2551-2553 อัตราการขยายตัวการส่งออกของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมลดลงจากร้อยละ ผลการดำเนินงาน: จากการติดตามผลการดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจ 8.47 ในปี 2550 มาอยูท่ ร่ี อ้ ยละ 7.36 และในปี 2551 ขนาดกลางและขนาดย่อมตลอดระยะเวลาการดำเนิน และหดตัวที่ร้อยละ 6.03 ในปี 2552 อย่างไรก็ตาม งานส่งเสริมและพัฒนาในช่วงระยะเวลาของแผน ในปี 2553 อัตราการขยายตัวการส่งออกของวิสาหกิจ การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ขนาดกลางและขนาดย่อมกลับมามีการขยายตัว ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) สามารถสรุปโดยมี ร้อยละ 10.39 ซึง่ เป็นไปในทิศทางเดียวกับการส่งออก ในภาพรวม รายละเอียดดังนี้ ผลการดำเนินงานตามเป้าหมายและตัวชี้วัด แผนการส่งเสริมฯ

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ได้กำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไว้ 3 เป้าหมาย พบว่ามีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (ตารางที่ 2-1)

เป้าหมายที่ 1

42%

เป้าหมายที่ 2

เป้าหมายที่ 3

TFP3%

) เป้าหมายที่

3 ผลิตภาพการผลิตโดยรวม (Total Factor Productivity: TFP) ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขยายตัว ไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 3 ต่อปี รวมทัง้ ผลิตภาพการผลิต โดยรวมของสาขาเป้าหมายและผลิตภาพแรงงาน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขยายตัวไม่ ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี พบว่า ผลิตภาพด้านต่างๆ ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

69

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


70

บทที่ 2

ผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผ่านมา

ตารางที่ 2-1 สรุปผลการดำเนินงานตามเป้าหมายของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) เป้าหมายแผนฉบับที่ 2 1. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SMEs ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนมีสัดส่วน เพิ่มเป็นร้อยละ 42 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในปี 2554*

ตารางที่ 2-2 งบประมาณในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554)

ปี 2550

ปี 2551

ปี 2552

ปี 2553

38.70

38.10

37.80

37.10

11.66

11.16

(11.17)

18.80

8.47

7.36

(6.03)

10.39

2. การขยายตัวของมูลค่า การส่งออกของ SMEs เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าอัตรา การขยายตัวของการส่งออกรวม*

อัตราการขยายตัวการส่งออกรวม

3. ผลิตภาพการผลิตโดยรวม (TFP) ของ SMEs ขยายตัวไม่น้อยกว่า ร้อยละ 3 ต่อปี รวมทั้งผลิตภาพ การผลิตโดยรวมของสาขาเป้าหมาย และผลิตภาพแรงงาน SMEs ขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี**

วิสาหกิจ ขนาดย่อม

ผลิตภาพรวม ผลิตภาพแรงงาน

0.19 0.05

0.94 (0.07)

(0.12) 0.02

NA NA

วิสาหกิจ ขนาดกลาง

ผลิตภาพรวม ผลิตภาพแรงงาน

(0.64) 0.01

(0.08) (0.06)

(0.03) 0.004

NA NA

อัตราการขยายตัวการส่งออกของ SMEs

จำนวนกิจกรรม / โครงการ (โครงการ)

ปีงบประมาณ

ในกองทุน

นอกกองทุน

รวม

ในกองทุน

นอกกองทุน

ปี 2550

125

55

180

2,156.93

2,312.78

4,469.71

ปี 2551

73

76

149

1,022.74

2,131.45

3,154.19

ปี 2552

40

50

90

653.83

1,585.98

2,239.81

238

181

419

3,833.50

6,030.21

9,863.71

รวม

หมายเหตุ : ( ) หมายถึง มีค่าเป็นลบ ที่มา : * รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2552 และแนวโน้ม ปี 2553 ** รายงานการผลิตภาพและประกอบการอุตสาหกรรมปี 2550-2552 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลิตภาพการผลิตประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักร อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมเครื่องหนัง

กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) ผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ และกิจกรรมทีใ่ ช้งบประมาณดำเนินการของหน่วยงาน ขนาดย่อมในประเด็นสำคัญต่างๆ ภาครัฐและเอกชนอืน่ ๆ (ซึง่ ต่อไปจะเรียกว่างบประมาณ นอกกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) สรุ ป สาระสำคั ญ ของผลการดำเนิ น งานส่ ง เสริ ม นอกจากการติดตามผลดำเนินงานตามเป้าหมาย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในปีงบประมาณ ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ 2550-2552 ดังนี้ ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 25502554) แล้ว สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง งบประมาณที่ใช้ในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาด และขนาดย่อมยังได้รวบรวมข้อมูลจากส่วนราชการ กลางและขนาดย่อม ระหว่างปี 2550-2552 หน่วยงานของรัฐที่ได้ดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจ หน่วยงานต่างๆ มีการใช้งบประมาณเพือ่ ดำเนินการ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มเพื่ อ นำมาประมวลผล ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งใน การดำเนิ น งานตามแผนการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ส่วนงบประมาณในกองทุนฯ และงบประมาณนอก ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550- กองทุนฯ รวม 9,863.71 ล้านบาท โดยมีจำนวน 2554) ทั้งในส่วนของกิจกรรมที่ใช้งบประมาณ กิจกรรมและโครงการรวมทั้งสิ้น 419 โครงการ ดำเนินการจากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง (ตารางที่ 2-2) และขนาดย่อม (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า งบประมาณใน

งบประมาณ (ล้านบาท) รวม

ที่มา: รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2552 และแนวโน้ม ปี 2553

จำนวนกิจกรรม/โครงการ (โครงการ) 55

76

125

2,312.78

50 40

73

งบประมาณ (ล้านบาท) 2,131.45

1,022.74

2,156.93

653.83

180

149

90

4,469.71

3,154.19

2,239.81

ปี 2550

ปี 2551

ปี 2552

ปี 2550

ปี 2551

ปี 2552

จากข้อมูลการจัดสรรงบประมาณข้างต้น พบว่า งบประมาณเพื่อการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปี 2552 ทั้งในส่วนของงบประมาณในกองทุน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ งบประมาณนอกกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (ตารางที่ 2-2) ทั้งนี้ หากพิจารณาตามยุท ธศาสตร์ภายใต้แผน การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) พบว่าวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคการค้าได้รับการ ส่งเสริมน้อยมากเห็นได้จากงบประมาณในกองทุน ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มเพื่ อ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพและลด ผลกระทบในภาคการค้าได้รับงบประมาณเพื่อการ

1,585.98

ส่งเสริมเพียง 67.28 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.75 และเมื่อพิจารณาจากงบประมาณนอกกองทุน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับ งบประมาณเพื่อส่งเสริมเพียง 3.44 ล้านบาท หรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.06 ของงบประมาณรวม ทั้งหมด (ตารางที่ 2-3) งบประมาณในกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ร้อยละ 37.95 ของงบประมาณรวมทัง้ หมดมูลค่า 1,454.75 ล้านบาท มุง่ เน้นไปทีย่ ทุ ธศาสตร์ ที่ 6 การพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น พืน้ ทีป่ ระกอบ กิจการช่องทางการตลาด การให้การสนับสนุนทาง การเงินให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และกฎระเบี ย บที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การดำเนิ น ธุ ร กิ จ เป็นต้น (ตารางที่ 2-3) 71

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


บทที่ 2

72

ผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผ่านมา

ในส่วนของงบประมาณนอกกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมงบประมาณส่วนใหญ่ มุ่งเน้นไปที่ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มผลิตภาพ และ ขี ด ความสามารถทางนวั ต กรรมของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคการผลิต โดยได้ รับงบประมาณเพื่อการส่งเสริม จำนวน 2,517.15 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.74 ของงบประมาณ รวมทัง้ หมด ซึง่ เป็นการดำเนินการในเรือ่ งการส่งเสริม ให้ความรู้คำปรึกษาแนะนำการปรับปรุงกระบวน

การผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาระบบและ ขัน้ ตอนในการผลิต การส่งเสริมให้โรงงานได้รบั ความรู้ และคำปรึกษาแนะนำ การนำหลักปฏิบัติที่เป็นเลิศ ในการผลิต การพัฒนาระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ของอุตสาหกรรม พัฒนาทักษะของ บุคลากรให้มีความรู้และทักษะสูงในอุตสาหกรรม เป้าหมายทีส่ ำคัญ เช่น อุตสาหกรรมสิง่ ทอ อุตสาหกรรม ยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรม แม่พิมพ์ เป็นต้น (ตารางที่ 2-3)

ใบกองทุน

นอกกองทุน

รวม

10.24 19.16

37.95

10.31

21.01

34.48

28.53

3.17 10.34 0.06

28.38

10.39 2.37

1.75

41.74

2.86 0.72

36.55

ตารางที่ 2-3 งบประมาณในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำแนกตามยุทธศาสตร์ ภายใต้แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ยุทธศาสตร์ 1. การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

จำนวนกิจกรรม / โครงการ (โครงการ) ในกองทุน 734.43

นอกกองทุน 2,079.19

รวม 2,813.62

งบประมาณ (ล้านบาท) ในกองทุน 19.16

นอกกองทุน 34.48

รวม

2,517.15

3,605.09

28.38

41.74

36.55

3. การเพิ่มประสิทธิภาพ และ ลดผลกระทบในภาคการค้า

67.28

3.44

70.72

1.75

0.06

0.72

4. การส่งเสริมภาคบริการในการ สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม

90.73

191.28

282.01

2.37

3.17

2.86

398.37

621.81

1,020.18

10.39

10.31

10.34

6. การพัฒนาปัจจัยเอือ้ ในการดำเนินธุรกิจ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

1,454.75

617.34

2,072.09

37.95

10.24

21.01

รวม

3,833.50

6,030.21

9,863.71

100.00

100.00

100.00

5. การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในภูมิภาคและท้องถิ่น

ที่มา : รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2552 และแนวโน้มปี 2553

67,463 ราย

28.53

1,087.94

2. การเพิ่มผลิตภาพ และ ขีดความสามารถทางนวัตกรรม ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในภาคการผลิต

1,426,481 คน

การพัฒนาบุคลากรและ สถานประกอบการ การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ระหว่างปี 2550 - 2552 มีการพัฒนาบุคลากร โดย มีผ้ปู ระกอบการและแรงงานได้รับการถ่ายทอดองค์ ความรู้ทั้งสิ้น 1,426,481 คน และมีสถานประกอบ การวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการ พัฒนา ยกระดับประสิทธิภาพและศักยภาพในการ ดำเนินธุรกิจรวมทัง้ สิน้ 67,463 ราย (ตารางที่ 2-4) การพัฒนาบุคลากรภายใต้งบประมาณในกองทุน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการ ถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาทักษะแก่ผ้ปู ระกอบ การและแรงงานในภาคการผลิต (ยุทธศาสตร์ที่ 2) มากที่สุดจำนวน 12,414 คน ส่วนงบประมาณนอก กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มี ก ารสร้ า งและพั ฒ นาผู้ ป ระกอบการวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม (ยุทธศาสตร์ท่ี 1) มากทีส่ ดุ จำนวน 1,009,854 คน ทัง้ นีจ้ ากการดำเนินโครงการ

เสริมสร้างผูป้ ระกอบการใหม่ 1 (New Entrepreneur Creation: NEC) ซึง่ เป็นโครงการทีด่ ำเนินการต่อเนือ่ ง ตั้งแต่ปี 2545 โดยเป็นการจัดฝึกอบรมหลักสูตร ระยะยาวให้กบั ผูท้ ส่ี นใจจะจัดตัง้ ธุรกิจในระยะเริม่ ต้น 1-3 ปี สำหรับการพัฒนาสถานประกอบการนัน้ การดำเนิน งานภายใต้งบประมาณในกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมมีสถานประกอบการใน ภาคการผลิต (ยุทธศาสตร์ท่ี 2) ได้เข้าร่วมโครงการ และได้รับการพัฒนาศักยภาพมากที่สุดเป็นจำนวน 4,527 ราย ส่วนการดำเนินงานภายใต้งบประมาณ นอกกองทุ น ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม มีการพัฒนาและยกระดับประสิทธิภาพ และศั ก ยภาพของสถานประกอบการวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่ดำเนินธุรกิจโดยทั่วไป (ยุทธศาสตร์ที่ 1) จำนวน 34,072 ราย

1 จากผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าว สามารถสร้างผู้ประกอบการใหม่และขยายธุรกิจได้รวม 1,125 วิสาหกิจ โดยสามารถสร้างมูลค่า การลงทุนในธุรกิจรวม 1,126 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานรวม 4,463 คน สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) การสำรวจผูป้ ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามตัวชีว้ ดั ทีส่ ำคัญของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554)

73

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


บทที่ 2

74

ผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผ่านมา

ตารางที่ 2-4 ผลการดำเนินงานภายใต้แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ด้านการพัฒนาบุคลากรและสถานประกอบการ จำนวนบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา (คน)

ยุทธศาสตร์

ในกองทุน

นอกกองทุน

จำนวนสถานประกอบการทีไ่ ด้รบ ั การพัฒนา (ราย)

รวม

ในกองทุน

นอกกองทุน

รวม

4,881

1,009,854

1,014,735

266

34,072

34,338

12,414

28,106

40,520

4,527

4,466

8,993

3. การเพิ่มประสิทธิภาพ และ ลดผลกระทบในภาคการค้า

693

1,412

2,105

5

80

85

4. การส่งเสริมภาคบริการในการ สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม

464

12,669

13,133

1,063

13,973

15,036

9,717

346,271

355,988

2,091

6,920

9,011

0

0

0

0

0

0

28,169

1,398,312

1,426,481

7,952

59,511

67,463

1. การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2. การเพิ่มผลิตภาพ และ ขีดความสามารถทางนวัตกรรม ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในภาคการผลิต

5. การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในภูมิภาคและท้องถิ่น 6. การพัฒนาปัจจัยเอือ้ ในการดำเนินธุรกิจ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวม

ที่มา : รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2552 และแนวโน้มปี 2553 346,271 9,717

4,881

464

จำนวนบุคลากร ที่ได้รับการพัฒนา (คน)

12,414

693

2,105

12,669

13,133

28,106

40,520

1,063

80

8,993 34,072

4,527 13,973

15,036

266

จำนวนสถานประกอบการ ที่ได้รับการพัฒนา (ราย)

5

1,014,735

355,988

1,412

6,920 2,091

1,009,854

4,466

9,011

85 34,338

การพัฒนานวัตกรรมและ ทรัพย์สินทางปัญญา การดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ในระหว่างปี 2550-2552 ในด้านการ พัฒนานวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา ในส่วน ของการพัฒนาภายใต้งบประมาณในกองทุนส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่มีการดำเนิน งานในด้ า นนวั ต กรรมและทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา สำหรับการดำเนินงานโดยหน่วยงานภาครัฐและ เอกชนอืน่ ๆ ภายใต้งบประมาณนอกกองทุนส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมพบว่า มีจำนวน ผลงานนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนา คิดค้นขึ้นรวม ทั้งสิ้น 133 รายการ ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรม ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ โดยสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ดา้ นชิน้ ส่วนยานยนต์รวม 6 ผลิตภัณฑ์ และสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ในอุตสาหกรรม ดังกล่าวรวม 100 รายการ การพัฒนานวัตกรรมใน อุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งสามารถต่อยอดผลงานวิจัย สู่ ก ารพั ฒ นาเป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ สิ่ ง ทอที่ มี คุ ณ สมบั ติ พิเศษ (Functional Textile) จำนวน 15 รายการ และการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของ กระบวนการผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมเหล็กโดย มีเป้า ประสงค์ที่จะต่อ ยอดการพัฒนานวัต กรรม ในส่วนของการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือตรวจ วิเคราะห์ต่างๆ และทดลองการผลิตจำนวน 12 รายการ

การพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจ การดำเนินงานภายใต้งบประมาณในกองทุนส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่มงุ่ เน้น ด้ า นการพั ฒ นาปั จ จั ย เอื้ อ ในการดำเนิ น ธุ ร กิ จ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ด้านการตลาดด้านการเงิน ด้านระบบฐานข้อมูล เป็นต้น ส่วนการดำเนินงานภายใต้งบประมาณนอก กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มุ่งเน้นในด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับและ สิทธิประโยชน์กฎระเบียบ ระบบฐานข้อมูล และ บุคลากร ซึ่งระหว่างปี 2550-2552 พบว่า มีการ สนับสนุนปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจรวมทั้งสิ้น 71 รายการสรุปได้ ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการระบบ ฐานข้อมูลที่ทันสมัย

มี ก ารพั ฒ นาระบบฐานข้ อ มู ล เพื่ อ สนั บ สนุ น องค์ ความรู้ ที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ การจัดตั้ง ศู น ย์ บ ริ ก ารด้ า นการออกแบบพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ และบรรจุภัณฑ์การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมลงทุน ในภูมิภาค การจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลและองค์ ความรู้สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Corner) การพั ฒ นาระบบฐานข้อ มู ล ผูป้ ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน ธุรกิจสำคัญ เพื่อรองรับการขยายตลาดไปยังกลุ่ม ประเทศตามกรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน การจัดตั้งหน่วยบริการองค์ความรู้สิ่งทอ และแฟชั่น เพื่อให้บริการองค์ความรู้และแนวโน้ม แฟชั่ น และวั ส ดุ สิ่ ง ทอการจั ด ทำระบบฐานข้ อ มู ล อุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่องเบื้องต้น การปรับปรุงโปรแกรมระบบฐานข้อมูล เพือ่ คำนวณ ค่าดัชนีใ นระดับอุต สาหกรรม การพัฒ นาระบบ สารสนเทศอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ และการจัดตัง้ ศูนย์เชีย่ วชาญด้านแม่พมิ พ์ การพัฒนา ความร่วมมือการให้บริการด้านวิทยาศาสตร์รว่ มกับ สถาบันการศึกษา หน่วยงาน และสถาบันการวิจัย ต่างๆ เพื่อต่อยอดผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ 75

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


76

บทที่ 2

ผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผ่านมา

ด้านการตลาด

มีการพัฒนาช่องทางการตลาดเพื่อรองรับการให้ บริการแก่วสิ าหกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดงานแสดงสินค้า การเจรจาธุรกิจ การเผยแพร่ทางสื่อวิทยุ/โทรทัศน์/ สิ่งพิมพ์/สารคดี การส่งเสริมการตลาดต่างๆ จาก การดำเนิน โครงการเงิน ทุน สนั บ สนุ น SMEs สู่ ตลาดอาเซียน (SMEs Capacity Building: Win for ASEAN Market) มีวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมการจั บ คู่ ท างธุ ร กิ จ จำนวน 2,060 ราย เกิดมูลค่าการซื้อขาย จำนวน 200 ล้านบาท และมีการเสริมสร้างขีดความสามารถ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการส่งออก ไปยังประเทศอาเซียนโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) จำนวน 1,876 ราย ทำให้เกิดการพัฒนาแผนที่การตลาด (Market Mapping) ใน 4 ประเทศ 5 กลุ่มสินค้า และบริการ การสนับสนุนเงินอุดหนุนสำหรับการ ขยายตลาดไปยังต่างประเทศในกลุ่ม ASEAN+6 จำนวน 732 ราย ตลอดจนมีการสร้างช่องทางการ ตลาดเพือ่ การขยายฐานการค้าในตลาด ASEAN+6 โดยการจัด Road Show และการประชุมเจรจา การค้าต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาการรวมกลุ่ม อุตสาหกรรมภาคเอกชนในการส่งเสริมให้เกิดความ เข้มแข็ง เป็นต้น ด้านการเงิน

มีการส่งเสริมเงินทุนเพือ่ การปรับปรุงฟืน้ ฟูเครือ่ งจักร (Machine Fund) ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมจำนวน 214 ราย โดยมีวงเงินสินเชื่อ ที่ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มได้ รั บ จาก สถาบันการเงินจำนวน 1,696 ล้านบาท สามารถ เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรจำนวน 1,153 เครื่อง (โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนากลางและขนาดย่อมปี 2550) การสนับสนุน เงินทุนเสริมสร้างศักยภาพการประกอบธุรกิจและ

การสนับสนุนทีป่ รึกษาธุรกิจ (Capacity Building Fund) ประกอบด้วย เงินทุนสนับสนุนวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มเพื่ อ ขยายธุ ร กิ จ ไปยั ง ต่างประเทศ (Internationalization Fund: Inter Fund) โดยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศจำนวน 407 ราย วงเงิน ที่ได้อนุมัติ 28.63 ล้านบาท โดยมียอดขายจาก การขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศจำนวน 74.05 ล้าน บาท และยอดขายที่คาดว่าจะได้รับหลังจากขยาย ธุรกิจไปยังต่างประเทศจำนวน 756.46 ล้านบาท และการสนับสนุนทางการเงินด้านทรัพย์สินทาง ปัญญา (Intellectual Property Fund: IP Fund) จำนวน 12 ราย โดยมีวงเงินอนุมัติ 2.78 ล้านบาท โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้เกิดการ ซื้อขายสินค้า / บริการหลังจากการทำกิจกรรมการ ขยายตลาดไปยัง ต่างประเทศด้านระบบสนับสนุน SMEs ด้านทรัพย์สินทางปัญญาจำนวน 254 ราย สามารถนำผลงานทีจ่ ดลิขสิทธิ์ / สิทธิบตั รไปต่อยอด ในเชิงพาณิชย์ จำนวน 4 ราย ทัง้ นี้ มีวสิ าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถยืน่ ขอจดลิขสิทธิ/์ สิทธิบตั ร จำนวน 44 คำขอเกิดยอดขายจากการขอ ซื้อสิทธิ์ / ซื้อผลงาน จำนวน 0.76 ล้านบาท และ ยอดการขายเชิงพาณิชย์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 57.66 ล้านบาท ด้านการพัฒนาพื้นที่เขตภูมิภาค

ได้ดำเนินการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เครือข่ายและห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครือ่ งนุง่ ห่มรวมถึงการจัดงานแสดงสินค้าและ จำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับกลุม่ อาชีพและผลิตภัณฑ์ ชุมชน การพัฒนาผู้ประสานงานเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster Development Agent) ในธุรกิจท่องเทีย่ ว และอุตสาหกรรมเฟอร์นเิ จอร์ จำนวน 283 ราย โดย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รบั การพัฒนา ยกระดับขีดความสามารถด้านองค์ความรู้บริหาร จัดการ จำนวน 1,402 ราย

ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และสิทธิประโยชน์

ด้านการยกระดับความรู้และทักษะบุคลากร

มีการพัฒนาผู้ให้บริการอุตสาหกรรม (Service มีการพัฒนาปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อลดอุปสรรค Provider) ซึง่ สามารถสร้างบริกรธุรกิจเพือ่ ให้ความ และเอือ้ ต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง ช่วยเหลือแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในสาขาต่า งๆ เช่น บริ ก รธุ ร กิ จ ด้า นวิ น ิ จ ฉั ย และขนาดย่อม ได้แก่ สถานประกอบการ (Shindan หรือ นักวินิจฉัย • การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทในตลาด สถานประกอบการ) บริกรธุรกิจด้านทีป่ รึกษาธุรกิจ หลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยให้ลดอัตราภาษี ขนาดเล็ก (APEC-IBIZ) เป็นการพัฒนาที่ปรึกษา เงินได้ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิเฉพาะในส่วนที่ไม่ ระดับอาชีพตามแนวทางการพัฒนาที่ปรึกษาธุรกิจ ขนาดเล็กของกลุม่ ประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เกิน 20 ล้านบาท เอเชีย-แปซิฟิก (APEC) บริกรอุตสาหกรรมแบบ • การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับภาษี ครบวงจรเป็นการสร้างและพัฒนาบริกรธุรกิจผ่าน ทีต่ อ้ งเสีย ตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากร กระบวนการฝึกอบรมและการฝึกปฏิบัติและบริกร ั ฑ์ในด้าน เฉพาะผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีไม่เกิน 5,000 บาท ธุรกิจด้านออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภณ ธุรกิจการออกแบบ • การแก้ไขเพิม่ เติมหลักเกณฑ์และเงือ่ นไขการยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลของธุรกิจ เงินร่วมลงทุนที่เข้า จากการติดตามผลการส่งเสริมตามแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2550-2554 ไปถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ผ่านมา พบว่า การส่งเสริมของภาครัฐได้ให้ • การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงิน ความสำคัญต่อการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจ ได้นติ บิ คุ คลสำหรับรายจ่ายเพือ่ การได้มาซึง่ ทรัพย์สนิ ขนาดกลางและขนาดย่อมเพิม่ ขึน้ แต่ยงั คงกระจุกตัว ประเภทวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครือ่ งจักรทีม่ ผี ลต่อการ อยู่ในภาคการผลิต อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดด้าน ข้อมูลการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและ ประหยัดพลังงาน ขนาดย่อมโดยเฉพาะในระดับท้องถิน่ ด้านงบประมาณ • การยกเว้นภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาให้กบั วิสาหกิจ สำหรั บ การส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาด้ า นองค์ ค วามรู้ ชุมชนที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ ความเชีย่ วชาญ และความเข้าใจเกีย่ วกับปัญหาและ ไม่ใช่นติ บิ คุ คลทีม่ เี งินได้พงึ ประเมินไม่เกิน 1.80 ล้าน ความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของบุคลากรภาครัฐ และเอกชนทีม่ บี ทบาทเกีย่ วข้อง บาทในปีภาษี กับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการส่งเสริมระบบและเครือ ่ งมือให้วส ิ าหกิจ รวมทั้งยังขาดการเชื่อมโยงบูรณาการการทำงาน ร่วมกัน เพือ่ เกือ้ หนุนการดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เกิดความสะดวกในการใช้เทคโนโลยี มีการจัดทำ ขนาดกลางและขนาดย่อมระหว่างหน่วยงานทั้งใน ระบบโครงข่ายเชื่อมโยงธุรกิจและพัฒนาซอฟต์แวร์ ระดับส่วนกลาง ส่วนภูมภิ าค และส่วนท้องถิน่ ทำให้ มาตรฐานกลาง การพัฒนาระบบสารสนเทศด้าน การส่งเสริมด้านการเพิ่มผลิตภาพ การเพิ่มสัดส่วน อุตสาหกรรม การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของวิสาหกิจ เครือข่ายและห่วงโซ่อุปทาน การจัดตั้งอุทยาน ขนาดกลางและขนาดย่อมรวมทั้ง การเพิ่มสัดส่วน วิทยาศาสตร์ภาคเหนือ และศูนย์บม่ เพาะและพัฒนา มู ล ค่ า การส่ ง ออกของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ผู้ประกอบการในธุรกิจซอฟต์แวร์ ขนาดย่อมยังไม่บรรลุเป้าหมาย

77

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทย


80

บทที่ 3

การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและ ภัยคุกคามของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคาม (SWOT Analysis) เป็นการวิเคราะห์โดยการสำรวจ สภาพการณ์ใน 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) เพื่อให้รู้สภาพการณ์ภายใน และการวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) และภัยคุกคาม (Threats) เพื่อรู้สภาพแวดล้อมหรือสภาพการณ์ภายนอก การ วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งสิ่งที่ได้ เกิดขึ้นแล้ว และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระยะ พ.ศ.2555-2559 รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ที่คาดว่าจะมีผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อนำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และ กลยุทธ์ของแผนฉบับนี้ในลำดับต่อไป วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มไทยมี ค วาม จุดแข็ง (Strengths) สามารถและความเชี่ยวชาญด้านทักษะงานฝีมือ รวมถึงงานบริการ (Craftsmanship & Hospitality) อีกทั้งมีองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ศิลปะวัฒนธรรมที่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นฐานรากที่ เป็นเอกลักษณ์ (Identity) และทรัพยากรทีม่ หี ลาก สำคัญของเศรษฐกิจประเทศ ซึง่ แม้วา่ มีความหลาก หลายในแต่ละพื้นที่ สามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม หลายในเชิงธุรกิจ แต่ยังมีการเติบโตเชิงพัฒนาที่ ให้แก่สินค้าและบริการ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทีส่ ร้างโอกาสในการแข่งขัน เห็นได้จากข้อดีจากลักษณะในการประกอบธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถผลิต โดยสรุป ดังนี้ สิ น ค้ า และบริ ก ารเพื่ อ ตอบสนองความต้ อ งการ ของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายและเข้าใจพฤติกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความคล่องตัว ผู้บริโภคในตลาดเฉพาะ (Niche Market) โดยนำ ยืดหยุน่ สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์แวดล้อม ความรู้และประสบการณ์จากการรับจ้างผลิตสินค้า ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับ ต่อยอดไปสูก่ ารพัฒนาสินค้าให้มมี ลู ค่าเพิม่ นอกจาก รูปแบบองค์กรสมัยใหม่ท่มี ีการบริหารองค์กรแบบ นั้น ตลาดเฉพาะยังมีขนาดเล็กเกินกว่าที่วิสาหกิจ แนวราบ (Flat Organization) ซึ่งมีสายงานบังคับ ขนาดใหญ่จะให้ความสำคัญ จึงเป็นโอกาสสำหรับ บัญชาน้อย ทำให้มคี วามคล่องตัวในการบริหารจัดการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงบุคลากร สามารถทำงานได้หลายหน้าที่

W จุดอ่อน (Weaknesses)

ความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทยที่ผ่านมาดำเนินธุรกิจโดยอาศัย ข้อได้เปรียบด้านต้นทุนแรงงานทรัพยากรภายใน ประเทศภูมิประเทศและสิ่งอำนวยความสะดวกทาง ด้านการขนส่งมากกว่าความสามารถในการพัฒนา คุณภาพด้านบุคลากร การวิจัย นวัต กรรมและ เทคโนโลยี เพือ่ นำไปสูก่ ารพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพและมูลค่ามากยิ่งขึ้น ทำให้ปัจจุบันไม่ สามารถเผชิ ญ กั บ การแข่ ง ขั น ทางธุ ร กิ จ กั บ กลุ่ ม ประเทศเติบโตใหม่ที่มีความได้เปรียบด้านต้นทุน ราคาถูก ปัญหาและอุปสรรคทีส่ ำคัญในการดำเนิน ธุรกิจของวิสาหกิจกลางและขนาดย่อม มีดังนี้ วิสัยทัศน์ (Vision) ในการบริหารจัดการธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยส่วนใหญ่ ดำเนินการแบบธุรกิจครอบครัว มีผลให้การตัดสินใจ ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการดำเนินการ โดยเจ้าของธุรกิจเพียงคนเดียวหรือกลุม่ เดียว ทำให้ การบริหารงานไม่มีระบบไม่มีความโปร่งใส ขาดการ วางแผนธุรกิจหรือทักษะในการบริหารธุรกิจ รวมถึง ไม่สามารถบริหารจัดการต้นทุน ขาดระบบบัญชีที่ดี ไม่มีระบบติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ขาด วิสัยทัศน์ขององค์กร และไม่ให้ความสำคัญกับการ รวมกลุ่ม หรือการเชื่อมโยงกับธุรกิจผู้ประกอบการ อื่นๆ นอกจากนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้ หรือยังไม่เข้าใจถึงการเปลีย่ นแปลงสภาวะแวดล้อม ทางเศรษฐกิจทีจ่ ะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ อันเนือ่ งมาจากข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ การเข้าสู่สมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน วิกฤต ทางการเงิน วิกฤตการขาดแคลนพลัง งานและ ทรัพยากรที่เป็นแหล่งอาหารจึงไม่สามารถปรับตัว ได้ทันต่อสถานการณ์ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายทาง ธุรกิจ

ความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยส่วนใหญ่ ผลิตสินค้าแบบรับจ้างผลิตตามที่ลูกค้ากำหนด มี ผู้ประกอบการจำนวนน้อยที่มีความสามารถด้าน การออกแบบผลิตภัณฑ์ในขั้นที่สูงขึ้น เช่น การทำ สินค้าต้นแบบ (Prototype Part) ขาดการนำ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เทคโนโลยีนวัตกรรมมา ใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะและ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทำให้เกิด การเลี ย นแบบและนำไปสู่ ก ารแข่ ง ขั น ทางราคา เป็นต้น ความสามารถในด้านบุคลากร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยังมีขอ้ จำกัด ด้านประสิทธิภาพของบุคลากรทั้งกลุ่มแรงงานที่มี ทักษะฝีมอื มีความรู้ และกลุม่ แรงงานระดับฝีมอื ต่ำ โดย เฉพาะด้านทักษะฝีมือเฉพาะด้านและความสามารถ ด้านภาษา อีกทัง้ ยังขาดระบบมาตรฐานเทียบความรู้ ทักษะฝีมือเพื่อจูงใจในการพัฒนาความสามารถ ใน ขณะทีผ่ ปู้ ระกอบการยังขาดระบบสวัสดิการแรงงาน ที่ดี รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร น้อย ด้านบทบาทภาครัฐและระบบการศึกษา ยังไม่ สามารถผลิตแรงงานทีส่ นองตอบความต้องการของ ภาคธุรกิจโดยเฉพาะในสาขาทีข่ าดแคลนได้เพียงพอ แม้จะมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกบ้างแล้ว ก็ตาม หากแต่ยงั ขาดการพัฒนากลไกทีช่ ว่ ยให้แรงงาน มีการพัฒนาความรูอ้ ย่างต่อเนือ่ ง รวมถึงการพัฒนา ต่อยอดทักษะฝีมือในระดับขั้นสูง ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งข้อจำกัดนี้มิได้เกิดจากเฉพาะตัวผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแต่เพียงฝ่ายเดียว หากยังเกิดขึน้ จากสถาบันการเงินและระบบสนับสนุน ด้านการเงินกล่าวคือ ในส่วนของตัวผูป้ ระกอบการที่ แม้ว่าปัจจุบันสถาบันการเงินภาคเอกชนเริ่มพัฒนา สินเชื่อสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่ผู้ประกอบการยังมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเข้าถึง

81

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


82

บทที่ 3

การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

แหล่งทุน ได้แก่ ความพร้อมด้านบัญชีธุรกิจที่ได้ มาตรฐาน มาตรฐานด้านการจัดการ รวมถึงไม่ สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ทางการเงินเพื่อใช้ใน การวางแผนการขอสินเชื่อ อีกทั้งไม่มีหลักทรัพย์ ค้ ำ ประกั น หรื อ มี ห ลั ก ทรั พ ย์ ใ นการค้ ำ ประกั น ไม่ เพียงพอ ในขณะที่สถาบันการเงินขาดความเชื่อมั่น ในการปล่อ ยสิน เชื่อ แก่วิสาหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมส่งผลให้ปริมาณสินเชื่อของสถาบันการ เงินต่ำกว่าความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการ ที่มีค่อนข้างมาก รวมถึงหลักเกณฑ์การพิจารณา สินเซื่อไม่เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะการทำ ธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขณะ ทีร่ ะบบสนับสนุนด้านการเงิน รวมถึงกฎเกณฑ์เงือ่ นไข ต่างๆ ไม่เหมาะสม เช่น กฎระเบียบทีไ่ ม่เอือ้ แก่สถาบัน การเงินในการปล่อยสินเชือ่ ให้แก่ผปู้ ระกอบการ และ ระบบการค้ำประกันทีป่ จั จุบนั ยังเน้นการใช้หลักทรัพย์ หรือบุคคลค้ำประกัน ความสามารถในการเข้าถึงตลาด

ด้วยข้อจำกัดทางด้านเงินทุนทำให้วสิ าหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไม่สามารถดำเนินกิจกรรมการตลาด เชิ ง รุ ก ในตลาดที่ มี ศั ก ยภาพทางการแข่ ง ขั น ได้ มากนัก ขาดการเข้าถึงข้อมูลการตลาดเชิงลึก ทั้ง ข้ อ มู ล คู่ แ ข่ ง ขั น และข้ อ มู ล พฤติ ก รรมผู้ บ ริ โ ภค ซึ่งในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมีความต้องการ ที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงแนวโน้มการบริโภค ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขาดตัวแทนการค้าที่ รวบรวมสินค้าส่งหรือจัดจำหน่ายทัง้ ภายในประเทศ และต่างประเทศ ขาดโอกาสทางการตลาด เช่น ตลาด จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐการสร้างช่องทางการตลาด ด้วยตนเอง หรือ โอกาสทางการตลาดที่เกิดจาก พันธมิตรทางการค้าขาดสถานทีจ่ ำหน่ายและแสดง สินค้าอย่างถาวร และมีศกั ยภาพทางธุรกิจ สิง่ สำคัญ อีกด้านคือ สินค้าและบริการของผู้ประกอบการยัง ไม่เป็นทีเ่ ชือ่ ถือของตลาด ขาดการสร้างภาพลักษณ์ ของสินค้าและบริการทั้งในด้านรูปแบบที่ดึงดูดใจ เครื่องหมายการค้า/ตรายี่ห้อสินค้า ผู้ประกอบการ มีการนำเทคโนโลยีการสื่อสารใช้เพื่อการตลาดและ การประชาสัมพันธ์สนิ ค้าหากแต่ยงั ขาดความรูค้ วาม

เข้าใจด้านการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ขาด การวางแผนการตลาด และยังมีขอ้ จำกัดในด้านการ เข้ า ถึ ง การสนั บ สนุ น กิ จ กรรมด้ า นการตลาดของ ภาครัฐอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน ความสามารถในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยยังขาด ความตระหนักและความสนใจการใช้เทคโนโลยีและ การทำวิจัย นวัตกรรม โดยมีความเข้าใจว่าเป็นการ เพิ่มต้นทุนในการทำธุรกิจมากกว่าเป็นการลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนในอนาคต ขาดองค์ความรู้ใน การยกระดับเทคโนโลยี และนวัตกรรมซึ่งอยู่ในขั้น การเป็นผูพ้ ฒ ั นาเริม่ ต้นให้สงู ขึน้ หากแต่เป็นการนำ เทคโนโลยีที่ซื้อมาและดัดแปลงจากต้นฉบับหรือ เลียนแบบ ไม่ก้าวไปสู่ขั้นการคิดค้นนวัตกรรม ขาด เงินทุนในการทำวิจัยและพัฒนาซึ่งต้องใช้เงินทุน สูงและให้ผลตอบแทนไม่เร็วนัก นอกจากนั้น ยังไม่ สามารถเข้าถึงข้อมูลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมของสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัย ที่สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเหมาะสม ขาดการพัฒนาบุคลากรที่จะเป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา ให้มีปริมาณที่เพียงพอและมีคุณภาพที่เหมาะสม ขาดความรู้ความเข้าใจด้านการคุ้มครอง การวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม ในขณะที่มาตรการจูงใจและ สิทธิประโยชน์จากภาครัฐ เพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้ เกิดการยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ เหมาะสมกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ยังมีค่อนข้างน้อย

ความสามารถในด้านสภาวะแวดล้อมทาง กฎหมาย กฎระเบียบ

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยังขาดความ รูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินธุรกิจส่งผลให้เกิดการหลีกเลีย่ งปฏิบตั ิ ตามกฎหมาย กฎระเบียบ ตลอดจนมีข้อจำกัดด้าน เงินทุนสำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อว่าจ้างดำเนินการแทน ด้านการบริหารจัดการทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากอุปสรรค ทางด้านกฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ เช่น ค่าธรรม เนียมด้านการขออนุญาต การจดทะเบียน ด้านภาษี

อากร ด้านการทำธุรกรรมการค้าประเภทใหม่ๆ ที่ เกิดขึ้น หรือค่าปรับจากการไม่สามารถปฏิบัติตาม กฎระเบียบ ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนที่สูงขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ กระบวนการปรับปรุงทบทวน หรือ กำหนดกฎหมายใหม่ทเ่ี อือ้ ต่อการประกอบธุรกิจ และ สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันยังดำเนินการ ไปอย่างล่าช้า ข้อจำกัดในด้านธรรมาภิบาล

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยขาดจิตสำนึก และการตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนิน ธุรกิจอย่างเป็นธรรม ทั้งต่อลูกค้าพันธมิตรทาง ธุรกิจ ลูกจ้างแรงงาน ชุมชนและสิ่งแวดล้อมของ สถานประกอบการ ซึง่ มีมติ ทิ เ่ี กีย่ วข้องทัง้ ด้านคุณภาพ ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย รวมทัง้ ผูป้ ระกอบการ ส่วนใหญ่มองเป็นเรือ่ งไกลตัว และเป็นการเพิม่ ต้นทุน ให้แก่ธุรกิจจึงให้ความสำคัญค่อนข้างน้อย ซึ่งใน ปัจจุบัน เรื่องธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อ สังคม กลายเป็นปัจจัยสำคัญทีไ่ ม่สามารถหลีกเลีย่ ง ได้โดยเฉพาะในธุรกิจการค้าและการส่งออก โดยถือ เป็นกติกาการค้าใหม่ของโลก ทำให้วสิ าหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมของไทยเสียเปรียบในเชิงการแข่งขัน และมีต้นทุนสูงขึ้น ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้อง พั ฒ นาด้ า นธรรมาภิ บ าลและการบริ ห ารงานที่ดี เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพ พัฒนาความสามารถด้านการ ผลิตสินค้าและบริการให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ในสากล เพื่อรับมือกับกติกาการแข่งขันของเวที การค้าโลก

O

โอกาส (Opportunities)

กระบวนทัศน์ในการทำธุรกิจสมัยใหม่เอื้อต่อ การประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย

จากแนวโน้มของการประกอบธุรกิจในปัจจุบันที่ ธุรกิจขนาดใหญ่เริ่มดำเนินนโยบายลดต้นทุน โดย การกระจายงานที่ไม่ใช่กิจกรรมหลักให้กิจการอื่น ดำเนิ น การมากขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยเอื้อต่อการ ประกอบการของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทยในการดำเนินธุรกิจแบบรับช่วงต่อ หรือ ผู้รับช่วงการผลิต หรือการเป็นเครือข่ายทางธุรกิจ รวมทั้ ง การใช้ ร ะบบเทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ เ ข้ า มา ช่วยในการเป็นเครื่องมือดำเนินธุรกิจ ซึ่งช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และช่วยให้เข้าถึงตลาดได้ อย่างรวดเร็วและตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

ความร่วมมือระหว่างประเทศจากการเปิดเสรี ทางการค้าและความตกลงการค้าเสรี

ซึ่งส่งผลให้ตลาดการค้าการลงทุนขยายตัวใหญ่ขึ้น มีกลุ่มเป้าหมายหลากหลายมากขึ้น การขยายตัว ของตลาดส่งออกอันเนือ่ งมาจากการทำข้อตกลงทาง การค้ากับประเทศต่างๆ ทั้งจากการค้าภายในกลุ่ม ข้อตกลง และการค้ากับกลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆ โดย เฉพาะกับประเทศจีนและอินเดียที่เป็นตลาดใหญ่ ทั้งด้านการค้า การบริการ และการลงทุนรวมทั้งยัง มีความร่วมมือด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะ ฝีมือแรงงานในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นอกจากนี้ ประเทศไทยมีภมู ปิ ระเทศทีเ่ อือ้ ประโยชน์ ไม่วา่ จะเป็นการทีม่ พี น้ื ทีต่ ดิ ชายฝัง่ ทะเล อีกทัง้ ตัง้ อยู่ กลางภูมิภาคอินโดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งหลายสาย มีความ พร้อมด้านเครือข่ายการขนส่งทางถนนที่สามารถ เชื่ อ มโยงไปยั ง ประเทศเพื่ อ นบ้ า นในภู มิ ภ าค อินโดจีนและจีนตอนใต้ได้ รวมถึงมีความพร้อมใน ด้านโครงสร้างพืน้ ฐานโดยรวม จึงเป็นโอกาสสำหรับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในการขยาย 83

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


84

บทที่ 3

การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

โอกาสทางการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่ ประเทศไทยมีขดี ความสามารถในการแข่งขัน เช่น สาขา ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์อาหาร อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงภาคบริการ เช่น สาขาการท่องเทีย่ ว การบริการ สุขภาพและสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ แนวโน้มการบริโภคและโครงสร้างทางสังคมที่ เปลี่ยนไป

ปัจจุบนั ผูบ้ ริโภคในประเทศต่างๆ กำลังอยูใ่ นกระแส นิยมบริโภคสินค้าและบริการทีเ่ ป็นธรรมชาติ อิงกับ วัฒนธรรม สินค้าและบริการทีส่ ง่ เสริมสุขภาพ และ มีส่วนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สินค้าที่ช่วยสนับสนุน ชุมชน รวมถึงกระแสนิยมความเป็นเอเซีย นอกจากนี้ หลายประเทศทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนา แล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญีป่ นุ่ และหลายประเทศใน ยุโรป ซึ่งจากรายงานขององค์การสหประชาชาติ พบว่า ในปี 2552 ทัว่ โลกมีประชากรประมาณ 6,830 ล้านคน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี ประมาณ 737 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10.80 ของ ประชากรโลก และในปี 2593 หรืออีก 39 ปีขา้ งหน้า ประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 9,150 ล้านคน และเป็น ผู้สงู อายุ 2,000 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 21.90 ส่งผลให้ผสู้ งู อายุกลายเป็นตลาดทีม่ ขี นาดใหญ่ และมีกำลังซื้อสูงมากที่สุด จากกระแสนิยมข้างต้น และแนวโน้มดังกล่าว จึงเอื้อต่อความสามารถใน การแข่งขันของประเทศไทยซึง่ มีความเชีย่ วชาญด้าน งานทักษะฝีมอื อันมีรากฐานมาจากองค์ความรูท้ เ่ี ป็น ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และมีความเชี่ยวชาญ ด้านงานบริการซึ่งสะท้อนมาจากคุณลักษณะของ คนไทยทีม่ คี วามเป็นมิตรและมีจติ ใจให้บริการ ซึง่ เป็น โอกาสของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ ไทยในการทำธุรกิจทีส่ อดคล้องตรงกับกระแสบริโภค ต่างๆ ได้เป็นอย่างดีทง้ั ในด้านสินค้าวัฒนธรรมเฉพาะ กลุม่ สำหรับตลาดเฉพาะ สินค้าและบริการเพือ่ สุขภาพ และความงาม การท่องเทีย่ วและสันทนาการ รวมถึง งานบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทางด้านจิตใจ

ช่องทางในการลงทุน การระดมทุนของภาค ธุรกิจมีมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง

จากกรณีค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในด้านหนึ่งถือเป็น ประโยชน์สำหรับธุรกิจในการสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต การนำเข้า วัตถุดิบหรือการลงทุนดำเนินกิจการในต่างประเทศ หรือกรณีการเปิดเสรีทางการเงินและการรวมตัว ทางด้านการเงินทำให้การเคลือ่ นย้ายเงินทุนระหว่าง ประเทศเพิม่ ขึน้ สนับสนุนให้เกิดการใช้แหล่งทุนร่วม กัน ขณะเดียวกัน จากการบังคับใช้มาตรฐานใหม่ Basel II ซึ่งเป็นมาตรฐานในการกำกับสถาบัน การเงินสำหรับประเทศไทยในปี 2551 ที่กำหนด ให้ น้ ำ หนั ก ความเสี่ ย งในการปล่ อ ยกู้ แ ก่ วิ สาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้กู้รายย่อยลดลง จากเดิมและต่ำกว่าบริษัทขนาดใหญ่จะมีส่วนช่วยให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้กู้รายย่อย สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น

นโยบายรัฐให้ความสำคัญและสนับสนุนวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เศรษฐกิจชุมชน และธุรกิจที่มีแนวคิดสร้างสรรค์

วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มเป็ น เรื่ อ งซึ่ ง รัฐบาลไทยให้ความสำคัญ เนือ่ งจาก จำนวนวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม คิดเป็นร้อยละ 99.80 ของวิสาหกิจทั้งหมด อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญต่อ การจ้างงาน การสร้างรายได้ และเป็นรากฐานทาง เศรษฐกิจของประเทศ เห็นได้จากการพัฒนาเชิง โครงสร้างหลายประการ เพื่อการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศให้แข็งแกร่ง อีกทัง้ รัฐบาลมีนโยบายเร่งส่งเสริมธุรกิจทีม่ แี นวคิด สร้างสรรค์ โดยการสนับ สนุนให้ผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสร้างเอกลักษณ์ ทางธุรกิจ เหตุทเ่ี ศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทย ได้ รั บ ความสนใจเพิ่ ม ขึ้ น เนื่ อ งจากอุ ต สาหกรรม สร้างสรรค์มีสัดส่วนของรายได้ประชาชาติสูงถึง ร้อยละ 10-11 ต่อปี และมีแนวโน้มการเติบโตสูงมาอย่าง ต่อเนือ่ ง อีกทัง้ จากรายงาน “Creative Economy Report 2008” ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อ การค้าและพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) แสดง

ให้เห็นถึง ความสำคัญของเศรษฐกิจสร้า งสรรค์/ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่ปัจจุบันถือว่าเป็นสาขา ที่มีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องในการค้าโลกตลอด ช่วงระยะเวลาปี 2543-2548 การค้าในสินค้าและ บริการเชิงสร้างสรรค์นเ้ี พิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 8.70 ต่อปี มูลค่าการส่งออกสินค้าเชิงสร้างสรรค์ของ โลกสูงถึง 424.40 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2548 เพิม่ ขึน้ จาก 227.50 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2539 ในขณะที่ สาขาบริการเชิงสร้างสรรค์ก็มีการเติบโต ในอัตราสูงถึงร้อยละ 8.80 ต่อปี ซึง่ แนวโน้มดังกล่าว ปรากฎในเกือบทัว่ ทุกมุมโลก และคาดว่าจะยังคงสูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ งในทศวรรษหน้า โดยเฉพาะในประเทศ พัฒนาแล้ว บางประเทศในภูมภิ าคเอเซีย เช่น ประเทศ เกาหลีใต้ได้รับประโยชน์จากสินค้าและบริการเชิง สร้างสรรค์นี้แล้วอย่างเห็นได้ชัด

แหล่งน้ำแหล่งพลังงานแหล่งอาหาร ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง และด้านสังคม รวมถึงความผันผวน ของเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการเพิม่ ขึน้ ของอัตรา ดอกเบี้ยและภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทีข่ าดความสามารถ ในการจัดการกับการเปลีย่ นแปลงและความผันผวน ด้านต่างๆ

T ภัยคุกคาม (Threats)

ผลกระทบจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การเปิดเสรี และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

การมีข้อตกลงทางการค้าในทุกระดับเพิ่มขึ้น ทำให้ ระบบการค้าโลกมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจาก ความแตกต่างของข้อตกลงและกฎเกณฑ์ของแต่ละ ประเทศ มีมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี มากขึ้น ในขณะเดียวกันการกีดกันทางการค้าภาย ในภูมภิ าคอาเซียนทีล่ ดลง ทำให้เกิดการแข่งขันทาง ธุรกิจสูงขึน้ ประกอบกับการเข้าสูต่ ลาดเสรีของกลุม่ ประเทศเติบโตใหม่ ซึ่งมีฐานแรงงานต้นทุนต่ำและ มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ ความได้เปรียบในการแข่งขันวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทยลดลง

การบริหารจัดการของรัฐในการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ประกอบด้วยหลายหน่วยงานดำเนินการ หากแต่ ดำเนินการตามบทบาทภาระหน้าที่ของแต่ละหน่วย งานเท่านั้น ยังขาดเอกภาพในการกำหนดทิศทาง การส่งเสริมและบูรณาการงานส่งเสริมในระดับ ปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนา ส่งเสริมร่วมกัน ภาครัฐมีการจัดสรรงบประมาณที่ ทำให้เกิดการพัฒนาแบบแยกส่วน เนือ่ งจากจัดสรร งบประมาณให้แก่หน่วยงานต่างๆ โดยตรง และ ขาดการบูรณาการข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน รวม ทั้ ง ขาดข้ อ มู ล ผลการดำเนิ น งานของหน่ ว ยงาน ต่างๆ เพื่อการประเมินผลสัมฤทธิ์และการนำไปสู่ การกำหนดนโยบายการส่งเสริมที่สอดคล้องต่อ สถานการณ์ เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งขาดการติดตาม และประเมิ น ผลที่ เ ชื่ อ มโยงทั้ ง ระบบเข้ า ด้ ว ยกั น ด้านกฎหมายและกฎระเบียบ สิทธิประโยชน์ต่างๆ มีความซับซ้อน อีกทั้งกระบวนการปรับปรุงเพื่อให้ มี ค วามทั น สมั ย และสอดคล้ อ งต่ อ สถานการณ์ ดำเนินการล่าช้า

ผลกระทบจากการเปลีย ่ นแปลงสภาพภูมอ ิ ากาศ และสถานการณ์โลก

ในปัจจุบันโลกเผชิญกับภัยพิบัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภัยธรรมชาติ ภัยจากการก่อการร้าย สถานการณ์ ความไม่สงบทางการเมือง โรคระบาดร้ายแรง ซึ่ง ส่งผลให้เกิดวิกฤตในหลายด้าน ทั้งด้านทรัพยากร

85

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


กรอบแนวคิด ทิศทาง วิสัยทัศน์ และเป้าหมาย การส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย


88

บทที่ 4

กรอบแนวคิด ทิศทาง วิสัยทัศน์ และเป้าหมายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

กรอบแนวคิด ทิศทาง วิสัยทัศน์ และเป้าหมายการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย นอกเหนือจากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในบทที่ 3 แล้ว การจัดทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 25552559) ยังได้ดำเนินการพิจารณานโยบายและแผน พัฒนาต่างๆ เพื่อให้ทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม มีความสัมพันธ์สอดคล้อง กับแนวทางการพัฒนาประเทศ แนวนโยบายของ รัฐบาล อีกทั้งเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนา อื่นๆ เพื่อกำหนดกรอบแนวคิด ทิศทางการพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

เป็นแผนการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ มีระดับยุทธศาสตร์ทช่ี น้ี ำทิศทางการพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมรวม 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์การสร้า งเศรษฐกิจ ฐานความรู้ และการสร้างปัจจัย แวดล้อม (2) ยุท ธศาสตร์ การสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและความ มั่นคงในภูมิภาคและ (3) ยุทธศาสตร์การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แผนยุทธศาสตร์และนโยบายที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตรวมและ ในแต่ละภาคการผลิต เพิม่ สัดส่วนมูลค่าภาคบริการ และสินค้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และประเทศไทยมี ในส่ ว นนี้ เ ป็ น การทบทวนแผนยุ ท ธศาสตร์ แ ละ ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น ดังนี้ นโยบายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม ปี 2553-2556 แผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่ง ชาติ (พ.ศ.2555-2564) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและ ขนาดย่อมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปี 2553-2555 และยุทธศาสตร์เ ศรษฐกิจของ หอการค้าไทย เพือ่ กำหนดกรอบทิศทางการพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนี้

1.ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้ และการสร้างปัจจัยแวดล้อม

• พัฒนาทักษะและองค์ความรูข้ องผูป้ ระกอบการใน ภาคการผลิตและการค้า เสริมสร้างประสิทธิภาพด้าน โดยมีแนวทางที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลาง การตลาด และเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลง และขนาดย่อม ได้แก่ ทีม่ ผี ลบังคับใช้แล้วเพือ่ ลดผลกระทบจากการพึ่งพา ตลาดหลัก และแก้ปญ ั หาการขาดแคลนแรงงานและ • พัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูง วัตถุดิบในประเทศ และมีโอกาสทางการตลาด รวมถึงสนับสนุนการ วิจัยและพัฒนาด้านการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ • ผลักดันให้มีการนำงานวิจัยไปต่อยอด ถ่ายทอด เกษตร เพือ่ เพิม่ ผลิตภาพการผลิต และมูลค่าผลผลิต และประยุกต์ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ทางการเกษตรให้ ส ามารถแข่ ง ขั น ได้ ใ นระยะยาว โดยไม่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและเป็นมิตร • ผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมายใหม่ๆ เพื่อ ต่อสิ่งแวดล้อม รองรับการเปิดเสรีทางการค้า • เพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพภาคอุตสาหกรรม สร้ า งนวั ต กรรมเพื่ อ มุ่ ง สู่ ก ารเป็ น อุ ต สาหกรรม เชิงสร้างสรรค์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนา คุณภาพทุนมนุษย์ผา่ นระบบการฝึกอบรมองค์ความรู้ และทักษะอย่างต่อเนือ่ ง สนับสนุนให้มกี ารเชือ่ มโยง การผลิตภาคอุตสาหกรรมกับอุตสาหกรรมท้องถิ่น และกระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค เสริมสร้างธรรมาภิบาลด้วยการใช้กฎระเบียบต่างๆ ที่โปร่งใสตรวจสอบได้

2.ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงทาง เศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค

โดยมีแนวทางที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ได้แก่ การขยายความร่วมมือภายใต้ กรอบความร่วมมือต่าง ๆ และความเป็นหุ้นส่วนกับ ประเทศคู่ค้าของไทยในภูมิภาคต่างๆ พัฒนาเขต เศรษฐกิจชายแดนและเมืองชายแดน โดยเฉพาะการ พัฒนาระบบโลจิสติกส์ มาตรฐานการให้บริการและ การอำนวยความสะดวกบริเวณจุดผ่านแดน ขีดความ สามารถของบุคลากรและผูป้ ระกอบการท้องถิน่ เพือ่ • สร้างมูลค่าเพิม่ ให้กบั สาขาธุรกิจบริการทีม่ ศี กั ยภาพ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขยายฐานการผลิตและการตลาดภาคธุรกิจบริการ ทีม่ ศี กั ยภาพออกสูต่ ลาดต่างประเทศ เสริมสร้างขีด 3.ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบริการบน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ฐานความเป็นไทย สร้างนวัตกรรมและต่อยอดองค์ โดยมีแนวทางที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลาง ความรู้ เสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ และขนาดย่อม ได้แก่ การปรับระบบการผลิตของ รายย่อย และวิสาหกิจชุมชนในอุตสาหกรรมท่องเทีย่ ว ภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตลอด ห่วงโซ่อุปทานการผลิต สร้างโอกาสทางการตลาด • ศึกษาวิจัยและพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจ ให้กับสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์ ส่งเสริมการใช้ความสร้างสรรค์เพื่อเพิ่ม ส่งเสริมภาคบริการให้เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มูลค่าสินค้าและบริการ พัฒนาบุคลากรให้สามารถ เพือ่ ขับเคลือ่ นการผลิต และบริโภคของประเทศไปสู่ ตอบสนองความต้องการของภาคการผลิตและบริการ การเป็นสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้าง ทัง้ ในระดับวิชาชีพเชิงสร้างสรรค์ และผูป้ ระกอบการให้ ภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมในการรองรับและ มีความคิดสร้างสรรค์ เพือ่ ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ ปรั บ ตั ว ต่ อ ผลกระทบจากการเปลี่ ย นแปลงของ สภาพภูมิอากาศ

89

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


90

บทที่ 4

กรอบแนวคิด ทิศทาง วิสัยทัศน์ และเป้าหมายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

ยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม ปี 2553-2556 เป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งสนับสนุนให้อุตสาหกรรมมี การพัฒนาอย่างยั่งยืนและพัฒนาไปในทิศทางที่ วางเป้าหมายไว้ คือ การเป็นอุตสาหกรรมที่มีการ สร้างคุณค่าอย่างยัง่ ยืนโดยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ จากการพัฒนาฐานความรูแ้ ละนวัตกรรม พร้อมสร้าง ห่วงโซ่คุณค่าด้วยการเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจ ทั้ง ภาคเกษตรและภาคบริการ ในขณะเดียวกัน ต้ อ งมี ก ารสร้ า งคุ ณ ค่ า อย่ า งยั่ ง ยื น ด้ ว ยการเป็ น ภาคการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นที่ ยอมรับและสร้างสรรค์สงั คมด้วย โดยประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ แต่ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการ ส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1-4 ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิต และวางรากฐานอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

โดยมีแนวทางที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ได้แก่ การสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน จากการพัฒนาฐานความรู้และนวัตกรรม การปรับ โครงสร้างการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ พร้อมทัง้ สร้างห่วงโซ่คณ ุ ค่าด้วยการเชือ่ มโยงกับภาค เศรษฐกิจอืน่ ๆ ทัง้ ภาคเกษตรและภาคบริการในกลุม่ อุตสาหกรรมสนับสนุนพืน้ ฐาน (แม่พมิ พ์ เหล็ก เครือ่ ง จักรกล และพลาสติก) กลุม่ อุตสาหกรรมบนรากฐาน การเกษตร (แปรรูปเกษตรผลิตภัณฑ์ชีวภาพ) และ กลุม่ อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (เฟอร์นเิ จอร์ สิง่ ทอ และเครื่องนุ่งห่ม) รวมทั้ง การเพิ่ม ประสิทธิภาพ การใช้วตั ถุดบิ และทรัพยากรธรรมชาติทเ่ี ชือ่ มโยงกับ ภาคเกษตร

2. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนและพัฒนา ปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรม

โดยมีแนวทางที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ การจัดการพืน้ ทีอ่ ตุ สาหกรรม การจัดการ โลจิสติกส์ การพัฒนาระบบเตือนภัยและการสนับสนุน สินเชื่อเพื่อการประกอบการ เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจ ขับเคลื่อนไปอย่างราบรื่น 3. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างขีดความสามารถ ของภาคอุตสาหกรรมให้แข่งขันได้ทุกระดับ

โดยมีแนวทางที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ได้แก่ การสร้างผู้ประกอบการใหม่ การพัฒนาผู้ประกอบการเดิมให้มีศักยภาพเพื่อให้ สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก การพัฒนาบุคลากร การเพิ่ ม ผลิ ต ภาพและประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต การพั ฒ นาคุ ณ ภาพให้ ไ ด้ ต ามมาตรฐานสากล การเพิม่ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การเสริมสร้าง ความเข้มแข็งเครือข่ายวิสาหกิจ และการเชื่อมโยง อุตสาหกรรมขนาดใหญ่กับขนาดเล็ก

4. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ รับผิดชอบต่อสังคม บริหารจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

โดยมีแนวทางที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ได้แก่ การส่งเสริมการผลิตที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม และบริหารจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นให้เป็นที่ยอมรับและ สร้างสรรค์สงั คม โดยเน้นการมีสว่ นร่วมของประชาชน

แผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด นวัตกรรมแห่งชาติ (พ.ศ. 2555-2564) มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างเสริมสังคมฐานความรู้ และสร้างเสริมขีดความสามารถของท้องถิน่ และชุมชน และยกระดับความสามารถในการเพิม่ ประสิทธิภาพ และผลิตภาพรายสาขา สร้างมูลค่าเพิม่ สร้างคุณค่า และนวัตกรรมรายสาขา มีการวางแผนและการปรับตัว ต่อความเปลีย่ นแปลงและการกีดกันทางการค้า โดย มีเป้าหมายทางสังคม คือ ลดการนำเข้าและต่อยอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีเป้าหมายทางเศรษฐกิจ คือ ผลิตภาพขยายตัวร้อยละ 3 มูลค่าเพิม่ ขยายตัวร้อยละ 5 และการใช้ประโยชน์จากการค้าเสรี การส่งออก ขยายตัว มีเป้าหมายทางสิ่งแวดล้อมและพลังงาน คือ ของเสียลดลงร้อยละ 5 และใช้พลังงานทดแทน ร้อยละ 20 และมีเป้าหมายทางโครงสร้างพื้นฐาน คือ มีจำนวนนวัตกรรมที่นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เพิม่ ขึน้ และมีโครงสร้างพืน้ ฐานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีกระจายทั่วถึง ทั้งนี้ มียุทธศาสตร์สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มขีดความสามารถ ความยืดหยุน่ และนวัตกรรมในภาคเกษตร ภาคผลิต และภาคบริการด้วยวิท ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพือ่ การปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจของประเทศให้เป็นการผลิตฐานความรู้ มีความยืดหยุน่ สามารถแข่งขันได้ มีภมู คิ มุ้ กันความ เสี่ยงจากความผันผวนของสภาพแวดล้อมในยุค โลกาภิวัตน์ บนพื้นฐานการบริหารเศรษฐกิจส่วน รวมอย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตภาพ มูลค่าเพิ่มและ สร้างสรรค์ มีการปรับโครงสร้างเกษตร อุตสาหกรรม การผลิตและธุรกิจบริการ บนฐานความรูว้ ทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ใช้จดุ แข็งของความหลาก หลายทางชีวภาพ ทุนทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ ความเป็นไทย ควบคู่กับการเชื่อมโยงกับนานาชาติ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการห่วงโซ่อปุ ทาน และห่ ว งโซ่ คุ ณ ค่ า อั น นำไปสู่ ผู้ ส ร้ า งตราสิ น ค้ า ใน ระดับสากล

การจำแนกกลุ่มจังหวัดให้ความสำคัญกับการเป็น เขตพื้นที่ติดต่อกัน เนื่องจาก จังหวัดที่มีพื้นที่อยู่ติด กันจะมีลักษณะของพื้นที่ เศรษฐกิจและสังคมที่มี ความใกล้เคียงกัน มีจุดอ่อนจุดแข็งในการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนทรัพยากร ธรรมชาติที่คล้ายคลึงกัน ทำให้ง่ายต่อการกำหนด ยุทธศาสตร์การพัฒนาให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วม กันได้ นอกจากนั้น การที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ยัง มีปัญหาและความต้องการคล้ายกัน สะดวกในการ ประสานงานและบูรณาการการพัฒนาในกลุ่มได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การจัดทำแผนพัฒนา กลุ่มจังหวัดต้องคำนึงถึงความต้องการ ศักยภาพ ของประชาชนในท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัด รวมถึง ความพร้อมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน และ ยุทธศาสตร์ระดับชาติ อีกทั้ง มีกระบวนการรับฟัง หรื อ ให้ ป ระชาชนมี ส่ ว นร่ ว มในการกำหนดความ ต้ อ งการในการพั ฒ นาพื้ น ที่ ข องกลุ่ ม จั ง หวั ด มาพิจารณาให้เกิดความผสมผสาน ไม่ขัดแย้งใน ด้านใดด้านหนึ่ง ทั้งนี้ แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่ เกี่ยวข้องในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม

91

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


92

บทที่ 4

กรอบแนวคิด ทิศทาง วิสัยทัศน์ และเป้าหมายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

สามารถสรุปได้ ดังนี้

1. การเกษตร ประมงและอุตสาหกรรม โดย

2. การท่องเที่ยว โดย

• พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเทีย่ ว ด้วยความร่วม • พัฒนาผู้ประกอบการและแรงงาน โดยยกระดับ มือของสถาบันการศึกษาในพื้นที่เพื่อตอบสนองต่อ องค์ความรู้ด้านการผลิต และการบริหารจัดการที่มี การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประสิทธิภาพ เพือ่ สร้างขีดความสามารถให้ผปู้ ระกอบ การรายเดิม รวมถึง การสร้างผู้ประกอบการใหม่ • พัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเทีย่ วภายใต้ศกั ยภาพ การพัฒนาทักษะฝีมอื แรงงาน รวมถึงพัฒนาแรงงาน ของสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และชุมชน เช่น ให้ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แรงงาน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ฯลฯ รวมถึงการพัฒนา บริการด้านการท่องเทีย่ ว และเสริมสร้างระบบรักษา • พัฒนาระบบการผลิตและการบริหารจัดการ ให้มี ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว ประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความ ปลอดภัยของสินค้าเกษตร เกษตรอุต สาหกรรม • พัฒนาด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ อุตสาหกรรม • ส่งเสริมการเชือ่ มโยงการท่องเทีย่ ว ทัง้ การเชือ่ มโยง • ส่งเสริมสินค้าทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะถิน่ และมีศกั ยภาพ แหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัด การเชื่อมโยงการ ทางการตลาด รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการ ท่องเที่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ธรรมชาติ แปรรูปและสร้างมูลค่าเพิม่ ด้วยงานวิจยั และพัฒนา และเกษตร ตลอดจนการเชือ่ มโยงการท่องเทีย่ วกับ อี ก ทั้ ง พั ฒ นาคุ ณ ภาพผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ ห้ ไ ด้ ม าตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น รวมถึงส่งเสริมการ พัฒนาเครือข่ายการท่องเทีย่ ว เครือข่ายการจัดการ พัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ ความรู้ เครือข่ายการบริหารจัดการการท่องเที่ยว • พัฒนาและส่งเสริมการตลาด ช่องทางการจำหน่าย รวมถึงระบบการกระจายสินค้าโดยการพัฒนาระบบ • ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความ โลจิสติกส์ทั้งทางบกและทางน้ำ สะดวก เส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงจังหวัด และ กลุ่มจังหวัด • ส่งเสริมการเชื่อ มโยงการเกษตร ประมงและ อุตสาหกรรม โดยสร้างความพร้อมด้านวัตถุดิบที่ 3. เศรษฐกิจชายแดน จำเป็นต่อภาคอุตสาหกรรม ด้วยการพัฒนาการผลิต โดยส่งเสริมและพัฒนาการค้า การท่องเที่ยว การ วัตถุดบิ ให้มคี วามพร้อมทัง้ ด้านคุณภาพและปริมาณ ลงทุนและการศึกษาเชื่อมโยงทางด้านชายแดนกับ การแปรรูปวัตถุดบิ เพือ่ สนับสนุนต่อภาคอุตสาหกรรม ประเทศเพื่อนบ้าน สร้างความร่วมมือและพันธมิตร รวมถึงส่งเสริมการรวมกลุม่ การสร้างเครือข่าย เช่น ทางธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงพัฒนา เครือข่ายผู้ประกอบการ เครือข่ายการศึกษาและ โครงสร้ า งพื้ น ฐานบริ เ วณเมื อ งชายแดนและ ประสานการพั ฒ นาเทคโนโลยี เ พื่ อ การพั ฒ นา ด่านชายแดน เพือ่ สนับสนุนโครงข่ายระบบคมนาคม การผลิต ขนส่ง และระบบโลจิ ส ติ ก ส์ ตลอดจนจั ด ตั ้ ง นิคมอุตสาหกรรม จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและ ยกระดั บ จุ ด ผ่ อ นปรนให้ เ ป็ น จุ ด ผ่ า นแดนถาวร รวมถึงบริหารจัดการกฎระเบียบและกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง

ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ขนาดกลางและขนาดย่อมของ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปี 2553-2555

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างยั่งยืน

โดยรณรงค์และเผยแพร่แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและชุมชนอย่างยั่งยืน สร้างโอกาส การมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียใน พื้นที่ รวมถึงการใช้ภาคอุตสาหกรรมเป็นกลไกหลัก ในการขับเคลื่อนการพัฒนาแบบยั่งยืนโดยยึดหลัก เป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างการพัฒนา บรรษัทภิบาล อีกทั้งสนับสนุนโครงการกิจการเพื่อ ศักยภาพภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลาง สังคม (Social Enterprises) และขนาดย่อม ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อย่างบูรณาการ เพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถการแข่งขัน 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการดำเนินธุรกิจ ให้เทียบเท่าระดับสากล และเตรียมความพร้อมรับ ในรูปแบบคลัสเตอร์และซัพพลายเชน การเปลี่ยนแปลงในบริบทการค้าโลก โดยเฉพาะ โดยพั ฒ นาการดำเนิ น ธุ ร กิ จ แบบคลั ส เตอร์ ใ ห้ แนวนโยบายการเสริมสร้างกลไกการพัฒนาภาค กลุ่มอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมจังหวัดมีการ อุตสาหกรรมให้มีความยั่งยืน อยู่ร่วมกับภาคสังคม ดำเนินการร่วมกัน จัดทำเป็นแผนแม่บทและ แผนปฏิบตั กิ าร รวมถึงมุง่ ให้เกิดการเชือ่ มต่อระหว่าง ได้อย่างแท้จริง รายละเอียดดังนี้ ผู้ ป ระกอบการต้ น น้ ำ ถึ ง ปลายน้ ำ ในการแสวงหา โอกาสการทำธุรกิจร่วมกัน เชือ่ มโยงห่วงโซ่การผลิต 1. ยท ุ ธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยใน ระหว่างการเกษตร อุตสาหกรรม บริการ การท่องเทีย่ ว แนวทางการสร้างมูลค่า (Value Creation) และการศึกษา โดยสร้างความร่วมมือให้เกิดมูลค่า ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการส่งเสริมด้านงานวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยี เพิ่มต่อกัน และสามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาค และนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยการกำหนดทิศทางการ และระดับสากล พร้อมกับจัดทำระบบฐานข้อมูล ั หา พัฒนาอุตสาหกรรมในการสร้างคุณค่าและมูลค่า (Database) อีกทัง้ จัดตัง้ คณะกรรมการทีแ่ ก้ปญ เพิ่มด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี คลัสเตอร์แต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างและกำหนด และนวัตกรรม การส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่าง กลยุทธ์เรือ่ งคลัสเตอร์ของกลุม่ อุตสาหกรรมทีช่ ดั เจน อุตสาหกรรมซึ่งยังไม่มีการผลิตภายในประเทศหรือ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล มีไม่เพียงพอ (Missing Link) ทัง้ เทคโนโลยี นวัตกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการทดสอบทางห้อง 4. ยุทธศาสตร์มาตรการเชิงรุกในเวทีโลก ปฏิบัติการ (Laboratory Test) รวมถึงการส่งเสริม หลังเปิด FTA ใ ห้ มี ห้ อ ง ท ด ส อ บ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ไ ด้ ม า ต ร ฐ า น โดยส่งเสริมแนวทางสนับสนุนการส่งออก โดยการ การสนั บ สนุ น การกระจายงานวิ จั ย นวั ต กรรมสู่ ใช้สิทธิประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า ขยาย ภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศ และการส่งเสริม ตลาดส่งออกใหม่ รวมถึงขยายการลงทุน การค้า สนับสนุนการเพิม่ ศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลาง ชายแดนระดับอนุภมู ภิ าค ภูมภิ าคและระดับนานาชาติ และขนาดย่อมให้มีความสามารถในการพัฒนาและ อีกทั้งเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการไทยในการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น เพื่ อ ก้ า วสู่ และระยะยาว อีกทั้งทบทวนการพัฒนานโยบาย ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขณะเดียวกัน ผลักดันให้ กฎหมาย กฎระเบียบ และสิทธิประโยชน์เพื่อสร้าง หน่วยงานภาครัฐใช้มาตรการคุม้ ครองอุตสาหกรรม ภายในทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากการเปิดเสรี แต่มาตรการ แรงจูงใจในการทำวิจยั และพัฒนา ดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อกฎระเบียบการค้าโลก

93

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


94

บทที่ 4

กรอบแนวคิด ทิศทาง วิสัยทัศน์ และเป้าหมายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

5. ยุทธศาสตร์การสนับสนุนปัจจัยเอื้อต่อ การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม

1. ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน

โดยผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างการสนับสนุน ปัจจัยเอือ้ เพือ่ การอำนวยความสะดวกเรือ่ งโครงสร้าง พื้นฐานที่จำเป็นต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ การจัดตัง้ ศูนย์ทดสอบมาตรฐานสากลอย่างเพียงพอ รวมถึงเร่งรัดให้ภาครัฐทบทวนกฎระเบียบและพัฒนา กฎหมายอย่างต่อเนื่องให้ทันสมัยสอดคล้องกับ สภาพความเป็นจริงในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน

มุ่งเน้นการสร้างพันธมิตรทางการค้าและการลงทุน การสร้างโอกาสเพือ่ รุกตลาดใหม่และรักษาตลาดเก่า การเสริมสภาพคล่องทางการเงิน การสร้างมาตรฐาน และการศึกษาวิจยั และพัฒนา มีเป้าหมายเพือ่ ผลักดัน ให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันใน อันดับที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งขัน

6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรม

มุ่งเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันความเสี่ยง รวมทั้งการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าต่างๆ อย่าง เต็มที่ การปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบเพือ่ ลดอุปสรรค ทางการค้า การสร้างผลิตภัณฑ์ท างการเงินที่ ทั น สมั ย การผลั ก ดั น การใช้ พ ลั ง งานทดแทน การปรับปรุงระบบโลจิสติกส์โดยเฉพาะระบบรางและ ระบบทางน้ำ และการส่งเสริมหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพี ย งมี เ ป้ า หมายเพื่ อ ปรั บ ปรุ ง พื้ น ฐานของ ประเทศไทยให้แข็งแกร่ง และเตรียมความพร้อมใน การแข่งขันท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ จะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ทัง้ ผูป้ ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แรงงานในภาคอุตสาหกรรม นักเรียน นักศึกษาที่ จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรม ให้มี ประสิทธิภาพ เพื่อสอดรับกับการแข่งขันในปัจจุบัน อีกทั้งสร้างมาตรฐานวิชาชีพที่สามารถแข่งขันได้ใน ระดับสากล ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของหอการค้าไทย

2. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้

มุ่งเน้นการสร้างความชำนาญและทักษะเฉพาะด้าน ยุทธศาสตร์ได้มงุ่ เน้นการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง สำหรับแรงงาน การถ่ายทอดองค์ความรู้รุ่นสู่รุ่น มี และขนาดย่อมด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการ เป้าหมายเพื่อแรงงานไทยมีมาตรฐานฝีมือเป็นที่ แข่งขัน ใน 7 สาขาธุรกิจนำร่อง ได้แก่ ธุรกิจอาหาร ยอมรับของนานาประเทศ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ก่อสร้าง ท่องเที่ยว บริการเพื่อสุขภาพ และการค้า 4. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมจริยธรรมและ ชายแดน เพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขัน ธรรมาภิบาล ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดขึ้นใน มุ่งเน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสังคม อนาคต โดยเน้นการบูรณาการทัง้ ในมิตขิ องพืน้ ทีแ่ ละ เป็นสุข มีเป้าหมายเพื่อสร้างเศรษฐกิจธุรกิจให้ขาว รายสาขาธุรกิจ โดยผ่านกลไกความร่วมมือของภาครัฐ สะอาด มีความเป็นธรรม สังคมเป็นสุข และเอกชน ทั้งระดับชาติ กลุ่มจังหวัดและจังหวัด ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนี้

5. ยุทธศาสตร์การรักษาสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต

มุง่ เน้นการสร้างจิตสำนึก การตรวจสอบและประเมิน สภาพแวดล้อม มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการค้าและ การลงทุนที่รักษาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิต 6. ยุทธศาสตร์การป้องกันและเฝ้าระวัง

ภูมิคุ้มกันที่ดี ทำให้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยน แปลงทัง้ ภายในและภายนอกอย่างเต็มที่ หลักปรัชญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย งจึ ง ช่ ว ยเสริ ม แนวคิ ด ของการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเชิง การสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน และเข้มแข็ง เป็น การผสมผสานระหว่างการนำ ศักยภาพที่มีอยู่ภายในปรับให้สามารถรองรับผล กระทบและปัจจัยภายนอก เพือ่ ผลักดันให้การดำเนิน ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มุ่งเน้นการมีระบบเฝ้าระวังและเตือนภัย (Early Warning System) ติดตามภาวะเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการค้าระหว่างประเทศ มีเป้าหมายเพื่อเตรียม 2. หลักความสมดุล ความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่ไม่ เป็ น นโยบายเพื่อ สร้ า งความสมดุ ล ระหว่ า งการ คาดคิด พัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิง่ แวดล้อม การพัฒนา เมืองกับ ชนบท การพั ฒ นาระหว่า งภาคเกษตร นอกเหนือจากแผนยุทธศาสตร์และนโยบายทีก่ ล่าว อุตสาหกรรมและบริการ ให้เกิดการพัฒนาไปพร้อม ถึงข้างต้น ยังได้ศกึ ษาแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน กัน เอือ้ ประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ส่งผลกระทบ ภาครัฐต่างๆ ที่ได้ดำเนินการเกีย่ วข้องกับการส่งเสริม และไม่ ล ะเลยการพั ฒ นาด้ า นหนึ่ ง ด้ า นใดไป วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น กระทรวง หลักความสมดุลจึงช่วยให้วิสาหกิจขนาดกลางและ พาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย ขนาดย่อมพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ผลิตสินค้าและ กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวง บริการตามศักยภาพการผลิตในพืน้ ที่ โดยเน้นความ วัฒนธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ ได้เปรียบเชิงแข่งขันควบคูก่ บั ผลิตภาพ (Productivity) การสือ่ สาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวง รวมถึ ง เพิ่ ม ผลผลิ ต ที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม การท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข และ นอกจากนั้น ยังส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น เพือ่ เชือ่ มโยงความ ขนาดย่อมรูจ้ กั ปรับตัว สร้างภูมคิ มุ้ กันทางเศรษฐกิจ สอดคล้องอันจะนำไปสูก่ ารบูรณาการทำงานร่วมกัน และสังคมจากปัจจัยสนับสนุนภายในโดยคำนึงถึง ของหน่วยงานต่างๆ ขี ด จำกั ด และความสามารถในการรองรั บ ของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมด้วยการพัฒนา จากการทบทวนและพิจารณาแผนยุทธศาสตร์และ และการบริ ห ารจั ด การเศรษฐกิ จ ระดั บ ฐานราก นโยบายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ อย่างครบวงจร โดยมีสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ ขนาดกลางและขนาดย่อม มีสาระสำคัญซึง่ สามารถ หลากหลาย มีการดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและ นำมาใช้ เ ป็ น กรอบแนวคิ ด ในการจัดทำแผนการ เอกลักษณ์อันเป็นมรดกดีงามของชาติ ตลอดจน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 กระจายการพัฒนาอย่างเป็นธรรม ลดความเหลือ่ มล้ำ (พ.ศ. 2555-2559) ดังนี้ ทัง้ ด้านรายได้และความเจริญ สร้างโอกาสการเข้าถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิต และโครงสร้าง 1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พื้นฐานของรัฐอย่างทั่วถึง เป็ น นโยบายที่ ส ำคั ญ ในการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย เนื่องจากปัญหาที่ 3. การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้ เกิดขึน้ ส่วนหนึง่ มาจากการทีว่ สิ าหกิจขนาดกลางและ ซึ่ ง เป็ น ระบบเศรษฐกิ จ ที่ ขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยความรู้ ขนาดย่อมไม่ได้บริหารจัดการอย่างพอประมาณภายใต้ นวัตกรรม ซึ่งถือว่าเป็นทรัพ ยากรที่มีอยู่อย่าง เหตุและผลทีค่ วรคำนึงถึงอย่างรอบคอบ ขาดระบบ อุดมสมบูรณ์ กล่าวคือ ไม่มกี ารขาดแคลน ใช้แล้วไม่ 95

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


96

บทที่ 4

กรอบแนวคิด ทิศทาง วิสัยทัศน์ และเป้าหมายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

หมดไป โดยเน้นการสร้างองค์ความรูซ้ ง่ึ เป็นโครงสร้าง พื้นฐานให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อ รองรับกระแสโลกาภิวตั น์ เช่น การส่งเสริมผู้คิดค้น นวัตกรรม การส่งเสริมผู้ทำวิจัยและพัฒนา การ ส่งเสริมผูถ้ า่ ยทอดความรูส้ ภู่ าคเศรษฐกิจสังคมและ ชุมชน ซึง่ จะส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการสร้างเศรษฐกิจฐานความรูจ้ ะส่งผลให้ภาค เศรษฐกิจบรรลุ เ ป้ า หมายการเพิ่ ม ผลิ ต ภาพและ ภาคสังคมบรรลุเป้าหมายการเพิ่มคุณภาพชีวิต 4. นโยบายเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เป็นนโยบายเพือ่ นำศักยภาพของประเทศมาใช้ให้เป็น ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งก่อให้เกิดแรง กระตุ้นในการนำแนวความคิดด้านศิลปวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของไทยผนวกกับการใช้เทคโนโลยี มาพัฒนาสินค้าและบริการทีจ่ ะก่อให้เกิดผลประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจได้อย่างมากมาย ซึง่ วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมสามารถนำแนวคิดนี้มาใช้ เพื่อก่อให้ เกิดความโดดเด่น แตกต่าง และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ ผลิตภัณฑ์และบริการ

กรอบแนวคิด จากโครงสร้ า งของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม สถานการณ์ ปัญหา และผลการพัฒนาที่ ผ่านมา เมือ่ นำมาประมวลโดยพิจารณาความสอดคล้อง กั บ แผนยุ ท ธศาสตร์ แ ละนโยบายที่ เ กี่ ย วข้ อ งใน ระดับประเทศ นำมาสูก่ ารกำหนดกรอบแนวคิดของ แผนการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ทีต่ อ้ งการให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นพลังขับเคลือ่ น หลักของเศรษฐกิจไทย โดยให้ความสำคัญกับการ พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไทยให้ดำเนินธุรกิจด้ว ยการใช้ค วามรู้ ความคิด สร้างสรรค์ นวัตกรรม และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ด้วยการสนับสนุนทัง้ ในระดับสาขาธุรกิจ และระดับ ผูป้ ระกอบการ และมุง่ เน้นการสนับสนุนตามระยะการ เติบโตของธุรกิจ ได้แก่ ขัน้ เริม่ ต้นธุรกิจ (Start-up) ที่ ห มายถึ ง ธุ ร กิ จ ที่ มี ร ะยะเวลาการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ไม่เกิน 3 ปี ขั้นเติบโต (Growth & Maturity) และ ขั้นการปรับเปลี่ยนธุรกิจ (Turn around) รวมถึง ครอบคลุมใน 2 มิติ คือ มิตขิ องภาพรวมทัง้ ประเทศ และมิติของพื้นที่ เป็นรายจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ทัว่ ประเทศ เพือ่ ให้สอดคล้องกับนโยบายการกระจาย ความเจริญจากส่วนกลางสูภ่ มู ภิ าคและยุทธศาสตร์ การพัฒนาเชิงพื้นที่

5. นโยบายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวในด้านการค้าและ การลงทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไทย เนือ่ งจากการเกิดตลาดในภูมภิ าคทีม่ ขี นาดใหญ่ มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรีมากขึ้น อันจะทำให้ผู้ประกอบการไทยได้เริ่มปรับตัวและ เตรียมความพร้อมกับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่ง ปรับตัวและใช้โอกาสที่เกิดจากการลดอุปสรรคทาง ทิศทางการส่งเสริม การค้าและการลงทุนต่างๆ ให้เกิดประโยชน์อย่าง เต็มที่ โดยเฉพาะสาขาที่ไทยมีความพร้อมและมีขีด ความสามารถในการแข่งขันสูง การพัฒนาวิสาหกิจของไทยทีผ่ า่ นมา ให้ความสำคัญ มุ่งเน้นที่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ทำ ให้เกิดการส่งเสริมวิสาหกิจที่มีขนาดใหญ่ซึ่งเน้น การส่งออก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่ง ประเทศไทยอาศัยความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ จากการแข่งขันที่ใช้ทุนและฐานแรงงานต้นทุนต่ำ เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม โอกาสทีจ่ ะได้เรียนรูเ้ ทคโนโลยี

หรือได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากกระบวนการ ผลิตนัน้ มีนอ้ ยมาก นอกจากนี้ การมุง่ เน้นดังกล่าวยัง ส่งผลกระทบในเชิงสังคม วัฒนธรรมและสิง่ แวดล้อม เช่น ปัญหามลภาวะ ปัญหาแรงงานต่างด้าวและ แรงงานนอกระบบ ปัญหาการย้ายถิน่ ของประชากร และแรงงาน เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ทิศทาง การส่งเสริมในระยะต่อไป ต้องมุง่ เน้นการสร้างความ สมดุลเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนใน ระยะยาว โดยการพัฒนาต้องสอดคล้องกับศักยภาพ ของประเทศ ทัง้ ในด้านวัตถุดบิ และทรัพยากรภายใน ประเทศ คำนึงถึงมิติการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ มิตกิ ารสร้างคุณค่าทางสังคม วัฒนธรรม มิตกิ ารรักษา สิ่งแวดล้อม และมิติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างสอดคล้องและเชื่อมโยงกัน

วิสัยทัศน์การส่งเสริม พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย ให้เติบโตอย่างสมดุลและยัง่ ยืน เพือ ่ เป็นพลังขับเคลือ ่ นหลักของเศรษฐกิจไทย

พันธกิจ

เพือ่ ให้การดำเนินงานของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.25552559) มุ่งสู่วิสัยทัศน์ “พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจ ดังนัน้ ทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้เติบโตอย่างสมดุลและ ขนาดย่อมในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) จึงมุง่ เน้น ยัง่ ยืน เพือ่ เป็นพลังขับเคลือ่ นหลักของเศรษฐกิจไทย” การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เห็นควรกำหนดพันธกิจของการพัฒนา ดังนี้ ให้เติบโตอย่างสมดุลและยัง่ ยืน ทัง้ ในด้านการเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับวิสาหกิจ พันธกิจ 1 รายย่อย วิสาหกิจขนาดย่อมและวิสาหกิจขนาดกลาง สนับสนุนปัจจัยเกื้อหนุนที่จำเป็นและเหมาะสมต่อ ซึง่ ต้องสร้างสมรรถนะเพือ่ แข่งขันในเชิงคุณภาพ ทัง้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ทัง้ ภาคการ ในด้านประสิทธิภาพ การสร้างสรรค์และนวัตกรรม ผลิต การค้า และบริการ รวมทัง้ มุง่ เน้นให้เกิดการรวมตัวและเชือ่ มโยงกันทาง ธุรกิจเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ด้านการ พันธกิจ 2 ส่งเสริมบทบาทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้วสิ าหกิจ ในแต่ละพืน้ ที่ ซึง่ จะต้องคำนึงถึงสังคม วัฒนธรรมและ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย โดยใช้องค์ความรู้ สิง่ แวดล้อมอย่างสมดุล รวมทัง้ สอดคล้องกับเอกลักษณ์ ทักษะฝีมอื เทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ของแต่ละพื้นที่ ด้านการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อ และวัฒนธรรม เตรียมพร้อมและสร้างโอกาสจากการค้าและการ ลงทุนระหว่างประเทศ โดยภาครัฐ มีบทบาทสำคัญ พันธกิจ 3 ในการสนับสนุนด้านโครงสร้างพืน้ ฐานและการสร้าง ส่งเสริมบทบาทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ ไทยแต่ละพืน้ ทีใ่ นการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดย ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจ คำนึงถึงคุณค่าทางสังคม วัฒนธรรม และสิง่ แวดล้อม ขนาดกลางและขนาดย่อม เพือ่ ให้เป็นพลังขับเคลือ่ น อย่างสมดุล เศรษฐกิจของประเทศได้นน้ั ยังขึน้ อยูก่ บั ความจริงจัง ของภาครัฐในการให้ความสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง พันธกิจ 4 ศักยภาพและความพร้อมของวิสาหกิจขนาดกลาง ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้ และขนาดย่อม รวมถึงสถานการณ์ การเปลีย่ นแปลง มีศักยภาพในทางการค้าและการลงทุนทั้งในและ ที่มีผลกระทบในแต่ละช่วงเวลาด้วย ต่างประเทศ 97

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


98

บทที่ 4

กรอบแนวคิด ทิศทาง วิสัยทัศน์ และเป้าหมายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

เป้าหมายการส่งเสริม เป้าหมายของยุทธศาสตร์ กำหนดให้สะท้อนถึง ผลการดำเนินงานของหน่วยงานและสอดคล้องกับ นโยบายการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม ซึง่ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ได้กำหนด เป้าหมายการส่งเสริม โดยพิจารณาจากข้อมูลใน ปัจจุบันประกอบกับผลการส่งเสริมที่ผ่านมา และ การคาดการณ์จากแนวโน้มสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และสังคมไว้ 5 ประการ ได้แก่

• การสร้างความพร้อมให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มเข้ า สู่ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น และการแข่งขันในระดับสากล 3. เครือข่ายวิสาหกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มได้ รับ การพั ฒ นาให้ มีค วามเข้ ม แข็ ง ไม่ น้อยกว่า 60 เครือข่ายวิสาหกิจต่อปี

ซึ่ ง เครื อ ข่ า ยวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม หมายถึง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มี การรวมกลุ่มกันโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมมือกัน หรือดำเนินกิจกรรมร่วมกัน โดยมีความเชือ่ มโยงกัน ระหว่างธุรกิจ และเชือ่ มโยงกับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น หน่วยงาน ภาครัฐ สมาคมการค้า สถาบัน การศึกษาและฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนา 1. วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการจดทะเบียน เป็นต้น เพื่อพัฒนากิจการอันก่อให้เกิดประโยชน์ นิติบุคคลเพิ่มขึ้นและสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่าง แก่เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ต่อเนื่องและยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 250,000 วิสาหกิจ ภายในปี 2559 4. ปัจจัยแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจได้รบั การพัฒนา พิจารณาจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ ปรับปรุง แก้ไขให้ลดอุปสรรคและเอื้ออำนวยความ ดำเนินธุรกิจในภาคการผลิต ภาคการค้า ภาคบริการ สะดวกในการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมมากขึน้ ซึ่งจดทะเบียนนิติบุคคลกับกระทรวงพาณิชย์ ปัจจัยแวดล้อมในการดำเนินธุ ร กิ จ ของวิ ส าหกิ จ 2. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสาขากลุ่ม ขนาดกลางและขนาดย่อม คือ โครงสร้างพื้นฐานที่ เป้ า หมายได้ รั บ การพั ฒ นาขี ด ความสามารถการ ภาครัฐจัดขึ้นเพื่อลดอุปสรรค และอำนวยความ แข่งขันในเชิงลึกไม่น้อยกว่า 30,000 รายภายในปี สะดวกในการดำเนินธุรกิจแก่วิสาหกิจขนาดกลาง 2559 และขนาดย่อมทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่ เช่น กฎหมาย พิจารณาจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ กฎระเบียบ การเงิน ข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รบั การส่งเสริมและพัฒนาจากส่วนราชการ หน่วย การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม การตลาด เป็นต้น งานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในด้านต่างๆ เช่น 5. การบริ ห ารจั ด การด้ า นงานส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ • การวิเคราะห์ ประเมินศักยภาพของธุรกิจและนำ ขนาดกลางและขนาดย่อม มีประสิทธิภาพและ มาใช้ เ พื่ อ กำหนดแนวทางการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ได้ ทำงานเชิงบูรณาการ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทีส่ ว่ นราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ • การพัฒนาการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ทีเ่ กีย่ วข้อง ทัง้ ในส่วนกลางและส่วนท้องถิน่ อันได้แก่ • การพัฒนาเพือ่ เพิม่ ผลิตภาพและพัฒนาประสิทธิภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) คณะกรรมการ ในการดำเนินธุรกิจ บริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) และ • การพัฒนามาตรฐานสินค้าและบริการ คณะกรรมการบริหารงานกลุม่ จังหวัดแบบบูรณาการ • การพัฒนาสินค้าและบริการเพือ่ ให้เกิดคุณค่าและ (ก.บ.ก.) ได้รับการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ มูลค่าเพิ่ม

ทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และได้นำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานตาม บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานอย่างมีความเชื่อมโยง และเกื้อหนุนระหว่างกัน เพื่อให้เกิดการบูรณาการ และพลังขับเคลือ่ นอย่างมีทศิ ทางเดียวกัน การจัดทำ แผนปฏิ บั ติ ก ารส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมโดยทุกภาคส่วนมีสว่ นร่วม มีการวิเคราะห์ ประเมินความคุม้ ค่าของโครงการภายใต้แผนปฏิบตั กิ ารฯ รวมถึงมีการติดตามประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นระบบ กลุ่มเป้าหมายการส่งเสริม เพือ่ ให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริมอย่างชัดเจน แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ การคัดเลือกดังนี้

• เป็ น สาขาธุ ร กิ จ ที่ ส ร้ า งประโยชน์ แ ละรายได้ ใ ห้ ประเทศเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีการใช้วัตถุดิบ ในประเทศ • เป็นสาขาธุรกิจที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการ แข่งขันและเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สาขาธุรกิจใหม่ทม่ี โี อกาสในอนาคต (New Wave) • เป็นสาขาธุรกิจที่ตอบสนองต่อนโยบายสำคัญ ของรัฐ เช่น การกระจายรายได้ การสร้างงานสร้าง อาชีพ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน จากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ • เป็นสาขาธุรกิจที่คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างความสมดุลในสังคม • เป็นสาขาธุรกิจที่ดำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมไทย อันดีงาม จากเกณฑ์การคัดเลือกกลุม่ เป้าหมายข้างต้น สามารถ ระบุสาขาธุรกิจที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษได้ดังนี้

• กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรม • กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและเกษตรแปรรูป • กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ • กลุ่มธุรกิจการค้าปลีกและค้าส่ง เกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายการส่งเสริม • กลุ่มธุรกิจบริการและท่องเที่ยว วิสาหกิจกลุ่มเป้าหมายที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ตามแผนการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) นี้ มุง่ เน้นไป ที่สาขาธุรกิจที่มีจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในสัดส่วนสูง หรือมีแนวโน้มการขยาย ตัวของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน อัตราที่สูง และมีเกณฑ์เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

99

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


ยุทธศาสตร์การส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทย


102

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย จากการประเมินสถานภาพของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม รวมทั้งผลการดำเนินงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้แผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) และฉบับที่ 2 (พ.ศ. 25502554) ทีผ่ า่ นมา การวิเคราะห์ประเมินจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม ตลอดจนการศึกษาวิเคราะห์ ประเด็นการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและ พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในแผน

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) รวมทัง้ การพิจารณาถึงความเชือ่ มโยง บูรณาการเข้ากับแผนยุทธศาสตร์อน่ื ๆ ของหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวกับการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม สำหรับแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ได้ดังต่อไปนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของ วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทยให้ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ

แผนการส่งเสริม SMEs ฉบับที่ 3: ภาพรวมยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุนปัจจัยแวดล้อม ให้เอือ้ ต่อการดำเนินธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างขีดความ สามารถในการแข่งขัน ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมไทย ให้เติบโตอย่างสมดุล ตามศักยภาพของพื้นที่

เสริมสร�างขีดความ สามารถในการแข�งขัน

4

เสริมสร�างศักยภาพ ให�เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว�างประเทศ

2

ส�งเสริมให�เติบโตอย�างสมดุล ตามศักยภาพของพื้นที่

3

1 สนับสนุนป�จจัยแวดล�อมให�เอื้อต�อการดำเนินธุรกิจ ฐานข�อมูล IPs

KM

กฏระเบียบ

เทคโนโลยี & นวัตกรรม

เงินทุน การตลาด

CSR

1

ยุทธศาสตร์ที่

สนับสนุนปัจจัยแวดล้อม ให้เอือ้ ต่อการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยทัว่ ไปยังขาด ความรู้ ความสามารถ และเงินทุนที่เพียงพอในการ พัฒนาปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ ภาครัฐจึง ต้องเข้ามามีบทบาทสนับสนุนในการจัดสิ่งอำนวย ความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เอื้อต่อ การดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ การเงิน ข้อมูล วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม การตลาด เป็นต้น โดยปัจจัยแวดล้อมดังกล่าว จะต้องพร้อมให้บริการแก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมทุกกลุ่ม นอกจากนี้ วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมยังเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์ไม่ปกติตา่ งๆ เช่น ภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติ การชุมนุมทางการเมือง ความผันผวนทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมจึงต้องดำเนินการสนับสนุน ปัจจัยแวดล้อมให้เอือ้ ต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมุง่ เน้นปัจจัยพืน้ ฐาน 2 ส่วน คือ

• การสร้างภูมิคุ้มกันจากปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ การฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบ ทีเ่ กิดขึน้ กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทีไ่ ด้ รับผลกระทบจากสถานการณ์ฉกุ เฉินและสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป

• การสร้างปัจจัยแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการดำเนิน ธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในทุก ระดับการเติบโตของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและ ธรรมาภิบาล รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายการทำงาน ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มของ ภาครัฐอย่างบูรณาการ

4.โครงสร้างพืน้ ฐานและสิง่ อำนวยความสะดวกของ ภาครัฐได้รบั การพัฒนาใหมีศกั ยภาพและเพียงพอต่อ ความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

แนวทางตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์ 1.การเพิ่มขึ้นของบุคลากรที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่ง ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะ 2.การเพิ่มขึ้นของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่สามารถเข้าถึงเงินทุนได้ 3.มีขอ้ เสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพือ่ ให้เอือ้ ต่อธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

5.การบริ ห ารจั ด การด้ า นงานส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ ทำงานเชิงบูรณาการ

บุคลากร

บริหารความเสี่ยง

103

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


104

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

• ส่งเสริมบทบาทของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการ กลยุทธ์ที่ 1.1 พัฒนาศักยภาพหน่วยงาน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในทุก ระดับ ทุกพื้นที่ ให้มีการกำหนดนโยบายและมี และเจ้าหน้าทีท ่ เ่ี กีย ่ วข้องกับการส่งเสริม กิ จ กรรมเพื่ อ เกื้ อ หนุ น ต่ อ การพั ฒ นาวิ ส าหกิ จ และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ รวมถึงสร้าง ขนาดย่อม แรงจู ง ใจให้ มี ส่ ว นร่ ว มในการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม ขนาดกลางและขนาดย่อม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็น กลไกสำคัญที่มีบทบาทในการช่วยเหลือ สนับสนุน • พัฒนาองค์ความรูแ้ ละทักษะของเจ้าหน้าทีท่ เ่ี กีย่ ว ส่งเสริม และพัฒนาให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ข้องทุกระดับ ให้สอดคล้องต่อการเปลีย่ นแปลงของ ขนาดย่อมสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวโน้มทางเศรษฐกิจและศักยภาพของพื้นที่ เช่น โดยขณะนี้มีหลายหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง ความรูเ้ กีย่ วกับการเปิดเสรีทางการค้า ความรูส้ ำหรับ กับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การให้คำปรึกษาเฉพาะด้านให้แก่วสิ าหกิจขนาดกลาง ซึ่งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าวควรได้รับการ และขนาดย่อม เป็นต้น เพื่อให้การบริการวิสาหกิจ พัฒนาความรู้ความสามารถ ให้เข้าใจสภาพปัญหา ขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และความต้องการของวิสาหกิจกลางและขนาดย่อม โดยผลักดันให้มกี ารจัดตัง้ สถาบันสำหรับการพัฒนา ตลอดจนแนวทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ความรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ และพัฒนา และขนาดย่อม เพือ่ ให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง หลักสูตรสำหรับการพัฒนาให้เหมาะสมกับบทบาท และขนาดย่อมเกิดประสิทธิภาพ มีการดำเนินงาน ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้กำหนดนโยบาย และเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั งิ าน และถ่ายทอดความรูใ้ ห้กบั อย่างบูรณาการ เจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง แนวทางการส่งเสริม

• เสริมสร้างความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและ ความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และนโยบายการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลาง และขนาดย่อม ให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้ง ภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริม มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและสอดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการ ตลอดจนเป็นการสนับสนุนให้การส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจัดกิจกรรมที่เพิ่มโอกาสให้เจ้าหน้าที่ท่เี กี่ยวข้อง ในทุกระดับได้พฒ ั นาและมีการแลกเปลีย่ นองค์ความรู้ เช่น การประชุมร่วมระหว่างส่วนงานด้านนโยบาย และแผนของแต่ละหน่วยงาน เป็นต้น

กลยุทธ์ที่ 1.2 พัฒนาระบบฐานข้อมูล วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และข้อมูล องค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการ ส่งเสริมและดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

ต่างประเทศ รวมถึงข้อมูลด้านสถานการณ์ที่ส่งผล ต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สภาพปัญหา อุปสรรค โอกาส แนวทาง และความต้องการต่างๆ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

• สร้างและรวบรวมองค์ความรูท้ เ่ี ป็นประโยชน์ เพือ่ นำไปใช้ในการวางแผนการส่งเสริม รวมทั้งกระตุ้น การพั ฒ นาฐานข้ อ มู ล วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้เห็นความ ขนาดย่อมให้มปี ระสิทธิภาพ ถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วน สำคัญของข้อมูลและนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ และทันต่อสถานการณ์ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ และจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจและกำหนดนโยบาย • ขยายและสร้างช่องทางให้วิสาหกิจขนาดกลาง ในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ และขนาดย่อม สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก ขนาดย่อม เนือ่ งจากข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและ และทั่วถึง ทั้งช่องทางการสื่อสารรูปแบบเดิม เช่น ขนาดย่อมยังมีความกระจัดกระจาย และขาดการ สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และช่องทาง ประสานและเชื่อมโยงระหว่างกัน ส่งผลให้วิสาหกิจ การสื่อสารรูปแบบใหม่ เช่น เครือข่ายทางสังคม ขนาดกลางและขนาดย่อมและหน่วยงานด้านการ ออนไลน์ (Social Network) เคเบิ้ลทีวี เป็นต้น วางแผนและนโยบาย ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ อย่างสะดวก และรวดเร็ว ดังนัน้ จึงจำเป็นต้องพัฒนา • เชื่อมโยงและบูรณาการการจัดทำข้อมูลร่วมกัน ระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดทำมาตรฐาน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและบูรณาการการจัดทำ และข้อมูลเพือ่ ให้ทกุ หน่วยงานสามารถอ้างอิงข้อมูล ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากฐานข้อมูล ให้สามารถอ้างอิงข้อมูลได้จากฐานเดียวกัน และลด เดียวกัน และลดความซ้ำซ้อนของการจัดทำระบบ ความซ้ำซ้อนของการจัดทำระบบฐานข้อมูลทำให้ ฐานข้อมูล เพือ่ ให้เกิดความคุม้ ค่าและเพือ่ ประโยชน์ เกิดความคุ้มค่าและเพื่อประโยชน์ในการวางแผน ในการวางแผนการส่งเสริมและการดำเนินธุรกิจของ การส่ ง เสริ ม และการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ของวิ ส าหกิ จ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทัง้ ต้องมีการขยายและ สร้างช่องทางให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบฐาน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว ข้อมูล เช่น การพัฒนาเครือ่ งมือในการวิเคราะห์และ ประมวลผล การปรับปรุงข้อมูล การพัฒนาระบบและ บุคลากร การพัฒนาแนวทางการเชือ่ มโยงเนือ้ หาและ แนวทางการส่งเสริม • พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและ ระบบฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น ขนาดย่อมทีม่ คี วามสมบูรณ์ครบถ้วน ถูกต้องทันต่อ เหตุการณ์ และพร้อมใช้งาน เพื่อให้สอดคล้องกับ ความต้องการของหน่วยงานด้านนโยบายและแผน หน่วยงานปฏิบัติ และผู้ป ระกอบการวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อ มทั้งในมิติเชิ งเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และทรัพยากรใน การประกอบธุรกิจ รวมทั้งมิติด้านศักยภาพใน การแข่งขัน พื้นที่ ทิศทางการพัฒนากลุ่มธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสถานการณ์ 105

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


106

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

กลยุทธ์ที่ 1.3 ทบทวน ปรับปรุงและผลักดัน กฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการ ภาษีและ การให้สิทธิประโยชน์เพื่อเอื้อและลดอุปสรรค ต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

นวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ และใช้ เชิงพาณิชย์ สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาบุคลากร และการเข้าสูร่ ะบบภาษี รวมทัง้ การสร้างภูมคิ มุ้ กัน ฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม

กฎหมาย กฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจ จำแนก ที่ ผ่ า นมาภาครั ฐ มี ก ารใช้ ก ฎหมายเป็ น เครื่ อ งมื อ เป็น 2 กลุ่ม คือ ในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่มากนัก เช่น การลดอัตราภาษีเงินได้ของวิสาหกิจ 1) กฎหมายธุรกิจ เช่น ขนาดกลางและขนาดย่อมการให้สิทธิประโยชน์เพื่อ • กฎหมายการจดทะเบียนจัดตัง้ ธุรกิจ ส่ ง เสริ ม การลงทุ น แก่ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ • การจดทะเบียนโรงงาน ขนาดย่อมและในทางปฏิบัติวิสาหกิจขนาดกลาง • การส่งงบการเงิน และขนาดย่อมมีความสามารถในการเข้าถึงและใช้ • การเสียภาษีเงินได้ ประโยชน์จากมาตรการต่างๆ ของรัฐได้น้อย ทั้งนี้ • การขอใช้เครือ่ งหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากความไม่พร้อมของวิสาหกิจ • การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ขนาดกลางและขนาดย่อม และการบังคับใช้กฎหมาย • การกำกับดูแลพฤติกรรมในการประกอบธุรกิจ หรื อ ระเบี ย บยั ง ไม่ เ หมาะสมและสอดคล้ อ งต่ อ • การขนส่งสินค้า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทำให้เครื่องมือ • การค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ต่างๆ ของรัฐยังไม่สามารถส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมได้เท่าที่ควร 2) กฎหมายเพือ่ ส่งเสริมธุรกิจ เช่น • พระราชบัญญัตสิ ง่ เสริมวิสาหกิจขนาดกลาง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและ และขนาดย่อม ความต้องการทางด้านธุรกิจ ทำให้มกี ารทำธุรกรรม • พระราชบัญญัตสิ ง่ เสริมการลงทุน การค้าประเภทใหม่เกิดขึน้ ขณะทีก่ ารพัฒนากฎหมาย • พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการทำธุรกรรมเหล่านี้ ยังไม่สอดคล้อง แห่งประเทศไทย เป็นต้น กับสถานการณ์ทเ่ี ปลีย่ นแปลงไป อีกทัง้ ความซ้ำซ้อน ของกฎหมาย และความไม่ชัดเจนในขั้นตอนและ โดยกฎหมาย กฎระเบียบ ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ กระบวนการในการบังคับใช้กฎหมายและการให้ สิทธิประโยชน์ และมาตรการต่างๆ ทีภ่ าครัฐกำหนด บริการของภาครัฐ รวมทัง้ การขาดแรงจูงใจและสิทธิ เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในด้านการสร้างกลไกการ ประโยชน์ที่เพียงพอ ดังนั้น จึงควรมีการทบทวน แข่งขันทีเ่ ป็นธรรม เพือ่ ลดความได้เปรียบ/เสียเปรียบ ปรับปรุงและผลักดัน กฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการ ในการดำเนินธุรกิจการ อำนวยความสะดวกและสร้าง ภาษี แ ละการให้สิทธิประโยชน์ เพื่อเอื้อ และลด โอกาสในการดำเนินธุรกิจ อีกทั้ง ยังเป็นเครื่องมือ อุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง ในการสร้างแรงจูงใจให้วิสาหกิจขนาดกลางและ และขนาดย่อม ขนาดย่อม มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา ทรัพย์สินทางปัญญาและ แนวทางการส่งเสริม

• เสริ ม สร้ า งความรู้ใ ห้ วิส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมปฏิบตั ติ ามกฎหมาย กฎระเบียบ ขัน้ ตอน และ กลยุทธ์ที่ 1.4 เสริมสร้างระบบและเตรียม วิธกี ารปฏิบตั ติ า่ งๆ ตลอดจนจูงใจให้ใช้สทิ ธิประโยชน์ ความพร้อมเพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมสามารถเข้าถึงเงินทุนและเพิ่ม ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ • ผลักดันให้เกิดการทบทวน ปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ ขั้น ตอน วิธีก ารปฏิบัติ และให้มี การประกาศใช้ก ฎหมาย กฎระเบียบ ภาษี และ สิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และเพื่อลดอุปสรรค ในการประกอบธุรกิจ

ประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการเงิน

วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มมี ข้ อ จำกั ด ในการเข้าถึงเงินทุน เนื่องจากปัจจัยสำคัญ 3 ด้าน คือ ด้านผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ด้านแหล่งเงินทุน และด้านโครงสร้าง พืน้ ฐาน เช่น ผูป้ ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ • สนับสนุนการใช้กฎหมายเป็นเครือ่ งมือในการสร้าง ขนาดย่อมขาดหลักทรัพย์คำ้ ประกัน หรือมีหลักทรัพย์ จริยธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส เพื่อลดความ ค้ำประกันไม่เพียงพอต่อวงเงินสินเชื่อ ไม่มีระบบ การบันทึกบัญชีทเ่ี ป็นมาตรฐาน ไม่มปี ระวัตธิ รุ กรรม ได้เปรียบ/เสียเปรียบในการดำเนินธุรกิจ ทางการเงินกับสถาบันการเงิน หรือเป็นผู้มีประวัติ • ผลักดันให้มีการทบทวน ปรับปรุง อัตราภาษีให้ ธุรกรรมทางการเงินไม่ดี เป็ น ธรรมต่ อ การประกอบธุ ร กิ จ ของวิ ส าหกิ จ รวมทัง้ ความสามารถในการทำธุรกิจและชำระหนีต้ ำ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม ในส่วนของสถาบันการเงินเอง ก็มีความระมัดระวัง • ศึกษา ทบทวน รูปแบบการจัดเก็บภาษีทเ่ี หมาะสม ในการพิจารณาสินเชือ่ ให้แก่ผปู้ ระกอบการวิสาหกิจ กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สอดคล้อง ขนาดกลางและขนาดย่อม ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ต่อการอยู่รอดและเติบโตของกิจการ เช่น การเหมา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เสียอัตราดอกเบีย้ จ่ายสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมในช่วงเริ่ม ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ ต้นธุรกิจ อัตราภาษีของวิสาหกิจขนาดกลางและ นอกจากนี้ บทบาทสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ให้ ขนาดย่อมควรมีความแตกต่างจากอัตราภาษีของ บริ ก ารทางการเงิ น แก่ ผู้ ป ระกอบการวิ ส าหกิ จ วิสาหกิจรายใหญ่ การกำหนดให้องค์กรปกครอง ขนาดกลางและขนาดย่อมยังมีไม่มากพอ เมือ่ เทียบกับ ส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บภาษี หรือการนำรายได้ ความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จากการจัดเก็บมาพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ เนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินทุน กฎระเบียบ และขาด มาตรการจูงใจให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้ ขนาดย่อมในพื้นที่ เป็นต้น แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • ผลั ก ดั น และจู ง ใจให้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมเข้าสูร่ ะบบภาษี เช่น การสร้างความรูค้ วาม ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ยังขาดระบบหรือกลไก เข้าใจเรือ่ งประโยชน์ของภาษีตอ่ การพัฒนาวิสาหกิจ เสริมสร้างประสิทธิภาพในการใช้เงินทุนของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม การยกเว้นความผิดทาง ขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ระบบพีเ่ ลีย้ ง ทีป่ รึกษา นักวินิจฉัยที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ภาษีในอดีต (การนิรโทษกรรมภาษี) เป็นต้น ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขาดระบบ • จั ด ทำระบบฐานข้อมูลกฎหมาย กฎระเบียบ ค้ำประกันสินเชือ่ ทีเ่ อือ้ ต่อการขยายสินเชือ่ ให้วสิ าหกิจ มาตรการภาษี และการให้สิทธิประโยชน์สำหรับ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มได้ อ ย่ า งกว้ า งขวาง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อใช้ประโยชน์ ขาดระบบข้อมูลกลางที่จะช่วยทั้งผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการวิเคราะห์ ในเชิงนโยบายและเผยแพร่ 107

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


108

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

สถานะของกิจการและแนวโน้มธุรกิจ และที่จะช่วย สถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อตามความเสี่ยง และโอกาสทางธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ขาดกฎระเบียบทีเ่ อือ้ ต่อการขยายบริการ ทางการเงินให้แก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนั้น การเสริมสร้างระบบและเตรียมความพร้อม เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถ เข้าถึงแหล่งเงินทุน ควรมุง่ เน้นส่งเสริมและสนับสนุน แหล่งทุนให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เสริ ม สร้ า งระบบและเตรี ย มความพร้ อ มเพื่ อ ให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึง เงิ น ทุ น และเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการบริ ห ารจั ด การ ทางการเงิน แนวทางการส่งเสริม

• เตรียมความพร้อมให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม โดยการสร้างความรูค้ วามเข้าใจ ด้านการ บริหารจัดการธุรกิจ เช่น การจัดทำแผนธุรกิจ บัญชี ที่เป็นระบบ รวมทั้งให้ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ทาง การเงิน การบริหารความเสี่ยง การค้ำประกัน สินเชื่อ เป็นต้น

• ส่งเสริมการเชือ่ มโยงบริการทางการเงินกับโครงการ ส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของหน่วยงานต่างๆ เช่น กำหนดเงือ่ นไขพิเศษสำหรับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีผ่ า่ นการเข้าร่วม โครงการบ่มเพาะธุรกิจ หรือการวินจิ ฉัย ให้สามารถ ได้รบั เงินทุนเพือ่ เริม่ ต้นธุรกิจ การปรับปรุงหรือพัฒนา ธุรกิจ เป็นต้น • เพิ่มช่องทางหรือโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน และแหล่งเงินทุนอื่นๆ เช่น การร่วมลงทุน (Venture Capital) การสนับสนุน เงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ (Start up Fund, Seed Fund) รวมทัง้ ขยายบริการทางการเงินทีม่ อี ยูเ่ ดิมให้ มีการใช้บริการมากขึน้ เช่น ธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิง่ (Leasing) ธุรกิจแฟคตอริ่ง (Factoring) เป็นต้น

• กำหนดแนวทางและปรับปรุงระบบการค้ำประกัน สินเชือ่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น เพิม่ หลักทรัพย์ค้ำประกันรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะหลัก ทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ และหลักทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ (Intangible and Movable assets) เช่น ทรัพย์สนิ ทางปัญญา ตราสินค้า สินค้าคงคลัง เป็นต้น สร้าง • ส่งเสริม บทบาทของสถาบันการเงินโดยเฉพาะ ระบบการค้ำประกันสินเชื่อหรือการให้สินเชื่อแบบ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 1 (Special Financial ไม่ตอ้ งใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน และขยาย Institutions: SFIs) ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา บทบาทหน่วยงานและรูปแบบค้ำประกันสินเชื่อ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความพร้อม ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เช่น การให้คำปรึกษา • ส่งเสริมระบบข้อมูลกลางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ แนะนำ ให้ความรู้ การเตรียมความพร้อมด้านประวัติ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และผลักดันให้หน่วยงาน ธุรกรรมทางการเงิน การวินิจฉัยธุรกิจ การจัด แหล่งเงินทุนต่างๆ นำไปใช้ประกอบการพิจารณา เช่น กิจกรรมส่งเสริมการตลาด เป็นต้น ระบบข้อมูลการจัดระดับความน่าเชื่อถือ (SMEs Credit Rating Database) ระบบฐานข้อมูลความ ต้องการและปริมาณการปล่อยสินเชือ่ ให้แก่วสิ าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น

1

กลยุทธ์ที่ 1.5 สร้างความเข้มแข็งให้แก่ กลไกและเครือข่ายการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม

กลไกและเครือข่ายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ประกอบด้วย ส่วนราชการ หน่วยงาน ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน โดยมี สสว. ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานระบบการทำงาน ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ทีส่ ง่ เสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพือ่ ให้ เกิดความต่อเนือ่ งและสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของหน่วยงานต่างๆ ควรผลักดันให้การส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกตั้งต้นในการขับเคลื่อนนโยบายการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งใน ส่วนของโครงการ งบประมาณ และทรัพยากรของ ประเทศอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง โดยปัจจัยแห่ง ความสำเร็จของกลไกดังกล่าวคือ การบูรณาการ เครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ ในการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มระหว่ า งส่ ว นราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน และการสร้ า งกลไกการติ ด ตามและประเมิ น ผล การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

แนวทางการส่งเสริม

• ผลักดันนโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ให้เป็นวาระแห่งชาติ • ผลักดันให้ทง้ั หน่วยงานภาครัฐและเอกชน นำแผน การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ไปใช้เป็นกรอบการดำเนินงาน ตลอดจนมีการจัดสรร ทรัพยากรในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง โดยแต่ละ หน่ ว ยงานมี ก ารดำเนิ น งานส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมตามบทบาทหน้าที่ของ หน่วยงานและบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน • พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน เช่น การบูรณาการความร่วมมือระหว่างผูม้ หี น้าทีด่ า้ น นโยบายและแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมของหน่วยงานต่างๆ การเชื่อมโยง การทำงานของหน่วยแผนและหน่วยปฏิบตั ิ รวมทัง้ พัฒนาความเข้มแข็งขององค์การเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค • สร้างกลไกการติดตามและประเมินผลการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น สร้างระบบ การรายงานและประมวลผลการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม และนำข้อมูลไปใช้ใน การวางแผนการทำงานส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น รวมทั้งการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อติดตามและ ประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Special Financial Institutions: SFIs) ประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง ประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม ขนาดย่อม (บสย.)

109

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


110

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

กลยุทธ์ที่ 1.6 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมให้ดำเนินธุรกิจโดยใช้หลัก ธรรมาภิบาล และสนับสนุนการประกอบธุรกิจ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มส่ ว นใหญ่ ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และ การมีธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจโดยวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมบางส่วนยังเข้าใจว่าเป็น เรื่องของกิจการรายใหญ่ และเห็นว่าเป็นต้นทุนใน การดำเนินธุรกิจ ในขณะที่ บางส่วนเห็นความสำคัญ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ นอกจากนี้ ปัจจัยพืน้ ฐานทีจ่ ะส่งเสริมและสนับสนุน ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนินธุรกิจ ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม อุตสาหกรรม สีเขียว และระบบธรรมาภิบาลยังมีอยู่อย่างจำกัด และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมก็ยงั ไม่สามารถ เข้าถึงปัจจัยพื้นฐานดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียม การส่งเสริมการลงทุน การยกเว้นภาษี เป็นต้น

แนวทางการส่งเสริม

• สร้างจิตสำนึก ปลูกฝังค่านิยม ให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เห็นความสำคัญของ การดำเนิ น ธุ ร กิ จ โดยใช้ ห ลั ก ธรรมาภิ บ าลและ เป็นมิตรต่อสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล • ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการประกอบธุรกิจที่มี ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจน คุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใสในการดำเนิน ธุรกิจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น การศึกษาและจัดทำต้นแบบระบบฐานข้อมูลด้าน การดำเนินธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม อุตสาหกรรมสีเขียว และระบบธรรมาภิบาล • สร้างแรงจูงใจให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการปฏิ บั ติ ต ามข้ อ กำหนดการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ภายใต้ค วามรับผิดชอบต่อสังคม อุตสาหกรรม สีเขียว และระบบธรรมาภิบาล โดยการสนับสนุน เงินทุน สิทธิประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ (การลด หย่อนค่าธรรมเนียมในการดำเนินธุรกิจ) การประกาศ เกียรติคุณ รวมทั้งให้ความรู้และส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกีย่ วกับการนำความรับผิดชอบต่อสังคม มาใช้ในการสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจ • ผลักดันให้เกิดสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือกฎหมาย เพื่อสร้างแรงจูงใจในการดำเนินธุรกิจภายใต้ความ รับผิดชอบต่อสังคม อุตสาหกรรมสีเขียว และระบบ ธรรมาภิบาลมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ

กลยุทธ์ท่ี 1.7 สร้างกลไกและระบบการยกระดับ ความรู้ความสามารถทักษะบุคลากรของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการจัดการ การผลิตให้สอดคล้อง กับความต้องการของภาคธุรกิจ

บุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึง่ ในทีน่ ห้ี มายถึง 1) กลุม่ ผูป้ ระกอบการและแรงงาน และ 2) กลุ่มผู้ให้บริการทางธุรกิจให้แก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม โดยแต่ละกลุม่ ต่างมีปญ ั หา และข้อจำกัดแตกต่างกัน ดังนี้

2) กลุ่มผู้ให้บริการทางธุรกิจให้แก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น นักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษา เป็นต้น การประกอบธุ ร กิ จ ของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมจำเป็นต้องได้รบั การส่งเสริมและสนับสนุน จากบุคลากรกลุม่ ผูใ้ ห้บริการแก่วสิ าหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ได้แก่ นักวินจิ ฉัย พีเ่ ลีย้ ง และทีป่ รึกษา โดยการดำเนินงานที่ผ่านมายังขาดการบริหารงาน เชื่อมโยงกัน ต่างหน่วยต่างทำ และยังมีปัญหาการ ขาดแคลนนักวินจิ ฉัย ตัวอย่างเช่น จากการดำเนินงาน ทีผ่ า่ นมากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้สร้างนักวินจิ ฉัย สถานประกอบการอย่างต่อเนือ่ ง โดยปัจจุบนั มีผผู้ า่ น การอบรมไปแล้วประมาณ 450 ราย 3 และในปี 2552 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้พัฒนานักวินิจฉัย สถานประกอบการ จำนวน 55 ราย สร้างผู้ให้ คำแนะนำทางธุรกิจ (Information Service and Counselor) จำนวน 200 รายและพัฒนาที่ปรึกษา ธุรกิจขนาดเล็ก จำนวน 80 ราย 4 หากพิจารณา จำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทัว่ ประเทศ ซึง่ มีจำนวนกว่า 2.89 ล้านราย ประเทศไทยมีบคุ ลากร กลุม่ ผูใ้ ห้บริการแก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (นักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษา) เพียงประมาณ 1,000 รายเท่านั้น

1) กลุ่มผู้ประกอบการและแรงงาน ปัญหาและข้อจำกัดสำคัญ คือ การผลิตแรงงานไม่ สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ จากข้อมูล สถานการณ์แรงงาน ณ เดือนพฤศจิกายน 2553 2 พบว่า ผู้สมัครงานจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มากที่สุด (13,730 คน) ส่วนนายจ้างต้องการผู้ที่ จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)ประกาศนียบัตรวิชาชีพชัน้ สูง (ปวส.) / อนุปริญญา มากที่สุด (110,204 คน) จึงสะท้อนให้เห็นว่า ระบบ การศึ ก ษายั ง ไม่ ส ามารถผลิ ต แรงงานในปริ ม าณ และคุ ณ ภาพที่ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการและ แนวโน้มของตลาดแรงงานและภาคธุรกิจ ดังนั้น ภาครัฐจึงควรสร้างกลไกและระบบการ ยกระดับความรู้ความสามารถทักษะบุคลากรของ นอกจากนี้ การแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน ไม่ได้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการจัดการ มุ่งเน้นที่การใช้แรงงานค่าจ้างต่ำแต่มุ่งเน้นแรงงาน การผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของภาค ที่มีทักษะฝีมือและทักษะภาษาต่างประเทศ โดยจะ ธุรกิจ เห็นได้จากการนำระบบการจ่ายค่าตอบแทนตาม มาตรฐานฝีมือแรงงานมาใช้มากขึ้น ในส่วนของ ปัจจัยแวดล้อมด้านบุคลากรนี้ พบว่าภาครัฐยังขาด การสร้างเครื่องมือ และสิ่งจูงใจเพื่อสนับสนุนให้ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของตนอย่าง เพียงพอ เช่น การลดหย่อนภาษี กองทุนพัฒนา ทักษะฝีมือ เป็นต้น 2 3 4

ผลการสำรวจสถานการณ์แรงงานของกองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน (พฤศจิกายน 2553) สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญีป่ นุ่ ) อ้างอิง http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/36/ContentFile539.pdf รายงานประจำปี 2552 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

111

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


112

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

แนวทางการส่งเสริม กลุ่มที่ 1 ผู้ประกอบการและแรงงาน

• ผลักดันให้มกี ารใช้มาตรฐานฝีมอื แรงงานและการ จ่ายค่าจ้างตามทักษะฝีมอื ผ่านการรับรองประสบการณ์ • สนั บ สนุ น การสร้ า งระบบและกลไกการเพิ่ ม และทักษะฝีมือ การเทียบโอนประสบการณ์และ องค์ ค วามรู้ แ ละทั ก ษะให้ แ ก่ บุ ค ลากรวิ ส าหกิ จ การสร้างมาตรฐานฝีมือแรงงาน ขนาดกลางและขนาดย่อม (ผู้ประกอบการและ แรงงานทุกระดับ) เช่น • เชื่อมโยงสถานศึกษาในพื้นที่กับพื้นที่ และพื้นที่ กับส่วนกลาง ทั้งระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และ » พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านบุคลากรวิสาหกิจ วิทยาลัยชุมชน เพือ่ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทาง ขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ความต้องการ วิชาการในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความ แรงงานความสามารถในการผลิ ต แรงงาน ต้องการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น » สนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร การศึกษา และการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับ ความต้องการของภาคธุรกิจ เช่น การจัดการ อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี5 / สหกิจศึกษา6 เป็นต้น

• สร้า งแรงจูงใจและระบบสิทธิ ป ระโยชน์ในการ พัฒนาบุคลากรของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม เช่น การนำค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนา บุคลากร (การอบรม สัมมนา การให้ทุนการศึกษา) ไปหักลดหย่อนภาษีได้มากกว่าค่าใช้จ่ายจริง

» ศึ ก ษาความต้ อ งการและความสามารถผลิ ต แรงงานในสาขาและพื้นที่ต่างๆ และผลักดันให้ กลุม ่ ที่ 2 ผูใ้ ห้บริการแก่ผป ู้ ระกอบการวิสาหกิจ นำผลการศึกษาไปใช้ในการวางแผนการพัฒนา ขนาดกลางและขนาดย่อม (นักวินจิ ฉัย พีเ่ ลีย ้ ง แรงงานให้ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของ และทีป ่ รึกษา) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • สร้างเสริมทักษะผูใ้ ห้บริการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง » พั ฒ นาระบบการให้ ค วามรู้ แ ละทั ก ษะฝี มื อ และขนาดย่อม (นักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษา) แรงงานให้ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของ ให้มีศักยภาพและความสามารถในการตอบสนอง ภาคธุรกิจโดยการฝึกอบรมเฉพาะทาง เช่น ความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทักษะฝีมือ ทักษะภาษาต่างประเทศ และเพิ่ม รวมทั้ง มีจำนวนเพียงพอต่อการให้บริการ มีอตั รา ช่องทางการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้ ค่าบริการทีเ่ หมาะสม และวิสาหกิจขนาดกลางและ ผ่านสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เอกสาร ขนาดย่อมสามารถเข้าถึงได้ เช่น เผยแพร่ต่างๆ เป็นต้น » พัฒนานักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษา โดย » เสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของแรงงาน เช่น การ การเพิ่มทักษะ ประสบการณ์ และพัฒนาระบบ สร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพและองค์กร การจัด กลไกการเรี ย นรู้ เ พื่ อ ยกระดั บ ความสามารถ สวัสดิการที่ดี สภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน ของบุคลากร ผู้ให้บริการธุรกิจวิสาหกิจขนาด เป็นต้น กลางและขนาดย่อม เช่น ศึกษาดูงาน อบรม เชิงปฏิบตั กิ าร เป็นต้น

» สร้างนักวินจิ ฉัย พีเ่ ลีย้ ง และทีป่ รึกษารุน่ ใหม่ เช่น การบ่มเพาะโดยมุ่งเน้นการฝึกประสบการณ์ ปฏิบตั งิ านจริงกับนักวินจิ ฉัย พีเ่ ลีย้ ง และทีป่ รึกษา ที่มีประสบการณ์

• สร้างระบบติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ของผู้ให้บริการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการดำเนินงาน เช่น การจ่ายค่า ตอบแทนตามผลงานที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน » พัฒนาผูป้ ระกอบการให้สามารถวิเคราะห์สภาพ ของผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารธุ ร กิ จ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ปัญหาของตนเองในเบือ้ งต้น โดยการนำรูปแบบ ขนาดย่อม เป็นต้น สร้างนักวินิจฉัยมาประยุกต์ใช้ • ส่งเสริมให้มีหน่วยงานหรือองค์กรบริการธุรกิจ • ส่งเสริมบุคลากรวัยเกษียณ นักวิชาการ ผูเ้ ชีย่ วชาญ เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเครือข่ายผู้ให้บริการ และผูม้ ปี ระสบการณ์ดา้ นธุรกิจ ในการเป็นนักวินจิ ฉัย ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การควบคุม พี่เลี้ยง และที่ปรึกษา คุณภาพมาตรฐาน การจับคู่ผู้ให้และผู้รับบริการ (Matching) เชื่อมโยงผู้รับบริการจากนักวินิจฉัย • พัฒนานักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษาให้เป็น พี่เลี้ยง และที่ปรึกษากับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน อาชีพถาวร โดยการ สถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา ฯลฯ รวมถึง » พัฒนาระบบรับรองคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพ เชื่อมโยงบริการกับต่างประเทศ ของผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม เช่น กำหนดให้มีใบประกอบวิชาชีพ (เช่น การขึ้นทะเบียนวิชาชีพ การต่อทะเบียน วิชาชีพ การแสดงผลงาน เป็นต้น) » พั ฒ นาพี่เลี ้ ย ง ที่ป รึ ก ษาจากนั ก วิ ช าการ ผู้เชี่ยวชาญ / ผู้มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ ให้เป็นอาชีพถาวร » สร้างตลาดรองรับทั้งในและต่างประเทศ เช่น ส่งเสริมการใช้บริการนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และ ที่ปรึกษา โดยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วน ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ ขยายช่องทางการให้บริการไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุม่ ประเทศเพือ่ นบ้าน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV)

5

การศึกษาระบบทวิภาคี คือ การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถานศึกษา อาชีวศึกษาหรือสถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐ ในเรื่องการจัดหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งใน สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันและเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ 6 สหกิจศึกษา คือ ระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในสถานประกอบการอย่างมีระบบ โดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการจัด ให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการโดยนักศึกษามีสถานะเหมือนพนักงาน รวมทั้งอาจจะได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ หรือค่าตอบแทนอื่นตามความเหมาะสมจากสถานประกอบการ

113

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


114

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

ทรัพย์สนิ ทางปัญญาและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ใน กลยุทธ์ท่ี 1.8 เพิม ่ ประสิทธิภาพหน่วยให้บริการ การดำเนินธุรกิจและใช้เชิงพาณิชย์มากขึ้น

ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สน ิ ทางปัญญา • ผลักดันให้มกี ารใช้สทิ ธิประโยชน์ด้านการวิจยั และ คุณภาพมาตรฐาน และสนับสนุนให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงบริการได้ พัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรัพย์สินทาง ปัญญาและนวัตกรรมเพิม่ มากขึน้ เช่น ทบทวนการ อย่างทั่วถึง

รับรองงานวิจัยและพัฒนาเพื่อขอสิทธิประโยชน์ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทางด้านภาษีให้มคี วามยืดหยุน่ ลดขัน้ ตอนและระยะ ส่วนใหญ่ ยังขาดความตระหนักและความสนใจใน เวลาการพิจารณา เป็นต้น การนำเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การสร้าง นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญามาประยุกต์ใช้ใน • พั ฒ นาระบบการใช้ประโยชน์และการคุ้มครอง การดำเนินธุรกิจ ส่วนหนึ่งมาจากการเห็นว่าเป็น ทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาเพื่ อ ให้ เ อื้ อ ต่ อ การพั ฒ นา การเพิ่ ม ต้ น ทุ น ในการทำธุ ร กิ จ มากกว่ า เป็ น การ นวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนในอนาคต และยังขาด เช่น ระบบฐานข้อมูลและการสืบค้นสิทธิบตั รทีห่ มด องค์ความรูใ้ นการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม อายุ การเผยแพร่ผลงานทรัพย์สินทางปัญญาแก่ ของตนให้สงู ขึน้ นอกจากนี้ ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ ผู้มีแนวคิดทางธุรกิจ กลไกการคุ้มครองทรัพย์สิน และเทคโนโลยี การวิจยั และพัฒนา การสร้างนวัตกรรม ทางปัญญา เป็นต้น ทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาที่ จ ะนำไปใช้ ใ นเชิ ง พาณิ ช ย์ ยังไม่ถูกเผยแพร่ไปสู่ผู้ประกอบการอย่างเหมาะสม • สนับสนุนการสร้างขีดความสามารถบุคลากรทาง ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจ ทั้งใน ประเทศไทยยังขาดความเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย สถานประกอบการและหน่วยให้บริการภาครัฐเพื่อ ระหว่าง หน่วยให้บริการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม หน่วยงานด้านการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา หน่วยงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • สนับสนุนการเพิ่มศักยภาพของหน่วยที่ให้บริการ และภาคธุรกิจบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านเทคโนโลยี ยังมีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ค่าใช้จา่ ยในการให้บริการ นวัตกรรม ทรัพย์สนิ ทางปัญญา การรับรองมาตรฐาน ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยียังมีราคาแพงทำให้ ให้มคี วามเพียงพอ ทัง้ เชิงปริมาณและคุณภาพ และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่ อมเข้ า ถึ ง ได้ ย าก สอดคล้องกับความต้องการ เช่น สถาบันวิจยั เฉพาะ สำหรับโครงสร้างพืน้ ฐานด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทางในสาขาวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ทรัพย์สินทางปัญญา ยังขาดการส่งเสริมแบบ ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ ศูนย์บม่ เพาะ และอุทยาน บูรณาการ ระบบการคุ้มครองการวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีต้นทุนค่าบริการที่วิสาหกิจ ยังไม่เพียงพอ กระบวนการสร้างนวัตกรรมยังไม่มี ขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงได้ รวมทัง้ ประสิทธิภาพ ขาดมาตรการและสิทธิประโยชน์ที่ ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแก่วิสาหกิจ จูงใจในการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ขนาดกลางและขนาดย่อม แนวทางการส่งเสริม

• สนับสนุนกลไกเพือ่ สร้างความเชือ่ มโยงงานศึกษา • สร้างแรงจูงใจโดยการสนับสนุนเงินทุน สิทธิประโยชน์ วิจยั ของสถาบันการศึกษา สถาบันวิจยั หน่วยงานภาค และข้อมูล ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมี รัฐ เพือ่ ให้เกิดการต่อยอดและลดความซ้ำซ้อน รวมทัง้ การนำงานวิจยั และพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ

กลยุทธ์ที่ 1.9 พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการตลาดให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม

ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ยั ง ไม่ ส ามารถดำเนิ น การด้ า นการตลาดได้ เ ต็ ม ประสิทธิภาพ เนือ่ งจากขาดความรูด้ า้ นการตลาดเพือ่ ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจไม่วา่ จะเป็นข้อมูลความรู้ ด้านการค้า การลงทุน ข้อมูลเชิงลึกรายอุตสาหกรรม และรายสินค้า ความต้องการหรือพฤติกรรมของ ผู้บริโภค รวมทั้งข้อมูลด้านกรอบความร่วมมือ ระหว่างประเทศต่างๆ นอกจากนี้ ยังขาดสิ่งอำนวย ความสะดวกด้านการตลาด โดยวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมส่วนใหญ่สามารถตอบสนองความ ต้องการของตลาดเฉพาะในท้องถิ่น แต่ขาดความ รู้ความสามารถด้านการตลาดทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศ ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อม ในการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ยั ง ไม่ เ อื้อ อำนวยให้ วิส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนินการด้านการตลาด เชิงรุกด้วยตนเอง เช่น ข้อจำกัดด้านความน่าเชื่อถือ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มักจะทำให้ มีโอกาสทางการตลาดน้อยกว่ากิจการขนาดใหญ่ ข้อจำกัดด้านเงินทุนและขนาดของธุรกิจทำให้ไม่ สามารถดำเนินกิจกรรมด้านการตลาด และสร้าง ช่องทางการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยัง ขาดการศึกษาวิจัยข้อมูลการตลาดเชิงลึก เพื่อตอบ สนองความต้องการของผูบ้ ริโภคทัง้ ในและต่างประเทศ

ขนาดกลางและขนาดย่อมเพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถ ในการแข่งขันให้สูงขึ้น แนวทางการส่งเสริม

• สร้างองค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อให้บริการแก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ความรูด้ า้ น การค้า การลงทุน ข้อมูลเชิงลึกรายอุตสาหกรรม ความต้องการหรือพฤติกรรมของผู้บริโภค กรอบ ความร่วมมือต่างๆ และส่งเสริมให้วสิ าหกิจขนาดกลาง และขนาดย่ อ มนำองค์ ค วามรู้ ด้ า นการตลาดไป ใช้ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาด • กำหนดตำแหน่งและโครงสร้างตลาดของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมให้ชัดเจน เช่น ธุรกิจ รายย่อยเน้นตลาดภายในประเทศวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมที่เข้มแข็งแล้วควรได้รับการส่งเสริม ให้เข้าสู่ตลาดต่างประเทศ • ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านการตลาด สำหรับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยจัดให้มบี ริการ ทางการค้าอย่างครบวงจร เช่น การเจรจาธุรกิจ บริการขนส่งสินค้า บริการทางการเงิน ฯลฯ

• ส่งเสริมสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ เช่น การพัฒนาคุณภาพของการบริการขนส่ง จัดตัง้ ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์จำหน่ายสินค้า การบริหาร จัดการ (คลังสินค้ากลาง/การขนส่งสินค้าเทีย่ วเปล่า) พัฒนาระบบพิธกี ารศุลกากร เชือ่ มโยงบริการโลจิสติกส์ กิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาด รวมทั้งการพัฒนา ภาครัฐ-เอกชน เช่น เชือ่ มโยงผูป้ ระกอบด้านอาหาร โครงสร้างพื้นฐานยังไม่สามารถตอบสนองความ กับบริการโลจิสติกส์ ต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันการ • สร้างกลไกตลาดที่มีจริยธรรม คุณธรรม ความ เปิดเสรีทางการค้าก็มีผลทำให้วิสาหกิจขนาดใหญ่ โปร่งใส เช่น กฎหมาย กฎระเบียบการค้าทีเ่ ป็นธรรม รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันกับ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ในท้องถิน่ หรือในประเทศมากขึน้ จึงจำเป็น ทีจ่ ะต้องมีการพัฒนาปัจจัยเอือ้ ในการประกอบธุรกิจ ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการตลาด เพือ่ ลดปัญหา และอุปสรรคต่อ การประกอบธุร กิจของวิสาหกิจ

115

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


116

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

• ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มี บทบาทในตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ 7 มากขึ้นโดยมี กลยุทธ์ที่ 1.10 สร้างภูมิคุ้มกัน ฟื้นฟู และ แนวทาง ดังนี้ บรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม

» กำหนดสั ด ส่ ว นการจั ด ซื้อ จั ด จ้ า งของภาครั ฐ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน การประกอบธุรกิจในปัจจุบันได้รับผลกระทบจาก แต่ละปี สถานการณ์ภายนอกทีไ่ ม่ได้คาดคิดอยูเ่ สมอ ทัง้ จาก » พิจารณากำหนดโครงการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยหรือความเสียหายที่ การเฉพาะแก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มนุ ษ ย์ ก่ อ ให้ เ กิ ด ขึ้ น และวิ ก ฤติ ท างเศรษฐกิ จ ใน ระดับโลก ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายต่อการพัฒนา » ปรับปรุงกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำเป็นต้อง หน่วยงานรัฐ เช่น ลดระยะเวลาและขั้นตอน จัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยง การเตรียม การชำระเงิ น ให้ แ ก่ วิส าหกิ จ ขนาดกลางและ ความพร้อมเพื่อรองรับต่อสถานการณ์ฉุกเฉินใน ขนาดย่อม เป็นต้น รูปแบบต่างๆ และการบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉิน » การให้สิทธิพิเศษแก่วิสาหกิจขนาดกลางและ รวมทั้งการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศให้มี ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสามารถแข่งขันได้ ขนาดย่อมในการยื่นข้อเสนอโครงการ ในเวทีโลกอย่างต่อเนือ่ ง และเพือ่ ให้ผปู้ ระกอบการไทย » ให้ สิ ท ธิ ป ระโยชน์ แ ก่ ผู้ ป ระกอบการรายใหญ่ มีภูมิคุ้มกันและสามารถรองรับ ผลกระทบจาก ที่ ว่ า จ้ า งวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม การเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและภายในได้อย่าง ดำเนินงานต่อ (subcontracting) หรือใช้สนิ ค้า มีประสิทธิภาพ สามารถฟืน้ ฟู และบรรเทาผลกระทบ และบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่เกิดขึ้น » สนับสนุนการรวมกลุม่ ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในการรับงานภาครัฐหรือรับงาน แนวทางการส่งเสริม จากธุรกิจรายใหญ่ที่ได้รับโครงการจากภาครัฐ • ฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบทีเ่ กิดขึ้นกับ วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มจากสถานการณ์ เหตุฉุกเฉินต่างๆ โดยส่งเสริมการออกมาตรการ ช่วยเหลือ เช่น » จัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่ อ มเพื่ อ บรรเทาปั ญ หาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมโดยจัดทำบัญชีแยก ประเภทเงินช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่ได้รับจากรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มเป็ น การ เร่งเด่วน

7

» ระดมทุ น ระหว่ า งวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ • สร้างภูมิคุ้มกันจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการ ขนาดย่อมด้วยกัน โดยสำนั ก งานส่งเสริม ดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วม เช่น สมทบ เพือ่ เป็นแหล่งทุนในยามทีเ่ กิดปัญหา » สนับสนุนและส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลาง » ลดภาระค่าใช้จา่ ยให้กบั วิสาหกิจขนาดกลางและ และขนาดย่อมมีการบริหารความเสีย่ งจากปัจจัย ขนาดย่ อ มที่ ป ระสบภั ย พิ บั ติ ห รื อ เหตุ ฉุ ก เฉิ น ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ เช่น การทำประกันภัย เช่น การลด ยกเว้น หรือการให้ผ่อนชำระค่า การทำสัญญาซือ้ -ขายอัตราแลกเปลีย่ นล่วงหน้า สาธารณูปโภค การยืดระยะเวลาการชำระภาษี และการชะลอการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน » สนับสนุนระบบศูนย์ข้อมูลระบบเตือนภัยให้แก่ ประกันสังคมในส่วนของนายจ้างและลูกจ้างโดย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อชี้นำ ทีภ่ าครัฐยังคงจ่ายเงินสบทบเท่าเดิม การพั ฒ นาผู้ป ระกอบการเกิ ด ความมั่น ใจใน การลงทุนของภาคส่วนต่างๆ โดยเน้นการมี » เสริมสภาพคล่องให้กบั วิสาหกิจขนาดกลางและ ส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อกำหนดแนวทาง ขนาดย่ อ มที่ ป ระสบภั ย พิ บั ติ ห รื อ เหตุ ฉุ ก เฉิ น การพัฒนาผูใ้ ห้สอดคล้องกับความเปลีย่ นแปลง โดยการให้เงินอุดหนุน เพือ่ ลดผลกระทบทีอ่ าจมี และศักยภาพของไทย เพราะหากล่าช้าอาจเสีย ต่อการจ้างงานและเพือ่ ให้ธรุ กิจสามารถอยูร่ อด โอกาสในการแข่งขัน » จัดหาผูเ้ ชีย่ วชาญด้านกฎหมายประกันภัย เพือ่ ให้ คำปรึกษาแก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการเจรจาเพื่อ ขอรั บ สิ ท ธิ์ใ นกรณี ท่ีธุร กิ จ ประสบภัยอันเป็นเหตุฉุกเฉินที่มิได้มีการระบุ ในกรมธรรม์ » จัดหาสถานที่สำหรับการประกอบการ เพื่อ เยียวยาผูท้ ไ่ี ด้รบั ผลกระทบจากเหตุภยั ต่างๆ ให้มี สถานทีใ่ นการประกอบการชัว่ คราวในระหว่างที่ ประสบเหตุหรือหลังประสบเหตุ รวมถึงการ จัดหาช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ

รายงานภาพรวมของการจัดซือ้ จัดจ้างรายปี สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังพบว่ามูลค่าการจัด ซื้อจัดจ้างภาครัฐ ปีงบประมาณ 2549-2552 มีมูลค่า 223,031 ล้านบาท 213,732 ล้านบาท 329,007 ล้านบาท และ 308,301 ล้านบาท ตามลำดับ

117

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


118

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

2

ยุทธศาสตร์ที่

เสริมสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขันของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

สภาวการณ์ตา่ งๆ ทัง้ ในด้านเศรษฐกิจ การค้า สังคม และเทคโนโลยี ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว ซึง่ ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยตรง โดยเฉพาะ ปัจจัยด้านการแข่งขันทางธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไป อย่างเห็นได้ชัด จากในอดีตที่อาศัยความได้เปรียบ ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและต้นทุนด้านแรงงาน ทีท่ ำให้สามารถผลิตสินค้าให้มรี าคาทีต่ ำ่ แต่ปจั จุบนั กลับกลายเป็นข้อจำกัดและทำให้ตอ้ งเผชิญกับภาวะ การถดถอยทางการแข่งขัน เนื่องจากทรัพยากร ธรรมชาติท่เี ริ่มลดน้อยลงและมีผ้แู ข่งขันที่มีต้นทุน แรงงานต่ำกว่าและมีทรัพยากรมากกว่าก้าวขึ้นมา เป็นคู่แข่งอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศที่เคยเป็น ผู้ได้เปรียบด้านการค้าการผลิตต้องเปลี่ยนแปลง รู ป แบบทางการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ของตนเองเพื่ อ ให้ สามารถอยู่รอดได้ในการแข่งขันในปัจจุบัน รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเพิม่ ขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ (National Competitiveness) หรือการสร้างขีดความสามารถและ ผลประกอบการของประเทศในการสร้างและรักษา สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การประกอบกิจการ เพราะประเทศทีม่ ขี ดี ความสามารถในการแข่งขันสูง จะมีระดับความสามารถในการผลิต (Productivity) ทีส่ งู และทำให้สามารถรักษาระดับการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ได้อย่างยั่งยืน การที่ ความสามารถดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จำต้องมีปัจจัย สนับสนุนหลายประการ ทัง้ ในแง่ของเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง เทคโนโลยี และทรัพยากรมนุษย์

ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศรวมถึงกลุม่ ผูป้ ระกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในปัจจุบนั มีบาง ปัจจัยทีถ่ อื ว่ายังมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริหารจัดการ และโครงสร้างพืน้ ฐานทีค่ ณ ุ ภาพ ไม่ดีพอ การเสริมสร้างให้ปัจจัยเหล่านี้มีคุณภาพ และเพียงพอเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและต้องทำ ให้ เ กิ ด ขึ้ น ให้ ไ ด้ เ นื่ อ งจากเป็ น ปั จ จั ย ที่ จ ะทำให้ ภาคการผลิตมีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ อย่างยั่งยืน ภาคอุ ต สาหกรรมการผลิ ต ของกลุ่ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มในช่ ว งที่ ผ่ า นมามี การปรับตัวที่ค่อนข้างช้าเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะ ที่ โ ลกปรั บ เปลี่ ย นเข้ า สู่ ร ะบบเศรษฐกิ จ ที่ อ าศั ย ฐานความรูเ้ ป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา เนือ่ งจาก ประสิทธิภาพการผลิตยังอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศ คู่แข่ง มีต้นทุนในกระบวนการผลิตสูง เนื่องจาก แรงงานขาดทักษะและไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีที่ ทันสมัย ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพต่ำ ขาดการออกแบบ ที่ดี รวมทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวย ความสะดวกไม่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีจุดอ่อน ในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิต ขาด การพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนและอุตสาหกรรม ต่อเนือ่ ง ทำให้อตุ สาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ส่ ว นใหญ่ ยั ง อ่ อ นแอและขาดกลไกที่ จ ะประสาน เชื่อมโยงธุรกิจข้ามชาติในการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพือ่ ยกระดับทักษะฝีมอื แรงงาน รวมทัง้ ผูป้ ระกอบการ ของไทย ส่วนใหญ่ยงั ไม่สามารถปรับตัวเพือ่ การแข่งขัน ในตลาดที่มีพลวัตและผันผวนสูงขึ้นได้

ส่วนในภาคบริการและการท่องเทีย่ วแม้จะเป็นแหล่ง ทำรายได้และการจ้างงานที่สำคัญของประเทศใน ช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ได้ส่งผลกระทบในเชิง ลบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมหลายประการ เช่น ความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ รวมทั้งวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่น ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในภาพรวมของอุตสาหกรรม และธุรกิจบริการที่ต่อเนื่องกับการท่องเที่ยวยังไม่ ได้รับการพัฒนาให้เต็มศักยภาพสำหรับด้านการค้า โดยเฉพาะภาคการส่งออกซึง่ ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ อุ ต สาหกรรมที่ มี มู ล ค่ า เพิ่ ม ต่ ำ และสิ น ค้ า เกษตร ขั้ น พื้ น ฐานทำให้ ฐ านสิ น ค้ า ส่ ง ออกค่ อ นข้ า งแคบ ขาดความหลากหลาย ขณะเดียวกันการส่งออกยัง ต้องพึ่งพิงตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพ ยุโรป และญีป่ นุ่ จึงมีโอกาสได้รบั ผลกระทบจากภาวะ ผันแปรทางเศรษฐกิจในตลาดหลักเหล่านี้ได้ง่าย โดยผลการจัดลำดับความสามารถในการแข่งขัน ของสถาบันจัดการเพือ่ การพัฒนา (International Institution of Management Development: IMD) ซึง่ ได้จดั ลำดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศต่างๆ จำนวน 58 ประเทศในปี 2553 โดยมุ่ ง เน้ น การวั ด ความสามารถในการสร้ า ง สภาพแวดล้อมต่อการแข่งขันใน 4 กลุ่ม ได้แก่ ศักยภาพทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของรัฐบาล ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า ความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย ในภาพรวมอยูใ่ นอันดับที่ 26 เช่นเดียวกับปีกอ่ นหน้า ซึง่ ปัจจัยสำคัญทีส่ ง่ ผลให้ความสามารถในการแข่งขัน ของไทยดีขึ้นคือศักยภาพด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในด้านระดับราคาซึ่งประเทศไทยมีอันดับ

อยู่เหนือประเทศคู่แข่งรวมถึงการจ้างงาน และ ปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลให้ ค วามสามารถทางการแข่ ง ขั น ของไทยลดลงคื อ ประสิ ท ธิ ภ าพของภาคเอกชน ในด้านผลิตภาพและประสิทธิภาพ จากผลการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขัน แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ประสิ ท ธิ ภ าพของภาคธุ ร กิ จ และ อุ ต สาหกรรมของไทยยั ง อยู่ ใ นระดั บ ค่ อ นข้ า งต่ ำ โดยเฉพาะในด้านผลิตภาพการผลิตที่แรงงานขาด ทักษะและไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีท่ีทันสมัย ทำให้ผลิตภัณฑ์มคี ณ ุ ภาพต่ำ ขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความ สะดวกไม่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ยังมีจุดอ่อนในด้าน การสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิต ดั ง นั ้ น การส่ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) จึงควร เน้นในเรือ่ งการส่งเสริมการเพิม่ ผลิตภาพการพัฒนา ประสิทธิภาพและความรูเ้ บือ้ งต้นในการดำเนินธุรกิจ แก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผูป้ ระกอบ การชุมชนในแต่ละพืน้ ที่ รวมทัง้ พัฒนาการรวมกลุม่ เป็นเครือข่ายวิสาหกิจทีเ่ ข้มแข็ง ช่วยเหลือให้วสิ าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถอยูร่ อดได้ในภาวะ วิกฤติ โดยการสนับสนุนการลดต้นทุนการผลิต เพิม่ ผลผลิตและเพิม่ ยอดขายให้กบั สินค้าและบริการ นอกจากนี้ ยั ง ต้ อ งผลั ก ดั น การพั ฒ นาสิ น ค้ า และ บริ ก ารเพื่ อ ให้ เ กิ ด มู ล ค่ า และคุ ณ ค่ า เพิ่ ม อั น เนื่ อ ง มาจากการสร้ า งผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ มี ค วามแตกต่ า ง การปรับเปลีย่ นรูปแบบการผลิตได้ตามความต้องการ ของลูกค้า โดยการประยุกต์ใช้สนิ ทรัพย์ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ผสานกับเทคโนโลยี และนวัตกรรม

119

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


120

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า รองรับต่อ การเปลีย่ นแปลงตามแนวโน้มของโลก และยกระดับ มาตรฐานสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่ อ มให้ ไ ด้ ม าตรฐานเป็ น ที่ ย อมรั บ ใน ตลาดโลกซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้กบั ผลิตภัณฑ์และบริการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่ อ มตลอดจนให้ ค วามสำคั ญ กั บ การสร้างผูป้ ระกอบการใหม่ซง่ึ จะเป็นพลังขับเคลือ่ น ของเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ แนวทางตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์ 1.การเพิ่มขึ้นของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่จดทะเบียนนิติบุคคล 2.การเพิ่ ม ขึ้ น ของจำนวนเครื อ ข่ า ยวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มได้ รั บ การพั ฒ นาให้ มี ความเข้มแข็ง 3.การเพิ่มขึ้นของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมมีการนำการวิจัยและพัฒนามาใช้พัฒนา สินค้าและบริการ 4.การเพิ่มขึ้นของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมมีการพัฒนาขีดความสามารถของกิจการ 5.จำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับ การส่งเสริมให้เกิดการยกระดับมาตรฐาน

กลยุทธ์ที่ 2.1 เพิ่มผลิตภาพและพัฒนา ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม จำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ ประเมินศักยภาพของธุรกิจ เพื่อให้ทราบถึงความ สามารถในการดำเนินธุรกิจ และนำมาเป็นแนวทาง ในการปรับปรุง พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิต โดยในระยะ เริ่มต้นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษา หรือ อาจนำรูปแบบธุรกิจทีป่ ระสบความสำเร็จมาประยุกต์ ใช้ในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนา บุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์ และประเมิน ศักยภาพของธุรกิจ และควรส่งเสริมให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมมีการดำเนินธุรกิจอย่าง มีความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ภาครัฐควร เพิ่มศักยภาพของหน่วยงานที่ให้บริการ (Service Provider) ให้สอดคล้องและเพียงพอต่อความ ต้องการ และควรมีการสำรวจ รวบรวมข้อมูลการ ดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในแต่ละพืน้ ที่ เพือ่ ให้ทราบปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด และความต้ อ งการของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม เพือ่ กำหนดมาตรการในการเพิม่ ผลิตภาพ และประสิทธิภาพให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม

แนวทางการส่งเสริม

• กระตุ้นและส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มเห็ น ถึ ง ความสำคั ญ ของการวิ เ คราะห์ ประเมินศักยภาพของธุรกิจ และนำมาใช้ เพื่อกำหนด แนวทางการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและ สามารถปรับตัวได้ตามปัจจัยแวดล้อมทีเ่ ปลีย่ นแปลง

• สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นำรูปแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ (Best practices) มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดย ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ศึกษาดูงาน จัดทำคู่มือ เผยแพร่ การอบรมสัมมนา เป็นต้น

• สร้างความตระหนักให้ความรู้และสร้างค่านิยมให้ • ส่งเสริมการเพิม่ ผลิตภาพและประสิทธิภาพ รวมทัง้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีก ารดำเนิ น ความรู้เบื้องต้นในการดำเนินธุรกิจให้แก่วิสาหกิจ ธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate ขนาดกลางและขนาดย่อม และผูป้ ระกอบการชุมชน Social Responsibility: CSR) รวมถึงส่งเสริมให้มี ในแต่ละพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต กิจกรรมทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ ชุมชน สังคม และสิง่ แวดล้อม » การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมถึง การจัดทำระบบบัญชี การบริหารการเงิน การ จัดการความรูใ้ นองค์กร การปรับปรุงประสิทธิภาพ ระบบโลจิสติกส์ในองค์กร การจัดการโซ่อปุ ทาน ระหว่างองค์กร การจัดผังกระบวนการผลิตเพือ่ ลดระยะเวลาการดำเนินการ และการปรับปรุง ระบบการจัดหาวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ และ เครื่องมือการบริหารจัดการอื่นๆ

• ส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาบุ ค ลากรของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความรู้แ ละทั ก ษะ ด้านการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของธุรกิจ เพื่ อ ให้ ส ามารถนำไปใช้ ป ระโยชน์ ใ นการพั ฒ นา ประสิทธิภาพขององค์กร

• สนับสนุนการเพิ่มศัก ยภาพของหน่วยงานที่ให้ บริการด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ (Service Provider) ให้สอดคล้องและเพียงพอต่อ » การเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต โดยการปรับเปลีย่ น ความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เครือ่ งจักร การใช้พลังงาน ในสถานประกอบการ อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีสะอาด • สนับสนุนให้มีการสำรวจ รวบรวมข้อมูลของ การลดต้นทุนพลังงาน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในแต่ละพื้นที่ » การปรับปรุงประสิทธิภาพภาคการค้า และบริการ เพื่อทราบปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดและความ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ ต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการบริหารจัดการ การบริการลูกค้า การ เพื่อนำไปกำหนดแนวทางการเพิ่มศักยภาพการ ประชาสัมพันธ์ การลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ แข่งขันในสาขาเป้าหมาย และการพัฒนาทักษะบุคลากร

121

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


122

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

กลยุทธ์ที่ 2.2 ส่งเสริมการสร้างพันธมิตร ทางธุรกิจ การรวมกลุ่มและการพัฒนา เครือข่ายวิสาหกิจ

แนวทางการส่งเสริม

• สนับสนุนให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนา เครือข่ายวิสาหกิจในธุรกิจสาขาต่างๆ เช่น อาหาร สิง่ ทอและเครือ่ งนุง่ ห่ม ท่องเทีย่ ว ดิจติ อลคอนเท้นท์ สปา ธุรกิจบริการเพือ่ สุขภาพ และภาพยนตร์ เป็นต้น การพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจ การรวมกลุ่มและ โดยให้ มี ก ารทบทวนและต่ อ ยอดผลการศึ ก ษาที่ เครือข่ายวิสาหกิจเป็นแนวทางสำคัญทีท่ ำให้วสิ าหกิจ เกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจเพื่อกำหนด ขนาดกลางและขนาดย่อมมีความเข้มแข็ง และมี เครือข่ายวิสาหกิจเป้าหมาย ศักยภาพทางการแข่งขันเพิม่ ขึน้ จากการนำศักยภาพ ทีแ่ ตกต่างกันมาเกือ้ หนุนกัน และเชือ่ มโยงการดำเนิน • สนับสนุนให้มีการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประสาน ธุรกิจร่วมกันของสมาชิกเครือข่ายในห่วงโซ่อุปทาน งานการพั ฒ นาเครื อ ข่ า ยวิ ส าหกิ จ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง (Supply Chain) โดยพัฒนาเครือข่ายร่วมกับ (Cluster Development Agent : CDA) เพื่อให้ หน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันทีเ่ กีย่ วข้อง การประสานงานมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและเครื อ ข่ า ยมี ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล และองค์ความรู้ ความแข็งแกร่ง ระหว่างสมาชิก ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้ ง เป็ น การสนั บ สนุ น การเพิ่ ม ผลิ ต ภาพ • ส่ง เสริมให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (Productivity) โดยรวมของเครือข่ายวิสาหกิจ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่ม ในการส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจนีส้ ามารถดำเนินการ ได้ โ ดยดำเนิ น การจั ด ทำยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นา • ผลักดันให้มกี ารรวมกลุม่ และมีกจิ กรรมทีเ่ กือ้ หนุน เครือข่ายวิสาหกิจเพือ่ เป็นทิศทางการพัฒนาเครือข่าย ให้เกิดความเชือ่ มโยงระหว่างธุรกิจในห่วงโซ่อปุ ทาน วิสาหกิจเป้าหมาย และพัฒนาผูป้ ระสานการพัฒนา และการดำเนินงานระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและ เครือข่ายวิสาหกิจ ให้เป็นผู้นำในการผลักดันมีการ ขนาดย่อมด้วยกัน รวมทัง้ เชือ่ มโยงกับผูป้ ระกอบการ รวมกลุ่มและพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน รายใหญ่และวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมการรวมกลุ่ม ของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นสมาคมการค้า กลุ่มผู้ผลิต สหกรณ์ และ ผลักดันให้มีบทบาทในการพัฒนาธุรกิจรวมทั้งให้ มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย สถาบันการเงิน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เป็นต้น • เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายวิสาหกิจ เพือ่ การพัฒนาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่าย วิสาหกิจ โดยสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนาสินค้าและบริการ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ภูมิปัญญา และทุนทางวัฒนธรรม

การพัฒนาสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมให้สามารถตอบสนองความต้องการ ของตลาด ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีข้อมูลด้าน ต่างๆ เพือ่ ใช้ในการปรับปรุงสินค้าและบริการ ภาครัฐ ควรมีการกระตุน้ ให้มกี ารใช้ความคิดริเริม่ สร้างสรรค์ โดยจัดกิจกรรมสนับสนุน และสนับสนุนด้านเงินทุน ทีป่ รึกษาผูเ้ ชีย่ วชาญให้แก่ผปู้ ระกอบการ เพือ่ พัฒนา สินค้าและบริการโดยการประยุกต์ใช้ภมู ปิ ญ ั ญา ผสาน กับเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับความ ต้องการของลูกค้าและรองรับต่อการเปลี่ยนแปลง ตามแนวโน้มของโลก และเสริมสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ ผูป้ ระกอบการทราบถึงการคุม้ ครองทางกฎหมายใน สินค้าและบริการทีไ่ ด้พฒ ั นาขึน้ รวมทัง้ สนับสนุนให้ มีการทำวิจยั และพัฒนาเชิงประยุกต์ และใช้ประโยชน์ จากงานศึ ก ษาวิ จั ย ที่ มี อ ยู่ ทั้ ง ในและต่ า งประเทศ อี ก ทั้ ง สนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด เครื อ ข่ า ยนั ก ออกแบบ นักการตลาด และนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในห่วงโซ่ มูลค่า (Value Chain) เพือ่ ให้มบี ทบาทในการริเริม่ ผลิตสินค้าและบริการใหม่ แนวทางการส่งเสริม

• ผลักดันการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้เกิด คุ ณ ค่ า และมู ล ค่ า เพิ่ ม จากการสร้ า งผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ มีความแตกต่าง ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต โดย การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ผสานกับเทคโนโลยีและ นวัตกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า และรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวโน้มของ โลก (Mega Trend) เช่น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โดยการสนับสนุนให้ ใช้ประโยชน์จากข้อมูลงานวิจัย สนับสนุนการใช้ ผู้เชี่ยวชาญ นักออกแบบ นักการตลาด และ นักพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ • เสริมสร้างความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับการคุม้ ครอง ทรัพย์สินทางปัญญา ผลักดันและส่งเสริมให้มีการ จดทะเบี ย นคุ้ ม ครองและปกป้ อ งทรั พ ย์ สิ น ทาง ปัญญา รวมทัง้ สนับสนุนให้ใช้ทรัพย์สนิ ทางปัญญา ทีห่ มดอายุการคุม้ ครองหรือทีไ่ ม่คมุ้ ครองในประเทศ ไทยมาใช้ต่อยอดในการพัฒนาสินค้าและบริการ • สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการทำวิจยั และพัฒนาเชิงประยุกต์ และใช้ประโยชน์ จากงานศึ ก ษาวิ จั ย ที่ มี อ ยู่ ทั้ ง ในประเทศและ ต่างประเทศ รวมทัง้ ยกระดับการใช้ภมู ปิ ญ ั ญาท้องถิน่ เพือ่ ให้เกิดนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิม่ ให้แก่สนิ ค้า และบริการ โดยจัดให้มีศูนย์ข้อมูลกลางงานศึกษา วิจัยที่เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และอุดหนุน ค่าใช้จา่ ยบางส่วน หรือให้สทิ ธิประโยชน์การลดหย่อน ภาษี เ พื่ อ สร้ า งแรงจู ง ใจในการทำวิ จั ย หรื อ นำ งานวิจัยมาประยุกต์ใช้

• สนับสนุนให้มีการรวบรวมข้อมูล ความรู้ด้าน ทรัพย์สนิ ทางปัญญา เพือ่ พัฒนาฐานข้อมูลและนำ • สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายนักออกแบบ นักการตลาด ข้อมูลในเชิงวิเคราะห์มาใช้ประโยชน์ในการสร้าง และนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ในห่วงโซ่มูลค่า (Value คุณค่าให้กับสินค้าและบริการ Chain) เพือ่ ให้มบี ทบาทในการริเริม่ ผลิตสินค้าและ บริการใหม่ • กระตุ้นให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมี การใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ในการเพิ่มมูลค่าสินค้า และบริการ โดยจัดกิจกรรมสนับสนุนต่างๆ เช่น การจัดประกวดผลงานความริเริม่ สร้างสรรค์ เป็นต้น และให้การสนับสนุนด้านเงินทุน ที่ปรึกษา และ ผู้เชี่ยวชาญ 123

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


124

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

แนวทางการส่งเสริม

• สร้างความตระหนักให้วิสาหกิจขนาดกลางและ กลยุทธ์ที่ 2.4 ยกระดับคุณภาพสินค้าและ บริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขนาดย่อม เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานของสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง ให้ได้มาตรฐานสากล การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมควรมีการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานของสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง ยกระดับการผลิตสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน โดย เฉพาะมาตรฐานตามทีก่ ฎหมายกำหนด เพือ่ คุม้ ครอง ผูบ้ ริโภคจากสินค้าด้อยคุณภาพ ตลอดจนสนับสนุน ให้มีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ (Professional Certification) เกณฑ์คุณภาพธุรกิจในธุรกิจภาค การค้าและบริการ นอกจากนี้ เพื่อให้การยกระดับ คุณภาพสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภาครัฐควร สนั บ สนุ น ให้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม เข้าถึงบริการของหน่วยงานรับรองมาตรฐานต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็ว และส่งเสริมให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมทีม่ ศี กั ยภาพได้การรับรอง มาตรฐานระดับสากล เพื่อให้เกิดการยอมรับจาก ผู้บริโภค อีกทั้งส่งเสริมให้ธุรกิจบริการนำแนวทาง วิศวกรรมและการจัดการบริการมาประยุกต์ใช้ใน การดำเนินงาน เพื่อให้ธุรกิจมีการดำเนินงานที่เป็น ระบบและมีความน่าเชื่อถือ

เพื่อให้สามารถแข่งขันได้และเตรียมพร้อมในการ รองรับข้อกำหนดด้านมาตรฐานระดับสากล โดย การให้องค์ความรู้ด้านคุณภาพและมาตรฐานต่างๆ และการเตรียมความพร้อมแก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ในการใช้ประโยชน์และขอรับรอง มาตรฐานจากหน่ ว ยงานรั บ รองมาตรฐานต่ า งๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

• ส่งเสริม พัฒนา และยกระดับการผลิตสินค้าและ บริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ ได้ม าตรฐาน โดยเฉพาะมาตรฐานบังคับตามที่ กฎหมายกำหนดในแต่ละธุรกิจ เช่น มาตรฐานอาหาร และยา (อย.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มาตรฐาน Q (Q-Mark) หลักเกณฑ์วธิ กี ารทีด่ ี ในการผลิต (GMP) เป็นต้น โดยสนับสนุนและช่วย เหลื อ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มในการ ปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้ได้มาตรฐานเป็นทีย่ อม รับของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ • สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในธุรกิจเป้าหมายได้รับการรับรองมาตรฐานระดับ สากล เช่น International Standardization and Organization (ISO), Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP), International Electrotechnical Commission (IEC), Hospital Accreditation (HA) เป็นต้น โดย ภาครัฐให้การ สนับสนุนด้านความรู้ ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน เพื่อให้ได้มาตรฐาน และสนับสนุนด้านการเงิน เพื่อ ลดภาระของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

• สนับสนุนการกำหนดมาตรฐานสินค้า เพือ่ คุม้ ครอง ผู้บริโภคจากสินค้าด้อยคุณภาพ โดยส่งเสริมให้ ทบทวนมาตรฐานเกี่ยวกับสินค้าที่ประกาศใช้แล้ว ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ปจั จุบนั และ ตรวจติดตามเฝ้าระวังสินค้าด้อยคุณภาพทีเ่ ข้าสูต่ ลาด รวมทั้ ง ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายด้ า น มาตรฐานเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างเคร่งครัด • ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มในธุ ร กิ จ ที่ มี ศั ก ยภาพ ได้ รั บ การรั บ รองมาตรฐานวิ ช าชี พ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง (Professional Certification) และเกณฑ์คณ ุ ภาพ ธุรกิจ เพื่อให้การบริการวิชาชีพของไทยเป็นที่รู้จัก และเป็นทีย่ อมรับในระดับสากล เช่น การนวดแผนไทย มัคคุเทศน์ การบริการโรงแรม เป็นต้น โดยภาครัฐ ให้ ก ารสนั บ สนุ น ด้ า นการเงิ น เพื่ อ ลดภาระของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน ธุรกิจบริการนำแนวทางวิศวกรรมและการจัดการ บริการ (Service Science Management and Engineer: SSME) มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงกระบวนการธุรกิจด้านบริการให้เป็น ระบบ สามารถให้บริการแก่ลูกค้าอย่างมีมาตรฐาน และสอดคล้องกับความต้อ งการของลูกค้า เช่น ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ดิจิต อลคอนเท้นท์ บริการโลจิสติกส์ เป็นต้น

กลยุทธ์ที่ 2.5 สร้างโอกาสและเพิ่มช่องทาง การตลาดให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม

การสร้ า งโอกาสและเพิ่ ม ช่ อ งทางการตลาดเป็ น แนวทางสนั บ สนุ น การเพิ่ ม รายได้ โ ดยตรงให้ กั บ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งในปัจจุบัน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังขาดความรู้ ด้านการตลาด ขาดการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ เพื่อสนับสนุนการขยายตลาด และยังมีข้อจำกัดใน การขยายตลาดและการเข้าถึงข้อมูลด้านการตลาด เชิงลึก รวมทั้งมีตัวแทนการค้าที่รวบรวมสินค้าส่ง หรือจัดจำหน่ายสินค้าและบริการทีไ่ ม่เพียงพอ และ ธุรกิจภาคการค้ายังขาดความร่วมมือเพือ่ การพัฒนา ทางธุรกิจร่วมกัน สำหรับแนวทางในการพัฒนา ด้าน การตลาดสามารถดำเนินการได้โดยการให้ความรู้ พื้นฐานด้านการตลาด สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริม ด้านการตลาด พัฒนาตราสินค้า และเพิ่มช่องทาง การตลาดอย่างทัว่ ถึงในประเทศและระหว่างประเทศ ผ่านการค้ารูปแบบต่างๆ เช่น การค้าผ่านระบบ สารสนเทศ หรือกิจการด้านการค้า (Trading Firm) เป็นต้น โดยให้มีการพัฒนาร้านค้าส่งให้ช่วยเหลือ และเชื่อมโยงกับร้านค้าปลีกดั้งเดิม เพื่อยกระดับ ภาคการค้าในภาพรวมและสนับสนุนให้มกี ารนำข้อมูล ด้ า นการตลาดเชิ ง ลึ ก มาใช้ ป ระโยชน์ ป ระกอบใน การดำเนินธุรกิจ

125

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


126

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

แนวทางการส่งเสริม

• เสริมสร้างองค์ความรูด้ า้ นการตลาดขัน้ พืน้ ฐานให้ แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ความรู้ เกีย่ วกับส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) การสือ่ สารการตลาด การจัดการช่องทางการจำหน่าย การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น

• เพิม่ ช่องทางการตลาดให้วสิ าหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการ สนับสนุนการจำหน่ายในหลายช่องทาง เช่น ร้าน สะดวกซือ้ ขยายธุรกิจแฟรนไชส์ เครือ่ งจำหน่ายสินค้า อัตโนมัติ เป็นต้น

• สนับสนุนให้มกี จิ กรรมส่งเสริมทางการตลาด เช่น การจับคู่ทางธุรกิจ งานแสดงสินค้าภายในท้องถิ่น และภายในเครือข่ายระหว่างจังหวัด และกิจกรรมอืน่ ๆ ทัง้ ในประเทศและต่างประเทศให้ตรงกับความต้องการ และเกิ ด ประโยชน์ ต่ อ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม รวมถึงให้มีการศึกษาข้อมูลตลาด ข้อมูล ผู้ซื้อ และการให้ความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมกิจกรรม

• ส่งเสริมให้เกิดกิจการด้านการค้า (Trading Firm) สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อทำ หน้าทีเ่ ป็นตัวกลาง ในการรวบรวมและกระจายคำสัง่ ซื้อสินค้าให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

• พัฒนาและสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างร้านค้า ส่งและร้านค้าปลีกดั้งเดิม โดยส่งเสริมให้ร้านค้าส่ง มีบทบาทมากขึน้ ในการพัฒนาการดำเนินธุรกิจของ ร้านค้าปลีกดั้งเดิมสำหรับเป็นช่องทางการกระจาย • สนับสนุ น การพัฒ นาตราสินค้าอย่างต่อเนื่อง สินค้าทีม่ ปี ระสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการบริหาร สร้ า งการยอมรั บ และความเชื่ อ มั่ น ต่ อ ตราสิ น ค้ า สินค้าคงคลัง (Brand Loyalty) ส่ง เสริ ม ให้ม ี ก ารพั ฒ นา ตราสินค้าย่อย (Sub-brand) ตลอดจนสนับสนุน • สนั บ สนุ น การใช้ ป ระโยชน์ จ ากฐานข้ อ มู ล ด้ า น การพัฒนาตราสินค้าในรูปแบบอื่น เช่น ความ การตลาดเชิงลึก เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ร่วมมือและใช้ตราสินค้าเดียวกัน (Co-branding) ขนาดย่ อ มทราบทิ ศ ทางและแนวทางสำหรั บ การปรับปรุงและพัฒนาตราสินค้า (Re-branding) การขยายตลาด รวมทัง้ ใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง และพัฒนาตราสินค้าท้องถิ่น (Local Brand) สินค้าและบริ ก ารให้ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการ เป็นต้น ของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ • พัฒนาและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ ในการดำเนิน ธุรกิจ การสื่อ สารการตลาด การ ประชาสัมพันธ์ และระบบการค้ารูปแบบใหม่ เช่น การค้า ผ่านระบบสารสนเทศ (e-Market, e-Commerce, Social Network) เป็นต้น

» ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารปรั บ ปรุ ง แผนการตลาดใน กลยุทธ์ท่ี 2.6 พลิกฟืน ้ ธุรกิจเพือ ่ ความอยูร่ อด การดำเนินธุรกิจโดยการกำหนดตำแหน่งทาง การตลาดและกลุม่ ลูกค้าเป้าหมายใหม่ รวมทัง้ การช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ การหาช่องทางการตลาดใหม่ สามารถพลิกฟื้นการดำเนินธุรกิจเพื่อความอยู่รอด » สนับสนุนการปรับเปลีย่ นรูปแบบของผลิตภัณฑ์ หรื อ ลดผลกระทบจากการเลิ ก กิ จ การ โดยการ โดยการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อให้ สนับสนุนที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญในการปรับปรุง ได้ผลิตภัณฑ์ทเ่ี ป็นเอกลักษณ์และสอดคล้องกับ การดำเนินธุรกิจตลอดจนสนับสนุนมาตรการทาง ความต้องการของลูกค้า เพือ่ ยกระดับธุรกิจจาก การเงิน เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การรับจ้างทำหรือผลิตสินค้าให้กับสินค้ายี่ห้อ ใช้ ฟื้ น ฟู ธุ ร กิ จ และปรั บ รู ป แบบการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ต่างๆ (Original Equipment Manufacturing: นอกจากนี้ให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่รวบรวม OEM) เป็นออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ ข้อมูล ประสานงานเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความ ธุรกิจเอง (Original Design Manufacturing: สะดวกแก่ผู้ประกอบการในการปรับปรุงธุรกิจ และ ODM) จนถึงการสร้างตราสินค้าเป็นของธุรกิจเอง ขายหรือซื้อกิจการ (Original Brand name Manufacturing: OBM) แนวทางการส่งเสริม

• ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ ประสบปัญหาจากปัจจัยต่างๆ มีความจำเป็นต้อง ปรับเปลีย่ นธุรกิจ เพือ่ ความอยูร่ อดหรือลดผลกระทบ จากการเลิกกิจการ โดยการสนับสนุนทีป่ รึกษา หรือ ผู้เชี่ยวชาญในการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจในด้าน ต่างๆ เช่น

• สนั บ สนุ น มาตรการทางการเงิ น แก่ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อใช้ฟื้นฟูธุรกิจและ ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ โดยผลักดันให้สถาบัน การเงิ น มี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ก ารเงิ น เพื่อ ผู้ป ระกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต้องการฟื้นฟู ธุรกิจ

» ส่งเสริมให้มกี ารวิเคราะห์ และประเมินสมรรถนะ • ส่งเสริมให้มีหน่วยงานกลางซึ่งทำหน้าที่ รวบรวม ทางธุ ร กิ จ เพื่ อ ให้ ท ราบความสามารถใน ข้อมูล ประสานงานเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความ การดำเนินธุรกิจ และวางแผนการปรับปรุง สะดวกแก่ผู้ประกอบการในการปรับปรุงธุรกิจ และ กิจการ ขายหรือซือ้ กิจการ เช่น การควบรวมกิจการ การจับคู่ » ให้ความรู้และส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลาง ธุรกิจ การขายกิจการบางส่วน การหาพันธมิตร และขนาดย่อมมีการบริหารความเสี่ยง (Risk ทางธุรกิจ และการซื้อกิจการ Management) ในการดำเนินธุรกิจ

127

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


128

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

กลยุทธ์ที่ 2.7 สร้างและพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการใหม่

แนวทางการส่งเสริม

• สร้างแรงจูงใจและจิตสำนึกในการเป็นผูป้ ระกอบการ โดยเสริ ม สร้ า งทั ศ นคติ แ ละประสบการณ์ ใ ห้ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ มีความรู้ความเข้าใจ เกีย่ วกับการประกอบธุรกิจและการเป็นเจ้าของธุรกิจ ด้ ว ยการบรรจุ ห ลั ก สู ต รเกี่ ย วกั บ การเสริ ม สร้ า ง ความเป็นผู้ประกอบการ การจัดตั้งบริษัทจำลอง การอบรมวิชาชีพ การสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน เพือ่ เพิม่ โอกาสการฝึกงาน การจัดประกวดแผนธุรกิจ ก า ร เ ผ ย แ พ ร่ ต้ น แ บ บ ผู้ ป ร ะ ก อ บ ก า ร ใ ห ม่ ที่ ประสบความสำเร็จ รวมทั้งการสนับสนุนด้าน การเงินให้แก่ผู้ที่มีความพร้อมในการจัดตั้งธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างการเกิดผู้ประกอบการธุรกิจ

ผูป้ ระกอบการรายใหม่ เป็นปัจจัยสำคัญทีส่ นับสนุน ให้ เ ศรษฐกิ จ ของประเทศมี อั ต ราการขยายตั ว เพิ่มขึ้น รวมถึงก่อให้เกิดการจ้างงาน และการสร้าง รายได้ให้กบั ประชาชนในประเทศ ซึง่ การพัฒนาผูท้ ม่ี ี ศักยภาพให้เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รายใหม่ที่มีความสามารถในการแข่งขันที่เหมาะสม กับสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันได้นั้น จะต้อง มีองค์ประกอบของความพร้อมทั้ง ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ทางด้านการบริหารจัดการ รวมทัง้ วิทยาการ เฉพาะด้ า นในธุ ร กิ จ ไม่ ว่ า จะเป็ น ในภาคการผลิ ต ภาคการค้า หรือภาคบริการ โดยจำเป็นต้องใช้วิธี • สนับสนุนการพัฒนาความพร้อมด้านการประกอบ ดำเนินการในหลายรูปแบบ ธุรกิจแก่ผู้ที่มีความสนใจในการจัดตั้งธุรกิจ แนวทางในการสร้ า งและพั ฒ นาผู้ ป ระกอบการ รายใหม่ สามารถดำเนิน การโดยสร้างแรงจูงใจ และจิตสำนึกในการเป็นผู้ประกอบการ เสริมสร้าง ทัศนคติและประสบการณ์ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ประกอบธุรกิจและการเป็นเจ้าของธุรกิจ ผลิตสินค้า และบริการที่แตกต่างและสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้ง สนับสนุนให้มธี รุ กิจทีด่ ำเนินการเพือ่ สังคม (Social Enterprise: SE) และเครือข่ายของวิสาหกิจเพื่อ สังคม เพือ่ แลกเปลีย่ นองค์ความรูร้ ว่ มกัน และสร้าง ผู้ประกอบการการค้า เพื่อกระตุ้นและเชื่อมโยงให้ ผู้ผลิตสินค้าสามารถจำหน่ายสินค้าและบริการได้ มากขึ้น

» หลักสูตรทั่วไป โดยการบ่มเพาะ อบรม การให้ คำปรึกษาคำแนะนำ พีเ่ ลีย้ งธุรกิจ ด้านการจัดทำ แผนธุรกิจ ถ่ายทอดความรูเ้ กีย่ วกับความต้องการ ของตลาด การจัดตัง้ ธุรกิจ กฎหมาย กฎระเบียบ ทีเ่ กีย่ วข้อง และจัดกิจกรรมให้วสิ าหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมมีโอกาสนำเสนอแผนธุรกิจแก่ สถาบันการเงินเพือ่ การเริม่ ต้นธุรกิจ ตลอดจนให้ ความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับการเตรียมธุรกิจ เพือ่ รองรับการเปิดเสรีทางการค้า โดยการเผยแพร่ ข้อมูลและโอกาสในการทำธุรกิจที่ประเทศไทย มีศักยภาพในการแข่งขันในระดับอาเซียน

• สร้างแรงจูงใจให้ผเู้ ริม่ ต้นดำเนินธุรกิจจดทะเบียน นิติบุคคล โดยสนับสนุนสิทธิประโยชน์พิเศษในการ เข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐ และสิทธิ ประโยชน์ด้านภาษี • ส่งเสริมให้ผปู้ ระกอบการใหม่ ตระหนักและมีแนวคิด ในการดำเนินธุรกิจเพือ่ สังคม (Social Enterprises: SE) โดยการรณรงค์ให้ทราบความสำคัญ และความ จำเป็ น ของการดำเนิ น ธุ ร กิ จ เพื่ อ สั ง คมตลอด จนสนั บ สนุ น ให้ มี กิ จ กรรมที่ ส ร้ า งผลตอบแทน ให้แก่สังคมชุมชน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • สร้างผูป้ ระกอบการการค้า (Merchandiser) และ ธุรกิจทีใ่ ห้ความสำคัญกับการออกแบบ ใช้องค์ความรู้ ประยุกต์ใช้นวัตกรรม และภูมปิ ญ ั ญา รวมทัง้ เทคนิค การบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อสร้างสินค้าและ บริการที่มีมูลค่า รวมถึงพัฒนาธุรกิจที่ประเทศไทย มีศักยภาพทางการแข่งขัน

3

ยุทธศาสตร์ที่

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่าง สมดุลตามศักยภาพของพืน ้ ที่

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยมี อยู่อย่างหนาแน่น 8 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล ประมาณ 110 ราย/ตารางกิโลเมตร ส่วน พื้ น ที่ น อกเขตกรุ ง เทพมหานครและปริ ม ณฑลมี ความหนาแน่นของจำนวนวิสาหกิจเพียง 4 ราย/ ตารางกิโลเมตร ขณะที่ การจ้างงานส่วนใหญ่ของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอยู่ในกรุงเทพ มหานครและปริมณฑล คิดเป็นร้อ ยละ 49.40 9 ของการจ้างงานทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงการกระจุก ตั ว ของจำนวนและการจ้ า งงานของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมนเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ทั้งที่พื้นที่อื่นนั้นมิได้มีศักยภาพ ด้อยไปกว่าพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

• สนั บ สนุ น การรวมกลุ่ ม พั ฒ นาเครื อ ข่ า ยของ ทั้งนี้ ศักยภาพของพื้นที่สามารถจำแนกได้เป็น ผู้ประกอบการใหม่ที่ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม 3 ด้าน คือ

1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึง่ มีศกั ยภาพของวิถชี วี ติ วัฒนธรรม และภูมปิ ญ ั ญาทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ สามารถ สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) และสร้างสรรค์ ความแตกต่าง โดดเด่นให้แก่สินค้าและบริการ เช่น ตลาดวิถีไทยที่สืบทอดอัตลักษณ์วัฒนธรรมเฉพาะ ถิ่น งานศิลปะหัตถกรรม และการผสมผสานของ งานศิลปะร่วมสมัยทีก่ อ่ ให้เกิดงานดีไซน์รปู แบบใหม่ เป็นต้น

» หลักสูตรเฉพาะด้านสำหรับผูท้ ม่ี คี วามพร้อมสูง เช่น ทายาทธุรกิจ หรือผู้ที่มีศักยภาพ (ด้าน การเงินและความรู้) โดยเน้นพัฒนาหลักสูตร การดำเนินธุรกิจในเชิงปฏิบตั ิ หลักสูตรกึง่ วิชาชีพ เช่น หลักสูตรเกี่ยวกับการตั้งธุรกิจ โรงแรม ขนาดเล็ก สปา ร้านอาหารไทย และร้านซักรีด เป็นต้น

8 9

คำนวนโดย จำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ราย) หารด้วยพื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ที่มา: รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2552 และแนวโน้มปี 2553 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (สสว.)

129

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


130

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

2) ด้านเศรษฐกิจ โดยมุง่ เน้นศักยภาพพืน้ ทีท่ เ่ี หมาะสม กับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การใช้ ประโยชน์จากความได้เปรียบทางภูมิประเทศที่มีพ้นื ที่ ติ ด กั บ ประเทศเพื่ อ นบ้ า นซึ่ ง เอื้ อ ต่ อ การดำเนิ น ธุรกิจค้าชายแดน 10 การมีสถานประกอบการอยูใ่ น แนวพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ 11 เป็นต้น

เกิดประโยชน์สงู สุด รวมถึงพัฒนาพืน้ ทีเ่ ขตเศรษฐกิจ ชายแดนและพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจให้เอื้อต่อ การค้า การลงทุนและการท่องเทีย่ ว อีกทัง้ สนับสนุน ให้เกิดการบูรณาการการทำงานและสร้างเครือข่าย ความร่วมมือในทุกภาคส่วน ซึ่งการดำเนินการทั้ง หมดนี้ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถเติบโต แข่งขัน และอยู่รอดภายใต้บริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทัง้ เกิดความสมดุลทัง้ ด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อัตลักษณ์วัฒนธรรม และวิถีชีวิต

3) ด้านทรัพยากรและสิง่ แวดล้อม โดยมุง่ เน้นศักยภาพ พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลาย ของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ ต่อการประกอบธุรกิจบางประเภท เช่น บางพื้นที่ เหมาะกับการดำเนินธุรกิจเกษตรแปรรูป ธุรกิจ การท่องเที่ยว ธุรกิจประเภทอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถนำ แนวทางตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ ศักยภาพของพื้นที่ดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในการ ดำเนินธุรกิจ 1.การเพิ่ ม ขึ้ น ของจำนวนแรงงานในวิ ส าหกิ จ นอกจากนั้น ภาครัฐยังได้ให้ความสำคัญกับพื้นที่ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนาความรู้ ในเชิงการบริหารและการปกครองด้วยการกระจาย และทักษะ สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ อำนาจและเพิม่ บทบาทให้แก่ทอ้ งถิน่ อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ บทบาทดังกล่าวยังไม่สามารถตอบสนองหรือก่อให้ เกิดกลไกที่เอื้อต่อการขยายตัวของธุรกิจในพื้นที่ได้ 2.การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการวิสาหกิจ อย่างเหมาะสม และยังขาดซึ่งการบูรณาการและ ขนาดกลางและขนาดย่อม และผูป้ ระกอบการชุมชน การขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ดังนัน้ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงควรเน้นการพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพ ของพืน้ ที่ โดยส่งเสริมการนำภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ และ วัฒนธรรมมาใช้ในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและ บริการ ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพในพื้นที่ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนโดยการพัฒนาความ เข้มแข็งขององค์กรการเงินระดับฐานราก บริหาร จัดการทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างเหมาะสมเพื่อให้

10

3.การเพิ่มขึ้นของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่มีการบริหารจัดการโดยคำนึงถึงสังคม และสิ่งแวดล้อม 4.การเพิ่มขึ้นของสินค้าและบริการของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนาโดย คำนึงถึงอัตลักษณ์ วัฒนธรรม

มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย พม่า ลาวและกัมพูชา เพิ่มขึ้นจาก 554,283 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2550 เป็น 778,070 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2553 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.30 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทยกับ 4 ประเทศดังกล่าว (รายงานสถิติ การค้าภาพรวมระหว่างไทยกับมาเลเซีย พม่า ลาว และ กัมพูชา ปี 2550-2553,กรมการค้าต่างประเทศ.) 11 พื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ คือ พื้นที่ในประเทศไทยที่รองรับการขยายตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจ จากความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จังหวัดพิษณุโลกที่ได้รับประโยชน์จากการเป็นสี่แยกอินโดจีน จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) หรือ จังหวัดตรังและจังหวัดสงขลา ได้รบั ประโยชน์ของการมีตลาดร่วมขายส่ง/ขายปลีกและศูนย์กระจายสินค้าจากโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ สามฝ่าย ระหว่างประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย (IMT-GT) เป็นต้น

กลยุทธ์ที่ 3.1 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมและผู้ประกอบการชุมชน ให้พัฒนาบนพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

• สนับ สนุนให้มีก ารใช้ป ระโยชน์จ ากฐานข้อ มู ล เศรษฐกิจของพืน้ ที่ เพือ่ กำหนดแนวทางการพัฒนา ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และเป็นแนวทางใน การสร้างโอกาสการประกอบธุรกิจในพื้นที่ • สนับสนุนให้แต่ละพืน้ ที่ สำรวจ ค้นหา รวบรวม และ จัดระบบประวัติ และเรื่องราวของชุมชน/ผลิตภัณฑ์ องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงปราชญ์ ชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อใช้ใน การสร้างสรรค์และเพิม่ มูลค่าสินค้าและบริการ โดย ยังคงรักษาคุณค่าเอกลักษณ์ของท้องถิน่ แต่สามารถ ตอบสนองต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตในปั จ จุ บั น (lifestyle) รวมถึงเผยแพร่และถ่ายทอดให้เยาวชน ชุมชน และสังคมได้ตระหนักถึงความเป็นเจ้าของ ชุมชนเห็น ถึง ความสำคัญของคุณค่า ภู มิ ปั ญ ญา ท้องถิ่น

ความแตกต่างของภูมิประเทศส่งผลให้เกิดความ หลากหลายทางโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตและ การประกอบธุรกิจในแต่ละพื้นที่ ซึ่งผู้ประกอบการ สามารถนำมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า และบริการ รวมถึงการดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ศักยภาพดังกล่าวยังขาดการจัดระบบ การวางแผน การเชื่อมโยง และการนำมาใช้ให้เป็น ประโยชน์ ทั้งในด้านความรู้ การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ จึงจำเป็นต้อง ส่งเสริมผูป้ ระกอบการชุมชน ผูป้ ระกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ให้พฒ ั นาบนพืน้ ฐานทาง • พั ฒ น า ศั ก ย ภ า พ ใ น ก า ร ด ำ เ นิ น ธุ ร กิ จ ข อ ง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการชุมชน โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มอาชีพ กลุ่มสหกรณ์ แนวทางการส่งเสริม • กำหนดธุรกิจที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทาง บนพื้นฐานอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และศักยภาพ เศรษฐกิจให้กบั พืน้ ที่ โดยพิจารณาจากแผนยุทธศาสตร์ ของพื้ น ที่ ใ ห้ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของ การพัฒนากลุ่มจังหวัด และแผนของหน่วยงานที่ ผู้ประกอบการ เกี่ยวข้องในพื้นที่ • ส่งเสริมให้มี ก ารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญา • พัฒ นาความรู้แ ละทักษะฝีมือ แรงงานในแต่ละ ท้องถิ่น และประสบการณ์ความสำเร็จของชุมชน พื้ น ที่ ใ ห้ ส อดรั บ กั บ ความต้ อ งการของวิ ส าหกิ จ (Best Practice) ด้วยความร่วมมือระหว่างจังหวัด ขนาดกลางและขนาดย่อม เพือ่ รองรับการขยายตัวทาง และกลุ่มจังหวัด เศรษฐกิจในพื้นที่ โดยเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วม ของภาคธุรกิจ ภาครัฐและสถาบันการศึกษาในพืน้ ที่ • ส่งเสริมให้ป ราชญ์ชุมชนและบุคคลต้นแบบใน ท้องถิน่ เข้ามามีบทบาทเป็นทีป่ รึกษาในการถ่ายทอด • ผลักดันให้เกิดการจ้างงานในพืน้ ที่ โดยการให้สทิ ธิ แนวคิด องค์ความรู้ ภูมปิ ญ ั ญา ทักษะและประสบการณ์ ประโยชน์และมาตรการจูงใจแก่วสิ าหกิจขนาดกลาง ให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงคนในชุมชน โดยผ่าน และขนาดย่อมในการจ้างแรงงานในพื้นที่ ตลอดจน กระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพือ่ สร้างทางเลือก และรายได้ ใ ห้ แ ก่ ค นในชุ ม ชนโดยคำนึ ง ถึ ง ความ ต้องการของชุมชน วิถีชีวิต ทรัพยากรในพื้นที่ และ การเอือ้ ประโยชน์ตอ่ คนในท้องถิน่ ด้วยการให้ความรู้ อบรมวิชาชีพควบคู่ไปกับการสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ เงินทุน ฯลฯ 131

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


132

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

• สนับสนุนให้ผู้ประกอบการชุมชนรวมตัวกัน เพื่อ ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นการรวม ตัวกันในลักษณะธุรกิจประเภทเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ ประเภทเดียวกัน หรือในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในแต่ละพื้นที่หรือระหว่างพื้นที่ โดยจัด กิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งในการรวมกลุ่ม เพื่อการประกอบอาชีพ ศึกษาแนวทางการสร้าง ห่วงโซ่อุปทานของสินค้าและบริการแต่ละพื้นที่เพื่อ เพิ่มมูลค่าและสร้างสรรค์สินค้าใหม่ เป็นต้น • ส่งเสริมโอกาสทางการตลาดในพื้นที่ โดยพัฒนา พื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้า และ/หรือแหล่งท่องเทีย่ ว เช่น การพัฒนาพืน้ ทีย่ า่ น การค้าเดิมที่มีเอกลักษณ์ การพัฒนาแหล่งผลิต สินค้าและบริการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น รวมถึ ง สนั บ สนุ น ให้ มี ก ารปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทั ศ น์ ข อง สถานที่ จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานให้ สอดคล้องต่อสภาพภูมิทัศน์และยังคงรักษาวิถีชีวิต ของท้องถิ่น จัดกิจกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวทัง้ งานประเพณีประจำปีของท้องถิน่ และกิจกรรม /งาน เทศกาลอืน่ ๆ ทีส่ อดคล้องกับความต้องการของชุมชน และวิถีชีวิตของท้องถิ่น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ การสือ่ สารการตลาด และรณรงค์สง่ เสริมการบริโภค ผลิตภัณฑ์ชมุ ชน และการท่องเทีย่ วชุมชนให้เป็นทีร่ จู้ กั • พั ฒ นาความเข้ ม แข็ ง ขององค์ ก รการเงิ น ระดั บ ฐานรากโดยการสร้างจิตสำนึก วินยั ทางการเงิน และ ส่งเสริมการออมแก่ผู้ประกอบการชุมชน ในรูปแบบ ต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และ เพิม่ ขีดความสามารถการบริหารจัดการภายในองค์กร การเงินระดับฐานราก โดยบูรณาการการทำงาน ระหว่างภาครัฐและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง โดยเฉพาะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา ให้มีบทบาทเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกำหนดมาตรฐาน และตัวชีว้ ดั ขององค์กรการเงินระดับฐานราก เพือ่ ให้ เกิดการรับรองสถานภาพองค์กรการเงินชุมชน

12

กลยุทธ์ที่ 3.2 เพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตเศรษฐกิจ ชายแดนและพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ

ประเทศไทย ถือได้วา่ มีความได้เปรียบทางภูมปิ ระเทศ เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ถึง 4 ประเทศ อีกทั้ง อยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลาง ของภูมภิ าค ซึง่ ควรใช้ความได้เปรียบทางภูมปิ ระเทศนี้ ให้เป็นประโยชน์ จากที่ผ่านมา เห็นได้ว่ามูลค่า การค้าชายแดนของไทยกับมาเลเซีย พม่า ลาว และ กัมพูชา เพิ่มขึ้นจาก 554,283 ล้านบาทในปี 2550 เป็น 778,070 ล้านบาทในปี 2553 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.30 เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับ ประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศข้างต้น 12 แสดงให้ เห็นถึงความสำคัญของการค้าชายแดนต่อเศรษฐกิจ ของประเทศ ขณะที่ความร่วมมือด้านต่างๆ กับ ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ ส่งผลต่อการดำเนิน ธุรกิจทั้งด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีแนวทางการส่งเสริมและเพิ่ม ศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงแรงงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดน และ พื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจโดยการให้ความรู้ เพื่อ พัฒนาความสามารถให้พร้อมรับการแข่งขันที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต และพร้อมรุกภายใต้กรอบความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพือ่ นบ้าน ตลอดจน พัฒนาพื้นที่ สิ่งอำนวยความสะดวก กฎระเบียบให้ เอื้อต่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว แนวทางการส่งเสริม

• ส่งเสริมให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขต เศรษฐกิจชายแดน และพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถใช้ประโยชน์ จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพือ่ นบ้าน โดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจและเตรียมความ พร้อมด้านการค้า การลงทุน และการท่องเทีย่ ว

• ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจ ในเขตเศรษฐกิ จ ชายแดนและพื้ น ที่ ยุ ท ธศาสตร์ กลยุทธ์ที่ 3.3 สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง เศรษฐกิจ โดยการให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการ และขนาดย่อมในการใช้ประโยชน์และบริหาร โลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ จัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ • เพิ่มทักษะฝีมื อ แรงงานไทยในพื้นที่ให้มีความ สามารถด้านภาษาและความชำนาญเฉพาะด้านที่ จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ โดยการพัฒนาความรู้ และทักษะ รวมถึงจัดให้มีการสอบเทียบมาตรฐาน ฝีมือแรงงาน • พัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนและพืน้ ทีย่ ทุ ธศาสตร์ เศรษฐกิจให้เอือ้ ต่อการค้า การลงทุนและการท่องเทีย่ ว โดยการประสาน ผลักดัน ทบทวน ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ รวมถึงการยกระดับจุดผ่านแดน และการจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมชายแดน ฯลฯ • ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและความ สั ม พั น ธ์ อั น ดี ร ะหว่ า งผู้ ป ระกอบการในพื้ น ที่ กั บ ผูป้ ระกอบการในประเทศเพือ่ นบ้าน โดยการแลกเปลีย่ น องค์ ค วามรู้ ใ นการประกอบธุ ร กิ จ และการจั ด กิจกรรมทางการตลาด รวมถึงกิจกรรมเสริมสร้าง ความสัมพันธ์

ความหลากหลายของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในพืน้ ทีส่ ามารถสร้างมูลค่าเพิม่ ให้กบั สินค้าและบริการ และเป็นตัวบ่งชี้ความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ผลิตกับ ทรัพยากรในท้องถิ่น ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือใน การส่งเสริมทางการตลาดได้ แต่การพัฒนาที่ผ่าน มายังขาดความตระหนักและขาดการวางแผนการ บริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุด หรือเกิดความคุ้มค่า รวมถึงเพื่อ หลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรที่จะเกิด ขึ้นในอนาคต ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญต่อการ ใช้ประโยชน์และการบริหารจัดการทรัพยากรและ สิง่ แวดล้อมในพืน้ ทีเ่ พือ่ ให้สามารถมีใช้อย่างต่อเนือ่ ง และยั่งยืน แนวทางการส่งเสริม

• ส่งเสริมการใช้ความหลากหลายของทรัพยากรใน พื้นที่ผนวกกับลักษณะเฉพาะทางภูมิประเทศและ ภูมิอากาศ มาสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและ บริการ โดยการสำรวจ ค้นหาสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) ที่มีในพื้นที่ ที่เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงศึกษา วิจัยและ พั ฒ นาเพื่ อ สร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม กั บ สิ น ค้ า และบริ ก าร สร้างความรู้ ความเข้าใจเรือ่ งสิง่ บ่งชีท้ างภูมศิ าสตร์ ให้แก่ผู้ประกอบการในท้องถิ่น และบุคลากร เช่น เจ้าหน้าที่ภ าครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริม การจดทะเบียนและ คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสิ่งบ่งชี้ ทางภูมศิ าสตร์ ซึง่ เป็นตัวบ่งชีค้ วามเชือ่ มโยงระหว่าง พืน้ ทีผ่ ลิตกับทรัพยากรในท้องถิน่ รวมถึงส่งเสริมให้ นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมทางการตลาด

ที่มา: รายงานสถิติการค้าภาพรวมระหว่างไทยกับมาเลเซีย พม่า ลาว และกัมพูชา ปี 2550-2553, กรมการค้าต่างประเทศ. http://www.dft.go.th/level4Frame.asp?sPage= http://bordertrade.dft.go.th/DFT/Report/4.7.1.asp&level3=1283

133

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


134

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

• ส่งเสริมให้มีความสามารถในการบริหารจัดการ ทรัพยากรในท้องถิน่ ให้เกิดประโยชน์อย่างคุม้ ค่า และ มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ เช่น การวางแผนการผลิตและใช้ทรัพยากร การจัดหาทรัพยากรทดแทน รวมถึงการวางแผน รองรับนักท่องเทีย่ วตามขีดความสามารถของแหล่ง ท่องเที่ยว โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและให้ ความรู้แก่บุคลากร ผู้ประกอบการในท้องถิ่น กลยุทธ์ที่ 3.4 การบูรณาการความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงสร้าง ความเข้มแข็งเครือข่ายการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในระดับพื้นที่

การดำเนินงานช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม และ พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผ่านมา มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แต่การดำเนินการ ดังกล่าวยังขาดการมีส่วนร่วม และการบรูณาการ การทำงานร่วมกัน จึงจำเป็นต้องสร้างกลไกและ บูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ให้เชื่อมโยงสอดรับกับนโยบาย การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อ ให้เกิดการขับเคลือ่ นนโยบายในการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นรูปธรรมและ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

แนวทางการส่งเสริม

• สร้างองค์ความรูด้ า้ นเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากร ระดับชุมชนและพื้นที่ รวมถึงโครงสร้าง พืน้ ฐาน อย่างเป็นระบบและปรับให้ทนั สมัยอยูเ่ สมอ และเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ ในการวางแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ ของ พื้นที่ • พั ฒ นากลไกการดำเนิ น การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมในระดับพื้นที่ โดยให้ หน่ ว ยงานที่ มี ห น้ า ที่ ดู แ ลการดำเนิ น งานของ คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ทบทวน องค์ประกอบคณะกรรมการ โดยให้เพิ่มสำนักงาน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็ น องค์ ป ระกอบในคณะกรรมการในทุ ก ระดั บ เพือ่ ให้เกิดการผลักดันนโยบายแนวทางการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ รวมทั้ง เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานส่งเสริมฯ ให้ ทั่วถึงและสอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างแท้จริง พร้อมทั้ง ส่งเสริมบทบาทและศักยภาพขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ ในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในพื้นที่และภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับส่วนกลาง • ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลของพื้นที่ เพื่อใช้ในการวางแผนและดำเนินธุรกิจ • ส่ ง เสริ ม การบู รณาการและการสร้ า งเครือ ข่า ย การทำงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งในระดับพื้นที่ และระหว่างพื้นที่ เพื่อผลักดัน การพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มไทยให้ ส อดคล้ อ งกั บ นโยบายและ ความต้องการของพื้นที่

4

ยุทธศาสตร์ที่

เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้ เชือ่ มโยงกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

กระแสโลกาภิวัตน์เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ตลอด จนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่มีระดับและรูปแบบความร่วมมือที่หลากหลาย ทั้งในระดับทวิภาคี พหุภาคีและภูมิภาค ส่งผลให้ สถานการณ์การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันมีความซับซ้อน และเข้มข้นมากขึ้น มาตรการกีดกันทางการค้าที่ มิใช่ภาษี (Non Tariff Barriers: NTBs) เช่น มาตรการด้านสิง่ แวดล้อม มาตรการความปลอดภัย ถูกนำมาใช้มากขึ้น นอกจากนี้บริบทของการค้าและ การลงทุนระหว่างประเทศทีเ่ ปลีย่ นแปลงจากประเด็น สำคัญในเรื่องการเคลื่อนย้ายของขั้วอำนาจทาง เศรษฐกิจใหม่ ซึ่งส่งผลให้ประเทศต่างๆ มีการเปิด เสรีทางการค้าและการลงทุนมากขึน้ โดยปัจจัยต่างๆ นี้เป็นสิ่งที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมควร จะต้องเรียนรู้ และตระหนักถึงผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึน้ นอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญมากประการหนึ่งคือ การทีป่ ระเทศไทยก้าวไปสูค่ วามเป็นประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 ซึง่ มีการเปิดเสรีทง้ั ด้านสินค้า บริการ เงินทุน การลงทุน และแรงงาน รวมถึงการที่ประเทศไทย

และอาเซียนมีความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) กับประเทศหรือกลุ่มประเทศ ต่างๆ 13 นั้น กรอบข้อตกลงต่างๆ ย่อมมีผลต่อการ ประกอบธุรกิจและศักยภาพการแข่งขันของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มไทยโดยตรงทั้ ง ภาค การผลิต การค้า และบริการ โดยผลกระทบ ไม่ จ ำกั ด เฉพาะผู้ ที่ ด ำเนิ น ธุ ร กิ จ ระหว่ า งประเทศ ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า เท่านั้น แต่ผู้ที่ดำเนินธุรกิจ ภายในประเทศบางสาขาธุรกิจอาจได้รับผลกระทบ ด้วยเช่นกันอีกทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้สามารถเป็น ได้ท้งั การสร้างโอกาสทางธุรกิจที่เปิดกว้างขึ้นหรือ อาจเป็นการนำมาซึ่งอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนายย่ อ มของไทย ซึ่ ง วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มส่ ว นใหญ่ ยั ง ไม่ รั บ ทราบถึ ง บริ บ ทการประกอบธุ ร กิ จ ที่ เปลี่ยนแปลงไป ทัง้ นี้ การเชือ่ มโยงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ ส ามารถรองรั บ กั บ กระแสโลกาภิ วัต น์ น้ัน เป็ น เรือ่ งทีม่ คี วามจำเป็นเป็นอย่างยิง่ เนือ่ งจาก ปัจจุบนั การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก รายได้จาก การส่งออกเป็นรายได้หลัก 14 ของประเทศ ทัง้ ในส่วน ภาพรวมของประเทศและในส่ ว นของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม การเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศในอนาคตยังคงต้องพึง่ พิงความแข็งแกร่ง และเสถียรภาพของภาคการค้าระหว่างประเทศเป็น สำคัญ

13

ประเทศไทยมีการทำความตกลงทางการค้าเสรี ดังนี้ ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-อินเดีย ไทย-ญี่ปุ่น และไทย-เปรู ขณะที่ อาเซียนมีการทำความตกลงการค้าเสรี ดังนี้ อาเซียน-จีน อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อาเซียน-อินเดีย อาเซียน-เกาหลีใต้ และ อาเซียน-ญี่ปุ่น

14

ในปี 2553 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 6,177,688 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61.20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 1,754,280 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.80 ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

135

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


136

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

ดังนัน้ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่ อ ให้ เ กิ ด การเชื่ อ มโยงการดำเนิ น ธุ ร กิ จ กั บ ต่างประเทศในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) จึงมี ความจำเป็นต้องมุง่ เน้นการสร้างความรูค้ วามเข้าใจ เกี่ ย วกั บ สถานการณ์ ก ารค้ า ระหว่ า งประเทศที่ เกี่ยวข้องให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเฉพาะข้ อ ตกลงภายใต้ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซียนซึ่งมีผลต่อการประกอบธุรกิจในธุรกิจสาขา ต่างๆ การสนับสนุนการปรับปรุงการประกอบธุรกิจ ให้กบั วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถ เตรียมพร้อมและรองรับการแข่งขันทีม่ มี ากขึน้ ทัง้ ใน ประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังให้ความ สำคัญต่อการส่งเสริมศักยภาพและขยายโอกาส การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศให้กบั วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงสนับสนุนการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับธุรกิจในต่างประเทศ

กลยุทธ์ที่ 4.1 เสริมสร้างความพร้อมให้กับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการ เข้าสู่การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน

ด้ ว ยกระแสโลกาภิ วั ต น์ เ ป็ น ปั จ จั ย สำคั ญ ต่ อ การ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่งผล ให้ประเทศต่างๆ มีการเปิดเสรีทางการค้าและการ ลงทุนมากขึน้ ทัง้ ในระดับและรูปแบบทีห่ ลากหลาย ทำให้ ส ถานการณ์ ก ารค้ า และการลงทุ น ระหว่ า ง ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันมีความ ซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทย กำลังเข้าสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 และได้มีความตกลง การเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศต่างๆ ซึ่งปัจจัย ดังกล่าวล้วนแต่มผี ลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ไม่ใช่เฉพาะผู้ประกอบการที่มีธุรกิจ ระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการที่ดำเนิน ธุรกิจในประเทศ จะได้รับผลกระทบเช่นกัน จึงมี แนวทางตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์ ความจำเป็ น ต้ อ งเสริ ม สร้ า งความพร้ อ มให้ กั บ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการประกอบ 1.การเพิ่มขึ้นของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและ ธุรกิจภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ขนาดย่อมทีไ่ ด้รบั ความรูเ้ กีย่ วกับการประกอบธุรกิจ ภายใต้บริบทการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน แนวทางการส่งเสริม และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • เสริ ม สร้ า งความรู้ ค วามเข้ า ใจให้ กั บ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มเกี่ ย วกั บ ความตกลง 2.การเพิ่มขึ้นของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขนาดย่อมทีไ่ ด้รบั การส่งเสริมโอกาสในการเชือ่ มโยง การดำเนินงานตามพิมพ์เขียวนโยบายของอาเซียน ธุรกิจระหว่างประเทศ ของด้ า นการพั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม ความตกลงการค้าเสรีและกรอบความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยสนับสนุนให้มีการจัดทำ องค์ความรู้และฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อตกลง สิทธิประโยชน์ สิง่ อำนวยความสะดวก กฎระเบียบ ที่วิส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มสามารถ เข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสนับสนุนให้มี การบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้กับวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อให้ทราบสถานการณ์ ต่างๆ อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

• ส่งเสริมให้มีการศึกษาโอกาสและผลกระทบจาก การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในธุรกิจสาขา ต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมมีทิศทางในการปรับตัวเพื่อรองรับ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสนับสนุนให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการพัฒนาการ ประกอบธุรกิจเพื่อยกระดับศักยภาพในการแข่งขัน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจ การ บริหารจัดการ การยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน สินค้าและบริการ เป็นต้น • สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ใช้ สิ ท ธิ ป ระโยชน์ จ ากความตกลงทางการค้ า การ ลงทุนมากขึน้ โดยสนับสนุนการอำนวยความสะดวก การขอใช้สิทธิประโยชน์ รวมถึงสนับสนุนให้มีการ ปรับใช้วัตถุดิบภายในประเทศทดแทนการนำเข้า เพื่อให้สอดคล้องกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin: ROO) ตามความตกลงทางการค้าต่างๆ • สนับสนุนให้มกี ารช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบ จากการเปิ ด เสรี ท างการค้ า และการลงทุ น ให้ แ ก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุน ให้มบี ริการให้คำปรึกษาแนะนำแก่วสิ าหกิจขนาดกลาง และขนาดย่ อ มในการปรั บ ปรุ ง หรื อ ปรั บ เปลี่ ย น การดำเนินธุรกิจรวมถึงการสนับสนุนเงินทุนในการ ปรับปรุงและปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ • ส่งเสริมการบูรณาการการสร้างเครือข่ายระหว่าง หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในการ สนั บ สนุ น วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มให้ สามารถรองรั บ การเปิ ด เสรี ท างการค้ า และการ ลงทุนได้

• รณรงค์การสร้างความเชือ่ มัน่ และจิตสำนึกในการ ใช้สินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มทั้ ง ในระดั บ ท้ อ งถิ่ น และระดั บ ประเทศ เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถ แข่งขันได้ภายใต้สถานการณ์การแข่งขันที่มีความ รุนแรงมากขึ้น กลยุทธ์ที่ 4.2 เสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในการประกอบ ธุรกิจระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทที่สำคัญต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย รายได้จากการ ส่งออกถือได้ว่าเป็นรายได้หลักของประเทศ ถึงแม้ ว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีม่ กี ารดำเนิน ธุ ร กิ จ การค้ า ระหว่ า งประเทศจะมี จ ำนวนไม่ ม าก เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ จำนวนวิ ส าหกิ จ ทั้ง ประเทศ อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมให้วสิ าหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมมีโอกาสและศักยภาพในการเข้าสู่ตลาด ต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งจากการส่งออกการลงทุนใน ต่างประเทศ หรือการใช้ประโยชน์จากนักลงทุนที่ มาลงทุนในประเทศ เป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วย สร้างรายได้ทม่ี ากขึน้ และเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้กับธุรกิจได้ แนวทางการส่งเสริม

• สร้างองค์ความรู้ และฐานข้อมูลเชิงลึกด้านการ ค้า การลงทุนระหว่า งประเทศ เช่น พฤติก รรม ผู้บริโภค วิธีการดำเนินธุรกิจ กฎระเบียบ เป็นต้น รวมถึงเผยแพร่ให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก เพื่อให้สามารถนำ ไปใช้ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจได้ ตลอดจน • สนับสนุนการสร้างและพัฒนาแรงงานในประเทศ ผลั ก ดั น ให้ มี ศู น ย์ ก ลางในการให้ บ ริ ก ารข้ อ มู ล ให้มีความพร้อมทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณที่ คำปรึกษาแนะนำแบบครบวงจรให้แก่ผปู้ ระกอบการ สอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลาง ในด้านการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และขนาดย่อม และพร้อมรับการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน

137

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


138

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

• สนั บ สนุ น การพั ฒ นาศั ก ยภาพของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่การค้าและ การลงทุนระหว่างประเทศ เช่น การเสริมสร้างความรู้ เกี่ยวกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ การ พัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการที่สามารถตอบสนอง ความต้องการของตลาดต่างประเทศ การยกระดับ คุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการให้สอดคล้อง กับข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า

• ส่งเสริม และพัฒ นาบริการที่เกี่ยวข้องกับ การ ประกอบธุรกิจระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐาน เพื่อให้สามารถช่วยยกระดับ ประสิ ท ธิ ภ าพการประกอบธุ ร กิ จ ให้ แ ก่ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมได้ เช่น บริการโลจิสติกส์

• สนับสนุนการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าและ บริการในต่างประเทศให้กบั วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมให้มปี ระสิทธิภาพมากขึน้ เช่น การพัฒนา • สนับสนุ น และอำนวยความสะดวกให้วิสาหกิจ ผูป้ ระกอบการการค้า (Trader/Merchandiser) รวม ขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพให้มีโอกาส ทัง้ การพัฒนาระบบการจำหน่ายหรือประชาสัมพันธ์ ในการแสวงหาลู่ทางการขยายการลงทุนไปในต่าง ผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประเทศ (Outward Investment) โดยเฉพาะใน ภูมภิ าคอาเซียน เพือ่ ขยายฐานการผลิตไปยังประเทศ • ทบทวน ปรับปรุงกฎระเบียบ วิธปี ฏิบตั ติ า่ งๆ หรือ ที่ ส ามารถสร้ า งความได้ เ ปรี ย บในการแข่ ง ขั น ได้ ออกกฎหมายใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการ เช่น ด้านวัตถุดิบ ด้านแรงงาน เป็นต้น รวมทั้งการ ลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการ จัดตัง้ ธุรกิจขนาดเล็กในต่างประเทศ เช่น ร้านอาหาร ประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไทย ร้านสปา เป็นต้น โดยมีมาตรการการส่งเสริม ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การลงทุนที่เหมาะสม และการให้ความช่วยเหลือ ด้านวิชาการและเทคโนโลยีให้กบั วิสาหกิจขนาดกลาง • ส่งเสริม การสร้า งภาพลัก ษณ์ให้กับสินค้าและ และขนาดย่อม บริการไทยในตลาดต่างประเทศ (Country Image) ให้สามารถสือ่ ถึงศักยภาพและจุดแข็งของความเป็น • สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมี ไทยให้ผู้บริโภคได้รับรู้ ความร่วมมือกับธุรกิจต่างประเทศที่มาลงทุนใน ประเทศไทย โดยให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้สมัยใหม่ กลยุทธ์ที่ 4.3 สร้างความร่วมมือระหว่าง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมี กับธุรกิจในต่างประเทศ

โอกาสในการแสวงหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูงแต่ มีการแข่งขันน้อยกว่า นอกเหนือจากตลาดหลักเดิม ที่ธุรกิจมีการแข่งขันสูง เช่น ตลาดที่มีการเติบโตสูง (Emerging Market) ตลาดในภูมิภาคอาเซียน หรือตลาดต่างประเทศที่ไทยยังไม่มีความสัมพันธ์ ทางการค้าด้วย เป็นต้น

ด้วยการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศมีความ ซับซ้อนมากขึ้น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือหรือพันธมิตรทาง ธุรกิจกับคู่ค้าในต่างประเทศเพื่อให้สามารถสร้าง ความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ ซึง่ จะสามารถเกือ้ หนุน การดำเนินธุรกิจระหว่างกันได้

แนวทางการส่งเสริม

• ส่งเสริมให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการสร้าง ความร่วมมือ หรือสร้างพันธมิตรกับธุรกิจในต่าง ประเทศ เพือ่ เสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรื อ องค์ ก ารเอกชนของไทยมี ก ารสร้ า งความ สัมพันธ์และความร่วมมือกับธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะกับธุรกิจในภูมภิ าคอาเซียน โดยสนับสนุน ให้มีการพบปะเจรจาธุรกิจ การแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ การรวมกลุ่มแสวงหาตลาดร่วมกัน การร่วมลงทุน • ส่งเสริมความรูใ้ ห้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อ ขยายโอกาสในการดำเนิ น ธุ ร กิ จ กั บ ประเทศ เพือ่ นบ้าน และการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพืน้ ฐาน ที่พัฒนาไว้ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ต่างๆ เช่น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภมู ภิ าค ลุม่ น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program: GMS) ยุทธศาสตร์ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawaddy-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) การพัฒนา เขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) • สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สร้างความร่วมมือกับธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเพื่อ สร้ า งความเชื่ อ มโยงห่ ว งโซ่ อุ ป ทานในภู มิ ภ าค (Regional Supply Chain) รวมทัง้ ความเชือ่ มโยง ในระดับโลก

ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์และ ประเด็นการดำเนินงานที่สำคัญภายใต้ ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ 1. ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ ที่ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ท่ี 3 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้ เติบ โตอย่า งสมดุลตามศักยภาพของพื้นที่ และ ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เชือ่ มโยงกับเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ มีความเชื่อมโยงกันทั้งในด้านการ พัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งพัฒนากลไก เพือ่ สนับสนุนในทุกยุทธศาสตร์ ส่วนด้านการพัฒนา หน่วยงานและบุคลากรทัง้ ระดับผูบ้ ริหารและเจ้าหน้าที่ ที่มีหน้า ที่ใ นการให้บริการและสนับสนุน วิ สาหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมและด้านการพัฒนาเครือข่าย การรวมกลุ่มทั้งในระดับธุรกิจรายสาขา (Cluster) ระดับกลุ่มผู้ประกอบการ หรือระดับพื้นที่ทั้งในและ ต่างประเทศ เป็นการพัฒนาร่วมกันในทุกยุทธศาสตร์ ขณะที่การพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมร่วมกันระหว่าง 2 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่นโดยคำนึงถึง ศักยภาพของพืน้ ที่ ทัง้ ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม (ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 3) ด้านการ เตรียมความพร้อมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในพืน้ ทีส่ ปู่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ยุทธศาสตร์ท่ี 3 และ 4) และด้านการยกระดับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมสู่การค้าการลงทุนในต่างประเทศ (ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 4)

139

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


140

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

แผนการส่งเสริมฯ ฉบับที่ 3 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์

1

2

สนับสนุนป�จจัยแวดล�อม ให�เอื้อต�อการดำเนินธุรกิจ 1

การพัฒนาศักยภาพ SMEs ในท�องถิ่น โดยคำนึงถึง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล�อม

3

ส�งเสริม ให�เติบโตอย�างสมดุล ตามศักยภาพของพื้นที่

เสริมสร�างขีดความสามารถ ในการแข�งขัน การพัฒนาความสามารถ SMEs ในการค�า ระหว�างประเทศ

2

3

ķ ÒăôïĂãêăíĊŝëôąüăô เจ�าหน�าที่ส�งเสริม SMEs ķ ÒăôÙĂåèĄáăêÓŝþòĊö 4.&T ķ ÒăôûôŝăØčÕôĈþÓŜăó

4

4

เสริมสร�างศักยภาพให�เชื่อมโยง กับเศรษฐกิจระหว�างประเทศ

การเตรียมความพร�อม 4.&T ĐêïĈĖêèĆĕæŜăØē ĐêÒăôčÓŝăûĊŜ "&$

จากความเชือ่ มโยงระหว่างยุทธศาสตร์ดงั กล่าว รวม ถึงการวิเคราะห์ภาพรวมแนวโน้มบริบทการเปลี่ยน แปลงของโลก สถานการณ์ปจั จุบนั จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม รวมถึงข้อจำกัดของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า การพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ และบรรลุเป้าหมายหลักที่ได้กำหนดไว้ในแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็น การดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาระบบ ฐานข้ อ มู ล วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม

การจัดตั้งสถาบั น พั ฒ นาบุ ค ลากรที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม การพัฒนาเครือข่า ยวิ ส าหกิ จ และ การรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ในท้องถิ่น โดยคำนึงถึงศักยภาพ ของพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและ สิง่ แวดล้อม และการเตรียมความพร้อมและยกระดับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในด้านการค้า การลงทุ น ในต่ า งประเทศเพื่ อ รองรั บ การเข้ า สู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

จาก 5 ประเด็นการดำเนินงานข้างต้น ประเด็นที่มี ความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการให้เกิดผลภายในระยะ 1-2 ปีแรกของแผนการส่งเสริมฯ ซึ่งเป็นกำลัง ขับเคลือ่ นทีส่ ำคัญเพือ่ ให้ผลการดำเนินงานเหล่านัน้ เกื้อหนุนให้แนวทางการส่งเสริมภายใต้กลยุทธ์อ่นื ๆ สามารถดำเนินการอย่างสอดรับและเกิดเป็นรูปธรรม ได้ในระยะต่อมามี 3 ประเด็น ได้แก่ การพัฒนาระบบ ฐานข้ อ มู ล วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม การจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม และการเตรียมความพร้อมและยกระดับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในด้านการค้า การลงทุนในต่างประเทศเพือ่ รองรับการเข้าสูป่ ระชาคม เศรษฐกิจอาเซียน เนื่องจากประเด็นการดำเนินงานที่สำคัญเหล่านั้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระจายการ พัฒนาไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น อีกทั้งยังช่วยเพิ่ม ขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ให้ แ ก่ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมให้พร้อมเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 รวมถึงจำเป็นต้อง อาศั ย การสนับสนุนจากรัฐบาลในระดับนโยบาย เพื่อให้สามารถดำเนินการเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว และได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างเป็น การบูรณาการทั้งระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและ ท้องถิ่น

2. ประเด็นการดำเนินงานที่สำคัญภายใต้ ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ 2.1 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งชาติ

วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ มี ศู น ย์ ก ลางข้ อ มู ล วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศและให้เกิด การดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมอันเกิดจากการใช้ข้อมูลจากฐานเดียวกัน (Centralized SMEs Database) ซึ่งเป็นการหลีก เลี่ยงการลงทุนซ้ำซ้อนในด้านการจัดทำฐานข้อมูล โดยให้ ห น่ ว ยงานที่ ท ำหน้ า ที่ ส นั บ สนุ น วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมต่างๆ ร่วมมือกันพัฒนา ฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ สมบูรณ์ พร้อมใช้งาน ซึ่งจะเป็นคลังเก็บรวบรวม ข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต่ อ การกำหนดนโยบาย การวางแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม โดยหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงาน สามารถแลกเปลีย่ นข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้มาตรฐานรหัสข้อมูล คำอธิบายข้อมูลที่ ตรงกันและมาตรฐานการแลกเปลีย่ นข้อมูลเดียวกัน ผ่านเครือข่ายสารสนเทศความเร็วสูงที่มีระบบการ กำกับการเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะสม รวมถึงเป็นคลัง องค์ความรู้ที่ให้บริการภาคธุรกิจและประชาชน โดย มีการจัดการด้านข้อมูลภาครัฐ กฎหมาย กฎระเบียบ นโยบายสนับสนุน หรือสิทธิประโยชน์ ความรู้ที่เป็น ประโยชน์ในแหล่งเดียว (One stop service) ควร เชือ่ มโยงกับศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารสนเทศและบริการ ภาครัฐ (e-Government Portal) การพัฒนา ดังกล่าวต้องคำนึงถึงความประหยัดมีประสิทธิภาพ ความสะดวก รวดเร็วในการเข้าถึงและใช้งาน ทั้งนี้ ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานและ บริหารศูนย์ข้อมูลฯ โดยประสานกับทุกส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการประสานงานด้านการทำให้ มีข้อมูลพื้นฐานที่ทุกหน่วยงานใช้ร่วมกันได้สามารถ ใช้ประโยชน์จากข้อมูลพืน้ ฐานร่วมกัน รวมถึงสามารถ ปรั บ ปรุ ง ข้ อ มู ล ของตนให้ ทั น สมั ย ตามมาตรฐาน เดียวกัน 141

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


142

บทที่ 5

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

2.2 การผลักดันให้มีสถาบันพัฒนา บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม

วัตถุประสงค์เพือ่ ให้มหี น่วยงานหลัก ในการยกระดับ ศั ก ยภาพของผู้ ก ำหนดนโยบายและเจ้ า หน้ า ที่ ที่เ กี่ย วข้ อ งกั บ การส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมทัง้ จากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ สามารถช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพิ่มขีดความ สามารถในการดำเนินธุรกิจ

2.3 การเตรียมความพร้อมและยกระดับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในด้าน การค้าการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อรองรับ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ สร้ า งความรู้ ค วามเข้ า ใจให้ แ ก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเกีย่ วกับประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นระบบ ครอบคลุม ภาคการผลิต ภาคการค้าและบริการ ทัง้ ในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค โดยมุ่งเน้นธุรกิจสาขา (Sector) ที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบรุนแรง ซึ่งจะช่วยให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความสามารถ พร้อมรับกับการแข่งขัน ขณะเดียวกัน สำหรับธุรกิจ สาขาที่มีศักยภาพในด้านการค้าการลงทุนในต่าง การดำเนินงานดังนี้ส่งเสริมให้สถาบันฯ สามารถ ประเทศ จะสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงฯ ดำเนิน งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้มีการ ได้อย่างเต็มที่ ประสานงานสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน ที่ มี ค วามชำนาญเกี่ ย วกั บ การพั ฒ นาความรู้ การดำเนินงาน ภาครัฐและภาคเอกชนต้องเร่งให้ ด้านส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ความรู้ แ ก่ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมใน ขนาดย่อม เช่น หน่วยงานเฉพาะทาง สถาบันการ 3 ลักษณะ คือ 1) การอบรมให้ความรู้ขั้นพื้นฐาน ศึกษา ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ต่างๆ และจัดทำ เกี่ยวกับข้อตกลง สิทธิประโยชน์ และทิศทางของ หลักสูตรทีเ่ หมาะสมในการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ ผลกระทบและประโยชน์ สำหรับผูป้ ระกอบการทัว่ ไป ตั้งแต่ผู้กำหนดนโยบาย และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และผูส้ นใจประกอบธุรกิจ 2) การสัมมนาเชิงปฏิบตั กิ าร ตลอดจนให้ มี ร ะบบการถ่ า ยทอดองค์ ค วามรู้ ท่ี สำหรั บ วิ ส าหกิ จ ในธุ ร กิ จ สาขาที่ มี แ นวโน้ ม ได้ รั บ หลากหลาย เช่น การอบรม สัมมนา และระบบ ผลกระทบรุนแรง เช่น ธุรกิจการท่องเทีย่ วและบริการ การเรียนการสอนผ่านระบบสารสนเทศ เป็นต้น อีกทัง้ ที่เกี่ยวข้อง ธุรกิจบริการการศึกษา ธุรกิจการค้า ให้มีการรับรองผู้ผ่านหลักสูตรในระดับต่างๆ และ ชายแดน เป็นต้น 3) การฝึกอบรมให้แก่หน่วยงาน ผลักดันให้การรับรองของสถาบันฯ เป็นองค์ประกอบ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนา สำหรับการพิจารณาความก้าวหน้าในสาขาอาชีพ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มในท้ อ งถิ่ น และให้มีการติดตามประสิทธิผลการดำเนินงานเพือ่ เพื่ อ สามารถให้ ค ำแนะนำและให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ภาครัฐควรสนับสนุนบทบาทสื่อมวลชนให้มี ส่วนร่วมในการเผยข่าวสารและข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้อง โดย ใช้สอ่ื ทีห่ ลากหลาย เช่น เว็บไซต์ รายการโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง

143

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


ปัจจัย ความสำเร็จ ของแผน


146

บทที่ 6

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของแผน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของแผน เงื่อนไขปัจจัยความสำเร็จของแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในฐานะหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่เสนอแนะ นโยบายและแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม รวมทั้งเป็นศูนย์กลางประสาน ระบบการทำงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชนที่ให้การส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้เกิดการ บูรณาการงานส่งเสริมอย่างต่อเนือ่ งและสอดคล้อง ในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งมีหน้าที่ในการติดตาม และประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ทัง้ ในด้านผลการดำเนินงานส่งเสริม และสถิติข้อมูลที่เกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ผลตาม แผนการส่งเสริมและเป็นข้อมูลการจัดทำนโยบาย การส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพต่อไป การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ ประเทศไทยให้สามารถบรรลุตามพันธกิจ วิสยั ทัศน์ และเป้าหมายของการส่งเสริมที่ได้กำหนดไว้นั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยสำคัญหลายประการในขับ เคลื่อนการดำเนินงาน ดังนี้

1.รัฐบาลต้องเห็นความจำเป็นของปัจจัยแวดล้อม ให้ เ อื้ อ ต่ อ การพั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมอย่างเข้มแข็ง ต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะอย่างยิง่ การจัดทำฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของประเทศให้มีข้อมูลที่สมบูรณ์ ครบถ้วน และ สามารถใช้ขอ้ มูลจากฐานเดียวกันเพือ่ กำหนดนโยบาย และแนวทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม รวมทัง้ สร้างองค์ความรูอ้ นั เป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม และให้ดำเนินการทบทวน ปรับปรุงและ ผลักดันกฎหมาย กฎระเบียบ และสิทธิประโยชน์ของ ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อเอื้อและลดอุปสรรคในการ ดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2.ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ท่เี กี่ยวข้องกับงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำเป็นต้องมี ความรู้ ความเข้าใจในอุปสรรค ปัญหาและความ ต้ อ งการที่ แ ท้ จ ริ ง ของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม ซึง่ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิน่ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน ที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญกับพัฒนาศักยภาพ บุ ค ลากรเพื่ อ ให้ เ กิ ด การเรี ย นรู้ ที่ เ ป็ น ระบบและ ต่อเนื่อง ทั้งในด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ความรู้อื่นๆ ที่ ทันต่อบริบทการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเข้าใจถึง นโยบายและทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมของประเทศ รวมทั้งการมีสถาบัน พัฒนาบุคลากรทีเ่ กีย่ วข้องกับการส่งเสริมและพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นการเฉพาะ จะช่วยให้การดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง

และขนาดย่อมมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับ จากยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของแผนการส่งเสริม ความต้ อ งการของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ทีก่ ล่าวมาจะช่วยให้เกิดการเติบโต ขนาดย่อมอย่างแท้จริง ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยอย่าง 3.ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วน แข็งแกร่งและยั่งยืน โดยคาดว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชนที่ทำหน้าที่ มวลรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องได้ จะมีการขยายตั ว อย่ า งต่ อ เนื่ อ งจนมี สั ด ส่ ว นเป็ น รับการสนับสนุนทรัพยากรที่เพียงพอ ต่อเนื่อง ร้อยละ 40 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ สอดคล้อง เชื่อมโยงกับแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ภายในปี 2559 โดยเกิด จากกิจ กรรมการส่งเสริม ขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้สามารถพัฒนา ของทุกยุทธศาสตร์ ทั้งจากการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มให้ เ กิ ด ความ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยที่มี เข้มแข็ง ยั่งยืนและเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนา ศักยภาพไม่น้อยกว่า 250,000 ราย ซึ่งจะก่อให้เกิด เศรษฐกิจของประเทศ การจ้างงานได้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน และเกิดการ สร้ า งมู ล ค่ า ของสิ น ค้ า และบริ ก ารจากวิ ส าหกิ จ 4.แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขนาดกลางและขนาดย่อมทีไ่ ด้รบั การพัฒนาขีดความ ได้ ถู ก กำหนดให้ ใ ช้ เ ป็ น แนวทางในการพั ฒ นา สามารถในการแข่งขันเชิงลึกไม่น้อยว่า 30,000 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างมีบรู ณาการ ราย รวมถึงจากการสร้างปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่ โดยส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่ เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจซึ่งจะช่วยลดต้นทุน และ เกีย่ วข้อง ทัง้ ในส่วนกลางและส่วนท้องถิน่ อันได้แก่ เพิ่มรายได้ให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) คณะกรรมการ ของไทย บริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) และ คณะกรรมการบริหารงานกลุม่ จังหวัดแบบบูรณาการ นอกจากนี้ การยกระดับขีดความสามารถทางการ (ก.บ.ก.) นำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง แข่งขันให้กบั ผูป้ ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ และขนาดย่อมไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ขนาดย่อมของไทยที่มีศักยภาพ ยังสามารถช่วยให้ ตามบทบาทหน้ า ที่ ข องหน่ ว ยงานอย่ า งมี ค วาม เกิดผู้ส่งออกที่มีศักยภาพจากผลิตภัณฑ์และบริการ เชื่อมโยงและเกื้อหนุนระหว่างกัน เพื่อให้เกิดการ ที่เป็นที่ต้อ งการของตลาดโลก โดยจะช่วยสร้าง บูรณาการและพลังขับเคลือ่ นอย่างมีทศิ ทางเดียวกัน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจนมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 35 ของมูลค่าการส่งออกรวมของประเทศ ได้

147

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


การแปลงแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ไปสู่การปฏิบัติ


150

บทที่ 7

การแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ไปสู่การปฏิบัติ

การแปลงแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ไปสู่การปฏิบัติ การแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ไปสู่การ ปฏิบัติ เป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการส่งเสริมและ พัฒนา ตามเป้าหมายและยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ ซึ่งในการแปลงแผนการส่งเสริมฯ ได้มีการกำหนด กลไกหลักทีเ่ กีย่ วข้องกับแหล่งงบประมาณสนับสนุน และวิธีการติดตามประเมินผลไว้ในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ทั้งนี้ ในขั้นตอนการแปลงแผนการส่งเสริมฯ จะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและการสร้าง ความเข้าใจให้กับหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานที่กำหนด นโยบาย หน่วยงานปฏิบตั ิ และผูท้ เ่ี กีย่ วข้อง รวมทัง้ ให้ความสำคัญกับการผลักดันการแปลงแผนการ ส่งเสริมฯ ไปสู่การกำหนดนโยบายและการดำเนิน งานในทุกระดับ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับท้องถิน่ และมีการกำหนดแนวทางการติดตาม ประเมิ น ผลเพื่ อ ให้ ก ารดำเนิ น การเป็ น ไปอย่ า งมี ประสิทธิภาพ

1. กระบวนการแปลงแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สู่การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม พ.ศ. 2543 1.1 กลไกหลักที่เกี่ยวข้องในการแปลง แผนการส่งเสริมฯ สู่การปฏิบัติ ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ได้กำหนดโครงสร้าง กลไกการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ประกอบด้วย คณะกรรมการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการ บริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) ส่วนราชการ หน่วยงาน ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชน โดย แต่ละกลไกหลักมีองค์ประกอบและหน้าที่ ดังนี้

1) คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กรรมการ และผูอ้ ำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่ตามมาตรา 11(1) ในการกำหนดแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพือ่ เสนอ ขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี และทำหน้าทีต่ าม มาตรา 11(5) ในการให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ ตามมาตรา 11(6) การให้คำแนะนำแก่ส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐรัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในการปฏิ บั ติ ก ารส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม 2) คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบด้วย ปลัดกระทรวง อุตสาหกรรมเป็นประธานกรรมการ และผูอ้ ำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่ตามมาตรา 20(4) ในการกำหนดนโยบายและควบคุมดูแลบริหาร กองทุนของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมและทำหน้าที่ตามมาตรา 20(5) ใน การพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อใช้ในกิจการที่กำหนด ไว้และทำหน้าที่ตามที่กำหนดในมาตรา 20(13) ใน การวางระเบียบเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และวิธีการ บริหารหรือจัดการกองทุนฯ ของผู้จัดการกองทุนฯ และทำหน้าที่วางระเบียบการรับและเบิกจ่ายเงิน ของกองทุนฯ ตามมาตรา 20(14) รวมทั้งจัดทำ รายงานการรับและการจ่ายเงินของกองทุนฯเพื่อ เสนอต่อคณะกรรมการตามมาตรา 20(15)

บริหารฯรวมทัง้ ให้สำนักงานฯ จัดทำแผนปฏิบตั กิ าร ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อ ปฏิบัติตามนโยบายและแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอต่อคณะกรรมการ บริหารฯ เพือ่ เสนอให้คณะกรรมการส่งเสริมให้ความ เห็นชอบและรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 37 4) ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และ องค์การเอกชน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในการจัดทำ แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ตามมาตรา 38 ที่ได้ระบุให้ สำนักงานฯ จัดทำแผนปฏิบัติการฯ โดยการประสานงานกับ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้อง และให้ประสานงานกับองค์การเอกชน ด้วย และเป็นหน่วยงานปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่ อ มตาม มาตรา 34(2) ที่ระบุให้เงินกองทุนใช้จ่ายเพื่อให้ ความช่วยเหลือส่ว นราชการ หน่ว ยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน เพื่อนำไปใช้ ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม

1.2 งบประมาณ ในการดำเนิ น การตามแผนการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถดำเนินการโดยใช้ งบประมาณจากกองทุนฯ ซึง่ ได้มกี ารกำหนดขอบเขต ของการใช้จา่ ยไว้ตามมาตรา 34 ของพระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 หรือใช้งบประมาณภารกิจของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ได้กำหนดที่ 3) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มาของกองทุนฯ ขอบเขตของการใช้จา่ ย และแนวทาง จั ด ตั้ ง ขึ้ น เป็ น นิ ติ บุ ค คลโดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ต าม การจัดสรรงบประมาณไว้ดังนี้ มาตรา 16(3) ในการประสานและจัดทำแผนปฏิบตั กิ าร ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มกั บ 1) ที่มาของกองทุนฯ ตามมาตรา 32 ของพระราชส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ บัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม องค์การเอกชนที่เกี่ยวข้อง และมีวัตถุประสงค์ตาม พ.ศ. 2543 ให้จัดตั้ ง กองทุนขึ้น กองทุน หนึ่ง ใน มาตรา 16(6) ในการบริหารกองทุนฯ ตามนโยบายและ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มติของคณะกรรมการส่งเสริมฯ และคณะกรรมการ เรียกว่า “กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ 151

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


152

บทที่ 7

การแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ไปสู่การปฏิบัติ

ขนาดย่อม” ประกอบด้วย (1) เงินทุนประเดิมที่ รัฐบาลจัดสรรให้ (2) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรร ให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี (3) เงินหรือ ทรัพย์สนิ ทีม่ ผี มู้ อบให้เพือ่ สมทบกองทุน (4) ดอกผล หรือรายได้ของกองทุน และ (5) เงินอื่นที่ได้รับ มาเพือ่ ดำเนินการกองทุน โดยเงินตาม (1) และ (2) รัฐบาลพึงจัดสรรให้แก่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมโดยตรงเป็ น จำนวนที่ เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการ ตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานฯ 2) ขอบเขตของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ตามมาตรา 34 เงินกองทุนฯ ให้ใช้จา่ ยเพือ่ กิจการ (1) ให้วสิ าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มหรื อ กลุ่ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมกูย้ มื ในการก่อตัง้ ปรับปรุง พัฒนากิจการ (2) ให้ความช่วยเหลือส่วนราชการ หรื อ เอกชนในการดำเนิ น การตามแผนปฏิ บั ติ การส่งเสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม (3) เป็นเงินช่วยเหลือ อุดหนุน ร่วมกิจการ ร่วมทุน หรือ ลงทุนทีเ่ กีย่ วกับกิจการก่อตัง้ ขยาย วิจยั และพัฒนา และการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มปี ระสิทธิภาพ ตามทีค่ ณะกรรมการบริหารกำหนด ตามความเห็ น ชอบของคณะกรรมการส่ ง เสริ ม ฯ (4) เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงานฯ และการบริหารกองทุนฯ 3) แนวทางการจัดสรรเงินกองทุนฯ ตามมาตรา 35 ในการพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนฯ ให้คณะกรรมการ บริหารฯ พิจารณาให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการ ให้ความช่วยเหลือส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน ให้คณะกรรมการ บริหารฯ พิจ ารณาความจำเป็นตามแผนปฏิบัติ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ หน่วยงานนั้น ๆ โดยในส่ว นของส่ว นราชการ หน่วยงานของรัฐ ให้คำนึงถึงงบประมาณแผ่นดิน หรือเงินอุดหนุนที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้วด้วย

ที่ผ่านมา สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3 ส่วน คือ ให้ความช่วยเหลือส่วนราชการหรือเอกชนใน การดำเนินการตามแผนปฏิบตั กิ ารส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เงินร่วมลงทุน (Venture Capital Fund) และเป็นค่าใช้จา่ ยในการดำเนินงาน ของสำนักงานฯ 1.3 การติดตามและประเมินผล เมื่ อ แผนการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม ได้แปลงเป็นแผนปฏิบตั กิ ารส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแล้ว หน่วยงานทีม่ หี น้าที่ ตามแผนปฏิ บั ติ ก ารดั ง กล่ า วจะต้ อ งดำเนิ น การ รายงานผล และจัดทำรับรองสถิติข้อมูลเกี่ยวกับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามทีก่ ำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ดังนี้ 1) การรายงานผลการดำเนินงาน ตามมาตรา 39 ระบุให้สว่ นราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีหน้าที่ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รายงานผล การดำเนินงานต่อคณะกรรมการเสริมฯ อย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง ตามแบบรายงานที่คณะกรรมการ ส่งเสริมฯ กำหนด 2) การจัดทำและรับรองสถิติข้อมูลเพื่อเผยแพร่ ตามมาตรา 40 ระบุว่าเพื่อให้การดำเนินการตาม แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมตามมาตรา 37 บรรลุเป้าหมายและเพื่อ ประโยชน์ในการประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และการกำหนดแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวให้ส่วน ราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่มีหน้า ที่ตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมจัดทำและรับรองสถิติข้อมูลเกี่ยวกับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมออกเผยแพร่

2) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วน มี ความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำแผนการส่งเสริมฯ 2. แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการผลักดัน ไปปฏิบัติได้ โดยจัดทำสรุปแผนการส่งเสริมฯ และ เผยแพร่ ใ ห้ ผู้ เ กี่ ย วข้ อ งทุ ก ระดั บ ตั้ ง แต่ รั ฐ บาล แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ผู้กำหนดนโยบายของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจน และขนาดย่อมสู่การปฏิบัติ ผู้ ปฏิบัติและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่ อ ม สามารถเข้าใจได้อย่างง่าย โดยมีเนื้อหาที่เหมาะสม กับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่าน 2.1 ผลักดันให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วม มีความรู้ความเข้าใจแนวทาง สื่อมวลชน และสร้างเครือข่ายสำหรับการกระจาย ข้อมูลไปยังพื้นที่ต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับการ การดำเนินการตามแผนการส่งเสริม เตรียมความพร้อมให้บุคลากรของสำนักงานฯ ใน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสำนั ก งานส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ การทำหน้าที่สื่อสารและถ่ายทอดสาระสำคัญของ ขนาดย่อมจะส่งเสริมให้ทกุ ภาคส่วนมีสว่ นร่วมในการให้ แผนการส่งเสริมฯ ความเห็น เสนอปัญหาและความต้องการ และร่วม ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง 2.2 สร้างความเชื่อมโยงและผลักดันแผน และขนาดย่อมตามบทบาททีเ่ กีย่ วข้อง รวมทัง้ สร้าง สู่การปฏิบัติในทุกระดับตั้งแต่ในระดับ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ ประเทศระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น และกลยุทธ์ของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง 1) การสร้างความเชื่อ มโยงและผลักดันแผนการ และขนาดย่อม ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ส่งเสริมฯ สู่การกำหนดนโยบายและดำเนินการใน ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การ ระดับประเทศ โดยผลักดันให้รัฐบาล สำนักงาน เอกชนรวม ถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ และสั ง คม สามารถนำแผนการส่งเสริมฯ ไปเป็นแนวทางใน แห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงาน (ก.พ.ร.) การดำเนินการตามภารกิจประจำเพื่อเสนอขอรับ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการนโยบายการบริ ห ารงานจั ง หวั ดและ งบประมาณประจำปี หรือสำหรับจัดทำโครงการภายใต้ แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ส่วนราชการ ขนาดย่อม เพือ่ เสนอขอรับการช่วยเหลือจากกองทุน หน่วยงานของรัฐ รัฐสาหกิจ องค์การเอกชนในส่วน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้อย่าง กลาง เช่น กระทรวง กรม นำแผนการส่งเสริมฯ ไป มีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่ง เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย รวมทั้งเป็น แนวทาง ในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน มีกระบวนการ ดังนี้ ตลอดจนใช้ เ ป็ น กรอบในการพิ จ ารณาโครงการ 1) เปิดโอกาสให้ทกุ ภาคส่วนมีสว่ นร่วมในการให้ความ ที่ค วรสนับสนุน และเป็นแนวทางในการพั ฒ นา เห็นต่อแผนการส่งเสริมฯ เช่น การเปิดโอกาสให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามบทบาทที่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในแต่ละพื้นที่ เกีย่ วข้องของแต่ละหน่วยงาน โดยใช้งบประมาณของ สามารถเสนอปัญหาและความต้องการที่แตกต่าง รัฐบาล งบภารกิจของแต่ละหน่วยงาน หรือแหล่ง กันในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้การส่งเสริมและพัฒนา งบประมาณอื่นๆ หรือเสนอของบประมาณภายใต้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการจัดทำ แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ แผนปฏิบัติการฯ มีแนวทางที่สามารถตอบสนอง ขนาดย่อม จากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ซึง่ ในการดำเนินงานในระดับประเทศ ความต้องการที่หลากหลายได้

153

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


154

บทที่ 7

การแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ไปสู่การปฏิบัติ

คณะกรรมการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสำนักงานฯ จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้แผนการส่งเสริมฯ สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุ ผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

กับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการ ศึกษา ภาคเอกชน และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องในพืน้ ที่ ให้เป็นผู้มีบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินการ ตามแผนการส่งเสริมฯ

คณะกรรมการส�งเสริมฯ รัฐบาล ก.น.จ. สศช. สงป. ก.พ.ร. หน�วยงานนโยบายอื่นๆ

3. แนวทางและกลไกการติดตาม 2) การผลักดันให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ประเมินผลการดำเนินงานตาม และขนาดย่อมเป็นแนวทางสำคัญในระดับภูมิภาค แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาด โดยส่งเสริมให้จังหวัด คณะกรรมการบริหารงาน กลางและขนาดย่อม จังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) และกลุ่มจังหวัด คณะกรรมการบริหารงานกลุม่ จังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) นำแผนการส่งเสริมฯ ไปใช้เป็นแนวทาง 3.1 การติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการ ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่ม ดำเนินงานมีการติดตามความก้าวหน้าและเพื่อให้ จังหวัด รวมทั้งใช้สำหรับการพิจารณาโครงการที่ ทราบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ตามแผน ควรสนับสนุน ตลอดจนเป็นแนวทางในการพัฒนา งานโครงการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มตามบทบาท ขนาดย่อม ภายใต้แผนภารกิจของหน่วยงานที่ ที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงาน โดยใช้งบภารกิจ เกีย่ วข้อง และภายใต้แผนปฏิบตั กิ ารส่งเสริมวิสาหกิจ ของแต่ละหน่วยงาน หรือแหล่งงบประมาณอื่นๆ ขนาดกลางและขนาดย่อม ปี พ.ศ. 2555-2559 หรื อ เสนอของบประมาณภายใต้ แ ผนปฏิ บั ติ ก าร ซึ่งจะมีการติดตามประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ของ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จาก การดำเนินงานตามแผนประจำปี ระยะครึง่ แผนและ กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ระยะสิ้นสุดแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง โดยในการผลักดันการดำเนินงานในภูมิภาคจะให้ และขนาดย่อม รวมทั้งมีการประเมินผลลัพธ์ และ ความสำคัญกับการประสานงานหน่วยงานในส่วน ผลกระทบ (Outcome & Impact) ในภาพรวมของ กลางที่เป็นต้นสังกัดของหน่วยงานในภูมิภาคด้วย การดำเนินงานตามแผนการส่งเสริมฯ และให้มี เช่น กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้เกิดการบูรณาการ การทบทวน ปรับปรุงแนวทางที่กำหนดไว้เพื่อให้ ลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานทัง้ ในระดับภูมภิ าค แผนการส่งเสริมฯ มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ และส่วนกลาง เป็นต้น ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วง 3) การผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) นำแผนการส่งเสริมฯ ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ แผนพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งใช้สำหรับการพิจารณา โครงการที่ควรสนับสนุน ตลอดจนเป็นแนวทางใน การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตาม บทบาทที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงาน โดยใช้งบ ภารกิจของแต่ละหน่วยงาน หรือแหล่งงบประมาณ อื่นๆ หรือเสนอของบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จาก กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึง่ ในการดำเนินการในระดับท้องถิน่ จะให้ความสำคัญ

การแปลงแผนการส่งเสริมฯ ไปสู่การปฏิบัติ

คณะกรรมการบริหาร สสว.

สสว. แผนการส�งเสริม SMEs

นโยบายรัฐบาล แผนบริหารราชการแผ�นดิน แผ�นพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 แผนงบประมาณระดับประเทศ

จัดทำ / ผลักดัน แผนการ ส�งเสริมฯ

การดำเนินงานโดยงบประมาณภาระกิจหน�วยงาน / งบประมาณอื่นๆ กระทรวง

ระดับประเทศ

แผน/ยุทธศาสตร�ส�วนกลาง หน�วยงานดำเนินการ

ระดับภูมิภาค

แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ�มจังหวัด หน�วยงานดำเนินการ

ก.บ.จ. ก.บ.ก.

แผนพัฒนาท�องถิ่น หน�วยงานดำเนินการ

อปท.

ระดับท�องถิ่น

ส�วนราชการ หน�วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค�การเอกชนและหน�วยงานที่เกี่ยวข�อง

กองทุนส�งเสริม SMEs แผนปฏิบัติการ ส�งเสริม SMEs ประจำป� ส�วนราชการ หน�วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค�การเอกชน (ทุกระดับ)

จังหวัด

ติดตามประเมินผลการส�งเสริม SMEs

ประสาน จัดทำแผน ปฏิบัติการฯ / ผลักดันสู� การปฏิบัติ

ติดตาม ประเมินผล

3.2 กลไกการติดตามประเมินผล สำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทำหน้าทีก่ ำหนด แนวทางการติดตามความก้าวหน้าและการติดตาม ประเมินผล โดยการประสานงานติดตามการดำเนินงาน ของหน่วยที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ดำเนินงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยงบภารกิจ ของหน่วยงาน และภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และจัดทำ รายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และคณะกรรมการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 155

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


156

บทที่ 7

การแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ไปสู่การปฏิบัติ

ภาคผนวก

157

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)



ภาคผนวก ก คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำ ยุทธศาสตร์การส่​่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม



ภาคผนวก ข ตารางแผนการดำเนินงาน หน่​่วยงานดำเนินการ และอักษรย่อหน่วยงาน


164

ภาคผนวก ข

ยุทธศาสตร์ที่ ทิศทางการส่งเสริม

1

สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อ การดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

• เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีความพร้อมสำหรับ การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • สร้างปัจจัยแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน ทุกระดับการเติบโตของธุรกิจ ให้มปี ระสิทธิภาพและธรรมาภิบาล พัฒนาฐานข้อมูลให้มคี วามสมบูรณ์ ครบถ้วน รวมทัง้ พัฒนาเครือข่ายการทำงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของภาครัฐ อย่างบูรณาการ • สร้างภูมิคุ้มกันจากปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกประเทศ การฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบที่ เกิดขึน้ กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากสถานการณ์ฉกุ เฉินและสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป

แนวทางตัวชี้วัดระดับ ยุทธศาสตร์

• เจ้าหน้าทีท่ เ่ี กีย่ วข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รบั การพัฒนา ให้มคี วามรูค้ วามสามารถเพิม่ ขึน้ • การเพิม่ ขึน้ ของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีส่ ามารถเข้าถึงเงินทุนได้ • มีขอ้ เสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพือ่ ให้เอือ้ ต่อธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • โครงสร้างพืน้ ฐานและสิง่ อำนวยความสะดวกของภาครัฐได้รบั การพัฒนาให้มศี กั ยภาพและเพียงพอ ต่อความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • การบริหารจัดการด้านงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีประสิทธิภาพและทำงาน เชิงบูรณาการ

กลยุทธ์ที่

1.1

แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดำเนินการ

ระยะเวลาดำเนินการ 2555

เสริมสร้างความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและ ความต้ อ งการของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม รวมถึงนโยบายและทิศทางการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ ให้แก่ผกู้ ำหนดนโยบายและเจ้าหน้าทีท่ เ่ี กีย่ วข้อง กับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การดำเนินงาน ส่งเสริมมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความ ต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจัดกิจกรรมที่ เพิ่มโอกาสให้ผกู้ ำหนดนโยบายและเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ ย วข้ อ งได้ รั บ การพั ฒ นาและแลกเปลี่ ย น องค์ความรู้ เช่น การจัดประชุมร่วมระหว่าง ส่ ว นงานซึ่ ง ดู แ ลด้ า นนโยบายและแผนของ แต่ละหน่วยงาน เป็นต้น

อก. (สสว.) ส่วนราชการ/ หน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/ องค์การเอกชน

ส่งเสริมบทบาทของเจ้าหน้าทีท่ เ่ี กีย่ วข้องกับการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ใน ทุกระดับ ในทุกพืน้ ที่ ให้มกี ารกำหนดนโยบายและ มีกิจกรรมเพื่อเกื้อหนุนต่อการพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในพืน้ ที่ รวมถึงสร้าง แรงจูงใจให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม

อก. (สสว.) ส่วนราชการ/ หน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/ องค์การเอกชน

2556

2557

2558

2559

พัฒนาศักยภาพหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หน่วยงาน ผูก้ ำหนดนโยบาย และเจ้าหน้าทีท่ เ่ี กีย่ วข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม เป็นกลไกสำคัญทีม่ บี ทบาทในการช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาให้วสิ าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็ง โดยขณะนี้มีหลายหน่วยงานที่มี บทบาทเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ ควรได้รบั การพัฒนาความรูค้ วามสามารถ ให้เข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ตลอดจนมีความรู้และเข้าใจนโยบายและทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมของประเทศ เพื่อดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ เชื่อมโยงและเกื้อหนุนการดำเนินงานร่วมกัน 165

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


166

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

พัฒนาองค์ความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ท่ี เกีย่ วข้องทุกระดับ ให้สอดคล้องต่อการเปลีย่ น แปลงของแนวโน้มทางเศรษฐกิจ รวมทั้งมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศักยภาพของพื้นที่ เพื่ อ ให้ ก ารบริ ก ารวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย ผลั ก ดั น ให้ มี ส ถาบั น พั ฒ นาความรู้ ข องผู้ ท่ ี เกี่ยวข้องในทุกระดับ และพัฒนาหลักสูตรให้ เหมาะสมกับบทบาทของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตัง้ แต่ผกู้ ำหนดนโยบาย และเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั งิ าน และถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ที่

1.2

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม 2559

อก. (สสว.) ส่วนราชการ/ หน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/ องค์การเอกชน

พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อประโยชน์ ในการวางแผนการส่งเสริมและดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มปี ระสิทธิภาพ ถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วน และ ทันต่อสถานการณ์ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจและกำหนดนโยบายในการ ส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เนือ่ งจากข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ยังมีความกระจัดกระจายและขาดการประสานและเชื่อมโยงระหว่างกัน ส่งผลให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมและหน่วยงานด้านการวางแผนและนโยบายไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง และบูรณาการการจัดทำข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้สามารถอ้างอิงข้อมูลได้จาก ฐานเดียวกัน และลดความซ้ำซ้อนของการจัดทำระบบฐานข้อมูล ทำให้เกิดความคุ้มค่าและเพื่อประโยชน์ ในการวางแผนการส่งเสริมและการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทัง้ การขยาย และสร้างช่องทางให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่มีความสมบูรณ์ ครบถ้วน ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์และพร้อมใช้งาน เพื่อให้ สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานนโยบาย และแผนหน่วยงานปฏิบัติ และผู้ประกอบ การวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งใน เชิงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม อัตลักษณ์ และทรัพยากรในการประกอบธุรกิจทั้งในด้าน ศักยภาพในการแข่งขัน ศักยภาพของพื้นที่ ทิศทางการพัฒนากลุม่ ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่ อ มและสถานการณ์ ต่า งประเทศ รวมถึ ง ข้ อ มู ล ด้ า นสถานการณ์ ที่ ส่ ง ผลต่ อ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สภาพปัญหา อุปสรรค โอกาส แนวทาง และความต้องการ ต่างๆ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

อก. (สสว.) พณ. (พค.) รง. (สปส.) ทก. (สสช.) กค. (ศก.) มท. (สถ./อปท.)

สร้างและรวบรวมองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการส่งเสริม รวมทั้ง กระตุ้นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ เห็นความสำคัญของข้อมูลและนำไปใช้ในการ ดำเนินธุรกิจ

อก. (สสว./สศอ./กรอ.) พณ. (พค.)

ขยายและสร้างช่องทางให้วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่ อ มสามารถเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ได้ โ ดย สะดวกและทัว่ ถึงทัง้ ช่องทางการสือ่ สารรูปแบบ เดิม เช่น สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และช่องทางการสื่อสารรูปแบบที่ทันสมัย เช่น เครือข่ายทางสังคมออนไลน์ (Social Network) เคเบิ้ลทีวี เป็นต้น

อก. (สสว.) พณ. (พค.) รง. (สปส.) กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/สศค.) ศธ. สถาบันการเงิน ภาคเอกชน

2556

2557

2558

2559

(หกค./สอท./ส.ส.ท.)

167

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


168

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

เชื่อมโยงและบูรณาการการจัดทำข้อมูลร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดทำ มาตรฐานข้อมูลเพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถ ใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมจากฐานข้อมูลเดียวกัน และลดความซ้ำซ้อนของการจัดทำฐานข้อมูล เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและเพื่อประโยชน์ในการ วางแผนการส่งเสริมและการดำเนินธุรกิจของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

อก. (สสว.) ส่วนราชการ/ หน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/ องค์การเอกชน

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฐานข้อมูล เช่น การพัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์และ ประมวลผล การปรับปรุงข้อมูลการพัฒนาระบบ และบุคลากร การพัฒนาแนวทางการเชือ่ มโยง เนื้อหาและระบบฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ต่าง ๆ เป็นต้น

อก. (สสว.) ทก. (สสช.)

2556

2557

2558

กลยุทธ์ที่

2559

1.3

ทบทวน ปรับปรุง และผลักดัน กฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการภาษี และการให้สทิ ธิประโยชน์ เพือ่ เอือ้ และลดอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเทศไทยมีการนำกฎหมายมาใช้เป็นเครือ่ งมือเพือ่ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมค่อนข้าง น้อย ทีพ่ บได้ เช่น การพิจารณาลดอัตราภาษีเงินได้ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การส่งเสริมการ ลงทุนแก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึง่ ในทางปฏิบตั วิ สิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความสามารถ ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐได้นอ้ ย ทัง้ นี้ ปัญหาส่วนหนึง่ มาจากความไม่พร้อม ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการบังคับใช้กฎหมายหรือระเบียบยังไม่เหมาะสมและสอดคล้อง ต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนี้ การเปลีย่ นแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการทางด้าน ธุรกิจ ทำให้มกี ารพัฒนาการทำธุรกรรมการค้าประเภทใหม่เกิดขึน้ ขณะทีก่ ารพัฒนากฎหมายขึน้ เพือ่ รองรับ การทำธุรกรรมเหล่านัน้ ยังเป็นไปอย่างค่อนข้างช้า และความซ้ำซ้อนของกฎหมายตลอดจนความไม่ชดั เจน ในขั้นตอนกระบวนการในการบังคับใช้กฎหมายและให้บริการของภาครัฐ รวมทั้งยังขาดแรงจูงใจและ สิทธิประโยชน์ที่เพียงพอ ดังนั้น การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงควรทบทวน ปรับปรุงและผลักดัน กฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการภาษี และการให้สทิ ธิประโยชน์ เพือ่ เอือ้ และลดอุปสรรค ต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

เสริมสร้างความรู้ให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมปฏิบตั ติ ามกฎหมาย กฎระเบียบ ขัน้ ตอน มาตรการภาษีและจูงใจให้ใช้สิทธิประโยชน์ที่ เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ

อก. (สกท./สสว.) กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/สศค.) พณ. กษ. นร. (สคบ.)

ผลักดันให้เกิดการทบทวนปรับปรุง แก้ไ ข กฎหมาย กฎระเบียบ ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ และให้มีการประกาศใช้ กฎหมาย กฎระเบียบ ภาษี และสิทธิประโยชน์ใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ เพื่อลดอุปสรรคในการประกอบ ธุรกิจ

พณ. (คน./พค./ทป.) กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/สศค.) มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) กษ.

169

2556

2557

2558

2559

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


170

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สนับสนุนการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการ สร้างจริยธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส เพื่อ ลดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการดำเนิน ธุ ร กิ จ ระหว่ า งธุ ร กิ จ ขนาดใหญ่ กั บ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม

พณ. (คน./พค./ทป.) กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/สศค.) มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) กษ.

ผลักดันให้มีการทบทวน ปรับปรุง อัตราภาษี ให้เป็นธรรมต่อการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม

พณ. (คน./พค./ทป.) กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/สศค.) มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) กษ.

ศึกษา ทบทวน รูปแบบการจัดเก็บภาษี ที่ เหมาะสมกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ ส อดคล้ อ งต่ อ การอยู่ ร อดและเติ บ โตของ กิจการ เช่น การเหมาจ่ายสำหรับวิสาหกิจ ขนาดกลางและย่อมในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ อัตรา ภาษี ข องวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ต่ำกว่ารายใหญ่ การกำหนดให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บภาษี และนำรายได้ จากการจัดเก็บมาพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในพื้นที่นั้นๆ เป็นต้น

กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/สศค.) พณ. (คน./พค./ทป.) อก. (สสว./สกท./กรอ./กสอ.) มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) กษ.

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

2559

2555

ผลักดันและจูงใจให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมเข้าสูร่ ะบบภาษี เช่น การสร้างความรู้ ความเข้าใจเรือ่ งประโยชน์ของภาษีตอ่ การพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การยกเว้น ความผิดทางภาษีในอดีต (การนิรโทษกรรมภาษี) เป็นต้น

กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/สศค.) พณ. (คน./พค./ทป.) อก. (สสว./สกท./กรอ./กสอ.) มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) กษ. ศธ. สภาวิชาชีพบัญชีฯ

จัดทำระบบฐานข้อมูลกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการภาษี และการให้สทิ ธิประโยชน์สำหรับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อใช้ ประโยชน์ในเชิงนโยบายและเผยแพร่

อก. (สสว./สกท./กรอ./กสอ.) กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/สศค.) พณ. (คน./พค./ทป.) มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) กษ.

171

2556

2557

2558

2559

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


172

ภาคผนวก ข

กลยุทธ์ที่

1.4

เสริมสร้างระบบและเตรียมความพร้อมเพือ่ ให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงเงินทุนและเพิม่ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการเงิน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีขอ้ จำกัดในการเข้าถึงเงินทุนจากปัจจัยสำคัญ 3 ด้าน คือ ด้านผูป้ ระกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านแหล่งเงินทุน และด้านโครงสร้างพืน้ ฐาน เช่น ผูป้ ระกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมขาดหลักทรัพย์คำ้ ประกัน หรือมีหลักทรัพย์คำ้ ประกันไม่เพียงพอต่อวงเงินสินเชือ่ ขาดระบบการบันทึกบัญชีทเ่ี ป็นมาตรฐาน ไม่มปี ระวัตธิ รุ กรรมทางการเงินกับสถาบันการเงินย้อนหลัง เป็นผูม้ ี ประวัตธิ รุ กรรมทางการเงินไม่ดี รวมทัง้ ความสามารถในการทำธุรกิจและชำระหนีต้ ำ่ ในส่วนของสถาบัน การเงินยังขาดความเชื่อมั่นในพิจารณาสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนี้ บทบาทสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการให้บริการทางการเงินแก่ผปู้ ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมยังมีไม่มากพอเมือ่ เทียบกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เนือ่ งจาก ข้อจำกัดด้านเงินทุน กฎระเบียบ และขาดมาตรการจูงใจให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้แก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ในด้านโครงสร้างพื้นฐานยังขาดระบบหรือกลไกเสริมสร้างประสิทธิภาพในการ ใช้เงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ระบบพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา นักวินิจฉัย ที่ดำเนินงานโดย หน่วยงานต่างๆ ยังมีความกระจัดกระจายไม่เป็นระบบ และ ไม่เพียงพอกับความต้องการของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ขาดระบบค้ำประกันทีเ่ อือ้ ต่อการขยายสินเชือ่ ให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้อย่างกว้างขวาง ขาดระบบข้อมูลกลางที่จะช่วยทั้งผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการวิเคราะห์สถานะของกิจการและแนวโน้มธุรกิจและที่จะช่วยสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อตาม ความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขาดกฎระเบียบที่เอื้อต่อการขยาย บริการทางการเงินให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนั้น การเสริมสร้างระบบและเตรียม ความพร้อมเพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ควรมุ่งเน้นเสริมสร้าง ระบบและเตรียมความพร้อมเพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงเงินทุนและเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการเงิน

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

เตรียมความพร้อมให้แก่วสิ าหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม โดยการสร้างความรูค้ วามเข้าใจด้าน การบริหารจัดการธุรกิจ เช่น การจัดทำแผนธุรกิจ บัญชีทเ่ี ป็นระบบ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และการบริหารความเสี่ยง

กค. (สพ.) อก. (สสว.) สถาบันการเงิน ศธ. สภาวิชาชีพบัญชีฯ

ส่งเสริมบทบาทของสถาบันการเงินโดยเฉพาะ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 1 (Special Financial Institutions: SFIs) ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความ พร้อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เช่น การให้คำ ปรึกษา แนะนำ ให้ความรู้ การเตรียมความพร้อม ด้านประวัติธุรกรรมทางการเงิน การวินิจฉัย ธุรกิจ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เป็นต้น

อก. (สสว./สศอ./กสอ.) สถาบันการเงิน NCB ศธ.

ส่ ง เสริ ม การเชื่ อ มโยงบริ ก ารทางการเงิ น กั บ โครงการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กำหนด เงื่อนไขพิเศษสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ ธุรกิจวินิจฉัย ให้สามารถได้รับเงินทุนเพื่อเริ่ม ธุรกิจ การปรับปรุงหรือพัฒนาธุรกิจ เป็นต้น

สถาบันการเงิน ส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน

2556

2557

2558

2559

1 สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Special Financial Institutions: SFIs) ประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.), ธนาคารเพือ ่ การเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธกส.),ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพือ่ การส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.), ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.), ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

173

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


174

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

เพิ่มช่องทางหรือโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน และแหล่งเงินทุนอื่น ๆ เช่น การร่วมลงทุน (Venture Capital) การ สนับสนุนเงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ รวมทั้ง ขยายบริการทางการเงินที่มีอยู่เดิมให้มีการใช้ บริการมากขึ้น เช่น ธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง (Leasing) ธุรกิจแฟคตอริง่ (Factoring) เป็นต้น

ธปท. สถาบันการเงิน ธุรกิจเงินร่วมลงทุน

กำหนดแนวทางและปรับปรุงระบบการค้ำประกัน สินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น เพิม่ หลักทรัพย์คำ้ ประกันรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะ หลักทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ และหลักทรัพย์ที่ เคลือ่ นทีไ่ ด้ เช่น ทรัพย์สนิ ทางปัญญา ตราสินค้า สินค้าคงคลัง สร้างระบบการค้ำประกันสินเชื่อ หรือการให้สินเชื่อแบบไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือ บุคคลค้ำประกัน และขยายบทบาทหน่วยงาน และแบบค้ำประกันสินเชื่อ เป็นต้น

SFIs (บสย. และ SFIs อื่น ๆ) ธพ. ธปท. ศธ.

ส่งเสริมระบบข้อมูลกลางเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และผลักดันให้หน่วย งานและแหล่งเงินทุนต่างๆ นำไปใช้ประกอบ การพิจารณา เช่น ระบบข้อมูลจัดระดับความ น่าเชื่อถือ (SMEs Credit Rating Database) ระบบฐานข้อมูลความต้องการและปริมาณการ ปล่ อ ยสิ น เชื่ อ ให้ แ ก่ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม เป็นต้น

2556

2557

2558

กลยุทธ์ที่

2559

1.5

สร้างความเข้มแข็งให้แก่กลไกและเครือข่ายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลไกและเครือข่ายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบด้วย ส่วนราชการ หน่วยงาน ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชน โดยการดำเนินงานทีผ่ า่ นมา สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานระบบการทำงานของส่วนราชการ องค์กรของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจทีส่ ง่ เสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพือ่ ให้เกิดความต่อเนือ่ งและสอดคล้องในทิศทาง เดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม เพือ่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรผลักดันให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นวาระ แห่งชาติเพื่อเป็นกลไกตั้งต้นในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้ง ในส่วนของแผนงาน/โครงการ งบประมาณ และทรัพยากรของประเทศอย่างเพียงพอและต่อเนือ่ ง โดยปัจจัย แห่งความสำเร็จของกลไกดังกล่าว คือ การบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชน และ การสร้างกลไกการติดตามและประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งในส่วนของ กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและในส่วนที่มิใช่การดำเนินงานภายใต้กองทุนส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

อก. (สสว.) กค. (สศค.) ธปท. NCB สถาบันการเงิน

ผลักดันนโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ให้เป็นวาระแห่งชาติ

2556

2557

2558

2559

อก. (สสว.) นร. (สงป./สศช.) ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน

175

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


176

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

ผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนนำ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม ไปใช้เป็นกรอบการดำเนินงานตลอดจนมี การจัดสรรทรัพยากรในการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม อย่างเพียงพอและ ต่อเนื่อง โดยแต่ละหน่วยงานมีการดำเนินการ ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ตามบทบาทหน้าทีข่ องหน่วยงานและบูรณาการ ร่ ว มกั น อย่ า งเป็ น ระบบและเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน

อก. (สสว.) นร. (สงป./สศช.) ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน

พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มระหว่ า ง ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์การเอกชน เช่น การบูรณาการความร่วมมือ ระหว่ า งผู้ มี ห น้ า ที่ ด้ า นนโยบายและแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ หน่วยงานต่างๆ การเชื่อมโยงการทำงานของ หน่วยแผนและหน่วยปฏิบัติ รวมทั้งพัฒนา ความเข้มแข็งขององค์การเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

อก. (สสว.) นร. (สงป./สศช.) ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน

สร้างกลไกการติดตามและประเมินผลการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น สร้าง ระบบการรายงานและประมวลผลการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และนำข้อมูล ไปใช้ ใ นการวางแผนการทำงานส่ ง เสริ ม ให้ มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งการพัฒนาตัวชี้วัด เพือ่ ติดตามและประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม

อก. (สสว.) นร. (สงป./สศช.) ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน

2556

2557

2558

กลยุทธ์ที่

2559

1.6

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ดำเนินธุรกิจโดยใช้หลักธรรมาภิบาล และสนับสนุนการประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจภายใต้ความ รับผิดชอบต่อสังคม โดยบางส่วนยังเข้าใจว่าเป็นเรื่องของกิจการรายใหญ่ และคิดว่าเป็นต้นทุนในการ ดำเนินธุรกิจ จึงส่งผลให้ขาดความตระหนักรู้ ในขณะที่บางส่วนเห็นความสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมแต่ไม่มีขีดความสามารถในการดำเนินการได้โดยลำพัง อีกทั้ง ข้อตกลง ทางด้านการค้าระหว่างประเทศต่างๆ มุ่งเน้นการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ส่งผลให้แต่ละประเทศ ต่างนำมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non Tariff Barriers: NTBs) มาใช้เป็นเครื่องมือในการ กีดกันทางการค้า ดังนั้น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับมาตรการ ดังกล่าว นอกจากนี้ ปัจจัยพืน้ ฐานทีจ่ ะส่งเสริมและสนับสนุนให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนิน ธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมยังมีอยูอ่ ย่างจำกัด และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีขดี จำกัด ในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานดังกล่าว เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมการส่งเสริมการลงทุน การยกเว้นภาษี เป็นต้น ดังนั้น จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนินธุรกิจภายใต้ ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) / อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) และระบบธรรมาภิบาล

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สร้างจิตสำนึก ปลูกฝังค่านิยม ให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เห็นความสำคัญของ การดำเนินธุรกิจโดยใช้หลักธรรมาภิบาลและ เป็นมิตรต่อสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

2556

2557

2558

2559

อก. (กรอ./กพร./กนอ.) ทส. (DEQP/อบก.) กลต. (สถาบันพัฒนา ธุรกิจเพื่อสังคม CSRI)

สถาบันไทยพัฒน์ สถาบันอิสระ (สสท.) สกส.

177

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


178

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการประกอบธุรกิจที่มี ความรับผิดชอบต่อสังคม สิง่ แวดล้อม ตลอดจน คุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใสในการดำเนิน ธุรกิจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น การศึกษาและจัดทำต้นแบบ ระบบฐานข้อมูล ด้านการดำเนินธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อ สังคม อุตสาหกรรมสีเขียว และระบบธรรมาภิบาล

อก. (กรอ./กพร./กนอ.) ทส. (DEQP/อบก.) สถาบันไทยพัฒน์ สถาบันอิสระ (สสท.) สกส.

สร้ า งแรงจู ง ใจให้ วิส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มในการปฏิ บั ติ ต ามข้ อ กำหนดการ ดำเนินธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม อุตสาหกรรมสีเขียว และระบบธรรมาภิบาล โดยการสนับสนุนเงินทุน สิทธิประโยชน์ในการ ดำเนินธุรกิจ (การลดหย่อนค่าธรรมเนียมใน การดำเนินธุรกิจ) การประกาศเกียรติคณ ุ รวมทัง้ ให้ความรูแ้ ละส่งเสริมความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับ การนำความรับผิดชอบต่อสังคม มาใช้ในการ สร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจ

กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต) สถาบันการเงิน กลต. (สถาบันพัฒนา

ผลักดันให้เกิดสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือกฎหมาย เพื่อสร้างแรงจูงใจในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้ ความรับผิดชอบต่อสังคม อุตสาหกรรมสีเขียว และระบบธรรมาภิบาลมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ

อก. (สกท./กรอ./กพร./กนอ./สรอ.) กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/สศค.) ทส. (DEQP/อบก.) มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) สถาบันอิสระ (สสท.) สกส.

ธุรกิจเพื่อสังคม CSRI)

2556

2557

2558

กลยุทธ์ที่

2559

1.7

สร้างกลไกและระบบการยกระดับความรู้ความสามารถทักษะบุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ด้านการจัดการ การผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ บุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้การดำเนินงานของกลยุทธ์นี้จำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ประกอบการและแรงงาน และ 2) กลุ่มผู้ให้บริการทางธุรกิจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม โดยแต่ละกลุ่มต่างมีปัญหาและข้อจำกัดแตกต่างกัน คือ 1) กลุ่มผู้ประกอบการและแรงงาน การผลิตแรงงานไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ นอกจากนี้ การแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน ไม่ได้มงุ่ เน้นทีก่ ารใช้แรงงานค่าจ้างต่ำ แต่มงุ่ เน้นแรงงานทีม่ ที กั ษะฝีมอื และทักษะภาษาต่างประเทศ และใน ส่วนของปัจจัยแวดล้อมด้านบุคลากร ภาครัฐยังขาดการสร้างกลไกและสิ่งจูงใจเพื่อสนับสนุนให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของตนอย่างเพียงพอ เช่น การลดหย่อน ภาษี กองทุนพัฒนาทักษะฝีมือ เป็นต้น และ 2) กลุ่มผู้ให้บริการทางธุรกิจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม เช่น นักวินิจฉัย พี่เลี้ยงและที่ปรึกษา ซึ่งการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมจำเป็นต้องได้รบั การส่งเสริมและสนับสนุนจาก นักวินจิ ฉัย พีเ่ ลีย้ ง และทีป่ รึกษา โดยการดำเนินงาน ที่ผ่านมายังขาดการเชื่อมโยงกัน ต่างหน่วยต่างทำ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาไม่มีนักวินิจฉัยเพียงพอกับ ความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนัน้ ภาครัฐจึงควรสร้างกลไกและระบบการยกระดับ ความรู้ความสามารถทักษะบุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการจัดการ การผลิตให้ สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ

สกส.

179

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


ภาคผนวก ข

180

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

กลุ่มที่ 1 ผู้ประกอบการและแรงงาน สนั บ สนุ น การสร้ า งระบบและกลไกการเพิ่ ม องค์ความรู้และทักษะให้แก่บุคลากรวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (ผูป้ ระกอบการและ แรงงานทุกระดับ) เช่น • พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านบุคลากรวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ความต้องการ แรงงานความสามารถในการผลิตแรงงาน เป็นต้น

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม 2559

รง. (กพร.) ศธ. (สพฐ./สกอ./สอศ.) อก. พณ. กค. สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ส.ส.ท.)

• สนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร การศึกษา และการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความ ต้องการของภาคธุรกิจ เช่น การจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี 2 / สหกิจศึกษา 3 เป็นต้น • ศึกษาความต้องการและความสามารถผลิต แรงงานในสาขาและพื้นที่ต่างๆ และผลักดันให้ นำผลการศึกษา ไปใช้ในการวางแผนการพัฒนา แรงงานให้ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • พัฒ นาระบบการให้ความรู้ และทักษะฝีมือ แรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของภาค ธุรกิจ โดยการฝึกอบรมเฉพาะทาง เช่น ทักษะ ฝีมือ ทักษะภาษาต่างประเทศ และเพิ่มช่องทาง การเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เอกสารเผยแพร่ ต่าง ๆ เป็นต้น

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

ผลักดันให้มีการใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานและ การจ่ายค่าจ้างตามทักษะฝีมือ ผ่านการรับรอง ประสบการณ์และทักษะฝีมือ การเทียบโอน ประสบการณ์และการสร้างมาตรฐานฝีมือ แรงงาน

รง. (กพร.) ศธ. (สพฐ./สกอ./สอศ.) อก. พณ. กค. สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ส.ส.ท.)

เชื่อมโยงสถานศึกษาในพื้นที่กับพื้นที่ และพื้นที่ กับส่วนกลาง ทั้งระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และวิทยาลัยชุมชน เพื่อสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาหลักสูตรให้ สอดคล้องกับความต้องการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

ศธ. (สพฐ./สกอ./สอศ.) รง. (กพร.) อก. พณ. กค. สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ส.ส.ท.)

สร้างแรงจูงใจและระบบสิทธิประโยชน์ในการ พัฒนาบุคลากรของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม เช่น การนำค่าใช้จ่ายด้าน การพัฒนาบุคลากร อาทิ การอบรม สัมมนา ทุนการศึกษา ไปหักลดหย่อนภาษีได้มากกว่า ค่าใช้จ่ายจริง

รง. (กพร.) ศธ. (สพฐ./สกอ./สอศ.) อก. พณ. กค. สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./สสท.)

2556

2557

2558

2559

• เสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของแรงงาน เช่น การ สร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพและองค์กร การจัด สวัสดิการที่ดี สภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน เป็นต้น 2

การศึกษาระบบทวิภาคี คือ การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ในเรื่อง การจัดหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ 3 สหกิจศึกษา คือ ระบบการศึกษาทีเ่ น้นการปฏิบต ั งิ านในสถานประกอบการอย่างมีระบบ โดยจัดให้มกี ารเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการจัดให้นกั ศึกษาไปปฏิบตั งิ านจริง ณ สถานประกอบการ โดยนักศึกษามีสถานะเหมือนพนักงานรวมทั้งอาจจะได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ หรือค่าตอบแทนอื่นตามความเหมาะสมจากสถานประกอบการ

181

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


182

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

กลุ่มที่ 2 ผู้ให้บริการแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (นักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และทีป่ รึกษา) สร้ า งเสริ ม ทั ก ษะผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารธุ ร กิ จ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม (นักวินิจฉัย พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา) ให้มีศักยภาพและความสามารถใน การตอบสนองความต้ อ งการของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้ง มีจำนวน เพียงพอต่อการให้บริการมีอัตราค่าบริการที่ เหมาะสมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงได้ เช่น • พัฒนานักวินิจฉัย พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา โดยการ เพิ่มทักษะ ประสบการณ์ และพัฒนาระบบ กลไกการเรียนรู้เพื่อยกระดับความสามารถของ บุคลากรผู้ให้บริการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม เช่น ศึกษาดูงาน อบรมเชิง ปฏิบัติการ เป็นต้น • สร้างนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษารุ่นใหม่ เช่น การบ่มเพาะโดยมุง่ เน้นการฝึกประสบการณ์ ปฏิบตั งิ านจริงกับนักวินจิ ฉัย พีเ่ ลีย้ ง และทีป่ รึกษา ที่มีประสบการณ์ • พัฒนาผูป้ ระกอบการให้สามารถวิเคราะห์สภาพ ปัญหาของตนเองในเบือ้ งต้นโดยการนำรูปแบบ สร้างนักวินิจฉัยมาประยุกต์ใช้

อก. (กสอ.) สถาบันเครือข่าย อก. ศธ. วท. (สวทช.) สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ส.ส.ท.)

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

2559

2555

ส่งเสริมบุคลากรวัยเกษียณ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์ด้านธุรกิจใน การเป็นนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษา

อก. (กสอ.) สถาบันเครือข่าย อก. ศธ. วท. (สวทช.) สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ส.ส.ท.)

พัฒนานักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษาให้เป็น อาชีพถาวร โดยการ

อก. (กสอ.) สถาบันเครือข่าย อก. ศธ. วท. (สวทช.) สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ส.ส.ท.)

• พัฒนาระบบรับรองคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพ ของผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม เช่น กำหนดให้มีใบประกอบวิชาชีพ เช่น การขึ้นทะเบียนวิชาชีพ การต่อทะเบียน วิชาชีพ การแสดงผลงาน เป็นต้น

2556

2557

2558

2559

• พัฒนาพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาจากนักวิชาการ ผู้ เ ชี่ ย วชาญหรื อ ผู้ มี ป ระสบการณ์ ด้ า นธุ ร กิ จ ให้เป็นอาชีพถาวร • สร้างตลาดรองรับทั้งในและต่างประเทศ เช่น ส่งเสริมการใช้บริการนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และ ที่ปรึกษา โดยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วน ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ขยายช่องทางการให้บริการไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุม่ ประเทศเพือ่ นบ้าน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) เป็นต้น

183

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


184

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สร้างระบบติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ของผูใ้ ห้บริการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพือ่ นำมาใช้เป็นเครือ่ งมือในการวัดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการดำเนินงาน เช่น การจ่ายค่า ตอบแทนตามผลงานทีเ่ กิดขึน้ จากการปฏิบตั งิ าน ของผู้ให้บริการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม เป็นต้น

อก. (กสอ.) สถาบันเครือข่าย อก. ศธ. วท. (สวทช.) สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ส.ส.ท.)

ส่งเสริมให้มีหน่วยงานหรือองค์กรบริการธุรกิจ เพื่ อ เป็ น ศู น ย์ ก ลางการพั ฒ นาเครื อ ข่ า ยผู้ ใ ห้ บริการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การควบคุมคุณภาพมาตรฐาน การจับคูผ่ ใู้ ห้และ ผู้รับบริการ (Matching) เชื่อมโยงผู้รับบริการ จากนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษากับหน่วย งานภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงิน สถาบัน การศึกษา ฯลฯ รวมถึงเชื่อมโยงบริการกับ ต่างประเทศ

อก. (กสอ.) สถาบันเครือข่าย อก. ศธ. วท. (สวทช.) สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ส.ส.ท.)

2556

2557

2558

กลยุทธ์ที่

2559

1.8

เพิ่มประสิทธิภาพหน่วยให้บริการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา คุณภาพมาตรฐาน และสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่ยังขาดความตระหนักและความสนใจในการนำ เทคโนโลยี การวิจยั และพัฒนา การสร้างนวัตกรรม ทรัพย์สนิ ทางปัญญามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ส่วนหนึง่ มาจากการเห็นว่า เป็นการเพิม่ ต้นทุนในการทำธุรกิจมากกว่าเป็นการลงทุนเพือ่ ให้ได้ผลตอบแทน ในอนาคต และยังขาดองค์ความรูใ้ นการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมของตนให้สงู ขึน้ นอกจากนี้ ข้อมูล ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาที่จะนำไป ใช้ในเชิงพาณิชย์ ยังไม่ถูกเผยแพร่ไปสู่ผู้ประกอบการอย่างเหมาะสม ในส่วนของหน่วยให้บริการด้าน เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา หน่วยงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม และภาคธุรกิจ ยังขาดความเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ขาดการพัฒนาบุคลากร ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ด้านการวิจยั และพัฒนาให้มปี ริมาณทีเ่ พียงพอและมีคณ ุ ภาพทีเ่ หมาะสม นอกจากนี้หน่วยให้บริการด้านเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา ยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณและบุคลากร รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายในการให้บริการอยู่ในอัตราที่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงได้ยาก สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สินทาง ปัญญา ยังขาดการส่งเสริมแบบบูรณาการ ระบบการคุ้มครองการวิจัยและพัฒนายังไม่เพียงพอ ขาด การสร้างนวัตกรรมที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ และขาดมาตรการจูงใจและสิทธิประโยชน์ยังไม่เข้มข้น และยุ่งยากในทางปฏิบัติ

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สร้างแรงจูงใจ โดยการสนับสนุนเงินทุน สิทธิประโยชน์ และข้อมูลให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการนำงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีทรัพย์สนิ ทางปัญญาและนวัตกรรมไป ประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจและใช้เชิงพาณิชย์ มากขึ้น

2556

2557

2558

2559

วท. (สวทช./สวทน/สนช./สกว.) อก. (กสอ/สรอ.) พณ. (ทป.) กษ. (สวก.) กค. (สพ.) สถาบันการเงิน

185

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


186

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

ผลักดันให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ด้านการวิจัย และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรัพย์สนิ ทางปัญ ญาและนวัต กรรมเพิ่มมากขึ้น เช่น ทบทวนการรับรองงานวิจัยและพัฒนาเพื่อขอ สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีให้มีความยืดหยุ่น ลดขั้นตอนและระยะเวลาการพิจารณา เป็นต้น

วท. (สวทช./สวทน/สนช./สกว.) กค. (สพ.) อก. (กสอ/สรอ.) พณ. (ทป.) กษ. (สวก.)

พัฒนาระบบการใช้ประโยชน์และการคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนา นวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม เช่น ระบบฐานข้อมูลและการสืบค้นสิทธิ บัตรที่หมดอายุ การเผยแพร่ผลงานทรัพย์สิน ทางปัญญาแก่ผู้มีแนวคิดทางธุรกิจ กลไกการ คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

วท. (สวทช./สวทน/สนช./สกว.) กค. (สพ.) อก. (กสอ/สรอ.) พณ. (ทป.) กษ. (สวก.)

สนับสนุนการสร้างขีดความสามารถบุคลากร ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจ ทั้งในสถานประกอบการและหน่วยให้บริการ ภาครัฐเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม

วท. (สวทช./สวทน/สนช./สกว.) กค. (สพ.) อก. (กสอ/สรอ.) พณ. (ทป.) กษ. (สวก.)

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

2559

2555

สนั บ สนุ น การเพิ่ ม ศั ก ยภาพของหน่ ว ยที่ ใ ห้ บริการกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สนิ ทางปัญญา การรับรองมาตรฐานให้มีความเพียงพอ ทั้งเชิง ปริมาณและคุณภาพ และสอดคล้องกับความ ต้องการ เช่น สถาบันวิจัยเฉพาะทางในสาขา วิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์ บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ศูนย์บ่มเพาะ และ อุทยานวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีต้นทุนค่าบริการ ที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถ เข้าถึงได้ รวมทั้งความสะดวกรวดเร็วในการให้ บริการแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

วท. (สวทช./สวทน/สนช./สกว.) กค. (สพ.) อก. (กสอ/สรอ.) พณ. (ทป.) กษ. (สวก.)

สนั บ สนุ น กลไกเพื่ อ สร้ า งความเชื่ อ มโยงงาน ศึกษาวิจัยของสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดการต่อยอดและ ลดความซ้ำซ้อน รวมทั้งให้สามารถตอบสนอง ความต้องการของภาคธุรกิจ

ศธ. วท. (สวทช./สวทน/สนช./สกว.) กษ. (สวก.) อก. (กสอ/สรอ.) พณ. (ทป.)

187

2556

2557

2558

2559

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


188

ภาคผนวก ข

กลยุทธ์ที่

1.9

พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการตลาดให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผูป้ ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังไม่สามารถดำเนินการด้านการตลาดได้เต็มประสิทธิภาพ และส่วนใหญ่มกั ตอบสนองความต้องการของตลาดในท้องถิน่ ยังขาดความรูค้ วามสามารถในด้านการตลาด ในวงกว้างโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมก็ยังไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร ก่อให้เกิดข้อจำกัดในการดำเนินการด้านการตลาด เชิงรุกด้วยตนเองในหลายด้าน เช่น ข้อจำกัดด้านความน่าเชื่อถือของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มักจะทำให้มีโอกาสทางการตลาดน้อยกว่ากิจการขนาดใหญ่ ข้อจำกัดทางด้านเงินทุนและขนาดของธุรกิจ ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมด้านการตลาด และสร้างช่องทางการตลาดของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการศึกษาวิจัยข้อมูลการตลาดเชิงลึก เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและ ต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาด รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนช่องทางและโอกาสทางการตลาดสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีอยู่ ยังไม่ สามารถตอบสนองความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้อย่างทัว่ ถึงและมีประสิทธิภาพ มากนัก ขณะเดียวกันการเปิดเสรีทางการค้าก็มีผลทำให้วิสาหกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งสินค้าและบริการจาก ต่างประเทศเข้ามาแข่งขันกับสินค้าและบริการในท้องถิ่นหรือในประเทศมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการ พัฒนาปัจจัยเอื้อในการประกอบธุรกิจในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการตลาด เพื่อลดปัญหาและอุปสรรค ต่อการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อยกระดับผลิตภาพและขีดความสามารถ ในการแข่งขันให้สูงยิ่งขึ้น นอกจากตลาดทางเศรษฐกิจแล้วยังมีตลาดที่สำคัญอีกตลาด คือ ตลาดจัดซื้อ จัดจ้างภาครัฐ ซึ่งมีมูลค่าสูงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง ภาครัฐได้มีการปรับปรุงขั้นตอนและหลักเกณฑ์การ จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ส่งผลให้เกิดความโปร่งใสลดขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างมากขึ้น รวมทั้งมีการพัฒนา ระบบการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-procurement) นอกจากนี้ มูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ยังมีมูลค่าสูงอย่างต่อเนื่องแต่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังมีบทบาทในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ไม่มากนัก ดังนั้น การขยายโอกาสในการเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ จึงนับเป็นโอกาสสำคัญใน การส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สร้างองค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อให้บริการ แก่วิสาหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ความรู้ด้านการค้า การลงทุน ข้อมูลเชิงลึก รายอุตสาหกรรมความต้องการหรือพฤติกรรม ของผู้บริโภค กรอบความร่วมมือต่างๆ และ ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นำองค์ความรูด้ า้ นการตลาดไปใช้ในการวางแผน การดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาด

พณ. (คน./คต./พค./สอ./จร.) กค. (ศก.) อก. (สสว.)

กำหนดตำแหน่ ง และโครงสร้ า งตลาดของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ชัดเจน เช่น ธุรกิจรายย่อย เน้นตลาดภายในประเทศ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง แล้ ว ควรได้ รั บ การส่ ง เสริ ม ให้ เ ข้ า สู่ ต ลาด ต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่เป็น ตลาดใหม่

พณ. (คน./คต./พค./สอ./จร.) กษ. (กสส./กสก.)

ส่งเสริมโครงสร้างพืน้ ฐานทางการตลาดสำหรับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยจัดให้มี บริการทางการค้าอย่างครบวงจร เช่น การเจรจา ธุรกิจ บริการขนส่งสินค้า บริการทางการเงิน ฯลฯ

พณ. (คน./พค.) อก. (กพร./กนอ.)

189

2556

2557

2558

2559

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


190

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

ส่งเสริมสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ เช่น การพัฒนาคุณภาพของการบริการขนส่ง จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์จำหน่ายสินค้า การบริหารจัดการ (คลังสินค้ากลาง การขนส่ง สินค้าเที่ยวเปล่า) พัฒนาระบบพิธีการศุลกากร เชื่ อ มโยงบริ ก ารโลจิ ส ติ ก ส์ ภ าครั ฐ -เอกชน เช่น เชื่อมโยงผู้ประกอบด้านอาหารกับบริการ โลจิสติกส์

อก. (กพร./สสว.) คค. (จท./ขส.ทบ./ขส.ทอ./รสพ.) ทก. (ปณท.)

สร้างกลไกตลาดที่มีจริยธรรม คุณธรรม ความ โปร่งใส เช่น กฎหมาย กฎระเบียบการค้าที่ เป็นธรรม เป็นต้น

พณ. (คน./คต./พค./สอ./จร.) อก. กค.

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม 2559

2555

• กำหนดสัดส่วนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน แต่ละปี • พิจารณากำหนดโครงการจัดซื้อจัดจ้างให้ เป็ น การเฉพาะแก่ วิส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม

2556

2557

2558

2559

(ต่อ)

• ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ ว่าจ้างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนิน งานต่อ (subcontracting) หรือใช้สินค้าและ บริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • สนับสนุนการรวมกลุม่ ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในการรับงานภาครัฐหรือรับงาน จากธุรกิจรายใหญ่ที่ได้รับโครงการจากภาครัฐ

กลยุทธ์ที่

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ มีบทบาทในตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมากขึ้น โดยมีแนวทาง ดังนี้

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

พณ. (คน./คต./พค.) กค. (บก./สพ.) นร. (สงป.)

1.10

สร้างภูมิคุ้มกัน ฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปัจจุบัน สังคมไทยมักเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ทั้งที่เกิดจากปัญหาการก่อความ ไม่สงบภายในประเทศ ปัญหาการก่อการร้าย วิกฤตเศรษฐกิจและการแข่งขันด้านต่างๆ ในเวทีระหว่าง ประเทศ รวมทั้งภัยพิบัติที่เกิดจากมนุษย์และธรรมชาติมีความรุนแรงและส่งผลกระทบสูง เป็นประเด็น ท้าทายต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งการบริหารวิกฤตการณ์ การเตรียมความพร้อมเพื่อตอบสนอง อย่างฉับไวและการบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศให้มีความ เข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมี ภูมิคุ้มกันและสามารถรองรับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงจากเหตุปัจจัยทั้งภายนอกและภายในได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สามารถฟื้นฟูและบรรเทาผลกระทบข้างต้นที่เกิดขึ้น

• ปรับปรุงกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติของ หน่วยงานรัฐ เช่น ลดระยะเวลาและขัน้ ตอนการ ชำระเงินให้แก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น • การให้สิทธิพิเศษแก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในการยื่นข้อเสนอโครงการ

191

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


192

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

ฟืน้ ฟู และบรรเทาผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ กับวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มจากสถานการณ์ เหตุฉกุ เฉินต่างๆ โดยส่งเสริมการออกมาตรการ ช่วยเหลือ เช่น

อก. (สสว.)

• จัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมเพื่อบรรเทาปัญหาเร่งด่วนหรือ ปัญหาเฉพาะหน้าของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม โดยจัดทำบัญชีแยกประเภทเงินช่วย เหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีไ่ ด้รบั จากรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมเป็นการเร่งด่วน • ระดมทุ น ระหว่ า งวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมด้วยกัน โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมสมทบ เพื่อเป็นแหล่งทุนในยามที่เกิดปัญหา

อก. (สสว.)

• ลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมทีป่ ระสบภัยพิบตั หิ รือเหตุฉกุ เฉิน เช่น การลด ยกเว้น หรือการให้ผ่อนชำระค่า สาธารณูปโภค การยืดระยะเวลาการชำระภาษี และการชะลอการจ่ า ยเงิ น สมทบเข้ า กองทุ น ประกันสังคมในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง โดยที่ภาครัฐยังคงจ่ายเงินสบทบเท่าเดิม

กค. (สพ.) รง. (สปส.) กฟผ. กฟน. กปน. กปภ.

• เสริมสภาพคล่องให้กับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมทีป่ ระสบภัยพิบตั หิ รือเหตุฉกุ เฉิน โดยการให้เงินอุดหนุน เพื่อลดผลกระทบที่อาจ มีตอ่ การจ้างงานและเพือ่ ให้ธรุ กิจสามารถอยูร่ อด

กค. (SFIs) อก. (สสว.)

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

2559

2555

2556

2557

2558

2559

(ต่อ)

• จัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายประกันภัย เพื่อให้คำปรึกษาแก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในการเจรจาเพื่อขอรับสิทธิ์ในกรณี ที่ ธุรกิจประสบภั ย อั น เป็ น เหตุ ฉุ ก เฉิ น ที่ มิ ไ ด้ มี การระบุในกรมธรรม์

คปภ.

• จัดหาสถานที่สำหรับการประกอบการ เพื่อ เยียวยาผูท้ ไ่ี ด้รบั ผลกระทบจากเหตุภยั ต่างๆ ให้ มีสถานทีใ่ นการประกอบการชัว่ คราวในระหว่างที่ ประสบเหตุหรือหลังประสบเหตุ รวมถึงการจัดหา ช่องทางการจำหน่ายใหม่ ๆ

พณ. (คน.) มท. (อปท.) มท. (องค์การตลาด)

สร้างภูมิคุ้มกันจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ การดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม เช่น

สถาบันการเงิน ธปท. คปภ.

• สนับสนุนและส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม มีการบริหารความเสีย่ งจากปัจจัย ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ เช่น การทำประกันภัย การจั ด ทำสั ญ ญาซื้ อ -ขายอั ต ราแลกเปลี่ ย น ล่วงหน้า • สนับสนุนระบบศูนย์ข้อมูลระบบเตือนภัยให้ แก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อชีน้ ำ การพัฒนาผู้ประกอบการเกิดความมั่นใจในการ ลงทุนของภาคส่วนต่างๆ โดยเน้นการมีส่วน ร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อกำหนดแนวทางการ พั ฒ นาให้ ส อดคล้ อ งกั บ ความเปลี่ ย นแปลง และศักยภาพของไทย เพราะหากล่าช้าอาจเสีย โอกาสในการแข่งขัน

อก. (สสว./สศอ.) วท. (วว./สวทช./วศ.) พณ. (พค./คน./จร.) กษ. (กวก./กสก.) พน. (พพ.) ธปท. สถาบันการเงิน

193

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


194

ภาคผนวก ข

ยุทธศาสตร์ที่

2

เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

ทิศทางการส่งเสริม

สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ รวมทั้ง พัฒนาการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายวิสาหกิจที่เข้มแข็ง ตลอดจนพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ และมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและสามารถดำเนินธุรกิจได้ในภาวะวิกฤติ ตลอดจน สนับสนุนการขยายโอกาสและช่องทางการตลาด และสร้างผู้ประกอบการใหม่ให้มีศักยภาพสูง

แนวทางตัวชี้วัดระดับ ยุทธศาสตร์

• การเพิ่มขึ้นของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จดทะเบียนนิติบุคคล • การเพิ่มขึ้นของจำนวนเครือข่ายวิสาหกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนา ให้มีความเข้มแข็ง • การเพิม่ ขึน้ ของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีม่ กี ารนำการวิจยั และพัฒนามาใช้พฒ ั นา สินค้าและบริการ • การเพิม่ ขึน้ ของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีไ่ ด้รบั การพัฒนาขีดความสามารถของกิจการ • การเพิ่มขึ้นของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการส่งเสริมให้เกิดการยกระดับ มาตรฐาน

กลยุทธ์ที่

2.1

เพิ่มผลิตภาพและพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ การเพิม่ ผลิตภาพและพัฒนาประสิทธิภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีวตั ถุประสงค์หลัก คือ การลดต้นทุนการผลิต เพิม่ ผลผลิต และยอดขายสินค้าและบริการ ของผูป้ ระกอบการในอุตสาหกรรม ทัง้ ภาคการผลิต ภาคการค้าและบริการ ซึง่ ผูป้ ระกอบการของไทยยังขาดทักษะในการประเมินศักยภาพ ของธุรกิจและความรู้เบื้องต้นในการดำเนินธุรกิจในการกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพและสามารถปรับตัวได้ตามปัจจัยแวดล้อมทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ดังนัน้ จึงต้องมีการพัฒนา ทักษะของผู้ประกอบการและบุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือนำรูปแบบธุรกิจ ที่ประสบความสำเร็จมาใช้ รวมถึงควรมีการรวบรวมข้อมูลในแต่ละพื้นที่ เพื่อทราบปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดในการดำเนินงานเพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในแต่ละพื้นที่

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

กระตุ้นและส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมเห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์ ประเมินศักยภาพของธุรกิจ และนำมาใช้เพื่อ กำหนดแนวทางการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพและสามารถปรับตัวได้ตามปัจจัย แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

อก. (กสอ.) สถาบันเครือข่าย อก.

ส่งเสริมการเพิม่ ผลิตภาพการพัฒนาประสิทธิภาพ รวมทั้ ง ความรู้ เ บื้ อ งต้ น ในการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ ผูป้ ระกอบการชุมชนในแต่ละพืน้ ที่ เพือ่ ลดต้นทุน การผลิต เพิ่มผลผลิต

อก. (กสอ./กรง./กพร.) สถาบันเครือข่าย อก.

• การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ครอบคลุม ถึง การจัดทำระบบบัญชี การบริหารการเงิน การจัดการความรู้ในองค์กร การปรับปรุง ประสิ ท ธิ ภ าพ ระบบโลจิ ส ติ ก ส์ใ นองค์กร การจัดการโซ่อปุ ทานระหว่างองค์กร การจัดผัง กระบวนการผลิตเพือ่ ลดระยะเวลาการดำเนินการ และการปรับปรุงระบบการจัดหาวัตถุดิบให้มี ประสิทธิภาพ และเครือ่ งมือการบริหารจัดการอืน่ ๆ • การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยการ ปรับเปลี่ยนเครื่องจักร การใช้พลังงานใน สถานประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ เทคโนโลยีสะอาด การลดต้นทุนพลังงาน

2556

2557

2558

2559

(สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ) พณ. (พค.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

(สถาบันเพิม่ ผลผลิตแห่งชาติ/ สถอ./สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรม สิ่งทอ/สถาบันยานยนต์/ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์/ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่ง ประเทศไทย) พณ. (พค./สอ./ศ.ศ.ป.) วท. (วศ./สวทช./สวทน./สนช.) ทก. (SIPA/ปณท.) กษ. (กสก.) ศธ. (สถาบันการศึกษา) กก. (กทท./ททท.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

• การปรับปรุงประสิทธิภาพภาคการค้า และ บริการ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ ประโยชน์ในการบริหารจัดการ การบริการลูกค้า การประชาสัมพันธ์ การลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ และการพัฒนาทักษะบุคลากร

195

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


196

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สนับสนุนให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นำรูปแบบธุรกิจทีป่ ระสบความสำเร็จ มาประยุกต์ ใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ศึกษาดูงาน จัดทำคูม่ อื เผยแพร่ การอบรม สัมมนา เป็นต้น

อก. (กสอ.) สถาบันเครือข่าย อก.

สร้างความตระหนักให้ความรู้และสร้างค่านิยม ให้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มมี ก าร ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) รวมถึงส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม

พน. (พพ.) ทส. (DEQP) พม. (กรมพัฒนาสังคม

ส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาบุ ค ลากรของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมให้มคี วามรูแ้ ละทักษะ ด้านการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของธุรกิจ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ประสิทธิภาพขององค์กร

สถาบันเครือข่าย อก.

สนั บ สนุ น การเพิ่ ม ศั ก ยภาพของหน่ ว ยงานที่ ให้บริการด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนิน ธุรกิจ (Service Provider) ให้สอดคล้องและ เพียงพอต่อความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

มท. (สถ./อปท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที)่ อก. (กสอ./สสว.) สถาบันเครือข่าย อก.

(สพว./สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

2559

2555

สนับสนุนให้มีการสำรวจ รวบรวมข้อมูลของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในแต่ละพืน้ ที่ เพื่อทราบ ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดและความ ต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพือ่ นำไปกำหนดแนวทางมาตรการเพิม่ ศักยภาพ การแข่งขันในสาขาเป้าหมาย

2556

2557

2558

2559

มท. (สถ./อปท.) อก. (สสว./สศอ./สอจ.) ทก. (สสช.) พณ. (พค.) รง. (สปส.)

และสวัสดิการ)

มท. (สถ./อปท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่)

(สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ/ สพว./สถาบันไทย-เยอรมัน) ศธ. (สถาบันการศึกษา) พณ. (พค.)

(สพว./สถาบันเพิม่ ผลผลิตแห่งชาติ) พณ. (พค.จังหวัด)

197

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


198

ภาคผนวก ข

กลยุทธ์ที่

2.2

แนวทางการส่งเสริม

ส่งเสริมการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ การรวมกลุ่มและการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ การพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจ การรวมกลุ่มและเครือข่ายวิสาหกิจเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมมีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพทางการแข่งขันเพิ่มขึ้น จากการร่วมศักยภาพ ทีแ่ ตกต่างและมีการเชือ่ มโยงการดำเนินธุรกิจร่วมกันของสมาชิกเครือข่าย โดยจะทำให้เกิดการแลกเปลีย่ น ข้อมูลและองค์ความรู้ของสมาชิก ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการเพิ่ม ผลิตภาพ (Productivity) โดยรวมของเครือข่ายวิสาหกิจ ซึ่งในการส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจนี้สามารถ ดำเนินการได้โดยดำเนินการจัดทำยุ ทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ เพื่อเป็นทิศทางการพัฒนา เครือข่ายวิสาหกิจเป้าหมาย และพัฒนาผู้ประสานการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ ให้เป็นผู้นำในการผลักดัน มีการรวมกลุ่มและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดำเนินการ

อก. (กสอ./สปอ./สสว.) พณ. (พค.) มท. (สป.มท./พช.) กก. (กทท.) นร. (สศช.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

สนับสนุนให้มกี ารเสริมสร้างศักยภาพผูป้ ระสานงาน การพั ฒ นาเครื อ ข่ า ยวิ ส าหกิ จ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อ ให้ ก ารประสานงานมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ เครือข่ายมีความแข็งแกร่ง รวมทั้งส่งเสริมให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตระหนักและ เห็นความสำคัญของการรวมกลุม่

อก. (กสอ./สปอ./สสว.) พณ. (พค.) มท. (สป.มท./พช.) นร. (สศช.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

2555

ผลั ก ดั น ให้ มี ก ารรวมกลุ่ ม และมี กิ จ กรรมที่ เกื้อหนุนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจใน ห่วงโซ่อปุ ทาน และการดำเนินงานระหว่างวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยกันรวมทัง้ เชือ่ มโยง กับผู้ประกอบการรายใหญ่และวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมการรวมกลุม่ ให้เป็นสมาคมการค้า กลุม่ ผู้ผลิต สหกรณ์และผลักดันให้มีบทบาทในการ พัฒนาธุรกิจ รวมทัง้ ให้มคี วามร่วมมือกับสถาบัน การศึกษาสถาบันวิจยั สถาบันการเงิน หน่วยงาน ภาครัฐ และเอกชน เป็นต้น

อก. (กสอ./สปอ./สสว.) พณ. (พค.) มท. (สป.มท./พช.) นร. (สศช.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กบั เครือข่ายวิสาหกิจ เพื่ อ การพั ฒ นาตามยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นา เครือข่ายวิสาหกิจโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

อก. (กสอ./สปอ./สสว.) พณ. (พค.) มท. (สป.มท./พช.) นร. (สศช.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

2556

2557

2558

2559

ระยะเวลาดำเนินการ 2555

สนับสนุนให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนา เครือข่ายวิส าหกิจในธุรกิจ สาขาต่า งๆ เช่น อาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ท่องเที่ยว ดิจติ อลคอนเทนท์ สปา ธุรกิจบริการ เพือ่ สุขภาพ และภาพยนตร์ เป็นต้น โดยให้มีการทบทวน และต่อยอดผลการศึกษาที่เกี่ยวกับการพัฒนา เครือข่ายวิสาหกิจเพือ่ กำหนดเครือข่ายวิสาหกิจ เป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

2556

2557

2558

2559

199

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


200

ภาคผนวก ข

กลยุทธ์ที่

2.3

พัฒนาสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ภูมิปัญญา และทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาและปรับปรุงสินค้าและบริการ ในปัจจุบันผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำเป็นต้องนำแนวโน้มความต้องการของตลาดมาพิจารณา เพือ่ ให้สามารถผลิตสินค้าและบริการได้ตรงกับ ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งการผลิตผู้ประกอบการจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ เข้ามาใช้ เพื่อสร้างและพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความทันสมัยและเพิ่มอรรถประโยชน์ในการใช้งาน รวมถึงมีการนำภูมิปัญญาและทุนทางวัฒนธรรมเข้ามาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสินค้าและบริการ เพือ่ สร้างเอกลักษณ์ ความโดดเด่น หรือสร้างความแตกต่างให้กบั สินค้าและบริการของผูป้ ระกอบการไทย ให้ดึงดูดความสนใจและความต้องการของผู้บริโภคในตลาดระดับสากลได้ นอกจากนี้ควรมีการปกป้อง ทรัพย์สินทางปัญญาในสินค้าและบริการของผู้ประกอบการไทยที่มีการพัฒนาขึ้นด้วย

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สนับสนุนให้มีการรวบรวมข้อมูล ความรู้ด้าน ทรัพย์สนิ ทางปัญญา เพือ่ พัฒนาฐานข้อมูลและ นำข้อมูลในเชิงวิเคราะห์มาใช้ประโยชน์ในการ สร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ

อก. (สสว.) พณ. (ทป./พค./ศ.ศ.ป.) ศธ. (สถาบันการศึกษา) ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ

กระตุ้นให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ในการเพิ่มมูลค่า สินค้าและบริการ โดยจัดกิจกรรมสนับสนุนต่างๆ เช่น การจัดประกวดผลงานความริเริม่ สร้างสรรค์ เป็นต้น และให้การสนับสนุนด้านเงินทุน ทีป่ รึกษา และผู้เชี่ยวชาญ

ศธ. (สถาบันการศึกษา) นร. (สคบ.) วท. (สนช./สวทช.) อก. (กสอ.) พณ. (ทป.) ทก. (SIPA)

2556

2557

2558

2559

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

ผลักดันการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้เกิด คุณค่าและมูลค่าเพิ่มจากการสร้างสินค้าและ บริการที่มีความแตกต่าง ปรับเปลี่ยนรูปแบบ การผลิต โดยการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ผสาน กับเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับ ความต้องการของลูกค้า และรองรับต่อการ เปลีย่ นแปลงตามแนวโน้มของโลก (Mega Trend) เช่น การเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุ ความก้าวหน้าของ เทคโนโลยี โดยการสนับสนุนให้ใช้ประโยชน์จาก ข้อมูลงานวิจยั สนับสนุนผูเ้ ชีย่ วชาญ นักออกแบบ นักการตลาดและนักพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภณ ั ฑ์

อก. (กสอ.) พณ. (ทป.) วท. (สนช./สวทช.) นร. (สบร.) ทก. (SIPA) ศธ. (สถาบันการศึกษา) วธ. (สศร.) มท. (สถ./อปท.)

เสริมสร้างความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับการคุม้ ครอง ทรัพย์สินทางปัญญา ผลักดันและส่งเสริมให้มี การจดทะเบียนคุ้มครองและปกป้องทรัพย์สิน ทางปัญญา รวมทัง้ สนับสนุนให้ใช้ทรัพย์สนิ ทาง ปัญญาทีห่ มดอายุการคุม้ ครองหรือทีไ่ ม่คมุ้ ครอง ในประเทศไทยมาใช้ต่อยอดในการพัฒนาสินค้า และบริการ

พณ. (พค./สอ.) อก. (กสอ.) นร. (สบร.) พณ. (ทป.) ศธ. (สถาบันการศึกษา) อก. (สสว.)

ส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากงานศึกษาวิจัยทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมในสินค้า และบริการที่เหมาะสมตามแต่ละพื้นที่ รวมถึง ใช้ข้อมูลทางวิชาการในการสร้างความเชื่อมั่น แก่สินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมโดยจัดให้มีศูนย์กลางข้อมูลงาน ศึกษาวิจัยที่เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

พณ. (ทป.) วท. (วว./สนช./สวทช.) ศธ. (สถาบันการศึกษา) อก. (สสว.)

201

2556

2557

2558

2559

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


202

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายนักออกแบบ นักการ ตลาด และนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในห่วงโซ่มลู ค่า (Value Chain) เพื่อให้มีบทบาทในการริเริ่ม ผลิตสินค้าและบริการใหม่

กลยุทธ์ที่

2.4

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม 2559

วท. (สนช./สวทช.) ศธ. (สถาบันการศึกษา) กค. (สพ./ธพว.)

ยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ได้มาตรฐานสากล ปัจจุบันการสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าและบริการให้แก่ผู้บริโภคมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้ผู้บริโภค ทั้งในและต่างประเทศเกิดความไว้ใจในสินค้าและบริการ และก่อให้เกิดการบริโภคอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งใน ปัจจุบันมีสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาขายในตลาดจำนวนมาก ซึ่งผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมของไทยไม่สามารถแข่งขันในด้านต้นทุนได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัว โดย การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานเพื่อยกระดับสินค้าและบริการให้เหนือกว่า สินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการสร้างจุดแข็งของสินค้าและบริการได้อีกทางหนึ่ง

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สร้ า งความตระหนั ก ให้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลาง และขนาดย่อม เห็นความสำคัญของการพัฒนา คุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการ อย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้สามารถแข่งขันได้และเตรียม พร้อมในการรองรับข้อกำหนดด้านมาตรฐาน ระดับสากล โดยการให้องค์ความรูด้ า้ นคุณภาพ และมาตรฐานต่างๆ และการเตรียมความพร้อม แก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการใช้ ประโยชน์และขอรับรองมาตรฐานจากหน่วยงาน รับรองมาตรฐานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว มากขึ้น

อก. (กสอ./กรอ./สมอ./สศอ.) สถาบันเครือข่าย อก.

ส่งเสริม พัฒนา และยกระดับการผลิตสินค้าและ บริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะมาตรฐานบังคับตาม ทีก่ ฎหมายกำหนดในแต่ละธุรกิจ เช่น มาตรฐาน อาหารและยา (อย.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (มอก.) มาตรฐาน Q (Q-Mark) หลักเกณฑ์วธิ กี ารทีด่ ใี นการผลิต (GMP) เป็นต้น โดยสนับสนุนและช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ ให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ

อก. (กสอ./สมอ.) วท. (วศ./ สนช./วว.) สธ. (กรมการแพทย์/การพัฒนา

2556

2557

2558

2559

(สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ/สพว.) วท. (วศ./วว.) สธ. (กรมการแพทย์/การพัฒนา การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก/อย.) พณ. (คต./คน./จร./ทป./พค./ สอ.) ทก. (SIPA) กก. (กทท./ททท.) ทส. (DEQP/สผ.) รง. (กพร.) วธ. (สศร.) ศธ. (สถาบันการศึกษา) กษ. (มกอช./กสก.)

การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก/อย.)

203

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


204

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สนับสนุนให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในธุรกิจเป้าหมายได้การรับรองมาตรฐานระดับ สากล เช่น International Standardization and Organization (ISO), Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP), International Electrotechnical Commission (IEC), Hospital Accreditation (HA) เป็นต้น โดยภาครัฐให้ การสนับสนุนด้านความรู้ ปรับปรุงกระบวนการ ดำเนินงานเพือ่ ให้ได้มาตรฐาน และสนับสนุนด้าน การเงิน เพื่อลดภาระของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

อก. (กรอ./สมอ./สศอ.) สธ. (กรมการแพทย์

สนั บ สนุ น การกำหนดมาตรฐานสิ น ค้ า ด้ อ ย คุณภาพจากต่างประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบ ต่อการบริโภคของประชาชนในประเทศ โดย ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ใช้วตั ถุดบิ ภายในประเทศทีไ่ ด้มาตรฐาน ส่งเสริม ให้ทบทวนมาตรฐานเกี่ยวกับสินค้าที่ประกาศ ใช้แล้วให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ปัจจุบัน และตรวจติดตาม เฝ้าระวังสินค้าด้อย คุณภาพที่เข้าสู่ตลาด ส่งเสริมให้มีการบังคับใช้ กฎหมายด้านมาตรฐานเกีย่ วกับสินค้าและบริการ อย่างเคร่งครัด

อก. (กสอ./สมอ.) วท. (วศ.) สธ. (กรมการแพทย์/การพัฒนา

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก) พณ. (คต./คน./จร./พค./ทป./ สอ.) กษ. (มกอช./กสก.) กก. (กทท./ททท.) รง. (กพร.) วธ. (สศร.)

การแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก/ อย.) พณ. (คต./คน./จร./ทป./พค./สอ.) ทก. (SIPA)

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

2559

2555

ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ในธุรกิจทีม่ ศี กั ยภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (Professional Certification) และเกณฑ์ คุณภาพธุรกิจ เพือ่ ให้การบริการวิชาชีพของไทย เป็นทีร่ จู้ กั และเป็นทีย่ อมรับในระดับสากล เช่น การนวดแผนไทย มัคคุเทศก์ การบริการโรงแรม เป็นต้น โดยภาครัฐให้การสนับสนุนด้านการ เงินเพื่อลดภาระของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม

อก. (กสอ./สมอ.) วท. (วศ.) สธ. (กรมการแพทย์/

ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในธุรกิจบริการนำแนวทางวิศวกรรมและการ จัดการบริการ (Service Science Management and Engineer: SSME) มาประยุกต์ใช้ในการ ดำเนินงาน เพือ่ ปรับปรุงกระบวนการธุรกิจด้าน บริการให้เป็นระบบ (service system) สามารถ ให้บริการแก่ลกู ค้าอย่างมีมาตรฐาน (standardization) และสอดคล้องกับความต้อการของ ลูกค้า (customization) เช่น ธุรกิจเทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) ดิจิตอลคอนเทนท์ บริการ โลจิสติกส์ เป็นต้น

ศธ. (สถาบันการศึกษา) ทก. (SIPA)

2556

2557

2558

2559

การพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก/อย.) พณ. (คต./คน./จร./ทป./พค./สอ.) ทก. (SIPA) กก. (กทท./ททท.) วธ. (สวธ.)

205

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


206

ภาคผนวก ข

กลยุทธ์ที่

2.5

แนวทางการส่งเสริม

สร้างโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การสร้างโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาด เป็นแนวทางสนับสนุนการเพิ่มรายได้โดยตรงให้กับวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งในปัจจุบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังขาดความรู้ด้านการตลาด ขาดการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อสนับสนุนการขยายตลาด และยังมีข้อจำกัดในการขยายตลาด และการเข้าถึงข้อมูลด้านการตลาดเชิงลึก รวมทั้งมีตัวแทนการค้าที่รวบรวมสินค้าส่งหรือจัดจำหน่าย สินค้าและบริการที่ไม่เพียงพอ และธุรกิจภาคการค้ายังขาดความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทางธุรกิจร่วมกัน สำหรับแนวทางในการพัฒนาด้านการตลาดสามารถดำเนินการได้โดยการให้ความรู้พ้นื ฐานด้านการตลาด แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แล้วจึงสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาด พัฒนาตราสินค้า และเพิ่มช่องทางการตลาดอย่างทั่วถึงในพื้นที่และระหว่างประเทศ ผ่านการค้ารูปแบบต่างๆ เช่น การค้า ผ่านระบบสารสนเทศ หรือผ่านกิจการด้านการค้า (Trading Firm) เป็นต้น โดยให้มีการพัฒนาร้านค้าส่ง ให้ช่วยเหลือและเชื่อมโยงกับร้านค้าปลีกดั่งเดิม เพื่อยกระดับภาคการค้าในภาพรวม และสนับสนุนให้มี การนำข้อมูลด้านการตลาดเชิงลึกมาใช้ประโยชน์ประกอบในการดำเนินธุรกิจ

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

เสริมสร้างองค์ความรูด้ า้ นการตลาดขัน้ พืน้ ฐานให้ แก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ความรู้ เกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) การสื่อสารการตลาด การจัดการช่องทาง การจำหน่าย การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น

พณ. (คต./คน./ทป./พค./สอ./จร.) อก. (กสอ./สมอ./สกท.สสว.) มท. (พช./อปท.) ทก. (สสช./SIPA) กษ. (กสก./กสส./มกอช./สศก.) กก. (กทท./ททท.) กต. (ศก.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

2556

2557

2558

2559

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สนับสนุนให้มีกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาด เช่น การจับคูท่ างธุรกิจ งานแสดงสินค้าภายในท้องถิน่ และภายในเครือข่ายระหว่างจังหวัด และกิจกรรม อื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ตรงกับ ความต้ อ งการและเกิ ด ประโยชน์ ต่อ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงให้มกี ารศึกษา ข้อมูลตลาด ข้อมูลผูซ้ อ้ื และการให้ความรูเ้ พือ่ เตรียมความพร้อมแก่ผปู้ ระกอบการทีจ่ ะเข้าร่วม กิจกรรม

พณ. (คต./คน./ทป./พค./สอ.) อก. (กสอ./สกท./สสว./สมอ./สศอ.) มท. (พช./อปท.) ทก. (SIPA) กษ. (กสก./กสส./มกอช./สศก.) กก. (กทท.) กต. (ศก.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

สนับสนุนการพัฒนาตราสินค้าอย่างต่อเนื่อง สร้างการยอมรับและความเชื่อมั่นต่อตราสินค้า (Brand Loyalty) ส่งเสริมให้มีการพัฒนา ตราสินค้าย่อย (Sub - brand) ตลอดจนสนับสนุน การพัฒนาตราสินค้าในรูปแบบอื่น เช่น ความ ร่วมมือและใช้ตราสินค้าเดียวกัน (Co -branding) การปรับปรุงและพัฒนาตราสินค้า (Re-branding) และพัฒนาตราสินค้าท้องถิ่น (Local Brand) เป็นต้น

พณ. (ทป./พค./สอ.)

2556

2557

2558

2559

อก. (กสอ./สมอ./สสว.) มท. (พช./อปท.) กษ. (กสก./กสส./มกอช.) ศธ. (สถาบันการศึกษา) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

207

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


208

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

พัฒนาและสนับสนุนให้วสิ าหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ ในการดำเนินธุรกิจ การสื่อสารการตลาด การ ประชาสัมพันธ์ และระบบการค้ารูปแบบใหม่ เช่น การค้าผ่านระบบสารสนเทศ (e-Market, e-Commerce, Social Network) เป็นต้น

ทก. (SIPA) พณ. (คต./คน./ทป./พค.) อก. (กสอ./สสว./สศอ./สกท.) มท. (พช./อปท.) กษ. (กสก./มกอช./สศก.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

เพิ่มช่องทางการตลาดให้วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการสนับสนุนการจำหน่ายในหลายช่องทาง เช่น ร้านสะดวกซือ้ ขยายธุรกิจแฟรนไชส์ เครือ่ ง จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เป็นต้น

พณ. (คต./คน./ทป./พค./สอ./ จร.) ทก. (SIPA) อก. (กสอ./สมอ./สกท.) มท. (พช./อปท.) กษ. (กสก./มกอช./สศก.) กก. (กทท.) กต. (ศก.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

2559

2555

ส่งเสริมให้เกิดกิจการด้านการค้า (Trading Firm) สำหรั บ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรวบรวมและ กระจายคำสัง่ ซือ้ สินค้าให้แก่วสิ าหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

พณ. (คต./คน./ทป./พค./สอ.) อก. (กสอ./สมอ./สกท.) มท. (พช./อปท.) ทก. (SIPA) กษ. (กสก./กสส./มกอช./สศก.) กต. (ศก.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

พั ฒ นาและสนั บ สนุ น การเชื่ อ มโยงระหว่ า ง ร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกดัง้ เดิม โดยส่งเสริมให้ ร้ า นค้ า ส่ ง มี บ ทบาทมากขึ้ น ในการพั ฒ นา การดำเนินธุรกิจของร้านค้าปลีกดั้งเดิมสำหรับ เป็นช่องทางการกระจายสินค้าทีม่ ปี ระสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลัง

พณ. (คน./พค./สอ.) อก. (กสอ./สสว./สกท.) มท. (พช./อปท.) ทก. (SIPA) กษ. (กสก./กสส./มกอช./สศก.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลด้าน การตลาดเชิงลึก เพือ่ ให้วสิ าหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมทราบทิศทางและแนวทางสำหรับ การขยายตลาด รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลในการ ปรับปรุงสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความ ต้องการของตลาดทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ

พณ. (คต./คน./ทป./พค./สอ.) อก. (กสอ./สศอ./สกท./สสว.) มท. (พช./อปท.) ทก. (SIPA) กษ. (กสก./กสส./มกอช./สศก.) กก. (กทท.) กต. (ศก.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

209

2556

2557

2558

2559

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


210

ภาคผนวก ข

กลยุทธ์ที่

2.6

แนวทางการส่งเสริม

พลิกฟื้นธุรกิจเพื่อความอยู่รอด สภาวะการแข่งขันในปัจจุบนั มีความรุนแรงมาก และมีปจั จัยแวดล้อมทางธุรกิจทีค่ วบคุมไม่ได้หลายปัจจัย ส่งผลต่อการดำเนินงานของกิจการทำให้การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมอาจประสบปัญหา และอาจต้องเลิกกิจการ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศในหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ และสังคม ดังนั้นจึงต้องมีการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถพลิกฟื้น การดำเนินงานเพื่อความอยู่รอดหรือลดผลกระทบจากการเลิกกิจการโดยให้ความช่วยเหลือในรูปแบบ ต่างๆ เช่น ให้คำปรึกษาการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ ปรับปรุงแผนการตลาด ปรับปรุงกระบวนการผลิต และสนับสนุนมาตรการทางการเงิน เป็นต้น เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใช้ฟื้นฟูธุรกิจและ ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ

แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดำเนินการ

ระยะเวลาดำเนินการ 2555

ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ ประสบปัญหาจากปัจจัยต่างๆ มีความจำเป็น ต้องปรับเปลีย่ นธุรกิจ เพือ่ ความอยูร่ อดหรือลด ผลกระทบจากการเลิกกิจการ โดยการสนับสนุน ที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญในการปรับปรุงการ ดำเนินธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น • ส่งเสริมให้มกี ารวิเคราะห์ และประเมินสมรรถนะ ทางธุ ร กิ จ เพื่ อ ให้ ท ราบความสามารถในการ ดำเนินธุรกิจ และวางแผนการปรับปรุงกิจการ • ให้ความรู้และส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมมีการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ในการดำเนินธุรกิจ

อก. (กสอ.) สถาบันเครือข่าย อก. (สพว./สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ) พณ. (พค./จร.) ศธ. (สถาบันการศึกษา)

สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

2556

2557

2558

2559

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

2556

2557

2558

2559

(ต่อ)

• สนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบของสินค้า โดยการวิจยั และพัฒนาสินค้าใหม่เพือ่ ให้ได้สนิ ค้า ทีเ่ ป็นเอกลักษณ์และสอดคล้องกับความต้องการ ของลูกค้า เพือ่ ยกระดับธุรกิจจากการรับจ้างทำ หรือผลิตสินค้าให้กบั สินค้ายีห่ อ้ ต่าง ๆ (Original Equipment Manufacturing: OEM) เป็ น ออกแบบและพัฒนาสินค้าของธุรกิจเอง (Original Design Manufacturing: ODM) จนถึงการสร้างตราเป็นของธุรกิจเอง (Original Brand name Manufacturing : OBM) • สนับสนุนมาตรการทางการเงินแก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อใช้ฟื้นฟูธุรกิจ ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น โดย ผลักดันให้สถาบันการเงินมีผลิตภัณฑ์การเงิน เพื่ อ ผู้ ป ระกอบการวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่ต้องการฟื้นฟูธุรกิจ • ส่งเสริมให้มหี น่วยงานกลางซึง่ ทำหน้าทีร่ วบรวม ข้อมูล ประสานงานเพื่อช่วยเหลือและอำนวย ความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการปรับปรุง ธุรกิจ และขายหรือซือ้ กิจการ เช่น การควบรวม กิจการ การจับคู่ธุรกิจ การขายกิจการบางส่วน การหาพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ และการซือ้ กิจการ

• ส่งเสริมให้มกี ารปรับปรุงแผนการตลาดในการ ดำเนินธุรกิจใหม่ โดยการกำหนดตำแหน่งทาง การตลาดและกลุม่ ลูกค้าเป้าหมายใหม่ รวมทัง้ การหาช่องทางการตลาดใหม่

211

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


212

ภาคผนวก ข

กลยุทธ์ที่

2.7

แนวทางการส่งเสริม

สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่ ผู้ประกอบการรายใหม่ เป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงก่อให้เกิดการจ้างงานและการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในประเทศ ซึ่งการพัฒนาผู้ที่มีศักยภาพ ให้เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายใหม่ที่มีความสามารถในการแข่งขันที่เหมาะสมกับสภาวะ เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันได้นั้นจะต้องมีองค์ประกอบของความพร้อมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ทางด้าน การบริหารจัดการ รวมทั้งวิทยาการเฉพาะด้านในธุรกิจไม่ว่าจะเป็นในภาคการผลิต ภาคการค้า หรือภาค บริการ โดยจำเป็นต้องใช้วิธีดำเนินการในหลายรูปแบบ

แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดำเนินการ

สนับสนุนการพัฒนาความพร้อมด้านการประกอบ ธุรกิจแก่ผู้ที่มีความพร้อมในการจัดตัง้ ธุรกิจ โดย จัดให้มหี ลักสูตรทัว่ ไปสำหรับการประกอบธุรกิจ และหลักสูตรเฉพาะด้านสำหรับผูท้ ม่ี คี วามพร้อม สูง รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้ผเู้ ริม่ ต้นดำเนินธุรกิจ จดทะเบียนนิตบิ คุ คล โดยสนับสนุนสิทธิประโยชน์ พิ เ ศษในการเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมของหน่ ว ยงาน ภาครัฐ และสิทธิประโยชน์ด้านภาษี

ศธ. (สอศ./สกอ.) อก. (กสอ./สสว.) พณ. (พค.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

อก. (กสอ./สสว.) พณ. (พค.) ศธ. (สอศ. สกอ.) กก. (กทท.) กษ. (กสก.) วท. (สวทช.) วธ. (สวธ./สศร.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

2555

ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใหม่ตระหนักและมี แนวคิดในการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprises:SE) โดยการรณรงค์ให้ทราบ ความสำคัญและความจำเป็นของการดำเนิน ธุรกิจเพือ่ สังคม ตลอดจนสนับสนุนให้มกี จิ กรรม ที่สร้างผลตอบแทนให้แก่สังคมชุมชน และเป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นร. (สกส.) อก. (กสอ./สสว.) พณ. (พค.) ทส. (สผ./DEQP) กษ. (กสก.) วธ. (สวธ./สศร.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

สร้างผู้ประกอบการการค้า (Merchandiser) และธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบใช้ องค์ความรูป้ ระยุกต์ใช้นวัตกรรมและภูมปิ ญ ั ญา รวมทั้งเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อ สร้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่า รวมถึงพัฒนา ธุรกิจที่ประเทศไทยมีศักยภาพทางการแข่งขัน

พณ. (พค./ทป.) ศธ. (สอศ./สกอ.) อก. (สสว./กสอ.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

สนั บ สนุ น การรวมกลุ่ ม พั ฒ นาเครื อ ข่ า ยของ ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม

นร. (สกส.) ศธ. (สอศ./สกอ.) อก. (สสว/กสอ.) พณ. (พค.) วท. (สวทช.) วธ. (สวธ./สศร.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

2556

2557

2558

2559

ระยะเวลาดำเนินการ 2555

สร้างแรงจูงใจและจิตสำนึกในการเป็นผูป้ ระกอบการ โดยเสริ ม สร้ า งทั ศ นคติ แ ละประสบการณ์ ใ ห้ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ มีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการเป็น เจ้าของธุรกิจ (entrepreneurship)

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

2556

2557

2558

2559

213

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


214

ภาคผนวก ข

ยุทธศาสตร์ที่

3

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้เติบโตอย่างสมดุล ตามศักยภาพของพื้นที่

ทิศทางการส่งเสริม

มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยตามศักยภาพของพื้นที่ โดย ส่งเสริมการนำอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและ บริการ ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่และการนำทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นมาใช้อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้ง สนับสนุนให้เกิดการบูรณาการการทำงานและสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือในทุกภาคส่วน

แนวทางตัวชี้วัดระดับ ยุทธศาสตร์

• การเพิ่มขึ้นของจำนวนแรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนาความรู้และ ทักษะ สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจในพื้นที่ • การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการชุมชน ที่ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ • การเพิ่มขึ้นของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการบริหารจัดการโดยคำนึงถึงสังคม และสิ่งแวดล้อม • การเพิม่ ขึน้ ของสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีไ่ ด้รบั การพัฒนาโดยคำนึง ถึงอัตลักษณ์ วัฒนธรรม

กลยุทธ์ที่

3.1

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ประกอบการชุมชนให้พัฒนาบนพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ความแตกต่างของภูมปิ ระเทศส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม วัฒธรรม และภูมปิ ญ ั ญา ทีม่ ผี ลต่อการดำเนินชีวติ และการประกอบธุรกิจในแต่ละพืน้ ที่ ซึง่ ผูป้ ระกอบการสามารถ นำมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ รวมถึงการดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ใน บางพื้นที่ศักยภาพดังกล่าวยังขาดการจัดระบบ การวางแผน การเชื่อมโยงและการนำมาใช้ให้เป็น ประโยชน์ ทั้งในด้านความรู้ การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่จึงจำเป็นต้อง ส่งเสริมผู้ประกอบการชุมชน ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้พัฒนาบนพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

กำหนดธุรกิจที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิจให้กบั พืน้ ที่ โดยพิจารณาจากแผน ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และแผน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

อก. (สปอ.) พณ. (สป.พณ) กษ. (สป.กษ.) มท. (ปค./อปท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

พัฒนาความรู้และทักษะฝีมือแรงงานในแต่ละ พื้นที่ให้สอดรับกับความต้องการของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เพือ่ รองรับการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยเพิ่มบทบาทการ มี ส่ว นร่ ว มของภาคธุ ร กิ จ ภาครั ฐ และสถาบั น การศึกษาในพื้นที่

รง. (กพร.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) มท. (ปค./อปท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

ผลักดันให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ โดยการให้ สิทธิประโยชน์และมาตรการจูงใจแก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในการจ้างแรงงานใน พืน้ ที่ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อสร้างทางเลือกและรายได้ให้แก่คนในชุมชน โดยคำนึงถึงความต้องการของชุมชน วิถีชีวิต ทรัพยากรในพื้นที่ และการเอื้อประโยชน์ต่อคน ในท้องถิน่ ด้วยการให้ความรู้ อบรมวิชาชีพควบคู่ ไปกับการสนับสนุนเครือ่ งมืออุปกรณ์เงินทุน ฯลฯ

อก. (กนอ./กสอ./สกท.) รง. (กพร./สปส.) กค. (สพ.) พณ. (พค.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) กษ. (กสก./กสส.) กห. (กรมราชองครักษ์) มท. (ปค./อปท./พช.) นร. (สทบ.) นรม. (ศอ.บต.)

215

2556

2557

2558

2559

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


216

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล เศรษฐกิจของพื้นที่ เพื่อกำหนดแนวทางการ พัฒนาที่เหมาะสม กับกลุ่มเป้าหมาย และเป็น แนวทางในการสร้างโอกาสการประกอบธุรกิจ ในพื้นที่

อก. (กสอ.) กษ. (กสก./กสส.) พณ. (สป.พณ.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่)

สนับสนุนให้แต่ละพืน้ ที่ สำรวจ ค้นหา รวบรวม และจัดระบบ ประวัติและเรื่องราวของชุมชน/ ผลิตภัณฑ์ องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงปราชญ์ชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วม ของชุมชน เพื่อใช้ในการสร้างสรรค์และเพิ่ม มูลค่าสินค้าและบริการ โดยยังคงรักษาคุณค่า เอกลักษณ์ของท้องถิ่น แต่สามารถตอบสนอง ต่อรูปแบบการดำเนินชีวติ ในปัจจุบนั (lifestyle) รวมถึงเผยแพร่และถ่ายทอดให้เยาวชน ชุมชน และสังคม ได้ตระหนักถึงความเป็นเจ้าของชุมชน เห็นถึงความสำคัญของคุณค่าภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่

กก. (ททท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) วธ. (ศก./สวธ.) มท. (พช./สถ./อปท.) อก. (กสอ.) พณ. (สป.พณ) กษ. (กสก.)

พั ฒ นาศั ก ยภาพในการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ของ ผูป้ ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการชุมชน โดยเฉพาะวิสาหกิจ ชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มอาชีพ กลุ่ม สหกรณ์ บนพื้นฐานอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และศักยภาพของพื้นที่ ให้สอดคล้องกับความ ต้องการของผู้ประกอบการ

อก. (กสอ.) พณ. (สป.พณ./พค.) กก. (ททท./กทท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) กษ. (กสก./กสส.) มท. (พช./อปท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญา ท้องถิน่ และประสบการณ์ความสำเร็จของชุมชน (Best Practice) ด้วยความร่วมมือระหว่าง จังหวัดและกลุ่มจังหวัด

อก. (กสอ.) กก. (ททท./กทท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) กษ. (กสก./กสส.) มท. (พช./อปท.) วธ. (สวธ.)

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

2559

2555

ส่ ง เสริ ม ให้ ป ราชญ์ ชุ ม ชนและบุ ค คลต้ น แบบ ในท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทเป็นที่ปรึกษาในการ ถ่ายทอดแนวคิด องค์ความรู้ ภูมปิ ญ ั ญา ทักษะ และประสบการณ์ ให้แก่ผู้ประกอบการรวมถึง คนในชุมชน โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่าง มีส่วนร่วม

ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) วธ. (สวธ.) มท. (พช./อปท./ปค.)

สนับสนุนให้ผปู้ ระกอบการชุมชนรวมตัวกัน เพือ่ ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ ซึง่ อาจเป็นการรวมตัว กันในลักษณะธุรกิจประเภทเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ ประเภทเดียวกัน หรือในห่วงโซ่อปุ ทาน (Supply Chain) ในแต่ละพืน้ ทีห่ รือระหว่างพืน้ ที่ โดยจัด กิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งในการรวมกลุม่ เพือ่ การประกอบอาชีพ ศึกษาแนวทางการสร้าง ห่วงโซ่อุปทานของสินค้าและบริการแต่ละพื้นที่ เพือ่ เพิม่ มูลค่าและสร้างสรรค์สนิ ค้าใหม่ เป็นต้น

อก. (กสอ.) พณ. (สป.พณ.) กก. (ททท./กทท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) กษ. (กสก./กสส.) มท. (พช./อปท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

ส่งเสริมโอกาสทางการตลาดในพืน้ ที่ โดยพัฒนา พื้ น ที่ ที่ มี ศั ก ยภาพในการเป็ น แหล่ ง จำหน่ า ย สินค้าและ / หรือ แหล่งท่องเทีย่ ว เช่น การพัฒนา พื้นที่ย่านการค้าเดิมที่มีเอกลักษณ์ การพัฒนา แหล่งผลิตสินค้าและบริการให้เป็นแหล่งท่องเทีย่ ว เป็นต้น รวมถึงสนับสนุนให้มกี ารปรับปรุงภูมทิ ศั น์ ของสถานที่ จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก ขั้นพื้นฐานให้สอดคล้องต่อสภาพภูมิทัศน์และ ยังคงรักษาวิถีชีวิตของท้องถิ่น จัดกิจกรรม เชือ่ มโยงการท่องเทีย่ ว ทัง้ งานประเพณีประจำปี ของท้องถิ่น และกิจกรรม / งานเทศกาลอื่นๆ ที่ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้องการของชุมชนและ วิถีชีวิตของท้องถิ่น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารการตลาด และรณรงค์ส่งเสริม การบริโภคผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยว ชุมชนให้เป็นที่รู้จัก

พณ. (สป.พณ./พค.) กก. (กทท./ททท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) วธ. (สวธ.) มท. (อปท./พช./ปค.) นร. (กปส.)

217

2556

2557

2558

2559

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


218

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

พัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรการเงินระดับ ฐานราก โดยการสร้างจิตสำนึก วินยั ทางการเงิน และส่งเสริมการออมแก่ผปู้ ระกอบการชุมชน ใน รูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่ง เงินทุน และเพิ่มขีดความสามารถการบริหาร จัดการภายในองค์กรการเงินระดับฐานราก โดย บูรณาการการทำงานระหว่างภาครัฐและหน่วย งานทีเ่ กีย่ วข้อง โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและสถาบันการศึกษาให้มีบทบาทเพิ่ม มากขึน้ รวมทัง้ กำหนดมาตรฐาน และตัวชีว้ ดั ของ องค์กรการเงินระดับฐานราก เพื่อให้เกิดการ รับรองสถานภาพองค์กรการเงินชุมชน

กลยุทธ์ที่

3.2

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม 2559

กษ. (กสส./กตส.) กค. (ธ.ออมสิน/ธ.ก.ส.) มท. (สถ./อปท.) นร. (สทบ.) ธพ.

2555

ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตเศรษฐกิจชายแดนและพื้นที่ยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจ ตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถ ใช้ประโยชน์จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ ประเทศเพื่อนบ้าน โดยการสร้างความรู้ ความ เข้ า ใจและเตรี ย มความพร้ อ มด้ า นการค้ า การลงทุน และการท่องเที่ยว

อก. (สกท./กนอ.) พณ. (คต./สอ.) กก. (ททท./กทท.) กต. (ศก.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

ยกระดับศักยภาพผูป้ ระกอบการทีป่ ระกอบธุรกิจ ในเขตเศรษฐกิจชายแดนและพื้นที่ยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจโดยการให้ความรูด้ า้ นการบริหารจัดการ โลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ

อก. (กสอ./สมอ./สปอ.) สถาบันเครือข่าย อก.

เพิ่มทักษะฝีมือแรงงานไทยในพื้นที่ให้มีความ สามารถด้านภาษาและความชำนาญเฉพาะด้าน ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ โดยการพัฒนา ความรู้ และทักษะ รวมถึงจัดให้มกี ารสอบเทียบ มาตรฐานฝีมือแรงงาน

รง. (กพร.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) มท. (อปท./ปค.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

เพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตเศรษฐกิจชายแดน และพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ประเทศไทย ถือได้ว่า มีความได้เปรียบทางภูมิประเทศ เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศ เพื่อนบ้านถึง 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย พม่า ลาว และกัมพูชา อีกทั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลาง ของภูมิภาค ซึ่งควรใช้ความได้เปรียบทางภูมิประเทศนี้ให้เป็นประโยชน์ จากที่ผ่านมา เห็นได้ว่ามูลค่า การค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศดังกล่าว เพิ่มขึ้นจาก 554,283 ล้านบาท ในปี 2550 เป็น 778,070 ล้านบาทในปี 2553 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.30 แสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ของการค้าชายแดนต่อเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่ความร่วมมือด้านต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน ในภูมิภาคนี้ ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจทั้งด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว ดังนั้นจึงจำเป็น ต้องมีแนวทางการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงแรงงาน ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดน และพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ โดยการให้ความรู้ เพื่อพัฒนาความ สามารถให้พร้อมรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และพร้อมรุกภายใต้กรอบความร่วมมือทาง เศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนพัฒนาพื้นที่ สิ่งอำนวยความสะดวกกฎระเบียบให้เอื้อต่อ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

2556

2557

2558

2559

(สถอ./ สพว.) วท. (วว.) พณ. (สป.พณ./พค.) มท. (อปท./พช.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) ภาคเอกชน (หกค./สอท.) กษ. (กสก./กสส./กตส./มกอช.)

219

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


220

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

พั ฒ นาเขตเศรษฐกิ จ ชายแดนและพื้ น ที่ ยุ ท ธศาสตร์ เ ศรษฐกิ จ ให้ เ อื้ อ ต่ อ การค้ า การ ลงทุน และการท่องเที่ยว โดยการประสาน ผลักดันทบทวนปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ต่างๆ รวมถึงการยกระดับจุดผ่านแดนและการ จัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมชายแดน ฯลฯ

อก. (กนอ./สกท.) พณ. (สอ.) กก. (กทท./ททท.) กต. (ศก.) กค. (ศก.) มท. (สป.มท./อปท.) นรม. (ศอ.บต.)

ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและ ความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างผูป้ ระกอบการในพืน้ ที่ กับผูป้ ระกอบการในประเทศเพือ่ นบ้าน โดยการ แลกเปลีย่ นองค์ความรูใ้ นการประกอบธุรกิจและ การจัดกิจกรรมทางการตลาด รวมถึงกิจกรรม เสริมสร้างความสัมพันธ์

อก. (สปอ./สกท.) พณ. (สป.พณ.) กก. (ททท.) กษ. (กสส./กสก.) มท. (พช./อปท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.) นรม. (ศอ.บต.)

2556

2557

2558

กลยุทธ์ที่

2559

3.3

สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการใช้ประโยชน์และบริหารจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ความหลากหลายของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและ บริการ และเป็นตัวบ่งชี้ความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ผลิตกับทรัพยากรในท้องถิ่น ซึ่งสามารถใช้เป็น เครื่องมือในการส่งเสริมทางการตลาดได้ แต่การพัฒนาที่ผ่านมายังขาดความตระหนักและขาดการ วางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือเกิดความคุ้มค่า รวมถึงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น จึงควรให้ความ สำคัญต่อการใช้ประโยชน์และการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เพื่อให้สามารถ มีใช้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

ส่งเสริมการใช้ความหลากหลายของทรัพยากร ในพืน้ ทีผ่ นวกกับลักษณะเฉพาะทางภูมปิ ระเทศ และภูมอิ ากาศ มาสร้างความแตกต่างให้กบั สินค้า และบริการ โดยการสำรวจ ค้นหาสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมศิ าสตร์ (Geographical Indications: GI) ที่มีในพื้นที่ที่เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึง ศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกับ สินค้าและบริการ สร้างความรู้ ความเข้าใจเรือ่ ง สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้แก่ผู้ประกอบการใน ท้องถิน่ และบุคลากร เช่น เจ้าหน้าทีภ่ าครัฐ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น ตลอดจน ส่งเสริมการจดทะเบียนและคุ้มครองทรัพย์สิน ทางปัญญา โดยเฉพาะสิง่ บ่งชีท้ างภูมศิ าสตร์ ซึง่ เป็นตัวบ่งชี้ความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ผลิตกับ ทรัพยากรในท้องถิ่น รวมถึงส่งเสริมให้นำมาใช้ เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมทางการตลาด

2556

2557

2558

2559

กษ. (กสก./สวก./กวก./ กรมประมง/ปศ./กรมหม่อนไหม/ กรมการข้าว) วท. (สนช./วว./สวทช.) ทส. (สผ.) มท. (พช./อปท.) พณ. (ทป./พค.)

221

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


222

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

ส่งเสริมให้มคี วามสามารถในการบริหารจัดการ ทรัพยากรในท้องถิน่ ให้เกิดประโยชน์อย่างคุม้ ค่า และมีประสิทธิ ภ าพ โดยคำนึงถึง การรัก ษา สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เช่น การวางแผนการผลิต และใช้ทรัพยากร การจัดหาทรัพยากรทดแทน รวมถึงการวางแผนรองรับนักท่องเที่ยวตาม ขีดความสามารถของแหล่งท่องเทีย่ วโดยเน้นการ มีส่วนร่วมของชุมชนและให้ความรู้แก่บุคลากร ผู้ประกอบการในท้องถิ่น

ทส. (สผ./DEQP) มท. (อปท./พช.) กษ. (กสก./สศก./กวก.) กก. (ททท./กทท.) อก. (กรอ.)

2556

2557

2558

กลยุทธ์ที่

2559

3.4

การบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงสร้างความเข้มแข็ง เครือข่ายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในระดับพื้นที่ การดำเนินงานช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผ่านมา มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แต่การดำเนินการ ดังกล่าวยังขาดการมีส่วนร่วม และการบรูณาการการทำงานร่วมกัน จึงจำเป็นต้องสร้างกลไกและ บูรณาการระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคชุมชน ให้เชื่อมโยงสอดรับกับ นโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายในการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สร้างองค์ความรูด้ า้ นเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากร ระดับชุมชนและพืน้ ทีร่ วมถึงโครงสร้าง พื้ น ฐานอย่ า งเป็ น ระบบและปรั บ ให้ ทั น สมั ย อยู่เสมอ และเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการวางแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สอดคล้อง กับศักยภาพด้านต่าง ๆ ของพื้นที่

2556

2557

2558

2559

ส่วนราชการ/ หน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/ องค์การเอกชน

223

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


224

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

พัฒนากลไกการดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในระดับพื้นที่ โดย ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลการดำเนินงานของ คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุม่ จังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ทบทวน องค์ประกอบคณะกรรมการ โดยให้เพิม่ สำนักงาน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นองค์ประกอบในคณะกรรมการในทุกระดับ เพื่ อ ให้ เ กิ ด การผลั ก ดั น นโยบายแนวทางการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน พื้นที่ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนิน งานส่งเสริมฯ ให้ทั่วถึงและสอดคล้องกับความ ต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อย่า งแท้จริง พร้อมทั้งส่งเสริม บทบาทและ ศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในพื้นที่และภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมและเป็น ไปในทิศทางเดียวกันกับส่วนกลาง

ส่วนราชการ/ หน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/ องค์การเอกชน

ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลของ พื้นที่เพื่อใช้ในการวางแผนและดำเนินธุรกิจ

อก. (สปอ./สสว.) พณ. (สป.พณ.) กก. (กทท.) กษ. (กสก.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) ภาคเอกชน (หกค./สอท.) มท. (อปท./พช./สป.มท.)

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

2559

2555

ส่งเสริมการบูรณาการและการสร้างเครือข่าย การทำงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมทั้งในระดับพื้นที่ และระหว่างพื้นที่ เพื่อผลักดันการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้สอดคล้องกับ นโยบายและความต้องการของพื้นที่

2556

2557

2558

2559

อก. (สปอ.) พณ. (สป.พณ.) กก. (กทท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) กษ. (กสก.) มท. (อปท./พช./สป.มท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

225

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


226

ภาคผนวก ข

ยุทธศาสตร์ที่

4

เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ทิศทางการส่งเสริม

มุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องให้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย โดยเฉพาะข้อตกลงภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมี ผลต่อการประกอบธุรกิจในหลายๆ สาขาธุรกิจ การสนับสนุนการปรับปรุงการประกอบธุรกิจให้ สามารถรองรับการแข่งขันที่มีมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อ การส่งเสริมศักยภาพและสร้างโอกาสในการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนในต่างประเทศให้กับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย รวมทั้งการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ ธุรกิจในต่างประเทศ

แนวทางตัวชี้วัดระดับ ยุทธศาสตร์

• การเพิม่ ขึน้ ของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีไ่ ด้รบั ความรูเ้ กีย่ วกับการประกอบธุรกิจ ภายใต้บริบทการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • การเพิม่ ขึน้ ของจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีไ่ ด้รบั การส่งเสริมโอกาสในการเชือ่ มโยง ธุรกิจกับต่างประเทศ

กลยุทธ์ที่

4.1

เสริมสร้างความพร้อมให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในการเข้าสู่การเปิดเสรี ทางการค้าและการลงทุน ด้วยกระแสโลกาภิวัตน์เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่งผลให้ ประเทศต่างๆ มีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนมากขึ้นทั้งในระดับและรูปแบบที่หลากหลาย ทำให้สถานการณ์การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันมีความ ซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 และได้มีความตกลงการเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศต่างๆ ซึ่งปัจจัย ดังกล่าวล้วนแต่มีผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่ใช่เฉพาะผู้ประกอบการที่มี ธุรกิจระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในประเทศ จะได้รับผลกระทบเช่นกัน จึงมีความจำเป็นต้องเสริมสร้างความพร้อมให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการประกอบ ธุรกิจภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

เสริ ม สร้ า งความรู้ ค วามเข้ า ใจให้ กั บ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมเกี่ยวกับความตกลง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) และกรอบความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยสนับสนุนให้มี การจัดทำองค์ความรู้และฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อตกลง สิทธิประโยชน์ สิ่งอำนวยความ สะดวก กฎระเบียบที่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมสามารถเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึ ง สนั บ สนุ น ให้ มี ก ารบู ร ณาการร่ ว มกั น ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่ ความรู้ความเข้าใจให้กับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมเพื่อให้ทราบสถานการณ์ต่างๆ อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

พณ. (จร./คต./พค./สอ.)

ส่ ง เสริ ม ให้ มีก ารศึ ก ษาโอกาสและผลกระทบ จากการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนใน ธุรกิจสาขาต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมมีทศิ ทางในการปรับตัว เพือ่ รองรับสถานการณ์ทเ่ี ปลีย่ นแปลงไป รวมถึง สนับสนุนให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการพัฒนาการประกอบธุรกิจเพื่อยกระดับ ศักยภาพในการแข่งขัน เช่น การเพิม่ ประสิทธิภาพ การประกอบธุรกิจ การบริหารจัดการ การยกระดับ คุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ เป็นต้น

พณ. (จร./คต./พค./สอ.) กต. (ศก.) อก. (สศอ./กสอ./กรอ./สมอ.) กษ. (สศก./กวก.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

2556

2557

2558

2559

กต. (ศก.)

อก. (สศอ./กสอ./กรอ./สมอ.) กษ. (สศก./กวก.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

227

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


228

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สนับสนุนให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ใช้สทิ ธิประโยชน์จากความตกลงทางการค้าการ ลงทุนมากขึ้น โดยสนับสนุนการอำนวยความ สะดวกการขอใช้สทิ ธิประโยชน์ รวมถึงสนับสนุน ให้มีการปรับใช้วัตถุดิบภายในประเทศทดแทน การนำเข้า เพือ่ ให้สอดคล้องกับกฎแหล่งกำเนิด สินค้า (Rule of Origin: ROO) ตามความตกลง ทางการค้าต่างๆ

พณ. (คต./พค./สอ.) อก. (สศอ./กสอ./กรอ.) กษ. (สศก./กวก.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

สนั บ สนุ น ให้ มี ก ารช่ ว ยเหลื อ และบรรเทา ผลกระทบจากการเปิ ด เสรี ท างการค้ า และ การลงทุ น ให้ แ ก่ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม โดยสนับสนุนให้มบี ริการให้คำปรึกษา แนะนำแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการปรับปรุงหรือปรับเปลีย่ นการดำเนินธุรกิจ รวมถึ ง การสนั บ สนุ น เงิ น ทุ น ในการปรั บ ปรุ ง และปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ

พณ. (คต.) อก. (กสอ.) กค. (สถาบันการเงินของรัฐ)

ส่งเสริมการบูรณาการการสร้างเครือข่ายระหว่าง หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนใน การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถรองรับการเปิดเสรีทางการค้าและ การลงทุนได้

พณ. (จร./คต./พค./สอ./สป.พณ.) กต. (ศก.) อก. (สศอ./กรอ./กสอ./สปอ.) กษ. (สศก./กวก.) กก. (กทท.) มท. (อปท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

2556

2557

2558

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ

2559

2555

สนับสนุนการสร้างและพัฒนาแรงงานในประเทศ ให้มีความพร้อมทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ที่ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม และพร้อมรับการ เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

รง. (กพร.) ศธ. (สอศ./สกอ.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

รณรงค์การสร้างความเชื่อมั่นและจิตสำนึกใน การใช้สนิ ค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อ มทั้ง ในระดับท้อ งถิ่น และระดับ ประเทศ เพือ่ ให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถแข่งขันได้ภายใต้สถานการณ์การแข่งขัน ที่มีความรุนแรงมากขึ้น

นร. (กปส.) มท. (อปท.)

229

2556

2557

2558

2559

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


230

ภาคผนวก ข

กลยุทธ์ที่

4.2

เสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย รายได้จากการ ส่งออกถือได้วา่ เป็นรายได้หลักของประเทศ ถึงแม้วา่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีม่ กี ารดำเนิน ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศจะมีจำนวนไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนวิสาหกิจทั้งประเทศ อย่างไรก็ตามการส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีโอกาสและศักยภาพในการเข้าสู่ ตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งจากการส่งออก การลงทุนในต่างประเทศ หรือการใช้ประโยชน์จาก นักลงทุนที่มาลงทุนในประเทศ เป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยสร้างรายได้ที่มากขึ้น และเสริมสร้าง ความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจได้

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สร้างองค์ความรู้ และฐานข้อมูลเชิงลึกด้านการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ เช่น พฤติกรรม ผูบ้ ริโภค วิธกี ารดำเนินธุรกิจ กฎระเบียบ เป็นต้น รวมถึ ง เผยแพร่ ใ ห้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก เพื่อให้ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจได้ ตลอดจนผลักดันให้มศี นู ย์กลางในการให้บริการ ข้อมูล คำปรึกษาแนะนำแบบครบวงจรให้แก่ ผู้ประกอบการในด้านการค้า การลงทุนระหว่าง ประเทศ

พณ. (สอ./คต./จร.) กต. (ศก.) อก. (สกท./สมอ.)

สนั บ สนุ น การพั ฒ นาศั ก ยภาพของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ เช่น การเสริม สร้ า งความรู้ เ กี่ ย วกั บ การค้ า และการลงทุ น ระหว่างประเทศ การพัฒนาสินค้าและบริการ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด ต่างประเทศ การยกระดับคุณภาพมาตรฐาน สินค้าและบริการให้สอดคล้องกับข้อกำหนด ของประเทศคู่ค้า

พณ. (สอ.) กต. (ศก.) อก. (สกท./สมอ.) กก. (กทท.)

2556

2557

2558

2559

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มที่ มี ศั ก ยภาพให้ มี โอกาสในการแสวงหาลูท่ างการขยายการลงทุน ไปในต่างประเทศ (Outward Investment) โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เพื่อ ขยายฐาน การผลิตไปยังประเทศที่สามารถสร้างความได้ เปรียบในการแข่งขันได้ เช่น ด้านวัตถุดิบ ด้าน แรงงาน เป็นต้น รวมทัง้ การจัดตัง้ ธุรกิจขนาดเล็ก ในต่างประเทศ เช่น ร้านอาหารไทย ร้านสปา เป็นต้น โดยมีมาตรการการส่งเสริมการลงทุนที่ เหมาะสม และการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ และเทคโนโลยีให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม

อก. (สกท.) พณ. (สอ.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

สนับสนุนให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความร่วมมือกับธุรกิจต่างประเทศที่มาลงทุน ในประเทศ ไทย โดยให้มกี ารถ่ายทอดเทคโนโลยี และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สมัยใหม่

อก. (สกท.)

สนับสนุนให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีโอกาสในการแสวงหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ สูงแต่มกี ารแข่งขันน้อยกว่า นอกเหนือจากตลาด หลักเดิมที่ธุรกิจมีการแข่งขันสูง เช่น ตลาดที่มี การเติบโตสูง (Emerging Market) ตลาดใน ภูมิภาคอาเซียน หรือตลาดต่างประเทศที่ไทย ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการค้าด้วย เป็นต้น

พณ. (สอ.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

231

2556

2557

2558

2559

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


232

ภาคผนวก ข

แนวทางการส่งเสริม

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

ส่งเสริมและพัฒนาบริการที่เกี่ยวข้องกับการ ประกอบธุรกิจระหว่างประเทศให้มปี ระสิทธิภาพ และได้มาตรฐานเพื่อให้สามารถช่วยยกระดับ ประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจให้แก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมได้ เช่น บริการโลจิสติกส์

พณ. (สอ.) อก. (กพร.) ภาคเอชน (หกค./สอท.)

สนับสนุนการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้า และบริ ก ารในต่ า งประเทศให้ กั บ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมให้มปี ระสิทธิภาพมากขึน้ เช่น การพัฒนาผู้ประกอบการการค้า (Trader /Merchandiser) รวมทั้งการพัฒนาระบบการ จำหน่ายหรือประชาสัมพันธ์ผา่ นทางอินเตอร์เน็ต หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พณ. (สอ./พค.)

ทบทวน ปรับปรุงกฎระเบียบ วิธีปฏิบัติต่างๆ หรือออกกฎหมายใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ เพือ่ เป็นประโยชน์ ต่อการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมให้มปี ระสิทธิภาพมากขึน้

อก. (สกท.) กค. (สพ.) ธปท.

ส่ ง เสริ ม การสร้ า งภาพลั ก ษณ์ ใ ห้ กั บ สิ น ค้ า และบริการไทยในตลาดต่างประเทศ (Country Image) ให้สามารถสือ่ ถึงศักยภาพและจุดแข็ง ของความเป็นไทยให้ผู้บริโภคได้รับรู้

2556

2557

2558

กลยุทธ์ที่

2559

4.3

สร้างความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยกับธุรกิจในต่างประเทศ ด้วยการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศมีความซับซ้อนมากขึน้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือหรือพันธมิตรทางธุรกิจกับคู่ค้าในต่างประเทศเพื่อให้สามารถสร้าง ความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะสามารถเกื้อหนุนการดำเนินธุรกิจระหว่างกันได้

แนวทางการส่งเสริม

นร. (กปส.)

ระยะเวลาดำเนินการ

หน่วยงานดำเนินการ 2555

ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตระหนั ก ถึ ง ความสำคั ญ และประโยชน์ ข อง การสร้างความร่วมมือ หรือสร้างพันธมิตรกับ ธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนให้วสิ าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมหรือองค์การเอกชน ของไทยมีการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือ กับธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะกับธุรกิจใน ภูมิภาคอาเซียน โดยสนับสนุนให้มีการพบปะ เจรจาธุรกิจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ การรวมกลุม่ แสวงหาตลาดร่วมกันการร่วมลงทุน

พณ. (พค./คต.) อก. (กสอ.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

ส่ ง เสริ ม ความรู้ ใ ห้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมเพื่อยกระดับศักยภาพในการดำเนิน ธุรกิจกับประเทศเพือ่ นบ้าน และการใช้ประโยชน์ จากโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาไว้ภายใต้กรอบ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น GMS ACMECS IMT-GT เป็นต้น

กต. (ศก.) องค์การมหาชน (สพบ.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

สนับสนุนให้วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สร้างความร่วมมือกับธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค (Regional Supply Chain) เชื่อมโยงการดำเนินธุรกิจ ระหว่างประเทศ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

อก. (สกท./กสอ./กพร.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

233

2556

2557

2558

2559

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


234

ภาคผนวก ข

กต.

อักษรย่อหน่วยงานและหน่วยงานรับผิดชอบ

ศก.

: กระทรวงการต่างประเทศ : กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

กทท. ททท.

: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา : กรมการท่องเทีย่ ว : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

-

: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ : กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

สป.กษ. กสก. กสส. กตส. กวก. มกอช. ปศ. สศก. สวก. - - -

: : : : : : : : : : : : :

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมปศุสัตว์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) กรมประมง กรมการข้าว กรมหม่อนไหม

จท. ขส.ทบ. ขส.ทอ. รสพ.

: : : : :

กระทรวงคมนาคม กรมเจ้าท่า กรมการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางอากาศ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ

สผ. อบก. DEQP

: : : :

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก๊าซเรือนกระจกองค์การจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

กก. กห. -

: กระทรวงกลาโหม : กรมราชองครักษ์

กกถ. กปส. ก.พ.ร. ก.น.จ. ก.บ.จ. ก.บ.ก. สกส. สคบ. สงป. สพร. สบร. สศช. สทบ. สอร.

: : : : : : : : : : : : : : :

สำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ สำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงบประมาณ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้

บก. สพ. สศค. ศก. สพพ. SFIs ธพว. ธสน. ธกส. ธอท. ธอส. ธ.ออมสิน บสย. -

: : : : : : : : : : : : : : :

กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมศุลกากร สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม กรมสรรพสามิต

นร.

กค.

พม. กษ.

คค.

ทส.

235

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


236

ภาคผนวก ข

ทก. สสช. ปณท. SIPA

: : : :

พพ. ธพ.

: กระทรวงพลังงาน : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน : กรมธุรกิจพลังงาน

สป.พณ. คต. คน. สอ. พค. พค.จังหวัด ทป. จร. ศ.ศ.ป.

: : : : : : : : : :

กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศ กรมการค้าภายใน กรมส่งเสริมการส่งออก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ

สป.มท. ปค. พช. สถ. อปท. -

: : : : : : :

กระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การตลาด

กพร. สปส.

: กระทรวงแรงงาน : กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน : สำนักงานประกันสังคม

สวธ. สศร. ศก. -

: : : : :

พน.

พณ.

มท.

รง.

วธ.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานสถิติแห่งชาติ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน)

กระทรวงวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กรมศิลปากร หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

วท. วว. วศ. สกว. สวทช. สนช. สวทน. สพฐ. สอศ. สกศ.

: : : : : : : : : :

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

สกอ. - -

: : : :

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สถาบันการศึกษา สถาบันการศึกษาในพื้นที่

อย. - -

: : : :

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์

สปอ. กสอ. กพร. กนอ. กรอ. สกท. สสว. สมอ. สศอ. สรอ. สอจ.

: : : : : : : : : : : :

กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด

ศธ.

สธ.

อก.

237

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)


238

ภาคผนวก ข

- สพว. สถอ. - - - - - -

: : : : : : : : :

ศอ.บต.

: นายกรัฐมนตรี : ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

นรม. -

สถาบันเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถาบันอาหาร สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันยานยนต์ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย สถาบันไทย-เยอรมัน

ภาคเอกชน/หน่วยงาน/สถาบันอิสระ และอื่นๆ หกค. : หอการค้าไทย สอท. : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส.ส.ท. : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (ส.ส.ท.) คปภ. : สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กลต. : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธปท. : ธนาคารแห่งประเทศไทย กฟผ. : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กฟน. : การไฟฟ้านครหลวง กปน. : การประปานครหลวง ปภ. : การประปาส่วนภูมิภาค สสท. : สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย NCB : บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด สกส. : สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ สง. : สถาบันการเงิน ธพ. : ธนาคารพาณิชย์ บลจ. วรรณ : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด บลท. ข้าวกล้า : บริษัทหลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุน ข้าวกล้า จำกัด - : สถาบันพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม CSRI - : สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ - : ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน - : ธุรกิจเงินร่วมลงทุน - : สถาบันไทยพัฒน์

239

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.