รายงานประจำปี 2553 ของ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 1



“การกระทำความดีนั้น แม้จะไม่มีใครรู้เห็น แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพื่อให้ผลดีที่เกิดขึ้นยิ่งเพิ่มพูน และแผ่ขยายกว้างออกไป เป็นประโยชน์ เป็นความเจริญมั่นคงที่แท้แก่ตน แก่ส่วนรวม ตลอดถึงชาติบ้านเมือง พร้อมทุกส่วน ข้าราชการทุกคนจึงต้องตั้งใจให้หนักแน่นเที่ยงตรง ที่จะกระทำความดี ทั้งในการประพฤติตน และการปฏิบัติงาน ด้วยความอุตสาหะเสียสละ โดยไม่หวั่นไหวย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา หรือความลำบากเหนื่อยยาก”

พระบรมราโชวาท

พระราชทานเนื่องในโอกาส วันข้าราชการพลเรือน ๑ เมษายน ๒๕๕๓ พระราชทาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓


สารจาก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวโรกาสพิเศษที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ ในปีนี้ เราทุกคน ในฐานะพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ควรย้อนรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณตลอดช่วงระยะเวลากว่า 60 สิบปีที่ ผ่านมา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่พสกนิกร ของพระองค์นานัปการ ดังเช่นที่เมื่อคราวใด ประชาชนได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ พระองค์ก็จะ ทรงงานอย่างหนักเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา แม้แต่เวลาที่พระองค์ทรงพระประชวร ก็มิได้ทรงละเว้นพระราช ภารกิจในการที่จะคลายความทุกข์เข็ญให้กับพสกนิกรของพระองค์แต่ประการใด หลายโครงการในพระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู่ หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชิ นี น าถ อาทิ โครงการฝนหลวง โครงการแก้ ไ ขปั ญ หา ดินเปรี้ยว โครงการแกล้งดิน โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อม โครงการบำบัดน้ำเสียชุมชนโดยวิธี ทางธรรมชาติ โครงการผันน้ำ โครงการป้องกันน้ำท่วมด้วยการเบี่ยงน้ำ และโครงการอื่นๆ อีกหลายพันโครงการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้อย่างเด่นชัดถึงพระปรีชาสามารถและ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ อย่ า งหาที่ สุ ด มิ ไ ด้ ดั่ ง พระราชสมั ญ ญานามที่ ป ระชาชนชาวไทยทั้ ง ประเทศได้ ถ วายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเป็น “พระบิดาแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ว่าทรงเป็น “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” เพื่ อ เป็ น การสำนึ กในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ และสนองต่ อ แนวพระราชดำริ กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม จึงได้ดำเนินการในหลายโครงการสำคัญ เช่น การอนุรักษ์ฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่มุ่งเน้นต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเร่งรัดจัดทำแนวเขตพื้นที่ II


สารจาก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ การจัดทำยุทธการแก้ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ของชาติ ซี่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในพื้นที่ 30 จังหวัด การบริหารจัดการและพัฒนาเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนและระบบกระจายน้ำอย่างบูรณาการ โดยการจัดหาน้ำสะอาด ให้กับหมู่บ้านภัยแล้งทั่วประเทศ จำนวน 673 แห่ง การก่อสร้างระบบประปาบาดาลในโรงเรียนที่ประสบปัญหา ขาดแคลนแหล่งน้ำอย่างรุนแรง การอนุรักษ์และฟื้นฟูจัดหาและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ลุ่มน้ำ จำนวน 1,888 แห่ง การสร้างความมั่นคงของระบบนิเวศเพื่อตอบสนองการพัฒนายั่งยืน การสำรวจจัดทำ ฐานข้อมูลความรู้ ความปลอดภัยทางชีวภาพ ตลอดจนการสร้างกลไกการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์เพื่อสร้าง ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน สุขภาพ การจัดการฐานข้อมูลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมและ รณรงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การดำเนินงานตามอนุสัญญาพันธกรณีข้อตกลงระหว่างประเทศที่ เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ การติดตามตรวจสอบบังคับใช้กฎหมายกับแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ เป้าหมาย เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำท่าจีน ลุ่มน้ำบางปะกง และการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจาก แหล่งกำเนิดมลพิษ เช่น ยานพาหนะ และเขตอุตสาหกรรม ในส่วนการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ได้สนับสนุน การปฏิบัติการของหน่วยงานในพื้นที่ที่มีสถานการณ์รุนแรงและล่อแหลมต่อการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ในส่วนของ การบริหารจัดการพิบัติภัย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้พัฒนาระบบเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ และกลไกการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน พร้อมทั้งการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ ความเสี่ยงต่อการเกิดพิบัติภัยในแต่ละพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพหมู่บ้าน/ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อให้สามารถป้องกัน พึ่งพาอาศัยและช่วยเหลือตนเองได้ในเบื้องต้น นอกจากนี้ได้มุ่งเน้น ให้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน โดยการจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมู่บ้าน หรือเครือข่าย ทสม. เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เครือข่ายผู้หญิงพิทักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นเพียงผลงานบางส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ กระผมขอเรียนว่า การบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นงานที่จะต้องได้รับ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จึงจะประสบผลสำเร็จ หากทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือ รวมทั้งมีความตระหนัก สุ ด ท้ า ยนี้ ก ระผมจึ ง หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า เราในฐานะประชาชนชาวไทยจะมี ค วามตระหนั ก และหวงแหนใน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้รักสามัคคี เพื่อจะได้รวมเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ในการต่อสู้ฟันฝ่า กับปัญหา วิกฤตต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป

(นายสุวิทย์ คุณกิตติ)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม III


สารจาก

ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่ ามกลางสภาวะพิบัติภัยทางธรรมชาติ ที่ เ กิ ด ขึ้ นในหลายประเทศทั่ วโลก ไม่ ว่ า จะเป็ น ปั ญ หาอุ ท กภั ย ภัยแล้ง ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) อันเป็นประเด็นปัญหาใหญ่ของมวลมนุษนยชาติในปัจจุบัน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะ หน่วยงานหลัก ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินภารกิจอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง เพื่อคงความ อุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยได้ดำเนินภารกิจทั้งด้านการตั้งรับ การแก้ไข ปัญหาและการให้ความช่วยเหลือภายหลังการเกิดพิบัติภัย ซึ่งได้ดำเนินการผ่านในหลายโครงการ ทั้งโครงการ ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟู โครงการด้านการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะ ด้านที่ดิน ป่าไม้ โครงการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการด้านการพัฒนาระบบเตือนภัยพิบัติ โครงการด้านมลพิษ โครงการบริหารจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการด้านทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง โครงการตามแนวพระราชดำริด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาองค์ ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งในหนังสือรายงานประจำปี พ.ศ. 2553 เล่มนี้ จะได้ กล่าวถึงรายละเอียดและผลสัมฤทธิ์ของโครงการต่างๆ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้ ดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมา โดยสิ่งสำคัญสูงสุดที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความมุ่งหมายคือ การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งจากทุกภาคส่วนเข้ามาประสานความร่วมมือในการดำเนินภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพราะหากเมื่อใดเราทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนมีความร่วมมือที่ดีระหว่างกันแล้ว ไม่ว่าจะประสบกับปัญหา วิกฤตใด ก็อาจจะทำให้ปัญหาวิกฤตนั้นกลับกลายเป็นโอกาสก็ย่อมเป็นไปได้ IV


สารจาก

ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากการดำเนินภารกิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปีต่อไป จะมุ่งเน้น การเสริมสร้างและขยายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีความเข้มแข็งขึ้นแล้ว เพื่อเป็นการสนองต่อพระมหากรุณาธิคุณและร่วมเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา ในปีมหามงคลนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่ ง แวดล้ อ ม จึ ง อยากจะขอวิ ง วอนให้ ป ระชาชนชาวไทยทุ ก หมู่ เ หล่ า หั น หน้ า เข้ า หากั น กลั บ มาปรองดองสมาน สามัคคีกัน เพื่อร่วมแสดงพลังอันยิ่งใหญ่ต่อสู้กับปัญหาวิกฤตภัยต่างๆ โดยเฉพาะวิกฤตภัยทางธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เพราะถ้าหากเราคนไทยทุกคนยังประวิงเวลาที่จะรวมพลังดังกล่าวออกไปเพียงใด ผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ และท้ายที่สุดผลกระทบก็จะตกสู่ประเทศชาติและลูกหลานของพวกเรา ชาวไทยทุกคนนั่นเอง

(นายโชติ ตราชู)

ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


คำกล่าวไว้อาลัย ดร. ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 18.00 น. พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปยังเมรุวัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ในการพระราชทานเพลิงศพ ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลั ด กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม ที่ เ สี ย ชี วิ ต จาก เฮลิคอปเตอร์ตก บริเวณป่าบ้านน้ำแขว่ง ตำบลเมืองลี อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เมื่อวันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ขณะสิริอายุรวม 59 ปี ท่ า นเริ่ ม ต้ น ชี วิ ต ราชการที่ ก องมาตรฐานคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2523 ตั้งแต่เป็น นักวิชาการสิ่งแวดล้อม จนถึงสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ภารกิจพิเศษ) ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2548 – 2550 และ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2550 – 2553 นโยบายที่ท่านได้ มอบแก่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง รวมถึงข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัด มีดังนี้ - ให้น้อมนำกระแสพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2550 มาเป็นแนวทางการปฏิบัติงานในเรื่อง การฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ การรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร การป้องกันสารเคมีและมลพิษต่างๆ การรักษาพื้นที่ป่าชายเลน - การดำเนินงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ทุกหน่วยงานดำเนินงานโดยพิจารณา ทุกมิติ ทุกระดับ เพราะภารกิจของกระทรวงดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ของประชาชนและการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ เพราะ ปัญหาแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ที่สำคัญต้องมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยจะต้องยึดหลัก Function-AreaParticipation - ผู้บริหารของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องให้ความสำคัญกับบุคลากร มีการพัฒนา บุคลากรให้มีความรู้ ประสบการณ์อย่างเท่าเทียมกันและยุติธรรม - ให้มีการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิชาการมาใช้ในการปฏิบัติงานมากขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลในการ แก้ปัญหาและตัดสินใจ - ให้นำหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) มาใช้ในการปฏิบัติงาน มีความโปร่งใส ประหยัด เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ นอกจากนโยบายที่ท่านได้ให้ไว้ ท่านยังให้ความสำคัญและเน้นย้ำการปฏิบัติงานด้านการป้องกันรักษาป่า ด้านการควบคุมไฟป่า และหมอกควันอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีความห่วงใยต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถตามเจตนารมณ์ VI


คำกล่าวไว้อาลัย ดร. ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ของท่านในการป้องกันรักษาป่า ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช มีบทบาทและเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ในด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม เป็นผู้มีส่วนร่วมในการร่างพระราช บัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2537 ด้านนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายและแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชาติไปสู่ การปฏิบัติ สนับสนุนการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมไปสู่ท้องถิ่น ด้านนโยบายต่างประเทศ ผลักดันให้เกิดความเข้มแข็งในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ และการดำเนินงานตามพันธกรณีของอนุสัญญา หรือสนธิสัญญาที่สำคัญๆ เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อนุสัญญาว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ และอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เป็นต้น ซึ่งทั้ง 3 อนุสัญญาเป็นอนุสัญญาที่มีความ สำคัญต่อประเทศไทย โดยเฉพาะประเด็นการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งท่านร่วมเป็นคณะ ผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 34 ที่สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล เมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ผลักดันให้มีการใช้กองทุนสิ่งแวดล้อม ในการแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้น ในส่วนของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ท่านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในด้านการพัฒนาระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และเป็นผู้ริเริ่ม ให้มีการดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โครงการปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ ถือเป็น ภารกิจสุดท้ายของ ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะดูแล รักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของ ประเทศไทยให้มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงามตลอดไป ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นแรงผลักดันที่สนับสนุนการพลิกฟื้นผืนป่า และการวางยุทธศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ พร้อมทั้งการจัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ตลอดช่วงชีวิตการปฏิบัติราชการของ ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ท่านได้มุ่งมั่น ทุ่มเท อุตสาหะและเสียสละ เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เจ้าหน้าที่ ในการดำเนินภารกิจด้านการบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ในทุกด้านให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนอกจากจะเป็นการ ปกป้องและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศให้ดำรงคงอยู่และมีความอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนในประเทศ จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ขอไว้อาลัยแด่ ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ขอให้ดวงวิญญาณของท่านสู่สัมปรายภพด้วยเทอญ ท่านเป็น ตัวอย่างของข้าราชการไทยที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างที่แท้จริง

คณะข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

VII


บทสรุปสำหรับผู้บริหาร รายงานประจำปี 2553 เป็นการนำเสนอสัมฤทธิผลการดำเนินงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ใน รอบปีงบประมาณ 2553 ซึ่งถือว่าเป็นการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานที่เสนอต่อ สาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการปฏิบัติงาน เพื่อสนองต่อความต้องการของประชาชนเป็นหลัก ภายใต้แผน ปฏิบัติราชการประจำปี 2553 ซึ่งประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ โดยสรุปดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 อนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท ที่ดิน ป่าไม้ ที่ตอบสนองต่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการวางกรอบยุทธศาสตร์ให้เกิดความต่อเนื่องของการดำเนิน นโยบาย เพื่อเป็นกรอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับกระทรวงและระดับชาติ อันจะส่งผลต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนิน งานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน ป่าไม้ ที่ตอบสนองต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาและฟื้นฟูลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีกลไกบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม บริหารจัดการที่ดินของรัฐ โดยใช้ระบบภูมิสารสนเทศและการวางผังเมือง เร่งรัดจัดทำแนวเขตพื้นที่อนุรักษ์ โดยสำรวจรังวัดแนวเขต 3,799 กิโลเมตร และจัดทำระวางแผนที่มาตรฐาน 4,316 ระวาง จัดทำยุทธการแก้ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ของชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายป่าในพื้นที่วิกฤต และการติดตามเฝ้าระวังไม่ให้มีการบุกรุกทำลายในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และ ป่าสงวนแห่งชาติ โดยมีพื้นที่เป้าหมาย คือ พื้นที่ทั่วไป ประกอบด้วยพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าสงวนแห่งชาติและ ป่าชายเลน และพื้นที่วิกฤต ประกอบด้วย พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าสงวนแห่งชาติและป่าชายเลน ที่ประสบภาวะ วิกฤตและล่อแหลมต่อการบุกรุกทำลาย โดยดำเนินการควบคุม ติดตาม ประสานส่งหน่วยเฉพาะกิจเข้าไป ตรวจลาดตระเวนในพื้นที่ วิกฤต 198 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 30 จังหวัด ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารจัดการ พัฒนา เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนและระบบกระจายน้ำอย่างบูรณาการ โดยการจัดหาน้ำ สะอาดให้กับหมู่บ้านภัยแล้งทั่วประเทศ จำนวน 673 แห่ง เพื่อให้ประชาชนมีน้ำสะอาดและมีคุณภาพดีใช้ในการอุปโภคบริโภคอย่าง เพียงพอและทั่วถึง ก่อสร้างระบบประปาบาดาลในโรงเรียนที่ประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำอย่างรุนแรง เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพผ่าน ระบบการกรองเบื้องต้นใช้อย่างทั่วถึงในทุกกิจกรรมทั้งโรงเรียน จำนวน 659 แห่ง อนุรักษ์และฟื้นฟูจัดหาและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำ จำนวน 1,888 แห่ง ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความมั่นคงของระบบนิเวศเพื่อตอบสนองการพัฒนายั่งยืน เป็นการบริหารจัดการและพัฒนาองค์ ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นฐานการพัฒนาของประเทศอย่างยั่งยืน เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ สำรวจจัดทำฐาน ข้อมูลความรู้ ความปลอดภัยทางชีวภาพ ตลอดจนการสร้างกลไกการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน สุขภาพ โดยมีผลงานที่สำคัญประกอบด้วย การจัดทำข้อมูลการสำรวจทรัพยากรชีวภาพและนำเข้าระบบฐานข้อมูลพัฒนาและใช้ ประโยชน์ จำนวน 5 ด้าน (พืช, สัตว์, แมลง, ไลเคนและเห็ดรา) การสำรวจประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อนำผลการสำรวจ มาจัดทำเป็นฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าไม้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การจัดการฐาน ข้อมูลโดยชุมชนมีส่วนร่วม ส่งเสริมและรณรงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดย 1) ศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่อความหลาก หลายทางชีวภาพและส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 2) ศึกษาและติดตามสภาพแวดล้อมในระบบนิเวศที่สำคัญ การกระจายพันธุ์ และติดตามประเมินสถานภาพของสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ตลอดจน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยสอดแทรกความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติทางทะเล รวมทั้งสนับสนุน การดำเนินงานตามอนุสัญญาพันธกรณีข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบริหารจัดการพิบัติภัย พัฒนาระบบเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติและกลไกการบริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ดำเนินการเฝ้าระวัง ติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ และเครือข่ายอาสาสมัคร แจ้งเหตุธรณีพิบัติภัย รวมทั้ง ศึกษา รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดธรณีพิบัติภัยดินถล่มในพื้นที่ต่างๆ พร้อมทั้งประกาศแจ้งเตือนภัย

VIII


บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ล่วงหน้าให้กับทางจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมกรณีเกิดเหตุธรณีพิบัติภัย หน่วยเคลื่อนที่เร็วจะเข้าตรวจสอบหาสาเหตุ วิเคราะห์ความเสี่ยงในพื้นที่ประสบเหตุ พร้อมให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการลดผลกระทบ ต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) สำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ดินถล่มในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ราบเชิงเขา ครอบคลุมหมู่บ้านเสี่ยงภัย 567 หมู่บ้าน การเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในระดับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นภัยดินโคลนถล่ม ภัยน้ำป่าไหลหลาก ภัยจากน้ำท่วมขังหรือเอ่อล้นตลิ่งและภัยอื่นๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะ ต้องเร่งเสริมสร้างศักยภาพให้เกิดขึ้นและเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสามารถป้องกันและช่วยเหลือตนเอง ได้ในเบื้องต้น รวมทั้งร่วมเป็นเครือข่ายช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ระหว่างชุมชนข้างเคียงที่ประสบภัยจากสถานการณ์ความเสี่ยงจากภัย พิบัติดังกล่าว ในการเตรียมความพร้อมของชุมชนเพื่อป้องกันภัยพิบัติเชิงรุก ฝึกอบรมให้แก่ผู้นำชุมชน/หมู่บ้าน โดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน มาเป็นแนวทางดำเนินงานเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติโดยร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน ร่วมกันดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์ ลดความสูญเสียเมื่อเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการจัดการคุณภาพทางอากาศ น้ำเสีย กลิ่น เสียงและขยะทุกประเภทให้เหมาะสมกับ สภาพพื้นที่ และส่งเสริมกลไกการพัฒนาที่สะอาด สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง โดยมีผลงานสำคัญ ได้แก่ ดำเนินมาตรการ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้ข้อเสนอแนะ พัฒนาแนวทาง แผนงาน กฎหมาย มาตรฐานและมาตรการในการจัดการมลพิษ ติดตามตรวจ สอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้แก่ คุณภาพน้ำผิวดินและทะเล คุณภาพอากาศ คุณภาพเสียงและสารเคมีทั่วประเทศ ให้คำปรึกษาการ จัดการและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านการจัดการมลพิษทางน้ำ ติดตามตรวจสอบบังคับใช้กฎหมายกับแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ เป้าหมาย 5 แห่ง ได้แก่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง ลำตะคองและปากพนัง อากาศและเสียง กากของเสียอันตราย ควบคุม การระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดมลพิษที่สำคัญ คือ ยานพาหนะ อุตสาหกรรมและการเผาในที่โล่ง ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการ ปรับปรุงระบบการลาดตระเวนในพื้นที่อนุรักษ์ให้มีความเข้มแข็ง โดยนำหลักการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาให้ได้มาตรฐานระดับสากล จัดฝึกอบรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการป้องกันรักษาป่า จำนวน 375 คน อบรมลาดตระเวนระยะไกล จำนวน 303 คน อบรม ปฏิบัติการลาดตระเวนป่า พื้นที่ล่อแหลมและเสี่ยงภัย จำนวน 168 คน สัมมนาการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากร จำนวน 240 คน ปฏิบัติการด้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยในพื้นที่ที่มีสถานการณ์รุนแรงและล่อแหลม ต่อการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า พื้นที่ที่มีอันตรายจากกับระเบิดหรือพื้นที่ใกล้แนวชายแดน ซึ่งจำเป็นต้องใช้หน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วเพื่อ การป้องกันและรักษาป่า (นคร.) ที่มีขีดความสามารถสูงกว่าชุดปฏิบัติการปกติ ตรวจตราลาดตระเวนทางยุทธวิธีแผนใหม่และมีความ พร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามการบุกรุกทำลายป่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อการป้องกันและรักษาป่า จำนวน 80 คน รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ทำงานวิจัยแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ประสบการณ์และความรู้ให้กับนักวิจัย ยุทธศาสตร์ที่ 7 พั ฒ นาและปรั บ ปรุ ง เครื่ อ งมื อ กลไกการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม ให้ มี ประสิทธิภาพ โดยการพัฒนางานวิจัยให้มีคุณภาพและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการดำเนินงานในภารกิจ ส่งเสริมให้มีการรวมตัวและสร้างเสริมความสัมพันธ์ให้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน เป็นพันธมิตรและเครือข่ายในการขับเคลื่อนที่มุ่ง ทิศทางสู่เป้าหมายร่วมกัน โดยจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (เครือข่าย ทสม.) ใน ปัจจุบัน มีเครือข่ายจำนวนทั้งสิ้น 262 เครือข่าย 89 ชุมชน ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง จำนวน 638 คน เครือข่ายผู้หญิงพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินโครงการเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มากกว่า 150 โครงการ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อสิทธิชุมชนในการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน

IX


สารบัญ ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวม

1.1 ข้อมูลพื้นฐาน

1.1.1 ตราสัญลักษณ์กระทรวง

2

1.1.2 วิสัยทัศน์ และ พันธกิจ

3

1.1.3 ยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4

1.1.4 โครงสร้างและอำนาจหน้าที่กระทรวง

6

1.1.5 อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัด

7

1.1.6 อัตรากำลัง

9

1.2 งบประมาณและผลการใช้จ่าย ปี พ.ศ. 2553

1.2.1 งบประมาณ ปี พ.ศ. 2553

10

1.2.2 ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ปี พ.ศ. 2553

16

ส่วนที่ 2 ผลการปฏิบัติราชการ

2.1 ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี พ.ศ. 2553

2.2 ผลปฏิบัติราชการภายใต้ยุทธศาสตร์กระทรวงประจำปี พ.ศ. 2553

2.2.1 ผลปฏิบัติราชการภายใต้ยุทธศาสตร์กระทรวง

- ยุทธศาสตร์ที่ 1 อนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

ทุกประเภท ที่ดิน ป่าไม้ ที่ตอบสนองต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสอดคล้อง

กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- ยุทธศาสตร์ที่ 2 จัดการ พัฒนา เพิ่มปริมาณน้ำ ต้นทุนและระบบกระจายน้ำอย่างบูรณาการ

43

- ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความมั่นคงของระบบนิเวศเพื่อตอบสนองการพัฒนายั่งยืน

49

- ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการพิบัติภัย พัฒนาระบบ

61

เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ และกลไกการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

- ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการจัดการคุณภาพอากาศ น้ำเสีย กลิ่น เสียง

และขยะทุกประเภทให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และส่งเสริมกลไกการพัฒนาที่สะอาด

- ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการ

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือกลไกการบริหารจัดการ

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ

2.1.1 ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับกระทรวง

20 23 24

70 77 91


สารบัญ ส่วนที่ 3 รายงานการเงิน

3.1 งบแสดงฐานะทางการเงิน

120

3.2 งบแสดงรายได้และค่าใช้จ่าย

121

ส่วนที่ 4 ผลงานสำคัญอื่น

ประมวลภาพกิจกรรมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

124

สารบัญตาราง

ตารางที่ 1 อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัด

7

ตารางที่ 2 อัตรากำลังของส่วนราชการประจำปี

9

ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบงบประมาณ ปี พ.ศ. 2553

ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบงบประมาณของกลุ่มภารกิจ และส่วนราชการ

ตารางที่ 5 ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ปี พ.ศ. 2553

16

ตารางที่ 6 ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับกระทรวง

20

จำแนกตามหมวดรายจ่ายของกลุ่มภารกิจ ปี พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553

11 14

สารบัญภาพ

ภาพที่ 1 โครงสร้างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ภาพที่ 2 การเปรียบเทียบประเภทอัตรากำลังของส่วนราชการ ประจำปี พ.ศ. 2553 (ร้อยละ)

10

ภาพที่ 3 การเปรียบเทียบงบประมาณจำแนกตามหมวดรายจ่าย (ร้อยละ)

11

ภาพที่ 4 การเปรียบเทียบงบประมาณจำแนกตามกลุ่มภารกิจ

12

ภาพที่ 5 การเปรียบเทียบงบประมาณจำแนกตามส่วนราชการ

13

ภาพที่ 6 การเปรียบเทียบงบประมาณของส่วนราชการ ปี พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553

15

ภาพที่ 7 ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ปี พ.ศ. 2553 จำแนกตามกลุ่มภารกิจ (ร้อยละ)

17

ภาพที่ 8 ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ปี พ.ศ. 2553 จำแนกตามส่วนราชการ (ร้อยละ)

17

6

XI


ทำเนียบผู้บริหาร

นายสุวิทย์ คุณกิตติ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายภิมุข สิมะโรจน์

ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทำหน้าที่ โฆษกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

XII

นางสาวอมรรัตน์ พุ่มศรีพักตร์ หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี


ทำเนียบผู้บริหาร

นายโชติ ตราชู

ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายสุรพล ปัตตานี

นายชาตรี ช่วยประสิทธิ ์

รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (หัวหน้ากลุ่มอำนวยการ)

รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสิ่งแวดล้อม)

นายดำรงค์ พิเดช

นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติ)

รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน)

XIII


ทำเนียบผู้บริหาร

นางมณทิพย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน

หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายสุนันต์ อรุณนพรัตน์

ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง

นางมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษดิ ์

ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

XIV

นายประวิม วุฒิสินธุ ์

ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ทำเนียบผู้บริหาร

นางนิศากร โฆษิตรัตน์

นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

นายจตุพร บุรุษพัฒน์

นายสมชัย เพียรสถาพร อธิบดีกรมป่าไม้

นายอดิศักดิ์ ทองไข่มุกต์

อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ

นายเกษมสันต์ จิณณวาโส

นายปราณีต ร้อยบาง

เลขาธิการสำนักงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ

นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล

XV



ส่วนที่ 1

ข้อมูลภาพรวม


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.1 ข้อมูลพื้นฐานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.1.1 ตรากระทรวง 1. โล่ หมายถึง การปกป้อง การป้องกัน หลาย ประเทศนิยมใช้รูปทรงโล่ แทนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. ต้ นโพธิ์ และแผ่ น ดิ น หมายถึ ง ต้ น ไม้ ห รื อ โพธิ์ทองของชาวไทย เป็นสิ่งที่เรายึดมั่น 3. ใบไม้ หมายถึง ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูล มนุษย์เพราะมีการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) รวมทั้งเป็นปุ๋ย ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในโลกด้วย 4. แผ่นดิน หมายถึง ความเชื่อมต่อระหว่างต้นไม้ ที่ต้องพึ่งพาดิน ดินต้องได้รับปุ๋ยจากต้นไม้ ภาพนี้เป็นตัวแทนของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) กรมป่าไม้ (ปม.) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) และกรมทางด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งหมด คือ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) และกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) 5. ช้าง 2 เชือก เป็นช้างเพศเมีย (แม่) และลูกช้าง หมายถึง สัตว์ป่า ความเข้มแข็ง การดำรงพันธุ์ ความเมตตาของแม่ที่มีต่อลูก ลูกช้างเป็นช้างเผือก หมายถึง ความเป็นพิเศษ เป็นตัวแทน อส.โดยเฉพาะเรื่องของ สัตว์ป่า อ.อ.ป. (เรื่อง คชบาล) และองค์การสวนสัตว์ (อสส.) 6. โลมา หมายถึง มีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม (Adaptation) วิวัฒนาการ (Evolution) เฉลียวฉลาด ปลาโลมา ทะเล ชายฝั่ง และหาดทราย แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) ในส่วนของอุทยานแห่งชาติทางทะเล สำหรับคลื่นน้ำจืด แทนกรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.) และองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) 7. พระอาทิตย์ หมายถึง ผู้ก่อให้เกิดธรรมชาติและทุกสรรพสิ่ง เป็นอำนาจ พลังงาน ที่สะอาดและ บริสุทธิ์ (Clean Development Mechanism) และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นตัวแทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม (ทส.) 8. เพชร หมายถึ ง ความแข็ ง แกร่ ง ความมี ค่ า สะอาด บริ สุ ท ธิ์ เป็ น แร่ ช นิ ด หนึ่ ง แทน กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) 9. หยดน้ำ หมายถึง ความสะอาดบริสุทธิ์ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แทนกรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.) 10. ลายไทย หมายถึง ความเป็นไทย 11. มณฑป แสดงถึง ความเป็นไทย ปลายแหลม หมายถึง ความแหลมคม สามารถทะลุทะลวง ปัญหาได้ 12. ลูกโลก เป็นโลกใบเดียวกันแต่มี 2 ด้าน ด้านตะวันออก (ประเทศไทย) และด้านตะวันตก ลูกโลก ทั้ง 2 ด้าน มีไม้ค้ำ หมายถึง เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทั้งโลก และประเทศไทยค้ำจุนโลกใบนี้ไว้ทั้งโลก โลกมีสีฟ้า หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่สะอาดและบริสุทธิ์ 13. ผ้าคลุมโล่ หมายถึง การปกป้องโลก เสมือนบรรยากาศปกคลุมโลก 14. สีเขียว หมายถึง สิ่งแวดล้อม


1.1.2 วิสัยทัศน์ และ พันธกิจ

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1. วิสัยทัศน์/vision คงความสมบูรณ์สู่ธรรมชาติ พัฒนาและสนับสนุน ส่งเสริมให้ประชาชน อยู่ ในสิ่งแวดล้อมที่ดี สู่การเป็นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน

2. พันธกิจ/mission

สงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วนและบูรณาการเชิงรุก


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.1.3 ยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 1 อนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท ที่ดิน ป่าไม้ ที่ตอบสนอง ต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1.1 กิจกรรมงานอุทยานแห่งชาติ 1.2 กิจกรรมการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ 1.3 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันรักษาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ 1.4 โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ตามแนวพระราชดำริ 1.5 ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1.6 โครงการสำรวจจัดทำแผนที่ครอบครองที่ดินพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยใช้เทคโนโลยีสำรวจจากระยะไกล 1.7 กิจกรรมพัฒนางานวิจัยด้านป่าไม้ 1.8 โครงการเร่งรัดการบริหารจัดการทรัพยากรธรณีและธรณีวิทยาอย่างมีดุลยภาพโดยการมีส่วนร่วม ของประชาชนชุมชนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1.9 โครงการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ (โครงการจัดที่ดินป่าไม้) ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารจัดการ พัฒนา เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนและระบบกระจายน้ำอย่างบูรณาการ 2.1 โครงการจัดการและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล 2.2 โครงการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุโภคบริโภคในพื้นที่ประสบอุทกภัย 2.3 โครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งน้ำ ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความมั่นคงของระบบนิเวศเพื่อตอบสนองการพัฒนายั่งยืน 3.1 โครงการพัฒนา บริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ 3.2 โครงการอนุรักษ์และพัฒนาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 3.3 กิจกรรมสำรวจ ประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ 3.4 โครงการสำรวจรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพระดับท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการพิบัติภัย พัฒนาระบบเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ และกลไก การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน 4.1 โครงการจัดทำมาตรการ/แนวทางแก้ปัญหาในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติและธรณีวิทยา สิ่งแวดล้อม 4.2 การจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย 4.3 การสำรวจและศึกษารอยเลื่อนมีพลัง - การบรรเทาลดผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- การกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยจากสารพิษตามธรรมชาติ - การสำรวจรอยเลื่อนในรัศมี 100 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ 4.2 โครงการ การติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) สำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย - ดินถล่ม ในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ราบเชิงเขา ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการจัดการคุณภาพอากาศ น้ำเสีย กลิ่น เสียงและขยะทุกประเภทให้เหมาะสม กับสภาพพื้นที่ และส่งเสริมกลไกการพัฒนาที่สะอาด 5.1 โครงการเตรียมการรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและคุณภาพสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.1 โครงการวิจัยด้านป่าไม้และสัตว์ป่า ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีประสิทธิภาพ 7.1 โครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 7.2 โครงการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและคุณภาพสิ่งแวดล้อม 7.3 โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพัฒนาเครือข่ายเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม 7.4 โครงการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7.5 โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อสร้างจิตสำนึกด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7.6 โครงการพัฒนาบุคลากรด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7.7 โครงการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล 7.8 โครงการพัฒนาและให้บริการสารสนเทศสิ่งแวดล้อม 7.9 ศึกษาวิเคราะห์ให้ความเห็นทางวิชาการ ประสานข้อมูล เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ รัฐมนตรีและรัฐสภา


1.1.4 โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของกระทรวง พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการการ ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2546 โอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นกรมป่าไม้ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงอำนาจหน้าที่และกิจการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สืบเนื่องจาก พระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกา การปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการข้างต้น กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีโครงสร้างในปัจจุบัน แยกตามกลุ่มภารกิจ ปรากฏตามแผนภูมิโครงสร้าง ดังภาพที่ 1 ภาพที่ 1 : โครงสร้างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผู้ตรวจราชการกระทรวง

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กลุ่มตรวจสอบภายใน

รองปลัดกระทรวง (หัวหน้ากลุ่มอำนวยการ)

รองปลัดกระทรวง (หัวหน้ากลุ่มภารกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม)

• สำนักงานปลัดกระทรวง • กรมควบคุมมลพิษ ทรัพยากรธรรมชาติและ • กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม • สำนักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

รองปลัดกระทรวง (หัวหน้ากลุ่มภารกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ)

• กรมอุทยานแห่งชาติ

สัตว์ป่า และพันธุ์พืช • กรมป่าไม้ • กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง • กรมทรัพยากรธรณี

รองปลัดกระทรวง (หัวหน้ากลุ่มภารกิจ ด้านน้ำในแผ่นดิน)

• กรมทรัพยากรน้ำ • กรมทรัพยากรน้ำบาดาล


1.1.5 อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัด

อำนาจหน้าที่

1. สำนักงานรัฐมนตรี (สร.) - ภารกิจเกี่ยวกับราชการทางการเมือง เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐมนตรี ประสานนโยบาย ระหว่างกระทรวง 2. สำนักงานปลัดกระทรวง - เป็นศูนย์กลางการบริหารของกระทรวงในการพัฒนายุทธศาสตร์ และแปลงนโยบาย ทรัพยากรธรรมชาติและ ของกระทรวงเป็นแผนปฏิบัติ จัดสรรทรัพยากรให้บรรลุเป้าหมายเกิดผลสัมฤทธิ์ สิ่งแวดล้อม (สป.ทส.) ตามภารกิจของกระทรวง 3. สำนักงานนโยบายและ - กำหนดนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประสาน แผนทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนติดตามตรวจสอบ มาตรการ และสิ่งแวดล้อม (สผ.) เงื่อนไข ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความ เข้มแข็งด้านเศรษฐกิจของประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและคุณภาพชีวิตที่ดี 4. กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) - เสนอแนะและผลักดันนโยบาย แผน มาตรการ และมาตรฐานในการบริหารและ จัดการมลพิษ กำกับ ดูแล สนับสนุนป้องกัน และแก้ไขปัญหามลพิษ พัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการมลพิษ รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ สิ่งแวดล้อมให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการมลพิษและเรื่องราว ร้องทุกข์ และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้าน การควบคุมมลพิษ 5. กรมส่งเสริมคุณภาพ - ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยการสร้างจิตสำนึก วิจัย พัฒนา ฝึกอบรมส่งเสริม สิ่งแวดล้อม (สส.) การมีส่วนร่วมและถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างยั่งยืน 6. กรมอุทยานแห่งชาติ - อนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชในเขตพื้นที่ป่าเพื่อ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (อส.) การอนุรักษ์ โดยการควบคุม ป้องกันพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีอยู่เดิม และฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม ให้กลับสมบูรณ์ด้วยกลยุทธ์การส่งเสริม กระตุ้น และปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนรู้สึกหวงแหน และมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อเป็นการรักษาความสมดุล ของระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับเป็นแหล่ง ต้นน้ำลำธาร แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า แหล่งอาหาร แหล่งนันทนาการและการท่องเที่ยว ทางธรรมชาติของประชาชน

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

ส่วนราชการ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตารางที่ 1 : อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัด


อำนาจหน้าที่

7. กรมป่าไม้ (ปม.) 8. กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง (ทช.) 9. กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) 10. กรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) 11. กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.)

- อนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง ฟื้นฟู ดูแลรักษา ส่งเสริม ทำนุบำรุงป่าและการดำเนินการ เกี่ยวกับป่าไม้ การทำไม้ การเก็บหาของป่า การใช้ประโยชน์ในที่ดินป่าไม้ และการอื่น เกี่ยวกับป่าและอุตสาหกรรมป่าไม้ ให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง ด้วยกลยุทธ์เสริมสร้างความร่วมมือของประชาชนเป็นหลัก เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน - อนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งป่าชายเลน เพื่อคง ความสมบูรณ์ มั่งคั่งสมดุล และยั่งยืนของทะเลไทย เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทาง สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ - สงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการ สำรวจตรวจสอบสภาพธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี การประเมินศักยภาพแหล่ง ทรัพยากรธรณี การกำหนดและกำกับดูแลเขตพื้นที่สงวนและอนุรักษ์ทรัพยากรธรณี เพื่อการพัฒนาทรัพยากรธรณี คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน - เสนอแนะในการจัดทำนโยบายและแผน และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ บริหารจัดการพัฒนาอนุรักษ์ ฟื้นฟู รวมทั้งควบคุม ดูแล กำกับ ประสาน ติดตาม ประเมินผล และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ พัฒนาวิชาการ กำหนดมาตรฐาน และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทรัพยากรน้ำ ทั้งระดับภาพรวมและลุ่มน้ำ เพื่อการจัดการ ทรัพยากรน้ำที่เป็นเอกภาพและยั่งยืน - เสนอแนะในการจัดทำนโยบายและแผน และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากร น้ำบาดาล สำรวจ บริหารจัดการ พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟู รวมทั้งควบคุม ดูแล กำกับ ติดตาม ประเมินผล และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำบาดาล พัฒนาวิชาการ กำหนดมาตรฐาน และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทรัพยากรน้ำบาดาลเพื่อการจัดการ ทรัพยากรน้ำบาดาลที่เป็นเอกภาพและยั่งยืน

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ส่วนราชการ


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

ตารางที่ 2 : อัตรากำลังของส่วนราชการประจำปี

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.1.6 อัตรากำลัง ในปีงบประมาณ 2553 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอัตรากำลัง รวมทั้งสิ้น จำนวน 41,433 คน โดยเป็นข้าราชการ จำนวน 11,108 คน (ร้อยละ 26.81) ลูกจ้างประจำ 8,464 คน (ร้อยละ 20.43) พนักงานราชการ 21,736 คน (ร้อยละ 52.46) และลูกจ้างชั่วคราว 125 คน (ร้อยละ 0.30) รายละเอียดการเปรียบ เทียบอัตรากำลัง ดังตารางที่ 2 และภาพที่ 2


10

ภาพที่ 2 : การเปรียบเทียบประเภทอัตรากำลังของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปี พ.ศ. 2553 (ร้อยละ)

ข้าราชการ

ลูกจ้างประจำ

พนักงานราชการ

ลูกจ้างชั่วคราว

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.2 งบประมาณและผลการใช้จ่ายงบประมาณปี 2553

10

1.2.1 งบประมาณปี 2553 ปีงบประมาณ 2553 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นเงิน ทั้งสิ้น 19,909.559 ล้านบาท จำแนกตามกลุ่มภารกิจ ดังนี้ 1) กลุ่มอำนวยการ จำนวนเงิน 1,430.058 ล้านบาท (ร้อยละ 7.18) 2) กลุ่มภารกิจด้านสิ่งแวดล้อม จำนวนเงิน 899.692 ล้านบาท (ร้อยละ 4.52) 3) กลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติ จำนวนเงิน 11,461.857 (ร้อยละ 57.57) 4) กลุ่มภารกิจด้านน้ำในแผ่นดิน จำนวนเงิน 6,117.952 (ร้อยละ 30.73) การเปรียบเทียบงบประมาณปี 2553 จำแนกตามหมวดรายจ่าย/กลุ่มภารกิจ รายละเอียด ดังตารางที่ 3 และการเปรียบเทียบงบประมาณปี 2552 ตามหมวดรายจ่าย (ร้อยละ) ดังภาพที่ 3


11 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตารางที่ 3 : การเปรียบเทียบงบประมาณปี 2553 จำแนกตามหมวดรายจ่าย/กลุ่มภารกิจ หน่วย : ล้านบาท

ภาพที่ 3 : การเปรียบเทียบงบประมาณจำแนกตามหมวดรายจ่าย (ร้อยละ)

งบลงทุน

งบอุดหนุน

งบรายจ่ายอื่น

11

งบบุคลากร งบดำเนินการ


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

12

สำหรั บ การเปรี ย บเที ย บงบประมาณจำแนกตามกลุ่ ม ภารกิ จ แสดงในภาพที่ 4 และการเปรี ย บเที ย บ งบประมาณจำแนกตามส่วนราชการ แสดงในภาพที่ 5

12

ภาพที่ 4 : การเปรียบเทียบงบประมาณจำแนกตามกลุ่มภารกิจ

หน่วย : ล้านบาท


13

ภาพที่ 5 : การเปรียบเทียบงบประมาณจำแนกตามส่วนราชการ

คพ.

สส.

อส.

ปม.

ทช.

ทธ.

ทน.

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

สป.ทส. สผ.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หน่วย : ล้านบาท

ทบ.

13


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

14

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ 2553 จำนวน 19,909.559 ล้านบาท หรือลดลง คิดเป็นร้อยละ 2.55 โดยการเปรียบเทียบงบประมาณปี 2552 และ 2553 จำแนกตามกลุ่มภารกิจ และส่วนราชการ ตามตารางที่ 4 และภาพที่ 6

14

ตารางที่ 4 : การเปรียบเทียบงบประมาณของกลุ่มภารกิจและส่วนราชการปี 2552 และ 2553 กลุ่มภารกิจ/ส่วนราชการ

(1) กลุ่มอำนวยการ 1. สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 2. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (2) กลุ่มภารกิจด้านสิ่งแวดล้อม 3. กรมควบคุมมลพิษ 4. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (3) กลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติ 5. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 6. กรมป่าไม้ 7. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 8. กรมทรัพยากรธรณี (4) กลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน 9. กรมทรัพยากรน้ำ 10. กรมทรัพยากรน้ำบาดาล รวม (1) - (4)

งบประมาณ ผลการเปรียบเทียบ ปี 2552 ปี 2553 เพิ่มขึ้น(+)/ลดลง(-) ร้อยละ 1,627.144 1,339.284 287.860 967.889 502.692 465.197 13,267.390 8,356.148 3,371.483 1,006.372 533.387 4,544.837 3,321.409 1,223.428 20,407.260

1,430.058 1,151.018 279.040 899.692 449.938 449.754 11,461.857 7,135.383 3,031.101 825.881 469.492 6,117.952 5,019.147 1,098.805 19,909.559

-197.086 -188.266 -8.820 -68.197 -52.754 -15.443 -1,805.533 -1,220.765 -340.382 -180.491 -63.895 1,573.115 1,697.738 -124.623 -497.701

-12.114 -14.06 -3.06 -7.05 -10.49 -3.32 -13.61 -14.61 -10.10 -17.93 -11.98 34.61 51.11 -10.19 -2.44


คพ.

สส.

อส.

ปม.

ทช.

ทธ.

ทน.

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

สป.ทส. สผ.

15 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ภาพที่ 6 : การเปรียบเทียบงบประมาณตามส่วนราชการปี 2552 และ 2553 หน่วย : ล้านบาท

ทบ.

15


16

1.2.2 ผลการใช้จ่ายงบประมาณปี 2553 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการจัดสรรงบประมาณใน ปีงบประมาณ 2553 จำนวน 19,909.559 ล้านบาท และมีผลการใช้จ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 30 กันยายน 2553 จำนวน 16.457.902 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 82.66 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร โดยผลการเบิกจ่ายจำแนกตาม กลุ่มภารกิจและส่วนราชการตามตารางที่ 5 ภาพที่ 7 และภาพที่ 8 ตารางที่ 5 : ผลการใช้จ่ายงบประมาณปี 2553

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หน่วย : ล้านบาท

16


ภาพที่ 7 : ผลการใช้จ่ายงบประมาณปี 2553 จำแนกตามกลุ่มภารกิจ (ร้อยละ) (ณ วันที่ 30 กันยายน 2553)

17 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กลุ่มอำนวยการ

กลุ่มภารกิจด้าน สิ่งแวดล้อม

กลุ่มภารกิจด้าน ทรัพยากร ธรรมชาติ

กลุ่มภารกิจด้าน น้ำในแผ่นดิน

ภาพที่ 8 : ผลการใช้จ่ายงบประมาณปี 2553 จำแนกตามส่วนราชการ (ร้อยละ) (ณ วันที่ 30 กันยายน 2553)

17

สป.ทส. สผ.

คพ.

สส.

อส.

ปม.

ทช.

ทธ.

ทน.

ทบ.



ส่วนที่ 2

ผลการปฏิบัติราชการ


20

2.1 ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2553

2.1.1 ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับกระทรวง

ตารางที่ 6 ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับกระทรวง ตารางสรุปผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 รอบ 6 เดือน รอบ 9 เดือน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รอบ 12 เดือน

เกณฑ์การให้คะแนน ผลการดำเนินงาน น้ำหนัก 1 2 3 4 5 ผลการ ค่า คะแนน หน่วยวัด (ร้อยละ) ดำเนิน คะแนน ถ่วง งาน ที่ได้ น้ำหนัก มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดผล การปฏิบัติราชการ

ตัวชี้วัดหลักที่ 1 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ25) ตัวชี้วัดย่อยที่ 1.1 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง (ร้อยละ 8) ตัวชี้วัดที่ 1.1.1 สัดส่วนของพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุกทำลาย เปรียบเทียบกับพื้นที่ป่าปลูก

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัดที่ 1.1.2 ระดับความสำเร็จของจำนวนพื้นที่เป้าหมาย ที่ได้รับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ

20

อัตราส่วน 1

1.0 1.5 2.0 2.5 3.0 1:2.43

3.86

0.1544

ระดับ

1

1 2 3 4 5

3

3

0.1200

ระดับ ตัวชี้วัดที่ 1.1.3 ระดับความสำเร็จของการแจ้งเตือนประชาชน ในพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบรรเทาพิบัติภัยทางธรรมชาติ

2

1 2 3 4 5

5

5

0.4000

ร้อยละ ตัวชี้วัดที่ 1.1.4 ร้อยละของจังหวัดเป้าหมายที่มีคุณภาพน้ำใน แหล่งน้ำผิวดินอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น

1

37 42 47 52 57

25

1*

0.0400

ตัวชี้วัดที่ 1.1.5 จำนวนจังหวัดที่มีปริมาณฝุ่นละอองเฉลี่ย รายวันอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพอนามัยเพิ่มขึ้น

1

15 16 17 18 20

18

4

0.1600

ตัวชี้วัดที่ 1.1.6 ร้อยละของจำนวนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเป้าหมายที่มีการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยตามเกณฑ์ที่กำหนด

จำนวน

1


21

เกณฑ์การให้คะแนน ผลการดำเนินงาน น้ำหนัก 1 2 3 4 5 ผลการ ค่า คะแนน หน่วยวัด (ร้อยละ) ดำเนิน คะแนน ถ่วง งาน ที่ได้ น้ำหนัก

ตัวชี้วัดที่ 1.1.6.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป้าหมายเดิม (เคยเข้าร่วมโครงการฯ แล้วและดำเนินการ ต่อเนื่องในปีฯ 2553)

ร้อยละ

0.5 75 80 85 90 93 ร้อยละ 93.20

5

0.1000

ตัวชี้วัดที่ 1.1.6.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป้าหมายใหม่ (ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการฯ)

ร้อยละ

0.5 70 75 80 85 90 ร้อยละ 91.40

5

0.1000

ตัวชี้วัดที่ 1.1.7 ระดับความสำเร็จของการขับเคลื่อน การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ

ระดับ

1

4.5

0.1800

1 2 3 4 5

4.5

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

ตัวชี้วัดผล การปฏิบัติราชการ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตารางสรุปผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 รอบ 6 เดือน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รอบ 9 เดือน รอบ 12 เดือน

ตัวชี้วัดย่อยที่ 1.2 ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ/พิเศษของรัฐบาล (ร้อยละ 5) 1.25 1 2 3 4 5

4.96

4.96

0.2480

ตัวชี้วัดที่ 1.2.2 ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของระดับ ความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (SP2) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

ระดับ

1.25 1 2 3 4 5

4.85

4.85

0.2425

ตัวชี้วัดที่ 1.2.3 ความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (SP2) กรมทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

ระดับ

1.25 1 2 3 4 5

3.34

3.34

0.1670

21

ระดับ ตัวชี้วัดที่ 1.2.1 ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของระดับ ความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (SP2) กรมป่าไม้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553


22

ตารางสรุปผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 รอบ 6 เดือน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รอบ 9 เดือน รอบ 12 เดือน ตัวชี้วัดผล การปฏิบัติราชการ

ตัวชี้วัดที่ 1.2.4 ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของระดับ ความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (SP2) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

เกณฑ์การให้คะแนน ผลการดำเนินงาน น้ำหนัก 1 2 3 4 5 ผลการ ค่า คะแนน หน่วยวัด (ร้อยละ) ดำเนิน คะแนน ถ่วง งาน ที่ได้ น้ำหนัก ระดับ

1.25 1 2 3 4 5

2.56

2.56

0.1280

ตัวชี้วัดย่อยที่ 1.3 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน ระหว่างกระทรวง (ร้อยละ 10) ระดับ

5

1 2 3 4 5

ตัวชี้วัดที่ 1.3.2 ร้อยละ ร้อยละของจำนวนวันที่ปริมาณฝุ่นละออง เฉลี่ยรายวันอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพอนามัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

5

75 76 77 78 79 ร้อยละ 75.61

ระดับ

2

1 2 3 4 5

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัดที่ 1.3.1 ระดับความสำเร็จของความร่วมมือ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ ในลุ่มน้ำวิกฤต

22

ตัวชี้วัดที่ 1.4 ระดับความสำเร็จของการพัฒนา ศูนย์บริการร่วม

2.6

5

2.6

0.5200

1.61

0.3220

5

0.4000


23

ยุทธศาสตร์ที่ 2

บริหารจัดการ พัฒนา เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน และระบบกระจายน้ำอย่างบูรณาการ

ยุทธศาสตร์ที่ 3

สร้างความมั่นคงของระบบนิเวศเพื่อตอบสนอง การพัฒนายั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 4

พัฒนาระบบบริหารจัดการพิบัติภัย พัฒนาระบบ เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ และกลไกการบริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

ยุทธศาสตร์ที่ 5

พัฒนาระบบการจัดการคุณภาพอากาศ น้ำเสีย กลิ่น เสียง และขยะทุกประเภทให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และส่งเสริมกลไกการพัฒนาที่สะอาด

ยุทธศาสตร์ที่ 6

พัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 7

พัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือกลไกการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ

23

ยุทธศาสตร์ที่ 1

อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทุกประเภท ที่ดิน ป่าไม้ ที่ตอบสนองต่อการพัฒนา อย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

2.2.1 ผลการปฏิบัติราชการภายใต้ยุทธศาสตร์กระทรวง กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม (ทส.) เป็ น หน่ ว ยงานหลั กในการอนุ รั ก ษ์ แ ละฟื้ น ฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย อันประกอบด้วย ความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ความสามารถในการพึ่งพาและพัฒนาตนเองได้ของสังคม และที่สำคัญคือ ความสมดุลของสิ่งแวดล้อม ผลการดำเนินงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ได้ดำเนินการสอดคล้องกับทิศทางและแนวยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ โดยในปี 2553 ทส. มีผลงานที่สำคัญตามกรอบยุทธศาสตร์กระทรวง 7 ข้อ คือ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.2 ผลปฏิบัติราชการภายใต้ยุทธศาสตร์กระทรวง ประจำปี 2553


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

24

ยุทธศาสตร์ที่ 1 อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท ที่ดิน ป่าไม้ ที่ตอบสนองต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1.1 โครงการเร่ งรัดการจัดทำแนวเขตพื้นที่อนุรักษ์ 1.1.1 สาระสำคัญ : จัดทำแนวเขตป่าอนุรักษ์ที่ชัดเจน 1.1.2 ผลการดำเนินงาน : - สำรวจรังวัดแนวเขต 3,799 กิโลเมตร - จัดทำระวางแผนที่มาตรฐาน 4,316 ระวาง 1.1.3 ผลผลิตและผลลัพท์ : ผลผลิตของงาน/โครงการ/ หน่วยนับ ผลผลิต เป้าหมาย ผลผลิต กิจกรรมหลัก ปี 52 ปี 53 ปี 53 1. สำรวจรังวัดแนวเขต กิโลเมตร 4,494 3,750 3,799 2. จัดทำระวางแผนที่มาตรฐาน ระวาง 5,100 3,825 4,316 มาตราส่วน 1 : 4,000 ผลลัพธ์ที่ได้ ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายแผนปฏิบัติงานประจำปี 2553 1.1.4 ปัญหา อุปสรรค : - ขาดบุคลากรในการดำเนินงานที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ดำเนินการ 1.1.5 เงื่อนไขความสำเร็จ : - ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการสำรวจรังวัดเพื่อให้ การดำเนินงานประสบผลสำเร็จอย่างสมบูรณ์ 1.2 โครงการส่ งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการอุทยานแห่งชาติอย่างยั่งยืน 1.2.1 สาระสำคัญ : เพื่อให้ “คนอยู่กับป่า” โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนกับหน่วยงานของภาครัฐโดย ใช้กลไกจากราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ ในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนจากหลักการ จากเดิมที่ใช้หลักนิติศาสตร์มาเป็นการใช้หลักนิติธรรมเป็นตัวนำในการปฏิบัติเน้นการสร้างการยอมรับร่วมกันระหว่าง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยผ่านกระบวนการประชุมหารือ การเจรจาการพบปะเยี่ยมเยือนสร้างกระบวนการ เพื่อให้ฝ่าย บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติทุกระดับมีความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดี ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชน จัดทำแผน โครงการการพัฒนาของชุมชนในพื้นที่ โน้มนำให้เกิดกระบวนการแบ่งปันโอกาส รวมทั้งประสาน ประโยชน์แก่ทุกกลุ่มในสังคมอย่างเป็นธรรม จำแนกและกำหนดเขตการใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตคุ้มครอง ทรัพยากรและระบบนิเวศ เขตฉนวน หรือเขตผ่อนปรน เขตบริการ เพื่อกำหนดกติกาของประชาคม กำหนดหลักเกณฑ์ ของประชาคมร่วมรัฐในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ

24


1.2.2 ผลการดำเนินงาน :

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

25

1) มี ก ารบริ ห ารจั ด การอุ ท ยานแห่ ง ชาติ จำนวน 30 แห่ ง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 2) ช่วยให้ราษฎรที่อยู่อาศัยบริเวณรอบนอกและในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีความมั่นคงในการดำรงชีพ สามารถดำเนินวิถีชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจ พอเพียงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3) บรรเทาปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ทรัพยากร ที่ดินและป่าไม้ อันเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทั้งในด้านการเมือง ด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม 4) ช่ ว ยเสริ ม สร้ า งจิ ต สำนึ ก สร้ า งแนวร่ ว มในการอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการสร้างระบบ และพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ดูแลรักษาความสมดุล ของระบบนิ เ วศและสิ่ ง แวดล้ อ มโดยการมี ส่ ว นร่ ว มของราษฎรในพื้ น ที่ อย่างเป็นรูปธรรม 5) มีรูปแบบในการพัฒนาการบริหารจัดการให้ “คนอยู่กับป่า” ที่ ชั ด เจนยิ่ ง ขึ้ น สามารถนำไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นการดำเนิ น งานพื้ น ที่ อื่ น ๆ ต่อไป ทธการแก้ ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ของชาติ 1.3 ยุ 1.3.1 สาระสำคัญ : คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 เห็นชอบในหลักการยุทธการแก้ไขปัญหา วิกฤตป่าไม้ของชาติ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอสำหรับการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดทำรายละเอียดข้อมูล ตลอดจนความพร้อม ในการดำเนิ น งานประกอบการนำเสนอคณะกรรมการกลั่ น กรองและบริ ห ารโครงการภายใต้ แ ผนปฏิ บั ติ ก าร ไทยเข้มแข็ง 2555 เพื่อขอรับการจัดสรรเงินตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (SP2) ตามขั้นตอนใน ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พ.ศ. 2552 และหาก มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องดำเนินการตามยุทธการดังกล่าวให้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบ ประมาณ พ.ศ. 2553 ไปดำเนินการตามความเหมาะสมและจำเป็น สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 - 2557 ให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดลำดับความสำคัญของแผนการดำเนินงานตามความจำเป็นเร่งด่วน โดยกำหนดพื้นที่ เป้าหมาย ผลลัพธ์ ผลผลิต กิจกรรมและตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับยุทธการแก้ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ ของชาติและประสานกับสำนักงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต่อไป 1.3.2 การดำเนินงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช : 1) ดำเนินการคัดเลือกพื้ น ที่ เ พื่ อ ดำเนิ น การตามยุ ท ธการแก้ ไ ขปั ญ หาวิ ก ฤตป่ าไม้ ข องชาติ จำนวน 35 พื้นที่ ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติ จำนวน 17 แห่ง และเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่า จำนวน 18 แห่ง 2) ตั้งศูนย์ยุทธการแก้ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ ตามคำสั่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 463/2553 ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2553 เรื่อง จัดตั้งศูนย์ยุทธการแก้ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และจัดตั้งศูนย์ประสานยุทธการแก้ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1-16

25


26

- ศูนย์ยุทธการแก้ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อเป็น ศูนย์บัญชาการ และติดตามการดำเนินงานของศูนย์ในระดับพื้นที่ ตั้งอยู่ที่สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุม ไฟป่า โดยมีองค์ประกอบดังนี้ 1) อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้อำนวยการ 2) รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทุกท่าน เป็นรองผู้อำนวยการ 3) ผู้อำนวยการสำนัก/กองในส่วนกลางเป็นกรรมการ และ 4) ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า เป็นกรรมการและเลขานุการ - ศูนย์ประสานยุทธการแก้ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1-16 จำนวน 16 ศูนย์ ในระดับพื้นที่ โดยมีองค์ประกอบดังนี้ 1) ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1-16 เป็นผู้อำนวยการ 2) ผู้อำนวยการส่วน/หัวหน้ากลุ่ม เป็นกรรมการ และ 3) ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรเป็น เลขานุการ 1.3.3 การดำเนินการในระยะเร่งด่วน : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คัดเลือกพื้นที่เพื่อดำเนินการนำร่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำนวน 12 แห่ง โดยบูรณาการหน่วยงานภายในเข้าดำเนินการ พื้นที่นำร่องประกอบด้วย เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่า กรมหลวงชุมพรด้านทิศเหนือ, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า กรมหลวงชุมพร ด้านทิศใต้, อุทยานแห่งชาติ แก่งกรุง, อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด, ผืนป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทันห้วยสำราญ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา, อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท, อุทยานแห่งชาติแม่ยม, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ลุ่มน้ำปาย และอุทยานแห่งชาติสาละวิน-อุทยานแห่งชาติออบหลวง ตารางแสดงผังโครงสร้างศูนย์บัญชาการยุทธการแก้ ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ของชาติ

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ศูนย์บัญชาการยุทธการแก้ ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ของชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

26

ศูนย์ยุทธการแก้ ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รองอธิบดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตวป่า และพันธุ์พืช กลุ่มงานเทคโนโลยีและสารสนเทศ

กลุ่มงานประสานและปฎิบัติการ

กลุ่มอำนวยการ

ศูนย์ประสานยุทธการแก้ ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 กลุ่มงานป้องกันและปราบปราม กลุ่มงานข้อมูลและสารสนเทศ

เข้าดำเนินการในพื้นที่วิกฤต

กลุ่มงานประสานการปฏิบัต ิ


27 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

27

1.4 สำรวจพื้นที่ครอบครองและจัดทำแผนที่ 1.4.1 สาระสำคัญ : ที่ ผ่ า นมามี ร าษฎรครอบครองอยู่ อ าศั ย ทำกิ น เขตพื้ น ที่ ป่ า อนุรักษ์เป็นจำนวนมาก ทั้งที่อ้างว่ามีเอกสารสิทธิที่ดิน และไม่มีเอกสารสิทธิโดยมี การเรียกร้องสิทธิทำกินในที่ดินมาโดยตลอด แต่การดำเนินงานแก้ไขปัญหาเกี่ยว กับที่ดินป่าไม้ของทางราชการไม่สามารถทำได้รวดเร็ว เนื่องจากยังขาดข้อมูลและ แผนที่ แ สดงการครอบครองทำประโยชน์ ที่ ดิ นในเขตป่ า อนุ รั ก ษ์ ที่ ทั น สมั ย เป็ น ปัจจุบัน สำหรับใช้เป็นฐานอ้างอิงในการสำรวจตรวจสอบข้อมูลการครอบครองทำ ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ชัดเจน ถูกต้อง และเชื่อถือได้ จึงมีความ จำเป็นเร่งด่วนต้องจัดทำโครงการสำรวจทำแผนที่การครอบครองที่ดินในพื้นที่ป่า อนุรักษ์โดยใช้เทคโนโลยีสำรวจจากระยะไกลในการนำเทคโนโลยีและวิธีการที่ทัน สมัยทางด้านภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง การหาพิกัด ตำแหน่งด้วยดาวเทียมระบบ GPS และการจัดทำฐานข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ (GIS) มาใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลทั้งด้านกายภาพและรายละเอียดประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้วเสร็จ โดยเร็วทันต่อการนำไปใช้งานในวางแผนจัดการและตัดสินใจในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ การแก้ไขปัญหาความยากจน และการตรวจพิสูจน์สิทธิแปลงที่ดินถือครองต่อไป 1.4.2 ผลการดำเนินงาน : ปีงบประมาณ อุทยานแห่งชาติ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตรัก ษาพันธุ์สัตว์ป่า รวม(แห่ง) 11 10 21 - 2551 29 11 50 10 2552 32 15 66 19 2553 72 36 137 29 รวม ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต เป้าหมาย ผลผลิต หน่วยนับ ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก ปี 52 ปี 53 ปี 53 สำรวจพื้นที่ครอบครองและจัดทำแผนที่ แห่ง 21 51 66 ผลลัพธ์ที่ได้ 1. แผนที ่แสดงพื้นที่ครอบครองทำประโยชน์ที่ดินในเขตป่าอนุรักษ์ที่เป็นมาตรฐานทั่วประเทศ 2. ฐานข้อมูลที่ดินถือครองในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) 3. ข้อมู ลภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงเชิงเลขที่สามารถนำไปใช้ตรวจสอบการครอบครองที่ดิน 4. พัฒ นาบุคลากรและเครื่องมือที่ทันสมัยสำหรับการปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยีสำรวจจากระยะไกล 1.4.3 ปัญหาอุปสรรค : 1) เจ้าหน้าที่ด้านภูมิสารสนเทศในการช่วยปฏิบัติงานที่มีความรู้ ความชำนาญ โดยเฉพาะมีไม่เพียงพอ 2) ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งจะนำมาใช้ในการเปรียบเทียบกับ ข้อมูลภาพถ่ายออร์โธสี ซึ่งเป็นข้อมูลเก่ามีราคาแพง


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

28

1.5 โครงการป้องกันรักษาป่า 1.5.1 สาระสำคัญ : จากข้อมูลสถานการณ์/สภาพปัญหาการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และป่าชายเลน ตลอดจน ข้อจำกัดในการดำเนินงาน จะเห็นได้ว่ามีการบุกรุกทำลายป่า การลักลอบล่า/ค้าสัตว์ป่า และการบุกรุกแผ้วถางป่า เพื่อเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในที่ดินที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมี แ นวโน้ ม ที่ ส ถานการณ์ จ ะรุ น แรงมากขึ้ น โดยเฉพาะในพื้ น ที่ วิ ก ฤตรวมถึ ง พื้ น ที่ ป่ า อนุ รั ก ษ์ แ ละป่ า สงวน แห่งชาติทั่วไปก็มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า หากยังคงขาดแคลนอัตรากำลังเฝ้าระวังพื้นที่ ยานพาหนะ อาวุธ เครื่องมือและอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงาน ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลาย ป่าในพื้นที่วิกฤต ตลอดจนติดตามเฝ้าระวังไม่ให้มีการบุกรุกทำลายในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติทั่วไป กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้เสนอ “ยุทธการแก้ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ของชาติ” เพื่อเฝ้าระวัง ควบคุม ติดตาม ประสานส่งหน่วยเฉพาะกิจเข้าไปตรวจลาดตระเวนในพื้นที่วิกฤต 198 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 30 จังหวัด โดยให้ศูนย์ปฏิบัติการยุทธการแก้ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ของชาติ ทั้ง 7 แห่ง รายงานผลการปฏิบัติงาน มายังศูนย์บัญชาการยุทธการแก้ไขปัญหาวิกฤตป่าไม้ของชาติในส่วนกลาง 1.5.2 ผลการดำเนินงาน : สำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและรายงานผลการดำเนินงาน โดยรวบรวมรายงานสถิติพื้นที่ป่าถูกบุกรุก (พื้นที่ใหม่) ประจำเดือนตุลาคม 2552 - กันยายน 2553 รวม 12 เดือน สรุปผลผลิต ผลลัพธ์ดังนี้ ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต เป้าหมาย ผลผลิต ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก หน่วยนับ ปี 52 ปี 53 ปี 53 ระดับความสำเร็ จของจำนวนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ไร่ 19,361-1-15.24 19,361-1-15.24 27,736-0-80.7 ที่ได้รับ การดูแลป้องกันไม่ให้ถูกบุกรุกทำลาย เปรียบเที ยบกับพื้นที่เป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ได้ จำนวนพื ้นที่ป่าถูกบุกรุกทำลายลดลงร้อยละ 43.26 ของพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติถูกบุกรุกทำลายในปี พ.ศ. 2552 (19,361-1-15.24) จึงทำให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อยู่ในระดับ 1 ค่าคะแนนที่ได้ 1.00 1.5.3 ปัญหา อุปสรรค และเงื่อนไขความสำเร็จ : - ปัญหา อุปสรรค 1) กรมป่าไม้ได้รับการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอต่อดำเนินการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยกรมป่าไม้ขอรับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 722,057,400 บาท แต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพียง 153,941,800 บาท 2) ขาดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ (ข้าราชการไม่เพียงพอในการรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานด้าน ป้องกันรักษาป่า)

28


29 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

29

3) ขาดยานพาหนะที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและเหมาะสมกั บ สภาพพื้ น ที่ ที่ ทุ ร กั น ดาร รวมทั้ ง อุ ป กรณ์ เ ทคโนโลยี ที่ ทั น สมั ยใน การปฏิบัติงาน - เงื่อนไขความสำเร็จ 1) กรมป่ า ไม้ มี ค ำสั่ ง ที่ 4603/2551 ลงวั น ที่ 13 พฤศจิกายน 2551 จัดโครงสร้างหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 1-13 และ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้สาขา โดยส่วนป้องกันรักษาป่าและ ควบคุมไฟป่า มีหน้าที่รับผิดชอบ - การจัดทำแผนงานและงบประมาณ แผนปฏิบัติการ และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ รายงานผลการปฏิบัติงาน กำกับ ควบคุ ม ดู แ ล และประสานงานด้ า นป้ อ งกั น รั ก ษาป่ า และควบคุ ม ไฟป่า - ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุก ทำลายทรั พ ยากรป่ าไม้ ใ นเขตพื้ น ที่ รั บ ผิ ด ชอบ ประสานงานเพื่ อ สนับสนุนข้อมูลการข่าว การสืบสวน ดำเนินคดี และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิด ประสาน ติดตาม สถานการณ์เพื่อการหยุดยั้งการทำลายป่า - ปฏิ บั ติ ก ารด้ า นการควบคุ ม ไฟป่ า สร้ า งการมี ส่วนร่วมในการควบคุมไฟป่าให้บรรลุตามเป้าหมาย 2) กรมป่ า ไม้ ไ ด้ มี ค ำสั่ ง ที่ 4656/2551 ลงวั น ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 การจัดหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ความ รับผิดชอบของสำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า โดยมีอำนาจหน้าที่ รับผิดชอบ ดังนี้ - ศึ ก ษา วิ เ คราะห์ แ ละกำหนดยุ ท ธศาสตร์ ใน การป้องกันรักษาป่า การควบคุมไฟป่า การปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย ว่าด้วยป่าไม้ - ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อกำหนดแนวทาง รูปแบบ และวิธีการในการป้องกันรักษาป่า การปราบปรามการกระทำผิดโดยกลยุทธ์ การมีส่วนร่วม การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและอาสาสมัครเพื่อการป้องกัน รักษาป่าและควบคุมไฟป่า - ศึ ก ษาวิ จั ย พั ฒ นาเพื่ อ หาแนวทาง รู ป แบบ และวิธีการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า - ควบคุม กำกับ ตรวจสอบการดำเนินการตาม หลักเกณฑ์และมาตรการในการอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการนำไม้และของป่า เคลื่อนที่ ให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง - ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

30

3) กรมป่าไม้ได้อนุมัติแผนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 แผนงานอนุรักษ์ และบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติผลผลิตที่ 1 พื้นที่ป่าไม้ได้รับการบริหารจัดการกิจกรรมหลักป้องกันรักษาป่า กิจกรรม ป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ เป็นเงิน 153,941,800 บาท ตามหนังสือกรมป่าไม้ ด่วนที่สุด ที่ ทส 6603.2/20421 ลงวันที่ 29 กันยายน 2553 1.5.4 ข้อเสนอแนะ : เพื่ อให้ ก ารดำเนิ น งานด้ า นป้ อ งกั น และปราบปราม การบุ ก รุ ก ทำลายทรั พ ยากรป่ า ไม้ มี ประสิทธิภาพ พื้นที่ป่าได้รับการดูแลป้องกันไม่ให้ถูกบุกรุกทำลายเพิ่มมากขึ้น รัฐควรสนับสนุนงบประมาณให้เพียง พอต่อการดำเนินงาน สนับสนุนยานพาหนะที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่ทุรกันดาร อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยใน การปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณสำหรับการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันดูแลรักษา พื้นที่ป่า

30

1.6 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 1.6.1 สาระสำคัญ : ในปัจจุบันทรัพยากรสัตว์น้ำและสภาพแวดล้อมตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม สืบเนื่องจากหลาย สาเหตุด้วยกัน เช่น จากการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ดินในบริเวณที่รอบลุ่มน้ำ การปล่อยน้ำเสียจากชุมชน โรงงาน อุตสาหกรรมและการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ทำให้คุณภาพที่ดีลดลงอย่างต่อเนื่อง และปัญหาสำคัญที่ปรากฏอยู่ใน ปัจจุบัน คือ การใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดสภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม จากสาเหตุและปัจจัยหลายประการดังกล่าว ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง จนหลายชนิดสูญพันธุ์ไปจากทะเลสาบสงขลา และอีกหลายชนิดอยู่ในภาวะถูกคุกคามและหายาก โดยเฉพาะสัตว์น้ำ ขนาดใหญ่ เช่น โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา เนื่องจากโลมาอิรวดีเป็นโลมาที่ได้อพยพเข้ามาอาศัยในทะเลสาบ สงขลามากว่า 100 ปี จนสามารถปรับตัวเข้ากับน้ำจืดได้ ปัจจุบันจากสภาพเสื่อมโทรมของทรัพยากรในทะเลสาบ ทำให้แหล่งอาหารขาดแคลน นอกจากนั้นความตื้นเขินของทะเลสาบทำให้แหล่งอาศัยของโลมาเหลือน้อยลงทุกปี ปัจจุบันเหลือเพียงพื้นที่เฉพาะบริเวณลำปำเท่านั้น และสถานการณ์น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งที่โลมาอิรวดีฝูงนี้ใกล้สูญพันธุ์ ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ จึงได้ทรงรับให้มีการอนุรักษ์โลมาอิรวดีฝูงนี้ไว้ในพระบรม ราชินูปถัมภ์ จึงเห็นควรให้มีการศึกษาและเร่งดำเนินการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วน จากสถานภาพและปัญหาของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของทะเลสาบสงขลาจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาและจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา เพื่อใช้ในการบริหาร จัดการและการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน การศึกษาต้องดำเนินการให้ครอบคลุมตั้งแต่ พืชและสัตว์ขนาดเล็กที่มีความสำคัญเป็นระบบห่วงโซ่อาหารเบื้องต้น ซึ่งได้แก่พวกแพลงก์ตอนและสัตว์หน้าดิน สัตว์ประเภทไม่มีกระดูกสันหลัง ไปจนถึงสัตว์ขนาดใหญ่โดยเฉพาะประเภทที่นำมาใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ 1.6.2 ผลการดำเนินงาน : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่ง ทะเล และป่าชายเลนได้ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลาและพัทลุง โดยการศึกษา วิจัย ชีววิทยา ชนิด ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของทรัพยากรแพลงก์ตอน สัตว์หน้าดิน และสัตว์น้ำอื่นๆ มีการสำรวจ ศึกษาชีววิทยาและอนุรักษ์โลมาอิรวดี โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ครอบคลุมพื้นที่จำนวน 100 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ได้ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเต่ากระอาน


31 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ในทะเลสาบสงขลา และเพาะขยายพั น ธุ์ เ ต่ า กระอานเพื่ อ ปล่ อ ยสู่ ทะเลสาบสงขลา รวมทั้งได้ดำเนินการปรับปรุงฐานข้อมูลทรัพยากร ในทะเลสาบสงขลา จำนวน 1 ระบบ ให้ทันสมัยและสามารถนำไป ใช้ประโยชน์ได้สะดวก ซึ่งผลการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้ - สำรวจ ติดตามตรวจสอบสถานภาพทรัพยากร สัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมทะเลสาบสงขลาและพื้นที่ใกล้เคียง ทรัพยากรที่ ศึกษา ได้แก่ สัตว์หน้าดิน แพลงก์ตอน สัตว์น้ำ และศึกษาการผันแปร ของปริมาณสารอาหารในทะเลสาบสงขลา รวมทั้งศึกษาการปนเปื้อน ปิโตรเลี่ยมไฮโดรคาร์บอนด์ในน้ำ รวมทั้งหมด 302 สถานี - สำรวจ ศึกษาและอนุรักษ์โลมาอิรวดีทะเลสาบ สงขลา จำนวน 7 ครั้ง - ฟื้นฟูพันธุ์เต่ากระอานในทะเลสาบสงขลาจำนวน 18 ครั้ง ดำเนินการอนุบาลพันธุ์เต่าในพื้นที่หาดไข่เต่า ต. นาปะขอ จ. พัทลุง ซึ่งได้รับพันธุ์เต่ากระอานจาก สถานีประมงน้ำจืดสตูล กรมประมงจำนวน 100 ตัว เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 ติดต่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ เป็นผู้ปล่อยพันธุ์เต่ากระอานลงในบ่อเพาะพันธุ์ในวันเดียวกัน สร้างโรงเรือนเก็บอาหารและอุปกรณ์การเลี้ยงเต่า กระอาน สร้างหาดเทียมเพื่อใช้สำหรับวางไข่ในอนาคต จัดงานประชาสัมพันธ์รับมอบพันธุ์เต่ากระอานจากตัวแทน กรมประมง ตัวแทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนจากชุมชน มีประชาชนมาร่วมงานในวันที่ 8 เมษายน 2553 เป็นจำนวนมาก - อบรมเผยแพร่ความรู้ จัดนิทรรศการสู่ชุมชนท้องถิ่น จำนวน 1 ครั้ง โดยจัดขึ้นเพื่อ ปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 16 มิถุนายน 2553 ณ อุทยานแห่งชาติเภตรา จ.สตูล มีนักเรียนเข้าร่วมการฝึกอบรมจำนวน 42 คน - ปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จำนวน 7 ครั้ง โดยได้ดำเนินการ ปรับปรุงฐานข้อมูลความหลากหลายทรัพยากรเกาะกระและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและ ทรัพยากรทางทะเลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต ตัวชี้วัด

ผลผลิต ปี 52

เป้าหมาย ปี 53

ผลผลิต ปี 53

ระบบ

1

1

1

ผลลัพธ์ที่ได้ ผู้เข้าใช้ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติในทะเลสาบสงขลามีความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 80

31

ระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศทรัพยากรธรรมชาติ ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ประชาชนสามารถ เข้าศึกษานำไปใช้ประโยชน์ได้

หน่วยนับ


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

32

1.7 การสำรวจและประเมินศักยภาพทรัพยากรแร่ 1.7.1 สาระสำคัญ : กรมทรัพยากรธรณีดำเนินการสำรวจและประเมินศักยภาพทรัพยากรแร่ในพื้นที่นอกเขตหวง ห้ามตามกฎหมาย เพื่อค้นพบ และ/หรือมีข้อมูลการสำรวจที่จะนำไปสู่การค้นพบแหล่งแร่มากขึ้น ที่จะช่วยบรรเทา สภาวการณ์ขาดแคลนแหล่งวัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลด้านทรัพยากรแร่ การใช้ประโยชน์ ที่ดินด้านอื่นๆ สำหรับใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ของประเทศในระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ โดยดำเนินการในพื้นที่ “แก่งกระจาน” บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งดำเนินการสำรวจ และประเมิ น ศั ก ยภาพทรั พ ยากรแร่ ใ นพื้ น ที่ แ หล่ ง แร่ พื้ น ที่ ศั ก ยภาพทางแร่ เพื่ อให้ ไ ด้ ข้ อ มู ล ทรั พ ยากรแร่ ขั้ น รายละเอียดเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยดำเนินการในพื้นที่ “แม่แจ่ม” และพื้นที่ “อุทัยธานี” 1.7.2 ผลการดำเนินงาน : จากการสำรวจแหล่งแร่ของกรมทรัพยากรธรณี พบแหล่ ง แร่ ใ นบริ เ วณต่ า งๆ ได้ แ ก่ บริ เ วณจั ง หวั ด เพชรบุ รี พบแร่ดีบุกที่มีการเกิดแบบปฐมภูมิร่วมกับสายแร่ควอตซ์และเพกมาไทต์ จำนวนมากกว่า 50 สายแร่ ความสมบูรณ์ของแร่ดีบุกจากสายแร่อยู่ ระหว่างร้อยละ 1 - 5 เฉลี่ยประมาณร้อยละ 2.0 โดยปริมาตร จำนวน 7 บริเวณ คือ แหล่งเขาตาเลิศ แหล่งเขาตาไม แหล่งเขาตาบอล แหล่งเขาตาอั๋น แหล่งตีนเขา แหล่งปากรัตน์ และแหล่งมะค่างอ คิดเป็นปริมาณสำรองทางธรณีวิทยาประมาณ 2,200 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท (ที่ราคาแร่เพื่อเรียกเก็บ ค่าภาคหลวงของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 กำหนดให้โลหะดีบุกราคาหาบหลวงละ 40,080 บาท) นอกจากนี้ ยั ง พบแร่ ทั ง สเตนในบางบริ เ วณ ประมาณ 1 ใน 3 ของแร่ดีบุก บริ เ วณอำเภอแม่ แ จ่ ม จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ และอำเภอแม่ ล าน้ อ ย จั ง หวั ด แม่ ฮ่ อ งสอน พบทรัพยากรแร่หลายชนิด ได้แก่ แร่ดีบุก - ทังสเตน แมงกานีส ฟลูออไรต์ เฟลด์สปาร์ ถ่านหิน และหินปูน จากการสำรวจ ในรายละเอียดพบแร่แมงกานีสในพื้นที่ “บ้านฟักทอง” มีปริมาณสำรองแร่แมงกานีสที่เกิดแบบปฐมภูมิแบบ สายแร่น้ำร้อน รวมทั้งสิ้น 6,669,100 เมตริกตัน ปริมาณสำรองแร่แมงกานีสที่เกิดแบบทุติยภูมิในลักษณะก้อนแร่ลอย และเป็นแร่ตกค้างตามหน้าดิน รวมทั้งสิ้น 5,930,100 เมตริกตัน ในพื้นที่ “บ้านทุ่งผี” ตำบลขุนแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีปริมาณสำรองรวมทั้งสิ้น 3,167,200 เมตริกตัน ส่วนแร่ทุติยภูมิในลักษณะ ก้อนแร่ลอยปรากฏอยู่บริเวณสายแร่แต่ไม่มากนัก สำหรับบริเวณจังหวัดอุทัยธานี พบพื้นที่แหล่งแร่ 3 บริเวณใหญ่ๆ คื อ บริ เ วณ “แหล่ ง แร่ เ หล็ ก เขา 555” เป็ น แหล่ ง แร่ เ หล็ ก ที่ มี เ กรดต่ ำ (ร้ อ ยละเฉลี่ ย ของออกไซด์ เ หล็ ก ประมาณ 28.17) มีปริมาณสำรองแร่เหล็กรวม 3,475,600 เมตริกตัน บริเวณ “แหล่งแร่ดีบุก แร่หนัก และแร่หายาก ในเขตอำเภอบ้านไร่” ใน 4 พื้นที่ย่อย คือ พื้นที่บ้านบุ่ง พื้นที่บ้านทองหลาง พื้นที่บ้านปางสวรรค์ และพื้นที่ บ้านอีพุ่งใหญ่ สำหรับบริเวณ “แหล่งแร่ดีบุกบ้านหนองมะเขือ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี” พบแร่ดีบุก มีความสมบูรณ์ เฉลี่ยประมาณ 640 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีปริมาณสำรองทั้งสิ้นประมาณ 262 เมตริกตัน

32


33

ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต ปี 52

เป้าหมาย ปี 53

ผลผลิต ปี 53

แห่ง

4

3

3

ผลลัพธ์ที่ได้ 1. ข้อมูลการสำรวจและประเมินสถานภาพทรัพยากรธรณี แนวทางการจัดการพื้นที่ศักยภาพทรัพยากรแร่ที่ได้จากผลการสำรวจ และรายงานสรุปผลการสำรวจทรัพยากรแร่ในพื้นที่นอกเขตหวงห้ามตามกฎหมาย พื้นที่ “แก่งกระจาน” เพื่อใช้สำหรับการบริหาร จัดการต่อไป 2. ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลทรัพยากรแร่ ข้อมูลสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ และรายงานสรุปผลการสำรวจและประเมินทรัพยากรแร่ในพื้นที่ศักยภาพทางแร่สูง

รูปถ่ายดาวเทียมแสดงขอบเขตพื้นที่ศักยภาพแร่ดีบุก แร่หนักและแร่หายาก ทั้ง 4 พื้นที่ ในเขตอำเภอบ้านไร่

33

รูปแหล่งแร่เหล็ก 5 แหล่ง ในพื้นที่เขา 555

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

จำนวนข้อมูลการสำรวจและประเมินสถานภาพ ทรัพยากรธรณี

หน่วยนับ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

34

1.8 การสำรวจจัดทำแผนที่ธรณีวิทยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ 1.8.1 สาระสำคัญ : แผนที่ธรณีวิทยาเป็นแผนที่ที่แสดงข้อมูลหน่วยหินชนิดต่างๆ ขอบเขตการแผ่กระจายตัว โครงสร้างของชั้นหินและความสัมพันธ์ของหินดังกล่าวกับบริเวณโดยรอบ นอกจากนี้ยังแสดงถึงจุดพบแหล่งแร่ และ ซากดึกดำบรรพ์ ข้อมูลและแผนที่ธรณีวิทยาเหล่านี้มีประโยชน์ในการใช้งานด้านต่างๆมากมาย อาทิเช่น การนำไปใช้ เพื่อหาแหล่งทรัพยากรธรณีเพื่อการพัฒนา การนำไปใช้วางแผนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ข้อมูลและแผนที่ธรณีวิทยาที่มีความละเอียดสูงระดับมาตราส่วน 1:50,000 ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การสำรวจจัดทำข้อมูลและแผนที่ธรณีวิทยาให้ครอบคลุมพื้นที่ในบริเวณต่างๆ ของ ประเทศให้ครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักวิชาการและมีความละเอียดตามอุปสงค์ดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องเร่งรัดการดำเนินงานให้เสร็จสิ้นทั่วประเทศโดยเร็ว 1.8.2 ผลการดำเนินงาน : ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 กรมทรัพยากรธรณีดำเนินการสำรวจจัดทำแผนที่ธรณีวิทยา มาตราส่วน 1:50,000 จำนวนทั้งสิ้น 25 ระวาง ในพื้นที่ของจังหวัดชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร น่าน กาญจนบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง และในพื้นที่ที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลธรณีวิทยาร่วมกับข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ ชนิดต่างๆ ของประเทศ ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต เป้าหมาย ผลผลิต ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก หน่วยนับ ปี 52 ปี 53 ปี 53 ่ธรณี วิทยาธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม จำนวนแผนที ระวาง 30 25 25 ผลลัพธ์ที่ได้ ส่วนราชการ และหน่วยงานต่างๆ ที่นำข้อมูลแผนที่ธรณีวิทยาไปใช้งานสามารถวางแผนการพัฒนางานเพื่อการให้บริการแก่ ประชาชนในด้านต่างๆ มีความเหมาะสมกับลักษณะทางธรณีวิทยามากยิ่งขึ้น 1.8.3 ปัญหา อุปสรรค และ เงื่อนไขความสำเร็จ : 1) ปัญหา อุปสรรค : พื้นที่สำรวจธรณีวิทยาบางแห่งมีความซับซ้อนและมีปัญหาเรื่องอายุ ทางธรณีวิทยา ทำให้หน่วยสำรวจต้องใช้เวลามากในการทำงานเพื่อตอบข้อสรุปของปัญหาดังกล่าว 2) เงื่อนไขความสำเร็จ : ความละเอียดและความถูกต้องของข้อมูลที่มากที่สุดเท่าที่ทำได้ รวมถึงระยะเวลาในการดำเนินการตามกำหนด

34


35 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

35

1.9 โครงการเร่งรัดการบริหารจัดการทรัพยากรธรณีและธรณีวิทยาอย่างมีดุลยภาพ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนชุมชนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1.9.1 สาระสำคัญ : กรมทรัพยากรธรณีดำเนินการจัดทำแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรแร่รายประเภท เนื่องด้วย ทรั พ ยากรแร่ ซึ่ ง เป็ น ทรั พ ยากรธรรมชาติ ที่ ใ ช้ แ ล้ ว หมดไปไม่ ส ามารถสร้ า งขึ้ น มาใหม่ ไ ด้ มี ค วามสำคั ญ ต่ อ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก โดยเป็นวัตถุดิบพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมโลหการพื้นฐาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมียุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ อย่างชัดเจนและเป็นระบบ เพื่อการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลกระทบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางบริหารจัดการทรัพยากรแร่กลุ่มแร่โลหะพื้นฐาน นอกจากนี้ กรมทรั พ ยากรธรณี ยั ง ดำเนิ น การ จำแนกเขตทรั พ ยากรแร่ อ อกเป็ น เขตสงวน อนุ รั ก ษ์ และ พั ฒ นาใช้ ป ระโยชน์ เพื่ อ กำหนดแนวทางการบริ ห ารจั ด การ ทรัพยากรธรณีให้สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของ ท้ อ งถิ่ น สามารถนำไปใช้ ป ระโยชน์ ใ นการวางแผนบริ ห าร จัดการทรัพยากรธรณีในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย กระบวนการมี ส่ ว นร่ ว มของผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ทุ ก ภาคส่ ว นใน ท้ อ งถิ่ น อี ก ทั้ งได้ ด ำเนิ น การกำหนดพื้น ที่ เขตศั ก ยภาพแร่ เพื่อการทำเหมืองแร่ ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบแนวทาง การบริหารจัดการทรัพยากรแร่เพื่อกำหนดพื้นที่เขตศักยภาพแร่ เพื่อการทำเหมืองแร่ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ตามข้อเสนอของกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ยกเว้นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่า สัตว์ป่า) เพื่อการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่ใน พื้นที่เขตศักยภาพแร่เพื่อ การทำเหมืองแร่ พิจารณาจากการ ประมวลผลสถานภาพแร่ที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย 1.9.2 ผลการดำเนินงาน : 1) จัดทำข้อเสนอแนวทางการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรแร่ โ ลหะพื้ น ฐาน (สั ง กะสี ตะกั่ ว ทองแดง และเหล็ก) ประกอบด้วย การประกาศเขตพัฒนาทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน สร้างกระบวนการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่เขตพัฒนาทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน โดยจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง (คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการทรัพยากรแร่) ตลอดจนกำหนดแนวทางการพัฒนาแหล่งแร่โดยเปิดประมูล และสร้างกลไกการกระจายประโยชน์แก่ชุมชนท้องถิ่น 2) จำแนกเขตทรัพยากรแร่ในพื้นที่เป้าหมาย 8 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ พร้อมเสนอมาตรการแนวทางการบริหาร จัดการทรัพยากรธรณีโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในท้องถิ่น รวมทั้งเผยแพร่ ข้อมูลให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาทรัพยากรธรณี


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

36

3) ประมวลผลสถานภาพทรัพยากรแร่ประเทศไทย พร้อมสรุปแร่ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา จัดทำข้อเสนอชนิดแร่และขอบเขตพื้นที่เป้าหมายที่จะทำการกำหนดเขตพื้นที่เขตศักยภาพแร่ เพื่อการทำเหมืองแร่ และภายหลังการตรวจสอบ ประมวลและประเมินผลข้อมูลทรัพยากรแร่ในพื้นที่เป้าหมาย และข้อมูลพื้นที่ทางกฏหมายและมติคณะรัฐมนตรีในพื้นที่เป้าหมายแล้ว จึงกำหนดขอบเขตพื้นที่เขตศักยภาพแร่ เพื่อการทำเหมืองแร่เบื้องต้น ได้แก่ พื้นที่เขาวง จ.สระบุรี ประกอบด้วยหินปูนเพอร์เมียน ซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมี แตกต่างกัน ได้แก่ หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมเคมี หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ หินปูนจำแนกประเภทไม่ได้ หินอ่อนและดินมาร์ล ปริมาณสำรองประมาณ 900 4,500 800 700 700 และ 20 ล้านตัน ตามลำดับ ขอบเขตพื้นที่เป้าหมายคลุมเนื้อที่ประมาณ 43 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่แอ่งแจ้ห่ม จ.ลำปาง พบถ่านหินชั้นที่มีการสะสมตัวในยุคเทอร์เชียรี ชั้นคุณภาพลิกไนต์ถึงซับบิทูไมนัส ปริมาณถ่านหินสำรอง 16 ล้านตัน ขอบเขตพื้นที่เป้าหมายกลุ่มเนื้อที่ประมาณ 365 ตารางกิโลเมตร หลังจากนั้นจึงรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน พร้อมสรุปพื้นที่เขตศักยภาพแร่เพื่อการบริหารจัดการที่ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต เป้าหมาย ผลผลิต หน่วยนับ ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก ปี 52 ปี 53 ปี 53 จำนวนพื้นที่ที่มีการจำแนกเขตบริหารจัดการ แห่ง 11 10 11 ผลลัพธ์ที่ได้รับ 1. ทรั พยากรแร่โลหะพื้นฐาน (สังกะสี ตะกั่ว ทองแดง และเหล็ก) มีการบริหารจัดการอย่างสมดุลภายใต้การมีส่วนร่วมของ ประชาชน 2. รายงานจำแนกเขตเพื ่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีรายจังหวัดของพื้นที่เป้าหมายที่สามารถนำไปเป็นข้อมูล เพื่อ การวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรธรณี การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการวางผังเมือง ทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และประเทศ รวมทั้งมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ถูกต้องสอดคล้องกับสภาพทางธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม 3. การกำหนดเขตศักยภาพแร่ พร้อมรายงานสรุปพื้นที่เขตศักยภาพแร่เพื่อการบริหารจัดการที่ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน จำนวน 2 พื้นที่ได้แก่ พื้นที่เขาวง จ.สระบุรี และพื้นที่แจ้ห่ม จ.ลำปาง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 1.9.3 ปัญหา อุปสรรค และ เงื่อนไขความสำเร็จ : 1) ปัญหา อุปสรรค : สภาวะความไม่สงบทางการเมืองทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องของ การดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ 2) เงื่อนไขความสำเร็จ : แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ ตลอดจนการกำหนด เขตศักยภาพแร่เพื่อการบริหารจัดการที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้ แนวทาง/มาตรการการบริหารจัดการทรัพยากรธรณีที่สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของประชาชน

36


37 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.10 การจัดทำทะเบียนซากดึกดำบรรพ์ 1.10.1 สาระสำคัญ : การจั ด ทำทะเบี ย นเป็ น การตรวจสอบซากดึ ก ดำบรรพ์ ที่ ไ ด้ จั ด เก็ บ ไว้ ใ นคลั ง ตั ว อย่ า ง ณ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และพิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงมาตรฐานทางธรณีวิทยาของประเทศและเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปประยุกต์ใช้กับ งานธรณี วิ ท ยาด้ า นต่ า งๆ รวมถึ ง การเตรี ย มการเพื่ อ รองรั บ การปฏิ บั ติ ง านตามพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครอง ซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 สามารถนำไปใช้เผยแพร่ให้ความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป 1.10.2 ผลการดำเนินงาน : กรมทรัพยากรธรณีได้ดำเนินการรวบรวม ตรวจสอบ บันทึกรายละเอียดข้อมูลเพื่อจัดทำ ทะเบียนซากดึกดำบรรพ์พร้อมบันทึกภาพ จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลจำนวน 1,090 ชิ้นตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 128 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-2553 โดยจัดทำทะเบียนแล้วเสร็จรวมทั้งสิ้น 2,813 ชิ้นตัวอย่าง จำแนกประเภทหรือ ชนิดซากดึกดำบรรพ์อันควรอนุรักษ์ จำนวน 378 ชิ้นตัวอย่าง พร้อมทั้งจัดระบบที่เป็นมาตรฐานในรูปคลังตัวอย่าง โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-2553 ได้คัดแยกเป็นซากดึกดำบรรพ์อันควรอนุรักษ์รวมทั้งสิ้น 820 ชิ้นตัวอย่าง เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรธรณีให้ผู้สนใจหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ จำนวน 132 หมายเลขตัวอย่าง ผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก ข้อมูลหลักฐานตัวอย่างธรณีวิทยา (ซากดึกดำบรรพ์) ที่ได้รับการจัดเก็บหรือศึกษา

หน่วยนับ

ผลผลิต ปี 52

เป้าหมาย ปี 53

ผลผลิต ปี 53

ชิ้นตัวอย่าง

963

850

1,090

ผลลัพธ์ที่ได้ 1. ข้อมูลหลักฐานตัวอย่างธรณีวิทยา (ซากดึกดำบรรพ์) ที่ได้รับการจัดเก็บหรือศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง ทางธรณีวิทยาของประเทศ 2. เผยแพร่ข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ของประเทศไทยในรูปแบบเอกสารรายงานวิชาการ การนำเสนอในโอกาสต่างๆ และผ่านเว็บไซต์ ของกรมทรัพยากรธรณี ให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจ

37


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

38

1.10.3 เงื่อนไขความสำเร็จ : 1) การตรวจสอบตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ในเบื้องต้นแล้วเสร็จ จะส่งผลให้การดำเนินการ บันทึกข้อมูลสะดวกและรวดเร็วขึ้น 2) ขั้ น ตอนรายละเอี ย ดต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ พระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองซากดึ ก ดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 ที่ชัดเจน

38

1.11 การกำหนดพื้นที่เป็นอุทยานทางธรณีวิทยา (Geoparks) 1.11.1 สาระสำคัญ : แหล่งธรรมชาติที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่สวยงามและโดดเด่นพบได้ในส่วนต่างๆ ของ ประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการพัฒนาเป็นเพียงแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ แต่ยังไม่มีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ให้เป็นแหล่งที่มีคุณค่าทางด้านวิชาการธรณีวิทยาและแหล่งมาตรฐานอ้างอิงทางธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ตระหนักถึงคุณค่าของพื้นที่ดังกล่าวทั้งทางวิชาการและการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่า จึงได้ดำเนินการ สำรวจ จัดทำข้อมูลแหล่งธรณีวิทยาที่มีลักษณะโดดเด่นสมควรแก่การอนุรักษ์ของประเทศ รวมถึง จะได้มีการศึกษา แหล่งต่างๆ ในรายละเอียด การประเมินคุณค่า และแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกัน โดยมี วัตถุประสงค์หลักของโครงการ คือ 1) ศึกษาแหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยา ประเมินคุณค่าและส่งเสริม สนับสนุนการจัด ตั้งอุทยานธรณีหรือแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาและศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ 2) เสริมสร้างความเข้าใจ


39 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

39

และทัศนคติที่ดีต่อการอนุรักษ์ธรณีวิทยาแก่หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม หรือการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) นำเสนอต่อ UNESCO เพื่อประกาศให้เป็นอุทยานธรณีระดับสากล 1.11.2 ผลการดำเนินงาน : กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการ ปรั บ ปรุ ง หลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารประเมิ น ด้ า นคุ ณ ค่ า ทางวิ ช าการ หลั ก เกณฑ์ ก ารประเมิ น ด้ า นศั ก ยภาพ การพัฒนาและบริหารจัดการ โดยอ้างอิงข้อมูลจากเอกสาร “การกำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการแหล่ง อนุรักษ์ทางธรณีวิทยา” รวมทั้งประเมินแหล่งธรณีวิทยาใน พื้นที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จำนวน 42 แหล่ง ในจำนวนนี้ มี 26 แหล่ง ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นแหล่งอนุรักษ์ ธรณีวิทยา ได้ทำการประเมินเพิ่มเติมในพื้นที่ อ.ละงู – อ.ปากน้ำ จ.สตูล จำนวน 3 แหล่ง ซึ่งทั้ง 3 แหล่ง ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด นอกจากนี้ยังได้มีการจัด ประชุมระดมความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย ในหัวข้อเรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์อุทยานธรณีวิทยาตะรุเตา-ละงู” เมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมพินนาเคิล วังใหม่ สตูล จ.สตูล พร้อมเสนอบัญชีรายชื่อแหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยา พื้นที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ทั้ง 26 แหล่ง ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต ผลผลิต เป้าหมาย ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก หน่วยนับ ปี 53 ปี 52 ปี 53 จำนวนพื ้นที่ที่กำหนดเป็นอุทยานทางธรณีวิทยา แหล่ง – 1 1 (Geoparks) ผลลัพธ์ที่ได้ อมูลแหล่งธรณีวิทยาทั่วประเทศที่มีการประเมินศักยภาพและมีแนวทางในการพัฒนาให้เป็นอุทยานทางธรณีวิทยา 1. ฐานข้ (Geoparks) 2. แนวทางการพั ฒนาพื้นที่คัดสรรให้เป็นอุทยานทางธรณีวิทยา (Geoparks) รวมทั้งให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีดุลยภาพ ทางสิ ่งแวดล้อมตรงตามวัตถุประสงค์ของท้องถิ่น 1.11.3 เงื่อนไขความสำเร็จ : การได้ รั บ ความร่ ว มมื อในการดำเนิ นโครงการจากทุ ก ภาคส่ ว น ทั้ ง จากหน่ ว ยงานราชการและ ประชาชนท้องถิ่น รวมทั้งการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะเป็น ส่วนสำคัญต่อการสนับสนุนการจัดตั้งอุทยานธรณีท้องถิ่น


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

40

1.12 โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี และธรณีพิบัติภัย 1.12.1 สาระสำคัญ : องค์ความรู้ด้านธรณีวิทยา เป็นองค์ความรู้ที่ สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโลก ทั้งที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ และโดยมนุ ษ ย์ เ ป็ น ผู้ ก ระทำ เมื่ อ ไม่ น านมานี้ องค์ความรู้ดังกล่าวได้ถูกบรรจุในหลักสูตรการศึกษาของประเทศไทย ทำให้ บุ ค ลากรทางการศึ ก ษาประสบปั ญ หาในการสอน เนื่ อ งจาก ขาดความเข้ าใจพื้ น ฐานทั้ ง ทางภาคทฤษฎี แ ละภาคปฏิ บั ติ จึ ง เป็ น ความจำเป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะต้ อ งสร้ า งพื้ น ฐานความเข้ า ใจที่ ถู ก ต้ อ ง ประกอบกับการแสดงให้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจน 1.12.2 ผลการดำเนินงาน : กรมทรัพยากรธรณีจึงได้ดำเนินการโครงการฝึก อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความรู้ทางธรณีวิทยาและซากดึกดำบรรพ์ สู่ครูวิทยาศาสตร์แก่บุคลากรทางการศึกษาในท้องถิ่น รวมถึงการสร้าง เครือข่ายเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรธรณีของประเทศ จัดหลักสูตรเพิ่มเติมแก่ผู้มีศักยภาพในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านธรณีวิทยาได้ (Training for Trainer) สำหรั บ ผู้ ที่ ผ่ า นการฝึ ก อบรมหลั ก สู ต รทั่ วไปและมี ค วามสนใจในวิ ช าธรณี วิ ท ยาเป็ น กรณี พิ เ ศษโดย หลักสูตรพิเศษประกอบด้วย การบรรยายธรณีวิทยาและการฝึกอบรมความรู้ทางธรณีวิทยา ณ ฐานเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ และอภิ ป ราย ร่ ว มจั ด ทำแบบการเรี ย นการสอนธรณี วิ ท ยาโดยจั ด ฝึ ก อบรมทั้ ง สิ้ น 6 ครั้ ง ได้ แ ก่ จั ง หวั ด อุตรดิตถ์ เลย ตาก อุบลราชธานี เชียงราย และนครราชสีมา มีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมรวมทั้งสิ้น 1,150 คน สรุปการประเมินผลดังนี้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจ ระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 95.11 มีการต่อยอด โดยการสร้างแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาโดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมเองถึง 6 แหล่ง นอกจากนี้ยังมีการผลิตเอกสาร วิชาการ เอกสารประชาสัมพันธ์เผยแพร่ของกรมทรัพยากรธรณี สื่อประสมการเรียนการสอนทางธรณีวิทยา ประมาณ 1,200 ชุด

40

ผลผลิตและผลลัพธ์

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

หน่วยนับ

ผลผลิต ปี 52

เป้าหมาย ปี 53

ผลผลิต ปี 53

จำนวนครั้งของการฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษาทั้ง ในและนอกระบบ

ครั้ง

7

5

6

ผลลัพธ์ที่ได้ 1. คณะครู อาจารย์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้แก่นักเรียนได้อย่างถูกต้องและชัดเจน รวมทั้ง มีแนวคิดของการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมนำไปใช้ในการเรียนการสอนด้วย 2. นักเรียนหรือผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี และธรณีพิบัติภัย มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ได้รับ การถ่ายทอดถูกต้องตามหลักวิชาการ 3. ผู้ที่มีองค์ความรู้ทางด้านธรณีวิทยาและมีศักยภาพในการเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านธรณีวิทยาขั้นต้นแก่บุคลากรทางการศึกษา 4. แหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาได้รับการพัฒนา


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

41

1.13 โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.13.1 สาระสำคัญ : โครงการพั ฒ นาพื้ น ที่ ดิ น เค็ ม ในภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ เป็ นโครงการสนอง พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยมี วัตถุประสงค์ในการสำรวจ ศึกษา วิจัย ตลอดจน ทดลองแก้ไขปัญหาดินเค็มและมีเป้าหมายที่จะจัดทำ แหล่ ง เรี ย นรู้ ต้ น แบบ เพื่ อ การพั ฒ นาพื้ น ที่ ดิ น เค็ ม ใ ห้ เ ก ษ ต ร ก รใ น ภ า ค ต ะ วั น อ อ ก เ ฉี ย ง เ ห นื อ ซึ่ ง กรมทรัพยากรธรณีได้คัดเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำอูน ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร เป็นพื้นที่โครงการ ทดลองปฏิบัติ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา 1.13.2 ผลการดำเนินงาน : กรมทรัพยากรธรณีได้ดำเนินการสำรวจธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ เพื่อหาสาเหตุของการเกิด ดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำอูน เนื่องจากเกลือหินของหมวดหินมหาสารคามถูกดันตัวให้สูงขึ้นเป็นโดมเกลือ เมื่อถูก น้ำบาดาลทำละลายและเคลื่อนย้ายในรูปของน้ำเค็มใต้ดิน จนถูกพาขึ้นมาสะสมบนผิวดินกลายเป็นพื้นที่ดินเค็ม พบโดมเกลือซึ่งมีค่าความต้านทานไฟฟ้าสูงและค่าความโน้มถ่วงต่ำ จะปรากฏที่ระดับความลึกประมาณ 60-200 เมตร จากพื้นดิน วางตัวในแนวเกือบเหนือใต้ กว้าง 500เมตร ยาว 1000-1500 เมตร ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ดำเนินการทดลองแก้ไขปัญหาดินเค็ม ดังนี้ 1. ทดลองป้องกันการซึมผ่านของน้ำเค็มใต้ดินโดยใช้วัสดุทางธรณีวิทยาจำพวกแร่เบนทอไนต์ ซึ่งมีคุณสมบัติพองตัวเมื่ออิ่มตัวด้วยน้ำในพื้นที่ดินเค็มปานกลาง บริเวณหนองปลา บ้านดงสวรรค์ และพื้นที่ดินเค็มมาก ที่บริเวณบ้านภูเงิน 2. ทดลองปรับโครงสร้างของดินเค็มโดยใช้ดินเคลย์นาหว้า บริเวณหนองปลา บ้านดงสวรรค์ และที่บ้านภูเงิน โดยนำดินเคลย์นาหว้าใส่ในแปลงทดลองในปริมาณร้อยละ 1, 2.5, 5 และ 10 โดยน้ำหนัก 3. การทดลองล้างดินลงบ่อบำบัดน้ำเค็มก่อนฤดูกาลปลูกข้าวของแปลงนาที่มีปัญหาดินเค็มมาก ที่ได้เลือกแปลงนาไว้แล้ว โดยเริ่มขังน้ำฝนในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม และสูบน้ำล้างดินในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 4. การทดลองลดระดับน้ำใต้ดินโดยการยกระดับผิวดินให้สูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร โดยการ นำดินนาหว้ามาใส่พื้นที่นาข้าวที่เป็นพื้นที่ดินเค็มมากบริเวณบ้านภูเงิน

41 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.12.3 เงื่อนไขความสำเร็จ : ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในโครงการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้โครงการฯ เป็นที่ รู้จักในวงกว้าง


42

ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

1. ข้อมูลสำรวจธรณีวิทยา ธรณีเคมี ธรณีฟิสิกส์ 2. การทดลองแก้ไขปัญหาดินเค็ม 3. การฝึกอบรมสัมมนาประชุมวิชาการ กลุ่มย่อย

หน่วยนับ

ผลผลิต ปี 52

เป้าหมาย ปี 53

ผลผลิต ปี 53

จังหวัด ไร่ ครั้ง

1 2 3

1 10 3

1 10 3

ผลลัพธ์ที่ได้

แนวทางการแก้ไขปัญหาดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ลุ่มน้ำอูน ส่งผลให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรให้ปลูกข้าวได้ ในพื้นที่ดินเค็ม โดยมีวิธีการและขั้นตอนดังนี้คือ 1) การชะล้างดินเค็มลงบ่อบำบัด 2) ใช้วัสดุธรณีวิทยาจำพวกแร่เบนทอไนต์ หรือดินเคลย์ในท้องถิ่น 3) บำรุงดินโดยใส่ปุ๋ยคอกและอินทรีย์วัตถุ

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.13.3 เงื่อนไขความสำเร็จ : 1) ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญกับแผนงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2) งบประมาณที่ได้รับและจำนวนบุคลากรมีความเหมาะสม 3) โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นงานที่มีความต่อเนื่องใน การศึกษาวิจัยจึงต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอย่างน้อย 4-5 ปี

42

รูปแบบจำลองการเกิดและการแพร่กระจายของพื้นที่ดินเค็ม ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร


43 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารจัดการ พัฒนา เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนและระบบกระจายน้ำอย่างบูรณาการ 2.1 โครงการจั ดการและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล 2.1.1 สาระสำคัญ : กรมทรัพยากรน้ำบาดาลในฐานะเป็นองค์กรหลักในการจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำบาดาล มีหน้าที่ในการพัฒนาทรัพยากรน้ำบาดาล เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน บรรเทาความเดือดร้อนจาก ภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากภัยแล้งและอุทกภัย ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรน้ำบาดาลเพื่อ การศึกษาโดยจัดหาแหล่งทรัพยากรน้ำบาดาลให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน มีน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค รวมทั้งพัฒนาน้ำบาดาลสำหรับอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตรกรรมแก่โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการส่วนพระองค์ หรือโครงการหลวง เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการมีความเป็นอยู่ที่ ดียิ่งขึ้น 2.1.2 ผลการดำเนินงาน : 1. การศึกษาประเมินศักยภาพการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ดำเนินการจำนวน 76 พื้นที่ 2. โครงการจัดหาน้ำสะอาดให้กับหมู่บ้านภัยแล้งทั่วประเทศ 673 แห่ง เจาะบ่อบาดาลทดแทน จำนวน 681 บ่อ 3. ดำเนินการสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียน ทั่วประเทศ จำนวน 320 แห่ง ผลผลิตและผลลัพธ์ หน่วยนับ

1. การศึ ก ษาประเมิ น ศั ก ยภาพการพั ฒ นาแหล่ ง น้ ำ บาดาลเพื่ อ สนั บ สนุ นโครงการอั น เนื่ อ งมาจาก พระราชดำริ 2 การจัดหาน้ำสะอาดให้กับหมู่บ้านภัยแล้งทั่วประเทศ 3. การสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุน น้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ

แห่ง แห่ง แห่ง

ผลผลิต ปี 52

เป้าหมาย ปี 53

ผลผลิต ปี 53

77 360 430

37 673 320

76 692 320

ผลลัพธ์ที่ได้ 1. ประชาชนในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีน้ำสำหรับการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค 2. ประชาชนในพื้นที่ภัยแล้งจำนวน 692 แห่ง มีน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค 3. โรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนน้ำดื่มสะอาด มีน้ำดื่มพอเพียงสำหรับนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 320 แห่ง

43

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

44

2.1.3 ปัญหา อุปสรรค และเงื่อนไขความสำเร็จ : ปัญหา อุปสรรค 1. ระยะเวลาในการดำเนินการค่อนข้างจำกัดต่อ พื้นที่ บางพื้นที่ใช้ระยะเวลาสำรวจและดำเนินการค่อนข้างมาก ทำให้ สิ้นเปลืองงบประมาณและโอกาสพัฒนาในพื้นที่นั้น 2. ภั ย ธรรมชาติ เ ป็ น อุ ป สรรคต่ อ การดำเนิ น การสำรวจและเจาะบ่อบาดาล ทำให้เกิดความล่าช้า เงื่อนไขความสำเร็จ 1. ความร่วมมือของบุคลากรของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ทำให้เกิดความสำเร็จผลของโครงการ 2. ประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานราชการประสานความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ทำให้เกิด ความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ 1. เร่งรัดการประสานงานระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 2. จัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรในการดำเนินโครงการสำรวจและพัฒนาบ่อบาดาล เพื่อให้เกิดความชำนาญในพื้นที่ภัยแล้ง

44

2.2 โครงการแก้ ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ประสบอุทกภัย 2.2.1 สาระสำคัญ : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ดำเนินการโครงการสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อแก้ไข ปัญหาความขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคตามนโยบายของภาครัฐซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 รัฐบาลได้จัดสรร งบประมาณตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ให้กรมฯดำเนินการโครงการแก้ไขและสนับสนุนการจัดหา น้ ำ บริ โ ภคอุ ป โภคจำนวน 2 โครงการ ได้ แ ก่ โครงการสำรวจและพั ฒ นาแหล่ ง น้ ำ บาดาลเพื่ อ สนั บ สนุ น น้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ จำนวน 339 แห่ง และโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ 5 จังหวัด ชายแดนใต้ จำนวน 224 แห่ง จากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น กรมฯ ได้จัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟู ความเสี ย หายที่ เ กิ ด จากผลกระทบของพายุ กิ ส นาและอิ ท ธิ พ ลมรสุ ม ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ในช่ ว งระหว่ า งปี พ.ศ. 2552 2.2.2 ผลการดำเนินงาน : กรมทรั พ ยากรธรณี ดำเนิ น งานทั้ ง 3 โครงการ ได้ ผ ลสั ม ฤทธิ์ ต ามเป้ า หมายที่ ตั้ งไว้ สรุปผลผลิตและผลลัพธ์ดังนี้


45

ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต ปี 52

เป้าหมาย ปี 53

ผลผลิต ปี 53

1. สำรวจและพั ฒ นาแหล่ ง น้ ำ บาดาลเพื่ อ สนั บ สนุ น น้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ 2. แก้ไขปัญหาความยากจนพื้นที่ในพื้นที่ 5 จังหวัด ชายแดนใต้ 3. ให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดจาก ผลกระทบของพายุ กิ ส นา และอิ ท ธิ พ ลมรสุ ม ตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2552

แห่ง แห่ง จังหวัด

– – –

339 224 30

339 224 30

ผลลัพธ์ที่ได้ 1. โรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนน้ำดื่มสะอาด มีน้ำดื่มพอเพียงสำหรับนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา 2. ประชาชนได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์

45

2.2.3 ปัญหา อุปสรรค และเงื่อนไขความสำเร็จ : ปัญหา อุปสรรค 1. เนื่องจากพื้นที่มีความยากต่อการเข้าถึง จากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้ เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐ เงื่อนไขความสำเร็จ 1. ความร่ ว มมื อ ของประชาชนและ เจ้าหน้าที่รัฐ สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้ อย่างรวดเร็ว 2. บุคลากรของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีความเข้าใจต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้การดำเนินงานเป็นไป อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว 2.2.4 ข้อเสนอแนะ : 1. เร่ ง รั ด การวางแผน เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 2. จั ดให้ มี ก ารพั ฒ นาบุ ค ลากรของรั ฐใน การดำเนินงาน แก้ไขปัญหาต่างๆ เมื่อเกิดสถานการณ์ ฉุกเฉิน ในพื้นที่เสี่ยง

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

หน่วยนับ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก


46

2.3 โครงการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศ 2.3.1 สาระสำคัญ : แหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นแหล่งเก็บกักน้ำธรรมชาติในพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อวิถีการดำรง ชีวิตของผู้คน พืช และสัตว์ ทั้งทางนิเวศวิทยาและสังคมในระดับท้องถิ่น ปัจจุบันแหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำมีสภาพ เสื่อมโทรม พื้นที่ถูกบุกรุกเพื่อใช้ประโยชน์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอุทกวิทยาและระบบนิเวศ ส่งผลให้เกิด ปัญหาตื้นเขิน คุณภาพน้ำเน่าเสีย ปริมาณสัตว์น้ำและสัตว์อื่นๆ ที่อาศัยลดลง ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและคุณภาพ ชีวิตของผู้คนในพื้นที่

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลผลิตและผลลัพธ์

46

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

หน่วยนับ

ผลผลิต ปี 52

เป้าหมาย ปี 53

ผลผลิต ปี 53

1. อนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟูแหล่งน้ำ 2. ศึกษาศักยภาพความเหมาะสม สำรวจออกแบบ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น 3. ประยุกต์และพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่ชุ่มน้ำ

แห่ง แห่ง โครงการ

705 – –

1,771 3 1

1,888 3 1

ผลลัพธ์ที่ได้ 1. มีน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำ เพิ่มขึ้น 2. มีปริมาณความจุ (แก้มลิง) ในแหล่งน้ำ/พื้นที่ชุ่มน้ำ เพิ่มขึ้น (กรณี หนอง บึง ทะเลสาบน้ำจืด) 3. มีอัตราการระบายน้ำของแม่น้ำ ลำคลอง เพิ่มขึ้น (กรณี แม่น้ำ ลำคลอง) 4. มีน้ำคุณภาพเหมาะสม มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศแหล่งน้ำ/พื้นที่ชุ่มน้ำ 5. มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพิ่มขึ้น 6. รักษาและป้องกันการบุกรุกครอบครองพื้นที่แหล่งน้ำ/พื้นที่ชุ่มน้ำ 7. ความพร้อมของโครงการที่ได้จากการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อเตรียมเสนอเข้าแผนปฏิบัติงานประจำปี 8. มีฐานข้อมูลและโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ในการวางแผนและประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

47

2.4 โครงการโครงการก่อสร้างระบบส่งน้ำผันน้ำปิง - ลำน้ำยม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย 2.4.1 สาระสำคัญ : โครงการก่อสร้างระบบส่งน้ำผันน้ำปิง – ลำน้ำยม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำและ บรรเทาอุ ท กภั ยในเขตอำเภอคี รี ม าศ จั ง หวั ด สุ โ ขทั ย จั ด หาน้ ำ เพื่ อ การอุปโภค – บริโภค และการเกษตร สำหรับราษฎรในพื้นที่อำเภอ คีรีมาศและอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ผันน้ำจากแม่น้ำปิงสู่แม่น้ำยม โดยผ่านคลองสาระบบและคลองพระร่วง โดยการก่อสร้างฝายน้ำล้น ในเขตอำเภอคีรีมาศ จำนวน 3 แห่ง ขุดลอกคลองสาระบบ จำนวน 2 ช่วง รวมความยาว 3,500 เมตร พร้อมก่อสร้างท่อเหลี่ยมคอนกรีต เสริมเหล็ก จำนวน 4 แห่ง งบประมาณทั้งหมด 58,000,000 บาท

47 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.3.2 ผลการดำเนินงาน : 1. ดำเนินการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟูแหล่งน้ำ จำนวน 1,888 แห่ง 2. ศึกษาศักยภาพความเหมาะสม สำรวจออกแบบ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โครงการ อนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำ จำนวน 3 แห่ง 3. ประยุกต์และพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่ชุ่มน้ำ จำนวน 1 โครงการ 2.3.3 ปัญหา อุปสรรค และเงื่อนไขความสำเร็จ : 1) ปัญหา อุปสรรค - มีการบุกรุกและมีการต่อต้าน คัดค้าน จากผู้ที่บุกรุกอยู่ก่อนแล้ว - ไม่มีหมุดหลักเขตหรือหมุดหลักเขตสูญหาย ไม่ชัดเจนและยากต่อการค้นหา 2) เงื่อนไขความสำเร็จ - การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ - มีกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมาตรการ สำหรับการอนุรักษ์ ปรับปรุงและฟื้นฟู แหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ 2.3.4 ข้อเสนอแนะ : 1. การดำเนินโครงการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศ ควรมีการศึกษาศักยภาพ ความเหมาะสม ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น วางโครงการ จัดลำดับความสำคัญ สำรวจออกแบบ ประมาณการ จัดทำแผน งบประมาณ เป็นระบบลุ่มน้ำตามลำดับความสำคัญของลุ่มน้ำด้วย 2. รัฐบาลต้องให้ความสำคัญต่อแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบทั้งประเทศ โดยให้ ห น่ ว ยงานที่ มี อ ำนาจหน้ า ที่ แ ละภารกิ จ เกี่ ย วกั บ การบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรน้ ำ จั ด ทำแผนเชิ ง กลยุ ท ธ์ ที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ประกอบการจัดตั้งงบประมาณ 3. แหล่งน้ำธรรมชาติและพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับต่างๆ ควรมีการกำหนดหน่วยงาน ที่รับผิดชอบให้ชัดเจน


48

2.4.2 ผลการดำเนินงาน : สัญญาก่อสร้าง เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2552 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 14 เมษายน 2554 รวมทั้งสิ้น จำนวน 540 วัน โดยผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 กันยายน 2553 คิดเป็นร้อยละ 99 ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

หน่วยนับ

ผลผลิต ปี 52

เป้าหมาย ปี 53

ผลผลิต ปี 53

โครงการก่อสร้างระบบส่งน้ำ ผันน้ำปิง – ลำน้ำยม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย

โครงการ

1

1

ผลลัพธ์ที่ได้

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1. เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภค สาธารณูปโภค และการเกษตรแก่ราษฎรในพื้นที่ 2. รักษาระบบนิเวศน์แหล่งน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ 3. บรรเทาปัญหาภัยแล้ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 16,500 ไร่ 4. บรรเทาปัญหาอุทกภัยพื้นที่ราบลุ่ม บริเวณคลองสาระบบและคลองพระร่วง 5. เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของชุมน

48


49 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

49

ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความมั่นคงของระบบนิเวศเพื่อตอบสนองการพัฒนายั่งยืน 3.1 โครงการพั ฒนาบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ 3.1.1 สาระสำคัญ : กรมอุ ท ยานแห่ ง ชาติ สั ต ว์ ป่ า และพั น ธุ์ พื ช ได้ ด ำเนิ น การจั ด ทำโครงการบริ ห ารจั ด การ ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นโครงการต่อเนื่องระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2551-2554) โดยในระยะเริ่มต้นโครงการ พ.ศ. 2551 ประกอบด้วย โครงการวิจัยจำนวน 29 เรื่อง และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ดำเนินการศึกษาวิจัยจำนวน 15 โครงการวิจัย ทั้งนี้บางโครงการได้ดำเนินการศึกษาวิจัยสิ้นสุดแล้ว ขอบเขตการศึกษาวิจัยของโครงการวิจัยทั้งหมดครอบคลุมบริบทของความหลากหลายทางชีวภาพในมิติต่างๆ ในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพในระดับระบบนิเวศ ชนิดพันธุ์ และพันธุกรรมของ พืช สัตว์ แมลง เห็ดรา และจุลินทรีย์ รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยผืนป่าแก่งกระจานเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่ ประมาณ 2.9 ล้านไร่ ประกอบด้วยหน่วยงานหลักที่สำคัญ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี 3.1.2 ผลการดำเนินงาน : 1. ดำเนินการรวบรวมฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และแปลภาพถ่ายดาวเทียม บริเวณพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat ในปี 2543, 2547, 2549, 2550, 2551, 2552 และภาพถ่ายดาวเทียม SPOT ปี 2549 2. ดำเนินการสำรวจทรัพยากรป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน จำนวน 267 clusters สามารถแบ่งลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็นประเภทหลัก เช่น พื้นที่ป่าฟื้นฟู ตามธรรมชาติ ป่าเสื่อมโทรม หรือพื้นที่เกษตร รวมถึงได้มีการนำเข้าข้อมูลด้านทรัพยากรป่าไม้จากพื้นที่จำนวน 247 clusters เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล 3. ดำเนินการสำรวจสถานภาพสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีการสำรวจพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (จำนวน 47 ชนิด) สัตว์เลื้อยคลาน (จำนวน 18 ชนิด) นก (จำนวน 505 ชนิด) ผีเสื้อกลางวัน (จำนวน 289 ชนิด) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (จำนวน 49 ชนิด) ปลา (จำนวน 97 ชนิด) พบว่าสัตว์ป่าที่อยู่ ในสถานภาพหายากและใกล้ สู ญ พั น ธุ์ ตาม IUCN Red List มีจำนวนประมาณ 558 ชนิด เช่น จระเข้น้ำจืด สมเสร็จ เสือโคร่ง วัวแดง นกเงือกกรามช้างปากเรียบ เป็นต้น 4. ดำเนินการสำรวจความหลากหลายของเห็ดรา ในพื้ น ที่ ก ลุ่ ม ป่ า แก่ ง กระจานสามารถจำแนกชนิ ด เห็ ด ราจำนวน 45 วงศ์ 96 สกุล และ 135 ชนิด โดยจัดอยู่กลุ่มที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มราเมือก (Myxomycotina) กลุ่ม Ascomycotina, กลุ่ม Basidiomycotina


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

50

5. ดำเนินการสำรวจและเก็บข้อมูลด้านสภาพเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศรอบชุมชน หมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 3 หมู่บ้าน ในจังหวัดราชบุรี 6. ดำเนินการสำรวจชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชป่ามีค่าหายาก ใกล้สูญพันธุ์และมีค่า ทางเศรษฐกิจในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน 7. การเผยแพร่ผลงานวิจัยและเอกสารทางวิชาการ เช่น การจัดทำหนังสือความหลากหลาย ของผลการสำรวจในกลุ่มป่าแก่งกระจาน เผยแพร่กิจกรรมสัปดาห์นับช้างป่าในรายการคนละไม้คนละมือทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส นำเสนอในนิทรรศการเรื่องภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์พรรณพืชของชาวกะหร่างในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ในนิทรรศการมหกรรมทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นประจำปี 2553 ฯลฯ ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต เป้าหมาย ผลผลิต หน่วยนับ ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก ปี 52 ปี 53 ปี 53 กิจกรรมบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการ 28 15 15 ผลลัพธ์ที่ได้ ฐานข้อ มูลชนิดพันธุ์พืช แมลง เห็ด รา และจุลินทรีย์ ในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน 3.1.3 ปัญหา อุปสรรค และเงื่อนไขความสำเร็จ 1) ปัญหา อุปสรรค 1.1 บางพื้นที่ในผืนป่าแก่งกระจานมีความเหมาะสมสำหรับคัดเลือกเพื่อการศึกษาวิจัย ในบางโครงการ แต่ไม่สามารถเข้าดำเนินการสำรวจได้ เนื่องจากขาดระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็น เช่น กระแสไฟฟ้า 1.2 เนื่องจากการดำเนินงานตามโครงการวิจัยในปีที่ 2 และ 3 ได้รับการสนับสนุนเครื่องมือ และอุปกรณ์ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมือค่อนข้างเก่าและด้อยประสิทธิภาพ ซึ่งการศึกษาวิจัย ในบางโครงการ เช่น ด้านสัตว์ป่ามีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การเก็บข้อมูลที่ทันสมัย เช่น กล้องดักถ่าย เป็นต้น 1.3 ข้อมูลด้านภาพถ่ายดาวเทียมมีข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพถ่ายจากดาวเทียม THEOS ซึ่งให้รายละเอียดข้อมูลสูง แต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ศึกษาวิจัย 1.4 แนวเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์บางแห่งที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดทำ ในระบบ GIS ยังมีความคลาดเคลื่อนทำให้การกำหนดขอบเขตการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินตามโครงการวิจัย มีความคลาดเคลื่อนตามไปด้วย 1.5 การศึกษาวิจัยในบางโครงการจำเป็นต้องอาศัยนักวิจัยที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน เช่น การวิเคราะห์หรือจำแนกชนิดพันธุ์พืช แมลง เห็ดรา และจุลินทรีย์ ต้องใช้ตำราเอกสารอ้างอิง ด้านอนุกรมวิธาน ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่น้อยในบางครั้งต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศหรือส่งตัวอย่างไปยังสถาบัน หรือองค์กรต่างประเทศ 1.6 การแยกเชื้อราทำลายแมลงและแมงมุมหลายชนิดที่จำเป็นต้องพัฒนาเทคนิคและขั้นตอน การดำเนินการที่ซับซ้อนใช้เวลานานกว่าวิธีการปกติ เนื่องจากมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์สูงมาก 1.7 บุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะสาขา เช่น ด้านพฤกษศาสตร์ แมลง เห็ดรา หรือจุลินทรีย์ มีจำนวนจำกัด ทำให้การดำเนินงานด้านการวิเคราะห์ตรวจสอบและจำแนกชนิดพันธุ์ ใช้ระยะเวลานาน ต้องอาศัยความทุ่มเท

50


51 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

51

1.8 บุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้ช่วยนักวิจัยไม่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมการสร้าง สมรรถนะและทักษะในการดำเนินการวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทำให้ปฏิบัติงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ 2) ข้อเสนอแนะ 2.1 ควรให้มีการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพในทุกด้าน ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้กลยุทธหนึ่งของนโยบาย มาตรการ และแผนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลาย ทางชีวภาพอย่างยั่งยืนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.2 สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาวิจัยให้ครอบคลุมทุกมิติของการดำเนินงานด้านความ หลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของความหลากหลายทาง ชีวภาพตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2.3 ในสถานการณ์ที่งบประมาณของการดำเนินงานตามโครงการฯ ถูกปรับลด ควรจะต้อง มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการวิจัยทั้งหมดในภาพรวม โดยเน้นโครงการวิจัยที่มีความสำคัญให้ผลการศึกษา วิจัยที่เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญต่อการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของผืนป่าแก่งกระจาน รวมถึง บางโครงการที่มีการศึกษาวิจัยในเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันอาจรวมเป็นโครงการวิจัยเดียวกัน 2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ มีการเผยแพร่องค์ความรู้จากผลงานการศึกษาวิจัยตาม โครงการวิจัยต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการนำข้อมูลและความรู้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้มีการเผยแพร่ใน รูปแบบต่างๆ เช่น เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ 2.5 สนับสนุนและส่งเสริมให้ บุคลากรด้านวิจัยได้มีโอกาสเสริมสร้างสมรรถนะและ ทักษะด้านการศึกษาวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยให้มี โอกาสได้เข้าร่วมประชุม สัมมนา หรือฝึกอบรมทางด้าน ความหลากหลายทางชีวภาพ 2.6 สนับสนุนและส่งเสริมให้ บุคลากรนักวิจัยในหน่วยงานภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากสำนั ก บริ ห ารพื้ น ที่ อ นุ รั ก ษ์ ได้ มี โ อกาสเข้ า ร่ ว ม โครงการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะ ช่วยให้การดำเนินงานศึกษาวิจัยในภาคสนามเป็นไปอย่าง คล่ อ งตั ว สะดวก รวดเร็ ว ประหยั ด งบประมาณ อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะด้านวิจัย ให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ 2.7 ในปีสุดท้ายของการดำเนินการโครงการฯ (พ.ศ. 2554) ควรให้มีการจัดประชุมเพื่อ เผยแพร่ผลงานการศึกษาไปสู่สาธารณะ เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือการดำเนินงานด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพในระดับชาติ รวมถึงมีการประชุมหารือระดมความคิดเห็นในการปรับปรุงพัฒนายุทธศาสตร์ในการ ดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้เป็นปัจจุบัน


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

52

3.2 โครงการพัฒนาบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ 3.2.1 สาระสำคัญ : กรมป่ าไม้ จ ำเป็ น ต้ อ งมี ร ะบบสารสนเทศด้ า นความ หลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าไม้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่ อยู่ห่างจากป่าระยะทาง 3 กิโลเมตร สำหรับประกอบการพิจารณาบริหาร จัดการพื้นที่ป่าไม้ให้ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการปกป้องดูแล ใช้ ป ระโยชน์ อ ย่ า งเป็ น ธรรมและยื น นาน จึ ง ต้ อ งสำรวจข้ อ มู ล ความ หลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าไม้ โดยการมีส่วนร่วมของชาวบ้านผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย 3.2.2 ผลการดำเนินงาน สำรวจและจั ด ทำฐานข้ อ มู ล ความหลากหลายทาง ชีวภาพ 5 ด้าน ได้แก่ พืช สัตว์ แมลง ไลเคน เห็ดรา ในพื้นที่ป่าไม้ 10 แห่ง ในเขตปกครอง 9 จังหวัด ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต เป้าหมาย ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก หน่วยนับ ปี 52 ปี 53 แห่ง 10 20 โครงการอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นาความหลากหลายทาง ชีวภาพ กิจกรรมหลั กจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทาง ชีวภาพ ผลลัพธ์ที่ได้ ฐานข้อ มูลความหลากหลายทางชีวภาพกลุ่มพืช สัตว์ แมลง เห็ดรา ไลเคน ในพื้นที่ป่าไม้ จำนวน 12 แห่ง 3.2.3 ปัญหา อุปสรรค และ เงื่อนไขความสำเร็จ 1) ปัญหา อุปสรรค - งบประมาณที่ ไ ด้ รั บ อนุ มั ติ ไ ม่ ส อดคล้ อ งกั บ เป้าหมาย ผลผลิตปี 2553 จึงต่ำกว่าเป้าหมาย - การถ่ายทอดความรู้ในการสำรวจความหลากหลาย ทางชีวภาพ สู่ชาวบ้านต้องใช้วิธีเฉพาะด้านที่เหมาะสมแต่ละถิ่น 2) เงื่อนไขความสำเร็จ - ความศรัทธาและเชื่อมั่นที่ชาวบ้านมีต่อเจ้าหน้าที่ ผู้เกื้อกระบวนการ 3) ข้อเสนอแนะ - ควรจัดตั้งหน่วยงานกลางเป็นคลังข้อมูลความ หลากหลายทางชีวภาพในระดับประเทศ

52

ผลผลิต ปี 53 2


53 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

53

3.3 การสำรวจประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ 3.3.1 สาระสำคัญ : ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประกอบด้วยระบบนิเวศที่มีความซับซ้อนหลายแบบ เช่น ระบบ นิเวศแนวปะการัง หญ้าทะเล ป่าชายเลน สัตว์ทะเลชนิดต่างๆ สัตว์ทะเลหายาก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในด้านความ หลากหลายทางชีวภาพอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับในปัจจุบันมีความเสื่อมโทรมมาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ทั้งจาก บนชายฝั่งทะเลและในทะเล การสำรวจประเมินสถานภาพและศักยภาพอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นในการเป็น ข้อมูลฐานการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ ประโยชน์ในการบริหารจัดการส่งเสริมรณรงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป 3.3.2 ผลการดำเนินงาน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง และ ป่าชายเลนได้ดำเนินการกิจกรรมสำรวจประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมสำรวจประเมิน ความหลากหลายทางชีวภาพ และกิจกรรมบริหารจัดการฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ สรุปดังนี้ - กิจกรรม : สำรวจ ประเมินสถานภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประกอบด้วย 5 โครงการ ดำเนินการจัดฝึกอบรม สัมมนา เผยแพร่การอนุรักษ์ทรัพยากรให้กับบุคลากรของกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ประกอบด้วยบุคลากรจากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน และศูนย์วิจัยฯ ทั้ง 4 แห่ง (จังหวัดระยอง สมุทรสาคร ชุมพร และสงขลา) รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดสรุปได้ดังนี้ 1) ประชุ ม วิ ช าการวิ ท ยาศาสตร์ ท างทะเล 2553 “ความหลากหลายทางชี ว ภาพทะเลไทย : อุ ป สรรคและโอกาส” ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2553 ณ โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ ภูเก็ต มีผู้เข้าร่วมประชุม 469 คน การประชุมครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาส ให้บุคลากรที่ดำเนินการศึกษาวิจัยในหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการพั ฒ นาแนวทางการศึ ก ษาวิ จั ย สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันรวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2) อบรมพัฒนาบุคลากรทางเทคนิค จำนวน 3 ครั้ง ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย ดังนี้ 2.1 โครงการฝึ ก อบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารการจำแนกชนิ ด แพลงก์ ต อนสั ต ว์ ก ลุ่ ม กุ้ ง เคย ระหว่างวันที่ 22 – 26 มีนาคม 2553 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 32 คน 2.2 โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการจำแนกชนิดวาฬและการจัดการสัตว์ทะเลหายาก เกยตื้น ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2553 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัยพากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 38 คน 2.3 โครงการวิเคราะห์ข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ เรื่องการใช้งานซอฟต์แวร์ Grapher 8 และSurfer 9 ระหว่างวันที่ 24 -26 มิถุนายน 2553 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 35 คน


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

54

3) อบรมเชิงปฏิบัติการจำแนกสิ่งมีชีวิตทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3.1 โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการจำแนกชนิดปูน้ำเค็ม ระหว่างวันที่ 22 – 25 กุมภาพันธ์ 2553 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาฯ มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 35 คน 3.2 โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการจำแนกชนิดหอยฝาเดียว ระหว่างวันที่ 15 – 18 มีนาคม 2553 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาฯ มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 31 คน 4) อบรมเชิงปฏิบัติการฐานข้อมูลความหลากหลายทาง จำนวน 1 ครั้ง ให้กับบุคลากร ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา และองค์การพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นต้น ระหว่างวันที่ 2 – 5 กุมภาพันธ์ 2553 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาฯ มีผู้เข้ารับ การอบรมจำนวน 41 คน วัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางความร่วมมือด้านพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา งานฐานข้อมูล การจัดแสดงนิทรรศการกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย รวมทั้งฐานข้อมูล ได้รับการวางแนวทาง ในมาตรฐานเดียวกันสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ในอนาคต จัดทำฐานข้อมูลปะการัง หญ้าทะเล และสัตว์ทะเลหายาก ของ สวพ. ภูเก็ต และศูนย์วิจัยฯ 4 แห่ง ให้เป็น มาตรฐานเดียวกัน 5) ค่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเล จำนวน 3 ครั้ง โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อให้ นั ก เรี ย นที่ เ ข้ า รั บ การอบรมมี ค วามรู้ ความเข้ าใจ ถึ ง ประโยชน์ แ ละความสำคั ญ ของระบบนิ เ วศทางทะเลและชายฝั่ ง สร้ า งการมี ส่ ว นร่ ว มของชุ ม ชนในพื้ น ที่ ใ นการอนุ รั ก ษ์ ทรั พ ยากรทาง ทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ของตนเอง โดยดำเนินการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ ทางทะเลใน 2 พื้นที่ คือ จังหวัดชุมพรและภาคตะวันออก ผลการศึกษา มีดังนี้ 5.1 ค่ า ยวิ ท ยาศาสตร์ ท างทะเลครั้ ง ที่ 1 ระหว่ า งวั น ที่ 20-22 มกราคม 2553 ณ ทรายรีบีช คาบาน่า ต. หาดทรายรี อ. เมือง จ. ชุมพร โดยมีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จากโรงเรียนในพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1 และ เขต 2 รวม 42 คน 5.2 ค่ า ยวิ ท ยาศาสตร์ ท างทะเลครั้ ง ที่ 2 ระหว่ า งวั น ที่ 10-12 มี น าคม 2553 ณ ทรายรีบีชคาบาน่า ต. หาดทรายรี อ. เมือง จ. ชุมพร โดยมีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จากโรงเรียนในพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1 และเขต 2 รวม 43 คน 5.3 ค่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเลครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม - 2 เมษายน 2553 ณ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออกและเกาะมันใน โดยมีผู้ผ่านการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 55 คน จาก 23 โรงเรียน - สำรวจสถานภาพและคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศที่สำคัญ ดำเนินการศึกษาติดตามประเมินผลกระทบทางเคมีและสกายะต่อระบบนิเวศฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณแนวหญ้าทะเลจังหวัดกระบี่ บริเวณแนวปะการังอ่าวป่าตอง เกาะราชา จังหวัดภูเก็ต จำนวน 76 สถานี ศึกษาวิเคราะห์การเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนและอ่าวไทยตอนกลาง จำนวน 240 สถานี ศึกษาวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเลบริเวณปากอ่าวมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ปากทะเลสาบสงขลา และปากแม่น้ำสำคัญบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จำนวน 138 สถานี สำรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล ในระบบนิ เ วศสำคั ญ บริ เ วณอ่ า วไทยตอนกลาง จำนวน 180 สถานี สำรวจคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มทางทะเล

54


55 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

55

ในแหล่งปะการังบริเวณหมู่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จำนวน 20 สถานี ศึกษารูปแบบและอัตราการตกตะกอนของดิน ที่เกิดจากการก่อสร้างแนวไม้ไผ่เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจำนวน 4 ครั้ง - ศึกษา ติดตาม ตรวจสอบสถานภาพและฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง - ดำเนินการศึกษา ติดตาม ตรวจสอบสถานภาพและฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณอ่าวไทยและอันดามัน เพื่อสำรวจประเมินสถานภาพและศักยภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเป็นข้อมูลฐานการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 1) ศึกษาและติดตามตรวจสอบสถานภาพแนวปะการัง บริเวณฝั่งทะเลอันดามันครอบคลุม พื้นที่ 4,985 ไร่ บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออกครอบคลุมพื้นที่ 8,175 ไร่ อ่าวไทยตอนกลางครอบคลุมพื้นที่ 2,000 ไร่ นอกจากนี้มีโครงการฟื้นฟูความสมบูรณ์ของแนวปะการังที่เสื่อมโทรมในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน ในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก อ่าวไทยตอนกลาง และอ่าวไทยตอนล่าง ให้กลับสู่ความสมบูรณ์อีกครั้ง 2) ศึกษาและติดตามตรวจสอบสถานภาพหญ้าทะเล บริเวณฝั่งทะเลอันดามันครอบคลุมพื้นที่ 26,327 ไร่ บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออกครอบคลุมพื้นที่ 10,000 ไร่ อ่าวไทยตอนกลางครอบคลุมพื้นที่ 6,645 ไร่ และอ่าวไทยตอนล่างบริเวณอ่าวปัตตานีครอบคลุมพื้นที่ 1,700 ไร่ และสถาบันวิจัยและพัฒนาฯ ได้ดำเนินโครงการ ฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลโดยวิธีการศึกษาฤดูกาลสืบพันธุ์ของหญ้าทะเลบริเวณฝั่งทะเลอันดามันจำนวน 13 ครั้ง ศึกษา การย้ายปลูกหญ้าทะเลบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จำนวน 3 ครั้ง 3) ศึกษาและติดตามตรวจสอบสถานภาพสัตว์ทะเลหายากบริเวณฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย 4) โครงการจัดการและช่วยเหลือสัตว์ทะเลเกยตื้น บริเวณฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย โดย ฝั่งทะเลอันดามันได้ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลเกยตื้นจำนวน 85 ตัว บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออกจำนวน 42 ครั้ง อ่าวไทย ตอนกลางจำนวน 55 ครั้ง และอ่าวไทยตอนล่างจำนวน 27 ครั้ง โครงการอนุบาลพันธุ์เต่าเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ในน่านน้ำไทยจำนวน 1,099 ตัว ได้ดำเนินการศึกษาเทคโนโลยีชีวภาพการสืบพันธุ์ในเต่าทะเลจำนวน 18 ตัวอย่าง โครงการศึกษาและฟื้นฟูหอยมือเสือบริเวณจังหวัดชุมพรจำนวน 11 ครั้ง และ สวพ. ภูเก็ต ได้ดำเนินโครงการ เพาะขยายพันธุ์สัตว์ทะเลเพื่อการฟื้นฟูจำนวน 6 ชนิด รวม 5,432 ตัว ประกอบด้วย กุ้งทะเลสวยงาม ปะการัง ดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูน ปลาฉลามกบ และแมงกะพรุน คู่มือติดตามการแพร่กระจายของโลมาและวาฬบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน 5) โครงการศึกษาและประเมินสถานภาพทรัพยากรแพลงก์ตอน ลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน และสัตว์ พื้นทะเลในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย โดยฝั่งทะเลอันดามันดำเนินการศึกษาจำนวน 66 สถานี บริเวณ อ่าวไทยฝั่งตะวันออกจำนวน 100 สถานี สำรวจการเปลี่ยนแปลงสัตว์หน้าดินบริเวณพื้นที่ฟื้นฟูชายฝั่งทะเลโดยการ


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

56

ปักไม้ไผ่ จ. สมุทรสาครจำนวน 32 สถานี การสำรวจและศึกษาสัตว์ทะเลหน้าดินในพื้นที่อ่าวไทยตอนในจำนวน 40 สถานี ศึกษาการแพร่กระจายของไดโนแฟลกเจลเลทบริเวณอ่าวไทยตอนกลางจำนวน 90 สถานี ศึกษา ปริมาณการสะสมของสารมลพิษในตะกอนและสัตว์น้ำบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจำนวน 5 ครั้ง ติดตามตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรสัตว์หน้าดินบริเวณโครงการฟื้นฟูป่าชายเลนปากพนัง จ.นครศรีธรรมราชจำนวน 48 สถานี 6) โครงการสำรวจและการแพร่กระจายของกะพรุนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย จำนวน 24 ครั้ง - ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล สถาบันวิจัยและพัฒนาฯ ได้ดำเนินการศึกษา ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลบริเวณฝั่ ง ทะเลอั น ดามั น และอ่ า วไทย โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อให้ ท ราบ องค์ประกอบชนิด ปริมาณความชุกชุมของทรัพยากรทางทะเลซึ่งสามารถใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ระดับความอุดมสมบูรณ์ ของพื้ น ที่ ดั ง กล่ า ว ใช้ เ ป็ น แนวทางในการวางแผนการอนุ รั ก ษ์ แ ละฟื้ น ฟู ท รั พ ยากรทางทะเลบริ เ วณอ่ า วไทย ตอนกลางที่ถูกต้องและยั่งยืนต่อไป การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการในระบบนิเวศที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาความ หลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศป่าชายเลน (เขตสงวนชีวมณฑล จังหวัดระนอง) หญ้าทะเล (บ้านบางเบน จังหวัดระนอง) และปะการัง(พื้นที่แนวปะการังบริเวณฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต) บริเวณฝั่งทะเลอันดามัน ครอบคลุมพื้นที่ 1,167 ไร่ ฝั่งอ่าวไทยดำเนินการศึกษาในพื้นที่เกาะสมุย เกาะพงัน จ. สุราษฎร์ธานี จำนวน 24 ครั้ง เกาะขาม จ. สงขลา จำนวน 3 ครั้ง แหล่งปะการังบริเวณเกาะเสม็ดและอุทยานเขาแหลมหญ้า จ.ระยอง จำนวน 24 สถานี ศึกษาชนิดและการแพร่กระจายของหอยทะเลบริเวณแนวชายฝั่ง จ.ชุมพร จำนวน 8 ครั้ง และศึกษา ความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนในถังน้ำอับเฉาเรือเดินทะเล (ท่าเทียบเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี) จำนวน 8 ครั้ง - สำรวจประเมิ น สถานภาพทรั พ ยากรบริ เ วณลุ่ ม น้ ำ สำคั ญ ดำเนิ น การสำรวจประเมิ น สถานภาพทรัพยากรบริเวณลุ่มน้ำสำคัญเพื่อให้ทราบถึงองค์ประกอบชนิด ความชุกชุม และการแพร่กระจายของ สัตว์น้ำในระบบนิเวศชายฝั่งต่างๆ ของพื้นที่ลุ่มน้ำ สามารถบ่งชี้ระดับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ ในบริเวณลุ่มน้ำคลองท่อม เป็นข้อมูลสำหรับจัดทำแผนที่บ่งชี้สภาวะทรัพยากร (Resource mapping) ต่อไป โดยดำเนินการสำรวจประเมินสถานภาพทรัพยากรสัตว์น้ำครอบคลุมพื้นที่ 1,300 ไร่ สภาพแวดล้อมจำนวน 69 สถานี ในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองท่อม จ.กระบี่ บริเวณปากแม่น้ำ ลุ่มน้ำแม่กลองครอบคลุมพื้นที่ 6,000 ไร่ และ ลุ่มน้ำประแสครอบคลุมพื้นที่ 15,000 ไร่ - สำรวจประเมินสถานภาพทรัพยากรป่าชายเลน โดยสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ดำเนินการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน ได้แก่ พันธุ์ไม้ป่าชายเลน สัตว์หน้าดิน นก แมลง เห็ดรา ปลาที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน ดินและมวลชีวภาพใต้ดิน ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ พังงา (ฝั่งตะวันตกที่ติดต่อกับจังหวัดระนอง) ระนอง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 411,114.43 ไร่ โดยวางแนวสำรวจด้วยวิธี Transect line ตั้งฉากกับลำคลอง ขนาดกว้าง 10 เมตร ความยาว ตลอดแนวป่าชายเลน เพื่อศึกษาโครงสร้างป่าและประเมินศักยภาพในการเก็บกักคาร์บอนและการหมุนเวียน ธาตุอาหารหลัก นำมาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลที่ได้ทำการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2550 - กิจกรรมบริหารจัดการฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วย 2 โครงการ ดังนี้ 1) โครงการติดตามตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล ศึกษาติดตาม ตรวจสอบสภาพ สิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลเพื่อประเมินสถานะภาพคุณภาพน้ำชายฝั่งและมลสาร รวมทั้งสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเล

56


57 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

57

และปัจจัยทางชีวะบางประการในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการควบคุม การจัดการ การแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที โดยได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้อม ชายฝั่งทะเลจำนวน 1,257 สถานี ประกอบด้วยฝั่งทะเลอันดามันจำนวน 607 สถานี บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน (ระนอง-สตูล) จำนวน 21 สถานี เกาะภูเก็ต จ.ภูเก็ต จำนวน 23 สถานี หาดป่าตองจำนวน 13 สถานี อ่าวป่าตอง จำนวน 11 สถานี และ ฝั่งอ่าวไทยจำนวน 650 สถานี (พื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก อ่าวไทยตอนบน อ่าวไทย ตอนกลาง และอ่าวไทยตอนล่าง) ณภาพน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 - กันยายน 2553 สถานะคุ 2) โครงการศึ ก ษาบทบาทของชุ ม ชน ในการจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรระดับท้องถิ่นดำเนินการ ศึกษาบทบาทของชุมชนในการจัดการฐานข้อมูลทรัพยากร ระดั บ ท้ อ งถิ่ นในพื้ น ที่ ช ายฝั่ ง ทะเลอั น ดามั น และอ่ า วไทย จำนวน 67 ครั้ง โดยมี วัต ถุ ป ระสงค์ เพื่อนำภู มิ ปั ญ ญา ท้ อ งถิ่ น มาพัฒนาใช้ในการจัดการฐานข้อมูลทรั พยากรใน ท้ อ งถิ่ น ประโยชน์ ด้ า นการอนุ รั ก ษ์ แ ละบริ ห ารจั ด การ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อส่งเสริมบทบาทของ ชุมชน ในการมีส่วนร่วมในจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรระดับ ท้ อ งถิ่ น ประกอบด้ ว ยการจั ด กิ จ กรรมค่ า ยวิ ท ยาศาสตร์ ชุมชนจำนวน 2 ครั้ง ณ ชุมชนบ้านมู่สา ต.คลองพน


58

อ.คลองท่ อ ม จ.กระบี่ มี ผู้ เ ข้ า ร่ ว มกิ จ กรรม 60 คน โครงการศึกษาการติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรทาง ทะเลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บริเวณบ้านเกาะสาหร่าย จ.สตูล ชุมชน บ้านทุ่งนางดำ จ.พังงา ชุมชนอ่าวป่าคลอก จ.ภู เ ก็ ต ชุ ม ชนโคกขาม จ.สมุ ท รสาคร ชุ ม ชนบริ เ วณ อ่าวทุ่งคา-สวี จ.ชุมพร ชุมชนอ่าวบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี ชุมชนอ่าวขนอม จ.นครศรีธรรมราช และชุมชนลุ่มน้ำประแส จ.ระยอง ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับการสำรวจ ประเมินสถานภาพ

หน่วยนับ

ผลผลิต ปี 52

เป้าหมาย ปี 53

ผลผลิต ปี 53

ไร่

100,000

100,000

100,000

ผลลัพธ์ที่ได้รับ

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยและนำไปใช้ในการบริหารจัดการ

58

3.4 การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่วิกฤต ทางความหลากหลายทางชีวภาพ 3.4.1 สาระสำคัญ : ตั้งแต่ปี 2548 โดยทำการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่เป็น ตัวแทนของทั้ง 7 ระบบนิเวศ ตามโปรแกรมงานของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ ระบบ นิเวศป่าไม้ ภูเขา พื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น แหล่งน้ำในแผ่นดิน ทะเลและชายฝั่ง เกาะ และระบบนิเวศเกษตร ปี 2549 ได้ดำเนินการสำรวจในจังหวัดพิษณุโลกและเพชรบูรณ์ ปี 2550 ดำเนินการในจังหวัดเพชรบุรีและ ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2551 จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี ปี 2552 จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต และในปี 2553 ดำเนินการในจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง และสตูล ทำการสำรวจ 5 ระบบนิเวศ ได้แก่ระบบ นิเวศป่าไม้ แหล่งน้ำในแผ่นดิน ทะเลและชายฝั่ง เกาะ และเกษตร โดยแบ่งพื้นที่ศึกษาสำรวจออกเป็นเขตชายฝั่ง อ่าวไทยในจังหวัดนครศรีธรรมราชตอนบนถึงจังหวัดสงขลา เขตชายฝั่งอันอามันตั้งแต่จังหวัดสตูลถึงรอยต่อ ประเทศมาเลเซียและที่ราบจังหวัดพัทลุง 3.4.2 ผลการดำเนินงาน : - รายงานสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทาง ชีวภาพ พร้อมแผนที่การแบ่งเขตระบบนิเวศ มาตราส่วน 1 : 50,000 - ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพใน ระบบนิเวศที่ศึกษาของจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง และสตูล เผยแพร่ผ่านกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย


ฐานข้อมูล

เป้าหมาย ปี 53

ผลผลิต ปี 53

1 (ระนอง พังงา 1 (นครศรีธรรมราช 1 (นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต) สงขลา พัทลุง สงขลา พัทลุง และ สตูล) และสตูล)

ผลลัพธ์ที่ได้ มีข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย สามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการ การคุ้มครอง การอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เช่น ใช้ประกอบการจัดทำมาตรการ กลไก ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองชนิดพันธุ์ สายพันธุ์และแหล่งที่อยู่อาศัย รวมทั้งนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานอื่นๆ เช่น งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ

3.4.3 เงื่อนไขความสำเร็จ : - ฝ่ายนโยบาย/ฝ่ายบริหารเห็นความสำคัญ ให้การสนับสนุนการดำเนินงานเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยเฉพาะการสำรวจข้ อ มู ล ความหลากหลาย ทางชีวภาพ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานของการอนุรักษ์ความ หลากหลายทางชี ว ภาพ สามารถนำไปใช้ ป ระโยชน์ เ ป็ น ข้ อ มู ล ในภารกิจอื่นๆ ได้ - ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา ประชาชนในพื้นที่ให้ความสำคัญสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ความหลากหลายทางชีวภาพความเชี่ยวชาญประสบการณ์ของนักอนุกรมวิธาน

59

3.5 โครงการสำรวจสถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทหนองบึงน้ำจืดของประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 3.5.1 สาระสำคัญ : ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติ เป็นแหล่งรองรับน้ำ และกั ก เก็ บ น้ ำ ถู ก บุ ก รุ ก ทำลาย และ/หรื อ ถู ก พั ฒ นาเปลี่ ย นแปลงไปใช้ ประโยชน์ รู ป แบบอื่ น ซึ่ ง ปั จ จุ บั น ปั ญ หาเหล่ า นี้ ไ ด้ ท วี ค วามรุ น แรงมากขึ้ น มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ขั้นวิกฤต คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 เห็ น ชอบให้ ท บทวนมติ ค ณะรั ฐ มนตรี วั น ที่ 1 สิ ง หาคม 2543 เรื่องทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ ของประเทศไทย มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำได้กำหนดให้มีการศึกษาสำรวจ พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมทะเบียนรายนาม พื้ น ที่ ชุ่ ม น้ ำ ที่ มี ค วามสำคั ญ ระดั บ นานาชาติ แ ละระดั บ ชาติ จากรายงาน สถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทหนองบึงน้ำจืดในภาคตะวัน ออกเฉีย งเหนื อ

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ

59 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลผลิต

ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต หน่วยนับ ปี 52


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

60

พื้ น ที่ ชุ่ ม น้ ำ ประเภทหนองบึ ง น้ ำ จื ดในภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ มีเนื้อที่ประมาณ 1.3 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.73 ของพื้นที่ชุ่มน้ำ ทั้ ง หมดในภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ พบพั น ธุ์ ไ ม้ น้ ำ อย่ า งน้ อ ย 115 ชนิ ด เป็ น พั น ธุ์ ไ ม้ เ ฉพาะถิ่ น มี แ นวโน้ ม ใกล้ สู ญ พั น ธุ์ ได้แก่ พุดน้ำหรืออินถวาน้ำ ต้นชะโนดพบเฉพาะที่พื้นที่ชุ่มน้ำ คำชะโนด จังหวัดอุดรธานี ต้นไชยวานพบที่หนองไชยวานพบนก 136 ชนิด เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพใกล้ สูญพันธุ์อย่างยิ่งตาม ปลาบึก : Pangasianodon gigas Thailand Red Data (ONEP, 2548) คือ นกกระสาปากเหลือง ที่มารูปภาพ : www.animals.nationalgeographic.com และนกที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ คือ นกอ้ายงั่วและนกกระทุง พบปลาอย่างน้อย 97 ชนิด กลุ่มปลาที่มีความหลากหลายชนิดมากที่สุด ได้แก่ กลุ่ม ปลาตะเพียนและปลาสร้อยขาว พบปลาที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง คือ ปลาบึก ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ คือ ปลาตองลาย สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ปลานวลจันทร์น้ำจืด ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน 3.5.2 ผลผลิตและผลลัพธ์ : ผลผลิต เป้าหมาย ผลผลิต หน่วยนับ ผลผลิต/โครงการ/กิจกรรมหลัก ปี 52 ปี 53 ปี 54 ฐานข้อมูลพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทหนองบึงน้ำจืด ฐานข้อมูล 1 (ภาคตะวันออก 1 (ภาคเหนือ) 1 (ภาคเหนือ) เฉียงเหนือ) ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นข้อ มูลส่วนหนึ่งที่ใช้ประกอบในการวางแผน กำหนดนโยบาย มาตรการในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน อีกทั้งยั งเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ดูแลรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำของตน เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำ แหล่งอาหารได้อย่าง ยั่งยืน รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับประกอบการพิจารณาเพื่อปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับ นานาชาติและระดับชาติ รวมทั้งนำเสนอขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือแรมซาร์ ไซต์ 3.5.3 และเงื่อนไขความสำเร็จ : - ความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ ประสิท ธิ ภาพในการสื่อสาร การถ่ ายทอดความรู้ ความเข้าใจสู่ชุมชน - ความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ - ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ของนักอนุกรมวิธาน

60


61 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

61

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการพิบัติภัย พัฒนาระบบเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ และกลไกการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน 4.1 โครงการเตรี ยมความพร้อมเพื่อรับมือและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและธรณีวิทยา 4.1.1 สาระสำคัญ : กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการสำรวจ ศึกษา วิจัย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจ ส่งผลให้เกิดธรณีพิบัติภัย โดยมุ่งเน้นการศึกษาปัจจัยทางธรณีวิทยาที่อาจมีผลต่อข้อมูลการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ ทะเลของไทย การศึกษาธรณีวิทยาชั้นตะกอนและวิศวกรรมของชั้นดิน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับของจุดที่ตั้ง มาตรวัดระดับน้ำขึ้นน้ำลง การศึกษาและประเมินผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่อ่อนไหวมีความเสี่ยงที่ จะได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล อันสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อหา แนวทางหรือมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งการเผยแพร่ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ อีกทั้งดำเนินการสำรวจและศึกษาการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเล อันดามัน เพื่อติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ นำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำ แนวทางการประเมินการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลพร้อมจัดทำข้อเสนอแนะ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากร ชายฝั่งในภาพรวมของประเทศ 4.1.2 ผลการดำเนินงาน : 1) จากการสำรวจและศึกษาการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลสัมพัทธ์ (การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำ ทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้อนรวมกับการทรุดตัวของพื้นดิน) บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยศึกษา ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อการเกิดน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ศึกษา สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้ - การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยสัมบูรณ์บริเวณอ่าวไทยตอนบนจากสถานีสัตหีบและ เกาะสีชัง มีค่าเฉลี่ยประมาณ 4 มิลลิเมตรต่อปี บริเวณตะวันตกจากสถานีเกาะหลักและเกาะมัตโพนมีค่าเฉลี่ย ประมาณ 3 มิลลิเมตรต่อปี รูปการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2553


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

62

- จากการวัดค่าความโน้มถ่วงของโลกอย่างละเอียด (Micro-gravity measurement) บนหมุดหลักฐานถาวรชั้นหนึ่ง จำนวน 64 แห่ง ผลการสำรวจ 4 ครั้งในช่วงเวลา 18 เดือน พบว่ามีค่าการ เปลี่ยนแปลงค่า G ทั้งบวกและลบ คิดเป็นค่าการทรุดตัวสูงสุดเท่ากับ 46 เซนติเมตร โดยค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่น้อยกว่า 10 เซนติ เ มตร ซึ่งคาดว่าเกิดจากการเปลี่ ย นแปลงของระดั บ น้ ำใต้ ดิ น รวมกั บ การทรุ ด ตั ว ของพื้ น ดิ น แฝงกั น และจากการสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียมจีพีเอสแบบจุดเดี่ยวความละเอียดสูง (Precise point Positioning Survey; PPP) โดยติดตั้งหมุดหลักฐานอ้างอิงพิกัดภูมิศาสตร์ จำนวน 10 หมุด ผลการศึกษาที่ได้จะนำไปใช้เป็น ข้อมูลฐานเพื่อเปรียบเทียบแสดงพฤติกรรมการเคลื่อนตัวทางดิ่งของหมุดหลักฐานในอนาคต - ดำเนินการศึกษาสภาวะโลกร้อนในอดีตจากหลักฐานทางธรณีวิทยาที่สะสมอยู่ในชั้นตะกอน ประกอบด้วยการศึกษาลักษณะตะกอน ซากบรรพชีวิน การหาอายุด้วยกรรมวิธีคาร์บอน 14 โดยการเจาะ สำรวจ จากการศึกษาชั้นตะกอนจากบ่อดิน เพื่ออธิบายสภาวะแวดล้อมของการสะสมตัวและวิวัฒนาการทางธรณี สัณฐานของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทยที่สัมพันธ์กับการลุกล้ำและถดถอยของระดับน้ำทะเลใน ยุคควอเทอร์นารี - จัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำทะเลท่วมจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลสัมพัทธ์ในอนาคต และประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐศาสตร์ - ดำเนิ น การเผยแพร่ ป ระชาสั ม พั น ธ์ โ ครงการ “เยาวชนไทยลดธรณี พิ บั ติ ภั ยโลกร้ อ น” โดยการฝึกอบรม 5 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมทั้งสิ้น 611 คน และได้จัดประชุมสัมมนาเรื่อง “กรมทรัพยากรธรณี กับภารกิจโลกร้อน” เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2553 ณ โรงแรมวังธารา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีผู้เข้าร่วม สัมมนารวมทั้งสิ้น 516 คน 2) จากการสำรวจและศึกษาการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยและ อันดามัน โดยรวบรวม สำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นและข้อมูลผลการติดตามตรวจสอบสถานภาพธรณีสัณฐาน ชายฝั่งทะเลด้านต่างๆ ประกอบด้วย ข้อมูลเส้นแนวชายฝั่งทะเล การประเมินสถานภาพการเปลี่ยนแปลงแนว ชายฝั่ง ข้อมูลการสำรวจรังวัดวางหมุดหลักฐานบริเวณชายฝั่งทะเล ข้อมูลตำแหน่งสิ่งก่อสร้างป้องกันชายหาดบริเวณ ชายฝั่ ง ทะเล บริ เ วณจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ชุ ม พร และประจวบคี รี ขั น ธ์ ข้ อ มู ล ลั ก ษณะธรณี สั ณ ฐานชายฝั่ ง ธรณีวิทยาพื้นท้องทะเล ข้อมูลสมุทรศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและชุมพร โดยใช้ข้อมูลลักษณะธรณี สัณฐานชายฝั่งตั้งแต่บ้านคันธุลีถึงคลองบางม่วง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ระยะทางตามแนวชายฝั่ง ประมาณ 14 กิโลเมตร มาจัดทำภาพตัดข้างชายหาด ซึ่งจะแสดงลักษณะธรณีสัณฐานชายหาดในช่วงฤดูมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งยังรวบรวม สำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะตะกอนชายหาด ข้อมูลลักษณะธรณีสัณฐาน ชายฝั่ ง ทะเลและบริเวณพื้นที่วิกฤตจากการเปลี่ ย นแปลงธรณี สั ณ ฐานชายฝั่ ง ทะเล จำนวน 3 พื้ น ที่ ได้ แ ก่ 1) บ้านปากน้ำท่ากระจายถึงคลองบางม่วง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี 2) บริเวณคลองดวด ตำบลสวนแตง อำเภอละแม ถึงเขาคอเขา ตำบลนางพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 3) บริเวณอ่าวมะค่า ตำบลห้วยทราย ถึงหาดคลองวาฬ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

62 พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำทะเลท่วมจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลสัมพัทธ์


ผลผลิตและผลลัพธ์

แห่ง 1. ข้อมูลเบื้องต้นด้านผลกระทบและความเสี่ยงจาก การเพิ่ ม ขึ้ น ของระดั บ น้ ำ ทะเล สื บ เนื่ อ งจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเล แห่ง 2. สถานภาพการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล บริเวณต่างๆ ทั่วประเทศ ฐานข้อมูลการเปลี่ยนแปลง ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลของประเทศที่ได้รับการ ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. แนวทางการลดผลกระทบของชุมชนชายฝั่งทะเลต่อ แนวทาง ธรณีพิบัติภัยบริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นพื้นที่วิฤกต มาตรการ แผน

ผลผลิต ปี 52

เป้าหมาย ปี 53

ผลผลิต ปี 53

1 2 2

1 2 2

1 2 2

ผลลัพธ์ที่ได้

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

หน่วยนับ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

63

1. การจัดทำแนวทางการบริหารจัดการ วางแนวทางแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากน้ำทะเลท่วมบนพื้นฐานของการประยุกต์ใช้ข้อมูล ทางธรณีวิทยา และคุณสมบัติทางวิศวกรรมของชั้นดิน 2. ข้อมูลเบื้องต้นด้านผลกระทบและความเสี่ยง จากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเล พร้อมทั้งมาตรการหรือแผนแม่บทการจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล เพื่อป้องกัน รักษา ลดผลกระทบ หรือปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3. ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีเครือข่าย/กลไกเพื่อบูรณาการ ความร่วมมือทุกภาคส่วนในการที่จะรับมือจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4. พื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ได้รับการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินสถานภาพ และจัดทำแนวทางการลด ผลกระทบต่ อ ชุ ม ชนชายฝั่ ง บนพื้ น ฐานของวิ ช าการอย่ า งเป็ น ระบบและต่ อ เนื่ อ ง เช่ น ลดการสู ญ เสี ย พื้ น ที่ ช ายฝั่ ง ลดความสูญหายทรัพย์สิน ลดการลงทุนในการป้องกันปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล 5. ข้อมูลและแผนที่จำแนกพื้นที่เสี่ยงภัยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลที่มีผลกระทบต่อชุมชนชายฝั่ง ที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการใช้ที่ดิน ทำให้ลดผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล 6. การสำรวจ ศึ ก ษา และจั ด ทำข้ อ มู ล พื้ น ฐานทางธรณี วิ ท ยาสิ่ ง แวดล้ อ มชายฝั่ ง ทะเล ธรณี สั ณ ฐานชายฝั่ ง ธรณี วิ ท ยา พื้นท้องทะเลและข้อมูลสมุทรศาสตร์ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแนวทางลดผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ

4.2 โครงการจัดทำมาตรการ/แนวทางแก้ปัญหาในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ และธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม

63

4.2.1 สาระสำคัญ : เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติและ ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณีจึงได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อจัดทำมาตรการ/แนวทางแก้ปัญหาในพื้นที่ เสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติและธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม โดยจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย เพื่อให้ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดดินถล่ม ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของธรณีพิบัติภัย การเตรียมความพร้อมรับมือกับธรณีพิบัติภัยและการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัย ดำเนินกิจกรรมการบรรเทาลดผลกระทบ


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

64

จากธรณี พิ บั ติ ภั ย ดำเนิ น การสำรวจรอยเลื่ อ นในรั ศ มี 100 กิ โ ลเมตร เพื่ อได้ ข้ อ มู ล รอยเลื่ อ นรอยพื้ น ที่ กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้สามารถประเมินความเสี่ยงต่อผลกระทบจากแผ่นดินไหว ของกรุงเทพมหานครสามารถวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงแผ่นดินไหวในกรุงเทพมหานครกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการจัดทำแนวทางการป้องกันและฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยดินถล่ม โดยดำเนินการสำรวจ เสนอแนวทางมาตรการแก้ไขและฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย ในลักษณะของการฟื้นฟูพื้นที่เพื่อเป็น ตัวอย่างหรือต้นแบบในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้นำไปขยาย ผลต่อไป 4.2.2 ผลการดำเนินงาน : 1) การจัดตั้งเครือข่ายแจ้งเหตุพิบัติภัยในพื้นที่เสี่ยง และให้ความรู้เกี่ยวกับธรณีพิบัติภัย รวม 7 จังหวัด พื้นที่ อาสาสมัคร จังหวัด ลำดับที่ เครือข่าย (ราย) หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ (ผัง/ลุ่มน้ำ) 43 4 ผัง 6 ลุ่มน้ำ 7 387 1 อุบลราชธานี 4 25 3 ผัง 5 ลุ่มน้ำ 3 171 2 ศรีสะเกษ 2 23 3 ผัง 4 ลุ่มน้ำ 4 313 3 อุดรธานี 2 20 3 ผัง 4 ลุ่มน้ำ 4 239 4 หนองคาย 1 28 5 ผัง 12 ลุ่มน้ำ 7 291 5 ระยอง 4 14 2 ผัง 5 ลุ่มน้ำ 7 139 6 ชลบุรี 3 18 2 ผัง 3 ลุ่มน้ำ 2 68 7 หนองบัวลำภู 1 171 22 ผัง 39 ลุ่มน้ำ 34 1,608 รวม 7 จังหวัด 17 2) การลดผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย โดยศูนย์ ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัยประกาศเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่มและน้ำป่า ไหลหลาก รายงานสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยแผ่นดินไหว ตลอดจนจัด หน่ ว ยเคลื่ อ นที่ เ ร็ ว เข้ า ตรวจสอบเสนอแนะแนวทางในการจั ด การ พื้นที่ที่ประสบเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย ซักซ้อมแผนการเฝ้าระวังแจ้ง เตือนภัยดินถล่มแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงา สตูล เชียงราย พะเยา ลำพูน อุตรดิตถ์ และเลย โดยดำเนินการประชุมทำความเข้าใจ ขั้นตอนการปฏิบัติการเตรียมความพร้อม มีผู้เข้าร่วม ประชุ ม ซั ก ซ้ อ ม รวมทั้งสิ้น 1,392 ราย และการจำลองเหตุการณ์กรณีก่อนเกิดเหตุ ระหว่ า งเกิ ด เหตุ และหลั ง เกิ ด เหตุ ดิ น ถล่ ม มี ผู้ เ ข้ า ร่ ว มจำนวน 4,291 ราย 3) การสำรวจรอยเลื่อนในรัศมี 100 กิโลเมตร จากกรุงเทพมหานคร จากการประเมินความเสียหายของพื้นที่ราบลุ่ม

64


65 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ภาคกลางใน 20 จังหวัด ที่ตั้งอยู่บนชั้นหินอ่อน กรณีเกิดแผ่นดินไหว จากรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ขนาด 6.9 ริกเตอร์ จะสร้างความเสีย หายต่ออาคารสูง (ประมาณชั้น 13 - 30 ชั้น) ที่มีความถี่ธรรมชาติ ตรงกับความถี่ของคลื่นแผ่นดินไหว อีกทั้งได้ตรวจสอบอัตราการ เลื่อนตัวของรอยเลื่อนทางภาคตะวันตกของกรุงเทพมหานคร (กลุ่ม รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์และกลุ่มรอยเลื่อยศรีสวัสดิ์) เพื่อติดตาม พฤติกรรมการเลื่อนตัวของกลุ่มรอยเลื่อนอย่างต่อเนื่อง จากการ รวบรวมข้อมูลศูนย์กลางแผ่นดินไหวในอดีตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ทั้งในประเทศและใกล้เคียง จำนวน 21,500 ครั้ง พบว่าในประเทศไทยมีขนาดสูงสุด 5.9 ริกเตอร์ที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จั ง หวั ด กาญจนบุ รี ในรอบปี 2553 ที่ มี ศู น ย์ ก ลางแผ่ น ดิ นไหวในประเทศไทยสู ง สุ ด ขนาด 3.7 ริ ก เตอร์ ที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้ได้จัดประชุมเสวนาเรื่อง “แผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติของโลก” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2553 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 204 ราย 4) การจัดทำแนวทางการป้องกันและฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยดินถล่มในพื้นที่จังหวัดน่านและ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ดำเนินการจัดทำแก้มลิงลดผล กระทบดินถล่มเพื่อชะลอความเร็วของน้ำและกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร การปรับเปลี่ยนร่องน้ำเลียนแบบ ธรรมชาติและเพิ่มศักยภาพลาดดิน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ ลดการกัดเซาะและพังทลายของชั้นดิน การเสริม ศักยภาพลาดดินด้วยกระสอบมีปีกและผ้าห่มคลุมดิน เพื่อเสริมความมั่นคงให้กับลาดดิน ลดปัญหาการชะล้างหน้า ดิ น และดั ก ตะกอนด้ ว ยหมอนและผ้ า ห่ ม คลุ ม ดิ น การปรั บ สภาพลาดดิ น แบบขั้ น บั นไดเสริ ม ไม้ ไ ผ่ เพื่ อ เพิ่ ม เสถียรภาพลาดดิน ลดการพังทลายของหน้าดิน ในพื้นที่บ้านห่างทางหลวง และบ้านห้วยล้อม สำหรับจังหวัด อุตรดิตถ์ ได้จัดทำแก้มลิงลดผลกระทบดินถล่ม การปรับแต่งร่องน้ำเลียนแบบธรรมชาติและเพิ่มศักยภาพลาดดิน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำและกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ในบริเวณพื้นที่ 1) บ้านน้ำตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา 2) บ้านห้วยกั้ง ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง 3) บริเวณโรงเรียนประชาชนอุทิศ ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง 4) บ้านห้วยลึก ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง 5) บ้านปางต้นผึ้ง ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง

65 การเสริมศักยภาพลาดดินด้วยกระสอบมีปีกและผ้าห่มคลุมดิน บริเวณสามแยกทางเข้าศูนย์ภูฟ้าพัฒนาพื้นที่บ้านห่างทางหลวง


66 การทำแก้มลิงลดผลกระทบดินถล่มและการปรับแต่งร่องน้ำเลียนแบบธรรมชาติ

แก้มลิงลดผลกระทบดินถล่มที่บ้านห่างทางหลวงและบ้านห้วยล้อม

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลผลิตและผลลัพธ์

66

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

หน่วยนับ

ผลผลิต ปี 52

เป้าหมาย ปี 53

ผลผลิต ปี 53

1. จำนวนพื้นที่ที่ได้รับการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวัง แจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย 2. เครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยในพื้นที่ เสี่ยงภัยดินถล่มที่ได้รับการจัดตั้งแล้ว ได้รับการ ซักซ้อม/ทบทวนแผนการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัย 3. ข้อมูลผลการศึกษาแนวรอยเลื่อนมีพลัง 4. พื้นที่ที่ได้รับการจัดทำแนวทางการป้องกันและฟื้นฟู พื้นที่ ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้การฟื้นฟู พื้นที่ที่ประสบธรณีพิบัติภัยดินถล่ม

แห่ง จังหวัด แห่ง แห่ง

6 7 1 -

4 8 1 2

7 8 1 2

ผลลัพธ์ที่ได้ 1. ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรณีพิบัติภัย ตลอดจนมีเครือข่ายอาสาสมัครประชาชนที่สามารถ ทำหน้าที่เฝ้าระวังและแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย มีแผนการอพยพหนีภัยในพื้นที่ 2. ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้รับทราบข่าวการประกาศแจ้งเตือนภัยเพื่อการบรรเทาหรือลดผลกระทบ รวมทั้งการหนีภัย อีกทั้ง พื้นที่ที่ประสบเหตุธรณีพิบัติภัยได้รับการตรวจสอบ และข้อเสนอแนะในการจัดการ 3. ทราบตำแหน่งและพฤติกรรมการเลื่อนตัวจากเขตรอยเลื่อนสมุทรสาครและรอยเลื่อนแควใหญ่ ที่อยู่บริเวณด้านทิศตะวันตก ของที่ราบลุ่มภาคกลาง สามารถเผยแพร่ความรู้จากผลการศึกษาให้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชนและประชาชนทั่วไปทราบ เพื่ อ เตรี ย มความพร้ อ มและบรรเทาความสู ญ เสี ย ของชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น ของประชาชน ที่ อ าศั ย อยู่ ใ นกรุ ง เทพมหานคร และปริมณฑลต่อธรณีพิบัติภัยแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 4. มี แ หล่ ง ศึ ก ษาเรี ย นรู้ ก ารป้ อ งกั น และพื้ น ฟู พื้ น ที่ ที่ ป ระสบภั ย ดิ น ถล่ ม ในพื้ น ที่ ที่ เ คยประสบภั ย ดิ น ถล่ ม ซึ่ ง ประชาชนมี ส่วนร่วมในการดำเนินงาน


67 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

67

4.3.1 สาระสำคัญ : กรมทรั พ ยากรน้ ำได้ ด ำเนิ นโครงการติ ด ตั้ ง ระบบ Early Warning สำหรั บ พื้ น ที่ เ สี่ ย ง อุทกภัย - ดินถล่ม ในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ราบเชิงเขา อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 - 2552 ซึ่ง ครอบคลุมหมู่บ้านเสี่ยงภัย จำนวน 1,011 หมู่บ้าน จากจำนวนพื้นที่เสี่ยงภัยทั่วประเทศ ตามที่กรมฯได้ศึกษา เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 2,370 หมู่บ้าน ทั้งนี้เพื่อเป็นกลไกในการติดตามสถานการณ์เฝ้าระวัง และเตื อ นภั ย ที่ เ กิ ด จากน้ ำ ท่ ว มฉั บ พลั น และดิ น ถล่ ม โดยการตรวจวั ด ข้ อ มู ล ปริ ม าณน้ ำ ฝนและ/หรื อ ระดั บ น้ ำ ในพื้นที่หมู่บ้านที่อยู่ในข่ายเสี่ยงภัยสูงจากการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน - ดินถล่ม จัดสร้างมาตรฐานการเฝ้าระวัง การเตือนภัยในรูปแบบต่างๆ ที่พัฒนาขึ้น พร้อมทั้งฝึกอบรมอาสาสมัคร (ผู้รู้) ประจำหมู่บ้านให้สามารถประยุกต์ งานด้านการเตือนภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำท่วม ฉับพลัน - ดินถล่ม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมความพร้อม ในด้านต่างๆ เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ ดั ง กล่ า ว ในปี ง บประมาณ พ.ศ. 2553 กรมฯ ได้ รั บ การจั ด สรรงบประมาณเพื่ อ ดำเนิ น การติ ด ตั้ ง ระบบ Early Warning ประกอบด้วย 1) พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย ประจำปี พ.ศ. 2553 จำนวน 36,910,000 บาท และ 2) งบประมาณตามแผนปฏิบัติการไทยเข็มแข็ง 2555 (SP2) จำนวน 69,910,000 บาท เพื่อดำเนินการติดตั้ง ระบบ Early Warning ให้ ค รอบคลุ ม พื้ น ที่ เ สี่ ย งอุ ท กภั ย - ดิ น ถล่ ม หรื อ หมู่ บ้ า นเสี่ ย งภั ยได้ ไ ม่ น้ อ ยกว่ า 190 หมู่บ้าน และ 352 หมู่บ้าน ตามลำดับ 4.3.2 ผลการดำเนินงาน : 1) การติดตั้งระบบ Early Warning ครอบคลุมหมู่บ้าน เสี่ยงภัยเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 563 หมู่บ้าน (โครงการงบปกติตามพ.ร.บ. สามารถติดตั้งระบบ Early Warning จำนวน 204 หมู่บ้าน) 2) การประชุ ม เพื่ อ รั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น จากเจ้ า หน้ า ที่ แ ละ ประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบความเป็นมาของ โครงการ วิธีการคัดเลือกการกำหนดตำแหน่งสถานีเตือนภัย รูปแบบของสถานี เตือนภัย การดำเนินงานโครงการ โดยผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมแสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาอุทกภัย - ดินถล่มในพื้นที่ แนวทางแก้ไขปัญหา ตลอดจนมีส่วนร่วมในการกำหนดตำแหน่งสถานีเตือนภัยให้สอดคล้องกับสภาพ พื้นที่และความต้องการของชุมชน ซึ่งผลการจัดประชุมปรากฏว่าผู้เข้าร่วมประชุม รับทราบว่ามีการดำเนินโครงการติดตั้งระบบ Early Warning โดยเห็นว่าโครงการนี้ มีประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่และต้องการให้กรมทรัพยากรน้ำเร่งรัดดำเนินการ ติดตั้งระบบ Early Warning ให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัย 3) การซักซ้อมความเข้าใจโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านเสี่ยงภัยเป้าหมายมีความเข้าใจในระบบ Early Warning สถานีเตือนภัยที่ได้ดำเนินการติดตั้งแล้ว รวมทั้งทราบวิธีปฏิบัติของ ชุมชนเมื่อได้รับสัญญาณแจ้งเตือนภัย ตลอดจนวิธีบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ของสถานีเตือนภัย 4) การแจ้งเตือนภัย มีผลการแจ้งเตือนภัย จำนวน 271 ครั้ง ครอบคลุม 747 หมู่บ้าน

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.3 โครงการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) สำหรับพื้นที่เสี่ยง อุทกภัย – ดินถล่ม ในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ราบเชิงเขา


ผลผลิตและผลลัพธ์ หน่วยนับ

1. การติดตั้งระบบ Early Warning 2. การประชุ ม เพื่ อ รั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น จากเจ้ า หน้ า ที่ แ ล ะ ป ร ะ ช า ช นใ น พื้ น ที่ ห มู่ บ้ า น เ ป้ า ห ม า ย รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ 3. การซั ก ซ้ อ มความเข้ าใจโดยการมี ส่ ว นร่ ว มของ ประชาชน 4. การแจ้งเตือนภัย

หมู่บ้าน คน คน ครั้ง

68

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

ผลผลิต ปี 2552 391 1,018 6,530 99

เป้าหมาย ปี 2553 542 1,500 8,130 -

ผลผลิต ปี 2553 563 1,882 11,025 271

ผลลัพธ์ที่ได้

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

มีอุปกรณ์ตรวจวัดและเตือนภัยพร้อมระบบสื่อสารที่เหมาะสม มีระบบการติดตาม เฝ้าระวัง เตือนภัยสถานการณ์ อุทกภัย – ดินถล่ม ที่มีประสิทธิภาพ

68

4.3.3 ปัญหา อุปสรรค และเงื่อนไขความสำเร็จ : 1) ปัญหา อุปสรรค - ส่ ว นภู มิ ภ าคขาดแคลนยานพาหนะในการ เดินทางเข้าตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือบำรุงรักษาสถานี - อุปกรณ์เครื่องมือที่ชำรุดใช้งานไม่ได้ เนื่องจาก หมดอายุการใช้งานจำเป็นต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ 2) เงื่อนไขความสำเร็จ - ความพร้อมของสถานีเตือนภัย - เครือข่ายในการเตือนภัย 4.3.4 ข้อเสนอแนะ : เนื่องจากมีการดำเนินโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 สถานีเตือนภัยจะตั้งอยู่ในที่ โล่งแจ้งและทำงานตลอดเวลา ดังนั้นบางสถานีควรมีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทดแทนของเดิม เพื่อให้มีความ พร้อมในด้านการเตือนภัย


69 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

4.3.1 สาระสำคัญ : โครงการ Hydro - Agronomic - Economic (HAE) Model for Mekong River Basin and Local Adaption in Thailand เป็นโครงการที่ได้รับสนับสนุนเงินทุนจากธนาคารโลก (The World Bank) ภายใต้ The Trust Fund for Environmentally and Socially Sustainable Development (TFESSD) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือทางนโยบายในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศที่มีต่อทรัพยากรน้ำ การเกษตร และเศรษฐศาสตร์ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 - 2554 4.4.2 ผลการดำเนินงาน : ดำเนินการรวบรวมข้อมูลและพัฒนา HAE model พร้อมทั้งได้จัดประชุม National workshop ครั้งที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (On - the - job - training) เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เจ้าหน้าที่ของ กรมทรัพยากรน้ำ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.3 โครงการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) สำหรับพื้นที่เสี่ยง อุทกภัย – ดินถล่ม ในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ราบเชิงเขา

ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

หน่วยนับ

1. แบบจำลองวิเคราะห์ผลกระทบการเปลี่ยนแปลง แบบจำลอง สภาพภูมิอากาศที่มีต่อทรัพยากรน้ำ การเกษตร และเศรษฐศาสตร์ ครั้ง 2. จั ด ประชุ ม สั ม มนาระดั บ ประเทศเพื่ อ พั ฒ นา ศักยภาพให้กับบุคลากรของกรมทรัพยากรน้ำ

ผลผลิต ปี 2552 - -

เป้าหมาย ปี 2553

ผลผลิต ปี 2553

จัดทำ จัดทำ ฐานข้อมูลที่ใช้ ฐานข้อมูลที่ใช้ HAE model HAE model 3 1

ผลลัพธ์ที่ได้ เครื่องมือทางนโยบายในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อทรัพยากรน้ำ การเกษตร และเศรษฐศาสตร์ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

69


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

70

ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการจัดการคุณภาพอากาศ น้ำเสีย กลิ่น เสียงและขยะทุกประเภท ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และส่งเสริมกลไกการพัฒนาที่สะอาด 5.1 โครงการเตรี ยมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งคุณภาพอากาศ น้ำเสีย กลิ่น และเสียง ขยะทุกประเภทที่เกิดจากการผลิต และบริโภคให้อยู่ ในเกณฑ์มาตรฐาน (ผลผลิตที่ 1 : พื้นที่เป้าหมายนำเครื่องมือและกลไกไปจัดการมลพิษ) 5.1.1 สาระสำคัญ : เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ในการจัดการมลพิษในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมลพิษให้สอดคล้องกับสถาณการณ์และปัญหามลพิษ 5.1.2 ผลการดำเนินงาน : 1) การควบคุมและป้องกันมลพิษทางน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำวิกฤต 1.1 ดำเนินงานภายใต้ปฏิญญาความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำใน พื้นที่ลุ่มน้ำวิกฤตของ 4 กระทรวง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรมและ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อ ม) มี ก ารกำหนดหลั ก เกณฑ์ เ งื่ อ นไขด้ า นน้ ำ เสี ย และของเสี ย ตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พัฒนาเทคโนโลยีการควบคุมมลพิษที่ใช้การได้ดีที่สุด สำหรับการประกอบ กิจกรรมอุตสาหกรรมชุมชนและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก แลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลปริมาณน้ำ คุณภาพน้ำ แหล่งกำเนิดน้ำเสียและมลพิษทางน้ำ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและศักยภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เกณฑ์ ก ารพิ จ ารณาให้ ใ บอนุ ญ าตประกอบกิ จ การหรื อ ต่ อ อายุ ใ บอนญาตประกอบกิ จ การหรื อ ต่ อ อายุ ใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขด้านน้ำเสียและของเสีย เสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ประกอบการในการจัดทำ ระบบการจัดการน้ำเสียและของเสียเพื่อประกอบการขออนุญาตและต่อใบอนุญาต 1.2 ป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำเชิงพื้นที่ เน้นการทำงานที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ในพื้นที่เป้าหมาย 11 แห่ง ได้แก่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 1 แห่ง, ลุ่มน้ำท่าจีน 2 แห่ง, ลุ่มน้ำบางปะกง 2 แห่ง, ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 4 แห่ง, คลองประดู่ จังหวัดราชบุรี และคลองอำแพง จังหวัดสมุทรสาคร 1.3 ผลั ก ดั น และสนั บ สนุ น องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ นในพื้ น ที่ ลุ่ ม น้ ำ ที่ มี คุ ณ ภาพน้ ำ เสื่อมโทรม รวมทั้งเขตควบคุมมลพิษจัดทำโครงการจัดสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวม เพื่อเสนอของบประมาณภายใต้ แผนปฏิบัติการเพื่อจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด 2) การป้องกันและแก้ไขปัญหาทางอากาศและเสียงในเขตพื้นที่เมืองและอุตสาหกรรม 2.1 แก้ไขปัญหามลพิษและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในพื้นที่จังหวัดระยอง มีการดำเนินงานที่ สำคัญ ดังนี้ - สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขต ควบคุมมลพิษจังหวัดระยอง พ.ศ. 2553 - 2556 (ฉบับทบทวน) มีมติเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2553 จำนวน 7 แผนงานประกอบด้วย แผนงานบำบัดและฟื้นฟู แผนงานเฝ้าระวังและ ป้องกัน แผนงานสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก แผนงานศึกษาเชิงปฏิบัติการ แผนงานบังคับใช้กฎหมาย

70


71 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

71

แผนงานรองรับเหตุฉุกเฉินและเตือนภัยสารพิษ และแผนงานติดตามและประเมินผล - กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง และพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ ปัญหาการปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ในบรรยากาศ ฟื้นฟูตะกอนดินสีดำ บริเวณปากคลองชากหมาก อ่าวประดู่ ปัญหาการปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีระเหยง่ายในดินและน้ำใต้ดิน ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและประเมินปัญหามลพิษที่ส่งผลกระทบต่ออ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลและอ่างเก็บน้ำ ดอกกราย รวมทั้งติดตามตรวจสอบสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม 2.2 ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ จากหมอกควันและไฟป่า ติดตามผลการดำเนินงานตามแผน ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าปี พ.ศ. 2551 2554 รายงานข้ อ มู ล ปริ ม าณฝุ่ น ละอองขนาดไม่ เ กิ น 10 ไมครอน แจ้งเตือนหน่วยงานในพื้นที่ให้เตรียมพร้อมเฝ้าระวัง ติดตาม และควบคุมการเผาในที่โล่งอย่างเคร่งครัด แจ้งเตือน ภัยหมอกควันไปยังส่วนราชการท้องถิ่น เพื่อดำเนินมาตรการ ควบคุมไฟที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้แก่ จัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการแก้ไข ปัญหาหมอกควันและไฟป่าระดับจังหวัด จัดชุดปฏิบัติการ ดั บ ไฟระดั บ พื้ น ที่ ดำเนิ น มาตรการล้ า งถนน ฉี ด น้ ำ เพิ่ ม ความชื้นในอากาศ เพื่อลดฝุ่นในเขตเมือง ขอความร่วมมือ จากประชาชนงดเผาขยะ เศษวัสดุการเกษตร กิ่งไม้ใบหญ้า ประชาสั ม พั น ธ์ ชี้ แ จงทำความเข้ าใจ เกี่ ย วกั บ สถานการณ์ ที่ เกิดขึ้นและวิธีการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง ตลอดจนจัดเตรียม อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น ภั ย ส่ ว นบุ ค คล เช่ น หน้ า กากป้ อ งกั น ฝุ่ น เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนกรณีจำเป็น บูรณาการการดำเนินงาน ร่วมกับ 7 หน่วยงานที่สำคัญ ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวง คมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุ ข และกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม จั ด ทำ “ข้อตกลงความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผา ในที่ โ ล่ ง และมลพิ ษ หมอกควั นในพื้ น ที่ ภาคเหนื อ ” โดยมี การลงนามในบันทึกข้อตกลงฯ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2553 ณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.3 พัฒนาการบริหารจัดการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ในพื้นที่เป้าหมาย 7 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา สงขลา และสมุทรปราการ โดยเน้นการสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่หน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี ในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่ พัฒนาคุณภาพและเครือข่ายการให้บริการคลินิกไอเสีย มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของสถานประกอบการคลินิก ไอเสียให้มีมาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อเพิ่มจำนวนสถานประกอบการคลินิกไอเสียมาตรฐาน (Green Service) ให้มากขึ้น เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ คุณภาพอากาศในจังหวัดสมุทรปราการ


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

72

3) การป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากกากของเสียและสารอันตราย 3.1 จัดทำข้อเสนอแนวทางการสนับสนุนงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้าน การจัดการน้ำเสียชุมชนและขยะมูลฝอยชุมชน โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในคราวการประชุม ครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2552 มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกรมควบคุมมลพิษ 3.2 จัดทำร่างยุทธศาสตร์ 3Rs (Reduce Reuse Recycle) 3.3 จัดทำร่างประกาศกรมควมคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการจัดการ ของเสียอันตรายจากชุมชน เพื่อรองรับการดำเนินงานจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนตามพระราชบัญญัติการ สาธารณสุข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2550 - 2554 จัดทำระบบการบันทึก ข้อมูลเก็บรวบรวมและกำจัดของเสียอันตรายจากชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านทางเว็บไซต์ 3.4 ยกร่างประกาศและออกกฎหมายเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อัตรา การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การจัดตั้งศูนย์รับซื้อคืนซากผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3.5 ควบคุมการจัดการสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POPs) ชนิดใหม่ 9 ชนิด ให้เป็นไป ตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: POPs) 3.6 ประสาน ขับเคลื่อน ติดตามการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา การลักลอบทิ้งและการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย 4) การส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมาย 4.1 ติดตามตรวจสอบบังคับใช้กฎหมายกับแหล่งกำเนิดมลพิษตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในพื้นที่เป้าหมาย 5 แห่ง ได้แก่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง ลำตะคอง และปากพนัง ถ่ายทอดแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กฎหมาย ให้แก่หน่วยงานในภูมิภาคเพื่อ เสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนในการรับรู้ ข้อมูลการตรวจสอบการระบายมลพิษจากแหล่งกำเนิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการระบายมลพิษ จากแหล่งกำเนิดที่มุ่งเน้นการบูรณาการจากทุกภาคส่วน 4.2 แก้ไข ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงระบบบำบัดมลพิษให้ระบายมลพิษ ตามมาตรฐาน ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม 13 แห่ง ฟาร์มสุกร 24 แห่ง อาคาร ประเภท ก 308 แห่ง และยานพาหนะ 3,748 คัน 4.3 จัดการเรื่องร้องเรียนมลพิษโดยมีขั้นตอนการรับเรื่อง ตรวจสอบข้อเท็จจริง รวบรวม พยานหลักฐาน บังคับใช้กฎหมายประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและติดตามผลดำเนินการ เพื่อแก้ไขและ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหามลพิษ โดยในปี พ.ศ. 2553 ได้ดำเนินการเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ ด้านมลพิษจนได้ข้อยุติแล้ว 271 เรื่อง จาก 424 เรื่อง

72


ผลผลิตและผลลัพธ์

73 ผลผลิต ปี 2552

เป้าหมาย ปี 2553

ผลผลิต ปี 2553

1. จำนวนพื้นที่เป้าหมายที่นำเครื่องมือและกลไกไปใช้ ในการจัดการมลพิษ 2. ร้อยละของพื้นที่เป้าหมายนำเครื่องมือและกลไก ไปใช้ พั ฒ นาบริ ห ารจั ด การมลพิ ษได้ ต ามเกณฑ์ ที่ กำหนด 3. ร้อยละของกิจกรรมที่ให้บริการสนับสนุนการจัดการ มลพิษในพื้นที่เป้าหมายตามเวลาที่กำหนด 4. ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการจัดการมลพิษในพื้นที่ เป้าหมายอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการจัดสรร

แห่ง/ต่อปี ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ

- - - -

22 75 80 100

22 80 90 100

ผลลัพธ์ที่ได้ 1. การจัดการมลพิษในพื้นที่เป้าหมาย โดยใช้กลยุทธ์ที่เน้นการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนและปฏิบัติ งานร่วมกันในการจัดการมลพิษ กลยุทธ์การพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ จัดการมลพิษของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับสถานการณ์และปัญหามลพิษ ทำให้ “พื้นที่ เป้าหมายมีระบบบริหารจัดการมลพิษตามเกณฑ์ที่กำหนด” 2. ผลการดำเนินการในปี 2553 เปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย แสดงให้เห็นว่าการป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่เป้าหมายบรรลุผลตามที่กำหนดไว้ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการบูรณาการทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหามลพิษ ในพื้นที่เป้าหมายมากขึ้น มีขีดความสามารถในการจัดการมลพิษเพิ่มขึ้น ส่วนการติดตามตรวจสอบบังคับใช้กฎหมาย กับแหล่งกำเนิดมลพิษเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้แหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่เป้าหมายสามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้

73

5.1.3 ปัญหา อุปสรรค และเงื่อนไขความสำเร็จ : - ปัญหาและอุปสรรค 1) นโยบาย มาตรฐาน มาตรการ แผนงาน และแผนปฏิบัติการด้านการควบคุมมลพิษที่ กำหนดขึ้นไม่ได้ถูกนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมทำให้ไม่เกิดประสิทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนด อีกทั้งการสนับสนุนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการจัดการมลพิษในพื้นที่ของตนเองยังไม่เพียงพอ 2) บทลงโทษในการบั ง คั บใช้ ก ฎหมายสิ่ ง แวดล้ อ มยั ง ต้ อ งอาศั ย กฎหมายอื่ น เนื่ อ งจาก พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ขาดสภาพบังคับอย่างเป็นรูปธรรม 3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ สถานการณ์และปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรงขี้น เช่น อุณหภูมิ สูงขึ้น ปริมาณน้ำฝนลดลงส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของ แหล่งน้ำ เกิดภัยพิบัติต่างๆ บ่อยครั้งมากขึ้น เช่น ฝนทิ้งช่วง เกิดฤดูแล้งยาวนานและปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด - เงื่อนไขความสำเร็จ 1) การดำเนินงานจัดการมลพิษจะบรรลุ ผลสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันของ ทุกภาคส่วน

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

หน่วยนับ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

74

5.1.4 ข้อเสนอแนะ : 1) กำหนดกลยุ ท ธ์ ใ ห้ มี ก ารนำแนวทางการ บริหารจัดการมลพิษไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่เป้าหมายอย่างมีส่วนร่วม 2) ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เกิดความ ร่ ว มมื อ กั บ ทุ ก ภาคส่ ว นให้ ม ากขึ้ น เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการ บริหารจัดการมลพิษ 3) พั ฒ นากฎหมาย กฎระเบี ย บและกลไก ในการจั ด การมลพิษ เพื่อ เพิ่ม ประสิท ธิ ภ าพการปฏิ บั ติ ต ามและ บังคับใช้กฎหมายด้านมลพิษ 4) เตรี ย มการและหาแนวทางมาตรการเพื่ อ รั บ มื อ และป้ อ งกั น แก้ ไ ขปั ญ หามลพิ ษ ในอนาคต รวมทั้ ง การ ประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้สาธารณะทราบ อย่างต่อเนื่อง

74

5.2 โครงการเตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งคุณภาพอากาศ น้ำเสีย กลิ่น และเสียง ขยะทุกประเภทที่เกิดจากการผลิต และบริโภคให้อยู่ ในเกณฑ์มาตรฐาน (ผลผลิตที่ 2 : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับ การถ่ายทอดกฎ ระเบียบ และองค์ความรู้การจัดการมลพิษ) 5.2.1 สาระสำคัญ : เพื่อเพิ่มสมรรถนะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การบริหาร จัดการมลพิษในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผลักดันการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมาย พัฒนา ปรับปรุงกฎ ระเบียบ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการควบคุมดูแล และลดการระบายมลพิษ รวมทั้ง การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เหมาะสมในการจัดการมลพิษสำหรับภาครัฐ เอกชน และประชาชน 5.2.2 ผลการดำเนินงาน : 1) การเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย - ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับเทศบาลนคร เทศบาลเมือง จำนวน 94 แห่ง ทั่วประเทศ ให้มีสมรรถนะในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย จำนวน 6 สมรรถนะ ประกอบด้วย 1) มีแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยเฉพาะพื้นที่และดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติ 2) มีกิจกรรมลด คัดแยก ใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย/ของเสียอันตรายชุมชนในลักษณะ 1 เทศบาล 1 รีไซเคิล 3) มีการเก็บขนขยะมูลฝอย ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ 4) บริหารจัดการขยะมูลฝอยในลักษณะรวมศูนย์ 5) เพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัด ขยะมูลฝอยและ 6) จัดทำแนวทางการเพิ่มรายได้ในการจัดการขยะมูลฝอยและการคำนวณทางเศรษฐศาสตร์ใน การบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยมีเทศบาลที่มีสมรรถนะในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอย่างน้อย 4 ใน 6 สมรรถนะ จำนวน 87 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 93 และที่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 6 สมรรถนะ มีจำนวน 14 แห่ง - ให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการออกข้อบัญญัติกำหนด อัตราค่าบริการกำจัดขยะมูลฝอยตามข้อกำหนดในการเสนอโครงการจัดการขยะมูลฝอยภายใต้แผนปฏิบัติการเพื่อ


75 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

75

การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด - จัดทำโครงการนำร่องการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงาน โดยเลือกพื้นที่เทศบาล อุดรธานีเป็นพื้นที่โครงการนำร่อง โดยมีระบบ Anaerobic Digester กับ Gasification 2) การฟื้นฟูและเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสียชุมชนทั่วประเทศ - จัดทำข้อเสนอแนวทางการสนับสนุนงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการ จัดการน้ำเสียชุมชนและขยะมูลฝอยชุมชน โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในคราวการประชุม ครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2552 มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอ - ติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย โดยกรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค พบว่าระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชนทั่วประเทศมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 101 แห่ง เป็น ระบบที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 90 แห่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 10 แห่ง และชลอโครงการ 1 แห่ง ผลการติดตาม ตรวจสอบประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียรวมทั่วประเทศ (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง และสมุทรปราการ 1 แห่ง) มีคุณภาพน้ำผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง ร้อยละ 95 ทั้งนี้ในปี 2553 มีปริมาณน้ำเสียชุมชนเกิดขึ้น ประมาณ 14.8 ล้านลูกบาศก์ต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 จำนวน 0.13 ล้านลูกบาศก์ต่อวัน มีน้ำเสียได้รับ การบำบัดจากระบบน้ำเสียชุมชนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเพียง 1.48 ล้านลูกบาศก์ต่อวัน (ร้อยละ 9.98 ของปริมาณน้ำเสีย ชุมชนที่เกิดขึ้น) โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 1.63 จะเห็นได้ว่ายังมีปริมาณน้ำเสียอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้ ผ่านการบำบัดซึ่งจะทำให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ - เสริมสร้างศักยภาพให้กับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในการจัดทำ FS/DD การจัดเตรียมข้อเสนอโครงการ การออก ข้อบัญญัติในการกำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียตามข้อกำหนด ในการ เสนอโครงการจัดสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียชุมชนภายใต้ แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด 3) การส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า ง สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐโดยมีหน่วยงาน ภาครัฐเข้าร่วมดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม 115 แห่ง พร้อมทั้งจัดทำเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและ บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม 15 ประเภท 4) การจัดฝึกอบรมการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อ ลดและขจั ด มลพิ ษในเขตควบคุ ม มลพิ ษให้ แ ก่ อ งค์ ก รปกครองส่ ว น ท้องถิ่น ได้จัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน พื้นที่ในเขตควบคุมมลพิษเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด สระบุรี ตำบลมาบตาพุด ตำบลห้วยโป่ง ตำบลเนินพระ ตำบลทับมา อำเภอเมือง ตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา และตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี อำเภอบ้านแหลม อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ และอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหินและ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดภูเก็ต หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ อำเภอเมืองและอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3 ครั้ง รวมผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 232 คน


ผลผลิตและผลลัพธ์ หน่วยนับ

ผลผลิต ปี 2552

เป้าหมาย ปี 2553

ผลผลิต ปี 2553

1. จำนวนหน่วยงานที่ได้รับการถ่ายทอดกฎ ระเบียบ และองค์ความรู้ 2. ร้ อ ยละของหน่ ว ยงานเป้ า หมายได้ รั บ บริ ก าร และสนั บ สนุ น องค์ ค วามรู้ จ ากหน่ ว ยงานของ กรมควบคุมมลพิษได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. ร้ อ ยละของกิ จ กรรมที่ ใ ห้ บ ริ ก ารกฎ ระเบี ย บ และองค์ความรู้ตามเวลาที่กำหนด 4. ค่ า ใช้ จ่ า ยในการถ่ า ยทอดกฎ ระเบี ย บ และ องค์ความรู้ อยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการจัดสรร

แห่ง ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ

- - - -

278 100 80 100

321 100 80 80

76

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

ผลลัพธ์ที่ได้

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1. การถ่ายทอดกฎ ระเบียบ และองค์ความรู้การจัดการมลพิษให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ กลยุทธ์เพิ่มสมรรถนะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบริหารจัดการมลพิษในพื้นที่ ได้ อ ย่ า งมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ผลักดันการใช้ เ ครื่ อ งมื อ ทางเศรษฐศาสตร์ แ ละมาตรการทางสั ง คม เพื่ อให้ ห น่ ว ยงาน ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการควบคุม ดูแล และลดการระบายมลพิษ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการมลพิษ 2. ผลการดำเนินการในปี 2553 เปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย แสดงให้เห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำองค์ความรู้ ด้านการบริหารและจัดการมลพิษที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานจัดการมลพิษในพื้นที่ของตนได้มากขึ้น โดยเฉพาะ การดูแลและเดินระบบบำบัดน้ำเสีย มีระบบการจัดการขยะมูลฝอยถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมทั้งมีการจัดซื้อจัดจ้าง สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีประเภทของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

76

5.2.3 ปัญหา อุปสรรค และเงื่อนไขความสำเร็จ : - ปัญหาและอุปสรรค 1) ขาดงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียและระบบการจัดการ ขยะมูลฝอย 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดสมรรถนะและความพร้อมในการจัดทำโครงการเพื่อขอรับ การสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างหรือขยายระบบเพิ่มเติม 3) องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ นให้ ค วามสำคั ญ กั บ การดำเนิ น งานระบบบำบั ด น้ ำ เสี ย และ การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายน้อยกว่างานอื่นๆ 4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดความเข้าใจในบทบาทของตนเองด้านการแก้ไขปัญหามลพิษ ในพื้นที่ขาดความพร้อมทางด้านบุคลากรและทรัพยากรที่จะสนับสนุนการทำงาน บางพื้นที่ไม่ให้ความสำคัญกับการ จัดการสิ่งแวดล้อม - เงื่อนไขความสำเร็จ 1) ควรมีกำหนดสัดส่วนงบประมาณขั้นต่ำเพื่อเป็นงบอุดหนุนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม และใช้ระบบงบประมาณเป็นเครื่องมือกำกับให้องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นมี การจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

77

ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.1 โครงการฝึกอบรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการป้องกันรักษาป่า 6.1.1 สาระสำคัญ : ด้วยในปัจจุบันการบุกรุกทำลายป่า ยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าเป็นไปด้วยความรุนแรง จึงเป็น สาเหตุให้รัฐบาลมีนโยบายในการป้องกันบุกรุกทำลายป่าทุกวิถีทาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีหน้าที่ในการป้องกันรักษาป่าได้สนองนโยบายโดยมอบหมายให้ สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า โดยจัดกำลังพลเป็นหน่วยกำลังพิเศษ ในด้านการเคลื่อนที่เร็วในด้านการป้องกันปราบปรามการบุกรุกทำลายป่า ซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้ทุกสภาวการณ์ต่างๆ เป็นหน่วยกำลังเสริมให้กับหน่วยงานในพื้นที่ที่เกิดเหตุวิกฤตพร้อมกับ ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นต้องปรับปรุงระบบการลาดตระเวนในพื้นที่อนุรักษ์ให้มีความเข้มแข็ง โดยนำหลักการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาระบบลาดตระเวนให้ได้มาตรฐานระดับสากล ซึ่งจะส่งผลให้เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติมีศักยภาพสูงขึ้น จึงจำเป็นต้องจัดฝึกอบรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการป้องกันรักษาป่าขึ้น 6.1.2 ผลการดำเนินงาน : ฝึกอบรมจำนวน 5 รุ่นๆ ละ 75 คน รุ่นละ 5 วัน มีผู้ผ่านการฝึกอบรมรวมทั้งสิ้น 375 คน ดังนี้ รุ่นที่ 1 ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 20 - 24 กุมภาพันธ์ 2553 ณ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนา การควบคุม ไฟป่ า ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ จั ง หวั ด นครราชสี ม า ผู้ เ ข้ า รั บ การฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัด สำนั ก ป้ อ งกั น ปราบปราม และควบคุ ม ไฟป่ า และสำนั ก บริ ห ารพื้ น ที่ อนุรักษ์ที่ 7 - 10 รวมจำนวน 75 คน

77 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเตรียมความพร้อมในการจัดสร้างระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน และการจัดการขยะมูลฝอย การจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นในการบริหารจัดการระบบฯ ให้มีประสิทธิภาพ 3) ผลักดันให้การจัดการน้ำเสียชุมชนและการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเป็นตัวชี้วัดร่วมระหว่าง กระทรวงที่เกี่ยวข้อง 5.2.4 ข้อเสนอแนะ : 1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความร่วมมือกันในการจัดการน้ำเสีย และการจัดการขยะมูลฝอยมากขึ้น 2) พัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการวางแผนที่มีประสิทธิภาพถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการ มลพิษไปให้กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดนำไปประยุกต์ใช้


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

78

รุ่ น ที่ 2 ฝึ ก อบรมระหว่ า งวั น ที่ 26 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2553 ณ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการ ควบคุมไฟป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา ผู้เข้า รับการฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 - 13 รวม จำนวน 75 คน รุ่ น ที่ 3 ฝึ ก อบรมระหว่ า งวั น ที่ 1 - 5 มิถุนายน 2553 ณ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการควบคุมไฟป่า ภาคกลาง จังหวัดกาญจนบุรี ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ใน สังกัดสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และสำนัก บริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 - 3 รวมจำนวน 75 คน รุ่ น ที่ 4 ฝึ ก อบรมระหว่ า งวั น ที่ 7 - 11 มิถุนายน 2553 ณ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการควบคุมไฟป่า ภาคกลาง จังหวัดกาญจนบุรี ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ใน สังกัดสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และสำนัก บริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 - 6 รวมจำนวน 75 คน รุ่นที่ 5 ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 14 - 18 มิถุนายน 2553 ณ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนัก ป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และสำนักบริหารพื้นที่ อนุรักษ์ที่ 14 - 16 และสาขาทุกสาขา รวมจำนวน 75 คน

78

6.2 โครงการฝึกอบรมลาดตระเวนระยะไกล 6.2.1 สาระสำคัญ : การปฏิบัติงานด้านป้องกันปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าในพื้นที่ รับผิดชอบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต้องออกลาดตระเวนตรวจปราบปราม การกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้อย่างสม่ำเสมอ การเข้าพื้นที่บางพื้นที่ดำเนินการยากลำบาก ยานยนต์ ไม่สามารถเข้าถึงได้ จึงมีความจำเป็นต้องลาดตระเวนทางเท้าในการเดินเข้าพื้นที่ ซึ่งในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา การลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่ยังดำเนินการได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เมื่อพบผู้กระทำผิดและเกิดการยิง ปะทะกันบ่อยครั้งเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ ฝึ ก อบรมลาดตระเวนระยะไกลขึ้ น โดยได้ รั บ การสนั บ สนุ น สถานที่ แ ละวิ ท ยากรจากกรมทหารพรานที่ 26 ค่ายปักธงชัย เป็นผู้ฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การออกลาดตระเวนตรวจปราบปราม เป็นไปอย่างถูกต้อง ทางยุทธวิธีและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการเรียนรู้ในวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน เช่น การฝึกช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บและการปฐมพยาบาล วิชาการดำรงชีพในป่าระเบียบวินัย ฝึกการเคลื่อนที่ด้วยยานยนต์ ฯลฯ


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

79

6.3 โครงการฝึกอบรมปฏิบัติการลาดตระเวนป่า พื้นที่ล่อแหลมและเสี่ยงภัย 6.3.1 สาระสำคัญ : สืบเนื่องจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช ได้จัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อการป้องกันรักษาป่า (นคร.) ขึ้น โดยมี ภ ารกิ จ ปฏิ บั ติ ง านป้ อ งกั น ปราบปรามการบุ ก รุ ก ทำลายป่ า ในพื้ น ที่ ที่ มี ส ถานการณ์ รุ น แรงและล่ อ แหลมต่ อ การบุ ก รุ ก ตั ด ไม้ ทำลายป่า พื้นที่ที่มีอันตรายจากกับระเบิดหรือพื้นที่ใกล้แนวชายแดน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามของสำนัก บริ ห ารพื้ น ที่ อ นุ รั ก ษ์ ยั ง ขาดความรู้ ใ นการปฏิ บั ติ ง านในพื้ น ที่ ที่ มี สถานการณ์รุนแรงและล่อแหลมต่อการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ดังนั้น จึ ง สมควรพั ฒ นาศั ก ยภาพในการปฏิ บั ติ ง านให้ กั บ เจ้ า หน้ า ที่ เ พื่ อ ปฏิบัติงานหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อการป้องกันรักษาป่าและเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามของสำนักบริหารพื้นที่ อนุรักษ์ ดังกล่าวข้างต้น สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมปฏิบัติการลาดตระเวนป่าพื้นที่ล่อแหลม และเสี่ยงภัย

79 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6.2.2 ผลการดำเนินงาน : ฝึ ก อบรมจำนวน 4 รุ่ น ๆ ละ 75 คน ฝึกอบรมรุ่นละ 10 วัน ณ กรมทหารพราน ที่ 26 ค่ายปักธงชัย อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ดังนี้ รุ่นที่ 1 ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 19 - 28 มีนาคม 2553 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนัก ป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และสำนักบริหารพื้นที่ อนุรักษ์ที่ 1 - 3 รวมจำนวน 75 คน รุ่นที่ 2 ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 30 มีนาคม 8 เมษายน 2553 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัด สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และสำนักบริหาร พื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 - 10 รวมจำนวน 76 คน รุ่นที่ 3 ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 19 - 28 เมษายน 2553 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนัก ป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และสำนักบริหารพื้นที่ อนุรักษ์ที่ 7,11 - 16 รวมจำนวน 77 คน รุ่นที่ 4 ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 9 พฤษภาคม 2553 ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 - 7 รวมจำนวน 75 คน


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

80

6.3.2 ผลการดำเนินงาน : ฝึกอบรมจำนวน 2 รุ่นๆ ละ 75 คน ฝึกอบรม รุ่นละ 10 วัน ณ กรมทหารพรานที่ 26 ค่ายปักธงชัย อำเภอ ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ดังนี้ รุ่ น ที่ 1 ฝึ ก อบรมระหว่ า งวั น ที่ 11 - 20 พฤษภาคม 2553 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยเคลื่อนที่ เร็ ว เพื่ อ การป้ อ งกั น รั ก ษาป่ า และหั ว หน้ า ชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารสำนั ก งาน สนับสนุนการป้องกันและปราบปรามที่ 1 - 4 ในสังกัดสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า รวมจำนวน 86 คน รุ่นที่ 2 ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 20 - 29 มิถุนายน 2553 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ ในสังกัดสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 - 16 รวมจำนวน 82 คน

80

6.4 โครงการสัมมนาการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ 6.4.1 สาระสำคัญ : ในสถานการณ์ปัจจุบันการทำลายทรัพยากรป่าไม้มีแนวโน้มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากจำนวน ประชากรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมีมากขึ้นตามลำดับ การบุกรุกที่ดิน การตัดไม้ ทำลายป่าและล่าสัตว์ป่าในลักษณะเป็นขบวนการโดยมีกลุ่มนายทุนผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง ซึ่งการกระทำดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และทรัพยากรธรรมชาติอื่นเป็นอันมาก ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ปฏิบัติงานตามพันธกิจในการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง ฟื้นฟู ดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง มาโดยตลอดภายใต้ ส ถานการณ์ ก ารบุ ก รุ ก ทำลายป่ า ที่ มี ก ารปรั บ เปลี่ ย นรู ป แบบการบุ ก รุ ก ทำลายตลอดเวลา เพื่อเป็นการดำเนินการกำหนดมาตรการในการป้องกันรักษาป่าและฟื้นฟูสภาพป่า (เร่งด่วน) และเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าของหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ให้เป็นทิศทางเดียวกัน สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า จึงได้จัดทำโครงการ สัมมนาการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ขึ้น 6.4.2 ผลการดำเนินงาน : สัมมนาจำนวน 2 รุ่นๆ ละ 120 คน จัดสัมมนา ณ บ้านไร่ริมแควรีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ดังนี้ รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 22 - 24 มิถุนายน 2553 ผู้เข้าสัมมนาเป็นข้าราชการในสังกัดสำนักป้องกัน ปราบปราม และ ควบคุมไฟป่า และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 - 16 และสาขาทุกสาขา รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 27 - 29 มิถุนายน 2553 ผู้เข้าสัมมนาเป็นข้าราชการในสังกัดสำนักป้องกัน ปราบปราม และ ควบคุมไฟป่า และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 - 16 และสาขา ทุกสาขา


81 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

81

6.5 โครงการฝึกอบรมหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อการป้องกันรักษาป่า (นคร.) 6.5.1 สาระสำคัญ : ปั จ จุ บั น สถานการณ์ ก ารบุ ก รุ ก ทำลายป่ า ไม้ และสัตว์ป่า ยังคงมีความรุนแรง โดยปัจจัยที่มีส่วนในการทำลาย ทรัพยากรป่าไม้มีความหลากหลายและซับซ้อน ซึ่งปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและที่ดิน ป่าไม้ ทำให้ พื้นที่ป่าลดลงขาดแคลนไม้กับปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ ทรั พ ยากรและที่ ดิ น ป่ า ไม้ เ ป็ น ไปอย่ า งรุ น แรงและกว้ า งขวาง ถ้าพิจารณาในภาพรวมจะเห็นได้ว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 พื้นที่ป่า ลดลงมากกว่า 53.30% ของพื้นที่ประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมี พื้ น ที่ ป่ า เหลื อ เพี ย งประมาณ 33% ของพื้ น ที่ ป ระเทศ เท่ า นั้ น ภายใต้ นโยบายของรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้กำหนดให้ปัญหาการบุกรุก ทรัพยากรป่าไม้เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน ภายใต้คำขวัญ การปฏิบัติงาน “เร็ว รุก บุกถึงที่” กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช จึงจัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อการป้องกันรักษาป่า (นคร.) ขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 และเพื่อเป็นการปฏิบัติ ตามนโยบายและสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 เห็นชอบแผนป้องกันรักษาป่าและฟื้นฟูสภาพป่า (พ.ศ. 2551 2555) ในส่วนมาตรการป้องกันรักษาป่าและฟื้นฟูสภาพป่า (เร่งด่วน) โดยมี ภ ารกิ จ หลั ก คื อ ปฏิ บั ติ ก ารด้ า นอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรป่ า ไม้ สนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยในพื้นที่ที่มีสถานการณ์รุนแรงและ ล่อแหลมต่อการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า พื้นที่ที่มีอันตรายจากกับระเบิด หรือพื้นที่ใกล้แนวชายแดน ซึ่งจำเป็นต้องใช้หน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วที่ขีดความสามารถสูงกว่าชุดปฏิบัติการปกติ ตรวจตราลาดตระเวนทางยุทธวิธีแผนใหม่ และมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามการบุกรุกทำลายป่า ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงาน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงได้จัดการฝึกอบรม นคร. เพื่อเป็นการสร้างระเบียบวินัย ทบทวนความรู้ และให้เจ้าหน้าที่ได้ฝึกฝน เรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ๆ ในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันรักษาป่า อาทิเช่น การส่งกำลังทางอากาศยาน การลาดตระเวน การเข้าจับกุม ผู้กระทำความผิด อาวุธศึกษา การข่าว การยิงฉับพลัน หลักการเป็นผู้นำ และยุทธวิธีทางการทหารต่างๆ ที่เหมาะสม ในการปฏิบัติงาน 6.5.2 ผลการดำเนินงาน : ระยะเวลาการฝึกอบรมจำนวน 10 วัน จำนวน 1 รุ่น ระหว่างวันที่ 8 - 17 มีนาคม 2553 ณ กรมทหารพรานที่ 26 ค่ายปักธงชัย อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ ในสังกัดสำนักป้องกันปราบปราม และควบคุมไฟป่า รวมจำนวน 80 คน


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

82

6.6 โครงการวิจัยด้านป่าไม้และสัตว์ป่า 6.6.1 สาระสำคัญ : การดำเนินงานโครงการวิจัยด้านป่าไม้และสัตว์ป่า เป็นการวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับใช้ ในการวางแผน การบริหารจัดการ อีกทั้งการวิจัยเพื่อคิดค้น เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ สำหรับการส่งเสริมการ อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการศึกษา วิจัย ด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 25502554) ยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พันธกิจของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเร่งด่วน ในการปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพของการดำเนินงานด้าน วิชาการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้สามารถแก้ไขปัญหาในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ อนุรักษ์ของประเทศได้ อีกทั้งสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์เร่งด่วนและพันธกรณีของประเทศที่มีต่อประชาคมโลก ในด้านการอนุรักษ์ เพื่อเป็นการบริหารจัดการและพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการวิจัยและกิจกรรมทางวิชาการ ให้ตอบสนองแก่การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ การนำไปใช้ประโยชน์ เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการ ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรท้องถิ่น ทั้งนี้ได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 5 ด้าน คือ (1) การวิจัย ด้านต้นน้ำ (2) การวิจัยด้านสัตว์ป่า (3) การวิจัยด้านพรรณพืช (4) การวิจัยด้านจุลินทรีย์ป่าไม้ และ (5) การวิจัย ด้านแมลงป่าไม้ 6.6.2 ผลการดำเนินงาน : 1) การวิจัยด้านต้นน้ำ 1.1 ทราบถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำที่ตนอาศัยอยู่ว่า ป่าช่วยปกป้องรักษาสภาพแวดล้อม ต่างๆ อาทิ ความสามารถในการดูดซับและระบายน้ำของพื้นที่ การควบคุมกระบวนการกัดชะพังทลายของดินและ การรักษาความสมบูรณ์ของดิน ตลอดจนการบรรเทาอุทกภัยและความแห้งแล้ง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือองค์ความรู้ เกี่ ย วกั บ ผลกระทบที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการปรั บ เปลี่ ย นพื้ น ที่ ป่ า ต้ น น้ ำ ไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการประกอบ อาชีพของประชาชนเอง ความรู้ดังกล่าวนี้นอกจากสร้างความ ตระหนักให้กับประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญของป่าต้นน้ำและ ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เข้ามาร่วมกับรัฐบาลในการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ ที่เสื่อม ยังเป็นเครื่องมือที่นำไปใช้ในการกำหนดการใช้ประโยชน์ ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์อีกด้วย 1.2 สามารถนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ ออกมาใช้ในปริมาณที่ไม่ส่งผลกระทบต่อ การควบคุ ม ระบบการดู ด ซั บ น้ ำ ฝนและระบายน้ ำให้ กั บ ลำธาร การป้องกันการกัดชะพังทลายของดิน การบรรเทาความรุนแรง ของภัยธรรมชาติ สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินที่ตนครอบครองอยู่ ณ บริเวณต้นน้ำ ในลักษณะที่ก่อให้เกิดเป็นรายได้ที่พอเพียงและ ยั่งยืน ควบคู่ไปกับรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ลดข้อขัดแย้ง ระหว่างความต้องการพื้นที่ทำกินของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณ พื้นที่ต้นน้ำกับความต้องการผลผลิตของทรัพยากรน้ำของประชาชน

82


83 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

83

ที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ท้ายน้ำ ช่วยบรรเทาความรุนแรงของภัยธรรมชาติ ลดการสูญเสียชีวิตทรัพย์สินของ ประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ รวมทั้งลดงบประมาณในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบเหตุการณ์ดังกล่าว 1.3 ทำให้ประชาชนโดยทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของป่าที่ขึ้นปกคลุมอยู่ในบริเวณพื้นที่ ต้นน้ำลำธาร ในรูปของจำนวนเงินที่เกิดขึ้นจากผลผลิตในรูปของเนื้อไม้และของป่า ตลอดจนมูลค่าทางสิ่งแวดล้อม ของพื้นที่ เพิ่มความถูกต้องในการวางเงินมัดจำศาล ประกอบการร้องเรียนค่าเสียหายทางคดีแพ่งจากผูบ้ ุกรุกทำลาย ป่าต้นน้ำ ทำให้รัฐมีรายได้สำหรับนำมาใช้ฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่ถูกทำลาย เพิ่มความถูกต้องในการศึกษา ความเป็นไปได้ ของโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ขออนุมัติเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ทำให้การดำเนินโครงการไม่ส่งผลกระทบ ให้การทำงานตามหน้าที่ของระบบนิเวศต้นน้ำมีการเปลี่ยนแปลง เป็นการลดค่าใช้จ่ายของรัฐในการป้องกัน และบรรเทา ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุทกภัย ดังที่ปรากฏอยู่เป็นประจำทุกปี 1.4 ทราบข้อมูลมูลค่าทางเศรษฐกิจของป่าไผ่ในพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้ไป วางแผนกำหนดนโยบายในด้านการใช้ประโยชน์ป่าไผ่ กรมฯ สามารถนำไปใช้ในการเรียกร้องค่าเสียหายทางเพ่งจาก ผู้บุกรุกทำลายป่าไผ่ในพื้นที่ต้นน้ำ ใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติหรือยุติโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ขอเข้าทำประโยชน์ ป่าไผ่ในพื้นที่ต้นน้ำ รวมทั้งการนำไปเผยแพร่เพื่อเป็นองค์ความรู้ในการวิจัยต่อไป 2) การวิจัยด้านสัตว์ป่า 2.1 ได้มีการประชุมร่วมกันกับชุมชนในพื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า เพื่ อ ความเข้ าใจในปั ญ หาร่ ว มกั น โดยอยู่ บ นพื้ น ฐานของงานวิ จั ย ที่ ด ำเนิ น การร่ ว มกั น มี ก ารถ่ า ยทอดวิ ธี ก าร และมาตรการในการลดความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่าไปยังพื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้ง มีการจัดประชุมสัมมนา ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า 2.2 ได้แนวทางในการจัดการและปรับปรุง แหล่ ง อาศั ย ของสั ต ว์ กิ น พื ช ขนาดใหญ่ เ พื่ อ การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เ วศ ในกลุ่ ม ป่ า ดงพญาเย็ น -เขาใหญ่ พบว่ า กวางป่ า มี ก ารกระจาย และความชุกชุมมากที่สุด รองลงมา คือ ช้างป่า กระทิง และวัวแดง ตามลำดับ ฤดูแล้งมีการกระจายของสัตว์ป่ามากกว่าฤดูฝน 2.3 ดำเนินการศึกษาศักยภาพของสัตว์ป่าที่มี คุณค่าทางเศรษฐกิจชนิดพันธุ์ที่มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมท้องถิ่น และความเป็นอยู่ของมนุษย์ พบว่า นกปรอดหัวโขนและไก่ป่าเป็น สัตว์ป่าคุ้มครองที่ยังคงมีปัญหาด้านการคุกคาม จึงควรมีการอนุรักษ์ ไว้ ใ นพื้ น ที่ ป่ า อนุ รั ก ษ์ ในชณะเดี ย วกั น ก็ ค วรมี ก ารส่ ง เสริ ม ให้ มี การขยายพันธุ์อย่างถูกต้องตามกฏหมาย 2.4 เก็บตัวอย่าง สกัดดีเอ็นเอ เพิ่มปริมาณ ดีเอ็นเอและหาลำดับเบสในชิ้นส่วนของยีน Cytochrome b ใน สัตว์ป่าวงศ์กวาง (Cervidae) วงศ์วัว-ควาย (Bovidae) วงศ์เสือ-แมว (Cernidae) วงศ์สุนัข และ Primates บางชนิด จัดทำฐานข้อมูล ของลำดับเบส (นิคลีโอไทด์) ของสัตว์ป่า และสิ่งที่พบในประเทศไทย เพื่อใช้ประโยชน์ในการเปรียบเทียบลำดับเบสของสัตว์ป่าของกลางที่พบ ในประเทศไทย เนื่องจากฐานข้อมูลสากล (Gen Bank) ยังขาด ตัวอย่างเปรียบเทียบในชนิดที่เป็นของประเทศไทยอยู่มาก


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

84

3) การวิจัยด้านพรรณพืช 3.1 การสำรวจและประเมิ น สถานภาพ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พรรณพืชในประเทศไทย ในปี 2553 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ - ดำเนินการสำรวจ บันทึกข้อมูล และ เก็บตัวอย่างการใช้ประโยชน์พรรณพืชจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นใน ด้านงานหัตถกรรมชุมชน วัฒนธรรมประเพณี ในภูมิภาคต่างๆ โดยมุ่งเน้นงานหัตถกรรมหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งมี การใช้ ป ระโยชน์ พ รรณพื ช จากภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น อย่ า งชั ด เจน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนข้อมูลพรรณพืชใน งาน OTOP ยกเว้นหวายและไผ่ซึ่งมีข้อมูลการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง อยู่แล้ว จากการสำรวจศึกษาได้บันทึกข้อมูลการใช้ประโยชน์พรรณพืชในงานหัตถกรรม จำนวน 15 กลุ่ม มีการนำ พืชมาใช้ประโยชน์ จำนวน 18 ชนิด ได้แก่ กก กระจูด คลุ้ม คล้า เตย ลิเภา มะพร้าว ตาล ลาน กระพ้อ โสน ไมยราพยักษ์ ผักตบชวา ปอกระสา กล้วย ปาล์มเป้ง หญ้าไม้กวาด หญ้าคา ผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ประโยชน์ มีหลากหลายประเภททั้งของใช้ของตกแต่งบ้านเรือนเครื่องประดับตกแต่งต่างๆ อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจวิเคราะห์ ข้อมูลด้านพืชและการใช้ประโยชน์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและสรุปผล - ดำเนินการออกสำรวจเก็บตัวอย่างพรรณไม้ในพื้นที่เป้าหมายในแต่ละภูมิภาคจากข้อมูลที่ ได้จากฐานข้อมูลพรรณไม้แห้งและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยสามารถเก็บรวบรวมตัวอย่างได้ประมาณ 1,000 หมายเลข ทำการประเมิ น สถานภาพของพื ช ที่ ถู ก คุ ก คามในพื้ น ที่ อุ ท ยานแห่ ง ชาติ จ ำนวน 3 แห่ ง ได้ แ ก่ อุทยานแห่งชาติเขาหลวง อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก และอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว โดยดำเนินการศึกษาตามวิธีการประเมินของ IUCN โดยสามารถ นำเข้าข้อมูลเพิ่มเติมรายชื่อพืชที่ถูกคุกคามเพิ่มเติมจากรายชื่อเดิม ออกสำรวจเก็บตัวอย่างพรรณไม้ในท้องที่ จังหวัดมุกดาหาร นครพนม สกลนคร เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาด้านอนุกรมวิธานพืชต่อไป 3.2 การศึกษาโครงสร้างและพลวัตของป่า ธรรมชาติเพื่อการฟื้นฟูป่าอนุรักษ์ ในปี 2553 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ - พลวัตของสังคมพืชป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา-ดิบเขาจากแปลงตัวอย่างถาวรขนาดใหญ่ ได้ดำเนิน การวัดซ้ำในแปลงป่าดิบชื้น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด 6 เฮกแตร์ แปลงป่าดิบเขา-สนเขา ที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว 4 เฮกแตร์ รวมพื้นที่ที่ทำการวัดซ้ำแล้วประกอบด้วย - ป่ า ดิ บ แล้ ง ที่ เ ขตรั ก ษาพั น ธุ์ สั ต ว์ ป่ า ห้วยขาแข้ง 1 แปลง (16 เฮกแตร์) - ป่ า ดิ บ ชื้ น ที่ เ ขตรั ก ษาพั น ธุ์ สั ต ว์ ป่ า เทือกเขาบรรทัด 6 เฮกแตร์ - ป่ า ดิ บ เขา-สนเขา ที่ อุ ท ยานแห่ ง ชาติ น้ำหนาว 4 เฮกแตร์

84


85 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

85

3.3 พลวัตของสังคมพืชป่าผลัดใบ จาก แปลงตัวอย่างถาวรขนาดเล็กได้ดำเนินการวัดซ้ำ จำนวน 5 แปลง ประกอบด้วย - ป่าเบญจพรรณ ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุ้มผาง 2 แปลง - ป่ า เต็ ง รั ง (ยางกราด) ที่ ส ถานี วิ จั ย สิ่งแวดล้อมสะแกราช - ป่าเต็งรัง (ยางพลวง) ที่อุทยานแห่งชาติ แม่ปิง (แปลงที่ 4) - ป่าเต็งรัง (รัง) ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง (แปลงที่ 5) รวมจำนวนแปลงที่ได้ดำเนินการวัดซ้ำ (ปีงบประมาณ 2551-2553) 17 แปลง 3.4 พลวั ต ของสั ง คมพื ช ป่ า ผลั ดใบจาก แปลงตั ว อย่ า งถาวรขนาดใหญ่ ได้ ด ำเนิ น การวั ด ซ้ ำ ในแปลง ป่าเบญจพรรณชื้น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง 7 เฮกแตร์ และแปลงป่าเต็งรัง ที่อุทยานแห่งชาติแม่ปิง 6 เฮกแตร์ รวมพื้นที่ที่ ดำเนินการวัดซ้ำแล้ว ประกอบด้วย - ป่ า เบญจพรรณแล้ ง ที่ เ ขตรั ก ษาพั น ธุ์ สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง 1 แปลง (16 เฮกแตร์) - ป่ า เบญจพรรณชื้ น ที่ เ ขตรั ก ษาพั น ธุ์ สัตว์ป่าเชียงดาว 1 แปลง (16 เฮกแตร์) - ป่ า เบญจพรรณชื้ น ที่ เ ขตรั ก ษาพั น ธุ์ สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง 7 เฮกแตร์ - ป่าเต็งรัง ที่อุทยานแห่งชาติแม่ปิง 12 เฮกแตร์ 3.5 การศึ ก ษาความหลากหลายทางพั น ธุ ก รรมของไม้ ป่ า ในประเทศไทย โดยใช้ Isoenzyme gene และ DNA markers มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ - การพัฒนาเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ในไม้พะยูง - การพัฒนาเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ของไม้พะยูงโดยการหาลำดับเบสจากทั้งหมด 80 clones พบส่วนที่เป็นไมโครแซทเทลไลท์ทั้งหมด 55 clones สามารถออกแบบไพรเมอร์ได้ 42 คู่ จากการ ทดสอบคู่ไพรเมอร์ทั้ง 42 คู่ ในเบื้องต้นพบว่ามี 5 คู่ไพรเมอร์ที่มี polymorphism ตำแหน่งที่ให้แอลลีลต่ำสุด คือ 2 แอลลีล ตำแหน่งที่ให้แอลลีลสูงสุดคือ 4 แอลลีล โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.0 แอลลีลต่อตำแหน่ง อย่างไรก็ตามยังจะต้องมีการพัฒนาเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ที่มีจำนวนแอลลีลต่อตำแหน่งที่สูงเพิ่มมากขึ้น ในอนาคต เพื่อรองรับการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม ระบบการสืบพันธุ์และลายพิมพ์ดีเอ็นเอของ ไม้พะยูงในอนาคตต่อ - การพัฒนาไมโครแซทเทลไลท์มาร์กเกอร์ในยางนา จากการหาลำดับเบส ชิ้นดีเอ็นเอ จาก 80 clones จาก genomic libraries พบส่วนที่เป็นไมโครแซทเทลไลท์ทั้งหมดมี 55 ชิ้นดีเอ็นเอ (clones) คิดเป็น เปอร์เซ็นต์ 76.36 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นชุดซ้ำแสดงดังรูปที่ 1 โดยมีชุดซ้ำ CA/AC 23 ชิ้น


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

86

ชุดซ้ำ TG/GT 25 ชิ้น ชุดซ้ำ TA/AT 3 ชิ้น ชุดซ้ำ GA/AG 3 ชิ้น และชุดซ้ำ CT/TC 1 ชิ้น มีความยาว โดยเฉลี่ย ของชุดซ้ำเท่ากับ 9 ชุดซ้ำ (18 bp) โดยชุดซ้ำที่สั้นที่สุดคือ (TC)3 และชุดซ้ำที่ยาวที่สุดคือ (GT)31 จากการนำชิ้นดีเอ็นเอที่มีส่วนของไมโครแซทเทลไลท์มาออกแบบไพร์เมอร์ โดยใช้โปรแกรม primer 3 (Rozen and Skaletsky, 2000) ส่วนที่ออกแบบไม่ได้นั้นเนื่องจากส่วนที่เป็นชุดซ้ำนั้นอยู่ติดกับส่วนที่เป็นดีเอ็นเอเวคเตอร์มาก เกินไปซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 13 ชิ้น และจากการทดสอบคู่ไพรเมอร์ทั้ง 42 คู่ สามารถออกแบบไพรเมอร์ได้ 10 คู่ - การพัฒนาไมโครแซทเทลไลท์มาร์กเกอร์ในไม้สะเดา จากการทดลองครั้งนี้ทำให้ได้จำนวน ไมโครแซทเทลไลท์ไพรเมอร์ที่สามารถนำมาใช้ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมในไม้สะเดาได้ถึง 11 ตำแหน่ง ในการทดลองต่อจากนี้จะเป็นการนำไพรเมอร์ที่คัดเลือกได้ดังกล่าวไปใช้ศึกษาความหลากหลายของไม้สะเดา สองชนิดที่พบกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทยได้แก่ไม้สะเดาไทยและสะเดาอินเดีย การทดลองดังกล่าวจะเป็น ประโยชน์ในการทำให้ทราบค่าพารามิเตอร์ต่างๆทางพันธุกรรม ทำให้สามารถนำไปบริหารจัดการทรัพยากรไม้สะเดา ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านการส่งเสริมให้นำมาใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พันธุกรรมไม้สะเดา ต่อไป - การพัฒนาไมโครแซทเทลไลท์มาร์กเกอร์ในไม้กฤษณา การพัฒนาไมโครแซทเทลไลท์ กฤษณาโดยการหาลำดับเบสจากทั้งหมด 110 clones พบส่วนที่เป็นไมโครแซทเทลไลท์ทั้งหมด 39 clones สามารถออกแบบไพรเมอร์ได้ 22 คู่ ในเบื้องต้นพบว่ามี 3 คู่ ไพรเมอร์ที่มี polymorphism ตำแหน่งที่ให้อัลลีล ต่ำสุดคือ 2 อัลลีล และตำแหน่งที่ให้อัลลีลโดยมีค่าเฉลี่ยของอัลลีลเท่ากับ 3 อัลลีลต่ำแหน่ง อย่างไรก็ตามยังจะต้อง มีการพัฒนาไมโครแซทเทลไลท์มาร์กเกอร์ที่มีจำนวนอัลลีลต่อตำแหน่งที่สูงเพิ่มมากขึ้นในอนาคต เพื่อรองรับการศึกษา ความหลากหลายทางพันธุกรรม จากการศึกษาผลลัพธ์ที่ได้ คือ - ทราบสถานภาพความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้และพืชป่า - ทราบความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้และพืชป่าโดยใช้ molecular markers - สามารถเปรียบเทียบสถานภาพความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ป่าและพืชป่า - สามารถประเมินสถานภาพแหล่งพันธุกรรมไม้ป่าโดยใช้ DNA marker - สามารถวินิจฉัยลักษณะพันธุกรรมแม้ไม้ศึกษาทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการ ปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่าและอนุรักษ์พันธุกรรมแม่พันธุ์ที่ดีของประเทศไทย 3.6 การวิจัยคืนกล้วยไม้สู่ป่าธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์ จากการศึกษาศักยภาพชุมชนกับการมี ส่วนร่วมในการวางแผนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้กรณีศึกษาพื้นที่มรดกโลก (เขาใหญ่-ทับลาน) พบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่หากล้วยไม้ป่าจากพื้นที่ป่าบริเวณรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่-ทับลาน เพื่อนำไปปลูกประดับไว้ หน้าบ้านและเมื่อมีนักท่องเที่ยวขอซื้อในราคาที่เหมาะสมก็ขาย แต่จะมีจำนวนน้อยมากที่ทำเป็นการค้าเพราะกล้วยไม้ ป่าเลี้ยงยาก เจริญเติบโตช้า ออกดอกช้าจึงไม่นิยมปลูกเพื่อการค้า สำหรับการศึกษาธาตุอาหารในดินเพื่อการ เจริ ญ เติ บโตของกล้ ว ยไม้ ดิ น นั้ น ปรากฏว่ า กล้ ว ยไม้ ดิ น ที่ พ บเห็ น ส่ ว นมากจะเจริ ญ บนสภาพเนื้ อ ดิ น เป็ น ทราย สภาพเป็นกรด ธาตุอาหารต่ำ แต่ปริมาณสารอินทรีวัตถุสูง เพราะมีการสะสมของซากใบไม้กิ่งไม้ จากการศึกษามี ผลลัพธ์ที่ได้ คือ - ทราบสูตรอาหารที่ชาวบ้านหรือเกษตรกรสามารถนำไปใช้ในการขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่า โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ด้วยตนเอง - ทราบถึ ง ปริ ม าณธาตุ อ าหารและความชื้ น ที่ มี ผ ลต่ อ การเจริ ญ เติ บโตของกล้ ว ยไม้ ดิ น บางชนิดโดยเฉพาะรองเท้านารีปีกแมลงปอและสำเภางาม - กล้วยไม้ป่าที่ใช้สำหรับคืนสู่ป่าธรรมชาติตลอดโครงการประมาณ 2,500 ต้น

86


87 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

87

3.7 การศึกษาวัฏจักรคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ได้ดำเนินการศึกษาวัฏจักรคาร์บอนในป่าดิบชื้น เขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการศึกษาได้ - แบบจำลอง (model) การประมาณค่าดุลยภาพคาร์บอน (Carbon balance) โดยสามารถ ประมาณค่าการเก็บกักคาร์บอนและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของป่าดิบชื้น เพื่อนำไปใช้ในการประเมินศักยภาพ ของป่าดิบชื้นในการเก็บกักคาร์บอนหรือปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ - รูปแบบการศึกษาวิจัยในการประเมินศักยภาพของป่าในการเก็บกักคาร์บอนและปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 4) การวิจัยด้านจุลินทรีย์ป่าไม้ ทำการศึกษาความหลากชนิดของเห็ดในบริเวณอุทยาน แห่งชาติแม่ปิง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบเห็ดจำนวนทั้งสิ้น 215 ตัวอย่าง จำแนกได้ 134 ชนิด จัดอยู่ใน 52 สกุล 26 วงศ์ 10 อันดับ 2 ชั้นย่อย และ 1 ชั้น แบ่งตามบทบาทหน้าที่ในระบบนิเวศได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ เห็ดย่อยสลายอินทรียวัตถุ 68 species (43.87%) เห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา 70 species (45.16%) เห็ดโคนปลวก 4 species (2.58%) เห็ดปาราสิต 3 species (1.94%) และเห็ดที่ยังไม่สามารถจำแนกได้ 10 species (6.45%) 5) การวิจัยด้านแมลงป่าไม้ ทำการสำรวจความหลากหลายของหิ่งห้อยในเขตรักษา พั น ธุ์ สั ต ว์ ป่ า เขาสอยดาว ในพื้ น ที่ เ ขตรั ก ษาพั น ธุ์ สั ต ว์ ป่ า เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี โดยเก็บข้อมูลหิ่งห้อยในพื้นที่ 3 สภาพป่า คือ ป่าดิบชื้น


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

88

ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ เดือนละ 1 ครั้ง พบหิ่งห้อยจำนวน 13 ชนิด 4 สกุล 3 วงศ์ย่อย คือ วงศ์ย่อย Luciolinae ได้แก่ Luciola (6 ชนิด) วงศ์ย่อย Lampyrinae ได้แก่ Diaphanes (3 ชนิด) Pyrocoelia (3 ชนิด) และวงศ์ย่อย Ototretinae ได้แก่ Stenocladius (1 ชนิด) ทำให้ทราบความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของหิ่งห้อยในพื้นที่ ทราบฤดูกาลการปรากฏของหิ่งห้อยแต่ละชนิด และวิธีการสำรวจหิ่งห้อย ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว 6) การเผยแพร่ผลงานวิจัยและเอกสารทางวิชาการ - จัดทำเอกสารเผยแพร่ในรูปแบบหนังสือ โปสเตอร์ และ DVD - เผยแพร่และบริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ - บันทึกเทปรายการวิทยุกระจายเสียงของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช - การให้บริการศึกษา ดูงานในห้องปฏิบัติการ - การให้บริการองค์ความรู้ในรูปของวิทยากร ให้บริการดูงาน จัดนิทรรศการและอบรม ให้บริการข้อมูล ให้คำปรึกษาแนะนำ ให้กับหน่วยงานสังกัดกรมฯ หน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต เป้าหมาย ผลผลิต ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก หน่วยนับ ปี 2552 ปี 2553 ปี 2553 ทธศาสตร์งานด้านการวิจัย กิจกรรมยุ ชุด/โครงการ 69 เรื่อง 24 24 ผลลัพธ์ที่ได้ องค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า 5 ด้าน 6.6.3 ปัญหา อุปสรรค และ เงื่อนไขความสำเร็จ - ปัญหา อุปสรรค 1) การวิจัยด้านต้นน้ำ - งานศึกษาวิจัยไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณในหมวดครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง มาเป็น ระยะเวลาหลายปี โดยเฉพาะยานพาหนะที่จำเป็นในการเดินทางเข้าพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลที่อยู่ห่างไกลจากที่ทำการ ต้องใช้ยานพาหนะค่อนข้างเก่าซึ่งพบปัญหาไม่สามารถใช้งานได้ทุกวัน จึงทำให้ขาดข้อมูลต่อเนื่องและขาดเครื่องมือ วิทยาศาสตร์ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ซึ่งค่อนข้างขาดมาตรฐาน ทำให้เครื่องมือไม่สามารถใช้งานได้นาน 2) การวิจัยด้านสัตว์ป่า - การศึ ก ษาแนวทางการจั ด การและอนุ รั ก ษ์ ป ระชากรสั ต ว์ กิ น พื ช ขนาดใหญ่ ใ นกลุ่ ม ป่ า ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ พื้นที่ทำการศึกษาอยู่ใกล้กับหมู่บ้านทำให้การเก็บข้อมูลและร่องรอยสัตว์ป่า จำเป็นต้องแยก ร่องรอยของสัตว์ป่ากับสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านให้ถูกต้องและชัดเจน - การศึ ก ษาศั ก ยภาพของสั ต ว์ ป่ า ที่ มี คุ ณ ค่ า ทางเศรษฐกิ จ ชนิ ด พั น ธุ์ ความสั ม พั น ธ์ กั บ วัฒนธรรมท้องถิ่น และความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต พบว่ามีปัจจัยหลายด้านที่ไม่อาจ ควบคุมได้ เช่น ฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงและข้อมูลไม่ต่อเนื่อง (สัตว์สูญหายหรือตาย)

88


89 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

89

- การศึกษาพันธุกรรมของสัตว์ป่าหายากและ ใกล้ สู ญ พั น ธุ์ ใ นประเทศไทย เครื่ อ งมื อ และอุ ป กรณ์ ที่ ใ ช้ ใ นห้ อ ง ปฏิบัติการมีไม่เพียงพอ ทำให้งานล่าช้า 3) การวิจัยด้านพรรณพืช - การดำเนินงานสำรวจศึกษาเก็บข้อมูลการ ใช้ประโยชน์พรรณพืชจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นงานที่ต้องอาศัย ระยะเวลาการดำเนินงานและต้องสอดคล้องกับวิถีการดำเนินงาน ของชาวบ้ า นที่ อ ยู่ ห่ า งไกลมี ข นบธรรมเนี ย มประเพณี ความเชื่ อ ช่วงเวลาการดำเนินงานที่แตกต่างกัน การเข้าถึงพื้นที่และพบปะกับ แหล่งข้อมูลเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องอาศัยการวางแผนการ ปฏิ บั ติ ง านให้ เ หมาะสมกั บ วี ถี ข องชุ ม ชน ปั จ จุ บั น วิ ถี ชุ ม ชนมี ก าร เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาเป็นสังคมเมือง เน้นความ สะดวกสบายและทันสมัยมากขึ้น ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ พรรณพืชที่ยังคงหลงเหลืออยู่กับผู้สูงอายุในชนบท ซึ่งส่วนใหญ่ แก่ชราและหลงลืมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หากขาดผู้สืบทอดภูมิปัญญา ก็จะสูญหายไปในที่สุด - การเข้าถึงพื้นที่ในการสำรวจเพื่อให้ทราบถึง การกระจายพันธุ์ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพของพื้นที่ เป็นไปด้วยความยากลำบาก ในบางพื้นที่สภาพพื้นที่มีปัจจัยคุกคาม ต่อสถานภาพอย่างรวดเร็ว เช่น การบุกรุกแหล่งที่อยู่ การพัฒนา พื้นที่ทำให้การประเมินไม่ทันต่อสถานการณ์ - ในการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมและสืบค้น หายีนพบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน คือ ตัวอย่างที่ได้รับ เข้ามาตรวจอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ เช่น มีการปนเปื้อนของเครื่องเทศ ซึ่งเกิดจากการลักลอบค้าเนื้อสัตว์ป่าเพื่อการบริโภค ตัวอย่างที่ได้รับ มีลักษณะเน่าเปื่อยมากเกินไป หรือในกรณีที่ตัวอย่างเป็นกระดูกต้อง ทำการกำจัดแคลเซียมออกซึ่งเป็นวิธีค่อนข้างยุ่งยากต้องใช้ระยะเวลา ในการกำจัด หรือปริมาณตัวอย่างที่ได้รับน้อยเกินไป ซึ่งปัญหา เหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินงานในขั้นตอนการสกัด ดีเอ็นเอ เพราะจะทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานและส่งผลกระทบ ต่อขั้นตอนอื่นๆ ต่อไปด้วย - การอนุรักษ์พันธุกรรมของไม้ป่าและพันธุ์พืชอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพจะต้องทราบถึง พื้นฐานทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้และพืชป่า แต่ละชนิดก่อนว่ามีพื้นฐานทางพันธุกรรมอย่างไร มีความแตกต่าง และหลากหลายทางพั น ธุ ก รรมระหว่ า งแหล่ ง มี อั ต ราผสมข้ า มและผสมตั ว เองแตกต่ า งกั น มากน้ อ ยแค่ ไ หน สามารถดำเนินการได้โดยมาใช้ molecular makers มาดำเนินการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลดังกล่าว เมื่อทราบว่าแหล่ง พันธุกรรมใดมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง ก็จะสามารถดำเนินการจัดตั้งเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรม


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

90

ทางธรรมชาติได้ หากแหล่งพันธุกรรมใดมีความล่อแหลมต่อการลดลงของความหลากหลายทางพันธุกรรมก็จะต้อง เร่งดำเนินการจัดการฟื้นฟูเพื่อไม่ให้มีความสูญเสีย gene pool ของชนิดพันธุ์ไม้และพืชป่านั้นๆ - เนื่องจากงบประมาณมีจำนวนจำกัดทำให้การทำงานของโครงการย่อยทั้งหมดต้องทยอยทำ ในปีต่อๆ ไป ทำให้บางโครงการย่อยไม่มีรายงานความก้าวหน้า ส่งผลให้การดำเนินงานวิจัยไม่สอดคล้องกัน 4) การวิจัยด้านจุลินทรีย์ป่าไม้ - การศึกษาด้านจุลินทรีย์ป่าไม้ โดยเฉพาะการจัดจำแนกชนิดนั้น เครื่องมือที่ใช้ส่วนใหญ่เป็น ของต่างประเทศ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีระดับโมเลกุล ซึ่งยังขาดทั้งบุคลากรและเครื่องมือ 5) การวิจัยด้านแมลงป่าไม้ - ปัจจุบันกุญแจ (key) ของหิ่งห้อยยังมีไม่มาก การวิเคราะห์ชนิดจึงต้องใช้ความระมัดระวัง และต้องใช้เวลามาก - ได้รับงบประมาณล่าช้า ทำให้เริ่มดำเนินการเก็บข้อมูลล่าช้า - เงื่อนไขความสำเร็จ 1) การดำเนินโครงการให้ประสบผลสำเร็จประกอบด้วยปัจจัยในหลายๆ ด้าน ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ มีพาหนะและอุปกรณ์การวิจัยที่เหมาะสม การดำเนินงานจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลา ที่ต่อเนื่องและยาวนาน รวมไปถึงการได้รับการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอนอกจากนั้นการทำงานยังขึ้นกับปัจจัย ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ การคุกคามพื้นที่อนุรักษ์ด้วยสาเหตุต่างๆ และ ขนบธรรมเนียมประเพณีของคนในท้องถิ่น เป็นต้น 2) ในการวิจัยด้านสัตว์ป่า การมีห้องปฏิบัติการด้านพันธุศาสตร์สัตว์ป่าโดยเฉพาะเป็น เงื่อนไขที่สำคัญ เนื่องจากตัวอย่างประเภทสัตว์ป่า เช่น เลือด เนื้อเยื่อ และมูล ต้องระมัดระวังในเรื่องของ การปนเปื้อนสูง จำเป็นต้องแยกออกจากห้องปฏิบัติการประเภทอื่น 3) การทำงานวิจัยแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์และ ความรู้ให้กับนักวิจัยของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 6.6.4 ข้อเสนอแนะ 1) งบประมาณในการดำเนินการวิจัยของกรมฯ ค่อนข้างน้อยมากเมื่อเทียบกับงบประมาณ ในการดำเนิ น งานด้ า นอื่ น ๆ หรื อ เที ย บกั บ หน่ ว ยงานอื่ น ๆ ได้ รั บ การจั ด สรรลดลงทุ ก ปี หากเป็ น เช่ น นี้ ต่ อไป งานศึกษาวิจัยของกรมฯ จะไม่สามารถคงอยู่ได้ 2) กรมฯ จะต้องให้ความสำคัญกับงานวิจัยมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จะต้องกำหนด แผนงาน นโยบาย และงบประมาณให้อยู่ในอันดับต้นๆ หรือเป็นงานสำคัญของกรมฯ มิใช่ถดถอยหลังดังเช่น ปัจจุบัน ควรให้มีการปรับโครงสร้างบุคลากรให้เหมาะสม ให้นักวิจัยมีโอกาสก้าวหน้าในสายงานของตนเอง รวมทั้ง ควรจัดให้มีผู้บริหารงานวิจัยที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม 3) กรมฯ จะต้องนำงานวิจัยไปเป็นข้อมูลสนับสนุนในการกำหนดนโยบายและแผนงานดำเนินงาน ประจำปี หรือผลักดันให้หน่วยงานในสังกัด นำผลงานวิจัยไปใช้ในการปฎิบัติงาน เนื่องจากในปัจจุบัน กรมฯ ได้ดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ โดยมิได้อยู่บนพื้นฐานงานวิจัย ก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้ 4) ควรมีการสนับสนุนบุคลากรรุ่นใหม่ด้านการวิจัย เพื่อให้งานวิจัยของกรมฯ เป็นไปอย่าง ต่อเนื่อง

90


91 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

91

ยุทธศาสตร์ที่ 7 พั ฒนาและปรับปรุงเครื่องมือกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีประสิทธิภาพ 7.1 โครงการเตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และคุณภาพสิ่งแวดล้อม 7.1.1 สาระสำคัญ : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินงานเพื่อเตรียมการรับมือจากการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศและคุณภาพสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยจัดทำโครงการ วิจัย ศึกษา ผลกระทบ ความเปราะบางและการปรับตัวในประเทศไทย ศึกษาวิจัยนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งได้จัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนทุกภาคส่วน โดยจัดทำโครงการคนไทยหัวใจสีเขียว (Be Green) การจัดการ มูลฝอยในชุมชนในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว นอกจากนี้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการ รวบรวมข้อมูล และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อเป็น แนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ประเทศไทยสามารถปรับตัวและบรรเทาปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะวิกฤตโลกร้อนได้ 7.1.2 ผลการดำเนินงาน : 1) งานวิ จั ย เตรี ย มรั บ มื อ การเปลี่ ย นแปลง สภาพภูมิอากาศและคุณภาพสิ่งแวดล้อม - โครงการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ความล่อแหลม และการประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติและภาวะความรุนแรงทาง สภาพภูมิอากาศในพื้นที่วิกฤต - โครงการวิจัยลักษณะนิเวศอุทกวิทยาของ แหล่งน้ำไหลในประเทศไทย - โครงการศึ ก ษาการเปลี่ ย นแปลงสภาพ ภู มิ อ ากาศในประเทศไทย กรณี ศึ ก ษาการลดการปล่ อ ยก๊ า ซ เรือนกระจกด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (3Rs) 2) โครงการคนไทยหัวใจสีเขียว - กิจกรรมรณรงค์ 45 วัน รวมพลังลด ถุงพลาสติก ลดโลกร้อน โดยดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2553 - วั น ที่ 5 มิ ถุ น ายน 2553 ได้ จั ดให้ มี พิ ธี ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมกับภาคีความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม 18 องค์กร ในการร่วมกันรณรงค์ลดถุงพลาสติกตลอดระยะเวลา 45 วัน โดยมีผลดำเนินงานลดปริมาณถุงพลาสติกได้ 14,003,728 ใบ - กิจกรรมประกวดร้องเพลง คนไทยหัวใจ สีเขียว Be Green Teen Singing Contest การดำเนินโครงการฯ


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

92

แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและ ระดับอุดมศึกษา มีทีมที่สมัครเข้าร่วมประกวดทั้งหมด 65 ทีม แบ่งเป็นระดับมัธยมศึกษา 20 ทีม และระดับอุดมศึกษา 45 ทีม - การผลิตสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการ คนไทยหัวใจสีเขียว เช่น สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ แผ่นพับ นิทรรศการ ป้ายประชาสัมพันธ์ 3) โครงการประกวดชุมชนปลอดขยะ Zero Waste ดำเนิ น การจั ด อบรมให้ ค วามรู้ แ ก่ อ งค์ ก รปกครอง ส่วนท้องถิ่นและชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 4 ภูมิภาค มีผู้เข้าร่วม ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 144 ชุมชน จาก 109 องค์กรปกครอง ส่ ว นท้ อ งถิ่ น ทั่ ว ประเทศ จากผลดำเนิ น งานระหว่ า งวั น ที่ 20 มกราคม - 30 เมษายน 2553 ชุมชนสามารถนำขยะมูลฝอย กลั บ มาใช้ ป ระโยชน์ แ ละเรี ย กคื น เพื่ อ นำไปกำจั ด อย่ า งถู ก วิ ธี รวมทั้งหมด 32,234.70 กิโลกรัม ขยะอินทรีย์ 14,853 กิโลกรัม ขยะรีไซเคิล 12,759.60 กิโลกรัม ขยะอันตรายกำจัดอย่างถูกวิธี 278.60 กิโลกรัม และขยะพลาสติก กระดาษสี ทั่วไป รวม 2,001.40 กิโลกรัม 4) โครงการข้อมูลสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย 5) โครงการข้ อ มู ล สิ่ ง แวดล้ อ มเพื่ อ สนั บ สนุ น การศึ ก ษาการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ เป็นการดำเนินงานเพื่อสร้างโครงข่าย (Network) ในการรวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มี ความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากจังหวัดนำร่องในทุกภาคทั่วประเทศและนำเสนอข้อมูลใน ภาพรวมระดับภาคและระดับภูมิภาค โดยสถาบันการศึกษาที่เข้าเป็นเครือข่ายได้ร่วมกันกำหนดรายการดัชนี สิ่งแวดล้อมจำนวน 21 รายการ ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล และส่งข้อมูลที่ได้จัดเก็บผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อนำมาสรุปผล นำเสนอผ่านเว็บไซต์ในปี 2553 มีสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา เข้าร่วมเป็น เครือข่ายรวม 32 แห่ง จากทั่วทุกภาคของประเทศไทย นอกจากนี้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้มอบ งบประมาณสนับสนุนสถาบันการศึกษาที่เป็นเครือข่าย สถาบันละ 10,000 บาท พร้อมมอบเครื่องมือและอุปกรณ์ ในการจัดเก็บข้อมูลสถาบันละ 1 ชุด เพื่อใช้สนับสนุนการศึกษาและการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลของเครือข่าย และรายงานผลข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ http://www.gwnetwork.in.th รวมถึงได้มีการร่วมกันจัดทำรายงานวิชการ ของโครงการเพื่อเผยแพร่ต่อไป

92


ผลผลิตและผลลัพธ์ กิจกรรมที่ 1 : เตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ คุณภาพ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับความรู้ มีส่วนร่วม โครงการ/ กิจกรรม ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่มีความพึงพอใจ ร้อยละ ในการรับบริการข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม

ผลผลิต ปี 2552 - -

เป้าหมาย ปี 2553 530 75

ผลผลิต ปี 2553 2,364 89.00

ผลผลิต (Output) 1. สถานศึกษาที่สนใจและเข้าร่วมโครงการฯ ในทุกภูมิภาคของประเทศจำนวน 32 แห่ง 2. ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการเก็บข้อมูลของ สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ 1 ชุดข้อมูล 3. รายงานทางวิชาการของโครงการฯ ประจำปี 2553 จำนวน 1,000 เล่ม ผลลัพธ์ที่ได้

93 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

หน่วยนับ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

1. ผลจากการประมวลและวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล การเปลี่ ย นแปลงของสิ่ ง แวดล้ อ มและการดำรงชี วิ ต ที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูล ของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ 2. การรั บ ทราบโครงการฯ การใช้ ป ระโยชน์ การแลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ที่ เ กี่ ย วข้ อ งและการติ ด ตามสถานการณ์ สิ่ ง แวดล้ อ ม ที่ เ ปลี่ ย นแปลง อั น เนื่ อ งมาจากการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ ของภาครั ฐ สถานศึ ก ษา ประชาชน เยาวชน และผู้ที่สนใจทั่วไป

93

7.1.3 ปัญหา อุปสรรค และเงื่อนไขความสำเร็จ : 1. ปัญหาภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรวบรวมข้อมูล ที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษาที่เข้าร่วม โครงการฯ เช่น ค่าอุปกรณ์ในการจัดเก็บ ค่าเดินทางเพื่อเก็บข้อมูล เป็นต้น 2. ปัญหาการรับทราบโครงการฯ การใช้ประโยชน์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องและ การติดตามสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาครัฐ สถานศึกษา ประชาชน เยาวชน และผู้ที่สนใจทั่วไป ยังอยู่ในวงจำกัด 7.1.4 ข้อเสนอแนะ : การดำเนินงานโครงการข้ อ มู ล สิ่ ง แวดล้ อ มเพื่ อ สนั บ สนุ น การศึ ก ษาการเปลี่ ย นแปลงสภาพ ภูมิอากาศในปี 2554 จะรวบรวมข้อมูลและจัดทำองค์ความรู้ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.environnet.in.th ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลที่สนับสนุนการเรียนรู้เรื่อง การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในเชิงรุกสำหรับประชาชนทุกระดับต่อไป


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

94

7.2 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพัฒนาเครือข่ายเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7.2.1 สาระสำคัญ : ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พ.ศ. 2552 หมวด 2 มาตรา 16 และมาตรา 17 ได้กำหนดให้ อปท. ต้องจัดทำแผนการพัฒนาการ จัดการสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น แต่ด้วยข้อจำกัดในศักยภาพและองค์ความรู้ ด้านสิ่งแวดล้อมของ อปท. ทำให้การขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย กรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงได้กำหนดให้มีโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถบุคลากรของ อปท. ให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และสามารถวางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่ 7.2.2 ผลการดำเนินงาน : 1) พัฒนาเครือข่ายเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1.1 ดำเนินการรับจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจุบันมีจำนวน 203 องค์กร 1.2 จัดกิจกรรมรณรงค์และเสริมสร้างความร่วมมือในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมในส่วนกลางและพื้นที่ 1.3 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ให้สามารถ เข้ามาช่วยเสริมการทำงานของภาครัฐในการสร้างความเข้าใจและเป็นผู้เชื่อมต่อความเข้าใจ ความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐกับภาคประชาชน อันจะเป็นการช่วยลดความขัดแย้งในสังคม และร่วมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายมากขึ้น 1.4 จัดทำสื่อคู่มือการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการวางแผนยุทธศาสตร์การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น 1.5 สร้างเครือข่ายการประสานงานภาครัฐ ประชาชน องค์กรเอกชน นักวิชาการและ ภาคประชาสังคมต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน 2) เครือข่ายเยาวชน - กิจกรรมเครือข่ายเยาวชน 2.1 ดำเนินการจัดประชุมสภาเครือข่ายเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 25-30 พฤษภาคม 2553 ณ จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่าง วันที่ 28-30 พฤษภาคม 2553 ณ จังหวัดนครพนม ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ระหว่างวันที่ 1-4 มิถุนายน 2553 ณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และภาคใต้ ระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2553 ณ จังหวัด ปัตตานี ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม 2.2 จัดค่าย “N-YEN รักษ์โลก” 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2553 ณ ศูนย์ศิลปาชีพแม่ต๋ำ จังหวัดลำปาง 2.3 จัด อบรม “ค่ ายเยาวชนรั ก ษ์ ป่ า รั ก ษ์ ต้ น น้ ำ ” ร่ ว มกั บ กรมอุ ท ยานแห่ ง ชาติ สั ต ว์ ป่ า และพันธุ์พืช เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลบรมราชาภิเษก ปีที่ 60

94


95 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

95

และเฉลิมพระชนม์พรรษา 83 พรรษา จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม 2553 ณ อุทยาน แห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9-11 กันยายน 2553 ณ อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา 2.4 สนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ให้แก่ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยรวม 48 แห่ง เพื่อดำเนิน กิจกรรมรณรงค์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.5 กิจกรรมเยาวชนกับปัญหาสภาวะโลกร้อน ได้ดำเนินการจัดค่ายฝึกอบรมระดับภูมิภาค สำหรั บ เยาวชน เรื่ อ ง “เยาวชนอนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ มกั บ สภาวะโลกร้ อ นที่ เ ราช่ ว ยกั นได้ ” จำนวน 4 ครั้ ง สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 จำนวน 400 คน ครูผู้ดูแลจำนวน 40 คน จากโรงเรียน 40 แห่งใน 20 จังหวัด ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 10- 12 ธันวาคม 2553 ณ เขตห้ามล่าสัตว์ ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 17-19 ธันวาคม 2553 ณ อุทยาน แห่งชาติตาดโตน จังหวัดชัยภูมิ ภาคกลาง ระหว่างวันที่ 7-9 มกราคม 2554 ณ สถานีวิจัยเพื่อทดสอบพันธุ์สัตว์ จังหวัดสุพรรณบุรี และภาคใต้ ระหว่างวันที่ 14-16 มกราคม 2554 ณ สถานีวิจัยเพื่อพัฒนาชายฝั่งอันดามัน จั ง หวั ด ระนอง วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้เ ยาวชนมี ค วามรู้ ค วามเข้ าใจเกี่ ย วกั บ ภาวะโลกร้ อ น และตระหนั ก ถึงบทบาทของเยาวชนต่อการมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเครือข่ายเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม - กิจกรรมการพัฒนาลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ 2.6 ฝึ ก อบรมวิ ช าลู ก เสื อ หลั ก สู ต รผู้ บั ง คั บ บัญชาลูกเสือ ระดับผู้นำ ขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C.) (วูดแบดจ์ 2 ท่อน) รวม 2 รุ่น รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 13-15 และ 20-22 พฤศจิกายน 2552 รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 3-7 พฤษภาคม 2553 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี จำนวนผู้เข้าฝึกอบรม 77 คน - ฝึกอบรมวิชาลูกเสือหลักสูตรผู้บังคับบัญชา ลู ก เสื อ ขั้ น ผู้ ช่ ว ยผู้ ใ ห้ ก ารฝึ ก อบรมวิ ช าผู้ ก ำกั บ ลู ก เสื อ (A.T.C.) (วูดแบดจ์ 3 ท่อน) รวม 1 รุ่น ระหว่างวันที่ 5-11 ตุลาคม 2553 ณ ค่ายลูกเสือชั่วคราว โรงแรมเรดิสัน กรุงเทพมหานคร จำนวนผู้เข้า ฝึกอบรม 26 คน - ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรการจัดค่ายลูกเสือ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำนวน 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 13-16 มกราคม 2253 ณ จังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ 2553 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ 2553 ณ จังหวัดขอนแก่น และ ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 10-13 มีนาคม 2553 ณ จังหวัดสงขลา จำนวนผู้เข้า ฝึกอบรม 177 คน


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

96

- กิจกรรมฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยโอนงบประมาณให้สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคจำนวน 16 แห่ง ดำเนินการจัดอบรมจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2,488 คน - ฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ ม สำหรั บ ลู ก เสื อ และเนตรนารี จ ากโรงเรี ย นในพื้ น ที่ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2553 ณ อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวนผู้เข้าฝึกอบรม 120 คน - ฝึกอบรมลูกเสือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ลูกเสือ ทส.) สำหรับสมาชิก เครือข่าย ทสม. ผู้นำชุมชนและผู้นำท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 24 - 26 กันยายน 2553 ณ อุทยานสัตว์ป่าอีสาน ตอนบน ขอนแก่น - อุดรธานี จำนวน 137 คน 2.7 การพัฒนาเครือข่ายองค์กรในพื้นที่ลุ่มน้ำ - โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เยาวชนกับการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำลุ่มน้ำท่าจีน วันที่ 28 พฤษภาคม 2553 ณ วัดพยัคฆาราม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มเป้าหมายจำนวน 120 คน ประกอบด้ ว ย เยาวชนในพื้ น ที่ ลุ่ ม น้ ำ ท่ า จี น สถาบั น การศึ ก ษาในพื้ น ที่ ลุ่ ม น้ ำ ท่ า จี น ครู อาจารย์ วิ ท ยากร ผู้สังเกตการณ์ และเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เกิดการส่งเสริมบทบาทของเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำและ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เยาวชนเกิดจิตสำนึกในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีความรู้เบื้องต้นในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ - จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชมรมเรารักษ์ แม่ น้ ำ สุ พ รรณ เพื่ อ การอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มลุ่ ม น้ ำ ท่ า จี น อย่ า งยั่ ง ยื น ” ระหว่ า งวั น ที่ 29 - 30 พฤษภาคม 2553 ณ ศาลาประชาคมอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มเป้าหมายจำนวน 150 คน ประกอบด้วย แกนนำในพื้นที่ 6 อำเภอ (อำเภอสามชุก ศรีประจันต์ เดินบางนางบวช สองพี่น้อง บางปลาม้า และอำเภอหนองหญ้าไทร) เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี แกนนำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาห้วยกระเสียว วิทยากรและผู้สังเกตการณ์ เพื่อให้เกิดการพัฒนา ศักยภาพของเครือข่ายในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน เสริมสร้างความเข้มแข็ง สร้างจิตสำนึก ส่ ง เสริ ม การมี ส่วนร่ว มของเครือข่ า ยลุ่ม น้ ำ และเครื อ ข่ า ยภาคประชาชนในการอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน - โครงการ “นักสืบสายน้ำลุ่มน้ำปากพนัง” ภายใต้การจัดกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ระหว่างวันที่ 27 - 28 มกราคม 2553 ณ บ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 คน ประกอบด้วย เยาวชนในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง องค์การบริหารส่วนจังหวัด นครศรีธรรมราช สถาบันการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด นครศรีธรรมราช สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 และวิทยากร เพื่ อให้ เ ยาวชนในพื้ น ที่ ลุ่ ม น้ ำ ปากพนั ง เกิ ด การร่ ว มมื อ กั น การมี ส่ ว นร่ ว มในการอนุ รั ก ษ์ แ หล่ ง น้ ำ และฟื้ น ฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความรู้ เบื้องต้นในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสืบต่อไปยัง เยาวชนทุกรุ่นต่อไป

96


97 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

97

- การประชุมเชิงปฏิบัติการ สรุปบทเรียนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมินิเวศลุ่มน้ำท่าจีน บางปะกง และปากพนัง ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิถุนายน 2553 ณ โรงแรมมวกเหล็ก พาราไดส์ รีสอร์ท อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี กลุ่มเป้าหมายจำนวน 80 คน ประกอบด้วยองค์กรเครือข่ายในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน องค์กรเครือข่ายในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง องค์กรเครือข่าย ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ทสจ. ทสม. อบจ. ผู้สังเกตการณ์ วิทยากรและเจ้าหน้าที่ เพื่อให้องค์กรเครือข่ายใน พื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน บางปะกงและลุ่มน้ำปากพนัง ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำของตนกับพื้น ที่ ลุ่ม น้ ำ อื่น ที่ ป ระสบความสำเร็จ เกิ ด กระบวนการเรีย นรู้ร่วมกั น เกิดแนวทางและกลไกการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายในระดับลุ่มน้ำ เกิดการบูรณาการแผนงาน ด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่น้ำท่าจีน บางปะกงและลุ่มน้ำปากพนัง 2.8 เครือข่ายสตรีในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หนุนเสริมบทบาทให้ เครือข่ายผู้หญิงฯ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการบทบาทผู้หญิงเมืองน่านกับการจัดการปัญหาหมอกควัน ในวันที่ 12 มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุมชุมชนบ้านวังฆ้อง ตำบลถืมตอง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ร่วมกับองค์กร เอกชน (มูลนิธิฮักเมืองน่าน) กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด ได้แก่ ผู้นำสตรี อสม.และ ทสม. ในพื้นที่ จั ง หวั ด น่ า น ผลที่ ไ ด้ รั บ ได้ บ ทบาทของผู้ ห ญิ ง เมื อ งน่ า นกั บ การจั ด การปั ญ หาหมอกควั น ได้ ทิ ศ ทางของ แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในการขับเคลื่อนความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการดำเนินการจัดการปัญหา หมอกควัน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ กำหนดพื้นที่นำร่องลดการเผานาข้าว ส่งเสริมการแปรรูปถั่วเหลืองในสมาชิก ที่ไม่เผา คัดแยกขยะ ไม่เผาขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ เพาะพันธุ์กล้าไม้ท้องถิ่นและพืชผักสวนครัว นำมา ปลู กในพื้ น ที่ ว่ า งของบ้ า น ทั้ ง นี้ เ น้ นให้ ก ารจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม สอดคล้ อ งกั บ วิ ถี ชี วิ ต การประกอบอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ - ดำเนินการตามกรอบความร่วมมือกับสมัชชา องค์กรเอกชนเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขาร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดประชุมเรื่อง “บทบาทของผู้หญิงชนเผ่ากับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม” ระหว่างวันที่ 15-16 มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุม มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา ดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัด เชียงราย กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด จำนวน 70 คน ได้แก่ ผู้นำสตรี อสม.และทสม. ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ผลที่ได้รับ ได้บทบาท ของผู้หญิงชนเผ่ากับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการดำเนินการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ วิถีชีวิตพึ่งพาทรัพยากรท้องถิ่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากร การนำวัฒนธรรม ประเพณี เชื่อมร้อยกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูวิถีชีวิต อันเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่า - จัดการประชุมเครือข่ายผู้หญิงพิทักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับภาคีร่วมพัฒนา ได้แก่ กระทรวงพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การ


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

98

มหาชน) และองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2553 ณ ห้องประชุมองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด จำนวน 100 คน ได้แก่ แกนนำเครือข่ายผู้หญิงฯ ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี/กรุงเทพฯและปริมณฑล และภาคตะวันออก ผลที่ได้รับ คือ แกนนำเครือข่ายผู้หญิงพิทักษ์ ทส. ได้สรุปผลการระดมความคิดในเรื่องบทบาทของผู้หญิงในการจัดการ ทส. ได้ว่าผู้หญิงสามารถเข้าไปมีบทบาทในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน มีความสามารถ ในการจัดการสวัสดิการทั้งการออมทรัพย์วันละบาท การรักษาพยาบาลและการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส เด็กและเยาวชน นอกจากนี้ผู้หญิงยังมีบทบาทต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการอบรมสั่งสอนลูกหลานให้รักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นับได้ว่าผลจากการระดมสมองในเรื่องบทบาทของผู้หญิงในการจัดการ ทส. ในครั้งนี้มีประโยชน์ที่จะนำมาสานต่อเพื่อกำหนดทิศทางของแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนความร่วมมือด้าน การจัดการ ทส. ของเครือข่ายผู้หญิงฯ และภาคีร่วมพัฒนาในพื้นที่ต่อไป 2.9 เสริมศักยภาพให้เครือข่ายผู้หญิงฯ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - จัดงานวันสตรีไทย ประจำปี 2553 ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ณ หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร - ส่งเสริมเครือข่ายผู้หญิงพิทักษ์ ทส. เข้ารับรางวัลสตรีนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดีเด่น เนื่องในงานวันสตรีสากลประจำปี 2553 ได้แก่ นางสายชล พวงพิกุล อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน จังหวัดชัยนาท - ผลิตเอกสาร สื่อ เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และสนับสนุนเอกสารในการจัดกิจกรรม ให้กับเครือข่ายผู้หญิงฯ และภาคีร่วมพัฒนา ได้แก่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 (ราชบุรี) เครือข่ายผู้หญิงพิทักษ์ ทส. ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศไทย - คู่มือผู้หญิงพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2/2553 - หนังสือสรุปผลการดำเนินงานผู้หญิงพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - หนังสือยุวสตรีพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - ต้นฉบับหนังสือบทบาทผู้หญิงกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - แผ่นพับผู้หญิงกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคภาษาอังกฤษ - แผ่นพับบ้านวั ง ฆ้ อ ง ชุ ม ชนพอเพี ย ง ลดการเผา รักษ์สิ่งแวดล้อม - ร่วมกับสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการ แม่ น้ ำโขง (MRCS) จั ด ทำคู่ มื อ วิ ท ยากรสำหรั บ อบรมเกี่ ย วกั บ การ ปรับมิติหญิงชายให้เข้าสู่บทบาทหลัก (Training of Trainers on Gender Mainstreaming in water Resources Management) - ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการ ด้านสมัชชาสตรี ครั้งที่ 1/2553 ในวันที่ 31 สิงหาคม 2553 ณ สำนักงาน กิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการ สนั บ สนุ น การจั ด ให้ มี ส มั ช ชาสตรี หลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารในการ ประชุ ม สมั ช ชาสตรี แ ห่ ง ชาติ เ สนอที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการนโยบาย และยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาสถานภาพสตรี แ ห่ ง ชาติ (กยส.) โดยมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

98


99 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

99

- การส่งเสริมและพัฒนากระบวนการ เพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน 2.10 การส่งเสริมพหุภาคีเพื่อการพัฒนาชุมชน อย่างยั่งยืน (1) จัดอบรม ประชุม กิจกรรมรณรงค์ เพื่อให้องค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงาน - จัดอบรมหลักสูตร การจัดการขยะมูลฝอย โดยชุมชน (Community Base Management) ให้แก่พื้นที่ขั้นที่ 2 จำนวน 6 พื้นที่ ได้แก่ ทต.บัวงาม จ.ราชบุรี ทต.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น ทต.คลองวาฬ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทต.สามัคคีพัฒนา จ.สกลนคร ทต.บางนกแขวก จ.สมุทรสงคราม และ ทต.สูงแม่น จ.แพร่ - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพ เครือข่ายพหุภาคีโดยการถอดบทเรียน ให้แก่พื้นที่ขั้นที่ 3 จำนวน 16 พื้นที่ ได้แก่ ทต.แม่ขรี จ.พัทลุง ทต.โคกกรวด จ.นครราชสีมา ทต.อากาศอำนวย จ.สกลนคร ทต.หลักเมือง จ.ราชบุรี ทต.ศาลากลาง จ.นนทบุรี ทต.ตะโหมด จ.พัทลุง อบต.อ่าวตง จ.ตรัง อบต.พังโคน จ.สกลนคร อบต.ห้วงน้ำขาว จ.ตราด อบต.ไฮ่หยอง จ.สกลนคร ทต.กุดชุมพัฒนา จ.ยโสธร ทต.กำแพง จ.สตูล และทม.สตูล จ.สตูล - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสังเคราะห์บทเรียน โครงการส่ ง เสริ ม พหุ ภ าคี ใ นการพั ฒ นาชุ ม ชนอย่ า งยั่ ง ยื น ภายใต้ แผนปฏิบัติการ ๒๑ ระดับท้องถิ่น (Local Agenda 21) - จั ด ประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารการจั ด การ ความรู้วิทยากรกระบวนการ - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “เสริมสร้าง กระบวนการมีส่วนร่วม” พื้นที่ใหม่ จำนวน ๑๐ พื้นที่ ได้แก่ ทน.ตรัง จ.ตรั ง ทม.เกาะสมุ ย จ.สุ ร าษฎร์ ธ านี ทต.ห้ ว ยยอด จ.ตรั ง ทต.กำแพง จ.สตูล ทม.ตราด จ.ตราด ทต.หลักเมือง จ.ราชบุรี อบต.ห้วงน้ำขาว จ.ตราด อบต.บางสีทอง จ.นนทบุรี อบต.พังโคน จ.สกลนคร และทต. อากาศอำนวย จ.สกลนคร - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม” พื้นที่เก่า จำนวน ๑๐ พื้นที่ ได้แก่ ทต.เชียงเครือ จ.สกลนคร ทต.ตองโขบ จ.สกลนคร ทต.วาริชภูมิ จ.สกลนคร อบต.โพนแพง จ.สกลนคร และทม.ยโสธร จ.ยโสธร ทต.นาเยีย จ.อุบลราชธานี ทต.โนนไทย จ.นครราชสีมา ทม.แม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน ทต.ป่าตันนาครัว จ.ลำปาง และอบต.โพนสา หนองคาย - จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ เรื่องการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน - จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ LA 21 เครือข่าย 4 ภาค (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก เฉียงเหนือและภาคใต้)


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

100

- จัดประชุมเสริมสร้างกระบวนการดำเนินงาน LA 21 สำหรับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด - จัดประชุมกรรมการเครือข่าย LA 21 ระดับภาค (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก เฉียงเหนือและภาคใต้) - จัดกิจกรรมรณรงค์เครือข่าย LA 21 ระดับภาค (ภาคเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันออก เฉียงเหนือ) (2) การส่งเสริมการขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่ สำหรับพื้นที่ที่ดำเนินงานตั้งแต่ขั้นที่ 2 เป็นต้นไป จำนวน 11 พื้นที่ ได้แก่ อบต.บัวดง จ.พิจิตร ทต.บางนกแขวก จ.สมุทรสงคราม ทต.คลองวาฬ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทต.ไร่ใหม่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ อบต.เพ็กใหม่ จ.ขอนแก่น ทต.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น ทม.สตูล จ.สตูล ทต.กำแพง จ.สตูล ทต.แม่ขรี จ.พัทลุง ทต.ตะโหมด จ.พัทลุง เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม ตามความต้องการ ของแต่ละท้องถิ่น กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การจัดการขยะในชุมชน การจัดการขยะในครัวเรือน การจัดตั้งธนาคารขยะ และกิจกรรมค่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้เป็นพื้นที่ตัวอย่าง และเป็นพื้นที่ต้นแบบ (3) จัดทำสื่อเอกสารเผยแพร่ให้แก่กลุ่มเป้าหมายพหุภาคี เช่น หนังสือกลเม็ดเคล็ดลับกับ ชุมชนน่าอยู่ แผ่นพับโครงการส่งเสริมพหุภาคีฯ จดหมายข่าวสื่อสัมพันธ์เครือข่าย LA 21 ปีละ 3 ฉบับ 2.11 การส่งเสริมเทศบาลเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน - ประชาสัมพันธ์โครงการไปยังเทศบาลทั่วประเทศ โดยผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ เว็บไซต์สื่อที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น การประชุมต่างๆ ของกลุ่มเทศบาล - จัดประชุมชี้แจงกรอบแนวคิดและตัวชี้วัดเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน ประจำปี 2552 มีบุคลากรจากเทศบาลต่างๆ ที่สนใจจะส่งผลงานเข้าร่วมโครงการ เข้าร่วมในการประชุม 150 คน - เปิดรับผลงานจากเทศบาลที่สนใจ มีเทศบาลส่งผลงานเข้าร่วมทั้งสิ้น 140 แห่ง แบ่งเป็นเทศบาลขนาดใหญ่จำนวน 28 แห่ง เทศบาลขนาดกลาง 60 แห่ง และเทศบาลขนาดเล็ก 52 แห่ง - ประชุมคณะกรรมการประเมินเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน ประจำปี 2552 ครั้งที่ 2/2553 เป็นการประชุมเพื่อประเมินฯ รอบคัดเลือกด้านเอกสาร - ประชุมคณะกรรมการประเมินเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน ประจำปี 2552 ครั้งที่ 3/2553 เพื่อพิจารณาและสรุปผลการประเมินฯ รอบที่ 1 เทศบาลผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน 54 แห่ง ขนาดใหญ่ 16 แห่ง ขนาดกลาง 21 แห่ง และขนาดเล็ก 17 แห่ง - คณะกรรมการประเมินเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน ด้านการตรวจเยี่ยมพื้นที่ เพื่อจัดเตรียม ความพร้อมในการตรวจเยี่ยมเทศบาลที่ผ่านเกณฑ์ประเมินด้านเอกสาร จำนวน 54 แห่ง 2.12 ส่งเสริมการพัฒนาวัดและมัสยิดเป็นศูนย์ตัวอย่างสิ่งแวดล้อม - จัดอบรมเยาวชนเพื่อเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 15 จำนวน 200 คน - จัดประชุมยกระดับการดำเนินงานด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเพื่อนำเสนอ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและแนวทางแก้ไขปัญหา พร้อมชี้แจงเกณฑ์การประเมินในปีการศึกษา 2553 - ติดตามให้คำแนะนำสถานศึกษาเพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม - จัดประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์ในการพิจารณามัสยิดเพื่อเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งส่ง แผนการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์รอบมัสยิด มีมัสยิดที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 12 แห่ง - ประชุมพิจารณาคุตะบะฮ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาษามลายูท้องถิ่น - จัดทำเกณฑ์การตรวจประเมินการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับมัสยิดกรุงเทพมหานคร

100


ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

หน่วยนับ

ผลผลิต ปี 2552

กิจกรรมที่ 2 : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพัฒนา เครื อ ข่ า ยเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับ ความรู้ มี ส่ ว นร่ ว มในการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั ว ชี้ วั ด เชิ ง คุ ณ ภาพ : ร้ อ ยละของผู้ เ ข้ า รั บ การ ฝึกอบรมที่มีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : จำนวนเครือข่ายพันธมิตรที่มี การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ตั ว ชี้ วั ด เชิ ง คุ ณ ภาพ : ร้ อ ยละความสำเร็ จ ของ เครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

คน ร้อยละ เครือข่าย ร้อยละ

- - 281 100

เป้าหมาย ปี 2553 35,060 75 277 75

ผลผลิต ปี 2553 36,450 81.54 293 100

101

7.3 การสร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อสร้างจิตสำนึกด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7.3.1 สาระสำคัญ : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้จัดทำ โครงการประกวดธนาคารขยะ โครงการประกวด “หมู่บ้าน ปลอดการเผา บรรเทาโลกร้อน” โครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อม ศึ ก ษาเพื่ อ การพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น (Eco-School) การจั ด กิ จ กรรมวั น สิ่ ง แวดล้ อ ม โครงการการจั ด การขยะมู ล ฝอย โดยชุ ม ชนในโครงการสายใยรั ก แห่ ง ครอบครั ว เป็ น ต้ น เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของประชาชนซึ่ ง เป็ น หั ว ใจสำคั ญ ในการบริ ห ารจั ด การ ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยการกระบวนการ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมองค์ความรู้ การให้บริการ ข้ อ มู ล ข่ า วสารด้ า นทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มแก่ ประชาชนและกลุ่มเป้าหมาย

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

ผลผลิตและผลลัพธ์

101 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- จัดประชุมลงนามความร่วมมือและชี้แจงโครงการเกณฑ์การประเมินการจัดการด้าน สิ่งแวดล้อมสำหรับมัสยิด แก่ผู้นำศาสนาของมัสยิดทั้ง 175 แห่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เปิดรับสมัครมัสยิด เข้าร่วมโครงการ มีมัสยิดเข้าร่วมโครงการจำนวน 22 แห่ง - ประชุมแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นเกณฑ์การประเมินการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับมัสยิดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นให้กับมัสยิดทั้ง 22 แห่ง


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

102

7.3.2 ผลการดำเนินงาน : 1) โครงการประกวดธนาคารขยะรีไซเคิล - จั ดโครงการเพิ่ ม ศั ก ยภาพธนาคาร ขยะรีไซเคิล ธนาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 ครั้ง ใน 4 ภู มิ ภ าค เพื่ อ เพิ่ ม ศั ก ยภาพให้ แ ก่ โ รงเรี ย นที่ ด ำเนิ น กิ จ กรรม ธนาคารขยะรี ไ ซเคิ ล และโรงเรี ย นที่ ยั งไม่ เ คยดำเนิ น การแต่ มี ความสนใจที่จะจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลในโรงเรียน มีโรงเรียน ที่เข้าร่วมประมาณ 2,000 โรงเรียน - พั ฒ นาโรงเรี ย นให้ เ ป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ศึกษา ดูงานด้านธนาคารขยะรีไซเคิล จำนวน 7 โรงเรียน - ถอดบทเรียนการดำเนินงานธนาคาร ขยะรีไซเคิลจากโรงเรียนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเผยแพร่ ให้กับโรงเรียนต่างๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินการจัดการ ขยะในโรงเรียน - สนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ คู่มือ นิทรรศการ CD เป็นต้น 2) กิจกรรมรณรงค์เพื่อลดการเผาในที่โล่ง ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน - จัดโครงการประกวด “หมู่บ้านปลอด การเผา บรรเทาโลกร้อน” ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยจัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและ แก้ไขปัญหาการเผาในที่โล่งและหมอกควันแก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ ทสม. ผู้นำชุมชน หมู่บ้าน สื่อมวลชนท้องถิ่น อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 250 คน - การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุเครือข่าย ทสม. “คลื่ น สี เ ขี ย วเพื่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม” และภาคี วิ ท ยุ ชุ ม ชน ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน - สนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ เช่ น แผ่ น พั บ โปสเตอร์ ป้ า ยรณรงค์ CD สปอตวิ ท ยุ / เพลงรณรงค์ เป็นต้น 3) การส่ ง เสริ ม กระบวนการสิ่ ง แวดล้ อ ม ศึกษา - โครงการโรงเรี ย นสิ่ ง แวดล้ อ มศึ ก ษาเพื่ อ การพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น (Eco-School) เป็นโครงการที่นำกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา ไปใช้ในโรงเรียน โดยนำแนวคิด Whole School Approach มาเป็นกรอบแนวทางการในการพัฒนาโรงเรียน และมีกระบวนการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ผ่านกรอบการทำงาน 4 มิติ คือ 1) ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ 2) การจัดกระบวนการเรียนรู้ 3) ระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 4) การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยเน้นให้

102


103 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

103

โรงเรียนได้วิเคราะห์และพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบใน บริบทของท้องถิ่นของตนเอง เพื่อนำไปสู่ การใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน - ถอดบทเรียน “เส้นทางการพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco-school)” เพื่อสรุปผลการพัฒนาโรงเรียนนำร่องของโครงการผ่านเสียงสะท้อน และการบอกเล่าเรื่องราวของ เด็กนักเรียน ครู ผู้บริหาร และชุมชนของโรงเรียน - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (After Action Review) เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลการพัฒนา โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : Eco-school จากโรงเรียนนำร่อง 41 โรงเรียน ระหว่างวันที่ 26-28 มีนาคม 2553 ณ บ้านสวนประเสริฐพร จ.สมุทรสงคราม โดยทีมที่ปรึกษาทางวิชาการร่วมกับทีมงานกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น 16 คน - พัฒนาเนื้อหาและกระบวนการเพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “สรุปบทเรียนและประสบการณ์ การพัฒนาโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนรอบนำร่อง พ.ศ. 2550-2553” ให้แก่โรงเรียน นำร่องทั้ง 41 แห่ง เพื่อสะท้อนบทเรียนและประสบการณ์จากการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ ในโรงเรียนของตนเอง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 มิถุนายน 2553 ณ โรงแรม ศุภาลัย ป่าสักรีสอร์ท จ.สระบุรี โดยมีตัวแทนจากโรงเรียนเครือข่ายและเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมฯ เข้าร่วมรวมทั้งสิ้น 184 คน 4) ชี้แ จงหลักการโครงการสิ่ ง แวดล้ อ มศึ ก ษาเพื่ อ การพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น (Eco-School) ตามโครงการปิดทองหลังพระ: เมืองน่านน่าอยู่ให้แก่โรงเรียนในจังหวัดน่าน 5) พิ ม พ์ ห นั ง สื อ การเดิ น ทางสู่ สิ่ ง แวดล้ อ มศึ ก ษาเพื่ อ การพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น ซึ่ ง เป็ น หนั ง สื อ ที่รวบรวมองค์ความรู้ สิ่งแวดล้อมศึกษา และแนวคิดของกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมรายละเอียดของแผนยุทธศาสตร์ สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับชาติกับกระบวนการนำไป ประยุกต์ใช้เป็นแผนปฏิบัติของหน่วยงาน 6) สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในพื้นที่ระดับภูมิภาค จำนวน 3 ครั้ง (ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และพิษณุโลก) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจหลักการของแนวคิดเรื่อง สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่หน่วยงานในระดับภูมิภาค (อบจ., ทสจ., สสภ. และเทศบาลจังหวัด) โดยมีผู้เข้าร่วมรวมทั้งสิ้น 153 คน 7) การพัฒนากระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน/สิ่งแวดล้อมระดับอาเซียน ส่วนสิ่งแวดล้อมศึกษาได้จัดทำแผนหลักสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อกำหนดทิศทางเป้าหมายและ ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการพัฒนางานสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่าง ภาคส่วน หน่วยงานและกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่มีบทบาทหลักในการพัฒนางานสิ่งแวดล้อมศึกษาในประเทศไทย 7.1) แผนยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมศึกษาและงานสิ่งแวดล้อมศึกษาอาเซียน - แผนยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมศึกษา : นำ เสนอแผนหลักสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บนเว็บไซต์ของ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเครือข่าย เพื่อขอรับข้อคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะจากนักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อนำมา ปรับเป็นแผนหลักสิ่งแวดล้อมศึกษาฯ ปี 2554-2558 อยู่ระหว่างการ เตรี ย มเอกสาร ศึ ก ษาขั้ น ตอนและเตรี ย มเสนอต่ อ คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาให้ความเห็นชอบประกาศเป็น แผนหลักฯ ระดับชาติ


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

104

- งานสิ่งแวดล้อมศึกษาอาเซียน : จัด ทำข้อเสนอโครงการ (Proposal) การจัด ESD Film Festival ใน ประเทศไทยร่ ว มกั บ องค์ ก รพั น ธมิ ต รเพื่ อ นำเข้ า สู่ แ ผนงานของ AWGEE ในปี 2554 พร้อมทั้งนำเสนอในที่ประชุมคณะทำงาน สิ่งแวดล้อมศึกษาอาเซียน (THE 2nd MEETING OF THE ASEAN WORKING GROUP ON ENVIRONMENTAL EDUCATION (AWGEE)) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 4 กรกฎาคม 2553 ณ ประเทศกัมพูชา 7.2) งานเวที เ สวนาสิ่ ง แวดล้ อ ม ศึกษาระดับประเทศ ครั้งที่ 3 ส่วนสิ่งแวดล้อมศึกษาได้ดำเนินการจัด เวทีเสวนาสิ่งแวดล้อมศึกษาระดับประเทศ ครั้งที่ 3 : เปลี่ยนเรา เพื่อเปลี่ยนโลก (The 3rd Thailand Environmental Education Forum : Sharing for Change We are Living Together) ระหว่างวันที่ 28-29 มกราคม 2553 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ของคนทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาที่หลากหลายรูปแบบ เสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายงานสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาจากทุก ภูมิภาครวมทั้งสิ้น 375 คน โดยเป็นครูอาจารย์และนักเรียนจากโรงเรียน 138 คน อาจารย์และนักศึกษาจาก สถาบันอุดมศึกษา 59 คน ผู้แทนจากภาคธุรกิจเอกชน 44 คน ผู้แทนจากองค์กรพัฒนาเอกชนและมูลนิธิ 37 คน ประชาชนทั่วไป 35 คน ผู้แทนจากหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจ 23 คน และผู้สื่อข่าว 13 คน 8) โครงการมหิงสาสายสืบ โครงการมหิงสา สายสืบ เริ่ม ดำเนินการในปี พ.ศ. 2548 มี วัต ถุ ป ระสงค์ เพื่อ ส่งเสริมให้เยาวชนได้มีโอกาสค้นหาและพัฒนาศักยภาพของตน โดยรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมสำรวจและดูแลรักษาพื้นที่ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน ผ่านกิจกรรมการท้าทาย 4 ขั้นตอน คือ 1) ค้นหา โดยการค้นหาพื้นที่ธรรมชาติที่กลุ่ม มีความสนใจ 2) สำรวจ ทำการสำรวจพื้นที่นั้นอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ 3) อนุรักษ์ ดำเนินการอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าว ด้วยวิธีการต่างๆ ที่กลุ่มสามารถทำได้ และ 4) แบ่งปัน โดยนำ ประสบการณ์ ค วามสำเร็ จ ที่ ก ลุ่ ม ได้ รั บไปเผยแพร่ แบ่ ง ปั นให้ บุ ค คลอื่ นได้ รั บ รู้ รั บ ทราบและเห็ น ถึ ง ประโยชน์ ค วามสำคั ญ ของพื้นที่นั้นต่อไป 9) การพัฒนาสื่อสิ่งแวดล้อมศึกษา วารสาร “เส้นทางสีเขียว” หรือ “Green Line” เป็นวารสารสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ราย 4 เดือน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็น

104


105 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

105

สื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลสิ่งแวดล้อม สถานการณ์และ ประเด็นปัญหาต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในความสนใจของ สั ง คมไทย ให้ แ ก่ ป ระชาชน (ผ่ า นห้ อ งสมุ ด ประชาชน) องค์การบริการส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาและวุฒิสภาสถาบัน การศึกษา และผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและ เอกชนได้ทราบถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศและ สภาพแวดล้อมโลกในปัจจุบัน 10) การจัดงานวันสำคัญทางสิ่งแวดล้อม 10.1) จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทย 4 ธันวาคม 2552 ภายใต้ชื่อ “เหลือง ฟ้า มหามงคล” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 4 - 6 ธันวาคม 2552 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 5,000 คน 10.2) จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน 2553 ภายใต้ชื่อ “Many Species One Planet One Future : ความหลากหลายทางชีวภาพกู้วิกฤตชีวิตโลก” เพื่อให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน เรื่องการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นเวทีให้ภาคธุรกิจ เอกชนที่ดำเนินการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยมีผู้ร่วมงานประมาณ 4,000 คน ภาคธุรกิจ เอกชนเข้าร่วมจัดงาน จำนวน 20 องค์กร 11) การจัดการสิ่งแวดล้อมในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว 11.1) โครงการการจัดการขยะมูลฝอย โดยชุมชน ในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวสมเด็จพระบรมโอรสา ธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารและพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงเห็นความทุกข์ยากของราษฎรที่ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ บริเวณพื้นที่ภาคกลาง ในปี 2549 ทรงพระราชทานโครงการฟื้นฟู สายใยรักแห่งครอบครัวผู้ประสบภัยพิบัติฯ เพื่อช่วยเหลือประชาชนใน พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท สิงห์บุรี และปทุ ม ธานี โดยมี ห น่ ว ยงานภาครั ฐ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งร่ ว มบู ร ณาการให้ บริการประชาชน เพื่อการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูด้านอาชีพ สุขอนามัย สภาพความเป็นอยู่ รวมทั้งการปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ทำให้ สามารถฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรกลับสู่ภาวะปกติได้อย่าง รวดเร็ วในการปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจั ด การขยะ มูลฝอย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มอบหมาย ให้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมดำเนินการโดยการส่งเสริม ให้ประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่มีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ที่ เ กิ ด ขึ้ น ซึ่ งกรมฯ ได้ ส่งเสริม และสนั บ สนุ นให้ ป ระชาชนมี ค วามรู้ ความเข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ ขยะมูลฝอยของชุมชน อย่างจริงจัง มีการดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ที่เอื้อต่อการลดขยะ แยกขยะ การนำขยะไปใช้ประโยชน์ซึ่งสามารถลดปริมาณขยะมูลฝอย


106

ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น สร้ า งความสะอาดเรี ย บร้ อ ยของสิ่ ง แวดล้ อ ม ในชุ ม ชนเป็ น การสร้ า งรายได้ ใ ห้ แ ก่ ป ระชาชนอี ก ทางหนึ่ ง ด้ ว ย ทั้งนี้ได้ส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดการขยะมูลฝอย โดยยึดหลัก เศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการทำกิจกรรมจัดการขยะและการ พัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชนเป็นหลักในการดำเนินงาน จากผลการดำเนินงานดังกล่าว กรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อมได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ให้นำการจัดการขยะมูลฝอย โดยชุมชนไปขยายผลในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว โดยจะดำเนินการให้ครบทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งใน ปีงบประมาณ 2553 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ มีแผนการเสด็จทรงงานโครงการสายใยรัก แห่งครอบครัว จำนวน 20 จังหวัด ซึ่งกรมฯ ได้ดำเนินการให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องการจัดการขยะมูลฝอย โดยชุมชนและรับสมัครประชาชนเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริม ให้ประชาชนในพื้นที่ดำเนินกิจกรรม ต่างๆ ประกอบด้วย การจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียน การทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักจากขยะย่อยสลาย การทำ น้ำยาล้างจานจากน้ำหมักชีวภาพ การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น โดยได้ดำเนินการในจังหวัด เป้าหมายแล้วเสร็จจำนวนทั้งสิ้น 19 จังหวัด

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลผลิตและผลลัพธ์

106

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

หน่วยนับ

กิจกรรมที่ 3 : สร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อสร้าง จิตสำนึกด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับ ความรู้ มี ส่ ว นร่ ว มในการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั ว ชี้ วั ด เชิ ง ปริ ม าณ : กลุ่ ม เป้ า หมายมี ก ารปรั บ พฤติกรรมในการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั ว ชี้ วั ด เชิ ง คุ ณ ภาพ : ร้ อ ยละของกลุ่ ม เป้ า หมาย มี ค วามพึ ง พอใจในการรั บ บริ ก ารข้ อ มู ล ข่ า วสาร ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คน คน ร้อยละ

ผลผลิต ปี 2552 41,721 - 80.78

ผลลัพธ์ที่ได้ - ประชาชนได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - ผู้รับบริการข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม มีความพึงพอใจในการรับบริการข้อมูลข่าวสาร

เป้าหมาย ปี 2553 32,300 200 78

ผลผลิต ปี 2553 58,017 1,298 86.02


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

107

รูปแสดงถังปฎิกรณ์หมักแบบไร้อากาศชนิดเรียงลำดับ (Sequential Batch Anaerobic Composting, SEBAC)

107 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7.4 การวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม 7.4.1 สาระสำคัญ : การดำเนินงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่สามารถประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอด เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นงานสนับสนุนยุทธศาสตร์กระทรวง ภายใต้กลยุทธ์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม คือส่งเสริม สนับสนุน และเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ป้องกันและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยในปีงบประมาณ 2553 ได้ผลิตผลงานวิจัย ด้านน้ำ สารพิษ ชีวมวล อากาศ เสียง และความสั่นสะเทือน 7.4.2 ผลการดำเนินงาน : 1) วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านน้ำ 1.1 โครงการศึกษาวิจัยเพื่อลดความเสี่ยงจากการทิ้งน้ำที่บำบัดแล้วลงสู่อ่าวหัวหิน โดยใช้ เทคโนโลยีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ 1.2 โครงการทดสอบประสิทธิภาพถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป 1.3 โครงการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียอินทรีย์ต้นแบบโดยกระบวนการย่อยสลายแบบ ไร้อากาศ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงานสำหรับชุมชนขนาดเล็ก รูปแสดงถังปฎิกรณ์หมักแบบไร้อากาศชนิดเรียงลำดับ (Sequential Batch Anaerobic Composting, SEBAC) 2) วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอากาศ


108

2.1 โครงการวิจัยเพื่อศึกษาผลกระทบจากการตกสะสมของกรดต่อความเป็นกรดในดิน 2.2 โครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและการแพร่กระจายสารประกอบอินทรีย์ ระเหยง่ายในเขตร้อน 3) วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสารพิษ 3.1 ศึกษาการปนเปื้อนสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานกลุ่ม Polybrominated Diphynyl Ether (PBDE) ในตัวอย่างสิ่งแวดล้อม 3.2 ศึกษาประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในการบำบัดสารกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในนาข้าวพื้นที่ ภาคกลางของประเทศไทย 4) วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีด้านเสียงและสั่นสะเทือน 4.1 โครงการศึกษาผลกระทบด้านเสียงจากการขยายทางวิ่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 4.2 โครงการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์คาดการณ์ระดับเสียงจากการใช้กำแพงกั้น เสียงบนทางยกระดับ 5) วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านของเสียและชีวมวล 5.1 โครงการศึกษาศักยภาพการลดภาวะโลกร้อนโดยการทำเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย 5.2 โครงการบริการข้อมูลการวิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม 5.3 การแก้ไขปัญหามลพิษและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในพื้นที่จังหวัดระยอง ผลผลิตและผลลัพธ์

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

108

หน่วยนับ

กิ จ กรรมที่ 4 : วิ จั ย พั ฒ นาเทคโนโลยี ด้ า น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั ว ชี้ วั ด เชิ ง ปริมาณ : จำนวนผลงานวิจัย/ร้อยละ เรื่อง/ร้อยละ ความสำเร็จในการผลิตงานวิจัย ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : ร้อยละของจำนวนผลงานวิจัย ร้อยละ ที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ ผลลัพธ์ที่ได้

• จำนวนผลงานวิจัย จำนวน 8 เรื่อง มีการนำไปใช้ประโยชน์

ผลผลิต ปี 2552 6 100

เป้าหมาย ปี 2553 7/100 80

ผลผลิต ปี 2553 8/100 100


109 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

109

7.5 การพัฒนาบุคลากรด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7.5.1 สาระสำคัญ : กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม มี ภ ารกิ จ หลั กในการพั ฒ นาศั ก ยภาพบุ ค ลากรด้ า น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเสริมสนับสนุน การบำบัดฟื้นฟู ป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระดับภูมิภาคให้กับบุคลากรซึ่งจะต้อง รับผิดชอบงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้ง เสริ ม สร้ า งความรู้ ค วามเข้ าใจด้ า นการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มให้ กั บ บุ ค ลากรของ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการฝึกอบรมและการเรียนรู้ด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ (e - Learning) 7.5.2 ผลการดำเนินงาน : 1) ฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม จำนวน 18 หลักสูตร จากเป้าหมาย 930 คน มีผู้ผ่านการฝึกอบรมจำนวน 1,191 คน โดยรูปแบบของหลักสูตรมีดังนี้ 1.1 หลักสูตรสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบุคคลทั่วไป 1.2 สถาบันฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำหลักสูตรจำนวน 12 หลักสูตร จากเป้าหมาย 485 คน มีผู้ผ่านการฝึกอบรมจำนวน 621 คน โดยหลักสูตรที่ได้ดำเนินการมีดังนี้ - กฎหมายสิ่งแวดล้อมสำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น - การเจรจาไกล่เกลี่ยด้านสิ่งแวดล้อม - การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน - วิทยากรกระบวนการด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ - การจัดการน้ำเสียชุมชน - เทคนิคการทำงานร่วมกับชุมชน - เทคนิ ค การสอนสิ่ ง แวดล้ อ มศึ ก ษาระดั บ อาชีวศึกษา - การตรวจวัดเสียงในสิ่งแวดล้อมและการใช้ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ - เศรษฐศาสตร์กับการจัดการสิ่งแวดล้อม - การตอบโต้อุบัติภัยฉุกเฉินจาก สารเคมี - การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม - เทคโนโลยีสะอาดกับการจัดการสิ่งแวดล้อม 2) หลักสูตรความร่วมมือกับหน่วยงานภายในกรมฯ สถาบันฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับสำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนได้จัดทำหลักสูตร จำนวน 3 หลักสูตร มีผู้ผ่าน การฝึกอบรมจำนวน 570 คน จากเป้าหมาย 445 คน โดยหลักสูตรที่ได้ดำเนินการมีดังนี้ - การจัดการมูลฝอยโดยชุมชนระดับผู้บริหาร - การจัดการมูลฝอยโดยชุมชนระดับผู้ปฏิบัติ - การจัดการมูลฝอยโดยชุมชนระดับชุมชน


110

3) หลักสูตรสำหรับบุคลากรกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 หลักสูตร จากเป้าหมาย 440 คน มีผู้ผ่านการฝึกอบรมจำนวน 643 คน โดยจัดหลักสูตรระหว่างประเทศ สถาบันฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศและองค์กรความ ร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นนานาชาติจากเป้าหมาย 40 คน จัดอบรมให้ 44 คน โดยหลักสูตรที่ได้ดำเนินการคือการให้บริการการเรียนผ่านสื่ออิเล็คทรอนิคส์ e-Learning ของสถาบันฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 มีผู้ ลงทะเบียนเรียนในระบบ รวมทั้งสิ้น 6,193 ราย และมีผู้ผ่านการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 773 ราย โดยให้บริการ เรียนรู้ผ่าน www.E-learning.deqp.go.th จำนวน 8 หลักสูตร ได้แก่ - การจัดทำแผนกลยุทธ์ - การคัดเลือกและว่าจ้างที่ปรึกษา - ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร - การจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย - กฎหมายสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน - การบริโภคอย่างยั่งยืน - การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลผลิตและผลลัพธ์

110

ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

หน่วยนับ

ผลผลิต ปี 2552

เป้าหมาย ปี 2553

ผลผลิต ปี 2553

กิจกรรมที่ 5 : พัฒนาบุคลากรด้าทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : จำนวนของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ที่ มี ค วามรู้ ความเข้ า ใจในการบริ ห ารจั ด การ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : ร้อยละของผู้เข้ารับการฝึก อบรมที่ มี ค วามรู้ ความเข้ าใจในการบริ ห ารจั ด การ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คน ร้อยละ

821 82.25

1,000 75

2,356 90.23

7.6 การพัฒนาและให้บริการสารสนเทศสิ่งแวดล้อม 7.6.1 สาระสำคัญ : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญกับหลักการบริหารจัดการสมัยใหม่ โดยนำมา ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรพัฒนารูปแบบโครงการ/กิจกรรม รวมทั้งมุ่งเน้นติดตามประเมินผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของการปฏิบัติงานในโครงการ/กิจกรรม ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พร้อมทั้งพัฒนาระบบการประเมินผลโครงการ/กิจกรรมของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้มีความชัดเจน เป็นระบบครอบคลุม จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือลดปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงาน


ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

หน่วยนับ

ผลผลิต ปี 2552

เป้าหมาย ปี 2553

ผลผลิต ปี 2553

กิจกรรมที่ 6 : บริหารจัดการและการติดตามประเมินผล ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : จำนวนกิจกรรมในการพัฒนา การบริหารภาครัฐและการติดตามประเมินผล

เรื่อง

1

1

2

ผลลัพธ์ที่ได้ - รายงานการติดตามประเมินผลการาดำเนินงานของสำนักสิ่งแวดล้อมภาคและสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2553 ซึ่งสรุปข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหา ลดอุปสรรคในการดำเนินงานของ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในปีงบประมาณต่อไป

111

7.7 การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล 7.7.1 สาระสำคัญ : การดำเนินงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2553 มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ รวดเร็ว ทันสมัย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จึงได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหาร จั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ พั ฒ นาและให้ บ ริ ก ารสารสนเทศด้ า น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่กลุ่มเป้าหมายด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้มีศักยภาพในการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานแห่งองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสาร และมีฐานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ที่ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ใช้ประโยชน์ 7.7.2 ผลการดำเนินงาน : 1) การจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ระดับชุมชน ดำเนินการใน พื้นที่ 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำน่าน จำนวน 4 แห่ง คือ เทศบาลเมืองน่านจังหวัดน่าน เทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตรและเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ลุ่มน้ำท่าจีน จำนวน 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบางไทรป่า อำเภอบางเลน จังหวัด นครปฐม โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ ประชุมหารือแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่าง ผู้บริหารของสำนักงาน สิ่งแวดล้อมภาค ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งและผู้บริหารของศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม หลังจากได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว ส่วนพัฒนาและบริหารระบบข้อมูลจะดำเนินการจัดหาภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่าย ทางอากาศที่บันทึกภาพไว้ไม่เกินสองปี โดยจัดพิมพ์เป็นแผนที่ภาพถ่ายในขนาดมาตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการ สำรวจและจัดเก็บข้อมูลภาคสนามร่วมกับเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัคร สาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) เมื่อได้ดำเนินการแล้วระยะหนึ่งจะจัดให้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำและใช้

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

ผลผลิตและผลลัพธ์

111 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7.6.2 ผลการดำเนินงาน : โครงการติ ด ตามประเมิ น ผลการดำเนิ น งานของสำนั ก งานสิ่ ง แวดล้ อ มภาคและสำนั ก งาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ประจำปี 2553 และโครงการจัดทำฐานข้อมูลส่งเสริมสิ่งแวดล้อมแหล่ง ท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของประชาชน


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

112

ประโยชน์ข้อมูลให้แก่เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ดำเนินการ ท้ายสุดได้มีการส่งมอบข้อมูล ต่างๆที่ได้ดำเนินการในโครงการ ให้แก่ท้องถิ่นแต่ละแห่งเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป 2) การพัฒนาเครือข่ายระบบรายงานตัวชี้วัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับท้องถิ่น การจัดทำฐานข้อมูลและรายงานตัวชี้วัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านเว็บไซต์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น (http://local.environnet.in.th) ในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ร่วมมือกับ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคดำเนินการขยายฐานสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ร่วมจัดทำฐานข้อมูล โดยอบรม เตรียมความพร้อมให้เจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค ในการเป็นพี่เลี้ยงให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ของแต่ละภาค ทำให้มีสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมจัดทำฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 84 แห่ง และ สามารถเผยแพร่ข้อมูลสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ผ่านเว็บไซต์ได้ครอบคลุมพื้นที่ มากขึ้น เพื่อให้ประชาชนรับทราบสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น เกิดความตระหนักตลอดจนเป็นข้อมูล ที่ช่วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น พบว่ามีผู้สนใจเข้าชมเว็บไซต์จำนวน 10,032 คน 3) การพัฒนาระบบห้องสมุดและศูนย์ข้อมูล ข่าวสาร - กิจกรรมงานแสดงหนังสือ (Book Fair) ประจำปี 2553 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 17-18 มิถุนายน 2553 ณ ชั้น 2 บริเวณหน้าศูนย์บริการประชาชน อาคารกรมส่งเสริม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม เพื่ อให้ ข้ า ราชการ เจ้ า หน้ า ที่ ข องกรม และหน่วยงานต่างๆ ภายในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ได้ร่วมเข้าชมและแนะนำคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด โดยมีสำนักพิมพ์และร้านหนังสือให้ความสนใจเข้าร่วมงานแสดง หนังสือ จำนวน 11 ร้าน โดยในภาพรวม มีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมงาน จำนวนไม่ น้ อ ยกว่ า ร้ อ ยละ 70 ของบุ ค ลากรกรมส่ ง เสริ ม คุณภาพสิ่งแวดล้อม และบุคคลภายนอกให้ความสนใจเข้าชม ไม่ น้ อ ยกว่ า ร้ อ ยละ 20 ของจำนวนผู้ เ ข้ า ชมงาน ซึ่ ง มี ก าร เสนอรายชื่อหนังสือที่สนใจและประสงค์ให้ห้องสมุด/ศูนย์บริการ ประชาชน ควรจัดหามาให้บริการ จำนวน 342 เรื่อง (ภาษาอังกฤษ จำนวน 18 เรื่องและภาษาไทยจำนวน 324 เรื่อง) - กิจกรรมการศึกษาดูงานของศูนย์การ เรี ย นรู้ ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม/ศู น ย์ บ ริ ก ารประชาชน ทั้ ง นี้ ศู น ย์ ก าร เรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม/ศูนย์บริการประชาชน มีหน้าที่หลักในการ เผยแพร่ข้อมูลและความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ให้แก่ ประชาชนโดยทั่วไปที่สนใจด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมุ่งให้เกิด ความตระหนักและจิตสำนึกในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ ม ในการนี้ จึ ง มี แ ผนการประชาสั ม พั น ธ์ ศูนย์การเรียนรู้/ศูนย์บริการประชาชน ให้แก่ประชาชนและหน่วยงาน ต่างๆ ที่อยู่โดยรอบของศูนย์ฯ ได้ทราบการดำเนินงานและมีทางเลือก

112


113 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

113

ในการค้นคว้าข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้มีประชาสัมพันธ์ ดังกล่าว ให้แก่ ครู-อาจารย์ และนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนสวนบัว จำนวน 120 คน ได้รับทราบและเพื่อเป็น ประโยชน์ ใ นการเรี ย นการสอนด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มของโรงเรี ย นต่ อไป การศึกษาดูงานแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก เวลา 09.30 น. - 12.00 น. และช่วงที่สอง เวลา 13.30 น. - 16.30 น. ซึ่งบริเวณสถานที่จัดงาน มีแสดงนิทรรศการเรื่องผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Product) รวมทั้ ง มุ ม เรี ย นรู้ อิ เ ล็ ค ทรอนิ ค ส์ ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ สิ่งแวดล้อม และงานบริการอื่นๆ ภายในศูนย์บริการประชาชน อีกทั้ง ยังมีการสอดแทรกการเรียนรู้ฐานกิจกรรมและเกมส์ต่างๆ เพื่อให้เป็น ที่สนใจของเด็กๆ อีกด้วย - ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร (Service Center) เป็นการให้บริการประชาชน ณ จุดบริการ/ศูนย์บริการประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ชั้น 2) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่ผลิตโดยหน่วยงานต่างๆ ภายในกรมฯ เป็นการอำนวยความสะดวก ให้ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลและสื่อสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง ณ จุดบริการ ที่ทำการรวบรวมไว้โดย ไม่จำเป็นต้องไปขอใช้บริการในแต่ละหน่วยงานของ กรมฯ ทั้งนี้จำนวนผู้ขอใช้บริการ ณ จุดบริการ ในปีงบประมาณ 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 134 คน 4) การพัฒนาแหล่งข้อมูลสารสนเทศสิ่งแวดล้อมสำหรับประชาชนและเยาวชน - ในปี 2553 ได้มุ่งเน้นการขยายผลการประชุมระดมสมองในกิจกรรมเวทีสีเขียวของ คนสองวัย ปี 2 เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์สิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่นและระดับประเทศสู่การร่วมคิด-พิชิตปัญหา ในท้องถิ่นร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมโดยคนสองวัยและนำเสนอการวิเคราะห์สถานการณ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการแก้ไข ปัญหา ด้วยการจัดทำการวิเคราะห์สถานการณ์สิ่งแวดล้อมและการร่วมคิด-พิชิตปัญหา ปี 2553 โดยคนสองวัย ในรูปแบบของสารสนเทศสิ่งแวดล้อมเผยแพร่บนเว็บไซต์ของกรมฯ รวมทั้งหนังสือเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ การจัด กิจกรรมเวทีสีเขียวของคนสองวัย ปี 2 นอกจากจะเป็นการระดมสมองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากกรณีศึกษาด้าน สิ่งแวดล้อมจากทุกภาคทั่วประเทศแล้ว ยังเป็นเวทีให้ผู้สูงอายุและเยาวชนได้แสดงพลังและเกิดการทำงานร่วมกัน ในการสั ง เคราะห์ วิ เ คราะห์ และแก้ ไ ขปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ มในท้ อ งถิ่ น ของตนอย่ า งเป็ น รู ป ธรรม โดยกรมฯ เป็นผู้สนับสนุนด้านวิชาการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์สถานการณ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการแก้ไขปัญหา โดยคนสองวัยจากโครงการฯ ยังได้เพิ่มเติ ม ในแหล่งข้ อ มู ลสิ่งแวดล้อ มของกรมส่งเสริม คุ ณ ภาพสิ่งแวดล้อ ม เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจต่อไป 5) การปรับปรุงและบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ - ดำเนินการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์กระจายสัญญาณหลัก อุปกรณ์กระจาย สัญญาณรอง อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยรวมทั้งอุปกรณ์สำรองข้อมูลให้อยู่ในสถานะทำงานที่เป็นปกติ รวมทั้ง ตรวจสอบสัญญาณของอุปกรณ์กระจายสัญญาณระหว่างต้นทางและปลายทางให้ใช้งานได้พร้อมทั้งบำรุงรักษาระบบ ปรับอากาศ Precision Air และระบบสำรองไฟฟ้าอัตโนมัติ UPS 40 KVA 6) การพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้านสารสนเทศสิ่งแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - มีการส่งเสริมเผยแพร่ ข้ อ มู ล และสารสนเทศด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มแก่ ป ระชาชนทั่ วไปเพื่ อ


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

114

กระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงได้พัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อในการเรียนรู้ด้วยตนเองพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้เป็นบทเรียนที่ง่ายต่อการนำไปเรียนรู้พร้อมทั้งได้ส่งเสริมให้ครู นักเรียนและประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสเข้าถึงบทเรียนด้วยช่องทางที่สะดวกยิ่งขึ้นโดยการให้บริการผ่านเว็บไซต์ http://e-learning.deqp.go.th ของกรมฯ ในปี 2553 ได้พัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้นจำนวน 2 หลักสูตร คือ ธนาคารขยะรีไซเคิลและโรงเรียน สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco - school) ทั้งนี้จำนวนหลักสูตรที่ได้พัฒนามาแล้ว 10 หลักสูตร จนถึงปัจจุบันรวมเป็น 12 หลักสูตร 7) การปรับปรุงระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ - มี ก ารปรับ ปรุงระบบรั ก ษาความมั่ น คงปลอดภั ย ของระบบสารสนเทศที่ ใ ห้ บ ริ ก ารแก่ บุคลากรของกรมเพื่อให้เกิดขบวนการ การจัดการการใช้งานให้เป็นไปอย่างมั่นคงและปลอดภัยโดยการจัดทำ ระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้งานอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง มีการจัดทำแผนรองรับปัญหาจากสถานการณ์ ความไม่แน่นอนและภัยพิบัติที่อาจเกิดกับระบบข้อมูลและสารสนเทศ (IT Contingency Plan) มีการวิเคราะห์ ออกแบบวางแนวทางในการทำระบบรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้ง การจัดเก็บข้อมูลบันทึกกิจกรรม (Log) ของอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่สำคัญในระบบเครือข่ายตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 - กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มี แนวคิดที่จะจัดการอบรมคอมพิวเตอร์ให้เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี พ.ศ. 2553 ได้ มีการจัดฝึกอบรมจำนวนทั้งสิ้น 2 หลักสูตร คือ โครงการ อบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับผู้บริหาร จำนวนผู้เข้าอบรม 163 คน และโครงการฝึกอบรมด้าน Security Awareness สำหรับ ผู้ปฏิบัติงาน จำนวนผู้เข้าอบรม 75 คน 8) โครงการแข่งขันลดรอยเท้าทางนิเวศน์ ในโรงเรียน - รอยเท้ า ทางนิ เ วศ (Ecological footprint) เป็นการวิเคราะห์ที่พยายามวัดการบริโภคทรัพยากร ธรรมชาติ ข องมนุ ษ ย์ โดยทำการเปรี ย บเที ย บการบริ โ ภค ทรั พ ยากรธรรมชาติ กั บ ความสามารถในการผลิ ต และสร้ า ง ทดแทนของโลก โดยใช้ เ ครื่ อ งมื อ คำนวณรอยเท้ า ทางนิ เ วศ ที่สามารถใช้ในการสำรวจความยั่งยืนในการบริโภครายบุคคล วิ ถี ก ารดำรงชี วิ ต การผลิ ต สิ น ค้ า การบริ ก าร องค์ ก ร ภาคอุตสาหกรรม ท้องถิ่น เมือง ภูมิภาค ของประเทศได้ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สถานทูตอังกฤษ British Council ธนาคารเอช เอส บี ซี (ประเทศไทย) จำกั ด สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานและกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกัน

114


115 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

115

ดำเนินโครงการแข่งขันรอยเท้าทางนิเวศในโรงเรียน เพื่อส่งเสริม ความรู้ ความเข้าใจด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับครูและนักเรียน สำหรับโรงเรียนในประเทศไทย เป็นการเปิดโอกาสให้โรงเรียน ได้คำนวณผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนด้วยตนเอง โดยใช้ เ ครื่ อ งมื อ การคำนวณที่ ไ ด้ พั ฒ นาขึ้ น เครื่ อ งคำนวณ รอยเท้าทางนิเวศนี้ทำให้เกิดการเรียนรู้ว่าการอุปโภคและบริโภค ทรัพยากรประเภทใด จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังสิ่งแวดล้อม มากน้อยเพียงใด โดยจะมีการจัดเก็บข้อมูลการใช้ทรัพยากร ด้านต่างๆ รวมทั้งบันทึกการดำเนินชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้อง กับสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียน 6 ด้าน คือ น้ำ พลังงาน อาคาร อาหาร ขยะ และการเดินทาง เพื่อคำนวณรอยเท้าทางนิเวศ ซึ่ ง จะเป็ น เสมือนดัชนีเบื้องต้นในการบ่งชี้ ให้ พึ ง ตระหนั ก ถึ ง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโรงเรียนจะสามารถวางแผนจัดการกับกิจกรรมต่างๆ ที่อาจ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น ปิดไฟดวงที่ไม่ได้ใช้ การแยกขยะ การจัดทำปุ๋ย เป็นต้น ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิต เป้าหมาย ผลผลิต ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก หน่วยนับ ปี 2552 ปี 2553 ปี 2553 กิ จ กรรมที ่ 7 : พั ฒ นาและให้ บ ริ ก ารสารสนเทศ สิ่งแวดล้ อม ราย 180,512 130,000 305,336 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับ บริการข้อมูลข่าวสาร 87.78 78 93.58 ตั ว ชี้ วั ด เชิ ง คุ ณ ภาพ : ร้ อ ยละความพึ ง พอใจของ ร้อยละ ผู้รับบริ การข้อมูลข่าวสาร ผลลัพธ์ที่ได้ • มีผู้ใช้บริการเว็บไซต์และได้รับบริการข้อมูลข่าวสาร รวม 305,336 ราย งพอใจจากการสำรวจผู้รับบริการข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์ต่างๆ ของกรม ศูนย์บริการประชาชนทางโทรศัพท์ • ความพึ นย์บริการประชาชน ณ จุดบริการ คิดเป็น ร้อยละ 93.58 ของผู้แสดงความคิดเห็น และศู 7.7.3 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ : 1) ความไม่พร้อมของอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของท้องถิ่น 2) ผู้บริหารหน่วยงานท้องถิ่น ยังไม่ได้กำหนดให้มีหน่วยงานย่อยเพื่อรับผิดชอบงานด้าน สารสนเทศที่ชัดเจน - เงื่อนไขความสำเร็จ การจัดทำข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ระดับ ชุมชนท้องถิ่นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

116

7.8 การส่งเสริมการผลิต การบริการ และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 7.8.1 สาระสำคัญ : โครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในโรงเรียน เป็นไปตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการ ผลิตที่สะอาด ในด้านการรณรงค์การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจและส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้ ประชาชน หน่วยงานองค์กรทุกภาคส่วนให้มีการดำเนินงานด้านการผลิตที่สะอาด โดยส่งเสริมให้มีการดำเนินงาน ด้านการผลิตที่สะอาดในโรงเรียน ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในด้านรณรงค์ส่งเสริม อีกทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสงวนบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม โครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในโรงเรียนเป็นการดำเนินงานแบบองค์รวมของการจัดการ คุณภาพสิ่งแวดล้อมและการจัดการการใช้ทรัพยากร โดยเน้นลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าสาธารณูปโภคลดค่าใช้จ่ายการจัดการมลพิษส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วม ในการดำเนินงานเทคโนโลยีสะอาด การนำหลักการการจัดการเทคโนโลยีแนวใหม่ ที่เน้นใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและลด มลพิษ ณ แหล่งกำเนิด หรือหลักการเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) ประยุกต์มาใช้ในกระบวนการผลิต เป็นแนวทางที่ช่วยให้สถานประกอบการสามารถลดต้นทุนการผลิต และลดมลพิษที่เกิดขึ้น แนวทางดังกล่าวยังเป็น โอกาสและช่องทางในการทำธุรกิจสำหรับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงได้จัด ทำโครงการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมและพัฒนายกระดับคุณภาพสินค้า 7.8.2 ผลการดำเนินงาน : 1) การส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ พัฒนากระบวนการผลิตและบริการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1.1 ส่งเสริมเทคโนโลยีสะอาดในโรงเรียน - จัดอบรมเยาวชนเทคโนโลยีสะอาด รุ่นที่ 11 ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เยาวชนเข้าร่วม 142 คนและรุ่นที่ 12 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เยาวชนเข้าร่วม 142 คน - จัดอบรมเชิงลึกผู้ตรวจประเมิน และอบรม ผู้ตรวจประเมิน เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสะอาดในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น - จัดอบรมบุคลากรอบรมเชิงลึก “การประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีสะอาดในโรงเรียน” สำหรับบุคลากรแกนนำ โรงเรียน ในจังหวัดขอนแก่น - ติดตามความก้าวหน้างานเทคโนโลยีสะอาด ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น - ประชุมรายงานความก้าวหน้า งานเทคโนโลยี สะอาดของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อให้โรงเรียนที่เข้าร่วม โครงการฯ รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการฯ ในพื้นที่ จังหวัดขอนแก่น เชียงใหม่ และประจวบคีรีขันธ์

116


117 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

117

- ตรวจประเมินผลสำเร็จการดำเนินโครงการเทคโนโลยีสะอาดในโรงเรียนในพื้นที่จังหวัด ขอนแก่น เชียงใหม่ และประจวบคีรีขันธ์ 1.2 ส่งเสริมเทคโนโลยีสะอาดในสถานประกอบการ - รับสมัครสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ - ตรวจประเมิ น เบื้ อ งต้ น และเป็ น พี่ เ ลี้ ย งแก่ ส ถาน ประกอบการที่ เ ข้ า ร่ ว มโครงการในพื้ น ที่ จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยาและ จังหวัดสมุทรปราการ - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางออกแบบและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงใหม่ - จัดประชุมชี้แจงการตรวจประเมินและรายละเอียด การดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประเภท การผลิตสิ่งทอขนาดเล็กในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น - ประชุมเครือข่ายแก่สถานประกอบการ เพื่อแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต - ตรวจประเมินเพื่อมอบคำรับรองการผลิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมให้กับสถานประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออก เฉียงเหนือ - จัดประชุมรายงานผลสำเร็จโครงการส่งเสริมการผลิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ - มอบคำรับรองและตราสั ญ ลั ก ษณ์ G แก่ ส ถาน ประกอบการที่ผ่านเกณฑ์การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) การจัดทำฐานข้อมูลส่งเสริมสิ่งแวดล้อมท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของประชาชน - ปีงบประมาณ 2553 ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อตอบสนองต่อแนวนโยบายภายใต้ โครงการปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ ดำเนินงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในลักษณะภาคีร่วม ได้แก่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ โดยมีกิจกรรมต่างๆ ทั้งการจัดประชุม สัมมนา และการระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การจัดทำฐานข้อมูลของพื้นที่ทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคม การท่องเที่ยว ด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลและระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ การจัดทำและพิจารณา เกณฑ์มาตรฐานสถานประกอบการที่พักและชุมชนสีเขียวที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับพื้นที่ โดยผ่านกลไกการมีส่วนร่วม ของประชาชน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการและชุมชนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง การใช้เกณฑ์ มาตรฐานสีเขียวดังกล่าวในการจัดระดับสถานประกอบการที่พักและชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับต่างๆ ต่อไป โดยมีสถานประกอบการที่พักในเขตอำเภอเมืองและเทศบาลเมืองน่าน ทุกระดับทุกราคาสนใจสมัครเข้าร่วม โครงการจำนวนทั้งสิ้น 21 แห่ง ชุมชน จำนวน 28 แห่ง ได้รับการพิจารณาให้เป็นสถานประกอบการที่พักสีเขียว จำนวน 12 แห่ง (ระดับ Gold Class 3 แห่ง, Silver Class 2 แห่ง และ Green Class 7 แห่ง) สำหรับ ชุมชนสามารถผ่านเกณฑ์การพิจารณาให้เป็นชุมชนสีเขียวได้ครบทุกชุมชนคือ 28 ชุมชน (ชุมชนสีเขียวดีเยี่ยม 7 แห่ง, ชุมชนสีเขียวดีมาก 7 แห่ง, ชุมชนสีเขียวดี 7 แห่ง และชุมชนสีเขียวผ่านเกณฑ์ 7 แห่ง)


118

ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลผลิตของงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก

หน่วยนับ

กิจกรรมที่ 8 : ส่งเสริมการผลิต การบริการและ การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั ว ชี้ วั ด เชิ ง ปริ ม าณ : กลุ่ ม เป้ า หมายมี ก ารปรั บ แห่ง/ชุมชน/ พฤติกรรมในการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เครือข่าย ตั ว ชี้ วั ด เชิ ง คุ ณ ภาพ : ร้ อ ยละของกลุ่ ม เป้ า หมาย ร้อยละ มีการปรับพฤติกรรมในการผลิต การบริการ และ การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผลผลิต ปี 2552

เป้าหมาย ปี 2553 - -

140 แห่ง 30

ผลผลิต ปี 2553 210 แห่ง 81.43

ผลลัพธ์ที่ได้

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลผลิต (Output) 1. ฐานข้อมูลบริเวณพื้นที่ศึกษา 2. เกณฑ์มาตรฐานสถานประกอบการที่พักและชุมชนสีเขียว สำหรับจังหวัดน่าน 3. สถานประกอบการที่พักที่ผ่านเกณฑ์สีเขียว จำนวน 12 แห่ง 4. ชุมชนที่ผ่านเกณฑ์สีเขียว จำนวน 28 แห่ง 5. แผ่นพับแผนที่สีเขียว ผลลัพธ์ (Outcome) : ประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่มีความตระหนักและจิตสำนึกในการดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มากขึ้น

118


ส่วนที่ 3

รายงานการเงิน


กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

120 3.1 งบแสดงฐานะทางการเงิน

120 (หน่วย : พันบาท)


121

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553 (หน่วย : พันบาท)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.2 งบแสดงรายได้และค่าใช้จ่าย

121



ส่วนที่ 4

ผลงานสำคัญอื่น


124

วันที่ 2 ต.ค. 52 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ ม ได้ จั ด ให้ มี พิ ธี ท ำบุ ญ วั น คล้ า ยวั น สถาปนา ครบรอบ 7 ปี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ มขึ้ น โดยพิ ธี ใ นช่ ว งเช้ า นายสุ วิ ท ย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้นำคณะผู้บริหารระดับสูงในสังกัด จำนวน 17 หน่วยงาน ประกอบด้วย 10 ส่วนราชการ 5 รัฐวิสาหกิจ 2 องค์การมหาชน ร่วมสักการะพระพุทธสยัมภู พระประจำกระทรวงและพระภูมิ ณ บริเวณ หน้าอาคารกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม แถลงข่าวการ ประกวดสร้ า งสรรค์ สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ จ ากวั ส ดุ เ หลื อใช้ รอบตัดสินระดับประเทศ ชิงถ้วยประทานพระองค์เจ้า ศรีรัศมิ์ฯ ประจำปี 2552 ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

124

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม แถลงข่ า ว “โครงการนำช้างคืนถิ่น จังหวัดสุรินทร์” พร้อมด้วย นายโสภณ ดำนุ้ย ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ใน พระบรมราชูปถัมภ์, นายวิเชียร ชวลิต ผู้ว่าราชการ จังหวัดสุรินทร์, นายธงชัย มุ่งเจริญพร องค์การบริหาร ส่วนจังหวัสุรินทร์, นายสมชัย เพียรสถาพร อธิบดี กรมป่ า ไม้ , นายเกษมสั น ต์ จิ ณ ณวาโส อธิ บ ดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, นายมนูญศักดิ์ ตันติวิวัฒน์ ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรม ป่าไม้ และนายวิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว ทำการแทนผู้ว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการดังกล่าว เพื่อสนอง พระกระแสรับสั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยอาชีพการเลี้ยงช้างและให้ ช่วยหาแนวทางแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อนใหีมีที่อยู่อาศัยอย่างปลอดภัย และมีอาหารกินอย่างเพียงพอ


รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงฯ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำองค์กร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ร่ ว มทำบุ ญ “ตั ก บาตรเทโว” เนื่องในโอกาสวันออกพรรษา ณ วัดพระบาทภูพานคำ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยมีพระภิกษุสงฆ์ สามเณรวั ด พระบาทภู พ านคำและวั ด ในจั ง หวั ด ขอนแก่น จำนวน 599 รูป และทอดผ้าป่าสามัคคี ได้ รั บ เงิ น บริ จ าคจากผู้ มี จิ ต ศรั ท ธา รวมทั้ ง สิ้ น 425,062 บาท

125

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2552 ณ กรมทหารราบที่ 11 รั ก ษาพระองค์ เขตบางเขน กรุ ง เทพมหานคร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิด โครงการ “เทิดพระเกียรติ เหลือง – ฟ้า มหามงคล” จากวันแม่ถึงวันพ่อ รวมพลังป้องกันรักษาและฟื้นฟู สภาพป่ า เพื่ อ รั ก ษาชี วิ ต ซึ่ ง ในการจั ด งานครั้ ง นี้ กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม โดย กรมป่าไม้ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ จัดขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

125

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยที่ผู้ช่วย รมว.ทส. ปรึกษา รมว.ทส. อทช. และคณะ เดินทางไป เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการสมุทรศาสตร์ระหว่าง ประเทศ ของ UNESCO (Intergovernmental Oceanographic Commission, IOC-UNESCO) ณ สำนักงานใหญ่ UNESCO กรุงปารีส สาธารณรัฐ ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 10-16 ตุลาคม 2552


126 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

126

28 ตุลาคม 2552 ณ สนามบินสุวรรณภูมิ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เผยถึง ผลการเข้าร่วมประชุมสมัชชาทั่วไปของรัฐภาคี อนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ครั้งที่ 17 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่ ง เศสว่ า ประเทศไทยได้ รั บ การคั ด เลื อ กให้ ดำรงตำแหน่งกรรมการมรดกโลก เป็นเวลา 4 ปี ในการ ประชุมเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ที่ผ่านมาจากจำนวนประเทศ รัฐภาคีที่ลงสมัครเข้ารับการคัดเลือกทั้งสิ้น 31 ประเทศ

นายภิมุข สิมะโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นางสาวรสพิ ม ล จิ ร เมธากร ที่ ป รึ ก ษารั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม นายศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ตรี เ ดช ปลั ด กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม และผู้ บ ริ ห ารกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียนอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 11 (11th ASEAN Ministerial Meeting on the Environment – AMME) การประชุม (5th Meeting of the Conference of the Parties to the ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างวันที่ 29-30 ตุลาคม 2552 ณ ประเทศสิงคโปร์

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโดย นายสุ วิ ท ย์ คุ ณ กิ ต ติ รั ฐ มนตรี ว่ า การ กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ พร้ อ มด้ ว ยคณะ ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ในสังกัดกระทรวงฯ เดินทางไปยังศาลาศิริราช 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช เพื่อลงนามถวายพระพร


127 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม เป็นประธานในพิธีถวายพระพรแด่พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ฯ และสมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชินีนาถ กิจกรรมการปลูกหญ้าแฝกฟื้นฟูป่า เพื่อพัฒนาต้นน้ำตามแนวพระราชดำริ ภายใต้โครงการ เทิดพระเกียรติเหลือง – ฟ้า มหามงคล จากวันแม่ถึง วันพ่อ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ในพื้นที่ 84 ไร่ ณ อุทยานแห่งชาติ ภูเก้า – ภูพานคำ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรธรณี จัดงาน มหกรรมทรัพยากรธรณีและซากดึกดำบรรพ์ ภายใต้โครงการเทิดพระเกียรติ เหลือง – ฟ้า มหามงคล ใต้ร่มพระบารมี ทรัพยากรธรณีก้าวไกล ณ ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่

127

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 นายภิมุข สิมะโรจน์ ผู้ ช่ ว ยรั ฐ มนตรี ป ระจำกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่ ง แวดล้ อ ม ให้ เ กี ย รติ เ ป็ น ประธานในโครงการประกวด ร้ อ งเพลง คนไทยหั วใจ สี เ ขี ย ว Be Green Teen Singing Contest ชิ ง ถ้ ว ยรางวั ล พร้ อ มทุ น การศึ ก ษา รวมมูลค่ากว่าสองแสนบาท ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์


128

วั น ที่ 11 พฤศจิ ก ายน 2552 ณ ลานอิ น ฟิ นิ ซิ ตี้ ฮ อลล์ พารากอนซี นี เ พล็ ก ซ์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม เป็ น ประธาน เปิดงาน “2012 Exclusive Night” เพื่อ รณรงค์ ป ลุ ก สร้ า งและกระตุ้ น จิ ต สำนึ ก ให้ เยาวชนและประชาชนได้ ป รั บ เปลี่ ย นวิ ธี ก าร ขบวนการคิด และพฤติกรรมในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อลดวิกฤตภาวะโลกร้อนให้กับโลกในปัจจุบัน

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายสุ วิ ท ย์ คุ ณ กิ ต ติ รั ฐ มนตรี ว่ า การ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้ อ มด้ ว ยคณะผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ในสั ง กั ด ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร เนื่องในวโรกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ วันที่ 5 ธันวาคม 2552 ณ สถานี วิ ท ยุ โ ทรทั ศ น์ แ ห่ ง ประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ (NBT)

128

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจัดโครงการ “เทิดพระเกียรติเหลืองฟ้า-มหามงคล จากวันแม่ถึง วันพ่อ รวมพลังมวลชนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อความสมบูรณ์และยั่งยืนของ ท้องทะเลไทย” ในวันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2552 ณ บริเวณท่าเทียบเรือ หมู่ 6 บ้านในไร่ ต.ด่านสวี อ.สวี จ.ชุมพร


129 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายสุ วิ ท ย์ คุ ณ กิ ต ติ รั ฐ มนตรี ว่ า การ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้ อ มด้ ว ยคณะผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ในสั ง กั ด ลงพื้ น ที่ บ้ า นวั ง ชมพู หมู่ ที่ 7 ตำบลจริ ม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อรับฟังและ แก้ ปั ญ หาความเดื อ ดร้ อ นเกี่ ย วกั บ ที่ ดิ น ทำกิ น ให้กับประชาชนในพื้นที่ จำนวน 1,040 ราย รวมพื้ น ที่ 9,877 ไร่ พร้ อ มทั้ งได้ สั่ ง การให้ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวตามข้อกฎหมายและระเบียบ ของราชการ การประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 16 และการประชุมกลุ่มผู้สนับสนุน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2552 ณ โรงแรมไฮแอท รีเจนซี อำเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี จากประเทศสมาชิกของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) ทั้ง 4 ประเทศได้แก่ กัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม

129

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและ พั น ธุ์ พื ช ร่ ว มกั บ สำนั ก งานพระพุ ท ธศาสนาแห่ ง ชาติ เปิดโครงการพุทธอุทยาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2552 “ธรรมมะในธรรมชาติ” ณ อุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา


130 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

130

วันที่ 25 ธันวาคม 2552 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน วั น คุ้ ม ครองสั ต ว์ ป่ า แห่ ง ชาติ ประจำปี 2552 ภายใต้หัวข้อ “ก้าวย่างกึ่งศตวรรษ การอนุรักษ์ สัตว์ป่าไทย” ณ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้าร่วมการประชุมระดับประมุขรัฐ/หัวหน้ารัฐบาล (High Level Segment: HLS) ของการประชุม รั ฐ ภาคี อ นุ สั ญ ญาสหประชาชาติ ว่ า ด้ ว ยการเปลี่ ย น แปลงสภาพภู มิ อ ากาศ สมั ย ที่ 15 (the 15th United Nations Climate Change Conference: COP15) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 5 (the 5th Session of the Conference of the Parties serving as the meeting of the Parties to the Kyoto Protocol: CMP5) ในระหว่าง วันที่ 17-18 ธันวาคม 2552 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ราชอาณาจักรเดนมาร์ก นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ ร้ อ ม ด้ ว ย น า ย ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ต รี เ ด ช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ พนักงาน เจ้ า หน้ า ที่ ใ นสั ง กั ด ร่ ว มพิ ธี ท ำบุ ญ เนื่ อ งใน วันขึ้นปีใหม่ 2553


131 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2553 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงานวันครบรอบ 118 ปี แห่ ง การสถาปนากรมทรั พ ยากรธรณี ในโอกาสนี้ นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนางนิศากร โฆษิตรัตน์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ นายสมศักดิ์ โพธิสัตย์ อดีตอธิบดี กรมทรั พ ยากรธรณี ร่ ว มเป็ น เกี ย รติ แ ละแสดงความยิ น ดี เ นื่ อ งในโอกาส 118 ปี แ ห่ ง การก่ อ ตั้ ง กรมทรัพยากรธรณี

วันที่ 7 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 301 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดให้มีพิธี ลงนามบั น ทึ ก ข้ อ ตกลงว่ า ด้ ว ยการใช้ แ ผนที่ ภ าพถ่ า ยทาง อากาศร่วมกั น ระหว่ า งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง ดังกล่าว

131

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สานสั ม พั น ธ์ ห น่ ว ยงานในสั ง กั ด จั ด กิ จ กรรมการ แข่ ง ขั น กี ฬ าภายในกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ ม ประจำปี 2552 เมื่ อ วั น ศุ ก ร์ ที่ 8 มกราคม 2553 ณ สนามกี ฬ ากองทั พ บก ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร


132

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2553 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงานพิธีเปิดตัวโครงการ อุทยานสัตว์ป่าอีสานตอนบน ขอนแก่น-อุดร โดยมี นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประธานคณะกรรมการ องค์ ก ารสวนสั ต ว์ นายจตุ พ ร บุ รุ ษ พั ฒ น์ อธิ บ ดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นางอรพินท์ วงศ์ ชุ ม พิ ศ อธิ บ ดี ก รมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม ผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของกระทรวงฯ และผู้ น ำองค์ ก ร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น รวมถึ ง เยาวชนนั ก เรี ย นและ ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมงาน กว่า 25,000 คน

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2553 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม พร้ อ มด้ ว ยคณะ ผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงฯ นำพลัง ข้าราชการ 2,000 คน ร่วมดื่มน้ำสาบานถวาย สัจจะ เนื่องในวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ ประจำปี 2553 ณ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

132

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานและ สั ก ขี พ ยาน ในพิ ธี ล งนามข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อใน การป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในที่โล่งและมลพิษ หมอกควั น ในพื้ น ที่ ภ าคเหนื อ ระหว่ า งสำนั ก นายก รัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้จัดทำขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 เพื่อให้การดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในที่โล่งและมลพิษหมอกควัน เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงสุด โดยเน้นพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน


133 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2553 กองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund-WWF) มอบรางวัล J. Paul Getty Award for Conservation Leadership 2009 ให้ แ ก่ น ายสุ วิ ท ย์ คุ ณ กิ ต ติ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่ ง แวดล้ อ ม ในฐานะนั ก การเมื อ งที่ มี ผ ลงานด้ า น อนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มอย่ า ง ต่ อ เนื่ อ งทั้ งในประเทศไทยและในระดั บโลกและเป็ น คนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับรางวัลนี้

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ณ บริเวณ ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ดอนหอยหลอด ตำบลบางจะเกร็ง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม นายสุ วิ ท ย์ คุ ณ กิ ต ติ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน เปิดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันพื้นที่ชุ่มน้ำ เรื่อง “โลกร้ อ นบรรเทาได้ หากใส่ ใ จในพื้ น ที่ ชุ่ ม น้ ำ ” เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในท้องที่ร่วมมือกัน อนุรักษ์ฟื้นฟูดอนหอยหลอดให้มีสภาพสมบูรณ์ขึ้นภายในหนึ่งหรือสองปี

133

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม พร้ อ มด้ ว ย นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ตรวจดูแผ่นดินทรุดตัวจนเป็น หลุมยุบขนาดใหญ่ จำนวน 2 หลุม อยู่กลางไร่มัน สำปะหลังของนางทองสุข ชอบรัก ในพื้นที่บ้านหนองราง ตำบลค้างพลู อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา


134

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็ น ประธานเปิ ด เวที ป ระสานความร่ ว มมื อ ระหว่ า ง หน่วยงาน ในพื้นที่ชุมชนเมืองชายฝั่งทะเลที่ ไ ด้รับ ผลกระทบจากปั ญ หาการกั ด เซาะชายฝั่ ง ภายใต้ หั ว ข้ อ เรื่ อ ง “สู้ วิ ก ฤตการกั ด เซาะชายฝั่ ง ทะเลและ เตรียมพร้อมรับมือภัยคุกคามจากภาวะโลกร้อน”

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็ น องค์ ป ระธานในพิ ธี เ ปิ ด งาน “มหกรรมรวมพลั ง องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลอุ ทิ ศ ตนปิ ด ทองหลั ง พระ” ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ โดยในโอกาสนี้ ดร.ก่องกานดา ชยามฤต ผู้อำนวยการ องค์ ก ารสวนพฤกษศาสตร์ นายธี ร ภั ท ร ประยู ร สิ ท ธิ รองอธิบดีกรมป่าไม้ และนายวรพล จันทร์งาม ผู้อำนวยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จ

134

วันที่ 23-27 กุมภาพันธ์ 2553 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หั ว หน้ า คณะผู้ แ ทนไทย พร้ อ มด้ ว ยผู้ ช่ ว ยรั ฐ มนตรี ฯ ปลั ด กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วม การประชุมคณะมนตรีประศาสน์การของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยพิเศษ สมัยที่ 11 ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย


135

135

เมื่ อ วั น ที่ 9 เมษายน 2553 กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยความคืบหน้า การเจรจาจัดตั้งศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาแพนด้า ไทย – จีน โดยการเจรจาเรื่องดังกล่าวนี้ ได้รับการตอบรับ เป็ น ที่ น่ า ยิ น ดี เนื่ อ งจากจี น เห็ น ว่ า ประเทศไทยโดย องค์การสวนสัตว์ได้ให้ความสำคัญและมีการจัดแสดง รวมทั้งดำเนินการวิจัยหมีแพนด้าในประเทศไทยได้ เหมาะสม สามารถขยายพันธุ์แพนด้าจนให้ลูก 1 ตัว อีกทั้งได้ดูแลรักษาความปลอดภัยหมีแพนด้าเป็นพิเศษ

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดร้านกาชาด ประจำปี 2553 ภายใต้คำขวัญ “รวมใจถวายราชสดุดี ถวายพระพร พระภูมี ทรงพระเจริญ” งานกาชาดเป็นงานที่จัดขึ้น เพื่อหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย โดยในทุ ก ๆ ปี จ ะมี ก ารกำหนดจั ด งานขึ้ นในระหว่ า ง ปลายเดื อ นมี น าคมถึ ง ต้ น เดื อ นเมษายนทั้ ง ใน กรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ โดยในปีนี้งานกาชาดในกรุงเทพมหานคร กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 มีนาคม ถึง 7 เมษายน ณ บริเวณสวนอัมพร ลานพระบรมรูปทรงม้า สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา และถนนราชดำเนินนอก

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายสุ วิ ท ย์ คุ ณ กิ ต ติ รั ฐ มนตรี ว่ า การ กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม เป็นประธานในการเปิดงาน “คุณภาพน้ำ – คุณภาพชีวิต” เนื่องใน วันน้ำโลกประจำปี 2553 ซึ่งในปีนี้ องค์การ สหประชาชาติ ไ ด้ ก ำหนด Theme ว่ า “Water Quality” ภายใต้คำขวัญ “ Clean Water for a Healthy World”


136

เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เข้าร่วมประชุมนานาชาติ “Asia Forum : Low Carbon Asia” ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อกล่าว ปาฐกถาในงานประชุมนานาชาติ “Asia Forum : Low Carbon Asia” ในหัวข้อ Reading to Climate Change : Vision , Action Plans and Media Involvement”

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่ า ไม้ ร่ ว มกั บ มู ล นิ ธิ พุ ท ธอุ ท ยานโลกร่ ว ม ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการจัดตั้ง พุ ท ธอุ ท ยานโลกในเขตป่ า สงวนแห่ ง ชาติ ป่ า น้ ำ ตก เขาอีโต้ ตำบลเนินหอม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เพื่ อ พิ ทั ก ษ์ อ นุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรป่ าไม้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น ตาม แนวคิด “พุทธอุทยานโลก”

136

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 ณ บริเวณ สวนสาธารณะจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร นายสุ วิ ท ย์ คุ ณ กิ ต ติ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน ในพิ ธี ล งนามบั น ทึ ก ข้ อ ตกลงว่ า ด้ ว ยความร่ ว มมื อ “โครงการลดการใช้ถุงพลาสติก ลดขยะ เพื่อลด โลกร้ อ น” ระหว่ า งกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และผู้ประกอบการจากศูนย์สรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า และร้าน สะดวกซื้อ เพื่อผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินการลด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติก ในประเทศไทยอย่างจริงจัง


137

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหา การบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล แนวเขตที่ดินของรัฐประเภท ป่าไม้ ณ ศูนย์ประชุมสถาบันจุฬาภรณ์ โดยในโอกาสนี้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม พร้ อ มด้ ว ย นายศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ตรี เ ดช ปลั ด กระทรวงทรั พ ยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสมชัย เพียรสถาพร อธิบดีกรมป่าไม้ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดี กรมป่าไม้ และผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ ม ร่ ว มให้ ก ารต้ อ นรั บ และเข้ า ร่ ว ม การสัมมนากว่า 500 คน

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม จั ด กิ จ กรรมเนื่ อ งในวั น สิ่ ง แวดล้ อ มโลก (5 มิถุนายน 2553 : World Environment Day) เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจและตื่นตัว เรื่ อ งความสำคั ญ และคุ ณ ค่ า ของความหลากหลาย ทางชีวภาพที่มีต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ ภายใต้ แนวคิด : Many Species One Planet One Future : ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤต ชีวิตโลก ระหว่างวันที่ 4 -5 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่ เวลา 09.00 -16.00 น. ณ อาคารคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อิมแพคเมืองทองธานี

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่ ง แวดล้ อ ม เป็ น ประธานเปิ ด งานโครงการเหลื อ ง-ฟ้ า มหามงคล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “รวมพลังใจ ถวายความภักดี” เนื่องในโอกาสมหามงคล บรมราชาภิเษกปีที่ 60 พร้อมทั้งนำพลังมวลชนร่วมกล่าว สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและร้องเพลงสดุดีมหาราชา ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาส มหามงคลบรมราชาภิเษกปีที่ 60 ณ สวนสัตว์ดุสิต

137


138

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2553 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดโครงการกระชับมิตร ขจัดมลพิษสิ่งแวดล้อม ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เทศบาลเมืองลัดหลวง ซึ่งจัดโดยเทศบาลเมืองลัดหลวง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมฉลองปีสากลแห่งความหลากหลายทาง ชีวภาพ 2010 พร้อมเปิดศูนย์การเรียนรู้ปีสากลแห่ง ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งแรกของประเทศไทย เพื่ อ รณรงค์ ใ ห้ ค นไทยตระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่ า และความ สำคั ญ ของสิ่ ง มี ชี วิ ต ทั้ ง พื ช และสั ต ว์ หั น มาร่ ว มกั น อนุรักษ์ 20 พันธุ์สัตว์ 10 พันธุ์พืช ภายใต้หัวข้อ “ความหลากหลายทางชีวภาพ คือชีวิต คือชีวิตของเรา ทุกคน” (Biodiversity is life, biodiversity is our life)

138

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะผู้บริหารระดับสูง ได้ เ ปิ ด งานประชุ ม วิ ช าการทรั พ ยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ มแห่ ง ชาติ ค รั้ ง ที่ 3 ภายใต้ แ นวคิ ด “ความหลากหลายทางชี ว ภาพ กู้ วิ ก ฤก ชี วิ ตโลก” พร้อมปาฐกถาพิเศษและเชิญชวนประชาชนทุกหมู่เหล่า ถึ ง เวลารั ก ษ์ โ ลก รั ก ษาชี วิ ต รั ก ษาสิ่ ง แวดล้ อ ม เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2553 ณ อาคารคอนเว็นชั่น เซ็นเตอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี


139 รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะเดินทางไปยังหน่วยป้องกัน รักษาป่า พล 14 (น้ำคลาด) อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เพื่ อ ตรวจสอบและติ ด ตาม ความคื บ หน้ า การตรวจยึ ด จั บ กุ ม ผู้ ลั ก ลอบตั ดไม้ ท ำลายป่ าในพื้ น ที่ ป่ า สงวนแห่ ง ชาติ ป่ า เขากระยาง บริเวณเขตติดต่ออำเภอชาติกระการ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

นายสุ วิ ท ย์ คุ ณ กิ ต ติ รั ฐ มนตรี ว่ า การ กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม พร้อมด้วย นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวง ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม พร้ อ มด้ ว ย คณะผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงฯ ร่วมบันทึก เทปกล่าวอาเศียรวาทถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 ณ ห้องส่งสถานีวิทยุโทรทัศน์ แห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ

139

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม พร้ อ มด้ ว ย นายภิมุข สิมะโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลั ด กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ มรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 34 ที่ประเทศบราซิล ได้เดินทางกลับถึงประเทศไทยแล้วเมื่อช่วงเช้าวันที่ 2 สิงหาคม 2553


140

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานพิธีเปิด ตัวโครงการรณรงค์ลด ภาวะโลกร้อน (WEEE แยกขยะ) ด้วยถังขยะ แยกขยะอิเลคทรอนิกส์และขยะจากเครื่องใช้ ไฟฟ้ า (“WEEE” แยกขยะ “Waste of Electronic and Electrical Equipments”) ในโครงการ “WEEE แยกขยะ”

รายงานประจำปี พ.ศ. 2553

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิด การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในแนวทางบูรณาการ ประสานความร่วมมือและแลก เปลี่ ย นความคิ ด เห็ น ตามยุ ท ธการแก้ ไ ขวิ ก ฤตป่ าไม้ ของชาติ ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ แ ละสิ่งแวดล้อ ม กรมป่ าไม้ กรมอุ ท ยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2553 ณ โรงแรม เดอะรอยัล ซิตี้

140

นายภิมุข สิมะโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประธาน ในพิธีเปิดงานมหกรรมทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ปี 2553 (Bio-Economy 2010) ได้มอบ รางวัลการประกวดบรรจุภัณฑ์ทรัพยากรชีวภาพไทยและมอบรางวัล Bio-Economy Awards 2010 ประจำปี 2553 แก่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและ มีผลงานโดดเด่นเป็นที่รู้จักยอมรับโดยทั่วไปด้านการ ส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาการใช้ทรัพยากรชีวภาพ เชิ ง เศรษฐกิ จ อย่ า งยั่ ง ยื น เมื่ อ วั น ที่ 23 กั น ยายน 2553 ณ ลานเอนกประสงค์ ชั้น 2 ศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคาร บี ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร


คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา 1. นายโชติ 2. นายชาตรี 3. นายสุรพล 4. นายดำรงค์ 5. นายสุพจน์

ตราชู ช่วยประสิทธิ์ ปัตตานี พิเดช โตวิจักษณ์ชัยกุล

ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คณะทำงานจัดทำรายงานการดำเนินงานของรัฐต่อสาธารณะรายปี (Annual Report) ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปี พ.ศ. 2553 1. ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ 2. ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ 4. ผู้แทนกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 5. ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 6. ผู้แทนกรมป่าไม้ 7. ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 8. ผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี 9. ผู้แทนกรมทรัพยากรน้ำ 10. ผู้แทนกรมทรัพยากรน้ำบาดาล 11. หัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ 12. เจ้าหน้าที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

ประธานคณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงาน คณะทำงานและเลขานุการ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน

ควบคุมการจัดพิมพ์ 1. นายพงศ์บุณย์ 2. นางสาววนิดา 3. นางรัชนิกร 4. นายเผ่าพันธ์ 5. นายเกียรติศักดิ์

ปองทอง แย้มสรวล ดารกมาศ ปรีชานนท์ หงษ์คำ

ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ หัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.