บทบรรณาธิการ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 ประจำ�ปี 2562
JUSTICE MAGAZINE
ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ นายธวัชชัย ไทยเขียว พันตำ�รวจเอก ดุษฎี อารยวุฒิ นายวิทยา สุริยะวงค์ พันตำ�รวจโท พงษ์ธร ธัญญสิริ
ปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
บรรณาธิการบริหาร นางสาววราภรณ์ พรประสาทศิลป์ ผู้อำ�นวยการกองกลาง กองบรรณาธิการ นางสาวชญาภา ยงค์ศรี นักประชาสัมพันธ์ชำ�นาญการ นายกิตติพัทธ์ ศรีเจริญ นักประชาสัมพันธ์ชำ�นาญการ นางสาวธิดาทิพย์ หอมมะลิ นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ นางสาวมานิตา วนิชาชีวะ นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ นางสาววรัญญา ชูเนตร นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ นางสาวพิมล สายวารีรัตน์ นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ นางสาวเสาวลักษณ์ ตั้งจิตต์วัฒนา นักประชาสัมพันธ์ นายปัญจกฤตย์ วารายานนท์ นักประชาสัมพันธ์ นางสาวอุมาภรณ์ อ่องสะอาด นักประชาสัมพันธ์ นางสาวณริสา มีแก้ว นักจัดการงานทั่วไป ฝ่ายภาพและศิลปกรรม นายกฤษดา สรวงศักดา นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำ�นาญการ นายชัชวาล ศิริสังข์ไชย เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาปฏิบัติงาน นายพิษณุ มลแก้ว เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา นายอรรถโกวิท คงยิ่ง เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา นายสุกฤษฎิ์ สุวรรณเวียง นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ฝ่ายบริหารจัดการ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ออกแบบ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) เจ้าของ สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กองบรรณาธิการวารสารยุติธรรม โทรศัพท์ 0 2141 5149 โทรสาร 0 2143 8246 สายด่วน ยุ ต ิธรรม เว็บไซต์ www.moj.go.th 1111 E-mail : prmoj@hotmail.com กด 77 Facebook : กระทรวงยุติธรรม Ministry of Justice,Thailand
128 ปี ยุติธรรมก้าวไกล เพื่อสังคมไทย ที่เท่าเทียม สวัสดีผอู้ า่ นทุกท่าน พบกันอีกครัง้ กับวารสารยุตธิ รรม ฉบั บ แรกของปี 2562 ที่ ยั ง คงเต็ ม ไปด้ ว ยเนื้ อ หาสาระ และเรื่องราวความเคลื่อนไหวในแวดวงยุติธรรม เริม่ ต้นด้วยคอลัมน์ “เรือ่ งจากปก” กระทรวงยุตธิ รรม จัดงานสถาปนากระทรวงยุติธรรม ครบรอบ 128 ปี ภายใต้ ชื่องาน “128 ปี ยุติธรรมก้าวไกล เพื่อสังคมไทยที่เท่าเทียม” เมื่ อ วั น จั น ทร์ ที่ 25 มี น าคม 2562 เพื่ อ เป็ น การร�ำลึ ก ถึ ง ความส�ำคัญของการก่อตัง้ กระทรวงยุตธิ รรม และเพือ่ ขับเคลือ่ น ภารกิจกระทรวงยุติธรรมให้เป็นองค์กรที่สามารถอ�ำนวยความ ยุติธรรม ลดความเหลื่อมล�้ำ ขจัดความทุกข์ยาก สร้างประชา สามัคคี ส่งเสริมคนดีสู่สังคม รวมถึงการน�ำเทคโนโลยีมาใช้ ในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น โดยมีเป้าหมาย เพื่อผลักดัน ประเทศไปสู่ “Thailand 4.0” ในอนาคต จากนั้นมาท�ำความรู้จักกับข้าราชการพลเรือนดีเด่น สังกัดกระทรวงยุติธรรม ประจ�ำปี 2561 ทั้ง 19 คน ที่ได้รับ ยกย่องในคุณงามความดีทไี่ ด้เสียสละท�ำงานเพือ่ ประโยชน์สงู สุด แก่ประชาชนและประเทศชาติได้ในคอลัมน์ “คนยุติธรรม” คอลัมน์ “ยุตธิ รรมเพือ่ ประชาชน” หยิบยกกรณีศกึ ษา ปัญหาหนีน้ อกระบบ ภาพสะท้อนของสังคมยิง่ มีความเหลือ่ มล�ำ้ มากเพียงใด การเอารัดเอาเปรียบยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว และ ปัญหาทีเ่ ป็นตัวเร่งให้เกิดผลกระทบรุนแรง เกิดจากการทีล่ กู หนี้ ไม่สามารถเข้าถึงความเป็นธรรม ในคอลัมน์ “ก�ำแพงมิอาจกัน้ ” น�ำเสนอเรือ่ งราวจากเรือนจ�ำชัว่ คราวดอยฮาง จังหวัดเชียงราย สังกัดเรือนจ�ำกลางเชียงรายที่เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง และยังเป็นจุด Check in ที่ส�ำคัญของนักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการ ให้ผู้ต้องขังน�ำไปปรับใช้ ได้จริงภายหลังพ้นโทษ เพือ่ เป็นการสร้างก�ำลังใจให้กบั ผูต้ อ้ งขัง และยั ง ท�ำให้ ผู ้ ต ้ อ งขั ง ได้ มี โ อกาสในการกลั บ คื น สู ่ สั ง คม ที่สามารถด�ำรงชีวิตที่พึ่งตนเองได้ ไม่หวนกลับไปกระท�ำผิดอีก ยั ง มี ส าระน่ า รู ้ อื่ น ๆ อี ก มาก อาทิ การอธิ บ าย ความแตกต่างระหว่างค�ำว่า “ความเท่าเทียม” “ความเสมอภาค” และ “ความยุติธรรมทางสังคม” ไปจนถึงเรื่องของกัญชาและ พืชกระท่อมทีก่ �ำลังเป็นประเด็นสนทนาของผูค้ นในสังคมเวลานี้ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า
หมายเหตุ : วรรณกรรม บทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารยุติธรรม เป็นผลงานของผู้เขียนโดยเฉพาะ กองบรรณาธิการไม่จำ�เป็นต้องเห็นด้วย 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 1
5/2/19 5:26 PM
วารสารยุติธรรม
สารบัญ
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 ประจำ�ปี 2562
เรื่องจากปก
กระทรวงยุติธรรม จัดงานสถาปนาครบรอบ 128 ปี “128 ปี ยุติธรรมก้าวไกล เพื่อสังคมไทยที่เท่าเทียม”
3
23 กำ�แพงมิอาจกั้น
7
น้อมนำ� “ศาสตร์พระราชา” สร้างชีวิตใหม่ในเรือนจำ�
คุ้มครองคน คุ้มครองสิทธิ มิติใหม่ ทางเลือกแห่งความยุติธรรม เพื่อความสมานฉันท์ในสังคมไทย
เรื่องเล่ายุติธรรม JUSTICE CARE : ยุติธรรมใส่ใจ
11
28
ทุกทิศทั่วยุติธรรม ภาษายุติธรรม
31
ความเท่าเทียม (Equality) ความเสมอภาค (Equity) และความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice)
33
กฎหมายสามัญประจำ�บ้าน เรื่องของ... กัญชาและพืชกระท่อม
36 16 14 26
20
ที่นี่ แจ้งวัฒนะ
2
เดินหน้ายุติธรรม
โครงการยุติธรรมอุปถัมภ์
คนยุติธรรม
ข้าราชการพลเรือนดีเด่น สังกัดกระทรวงยุติธรรม ประจำ�ปี 2561
ยุติธรรมเพื่อประชาชน
รู้ ไว้ใช่ว่า...
การลดใช้พลาสติก
39
กรณีศึกษาปัญหาหนี้นอกระบบ : อำ�นวยความยุติธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ�ได้อย่างไร?
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 2
5/2/19 5:26 PM
เรื่องจากปก
กองบรรณาธิการ
กระทรวงยุติธรรม
จัดงานสถาปนาครบรอบ 128 ปี
“128 ปี ยุติธรรมก้าวไกล เพื่ อสังคมไทยที่เท่าเทียม”
กระทรวงยุติธรรม ในฐานะองค์กรหลักด้านกระบวนการยุติธรรม ในการอ�ำนวยความยุติธรรม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพประชาชน ป้องกัน และควบคุมอาชญากรรม เร่งรัด ต้านภัยยาเสพติด บ�ำบัด แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์ผู้กระท�ำผิด สนับสนุนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ รวมทั้ ง เป็ น ศู น ย์ ก ลางในการพั ฒ นาระบบงานยุ ติ ธ รรม และกฎหมายอย่างมีเอกภาพ ทันต่อสภาวการณ์ และเป็นมาตรฐานสากล โดยยึ ด หลั ก การพั ฒ นาเครื อ ข่ า ยอาสาความร่ ว มมื อ กั บ องค์ ก รต่ า งๆ ในสังคม และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการด�ำเนินการ โดยมุ่งเน้น เรือ่ งการอ�ำนวยความยุตธิ รรม ลดความเหลือ่ มลำ�้ และสร้างความเท่าเทียม ในสังคม เพื่อให้ประชาชนทุกระดับสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และครอบคลุมทุกพื้นที่ วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 3
3 5/2/19 5:27 PM
ดังนั้น เพื่อเป็นการร�ำลึกถึงความส�ำคัญในการก่อตั้ง กระทรวงยุติธรรมที่ได้ด�ำเนินงานในฐานะเป็นองค์กรหลัก ในการอ�ำนวยความยุ ติ ธ รรมให้ กั บ ประชาชนเชื่ อ มั่ น และ เข้าถึงความยุตธิ รรมอย่างเสมอภาคและยัง่ ยืนมาจนถึงปัจจุบนั ตลอดจนเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทบาทภารกิจ อ�ำนาจ หน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ อย่างต่อเนื่อง กระทรวงยุติธรรม จึงได้จัดงานเนื่องในโอกาส วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงยุติธรรม “128 ปี ยุติธรรม ก้ า วไกล เพื่ อ สังคมไทยที่เ ท่าเทียม” เมื่อวันจั นทร์ ที่ 25 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ ชั้น 2 ศู น ย์ ร าชการเฉลิ ม พระเกี ย รติ ฯ อาคารราชบุ รี ดิ เ รกฤทธิ์ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จัน่ ตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมทั้งศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บริหารกระทรวง ยุตธิ รรม ผูแ้ ทนจากหน่วยงานต่างๆ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมงาน
4
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรม กล่าวว่า ในฐานะเป็นองค์กรหลักด้านกระบวนการ ยุตธิ รรม ในการอ�ำนวยการยุตธิ รรม คุม้ ครองสิทธิและเสรีภาพ ป้องกันและควบคุมอาชญากรรม เร่งรัด ต้านภัยยาเสพติด บ�ำบัดแก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์ผู้กระท�ำผิด สนับสนุน การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้ง เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาระบบงานยุติธรรมและกฎหมาย อย่างมีเอกภาพ โดยมุ่งเน้นการท�ำงานให้สอดรับกับนโยบาย ของรัฐบาลในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งการอ�ำนวย ความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล�้ำ และสร้างความเท่าเทียม ในสังคม เพือ่ ให้ประชาชนทุกระดับ สามารถเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และครอบคลุมทุกพื้นที่ รวมทัง้ การน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการยุตธิ รรมมากขึน้ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันไปสู่ “Thailand 4.0” ในอนาคต เพื่อเป็นการร�ำลึกถึงความส�ำคัญของการก่อตั้งกระทรวง ยุติธรรม ครบรอบ 128 ปี ในวันนี้ และเพื่อขับเคลื่อนภารกิจ กระทรวงยุติธรรมให้เป็นองค์กรที่มีความ “ยุติธรรมก้าวไกล สังคมไทยเป็นสุข” และสามารถอ�ำนวยความยุตธิ รรม ลดความ เหลื่อมล�้ำ ขจัดความทุกข์ยาก สร้างประชาสามัคคี ส่งเสริม คนดีสู่สังคม
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 4
5/2/19 5:27 PM
ประมวลภาพกิจกรรมในงาน การมอบเข็มเชิดชูเกียรติเครื่องหมาย ยุติธรรมธ�ำรง ประจ�ำปี 2562
การมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ แก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น สังกัด กระทรวงยุติธรรม ประจ�ำปี 2561
การมอบโล่ผลงานวิจัยดีเด่นของ กระทรวงยุติธรรม ประจ�ำปี 2561
การมอบโล่อาสาสมัครคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพดีเด่นระดับกรม ปี 2561
การมอบโล่และประกาศนียบัตร แก่นักเรียนแข่งขันตอบปัญหา ทางด้านกฎหมาย
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 5
5 5/2/19 5:27 PM
กิจกรรมขายทอดตลาดทรัพย์สินในคดียาเสพติด จากส�ำนักงาน ป.ป.ส.
การให้บริการท�ำบัตรประชาชน โดยส�ำนักงานปกครองและทะเบียน และส�ำนักงานเขตหลักสี่
บริจาคทรัพย์เข้ากองทุนยุติธรรม เพื่ อ เป็ น แหล่ ง เงิ น ทุ น ส� ำ หรั บ ใช้จ่ายเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชน ในการด�ำเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจ�ำเลย ในการถูกละเมิด สิทธิมนุษยชนให้เข้าถึงความเป็นธรรม ด้วยความเท่าเทียมและเสมอภาคต่อไป
6
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 6
5/2/19 5:27 PM
คุ้มครองคน คุ้มครองสิทธิ
นายธปภัค บูรณะสิงห์ ผู้อำ�นวยการกองส่งเสริมการระงับข้อพิพาท
กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง สำ�หรับใช้ในการรักษาและอำ�นวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรม ไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไป ให้ถึงศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุและผลตามความเป็นจริงด้วย พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ 33 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันที่ 29 ตุลาคม 2524
มิติใหม่
ทางเลือกแห่งความยุติธรรม เพื่อความสมานฉันท์ในสังคมไทย กระบวนการยุ ติ ธ รรมทางแพ่ ง และทางอาญา ของประเทศไทยโดยส่ ว นใหญ่ แ ล้ ว ใช้ วิ ธี พิ จ ารณาคดี ระบบกล่ า วหา (Accusatorial System) ซึ่ ง เป็ น หน้ า ที่ ของคู่กรณีผู้ยื่นฟ้องคดี ต้องนำ�พยานหลักฐานมาแสดง ต่อศาลเพื่อพิสูจน์ว่าคู่กรณีฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีกระทำ�ผิด และคูก่ รณีฝา่ ยทีถ่ กู ฟ้องคดีตอ้ งนำ�พยานหลักฐานมาหักล้าง หรือพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนต่อศาล โดยศาลไม่เข้าไป มีบทบาทในการแสวงหาพยานหลักฐานอื่นใดมาเพิ่มเติม ศาลจะรั บ ฟั ง พยานหลั ก ฐานจากคู่ ก รณี ทั้ ง สองฝ่ า ย เพือ่ ชัง่ น้�ำ หนักว่าฝ่ายใดน่าเชือ่ ถือมากกว่ากันแล้วพิพากษา คดีไปตามนั้น จะเห็นได้ว่ากระบวนการดังกล่าวทำ�ให้คู่กรณี ต่ า งมุ่ ง หาพยานหลั ก ฐานมาโต้ แ ย้ ง แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ใคร เป็นฝ่ายผิดหรือถูก เมื่อมีการพิพากษาคดีว่าฝ่ายใดเป็น ฝ่ า ยถู ก หรื อ ผิ ด ตามตั ว บทของกฎหมายแล้ ว ก็ ย ากยิ่ ง ที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะกลับมามีความสัมพันธ์อันดีเช่นเคย
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 7
7 5/2/19 5:27 PM
ทางเลือกหนึ่งแห่งความยุติธรรมเพื่อความสมานฉันท์ในสังคมไทย คือ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Mediation) นั บ เป็ น การระงั บ ข้ อ พิ พ าทรู ป แบบหนึ่ ง อั น เกิ ด จากการตกลงยิ น ยอมของคู ่ ก รณี ที่ จ ะระงั บ ข้ อ พิ พ าท โดยมี ค นกลาง คือ ผูไ้ กล่เกลีย่ (Mediator) ท�ำหน้าทีช่ ว่ ยเหลือให้คกู่ รณีได้พดู คุย ปรับความเข้าใจ และหาทางออกในการยุตหิ รือระงับข้อพิพาท ร่วมกัน ซึ่งผลของการไกล่เกลี่ยเกิดจากการตัดสินใจและตกลงร่วมกันของคู่กรณีเอง ไม่มีผู้ชี้ขาดหรือตัดสิน จึงเป็นการระงับ ข้อพิพาทด้วยสันติวิธี สร้างความพึงพอใจและความสัมพันธ์อันดีแก่คู่กรณีทั้งสองฝ่าย ปั จ จุ บั น สั ง คมไทยกำ � ลั ง หั น มาให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ การไกล่ เ กลี่ ย ข้ อ พิ พ าท โดยมี ห ลายภาคส่ ว น ทั้ ง ภาครั ฐ และ ภาคประชาชน เช่น การไกล่เกลีย่ ในชุมชนโดยภาคประชาชนด้วยกันเอง การไกล่เกลีย่ ข้อพิพาทชัน้ อำ�เภอ การไกล่เกลีย่ ข้อพิพาท ชัน้ พนักงานสอบสวน การไกล่เกลีย่ ชัน้ พนักงานอัยการ การไกล่เกลีย่ ชัน้ ศาล การไกล่เกลีย่ ชัน้ บังคับคดี รวมถึงการยุตขิ อ้ พิพาท ด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ทำ�ให้เห็นว่าภาพรวมของประเทศไทยมีทางเลือกให้ประชาชนเข้าถึงความยุตธิ รรม ทัง้ การยุติ ข้อพิพาทโดยภาคประชาชนด้วยกันเอง และการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐ อันจะช่วยให้คู่กรณีสามารถยุติปัญหา ข้อพิพาทได้ด้วยความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ไม่เกิดการสร้างศัตรูกันในสังคม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
โดยที่ผ่านมา การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของหน่วยงานภาครัฐยังคงมีวิธีปฏิบัติท่ีต่างกันไป ทำ�ให้ยังขาดมาตรฐานกลาง ดังนั้น การมีกฎหมายกลางให้หน่วยงานของรัฐหรือภาคประชาชนสามารถนำ�กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไปใช้ได้อย่าง ถูกต้อง เป็นแนวทางมาตรฐานเดียวกัน จะส่งผลให้การอำ�นวยความยุติธรรมทั่วถึงและเป็นธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดยเฉพาะการนำ�ไปใช้ในการยุติหรือระงับข้อพิพาททางแพ่ง ซึ่งมีทุนทรัพย์ไม่มากนัก และข้อพิพาททางอาญา ความผิด อันยอมความได้ ความผิดลหุโทษ และความผิดที่มีอัตราโทษจำ�คุกไม่สูงนัก ในบางประเภทคดีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว ที่ไม่กระทบต่อส่วนรวม โดยคำ�นึงถึงความยินยอมของคู่กรณีเป็นสำ�คัญ จะทำ�ให้เกิดความสมานฉันท์ขึ้นในสังคมไทย อีกทั้ง จะช่วยทำ�ให้ปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง ลดปัญหาความขัดแย้ง ลดงบประมาณแผ่นดิน และเสริมสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกัน อย่างปกติสุข กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. .... ให้เป็นกฎหมายกลางเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยหน่วยงานของรัฐและภาคประชาชน ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 11/2562 เป็นพิเศษ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 เห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมาย และได้ เสนอกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อนำ�ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ต่อไป ซึง่ กฎหมายดังกล่าวได้ให้อ�ำ นาจหน่วยงานของรัฐและศูนย์ไกล่เกลีย่ ข้อพิพาทภาคประชาชนสามารถดำ�เนินการไกล่เกลีย่ ข้อพิพาท โดยผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการไกล่เกลี่ย ที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติรับรอง ให้จัดกระบวนการไกล่เกลี่ยและมีสภาพบังคับตามกฎหมายได้อย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน อันเป็นการเพิ่ม ทางเลือกในการเข้าถึงความยุติธรรม สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนที่มีข้อพิพาทเลือกใช้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแทนการ ฟ้องร้องคดีต่อศาล การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามกฎหมายนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องเสียค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมศาล ใช้เวลาไม่นาน เพราะยุติได้ด้วยความตกลงของคู่กรณี ซึ่งข้อตกลงเกิดจากความสมัครใจและพึงพอใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย โดยมีข้อพิพาทที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ตามกฎหมาย ดังนี้
8
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 8
5/2/19 5:27 PM
กรณีหน่วยงานของรัฐ ข้อพิพาททางแพ่ง : ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินที่มิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ ข้อพิพาทระหว่าง ทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดก และข้อพิพาทอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าล้านบาท ข้อพิพาททางอาญา : ความผิดอันยอมความได้ ความผิดลหุโทษ ตามมาตรา 390 มาตรา 391 มาตรา 392 มาตรา 393 มาตรา 394 มาตรา 395 และมาตรา 397 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
กรณีพนักงานสอบสวน ข้อพิพาททางอาญา : ความผิดอันยอมความได้ ความผิดลหุโทษ ตามมาตรา 390 มาตรา 391 มาตรา 392 มาตรา 393 มาตรา 394 มาตรา 395 และมาตรา 397 และความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุน ต่อสู้ และมีผถู้ งึ แก่ความตายจากการชุลมุนต่อสูน้ นั้ ตามมาตรา 294 วรรคหนึง่ ความผิดฐานทำ�ร้ายร่างกาย ตามมาตรา 295 ความผิดฐานทำ�ร้ายร่างกายโดยมีเหตุฉกรรจ์ ตามมาตรา 296 ความผิดฐานเข้าร่วมชุลมุน ต่อสู้ และมีผู้ได้รับอันตรายสาหัสจากการชุลมุนต่อสู้นั้น ตามมาตรา 299 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตามมาตรา 300 และความผิดฐานลักทรัพย์ ตามมาตรา 334 ตามประมวลกฎหมายอาญา
กรณีภาคประชาชน ข้อพิพาททางแพ่ง : ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินที่มิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ ข้อพิพาทระหว่าง ทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดก และข้อพิพาทอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าแสนบาท ข้อพิพาททางอาญา : ความผิดอันยอมความได้ ความผิดลหุโทษ ตามมาตรา 390 มาตรา 391 มาตรา 392 มาตรา 393 มาตรา 394 มาตรา 395 และมาตรา 397 แห่งประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายดังกล่าว กำ�หนดให้กรมคุม้ ครองสิทธิและเสรีภาพเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริม และสนับสนุนให้ภาคประชาชนรวมตัวกันเป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน กำ�กับดูแล การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และหากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนในเรื่องใดได้ดำ�เนินการตามกฎหมายและกรมคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพออกหนังสือรับรองให้แล้ว ข้อตกลงระงับข้อพิพาทนั้น สามารถบังคับกันได้ หรือทำ�ให้สิทธิการนำ� คดีอาญามาฟ้องระงับไป กรณีไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงระงับข้อพิพาททางแพ่ง เมื่อคู่กรณีฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้คู่กรณี อีกฝ่ายหนึง่ ปฏิบตั ติ ามข้อตกลงระงับข้อพิพาทแล้ว แต่คกู่ รณีฝา่ ยทีถ่ กู เรียกร้องนัน้ ไม่ปฏิบตั ติ ามข้อตกลงระงับข้อพิพาท กรณีฝา่ ยทีเ่ รียกร้องอาจยืน่ คำ�ร้องขอต่อศาลยุตธิ รรมทีม่ กี ารทำ�ข้อตกลงระงับข้อพิพาทในเขตศาลนัน้ หรือศาลยุตธิ รรม ทีค่ กู่ รณีฝา่ ยใดฝ่ายหนึง่ มีภมู ลิ �ำ เนาอยูใ่ นเขตศาล หรือศาลยุตธิ รรมทีม่ เี ขตอำ�นาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาท ซึง่ ได้มกี าร ไกล่เกลีย่ นัน้ เพือ่ ให้บงั คับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทได้ และให้เสียค่าขึน้ ศาลตามประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความแพ่ง ในอัตราเดียวกับคำ�ร้องขอให้ศาลบังคับตามคำ�ชีข้ าดของอนุญาโตตุลาการในประเทศ โดยการร้องขอต่อศาลเพือ่ ให้บงั คับ ตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทต้องกระทำ�ภายในสามปี นับแต่วนั ทีอ่ าจบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทได้ ถ้าไม่ได้รอ้ งขอ ภายในกำ�หนดดังกล่าวให้มูลหนี้ตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทนั้นเป็นอันระงับไป วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 9
9 5/2/19 5:27 PM
ปัจจุบันกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนในรูปแบบอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพ และศูนย์ไกล่เกลีย่ ระงับข้อพิพาทชุมชน มีจ�ำ นวนกว่า 350 ศูนย์ ซึง่ เตรียมยกระดับการดำ�เนินงานเป็นศูนย์ไกล่เกลีย่ ข้อพิพาทภาคประชาชนตามกฎหมาย ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทัว่ ประเทศ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้ก�ำ หนดเป้าหมายไว้ 1 จังหวัด 1 ศูนย์ (นำ�ร่อง) เพื่อรองรับการดำ�เนินงานตามกฎหมายดังกล่าวนี้ ทั้งนี้ จากสถิติผลการดำ�เนินงานในช่วงที่ผ่านมา สามารถดำ�เนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน อาทิ ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาการกู้ยืมเงิน ข้อพิพาทระหว่างญาติพี่น้อง เกี่ยวกับทรัพย์มรดก ข้อพิพาทเกี่ยวกับการปล่อยสัตว์เข้าไปกินพืชผลทางการเกษตรของผู้อื่น ไปแล้วกว่า 22,300 เรื่อง ทำ�ให้ประชาชนที่มีข้อพิพาทสามารถยุติข้อพิพาทได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ด้วยความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย อีกทั้งยังลด ปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลเท่าปริมาณข้อพิพาทที่สามารถไกล่เกลี่ยได้
ดังนั้น ทางเลือกหนึ่งแห่งความยุติธรรมเพื่อความ สมานฉั น ท์ ใ นสั ง คมไทย หากคู่ ก รณี พิ พ าทจะหั น มาใช้ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแทนการฟ้องร้องคดี เพื่อใช้สันติวิธี ในการสร้างความเป็นธรรมด้วยตัวเอง สามารถยื่นคำ�ร้อง ขอไกล่ เ กลี่ ย ข้ อ พิ พ าทได้ ท่ี ศู น ย์ ไ กล่ เ กลี่ ย ข้ อ พิ พ าท ภาคประชาชนหรือกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งมีผู้ผ่าน การฝึ ก อบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และมีประสบการณ์ ทำ�หน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยด้วยความเป็นกลาง ไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องจ้างทนายความ ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ใช้ระยะเวลาไม่นาน เพราะเมื่อคู่กรณีตกลงกันได้ ข้อพิพาท ก็เป็นอันยุติ สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย หรือทำ�ให้สิทธิ การนำ � คดี อ าญามาฟ้ อ งระงั บ ไป รั ก ษาสั ม พั น ธภาพที่ ดี ระหว่างกัน เพราะการไกล่เกลี่ยเป็นการเปิดโอกาสให้คู่กรณี พูดคุยหาทางออกในการยุตขิ อ้ พิพาทร่วมกันด้วยความสมัครใจ และพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย รู้อย่างนี้แล้วเราจะน�ำข้อพิพาทไปฟ้องร้องให้เป็น คดีความไปท�ำไม ไกล่เกลีย่ ก่อนดีหรือไม่ เพราะเราเชือ่ มัน่ ว่า ทุกปัญหาแก้ไขได้ดว้ ยการเปิดใจ พูดคุย รับฟัง และหาทางออก ร่วมกัน
10
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 10
5/2/19 5:27 PM
เรื่องเล่ายุติธรรม
กองบรรณาธิการ
Justice Care : ยุติธรรมใส่ใจ ถือเป็นแนวทางการช่วยเหลือ ผู้เสียหายหรือเหยื่อที่ได้รับ ผลกระทบจากอาชญากรรม ที่กระทรวงยุติธรรมได้ริเริ่มขึ้น เพื่อทำ�งานเชิงรุกในการช่วยเหลือ ประชาชนให้สามารถเข้าถึง ความยุติธรรมโดยไม่ต้องร้องขอ ภายใน 24 ชั่วโมง Justice Care : ยุ ติ ธ รรมใส่ ใ จ ถื อ เป็ น แนวทางการช่ ว ยเหลื อ ผู ้ เ สี ย หาย หรือเหยือ่ ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากอาชญากรรม ที่กระทรวงยุติธรรมได้ริเริ่มขึ้น เพื่อท�ำงาน เชิงรุกในการช่วยเหลือประชาชนให้สามารถ เข้าถึงความยุตธิ รรมโดยไม่ตอ้ งร้องขอภายใน 24 ชั่วโมง ด้วยการบูรณาการการท�ำงาน ของหน่ ว ยงานในกระบวนการยุ ติ ธ รรม และหน่ ว ยงานอื่ น ๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งทั้ ง ระบบ เพือ่ ให้ความช่วยเหลือแก่ผเู้ สียหายหรือเหยือ่ ในระดั บ พื้ น ที่ โดยมุ ่ ง เน้ น การท� ำ งานใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ การเข้าถึงกระบวนการ ยุ ติ ธ รรม และการปฏิ บั ติ อ ย่ า งเป็ น ธรรม การได้รบั การชดใช้ความเสียหาย โดยผูก้ ระท�ำ ความผิด การได้รบั การชดเชยความเสียหาย โดยรั ฐ และการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เหยื่ อ ด้านอื่น ๆ โดยมีส�ำนักงานยุติธรรมจังหวัด เป็นหน่วยงานหลักในระดับพื้นที่บูรณาการ กับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและ หน่ ว ยงานอื่ น ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในระดั บ จั ง หวั ด / ระดั บ ภู มิ ภ าค/ ระดั บ กระทรวง ในการให้ ความช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ได้รับความ เป็นธรรมแบบครบวงจร ทัง้ ทางด้านกฎหมาย ร่ า งกาย และจิ ต ใจ ซึ่ ง เป็ น ผู ้ ด ้ อ ยโอกาส ในสั ง คมให้ ไ ด้ รั บ ความช่ ว ยเหลื อ ด้ ว ย ความรวดเร็ว
ส�ำหรับผลการด�ำเนินงานในการให้ความช่วยเหลือประชาชน ตัง้ แต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561– 31 มีนาคม 2562 กระทรวงยุตธิ รรม ได้ช่วยเหลือตามแนวทาง “ยุติธรรมใส่ใจ Justice Care” ไปแล้วใน 77 จังหวัด จ�ำนวน 731 เรื่อง ซึ่งครอบคลุมในเรื่องต่างๆ ดังนี้ การขอรับ ความช่วยเหลือ ทางการเงินแก่ผู้เสียหาย และจำ�เลยในคดีอาญา
การให้คำ�ปรึกษา กฎหมายแก่ประชาชน
การขอรับ ความช่วยเหลือ จากกองทุนยุติธรรม การขอรับ ความช่วยเหลือ ในการคุ้มครองพยาน
การขอรับ ความช่วยเหลือ ด้านอื่นๆ
345 เรื่อง
192 เรื่อง
46 เรื่อง
11 เรื่อง
137 เรื่อง
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 11
11 5/2/19 5:27 PM
นอกจากนี้ มี อี ก หลายกรณี ที่ ก ระทรวงยุ ติ ธ รรม ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชน ภายใต้แนวทาง ยุตธิ รรมใส่ใจ : Justice Care ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากอาชญากรรมอย่างรวดเร็ว และเข้าถึงความเป็นธรรมอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ
กรณีที่ 1 กระทรวงยุ ติ ธ รรมร่ ว มพิ จ ารณาภาพการฉี ด สี ฉายแสงไตของคนไข้ ซ่ึง ถู ก ตั ด มดลู ก ที่จัง หวั ด อุ ด รธานี อย่างต่อเนือ่ ง ล่าสุดโรงพยาบาลยอมรับตัดมดลูกและลำ�ไส้ โดยไม่ได้แจ้งญาติคนไข้จริง เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 เจ้าหน้าที่สำ�นักงาน ยุติธรรมจังหวัดอุดรธานี ได้เข้าร่วมพิจารณาภาพการฉีดสี ฉายแสงไตของนางสาวศินวพร หอมกลาง คนไข้ทถี่ กู ตัดมดลูก และรังไข่ รวมทั้งตัดลำ�ไส้ย้ายทางเดินการขับถ่าย พร้อมทั้ง ถูกตัดไต 1 ข้าง ณ โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี โดยเบื้องต้น จากการพูดคุยระหว่างเจ้าหน้าที่นิติกร สำ�นักงานยุตธิ รรมจังหวัดอุดรธานี เจ้าหน้าทีโ่ รงพยาบาลศูนย์ อุดรธานี คนไข้และญาติ โดยโรงพยาบาลอุดรธานี ยอมรับว่า ได้มีการผ่าตัดมดลูกและลำ�ไส้โดยไม่ได้แจ้งญาติคนไข้จริง เนื่องจากมีความจำ�เป็นเร่งด่วนในการรักษา โดยแจ้งว่าคนไข้ มีอาการภายในช่องท้องคล้ายมีเนือ้ เยือ่ มะเร็งมดลูกลามไปทัว่ และมีเลือดออกในท้องปริมาณมาก อาจทำ�ให้ไส้แตกได้ จึงต้อง เร่งผ่าตัดโดยไม่ได้แจ้งญาติคนไข้ ส่วนไตนั้น ทางโรงพยาบาล แจ้งว่ายังอยูค่ รบ เพียงแต่ไตซีกซ้ายมีอาการฝ่อ จึงทำ�ให้ไม่เห็น ไตซีกซ้าย ทัง้ นี้ เจ้าหน้าทีน่ ติ กิ ร ได้รว่ มพิจารณาภาพการฉีดสี ฉายแสงไตของคนไข้ดังกล่าว เห็นเพียงไตซีกขวาได้ชัดเจน มีการผ่านของสารฉีดสี ส่วนไตซีกซ้ายเห็นเป็นสีด�ำ ไม่มรี ปู ร่าง ของไตเหมือนทางซีกขวา โดยทางด้านคนไข้จะขอไปตรวจยัง โรงพยาบาลอื่น เพื่อพิสูจน์ว่ายังมีไตอยู่ครบหรือไม่ ซึ่งทาง โรงพยาบาลอุดรธานี แจ้งว่ายินดีจะดูแลค่าใช้จา่ ยในการรักษา พยาบาลทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สำ � หรั บ กรณี ดั ง กล่ า วสำ � นั ก งานยุ ติ ธ รรมจั ง หวั ด อุดรธานี ได้ให้ความช่วยเหลือแก่นางสาวศินวพร หอมกลาง คนไข้ ม าอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยก่ อ นหน้ า นี้ น างสาววรรณรี แสนชาติ มารดาของคนไข้ ได้เข้ามาขอรับความช่วยเหลือ ณ สำ�นักงานยุติธรรมจังหวัดอุดรธานี แล้ว 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 เจ้าหน้าที่นิติกรได้แนะนำ�การจัดเตรียม เอกสารต่าง ๆ เพื่อยื่นขอรับความช่วยเหลือจากสำ�นักงาน สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เพื่อขอรับค่าเสียหายในกรณี ดังกล่าว ตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 41 (กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดจาก การรักษาพยาบาล)
12
ครั้งที่ 2 นางสาววรรณรีฯ มารดาของคนไข้ ได้เข้า แจ้งผลการพิจารณาว่า มีการแจ้งผลการเยียวยา ตามมาตรา 41 เป็นค่าเสียหาย จำ�นวน 240,000 บาท ซึ่งนางสาวรรณรีฯ มารดาของคนไข้เห็นว่า เงินเยียวยาอุทธรณ์ค�ำ สัง่ ให้แก่มารดา ของคนไข้ ครัง้ ที่ 3 นางสาววรรณรีฯ มารดาของคนไข้ได้ปรึกษา เจ้าหน้าที่นิติกร และแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า เพิ่งตรวจพบว่า คนไข้ถูกตัดไตออกไป 1 ข้าง เจ้าหน้าที่นิติกรจึงได้แนะนำ� การร่างหนังสือร้องเรียนต่อศูนย์ดำ�รงธรรมจังหวัดอุดรธานี ตามข่าว ซึง่ มีการยืน่ หนังสือ ณ ศูนย์ด�ำ รงธรรมจังหวัดอุดรธานี และได้เป็นข่าวตามที่ออกสื่อต่าง ๆ
กรณีที่ 2 กรณีเด็กหญิงวัย 12 ปี ถูกกลุ่มชายวัยรุ่นรุมโทรม ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี เบื้องต้นสำ�นักงานยุติธรรมจังหวัดสระบุรีได้ลงไป ในพื้นที่เพื่อแจ้งสิทธิและการรับคำ�ขอค่าตอบแทนผู้เสียหาย ให้ แ ก่ เ ด็ ก หญิ ง ผู้ เ สี ย หายทั้ ง สองคน และให้ คำ � ปรึ ก ษา ทางด้านกฎหมายเบือ้ งต้นแก่มารดาของผูเ้ สียหายแล้วในวันที่ 18 ธั น วาคม 2561 และเมื่ อ วั น ที่ 21 ธั น วาคม 2561 นายอารักษ์ วีระกะลัส ยุติธรรมจังหวัดสระบุรี และเจ้าหน้าที่ ยุตธิ รรมจังหวัดสระบุรี ได้เดินทางไปยังบ้านพักของนายอาคม (บิ ด าของเด็ ก หญิ ง ผู้ เ สี ย หาย) เพื่ อ ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เงิ น กองทุนยุติธรรมในการดำ�เนินคดี ค่าจ้างทนายความ และ การขอปล่ อ ยตั ว ชั่ ว คราว ตามพระราชบั ญ ญั ติ ก องทุ น ยุ ติ ธ รรม พ.ศ. 2558 แต่ ไ ม่ พ บนายอาคม พบเพี ย ง นางสาวมนัญญา (ภรรยาคนปัจจุบัน) จึงได้ให้คำ�แนะนำ�
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 12
5/2/19 5:27 PM
เกีย่ วกับการเข้าถึงกระบวนการยุตธิ รรมกรณีขอรับการช่วยเหลือ จากกองทุ น ยุ ติ ธ รรม พร้ อ มทั้ ง ประสานงานกั บ พนั ก งาน สอบสวนในการจัดหาทนายความ เพือ่ ร่วมรับฟังการสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/1 และประสานกั บ สำ � นั ก งานพั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คง ของมนุษย์ในการช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจและหาที่พัก ให้กับเด็กหญิงผู้เสียหายอีกด้วย
ความเดือดร้อนทุกข์ใจจากเรื่องคดีความเป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดต้องการให้เกิดขึ้น เพราะนอกจากความเสียหายเฉพาะหน้าแล้ว ยังมีปัญหาอันเป็นผลต่อเนื่องจากตัวเหตุการณ์ตามมาอีกมากมาย อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเป็นคดีความขึ้นแล้ว กระทรวงยุติธรรม พร้อมที่จะท�ำหน้าที่เป็นที่พึ่งพาคอยดูแลช่วยเหลือประชาชนทุกคนให้ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมของไทย อย่างดีที่สุด
ทั้งนี้ หากประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม ตกเป็นเหยื่อ หรือผู้เสียหาย สามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือจากกระทรวงยุติธรรมได้ที่
สายด่วนยุตธิ รรม โทร 1111 กด 77
หรือต่างจังหวัดติดต่อได้ที่ ส�ำนักงานยุตธิ รรมจังหวัดทัว่ ประเทศ หรือศูนย์ยตุ ธิ รรมชุมชนใกล้บา้ น
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 13
13 5/2/19 5:27 PM
ที่นี่แจ้งวัฒนะ
กองบรรณาธิการ
กระทรวงยุตธิ รรม ลงพืน้ ทีใ่ ห้กำ�ลังใจและช่วยเหลือชาวบ้าน จ.นราธิวาส พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยคณะทำ�งาน และคณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม นำ � โดย ศาสตราจารย์ พิ เ ศษวิ ศิ ษ ฏ์ วิ ศิ ษ ฏ์ ส รอรรถ ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม นายสมณ์ พรหมรส อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พันตำ�รวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผู้อำ�นวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการ ป.ป.ส. ตรวจเยี่ยมหน่วยงานด้านยุติธรรมในพื้นที่ และได้มอบเงินช่วยเหลือให้กับ วัดรัตนานุภาพและวัดใกล้เคียง จำ�นวน 8 แห่ง มอบอุปกรณ์กีฬา และสื่อการเรียนรู้ ให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง จำ�นวน 4 แห่ง พร้อมทั้งให้กำ�ลังใจแก่ชาวบ้าน ในพื้นที่ และมอบเงินช่วยเหลือให้แก่ครอบครัวผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ณ วัดรัตนานุภาพ อำ�เภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
รมว.ยุตธิ รรม เข้าร่วมพิธเี ปิดการประชุม เตรียมการระดับภูมภิ าคของการประชุม สหประชาชาติวา่ ด้วยการป้องกันอาชญากรรม และความยุตธิ รรมทางอาญา (UN Crime Congress) สมัยที่ 14
“ยุตธิ รรม” ขับเคลือ่ นเป้าหมายการพัฒนาทีย่ ง่ั ยืน เป้าหมายที่ 16 บูรณาการร่วมกับภาคประชาสังคมและภาคเอกชน
ศาสตราจารย์ พิ เ ศษวิ ศิ ษ ฏ์ วิ ศิ ษ ฏ์ ส รอรรถ ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม เป็นประธานเปิดการประชุมขับเคลือ่ นเป้าหมายการพัฒนาทีย่ งั่ ยืน เป้าหมายที่ 16 : ภาคประชาสังคมและภาคเอกชน (Achieving SDG 16 : Role of Civil Societies and Private Sectors) และกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16” (Partnerships for SDG 16) ณ ห้องประชุม Magic 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมสังคมสงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ทุกคน เข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบและครอบคลุม ในทุกระดับ ประกอบด้วย 12 เป้าประสงค์ โดยสามารถจำ�แนกได้ 3 กลุม่ ประกอบด้วย ความสงบสุข (Peace) ความยุติธรรม (Justice) และสถาบันที่แข็งแกร่ง (Strong Institutions) โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชน
14
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรม เข้ า ร่ ว มพิ ธี เ ปิ ด การประชุ ม เตรี ย มการระดั บ ภู มิ ภ าคของการประชุ ม สหประชาชาติ ว่ า ด้ ว ยการป้ อ งกั น อาชญากรรมและ ความยุติธรรมทางอาญา (UN Crime Congress) สมัยที่ 14 จั ด โดย สำ � นั ก งานว่ า ด้ ว ยยาเสพติ ด และอาชญากรรม แห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crimes - UNODC) ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุ ง เทพมหานคร โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ พิ เ ศษวิ ศิ ษ ฏ์ วิศษิ ฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุตธิ รรม ทำ�หน้าทีเ่ ป็นประธาน การประชุ ม พร้ อ มด้ ว ยคณะผู้ แ ทนไทย ประกอบด้ ว ย ผูแ้ ทนกระทรวงยุตธิ รรม กระทรวงการต่างประเทศ สำ�นักงาน อัยการสูงสุด และสำ�นักงานตำ�รวจแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุม ดังกล่าว สำ�หรับการประชุมครัง้ นีเ้ ป็นการเตรียมความพร้อม สำ � หรั บ การประชุ ม สหประชาชาติ ว่ า ด้ ว ยการป้ อ งกั น อาชญากรรมและความยุ ติ ธ รรมทางอาญา สมั ย ที่ 14 ซึ่งกำ�หนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 27 เมษายน 2563 ณ นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 14
5/2/19 5:27 PM
กระทรวงยุตธิ รรม ร่วมมือ 22 หน่วยงาน ลงนามบันทึกข้อตกลง “ความร่วมมือเสริมสร้างการรับรูส้ ชู่ มุ ชน เสริมสร้างการรับรูใ้ ห้กบั ประชาชน เพือ่ การพัฒนาทีย่ ง่ั ยืน”
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการเสริมสร้างการรับรู้ สู่ชุมชน พร้อมทั้งปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การสร้างการรับรู้สู่ชุมชน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ตึกสันติไมตรี ทำ�เนียบรัฐบาล โอกาสนี้ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม และหัวหน้าส่วนราชการ จำ�นวน 22 หน่วยงาน ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานระดับ กระทรวง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การขับเคลื่อนภารกิจและนโยบายสำ�คัญของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน บรรลุผลสำ�เร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยร่วมบูรณาการขับเคลื่อนการดำ�เนินงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตามแนวทางประชารัฐ โดยเฉพาะ การสร้างการรับรู้เกีย่ วกับแนวทางและมาตรการดำ�เนินงานของรัฐบาลที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึง่ จะเป็นกลไกสำ�คัญที่ทำ�ให้ประชาชนมีความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภารกิจและนโยบายของรัฐบาล อันจะนำ�ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
กระทรวงยุตธิ รรม ร่วมเผยแพร่เอกสารบทบาทภารกิจและผลการดำ�เนินงาน ของกระทรวงยุตธิ รรม ในงานแถลงผลงานรัฐบาลปีท่ี 4
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงผลการดำ�เนินงานปีที่ 4 ของรัฐบาล โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สวุ รรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอก ประจิน จัน่ ตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี และนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำ�สำ�นักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมฯ ณ ตึกสันติไมตรี ทำ�เนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้แถลงผลงานสำ�คัญในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับกระทรวงยุตธิ รรม จำ�นวน 3 ประเด็น ได้แก่ ผลการดำ�เนินงานของกองทุนยุติธรรม เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยในการ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในการต่อสู้คดีความ ให้ความช่วยเหลือในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำ�เลย การช่วยเหลือผูถ้ กู ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และการให้ความรู้ ทางกฎหมายแก่ประชาชน ได้อนุมัติให้ความช่วยเหลือประชาชน จำ�นวน 11,169 ราย จากจำ�นวนผู้ยื่นคำ�ขอ ความช่วยเหลือทั้งสิ้น จำ�นวน 27,747 ราย รวมเป็นจำ�นวนเงิน 757 ล้านบาท และการปรับปรุงกฎหมาย ในกระบวนการยุ ติ ธ รรม เช่ น พระราชบั ญ ญั ติ ไ กล่ เ กลี่ ย ข้ อ พิ พ าทให้ ทั น สมั ย รวมทั้ ง ผลการดำ � เนิ น งาน ด้านการสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน โดยในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา สามารถสกัดกั้นการลำ�เลียงยาบ้า รวมทั้งสิ้น 390,118,198 เม็ด
“ยุตธิ รรม” ขับเคลือ่ นสิทธิมมุษยชนของประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
พลอากาศเอก ประจิน จัน่ ตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ครั้งที่ 1/2562 โดยมี นายสมณ์ พรหมรส อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เข้ า ร่ ว มฯ ซึ่ ง กรมคุ้ ม ครองสิ ท ธิ แ ละเสรี ภ าพ กระทรวงยุ ติ ธ รรม จั ด ขึ้ น เพื่ อ พิ จ ารณาประเด็ น สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนที่ ห น่ ว ยงานจะผลั ก ดั น ในฐานะที่ ไ ทยเป็ น ประธานอาเซี ย น และเพื่อพิจารณาการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อสนับสนุนการดำ�เนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อน งานสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม 1 ชั้น 9 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 15
15
5/2/19 5:27 PM
คนยุติธรรม
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
ข้าราชการพลเรือนดีเด่น สังกัดกระทรวงยุติธรรม ประจำ�ปี 2561
กองบรรณาธิการวารสารยุติธรรม ขอแสดงความยินดีแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น สังกัดกระทรวงยุติธรรม ประจ�ำปี 2561 เพื่อส่งเสริมและยกย่องคุณงามความดีที่ทุกท่านได้เสียสละท�ำงานเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และประเทศชาติ พร้อมเปิดใจข้าราชการพลเรือนดีเด่นทุกท่าน ถึงหลักการปฏิบัติตนให้เป็นข้าราชการที่ดี สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
นายเจริญ น้อยพินิจ
นักวิชาการยุติธรรมชำ�นาญการพิเศษ สำ�นักงานยุติธรรมจังหวัดพิษณุโลก ต้องคิดไว้เสมอว่า ในแต่ละวัน ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้คุ้มค่ากับการเป็น ข้ า ราชการ ต้ อ งให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ประชาชนที่ ไ ด้ รั บ ความเดือดร้อนทันที โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
นางสาวณัฐฐาทิพย์ ยงสวัสดิ์
นักวิชาการพัสดุชำ�นาญการ กองบริหารการคลัง ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ด้ ว ยจิ ต สำ � นึ ก ในหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างเต็ม ความสามารถ รวมทั้ ง พั ฒ นาตนเองด้ ว ยการขวนขวาย หาความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ
กรมคุมประพฤติ
นางยศวันต์ บริบูรณ์ธนา
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการแก้ไขฟื้นฟู และกิจกรรมชุมชน กรมคุมประพฤติ ครองตน ด้ ว ยการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อ ย่ า งสุ จ ริ ต เทีย่ งธรรม ยึดถือประโยชน์ราชการ ครองคน ด้วยการสนับสนุน และรับฟังผู้อื่น และครองงาน ด้วยการเรียนรู้ใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์
16
นายวิทยา หิรัญพฤกษ์
พนักงานขับรถยนต์ ระดับ ส 2 สำ�นักงานคุมประพฤติ กรุงเทพมหานคร 3 ปฏิ บั ติ ต นด้ ว ยความซื่ อ สั ต ย์ สุจริต หมั่นหาความรู้นำ�มาพัฒนาในทุกๆ ด้าน อุทิศตน เป็นผูเ้ สียสละ มุง่ มัน่ ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ ห้ดที สี่ ดุ รูจ้ กั การครองตน ครองคน และครองงาน บริการประชาชนโดยไม่เลือกปฏิบตั ิ และเป็นที่พึ่งประชาชนได้
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 16
5/2/19 5:27 PM
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
นางสาวนิตยา เพ็งประเสริฐ
นักจัดการงานทั่วไปชำ�นาญการ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ การครองตน รักษาศีลปฏิบัติธรรมเพื่อให้มีสติ สมาธิในการทำ�งาน รักษาระเบียบวินัยและ กฎหมาย เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา การครองคน ให้บริการทุกคน ช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ การครองงาน ศึกษาหาความรู้ให้ถ่องแท้ รู้จักยอมรับเทคนิคใหม่ ๆ ที่ช่วยในการปฏิบัติงาน
กรมบังคับคดี
นายปวีณ กุมาร
นิติกรชำ�นาญการพิเศษ สำ�นักงานบังคับคดีแพ่ง กรุงเทพมหานคร 2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความรับผิดชอบในงาน รวมทั้งใช้หลักพุทธศาสนา ในการครองตน คือ พรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) และในการครองงาน คือ อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิรยิ ะ จิตตะ วิมังสา)
นางกมนนิษฐ์ ธีร์รุจินันท์
เจ้าพนักงานธุรการชำ�นาญงาน กองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ต้ อ งมี ค วามซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต รั บ ผิ ด ชอบต่ อ งานที่ ไ ด้ รั บ มอบหมาย ช่วยเหลือผู้ร่วมงาน และเต็มใจบริการผู้มาติดต่อราชการ โดยไม่เลือกปฏิบัติ
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
นางสาววัชริน แม่นยำ�
นักจิตวิทยาคลินิกชำ�นาญการพิเศษ กองพัฒนาระบบสุขภาพเด็ก และเยาวชน ยึ ด มั่ น หลั ก คำ � สอนของในหลวง รั ช กาลที่ 9 โดยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ขยัน มุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ ใช้องค์ความรู้สนับสนุนให้งานมีคุณภาพ อยู่ใน กฎระเบียบ ยึดมั่นในคุณธรรม ความถูกต้อง มีความกตัญญู เป็นมิตร และให้บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ
นายกฤตณ์พัทธ์ หิรัญปุณยโชติ
นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพ ชำ�นาญการพิเศษ ศูนย์ฝกึ และอบรมเด็กและเยาวชน เขต 2 ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ข องตนเองอย่ า งเต็ ม ความสามารถ ความอ่อนน้อมถ่อมตน พอเพียง มุ่งมั่น และความถูกต้อง มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 17
17 5/2/19 5:27 PM
กรมราชทัณฑ์
นายจรูญ เหง่าลา
ผู้บัญชาการเรือนจำ�กลางนครพนม เรือนจำ�กลางนครพนม มุ่ ง มั่ น ตั้ ง ใจปฏิ บั ติ ง านให้ สำ � เร็ จ บริ ห ารงาน แบบมุ่ ง ผลสั ม ฤทธิ์ ยึ ด ถื อ ประโยชน์ ส่ ว นรวม ครองตน ด้ ว ยศี ล 5 ยึ ด หลั ก พรหมวิ ห าร 4 มี แ นวคิ ด ริ เ ริ่ ม และ ดำ�รงตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี “ตรงเวลา รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม”
นายอุดม สุขทอง
นักวิชาการอบรม และฝึกวิชาชีพชำ�นาญการ ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง “ข้าราชการ ต้องทำ�งาน ให้ประชาชนชื่นใจ” ต้องเป็นผู้ทำ�งานให้เกิดประโยชน์ สู ง สุ ด แก่ ป ระชาชน หมั่ น ทบทวนตนเองเสมอ เพื่ อ ประสิ ท ธิ ภ าพในการทำ � งาน ครองตน ครองคน ครองงาน เพื่อการเป็นข้าราชการมืออาชีพ
นางสาวสุธัญญา ผู้พัฒน์
นักวิชาการสาธารณสุขชำ�นาญการพิเศษ กองบริการทางการแพทย์ 1. ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2. รั ก ในศั ก ดิ์ ศ รี แ ละเกี ย รติ ภู มิ ข องวงศ์ ต ระกู ล วิ ช าชี พ ความเป็นข้าราชการ 3. รับผิดชอบต่อหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ดำ�รงตน เป็นแบบอย่างที่ดี และมีมิตรไมตรีต่อผู้อื่น
นางนฤมล จอมวิญญาณ์ นักทัณฑวิทยาชำ�นาญการ ทัณฑสถานหญิงกลาง
ยึ ด มั่ น ความซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต รั บ ผิ ด ชอบในหน้ า ที่ มี ค วามจริ ง จั ง จริ ง ใจ อุ ทิ ศ ตน และเวลาให้แก่การทำ�งานอย่างเต็มกำ�ลังความสามารถ พั ฒ นาศั ก ยภาพของตนเองอยู่ เ สมอ มุ่ ง เน้ น ผลสั ม ฤทธิ์ ของงาน และรั ก ษาผลประโยชน์ ข องราชการเป็ น หลั ก
กรมสอบสวนคดีพิเศษ
ร้อยตำ�รวจเอก สมัคร จันทร พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ชำ�นาญการพิเศษ
ใส่ ใ จและมุ่ ง มั่ น ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ให้ดีที่สุด ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยคำ�นึงถึงประโยชน์ ของประชาชน องค์กร และประเทศชาติเป็นสำ�คัญ
18
นางสาวศรีแพร บัวจำ�
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำ�นาญการ กองนโยบายและประสานแผน กระบวนการยุติธรรม ทำ � ให้ ใ นแต่ ล ะวั น ไม่ ใ ช่ ก ารทำ � งาน แต่เป็นการทำ�ในสิ่งที่ชอบ ทุกอย่างจึงออกมาดี
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 18
5/2/19 5:27 PM
สำ�นักงานกิจการยุติธรรม
นางสุภัทรา ปกาสิทธิ์ วโรตม์สิกขดิตถ์
นักวิชาการยุติธรรมชำ�นาญการพิเศษ กองนโยบายและประสานแผนกระบวนการยุติธรรม มุง่ มัน่ ตัง้ ใจในการปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นทุกภารกิจอย่างเต็มกำ�ลังความสามารถ ด้วยความซือ่ สัตย์ สุจริต พร้อมที่จะพัฒนาตนเองเสมอ ด้วยการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นกับผู้อื่น เพื่อขับเคลื่อนการดำ�เนินงานให้บรรลุผลสำ�เร็จ
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
นางชนิดาภา ศรีหนองหว้า
นักนิติวิทยาศาสตร์ชำ�นาญการ กลุ่มตรวจพิสูจน์ทางชีววิทยา กองตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ หลักความถูกต้อง เที่ยงตรง เสียสละ ซื่อสัตย์เป็นสำ�คัญ และพร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับ มอบหมายอย่างสุดความสามารถ เพื่ออำ�นวยประโยชน์ต่อประชาชนผู้ได้รับความเดือนร้อนให้ได้รับ ความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม
สำ�นักงาน ป.ป.ส.
นายพรพัฒน์ สุวรรณภูมิ
ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ภาค 5 หลักตั้งมั่นและปล่อยวาง
นายศราวุธ สิงห์โนนตาด
นิติกรชำ�นาญการพิเศษ ปฏิ บั ติ ต นอยู่ ใ นกรอบของ ระเบี ย บวิ นั ย ศี ล ธรรม คุ ณ ธรรม ปฏิบตั งิ านทีไ่ ด้รบั มอบหมายเต็มความรู้ ความสามารถ ศึกษาหาความรูเ้ พิม่ เติมอยูเ่ สมอ เพือ่ นำ�มาใช้ ในการปฏิบตั งิ านให้ถกู ต้อง มีประสิทธิภาพ และให้ความร่วมมือ กับส่วนรวมอยู่เสมอ
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 19
19 5/2/19 5:28 PM
ยุติธรรมเพื่อประชาชน
พันตำ�รวจโท วิชัย สุวรรณประเสริฐ ผู้อำ�นวยการกองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
กรณีศึกษาปัญหาหนี้นอกระบบ : ยิ่งสังคม มีความเหลื่อมล้ำ� มากเพียงใด การเอารัดเอาเปรียบ ยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
อำ�นวยความยุติธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ�ได้อย่างไร?
หนี้นอกระบบ เป็นปัญหาความเหลื่อมล�้ำจากการที่เจ้าหนี้มีฐานะ ทางเศรษฐกิจสังคมและอ�ำนาจการต่อรองทีส่ งู กว่า จึงเอารัดเอาเปรียบลูกหนี้ ให้ต้องจ�ำยอม เพื่อที่จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นในอัตราที่สูง เพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยง ที่ต้องลงทุนไป ยิ่งสังคมมีความเหลื่อมล�้ำมากเพียงใด การเอารัดเอาเปรียบ ยิง่ สูงขึน้ เป็นเงาตามตัว ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมา จะเห็นได้วา่ การแก้ไขปัญหา ภาพรวมอยูใ่ นภารกิจของหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน แต่ละหน่วยงาน ต่างมีบทบาทอ�ำนาจหน้าที่ และเครือ่ งมือส�ำหรับการแก้ไขปัญหาทีแ่ ตกต่างกัน ออกไป
ปัญหาที่เป็นตัวเร่งให้เกิดผลกระทบรุนแรง เกิดจากการที่ลูกหนี้ไม่สามารถเข้าถึงความเป็นธรรมหรือระบบ การช่วยเหลือของภาครัฐได้อย่างทันท่วงที ส่งผลให้ลูกหนี้ถูกเอาเปรียบในการท�ำสัญญา เมื่อมีคดีความเกิดขึ้น ไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเหตุให้แพ้คดี ถูกเจ้าหนี้ยึดทรัพย์ที่ดินท�ำกิน ไร้ที่อยู่อาศัย ปัญหา เหล่านี้ลุกลามกลายเป็นปัญหาสังคม ในรอบปีที่ผ่านมา ท่านคงเห็นการร้องเรียนจากปัญหาเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง และเจ้าพนักงานต�ำรวจได้ด�ำเนินการทางกฎหมายกับนายทุนเงินกู้นอกระบบในหลายพื้นที่ของประเทศ พร้อมกับ มอบคืนโฉนดที่ดินให้กับชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนเหล่านั้น สะท้อนให้เห็นว่า ที่ผ่านมา กระบวนการช่วยเหลือ อ�ำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล�้ำจากปัญหาหนี้นอกระบบตั้งแต่ในชั้นก่อนและขณะท�ำสัญญาเงินกู้ ชั้นก่อนฟ้อง ชั้นพิจารณา และชั้นบังคับคดี มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะคุ้มครองลูกหนี้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือไม่ อย่างไร? ผู้เขียนขอยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงเป็นกรณีศึกษา เพื่อชี้ให้เห็นสภาพปัญหาและรูปแบบแนวทางของการ ช่วยเหลืออ�ำนวยความยุติธรรม ดังนี้
20
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 20
5/2/19 5:28 PM
เมือ่ ประมาณกลางปี 2561 ได้รบั เรือ่ งร้องเรียนจากผูร้ อ้ ง เป็นชายวัยกลางคน ประกอบอาชีพขับรถสามล้อรับจ้าง มีรายได้ วันละประมาณ 500 – 1,000 บาท ส่วนภรรยามีอาชีพขายผัก ในตลาดสดแห่งหนึง่ ผูร้ อ้ งเล่าให้ฟงั ว่า ครอบครัวมีปญ ั หาเดือดร้อน ทางการเงิน รายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงได้ไปกู้ยืมเงินนอกระบบ กับเจ้าหนีเ้ งินกูซ้ งึ่ เป็นนายทุนหลายครัง้ ครัง้ ละประมาณ 40,000 - 50,000 บาท รวมแล้วประมาณ 150,000 บาท โดยให้ผู้ร้อง เซ็นสัญญาเงินกู้เปล่าที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ จากนั้นผู้ร้องได้มี การผ่อนช�ำระหนีท้ กุ วัน วันละ 500 – 1,000 บาท นับรวมช�ำระ ไปเกินครึ่งของเงินต้น ต่อมาผู้ร้องไม่มีความสามารถช�ำระได้ ทุกวัน เพราะค้าขายไม่ดี จึงขอผัดผ่อน หากไม่ช�ำระเกินสองวัน เจ้าหนี้ได้ให้นักเลงอันธพาลมาทวงหนี้ และขู่เข็ญด้วยวิธีต่างๆ จนผู้ร้องและครอบครัวเกิดความเกรงกลัว ต่อมาเจ้าหนี้ได้น�ำ เอกสารมาให้ผู้ร้องลงลายมือชื่อ โดยอ้างว่าเป็นหลักฐานเงินกู้ โดยผู้ร้องไม่รู้เลยว่าเอกสารที่เซ็นชื่อมอบให้เจ้าหนี้ไปนั้นจะส่งผล ร้ายแรงต่อชีวิตของตนเองและครอบครัวอย่างไร แล้วสิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นจริง ผู้ร้องถูกเจ้าหนี้ฟ้องว่า จ่ายเช็คเด้ง จึงได้รวู้ า่ เอกสารทีผ่ รู้ อ้ งเซ็นให้ไปนัน้ เป็นเช็คเพือ่ ช�ำระ หนี้เงินกู้ จ�ำนวน 400,000 บาท เจ้าหนี้ได้เอาเช็คสั่งจ่ายเงิน ฉบับดังกล่าวไปฟ้องร้องต่อศาล โดยกล่าวหาว่าลูกหนี้สั่งจ่ายเช็ค เพื่อช�ำระหนี้ที่มีอยู่จริง โดยในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ใน บัญชีอนั จะพึงให้ใช้เงินได้ พร้อมน�ำเจ้าหน้าทีต่ �ำรวจมาท�ำการจับกุม และถูกคุมขังตามอ�ำนาจศาล ภรรยาของผูร้ อ้ งต้องหาหนทางดิน้ รน เพือ่ ประกันตัวผูร้ อ้ งออกมา โดยไปจ่ายเงินเพือ่ ซือ้ ประกันอิสรภาพ หลังจากผูร้ อ้ งถูกควบคุมตัวเป็นระยะเวลา 5 วัน ผูร้ อ้ งไม่มที นายความ เพื่อต่อสู้คดีในชั้นศาล จึงได้รับค�ำแนะน�ำจากเจ้าหน้าที่ศาลยื่น ค�ำร้องขอทนายขอแรง เพื่อช่วยเหลือในการต่อสู้คดีในชั้นศาล ผู้ร้องต้องจ�ำนนต่อหลักฐาน เพราะลายมือชื่อในเช็คที่สั่งจ่ายและในสัญญากู้ จ�ำนวน 400,000 บาท ที่เจ้าหนี้ น�ำมาฟ้องเป็นลายมือชื่อของผู้ร้องเอง แต่ผู้ร้องเลือกที่จะไม่รับสารภาพเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเขาบอกว่า “ไม่ได้รับ ความเป็นธรรม” ผูร้ อ้ งให้ขอ้ มูลว่า เดินทางมาเรียกร้องหาความยุตธิ รรม ได้ยนื่ เรือ่ งร้องเรียนกับหน่วยงานรับเรือ่ งร้องเรียนส�ำนักงาน ปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี และกองทุนยุติธรรม เพื่อขอรับการช่วยเหลือทางด้านการประกันตัวและทนายความเพื่อต่อสู้คดี และเพือ่ ให้ด�ำเนินการกับเจ้าหนีต้ ามกฎหมาย แต่เนือ่ งจากคดีอยูใ่ นขัน้ ตอนของกระบวนการยุตธิ รรมในชัน้ ศาลพิจารณาคดี และผู้ร้องมีทนายความขอแรงที่ศาลแต่งตั้งให้แล้ว ด้วยข้อจ�ำกัดของกฎระเบียบท�ำให้ผู้ร้องไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับ ความช่วยเหลืออีก จะเห็นได้ว่าประเด็นที่ผู้ร้องได้รับความเดือดร้อน คือการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการกู้ยืมนอกระบบ ซึ่งเป็น เรื่องของการท�ำนิติกรรมสัญญาทางแพ่ง แต่เจ้าหนี้ใช้กลอุบายเพื่อเอารัดเอาเปรียบ โดยให้ลูกหนี้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค เพื่อช�ำระหนี้เงินกู้ และใช้การกระท�ำดังกล่าวเป็นมูลความผิดทางอาญาเพื่อใช้บีบบังคับลูกหนี้ให้ต้องจ�ำยอม วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 21
21 5/2/19 5:28 PM
แล้วจะหาหนทางเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายนี้อย่างไร? มีประเด็นทีท่ า่ นอาจจะสงสัยว่า ลูกหนีเ้ คยเปิดบัญชี เช็คเพื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คหรือไม่? จากการซักถามผู้ร้องไม่เคยเปิดบัญชีกระแสรายวัน เพื่อสั่งจ่ายเช็คมาก่อน ไม่รู้แม้กระทั่งค�ำว่า “เช็ค” คืออะไร เหตุที่ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย เนื่องจากเจ้าหนี้ให้ลงลายมือชื่อ โดยอ้างว่าเพื่อค�้ำประกันเงินกู้ จากนั้นเจ้าหนี้ได้เก็บหลักฐาน ทัง้ หมดไว้ผเู้ ดียว โดยทีล่ กู หนีไ้ ม่รเู้ รือ่ งอะไรอีกเลย จึงเป็นทีม่ า ของการตรวจสอบเรื่องนี้โดยละเอียดว่าเช็คฉบับดังกล่าว เจ้าหนี้น�ำมาฟ้องได้อย่างไร การตรวจสอบกับธนาคารพบว่า บัญชีเช็คดังกล่าว เป็นบัญชีของบุคคลที่สาม (แท้จริงแล้ว คือลูกหนี้คนหนึ่ง ของเจ้าหนี้) ที่เปิดบัญชีไว้ แล้วมอบอ�ำนาจให้เจ้าหนี้มีอ�ำนาจ สั่งจ่ายหรือเบิกถอนเงินจากบัญชี และจากการตรวจสอบ เชิงลึกยังพบอีกว่า ในวันที่ผู้ร้องรายนี้สั่งจ่ายเช็คเพื่อช�ำระหนี้ เจ้ า หนี้ ไ ด้ เ อาเงิ น มาฝากเข้ า บั ญ ชี เ ช็ ค ไว้ 400,000 บาท หลังจากนัน้ ในวันรุง่ ขึน้ เจ้าหนีจ้ งึ ได้ถอนเงินออกไป ท�ำให้บญ ั ชี ไม่มีเงินพอจ่าย แล้ ว เจ้ า หนี้ มี พ ฤติ ก ารณ์ เ อาเปรี ย บผู ้ ร ้ อ ง เพียงรายเดียวหรือ? ได้สอบถามกับทางธนาคารพบว่า สมุดเช็คของเจ้าของ บัญชีข้างต้นถูกเจ้าหนี้น�ำไปใช้กว่าร้อยฉบับ ส่วนใหญ่ไม่เกิด ปัญหาร้องเรียน เพราะว่าลูกหนีร้ บั สภาพหนีท้ เี่ กิดขึน้ และไม่ได้ ต่อสู้คดี ลูกหนี้บางรายต้องหลบหนีออกนอกพื้นที่ และยังพบ ข้อมูลอีกว่า เจ้าหนีไ้ ด้มคี ดีฟอ้ งร้องทีศ่ าลในลักษณะคดีแบบนี้ อีกจ�ำนวนมาก คงพอมองเห็นภาพว่า ลูกหนี้รายดังกล่าวไม่ได้รับ ความเป็นธรรมตั้งแต่ขั้นตอนการท�ำสัญญา การถูกฟ้องร้อง ด�ำเนินคดี การไม่ได้รับความช่วยเหลืออ�ำนวยความยุติธรรม เมื่อถูกกลั่นแกล้งจากเจ้าหนี้ ประเด็นที่ท�ำให้การช่วยเหลือ เรื่องนี้ประสบผลส�ำเร็จเกิดจากกระบวนการในการรวบรวม พยานหลักฐาน เพื่อประสานความร่วมมือกับทนายความ ขอแรงในการต่อสูค้ ดี จนในทีส่ ดุ ศาลก็รบั ฟังพยานหลักฐานไว้ พิจารณา และมีค�ำพิพากษายกฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ท�ำให้ ผู้ร้องได้รับความเป็นธรรมคืนในท้ายที่สุด จากนั้นได้มีการ ประสานงานเพื่อส่งมอบพยานหลักฐานให้กับเจ้าพนักงาน ต�ำรวจด�ำเนินคดีอาญากับเจ้าหนี้ตามกฎหมายต่อไป
22
จะเห็นได้ว่า ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับภารกิจ ของหลายหน่วยงาน หากน�ำหลักเกณฑ์การช่วยเหลือของ แต่ละหน่วยงานมาเป็นตัวตัง้ ผูร้ อ้ งแทบจะไม่ได้รบั การช่วยเหลือ ในด้านอื่น เพราะเขาได้รับการช่วยเหลือทางด้านคดีความ จากทนายความขอแรง ตามขัน้ ตอนของกระบวนการยุตธิ รรม ทีผ่ เู้ ขียนเล่ามา เพือ่ ต้องการสะท้อนให้เห็นว่าการทีม่ หี น่วยงาน กลไก และเครื่องมือทางกฎหมายแล้วยังไม่เพียงพอ ประเด็น ส�ำคัญอยู่ที่วิธีคิด กระบวนการ และวิธีการช่วยเหลืออ�ำนวย ความยุ ติ ธ รรมต่ า งหาก ที่ จ ะท�ำให้ ค วามเป็ น ธรรมถึ ง มื อ ประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ ประการแรก การช่วยเหลืออ�ำนวยความยุติธรรม ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ จะต้ อ งมี ก ารศึ ก ษาวิ เ คราะห์ ก ฎหมาย สารบั ญ ญั ติ และกฎหมายวิ ธี ส บั ญ ญั ติ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง และมี กระบวนการรู ป แบบของการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ อ�ำนวย ความยุตธิ รรมทีค่ รอบคลุมในทุกมิติ ซึง่ ในแต่ละเรือ่ ง มีรปู แบบ หรื อ วิ ธี ก ารช่ ว ยเหลื อ ที่ แ ตกต่ า งกั น ดั ง นั้ น ต้ อ งมี ก าร ถอดบทเรียนเพื่อสร้างเป็นแนวทางปฏิบัติงานที่ดี (Best Practice) และปรับใช้เป็นแบบอย่างในเรื่องอื่นๆ ได้อีกด้วย ประการทีส่ อง คือ การสร้างจิตส�ำนึกให้กบั เจ้าหน้าที่ ด้านการอ�ำนวยความยุตธิ รรม ให้มจี ติ สาธารณะ มีความพร้อม ในการค้นหาข้อเท็จจริง และพยานหลักฐาน เพื่อช่วยเหลือ ให้ได้รับความเป็นธรรม ประการที่สาม คือ การบูรณาการกับหน่วยงาน ที่ ภ าคส่ ว น ซึ่ ง ต้ อ งมี ก ารส่ ง ต่ อ ข้ อ มู ล ในการด�ำเนิ น การ ให้ความช่วยเหลือ ไม่สร้างภาระให้กับประชาชน โดยยึดถือ ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนเป็นศูนย์กลาง ประการที่สี่ คือ ปรับกฎระเบียบที่มีความเคร่งครัด ให้มีความคลายตัว เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด และสามารถที่จะเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดส�ำหรับการขอรับ การช่วยเหลืออ�ำนวยความยุติธรรมในทุกขั้นตอน สรุปได้ว่า ปัญหาในการให้ความช่วยเหลือ อ�ำนวยความยุตธิ รรม เป็นการแก้ไขปัญหาทีป่ ลายเหตุ ก็ จ ริ ง แต่ ถ ้ า เขาเหล่ า นั้ น ไม่ ไ ด้ รั บ การช่ ว ยเหลื อ จะยิ่งท�ำให้ปัญหาต่างๆ เลวร้ายมากยิ่งขึ้น และส่ง ผลกระทบต่อความเชื่อมั่นกับหน่วยงานที่มีบทบาท ด้านการอ�ำนวยความยุติธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 22
5/2/19 5:28 PM
กำ�แพงมิอาจกั้น
กองบรรณาธิการ
น้อมนำ�“ศาสตร์พระราชา” สร้างชีวิตใหม่ในเรือนจำ�
การน้อมนำ�หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มาปรับใช้ในเรือนจำ� เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถนำ�ไปใช้ได้จริง ภายหลังพ้นโทษ เป็นการสร้างกำ�ลังใจ ให้กับผู้ต้องขัง และยังทำ�ให้ผู้ต้องขัง ได้มีโอกาสในการกลับคืนสู่สังคม “โอกาส” เป็ น ปั จ จั ย ส�ำคั ญ ส่ ว นหนึ่ ง ที่ ท�ำให้ ผูท้ พ ี่ น้ โทษสามารถกลับคืนสูส่ งั คม และกลับมามีชวี ติ ใหม่ อีกครัง้ โดยไม่ตอ้ งกลับไปกระท�ำผิดซำ�้ กระทรวงยุตธิ รรม โดยเรือนจ�ำชัว่ คราวดอยฮาง สังกัดเรือนจ�ำกลางเชียงราย ด�ำเนินการตามโครงการในพระราชด�ำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในการน้อมน�ำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในเรือนจ�ำ เพื่อให้ผู้ต้องขัง สามารถน้อมน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช บรมนาถบพิตร ไปใช้ได้จริงภายหลังพ้นโทษเป็นการ สร้างก�ำลังใจให้กับผู้ต้องขังและยังท�ำให้ผู้ต้องขังได้มี โอกาสในการกลับคืนสู่สังคม โดยมีทกั ษะทีส่ ามารถด�ำรง ชีวติ ทีพ ่ งึ่ ตนเองได้ไม่หวนกลับไปกระท�ำผิดอีก ในปัจจุบนั เรือนจ�ำชั่วคราวดอยฮาง เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง เปิดให้บริการเข้าเยี่ยมชมการบริหารจัดการ อย่างเป็นระบบ และเป็นจุด Check in ที่ส�ำคัญของ นักท่องเทีย่ วและประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการ
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 23
23 5/2/19 5:28 PM
เรือนจ�ำชัว่ คราวดอยฮาง จังหวัดเชียงราย ซึง่ ตัง้ อยู่ ในพื้นที่หมู่ 3 ต�ำบลดอยฮาง อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นตัวอย่างหนึ่งของความก้าวหน้าในเรื่องนี้ โดยเปิดรับ ผู้ต้องขังชายใกล้พ้นโทษมาเตรียมพร้อมก่อนออกไปเริ่มต้น ชีวิตใหม่เมื่อพ้นโทษ เรือนจ�ำเปิดริมแม่น�้ำกกแห่งนี้ ถือเป็น พื้นที่ทดลองใช้ชีวิต และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรและ ความรู้เกี่ยวกับทักษะอาชีพต่างๆ โดยผู้ต้องขังกลุ่มนี้จะได้ เรียนรูด้ า้ นต่างๆ ตามฐานของโครงการตลอดระยะเวลา 9 เดือน ที่อยู่ในโครงการ จนถึงปัจจุบันผู้ต้องขังในโครงการก�ำลังใจฯ ในพื้นที่เรือนจ�ำชั่วคราวดอยฮางได้ด�ำเนินการมาแล้ว 8 รุ่น ศาตรานนท์ บุญอินเขียว หัวหน้าเรือนจ�ำชั่วคราว ดอยฮาง บอกว่า “ถ้าใครผ่านประตูเข้ามาก็จะได้เห็นว่า ในเรือนจ�ำเรามีหลายสิ่งให้เที่ยวและเรียนรู้ งานเกษตรก็ปลูก พื ช ผั ก ตามฤดู ก าล มี โ รงปลู ก องุ ่ น คนที่ ส นใจปศุ สั ต ว์ ก็ มี การเลี้ยงไก่ไข่ ไก่ด�ำ และหมูหลุม เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ มีการ ท�ำนาด้วย” พื้นที่ 75.5 ไร่ ของเรือนจ�ำชั่วคราวดอยฮาง ถูกแบ่งซอยเป็นเขตย่อยๆ มีทั้งศูนย์การเรียนรู้ บ่อเลี้ยงปลา โรงเพาะเห็ด โรงเรือนแปลงองุน่ โรงสีขา้ ว โรงปุย๋ หมักชีวภาพ ฯลฯ “แปลงนาประมาณ 4 ไร่ น้องๆ ผู้ต้องขังเป็นคนท�ำ หว่านกล้า ลงแขกท�ำนา ถึงหน้าเกี่ยวก็ลงแขกเกี่ยวข้าว เกีย่ วเสร็จก็นำ� มากองรวมแบบโบราณ แล้วนวดข้าวด้วยแรงคน ซึ่งย้อนกลับไปสู่ชีวิตชาวนาสมัยพ่อแม่เราตามวิถีชาวนาไทย สมัยก่อน ตั้งแต่เริ่มปลูก ซึ่งชาวนาเดี๋ยวนี้ใช้รถปลูก แต่เรา ยังใช้แรงคน เขาใช้รถเกี่ยว แต่เราใช้คนเกี่ยว ใช้คนนวด” ปลูกทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวสลับหมุนเวียนไป ตอนหลัง บางปีปลูกข้าวไรซ์เบอร์รีด้วย
24
“ข้าวเปลือก บางส่วนเราก็สี สีให้น้องๆ แบ่งให้ตาม บ้านไปกินกัน และบางส่วนก็จัดสวัสดิการอาหารมื้อกลางวัน เจ้าหน้าที่ บางส่วนก็ขายไปเป็นต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้าง อะไรบ้าง แบบเล็กๆ น้อยๆ” “เราจ�ำลองการปกครองโดยมีบา้ นสามหลัง ตัง้ ก�ำนัน ขึ้นมาแบบการปกครองแบบท้องถิ่น มีผู้ใหญ่บ้านแต่ละหลัง สมาชิ ก ที่ เ หลื อ 40 กว่ า คน ก็ เ ฉลี่ ย กระจายเป็ น ลู ก บ้ า น ตามบ้าน เวลาผมสั่งงานก็ส่ังไปที่ก�ำนันกับผู้ใหญ่บ้าน น�ำไป กระจายถึงลูกบ้าน อยู่กินด้วยกัน ท�ำงานด้วยกัน เราจะแบ่ง เขตพื้นที่รับผิดชอบให้แต่ละบ้าน” แปลงผักมีทงั้ ทีเ่ ป็นแปลงรวมใหญ่ และแปลงตามบ้าน ก�ำลังใจ กลางวันมาท�ำแปลงใหญ่ร่วมกัน เลิกงานกลับไป ท�ำแปลงที่ บ ้ า น ซึ่ ง สามารถเก็ บ เกี่ ย วผลิ ต ผลปรุ ง อาหาร กินกันเองได้ การเปิดโอกาสให้เรียนรูช้ วี ติ อย่างอิสระตามสมควรนี้ เพือ่ ให้ผตู้ อ้ งขังใกล้พน้ โทษได้ฝกึ อาชีพเตรียมความพร้อมออก ไปใช้ชวี ติ เยีย่ งสุจริตชน และคนเข้ามาเทีย่ วได้เรียนรู้ ผูต้ อ้ งขัง จึงมีโอกาสได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างเพื่อปรับตัวกลับสู่ สังคม
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 24
5/2/19 5:28 PM
คุกคอฟฟี่ ผ่านประตูเรือนจ�ำชั่วคราวดอยฮางเข้ามา จะเห็น ร้านกาแฟเป็นสิ่งแรก เพราะตั้งอยู่ด้านนอกสุด ซึ่งมีจุดเด่น ดึงดูดสายตาและความสนใจอยู่บนระเบียงต้นไม้ ร้านอินสปาย หรือ Inspire by Princess ร้านกาแฟ ที่ตั้งอยู่ในเรือนจ�ำ ที่คนชง หรือบาริสต้า (barista) และคน ทีท่ �ำงานอยูใ่ นร้านทัง้ หมดเป็นผูต้ อ้ งขังชายในเรือนจ�ำชัว่ คราว ดอยฮาง จังหวัดเชียงราย เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ถูกวางไว้ ส�ำหรับการเป็นพืน้ ทีท่ ดลองในการฝึกอาชีพของผูต้ อ้ งขัง และ เป็นการน้อมน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้เห็น เป็นรูปธรรมว่า ความพอเพียงเป็นเรื่องเป็นไปได้ในชีวิตจริง “เป็นที่นั่งจิบกาแฟบนระเบียงต้นไม้ ซึ่งร้านกาแฟ ทั่วไปไม่มี เป็นที่แรกของเชียงราย สามารถสั่งกาแฟขึ้นไป นั่งดื่มบนต้นไม้ นั่งกินลมชมวิวได้ ซึ่งตอนนี้ก็ได้รับความสนใจ จากคนทั่วไป พาลูกๆ มานั่งกินอาหารนั่งเล่นที่ร้านกาแฟนี้” หัวหน้าเรือนจ�ำชั่วคราวดอยฮาง เล่า ขอบคุณ 1. ภาพจาก โครงการกำ�ลังใจฯ 2. https://www.facebook.com/pg/เรือนจำ�กลางเชี ย งราย -163914363780702/photos/?tab=album&album_ id=1092010684304394 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 25
บลู (นามสมมุติ) หนุ่มวัย 28 ปี เป็นหนึ่งในบาริสต้า รุ่นที่ 2 พื้นเพเป็นชาวอ�ำเภอเมืองเชียงราย โดนเกณฑ์ทหาร ปลดประจ�ำการออกมาไม่มีงานท�ำ เพื่อนเอายามาให้ขาย บอกว่ารายได้ดี เขาท�ำอยู่ 2-3 เดือน รายได้ดจี ริงดังเพือ่ นบอก แต่เขาโดนจับโดยเพือ่ นคนนัน้ เองเป็นสายให้ต�ำรวจ เพือ่ นโดน จับก่อน แต่รอดคุก เพราะยอมเป็นสายให้ต�ำรวจ บลูต้องโทษ อยู่ในเรือนจ�ำกลางเชียงราย 1 ปี 5 เดือน ได้มาอยู่เรือนจ�ำ ชั่วคราวดอยฮาง ซึ่งอยู่ห่างกันไม่ถึง 10 กิโลเมตร แต่สภาพ ความเป็นอยู่และโอกาสในการพัฒนาตัวเองต่างกันมาก บลูประจ�ำอยูบ่ า้ นพอเพียง หนึง่ ในบ้าน 3 หลัง ในพืน้ ที่ เปิดเรือนจ�ำชัว่ คราวทีท่ ดลองให้ผตู้ อ้ งขังมาใช้ชวี ติ เขาเลีย้ งหมู เลี้ยงไก่มาเป็นปี จนมีการเปิดอบรมบาริสต้ารุ่นที่ 2 เขาสมัคร เข้าร่วม ฝึกกับเทรนเนอร์จากร้านกาแฟดอยตุงราว 15 วัน เขาก็ท�ำเป็น “ก่อนนั้นผมท�ำงานอยู่บ้านพอเพียงครับ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ประมาณปีกว่าแล้ว มันจ�ำเจ เราไปหาประสบการณ์ ต่างๆ ดูว่ามันจะเปลี่ยนไปไหม พอมาท�ำก็ชอบครับ” การได้ท�ำงานในร้านอินสปายได้ประโยชน์กบั ชีวติ มาก “เป็นประโยชน์เยอะเลยครับ ช่วยผมเมื่อออกไปจะไม่ไป ยุ่งกับยาเสพติด ชงกาแฟวันละ 350 บาท เราก็อยู่ได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพึ่งยาเสพติดอีก”
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
25 5/2/19 5:28 PM
ที่นี่แจ้งวัฒนะ
กองบรรณาธิการ กระทรวงยุตธิ รรม ร่วมกิจกรรมจิตอาสา “เราทำ�ความ ดี ด้วยหัวใจ” พัฒนาคลองแวะ
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุตธิ รรม พร้อมด้วย พลเอก ชูชาติ บัวขาว รองเสนาธิการทหาร คณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐในจังหวัด นนทบุรี ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำ�รวจ และประชาชนจิตอาสา จำ�นวนกว่า 1,200 คน ร่วมกิจกรรมจิตอาสา “เราทำ�ความ ดี ด้วยหัวใจ” พัฒนาคลองแวะ ณ สนามกอล์ฟ กรมชลประทาน อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในโอกาสนี้ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ได้นำ�กล่าวสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมกล่าวคำ�ปฏิญาณตนพร้อมกันว่า “เราทำ�ความ ดี ด้วยหัวใจ”
รมว.ยุตธิ รรม เปิดประชุมการกำ�หนดทิศทางการพัฒนาสำ�นักงาน ป.ป.ส. เพือ่ รองรับการเปลีย่ นแปลงในปัจจุบนั
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหาร เพื่อกำ�หนดทิศทางการพัฒนาสำ�นักงาน ป.ป.ส. โดยมีคณะผู้บริหารสำ�นักงานรัฐมนตรี และข้าราชการระดับผู้บริหาร ผู้อำ�นวยการกอง/สำ�นัก ของสำ�นักงาน ป.ป.ส. ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยโครงการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 9 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. ได้ตระหนักถึง ความสำ�คัญและความจำ�เป็นในการปรับเปลี่ยนวิธีการคิด การทำ�งาน และการบริหารองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน รวมทั้ง เกิดความรู้ ความเข้าใจบทบาทภารกิจ และรับรู้ทิศทางนโยบายของสำ�นักงาน ป.ป.ส. ภายใต้กรอบทิศทางประมวลกฎหมายยาเสพติด พร้อมจัดทำ� กรอบทิศทางการปรับโครงสร้าง บทบาทภารกิจ การพัฒนาองค์กร และการขับเคลือ่ นนโยบายและแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ณ โรงแรม รามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร
รองปลัดกระทรวงยุตธิ รรม ร่วมการประชุมคณะกรรมการ กองทุนพัฒนาสือ่ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครัง้ ที่ 1/2562
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมการประชุม คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสือ่ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครัง้ ที่ 1/2562 โดยมีวาระ การประชุมทีส่ �ำ คัญ คือ การรับทราบผลการประเมินผลการดำ�เนินงานของกองทุนฯ ในปีงบประมาณ 2561 และกรอบหลักเกณฑ์และตัวชีว้ ดั การประเมินผลการดำ�เนินงาน ของกองทุ น ฯ ในปี ง บประมาณ 2562 พร้ อ มทั้ ง พิ จ ารณาเรื่ อ งการปรั บ แผน งบประมาณ แผนการดำ�เนินงาน และแผนการใช้จา่ ย ปีงบประมาณ 2562 แนวทาง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 การพิจารณากรอบวงเงินการเลื่อนเงินเดือนเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำ�ลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ร่วมปฏิบัติงาน การประเมินผล การปฏิบัติงานของผู้จัดการกองทุนฯ ประจำ�ปี 2561 รวมทั้งพิจารณาแผนการ ปฏิบตั งิ านของผูจ้ ดั การกองทุนฯ ประจำ�ปี 2562 เพือ่ สนับสนุนภารกิจการขับเคลือ่ น ของภาคี เ ครื อ ข่ า ยที่ มี ส่ ว นร่ ว มต่ อ การพั ฒ นากลไกรู้ เ ท่ า ทั น และเฝ้ า ระวั ง สื่ อ ให้ด�ำ เนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะก่อให้เกิดพื้นที่สื่อสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ต่อไป ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำ�เนียบรัฐบาล
26
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 26
5/2/19 5:28 PM
“ยุตธิ รรม” เปิดโครงการโรงเรียนยุตธิ รรมอุปถัมภ์ เสริมสร้างจิตสำ�นึกการรับรูด้ า้ นกฎหมายและกระบวนการ ยุตธิ รรมให้กบั เยาวชน
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุตธิ รรม เป็นประธานเปิดโครงการโรงเรียนยุตธิ รรมอุปถัมภ์ โดยจัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนสตรีนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ภายใต้โครงการ “โรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ของกระทรวงยุติธรรม” เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและปลูกฝังจิตสำ�นึกให้กับเด็กและเยาวชนด้านกระบวนการ ยุติธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการให้กลุ่มเด็กและเยาวชน มีความตื่นตัวและส่วนร่วมในการดำ�เนินกิจกรรม เพื่อเป็นแนวทางป้องกัน อาชญากรรมได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและเป็ น รู ป ธรรม โดยมี ศาสตราจารย์ พิ เ ศษวิ ศิ ษ ฏ์ วิ ศิ ษ ฏ์ ส รอรรถ ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม พันตำ�รวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผู้อำ�นวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พร้อมทัง้ คณะผูบ้ ริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ รวมทัง้ คณะอาจารย์ นักเรียน โรงเรียนสตรีนนทบุรี เข้าร่วมฯ ณ โรงเรียนสตรีนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
รมว.ยุตธิ รรม พร้อมคณะฯ ลงพืน้ ทีต่ รวจเยีย่ ม การบำ�บัดฟืน้ ฟูยาเสพติด กองบิน 41 เชียงใหม่
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย พลตำ�รวจเอก ต่อศักดิ์ สอาดพรรค คณะทำ�งานรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการ ป.ป.ส. ผู้บริหารระดับสูง และ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการบำ�บัดฟื้นฟูยาเสพติด กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้งรับฟังการบรรยายสรุป กระบวนการบำ�บัดฟืน้ ฟูสมรรถภาพผูต้ ดิ ยาเสพติด และให้ก�ำ ลังใจ ผู้เข้ารับการบำ�บัดรักษา และสนับสนุนการฝึกอาชีพ เพื่อนำ�ไป ประกอบอาชีพหลังการบำ�บัดฟื้นฟู เพื่อไม่ให้กลับไปเกี่ยวข้อง กับยาเสพติด จากนั้นลงพื้นที่บ้านท่ากระดาษริมเหมือง หมู่ที่ 6 ตำ�บลฟ้าฮ่าม อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรับฟังสรุปผล การดำ�เนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยกระบวนการ กองทุนแม่ของแผ่นดิน ที่ทำ�ให้ปัญหายาเสพติดลดลง
“ยุตธิ รรม” เพิม่ ประสิทธิภาพเจ้าหน้าทีต่ รวจพิสจู น์ยาเสพติด
พลอากาศเอก ประจิน จัน่ ตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม เป็นประธานในพิธเี ปิดโครงการสัมมนาเชิงวิชาการ “เพิม่ ประสิทธิภาพเจ้าหน้าทีต่ รวจพิสจู น์ยาเสพติดของสถานตรวจพิสจู น์ยาเสพติดในประเทศไทย” ซึง่ จัดขึน้ ระหว่างวันที่ 18 – 21 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อเสริมสร้างทักษะการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด และพัฒนาศักยภาพด้านการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเทคโนโลยีการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดร่วมกับระดับนานาชาติ โดยมี ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ผู้แทนจากสถานตรวจพิสูจน์ทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 27
27 5/2/19 5:28 PM
ทุกทิศทั่วยุติธรรม
กองบรรณาธิการ
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะอ�ำนวย ความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล�้ำ ขจัดความทุกข์ยาก สร้างประชาสามัคคี และ ส่งเสริมคนดีสู่สังคม ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา หน่วยงานในสังกัดกระทรวง ยุติธรรมทุกหน่วยงาน จึงมีความตื่นตัว อยู่เสมอในการปฏิบัติหน้าที่ และด�ำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมาย สูงสุด นั่นคือการท�ำให้ประชาชน ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงความยุติธรรม และได้รับความเท่าเทียมโดยถ้วนหน้ากัน
ขับเคลือ่ นมาตรการป้องกันอาชญากรรมในระดับพืน้ ทีจ่ งั หวัดลำ�ปาง นางจิราวรรณ ไชยวุฒิ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัด ล�ำปาง พร้อมด้วยส�ำนักงานยุติธรรมจังหวัดล�ำปาง และเจ้าหน้าที่ส�ำนักงาน คุมประพฤติจงั หวัดล�ำปาง จัดโครงการขับเคลือ่ นมาตรการป้องกันอาชญากรรม ในระดับพื้นที่ จังหวัดล�ำปาง และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ อุ ป กรณ์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ติ ด ตามตั ว (EM) มาใช้ กั บ ผู ้ ก ระท�ำผิ ด ในระบบ คุมประพฤติ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เพิ่มขีดความสามารถของระบบงาน คุมประพฤติในรูปแบบโทษระดับกลาง และการคุมความประพฤติแบบเข้มงวด อันจะน�ำไปสู่การส่งเสริมมาตรการทางเลือกแทนการจ�ำคุก และยกระดับ การปฏิบัติต่อผู้กระท�ำผิดตามมาตรฐานสากล ให้กับชมรมก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรก�ำนัน แพทย์ประจ�ำต�ำบล ผูช้ ว่ ยผูใ้ หญ่บา้ น คณะกรรมการศูนย์ยตุ ธิ รรม ชุมชน ในเขตอ�ำเภอเสริมงาม จังหวัดล�ำปาง ณ ห้องประชุมอ�ำเภอเสริมงาม จังหวัดล�ำปาง ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุตธิ รรมจัดกิจกรรมเคลือ่ นทีใ่ ห้บริการประชาชน
ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุตธิ รรม จัดโครงการศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุตธิ รรมเคลือ่ นที่ เพือ่ ให้บริการประชาชน เกีย่ วกับงานภารกิจของศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุตธิ รรม ได้แก่ การให้ค�ำปรึกษาด้านกฎหมาย การรับเรือ่ งราวร้องทุกข์ และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภารกิจของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมแก่ประชาชน ณ ชุมชนเกตุไพเราะ 3, 4, 5 และวชิรธรรมสาธิต 57 เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
28
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 28
5/2/19 5:28 PM
ประชาสัมพันธ์เผยแพร่บทบาทภารกิจของกรมบังคับคดี ส�ำนั ก งานบั ง คั บ คดี จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ร่วมจัดบูธพร้อมแจกเอกสารและประชาสัมพันธ์ บทบาทภารกิจของกรมบังคับคดี ในโครงการ สั ม มนาเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารการสร้ า งเครื อ ข่ า ย การประสานงานระดั บ ภู มิ ภ าค เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพศู น ย์ ส นั บ สนุ น และช่ ว ยเหลื อ เอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center : SSRC) ณ โรงแรม ดิ เอ็มเพรส เชียงใหม่
ศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
เรือนจ�ำชั่วคราวคลองโพธิ์ ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากกลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านวังไผ่ หมู่ 8 โดยมีพัฒนา ชุมชนอ�ำเภอเมืองนครสวรรค์ เพือ่ เข้าศึกษาดูงานศูนย์เรียนรูเ้ ศรษฐกิจพอเพียง เรือนจ�ำชัว่ คราวคลองโพธิ์ ต�ำบลนครสวรรค์ตก อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ประชาสัมพันธ์ภารกิจการให้บริการของกระทรวงยุติธรรมแก่กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน ส�ำนักงานยุตธิ รรมจังหวัดปัตตานี เเละหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงยุตธิ รรม พร้อมหน่วยงานร่วมบูรณาการ ออกหน่วยบริการ โดยนายสายนูดิน มามุ หัวหน้ากลุ่ม พัฒนาเเละส่งเสริมระบบงานยุติธรรม พร้อมหัวหน้า ส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ ร่วมประชาสัมพันธ์ภารกิจ การให้ บ ริ ก ารของกระทรวงยุ ติ ธ รรมและหน่ ว ยงาน ที่เกี่ยวข้อง ตามโครงการยุติธรรมเคลื่อนที่ ประจ�ำปี พ.ศ. 2562 ในการประชุ ม ของก�ำนั น ผู ้ ใ หญ่ บ ้ า น ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 ณ หอประชุมที่ว่าการ อ�ำเภอสายบุรี ต�ำบลตะลุบัน อ�ำเภอสายบุรี จังหวัด ปัตตานี วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 29
29 5/2/19 5:28 PM
เสริมสร้างความรู้ด้านกฎหมายและเทคนิคด้านการอำ�นวยความยุติธรรมแก่ผู้นำ�ชุมชน
นางสาวณัฐนันท์ พิทักษา ยุติธรรมจังหวัดลพบุรี มอบหมายให้นายณรงค์ นวลอินทร์ และนายสิทธิกร สีโห้มี นิติกร เข้าร่วมเป็นวิทยากร เพื่อให้ความรู้ด้านกฎหมาย และเทคนิคในการอ�ำนวยความยุติธรรมภายในชุมชนแก่ผู้น�ำชุมชน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตามโครงการสร้างองค์ความรู้ด้านกฎหมายที่จ�ำเป็นต่อชีวิตประจ�ำวัน ซึ่งได้รับ การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนยุตธิ รรม จัดโดยศูนย์ยตุ ธิ รรมชุมชนต�ำบลล�ำสนธิ ณ ทีท่ �ำการองค์การบริหารส่วนต�ำบล ล�ำสนธิ อ�ำเภอล�ำสนธิ จังหวัดลพบุรี รับมอบสิ่งของที่จำ�เป็นสำ�หรับผู้ต้องขังหญิง
นายธงชัย จันทร์ฉลอง ผู้อ�ำนวยการส่วนพัฒนาผู้ต้องขัง ให้การต้อนรับ นางบังอร มณีรินทร์ รองนายกเทศบาลนคร เชียงราย พร้อมด้วยคณะเครือข่ายสตรีเทศบาลนครเชียงราย เนื่องในโอกาสที่เข้ามอบผ้าอนามัย ชุดชั้นใน และสิ่งของ ที่จ�ำเป็นส�ำหรับผู้ต้องขังหญิง ณ แดนหญิงเรือนจ�ำกลางเชียงราย จังหวัดเชียงราย เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ นางอรเกษมศิลป์ จิรวัสวงศ์ ยุติธรรมจังหวัดอุดรธานี ร่วมพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 จังหวัดอุดรธานี และขับเคลือ่ น มาตรการ “คนอุ ด รมี วิ นั ย ขี่ ม อเตอร์ ไ ซค์ ใ ส่ ห มวกกั น น็ อ ค” ภายใต้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน 3ส 1ป โดยมี นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยนายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ คณาจารย์ และนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เข้าร่วม ณ บริเวณสนามทุง่ ศรีเมือง (ด้านศาลากลางพิธีทุ่งศรีเมือง) อ�ำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ทุกปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชนอันเกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย ความยุติธรรม โปร่งใส และเท่าเทียม กระทรวงยุติธรรมถือเป็นหน้าที่ที่ต้องช่วยดูแลแก้ไขให้คลี่คลาย แต่พร้อมกันนั้น ก็ต้องได้รับการร่วมมือจากภาคประชาชน ด้วย ซึ่งถ้าหากทั้งสองส่วนพร้อมใจร่วมมือกันปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้ สังคมและประเทศชาติก็จะเดินหน้าต่อไปได้ อย่างราบรื่น
30
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 30
5/2/19 5:28 PM
ภาษายุติธรรม
นางสาวมานิตตา ชาญไชย นักวิเทศสัมพันธ์ชำ�นาญการ กองการต่างประเทศ
ความเท่าเทียม (Equality) ความเสมอภาค (Equity) และความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice)
ปัจจุบันค�ำว่า “ความเท่าเทียม” “ความเสมอภาค” และ “ความยุติธรรมทางสังคม” เป็นค�ำที่พบได้มากขึ้น ในสังคมไทย ภายใต้บริบทของการให้ความส�ำคัญกับการ ส่งเสริมสิทธิพลเมืองในมิติต่างๆ ที่เข้มข้นขึ้น อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาความหมายของทั้ง 3 ค�ำ จะพบว่า แม้ว่า แต่ละค�ำจะมีความหมายทีใ่ กล้เคียงกัน แต่กม็ คี วามแตกต่างกัน ในการอธิบายความแตกต่างของทัง้ 3 ค�ำ ให้เข้าใจ ได้งา่ ยขึน้ ผูเ้ ขียนได้เทียบเคียงความหมายของค�ำว่า ความเท่าเทียม ความเสมอภาค และความยุตธิ รรม ทางสั ง คมกั บ ค�ำศั พ ท์ ภ าษาอั ง กฤษที่ ส ามารถ เทียบเคียงกันได้ ได้แก่ ความเท่าเทียม = Equality ความเสมอภาค = Equity ความยุติธรรมทางสังคม = Social Justice
ความเท่าเทียม (Equality) หมายถึง การทีพ่ ลเมือง ทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้กฎเกณฑ์ เดียวกัน เป็นมุมมองที่ถือว่าคนทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติ ที่ เ หมื อ นกั น โดยมิ ไ ด้ พิ จ ารณาหรื อ ค�ำนึ ง ถึ ง ข้ อ แตกต่ า ง ของแต่ละบุคคล (สุรพล ปธานวนิช, 2547) ความเท่าเทียม
หรือ Equality จึงมุ่งไปที่มิติของการ “ปกป้องสิทธิ” มิให้ ถูกละเมิด โดยเฉพาะสิทธิของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน เช่น หญิงและชายที่ท�ำงานในต�ำแหน่งเดียวกัน จะต้องได้ ค่ า ตอบแทนที่ เ ท่ า กั น เด็ ก จะถู ก ปฏิ เ สธไม่ ใ ห้ เ ข้ า เรี ย น เพราะนับถือศาสนาที่แตกต่างกันไม่ได้ เป็นต้น ในขณะที่ค�ำว่า ความเสมอภาค (Equity) มีนัยยะ ที่แตกต่างจากความเท่าเทียม เพราะความเสมอภาคไม่ได้ เรี ย กร้ อ งให้ เ กิ ด การปฏิ บั ติ อ ย่ า งเท่ า เที ย มกั น ในทุ ก กรณี กล่าวคือ ไม่ได้หมายความว่า บุคคลทุกคนจะต้องได้รับ การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ได้ค�ำนึงถึงข้อแตกต่าง ใดๆ เลย แต่ ค วามเสมอภาคจะให้ ค วามส�ำคั ญ กั บ การ เปรียบเทียบความแตกต่าง เพื่อพิจารณาว่าคนกลุ่มใดจ�ำเป็น ต้องได้รับสิทธิ ความช่วยเหลือ หรือการสงเคราะห์ที่มากกว่า เพื่อสนับสนุนให้คนกลุ่มนั้นมีสวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิต ทีด่ ขี นึ้ หรือเสมอกับคนกลุม่ อืน่ ๆ ในสังคม (สุรพล ปธานวนิช, 2547) ความเสมอภาค หรือ Equity จึงมุ่งไปที่การ “ส่งเสริม สิทธิ” เชิงบวก เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางโอกาส เช่น ผู้ที่มีรายได้สูง จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่มีรายได้ต�่ำ การให้สวัสดิการด้านการศึกษาแก่เด็กก�ำพร้า การให้สิทธิ รับผู้พิการเข้าท�ำงาน เป็นต้น วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 31
31 5/2/19 5:28 PM
ส�ำหรับค�ำว่า ความยุติธรรม หรือความเป็นธรรมทางสังคม (Social Justice) เป็นมโนทัศน์ที่มีความซับซ้อน กว่าความยุติธรรมในทางกฎหมาย หรือกระบวนการยุติธรรม โดยในโลกยุคปัจจุบันระบบกฎหมายไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่ รักษาความยุติธรรมตามตัวบทกฎหมายเท่านั้น และจะต้องขยายปริมณฑลไปสู่ “การปกป้อง รักษา และส่งเสริม” สิทธิ และเสรีภาพของพลเมืองด้วย แม้ว่าความยุติธรรมในระบบกฎหมายจะแสดงให้เห็นว่า กฎหมายสามารถที่จะน�ำไปสู่ ความเป็นธรรมได้ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นที่ตระหนักว่า ระบบกฎหมายเพียงกลไกเดียว อาจไม่สามารถสนับสนุนให้เกิด ความเป็นธรรมได้ เพราะแท้ทจี่ ริงแล้ว กฎหมายจ�ำเป็นต้องเชือ่ มโยงกับระบบย่อยต่างๆ ทีอ่ ยูใ่ นสังคม (ธนาชัย สุนทรอนันตชัย, 2559) เช่น แม้วา่ รัฐจะออกกฎหมายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพือ่ ให้ประชาชนไทยทุกคนมีสทิ ธิเข้ารับบริการด้านสาธารณสุข แต่หากผู้ป่วยเป็นคนยากจน ไม่มีญาติ หรือไม่สามารถเดินทางไปสถานพยาบาลได้ ย่อมหมายความว่า แม้จะมีสิทธิแต่ก็ ไม่สามารถเข้าถึงความเป็นธรรมได้ การสนับสนุนให้เกิดความยุตธิ รรม หรือความเป็นธรรมทางสังคม จึงอาจเกีย่ วข้องกับระบบ ย่อยอื่นๆ เช่น ชุมชนให้สวัสดิการค่าเดินทางเพื่อการรักษาพยาบาล การมีอาสาสมัครชุมชนพาผู้ป่วยไร้ญาติไปสถานพยาบาล เป็นต้น ความแตกต่างระหว่างคำ�ว่า ความเท่าเทียม (Equality) ความเสมอภาค (Equity) และความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice) สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น เมื่อพิจารณาภาพต่อไปนี้
Equality Vs. Equity Vs. Social Justice
ที่มาภาพ : https://slideplayer.com/slide/11407359/ จากภาพอธิบายได้ว่า ความเท่าเทียม (Equality) คือ การที่บุคคลได้รับการจัดสรรทรัพยากร หรือได้รับการช่วยเหลือ เหมือนกัน โดยไม่คำ�นึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล ทำ�ให้บางคนเข้าไม่ถึงสิทธิเสรีภาพที่ตนควรจะได้รับ ในขณะที่ ความเสมอภาค (Equity) จะต้องพิจารณาถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคลก่อน หากแต่ละคนมีความแตกต่างกันแล้ว การจัดสรร ทรัพยากรหรือการได้รับความช่วยเหลือย่อมแตกต่างกันไปด้วย เพื่อให้ทุกคนได้รับสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอภาคและทั่วถึง ในขณะที่ความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice) มุ่งที่จะขจัดอุปสรรคที่ทำ�ให้เกิดความไม่เป็นธรรมออกไป เพื่อแก้ไขปัญหา ทีต่ น้ เหตุ หรือลดช่องว่างของความไม่เป็นธรรมทีเ่ กิดขึน้ อย่างถาวร มากกว่าการใช้วธิ จี ดั สรรทรัพยากร หรือการให้ความช่วยเหลือ โดยพึ่งพิงรัฐเพียงอย่างเดียว เอกสารอ้างอิง ธนาชัย สุนทรอนันตชัย. 2559. “ความเท่าเทียม ความเสมอภาค และความเป็นธรรม ทางสังคม กับการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย” ใน วารสารวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 สุรพล ปธานวนิช. 2547. นโยบายสังคม เส้นทางสู่รัฐสวัสดิการ. กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Mashall, T.H. 2000. “Citizenship and social class” in The Welfare State Reader. Polity Press : Cambridge. Concepts of Access, Equity, Fairness, Equality and Human Rights. Referred to in http://www.boredofstudies.org/wiki/ Concepts_of_Access,_Equity,_Fairness,_Equality_and_Human_Rights.
32
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 32
5/2/19 5:28 PM
กฎหมายสามัญประจำ�บ้าน
กองบรรณาธิการ
เรื่องของ... กัญชาและพืชกระท่อม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กัญชาและพืชกระท่อม ยังคงถือเป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่นเดิม ห้ามจำ�หน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
กัญชา หรือต้นกัญชา เป็นพืชที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และเป็นยารักษาโรคในทางเภสัชวิทยา บางคนบริโภคกัญชา เพื่อให้รู้สึก ผ่อนคลาย ทำ�ให้มีความต้องการ รับประทานอาหารเพิ่มขึ้น แต่หากบริโภค กัญชาในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลข้างเคียง ที่ไม่พึงปรารถนา เช่น ความจำ�ลดลง ปากแห้ง ทักษะการเคลื่อนไหวบกพร่อง ตาแดง และรู้สึกหวาดระแวง หรือวิตกกังวล
กระท่อม เป็ น พื ช ท้ อ งถิ่ น และ เป็นสารเสพติดที่มีผู้ใช้มากที่สุด ในภาคใต้ ข องประเทศไทย ผู้ บ ริ โ ภค ส่ ว นใหญ่ จ ะเคี้ ย วใบสดร่ ว มกั บ เครื่ อ งดื่ ม ประเภทต่าง ๆ หรือร่วมกับการสูบใบจาก ผู้ใช้ส่วนใหญ่ อยู่ ใ นวั ย แรงงานใช้ เ พื่ อ ให้ ส ามารถทำ�งานได้ ท นนาน สั ง สรรค์ และรั ก ษาโรค ภาวะเสพติ ด พื ช กระท่ อ ม จะมีลักษณะความต้องการใช้อย่างมาก เวลาเดินทาง ต้ อ งพกพาใบกระท่ อ มไปด้ ว ย ไม่ ส ามารถควบคุ ม พฤติกรรมการใช้ ต้องใช้ในปริมาณมากขึ้นจึงได้ฤทธิ์ เท่าเดิม
พระราชบั ญ ญั ติ ย าเสพติ ด ให้ โ ทษ (ฉบั บ ที่ 7) พ.ศ. 2562 กัญชาและพืชกระท่อม ยังคงถือเป็นยาเสพติด ให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่นเดิม ห้ามจำ�หน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ยกเว้นผู้ป่วยสามารถ มีไว้ในครอบครองได้โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ซึ่งจะต้อง ไม่เกินจำ�นวนที่จำ�เป็นสำ�หรับใช้รักษาโรค โดยมีใบสั่งยา หรือหนังสือรับรองของผูป้ ระกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม การแพทย์ แผนไทย การแพทย์แ ผนไทยประยุกต์ หรื อ หมอพื้นบ้านฯ ที่ให้การรักษา
ใครบ้างที่สามารถผลิต นำ�เข้า หรือส่งออกได้...
เงื่ อ นไขการอนุ ญ าตผลิ ต นำ � เข้ า หรื อ ส่ ง ออก กัญชาให้กระทำ�ได้เฉพาะในกรณีจำ�เป็น เพื่อประโยชน์ ของทางราชการ การแพทย์ การรักษาผูป้ ว่ ย หรือการศึกษา วิจัยและพัฒนา หากเป็นกรณีกัญชง (Hemp) ให้เป็นไป ตามที่ กำ �หนดในกฎกระทรวง ส่ ว นการนำ � ติ ด ตั ว เข้ า มา ในหรื อ ออกไปนอกราชอาณาจั ก รต้ อ งไม่ เ กิ น ปริ ม าณ ที่ จำ �เป็ น ต้ อ งใช้ รั ก ษาโรคเฉพาะตั ว และมี ใ บสั่ ง ยาหรื อ หนังสือรับรองของแพทย์ วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 33
33 5/2/19 5:28 PM
คุณสมบัติของผู้ที่จะขออนุญาตผลิต นำ�เข้า หรือส่งออก
1
4
เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย จัดการ เรียนการสอนหรือให้บริการทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ หรือมีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือสภากาชาดไทย
2 เป็นผูป้ ระกอบวิชาชีพเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม การสัตวแพทย์ชนั้ หนึง่ การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทย ประยุกต์ หรือหมอพืน้ บ้านฯ ทัง้ นี้ ผูป้ ระกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทยและหมอพืน้ บ้านฯ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ กำ�หนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ให้โทษด้วย
ผูป้ ระกอบอาชีพเกษตรกรรมทีร่ วมกลุม่ เป็นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพือ่ สังคม หรือสหกรณ์การเกษตร ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และดำ�เนินการ ภายใต้ ค วามร่ ว มมื อ และกำ � กั บ ดู แ ลของผู้ ข ออนุ ญ าต ที่เป็นหน่วยงานรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
5
ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ
6
ผู้ ป่ ว ยเดิ น ทางระหว่ า งประเทศ ทีม่ คี วามจำ�เป็นต้องนำ�ติดตัวเข้ามาในหรือออกไป นอกราชอาณาจักรเพื่อใช้รักษาโรคเฉพาะตัว
7
3 สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและ จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์
ผู้ขออนุญาตอื่นตามที่กำ�หนดในกฎกระทรวง
2 3 4 และ 7 ในกรณีทเี่ ป็นบุคคลธรรมดา ต้องมีสญั ชาติไทย ผู้ขออนุญาตตาม และมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและ กรรมการของนิติบุคคล หุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อยสองในสาม ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยและ มีสำ�นักงานในประเทศไทย
บทลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ได้รับใบอนุญาต...
(1) ผลิต นำ�เข้า หรือส่งออก จำ�คุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 บาท ถ้าเป็นการกระทำ�เพื่อจำ�หน่าย จำ�คุก 1-15 ปี และปรับ 100,000 – 1,500,000 บาท กรณีเป็นพืชกระท่อม จำ�คุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท (2) จำ�หน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำ�หน่าย จำ�นวนไม่ถึง 10 กิโลกรัม มีโทษจำ�คุก ไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ แต่ถ้ามีจำ�นวนตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป จำ�คุก 1-15 ปี และปรับ 100,000 – 1,500,000 บาท กรณีเป็นพืชกระท่อม จำ�นวนไม่ถึง 10 กิโลกรัม จำ�คุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ แต่ถ้ามีจำ�นวนตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป จำ�คุกไม่เกิน 2 ปี และปรับ ไม่เกิน 200,000 บาท (3) ครอบครอง จำ�คุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ กรณีเป็นพืชกระท่อม ปรับไม่เกิน 20,000 บาท (4) เสพ จำ�คุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ กรณีเป็นพืชกระท่อม ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
34
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 34
5/2/19 5:28 PM
ถามมา...ตอบไป
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 35
35 5/2/19 5:29 PM
เดินหน้ายุติธรรม
สำ�นักงานกิจการยุติธรรม
โครงการ
ยุติธรรมอุปถัมภ์
การดำ�เนินโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อให้เด็กและเยาวชนอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย และไม่เป็นผู้กระทำ�ความผิด เคารพกติกา มีระเบียบวินัย และมีความซื่อสัตย์สุจริต
เด็กและเยาวชนเป็นผูม้ บี ทบาทส�ำคัญอย่างยิง่ ต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ รวมถึงด้านกระบวนการยุตธิ รรม “โรงเรียนและสถาบันการศึกษา” จึงมีหน้าที่ส�ำคัญในการปลูกฝังความคิด ค่านิยม ทัศนคติ และกระตุ้นให้เด็กและเยาวชน มีความรัก เคารพในความถูกต้อง ความเป็นธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสาธารณะ มีความพอเพียง และรับผิดชอบ ต่อสังคม ด้วยการให้ความรูด้ า้ นความยุตธิ รรม ผนวกกับสร้างค่านิยม และทัศนคติทถี่ กู ต้อง ผ่านการจัดกิจกรรม เพือ่ สร้าง ภูมคิ มุ้ กันทางสังคม โดยเริม่ จากเด็ก เยาวชน เพือ่ วางรากฐานอนาคตของชาติภมู คิ มุ้ กันทางสังคม เป็นแนวคิดในการด�ำเนิน โครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อให้เด็กและเยาวชนอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย และไม่เป็นผู้กระท�ำความผิด เคารพ กติกา มีระเบียบวินัย และมีความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งก�ำหนดกรอบการด�ำเนินงานไว้ 4 กรอบ 5 ขั้นตอน ได้แก่
36
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 36
5/2/19 5:29 PM
กรอบเนื้อหาการด�ำเนินโครงการ 1. การป้องกันตนเองจากภัยสังคม การเรียนการสอนภายในโรงเรียนในทุกระดับจำ�เป็น ต้องเสริมสร้างทักษะ ความรู้ ความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชน ให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย ให้รู้จักป้องกันตนเอง รู้เท่าทัน ภัยอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กและ เยาวชนกลายเป็นผู้กระทำ�ผิด หรือตกเป็นเหยื่อโดยรู้เท่า ไม่ถึงการณ์ 2. การสร้างจิตสำ�นึกและวินัยในตนเอง การสร้างจิตสำ�นึกและระเบียบวินยั นัน้ ควรเริม่ ตัง้ แต่ วัยเด็กเล็กจนถึงวัยเรียน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่สามารถสร้าง หรือ ปลูกฝังลักษณะนิสัยผ่านกระบวนการเรียนรู้ การคิดอย่างมี เหตุผลมากขึน้ การสร้างจิตสำ�นึกและระเบียบวินยั จะทำ�ให้เด็ก สร้างนิสยั ในการควบคุมตนเอง อันจะช่วยให้สามารถดำ�รงชีวติ อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้โดยไม่ละเมิดสิทธิหรือประพฤติผิด มารยาทของสังคม 3. การรู้เท่าทันและห่างไกลจากยาเสพติด การจะแก้ไขปัญหายาเสพติดให้สมั ฤทธิผ์ ลจ�ำเป็นต้อง ให้ความส�ำคัญกับการป้องกัน ซึง่ ถือเป็นต้นนำ�้ ของปัญหาด้วย การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก และเยาวชนในวัยเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสตกเป็นเหยื่อ ได้งา่ ย เนือ่ งจากความไม่รเู้ ท่าทัน และเป็นวัยทีอ่ ยากรูอ้ ยากลอง ดังนัน้ ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานราชการ โดยเฉพาะอย่างยิง่ โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา จะมีบทบาทส�ำคัญในการสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด จะต้องให้ ค�ำแนะน�ำและวิธีการที่ถูกต้องในการด�ำเนินชีวิตและแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ โดยไม่หันไปพึ่งพาหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 4. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น การทีจ่ ะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รปั ชัน่ ให้สมั ฤทธิผ์ ล และยั่งยืนได้นั้น คนในสังคมจะต้องมีค่านิยม วัฒนธรรม ในการรักและเคารพความถูกต้อง ความดี ซื่อสัตย์ ซื่อตรง และจิตส�ำนึก ไม่ยอมรับและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ในทุกรูปแบบ การสร้างค่านิยมทีถ่ กู ต้องให้เกิดขึน้ ในสังคมได้นนั้ จะต้องปลูกฝังวางรากฐาน โดยเริ่มตั้งแต่เด็กและเยาวชน เพือ่ ให้เด็กและเยาวชนเติบโตเป็นพลเมืองทีม่ คี ณ ุ ภาพ เป็นก�ำลัง ส�ำคัญในการสร้างสังคมและพัฒนาประเทศให้มีความเจริญ รุ่งเรือง สงบสุข
จากกรอบการด�ำเนิ น โครงการโรงเรี ย นยุ ติ ธ รรม อุ ป ถั ม ภ์ ทั้ ง 4 กรอบ สามารถน�ำไปเป็ น แนวทางในการ ด�ำเนินงานในโครงการฯ โดยผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ ขั้นตอนการด�ำเนินโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ ขั้นตอนที่ 1 การประสานงานระหว่างหน่วยงาน ในกระทรวงยุตธิ รรมและโรงเรียน เพือ่ สำ�รวจข้อมูลเบือ้ งต้น (School & MOJ Cooperation) ขั้นตอนที่ 2 การแยกแยะสภาพปัญหาภายใน โรงเรียน (School Classification) ขัน้ ตอนที่ 3 การกำ�หนดสือ่ หรือกิจกรรมทีเ่ หมาะสม กับสภาพปัญหาหรือความเสี่ยงของนักเรียน (MOJ Media Support) ขั้นตอนที่ 4 หน่วยงานในกระทรวง ยุติธรรมลงพื้นที่ดำ�เนินกิจกรรมในโรงเรียน (Field Activities) ขั้นตอนที่ 5 การติดตามและประเมินผล ภายหลังการดำ�เนินกิจกรรม (Monitoring & Evaluation) วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 37
37 5/2/19 5:29 PM
การด�ำเนินโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ กระทรวงยุตธิ รรมได้ด�ำ เนินโครงการโรงเรียนยุตธิ รรม อุปถัมภ์ มาตัง้ แต่ปงี บประมาณ พ.ศ. 2561 โดยมีวตั ถุประสงค์ เพื่ อ บู ร ณาการความร่ ว มมื อ ระหว่ า งกระทรวงยุ ติ ธ รรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของประเทศ ให้มีความพร้อม ในการเติบโตอย่างมีคุณภาพ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และปลูกฝังจิตสานึกให้กับเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา ในเรือ่ งกฎหมายและกระบวนการยุตธิ รรม การมีวนิ ยั การเคารพ และไม่ละเมิดสิทธิผอู้ นื่ การสร้างภูมคิ มุ้ กันในการป้องกันตนเอง มิให้ตกเป็นเหยื่อของยาเสพติด ภัยอาชญากรรม หรือต้อง ตกเป็นผูก้ ระทำ�ความผิด และเสริมสร้างสังคมเคารพกฎหมาย (Culture of Lawfulness) โดยให้ ห น่ ว ยงานในสั ง กั ด กระทรวงยุติธรรม สร้างความสัมพันธ์กับสถานศึกษาในพื้นที่ เพื่อการขับเคลื่อนงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งมีผลการดำ�เนินงานที่สำ�คัญ ดังนี้
ปี ง บประมาณ พ.ศ. 2561 หน่ ว ยงานในสั ง กั ด กระทรวงยุติธรรม ได้ร่วมดำ�เนินโครงการโรงเรียนยุติธรรม อุปถัมภ์ โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ 881 โรงเรียน และมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำ�นวน 135,777 คน โดยนำ�กรอบเนื้อหาการดำ�เนินงานทั้ง 4 กรอบเนื้อหา ลงไป ดำ�เนินกิจกรรมในโรงเรียน รวมทั้งกรอบเนื้อหาเฉพาะด้าน เช่น ความรู้ในงานนิติวิทยาศาสตร์ ลงไปดำ�เนินกิจกรรม ในโรงเรียน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำ�นักงานกิจการยุตธิ รรม ในฐานะหน่วยงานกลาง ได้รวบรวมข้อมูลโรงเรียนที่เข้าร่วม โครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ โดยมีโรงเรียนเข้าร่วม โครงการฯ จำ�นวน 858 โรงเรียน และมีแผนการดำ�เนินงาน เพื่อขยายผลให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมาย 1,100 โรงเรียน ภายในเดือนกันยายน 2562 กระทรวงยุติธรรมมีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการโรงเรี ย นยุ ติ ธ รรมอุ ป ถั ม ภ์ จะสามารถเป็ น ส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดความตระหนักของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ในการเข้ามาช่วยกันบ่มเพาะและเสริมสร้าง การเติบโตอย่างมีคณ ุ ภาพของเด็กและเยาวชน เพือ่ ให้เด็ก และเยาวชน มีความรู้ มีทัศนคติที่ดี และมีเกราะป้องกัน ภัยจากภัยอาชญากรรมและปัญหายาเสพติด ให้สมกับ ค�ำขวัญของโครงการที่ว่า
“เด็กดีมีภูมิคุ้มกัน รู้ทันภัยสังคม”
38
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 38
5/2/19 5:29 PM
รู้ ไว้ ใช่ว่า…
กองบรรณาธิการ
การลด ใช้พลาสติก จากเหตุการณ์พบซากวาฬน�ำร่องครีบสัน้ เสียชีวติ ขึ้นมาเกยตื้นที่ชายหาดในจังหวัดสงขลา โดยที่ในท้องมี ขยะพลาสติกติดอยู่มากถึง 85 ชิ้น อาทิ ถุงมือล้างห้องน�้ำ ถุงพลาสติกจากบ้านเรือน ถุงขนมขบเคีย้ ว ฯลฯ รวมนำ�้ หนัก มากถึ ง 8 กิ โ ลกรั ม และอี ก หลายๆ เหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น กับบรรดาสัตว์ทะเลในลักษณะเดียวกัน เป็นหลักฐานส�ำคัญ ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า “ปัญหาขยะพลาสติก” ที่ดูเหมือนเป็น เรื่องไกลตัวส�ำหรับใครหลายคนนั้น ความจริงแล้วเป็นเรื่อง ใกล้ตัวพวกเรามากกว่าที่คิด
มีข้อมูลระบุว่า ประเทศไทยติดอันดับ 6 ของโลก ที่ปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเล ประเทศไทยมีจังหวัดที่ติดกับชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด เกาะต่าง ๆ อีกกว่า 900 เกาะ ใน 19 จังหวัด ท�ำให้มีปริมาณขยะ ในปี 2559 เกือบ 3 ล้านตัน เป็นขยะพลาสติกประมาณ 339,600 ตัน/ปี แม้จะมีกระบวนการจัดเก็บ และจัดการแล้ว ขยะเหล่านี้ก็ยังหลุดรอดไหลลงทะเลมากถึง 10-15% หรือประมาณ 30,000-50,000 ตัน/ปี
ด้วยตระหนักถึงปัญหาและต้องการมีส่วนช่วยลดผลกระทบ อันเกิดจากการใช้ถุงพลาสติก รัฐบาลจึงมีนโยบายให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมมือรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก ผ่านมาตรการ “ลดและคัดแยก ขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ” ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 กิจกรรมหลัก ภายใต้โครงการ “ทําความดีดว้ ยหัวใจ ลดภัยสิง่ แวดล้อม” ประกอบด้วย 1. กิจกรรมลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ 2. กิ จ กรรมรณรงค์ ใ ห้ ร ้ า นค้ า และตลาดสด ลดให้ ลดใช้ ถุงพลาสติก 3. กิจกรรมลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และงดใช้โฟมบรรจุอาหาร ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 4. กิจกรรมงดการใช้พลาสติกและโฟมในสวนสัตว์ 5. กิจกรรมการจัดการขยะบกสู่ทะเลในพื้นที่ 24 จังหวัด ชายทะเล
และในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา มีสัตว์ทะเลที่เจ็บป่วย ทรมาน ดิ้นรนหนีตายจากทะเลพลาสติกขึ้นมาเกยตื้นมากกว่า 500 ตัว และสัตว์ทะเลหายาก เช่น วาฬ โลมา พะยูน และเต่า มากถึง 84 ตัว ซึ่ง 47 ตัว เป็นเพราะกินขยะทะเลเข้าไป ขยะพลาสติกเหล่านี้หากถูกทิ้งอย่างไม่ใส่ใจ จะสร้าง ปัญหาขึ้นทันที เช่น ถ้าหลุดลงไปในแม่น�้ำ ล�ำคลอง หรือทะเล ปลาและสัตว์น�้ำอื่นอาจกินเข้าไปด้วยความไม่รู้ จนเป็นอันตราย ต่อระบบย่อยอาหาร ท�ำลายทัศนียภาพโดยรวม ส่งผลกระทบ การท่องเที่ยวของประเทศ การอุดตันตามท่อระบายน�้ำในชุมชน ท�ำให้เกิดปัญหาน�้ำท่วม หรือการเผาขยะพลาสติกโดยไม่ถูกวิธี จะเกิดก๊าซทีก่ อ่ ให้เกิดภาวะเรือนกระจกหรือภาวะโลกร้อน เป็นต้น
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 39
39 5/2/19 5:29 PM
คณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ มี ม ติ เ ห็ น ชอบในการประชุ ม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ให้ทุกหน่วยงาน ภาครัฐดาํ เนินกิจกรรมทีส่ ง่ เสริมสนับสนุน การลด และคัดแยกขยะ มูลฝอยในหน่วยงาน เพือ่ ให้การจัดการขยะมูลฝอยมีประสิทธิภาพ และง่ า ยต่ อ การนํ า ไปใช้ ป ระโยชน์ โดยดํ า เนิ น งานพร้ อ มกั น ทัว่ ประเทศ ตัง้ แต่วนั ที่ 1 สิงหาคม 2561 ส�ำนักงานปลัดกระทรวง ยุติธรรม จึงมีเจตนารมณ์ร่วมกันในการร่วมลด คัดแยกขยะ ลดใช้ ถุงพลาสติกหูหิ้ว และกล่องโฟมบรรจุอาหาร เป็นข้อๆ ดังนี้ 1. บุคลากรส�ำนักงานปลัดกระทรวงยุตธิ รรม จะร่วมกัน ปรับเปลีย่ นพฤติกรรมในการร่วมลด คัดแยกขยะ ลดใช้ถงุ พลาสติก หูหิ้ว และกล่องโฟมบรรจุอาหาร 2. ให้ ห น่ ว ยงานในสั ง กั ด ส�ำนั ก งานปลั ด กระทรวง ยุติธรรม มีการสื่อสาร รวมทั้งประชาสัมพันธ์ และสร้างแรงจูงใจ ให้บุคลากรในส�ำนักงานปฏิบัติตามเจตนารมณ์ ในการร่วมลด คัดแยกขยะ ลดการใช้ถงุ พลาสติกหูหวิ้ และกล่องโฟมบรรจุอาหาร 3. บุ ค ลากรส�ำนั ก งานปลั ด กระทรวง ยุ ติ ธ รรม ช่ ว ยรณรงค์ แ ละกระท�ำเป็ น ตั ว อย่ า ง ในการร่วมลด คัดแยกขยะ ลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และกล่องโฟมบรรจุอาหาร อย่างจริงจัง 4. ส่งเสริมกิจกรรมสนับสนุนการใช้ตะกร้า ถุงผ้า ปิ่นโต ภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตร กั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม เพื่ อ ลดการใช้ ถุ ง พลาสติ ก หู หิ้ ว และส่งเสริมสนับสนุนการใช้แก้วน�้ำส่วนตัว เพื่อลด การใช้แก้วน�้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 5. ประชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ บุ ค ลากรและ ประชาชนที่ ม าใช้ บ ริ ก ารทราบ และมี ส ่ ว นร่ ว ม ในการลดคัดแยกขยะมูลฝอย
ลด ละ เลิก
การใช้ถุงพลาสติก เริ่มต้นวันนี้ด้วย 5 วิธีง่ายๆ ยืดอกพกถุงผ้า พกกล่องพร้อมใส่อาหาร พกแก้วน�้ำให้ติดกระเป๋า ใช้ซ�้ำแทนการทิ้ง คัดแยกขยะรีไซเคิล
เพราะปัญหาขยะพลาสติก ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง
การแก้ไขจึงต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจกันของทุกคน และทุกภาคส่วน ถึงจะเห็น ผลลัพธ์ที่ชัดเจน และเหตุการณ์เช่นเดียวกับ กรณี พ บขยะพลาสติ ก จ�ำนวนมากในท้ อ ง ของซากวาฬน�ำร่องครีบสัน้ ก็จะไม่มใี ห้เห็นอีก ต่อไป ขอบคุณข้อมูลจาก 1. https://bit.ly/2Nek286 2. https://bit.ly/2FG3Edj 3. https://bit.ly/2PVkJmH 4. https://bit.ly/2I3lHNm 5. https://bit.ly/2JUXtaM 6.https://www.facebook.com/ThaiPBSFan/ photos/a.348532055084/10160710682665085/? type=3&theater
40
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
62-03-081 001-040 yuttitham i_uncoated-dic.indd 40
5/2/19 5:29 PM