Report p9 53

Page 1


ค ำ�นำ� สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขง ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี เลย หนองคาย สกลนคร และนครพนม เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรป่าไม้ที่มีมากในพื้นที่ภูเขา สูงทางจังหวัดเลย และตามแนวเทือกเขาภูพานจังหวัดสกลนคร ทรัพยากรแร่ธาตุ เช่น แร่เหล็ก ทองคำ� โพแทช ก๊าซธรรมชาติ เกลือสินเธาว์ หิน กรวด และทรายที่มีคุณภาพในการก่อสร้าง เป็นต้น นอกจากนั้นสภาพพื้นที่ ยังมีลุ่มน้ำ�ย่อยๆ ที่เป็นแหล่งทรัพยากรทางน้ำ�ที่สำ�คัญ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนในพื้นที่ มาอย่างยาวนาน เช่น ลุ่มน้ำ�ห้วยหลวง ลุ่มน้ำ�เลย ลุ่มน้ำ�สงคราม เป็นต้น การติดตามสถานการณ์การ เปลี่ยนแปลงของทรัพยากรเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำ�คัญ การนำ�เสนอ ชี้นำ� และสะท้อนภาพที่เป็นอยู่ เพื่อแสวง หาแนวทางในการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า อนุรักษ์ให้เหลือไว้ถึงลูกหลานในอนาคต รวมทั้งการฟื้นฟู สภาพให้กลับมาเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ จึงควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่ได้รับผล ประโยชน์จากทรัพยากรทุกคน สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 ได้จัดทำ�รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ลุ่มน้ำ�โขง ปี 2553 โดยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทั่วไป สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญใน พื้นที่ ในรอบปีงบประมาณ 2553 โดยคาดหวังว่าจะเป็นข้อมูลอ้างอิง ที่จะนำ�ไปสู่การมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ ฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 อุดรธานี กุมภาพันธ์ 2554


ญ ั บ ร สา เนื้อหา

หน้า

คำ�นำ� ก สารบัญ ข สารบัญตาราง ค สารบัญรูปภาพ ง ส่วนที่ 1 : ข้อมูลพื้นที่ทั่วไป

1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ 1.3 ขอบเขตและลักษณะลุ่มน้ำ� 1.4 ลักษณะภูมิอากาศ 1.5 ขอบเขตการปกครองและจำ�นวนประชากร

ส่วนที่ 2 : สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2.1 ทรัพยากรธรรมชาติ 2.2 สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ส่วนที่ 3 : การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.1 แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 3.2 การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม 3.3 การเสริมสร้างการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม 3.4 การส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายการมีส่วนร่วม

2 2 2 3 5 7 27 29 32 36 38


สารบัญ เนื้อหา

หน้า

ส่วนที่ 4 : ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญ (Hot Issue)

4.1 ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 4.2 ปัญหาคุณภาพน้ำ�เสื่อมโทรม 4.3 ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนด้านสิ่งแวดล้อม

ส่วนที่ 5 : สิ่งแวดล้อมในพื้นที่วิกฤต (Hot spot)

5.1 สถานการณ์การเฝ้าระวังผลกระทบบริเวณพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ� จังหวัดเลย 5.2 การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ� บริเวณพื้นที่ป่าคำ�ชะโนด จังหวัดอุดรธานี

ส่วนที่ 6: จัดลำ�ดับความสำ�คัญของปัญหาในพื้นที่ จัดลำ�ดับความสำ�คัญของปัญหาในพื้นที ่ ส่วนที่ 7 : ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการ

7.1 ข้อเสนอแนะสำ�หรับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม 7.2 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม

เอกสารอ้างอิง คณะผู้จัดทำ�

42 44 45 48 53

57

59 60


ญ ั บ ร า ส ตาราง เนื้อหา

หน้า

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลพื้นที่ทั่วไป

ตารางที่ 1 ตารางที่ 2 ตารางที่ 3 ตารางที่ 4

อุณหภูมิเฉลี่ย รายเดือนและรายปี พ.ศ.2553 ปริมาณฝน รายเดือนและรายปี พ.ศ.2553 เขตการปกครองและจำ�นวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2553 จำ�นวนประชากร หลังคาเรือนและความหนาแน่นของประชากร ปี 2553

ส่วนที่ 2 : สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ตารางที่ 5 การใช้ประโยชน์ที่ดิน ตารางที่ 6 พื้นที่มีปัญหาทรัพยากรดินของประเทศไทยแยกรายภาค ตารางที่ 7 เนื้อที่ป่าไม้ พ.ศ. 2548 - 2552 ตารางที่ 8 จำ�นวนป่าอนุรักษ์แต่ละประเภทในพื้นที่รับผิดชอบ ตารางที่ 9 รายชื่อพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และจำ�นวนเนื้อที ่ ตารางที่ 10 รายชื่อพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตารางที่ 11 จำ�นวนครั้งการเกิดไฟป่าและพื้นที่ที่เสียหาย พ.ศ. 2549 - 2553 ตารางที่ 12 พื้นที่ชุ่มน้ำ�สำ�คัญในพื้นที่ : พื้นที่ชุ่มน้ำ�ที่มีความสำ�คัญ ระหว่างประเทศ (Ramsar sites) ตารางที่ 13 พื้นที่รับน้ำ�ฝน ปริมาณน้ำ�ท่าเฉลี่ย และปริมาณน้ำ�ที่สามารถ เก็บกักได้ พ.ศ. 2552 ตารางที่ 14 ประเภทโครงการชลประทาน และจำ�นวนบ่อน้ำ�บาดาล ตารางที่ 15 พื้นที่ประสบภัยแล้งและพื้นที่เกษตรที่ได้รับความเสียหาย พ.ศ. 2552 ตารางที่ 16 ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งซ้ำ�ซากใน 5 จังหวัด ตารางที่ 17 พื้นที่น้ำ�ท่วมซ้ำ�ซากใน 5 จังหวัด ตารางที่ 18 ภาพรวมคุณภาพน้ำ�ลุ่มน้ำ�ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ปี 2553 ตารางที่ 19 ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำ�ในแหล่งน้ำ�ผิวดิน ปี พ.ศ. 2553 ตารางที่ 20 จำ�นวน อปท. และปริมาณขยะที่มีการกำ�จัดอย่างถูกหลักวิชาการ

3 5 5 5

7 8 9 9 10 11 12 13 14 15 16 17 17 18 19 23


สารบัญ ตาราง

เนื้อหา

หน้า

ตารางที่ 21 ระบบกำ�จัดขยะมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาล ตารางที่ 22 จำ�นวนผังเมืองรวม พ.ศ. 2553 ตารางที่ 23 จำ�นวนแหล่งชุมชนที่ อปท. จัดตั้งขึ้น และจำ�นวนชุมชนแออัดในเขตเทศบาล ตารางที่ 24 จำ�นวนและพื้นที่สวนสาธารณะ พ.ศ. 2553 ตารางที่ 25 แหล่งธรรมชาติที่สำ�คัญในพื้นที ่ ตารางที่ 26 แหล่งศิลปกรรมที่สำ�คัญในพื้นที ่

ส่วนที่ 3 : การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตารางที่ 27 ร้อยละแบบสอบถามที่ได้รับการตอบกลับ ตารางที่ 28 สรุปโครงการและงบประมาณที่ดำ�เนินการในปี 2550-2552 ของทั้ง 5 จังหวัดตามยุทธศาสตร์ ของแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 ปี พ.ศ.2550-2554

23 24 25 26 26 27

29 30

ส่วนที่ 4 : ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญ (Hot Issue)

ตารางที่ 29 ข้อมูลเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหามลพิษที่ผ่านเข้าสู่กระบวนการดำ�เนินการ ของสสภ.9 แยกตาม ประเภทปัญหามลพิษ ปี 2553

ส่วนที่ 6: จัดลำ�ดับความสำ�คัญของปัญหาในพื้นที่

ตารางที่ 30 ประเด็นปัญหาเร่งด่วนและแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่

46

57


ญ ั บ ร สา ภาพ รูป

เนื้อหา

หน้า

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลพื้นที่ทั่วไป

รูปที่ 1 พื้นที่เขตการปกครองในพื้นที่รับผิดชอบ รูปที่ 2 พืน้ ที่ลุ่มน้ำ�โขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ส่วนที่ 2 : สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

รูปที่ 3 รูปที่ 4 รูปที่ 5 รูปที่ 6 รูปที่ 7 รูปที่ 8

คุณภาพน้ำ�ครั้งที่ 1/2553 เดือนพฤศจิกายน 2552 คุณภาพน้ำ�ครั้งที่ 2/2553 เดือนกุมภาพันธ์ 2553 คุณภาพน้ำ�ครั้งที่ 3/2553 เดือนมิถุนายน 2553 คุณภาพน้ำ�ครั้งที่ 4/2553 เดือนสิงหาคม 2553 ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียเทศบาลเมืองสกลนคร ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียเทศบาลตำ�บลท่าแร่

ส่วนที่ 3 : การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รูปที่ 9 การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น (Focus Group) รูปที่ 10 การศึกษาสถานภาพด้านการจัดการขยะของเทศบาลเมืองหนองสำ�โรง รูปที่ 11 การศึกษาดูงานด้านการสร้างมูลค่าจากขยะมูลฝอย รูปที่ 12 การอบรมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะและเศษวัสดุเหลือใช้ เพื่อนำ�กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ รูปที่ 13 การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และสาธิตกิจกรรม รูปที่ 14 การอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมบ้านจั่นสีเขียว รูปที่ 15 การศึกษาดูงานการจัดการบ้านจั่นสีเขียว รูปที่ 16 การประชุมจัดทำ�แผนงาน/โครงการด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน บ้านจั่นสีเขียว รูปที่ 17 การประชุมบูรณาการแผนงาน/โครงการด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน บ้านจั่นสีเขียว รูปที่ 18 คณะผู้มาศึกาดูงานศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม รูปที่ 19 กิจกรรมเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รูปที่ 20 กิจกรรมเครือข่ายการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้แผนปฏิบัติการ 21

2 4

20 20 20 20 22 22

31 32 33 33 33 34 34 35 35 37 38 39


สารบัญ รูปภาพ

เนื้อหา

หน้า

รูปที่ 21 กิจกรรมเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ�แม่น้ำ�เลย รูปที่ 22 กิจกรรมเครือข่ายลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ส่วนที่ 4 : ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญ (Hot Issue)

รูปที่ 23 สภาพปัญหาการจัดการขยะในพื้นที่ รูปที่ 24 สภาพแม่น้ำ�ลำ�คลองในพื้นที ่ รูปที่ 25 สัดส่วนประเภทปัญหามลพิษที่มีการร้องเรียน ปี 2553 รูปที่ 26 กราฟแสดงแนวโน้มจำ�นวนเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ สสภ.9 ปี 2547-2553 รูปที่ 27 ร้อยละประเภทปัญหามลพิษที่มีการร้องเรียน ในพื้นที่ สสภ.9 ปี 2553

ส่วนที่ 5 : สิ่งแวดล้อมในพื้นที่วิกฤต (Hot spot)

รูปที่ 28 บริเวณพื้นที่โครงการและชุมชนโดยรอบเหมืองแร่ทองคำ� รูปที่ 29 ขั้นตอนการแต่งแร่ในการทำ�เหมืองแร่ทองคำ� รูปที่ 30 ค่าแมงกานีส (Mn)โดยเฉลี่ยที่พบในลำ�ห้วยฮวย ปี 2547-2549 และปี 2551 รูปที่ 31 ค่าไซยาไนด์ (Cyanide) โดยเฉลี่ยที่พบในลำ�ห้วยฮวย ปี 2547-2549 และปี 2551 รูปที่ 32 ค่าแคดเมียม (Cd) โดยเฉลี่ยที่พบในลำ�ห้วยฮวย ปี 2547-2549 และปี 2551 รูปที่ 33 ค่าตะกั่ว (Pb)โดยเฉลี่ยที่พบในลำ�ห้วยฮวย ปี 2547-2549 และปี 2551 รูปที่ 34 ค่าสารหนู (As) โดยเฉลี่ยที่พบในลำ�ห้วยฮวย ปี 2547-2549 และปี 2551 รูปที่ 35 การตรวจสอบคุณภาพน้ำ�บริเวณรอบเหมืองแร่ทองคำ�ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ รูปที่ 36 แผนผังจุดเก็บตัวอย่างน้ำ�บริเวณพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ� จังหวัดเลย รูปที่ 37 สภาพทั่วไปบริเวณพื้นที่ป่าคำ�ชะโนด จ.อุดรธานี วันที่ 21 กันยายน 2553 รูปที่ 38 แผนผังการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ�บริเวณพื้นที่ ผลิตเกลือสินเธาว์ จังหวัดอุดรธานี รูปที่ 39 คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ลงพื้นที่ผลิตเกลือสินเธาว์ จังหวัดอุดรธานี

39 40

43 44 45 45 46

48 49 50 50 50 50 51 51 52 53 54 55


ส่วนที่หนึ่ง ข้อมูลพื้นที่ทั่วไป


2

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลพื้นที่ทั่วไป 1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต

สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 รับผิดชอบพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขง ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม มีพื้นที่รวม 45,605.630 ตารางกิโลเมตร หรือ 28,504,286 ไร่ อยู่ส่วนบน สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดกับแม่น้ำ�โขง ซึ่งเป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศ ไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ข้อมูลพื้นที่ทั่วไป

รูปที่ 1 พื้นที่เขตการปกครองในพื้นที่รับผิดชอบ

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ลุ่มน้ำ�โขงตั้งอยู่ส่วนบนสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือป็นพื้นที่ราบสูงและมีทิศทางลาด ลงสู่แม่น้ำ�โขง ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดแม่น้ำ�โขงซึ่งเป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศตะวันตกเป็นภูเขาสูงติดกับจังหวัดพิษณุโลกและเพชรบูรณ์ ทิศใต้ติดกับจังหวัด หนองบัวลำ�ภู ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร โดยมีแนวเทือกเขาภูพานอยู่ทางทิศตะวันตกและตอนใต้ของลุ่มน้ำ� โขงเป็นแนวแบ่งลุ่มน้ำ�และเป็นต้นกำ�เนิดของแม่น้ำ�สายสำ�คัญ ได้แก่ห้วยหลวง แม่น้ำ�สงคราม ลำ�น้ำ�อูน ห้วยน้ำ�ยาม เป็นต้น เนื่องจากเป็นแนวภูเขาที่คดเคี้ยวและยาวขนานคู่กันไปกับแม่น้ำ�โขง

1.3 ขอบเขตและลักษณะลุ่มน้ำ�

แม่น้ำ�โขงเป็นแม่น้ำ�ที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีความยาวเป็นอันดับที่ 12 ของโลก พื้นที่ลุ่มแม่น้ำ�โขงทั้งหมดมีขนาดประมาณ 795,000 ตารางกิโลเมตร เป็นลุ่มน้ำ�ใหญ่เป็นอันดับที่ 21 ของโลก มีความยาวรวมประมาณ 4,800 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ลุ่มแม่น้ำ�โขงตอนบน หรือแม่น้ำ�ล้านช้าง นับจาก


3

สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

ต้นน้ำ�ลงมาถึงอำ�เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีความยาวครึ่งหนึ่งคือ 2,400 กิโลเมตร ส่วนแม่น้ำ�โขงตอนล่าง นับจากอำ�เภอเชียงแสน ลงมาถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ�สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ลุ่มน้ำ�โขงในประเทศไทย มีพื้นที่ลุ่มน้ำ�ทั้งหมด 57,424 ตารางกิโลเมตร แยกเป็นพื้นที่ทางภาคเหนือ 7,752 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ เชียงรายและพะเยา และพื้นที่ลุ่มน้ำ�ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 46,670 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร พื้นที่รับผิดชอบของสำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขงมี 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม ซึ่งมีขอบเขตที่ตั้งโดยประมาณ อยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 16o 46’ 46” ถึง 18o 26’ 25” เหนือ และเส้นลองติจูด 100o 50’ 36” 57’ ถึง 104 o 48’ 30” ตะวันออก มีเนื้อที่ 45,652.1 ตารางกิโลเมตร มีลุ่มน้ำ�ย่อยที่สำ�คัญ คือ แม่น้ำ�เลย ห้วยน้ำ�ปวน ห้วยน้ำ�สวย ห้วยน้ำ�โมง ห้วยหลวง ลำ�น้ำ�สงคราม ลำ�น้ำ�อูน ห้วยน้ำ�ยาม ลำ�น้ำ�พุง ห้วยน้ำ�ก่ำ� เป็นต้น

1.4 ลักษณะภูมิอากาศ

ตารางที่ 1 อุณหภูมิเฉลี่ย รายเดือนและรายปี พ.ศ.2553

จังหวัด

อุณหภูมิเฉลี่ย (องศาเซลเซียส) รายเดือน

ม.ค.53

ก.พ.53

มี.ค.53

เม.ย.53

พ.ค.53

มิ.ย.53

ก.ค.53

ส.ค.53

ก.ย.53

ต.ค.53

พ.ย.53

ธ.ค.53

ทั้งปี

เลย

23.7

26.0

27.6

30.5

29.3

29.0

27.6

26.7

26.6

25.8

23.7

22.4

26.58

อุดรธานี

24.4

26.8

28.3

31.3

30.6

29.9

28.7

27.3

27.9

26.8

25.0

23.6

27.55

หนองคาย

24.4

26.8

28.2

31.2

30.9

29.7

28.5

27.3

27.9

26.9

25.2

23.8

27.57

สกลนคร

23.8

26.1

28.1

30.4

30.0

29.2

28.7

27.3

27.7

26.0

24.4

23.2

27.08

นครพนม

23.8

26.0

27.9

30.4

29.8

29.2

28.4

27.1

27.8

26.1

24.6

23.3

27.03

ข้อมูลพื้นที่ทั่วไป

ในปี 2553 พื้นที่ลุ่มน้ำ�โขง ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 26.58 – 27.57 องศาเซลเซียส ช่วงปลายปีเป็นช่วงฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็นทั่วไป อุณหภูมิลดลงจนมีอากาศหนาถึงหนาว จัด เนื่องจากอิทธิพลของบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยเป็นระยะๆ อุณหภูมิ ต่ำ�ที่สุดวัดได้ 9.0 องศาเซลเซียส ที่สถานีอุตุนิยมวิทยานครพนม เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 ปริมาณน้ำ�ฝนทั้งปีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,434.1 มิลลิเมตร มากกว่าปริมาณน้ำ�ฝนปกติ 4 เปอร์เชนต์ เฉพาะในส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขง 5 จังหวัด จังหวัดนครพนมมีปริมาณฝนมากที่สุด 1,944.5 มิลลิเมตร รองลงมา คือจังหวัดหนองคาย เลย อุดรธานี และสกลนคร


4

รูปที่ 2 พื้นที่ลุ่มน้ำ�โขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลพื้นที่ทั่วไป

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้


5

สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

ตารางที่ 2 ปริมาณฝน รายเดือนและรายปี พ.ศ.2553

จังหวัด

ปริมาณฝน (มม.) รายเดือน

ม.ค.53

ก.พ.53

มี.ค.53

เม.ย.53

พ.ค.53

มิ.ย.53

ก.ค.53

ส.ค.53

ก.ย.53

ต.ค.53

พ.ย.53

ธ.ค.53

รวม

เลย

31.2

0.8

5.8

92.2

151.6

91.6

230.8 462.0 260.6

138.0

0.0

76.6

1,541.2

อุดรธานี

46.0

36.4

7.1

114.7

64.3

214.4

225.2 573.4 131.4

91.2

1.0

2.6

1,507.7

หนองคาย

71.3

2.4

7.2

38.2

87.7

174.8

268.4 688.5 207.1

43.6

0.3

2.3

1,591.8

สกลนคร

54.9

38.7

25.3

74.4

133.0

193.1

191.7 397.8 250.8

87.2

0.0

3.0

1,449.9

นครพนม

19.1

59.9

0.0

99.4

262.2

176.4

416.1 539.0 181.3

191.1

0.0

0.0

1,944.5

1.5 ขอบเขตการปกครองและจำ�นวนประชากร

จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ณ วันที่ 30 กันยายน 2553 ด้านการปกครอง มี 5 จังหวัด 81 อำ�เภอ 585 ตำ�บล 6,734 หมู่บ้าน มีจำ�นวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสิ้น 654 แห่ง มีประชากร 4,908,007 คน จำ�นวนหลังคาเรือน 1,379,483 หลังคาเรือน โดยจังหวัดอุดรธานีมีประชากรหนาแน่นมากที่สุด และ จังหวัดเลยมีประชากรหนาแน่นน้อยที่สุด

จังหวัด

จำ�นวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(แห่ง) (2)

เขตการปกครอง(1)

อำ�เภอ

ตำ�บล

หมู่บ้าน

อบจ.

ทน.

ทม.

ทต.

อบต.

รวม

เลย

14

90

916

1

-

1

24

75

101

อุดรธานี

20

156

1,879

1

1

3

49

127

181

หนองคาย

17

115

1,302

1

-

2

31

93

127

สกลนคร

18

125

1,514

1

-

1

42

97

141

นครพนม

12

99

1,123

1

-

1

16

86

104

รวม

81

585

6,734

5

1

8

162

478

654

ที่มา : (1) กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

(2) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

ตารางที่ 4 จำ�นวนประชากร หลังคาเรือนและความหนาแน่นของประชากร ปี 2553

จังหวัด

พื้นที่ (ตร.กม.)

ประชากร(คน)

ชาย

หญิง

รวม

หลังคาเรือน (หลังคา)

ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.)

เลย

11,424.612

315,620

308,787

624,407

187,467

54.65

อุดรธานี

11,730.302

771,542

772,717

1,544,259

431,158

131.65

หนองคาย

7,332.280

458,923

454,230

913,153

255,267

124.54

สกลนคร

9,605.764

561,375

561,380

1,122,755

313,706

116.88

นครพนม

5,512.668

351,036 2,458,496

352,397 2,449,511

703,433 4,908,007

191,885 1,379,483

127.60

รวม

45,605.630

ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ข้อมูล ณ 23 ธันวาคม 2553

107.62

ข้อมูลพื้นที่ทั่วไป

ตารางที่ 3 เขตการปกครองและจำ�นวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2553


รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

ส่วนที่สอง

สถานการณท์ รัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพสิ่งแวดล้อม


7

สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

ส่วนที่ 2 : สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2.1 ทรัพยากรธรรมชาติ

2.1.1 ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน สถานการณ์ปัญหาด้านทรัพยากรดินและการใช้ที่ดินที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ปัญหาดินเสื่อมโทรม การชะล้างพังทลายของดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินผิดประเภท ปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินและความไม่เป็นธรรมในการถือ ครองและการเช่าที่ดินทำ�กิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และรองลงมาคือ พื้นที่ป่าไม้

ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน จังหวัด

พื้นที่จังหวัด (ไร่)

ชุมชน/สิ่งปลูกสร้าง

เกษตรกรรม

ป่าไม้

แหล่งน้ำ�

พื้นที่เบ็ดเตล็ด

ไร่

ร้อยละ

ไร่

ร้อยละ

ไร่

ร้อยละ

ไร่

ร้อยละ

ไร่

ร้อยละ

เลย

7,140,382

134,622

1.89

3,989,556

55.87

2,852,730

39.95

50,690

0.71

112,784

1.58

อุดรธานี

7,331,439

407,797

5.57

5,028,258

68.58

1,052,591

14.36

235,186

3.21

607,607

8.28

หนองคาย

4,583,445

186,286

4.06

3,298,704

71.97

495,885

10.82

249,650

5.45

352,920

7.70

สกลนคร

6,003,603

275,174

4.59

3,502,993

58.33

1,670,300

27.83

253,206

4.23

301,930

5.02

นครพนม

3,445,417

114,998

3.34

2,082,017

60.43

1,043,287

30.28

175,872

5.10

29,243

0.85

รวม

28,504,286

1,118,877

3.93

17,901,528

62.80

7,114,793

24.96

964,604

3.38

1,404,484

4.93

ที่มา : สำ�นักสำ�รวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

จังหวัดเลย มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ซึ่งมีการทำ�ไร่ เลื่อนลอยโดยปราศจากการอนุรักษ์ดินและน้ำ� ซึ่งเป็นผลให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน จนบางแห่งเหลือแต่หิน โผล่ในบริเวณอำ�เภอด่านซ้าย นาแห้ว ภูหลวง และปากชม จึงมีผลกระทบต่อระบบนิเวศ จังหวัดอุดรธานี มีปัญหาด้านทรัพยากรดินอยู่ 3 ประเภท คือ ดินเค็ม ดินทราย และดินตื้นเค็ม โดยพื้นที่ดินเค็ม ทั้งหมดอยู่ในที่ราบครอบคลุมพื้นที่ 5,561.60 ตารางกิโลเมตร (3,476,000 ไร่) คิดเป็นร้อยละ 47.41 ของพื้นที่จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 16 อำ�เภอจากทั้งหมด 20 อำ�เภอ และอำ�เภอที่ไม่มีดินเค็มเลย ได้แก่ อำ�เภอวังสามหมอ น้ำ�โสม และ นายูง จังหวัดหนองคายมีปญ ั หาการชะล้างพังทลายของดินบริเวณริมฝัง่ แม่น�้ำ โขงภูเขาและพืน้ ทีล่ าดสูงชันปัญหาดินตืน้ ดินปนกรวดและหิน 2.9 ล้านไร่ (ร้อยละ 64 พื้นที่จังหวัด) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ�เนื่องจากพื้นที่เกษตรส่วนใหญ่ อยู่นอกเขตชลประทาน ปัญหาดินเค็มมีพื้นที่ 4,635.4 ไร่ (ร้อยละ 0.10 ของจังหวัด) อยู่ในเขตอำ�เภอเมือง ท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ โพนพิสัย โซ่พิสัย เฝ้าไร่ และรัตนวาปี จังหวัดสกลนคร ประสบปัญหาเรือ่ งดินมีความอุดมสมบูรณ์ต� ่ำ และปัญหาด้านดินเค็มตามผลการสำ�รวจของกรม พัฒนาทีด่ นิ พบว่า จังหวัดมีพน้ ื ทีด่ นิ เค็มประมาณ 1,672,781.25 ไร่ (3,156.45 ตารางกิโลเมตร) คิดเป็นร้อยละ 32.8 ของพืน้ ทีจ่ งั หวัด

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ตารางที่ 5 การใช้ประโยชน์ที่ดิน


8

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

จังหวัดนครพนม มีดินเป็นสันดินริมน้ำ�เก่าและที่ราบท่วมถึงกับสภาพลานตะพักลำ�น้ำ� ซึ่งมีสภาพพื้นที่สูงกว่า ที่ราบน้ำ�ท่วมถึง วัตถุต้นกำ�เนิดดินเป็นทั้งดินที่เกิดจากน้ำ�พัดพามาทับถมทั้งเก่าและใหม่ ลักษณะตะกอนเป็นดินทราย ดินทรายแห้ง ดินร่วน เหนียวปนทรายแป้งและดินเหนียวทับถม ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน มีสาเหตุทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและเกิดจากการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้องตาม หลักวิชาการ เช่น การชะล้างพังทลายของดิน ดินขาดอินทรีย์ และปัญหาที่เกิดจากสภาพธรรมชาติของดินร่วมกับการ กระทำ�ของมนุษย์ เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินอินทรีย์(พรุ) ดินทรายจัด และดินตื้น พื้นที่ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ ทางด้านเกษตรกรรมของประเทศไทย ได้แก่ การชะล้างพังทลายของดิน 108.87 ล้านไร่ พื้นที่ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดินมากที่สุดคือภาคเหนือ ดินขาดอินทรียวัตถุ 98.70 ล้านไร่ ประมาณร้อยละ 77 อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม 209.84 ล้านไร่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ ส่วนดินเค็ม ดินกรด และดินค่อนข้างเป็นทราย อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำ�หรับการ ใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้องตามศักยภาพ คิดเป็นพื้นที่ 35.60 ล้านไร่

ตารางที่ 6 พื้นที่มีปัญหาทรัพยากรดินของประเทศไทยแยกรายภาค พื้นที่ (ล้านไร่) สภาพปัญหาทรัพยากรดิน

ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

ภาคเหนือ

ภาคกลาง

ภาคใต้

รวม

1. ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน

53.96

17.87

26.20

10.84

108.87

2. ปัญหาดินขาดอินทรียวัตถุ

10.20

75.70

10.90

1.90

98.70

3. ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ ทางด้านเกษตรกรรม

71.39

75.30

37.40

25.75

209.84

3.1 ดินเค็ม

-

17.80

1.60

2.30

21.70

3.2 ดินเปรี้ยวจัด

-

-

3.28

0.89

4.17

12.38

27.11

11.22

13.56

64.27

-

-

-

0.27

0.27

3.5 ดินทรายจัด

0.86

2.60

2.30

1.21

6.97

3.6 ดินค่อนข้างเป็นทราย

1.54

30.85

4.65

2.56

39.60

3.7 ดินตื้น

13.09

15.53

9.24

3.11

40.97

3.8 ดินบนพื้นที่สูง

55.90

8.50

16.30

15.40

96.10

6.20

21.20

3.90

4.30

35.60

3.3 ดินกรด 3.4 ดินอินทรีย์ (พรุ)

4. การใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้องตามศักยภาพ

หมายเหตุ: พื้นที่หนึ่งๆ อาจมีปัญหาทรัพยากรดินบางชนิดซ้อนทับกันอยู่ในที่เดียวกัน โดยปรับปรุงข้อมูลปี พ.ศ.2545 ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน 2546ก


9

สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

2.1.2 ทรัพยากรป่าไม้ 1) พื้นที่ป่าไม้ ในป ี2552 พบว่าภาพรวมทัง้ 5 จงั หวัดในพืน้ ทีล่ มุ่ น้�ำ โขง พืน้ ทีป่ า่ ไม้มแี นวโน้มเพิม่ ขึน้ จากป ี2549 โดยใน ปี 2549 มีพื้นที่รวม 5,047,873 ไร่ หรือร้อยละ 17.71 ของพื้นที่ทั้ง 5 จังหวัด และในปี 2552 มีพื้นที่ป่าไม้รวม 5,376,472 ไร่ หรือร้อยละ 18.86 สาเหตุสำ�คัญของการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขงที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมการดูแลรักษาป่า เกิดจากจำ�นวนประชากรในประเทศที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวทางด้าน เศรษฐกิจทำ�ให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากป่าไม้มากขึ้น ทั้งในลักษณะของการเป็นที่อยู่อาศัย การตัดไม้เพื่อการค้า การใช้และการเผาพื้นที่ป่าเพื่อการเกษตร การเปลี่ยนพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เช่น สถานที่พักผ่อน สถานตากอากาศ สนามกอล์ฟ เป็นต้น รวมถึงการกว้านซื้อที่ดินเพื่อการเก็งกำ�ไร นอกจากนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ ได้แก่ การสร้างเขื่อน การตัดถนน และการเดินสายไฟแรงสูงก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการทำ�ลายพื้นที่ป่าเป็นบริเวณกว้าง ตารางที่ 7 เนื้อที่ป่าไม้ พ.ศ. 2548 - 2552 จังหวัด

พ.ศ. 2548

ไร่

พ.ศ. 2549

ร้อยละ

ไร่

พ.ศ. 2551

ร้อยละ

ไร่

พ.ศ. 2552

ร้อยละ

ไร่

ร้อยละ

เลย

2,566,312

35.94

2,544,725

35.64

2,533,775

33.98

2,533,768

35.49

อุดรธานี

726,606

9.91

615,943

8.40

816,293

11.93

815,468

11.12

หนองคาย

341,081

7.44

319,337

6.97

349,768

7.63

349,768

7.63

สกลนคร

973,368

16.21

923,050

15.37

1,193,850

19.89

1,193,825

19.89

นครพนม

657,650

19.09

644,818

18.72

483,637

14.01

483,643

14.04

5,265,017

18.47

5,047,873

17.71

5,377,323

18.86

5,376,472

18.86

รวม

ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หมายเหตุ : พ.ศ. 2550 ไม่มีข้อมูล

2) พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ในพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขง มีพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า วนอุทยาน ซึ่งเป็นพื้นที่ประกาศตามกฎหมาย เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัย และสถานที่พักผ่อน หย่อนใจของประชาชนทั่วไป ดังนี้

ตารางที่ 8 จำ�นวนป่าอนุรักษ์แต่ละประเภทในพื้นที่รับผิดชอบ จำ�นวนป่าอนุรักษ์ (แห่ง)

จังหวัด

ป่าสงวน แห่งชาติ

อุทยาน แห่งชาติ

วนอุทยาน

เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่า

เขตห้าม ล่าสัตว์ป่า

สวนพฤกษศาสตร์

สวน รุกขชาติ

เลย

20

4

6

2

-

-

2

อุดรธานี

27

-

6

-

1

1

-

หนองคาย

8

-

1

1

1

-

1

สกลนคร

16

3

1

-

-

-

-

นครพนม

12

1

-

-

-

-

1

รวม

83

8

13

3

2

1

4

ที่มา : กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม


10

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

ตารางที่ 9 รายชื่อพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และจำ�นวนเนื้อที่ จังหวัด

เลย

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

อุดรธานี

หนองคาย

สกลนคร

นครพนม ที่มา : กรมป่าไม้

รายชื่อพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1. ป่าโคกหินนกยูง 2. ป่าภูหงส์ 3. ป่าโคกใหญ่ 4. ป่าดงซำ�ทอง ป่าดงหนองไผ่และป่าดงผาสามยอด 5. ป่าภูช้างและป่าภูนกกก 6. ป่าภูเปือย 7. ป่าโคกผาดำ� ป่าโคกหนองข่าและป่าภูบอบิด 8. ป่าห้วยอีเลิศ 9. ป่าดงซำ�แม่นาง 10. ป่าภูหลวงและป่าภูหอ 11. ป่าภูห้วยปูนและป่าภูแผงม้า 12. ป่าโคกภูเหล็ก 13. ป่าภูเขาแก้วและป่าดงปากชม 14. ป่าภูห้วยหมาก ป่าภูทอกและป่าภูบ่อบิด 15. ป่าภูค้อและป่าภูกระแต 16. ป่าดงขุนแคม ป่าโคกใหญ่ ป่าภูผาแง่มและป่าลาดค่าง 17. ป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้าและป่าภูเรือ 18. ป่าดงซำ�ผักคาด 19. ป่าภูผาขาวและป่าภูผายา 20. ป่าห้วยส้มและป่าภูผาแดง เนื้อที่รวม 4,352,103 ไร่ 1. ป่ากุดจับ 2. ป่าโคกน้ำ�เค็มและป่าโคกคอนโพธิ์ 3. ป่าพันดอนและป่าปะโค 4. ป่าโคกทับถ่านและ ป่าโคกวังเดือนห้า 5. ป่าหมากหญ้า 6. ป่าภูเก้า 7. ป่าหนองบุและป่าหนองหาน 8. ป่าโพธิ์ศรีสำ�ราญ 9. ป่าบะยาว ป่าหัวนาคำ� ป่านายูง ป่าหนองกุงทับม้าและป่าหนองหญ้าไชย 10. ป่าภูพาน 11. ป่าตำ�บลเชียงหวาง ป่าตำ�บลเพ็ญ และป่าตำ�บลสุมเส้า 12. ป่าเวียงคำ�และป่าศรีธาตุ 13. ป่าเขือน้ำ� 14. ป่าหนองบัว 15. ป่าดงหนองขุ่นและป่าดงหนองไฮ 16. ป่านายูงและป่าน้ำ�โสม 17. ป่าห้วยส้มและป่าภูผาแดง 18. ป่าบ้านจัน แปลงที่สอง 19. ป่าบ้านจีต ป่าไชยวาน ป่าหนองหลักและป่าคอนสาย 20. ป่าเก่ากลอยและป่านากลาง 21. ป่าหนองเรือ 22. ป่าบ้านจัน แปลงที่หนึ่ง 23. ป่าหนองหญ้าไซ ป่าท่าลาด ป่าวังชัยและป่าลำ�ปาว 24. ป่าไผทและป่าโคกไม้งาม 25.ป่าปะโค ป่าโพธิ์ศรีสำ�ราญและป่าแสงสว่าง 26. ป่าทมและป่าข่า 27. ป่าบ้านดุงและป่าดงเย็น.แปลงที่หนึ่งและแปลงที่สอง เนื้อที่รวม 4,512,370.50 ไร่ 1. ป่าทุ่งหลวง 2. ป่าดงภูวัว 3. ป่าดงหนองตอและป่าดงสีชมพู 4. ป่าพานพร้าวและป่าแก้งไก่ 5. ป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์และป่าดงสีชมพู 6. ป่าดงเซกา ป่าดงสีชมพู ป่าภูทอกใหญ่ภูวัวและป่าดง ซำ�บอนเซกา 7. ป่าดงสีชมพูโพนพิสัย 8. ป่าดงชมพูพร เนื้อที่รวม 2,086,775 ไร่ 1. ป่าดงจีนและป่าดงเชียงโม 2. ป่าดงหม้อทอง 3. ป่าดงอีบ่าง ป่าดงคำ�พลูและป่าดงคำ�กั้ง 4. ป่าดงผาลาด 5. ป่ากุสุมาลย์ แปลงที่หนึ่ง 6. ป่าอุ่มจาน 7. ป่าภูล้อมข้าวและป่าภูเพ็ก 8. ป่ากุสุมาลย์ แปลงที่สอง 9. ป่าดงพันนาและป่าดงพระเจ้า 10. ป่าหนองบัวโค้ง 11. ป่าแก่งแคน 12. ป่ากุดไห ป่านาในและป่าโนนอุดม 13. ป่าโคกศาลา 14. ป่าภูวง 15. ป่าโคกภูและป่านาม่อง 16. ป่าดงชมพูพานและป่าดงกระเชอ เนื้อที่รวม 1,702,151.28 ไร่ 1. ป่าสักพุ่มแก 2. ป่าสักหนองห้าง 3. ป่าภูลังกา 4. ป่าดงเซกา 5. ป่าห้วยศรีคุณ 6. ป่าหนองบัวโค้ง 7. ป่าดงเชียงยืน 8. ป่าดงบ้านโพนสว่าง และป่าปลาปาก 9. ป่าบ้านโพนตูมและป่านางุม 10. ป่าดงเมา 11. ป่าดงหมู 12. ป่าดงเซกา แปลงที่สอง เนื้อที่รวม 565,360.50 ไร่


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

ตารางที่ 10 รายชื่อพื้นที่ป่าอนุรักษ์

พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 1. อุทยานแห่งชาติ

จังหวัด สกลนคร กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร สกลนคร อุดรธานี กาฬสินธุ์ เลย ขอนแก่น เลย เลย เลย หนองคาย เลย เลย เลย เลย เลย เลย สกลนคร อุดรธานี อุดรธานี อุดรธานี อุดรธานี อุดรธานี หนองคาย เลย เลย หนองคาย หนองคาย อุดรธานี อุดรธานี นครพนม เลย เลย หนองคาย

เนื้อที่ (ตร.กม.) 664.70 828.56 404.38 350.00 120.84 348.12 117.16 50.00 8.00 3.40 11.92 7.00 13.60 13.20 50.00 125.00 40.00 55.77 11.42 2.88 6.00 896.95 232.46 186.50 10.94 0.11 0.27 0.22 5.04 3.20 0.14

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

รายชื่อพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 1.1 ภูพาน 1.2 ภูผายล 1.3 ภูผาเหล็ก 1.4 ภูผาม่าน 1.5 ภูเรือ 1.6 ภูกระดึง 1.7 ภูสวนทราย 1.8 ภูลังกา 2. วนอุทยาน 2.1 ถ้ำ�แสงธรรมพรหมมาวาส 2.2 น้ำ�ตกห้วยเลา 2.3 ผางาม 2.4 ภูบ่อบิด 2.5 ภูผาล้อม 2.6 หริรักษ์ 2.7 ภูผาแด่น 2.8 น้ำ�ตกคอยนาง 2.9 ถ้ำ�สิงห์ 2.10 ภูเขาสวนกวาง 2.11 ภูพระบาทบัวบก 2.12 วังสามหมอ 2.13 น้ำ�ตกธารทิพย์ 3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ 3.1 ภูหลวง 3.2 ภูค้อ-ภูกระแต 3.3 ภูวัว 4. เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 4.1 บึงโขงหลง 4.2 หนองหัวคู 5. สวนพฤกษศาสตร์ 5.1 สวนรวมพรรณป่าไม้ 60 พรรษา 6. สวนรุกขชาติ 6.1 วังปอพาน 6.2 100 ปี กรมป่าไม้ (ปากปวน) 6.3 ภูข้าว 6.4 น้ำ�ตกธารทอง ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. รายงานข้อมูลสถิติ 2552

11


12

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

3) การเกิดไฟป่า การเกิดไฟป่านอกจากทำ�ให้สูญเสียพื้นที่ป่าแล้วยังทำ�ให้กล้าไม้เล็กๆ ถูกทำ�ลายเป็นจำ�นวนมาก สาเหตุการเกิด ไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากการหาของป่า การล่าสัตว์ และการเผาไร่ ในปี 2553 มีจำ�นวนการเกิดไฟป่าที่เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่ ผ่านมา และจังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่เกิดไฟป่ามากที่สุด จำ�นวน 295 ครั้ง คาดว่าเป็นผลกระทบของปรากฏการณ์ เอลนิโนที่เกิดขึ้น โดยหน่วยงานภาครัฐมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลและควบคุมไฟป่าเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการ มีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวังไฟป่า ทำ�ให้พื้นที่เสียหายจากการเกิดไฟป่ามีจำ�กัด

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ตารางที่ 11 จำ�นวนครั้งการเกิดไฟป่าและพื้นที่ที่เสียหาย พ.ศ. 2549 - 2553 พ.ศ. 2549

จังหวัด

จำ�นวน ครั้ง

เลย

76

1,555

อุดรธานี

159

หนองคาย

พ.ศ. 2550

พื้นที่ จำ�นวน เสียหาย (ไร่) ครั้ง

พ.ศ. 2551

พ.ศ. 2552

พ.ศ. 2553

พื้นที่ เสียหาย(ไร่)

จำ�นวน ครั้ง

จำ�นวน ครั้ง

จำ�นวน ครั้ง

พื้นที่ เสียหาย(ไร่)

จำ�นวน ครั้ง

พื้นที่ เสียหาย(ไร่)

214

4,553

88

1,133

116

1,876

181

2,033

1,457

261

3,585

87

715

201

2,163

295

3,617

38

465

87

984

30

275

77

782

106

1,180

สกลนคร

105

496

98

411

82

257

79

267

67

213

นครพนม

35

408

23

786

15

232

22

247

71

879

รวม

413

4,381

683

10,319

302

2,612

495

5,335

720

7,922

ที่มา : ส่วนควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

2.1.3 พื้นที่ชุ่มน้ำ� พืน้ ทีช่ มุ่ น้�ำ มีความสำ�คัญนานับประการเช่นเป็นแหล่งกักเก็บน้�ำ ฝนและน้�ำ ท่าป้องกันการรุกล้�ำ ของน้�ำ เค็ม ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นแหล่งทรัพยากรและผลผลิตธรรมชาติที่มนุษย์เข้าไปเก็บเกี่ยวใช้ประโยชน์ เป็นแหล่ง รวบรวมพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำ�คัญ เป็นต้น ที่ผ่านมาพื้นที่ชุ่มน้ำ�ได้ ถูกทำ�ลายและ/หรือถูกพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น เช่น เป็นพื้นที่เกษตรกรรม นิคมอุตสาหกรรม และชุมชนเมือง เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชุ่มน้ำ�ที่ได้รับการขึ้น ทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ�ที่มีความสำ�คัญระดับท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบว่า ในการบริหารจัดการระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ� ยังขาดเครื่องมือและกลไกที่สำ�คัญ เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่จะคุ้มครองและรักษาระบบนิเวศพื้นที่ ชุ่มน้ำ� ซึ่งมีเพียงมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ� ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 เท่านั้นที่ใช้เป็นแนว ทางในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ�แต่ละแห่ง


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

13

ตารางที่ 12 พื้นที่ชุ่มน้ำ�สำ�คัญในพื้นที่ : พื้นที่ชุ่มน้ำ�ที่มีความสำ�คัญระหว่างประเทศ (Ramsar sites) ระดับความสำ�คัญ

ระหว่างประเทศ (Ramsar sites)

พื้นที่ชุ่มน้ำ�

พื้นที่จังหวัด

เนื้อที่ (ไร่)

จำ�นวนชนิดพันธุ์ นก

การบุกรุกและถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเกษตรเป็นสวน ยางพารา ไร่ยาสูบ และสถานที่ท่องเที่ยว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ�จาก สารเคมีตกค้าง

หนองคาย

13,837.5

33

--

กุดทิง

หนองคาย

16,500

100

123

-

31

เป็นหนองน้ำ�ในเขตเมือง จึงรองรับน้ำ� จากเขตเทศบาลเมืองสกลนคร และ เทศบาลตำ�บลท่าแร่ ซึ่งน้ำ�บางส่วน ผ่านการปรับปรุงคุณภาพก่อนปล่อย ลงสู่หนองหารแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถ ปรับปรุงคุณภาพน้ำ�ในเขตเมืองทั้งหมดได้

39

โครงการพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐที่ ดำ�เนินงานในพื้นที่ ขาดการประสานงาน บูรณาการโครงการต่างๆ ร่วมกัน ทำ�ให้ ทิศทางการพัฒนาไม่ชัดเจน ซึ่งอาจส่ง ผลกระทบต่อพันธุ์พืชและสัตว์ในพื้นที่ ชุมน้ำ�

289

เป็นแม่น้ำ�ระหว่างประเทศ จึงมีผล กระทบจากการพัฒนาโครงการของ ประเทศต่างๆ เป็นอย่างมาก ซึ่งยังไม่ สามารถจัดสรรการใช้น้ำ�ในภาพรวมได้

สกลนคร

78,250

28,125

32

หนองหานกุมภวาปี

อุดรธานี

74

แม่น้ำ�โขง

เชียงราย เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำ�นาจเจริญ และอุบลราชธานี

แม่น้ำ�สงคราม

อุดรธานี สกลนครหนองคาย และนครพนม

8,125,875

-

183

ลักษณะการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำ�มีการ พัฒนาโครงการทั้งด้านอุตสาหกรรม การปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีการใช้น้ำ�มาก

หนองกอมเกาะ

หนองคาย

5,900

20

27

-

ลุ่มน้ำ�โมงตอนล่าง

หนองคาย

1,500

4

47

-

เขตห้ามล่าสัตว์ ป่าหนองหัวคู

อุดรธานี

70

6

28

-

นานาชาติ

38,062,500

ที่มา : สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

-

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

เขตห้ามล่าสัตว์ ป่าบึงโขงหลง

หนองหาร

ชาติ

ปัญหาที่พบ

ปลา


14

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

2.1.4 ทรัพยากรน้ำ� ในพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขงมีลุ่มน้ำ�สาขาจำ�นวน 25 ลุ่มน้ำ� ครอบคลุมพื้นที่จำ�นวน 39,812.81 ตารางกิโลเมตร โดยลุ่มน้ำ�ที่มีพื้นที่มากที่สุดได้แก่ ลุ่มน้ำ�อูน มีพื้นที่ประมาณ 2,241,306.43 ไร่ (ประมาณ 3,542.89 ตารางกิโลเมตร) รองลงมาได้แก่ ลุ่มน้ำ�สงครามตอนบนและลุ่มน้ำ�สงครามตอนล่าง โดยลุ่มน้ำ�ที่มีพื้นที่น้อยที่สุดได้แก่ แม่น้ำ�โขงส่วนที่ 9 มีพื้นที่ 281,202.05 ไร่ (449.92 ตารางกิโลเมตร) ตารางที่ 13 พื้นที่รับน้ำ�ฝน ปริมาณน้ำ�ท่าเฉลี่ย และปริมาณน้ำ�ที่สามารถเก็บกักได้ พ.ศ. 2552

ลำ�ดับ

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ลุ่มน้ำ�สาขา

พื้นที่ลุ่มน้ำ� (ตร.กม.)

พื้นที่ป่าอนุรักษ์ (ไร่)

ปริมาณน้ำ�ท่าเฉลี่ยรายปี (ล้าน ลบ.ม.)

แหล่งน้ำ� ความต้องการน้ำ�ทั้งหมด ความจุรวม (ล้าน ลบ.ม. / ปี) (ล้าน ลบ.ม.) 2.05 11.61

1

แม่น้ำ�โขงส่วนที่ 3

690.01

303,838.45

285.58

2

ห้วยน้ำ�หมัน

619.59

185,949.67

271.13

0.25

44.91

3

ห้วยน้ำ�สาน

881.65

232,428.38

363.92

1.53

112.18

4

แม่น้ำ�โขงส่วนที่ 4

794.09

299,719.48

305.67

1.73

80.30

5

ห้วยน้ำ�ปวน

1,084.00

68,898.62

275.67

8.03

184.69

6

แม่น้ำ�เลยตอนล่าง

2,922.32

643,184.69

694.29

45.35

822.68

7

แม่น้ำ�โขงส่วนที่ 5

1,706.84

489,179.21

657.24

7.07

419.62

8

ห้วยน้ำ�โสม

1,118.95

252,575.37

468.22

7.00

49.77

9

ห้วยน้ำ�โมง

2,645.92

256,741.14

773.88

33.27

531.10

10

แม่น้ำ�โขงส่วนที่ 6

553.45

-

177.89

10.09

255.39

11

ห้วยน้ำ�สวย

1,336.96

-

403.46

4.18

599.58

12

ห้วยหลวง

3,417.64

168,606.83

1,017.62

153.16

1,378.70

13

ห้วยดาน

675.77

8,203.72

218.76

2.04

316.13

14

แม่น้ำ�โขงส่วนที่ 7

2,356.85

131,803.01

3,973.26

34.88

883.09

15

แม่น้ำ�สงครามตอนบน

3,270.81

480,784.14

2,130.85

47.97

861.86

16

แม่น้ำ�สงครามตอนล่าง

3,065.60

91,717.33

3,206.10

61.32

1,111.36

17

ห้วยคอง

709.31

187,733.81

1,181.39

9.06

72.03

18

ห้วยฮี้

743.60

44,608.27

1,095.85

12.04

208.10

19

ห้วยน้ายาม

1,730.08

40,622.89

1,061.14

27.29

917.47

20

ห้วยน้าอูน

3,542.89

142,916.18

1,390.91

570.10

1,538.08

21

ห้วยทวย

782.64

1,731.14

277.80

8.99

410.45

22

แม่น้าโขงส่วนที่ 8

1,145.17

-

417.52

29.08

633.54

23

น้าพุง

836.54

200,805.29

259.36

216.81

187.73

24

ห้วยน้าก่ำ�

2,678.20

71,701.93

1,318.39

79.06

1,350.37

25

แม่น้าโขงส่วนที่ 9 รวม

449.92

17,218.17

286.86

26.23

291.62

39,812.81

4,320,967.72

22,782.76

1,398.58

13,272.36

ที่มา : การจัดทำ�แผนรวมในพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขง กรมทรัพยากรน้ำ� , * สำ�นักงานทรัพยากรน้ำ�ภาค 3


1

1

4

สกลนคร

นครพนม

รวม

798.48

-

685.48

-

379,595

45,100

185,800

61,708

86,987

85

16

41

9

19

12

แห่ง

336.62

46.62

119.58

30.01

140.41

71.64

ปริมาณน้ำ� เก็บกัก (ล้าน ลบ.ม.)

411,650

45,835

180,785

92,990

92,040

37,999

พื้นที่ ชลประทาน (ไร่)

857

212

188

190

267

211

แห่ง

267.69

60.29

91.66

64.40

51.34

24.15

ปริมาณน้ำ� เก็บกัก (ล้าน ลบ.ม.)

* ข้อมูลพื้นฐานบ่อบาดาล กรมทรัพยากรน้ำ�บาดาล

1

หนองคาย

113.00

-

พื้นที่ ชลประทาน (ไร่)

14,120

4,420

3,600

2,300

3,800

3,672

พื้นที่ ชลประทาน (ไร่)

ขนาดเล็ก

1

อุดรธานี

-

ปริมาณน้ำ� เก็บกัก (ล้าน ลบ.ม.)

ขนาดกลาง

รายงานข้อมูลสารสนเทศโครงการชลประทานปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 กรมชลประทาน

-

แห่ง

เลย

จังหวัด

ขนาดใหญ่

โครงการชลประทาน

ตารางที่ 14 ประเภทโครงการชลประทาน และจำ�นวนบ่อน้ำ�บาดาล

454,855

88,818

164,272

88,860

112,905

121,567

พื้นที่ รับประโยชน์ (ไร่)

263

83

41

112

27

36

แห่ง

238,489

135,891

36,000

159,139

43,350

58,736

พื้นที่ รับประโยชน์ (ไร่)

โครงการสูบน้ำ� ด้วยไฟฟ้า

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ที่มา :

ปริมาณน้ำ� เก็บกัก (ล้าน ลบ.ม.) 95.79 304.75 94.41 896.72 106.91 1,402.79

แห่ง 259 314 312 271 312 1,209

948,499

231ล246

406,185

316,137

226,177

100,407

พื้นที่ ชลประทาน (ไร่)

รวม

454,855

88,818

164,272

88,860

112,905

121,567

พื้นที่ รับประโยชน์ (ไร่)

9,744

1,584

1,772

1,074

3,036

2,278

จำ�นวน *บ่อน้ำ� บาดาล (บ่อ)

สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

15


16

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

1) ภัยแล้ง ภัยแล้ง เกิดจากการที่มีฝนน้อยกว่าปกติ หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นระยะเวลานานกว่าปกติ และครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง ทำ�ให้เกิดการขาดแคลนน้ำ�ดื่มน้ำ�ใช้ พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ขาดน้ำ� ทำ�ให้ไม่เจริญเติบโต ตามปกติ เกิดความเสียหายและความอดอยากทั่วไป ความแห้งแล้งเป็นภัยธรรมชาติประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ� ทุกปี โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทย เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง ทำ�ให้เกิดความอดอยากแร้นแค้น ซึ่งหากปีใดที่ไม่มีพายุเคลื่อนผ่านเลยก็จะก่อให้เกิด ความแห้งแล้งรุนแรงมากขึ้น อันเนื่องมาจากฝนทิ้งช่วงยาวนาน โดยภัยแล้งที่เกิดขึ้นทุกปีจะอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายน ต่อเนื่องถึงเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ความรุนแรงจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ความชื้นในอากาศ ความชื้นในดิน ระยะเวลาที่เกิดความแห้งแล้ง และขนาดของพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง เป็นต้น

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ตารางที่ 15 พื้นที่ประสบภัยแล้งและพื้นที่เกษตรที่ได้รับความเสียหาย พ.ศ. 2552 จังหวัด เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม รวม

เขตการปกครอง (แห่ง) อำ�เภอ ตำ�บล 14 89 20 155 17 115 18 124 12 99 81 582

หมู่บ้าน 916 1,880 1,301 1,514 1,123 6,734

ที่มา : สำ�นักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ� กรมชลประทาน , มีนาคม 2553

พื้นที่ประสบภัยแล้ง (แห่ง) อำ�เภอ ตำ�บล หมู่บ้าน 2 2 2 11 15 18 8 16 33 11 19 30 5 10 11 37 62 94

สำ�นักป้องกันภัยธรรมชาติและความเสี่ยงทางการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำ�ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งซ้ำ�ซาก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งด้านการเกษตรและเป็นพื้นที่เกิดขึ้นเป็นประจำ� หรือบ่อยครั้ง ความแห้งแล้งด้านการเกษตร หมายถึง สภาวะที่มีฝนน้อยหรือไม่มีฝน ทำ�ให้เกิดการขาดแคลน น้ำ�สำ�หรับพืช ทำ�ให้พืชได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง โดยมีการจัดระดับความถี่ของการเกิดความแห้งแล้ง แบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับรุนแรงมาก (เป็นสภาวะที่ประสบความแห้งแล้ง 1-3 ปีต่อครั้ง) ระดับรุนแรงปานกลาง (เป็นสภาวะที่ประสบความแห้งแล้ง 4-5 ปีต่อครั้ง) ระดับรุนแรงเล็กน้อย (เป็นสภาวะที่ประสบความแห้งแล้ง 6-10 ปีต่อครั้ง)


17

สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

ตารางที่ 16 ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งซ้ำ�ซากใน 5 จังหวัด ระดับความแล้งซ้ำ�ซาก

จังหวัด

หมู่บ้าน 143 253 143 169 46 30 63 26

2) อุทกภัย ข้อมูลจากสำ�นักป้องกันภัยธรรมชาติและความเสีย่ งทางการเกษตรกรมพัฒนาทีด่ นิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าในพื้นที่ 5 จังหวัด มีพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำ�ท่วมซ้ำ�ซาก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการท่วมขังของน้ำ�บนพื้นผิวดินสูงกว่าระดับ ปกติและมีระยะเวลาที่น้ำ�ท่วมขังยาวนานอยู่เป็นประจำ� จนสร้างความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรม ทรัพย์สิน หรือชีวิต โดยจัดชั้นพื้นที่น้ำ�ท่วมซ้ำ�ซากไว้ 3 ระดับ ดังนี้ (1) พื้นที่น้ำ�ท่วมซ้ำ�ซากเป็นประจำ�โดยประสบน้ำ�ท่วมขัง 8-10 ครั้งในรอบ 10 ปี และเสี่ยงสูงต่อการลงทุนพัฒนาทางการเกษตร (2) พื้นที่น้ำ�ท่วมซ้ำ�ซากเป็นประจำ�โดยประสบน้ำ�ท่วมขัง 4-7 ครั้งในรอบ 10 ปี และเสี่ยงปานกลางต่อการลงทุนพัฒนาทางการเกษตร และ (3) พื้นที่น้ำ�ท่วมซ้ำ�ซากเป็นประจำ�โดย ประสบน้ำ�ท่วมขังไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี และเสี่ยงต่ำ�ต่อการลงทุนพัฒนาทางการเกษตร

ตารางที่ 17 พื้นที่น้ำ�ท่วมซ้ำ�ซากใน 5 จังหวัด โอกาสเกิดน้ำ�ท่วมซ้ำ�ซาก

จังหวัด อุดรธานี

สูง (น้ำ�ท่วมขัง 8-10 ครั้ง ในรอบ 10 ปี)

หนองคาย นครพนม

ปานกลาง (น้ำ�ท่วมขัง 4-7 ครั้ง ในรอบ 10 ปี) ปานกลาง (น้ำ�ท่วมขัง 4-7 ครั้ง ในรอบ 10 ปี)

หนองคาย สกลนคร นครพนม

อำ�เภอ

ตำ�บล

หมู่บ้าน

นาทราย

บ้านแสงอรุณ

บ้านแดง

บ้านนาโมง บ้านบุญทันสอง

โพนพิสัย

นาหนัง

บ้านคำ�บอน

ศรีเชียงใหม่

บ้านหม้อ

บ้านทุ่งสว่าง

ศรีสงคราม

ท่าบ่อสงคราม

บ้านท่าบ่อ

โซ่พิสัย

คำ�แก้ว

บ้านโนนประเสริฐ

บ้านหม้อ

บ้านป่าสัก

พานพร้าว

บ้านสะพานทอง สข

อากาศอำ�นวย

สามัคคีพัฒนา

บ้านนาคำ�

นาทม

นาทม

บ้านท่าพันโฮง

นาหว้า

บ้านเหล่าพัฒนา

บ้านเชียงเชา

พิบูลย์รักษ์

ศรีเชียงใหม่

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

อำ�เภอ ตำ�บล 13 56 เลย รุนแรงมาก 18 85 (แห้งแล้ง 1-3 ปีต่อครั้ง) อุดรธานี 11 51 อุดรธานี รุนแรงปานกลาง 11 58 หนองคาย (แห้งแล้ง 4-5 ปีต่อครั้ง) 10 28 สกลนคร 4 17 หนองคาย รุนแรงเล็กน้อย 10 29 สกลนคร (แห้งแล้ง 6-10 ปีต่อครั้ง) นครพนม 7 16 ที่มา : ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งซ้ำ�ซาก จากสำ�นักป้องกันภัยธรรมชาติและความเสี่ยงทางการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


18

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

ตารางที่ 17 พื้นที่น้ำ�ท่วมซ้ำ�ซากใน 5 จังหวัด (ต่อ) โอกาสเกิดน้ำ�ท่วมซ้ำ�ซาก ต่ำ� (น้ำ�ท่วมขังไม่เกิน 3 ครั้ง ในรอบ 10 ปี)

จังหวัด

อำ�เภอ

ตำ�บล

หมู่บ้าน

เลย

2

6

18

อุดรธานี

6

10

16

หนองคาย

13

48

171

สกลนคร

4

7

10

นครพนม

11

58

140

ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2.2 สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

1.1.1 สถานการณ์มลพิษทางน้ำ� 1) สถานการณ์คุณภาพน้ำ�ในแหล่งน้ำ�ผิวดิน ผลการตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ�ของแม่น้ำ�สายหลักในแหล่งน้ำ�ผิวดินจำ�นวน 9 แห่ง ได้แก่ แม่น้ำ�เลย แม่น้ำ�สงคราม แม่น้ำ�อูน หนองหาร ห้วยหลวง น้ำ�โมง น้ำ�สวย ห้วยปลาหาง และน้ำ�ยาม รวมจำ�นวน 39 สถานี โดยการเก็บตัวอย่างน้ำ�ปีละ 4 ครั้ง คุณภาพน้ำ�ส่วนใหญ่มีคุณภาพน้ำ�อยู่ในเกณฑ์พอใช้และคุณภาพน้ำ�เสื่อมโทรม ในบางช่วง

ตารางที่ 18 ภาพรวมคุณภาพน้ำ�ลุ่มน้ำ�ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ปี 2553 มาตรฐานในแหล่งน้ำ� ประเภทที่ 3 ประเภทที่ 4 (พอใช้) (เสื่อมโทรม)

ครั้ง/ปี

ประเภทที่ 2 (ดี)

ประเภทที่ 5 (เสื่อมโทรมมาก)

1/2553 (พ.ย. 52)

ห้วยหลวง น้ำ�โมง

แม่น้ำ�เลย แม่น้ำ�อูน น้ำ�สวย

หนองหาร ห้วยปลาหาง

แม่น้ำ�สงคราม น้ำ�ยาม

2/2553 (ก.พ. 53)

แม่น้ำ�เลย แม่น้ำ�สงคราม แม่น้ำ�อูน หนองหาร น้ำ�ยาม

น้ำ�โมง น้ำ�สวย ห้วยปลาหาง

ห้วยหลวง

-

3/2553 (มิ.ย. 53)

-

แม่น้ำ�สงคราม แม่น้ำ�อูน หนองหาร น้ำ�โมง น้ำ�ยาม

แม่น้ำ�เลย ห้วยหลวง น้ำ�สวย ห้วยปลาหาง

-

4/2553 (ส.ค. 53)

-

แม่น้ำ�สงคราม แม่น้ำ�อูน หนองหาร น้ำ�โมง น้ำ�ยาม ห้วยหลวง

แม่น้ำ�เลย น้ำ�สวย ห้วยปลาหาง

-


pH DO (mg/l) BOD (mg/l) TCB (MPN/100 ml) FCB (MPN/100 ml) NO3-N (mg/l) NH3-N (mg/l) Heavy Metals*

พารามิเตอร์ ที่ตรวจวัด

5- 9 ≥ 4.0 ≤ 2.0 ≤ 20,000 ≤ 4,000 5.0 0.5

ค่ามาตรฐาน

6.97 7.47 1.71 23,702 14,128 1.28 <0.5 **

แม่น้ำ�เลย 7.12 6.16 2.08 913 237 0.97 <0.5 **

แม่น้ำ�สงคราม 6.45 6.07 1.54 1,262 383 1.31 <0.5 **

แม่น้ำ�อูน

ตารางที่ 19 ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำ�ในแหล่งน้ำ�ผิวดิน ปี พ.ศ. 2553

7.17 6.18 2.49 2,405 854 2.63 1.46 **

ห้วยหลวง 7.89 8.34 1.85 52 10 ND <0.5 **

หนองหาร

ชื่อแม่น้ำ�สายหลัก น้ำ�สวย 6.66 5.08 1.74 846 278 <0.8 <0.5 **

น้ำ�โมง 6.98 5.56 1.43 951 123 <0.8 <0.5 **

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

6.72 4.59 2.11 5,381 685 <0.8 <0.5 **

ห้วยปลาหาง

5.86 5.32 3.04 871 316 <0.8 <0.5 **

น้ำ�ยาม

หมายเหตุ Heavy Metals * : สารหนู (As) ทองแดง (Cu) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) นิกเกิล (Ni) ปรอท (Hg) แคดเมียม (Cd) โครเมียม (Cr) ตะกั่ว (Pb) ** : อยูใ่ นมาตรฐานคุณภาพน้ำ�ในแหล่งน้ำ�ผิวดิน

สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

19


รูปที่ 4 คุณภาพน้ำ�ครั้งที่ 2/2553 เดือนกุมภาพันธ์ 2553

รูปที่ 6 คุณภาพน้ำ�ครั้งที่ 4/2553 เดือนสิงหาคม 2553

รูปที่ 5 คุณภาพน้ำ�ครั้งที่ 3/2553 เดือนมิถุนายน 2553

20

รูปที่ 3 คุณภาพน้ำ�ครั้งที่ 1/2553 เดือนพฤศจิกายน 2552

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

21

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

2) สถานการณ์น้ำ�เสียชุมชน พืน้ ทีล่ มุ่ น้�ำ โขง มีชมุ ชนขนาดใหญ่ระดับเทศบาลจำ�นวน 171 แห่ง โดยตัง้ แต่ปี 2537 เป็นต้นมา มีเทศบาลที่ ไ่ ด้ ดำ� เนิ น การศึ ก ษาความเหมาะสมหรื อ ออกแบบรายละเอี ย ดระบบบำ � บั ด น้ำ� เสี ย ชุ ม ชนภายใต้ แ ผนปฏิ บัติก าร เพือ่ การจัดการคุณภาพสิง่ แวดล้อมในระดับจังหวัด จำ�นวน 9 แห่ง แต่มเี ทศบาลทีไ่ ด้มกี ารก่อสร้างระบบเพียง 4 แห่ง หรือเพียงร้อยละ 2.34 ของจำ�นวนเทศบาลทัง้ หมด โดยระบบบำ�บัดน้ำ�เสียชุมชนที่มีการเดินระบบมี 2 แห่ง คือ ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียชุมชนเทศบาลเมืองสกลนคร และเทศบาลตำ�บลท่าแร่ จังหวัดสกลนคร และอยู่ระหว่างดำ�เนิน การก่อสร้าง 2 แห่ง คือ เทศบาลนครอุดรธานี และเทศบาลเมืองนครพนม 2.1) ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียชุมชน เทศบาลเมืองสกลนคร เป็นระบบบำ�บัดน้�ำ เสียแบบบ่อผึง่ (Stabilization Pond) และบึงประดิษฐ์ (Wetland) ต่ออนุกรมกันจำ�นวน 2 ชุด มีความสามารถสูงสุดในการรองรับน้�ำ เสียประมาณ 8,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สำ�หรับน้�ำ เสียส่วนทีเ่ กินความสามารถสูงสุดของระบบฯ จะถูกผันผ่านบ่อแบ่งน้�ำ เสีย (Distribution Chamber) เข้าสูบ่ ่อแฟคัลเททีฟ (Facultative Pond) ซึง่ ออกแบบให้สามารถรับน้�ำ เสียได้วนั ละประมาณ 8,000 ลูกบาศก์ เมตร และต่ออนุกรมกับบึงประดิษฐ์ (Wetland) ก่อนปล่อยน้�ำ ทิง้ ทีผ่ า่ นการบำ�บัดลงสูห่ นองหาร รวมปริมาณน้�ำ เสียทัง้ หมดที่ สามารถรองรับได้ 16,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน คุณภาพน้ำ�ทิ้งของระบบฯ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำ�ทิ้งจากแหล่งกำ�เนิดประเภทโรงงาน อุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ประเภท 101 มีประสิทธิภาพในการลดค่าบีโอดีเฉลี่ยร้อยละ 40.81 และสามารถ บำ�บัดปริมาณสารแขวนลอยได้เฉลี่ยร้อยละ 50.34 และยังสังเกตพบว่าลักษณะของน้ำ�เสียในบ่อผึ่งบึงประดิษฐ์ และน้ำ�ทิ้งที่ไหลออกจากระบบมีสีเขียวมาก เนื่องมาจากมีสารแขวนลอยและสาหร่ายปนอยู่ด้วย มีน้ำ�เสียไหลเข้าสู่ ระบบประมาณ 10,503.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าปริมาณน้ำ�เสียเข้าระบบที่ออกแบบไว้ ระบบมี ประสิทธิภาพในการบำ�บัดค่าบีโอดีค่อนข้างน้อย อาจเนื่องมาจากความสกปรกในน้ำ�ทิ้งที่เหลืออยู่อาจมาจากสาหร่ายที่ เจริญเติบโตมากเกินไป และพืชที่ตายแล้วเน่าอยู่ในระบบบึงประดิษฐ์ 2.2) ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียชุมชน เทศบาลตำ�บลท่าแร่ เป็นระบบบำ�บัดน้ำ�เสียแบบบ่อผึง่ (Stabilization Pond) และบึงประดิษฐ์ (Wetland) สามารถรองรับปริมาณน้ำ�เสียได้ 2,054 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ปริมาณน้ำ�เสียที่เข้าสู่ระบบ มีปริมาณค่อนข้างน้อย เนื่องมาจากระบบท่อระบายน้�ำ และรวบรวมน้�ำ เสียครอบคลุมเฉพาะระยะที่ 1 คือพืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของ ชุมชนด้านทิศใต้ ซึง่ ไม่สามารถรวบรวมน้ำ�เสียจากแหล่งกำ�เนิดน้ำ�เสียที่สำ�คัญทางด้านทิศเหนือในระยะที่ 2 คือ ตลาดสด โรงเรียน ชุมชน และสุสาน เป็นต้น ซึ่งยังไม่มีระบบรวบรวม คุ ณ ภาพน้ำ � ทิ้ ง ของระบบอยู่ ใ นเกณฑ์ ม าตรฐานควบคุ ม การระบายน้ำ � ทิ้ ง จากแหล่ ง กำ � เนิ ด ประเภท โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ประเภท 101 มีประสิทธิภาพในการลดค่าบีโอดีได้เฉพาะในไตรมาส ที่ 2-3 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 45.35 ส่วนไตรมาสที่ 1 และ 4 ไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพของระบบได้ เพราะค่า บีโอดีของน้ำ�ที่ออกจากระบบสูงกว่าน้ำ�ที่เข้าระบบ อาจเนื่องมาจากการปรับปรุงบ่อบึงประดิษฐ์ทำ�ให้พืชเน่าตายให้บ่อ นอกจากนี้ในไตรมาสที่ 1–3 พบว่าไม่มีน้ำ�ทิ้งไหลออกจากระบบ หรือสามารถสรุปได้ว่าเป็นระบบ Zero discharge ส่วนในไตรมาสที่ 4 มีน้ำ�ไหลออกจากระบบบ้างเล็กน้อย ซึ่งบ่อบึงประดิษฐ์ที่ 3 วัดอัตราการไหลได้ 6,264 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (อัตราการไหลของน้ำ�ที่เข้าระบบ 14,487.7 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน)


22

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

2.3) ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียชุมชน เทศบาลนครอุดรธานี อยู่ระหว่างดำ�เนินการก่อสร้างระบบ เป็นระบบบำ�บัดน้ำ� เสียแบบบ่อผึ่ง (Stabilization Ponds) ตั้งอยู่บ้านหนองบุ ตำ�บลสามพร้าว และบ้านดอนหวาย ตำ�บลกุดสระ อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เนื้อที่ 287-2-61 ไร่ เป็นที่กรรมสิทธิ์ของเทศบาล สามารถรองรับน้ำ�เสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดสองระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ปริมาณน้ำ�เสีย 43,902 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน คิดเป็นปริมาณความสกปรก 4,094 กิโลกรัมต่อวัน ในระยะที่ 2 ปริมาณน้ำ�เสีย 70,322 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน คิดเป็นปริมาณความสกปรก 7,994 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งในปีงบประมาณ 2551-2554 เป็นการก่อสร้างในระยะที่ 1 สรุปความก้าวหน้ารวม เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2553 ดำ�เนินการก่อสร้างแล้ว ร้อยละ 72.10 ล่าช้ากว่า แผนงานร้อยละ 2.90 คงเหลือระยะเวลาก่อสร้าง 486 วัน (ร้อยละ 35) การส่งมอบงานก่อสร้างเบิกไปแล้ว 127 งวด คิดเป็นเงินรวม 442,265,285.18 บาท (จาก 200 งวดงาน) คิดเป็นร้อยละ 59.93 2.4) ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียชุมชน เทศบาลเมืองนครพนม อยู่ระหว่างการชะลอการดำ�เนินการก่อสร้าง เป็นระบบ บำ�บัดน้ำ�เสียเป็นแบบบ่อผึ่ง (Stabilization Ponds) สามารถรองรับน้ำ�เสียได้ 8,601.62 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เนื้อที่ 90 ไร่ ตั้งอยู่บ้านคำ�เกิ้ม ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำ�บลคำ�เกิ้ม อำ�เภอเมือง จังหวัดนครพนม ซึ่งมีปริมาณผลงานก่อสร้าง รวมทั้งหมดจนถึงไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2553 คือร้อยละ 57.23 ซึ่งล่าช้ากว่าแผนงานที่วางไว้ เบิกจ่ายแล้ว 24 งวด คิดเป็นจำ�นวน 322,593,400 บาท (รวมเงินหักคืนล่วงหน้า) หรือคิดเป็นร้อยละ 71.16 ระยะเวลาก่อสร้างทั้งหมด 1,480 วัน (รวมระยะเวลาที่ผู้รับจ้างขอขยายเวลาอีก 180 วัน) ขณะนี้เทศบาลมีหนังสือสั่งให้ผู้รับเหมาหยุดงาน

รูปที่ 7 ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียเทศบาลเมืองสกลนคร

รูปที่ 8 ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียเทศบาลตำ�บลท่าแร่


23

สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

2.2.2 สถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชน การจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขงนับว่าเป็นปัญหาสำ�คัญที่ควรดำ�เนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ในปี พ.ศ. 2553 พบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 3,141.12 ตันต่อวัน (กรมควบคุมมลพิษ กำ�หนดอัตราการเกิด ขยะเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 0.64 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน) โดยมีขยะมูลฝอยที่กำ�จัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพียง 472.56 ตันต่อวัน หรือร้อยละ 15.04 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขง 5 จังหวัด ตารางที่ 20 จำ�นวน อปท. และปริมาณขยะที่มีการกำ�จัดอย่างถูกหลักวิชาการ

อปท. (แห่ง)

จังหวัด

อปท. ที่มีการกำ�จัดขยะถูกหลักวิชาการ (แห่ง)

ปริมาณขยะกำ�จัดถูกหลักวิชาการ (ตัน/วัน)

อบต.

เทศบาล

อบต.

เทศบาล

อบต.

รวม

เลย

25

75

11

10

57.86

17.72

75.58

อุดรธานี

53

127

6

13

159.29

23.68

182.97

หนองคาย

33

93

8

29

74.72

37.37

112.09

สกลนคร

43

97

4

9

51.97

12.79

64.76

นครพนม

17

86

1

9

24.02

13.14

37.16

รวม

171

478

30

70

367.86

104.70

472.56

ทั้งนี้ เนื่องจากในพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขงมีระบบกำ�จัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถดำ�เนินการระบบ ได้เพียง 7 แห่ง โดยสามารถรองรับปริมาณขยะมูลฝอยจากเทศบาลจำ�นวน 30 แห่ง และ อบต. จำ�นวน 70 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 15.41 ของ อปท. ทั้งหมดในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขง 5 จังหวัด ส่วนขยะซึ่ง เทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบในการ เก็บรวบรวมและนำ�ไปกำ�จัด ส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบเก็บรวบรวมและสถานที่กำ�จัดขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาล จึงกำ�จัดด้วย วิธีการเผากลางแจ้งหรือขุดหลุมฝังหรือกองทิ้งไว้บนพื้นที่ว่างต่างๆ ตารางที่ 21 ระบบกำ�จัดขยะมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาล

จังหวัด เลย อุดรธานี

หนองคาย

สกลนคร นครพนม

เทศบาล

สถานะ

ระบบ

ประสิทธิภาพ

(1)

เมืองเลย

เปิดดำ�เนินการ

Sanitary Landfill

ต้องปรับปรุง

(2)

นครอุดรธานี

เปิดดำ�เนินการ

Sanitary Landfill

ดี

(3)

ตำ�บลบ้านเชียง

สร้างเสร็จ แต่ไม่เปิดดำ�เนินงาน

Sanitary Landfill

--

(4)

เมืองหนองคาย

ปิดดำ�เนินการ เนื่องจากมีเรื่องร้องเรียน Sanitary Landfill

--

(5)

เมืองท่าบ่อ

เปิดดำ�เนินการ

Sanitary Landfill

ต้องปรับปรุง

(6)

ตำ�บลศรีพนา

เปิดดำ�เนินการ

พอใช้

(7)

ตำ�บลศรีเชียงใหม่

อยู่ระหว่างดำ�เนินการก่อสร้าง

(8)

เมืองสกลนคร

เปิดดำ�เนินการ

Sanitary Landfill คัดแยก หมักปุ๋ย Sanitary Landfill Sanitary Landfill

(9)

ตำ�บลพังโคน

เปิดดำ�เนินการ

Sanitary Landfill

พอใช้

(10)

เมืองนครพนม

เปิดดำ�เนินการ

พอใช้

(11)

ตำ�บลนาแก

อยู่ระหว่างดำ�เนินการก่อสร้าง

Sanitary Landfill คัดแยก หมักปุ๋ย Sanitary Landfill

-ดี

--

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

เทศบาล


24

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

2.2.3 สิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน 1) ผังเมือง ในพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด จากข้อมูลของกรมโยธาธิการและผังเมือง ณ เดือนมิถุนายน 2553 พบว่า มีผงั เมืองรวมทีม่ ผี ลบังคับใช้จำ�นวน 1 ผัง สิน้ สุดการบังคับใช้แล้ว 4 ผงั และผังเมืองทีเ่ ปิดพืน้ ทีใ่ หม่ซงึ่ อยูร่ ะหว่างดำ�เนินการ ทั้งหมด 11 ผัง รวมจำ�นวนทั้งสิ้น 16 ผัง กรมโยธาธิการและผังเมืองซึง่ มีหน้าทีร่ บั ผิดชอบหลักในด้านการผังเมืองระดับต่างๆ จึงได้ด�ำ เนินการจัดทำ�ผังเมืองรวมและใช้บงั คับเป็นกฎหมายให้ครอบคลุมพืน้ ทีท่ ว่ั ประเทศ ทัง้ ระดับภาคและระดับจังหวัด เพือ่ ให้มที ศิ ทางในการพัฒนาชุมชนทีช่ ดั เจน โดยในปัจจุบนั ได้มกี ารถ่ายโอนภารกิจในการควบคุมดูแลตามมาตรการต่างๆ ให้แก่ท้องถิ่นเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ตารางที่ 22 จำ�นวนผังเมืองรวม พ.ศ. 2553 อยู่ระหว่างดำ�เนินการจัดทำ�ผังเมือง (ผัง) เปิดพื้นที่ใหม่

จังหวัด

มีผลบังคับใช้ (ผัง)

เลย

-

1 (เมืองเลย)

2 (จังหวัด/ ชุมชนวังสะพุง)

3

อุดรธานี

1 (เมืองอุดรธานี)

-

3 (จังหวัด/ ชุมชนหนองวัวซอ/ ชุมชนกุมภวาปี)

4

หนองคาย

-

1 (เมืองหนองคาย)

1 (จังหวัด)

สกลนคร

-

1 (เมืองสกลนคร)

3 (จังหวัด/ ชุมชนสว่างแดนดิน/ ชุมชนพังโคน)

นครพนม

-

1 (เมืองนครพนม)

2 (จังหวัด/ ชุมชนธาตุพนม)

3

รวม

1

4

11

16

หมดอายุ

รวม (ผัง)

2

4

ที่มา : กรมโยธาธิการและผังเมือง ปี 2553

ปัญหาอุปสรรคทีพ่ บคือ ในหลายพืน้ ทีย่ งั ขาดการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ เนือ่ งจากบุคลากรของ อปท. ยังขาด ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำ�ผังเมืองและผังชุมชน การขยายตัวของเมืองและชุมชนโดยไม่มีการคำ�นึงถึงระบบผังเมือง รวมทำ�ให้มีสิ่งก่อสร้างที่ไม่เหมาะสมทั้งด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและด้านภูมิทัศน์ นอกจากนี้ยังพบว่าการปฏิบัติตาม ผังเมืองยังไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดการสนับสนุนจากท้องถิ่น ในการนำ�กฎหมายผังเมืองไปบังคับใช้เป็นมาตรการ ท้องถิน่ ในการจัดระเบียบชุมชนการจัดทำ�ผังชุมชนและผังการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ อีกทัง้ ความไม่ตอ่ เนือ่ งในการใช้มาตรการ ต่างๆ ของกฎหมายผังเมือง 2) แหล่งชุมชนและชุมชนแออัด ในปัจจุบันแนวโน้มการขยายตัวของประชากรในเขตเมืองมีเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการเจริญเติบโต ของเศรษฐกิจ เกิดการย้ายถิ่นฐานของชาวชนบทเข้าสู่เมือง ทำ�ให้เกิดการกระจุกตัวของประชากรในเขตเมือง ในขณะที่ โครงสร้ า งพื้ น ฐานและสาธารณู ป โภคไม่ เ พี ย งพอที่ จ ะรองรั บ การขยายตั ว อย่ า งรวดเร็ ว ดั ง กล่ า วส่ ง ผลให้ เ กิ ด


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

25

แหล่ ง ชุ ม ชนแออั ด มี ก ารบุ ก รุ ก พื้ น ที่ ส าธารณะและปลู ก สร้ า งที่ อ ยู่ อ าศั ย อย่ า งหนาแน่ น และไม่ เ ป็ น ระเบี ย บเกิ ด สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย รวมทั้งปัญหาจากมลพิษต่างๆ เช่น ขยะมูลฝอย อากาศ น้ำ�เสีย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ จากการสำ�รวจข้อมูลของการเคหะแห่งชาติ พบว่าในพื้นที่ 5 จังหวัด มีแหล่งชุมชนแออัดในเมือง 5 เมือง จำ�นวน 13 ชุมชน

ตารางที่ 23 จำ�นวนแหล่งชุมชนที่ อปท. จัดตั้งขึ้น และจำ�นวนชุมชนแออัดในเขตเทศบาล จังหวัด

เทศบาล

แหล่งชุมชน (แห่ง)

สภาพปัญหา

นครอุดรธานี

9

- ส่วนใหญ่สภาพบ้านดี เพราะมีการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเรื่อยๆ รวมทั้งการเข้าร่วม โครงการบ้านมั่นคง สภาพบ้านโดยรวมจึงมีสภาพที่ดีขึ้นระบบสาธารณูปโภคได้รับ การปรับปรุง แต่ก็มีบางชุมชนที่สภาพชุมชนโดยรวมยังดูไม่ดีนัก อาชีพส่วนใหญ่ เก็บของเก่าขายและรับจ้างทั่วไป

ตำ�บลกุมภวาปี

1

- การจัดการขยะ -มีที่ทิ้งรวมแล้วมีคนมาเก็บ - ไม่มีระบบระบายน้ำ�

หนองคาย

-

-

สกลนคร

เมืองสกลนคร

1

นครพนม

เมืองนครพนม

1

เลย

เมืองเลย

อุดรธานี

- การจัดการขยะ-มีที่ทิ้งรวมแล้วมีคนมาเก็บ - ไม่มีระบบระบายน้ำ� - มีปัญหาเรื่องปากท้องและหนี้สิน - กำ�จัดขยะโดยการเผาเอง - ไม่มีระบบระบายน้ำ� - มีปัญหาเรื่องปากท้อง/ ที่อยู่อาศัยเสื่อมโทรม/ ขาดสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ และหนี้สิน

ที่มา : การเคหะแห่งชาติ ปี 2552

3) การจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง พื้นที่สีเขียว เป็นปัจจัยสำ�คัญประการหนึ่งในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชนให้มีความน่าอยู่ และยั่งยืน การเพิ่มพื้นที่สีเขียวสามารถช่วยลดมลพิษทางอากาศ และสร้างสมดุลของสภาพแวดล้อม รวมทั้งคุณภาพ ชีวิตที่ดีให้กับประชากรในเขตเมืองและชุมชน พื้นที่สีเขียวนับเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตที่สำ�คัญประการหนึ่งของเมือง ที่ยั่งยืน ปัจจุบันพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองมีปริมาณลดลง เนื่องจากการพัฒนาเมืองที่ขาดการวางแผนที่ดี ตลอดจนขาด การดูแลรักษาพื้นที่สีเขียวอย่างเหมาะสม ทำ�ให้พื้นที่สีเขียวลดปริมาณและเสื่อมโทรมลง โดยตามเกณฑ์มาตรฐานของ กรมการผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้กำ�หนดให้ทุกเทศบาลต้องมีพื้นที่สีเขียวในรูปของสวนสาธารณะขนาด 1.80 ไร่ ต่อประชากร 1,000 คน หรือ 2.8 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน (สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อม, 2547)

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

1

- ชุมชนบุกรุกคูคลอง - การจัดการขยะ - มีที่ทิ้งรวมแล้วมีคนมาเก็บ - ไม่มีระบบระบายน้ำ� - มีปัญหาเรื่องปากท้องและหนี้สิน


26

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

สำ�หรับพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองของเทศบาลหลักของ 5 จังหวัด ซึ่งมีสวนสาธารณะเป็นพื้นที่สีเขียวของเมือง โดยเทศบาลหลักส่วนใหญ่มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรผ่านตามเกณฑ์ที่กำ�หนด มีเพียงเทศบาลเมืองเลยที่มี สัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่ำ�กว่าเกณฑ์ที่กำ�หนดไว้

ตารางที่ 24 จำ�นวนและพื้นที่สวนสาธารณะ พ.ศ. 2553 ชื่อ อปท.

ประชากร (คน)

เลย อุดรธานี

ทม.เลย ทน.อุดรธานี

22,079 141,937

หนองคาย สกลนคร นครพนม

ทม.หนองคาย ทม.สกลนคร ทม.นครพนม

48,190 54,318 27,651

จังหวัด

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

พื้นที่สวนสาธารณะ สาธารณะหลัก สวนสาธารณะกุดป่อง หนองประจักษ์ศิลปาคม หนองสิม หนองบัว หนองถิ่น สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ สวนหลวง ร.9

เป็นพื้นที่สีเขียว (ตร.ม.) 40,000 524,800 128,000 216,000 238,400 192,000 100,000

สัดส่วนพื้นที่สีเขียว (ตร.ม./คน) 1.81 6.12

4.95 3.53 3.62

2.2.4 สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม 1) แหล่งธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ ภูเขา น้ำ�ตก ถ้ำ� น้ำ�พุร้อน บ่อน้ำ�ร้อน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สวนสัตว์ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนรุกขชาติ ทะเล หาดทราย หาดหิน ทะเลสาบ เกาะ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ� แหล่งน้ำ�จืด(ห้วย หนอง คลอง บึง) โดยสภาพปัญหาในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติส่วนใหญ่พบปัญหาดังนี้ ปัญหาด้านการดูแลรักษาความสะอาด ขยะตกค้างและความสกปรกจากการทิ้งขยะ ปัญหาการทำ�ลายต้นไม้ ป่าไม้และสภาพธรรมชาติปัญหาคุณภาพน้ำ�และ การขาดแคลนน้ำ� ปัญหาไฟป่า ปัญหาการลักลอบเก็บของป่า ล่าสัตว์ การทำ�ลายและบดบังทัศนียภาพ

ตารางที่ 25 แหล่งธรรมชาติที่สำ�คัญในพื้นที่ จังหวัด เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แก่งคุดคู้ ภูกระดึง ภูเรือ ภูหลวง ถ้ำ�ผาพุง ถ้ำ�ผาปู่ สวนสาธารณหนองประจักษ์ อ่างเก็บน้ำ�ชลประทานห้วยหลวง สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ ภูฝอยลม วนอุทยานน้ำ�ตกธารงาม ถ้ำ�สิงห์ อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำ�โสม คำ�ชะโนด หนองหานกุมภวาปี ภูทอก น้ำ�ตกเจ็ดสีภูวัว น้ำ�ตกธารทิพย์ น้ำ�ตกธารทอง หนองหาร น้ำ�ตกคำ�หอม น้ำ�ตกตาดโตน ถ้ำ�พระทอง บึงใหญ่ ถ้ำ�พระเวทย์ น้ำ�ตกตาดขาม น้ำ�ตกนาโพธิ์


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

27

2) แหล่งศิลปกรรม แหล่งท่องเทีย่ วศิลปกรรม เป็นสถานทีท่ มี่ นุษย์ได้สร้างหรือกำ�หนดขึน้ ทัง้ ในอดีตและปัจจุบนั ด้วยความ สามารถสติปัญญากำ�ลังกายกำ�ลังใจ และได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่าในทางศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และเทคโนโลยี โดยสภาพปัญหาในแหล่งท่องเที่ยวทางด้านศิลปกรรมในพื้นที่ ได้แก่ ปัญหาด้านการรักษาความสะอาด การ จัดการขยะมูลฝอย ปัญหาการมีสิ่งปลูกสร้างบดบังทัศนียภาพ การดัดแปลงและการก่อสร้างซ่อมแซมจนสภาพเดิม เปลี่ยนไป การขาดการทำ�นุบำ�รุงดูแลรักษา และพื้นที่ถูกบุกรุก การพังทลาย

ตารางที่ 26 แหล่งศิลปกรรมที่สำ�คัญในพื้นที่ จังหวัด

อุดรธานี หนองคาย

เมือง สกลนคร

นครพนม

พรรณานิคม วาริชภูมิ ส่องดาว เมือง ท่าอุเทน ธาตุพนม นาแก นาหว้า

ศิลปรรม/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ พระพุทธบาทถ้ำ�ผาบิ้ง เสมาหินทรายบ้านปากแบ่งและบ้านนาหลัก พระธาตุสัจจะ วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน วัดท่าแขก วัดศรีคุณเมือง พระธาตุศรีสองรัก พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท พระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทบัวบาน ถ้ำ�สิงห์ พระธาตุดอนแก้ว วัดโพธิ์ชัย พระธาตุกลางน้ำ� ศาลาแก้วกู่ พระธาตุบังพวน หลวงพ่อองค์ตื้อ ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุเชิงชุม พระธาตุดุม พิพิธภัณฑ์อาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระธาตุภูเพ็ก พิพิธภัณฑ์อาจารย์ฟั่น อาจาโร วัดคำ�ประมง วัดถ้ำ�ขาม ถ้ำ�พระพุทธไสยาสน์ พระธาตุศรีมงคล วัดถ้ำ�อภัยดำ�รงธรรม ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ผาผักหวาน วัดมหาธาตุ วัดนักบุญอันนาหนองแสง วัดศรีเทพประดิษฐาราม วัดโอกาสศรีบัวบาน พระธาตุท่าอุเทน พระบางวัดไตรภูมิ พระธาตุพนม พระธาตุศรีคุณ วัดภูถ้ำ�พระ พระธาตุประสิทธิ์

สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

เลย

อำ�เภอ วังสะพุง ท่าลี่ เชียงคาน ด่านซ้าย หนองหาน บ้านผือ กุดจับ เมือง ท่าบ่อ


ส่วนที่สาม

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม


29

สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

ส่วนที่ 3 : การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปี 2553 ที่สำ�นักงาน สิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 ได้ดำ�เนินการ มีดังนี้

3.1 แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ตารางที่ 27 ร้อยละแบบสอบถามที่ได้รับการตอบกลับ จำ�นวนแบบสอบถาม

เลย

หนองคาย

อุดรธานี

สกลนคร

นครพนม

รวม

จำ�นวนที่จัดส่ง (ชุด)

49

55

82

64

30

280

จำ�นวนที่ตอบกลับ (ชุด)

30

24

35

27

19

135

61.22

43.64

42.68

42.19

63.33

48.21

ร้อยละ

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พ.ศ.2550-2554 เป็นกรอบแผน งานและแนวทางในการดำ�เนินการในเชิงพื้นที่ลุ่มน้ำ� เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนบน (จังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย สกลนครและนครพนม) ได้รับการปกป้อง ฟื้นฟู ดูแลรักษาและใช้ ประโยชน์อยู่บนพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นกลไกสำ�คัญในการถ่ายทอดแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับ ชาติไปสู่การปฏิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น โดยมีกลยุทธ์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดของแผนจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2550-2554 ไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ที่รับผิดชอบ ในปีงบประมาณ 2553 สสภ.9 ได้ติดตามประเมินผลแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน พ.ศ. 2550-2554 ระยะครึ่งแผน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการติดตามประเมินผลความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ ของแผนฯ เพื่อนำ�ไปสู่การให้ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ภาคในช่วงเวลาที่เหลือ และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์การ พัฒนาด้านต่างๆ และเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการจัดทำ�แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคในฉบับต่อไป สำ � หรั บ การประเมิ น ผลสั ม ฤทธิ์ ข องแผนจั ด การคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ตอนบน พ.ศ. 2550-2554 ระยะครึ่งแผน สสภ. 9 ได้ทำ�การรวบรวมข้อมูลจากหน่วยปฏิบัติที่มีการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ใน 2 ส่วน คือ (1) การรวบรวมแผนงาน/โครงการจากแผนปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง และ (2) จัดส่งแบบสอบถามการติดตามประเมินผลการดำ�เนินการตามแผนฯเพื่อเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลไปยัง หน่วยงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการติดตามประเมินผลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล และอบต.บางส่วน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ�แผนและการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติในระดับจังหวัดและ ท้องถิ่นในพื้นที่ 5 จังหวัด (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม) จำ�นวน 280 ชุด ได้รับตอบกลับจำ�นวน 135 ชุด คิดเป็นร้อยละ 48.21 ดังตารางที่ 27


30

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

โดยได้สอบถามใน 4 ประเด็นหลักคือ (1)การรับทราบเกี่ยวกับแผน ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 86.67 รับทราบเกี่ยวกับแผน (2)การนำ�แผนไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 78.95 ได้นำ�แผนฯไปใช้ในการจัดทำ�แผนต่างๆ และเป็นการศึกษา หาความรู้ (3)ความเข้าใจในเป้าหมายของแผน ร้อยละ 85.19 มีความเข้าใจ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 53.33 เข้าใจในระดับ ปานกลาง (4)ความเหมาะสมของเป้าหมายของแผนฯผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่าแผนฯ ภาคมีความเหมาะสม แล้วคิดเป็นร้อยละ 93.98 แต่มีความเห็นว่ามีแนวโน้มไม่บรรลุเป้าหมายเมื่อสิ้นสุดแผนฯ ร้อยละ 55.64 เห็นว่าแผนฯ ไม่มีความเหมาะสมและควรปรับปรุง ร้อยละ 3.01 จากการติดตามประเมินผลการแปลงแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ พบว่า โครงการ/กิจกรรมที่มีการดำ�เนินงานในพื้นที่ มีการดำ�เนินการครบทั้ง 3 ยุทธศาสตร์ แต่ส่วนใหญ่จะเน้นหนักในยุทธศาสตร์ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน และยุทธศาสตร์ด้านการจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม ส่วนยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและศิลปกรรมมีการดำ�เนิน งานเฉพาะในบางพื้นที่ โดยสามารถสรุปจำ�นวนโครงการและงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในการดำ�เนินงานจากทุกหน่วย งาน ได้ดังตารางที่ 28

ตารางที่ 28 สรุปโครงการและงบประมาณที่ดำ�เนินการในปี 2550-2552 ของทั้ง 5 จังหวัดตามยุทธศาสตร์ ของแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 ปี พ.ศ.2550-2554

ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ จำ�นวนโครงการ 1.ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการมลพิษ 117 2.ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน 98 3.ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม 22 รวมทั้งสิ้น 237 หมายเหตุ: ข้อมูลจากแบบสำ�รวจและรายงานผลการดำ�เนินงานประจำ�ปีของ สสภ.9 ปี 2550-2552

งบประมาณ(บาท) 1,179,488,002 31,452,475 2,060,250 1,213,000,727

แหล่งสนับสนุนงบประมาณในการดำ�เนินงานของโครงการต่างๆ ที่มีการดำ�เนินงานในพื้นที่เมื่อเปรียบเทียบ กับจำ�นวนโครงการส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 80) มาจากงบพัฒนาท้องถิ่นของ อปท. สำ�หรับงบประมาณแผ่นดินจะ ให้การสนับสนุนในส่วนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ อาทิ โครงการศูนย์จัดการขยะ มูลฝอยแบบครบวงจร โครงการ ก่อสร้างระบบบำ�บัดน้ำ�เสียชุมชน เป็นต้น ซึ่ง อปท.จะขอรับการสนับสนุนผ่านแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด โดยในพื้นที่ สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9ได้รับการสนับสนุนระหว่างปี 2550-2552 จำ�นวน 5 โครงการ วงเงินจำ�นวน 1,090,483,000 บาท


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

31

รูปที่ 9 การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น (Focus Group)

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ สสภ. 9 ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น (Focus Group) เพือ่ ให้เกิดการมีสว่ นร่วม ระดมความคิดเห็นต่อ แผนฯ และแลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลและปัญหาการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย หน่วยงานราชการต่าง ๆ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน และภาคประชาชน ในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบ ได้แก่ เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และ นครพนม รวมทั้งหมด 70 คน โดยที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการแปลงแผนฯ ไปสูก่ ารปฏิบตั ใิ นระดับพืน้ ที่ จำ�นวน 6 ประเด็น คือ (1) รูปแบบการนำ�แผนฯ ไปประยุกต์ใช้ของหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องในระดับพืน้ ที่ (2) การประเมินผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย ของการดำ�เนินงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมภายใต้แผนฯ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการแปลงแผนฯ เป็นแผนการ ดำ�เนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ (4) ปัญหาอุปสรรคของการแปลงแผนฯ ไปสูก่ ารปฏิบตั ิ ซึง่ พบว่ามีขอ้ จำ�กัดในการกำ�หนดตัวชี้วัด (5) ปัจจัยสู่ความสำ�เร็จของการแปลงแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ และ (6) ข้อเสนอแนะในการขับ เคลือ่ นแผนฯ และการดำ�เนินงานตามตัวชีว้ ดั ไปสูค่ วามสำ�เร็จ


32

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

3.2 การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

3.2.1 การสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะและเศษวัสดุเหลือใช้ของเทศบาลเมืองหนองสำ�โรง จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ทั้งภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม ภาค เกษตรกรรม การพัฒนาด้านเทคโนโลยีต่างๆ การบริโภคและการลงทุน ส่งผลให้ชุมชนเมืองและชุมชนใกล้เขตเมือง มีการขยายตัวตามไปด้วย ภาวการณ์ดังกล่าวดูเหมือนจะส่งผลดีในภาพรวม แต่กลับทำ�ให้เกิดปัญหาตามมาอย่าง มากมาย โดยเฉพาะปัญหาขยะมูลฝอย จังหวัดอุดรธานีจึงได้มีการจัดสรรงบประมาณดำ�เนินการพัฒนาศักยภาพใน การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ซึ่ง สสภ.9 รับผิดชอบในส่วนของกิจกรรม ศูนย์เรียนรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะและเศษวัสดุเหลือใช้ ซึ่งได้คัดเลือกพื้นที่เทศบาลเมืองหนองสำ�โรง อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่ดำ�เนินงาน โดย สสภ.9 ร่วมกับ เทศบาลเมืองหนองสำ�โรง ดำ�เนินกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะและเศษวัสดุ เหลือใช้ของเทศบาลเมืองหนองสำ�โรง ซึ่งเป็นการนำ�ขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่างๆ ที่ชุมชนสามารถ ดำ�เนินการได้ โดยการมีส่วนร่วมในทุกระดับ ตั้งแต่ในระดับครัวเรือนไปจนถึงสถาบันการศึกษา ห้างร้าน และชุมชน ทั้ง 29 ชุมชน เพื่อเทศบาลเมืองหนองสำ�โรงสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะและเศษวัสดุเหลือใช้ แก่หน่วยงาน/ท้องถิ่นอื่นได้ มีกิจกรรมดังนี้ (1) ศึกษาสถานภาพด้านการจัดการขยะของเทศบาลเมืองหนองสำ�โรง โดยศึกษาปริมาณและองค์ประกอบ ของขยะมูลฝอย ซึ่งองค์ประกอบขยะส่วนใหญ่ร้อยละ 54.58 เป็นขยะอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ รองลงมาร้อยละ 23.48 เป็นพลาสติกรวมทุกประเภท โดยชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำ�ขยะและวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ ร้อยละ 40.90

รูปที่ 10 การศึกษาสถานภาพด้านการจัดการขยะของเทศบาลเมืองหนองสำ�โรง (2) ศึกษาดูงานด้านการสร้างมูลค่าจากขยะมูลฝอย ผู้นำ�ชุมชนและคณะกรรมการกองทุนขยะรีไซเคิลเข้าศึกษา ดูงาน ณ ศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลของ อบจ.นครราชสีมา และศูนย์เกษตรธรรมชาติคิวเซ สระบุรี เพื่อเรียนรู้การคัด แยกขยะรีไซเคิลแต่ละประเภทเพื่อจำ�หน่าย และการทำ�ปุ๋ยหมักและน้ำ�หมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์และการทำ�เกษตร ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

33

รูปที่ 11 การศึกษาดูงานด้านการสร้างมูลค่าจากขยะมูลฝอย

รูปที่ 12 การอบรมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะและเศษวัสดุเหลือใช้เพื่อนำ�กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (4) สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และสาธิตกิจกรรม ได้แก่ ที่คัดแยกขยะรีไซเคิลแก่โรงเรียน ชุดหมักขยะในครัว เรือน คอกอิฐบล็อกหมักขยะเป็นปุ๋ยในโรงเรียนหนองสำ�โรงวิทยา เอกสารแผ่นพับ และชุดนิทรรศการเคลื่อนที่

รูปที่ 13 การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และสาธิตกิจกรรม

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

(3) จัดอบรมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะและเศษวัสดุเหลือใช้เพื่อนำ�กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ จำ�นวน 2 รุ่น ให้กับ ผู้นำ�ชุมชน ประชาชน และคณะครู นักเรียนในเขตเทศบาล จำ�นวน 175 คน


34

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

3 .2.2 การจัดการบ้านจั่นชุมชนสีเขียว โครงการบ้านจัน่ ชุมชนสีเขียว เป็นการดำ�เนินการพัฒนาศักยภาพชุมชนเข้มแข็ง และส่งเสริมชุมชนรักษ์ สิ่งแวดล้อมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำ�บลบ้านจั่น อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้ม แข็งให้กับ อปท. ชุมชน และประชาชน ในการอนุรักษ์และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน อย่างยั่งยืน เพื่อสร้างจิตสำ�นึกสิ่งแวดล้อมแก่แกนนำ�ชุมชน เยาวชน นักเรียน และประชาชน เพื่อเป็นพลังในการดูแล อนุรักษ์และส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม มีพื้นที่นำ�ร่องคือ บ้านคำ�กลิ้ง(หมู่ 3) และบ้านกลิ้งคำ�(หมู่ 10) ตำ�บลบ้านจั่น อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมต้นแบบด้านการมีส่วนร่วมใน การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดย สสภ.9 ได้ดำ�เนินกิจกรรมโครงการในด้านต่างๆ ให้แก่ อสม. แกนนำ�ชุมชนใน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านคำ�กลิ้ง (หมู่ 3) และบ้านกลิ้งคำ�(หมู่ 10) ตำ�บลบ้านจั่น อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ดังนี้ (1)จัดอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพชุมชนเข้มแข็ง และส่งเสริม ชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อม

รูปที่ 14 การอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมบ้านจั่นสีเขียว

(2)ศึกษาดูงาน การจัดการ Zero waste การทำ�แก๊สชีวภาพ และกองทุนฌาปนกิจเก็บขยะสะสมเงินทองคุ้ม ครองอนาคต เทศบาลตำ�บลพังโคน จังหวัดสกลนคร และกองทุนขยะรีไซเคิล เทศบาลเมืองหนองสำ�โรงจังหวัดอุดรธานี

รูปที่ 15 การศึกษาดูงานการจัดการบ้านจั่นสีเขียว


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

35

(3)ประชุมจัดทำ�แผนงาน/โครงการด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน บ้านคำ�กลิ้ง - บ้านกลิ้งคำ� ตามยุทธศาสตร์ชุมชน

(4)ประชุ ม บู ร ณาการแผนงาน/โครงการด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มชุ ม ชนบ้ า นคำ �กลิ้ ง -บ้ า นกลิ้ ง คำ � เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการดำ�เนินงานและพัฒนาในปี 2554 โดยส่งมอบแผนงาน/โครงการด้าน สิ่งแวดล้อมแก่องค์การบริหารส่วนตำ�บลบ้านจั่น ทั้งหมด 16 โครงการ มีโครงการที่เริ่มดำ�เนินการแล้วจำ�นวน 7 โครงการ ได้แก่ โครงการแก๊สชีวภาพโครงการธนาคารขยะชุมชน(กองทุนขยะรีไซเคิล) โครงการบ่อดักไขมันครัวเรือน โครงการบ่อบำ�บัดน้ำ�เสีย(วัดป่าบ้านคำ�กลิ้ง) โครงการทำ�ปุ๋ยหมัก โครงการปลูกพืชสมุนไพร/เรือนเพาะชำ� และโครงการปรับปรุงผังชุมชนสีเขียว/ที่สาธารณะ

รูปที่ 17 การประชุมบูรณาการแผนงาน/โครงการด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน บ้านจั่นสีเขียว

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

รูปที่ 16 การประชุมจัดทำ�แผนงาน/โครงการด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน บ้านจั่นสีเขียว


36

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

3.3 การเสริมสร้างการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม

สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 ได้ดำ�เนินการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ สิ่งแวดล้อม โดยได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นต้นแบบในการจัดการของเสียตาม แนวเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด คือ จังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม โดยภายใน ศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี มีการถ่ายทอดความรู้ต้นแบบ ดังนี้

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

การคัดแยกขยะ

บ่อหมัก Biogas จากของเสีย

ถังหมัก Biogas

บ่อบำ�บัดสิ่งปฏิกูล

เครื่องย่อยใบไม้แรงคน

ธนาคารขยะชุมชน

บ่อหมักปุ๋ยใบไม

เครื่องอัดปุ๋ยแท่ง

การกำ�จัดขยะอันตราย (หลอดไฟ)

บ่อหมัก Biogas

การกำ�จัดขยะอินทรีย์ด้วยไส้เดือนดิน

เครื่องอัดปุ๋ยเม็ด


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

37

ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียแบบร่องซึม ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียจากห้องปฏิบัติการ ระบบบำ�บัดน้ำ�เสียแบบ Wetland

ตู้อบแห้งความร้อนแสงอาทิตย์

นับตั้งแต่ดำ�เนินการศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนเมษายน 2552 เป็นต้น มา มีคณะผู้ศึกษาดูงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน จำ�นวน 22 คณะ รวมจำ�นวน 599 คน โดย สสภ.9 ได้มีการประเมินความพึงพอใจของผู้มาศึกษาดูงานจำ�นวน 72 คน พบว่า รูปแบบ เทคโนโลยีที่ผู้เข้ารับการศึกษาดูงานให้ความสนใจจากการประเมินความพึงพอใจสูงสุดคือบ่อหมักแก๊สชีวภาพจากของ เสีย อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 72.22 รองลงมาคือ บ่อปุ๋ยหมักใบไม้ คิดเป็นร้อยละ 61.11 ทั้งนี้ผู้ศึกษาดูงาน ได้นำ�เทคโนโลยีของศูนย์ฯ ไปปรับใช้ในพื้นที่แล้ว เช่น องค์การบริหารส่วนตำ�บลบ้านจั่น และโรงเรียนหนองสำ�โรงวิทยา เป็นต้น

รูปที่ 18 คณะผู้มาศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

เครื่องกลั่นน้ำ�แสงอาทิตย์ เครื่องทำ�น้ำ�ร้อนพลังแสงอาทิตย์


38

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

3.4 การส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายการมีส่วนร่วม

สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 ได้ดำ�เนินการส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายการมีส่วนร่วมในกลุ่มเครือ ข่ายต่างๆ เพื่อดำ�เนินการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 5 จังหวัดมาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1)เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทสม.) ดำ�เนินการพัฒนาศักยภาพ ทสม. มาอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่าง มีส่วนร่วมให้แก่ ทสม. ตลอดจนเป็นการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ ทสม. ซึ่งเป็นกลไกสำ�คัญในการขับเคลื่อนชุมชนในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้ ทสม. สามารถนำ�ความรู้ไปพัฒนาชุมชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปได้

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

รูปที่ 19 กิจกรรมเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2)เครือข่ายการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้แผนปฏิบัติการ 21 (Local Agenda 21 : LA 21) สำ�นักงานสิ่ง แวดล้อมภาคที่ 9 ได้ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดำ�เนินการส่งเสริมพหุภาคีในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้แผนปฏิบัติการ 21 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พหุภาคีทุกภาคส่วนในชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี ศักยภาพพึง่ พาตนเองได้ในการบริหารจัดการอนุรกั ษ์ฟืน้ ฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมในท้องถิน่ โดยกระบวนการ มีส่วนร่วมของชุมชน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 เป็นต้นมา มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมดำ�เนินการโครงการ ทั้งหมด 12 แห่ง ดังนี้ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ เทศบาลเมืองหนองสำ�โรง พื้นที่จังหวัดสกลนคร ได้แก่ เทศบาล ตำ�บลพังโคน เทศบาลตำ�บลกุดบาก เทศบาลตำ�บลคำ�ตากล้า เทศบาลตำ�บลสามัคคีพัฒนา เทศบาลตำ�บลวาริชภูมิ เทศบาลตำ�บลเชียงเครือ เทศบาลตำ�บลตองโขบ อบต.ไฮหย่อง อบต.โพนแพง และ อบต.พังโคน พื้นที่จังหวัดหนองคาย ได้แก่ เทศบาลตำ�บลโพนสา


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

39

ตลอดจน ได้รว่ มกับเครือข่ายจังหวัดสกลนคร และจังหวัดอุดรธานี ร่วมจัดงานประชุมวิชาการเครือข่ายท้องถิน่ น่าอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำ�นวน 2 ครั้ง เมื่อปี 2552 และ ปี 2553 เพื่อให้การดำ�เนินงานเมืองน่าอยู่โดยเน้นให้ ท้องถิ่นเห็นความสำ�คัญและเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการทำ�งานในลักษณะภาคีเครือข่าย

3)เครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ� ดำ�เนินการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมจากภาค ประชาชน พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมมือกันดูแลแม่น้ำ�เลยอย่างมี ส่วนร่วมและเป็นเครือข่ายประสานความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้แม่น้ำ�เลยมีคุณภาพน้ำ�ที่ดี อย่างยั่งยืน โดยจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ�แม่น้ำ�เลย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโรงเรียนจำ�นวน 12 โรงเรียน กลุ่ม แกนนำ�ชุมชนจำ�นวน 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มพื้นที่ต้นน้ำ�ในอำ�เภอภูหลวง และกลุ่มพื้นที่กลางน้ำ�ในอำ�เภอวังสะพุง และกลุ่มผู้ เลี้ยงปลากระชัง ในตำ�บลศรีสองรัก อำ�เภอเมือง

รูปที่ 21 กิจกรรมเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ�แม่น้ำ�เลย

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

รูปที่ 20 กิจกรรมเครือข่ายการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้แผนปฏิบัติการ 21


40

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

4)เครือข่ายลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ลูกเสือและเนตรนารีมีความรู้ ความ เข้าใจในการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม เสริมสร้างความตระหนักด้านสิง่ แวดล้อม และส่งเสริมการแสดง ออกทางความคิดด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเครือข่ายพลังเยาวชนในอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้คัดเลือกโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายจาก 12 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 132 คน ประกอบด้วยลูกเสือ เนตรนารี 120 คน และครู 12 คน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำ�เลย พื้นที่ต้น-กลาง-ปลายน้ำ� โดยคาดหวังให้การสร้างเครือข่าย โรงเรียนในการอนุรักษ์และการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ�แม่น้ำ�เลยครั้งนี้ สามารถดำ�เนินการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ�แม่น้ำ�เลย ต่อไปได้

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

รูปที่ 22 กิจกรรมเครือข่ายลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5)เครือข่ายสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เพื่อสร้างความ รู้ความเข้าใจ รวมทั้งเสริมสร้างจิตสำ�นึกให้กับเยาวชนในการมีส่วนร่วมจัดการ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาขยะมูลฝอยโดยการนำ�ของ เหลือใช้ ไปดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ก่อนำ�ไปกำ�จัดรวมทั้งเปิดโอกาสให้เยาวชน ได้ แ สดงความคิ ด สร้ า งสรรค์ แ ละร่ ว มทำ � กิ จ กรรมที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต่ อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งดำ�เนินงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ในปี 2553 มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ประเภทสิ่งประดิษฐ์ทั่วไป จำ�นวน 151 ทีม และประเภทเครื่องแต่งกาย จำ�นวน 68 ทีมโดยผลการตัดสินโครงการประกวด สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ปี 2553 ระดับประเทศ ผลงาน Ree Chair มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ทั่วไป ระดับ อาชีวศึกษา (ปวส.)/อุดมศึกษา


ส่วนที่สี่

ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญ (Hot Issue)


42

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

ส่วนที่ 4 : ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญ (Hot Issue) ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญในพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ลุ่มน้ำ�โขงส่วนที่ 2 และ 3) ทั้ง 5 จังหวัด พบว่ามีประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญตามลำ�ดับ ดังนี้

4.1 ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย

ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญ (Hot Issue)

4.1.1 สาเหตุสำ�คัญของปัญหา ขยะมูลฝอยยังคงเป็นปัญหาที่สำ�คัญในพื้นที่ทั้ง 5 จังหวัด ซึ่งพบว่าอัตราการผลิตขยะยังมีแนวโน้มสูง ขึ้น ตลอดจนประชาชนในชุมยังไม่ได้ให้ความสำ�คัญกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำ�เนิดอย่างจริงจัง ซึ่งสาเหตุสำ�คัญ ของปัญหาพอสรุปได้ ดังนี้ 1)การลดปริมาณขยะยังไม่มีประสิทธิภาพ โดยประชาชนบางส่วนยังไม่ให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะจาก แหล่งกำ�เนิดอย่างจริงจัง 2)การทิ้งขยะมูลฝอยทั่วไปและของเสียอันตรายปะปนกัน ทำ�ให้เกิดการปนเปื้อนของสารอันตราย ได้แก่ เชื้อโรค ของมีคม สารพิษต่างๆ เป็นต้น ออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่สัมผัส 3)วิธีการกำ�จัดขยะยังไม่เหมาะสม จากการสำ�รวจพบว่าเทศบาลที่มีการกำ�จัดขยะอย่างถูกหลักสุขาภิบาลมี เพียง 23 แห่งเท่านั้น โดยเป็นเทศบาลที่ได้ลงนามความร่วมมือไว้กับเทศบาลที่มีสถานที่กำ�จัดขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาล ทั้ง 7 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 17.42 ของเทศบาลทั้งหมดจาก 132 แห่ง ) ส่วนเทศบาลที่เหลือกำ�จัดขยะมูลฝอยด้วย วิธีที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาลคิดเป็นร้อยละ 82.58 ของเทศบาลทั้งหมดโดยมีวิธีการกำ�จัดหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะ เทกองบนพื้นแล้วเผากลางแจ้ง รองลงมาคือการเทกองกลางแจ้ง การฝังในหลุม และการกองกลางแจ้งแล้วไถกลบเป็น ครั้งคราว 4)สถานที่กำ�จัดขยะที่ถูกสุขลักษณะมีไม่เพียงพอ ปัจจุบันมีสถานที่กำ�จัดขยะที่ถูกสุขลักษณะที่ก่อสร้างแล้ว เสร็จจำ�นวน 9 แห่ง สามารถเปิดดำ�เนินการได้เพียง 7 แห่ง ส่วนอีก 2 แห่ง ไม่สามารถเปิดดำ�เนินการได้และ กำ�ลังก่อสร้างอีก 2 แห่ง โดยจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานได้ในปีงบประมาณ 2554 5)การจัดตั้งศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวม (Clustering) ตามนโยบายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ยังมีปัญหาในหลายส่วน ได้แก่ 5.1) งบลงทุนก่อสร้างสูงท้องถิน่ ต้องขอรับการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางซึง่ มีขนั้ ตอนทีค่ อ่ นข้างซับซ้อน 5.2) การจัดตั้งศูนย์จัดการมูลฝอยรวมต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างค่อนข้างมาก 5.3) กระแสการต่อต้านของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งไม่ต้องการให้มีระบบกำ�จัดขยะอยู่ในพื้นที่ของตนเอง 4.1.2 ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข จากการดำ�เนินงานที่ผ่านมาพบว่ามีปัญหาอุปสรรคที่สำ�คัญพอสรุปได้ ดังนี้ 1)การลงทุนในการก่อสร้างศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวมต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงซึ่งเกินศักยภาพของ ท้องถิ่น จึงจำ�เป็นต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลาง โดยผ่านแผนปฏิบัติการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระดับจังหวัด ซึ่งงบประมาณในแต่ละปีมีจำ�นวนจำ�กัด จึงไม่ทันต่อความต้องการของท้องถิ่น ดังนั้น ท้องถิ่นที่เป็นแกนนำ� จึงควรวางแผนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 ปี ก่อนการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 2)การจัดตั้งเป็นศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวมต้องใช้พื้นที่ในการก่อสร้างค่อนข้างมาก (ประมาณ 50 ไร่ ขึ้นไป) ซึ่งท้องถิ่นที่เป็นแกนนำ�หลายแห่งยังมีปัญหาในการหาสถานที่ที่เหมาะสม จึงควรร่วมมือกับท้องถิ่นใกล้เคียงในกลุ่ม เดียวกันจัดหาสถานที่สาธารณประโยชน์เตรียมไว้ เนื่องจากขั้นตอนการขอใช้ประโยชน์ที่ดินต้องใช้เวลามากพอสมควร


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

43

รูปที่ 23 สภาพปัญหาการจัดการขยะในพื้นที่

ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญ (Hot Issue)

3) การต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ ซึ่งไม่ต้องการให้มีสถานที่กำ�จัดขยะในพื้นที่ของตนเอง จึงควรรับฟัง ความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วม ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่โดยอาศัยความร่วม มือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาค สำ�นักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำ�นักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เป็นต้น 4)การเตรียมการในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลางนั้น ท้องถิ่นต้องใช้งบประมาณของ ตนเองในการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด (Feasibility Study & Detail Design : FS & DD) ของ ศูนย์ฯ จึงทำ�ให้หลายท้องถิ่นไม่ยอมลงทุนในการศึกษา FS & DD ซึ่งผลการศึกษา FS & DD ที่มีคุณภาพจะทำ�ให้มีโอกาส ผ่านการพิจารณาเพื่อให้การสนับสนุนงบประมาณมากขึ้น ดังนั้น ท้องถิ่นจึงควรคัดเลือกทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ และผลงานที่น่าเชื่อถือเป็นผู้ทำ�การศึกษา 5)ส่งเสริมการลดปริมาณขยะจากแหล่งกำ�เนิดในทุกท้องถิ่น เพื่อให้มีการคัดแยกขยะตามหลัก 5R และส่งเสริม สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุที่สามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ 6) ทีผ่ า่ นมาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ของจังหวัดต่างๆ ซึง่ ได้ลงนามความร่วมมือไว้ยงั ไม่ได้เข้ามามีสว่ น ร่วมในการดำ�เนินงาน ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการดำ�เนินการของศูนย์จัดการขยะ ทั้งในการจัดประชุมคัดเลือกพื้นที่ สนับสนุนการศึกษา FS/ DD ตลอดจนการบริหารจัดการศูนย์ฯ


44

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

4.2 ปัญหาคุณภาพน้ำ�เสื่อมโทรม

คุณภาพน้ำ�ในแม่น้ำ�สายหลักบางสายจัดอยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำ�ในระดับเสื่อมโทรมติดต่อกันมาหลาย ปี โดยเฉพาะในจุดที่อยู่ติดกับชุมชน ได้แก่ แม่น้ำ�เลย ลำ�น้ำ�ห้วยหลวง แม่น้ำ�สงครามบางช่วง ทั้งนี้เนื่องมาจากสาเหตุ ต่างๆ ดังนี้ 1)การปล่อยน้�ำ เสียจากชุมชนลงสูแ่ หล่งน้�ำ ทัง้ นีเ้ นือ่ งมาจากไม่มรี ะบบบำ�บัดน้�ำ เสียของชุมชนรองรับก่อนปล่อย ออกสู่แหล่งน้ำ� ได้แก่ แม่น้ำ�เลยซึ่งไหลผ่านชุมชนเกือบตลอดทั่วทั้งลำ�น้ำ�ทำ�ให้คุณภาพน้ำ�ตั้งแต่กลางน้ำ�ถึงท้ายน้ำ�ก่อน ไหลลงสู่แม่น้ำ�โขงเสื่อมโทรมตลอดทั้งปี ส่งผลให้มีสัตว์น้ำ�ตายเกือบทุกปี 2)การชะล้างพังทลายของดิน ทำ�ให้น้ำ�มีค่าความขุ่นสูงผิดปกติโดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูฝน และช่วงที่มีฝนตกชุก 3)ปริมาณน้�ำ น้อยในฤดูแล้ง ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากลำ�น้�ำ ส่วนใหญ่ตนื่ เขินจากการทับถมของตะกอน ประชาชนต้องทำ�ฝาย กักเก็บน้ำ�ไว้ใช้ในฤดูแล้ง ทำ�ให้น้ำ�นิ่ง ไม่ไหล เกิดการสะสมของสารอินทรีย์ เกิดสาหร่ายบลูมและน้ำ�เสียได้ 4)มีสิ่งกีดขวางการไหลของน้ำ� เนื่องจากมีการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำ�ลำ�น้ำ� กิ่งไม้ พืชลอยน้ำ� เช่น ผักตบชะวา การเลี้ยงปลาในกระชังในลำ�น้ำ� เป็นต้น

ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญ (Hot Issue)

รูปที่ 24 สภาพแม่น้ำ�ลำ�คลองในพื้นที่


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

45

4.3 ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนด้านสิ่งแวดล้อม

เรื่องร้องเรียนด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขง ในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ที่มีการร้องเรียน ผ่านเข้าสู่กระบวนการ รวมทั้งสิ้น 17 เรื่อง โดยปัญหามลพิษที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด คือ ปัญหามลพิษทางน้ำ�/น้ำ� เสีย คิดเป็นร้อยละ 47.06 รองลงมาคือ ปัญหามลพิษทางอากาศ คิดเป็นร้อยละ 23.53 ขยะ 5.88 มลพิษทางเสียง 17.65

มลพิษทางน้ำ�/ น้ำ�เสีย 47.06

กลิ่นเหม็น 5.88

รูปที่ 25 สัดส่วนประเภทปัญหามลพิษที่มีการร้องเรียน ปี 2553 เมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 พบว่า จังหวัดอุดรธานี มีเรื่องร้องเรียน มากที่สุด จำ�นวน 7 เรื่อง รองลงมาคือจังหวัดเลยจำ�นวน 6 เรื่อง จังหวัดสกลนครจำ�นวน 2 เรื่อง ส่วนจังหวัด หนองคายและจังหวัดนครพนม มีเพียงจังหวัดละ 1 เรื่อง โดยปัญหาเรื่องร้องเรียนส่วนใหญ่เกิดจากมลพิษ ทางน้ำ�คือปัญหาน้ำ�เน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวน

2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 (พ.ศ.)

ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญ (Hot Issue)

อากาศ 23.53


46

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

รูปที่ 26 กราฟแสดงแนวโน้มจำ�นวนเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ สสภ.9 ปี 2547-2553 เมื่อพิจารณาจากจำ�นวนเรื่องที่ สสภ.9 ได้รับร้องเรียน พบว่า จากเรื่องร้องเรียนที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ในปี 25472550 มีแนวโน้มลดลงมาใน ปี 2551-2552 เพราะ ทสจ. สามารถดำ�เนินการตรวจสอบให้คำ�แนะนำ�เพื่อแก้ไขปัญหา ได้เอง ส่วนในปี 2553 มีจำ�นวนเรื่องร้องเรียนเพิ่มขึ้นจากปี 2552 จำ�นวน 4 เรื่อง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเรื่องร้องเรียน ในปี 2553 ต้องใช้เครื่องมือตรวจวัดและความเชี่ยวชาญทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น ตารางที่ 29 ข้อมูลเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหามลพิษที่ผ่านเข้าสู่กระบวนการดำ�เนินการ ของสสภ.9 แยกตาม ประเภทปัญหามลพิษ ปี 2553

ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญ (Hot Issue)

ประเภทมลพิษ

จำ�นวน (เรื่อง)

คิดเป็นร้อยละ

มลพิษทางน้ำ�/น้ำ�เสีย มลพิษทางอากาศ กลิ่นเหม็น มลพิษทางเสียง ขยะและสิ่งปฏิกูล รวมทั้งหมด

8 4 1 3 1 17

47.06 23.53 5.88 17.67 5.88 100.00

เลย 4 2 6

อุดรธานี 4 2 1 7

จังหวัด หนองคาย 1 1

สกลนคร 1 1 2

นครพนม 1 1

จากการเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลัง เรื่องร้องเรียนที่ผ่านเข้าสู่กระบวนการของ สสภ.9 นับตั้งแต่ปี พ.ศ.25472553 พบว่า ส่วนใหญ่ยังคงเป็นปัญหาเรื่องน้ำ�เสีย รองลงมา คือ ปัญหามลพิษทางอากาศ และมีแนวโน้มของจำ�นวน เรื่องร้องเรียนเพิ่มขึ้นจากปี 2552 จำ�นวน 5 เรื่อง

รูปที่ 27 ร้อยละประเภทปัญหามลพิษที่มีการร้องเรียน ในพื้นที่ สสภ.9 ปี 2553


ส่วนที่ห้า

สิ่งแวดล้อมในพื้นที่วิกฤต (Hot spot)


48

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

ส่วนที่ 5 : สิ่งแวดล้อมในพื้นที่วิกฤต (Hot spot) 5.1 สถานการณ์การเฝ้าระวังผลกระทบบริเวณพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ� จังหวัดเลย

ตำ�บลเขาหลวง เป็นตำ�บลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำ�เภอวังสะพุงอยู่ห่างจากอำ�เภอวังสะพุง ประมาณ 15 กิโลเมตร ประกอบไปด้วย 13 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งหมด 9,674 คน 2,727 ครัวเรือน โดยมี 6 หมู่บ้าน ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ� ได้แก่ บ้านนาหนองบง บ้านภูทับฟ้าพัฒนา บ้านห้วยผูก บ้านกกสะทอน บ้านโนนผาผุงพัฒนา และบ้านแก่งหิน

สิ่งแวดล้อมในพื้นที่วิกฤต (Hot spot)

รูปที่ 28 บริเวณพื้นที่โครงการและชุมชนโดยรอบเหมืองแร่ทองคำ� ภูทับฟ้า และภูซำ�ป่าคาว (ภูเหล็ก) ตำ�บลเขาหลวง อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย มีพื้นที่ที่ได้รับประทานบัตรเพื่อ ดำ�เนินกิจการทำ�เหมืองแร่ทองคำ�ของ บริษัท ทุ่งคำ� จำ�กัด จำ�นวน 6 แปลง พื้นที่ 1,038 ไร่ 3 งาน มูลค่าสูงสุด 1,053.7 ล้านบาท มีกำ�ลังการผลิตที่ประมาณ 1,200-1,500 ตันต่อวัน โดยทำ�เหมืองด้วยวิธีเหมืองหาบและต้องใช้สารไซยาไนด์ ในกระบวนการแยกแร่ ซึ่งวิธีการทำ�เหมืองหาบ (Open pit) คือการเปิดหน้าดินแบบขั้นบันไดโดยการขุดหรือเจาะ ระเบิดเพื่อเอาสินแร่ออกมา จากนั้นจะลำ�เลียงสินแร่ที่ได้ไปกองไว้บริเวณกองแร่ เพื่อทำ�การบดย่อยแร่ให้ได้ตามขนาด ที่ต้องการ ส่วนหินและดินที่ไม่มีแร่ (Waste rock) จะนำ�ไปกองรวมกันไว้ที่กองมูลดินทราย สินแร่ที่ผ่านการบดอย่างละเอียดจะเข้าสู่กระบวนการแต่งแร่ โดยอยู่ในรูปของสินแร่ปนน้ำ� (Pulp) มีเติมปูนขาว เพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง จากนั้นเติมสารไซยาไนด์เพื่อละลายทองคำ� และเติม Activited carbon เพื่อให้คาร์บอน ไปจับทองคำ�ออกมาจากสารละลายไซยาไนด์


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

49

ส่วนของคาร์บอนที่จับทองคำ�จะถูกแยกออกมาโดยใช้ตะแกรง ส่วนที่เหลือจะเป็นกากแร่ปนน้ำ�จะถูกส่งไป ยังถังเกรอะ ตะกอนที่อยู่ด้านล่างจะถูกสูบต่อไปยังถังบำ�บัดกากแร่เพื่อแยกไซยาไนด์ จากนั้นกากแร่จะถูกส่งต่อไปยัง บ่อกักเก็บกากแร่ ทั้งนี้การแยกทองคำ�ออกมาจากผิวของคาร์บอนจะมีการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์และโซเดียมไซยาไนด์ เพื่อละลายทองคำ�ออกมาจากคาร์บอน จากนั้นเข้าสู่การแยกทองคำ�ออกจากสารละลายด้วยวิธีการทางไฟฟ้า (Electroplating) ทองที่ได้จะนำ�ไปหลอมเป็นทองคำ�แท่ง ซึ่งจะยังมีสารเจือปนอยู่ จากนั้นจะส่งไปยังฮ่องกงเพื่อทำ�ให้บริสุทธิ์ อีกครั้งหนึ่งจึงจะได้ทองคำ�บริสุทธิ์ 99.99 % สำ�หรับจำ�หน่าย /1 การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ�บริเวณพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ� สสภ.9 ได้ด�ำ เนินโครงการศึกษาการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมบริเวณพืน้ ทีเ่ หมืองแร่ทองคำ�เพือ่ เป็นดัชนี ชี้วัดเปรียบเทียบ ในระยะก่อนดำ�เนินโครงการ กับระยะที่มีการดำ�เนินโครงการ โดยการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ�ในแหล่ง น้ำ�ธรรมชาติที่เป็นลำ�น้ำ�สาขาของแม่น้ำ�เลยคือ ลำ�ห้วยฮวย และลำ�ห้วยผุก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547-2549 และปี พ.ศ.2551 รวมระยะเวลา 4 ปี ซึ่งบริษัทได้เริ่มประกอบโลหกรรมประมาณเดือนพฤษภาคม 2549 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ� พบว่า คุณภาพน้ำ�ในลำ�ห้วยฮวยเฉลี่ยตลอดทั้งลำ�น้ำ�มีคุณภาพ ดีเสื่อมโทรม มีค่าแมงกานีส (Mn) ค่อนข้างสูง โดยในปีแรกที่ทำ�การศึกษามีค่าแมงกานีสสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานทุกสถานี ส่วนไซยาไนด์ก็มีค่าสูงเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2549 มีค่าสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน ในสถานีที่ 3 และ 4 คือ 0.03 และ 0.02 mg/l ตามลำ�ดับ (ค่ามาตรฐาน 0.005 mg/l) ซึ่งทั้ง 2 สถานีอยู่ใกล้กับบริเวณพื้นที่ทำ�เหมือง

/1

สำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ “เปลี่ยนไป เลย” เมษายน 2553.

สิ่งแวดล้อมในพื้นที่วิกฤต (Hot spot)

รูปที่ 29 ขั้นตอนการแต่งแร่ในการทำ�เหมืองแร่ทองคำ�


50

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

9 8 7 6

พ.ศ.2547

5

พ.ศ.2548

4

พ.ศ.2549

3

พ.ศ.2551

2 1 0 สถานีที่ 1

สถานีที่ 2

สถานีที่ 3

สถานีที่ 4

สถานีที่ 5

คามาตรฐาน 1.0 มล./ล. คุณภาพน้ําในแหลง น้ําผิวดิน

รูปที่ 30 ค่าแมงกานีส (Mn)โดยเฉลี่ยที่พบในลำ�ห้วยฮวย ปี 2547-2549 และปี 2551 0.06 0.05 0.04

พ.ศ.2547 พ.ศ.2548

0.03

สิ่งแวดล้อมในพื้นที่วิกฤต (Hot spot)

พ.ศ.2549

0.02

พ.ศ.2551

0.01

คามาตรฐาน 0.005 มล./ล. คุณภาพ น้ําในแหลงน้ําผิวดิน

0 สถานีที่ 1

สถานีที่ 2

สถานีที่ 3

สถานีที่ 4

สถานีที่ 5

รูปที่ 31 ค่าไซยาไนด์ (Cyanide) โดยเฉลี่ยที่พบในลำ�ห้วยฮวย ปี 2547-2549 และปี 2551 0.01 0.009 0.008 0.007

พ.ศ.2547

0.006

พ.ศ.2548

0.005

พ.ศ.2549

0.004

พ.ศ.2551

0.003 0.002 0.001 0 สถานีที่ 1

สถานีที่ 2

สถานีที่ 3

สถานีที่ 4

สถานีที่ 5

คามาตรฐาน 0.005 มล./ล. คุณภาพ น้ําในแหลงน้ําผิวดิน

รูปที่ 32 ค่าแคดเมียม (Cd) โดยเฉลี่ยที่พบในลำ�ห้วยฮวย ปี 2547-2549 และปี 2551 0.05 0.045 0.04 0.035

พ.ศ.2547

0.03

พ.ศ.2548

0.025

พ.ศ.2549

0.02

พ.ศ.2551

0.015 0.01 0.005 0 สถานีที่ 1

สถานีที่ 2

สถานีที่ 3

สถานีที่ 4

สถานีที่ 5

คามาตรฐาน 0.05 มล./ล. คุณภาพ น้ําในแหลงน้ําผิวดิน

รูปที่ 33 ค่าตะกั่ว (Pb)โดยเฉลี่ยที่พบในลำ�ห้วยฮวย ปี 2547-2549 และปี 2551


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

51

0.01 0.009 0.008 0.007

พ.ศ.2547

0.006

พ.ศ.2548

0.005

พ.ศ.2549

0.004

พ.ศ.2551

0.003 0.002 0.001 0 สถานีที่ 1

สถานีที่ 2

สถานีที่ 3

สถานีที่ 4

สถานีที่ 5

คามาตรฐาน 0.01 มล./ล. คุณภาพน้ําในแหลงน้ํา ผิวดิน

รูปที่ 34 ค่าสารหนู (As) โดยเฉลี่ยที่พบในลำ�ห้วยฮวย ปี 2547-2549 และปี 2551

รูปที่ 35 การตรวจสอบคุณภาพน้ำ�บริเวณรอบเหมืองแร่ทองคำ�ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ

สิ่งแวดล้อมในพื้นที่วิกฤต (Hot spot)

ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ� (สสภ.9) พบว่าในบางครั้งและบางปีมีค่าไซยาไนด์สูง โดยเฉพาะในปี 2549 บริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ทำ�เหมืองแร่ทองคำ�แต่ยังมิอาจสรุปได้อย่างชัดเจนว่าไซยาไนด์ที่สูงเกินมาตรฐานคุณภาพ น้ำ�ในแหล่งน้ำ�ผิวดินนั้น เกิดจากจากกิจกรรมของโครงการเหมืองแร่ทองคำ� เกิดจากธรรมชาติหรือเกิดจากการเกษตร และ สสภ.9 ไม่ได้ทำ�การศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมด้วย ซึ่งหากพิจารณาค่าของแมงกานีสอาจเกิดจากสภาพตาม ธรรมชาติของพื้นที่นี้มีค่าแมงกานีสค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำ�ของหน่วยงานต่างๆ ดังนี้ • มิถุนายน 2551 : กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ตรวจพบ โลหะหนักมีค่าเกินเกณฑ์อนุโลมสูงสุด ได้แก่ - สารหนู (As) ในน้ำ�ผิวดินลำ�ห้วยเหล็ก - แมงกานีส (Mn) ในลำ�น้ำ�ฮวยบริเวณหน้าเหมือง, บ้านนาหนองบง บริเวณเหนือฝายน้ำ�ล้นห้วยผุก, ปากห้วยผุก และลำ�คลองถนนหน้าเหมือง - แคดเมียม (Cd) ในบ่อน้ำ�ตื้นและน้ำ�ประปาบาดาล บ้านนาหนองบง หมู่ 3 • มกราคม 2552 : คพ. ตรวจพบ สารหนูในห้วยเหล็ก และแคดเมียม ในน้ำ�ประปาบาดาล บ้านนาหนองบงมีค่า เกินเกณฑ์อนุโลมสูงสุด • มีนาคม 2553 : คพ. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และกรมทรัพยากรน้ำ�บาดาล (ทบ.) ตรวจพบ สารหนู แคดเมียม ทองแดง และแมงกานีส บริเวณบ่อน้ำ�ซึมใกล้บ่อเก็บกากแร่ มีค่าเกินเกณฑ์ มาตรฐานคุณภาพน้ำ�ในแหล่งน้ำ�ผิวดิน


52

สิ่งแวดล้อมในพื้นที่วิกฤต (Hot spot)

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

• กรกฎาคม 2553 : คพ. กพร. และ ทบ. (เฉพาะน้ำ�บาดาล) ตรวจพบ - สารหนู ในห้วยเหล็ก - แมงกานีส ในห้วยผุกบริเวณถนนหน้าเหมือง - สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว และแมงกานีส มีค่าเกินเกณฑ์อนุโลมสูงสุด ในบ่อสังเกตการณ์ ภายในเหมือง ซึ่งอยู่ ใกล้กับบ่อกักเก็บกากแร่อาจมีการรั่วไหลออกมาจากบ่อเก็บกาก - เหล็ก มีค่าเกินมาตรฐานน้ำ�บาดาลประปาบาดาล บ้านนาหนองบงและประปาบาดาลบ้านห้วยเหล็ก

อนึ่ง ปัญหาที่สำ�คัญประการหนึ่งของการทำ�เหมืองแร่ คือ Acid Mine Drainage (ADM) หรือน้ำ�ทิ้งสภาวะกรด เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เมื่อหินทิ้ง (Waste rock) ที่มีแร่ซัลไฟด์เป็นองค์ประกอบ สัมผัสกับอากาศ และน้ำ� จะเกิดกรดซัลฟิวริก ซึ่งสามารถชะเอาโลหะหนักที่มีอยู่ในหินทิ้ง อาทิ สารหนู โคบอล ทองแดง แคดเมียม ตะกั่ว เงิน สังกะสี ออกสู่ภายนอก หากไม่มีการจัดการที่ดีอาจทำ�ให้โลหะแพร่กระจายลงในแหล่งน้ำ�ใกล้เคียงได้ ถือเป็นปัญหา สำ�คัญอีกอย่างหนึ่งของการทำ�เหมือง ไม่ว่าจะเป็นการทำ�เหมืองทองคำ� หรือเหมืองอื่นๆก็ตาม ทั้งนี้ รวมถึงปัญหา ทีเ่ ป็นพืน้ ทีม่ ศี กั ยภาพแร่ถกู ขุดหรือเปิดหน้าดิน หรือบางแห่งมีการซือ้ -ขายแร่โดยไม่ได้มใี บประทานบัตร หรือเหมืองเถือ่ น ก็อาจพบปัญหา AMD เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ในอนาคต

รูปที่ 36 แผนผังจุดเก็บตัวอย่างน้ำ�บริเวณพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ� จังหวัดเลย


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

53

5.2 การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ� บริเวณพื้นที่ป่าคำ�ชะโนด จังหวัดอุดรธานี

รูปที่ 37 สภาพทั่วไปบริเวณพื้นที่ป่าคำ�ชะโนด จ.อุดรธานี วันที่ 21 กันยายน 2553

สิ่งแวดล้อมในพื้นที่วิกฤต (Hot spot)

พื้นที่ผลิตเกลือสินเธาว์ อำ�เภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 4 ตำ�บล ได้แก่ ศรีสุทโธ บ้านดุง บ้านชัย และโพนสูง ประกอบกิจการผลิตเกลือตาก และมีทำ�เกลือต้มบ้างเล็กน้อย สภาพทั่วไปเป็นที่โล่งตั้งอยู่ สองฝั่งถนนสายบ้านดุง-บ้านม่วง (ทางหลวงหมายเลข 2096) มีลำ�ห้วยธรรมชาติไหลผ่านพื้นที่ผลิตเกลือ ได้แก่ ลำ�ห้วยธง ลำ�ห้วยทวน ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำ�ท่ามะนาว ก่อนไหลผ่านพื้นที่ใกล้เคียงกับป่าพรุ “คำ�ชะโนด” และไหลลงสู่แม่น้ำ�สงคราม ตามลำ�ดับ โดยมีแหล่งน้ำ�ข้างเคียงที่เป็นจุดอ้างอิงอยู่ใกล้กับพื้นที่ผลิตเกลือ ได้แก่ ลำ�ห้วยปลาโด ในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (สสภ.9) ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ดำ�เนิน การติดตามตรวจสอบปัญหาน้ำ�กร่อยจากเหมืองเกลือในอำ�เภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่มีผลกระทบต่อพื้นที่ป่า คำ�ชะโนด โดย สสภ.9 ได้ร่วมดำ�เนินการสำ�รวจพื้นที่และทำ�การตรวจวัดคุณภาพน้ำ� ตามจุดเก็บตัวอย่างน้ำ�ของ สสภ.9 จำ�นวน 10 จุด จำ�นวน 3 ครั้ง คือ • ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 15-19 มีนาคม 2553 • ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 12-16 กรกฎาคม 2553 • ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 20-24 กันยายน 2553 จากการเก็บตัวอย่างน้ำ�เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ� สสภ.9 และ คพ. ครั้งที่ 2 โดยใช้ค่าการนำ�ไฟฟ้ามาเปรียบ เทียบตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำ�เพื่อการชลประทาน สหรัฐอเมริกา USSL.(US. Salinity Laboratory Staff. 1954) สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพน้ำ�ในห้วยปลาโด ซึง่ เป็นจุดอ้างอิงทีไ่ ม่ได้ไหลผ่านพืน้ ทีน่ าเกลือ ท�ำ การตรวจวัดบริเวณก่อนไหลลงสู่ ลำ�ห้วยทวน จัดอยู่ในคุณภาพชั้นน้ำ�ที่ 1 คือ น้ำ�ที่มีเกลือละลายอยู่ต่ำ� (0-250 ไมโครโมห์/ซม.) ใช้ได้กับพืชส่วนมาก ไม่เสี่ยงต่อการเกิดดินเค็ม ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากการผลิตนาเกลือแต่อย่างใด 2.คุณภาพน้�ำ ในลำ�ห้วยธง ได้รบั ผลกระทบจากการผลิตนาเกลือบ้านดุงโดยตรงเนือ่ งจากมีคา่ การนำ�ไฟฟ้าจัดอยู่ ในคุณภาพน้ำ�ชั้นที่4 คือ น้ำ�ที่มีเกลือละลายอยู่สูงมาก (>2,250 ไมโครโมห์/เซนติเมตร)ไม่เหมาะสมกับการชลประทาน 3. คุณภาพน้ำ�ในลำ�ห้วยทวน ได้รับผลกระทบจากการผลิตนาเกลือโพนสูง-ฝาง เนื่องจากทุกจุดเก็บตัวอย่างน้ำ� มีค่าการนำ�ไฟฟ้าสูงมาก จัดอยู่ในคุณภาพน้ำ�ชั้นที่ 4 โดยเฉพาะลำ�ห้วยทวนที่ติดกับนาเกลือบ้านโพนสูง-ฝาง ซึ่งได้รับ ผลกระทบโดยตรงก่อนไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำ�ท่ามะนาว ทำ�ให้อ่างเก็บน้ำ�ท่ามะนาวซึ่งเป็นแหล่งรองรับน้ำ�จากลำ�ห้วยธง และลำ�ห้วยทวนได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน เมื่อไหลผ่านบริเวณพื้นที่ใกล้ป่าคำ�ชะโนด ยังคงพบว่ามีค่าการนำ�ไฟฟ้าสูง 4. คุณภาพน้ำ�ในแม่น้ำ�สงคราม ได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย จัดอยู่ในคุณภาพน้ำ�ชั้นที่ 2 และ 3 กล่าวคือ คุณภาพน้ำ�ชั้นที่ 2 เป็นน้ำ�ที่มีเกลือละลายอยู่ปานกลาง (251-750 ไมโครโมห์/เซนติเมตร) ใช้ได้กับพืชที่ทนเค็มระดับ ปานกลาง โดยไม่ต้องมีการจัดการพิเศษ และคุณภาพน้ำ�ชั้นที่ 3 เป็นน้ำ�ที่มีเกลือละลายอยู่สูง (751-2,250 ไมโครโมห์/ เซนติเมตร.) ไม่สามารถใช้กับดินที่มีการระบายน้ำ�ที่เลว หรือใช้ปลูกพืชทนเค็ม


54

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

อย่างไรก็ตาม จากผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ�ฯ ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อพื้นที่ ป่าคำ�ชะโนดเกิดจากความเค็มของน้ำ�ที่มาจากการผลิตเกลือ เนื่องจาก ยังมีปัจจัยอีกหลายด้านที่อาจจะส่งผลต่อพื้นที่ คำ�ชะโนดได้เช่นกัน ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ การพัฒนาพื้นที่ของ อปท. เป็นต้น จึงจำ�เป็นต้อง มีการศึกษา/วิจัย เพื่อหาข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม เช่น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของคำ�ชะโนด การพัฒนาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ รวมถึงการจัดเวทีชาวบ้านเพื่อรับฟังข้อมูล ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการดำ�เนินการเพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนต่อไป

สิ่งแวดล้อมในพื้นที่วิกฤต (Hot spot)

รูปที่ 38 แผนผังการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ�บริเวณพื้นที่ผลิตเกลือสินเธาว์ จังหวัดอุดรธานี


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

55

นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและรับฟัง ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการเกลือสินเธาว์ อำ�เภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2553 ณ ห้องประชุมราชพฤษ์ โรงพยาบาลสมเด็จพยุพราชบ้านดุง อำ�เภอบ้านดุง โดย ผอ.สสภ.9 ได้นำ� เสนอเกีย่ วกับผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ ในพืน้ ทีผ่ ลิตเกลือ จากการเฝ้าระวังผลกระทบสิง่ แวดล้อมในพืน้ ทีท่ เี่ กิดขึน้ พบว่า สาเหตุ ที่ทำ�ให้เกิดผลกระทบจากการประกอบการเกลือ ส่วนใหญ่ คือ การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตทำ�ให้ เกิดการแพร่กระจายของน้ำ�เค็มไหลลงสู่แหล่งน้ำ�ธรรมชาติส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร โดย คณะกรรมาธิการฯ ได้กำ�ชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดำ�เนินการติดตามตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเป็น รูปธรรมและยั่งยืนต่อไป

สิ่งแวดล้อมในพื้นที่วิกฤต (Hot spot)

รูปที่ 39 คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ลงพื้นที่ผลิตเกลือสินเธาว์ จังหวัดอุดรธานี


รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

ส่วนที่หก

จัดลำ�ดับความสำ�คัญของปัญหาในพื้นที่


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

57

ส่วนที่ 6: จัดลำ�ดับความสำ�คัญของปัญหาในพื้นที่ สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 ได้จัดลำ�ดับความสำ�คัญของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ที่เห็นควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ดังนี้

ตารางที่ 30 ประเด็นปัญหาเร่งด่วนและแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่

จังหวัด

ประเด็นปัญหาเร่งด่วน

แนวทางแก้ไข

การพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำ� หนองหานกุมภวาปี

- ควรทำ�การศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ในภาพรวมของโครงการ พัฒนาก่อนที่จะมีการดำ�เนินการในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันมีการแนวทางการ ดำ�เนินโครงการจากหน่วยงานต่างๆ จำ�นวนมากที่จะเข้ามาดำ�เนินการใน พื้นที่หนองหานกุมภวาปี ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้อง และอาจเป็นโครงการ ที่ซ้อนทับกันได้ โดยจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ชุ่มน้ำ� หนองหานกุมภวาปีโดยรวมด้วย

หนองคาย

การคัดค้านการใช้สถานที่กำ�จัดขยะ เทศบาลเมืองหนองคาย

- ควรมีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และประชาสัมพันธ์ทำ�ความเข้าใจกับ ประชาชนโดยรอบพื้นที่ - ควรมีการรณรงค์ลด คัดแยกขยะมูลฝอยที่จะนำ�เข้ากำ�จัด เพื่อลดปัญหา ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นตามมา - ดำ�เนินการบริหารจัดการสถานที่กำ�จัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องตามหลัก วิชาการ

สกลนคร

- อปท. ควรมีการกำ�กับดูแลเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจนำ�ไปสู่การเกิดเรื่องร้องเรียนของ การจ้างเอกชนดำ�เนินการกำ�จัดขยะ ประชาชนรอบพื้นที่ มูลฝอยของ อปท. - อปท. ควรมีการรณรงค์ ลด คัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำ�เนิด เพื่อ ลดปริมาณขยะมูลฝอยที่นำ�เข้าสถานที่กำ�จัด

นครพนม

- รัฐ ควรมีมาตรการป้องกันและลดผลกระทบจากการสนับสนุนงบ ประมาณในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ให้มีดำ�เนินการใช้งบ ประมาณให้ตรงตามระยะเวลา - รัฐ ควรมีบทลงโทษ อปท. ที่ไม่สามารถดำ�เนินงานก่อสร้างได้ตามแผน งานที่วางไว้

เลย

อุดรธานี

การสนับสนุนงบประมาณของรัฐใน การก่อสร้างระบบบำ�บัดน้ำ�เสียขอ ง อปท.

จัดลำ�ดับความสำ�คัญของปัญหาในพื้นที่

ผลกระทบบริเวณพื้นที่เหมืองแร่ ทองคำ�

- ควรทำ�การศึกษาในรายละเอียดเพื่อหาสาเหตุที่ทำ�ให้ค่าโลหะหนักเกิน มาตรฐาน เพื่อลดความวิตกกังวลของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจำ�เป็นต้อง ใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ ใช้เวลาในการศึกษานาน และใช้งบ ประมาณค่อนข้างสูง


รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

ส่วนที่เจ็ด

ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการ


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

59

ส่วนที่ 7 : ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการ 7.1 ข้อเสนอแนะสำ�หรับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการ

ในการแก้ไขปัญหาสิง่ แวดล้อมทีผ่ า่ นมาของพืน้ ทีล่ มุ่ น้�ำ โขงในบางประเด็นปัญหาได้แก่ปัญหาการคัดค้าน การใช้สถานทีก่ �ำ จัดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองหนองคายปัญหาคัดค้านการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ� อ�ำ เภอวังสะพุง จังหวัดเลย ปัญหาการคัดค้านการดำ�เนินโครงการเหมืองแร่โพแทซ จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น ดังที่กล่าวมาแล้วในบทที่ ผ่านมา พบว่ายังไม่สามารถดำ�เนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม ถึงแม้การแก้ไขปัญหาจะได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ และเครือข่ายภาคประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ร่วมกัน ดังนั้น เพื่ อ ให้ ก ารบริ ห ารจั ด การด้ า นทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มในพื้ น ที่ ลุ่ ม น้ำ � โขงมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเพิ่ ม ขึ้ น จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1)การจัดทำ�แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมในพืน้ ทีล่ มุ่ น้ำ�โขงแบบบูรณาการ โดยการมีสว่ นร่วมของผูเ้ กีย่ วข้องจากทุกภาคส่วนได้แก่ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ที่ตั้งในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ สถาบันการศึกษา ส่วนราชการในการกำ�กับดูแลด้านยุทธศาสตร์ ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ เป็นต้น โดยดำ�เนินงานในรูปของคณะทำ�งาน 2) ในการกำ�หนดนโยบาย แผนงาน หรือโครงการพัฒนาต่างๆ ควรจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อกำ�หนดทางเลือก ร่วมกัน โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ เพื่อลดความ ขัดแย้งและสามารถดำ�เนินงานโครงการในพื้นที่ได้ นอกจากนั้นควรมีการนำ�การประเมินด้านสิ่งแวดล้อมระดับ ยุทธศาสตร์ (SEA) มาใช้ในกิจกรรมการกำ�หนดนโยบาย แผนงาน หรือการพัฒนารายสาขาให้มากที่สุด โดยเฉพาะ ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ และอาจทำ�ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม สุขภาพอนามัย และวิถีชีวิตของประชาชน 3) เสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าทีอ่ งค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม โดยการเสริมสร้างความรู้แก่ผู้ปฏิบัติด้วยรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ของปัญหาและเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 4) เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคีเครือข่ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเดิมและขยายเครือข่ายใหม่เพิ่มเติม ทั้ง ในกลุ่มเยาวชนและประชาชนในด้านการติดตาม ตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นและส่งเสริมการมี ส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ในท้องถิ่นของตนเอง 5) พัฒนาข้อมูลสารสนเทศสิง่ แวดล้อมให้ทนั สมัยและเป็นปัจจุบนั ครอบคลุมทัง้ ในด้านทรัพยากรธรรมชาติและ การจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถนำ�ข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น 6) พัฒนาเครื่องมือ/กลไกในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ได้แก่ 6.1) การจัดตั้งศูนย์บริการ/ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อให้คำ�ปรึกษาแนะนำ�เตือนภัยด้านสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชน ในพื้นที่ในรูปแบบทั้งเชิงรุกและเชิงรับ 6.2) การจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมในระดับภาค 6.3) การขับเคลื่อนการทำ�งานของคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/คณะทำ�งานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีศักยภาพในการดำ�เนินงาน โดยส่วนกลางสนับสนุนและ ผลักดันให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม


60

รายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอม...ลุ ม่ น้ำ�โขง ปี 2553 ้

7) ให้มกี ารบังคับใช้กฎหมายหรือมาตรการทีภ่ าครัฐกำ�หนดมาเพือ่ ใช้ในการบริหารจัดการด้านสิง่ แวดล้อมอย่าง เข้มงวดจริงจัง และควรมีการติดตามประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายหรือมาตรการด้านต่างๆ อยู่เสมอ รวมทั้งให้มี การปรับปรุงแก้ไขให้สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม ในการ ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายหรือมาตรการที่กำ�หนด 8) ส่วนกลางควรให้การสนับสนุนงบประมาณการศึกษาวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อ หาองค์ความรู้สำ�หรับการตัดสินใจ และงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติให้ตรงกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ พร้อมทัง้ เสริมสร้างกระบวนการศึกษาวิจยั อย่างเป็นระบบ เพือ่ ให้เกิดความร่วมมือในการวิจยั เชิงสหวิทยาการให้มากขึน้ และลดปัญหาความซ้ำ�ซ้อนของงานวิจัย

7.2 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม

ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการ

ในพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขง มีการดำ�เนินงานของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่าย ภาคประชาชน ที่มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม โดยเป็นการจัดการในเชิงพื้นที่ มีการมีส่วนร่วมของ ประชาชน และมีการสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อาทิเช่น 7.2.1 ภาคีเครือข่ายสกลนครน่าอยู่ ภาคีเครือข่ายสกลนครน่าอยู่ เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นจากการกำ�หนดวิสัยทัศน์การพัฒนาของจังหวัดว่า “ก้าวสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่ ควบคู่การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” พร้อมกำ�หนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ร่วมกัน โดยเริ่มจากการดำ�เนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นงานแรกที่จะต้องอาศัยการบูรณาการ ทัศนคติ และทักษะ การพัฒนาร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคมเพื่อเสริมแรงกัน ขับเคลื่อน การดำ�เนินการทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปภายใต้ยุทธศาสตร์ “สกลนครน่าอยู่อย่างยั่งยืน” (Clean Green & Network) เพื่อให้ชุมชน ท้องถิ่นเกิดการพัฒนาทักษะ การเสริมสร้างทัศนคติ กระบวนการคิด และพัฒนา ศักยภาพเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ผูป้ ระกอบการจนเกิดแนวร่วมขับเคลือ่ นการส่งเสริมสุขภาพการควบคุมและ ป้องกันโรค การดูแลรักษาสิง่ แวดล้อม รวมถึงการพัฒนาทุกด้านไปพร้อมๆ กันภายใต้การมีสว่ นร่วมของภาคประชาสังคม จนเกิดภาคีเครือข่ายท้องถิ่นน่าอยู่ เมืองน่าอยู่จังหวัดสกลนคร จังหวัดสกลนคร ได้ขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 2551 โดยได้ทำ�บันทึกลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย จังหวัดสกลนคร และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2551 พร้อมบูรณาการการดำ�เนินงานร่วมกัน จนส่งผลให้ งานบรรลุผลสำ�เร็จในหลายด้าน และเกิดภาคีเครือข่าย การดำ�เนินงานแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งมีการประชุมกลุ่มย่อย และดำ�เนินการร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้ท้องถิ่นเห็นความสำ�คัญ และเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการ ทำ�งานในลักษณะภาคีเครือข่ายท้องถิ่นน่าอยู่จังหวัดสกลนคร เพื่อให้การดำ�เนินงานดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบ ร้อยและมีประสิทธิภาพด้วยการทำ�งานแบบบูรณาการ และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกันของภาคี เครือข่ายท้องถิ่นน่าอยู่ จังหวัดสกลนครต่อไป ภาคีเครือข่ายสกลนครน่าอยู่ ได้มีการขับเคลื่อนเครือข่ายในด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านลดภาวะโลกร้อน ด้านการพัฒนาส้วมสาธารณะ ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการ จัดการอาหารปลอดภัย ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม ด้านการจัดการศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการ จัดการทรัพยากรน้ำ� องค์กรต้นแบบ


สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม)

61

7.2.2 เครือข่ายอินแปง เครือข่ายอินแปง เป็นเครือข่ายคนรอบป่าภูพาน 5 จังหวัด คือ จังหวัดสกลนคร นครพนม อุดรธานี กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร มี สมาชิก 58 เครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ 87 ตำ�บล เป็นการร้อยรวมใจ คนภูพานเข้ามาเป็นพี่น้องกันที่จะสร้างแนวคิดการพัฒนาชุมชนอย่าง ยั่งยืนเพื่อการพึ่งตนเองบนฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย เครือข่ายอินแปง มีแนวคิดหลัก 4 ประการ คือ

ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการ

1) การยกป่าภูพานมาไว้สวน : คือการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยจุดเริ่มต้นคือการนำ�พันธุ์ไม้พื้นบ้าน มาปลูกไว้ในสวน 2) การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เน้นการแปรรูปเพือ่ สร้างความเป็นเจ้าของ เป็นการเพิม่ มูลค่าผลผลิตและทรัพยากร ของตนเอง 3) การสร้างสถาบันการเงินและสวัสดิการชุมชน : มุง่ สร้างสถาบันการเงินของชาวนา โดยการระดมทุนออมทรัพย์ จากชุมชน มีเป้าหมายสร้างระบบสวัสดิการแก่ชุมชน เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 4) การสร้างสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน : เป็นหัวใจสำ�คัญที่สุดของอินแปง โดยการสร้างแนวคิดการพึ่งตนเอง ฐานภูมิปัญญาไท สร้างความเป็นพี่น้องเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภารกิจทั้ง 4 ประการนี้ ก่อให้เกิดการสร้างแหล่งอาหาร การเห็นคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติการแปรรูปเพื่อ เพิ่มมูลค่าการทดแทนการนำ�เข้า การเป็นเจ้าของกิจการของชุมชน การมีงานทำ�และรายได้ การสร้างระบบทุนชุมชนมี ระบบสวัสดิการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การมีความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจในภูมิปัญญาไท การมีพี่น้องสานสายสัมพันธ์ ตลอดจนมีการสืบทอดแนวคิดและอุดมการณ์สู่คนรุ่นใหม่ก่อให้เกิดการพึ่งตนเองในที่สุด


อกสารอ้างอิง

กรมการปกครอง. 2553. ข้อมูลการปกครอง. สถิติข้อมูลจังหวัด/อำ�เภอ. กระทรวงมหาดไทย. กรมการปกครอง. 2553. ข้อมูลจำ�นวนประชากรและบ้าน. กระทรวงมหาดไทย. กรมชลประทาน. 2553. รายงานข้อมูลสารสนเทศโครงการชลประทาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552. กรมทรัพยากรน้ำ�. 2547. การจัดทำ�แผนรวมในพื้นที่ลุ่มน้ำ�โขง. กรมทรัพยากรน้ำ�บาดาล. 2553. ข้อมูลพื้นฐานบ่อบาดาล กรมป่าไม้. 2552. ข้อมูลป่าสงวนแห่งชาติ กรมพัฒนาที่ดิน. 2546. พื้นที่มีปัญหาทรัพยากรดินของประเทศไทยแยกรายภาค. กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. ข้อมูลพื้นที่น้ำ�ท่วมซ้ำ�ซาก. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรมโยธาธิการและผังเมือง. 2553. ข้อมูลผังเมืองรวม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 2553. ข้อมูลจำ�นวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2553. กรมอุตุนิยมวิทยา. 2553. สภาวะอากาศของประเทศไทย พ.ศ. 2552. กรมอุตุนิยมวิทยา. 2553. สรุปลักษณะอากาศรายเดือน. สภาวะอากาศประเทศไทย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2552. รายงานข้อมูลสถิติกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 2552. การเคหะแห่งชาติ. 2552. ข้อมูลแหล่งชุมชนแออัดในเขตเทศบาล ส่วนควบคุมไฟป่า. 2553. สถิติการเกิดไฟไหม้ป่าทั่วประเทศ แยกเป็นจังหวัด ประจำ�ปีงบประมาณ 2541- 2553 (จากการรายงานจากสถานีควบคุมไฟป่า). สำ�นักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ “เปลี่ยนไป เลย” เมษายน 2553. สำ�นักงานทรัพยากรน้ำ�ภาคที่ 3. 2547. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำ�ปีงบประมาณ 2546 – 2547. สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2547. คู่มือการจัดทำ�แผนปฏิบัติการ คุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2551.


อกสารอ้างอิง (ต่อ)

สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2552. ทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ�ที่มีความสำ�คัญ ระดับนานาชาติและระดับชาติของประเทศไทย. สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9. 2553. รายงานการติดตามแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน พ.ศ.2550-2554 (เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม). กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. สำ�นักป้องกันภัยธรรมชาติและความเสี่ยงทางการเกษตร. 2553. ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งซ้ำ�ซาก. กรมพัฒนาที่ดิน. สำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9. 2553. รายงานผลการดำ�เนินงาน ประจำ�ปี 2553. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. สำ�นักสำ�รวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน. 2552. สรุปประเภทการใช้ที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน. สำ�นักอุทกวิยาและบริหารน้ำ�. 2553. พื้นที่ประสบภัยแล้งและพื้นที่เกษตรที่ได้รับความเสียหาย พ.ศ. 2552. กรมชลประทาน.


ณะผู้จัดทำ� รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำ�โขง ปี 2553

ที่ปรึกษา นายธวัช ปทุมพงษ์

ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 อุดรธานี

รวบรวม เรียบเรียง และวิเคราะห์ข้อมูล นางเรียมสงวน งิ้วงาม นางสาวณภัทร ตัง้ กิจวานิชย์

สนับสนุนข้อมูล

นางเรียมสงวน งิ้วงาม นางสาวพัชราภร ศิริจงประเสริฐ นางเกศรี คิดสุขุม นางสาวนัทธมน แฝงศรีคำ� นางสาวรจนา อินทรธิราช นายไพบูลย์ มานพ นางสาวณภัทร ตั้งกิจวานิชย์ นางสาวอัจฉรี คงศิลา นางสาวธนิกานต์ สิริจันทพันธุ์

จัดทำ�รูปเล่ม/ออกแบบปก

นายสกล กิตติวัฒนะชัย นายธนินทร์ พัฒนเศรษฐานนท์

นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการพิเศษ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการ

นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการพิเศษ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการพิเศษ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.