กฎหมายสามัญประจำบ้าน ประจำปี พ.ศ.2558

Page 1


หนังสือกฎหมายสามัญประจำ�บ้าน บทบาทภารกิจกระทรวงยุติธรรม และความรู้ด้านกฎหมายแก่ประชาชน

•  พิมพ์ครั้งที่ 1 •  ปีที่พิมพ์ •  จัดทำ�โดย

33,000 เล่ม เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โทรศัพท์ : 0 2141 5100 โทรสาร : 0 2143 8289-90 www.moj.go.th Facebook.com/Ministry of Justice, Thailand

•  ออกแบบและจัดพิมพ์โดย

ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด สำ�นักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ เลขที่ 40,47 ถนนจรัญสนิทวงศ์ 40 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 โทรศัพท์ : 0-2433-7705 โทรสาร : 0-2433-7755


วิสัยทัศน์ “หลักประกันความยุติธรรม ตามมาตรฐานสากล”

ค่านิยมร่วมขององค์กร ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม

อ�ำนาจหน้าที่กระทรวงยุติธรรม มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ซึง่ ก�ำหนดอ�ำนาจหน้าทีข่ องกระทรวง ยุติธรรมไว้ว่า “ให้มีอ�ำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ กระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอ�ำนวยความยุตธิ รรม ในสัง คม และราชการอื่น ตามที่มีก ฎหมายก�ำหนดให้ เ ป็ น อ�ำนาจหน้าทีข่ องกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัด กระทรวงยุติธรรม”


โครงสร้างกระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการพัฒนาการ บริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

สถาบันเพื่อการยุติธรรม แห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)

หน่วยงานอ�ำนวยการ ส�ำนักงานปลัด กระทรวงยุติธรรม ส�ำนักงานกิจการยุติธรรม

กลุ่มภารกิจ ด้านอ�ำนวยความยุติธรรม

กลุ่มภารกิจ ด้านบริหารความยุติธรรม

กรมสอบสวนคดีพิเศษ

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

สถาบันนิตวิ ิทยาศาสตร์

กรมบังคับคดี

จัดตั้งตามพระราชบัญญัตพ ิ ัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 จัดตั้งตามพระราชบัญญัตสิ ถาบันอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2550


สถาบันอนุญาโตตุลาการ

กระทรวงยุติธรรม

เนติบัณฑิตยสภา สภาทนายความ

ส�ำนักงานป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ส�ำนักงานรัฐมนตรี

ปลัดกระทรวงยุติธรรม กลุ่มภารกิจ ด้านพัฒนาพฤตินิสัย กรมคุมประพฤติ กรมพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชน กรมราชทัณฑ์

ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการ ตามพระราชบัญญัติเนติบณ ั ฑิตยสภา พ.ศ. 2507 ส่วนราชการไม่สงั กัดกระทรวงยุติธรรม ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม


กระทรวงยุติธรรม

ภารกิจส่วนราชการ ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ส�ำนักงานรัฐมนตรี : Office of The Minister ด�ำเนินการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ กลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอ รัฐมนตรี รวมทั้งเสนอความเห็นประกอบการวินิจฉัยสั่งการของรัฐมนตรี สนับสนุนการท�ำงานของรัฐมนตรีในการด�ำเนินงานทางการเมืองระหว่าง รัฐมนตรี รัฐสภาและประชาชน ประสานงานการตอบกระทู้ ชี้แจงญัตติ ร่างพระราชบัญญัติ และกิจการอื่นทางการเมือง ด�ำเนิ น การพิ จ ารณาเรื่ อ งร้ อ งทุ ก ข์ ร้ อ งเรี ย น หรือร้องขอความช่วยเหลือต่อรัฐมนตรี ปฏิบัติการ อื่นใดตามที่กฎหมายก�ำหนดให้เป็นอ�ำนาจหน้าที่ ของส�ำนักงานรัฐมนตรีหรือตามที่รัฐมนตรีหรือ คณะรัฐมนตรีมอบหมาย โทรศัพท์ 0 2141 6535 โทรสาร 0 2141 9883 เว็บไซต์ www.om.moj.go.th


หน่วยงานอ�ำนวยการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม : Office of The Permanent Secretary ด�ำเนินการด้านการพัฒนายุทธศาสตร์ ศึกษา วิเคราะห์ จัดท�ำข้อมูลเพือ่ ใช้ในการก�ำหนดนโยบายเป้าหมายและผลสัมฤทธิข์ องกระทรวง แปลงนโยบายของรั ฐ บาลและนโยบายของรั ฐ มนตรี เ ป็ น แนวทางและ แผนปฏิบตั กิ ารของกระทรวง ก�ำกับ เร่งรัด ติดตามประเมินผล รวมทัง้ ประสาน การปฏิบตั ริ าชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง และพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารงานและการบริการของหน่วยงาน ดูแล งานประชาสัมพันธ์ การต่างประเทศ พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่ กิจกรรมข่าวของกระทรวง สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรจัดสรร และบริหาร ทรัพยากรให้เกิดการประหยัดและคุ้มค่า โทรศัพท์ 0 2141 5100 โทรสาร 0 2143 8289 - 90, 0 2143 8242 เว็บไซต์ www.ops.moj.go.th

ส�ำนักงานกิจการยุติธรรม : Office of Justice Affairs มี ภ ารกิ จ ในการพั ฒ นากระบวนการยุ ติ ธ รรมทั้ ง ระบบ ผ่านการศึกษา วิจัย และประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเสนอให้ คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุตธิ รรมแห่งชาติ ส่งผลให้หน่วยงานต่างๆ ในกระบวนการยุ ติ ธรรมมี ก ารประสานงานกั น และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ในการอ�ำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไป ในทิศทางเดียวกัน โทรศัพท์ 0 2141 3666 โทรสาร 0 2143 8933 เว็บไซต์ www.oja.go.th


กลุ่มภารกิจด้านอ�ำนวยความยุติธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ : Department of Special Investigation เป็ น หน่ ว ยงานในการด�ำเนิ น การปราบปราม สื บ สวน สอบสวน โดยพนักงานสอบสวนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามกฎหมาย ว่าด้วยการสอบสวนคดีพเิ ศษ เช่น คดีทผี่ กู้ ระท�ำผิดมีโครงข่ายโยงใยระหว่างประเทศ ลั ก ษณะเป็ น องค์ ก รอาชญากรรมที่ มี อิ ท ธิ พ ลสนั บ สนุ น และมี ค วามรู ้ ความเชีย่ วชาญในเทคโนโลยีระดับสูง หรือคดีทมี่ กี ารกระท�ำความผิดก่อให้เกิด ความเสียหายอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ และประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งแตกต่าง จากคดีอาญาโดยทั่วไป โทรศัพท์ 0 2831 9888 โทรสาร 0 2975 9888 หรือศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ประชาชน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ศชป. ดีเอสไอ) 0 2831 9888 ต่อ 3103 เว็บไซต์ www.dsi.go.th

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ : Central Institute of Forensic Science เป็นหน่วยงานในการให้บริการตรวจพิสูจน์หลักฐานทาง นิติวิทยาศาสตร์ การตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บคุ คล เพื่อติดตามบุคคลสูญหาย และศพนิรนาม รวมทัง้ การรวบรวมข้อมูลสารพันธุกรรม (DNA) เข้ามาตรวจพิสจู น์ หลั ก ฐานทางนิ ติ วิ ท ยาศาสตร์ เพื่ อ เชื่ อ มโยงฐานข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การ กระท�ำความผิดในด้านต่างๆ ส่งผลให้คดีต่างๆ คลี่คลายได้ง่ายขึ้น โทรศัพท์ 0 2142 3475-8 โทรสาร 0 2143 9068 เว็บไซต์ www.cifs.moj.go.th


กลุ่มภารกิจด้านบริหารความยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ : Rights and Liberties Protection Department เป็นหน่วยงานในการส่งเสริม คุม้ ครอง และสร้างหลักประกัน สิทธิและเสรีภาพตามหลักสิทธิมนุษยชน และให้ประชาชนได้รบั ความช่วยเหลือ ทางกฎหมาย โดยประชาชนสามารถขอรับความช่วยเหลือจากกรมคุ้มครอง สิทธิและเสรีภาพในเรื่องต่างๆ อาทิ ขอรับเงินประกันการปล่อยตัวชั่วคราว การจ้างทนายความ ค่าธรรมเนียมขึ้นศาล และค่าธรรมเนียมอื่นๆ จาก “กองทุนยุตธิ รรม” หรือกรณีถกู ยิง ถูกแทง ถูกฆ่า ถูกระเบิด โดนท�ำร้ายร่างกาย หรื อ ถู ก ข่ ม ขื น โดยที่ ตั ว เองไม่ มี ส ่ ว นเกี่ ย วข้ อ งในการกระท�ำความผิ ด สามารถขอรับการเยียวยาได้ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและ ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ�ำเลย ในคดีอาญา พ.ศ. 2544 สายด่วนคุ้มครอง สิทธิและเสรีภาพ 1111 กด 77 โทรศัพท์ 0 2141 2794 และ 0 2141 2817-8 โทรสาร 0 2143 9681 เว็บไซต์ www.rlpd.moj.go.th

กรมบังคับคดี : Legal Execution Department เป็นหน่วยงานในการด�ำเนินการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย และการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ตามค�ำสั่งศาล การวางทรัพย์ การประเมินราคา ทรัพย์สนิ โดยด�ำเนินการยึด อายัด จ�ำหน่ายทรัพย์สนิ และรวบรวมทรัพย์สนิ ของ ลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ตลอดจนมีหน้าที่ในการก�ำกับฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เพื่อให้เจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสีย ได้รบั การชดใช้จากลูกหนี้อย่างเป็นธรรม โทรศัพท์ 0 2881 4999 โทรสาร 0 2433 0801 เว็บไซต์ www.led.go.th


กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาพฤตินสิ ัย กรมคุมประพฤติ : Department of Probation เป็นหน่วยงานทีม่ ภี ารกิจสืบเสาะ พินจิ ควบคุมและสอดส่อง แก้ไข ฟื้นฟูและสงเคราะห์ ผู้กระท�ำความผิดในชั้นก่อนฟ้อง ชั้นพิจารณาคดี ของศาล และภายหลังที่ศาลมีค�ำพิพากษา รวมถึงการบ�ำบัดสมรรถภาพของ ผู้ติดยาเสพติดอีกด้วย ศูนย์รับฟังความคิดเห็น 0 2141 4749 โทรสาร 0 2143 8822 เว็บไซต์ www.probation.go.th

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน : Department of Juvenile Observation and Protection เป็นหน่วยงานทีท่ �ำหน้าทีด่ แู ล บ�ำบัด แก้ไขฟื้นฟู และพิทกั ษ์ คุม้ ครองสิทธิเด็กและเยาวชน ทีค่ รัง้ หนึง่ เคยก้าวพลาดเข้าสูก่ ระบวนการยุตธิ รรม ให้กลับตนเป็นคนดีและเป็นอนาคตของชาติ โทรศัพท์ 0 2141 6470 โทรสาร 0 2143 8472 เว็บไซต์ www.djop.moj.go.th

MOJ


กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาพฤตินสิ ัย กรมราชทัณฑ์ : Department of Corrections ท�ำหน้าทีค่ วบคุม ดูแลปฏิบตั ติ ่อผู้กระท�ำผิดตามค�ำพิพากษา ของศาล โดยมีการศึกษา ฝึกวิชาชีพ พัฒนาจิตใจ จัดสวัสดิการสงเคราะห์ ผู้ต้องขัง เพื่อฟื้นฟู แก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นพลเมืองที่ดขี องสังคม โทรศัพท์ 0 2967 2222 โทรสาร 0 2967 3305 เว็บไซต์ www.correct.go.th


ภารกิจส่วนราชการในบังคับบัญชารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม

• ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงยุติธรรม

ส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด : Office of The Narcotics Control Board ด�ำเนินการด้านการประสานงาน อ�ำนวยการด้านนโยบาย แผนงาน งบประมาณ และบูรณาการ ปฏิบตั งิ านป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทัง้ ภาครัฐและเอกชน รวมทัง้ ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ ตรวจสอบ ยึด อายัดทรัพย์สิน ประชาสัมพันธ์ และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โทรศัพท์ 0 2247 0901 – 19 สายด่วน 1386 โทรสาร 0 2245 9350 เว็บไซต์ www.oncb.go.th

ส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ : Office of Public Sector Anti-Corruption Commission ด�ำเนิ น การด้ า นการป้ อ งกั น และปราบปรามการทุ จ ริ ต ในภาครัฐ ซึ่งเป็นภารกิจโดยตรง โดยมีอ�ำนาจหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียน ข้าราชการ ซึ่งด�ำรงต�ำแหน่งผู้บริหารระดับต�่ำกว่าผู้อ�ำนวยการกองหรือ เทียบเท่าลงมา ซึง่ มีพฤติกรรมใช้ต�ำแหน่งหน้าทีเ่ พือ่ หาผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง และพวกพ้องกระท�ำการทุจริต ประพฤติมชิ อบ โทรศัพท์ 0 2502 6670 - 80 สายด่วน 1206 โทรสาร 0 2502 8289 เว็บไซต์ www.pacc.go.th


• ส่วนราชการไม่สังกัดกระทรวงยุติธรรมขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงยุติธรรม

ส�ำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน : Anti-Money Laundering Office มี ภ ารกิ จ ในการด�ำเนิ น การติ ด ตาม ตรวจสอบ ศึ ก ษา วิเคราะห์ และประมวลผลรายงานและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการท�ำธุรกรรม ทางการเงิน เพือ่ เป็นการตัดวงจรอาชญากรรมการฟอกเงิน การตรวจสอบแหล่งทีม่ า ของทรัพย์สินผู้ค้ายาเสพติดว่าได้มาโดยสุจริตหรือไม่ หากไม่สามารถระบุ แหล่งที่มาได้จะมีการยึด อายัดทรัพย์สินเหล่านั้นให้ตกเป็นของแผ่นดิน โทรศัพท์ 0 2219 3600 สายด่วน 1710 โทรสาร 0 2219 3700 เว็บไซต์ www.amlo.go.th

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ สธท : Thailand Institute of Justice - TIJ เป็นองค์การมหาชน จัดตัง้ ขึน้ โดยพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 เมื่ อ วั น ที่ 13 มิ ถุ น ายน พ.ศ. 2554 โดยมี วิ วั ฒ นาการมาจากโครงการ Enhancing Lives of Female Inmates (ELFI) ในพระด�ำริของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มีภารกิจหลักในการส่งเสริมการอนุวัติข้อก�ำหนด สหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจ�ำและมาตรการ ทีม่ ใิ ช่การคุมขังส�ำหรับผูก้ ระท�ำความผิดหญิง หรือ ข้อก�ำหนดกรุงเทพ ตลอดจน พัฒนาศักยภาพของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมและสนับสนุนการวิจัย และฝึกอบรม เพื่อรองรับการอนุวัติข้อก�ำหนดกรุงเทพ และการส่งเสริม หลักนิตธิ รรม และยกระดับภาพลักษณ์กระบวนการยุตธิ รรมไทยในระดับสากล โดยท�ำงานกับภาคีทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาคมอาเซียน โทรศัพท์ 0 2118 9400 โทรสาร 0 2118 9425-26 เว็บไซต์ www.tijthailand.org


ตอนที่ 1

การเช่าบ้าน

1

ตอนที่ 2

หลักฐานการเช่า (1)

2

ตอนที่ 3

หลักฐานการเช่า (2)

3

ตอนที่ 4

จดทะเบียนการเช่า

4

ตอนที่ 5

บังคับให้จดทะเบียนเช่า

5

ตอนที่ 6

หน้าที่ของผู้เช่า (1)

6

ตอนที่ 7

หน้าที่ของผู้เช่า (2)

7

ตอนที่ 8

เมื่อสิ่งของที่เช่าช�ำรุดเสียหาย (1)

8

ตอนที่ 9

เมื่อสิ่งของที่เช่าช�ำรุดเสียหาย (2)

9

ตอนที่ 10 เมื่อสิ่งของที่เช่าช�ำรุดเสียหาย (3)

10

ตอนที่ 11 ค่าเช่า

11

ตอนที่ 12 การช�ำระค่าเช่า

12

ตอนที่ 13 ถ้าไม่จ่ายค่าเช่าเลิกสัญญาได้

13

ตอนที่ 14 การเช่าช่วง (1)

14

ตอนที่ 15 การเช่าช่วง (2)

15

ตอนที่ 16 การเซ้ง (1)

16

ตอนที ่ 17 การเซ้ง (2)

17

ตอนที่ 18 การเช่าไม่มกี �ำหนดเวลา

18

ตอนที่ 19 ผู้ให้เช่าตาย

19

ตอนที่ 20 สังหาริมทรัพย์ที่เช่าต้องเปลี่ยนมือ

20

ตอนที่ 21 อสังหาริมทรัพย์ที่เช่าต้องเปลี่ยนมือ

21


ตอนที่ 22 สิทธิของผูถ้ กู จับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาอาญาใหม่ (1) 22 ตอนที่ 23 สิทธิของผูถ้ กู จับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาอาญาใหม่ (2) 23 ตอนที่ 24 สิทธิของผูถ้ กู จับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาอาญาใหม่ (3) 24 ตอนที่ 25 สิทธิของผูถ้ กู จับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาอาญาใหม่ (4) 25 ตอนที่ 26 ค�ำรับสารภาพในชั้นจับกุม (1)

26

ตอนที่ 27 ค�ำรับสารภาพในชั้นจับกุม (2)

27

ตอนที่ 28 หมายจับ (1)

28

ตอนที่ 29 หมายจับ (2)

29

ตอนที่ 30 หมายจับ (3)

30

ตอนที่ 31 หมายจับ (4)

31

ตอนที่ 32 จับโดยไม่ต้องมีหมาย (1)

32

ตอนที ่ 33 จับโดยไม่ต้องมีหมาย (2)

33

ตอนที่ 34 จับโดยไม่ต้องมีหมาย (3)

34

ตอนที่ 35 ห้ามจับกุม

35

ตอนที่ 36 การจับในที่รโหฐาน

36

ตอนที่ 37 สถานที่รโหฐาน

37

ตอนที่ 38 การจับกุมเจ้าบ้าน

38

ตอนที่ 39 ห้ามจับในพระราชวัง

39

ตอนที่ 40 เจ้าพนักงาน

40

ตอนที ่ 41 การจับกุมเมื่อเจ้าพนักงานร้องขอ

41

ตอนที่ 42 การจับกุมความผิดซึ่งหน้า

42

ตอนที่ 43 นายประกันจับกุมผู้ต้องหา

43

ตอนที่ 44 ราษฎรเป็นผู้จับ ต้องแจ้งสิทธิหรือไม่

44

ตอนที่ 45 การควบคุมตัวผู้ถูกจับ

45


ตอนที่ 46 การค้น

46

ตอนที่ 47 หลักทั่วไปในการค้น

47

ตอนที่ 48 เหตุออกหมายค้น (1)

48

ตอนที่ 49 เหตุออกหมายค้น (2)

49

ตอนที่ 50 เหตุออกหมายค้น (3)

50

ตอนที่ 51 ค้นโดยไม่ต้องมีหมาย (1)

51

ตอนที่ 52 ค้นโดยไม่ต้องมีหมาย (2)

52

ตอนที ่ 53 ค้นโดยไม่ต้องมีหมาย (3)

53

ตอนที่ 54 ค้นโดยไม่ต้องมีหมาย (4)

54

ตอนที่ 55 ค้นในเวลากลางวัน

55

ตอนที่ 56 ค้นได้เฉพาะสิ่งที่ต้องการหาเท่านั้น

56

ตอนที่ 57 ค้นและจับได้เฉพาะคนที่ต้องการหาเท่านั้น

57

ตอนที่ 58 วิธีปฏิบัตใิ นการค้น

58

ตอนที่ 59 การค้นตัวบุคคล

59

ตอนที่ 60 การควบคุมตัว (1)

60

ตอนที ่ 61 การควบคุมตัว (2)

61

ตอนที่ 62 การควบคุมตัวคดีลหุโทษ

62

ตอนที่ 63 ต้องน�ำตัวไปศาลภายใน 48 ชั่วโมง

63

ตอนที่ 64 การฝากขัง

64

ตอนที่ 65 อ�ำนาจศาลสั่งขัง (1)

65

ตอนที่ 66 อ�ำนาจศาลสั่งขัง (2)

66

ตอนที่ 67 อ�ำนาจศาลสั่งขัง (3)

67

ตอนที่ 68 การปล่อยตัวชั่วคราว (1)

68

ตอนที ่ 69 การปล่อยตัวชั่วคราว (2)

69


ตอนที่ 70 การปล่อยตัวชั่วคราว (3)

70

ตอนที่ 71 การปล่อยตัวชั่วคราว (4)

71

ตอนที่ 72 การปล่อยตัวชั่วคราว (5)

72

ตอนที่ 73 การควบคุมตัวเด็กที่กระท�ำผิด

73

ตอนที่ 74 ประกันตัวเด็ก

74

ตอนที่ 75 สถานพินิจฯ 24 ชั่วโมง

75

ตอนที่ 76 ต�ำรวจตรวจจับความเร็ว

76

ตอนที ่ 77 ถูกจราจรจับ (1)

77

ตอนที่ 78 ถูกจราจรจับ (2)

78

ตอนที่ 79 ถูกจราจรจับ (3)

79

ตอนที่ 80 ถูกจราจรจับ (4)

80

ตอนที่ 81 ถูกจราจรจับ (5)

81

ตอนที่ 82 สินบนจราจร

82

ตอนที่ 83 อ�ำนาจของต�ำรวจจราจร

83

ตอนที่ 84 ยึดบัตร ยึดรถไม่ได้ (1)

84

ตอนที ่ 85 ยึดบัตร ยึดรถไม่ได้ (2)

85

ตอนที่ 86 ยึดบัตร ยึดรถไม่ได้ (3)

86

ตอนที่ 87 ถูกยึดใบขับขี่ (1)

87

ตอนที่ 88 ถูกยึดใบขับขี่ (2)

88

ตอนที่ 89 ขั้นตอนการยึดทรัพย์ (1)

89

ตอนที่ 90 ขั้นตอนการยึดทรัพย์ (2)

90

ตอนที่ 91 ขั้นตอนการยึดทรัพย์ (3)

91

ตอนที่ 92 อ�ำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดี

92

ตอนที ่ 93 ทรัพย์ที่เจ้าหนี้ยึดได้

93


ตอนที่ 94 ร้องขัดทรัพย์

94

ตอนที่ 95 ทรัพย์ที่ยดึ ไม่ได้ (1)

95

ตอนที่ 96 ทรัพย์ที่ยดึ ไม่ได้ (2)

96

ตอนที่ 97 การขายทอดตลาด

97

ตอนที่ 98 ความผิดเกี่ยวกับเพศ

98

ตอนที่ 99 ข่มขืน

99

ตอนที่ 100 โทรมหญิง

100

ตอนที่ 101 หญิงหรือชายก็ผิดฐานข่มขืนได้

101

ตอนที่ 102 กระท�ำช�ำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี

102

ตอนที่ 103 กระท�ำช�ำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี

103

ตอนที่ 104 อนาจาร

104

ตอนที่ 105 ชายกับชาย

105

ตอนที่ 106 สามีข่มขืน

106

ตอนที ่ 107 อนาจารเด็ก

107

ตอนที่ 108 การข่มขืนบุคคลที่อยู่ในความปกครอง

108

ตอนที่ 109 ความผิดทางเพศที่ยอมความได้ (1)

109

ตอนที่ 110 ความผิดทางเพศที่ยอมความได้ (2)

110

ตอนที่ 111 ความผิดทางเพศที่ยอมความได้ (3)

111

ตอนที่ 112 พาไปเพื่อการอนาจาร

112

ตอนที่ 113 เจ้านายกับลูกน้อง

113

ตอนที่ 114 ความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณี

114

ตอนที ่ 115 เร่ค้าประเวณี

115

ตอนที่ 116 มั่วสุมค้าประเวณี

116

ตอนที่ 117 ถูกบังคับไม่ผดิ

117


ตอนที่ 118 โฆษณาการค้าประเวณี

118

ตอนที ่ 119 ผู้ซื้อมีความผิด

119

ตอนที่ 120 เจ้าของกิจการค้าประเวณี

120

ตอนที่ 121 บังคับให้ค้าประเวณี

121

ตอนที่ 122 คนในเครื่องแบบกับธุรกิจค้ากาม

122

ตอนที่ 123 หลอกลวงผู้อื่นเพื่อการค้าประเวณี

123

ตอนที่ 124 ขายลูกกิน

124

ตอนที่ 125 เผยแพร่สื่อลามก

125

ตอนที ่ 126 การ Forward

126

ตอนที่ 127 ห้ามสมรสซ้อน

127

ตอนที่ 128 สมรสซ้อน

128

ตอนที่ 129 การหย่ามีผลเมื่อจดทะเบียน

129

ตอนที่ 130 การหย่ามีผลเมื่อศาลพิจารณา

130

ตอนที่ 131 อายุความฟ้องหย่า

131

ตอนที่ 132 แบ่งสินสมรสคนละครึ่ง

132

ตอนที่ 133 แบ่งหนี้

133

ตอนที ่ 134 ทรัพย์มรดก

134

ตอนที่ 135 ผู้เยาว์จะสมรส

135

ตอนที่ 136 การอุปการะเลี้ยงดูบุตร

136

ตอนที่ 137 การฟ้องหย่าเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู

137

ตอนที่ 138 การเลิกช�ำระค่าเลี้ยงชีพ

138

ตอนที่ 139 บุตรนอกกฎหมาย

139

ตอนที่ 140 สิทธิระหว่างบิดามารดากับบุตร

140


ตอนที่ 1

การเช่าบ้าน ปัจจุบันที่ดินในเมืองหลวงมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส�ำหรับผู้ทตี่ ้องการซือ้ บ้านเพือ่ อยู่อาศัย จึงจ�ำเป็นต้องใช้เงินจ�ำนวนมาก ในการมีบา้ นเป็นของตนเอง หรือบางคนทีม่ าจากต่างจังหวัด เพือ่ มาเรียน หนังสือหรือท�ำงานในเมืองหลวง จ�ำเป็นต้องเช่าหอพัก ห้องพัก หรือ เช่าบ้านของผูอ้ นื่ ดังนัน้ ในการติดต่อขอเช่า ผูเ้ ช่าจะต้องท�ำการศึกษาข้อมูล เกีย่ วกับสัญญาเช่าให้เข้าใจอย่างละเอียด และผู้เช่าจึงจะมีสทิ ธิทจี่ ะอยู่อาศัย และใช้ ป ระโยชน์ จ ากบ้ า น หรือห้ อ งพัก ที่ต นเช่ านั้น ได้ รวมทั้ ง ผู ้ เ ช่ า มี ห น้ า ที่ ต ้ อ ง จ่ายค่าเช่าตามก�ำหนดระยะเวลา ที่ ไ ด้ ต กลงไว้ กั บ ผู ้ ใ ห้ เ ช่ า เช่ น ระยะเวลา 3 เดื อ น, 1 ปี , 5 ปี , 20 ปี หรื อ แม้ แ ต่ ต ลอดอายุ ข องผู ้ เ ช่ า หรื อ ผู ้ ใ ห้ เ ช่ า ซึ่ ง เป็ น ไป ตามประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ มาตรา 541 ประกอบมาตรา 560

1


ตอนที่ 2

หลักฐานการเช่า (1)

โดยทัว่ ไปในชีวติ ประจ�ำวัน เรามักพบเห็นหนังสือสัญญาเช่าอยูบ่ อ่ ยครัง้ เช่ น การเช่ า รถ การเช่ า บ้ า น การเช่ า ที่ดิน เป็ น ต้ น ซึ่ง ปกติแ ล้ ว การเช่าสิง่ ของต่างๆ ทีส่ ามารถเคลือ่ นย้ายหรือเคลือ่ นทีไ่ ด้ ตามบทกฎหมาย เรียกว่า สังหาริมทรัพย์ ทัง้ นีใ้ นการเช่าสังหาริมทรัพย์ไม่จ�ำเป็นต้องท�ำหลักฐาน เป็ น หนั ง สื อ สั ญ ญาเช่ า ก็ ไ ด้ แต่ เ พื่ อ ความปลอดภั ย ถ้ า ทรั พ ย์ สิ น มีราคาค่างวดสูง ควรท�ำสัญญาเช่าไว้เป็นหลักฐาน นอกจากนีก้ รณีการเช่าบ้าน เช่ า ที่ ดิ น เช่ า ตึ ก แถว และเช่ า ห้ อ งพั ก ซึ่ ง มี ลั ก ษณะเป็ น การเช่ า อสังหาริมทรัพย์ ตามกฎหมายหากไม่มหี ลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชือ่ ฝ่ายที่ต้องรับผิดจะไม่สามารถน�ำไปฟ้องร้องให้ศาลบังคับตามสัญญาได้ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538

2


ตอนที่ 3

หลักฐานการเช่า (2)

โดยทั่วไป สัญญาเช่าทรัพย์ต่างๆ ถ้าทรัพย์สน ิ มีมูลค่าไม่มาก เช่น การเช่าหนังสือ การเช่าวิดีโอ สามารถตกลงปากเปล่าได้ โดยไม่ต้องท�ำ หนังสือสัญญาเช่า แต่ถ้าเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สิน ที่มีมูลค่ามาก ได้แก่ เช่าบ้าน เช่าที่ดิน เช่าตึกแถว เช่าคอนโดมิเนียม เช่ารถยนต์ เช่าเครือ่ งบิน จะต้องมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชือ่ ของฝ่ายที่ต้องรับผิด ไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับในศาลได้ โดยเฉพาะฉบับที่เราถือไว้นั้น จะต้องมีลายเซ็นของคู่สัญญาอีกฝ่าย ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ให้เช่าจะไปฟ้องเรียกค่าเช่าในหนังสือสัญญาเช่าจะต้อง มีลายมือชือ่ ของผูเ้ ช่า หรือผูเ้ ช่าจะไปฟ้องผูใ้ ห้เช่าทีผ่ ดิ สัญญามาไล่ทกี่ อ่ นก�ำหนด ในหนั ง สื อ สั ญ ญาเช่ า ก็ จ ะต้ อ งมี ล ายมื อ ชื่ อ ของผู ้ ใ ห้ เ ช่ า ปรากฏอยู ่ เช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538

3


ตอนที่ 4

จดทะเบียนการเช่า

การไปเช่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้าน ที่ดิน ตึกแถว ห้องชุด เพื่อ ความปลอดภัย ให้ ท�ำสัญ ญาเช่ า เป็ น หนัง สือ และให้ ฝ ่ า ยผู้ ใ ห้ เ ช่ า เซ็นชื่อก�ำกับไว้ทุกครั้ง แต่จะใช้ได้เฉพาะการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มี ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี เท่านั้น ถ้าเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี เพียงท�ำสัญญาเช่าอย่างเดียวยังไม่พอ แต่ตอ้ งน�ำสัญญาเช่านัน้ ไปจดทะเบียน กั บ พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ที่ ส�ำนั ก งานที่ ดิ น ในเขตที่ ที่ ดิ น บ้ า น หรื อ คอนโดมิเนียม ตัง้ อยู่ เพราะถ้าไม่ไปจดทะเบียน เช่น ในสัญญาเช่าระบุว่า เช่าบ้านนานสิบปี แต่ไม่ได้น�ำสัญญานัน้ ไปจดทะเบียน หากฝ่ายหนึง่ ฝ่ายใด เปลีย่ นใจ เมือ่ น�ำเรือ่ งไปฟ้องร้องต่อศาล ศาลจะรับรูแ้ ละบังคับตามสัญญา เช่านั้นให้เพียง 3 ปี ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538

4


ตอนที่ 5

บังคับให้จดทะเบียนเช่า ในบางกรณีทผี่ ใู้ ห้เช่าบางรายน�ำความรูท้ างกฎหมายเอารัดเอาเปรียบ ผู้เช่า ตัวอย่างเช่น นายแดงให้นางสาวเขียวเช่าบ้านเป็นเวลานาน ถึง 10 ปี และมีการท�ำสัญญาเช่า ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างเซ็นชื่อไว้โดยถูกต้อง แต่ไม่ได้ท�ำการจดทะเบียนสัญญาเช่า โดยในทางกฎหมายถือว่า สัญญา เช่าบ้านฉบับนี้จะบังคับจริงได้เพียง 3 ปีเท่านั้น ภายหลังนางสาวเขียว ทราบเรือ่ งดังกล่าว จึงขอร้องให้นายแดงไปจดทะเบียนการเช่า แต่นายแดง ปฏิเสธ เมื่อนางสาวเขียวน�ำเรื่องดังกล่าวไปฟ้องร้องต่อศาล ศาลได้ ตัดสินว่า หากยังอยู่ในช่วงระยะเวลา 3 ปีแรกของการเช่า คู่สัญญาไม่ว่า ฝ่ายผูใ้ ห้เช่า หรือผูเ้ ช่าสามารถฟ้องร้องบังคับให้อกี ฝ่ายไปจดทะเบียนการเช่าได้ ดังนั้น นางสาวเขียวจึงชนะคดีนี้

5


ตอนที่ 6

หน้าที่ของผู้ให้เช่า (1)

เมื่อผู้ให้เช่าและผู้เช่ามีการตกลงเช่าทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ ประเภทใดก็ ต าม ฝ่ า ยผู ้ ที่ ใ ห้ เ ช่ า จะต้ อ งส่ ง มอบทรั พ ย์ ใ ห้ แ ก่ ผู ้ เ ช่ า หากเป็นการเช่าบ้าน ผูใ้ ห้เช่าควรเตรียมบ้านให้เรียบร้อย พร้อมทีจ่ ะให้ผเู้ ช่า เข้าอยู่ได้ตามที่ตกลงท�ำสัญญาเช่าไว้ ไม่ใช่ว่าตกลงเช่าแล้ว แต่ถ้า คนเช่าที่อยู่ก่อนยังไม่ย้ายออก ผู้เช่ารายใหม่จะย้ายเข้าไปเอง อย่างนี้ ไม่ถูกต้อง นอกจากนั้น จะต้องส่งมอบทรัพย์ที่เช่าตามที่ตกลงไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าตกลงเช่ารถตู้ เพื่อพาสมาชิกในครอบครัว 7 - 8 คน ไป ท่องเทีย่ วพักผ่อน แต่เมือ่ ถึงเวลารับรถกลายเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล ซึง่ มี ที่นั่งไม่เพียงพอ อย่างนี้ถือว่าฝ่ายผู้ให้เช่าผิดสัญญา ทั้งนี้ผู้เช่าจะใช้สิทธิ เลิกสัญญา และอาจเรียกค่าเสียหายได้อีกด้วย ซึ่งเป็นไปตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 548

6


ตอนที่ 7

หน้าที่ของผู้ให้เช่า (2)

เมื่อมีการตกลงเช่าทรัพย์สินแล้ว ผู้ให้เช่าจะต้องส่งมอบทรัพย์ ตามที่ได้ตกลงไว้ จะส่งมอบเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ที่ส�ำคัญ แม้จะเป็นทรัพย์ อย่างเดียวกัน แต่ไร้คณ ุ ภาพ ผูเ้ ช่าไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามความประสงค์ ตัวอย่างเช่น การเช่าวีซีดีเพื่อชมภาพยนตร์ แต่แผ่นไม่ดีไม่มีคุณภาพ ภาพไม่คมชัด เครื่องเล่นแผ่นสะดุดเสียอรรถรสในการชม หรือกรณี การเช่ารถตูเ้ ดินทางไปต่างจังหวัด ขณะเดินทางยังไปไม่ไกลจากกรุงเทพฯ รถเกิดอาการเสียระหว่างทางเนือ่ งจากไม่มกี ารซ่อมบ�ำรุง กรณีเช่นนี้ ถือว่า ผู้ให้เช่าท�ำผิดสัญญา ผู้เช่าสามารถเรียกร้องให้ซ่อมแซมทรัพย์นั้นให้อยู่ ในสภาพให้ใช้การได้ หรือให้เปลีย่ นทรัพย์ชนิ้ ใหม่ทใี่ ช้แทนกันได้ หรืออาจ บอกเลิกสัญญาพร้อมเรียกค่าเสียหายได้ ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 546 และ มาตรา 548

7


ตอนที่ 8

สิ่งของที่เช่าช�ำรุดเสียหาย (1)

ทรัพย์สินสิ่งของต่างๆ มีอายุการใช้งาน จึงต้องมีการบ�ำรุงรักษา ต้ อ งมี ก ารซ่ อ มแซมให้ ก ลั บ มามี ส ภาพดี พ ร้ อ มการใช้ ง านตามปกติ เมื่อต้องการเช่าทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของใหญ่ๆ เช่น การเช่าบ้าน เช่าห้องพัก หรือสิง่ อืน่ ๆ ได้แก่ การเช่าคอมพิวเตอร์ เช่ารถ หากทรัพย์สนิ สิ่งของที่เช่าเหล่านั้น เกิดช�ำรุดเสียหายจะต้องมีการซ่อมแซม ซึ่งเป็น เหตุถกเถียงกันว่า ใครจะมีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สิน จะเป็นหน้าที่ของ ฝ่ายผูเ้ ช่าหรือเป็นหน้าทีข่ องฝ่ายผูใ้ ห้เช่านัน้ ขึน้ กับว่าความช�ำรุดเสียหาย ของทรั พ ย์ สิ น สิ่ ง นั้ น จ�ำเป็ น ต้ อ งมี ก ารซ่ อ มแซมมากน้ อ ยเพี ย งใด และเป็นการช�ำรุดตามอายุหรือเพราะการใช้งานตามปกติ ซึ่งเป็นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 547

8


ตอนที่ 9

เมื่อสิ่งของที่เช่าช�ำรุดเสียหาย (2) สมมติว่า เราไปเช่าบ้านหลังหนึ่ง และได้อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น ด้วยความร่มเย็นสงบสุขเสมอมา แต่วนั ดีคนื ดีขอื่ คานของบ้านได้พงั ลงมา หรือ เกิด มีพ ายุพัด ผ่ า นหอบหลัง คาบ้ า นปลิว หายไปทั้ง หลัง อย่ า งนี้ ในฐานะผู้เช่าต้องท�ำอย่างไร ตามกฎหมายในเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ ได้ก�ำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า กรณีทที่ รัพย์สนิ เสียหาย ต้องมีการซ่อมแซม โดยหลักเป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่า ถ้าเป็นการซ่อมแซมใหญ่ อย่างเช่น การซ่อมคานบ้าน หรือติดกระเบือ้ งมุงหลังคาทัง้ หลัง ต้องเป็นหน้าทีข่ อง ฝ่ายผู้ให้เช่า และเมือ่ มีเหตุการณ์เช่นนีเ้ กิดขึน ้ ขอแนะน�ำให้ผู้เช่ารีบแจ้ง อีกฝ่ายหนึ่งทราบโดยเร็วที่สุด ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 547 ประกอบมาตรา 550 มาตรา 551 และ มาตรา 557

9


ตอนที่ 10

เมื่อสิ่งของที่เช่าช�ำรุดเสียหาย (3) ทรัพย์สินสิ่งของต่างๆ มีอายุในการใช้งาน จึงต้องมีการบ�ำรุง รักษา มีการซ่อมแซมให้กลับมามีสภาพดีที่พร้อมใช้งาน ตามปกติ ผู้เช่าทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นการเช่าบ้าน เช่ารถ ผู้เช่าควรใช้สินทรัพย์ ด้ ว ยความระมัด ระวัง โดยให้ คิด ว่ า ของสิ่ง นั้น เป็ น ของของตน และ วิ ญ ญู ช นคนปกติ ทั่ ว ไป จะใช้สอยอย่างไร ให้ท�ำ อย่างนั้น ต้องมีการบ�ำรุง รั ก ษ า ต า ม ค ว ร เ ช ่ น ถ้าเช่ารถยนต์มาใช้ครึ่งปี ระหว่างนี้ เป็นหน้าที่ของ ผู ้ เ ช่ า ที่ ต ้ อ งเติ ม น�้ ำ มั น ล้ า งรถ ดู แ ลรั ก ษาสี ร ถ และเปลีย่ นถ่ายน�ำ้ มันเครือ่ ง เมือ่ ถึงระยะเวลาทีก่ �ำหนด เพราะถือ ว่ า เป็ น การบ�ำรุง รัก ษาปกติ และหากรถเสีย เล็ก ๆ น้ อ ยๆ เช่น หัวเทียนบอด ต้องเปลี่ยนหัวเทียน ซึ่งการซ่อมแซมเล็กๆ น้อยๆ เป็นหน้าที่ของผู้เช่า ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 553

10


ตอนที่ 11 ค่าเช่า

สัญญาเช่า เป็นสัญญาที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างเช่น การเช่าบ้าน ฝ่ายผู้เช่ามีบ้านอาศัยเป็นที่พักพิงหลับนอน ส่วนผู้ให้เช่า ก็ได้ค่าเช่าเป็นการตอบแทน โดยปกติค่าเช่าจะเป็นไปในรูปแบบเงินตรา หรือบางครั้งอาจจะมีการตกลงเอาทรัพย์สินอย่างอื่นมาเป็นค่าเช่าแทน เช่น การช�ำระค่าเช่าเป็นข้าวเปลือก ซึง่ สามารถท�ำได้ไม่มกี ฎหมายห้ามไว้ ทั้งนี้ ค่าเช่าจัดเป็นสิ่งส�ำคัญของสัญญาเช่า แต่ถ้าเป็นการให้อีกฝ่าย ใช้ประโยชน์โดยไม่มีค่าเช่า ตัวอย่างเช่น มีญาติย้ายมาจากต่างจังหวัด เพือ่ เรียนหนังสือในกรุงเทพฯ ได้ขออาศัยพักทีบ่ า้ นของเรา แม้วา่ นานๆ ครัง้ จะมีนำ�้ ใจช่วยเหลือออกค่าน�ำ ้ ค่าไฟบ้าง การกระท�ำเช่นนีไ้ ม่ใช่สญ ั ญาเช่า เป็นเพียงการให้อาศัยเท่านั้น

11


ตอนที่ 12

การช�ำระค่าเช่า ในสัญญาเช่า ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องช�ำระค่าเช่าให้ถูกต้องครบถ้วน ตรงตามก�ำหนดเวลาทีไ่ ด้ตกลงกันไว้ เช่น เช่าบ้านเป็นเวลา 1 ปี จะจ่ายค่างวด ครั้ ง เดี ย ว หรื อ จะแบ่ ง จ่ า ยเป็ น รายเดื อ น โดยปกติ จ ะต้ อ งจ่ า ยทุ ก สิ้นเดือน แต่ถ้าก�ำหนดวันเวลาไว้ ตัวอย่างเช่น ให้จ่ายค่าเช่าล่วงหน้า ทุกวันที่ 10 ของเดือน จะจ่ายตัง้ แต่วน ั ที่ 1 ก็ได้ แต่ขอให้จ่ายก่อนวันที่ 10 ของเดือน เป็นต้น และหากผู้เช่าเกิดขัดสนเงินทองไม่มีเงินช�ำระค่าเช่า ฝ่ายผู้ให้เช่าอาจบอกเลิกสัญญาเช่าได้ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 559

12


ตอนที่ 13

ถ้าไม่จ่ายค่าเช่าเลิกสัญญาได้

ถ้าหากผู้เช่าไม่ยอมจ่ายค่าเช่า ผู้ให้เช่าคงจะไม่ยอมให้ผู้เช่า ใช้ทรัพย์สน ิ ไปอย่างฟรีๆ ตามกฎหมายได้ให้สทิ ธิแก่ผู้ให้เช่าทีจ่ ะบอกเลิก สัญญาเช่าได้ ซึง่ ถ้าเป็นการเช่าเป็นครัง้ คราว เช่น เช่าทีข่ ายของในตลาดนัด ทีเ่ ปิดเฉพาะบางวัน เช่าแผงลอยในตลาดสดด้วยการจ่ายค่าเช่าเป็นรายวัน กรณีเช่นนี้ เมื่อผู้เช่าไม่ช�ำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญา ได้ โ ดยทัน ที แต่ ถ ้ า เป็ น การเช่ า ที่ไ ด้ ต กลงจ่ า ยค่ า เช่ า เป็ น รายเดือ น รายไตรมาส หรือทุกๆ สามเดือน หรือรายปี เมื่อผู้เช่าช�ำระค่าเช่าล่าช้า ฝ่ายผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาโดยทันทีไม่ได้ แต่จะต้องทวงผู้เช่าให้ช�ำระ ค่าเช่าอีกครั้ง โดยทอดเวลาให้ฝ่ายผู้เช่ามีโอกาสหาเงินเป็นเวลา 15 วัน 30 วัน แต่ถ้าผู้เช่ายังไม่จ่าย ฝ่ายผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทน ั ที

13


ตอนที่ 14 เช่าช่วง (1)

ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะมีประสบการณ์ในการเช่าตึก เช่าบ้าน แต่อาคารหลังนัน้ มีขนาดใหญ่โตเกินไปใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ เช่น การเช่า อาคารพาณิช ย์ ทั้ง หลัง แต่ ใ ช้ เ ฉพาะพื้น ที่ข ้ า งล่ า งเพื่อ ท�ำมาค้ า ขาย ส่วนด้านบนได้ก้น ั ห้องเล็กๆ ให้ผู้อ่น ื มาเช่าอาศัยอยู่ นอกจากเราจะเป็น ผู้เช่าอาคารจากเจ้าของแล้ว เรายังเป็นผู้ให้เช่าห้องเล็กๆ กับผู้เช่า คนอื่นๆ ด้วย ลักษณะเช่นนี้ทางกฎหมายเรียกว่า การเช่าช่วง โดยปกติ ไม่สามารถท�ำได้ แต่หากฝ่าฝืนให้คนอื่นเช่าช่วง จะถือว่า ผู้เช่าอาคาร เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าของ อาคารผู ้ ใ ห้ เ ช่ า สามารถ บอกเลิกสัญญาได้ เว้นแต่ ในสัญญาเช่าระบุอนุญาต ให้ผู้เช่าน�ำไปให้เช่าช่วงได้ ผูเ้ ช่าจึงจะสามารถน�ำไปให้ เช่าช่วงได้ โดยไม่ผดิ สัญญา ซึ่ ง เป็ น ไปตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 544

14


ตอนที่ 15 เช่าช่วง (2)

ในการเช่าทรัพย์สิน สิง่ ใดมา ถ้าเป็นการเช่าบ้าน เช่ า อาคารพาณิ ช ย์ หรื อ เช่าที่ดน ิ บางครั้งผู้เช่าอาจ จะใช้ ส อยประโยชน์ ไ ด้ ไม่เต็มที่ ดังนัน้ ควรจะมีการ ตกลงกันไว้ให้ชดั ในสัญญาเช่า ว่ า ผู ้ ใ ห้ เ ช่ า ยิ น ยอมให้ มี การเช่าช่วงได้ เช่นนี้ ผู้เช่า จะสามารถน�ำทรัพย์สินนั้น ไปหาประโยชน์ต่อได้ ทั้งนี้การยินยอมหรืออนุญาตให้เช่าช่วงได้นั้น จะระบุอนุญาตไว้ตงั้ แต่การท�ำสัญญาเช่าฉบับแรกก็ได้ หรือจะตกลงให้การยินยอม กันภายหลังก็ได้ แต่ข้อส�ำคัญคือ ให้ท�ำค�ำยินยอมไว้เป็นลายลักษณ์อกั ษร นอกจากนัน้ อย่าลืมว่าจะเช่าช่วง หรือเช่าตรง ต่างเป็นสัญญาเช่าประเภทหนึง่ ดังนัน้ การเช่าช่วงบ้าน ทีด่ นิ อสังหาริมทรัพย์ ถ้ามีระยะเวลาเช่ายาวนาน กว่า 3 ปี ควรไปจดทะเบียนเช่า ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 538 ประกอบมาตรา 544

15


ตอนที่ 16 เซ้ง (1)

ค�ำว่า “เซ้ง” เป็นภาษาจีน แต่คนไทยนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นค�ำไทยทีเ่ ข้าใจกันทัว่ ไปโดยไม่ต้องแปลความหมาย ซึง่ ปกติ การเซ้งจะใช้กบั แผงลอย พืน ้ ทีค่ ้าขาย และอาคารพาณิชย์ เช่น จะไปเช่า แผงลอยขายของทีม่ าบุญครอง ซึง่ ค้าขายดีมกี �ำไร มีเงินพอทีจ่ ะหาทีท่ าง ค้าขายเป็นการถาวร จึงโอนสิทธิการใช้ประโยชน์ในแผงลอยขายของนัน ้ ให้แก่ผู้อื่น และได้เก็บเงินบางส่วน ซึ่งการกระท�ำเช่นนี้เรียกว่า การเซ้ง หรือที่ภาษากฎหมายเรียกว่า การโอนสิทธิการเช่า เมื่อมีการเซ้งจึงถือ เสมือนหนึง่ ว่า ผู้รบั โอนสิทธิการเช่าหรือผู้เซ้งเข้าไปแทนทีเ่ ราในสัญญาเช่า และมีสถานะเป็นผู้เช่าแทนเราโดยปริยาย รวมทั้งมีหน้าที่ช�ำระค่าเช่า ให้แก่เจ้าของทรัพย์สน ิ ผู้ให้เช่าโดยตรง

16


ตอนที่ 17 เซ้ง (2)

การเซ้ง หรือการโอนสิทธิการเช่า มีผลท�ำให้ผเู้ ซ้งเข้าไปแทนทีผ่ เู้ ช่า ในสัญญาเช่าเดิม ส่วนผู้เช่าเดิมมีหน้าที่ต้องท�ำอย่างไร ต้องจ่ายค่าเช่า เท่าไร ผู้ที่เป็นผู้เซ้งก็ต้องท�ำตามนั้นเช่นกัน และเมื่อใดที่ท่านผู้อ่าน จะเซ้งตึก เซ้งแผงลอย หรือเซ้งอะไรก็ตาม ขอแนะน�ำให้ตรวจสอบข้อมูล รายละเอียดดังต่อไปนี้ ได้แก่ สัญญาเช่าเดิมอนุญาตให้มีการเซ้งต่อหรือไม่ แม้สญ ั ญาจะไม่เปิดช่องไว้ แต่อาจมีความยินยอมจากผู้ให้เช่าในภายหลังได้ จากนั้น ตรวจสอบว่ า สัญ ญาเช่ า เดิม มีก�ำหนดเวลาเช่ า เหลือ อีก กี่ป ี คุ้มค่าที่จะเซ้งต่อหรือไม่ เมื่อตกลงได้แล้ว อย่าลืมท�ำเป็นหนังสือและ แจ้งให้เจ้าของตึกผู้ให้เช่าทราบ

17


ตอนที่ 18

การเช่าไม่มกี �ำหนดเวลา

ท่านผู้อ่านเคยได้พบปัญหากรณีตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไปนี้หรือไม่ มีการตกลงเช่าบ้านระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2556 ถึง 30 พฤษภาคม 2557 ก�ำหนดจ่ายค่าเช่าทุกเดือน และด้วยความเป็นผู้เช่าที่ดี ได้จ่ายค่าเช่าสม�่ำเสมอจนครบ 1 ปี ผู้ให้เช่าก็ไม่ได้กระท�ำอะไร ปล่อยให้ ผูเ้ ช่าจ่ายค่าเช่าเรือ่ ยมา กรณีเช่นนี้ กฎหมายถือว่าสัญญาเช่านัน้ ถูกต่อออกไป โดยอัตโนมัติ กลายเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีก�ำหนดเวลา หากเจ้าของบ้าน ผู้ให้เช่าต้องการจะให้ผู้เช่าออกนั้น ไม่สามารถท�ำการไล่ผู้เช่าออกไป ได้ทน ั ที แต่จะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ช่วงเวลาช�ำระ ค่าเช่า แต่ไม่จ�ำเป็นต้องเกิน 2 เดือน เช่น ถ้าก�ำหนดจ่ายค่าเช่าทุกเดือน แล้วบอกเลิกในวันที่ 10 ของเดือนนี้ อย่างเร็วที่สุดจะต้องย้ายออกคือ วันที่ 10 ของเดือนถัดไป ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566

18


ตอนที่ 19 ผู้ให้เช่าตาย

ถ้าหากเราไปเช่าทรัพย์สินของผู้อื่น ต่อมาผู้ให้เช่าได้เสียชีวิตลง ซึง่ ปกติทรัพย์สน ิ ชิน ้ นัน ้ ย่อมเปลีย่ นกรรมสิทธิเ์ ป็นของทายาท แล้วเราที่ เป็นผู้เช่าจะท�ำอย่างไร ค�ำตอบคือ กรณีอสังหาริมทรัพย์ ถ้าเจ้าของทรัพย์ ผู้ให้เช่าได้เสียชีวิตไป ทรัพย์น้น ั ย่อมตกทอดสู่ทายาท และทายาทจะต้อง รับพันธะผูกพันตามสัญญาเช่าต่อไปจนครบอายุสญ ั ญาเช่า เช่น ในสัญญาเช่า ผูเ้ ช่าได้เช่าบ้านจากนายแดงจนถึงเดือนธันวาคม 2557 แต่เมือ่ ต้นเดือนนีเ้ อง นายแดงเกิด อุบัติเ หตุเ สีย ชีวิต นายเอกลูก ของนายแดงได้ รับ มรดก เป็นบ้านหลังนี้ จึงต้องยอมให้ผู้เช่าอยู่ต่อไปจนครบสัญญาเช่าจนถึง เดือนธันวาคม 2557 ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569

19


ตอนที่ 20

สังหาริมทรัพย์ที่เช่าต้องเปลี่ยนมือ

ค�ำโบราณกล่าวว่า สมบัติผลัดกันชม หมายถึงทรัพย์สินข้าวของ ต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนมือเปลี่ยนเจ้าของได้ ถ้าเป็นสิ่งของทั่วไปไม่มี พันธะอะไรคงไม่มีปัญหา แต่หากสิ่งของนั้น เจ้าของเดิมให้คนอื่นเช่า ก่อนจะขายเปลีย่ นมือ อย่างนีเ้ ป็นปัญหาทีน่ า่ หนักใจส�ำหรับผูเ้ ช่า สมมติวา่ ถ้าผู้เช่าได้เช่ารถยนต์หนึ่งคัน ต่อมาเจ้าของรถได้ให้คนอื่นไป ทั้งที่ สัญญาเช่ารถยนต์ยังไม่สิ้นสุดลง กรณีเช่นนี้เป็นการเช่ารถยนต์ที่เป็น สังหาริมทรัพย์ เมือ่ มีการถ่ายโอนเปลีย่ นความเป็นเจ้าของ เจ้าของคนใหม่ จะไม่ผูกพันตามสัญญาเช่า และสามารถเรียกคืนรถยนต์จากผู้เช่าได้ แต่ถ้าผู้เช่าเสียประโยชน์ก็สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของ รถยนต์คน ั เดิมซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้

20


ตอนที่ 21

อสังหาริมทรัพย์ที่เช่าต้องเปลี่ยนมือ

ทรัพย์สินต่างๆ อาจมีการถ่ายโอนเปลี่ยนเจ้าของได้ ดั่งค�ำโบราณ ทีว่ ่า สมบัตผิ ลัดกันชม ซึง่ หากเป็นสิง่ ของทัว่ ไปทีไ่ ม่มพ ี น ั ธะ ก็ไม่มปี ัญหา แต่ถ้าของสิง่ นัน ้ เจ้าของเดิมให้ผู้อน ื่ เช่า ก่อนทีจ่ ะขายเปลีย่ นมือ ตัวอย่าง เช่น ถ้าผูเ้ ช่าได้เช่าบ้านเป็นระยะเวลา 3 ปี ท�ำหลักฐานสัญญาเช่าอย่างถูกต้อง ผ่านไปหนึ่งปี ผู้ให้เช่ามีความจ�ำเป็นต้องขายบ้านหลังดังกล่าว ผู้เช่า จะท�ำอย่างไร ส�ำหรับกรณีเช่นนี้ คือการเช่าอสังหาริมทรัพย์ และการเช่า ทีถ่ กู ต้องย่อมมีผลผูกพันผู้ซอื้ บ้านหลังนัน ้ จนกว่าจะครบอายุสญ ั ญาเช่า ดังนั้น ผู้เช่ายังคงมีสิทธิอยู่ในบ้านหลังนั้นต่อไปอีก 2 ปี ตามที่ระบุไว้ ในสัญญา ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569

21


ตอนที่ 22

สิทธิของผู้ถกู จับกุม

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใหม่ (1)

การแก้ไขเพิม่ เติมประมวลกฎหมายวิธพ ี จิ ารณาความอาญาทีม่ ผี ล ใช้บังคับ ตั้งแต่วน ั ที่ 24 ธันวาคม 2547 นั้น สาระส�ำคัญที่ประชาชนทั่วไป ควรรู้ คือ สิทธิต่างๆ ของผู้ถูกจับกุม โดยเจ้าพนักงานที่จับกุมจะต้อง แจ้งให้บคุ คลทีก่ �ำลังจะถูกจับกุมทราบว่า บุคคลนัน้ ได้ถกู จับกุมเรียบร้อยแล้ว รวมทัง้ หากมีหมายจับเจ้าพนักงานต้องแสดงหมายจับพร้อมกับแจ้งข้อหา และอธิบายถึงสิทธิต่างๆ ที่บุคคลนั้นพึงมีตามกฎหมาย ประกอบด้วย สิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ เนื่องจากถ้อยค�ำต่างๆ สามารถ ใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ นอกจากนี้ยงั มีสิทธิที่จะพบ และปรึกษาทนายความ และสามารถติดต่อญาติหรือบุคคลอืน่ ทีไ่ ว้วางใจได้ หากการติดต่อนั้นไม่เป็นการขัดขวางการจับกุม ซึ่งเป็นไปตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรค 2

22


ตอนที่ 23

สิทธิของผู้ถกู จับกุม

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใหม่ (2) เมือ่ ผูถ้ กู จับกุมถูกควบคุมตัวไปยังสถานีต�ำรวจอันเป็นทีท่ �ำการของ พนักงานสอบสวน ผู้ถูกจับกุมมีสิทธิที่จะติดต่อกับญาติหรือบุคคลที่ให้ ความไว้วางใจ เพื่อแจ้งให้บคุ คลดังกล่าวเป็นธุระจัดหาทนายความ หรือ เตรียมเอกสารหลักฐานที่จ�ำเป็นต้องใช้ในการประกันตัว หรือมาติดต่อ ขอพบที่สถานีต�ำรวจนั้นๆ หากผู้ถูกจับกุมไม่สะดวกที่จะติดต่อญาติหรือ บุคคลที่ให้ความไว้วางใจ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม สามารถร้องขอ ให้เจ้าหน้าที่ต�ำรวจเป็นผู้ประสานงานแทนได้ โดยที่เจ้าหน้าที่ต�ำรวจ จะไม่สามารถปฏิเสธได้ และต้องด�ำเนินการในทันที ทั้งนี้การด�ำเนินการ ดังกล่าวจะไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรค 2

23


ตอนที่ 24

สิทธิของผู้ถกู จับกุม

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใหม่ (3)

เมื่อมีการจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยว่ากระท�ำความผิดแล้ว เจ้าหน้าที่ ต�ำรวจต้องน�ำตัวผู้ถูกจับกุมนั้นไปยังสถานีต�ำรวจ อันเป็นที่ท�ำการของ พนักงานสอบสวนโดยทันที และเจ้าพนักงานผู้จบั กุมต้องแจ้งให้ผ้ถู กู จับกุม ทราบถึงข้อกล่าวหาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับ เหตุแห่งการจับกุม และหากมีหมายจับต้องแสดงให้ผู้ถูกจับกุมทราบ พร้ อ มทั้ ง มอบส�ำเนาบั น ทึ ก การจั บ กุ ม ให้ แ ก่ ผู ้ ถู ก จั บ กุ ม ไว้ จากนั้ น เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจทีร่ บั มอบตัวจะแจ้งสิทธิตา่ งๆ ให้ผถู้ กู จับกุมทราบ อาทิ สิทธิ ที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว รวมทั้งจัดให้ผู้ต้องหา ได้ติดต่อญาติหรือบุคคลที่ไว้วางใจ เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83

24


ตอนที่ 25

สิทธิของผู้ถกู จับกุม

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใหม่ (4)

ส�ำหรับ กระบวนการในการควบคุม ตัว ผู้ ต ้ อ งหาของเจ้ า หน้ า ที่ ต�ำรวจ เมือ่ น�ำตัวผูต้ อ้ งหาไปยังสถานีต�ำรวจและส่งมอบตัวให้กบั พนักงาน สอบสวนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ต้องหาจะมีสิทธิติดต่อญาติหรือบุคคล ที่ให้ความไว้วางใจ นอกจากนี้พนักงานสอบสวนยังต้องแจ้งสิทธิต่างๆ ที่กฎหมายก�ำหนดไว้ให้ผู้ต้องหาทราบด้วย อันได้แก่ สิทธิที่จะพบและ ปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว หรือเป็นการส่วนตัว สิทธิที่จะ ให้ทนายความหรือคนทีใ่ ห้ความไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากค�ำในชัน้ สอบสวน สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อญาติตามสมควร และประการสุดท้าย เมื่อผู้ต้องหามีอาการป่วย ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาล โดยเร็วที่สุด

25


ตอนที่ 26

ค�ำรับสารภาพในชั้นจับกุม (1) หลักการทีส่ �ำคัญในการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความอาญา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 คือ ถ้อยค�ำที่เป็นการ รับสารภาพของผู้ถูกจับกุมในขณะที่ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ โดยเป็นการ แก้ไขเพิม่ เติมบทบัญญัตแิ ห่งกฎหมาย เกีย่ วกับการรับฟังค�ำสารภาพของ ผู้ถกู จับกุม ซึง่ จะน�ำมาใช้เป็นพยานหลักฐานเอาผิดกับบุคคลนัน ้ ในการ พิจารณาคดีไม่ได้ เหตุทกี่ ฎหมายบัญญัตไิ ว้เช่นนี้ เพือ่ ไม่ให้ตอ้ งมาถกเถียงกัน ในกรณีที่ รั บ สารภาพในตอนถู ก จั บ กุ ม ไปนั้ น เพราะถูก ท�ำร้ า ยหรือ ถูกซ้อม อย่างไรก็ตามถ้าเป็นถ้อยค�ำอื่นๆ ที่มิใช่การรับสารภาพแล้ว ก็อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสจู น์ความผิดได้ ถ้าหากว่าในการ จับกุมได้มีการแจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับกุมทราบโดยถูกต้องแล้ว ซึ่งเป็นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรค 3

26


ตอนที่ 27

ค�ำรับสารภาพในชั้นจับกุม (2) เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้ว่าถ้อยค�ำรับสารภาพในชั้นการจับกุมของ เจ้าหน้าที่ต�ำรวจตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 ไม่สามารถน�ำมาใช้ เป็นพยานหลักฐานเอาผิดกับจ�ำเลยในการพิจารณาคดีได้ ซึง่ ส่งผลให้จ�ำเลย ในคดีอาญาบางคนที่ถูกจับกุมก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้อ้างบทบัญญัติ ดังกล่าว เพื่อให้หลุดพ้นจากความผิด แม้ว่าได้กระท�ำความผิดจริง จนเป็นเหตุให้ถกู จับกุมและรับสารภาพในขณะทีถ่ กู จับกุม จากกรณีดงั กล่าว ศาลฎีกาได้พพ ิ ากษาโดยวางหลักไว้วา่ ค�ำรับสารภาพในชัน้ จับกุมทีไ่ ด้ท�ำขึน้ โดยชอบ และพนักงานอัยการได้อ้างเป็นหลักฐานในคดีก่อนวันที่ 24 ธันวาคม 2547 อันเป็นวันที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มผี ลใช้บังคับ สามารถ รับฟังเป็นพยานหลักฐานที่สามารถเอาผิดกับจ�ำเลยได้

27


ตอนที่ 28 หมายจับ (1)

การจับกุมคุมขังบุคคลเป็นการจ�ำกัดสิทธิเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย ทีค่ ่อนข้างรุนแรง แต่หากปล่อยให้ผ้กู ระท�ำผิดลอยนวล บุคคลในสังคมจะ ด�ำเนินชีวติ ไปอย่างล�ำบาก อย่างไรก็ตาม เพือ่ การคุม้ ครองสิทธิของจ�ำเลย ผู้ต้องหา และการคุ้มครองสังคมเป็นไปอย่างสมดุล ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาที่แก้ไขใหม่จึงก�ำหนดให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ว่ า โดยหลัก เจ้ า พนัก งานจะจับ กุม บุค คลใดๆ ได้ ก็ต ่ อ เมื่อ มีอ�ำนาจ ตามหมายจับทีอ่ อกโดยศาล เพือ่ ให้ศาลเป็นผูก้ ลัน่ กรองว่า มีพยานหลักฐาน และเหตุผลทีห่ นักแน่น ควรเชือ่ ได้ว่าบุคคลนัน้ ได้กระท�ำความผิดอาญาจริง ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 49 ประกอบมาตรา 66

28


ตอนที่ 29 หมายจับ (2)

การออกหมายจั บ เป็ น อ�ำนาจของศาล ซึ่ ง ศาลจะพิ จ ารณา อย่างรอบคอบว่ามีเหตุทจี่ ะออกหมายจับตามทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้หรือไม่ ในเบือ้ งต้นเจ้าหน้าทีต่ �ำรวจผูข้ อออกหมายจับจะต้องแสดงพยานหลักฐาน ตามสมควรว่า บุคคลทีจ่ ะถูกออกหมายจับน่าจะได้กระท�ำความผิดอาญา ที่มีอัตราโทษจ�ำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตาย ความผิดฐานวางเพลิง หรือความผิดฐานข่มขืน แต่หากเป็นความผิดทีโ่ ทษ จ�ำคุกขัน้ สูงไม่เกิน 3 ปี เช่น ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง หมิน่ ประมาท ศาลจะไม่ออกหมายจับ เว้นแต่จะมีเหตุผลอื่น ซึ่งเป็นไปตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (1)

29


ตอนที่ 30 หมายจับ (3)

โดยหลั ก แล้ ว ศาลจะออกหมายจั บ ก็ ต ่ อ เมื่ อ มี พ ยานหลั ก ฐาน ตามสมควรว่าบุคคลทีจ่ ะถูกออกหมายจับ น่าจะกระท�ำความผิดอาญาทีอ่ ตั ราโทษ จ�ำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุท�ำให้ศาล เชื่อได้ว่า ผู้ต้องสงสัยมีพฤติการณ์จะหลบหนี ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่เข้ารายงานตัวตามหมายเรียก หมายนัด โดยไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม หรือมีพฤติการณ์ทจี่ ะท�ำลาย เปลีย่ นแปลงพยานหลักฐาน ท�ำให้เสียรูปคดี หรืออาจจะก่อภยันตรายอื่นๆ ได้ แม้ว่าผู้นั้นจะต้องสงสัยว่าได้กระท�ำ ความผิดทีโ่ ทษจ�ำคุกขัน้ สูงไม่เกิน 3 ปี เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ความผิด ฐานยักยอกทรัพย์ ศาลอาจมีดลุ ยพินจิ ทีจ่ ะออกหมายจับบุคคลดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (2)

30


ตอนที่ 31 หมายจับ (4)

เมือ่ ศาลได้ออกหมายจับบุคคลใดเพราะเหตุตามทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้แล้ว เจ้าหน้าที่ ต�ำรวจจะมี ห น้าที่ ใ นการสื บ สวนจั บ กุ ม บุ ค คลนั้ น มาด�ำเนินคดี โดยหมายจับนัน้ มีผลใช้ได้ตลอดเวลา และทัว่ ราชอาณาจักร ค�ำว่าตลอดเวลาในทีน ่ ี้ หมายถึงหมายจับมีผลบังคับใช้จนกว่าจะจับกุมตัว บุคคลตามหมายได้ เว้นแต่ความผิดนั้นได้ล่วงเลยมาจนขาดอายุความ ไปแล้ว หรือศาลทีอ่ อกหมายจับได้สงั่ ถอนหมายคืน หมายจับจะสิน ้ ผลไป ทั้งนี้นอกจากหมายจับฉบับจริงที่เป็นต้นฉบับ เจ้าหน้าที่อาจจะส�ำเนา เอกสารหมายจับทีร่ บั รองส�ำเนาถูกต้องส่งผ่านช่องทางต่างๆ เช่น โทรสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 77

31


ตอนที่ 32

จับโดยไม่ต้องมีหมาย (1) ก า ร คุ ม ขั ง บุ ค ค ล ใดนั้ น จะต้ อ งกระท�ำโดย หมายทีศ่ าลเป็นผู้ออกค�ำสัง่ มิ เ ช่ น นั้ น ย่ อ มเป็ น การ ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อนื่ และเจ้ า หน้ า ที่ ที่ ท�ำการ จั บ กุ ม อาจมี ค วามรั บ ผิ ด ทั้งทางแพ่งและทางอาญา อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี การขอให้ศาลออกหมายจับ อาจมีความล่าช้า และก่อให้เกิด ความเสี ย หายแก่ สั ง คม โดยรวมเช่น หากเจ้าหน้าที่ ต�ำรวจพบเหตุการณ์เช่นนี้ ถือเป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าหน้าที่ต�ำรวจผู้พบเห็นเหตุการณ์สามารถ แสดงตนเข้าจับกุมผูก้ ระท�ำผิดได้ทนั ที โดยไม่ตอ้ งขอให้ศาลออกหมายจับก่อน ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78

32


ตอนที่ 33

จับโดยไม่ต้องมีหมาย (2) ทราบหรือไม่วา่ เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจ เมือ่ พบบุคคลทีม่ ที า่ ทางต้องสงสัย น่าจะก่อเหตุร้าย ทีอ่ าจจะสร้างภยันตรายให้แก่ผ้อู นื่ หรือทรัพย์สนิ ของผู้อนื่ เช่ น พบเห็น บุคคลมีอาวุธ หรือสิ่งของที่สามารถท�ำร้ายบุคคลอื่นได้ และมีพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจ ถึงแม้บุคคลนั้นจะยังไม่ก่อเหตุร้าย แต่พฤติการณ์เช่นนี้ สามารถอนุมานได้ว่าจะมีการก่อเหตุได้ ซึง่ ลักษณะ ดังกล่าวนี้ เจ้าหน้าที่ต�ำรวจสามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 80

33


ตอนที่ 34

จับโดยไม่ต้องมีหมาย (3)

โดยหลักกฎหมาย การจับกุมคุมขังบุคคลจะกระท�ำไม่ได้ เว้นแต่ มีหมายที่ออกโดยศาล แต่ในบางครั้งหากจะรอให้ศาลออกหมายจับ จะเป็นการล่าช้าและไม่ทน ั การ ดังนัน ้ จึงมีข้อยกเว้นให้เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจ สามารถจั บ กุ ม ผู ้ ก ระท�ำผิ ด ได้ โ ดยไม่ ต ้ อ งมี ห มายจั บ ในกรณี ที่ มี ความจ�ำเป็นเร่งด่วนไม่สามารถขอให้ศาลออกหมายจับได้ทัน ทั้งนี้ ต้องมีหลักฐานอันควรเชือ่ ได้ว่าบุคคลทีจ่ ะจับกุมนัน้ น่าจะกระท�ำความผิด และมีพฤติการณ์จะหลบหนี หรืออาจท�ำลายพยานหลักฐาน นอกจากนี้ ถ้าเป็นผู้ต้องหาหรือจ�ำเลยที่ได้รับการประกันตัว แต่หลบหนีไม่มาพบ เจ้าพนักงาน หรือไม่มาตามที่ศาลก�ำหนดนัด เจ้าหน้าที่ต�ำรวจสามารถ จับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธพ ี จิ ารณา ความอาญา มาตรา 66 วรรค 2

34


ตอนที่ 35 ห้ามจับกุม

การจับกุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่มีการ แก้ไขใหม่นน ั้ หากมีหมายจับเจ้าหน้าทีต่ �ำรวจสามารถเข้าไปจับกุมบุคคล ที่มีชื่อตามหมายจับนั้นได้ แต่ยกเว้นการจับกุมในสถานที่รโหฐาน เช่น บ้านพัก ซึ่งเจ้าหน้าที่ต�ำรวจจะไม่สามารถเข้าไปจับกุมได้ เนื่องจากการ เข้าไปในสถานที่รโหฐานนั้นต้องมีหมายค้นด้วย ดังนั้น หากเจ้าหน้าที่ ต�ำรวจจะจับกุมบุคคลที่มีชื่อตามหมายจับในสถานที่รโหฐานนั้นต้องมี หมายค้นด้วย ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81

35


ตอนที่ 36

การจับในสถานที่รโหฐาน สถานที่รโหฐานเป็นสถานที่ส่วนบุคคล เช่น บ้านเรือน ห้องแถว ห้องเช่า เป็นต้น ซึ่งมีเจ้าของหรือผู้ที่ครอบครองอาศัยอยู่ บุคคลทั่วไป จึงไม่สามารถเข้าไปได้หากไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าเจ้าหน้าที่ต�ำรวจจะมี หมายจับ แต่บคุ คลทีม่ ชี อื่ ในหมายจับนัน ้ อยู่ในสถานทีร่ โหฐาน เจ้าหน้าที่ ต�ำรวจจะไม่สามารถเข้าจับกุมได้ ดังนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ต�ำรวจทราบว่า บุคคลตามหมายจับหลบซ่อนตัวอยู่ที่ใด เจ้าหน้าที่ต�ำรวจต้องขอให้ศาล ออกหมายค้น และเมื่อศาลออกหมายค้นสถานที่แห่งนั้นแล้ว เจ้าหน้าที่ ต�ำรวจจะสามารถเข้าไปในสถานทีร่ โหฐานเพือ่ จับกุมบุคคลนัน้ ได้ ซึง่ เป็นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81

36


ตอนที่ 37

สถานที่รโหฐาน

สถานที่รโหฐานเป็นสถานที่ส่วนบุคคล ไม่ใช่สถานที่สาธารณะที่ บุคคลทัว่ ไปจะสามารถเข้าไปได้แต่ยกเว้น โรงแรม โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร อาคารหน่ ว ยงานราชการ ไม่ ถือเป็ น สถานที่รโหฐาน แม้มีเ งื่อนไข ว่าจะต้องช�ำระค่าบัตรของโรงภาพยนตร์ หรือช�ำระค่าอาหารของร้านอาหาร ก็ตาม สถานที่ดังกล่าวถือเป็นสถานที่สาธารณะ อย่างไรก็ตามพื้นที่ บางบริเวณของสถานทีเ่ หล่านีถ้ อื เป็นสถานทีร่ โหฐาน ไม่อนุญาตให้บคุ คล ทัว่ ไปเข้าโดยไม่รบั อนุญาต เช่น ห้องพักในโรงแรม หรือพืน ้ ทีช่ น ั้ บนของ ร้านอาหารที่ใช้เป็นสถานที่พักของพนักงาน เป็นต้น

37


ตอนที่ 38

การจับกุมเจ้าบ้าน การจับกุมบุคคลทีม่ ชี อื่ ตามหมายจับในสถานทีร่ โหฐานนัน้ เจ้าหน้าที่ ต�ำรวจจะไม่สามารถจับกุมได้เว้นแต่จะมีหมายค้น และน�ำหมายค้น เข้าไปค้นในสถานที่นั้น นอกจากนี้กฎหมายยังมีข้อยกเว้นเป็นบางกรณี เช่น หากบุคคลที่ก�ำลังจะถูกจับตามหมายจับเป็นเจ้าบ้าน หมายถึง บุคคลที่เป็นผู้รับผิดชอบ ดูแลสภาพความเป็นอยู่ของบ้าน และบุคคล ภายในบ้าน ทั้งนี้ เจ้าบ้านยังมีความหมายรวมถึงสามีหรือภรรยาของ บุคคลนั้นๆ ด้วย ดังนั้น ถ้าเป็นการจับกุมบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านดังกล่าว แม้มีเพียงหมายจับ แต่ไม่มีหมายค้น เจ้าหน้าที่ต�ำรวจสามารถเข้าไป จับกุมในที่รโหฐานนั้นได้ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 92 (5)

38


ตอนที่ 39

ห้ามจับในพระราชวัง ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติต่อกันมายาวนานในด้านการ แสดงความเคารพ และไม่ลว่ งละเมิดทีป่ ระทับของสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้น กฎหมายจึงห้ามมิให้มีการเข้าไปจับกุมบุคคลใดๆ ในเขตชั้นใน ของพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง พระราชนิเวศน์ พระต�ำหนัก หรือ ในทีป่ ระทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมวงศ์ ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป รวมทั้งที่พ�ำนักของผู้ส�ำเร็จราชการแทน พระองค์ แม้วา่ จะมีหมายจับก็ตาม เว้นแต่จะได้รบั อนุญาตจากนายกรัฐมนตรี และได้แจ้งให้เลขาธิการพระราชวัง หรือสมุหราชองครักษ์ได้ทราบแล้ว หรือเป็นการจับกุมโดยเจ้าพนักงานผูถ้ วายการอารักขาหรือถวายความปลอดภัย ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81/1

39


ตอนที่ 40 เจ้าพนักงาน

การจั บ กุ ม บุ ค คลใดๆ นั้ น จะต้ อ งมี ห มายจั บ ที่ อ อกโดยศาล และผู้ทมี่ อี �ำนาจหน้าทีจ่ บั กุมตามหมายจับ คือ เจ้าพนักงาน ซึง่ โดยทัว่ ไป หมายถึง เจ้าหน้าที่ต�ำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เช่น นายอ�ำเภอ ปลัดอ�ำเภอ ทัง้ นี้ รวมถึงเจ้าพนักงานทีม่ อี �ำนาจตามกฎหมายเฉพาะเรือ่ ง เช่น เจ้าหน้าทีศ่ ลุ กากร ซึง่ มีอ�ำนาจจับกุมบุคคลทีล่ กั ลอบขนสินค้าหนีภาษี ตามทีก่ ฎหมายศุลกากรระบุไว้ ส�ำหรับประชาชนทัว่ ไปไม่มอี �ำนาจจับกุมได้ เนือ่ งจากไม่ใช่เจ้าพนักงาน มิฉะนัน ้ อาจถูกจับกุมด�ำเนินคดีได้ นอกจาก พบการกระท�ำผิดซึ่งหน้า ตามมาตรา 80 หรือเจ้าพนักงานผู้จัดการ ตามหมายจับขอความช่วยเหลือ ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณา ความอาญา มาตรา 82

40


ตอนที่ 41

การจับกุมเมื่อเจ้าพนักงานร้องขอ โดยปกติประชาชนทัว่ ไป จะไม่ มี อ�ำนาจในการจั บ กุ ม บุ ค คลอื่ น แม้ ว ่ า บุ ค คลนั้ น จะเป็นผู้กระท�ำความผิดก็ตาม แต่หากเป็นกรณีทเี่ จ้าหน้าทีต่ �ำรวจ ร้ อ งขอให้ ช ่ ว ยเหลื อ ในการ จั บ กุ ม ตั ว ผู ้ ก ระท�ำความผิ ด ตามหมายจับ ที่อ อกโดยศาล ป ร ะ ช า ช น ทั่ ว ไ ป ค ว ร ใ ห ้ ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจ อีกทางหนึ่ง เช่น เจ้าหน้าที่ต�ำรวจน�ำหมายจับมาแสดง เพื่อเตรียม เข้าจับกุมคนร้ายขณะก�ำลังซือ้ ของภายในห้างสรรพสินค้า โดยขอความร่วมมือ ให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และพนักงานของห้างสรรพสินค้านั้น ร่วมกันปิดทางหลบหนี จากกรณีดงั กล่าวเจ้าหน้าทีร่ กั ษาความปลอดภัย และพนักงานของห้างสรรพสินค้า สามารถเข้าช่วยเหลือเพื่อจับกุม คนร้ายได้โดยไม่ผดิ กฎหมาย ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธพ ี จิ ารณา ความอาญา มาตรา 82

41


ตอนที่ 42

การจับกุมความผิดซึ่งหน้า การจับกุมผู้กระท�ำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายนัน ้ เป็นหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ต�ำรวจ แต่บางกรณีบุคคลทั่วไปสามารถช่วยเจ้าหน้าที่ ต�ำรวจในการจับกุมคนร้ายได้ หากพบเห็นการกระท�ำความผิดอาญาซึง่ หน้า เช่น พบเห็นเหตุการณ์คนร้ายวิ่งราวทรัพย์สินของบุคคลอื่น ผู้พบเห็น เหตุการณ์สามารถเข้าช่วยเหลือผู้เสียหายในการจับกุมตัวคนร้ายได้เช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80

42


ตอนที่ 43

นายประกันจับกุมผู้ต้องหา บุ ค ค ล ทั่ ว ไ ป ส า ม า ร ถ จั บ กุ ม ตั ว ผูก้ ระท�ำความผิดทางอาญา ไ ด ้ อ ย ่ า ง ถูก ต ้ อ ง ต า ม กฎหมาย หากเจ้าหน้าที่ ร ้ อ ง ข อ ใ ห ้ ช ่ ว ย จั บ ผู้กระท�ำผิดตามหมายจับ หรื อ พบเห็ น ผู ้ ก ระท�ำผิ ด ก�ำลังกระท�ำความผิดซึง่ หน้า นอกจากนี้ บุ ค คลทั่ ว ไป ที่เป็นนายประกันไปประกันตัวผู้ต้องหา หรือจ�ำเลยกับเจ้าหน้าที่ต�ำรวจ อัยการ หรือศาล หากพบเห็นว่าผู้ต้องหา หรือจ�ำเลยคนนัน ้ ก�ำลังหลบหนี แต่ไม่สามารถแจ้งขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ได้ทัน หรือผู้ต้องหา หรือจ�ำเลยคนนั้นได้หลบหนีไปแล้ว และบังเอิญไปพบตัว หากจะขอให้ เจ้าหน้าที่ต�ำรวจเข้าจับกุมอาจเกิดความล่าช้า กรณีเช่นนี้ นายประกัน สามารถจับกุมตัวผู้ต้องหา หรือจ�ำเลยผู้นนั้ ส่งให้เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจทีใ่ กล้ทสี่ ดุ ได้เช่นกัน

43


ตอนที่ 44

ราษฎรเป็นผู้จับ ต้องแจ้งสิทธิหรือไม่ ในกรณีที่ประชาชนทั่วไปเข้าช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการจับกุม ผู้กระท�ำความผิด โดยพลเมืองดีผู้นั้นอาจไม่สามารถแจ้งข้อหาและสิทธิ ต่างๆ ให้ผู้ถูกจับกุมรับทราบได้ เนื่องจากเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ในการแจ้งข้อหาหรือแจ้งสิทธิต่างๆ ให้ผ้ถู กู จับกุมรับทราบ อย่างไรก็ตาม ก่อนทีเ่ จ้าพนักงานและประชาชนทัว่ ไปจะด�ำเนินการจับกุมผู้กระท�ำผิดนัน้ ต้องแจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าจะต้องถูกจับกุม และขอให้ไปยังสถานีต�ำรวจ หรือที่ท�ำการของพนักงานสอบสวนในทันที ทั้งนี้หากมีการต่อสู้ ขัดขืน อาจมีการใช้ก�ำลังเท่าที่จ�ำเป็นเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือเพื่อป้องกัน ตนเองได้ ซึ่ง เป็ น ไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความอาญา มาตรา 83

44


ตอนที่ 45

การควบคุมตัวผู้ถูกจับ เมื่อเจ้าหน้าที่ต�ำรวจจับกุมผู้กระท�ำความผิดได้ จะต้องควบคุมตัว ผูถ้ กู จับกุมไปยังทีท่ �ำการของพนักงานสอบสวนในทันที ซึง่ การควบคุมตัวนัน้ ต้องกระท�ำอย่างเหมาะสม และจ�ำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ถูกจับกุมนั้น หลบหนี เช่น อาจใช้เชือกมัดมือ เป็นต้น ทั้งนี้หากเจ้าหน้าที่ใช้วิธีการ ทีไ่ ม่เหมาะสม และละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้ถกู จับกุมมากเกินไป หรือกระท�ำ ไปด้วยวัตถุประสงค์อื่นที่มิใช่การกระท�ำเพื่อป้องกันการหลบหนีถือเป็น ความผิดทางอาญาฐานท�ำให้เสื่อมเสียอิสรภาพได้

45


ตอนที่ 46 การตรวจค้น

ในการค้นหาพยานหลักฐานพิสจู น์หาความผิดของคนร้าย เพือ่ น�ำไป ประกอบการพิจารณาของศาล เจ้าพนักงานจ�ำเป็นต้องมีเครื่องมือ ในการสืบค้นหาพยานหลักฐานดังกล่าวอย่างรัดกุม ด้วยเหตุนี้ ประมวล กฎหมายวิธพ ี จิ ารณาความอาญา จึงบัญญัตใิ ห้อ�ำนาจแก่เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจ ให้สามารถเข้าตรวจค้นทั้งตัวบุคคลและสถานที่ได้ ทั้งนี้เพื่อการป้องกัน ระงับเหตุร้าย และช่วยเหลือประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจาก การกระท�ำความผิด ตลอดจนติดตามค้นหาตัวผู้กระท�ำความผิด และ พยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของคนร้ายนั้นให้ปรากฏ

46


ตอนที่ 47

หลักทั่วไปในการค้น ประมวลกฎหมายวิธพ ี จิ ารณาความอาญาได้แบ่งประเภทและลักษณะ ของการค้นออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) การค้นในสถานทีซ ่ งึ่ เป็นสถานที่ รโหฐาน และ 2) การค้นตัวบุคคล ทัง้ นีร้ ฐั ธรรมนูญได้รบั รองหลักฐาน ในการ ตรวจค้นตัวบุคคล การค้นเคหสถาน หรือที่รโหฐานไว้ว่าจะกระท�ำมิได้ เว้นแต่อาศัยอ�ำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งหากเป็นการค้น สถานที่รโหฐาน อันเป็นที่ส่วนบุคคลนั้น จ�ำเป็นต้องมีหมายหรือค�ำสั่ง ที่ออกโดยศาลในการสั่งให้ค้นสถานที่น้น ั ด้วย

47


ตอนที่ 48

เหตุออกหมายค้น (1)

การตรวจค้นสถานที่ซึ่งเป็นที่รโหฐาน เช่น บ้านพัก หรืออาคาร ส�ำนักงานที่ประชาชนทั่วไปมิได้มีสิทธิที่จะเข้าไปได้โดยชอบ เจ้าหน้าที่ จะสามารถกระท�ำได้ ก็ต ่ อเมื่อมีค�ำสั่งหรือหมายค้นของศาล ซึ่งเมื่อ เจ้าหน้าที่ต�ำรวจขอให้ศาลออกหมายค้น ศาลจะมีการตรวจสอบว่าการ ออกหมายค้นนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเหตุใด และมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ ในการออกหมายค้นดังกล่าว เช่น มีเหตุการณ์เด็กถูกลักพาตัวเพือ่ เรียกค่าไถ่ ต่อมาเจ้าหน้าทีต่ �ำรวจได้ด�ำเนินการสืบหาหลักฐานจนทราบว่าเด็กคนนัน้ ถูกขังในสถานทีแ่ ห่งหนึง่ จึงขอออกหมายค้นเพือ่ ช่วยเหลือเด็กคนดังกล่าว เป็ น ต้ น ซึ่ ง เป็ น ไปตามประมวลกฎหมายวิ ธีพิ จ ารณาความอาญา มาตรา 59/1 ประกอบมาตรา 69

48


ตอนที่ 49

เหตุออกหมายค้น (2) เมื่อเจ้าหน้าที่ต�ำรวจขอให้ศาลออกหมายค้น เพื่อน�ำไปตรวจค้น ในที่รโหฐาน ศาลจะด�ำเนินการตรวจสอบหลักเกณฑ์ถึงความจ�ำเป็น ในการออกหมายค้นว่าจะน�ำหมายค้นไปค้นทีใ่ ด มีวตั ถุประสงค์ใด ในการ เข้าค้นนัน้ มีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ เช่น เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจต้องการหมายค้น ไปตรวจค้นอู่ซ่อมรถยนต์ ซึ่งสืบทราบว่า เป็นสถานที่ซุกซ่อนรถที่ถูก โจรกรรมมาเพือ่ ดัดแปลง หรือแยกชิน ้ ส่วนไปจ�ำหน่าย เป็นต้น เมือ่ มีเหตุ เช่นนี้ศาลจะใช้ดลุ ยพินิจในการออกหมายค้นให้ ซึ่งเป็นไปตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 59/1 ประกอบมาตรา 69

49


ตอนที่ 50

เหตุออกหมายค้น (3)

การพิจารณาออกหมายค้นของศาล มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ตรวจค้นหา พยานหลักฐานที่ใช้พิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาหรือจ�ำเลย หรือค้นหา ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระท�ำความผิด หรือเพื่อค้นหาและช่วยเหลือ ผู้ท่ีถูกกักขัง หน่วงเหนี่ยวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงเพื่อไปตรวจ ค้นหาทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ยึด และเพื่อเข้าตรวจค้นหาผู้กระท�ำผิดตาม หมายจับที่ออกโดยศาล ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 59/1 ประกอบมาตรา 69

50


ตอนที่ 51

ค้นโดยไม่ต้องมีหมาย (1) การตรวจค้นในสถานทีร่ โหฐาน เจ้าพนักงานจ�ำเป็นต้องมีหมายค้น ที่ออกโดยศาล แต่บางกรณีการขอให้ศาลออกหมายค้นตามระเบียบนั้น อาจไม่ทน ั การณ์ เช่น อาจมีการบาดเจ็บเสียชีวติ หรือผู้กระท�ำความผิด หลบหนีไปเสียก่อน เป็นต้น ดังนัน้ ประมวลกฎหมายวิธพ ี จิ ารณาความอาญา จึงมีข้อยกเว้นบางกรณี ให้สามารถตรวจค้นสถานที่รโหฐานได้โดยไม่มี หมายค้ น ได้ หากประสบกับ เหตุก ารณ์ เ ฉพาะหน้ า เช่ น ในขณะที่ เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจสายตรวจ ได้ปฏิบัติหน้าที่อ�ำนวย ความสะดวกแก่ประชาชน และได้ยินเสียงขอความ ช่วยเหลือดังออกมาจาก บ้านหลังหนึง่ เหตุการณ์ เช่นนี้เจ้าหน้าที่ต�ำรวจ สามารถเข้าไปในสถานที่ รโหฐานนัน ้ ได้แม้จะไม่มี หมายค้นก็ตาม

51

51


ตอนที่ 52

ค้นโดยไม่ต52 ้องมีหมาย (2)

เจ้าหน้าที่ต�ำรวจจะเข้าไปตรวจค้นในที่รโหฐานได้ ต้องเมื่อมี หมายค้นของศาลอนุญาตให้เข้าไปตรวจค้นสถานที่แห่งนั้น บางกรณี เจ้าพนักงานจะสามารถเข้าไปค้นในที่รโหฐานได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น เนือ่ งจากอยูใ่ นข้อยกเว้น เช่น เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจได้ยนิ เสียงขอความช่วยเหลือ ออกมาจากทีร่ โหฐาน เป็นต้น ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธพ ี จิ ารณา ความอาญา มาตรา 92

52


ตอนที่ 53

ค้นโดยไม่ต้อ53 งมีหมาย (3)

การเข้าตรวจค้นในสถานทีร่ โหฐาน เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจต้องมีหมายค้น ของศาลอนุญาตให้เข้าไปตรวจค้นสถานที่แห่งนั้น ยกเว้นกรณีจ�ำเป็น เร่งด่วน เช่น เจ้าหน้าที่ต�ำรวจได้รับรายงานว่า ได้พบสถานที่เก็บของ ผิดกฎหมาย หากเจ้าหน้าที่ต�ำรวจต้องด�ำเนินการขอหมายค้นจากศาล จะเป็นการล่าช้าไม่ทน ั การณ์ อาจส่งผลให้ผ้กู ระท�ำผิดลักลอบย้ายสถานที่ เก็บสินค้าเหล่านัน ้ ได้ กรณีดงั กล่าวจึงเป็นเหตุยกเว้นให้เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจ สามารถเข้าตรวจค้นโดยไม่ต้องใช้หมายค้น ซึ่งเป็นไปตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92

53


ตอนที่ 54

ค้นโดยไม่ต้องมีหมาย (4) ในกรณีที่ตรวจค้นสถานที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นจากศาลนั้น ในกรณีทเี่ จ้าหน้าทีต่ �ำรวจมีพยานหลักฐานว่าในสถานทีร่ โหฐานแห่งนัน ้ มีสงิ่ ผิดกฎหมาย และมีเหตุทเี่ ชือ่ ได้วา่ หากรอหมายค้นจากศาล เพือ่ เข้าไปค้น ในสถานที่ดัง กล่ า วอาจท�ำให้ สิ่ง ผิด กฎหมายถูก สถานที่เ ก็บ หรือ ถูก ท�ำลายไป เจ้าหน้าที่ต�ำรวจสามารถที่จะเข้าตรวจค้นที่รโหฐานนั้นได้ โดยไม่ตอ้ งมีหมายค้น อย่างไรก็ตาม เมือ่ เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจเข้าตรวจค้นสถานที่ แห่งนั้นแล้ว ต้องส่งมอบส�ำเนาบันทึกการตรวจค้นและบัญชีทรัพย์สิน ที่ได้จากการตรวจค้น ตลอดจนบันทึกเหตุผลของการเข้าตรวจค้นให้แก่ ผู้ครอบครองสถานที่แห่งนั้นไว้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92

54

54


ตอนที่ 55

ค้นในเวลากลางวัน การตรวจค้ น ที่ร โหฐานนั้น นอกจากจะมีห มายค้ น ที่อ อกโดย ศาลแล้ว เจ้าพนักงานยังต้องกระท�ำการค้นในเวลากลางวัน กล่าวคือ ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ขึ้น จนถึงพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าเท่านั้น และ ไม่สามารถเข้าไปตรวจค้นในช่วงเวลาหลังจากพระอาทิตย์ตกดินได้ อย่างไรก็ตาม หากเจ้าหน้าทีต่ �ำรวจได้เข้าไปตรวจค้นตัง้ แต่เวลากลางวัน จนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดินแต่การตรวจค้นยังไม่เสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ ต�ำรวจสามารถด�ำเนินการตรวจค้นต่อเนือ่ งได้ นอกจากนี้ ในกรณีเร่งด่วน เพื่ อ ป้ อ งกั น การกระท�ำ ความผิ ด อุ จ ฉกรรจ์ หรื อ มีกฎหมายพิเศษอื่นๆ หรือ เป็ น การค้ น เพื่อ จับ ผู้ ร ้ า ย หรือผู้กระท�ำความผิดราย ส�ำคัญ สามารถตรวจค้ น ในเวลากลางคืนได้เช่นกัน ซึ่ ง เป็ น ไปตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 96

55


ตอนที่ 56

ค้นได้เฉพาะสิ่งที่ต้องการหาเท่านั้น ทราบหรือไม่วา่ “หมายค้น” จะระบุถงึ สถานทีท่ จี่ ะตรวจค้น ชือ่ และ รูป พรรณสัณ ฐานของคน หรือ ลัก ษณะของสิ่ง ของที่จ ะเข้ า ไปค้ น หา ในที่รโหฐานแห่งนั้น รวมทั้งก�ำหนดวัน เวลา ตลอดจนชื่อและต�ำแหน่ง ของเจ้าหน้าที่ที่จะท�ำการตรวจค้นด้วย ดังนั้น หากหมายค้นระบุว่า “เพือ่ ค้นหาอาวุธทีใ่ ช้ในการกระท�ำความผิด เจ้าหน้าทีก่ ไ็ ม่มอี �ำนาจทีจ่ ะรือ้ ค้น เอกสารหรือจดหมายของบุคคลในสถานที่นั้น” เว้นเสียแต่ว่าเป็นการ ค้นหาสิ่งของไม่จ�ำกัดสิ่ง เจ้าหน้าที่จึงมีอ�ำนาจยึดสิ่งของใดๆ ที่อาจจะใช้ เป็ น หลั ก ฐานได้ เช่ น ผูต้ อ้ งหาในคดีกอ่ การร้าย ถูกออกหมายค้นแหล่ง ที่พัก เพื่อค้นหาตัวและ ยึ ด เอกสาร เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ หรื อ อาวุ ธ กรณีเช่นนี้ ถือว่าเจ้าหน้าที่ มีอ�ำนาจค้นได้ไม่จ�ำกัด ซึ่งเป็นไปตามประมวล กฎหมายวิ ธีพิ จ ารณา ความอาญา มาตรา 98

56


ตอนที่ 57

ค้นและจับได้เฉพาะคนทีต่ อ้ งการหาเท่านัน้

โดยทัว่ ไปการตรวจค้นสถานทีร่ โหฐานต้องเป็นไปตามเหตุทรี่ ะบุไว้ ในหมายค้น เช่น หากระบุเหตุที่ค้นเพื่อตรวจหาอาวุธที่ใช้ในการกระท�ำ ความผิด เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจจะไม่สามารถรือ้ ค้นหนังสือหรือเอกสารอืน่ ๆ ได้ ทัง้ นี้ การค้นเพือ่ หาและจับกุมบุคคลก็เช่นเดียวกัน ดังนัน้ หากหมายค้นระบุวา่ เพื่อจับกุมตัวนายเอ ผู้ต้องหาคดีปล้นทรัพย์ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไป ตรวจค้นภายในสถานที่ที่ก�ำหนดไว้ กลับไปไม่พบตัวนายเอ แต่พบตัว นายบี ซึง่ เป็นผูต้ อ้ งหาคดีอนื่ หากเป็นเช่นนี้ เจ้าหน้าทีจ่ ะจับกุมตัวนายบีได้ ก็ต่อเมือ่ มีหมายจับสัง่ ให้จบั นายบีด้วย หรือในขณะทีก่ �ำลังค้นบ้านนายด�ำ เพือ่ หาหลักฐานในคดีฉอ้ โกง พบนายแดงก�ำลังเผาท�ำลายเอกสาร ซึง่ เป็น หลักฐานในคดีเพือ่ ช่วยให้นายด�ำไม่ต้องรับโทษ กรณีเช่นนีถ้ อื ว่านายแดง กระท�ำความผิดซึ่งหน้า สามารถจับกุมนายแดงได้ทน ั ที

57


ตอนที่ 58

วิธีปฏิบัติในการค้น

ในการตรวจค้นที่รโหฐาน เช่น ที่พักอาศัยของประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่ต�ำรวจต้องแสดงหมายค้น หรือถ้าเป็นกรณีที่ค้นได้โดยไม่ต้อง มีหมาย เช่น ได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือดังออกมาจากที่รโหฐาน ซึง่ ในกรณีนเี้ จ้าหน้าทีต่ ้องแจ้งชือ่ ต�ำแหน่งของตน และต้องสัง่ ให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองดูแลสถานทีแ่ ห่งนัน ้ ยอมให้เข้าไปตรวจค้นและอ�ำนวย ความสะดวกตามสมควร แต่หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลสถานที่ ไม่ให้ความร่วมมือ หรือต่อสู้ขดั ขวาง เจ้าหน้าทีอ่ าจใช้ก�ำลังเพือ่ เข้าไปใน สถานทีร่ โหฐานนัน้ ได้ อย่างไรก็ตามต้องท�ำเท่าทีจ่ �ำเป็น เพือ่ เข้าไปข้างใน และหากเจ้าหน้าที่ได้กระท�ำไปพอสมควรแก่เหตุด้วยความสุจริตใจแล้ว เจ้าหน้าทีย่ ่อมไม่มคี วามผิด ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธพ ี จิ ารณา ความอาญา มาตรา 94

58


ตอนที่ 59

การค้นตัวบุคคล เมือ่ เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจมีเหตุตอ้ งสงสัยว่า บุคคลใดมีสงิ่ ของผิดกฎหมาย อยู่กับตัว เช่น พบนักเรียนวัยรุ่นรวมกลุ่มกันโดยมีท่าทางน่าสงสัย ว่าจะพกอาวุธเพื่อก่อการทะเลาะวิวาท หรือได้รับรายงานว่าจะมีการ ส่งยาเสพติดและพบเห็นบุคคลมีพิรุธตามที่ได้รับรายงาน แม้ว่าโดยหลัก กฎหมายจะห้ามมิให้ตรวจค้นบุคคลใดในที่สาธารณะ แต่หากเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าทีต่ �ำรวจมีเหตุต้องสงสัยดังทีก่ ล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็สามารถแสดงตนเข้าตรวจค้นบุคคลนั้นๆ ได้

59


ตอนที่ 60

การควบคุมตัว (1) เมื่อเจ้าหน้าที่ต�ำรวจ จั บ กุ ม บุ ค ค ล ใ ด ๆ ไ ด ้ ไม่ ว ่ า จะเป็ น การจั บ กุ ม ตามหมายจับ หรือจับกุม ผู้กระท�ำความผิดซึ่งหน้า หรือเหตุอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่ สามารถจับ กุม ได้ แ ม้ ไ ม่ มี หมายจั บ จะต้ อ งน�ำตั ว ผูถ้ กู จับกุมไปยังสถานีต�ำรวจ ซึง่ เป็นท้องทีท่ ไี่ ด้มกี ารจับกุม หรือสถานีต�ำรวจอันเป็นทีท่ �ำการของพนักงานสอบสวน ซึง่ รับผิดชอบคดีนนั้ ๆ จากนัน ้ พนักงานสอบสวนทีร่ บั มอบตัวผู้ถกู จับกุมอาจจะควบคุมตัวบุคคล นั้นต่อไป เพื่อการสอบสวน หรืออาจจะปล่อยตัวไปเป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่หากเป็นการจับกุมตามหมายจับจะต้องส่งตัวบุคคลนั้น ไปยังศาลที่ ออกหมายจับหรือส่งไปให้เจ้าหน้าที่ซึ่งระบุไว้ในหมายจับ ซึ่งเป็นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83

60


ตอนที่ 61

การควบคุมตัว (2)

การจับกุม หรือควบคุมตัวบุคคลนั้น เป็นการกระท�ำที่ละเมิดสิทธิ เสรีภาพในร่างกายของผู้อน ื่ ซึง่ กฎหมายได้ก�ำหนดมาตรการคุ้มครองไว้ ดังนั้น เมื่อมีการจับกุมบุคคลใดๆ แล้ว เจ้าหน้าที่ต�ำรวจจะควบคุมตัว บุคคลนั้นไว้ได้เท่าที่จ�ำเป็นตามพฤติการณ์ความร้ายแรงของคดีเท่านั้น แต่หากผู้ถกู จับกุมกระท�ำความผิดเล็กๆ น้อยๆ ประเภทความผิดลหุโทษ อ�ำนาจของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมตัวก็จะมีจ�ำกัด แต่หากเป็นคดีอาญา ร้ายแรงมีอัตราโทษสูง อ�ำนาจของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งอ�ำนาจของศาล ในการสั่งควบคุมตัวก็จะมีระยะเวลายาวนานขึ้นตามไปด้วย

61


ตอนที่ 62

การควบคุมตัวคดีลหุโทษ เมื่อเจ้าหน้าที่ต�ำรวจได้จบั กุมตัวผู้กระท�ำความผิด กฎหมายได้ให้ อ�ำนาจเจ้าหน้าทีใ่ นการควบคุมตัวบุคคลนัน ้ ไว้เพือ่ การสอบสวนได้เท่าที่ จ�ำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี หากความผิดนั้นเป็นความผิดลหุโทษ ซึง่ มีโทษจ�ำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทัง้ จ�ำทัง้ ปรับ เช่น การทิ้งซากสัตว์ริมถนนสาธารณะซึ่งก่อความเดือดร้อนร�ำคาญ ให้แก่ประชาชนผู้สญ ั จรไปมาถือเป็นความผิดลหุโทษ เจ้าหน้าทีจ่ ะมีอ�ำนาจ ควบคุมตัวไว้ได้เท่าทีจ่ ะใช้ในการสอบถามค�ำให้การ เพือ่ ให้ได้ข้อเท็จจริง เท่ า นั้ น แต่ จ ะไม่ ส ามารถควบคุ ม ตั ว ไว้ น านกว่ า นี้ ไ ด้ ซึ่ ง เป็ น ไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรค 1

62


ตอนที่ 63

ต้องน�ำตัวไปศาลภายใน 48 ชั่วโมง

เมื่อเจ้าหน้าที่ต�ำรวจได้จบั กุมตัวผู้กระท�ำความผิด กฎหมายได้ให้ อ�ำนาจในการควบคุมตัวบุคคลนัน ้ ไว้เท่าทีจ่ �ำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี และโดยปกติเมื่อเสร็จสิ้นการสอบสวนจะต้องปล่อยตัวผู้กระท�ำความผิด เป็นการชั่วคราว หรือให้ประกันตัว แต่หากมีเหตุจ�ำเป็นในการสอบสวน หรือเพือ่ การสัง่ ฟ้องคดี เจ้าหน้าทีจ่ ะไม่อนุญาตให้ประกันตัว ทัง้ นี้ เจ้าหน้าที่ จะต้องน�ำตัวผู้กระท�ำผิดไปศาลภายใน 48 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาที่ ผู้กระท�ำผิดนัน ้ ถูกน�ำตัวมายังสถานีต�ำรวจ ซึง่ เป็นทีท่ �ำการของพนักงาน สอบสวน เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจ�ำเป็นอื่นๆ ที่ท�ำให้ไม่สามารถ มาศาลได้ภายใน 48 ชั่วโมง เช่น น�้ำท่วม ถนนขาด เป็นต้น ซึ่งเป็นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรค 2

63


ตอนที่ 64 การฝากขัง

เมือ่ เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจได้จบั กุมตัวผูต้ อ้ งหาทีก่ ระท�ำความผิดทางอาญา เจ้ า หน้ า ที่ ต�ำรวจจะสามารถควบคุ ม ตั ว บุ ค คลนั้ น ไว้ เ พื่ อ สอบสวน ได้เท่าที่จ�ำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี ซึ่งหากเป็นคดีลหุโทษจะสามารถ ควบคุมตัว เพื่อซักถามค�ำให้การและให้รู้ว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหนเท่านั้น แต่หากเป็นความผิดอื่นๆ ระยะเวลาการควบคุมตัวจะขายออกไปตาม ความร้ายแรงและความซับซ้อนของคดี ทัง้ นี้ จะสามารถควบคุมตัวผูต้ อ้ งหา ไว้ได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง แต่หากมีเหตุจ�ำเป็นต้องควบคุมตัวเกินกว่า 48 ชั่วโมง เพื่อท�ำการสอบสวนต่อไปให้แล้วเสร็จ เจ้าหน้าที่ต�ำรวจ หรือพนักงานอัยการที่ท�ำส�ำนวนการสอบสวนอยู่ขณะนั้น สามารถขอ ให้ศาลออกหมายขัง หรือที่เรียกว่าการฝากขังผู้ต้องหาคนดังกล่าวไว้ได้ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87

64


ตอนที่ 65

อ�ำนาจศาลสั่งขัง (1)

ในกรณีทเี่ จ้าหน้าทีต่ �ำรวจหรือพนักงานอัยการมีความจ�ำเป็นต้อง ควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ เพือ่ ให้การสอบสวนหรือการพิจารณาส�ำนวนการ สอบสวนเสร็จสิ้น เนื่องจากหากปล่อยตัวผู้ต้องหาไปในขณะที่ยังไม่ได้ สอบสวนพยานส�ำคัญ หรือยังค้นหาวัตถุพยานส�ำคัญไม่พบ อาจส่งผลให้ ผู้ต้องหามีโอกาสไปท�ำลายพยานหลักฐานที่อาจส่งผลกระทบต่อรูปคดี ด้วยเหตุนี้ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการสามารถขออ�ำนาจศาล ฝากขังได้ ซึ่งระยะเวลาสั่งขังจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับอัตราโทษ ของคดีนั้นๆ เช่น หากเป็นคดีที่มีโทษจ�ำคุกสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ปรับ ไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ศาลจะสั่งขังได้เพียงครั้งเดียว โดยมี ก�ำหนดไม่เกิน 7 วัน

65


ตอนที่ 66

อ�ำนาจศาลสั่งขัง (2) ทราบหรือไม่วา่ ระยะเวลาในการสัง่ ขังผูต้ อ้ งหาตามอ�ำนาจของศาล เมือ่ พนักงานสอบสวนหรืออัยการร้องขอ เนือ่ งจากจ�ำเป็นต้องควบคุมตัว ผู้ต้องหาไว้เพื่อให้การสอบสวนหรือการพิจารณาส�ำนวนการสอบสวน เสร็จ สิ้น นั้น ขึ้น อยู่ กับ อัต ราโทษของคดีนั้น ๆ เช่ น หากเป็ น คดีท่ีมี โทษจ�ำคุกมากกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 10 ปี หรือปรับสูงกว่า 500 บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ศาลจะสั่งขังหลายๆ ครั้งติดต่อกันได้ ซึ่งในการสั่งขัง แต่ละครั้งต้องไม่เกินครั้งละ 12 วัน และเมื่อรวมระยะเวลาสั่งขังทั้งหมด ต้องไม่เกิน 48 วัน

66


ตอนที่ 67

อ�ำนาจศาลสั่งขัง (3)

ในกรณีทเี่ จ้าหน้าทีต่ �ำรวจหรือพนักงานอัยการยืน่ ค�ำร้องขอฝากขัง ผู้ต้องหาต่อศาล เพื่อน�ำตัวผู้ต้องหากลับมาสอบปากค�ำให้แล้วเสร็จ และ สรุปส�ำนวนส่งฟ้องศาลต่อไปนั้น อ�ำนาจของศาลในการสั่งขังผู้ต้องหา จะขึ้นอยู่กับอัตราโทษของคดีนั้นๆ ซึ่งหากเป็นคดีอาญาที่มีอัตราโทษ จ�ำคุกสูงเกินกว่า 10 ปีขนึ้ ไป เช่น คดีขม่ ขืนกระท�ำช�ำเราทีม่ อี ตั ราโทษจ�ำคุก ตั้งแต่ 4 ปี ถึง 20 ปี คดีปล้นทรัพย์ที่มีโทษจ�ำคุก 10 ปี ถึง 15 ปี และ คดีฆา่ คนตายทีม่ โี ทษประหารชีวติ เป็นต้น โดยศาลจะมีอ�ำนาจสัง่ ขังหลายๆ ครัง้ ติดต่อกันได้ ทั้งนี้ ในการสั่งขังแต่ละครั้งต้องไม่เกินครั้งละ 12 วัน และเมื่อรวมระยะเวลาสั่งขังทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 84 วัน ซึ่งเป็นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรค 6

67


ตอนที่ 68

การปล่อยตัวชั่วคราว (1) ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิป ไตยจะมีหลักการ เป็นหลักสากล คือ การสันนิษฐานไว้กอ่ นว่าผูต้ อ้ งหาหรือจ�ำเลยในคดีอาญา ไม่มีความผิด และก่อนมีค�ำพิพากษาถึงที่สุดตัดสินว่า บุคคลนั้นกระท�ำ ความผิด จะปฏิบตั ติ ่อผู้นน ั้ เป็นผู้กระท�ำความผิดนัน ้ มิได้ ซึง่ ประเทศไทย ได้น�ำหลักการดังกล่าวบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยเมื่อบุคคลใดตกเป็น ผู้ต้องหาหรือจ�ำเลย บุคคลนั้นอาจจะถูกควบคุมตัวโดยเจ้าพนักงานหรือ ถูกขังตามหมายของศาล ดังนั้น กฎหมายจึงมีช่องทางในการช่วยเหลือ ตามหลักการดังกล่าว คือ การปล่อยตัวผูต้ อ้ งหาหรือจ�ำเลยให้ได้รบั อิสรภาพ เป็นการชั่วคราว หรือการปล่อยตัวชั่วคราว หรือการประกันตัวก่อนการ พิจารณาคดีเสร็จสิ้นจนถึงที่สุดได้

68


ตอนที่ 69

การปล่อยชั่วคราว (2) การประกั น ตั ว ผู ้ ต ้ อ งหาหรื อ จ�ำเลยตามกฎหมาย เรี ย กว่ า การปล่อยตัวชัว่ คราว ซึง่ มีหลายลักษณะ และหลายขัน้ ตอน อาทิ การปล่อยตัว ชัว่ คราวโดยไม่มกี ารประกันตัวสามารถท�ำได้เพียงให้ผตู้ อ้ งหา หรือจ�ำเลยนัน้ สาบานหรือปฏิญาณตน ว่าจะมารายงานตัวตามหมายนัดหรือหมายเรียก เท่ า นั้ น หรื อ หากเป็ น การปล่ อ ยตั ว โดยมี ก ารประกั น ตั ว ท�ำได้ โ ดย ให้ผู้ต้องหา จ�ำเลย หรือบุคคลอื่นท�ำสัญญาประกันกับเจ้าพนักงาน หรือ ศาลว่า ตนจะมาตามนัด หรือจะน�ำตัวผูต้ ้องหา หรือจ�ำเลยนัน้ มารายงานตัว ตามนั ด ซึ่ ง เป็ น ไปตามประมวลกฎหมายวิ ธีพิ จ ารณาความอาญา มาตรา 111

69


ตอนที่ 70

การปล่อยตัวชั่วคราว (3)

การปล่อยตัวชัว่ คราวตามกฎหมาย มี 3 ลักษณะ คือ การปล่อยตัว ชั่วคราวโดยไม่มีประกัน การปล่อยตัวโดยมีประกัน และการปล่อยตัว แบบมี ป ระกั น และหลั ก ประกั น ซึ่ ง การปล่ อ ยตั ว แบบมี ป ระกั น และ หลักประกันนัน้ มีความเข้มงวดและรัดกุม นอกจากจะท�ำสัญญาประกันแล้ว ยังต้องมีการน�ำหลักประกันมาใช้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจ�ำเลยอีกทางหนึง่ ซึ่งหลักประกันที่สามารถน�ำมาประกอบการขอปล่อยตัวมีหลายประเภท เช่น เงินสด โฉนดที่ดิน พันธบัตร สมุดบัญชีเงินฝาก เป็นต้น ทั้งนี้ ยังหมายรวมถึงการให้บคุ คลอืน่ มาเป็นประกัน กล่าวคือ การน�ำเอาหลักทรัพย์ หรือต�ำแหน่งหน้าทีก่ ารงานของบุคคลทีน่ ่าเชือ่ ถือ มาใช้เป็นหลักประกันได้ เป็ น ต้ น ซึ่ ง เป็ น ไปตามประมวลกฎหมายวิ ธีพิ จ ารณาความอาญา มาตรา 111 ประกอบ มาตรา 114

70


ตอนที่ 71

การปล่อยตัวชั่วคราว (4) ในการปล่อยตัวชั่วคราวหรือการประกันตัวนั้น หากเป็นความผิด เล็กน้อย เช่น การรับประทานอาหารแต่ไม่จ่ายค่าอาหาร ในกรณีนี้ ผู้ต้องหาหรือจ�ำเลยเพียงแค่สาบาน หรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัด เท่านั้น หากข้อหาความผิดร้ายแรงมากขึ้นถึงขั้นที่กฎหมายก�ำหนด อัตราโทษจ�ำคุกอย่างสูงเกิน 5 ปีขน ึ้ ไป เช่น การปลอมธนบัตร การข่มขืน กระท�ำช�ำเรา การชิงทรัพย์ เป็นต้น ในกรณีนี้การปล่อยตัวชั่วคราว จะต้องมีการท�ำสัญญาประกันตัว และจะมีหลักประกันด้วยหรือไม่กไ็ ด้ และ หากมี ค วามผิ ด ที่ ซั บ ซ้ อ น และมีโทษสูงมากขึ้นเท่าใด เจ้าพนักงานหรือศาลจะต้อง ให้ มี ก ารท�ำสั ญ ญาประกั น พร้อมทั้งมีหลักประกัน เช่น เงินสด โฉนดที่ดิน เพื่อเป็น หลักประกันว่าผู้ต้องหาหรือ จ�ำเลยจะมาตามก�ำหนดนัด ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมาย วิ ธีพิ จ ารณาความอาญา มาตรา 110

71


ตอนที่ 72

การปล่อยตัวชั่วคราว (5)

การประกั น ตั ว ผู ้ ต ้ อ งหาหรื อ จ�ำเลย ตามกฎหมายจะเรี ย กว่ า การปล่อยตัวชั่วคราว อาจมีขึ้นได้หลายขั้นตอน และหลายลักษณะ หากผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่แต่ยังไม่ถึงขั้นฟ้องต่อศาล ผู้ต้องหาหรือ ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เช่น ญาติพี่น้อง นายจ้าง หรือทนายความของ ผูต้ อ้ งหา จะสามารถยืน่ ค�ำขอให้ปล่อยชัว่ คราวได้ โดยยืน่ ต่อพนักงานสอบสวน หรื อ พนั ก งานอั ย การ ทั้ ง นี้ ขึ้ น อยู ่ ว ่ า ส�ำนวนนั้ น อยู ่ ใ นขั้ น ตอนใด หากผูต้ อ้ งหาถูกขังตามหมายขังของศาล แม้วา่ ยังไม่ได้ถกู ฟ้องคดี หรือถ้า ถูกฟ้องคดีและเป็นจ�ำเลยแล้ว ทัง้ สองกรณีนใี้ ห้ยนื่ ค�ำขอให้ปล่อยตัวชัว่ คราว ต่อศาลชัน ้ ต้นทีร่ บั ผิดชอบช�ำระคดีนน ั้ ๆ ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 (2) (3)

72


ตอนที่ 73

การควบคุมตัวเด็กที่กระท�ำผิด ผู้กระท�ำความผิดแต่ละรายถึงแม้จะเป็นผู้กระท�ำความผิดในประเภท เดียวกัน แต่มีสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ และวุฒิภาวะที่แตกต่างกัน กฎหมายจึงได้ก�ำหนดกระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับเด็กที่กระท�ำความผิด เป็ น พิ เ ศษกว่ า ผู ้ ใ หญ่ รวมถึ ง ต้ อ งมี ก ารแจ้ ง ให้ ผู ้ ป กครองของเด็ ก ทราบถึ ง การควบคุ ม ตั ว จะต้ อ งแยกออกจากผู ้ ต ้ อ งหาที่ เ ป็ น ผู ้ ใ หญ่ ไม่สามารถควบคุมตัวในห้องขัง บนสถานี ต�ำรวจได้ และ จ ะ ค ว บ คุม ตัว ไ ด ้ ไ ม ่ เ กิน 24 ชั่ ว โมง หลั ง จากนั้ น ต้องส่งตัวให้สถานพินิจและ คุ ้ ม ครองเด็ ก และเยาวชน เป็ น ผู ้ ดู แ ลต่ อ ไป หากการ ควบคุมตัวเด็กอยูใ่ นอ�ำนาจของ สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชน พ่ อ แม่ หรื อ ผู ้ ป กครองของเด็ ก สามารถมาประกั น ตั ว เด็ ก ได้ ต ลอด 24 ชั่ ว โมง ซึง่ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการปล่อยตัวชัว่ คราวโดยไม่มหี ลักประกัน ซึง่ เป็นไป ตามนัยพระราชบัญญัตจิ ดั ตัง้ ศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธพ ี จิ ารณา คดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534

73


ตอนที่ 74

ประกันตัวเด็ก

ในคดีอาญา กฎหมายจะสันนิษฐานไว้กอ่ นว่า ผูต้ อ้ งหาหรือจ�ำเลยทุกคน เป็ น ผู ้ บ ริ สุ ท ธิ์ จนกว่ า ศาลจะตั ด สิ น ว่ า บุ ค คลนั้ น มี ค วามผิ ด ดั ง นั้ น กระทรวงยุตธิ รรม โดยกรมพินจิ และคุม้ ครองเด็กและเยาวชน จึงมีนโยบาย ให้เด็กและเยาวชนได้รบั การประกันตัวในระหว่างการสอบสวนและด�ำเนินคดี ให้ได้มากทีส่ ดุ โดยก�ำหนดว่าความผิดทีม่ โี ทษสูงสุดไม่เกิน 5 ปี ผู้ปกครอง สามารถประกันตัวได้ โดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์ประกันตัว และในกรณี ที่มีโทษจ�ำคุกอย่างสูงเกินกว่า 5 ปี ต้องมีการวางหลักทรัพย์ประกันตัว หากผู้ปกครองของเด็กไม่มหี ลักทรัพย์เพียงพอ แต่เห็นว่าเด็กจะไม่หลบหนี ในระหว่างประกันตน ผู้อ�ำนวยการสถานพินจิ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน สามารถลดหย่อนหลักทรัพย์ได้ตามความเหมาะสม

74


ตอนที่ 75

สถานพินิจฯ 24 ชั่วโมง

โดยปกติทวั่ ไป หน่วยงานราชการจะท�ำการในวัน และเวลาราชการ กล่าวคือ วันจันทร์ถึงศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 – 16.30 น. เท่านั้น ซึง่ ลักษณะงานทีเ่ กีย่ วข้องกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคลจะรอเวลาท�ำการ ของหน่วยงานมิได้ ด้วยเหตุนี้ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมพินิจและ คุ้มครองเด็กและเยาวชน จึงมีโครงการให้สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชนเปิดท�ำการตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ต�ำรวจที่ควบคุมตัวเด็กและเยาวชน สามารถน�ำส่งตัวเด็ก และเยาวชนต่ อ สถานพิ นิ จ ฯ ได้ ทั น ที ต ลอด 24 ชั่ ว โมง อี ก ทั้ ง เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ถูกคบคุมตัว สามารถประกันตัวได้ทันทีทั้งในและ นอกเวลาราชการ ทั้งนี้ ยังก�ำหนดให้แจ้งผลการพิจารณาให้ประกันตัวเด็ก และเยาวชนแก่ผู้ปกครอง หรือผู้ประกันตัวทราบภายใน 30 นาที

75


ตอนที่ 76

ต�ำรวจตรวจจับความเร็ว ในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว ผูท้ ขี่ บั รถเดินทางไปพักผ่อนต่างจังหวัด อาจสัง เกตเห็น ความเข้ ม งวดกวดขัน ของเจ้ า หน้ า ที่ต�ำรวจ ในเรื่อ ง กฎหมายจราจร เพื่อตรวจแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ หรือการตรวจจับความเร็ว รถยนต์ ซึง่ ขณะทีเ่ จ้าหน้าทีต่ �ำรวจทางหลวง ได้น�ำเทคโนโลยีกล้องตรวจจับ ความเร็ว น�ำมาใช้ ใ นเส้ น ทางหลัก ทั่ว ประเทศ หากรถคัน ใดขับ ด้ ว ย ความเร็วเกินก�ำหนด อุปกรณ์ดังกล่าวจะบันทึกภาพรถที่ใช้ความเร็ว เกินกว่าที่กฎหมายก�ำหนดโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ต�ำรวจจะส่ง ภาพถ่ายดังกล่าวที่มีภาพรถ สถานที่เกิดเหตุ วันเวลาที่เกิดเหตุ และ ความเร็วที่จุดนั้น ส่งไปยังที่อยู่ของผู้ครอบครองรถยนต์ พร้อมใบแสดง การกระท�ำความผิด

76


ตอนที่ 77

ถูกจราจรจับ (1)

ต�ำรวจจราจรมีหน้าทีใ่ นการกวดขันผู้ขบั ขีย่ านพาหนะบนท้องถนน ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย หากผู้ขับขี่ทุกคนเคารพกฎจราจร จะส่งผลให้ อุบตั เิ หตุบนท้องถนนลดลงด้วย แต่หากผูใ้ ดฝ่าฝืนกฎจราจร เช่น การขับรถ โดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรือฝ่าสัญญาณไฟจราจร ถือเป็นการกระท�ำ ความผิด ต้องได้รับโทษตามความผิดที่ได้กระท�ำไว้ ซึ่งเป็นไปตาม นัยพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522

77


ตอนที่ 78

ถูกจราจรจับ (2)

ทราบหรือไม่วา่ เมือ่ ขับขีย่ านพาหนะบนท้องถนนแล้วพบด่านต�ำรวจ หรือ เจ้ า พนัก งานจราจรเรีย กให้ ห ยุด รถ จะต้ อ งหยุด รถและอ�ำนวย ความสะดวกแก่เจ้าพนักงานจราจรเพื่อด�ำเนินการตรวจสอบ แต่หาก ผู้ขับขี่ฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือเป็นการ กระท�ำความผิดมีโทษจ�ำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทัง้ จ�ำทัง้ ปรับ ทัง้ นี้ หากผู้ขบั ขีไ่ ด้ขบั รถพุ่งชนสิง่ กีดขวางแล้วหลบหนี อาจต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทัง้ จ�ำทัง้ ปรับ

78


ตอนที่ 79

ถูกจราจรจับ (3) เมือ่ เจ้าพนักงานจราจรพบเห็นรถทีม่ สี ภาพหรือลักษณะไม่ถกู ต้อง เช่น สภาพรถไม่มั่นคงแข็งแรงอาจเป็นอันตราย หรือผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติ ตามกฎจราจร ได้แก่ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถ ไม่สวมหมวกนิรภัย ตลอดจนขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายก�ำหนด เจ้าหน้าที่ต�ำรวจมีอ�ำนาจ สั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถ หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต�ำรวจพบเห็นว่า มีการ ขับรถส่ายไปมา หรือผู้ขับขี่หลับขณะรถติดไฟแดง เจ้าหน้าที่มีอ�ำนาจ สั่งให้ผู้ขับขี่ทดสอบว่าหย่อน ความสามารถในการขับขีห่ รือไม่ โดยการเป่ า เครื่ อ งตรวจวั ด ปริ ม าณแอลกอฮอล์ ทั้ ง นี้ หากผู ้ ขั บ ขี่ ไ ม่ ย อมทดสอบ เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจสามารถกักตัวไว้ เพื่ อ ทดสอบความสามารถ ในการขับ ขี่ไ ด้ และภายหลัง จากการทดสอบแล้ว หากผูข้ บั ขี่ ไม่ ไ ด้ ท�ำผิ ด กฎหมายจราจร เจ้ า หน้ า ที่ ต�ำรวจต้ อ งปล่ อ ยตั ว ทั น ที แต่หากผิดจริงจะต้องด�ำเนินการตามกฎหมายต่อไป ซึ่งเป็นไปตามนัย พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 142

79


ตอนที่ 80

80

ถูกจราจรจับ (4)

ในกรณีที่ต�ำรวจจราจรเรียกให้หยุดรถเพื่อขอตรวจค้นตามปกติ หรืออาจแจ้งข้อหาในกรณีทฝี่ ่าฝืนกฎจราจร หรือขอตรวจใบอนุญาตขับขี่ ผู ้ ขั บ ขี่ ค วรปฏิ บั ติ ต าม เพราะหากฝ่ า ฝื น หรื อ พยายามติ ด สิ น บน เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจ จะถือเป็นการกระท�ำทีผ่ ดิ กฎหมาย เนือ่ งจากมีความคิดว่า การจ่ายเงินให้กบั เจ้าหน้าทีจ่ ะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปทีส่ ถานีต�ำรวจ แต่ถ้าไป สถานีต�ำรวจต้องเสียเวลารอ

80


ตอนที่ 81

81

ถูกจราจรจับ (5)

เมื่อต�ำรวจจราจรเรียกให้หยุดรถ เพื่อแจ้งข้อกล่าวหา เช่น ขับรถ ฝ่าสัญญาณไฟจราจร จอดรถในทีห่ า้ มจอด หรือในทางคับขัน กลับรถในที่ ที่ไม่มีป้ายอนุญาตให้กลับรถ ขับรถสวนทางวันเวย์ หรือขับรถแซง บนผิวถนนจราจรที่เป็นเส้นทึบห้ามแซง ซึ่งผู้ขับขี่หลายคนที่กระท�ำผิด ข้อหาเหล่านี้ บางคนจะไม่ยอมรับผิดโดยอ้างว่าไม่รบู้ า้ ง อ้างว่ามองไม่เห็น ป้ า ยจราจรบ้ า ง หรื อ ป้ า ยจราจรแสดงเครื่ อ งหมายสั ญ ญาณต่ า งๆ ไม่ชดั เจน หรือบางคนอ้างเส้นสาย ชอบเบ่ง ซึง่ น่าเห็นใจเจ้าหน้าทีท่ พ ี่ บเจอ พฤติกรรมอย่างนี้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะลดน้อยลง หากน�ำกล้องโทรทัศน์มาใช้บน ั ทึกภาพจราจรให้มากขึ้น

81


ตอนที่ 82

สินบนจราจร เมื่อ ผู้ ขับ ขี่ย านพาหนะบนท้ อ งถนนกระท�ำผิด กฎจราจร เช่ น ขับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจร ขับขี่สวนเลน หรือกลับรถในจุดที่ไม่ได้ อนุญาตไว้ หากถูกเจ้าหน้าทีต่ �ำรวจจราจรจับกุมและพยายามเสนอสินบน ให้แก่เจ้าหน้าที่ เพือ่ ให้ละเว้นการจับกุม การกระท�ำดังกล่าวถือเป็นความผิด ทั้งผู้ให้และผู้รับสินบน โดยมีโทษถึงขั้นจ�ำคุก รวมทั้งเป็นการสร้าง วัฒนธรรมการคอรัปชั่นในสังคมไทย

82

82


ตอนที่ 83

อ�ำนาจของต�ำรวจจราจร เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจจราจรมีอ�ำนาจหน้าทีใ่ นการลงโทษผูก้ ระท�ำความผิด กฎจราจร โดยเมื่อพบเห็นการกระท�ำผิดกฎจราจร เจ้าหน้าที่ต�ำรวจ มีอ�ำนาจว่ากล่าวตักเตือน หรือออกใบสัง่ ให้ไปช�ำระค่าปรับ และมีอ�ำนาจหน้าที่ เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่เป็นการชั่วคราวได้ รวมถึงในกรณีที่ไม่พบตัว ผู้ขับขี่ เจ้าหน้าที่ต�ำรวจอาจจะเขียนใบสั่ง ซึ่งจะติดไว้ในจุดที่ผู้ขับขี่ สามารถมองเห็นได้สะดวก เมื่อผู้ขับขี่ได้รับใบสั่งแล้วนั้น ควรไปช�ำระ ค่าปรับตามวันเวลาที่ก�ำหนดไว้ในใบสั่ง ทั้งนี้ ได้ก�ำหนดให้ใช้ใบแทน ใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราว (ใบสั่ง) ไม่เกิน 7 วัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 140 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

83

83


ตอนที่ 84

ยึดบัตร ยึดรถไม่ได้ (1)

84

หลายท่านอาจมีข้อสงสัยว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ต�ำรวจจราจรจับกุม ผู้กระท�ำผิดกฎจราจร ในกรณีไม่สวมหมวกนิรภัย หรือหมวกกันน็อค ขับรถโดยไม่พกพาใบอนุญาตขับขี่ เจ้าหน้าที่ต�ำรวจจราจรจะมีอ�ำนาจ ยึดบัตรประชาชน บัตรเครดิต และบัตรอืน่ ๆ รวมทัง้ การยึดรถ ยึดกุญแจรถ ไว้ได้หรือไม่นนั้ ซึง่ จากการพิจารณาในกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น กฎหมาย จราจรทางบก กฎหมายรถยนต์ กฎหมายบัตรประชาชน ไม่ปรากฏว่า มีมาตราใดให้อ�ำนาจเจ้าหน้าทีต่ �ำรวจจราจรยึดบัตรประชาชน หรือบัตรอืน่ ๆ ไว้ได้ โดยเฉพาะการยึด รถหรือกุญแจรถไว้ เพราะเหตุเ พียงแค่กระท�ำผิด กฎจราจรเล็กๆ น้อยๆ เจ้าหน้าทีต่ �ำรวจจึงไม่มอี �ำนาจกระท�ำการดังกล่าวได้

84


ตอนที่ 85

ยึดบัตร ยึดรถไม่ได้ (2)

ในกรณีทผี่ ู้ขบั ขีก่ ระท�ำผิดกฎจราจรและได้รบั ใบสัง่ หากเจ้าหน้าที่ ต�ำรวจจราจรยึดกุญแจรถ หรือบัตรอื่นๆ โดยอ้างว่าต้องให้ผู้กระท�ำผิด กฎจราจรไปช�ำระค่ าปรับตามที่ระบุในใบสั่งก่ อ น และให้น�ำใบเสร็จ มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ต�ำรวจ จึงจะคืนกุญแจรถ หรือคืนบัตรอื่นๆ ให้ ซึ่งตามบทกฎหมายจราจรทางบก และกฎหมายรถยนต์ไม่ได้ให้อ�ำนาจแก่ เจ้าหน้าที่ต�ำรวจให้กระท�ำการเช่นนั้นได้ เนื่องจากกฎหมายจราจรทางบก ให้ อ�ำนาจเจ้ า พนั ก งานจราจรจั บ กุ ม ผู ้ ขั บ ขี่ ที่ ฝ ่ า ฝื น กฎหมาย มีอ�ำนาจว่ากล่าวตักเตือน ออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ช�ำระค่าปรับหรือเรียกเก็บ ใบอนุญาตขับขีไ่ ว้เป็นการชัว่ คราว โดยต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้เท่านั้น

85


ตอนที่ 86

ยึดบัตร ยึดรถไม่ได้ (3) หลักนิตริ ฐั เป็นหลักการพืน้ ฐานส�ำคัญ ทีม่ รี ฐั ธรรมนูญไทยรองรับไว้ โดยหลั ก การมุ ่ ง คุ ้ ม ครองสิ ท ธิ เ สรี ภ าพของประชาชน ซึ่ ง รั ฐ และ เจ้าหน้าทีข่ องรัฐไม่สามารถใช้อ�ำนาจก้าวล่วงในการจ�ำกัดสิทธิเสรีภาพของ ประชาชน หากไม่มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติเขียนระบุให้อ�ำนาจไว้ อย่างเช่น กรณีผขู้ บั ขีร่ ถยนต์บนท้องถนนขับรถโดยไม่พกพาใบอนุญาตขับขี่ เป็ น ความผิด ตามกฎหมาย ซึ่ง กฎหมายได้ ก�ำหนดโทษและอ�ำนาจ ของเจ้าหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน คือ การออกใบสั่งให้ช�ำระค่าปรับภายใน ระยะเวลาที่ก�ำหนด และไม่ มีก ฎหมายมาตราใดที่ร ะบุใ ห้ อ�ำนาจแก่ เจ้าหน้าที่ต�ำรวจสามารถยึดกุญแจรถ หรือบัตรอื่นๆ ไว้ได้

86


ตอนที่ 87

ถูกยึดใบขับขี่ (1) เมื่อผู้ขับขี่ท�ำผิดกฎจราจร ถูกต�ำรวจจับกุม และได้รบั ใบสั่งถูกยึด ใบขับขี่ ผู้ขบั ขีม่ หี น้าทีช่ �ำระค่าปรับทีส่ ถานีต�ำรวจในเขตท้องทีแ่ ละภายใน ก�ำหนดเวลาที่ระบุไว้ในใบสั่ง หรืออาจช�ำระทางไปรษณีย์ธนาณัติได้ เมือ่ ได้ช�ำระค่าปรับเรียบร้อยแล้ว ต�ำรวจจะคืนใบขับขีใ่ ห้ ในกรณีทถี่ กู ยึด ใบขับขี่ ผู้ขับขี่อาจใช้ใบรับแทนใบขับขี่ได้ แต่ไม่เกิน 7 วัน อย่างไรก็ตาม หากได้รบั ใบสั่งแล้วไม่ได้ไปช�ำระค่าปรับ ด้วยไม่มเี หตุอันสมควร ผู้ขับขี่ อาจถูกหมายเรียกให้ไปโรงพัก หรืออาจไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ จนกว่าจะช�ำระค่าปรับให้ถกู ต้อง ทีส่ �ำคัญอาจต้องโทษปรับเพิม่ ขึน้ อีกด้วย ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 141 ทวิ

87


ตอนที่ 88

ถูกยึดใบขับขี่ (2)

หากผู ้ ขั บ ขี่ ย านพาหนะถู ก ต�ำรวจออกใบสั่ ง และยึ ด ใบขั บ ขี่ ผู้ขับขี่สามารถใช้ใบรับแทน (แทนใบขับขี่)ได้ ไม่เกิน 7 วัน ซึ่งหากเกิน ระยะเวลาที่ก�ำหนดไว้ ถือเป็นความผิดฐานขับรถในขณะถูกยึดใบขับขี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และหากผูข้ บั ขีไ่ ม่ยอมไปช�ำระค่าปรับ แต่ ก ลับ แจ้ ง ความว่ า ใบขับ ขี่ห ายเพื่อ ขอท�ำใบอนุญ าตขับ ขี่ฉ บับ ใหม่ จะถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ มีโทษจ�ำคุกสูงสุด 6 เดือน ซึง่ เป็นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137

88


ตอนที่ 89

ขั้นตอนการยึดทรัพย์ (1) ลูกหนี้ย่อมมีหน้าที่ช�ำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หากลูกหนี้ไม่ช�ำระหนี้ เจ้าหนีส้ ามารถไปฟ้องศาลขอให้ศาลบังคับให้ลกู หนีช้ �ำระหนีไ้ ด้ ซึง่ เจ้าหนี้ ไม่อาจยึดทรัพย์สน ิ ของลูกหนีโ้ ดยพลการได้ แต่หากภายหลังศาลมีค�ำสัง่ พิพากษาให้ลกู หนีช้ �ำระหนี้ แต่ลกู หนีย้ งั เพิกเฉย ศาลจะออกหมายบังคับคดี และเป็นหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ ผู้เป็นเจ้าหนี้ที่ต้องสืบหาทรัพย์สินลูกหนี้ จากนัน้ ให้มาแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไปด�ำเนินการยึดอายัดทรัพย์ตอ่ ไป ทัง้ นีท้ รัพย์ทจี่ ะยึดได้นนั้ ต้องเป็นของลูกหนี้ โดยฝ่ายเจ้าหนีต้ อ้ งตรวจสอบ หลักฐานต่างๆ ให้แน่ชดั ก่อน

89


ตอนที่ 90

ขั้นตอนการยึดทรัพย์ (2)

เมื่อศาลพิพากษาให้ลกู หนี้ช�ำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการ ช�ำระเงิน เช่น ค่าสินค้าที่ค้างจ่ายต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย หรือค่าเสียหาย ทีต่ อ้ งจ่ายเพราะได้ท�ำละเมิดหรือผิดสัญญา แม้แต่การสัง่ ให้ลกู หนีก้ ระท�ำการ บางอย่าง เช่น ให้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่า ศาลจะออก ค�ำบังคับคดีสง่ ไปถึงตัวลูกหนีใ้ ห้ด�ำเนินการต่างๆ ตามก�ำหนดเวลาทีร่ ะบุไว้ เมือ่ พ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว แต่ลกู หนีย้ งั คงเพิกเฉยไม่ยอมปฏิบตั ติ าม เจ้าหนี้ต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ซึ่งก็คือค�ำสั่งศาลที่แต่งตั้ง เจ้าพนักงานให้ไปด�ำเนินการบังคับคดี จากนัน ้ เจ้าหนีจ้ ะแจ้งให้พนักงาน บังคับคดีในเขตท้องที่นั้นๆ ทราบถึงการออกหมายบังคับคดีเพื่อให้ ด�ำเนินการต่อไป

90


ตอนที่ 91

ขั้นตอนการยึดทรัพย์ (3)

ในขั้นตอนการยึดทรัพย์บงั คับคดีนั้น เมื่อศาลออกหมายบังคับคดี หรือค�ำสัง่ แต่งตัง้ เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว โจทก์เจ้าหนีต้ อ้ งไปขอตัง้ ส�ำนวน วางเงิ น ค่ า ใช้ จ ่ า ยในการบั ง คั บ คดี และยื่ น ค�ำขอยึ ด ทรั พ ย์ ซึ่ ง หาก เจ้าพนักงานบังคับคดีพจิ ารณาแล้วอนุญาตค�ำขอ จึงจะสามารถด�ำเนินการ ยึ ด ทรั พ ย์ ข องลู ก หนี้ ต ามค�ำพิ พ ากษาได้ ทั้ ง นี้ ในการบั ง คั บ คดี นั้ น จะท�ำได้เฉพาะแต่ในเวลากลางวันเท่านั้น และต้องท�ำในวันท�ำการปกติ ไม่ ส ามารถยึ ด ทรั พ ย์ ใ นวั น หยุ ด ราชการได้ เว้ น แต่ มี เ หตุ ฉุ ก เฉิ น ซึง่ ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน เช่น ลูกหนีก้ �ำลังขนย้ายทรัพย์สนิ หลบหนี หรือมีเหตุอื่นๆ ที่ท�ำให้ไม่สามารถไปด�ำเนินการในวันท�ำงานปกติได้ ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธพ ี จิ ารณาความแพ่ง มาตรา 279 วรรค 1

91


ตอนที่ 92

อ�ำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดี กฎหมายให้อ�ำนาจแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อให้การบังคับคดี เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ได้แก่ มีอ�ำนาจค้นสถานที่ซึ่งเป็นของลูกหนี้ ตามค�ำพิพากษา หรือ สถานทีข่ องลูกหนีต้ ามค�ำพิพากษาได้ครอบครองอยู่ เช่น ที่อยู่อาศัย คลังสินค้า โรงงาน และร้านค้าขาย ทั้งยังมีอ�ำนาจที่ จะยึดและตรวจสมุดบัญชี แผ่นกระดาษ หรือเอกสารใดๆ ซึง่ อยูใ่ นสถานที่ ดังกล่าว รวมทั้งกระท�ำการ ตามสมควร เพือ่ เปิดสถานที่ ที่อยู่อาศัย โรงเรือน แม้แต่ ตูน้ ริ ภัย รวมถึงทีเ่ ก็บของอืน่ ๆ หากมีผู้ใดขัดขวาง อาจจะ ขอความช่ ว ยเหลื อ จาก เจ้าหน้าที่ต�ำรวจได้ แต่ทั้งนี้ อ�ำนาจต่างๆ ทีก่ ล่าวมาทัง้ หมด เ จ ้ า พ นั ก ง า น บั ง คั บ ค ดี จะต้ อ งกระท�ำเพี ย งเท่ า ที่ จ�ำเป็ น เท่ า นั้น ซึ่ง เป็ น ไป ตามประมวลกฎหมาย วิ ธี พิ จ า ร ณ า ค ว า ม แ พ ่ ง มาตรา 279 วรรค 2

92


ตอนที่ 93

ทรัพย์ที่เจ้าหนี้ยึดได้

การบังคับคดีแพ่งตามค�ำพิพากษาของศาลนัน ้ เมือ่ ศาลออกหมาย บังคับคดีแล้ว เจ้าหนี้จะแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ และเจ้าหนี้ ต้องเป็นผู้น�ำยึดทรัพย์โดยต้องสืบให้รู้แน่ชัดว่า ลูกหนี้ตามค�ำพิพากษา มีทรัพย์สนิ อะไรบ้าง เก็บไว้ทไี่ หน และใครเป็นผู้ครอบครอง ทัง้ นี้ ทรัพย์ที่ เจ้ า หนี้ จ ะน�ำยึ ด ได้ น้ั น ต้ อ งเป็ น ทรั พ ย์ ข องลู ก หนี้ หรื อ ที่ ลู ก หนี้ เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยเท่านั้น เช่น นายเอกชัยลูกหนี้ตามค�ำพิพากษา มีรถยนต์อยู่หนึง่ คัน ซึง่ เอกชัยซือ้ มาด้วยเงินของตัวเอง หรืออาจเข้าหุ้น กับเพือ่ นซือ้ ถ้าเป็นเช่นนี้ เจ้าหนีส้ ามารถน�ำยึดรถคันนัน ้ ได้ และเพือ่ นที่ เป็นเจ้าของร่วมอีกคนสามารถขอกันส่วนทีเ่ ป็นของตนได้ แต่หากเป็นรถ ของผู้อน ื่ เช่น เป็นรถทีเ่ อกชัย เช่ามา เจ้าหนีจ้ ะน�ำรถคันดังกล่าวยึดไม่ได้

93


ตอนที่ 94

ร้องขัดทรัพย์ เจ้าหนี้ตามค�ำพิพากษา จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ น�ำมาขายทอดตลาดใช้ ห นี้ ไ ด้ ซึ่ ง เฉพาะทรั พ ย์ ที่ เ ป็ น ของลู ก หนี้ ตามค�ำพิพากษา หรือที่ลูกหนี้ตามค�ำพิพากษาเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เท่านั้น ไม่สามารถไปยึดทรัพย์ของคนอื่นได้ เช่น นายเอกชัยได้เช่าซื้อ รถยนต์ 1 คัน จ่ายค่าเช่าซื้อตรงก�ำหนดทุกเดือนจนครบถ้วนแล้ว แต่ยงั ไม่ได้ด�ำเนินการเปลีย่ นชือ่ ผูถ้ อื กรรมสิทธิ์ ซึง่ เจ้าหนีต้ ามค�ำพิพากษา ของผู้ให้เช่าซื้อได้ยึดรถคันดังกล่าวเสียก่อน ในทางกฎหมายถือว่า เมื่อนายเอกชัย ผู้เช่าซื้อช�ำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์ ในรถคันดังกล่าวโดยอัตโนมัติ ดังนั้น นายเอกชัยสามารถร้องขัดทรัพย์ ขอให้ศาลพิจารณาสั่งให้ปล่อยรถคันดังกล่าวที่ถูกยึดไปได้

94

94


ตอนที่ 95

ทรัพย์ที่ยดึ ไม่ได้ (1)

เจ้ า หนี้ ต ามค�ำพิ พ ากษาสามารถน�ำเจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ไปยึดทรัพย์สนิ ของลูกหนีม้ าขายทอดตลาด และน�ำเงินนัน้ มาใช้หนีค้ นื ให้ แก่ตนได้ แต่ส�ำหรับทรัพย์สินบางอย่างที่เป็นปัจจัยสี่ ซึ่งจ�ำเป็นต่อการ ด�ำรงชีวิตของลูกหนี้ เช่น เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ในครัวเรือนของลูกหนี้ โดยทีแ่ ต่ละประเภทมีมลู ค่ารวมไม่เกิน 50,000 บาท หรือเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ ในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ เช่น ถ้าเป็นชาวประมง ได้แก่ เรือ อวน แห ซึ่ ง มี ร าคารวมกั น ไม่ เ กิ น 100,000 บาท ทรั พ ย์ เ หล่ า นี้ ไม่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับคดีก็ได้ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285 (1) (2)

95


ตอนที่ 96

ทรัพย์ที่ยดึ ไม่ได้ (2) แม้เจ้าหนี้ตามค�ำพิพากษาจะสามารถน�ำเจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดทรัพย์ของลูกหนีม้ าขายทอดตลาดเพือ่ ใช้หนีข้ องตนได้ แต่ถา้ ทรัพย์ดงั กล่าว เป็ น วัส ดุอุป กรณ์ ที่ ท�ำหน้ า ที่ แ ทนอวั ย วะของลูก หนี้ เช่ น มือ เทีย ม แขนเทียม ขาเทียม หรือเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือการท�ำงานของอวัยวะ ต่างๆ ในร่างกายลูกหนี้ อาทิ แว่นตา เครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้นเหล่านี้ ไม่วา่ จะมีราคาเท่าใด เจ้ า หนี้ จ ะน�ำยึ ด ดั ง กล่ า วไม่ ไ ด้ เนื่ อ งจากเป็ น สิ่ ง ของที่ จ�ำเป็ น ต ่ อ ก า ร ใ ช ้ ชี วิ ต ข อ ง ลู ก ห นี้ แต่ ใ นกรณี ที่ ลู ก หนี้ มี ข องสะสม เป็นแว่นตาสวยงามที่มีมูลค่าสูง เจ้ า หนี้ส ามารถน�ำยึด ทรัพ ย์ สิน ดั ง กล่ า วได้ เนื่ อ งจากแว่ น ตา ในกรณีนี้ไม่ใช่อุปกรณ์ช่วยเหลือ ที่จ�ำเป็ น แต่ เ ป็ น ของสะสม ซึ่ง เป็ น ไปตามประมวลกฎหมาย วิธพี จิ ารณาความแพ่ง มาตรา 285 (3)

96


ตอนที่ 97

การขายทอดตลาด

ในกระบวนการบังคับคดีนนั้ เมือ่ เจ้าหนีต้ ามค�ำพิพากษาน�ำเจ้าพนักงาน บังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามค�ำพิพากษา เจ้าพนักงานบังคับคดี จะยื่น ค�ำขอต่ อ ศาลเพื่อ ให้ ส่ัง อนุญ าตให้ ข ายทอดตลาดทรัพ ย์ สิน นั้น โดยจะมีการส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหนี้และลูกหนี้ตามค�ำพิพากษา ผู้ร้องขัดทรัพย์ ผู้รับจ�ำนอง ทรัพย์สินนั้น หรือผู้ท่เี ป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์สินนั้น และภายหลังจาก ขายทอดตลาดแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะหักค่าธรรมเนียมการขายทอดตลาด และค่าใช้จ่ายต่างๆ จากนั้นจะน�ำเงินคงเหลือชดใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้ ตามค�ำพิพากษาหรือบุคคลอื่นๆ ที่มีสิทธิตามกฎหมายและหากภายหลัง การช�ำระหนี้มีเงินคงเหลือจะส่งมอบแก่ลกู หนี้ต่อไป

97


ตอนที่ 98

ความผิดเกี่ยวกับเพศ สือ่ มวลชนแขนงต่างๆ อาทิ สือ่ หนังสือพิมพ์ สือ่ โทรทัศน์ ได้น�ำเสนอ ข่ า วอาชญากรรมเกี่ ย วกั บ การกระท�ำช�ำเราเด็ ก หญิ ง อายุ 14 ปี ซึ่งถูกคนร้ายท�ำร้ายร่างกายและพยายามข่มขืนจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ดังนัน้ เพือ่ ป้องปรามการกระท�ำผิดดังกล่าว กฎหมายจึงได้ก�ำหนดบทลงโทษ ส�ำหรับผู้กระท�ำความผิดฐานข่มขืนกระท�ำช�ำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่ ง ไม่ ใ ช่ ภ รรยาหรื อ สามี ต นเองไม่ ว ่ า เด็ ก จะยิ น ยอมหรื อ ไม่ ก็ ต าม ต้องระวางโทษจ�ำคุก 4ปี ถึง 20 ปี ปรับตัง้ แต่ 8,000 – 40,000 บาท ซึง่ เป็นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก

98


ตอนที่ 99 ข่มขืน

ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานข่มขืนกระท�ำช�ำเรา ก�ำหนดไว้ว่า ผู้ท่ีข่มขืนกระท�ำช�ำเราผู้อื่น เช่น ขู่เข็ญให้ร่วมหลับนอน โดยการท�ำร้ายร่างกาย หรือท�ำให้อยู่ในสภาวะจ�ำยอมไม่สามารถขัดขืนได้ หรือท�ำทีปลอมเป็นผู้อื่นเข้าไปร่วมหลับนอนด้วย ถือเป็นความผิดฐาน ข่มขืนกระท�ำช�ำเรา ต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 20 ปี และปรับ ตั้งแต่ 8,000 บาท ถึง 40,000 บาท แต่หากเป็นการข่มขืนกระท�ำช�ำเรา โดยใช้อาวุธ หรือรุมโทรมหญิงหรือชายในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษ จ�ำคุก 15 ปี ถึง 20 ปี และปรับ 30,000 บาท ถึง 40,000 บาท หรือจ�ำคุก ตลอดชีวติ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276

99


ตอนที่ 100

โทรมหญิงหรือชาย

ทราบหรือไม่ว่า พฤติกรรมร่วมกันข่มขืนกระท�ำช�ำเรา เรียกว่า การโทรมหญิงหรือกระท�ำกับชายในลักษณะเดียวกัน จะมีโทษหนักกว่า การข่ ม ขื น กระท�ำช�ำเราโดยบุ ค คลเพี ย งคนเดี ย ว โดยผู ้ ก ระท�ำผิ ด ต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 30,000 บาท ถึง 40,000 บาท แต่หากมีพฤติกรรมร้ายแรงมากอาจมีโทษจ�ำคุกตลอดชีวิต

100


ตอนที่ 101

หญิงหรือชายก็ผิดฐานข่มขืนได้ ความผิดฐานข่มขืนกระท�ำช�ำเรานั้น โดยปกติผู้กระท�ำความผิด มักจะเป็นผูช้ าย และผูเ้ สียหายมักจะเป็นผูห้ ญิง แต่ปจั จุบนั กฎหมายได้คมุ้ ครอง ผู ้ เ สี ย หายทั้ ง ผู ้ ห ญิ ง และผู ้ ช าย ซึ่ ง หากฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง บั ง คั บ ขื น ใจ ข่มขืนกระท�ำช�ำเรา ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายกระท�ำการดังกล่าว ถือเป็นความผิดฐานข่มขืนกระท�ำช�ำเราเช่นกัน

101


ตอนที่ 102

กระท�ำช�ำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี

จากสภาพสั ง คมในปั จ จุ บั น ที่ ผู ้ ค นต่ า งให้ ค วามส�ำคั ญ กั บ วั ต ถุ มากกว่าศีลธรรม จึงส่งผลให้สังคมเสื่อมโทรมลง ดังจะเห็นได้จากข่าว การกระท�ำช�ำเราเด็กอายุไม่ตำ�่ กว่า 15 ปี ซึง่ มีจ�ำนวนคดีเพิม่ มากขึน้ ทัง้ นี้ กฎหมายได้ก�ำหนดบทลงโทษส�ำหรับผูท้ กี่ ระท�ำช�ำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ซึง่ มิใช่ภรรยาหรือสามีของตน โดยเด็กจะยินยอมหรือไม่กต็ าม ต้องระวางโทษ จ�ำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 8,000 บาท ถึง 40,000 บาท

102


ตอนที่ 103

กระท�ำช�ำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี

ปั จ จุบัน แนวโน้ ม ปั ญ หาการล่ ว งละเมิด ทางเพศต่ อ เด็ก ๆ นั้น ได้ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการกระท�ำช�ำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ซึง่ มิใช่ภรรยาหรือสามีของตน ทัง้ นีเ้ ด็กจะยินยอมหรือไม่กต็ าม ผูก้ ระท�ำผิด ต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่ 7 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 14,000 บาท ถึง 40,000 บาท หรือจ�ำคุกตลอดชีวิต ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรค 3

103


ตอนที่ 104 อนาจาร

การอนาจาร เป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศ โดยกระท�ำต่อเนือ้ ตัวร่างกายโดยตรง เช่น การกอด การสัมผัส การจับต้อง อวัยวะเพศ หรืออวัยวะส่วนอื่นในร่างกาย ซึ่งต้องระวางโทษจ�ำคุก ไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ

104


ตอนที่ 105 ชายกับชาย

ในกรณีถูกข่มขืนกระท�ำช�ำเรา ไม่เพียงแต่ผู้หญิงเท่านั้นที่จะเป็น ผู้เสียหาย แต่ผู้ชายก็สามารถถูกล่วงละเมิดทางเพศได้ เช่น การข่มขืนใจ และใช้ก�ำลัง เพือ่ ให้ยอมร่วมเพศทางทวารหนัก เช่นนี้ ผูก้ ระท�ำก็มคี วามผิด ฐานข่ ม ขื น กระท�ำช�ำเรา ซึ่ ง เป็ น ไปตามประมวลกฎหมายอาญา ตามมาตรา 276

105


ตอนที่ 106 สามีข่มขืน

ความผิดฐานข่มขืนกระท�ำช�ำเรา หมายถึง ผู้ใดข่มขืนกระท�ำช�ำเรา ผู้อื่น โดยการขู่เข็ญ หรือใช้ก�ำลัง ท�ำร้าย ซึ่งมีความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 276 แม้เป็นสามีที่จดทะเบียนสมรสกับภรรยา โดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่ผู้เสียหายพิสูจน์ได้ว่าเป็นการบังคับฝืนใจ ร่วมหลับนอน โดยผู้เสียหายมิได้ยน ิ ยอมพร้อมใจด้วย ก็เป็นความผิดฐาน ข่มขืนกระท�ำช�ำเรา ตามมาตรา 276 เช่นกัน

106


ตอนที่ 107 อนาจารเด็ก

สังคมที่มีแต่การพัฒนาด้านวัตถุ โดยลืมการพัฒนาด้านจิตใจ มักก่อให้เกิดปัญหาสังคมอย่างมากมาย โดยเฉพาะปัญหาการล่วงละเมิด ทางเพศต่อผูห้ ญิงและเด็กทีม่ มี ากขึน้ ในสังคมไทย ดังเช่นการน�ำเสนอข่าว ผู้ร้ายน�ำขนมและของเล่นมาใช้ล่อลวงเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เพื่อกระท�ำ มิดีมิร้ายกับเด็กเหล่านั้น โดยไม่ค�ำนึงว่าเด็กจะยินยอมด้วยหรือไม่ ซึง่ การกระท�ำดังกล่าว ถือเป็นความผิดฐานอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 ต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ

107


ตอนที่ 108

การข่มขืนบุคคลที่อยู่ในความปกครอง

เหตุการณ์ทคี่ รูสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึง่ หลอกให้ เด็กนักเรียนหญิงชั้น ม.1 อายุเพียง 12 ปี มาดูคะแนนกับตนในห้อง คอมพิวเตอร์และให้ด่มื น�้ำผสมยานอนหลับ ซึ่งท�ำให้เด็กง่วงและหลับไป โดยเมือ่ ตืน่ ขึน้ มาไม่มเี สือ้ ผ้าปิดบังร่างกาย รวมถึงมีเลือดออกจากอวัยวะเพศ จึงสันนิษฐานว่าอาจจะถูกข่มขืน ซึง่ การกระท�ำดังกล่าว ถือเป็นความผิด ฐานกระท�ำช�ำเราเด็ ก หญิ ง อายุ ไ ม่ เ กิ น 13 ปี ที่ ไ ม่ ใ ช่ ภ รรยาตน ต้องระวางโทษสูงขึน ้ กว่าปกติอกี 1 ใน 3 เนือ่ งจากผู้กระท�ำผิดนัน ้ เป็นครู และได้กระท�ำต่อศิษย์ทอี่ ยู่ในความปกครองดูแล กฎหมายจึงก�ำหนดโทษ ให้หนักขึ้นอีก ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285

108


ตอนที่ 109

ความผิดทางเพศที่ยอมความได้ (1) เรื่องอารมณ์ความรู้สึกทางเพศเป็นเรื่องส่วนบุคล หากบุคคลนั้น มีอายุมากกว่าทีก่ �ำหนดไว้ กฎหมายจะไม่เข้าไปแทรกแซง ดังนัน ้ แม้จะมี การกระท�ำความผิดทางเพศเกิดขึ้น เช่น การข่มขืนกระท�ำช�ำเราผู้อื่น หรือมีการกระท�ำอนาจารแก่คนที่อายุมากกว่า 15 ปี เช่นนี้ หากไม่ได้ กระท�ำต่อหน้าธารก�ำนัล และผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ ไม่ว่าจะเป็น เพราะอีกฝ่ายหนึ่งยอมจ่ายค่าเสียหาย หรือกลับมาอยู่กินกันฉันสามี ภรรยา แม้จะมีการแจ้งความร้องทุกข์เพือ่ ให้ด�ำเนินคดีแล้วก็ตาม ผูเ้ สียหาย ก็สามารถยอมความโดยการถอนแจ้งความได้ ซึ่งเป็นไปตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 281

109


ตอนที่ 110

ความผิดทางเพศที่ยอมความได้ (2)

แม้ ค วามผิ ด ฐานข่ ม ขื น กระท�ำช�ำเราผู ้ อื่ น จะค่ อ นข้ า งรุ น แรง แต่แท้จริงแล้ว กรณีดงั กล่าวเป็นเรือ่ งส่วนบุคคล ซึง่ หากการกระท�ำความผิด ไม่ได้ใช้อาวุธหรือระเบิด ไม่มีลักษณะที่เป็นการรุมโทรม ไม่ได้กระท�ำ ต่อเด็กอายุไม่ถึง 15 ปี ไม่ได้ท�ำให้เหยื่อผู้เสียหายถึงแก่ความตายหรือ ได้รบั บาดเจ็บสาหัส ไม่ได้กระท�ำต่อคนทีอ่ ยูใ่ นความปกครองดูแล และมิได้ เกิ ด ขึ้ น ต่ อ หน้ า ธารก�ำนั ล กรณี ดั ง กล่ า วถื อ เป็ น ความผิ ด ที่ ส ามารถ ยอมความกันได้ ถึงแม้จะมีการแจ้งความร้องทุกข์แล้ว แต่หากผู้เสียหาย ไม่ติดใจเอาความสามารถถอนแจ้งความได้

110


ตอนที่ 111

ความผิดทางเพศที่ยอมความได้ (3) การท�ำความผิดฐานกระท�ำอนาจารโดยการขู่เข็ญ ใช้ก�ำลังท�ำร้าย หรือท�ำให้บคุ คลนัน้ อยูใ่ นลักษณะที่ ไม่สามารถขัดขืนหรือป้องกันตนเองได้ ไม่ว่าผู้เสียหายจะเป็นชายหรือหญิง แต่หากมีอายุเกิน 15 ปี รวมทั้ง ไม่ได้กระท�ำอนาจารในที่สาธารณะหรือต่อหน้าธารก�ำนัล และผู้เสียหาย ไม่ได้รับอันตรายถึงชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บถึงขั้นสาหัส ย่อมถือว่า เป็นความผิดทีย่ อมความกันได้ อย่างไรก็ตาม หากผู้เสียหายเป็นบุคคลใน ความปกครองดูแลของผู้กระท�ำความผิดเอง เช่น ลูกบุญธรรม ลูกศิษย์ นักโทษ หรือผู้ต้องขังในความควบคุมของผู้กระท�ำผิด กฎหมายถือว่า เป็นการใช้อ�ำนาจทีเ่ หนือกว่ามาข่มเหงรังแก จึงไม่สามารถยอมความได้

111


ตอนที่ 112

พาไปเพื่อการอนาจาร

ทราบหรือไม่ว่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ ก�ำหนดให้ผทู้ กี่ ระท�ำการโดยใช้อบุ ายหลอกลวง ขูเ่ ข็ญ ใช้ก�ำลังประทุษร้าย หรือข่มขืนใจผูอ้ นื่ ด้วยวิธกี ารอืน่ ใด เพือ่ พาไปกระท�ำอนาจาร ต้องระวางโทษ จ�ำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท

112


ตอนที่ 113

เจ้านายกับลูกน้อง ทราบหรือไม่ว่า หากผู้บังคับบัญชามีพฤติกรรมคุกคามทางเพศ โดยการลวนลามผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานที่ท�ำงาน ผู้เสียหายสามารถ แจ้งความด�ำเนินคดีในความผิดฐานกระท�ำอนาจารได้ ทัง้ นี้ หากผูก้ ระท�ำผิด ได้แสดงพฤติกรรมคุกคามทางเพศในหน่วยงานราชการ ให้ถือว่ามี ความผิดทางวินัยอีกด้วย

113


ตอนที่ 114

ความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณี

การตกลงซื้อขายบริการทางเพศหรือการค้าประเวณี ถ้าฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งผิดข้อตกลง เช่น ไม่ยอมจ่ายค่าบริการ ผู้เสียหายจะไม่สามารถ ไปฟ้ อ งร้ อ งบัง คับ คดีกัน ได้ เนื่อ งจากมาตรการทางแพ่ ง ไม่ ย อมรับ การค้าประเวณี เพราะการค้าประเวณีเป็นการกระท�ำความผิดทางอาญา

114


ตอนที่ 115 เร่ค้าประเวณี

การซือ้ ขายบริการทางเพศ ไม่วา่ จะเป็นชายหรือหญิงทีม่ พ ี ฤติกรรม เข้าไปติดต่อ ชักชวน ให้ผู้อน ื่ ซือ้ บริการทางเพศตามถนนสาธารณะ หรือ ทีอ่ นื่ ๆ โดยมีลกั ษณะเปิดเผยโจ่งแจ้งเป็นการน่าอับอาย หรือเป็นทีเ่ ดือดร้อน ร�ำคาญแก่ประชาชนทั่วไป ถือเป็นความผิดตามกฎหมายต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 5

115


ตอนที่ 116

มั่วสุมค้าประเวณี ผู้ขายบริการทางเพศที่มีพฤติกรรมมั่วสุมในสถานการค้าประเวณี เพื่อให้ตนหรือผู้อื่นได้ค้าประเวณี เช่น เข้าไปมั่วสุมกันในโรงน�้ำชา คลับบาร์ตา่ งๆ เพือ่ ค้าประเวณี ถือเป็นการกระท�ำผิด ต้องระวางโทษจ�ำคุก ไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ซึ่งเป็นไป ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 6

116


ตอนที่ 117

ถูกบังคับไม่ผดิ กฎหมายก�ำหนดไว้ ว ่ า บุค คลซึ่ง มีพ ฤติก รรมค้ า ประเวณี หรือ ชักชวนผู้อื่นให้ค้าประเวณี ถือเป็นความผิดต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม หากบุคคลนัน้ ไม่ได้เต็มใจเข้าไปมัว่ สุมค้าประเวณี เช่น ถูกหลอก ถูกบังคับ ให้ ค ้ า ประเวณี หรือ ถูก ล่ อ ลวงจนต้ อ งยอมค้ า ประเวณี กรณีเ หล่ า นี้ ย่อมถือว่าผูท้ คี่ า้ ประเวณีโดยไม่ได้เต็มใจนัน้ ไม่มคี วามผิด เนือ่ งจากกลายเป็น ผู้เสียหาย แต่ส�ำหรับผู้ที่บังคับให้ผู้อ่ืนค้าประเวณีนั้น มีโทษถึงจ�ำคุก ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 6

117


ตอนที่ 118

โฆษณาการค้าประเวณี

ผู ้ ข ายบริ ก ารทางเพศที่ มี พ ฤติ ก รรมชั ก ชวนให้ บุ ค คลต่ า งๆ ซือ้ บริการทางเพศในทีส่ าธารณะ ซึง่ ก่อความเดือนร้อนร�ำคาญแก่ประชาชน ทั่วไป หรือมั่วสุมกันในสถานค้าประเวณีเพื่อขายบริการทางเพศ ถือว่า มีความผิดตามกฎหมาย และหากมีการเผยแพร่โฆษณา ชักชวน แนะน�ำ เรียกร้อง หรือติดต่อขายบริการทางเพศเพื่อตนเองและผู้อื่น โดยใช้สื่อที่ สามารถแพร่กระจายสู่สาธารณะชนได้ เช่น เว็บไซต์ การปิดประกาศ ในสถานที่สาธารณะ นิตยสาร เป็นต้น ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย ต้องระวางโทษจ�ำคุกตัง้ แต่ 6 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตัง้ แต่ 10,000 บาท ถึง 40,000 บาท หรือทัง้ จ�ำทัง้ ปรับ ซึง่ เป็นไปตามพระราชบัญญัตปิ ้องกันและ ปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 7

118


ตอนที่ 119

ผู้ซื้อมีความผิด ตามกฎหมายแล้ว การซื้อบริการทางเพศไม่ถือเป็นความผิด ทางอาญา แต่อย่างไรก็ตาม การมีเพศสัมพันธ์หรือกระท�ำการใดๆ เพือ่ ส�ำเร็จ ความใคร่ของตนเอง หรือผู้อน ื่ ทีเ่ ป็นการกระท�ำต่อบุคคล ซึง่ มีอายุไม่เกิน 18 ปี ในสถานการค้าประเวณี ไม่ว่าบุคคลนัน ้ จะยินยอมด้วยหรือไม่กต็ าม ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย และหากเป็นการกระท�ำต่อเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ต้องระวางโทษจ�ำคุก ตั้งแต่ 2 ปี ถึง 6 ปีและปรับตั้งแต่ 40,000 บาท ถึง 120,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 8

119


ตอนที่ 120

เจ้าของกิจการค้าประเวณี

กฎหมายได้ ก�ำหนดบทลงโทษส�ำหรั บ ผู ้ เ ป็ น เจ้ า ของกิ จ การ ค้าประเวณี ผู้ดแู ลหรือผู้จดั การสถานค้าประเวณี ต้องระวางโทษจ�ำคุกตัง้ แต่ 3 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 บาท ถึง 300,000 บาท แต่หากมีเด็ก อายุต�่ำกว่า 15 ปี เป็นผู้ค้าประเวณีร่วมอยู่ด้วยต้องรับโทษเพิ่มขึ้น โดยต้องระวางโทษจ�ำคุก ตัง้ แต่ 10 ปี ถึง 20 ปี และปรับตัง้ แต่ 200,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทัง้ จ�ำทัง้ ปรับ ซึง่ เป็นไปตามพระราชบัญญัตปิ ้องกัน และปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 11

120


ตอนที่ 121

บังคับให้ค้าประเวณี ตามกฎหมายการปราบปรามการค้าประเวณีก�ำหนดไว้ว่า ผู้ที่ หน่วงเหนี่ยว กักขัง ท�ำให้เสียเสรีภาพ ท�ำร้ายร่างกาย หรือขู่เข็ญว่าจะ ท�ำร้าย เพือ่ ข่มขืนใจให้ผ้อู นื่ ท�ำการค้าประเวณี ต้องระวางโทษจ�ำคุกตัง้ แต่ 10 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 400,000 บาท และหาก มีการบังคับด้วยการใช้ก�ำลังทุบตีจนได้รับบาดเจ็บต้องระวางโทษจ�ำคุก ตลอดชีวิต และหากใช้ก�ำลังท�ำร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระท�ำความผิดจะมีโทษถึงขึน้ ประหารชีวติ ซึง่ เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 12

121


ตอนที่ 122

คนในเครื่องแบบกับธุรกิจค้ากาม

การบังคับข่มขืนใจ หน่วงเหนีย่ วกักขัง บังคับทุบตีเพือ่ ให้ผ้อู น ื่ ยอม ค้าประเวณีนน ั้ ถือว่าเป็นความผิดทีม่ โี ทษหนัก ยิง่ หากผู้กระท�ำความผิด หรือผู้สนับสนุนเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ต�ำรวจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีเสียเอง ผู้นั้นย่อม ต้องรับโทษหนักกว่าบุคคลทั่วไปคือ ต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี หรือปรับตั้งแต่ 300,000 บาท ถึง 400,000 บาท ซึ่งเป็นไป ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 12 วรรค 4

122


ตอนที่ 123

หลอกลวงผู้อ่นื เพื่อการค้าประเวณี

ผู้ ที่มีพ ฤติก รรมเป็ น ธุร ะจัด หา ล่ อ ลวง ชัก พา เป็ น นายหน้ า พ่อค้าคนกลาง หรือเอเย่นต์ ซึง่ ท�ำหน้าทีจ่ ดั ส่งเด็กหรือผูอ้ นื่ เพือ่ การค้าประเวณี แม้ ว ่ า จะเป็ น การยิน ยอมของตัว ผู้ ค ้ า ประเวณีเ อง ถือ เป็ น ความผิด ตามกฎหมาย ต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 9 วรรค 1

123


ตอนที่ 124 ขายลูกกิน

กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ก�ำหนดไว้ว่า บิดา มารดา หรือผูป้ กครองของเยาวชนทีม่ อี ายุไม่เกิน 18 ปี ไม่วา่ หญิงหรือชาย ที่รู้เห็นเป็นใจให้นายหน้าเป็นธุระจัดหา ชักชวนให้ผู้อื่นไปค้าประเวณี มีความผิด ต้องระวางโทษจ�ำคุก ตัง้ แต่ 4 ปี ถึง 20 ปี และปรับตัง้ แต่ 80,000 บาท ถึง 400,000 บาท นอกจากนี้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่สนับสนุน การกระท�ำดังกล่าว อาจถูกศาลสั่งเพิกถอนอ�ำนาจในการปกครองบุตร หรือผู้ทอี่ ยู่ในความปกครองได้ ซึง่ เป็นไปตามพระราชบัญญัตปิ ้องกันและ ปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 10

124


ตอนที่ 125

เผยแพร่ส่อื ลามก

วัยรุน่ เป็นวัยทีม่ คี วามอยากรู้ อยากลอง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี ส่ ง ผลให้ เ ยาวชนสามารถเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ข่ า วสาร ผ่านสื่อต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ แต่ในบางครัง้ สือ่ สังคมออนไลน์ อาจเป็นช่องทางในการเผยแพร่สอื่ ลามก หรือเป็นสือ่ กลางในการขายบริการทางเพศ ทัง้ นี้ กฎหมายได้ก�ำหนดบทลงโทษ ส�ำหรับเจ้าของเว็บไซต์ลามก ต้องระวางโทษจ�ำคุกถึง 3 ปี และปรับ 6,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287

125


ตอนที่ 126

การ Forward โลกแห่งการสื่อสารในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการส่งต่อข้อมูลต่างๆ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว แต่ทราบหรือไม่ว่า การเผยแพร่ หรือส่งต่อภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวที่มเี นื้อหาลามกอนาจาร ถือเป็น ความผิดทางอาญา เนื่องจากกฎหมายก�ำหนดไว้ว่า ผู้ใดแจกจ่ายหรือ แสดงอวดแก่ประชาชน หรือท�ำให้เกิดการแพร่หลายด้วยเอกสาร รูปภาพ เสียง สิง่ ลามก ย่อมมีความผิดเช่นกัน ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287

126


ตอนที่ 127

ห้ามสมรสซ้อน

ในอดีตชายไทยสามารถมีภรรยาได้หลายคน โดยไม่ผดิ ขนบธรรมเนียม ประเพณีและกฎหมาย แต่เมื่อประมาณปี 2478 ได้มีการใช้ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามชายและหญิงท�ำการสมรสโดยที่ตนเอง มีคู่สมรสอยู่แล้ว หรือที่นกั กฎหมายเรียกว่า ห้ามสมรสซ้อน คือให้ชาย มีภ รรยาได้ เ พีย งคนเดีย วและหญิง ก็ส ามารถมีส ามีไ ด้ เ พีย งคนเดีย ว เช่นเดียวกัน ซึง่ ตามหลักนิตนิ ยั คือ สามีภรรยาทีจ่ ดทะเบียนสมรสโดยถูกต้อง ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การมีภรรยาน้อยโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส แม้จะไม่ขดั ต่อกฎหมายแต่อาจเป็นสาเหตุให้อกี ฝ่ายฟ้องหย่าได้

127


ตอนที่ 128 สมรสซ้อน

อุทาหรณ์ส�ำหรับชายที่มีภรรยาหรือหญิงที่มีสามีตามกฎหมาย อยู่แล้ว แต่มีพฤติกรรมหลอกลวงผู้อื่นให้มีการจดทะเบียนสมรสอีกครั้ง เพือ่ หวังผลในเชิงชู้สาว ซึง่ การกระท�ำดังกล่าวส่งผลให้การสมรสครัง้ หลัง เป็นโมฆะ ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ประกอบ 1497

128


ตอนที่ 129

การหย่ามีผลเมื่อจดทะเบียน เมื่อสามีและภรรยาไม่สามารถใช้ชีวิตคู่ร่วมกันต่อไปได้ ทั้งคู่จึง ตกลงทีจ่ ะหย่าขาดกัน แต่การหย่าดังกล่าว จะสมบูรณ์และมีผลทางกฎหมาย ก็ ต ่ อ เมื่ อ ทั้ ง คู ่ ไ ด้ จ ดทะเบี ย นหย่ า แล้ ว ตามประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิชย์ มาตรา 1514 แต่หากยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า และสามีหรือ ภรรยามีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ให้ถือว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสินสมรส รวมถึง หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตในขณะที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า อีกฝ่าย จะมีสทิ ธิได้ทรัพย์สน ิ หรือมรดก ในฐานะคู่สมรส ซึง่ เป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 วรรค 2

129


ตอนที่ 130

การหย่ามีผลเมื่อศาลพิจารณา

เมื่ อ คู ่ ส มรสฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง แสดงพฤติ ก รรมที่ ท�ำให้ อี ก ฝ่ า ย ไม่สามารถใช้ชีวิตคู่ร่วมกันต่อไปได้ เช่น สามีอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่น ฉันภรรยา หรือภรรยามีอาการวิกลจริตตลอดมาเกิน 3 ปี และยากจะหาย อีกฝ่ายสามารถขออ�ำนาจศาลในการพิพากษาให้หย่าขาดกันได้ หากยัง ไม่มีเหตุอุทธรณ์ภายใน 30 วัน จะถือว่าเป็นการหย่าตามค�ำพิพากษา มีผลผูกพัน และจะมีผลสมบูรณ์เมื่อน�ำค�ำพิพากษาไปจดทะเบียนหย่า ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) (7)

130


ตอนที่ 131

อายุความฟ้องหย่า

ในกรณี ที่ ส ามี ห รื อ ภรรยามี ค วามต้ อ งการในการฟ้ อ งหย่ า ด้วยเหตุผลต่างๆ อาทิ ฝ่ายหนึง่ ฝ่ายใดนอกใจ หรือสามีท�ำร้ายทุบตีภรรยา จนต้องนอนโรงพยาบาล ฯลฯ ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าจ�ำเป็นต้องน�ำคดี มาฟ้องศาลภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วน ั ที่รู้เหตุ หากปล่อยไว้นานเกิน 1 ปี ศาลจะต้องยกฟ้อง ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (3) และมาตรา 1529

131


ตอนที่ 132

แบ่งสินสมรสคนละครึ่ง เมือ่ สามีภรรยาหย่าขาดจากกัน ตามกฎหมายต้องให้ทงั้ คูแ่ บ่งสินสมรส ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่ถ้าสินสมรสที่มีได้ใช้จ่ายหนี้สิน หมดแล้ ว ก็ไ ม่ ต ้ อ งมาแบ่ ง ทรัพ ย์ สิน กัน อีก แต่ ห ากไม่ มีห นี้สิน ก็ต ้ อ ง น�ำมาแบ่งกันไม่ว่าโดยวิธใี ดก็ตาม โดยมีเงือ่ นไขว่าหากจดทะเบียนหย่าหรือ ศาลพิพากษาให้หย่าแล้วยังไม่สามารถแบ่งสินสมรสได้ ตามกฎหมาย ต้องมาฟ้องภายในอายุความ 10 ปี

132


ตอนที่ 133 แบ่งหนี้

ในระหว่างการเป็นสามีภรรยากัน หากมีทรัพย์สน ิ ใดงอกเงยขึน ้ มา ให้ถือว่าเป็นสินสมรส เช่นเดียวกันกับการก่อหนี้โดยประโยชน์ส่วนรวม ของครอบครัว หรือ บุต รให้ ถือ เป็ น หนี้ร ่ ว มกัน  ซึ่ง ทั้ง สามีแ ละภรรยา ต้องเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกัน ถึงแม้ว่าจะหย่าขาดกันแล้วก็ตาม

133


ตอนที่ 134 ทรัพย์มรดก

“มรดก” เป็นทรัพย์สนิ ทีต่ กทอดมาจากบรรพบุรษุ แต่ในทางกฎหมาย รวมถึ ง ทรั พ ย์ สิ น ที่ ไ ด้ ม าจากบุ ต รหลานด้ ว ย โดยเป็ น ทรั พ ย์ สิ น ที่ สามารถจับต้องได้ เช่น แก้ว แหวน เงิน ทอง รถยนต์ บ้าน ที่ดิน รวมทั้ง ทรัพย์สน ิ ทีไ่ ม่สามารถจับต้องได้ หรือทีเ่ รียกว่าสิทธิหน้าทีข่ องผู้ตาย เช่น สิทธิรบั เงินตามสัญญาลิขสิทธิใ์ นบทเพลงหรืองานประพันธ์เหล่านีเ้ รียกว่า กองมรดก เมือ่ ผูน ้ นั้ เสียชีวติ ลงทรัพย์สนิ เหล่านีจ้ ะตกทอดแก่ทายาทต่อไป ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599

134


ตอนที่ 135

ผู้เยาว์จะสมรส แม้กฎหมายจะก�ำหนดว่า ชายและหญิงอายุ 17 ปี สามารถสมรสกันได้ แต่หากพิจารณาในความเป็นจริงแล้ว ชายและหญิงทีม่ อี ายุเพียง 17 ปี ถึง 18 ปี อาจไม่มวี ฒ ุ ภิ าวะเพียงพอและยังอยูใ่ นวัยศึกษา ด้วยเหตุนี้ กฎหมายจึงก�ำหนด ให้ ผู้ เ ยาว์ ที่จะท�ำการสมรสต้ องได้ รับความยิน ยอมจากบิดา มารดา หรือผูป้ กครองเสียก่อน แต่หากบิดา มารดา หรือผูป้ กครอง ไม่อยูใ่ นสภาพ ที่จะให้ความยินยอมได้ หรือไม่ยินยอมให้แต่งงานกัน ผู้เยาว์สามารถ ยืน่ ค�ำร้องต่อศาลได้ และเมือ่ ศาลอนุญาตให้ท�ำการสมรสได้แล้ว จึงน�ำค�ำสัง่ ศาล มาด�ำเนินการจดทะเบียนสมรสได้ทันที ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1454 และ มาตรา 1456

135


ตอนที่ 136

การอุปการะเลี้ยงดูบุตร

กรณีทคี่ สู่ มรสหย่าขาดกันแล้ว แต่หากมีบตุ รร่วมกันทัง้ คูย่ งั คงสถานะ ความเป็นบิดา มารดาอยู่ จึงต้องมีหน้าทีอ่ ปุ การะเลีย้ งดูและให้การศึกษา แก่ บุตรตามสมควรในระหว่ างที่บุต รยังไม่ บรรลุนิติภาวะ โดยมีการ ตกลงไว้ในหนังสือหย่าว่าผู้ใดจะออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร และเป็น จ�ำนวนเท่าใด แต่หากไม่ได้ตกลงกันไว้ ศาลมีอ�ำนาจก�ำหนดค่าเลีย้ งดูบตุ ร ได้ตามจ�ำนวนทีเ่ ห็นสมควร นอกจากนี้ ถ้าเป็นกรณีหย่าตามค�ำพิพากษา ของศาล จะก�ำหนดจ�ำนวนเงินอุปการะเลีย้ งดูบตุ ร โดยค�ำนึงถึงฐานะรายได้ และความสามารถในการเลี้ยงชีพของทั้งสองฝ่าย

136


ตอนที่ 137

การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู

กฎหมายได้ก�ำหนดให้บดิ า มารดา และบุตร มีหน้าทีอ่ ปุ การะเลีย้ งดู ซึ่งกันและกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ท�ำหน้าที่ของตน อีกฝ่ายสามารถ ฟ้องร้องได้ เช่น ถ้าบุตรไม่อุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดา ให้มีความสุข บิดา มารดา สามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลีย้ งดูได้ แต่หากเป็นกรณีบตุ รฟ้องเรียก ค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดา มารดา จะกระท�ำไม่ได้ เนื่องจากถือเป็น คดีอุทลุม ดังนั้น กฎหมายจึงมีแนวทางให้อยั การยกคดีขึ้นว่ากล่าวแทน หรือให้บดิ าหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถฟ้องคดีแทนบุตรได้

137


ตอนที่ 138

การเลิกช�ำระค่าเลี้ยงชีพ ในกรณีที่ศาลได้พิพากษาให้มีการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงชีพให้แก่อดีต สามีหรือภรรยา ตามจ�ำนวนเงินและระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ แต่หาก ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพ ได้เสียชีวิตลงหรือสมรสใหม่ สิทธิการได้รบั ค่าเลี้ยงดูย่อมสิ้นสุดลงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ในกรณีที่ อดีตสามีหรือภรรยา ทีม่ สี ทิ ธิได้รบั ค่าเลีย้ งชีพมีรายได้ฐานะความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น ฝ่ายที่จ่ายค่าเลี้ยงชีพสามารถร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการจ่าย ค่าเลีย้ งชีพได้ ซึง่ เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526

138


ตอนที่ 139

บุตรนอกกฎหมาย

การทีห่ ญิง-ชายอยู่กนิ กันฉันสามีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสนัน้ ไม่ถือว่าทั้งคู่เป็นสามีภรรยากันในทางกฎหมาย และบุตรที่เกิดขึ้นมา ย่ อ มถื อ ว่ า เป็ น บุ ต รที่ ช อบด้ ว ยกฎหมายของฝ่ า ยหญิ ง แต่ โ ดยล�ำพั ง โดยกฎหมายไม่ถอื ว่าฝ่ายชายเป็นบิดา ดังนัน้ เด็กจึงไม่สามารถรับมรดกของ ฝ่ายชายได้ เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นเรื่องบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง ตามความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม แม้วา่ เด็กจะไม่ใช่บตุ รทีช่ อบด้วยกฎหมาย ของฝ่ายชาย แต่หากภายหลังได้มีการจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้อง กับภรรยา ย่อมส่งผลให้บตุ รทีเ่ กิดมาก่อนหน้านัน้ เป็นบุตรทีช่ อบด้วยกฎหมาย ของฝ่ายสามีไปด้วย

139


ตอนที่ 140

สิทธิระหว่างบิดามารดากับบุตร

เมื่อบิดา มารดาสมรสกัน และมีการจดทะเบียนรับรองบุตร หรือ ศาลพิพากษาให้เป็นบุตรทั้งคู่ ทั้งเด็กและบิดาจะมีสิทธิหน้าที่ระหว่างกัน คือ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา บุตรมีสิทธิได้สัญชาติไทยตามบิดา หรือ มารดา โดยบุต รต้ อ งอยู่ ใ นอ�ำนาจการปกครองของบิด ามารดา ซึง่ กฎหมายได้หา้ มบุตรฟ้องร้องบุพการี อย่างไรก็ตาม บิดา มารดา และบุตร ต่างมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน รวมทั้ง บิดา มารดา และบุตร มีสิทธิรบั มรดกของกันและกัน

140


ที่ปรึกษา

พลตำ�รวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ นายธวัชชัย ไทยเขียว พันตำ�รวจเอก ดุษฎี อารยวุฒิ นายพสิษฐ์ อัศววัฒนาพร พันตำ�รวจโท ดร.พงษ์ธร ธัญญสิริ

: : : : : :

ปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม

บรรณาธิการ

นางสาวปทิตตา โฉมประดิษฐ์ : นักประชาสัมพันธ์ชำ�นาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำ�นวยการกองกลาง สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม

คณะผู้จัดท�ำ

นางสาวอัญญรัตน์ กัมปนานนท์ นางสาวอรวิภา เกือกรัมย์ นางสาวธิดาทิพย์ หอมมะลิ นางสาวสุภาดาชุติภัทธ์ นิมิบุตร นายปิยะศักดิ์ โชคอำ�นวย นางสาวสิริพจน์ วิชชาภา นางสาวฐิติพร ฉิมพลีวนาศรม

: : : : : : :

นักประชาสัมพันธ์ชำ�นาญการ สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม นักประชาสัมพันธ์ สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม นักประชาสัมพันธ์ สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม นักจัดการงานทั่วไป ช่วยราชการ สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม นักจัดการงานทั่วไป สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม

ผู้เขียนบท

รองศาสตราจารย์ณรงค์เดช สรุโฆษิต : อาจารย์ประจำ�คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอขอบคุณ

สำ�นักกฎหมาย สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม

141


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.