Initiated by Santi Lawrachawee Organized by Practical Design Studio in associated with Thai Graphic Designer Association and Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture
สงวนลิขสิทธิ์ 2553 ออกแบบรูปเล่ม : บริษัท แพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ จำ�กัด ผู้ออกแบบกราฟิก : ณัฐพล โรจนรัตนางกูร และ จักรพันธ์ สุวรรณะบุณย์ เพลต : บริษัท สุนทรฟิล์ม จำ�กัด พิมพ์ : บริษัท พลัสเพรส จำ�กัด กระดาษ : บริษัท แอนทาลิส (ประเทศไทย) จำ�กัด หนังสือเล่มนี้พิมพ์บน Cocoon กระดาษรีไซเคิล 100% สำ�หรับงานออกแบบ
IMTGD. FORUM 2010: SOMEWHERE THAI
สารจากนายกสมาคม นักออกแบบเรขศิลป์ไทย โอภาส ลิมปิอังคนันต์
งานนี้ก็เป็นอีกงานหนึ่งที่ผมรู้สึกว่า... มันแสดงสัญลักษณ์บางอย่างอยู่ในสองสัญลักษณ์ หนึ่งในแง่ของความเป็นตัวตนคนไทยของเรา ว่าเราเข้าใจมันได้ดีแค่ไหน แล้วเรามองเห็นมันในมิติไหนบ้าง ซึ่งผมก็รู้สึกชื่นชมที่ทางโครงการนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ในมิติที่สอง คือ ความเป็นตัวตนของคนที่ทำ�งานกราฟิกดีไซน์ ได้มาอยู่ร่วมกันเป็น Community เดียวกัน อันนี้ก็เป็นอีกมุมหนึ่งที่ทำ�ให้ผมรู้สึกดีใจที่มีเวทีเล็กๆ เวทีหนึ่ง ให้เราใช้ชีวิตร่วมกันและได้แสดงมุมมอง แนวคิด วิธีการ Excuse ในเรื่องของไอเดียต่างๆ หรือว่ามุมมองของเราในรูปแบบงานศิลปะหรืองานดีไซน์ ซึ่งไม่ได้จำ�กัดในเวทีนี้ อยากจะขอบคุณทุกท่านที่ทำ�ให้ Community นี้แข็งแรงขึ้น และที่สำ�คัญคือต้องขอบคุณ อาจารย์สันติ และทีมงานแพรคทิเคิล รวมไปถึงผู้สนับสนุนทุกท่านที่ทำ�ให้เวทีนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ และผมก็อยากเห็นภาพเวทีแบบนี้มีมากขึ้น ในหลายมิติขึ้น อยากจะให้วงการกราฟิกดีไซน์ถูกยกระดับขึ้นไปอย่างนี้เรื่อยๆ ต่อไปครับ
สารจากสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล
“Somewhere Thai” ในความหมายของสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย คือ “การช่วยเหลือเกื้อกูล” แก่นักออกแบบเรขศิลป์ ให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน ในฐานะองค์กรภาครัฐที่ทำ�หน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ และเป็น “การให้โอกาส” แก่คนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพ แสดงความสามารถ และร่วมกันพัฒนาวงการเรขศิลป์ของไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ผู้อ�ำ นวยการสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
คำ�นำ� สันติ ลอรัชวี
ผมและแพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ มีโอกาสจัดโครงการ “ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย” ในปี พศ. 2552 โดยการเชิญชวนให้นักออกแบบกราฟิกไทยส่งผลงานเข้าร่วมแสดงนิทรรศการ ผ่านการถือป้าย ภายใต้ค�ำ ว่า “ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย” และได้การตอบรับและความร่วมมือมากมายจากนักออกแบบกราฟิกทั่วประเทศ ผลงาน 1,146 ผลงาน ณ แกรนด์ฮอลล์ สยามดิสคัพเวอรี่ เป็นสิ่งที่ท�ำ ให้ผมและคณะทำ�งานตระหนักถึงพลังแห่งการมีส่วนร่วมของสังคมออกแบบกราฟิกไทย และเป็นสิ่งที่ท�ำ ให้เราเรียนรู้ต่อไปว่า “ท่ามกลางความร่วมมือของเพื่อนร่วมอาชีพนี้ เราจะนำ�เสนอแนวทางความร่วมมือต่อๆ ไปอย่างไรให้เกิดศักยภาพและประโยชน์อย่างยั่งยืน” การจัดนิทรรศการด้วยเงินจำ�นวนมาก (สำ�หรับเรา) อาจจะดูยิ่งใหญ่และเป็นรูปธรรม แต่ถ้าเราจะร่วมมือกันได้โดยต้องอาศัยทุนเป็นปัจจัยหลักเท่านั้น ก็คงเป็นปัจจัยที่คณะทำ�งานไม่สามารถควบคุมได้ในปีต่อๆ ไป ภาพโครงไม้ เวที อุปกรณ์ต่างๆ ของนิทรรศการที่ถูกรื้อถอน ในวันสุดท้ายของนิทรรศการ ทำ�ให้เราตั้งคำ�ถามกับตัวเองว่าเราจะทำ�อย่างไรให้สิ่งดีๆ และมีคุณค่าเหล่านี้อยู่กับเราและคนรุ่นหลังต่อไปได้… ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย 2553 เป็นโครงการที่จัดขึ้นในปี 2553 นี้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมเช่นเดิม ด้วยการชักชวนนักออกแบบกราฟิกร่วมส่งผลงานที่นำ�เสนอหรือสะท้อนความหมาย ภายใต้ประเด็น “ซัมแวร์ไทย” โดยสามารถส่งผลงานเข้าร่วมได้หลายรูปแบบ ผลงานที่ส่งเข้าร่วมจะเป็นสัญลักษณ์ / โปสเตอร์ / การออกแบบตัวอักษร / บรรจุภัณฑ์ / ภาพถ่าย / ภาพประกอบ / ภาพกราฟิก / โมชั่นกราฟิก / ภาพยนตร์ / บทความ ฯลฯ จะเป็นผลงานเรียน ผลงานจริง หรือเป็นผลงานทดลองก็ได้ ผลงานจากนักออกแบบ 171 คนที่ร่วมโครงการ จะถูกรวบรวมเพื่อนำ�มาเสนอคู่ขนานกับบทความ จากนักออกแบบกราฟิก นักวิชาการ และสื่อมวลชน จำ�นวน 54 บทความ จากงานประชุม ซัมแวร์ไทย ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 และ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ผ่านเว็บไซต์ www.imtgd.org, YouTube และหนังสือเล่มนี้ แนวคิดในการรวบรวมครั้งนี้ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะรณรงค์ให้นักออกแบบไทย ร่วมกันพยายามแสดงความเป็นไทยในผลงานของตนเอง แต่คาดหวังที่จะรวบรวมมุมมองและความคิดเห็น (ที่เชื่อว่าหลากหลายและแตกต่างกัน) เกี่ยวกับประเด็นอัตลักษณ์ของไทยในผลงานออกแบบ ผลงานทั้งหลายที่ถูกส่งเข้ามาร่วมในโครงการจะเป็นเหมือนวัตถุดิบและภาพสะท้อน ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากแง่มุมต่างๆ ผ่านผลงานกราฟิกแขนงต่างๆ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนหลักการหรือความคิดเห็น อันจะทำ�ให้เกิดพัฒนาการทางความคิดในการสร้างสรรค์งานกราฟิกร่วมสมัยต่อไป
9
และนี่ไม่ใช่โครงการที่มุ่งให้นักออกแบบมาประชันผลงาน ว่าใครมีความคิดหรือรูปแบบที่มีความเป็นไทยมากกว่ากัน หรือดีเยี่ยมกว่ากัน “ซัมแวร์ไทย” ในที่นี้ เป็นทั้งคำ�ถาม / คำ�ตอบ / หัวข้อ / แนวคิด ฯลฯ ตามแต่ที่นักออกแบบแต่ละคนจะตีความ หรืออาจเป็นเพียงหนึ่งในหัวข้อที่จะดำ�เนินไปในแต่ละวาระ สำ�หรับผู้จัดคงเป็นเพียงผู้ตั้งกระทู้เท่านั้น ด้วยความเชื่อในความหลากหลายทางความคิด และไม่เชื่อว่าคำ�ตอบของสิ่งต่างๆ ในสังคม โดยเฉพาะเรื่องอัตลักษณ์ของสังคมจะมีค�ำ ตอบเดียวหรือมีคำ�ตอบที่สมบูรณ์พร้อม ในฐานะสมาชิกของสังคม เรา...ไม่ว่าจะเป็นใครน่าจะมีสิทธิที่จะนำ�เสนอความเป็นตัวตนของเราได้ จะไทยอย่างที่ใครๆ ชอบหรือไม่... จะไทยอย่างที่เคยถูกสอนมาหรือไม่... จะไทยอย่างที่ขายได้หรือไม่.. จะไทยหรือไม่ไทย... อาจไม่ได้เป็นสาระสำ�คัญมากนักสำ�หรับผมและคณะทำ�งาน สิ่งที่น่าสนใจสำ�หรับพวกเราก็คือ การมีโอกาสได้รับรู้ รับฟัง ความคิดจากผู้คนมากมายที่มีอิสระในการนำ�เสนอ ยิ่งฟัง... ยิ่งรับรู้และรู้จักกัน ยิ่งฟัง... ยิ่งทำ�ให้ยอมรับกัน ยิ่งฟัง... ยิ่งทำ�ให้เห็นความกว้างของชีวิต ยิ่งฟัง... ก็ยิ่งทำ�ให้เราตัวเล็กลง... เล็กลง เล็กลง... จนเหลือพื้นที่มากมายที่เราจะอยู่ร่วมกันแบบเหลือเฟือ
สันติ ลอรัชวี (Santi Lawrachawee)
เกิดเมื่อปี พ.ศ.2514 ที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นอาชีพนักออกแบบในช่วงแรกด้วยสถานะที่หลากหลาย ทำ�ให้บทบาทของเขา เป็นการผสมผสานด้านวิชาชีพออกแบบ วิชาการ และการทำ�กิจกรรมทางด้านศิลปะและการออกแบบ ผลงานของสันติจึงมี บริบทที่หลากหลายคู่ขนานกันไปในช่วงเวลาเดียวกัน ในฐานะนักออกแบบสือ่ สารทีแ่ พรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดโิ อ เขาเป็นผูก้ �ำ กับงานออกแบบสือ่ สารให้กบั นิทรรศการศิลปวัฒนธรรมมากมาย เป็นภัณฑรักษ์ ให้กับนิทรรศการออกแบบ อีกทั้งยังจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวและกลุ่มทั้งในแกลเลอรี่ และพื้นที่สาธารณะ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นผู้ริเริ่มโครงการ “ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย” (I am a Thai graphic designer) (2009) และกิจกรรมทางวิชาชีพ ออกแบบกราฟิกอีกหลายโครงการ ปัจจุบันเขาเป็นนักออกแบบสื่อสารที่ แพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ และเป็นอุปนายกสมาคม นักออกแบบเรขศิลป์ไทย
ความเป็นไทยในงานออกแบบกราฟิกดีไซน์: ภาษาของเขา ตัวตนของเรา Thai Vernacular Design: Language of The Other ประช� สุวีร�นนท์
ถุงกระดาษโชคดี, โปสเตอร์รูปหมาเล่นไพ่, ไม้เซียมซี, ตำาราหมอดู, กล่องไม้ขีดไฟ ตราพญานาค, สติ๊กเกอร์อย่าเห็นแก่ตัว, ปกหนังสือนิยายชุดสามเกลอ และ การ์ตูนเล่มละบาท ทั้งหมดนี้มีอะไรเหมือนกัน? คำาตอบคือมันเป็นงานออกแบบ ระดับชาวบ้านทีเ่ คยถือกันในหมูน่ กั ออกแบบว่าล้าสมัยและไร้รสนิยม แต่ในรอบ ๒-๓ ปี ทีผ่ า่ นมานี้ เกิดปรากฏการณ์ทน่ี า่ สนใจคือ งานเหล่านีถ้ กู นำามาใช้กนั มากมาย โดยเฉพาะ ในรูปของบัตรอวยพรปีใหม่ หรือเอกสารโฆษณาตัวเอง (Self-Promotion) ของ นักออกแบบไทย โชคดีปีใหม่ (ถุงโชคดี)
บัตรอวยพรปีใหม่ พ.ศ.๒๕๓๖
เดิมทีเดียว นักออกแบบใช้ภาษาชาวบ้านเป็นเครือ่ งหมาย “ตัวตน” (self) กันอยูแ่ ล้ว ของ สามหน่อกราฟิก เช่น ใบตองซึ่งเป็นภาชนะห่อของชาวบ้าน บ่งบอกความเป็นไทยที่มีมาแต่โบราณ รวมทัง้ คุณค่าทีส่ งบเรียบง่ายของอดีต การนำาเอาใบตองมาใช้ในการออกแบบจึงชีว้ า่ ตัวตนของคนไทยสมัยใหม่ก็น่าจะคงคุณค่านั้นๆ เอาไว้ด้วย แต่งานทีเ่ รายกมาเป็นตัวอย่างข้างต้นนัน้ มองภาษาชาวบ้านในมุมใหม่ ชาวบ้านในงาน เหล่านั้น ไม่ได้ถูกติดอยู่กับความเป็นไทยหรือความเป็นอดีตที่สำาเร็จรูปอีกต่อไป ในแง่ของการสื่อความหมาย ถุงโชคดีเข้ามาแทนที่ใบตอง และอาจกล่าวต่อไปได้ว่า สติ๊กเกอร์อย่าเห็นแก่ตัวเข้ามาแทนที่วัดวาอาราม โปสเตอร์รูปหมาเล่นไพ่เข้ามาแทนที่ลายไทยหรือลายเทพชุมนุม ฯลฯ
ไม้เซียมซี บัตรอวยพรปีใหม่ พ.ศ.๒๕๓๗ ของ อิคารัส
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน อัตตะ: รวมผลงานของ ๑๐ นักออกแบบกราฟิกดีไซน์ ไทย จัดพิมพ์โดย เปเปอร์ โซลูชั่น, กรุงเทพมหานคร ๒๕๓๗
11
ในปี ๒๕๓๗ การที่ใบตองกลายเป็นเครือ่ งหมายบอกตัวตนของบริษทั ธุรกิจ (ทีต่ อ้ งการ ขายความเป็นไทยอย่างตรงๆ ) ส่วนถุงโชคดีถกู ยกระดับให้เป็นตัวตนของนักออกแบบ ชัน้ นำา เป็นเครือ่ งยืนยันว่าภาษาชาวบ้านในประเภทหลังมีเกียรติภมู สิ งู กว่า อย่างน้อยก็ ในโลกของนักออกแบบและเวทีประกวดการออกแบบ ถึงแม้ว่าภาษาชาวบ้านทั้งสองแบบจะทำาหน้าที่คล้ายกันในกระบวนการนำาเอาคุณค่า ของอดีตมานิยามตัวตน (เช่นชี้ว่า คุณค่าของปัจจุบัน เริ่มต้นที่อดีต, คุณค่าของ นักออกแบบสมัยใหม่ เริ่มต้นที่ชาวบ้าน) แต่ความแปลกใหม่ของถุงโชคดีอยู่ที่ว่า มันสื่อถึงอดีตที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น หรือทำาให้อดีตที่เรียกกันว่าไร้กาลเวลานั้น ชัดเจนขึ้น ใบตองมีกำาเนิดมาแต่ยุคโบราณที่เราไม่อาจระบุวันเดือนปีได้ แต่ถุงโชคดีมีอายุเพียง ๔๐-๕๐ ปี และเป็นผลิตภัณฑ์ในยุคต้น “ยุคพัฒนา” ของไทย งานออกแบบภาษา ชาวบ้านแบบเดิม เป็นผลงานของช่างนิรนามที่สืบหาความเป็นมาได้ยาก แต่งาน ออกแบบภาษาชาวบ้านในยุคพัฒนาเป็นผลงานของช่างพาณิชย์ศลิ ป์ในโลกอุตสาหกรรม ที่ยังมีร่องรอยให้พบเห็นในปัจจุบัน และที่สำาคัญถุงโชคดีสื่อถึงกำาเนิดหรือบรรพบุรุษ ของวิชาชีพ “นักออกแบบ” ได้ตรงตัวกว่า
สวัสดีปีจอ (กล่องไม้ขีดไฟและสติ๊กเกอร์ อย่างเห็นแก่ตัว) บัตรอวยพรปีใหม่ พ.ศ.๒๕๓๗ ของ เอส.ซี.แมทช์บอกซ์
สุขกาย สบายใจ (ตำาราหมอและยาไทย) บัตรอวยพรปีใหม่ พ.ศ.๒๕๓๗ ของ อีลูร่า / พร๊อพพาแกนดา
12
อายุวรรณะ (โปสเตอร์หมาเล่นไพ่) บัตรอวยพรปีใหม่ พ.ศ.๒๕๓๗ ของ NEXT
ในขณะที่ลายเทพชุมนุมเป็นสิ่งที่ตายไปแล้ว (แต่ยังถูกปลุกผีขึ้นมาใช้เป็นครั้งคราว) โปสเตอร์หมาเล่นไพ่ หรือการ์ตูนเล่มละบาทยังมีชีวิต และกระโดดโลดเต้นอยู่ใน ชีวิตประจำาวันของชาวบ้านจริงๆ คุณค่าของศิลปินแบบเดิมจึงดูเป็นนามธรรมมากกว่า เมื่อนำามาเปรียบเทียบกับ คุณค่าของช่างทำาป้าย, ศิลปินทำาปกหนังสือ, นักวาดการ์ตนู หรือฝ่ายศิลป์ของโรงพิมพ์ ที่ออกแบบถุงกระดาษ งานประเภทหลังดูจะติดดิน, มีเลือดมีเนื้อและมีความเป็น มนุษย์มนามากกว่างานประเภทแรก เราอาจเลยเถิดไปถึงขัน้ ทีบ่ อกว่า นีเ่ ป็นการเปิดประชาธิปไตยครัง้ ใหญ่ เป็นการให้โอกาส แก่ความเป็นชาวบ้านแบบไทยยุคพัฒนา (ทีม่ เี นือ้ หาแตกต่างจากแบบไทยทีเ่ ป็นทางการ การ์ดใบตอง ตรอวยพรปีใหม่ พ.ศ.๒๕๓๗ เช่น ใบตองหรือลายไทย) ได้ขึ้นมาแสดงตัวบนเวที และครอบครองพื้นที่ในทาง บัของ นิปปอนเพนท์ วัฒนธรรมบ้าง แต่เราจะลืมเสียไม่ได้ว่าพื้นที่หรือเวทีที่ว่าเป็นของนักออกแบบ และเขาจัดเวทีนี้ไว้ ก็เพื่อที่จะพูดถึงตัวตนของเขาเอง การใช้ภาษาชาวบ้านไม่จำาเป็นต้องเกิดจาก ความเลือ่ มใสหรือเจตนาจะยกย่อง การใช้ภาษาของคนอืน่ อาจจะเกิดความปรารถนา ที่จะทำาตัวเองให้ผิดแปลกแตกต่างออกไปเท่านั้น การเปิดพื้นที่ ให้แก่ชาวบ้าน เป็นการให้นยิ ามใหม่แก่ชาวบ้านก็จริง แต่ในท้ายทีส่ ดุ แล้วมันคือการตอบสนอง “ตัวตน” ของนักออกแบบเอง
อวยพรปีใหม่ (ลายเทพชุมนุม) บัตรอวยพรปีใหม่ พ.ศ.๒๕๓๗ ของ เดนท์สึ
37
ผู้เขียนบทความ ประชา สุวีรานนท์ (Pracha Suveeranont)
หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เอส.ซี.แมทช์บอกซ์ ประชาเป็นผู้กำ�กับศิลป์ที่รอบรู้ด้านทฤษฎีและการปฏิบัติในงานกราฟิกดีไซน์ ที่หาคนเทียบได้ยากในเมืองไทย เขาสำ�เร็จการศึกษาด้าน Communication Design จากสถาบันชั้นนำ�จากอเมริกา Parsons School of Design ในนิวยอร์ค ประชาเคยทำ�งานอยู่กับ บริษัท สามหน่อกราฟิก, แปลน พับลิชชิ่ง และเคยเป็นผู้กำ�กับศิลป์ ให้กับ นิตยสาร ไลฟ์แอนด์แฟมิลี่ และ นิตยสาร รักลูก ประชาเป็นหัวเรีย่ วหัวแรงในการจัด ๑๐ ตัวพิมพ์กบั สังคมไทย นิทรรศการเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะการออกแบบตัวพิมพ์ไทย นิทรรศการนี้ได้มีโอกาสนำ�ออกแสดงทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดถึง ๔ ครั้ง ระหว่างปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖ นอกจากจะเป็น อำ�นวยการด้านงานออกแบบแล้ว เขายังเป็นผู้เขียน แกะรอยตัวพิมพ์ ไทย หนังสือประกอบนิทรรศการนี้ด้วย เขามีงานอดิเรกเป็นนักวิจารณ์ภาพยนตร์มผี ลงานตีพมิ พ์ในนิตยสาร สารคดี และ มติชนสุดสัปดาห์ และเคยได้รบั รางวัลบทวิจารณ์ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากกองทุน ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ในปี ๒๕๓๗ เขามีผลงานด้านวิจารณ์ภาพยนตร์รวมเล่ม ๒ เล่ม คือ แล่เนื้อ เถือหนัง เล่มหนึ่ง และเล่มสอง นับแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๙ งานเขียนของประชา ปรากฏเป็นประจำ�ทุกสัปดาห์ ใน มติชนสุดสัปดาห์ และถูกรวบรวมตีพิมพ์ ในชื่อ ดีไซน์+คัลเจอร์ เล่มหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และเล่มสอง ในปี ๒๕๕๒ และ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ประชายังได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาเรขศิลป์ โดยกระทรวงวัฒนธรรมอีกด้วย
บทความจากงานประชุม ซัมแวร์ไทย เมื่อวันที่ 25 และ 26 กันยายน 2553 ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น ๕ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
รับชมการบรรยายที่มีเนื้อหาเพิ่มเติม นอกเหนือจากบทความได้ที่ www.youtube.com/user/practicalstudio หรือ www.imtgd.org
เราเป็นใคร พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
จะเข้าใจอัตลักษณ์ไทยต้องตอบคำ�ถามให้ได้เสียก่อนว่า เรา.. คนไทยเป็นใคร? ก่อนหน้านี้ นี่เป็นคำ�ถามที่ผมเคยถามตัวเองมาหลายครั้งโดยไม่ได้คิดอะไรมากมายนัก จนเมื่อราวแปดปีที่แล้วมานี่เอง (2545) ผมได้เริม่ งานค้นคว้าด้านดนตรีชาติพนั ธ์โุ ครงการหนึง่ มีชอ่ื ว่า “Siamese Project” โครงการนีม้ เี ป้าหมายจริงจังทีจ่ ะสืบค้นรากเหง้าดนตรี ของกลุม่ ชาติพนั ธ์ไุ ททัง้ หมด คำ�ถามนีจ้ งึ ได้ยอ้ นกลับมาอีกครัง้ และมุง่ หวังทีจ่ ะได้ค�ำ ตอบทีถ่ กู ต้องแน่นอนไม่คลุมเครือเหมือนอย่างที่ เคยได้รบั รูม้ าก่อนหน้านี้ หากเราต้องการทำ�ความเข้าใจดนตรี ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติพนั ธ์นุ ้ี จำ�เป็นเหลือเกินทีเ่ ราจะต้อง หาคำ�ตอบที่ชัดเจนให้ได้ว่า เราเป็นใคร.. คนไทเป็นใคร? มาจากไหน? โชคร้ายที่เรามีประวัติศาสตร์ที่ชวนให้สับสนมากกว่าที่ หลายๆ คนคิด การจะหาคำ�ตอบนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายดายเลย เมื่อเราดูภาพคนไทเมื่อร้อยกว่าปีที่อยู่ข้างล่างนี้ คงพอนึกออกว่า อดีตไม่ใช่ภาพที่แจ่มชัดนักในจินตภาพของพวกเราส่วนใหญ่ กาลเวลานั้นเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ไปได้มากมายเหลือเกิน
“คนไทมาจากเทือกเขาอัลไต” นี่เป็นสิ่งที่โรงเรียนสอนเรามาตั้งแต่เด็ก วันนี้เรารู้แล้วว่ามันเป็นความรู้ผิดๆ ที่ดันไปบ้าจี้ เชื่อตามที่ฝรั่งมันบอก แต่ที่น่าตกใจก็คือโรงเรียนยังคงสอนกันอย่างนี้อยู่ น่าเศร้าจริงๆ สาเหตุใหญ่ที่สร้างความสับสนและเป็น ชนวนเหตุของปัญหามากมายนัน้ เป็นเพราะอิทธิพลจากฐานความรูข้ องชาวตะวันตก ชาวยุโรปได้สง่ กองเรือไปทัว่ โลกเพือ่ ล่าอาณานิคม เพื่อพิชิตและยึดครองทรัพยากรของดินแดนเหล่านั้น พวกเขามาพร้อมกับองค์ความคิดชุดหนึ่ง ที่ประกอบด้วย ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการแขนงต่างๆ ฯ ซึง่ บางส่วนก็มปี ระโยชน์แก่ผถู้ กู รุกรานอยูบ่ า้ ง แต่สว่ นใหญ่มปี ระโยชน์แก่ผรู้ กุ รานมากกว่า องค์ความคิดเหล่านี้ที่จริงแล้วมาพร้อมกับวาระแอบแฝงทางการเมืองและผลประโยชน์ ชนพื้นเมืองมากมายสูญเสียเอกราช สูญเสียฐานะความเป็นคน เสียประเพณี วัฒนธรรม ความเชือ่ ดัง้ เดิม และถูกบังคับให้ยอมรับองค์ความคิดเหล่านี้ ผูต้ อ่ ต้านมักจะ ถูกเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุจนสิ้น สมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฝรั่งเศสพยายามอย่างยิ่งที่จะยึดครองสยาม ทัง้ ด้วยแสนยานุภาพและทุศโลบาย แต่เราก็รอดมาได้ พอมาถึงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลทีส่ ข่ี องสมเด็จพระจอมเกล้า เรือรบก็มา ปิดปากอ่าวอีก รอบหลังนี้มาด้วยกลยุทธใหม่หัวหมออ้างเอาความศิวิไลซ์ อ้างมารยาททางการค้า อ้างเอากฏเกณฑ์และ องค์ความรูต้ า่ งๆ ทีม่ ายัดเยียดให้ ใช้เป็นปัจจัยบีบบังคับ รัชกาลทีส่ ท่ี า่ นทรงคาดการณ์มาก่อนแล้วว่าจะเกิดอะไรขึน้ มังกรโบราณ อย่างจีนนั้นถูกพิชิตไปแล้วด้วยฝิ่น พม่าคู่ศึกผู้เข้มแข็งของไทยก็เสียเมืองแก่กองทัพอังกฤษ ดังนั้น เพื่อรักษาบ้านเมืองไว้
41
เราจึงจำ�ต้องคล้อยตามไป แต่คนไทยนัน้ เหมือนน้�ำ อ่อนนุม่ เปลีย่ นรูปร่างไปตามสภาวะแวดล้อม ลองสังเกตดูเถิดว่าจิตวิญญาณ อันเป็นอิสระนั้นไม่เคยยอมเป็นข้าใคร สิ่งที่ดีเราก็รับไว้ ปรับให้เข้ากับตัวตนของเราได้ก็ปรับ ถึงถูกบังคับให้ใส่สูทอย่างฝรั่ง ก็แต่งแค่ครึ่งท่อน ข้างล่างยังนุ่งโจงกระเบน หรือถ้าไม่งั้นก็ข้างล่างนุ่งกางเกง ข้างบนก็ใส่เสื้อราชปะแตน เป็นต้น อันนี้สะท้อน ความจริงข้อหนึง่ ให้แก่เราได้วา่ เพราะคนไทยมีคณ ุ สมบัตเิ ช่นนีน้ เ่ี อง แม้โลกบีบบังคับให้ตอ้ งเปลีย่ นแปลง ความเป็นชนชาติไทย และอัตลักษณ์ไทยก็ยังอยู่รอดปลอดภัยมาถึงรุ่นเราได้ กระนั้น ความยุ่งยากก็มีอยู่มากมายเพราะอิทธิพลแทรกแซงจากตะวันตกที่กล่าวนี้ เราต้องเรียนรู้วิชาการบางอย่างที่บางครั้ง ก็ไม่ถกู ต้อง แต่เราต้องเชือ่ และยอมรับองค์ความคิดเหล่านัน้ ยกตัวอย่างเช่น การจำ�แนกเผ่าพันธ์มุ นุษย์ของ นายคาลวอน ลินเนซ ทีจ่ ดั ลำ�ดับให้คนดำ�แอฟริกนั นัน้ เป็นสายพันธ์ทุ ต่ี อ้ ยต่�ำ เหมือนสัตว์ ซึง่ ก่อให้เกิดการเหยียดผิวในเวลาต่อมา.. การอ้างว่าโคลัมบัส คือผูค้ น้ พบทวีปอเมริกา ยกย่องว่าเจ้าชาย เฮนรี่ และวาสโก ดา กามา เป็นบิดาแห่งการเดินสมุทร ทัง้ ทีค่ นจีนไปถึงก่อนหน้านัน้ แล้ว.. หรือทฤษฎีที่ว่าอารยธรรมแรกของโลก คือ ยุคสำ�ริดแห่งเมโสโปตาเมีย ทั้งที่ในเมโสโปตาเมียไม่มีดีบุก และต้องนำ�เข้าทองแดง มาจากทีอ่ น่ื .. หรือทีเ่ ราโดนตรงๆ ก็เช่น การทีฝ่ รัง่ เศสพยายามอ้างสิทธิ์ในดินแดนสยามภายหลังจากทีไ่ ด้กมั พูชาเป็นเมืองขึน้ ไปแล้ว โดยอ้างว่าแผ่นดินสยามนั้น ที่จริงเป็นของเขมรมาก่อน.. ฯลฯ เรื่องยุ่งๆ แบบนี้ที่จริงยังมีอีกหลายกะบุง สยามประเทศนั้น เป็นดินแดนมุขปาฐะ เราไม่ได้นิยมการเรียนการบันทึกประวัติศาสตร์ ในแบบชาวตะวันตกมาก่อน ไม่ได้หมายความว่าเรา ไม่มปี ระวัตศิ าสตร์ และถ้าเราจะนับถือพญานาค มันก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มปี ญั ญาเรียนวิทยาศาสตร์ คนไทยมีแต่พงศาวดาร ทีเ่ ป็นเรือ่ งเชือ้ วงศ์พงศาของกษัตริย์ และส่วนใหญ่ลายสือบันทึกสำ�คัญก็ถกู เผาวายวอดไปตัง้ แต่กรุงศรีอยุธยาแตก อย่างทีบ่ อก.. เพราะการเข้ามาพยายามแทรกแซงเปลีย่ นแปลงประวัตศิ าสตร์ และเพราะชุดองค์ความรูต้ ะวันตกทีม่ ายัดเยียดให้เราชาวเอเชียนีแ่ หละ ศิลปวัฒนธรรมของพวกเราก็เลยถูกคุกคามนับแต่นน้ั พร้อมๆ กับทีป่ ระวัตศิ าสตร์ของเราก็พลันงุนงงสับสนขึน้ มาทันใด ก็อย่างที่ ทุกคนในปัจจุบนั นีเ้ ข้าใจดี วิชาประวัตศิ าสตร์นน้ั เป็นวิชาทีข่ บั เคลือ่ นด้วยพลวัตรของการเมืองอยูเ่ บือ้ งหลัง และเขียนขึน้ โดยผูช้ นะ เพื่อโปรโมทชัยชนะของตน ถึงจะเป็นวิชาที่มีประโยชน์แต่มันก็ถูกทำ�ให้ด่างพร้อยเช่นนี้ ในยุคนั้น เพื่อให้รอดจากผู้ปองร้าย อัจฉริยะท่านหนึง่ สร้างศิลาจารึกหลักทีห่ นึง่ และนำ�เสนอพ่อขุนรามคำ�แหงมหาราชแห่งสุโขทัย ผูใ้ ห้ก�ำ เนิดอักษรไทย ทัง้ นีก้ เ็ พือ่ เป็นการยืนยันการมีอยู่ของอาณาจักรไทยว่าเก่าแก่ และไม่ได้เป็นของเขมรแต่ประการใด ช่างเป็นการแก้ทางที่สุดยอดจริงๆ จริงหรือ ทีส่ ยามนัน้ เริม่ ต้นทีส่ โุ ขทัย? มันยังเป็นเรือ่ งพิลกึ อยูด่ ี หากจะกล่าวว่าชนชาตินจ้ี ะมีประวัตศิ าสตร์เพียงแค่แปดร้อยปีเท่านัน้ ก็เพราะข้อจำ�กัดมากมายของหลักฐานทีเ่ รามีอยูก่ อ่ นหน้านีน้ แ่ี หละ มันจึงไม่ได้พาเราไปไกลอย่างทีค่ วรจะเป็น แถมมีคนพิเรนทร์ ลากบาลีมาเติม “ย” เข้าไปในคำ�ว่า “ไท” มาแบ่งแยกให้สับสนกันขึ้นไปอีก จนเมือ่ ไม่นานมานีเ้ อง ทีเ่ ราได้พบวิธที จ่ี ะหาคำ�ตอบทีด่ กี ว่าทีผ่ า่ นไปนัน้ มันคือวิชาชีววิทยาพันธุกรรม เมือ่ แผนทีด่ เี อ็นเอสมบูรณ์ ของมนุษย์ถูกทำ�สำ�เร็จในปี 2002 หนังสือประวัติศาสตร์เล่มเยี่ยมที่ปราศจากอคติใดๆ ก็ถูกนำ�เสนอให้แก่โลก และมันได้เปลี่ยน กระบวนทัศน์ขององค์ความคิดที่เราพูดถึงไปแบบพลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน ก่อนอื่น ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ ขอแสดงความยินดี.. พวกเรา.. พวกคุณทุกคน.. เป็นคนแอฟริกา ! เรือ่ งราวนัน้ เริม่ ขึน้ เมือ่ ราวแสนปีกอ่ นคริสตกาล บริเวณพืน้ ทีท่ เ่ี ป็นเอธิโอเปียปัจจุบนั สภาพอากาศที่โหดร้ายเริม่ เปลีย่ นดินแดนที่ อุดมสมบูรณ์ ให้กลายเป็นดินแดนอันกันดารยากแค้น แอฟริกาตอนบนเริม่ เปลีย่ นสภาพเป็นทะเลทราย มีครอบครัวหนึง่ ตัดสินใจทีจ่ ะ หนีจากความยากแค้นนี้ และเริม่ เดินทางอันแสนยาวไกลออกจากแอฟริกา อย่างน่าอัศจรรย์ใจ ผูช้ ายคนหนึง่ ทีว่ ทิ ยาศาสตร์พนั ธุกรรม เรียกว่า อาดัม หรือ ยีนพ่อ Y Chromosome M168 และ ผูห้ ญิงคนหนึง่ ทีท่ างพันธุกรรมเรียก อีฟ หรือ ยีนแม่ Mitochondrial L3 พวกเขาคือบรรพบุรุษของเราชาวเอเชีย ชาวยุโรป และชาวอเมรินเดียนทั้งหมด ครอบครัวของพวกเขา ลูกหลานของพวกเขา ได้เดินทางไปพิชติ ทวีปต่างๆ ในโลกและเพิม่ จำ�นวนประชากรให้แก่โลกจนกลายเป็นพวกเราทัง้ หลายในทุกวันนี้ ความรูน้ บ้ี อกกับเราว่า ทีแ่ ท้เราทัง้ หมดล้วนเป็นพีน่ อ้ งกัน ไม่ส�ำ คัญว่าเราจะสีผวิ อะไร มีชอ่ื เรียกทางเชือ้ ชาติวา่ อะไร ความรูน้ ้ไี ด้น�ำ เราชาวเอเชียทัง้ หลาย ให้ผนึกแนบแน่นเข้าหากันอีกครั้ง ด้วยสายใยของครอบครัวเดียวกัน ข้อมูลทางพันธุกรรมได้บอกกับเราว่าชื่อของชนชาติต่างๆ นัน้ เป็นเพียงสิง่ สมมุตทิ ค่ี นสร้างขึน้ มาเพือ่ แบ่งแยกกัน ข้อเท็จจริงคือราวๆ 85% ของผูช้ ายชาวเอเชียนัน้ มีพนั ธุกรรมร่วมกลุม่ เดียวกัน คือ Y Chromosome Haplogroup O (O*, O2, O3) อันที่จริงก่อนที่วิทยาศาสตร์จะบอกกับเราเช่นนี้ ศิลปวัฒนธรรมของเรานั้น ได้กรู่ อ้ งประกาศความมีอยูข่ องสายใยนีม้ านานแล้วเป็นพันๆ ปี แต่ไม่เคยมีใครสนใจดูหรือสนใจฟัง แผนทีข่ า้ งล่างนีแ้ สดงเส้นทาง อพยพของมนุษย์โบราณ
42
เอเชียโบราณนั้นเป็นดินแดนน่าอยู่ที่สุด คอมพิวเตอร์ทางธรณีวิทยาคำ�นวณสภาพของโลกในช่วงตั้งแต่แสนปีที่แล้วเป็นต้นมา ผลออกมาว่าทีน่ เ่ี หมาะสมทีจ่ ะอยูอ่ าศัยทีส่ ดุ ในขณะทีแ่ อฟริกาและตะวันออกกลางนัน้ แห้งแล้ง ยุโรปก็หนาวเย็นเกินกว่าจะรอดชีวติ ได้ ศจ. สตีเฟน ออพเพ็นไฮเมอร์ นักวิทยาศาสตร์พันธุกรรมชื่อดังถึงกับกล่าวว่า อีเดนนั้นอยู่ในอุษาคเนย์ บรรพบุรษุ ของเรากลุม่ แรกได้มาถึงทีน่ เ่ี มือ่ ราว 75,000 - 50,000 ปีกอ่ นคริสตกาล ตอนนัน้ แผ่นดินซุนดายังอยูเ่ หนือระดับน้�ำ ทะเล แผ่เป็นที่ราบกว้างใหญ่ไพศาล ยีนแม่ที่มาถึงก่อนคือ mtDNA M* และ B, ในขณะที่ยีนพ่อที่มาถึงก่อนคือ yDNA C และ D ปัจจุบันลูกหลานสายตรงของพวกเขาคือ ชาวฑราวิท ชาวทมิฬ ในอินเดียใต้, ชาวอันดามันนิสแห่งเกาะอันดามัน, ชาวปาปัว แห่งปาปัวนิวกิน,ี ชาวออสตราบอริจน้ิ แห่งออสเตรเลีย, ชาวไอนุแห่งฮอกไกโด, ชาวมองโกลแห่งมองโกเลีย, ชาวอินอุ ติ แห่งอล๊าสกา และผสมผสานอยู่ในชาวโพลีนเี ชียนทัว่ ทัง้ อุษาสมุทร พวกเขาไม่ได้ปา่ เถือ่ นอย่างทีค่ ดิ แม้จะชอบการล่าหัวมนุษย์ แต่ความปราณีตใน ศิลปะก็ไม่ได้นอ้ ยหน้าใครเลย สิง่ หนึง่ ทีเ่ ห็นเด่นชัดคือ พวกเขายังคงมีอตั ลักษณ์ชดั เจนทีแ่ สดงถึงความเชือ่ มโยงกับรากเง่าในแอฟริกา ดูได้จาก รูปร่างหน้าตา การแต่งตัว พิธกี รรม ความเชือ่ ดนตรี งานฝีมอื .. แต่ขณะเดียวกัน ต้นเค้าของศิลปะแบบเอเชีย ก็ปรากฏให้เห็น อยู่ในวัฒนธรรมของพวกเขาด้วย คนไทยและคนเอเชียส่วนใหญ่เป็น yDNA O อย่างที่บอกไปแล้วข้างบน แต่เราก็มียีนแม่ ร่วมกับพวกเขา ผู้ชายกลุ่ม yDNA C นั้นสู้กับผู้ชายกลุ่ม yDNA O เพื่อแย่งชิงผู้หญิงกัน และพวก C แพ้จนต้องถอยร่นไปทาง หมูเ่ กาะด้านขวา กล่าวได้วา่ นีอ่ าจเป็นสงครามแรกๆ ของโลกและมีเหตุผลทีจ่ ะเป็นชนวนเหตุทต่ี ามมาด้วยการต่อสูล้ า่ หัวกันนับพันปี ผูช้ าย C นัน้ ผิวดำ� กรีดร่างกายให้เป็นรอยลวดลายต่างๆ เหมือนทีช่ นเผ่าแอฟริกนั ทุกวันนีก้ ย็ งั ทำ�กันอยู่ ส่วนพวก O นัน้ ขาวกว่า และเร้าใจกว่า พวกนีเ้ กทับด้วยการกรีดร่างกายเป็นลวดลายทีส่ วยงามกว่าและยังลงหมึกซ้�ำ ให้ดสู วยยิง่ ขึน้ ศิลปะนีถ้ อื เป็นรากเก่าแก่ ของดินแดนแถบนี้ทีเดียว และมันแพร่หลายไปทั่วโลก ภายหลังที่ลัทธิอาณานิคมยุโรปล่มสลายไป ราว 50,000 - 35,000 ปีกอ่ นคริสตกาล พวกบรรพบุรษุ กลุม่ ทีส่ องก็มาถึงเอเชีย ผูช้ ายกลุม่ นีค้ อื yDNA O ซึง่ ในทีส่ ดุ ได้กลายเป็น ผูพ้ ชิ ติ เอเชีย (ดูจากแผนทีถ่ ดั ไป สีฟา้ คือพวก O ส่วนสีชมพูคอื พวก C) พวกเขาเคลือ่ นลงสูแ่ ผ่นดินซุนดา และในทีส่ ดุ ครอบครอง ดินแดนส่วนใหญ่บริเวณอุษาคเนย์โบราณ ปะทะสังสรรค์กับบรรพบุรุษกลุ่มแรกก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางศิลปวัฒนธรรม มายาวนานนับแต่นั้น นักวิชาการยุคใหม่เชื่อว่านี่คือจุดเริ่มของอารยธรรมแห่งการกสิกรรมยุคแรกของโลก และความรู้นี้ได้ถูก ส่งต่อออกไป และพิจารณาจากปัจจัยและหลักฐานใหม่อื่นๆ .. ความรู้การทำ�สำ�ริดของที่นี่อาจเริ่มขึ้นก่อนเมโสโปตาเมีย
43
ข้อมูลพันธุกรรมบอกว่า ในบรรดาลูกหลานของพวก O นี้ โอรังอัสลิ ชนพื้นเมืองที่อยู่ในมาเลเซีย ในภาคใต้ของไทย เช่น มอเกน โอรังลาโว้ย ในฟิลิปปินส์ ในบอร์เนียว.. เป็นรากที่เก่าแก่ที่สุด ระหว่าง 14,000 - 7,000 ปีกอ่ นคริสตกาล ได้เกิดหายนะร้ายแรงทีส่ ดุ ขึน้ หลังยุคน้�ำ แข็งสิน้ สุด อุณหภูมโิ ลกได้อนุ่ ขึน้ เป็นเหตุให้ น้�ำ แข็งละลาย มหาสมุทรได้ทว่ มแผ่นดินซุนดาของอุษาคเนย์โบราณถึงสามครัง้ ระดับน้�ำ ขึน้ สูงร่วมเกือบ 150 เมตร นีค่ อื สาเหตุท่ี บีบบังคับให้ครอบครัวใหญ่นี้พลัดพรากกันไป บ้างถูกซัดออกทะเลไปสู่เกาะแก่งต่างๆ ในมหาสมุทรไปเป็นชาวโพลีนีเชียน ไมโครนีเชียน เมลานีเชียนต่างๆ .. บ้างหมายหน้ามุง่ สูภ่ เู ขาสูงทุกทิศทุกทาง ไปเป็นโอรังอัสลิบรรพบุรษุ ของมาลายู.. ลงใต้ไปเป็น ชาวสุมาตรา ชวา ซุนดา บาหลี.. ขึ้นสู่แผ่นดินใหญ่ ไปเป็น ละว้า มอญ.. มุ่งสู่แม่น้ำ�โขงตอนบน ไปเป็นบรรพบุรุษ ข่า เขมร จาม เวียต.. มุ่งขึ้นสู่ตอนเหนือไปเป็นบรรพชนไป่เยว่ ซึ่งในที่สุดได้แตกแขนงออกเป็น ชนเผ่าตระกูลไท-กะได จ้วง ต้ง ก้�ำ สุ่ย หลี อีกหลายสิบเผ่า.. พวกเขาจะนำ�เอาอัตลักษณ์ท่โี ดดเด่นนี้ ไปแตกดอกออกช่อจนแผ่ขยายทัว่ ทัง้ เอเชีย ก่อให้เกิดชนชาติมากมาย บนคาบเวลาช่วงนี้เองที่ชื่อของชาติพันธ์ุไทได้ปรากฏขึ้น หลังจากนี้ มีแว่นแคว้นนครรัฐอีกมากมายเกิดขึ้น และล่มสลายลง กว่าจะก่อร่างสร้างตัวเป็นอาณาจักรทีม่ น่ั คง ชาติพนั ธ์ไุ ทนัน้ ปัจจุบนั นักวิชาการยอมรับกันแล้วว่า เป็นลูกหลานของชนเผ่าโบราณ ทีเ่ รียกว่า ไปเยว่ เชือ่ มตรงกับกลุม่ ใหญ่ทส่ี ดุ ทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั ว่า เตียนเยว่ ชนเผ่านี้ได้สร้างบ้านแปงเมืองมายาวนาน ปรากฏอยู่ในบันทึก โบราณของจีนมามากกว่าสองพันปีแล้ว จากเมืองลื้อหลวง (ในกุยโจว), ปานเงิน ปานทอง, ปานอุ๋ยไฟ, เชียงแส, อ้ายลาว, เมืองหมอกขาวมาวหลวงโกสัมพี เมืองนุนสุนคำ� แสนหวีสบิ สองพันนา สิบสองจุไท หิรญั นครเงินยาง ล้านนา.. เนิน่ นานกว่าจะ ถึงยุคของ สุโขทัย อยุธยา.. ไทเราไม่ได้มีประวัติศาสตร์แค่แปดร้อยกว่าปี อย่างที่เคยเรียนกันมา อย่างทีก่ ล่าวไปแล้วว่า ศิลปะและวัฒนธรรมนัน้ แสดงให้เห็นสายใยความเชือ่ มโยงนีม้ าเป็นพันปีแล้ว ก่อนทีว่ ทิ ยาศาสตร์จะบอกเราเสียอีก เราลองมาพิจารณาดูกันสักหลายตัวอย่างว่า ร่องรอยนี้อยู่ที่ใดบ้าง...
44
อย่างแรก.. เรามักได้ยินเสมอว่าอัตลักษณ์อย่างหนึ่งของคนไทยคืออยู่บ้านเสาไม้ใต้ถุนสูง แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวก O และพวก C ในอุษาคเนย์ ต่างก็อยู่บ้านเสาไม้ใต้ถุนสูงทั้งสิ้น เมื่อพิจารณาดูเฉพาะพวก C ซึ่งแม้จะมีอัตลักษณ์ โดยรวมแบบแอฟริกันอยู่ แต่พวกเขาก็ อยู่บนบ้านเสาไม้ใต้ถุนสูงเหมือนกัน (ขณะที่พวกแอฟริกันนั้นอยู่บ้านบนพื้นราบ) นั่นก็เพราะ พวกเขานั้นร่วมชะตากรรมเดียวกันจากภัยพิบัติน้ำ�ท่วมโลกมาด้วยกันนั่นเอง เรายังพบได้จาก ตำ�นานพื้นบ้านเกี่ยวกับน้ำ�ท่วมโลกที่เห็นชัดเจนเลยว่า เป็นเรื่องราวที่มีต้นตอเดียวกัน รวมทั้ง คติต่างๆ เช่น ปรัมปราคติ จักรวาลทัศน์ กำ�เนิดโลก กำ�เนิดมนุษย์ ความเชื่อในเรื่องความตาย ชีวิตหลังความตาย พิธีศพ.. อย่างที่สอง.. หัตถกรรมประเภทจักสานนั้นเป็นเครื่องใช้สอยโบราณของมนุษย์ที่มานานแสนนานแล้ว มีเครื่องจักสานแบบหนึ่ง ทีม่ ลี กั ษณะการสานทีเ่ รียกว่า “สามแฉก” มันน่าอัศจรรย์ใจเป็นอย่างมากทีไ่ ม่วา่ พวกเขาจะอยูห่ า่ งไกลกันแค่ไหน แต่พวก O ทัง้ หมด ก็ทำ�เครื่องจักสานแบบนี้เหมือนกันและเราจะไม่เห็นในกลุ่มอื่นเลย อย่างทีส่ าม.. ก็คอื เรือ.. ทัง้ พวก C และ O นัน้ เป็นชาวน้�ำ พวกเขาคลุกคลีอยูก่ บั น้�ำ และเป็นนักเดินเรือมาแต่โบราณ มีหลักฐาน โบราณคดียนื ยันว่ามีการค้าขายทางเรือทัง้ ทางทะเลและล่องตามแม่น�ำ้ มาแต่โบราณแล้ว เราจะยังคงเห็นได้ในทุกวันนีว้ า่ ธรรมเนียมนิยม ในการใช้เรือ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือแม้แต่ศิลปะในการตกแต่งหัวเรือและลำ�เรือก็ยังมีความคล้ายคลึงกัน ลองดูรูปถัดไป
46
อย่างที่สี่.. การสักร่างกาย คำ�ว่า Tattoo นั้นมาจากคำ�ในภาษาโพลีนีเชียน แน่นอนว่านี่เป็นธรรมเนียมเก่าแก่ของชาวเอเชีย โดยเฉพาะชนอืน่ อย่างชาวยุโรปสมัยก่อนนัน้ ถือเป็นเรือ่ งต้องห้าม เป็นของปีศาจ พวกชนเผ่า O ทัง้ หลายไม่วา่ จะ มาเลย์ อินโด ไทย ไท ลาว เขมร ญีป่ นุ่ มอญ พม่า ฟิลปิ ปินส์ หรือ โพลีนเี ชียนอย่าง เมาริ และฮาวาย.. ล้วนสักร่างกายและมีคติเกีย่ วกับเรือ่ งนี้ คล้ายคลึงกันหมด อย่างสุดท้าย ก็คอื งานศิลปะของพวกเขา ผมมีรปู ตัวอย่างทีเ่ ลือกมาให้ดพู อสมควร ตัง้ แต่ลวดลายของชาวปาปวน ทีแ่ สดงต้นเค้า ของลวดลายแบบอุษาคเนย์ชดั เจน ไปจนถึงลวดลายของกลองสำ�ริดโบราณทีพ่ บในเวียตนามและพบในไทย มีลวดลายศิลปะแบบ ไป่เยว่ชนเผ่าทีเ่ ป็นบรรพบุรษุ ของคนไทย แล้วก็มภี าพเขียนบนหินต่างๆ มาเปรียบเทียบกัน อันนีแ้ สดงถึงต้นเค้าของการเขียนรูป เพื่อบันทึกเรื่องราว ซึ่งจะนำ�ไปสู่ศิลปะการเขียนภาพผนังในเวลาต่อมา สังเกตตัวอย่างรูปช้างทั้งของไทย ของเอเชียกลาง และ ของเปอร์เซีย.. ศิลปะที่เห็นเหล่านี้ บอกตัวมันเองว่าเรียนมาจากโรงเรียนเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย
47
ทีก่ ล่าวมาทัง้ หมด เราคงเห็นแล้วว่าคนไทยนัน้ มีรากเง่าเก่าแก่นบั หมืน่ ปีรว่ มกับพีน่ อ้ งชนเผ่าอืน่ ๆ ในเอเชีย แน่นอนว่าคนไทย-ไทนัน้ มีอัตลักษณ์ส่วนที่แตกต่างเป็นเอกเทศเฉพาะตนอย่างไม่ต้องสงสัย แต่เราก็ต้องยอมรับความจริงด้วยว่า อัตลักษณ์ที่โดดเด่นนั้น มีรากฐานมาจากมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันเก่าแก่และหลากหลาย ร่วมกับพีน่ อ้ งเอเชียนอืน่ ๆ เมือ่ เราตระหนักในความจริงข้อนีแ้ ล้ว เราก็จะตอบคำ�ถามได้อย่างถูกต้องว่า เราเป็นใคร? และ อัตลักษณ์ ไทยคืออะไร
48
ผู้เขียนบทความ พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (Pongprom Snitwong na Ayuthaya) pongprom@mac.com
พงศ์พรหม เริ่มอาชีพนักแต่งเพลง และนักดนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 โดยการแต่งดนตรีประกอบละครเวที “หัวเราะกับน้ำ�ตา” (กำ�กับการแสดงโดย ภาสุรี ภาวิไล) และเข้าทำ�งานเป็นนักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ และนักดนตรีบนั ทึกเสียง กับบริษทั บัตเตอร์ฟลาย มีผลงานเพลงเบื้องหลังศิลปินต่างๆ รวมทั้งแต่งเพลงโฆษณา เพลงประกอบละคร สารคดี และดนตรีประกอบภาพยนตร์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้เข้าทำ�งานที่บริษัท วอร์เนอร์ มิวสิก (ประเทศไทย) ในตำ�แหน่งผู้บริหาร แต่มีความชอบในการแต่งเพลง มากกว่าทำ�งานด้านบริหารจึงย้ายมาทำ�งานกับ เรวัต พุทธินันทน์ ที่บริษัทแกรมมี่ ในตำ�แหน่งนักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์ สังกัด RPG มีผลงานเบื้องหลังศิลปินชื่อดังจำ�นวนมาก จนกระทั่ง เรวัต พุทธินันทน์ เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2539 จึงลาออก มาเปิดสถาบันผลิตบุคลากรสายอาชีพบันเทิง ชื่อ Gen-X Academy ปัจจุบัน พงศ์พรหม ยังทำ�งานบริหารให้บริษัท Butterfly Records และทำ�งานค้นคว้าวิจยั เกีย่ วกับดนตรี World Music และดนตรีในอุษาคเนย์ เป็นอาจารย์พเิ ศษวิชาการแต่งเพลงให้กบั คณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสอนวิชาการแต่งเพลง การใช้คอมพิวเตอร์ ในงานดนตรี และการออกแบบเสียง ที่ Gen-X Academy
ปริญญา โรจน์อารยานนท์
58
ผู้เขียนบทความ ปริญญา โรจน์อารยานนท์ (Prinya R.nont) dbdesign@ksc.th.com
ศิลปินดีเด่นศิลปาธร สาขากราฟิกดีไซน์คนแรกของประเทศไทย ที่เริ่มสนใจในศาสตร์ตัวพิมพ์ตั้งแต่สมัยยังอ่านตัวพิมพ์ตะกั่ว ในหนังสือแบบเรียนชัน้ ประถม ก่อนสนุกกับการปรับสโตรกและเคิรน์ นิง่ บนแท่นพิมพ์ดดี ในสมัยเรียนมัธยม จนหลังจบการศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาและเพือ่ นๆ ก็ยดึ งานการออกแบบสิง่ พิมพ์เป็นอาชีพภายใต้ชอ่ื Dear Book ก่อนพัฒนากลายเป็นบริษทั ทีเ่ ป็นหนึง่ ในเสาหลักของวงการไทป์ดไี ซน์ของเมืองไทย อย่าง DB Design เจ้าของฟอนต์ตระกูล DB ฟอนต์ที่ดีไซเนอร์แทบทุกคนต้องมีไว้ติดคอมพิวเตอร์
เลขนศิลป์ออกแบบ “ไทย” ไพโรจน์ พิทยเมธี
เคยมีคำ�ถามกับตัวเองและเพื่อนๆนักออกแบบกราฟิกบ่อยๆ ว่าเอกลักษณ์ของกราฟิกไทย หรือเลขนศิลป์ไทยเป็นยังไง !!! ผมว่ามันเป็นคำ�ถามที่ในวงการกราฟิกดีไซน์เองก็ก�ำ ลังหาคำ�ตอบอยูเ่ หมือนกัน เห็นได้จากการจัดสัมมนาหรือนิทรรศการทีเ่ กีย่ วกับ การออกแบบกราฟิกทีแ่ สดงเอกลักษณ์บอ่ ยๆ และเวลาที่ได้ดงู านกราฟิกของต่างประเทศทีเ่ ค้าเอาเอกลักษณ์ประจำ�ชาติของตัวเอง มาออกแบบจะรู้สึกว่าทำ�ไมเค้าเห็นตัวตนตัวเองได้ชัดเจนอย่างนั้น “เราเห็นตัวตนของตัวเองรึยัง”
โปสเตอร์งาน “ตื่นเถิดกราฟิกไทย”
และผมก็เคยได้รว่ มจัดสัมมนาและนิทรรศการเรือ่ งนีเ้ หมือนกัน เมือ่ 1 ตุลาคม 2548 ชื่องานว่า “ตื่นเถิดกราฟิกไทย” ซึ่งได้รับความสนใจจากคนกราฟิกและสื่อต่างๆ เป็นจำ�นวนมาก นับว่าเป็นการจุดกระแสเรือ่ งการออกแบบกราฟิกให้มเี อกลักษณ์ไทย ได้พอสมควร การสัมมนาแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกรอบเช้า มีผู้เชี่ยวชาญด้าน เอกลักษณ์ ไทย ศิลปะไทย และศิลปินที่ทำ�งานเรื่องไทยๆ อาทิเช่น อ.จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ อ.ปัญญา วิจินธนสาร อ.สุธี คุณาวิชยานนท์ อ.เอนก นาวิกมูล และช่วงบ่าย เป็นนักออกแบบกราฟิกชัน้ นำ�ของเมืองไทยอาทิเช่น ไพโรจน์ ธีระประภา (โรจสยามรวย) ปุณลาภ ปุณโณทก (Color Party) ปริญญา โรจน์อารยานนท์ (DB Font) สุรเชษฐ เฑียรบุญเลิศรัตน์ (Blue Fairy) ประชา สุวรี านนท์ (SC Matchbox) และวิสุทธิ์ มณีรัชตวรรณ (Plan Graphic) ซึ่งก็ไม่ได้บทสรุปอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เนือ่ งจากปัญหาของผูเ้ ชีย่ วชาญด้านเอกลักษณ์ไทยช่วงเช้าไม่รเู้ รือ่ งของการออกแบบ กราฟิก สิง่ ทีบ่ อกมาบางอย่างก็ไม่สามารถนำ�มาออกแบบได้ ส่วนนักออกแบบกราฟิก ก็ออกตัวว่า ไม่ได้รเู้ รือ่ งเอกลักษณ์ไทยมากนักจึงไม่สามารถบอกได้วา่ เอกลักษณ์ของ กราฟิกไทยเป็นยังไง ความคิดเห็นสองส่วนมันจึงไม่มาบรรจบกัน ก็เลยมีค�ำ พูดหนึง่ ฝากไว้ว่า น่าจะมีใครทำ�วิจัยเพื่อให้สองส่วนนี้มาบรรจบกันสักที
คำ�ถามและปัญหาในวันนัน้ จนถึงวันนีก้ ผ็ า่ นมาล่วงเลยมา 5-6 ปีแล้ว ผมได้ค�ำ ตอบทีเ่ ป็นผลจากการทำ�วิจยั ในโครงการวิทยานิพนธ์ ปริญญาโท ภาควิชานิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในหัวข้อการวิเคราะห์องค์ประกอบการออกแบบเลขนศิลป์ ทีแ่ สดงเอกลักษณ์ไทย (The Analysis Of Graphic Design Elements Reflecting Thai Identity) ซึง่ เป็นผลวิจยั ทีห่ ลายคนอาจจะ คิดว่ามันเป็นการรวบรวมความเป็นไทยจากสิ่งที่มีอยู่แล้วหรือคนไทยรู้อยู่แล้ว แต่ผมก็จะถามกลับไปบ้างว่า “มีใครกล้ายืนยัน หรือแน่ใจว่ามันเป็นเรื่องที่คนไทยทุกคนส่วนใหญ่รู้อยู่แล้ว...” ซึ่งความเป็นจริงในปัจจุบันก็ยังมีการนำ�เสนอความเป็นไทย ในอีกแง่มุมหนึ่งของความเป็นไทยแบบวิถีชีวิตชาวบ้านๆ ซึ่งบางอันก็สวยงามแต่มากกว่าครึ่งก็หมิ่นแหม่ระหว่างความงาม กับ ความอัปลักษณ์ ซึง่ ก็ยง่ิ เพิม่ ความสับสนหรือความลังเลสงสัยให้คนไทยเพิม่ ขึน้ ไปอีก แต่ตามความหมายของ เอกลักษณ์ไทยคือ “แบบอย่างวัฒนธรรมและบรรทัดฐานทางความคิด ค่านิยมทีเ่ ห็นว่าดีวา่ งามร่วมกัน มีเอกลักษณ์เฉพาะ สร้างเสริมและเปลีย่ นแปลงได้” ฉะนัน้ เอกลักษณ์ไทยจึงต้องเป็นสิง่ ทีค่ นไทยทุกคนเห็นชอบด้วยว่าเป็นสิง่ ดีๆ สิง่ ทีส่ วยงามเท่านัน้ ซึง่ ถ้าเห็นว่าไม่งามก็เปลีย่ นแปลง ตัดออกอะไรทีเ่ ห็นว่าดีกส็ ง่ เสริมเพิม่ เติมกันไป ถ้าเป็นสิง่ ไม่ดไี ม่สวยงามต้องใช้อกี คำ�หนึง่ ว่า “อัปลักษณ์ไทย” ทีเ่ ป็นคำ�ตรงกันข้ามกัน จะดีกว่า
60
และก็มีคำ�พูดอีกคำ�หนึ่งพูดออกมาว่า “ทำ�ไมเราไม่หาเอกลักษณ์ ไทยใหม่ๆ มาบ้าง จะได้ไม่น่าเบื่อ” ซึ่งผมก็แค่คิดกลับไปว่า ผูพ้ ดู ก็คงไม่ได้รเู้ รือ่ งความเป็นไทยทีล่ กึ ซึง้ เพียงพอ หรือไม่เห็นคุณค่าในสิง่ ทีต่ วั เองมีเลย จึงพูดออกมาอย่างนัน้ ผมว่าแค่หยิบใช้ สิง่ ทีม่ อี ยูจ่ นชัว่ ลูกชัว่ หลานก็ยงั ใช้ไม่หมด หรือศึกษาให้ลกึ ซึง้ ในชัว่ ชีวติ คนๆหนึง่ ในทุกสิง่ ทีม่ กี ย็ งั ไม่ครบเลยมัง้ แล้วจะเสียเวลาไปหา สิ่งอื่นทำ�ไม การศึกษาวิจยั ในครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบ และหาแนวทางการออกแบบเลขนศิลป์ ทีแ่ สดงเอกลักษณ์ไทย เพือ่ ทีน่ กั ออกแบบจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจหรือประยุกต์ เพือ่ นำ�ไปใช้ในงานออกแบบเลขนศิลป์ทต่ี อ้ งการสือ่ ถึงความเป็นไทย ได้สะดวกและมีความรู้ด้านเอกลักษณ์ ไทยมากขึ้น เพื่อการพัฒนารูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเลขนศิลป์ไทยต่อไป และเพื่อ ต้องการช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติไปกับงานออกแบบเลขนศิลป์อีกด้วย จากสมมติฐานของการวิจัยที่ว่าการถ่ายทอดวัฒนธรรมวิถีชีวิต บุคลิกไทยลงในงานออกแบบเลขนศิลป์ทำ�ให้การออกแบบ สามารถแสดงถึงเอกลักษณ์ไทยได้ และจากการวิเคราะห์ได้แบ่งองค์ประกอบเลขนศิลป์ไทยเป็น 1. โทนสีไทย 2. ตัวอักษรไทย 3. ภาพที่มีเอกลักษณ์ไทย ถ้านักออกแบบเลขนศิลป์ได้ใช้องค์ประกอบทั้ง 3 เหล่านี้ ก็จะช่วยให้การออกแบบแสดงถึงเอกลักษณ์ไทยได้ และการวิเคราะห์ จัดอันดับความนิยมและการคัดสรรภาพที่มีเอกลักษณ์ไทยที่แบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 1. ชาติ 2. ศาสนา 3. พระมหากษัตริย์ 4. ประชาชน รวมถึงการวิเคราะห์ถึงบุคลิกลักษณะของแต่ละหมวดก็ช่วยให้นักออกแบบสะดวก และง่ายต่อการนำ�ไปใช้ในการสร้างสรรค์ ตามบุคลิกสินค้าที่จะออกแบบยิ่งขึ้นด้วย ผลของการวิจัยจะแบ่งออกตามองค์ประกอบที่ส�ำ คัญของการออกแบบเลขนศิลป์ไทยคือ
ผังแสดงองค์ประกอบเลขนศิลป์ไทย
61
ผลการวิเคราะห์โทนสีไทย เป็นเอกลักษณ์ไทยทีพ่ บเห็นค่อนข้างน้อยในการนำ�มาใช้ในการออกแบบเลขนศิลป์ไทย ส่วนมากโทนสีของไทยและชือ่ เรียกสีตา่ งๆ ของไทยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวจะใช้กันในหมู่ของช่างหัตถศิลป์ ไทยพวกหัวโขน, จิตรกรรมไทย, ประเพณี เป็นส่วนมาก ไม่มีการส่งเสริม เผยแพร่ หรือนำ�มาวิเคราะห์และปรับใช้ หรือเปรียบเทียบให้เป็นแบบสากล ทำ�ให้เลือนหายไปทุกที และ จากผลการวิเคราะห์และเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ตามระบบการพิมพ์ และการจับคูส่ ตี ามหลักสากลก็จะทำ�ให้การใช้งานในการออกแบบ เลขนศิลป์ง่ายขึ้น น่าจะทำ�ให้แพร่หลายในการนำ�ไปใช้ได้มากขึ้น กลายเป็นความภูมิใจของคนไทย และบ่งบอกเอกลักษณ์ ความเป็นไทยได้อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางความคิดภูมิปัญญาและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ให้กับงานออกแบบ เลขนศิลป์ไทยได้ โทนสีของไทยโดยส่วนมากจะเป็นสีที่ได้จากธรรมชาติเป็นแบบสีหม่นไม่สดใสเหมือนกับสีสมัยใหม่ ให้บุคลิกของความคลาสสิก ขลัง ย้อนยุค เก่า หรูหราตระการตา เป็นต้น อาจจะไม่ถูกใจหรือไม่ตรงกับบุคลิกภาพของการนำ�ไปใช้ในกลุ่มของประชาชนที่ ใช้ในงานรื่นเริงสนุกสนานที่ต้องการให้สะดุดตา มีการใช้สีสดๆ สีสะท้อนแสงในงานออกแบบเลขนศิลป์อยู่มากมาย ซึ่งก็สะท้อน บุคคลิกภาพของคนไทยที่รักสนุกได้เป็นอย่างดีถือเป็นเอกลักษณ์ ไทยที่ไม่สามารถมองข้ามได้
62
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thai-graphic.com
63
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thai-graphic.com
64
ผลการวิเคราะห์ตัวอักษรไทย เป็นเอกลักษณ์ที่ค่อนข้างเด่นชัดที่สุดในบรรดาของเอกลักษณ์ ไทยแบบต่างๆ จากการวิเคราะห์ความนิยม หรือการนำ�มาใช้ ในการออกแบบเลขนศิลป์ ไทย อันเนื่องมาจากเป็นภาษาประจำ�ชาติที่สืบทอดกันมายาวนานใช้กันแพร่หลายในหมู่คนไทย สื่อสารได้เข้าใจมากที่สุด ตัวอักษรไทยจึงเป็นตัวแทนของเอกลักษณ์ ไทยได้อย่างชัดเจนที่สุด และโดยลักษณะของตัวอักษรที่มี เอกลักษณ์แตกต่างจากภาษาและอักษรของชนชาติอน่ื ทำ�ให้เมือ่ ใดทีน่ �ำ ตัวอักษรไทยไปออกแบบเลขนศิลป์ตา่ งๆ ก็จะดูมเี อกลักษณ์ไทย ขึน้ มาทันที ถึงแม้วา่ ส่วนประกอบอืน่ อาจจะดูไม่ใช่เอกลักษณ์ไทยก็ตาม และจากการทีต่ วั อักษรไทยมีประวัตอิ นั ยาวนานจึงมีเรือ่ งของ ยุคสมัยของตัวอักษรมาเกีย่ วข้อง ซึง่ แต่ละแบบตัวอักษรต่างยุคสมัยก็สามารถบ่งบอกบุคลิกลักษณะทีแ่ ตกต่างกันตามประวัตศิ าสตร์ ของตัวอักษรนัน้ ๆ และจากลักษณะรูปแบบของตัวอักษรไทยทีแ่ ตกต่างกันจึงจะต้องมีการศึกษาบุคลิกลักษณะการนำ�ไปใช้ให้ตรงกับ ลักษณะของงานต่อไปนอกจากนั้นก็ยังต้องคำ�นึงถึง ชนิดของตัวอักษรไทยที่มีให้เลือกใช้คือ 1. แบบดั้งเดิมหรือแบบมีหัว เป็นแบบที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด ซึ่งหัวอักษรนี้แหละที่เป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทยเรา 2. แบบหัวตัดหรือแบบไม่มีหัว ให้อารมณ์ความรู้สึกถึงความทันสมัย 3. แบบลายมือ 4. แบบคัดลายมือ แสดงความเป็นทางการ และให้ความรู้สึกถึงพิธีรีตรองแบบไทยๆ นอกจากนี้ตัวอักษรยังให้ความรู้สึกถึง ความเคารพและให้เกียรติกัน 5. แบบประดิษฐ์ เป็นตัวอักษรที่ดัดแปลงเพื่อให้เข้ากับงานต่างๆ ที่จะออกแบบ ทั้งนี้ยังต้องคงความสะดุดตาน่าสนใจ บุคลิกของตัวอักษร ได้แก่ ตัวอักษรแบบตัวปกติ ตัวอักษรแบบตัวเอียง ตัวอักษรแบบตัวหนา ตัวอักษรแบบตัวหนาและเอียง เป็นต้น การใช้นน้ั ก็แล้วแต่สถานการณ์ของงาน เช่น เมือ่ เราต้องการเน้นข้อความทีส่ �ำ คัญ เราอาจจะใช้ตวั ทีต่ วั หนาหรือเอียงเพือ่ ให้สะดุดตา ในกลุม่ ตัวอักษรทีเ่ ราคุน้ ตากันอยูแ่ ล้ว การใช้บคุ ลิกของตัวอักษรในกลุม่ นีจ้ ะใช้ในการออกแบบหัวเรือ่ งหรือใจความสำ�คัญต่างๆ เป็นหลัก ตัวอักษรแต่ละบุคลิกก็ให้ความรูส้ กึ ทีแ่ ตกต่างกันออกไปในการเลือกใช้กแ็ ล้วแต่นกั ออกแบบจะเห็นว่านำ�ไปจัดวางแล้วแต่เหมาะสม และสิ่งที่ควรคำ�นึงถึงของนักออกแบบกราฟิกคือ ประวัติตัวอักษรของไทยในยุคต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ที่มาที่ไปหรือรู้จักบุคลิก ของตัวอักษรในยุคต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ผลการวิเคราะห์ภาพที่มีเอกลักษณ์ไทย เอกลักษณ์ไทยมีความสำ�คัญมากถ้าเปรียบเทียบระหว่างเอกลักษณ์กบั เอกราชของชาติ เอกราชเมือ่ พลาดพลัง้ สูญเสียไปแล้วก็อาจ กูใ้ ห้กลับฟืน้ คืนได้อกี แต่ส�ำ หรับเอกลักษณ์ของชาตินน้ั ถ้าสูญเสียไปแล้วนัน้ ก็ยากนักทีจ่ ะแก้ไขให้กลับฟืน้ คืนได้อกี เอกลักษณ์เป็นสิง่ ที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา จึงจำ�เป็นต้องช่วยกันอนุรักษ์เอกลักษณ์ที่มีความสำ�คัญและดีงามอยู่เดิมนั้นให้คงอยู่ต่อไป โดยการเผยแพร่นำ�มาออกแบบให้อยู่ในงานเลขนศิลป์เพื่อการบันทึกประวัติศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้ และเป็นการประชาสัมพันธ์ เอกลักษณ์ของชาติไปในตัวเอง และขจัด และสกัดกั้นสิ่งที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ทั้งที่มีอยู่เดิม และจากแหล่งภายนอกให้หมดไป หรือไม่ให้ความสำ�คัญกับสิ่งเหล่านั้นโดยไม่น�ำ มาเผยแพร่ออกแบบ จากผลการวิเคราะห์จากความนิยมในการออกแบบเลขนศิลป์ที่ใช้เอกลักษณ์ ไทยร่วมออกแบบ กับผลงานการออกแบบจาก แหล่งข้อมูลต่างๆ และการคัดสรรแล้วจากแหล่งต่างๆ จำ�นวนทั้งหมด 1,386 ชิ้น นับจำ�นวนเอกลักษณ์ ไทยได้ 3,654 อย่าง ได้เห็นลำ�ดับความนิยมความสำ�คัญที่ได้รับการคัดสรรมาอย่างชัดเจน และได้จัดแบ่งเอกลักษณ์ ไทยออกเป็น 4 กลุ่มที่ชัดเจน ครอบคลุมความเป็นตัวตนหรือเอกลักษณ์ของชาติไว้ได้อย่างครบถ้วนทีส่ ดุ เพือ่ ให้ครอบคลุมและตรงกับการใช้งานในการออกแบบ เลขนศิลป์มากที่สุด คือ 1. ชาติ 2. ศาสนา 3. พระมหากษัตริย์ 4. ประชาชน
65
นอกจากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการออกแบบเลขนศิลป์ที่แสดงเอกลักษณ์ ไทย เรื่องโทนสีไทย, ตัวอักษรไทย และภาพที่ มีเอกลักษณ์ไทยแล้ว ยังได้ผลสรุปจากผลงานการออกแบบทัง้ หมด 1,386 ชิน้ และจากการสรุปผลจากผูเ้ ชีย่ วชาญพอจะสรุปรูปแบบ การออกแบบเลขนศิลป์ไทยในภาพรวมได้ดังนี้ 1. หลากอารมณ์ ซึ่งเกิดจากผลการวิเคราะห์ที่มีการแบ่งกลุ่มของการใช้เอกลักษณ์ ไทยที่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มชาติ กลุ่มศาสนา กลุม่ พระมหากษัตริย์ และกลุม่ ประชาชน ซึง่ แต่ละกลุม่ ก็ให้ความรูส้ กึ และรูปแบบของเอกลักษณ์ไทยได้อย่างแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทำ�ให้เอกลักษณ์ ไทยของเลขนศิลป์ ไทยมีความหลากหลายรูปแบบ ไม่เหมือนกับเอกลักษณ์เลขนศิลป์อีกหลายประเทศที่มี รูปแบบเฉพาะตัวแบบใดแบบหนึง่ ยกตัวอย่างเช่น เอกลักษณ์เลขนศิลป์ของประเทศญีป่ นุ่ จะมีลกั ษณะทีเ่ รียบง่ายน้อยๆ เว้นพืน้ ทีว่ า่ ง เป็นส่วนใหญ่ ไม่เหมือนกับของไทยที่มีอารมณ์หลากหลายตามการแบ่งกลุ่มดังนี้ กลุ่มชาติ 1. เร้าใจ ปลุกระดม สะท้อนเหตุการณ์ในการสร้างชาติในยุคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะไทยได้ผา่ นประวัตศิ าสตร์มายาวนาน เช่น ในสมัยจอมพลสฤษต์ ธนะรัตน์ ทีม่ กี ารออกแบบเลขนศิลป์เพือ่ การโฆษณาปลุกระดมเพือ่ การรักชาติออกมามากมาย เป็นต้น 2. ผสมผสาน เหมือนมัว่ แต่มเี อกลักษณ์ชดั เจน มาจากอุปนิสยั ของคนไทยทีม่ กั จะปรับตัวโอนอ่อนผ่อนตาม หรือปรับสภาพตัวเอง ได้ทุกสถานการณ์ ทำ�ให้เกิดการผสมผสานกันในทุกเรื่อง เช่น ชนชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม เป็นต้น จึงทำ�ให้อารมณ์ของการ นำ�เอกลักษณ์ของแต่ละอย่างกัน มาออกแบบเลขนศิลป์ทม่ี ผี สมกันได้อย่างลงตัว เช่น การหยิบจับลายจีน ลายฝรัง่ มาผสมกับ ลายไทย จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ในงานเลขนศิลป์ไทยไปด้วยเช่นกัน เป็นต้น กลุ่มศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นบั ถือศาสนาเดียวกันยึดมัน่ ในหลักธรรมของพุทธศาสนา จึงมีความกลมเกลียวกันเป็นปึกแผ่น รวมถึงนิสยั ใจคอ ที่เกิดมาจากพุทธศาสนาเป็นสำ�คัญ จึงทำ�ให้รูปแบบในการออกแบบเลขนศิลป์มีลักษณะดังนี้ 1. ขลัง ลึกลับ เพือ่ สะท้อนความเชือ่ และศาสนาของสังคมไทยทีช่ อบของทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ มีอทิ ธิฤทธิ์ จึงได้มกี ารออกแบบทีต่ อบสนอง ความเชื่อเหล่านั้น ทั้งจากศาสนาพุทธและความเชื่ออื่นๆ 2. วิจติ ร บรรจง ระยิบระยับ อันเนือ่ งจากความเชือ่ ว่าการทำ�สิง่ ของเพือ่ ถวายเป็นพุทธบูชาควรทำ�ด้วยความละเอียดปราณีตทีส่ ดุ จึงมีผลสะท้อนในงานออกแบบเลขนศิลป์ไทยทีผ่ า่ นศิลปะลายไทยซึง่ มีทม่ี าจากพุทธศิลป์โดยตรง และกลายเป็นนิสยั ของการรับ ปรับเปลีย่ นศิลปะจากแหล่งต่างๆ ให้มคี วามปราณีตมากยิง่ ขึน้ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของไทยในทีส่ ดุ เช่น ลายทีม่ มี าจากเขมร อินเดีย แต่ไทยได้มีการปรับเปลี่ยนจนมีลายปราณีตละเอียดอ่อนช้อยมากยิ่งขึ้นจนกลายเป็นเอกลักษณ์ ไทย เป็นต้น กลุ่มพระมหากษัตริย์ 1. ความรัก ความเทิดทูน ความผูกพัน จากทีก่ ารปกครองระบบกษัตริยข์ องไทยได้สบื ทอดมายาวนาน จนสถาบันกษัตริย์ได้เป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยที่เป็นความรักความผูกพัน เป็นสิ่งยึดเหนี่ยว เป็นพลัง เป็นแรงบันดาลใจของคนไทย จึงได้มีการ นำ�มาออกแบบเลขนศิลป์ไทยด้วย เพื่อแสดงถึงความเทิดทูนดังกล่าว 2. ปราณีต บรรจง เป็นศิลปะชัน้ สูงจากแนวคิดของระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช ทีย่ กย่องกษัตริยว์ า่ เป็น สมมุต-ิ เทพ เปรียบเสมือนว่าเป็นเทพเทวดา เป็นผูม้ บี ญุ มีบารมีมาเกิด สิง่ ของทีท่ �ำ ถวายกษัตริยจ์ ะต้องมีความปราณีตงดงามทีส่ ดุ เพือ่ จะได้ ผลบุญมากนั่นเอง เหมือนแนวคิดเดียวกับความเชื่อทางศาสนาเช่นกัน
66
กลุ่มประชาชน 1. มีสสี นั สดใส จัดจ้าน จะพบได้ในเลขนศิลป์ท่ใี ช้ในกลุม่ ของประชาชนทีม่ บี คุ ลิกสนุกสนาน รักสนุก ไม่จริงจังกับชีวติ จึงมีการนำ� บุคลิกเหล่านีม้ าใช้ในการออกแบบเลขนศิลป์ จึงเป็นภาพของเอกลักษณ์เลขนศิลป์ไทยอีกแบบหนึง่ และได้รบั ความนิยมมากขึน้ เพราะถูกจริตกับคนไทย 2. มีอารมณ์ขนั อารมณ์ดี จากบุคลิกทีร่ กั สนุกของคนไทยจึงมีอารมณ์ขนั อารมณ์ดี ซึง่ เอกลักษณ์นก้ี จ็ ะปรากฎบ่อยๆ ในงานโฆษณา ซึง่ ได้รบั การยอมรับจากทัว่ โลกว่าเป็นเอกลักษณ์ในงานโฆษณาของไทย ซึง่ ก็มาปรากฎในงานออกแบบเลขนศิลป์ได้ดว้ ยเช่นกัน 3. เชยๆ ย้อนยุค เพราะประเทศไทยได้ผา่ นยุคสมัยการออกแบบเลขนศิลป์มายาวนานและมีการออกแบบทีด่ ี และรุง่ เรืองใน ยุคก่อนๆ จึงมีการนำ�เอาผลงานการออกแบบก่อนหน้านีม้ าออกแบบใหม่ เพือ่ ให้มรี ปู แบบทีย่ อ้ นยุคเชยๆ สะท้อนเอกลักษณ์การออกแบบ เลขนศิลป์ไทยได้เป็นอย่างดี 2. รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์การออกแบบเลขนศิลป์ไทยที่หลากหลาย 2.1 มียอดแหลม ซึ่งมีรูปทรงร่วมมาจากสิ่งของหลายอย่างของไทย เช่น ยอดเจดีย์ ยอดปราสาท มือที่ไหว้ ชฎา มงกุฎ ฯลฯ อันเนือ่ งมาจากความเชือ่ เรือ่ งสวรรค์เขาพระสุเมรุ เมือ่ นำ�มาออกแบบในงานออกแบบเลขนศิลป์กจ็ ะสามารถแสดงเอกลักษณ์ไทย ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 2.2 ใช้ลวดลายทีว่ จิ ติ รบรรจง ระยิบระยับ อันเนือ่ งจากความเชือ่ ว่าการทำ�สิง่ ของเพือ่ ถวายเป็นพุทธบูชาควรทำ�ด้วยความละเอียด ปราณีตทีส่ ดุ จึงมีผลสะท้อนในงานออกแบบเลขนศิลป์ไทยทีผ่ า่ นศิลปะลายไทยซึง่ มีทม่ี าจากพุทธศิลป์โดยตรงและกลายเป็นนิสยั ของการรับปรับเปลี่ยนศิลปะจากแหล่งต่างๆ ให้มีความปราณีตมากยิ่งขึ้นจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของไทยในที่สุด 2.3 ใช้สพี เิ ศษสีทอง ปัม้ ฟอยล์ทอง หรือผสมสีออฟเซ็ทใกล้เคียงสีทอง มาจากความคิดของคนไทยและคนเอเชียว่า เป็นสิง่ ทีส่ งู ค่า ศักดิ์สิทธิ์ เป็นทิพย์เหมือนสวรรค์ จึงมักจะใช้สีทองนี้ในงานออกแบบเลขนศิลป์ด้วย เพื่อให้รู้สึกว่าพิเศษมีระดับ มีคุณค่า 2.4 ใช้ลายไทย เป็นสิ่งที่นิยมมากที่สุดในการนำ�มาออกแบบเป็นเลขนศิลป์ ไทย เช่น กระหนก ประจำ�ยาม ฯลฯ หรือนำ�ทั้ง ภาพลายไทยมาออกแบบ 2.5 ใช้ตัวอักษรและตัวเลขไทย เพราะตัวอักษรและตัวเลขไทยเป็นตัวอักษรที่มีรูปทรงที่มีเอกลักษณ์สูง และแตกต่างชัดเจน นอกเหนือจากการนำ�มาใช้เพือ่ การสือ่ สารยังมีการจัดวางออกแบบให้สวยงามเหมือนงานออกแบบ Typography ของต่างประเทศ 2.6 ย้อนยุค เก่าๆ ขลังๆ เชยๆ การนำ�ภาพเก่าๆ ตัวหนังสือรูปแบบเก่าๆ ของประกอบฉากเก่าๆ เช่น สิง่ ของเก่าทำ�ให้เก่า หรือ ใช้สแี บบทึมๆ มืดๆ สีไม่สด สีจากธรรมชาติเหล่านีเ้ ป็นต้น ก็จะทำ�ให้เป็นรูปแบบทีด่ เู ป็นเอกลักษณ์ไทยในงานออกแบบเลขนศิลป์ ที่นิยมใช้กันมากเช่นกัน 2.7 สีสดๆ สีสะท้อนแสง การออกแบบเลขนศิลป์ในหมวดของประชาชนหรือหมวดอื่นที่ต้องการความสดใสรื่นเริง ก็มักจะใช้สีที่ สดมากๆ เช่น ป้ายงานวัดโรงลิเก เป็นต้น ซึง่ อาจจะเป็นเพราะความรูท้ างด้านศิลปะและการออกแบบในการใช้สนี อ้ ย ซึง่ อาจจะ เป็นผลดีในแง่ของความกล้า เพราะไม่ตอ้ งกลัวการใช้สที ผ่ี ดิ ตามหลักทฤษฎีสี แต่ถา้ เทียบกับการใช้สสี ดๆ แบบนี้ในประเทศอืน่ ๆ ก็มีความแตกต่างกัน เป็นเอกลักษณ์ของใครของมัน ถ้านักออกแบบได้นำ�เอกลักษณ์นี้มาพัฒนาเพิ่มอีกนิดหน่อย ก็จะได้ เอกลักษณ์ในการใช้สีที่เป็นเอกลักษณ์อีกแบบของไทยก็ได้
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thai-graphic.com
67
ผู้เขียนบทความ ไพโรจน์ พิทยเมธี (Pairoj Pittayamatee) tc8z@hotmail.com
จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี จากสาขาวิชาประยุกต์ศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เข้าทำ�งานที่ DM&S Advertising ในปี 2537 ไพโรจน์ ได้ก่อตั้งบริษัท Advertising & Graphic Agency ในชื่อบริษัท ครีเอทโซน จำ�กัด และ ยังได้รบั เชิญให้เป็นวิทยากรให้กบั สถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ อยูเ่ สมอ ในปี 2548 เขาเป็นประธานจัดสัมมนา และนิทรรศการ “ตื่นเถิดกราฟิกไทย” และยังเป็นประธานจัดงาน Gift Festival 2548 เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี คณะมัณฑนศิลป์ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ออกแบบและจัดนิทรรศการ “Design in My Lift” ของงานนี้อีกด้วย ในปี 2552 เขาได้สำ�เร็จการศึกษา ในระดับปริญญาโทจาก สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นอาจารย์พิเศษให้กับ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า พระนครเหนือ และวิทยาลัยราชสุด (คนพิการทางการได้ยิน) คณะวิชาการออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
Missing Thai or This is Thai โอภาส ลิมปิอังคนันต์
จากพยัญชนะไทยทั้งหมด 44 ตัว มี 2 ตัวที่น่าสนใจคือ ฃ (ขวด) พยัญชนะตัวที่ 3 เป็นพยัญชนะชนิดหัวหยักหรือหัวแตก กับ ฅ (คน) พยัญชนะตัวที่ 5 ในลำ�ดับถัดจาก ค (ควาย) และก่อนหน้า ฆ (ระฆัง) ทีน่ า่ สนใจก็ตรงทีต่ วั อักษรทัง้ สองตัวนีล้ ว้ นไม่มี คำ�ศัพท์จากตัวอักษรดังกล่าวถูกบรรจุไว้ในพจนานุกรมไทย หรือ “ไม่ปรากฎที่ใช้งาน” มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่นั้น เข้าใจว่าสาเหตุหลักอันเกิดจากการที่เครื่องพิมพ์ดีดไทยในยุคแรกๆ มีจำ�นวนแป้นพิมพ์ที่ไม่พอรองรับจำ�นวนพยัญชนะทั้งหมด ของไทยที่มีในขณะนั้น และเป็นพยัญชนะที่ไม่ค่อยได้ใช้ ซึ่ง “ทดแทน” ได้ จึงทำ�ให้มีการตัดตัวพยัญชนะทั้งสองออกไป จึงทำ�ให้เกิดความคิดอยูส่ องอย่างว่า หนึง่ เราช่างโชคดีเหลือเกินทีว่ นั นัน้ เครือ่ งพิมพ์ดดี มันยังมีแป้นพอให้ส�ำ หรับ 42 ตัวทีเ่ หลือ และประการทีส่ อง การทีม่ นั ไม่ถกู ใช้แล้วยังต้องคงไว้หรือมีไว้ให้ลกู หลานเราท่องจำ�อยูน่ น้ั มันเป็นเพราะอะไรกันแน่ อาจเป็นเพราะว่า ไม่อยากให้ลืมหรือแค่ให้มีครบจำ�นวน 44 หรือเพราะความเกรงใจ หรือเพราะความขี้เกียจที่จะมาอธิบาย หรือเพราะความขี้อาย หรือก็แค่ช่างมันให้ท่องเพิ่มอีกสองตัวคงไม่ยากเกินไป หรือปล่อยไว้ให้คนรุ่นหลังถาม
69
ผู้เขียนบทความ โอภาส ลิมปิอังคนันต์ (Opas Limpi-Angkanan) opas@fontory.co.th
เริ่มก่อตั้งบริษัท Fontory จำ�กัด ที่ให้ค�ำ แนะนำ�และให้ค�ำ ปรึกษาเกี่ยวกับแผนพัฒนาในด้านการออกแบบ และระบบการสื่อสาร การตลาดแก่บริษทั หรือองค์กรทีต่ อ้ งการการพัฒนาระบบการออกแบบเพือ่ การสือ่ สาร ประชาสัมพันธ์ และวางแผนทางการตลาด ทีถ่ กู วิธี โดยวิธกี ารทีม่ รี ะบบแบบแผนทัง้ การคิดและการดำ�เนินงาน โดยนำ�สือ่ ต่างๆ มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในด้าน Design, Marketing, Branding รวมไปถึงการให้ค�ำ ปรึกษาด้าน E-business ให้แก่องค์กรอีกด้วย ปัจจุบันนอกจากจะเป็น CEO และ Creative Director ที่ Fontory Co., Ltd. และยังเป็นนายกสมาคม นักออกแบบเรขศิลป์ไทย Thai Graphic Designers Association (ThaiGa), อาจารย์พเิ ศษ Visual Communication มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรรมการตัดสิน รางวัลศิลปาธร โดยกระทรวงวัฒนธรรม, กรรมการตัดสิน DEMark โดยกรมส่งเสริมการส่งออก, กรรมการตัดสิน Thailand Boutique Awards โดยการท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย และกรรมการสรรหา ไทยสร้างสรรค์ โดย OKMD, สำ�นักนายกรัฐมนตรีอกี ด้วย
Nude Calendar วิเชียร โตว
Nude Calendar จัดทำาขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2538 ซึ่งในช่วงนั้นปฏิทินโป๊เป็นที่นิยมมากในสังคมไทย แนวคิดจึงต้องการล้อเลียน การจัดทำาปฏิทินโป๊ในขณะนั้น โดยวิธีการนำาเสนอภาพ Nude โดยการหยิบยืมภาพศิลปะในแขนงต่างๆ การเปรียบเทียบ การใช้ ภาพสัญลักษณ์ หรือการใช้อารมณ์ขนั การตีความด้วยความคิดสร้างสรรค์จงึ ทำาให้นยิ ามของปฏิทนิ Nude ชุดนีจ้ งึ มีความแตกต่าง อย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่นักเสพภาพ Nude คาดหวังและนักออกแบบหลายๆคนกลับชื่นชมแนวคิดล้อเลียนนี้
ผู้เขียนบทคว�ม วิเชียร โต๋ว (Vichean Tow) blue@colorparty.com
ชีวิตกราฟิกดีไซน์เนอร์เริ่มขึ้นที่ บริษัท สามหน่อ จำากัด ภายหลังจากการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ภาควิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2531 ในปี พ.ศ. 2533 ได้รว่ มก่อตัง้ Propaganda Graphic Design Firm ดำาเนินธุรกิจและการให้คาำ ปรึกษาในด้าน Design Communication ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ในรูปแบบของงาน Corporate Identity และ Marketing Material ในปี 2540 ได้ร่วมก่อตั้ง Pink Blue Black & Orange และได้เป็นสมาชิก An Associate of the Design Alliance ซึ่งมีสมาชิก กว่า 10 ประเทศในภาคพื้นเอเชีย โดยร่วมทำากิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาและวิชาชีพตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างประเทศเพือ่ นสมาชิก และตลอดระยะเวลา 20 ปี ได้รบั รางวัลในประเทศ อาทิเช่น Bad Award, TACT Award และต่างประเทศ อาทิเช่น Art Director Club (U.S.A) CA Communication (U.S.A), The Type Directors Club (U.S.A) Asia Advertising Award (Hong Kong)
“ความเป็นไทย” ที่ผมได้เรียนรู้จากการทำ�นิตยสาร happening วิภว์ บูรพาเดชา
ผมทำ�นิตยสารบันเทิงเชิงศิลปะ happening มาแล้ว 3 ปีกว่า ถึงจะเป็นหนังสือที่ว่าด้วยหนังและเพลงแต่หลายๆครั้งที่ผม ได้สัมภาษณ์ผู้คนต่างๆ ในแวดวงนี้ ผมก็ได้รับรู้มุมมองเกี่ยวกับ “ความเป็นไทย” มาไม่น้อย บางความเห็นถึงขั้นพลิกความเชื่อ ที่มีอยู่เดิมแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ต่อไปนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ทีผ่ มขอยกมาให้อา่ นกัน เป็นความเห็นทีห่ ลากหลายและมีหลายมิติ อ่านแล้วลองคิดพิจารณาเรือ่ ง “ความเป็นไทย” ในแบบของคุณกันต่อเองนะครับ “รอยยิม้ สยามเนีย่ ก็เป็นความหมายทีส่ ว่ นใหญ่แล้วชาวต่างประเทศมักจะเรียกคนไทย หรือในอดีตก็คอื เรียกว่าประเทศสยาม หรือ คนสยาม เพราะเวลาเขามาพบเห็นคนไทยแล้วโดยปกติก็จะมีความยิ้มแจ่มใส มีอัธยาศัยที่ดี เพราะฉะนั้นรอยยิ้มสยามก็เป็น ความประทับใจอย่างแรกเลยที่เวลาชาวต่างชาติรู้จักคนไทยครับ” อภิรักษ์ โกษะโยธิน, จากงานถอดเทปของ happening ฉบับ 19 “ความเป็นคนไทยมันเท่ห์มาก ป่านคิดว่าประเทศไทยมันเจ๋งนะ ปู่ย่าตายายเขาคิดมาแล้ว ภาคเหนือใส่เสื้อม่อฮ่อม มีผ้าหนาๆ เพราะอากาศหนาว ภาคใต้ใส่กางเกงเล เพราะว่ามันง่ายต่อการเคลื่อนไหวแล้วมันก็แห้งง่าย เราปลูกข้าวกินข้าวแล้วเราก็ ต้องการมันจริงๆ เราไม่ได้ตน่ื มาแล้วกินแฮมเบอร์เกอร์ เรามีพระพุทธศาสนา เราไม่เคยเป็นเมืองขึน้ ของใคร ในขณะทีป่ ระเทศอืน่ รบกันเรือ่ งศาสนา แต่บา้ นเราไม่มปี ญั หานี้ แต่พวกเรามองข้ามหมดเลยไปให้ความสำ�คัญกับต่างชาติ เป็นเพราะเราคิดว่าเขาเจ๋ง คิดว่าเขาดี มันเป็นการสมมุติทั้งหมด เพราะเขาเป็นประเทศมหาอำ�นาจ แต่จริงๆแล้วประเทศไทยเราสามารถอยู่ได้โดย ไม่ต้องพึ่งพาอะไรเหล่านั้นเลยนะ พวกเราเคยท่องกันว่าในน้�ำ มีปลาในนามีข้าว แต่พอโตมาพวกเรากลับไม่อยากเป็นอย่างนั้น กลับไปอยากเป็นสิ่งที่เขาสมมุติขึ้นมา อย่างเครื่องดนตรียุโรปเขาฟังเพลงคลาสสิกกัน เราก็มีซอ แต่เราไม่ให้ความสำ�คัญ เราใส่สูทไปงานศพ ซึ่งมันร้อนมาก เรามองข้ามทุกอย่างที่มันเป็นเรา กลายเป็นคนไทยมองข้ามตัวเอง ไม่สำ�รวจว่าเรา อยู่ได้จริงหรือเปล่ากับวัฒนธรรมประเพณีของเขา” อภิญญา สกุลเจริญสุข (สายป่าน), จากงานถอดเทปของ happening ฉบับ 43 “ความเป็นไทย คือนิยามเพื่อจะรวมชนชาติชนชาติหนึ่ง เป็นนิยามที่ถูกนิยามโดยผู้ปกครองเพื่อจะสร้างประเด็นขึ้นมาเพื่อ ให้คนในชาติมีจุดร่วมกัน ซึ่งผมคิดว่ามันสามารถทำ�ได้ถ้าเราต้องการจะสร้างจุดยืนอะไรสักอย่างขึ้นมาในสถานที่แห่งหนึ่ง อย่าว่าแต่ในชาติเลย แม้แต่ในบ้านในองค์กรก็ท�ำ ได้ เพียงแต่วา่ ปัญหาของการสร้างนิยามของรัฐไทยนีม่ นั เป็นการสร้างที่ไร้ศลิ ปะ มันเป็นการสร้างที่แข็งกระด้าง มันเหมือนเอากรอบสักอย่างมาครอบทุกอย่างให้อยู่ในนี้หมด โดยลืมไปว่าภายใต้สิ่งที่คุณครอบ มันไม่ได้เป็นนิยามเดียวกันเสมอไป พูดง่ายๆ คือ ถ้าเป็นประเทศไทยมันมีความหลากหลายภูมภิ าค หลายชาติพนั ธุ์ มากกว่ากรอบนัน้ ” พจนาถ พจนาพิทักษ์, จาก happening ฉบับ 38
72
“ผมคิดว่าปัญหาของสังคมไทยเราทีผ่ า่ นๆมา คือเราบางคนไม่ยอมพูด เพราะเกรงใจปิดบังไว้มนั ถึงไม่คอ่ ยเข้าใจกัน คนนัน้ ไม่กล้า พูดอันนี้ คนนี้ไม่กล้าพูดอันนั้น ก็อึดอัด พอความอึดอัดมาเจอกันต่างคนต่างเก็บในใจ คือไม่พอใจแต่ก็ยิ้มกัน เกรงใจ ซึ่งตรงนี้ คือถ้าเกิดว่าเราเป็นประเทศประชาธิปไตยแล้ว เรามีวกิ ฤตการณ์เหมือนอย่างทีป่ ระเทศอืน่ ๆ เขามีกนั มาก่อนเราก็จะเข้าใจกันมากกว่านี้ อย่างน้อยการทะเลาะกันก็เป็นการแค่ถกเถียง การเผชิญหน้ากันก็เป็นแค่เพียงทางคำ�พูด” อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน บอดี้สแลม), จาก happening ฉบับ 21 “คำ�ว่ารอยยิม้ สยาม สำ�หรับผมน่าจะเป็นความหวังมากกว่า ผมหวังว่าคนไทยของเราในสภาพสังคมปัจจุบนั นีท้ ง้ั ทางเรือ่ งการเมือง ที่ค่อนข้างมีปัญหาแล้ว ก็เรื่องสภาพแวดล้อม เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องทุกๆ อย่างในสังคมก็ค่อนข้างจะมีปัญหา ซึ่งก็น่าจะเป็น คล้ายๆ กันทั่วโลก ผมคิดว่าคำ�ว่ารอยยิ้มสยามน่าจะเป็นความหวังที่ท�ำ ให้เรานึกย้อนกลับไปถึงสภาพความเป็นอยู่ที่เราเคยเป็น ที่เราเคยมี” ปราบดา หยุ่น, จากงานถอดเทปของ happening ฉบับ 19 “ความเป็นไทย ผมยังไม่เคยเห็นเลยว่ามันมีอยู่จริงในแบบเรามองกันอยู่ โจงกระเบนมันก็เขมรไม่ใช่เหรอ กับข้าวที่ผัดๆ ทอดๆ มันก็มาจากจีน กะทะเหล็กมันก็มาจากเมืองจีนอยู่แล้ว กษัตริย์ที่ปกครองอยุธยาเป็นใคร เป็นเขมร ไม่งั้นจะใช้คำ�ราชาศัพท์เป็น คำ�เขมรทำ�ไม แล้วถ้าสืบไปหาโคลงดัน้ โองการแช่งน้�ำ โคลงห้า บอกว่าเป็นต้นกำ�เนิดของโคลงสีส่ ภุ าพ ซึง่ ถือเป็นฉันทลักษณ์แบบ ไทยแท้ ขอโทษทีโคลงดั้นมันคือกลอนรำ�ของลาว มันคืออันเดียวกัน... เราน่าจะพุ่งเป้าไปที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดว่า มันเป็นเบ้าหลอม เป็นสุวรรณภูมิทั้งหมด เพราะฉะนั้นผมไม่คิดว่าความเป็นไทยจะมีอยู่จริง” อติภพ ภัทรเดชไพศาล, จาก happening ฉบับ 38 “ก่อนทีเ่ ราจะมีความเป็นไทย เราต้องเป็นคนก่อน เป็นมนุษย์กอ่ น แล้วมันก็มาก่อนทุกสิง่ ทุกอย่างไม่วา่ จะศาสนา เชือ้ ชาติอะไรก็แล้วแต่ มันมาจากความเป็นคน ทีนี้คำ�ถามก็คือว่า Identity หรือความเป็นไทยที่ถูกครอบเข้ามา นี่ผมมองว่ามันเป็นเพียงแค่เครื่องมือ ที่จะใช้ในการประกาศอิสรภาพเท่านั้น” มานิต ศรีวานิชภูมิ, จาก happening ฉบับ 38
ผู้เขียนบทความ วิภว์ บูรพาเดชา (Vip Burapadeja) khunvip@gmail.com
จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสารบันเทิงเชิงสาระชือ่ Hamburger ร่วม 50 ฉบับคนนี้ เคยมีผลงานรวมเรือ่ งสัน้ ชือ่ หนึง่ ปีในเมืองหนึง่ , หนังสือรวมบทความชือ่ ตืน่ จนเช้า และเป็นคอลัมนิสต์ให้กบั GM Plus, Bioscope และ Kool Jazz ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสาร a day, Hamburger, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และนิตยสาร Miracle of Life นอกจากงานหนังสือเขายังแต่งเพลงให้กับศิลปินหลายคนอย่าง Bodyslam, Big Ass, ลาบานูน, Scrubb, Portrait และ นรเทพ มาแสง นอกจากนีย้ งั เป็นหนึง่ ในคณะกรรมการคมชัดลึกอวอร์ด, รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ� และ เป็นเจ้าของและบรรณาธิการนิตยสาร happening นิตยสารบันเทิง-ศิลปะ
บางกอก สตรีท (Bangkok Street) ปริวัฒน์ อนันตชินะ
ปกติแล้วเวลาทีเ่ รานึกถึงความเป็นไทยเรานึกถึงอะไรบ้าง? แน่นอนเรานึกถึง ธงชาติ เพลงชาติ รำ�ไทย ดนตรีไทย บ้านเรือนไทย มวยไทย ช้าง ต้มยำ�กุ้ง ผัดไทย ฯลฯ เมื่อเราลองพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่ได้กล่าวไปข้างต้น อาจพบว่าความเป็นไทยที่เรานึกถึงและเห็นว่ามันมีเอกลักษณ์ มีความเฉพาะ ไม่เหมือนใคร มันเป็นความเป็นไทยทีม่ าจากทางการ หมายถึงรัฐกำ�หนดบ้าง มาจากอดีตมันส่งต่อกันมาบ้าง และอีกลักษณะหนึง่ คือ มันขายได้ โดยเฉพาะขายต่อชาวต่างประเทศหรือชาวโลก แต่ทว่ามีความเป็นไทยอยูอ่ กี แบบหนึง่ ทีอ่ ยากชีช้ วนให้ดู มันเป็นความเป็นไทยทีเ่ ราสามารถพบเห็นได้ตามท้องถนนทีเ่ ราผ่านไป เราพบเห็นมันจากชีวิตประจำ�วันจนเราเคยชิน เคยเห็นแต่ไม่ได้ตระหนักรู้ว่านี่แหละคือความมีเอกลักษณ์ คือความเป็นไทย
ความเป็นไทยแบบนีม้ นั สะท้อนอะไร? ในความเห็นของผมมันสะท้อนวิธคี ดิ หรือวิธกี ารจัดการของประชาชนคนธรรมดา เมือ่ ต้อง เผชิญหน้ากับพลังต่างๆ ในสังคม พลังเหล่านั้นมาทั้งจากคนและสภาพแวดล้อม กล่าวคือเราจะเห็นและเข้าใจได้ว่าคนเหล่านี้ เขามีวิธีคิดอย่างไรในการใช้ชีวิตประจำ�วันที่ต้องพบเจอกับคน คนไทยด้วยกันเองหรือจะเป็นคนต่างชาติก็ดี หรือจัดการกับ สภาพแวดล้อมทีเ่ ขาเจออย่างไร (สภาพแวดล้อมเป็นทัง้ สถานทีแ่ ละรวมไปถึงสภาพอากาศ) เค้าจัดสรร สร้างสรรค์ทรัพยากรทีเ่ ขามี หรือสามารถหามาได้อย่างไร? ภายใต้ข้อจำ�กัดทางเศรษฐกิจ คือ เมื่อมีเงินแค่นี้ แบบจนๆ เค้าจัดการกับบ้านช่องอย่างไร? ใช้ยานพาหนะทำ�มาหากินอย่างไร? เป็นต้น และสุดท้ายเมื่อเผชิญข้อห้ามตามกฎหมายต่างๆ เขาใช้ชีวิตอย่างไร? นี่คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของชีวิตคนไทยธรรมดาๆ ที่ต้องออกแบบชีวิตของตัวเองเพื่อเอาตัวให้รอดในสภาวะอันวุ่นวายและซับซ้อน ในสังคมปัจจุบนั และแน่นอนมันมักจะถูกมองข้ามเพราะมันย่อมไม่ตอบสนองหรือเข้าไม่ถงึ เกณฑ์มาตรฐาน ในการตัดสินคุณค่า ทางศิลปะทัว่ ๆไป เพราะมันมาจากชีวติ ของคนธรรมดา แต่ผมว่านีแ่ หละมันเป็นศิลปะ แต่เป็นศิลปะแห่งการใช้ชวี ติ ของคนธรรมดา ทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะตน และเวทีการแสดงงานไม่ได้อยู่ในแกลเลอรีห่ รือพิพธิ ภัณฑ์ แต่มนั คือบนท้องถนนทีเ่ ราทุกคนผ่านมาและผ่านไป เมื่อวานนี้ วันนี้ และวันพรุ่งนี้
74
ผู้เขียนบทความ ปริวัฒน์ อนันตชินะ (Pariwat A-Nantachina) bixzer23@hotmail.com
นักออกแบบเลขนศิลป์ และศิลปินอิสระ ที่ยังคงฝังใจกับอาชีพสถาปนิก ทว่าเขาทำ�มันไม่ส�ำ เร็จตั้งแต่ในรั้วมหาวิทยาลัย ปริวฒ ั น์ อนันตชินะ เกิดเมือ่ ปี พ.ศ. 2524 ทีจ่ งั หวัดราชบุรี สำ�เร็จการศึกษาจากภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ด้วยเกรดเฉลีย่ 3.16 เริม่ ต้นอาชีพนักออกแบบตัง้ แต่ยงั เป็นนักศึกษาชัน้ ปีท่ี 3 จากการชักชวนของ อ.สันติ ลอรัชวี Design Director แห่ง Practical Design Studio และตัดสินใจทำ�งานทีน่ น่ั ทันทีหลังจากสำ�เร็จการศึกษา ก่อนจะตัดสินใจกลับไปช่วยธุรกิจของครอบครัว ควบคู่ไปกับรับงานออกแบบในนามกลุ่ม Case Inc., เปิดสำ�นักพิมพ์ขนาดย่อมในนามว่า Unfinished Project Publishing, เปิดร้านกาแฟแบบกะทัดรัด ร่วมกับพี่ีชาย ตามลำ�ดับ และล่าสุดกับตำ�แหน่ง Senior Designer บริษัท King Power ปริวฒ ั น์ ชืน่ ชอบและถนัดงานออกแบบตราสัญลักษณ์เป็นทีส่ ดุ สร้างสรรค์ผลงานมาแล้วตัง้ แต่รา้ นค้าจักรยาน / ร้านอาหารไทยและเทศ / โชว์รูมรถยนต์ / โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ / โรงละคร / โรงแรม / รีสอร์ท ไปจนถึง หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ / โครงการ The Mekong Art & Culture Project ฯลฯ ปัจจุบนั ปริวฒ ั น์ ผันตัวเองมาทำ�งานศิลปะและกำ�ลังไปได้สวยในเวทีนานาชาติ ภาพเขียนสี Acrylic ของเขากำ�ลังเป็นทีถ่ กู อกถูกใจ นักสะสมงานศิลปะชาวยุโรป และญี่ปุ่น ส่วนผลงาน Photo Collage ของเขาก็ไปเข้าตาแกลเลอรี่ ในฝรั่งเศส เยอรมัน และ เคยถูกนำ�ไปจัดแสดงที่ Art’s Psodie ณ กรุง Marseille ประเทศฝรั่งเศสมาแล้วถึง 2 ครั้งด้วยกัน
หาเพื่อนเที่ยว ดีไซน์แลป
จุดเด่นของ Hostel มีมากกว่าแค่ราคา ถ้าจะว่าจุดขายคือ ประหยัดเงินแถมได้เพื่อนก็ดูจะเหมาะ เมื่อเป็นเช่นนี้จะออกแบบทั้งที ก็ควรที่จะทำ�ให้ผู้ใช้ได้อานิสงส์จากความคิดดังกล่าว วัสดุท่ใี ช้กเ็ รียบง่าย เทคโนโลยีก็โลว์เทค สีสนั ของการออกแบบเลยเผยออกมาในสีสนั ของงานกราฟิก เนือ้ หาและสาระของกราฟิกก็ มุง่ เน้นทีจ่ ะทำ�ให้ผเู้ ข้าพักได้อา่ น ได้ใช้ และได้น�ำ ไปสนทนาปราศรัยกับเพือ่ นพ้องใน Hostel คล้ายกับว่าต่างคนต่างอยู่ในห้องทีม่ ี เนื้อเรื่องที่ไม่เหมือนกัน หรือบนหน้ากระดาษสถานที่ท่องเที่ยวที่ต่างกันไป อยากรู้หน้าอื่นเป็นอย่างไรก็ถามไถ่คนข้างห้องได้
76
แผนที่ดูดาว ดูดาวใน Hostel แบบไทไท เข้ากับ Concept หลับดี๊ดี ผู้เขียนบทความ ดีไซน์แลป (DesignLAB) info@designlab.com
ตัง้ แต่ ดีไซน์แลป ก่อตัง้ ในปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ทางบริษทั ได้มงุ่ ทีจ่ ะค้นคว้า หามุมมอง และประสบการณ์ใหม่ๆ จากงานออกแบบ และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับตัวมนุษย์อยู่เสมอ การนำ�เอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยในการออกแบบ เป็นวิธีการที่ช่วยให้เรา สร้างสรรค์งานออกแบบให้เข้าถึงผู้ที่เราพยายามจะสื่อสารด้วยได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อแต้มให้งานมีสีสัน เราเชือ่ เสมอว่า การออกแบบทีด่ คี วรจะสามารถตอบสนองความต้องการพืน้ ฐานของผูใ้ ช้ได้ดจี ริง งานออกแบบที่ “ดูดี และ ทันสมัย” จึงน่าจะช่วยให้การใช้งานพื้นฐานมีคุณภาพ และเติมเต็มให้ชีวิตดียิ่งขึ้น ผลงานทีผ่ า่ นมาของดีไซน์แลป มีทง้ั พิพธิ ภัณฑ์การเรียนรู้ “Museum Siam” ในกรุงเทพฯ งานออกแบบนิทรรศการสัปดาห์วทิ ยาศาสตร์ นิทรรศการหลายโครงการของ TCDC อาทิเช่น งาน Beppu Bamboo Art, What is Design? งานออกแบบศูนย์เยี่ยมชมของ องค์กรต่างๆ งานออกแบบศิลปะการจัดวางหลายชิ้นให้กับ Central World และงานออกแบบที่มุ่งเน้นแนวคิดเป็นจุดเด่นสำ�หรับ งานเปิดตัวสินค้า อาทิเช่น Nokia, Toyota, AIS, Bed Supper Club, TCDC, TOA, Samsung, BMW, Mercedes Benz, Acer, CAT Telecom, Ananda, และอื่นๆ อีกมากมาย ด้านงาน Retail Design ทางบริษทั มีผลงานทีเ่ พิง่ เสร็จสิน้ ไป Lub d Hostel Siam ผลงานนีไ้ ด้ตพี มิ พ์ลงในนิตยสาร และ Online Media ทั้งในและนอกประเทศ หรือที่ผ่านมาก็มีผลงานอาทิเช่น Quick Cut และ another FCK ที่สยามเซ็นเตอร์
Idealistic Line ลีลานันทน์ รถเกียรติ
การใช้ชีวิตในสังคมไม่ว่าจะเป็นที่ ใด ย่อมต้องมีข้อกำ�หนด กฎกติกา และกฎระเบียบ เพื่อควบคุมให้คนในสังคมนั้น อยู่ร่วมกันได้ แน่นอนว่าแต่ละที่กฎระเบียบย่อมไม่เหมือนกัน บางคนสามารถอยูร่ ว่ มกับมันได้ใช้ชวี ติ ตามข้อกำ�หนดเหล่านัน้ ได้ อยู่กับมันอย่างเคยชิน และไม่เคยตั้งคำ�ถามกับสิ่งเหล่านี้ แต่ส�ำ หรับบางคนก็ไม่ได้เป็นเช่นนัน้ สำ�หรับสังคมทีฉ่ นั จะกล่าวถึง มีการสร้างข้อผูกมัดกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมาครอบคลุมผู้คนที่ อยู่ภายใน และยิ่งนานวันกฎเกณฑ์เหล่านั้นก็ถูกสร้างพอกพูน มากขึน้ เรือ่ ยๆ เพือ่ ปิดทุกรูโหว่และรอยรัว่ ทีย่ งั เหลืออยู่ นำ�พาให้ สังคมนั้นไปสู่สิ่งที่เรียกว่า ความสมบูรณ์ และอุดมคติ คนส่วนใหญ่เมือ่ อยูก่ บั สิง่ เหล่านีจ้ นเคยชิน ก็จะลืมไปว่ามันมีอยู่ แต่ถ้ามีใครสักคนลองหยุดคิดสักนิด แล้วตั้งคำ�ถามกับมัน ก็จะรู้ว่ามันมีอะไรบางอย่างที่น่าสนใจ การพยายามหาคำ�ตอบให้กับคำ�ถามเหล่านี้ หรือการพยายาม แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงมัน อาจเป็นไปไม่ได้ แต่การเข้าใจและ ถ่ายทอดสิ่งที่เรารับรู้ออกมานั้น อาจช่วยให้ทุกคนตระหนัก ถึงมันได้ สื่อผสม: 2010 รูปภาพ และภาพเคลื่อนไหวฉายโดยเครื่องฉายสไลด์ พื้นที่จัดแสดง: กำ�แพง 4 x 2 ตารางเมตร ผู้เขียนบทความ ลีลานันทน์ รถเกียรติ (Lilanan Ronakiat) ms.lilanan@gmail.com
จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขา Communication Design International Program ด้วยเกรดเฉลีย่ 3.4 ปัจจุบนั ทำ�งานฝ่าย Production Decoration ของ Central World โดยมีงานอดิเรก เป็นการวาดภาพประกอบ ดูงานศิลปะ ดูหนัง พับกระดาษ และสังสรรค์กบั เพือ่ นฝูง มีความสนใจในงานออกแบบแฟชัน่ และงานศิลปะ นอกจากความสามารถด้านออกแบบแล้ว เธอยังมีความสามารถพิเศษในการเล่นเปียโนและพูดได้หลายภาษา
ทัศนคติในความไม่รู้ พิชญา ศุภวานิช
สามปีที่แล้วในคืนวันหนึ่งที่หนาวเหน็บ ท่ามกลางหิมะรอบตัวในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย บรรยากาศรอบข้างดูนิ่งและ เงียบสงบจนน่าหวัน่ ใจ ขณะทีเ่ รามองออกไปยังท้องฟ้าตอนกลางคืนทีก่ ระจ่างใส สามารถเล็งเห็นหมูด่ าวทีอ่ ยูไ่ กลๆ และครุน่ คิดถึง ความเป็นไปได้ตา่ งๆ ณ เสีย้ วนาทีนน้ั เป็นช่วงเวลาทีเ่ ต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ ประกอบขึน้ ด้วยจินตนาการทีก่ อ่ ร่างสร้างตัวอย่างไม่รจู้ บ ความลึกลับบางอย่างที่เราไม่สามารถหาคำ�อธิบายได้หรือไม่มีคำ�ตอบ ทั้งที่อยู่ในโลกและนอกโลก คือเสน่ห์ คือมนต์ขลัง และ บางครั้งคือพลังขับเคลื่อนเราบางอย่าง ในช่วงเวลาแบบนั้น ธรรมชาติคือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และทำ�ให้คำ�นิยามต่อสิ่งต่างๆของเราในฐานะมนุษย์ดูไม่มีความหมาย เรามีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในการสร้างสรรค์ และการเกิดขึ้นของอารยธรรมในขั้นต่างๆ คือบทพิสูจน์ความสามารถของเรา ในการใช้สติปัญญาแบบมนุษย์ เราเกิดมาพร้อมกับการมองหาเหตุผลให้กับสิ่งต่างๆ รอบตัว มองหาหลักการในการอธิบาย มองหากรอบในการทำ�ความเข้าใจ จากการมีภาษา วัฒนธรรม หรือการจำ�กัดขอบเขตพื้นที่ที่ทำ�ให้เรารู้สึกปลอดภัย เช่น บ้าน ชุมชน ประเทศ อย่างช้าๆ คือการสร้างความเป็นตัวตนที่แตกต่าง ปัญญา หลักการ และเหตุผลของมนุษย์เป็นสิ่งที่น่าหลงใหล แต่บางครั้งยังอดสงสัยไม่ได้กับอะไรบางอย่างที่อยู่ตรงกันข้าม บางครั้งอดไม่ได้ที่อยากทำ�ลายพรมแดน กรอบ ภาษา เหตุผล พื้นที่ ตัวตน และสืบหาว่านอกเหนือจากนั้นแล้วยังมีอะไรอยู่ จากตรงนัน้ คงเป็นการใส่ใจกับประเด็นเล็กๆ ย่อยๆ กระจายๆ และดูไม่ส�ำ คัญ เป็นการสังเกตกลไกขับเคลือ่ นบางอย่างในระดับอนุกลู ทีด่ มู เี สน่ห์ มีความเป็นไป มีความหมาย ความสัมพันธ์ของอะตอมต่างๆ ในแต่ละชิน้ ส่วนมีก�ำ ลังขับเคลือ่ นที่ไม่สามารถคาดเดาได้ และไม่มีเหตุผล นี่เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นและน่าค้นหา อีกส่วนที่ใหญ่ขึ้นมาคือ การเฝ้าสังเกตประเด็นย่อยๆ ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในชีวิตของเรารอบตัว เช่น บทสนทนาเล็กๆ ข้างถนน ความแตกต่างในขณะของแสง กลิ่นของชั้นบรรยากาศ เวลาระหว่าง ขณะแรกและขณะถัดไป เสีย้ วความรูส้ กึ ของการตกหลุมรัก ช่วงวินาทีของการสูญเสีย การพลัดหลุดอย่างบังเอิญเข้าไปในอาณาเขต ของความเป็นไปได้ หรือการเกิดขึน้ บางอย่างของธรรมชาติทท่ี �ำ ให้เรารูส้ กึ ตืน้ เขิน สิง่ เหล่านีค้ อื ความลึกลับ คือความไม่รู้ คือการ ไม่มีคำ�อธิบายที่ทำ�ให้รู้สึกถึงมิติ ท่ามกลางความเป็นไปของโลก ท่ามกลางการขับเคลื่อนของอำ�นาจ ความกลัว และหลักการ ท่ามกลางความแบนของโลกทางความคิดที่เราอาจจะเผชิญอยู่ มีเพื่อนคนหนึ่งบอกว่า ในการตัดสินใจในเรื่องที่สำ�คัญของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นวิชาที่เลือกเรียน ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงที่รัก ประเทศที่ เลือกอยู่ หรืองานทีท่ �ำ เป็นการตัดสินใจทีต่ รงข้ามอย่างสิน้ เชิงกับหลักการและเหตุผล นีอ่ าจจะเป็นความเป็นมนุษย์ทเ่ี ป็นมากกว่า ความเป็นมนุษย์ที่เรามีอยู่ในใจเรา ดูจะต้องการยึดอยู่กับคำ�ตอบใดคำ�ตอบหนึ่ง และยากที่จะเปิดรับถึงความเป็นไปได้อื่นๆ ในใจเราอาจจะตัดสิน อาจจะสร้างกรอบความหมาย แต่การเปิดตัวเองสู่โลกที่ไม่สามารถอธิบายได้ อย่างน้อมรับ อย่างถ่อมตัว อย่างรับฟัง แม้บางครัง้ อาจเป็นประสบการณ์ทย่ี ากกว่า แต่กระนัน้ อาจเป็นประตูสพู่ รมแดนทีก่ ว้างกว่าเพือ่ การตอบสนองทีล่ กึ กว่า ความลึกลับ ความไร้เดียงสา และการยอมรับถึงความไม่รใู้ นบางอย่างของชีวติ เป็นคุณสมบัตทิ จ่ี �ำ เป็นในการมองโลก เพราะนัน่ คือ สิ่งที่กุมมือเราไว้ในช่วงบางสถานการณ์ เป็นสิ่งที่ตรึงเราไว้กับพื้นดิน เป็นสิ่งที่พาเราสู่หนทางที่เป็นไปได้ หรืออาจเป็นสิ่งที่ ให้คำ�ตอบเราอย่างเงียบๆ ว่าบางอย่างควรจะเป็นอย่างที่เป็น
79
ขณะนี้ หน้าฝนทีเ่ มืองไทยและฝนตกลงมาอย่างไม่มเี หตุผล ตกลงแค่บางพืน้ ทีแ่ ละหยุด มอเตอร์ไซค์หลายคันพากันหลบเรียงแถว อยู่ใต้ตอม่อรถไฟฟ้า กลิ่นของไก่ย่างริมถนน ไฟนีออนจากคลินิกรักษาผิวหนัง ผสานด้วยการบรรเลงของเสียงสารพัดเสียง ไม่ว่าจะเป็น นกหวีด รถเมล์ ตุ๊กตุ๊ก รถยนต์ มอเตอร์ ไซค์ กบ จิ้งหรีด สร้างบรรยากาศที่ไม่สามารถหาสำ�เนาได้ในที่อื่น ท่ามกลางบรรยากาศเหล่านีค้ อื การมองเห็นถึงความงามและความจริงทีซ่ อ่ นอยู่ในตัวของมันเอง โดยปราศจากกฏเกณฑ์และข้อจำ�กัด เราเป็นหนี้ในการมองเห็นนีต้ อ่ ช่องการรับรูใ้ นตัวของเราเอง และช่องการรับรูถ้ งึ ความไม่รคู้ อื การปรับคลืน่ ให้ตรงกับความเป็นไปได้ ในทุกสิ่งและทุกอย่าง ที่สุดทัศนคติของการไม่รู้อาจเป็นเหมือนระหว่างการอ่านหนังสือหน้าหนึ่ง ซึ่งแค่กำ�ลังรอหน้าถัดไป
ผู้เขียนบทความ พิชญา ศุภวานิช (Pichaya Suphavanij) suphavanij@hotmail.com
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการออกแบบตกแต่งภายใน จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี 2536 ก่อนต่อการศึกษาปริญญาโท ด้านการวางแผนและการออกแบบพิพธิ ภัณฑ์ จาก University of the Arts ประเทศสหรัฐอเมริกาจบในปี 2538 ทำ�งานด้านการวางแผน และการออกแบบนิทรรศการ และพิพิธภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2539 ถึงปี 2547 โดยมีผลงานในหลายพิพิธภัณฑ์ อาทิเช่น นิทรรศการ The Price of Freedom Exhibit, Smithsonian Institution ในปี 2547 New York State Museum ในปี 2545 และ Sam Noble Oklahoma of Natural History Museum ซึง่ ได้รบั รางวัล Excellence in Communication Design Award จาก AIGA ในปี 2554 ศึกษาต่อปริญญาโทอีกครัง้ ทางด้านการออกแบบที่ Domus Academy ประเทศอิตาลี ในปี 2548 ก่อนกลับเมืองไทย โดยปัจจุบันทำ�งานในฐานะภัณฑารักษ์ ดำ�รงตำ�แหน่งหัวหน้าฝ่ายนิทรรศการที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน
แมวไทย
หมาไทย
ควายไทย จักรๆ วงศ์ๆ
บ้านๆ
ทรงพล จั่นลา
กราฟิกไทย
ตะกร้อไทย
มวยไทย
ฟุตบอลไทย
81
ผู้เขียนบทความ ทรงพล จั่นลา (Songpol Chanla) pengbox@hotmail.com
อาร์ตไดเร็กเตอร์นิตยสาร a day ที่ก่อร่างสร้างนิตยสารหัวดื้อมาตั้งแต่ฉบับที่ 1 จนปัจจุบันตัวเลขขวาบนปกรันเข้าสู่ฉบับที่ 120 คิดเป็นหน่วยปีเท่ากับ 10 ปีพอดิบพอดี พร้อมความเข้าใจความเป็น a day ทุกซอกทุกมุมจนทำ�ให้ตำ�แหน่งโปรดิวเซอร์ และ ครีเอทีฟไดเร็กเตอร์รายการ The Idol และหนึง่ วันเดียวกัน ไม่นา่ มีใครเหมาะสมไปมากกว่าเขา นอกจากงานแม็กกาซีนและทีวแี ล้ว เขายังเป็นที่ปรึกษาบรรณาธิการศิลปกรรมของนิตยสารอีก 2 หัว คือ Happening และ Computer Arts Thailand ปัจจุบนั เขามีความสุขกับการตรวจศิลปนิพนธ์และให้ค�ำ แนะนำ�นักศึกษาในฐานะอาจารย์พเิ ศษ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย กรุงเทพ อีกด้วย
ตัวเลขไทยทำ�ไมไม่... เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช
ส่วนหนึง่ ของการแสดงออกในงานออกแบบของไทยคือการใช้ตวั อักษรภาษาไทย ซึง่ บางทีอาจจะเป็นสิง่ ทีเ่ ลีย่ งไม่ได้ส�ำ หรับนักออกแบบ เพราะยังคงทีจ่ ะต้องการสือ่ สารข้อมูลให้เข้าถึงกับผูร้ บั ทีห่ ลากหลาย การใช้ตวั อักษรไทยจึงมีความจำ�เป็นอย่างหลีกเลีย่ งเสียไม่ได้ แต่เป็นสิง่ ทีแ่ ตกต่างออกไปกับ “ตัวเลขไทย” เพราะตัวเลขมีหน้าที่ในการสือ่ สาร “จำ�นวน” ซึง่ ไม่ได้มคี วามยากทีค่ นไทยจะรูจ้ กั เข้าใจ และใช้ตัวเลขอารบิคมากันจนคุ้นชิน หรือบางคนอาจจะรู้จักตัวเลขอารบิคมากกว่าตัวเลขไทยเสียด้วยซ้ำ� จึงทำ�ให้หลายๆ คน เลือกใช้ตวั เลขอารบิคในการสือ่ สารแทนตัวเลขไทย แม้สว่ นอืน่ ๆ ในงานออกแบบจะใช้ภาษาไทยก็ตาม ไม่ว่าเหตุผลของการไม่เลือกใช้จะเป็นการอ่านยากหรือไม่งามในความรู้สึกก็ตาม แต่สิ่งที่อยากจะให้สังเกตซึ่งจะเห็นได้ว่า วิวัฒนาการการพัฒนาของแบบตัวเลขไทยมีไปอย่างเนิบช้าถ้าเปรียบเทียบกับแบบตัวอักษรไทย ยิ่งในยุคที่งานออกแบบกราฟิก ถูกผลิตจากคอมพิวเตอร์ยิ่งเห็นระดับความต่างของการออกแบบตัวอักษรและตัวเลขของไทย จึงอยากลองเสนอแบบตัวเลขไทย ที่คิดว่าจะทำ�ให้คนไทยหันกลับมาใช้ หรือพัฒนาหาแนวทางออกแบบกับตัวเลขไทยที่เข้ากับปัจจุบันสมัยกันมากขึ้น
ผู้เขียนบทความ เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช (Ekaluck Peanpanawate) b513design@gmail.com
เริม่ ต้นชีวติ กราฟิกดีไซเนอร์ฟรีแลนซ์อย่างเต็มตัวหลังจบจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภายใต้ชอ่ื B513DS!GN และเริม่ ต้นชีวติ ไทป์ดไี ซเนอร์ หลังจากโครงการจัดประกวดผลงานสร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของกรมทรัพย์สนิ ทางปัญญา ร่วมกับสำ�นักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ชุดตัวอักษรที่เอกลักษณ์ออกแบบได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 10 ฟอนต์แห่งชาติสองสมัยติด จากชุดตัวอักษรชื่อ “KaniGa” (คณิกา) ในปีแรก และ “Krub” (ครับ) กับ “Jamornman” (จามรมาน) ในปีที่สอง เขามีผลงานออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่องผ่าน Custom Font ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างฟอนต์ภาษาไทยของ Tesco Lotus, dtac, Federbrau ปัจจุบนั นอกจากการเป็นอาจารย์พเิ ศษทีค่ ณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และศูนย์ศลิ ปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศสแล้ว เขายังเป็นไทป์ไดเรกเตอร์แห่ง “คัดสรรดีมาก” อีกด้วย
ไม่มีการ์ตูนไทย ในประเทศไทย? สุทธิชาติ ศราภัยวานิช
ถ้าเราลองเดินออกไปถามผู้คนว่า หนังไทยหน้าตาเป็นอย่างไร? คำ�ตอบที่ได้อาจจะเป็นหนังตลกหรือหนังผี ถ้าเราลองเปลี่ยนมาถามว่า อาหารไทยรสชาติเป็นอย่างไร? คำ�ตอบน่าจะมี เผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน หรือถ้าเป็นละครไทย เราคงจะได้ยนิ เรือ่ งของตัวอิจฉาตบตีแย่งพระเอกจากนางเอกผูน้ า่ สงสาร รวมทัง้ อีกหลายเรือ่ งทีล่ งท้ายด้วย คำ�ว่าไทย ที่เราสามารถให้ค�ำ จำ�กัดความได้ในทันที แล้วการ์ตูนไทยล่ะ? ตัง้ แต่ผมเริม่ เขียนการ์ตนู เป็นอาชีพ นับถึงวันนีก้ ็ได้สบิ ปีแล้ว คำ�ถามคลาสสิคข้อหนึง่ ในแวดวงคนอ่านการ์ตนู คือ “ความเป็นไทย การ์ตนู ไทย” ซึ่งพบเห็นได้บ่อยครั้งในเว็บบอร์ดในรูปแบบกระทู้ และมักจะลงเอยด้วยการถกเถียงที่หาข้อสรุปไม่ได้ บ้างก็วา่ การ์ตนู ไทยควรมีชฎา สไบ ลายไทยต่างๆ บ้างก็วา่ การ์ตนู ไทยควรจะสะท้อนภาพปัจจุบนั ทีจ่ ะหาดูลวดลายกระหนกคงจะต้อง เข้าวัดเท่านั้น บ้างก็ว่าเราลอกญี่ปุ่นมา บ้างก็ว่าให้ลอกฝรั่งบ้าง บ้างก็ว่าหน้าญี่ปุ่นชื่อไทยก็ไม่เลว บ้างก็รับไม่ได้ บ้างก็ ให้ ดัดแปลงจากวรรณคดี บ้างก็วา่ สมัยนี้ไม่มอี ะไรดีแล้วเหรอ? บ้างก็วา่ มีแต่คนบ้าทีว่ า่ งมาทะเลาะกันแบบนี้ กระทูเ้ ก่าไป กระทูใ้ หม่มา ทั้งคนดีคนบ้าก็มาร่วมในวงเสวนาที่ไร้คำ�ตอบเช่นเดิม หรือว่าปริมาณการ์ตูนไทยยังไม่มากพอจะมีหน้าตาที่ชัดเจนให้ทุกคนจดจำ�ได้ บางทีผมก็คิดแบบนี้แต่ก็มักจะมีอีกด้านคอยเถียง อยู่เสมอว่า แค่เป็นคนไทย ที่เขียนการ์ตูนในประเทศไทย ทำ�ไมจะเรียกว่า การ์ตูนไทยไม่ได้? นั่นสิ ทำ�ไม? บางทีกระทู้ต่อไปอาจจะมีคำ�ตอบ ผู้เขียนบทความ สุทธิชาติ ศราภัยวานิช (Suttichart Sarapaiwanich) sea_cret@hotmail.com
สุทธิชาติ ศราภัยวานิช หรือรู้จักในชื่อที่ใช้ในการเขียนการ์ตูน คือ SS, สอสอ, dead Pixel สุทธิชาติ มีผลงานการ์ตูนเรื่องยาว และเรือ่ งสัน้ มากมาย เช่น JOE the SEA-CRET, P.I.G. (Prince in Gabage) รวมถึงแอ็คชัน่ ฟิกเกอร์ จากเรือ่ ง JOE the SEA-CRET Agent ถูกนำ�ไปผลิตโดยบริษัท Lenarai และได้รับเลือกจาก NIKE ให้ผลิตงานศิลปะเทคโนโลยี โดยจัดทำ�เป็นการ์ตูนขนาดสั้น เรื่อง EYEKE Seven รวมทั้งนิทรรศการ Born from Obsession เพื่อเปิดตัวการ์ตูนเรื่องนี้
ทดลอง หลี ซื่อต่อศักดิ์
นำาเสนอเกี่ยวกับงานวีดิทัศน์ภาพเคลื่อนไหว (Visual, Motion) เชิงทดลอง ที่ได้แรงบันดาลใจจากการสังเกตความเคลื่อนไหว ของวัตถุตา่ งๆ เช่น การทำาปฏิกริ ยิ าของเคมีบางชนิดในสถานะทีแ่ ตกต่างกัน หรือสัตว์ตวั เล็กบางชนิด แล้วสังเกตความงามทีเ่ กิดขึน้ ณ ขณะนั้นโดยบางผลงานก็ใช้ Software เพิ่มความน่าสนใจ รวมไปถึงผลงานที่ใช้ Software ทั้งหมด และงานด้านกราฟิก (ภาพประกอบ) ต่างๆ
ภาพผลงานทดลองโมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) ออกแบบโดย หลี ซื่อต่อศักดิ์ ผู้เขียนบทคว�ม หลี ซื่อต่อศักดิ์ (Lee Suetorsak) leerider@live.com
เกิด ค.ศ. 1981 เติบโตและอาศัยอยู่ ในกรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านศิลปะ และการออกแบบจาก มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง เคยมีประสบการณ์การทำางานช่วงหนึ่งร่วมกับ บริษัทยูเวิร์คฟอเธม (YouWorkForThem) ปัจจุบันทำางานอิสระตามแต่จะว่าจ้างและกำาลังสนใจงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ งานที่ทำาส่วนใหญ่คือ ออกแบบกราฟิก, ภาพประกอบ, ภาพเคลือ่ นไหว, Visual (vj) ประกอบดนตรี, รวมไปถึงงานศิลปะทดลองต่างๆ เชือ่ ว่าทีส่ ดุ ของชีวติ คือ “นิพพาน”
คิดแบบไทยๆ จักรกฤษณ์ อนันตกุล
ผมนั่งจดๆจ้องๆ ว่าจะจำ�กัดความ ความเป็นไทยยังไง ในความรู้สึกผมมันยากมากๆ เพราะผมรู้สึกความเป็นไทยๆ มันเหมือน สิ่งมีชีวิตที่มีความเป็นอาร์ตสูง สำ�หรับในตัวงานของผมทีผ่ า่ นมาหลายคนบอกว่าฝรัง่ มากกกก ในแง่ของผูอ้ อกแบบผมไม่ได้จงใจให้ออกมาอย่างนัน้ แต่ความจริงแล้ว มันแฝงด้วยความคิดแบบไทยสไตล์มากกว่ารูปแบบทีแ่ สดงความเป็นไทย ด้วยความคิดเห็นส่วนตัวผมคิดว่าความคิดแบบไทยๆนัน้ แตกต่างจากความคิดแบบตะวันตกอยู่พอสมควร บางครั้งต่างชาติก็คิดไม่ได้อย่างเรา นั่นแหละคือข้อได้เปรียบของเรา ถ้าถามผมว่าความเป็นไทยนั้นอยู่ที่ไหน ความเป็นไทยนั้นมันแซ่บและมีชีวิตชีวาจนหาตัวจับยาก การจะจำ�กัดให้มันชัดเจน มันก็ยากอยู่ บางครั้งเหตุการณ์ที่เราเห็นในชีวิตประจำ�วันบางครั้งเรายังไม่สามารถอธิบายได้เลย จะบอกว่าเป็นลายไทยผมว่า ก็คงไม่ใช่คำ�ตอบของหลายคำ�ตอบ จะบอกว่าเรื่องของสี มันคงไม่ใช่เช่นกันเพราะบริบทในชีวิตจริงนั้น หลากสีหลากสันกว่าที่จะ จำ�กัดว่ามันแสดงความเป็นไทยร่วมสมัยได้ จะบอกว่ามันอยู่ใน Very Thai มันก็มสี ว่ น แต่สดุ ท้ายเราก็ยงั เรียนจากความคิดฝรัง่ กันอยู่ ทำ�ไมเราไม่สังเกตให้เห็นถึงเสน่ห์ด้วยตัวเอง ด้วยความเป็นไทยๆ นัน้ ผมว่ามันแยกจากตัวเราไม่ออก ความคิดแบบทีห่ ลากหลาย แบบเหนือธรรมชาติทบ่ี างครัง้ เกินกว่าเราจะเข้าใจ แต่มันก็ดำ�เนินไปในแบบของมันได้ ความคิดสร้างสรรค์ ความสนุก ความไม่เท่าเทียมของชนชั้น ความเชื่อทั้งวิทยาศาสตร์กับ ไสยศาสตร์ควบคู่กัน หนังสือพิมพ์แบบไทย รักสบาย ความเยอะๆ ใหญ่ๆ ไว้ก่อน รสชาติอาหาร ฯลฯ สุดท้ายแล้วสำ�หรับผม ความคิดสร้างสรรค์แบบไทยสไตล์นั่นแหละที่ผมคิดว่ามีเสน่ห์ที่สุด ซึ่งต้องอยู่กับความเหมาะสมของเวลา และน้�ำ หนักในการใช้ทพ่ี อดี กลมกล่อมเหมือนอาหารไทยของเรา บางทีมนั อาจจะไม่มรี ปู แบบทีช่ ดั เจนเสมอไป แต่ความคิดแบบไทยๆ นี่แหละที่อยู่ในตัวเราและมันน่าทึ่งมากนะครับ ;)
ผู้เขียนบทความ จักรกฤษณ์ อนันตกุล (Jackkrit Anantakul) designreform@gmail.com
หลังตัดสินใจเบนเข็มจากการเรียนอินทีเรียมาศึกษาต่อด้านกราฟิกดีไซน์ ในคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จักรกฤษณ์ อนันตกุล ก็ไม่เคยหยุดทดลองสร้างสรรค์งานด้วยวิธีการใหม่ๆ ออกมาในรูปแบบที่แตกต่าง เห็นได้จากบรรดางาน ไทป์เฟซแปลกตา โมชั่นมุมมองต่าง รวมไปถึงหลากหลายโปรเจคที่เขาริเริ่มและปฏิบัติการร่วมกับเพื่อนดีไซเนอร์ จนถือว่า เป็นดีไซเนอร์สดุ ขยันอีกคนหนึง่ ของวงการ ปัจจุบนั เขากำ�ลังสนุกอยูก่ บั การออกแบบอิลเิ ม็นท์ดา้ นวิชวลดีไซน์ ทีส่ ตูดโิ อระดับอินเตอร์ อย่าง YouWorkForThem พร้อมๆ กับสร้างสรรค์งานในชื่อของ Design Reform Council
87
2. Potjamon
3. Typography in Water
1. Iconography 02
4. Thaiface
รายละเอียดในชิน้ งาน 1. Iconography 02 ออกแบบให้ YouWorkForThem: เป็นการออกแบบ icon ที่ผมนึกถึงหนังไทยที่มีการถ้ำ�มองที่เห็นบ่อย ในหนังไทยตั้งแต่สมัยเด็กๆ 2. Potjamon งานออกแบบตัวอักษร และสื่อประชาสัมพันธ์ให้ YouWorkForThem: งานที่เห็นนี้เป็นการออกแบบที่ใช้ Keyword เช่น ดราม่า ความรัก ผมเปีย วินเทจ และพี่พจๆๆจามาน ที่ถูกตีความใหม่ 3. Typography in Water งานออกแบบประชาสัมพันธ์ให้แก่ YWFT: ความคิดที่ว่า เวลาเห็นตัวอักษรที่อยู่ในงานออกแบบแล้ว รู้สึกว่ามันมีการเปล่งที่ผ่านอากาศออกมา จึงคิดเหนือจริงว่าถ้าอยู่ในน้ำ� มันอาจมีฟองอากาศออกมา 4. Thaiface: โครงการหนังสือส่วนตัว เป็นการเก็บบันทึกแบบตัวอักษรไทยต่างๆ รวมไปถึงการค้นคว้าข้อมูลตัวอักษรไทย
LUV พิชาญ สุจริตสาธิต
ไม่มมี ากไป ไม่มนี อ้ ยไป การให้ การรับ ทัง้ เหตุผลและอารมณ์ กับสถานการณ์ทผ่ี า่ นมาของความรักชาติหลากสีสนั เราต่างยืนอยูบ่ น ความหมิน่ เหม่ของการแสดงความเป็นเจ้าเข้าเจ้าของในทุกทาง อาจลืมไปว่าสุดท้ายผลลัพธ์จากการกระทำ�ทีเ่ กิดขึน้ ก็ตอ้ งย้อนกลับ มาทำ�ร้ายตัวเราเอง มากหรือน้อย อย่างไรเราก็เจ็บ
89
ผู้เขียนบทความ พิชาญ สุจริตสาธิต (Pichan Sujaritsatit) pichansujaritsatit@gmail.com
พิชาญ จบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาการถ่ายภาพ เขาเริ่มอาชีพช่างภาพที่บริษัท Reflexible จำ�กัด ทำ�งานออกแบบโฆษณาและงานครีเอทีฟต่างๆ รวมทั้ง รับผิดชอบงานภาพของหนังสือ Central Y-Club จากนัน้ ก็ไปเป็นช่างภาพประจำ�ทีบ่ ริษทั บ้านอุม้ จำ�กัด รับผิดชอบงานภาพถ่าย ในแม็กกาซีน ควบคุมทั้งไดเร็คชั่นและงานภาพของบริษัท ตั้งแต่เล่มที่ 11 - 27 ปัจจุบัน พิชาญ เป็นช่างภาพอิสระที่เนื้อหอม ทีส่ ดุ คนหนึง่ ตอนนี้ คุณสามารถเห็นผลงานของเขาได้ในพ็อกเก็ตบุก๊ ของสำ�นักพิมพ์โอโอเอ็ม บุค๊ , นิตยสาร Computer Arts Thailand, Marie Claire Magazine, นิตยสารมนต์รกั แม่กลอง, งานภาพประกอบของ Vanilla Industry และงานพ็อกเก็ตบุค๊ ของสำ�นักพิมพ์ตา่ งๆ เช่น สำ�นักพิมพ์วงกลม, Amarin Publishing, Polka Dot ฯลฯ
เพลงบางกอก ชัชวาล ขนขจี
ไม่บอ่ ยครัง้ ที่ Graphic Designer ไทยจะได้โจทย์ในการออกแบบงานทีส่ ามารถแสดงความเป็นไทยออกมาได้อย่างเต็มที่ ในเมือ่ ผมได้รับโอกาสนั้น ผมจึงไม่รีรอที่จะพยายามที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่สามารถสะท้อนความเป็นไทยให้ดีที่สุด ด้วยโจทย์ เพลงบางกอก ที่บ่งบอกถึงความเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ผมจึงต้องค้นคว้าหาข้อมูล ของความเป็นมาของ กรุงเทพในอดีต เพื่อให้รู้จักเมืองนี้อย่างถ่องแท้ก่อน หลังจากนั้นก็เริ่มหากลิ่นของความเป็นไทยที่ซ่อนอยู่ในสื่อสิ่งพิมพ์เก่า ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร ลายเส้น สีสัน การจัดวาง ภาพถ่าย ภาพประกอบ….. จากนั้น ผมจึงหาตัวแทนของบางกอก คือ พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์เป็นตัวนําเดินเรื่อง จึงเกิดชิ้นงานที่ประกอบรวมกันเป็น CD Box Set Limited Edition คือ แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่สําคัญในเกาะรัตนโกสินทร์ โปสการ์ดภาพเก่า เสื้อยืด พร้อม Packaging ใส่ CD และให้ข้อมูลของ Album นี้ ทุกรายละเอียดพยายามใส่ความเป็นไทยเข้าไป ไม่วา่ จะแผนที่โบราณ ภาพทีป่ รับโทนให้ดเู ก่า สีสนั ลายเส้นทีป่ ระกอบในส่วนต่างๆ ด้วยความตั้งใจที่อยากให้มีความเก่าเพียง 80% และมีความใหม่เข้าไป 20% จึงทําให้งานนี้ดูเป็นไทยที่ร่วมสมัยได้อย่างลงตัว
91
ผู้เขียนบทความ ชัชวาล ขนขจี (Chatchaval Khonkajee) byblind@gmail.com
ชัชวาล หรือทีร่ จู้ กั กันในชือ่ ต้อม บลายด์ เป็นศิษย์เก่าของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริม่ ต้นทำ�งานทีบ่ ริษทั สามหน่อ ในตำ�แหน่งกราฟิกดีไซเนอร์ ซึง่ ทีน่ น่ั เองทำ�ให้เขาได้รบั การเคีย่ วกรำ�จากนักออกแบบรุน่ พีอ่ ย่าง ปุณลาภ ปุณโณทก และ วิเชียร โต๋ว เขาร่วมงานกับสามหน่ออยู่ 4 ปี จากนั้นก็ร่วมกับเพื่อนรุ่นพี่อีกสองคนก่อตั้งบริษัท Tri-Sa-Third ก่อนจะออกมาตั้งบริษัท Blind งานออกแบบของเขาได้รบั รางวัลจากหลายค่ายทัง้ BAD Award, Tact Award ไปจนถึง ADMAN และมีผลงานตีพมิ พ์ในต่างประเทศ อย่างนิตยสาร How และ Art Director Club ปัจจุบันนอกจากจะทำ�บริษัทใน Bigleg แล้ว เขายังได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษ ทีส่ อนด้านการออกแบบในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ไม่วา่ จะเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นต้น
โป้ง? ความเป็นไทย ปุณลาภ ปุณโณทก
สำ�หรับผม ความเป็นไทยนั้น มักหลบซ่อนอยู่ในตัวเราทุกคน มันมักจะแอบอยู่ในที่ที่พบเจอได้ง่าย แต่มักจะถูกมองข้าม หรือมองไม่เห็นเสมอ เรามักจะรู้สึกเหมือนเล่นซ่อนหา เคยไหม... ที่หาแว่นสายตา ที่คาดอยู่บนผม
ครั้นที่เราอยากจะหา ก็มักจะไม่เจอ ครั้นที่เราพบเจอ ก็ไม่ใช่เวลาที่เราโหยหา หลายครั้งคล้ายกับแสงเงา ยิง่ วิง่ ไล่กด็ เู หมือนจะจับได้ แต่ได้แค่เอือ้ มไปแตะ ไม่ถงึ ขัน้ คว้าไว้จบั ได้มน่ั ทัง้ ๆทีด่ เี อ็นเอของเราก็มกี นั อยูท่ กุ คน ขอแต่เพียงว่า เรามาก้มหาตัวเอง แล้วมองให้เห็น ฟังให้ได้ยิน กับความเป็นไทยที่เล่นซ่อนแอบกับตัวเรา แล้วเราจะพบว่าความเป็นไทยนั้น อยู่ในตัวเรา โดยที่ไม่ต้องออกไปหาจากข้างนอกอีกต่อไป ทุกครั้งที่จิบกาแฟในวันหยุด เราจะเล่นซ่อนหากันแล้วจะได้ โป้ง ความเป็นไทยกันซะที :)
ผู้เขียนบทความ ปุณลาภ ปุณโณทก (Punlarp Punnotok) punlarp@hotmail.com
จบการศึกษาจากภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท พร๊อพพาแกนดา จำ�กัด ในปี 2536 จากนั้นได้มาก่อตั้งบริษัท พิ้งค์ บลู แบล็ค แอนด์ ออบเจ็คท์ จำ�กัด ในปี 2540 และ บริษทั คัลเลอร์ ปาร์ต้ี ออบเจ็คท์ จำ�กัด ในปี 2542 ตามลำ�ดับ ปุณลาภ เป็นนักออกแบบที่ได้รบั รางวัลมากมาย ทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ เช่น BAD Award, CA Magazine, Tact Award, Type Director Club (USA), Art Director Club (USA) รวมถึงการร่วมเป็นอาจารย์พิเศษให้กับหลายสถาบัน เป็นผู้บรรยายพิเศษทั้งในและต่างประเทศ และเป็นกรรมการตัดสิน งานด้านการออกแบบมากมาย รวมถึงเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย และ The Design Alliance, The Asian Design Network อีกด้วย
พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ คิรินทร์ ทุมมานนท์
“ยิ่งเอามันยิ่งอด ยิ่งสละให้หมด มันยิ่งได้” คูณ ปริสุทฺโธ พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ วัดบ้านไร่ อ. ด่านขุนทด จ. นครราชสีมา อนุสรณ์แห่งศรัทธาและทานบารมี เป็นสถานที่ จั ด แสดงชี ว ประวั ติ แ ละสิ่ ง ของเครื่ อ งใช้ ต่ า งๆ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งทานบารมีของท่าน ให้สาธุชนรุน่ หลังได้เรียนรูแ้ ละระลึกถึงวัตรปฏิบตั ิ ของพระเกจิผู้สมถะและมีเมตตาธรรมอันยิ่งใหญ่ งานออกแบบที่สะท้อนเอกลักษณ์หลวงพ่อคูณ อั ต ลั ก ษณ์ ข องภิ ก ษุ ผู้ ส มถะแห่ ง ดิ น แดนอี ส าน ผู้บำ�เพ็ญทานอันยิ่งใหญ่ หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดบ้านไร่ อ. ด่านขุนทด เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วทุกสารทิศ แต่ละวันจะมีประชาชนจำ�นวนมาก มานมัสการขอพรและขอโชคลาภ รวมทัง้ นำ�เงินทองและสิง่ ของมาถวาย แต่หลวงพ่อคูณมิได้ เก็บรักษาทรัพย์สินเหล่านั้นไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว กลับยึดมั่นในความสมถะ มีเพียงสิ่งของเครื่องใช้เฉพาะที่จำ�เป็นต่อการ ครองสมณเพศ สิง่ ของอืน่ ใดทีเ่ กินความจำ�เป็น หลวงพ่อคูณก็ได้บริจาคให้คนอืน่ ทีม่ คี วามต้องการ ส่วนเงินทองจำ�นวนมหาศาลนัน้ ได้บริจาคเป็นทานเพื่อสาธารณประโยชน์ ไปทั่วทุกสารทิศ
ผู้เขียนบทความ คิรินทร์ ทุมมานนท์ (Kirin Tummanonda) kirintum@yahoo.com
Creative Director บริษัท แปลน โมทิฟ
ไทย - ไม่ไทย อยู่ที่ตัวเรา (บันทึกจากงานประชุม ซัมแวร์ไทย) บี อาว เฟรนด์ สตูดิโอ
ตอนแรกที่ได้คำ�ว่าซัมแวร์ ไทยมา ผมก็มาคิดดูว่ามันคืออะไร ผมคิดว่ามันน่าจะมีในเชิงสัญลักษณ์อยู่ อย่างเช่นพวกอาหารไทย หรือพวกสถาปัตยกรรม คือมีความเด่นชัดในทางทีเ่ ราสัมผัสได้ เราเห็นว่ามันมีความเป็นไทย แต่ว่ามันมีหลายอย่างมากที่มัน ถูกเก็บเอาไว้ขา้ งหลังและถูกทิง้ เอาไว้ และไม่สามารถทีจ่ ะนำ�มา ใช้กบั ชีวติ ประจำ�วันได้ เพราะวิถชี วี ติ ของเรามันก้าวกระโดดไป เหตุผลที่มันถูกเก็บไว้ข้างหลังเพราะว่า มันไม่มีใครเอามา พัฒนาเอามาใช้ต่อ มันไม่ถูกพัฒนาหรือนำ�มาใช้ให้เข้ากับ วิถีชีวิตประจำ�วัน มันก็ไม่แปลก ที่มันจะถูกเก็บเอาไว้และ หยุดอยู่ตรงนั้น อาจจะเป็นเพราะว่า ประเทศไทยมีความเชื่อ หลายๆ อย่าง เช่น อันนีข้ องสูงห้ามนำ�ไปเล่น บางทีมนั ทำ�ให้เรา หยิบบางอย่างพัฒนาต่อไม่ได้ และกลายเป็นกำ�แพงต่อไป แต่อีกอย่างหนึ่งที่ผมว่ามันค่อนข้างน่าสนใจในการที่เราไม่ได้หยิบอะไรมาพัฒนาต่อ คือความเป็นไทย ณ ปัจจุบันของเรา คนไทยส่วนใหญ่มันมีปมด้อยตรงที่มันไม่อยากเป็นคนไทย มันรังเกียจความเป็นไทยของตัวเอง อย่างเช่นว่า ถ้าเราดูสมัยนี้ เราเดินไปที่ไหนก็ตามมันน้อยมากที่จะบอกได้ว่านี่คือไทย เด็กสมัยนี้ได้รับอิทธิพลมาจากโน่นจากนี้เยอะ หรือกระทั่งคนรุ่นเรา หรือแก่กว่าเรา ผมว่ามันไม่มีความเป็นไทยอยู่ในเชิงชีวิตประจำ�วัน สาเหตุเป็นเพราะเราไม่มีความภูมิใจในความเป็นไทยก่อน สาเหตุที่เราไม่มีความภูมิใจในความเป็นไทย ก็เพราะว่าเอาจริงๆแล้วคือ ชีวิตประจำ�วันของเรามันไม่ดี แล้วถ้าเราไม่ภูมิใจที่ เราเกิดมาในประเทศนีก้ อ่ น แล้วเราจะรักความเป็นไทยได้ยงั ไง คือเหมือนกันว่าเราคิดว่าประเทศไทยมันร้อนมาก คนไทยไม่ชอบ อากาศร้อน อยากแต่งตัวเก๋ๆ แต่กไ็ ม่ได้ท�ำ อะไรก็ยงั คงตัดต้นไม้สร้างตึกให้มนั ยิง่ ร้อน พอมันยิง่ ร้อนปุบ๊ ก็ยง่ิ เกลียดไม่อยากอยูเ่ มืองไทย ถ้าเกิดมีเงินก็ไปเที่ยวเมืองนอกได้ หรือแบบประเทศไทยตอนแรกมันมีคลองอยู่ก็ไม่ชอบ ต้องการถนนเอารถมาขับให้มันเยอะๆ พอยิง่ มีรถเยอะรถก็ยง่ิ ติด พอรถติดก็ยง่ิ เกลียดความเป็นไทยอีก แล้วก็สร้างมลภาวะ ก็ยง่ิ ร้อน ก็ไม่อยากอยูเ่ มืองไทย ผมว่าพวกนี้ มันคือสิ่งที่ทำ�ให้เราละเลยความเป็นไทย เพราะว่าพอเราไม่ภูมิใจปุ๊บ เราก็ไม่อยากที่จะเห็นความเป็นเรา ก็เลยเก็บไว้ข้างหลัง มันก็ไม่พัฒนา คือจริงๆแล้วผมว่าถ้าจะมองว่าเป็นปัญหา ผมก็มองว่ามันยังพอมีอนาคต เพราะว่าความเป็นไทยในเชิงของ ชีวิตประจำ�วันมันมีโอกาสจะเปลี่ยนได้ ความเป็นไทยในหลังจากนี้อีก 10 ปี ในเชิงพฤติกรรมมันอาจจะถูกเปลี่ยนแปลง มันอาจ จะกลายเป็นว่าคนไทยเป็นคนที่มีระบบเรียบสูงสุด มันขึ้นอยู่กับเราสร้างอะไรไว้ให้คนรุ่นหลัง ถ้าคุณสร้างสังคมที่ดีให้กับเขาอยู่ เด็กรุน่ หลังเขาก็ภมู ิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เขาจะรักวัฒนธรรมเขา แต่ถา้ เกิดคุณไม่ท�ำ สังคมให้ดกี อ่ น แล้วปัจจุบนั คุณไปยัดเยียด ให้เขาแบบสยามเมืองยิ้ม แต่ตื่นเช้ามาทุกคนหน้าบึ้งไปทำ�งานหมด มันก็คงเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นสยามเมืองยิ้ม
95
ผมว่าวิธีการที่เราจะปรับปรุงได้คือเราต้องแยกออกมาเป็นส่วนๆก่อน ความเป็นไทยในกลุ่มเล็กๆ แล้วค่อยมาเป็นภาพรวม อย่างเช่นว่า คนขับรถเมล์ไทยมีจติ สำ�นึกว่าต้องรักษาชีวติ คนตัง้ เยอะตัง้ แยะทีน่ ง่ั รถ รถเมล์ไทยนีม้ นั ดี แท๊กซี่ไทยทำ�ไมขับรถแบบนี้ นักออกแบบไทยเป็นแบบนี้ นักการเมืองไทยเป็นแบบนี้ แล้วร่วมกันจากจุดเล็กๆก่อน คือมีความรับผิดชอบของตัวเองในสังคมก่อน แล้วทำ�หน้าที่ แล้วมันก็จะเป็นจอยย์รว่ มกันทำ�ให้ทง้ั แผ่นมันเป็นสิง่ ทีด่ ี แล้วพอมันเป็นสิง่ ทีด่ ี แล้วทุกคนตืน่ มาปุบ๊ รูส้ กึ ดีมคี วามสุข ทีไ่ ด้อยู่ในประเทศนี้ มันก็จะภูมใิ จ แล้วมันก็มองกลับไปอีกทุกอย่างทีเ่ รามีมนั ดีหมด แต่ตอนนีค้ ณุ ภาพชีวติ เรามันไม่ดี มันไม่แปลกที่ เราจะรู้สึกว่าทำ�ไมมันถึงแบบหายไป เหมือนกับว่าจริงๆแล้วถ้าเกิดมันไม่ดีก็เพราะตัวเรา ถ้าเกิดมันจะไม่มีความเป็นไทยอยู่ ก็เพราะว่าตัวเรา ดังนัน้ มันก็คงต้องแก้ทต่ี วั เราก่อน จริงๆแล้ว มันก็ตอ้ งฝากหลายๆหน่วยอย่างรัฐบาล แต่วา่ ถ้าสมมุตวิ า่ พูดไปแล้ว เขาไม่ได้ยิน มันก็ต้องเริ่มจากที่ตัวเราก่อน คือรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ�ก่อนแล้วก็ทำ�สังคมที่ดีให้กับคนรุ่นหลัง ให้เขาภูมิใจ ที่ได้เกิดเป็นคนประเทศนี้เขาถึงอยากจะพัฒนาสังคมของเราต่อ
ผู้เขียนบทความ บี อาว เฟรนด์ สตูดิโอ (be>our>friend) hello@beourfriend.com
สตูดโิ อออกแบบ be>our>friend Studio ผลิตงาน Idea-Based ทีไ่ ด้น�ำ ความสนใจและความเชีย่ วชาญในงาน Craft และ Technology ของสมาชิกมาผสมกันได้อย่างลงตัว เริ่มต้นจากกลุ่มคนที่มีความสนใจร่วมกัน แต่ความถนัดทางวิชาชีพต่างกัน 3 คน ได้แก่ มะลิ จาตุรจินดา กราฟิกดีไซน์เนอร์ และคนเย็บสมุด, ปอม จิตรประทักษ์ ศิลปินนักวาดภาพประกอบ และ ณัฐวุฒิ เลื่อนไธสง โปรแกรมเมอร์ ปัจจุบนั be>our>friend Studio ขยายตัวเพือ่ รับกับปริมาณงานทีเ่ พิม่ ขึน้ ตามลำ�ดับ โดยมี สถาปนิก, Product Designer, Business Strategic Planner และ ทีม Project Management ในปี 2009 be>our>friend Studio ได้รับเชิญให้ไปแสดงงานที่ Gwangju Biennale ประเทศเกาหลี, เป็นหนึง่ ในสามสตูดโิ อจากทวีปเอเชียเพือ่ ทำ�งานร่วมกับ Converse Global และได้รบั รางวัล Excellent Artwork จากการแสดงงาน Science and Art Exhibition ส่วนหนึ่งของ World Expo ที่เซี่ยงไฮ้ในปี 2010
ดีไซน์ไทย เรียวตะ ซูซูกิ
ผมไม่คอ่ ยมีความรูเ้ รือ่ งดีไซน์ ไม่มสี ทิ ธิทจ่ี ะออกมาพูดอะไรทีน่ ม่ี ากหรอกครับ ผมเป็นแค่คนญีป่ นุ่ ทีอ่ ยูเ่ มืองไทยนานแล้วแค่นน้ั เอง แต่กอ็ าจจะมีอะไรทีพ่ ดู ได้ในฐานะคนต่างชาติทอ่ี ยูเ่ มืองไทยมานาน ทีมงานก็คงหวังว่าอย่างนัน้ ใช่ไหมครับ ผมจะพยายามนะครับ ไฮ้! (ผูกผ้าความพยายามที่หัว) “ดีไซน์ไทย” การออกแบบทีม่ เี อกลักษณ์แบบไทยคืออะไร เวลาผมคิดถึงเรือ่ งนีก้ จ็ ะนึกถึงวัดพระแก้วเป็นสิง่ แรก ภาพลักษณ์ของ เมืองไทยที่อยู่ในหัวของผมตั้งแต่สมัยเป็นเด็กก็คือ ภาพวัดพระแก้วที่เคยเห็นในโปสการ์ด มีรูปนางรำ�ที่ใส่ชฎาด้วย ก่อนทีจ่ ะมาเมืองไทยภาพลักษณ์ของประเทศไทยในหัวของผมก็มแี ค่น้ี ตอนทีม่ าเมืองไทยครัง้ แรกผมก็เลยตกใจทีว่ า่ ประเทศไทย ทันสมัยมากกว่าที่ผมเคยคาดไว้ ตอนนัน้ น่าจะเป็น ค.ศ.1999 รถไฟฟ้าบีทเี อสก็เพิง่ สร้างเสร็จ เมือ่ ก่อนผมคิดว่าประเทศไทยเป็นเหมือนวัดพระแก้วทัง้ เมือง และ มีนางรำ� มีช้างเดินไปทั่ว พอมาถึงจริงๆ แล้ว ผมก็ผิดหวังนิดหน่อย แต่ผมก็รู้นะว่าการจินตนาการแบบนี้เป็นจินตนาการของ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เห็นแก่ตัว (คิดเอาเอง) ภาพลักษณ์ของประเทศใดประเทศหนึ่งในความคิดของคนต่างชาติมักจะผิดๆ ถูกๆ อย่างนี้นะครับ ยกตัวอย่างเช่น คนต่างชาติ ยังมองญี่ปุ่นว่าเป็นประเทศที่มีภูเขาฟูจิ ซามูไร ซูชิ และ เกอิชะ มันก็ไม่ใช่ว่าผิดทุกข้อหรอกนะ บางข้อก็ยังมีอยู่ แต่ว่าบางข้อ ก็ไม่มีแล้ว แต่ว่าภาพลักษณ์ของคนต่างชาติก็ยังเหมือนว่าติดภาพในสมัยอดีตกันอยู่ ภาพลักษณ์ทค่ี นต่างชาติมตี อ่ ประเทศไทยก็อาจจะยังเป็น อยุธยา สุโขทัย ช้าง และ นางรำ� กันอยู่ ผมไม่อยากว่าหรือด่าอะไรหรอกนะ แต่ก็เป็นอย่างนั้นอยู่แล้วจริงๆ อย่างช่วยไม่ได้ นักออกแบบไทยอาจจะหาคำ�ตอบได้เกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักๆ อาจจะมีทางเลือกสองอย่าง หนึ่งก็คือ ออกแบบตามภาพลักษณ์ที่ คนต่างชาติยงั มีตอ่ ประเทศไทยกันอยู่ (เหมือนชุดทีต่ วั แทนประเทศไทยใส่ในงาน Miss Universe) สองคือ สร้างภาพลักษณ์ใหม่ ที่ไม่เหมือนกับประเทศไทยสมัยก่อน ให้คนต่างชาติรู้ว่าประเทศไทยตอนนี้แตกต่างจากอดีตอย่างไร อย่างไรก็ตามถ้านักออกแบบไทยทีม่ งุ่ ทีจ่ ะสร้างชือ่ เสียงระดับโลก อาจจะต้องนึกไปก่อนนะครับว่าความเป็นไทยทีเ่ ราหรือเขาคิดนัน้ คืออะไรบ้าง ความเป็นไทยที่ผมหมายถึงตรงนี้ก็มีหลายแบบหลายระดับนะครับ แต่ละคนก็ต้องหาคำ�ตอบนี้ให้ได้ด้วยความ พยายามของตัวเอง (ผมกำ�ลังพูดอะไรดีๆ อยู่นะครับ นักเรียนทุกคนตั้งใจฟังหน่อยข้อนี้ออกข้อสอบด้วยนะครับ) ผมยังจำ�ภาพในตอนที่ไปดูวดั พระแก้วเป็นครัง้ แรกว่าอย่างไร ผมประทับใจทีว่ า่ สถานทีแ่ ห่งนีเ้ ป็นทีท่ เ่ี ห็นในความฝัน ทีท่ ผ่ี มเคยเห็น ในโปสการ์ดมาก่อน แต่พอเข้าไปดูจริงไม่เห็นมีนางรำ�ตัวเล็กๆ ผอมๆ สวยๆ หรอกนะ มีแต่ยักษ์ตัวใหญ่ๆ หลากหลายแบบ
97
วัดพระแก้วเป็นวัด แม้ไม่มีเจ้าอาวาสประจำ�เหมือนวัดทั่วไป แต่อย่างไรก็เป็นวัดอยู่ ผมตกใจกับแสงสีสันของวัดพระแก้วนะครับ มีเจดีย์สีทองใหญ่สะท้อนแสงซึ่งไม่เหมือนกับวัดที่ญี่ปุ่นเลย วัดญี่ปุ่นก็จะไม่ฉูดฉาดอย่างนี้หรอกครับ บางทีมีแค่สีของไม้ โดยไม่มกี ารทาสี วัดไทยก็จะมีทง้ั สีทอง สีสม้ สีเหลือง สีเขียว เยอะแยะไปหมด ทัง้ ๆ ทีว่ า่ เป็นวัดเหมือนกันแต่สไตล์การออกแบบนัน้ ที่ญี่ปุ่นกับที่เมืองไทยต่างกันมาก ถ้าพูดถึงวัดที่ฉูดฉาดที่สุดในญี่ปุ่นผมว่าน่าจะเป็น “วัดคินคะคุจิ” นะ ไม่มีวัดไหนในญี่ปุ่นจะ ดูสะดุดตากว่านี้หรอก แต่ก็ถ้าเทียบกับวัดไทยถือว่าฉูดฉาดยังไม่พอใช่ไหม ความจริงการเปรียบเทียบวัดไทยกับวัดญี่ปุ่นก็น่าจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจดีนะ เพราะว่าการออกแบบหรือโครงสร้างของ วัดแต่ละที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมที่นั่น อย่างเช่นที่ญี่ปุ่นหลังคาวัดอาจจะตรง ของไทยอาจจะโค้งงอนขึ้น ความจริงการโค้งงอนก็เป็นเรื่องที่สำ�คัญนะ มันเป็นอะไรที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ ไทยอย่างหนึ่ง ไม่ ใช่แค่หลังคาวัดเท่านั้น มือของนางรำ�ก็งอนขึ้น ผมว่าการโค้งงอนถือเป็นความสวยงามแบบไทย คนไทยนิยมโค้งงอนอย่างนี้แต่เมื่อไหร่และเพราะอะไร แต่ผมเข้าใจว่าการโค้งงอนอย่างหลังคาบ้านทรงไทยนัน้ แม้ดา้ นข้างจะลาดลงมาแต่กย็ งั ดัดขึน้ ตรงปลายหลังคาให้โค้งงอนขึน้ ไปได้ มันเป็นการสะท้อนถึงความพยายามของชาวพุทธที่ว่าจะสู่จุดมุ่งหมายที่พยายามพัฒนาขึ้นไปที่สูง นอกจากนีจ้ ติ รกรรมฝาผนังทีว่ ดั พระแก้วสวยสุดยอดนะ เขียนและซ่อมต่อๆ กันมาหลายรุน่ หลายสมัย ความจริงทีญ่ ป่ี นุ่ ไม่คอ่ ยมีการ ซ่อมแบบเขียนทับอย่างนี้หรอกนะ เพราะที่ญี่ปุ่นของเก่าก็จะเก็บไว้อย่างเดิม ไม่เหมือนกับที่เมืองไทย ตอนแรกผมก็สงสัยหรอกนะว่า เอ๊ะ? อย่างนี้จะดีเหรอ? แต่พอคิดไปคิดมาผมก็ยอมรับว่าอย่างนี้ก็อาจจะดีก็ได้ วาดที่เดียว ฉากเดียวกัน ทับซ้อนกับหลายยุค มันก็เหมือนกับใส่บรรยากาศของแต่ละยุคลงไปในภาพ วัฒนธรรมของไทยอาจจะไม่ใช่เก็บของเก่า ไว้อย่างเดิมนะ กลับเขียนทับลงไปเรื่อยๆ รับวิญญาณของคนสมัยก่อนมาเติมรีโนเวท และอัพเดทไปตามยุค อย่างไรก็ตาม เมื่อนึกถึงดีไซน์ ไทยผมก็ยังนึกถึงวัดพระแก้วเหมือนเดิมนะครับ ไม่ว่าเวลาผ่านไปแค่ไหนก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าอยากรู้ดีไซน์ของญี่ปุ่นแบบไหนแล้วละก็... อาจจะถามเพื่อนคนไทยที่อยู่ที่ญี่ปุ่นดีกว่าไหมครับ เนื่องด้วยว่าดีไซน์ญี่ปุ่น สำ�หรับคนญี่ปุ่นอาจจะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเกินจนมองข้าม บางทีมุมมองของคนต่างชาติก็มีความสำ�คัญอย่างนี้แหละนะ แหม...
ผู้เขียนบทความ เรียวตะ ซูซูกิ (Suzuki Ryota) ryothai@hotmail.com
เกิดและโตที่จังหวัดอิบาราคิ (Ibaraki) ประเทศญี่ปุ่น เรียนอุดมศึกษาที่คณะจิตวิทยาที่ Yokohama City University (YCU) ด้วยความบังเอิญทำ�ให้ได้มาอยูท่ เ่ี มืองไทย และจนถึงตอนนีเ้ รียวตะใช้ชวี ติ อยูเ่ มืองไทยมา 11 ปีแล้ว หนังสือ “ปลาดิบแดดเดียว” นี้ เป็นหนังสือรวมคอลัมน์เล่มทีส่ ข่ี องเขา ต่อจาก Team Pladib (พ.ศ. 2547), “ค้างคาวกินปลาดิบ” (พ.ศ.2549) และ “ปลาดิบแช่น�ำ้ ปลา” (พ.ศ.2551) ชอบกินส้มตำ� ข้าวเหนียว ปลาดิบ นัตโตะ (ถั่วหมัก) และชอบเดินตลาดริมน้�ำ คติประจำ�ตัวคือ ใจเย็นๆ
ความเชยที่ต้องชม พงศ์ธร หิรัญพฤกษ์
อะไรคือความเป็นไทยที่คุณภูมิใจ ยิ้ม / เอกราช / ภาษา / ช้าง / มวย / ลายกระหนก / ธงไชย ใจดี / บุญมี / ขนมหม้อแกงใหญ่ที่สุดในโลก / อาภัสรา ฯลฯ จะเห็นเลยว่าอะไรที่ดีๆ ก็ทำ�ให้เราภูมิใจได้ทั้งนั้น ไม่จำ�เป็นต้องมองย้อนอดีตเพียงอย่างเดียว แต่น่าคิดว่าทำ�ไมวิถีชีวิตของ คนไทยสมัยโบราณจึงถูกนำ�มาใช้กระตุ้นความรู้สึกให้เรารักชาติอยู่บ่อยๆ เมือ่ พิจารณาให้ดี จะพบว่าเราไม่เพียงแค่ชน่ื ชมในความกล้าหาญและเสียสละของบรรพบุรษุ เท่านัน้ แต่อกี เหตุผลหนึง่ ทีส่ �ำ คัญก็คอื “พวกเขาแค่เป็นคนไทยที่ยังชอบตัวเองอยู่” และเราก็ประทับใจที่สุดตรงจุดนี้ คนที่ไม่ไฮเทค ไม่ศิวิไลซ์ ไม่พูดไทยปนอังกฤษ แต่พูดได้เต็มปากว่าภูมิใจในตัวเอง เพราะรู้จักให้คุณค่าในสิ่งที่ท�ำ และมันเป็นสิ่งที่คนไทยในปัจจุบันกำ�ลังโหยหา “ความเป็นไทย” สมควรเป็นคำ�ทีเ่ มือ่ คนไทยได้ยนิ แล้วต้องรูส้ กึ ภูมิใจ “ทันที” แต่ถา้ มัน “ชะลอ” แปลว่าเรามีปญั หาด้านทัศนคติท่ี ถูกต้องกับมัน ใครก็รู้ว่าประเทศไทยมีศิลปะวัฒนธรรมที่ดีงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่สมบูรณ์ เป็นเมืองที่เคยขึ้นชื่อว่า ปลอดภัย ผูค้ นอัธยาศัยดี เป็นมิตร สงบและพิถพี ถิ นั มีปจั จัยหลายอย่างทีเ่ อือ้ ให้เราสามารถเป็นประเทศที่ “สง่างาม” ทีส่ ดุ ในโลก ได้ประเทศหนึ่ง แต่เรามีข้อเสียที่ไม่ควรมีบางข้อที่มาบดบังข้อดีนับร้อยของเรา หนึ่งในนั้นคือการมีใจที่เชย ความจริงสิ่งดีๆ ที่เรามีอยู่มันไม่เคย “เชย” ที่ว่าไม่เชยก็เพราะว่าทุกสิ่งที่เราสมมุติและสร้างขึ้นมาล้วนมีจุดประสงค์ ในการ รับใช้เราทัง้ สิน้ ความเชยนัน้ จึงเกิดขึน้ จากใจของคนที่ใช้มนั ไม่เป็น ไม่เข้าใจว่าของบางอย่างต้องได้รบั การอนุรกั ษ์ไว้เพือ่ การอนุรกั ษ์ และบางอย่างต้องได้รับการปรับใช้ด้วยความเคารพ ให้ทันยุค เหมาะสมสอดคล้อง กับชีวิตประจำ�วันที่เรียบง่ายขึ้นทุกที โดยไม่สูญเสียจิตวิญญาณดั้งเดิมที่มีอยู่และนั่นคือสิ่งที่ชาวโลกเขาทำ�กัน ยกตัวอย่างทีเ่ ป็นรูปธรรมง่ายๆ เช่น เราสามารถมีชดุ ประจำ�ชาติรว่ มสมัยที่ใส่ได้ทกุ วัน มีปา้ ยภาษาไทยสวยๆ เต็มบ้านเต็มเมือง แย่งกันซือ้ ของไทย ชอบชือ่ ไทย มีละครที่ไม่เสริมสร้างความเกลียดชัง ยกมือสวัสดีกนั อย่างสง่าผ่าเผย ส่งลูกเรียนรำ�ไทยไม่แปลก งานแต่งงานที่ไม่มรี ปู ชุดกิโมโน ไวโอลิน หรือตัดเค้กปลอมให้เมือ่ ย ส่งออกวัฒนธรรมจนประเทศร่�ำ รวย ถือขนมหม้อแกงแล้วเท่ห์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ดีพอไหมกับเรา การปรับตัวเพือ่ ให้เข้ากับปรัชญาโลกสมัยใหม่ของคนไทยนัน้ ดูจะไม่ราบรืน่ เพราะวัฒนธรรมต่างชาติ และความทันสมัยมักมาแบบ กระทันหัน ขาดช่วงเปลีย่ นผ่านแบบค่อยเป็นค่อยไป พอนึกขึน้ มาได้วา่ อยูห่ า่ งไกลจากรากเหง้าไปทุกทีกต็ กใจ ส่งผลให้ความหวงแหน เป็นไปอย่างเก้ๆ กังๆ วางตัวไม่ถกู ตัดใจไม่ลง ขาดๆ เกินๆ ไปๆ มาๆ ก็เลย “ปรับใช้” กันแบบลูกผีลกู คนไปหมด ตัง้ แต่สากกะเบือ ยันเรือรบ คือทำ�ไม่สดุ สักทาง วิธคี ดิ ทีล่ �ำ้ หน้าก็ถกู ฉุดรัง้ ไว้ ระบบ ขัน้ ตอน ฝีมอื และความประณีตในการแสดงออกก็สคู้ นโบราณไม่ได้ กฎ กติกา มารยาท คน สัตว์ สิ่งของ ล้วนถูกปรับให้เป็น “แบบไทยๆ” ทั้งสิ้น จนคำ�ว่า “ไทยเวย์” มันกลายเป็นคำ�ที่สร้าง ความรูส้ กึ ในแง่ลบ เมือ่ งานขาดคุณค่าและความลงตัวก็เท่ากับ “ขาดคุณภาพ” คนไทยก็เบือนหน้าหนีกนั เองไปชอบของอืน่ กันหมด สรุปว่าทั้งโลกเขาพยายามที่จะเรียบง่าย แต่คนไทยกลับกลายเป็นคนเรียบยาก ความทันสมัยกลายเป็นโทษ
99
เราไม่เคยเห็นใครตั้งคำ�ถามให้เป็นวาระแห่งชาติ ว่าทำ�ไมวันนี้ประเทศอังกฤษถึงยังเป็นอังกฤษอยู่ ฝรั่งเศสยังเป็นฝรั่งเศส เยอรมันยังเป็นเยอรมัน ญี่ปุ่นยังเป็นญี่ปุ่น ทำ�ไมจีนดีขึ้น ทำ�ไมเกาหลีดีขึ้น ทำ�ไมเขาทันสมัยกันได้โดยไม่เสียเอกลักษณ์ ทั้งๆที่ ทุกวันนี้คนเกือบทั้งโลกมีวิถีชีวิตเหมือนๆกัน ก็การแสดงออกที่เปลี่ยนไปมันไม่ได้เปลี่ยนคุณภาพของจิตใจ นั่นคือคำ�ตอบ เราไม่ได้มปี ญั หาภายนอก เรามีปญั หาภายใน เราไม่ได้ขาดความภูมใิ จเก่าๆ แต่เราขาดความภูมใิ จใหม่ๆ เราไม่ได้ขาดความเป็นไทย แต่เราขาดคุณภาพ การขาดคุณภาพเริม่ จากการ “ขาดความหวังดี” ซึง่ เป็นคุณสมบัตหิ ลักของคนใจเชย นีค่ อื สิง่ ทีเ่ ราจำ�เป็นต้องเข้าใจ การทีเ่ ราไม่สามารถแก้ “ปัญหาความเป็นไทย” ได้อย่างตรงจุดสักที เป็นเพราะว่าเราพูดไม่หมด “ปัญหาความเป็นไทยทีข่ าดคุณภาพ” ต่างหากที่เราต้องแก้ อะไรก็ได้ที่ทำ�แล้ว “ถึง” ใครๆ ก็ชอบ คำ�ว่าถึงในที่นี้แปลว่าถึงมาตรฐาน มาตรฐานคือเกณฑ์ที่มนุษย์ถือว่าดี มาตรฐานสากลคือ สิง่ ทีค่ นรับได้ทกุ ชาติ คนทัง้ โลกไม่ได้เอาใจยาก แค่ตอ้ งการอะไรทีม่ คี ณ ุ ภาพไม่ต�ำ่ กว่ามาตรฐานก็ถอื ว่าดีพอแล้ว ยังไม่ตอ้ งพูดถึง อะไรที่สูงกว่ามาตรฐานเลยด้วยซ้ำ� “อะไรก็ได้ ทีค่ นไทยทำ�แล้วถึง สิง่ นัน้ คือความเป็นไทยทีน่ า่ ภูมใิ จ” อย่าเข้าใจผิด หลงตีคา่ ความเป็นไทยจากรูปแบบการแสดงออกของ ศิลปะและวัฒนธรรมแบบโบราณเท่านั้น ความเป็นไทย อยู่ลึกกว่านั้น เพียงแค่เรารู้จักการย้ายความวิจิตรบรรจงที่มีอยู่ในตัว ข้ามฝัง่ ไปอยู่ในด้านวิธคี ดิ ให้มากกว่าเดิม คือหนักคิดและวางแผนอย่างวิจติ รบรรจง รอบคอบเป็นพิเศษกับทุกอย่าง แต่ใช้เวลาทำ� ประหยัดขึ้น ก็จะทำ�ให้อะไรดีขึ้นแบบก้าวกระโดดได้ การคิดเยอะแล้วทำ�น้อยไม่ได้เป็นปรัชญาใหม่และมันไม่ได้ชุ่ย ตรงกันข้าม มันลึกซึง้ และกลับช่วยรักษา “ความเป็นไทย” ที่ “ถามหากันจัง” ให้คงอยูไ่ ปได้ในชีวติ ประจำ�วันโดยไม่ตอ้ งถูกนำ�ไปบอกเล่าในพิพธิ ภัณฑ์ ที่บ้านเราก็ไม่ค่อยสร้าง จะบอกว่าไม่เข้าใจก็คงไม่ได้ เพราะปรัชญาที่ว่านี้มันมีอยู่ในเสื้อยืดและกางเกงยีนส์ที่ใส่อยู่ทุกวัน ความเชยในใจ ไม่ได้หมายถึงความเชยในเชิงสุนทรียภาพเท่านั้น แต่หมายถึงการขาดรสนิยมเชิงสร้างสรรค์ ในทุกเรื่อง ไม่ว่าเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ คนใจเชยจะปรับใช้อะไรก็มีแต่ “ปรับลง” ไม่ “ปรับขึ้น” ทุกวันนี้มีผู้ที่ขาดแรงจูงใจในการสร้างสิ่งดี เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาจากความหวังดี รู้สึกได้แม้กระทั่งจากทางเท้าหรือถนนที่เดินเหยียบ ก่อให้เกิด สังคมแบบเกียร์ว่าง คือไม่มีใครอยากจะลงทุนลงแรงอะไรมากผลตอบแทนไม่คุ้มเหนื่อย กลัวเสียเปรียบ เบื่อโดนเอาเปรียบ ทำ�อะไรดีๆ ก็เหมือนถมทรายใส่ทะเล ต้องอยูแ่ บบประคองตัว ทำ�อะไรมันก็ดยู ากไปหมด ช้าไปหมด แม้กระทัง่ จะเดินทางไปไหน สักแห่งที่ใกล้ๆ หรือทำ�เรื่องขอเอกสารสักชุด ก็หมดวันแล้ว ต้องอาศัยอยู่ใน “พรุ่งนี้แลนด์” อะไรก็พรุ่งนี้ มะรืนนี้ คราวหน้า อาทิตย์หน้า เชื่อในชาติหน้ามากกว่าชาตินี้ หาตัวการเรื่องใดก็ไม่เจอ ภาพรวมของบรรยากาศที่ไม่แจ่มใส ส่งผลกระทบทำ�ให้เรารังแกตัวเองและประเทศแบบไม่รู้ตัว แต่ความจริงแล้วยังมีคนไทยที่ น่ารักอยู่อีกเป็นจำ�นวนมาก หากตั้งใจทำ�สิ่งดี ก็ไม่น่าลังเลที่จะทำ�เพื่อตัวเราและคนเหล่านั้นไม่ควรปล่อยให้ความยากลำ�บาก ที่เป็นมวลรวมในสังคมอันเกิดจากการบกพร่องต่อหน้าที่ของคนกลุ่มเล็กๆ มาทำ�ให้เรากลายเป็นคนที่เกลียดหน้าที่ของตัวเอง การยืนกรานทำ�ในสิ่งที่ถูกต้อง มีคุณภาพ ถือเป็นเครื่องมือต่อสู้กับความงี่เง่าที่ทรงพลังที่สุด ท่านพุทธทาสได้เคยสอนไว้วา่ ทุกอย่างเป็นเรือ่ งสมมุติ แต่หากต้องเป็นอะไรสักอย่าง ต้องเป็น “ให้เป็น” การเป็นคนไทยให้เป็นคือ การย้อนกลับไปรักและให้คณุ ค่าในสิง่ ทีท่ �ำ ไม่วา่ สิง่ นัน้ จะเป็น “สิง่ เก่า” หรือ “สิง่ ใหม่” ถ้าเลือกทำ�แล้วต้องทำ�ให้ถงึ ทำ�อย่างพิถพี ถิ นั ตัง้ ใจ และมีความสุขระหว่างทำ� เพราะกลุม่ เป้าหมายของเราคือคนไทยที่ใจไม่เชย ซึง่ พร้อมรับความหวังดีของกันและกัน หากมีใครถามว่า ทำ�ไมเราถึงมีความหวัง ก็ตอบกลับไปได้เลยว่า เพราะเราอยากสมหวังในชาตินี้ และเราจะไม่มัวนั่งรออัศวินม้าขาว เมือ่ อะไรมันดูเข้าท่าไปหมด ก็จะไม่มีใคร “เหนือ่ ย” ในการหาสัญลักษณ์ตา่ งๆ ทีเ่ ป็นรูปธรรมมาแทนความเป็นไทยแล้วบอกว่ามันใช่ ซึง่ มันใช่เพียงส่วนเดียวเท่านัน้ เราไม่ใช่ชา้ ง ไม่ใช่ธง ไม่ใช่ลายกระหนก ไม่ใช่อะไรทีส่ ามารถใช้ภาพใดภาพหนึง่ แทนได้ แต่ความเป็นไทย ที่ทุกคนคาดหวังคือภาพรวมในความรู้สึกที่สะท้อนจิตวิญญาณที่มีคุณภาพ อันนำ�ไปสู่พฤติกรรมและการกระทำ�ที่มีคุณภาพ ในแบบฉบับของเรามันก็เท่านั้นเอง
100
ความเป็นไทยมันอยู่ตรงนี้ตลอดเวลาในทุกๆ ด้าน แค่คิดก็เจอแล้ว คงเหลือแค่การถามตัวเองว่าทำ�ยังไงเราถึงจะเป็น “คนไทย ที่ชอบตัวเอง” ชอบกันเอง ในปัจจุบันและอนาคต การสร้างสิ่งดีมันไม่ได้ซับซ้อนและมันอธิบายตัวเองได้ ตัวอย่างดีๆ มีให้เห็น มากเกินพออยูแ่ ล้ว มัวแต่ปล่อยให้ความภูมใิ จมัน “ชะลอ” วันหนึง่ มันก็จะ “หยุด” ในความรูส้ กึ แต่หากช่วยกันสร้างความภูมใิ จใหม่ๆ ให้เกิดขึน้ ในจิตใจของทุกคนได้ส�ำ เร็จก็จะไม่มีใครต้องมาวิตกกังวลเรือ่ ง “กลัวไม่ไทย” ให้เปลืองอารมณ์ เพราะไม่มีใครพรากอะไร ไปจากเราได้หรอก มีแต่เรานั่นแหละที่พรากกันเอง
ผู้เขียนบทความ พงศ์ธร หิรัญพฤกษ์ (Pongtorn Hiranpruek) pongtorn@cadsondemak.com
นักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่หันมาเอาดีทางด้านการออกแบบสิ่งพิมพ์ เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบสัญลักษณ์ และเครื่องหมาย ประกอบความหมายแฝง ด้วยพืน้ ฐานความคิดจากแนวทางการออกแบบนิวยอร์คลู ที่ได้มาจากคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยรังสิต รุ่นก่อตั้ง บวกกับประสบการณ์ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์ ในการออกแบบ และการสร้างงานออกแบบด้วยมือ งานของเขาส่วนใหญ่จงึ เป็นงานทีเ่ น้นเรือ่ งวิธคี ดิ มากกว่าการวิง่ ตามสมัยนิยม พงศ์ธรเคยนิยามงานของตนเองว่า “เกือบจะมินมิ อล” เขาให้ความสนใจทางด้านการศึกษาการออกแบบ เมือ่ เข้ามารับผิดชอบหลักสูตรการสอนกราฟิกดีไซน์ ทีส่ ถาบันฝรัง่ เศส กรุงเทพฯ และได้มโี อกาสทดลองรูปแบบการสอนการออกแบบพืน้ ฐานแก่บคุ คลทัว่ ไป ทำ�ให้เขารูว้ า่ ยังมีคนทีม่ คี วามสามารถทางการออกแบบ อีกมากมาย ทีไ่ ม่จ�ำ เป็นต้องผ่านระบบอุดมศึกษา จากประสบการณ์ดงั กล่าว ส่งผลให้เขาปรับวิธคี ดิ กับงานออกแบบหลังจากเริม่ ก่อตัง้ “คัดสรรดีมาก” ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษให้กับคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และยังคงผลิตงานออกแบบสิ่งพิมพ์ ตราสัญลักษณ์ และงานออกแบบภาพพจน์อย่างต่อเนื่อง
ลักษณะไทย กับ ฟอนต์ฟ้าไท ไพโรจน์ ธีระประภา
ฟอนต์ฟ้าไท ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับงานเนื้อหาที่เป็นไทย มีความสง่างามสุขุม เรียบหรู ให้สําเนียงที่ไพเราะน่าฟัง ๑. ความแหลม พบในส่วนของปลายเส้นอักษร การจบของเส้นที่ไม่ใช้มุมฉากทั้งหมดแต่พยายามคงความรู้สึก “แหลมๆ” ไว้ในระดับพอดีไม่มากจนเกินไป ๒. ความอ่อนหวาน พบได้จากโครงสร้างของตัวอักษรเส้นโค้งต่างๆ รักษาทิศทางตามแบบการเขียนด้วยมือไว้ เพราะเชื่อว่าการเขียนด้วยมือ คือเส้นที่อ่อนหวานมากที่สุด ๓. หัวของตัวอักษร ทรงหยดนํ้า หรือ ดอกบัว ให้ความเป็นไทยที่สนิทคุ้นเคยจนลืมสังเกต ทําไม ลักษณะทั้งสามประการจึง “ไทย” ความแหลม: ลักษณะเด่นที่สุดของความเป็นไทยที่เห็นและรู้สึกได้อย่างรวดเร็ว คือการนึกถึงลักษณะไทยเชิงสถาปัตยกรรม ที่มีส่วนยอดแหลม เช่น ขอบฟ้าของเมือง ของราชธานี วัด วัง บ้าน เรือน ศาลพระภูมิ โกศ เจดีย์ โบสถ์ วิหาร หรือ ศิลปะไทยแขนงอืน่ ๆ ทีม่ กี ารประดับตกแต่ง มักปรากฏลักษณะแหลมๆ ให้เห็นเป็นลำ�ดับแรกๆ ในความคิดของทุกคน เช่น ลายไทย ลายกระหนก ชุดไทย เครื่องดนตรีไทย เป็นต้น ความอ่อนหวาน: เป็นลักษณะอ่อนช้อย พบได้ในวัฒนธรรมไทยหรือชีวติ ประจำ�วันของไทย ตัง้ แต่กริยามารยาทจนถึงประเพณีตา่ งๆ ที่แตกออกเป็นงานศิลปะหลายแขนง แต่ละแขนงได้คงความอ่อนช้อยอ่อนหวานไว้แทบทั้งสิ้น รูปทรงหยดนํา้ หรือ ดอกบัว: ดอกบัวกับความเป็นเมืองพุทธแบบไทยคืออันหนึง่ อันเดียวกัน ซึง่ ในรูปทรงดอกบัวก็มสี ว่ นทีแ่ หลม เป็นข้อสังเกต และถ้าตีความเป็นหยดนํ้า ความยืดหยุ่นได้ก็คือ ความอ่อนช้อยอ่อนหวานลักษณะหนึ่ง การออกแบบลักษณะไทยในงาน ๑. นอกเหนือจากรูปอักษรที่ใช้กรอบสามประการแล้ว การจัดวางเรียงเคียงคาํ เว้น วรรค เคาะประโยค ได้ถกู กาํ หนดให้มพี น้ื ทีว่ า่ ง มากกว่าฟอนต์อื่นๆ เพื่อผลต่อการมองเห็นที่ดี แยกแยะได้ไม่สับสนแม้ในขนาดเล็กมาก ๒. เพราะเชื่อว่า Space คือสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการ การมี Spacing มาก เปรียบเหมือนกับว่า เราโอ่โถงมากกว่า อันนํามาสู่ วัตถุประสงค์ทต่ี ง้ั ใจไว้แต่เบือ้ งต้นคือ ออกแบบเพือ่ ใช้สาํ หรับงานเนือ้ หาไทย สง่างาม ทีๆ่ สง่างาม จึงไม่นา่ จะเบียดเสียดยัดเยียด ให้มากเกินไป ๓. ชุดตัวเลขไทย ออกแบบโดยใช้เส้นเรียบง่าย แต่คงโครงสร้างเลขไทยไว้ในขนาดความกว้างเท่าๆกัน จึงสามารถเรียงบรรทัด แบบการคิดบัญชีงบดุลได้อย่างชัดเจน ในทุกหลักตัวเลข ๔. ฮ.นกฮูก เป็นการทดลองคตินิยมแบบตัว Display มาใช้กับฟอนต์ที่เป็นตัวเนื้อความ (ซึ่งจะต้องติดตามประเมินผลกันต่อไป) ๕. การนาํ ลักษณะแหลมๆ มาใช้ จะต้องรักษาความพอดีให้ได้ ตัวอักษรไม่ได้มตี วั เดียวเมือ่ ใช้งานจริง แต่ทกุ ๆตัวช่วยกันทาํ หน้าที่ ดังนั้นการเติมลักษณะเด่นลงไปต้องใช้เพียงจําเป็นต่อความงามที่ต้องการ จึงจะเป็นงานที่ใช้ได้นานและเข้ากับงานอย่างอื่น ได้ง่ายขึ้น ๖. ในฟอนต์ฟ้าไท จะมีฟอนต์ฟ้าใหม่เป็นส่วนหนึ่งใน Family Font เนื่องจากคำ�นึงถึงการใช้งานจริงที่สวยงามขึ้น และไม่ต้อง เสียเวลาจับคูก่ บั แบบอักษรอืน่ อีก ฟอนต์ฟา้ ใหม่ถกู ออกแบบในคติเดียวกันกับฟอนต์ฟา้ ไท คือมีความงามแบบไทยให้อารมณ์ สง่างาม สูงส่ง และหากจะสังเกตก็มักพบการนําฟอนต์ฟ้าใหม่ไปใช้งานในลักษณะดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรก ที่มีน�้ำ หนักหนามากขึ้น
102
ผู้เขียนบทความ ไพโรจน์ ธีระประภา (Pairoj Teeraprapar) siamruay@yahoo.com
ไพโรจน์ ธีระประภา หรือที่รู้จักกันในวงการกราฟิกว่า โรจ สยามรวย จบการศึกษาจาก คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผูอ้ อกแบบชุดตัวอักษร (Font) ตระกูล SR เช่น ฟอนต์ใช้ในใบปิดภาพยนตร์ “ฟ้าทะลายโจร” และ “หมานคร” โรจ สยามรวย เริม่ ออกแบบชุดตัวอักษรมาจากการทำ�ฟอนต์ใช้เอง ในการผลิตงานโฆษณาและงานส่วนตัว ปัจจุบนั ไพโรจน์ ธีระประภา มีธรุ กิจเล็กๆ ของตัวเองในนาม สยามรวยดีไซน์ และเปิดร้าน เดอะชนบท ที่ถนนพระอาทิตย์
ชวนคุยเรื่องโลโก้ไทยๆ วีร์ วีรพร
แม้ว่าตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการต่างๆ ในประเทศไทย มีลักษณะผิดไปจากสิ่งที่เราเรียนกันในชั้นเรียนวิชา Corporate Identity ไม่ว่าจะด้วยความซับซ้อน มีรายละเอียดเยอะ ขาดการตัดทอน หรือการสื่อสารที่ตรงไปตรงมา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า งานออกแบบเหล่านั้นมีความชัดเจนพอที่ใครเห็นแวบเดียวก็รู้ว่าต้องเป็นอะไรที่เกี่ยวกับราชการไทยแน่นอน ถ้าเช่นนั้นแล้ว โลโก้ของหลายหน่วยงานทีพ่ ยายามเปลีย่ นแปลงให้เป็น “สมัยใหม่” เป็นทางออกทีเ่ หมาะสมหรือไม่ และยังแสดงถึงความเป็นไทย หรือไม่?
ผู้เขียนบทความ วีร์ วีรพร (Wee Viraporn) wee@conscious.co.th
วีร์ วีรพร เรียนจบปริญญาตรี จากสาขานฤมิตรศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท MA Typo / Graphic Studies จาก London College of Communication ประเทศอังกฤษ หลังจากจบเขาเชือ่ มันมาตลอดว่างานออกแบบกราฟิกมีหน้าทีต่ อ้ งรับใช้สงั คม ตัวอย่างงานของ Concious สตูดโิ อทีเ่ ขาก่อตัง้ ขึน้ จึงเป็นการออกแบบหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ ให้กับ UNESCO, สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียม สยาม) และ การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ส�ำ หรับการแสดงให้กับ ภัทราวดีเธียเตอร์ อีกงานที่เขาเชี่ยวชาญไม่แพ้กันคือ งานออกแบบ Environmental Graphic จนมีองค์กรขนาดใหญ่มอบหมายงานให้อยู่เสมอ เช่น งานระบบป้ายนำ�ทางและสัญลักษณ์สำ�หรับสำ�นักงานของบริษัท ปตท. สำ�รวจและผลิตปิโตรเลียม จำ�กัด (มหาชน) และ ล่าสุดกับ dtac house ที่อาคารจามจุรีสแควร์ นอกจากนัน้ เขายังผุด “รายการดีไซน์ไปบ่นไป” ซึง่ ออกอากาศทางพอสคาสต์ขน้ึ มา โดยพ่อครัว วีร์ ชวนนักออกแบบในหลายสาขา มาควงตะหลิว เคาะกะทะ เพือ่ แลกเปลีย่ นความรูแ้ ละเผยแพร่ความรูท้ างงานดีไซน์ให้เกิดประโยชน์กบั ดีไซเนอร์ในวงกว้างมากขึน้
ว่าด้วย “พื้นที่” ในงานออกแบบกราฟิกไทย ชัยยศ อิษฎ์วรพันธ์ุ
พื้นที่ในวัฒนธรรมไทย แม้เมื่อเวลาออกแบบเราจะคำ�นึงถึงองค์ประกอบหลักของตัวงานก็คือตัวอักษรและภาพเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วสิ่งที่เราจะ ละเลยไปไม่ได้เลยคือตัว “พืน้ ที”่ รองรับงานออกแบบทัง้ หลาย นักออกแบบกราฟิกต้องทำ�งานบนพืน้ ทีส่ องมิติ ไม่วา่ จะเป็นหนังสือ ปกหนังสือ หน้านิตยสาร โปสเตอร์ แผ่นพับ ใบปลิว ฯลฯ พืน้ ทีเ่ หล่านีม้ ลี กั ษณะแตกต่างกันไปทัง้ ในแง่กายภาพและในแง่เนือ้ หาของ สิง่ ทีพ่ น้ื ทีน่ น้ี �ำ เสนอ ลักษณะของข้อความและภาพที่โดดเด่นบนโปสเตอร์จะสัน้ ไปทันทีเมือ่ อยู่ในหนังสือ เป็นต้น ข้อจำ�กัดเหล่านี้ ผูกพันอยู่กับลักษณะเฉพาะที่ตัว “สื่อ” กับ “รูปทรง (ภาพกับข้อความ)” จะมาทำ�งานร่วมกัน คำ�ถามถัดมาที่เกี่ยวเนื่องกับงานนี้ก็คือ อัตลักษณ์ของนักออกแบบกราฟิกไทยนั้นอยู่ที่ไหน คำ�ถามนี้ตอบได้จากหลายแง่มุม ผมเองออกจะสนใจปัญหานี้จากมุมของลักษณะพื้นที่ดังที่เกริ่นไว้ในย่อหน้าแรก ในบรรดาสื่อที่เราทำ�การออกแบบกันอยู่ทุกวันนี้ อาจจะเรียกได้วา่ เป็นสือ่ สมัยใหม่ในความหมายทีว่ า่ เป็นสือ่ ทีเ่ มือ่ ก่อนเราไม่มใี ช้อยูใ่ นสังคมไทย แต่มามีกเ็ พราะเราติดต่อกับชาวต่างชาติ ทีนส้ี อ่ื เหล่านี้ไม่ได้มาแต่ตวั สือ่ แต่มนั มาพร้อมกับมุมมองหรือความคิดด้วย เมือ่ ก่อนนีเ้ รามีมมุ มองทีแ่ ตกต่างจากปัจจุบนั พอสมควร ไม่ต้องไกลแค่ไหน เอาแค่สองร้อยกว่าปีที่ผ่านมานี้เองก็คนละเรื่องแล้ว ลองมาทบทวนดูว่าเมื่อก่อนนี้เรามีมุมมอง เนื้อหา และลักษณะของสื่อสองมิติที่ทำ�งานร่วมกันกับภาพและคำ�อย่างไรบ้าง อาจจะทำ�ให้เราเข้าใจตัวตนดัง้ เดิมของเรามากขึน้ ไปพร้อมๆ กับเห็นหนทางในการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ทีน่ า่ จะตอบรับกับตัวตนหรือ อัตลักษณ์ของนักออกแบบกราฟิกไทยและหวังว่าเมือ่ นัน้ งานออกแบบทีเ่ ป็น “ไทย” อาจจะตามมาหรืออย่างน้อยก็อาจจะไม่ใช่ปญั หา อีกต่อไป พื้นที่ “สมุดไทย” หนังสือในประเทศไทยแต่เดิมเรียกว่า “สมุด” ถ้ายึดตามการตีความของ จิตร ภูมศิ กั ดิ์ “สมุดไทย” เป็นการคิดค้นโดยคนไทยอย่างแท้จริง ด้วยเหตุแห่งความภูมใิ จดังกล่าวจึงต้องเรียกว่า “สมุดไทย” เพือ่ ให้ตา่ งจากสมุดในอารยธรรมอืน่ ๆ ไม่วา่ จะเกิดขึน้ มาด้วยเหตุผลใดก็ตาม สมุดแบบนี้มีลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างจากพื้นที่ที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน ลักษณะสมุดไทยเป็นหน้ากระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความกว้างคูณยาวที่หลากหลาย หน้ากระดาษเหล่านี้นำ�มาต่อกันทางยาว จนกลายเป็นเล่ม บางครัง้ มีความยาวต่อเนือ่ งกันกว่าร้อยหน้า ถ้ามีการเขียนด้านหลังด้วยจะเท่ากับเพิม่ ขึน้ มาอีกหนึง่ เท่าโดยทันที การแบ่งพืน้ ทีแ่ บบนีแ้ ม้จะทำ�ให้เกิดด้านหน้ากระดาษกับด้านหลังกระดาษ แต่กเ็ ป็นด้านหน้ากับด้านหลังทีต่ า่ งกับ Recto And Verso ของฝรั่งแน่นอน ความจริงสมุดที่ยาวต่อเนื่องแบบสมุดไทยนี้มีในอารยธรรมดั้งเดิมของโลกหลายแห่ง เช่น ในวัฒนธรรมเอเซียตะวันออก คือ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งม้วนกระดาษยาว เวลาอ่านคลี่ออกอ่านจากขวาไปซ้าย สมุดไทยยาวแบบเดียวกันใช้วิธีที่แตกต่าง คือ พับซ้อนกัน ทั้งนี้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลดั้งเดิมใดก็ตามที่ท�ำ ให้คนที่คิดสมุดแบบนี้คิดวิธีพับแบบนี้เป็นคนแรก แต่เมื่อพัฒนามาจน ถึงจุดหนึ่ง ซึ่งถ้านับในแง่อายุก็ประมาณปลายสมัยอยุธยาหรือประมาณสักสองร้อยห้าสิบปีถึงสามร้อยปีที่แล้ว การพับแบบนี้ เป็นวิธที ท่ี �ำ ให้น�ำ เสนอเนือ้ หาหนึง่ ๆ ได้ดมี ากหรือดีทส่ี ดุ ก็วา่ ได้ เมือ่ เทียบกับหนังสือในวัฒนธรรมอืน่ ๆ ก็คอื เนือ้ หาของภพภูมติ า่ งๆ ตามความเชื่อของศาสนาพุทธที่เรียกว่า ไตรภูมิ
105
ไตรภูมกิ ค็ อื ภูมศิ าสตร์ประเภทหนึง่ ทีเ่ ป็นเรือ่ งของจินตนาการ ความจริงจะบอกว่าไตรภูมไิ ม่เกีย่ วข้องกับความเป็นจริงเลยก็อาจ จะไม่ถูกต้องนัก อย่างไรก็ตาม ลักษณะเด่นของไตรภูมิก็คือการลำ�ดับขั้นของชีวิตซึ่งดำ�รงอยู่ในพื้นที่ต่างๆ (ที่เรียกว่าภพภูมิ) ในการ “สร้างภาพ” ไตรภูมิขึ้นมาในหนังสือ ผู้แต่งจินตนาการว่าพื้นที่สำ�หรับชีวิตเหล่านี้ลำ�ดับกันทางตั้ง จากบนสุดสู่ล่างสุด (กำ�หนดตามกรรมของแต่ละคน) ลักษณะพื้นที่แบบนี้สอดคล้องที่สุดเมื่อมีกระดาษยาวต่อเนื่อง (เนื่องจากชั้นบนสุดจนล่างสุด มีภพภูมิหลายสิบชั้น) และคลี่ตัวออกอ่านจากบนสุดไปล่างสุด เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ม้วนกระดาษยาวอ่านจากขวาไปซ้าย แบบเอเซียตะวันออกทำ�ลำ�ดับทางตั้งแบบนี้ไม่ได้ ทำ�ได้แต่ทางนอน เรียกได้ว่าเนื้อหากับตัวรูปพื้นที่ของสมุดไทยนั้นเอื้อต่อการ วาดเนื้อหาไตรภูมิ และอ่านแบบลำ�ดับตามตั้งแบบนี้ที่สุด สมุดไทยแบบนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน ด้านหน้าเรียกว่า “หน้าต้น” ด้านหลังเรียกว่า “หน้าปลาย” ตัวอย่างจาก “สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา เลขที่ 10/ก” มีหน้าต้นทัง้ สิน้ 74 เพนิก (เพนิกแปลว่าหนึง่ คู่ หนึง่ เพนิกมีลกั ษณะใกล้เคียงกับหน้าหนังสือปัจจุบนั ) การอ่าน “สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา เลขที่ 10/ก” ให้จบหน้าต้นคือการอ่านจากบนลงล่างจนจบ จากนั้นจึงพลิกมายัง หน้าปลาย ที่ลำ�ดับหน้าแบบซ้ายไปขวา เหตุที่หน้าปลายลำ�ดับแบบนี้ก็เพราะไม่ได้เขียนเรื่องภูมิศาสตร์ในไตรภูมิอีกต่อไปแล้ว แต่เขียนเรื่องพุทธประวัติ แผนที่โบราณ และชาดกจำ�นวนหนึ่ง ลักษณะของเรื่องในหน้าปลายต้องการวิธีการเล่าเรื่องแบบเป็น ลำ�ดับต่อเนื่อง (Linear) การหันมาลำ�ดับเรื่องและกำ�หนดวิธีอ่านอีกแบบหนึ่งก็สอดคล้องกันดีกับลักษณะของเนื้อหา สมุดไทยทำ�ให้เราเข้าใจ “พืน้ ที”่ สำ�หรับภาพและคำ� ในอีกแง่มมุ หนึง่ อย่างน้อยการทีเ่ รามีพน้ื ทีท่ างตัง้ ช่วยทำ�ให้เราลำ�ดับเนือ้ หาที่ เป็นทางตัง้ ได้ดี ในอีกด้านหนึง่ เมือ่ เนือ้ หาเปลีย่ นแปลงไป สมุดเล่มเดียวกันก็มคี วามยืดหยุน่ ของพืน้ ทีม่ าก สมุดไทยสามารถนำ�เสนอ การลำ�ดับการอ่านอย่างน้อยสองแบบในสมุดเล่มเดียว ที่ต้องนับว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเจาะจงได้ทีเดียว พื้นที่จิตรกรรมฝาผนัง รัชกาลที่สามเคยจ้างหมอบรัดเลย์จัดพิมพ์ “ประกาศห้ามสูบฝิ่น” อันถือเป็นการจัดทำ�เอกสารอย่างเป็นทางการด้วยวิธีการพิมพ์ เป็นครัง้ แรก ประกาศนีอ้ าจจะเป็น “พืน้ ที”่ เพือ่ การสือ่ สารสาธารณะหรือทีเ่ ราเรียกว่า “โปสเตอร์” เป็นครัง้ แรก พืน้ ทีส่ าธารณะและ แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่นี้สอดคล้องไปกับพัฒนาการของสังคมไทยยุคนั้นอย่างแยกไม่ออก ถ้าถือว่าสังคมสมัยใหม่วัดกันจากว่า พื้นที่ในสังคมหนึ่งๆ มีลักษณะอย่างไรแล้วละก็ นี่อาจจะเป็นรุ่งอรุณของยุคสมัยใหม่ในประเทศไทย และก็เป็นในยุคสมัยเดียวกันนีเ้ อง ทีม่ กี ารจัดทำ�จารึกบนแผ่นหินแกะสลักติดตัง้ ในวัดสำ�หรับให้คนทัว่ ๆไปได้เข้าไปศึกษาหาความรู้ ประเภทต่างๆ เริม่ จากวัดราชโอรสและมาเต็มทีท่ ว่ี ดั พระเชตุพน เรือ่ งทีจ่ ารึกนัน้ เป็นความรูท้ เ่ี ข้มข้นมากกว่าข้อมูลข่าวสารพืน้ ฐาน ในยุคสมัยเดียวกัน เนื่องจากเป็นจารึกเนื้อหาว่าด้วย “ยา” “ร่างกาย” และ “ภาษา” ซึ่งก็คือเครื่องมือในการเข้าถึงความรู้นั่นเอง แต่จารึกไม่ใช่พน้ื ทีเ่ ดียวของวัดพระเชตุพน ทัง้ ภายในและภายนอกตัวอาคารต่างๆ ในอาณาบริเวณวัดมีพน้ื ทีท่ แ่ี สดงเนือ้ หาประเภทต่างๆ และมีลกั ษณะต่างๆกัน เช่น พืน้ ทีว่ าดจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ เป็นพืน้ ทีท่ ง้ั แบบผนังขนาดใหญ่เหนือหน้าต่างยาวต่อเนือ่ ง หลายร้อยตารางเมตร พืน้ ทีส่ ว่ นล่างของหน้าต่างวาดอีกเรือ่ งหนึง่ พืน้ ทีบ่ านประตูภายนอกเรือ่ งหนึง่ บานประตูภายในเรือ่ งหนึง่ เช่นเดียวกับบานหน้าต่าง ไปจนภาพประดับภายนอก การสร้างสรรค์เนือ้ ทีส่ �ำ หรับภาพและคำ�ทีม่ คี วามหลากหลายทัง้ ในแง่ขนาด รูปแบบ เทคนิคการวาด และเนื้อหา ขนาดนี้เกิดขึ้นก็เพราะความมุ่งหมายที่จะร้อยรัดความหมายของอาณาจักร พุทธจักรไปจน สถานะความรู้เรื่องต่างๆ ที่ถือว่าร่วมสมัยของยุคนั้นเข้าด้วยกัน ถัดออกไปเพียงแค่ไม่กน่ี าทีเดิน วัดพระศรีรตั นศาสดารามและวัดสุทศั น์เทพวรารามมีเนือ้ หาและพืน้ ที่ในการแสดงออกแตกต่างออกไป ยิ่งถ้าไกลออกไปแบบวัดราชโอรส พื้นที่ถูกกำ�หนดรูปแบบใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่แตกต่างเช่นกัน กรุงเทพน่าจะเป็นเมืองที่มีจิตรกรรมฝาผนังมากที่สุดในโลก ข้อสังเกตนี้สัมพันธ์กับความคิดที่ว่าคุณภาพและรูปแบบก็น่าจะ มากมายพอๆกัน โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่สาม ที่เกิดการแตกกระจายตัวของทั้งเนื้อหาและรูปแบบ ลักษณะเฉพาะของ พื้นที่ประเภทต่างๆ ที่แสดงออกเนื้อหาแบบต่างๆ อาจจะเอื้อให้เราเข้าใจตัวตนดั้งเดิมและเนื้อหาของเรามากขึ้น
106
พื้นที่บนตาลปัตร ถัดจากพื้นที่ขนาดยักษ์ของวัดต่างๆ ผมคิดถึงพื้นที่ขนาดย่อมถือไว้ในมือได้ของตาลปัตร การถือตาลปัตรที่วิวัฒนาการมาจาก พัดโบกยามสวดของพระ กลายมาเป็นพื้นที่เพื่อการออกแบบที่สำ�คัญเมื่อเข้าสู่ช่วงรัชกาลที่ห้า โดยฝีมือของช่างคนสำ�คัญแห่ง กรุงรัตนโกสินทร์คือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ภายใต้มือศิลปินท่านนี้ งานออกแบบบนพื้นที่ชนิดนี้พัฒนาไปจน จุดสูงสุดอย่างที่ยังไม่สามารถสร้างงานที่มีมาตรฐานระดับนั้นได้ในปัจจุบัน ความจริงตัวตาลปัตรเอง ตัง้ แต่เมือ่ เป็นพัดโบกทีม่ ลี กั ษณะงุม้ มาเป็นพัดยศทีท่ �ำ จากใบตาล จนกลายเป็นพัดยศทำ�ด้วยวัสดุทรงค่า ในแง่ออกแบบก็เช่นกัน จากพัดที่ดูเหมือนเป็นการผลิตจากช่างฝีมือพื้นฐานกลายมาเป็นงานที่ออกแบบกันอย่างเอาจริงเอาจัง มีทง้ั ความหมายเชิงสัญลักษณ์ทเ่ี กีย่ วพันกับเจ้าของงาน อารมณ์โศกเศร้าหรือยินดี เกียรติยศหรือสรรเสริญ และเมือ่ ถึงเทคนิคการผลิต งานออกแบบบนพืน้ ทีข่ นาดเล็กนีแ้ สดงออกมาจากวัสดุ เช่น ไหมเลือ่ มปักนูน เลือ่ มปักเป็นลาย (ทีม่ ชี อ่ื เฉพาะมากมาย) ไปจนกระทัง่ โลหะฉลุ ที่ให้ผลลัพธ์กบั งานบนพืน้ ทีส่ องมิตมิ ากกว่าแค่ระนาบทีร่ าบเรียบ สอดคล้องกับลักษณะของตัวตาลปัตรเองที่ไม่ได้อยูเ่ ฉยๆ แต่เคลื่อนไหวไปตามมือผู้ถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่แสงสว่างยามค่ำ�คืนในบริเวณงานพิธียังไม่สว่างจ้าและแข็งกระด้าง เท่าทุกวันนี้ ความเคลื่อนไหวของตาลปัตรและลวดลายที่ถูกออกแบบขึ้นนี้น่าจะสวยงามมากทีเดียว แม้งานตาลปัตรในปัจจุบนั จะเป็นงานหัตถกรรมที่ไม่ใคร่ได้รบั ความสนใจจากนักออกแบบหรือศิลปินมากนัก แต่การสร้างสรรค์ของ ศิลปินในช่วงที่ผ่านมาช่วยให้เราเข้าถึงศักยภาพของสื่อขนาดเล็กที่ดูเหมือนจะเคลื่อนไหวได้ในตัวเองไม่น้อย นอกจากนีผ้ มก็ยงั นึกไปถึงสือ่ อืน่ ๆ ทีเ่ ป็นพืน้ ทีข่ อง “ภาพและคำ�” เช่นตูพ้ ระธรรมซึง่ มักจะเป็นลายรดน้�ำ ปิดทอง ความแวววาวของทอง บนพืน้ รักดำ�ให้คา่ ความงามสมกับความสูงส่งของคัมภีรท์ อ่ี ยูภ่ ายใน ภาพลักษณะนีย้ งั เล่าเรือ่ งได้ดว้ ยดังปรากฏทีต่ พู้ ระธรรมจำ�นวนหนึง่ หรือที่หอเขียนวังสวนผักกาด ที่กล่าวเกี่ยวกับสื่อสามประเภทที่มีขนาด และรูปแบบแตกต่างกันในสังคมวัฒนธรรมไทยมานี้ ก็เพื่อจะสะท้อนให้เห็นว่า การสร้างตัวตนในงานออกแบบ ในแง่หนึ่งจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดก็คือต้องกลับไปหาพื้นที่ของเราเอง ต่อคำ�ถามที่ว่าการกลับไปหา ตัวตนแบบนีย้ งั จำ�เป็นหรือไม่ในสังคมปัจจุบนั นัน้ ผมไม่สามารถให้ค�ำ ตอบได้เพราะตัวเองก็ไม่คอ่ ยแน่ใจ อย่างไรก็ดนี กั ออกแบบกราฟิก ส่วนหนึง่ หรือส่วนใหญ่ในประเทศญีป่ นุ่ ดูจะใส่ใจกับปัญหานีอ้ ยู่ และก็สร้างสรรค์งานทีป่ ระสบความสำ�เร็จในระดับนานาชาติมาแล้ว
ตำ�รายา และตำ�แหน่งในร่างกายมนุษย์ กับวิธีการรักษา จารึกจากวัดราชโอรส ภาพจาก จารึกตำ�รายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2545
107
พื้นที่ขนาดเล็กบนตาลปัตร และการออกแบบรูปแบบต่างๆ ภาพจาก ณัฎฐภัทร จันทวิช ตาลปัตรพัดยศ ศิลปบนศาสนวัตถุ กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์ 2538
ภาพจาก สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม 1-2 กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2542
ไตรภูมิ จากมหานครนิพพานจนถึงนรก สมุดไทยเปิดคลี่ออกทางตั้ง เหมาะสมกับเนื้อหาเรื่องราว ของรูปที่มีลำาดับทางตั้งเช่นกัน
108
109
ผู้เขียนบทความ ชัยยศ อิษฎ์วรพันธ์ุ (Chaiyosh Isavorapant) chaiyosh@gmail.com
จบการศึกษาปริญญาเอก สาขาสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยวะเซะดะ ประเทศญีป่ นุ่ มีความสนใจในศิลปะและสถาปัตยกรรมญีป่ นุ่ ทัง้ ประวัตศิ าสตร์และร่วมสมัย มีบทความและหนังสือเกีย่ วกับเรือ่ งนีห้ ลายเล่ม เช่น ธรรมชาติ ทีว่ า่ ง และสถานที:่ รวมบทความว่าด้วย สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น และเล่มล่าสุด รู้สึกและนึกคิด: เรขาคณิตของทาดาโอะ อันโด
Interactive Design and Character Design
Composition
Illustration
ความเป็นไทยบนทางหลวงหมายเลข 340
ณัฐจรัส เองมหัสสกุล
New Media
Installation Art
Printer Guru & Her Letterpress
111
ผู้เขียนบทความ ณัฐจรัส เองมหัสสกุล (Nutjarus Eangmahassakul) nutjarus@gmail.com
ตั้งแต่ได้เข้าร่วมโครงการประกวดทำ�นิตยสาร i-mag กับนิตยสารสุดสัปดาห์ และฝึกงานในสายงานนิตยสารอยู่หลายหัว ตอนที่กำ�ลังศึกษาอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง ภาควิชานิเทศศิลป์ ก็ไม่เคยเปลี่ยนใจอยากทำ�อาชีพอื่น นอกจากทำ�นิตยสารอีกเลย หลังจากจบจึงตัดสินใจสมัครเข้าทำ�งานในตำ�แหน่งกองบรรณาธิการและผูช้ ว่ ยบรรณาธิการศิลปกรรม ในนิตยสาร a day เพือ่ เรียนรูท้ กุ กระบวนการในการทำ�นิตยสารเป็นเวลา 3 ปีกอ่ น เมือ่ รูข้ า่ วการมาของ Computer Arts จึงไม่รรี อ ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของนิตยสารที่สร้างแรงบันดาลใจในการดีไซน์มาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็น Editor in Chief นิตยสาร Computer Arts Thailand และนิตยสารรายสองเดือน Computer Arts Projects Thailand ที่ยังรักตัวหนังสือและงานดีไซน์ พอๆ กับการ ปิดต้นฉบับทุกเดือน
Furoshiki Meet Banana Leaf น้ำ�ใส ศุภวงศ์
งานชิน้ นีเ้ ป็นงานทีต่ ง้ั ใจจะทำ�ส่งประกวดลายผ้าฟุโรชิกิ ทีจ่ ดั โดย Japan Foundation ซึง่ หนูกต็ คี วามโจทย์เอาเองว่ามันน่าจะต้องเกีย่ วข้องกับประเทศไทยและประเทศญีป่ นุ่ ก็เลยเลือกประเด็นโอริงามิซง่ึ เป็นภูมปิ ญั ญาของญีป่ นุ่ กับการใช้ประโยชน์จากใบตอง ของไทยที่ทั้งนำ�มาห่อของ ห่อกับข้าว ห่อขนมเหมือนกับผ้าฟุโรชิกิ และยังสามารถ นำ�มาพับมาสานเป็นอะไรหลายๆอย่าง เช่น ปลาตะเพียน ซึ่งคิดดูแล้วก็รู้สึกว่า ภูมิปัญญาไทยก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าญี่ปุ่นสักเท่าไหร่เลย ลายผ้าที่ได้ก็ออกมาเป็นแบบนี้ ซึ่งมีลายประๆ แทนลายที่แนะแนวการพับเหมือนที่ เห็นบ่อยๆ ในกระดาษสำ�หรับทำ�โอริงามิ ส่วนสีเขียวและลายเส้นขวาง ก็ตั้งใจจะ ให้เหมือนกับใบตอง นอกจากนีย้ งั สามารถพับตามรอยประได้ซง่ึ มันก็เป็นหนึง่ ในหลายวิธี ในการใช้ผ้าฟุโรชิกิ
ผู้เขียนบทความ น้ำ�ใส ศุภวงศ์ (Namsai Supavong) mailofjug@yahoo.com
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ทักษะที่หายไป สถาวิทย์ ฤาชา
ช่วงต้นปีที่ผ่านมาผมลืมคอมพิวเตอร์ โน้ตบุค๊ ไว้ทร่ี า้ นเคเอฟซี กว่าจะนึกขึน้ ได้ ว่า “ลืม” มันก็ผา่ นไปแล้วกว่า ๒๔ ชัว่ โมง เป็นทีท่ ราบกันว่าการทีจ่ ะไปตามทวงของ จากความเผอเรอนั้น ไม่ ใช่เรื่องง่าย ผมได้แต่ถามตัวเองว่าทำ�ไมเราจึงขาดสติ ได้เป็นช่วงเวลายาวนานเช่นนัน้ อย่างไรก็ดี เจ้าโน้ตบุ๊คเครื่องนั้นมันก็ได้หายไปแล้ว เป็นอันว่าแผนทีว่ างไว้วา่ จะใช้คอมพิวเตอร์ เครื่องนี้ ในการทำ�งานหารายได้พิเศษ ก็ต้องสะดุดไปพร้อมๆกัน แต่ที่เสียดาย มากกว่าตัวคอมพิวเตอร์เอง ก็คือข้อมูล ทีบ่ นั ทึกเก็บเอาไว้ตา่ งหากคิดทีไรก็พาลให้ เสียใจปนเสียดายขึ้นมาทุกที ในช่วงเดียวกันก็มคี วามเสียใจหลายๆ รูปแบบเกิดขึน้ รอบๆ ตัว ความเสียใจเรือ่ งโน้ตบุค๊ หายนัน้ เทียบไม่ได้กบั เหตุการณ์บา้ นเมือง ที่เกิดขึ้นในช่วงพฤษภาคมที่ผ่านมา เรื่องร้ายๆ มีขึ้นอย่างมากมายและต่อเนื่อง ทำ�ให้หลายๆคนเกิดความสับสนและสร้างความ ขัดแย้งขั้นรุนแรงหาทางออกที่เหมาะสมไม่ได้ ในระหว่างที่ประกาศใช้มาตรการเคอร์ฟิวส์กันนั้น ทำ�ให้มีเวลาได้อยู่กับตัวเอง มากเป็นพิเศษ ประกอบกับเป็นช่วงที่ผมเริ่มทำ�งานประจำ�หลังจากเรียนจบมาหมาดๆ มันช่างเป็นช่วงเวลาที่ดีสำ�หรับการเข้าสู่ โลกของการทำ�งานเสียนี่กระไร บรรยากาศเช่นนี้หัวข้อการสนทนาในสถานที่ทำ�งานก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเรื่องของเหตุการณ์ บ้านเมืองได้ นานาทัศนะเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขเป็นเรื่องปกติในแต่ละวัน ในจุดหนึ่งมันทำ�ให้ผมตระหนักว่าสังคมจะดีอยู่ได้ หน้าที่ของแต่ละคนเป็นสิ่งที่ส�ำ คัญมาก เราสามารถเริ่มการเปลี่ยนแปลงได้ที่ตัวเรา หลังจากความวุ่นวายในบ้านเราสงบลงมันทำ�ให้ผมฉุกคิดอะไรบางอย่าง จึงเริ่มที่การตั้งคำ�ถามกับตนเองว่าในฐานะนักออกแบบ เราจะทำ�อะไรที่ช่วยประเทศไทยได้บ้าง สำ�หรับผมการไปร่วมอยู่ในกลุ่มของสีเสื้อต่างๆ ในทัศนะผมดูจะไม่ใช่ทางออกที่ได้ผล ต้องถามตัวเองว่า “หน้าทีข่ องเราคืออะไร เราเป็นนักออกแบบใช่ไหม เราสามารถช่วยทำ�ให้ประเทศเราดีขน้ึ ได้โดยการออกแบบ” เป็นประโยคง่ายๆ ของนักออกแบบที่ต้องเตือนตัวเองให้รู้จักหน้าที่ เรากำ�ลังทำ�อะไรอยู่ ทำ�ไมเราไม่ท�ำ หน้าที่ของเราให้ดีที่สุด? คำ�ตอบที่ดีที่สุดของทุกคนที่จะช่วยประเทศไทยได้ แนวคิดโครงการพัฒนาการออกแบบย่อมๆ จึงเกิดขึน้ มา ผนวกกับการให้การสนับสนุนและเห็นดีเห็นงามด้วยของสังกัดงานของผม คัดสรรดีมาก เป็นบริษัทที่มีทัศนะคติเกี่ยวกับการออกแบบและสังคมในแนวทางนี้อยู่แล้ว ทุกอย่างจึงดูคล้องจองกันไปหมด โครงการเล็กๆ ทีว่ า่ ก็คอื การชี้ให้เห็นปัญหาของทักษะงานออกแบบเลตเทอร์รง่ิ ภาษาไทย (Lettering) ทีน่ บั วันลดน้อยถอยจำ�นวนลงไป อย่างมาก ยิ่งในช่วงหลังจากใช้คอมพิวเตอร์มาเป็นอุปกรณ์หลักในการออกแบบ
114
เมือ่ มาทำ�งานเกีย่ วกับการออกแบบตัวอักษรโดยตรง มันทำ�ให้สายตาผมละเอียดมากขึน้ ผมมองเห็นปัญหาทีเ่ มือ่ ก่อนผมมองไม่เห็น ผมเห็นงานออกแบบเลตเทอร์ริ่งที่มีเจตนาที่ดีมากมาย สามารถพัฒนาต่อยอดออกไปได้ไกลแต่กลับประสบปัญหาในขั้นตอน การทำ�งาน เพราะการพยายามแก้ปญั หาทางการออกแบบด้วยนักออกแบบกราฟิก แทนทีจ่ ะเป็นนักกราฟิกทีเ่ ข้าใจงานออกแบบ เลตเทอร์ริ่ง หรือจะให้ดีที่สุดคือถึงมือนักออกแบบตัวอักษร ผมเกิดความเสียดายบวกกับคันไม้คันมืออยากจะขัดแต่งสิ่งที่พบเห็นให้ลงตัวมากขึ้น ในแนวทางที่ผู้ออกแบบดั่งเดิมมีเจตนาไว้ นอกจากจะได้งานที่ดีที่สุดในแนวทางเดิมแล้ว ยังส่งเสริมให้เกิดความคาดหวังที่จะเห็นงานออกแบบเลตเทอร์ริ่งที่ให้ความสนใจ ในรายละเอียดจากผู้ดูอีกด้วย ผมเองเลือกที่จะหยิบยกตัวอย่างงานเลตเทอร์ริ่งมีปัญหาแต่สามารถพัฒนาไปได้อีก นำ�มาบริหารจัดการพื้นที่เสียใหม่ ขัดเกลา ทำ�ความสะอาด ตอบโจทย์ดว้ ยวิธเี ดิมแต่ดสู มเหตุผลมากขึน้ โดยมิได้มเี จตนาลบหลู่ จึงต้องย้�ำ กับตนเองเสมอระหว่างการทำ�งานว่า เราต้องให้เกียรติผลงานของเจ้าของเดิมที่เป็นผู้ออกแบบไว้ เราต้องเก็บความตั้งใจในการออกแบบ เรือ่ งเทคโนโลยีกม็ สี ว่ นไม่นอ้ ยในการทำ�ให้เลตเทอร์รง่ิ กลายเป็นศาสตร์ทส่ี ญู หาย ในปัจจุบนั นีค้ วามง่ายของการเข้าถึงชุดตัวพิมพ์ สำ�เร็จรูป มีส่วนอย่างยิ่งในการสร้างวิธีการทำ�งานจัดการกับตัวอักษรแบบมักง่าย ชุดตัวพิมพ์ก็มีให้เลือกสรรกันอย่างมากมาย นี่คือกับดักดีๆ นี่เอง ที่นักออกแบบคนรุ่นๆเดียวกันกับผมคงต้องมองให้เห็นในระหว่างทำ�งานออกแบบ เรามักเกิดความลังเล ระหว่างประสิทธิภาพและประสิทธิผลว่าอย่างไหนตอบโจทย์ ความเร็วได้งา่ ยและเร็วกลายเป็นข้อสรุปในการข้ามทักษะเลตเทอร์รง่ิ ไป น่าเสียดายที่ส่วนใหญ่เราจะสามารถเห็นงานเลตเทอร์ริ่งที่สวยและดีได้จากยุคเก่าที่คอมพิวเตอร์ยังไม่มีบทบาทมากนัก เช่น งานใบปิดภาพยนตร์ เครือ่ งดืม่ น้�ำ อัดลม หัวหนังสือนิตยสารเก่า เป็นต้น บางครัง้ ข้อจำ�กัดก็เป็นตัวแปรทีท่ �ำ ให้เกิดงานทีน่ า่ สนใจ อีกปัจจัยหนึง่ ทีท่ �ำ ให้เลตเทอร์รง่ิ ในประเทศไทยไม่แพร่หลาย และเลตเทอร์รง่ิ นัน้ เหมือนตกอยู่ในสภาพครึง่ ๆ กลางๆ ไม่มคี วามชัดเจน ว่าหน้าทีน่ เ้ี ป็นของระหว่างนักออกแบบกราฟิกหรือนักออกแบบโฆษณา และหรือนักออกแบบตัวอักษร อันนีก้ ด็ วู า่ จะเป็นปัญหาอยูม่ าก ที่จริงแล้วนั้นเรื่องนี้ไม่น่าเป็นปัญหาหากเราหยุดและฉุกคิดสักนิดนึงถึงคำ�ว่า ผู้ชำ�นาญการเฉพาะทาง งานใกล้ตวั ทีห่ ยิบมา มาเป็นกรณีศกึ ษาและคิดว่าน่าจะเห็นได้ชดั คือโลโก้ ขสมก. ทีม่ ปี ญั หาอย่างมาก แต่ผมก็ไม่เคยได้ยนิ ใครนำ�ประเด็นนีม้ าชี้ให้เห็น ทัง้ ๆทีม่ นั ใกล้ตวั เรามากขนาดนี้ จากตัวต้นฉบับนัน้ มีความตั้งใจทำ�ตัวหนังสือให้เอน แต่ปัญหาที่พบคือ คุณภาพการเขียนขึ้นรูปตัวอักษร เรื่อง น้ำ�หนักเส้น ความสมดุลย์ องศา จุดโค้งเว้า ความเอนความเอียงไม่ชัดเจน ในที่สุดก็ออกมา อย่างทีเ่ ราเห็นกัน อดแปลกใจไม่ได้วา่ ไม่เห็นมีเพือ่ นนักออกแบบรุน่ เดียวกันทีโ่ ตมาพร้อมกับโลโก้น้ี ออกมาวิพากษ์อย่างเป็นเรื่องเป็นราว อีกตัวอย่างหนึ่งที่อดไม่ได้ที่ต้องยกขึ้นมาคือ แฟรนไชน์ชื่อดังอย่าง เคเอฟซี น่างุนงงมากที่ ไม่มีงานเลตเทอร์ริ่งภาษาไทยอย่างเป็นเรื่องราว แต่มีงานการจัดวางตัวอักษร (Typesetting) โดยใช้ฟอนต์สำ�เร็จรูป ไม่สนใจที่จะทำ�ตัวภาษาไทยให้เข้ากับตัวต้นฉบับภาษาอังกฤษ ทั้งๆที่ มีเอกลักษณ์ชดั เจนเป็นอย่างมาก ในฐานะลูกค้าประจำ�กรณีนจ้ี งึ ไม่ท�ำ ให้เคเอฟซีเกิดความน่าจดจำ� ขึ้นกับท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นนโยบายทางการตลาดหรือเปล่าผมไม่อาจทราบได้ ผมทราบแค่ว่า ถ้ามีภาษาไทยแล้วความรู้สึกใกล้ชิด และเข้าถึงน่าจะทำ�ได้ดีกว่าตัวภาษาอังกฤษ ข้ามมาดูที่วงการสิ่งพิมพ์ ตัวอย่างอาทิเช่น งานเลตเทอร์ริ่งหัวหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ รวมๆนั้น ค่อนข้างสมบูรณ์ลงตัวแต่หากสังเกตก็จะพบจุดอ่อนทีห่ ลบเอาไว้ใต้โต๊ะผูจ้ ดั การคือ มุมทีม่ ลี กั ษณะโค้ง ไม่รบั กับเส้นนอก-ใน ตัวอักษรจึงดูปดู โปนในบางพืน้ ที่ โดยเฉพาะตัว “ผ” จะมีปญั หามากเป็นพิเศษ อีกทัง้ เรือ่ งของไม้โทและไม้หนั อากาศดูมคี วามหนาบางไม่เท่ากัน ไม่สอดคล้องตามตัวพยัญชนะ ที่มีลักษณะเป็นเส้นตัั้ง-นอน น้ำ�หนักเดียวกันหมด ล่าสุดกับอีกตัวอย่างค่อนข้างขัดใจทุกครั้ง เมื่อมองเห็น เพราะสามารถพบได้แทบจะทุกแห่งทุกที่ “เป๊บซี่” ใหม่ ซึ่งปรับมาได้ไม่นาน
115
เป็นการเขียนตามภาษาอังกฤษ แต่เห็นปัญหาใหญ่จริงๆ ตรงจุดเล็กๆ ของตัว ซ.โซ่ ด้วยจริตของตัวภาษาอังกฤษต้นแบบนั้น เน้นในเรือ่ งของทรงเรขาคณิตมาก แต่เหมือนภาษาไทยถูกจัดการได้ไม่ลงตัวนักเสียทีเดียว น่าจะให้ผทู้ เ่ี ชีย่ วชาญเรือ่ งของตัวอักษร ปรับให้ หากไม่สามารถบริหารพืน้ ทีภ่ ายใน ซ.โซ่ ได้อย่างอย่างสมดุลย์ น่าตกใจตรงทีแ่ บรนด์ขนาดใหญ่ไม่ปล่อยรายละเอียดเช่นนี้ ให้เป็นหน้าที่ของนักออกแบบตัวอักษร ในหลายๆ ครัง้ ทีเ่ ลตเทอร์รง่ิ ต้องแปรสัญญาณให้สามารถส่งสาร และความใกล้ชดิ กับภาษาท้องถิน่ ได้อย่างเข้าถึง โดยที่ไม่เสียรสชาติ ของภาษาดั่งเดิม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจริงๆ เท่านั้นที่จะสามารถตอบโจทย์ ได้มากกว่าปัญหาที่มองเห็นด้วยตาเปล่า งานเลตเทอร์ริ่ง ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญแก้ไขปัญหา จากงานตัวอย่างที่ยกข้างต้น ผมคงไม่อาจบอกว่าสิ่งที่ผมแก้ไขนั้นเป็นการจัดการกับปัญหาได้ดีที่สุด เพียงแต่อย่างน้อยนั้น อยากให้น้ำ�หนักของเรื่องนี้เพิ่มขึ้นในสังคม สังคมเกิดความคาดหวังในงานออกแบบเท่านั้นก็น่าจะเพียงพอแล้ว ผมพบว่าการเป็นนักออกแบบนัน้ ต้องเห็นความสำ�คัญของผูร้ บั รูง้ านของเรา เราต้องทำ�งานโดยให้เกียรติผเู้ สพงานออกแบบด้วยเช่นกัน เพราะงานออกแบบก็มีส่วนช่วยสร้างความคาดหวังต่องานออกแบบ เราในฐานะนักออกแบบก็ควรเห็นความสำ�คัญของผู้อื่น ไม่น้อยไปกว่ากัน เพียงผู้ที่มีหน้าที่ต่างๆ สามารถใช้ทักษะฝีมือได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบขั้นต้นต่อตนเอง สำ�นึกของการรับผิดชอบต่อผู้อื่นมันก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เรื่องโน้ตบุ๊คที่หายไปในร้านเคเอฟซี ก็ไม่ต่างอะไรกับการทำ�เครื่องมือหาย การทำ�งานโปรเจคนี้ทำ�ให้ฉุกคิดได้ว่าทักษะการ ทำ�เลตเทอร์ริ่งเลือนหายไปพร้อมกับการมาถึงของคอมพิวเตอร์และฟอนต์สำ�เร็จรูป ทำ�ไมนักออกแบบกราฟิกเราขาดสติเรื่อง ทักษะเลตเทอร์ริ่งได้นานขนาดนั้น คิดดูแล้วก็ตลกดีที่ทักษะการทำ�เลตเทอร์ริ่งของผมเกิดขึ้นหลังจากผมทำ�คอมพิวเตอร์หาย การหายไปของคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คนั้นเทียบไม่ได้กับการหายไปของทักษะ คิดได้แบบนี้ก็เสียดายโน้ตบุ๊คที่หายไปน้อยลง ผมได้พบกับข้อเท็จจริงที่ว่างานออกแบบไม่ได้เป็นทักษะโดยตรงที่เกี่ยวพันกับ คอมพิวเตอร์เสมอไป และการทีเ่ ราเป็นนักออกแบบเราก็สามารถแก้ปญั หาใหญ่ๆ ระดับบ้านเมืองได้ เริม่ จากการทำ�งานออกแบบ ของเราให้ดที ส่ี ดุ เห็นปัญหาในอาชีพของเราและชี้ให้ชดั อย่างน้อยปักป้ายให้ทราบว่าปัญหาอยูต่ รงไหน หากอยู่ในวิสยั ทีเ่ ราแก้ได้ จงพยายาม
ผู้เขียนบทความ สถาวิทย์ ฤาชา (Stawix Ruecha) stawix@cadsondemak.com
ด้วยสภาพแวดล้อมที่ปลูกฝังอยู่กับตัวอักษร หนังสือพิมพ์ โรงพิมพ์ และกราฟิตี้ สิ่งเหล่านี้เคยผ่านมือมาหมดแล้ว จนในช่วง อุดมศึกษาได้มีโอกาสสัมผัสศิลปะการใช้ตัวอักษร ซึ่งได้รับการแนะนำ�จากอาจารย์ ศรัณย์ สรรพศิริ ให้ทุ่มเทเวลามากกว่าหนึ่งปี ในการเกลาทักษะด้านตัวอักษร จบศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จนได้รับโอกาสเหลาฝีมืออีกหนึ่งปีเต็มกับ “คัดสรรดีมาก” สนใจเทคนิคการออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันแบ่งเวลาให้กับการเก็บชั่วโมงบิน ด้านตัวอักษร สารคดี เทคโนโลยี และทยอยส่งผลงานให้สังคมเลือกใช้อย่างต่อเนื่อง
Catalonia, Somewhere Spain Xavier Comas
Catalonia เป็น 1 ใน 17 ชุมชนใหญ่ทป่ี กครองตนเองของประเทศสเปน ซึง่ ชุมชนนีเ้ ป็นชุมชนทีบ่ อกสัญชาติและพืน้ ที่ในสมัยโบราณ ได้เป็นอย่างดี Catalonia มีบาร์เซโลน่าเป็นเมืองหลวงและมีภาษา Catalan, Spanish และ Aranese เป็นภาษาหลัก วัฒนธรรมในแบบฉบับของ Catalan ใช้เวลาพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นเวลาร้อยๆ ปี ทั้งความคิดสร้างสรรค์ การซึมซับจากวัฒนธรรมอื่นๆ ที่แตกต่างกัน และ การเปิดกว้างทางความคิดโดยไม่มีอคติ ทำ�ให้ชุมชนนี้มีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สามารถอยู่รวมกับวัฒนธรรมของต่างชาติได้ ในสมัยก่อนผูค้ นมักจะซึมซับศิลปะและความคิดใหม่ๆ จากพืน้ ทีท่ างภูมศิ าสตร์ทพ่ี วกเขาอยู่ ซึง่ ก็คอื การอยูต่ ดิ กับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และประเทศในโซนยุโรปประเทศอืน่ ๆ นัน่ จึงเป็นสาเหตุให้เขาได้รบั อิทธิพลจากประเทศเพือ่ นบ้านเยอะพอสมควร นัน่ ยังไม่รวมถึง ความมีชีวิตชีวาและแหล่งท่องเที่ยวในเมืองใหญ่อย่างบาร์เซโลน่า พื้นเพของกราฟิกดีไซน์ใน Catalonia มาจากอาร์ตนูโวเป็นหลัก (หรือ Noucentisme ในภาษา Catalan) ในปี 1929 Barcelona ได้มีโอกาสจัดงาน International Design Exhibition และได้ทำ�ให้โลกรู้จักเก้าอี้ Barcelona Chair1 ของ Mies Van der Rohe แต่น่าเสียดายที่ช่วงนั้นเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในสเปน ทำ�ให้การเติบโตของวงการดีไซน์ต้องหยุดชะงัก ไปชั่วคราว และดีไซเนอร์ก็ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ ช่วงเวลาที่ก�ำ เนิด Modern Design ในสเปนน่าจะราวๆ 1974 ตอนที่ BCD (Barcelona Design Centre) ถูกตั้งขึ้นช่วงที่มีความ กระตือรือร้นของคนในวงการดีไซน์ไปจนถึงช่วง 1980 และทำ�ให้ Javier Mariscal ได้สร้าง Duplex Stool2 ที่เป็นสิ่งที่คนทั่วโลก พูดมาจนถึงทุกวันนี้ ในปี 1992 สเปนจัด Barcelona Olympics และ World’s Fair ในเมือง Seville ตอนนัน้ วงการดีไซน์โดยเฉพาะด้านกราฟิกดีไซน์ก็ กลับมาบูมอีกครัง้ ทุกวันนีบ้ าร์เซโลน่าก็ยงั เป็นเมืองทีเ่ ต็มไปด้วยพลังทางด้านครีเอทีฟ และได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน Year of Design ในปี 2003 และในปี 2005 มีนิทรรศการเคลื่อนที่ชื่อ 300% Spanish Design ซึ่งเป็นงานแสดงผลงานโปสเตอร์ เก้าอี้ โคมไฟ ในร้อยปีของสเปนที่ถูกดีไซน์ออกมาประดับโลกใบกลมอีกด้วย กราฟิกดีไซน์ในยุคนีก้ ย็ งั คงมีความสำ�คัญเท่าๆ กับยุคเริม่ แรก เพราะทุกวันนีก้ ย็ งั มีดไี ซเนอร์เป็นร้อยๆ คน ทีท่ �ำ งานเพือ่ ป้อนให้กบั สำ�นักพิมพ์ภาษาสเปนที่ใหญ่ทส่ี ดุ ในโลก ซึง่ งานของดีไซเนอร์สญั ชาติสเปนสามารถพบเจอได้ตง้ั แต่ชน้ั หนังสือไปจนถึงราวเสือ้ ผ้า ทั่วโลก ต้องขอบคุณแบรนด์เสื้อผ้ายักษ์ใหญ่ที่ชื่อ Zara จริงๆ ดีไซน์เป็นเครื่องมือการสื่อสารและสืบทอดวัฒนธรรมที่มีพลังมากที่สุดอันหนึ่ง มันมีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับผู้อื่นภายใต้ สภาพแวดล้อมที่มีอยู่ได้ดี เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในรูปแบบดีไซน์จึงเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมในการสื่อสารและแลกเปลี่ยน ความคิดที่สำ�คัญมากที่สุดชิ้นหนึ่ง
117
Catalonia, Somewhere Spain Catalonia is one of the Kingdom’s of Spain seventeen autonomous communities, the administrative divisions that represent the country’s historical nationalities and regions. Barcelona is its capital city. The official languages are Catalan, Spanish and Aranese. Catalan culture has developed its own unique and universal identity over the centuries. The innovative flair, creativity, capacity to absorb different influences, co-existence and tolerance values have shaped a culture that is both national and cosmopolitan. Traditionally, art and thought trends seep into Catalonia as a result of the country’s geographic location, open to the Mediterranean and European countries, and also due to the leading spirit and attraction created by Barcelona. The origins of graphic design in Catalonia can be found in the roots of an strong tradition within the enormous development of the Art Noveau (noucentisme, in Catalan language). In 1929, Barcelona hosted the International Design Exhibition, and introduced Mies van der Rohe’s Barcelona chair1 to the world. Unfortunately the Spanish civil war put the growth of the design industry on a temporary hiatus, with many designers going into exile. Arguably, Spain’s modern design era began around 1974, when the Barcelona Design Centre (BCD) was established amid a burst of enthusiasm for design that was largely sustained into the 1980s - a decade which saw, among other things, Javier Mariscal’s iconic Duplex stool2. In 1992, Spain hosted both the Barcelona Olympics and the World’s Fair in Seville. Design - and in particular graphic design - boomed once more. Today, Barcelona is still buzzing with creativity. It hosted a Year of Design in 2003, and in 2005 a touring exhibition - 300% Spanish Design - which showed off a century of posters, chairs and lamps to the world. Graphic design is as important now as it was in the early years of the last century, with hundreds of designers working to meet the needs of the world’s largest Spanish language publishing industry. From bookshelves to clothes rails, the work of Spanish designers can be found around the world, too, thanks to the clothing chain Zara. Design is a powerful communication and cultural tool. Its capacity of communication with others and the reality that surround us makes design an extremely important way to exchange ideas. Cultural identity in design should serve this purpose.
Barcelona Chair1
Duplex Stool2
118
ภาพผลงานหน้าปกหนังสือออกแบบโดย Xavier Comas
ผู้เขียนบทคว�ม Xavier Comas xavicomas@xavicomas.com
จบการศึกษาทางด้านศิลปะจาก Barcelona University ในปี ค.ศ.1995 ทำางานออกแบบปกหนังสือมากมายทัง้ ในฐานะนักออกแบบ ช่างภาพ และนักวาดภาพประกอบ อีกทั้งยังก่อตั้ง Opalworks สตูดิโอออกแบบของเขาเองในบาร์เซโลน่าอีกด้วย
ออกแบบภาษาอะไร อนุทิน วงศ์สรรคกร
บทความนี้เกิดขึ้นจากบทบันทึกปัญหา และความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง “ทัศนคติที่มีต่อภาษาไทย... ความจริงที่เราไม่อยากฟัง” ของ อนุทิน วงศ์สรรคกร จากประสบการณ์ที่คลุกคลีในแวดวงการศึกษาและธุรกิจในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผมเห็นว่า เรือ่ งดังกล่าวมีหลายประเด็นทีน่ า่ สนใจ แม้บางเรือ่ งอาจเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่มีใครชอบฟัง แต่กน็ า่ จะเป็นสือ่ หนึง่ ที่ให้คณ ุ ประโยชน์ และช่วยส่งเสริมให้หลายคนหันมาใช้ภาษาไทยอย่างภาคภูมิใจ เพราะการที่จะเริ่มรักชาติให้เป็น ต้องเริ่มจากการรักภาษาให้เป็น หากถามว่าภาษาไทยมีปญั หาอะไร ตอบได้ทนั ทีวา่ เปล่า ภาษาไทยสบายดี แต่มผี ทู้ ่ีใช้บางคนต่างหากที่ไม่คอ่ ยสบาย มีความคิดที่ ไม่เป็นคุณกับภาษาทีร่ บั ใช้ตนเองอย่างครอบคลุมในระบบ คิด พูด อ่าน เขียน ไม่รจู้ กั ใช้ให้ถกู ต้องและถูกกาลเทศะ ใช้ระบบความคิด ที่ทำ�งานเป็นภาษาไทยคิดว่าภาษาไทยเชย ผิดพลาดตั้งแต่เริ่มสื่อสารกับตัวเอง ภาษาไม่เหมือนรถเก่าที่ต้องทนขับหรือชุดเก่า ที่ต้องทนใส่ ความสง่างามของภาษาขึ้นอยู่กับศักยภาพของคนที่ใช้ มีปจั จัยปลีกย่อยและพฤติกรรมสะสมหลายอย่าง ทีส่ ะท้อนทัศนคติท่ไี ม่สดู้ นี กั ต่อการใช้ภาษาไทยในภาพรวม จะลองยกตัวอย่างจาก เรื่องทั่วไปที่คนอาจมองข้าม อย่างเรื่องการตั้งชื่อเล่นให้บุตร-ธิดา กิจการ งาน ต่างๆ ที่นิยมการตั้งเป็นภาษาอังกฤษและแปลก ขึน้ ทุกวัน ทัง้ แปลกดีและแปลกไม่ดี เข้าใจว่าอาจเป็นประโยชน์เชิงพาณิชย์กบั ตลาดสากล แต่เราก็ได้หลีกเลีย่ งหรือปฏิเสธ “การตัง้ ชือ่ เป็นภาษาไทย” ซึง่ มีความเป็นไปได้สงู ในหลายกิจการทีจ่ ะทำ�ให้โดดเด่นและไพเราะ ทีส่ �ำ คัญคือ “รูส้ กึ ภูมใิ จในรากเหง้า” อาจเป็นไปได้ ทีเ่ ราเลีย่ งไม่ใช้เพราะเราไม่รสู้ กึ ว่าเราศิวไิ ลซ์ แต่ชาติอน่ื ช่างสลับกันศิวไิ ลซ์ในสายตาเรา อย่างภาษาเกาหลีทม่ี คี นแห่ไปเรียนกันมาก ในช่วงหลังมานี้ ก็เพราะรู้สึกว่าเกาหลีเป็นประเทศที่ศิวิไลซ์ขึ้นมา โทษเกาหลีไม่ได้เลย เพราะเขาฉลาดกว่าเรา รู้จักมองสิ่งเก่า ด้วยสายตาใหม่ รูจ้ กั ปรับใช้ รูจ้ กั สร้างความภูมใิ จใหม่ๆ ให้บงั เกิดกับคนในชาติและนอกชาติ คนไทยรุน่ เก่ากว่าก็จงอย่าโทษคนรุน่ ใหม่ อย่างเดียว จะโทษวัยรุน่ ได้อย่างไรเพราะวัยรุน่ เป็นวัยทีเ่ ปิดรับอิทธิพลอยูแ่ ล้ว คนรุน่ ก่อนหน้าคือคนตัดสินใจว่าจะให้อะไรทะลักเข้ามาบ้าง และปล่อยอะไรออกไปบ้าง หรือตัวอย่างเรือ่ งภาษาแชททีเ่ ถียงกันก็เป็นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ เองตามธรรมชาติของการสือ่ สาร ห้ามไม่ให้เกิดไม่ได้ ปัญหาคือต้องเข้าใจว่า วิทยาการนัน้ ก้าวหน้าไปจนถึงขัน้ ทีท่ �ำ ให้เด็กนัน้ “จิตไม่วา่ ง” ได้ตลอดยีส่ บิ สีช่ ว่ั โมง สามารถถูกเรียกหรือเข้าถึงข้อมูลทีต่ วั เองสนใจ ได้ตลอดเวลา และได้ทีละหลายๆ เรื่องพร้อมๆ กัน เรียกได้ว่า “รับเละ” คือรับทั้งวี่ทั้งวันจนขาดช่วงเวลาที่จะหยุดวิเคราะห์อะไร ให้มนั จริงจังไปสักเรือ่ ง ทำ�งานเบือ่ ๆ ก็กระโดดหนีไปอีกวินโดว์หนึง่ เบือ่ แล้วก็กลับมาใหม่ อยูๆ่ เพือ่ นก็แชทผ่าขึน้ มาเฉยๆ ก็ตอ้ งแชท ให้ไวขึ้น จริงจังสลับเล่นอย่างนี้เป็นกิจวัตร สมาธิสั้นอัตโนมัติ เละ ความทันสมัยกลายเป็นโทษตามเคย สรุปว่าทุกวันนี้บางคนถูกวิทยาการใช้ เมื่อเด็กอยู่ในโลกใดมากเขาก็ ใช้ภาษาของโลกนั้น เมื่อขาดการวิเคราะห์อะไรนานๆ ก็พาลขาด “จิตสำ�นึก” ถึงขั้นไม่รู้ว่าเมื่อไหร่บ้างที่สมควรใช้ภาษาที่เป็นทางการ วิชาภาษาไทยที่เรียนแค่อาทิตย์ละไม่กี่ชั่วโมง ย่อมเอาไม่อยู่ หากไม่มีปัจจัยอื่นเข้ามาช่วยเยียวยาเพิ่มเติม ออกจะสายไปเสียแล้วที่จะมารณรงค์ ในสิ่งที่ไม่ถูกปลูกฝังให้รัก และหวงแหนในชีวิตประจำ�วัน เด็กที่ถูกสร้างโดยผู้ใหญ่ที่อ่อนแอจะแข็งแรงได้อย่างไร? ทุกวันนี้ แม้กระทัง่ จำ�นวนของนักศึกษาทีม่ ศี กั ยภาพในการเรียบเรียงถ่ายทอดเรือ่ งราวต่างๆ ด้วย “คำ�พูด” ในชัน้ เรียนก็ลดลงไปทุกปี ถึงขั้นที่เล่าเรื่องทั่วไปไม่รู้เรื่อง เล่าตรงนี้ที ตรงนั้นที เหมือนสลับวินโดว์ ให้เขียนเรียงความก็เขียนเรื่องราวไม่ปะติดปะต่อ
120
สะกดคำ�ง่ายๆ ไม่ถกู จนน่าตกใจ แถมยังไม่ชอบการค้นคว้าซึง่ ผิดมหันต์ตอ่ ความเป็นนักศึกษา ในส่วนนีย้ งั ทำ�ความเข้าใจไม่ได้เลย แต่คาดว่าคงเป็นเพราะการเข้าถึงข้อมูลได้งา่ ยเกินไป และอาจกลัวการย่อยปริมาณข้อมูลทีม่ าก ครัน้ เมือ่ ถูกท้วงติงก็ไม่เห็นความสำ�คัญ ทีจ่ ะต้องปรับปรุงแก้ไข แต่ทน่ี า่ ตำ�หนิทส่ี ดุ ก็คอื การไม่รวู้ า่ “ภาษาทีถ่ กู ต้อง” นัน้ เป็นอย่างไร แหกกฎก่อนรูก้ ฎ และเด็กเองก็ดจู ะไม่สน เสียแล้ว เพราะโลกเสมือนที่ตัวเองเข้าไปอยู่บ่อยกว่า ล้วนมีสิ่งที่สร้างตามอำ�เภอใจได้ มีตัวตนใหม่ก็ได้ เต็มไปด้วยเพื่อนฝูง เด็กอาจรูส้ กึ เข้มแข็งและมีความสุขกว่าโลกภายนอก ในจุดนีส้ ามารถชี้ให้เห็นได้ชดั เลยว่าความทันสมัยของวิทยาการจะให้ผลลัพธ์ท่ี แตกต่างกันมากระหว่างเด็กที่ใช้เป็น และเด็กที่ใช้ไม่เป็น สำ�หรับปัจจัยที่จะช่วยเยียวยาเพิ่มเติมได้ง่ายๆ ก็เป็นเรื่องในระดับบุคคล คือ “เราทุกคน” ต้องหันมาสนับสนุนการใช้ภาษาไทย อย่างจริงจัง ถูกต้อง ถูกกาลเทศะ มีความจำ�เป็นอย่างสูงที่ต้องปรับเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติให้เข้าที่เข้าทางเสียที มันจะเป็นไป ได้อย่างไรทีภ่ าษาทีเ่ ราใช้แม้กระทัง่ คิด จะเป็นสิง่ ที่ไม่ควรถูกเชิดชูในระดับสามัญสำ�นึกของผูใ้ ช้ มันไม่ส�ำ คัญว่าเรามีเชือ้ ชาติอะไรบ้าง หากเราใช้ภาษาใดเราควรเคารพภาษานั้น ชาติที่ไม่เคารพภาษาตนเองมีแต่จะล่มสลายลงไปเท่านั้น เพราะภาษาเป็นเครื่องมือ ที่ใช้สร้างและถ่ายทอดทัศนคติ หากรักภาษาก็จะเป็นคุณกับตัวเองและกับชาติ หากภาษาเป็นสิง่ ที่ไม่ทรงพลังทีส่ ดุ เราคงไม่ตอ้ งมาหัดพูดภาษาอังกฤษ มีภาษาอังกฤษเต็มบ้านเต็มเมืองอย่างนี้ ลองหันมาค้นพบ ตัวเองอีกครั้งว่าเราภูมิใจขณะที่คิด พูด อ่าน เขียน หรือไม่ รู้สึกมีเอกลักษณ์พอไหมกับภาษาที่มีคนใช้อยู่แค่หลักสิบล้านคน ในโลกนี้ บางคนอาจเคยพบกับกรณีของคนไทย ที่เกิดและโตในเมืองไทยมาตลอด แต่พอไปอยู่เมืองนอกไม่กี่ปีก็พูดภาษาไทย เหมือนกับนางงามอิมพอร์ต เป็นปรากฎการณ์ที่น่าอดสูมาก คนแบบนี้คงไม่รู้สึกว่าตัวเองศิวิไลซ์ ขนาดคนป่าเขายังรู้จักภูมิใจ ในภาษาและเผ่าพันธ์ุ ไม่ต้องมัวอายหากเราพูดภาษาของคนอื่นได้ไม่ดีเท่าไหร่ แต่จงอายหากพูดภาษาของตัวเองไม่ด ี ปัญหาในวิชาออกแบบเลขนศิลป์ (เรขศิลป์) ก็ถอื เป็นกรณีศกึ ษาทีส่ �ำ คัญ นักศึกษาจำ�นวนมากแสดงท่าทีทห่ี ลีกเลีย่ งการใช้ภาษาไทย ในการทำ�งานอย่างชัดเจนมากเพราะเติบโตมากับทัศนคติที่มีต่อภาษาไทยในทางล้าสมัย เมื่อไม่สนใจก็ขาดความรู้ความเข้าใจ เราจึงสามารถพบเห็นนักออกแบบเพือ่ การสือ่ สารมีปญั หาในการเลือกใช้ค�ำ ไทยทีเ่ หมาะสมกับเนือ้ งาน และเมือ่ ต้องนำ�คำ�ทีเ่ ลือก มาสื่อสารผ่านการจัดวางตัวอักษรอีกทีหนึ่ง ก็ยิ่งทำ�ให้เกิดปัญหาทับซ้อน กลายร่างเป็นเครื่องผลิตผลงานที่ “ไม่สื่อและไม่สวย” แถมยังมีคา่ นิยมชอบใช้ภาษาอังกฤษมากจนถึงมากทีส่ ดุ เพราะรูส้ กึ ว่าทำ�ให้งานดูเท่ห์ ดูเป็นสากล แต่ยง่ิ สาหัสเพราะลำ�พังเพียง ภาษาแม่ยงั ไม่สามารถใช้การให้ดไี ด้ นับประสาอะไรกับภาษาอืน่ ทัง้ สะกดผิด ทัง้ ผิดไวยากรณ์ แต่ก็ไม่เคยตรวจสอบทัง้ ทีท่ �ำ ได้งา่ ย สุดท้ายก็เอามาจัดวางขยายใหญ่มากเป็นข้อความหลักบนผลงานที่ “ไม่สื่อและไม่สวย” ภาคภาษาอังกฤษ พังทั้งสองภาษา ในระดับอุดมศึกษา ปัญหาของการอนุญาตให้นักศึกษาใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในงานออกแบบโดยไม่จำ�เป็น ก็เป็นปัญหาผูกพันแบบงูกินหาง กล่าวคือ การสอนเกีย่ วกับเลขนศิลป์ (เรขศิลป์) และอักขรศิลป์ ในบ้านเราเน้นทีเ่ รือ่ งของการจัดวาง การทดลอง การทำ�แบบฝึกหัด โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นแบบฝึกหัดมากเกินไป เน้นทีก่ ารแสดงออกทางตัวอักษรขัน้ พืน้ ฐานโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสำ�คัญ อาจารย์ท่ี รับผิดชอบการสอนอักขรศิลป์กต็ กอยูใ่ นวังวนเดียวกันกับนักศึกษา เพราะเป็นแบบแผนการสอนทีว่ นกันไปมาจนทบรุน่ และกลายมาเป็น เรื่องมาตรฐาน ผลของพฤติกรรมต่อเนื่องนี้ยังส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาโดยลำ�ดับ ความเชื่อที่ถูกทำ�ให้เชื่อโดยไม่คิดแก้ปัญหา การออกแบบหรือการที่บุคคลมีพัฒนาการมาเป็นนักออกแบบ บนพื้นฐานความเชื่อ ทีฝ่ งั หัวมาจากรุน่ สูร่ นุ่ ในเรือ่ งของ “ความยาก” ในการจัดวางตัวอักษรภาษาไทย ความเชือ่ ทีว่ า่ แบบตัวอักษรไม่อ�ำ นวย ความเชือ่ ทีว่ า่ ไม่ค่อยมีแบบตัวอักษรให้ใช้ ความเชื่อเหล่านี้รุนแรงมากจนทำ�ให้นักออกแบบเลือกที่จะเบือนหน้าหนีปัญหา และหันไปเลือกใช้ ภาษาอังกฤษแทน เพราะความสะดวกและความง่ายในการทำ�ให้งานออกมาดูรว่ มสมัย พัฒนาการทางการจัดวางตัวอักษรไทยจึง ไม่เกิด หลายคนซือ้ ความคิดทีว่ า่ การใช้ภาษาอังกฤษในการสือ่ สาร และการออกแบบนัน้ ทำ�ให้งานออกมาดูรว่ มสมัย ซึง่ เป็นเรือ่ งทีแ่ ปลกมาก ว่าเหตุใดข้อสรุปเช่นนี้จึงทำ�ให้นักออกแบบจำ�นนต่อการออกแบบของตนเอง นักออกแบบยินดีที่จะทนกับปัญหาทางภาษา ใช้ภาษาอังกฤษถูกบ้างผิดบ้าง พยายามจะคิดประโยคหรือข้อความทีจ่ ะสือ่ สารบนตัวพาดหัวเป็นภาษาอังกฤษ แต่กลับไม่ยอมใช้ ภาษาไทยให้ได้ดี
121
นอกจากแบบของตัวอักษรละตินที่ใกล้เคียงกับเรขาคณิต จะเป็นข้ออ้างยอดนิยมทีถ่ กู ยกมาต่อรองเหตุและผลของการไม่ใช้ภาษาไทย แต่เมื่อพิจารณาโดยคำ�นึงถึงปัจจัยที่ตัวอักษรเป็นภาษา จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ปัญหาที่แท้จริงนั้นน่าจะอยู่ที่ความเข้าใจใน ภาษาอังกฤษที่มีน้อยกว่าทำ�ให้เราสามารถรับรู้ตัวอักษรละตินเป็นรูปทรง (ฟอร์ม) ได้มากกว่าเป็นตัวอักษร เพราะเมื่อเป็น ตัวอักษรภาษาไทยที่สามารถอ่านได้คล่อง จึงทำ�ให้การรับรู้ของเราข้ามรูปทรงของแบบตัวอักษรไปที่การอ่าน ส่วนเรื่องของ การจัดวางตัวอักษรไทยทีม่ รี ปู ทรงหลากหลาย มีสงู มีต�ำ่ นัน้ นักออกแบบมีหน้าทีจ่ ดั วางให้ดบี นเงือ่ นไขของภาษาไทย ไม่ใช่มาอ้าง แบบตรรกะไม่ทำ�งานว่าจัดยาก จัดแล้วไม่สวย จัดแล้วดูไม่เสมอสวยงามเหมือนตัวอักษรละติน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ การจัดภาษาไทยก็ย่อมต้องสวยแบบภาษาไทย ภาษามีข้อแม้แบบนี้ ก็ต้องจัดการให้ดีที่สุดบนเงื่อนไขที่มี จะว่าไปแล้วตัวอักษรละตินนั้นก็ไม่ได้มีลักษณะของการลดทอนรูปอย่างจริงจังจนกระทั่งก่อนยุค ๕๐ ความรู้สึกต่อนักออกแบบที่ ตัวอักษรละตินมีความเป็นเรขาคณิตมากขึน้ น่าจะเป็นผลข้างเคียงของการพัฒนาตัวอักษรไร้เชิงฐานเสียมากกว่า ซึง่ กรณีนย้ี งั ผูกพัน อยูก่ บั ความสามารถในการอ่านทีเ่ ปลีย่ นไป ความสามารถในการอ่านทีถ่ กู พัฒนาขึน้ มาพร้อมกับแบบตัวอักษรใหม่ สอดคล้องกับ พฤติกรรมการจัดวางที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ยึดโยงกันอยู่ แบบตัวอักษรภาษาไทยก็สามารถพัฒนาการเพื่อให้สอดคล้องกับ ยุคสมัยได้ แบบตัวอักษรไทยรุ่นใหม่ๆ ก็มีความเป็นสากลมากขึ้นเพื่อสอดคล้องกับแนวโน้มการออกแบบในปัจจุบัน อันทีจ่ ริงปัญหาทางอุปกรณ์และวิทยาการก็ได้ถกู แก้ไขให้เบาบางลงมากแล้ว จึงไม่นา่ จะมีเงือ่ นไขใดๆ ในการไม่เลือกใช้การออกแบบ สื่อสารด้วยภาษาไทย จำ�นวนฟอนต์ ใหม่ที่ร่วมสมัยก็มีมากขึ้น นับได้ว่าเป็นช่วงที่พร้อมที่สุดสำ�หรับการพัฒนาแบบตัวอักษร และพัฒนาการจัดวาง แบบตัวอักษรไทยก็มีให้เลือกมากทีส่ ดุ เท่าทีเ่ คยมีมา ความรูเ้ รือ่ งการผลิตและโปรแกรมก็มผี เู้ ข้าถึงมากขึน้ กว่าทุกยุค การทีน่ กั ออกแบบทำ�ให้ลกู ค้าเชือ่ หรือสนับสนุนความเชือ่ ของลูกค้า ทีว่ า่ ใช้ภาษาไทยแล้วเชย จนเกิดเป็นวงจรทีท่ ง้ั นักออกแบบ และลูกค้าต้องการใช้ภาษาอังกฤษ ในหลายกรณีทเี ดียวทีห่ ากเราพิจารณาเหตุและผลทางการออกแบบแล้ว แทบจะไม่มคี วามจำ�เป็น ในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารสำ�หรับโจทย์นั้นๆเลยด้วยซ้ำ� เราสามารถเห็นได้จากชื่อกิจการเป็นต้น ต่อเนื่องมายังการนำ� ั นาการเท่าทีค่ วร ชือ่ กิจการมาทำ�เป็นโลโก้ไทป์ ชือ่ กิจการภาษาไทย และการใช้ภาษาไทยสำ�หรับตัวย่อในการทำ�เป็นโลโก้ไทป์ไม่มพี ฒ มิหนำ�ซ้ำ�กลับถูกยัดเยียดให้สังคมมองว่าเป็นการสะท้อนแนวทางที่เชยและล้าสมัย ลูกค้าก็เป็นมนุษย์ท่ีใช้ภาษาสือ่ สารด้วยการ คิด พูด อ่าน เขียนเป็น ไม่แพ้นกั ออกแบบ จึงถือว่าลูกค้ามีตน้ ทุนเท่ากัน แต่เขาแค่ ต้องการพึ่งพาความสามารถในการสื่อสารด้วย “ภาพ” และ “ตัวอักษร” ของนักออกแบบ เพราะเขาไม่ได้ถูกฝึกมา แล้วถ้า ตัวนักออกแบบมีความสามารถในส่วนต้นทุนทีด่ อ้ ยกว่าลูกค้า จะไปใช้ความสามารถในระดับถัดไปอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร? ในเมื่อมันยากกว่ามากเขาถึงได้มาจ้างให้ทำ� ถ้าทำ�ได้เขาก็ทำ�เองซึ่งทุกวันนี้บางอย่างเขาก็ทำ�เองจริงๆ เพราะเขามีอุปกรณ์ เปลือกนอกของการออกแบบทุกวันนี้ก็ทำ�ให้เขาเชื่อเช่นนั้น หากลูกค้าไม่รู้สึกว่านักออกแบบมีความสามารถในการสื่อสาร ระดับปรกติที่ทัดเทียมกับเขาเป็นอย่างน้อย ใครเขาจะไว้ใจให้ท�ำ งาน การเป็นนักออกแบบเพื่อการสื่อสารที่ดี ก็ต้องใช้ทักษะทาง ภาษาเป็นพืน้ ฐาน อาจจะต้องเริม่ ทีก่ ารเล่านิทานอีสปให้มอี รรถรสให้ได้เสียก่อน และทีส่ �ำ คัญคือต่อไปนี้ไม่วา่ จะเล่านิทานเรือ่ งใด ให้ลูกค้าฟัง หากเป็นไปได้ก็ควรเลือกที่จะเล่าเป็นภาษาไทย ปัญหาต่างๆ ที่ได้ยกตัวอย่างมา เป็นปัญหาในชั้นความรู้สึกเบื้องลึก และถือเป็นสัญญาณเตือนภัยที่แรง อยากจะฝากถึงคนไทย ทัง้ รุน่ ใหม่และรุน่ ก่อนๆ ทีไ่ ม่คอ่ ยสบาย ว่าคุณกำ�ลังวิง่ หนีรากเหง้าทีไ่ ม่มคี วามผิดอะไรเลย ขอใช้ค�ำ ว่าทุกคนต้อง “หัด” ตัง้ ค่าทัศนคติ ต่อความเป็นไทยกันใหม่ ให้ “ความนิยมในการใช้ภาษาไทย” เป็นหมวดตัวเลือกอัตโนมัติ (Default) คืออะไรๆ ทีม่ คี ณ ุ ภาพ เข้าท่า ถูกที่ถูกทาง ใช้การได้ดี ต้องไทยไว้ก่อน คือช่วยสนับสนุนกันให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อีกหน่อยคนจะได้ไม่มีข้ออ้าง ในการทำ�อะไรชุ่ยๆ ในปัจจุบัน ออกมาให้เป็นความยากลำ�บากต่อมวลรวมสำ�หรับทุกคนในอนาคต แต่ความจริงอีกเรือ่ งหนึง่ ที่ไม่มีใครชอบฟังก็คอื การช่วยกันรักชาติในตอนนี้ มันออกจะสายไปอีกแล้ว แต่กรุณารักขณะทีย่ งั มีให้รกั ชาติอาจยังมีโอกาสให้เรา คุณรักชาติช่วงนี้ไม่มีใครว่าคุณดัดจริต ไม่รักสิดัดจริต สมการนั้นง่ายมาก รักชาติ ชาติอยู่ ไม่รักชาติ ชาติไป เอาเป็นว่าในวันนี้เราลืมตาขึ้นมาแล้ว พบว่า “เราเป็นคนไทย” การรักภาษาประจำ�ชาติในมิติต่างๆ ของการนำ�ไปใช้ เป็นจุดเริ่มต้นของความภูมิใจ
122
ผู้เขียนบทความ อนุทิน วงศ์สรรคกร (Anuthin Wongsunkakon) info@cadsondemak.com
อนุทนิ เริม่ ชีวติ การเป็นนักออกแบบจากการเข้าศึกษาทีค่ ณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต แล้วจบการศึกษาระดับปริญญาโท ที่ Pratt Institute ที่นิวยอร์กด้วยเกียรตินิยมพิเศษในฐานะผู้มีผลงานโดดเด่น เมือ่ กลับมาเมืองไทยเขาร่วมก่อตัง้ กลุม่ พฤติกรรมการออกแบบ และบริษทั คัดสรร ดีมาก ซึง่ เป็นบริษทั ออกแบบเกีย่ วกับตัวอักษร แบบครบวงจรบริษัทแรกในเมืองไทย เราจึงจะสามารถเห็นผลงานเขาได้ตั้งแต่ตัวอักษรบนเครื่องเล่น MP3 นิตยสารหลายฉบับ ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนัน้ เขายังส่งต่อความรูท้ างการออกแบบไปยังดีไซเนอร์รนุ่ ใหม่ๆ ทัง้ ทีม่ หาวิทยาลัยรังสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เสมอมา
Tools to Untie Thainess แนวทางในการเขียนหนังสือ “Very Thai” โดย Philip Cornwel-Smith Philip Cornwel-Smith
ผมจะเริ่มต้นด้วยเรื่องของการไหว้
หัวหน้าของ TAT เอารูปแมคโดนัลกำ�ลังไหว้ ซึง่ เหมือนการแสดงออกของวัฒนธรรมไทยนี้ ไปเสนอที่ Headquarter แอตแลนตา เขาก็เลยตั้งคำ�ถามว่า รูปนี้มีความเป็นไทย ในความเป็นฝรั่ง เป็นแค่การที่ฝรั่งมาเล่นกับความเป็นไทย เป็นวัฒนธรรมระดับสูง หรือวัฒนธรรมทั่วไป เป็นทางการหรือเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นโบราณหรือทันสมัย มีความเป็นไทยหรือนำ�เข้ามาจากวัฒนธรรมอื่น และการไหว้สามารถเปลี่ยนแปลง ตามกาลเวลาได้หรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนี้ จะตีความเรื่องการไหว้และความเป็นไทยในเรื่องอื่นๆ ได้อย่างไร ภาพโรนัล แมคโดนัลภาพนี้ ถูกนำ�ไปเผยแพร่ออกไปในวงกว้างและเป็นภาพทีพ่ ยายาม จะอธิบายๆ คำ�ถามต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนไทย ผมจึง อยากจะพูดให้ฟังถึงการทำ�ความเข้าใจถึง “Somewhere Very Thai” ตอนที่ผม มาถึงเมืองไทยเมือ่ 16 ปีทแ่ี ล้ว มีคนมาจ้างให้ผมเป็น Founding Editor ของนิตยสาร ชื่อ Bangkok Metro ซึ่งเป็นนิตยสารที่รวบรวมรายชื่อสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ เป็นเล่มแรก ตอนนัน้ ผมไม่รอู้ ะไรเกีย่ วกับกรุงเทพฯ เลย ผมก็เลยต้องใช้ความสามารถ จากการทำ�งานเป็น Listing Journalist เข้ามาช่วย Tool 1: Classify Listing Journalist เป็นการตรวจสอบข้อมูล เป็นการจัดหมวดหมู่ รวบรวมข้อมูล เพื่อทำ�ให้เข้าใจได้ง่าย และก็เห็นภาพรวมของข้อมูลด้วยความเป็นกลาง คุณจะเห็นว่า Very Thai จะมีบทความสั้นๆ ทั้งหมด 65 บท ที่จะพูดถึงสายไฟที่ ห้อยระโยงระยาง และทิชชู่สีชมพู ในฐานะบรรณาธิการนิตยสาร มีคนชอบมาถามผม แต่ไม่ได้ถามว่าบาร์อะไรเป็นทีน่ ยิ ม หรือว่าหนังอะไรที่น่าดูหรอกนะ แต่กลับสงสัยเรื่องในชีวิตประจำ�วันที่ไม่มีใครเคย อธิบายให้ฟงั เช่น ทำ�ไมคุณหญิงคุณนายต้องตีผมโป่ง ใครเป็นคนบังคับให้นกั เรียนหญิง แต่งชุดทหารเรือ ห้างสรรพสินค้าไปรับเอาเสาโรมันมาจากไหน
124
แล้วสิ่งเหล่านี้เป็นไทยยังไง ผมก็ไม่รู้ว่าจะตอบเขายังไง เพราะผมก็ไม่รู้เหมือนกัน แล้วก็ ไม่คอ่ ยได้ค�ำ ตอบสักเท่าไหร่เวลาถามคำ�ถามนีแ้ บบนีก้ บั คนไทย แต่ด้วยความที่ผมเป็นนักประวัติศาสตร์ซึ่งฝึกฝนเรื่องการ ค้นหาข้อมูลอยูแ่ ล้ว ก็เลยไปหาคนทีร่ แู้ ล้วก็เลยได้แนวคิดในการ ทำ�หนังสือเล่มนีข้ น้ึ มา จากนัน้ ผมก็ไปค้นหาเรือ่ งเหล่านีต้ ามตำ�รา หนังสือพิมพ์ ในห้องสมุดหลายๆแห่ง รวมทั้งการสัมภาษณ์ เพื่อจะหาข้อสรุปในเรื่องต่างๆ ให้กับตัวเอง ผมยังมีชุดคำ�ถาม ที่ใช้หาทุกคำ�ตอบบนโลกนี้ได้ ที่เรียกว่า 5W และ 1H
ในหน้าตอบจดหมายของ Bangkok Post ก็เต็มไปด้วยความเห็น ของพวกฝรั่งหัวเสียที่เข้ามาบ่นกันแทบทุกวัน ผมพยายามจะหลีกเลี่ยงความคิดเฝือๆ และคับแคบแบบนี้ หรืออย่างน้อยก็พยายามจะมองในมุมทีแ่ ตกต่างและหลากหลาย
คนนอกสามารถเป็นคนในได้ ในระหว่างที่คนในก็สามารถ มองวัฒนธรรมตัวเองจากด้านนอกได้เช่นกัน ตัวอย่างนี้ สามารถเห็ น ได้ ใ นนั ก ประวั ติ ศ าสตร์ แ ละพวกผู้ เ ชี่ ย วชาญ ด้านวัฒนธรรมที่เป็นคนไทยที่มีเชื้อสายจีน และแน่นอนว่า Tools 2: Research พวกศิลปิน ครีเอทีฟ ก็มักจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่ไม่อยู่ใน Who? (ใคร) What? (อะไร) When? (เมือ่ ไร่) Where? (ที่ไหน) กรอบของสังคม นั่นถือว่าเป็นข้อได้เปรียบของพวกเขา Why (ทำ�ไม) และ How? (อย่างไร) ชุดคำ�ถามนีผ้ มใช้ตง้ั คำ�ถามเพือ่ การมองหาสิง่ ต่างๆ ในมุมใหม่ๆ จากนัน้ ก็ตง้ั คำ�ถาม แล้วก็ตง้ั คำ�ถามต่อไปอีก สุดท้ายก็น�ำ มาสรุป จากหลักฐานทัง้ หมด วิธที ว่ี า่ เป็นวิธแี บบตะวันตกมากๆ เพราะ การตัง้ คำ�ถามมากมายไม่ได้อยูในวิถขี องวัฒนธรรมไทยเท่าไรนัก
Tools 4: Insider-Outsider ในการศึกษามานุษยวิทยาเชิงสังคม คำ�ว่า emic แปลว่า “Insider Account” คือสิง่ ทีค่ น้ พบเกีย่ วกับวัฒนธรรมจากคนใน และ etic แปลว่า “Outsider Account” สิ่งที่ค้นพบเกี่ยวกับ วัฒนธรรมจากคนนอก ซึ่งการผสมทั้งสองอย่างทำ�ให้เรารู้ถึง รูปแบบของหนังสือ Very Thai ส่วนหนึ่งได้มาจากหนังสือ แก่นของวัฒนธรรมที่เราต้องการจะศึกษา นำ�เที่ยวของญี่ปุ่น คือจะมีลักษณะอธิบายส่วนเล็กๆ น้อยๆ ที่นักท่องเที่ยวมักจะนึกไม่ถึง ความเป็นไทยหลายๆ อย่างไม่ได้ถูกบันทึกและอธิบายเอาไว้ เพราะว่าสำ�หรับคนในมันเป็นเรื่องธรรมดา อาจจะเป็นเพราะ Tools 3: Riff ความคุ้นเคย ทำ�ให้คนท้องถิ่นรู้สึกว่ามันไม่มีอะไรที่น่าสนใจ สิง่ ทีเ่ ป็นไทยส่วนมากจะใช้ความคิดทีม่ อี ยูแ่ ล้วมาประยุกต์ใหม่ และไม่ได้นา่ เอามาเชิดชูวา่ นีแ่ หละภาพลักษณ์ของความเป็นไทย ให้สดใหม่มากขึ้น ไม่ ใช่การลอกเลียนแบบ ซึ่งไม่ว่าจะเป็น ความเป็นไทยแบบเก่าหรือใหม่กไ็ ด้รบั อิทธิพลมาจากต่างประเทศ งาน Somewhere Thai ในครั้งนี้จึงสำ�คัญ เพราะว่าจะช่วยลด ช่องว่างระหว่างเรือ่ งเล่าทีบ่ อกต่อกันมาว่าสิง่ นีค้ อื ความเป็นไทย แต่คนไทยก็จะนำ�เอามาใช้ในแบบของคนไทย กับความเป็นไทยทีเ่ ราพบเห็นได้ตามท้องถนน ความเป็นไทยจึง จริงๆแล้วการทีค่ นนอกมาศึกษาวัฒนธรรมไทย ก็ไม่ใช่เรือ่ งใหม่ เป็นเหมือนอุดมการณ์ที่เป็นเหมือนคู่มือว่าประเทศไทยควรจะ แต่เป็นสิ่งที่ทำ�มาตั้งแต่โบร่ำ�โบราณแล้ว เห็นได้จากบันทึก เป็นอย่างไร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่ว่านี้จะเกิดขึ้นจริงๆ เกี่ยวกับชีวิตประจำ�วัน สมัยที่ยังเป็ นสยามอยู่ ก็ มาจากฝรั่ ง ในประเทศไทย แต่ความคิดทั้งสองนี้กลับถูกนิยามด้วยคำ�ว่า โดยเฉพาะคนจีน ยุโรป และอเมริกา Very Thai ก็สืบทอดมา “ไทย” เหมือนกัน จึงทำ�ให้เกิดความสับสน จากบันทึกในยุคนั้นเช่นกัน ผมประหลาดใจจริ ง ที่ ค นไทยมั ก จะถู ก บอกตลอดเวลาว่ า คนนอกก็จะมีมมุ มองของเขาเอง นักล่าอาณานิคมยุคใหม่และ ความเป็นไทยควรจะเป็นอย่างไร ผมจึงลองมองวัฒนธรรม ผู้ ที่ ช อบสร้ า งภาพเย้ า ยวนใจให้ กั บ ความแปลกที่ ต่ า งจาก ของผมจากข้างนอก แล้วเห็นว่ากว่าศตวรรษทีผ่ า่ นมา คนอังกฤษ ประสบการณ์ของตนจะรู้จักกันในนามของ นักตะวันออกนิยม คนสก็อต เวลล์ และไอริส ก็ถูกบอกว่าคนสหราชอาณาจักร (“Orientalist”) ส่วนมุมมองของพวกที่ ใส่สีตีข่าวให้เร้าใจ (British) นั้นเป็นอย่างไร พวกบาวาเรียนก็จะถูกสอนให้รู้ว่า (“Sensationalist”) มักจะปรากฏในหนังสือพิมพ์หวั สี โดยเฉพาะ คนเยอรมันนัน้ เป็นอย่างไร ส่วนคนเวนิสเชีย่ นก็จะถูกสอนให้รวู้ า่ ในหัวเรือ่ งอย่างเช่น การคอรัปชัน่ อาชญากรรม การผิดศีลธรรม คนอิตาลีนั้นเป็นอย่างไร ไม่เว้นแม้แต่คนฝรั่งเศสก็ถูกกรอกหู และยังรวมถึง นิยายประโลมโลกทีพ่ ดู ถึงกรุงเทพฯ สือ่ ทีเ่ กีย่ วกับ ตลอดเวลาว่าคนฝรั่งเศสนั้นเป็นอย่างไร การเดินทางและไลฟ์สไตล์ก็โฆษณาไว้ซะเกินจริง เพื่อเอาใจ สปอนเซอร์ ซึ่งคนอ่านก็จะไม่ได้อะไรกลับไป
125
การสร้างชาติแบบนี้ก็เพื่อลดความแตกต่างทางดินแดนและ เชือ้ ชาติ ทีอ่ าจสร้างปัญหาขึน้ ในภายหลัง การถกเถียงกันเรือ่ ง ความเป็นไทยเป็นส่วนหนึ่งของความคิดตามสมัยเพื่อเชิดชู ความเป็น “ขนานแท้” ทางชาติพันธุ์ (Ethnic Authenticity) และเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ตอนนี้ในประเทศ อังกฤษ ก็กำ�ลังมีการถกเถียงเพื่อบ่งชี้ความเป็นอังกฤษ (“Somewhere English”) ในท่ามกลางการเกิดขึน้ ของอัตลักษณ์ ทีห่ ลากหลาย หนังสือหลายเล่มทีเ่ ขียนโดยคนต่างชาติได้พดู ถึง ความเป็นอังกฤษ คนอังกฤษเองก็ตอบรับ และยินดีรับฟัง คำ�วิจารณ์ของนักประพันธ์เหล่านี้ แม้ว่าพวกเขา จะไม่ ใช่ คนอังกฤษก็ตาม
วัฒนธรรมของคนชั้นสูงและวัฒนธรรมของคนพื้นบ้านมักจะ ถูกเก็บไว้อย่างเดียว น้อยนักทีว่ ฒ ั นธรรมประชานิยมตามวิถเี มือง กลับถูกละเลย ผู้ริเริ่มน้อยคนอย่างคุณเอนก นาวิกมูล และ คุณโดม สุขวงศ์ ทั้งสองท่านได้เก็บสะสมเก็บตัวอย่างที่สำ�คัญ ไว้มากมาย แต่ก็ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุน ดังนั้น Very Thai จึงกลายเป็นหนังสือรวบรวมข้อมูล หนังสืออ้างอิง และข้อมูล ทางภาพในเรื่องวัฒนธรรมประชานิยมในไทย
Tools 6: Archive การสะสมข้ อ มู ล หรื อ เอกสารของวั ฒ นธรรมประชานิ ย ม (Popular Culture) ไม่ได้ทำ�เพียงเพื่อการกลับไปหวนหาอดีต เท่านัน้ แต่มนั ยังเป็นแหล่งข้อมูลชัน้ ดีของความคิดสร้างสรรค์ การโปรโมททางด้านการท่องเทีย่ วของไทยตัง้ อยูบ่ นกรอบของ สำ�หรับนักประวัติศาสตร์และเป็นหลักฐานในอดีตที่ในอนาคต การสร้างภาพลักษณ์ทด่ี ีให้แก่ประเทศ ดังนัน้ นีจ่ งึ เป็นเหตุผลว่า ต่อไป ทำ�ไมโฆษณาชวนเชื่อจึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เช่น มรดกทางวัฒนธรรมประเพณีของไทยนัน้ มีเสน่หแ์ ละน่าดึงดูดใจ ตั้งแต่ปี 1997 ในช่วงที่ฟองสบู่แตก คนไทยต้องเปลี่ยนจาก แต่นักท่องเที่ยวกลับได้รับรู้แค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้ง การใช้ของนำ�เข้าจากต่างประเทศมาใช้ของท้องถิ่นมากขึ้น ยังลดค่าวิถีชีวิตของคนไทยไปบางส่วน ดังนั้นผมจึงเลือกที่จะ เหล่าครีเอทีฟทั้งหลายจึงต้องกลับมาสนใจของพื้นบ้านและ เขียนถึงสิง่ ทีท่ ง้ั ชาวไทยและชาวต่างชาติประสบพบเจออยูต่ ลอด วัฒนธรรมประชานิยมของเรามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นัน่ ก็คอื วัฒนธรรมวิถชี วี ติ ประจำ�วัน หรือ วัฒนธรรมประชานิยม มรดกทางธุรกิจแบบไทย-จีน คุณจะเห็นสิ่งเหล่านี้ในหนังสือ (Popular Culture) เกี่ยวกับอาหารริมทาง, ความนิยมสไตล์ย้อนยุค (Retro), การฟืน้ ฟูตลาดเก่า รวมทัง้ การเปลีย่ นแปลงค่านิยมทางวัฒนธรรม Tools 5: Focus ของมอเตอร์ ไซด์รับจ้างจากเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ตอนนี้ ตัวอย่างในหนังสือ Very Thai เป็นวัฒนธรรมประชานิยม ก็กลายเป็นไอคอนของกรุงเทพฯ ไปแล้ว (Popular Culture) ทีพ่ บเจอได้ในชีวติ ประจำ�วัน ซึง่ ไม่ได้เป็นแค่ วัฒนธรรมแบบจารีตหรือแบบสมัยใหม่ แต่เป็นวัฒนธรรมที่ การจัดหมวดหมู่ความนิยมในฐานะวัฒนธรรมเป็นขั้นตอนที่ ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างความเก่าและใหม่ ละเอียดอ่อนมาก จะเห็นได้ว่าเมื่อภาพยนตร์ เพลง หรือว่า งานศิลปะ ได้ถา่ ยทอดให้เห็น “ความเป็นจริง” ความตึงเครียดทาง วัฒนธรรมประชานิยมในหนังสือ Very Thai เป็นวัฒนธรรม สังคมเกิดขึน้ ในกรณีเดียวกัน ในขณะทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์สถานแห่งชาติ ระหว่างทางหรือวัฒนธรรมส่งต่อ (Transitional Culture) ทีค่ งอยู่ ยังไม่ได้เอารถตุ๊กตุ๊ก รถเข็น หรือเสื้อวินมอเตอร์ ไซค์รับจ้าง ในช่วงหนึง่ ของเวลา เป็นวัฒนธรรมทีร่ วมถึงประเพณีทถ่ี กู ทำ�ให้ มาจัดแสดง สัญลักษณ์เหล่านี้กลับไปอยู่ในพื้นที่ของสื่องาน ทันสมัย เช่น การแขวนเครือ่ งรางของขลังไว้ทก่ี ระจกมองหลัง ออกแบบ และในบางพิพิธภัณฑ์ ในรถแท็กซี,่ มวยไทย หรือศาลเจ้าทีถ่ กู ออกแบบหลายๆ แห่ง และยังเป็นการนำ�เอาความทันสมัยของเมืองนอกมาทำ�ให้ ครีเอทีฟหลายๆคนมองหาความแตกต่างในโปรดักต์ของตัวเอง ดู “บ้านๆ” เช่น การพ่นแอร์บรัชด้านนอกของรถบรรทุก หรือ โดยการใส่ความเป็นไทยลงไป แต่ความเป็นไทยจะมาจาก การรับวัฒนธรรมญี่ปุ่นเข้ามา สัญชาติความเป็นไทยเท่านั้นหรือ? ผมคิดว่าคนไทยไม่ต้อง พยายามทำ�อะไรให้เป็นไทยหรอก ความเป็นไทยนัน้ เป็นไปโดย มีคนบอกผมว่า Very Thai เป็นเหมือนบันทึกของเรือ่ งธรรมดาๆ ธรรมชาติของคุณอยู่แล้ว ความเป็นไทยนั้นจะเกิดขึ้นผ่านการ ที่กำ�ลังจะหายไป ซึ่งบางหัวข้อก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง แสดงออกผ่านอัตลักษณ์ หรือตัวตนที่หลากหลาย เช่น ในระหว่างทีผ่ มเขียนมันอยูด่ ว้ ยซ้�ำ หรือไม่กเ็ ปลีย่ นไปแล้วด้วยซ้�ำ ความคิดเห็นส่วนตัว ครอบครัว ชุมชน เพื่อนร่วมห้อง อาชีพ ทุกวันนีเ้ ราต่างอยู่ในช่วงเวลาทีค่ วามแตกต่างในแต่ละประเทศ ตำ�แหน่ง ชาติพนั ธุ์ ความเชือ่ จังหวัด ภูมภิ าค เอเชียตะวันออก น้อยลงเรือ่ ยๆ Very Thai จึงเป็นการศึกษาและบันทึกความเป็น เฉียงใต้ เอเชีย หรือว่าต่างชาติ ไทยที่เปลี่ยนแปลงมาสู่ความโมเดิร์น
126
การค้ น คว้ า ของผมทำ � ให้ ผ มครุ่ น คิ ด เรื่ อ งความพิ เ ศษของ วัฒนธรรมไทย ที่วัฒนธรรมละม้ายคล้ายอเมริกาที่ว่าเป็น วัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่นอกเหนือข้อแม้ทั่วไป ประเทศไทยไม่ได้เป็นเกาะ ไม่ได้แยกออกมาเดีย่ วๆ เพราะฉะนัน้ ประเพณีส่วนมากของประเทศไทยจึงเป็นการผสมผสานทาง ประวัติศาสตร์ของวิถีชีวิต และความเชื่อที่เคยไหลเวียนใน พืน้ ที่ไร้พรมแดนระหว่างอินเดียและจีน ความคล้ายคลึงในแต่ละ ภูมิภาคที่มีอยู่ร่วมกันนั้น คือความทันสมัยทางอุตสาหกรรม ตำ�นานของการตกเป็นอาณานิคม และกระแสของวัฒนธรรม วิถีแฟชั่นที่ฮิตในช่วงสั้นๆ ดังนั้นหากจะถามว่า “Somewhere Thai” อยูท่ ่ไี หน ก็คงจะตอบได้วา่ “ทีท่ ่ไี ม่สามารถแยกออกจาก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้” Tools 7: Compare การระบุลกั ษณะเฉพาะของแต่ละประเทศและหาความแตกต่าง ของแต่ละท้องถิ่น
ในประเทศแถบอาเซียนต่างมีมหากาพย์รามายณะ มีบ้านที่มี ใต้ถนุ บ้านหรือการฟ้อนรำ�อ่อนช้อย แต่ในขณะเดียวกันก็น�ำ เอา ความคิดมาจากวัฒนธรรมอืน่ เช่น การสร้างเสาแบบกรีกโรมัน ห้างสรรพสินค้า และทรงผมตีโป่ง ในเหล่าประเทศเพื่อนบ้าน ก็ยังมีมอเตอร์ไซค์รับจ้าง อาหารริมทาง รถบรรทุกดัดแปลง หมอนวดตาบอด การดืม่ น้�ำ ในถุงและรถตุก๊ ตุก๊ ซึง่ ดัดแปลงมาจาก รถตุ๊กตุ๊กของประเทศญี่ปุ่น แต่ละประเทศก็จะปรับแต่ละอย่าง ให้เหมาะสมกับทางของเขา รถตุ๊กตุ๊กไทยมีพัฒนาการมาจาก เรือสยามและเกวียน ดังนัน้ ความเป็นไทยก็คอื การทีเ่ ราสามารถ ปรับตัวเข้ากับทุกอย่างได้ คนไทยถูกพูดถึงมากในหนังสือ “Pinoy Pop” ซึ่งเป็นหนังสือ ประเภทหนึง่ ของ “Very Filipino” นักเขียนคือ Gilda Cordero Fernando ซึ่งได้จัดหาคำ�จำ�กัดความบางอย่างเพื่อช่วยเพิ่ม ความเข้าใจให้กับงานวิจัยของผมได้ง่ายขึ้นด้วย Tool 8: Define การคิดโครงสร้างและทฤษฎีขน้ึ มาใหม่รวมทัง้ การอ้างอิงเพือ่ ให้ งานดูนา่ เชือ่ ถือมากขึน้ ผมเลือกทีจ่ ะไม่ลอกงานของผูเ้ ชีย่ วชาญ ต่างๆ แต่ได้ให้เครดิตแก่ความคิดเหล่านั้นไว้ทั้งสิ้น
คุณไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรคือความเป็นไทยโดยการมองที่ ความเป็นไทยเพียงอย่างเดียว การเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน ในสิ่งที่เหมือนกันก็จะทำ�ให้เรารู้ถึงความแตกต่างได้เหมือนกัน ฝรัง่ เศสและเยอรมันมีความแตกต่างหลายอย่าง แต่เอกลักษณ์ ทั้งสองประเทศนั้น ต่างมีความรู้สึกร่วมกันในวัฒนธรรมยุโรป เมื่ อวางโครงร่ า งสิ่ ง ที่ ผ มได้ พ บเห็ นมาจากในป๊ อ ปคั ล เจอร์ เช่น วัฒนธรรมโรมัน วัฒนธรรมเรเนสซอง ความคิดทางปรัชญา หรือวัฒนธรรมประชานิยมในไทย การพิจารณาทฤษฎี Gilda นัน้ ไวน์ โอเปร่า และบัลเล่ต์ มีประโยชน์กบั ผมมาก เธอได้ยกตัวอย่างเกีย่ วกับวัฒนธรรมไทย ไว้มากมาย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจจะไม่เป็นที่รู้จักเท่ายุโรป แต่ว่า มันมีอารยธรรมที่สอดคล้องกัน แต่ละประเทศต่างมีความรู้สึก “ความป๊อปคือความเป็นเมือง ร้อยทัง้ ร้อยเป็นการเลียนแบบกันมา ร่วมกันในมรดกทางวัฒนธรรม อย่างเช่น วัฒนธรรมเขมร และมีปจั จัยเพือ่ การค้ามาเกีย่ วข้องเทคโนโลยีและสือ่ กระแสหลัก และศิลปะแบบหลังอาณานิคม (Colonial Style) ความเชือ่ เรือ่ ง มี อิ ท ธิ พ ลอย่ า งมากกั บ วั ฒ นธรรมและมี ลั ก ษณะพบเห็ น ภูตผีและยาดอง (Rice Wine) การใส่สะโหร่ง และกินต้มยำ� และจดจำ�ได้ง่าย” เผ็ดๆ เหมือนกัน พวกเขาไม่อาจเข้าใจสยามได้หากไม่เข้าถึงแก่น ประเพณีเขมร ชวา อินเดีย และจีน ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นชัด “ความป๊อปแตกต่างจากความเป็น “พื้นถิ่น” ซึ่งเป็นเรื่องของ ในประเด็นนี้ คือนิทรรศการในมิวเซียมสยามได้แสดงว่าอักษรไทย ชนบทมีลกั ษณะของประเพณี เป็นเรือ่ งของชุมชน มันแตกต่าง เปลีย่ นรูปแบบจากตัวเขียนเหมือนลาว พม่า และมอญได้อย่างไร จากชาติพนั ธุซ์ ง่ึ อยูเ่ หนือกว่านัน้ แต่มนั มาจากกลุม่ คนกลุม่ เล็กๆ” ในศตวรรษที่ 20 ประเทศในอาเซียนต่างประสบปัญหาและ “คนที่รวยกว่าคนอื่นจะคิดว่าป๊อปคัลเจอร์คือสิ่งที่ต่ำ �กว่าเขา เปลี่ยนชื่อของตน ตอนนี้พวกเขาทั้งหมดกำ�ลังก้าวไปสู่ และมักจะดูถูกมันเพราะว่าความป๊อปมักจะเป็นเรื่องธรรมดา กระบวนการพลิกโฉมให้ทนั สมัย และเสาะหาวัฒนธรรมทีท่ �ำ เงินได้ จนบางครั้งอาจจะดูเชยๆ ด้วยซ้ำ�” ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่คนนอกมองว่ า เป็ นสมบั ติ ข องประเทศ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ละประเทศไม่จำ�เป็นต้องทำ� แต่ Gilda อธิบายว่าการแบ่งหมวดแบบนีน้ น้ั ไม่ตายตัวเสมอไป สินค้าเหมือนกัน แต่นา่ จะเป็นใช้วสั ดุ ทรัพยากร สภาพแวดล้อม มันอาจจะเป็นอะไรก็ได้ ภูมอิ ากาศ และความเชือ่ รสชาติ และอุณหภูมริ ว่ มกัน สิง่ นีแ้ หละ คือแบบฉบับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “ความพื้นบ้านและชาติพันธุ์มักจะกลายเป็นเรื่องป๊อปขึ้นมา” ดูอย่างลูกทุ่งและเรื่องผีสิ
127
“ชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมป๊อปบางเรื่อง ก็สามารถกลายเป็น วัฒนธรรมชั้นสูงได้” ยกตัวอย่างเช่น สมุนไพรพื้นบ้าน ไม่ได้รับความนิยม และค่อยๆ หายไปในยุค 90 แต่ตอนนี้ มันกลับมาฮิตอีกครัง้ ด้วยกระแสการทำ�สปา ส่วนนางงามต่างๆ ก็กลายเป็นพวกไฮ-โซ” “เช่นเดียวกัน วัฒนธรรมชัน้ สูงก็สามารถกลายเป็นวัฒนธรรมป็อป ได้เช่นกัน เช่น ไม้ดัดที่กลายมาเป็นของตกแต่งข้างถนน” “การลอกเลียนแบบ เมื่อได้รับการต่อยอดเป็นวัฒนธรรมก็จะ กลายเป็นของเราเอง ถ้าไม่มีการต่อยอดพัฒนาก็คงเป็นสิ่งที่ แยกแยะออกมาได้ในวัฒนธรรมของเรา จากนัน้ ก็จะมีความป็อป ทีเ่ ป็นขนานแท้ ทีก่ อ่ ร่างอยู่ในพืน้ ทีท่ อ้ งถิน่ และคงอยูต่ ลอดไป” วัฒนธรรมประชานิยมหรือความป็อปทีเ่ ห็นในตลาดขายไม้เก่า และในหนัง “แฟนฉัน” นัน้ นำ�เสนอความรูส้ กึ ของความเป็นไทย ที่คงอยู่คงทน แต่สิ่งที่เห็นมีความเป็นแบบฉบับและเกิดใน บริบทพืน้ ทีข่ องไทยหรือเปล่า? คำ�จำ�กัดความของ Gilda และ Very Thai ก็แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมมันไม่ได้อยู่คงที่ การสอนว่ า อะไรคื อ ไทยมั น จึ ง เปลี่ ย นแปลงตลอดเวลา ในความจริงแล้วประเพณี และวัฒนธรรมเป็นผลผลิตที่ยัง ไม่เสร็จสิ้น “ประเพณีไม่ได้เป็นอะไรที่ตายตัวเหมือนที่เห็นใน ป่าหิมพานต์ แต่เป็นเหมือนภาพ Snapshot ในแต่ละช่วงของ การพัฒนาที่นานกว่าศตวรรษของนวัตกรรม การเข้ามาของ วัฒนธรรมต่างชาติ และการนำ�มาปรับใช้ ดังนั้น จึงอาจจะ สรุปได้ว่า “Somewhere Thai” คือการปรับเปลี่ยนไม่ตายตัว และยืดหยุ่นได้ ดังนั้น เอกลักษณ์ความเป็นคนไทยก็อาจจะหมายความว่า มันไม่เหมือนใครหรือมันน่าจะเหมือนกับคำ�ไทยว่า เหมือนคำ�พูด ที่ติดปากของคนไทยที่ว่า “same same, but different?” (ในความเหมือนก็มีความต่าง)
Tools to Untie Thainess How I Approached Writing “Very Thai” by Philip Cornwel-Smith Philip Cornwel-Smith
Let me start with a greeting, the wai.
The head of the TAT presented one of these statues to the Atlanta HQ of Macdonald’s as an expression of Thai culture. But is it Thai being inter? Or foreigners playing Thai? Is it high culture? Or is it pop? Is this wai formal or folk? Is the wai itself ancient or modern? Was the wai originally Thai-or an import? And can the wai adapt with the times? So, how to interpret the wai and other things Thai? It is one of the most reproduced images from my book , which tries to explain some of the elusive questions about everyday Thai popular culture. Here I will look at some of the tools I used to discern ‘Somewhere Very Thai’. On arriving in Thailand 16 years ago, I was suddenly hired as the founding editor of the city’s first listings magazine, Bangkok Metro. I knew almost nothing about Bangkok, so I applied tools from my career as a listings journalist. Tool 1: Classify. Listings journalism is all about verifying, categorising and sorting lots of small details to make a clear, consistent overview without bias. You can see that format in the 65 short chapters of Very Thai. And the obsession about things like dangling wires and pink tissues. As a magazine editor, I got asked many questions. Not just about the latest bar or movie, but mysteries of daily life that aren’t explained to foreigners, like: • How come posh women’s hair got so big? • Who made schoolgirls wear Victorian sailor suits? • Where did shophouses get their Greco-Roman pillars?
129
And why is any of that Thai? I had no idea, and I got little insight from most of the Thais I asked. But I am a historian by training, so I sought out people who did know. Suddenly I had the concept for a book!
I tried to avoid these narrow clichés, or at least point out the different views.
That tool is about looking with fresh eyes, asking questions, then asking follow-up questions, and drawing conclusions from evidence. That’s a very Western approach. Asking questions is not such a Thai thing. But some Asians do.
Many everyday Thai things aren’t recorded or explained precisely because insiders consider them ordinary. Familiarity can make locals consider them as not culturally interesting. Or they are lowly or improper, so not worthy of representing the Thai image.
Outsiders can become insiders, while insiders can view their own culture from outside, as seen in the many historians and cultural mavens with Thai-Chinese roots. In my research I scoured academic and newspaper Of course, artists and creatives often feel like social libraries, did interviews and drew my own conclusions. outsiders. That’s their advantage. I applied a handy tool that answers any query. We call it “five Ws and an H”: Tool 4: Insider-Outsider. In social anthropology, emic means ‘insider account’ and Tool 2: Research. etic means ‘outsider account’. Each is valid in itself. But Who? What? When? Where? Why? and How? combining emic and etic reveals the culture in context.
The format of Very Thai was partly a riff on Japanese This symposium is needed because there is a gap guidebooks. These explain every tiny aspect of something between what we are told is supposed to be Thai and unfamiliar so Japanese travellers don’t make a mistake. what we experience to be Thai on the street. Thainess is like an ideology. It can sound like instructions on what Tool 3: Riff. the Thai nation should be, not necessarily a statement of Adapt other models to suit the need. Not copy, but ‘riff’ on what is found in Thailand. Because the prescription and existing ideas to create something fresh. Most creativity description use the same label, ‘Thai’, it gets confusing. riffs on earlier concepts. And most Thai things - old or modern - are riffs on imports. It amazed me that Thais are told throughout life how to be Thai. Then I looked at my own culture from the outside. Outsiders studying Thai culture isn’t new, but the norm A century ago, the English, Scottish, Welsh and Irish through history. Many surviving records of everyday life in were being told how to be British, and Bavarians how to old Siam come from foreigners’ accounts, especially the be German, Venetians how to be Italian. The French are Chinese, Europeans and Americans. Very Thai is part of still being told how to be French. a long lineage. This is nation-building, intended to minimise differences Outsiders also bring their preconceived ideas. Neo- like region or ethnicity that keep popping back up. The colonialists and those who romanticise the exotic we discussion about Thainess is part of a global, postnow call ‘Orientalist’. Sensationalists focus on the lurid national zeitgeist to cherish ethnic authenticity and world of corruption, crime and immorality as seen in cultural diversity Right now in England, there is a lot of tabloid newspapers and the genre of ‘Bangkok novels’. debate to identify ‘Somewhere English’ amid the broader The travel and lifestyle media is prone to advertorials of British identity. And many of those books on Englishness gushing praise that pander to the sponsor at the expense are by non-English writers, and we value their criticism. of the reader. And the Bangkok Post letters page is full of complaints by grumpy farang.
130
Tourist promotion is based on that idealised Thai selfimage, which is why exotic tourist hype doesn’t match the reality. Traditional Thai heritage is a wonderful attraction, but a small part of the visitor experience and a declining part of Thai life. I wrote about what both Thais and foreigners encounter most, which is the everyday popular culture.
Classifying pop as culture is a delicate process here. Social tensions emerge when film, TV, music or the arts depict ‘realism’. The National Museum displays no tuk-tuk, vendor cart or motorcycle taxi jacket, but these symbols of Thailand are now entering media, design and some museums.
Many creatives seek to distinguish their products by conveying a sense of Thainess. But does Thainess come from just nationality? Perhaps Thais don’t have to try to be Thai; it may come naturally to you. The Thai genius loci (talent of the place) could emerge through expressions of various identities: individual, family, community, The pop in Very Thai is ‘transitional culture’, and so classmates, profession, rank, ethnicity, belief, province, a moment in time. It includes modernised traditions, region, Southeast Asia, Asia, inter. such as taxi mirror offerings, muay Thai or designer spirit houses, and localisations of modern imports, like My research made me ponder Thai cultural exceptionalism decorated trucks or Japanese cute. To understand such - the idea that a culture, like say America, is somehow fusions, I had to study the traditions to see trace their unique and exempt from normal conditions. Thailand is not development. an island. Most Thai traditions are part of a historic blend of styles and beliefs that had flowed around a borderless Someone pointed out that Very Thai is a record of zone between India and China. Regional similarities are ordinary things that will disappear. He’s right. Some just as true of industrial modernity, colonial legacies and topics changed while I was writing it, others since. Today today’s pop culture fads. So where is ‘Somewhere Thai’? we are in a phase of less difference between countries. Answer: Inseparable from Southeast Asia. So it’s vital to document how Thailand modernised. Tool 7: Compare. When heritage gets preserved, it’s mostly high culture, Identify the region’s character and spot local differences. plus some rural folk culture, but rarely urban pop. A few pioneers, like Anake Nawikamune and Dome Sukwong, You can’t tell what’s Thai by looking at Thainess alone. collect key examples, but they still get little support. So Compare the neighbours. What they share in common Very Thai became an archive, a reference book and a reveals how they diverge. France and Germany have visual resource. many differences, but are stronger for sharing European legacies like the Romans and Renaissance, philosophy TOOL 6: Archive. and wine, opera and ballet. Collecting examples of pop not only serves nostalgia, but provides sources for creatives, insights for historians, and Southeast Asia keeps a lower profile than Europe, but is proof of the Thai future past. a coherent civilisation. It shares legacies like the Khmers and colonial style, animism and rice wine, sarongs and Since the 1997 crash forced Thais to develop affordable spicy soup. We can’t understand Siamese traditions alternatives to imports using indigenous resources, without appreciating their Khmer, Javanese, Indian or creatives have increasingly mined folk and pop culture, Chinese roots. An exhibit in the Museum Siam shows especially the Sino-Thai commercial heritage. You can a Thai letter morphing between scripts of languages like see this in the books on streetfood. In the fad for retro Lao, Burmese and Mon. style. In the revival of old markets. Motorcycle taxis have gone from a banal service to an icon of Bangkok. Tool 5: Focus. Very Thai samples a particular kind of everyday popular culture that isn’t just traditional or just modern, but combines old and new in a hybrid.
131
In the 20th century, all ASEAN countries underwent upheavals and changed their names. Now they’re all going through modernisations and mining their cultures to market goods that to the outsider look like a Southeast Asian genre. They aren’t necessarily copying each other, but share materials and ecologies, climates and beliefs, tastes and temperaments. There is a Southeast Asian type.
But, as Gilda explains these categories aren’t fixed, making pop somewhat out-of-synch: • “Folk and ethnic often become pop.” Look at luuk thung or ghost tales. • “Some ethnic or pop things climb up the social ladder and become elite.” Herbalism was discredited and dying out in the 1990s; now it fuels the spa boom. And beauty queens are increasingly hi-so. • “Some elite things get too popular, slide down and become pop. Mai dut topiary ended up as street decoration. • “Imitations, when integrated into the culture, become our own. Otherwise, they remain indigestibly like bumps on our culture. Then there’s pop that’s original, truly homegrown and forever good.”
Just as all ASEAN countries have the Ramayana, stilt houses and ethereal dances, they each imported motifs like classical columns, shophouses, and big hair. Various neighbours also have motorcycle taxis, streetfood, customised trucks, blind masseurs, drinks in a bag and the tuk-tuk, which are all customisations of the Japanese motor-rickshaw. Each country adapted these traits their own way. The Thai tuk-tuk elegantly takes lines from The pop you see in old wooden markets and the film Siamese boats and ox carts. So Thainess lies in the ‘Faen Chan’ does feel Thai and forever good. But is it process of how Thais adapt. original and truly homegrown? Gilda’s definitions and the Very Thai tools show that culture doesn’t stay fixed. Thais will recognise plenty in the book ‘Pinoy Pop’, which Those instructions on how to be Thai also change over is a kind of ‘Very Filipino’. The author, Gilda Cordero- time. In fact, tradition was always a work-in-progress. Fernando, provides some definitions helpful to interpret my Traditions weren’t fixed in a mythical golden age, but research. are snapshots from a centuries-long sequence of innovations, imports and adaptations. ‘Somewhere Thai’ Tool 8: Define. is somewhere flexible. Devise or cite structures and theories. For more credibility, I don’t plagiarise experts, but credit their ideas. So, is Thainess “unique” - which means unlike anything else - or is it, in the Thai slang, “same same, but different”? When structuring what I found about Thai pop, it helped to consider theories like Gilda’s. There are countless Thai examples of what she describes: • “Popisurban,alwaysacopyandhasacommercialelement. It is greatly influenced by technology and mass media and therefore easily recognizable - except to those who practice it and therefore take it seriously.” • “Pop is different from ‘folk’, which is rural, traditional, communalandalotmoreinnocent.It’sdifferentfromethnic, which is also all the above, but comes from the minority groups.” • “The elite thinks popular culture is low brow and looks down on it because pop is often stereotyped and sometimes quite kitsch.”
132
ผู้เขียนบทความ Philip Cornwel-Smith philcornwelsmith@me.com
ช่างภาพชาวอังกฤษผูซ้ ง่ึ วันหนึง่ ได้มโี อกาสเดินทางมายังประเทศไทย และด้วยมุมมองต่อประเทศไทยผ่านแว่นตาสัญชาติองั กฤษ เขาค้นพบความงามและความง่ายในดีไซน์และฟังก์ชน่ั แบบ “ไท้ไทย” อาทิ การดูดน้�ำ หวานเย็นใส่ถงุ พลาสติกหูหว้ิ หรือการดัดแปลง รถแบบญี่ปุ่นให้กลายมาเป็นรถตุ๊กตุ๊กแบบไทยๆ เขาเฝ้ามองอย่างหลงใหลอยูห่ ลายปี จนกระทัง่ ความสนใจนัน้ ได้ตกตะกอนออกมาเป็นหนังสือพ็อกเก็ตบุก๊ “Very Thai” ทีฮ่ ติ ติดชาร์ต เบสต์เซลเลอร์ไปหลายสำ�นัก ซึง่ เล่าถึงงานดีไซน์แบบไทยรากหญ้า ทีเ่ ขาว่าสามารถผสมผสานเอาวัฒนธรรมดีไซน์จากชาติอน่ื ๆ เข้ามาหลอมรวมกับความเป็นไทยได้อย่างลงตัวและน่าทึ่ง
อัตลักษณ์ไทย ว่าด้วยการมีชีวิตอยู่ในอนาคตในฐานะสิ่งปกติ อนุสรณ์ ติปยานนท์
เช้าวันเสาร์ทผ่ี า่ นมา ผมได้รบั โทรศัพท์จากเพือ่ น - มีบทความทีน่ า่ สนใจในหนังสือพิมพ์เช้านีก้ นั คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ส�ำ หรับนาย - ผมจดบันทึกย่อๆ ถึงชื่อหนังสือพิมพ์และคอลัมน์ ก่อนจะลงมือทานอาหารเช้า ทำ�ความสะอาดเสื้อผ้าที่กองอยู่กลางบ้าน แต่กลางอาทิตย์ รอร้านแก๊สมาส่งถังแก๊สแทนแก๊สที่หมด ล้างไส้กรองน้ำ�และเมื่อผมไปถึงแผงหนังสือหนังสือพิมพ์ในตอนเที่ยง คำ�ตอบที่ได้รับคือ - ไม่มีฉบับวันเสาร์เหลืออีกต่อไปแล้ว เรามีแต่ฉบับวันอาทิตย์เท่านั้น หนังสือพิมพ์ฉบับวันเสาร์วางแผงแล้ว ตั้งแต่เมื่อวาน - ด้วยการไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา ผมเดินไปยังแผงถัดไปและถัดไป แต่คำ�ตอบที่ได้รับล้วนเป็นแบบเดียวกัน เราไม่มฉี บับวันเสาร์ขายอีกแล้ว มีแต่ฉบับวันอาทิตย์เท่านัน้ - แต่วนั นีเ้ ป็นวันเสาร์ ผมฝืนเสียงยืนยัน ถูกต้องครับ - ชายคนขายตอบ แต่ในโลกของคุณและผมเท่านั้น ไม่ใช่ในโลกของหนังสือพิมพ์ ขณะนัง่ อยูท่ ่ีโต๊ะกาแฟทีบ่ า้ นในบ่ายวันนัน้ หลังความผิดหวัง ผมก็พบว่าหาได้มแี ต่โลกของหนังสือพิมพ์ไทยเท่านัน้ ทีอ่ ยู่ในอนาคต นอกเหนือความเป็นจริง สังคมไทยแทบจะโดยรวมเป็นสังคมที่ดำ�รงอยู่ในอนาคต หาได้ดำ�เนินอยู่ในความจริงแห่งปัจจุบันไม่ ในยามเช้าเราตืน่ ขึน้ ตัง้ แถวตักบาตร ด้วยความหวังว่าอานิสงส์แห่งการใส่บาตรนัน้ จะดลบันดาลให้เรามีชวี ติ ทีด่ ีในภายภาคหน้า อันหมายถึงการมองเห็นตนเองในอนาคตทีจ่ ะได้รบั ผลดีจากการกระทำ�เช่นนัน้ เราออกไปทำ�งาน ถ้าเป็นข้าราชการก็ท�ำ งานด้วย ความตั้งใจว่าเมื่อเกษียณตนเองแล้วจะได้รับผลตอบแทนจากการทำ�งานนี้ ถ้าเป็นงานเอกชนก็หวังในโบนัสสิ้นปี เราดำ�รงอยู่ใน ความวาดหวังในเวลาที่มาไม่ถึงอยู่เสมอ และการที่เราไม่รู้สึกมันนั้น คำ�ตอบง่ายๆ ก็คือ เพราะว่าเราล้วนดำ�รงตนอยู่ในอนาคต จนเป็นดังสิ่งปกติไปแล้ว จริงอยูอ่ าจมีค�ำ พูดว่ามีสงั คมใดบ้างหรือที่ไม่มกี ารคาดหวังถึงอนาคตบ้าง แม้แต่ชนชาวตะวันตกพวกเขาล้วนมีระบบสวัสดิการทีด่ ี อันหมายถึงการอยู่ในอนาคตเช่นกัน นั่นเป็นเรื่องจริง ทว่าความแตกต่างอยู่ตรงที่เขาไม่เคยเอาเวลาแห่งอนาคตมารวมกับเวลา ในปัจจุบนั พวกเขาไม่มหี นังสือพิมพ์เช้าวันอาทิตย์อา่ นในเช้าวันเสาร์ พวกเขาไม่มภี าพยนตร์ DVD ออกมาก่อนทีภ่ าพยนตร์จริง จะฉายในโรง และพวกเขาไม่มีเกมคอมพิวเตอร์รุ่นล่าสุดให้เล่นก่อนที่มันจะวางตลาด คติวา่ ด้วยการดำ�รงอยู่ในอนาคตของสังคมไทย -สำ�หรับผมแล้ว- น่าจะเกิดจากสองหนทางด้วยกัน คติหนึง่ นัน้ เกิดจากกระบวนการ การออกแบบสิง่ ของเครือ่ งใช้ในชีวติ ประจำ�วันทีป่ ระณีตและซับซ้อนเกินจริง ส่วนคติอกี ทางหนึง่ นัน้ เกิดจากวัฒนธรรม ในการออกแบบ นัน้ มีด�ำ รัสจากสมเด็จกรมพระยานริศ-รานุวตั วิ งศ์ผถู้ อื ว่าเป็นนายช่างใหญ่แห่งกรุงสยามด้วยซ้�ำ ว่าช่างทีด่ นี น้ั จะต้องทำ�งานดังกินข้าว แล้วรีดทุกอย่างให้ออกมาดังเม็ดเหงื่อ ด้วยคำ�กล่าวนี้เองช่างไทยจึงทำ�งานอย่างสุดฝีมือดังจะทอดทิ้งให้คนที่ได้พบเห็นจดจำ� ในแม้งานชิ้นนั้นจะมีอายุสั้นเพียงใดก็ตาม ดังการแกะสลักผลไม้อย่างสวยงามในมื้ออาหารสมัยก่อนเพียงเพื่อที่มันจะถูกกิน ในเวลาอันรวดเร็ว การประดิษฐ์กระทงหรือกรวยตองอย่างงดงามเพือ่ เข้าร่วมพิธกี รรมทางศาสนาก่อนทีม่ นั จะถูกทิง้ ร้างไว้ขา้ งทาง ในเวลาต่อมา การใช้เวลาในการผลิตอันยาวนานเมือ่ เทียบกับเวลาในการบริโภคอันกระชัน้ สัน้ นัน้ คือการหยิบยืมเวลาแห่งอนาคต มาใช้ คติที่สองนั้นมาจากวัฒนธรรมไทยที่มีรากฐานมาจากพุทธศาสนา การมองเห็นสิ่งต่างๆ ว่ามีเหตุและผลซึ่งกันและกันดังที่ เราเรียกขานว่าอิทปั ปัจย-ตา อนาคตนัน้ เป็นผลจากปัจจุบนั และปัจจุบนั เป็นผลมาจากอดีต ความเชือ่ ในชีวติ หน้าทีจ่ ะต้องเกิดขึน้ เพื่อรับผลการกระทำ�จากชีวิตนี้ ทำ�ให้เวลาสำ�หรับสังคมพุทธมีลักษณะเชิงเหตุผล แต่กระนั้นมันก็ต่างจากเวลาที่พุ่งไปข้างหน้า
134
ดังเวลาในอารยธรรมตะวันตกที่เกิดขึ้นจาก Big Bang แล้วเดินทางต่อไปเรื่อยๆ หรือเวลาในคริสต์ศาสนาที่มีจุดจบอยู่ที่ การได้เข้าร่วมกับพระเจ้าในสรวงสวรรค์ เวลาในพุทธศาสนาเดินทางไปข้างหน้าก็จริงแต่มันมีช่วงสิ้นสุด และกลับเริ่มต้นขึ้นใหม่ ในลักษณะเดิมดังทีเ่ ราเรียกว่ากัปป์หรือกัลป์ อุปมาของกัปป์หรือกัลป์ทเ่ี ปรียบดังภูเขาลูกใหญ่ทม่ี เี ทพยดาองค์หนึง่ ใช้ผา้ ทีเ่ นือ้ ละเอียด ค่อยๆ กวาดจนภูเขานัน้ สลายไป และจะมีภเู ขาลูกใหม่งอกขึน้ มาให้กวาดไม่สน้ิ สุดนัน้ ทำ�ให้เวลาในสังคมไทยนัน้ ทีแ่ ท้แล้วมีลกั ษณะ ดังก้นหอยที่ซ้อนทับกันอยู่เป็นชั้นๆ หาได้แยกขาดจากกันไม่ การซ้อนทับของเวลาทีว่ า่ นีท้ �ำ ให้สงั คมไทยมีนาฬิกาสองเรือนเดินอยูพ่ ร้อมๆกัน นาฬิกาเรือนหนึง่ คือนาฬิกาที่ใช้รว่ มกันในสังคม หรือ Public Clock ในขณะทีน่ าฬิกาอีกเรือนหนึง่ นัน้ คือนาฬิกาส่วนตัวของเราหรือของสิง่ ใดสิง่ หนึง่ ทีเ่ รียกว่า Private Clock หรือ Individual Clock เช่นเวลาในโลกของหนังสือพิมพ์หรือเวลาในกลุ่มชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สำ�หรับคนที่เคยเดินทางไปภาคใต้ ของประเทศไทยย่อมเคยประสบปัญหากับคำ�เรียกเวลา เมื่อใครคนใดเอ่ยเวลานัดหมายเป็น-ตี เช่นตีหนึ่งหรือตีสอง-เพราะมัน อาจหมายถึงเวลาในยามค่�ำ และยามบ่ายพร้อมๆ กัน สัญลักษณ์ด้านเวลาบนร่างกายที่น่าสนใจอย่างยิ่งในเอกลักษณ์ ไทยคือการไว้จุกหรือมวยผมบนศีรษะ สำ�หรับเด็กคนหนึ่งจุกนั้น จะไว้นับแต่แรกเกิดและจะถูกตัดออกในเวลาที่ถูกกำ�หนดไว้ล่วงหน้าในอนาคต การแบกสัญลักษณ์เช่นนี้ไว้บนหัวอันเป็นส่วน ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ของร่างกายเป็นนัยยะแสดงถึงการมีเวลาติดตัว พวกเขายังเป็นเด็กทีแ่ สดงด้วยจุกอันเป็นเวลาในปัจจุบนั แต่ในขณะเดียวกัน มันก็แสดงสัญลักษณ์ของผูพ้ ร้อมจะเป็นผูใ้ หญ่ดว้ ยขนาดจุกทีข่ ยายตัวขึน้ ทุกปีอนั เป็นเวลาในอนาคต การดำ�รงอยูแ่ ละการซ้อนทับ ของเวลาทัง้ สองนับแต่เด็กแบบเป็นการบ่งบอกว่าเราควรยอมรับความจริงทีว่ า่ นีข้ องเวลาในสังคมไทยและจะต้องอยูร่ ว่ มกับมันให้ได้ ด้วยเหตุน้ี ผมจึงรูส้ กึ ว่าได้เวลาลุกจากโต๊ะกาแฟเสียทีและควรออกไปซือ้ หนังสือพิมพ์ของฉบับวันรุง่ ขึน้ เพือ่ เสพข่าวสารแห่งอนาคต
ผู้เขียนบทความ อนุสรณ์ ติปยานนท์ (Anusorn Tipayanon) frontfirework@hotmail.com
อนุสรณ์ ติปยานนท์ จบการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมจาก University College London และด้านออกแบบอุตสาหกรรมจาก Domus Academy Italy ปัจจุบนั เป็นนักเขียนทีม่ ผี ลงานทัง้ นวนิยาย, บทกวี, ความเรียง, งานแปลและบทความในนิตยสารอย่างต่อเนือ่ ง รวมถึงเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง
Good Taste / Bad Taste, High Art / Low Art, Kitsch / Modern, Normal / Super-Normal / Beauty / Unbeauty… ประธาน ธีระธาดา เขียนถึง วรุตม์ ปันยารชุน
Good Taste / Bad Taste, High Art / Low Art, Kitsch / Modern, Normal / Super-Normal / Beauty / Unbeauty…
Moderndog Record Sleeves
คำ�พวกนี้ล้วนใช้อธิบายงานสร้างสรรค์ ของ วรุตม์ ปันยารชุน ได้ค่อนข้างชัดเจน ความเป็นไทยในความเป็น วรุตม์ ปันยารชุน มิได้อยูใ่ น รูปลักษณ์หรือรูปแบบ แต่เป็นเนื้อหาที่บรรจุอยู่ใน ผลึกความคิดที่เขาสั่งสมมาจากประสบการณ์และ สิง่ แวดล้อมตัง้ แต่เด็กจนโต (แม้ในความเป็นจริง วรุตม์ ไม่เคยโต!) วรุตม์ เป็นนักเล่าเรื่องที่สนุกคนหนึ่งใน วงการออกแบบไทย เขาชอบเล่าเรือ่ งง่ายๆ ไม่ซบั ซ้อน แฝงอารมณ์ขันและจินตนาการที่กว้างใหญ่ เวิ้งว้าง ชวนให้ตีความกันต่อได้อย่างอิสระ... ในงานออกแบบปกอัลบัม้ แรกของ Moderndog (เสริมสุขภาพ) เขาได้รบั แรงบันดาลใจมาจากแนวทางของ Vernacular Art หรือ ศิลปะแบบบ้านๆ สือ่ สารกับสังคมด้วยภาษาชาวบ้าน ผสมผสานกับรูปแบบปกแผ่นเสียงเพลงจีนและปกอัลบัม้ Some Girls ของ Rolling Stone แม้งานชุดนี้ในยุคนั้นจัดเป็นงานก้าวหน้าที่แตกต่างไปจากเพลงในกระแสความนิยมโดยสิ้นเชิง แต่วรุตม์ และ เบเกอรี่กล้าพอที่จะเล่นกับความเชยที่มีเส้นบางๆ กั้น ระหว่างรสนิยมดีกับรสนิยมห่วยแตก! รูปแบบการนำ�เสนอภาพลักษณ์ของ Moderndog ในอัลบั้มแรก ใช้เทคนิคการทับซ้อนเหมือนงานตัดปะของเด็กอนุบาล อย่างที่บอกแหละ เส้นระหว่างเด็กอนุบาลกับศิลปินระดับโลกก็อยู่แค่นี้เองด้วย งานนี้จึงทำ�หน้าที่วิพากษ์สังคมศิลปะ และ สังคมมนุษย์เดินดินไปในตัว เหมือนกับตัง้ ใจจะเชือ้ เชิญให้คนเข้าหาศิลปะมากขึน้ เห็นมัย้ ไม่ยากหรอก! เช่นเดียวกัน นัยยะของ การสื่อสารมุ่งไปสู่เพลงในอัลบั้มด้วยว่า น่าลอง! และอาจสร้างความประหลาดใจให้กับคุณได้เช่นกัน... ภาพหลักที่นำ�มาใช้นั้น วรุตม์ นำ�มาจากนิตยสารเก่า มีรปู แบบการพิมพ์ Offset ไม่ละเอียดนัก เมือ่ นำ�มาผสมกับภาพประหลาดๆ พิศดารต่างๆ แล้วใช้ เทคนิคการพิมพ์สมัยใหม่ มีการปูสีเงิน (Metalic) ใช้ Packaging ที่มี Function ซับซ้อนขึ้น กลายเป็นว่าภาพเหล่านี้กลายเป็น วัฒนธรรมร่วมสมัยที่ไม่อาจระบุยคุ สมัยทีแ่ น่นอนได้ ประเด็นนีช้ ดั เจนมากแม้จะเริม่ ต้นมาจากความคิดง่ายๆ ในการนำ�เสนอบางสิง่ ที่แตกต่างไปจากรูปแบบทั่วไปที่มีอยู่ในตลาดขณะนั้น
136
มาถึงปกอัลบัม้ Moderndog ชุดต่อมา Cafe และ ซิงเกิล้ “รูปไม่หล่อ” วรุตม์ ยังคงเล่นกับเนือ้ หาเดิม ที่แข็งแรงมากอยู่แล้ว แต่เขากล้าพอที่จะขยับ ก้าวให้ไกลออกไป อีกทัง้ ทีม่ หี นทางทีป่ ลอดภัยกว่า เพื่ อ คอยเก็ บ ความสำ � เร็ จ ต่ อ จากอั ล บั้ ม แรก วรุตม์ เลือกใช้รูปแบบของ Kitsch Art ซึ่งเป็น งานศิลปะทีด่ ูไร้คา่ ไร้รสนิยม พร้อมกับคอนเซ็ปต์ “คุณไม่สามารถที่จะตัดสินรสนิยมของใครด้วย รสนิยมของคุณได้” โดยความตั้งใจงานชุดนี้จึงดู ซื่อ ไร้เดียงสา ไร้ชั้นเชิง เหมือนขาดทักษะ ทางศิลปะ ด้วยความคิดทีจ่ นิ ตนาการขึน้ มาเล่นๆ ว่าถ้าหากชาวบ้านธรรมดาๆ ที่เคยออกแบบแต่ ป้ายปิดทองลูกนิมิตร เกิดต้องมาใช้คอมพิวเตอร์ Macintosh, Filter และเทคโนโลยีทันสมัยต่างๆ ในการทำ�งานแล้ว รสนิยมของนักออกแบบชาวบ้าน จะรวมกับเทคโนโลยีล้ำ�สมัย ออกมาเป็นรูปแบบ ใดกัน ภาพสไลด์ท่ใี ช้เป็นงานสำ�เร็จรูปทีซ่ อ้ื มาจาก ร้านศึกษาภัณฑ์ รายละเอียดอืน่ ๆ ก็ตง้ั ใจให้ดู “ด้อย” เต็มไปด้วยอารมณ์ดิบ ขาดความละเมียดละไม บวกกั บ ตั ว อั ก ษรที่ ดู ไ ร้ ร สนิ ย มมาประกอบกั น ในขณะที่ปกซิงเกิ้ล “รูปไม่หล่อ” เล่นกับการ ล้ อ เลี ย นความนิ ย มถ่ ายภาพกั บ สถานที่ สำ� คั ญ ด้วยความตัง้ ใจให้ดสู ามัญเอามากๆ ตามแนวทางที่ ปูเอาไว้มาตั้งแต่ชุดแรก ภาพถ่ายกับเสาชิงช้า จากด้านข้าง เป็นภาพที่ดูแปลก และแตกต่าง บางคนอาจดูนา่ ขัน ในขณะทีบ่ างคนอาจพยายาม หาความหมายทีซ่ อ่ นเร้นอยูอ่ ย่างเอาเป็นเอาตาย...
137
Wallpaper / High Fever Visual Inspiration from His Majesty Sounds
วรุตม์ เคยมีงาน Visual ทีน่ า่ สนใจตีพมิ พ์ในนิตยสาร Wallpaper ในชื่อชุด High Fever ซึ่งนำ�มาจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ งานชุดนี้จัดเป็นงานที่ สะท้อนความคิดไทยๆ (แบบวรุตม์) อีกชิน้ หนึง่ ทีเ่ ล่าเรือ่ งแบบ เรียบง่ายแต่มคี วามลึก เปิดกว้างให้ผชู้ มร่วมแบ่งปันความรูส้ กึ ในเนื้อหาที่เขานำ�เสนอผ่านการจัดองค์ประกอบ และที่ว่าง อันแม่นยำ�เหมือนไม่ได้วางแผน เหมือนไม่มีอะไรซับซ้อน แต่เต็มไปด้วยรายละเอียดที่ตัวเขาเก็บมาจากสิ่งรอบตัวนี่เอง นีแ่ หละความเป็นไทยที่ไม่ตอ้ งใช้ใจสัมผัสมากกว่าจะมองผ่านตา เนื้อเพียงลำ�พัง...
138
ผู้เขียนบทความ วรุตม์ ปันยารชุน (Waroot Phanyarachun) warootp@gmail.com
วรุฒม์ อ่านนิตยสาร Creative Review และอยากแต่งตัวเท่ด้วยแบรนด์ Greyhound ตั้งแต่อยู่ ม.3 ยามว่างตอนเรียนที่ คณะครุศาสตร์ สาขาศิลปศึกษา เขาแข่งกับเพือ่ นในก๊วนทายชือ่ ศิลปิน และผลงานของศิลปินระดับโลกในหนังสือประวัตศิ าสตร์ศลิ ป์ จนท่องจำ�ได้ขึ้นใจ เริ่มออกแบบปกเทปให้ค่ายเบเกอรี่มิวสิกด้วยความตั้งใจให้ปกเทปไทยเท่ไม่แพ้เมืองนอก ด้วยความคิดแบบแสบซ่าทำ�ให้เขาถูกขนานนามในเวลาต่อมาว่า ดีไซเนอร์ผู้พลิกโฉมปกซีดีไทยไปโดยปริยาย แต่ถึงจะ ได้รบั การยอมรับคนในวงการออกแบบมากแค่ไหน ความใฝ่ฝนั ของเขาก็ยงั คือการได้ไปถือเครือ่ งชงกาแฟของ Peter Saville อยูด่ ี ปัจจุบนั เขามีสตูดโิ อออกแบบชือ่ WAWO ร่วมกับ วรวุฒิ ลีวฒ ั นะ ดีไซเนอร์คหู่ แู ละได้จดั แสดงนิทรรศการเดีย่ วครัง้ แรกอย่างประณีต และตั้งใจ
ปรัชญาแห่งความดีงาม นัทส์ โซไซตี้
หากสังเกตความงดงามของภาษาทีถ่ กู ใช้ในชีวติ ประจำ�วันของคนไทยในทุกมิตติ ง้ั แต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบนั ทัง้ มิตขิ องครอบครัว ความเชือ่ วิถพี ทุ ธ คุณธรรมจริยธรรม การค้าขาย ฯลฯ จะพบว่าปรัชญาแห่งความดีงามของคนไทยถูกแสดงออกภายใต้รปู ลักษณ์ ของภาษาเพือ่ ถ่ายทอด สือ่ สาร และสืบทอดกันจนหล่อหลอมเป็น “วัฒนธรรมแบบไทย” ทีอ่ าจเรียกได้วา่ เป็นองค์ประกอบหนึง่ ของ อัตลักษณ์ไทยโดยรวม งานออกแบบเพือ่ การสือ่ สาร (ทัง้ งานทีอ่ อกแบบโดยคนทัว่ ไปและออกแบบโดยนักออกแบบ) ซึง่ ปรากฏใน วิถชี วี ติ ประจำ�วันในรูปแบบทีห่ ลากหลายเหล่านี้ ล้วนสะท้อนถึงปรัชญาแห่งความดีงามอันเป็นสำ�นึกและพืน้ ฐานในจิตใจทีส่ �ำ คัญ ของคนไทยและความเป็นไทย
แบบเรียนรู้ใหม่ กขค (กขค: A Learning Reform), 2000 - Present
140
ผู้เขียนบทความ นัทส์ โซไซตี้ (Nuts Society) nutssociety@yahoo.com
กลุม่ คนทีต่ ระหนักในความเป็นไปของโลกและต้องการมีสว่ นร่วมในการพัฒนาโลกอย่างมีสาระ และมีความหมาย จุดมุง่ หมายหลัก ในการรวมตัวกันของกลุ่มสำ�นึกสู่สังคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 มิได้สิ้นสุดอยู่ที่ผลลัพธ์แห่งการสร้างสรรค์วัตถุทางศิลปะและ การออกแบบเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นการนำ�เสนอและสอดแทรกความคิดหรือปรัชญาที่สะท้อนถึงตรรกะความจริงบางอย่าง โดยอาศัยกระบวนการสร้างสรรค์ทางศิลปะและการออกแบบเข้าไปมีส่วนในการสร้างสรรค์สังคม ให้คนทั่วไปสามารถรับรู้ได้ง่าย โดยผ่านกิจกรรมหรือผลงานที่สอดแทรกเข้าไปกับวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม
ร่ม ขวัญชัย อัครธรรมกุล
ในหนึง่ ชีวติ ของคนทุกคนจะมีเป้าหมายทีว่ างเอาไว้เพือ่ ทีจ่ ะเดินไปให้ถงึ อาจจะเป็นความสงบสุข ความอบอุน่ การประสบความสำ�เร็จ ในหน้าที่การงาน อาจจะมีบางคนที่กำ�ลังเดินทางไปหามัน หรืออาจจะมีบางคนที่พยายามปล่อยให้เป้าหมายหลุดลอยไป อย่างน่าเสียดาย “ร่ม” เป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงสิ่งที่อยู่ในจิตใจของเราเมื่อเราอยู่กับเป้าหมายที่เรากำ�หนดไว้ เพราะความเชื่อว่าเมื่อเราได้สิ่งนั้น มาครอบครองจะทำ�ให้รู้สึกอุ่นใจ ปลอดภัย หรือมีความสุขต่างกันไป แต่ในบางเป้าหมายก็ไม่สามารถทำ�ได้โดยลำ�พัง จะต้อง อาศัยการร่วมแรงร่วมใจเพือ่ ทีจ่ ะฝ่าฟันอุปสรรค สำ�หรับเรามองว่าเมืองไทยนัน้ จริงๆ แล้วเป็นเมืองทีน่ า่ อยู่ จะเห็นว่าคนทีเ่ รารูจ้ กั นัน้ ส่วนใหญ่เป็นคนอัธยาศัยดี มีน้ำ�ใจ เกื้อกูล แค่สิ่งนี้ก็ทำ�ให้เรารู้สึกได้ว่าสิ่งที่มีอยู่ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป เรายังคงใช้ชีวิต อย่างมีความสุขได้ในทุกๆ วัน “ร่ม” สำ�หรับเราคงจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำ�ให้เป้าหมายข้างหน้าของเราชัดเจนขึ้น แล้ว “ร่ม” สำ�หรับคุณนั้นหมายถึงอะไร?
สื่อวีดิทัศน์จากงานประชุม ซัมแวร์ไทย
142
ผู้เขียนบทความ ขวัญชัย อัครธรรมกุล (Kwanchai Akkaratammagul) pomme@thevi.org
จบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ขณะที่ยังเรียนชั้นปีที่ 4 ได้มีโอกาส ฝึกงานทีบ่ ริษทั Apostrophys The Synthesis Server ซึง่ เป็นกลุม่ ทีท่ �ำ งานออกแบบในเชิงสถาปัตยกรรม มีผลงานมากมายในด้าน การออกแบบโครงสร้างสำ�หรับคอนเสิรต์ อีเว้นต์ Interactive Lighting Design และ Visual Jocky ขณะทีท่ �ำ งานได้มสี ว่ นร่วมในการ ทำ�งานที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ Motion Graphic, Lighting Design and Programming, Interactive, Visual Jockey และ Lighting Jockey สำ�หรับคอนเสิร์ต ทำ�ให้ค้นพบว่าตัวเองสนใจงานประเภท Screen Base และ Media Installation มากกว่า งานสิ่งพิมพ์ เคยได้มีโอกาสทำ�งานในโปรเจคต่างๆ มากมาย อาทิ TOT Pavillion (ITU Telecom Asia 2008) ในส่วนของ Motion Graphic, Red Label (Adventure in The Glass), Coke Festival 2008, คอนเสิร์ต อัสนี-วสันต์ ในส่วนของ Lighting Programming and Jockey และงานเปิดตัว เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ในส่วนของ Interactive และ Lighting Programming หลังจากที่จบปริญญาตรี ได้เป็นอาจารย์พิเศษที่คณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาโฆษณา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และได้ร่วมก่อตั้ง บริษัทออกแบบในนามว่า Studio Craftsmanship ดำ�รงตำ�แหน่งดีไซน์ ไดเร็คเตอร์ โดยเน้นงานที่ตนเองและทีมให้ความสนใจ เช่น Motion Graphic, Visual Jockey, Interactive และ Identity Design และได้มีผลงานต่างๆ ร่วมกับแบรนด์ต่างๆ มากมาย อาทิ ธนาคารไทยพาณิชย์, แป้งอังกฤษตรางู, Brands, Honda, MTV, Visual Jockey คอนเสิร์ตเปิดตัวคลื่นวิทยุ PD Radio, Spot TVC Vampire Weekend Live in Bangkok, มีสว่ นร่วมในการทำ� Motion Graphic ในคอนเสิรต์ Bodyslam Live in Kraam, Identity Design ให้กับโครงการ heART to Heart (ศิลปะเพื่อความหวัง ความสุข และความรัก) และอื่นๆ อีกมากมาย
Born a Thai, Always a Thai เศรษฐพงศ์ โพวาทอง
คนไทยมีลกั ษณะและวิธคี ดิ บางอย่างทีเ่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นอย่างยิง่ ไม่วา่ เราจะยอมรับหรือไม่กต็ าม ลักษณะและวิธคี ดิ เหล่านี้ เหมือนยีนที่ถ่ายทอดทางสายเลือด แม้แต่ในตัวงานศิลปะ งานออกแบบที่เราทำ�ก็ตาม แม้เราจะเรียนและทำ�ด้วยวิธีการและ พื้นฐานแบบตะวันตก
แต่ลึกๆ แล้ว วิธีคิดของเราก็ยังคงเป็น คนไทย ความเป็นไทยทีไ่ ม่ได้หมายถึงการ ใส่ชฎา เสือ้ ม่อฮ่อม โจงกระเบนเสมอไป นั้นได้สอดแทรกอยู่ภายในตัวงานที่ถูก เคลือบด้วยสไตล์ตะวันตก ไม่จ�ำ เป็นเลย ทีจ่ ะต้องพยายามเป็นตะวันตกหัวจรดเท้า เพราะลึกๆ แล้ว อย่างไรเราก็ไม่ใช่ฝรั่ง ต่อให้ไปใช้ชวี ติ อยูเ่ มืองนอกนานปีกเ็ ถอะ พอกลับมาเมืองไทยเห็นร้องหาส้มตำ� ออกเยอะแยะ ใช้ความเป็นไทย ความ ประณีตงดงาม เสน่ห์ และอารมณ์ขัน แบบไทย เข้าไปผสมผสานในงาน แล้ว แสดงให้ โ ลกเห็ น ด้ ว ยความภู มิ ใ จของ เราเถอะ!
144
ผู้เขียนบทความ เศรษฐพงศ์ โพวาทอง (Sethapong Povatong) sethapongbond@yahoo.com
เศรษฐพงศ์ โพวาทอง ศิษย์เก่าครุอาร์ท จุฬาฯ, Central St. Martins และ Chelsea College of Art & Design คือ นักคอลลาจตัวจริง ผูม้ พี น้ื ฐานมาจากงานออกแบบภาพประกอบและนิตยสาร แม้วา่ 12 ปีทผ่ี า่ นมา เขาจะทำ�งานบรรณาธิการนิตยสารเป็นอาชีพหลัก ก็ตาม (Katch, Mono, ARENA, FHM) แต่กย็ งั ใช้เวลาว่างสร้างงานคอลลาจออกมาอย่างสม่�ำ เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ตัง้ แต่ปี 2002 เป็นต้นมา Perfect Dreams ผลงานรวมเล่มของเขาซึ่งจัดพิมพ์โดยสำ�นักพิมพ์ a book เมื่อปี 2005 ได้ถูกนิตยสาร Dazed & Confused Japan เลือกให้เป็น 1 ใน 100 Inspiration Artist Books จากรอบ 40 ปี (1968-2008) อีกด้วย เขาชื่นชอบงาน Pop Art หลงใหลในเสน่ห์ของความ Kitsch และสไตล์ของภาพเขียนเก่า นั่นคือที่มาของการนำ�ภาพจาก หลากยุคสมัยต่างสไตล์มาผสมผสานกันเป็นเรือ่ งราวใหม่ ในงานคอลลาจทีด่ สู นุกสนานตืน่ เต้น สอดแทรกอารมณ์ขนั แบบตลกร้าย และการเสียดสีอยู่ในภาพสีสันสดใส มากด้วยรายละเอียดอันประณีตงดงามซับซ้อน ปกคลุมด้วยความรู้สึกเหมือนจริงจากการ ใช้ภาพต่างๆ จากหลากหลายยุคสมัยให้มาอยู่ร่วมกันได้จนแทบแยกไม่ออกระหว่างภาพแห่งความจริงกับความฝัน
Tiger Beer Limited Bottles “Soul” Campaign ปรีชา อิศราภิวัฒน์
แคมเปญของขวดลิมเิ ต็ด “Soul” ที่ 8e88 Graphic ออกแบบให้กบั เบียร์ไทเกอร์ ซึง่ ได้น�ำ ความเป็นไทยไปอวดสายตาในงานแสดง Tiger Translate ปี 2009 ที่ โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก, ซิดนีย์ ออสเตรเลีย และวางขายทั่วทั้งเกาะสิงคโปร์ในบาร์ระดับพรีเมี่ยม Theme ของตัวชิ้นงานได้น�ำ ไปใช้ในหลากหลายสื่อ เช่น ห่อหุ้มรถโฟล์กตู้ (VOLK KOMBI), หัวนิตยสาร JUICE ฉบับสิงคโปร์, รวมไปถึงโฆษณาทางหน้านิตยสาร การคิดรูปแบบในการนำ�เสนอชนิดซื่อๆ ไม่ต้องขมวดปมหรือตัดทอนโครงสร้างหลายชั้นคือภาพรวมของงานชุดนี้ ลวดลายไทย คลาสสิคสมัยอยุธยา เป็นการตัดทอนโครงสร้างหลายร้อยปีจนลงตัวในรูปแบบของมันเองจนอาจจะแตะต้องเปลี่ยนแปลงได้ยาก บางครัง้ โครงสร้างก็อาจจะไม่ตอ้ งเปลีย่ นหรือตัดทอนอะไรมากมาย เพียงแต่ใช้การร้อยเรียงจัดวางใหม่ดว้ ยความผสมผสานกลมกลืน กับความป๊อปที่ดูเชยๆ ของรูปแบบ และสีสันจัดๆ ยุค 80 ที่ผู้ออกแบบเติบโตมา ก็ทำ�ให้งานดูแปลกตาในอีกลักษณะหนึ่ง
146
ผู้เขียนบทความ ปรีชา อิศราภิวัฒน์ (Preecha Israphiwat) info@8e88.com
ปรีชา อิศราภิวฒ ั น์ จบการศึกษาจากแผนกวิชาพาณิชยศิลป์ วิทยาลัยเพาะช่าง ปัจจุบนั เป็นนักออกแบบอิสระภายใต้สตูดโิ อเล็กๆ ของตัวเองที่ชื่อว่า “8e88 Graphic” รับงานกราฟิกทั่วไปในสื่อสิ่งพิมพ์, เว็บไซต์, ภาพประกอบ และร่วมงานกับกลุ่มเพื่อนๆ เพื่อผลิตภาพยนตร์สั้น, มิวสิควิดีโอ ภายใต้ทีมเล็กๆ ที่ชื่อ “heartworks” ผลงานที่ผ่านมา เช่น Nissan, Samsung, Isuzu, Canon รวมไปถึงอาร์ตโปรเจคของเบียร์ ไทเกอร์ อย่างงาน Tiger Translate ผลงานที่ชื่อ “Soul” ซึ่งเป็นชิ้นงานออกแบบขวดเบียร์ Limited Edition ให้กับเบียร์ ไทเกอร์ที่มีโอกาสได้นำ�ไปวางจำ�หน่ายใน หลายๆ เมืองทัว่ โลก นอกจากนีผ้ ลงานอืน่ ๆ ยังได้รบั การเผยแพร่ในนิตยสารและหนังสือรวมผลงานการออกแบบทัง้ ในและนอกประเทศ
กวักกรรม ธัชพงษ์ พรหมเวช
ฝนตกรถติดปัญหาต่างๆ ในเมืองหลวงอันแสนจะวุน่ วายของเรา ซึ่งทุกคนมองว่ามันเป็นเรื่องอันแสนจะปกติ แต่สิ่งที่ไม่ปรกติ อาจจะเป็นความรู้สึกในใจของคนเมือง
“ความรู้สึกในใจของคนเมืองอาจจะเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่แปลกไปมันอาจจะเป็นตัวคุณ”
งานชิ้นนี้มีชื่อว่า “กวักกรรม (ตอน เวรกรรมทู ไทยแลนด์)” ซึ่งได้จัดขึ้นในงาน (PAD) People Alliance for Design พันธมิตรประชาชนเพือ่ การออกแบบ โดยนักออกแบบหลายๆกลุม่ ซึง่ เราเป็นส่วนหนึง่ ของงานนี้ และต้องการเล่นกับพืน้ ทีเ่ พือ่ สังเกต ปฏิกริ ยิ าของผูค้ น ดังนัน้ จากความคิดทีว่ า่ คนในกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ มีชีวิตที่วุ่นวาย ผู้คนไม่สนใจกัน โดยการตั้งคำ�ถามว่าถ้าเกิดมี คนตายกลางทีล่ าน Park Paragon ปฏิกริ ยิ าของคนจะเป็นอย่างไร ซึ่งผลที่ได้คือ ไม่มีคนคิดแม้แต่จะเข้ามาช่วย มีคนมามุงดู หัวเราะ ขำ�ขันกัน ซึง่ สะท้อนอะไรบางอย่างในความคิดของผูค้ น ที่มองทุกเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตนเองไม่สำ�คัญไปซะหมด ผู้เขียนบทความ
ธัชพงษ์ พรหมเวช (Thachapong Promved) gumdow.studio@gmail.com
จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เคยมีประสบการณ์ทำ�งานร่วมกับ Practical Design Studio, Reflexible และ Ductstore ปัจจุบัน ธัชพงษ์ เป็นกราฟิกดีไซเนอร์ และนักวาดภาพประกอบอิสระที่ใช้ชื่อว่า GUMDOW.studio
ไทยเพราะคน ฟาร์มกรุ๊ป
เมือ่ ปี ๒๕๕๒ ทีผ่ า่ นมาทีส่ ตูดโิ อของเราได้มโี อกาสออกแบบงาน Installation ในห้างใหม่ลา่ สุดของทาง CPN ก็คอื ห้างเซ็นทรัล พลาซ่า ขอนแก่น แนวคิดของการออกแบบห้างๆนี้ ที่ทาง CPN และสถาปนิกได้พัฒนามาจนตกผลึกมาถึงพวกเราก็คือ “Icon of Isan” ทาง CPN มีความตั้งใจจะให้ห้างใหม่ที่ขอนแก่นนี้เป็นจุดศูนย์รวมของคนขอนแก่นและคนอีสานในจังหวัดใกล้ๆ ท้ายทีส่ ดุ แล้วทีส่ ตูดโิ อของเราได้ท�ำ ชิน้ งานไปทัง้ หมดหลายชิน้ ภายใต้ความคิด ๔ แบบหลักๆ งานทุกชิน้ ล้วนเป็นงานทีอ่ อกแบบออกมา โดยที่มีรากฐานความคิดที่จะนำ�เสนอความเป็นไทยแบบอีสานๆ ออกมาให้เกิดความสนุกสนานแบบบ้านๆ แต่ก็ไม่ละเลย ความร่วมสมัย งานชิ้นที่ผมอยากจะพูดถึงมีอยู่ชิ้นหนึ่งที่ภูมิใจอย่างมากถึงมากที่สุดตั้งแต่ทำ�งานมาเลยก็ว่าได้ งานชิ้นนี้ชื่อว่า “All Around Khonkaen” หรือมีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยว่า ขอนแก่น ๑๘๐ องศา ๑๙๘ ตำ�บล หลังจากการทีผ่ มไปสำ�รวจพืน้ ทีห่ น้าห้างเซ็นทรัลขอนแก่น ซึง่ ตัง้ อยูต่ รงหัวมุมถนนทีจ่ ะเลีย้ วรอดประตูเมืองเข้าไปในตัวเมืองขอนแก่น ผมได้ไปสะดุดกับพืน้ ทีต่ รงหัวมุมถนนนี้ และอยากจะสร้างชิน้ งานบางอย่างทีส่ ามารถล้อไปกับการสัญจรไปมาของผูค้ นและรถยนต์ ที่ผ่านหน้าห้าง ตัวชิ้นงานเป็นประติมากรรมตัวอักษร ๓ มิติ หรือ Typographic Sculpture ขนาดใหญ่คำ�ว่า “ขอนแก่น” ทีส่ ามารถอ่านได้ ๑๘๐ องศาจากมุมกว้าง โดยใช้มติ ทิ ส่ี ามมาเป็นตัวช่วย ตำ�แหน่งของงานชิน้ นีข้ องเราแทบจะสามารถทำ�หน้าที่ เป็นป้ายชื่อเมืองอันใหม่ของขอนแก่นเลยก็ว่าได้ ส่วนพื้นผิวของชิ้นงานแกะสลักชื่อตำ�บลทุกๆ ๑๙๘ ตำ�บลในจังหวัดขอนแก่น ทำ�ให้ผู้ชมได้เสพย์ชิ้นงานทั้งใกล้และไกล ทีผ่ มหยิบงานชิน้ นีม้ าก็เพราะเห็นว่ามันน่าจะมีความเป็นไทยอยูไ่ ม่นอ้ ย ทีเ่ ห็นชัดๆ คือการทีเ่ รานำ�เอาสมบัตขิ องชาติกค็ อื ภาษาไทย และตัวอักษรไทยมาใช้แบบตรงไปตรงมาคือคำ�ว่า “ขอนแก่น” เพราะเราคิดดูแล้วว่าไม่น่าจะมีคำ�ๆไหน ที่มีความหมายและพลัง ได้มากกว่าคำ�ๆนี้ แทนที่จะใช้คำ�อื่นเท่ห์ๆ ที่ีความหมายลึกซึ้งในแง่แนวคิด ไปๆ มาๆ ความเป็นไทยทีผ่ มพยายามมองหาในงานชิน้ นีข้ องมันกลับอยูท่ ่ี “คน” โดยแฝงอยู่ในนิสยั ของเราอยู่ในขัน้ ตอนการคิดงาน และการทำ�งานของเรา ซึ่งส่งผลกระทบและต่อยอดความคิด และพัฒนาออกมาเป็นชิ้นงานก็คิดจากนิสัยแบบคนไทยนี่แหละ เป็นการคิดแบบตรงไปตรงมาแบบไทยๆ คิดแบบไม่ออ้ มค้อมจะได้ไม่โดนสิง่ ไร้สาระถมแก่นของงาน คิดแบบคนไทยทีม่ นี สิ ยั เป็นมิตร และคำ�นึงถึงผูอ้ น่ื คิดรักษาน้�ำ ใจผูอ้ น่ื และอยากให้คนอืน่ มามีสว่ นร่วมและสนุกกับงานของเรา ไม่ได้คดิ จะทำ�เพือ่ สนองความต้องการ อะไรบางอย่างส่วนตัว คิดไปคิดมาแล้วส่วนประกอบสำ�คัญทีท่ �ำ ให้งานชิน้ นีส้ มบูรณ์กค็ อื คนไทยนัน่ เอง การทีม่ คี นไทยไปอ่าน เดิน นัง่ ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกและปฏิสัมพันธ์กับชิ้นงานของเรานี่แหละ จะทำ�ให้งานของเรามีความเป็นไทยที่สมบูรณ์อย่างที่เราหวังไว้
149
ผู้เขียนบทความ ฟาร์มกรุ๊ป (Farmgroup) graphicfarmbkk@gmail.com
บริษัทออกแบบเล็กๆ ซี่งมีสตูดิโออยู่แถวย่านทองหล่อ ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ.2549 โดย 2 กราฟิกดีไซเนอร์ วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ ดีไซเนอร์และอาจารย์ประจำ�ภาควิชานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และ กาวิล ทวีคูณ ต่อมาพี่สาวของวรทิตย์ คือ วรินดา เธียรอัจฉริยะ และ พีระพล ทองศรี ได้เข้ามาร่วมเป็นหุน้ ส่วนด้วย โดยในช่วงแรกใช้ชอ่ื บริษทั ว่ากราฟิกฟาร์ม (Graphic Farm) เพราะอยากทำ�งานกราฟิกดีไซน์เป็นหลัก และใช้ค�ำ ว่า “ฟาร์ม” ในชือ่ เพือ่ ให้คนเข้าถึงได้งา่ ย แต่ตอ่ มาก็เปลีย่ นชือ่ เป็นฟาร์มกรุป๊ เพราะต้องการรับงานให้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งนอกจากงานกราฟิกดีไซน์แล้ว ทางฟาร์มกรุ๊ปก็ยังรับงานประเภทโมชั่นกราฟิก หรือแม้กระทั่งงานอีเวนต์อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นบริษัททำ�งานดีไซน์แบบครบวงจรเลยทีเดียว
โครงการออกแบบสังคม น้ำ�เพชร เชื้อชม
ข้างนอกนั่นควันกำ�ลังก่อตัวสูงเหนือตึกใบหยก ในขณะที่เราทั้งหลายผู้ซึ่งเกิดมาในชีวิตที่แทบไม่ต้องดิ้นรนเพื่อจะพอกิน สังคมภายนอกก็แค่สถานที่หนึ่งที่เราจะต้องฟันฝ่าบนหนทางของวิชาชีพเรา เราสอบแข่งขัน เราเรียน เราทำ�งาน คุยกับลูกค้า โลกของเรามีอยูเ่ ท่านัน้ จนกระทัง่ “พวกเขา” ผูซ้ ง่ึ เป็นอีกด้านของพวกเรา เป็นผลิตผลของความว่างเปล่าของพวกเราได้มาถึงทีน่ ่ี ตะโกนที่ข้างหูเรา แน่ล่ะเรายังวางเฉย บ้างก็ก่นด่าลงสเตตัสเฟซบุ๊ค แล้วทันใดนั้น ไฟก็ลุกท่วม! ถึงตอนนี้ไม่ว่าสายตาคู่ไหน ก็ไม่อาจจดจ่ออยู่ที่หน้าจอได้อีกต่อไป โลกสองใบได้เคลื่อนที่มาซ้อนทับกันแล้ว เลเยอร์แปลกหน้าที่จู่ๆ ก็ปรากฏในไฟล์ทำ�ลาย คอมโพสทีเ่ ราเคยชิน ตัง้ คำ�ถามในความงามทีเ่ ราเคยเป็นผูก้ �ำ หนด เมืองของเราไหม้เกรียม ประเทศของเราพลิกโฉมในชัว่ ข้ามวัน โลกใบเก่าที่เราคุ้นเคยไม่มีวันเหมือนเดิมอีกแล้วตลอดกาล นักออกแบบกราฟิกอย่างเรา ควรอยู่ตรงไหน? หรือทำ�อะไร? ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสังคมเราครั้งนี้ เราเป็นทั้งส่วนหนึ่งของปัญหา เป็นคนรับผิดชอบ คนลงมือแก้ไข และร่วมแบ่งปันอนาคตด้วยกันกับผู้คนข้างนอกนั่น ในขณะที่ นักออกแบบกราฟิกคือคนทำ�หน้าที่สื่อสารด้วยภาพและการมองเห็น เราปรุงแต่งสารด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้สารนั้นมีพลัง เหมาะสมที่จะขับเคลื่อนสายตากระตุ้นความรู้สึก หรือแม้แต่ขยับต่อมน้ำ�ตาของผู้ดู แล้วข้อมูลบางอย่างก็จะกลายเป็นเศษชิ้น ส่วนเล็กๆทีไ่ หนสักแห่งในความทรงจำ�ของพวกเขา...นัน่ ล่ะ ทีเ่ ราทำ�เพือ่ รอวันทีเ่ ศษชิน้ ส่วนนัน้ ไปปะติดปะต่อกับชิน้ ส่วนอืน่ ๆ กลายเป็น ความคิดแล้วแสดงผลออกมาในสิง่ ทีพ่ วกเขาแต่ละคนทำ� เมือ่ หลายๆคนทำ�ก็กลายเป็นกลุม่ คน เป็นสังคม ในทีส่ ดุ ก็กลายเป็นประเทศ ประเทศที่กำ�ลังลุกไหม้! หลังจากความตายแรก ในต้นเดือนเมษายน 2553 นอกจากจะแสดงความรูส้ กึ ลงในเฟซบุค๊ และเว็บบอร์ดอย่างเคยแล้ว อีกสิง่ หนึง่ ที่ ผมทำ�ก็คอื อธิบายความหวังบางอย่างออกมาเป็นโปสเตอร์ หากเราเป็นหมอก็คงจะออกไปช่วยรักษาคนบาดเจ็บ เป็นนักดนตรีกค็ ง จะเขียนเพลง แต่นค่ี อื สิง่ ทีเ่ ราทำ�ได้โปสเตอร์ซกั อันสองอัน มันช่างดูเล็กน้อยเหมือนฝุน่ ละออง โพสต์ลงในทีต่ า่ งๆ ลงในเว็บบอร์ด ของ f0nt.com ไม่ต่างจากเรื่องอื่นๆที่ผ่านเข้ามาในวงจรชีวิตของเรา ที่เรามักจะแบ่งปันมันไปในเครือข่ายสังคม แต่คราวนี้ไม่ มันออกจะต่างไปดูเหมือนงาน 2-3 ชิ้นนั้น มันคงจะพอพูดอะไรแทนความรู้สึกคนอื่นๆได้บ้าง เมื่อมีเสียงตอบรับที่ดี ประชาคม เว็บฟอนต์จึงลงความเห็นตั้งโจทย์ชวนคนอื่นมาทำ�ด้วยกันดีกว่า นั่นคือที่มาของโครงการออกแบบสังคมที่เว็บไซต์ f0nt.com ชักชวนใครต่อใครมาสร้างงานกราฟิกที่โจทย์ของการออกแบบคราวนี้ไม่เหมือนทีแ่ ล้วมา โจทย์คอื สังคมของเรา จุดมุง่ หมายสูงสุด ในการออกแบบคืออนาคตของประเทศนี้ เราฝันอยากเห็นสังคมเป็นแบบไหน แสดงมันออกมาด้วยผลงานกราฟิกจะอนาคต อดีต ความฝัน ความหวัง ความเห็นต่าง ขัดแย้ง จงแสดงออกมา และบางทีความงามนั้นดูจะเป็นเรื่องรองลงไป การมีส่วนร่วมและ ถกเถียงนั้นสำ�คัญที่สุดเพราะการออกแบบคือการสื่อสาร เราใช้ความงามมารับใช้การสื่อสารนั้น และการสื่อสารนั้นมารับใช้ ความหวังของเราต่อสังคม ผลงานนับร้อยทีถ่ กู ส่งเข้ามาหลังจากนัน้ ถูกเผยแพร่ไปยังสือ่ ต่างๆ งานนิทรรศการใหญ่ทเ่ี ราจะจัดกันที่ หอศิลปฯ กทม. กลับมีก�ำ หนดการวันเข้าไปเซ็ตงานตรงกับวันแรกทีม่ กี ารเปิดฉากยิงกันทีน่ น่ั และตลอดช่วงเวลานัน้ ทุกอย่างต้องงดไป โดยไม่มีใครต้องเอ่ยปากถามจนกระทั่งเช้าวันนั้น นี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่โครงการและผลงานกราฟิกแท้ๆ กลายเป็นเรื่องเล่า ในรายการคุยข่าวระดับมหาชนในเช้านีก้ ่อนที่ประกาศ ศอฉ.จะเข้ามาแทรก ก่อนที่ตกบ่ายไฟจะลุกท่วม!
151
ตลอดประวัตศิ าสตร์ของมนุษย์หน้าทีข่ องนักออกแบบกราฟิกคือการปรนเปรอระบบทีเ่ คยเป็นมา หาใช่คนนำ�พาการเปลีย่ นแปลงใดๆ หรือแม้แต่รับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลง แต่ลองสูดกลิ่นดูสิ กลิ่นควันลอยมาที่หน้าจอแมคของพวกเราแล้วล่ะ และถึงแม้ ควันจะจางจากไป แต่ดเู หมือนพวกเขายืนกรานจะอยูท่ น่ี ่ี ล่องลอยอยูข่ า้ งๆเรา ทุกครัง้ ทีเ่ ราสลับเลเยอร์งา่ ยๆ ด้วยคลิก๊ เพียงคลิก๊ เดียว กระซิบข้างหูเราว่า ประเทศของเราและประเทศของเขาคือประเทศเดียวกัน... นักออกแบบกราฟิก เราลากพาธไปเพื่ออะไร? ถึงตรงนี้ผมยังต้องพูดถึงคำ�ว่า ว่าไทยอีกไหม
ผู้เขียนบทความ น้ำ�เพชร เชื้อชม (Nampet Cheuachom) bluology@hotmail.com
นักออกแบบและนักเขียนบท เป็นผูร้ เิ ริม่ โครงการออกแบบสังคมผ่านเว็บไซต์ f0nt.com ทีม่ นี กั ออกแบบรุน่ ใหม่เข้าร่วมโครงการมากมาย ในช่วงกลางปี 2553 ที่ผ่านมา
วงบอยไทย สยาม อัตตะริยะ
วงบอยไทย เป็นวงดนตรีไทยร่วมสมัยทีม่ เี อกลักษณ์ในการผสมผสานความแตกต่างหลากหลาย เริม่ ตัง้ แต่ชอ่ื วงทีเ่ กิดการผสมคำ� สองคำ� คือ “Boy” ซึ่งเป็นภาษาอักฤษ กับ “Thai” ในแบบ “ไทยๆ” คือไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ลักษณะเฉพาะของ แนวเพลงที่ผสมผสานระหว่างเพลงไทยเดิมและสากลร่วมสมัย ซึ่งบรรเลงโดยเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากล สิง่ แรกทีต่ อ้ งการให้ตราสัญลักษณ์ของวงบอยไทยสือ่ ออกไปยังผูพ้ บเห็นก็คอื ลักษณะเด่นทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ของวงดังทีก่ ล่าวมาข้างต้น คือการผสมผสานของความแตกต่างแต่ทว่ากลมกลืนของไทยและสากล เริม่ จากการสำ�รวจหาเอกลักษณ์ความเป็นไทยและความเป็นสากล โดยแนวความคิดแรกๆ จะเป็นรูปทรงจากศิลปะไทย ลวดลาย สัตว์ เครือ่ งดนตรี ฯลฯ ซึง่ ทุกแนวทางล้วนปฏิเสธไม่ได้วา่ สามารถสือ่ สารความเป็นไทยออกไปได้ไม่มากก็นอ้ ย ซึง่ อาจกล่าวได้วา่ ความเป็นไทยที่อยู่ในแบบร่างแรกๆ คือเป็นความเป็นไทยที่เห็นจนชินตาจากการรับรู้ของคน และถูกใช้ซ้ำ�จนไม่ก่อให้เกิดการ ตีความใหม่ๆ ทุกๆแนวทางในแบบร่างแรกๆ จะประกอบไปด้วยความเป็นไทยในแบบ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” คือ ความอ่อนช้อย ลายกระหนก ช้าง รถตุ๊กๆ วัด วัง ซึ่งในมุมมองของผู้ออกแบบเอง ยังไม่พอใจกับแบบร่างในแนวทางนี้เท่าใดนัก เพราะทุกแบบ จะต้องมีองค์ประกอบที่รู้สึกว่าเกินพอดีอยู่ (ซึ่งก็คือรูปทรงที่จะทำ�หน้าที่ในการสื่อสารความเป็น “ไทย”) แนวความคิดที่ถูกเลือกมาพัฒนาต่อคือ การนำ�ตัวอักษรไทยมาดัดแปลงให้อ่านได้เป็นภาษาอังกฤษ เพราะลักษณะเฉพาะของ ตัวอักษรที่สามารถสื่อความเป็นไทยออกมาด้วยตัวเอง โดยไม่จำ�เป็นต้องมีรูปทรง หรือองค์ประกอบอื่นๆ มาช่วยขยาย แบบตัวอักษรทีเ่ ป็นตัวพิมพ์มาตรฐานทีม่ ลี กั ษณะของเส้นหนาบางจึงถูกเลือกมาใช้ ซึง่ ให้ผลลัพธ์ทด่ี เู ป็นทางการ และอนุรกั ษ์นยิ ม มากกว่าแบบตัวอักษรสมัยใหม่ที่มีขนาดของเส้นเท่ากันทั้งหมด สิ่งสำ�คัญที่คิดว่าจะขาดไม่ได้เลยในการนำ�เสนอความเป็นไทย ในแบบตัวอักษรนี้ คือ “หัว” อักษรไทยมีลักษณะเด่นคือการมีหัวที่ชัดเจน การหันเข้าและหันออก รวมถึงตำ�แหน่งต่างๆ ของหัว ในตัวอักษร เป็นลักษณะเฉพาะของอักษรไทย ด้วยเหตุผลนี้แบบตัวอักษรสมัยใหม่ต่างๆ ที่มีหัวจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ เมื่อได้โครงหลักคือแบบตัวอักษรแล้ว ขั้นตอนที่เหลือก็จะเป็นเพียงการปรับปรุงให้ตัวอักษรไทยดังกล่าว สามารถอ่านได้เป็น ภาษาอังกฤษ โดยที่ไม่สามารถอ่านเป็นภาษาไทยได้อีก เพราะหากยังสามารถอ่านได้เป็นภาษาไทย นั่นหมายถึงการสื่อสารชื่อ ของวงบอยไทย ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของตราสัญลักษณ์ก็จะประสบความล้มเหลว โจทย์คือการปรับปรุงแบบตัวอักษรไทยให้คง ลักษณะเดิมเอาไว้ให้มากที่สุดในขณะที่ไม่สามารถอ่านได้เป็นภาษาไทย ยกตัวอย่างเช่นตัว “B” ถูกสร้างขึ้นจาก “ย ยักษ์” หรือ ตัว “o” จาก เลข “๑” โดยจะพยายามกลับข้างซ้าย-ขวา หรือกลับบนลงล่าง เพือ่ ให้การออกแบบตราสัญลักษณ์ดงั กล่าว เรียบง่าย สะดุดตา สื่อสาร ไม่สร้างความสับสน และนำ�เสนอลักษณะหรือบุคลิกของวงได้อย่างชัดเจน
153
ผู้เขียนบทความ สยาม อัตตะริยะ (Siam Attariya) black@colorparty.com
จบการศึกษาจากภาควิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นอาชีพนักออกแบบกราฟิกที่ บริษัท พร็อพพาแกนดา จำ�กัด รับผิดชอบงานออกแบบสิง่ พิมพ์เพือ่ การประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ให้องค์กรต่างๆ ทัง้ ภาครัฐและ เอกชน รวมถึงงานออกแบบผลิตภัณฑ์ในช่วงต้นของร้าน ปัจจุบนั เป็นดีไซน์ไดเร็กเตอร์ บริษทั พิงค์ บลู แบล็ค แอนด์ ออเร้จน์ จำ�กัด (คัลเลอร์ปาร์ต)้ี ผลงานของสยามได้รบั รางวัลจากสถาบันต่างๆ ทัง้ ในและต่างประเทศ อาทิ BAD Awards, Type Directors Club (NY), Art Directors Club (NY) นิตยสาร Communication Arts (USA) นิตยสาร How (USA) นอกจากนั้นยังได้รับเชิญให้เป็น ผู้บรรยายพิเศษให้มหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงงานสัมนากราฟิกดีไซน์ เช่น ICOGRADA Congress 2003 ที่ประเทศญี่ปุ่น, Business of Design Week 2005 ที่ฮ่องกง เป็นต้น
ข้อสังเกตความเป็นไทย (บันทึกจากงานประชุม ซัมแวร์ไทย) กฤษณะ ธนะธนิต
คงเป็นข้อสังเกตมากกว่าคงไม่ใช่จะมาบอกว่าความเป็นไทยในความหมายของผมเป็นยังไง คงเป็นข้อสังเกตจากงานทีเ่ ราทำ�มากกว่า งานแรกเลยที่ทำ�จากงานออกมาแล้วเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนคือ ความประณีต พิถีพิถัน งานแรกเลย คืองานที่ทำ�ให้กับสปา ของโรงแรมดุสิตธานี คือมันต้องมีความคราฟ ต้องมีรายละเอียด มีความชัดเจน ดูมีความเป็นอาเชียน สิ่งหนึ่งที่จับได้จาก งานชิ้นนี้เลยก็คือความประณีตและพิถีพิถัน งานทั้งหมดที่น�ำ มาโชว์จะขอให้เครดิตแก่ดีไซเนอร์ทุกคนที่ท�ำ งานร่วมกันครับ อีกส่วนหนึ่งที่คิดว่าน่าจะสื่อถึงความเป็นไทยได้ คือ ความหลากหลายสีสัน ยกตัวอย่างเช่น ตอนทำ�งานให้กบั ธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยให้ออกแบบรูปลักษณ์ใหม่ เราก็ปรับสีสนั และตัวหนังสือ จะเห็นได้วา่ การปรับเปลีย่ นของแบงค์กรุงศรีกม็ อี ทิ ธิพลต่อธนาคารทุกแห่งเหมือนกัน อย่างทีเ่ ห็น ทุกวันนี้ธนาคารแต่ละแห่งก็จับจองสีที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เอทีเอ็มของธนาคารใน ประเทศไทย ถือว่าเราเป็นมหาอำ�นาจทางเรือ่ งสีเลยทีเดียว โดยเรือ่ งสีนก้ี ม็ ผี ลสะท้อนไปถึงสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมทั่วไป ที่เรานำ�มันมาใช้เยอะ ยกตัวอย่างเช่น แท๊กซี่ของไทย เราก็จัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีสีรถแท๊กซี่เยอะที่สุดในโลก ผมมองว่าความเป็นไทยสิง่ ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ เลยคือ เรือ่ งกาลเทศะ มองได้สองแง่ คือทัง้ ตัวผลงาน และทั้งตัวคนที่ท�ำ สำ�หรับเรื่องผลงานผมคิดว่า มันก็ขึ้นอยู่กับโจทย์ว่างานนั้นเป็นสถานที่อะไร เราอยูท่ ต่ี รงไหน เราจะทำ�งานนัน้ ให้เป็นยังไงให้มนั ถูกต้องกับโจทย์ตรงนัน้ ส่วนคนทำ�งานเองก็ ต้องรู้จักกาลเทศะ เพื่อที่จะรู้ว่าทำ�ออกไปแล้วมันถูกต้องกับโจทย์นั้นไหม ควรจะทำ�อย่างนั้น ออกมาไหม อันที่สองที่คิดว่าสำ�คัญไม่แพ้กันคือ เรื่องของสัมมาคารวะ ยังไงซะเนี้ยผมก็คิดว่า เราก็ต้องมีความเป็นผู้ใหญ่ มีความเป็นเด็ก มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความเกรงใจ อันนี้เป็น นิสัยอันหนึ่งที่ผมคิดว่ามันคือความเป็นไทย คือ กาลเทศะ และสัมมาคารวะ ซึ่งทุกวันนี้ผมได้มีโอกาสไปสอนหนังสือก็จะเห็นได้ว่า มันสะท้อนไปยังภาคการศึกษาแล้วว่า ในระบบสังคมการศึกษานี้ นักศึกษายังขาดตรงนีก้ นั มากอยูพ่ อสมควร ก็ขอชมเชยและยกย่องคนที่ ทำ�งานในแขนงนีห้ ลายๆ ท่านที่ไปสอนหนังสือ ผมคิดว่ามันเป็นการทำ�เพือ่ คนรุน่ ใหม่และเป็นการ ทำ�เพือ่ วงการเรขศิลป์จริงๆ เพราะว่าการทีเ่ ราทำ�งานและความรูต้ า่ งๆ ทีเ่ ราสะสมมา และนำ�ไป ถ่ายทอดให้กับนักศึกษาที่เรียนอยู่ในแขนงนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่สำ�คัญมาก และอยากจะให้ นักศึกษาได้เข้าใจและนำ�ไปใช้ได้จริงในการทำ�งานจริง จะเห็นได้ว่าการทำ�งานของเด็กรุ่นใหม่ค่อนข้างจะหยาบลง และไม่ค่อย ให้ความสำ�คัญให้เรื่องของหลักการหรือว่าวิธีการคิด นี้เป็นสาเหตุที่ผมไปสอนหนังสือ เพราะผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ผมจะต้อง อุทศิ ตัวบางส่วนให้กบั การศึกษาและเข้าไปสอนในสถาบันการศึกษาอย่างเป็นเรือ่ งเป็นราว เพราะว่าอยากจะแลกเปลีย่ นประสบการณ์ และเตรียมพร้อมให้กบั นักศึกษาในแขนงนีม้ คี วามพร้อมทีจ่ บออกมาแล้วทำ�งานได้โดยตรง และผมก็อยากจะทำ�ตรงส่วนนีต้ อ่ ไปด้วย เพื่อคนรุ่นใหม่มีพัฒนาการและความคิดทางงานเรขศิลป์ที่ดีขึ้น และก่อนที่เราจะแย่ลงไปกว่านี้ในเรื่องของการออกแบบ ดังนั้น ผมจึงคิดว่าการศึกษาเป็นเรือ่ งทีส่ �ำ คัญจริงๆ เป็นปัญหาระดับประเทศและอยากให้ความสำ�คัญกับมัน มิฉะนัน้ เราอาจจะไม่มที อ่ี ยู่ ของเราในอนาคต
155
ผู้เขียนบทความ กฤษณะ ธนะธนิต (Krissana Tanatanit) g49krissana@49group.com
สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมือ่ ปี พ.ศ. 2531 เป็นผูร้ ว่ มก่อตัง้ บริษทั 49 กราฟิก แอนด์ พับบลิเคชัน่ ส์ จำ�กัด ในปี พ.ศ. 2533 ซึง่ ปัจจุบนั ได้เปลีย่ นชือ่ มาเป็น บริษัท กราฟิก 49 จำ�กัด (G49) อยู่ในกลุ่มบริษัท 49 GROUP ผลงานทางด้านการออกแบบที่ผ่านมามีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบระบบอัตลักษณ์ (Corporate Identity Design) และ งานออกแบบระบบเรขศิลป์เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อม (Environmental Graphic Design) ตลอดจนงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ประชาสัมพันธ์ตา่ งๆ มากมาย ผลงานทีค่ อ่ นข้างเป็นทีร่ จู้ กั กันโดยทัว่ ไป ได้แก่ งานปรับปรุงภาพลักษณ์ใหม่ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา งานออกแบบระบบป้ายศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand and Creative Design Center: TCDC) งานออกแบบนิตยสาร art4d และ Summer กิจกรรมทางด้านสังคมและวิชาชีพได้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัล “ศิลปาธร” ประจำ�ปี 2553 และ คณะอนุกรรมการด้านงานเรขศิลป์ พิพธิ ภัณฑ์ผา้ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ หอรัษฎากรพิพฒ ั น์ ในพระบรมมหาราชวัง, อาจารย์ประจำ� (ภาคพิเศษ) ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2553, ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2552-2553, กรรมการตรวจวิทยานิพนธ์ ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2538-2553, บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาวัฒนธรรมและการพัฒนา (หลักสูตรปกติ) มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาศาลายา จ.นครปฐม ในปี พ.ศ. 2553, สาขาวิชาสัณฐานวิทยาเชิงสร้างสรรค์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551-2553, ภาควิชานิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2550-2552, หลักสูตรปริญญาบัณฑิต ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551, ทีป่ รึกษาคณะกรรมการ สถาบันพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ (สพร.) พ.ศ. 2550, สมาชิกสมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย
นนทวัฒน์ เจริญชาศรี
สี่เต่าเธอ: สิริมงคล Concept มาจากชื่ออัลบั้ม สิริมงคล เรานึกถึงความเชื่อของคนไทย เช่น การปล่อยนก ปล่อยปลา ความเชือ่ เรื่องโชคลาง เล่าเรื่องด้วยการถ่ายภาพ แนว Kitsch style ทำ�ให้ดูเชยๆ แต่แฝงอารมณ์ขำ�ขันแบบไทยๆ
157
7th Scene แนวความคิด ตอนนั้นอยากได้ packaging แปลกๆ ไม่เหมือนที่เคยทำ� คิดอยู่นานมาก คิดไม่ออก วันนึงไปกินข้าว เห็นไก่ห่อใบเตย เลยได้มาเป็นไอเดีย ในการทำ� Package ของวง 7th Scene คือเป็นการเปิดไปเรื่อยๆ แต่เปลี่ยนวิธีการพับ ซึ่งทำ�ให้เกิดเป็น Package แบบใหม่ แต่ใช้ Material และ Cost ที่เท่าเดิม
158
Wallpaper* Magazine (Thai Edition) Concept ความเป็นไทยของหนังสือหัวนอกจากอังกฤษ อาจไม่เห็นเด่นชัดถ้าไม่สังเกต แต่ถ้าดูรายละเอียด ของ Set Fashion หรือ Art Direction โดยรวม จะเห็นว่าเป็นลักษณะของความเป็นไทยทีเ่ ป็นสากลและร่วมสมัย เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ที่ทำ�ก็อยู่ในเมืองไทย แต่มีการนำ�เสนอในมุมมองที่ต่างออกไป ทำ�ให้ความเป็นไทยที่อยู่รอบๆ ตัว ผสมปนเป ทั้งวัฒนธรรมต่างชาติและวัฒนธรรมไทย เกิดเป็นภาษาใหม่ หรือ มุมมองใหม่ ของการปะทะกันทางวัฒนธรรม
159
Wallpaper* Issue 24: Siamese Twin Concept มาจากแฝดสยาม ทำ�ปกให้ต่อเนื่อง เปิดคนละด้าน แต่ติดกัน 2 ด้าน ด้านหนึ่งเสนอเนื้อหาที่ เป็นของไทย อีกด้านหนึ่งเป็นของ ทางอังกฤษ
P.A.D. : People Alliance for Design 2008 การรวมตัวของ Designer สาขาต่างๆ ในประเทศไทย 8 กลุ่มรวมตัวกันในงาน BDF 2008 Concept เสนอเรือ่ งราวของ ความเป็นกรุงเทพฯ ในมุมมองที่แตกต่างกัน ดัคท์สโตร์น�ำ เสนอเรื่องของ โครงสร้างที่ไม่ถาวร เช่น Site งานก่อสร้าง แต่เพิ่ม Function ทีข่ ดั แย้งเข้าไป เช่น Gallery / Booth dj นำ�เสนอความเป็นรากหน้า แต่สนุกสนานของคนไทย
160
ผู้เขียนบทความ นนทวัฒน์ เจริญชาศรี (Nontawat Charoenchasri) dstgr_n@yahoo.com
ดีไซน์ ไดเร็กเตอร์ของสตูดิโอหัวก้าวหน้าอย่าง “Ductstore the design guru” ที่ผสมผสานแนวคิดแบบกราฟิกดีไซน์, แฟชั่น, สถาปัตยกรรม, Editorial Design และอินทีเรียเอาไว้ จนทำ�ให้เกิดงานดีไซน์สไตล์เท่ห์ เทคนิคเปรีย้ ว และวิธกี ารแหกกฎมากมาย อย่างอัลบั้ม 7thSCENE - 7thSCENE, Futon - Never Mind The Botox, Scrubb ชุด sssss..! เป็นต้น นอกจากนี้ นนทวัฒน์ ยังเป็นครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ให้กบั Wallpaper* Thai Edition นิตยสารหัวนอกจากอังกฤษ ทีม่ คี อนเท็นต์ไทย รวมทั้งการดีไซน์และแฟชั่นเซ็ตมาตราฐานสูงเทียบชั้นฝรั่งได้สบาย
ความเป็นไทยไร้กระบวนท่า ทรงศีล ทิวสมบุญ
ผมเองเป็นคนหนึง่ ทีไ่ ม่เคยครุน่ คิดจริงจังมาก่อน ว่าผลงานของตนเองและผูอ้ น่ื มีความเป็นไทยหรือไม่อย่างไร จนเมือ่ ได้รบั การชักชวน ให้มาพูดในหัวข้อ “ซัมแวร์ไทย” นี่เอง ผมจึงได้ทดลองสำ�รวจ สังเกต และครุ่นคิดถึงความเป็นไทย ผมทำ�งานเกีย่ วข้องกับการเขียนหนังสือและวาดภาพประกอบ ซึง่ โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ได้ครุน่ คิดถึงความเป็นไทยเลยในขณะทีท่ �ำ งาน บ่อยครัง้ ในระหว่างทีท่ �ำ งาน ผมฟังเพลงต่างชาติ ตัง้ ชือ่ งานเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ดูภาพยนตร์ตา่ งชาติมากกว่าภาพยนตร์ไทย ซ้�ำ ยังเอาเงินที่ได้จากการทำ�งานไปเทีย่ วต่างประเทศ ด้วยลักษณะเหล่านี้ คาดว่าผมคงไม่ใช่บคุ คลทีก่ ระทรวงวัฒนธรรมไทยชืน่ ชอบ เป็นแน่ ถึงกระนัน้ ผมเชือ่ ว่ามีคนไทยอีกเป็นจำ�นวนไม่นอ้ ยที่ใช้ชวี ติ ใกล้เคียงกับผม ผูช้ ายไทยจำ�นวนไม่นอ้ ยชืน่ ชมผิวขาวสวยของผูห้ ญิงญีป่ นุ่ และผู้หญิงไทยจำ�นวนไม่น้อยอีกเช่นกัน ที่ติดซีรีส์เกาหลีชนิดหลงไหลได้ปลื้ม มีครอบครัวไทยสักกี่ครอบครัว ที่เมื่อมีฐานะ ในระดับหนึง่ แล้ว จะไม่คดิ ส่งลูกไปเรียนเมืองนอก ห้างสรรพสินค้ายอดนิยมในประเทศไทยล้วนมีชอ่ื ห้างเป็นภาษาอังกฤษคำ�ไทยคำ� หนำ�ซ้�ำ ภายในห้างยังเต็มด้วยสินค้านำ�เข้า และร้านอาหารหลากหลายที่มีแฟรนไชส์มาจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ผมกลับมองว่าเราไม่ได้สูญเสียความเป็นไทยไปแต่อย่างใด ผมกลับมองว่าทั้งหมดที่กล่าวถึงเมื่อครู่ คือส่วนหนึ่งของ ความเป็นไทยทั้งสิ้น ความเป็นไทยโดยธรรมชาตินั้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักมาตั้งแต่โบราณกาล ในปัจจุบันมีเพียงแต่รูปโฉมภายนอกของ ความเป็นไทยเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป ตัง้ แต่อดีตกาล คนไทยเปิดรับเอาอิทธิพลจากต่างชาติตา่ งภาษาเข้ามาหลอมรวมกับวิถชี วี ติ จนเป็นเรือ่ งปกติ หลายอย่างทีเ่ รายึดถือว่า คือความเป็นไทยทีต่ อ้ งอนุรกั ษ์ไว้ ล้วนมีตน้ กำ�เนิดมาจากการรับเอาอิทธิพลจากต่างแดนเข้ามา จนเมือ่ กลมกลืนกับวิถชี วี ติ ดีแล้ว เราก็เริม่ ยึดถือว่า สิง่ นัน้ เป็นวัฒนธรรมไทย ทัง้ ทีพ่ ธิ กี รรมทางศาสนาหลายประการของเรา มีตน้ กำ�เนิดมาจากพราหมณ์ จากอินเดีย เครือ่ งดนตรีไทยบางชนิด ดัดแปลงมาจากเครือ่ งดนตรีจนี โลกนีม้ กี ารแลกเปลีย่ นวัฒนธรรมกันอยูต่ ลอดเวลาตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั และก่อให้เกิดความเปลีย่ นแปลงตลอดเวลา ซึง่ คนไทยก็ดเู หมือนจะไหลลืน่ กลมกลืนไปกับความเปลีย่ นแปลงเหล่านัน้ ได้เป็นอย่างดี เสมอมา ผมจึงมองว่า ความเป็นไทยนั้นอาจมาจากความไร้กระบวนท่าของคนไทยนี่เอง ที่ไม่ว่าจะรับเอาอิทธิพลใดเข้ามา เราก็สามารถ เอามาปรับใช้ให้เข้ากับวิถชี วี ติ ของเราได้อย่างแนบเนียน เนียนจนชิดทีว่ า่ บางอย่างเราก็ลมื ไปแล้ว ว่าเราเอาของคนอืน่ มาดัดแปลง จากจุดเริ่มต้นใด ...หากเรามองความเป็นไทยทีร่ ปู แบบ เราอาจพบเพียง เลขไทย ภาษาไทย ชุดไทย ลายไทย วรรณกรรมไทย และอีกมายมายที่ บางประการเป็นเพียงรูปแบบ อันเกิดจากการรับเอาอิทธิพลต่างชาติมาหลอมรวมเข้ากับวิถชี วี ติ ตัง้ แต่ครัง้ โบราณกาล ซึง่ บางประการ เรายึดถือว่าคือความเป็นไทยเสมอมา แม้ว่าจุดเริ่มต้นนั้นจะไม่ได้ถือกำ�เนิดจากคนไทยก็ตาม
162
...หากเรามองความเป็นไทยที่วัฒนธรรมหรือประเพณี เราจะพบความเชื่อและธรรมเนียมปฏิบัติมากมาย ที่บางประการเรา ปฎิบตั สิ บื เนือ่ งกันมาจนอาจลืมสังเกตไปว่ามันอาจไม่เหมาะกับโลกปัจจุบนั อีกแล้ว ยกตัวอย่างเช่น การลอยกระทง เดิมทีการลอยกระทง เป็นประเพณีปฏิบัติซึ่งเชื่อกันว่า จัดขึ้นเพื่อขอขมาต่อพระแม่คงคาและลำ�น้�ำ ใกล้บ้านผมมีทะเลสาบสองแห่ง ทุกเช้าวันถัดมา จากคืนลอยกระทง พิจารณาจากเศษจำ�นวนมากในทะเลสาบที่เยอะยิ่งกว่าขยะทั้งปีรวมกัน ผมไม่เห็นว่าประเพณีนี้จะเป็นการ ขอขมาต่อลำ�น้�ำ อีกแล้ว และปัจจุบันก็มีไม่กี่คนที่ลอยกระทงเพื่อขอขมาลำ�น้�ำ มีแต่ขอพบเนื้อคู่เสียเป็นส่วนใหญ่ ผมอยากเสนอ กระทรวงวัฒนธรรมว่า ประเพณีลอยกระทงในอนาคต หากยังหวังให้เป็นไปตามความเชื่อเดิมจากโบราณกาล เราน่าจะช่วยกัน เก็บขยะขึ้นมาจากแหล่งน้ำ�คนละชิ้น ดูจะเป็นประเพณีลอยกระทงที่เหมาะกับยุคนี้เสียมากกว่า ผมจึงมีค�ำ ถามทีอ่ ยากฝากไว้วา่ หากเรายอมรับและมองความเป็นไทยว่าไร้กระบวนท่าแล้ว ในหลายๆ สถานการณ์เราอาจใช้แนวคิดนี้ ปรับเปลี่ยนความเป็นไทยของเราให้เหมาะสมกับโลกในยุคปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้นหรือไม่ สวัสดี. โดยส่วนใหญ่แล้ว ผมพบว่าผลงานที่ผ่านมาของตนเองไมได้มีรูปแบบของความเป็นไทยนัก แต่เนื้อหาหรือสารสาระบางประการ ในชิ้นงานเหล่านั้น ล้วนได้รับแรงบันดาลใจมาจากสิ่งที่พบเจอในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ ก่อนหน้านี้ผมเองเคยได้ยินการถก เรือ่ งความเป็นไทยในผูค้ นหลายกลุม่ และนักออกแบบทีท่ �ำ งานเกีย่ วข้องกับสิง่ พิมพ์ ก็เป็นผูค้ นกลุม่ หนึง่ ทีน่ ยิ มถกเรือ่ งนี้ให้ได้ยนิ อยู่บ่อยครั้ง มีผลงานออกแบบสิ่งพิมพ์จำ�นวนไม่น้อยที่มีความพยายามในการแสดงออกถึงความเป็นไทยในชิ้นงาน ทว่า หลังจากการ สังเกตระยะหนึ่งจากผลงานจำ�นวนหนึ่ง ผมเกิดคำ�ถามที่อยากเสนอให้ทุกท่านได้ลองครุ่นคิดว่า ความเป็นไทยในงานออกแบบ จากผลงานโดยส่วนใหญ่ที่เคยผ่านตาเราทั้งหลาย ความเป็นไทยในงานเหล่านั้นอยู่ที่รูปแบบ หรือเนื้อหาสาระ กันแน่?
ผู้เขียนบทความ ทรงศีล ทิวสมบุญ (Songsin Tiewsomboon) yoopeeup@hotmail.com
ทรงศีล ทิวสมบุญ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2524 จบการศึกษาจาก คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้เขียนการ์ตูนเรื่อง ถั่วงอกกับหัวไฟ, Improvise และนิยายภาพประกอบเรื่อง Nine Lives ความหดหู่ของลายเส้นที่แฝงไปด้วยความอ่อนโยน เป็นมนต์เสน่หข์ องนักเขียนผูน้ ้ี ปัจจุบนั ทรงศีล ทิวสมบุญ กำ�ลังขะมักเขม้นอยูก่ บั การวาดภาพประกอบการ์ตนู และเป็นอาจารย์ สอนพิเศษทางด้านศิลปะตามสถาบันต่างๆ
ทำ�ไปเถิด เดี๋ยวก็เป็นไทยเอง สโลว์โมชั่น
งานกราฟิกดีไซน์ที่เป็นไทยที่อย่างจริงมีอะไรบ้าง? หลายคนอาจนึกถึงงานกราฟิกไทยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น ในหนังสือ “สิ่งพิมพ์สยาม” ของคุณเอนก นาวิกมูล แต่งานของไทยเหล่านั้นก็ล้วนได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมาอีกที มาตอนนี้ ทุกครั้งที่ใครสักคนพยายามจะทำ�อะไรที่เป็นไทยมากๆ มันก็มักจะมีรูปทรงแหลมๆ ทิ่มๆ อยู่ในงาน ซึ่งเป็นรูปทรงที่ ตัดทอนมาจากลวดลายกระหนกกกก้าน ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ (ซึง่ ก็ได้รบั อิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอินเดียอยูด่ )ี พอพัฒนา รูปทรงทีด่ เู ป็นไทยๆได้แล้ว เราก็มกั จะขัดสีฉวีวรรณมันให้รสู้ กึ เป็นตะวันตกมากขึน้ ก็จะให้ท�ำ อย่างไรได้เล่า ในเมือ่ อาชีพกราฟิกดีไซน์ เพิง่ จะแพร่หลายในเมืองไทยในช่วงไม่กส่ี บิ ปีน้ี และความต้องการของตลาด (ทีเ่ ป็นเจ้านายของกราฟิกดีไซน์เนอร์อกี ที) ก็ลว้ นโหยหา ความเป็นอินเตอร์ หรือภาพลักษณ์ที่ดูเป็นประเทศโลกที่ 1 บางทีกราฟิกดีไซน์ไทยที่แท้จริง อาจเป็นการตีความ ความเป็นฝรั่ง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ ด้วยมุมมองแบบไทยๆ ของเราเอง ดังนัน้ เราอาจไม่จ�ำ เป็นต้องมองหา หรือยัดเยียดความเป็นไทยใดๆ เข้าไปในงานเลย เพราะต่อให้ท�ำ งานออกมาเป็นฝรัง่ แค่ไหน แต่ถ้าคนไทยทำ� มันก็ยังคงมีความเป็นไทย ที่คนไทยด้วยกันรู้สึกได้อยู่ดี
ผู้เขียนบทความ สโลว์โมชั่น (Slowmotion) info@slowmotion.com
สโลว์โมชัน่ คือ ดีไซน์สตูดโิ ออารมณ์ดที เ่ี ชือ่ ในความสร้างสรรค์ท่ีไร้ขอบเขต เป็นบริษทั ที่โดดเด่นด้านการออกแบบสิง่ พิมพ์ และ การออกแบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ งานออกแบบเพื่ออุตสาหกรรมดนตรี แฟชั่น ไปจนถึงการออกแบบภาพลักษณ์ ของสินค้า และองค์กรต่างๆ ปรัชญาการออกแบบของสโลว์ โมชั่นได้รับแรงผลักดันจากมุมมองของอารมณ์ ควบคู่ไปกับ แรงความคิดสร้างสรรค์ และประโยชน์การใช้สอย
Somewhere: Thai รักกิจ ควรห�เวช
ทุกวันนี้เวลามองไปรอบๆ ตัว เราจะเห็นถึงสิ่งต่างๆ มากมายเป็นสิ่งสร้างสรรค์บ้าง และไม่สร้างสรรค์บ้างอยู่ทุกวันตลอดเวลา จนเกิดความรูส้ กึ ชาชินกับมัน รูส้ กึ เฉยๆ ไม่ได้นา่ สนใจเป็นพิเศษ บางทีเราอาจจะมองข้ามสิง่ ทีอ่ ยูร่ อบๆ ตัวของเรา ไปหลงชืน่ ชม สนใจกับสิ่งที่ไกลตัวเราออกไป ตื่นเต้นกับของเมืองนอก สิ่งที่คนต่างประเทศทำา รู้สึกดี รู้สึกน่าสนใจไปหมด รู้สึกมั่นใจ ในความเป็นจริงเราควรสำารวจตัวเองให้ดกี อ่ น ศึกษาข้อดีขอ้ เสีย สิง่ ไหนทีด่ เี ราก็ควรเก็บรักษาอนุรกั ษ์เอาไว้หรือพัฒนาให้ดยี ง่ิ ขึน้ สิง่ ไหนที่ไม่ดเี ราก็ควรหาสาเหตุและปรับปรุงแก้ไขให้ดขี น้ึ โปรเจค Somewhere: Thai นีเ้ ป็นการเปรียบเทียบและกระตุน้ ให้คนไทย กลับมาสนใจในเรื่องต่างๆ ข้อดีข้อเสีย หรือสิ่งที่น่าสนใจของไทยกับต่างประเทศที่อาจจะมีความคล้ายกัน หรือต่างกันบางอัน เราอาจว่าของไทยเจ๋งกว่า บางอันของต่างประเทศอาจจะดูเวิรค์ กว่า แต่สดุ ท้ายแล้วไม่ได้จะทำาไปเพือ่ ตัดสินว่าของใคร ดีกว่าใคร แต่อยากให้ลองมองสิ่งที่น่าจะเป็นแรงบันดาลใจ และพัฒนางานของคนไทยให้ดียิ่งขึ้นให้เหมาะกับตัวเรามากขึ้น
165
166
ผู้เขียนบทคว�ม รักกิจ ควรหาเวช (Rukkit Kuanhawate) rukkit_k@hotmail.com
คงแทบไม่มีใครไม่รู้จัก รักกิจ นักออกแบบมากฝีมือที่เคยสร้างกระแสเวคเตอร์อาร์ตให้คลุ้งไปทั่ว รักกิจ จบการศึกษาจาก คณะครุศาสตร์ สาขาศิลปะศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึง่ ในกองกำาลังหลักของกลุม่ กราฟิกไทยชือ่ ก้องอย่าง B.O.R.E.D. นอกจากนี้เขายังเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ ไทยคนแรกและคนเดียว (ตอนนี้) ที่ได้ดีไซน์ปกให้กับนิตยสาร Computer Arts ฉบับ UK ถึงสองปก และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ออกแบบหน้าปกให้กับนิตยสาร Computer Arts Project ฉบับไทยอีกด้วย
กราฟิกดีไซน์ไทยคืออะไร เคลวิน หว่อง
เป็นเพราะได้เข้าร่วมรายการดีไซน์ ไปบ่นไปเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ผมจึงได้นึกถึงคำ�ถามหนึ่งที่กลายเป็นประเด็นเด่น ของการรวมตัวคราวนัน้ ว่า “กราฟิกดีไซน์ไทยคืออะไร” ความคิดแรกผมนึกย้อนกลับไปถึงตอนทีไ่ ด้มาเหยียบประเทศไทยเป็นครัง้ แรก ตอนอายุ 7 ขวบ นอกจากอะไรที่นักท่องเที่ยวมักจะจดจำ�ได้อย่างวัดวาอาราม รถตุ๊กตุ๊ก หรือจิตรกรรมฝาผนังแล้ว ชาดำ�เย็น เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผมจำ�ได้ขึ้นใจ ที่จำ�ได้ดีขนาดนั้นเพราะว่าชาดำ�เย็นมีรสชาติแตกต่างจากทุกอย่างที่ผมเคยได้ชิมมา สำ�หรับผมมันเป็นเหมือนตัวแทนของ ความเป็นไทย ที่ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประเทศไทยจะอยู่เชียงใหม่หรือเกาะเสม็ด รสชาติของชาดำ�เย็นก็ยังเหมือนเดิม ไม่ว่าจะดื่มจากแก้ว แก้วพลาสติก แก้วกระดาษ ถุงพลาสติก หรือแม้แต่กระบอกไม้ไผ่ กราฟิกดีไซน์ ไทยหรือกราฟิกสไตล์ ไทย ถึงแม้จะอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ยาก แต่ก็สามารถเปรียบเทียบกับชาดำ�เย็นได้ กราฟิกสไตล์ ไทยๆ มีหลายรูปแบบหลายรสชาติซึ่งล้วนเป็นเอกลักษณ์ทั้งสิ้น คือด้านหนึ่งก็มีรากของความเป็นไทยแบบดั้งเดิม ทีม่ คี วามสวยงามตามแบบฉบับงานฝีมอื เช่น ลายกระหนกหรือแพตเทิรน์ พืน้ บ้าน แต่อกี มุมหนึง่ ก็ทนั ยุคทันสมัย พยายามตามเทรนด์ ของโลกไปพร้อมๆกัน นี่อาจจะเป็นเพราะในประวัติศาสตร์ประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งชาติใด จึงมีสิ่งนี้ซึ่งเป็นข้อดี ที่ทำ�ให้สไตล์กราฟิกไทยไม่ถูกอิทธิพลของความคิดหรือวัฒนธรรมแบบตะวันตกมาครอบมากไป ดังนั้นถ้าถามใหม่อีกทีว่าอะไรคือภาษาหรืออะไรคือพื้นเพของกราฟิกดีไซน์ ไทย ผมจะตอบว่าคือชาดำ�เย็น เพราะมันขึ้นอยู่กับ ส่วนผสมเป็นสำ�คัญ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ เหมือนกับกราฟิกดีไซน์แบบไทยที่มีความสำ�คัญอยู่ที่เนื้อหาของงาน ไม่ใช่สไตล์ หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เลือกมาพูด แต่มันคือเพราะอะไรถึงพูดถึงประเด็นหลักของกราฟิกดีไซน์แบบไทย อยูท่ พ่ี น้ื ฐานของวัฒนธรรมทีค่ นไทยมีมากว่า 2,000 ปีแล้ว นัน่ คือความถ่อมตัว ความเคารพ ความนอบน้อม แต่กย็ งั มีอารมณ์ขนั สิ่งนี้ผมคิดว่ามันมีความหมายมากกว่าการคิดว่าจะนำ�เทคนิคอะไรมาใช้ในงานเสียอีก เราอาจจะเปลี่ยนประเภทของภาชนะ ที่ใส่ชาดำ�เย็นได้ แต่รสชาติของมันจะต้องเหมือนเดิม เพราะเมื่อชาดำ�เย็นเปลี่ยนรสไป ก็เหมือนกับเราไม่ได้เป็นในสิ่งที่เราเป็น หรืออาจจะกำ�ลังพยายามมากเกินไปเพือ่ เป็นสิง่ ทีต่ วั เองไม่ใช่ ผมก็เป็นคนหนึง่ ทีเ่ คยพยายามทำ�ให้งานของตัวเองมีความเป็นไทย แต่ก็ล้มเหลวเพราะลืมไปว่าการเป็นตัวของตัวเองต่างหากถึงจะดีที่สุด เราจึงน่าจะมาคิดว่าอะไรที่จะทำ�ให้งานแสดงออกถึง ความเป็นไทย มากกว่าจะมาคิดแต่วา่ จะใช้เทคนิคอะไรทำ�ให้งานดูเป็นไทย ดีไซน์แบบไทยทีผ่ สมระหว่างความอ่อนน้อมถ่อมตน กับอารมณ์ขันแบบไทยๆ นี่แหละจะกลายเป็นงานสุดพิเศษที่ครบเครื่องความเป็นไทย แถมยังมีสาระในตัวอีกด้วย
168
What is Thai Graphic Design? It was during last October’s DesignPaiBonPai’s round table discussion that a member of the audience posed the ultimate question, What is Thai graphic design? My first thoughts brought me back to my first visit to Thailand at the tender age of 7. Apart from the usual Thai temples, Tuk-Tuk or Thai murals, the most vivid memory that I had back then was in particular of Thai Black Tea or Char-dam-yen. What struck me as memorable was that Char-dam-yen had a distinctive taste. For me it represented Thailand. You could be in Bangkok, Chiangmai or Koh Samet. It tasted just the same. Char-dam-yen is a bittersweet drink. To prepare it well, one has to mix the ingredients just right. Hot water must be poured into a sachet containing the tea leaves and just as quickly it is drained and poured into a half pint glass. Add sugar and maybe a dash of lime or milk to taste. You then pour the tea into a container containing packed ice. You can have it in a glass, a plastic cup, a paper cup, a plastic bag or even in a bamboo container. However so, its taste will still remain refreshingly the same. Thai graphic design or style, though difficult to define, resembles Char-dam-yen. The Thai graphic style has a combination of distinctive tastes or flavours. On one hand it is deeply rooted in the traditional arts and crafts of Kanok patterns or local cultural motifs. The other relies on the constant quest for being contemporary which at times appropriating design trends. This is largely due to Thailand’s history of not having been conquered by any foreign country. Therefore, it is to this advantage that Thai graphic design has not been heavily influenced by any foreign style, culture or design movement. So to rephrase the question, What is the language of Thai graphic design? Like Char-dam-yen, it is the ingredients that matters, not the containers. In graphic design, the content is more important, not the styling. Not What to say but more so Why. The significance of Thai graphic design rests in its rich cultural heritage spanning over 2000 years. Core characteristics of being humble, respectful, polite and having a sense of humour, are more important than what design techniques are to be used. You may change the designs of the Char-dam-yen containers but the taste needs to remain the same constantly. It is only when Char-dam-yen ceases to taste like Char-dam-yen that we begin to loose our identity and ourselves. Trying to be something that we are not. We may borrow graphic design influences from elsewhere but the context or outcome must evoke Thainess. We, as Thai graphic designers so often question ourselves on how to make what we design look Thai. I too, have often tried and failed miserably. Least forget, is that we just need to be ourselves, to design from the inside out. To forgo trying too hard to make it look Thai but to concentrate more on how to make it feel Thai. Make the content feel humble, respectful, polite or even with a sense of humour and eventually the design itself will evolve into a unique look of a true Thai design with substance. ผู้เขียนบทความ เคลวิน หว่อง (Kelvin Wong) info@kkelvinstudio.com
กราฟิกดีไซเนอร์ ไทยเชื้อสายมาเลเซียผู้นี้เริ่มต้นการทำ�งานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ตั้งแต่สมัยเรียนอย่างบังเอิญ ด้วยเหตุที่ว่า เพือ่ นๆ ที่โรงเรียน ไม่มีใครอยากดีไซน์ Newsletter หรือหนังสือรุน่ เขาจึงรับอาสาทำ�เอง และเมือ่ ได้ลงมือทำ� เสน่หข์ องงานก็ท�ำ ให้ เขาสนใจและรักในงานดีไซน์ตง้ั แต่นน้ั เป็นต้นมา เคลวิน หว่อง เคยทำ�งานให้กบั บริษทั Propaganda จำ�กัด และ Leo Burnett และ ยังเป็นกำ�ลังหลักของค่ายเพลงขนมปังอย่างเบเกอรี่ เขาผ่านงานออกแบบปกอัลบัม้ หลายปกทีค่ ณุ ต้องร้องอ๋อ อย่าง “สมรสและภาระ” ของ อพาร์ทเม้นท์คณ ุ ป้า และ “ทิงนองนอย” ของ โมเดิรน์ ด็อก ทัง้ ยังเคยได้รบั เกียรติเป็นผูอ้ อกแบบ Corporate Identity ให้กบั โครงการหลวง “พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑” อีกด้วย ปัจจุบันเขาได้เปิดสตูดิโอดีไซน์เป็นของตัวเองในชื่อ K Kelvin Studio
สุรัติ โตมรศักดิ์
170
ผู้เขียนบทความ สุรัติ โตมรศักดิ์ [Surat Tomornsak (try2benice)] trytobe_nice@yahoo.com
อดีตครีเอทีฟจาก J. Walter Thompson Thailand และ Matchbox ทีต่ อนนีห้ นั มาเป็นเจ้าของสตูดโิ อกราฟิกดีไซน์ชอ่ื “try2benice” และยังเป็นผูบ้ รรยายพิเศษทีจ่ ฬุ าลงกรณ์วทิ ยาลัย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ บางโอกาสก็จดั งาน Pecha Kucha Night Bangkok ให้กบั คนกรุงเทพฯ ได้กระตุน้ ไอเดียและแรงบันดาลใจในการดีไซน์มากมาย ผลงานเด่นๆ ทีผ่ า่ นมาของเขาคือ การออกแบบโปสเตอร์ Bangkok Film Festival, Editorial Design ให้กับนิตยสาร ELLE ญี่ปุ่นในงาน Bangkok Fashion Week และปกหนังสือสำ�หรับ นักเขียนชั้นนำ�อย่าง Haruki Murakami นั่นเป็นแค่ตัวอย่างคร่าวๆ
อัตลักษณ์ไทย ในงานออกแบบ ธีรนพ หวังศิลปคุณ
ในงานออกแบบชิน้ หนึง่ มันสามารถสือ่ อะไรได้มากมายกับผูช้ ม นอกเหนือจากการสือ่ สารของงานในแบบฉบับของนักออกแบบเองแล้ว งานชิน้ นัน้ ยังสามารถบอกอะไรเกีย่ วกับตัวนักออกแบบคนนัน้ ได้ดอี กี ด้วย ไม่วา่ จะเป็นแรงบันดาลใจทีเ่ ขาใช้เป็นตัวแปรในการเล่าเรือ่ ง หรือทัศนะคติที่เขามีต่อสังคมรอบตัวเขาที่อาจจะสะท้อนออกมาในงาน และงานชิ้นเดียวกันนั้นก็ยังสามารถบอก Background หรือสภาพแวดล้อมที่เขาเติบโตมา อีกนัยหนึ่งก็คือสัญชาติในงานออกแบบนั่นเอง นักออกแบบในโลกสร้างงานออกมามีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม, การเมือง, ศาสนา, ประวัติศาสตร์ และภูมศิ าสตร์ทเ่ี ปลีย่ นไป การทีน่ กั ออกแบบคนหนึง่ เติบโตขึน้ มาในทวีปยุโรป เขาคนนัน้ อาจทำ�งานออกมาทีม่ คี วามแตกต่างกับ งานที่มาจากสถานที่อื่นๆ บนโลก งานของเขาอาจจะมีวิธีในการสื่อสารที่เรียบง่าย ซึ่งเขาคงได้แรงบันดาลใจหรือเติบโตมาจาก การได้เห็นงานของ Bauhaus รวมทัง้ การศึกษางานออกแบบ Swiss Style ทีท่ �ำ ให้งานของเขาสะท้อนปรัชญาเหล่านัน้ งานของเขาก็คง จะแตกต่างกับงานทางฝั่งอเมริกา ถ้านักออกแบบคนเดียวกันนั้นเกิดที่นี่ เขาก็คงจะทำ�งานออกมาในเชิงทดลองมากกว่า เพราะเขาไม่ได้ซาบซึ้ง หรือประทับใจกับประวัติศาสตร์ทางการออกแบบที่ยาวนานเหมือนกับทางยุโรปที่มีกฏเกณฑ์และทฤษฏี มากมายให้ศกึ ษา ถ้านักออกแบบคนนัน้ ไปเกิดในญีป่ นุ่ เขาอาจจะมีความประทับใจกับพุทธศาสนาลัทธิเซนทีถ่ กู ปลูกฝังมาตัง้ แต่เด็ก ให้ปล่อยวาง ไม่ยดึ ติด และไม่ตอ้ งหาคำ�ตอบให้กบั ทุกสิง่ ทุกอย่างในโลก วันหนึง่ เขาก็อาจจะนำ�สิง่ เหล่านัน้ มาปรับเป็นทฤษฏีในการ ออกแบบของเขา แล้วความประทับใจกับการสร้างงานภาพพิมพ์แบบดัง้ เดิมของ Hiroshige มันคงทำ�ให้งานของเขาออกมาแบบ ไม่มที ม่ี าที่ไป แต่เรียบง่ายแฝงด้วยความคมลึกทางความคิด ถ้าเขาไปเกิดในอินเดียเราก็คงจะได้เห็นงานทีเ่ ต็มไปด้วยสีสนั มากมาย รวมไปถึงการใส่ลายละเอียดอื่นๆ ร่วมไปอีกด้วยในงาน สิ่งเหล่านั้นมันอาจจะออกมาจากความประทับใจของสีสัน และลวดลาย ในสาหรีท่ แ่ี ม่เขานุง่ ห่มอยูท่ กุ วันก็เป็นได้ และมันก็คงจะแตกต่างจากงานของทาง Scandinavia ถ้าเขามาเกิดทีน่ ง่ี านของเขาคงจะ ออกมาในลักษณะ Minimalism แบบใหม่ ที่ใช้วัสดุหรือลวดลายของเนื้อไม้จากป่าสนที่ล้อมรอบตัวเขา รวมทั้งสีที่ถูกเบรก จากการปกคลุมของหิมะ หรือผ่านชั้นบรรยากาศของแสงแดดหน้าร้อนในความทรงจำ�ของเขาบวกกับการให้ความสำ�คัญของ การรณรงค์เรือ่ งการใช้วสั ดุ Recycle และ Organic ทีเ่ ขาและประเทศของเขาทำ�มาช้านานมันคงเป็นงานทีอ่ อกมาอย่างน่าสนใจไม่นอ้ ย แล้วถ้านักออกแบบคนเดียวกันนัน้ มาเกิดในประเทศไทยล่ะ เราจะได้เห็นงานของเขาออกมาในลักษณะไหน งานของเขาจะบอกอะไร เกี่ยวกับความเป็นเขาและสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเขาได้บ้าง เขาจะประทับใจอะไรกับประสบการณ์ที่เขาได้รับจากการเติบโตขึ้นมา ในประเทศนี้ แล้วสีสนั ทีส่ วยสดงดงามจัดจ้านจากแรงสะท้อนของแสงแดดทีส่ อ่ งสว่างตลอดทัง้ ปี รสของอาหารทีเ่ ขากินอยูท่ กุ วัน ทั้ง Shapes และ Forms ของแมลง และดอกไม้ต่างๆ นานาพันธ์ุ รายละเอียดต่างๆ จากงานปฏิมากรรมและปูนปั้นขาวบนขาว ของวัดวาอาราม หรือลายผ้ามัดหมีท่ เ่ี ขาเห็นปูย่ า่ ตายายใส่มาตลอดจะออกมาในงานของเขาหรือไม่ มันจะเป็นแรงบันดาลใจให้เขา เอามาผสมผสานดัดแปลงปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อใช้ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องไปเสียเวลาค้นและแสวงหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ จากหนังสือดีไซน์แพงๆ ใช่มั๊ย
172
สิง่ ทีก่ ล่าวมาข้างต้นไม่ได้จะพยายามบอกว่านักออกแบบไทยควรใส่ความเป็นไทยเข้าไปในงาน ซึง่ มันไม่ใช่จดุ ประสงค์ของบทความนี้ ผมมองว่าแรงบันดาลใจรอบๆ ตัวเราเหล่านี้ มันเป็นเหมือนวัตถุดบิ ทีม่ อี ยู่ในสภาพแวดล้อมทีเ่ ราอาศัยอยู่ มันมีให้นกั ออกแบบไทย ได้หยิบมาใช้อย่างง่ายๆ ถ้ามองโลกของการออกแบบในปัจจุบนั มีนกั ออกแบบชาติตา่ งๆ ทีห่ ลงไหลในวัฒนธรรมอืน่ ๆ นอกเหนือจาก ของตัวเอง จะเพือ่ หลีกหนีความเบือ่ หน่าย หรือเป็นเพราะว่าวัตถุดบิ ทางวัฒนธรรมเหล่านัน้ มีให้ใช้อย่างจำ�กัดในประเทศของเขาก็ตาม พวกเขาก็เลยพยายามมองหาวัตถุดิบทางความคิดใหม่ๆ จากพื้นที่อื่นๆ บนโลก มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเห็นการพยายาม นำ�เอาวัฒนธรรมอืน่ ๆ มาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างงาน แต่งานเหล่านัน้ มันก็มขี อ้ เสียอยูม่ ากเหมือนกัน ถ้านักออกแบบคนนัน้ พยายามที่จะสร้างงานออกมาให้สะท้อนวัฒนธรรม หรือทฤษฏีทางความคิดของชาติอื่นอย่างเต็มร้อย ซึ่งตัวของเขาเองก็ ไม่มีความรู้พอกับมัน เพราะว่าเขาไม่ได้อยู่ในสังคมนั้น งานที่ออกมามันก็คงจะเป็นได้แค่งาน Imitation หรือของปลอมนั่นเอง จริงๆแล้ว มันก็เป็นเรือ่ งปกติทเ่ี ราจะหลงไหลกับสิง่ ทีเ่ ราไม่เคยเห็นมาก่อน แต่อย่างน้อยการทีน่ กั ออกแบบนำ�เอาวัฒนธรรมหรือ ความคิดอื่นๆ มาใช้ มันก็ควรจะถูกปรับหรือใช้เป็นแค่เครื่องมือหนึ่งในการสื่อสารความเป็นตัวตนและความคิดของเราที่มีต่อ วัฒนธรรมหรือทฤษฏีเหล่านั้น มากกว่าที่จะพยายามเป็นตัวตนอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรา ในทางกลับกัน เราเกิดมาในประเทศทีเ่ ต็มไปด้วยทรัพยากรทางความคิด และแหล่งรวบรวมของแรงบันดาลใจต่างๆ และประเทศไทยก็ เป็นหนึง่ ในประเทศทีช่ าวต่างชาติหยิบเอาแรงบันดาลใจเหล่านัน้ มาใช้ในงานอยูบ่ อ่ ยๆ ในฐานะทีเ่ รามีความเคยชินกับวัฒนธรรมของเราดี มันคงจะดีไม่น้อยในบางครั้งคราเราอาจจะมองกลับเข้าไปในตัวของเราเอง และหยิบจับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้มาผลิตงาน บวกกับทฤษฏีและเทคโนโลยีใหม่ๆ ทีม่ ใี ห้ใช้ในการผลิตงานอยูต่ ลอดเวลา นำ�มาผสมผสานใช้ให้เหมาะกับตัวตนในการออกแบบของเรา อัตลักษณ์ของไทยในงานออกแบบคงออกมาโดยที่ไม่ต้องพยายามให้เหมือนใคร หรือเป็นใคร และไม่มีใครเหมือนบนโลก
ผู้เขียนบทความ ธีรนพ หวังศิลปคุณ (TNOP Wongsillapakun) info@tnop.com
ธีรนพ หวังศิลปคุณ หรือ TNOP เป็นดีไซน์เนอร์ทท่ี �ำ งานทีช่ คิ าโก เกิดทีเ่ มืองไทย และจบออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในปี 1993 หลังจากจบ ได้ทำ�งานเป็นกราฟิกดีไซน์เนอร์ที่บริษัท J. Walter Thompsom และหลังจากนั้นได้ร่วมงานกับ TBWA ในตำ�แหน่งอาร์ตไดเร็คเตอร์กอ่ นทีจ่ ะไปศึกษาต่อทีอ่ เมริกาในระดับปริญญาโทที่ Savannah College of Art and Design และได้ยา้ ย ไปทำ�งานในชิคาโกกับ Carlos Segura ที่ Segura Inc. ในปี 2005 ธีรนพ ได้เปิดสตูดโิ อออกแบบของตัวเองชือ่ TNOP™ DESIGN ทั้งในชิคาโกและกรุงเทพฯ และยังสอนและนำ�เสนองานในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลก
Thai Graphic Design Go World Cup Default
ผัดไทยจานใหญ่ที่สุดในโลก ส้มตำ�ไทยครกใหญ่ที่สุดในโลก ขนมไทยที่อร่อยที่สุดในโลก ส้มตำ�แชมป์โลก ชาไข่มุกปั่นระบาดหนัก หมูกะทะ ทุกมุมเมือง ขนมปังโรตีบอยอร่อยกันใหญ่ เนื้อปิ้งญี่ปุนเริ่มผุด โฆษณาแนวไทย ติดตลกเกลื่อนจอ หนังผีสยองทุกจอ หนังตลกร้อยล้านแล้วร้อยล้านอีก ใครจะมาสู้เพราะมีแต่ในประเทศไทย เราเจออัตลักษณ์ไทยของเราแล้ว ผมว่าเราต้องทำ�ความเข้าใจคำ�ว่าอัตลักษณ์กอ่ นทีจ่ ะเริม่ ค้นหาตัวตนของการออกแบบไทย และทำ�ความเข้าใจกับวงการออกแบบ สิง่ พิมพ์ไทย ตลาดไทย ถ้าเราเจออัตลักษณ์แล้วจะเอาไปทำ�อะไร แล้วจะขายใคร แล้วมันเป็นอัตลักษณ์หรือตัวตนของนักออกแบบ แต่ละคนจริงๆ หรือเปล่า หรือเราทำ�ตามกระแสทีเ่ ค้าบอกกันว่าดี อย่างนีม้ นั ดี อย่างนีม้ นั ไทยน่ะ ต้องมีอตั ลักษณ์ เอาทำ�กันพวกเรา สุดท้ายถ้ามันไม่จริง ไม่ได้เกิดจากตัวตนจริงๆของนักออกแบบ เป็นแค่รูปแบบไม่ใช่จิตวิญญาณ มันก็จะหายไปเหมือนทุกอย่าง ที่ผ่านๆมา อัตลักษณ์ของผมน่าจะเกิดโดยธรรมชาติพื้นฐานของนักออกแบบคนนั้นๆ มันไม่มีสูตรสำ�เร็จ ผมว่าเรามีอะไรอีกมากมายที่สำ�คัญจะต้องเริ่มทำ�ก่อน เช่น เราจะทำ�อย่างไรให้เกิดการทำ�งานอย่างมีมาตรฐาน เราจะได้ เลิกหลอกตัวเองว่านักออกแบบมันเป็นอาชีพที่เท่ห์ และเริ่มยอมรับกับความเป็นจริงที่ว่าคนในอาชีพนี้ส่วนใหญ่ต้องทนทุกข์กับ การทำ�งานที่ไม่มอี สิ ระในความคิด ไม่มมี าตรฐานของการเสนอราคา จบใหม่เงินเดือนน้อย ทำ�มานานก็ยงั น้อยอยู่ การทำ�งานแบบ แก้ไม่รู้จบ ลูกค้าพูดจาไม่ดีใส่ ทำ�ตามลูกค้าบอก ต้องทำ�งานดึก เสาร์อาทิตย์ก็ถูกตามงาน ต้องถามว่าคุณภูมิใจกับงานที่ออกมา มากแค่ไหน งานทีม่ ลี กู ค้าไม่ใช่งานทีท่ �ำ เอง หรือว่าเราทำ�ไปเพือ่ ให้อยูร่ อด หรือคิดว่าเราไม่ท�ำ คนอืน่ ก็ท�ำ ทนทุกข์กบั วิชาชีพทีร่ กั มันคุ้มหรือเปล่า
174
ผมได้คยุ กับนักออกแบบชัน้ นำ�ของประเทศหลายคนทีบ่ อกว่าเบือ่ เบือ่ การทีจ่ ะต้องขายงานลูกค้าแบบไม่รจู้ บ เบือ่ ทีจ่ ะต้องมาประมูลงาน ทัง้ ๆทีร่ วู้ า่ จะไม่ถกู เลือก เบือ่ ทีจ่ ะต้องทนทำ�ในราคาทีถ่ กู ๆเพียงเพือ่ ให้บริษทั มีเงินหมุนเวียน เบือ่ ทีจ่ ะต้องแข่งราคากันเอง เบือ่ ทีล่ กู ค้า ขอดูงานก่อน เบื่อที่โดนโกง และอีกมากมาย ผมเองก็เบื่อ โคตรเบื่อ บางคนหาอาชีพอื่นทำ�คู่กันไป เช่น ทำ� Resort กันบ้าง เปิดร้านกันบ้าง ขายของกันบ้าง เสื้อยืดกันบ้าง ถ้าเป็นอย่างนี้อะไรคืออนาคตของวิชาชีพนี้ สิ่งนี้คือความจริง ใครดังใครรอด หรือดังแล้วมีความสุขจริงหรือเปล่า ได้ในสิง่ ทีเ่ ราหวังหรือเปล่า ผมเห็นคนเก่งคนดังก็เลิกทำ�วิชาชีพนีก้ นั ทัง้ นัน้ ลองดูเอาเองก็ได้วา่ มีใครที่เคยโด่งดังในอดีตยังทำ�งานอยู่อย่างต่อเนื่องบ้าง ตอบเลยว่าไม่มี เด็กหลายคนที่มีพรสวรรค์มากก็เลิกทำ�และเบื่อกับงานที่เพิ่งทำ�ได้ไม่กี่ปี เรามีนักออกแบบที่เคยทำ�งานต่างประเทศมากมาย แล้วเป็นไงประเทศไทย เพือ่ นผมคนหนึง่ เคยทำ�งานในต่างประเทศมา แล้วไงไม่ไหวประเทศไทย เปิดร้านอาหารดีกว่า โดยมีค�ำ ขวัญว่า “กูไม่แก้ กูทำ�เท่าเนี้ย มีแค่เนี้ย อยากแดกก็แดก ไม่อยากแดกก็อย่าแดก” แล้วไงประเทศไทยเสียนักออกแบบเก่งๆไปอีกคน หรือเราไม่เดือดร้อน ก็ดีหมดคู่แข่ง ผมว่ามันน่าเศร้าเพราะเราเสียเพื่อนร่วมวิชาชีพไปอีกหนึ่งคน แล้วไงประเทศไทย อะไรคืออนาคตของวิชาชีพนี้ ผมมองไม่เห็น เห็นก็แค่จัดงานกันไปมีสื่อมากมาย แล้วไงเดี๋ยวก็จบกันไป 15 ปีที่แล้วผมเรียนจบ มาใหม่ๆ ก็เห็นจัดกันอย่างนี้ ตื่นเต้นดี แล้วไง มาวันนี้ก็ยังจัดกันอย่างนี้อีก แล้วไงจะไปทางไหนกันดีนักออกแบบไทย ออกแบบ ป้ายบอกทางกันดีหรือเปล่าว่าเราจะไปทางไหน อะไรคือวิชาชีพ อะไรคือวิธปี ฏิบตั ิในการทำ�งาน อะไรคือวิธกี ารเสนอราคา อะไรคือ ราคามาตรฐาน อะไร อะไรอีกมากมาย ผมไม่คิดว่าทุกคนจะลุกขึ้นมาเป็นนักออกแบบได้ในชั่วข้ามคืน ทำ�คอมเป็นก็เป็นได้มันต้องฝึกฝนมีวิธีปฏิบัติ ไม่อย่างนั้น ในต่างประเทศจะไม่มีการจัดการฝึกของวิชาชีพนี้ในเรื่องต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสมาคมออกแบบ ไม่มีการจัดประกวดผลงาน ต่างๆ นานา ที่รู้ๆ มันไม่มีทางลัดแน่นอน การที่เราจะมีอัตลักษณ์ของเราเป็นเป้าหมายที่ไกลเกินไป และมันไม่ได้ช่วยให้อะไรในวงการโดยรวมมันดีขึ้น และแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ เป็นคำ�ตอบที่ตอบไม่ถูกคำ�ถาม เจอแล้วยังไง เอาไปทำ�อะไร หรือให้ทำ�เหมือนกันหมด เป็น DNA ของเรา แล้วคนที่ไม่ท�ำ ตามจะยังไง ไม่ใช่นกั ออกแบบไทยหรือ แล้วใครจะจ้างเรา ใครคือลูกค้า แล้วมันแก้ปญั หาอะไร เพือ่ อะไร พูดง่ายๆ คนหนึ่งเจอคนนั้นดัง แล้วยังไงในเมื่อคนส่วนใหญ่ยังดิ้นรนกับอาชีพที่รักนี้อยู่เลย ผมว่ามันไกลเกินจินตนาการ เหมือนเราฝัน จะไปบอลโลก ถ้าไม่มีมาตรฐาน ไม่มีการพัฒนาวิชาชีพก็จบ ไม่ต้องคิดเรื่องอื่น มีหลายคนบอกว่ามันแรงเกินไปหรือเปล่าที่ผมเขียนแบบนี้ สำ�หรับผม ผมแค่พูดแบบตรงไปตรงมา เอาความจริงมาพูด ไม่มีอะไรแอบแฝง ผมแค่อยากเห็นวิชาชีพนี้ดีขึ้นอย่างจริงใจ ทุกคนมีความสุขและอยากเห็นน้องๆนักออกแบบรุ่นใหม่มีพื้นที่ มีอิสระในการพัฒนาตนเองและถูกพัฒนาอย่างถูกต้อง บอกตามตรงผมเสียดาย ไม่อยากเห็นใครต้องเลิกทำ�วิชาชีพนี้อีกต่อไป และผมเองก็จะได้เลิกแอบบ่นแต่ไม่ท�ำ อะไร
ผู้เขียนบทความ Default welcome@defaultbkk.org
Default เป็นกราฟิกสตูดิโอที่ทำ�งานหลากหลายทั้งในด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม แฟชั่น เพลง และวัฒนธรรม จากทั่วโลก โดยมีออฟฟิศทั้งในกรุงเทพฯ และนิวยอร์ค Default ออกแบบผลงานให้กับสินค้าและองค์กรมากมาย ได้แก่ ทรู คอฟฟี่, ดวงฤทธิ์ บุญนาค, PIA Architect, British Council, ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC), This Studio, Land & House, Noble Development, โครงการ ArtAids เป็นต้น
กลยุทธ์การตลาด: อนิจจังไม่เที่ยง สาลินี หาญวารีวงศ์ศิลป์
ป้าวิไลมีฝีมือทำ�ต้มยำ�กุ้งระดับแซ่บเหนือชั้น ต้มยำ�กุ้งหม้อนึงของแกใส่เครื่องเคราชั้นดีครบครัน ไม่ต้องพึ่งซุปก้อนปลอมๆ ให้เสียทัง้ เชิงเสียทัง้ รส ชาวบ้านร้านช่องก็ซดต้มยำ�ของแกมานานปีจนลิน้ รับรสว่ามาตรฐานต้มยำ�กุง้ รสดีแบบไทยแท้ๆ นัน้ เป็นดังนี้ ส่งผลไปถึงความภาคภูมิใจในรสชาติไทยๆ ทีเ่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเฉพาะแบบ ถ้ากินแล้วไม่เหงือ่ แตกพลัก่ ล่ะก็ไม่ใช่ตม้ ยำ�กุง้ ชัน้ ดี ของป้าวิไล แถมยังก่อให้เกิดความเข้าอกเข้าใจระหว่างผู้กินต้มยำ�กุ้งด้วยกันด้วย ก็ใครล่ะจะเข้าถึงความทรมานอันสุนทรีของ การกินต้มยำ�กุ้งแบบไทยๆ ได้ ถ้าไม่ใช่คนไทยด้วยกันเอง คนที่อยู่นอกวงแหยแฝ่นกับรสชาติสบายปากลำ�บาก (Toud!) เช่นนี้ ไม่มีวัน Get ผลิตภัณฑ์ของป้าวิไล และผู้บริโภคของแกก็ เข้าล็อกกันพอดี คนที่เดินทางมาซดต้มยำ�กุ้งของแกก็มั่นใจว่าจะได้กินต้มยำ�กุ้งรสมาตรฐานไทย กินแล้วก็พึงพอใจที่ป้าวิไล ไม่มีการประนีประนอมทางรสชาติ ป้าวิไลก็ทำ�การปรุงผลิตภัณฑ์ต่อไปตามมาตรฐาน ถึงจะมีป้าวิมล ป้าวิเวียน ป้าวิภา ออกมาแข่งขันกันอีกหลายเจ้า ป้าวิไลแกก็ถือว่าเป็นทางเลือกของรสชาติ เรื่องของรสชาตินี้หม้อใครหม้อมันแล้วแต่ลิ้นจะเลือก ป้าวิไลแกก็ไม่ได้ไปทำ�การตลาดข่มขู่คู่แข่งแต่อย่างใด ถือว่าแบ่งมาร์เก็ตแชร์กันไป เพราะล้วนแล้วแต่รายเล็กรายน้อยกันทั้งนั้น และแล้ววันหนึ่งกงล้อแห่งโลกาภิวัตน์ก็หมุนมาถึงร้านต้มยำ�กุ้งป้าวิไล เฮนรี่ นักท่องเทีย่ วฝรัง่ หัวแดงมาตามโพยใน โลนลี่ แพลนเน็ต หาร้านป้าวิไลจนเจอ เขาปรารถนาประสบการณ์แห่งรสชาตินม้ี าก It’s a must do A-list in the City of Bangkok เฮนรี่ โพสท์ลง Blog ของเขา นักท่องเทีย่ วหลัง่ ไหลมาเหงือ่ แตกพลัก่ น้�ำ หูน�ำ้ ตาไหล อยูห่ น้าหม้อต้มยำ�กุง้ ของป้าวิไล มากกว่าครึง่ พ่ายแพ้กลับไปเพราะทนพิษของมันไม่ไหวก็คงอาการเดียวกับพวกกะเหรีย่ งอย่างเรา ทนพิษเลี่ยน เนยนม ชีส วิปครีม ไม่ได้นั่นแหละ ป้าวิไลไม่ได้เดือดร้อนอะไรกับลูกค้าฝรั่งที่ไม่อาจต้านทานรสมือของเธอได้ “ไม่เผ็ดระดับนี้ก็ต้องไปกินต้มข่าไก่ไม่ใช่ต้มยำ�กุ้ง” เธอว่าเหมือนแฝงนัยยะว่ามาตรฐานเอกลักษณ์นั้นไม่มีการประนีประนอม การประนีประนอมก็มีแต่จะเลื่อนชั้นเราสู่มาตรฐานที่ ย่อหย่อนกว่า ป้าวิไลก็ตม้ ยำ�กุง้ ของแกต่อไป ลูกค้าชาวไทยมากมายก็แวะเวียนเข้ามาเหงือ่ แตกกันเรือ่ ยไปไม่ขาดสาย ลูกค้าฝรัง่ ห่างหายไม่เห็นหัว ไปโผล่ที่ร้านป้าวิมล รสต้มยำ�กุ้งของแกนั้นสาวแหววไป ชิมมาแล้วก็ไปโพสท์ใน Blog ชวนชิมของเธอเหมือนกัน “ถ้าอยากรู้ว่าต้มยำ�กุ้งรสฝรั่งกินได้แต่ไทยเมินเป็นอย่างไร ขอแนะนำ�ป้าวิมล”
176
ป้าวิมล กลายเป็นปรากฏการณ์ทางการตลาด การปรับเปลี่ยนรสต้มยำ�กุ้งของแกให้ถูกลิ้นฝรั่ง ผสมนม ผสมครีมเข้าไป ใช้ปลาแซลมอนแทน พาแกไปฮิตติดตลาดโลก จากร้านเล็กๆ แกก็ขยายสาขายังประเทศกลัวเผ็ดทัง้ หลาย แถมยังทำ�ซุปก้อนต้มยำ�กุง้ รส Original Thai ให้ฝรั่งเอาไปใส่หม้อทำ�ต้มยำ�กินเองได้แสนสะดวก แน่นอนรส Original Thai ที่ว่า ย่อมไม่ใช่รสไทยเหงื่อแตก ของป้าวิไล มันได้ถูกปรับเปลี่ยนไปแล้วเพื่อตอบสนองลิ้นของผู้บริโภค ผู้บริโภคที่ครั้งแรกก็กะจะมาลองสู้กินต้มยำ�ดูสักตั้ง มาลองรับรสชาติประสบการณ์ท่ี Original จริงๆ แล้วผูบ้ ริโภคแหยๆ ขีข้ ลาดเหล่านีแ้ หละ สูไ้ ม่ไหวก็เอาแต่ใจตัวเองจนรสมันเปลีย่ น แบรนด์ปา้ วิมลก็กลายเป็นแบรนด์ไทยระดับโลก สร้างกรอบสร้างมาตรฐานไปว่าต้มยำ�กุง้ Original Thai นัน้ รสชาติน้ใี ครไม่เหมือนรสนี้ ไม่ใช่ ได้ข่าวว่ามีคนแนะนำ�ให้แกไปจดสิทธิบัตรด้วย ทีนี้ถ้าป้าวิไลทำ�ต้มยำ�กุ้งเผ็ดซิ้ด..ด.. ล่ะก็เป็นโดน ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ไอ้ละเมิดลิขสิทธิ์น่ะไม่ไง แต่ละเมิดอุดมการณ์ต้มยำ�กุ้งนี่สิ ป้าวิไลแกเจ็บปวด แบรนด์อะไรก็ตามทีข่ น้ึ ระดับ Global Brand มักรุกหนักเพราะมีตลาดทัว่ โลกแล้วทุนก็หนาด้วย และอะไรๆ ทีเ่ ป็น Global Brand ก็มกั จะไม่ได้มีศูนย์กลางอำ�นาจอยู่ที่บ้านเรา อะไรๆ ก็สั่งการมาจากต่างประเทศ แบรนด์สากลของป้าวิมลก็ไม่เว้น พอแกผลิตซุปก้อนขายทั่วโลก แบรนด์ของแกก็ตกอยู่ในมือบริษัทที่มีชื่ออยู่ในตลาดหุ้นที่ นิวยอร์กเรียบร้อย ป้าวิมลแกก็มีหุ้นด้วยชิลล์ๆ ต้มยำ�กุ้ง Original Thai จะรสชาติเปลี่ยนไปยังไงก็ไม่อยู่ในหัวแกแล้ว ซุปก้อนรสสากลของป้าวิมลทำ�การตลาดฮึกเหิมเข้ามาเมืองไทย ตามตัวเลขการวิจัยแล้วเห็นว่าเมืองไทยบริโภคต้มยำ�กุ้งเป็น อันดับหนึ่งของโลก เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงมากๆ ต้องบุกตลาดเมืองไทยให้ราบคาบทุกครัวเรือน ใส่การโฆษณาเข้าไปเจาะใจผูบ้ ริโภค “ต้มยำ�กุง้ รสแท้ ไม่ตอ้ งเข้าครัวแต่ไก่โห่” เสนอความสะดวกให้แม่บา้ นพ่อบ้านไปปรุงกินเอง “อยากกินเมื่อไรก็ได้ ไม่ต้องรอโต๊ะ” ทำ�กินในบ้านก็ได้ ไม่ต้องไปซื้อเขากิน “ก้อนเดียวต้มยำ�หม้อใหญ่ ประหยัดไปเยอะ” อันนี้ก็แวะๆ ไปเจาะใจร้านขายต้มยำ�ด้วยช่วยลดต้นทุน นวัตกรรมทางการตลาดการโฆษณาดาหน้ากันเข้ามาเสริมทัพให้ซปุ ก้อน Original Thai ครองใจ ครองหู ครองตา ครองลิน้ ผูบ้ ริโภค อย่างดิน้ ไม่หลุด ทัง้ หนังโฆษณา ส่งเสริมการขาย พริตตีแ้ จกตัวอย่าง งาน Event เว็บไซต์ โฆษณาแฝงในละคร แผ่นป้ายในเกมโชว์ รายการทำ�กับข้าวทีแ่ นะนำ�ให้ใช้แต่ซปุ ก้อนตะพึดตะพือ Ambience Media ทีป่ ล่อยกลิน่ ต้มยำ�กุง้ ฟุง้ ทัว่ สยามเซ็นเตอร์กอ่ นออกแจก ตัวอย่าง และอีกมากมายหลายช่องทางที่จะหว่านล้อมให้ผู้บริโภคได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้ และจบลงที่ได้ซื้อ ไม่อยากเชือ่ ก็ตอ้ งเชือ่ กลยุทธ์ฮกึ เหิมเช่นนี้ ไม่ได้แค่ขายซุปก้อน แต่มอี ทิ ธิพลขนาดปรับเปลีย่ นพฤติกรรมและทัศนคติของผูบ้ ริโภคได้ ในกรณีนี้ก็เปลี่ยนลิ้นได้ล่ะเอ้า..! “เอ...ป้าวิไลต้มยำ�กุ้งชามนี้รสแปลกๆ นะ ป้าเปลี่ยนสูตรหรือเปล่า?” คุณสุดาลูกค้าประจำ�ต้มยำ�ป้าวิไลบ่น “ก็สูตรเดิม คนทำ�ก็คนเดิมล่ะค่ะ” ป้าวิไลตอบไปเย็นๆ “นีป่ า้ ชัน้ จะบอกให้ ป้าลองใช้ซปุ ก้อน Original Thai ยีห่ อ้ ป้าวิมลดูสิ รสชาติตม้ ยำ�กุง้ แบบไทยแท้ๆ เลยนะ เนียน ครีมๆ เผ็ดนุม่ ๆ กำ�ลังดี ถูกลิ้นคนไทยอย่างเราๆ เลยแหละ” คุณสุดากระตือรือร้นมากกับเคล็ดลับที่เธอบอกป้าวิไลไป “หน้ากล่องมันเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ป้าคงไม่คุ้น เดี๋ยวชั้นจดใส่กระดาษให้ ต้มยำ�กุ้งร้านป้าจะได้รสชาติเป็นต้มยำ�กุ้งซะที” คุณสุดาสำ�ทับด้วยความหวังดี หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ Opinion นิตยสาร Computer Arts Thailand ฉบับที่ 14 เดือนมิถุนายน 2553
177
ผู้เขียนบทความ สาลินี หาญวารีวงศ์ศิลป์ (Salinee Hanvareevongsilp) hsalinee.blogspot.com
VP Creative Director JWT Bangkok เจ้าของพ็อกเก็ตบุ๊ก Urban Diary และ Japan Journal Journey
178
179
180
181
ผลงานของผู้ที่เข้าร่วมโครงการ ประจำ�ปี พ.ศ. 2553
185
อัจฉรา ชื่นอารมณ์ Achara Cheunarom aew_iu@hotmail.com www.portfolios.net/profile/zzaiiu
Colourful of Thailand
เมืองไทยเป็นเมืองแห่งสีสันและวัฒนธรรมที่สวยงาม สื่อถึงว่าเมืองไทยไม่ได้โดดเด่นเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่โดดเด่นไปพร้อมๆกันด้วย ซึ่งแทนค่าสิ่งเหล่านั้นด้วยสีต่างๆ
อัครพล ด่านทองหลาง Akkharaphon Dantonglang phon@live.com www.akkharaphon.com
Bangkok non Thailand
กรุงเทพฯ ไม่ใช่ ประเทศไทย
186
อลิษษา ลัภนวิศรุต Alisa Luckphanavisarut
Everywhere is Thai
ในทุกๆที่นั้นมีความเป็นไทยอยู่เสมอ
เอนก เอื้อการุณวงศ์ Anek Ua-Karunwong toyanek111@gmail.com
Padthai
นำ�เสนอความเป็นสากลในรสชาติของอาหารไทย ที่มีคนรู้จักค่อนโลกในรูปแบบTypography
187
อนุชา รัตนวัน Anucha Rattanawan a_child_6@hotmail.com
ชาวนา
เราภูมิใจเสียเหลือเกินว่า ข้าวของเรามีคุณภาพดีที่สุดในโลก และเราก็เป็นประเทศส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก ...แต่ชาวนาไทยกลับเป็นสัญลักษณ์ของความลำ�บากยากจน และการถูกเอารัดเอาเปรียบไปตลอดกาล...
อนุชิต บุญสม Anuchit Bunsom studio@pixelganda.com www.pixelganda.com
My Ganpati
ในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีการบูชาเทพองค์ต่างๆ ในศาสนาพราหมณ์อยู่มากมาย รวมทั้งองค์พระพิฆเณศ ซึ่งอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ดูได้จากการพบรูปสลักพระพิฆเณศในเทวสถานตามเมืองต่างๆ ทั่วทั้งประเทศไทย โดยมีหลักฐานการค้นพบองค์เทวรูปบูชาพระพิฆเณศที่เก่าแก่ ในสมัยที่ขอมเรืองอำ�นาจในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นต้นว่าองค์เทวรูปบูชานั้นสลักจากหิน ค้นพบทางแถบจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ และนี่คือพระพิฆเนศวรที่ใช้บูชาที่สตูดิโอพิกเซลกานด้า ซึ่งเป็นแบบเฉพาะมีองค์เดียวเท่านั้น
188
อนุชิต คำ�ซองเมือง Anuchit Kamsongmueang keanu2520@hotmail.com www.mind2u.com
Freedom (อิสรภาพ)
บางแห่งบางที่ ผู้คนมากศรัทธา แต่ขาดแคลนเงินตรา และสำ�คัญคือขาดปัญญา พินิจพิจารณาสิ่งที่ถูกสิ่งที่ผิด สิ่งที่เป็นจริง สิ่งที่เป็นเท็จ สิง่ ทีเ่ ป็นเหตุเป็นผลทีว่ เิ คราะห์ดว้ ยสมอง แต่เหนือกว่านั้น คือการวิพิจด้วยใจ ด้วยคุณธรรม ด้วยสามัญสึกนึก เมื่อมองแต่ด้วยตา แต่ไม่มองด้วยใจ พวกเขาเหล่านั้นจึงยังเป็น ผู้ที่ถูกกังขังด้วยอวิชชา พวกเขาแทนที่จะแสวงหาปัญญา กลับแสวงหาแต่เงินตรา เท่านั้น !
อนุกูล เหมาลา Anukun Hamala info@nokhookdesign.com www.nokhookdesign.com
Pinkpanda & Lemonman / Stoneman
เราเป็นคนล้านนาที่รักในวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่เรากลับอยากสร้างสิ่งมีชีวิตของเราให้เป็นจริง ผ่านการคิดปรับปรุงเป็นในแนวทางของเราบ้าง แต่เจือกลิ่นความเป็นล้านนาไว้บ้าง ทำ�ให้บนโลกจริงในปัจจุบัน เราไม่สามารถสร้างสรรค์งานที่ต่างจากความคิดความเชื่อ แต่เก่าก่อนได้เลย (แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่คิดว่าหลากหลายทางวัฒนธรรมก็ตาม) เมื่อไม่สามารถสร้างบนพื้นที่ของเมืองจริงๆได้ จึงได้ทดลองนำ�สิ่งมีชีวิตที่จินตนาการ ไปประกอบกับภาพถ่ายของเมืองที่เราคิดว่าไม่ใช่ที่ทางที่สมควรอยู่ในปัจจุบัน เพื่อหวังว่า ภาพร่างความคิดอันแตกต่างนี้ จะสามารถอยู่ร่วมกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้อย่างกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวได้ในอนาคต
189
อนุสิทธิ์ สายคำ� Anusit Saikham adinaline_art07@hotmail.com
หวย
ไม่ว่าจะยุคสมัยใด พื้นที่แห่งใด วิถีชีวิตคนไทยผูกติดกับความเชื่อด้านโชคลาภ เชื่อว่าการได้มาซึ่งเงินทองที่ไม่ได้ลงแรงหามานั้นมีจริง ไม่ว่าจะใครก็คงพูดได้ว่ารอบตัวเราไม่มีใครเลย ที่พูดได้ว่าบุคคลรอบตัวเราไม่มีใครเกี่ยวข้องกับ “หวย”
อนุวัฒน์ ขาวมานิตย์ Anuwat Khaomanit joee_e01@yahoo.com
Part of Thailand Can Do. Project
ฉันอยากเป็นฝรั่งแล้วพูดว่า “I love Thailand and Our King”
190
อนุทิน วงศ์สรรคกร Anuthin Wongsunkakon anuthin@cadsondemak.com www.cadsondemak.com
คัดสรรดีมากในเยอรมันนี
ในช่วงกันยายนที่ผ่านมา คัดสรรดีมาก ได้มีโอกาสส่งผลงาน ร่วมแสดงผลงานการออกแบบตัวอักษร ร่วมกับนักออกแบบชั้นนำาทั่วโลก จากการจัดของ ไทป์โพซิชั่น.ดีอี และ พิพิธภัณฑ์ คลิงสปอ ในเมืองออฟเฟนบัช (ไม่ไกลจากแฟรงค์เฟิทธ์) ประเทศเยอรมันนี และความช่วยเหลือจากบริษัทชั้นนำาอย่างไลโนไทป์ ในการรวบรวมผลงานจากนักออกแบบนานาชาติ จาก สหรัฐอเมริกา อิสราเอล โปรตุเกส สวีเดน อาเจนตินา เนธอร์แลนด์ และ ไทย งานนี้ยังประกอบไปด้วย การบรรยาย ๒ วัน จากนักออกแบบชั้นนำาอาทิเช่น อากิรา โคบายาชิ (Akira Kobayashi) และ ออทมาร์ ฮอฟเออร์ (Otmar Höfer) ไทป์ไดเรคเตอร์ของไลโนไทป์ The cooperation of typosition.de together with the Klingspor-Museum Offenbach, Germany presents a Typographic & Type Design exhibition “Schrift in Form” 3-26 September 2008. ผลงานการออกแบบตัวอักษรละตินชุด Bangkokean (คนกรุงเทพ) ได้รับเกียรติให้ร่วมแสดงในส่วน ตัวอย่างงานภายนอกเพื่อการประชาสัมพันธ์ และภายในนิทรรศการที่ทาง คัดสรรดีมาก ได้ออกแบบโปสเตอร์ใหม่สำาหรับฟอนต์ชุดนี้ เพื่อเข้าร่วมแสดงงาน บางส่วนจากข้อความของ อนุทิน วงศ์สรรคกร ที่จัดแสดงในงานนี้ พูดถึงฟอนต์ชุด คนกรุงเทพ “It was originally designed side by side with my first attempt on semi serif typeface in 1997. The design had never made it through a full development until a couple years ago when our studio decided to complete the regular weight for a local project here in Bangkok. The face is a traditional serif with narrow stem (somewhat like san serif) and industrial stroke. A good mix of Bangkok character where you can find Wat (old buddhist temple) next to futuristic high rise.”
191
อนุวรรตน์ รอดสุข Anuwat Rodsuk anuwat_rk@hotmail.com
kon-Thai
เอกลักษณ์ของคนไทย คือการให้ที่ไม่มีวันหมด
อภิวัฒน์ มุ่งมาไพรี Apiwat Mungmapiree zweenoi@hotmail.com
โครงการออกแบบหนังสือรถสิบล้อ ISUZU
จากการที่ได้มีความสนใจใตัวลวดลายบนตัวรถสิบล้อรุ่น ISUZU TX (อีซูซุหน้ายาว) ลวดลายเหล่านั้นข้าพเจ้าเห็นแล้วมีเรื่องราวที่น่าจะเก็บบันทึกรักษาไว้ ปัจจุบันรถอีซูซุหน้ายาวไม่ได้ถูกผลิตอีกแล้ว ถ้าเกิดไม่มีใครให้ความสำ�คัญ ข้าพเจ้าคิดว่ามันจะสูญหายไปจากเมืองไทย ทัง้ ตัวรถและลวดลายทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ไทย
192
อารักษ์ อ่อนวิลัย Aruk Ornvilai sahredtoy7.exteen.com
THAI + LAND
เป็นการหยิบเอาเรื่องราว ที่ช่วงหนึ่งเคยเป็นกระแสของสังคม มาขยำ�เป็นรูปแบบของประเทศ ในมุมมองที่สดใส น่ารักน่าสนุก
อัจฉรา ทองนอก Atchara Thongnok bewty_16@hotmail.com dramapixelbew.wordpress.com
กวัก you!
นางกวักเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน ปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนไป นางกวักเวอร์ชั่นใหม่ๆ ก็มาตามยุคสมัยและกาลเวลา
193
เบญจมา พลเกษตร Banjama Phonkaset score_snow_scrubb_963@hotmail.com
Thailand Only
ประเทศไทยมีหลายอย่างที่มีหนึ่งเดียว ที่คนไทยสามารถอนุรักษ์ให้คงต่อไปให้หลายประเทศได้ชื่มชมความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็นวัด หรือสถานที่เที่ยวต่างๆ อยากให้คนไทยมาเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น ช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน
เบญจรัตน์ เอี่ยมรัตน์ Benjarat Aiemrat elizaben_@hotmail.com
น้ำ�ไหนๆ ก็ไม่เท่าน้ำ�ใจคนไทย
คนไทยเป็นคนที่มีน้ำ�ใจ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยนำ�เสนออัตลักษณ์ด้านนี้ของคนไทยในรูปแบบภาพเวกเตอร์ ที่เข้าใจได้ง่ายๆ
194
ภูมินทร์ พุทธโกมุท Bhumin Bhutdhakomut since1993@live.com
SOME WHERE SOME WORD
คำ�ว่าไทย ไม่ได้อยู่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่ถูกกระจัดกระจายไปพร้อมสินค้า พร้อมผู้คน ที่มีการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและสิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา...
บวรรัตน์ แจ้งสว่างศรี Borvornrut Jangswangsri rutty555@hotmail.com www.borvornrut.blogspot.com
ไทยเป็นไทย
ลักษณะของความเป็นไทยที่เราได้แสดงให้ชาติอื่นๆ เห็น ความเป็นตัวตน และรูปแบบของไทยเราเอง
195
ชลิต เสงี่ยมศักดิ ์ Chalit Sagiamsak vatashiva-_-@hotmail.com
จุดแห่งความสงบสุข
สื่อถึงความแตกแยกในสังคมปัจจุบัน ถ้าทุกคนมีจุดจุดนี้สังคมจะสงบสุข
ชนิดา วัดทอง Chanida Wadtong w.chanida@gmail.com zadoong.thport.com
Habit
อย่าให้ความเคยชิน ทำ�ให้เราหลงลืมบางสิ่งไป จนเหลือเพียงแค่ภาพวาด
196
จันทรานุช คูสุวรรณ Chantranut Khoosuwan kade_22@hotmail.com raisinsday.wordpress.com
Activities in Bangkok
ภาพกิจกรรมตามท้องถนนในกรุงเทพฯ ที่เรามักจะเห็นกันจนชินตา เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเสน่ห์อย่างนึงของไทยที่ไม่ค่อยเหมือนใคร เช่น มีรถตุ๊กๆ ที่เขียนว่าแท็กซี่ หาบเร่แผงลอย สุนัขขอทาน เด็กเดินขายพวงมาลัย สุนัขจรจัดไล่เห่ามอเตอร์ ไซด์ มีป้ายไฟจราจรเเบบเคาท์ดาวน์ ป้อมจราจรที่เป็นรูปหมวกตำ�รวจ หรือมีร้านบะหมี่ข้างทางแบบแฟรนไชส์ ฯลฯ
ชาติชาย บำ�รุงธรรม Chatchai Bumroongthum upstopia@hotmail.com
Just Your Mind
Somewhere Thai? Just Your Mind. หากถามว่าที่ไหนไทย อะไรคือไทย แบบไหนไทย.. ทุกอย่างอยู่ที่ใจ จะทำ�อะไร ขอแค่ให้ใจเป็นไทย จะไทยไม่ไทย อยู่ที่ใจล้วนๆ (อยากกระตุ้นให้คนไทยใช้ใจในการทำ�งานให้มากขึ้น บ่อยครั้งที่เราจะคิดว่าสิ่งที่จะทำ�ลงไปนั้น จะออกมาเป็นไทยรึเปล่า จะทำ�ให้ไทย ต้องทำ�อย่างไร จนหลงลืมไปว่า สิ่งที่สำ�คัญที่สุดของความเป็นไทยนั้นคือ การทำ�หัวใจของเราให้เป็นไทย เมื่อหัวใจเราเป็นไทยแล้ว จะทำ�สิ่งใด จะอยู่ที่ไหน จะไทยหรือไม่ไทย ไม่ต้องสนใจสิ่งใด อยู่ที่ใจล้วนๆ)
197
ฉัตรชัย พรวนกระโทก Chatchai Pruankratoke umchatchai@gmail.com bangbon.wordpress.com
สวัสดี
เอกลักษณ์ประจำ�ชาติไทยอย่างหนึ่ง คือ การทักทายกันด้วยคำ�ว่า “สวัสดี” ผลงานชิ้นนี้จึงนำ�คำ�ว่า “สวัสดี” มาใช้ และให้สีของตัวอักษรมีโทนของสีทอง ซึ่งสีทองนั้นเป็นสีที่ผูกพันธ์กับคนไทย มาช้านาน
ชัชวาล มั่นสัตย์รักสกุล Chatchawan Munsutrukskool louis_dsgn@hotmail.com
Need
เป็นคำ�ถามเชิงสัญลักษณ์ ต่อการบริโภคสื่อของคนไทย ว่าเราบริโภคเครื่องดื่มโออิชิ นี่เพราะต้องการดื่มมันจริงๆ เพราะชอบในรสชาติ หรือ คุณสมบัติของเครื่องดื่ม หรือแค่หลงไปกับการโฆษณาชวนเชื่อ (ทีว่ า่ เป้าหมายให้สง่ ฝาแล้วได้ลนุ้ ไปญีป่ นุ่ )
198
ฉัตรณรงค์ จริงศุภธาดา Chatnarong Jingsuphatada chatnarong@gmail.com justkeepitsimples.blogspot.com
ที่นี่ไทยแลนด์ / กินโกงแลนด์
เราเริ่มงานโดยพยายามหาชุดคําพูดที่เราสนใจ รวมถึงทดลองรูปแบบอักษรที่เอื้อต่อการซ้อนความหมายต่างๆ ลงไป กับข้อความที่ระบุถึงประไทย บวกกับการใส่สิ่งต่างๆ (ในที่นี้คือสีต่างๆ) ที่คอยรบกวนบิดเบือนความจริงที่ซ่อนอยู่ภายใต้ข้อมูลชุดแรก โดยคาดหวังให้ผู้รับสารตัดข้อมูลที่ไม่จําเป็นออก และพบชุดข้อมูลที่ซ่อนอยู่
ฉัตรสุดา กล่�ำ ทับ Chatsuda Klamtub noi_na2@hotmail.com
Somewhere Thai (People?)
ตรงไหนที่มีคนไทยจริงๆ ในเมื่อต่างฝ่ายต่างทำ� เหมือนอีกคนไม่ใช่คนไทยด้วยกัน ทั้งๆ ที่ความจริงทุกคนก็คือคนไทย
199
ชยตว์ กิระนันทวัฒน์ Chayot Kiranantawat yellow_pazzo99@hotmail.com
ซัมแวร์ไทย?
ความเป็นไทยสามารถเห็นได้จากกายภาพ ของอาคารบ้านเรือนในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรือนไทย บ้านพื้นถิ่น วัดต่างๆ หรือแม้กระทั่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่เป็นทั้งตึกแถว ตึกสูง ที่มีเอกลักษณ์ก็สามารถบ่งบอกได้ว่า ที่นี่คือประเทศไทยเช่นกัน แต่สิ่งไหนกันแน่ที่แสดงถึงความเป็นไทยอย่างแท้จริง?
ชูชาติ นิธิเจษฎาวงศ์ Choochart Nitijessadawong n.choochart@gmail.com
สานสร้าง - ไทยสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ที่ดีย่อมมี “การเริ่มต้น” และ “การสานต่อ” ให้ความคิดเหล่านั้นเกิดขึ้นจริง จึงสะท้อนออกมาในส่วนของตราสัญลักษณ์ ของงานที่มีลักษณะการไขว้ขัดสานกันของเส้น 4 เส้น ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นของลายสานของไทย อีกทั้งยังนำ�เสนอในรูปแบบของ Poster ประชาสัมพันธ์ โดยทำ�ให้เกิดการสานกันขึ้นเป็น Logo นูนขึ้นมาจากกระดาษแผ่นเดียว
200
เดชา จึง Deja Jueng deja_jueng@hotmail.co.th www.portfolios.net/profile/daradara
SWT1 / SWT2 ที่ไหนซักแห่ง
โดม สะเดาภัคพิพัฒน์ Dome Sadaopukpiput rock_the_queen@windowslive.com anubannclassicstudio.multiply.com
สนาม ศรี
สนาม ศรี พยายามจะแสดงออกถึง สิ่งที่จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ ของสังคมที่ใช้การแบ่งพรรคแบ่งพวก โดยการใช้สี เพื่อแสดงออกทาง ความแตกต่างของความคิดในสังคม และน้อยนักที่แต่ละสี จะยอมเจือจางลง เพื่อให้สีอื่นเข้ามาผสมผสาน สนาม ศรี ถูกถ่ายทอดผ่านการถ่ายภาพ แบบ Abstract ในรูปแบบ Colour Fields ความมึนเบลอของภาพ ก็คงไม่แตกต่างอะไรไปจากสภาพสังคม ที่ถูกชักจูงไปอย่างง่ายดายและลุ่มหลง ไปกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ อย่างมึนเมา ถ้าพูดถึงเรื่อง “สี” ประเทศไทย คงเป็นที่แรกที่จะโผล่ขึ้นมาบน “หัว” คุณอยู่สีอะไร? ขอให้ ทุกสี รักกัน
201
ดุษฎี จันทร์ศรีเกษร Dussadee Chunsrigaysorn babybest_20@hotmail.com
Bus Tickets
ข้าพเจ้ามีความประทับใจในสิ่งของที่ได้สะสมไว้ ได้แก่ ตั๋วรถเมล์ ตั๋วหนัง ใบเสร็จ สิ่งที่เหมือนเป็นเครื่องยืนยันว่าเราเคยทำ�สิ่งนี้ ไปที่แห่งนั้นมาแล้ว เมื่อได้หยิบขึ้นมาดูเมื่อไหร่ก็จะทำ�ให้ข้าพเจ้านึกถึงเรื่องราวเหล่านั้นแล้วทำ�ให้มีความสุข ถึงแม้สิ่งเหล่านั้นจะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย เมื่อเวลาได้ผ่านมาช่วงหนึ่ง ข้าพเจ้าได้กลับมาเห็นสิ่งของเหล่านั้นอีกครั้งทำ�ให้ข้าพเจ้าได้พบความสุขที่เรียบง่ายในชีวิต เพราะในปัจจุบันการที่เราจะหาความสุขนั้นยากมาก เนื่องจากสภาพสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปมีความวุ่นวายเกิดขึ้นมากมาย ข้าพเจ้าจึงต้องการนำ�เสนอความสุขที่ได้รับจากสิ่งที่สะสมเอาไว้มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รับรู้ ซึ่งในบางขณะความสุขต่างๆ เหล่านี้อาจเกิดขึ้นกับผู้ชมที่มาชมงานของข้าพเจ้าด้วยเช่นกัน
202
เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี Ekaphan Karumontree ek.ekaphan@gmail.com w9.tumblr.com
ภาษาวิบัติ
แค่สงสัยว่าทำ�ไม? เราคนไทยต้องมานั่งแปล “พาสาทัย” ให้เป็น “ภาษาไทย” ด้วย
เอกวิทย์ เล็กวิริยะกุล Ekawit Lekviriyakul chlorome@live.com
สีไหนก็ไทย
ในปัจจุบันนั้น คนไทย แบ่งแยกกันเอง เป็นหลายสี จะดูกันอีก สักกี่ที ไม่ว่ากี่สี ก็ไทยด้วยกัน
203
ฟาร์มกรุ๊ป Farmgroup graphicfarmbkk@gmail.com www.farmgroup.co.th
ขิด (Khid)
ประติมากรรมลายขิด 3 มิติ: ผ้าทอลายขิด เป็นผ้าพื้นเมืองของภาคอีสาน นับว่าเป็นศิลปะพื้นฐานที่สะท้อนให้เห็นภาพ ลักษณะ ลวดลาย และวิวัฒนาการของท้องถิ่นเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ ประติมากรรมเหล็ก 10 ชิ้นขนาดใหญ่ มีสีสันที่สดใส แสดงถึงความสนุกสนาน และเป็นกันเองของคนอีสาน
Günther Gheeraert gunther.gheeraert@gmail.com gunther-gheeraert.com
Ganesh Spirits
Canon 5D Mk II & Canon 50mm 1.4 Music: Gustavo A. Santaolalla “De Ushuaia a la Quiaca” :: ภาพผลงานวีดิโอ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.vimeo.com/10085373
204
หฤทัย สิงหกุล Haruethai Singhagul keri_za@hotmail.com
สวัสดี ศิวิไล
สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของคนไทย คือการ “สวัสดี” แม้แต่ชาวต่างชาติ ที่มาเมืองไทยก็พูดคำ�ว่า “SAWASDEE” เป็นคำ�แรก เป็นสิ่งที่ปลูกฝังมาตั้งแต่อดีตการณ์ และคงยังปลูกฝังเรื่อยๆ ไป... สถาปัตยกรรมที่ศิวิไล (Civilize) ในอดีตของไทย คือ วัด คนไทยในสมัยก่อนจะสร้างวัดเพือ่ แสดงถึง ความเจริญรุ่งเรื่องของสมัยนั้น แต่ในปัจจุบันการสร้างตึกที่ใหญ่โต และสูงเสียดฟ้าเป็นการแสดงถึง ความ Civilize ของยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ตามกาลเวลา... แต่สง่ิ นึงที่ไม่เคยเปลีย่ น คือ การสวัสดีนั่นเอง
อิสระ จารุกิจจรูญ Issara Jarukitjaroon pizzara91@gmail.com greenthumbshop.blogspot.com
Somewhere Thai People / Somewhere Thai Smile Somewhere Thai Rice / Somewhere Thai Art ผู้คน รอยยิ้ม นาข้าว และศิลปะไทย
205
อิศโร ประกาลัง Issaro Prakalung
เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำ�ชาติ ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ดีงาม เป็นมุมเมืองต่อเมืองไทยที่เห็นภาพชัดเจน มีเอกลักษณ์
จักรพันธ์ สุวรรณะบุณย์ Jakrapun Suwanaboon turksg@hotmail.com
ปลาตะเพียน พอล สมิธ
คนไทยสามารถนำ�เอาส่วนประกอบของ ชาติต่างๆ ประยุกต์เข้ากับตนเอง ได้อย่างแยบยล จึงใช้ลายแถบสีตามยาวในลักษณะ แบบของ พอล สมิธ มาสานเป็นปลาตะเพียน
206
Jatupol Thanapura ferriswheel_60@hotmail.com
Look Like a Toy
ประเทศไทยมีรูปร่างเหมือนขวาน แต่กับนิสัยของคนไทยที่เหมือนเด็ก ภาพโดยรวมจึงเหมือนกับของเล่น
จาตุรันต์ จริยารัตนกูล Jaturan Jariyarattanagoon jariyajaka@gmail.com
ความทรงจำ�ในโลกส่วนตัว (My Reminiscent World)
การนำ�เสนอเรือ่ งราวความเชือ่ เทพ เทวดา ตามประสาเด็กๆ ผ่านความทรงจำ�ในวัยเด็ก
207
จิระพัฒน์ ยังโป้ย Jirapat Youngpoy
เป็นโลกใบใหม่ของคนไทย ที่มีความสงบสุข และน่าอยู่ยิ่งขึ้นอีกด้วย.........
จิรัฏฐ์ สมภักดี Jirat Sompakdee mamama-me.blogspot.com
มันคือสิ่งที่ฝัง อยู่ในสัญชาติเรา
:: ภาพผลงานวีดิโอ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.vimeo.com/13362302
208
จุฑาธิป ถิ่นกลาง Jutatip Thintalang brownie_blahblah@hotmail.com brownie-blahblah.spaces.live.com
Somewhere Thai
แม้ Somewhere Thai อาจเป็นวลีที่ฟังดู สั้นๆ ง่ายๆ แต่ถ้าหากลองนำ�มาตีความแล้วนั้น เราก็อาจจะได้ความหมายที่แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็น ได้รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผู้นั้น จะตีความให้ Somewhere Thai เป็นไปในทิศทางใด หากถามว่าดิฉันนึกถึงอะไร ดิฉันจะนำ�เอาคำ�ทั้ง 2 คำ� มาตีความตามความเข้าใจของตนเอง กล่าวคือ คำ�ว่า “Somewhere” เข้าใจว่าต้องเป็นสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ส่วนคำ�ว่า “Thai” ทุกคนย่อมเข้าใจไม่แตกต่างกันว่า คือ อะไรก็ตามที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็น คนไทย ภาษาไทย อาหารไทย วัฒนธรรมไทย เป็นต้น แต่เมื่อนำ�คำ�ว่า Thai มาวางไว้หลังคำ�ว่า Somewhere ก็น่าจะตีความคำ�ว่า Thai ไปในเรื่องของสถานที่มากกว่าสิ่งอื่นนะคะ นอกจากการครุ่นคิดอยู่คนเดียวด้วยหัวสมองเดียวแล้ว อาจทำ�ให้มุมมองที่เรามีต่อ Somewhere Thai ไม่กว้างขวางเท่าที่ควร ดังนั้น ดิฉันจึงได้นำ�เอาวลีดังกล่าวไปฝากให้ผู้คนรอบตัวของดิฉันมาช่วยกันคิดด้วยกันค่ะ ว่าถ้าหาก ได้ฟัง ได้เห็น หรือได้รับรู้ถึง Somewhere Thai จะนึกถึงอะไร เพราะอะไร ผู้ที่ได้มอบความคิดเห็นให้กับดิฉันนั้นล้วนเป็นเพื่อนๆพี่ๆน้องๆที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยดิฉันขอเรียกวิธีการนี้ว่า การสุมหัวกัน หรือ การ Brainstorm แม้ว่าไม่ใช่การสุมหัวกันอย่างแท้จริงก็ตาม เพราะ แต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองออกมา โดยที่ไม่ได้มีการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแต่อย่างใด เนื่องมาจาก ได้น�ำ เอาเทคโนโลยีในโลกไซเบอร์ที่เรียกว่า Facebook เข้ามาเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ดิฉันและเขา หรือเธอเหล่านั้น ได้ติดต่อสื่อสารกันแทนที่จะใช้การพบปะพูดคุย การโทรศัพท์ หรือ การส่ง E-mail สาเหตุที่เลือกใช้วิธีการส่ง Message ทาง Facebook เพราะได้มองเห็นว่าในปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่มีความนิยมชมชอบในการใช้ช่องทางดังกล่าว ในการติดต่อสื่อสารกันอย่างกว้างขวางขึ้น น้อยคนมากที่ไม่มี Facebook หากเขาหรือเธอเหล่านั้นมีคอมพิวเตอร์ (Computer) และอินเตอร์เน็ต (Internet) ดังนั้น ดิฉันจึงได้เลือกใช้ Facebook เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดเห็นของผู้คนในวันและวัยใกล้เคียงกัน ว่าเมื่อ ได้ยิน ได้เห็น ได้ฟัง ได้รับรู้ถึง Somewhere Thai แล้วเขาหรือเธอเหล่านั้นจะนึกถึงอะไร เพราะเหตุใด My Heart สุ / สาวิณี มณีโลกย์ / 22 ปี / พนักงานบริษัท ได้ยินเสียงคนคุยกันเป็นภาษาไทย เห็นภาพคนไทยเยอะๆ และได้กลิ่นไก่ย่างส้มตำ� ต้อ / ถิรพงษ์ วชิรปรีชาพงษ์ / 22 ปี / พนักงานบริษัท
เรานึกถึงวัดทางพระพุทธศาสนาค่ะ ไปที่ไหนๆ คนไทยก้อมีศาสนาพุทธในจิตใจ ประเทศไหนๆ ก็มีวัดไทยค่ะ กิ๊ฟ / ปรีห์กมล จันทรนิจกร / 22 ปี / นักศึกษา
แว๊บแรกนึกถึง ถนนข้าวสารค่ะ ไม่รู้ทำ�ไม ฝรั่งเยอะ แต่ของฝากที่เป็นไทยๆ เยอะดี เมย์ / จีรนันท์ จำ�นงเพียร / 21 ปี / นักศึกษา
เรานึกถึงอะไรที่ไม่ใช่สถานที่นะ เรานึกถึงรอยยิ้มและความมีน�้ำ ใจค่ะ คนไทยไม่ว่าจะเป็นคนเมืองหรือคนชนบท ก้อเป็นคนมีน้ำ�ใจและรอยยิ้มเสมอ ถึงแม้ว่าการแสดงออกของคนเมืองจะไม่ชัดเจนเท่าคนชนบท แต่จริงๆ แล้วพื้นฐานนิสัยของคนไทยเป็นอย่างนี้จริงๆ นะ (จากที่ได้สัมผัสจากตนเองจริงๆ) ปุ๊บปั๊บ / รติมาส นรจิตร์ / 22 ปี / นิสิต
ได้ยินเสียงระนาด แตร๊งๆ เห็นภาพสนามสีเขียวของสนามหลวงตัดกับสีทองของวัดพระแก้ว ได้กลิ่นน้�ำ ปลา (อันนี้ขาดไม่ได้จริงๆ) เตย / ธันวาพร ดิษฐศร / 22 ปี / นักศึกษา
ภูเก็ต พีพี ค่ะ เพราะว่า ทะเลฝั่งอันดามันของไทยขึ้นชื่อมาก ในสายตาของชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาติตะวันตกหรือตะวันออก เอ็ม / ดวงกมล ทองถาวรกุล / 22 ปี / พนักงานบริษัท
ที่ไหนก็ได้ในประเทศไทย เก๋ / ภาริณี ดิลกเมธีกุล / 22 ปี / ว่างงาน
พี่นึกถึงหลายอย่างเลยนะ แต่เอาอันนึงละกันที่นึกถึงมากๆ เวลาไปอยู่ไกลบ้าน ก็คือร้านอาหารแผงลอยข้างทาง ที่ถูกไม่พอยังอร่อยต่างหาก ^^ ฝ้าย / ภัทรา นันทวัฒน์ / 24 ปี / Teacher Assistant
ได้ยินเสียงคลื่นซัดชายฝั่ง มองเหนทะเลสีคราม ได้กลิ่นเค็มๆ ของทะเล คิง / กมล เตชะวิทยปกรณ์ / 22 ปี / นักศึกษา นึกถึงในหลวง กะผู้ชายไทยที่แอบซ่อนอยู่ในใจ กิ๊ก / ศศิมา ลิ้มรสเจริญวงศ์ / 21 ปี / ว่าที่สมาชิกเนติฯ ร้านอาหารไทยในต่างแดน เพราะไม่ว่าคนไทยจะอยู่ที่ไหน เราก็สัมผัสประเทศไทยได้ทุกมุมทั่วโลก ด้วยอาหารไทย ฉัตรดนัย / ภูอ่ รุณ / 22 ปี / บัณฑิตคณะนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คิดถึง หัวโขน ครับ เป็นภาพหัวโขนยักษ์สีเขียวแก่ อยู่ในฉากมืดๆ ที่มีแสงส่องลงมา โดยที่ฉากหลังเป็นฉากที่ถมดำ�ลายทอง ครับ Jack / Vichai Thiramano / 29 ปี / Graphic Designer
209
ตอนนี้คิดถึงสนามหลวงค่ะ จากการที่อยู่ท่าพระจันทร์มาสี่ปี และสนามหลวงไม่เคยว่าง คิดว่ามันมีความสำ�คัญกับคนไทย ไม่เฉพาะแค่การเมืองแต่ก็เป็นที่อยู่ของคนไร้บ้าน เรียกได้ว่าคนหลายสังคมและ “ชนชั้น” ไปรวมตัวที่นั่นเลยทีเดียว นิว / นิชกานต์ หล่อไชยานันท์ / 22 ปี / บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วัดพระแก้ว แล้วอีกความคิดก็เลยนึกถึง สยาม เป็นหนึ่งในใจกลางของประเทศ ในแง่จิตใจ รถไฟฟ้า จุดนัดพบ ฯลฯ สม ชื่อ Siam Center จริงๆ + เป็นสถานที่ร่วมสมัย ปี / วิชญ์ภาส พิมพ์อักษร / 21 ปี / ช่างภาพอิสระ นึกถึงพัทยาละกัน เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสีย(ง)มากๆๆ อีกที่หนึ่งของไทยที่ฝรั่งชอบพูดถึงอ่ะ เพราะมีทั้งทะเล เกาะ ดูปะการัง แล้วก็สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำ�คืน เหมียว / ศิริประภา พัฒนฤดี / 22 ปี / Paralegal เราคิดถึงมวยไทยค่ะ พวกเสียงเวลาเค้าไหว้ครู ใส่กางเกงมวยไทย เอาเชือกคาดมือคาดเท้าเงี้ย ปุ๋ย / ชุติภา หรรษาหิรัญวดี / 21 ปี / Audit Assistant แม่น้ำ�เจ้าพระยา วิน / ชวิน อุ่นภัทร / 22 ปี / อาจารย์ประจำ�คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ความคิดแว๊บแรกคือ วัดอ่ะ วัดไทยไง เด่นในสายตาชาวโลก บี / กรรณิฐา เมธีรัตนไพศาล / 22 ปี / นักศึกษา (เกือบปริญญาโท)
ถ้าพูดคำ�ว่า Somewhere Thai พี่ก็นึกถึงบรรกาศตอนเช้าๆ ภาพผู้ใหญ่กับเด็กจูงมือกันไปตักบาตร ภาพสังคมต่างจังหวัดน่ะ พอพระเดินผ่านแม่ก็สะกิดให้ลูกยกมือไหว้พระ แม่ใส่บาตรก่อนลูกใส่ตาม นั่นละโคตรไทยสุดๆ ถ้าให้นึกถึงกลิ่น พี่ก็นึกถึงกลิ่นกับข้าวไทย เครื่องเทศ พริกแกง ถ้าเป็นเสียง ก็คงเสียงสากกระทบครก เสียงสับหมู เสียงตบกระเทียม เหมือนพี่จะหิว เอาเป็นว่าถ้าได้ยินคำ�ว่า Somewhere Thai มันทำ�ให้พี่คิดถึง “บ้าน” บ้านพี่มีแบบที่บอกมาทุกอย่าง ^^ ตั๊ก / วีรยา ทุริยานนท์ / 22 ปี / Interior Designer (ในอนาคต) ได้ยิน สถานที่ท่องเที่ยวสวยๆ ที่ดังๆ เช่น ทะเลแถบภาคใต้ของไทย ได้ฟัง Traditional Music ได้เห็น Thai Flag / Elephant / Smiley Face of People in ชนบท ได้กลิ่น Thai herbs (Those in Thai Spa / Massage Places) แพรว / โชษิตา เหลืองประเสริฐ / 21 ปี / นักศึกษา เรานึกถึง วัดพระแก้วค่ะ รู้สึกว่าสถาปัตยกรรมมันดูไทยดี แล้วก้อเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองของไทยมาแต่โบราณด้วย ^^ ผึ้ง / กิตติญา พละศึก / 22 ปี / Audit Assistant ต้มยำ�กุ้ง และข้าวหอมมะลิ ไอซ์ / ประสิทธิ์ มัน่ คง / 24 ปี / Assistant manager M&K Jew and Gold คำ�ตอบย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ตามแต่พื้นฐานทางความคิด ทัศนคติ การรับรู้ และประสบการณ์ของแต่ละคน แต่สิ่งหนึ่งที่ดิฉันเชื่อว่าคนเหล่านี้มีเหมือนกัน คือ ความภูมิใจที่ได้เกิดมาบนผืนแผ่นดินไทย เพราะชาติไทยมีหลายสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนชาติในในโลกใบนี้
:: ขจรยศ ชัยสุรจินดา Kajornyos Chaisurajinda :: samurai_first@hotmail.com
THAILAND :)
นำ�เสนอความเป็นไทยผ่านรูปต่างๆ คือ วัดไทย ช้างไทย และสถานที่สำ�คัญๆ มากมาย เพื่อสื่อให้เห็นถึงความเป็นไทย
210
กนกนุช ศิลปวิศวกุล Kanoknuch Sillapawisawakul decembell@gmail.com
Thai Herbal Tea After Time
งานออกแบบบรรจุภัณฑ์ แบบไทยไทย หรือแสดงความเป็นไทย อาจหมายรวมถึงการออกแบบเพื่อบรรจุสินค้าไทย และแปลงรูปทรงหรือบุคลิกของวัตถุดิบนั้นๆ ออกมาในรูปแบบของภาพที่สามารถสื่อสารกับบุคคลทั่วไปได้ :: ผลงานนี้เคยถูกเผยแพร่ในโครงการ “Industry Interration by Innovation”
กัญญาณัฐ โสมดี Kanyanat Somdee
Light
ความเบื่อหน่าย เกลียดชัง ที่คนไทยมอบให้กันและกัน ในช่วงเวลาอันเลวร้าย ทำ�ให้เกิดจุดบอดในใจ เมื่อแสงสว่างแห่งความสามัคคี ความเอื้ออาทรที่เคยมี ได้หรี่ลงจนพาเรามาพบกับหายนะระดับชาติ และความหายนะที่เราได้รับนี่เอง จึงก่อให้เกิดแสงสว่างขึ้นในหัวใจ เปลี่ยนไฟในจิตใจที่เคยมีเคยใช้มันเผาไหม้ ทำ�ลายกันและกัน ใช้แสงนั้นนำ�ทางประเทศไทยให้ผ่านพ้นวิกฤติ แสงของหัวใจแต่ละดวงที่ร้อยเข้าด้วยกัน มันอยู่ที่จิตสำ�นึกของแต่ละคนแล้วหล่ะ ว่าจะใช้แสงไฟนั้นนำ�ทางไปเพื่อวันข้างหน้า หรือจะใช้มันเพื่อเผาอีกฝ่ายให้ย่อยยับไป ไม่รู้จักจบจักสิ้น...
211
กษิดิศ ตั้งนิมิตโชค Kasidit Tangnimitchok es_sk_te_g@hotmail.com
Siam
กลมเกลียวเป็น 1
กวิตา ศรีสันต์ Kavita Srisan
Just Like a Fashion
คำ�สแลงก็เหมือนแฟชัน่ วันนีค้ �ำ นีเ้ กิดขึน้ มาใหม่ วันพรุง่ นีก้ เ็ ก่าแล้ว...
212
คีรีขันธ์ ไชยพร Keereekhan Chaiyaporn kcbkk@hotmail.com
The Way of Life
วิถีการดำ�เนินชีวิต (The Way of Life) ของคนในสังคม วิธีแสดงความสุขทางใจ และหลักเกณฑ์การดำ�เนินชีวิต โดยแนวทางการแสดงออกถึงวิถีชีวิตนั้นอาจเป็นความเชื่อที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่างเช่น ศาลพระภูมิ หรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ สะท้อนให้เห็นว่า ในบางสถานที่ ค่านิยม และความเชื่อของคนไทยยังคงอยู่ แม้เวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตาม ค่านิยม หมายถึง การนิยมชมชอบหรือการตีค่าในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหมายถึงสิ่งที่บุคคลสนใจจนสามารถยึดถือปฏิบัติเพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตน ค่านิยมเป็นความเชือ่ ว่าอะไรดี ไม่ดี ไม่ควร เช่น เราเชือ่ ว่าการขโมยทรัพย์ของผูอ้ น่ื การฆ่าสัตว์ตดั ชีวติ เป็นสิง่ ที่ไม่ดี ความกล้าหาญ ความซือ่ สัตย์ เป็นสิง่ ดี ดังนั้นค่านิยมจึงเป็นสิ่งที่บุคคลพอใจ หรือเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ว่าอะไรควรประพฤติและอะไรไม่ควรประพฤติ แล้วยอมรับไว้เป็นความเชื่อหรือความรู้สึกนึกคิดของตนเอง เมื่อบุคคลตัดสินใจว่าสิ่งที่เขาเห็นว่ามีค่า ก็จะนำ�มาเป็นแนวปฏิบัติหรือมีพฤติกรรมไปตามแนวทางของค่านิยมที่ตนยอมรับ ค่านิยมจะแฝงอยู่ในตัวบุคคลในรูปของความเชื่อ ตลอดไปจนกว่าจะพบกับค่านิยมใหม่ซึ่งตนพอใจ ความเชื่อ คือการยอมรับอันเกิดอยู่ในจิตสำ�นึกของมนุษย์ต่อพลังอำ�นาจเหนือธรรมชาติ ความเชื่อเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกรูปทุกนาม สิ่งที่มนุษย์ได้สัมผัสทางใดทางหนึ่งจากอายตนะทั้ง ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เป็นต้นเหตุของความเชื่ออันเป็นสัญญเจตนา เมื่อเกิดการเพาะบ่มความเชื่อโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมที่ได้สัมผัสเป็นประจำ� เป็นเครื่องช่วยให้ความเชื่อเจริญเติบโต จึงเกิดรูปเกิดสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเกิดความเชื่อในรูปแบบความเชื่อที่เป็นรูปธรรม และความเชื่อที่เป็นนามธรรม
213
ก้องเกียรติ แก้วมหากาฬ Kongkiat Kaewmahakan kongkiat_seed@hotmail.com
Breath in Thai
ยุคแห่งความเจริญอันทันสมัย ที่ก้าวล้ำ�ธรรมชาติ ส่งผลให้ธรรมชาติและสิ่งมีชีวิต ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
โกสินทร์ โกศินานนท์ Kosin Kosinanont
Mix
การรวมผสมผสานของความเป็นไทย ในรูปแบบความคิด ที่มีต่อภาวะในปัจจุบัน
214
กฤษดา เทียมสุวรรณ Krisada Taimsuwan kukeng.exteen.com
Hallo
ได้แรงบันดาลใจมาจากการไหว้ของคนไทยที่อยู่กับเราตลอดชีวิต จนกลายเป็นเรื่องธรรมชาติของเราทุกคนไปแล้ว และแฝงไปด้วยความหมายต่างๆ ในการไหว้ในแต่ละครั้ง เช่น ทักทาย ขอโทษ ขอบคุณ บอกลา ซึ่งไม่มีชาติใดเหมือน สวัสดีครับ
กฤษณะ ธนะธนิต Krissana Tanatanit g49krissana@49group.com www.49group.com
BANGKOK OK
เห็นกรุงเทพฯ แล้วสงสาร จับดวงจิต มิมีมิตร มีแต่ภัย ไปแล้วหรือ รักกรุงเทพฯ สร้างชื่อไป ให้ระบือ โลกร่ำ�ลือ กรุงเทพฯ นั้น ยังโอเค
215
กฤษณะ ปัญญา Kritsana Panya
Fail
สื่อออกมาเพื่อสะท้อนมุมมองจากเหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ทั้งมุมมองที่เเตกต่างทางความคิดเเละปัญหาต่างๆ นำ�มาซึ่งความขัดเเย้งทางการเมือง หยั่งรากลึกลงไปในสังคมเเละต่อประเทศชาติ
กฤตยุค เรืองธีระพันธ์ Krittayuk Rueangteeraphan doubtsmile@live.com
โค่ดเกียดภาษาวิบัดเรย
ถ้าจะมองอีกแง่มุมหนึ่งก็เป็นเหมือนวิวัฒนาการทางการสื่อสารอย่างหนึ่งใน msn กรณีที่ไม่เห็นหน้ากัน เช่น ไม่ กับ ม่าย, ควาย กับ ฟาย ให้อารมณ์ระดับความแตกต่าง สนุกสนาน ในการคุยเล่นกับกลุ่มเพื่อน จริงๆ แล้ว ทุกๆ คน หรือก็แม้แต่คนที่เกลียดเอง อาจจะนำ�มาใช้กันอย่างไม่รู้ตัว ไม่ผิดอะไรถ้าเราจะใช้ภาษานี้ให้ถูกที่ถูกกาละเทศะในการใช้ ไม่ไปรวมกันการใช้ภาษาแบบเป็นทางการอื่นๆ
216
กำ�พล พรพิสูตร Kumphol Ponpisute ponpisute@gmail.com kumphol.blogspot.com
โครงการออกแบบอักขระ ของสระผสมวรรณยุกต์เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างบรรทัด
อาจจะมีการแก้ปัญหานี้ไปแล้ว ในทางเทคนิควิธี (กำ�หนดระยะมาตรฐานในโปรแกรม) แต่โครงการนี้เป็นการแก้ปัญหาเดียวกัน โดยใช้หลักออกแบบที่เทียบเคียงมาจากทฤษฎี Ligature ในภาษาอังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์และความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการใช้อักษรไทย
ลัพธวิทย์ จิตรสมัคร Lupthavit Jitsamak
จุดเริ่มต้น / Start
ในภาพผมได้นำ�เส้นของลายนิ้วมือมาดัดแปลงเพิ่มลายกระหนกเข้าไป เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความงดงามที่อยู่ในก้นบึ้งหัวใจของคนไทย และสิ่งนี้เองที่ทำ�ให้ทั่วโลกรู้จักถึงดินแดนที่เรียกว่า ประเทศไทย
217
มนต์ชัย สันติเวส Montchai Suntives
The Enlightenment
ดอกบัวเป็นดอกไม้ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ
สถาบัน มู้ด อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ Mood Art and Design School www.mood.in.th
ไทยตั้งแต่เมื่อไหร่?
ผลงานนี้เป็นการแสดงตารางเวลาคร่าวๆ เมื่อตั้งแต่ 4,600 ล้านปีก่อน ที่มีสิ่งมีชีวิตชนิดแรกกำาเนิด จนเติบโตมาเป็นคน ผลงานนี้ชื่อว่า “ไทยตั้งแต่เมื่อไหร่” ถ้าตอบว่าตั้งแต่ตั้งชื่อประเทศ ก็คงตอบได้ว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2482 แต่ก่อนหน้าที่จะตั้งชื่อประเทศนั้น เราเคยอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่ 4,600 ล้านปีก่อนแล้ว
218
น้ำ�ฝน อุดมเลิศลักษณ์ Namfon Udomlertlak namfon-udomlertlak.blogspot.com
ภาพสื่อวีดิทัศน์
นางกวัก รุ่นบริโภคามหานิยม
การเปลี่ยนของบริบททางสังคมวัฒนธรรมภายใต้ระบบทุนนิยม ทำ�ให้พฤติกรรมการดำ�เนินชีวิตของผู้คนเป็นไปอย่างเป็นระบบ มีค่านิยมและความเชื่อแบบเดียวกัน ในที่นี้ข้าพเจ้าเน้นเรื่องของสังคมบริโภคนิยมที่สิ่งแวดล้อมต่างๆ ถูกทำ�ให้เปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม อย่างไม่มีจบสิ้น ในที่นี้ข้าพเจ้าต้องการนำ�เสนอบริบททางความเชื่อของผู้คนที่ถูกทำ�ให้เปลี่ยนไป โดยระบบสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง โดยการนำ�วัตถุบูชาที่มีความเกี่ยวพันธ์ทางด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภค ทั้งการกวักอย่างซ้�ำ ไปซ้�ำ มา เพื่อย้ำ�เตือนถึงการวิ่งเข้าหาการบริโภค หรือรูปแบบของนางกวักที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย เพื่อแสดงถึงพฤติกรรมและความเชื่อบางอย่างในสังคมไทย ที่ยังคงดำ�รงอยู่ท่ามกลางการพัฒนาการของสิ่งต่างๆ ในสังคม
นันทพจน์ หินพิมาย Nantapod Hinpimay
ยักษ์ยิ้ม
รอยยิ้มเป็นสิ่งหนึ่งของเอกลักษณ์ความเป็นไทย แม้แต่ยักษ์ยังยิ้มเลย
219
นฤป นาคประเสริฐ Narueb Nakprasert
Where is ๕๕๕?
เมืองไทยได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งรอยยิ้ม คนไทยชอบความบันเทิง สนุกสนาน และชอบมีอารมณ์ขัน ๕๕๕ เป็นคำ�พ้องเสียงของ ฮ่าฮ่าฮ่า เป็นเสียงหัวเราะ ซึ่งจากบางสิ่งบางอย่าง ทำ�ให้ช่วงหลายปีมานี้ เสียงหัวเราะเหล่านั้นลดน้อย และอาจจะเลือนหายไปจากสังคมไทย ข้าพเจ้าอยากให้ความสุข เสียงหัวเราะ และรอยยิ้มของคนไทย กลับคืนมาดังเช่นวันวาน
ณัฐธิดา อนันต์นุรักษ์ Natthida Anannurak
Bangkok in My Mind
The capital like Bangkok is the same as another capitals in the world...there are freedom, colorful, inspiration for the next generation to be grow up and get hopeful life.
220
ณัฐพล โรจนรัตนางกูร Nattapol Rojjanarattanangkool mooplint@gmail.com mooleknattapol.blogspot.com
แอร์เมล์
จาก ประเทศไทย ถึง ซัมแวร์
นิพันธุ์ สุพินพง Niphan Supinpong
ถุงกระดาษ
ถุงกระดาษพับธรรมดาสำ�หรับใส่ขนม (หรือถุงใส่กล้วยแขก) ที่ใช้กันมานานเห็นได้ทั่วไปทุกที่ในประเทศไทย แต่วัสดุที่ใช้คือกระดาษโดยบนกระดาษนั้นมีตัวอักษรไทยปรากฏอยู่
221
นิติ เอกปฐมศักดิ์ Niti Ekpathomsak experience_baby@hotmail.com
8.00 am. in Thailand
ในประเทศไทยในทุกๆ พื้นที่ กิจกรรมเดียวที่ปฏิบัติตรงกัน และทำาร่วมกันในเวลาเดียวกัน หากแต่ต่างกันที่สถานที่ปฏิบัติ คือ “การเคารพธงชาติ”
ณัฏฐ์กานดา จิรโสภณสวัสดิ์ Nutkanda Jirasoponsawat ployyyolp.wordpress.com
สูญหวย
การเล่นหวยเป็นกิจกรรมที่ ก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมหลายอย่าง หนังสือ “สูญหวย” เล่มนี้ อาจสามารถทำาให้ผู้ที่คลั่งหวย และผู้อ่านทุกท่านได้ฉุกคิด และตระหนักถึงผลเสียของการเล่นหวย ได้ไม่มากก็น้อย
222
นนทพร เกตุมณี Nonthaporn Ketmanee www.pulpketmanee.info
Self-Promotional
I believe in thinking process that can make people life easier. As a design thinker, I do carry a notebook during the day for writing some ideas that sometimes happens along the way. Sometimes, I hate to carry notebook so that I do sketch or write on receipt, used paper (FedEx package), and the backside of used envelope. This behavior became my routine, I just have a pen then I find the paper around myself. It is becoming an idea that represents my personality. I fall in love to do mind map when I am thinking about design or everything. It is like my style of expanded thoughts. Basically, my design wise uses a lot of mind map for organize the overall thinking process. Then, the best way to tell my whole story is doing a mind map, which is really special. So, I think about doing my self-promotion that I can present my personality as it best. According to the set of design piece, I design my business card with design a receipt to represent myself. Following the idea, I also do letterhead with design a used paper that I get from the FedEx package that they uses for instruction. Finally, I design my envelope that I used the backside of used envelope.
223
Creative Director: Chan Rungruangdejwattana Photographer: Nopphadol Viwatkamolwat Digital Imaging: Jaran Nuamkhayan www.astudioonline.com
97 FM. Quality Newst Ad
งานโฆษณา 2 ชิ้นนี้เป็นงานโฆษณาที่ ใช้ตีพิมพ์เพื่อกระตุ้นการรับฟังข่าวสาร ทางสถานีวิทยุ 97 FM. โดยการรายงานข่าวตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของความเป็นจริงรวมถึงผลกระทบต่างๆ ในทุกแง่มุม ทางครีเอทีฟได้หยิบยก ประเด็นความไม่สงบทีเ่ กิดขึน้ ในกรุงเทพฯ จากการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง ภายหลังจากการเข้าสลายม็อบ ในย่านสี่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 ที่ผ่านมา จนมีผลกระทบทำ�ให้เกิดการจลาจล และบุกเข้าเผาสถานที่ต่างๆ ในบริเวณโดยรอบจนลุกลามมาถึง ย่านค้าขายบริเวณสยามสแควร์ โดยสถานีขา่ ววิทยุ 97 FM. ได้เป็นตัวแทน การรายงานข่าวต่างๆ ที่เกิดขึ้น อย่างละเอียด อีกทั้งมีการเปิดประเด็น รายการข่าวต่างๆ เพื่อรับฟังปัญหา จากหลายภาคส่วนไม่วา่ จะเป็นฝ่ายรัฐบาล ข้าราชการ ผูเ้ ดือดร้อนและประชาชนทัว่ ไป เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาและหาหนทาง ในการสร้างความปรองดองในสังคมไทย ต่อไป ณัฐวัตร ปานขาว Nuttawat Pankao
ยักษ์ไทยยักษ์ใหญ่
ยักษ์ในวัดพระแก้วเป็นสิ่งที่คู่กับเมืองไทยมานาน ยักษ์ใหญ่ในวัดพระแก้วนั้นสร้างขึ้นและประดับด้วยจานกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ… จึงได้แนวคิดนี้มาถ่ายทอดออกมา โดยการถอดลวดลายจากหน้ายักษ์ในวัดพระแก้วจริง ตัดทอนเป็นเส้นกึ่งเรขาคณิต ใช้โทนสีของยักษ์ตนนั้น เป็นโทนสีหลักเพื่อแสดงส่วนประกอบของยักษ์แต่ละตน ลงบนโปสการ์ดเพื่อให้เป็นที่นึกถึงไม่ให้ “ยักษ์ ไทย ยักษ์ใหญ่” ต้องสูญจางจากความทรงจำ�….
224
นวลขนิษฐ์ พรหมจรรยา Nuankhanit Phromchanya benuan.tumblr.com www.bejuk.com
Thailand fruit Salad 2010
In Summer 2010, Thailand is facing one of its worst political violence in 18 years. Within the crisis there are officers that personally take side, and somehow cause them to misuse their roles. Thai media named these groups as fruits, for example, soldier that support the red is called Watermelon while those who support the yellow is Pineapple. In addition, people has created more veggie-related terms such as, Red Police = Tomato Red Media = Strawberry, a slang term for “fake” Ineffective Government = Roasted Eggplant, a slang term for “a (sexual) failure” Thai Citizens = Vegetable and Fish, an idiom means “innocent lives that can easily be killed” I found it interesting that Thai people have an ability to perceive things with a little sense of humor regardless of how destructive the circumstance is. The poster is intended to visually define these terms as well as reflecting the Thai play-around spirit. The origami was made with paper printed with picture of what is usually seen in public on one side, and their inner, personal on the other.
225
ณัฐ แสนชื่น Nut Saenchuen happiness40.wordpress.com
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทย
คำ�ถามที่เราทุกคนเคยถูกถามกันคือ “ความเป็นไทยคืออะไร” หลังจากได้ยินคำ�ถามเราหลายๆ คนก็คงอ้�ำ ๆ อึ้งๆ ตอบคำ�ถามนี้กันไม่ถูกเท่าไหร่ หรือไม่ก็ตอบว่า วัด ลายไทย ซึ่งคำ�ตอบเหล่านั้นไม่ใช่คำ�ตอบที่ผิดซะทีเดียว และการที่เราตอบไม่ได้ก็ถือว่าเป็นคำ�ตอบเหมือนกัน ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศเปิดมานาน ซึง่ ทำ�ให้เกิดการแลกเปลีย่ นทางการค้า เศรษฐกิจ หรือแม้กระทัง่ วัฒนธรรม ยิ่งพูดถึงในบริบทของปัจจุบันภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ที่เราสามารถรับรู้ข้อมูลของอีกฝั่งโลกได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที ทำ�ให้เราแลกเปลี่ยนความคิด รับรู้วัฒนธรรมต่างชาติมากขึ้น ทำ�ให้เกิดจุดตัดของวัฒนธรรมสองฝั่งโลก เกิดการผสม (อาจจะไม่ผสาน) ของวัฒนธรรมต่างชาติกับวัฒนธรรมไทย ซึ่งจริงๆ แล้วเรืองนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ดูตัวอย่างเช่น ในอดีตชาวจีนที่เข้ามาทำ�การค้าในประเทศ ก็นำ�วัฒนธรรมหลายๆ อย่างเข้ามาในประเทศ จนปัจจุบันนี้คนไทยส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายจีนซะด้วยซ้�ำ ไป เรื่องนี้เป็นแค่เรื่องของใครมาก่อนมาหลัง ฝ่ายไหนมีกำ�ลังมากกว่า และช่วงชิงพื้นที่ได้มากว่าเท่านั้นเอง ประเทศเราก็ยงั ไม่ใช่ประเทศทีม่ คี วามหลากหลายทางชาติพนั ต์สุ งู อย่างอเมริกา ที่เราเป็นประเทศที่มีประวัติมาเป็นเวลาพอสมควร และเราภูมิใจกับความสิ่งที่ตกทอดกันมารุ่นต่อรุ่น (Vertical) แต่กย็ งั ไม่สามารถต้านทานกระแสโลกาภิวตั น์ และระบบทุนนิยม (Horizontal) ที่ถาโถมเข้ามา และตัดผ่านเข้ากับวัฒนธรรมเดิมของเรา จึงทำ�ให้เห็นลูกผสมของความเป็นไทยกับความเป็นต่างชาติได้ทั่วไป ยกตัวอย่างตลกๆ แต่น่าคิด เช่น หุ่นแมคโดนัลทำ�ท่าไหว้สวัสดี ความเป็นเมืองหลวง-ต่างจังหวัด, วัฒนธรรมกระแสหลัก, ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จำ�เป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว จากต่างชาติ ก็ยงั เป็นอีกหนึง่ ตัวแปรทีจ่ ะกำ�หนดว่าจะเกิดความหลากหลายขึน้ หรือไม่ดว้ ย (ทัง้ นีย้ งั มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมแยกย่อยภายในประเทศอีก ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ แต่เราจะขอข้ามไปก็แล้วกัน) เมื่อเกิดความหลายทางวัฒนธรรมขึ้นอย่างบ้าคลั่ง ก็ท�ำ ให้เกิดปัญหาใหม่มาตามมาเนือ่ งจากความหลากหลายทีเ่ กิดขึน้ มากมาย เป็นสภาวะที่ไม่สามารถจะหาข้อสรุปหรือข้อจำ�กัดได้ ก็อาจทำ�ให้ความหมายของความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้น เป็นความสับสน หรือความ “ว่างเปล่า” ก็เป็นได้
226
อรสุภัค ผัดวัง Onsupak Padwang
Somewhere Thai - In Our Heart
ที่ไหนที่มีความเป็นไทยมากที่สุด คงหนีไม่พ้นที่ใจของคนไทยเราเอง อิทธิพลจากต่างชาติอาจมีส่วนทำ�ให้ความคิดคนไทยเราเปลี่ยนไปบ้าง แต่ถ้าเป็นคนไทยจริงๆ แล้ว สิ่งหนึ่งที่เราชาวไทยทุกคนรักเหมือนกันทุกคน คือ ในหลวงของพวกเรานั่นเอง พวกเรามีพ่อหลวงคนเดียวกัน ความเป็นไทยของเรามันอยู่ที่ใจ ไม่ว่าพวกเราจะอยู่ที่ไหน จะอยู่ต่างประเทศหรือในประเทศ แต่ในใจเราก็ยังมีความเป็นไทยเหมือนเดิม
อรอุมา จินตนสถิตย์ Onuma Chintanasathit www.pictoverse.com
Mystic Line Thai
เส้นสายลายไทย เป็นศิลปะที่อมตะ และถือเป็นรากเหง้าของความเป็นคนไทย ทั้งยังบอกเล่าเหตุการณ์ถึงความเป็นไปในอดีต และภาพจิตรกรรมฝาผนังก็เป็นสถานที่รวมความงดงามของศิลปะ และวรรณกรรมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ เป็นสถานที่ที่ทุกครั้งที่ได้ชมจะรู้สึกประทับใจในพลังของรูปภาพ ที่สามารถเห็นได้ในประเทศไทยเกือบทุกจังหวัด ไม่ว่าจะตามผนังวัด ชาม เฟอร์นิเจอร์ และแม้กระทั่งให้เป็นส่วนหนึ่งในร่างกาย และเมื่ออยู่กับเราก็จะเป็นบอกเล่าความเป็นไทยได้ทุกที่ ที่แม้กระทั่งเราอยู่ต่างชาติ ต่างภาษา
227
ปกรณ์ รัตนสุธีรานนท์ Pakorn Rattanasuteeranon
Repetitive Monogram with Thai / Asian Element
ต้องการให้สะท้อนความเป็นไทยออกมาโดยไม่ล้าสมัย ด้วยการใช้องค์ประกอบแบบไทยเดิมๆ มาจัดเรียงนำ�เสนอใหม่
ภาณุพงศ์ กิติโสภากุล Panupong Kitisopakul yummygold.blogspot.com
What Comes Around Goes Around
โดยพื้นฐานของคนไทยส่วนใหญ่จะเชื่อเรื่อง กฎแห่งกรรม อยู่แล้ว จึงนำ�กระบวนการของกฎนี้คือ กระสะท้อนมาทำ�ออกเป็นงานวีดีโอหนึ่งชุด โดยใช้คำ�ว่า “Thai People Believe What Comes Around Goes Around” :: ภาพผลงานวีดิโอ
228
ปพุทธ นิ่มเชื้อ Paputh Nimchuar www.behance.net/Oamag
Mango Transportation and Retail Packaging for Exporting from Thailand to Japan.
The packagings are made from 100% bio degradable materials instead of using net foams. Transportation packages are made from molded carton pulp. Retail packages are made from molded sugarcane pulp. A Transportation package consists of 2 individual containers, each container will store 6 mango
ปริญญา พิเชษฐศิริพร Parinya Pichetsiriporn bkkboxset@gmail.com bkkboxset.blogspot.com
Thai Eat
ทดลองออกแบบโปสเตอร์น้ี ด้วยการพยายามเอาพฤติกรรมการทานอาหารของคนไทย ซึ่งมักจะมีการปรุงมากมายตามแต่จะถูกปากของแต่ละคน มีการตกแต่ง เครื่องเคียงเยอะ อาจเป็นไปได้ว่านั่นคือนิสัยคนไทย ก็คือการให้ความสำ�คัญกับความ “เยอะ” มากกว่าการตัดทอนให้เหลือน้อยที่สุด…
229
ภฤตภรณ์ สิริกชกร Parittaporn Sirikojchakorn kat_zaaa@hotmail.com
นี่แหละเมืองไทย!
เมื่อก่อนสิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานของหลายๆ สิ่ง ทั้งสิ่งที่มีอยู่... สิ่งที่ต่างจากที่อื่น... ทั้งเก่าแก่ยาวนาน มีคุณค่าที่ควรจะจดจำ�
ภัสสรา จงทวีธรรม Passara Chongtaveetham
หวยของแม่
มั่นใจ (แม่) คนไทยเกิน 10 ล้านคน บ้าหวย
230
ภัทริศ ภิญโญพิพัฒน์ Patarit Pinyopiphat
ถูกทำ�ร้าย
เนื่องด้วยจากเหตุการณ์ของบ้านเมือง ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องพบกับปัญหา มากมายเหลือเกิน จึงใช้กระดาษเปรียบเทียบกับประเทศไทย ทีแ่ ต่กอ่ นเคยรวมกันแน่นแฟ้นเป็นปึกแผ่น แต่ในเวลานี้กลับถูกทำ�ร้าย ไปในหลายๆ ทาง แต่แล้วการทำ�ร้ายนี้เป็นเพียงแค่ “บางส่วน” เท่านั้น ยังมีอีกส่วนใหญ่ที่จะสามารถ คลี่คลายกระดาษให้กลับมาเป็นปึกแผ่น สูส่ ภาพเดิม ประเทศไทยของเราเพียงแค่ ถูกทำ�ร้ายเท่านั้นแต่ประเทศไทยของเรา ยังไม่ถูกทำ�ลาย
พัทธพล บัวล้อมใบ Pattapol Bualombai www.portfolios.net/profile/iggyswork
Short Message Story
ด้วยการที่ว่าผมกำ�ลังทำ�งานอยู่ใน จังหวัดภูเก็ต เมืองแห่งการท่องเที่ยว อันดับต้นๆ ของไทยทีช่ าวต่างชาติยอมรับ ผมจึงถ่ายทอดคำ�ว่า “Somewhere Thai” ออกมาในรูปแบบของข้อความ ที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่อยู่ในใจของ ชาวต่างชาติ แม้ว่าข้อความนั้นจะไม่ได้สื่อถึงคำ�ว่า “Somewhere Thai” ออกมาโดยตรง แต่องค์ประกอบที่อยู่รอบข้อความ ก็ช่วยเสริม และร่วมกันถ่ายทอดคำ�ว่า “Somewhere Thai” ออกมาในแบบที่ผมคาดหวังไว้
231
พัฒนภูมิ เพ็ชรกระจ่าง Pattnaphoom Phetchgrajang bombarestar@hotmail.com noirsigner.tumblr.com
เล่าเรื่องผี
ผมมีสิ่งสังเกตุบางอย่างที่เห็นในสังคมไทย ที่อาจมีความเชื่อหรือประเพณีบางอย่างสืบทอดมาเรื่อยๆ เช่น ความกลัว ในเรื่องภูตผีปีศาจที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนานไม่ว่าผ่านยุคสมัยใด ความเชื่อ ความกลัวก็อยู่คู่สังคมไทย และมีส่วนในการใช้ชีวิตมาตลอด พร้อมๆ กับการรับความเชื่อหรือค่านิยมบางอย่างจากต่างวัฒนธรรม บางครั้งก็พบเห็นในความกลัวเรื่อง ผี ปีศาจ ผมจึงลองรวบรวมรูปภาพจากนิยายและการ์ตูนไทยที่ได้คอยบอกเล่าหรือสืบต่อเรื่องราวเหล่านี้เสมอมา เพื่อลองทำ�ให้เห็นภาพอีกครั้งหนึ่ง
พีรพัฒน์ เสมา Peerapat Sema www.mr-peerapat.exteen.com
Somewhere in Chonburi
ภาพนี้เป็นภาพที่ตรงตามแนวคิดของ โครงการ Somewhere Thai ก็คือ เป็นภาพมุมหนึ่งใน จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของผมเอง ผมจึงมีความภูมิใจกับจังหวัดของตนเอง จึงได้เกิดเป็นภาพนี้ขึ้นมาครับ เป็นภาพสะพานริมทะเล ในตัวเมืองชล ลงสีในโปรแกรม Photoshop
232
เพชร พิริยะจารุกุล Petch Piriyajarukul thetexture90@yahoo.com
We are Thai
ความแตกต่างที่เหมือนกัน เพราะทุกคนคือ “ไทย” เหมือนกัน
ภาณุวุฒิ วราภักดิ์ Phanuwut Waraphak
หนังสือภาพ “ลายแห่งศรัทธา”
หนังสือภาพถ่ายลายแห่งศรัทธา เป็นการนำ�เสนอมุมมองของกลุ่มคนที่มีความเชื่อ และความศรัทธา ต่อรอยสักยันต์ ไทย ที่เชื่อว่ารอยสักยันต์ยังคงเป็นของสูงอยู่ ถึงแม้ในปัจจุบันจะถูกมองว่าเป็นของไม่ดี
233
พสัณห์ ดาทุมมา Pasan Datumma
เมืองหลวง
เป็นหนังสือภาพประกอบทีบ่ อกเล่าเรือ่ งราวของเด็กต่างจังหวัด ทีเ่ ข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ โดยที่บอกเล่าจากถนนสายสำ�คัญทั้ง 5 สาย คือ ข้าวสาร, พระราม1, พระจันทร์, พระอาทิตย์, เยาวราช ในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าของกิน ของขาย ผู้คน และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้น และไม่เคยพบเห็นที่ต่างจังหวัดมาก่อน
พิชาญ สุจริตสาธิต Pichan Sujaritsatit pichansujaritsatit@gmail.com
Sometime Strange
234
พลวัฒน์ ปิยปาณ Phonlawat Piyapana www.poon.co.nr
โครงการออกแบบตัวอักษรเชิงทดลอง โดยหลักการแบบภาพเหลื่อม 3 มิติ (Anaglyph)
ปัจจุบันการแสดงผลแบบ 3 มิติ เข้ามามีบทบาทกับสื่อต่างๆ ที่นิยมใช้คือภาพ 3 มิติแบบ Anaglyph ใช้การตัดเหลื่อมของสีฟ้า - แดง โดยใช้แว่นสามมิติในการมองจึงเกิดเป็นภาพ 3 มิติ ซึ่งการมองภาพแบบปกติกับการมองโดยใส่แว่น 3 มิตินั้น จะทำ�ให้ได้ความรู้สึกจากการมองที่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับคำ�ในภาษาเขียน การออกแบบตัวอักษรที่มีหน้าตาแตกต่างกันก็ให้ความรู้สึกของความหมาย ที่ได้จากคำ�แตกต่างกัน จึงเกิดแนวคิดในการทดลองผนวกการออกแบบตัวอักษร กับการทำ�ภาพเหลื่อมเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดผลในการสื่อสารที่มากกว่าการมองด้วยตาปกติ โดยคำ�ที่นำ�มาใช้ส่วนหนึ่งจะเป็นการวิพากษ์สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย :: ชิ้นงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศิลปนิพนธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
235
พิเชษฐ์ เกตุมี Pichet Ketmee
DemoCrazy no.1-3 , He wanna be Gandhi
“เบื่อ+หดหู่” กับกลุ่มคนที่เลือกใช้ความบ้าคลั่งรุนแรง บิดเบือน ทำ�ลายความสวยงามตามสิทธิพื้นฐานของการอยู่ร่วมกัน และถึงแม้ว่าผลแห่งการกระทำ�นั้นจะทำ�ให้หลายชีวิตต้องเปลี่ยนไป อย่างไม่มีวันเหมือนเดิม แต่คำ�ว่า “สันติ” ก็ยังถูกแอบอ้างพร่ำ�ถึงอย่างหน้าตาเฉย
พงศักดิ์ เข็มทอง Pongsak Khemthong
ห้องมืด (Dark Room)
ไทยโลกที่ 3 จะยกยอ หรือหลอกตัวเองไปถึงไหน การพัฒนาหลายด้านถูกฉาบไปด้วยเปลือก ขาดแก่นทีแ่ ท้จริง กลับมามองห้องมืดเล็กๆ ตรงนีบ้ า้ ง มันเริม่ ส่งกลิน่ เน่าแล้ว อย่าทำ�เป็นไม่รไู้ ม่เห็น
236
Pink Blue Black & Orange Co., Ltd. (Color Party) www.colorparty.com
NightClub / HighSo / Politic / Samanchan / Porpeang
ผลงานชิ้นนี้สะท้อนความขัดแย้งระหว่างค่านิยมอันดีงามที่คนไทยยึดถือ กับแนวทางที่ปฏิบัติ ที่มักแสดงออกในทางตรงกันข้ามกัน เช่น เรามักพูดอย่างหนึ่ง แต่ก็ทำ�อีกอย่างหน่่ึงเสมอ... โดยสะท้อนความคิดนี้ ผ่านตัว “อักษร” ที่ขัดแย้งกับ “รูปแบบ” ที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำ�วัน เหมือนการตั้งคำ�ถามว่า “เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทยในปัจจุบัน”
237
พงศกร อารีศิริไพศาล Pongsakorn Areesiripaisal
In contrast with eye เนื่องจาก “ดวงตา” เป็นอวัยวะที่สามารถสื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกได้มากมาย อีกทั้ง “ดวงตา” ยังสามารถมองเห็นความหมายของสิ่งซึ่งลึกกว่ารูปลักษณ์ภายนอกที่แสดงออกมาได้ นั้นคือความแตกต่างที่ต้องการนำ�เสนอภายในแววตา โดยเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความแตกต่าง ในเรื่อง อายุ รูปแบบ โครงสร้าง ศิลปะและวัฒนธรรม ที่เป็นตัวแทนของทั้งตะวันออกและตะวันตก แต่ก็ยังสามารถดำ�รงและอาศัยอยู่ร่วมกันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างแยกไม่ออกของสังคมคนไทย ปราชญ์ เทียมผาสุข Prat Tiempasook onepeach2002@gmail.com www.peachy-port.blogspot.com
Teenjok The Motion
ได้แรงบัลดาลใจมาจากลาย “ผ้าตีนจก” ของคนภาคเหนือ ที่เล่าเรื่องราวในอดีตผ่านทางลายผ้า ได้นำ�แนวคิดนี้มาพัฒนาต่อในเรื่องของการสื่อสาร โดยทำ�เป็นภาพเคลื่อนไหว โดยใช้ Pattern ของลายผ้าที่มีความคล้าย Pixel นำ�มาเล่าเรื่องที่ง่ายที่สุดในการสื่อสาร คือ ก-ฮ :: ภาพผลงานวีดิโอ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.peachy-port.blogspot.com
238
ปุณลาภ ปุณโณทก Punlarp Punnotok punlarp@hotmail.com
เพลงสำ�คัญประจำ�ชาติ
ปฏิทนิ “เพลงสำ�คัญประจำ�ชาติ” ใช้วสั ดุหลากหลายชนิดมาสร้างเป็นประติมากรรมนูนต่�ำ ที่มีรูปแบบเหมือนอนุเสาวรีย์ โดยมีเพลงเทิดทูนสถาบันต่างๆ ที่สำ�คัญของชาติ เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
ภูวนารถ เตรียมการ Puwanart Triamkarn www.puwanart.net
ผี? คนไทยเติบโตมาพร้อมกับเรื่องภูตผี สิ่งลี้ลับ แน่นอนว่าคนที่เคยเห็นผีมีสัดส่วนน้อยกว่าคนไม่เคยเห็นมาก (และน่าจะเป็นเหมือนกันทั่วโลก) ซึ่งผีก็มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกัน ตามแต่ประสบการณ์และความเชื่อของแต่ละคน เราจึงได้ใช้คำ�ว่า “ผี” ในภาษาไทยมาสร้างงานชิ้นนี้ โดยคลี่คลายออกมา และสร้างสรรค์ใหม่ในรูปแบบเฉพาะ จัดทำ�เป็นรูปสัญลักษณ์แสดงอารมณ์ เรามั่นใจว่าทุกคนต้องมองไม่ออกแน่นอนว่ามันคือผี :)
239
รัตนพล บริบูรณ์ลาภ Rattanapon Boriboonlap amigos.exteen.com
Amigos Thailand Present
ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆ บนโลก อยากจะทำ�อะไรใส่ไปบนแผนที่โลกดีที่มองแล้วเป็นไทยเลย ก็เลยเลือกทศกัณฑ์ แล้วนำ�มารวมเข้ากับแผนที่ประเทศ บวกด้วยสีของธงชาติไทย คราวนี้ ฝรั่งก็เหอะ ไม่รู้ว่าประเทศอะไร อยู่ที่ไหนก็บ้าแล้วว
รัฐนันท์ อุทธชาติ Ratthanun Utthachat
อะไรมัวๆ
ยิ่งห้าม เหมือนยิ่งยุ ยิ่งปิด ยิ่งอยากดู คุณว่าไหม
240
รัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ Ratthee Phaisanchotsiri
พยัญชนะ45
“จากสังคมพื้นฐานในปัจจุบันขณะ สิ่งสะท้อนที่สำ�คัญที่เป็นตัวพลักดันรากเหง้า ของขนบวัฒนธรรมแบบสมัยนิยม ที่เราสามารถสังเกตุเห็นได้จนเป็นภาพชินตา อาจเป็นเรื่องของ “สังคมออนไลน์” หรือ Social Network ที่ผู้คนในกระเเสสังคมต่างนิยมให้ความสนใจ ในเรื่องของความสะดวกสบาย และการเข้าสังคมได้ทุกเวลา ในบริบทของการเปลีย่ นแปลงทางสังคม ทำ�ให้การดำ�เนินชีวติ ของผูค้ นเปลีย่ นแปลงไป การรับสื่อ และการออกความเห็นได้อย่างง่ายดายทำ�ให้สังคมป่วยการ และเป็นต้นเหตุของความขัดเเย้งที่เกิดขึ้นได้ง่าย หากคนในสังคมขาดสติ และไม่วิเคราะห์กลั่นกรองข่าวสารที่เข้ามาในเเต่ละวัน ฉะนั้นแนวคิดของ “พยัญชนะ 45” ต้องการกล่าวสะท้อนถึงสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างรุนเเรง ในเชิงการปฏิรูปวัฒนธรรมอย่างไม่ตั้งใจของผู้คนในสังคม ถึงวิีถีการดำ�เนินชีวิตที่เเตกต่างไปจากเดิม การเปลี่ยนแปลงไปในเรื่องการใช้ภาษา ทัง้ การพูด การเขียน หรือภาษาทีถ่ กู ใช้กนั อย่างหยาบๆ และบิดเบือนไปในสังคมออนไลน์ ให้หยุดคิดและเริ่มหวนกลับมาตระหนักถึง ความสำ�คัญของการดำ�รงไว้ซึ่งความเป็นคนไทย
241
รวีวัฒน์ ปัญจะ Rawewat Panjach
Thai’s Democracy
ประชาธิปไตยเรามีมันอยู่แล้ว อยู่ในเมืองไทยนี่แหละ ภาพนี้บอกความหมายว่า ไม่ว่าจะสีไหนเราก็คนชาติเดียวกันอยู่ด้วยกัน เหมือนสีในตัวนกพิราบ ดูจากสีท้องฟ้าเรา คือเรามีระบอบประชาธิปไตยทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ถ้าชาติสามัคคีชาติเราจะบินไปข้างหน้าเหมือน 4 ตัว ที่เป็นตัวเทียบของแต่ละภาค
รมย์ Rom Khampanya
Thailand Love 20
anywhereTHAI ที่ไหนๆ ก็รักแบงค์ยี่สิบ ธนบัตรใบละยี่สิบ แม้จะเป็นธนบัตรที่มีมูลค่าเกือบจะต่ำ�ที่สุดของไทย แต่ก็สามารถจับจ่ายใช้สอยซื้ออาหารต่างๆ ได้มากมายหลายชนิด ตามร้านที่มีอยู่ทั่วๆ ไป ตามท้องถนนของเมืองไทย ด้วยมูลค่าที่ถูกและสะดวกในการใช้จ่าย และการทอนเงินทำ�ให้อาหารหลายชนิดถูกตั้งราคาไว้ที่ยี่สิบบาทเท่านั้น บางครั้งการที่ถือธนบัตรใบละหนึ่งร้อยบาท หรือห้าร้อยบาทเดินไปที่ตลาด ก็ไม่ใช่วา่ จะจับจ่ายใช้สอยได้อย่างสะดวกเสมอไปเพราะก็จะเจอกับปัญหาการไม่มเี งินทอน และอาการเซ็งเล็กๆ ของแม่ค้าที่ต้องถามกลับทุกครั้งว่า “ไม่มีแบงค์ย่อยเหรอคะ” ทำ�ให้ลำ�บากต้องเข้าร้านสะดวกซื้อเพื่อไปแตกเป็นธนบัตรใบละยี่สิบเพื่อมาจ่ายอยู่ดี ทำ�ให้ธนบัตรใบละยี่สิบเป็นตัวแทนของอาหารราคาถูก และวิถีชีวิตการจับจ่ายใช้สอยอย่างไทย เชื่อว่าทุกคนๆ มีความผูกพันธ์กับธนบัตรใบละยี่สิบบาท มากกว่าธนบัตรที่มีมูลค่ามากกว่าเป็นไหนๆ ตู้ ATM เองก็น่าจะมีธนบัตรใบละยี่สิบให้กดซะทีนะ จะได้ไม่ต้องลำ�บากหาที่แลกในเมื่อใครๆ ก็รักแบงค์ ๒๐
242
ศักดา เทศสีแดง Sakda Thedsidaeng
อุดมสมบูรณ์
ภาพปลูกฝัง และหวนให้นึกถึงอดีตของไทยเรา ที่ในยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ จนเป็นที่กล่าวเลื่องลือไกลว่า เป็นภูมิประเทศหรือเมืองที่ ในน้ำ�มีปลา ในนามีข้าว และเมื่อมองกลับมาในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นคำ�ที่เคยถูกกล่าวขานนั้น เป็นเพียงแค่อดีตจึงอยากให้ภาพๆ นี้ เป็นสิ่งเตือนและให้หันมามองกัน ถึงความอุดมสมบูรณ์ที่เคยมี และร่วมกันสร้างให้กลับมาเป็นดังเดิมกัน อีกครั้ง
สมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ Samutcha Apisitsuksonti
Thailand is Good with QR Code เป็นการนำ� QR Code ซึ่งเป็นความทันสมัยทางด้าน IT ซึ่งเริ่มที่จะแพร่หลายในประเทศไทย มาสร้างเป็น “คำ�” ซึ่งคำ�เหล่านี้ สามารถอ่านสลับได้หลายรูปแบบ ในความหมายดีๆ ของประเทศไทย อันเป็นเมืองสร้างสรรค์ ทันสมัย และมากด้วยความสุข
243
สันติ ลอรัชวี Santi Lawrachawee santivithee@gmail.com www.santivithee.com
We are Not (2009)
ผมมองว่าการอธิบายถึงคุณลักษณะเฉพาะ ว่าอัตลักษณ์ความเป็นชาติหนึ่งๆ คืออะไรนั้น บางครัง้ มันมีความพร่าเลือนของเส้นแบ่ง ที่ไม่สามารถ “บอก” และ “แบ่ง” ได้ดังที่เราเห็นในแผนที่
ศศิพัชร พวงสุนทร Sasipach Pungsoontorn
หนึ่งเดียว
แนวความคิดมาจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีตัวเลขใช้เป็นของตัวเอง และช้างไทยก็มีลักษณะไม่เหมือนพันธุ์อื่นบนโลก นั่นแหละคือความเป็นไทย
244
ศรัณย์ สรรพศิริ Sarun Sanpasiri
Everywhere Thai
จากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รายรอบตัวเราในชีวิตประจำ�วัน หลอมรวมด้วยปัจจัยของกาลเวลา ยุคสมัย ถิ่นที่อยู่อาศัย ภูมิประเทศ ฤดูกาล เชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ เศรษฐกิจ ฯลฯ ก่อให้เกิดวัฒนธรรมทางสายตา และการมองเห็นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ที่โดดเด่นของแต่ละชาติพันธุ์
245
สาวิตรี ตระกูลโอสถ Sawitree Trakooloosod
โครงการออกแบบหนังสือ “ไทยทรงดำ�”
ข้าพเจ้าจึงอยากนำ�เรื่องราวเกี่ยวกับประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ ของชาวไทยทรงดำ� ซึ่งข้าพเจ้าก็มีเชื้อสายชาวไทยทรงดำ�อยู่ด้วย มาเผยแพร่ผ่านการออกแบบหนังสือเชิงสารคดี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ชาวไทยทรงดำ� ส่งเสริมการท่องเที่ยวและกิจกรรม วัฒนธรรมท้องถิ่นให้ผู้ที่สนใจ
246
สยาม อัตตะริยะ Siam Attariya black@colorparty.com
รายงานประจำ�ปี ธนาคารเพือ่ การส่งออก และนำ�เข้าแห่งประเทศไทย นำ�เสนอสินค้าหลักๆ ของไทยที่ส่งออก ไปขายยังต่างประเทศ โดยใช้ภาพถ่ายของสินค้าจริง ผสมผสานกับภาพลายเส้นของไทย เพื่อสะท้อนความเป็นไทยของธนาคาร ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ศิราภรณ์ ศิริพัลลภ Siraporn Siriphanlop thslbymula.blogger.com
Isual World with Real Friends and Memorial
จากคำ�ว่า Somewhere Thai (ทีใ่ ดๆ ซึง่ มีไทย) ทำ�ให้นกึ ถึงสถานทีๆ่ มีคนไทยชุมนุมกันอยู่ ซึ่งก็เล่นเดียวกับใน SecondLife ซึ่งบางคนอาจจะบอกว่ามันเป็นเกม บางคนบอกว่ามันเป็นโลกเสมือน ซึ่งผลิตโดยคนต่างชาติ และมีคนไทยล็อกอินเข้าไปบ่อยๆ เพียงหยิบมือ จึงอยากจะนำ�เสนอความแตกต่างจากโลกแห่งความจริงเป็นภาพถ่าย 3D จาก SecondLife โดยใช้ภาพถ่ายเก่าๆ ซึ่งเคยถ่ายเก็บเอาไว้ ตัดแต่งในโปรแกรมตัดแต่งภาพ แล้ว Import เข้า SeondLife จัดฉากแล้วถ่ายอีกครั้ง โดยภายในจะสื่อถึงมิตรภาพดีๆ ความทรงจำ�มากมาย ตั้งแต่เรื่องใหญ่ๆ ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ประทับใจอยู่ในความทรงจำ� ดิฉันเชื่อ... ไม่ว่าจะในชีวิตจริง หรือที่ใดๆ คนไทย ก็มีมิตรภาพ และน้ำ�ใจช่วยเหลือกันจริงๆ :: ที่มาจาก Visual Program ชื่อ Secondlife
247
ศิรดา วิไลธนารักษ์ Sirada Vilaitanarak lalabee.wordpress.com
คนไทย อะไรก็ได้ หากสังเกตพฤติกรรมของคนไทยดีๆ แล้ว จะพบได้ว่าในทุกๆ การตัดสินใจ มักจะมีคนใดคนหนึ่งหรือมากกว่าพูดคำ�ว่า “อะไรก็ได้” ออกมาเสมอ อาจจะเป็นเพราะคนไทยมีนิสัยขี้เกรงใจจึงทำ�ให้พฤติกรรม “อะไรก็ได้” เกิดขึ้นจนเป็นความเคยชิน ซึ่งในความเคยชินนี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่คนไทยเป็นโรคขาดความมั่นใจในตัวเอง เนื่องจากไม่มีความกล้าที่จะตัดสินใจใดๆ ซึ่งตามความคิดเห็นของข้าพเจ้ามีคนที่เป็นเช่นนี้อยู่ร้อยละ 80 จากจำ�นวนคนที่ข้าพเจ้าได้รู้จัก ซึ่งอาจเป็นอีกเหตุผลว่าทำ�ไมคนไทยถึงสามารถชักจูงไปตามกระแสของโลกได้โดยง่าย ถึงแม้ว่าในสังคมของเรานั้นอาจจะมีคนที่เรียกว่า เอาแต่ใจ อยู่บ้าง แต่ถึงกระนั้นบุคคลเหล่านี้ก็ไม่อาจหลบเลี่ยงพฤติกรรมนี้ไปได้ เพราะถึงแม้ว่าจะต้องการแค่ไหน แต่หากฝ่ายตรงกันข้ามลำ�บากเกินกว่าจะหามาได้ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามได้อย่างครบถ้วน คนๆ นั้นก็ต้องยินยอมและรับในสิ่งที่เป็นให้ได้ในที่สุด อาจจะเป็น “อะไรก็ได้ในแบบจำ�ยอม” (อะไรก็ได้ที่ท�ำ ให้พอใจได้มากที่สุด ซึ่งอาจจะไม่ได้ตามต้องการ 100%) แต่ถึงกระนั้นไม่ว่าใครก็ไม่สามารถจะหลุดพ้นจากพฤติกรรมนี้ไปได้ อาจะเป็นเพราะว่าคนไทยนั้นปรับตัวเก่งจนสามารถรับได้กับทุกอย่าง ซึ่งนี่ก็อาจเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำ�ให้คนไทย สามารถรับสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตได้อย่างไม่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการรับเอาวัฒนธรรมของชาติต่างๆ เข้ามาในประเทศ หรือการรับมือกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวันกับระบบการเมืองที่ขึ้นๆ ลงๆ ตามสภาพทางความคิดของคนบางกลุ่ม คนไทยก็สามารถรับมือและดำ�เนินชีวิตต่อไปได้อย่างไม่มีปัญหา อาจจะเพราะว่าคนไทยเป็นประเทศที่ให้อิสระทางความคิดสูง ซึ่งอาจจะสังเกตได้จากร้านอาหารไม่ว่าประเทศไหนๆ ก็จะมีร้านเฉพาะที่ขายอาหารเฉพาะจำ�พวกนั้นๆ เช่น ร้านราเมง ร้านซูชิ ร้านอาหารฝรั่งเศส ร้านอาหารอิตาลี หรือแม้แต่แมคโดนัล เป็นต้น แต่ประเทศไทยกลับมีร้านอาหารตามสั่งเรียงรายอยู่มากมายตามท้องถนน เพียงแค่เดินเข้าไปแล้ว คิดสักหน่อยว่า วันนี้คุณอยากจะกินอะไร แม่ค้าก็สามารถที่จะดลบันดาลให้คุณได้เสมอ (ถ้าของไม่หมดซะก่อน) ที่กล่าวมาข้างต้นดูจะมีแต่คำ�ว่า “อาจจะ” อยู่เต็มไปหมด ซึ่งอาจเพราะว่าตัวข้าพเจ้าเองก็อาจเป็นบุคคลประเภท “อะไรก็ได้” เป็นได้
248
สิรวิชญ์ พูลสุขเลิศ Siravit Poolsuklert www.facebook.com/siravitpoo
Thailand Not Color plate ? !!!
ประเทศไทยของเรามันไม่ใช่ “จานสี” นะครับ ผมอยากจะสื่อภาพออกมาให้รู้ว่า พอได้แล้วเถอะครับๆ ... ตอนนี้เมืิองไทยของเราที่เคยเป็นเมืองแห่งรอยยิ้มมันกำ�ลังเลอะเทอะสี ที่ซึ่งหลายๆ หลากสีมากมาย ทำ�ไมเราเลือดไทยด้วยกัน ทำ�ไมไม่ยอมให้อภัยซึ่งกันและกัน เรามัวแต่มองแต่อำ�นาจแล้วก็อำ�นาจ อย่า! ให้ประเทศไทยที่เคยร่มเย็นต้องเลอะไปมากกว่านี้เลยครับ ผมเข้าใจนะครับว่าทีอ่ อกมาหลายหลากสีกนั ก็คงเป็นเพราะความ “ทุกข์” ของตนทัง้ นัน้ “ความทุกข์มันก็มีไว้ให้เห็น แต่เราไม่จำ�เป็นต้องหยิบมันมาเป็นก็ได้” เพียงเราแค่เจอกับมันแล้วปล่อยทิ้ง หรือ วางไป เพียงแค่นี้ โลกนี้.. ประเทศนี้ มันจะมีสิ่งดีๆ เยอะขึ้นมากเลยละครับ
สิริภร วินิจฉัยกุล Siriporn Vinitchaikul
ประสาน
แนวคิดจากการสานให้เกิดรูปร่าง จากโครงสร้างของงอบ พัฒนาลายสานแบบต่างๆ ที่ได้แรงบันดาลใจสร้างสรรค์จากธรรมชาติ ทดลองมาทำ�งานเชิงตัวอักษรไทย ที่มีเอกลักษณ์แสดงความเป็นไทย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยก่อนที่มีความเป็นอยู่ง่ายๆ พึ่งพาธรรมชาติ
249
ศิวพร ชีเจ็ดริ้ว Siwaporn Cheejedreiw
In my Home
บ้านเกิดของฉันคือ กรุงเทพฯ ซึ่งถ้ามองจากมุมทั่วๆ ไป ก็จะพบแต่ภาพความวุ่นวายบนท้องถนน แต่ถ้าเรามองในอีกมุมหนึ่ง ก็จะพบกับความสงบและความสวยงามที่อยู่ในเมืองๆ เดียวกันได้ มันอยู่ที่ว่า... เราเลือกที่จะมองอะไร :: ภาพผลงานวีดิโอ
สมชัย ธงชัยสว่าง Somchai Tongchaisawang
Logical Thinking and Analysis
การมองเห็นเพียงครั้งแรก เราไม่สามารถตัดสินใจได้ว่ามันคืออะไร แต่ถ้าเราคิดวิเคราะห์ และใช้เหตุผลในการตัดสินใจในสิ่งที่เรามองเห็น มันก็สามารถอธิบายสิ่งที่เราสงสัยและคำ�ตอบ.. มันคืออะไร? การสื่อโดยใช้ลักษณะตัวอักษร การเน้นด้วยขนาดของตัวอักษร และความหมายที่แท้จริงมันคืออะไร?…
250
โสภณ สุวิสิษฐ์ Sophon Suvisith sophon_pan@hotmail.com
Font ต้นข้าว
เริ่มจากหัวข้อในชั้นเรียน เรื่องวัฒธรรมไทย โดยเรื่องราวที่เลือก คือ ต้นข้าว ด้วยเหตุผลที่ว่าข้าวคือ รากฐานของศิลปวัฒธรรมของชนชาติไทย มาแต่โบราณ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับการ สร้างตัวหนังสือคือ ตัวหนังสือก็เป็นสิ่งที่ สามารถแตกยอดขององค์ความรู้ สู่ชนรุ่นหลัง โดยเป็นเหมือนตัวจุดประกายความคิด ที่มอบส่งต่อกันไป สร้างรากฐาน ทางความรู้สืบทอดต่อกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ให้ความหมายไปด้วยกัน ของการสร้างรากฐาน (ข้าว)
สรลักษณ์ เชื้อพุทธ Soralak Chuephut
Box of Hip~po
ประสบการณ์ที่เรามีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกิดจากการประกอบสิ่งที่เราได้เห็นเข้าด้วยกัน... เหมือนกับการวางกล่องซ้อนๆ กันลงไป และเมื่อผมลองมองเข้าไปในคำ�ถามที่ว่า “ความเป็นไทยคืออะไร” ผมไม่ได้มองเห็นลายไทย หรืออะไรที่มันเอิงเอย... แต่ผมเห็นความเป็นไทย ที่อยู่ในทุกสิ่งที่มัน Hipๆ พบเจอในชีวิตประจำ�วัน ดังผลงานที่เห็น
251
สรทัศน์ ป. Soratat P. nighty.exteen.com
ผู้ปฏิเสธ
ไพโรจน์เป็นคนที่เรียกได้ว่าเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก เพียงแค่หนังสือที่เขาชอบอ่านนั้นแทบทั้งหมดเรียกได้ว่าเป็นวรรณกรรมทั้งสิ้น กล่าวก็คือ เขาไม่เคยอ่านหนังสือที่แต่งขึ้นโดยอ้างอิงจากความเป็นจริงเลย ไม่ว่าจะเล่มไหนๆ ก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็นเวทย์มนตร์ ปราสาท เจ้าชาย เจ้าหญิง อัศวิน มังกร ทุกเรื่องต่างเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ทั้งนั้น แต่ถึงไพโรจน์จะจำ�กัดการอ่านของตัวเองเพียงแค่เรื่องแต่งจากจินตนาการ แต่เขาก็ไม่เคยจำ�กัดว่าเขาจะต้องอ่านเฉพาะแนวใดแนวหนึ่ง ขอให้เป็นเพียงเรื่องที่มาจากจินตนาการ ไพโรจน์ก็ยินดีอ่านทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนิทานเล่มเล็ก วรรณกรรมเรื่องยาวบนอินเตอร์เน็ต จนกระทั่งนวนิยายเกี่ยวกับหุ่นยนต์ของ ไอแซค อสิมอฟ ถึงแม้เนื้อหาของบางเรื่องจะมีพื้นโลกเป็นโลกแห่งความเป็นจริง แต่ไพโรจน์มีความเชื่อส่วนตัวว่าเรื่องราวนั้นได้รับการสร้างสรรค์โดยจินตนาการ ก่อนที่เรื่องราวนั้นจะเกิดขึ้นจริงในปัจจุปันนี้ ถึงแม้ว่าไพโรจน์จะชอบอ่านวรรณกรรม แต่เขาก็ไม่เคยใฝ่ฝันถึงโลกแห่งจินตนาการแบบใดๆ แม้แต่ครั้งเดียว ทุกครั้งที่เขาอ่านจบและดื่มด่ำ�ในรสของวรรณกรรมที่ต่างกันไปในแต่ละเรื่อง เขาก็เพียงแค่ปิดหนังสือและลุกขึ้นยืนไปใช้ชีวิตต่อตามปกติ แม้จะเป็นยามเป็นเด็ก ขณะทีเ่ ด็กคนอืน่ กำ�ลังจินตนาการว่าตัวเองเป็นตัวเอกในโลกแห่งจินตนาการทีเ่ ขาชืน่ ชอบ ไพโรจน์ก็ยังไม่เคยมีความคิดแบบนั้นเลยแม้แต่น้อย ไม่ใช่เป็นเพราะว่าไพโรจน์เป็นคนที่จริงจังหรือยึดติดกับความเป็นจริง แต่เป็นเพราะเหตุผลที่ว่าไพโรจน์เสพวรรณกรรมเพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไป ไม่ว่าเพราะชีวิตของเขาจืดชืดหรือน่าเบื่อ เพราะแต่ละวันเขาก็ได้พบกับเรื่องราวมากมาย เพียงแต่ว่าถึงแม้เรื่องราวเหล่านั้นจะตื่นเต้นแค่ไหน มันก็ไม่มีทางที่ว่าอยู่ดีๆ เขาจะหลุดไปยังอีกมิติหนึ่งกลายเป็นผู้กล้ากอบกู้โลก มีจดหมายส่งมาบอกว่าเขาเป็นพ่อมด หรือมีตัวประหลาดปรากฏเข้ามาในบ้านแล้วเปลี่ยนชีวิตเขา เพราะเขาเชื่อตลอดว่าเรื่องเหล่านี้มันเป็นเรื่องที่นอกเหนือสามัญสำ�นึก ถึงแม้มันจะสนุกสนานแค่เขา แต่มันก็ไม่มีทางเป็นจริง เขาอาจจะเคยฝัน แต่เมื่อตื่นมาทุกอย่างก็จางหายไปหมดสิ้น ดังนั้นไพโรจน์จึงแปลกใจที่เขาเคยเห็นคนหลายคนลุ่มหลงอยู่ในโลกแห่งจินตนาการ แต่เขาก็ไม่เคยคิดว่าคนเหล่านั้นแปลกแยก เพราะถ้าหากว่าเขาไม่ไปยุ่งกับโลกจินตนาการของคนเหล่านั้น พวกเขาก็จะไม่มีทางมายุ่งกับโลกของไพโรจน์ ได้เช่นกัน แต่ทว่ามีความเปลี่ยนแปลงบางอย่างเริ่มเข้ามาคุกคามในโลกของไพโรจน์ มันเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อเช้าวันพุธ ไพโรจน์ตื่นขึ้นมาแล้วดำ�เนินกิจวัตรยามเช้าตามปกติ ทุกอย่างเรียบร้อยดีจนกระทั่งเขาก้าวออกจากบ้าน มีบางอย่างประหลาดไป เขาไม่แน่ใจว่าเพราะเมื่อคืนเขาเล่นเกมกับเพื่อนมากเกินไปหรือเพราะนอนไม่พอ ก็เลยทำ�ให้มองเห็นรถประจำ�ทางที่วิ่งผ่านมามีสีรุ้ง มิหนำ�ซ้ำ�มันไม่ใช่สีรุ้งธรรมดา แต่เป็นสีรุ้งที่เคลื่อนไหวได้ กล่าวคือทุกสีจะวิ่งไล่เรียงไปเรื่อยๆ ราวกับรอบตัวรถคันนั้นมีภาพจอโทรทัศน์ทั่วทั้งคัน ไพโรจน์เอามือขยี้ตาตนเองเพราะนึกว่าตนเองตาลายไปชั่วขณะ แต่เมื่อเขาลืมตาอีกครั้งก็กลับพบว่าทุกอย่างไม่เปลี่ยนไปเลย สิ่งที่เขาเห็นแทนที่จะเป็นรถยนต์ธรรมดาวิ่งชิวบนถนน กลับกลายเป็นว่ามีรถเทียมวิ่งอยู่แทน เขาจะแค่แปลกใจถ้าสัตว์ที่ลากเทียมอยู่นั้นเป็นม้า แต่กลับกลายเป็นเขาต้องตะลึงในเมื่อสัตว์ที่ลากรถนั้นเป็นสัตว์ประหลาดนานาพันธุ์ที่เขาเองก็ยังไม่สามารถระบุได้ว่ามันเป็นตัวอะไร ไพโรจน์ตัดสินย้อนเดินกลับเข้าบ้านเสมือนหลบหนีความเป็นจริงข้างนอกเพียงชั่วคราว จะว่าไป... นี่คือความจริงแน่หรือ ไพโรจน์ ได้แต่คิดในใจ ตอนนี้เขาอาจจะฝันอยู่ เมื่อคิดเช่นนั้นเขาจึงเอามือหยิกแก้มตัวเองพร้อมกับมีเสียงหนึ่งที่ดังขึ้นมา “คุณไพโรจน์!” ไพโรจน์รู้สึกตัวแล้วตื่นขึ้นมา พบว่าตัวเองอยู่ท่ามกลางห้องเลคเชอร์ในมหาวิทยาลัย คนรอบข้างเขานิ่งเงียบสนิท มีเพียงแต่อาจารย์ชายสูงวัยเท่านั้นที่ยังเคลื่อนไหว เมื่ออาจารย์เห็นไพโรจน์รู้สึกตัวจึงเริ่มทำ�การต่อว่าเขาเป็นชุด ตั้งแต่เรื่องที่เขาหลับในคาบพร้อมกับส่งเสียงกรนรบกวน แต่ต่อมามันก็เริ่มลุกลามไปเรื่องอื่นๆ ตั้งแต่การสอบครั้งล่าสุดของเขา รายงานที่ผ่านมาจนถึงเรื่องที่เขาเจาะหู! ไพโรจน์ได้แต่นง่ั ฟังเงียบสนิทเหมือนอย่างเคย เพราะตัวเขาเองไม่มอี �ำ นาจต่อกรใดๆ สิง่ ทีต่ อนนีไ้ พโรจน์คดิ อย่างเดียวก็คอื โชคดีทเ่ี รือ่ งราวทัง้ หมดเป็นความฝัน เพราะเขาคงรับไม่ได้อย่างแน่แท้ เพราะถ้าเกิดเรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นนั้นจะกลายเป็นว่าเรื่องที่เขาเคยปรามาสว่าเป็นเรื่องที่นอกเหนือสามัญสำ�นึก กลับกลายเป็นจริงได้ขึ้นมาอย่างง่ายดาย แต่ในระหว่างที่ไพโรจน์นั่งนิ่งฟังอาจารย์เทศน์นั้นเขาเริ่มสังเกตอะไรบางอย่าง ตรงขาของอาจารย์มีอะไรบางอย่างขยับเบาๆ อยู่เหมือนกับเชือกที่แกว่งไปตามแรงโน้มถ้วง สายห้อยโทรศัพท์... ไม่ใช่... มันเหมือน... หาง... ... หาง!
252
ไพโรจน์ตกใจมากแต่เขาก็แสดงอาการออกทางดวงตาเท่านั้น แววตาเขาเบิกโพลนจนมองเห็นชัดๆ ว่าสิ่งที่แกว่งไปมาอยู่ระหว่างขาอาจารย์นั้นก็คือ หางของงูนั่นเอง ไพโรจน์เหลือบไปมองที่ปากของอาจารย์แล้วก็พบว่าทุกๆ ครั้งที่อาจารย์จบคำ�พูดจะมีลิ้นสองแฉกแพลมออกมาทุกครั้ง ก่อนที่จะทันคิดอะไร ไพโรจน์ลุกขึ้นผลักอาจารย์ออกไปทันที ด้วยแรงผลักที่ไม่ยั้งของไพโรจน์ทำ�ให้อาจารย์กระเด็นถอยหลังและกระแทกพื้นอย่างแรง ไพโรจน์เพิ่งรู้สึกตัวว่าเขาทำ�อะไรลงไป เขาค่อยๆ กลับไปมองรอบข้างก็พบว่านักศึกษาทุกคนต่างจ้องมองเขาเป็นตาเดียว ไพโรจน์ไม่มีเวลาสังเกตว่าแววตาที่จ้องมองเขาเป็นแววตาของมนุษย์หรือไม่ สิ่งที่เขาทำ�ได้ตอนนี้ก็คือวิ่งออกไปจากที่นี่ วิ่งให้เร็วที่สุด ไพโรจน์ได้แต่วิ่งมองตรงไปข้างหน้า เขาไม่อยากที่จะสังเกตอะไร ถึงแม้เขาจะเหลือบเห็นอะไรที่ไม่น่าจะมีอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง เขาก็พยายามจะบอกกับตัวเองว่าตัวเขาเองคงตาฝาดไปและมองเห็นอะไรไม่ชัดทั้งสิ้น ท้ายที่สุดไพโรจน์วิ่งออกมาจนถึงข้างหน้ามหาวิทยาลัย เขาหยุดวิ่งเพราะมันเป็นทางรถสัญจร ในตอนนั้นเองเขาก็ได้เห็นมันอีกครั้ง รถประจำ�ทางสีรงุ้ พร้อมกับรถเทียมจำ�นวนหนึง่ น่าแปลกทีภ่ าพแต่ละภาพไม่ใช่ภาพทีน่ า่ กลัวใดๆ เลย มันอาจดูสวยงามด้วยซ้�ำ เมือ่ วาดให้กลายเป็นภาพออกมา แต่ทว่าในโลกแห่งความเป็นจริง มนุษย์สตั ว์ไม่ได้ดเู ท่นา่ เกรงขาม และสัตว์ประหลาดเมือกไม่ได้เหมือนเยลลี่ ทุกภาพทีป่ ระสาทของไพโรจน์รบั มาต่างเป็นภาพที่ นอกเหนือสามัญสำ�นึกของเขาจะรับได้ เมื่อนั้นเองที่จิตใจและร่างกายเกินจะทนรับไหว พวกมันจึงสั่งให้เขาหลีกหนีความจริงด้วยการสลบลงไป ไพโรจน์ลืมตาตื่นอีกครั้ง เขาหยิบโทรศัพท์มือถือบนเตียงของตัวเองขึ้นมาดู มันเป็นเช้าวันพุธ หลังจากที่เขาทำ�กิจวัตรยามเช้าเสร็จเรียบร้อย เขาก็เดินลงมา ก็พบว่ามีมนุษย์ทม่ี หี วั เป็นม้าเปลือยกายเดินอยู่ในบ้านของเขา ไพโรจน์นกึ ถึงฝันเมือ่ กีข้ องเขาได้ แต่ตอนนีเ้ ขากลับสงบใจได้อย่างน่าประหลาด นี่อาจจะเป็นสิ่งที่เขาเก็บมันไว้ตลอด เรื่องที่เขาคิดเสมอว่ามันนอกเหนือสามัญสำ�นึก แท้ที่จริงมันไม่ได้อยู่ห่างไกลใดๆ เลย เพียงแต่ว่าเขาไม่เคยมองเห็นมันแค่นั้นเอง แต่ทว่านั่นยิ่งทำ�ให้ไพโรจน์สับสน แล้วถ้าเช่นนั้นสิ่งที่เขาเชื่อมั่นมาตลอดจะหมายความว่าอย่างไรกันเล่า ทุกๆการกระทำ� ทุกๆการตัดสินใจที่เกิดขึ้นเพราะความเชื่อนี้ของเขาจะไม่สูญเปล่าเลยหรือ ในตอนนั้นเองที่ไพโรจน์ก็นึกขึ้นได้ ถ้าหากตัวเขายังเป็นปกติ สิ่งที่นอกเหนือสามัญสำ�นึกเขาก็ย่อมเป็นเรื่องที่ผิดปกติ เพราะเป็นไปไม่ได้หรอกที่มนุษย์ธรรมดาอย่างเขาจะเป็นสิ่งผิดปกติของโลกใบนี้ ถ้าคิดอย่างนั้นได้ เรื่องราวมันก็ง่ายนิดเดียว ไม่เป็นไรหรอก... เพราะอย่างน้อยไพโรจน์เชื่อมั่นอย่างที่สุดว่าตัวเขาคือความจริง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ตัวเขาไม่เชื่อ ก็คือเรื่องโกหก เรื่องโกหกเป็นสิ่งที่ควรจะถูกลบทิ้งอยู่แล้วไม่ใช่หรือ ไพโรจน์เหยียดยิ้มเล็กน้อย ในตอนนั้นเองเขาหยิบไม้กอลฟ์ราคาแพงของพ่อที่ใส่ถุงวางไว้ข้างบันไดพร้อมเดินก้าวไปข้างหน้า ไปหามนุษย์หัวม้าที่ยืนหันหลังอยู่ตรงนั้น
สถาวิทย์ ฤาชา Stawix Ruecha stawix@cadsondemak.com
คิด
ตัวพิมพ์ (,คน) ไทยมีหัว (คิด) อยู่แล้ว
253
สุดา สายโน Suda Saino
บ้านหลังเก่า
ความทรงจำ�ที่ยังคงอยู่ในใจที่เราเคยอยู่ บ้านหลังเล็กๆ อันแสนอบอุ่น
สุกฤตา หิรัณยชวลิต Sukritta Hiranyachawalit
ข้าวหนมไทย
อาหารที่ทำ�มาจากแป้ง โดยมีน้ำ�ตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ผูกพันแน่นแฟ้นกับวิถีชีวิตคนไทยมานาน และทวีความสำ�คัญขึ้นเรื่อยๆ จนมาถึงปัจจุบัน
254
สุกุมลนันท์ แก้วตา Sukumolnunt Keawta www.portfolios.net/profile/kwang
ไดโนเสาร์ที่ภูเวียง
ข้าพเจ้าอยากนำ�เสนอบ้านเกิดของข้าพเจ้าเอง คือ อำ�เภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น แห่งนี้คือที่ที่หลายร้อยล้านปีก่อน มีสัตว์ตัวใหญ่ยักษ์ทั้งกินพืชและกินเนื้ออาศัยอยู่มาก่อน สัตว์ที่ผู้คนขนานนามว่า ไดโนเสาร์
สุภลักษณ์ วงศ์หน่อ Supaluck Wongnor
ฉันรักเมืองไทย (I Love Siam)
เมืองไทยเป็นเมืองแสนสุข หลากหลายวัฒนธรรมอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่ขัดแย้ง รอยยิ้มเพียงนิดทำ�ให้ประเทศชาติอยู่ได้ด้วยหัวใจอันชุ่มฉ่ำ� ทุกหย่อมหญ้ามีพลังศรัทธาแห่งวิถีพุทธด้วยชีวิตที่เรียบง่าย และไม่ซับซ้อน ทำ�ให้เกิดสิ่งดีงามที่เปี่ยมไปด้วยความรักในประเทศไทย
255
สุพิพัฒน์ ฉิมวิเชียร Supipat Chimwichian
Korea Fever
แรงบันดาลใจในงานชิ้นนี้ต้องขอบคุณ สาวออฟฟิศและสาวใกล้ตัวผมอีกหลายคน ที่มีความหลงใหลในวัฒนธรรมเกาหลี (เกาหลีใต้) เพลง การแต่งกาย ละคร ฯลฯ จะเห็นได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการไหลบ่าของวัฒนธรรมเกาหลี แพร่เข้าสู่ส่วนหนึ่งของชีวิตวัยรุ่นหญิงไทย แล้วแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ยากที่จะกระชับวงล้อม (เอ๊ะ.....) กลายเป็นว่าลูกเด็กเล็กแดง สาวน้อย สาวใหญ่ ชายรักชาย ชายรักหญิง ฯลฯ ก็บริโภคสินค้าและวัฒนธรรมแดนกิมจิเข้าอย่างจัง โดยหลีกหนีไม่พ้น ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไทย ไปทางไหนก็จะเจอความเป็นเกาหลีเข้าแน่นอน เพลง เสื้อผ้า เครื่องสำ�อาง อาหาร และสาวเกาหลี (ความชอบส่วนบุคคล) ฯลฯ ทำ�ให้เราซึมซับวัฒนธรรมเกาหลีโดยไม่รตู้ วั นับเป็นการตลาดที่ดีของเกาหลี ที่จะเผยแพร่ประเทศตัวเองผ่าน ศิลปิน ดารา นักร้อง ของตน ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของหลายประเทศในเอเชีย ทำ�ให้หลายคนสนใจในประเทศวัฒนธรรมเกาหลี ภาษา การแต่งกาย อาหาร (อันนี้ผมก็ชอบ) การท่องเที่ยว สินค้าต่างๆ นำ�เงินตราสู่ประเทศเกาหลีเป็นอย่างมาก สิ่งที่ผมอยากสะท้อนในงานชิ้นนี้คือ อย่างไรเราก็คนไทยสิ่งไหนที่เราควรนำ�เป็นแบบอย่างก็ควรทำ� แต่อะไรที่มากไปก็ส่งผลไม่ดีเช่นกัน เรามีวัฒนธรรมที่ดีงามควรค่าแก่การรักษา ขอให้เราคนไทยอย่าลืมความเป็นคนไทย วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม และขอให้คนไทยภูมิใจในชาติ และความเป็นไทย...
สุรัติ โตมรศักดิ์ Surat Tomornsak
bลngkok film feรtivลl ๒๐๐๗
256
สุริยา งามวงษ์ Suriya Ngamwong
Goodness
ความดีชว่ ยทำ�ให้คนมีคณุ ค่า มีความหมาย เป็นประโยชน์ตอ่ สังคมและทำ�ให้โลกน่าอยู่ ไม่มคี �ำ ว่าสายสำ�หรับการทำ�ความดี สิง่ ยึดเหนีย่ วจิตใจของเราคือ พระพุทธเจ้าช่วยเป็นแสงสว่างให้กบั ผมและทุกคน
สุทธิพันธ์ แสงประสิทธิ์ Suttiphan Sangprasit
Friendship (มิตรภาพ)
มิตรภาพ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็จะทำ�ให้เกิดความสามัคคี ไม่มีการแบ่งฝ่าย ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยยังขาดสิ่งนี้ เป็นอย่างมาก จึงเปรียบเทียบประชาชนในประเทศ เป็นกิ่งไม้ หากกิ่งไม้อยู่รวมกันหลายกิ่ง ก็จะหักลงได้ยาก ซึ่งหมายความว่า หากคนในชาติมีความสามัคคีกัน สิ่งร้ายๆ ที่เกิดขึ้น ก็ยากที่จะทำ�ลายความสงบสุข ของคนในชาติลงได้
257
สุวัฒน์ชัย ถินกลาง Suwatchai Thaiklang
We are Class 5/1
ภาพนี้ทำ�ให้คุณครูสอนภาษาอังกฤษ ชาวต่างชาติ เพราะคุณครูจะย้ายไปสอนที่มาเลเซีย ผมก็เลยทำ�ภาพนี้ขึ้นเพื่อให้คุณครู จำ� ม. 5/1 โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ ๑” และจดจำ�ประเทศไทยไว้
ทักษิณา โชติมา Taksina Chotima
เฉิ่ม
ภาพประกอบจากการเห็นสีสัน ภาพ และการ Paint รถประจำ�ทาง ระหว่างทางที่เราไปต่างจังหวัด
258
ธนโชติ ทรัพย์เรืองนาม Tanachot Sapruangnam rabobb@yahoo.com 735-17.blogspot.com
ระบบ ไทยนี้มีระบบมีระเบียบ แต่ไทยนี้ถูกทับซ้อนซับซ้อน ยากที่จะแยกแยะแก้ไขออก แต่ไทยทั้งหมดทั้งมวลในนี้นั้น ที่ว่ามีเหมือนจะไม่มีที่ว่า ไม่มีเหมือนจะมีระบบ
ธนรัตน์ อำ�พล Tanaratta Umpon dogcanfly.multiply.com
ไท๊ย ไทย
ความเป็นไทยมีอยู่ทุกที่ ทั้งความตลก ความกวน การเสียดสี กล้าที่จะหัวเราะเยาะตัวเอง ความถ่อมตัว มันมีอยู่ในทุกๆ อณูของอากาศ สิง่ ทีค่ ณ ุ มองเห็นและสัมผัสรอบๆ ตัวคุณ แต่บางทีเราก็ไม่คอ่ ยอยากจะยอมรับหรอก มันว่านั่นหน่ะ.... มันโคตรจะไท๊ย ไทย เลยนะ
259
ธเนศ ศรีกฤษณพล Tanase Srikrisanapol
Kranok (กระหนก) ปัจจุบัน การออกแบบนิยมให้มีรูปแบบที่ เรียบง่าย ตัดทอน โมเดิร์น ซึ่งรูปแบบจะดูเป็นสากล ภาษาที่เป็นสากล แน่นอนนั่นคือ ภาษาอังกฤษ งานออกแบบตัวอักษรชิ้นนี้ถ้าดูผิวเผิน จะเห็นว่าเป็นตัวอักษรทีด่ ดู จิ ติ อล โฉบเฉีย่ ว แต่แท้ที่จริงแล้ว ตัวอักษรเหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นมาจากกริดของลายไทย นั่นคือ “ลายประจำ�ยาม” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่ง ในการเขียนลายกระหนก แสดงให้เห็นว่าสิ่งของที่มีเอกลักษณ์ ความเป็นไทยก็สามารถสรรค์สร้าง ความเป็นสากลขึ้นมาได้
ธนวัฒน์ เศรษฐกร Tanawat Setthakorn tin-blue@hotmail.com
Smile
อยากให้ดูรอยยิ้มของทุกๆ คนในภาพนี้ แล้วลองคิดดูว่าคุณอยากจะช่วยให้ใครยิ้มมากขึ้นกว่านี้ อยากบอกว่า “ไข่ปิ้งไทยก็อร่อยไม่แพ้ชาติใดในโลก”
260
ธัญญ์เทพ อิสราวิวัฒน์ Tantape Isarawiwat
Thailand - The World of Grand Royal Culture
เมืองไทยเรามีความหลากหลายทางอารยธรรม ที่ประกอบเป็นเมืองพุทธ คือมีคนไทยที่เคารพ นับถือ และซาบซึ้งแห่งวิถีชาวพุทธ นั่นคือ เรียบง่าย สันโดษ แต่ดีงาม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงผสมผสานออกมาจนเป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม เป็นเสน่ห์ที่น่าดึงดูดแก่ชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาพบเห็น และอยากมีส่วนร่วม โดยเฉพาะปูชนียสถานที่ชาวพุทธไทยเราถือว่าเป็นสิ่งที่ล้ำ�ค่ามากๆ เพราะนอกจากจะเป็นสถานที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมประเพณีพุทธวิถีเหล่านั้นแล้ว ยังบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความละเมียดบรรจงในการก่อสร้าง และศิลปะอีกหลายแขนงอีกด้วย ดังนั้นจึงถือได้ว่าการที่เมืองไทยเรามีปูชนียสถานที่หลากหลายนั้น จึงเป็นแหล่งกำ�เนิดวัฒนธรรมที่หลากหลายเช่นกัน
ธัญญารัตน์ อริยโชติสานนท์ Tayarat Ariyachotsanon
ข้าวของไทย
ตั้งแต่เล็กจนโตเกิดมาก็กินข้าวเพื่อความอยู่รอด เพราะ ข้าวของไทยไม่เหมือนชาติใดในโลก ถึงแม้ว่าในโลกนี้จะมีประเทศที่ปลูกข้าวเหมือนประเทศไทย แต่ไม่มีชาติใดที่มีเมล็ดข้าวสวยเหมือนข้าวไทย
261
ธวัชชัย ไกรฤกษ์ Tawatchai Kairuek
The Yellow Robe
ความเป็นจริงในสังคมไทยของคนไทย ที่รักการทำ�บุญ แค่จิตใจบริสุทธ์ในการทำ�บุญก็คงจะ ไม่พอเสียแล้ว
ธีรภัทร์ ล้อสุวรรณวงค์ Teerapat Lowsuwannawong
หนังสือรามเกียรติ์ศิลป์ซับเเผ่นดิน (หนังสือรามเกียรติ์ศิลป์ซับเเผ่นดิน)
เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เห็นเรื่องรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีเเละศิลปะชั้นสูงของไทย ทีอ่ ยูร่ อบๆ ตัวเรา ทีม่ มี าตัง้ เเต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนมาถึงปัจจุบนั ทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลง ได้เห็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไปเเละได้เห็นว่ารามเกียรติ์ถูกซึมซับอยู่ในคนไทย ไม่ว่าจะเป็นในด้านศิลปะนาฏศิลป์ไทย ด้านความเชื่อ การนำ�ความคิดต่อยอดทำ�ให้เกิด ศิลปะร่วมสมัยหรือการสร้างมูลค่าเพิม่ จากรามเกียรติ์ เมื่อผู้ที่สนใจในเรื่องรามเกียรติ์ได้อ่านจะได้เห็นมุมมองที่เเตกต่างไปจากวรรณคดี การสร้างสรรค์ของคนไทย
262
ธีระวัฒน์ โซวอุดมศิลป์ Teerawat Sovudomsil hummann.blogspot.com
โครงการออกแบบหนังสือภาพประกอบจากบันทึกเรื่อง “ความทรงจำ�แห่งฤดูกาล” เรื่องราวต่างๆ ในหนังสือ บันทึก “ความทรงจำ�แห่งฤดูกาล” นี้ เขียนขึ้นโดยใช้ความรู้สึกและบวกเข้ากับจินตนาการบางส่วนของผู้เขียน โดยใช้ความเรียบง่ายของภาษา และความเป็นธรรมชาติเสมือนท่านผู้อ่านกำ�ลังอ่านบันทึกของผู้ชายคนหนึ่ง ที่ได้พบเจอกับเรื่องราวต่างๆ และนำ�มาถ่ายทอดโดยอาศัยภาพประกอบทีเ่ รียบง่ายและสวยงาม ซึง่ มอบบรรยากาศของความทรงจำ�แห่งฤดูกาลแด่ทา่ นผูอ้ า่ นอย่างแท้จริง ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เรื่องราว และภาพประกอบต่างๆ ในหนังสือ บันทึก เล่มนี้ จะช่วยนำ�ท่านผู้อ่านนึกย้อนไปถึงวัยเด็ก และเก็บเกี่ยวบรรยากาศต่างๆ กลับมาจนถึงปัจจุบันและยิ้มให้กับความทรงจำ�ที่เกิดขึ้นในอดีต มีความสุขกับมันและพบกับความสวยงามที่อยู่กับตัวเราเองเสมอมา ธีวิณ หิรัญเลิศประเสริฐ Teevin Hirunlertpasert
Thai Elephant
ปัจจุบันคนเราใส่ใจกับเรื่องเล็กน้อยจนมองข้ามบางสิ่งที่สวยงามไป ดั่งเช่นเหตุผลที่ว่า ช้างไทยต้องถูกฆ่าตายเพียงเพราะ ต้องการแย่งชิงความงามจากงาของมัน
263
ธนา ตันติสราภรณ์ Thana Thantisaraphon www.flickr.com/photos/thanathan
Som-Whe-Tai เอกลักษณ์ความเป็นไทยเป็นภาษาสากล พบที่ไหนก็รู้ว่าเป็น “ไทย”
ธนวิชญ์ ประสงค์พงษ์ชัย Thanawit Prasongpongchai aurumcuber.exteen.com
Thailand
สงกรานต์ ยักษ์ ไทย และตึกใบหยก :)
264
ฐาปนี สืบเมืองซ้าย Thapanee Suebmuangsai make_up_one_s_mind@hotmail.com nangsin.exteen.com
แผงแป้นอักขระ
ไม่ต้องบอกก็น่าจะรู้ว่า คุณใช้คณิตกรณ์ที่ประเทศอะไร
ธเรศ เมธยาภิรมย์ Tharet Maytayapirom
การกระทำ�แบบนี่คือ ไทย
T แทน คนตัวใหญ่ H แทน ที่ไม่สมบูรณ์ ทางร่างกาย A แทนชาวต่างชาติ ที่มีใจเป็นไทย ส่วนตัวสุดท้ายคือ ตัว I ที่นำ�มาดัดแปลงเป็นคนไหว้ ซึ่งเป็นการกระทำ�ของไทย
265
ธีราพร เพ็ญโรจน์ Theeraporn Penroaj
หากไม่มีโรงเรียน (Begining of Thai)
โรงเรียนคือจุดเริ่มต้นของชีวิตแห่งการเรียนรู้ ตั้งแต่ ก-ฮ วัฒนธรรม ประเพณี รอยยิ้ม มารยาท ฯลฯ ทุกอย่างฉันถูกปลูกฝังจากรั้วโรงเรียน เพื่อก้าวไปเรียนรู้ในโลกที่ใหญ่กว่า หากไม่มีโรงเรียน ฉันคงสะกดคำ�ว่า “ประเทศไทย” ไม่เป็น
ทองเจือ เขียดทอง Thongchuea Khatthong
GreenBook หนังสือออกแบบ Logo ไทย ฉบับสมบูรณ์ ไปหามาอ่านซะ!! JateThongchue Font ไทย ใหม่ในอดีต (พ.ศ.2529)
266
ทศพร ธรรมกุล Tosaporn Thumkul www.facebook.com/monkeeboyd.tamakushi
Ko Rea Lo Ver
ในสังคมปัจจุบันนี้ กระแสเกาหลีกำ�ลังเข้ามาสูบเงินทองในประเทศไทยเรา ไปเป็นจำ�นวนมาก อะไรนิดหน่อยก็เป็นเกาหลีไปเสียหมด จนเรากำ�ลังหลงลืมความเป็นไทย จึงใช้ภาพจิตรกรรมไทยมาถ่ายทอดเรื่องราว โดยการเรียกร้องของตัวละครไทย
ไตรถิกา พิชิตเดช Tritika Pichitdej figureskatethia.wordpress.com
Mad Transportation in BKK
ตั๋วรถเมล์เป็นชิ้นงานหลัก ที่สื่อได้ชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับ การเดินทางในเมือง มีช่องต่างๆ เป็นสี แทนยานพาหนะสาธารณะ ที่ใช้การเดินทางภายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึง่ เป็นทีร่ กู้ นั ในเรือ่ งของการให้บริการ...
267
ธัญญารัตน์ กุลชาติ Tunyarut Kunlachat
ความเคยชิน
ความเป็นต่างชาติได้เข้ามามีบทบาทต่อความเป็นไทยเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จนเราจะเห็นสิ่งเหล่านี้มีอยู่แทบทุกที่ในเมืองไทย เมื่อมองเห็นโลโก้เหล่านี้ เรากลับพบว่าเป็นความเคยชิน เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยไปเสียแล้ว
อุษณา บัวศรี Usana Buasri
หวย
หวย เป็นการพนันเสี่ยงทายประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นราวปี พ.ศ. 2375 รัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงขาดแคลน ข้าวยากหมากแพง คนไม่ยอมนำ�เงินมาใช้ เอาเงินไปฝังไว้ในดิน ต่อมาได้แก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วยการตั้งหวย จึงโปรดเกล้าฯ ให้จีนหงตั้งโรงหวยขึ้นมาตั้งแต่บัดนั้น ซึ่งที่เมืองจีนจะเรียกว่า “ฮวยหวย” พอมาถึงบ้านเราก็พากันเรียกว่า “หวย” ติดปากมาจนทุกวันนี้ คนไทยไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร ก็ยังเชื่อเรื่องโชคลาภ เสี่ยงดวงกันอยู่ ถึงแม้โอกาสถูกรางวัลจะไม่ค่อยมากเท่าไหร่ก็เถอะ (ถูกกินซะมากกว่า) บางคนถูกหวยทีจุดประทัดซะใหญ่โต แต่ถึงแม้จะถูกกินเป็นส่วนมาก คนก็ยังมีความสุขกับการที่ซื้อหวย มีความสุขกับการที่มานั่งลุ้นว่า งวดนี้จะถูกหวยรึป่าว….
268
วิเชียร โต๋ว Vichean Tow blue@colorparty.com
น้ำ�พริกคุณยาย
บรรจุภัณฑ์น้ำ�พริกที่ออกจำ�หน่ายในช่วงปีใหม่ โดยใช้ชะลอมเป็นภาชนะแทนการห่อของขวัญ และเพื่อสื่อถึงผลิตภัณฑ์ Home Made
วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ Vorathit Kruavanichkit graphicfarmbkk@gmail.com
Now Here / No Where
งานคือการตอบคำ�ที่ตั้งไว้ ที่ตั้งไว้ว่า Somewhere Thai เลยขอทำ�งานที่เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันครับ คำ�ตอบนี้สามารถอ่านได้สองแบบ แล้วแต่ว่ามองแง่ไหน คือ Now Here หรือ No Where
269
วศิน ปฐมหยก Wasin Pathomyok www.wa-xin.com
คนในจะออก? คนนอกจะเข้า? คนไหนคนไทย? จะรู้ได้ไง? :-)
วีร์ วีรพร Wee Viraporn wee@conscious.co.th
กรุงเทพมหานคร / 2005
ภาพประกอบชิ้นนี้ เรามีโอกาสคิดและใช้มันย้�ำ มุมมองความคิด และการรับรู้ของคนในสังคม เมื่อครั้งที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำ�หนังสือ ชุด “Bangkok Fashion Now & Tomorrow” ขึ้น เพื่อบอกเล่าแง่มุมต่างๆ ของแฟชั่นในบ้านเรา ในโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น แบบอักษรคร่ำ�ครึที่เรียงเป็นชื่ออันยาวเหยียดของกรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นบนแม่พิมพ์โลหะกัดกรด ถูกจัดวางองค์ประกอบในแบบที่ไม่คุ้นตา ผิดธรรมเนียมไปจากการจารึกคำ�ในแบบโบราณของไทย แต่ยังคงความเป็นอักษรภาพโบราณด้วยฟอนต์ อักษราเมธี (Aksaramatee, 2003) ฟอนต์ใหม่ที่ให้ความรู้สึกเก่า เพื่อลวงความรู้สึกและย้ำ�มุมมองความเชื่อของสังคม ต่อเรื่องราวทางวัฒนธรรมของกรุงเทพ มหานคร เมืองฟ้าอมร ที่กำ�ลังถูกบิดเบือนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไปทีละเล็กละน้อย จนบางครั้งก็ไม่อาจสามารถแน่ใจได้เลยว่า สิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้านั้นคือ รากเหง้าทาง “วัฒนธรรม” หรือ การบิดเบือนจาก “อุตสาหกรรม” กันแน่…
270
วีระยุทธ อังคะราช Weerayutt Angkharach equinoxeg.wordpress.com
Peace
อย่าให้ความสงบของเรา ต้องจางหายไปเลย
วิภานันท์ ฉ่อนเจริญ Wipanan Choncharoen
Somewhere Light
271
วิรัณ ชิยารัชต์ Wiran Chiyarach
ธรรมชาติ สร้างคน คน สร้างวัฒนธรรม
แต่ไหนแต่ไรมา ธรรมชาติและวัฒนธรรมนั้นเป็นของคู่กัน โดยมนุษย์เป็นผู้สรรสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาจากการสังเกตธรรมชาติ วันเวลาผ่านไป ทั้งวัฒนธรรมและธรรมชาติ ผสมปนเปกัน ซ้ำ�ไปซ้ำ�มา ซ้อนกันไปมาโดยมีกิจกรรมของมนุษย์เป็นตัวเปลี่ยนแปลงทั้งสองสิ่งนี้ จนเกิดเป็นสิ่งแปลกใหม่ทางวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจ แปลกตา และใหม่สดอยู่เสมอ วัฒนธรรมและธรรมชาติก็เหมือนมิติสองมิติที่มีพื้นที่บางส่วนซ้อนทับกัน และพื้นที่ที่ซ้อนกันนั้นมักจะให้กำ�เนิดมิติใหม่ที่น่าสนใจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมิติเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ�ในเมืองใหญ่ๆ เช่น “กรุงเทพมหานคร” เพียงแต่เราจะรับรู้มันหรือไม่ ผมอยากบอกเล่าถึงความน่าสนใจของมิติที่เชื่อมกันระหว่าง วัฒนธรรม และธรรมชาติ โดยใช้รูปถ่ายนกพิราบ ซึ่งอาศัยอยู่มากมายในกรุงเทพฯ และเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติในเมืองใหญ่ และครุต ที่เราพบเห็นได้ทุกๆ ที่ในเมือง ซึ่งเป็นตัวแทนของวัฒนธรรม นำ�มารวมกันเพือ่ ให้เกิดความน่าสนใจ และอธิบายความหมายได้หลายแง่มมุ
272
วิโรษณา ยอดใจคำ� Wirosana Yodjikum
Paper Toy - Thai Musical Instruments
เริ่มจากชิ้นส่วนของซอด้วง ที่ประกอบโดยไม่ใช้กาวแต่ใช้เส้นสายของเสียงยึดไว้ จึงนำ�มาเป็นแนวคิดในการสร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้น คือ เครื่องดนตรีไทยกระดาษ ที่ประกอบโดยไม่ใช้กาว ซึ่งแปลชิ้นงานออกมาในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม แต่ยังคงความเป็นไทย
วิโรจน์ นวลชาวนา Wiróte Nuanchawna mailto:odalisque@live.com
Religion Peace
แม้ผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก จนได้ชื่อว่า “เมืองไทย เมืองพุทธ” แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังมีคนไทยอีกหลายจำ�นวน ที่นับถือศาสนาอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นศาสนาคริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู หรือแม้แต่ศาสนาซิกข์ ซึง่ เมืองไทยไม่เคยต่อต้าน เหยียดหยาม หรือห้ามปรามไม่ให้ผคู้ นนับถือศาสนาอืน่ แต่กลับสนับสนุนช่วยเหลือผู้คน ที่ต่างศาสนาในสังคมไทยด้วยกัน อย่างพี่ อย่างน้อง ด้วยเสรีภาพที่มีแก่ผู้คนในประเทศนี้ ทำ�ให้ใครจะนับถือศาสนาอะไรก็ได้ โดยไม่กีดกั้น และทุกศาสนาก็อยู่ร่วมกัน ในสังคมไทยสังคมนี้ได้อย่างสงบ และสุขร่วมกัน แม้ว่าแนวความคิดความเชื่อทางศาสนา จะต่างกันก็ตาม
273
วิษณุ เส้นแก้วใส Wisanu Senkhaewsai luangnhapanich.exteen.com
run! Lin-Ping run! เนื่องจากในช่วงหนึ่งคนไทยหันมาสนใจ ลูกหมีแพนด้าจนเกินไป จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจสร้างผลงานนีข้ น้ึ โดยจะสื่อว่าควรจะปล่อยให้สัตว์พวกนี้ มีความเป็นอยู่ที่ธรรมดา ไม่น่าจะมาสนใจอะไรมากมาย หรือ ควรให้ความสนใจกับสัตว์ประเภทอืน่ บ้าง
วรวัฒน์ ลิ้มสุมาลี Worrawat Limsumalee pq83.blogspot.com
Peace - SS
Peace + Process = Peace - SS
274
วุฒิภัทร สมจิตต์ Wutthipat Somjit
Articulation
การนำ�เสนอการผสมผสานของวัฒนธรรม การดำ�เนินชีวิต อัตลักษณ์ ภาษา เเละอื่นๆ ไว้อย่างเป็นธรรมชาติ เเละมีเสน่ห์ในตัวของมันเอง โดยใช้วิธีการเล่าเรื่องคล้ายกับงานจิตรกรรมบนฝาผนัง
ยุทธชัย ตั้งวงษ์เจริญ Yuthachai Tangwongcharoen redkolinsky.blogspot.com
Fractal Thai Food
Somewhere Thai… ผมคิดว่ามนุษย์ทุกคนต้องกินอาหารเพื่อในการดำ�รงชีวิต แล้วอาหารที่คนไทยและต่างชาติเข้าใจถึงความเป็นไทย สิ่งนั้นคงหนีไม่พ้น ส้มตำ� และต้มยำ�กุ้ง อาหารขึ้นชื่อของประเทศ ที่สามารถหามากินได้แทบทุกที่ในไทย และทั่วโลก บางอารมณ์แม้อยู่ต่างประเทศหากได้กินส้มตำ�ก็ทำ�ให้อดไม่ได้ที่จะคิดถึงบ้าน คิดถึงประเทศไทย ผมคิดว่ามันสามารถตอบโจทย์ Somewhere Thai ได้อย่างดี แต่ในทีน่ ผ้ี มได้ใช้ ส้มตำ� ในการสือ่ ความหมาย โดยให้องค์ประกอบเครือ่ งปรุงของส้มตำ� สื่อออกมาเป็นขาวและดำ� บน BG สีกึ่งฉุุดฉาดสบายตา เพราะผมคิดว่ารสชาติและความจัดจ้านของส้มตำ� มันมีของมันอยู่ในตัวอยู่แล้ว จึงไม่ต้องทำ�ให้มันสีสันฉูดฉาด หรือ Contrast มากขึ้น ผมจึงให้มันกลับกันกลายเป็นสีขาวดำ� หลังจากนั้นผมใช้เส้นโยงถึงความสัมพันธ์ ของเครื่องปรุงทั้งหลาย ที่ทำ�ให้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ในรสชาติ ซึ่งยากที่จะมีอาหารประเภทใดในโลกมีรสชาติเหมือนในโลก ลองชมครับ
275
ยุทธศักดิ์ นิมมาน Youttasak Nimman psychosisbear@hotmail.com
กะพริบ
ในขณะที่นั่งมองน้ำ�ไหลออกมาจากก๊อก เกิดคำ�ถามขึ้นมาในหัวว่า “น้ำ�พวกนี้ไหลมาจากไหน?” นั่งครุ่นคิดต่อไป ทำ�ให้สงสัยขึ้นมาอีกว่า ตัวเราในปัจจุบันขณะที่กระทำ�อะไรต่างๆ นั้น มีที่มาที่ไปหรือมีแรงกระตุ้นมาจากไหน การได้ไปเยี่ยมเยือนสถานที่อันแตกต่าง หรือการได้พบเจอสัมผัสผู้คนที่หลากหลาย มีผลต่อตัวเรา ณ ปัจจุบันหรือไม่? อดีต ปัจจุบัน และอนาคต การดำ�เนินชีวิตต่อไปจะเป็นอย่างไร? ชั่วขณะที่น้ำ�ไหลออกมาไม่สม่ำ�เสมอ ถูกนำ�ไปเปรียบเทียบกับความไม่แน่นอนในการใช้ชีวิต สายน้ำ�กะปิดกะปรอยทำ�ให้ตาเรากะพริบตาม ยิ่งกระพริบตาถี่ๆ ภาพจำ�ในอดีตยิ่งไหลผ่านเข้ามามากมายและชัดเจน เหมือนย้อนกลับไปยังห้วงเวลาที่ได้สัมผัส เยี่ยมเยือน เป็นอยู่ กับสถานที่และผู้คนมากมายเหล่านั้น
www.imtgd.org
สนับสนุนการพิมพ์ โดย
สนับสนุนเพลตงานพิมพ์ โดย
ไอโฟโตบุคส
ทำโฟโตบุคส ไดงายๆ ดวยตัวคุณเอง ดาวน โหลดโปรแกรมฟรี ไดแลววันนี้ที่
www.iPhotobooks.co.th เราคือผูนําในการใหบริการดานงานพิมพระบบดิจิตอลครบวงจร ตั้งแตกระบวนการออกแบบ, กระบวนการพิมพและหลังพิมพ โฟโตบุคส หนังสือ แผนพับ ใบปลิว โปสการด นามบัตร ฯลฯ Printed by NexPress S2500
สอบถามรายละเอียดเพิ�มเติมไดที่ โทร. 0-2216-2760-8, 0-2613-7008-17
www.iphotobooks.co.th
A SOONTORN FILM Company
สนับสนุนกระดาษ โดย
Inspired By Green Technology
Cocoon is an innovative range of extra-white certified FSC 100% recycled paper. By Choosing Cocoon, you will never have to make a choice between environmental consideratons and qualitative expectation for print.
Distributed by:
Manufactured by:
www.arjowigginsgraphic.com
สอบถามขอมูลเพิ่มเติม หรือขอรับตัวอยางกระดาษไดที่ แผนกลูกคาสัมพันธ โทร. 0-2673-9222 บริษัท แอนทาลิส (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 899 อาคาร ไทย ซีซี ทาวเวอร ชั้น 4 หองเลขที่ 48-49 ถนนสาทรใต แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 marketing.th@antalis-asiapacific.com www.antalisthai.com
Paper is recyclable, sustainable and contributes to forest development. Still the world’s most powerful means of communication. Visit www.antalis.com
ขอขอบคุณ สมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย สำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บริษัท แอนทาลิส (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท สุนทรฟิล์ม จำ�กัด บริษัท พลัสเพรส จำ�กัด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำ�กัด Designiti Co., Ltd. นิตยสาร happening นิตยสาร Computer Arts นิตยสาร a day นิตยสาร art4d นิตยสาร CG+ นิตยสาร Music&Art นิตยสาร wake up ศูนย์สร้างสรรค์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ บริษัท แพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ จำ�กัด บริษัท คัดสรรดีมาก จำ�กัด บริษัท ฟาร์มกรุ๊ป จำ�กัด บริษัท คราฟส์แมนชิพ จำ�กัด รายการ ดีไซน์ไป บ่นไป
287
รายนามขอบคุณ
อนุทิน วงศ์สรรคกร วรทิตย์ เครือวานิชกิจ วีร์ วีรพร ปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล (ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม) นาถนิศา สุขจิตต์ (ผู้อำ�นวยการศูนย์เครือข่ายสัมพันธ์และแหล่งทุน สำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม) กิติพนธ์ สิริไวทยางกูร อภิธนะ จีรวงศ์ไกรสร วิรัช รักวงษ์ วิไล รักวงษ์ ณรงค์ศักดิ์ มีวาสนาสุข ฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที บ้านขนม โดย จารุชา มยุระสกุณ วิภว์ บูรพาเดชะ ณัฐจรัส เองมหัสสกุล ทรงกลด บางยี่ขัน อรรถกร อินทกรณ์ ประธาน ธีระธาดา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรรเสริญ มิลินทสูต มณิภา ไชยวัณณ์ รุจีลาวัณย์ จันทร สมชาย รุ่งชวาลนนท์ ศุทธิรัตน์ สกุลพานิช นริศา ลีลาจันทร์ ณัฐนริญ ทองเชื้อ นัทธมน ทวนเงิน นัดดา ไกรดิษฐ์ ณัฐ แสนชื่น วิภาวี กิ่งเกตุ นภเกียรติ แก้วศรีงาม ดวงใจ อติพรพาณิชย์ วาธิณี สุธาเกียรติสกุล วิจักษณ์ สุวรรณภักดี ปองพล เจียรวงศ์วาน กฤตยุค เรืองธีระพันธ์ โชติวิทย์ สามารถ จุฑารัตน์ เอมถมยา
288
รายชื่อผู้เขียนบทความ
Default Philip Cornwel-Smith Xavier Comas (Spain) กฤษณะ ธนะธนิต ขวัญชัย อัครธรรมกุล คิรินทร์ ทุมมานนท์ เคลวิน หว่อง จักรกฤษณ์ อนันตกุล ชัชวาล ขนขจี ชัยยศ อิษฏ์วรพันธุ์ ณัฐจรัส เองมหัสสกุล ดีไซน์แลป ทรงพล จั่นลา ทรงศีล ทิวสมบุญ ธัชพงษ์ พรหมเวช ธีรนพ หวังศิลปคุณ นนทวัฒน์ เจริญชาศรี นัทส์ โซไซตี้ น้ำ�เพชร เชื้อชม น้ำ�ใส ศุภวงศ์ บี อาว เฟรนด์ สตูดิโอ ประชา สุวีรานนท์ ปริญญา โรจน์อารยานนท์ ปริวัฒน์ อนันตชินะ ปรีชา อิศราภิวัฒน์ ปุณลาภ ปุณโณทก พงศ์ธร หิรัญพฤกษ์ พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา พิชญา ศุภวานิช พิชาญ สุจริตสาธิต ไพโรจน์ พิทยเมธี ฟาร์มกรุ๊ป รักกิจ ควรหาเวช เรียวตะ ซูซูกิ โรจ สยามรวย ลีลานันทน์ รถเกียรติ วรุฒม์ ปันยารชุน วิเชียร โต๋ว วิภว์ บูรพาเดชะ วีร์ วีรพร เศรษฐพงศ์ โพวาทอง สถาวิทย์ ฤาชา
สยาม อัตตะริยะ สโลว์โมชั่น สันติ ลอรัชวี สาลินี หาญวารีวงศ์ศิลป์ สุทธิชาติ ศราภัยวานิช สุรัติ โตมรศักดิ์ หลี (สมพงษ์) ซื่อต่อศักดิ์ อนุทิน วงศ์สรรคกร อนุสรณ์ ติปยานนท์ เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช โอภาส ลิมปิอังคนันต์
289
รายชื่อผู้ร่วมส่งผลงาน
Choochart Nitijessadawong Günther GHEERAERT Jatupol Thanapura Pink Blue Black & Orange Co., Ltd. (Color Party) กนกนุช ศิลปวิศวกุล กฤตยุค เรืองธีระพันธ์ กฤษณะ ปัญญา กฤษดา เทียมสุวรรณ กวิตา ศรีสันต์ กษิดิศ ตั้งนิมิตโชค ก้องเกียรติ แก้วมหากาฬ กัญญาณัฐ โสมดี กำ�พล พรพิสูตร โกสินทร์ โกศินานนท์ ขจรยศ ชัยสุรจินดา คีรีขันธ์ ไชยพร จักรพันธ์ สุวรรณะบุณย์ จันทรานุช คูสุวรรณ จาตุรันต์ จริยารัตนกูล จิระพัฒน์ ยังโป้ย จิรัฏฐ์ สมภักดี จุฑาธิป ถิ่นถลาง ฉัตรชัย พรวนกระโทก ฉัตรณรงค์ จริงศุภธาดา ฉัตรสุดา กล่ำ�ทับ ชนิดา วัดทอง ชยตว์ กิระนันทวัฒน์ ชลิต เสงี่ยมศักดิ์ ชัชวาล มั่นสัตย์รักสกุล ชาติชาย บำ�รุงธรรม ฐาปนี สืบเมืองซ้าย ณัฏฐ์กานดา จิรโสภณสวัสดิ์ ณัฐ แสนชื่น ณัฐธิดา อนันต์นุรักษ์ ณัฐพล โรจนรัตนางกูร ณัฐวัตร ปานขาว ดุษฎี จันทร์ศรีเกษร เดชา จึง โดม สะเดาภัคพิพัฒน์ ไตรถิกา พิชิตเดช ทศพร ธรรมกุล ทองเจือ เขียดทอง
ทักษิณา โชติมา ธนโชติ ทรัพย์เรืองนาม ธนรัตน์ อำ�พล ธนวัฒน์ เศรษฐกร ธนวิชญ์ ประสงค์พงษ์ชัย ธนา ตันติสราภรณ์ ธเนศ ศรีกฤษณพล ธเรศ เมธยาภิรมย์ ธวัชชัย ไกรฤกษ์ ธัญญ์เทพ อิสราวิวัฒน์ ธัญญารัตน์ กุลชาติ ธัญญารัตน์ อริยโชติสานนท์ ธีรภัทร์ ล้อสุวรรณวงค์ ธีระวัฒน์ โซวอุดมศิลป์ ธีราพร เพ็ญโรจน์ ธีวิณ หิรัญเลิศประเสริฐ นนทพร เกตุมณี นพดล วิวัฒน์กมลวัฒน์ นฤป นาคประเสริฐ นวลขนิษฐ์ พรหมจรรยา นันทพจน์ หินพิมาย น้ำ�ฝน อุดมเลิศลักษณ์ นิติ เอกปฐมศักดิ์ นิพันธุ์ สุพินพง บวรรัตน์ แจ้งสว่างศรี เบญจมา พลเกษตร เบญจรัตน์ เอี่ยมรัตน์ ปกรณ์ รัตนสุธีรานนท์ ปพุทธ นิ่มเชื้อ ปราชญ์ เทียมผาสุข ปริญญา พิเชษฐศิริพร พงศกร อารีศิริไพศาล พงศักดิ์ เข็มทอง พลวัฒน์ ปิยปาณ พสัณห์ ดาทุมมา พัฒนภูมิ เพ็ชรกระจ่าง พัทธพล บัวล้อมใบ พิเชษฐ์ เกตุมี พีรพัฒน์ เสมา เพชร พิริยะจารุกุล ภฤตภรณ์ สิริกชกร ภัทริศ ภิญโญพิพัฒน์
290
ภัสสรา จงทวีธรรม ภาณุพงศ์ กิติโสภากุล ภาณุวุฒิ วราภักดิ์ ภูมินทร์ พุทธโกมุท ภูวนารถ เตรียมการ มนต์ชัย สันติเวส ยุทธชัย ตั้งวงษ์เจริญ ยุทธศักดิ์ นิมมาน รมย์ รวีวัฒน์ ปัญจะ รัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ รัฐนันท์ อุทธชาติ รัตนพล บริบูรณ์ลาภ ลัพธวิทย์ จิตรสมัคร วรวัฒน์ ลิ้มสุมาลี วศิน ปฐมหยก วิภานันท์ ฉ่อนเจริญ วิรัณ ชิยารัชต์ วิโรจน์ นวลชาวนา วิโรษณา ยอดใจคำ� วิษณุ เส้นแก้วใส วีระยุทธ อังคะราช วุฒิภัทร สมจิตต์ ศรัณย์ สรรพศิริ ศศิพัชร พวงสุนทร ศักดา เทศสีแดง ศิรดา วิไลธนารักษ์ ศิวพร ชีเจ็ดริ้ว สถาบัน มู้ด อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ สมชัย ธงชัยสว่าง สมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ สรทัศน์ ป. สรลักษณ์ เชื้อพุทธ สาวิตรี ตระกูลโอสถ สิรวิชญ์ พูลสุขเลิศ สิริภร วินิจฉัยกุล สุกฤตา หิรัณยชวลิต สุกุมลนันท์ แก้วตา สุดา สายโน สุทธิพันธ์ แสงประสิทธิ์ สุพิพัฒน์ ฉิมวิเชียร สุภลักษณ์ วงศ์หน่อ สุริยา งามวงษ์ สุวัฒน์ชัย ถินกลาง โสภณ สุวิสิษฐ์
หฤทัย สิงหกุล อนุกูล เหมาลา อนุชา รัตนวัน อนุชิต คำ�ซองเมือง อนุชิต บุญสม อนุวรรตน์ รอดสุข อนุวัฒน์ ขาวมานิตย์ อนุสิทธิ์ สายคำ� อภิวัฒน์ มุ่งมาไพรี อรสุภัค ผัดวัง อรอุมา จินตนสถิตย์ อลิษษา ลัภนวิศรุต อัครพล ด่านทองหลาง อัจฉรา ชื่นอารมณ์ อัจฉรา ทองนอก อารักษ์ อ่อนวิลัย อิศโร ประกาลัง อิสระ จารุกิจจรูญ อุษณา บัวศรี เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี เอกวิทย์ เล็กวิริยะกุล เอนก เอื้อการุณวงศ์
คณะทำ�งาน สันติ ลอรัชวี มนต์ชัย สันติเวส กนกนุช ศิลปวิศวกุล ณัฐิกา เลิศวิมลนันท์ ณัฐพล โรจนรัตนางกูร จักรพันธ์ สุวรรณะบุณย์ ศิรดา วิไลธนารักษ์ สรสิทธิ์ สมรูป เอกราช ประสิทธิวงษ์ ทวีศักดิ์ ประเทืองวงศ์ ขวัญชัย อัครธรรมกุล วิภว์ บูรพาเดชะ ณัฐจรัส เองมหัสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยลักษณ์ เบญจดล อนุทิน วงศ์สรรคกร วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ วีร์ วีรพร
S
O
M
E
W
H
E
R
E
T
H
A
I
IMTGD. FORUM 2010: SOMEWHERE THAI Initiated by Santi Lawrachawee Organized by Practical Design Studio in associated with Thai Graphic Designer Association and Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture