สารม.อ. ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555

Page 1

ม.อ.

สาร

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

www.psu.ac.th

ม ห า วิ ท ย า ลั ย ส ง ข ล า น ค ริ น ท ร์

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือน เมษายน - พฤษภาคม 2555

สงขลานครินทร์เกมส์

ก้าวสำ�คัญของกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย.....15 ม.อ. ลงนามความร่วมมือกับ

บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำ�กัด (มหาชน) สนับสนุนการศึกษา มุ่งเน้นงานวิจัยด้านยางพารา..... 2 นักเรียน สาธิต ม.อ. ได้รับรางวัล การจัดงาน “SCiUS Forum 2nd” ที่เชียงใหม่..... 13

ม.อ.ภูเก็ต จัดพิธีประดิษฐานพระรูป

สมเด็จพระบรมราชชนก 24 เมษายน 2555..... 24


ลงนามความร่วมมือ

ม.อ. ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำ�กัด (มหาชน) สนับสนุนการศึกษา มุ่งเน้นงานวิจัยด้านยางพารา

มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ได้ จั ด พิ ธี ลงนามความร่วมมือเพือ่ สนับสนุนการศึกษางานวิจยั ด้านยางพาราและงานวิจัยด้านอื่นที่เกี่ยวข้องโดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศกั ดิ์ ลิม่ สกุล รองอธิการบดี ฝ่ า ยวิ จั ย และบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นครินทร์ และบริษทั ไทยฮัว้ ยางพารา จำ�กัด (มหาชน) โดยคุณเรวัติ กิตติพล ผู้อำ�นวยการสายงานโรงงาน และผู้จัดการสาขาฉลุง ร่วมลงนาม เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2555 ณ ห้องประชุม 1 สำ�นักงานอธิการบดี โดยมี ผู้ แ ทนจากบริ ษั ท ไทยฮั้ ว ยางพารา จำ � กั ด (มหาชน) และคณะผู้ บ ริ ห าร อาจารย์ นั ก วิ จั ย นักวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ สื่อมวลชน จำ�นวน 30 คน ร่วมเป็นเกียรติ

รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล

ร อ ง อ ธิ ก า ร บ ดี ฝ่ า ย วิ จั ย แ ล ะ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษ า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวว่าสืบเนื่องมา จากอุตสาหกรรมยางพาราเป็นอุตสาหกรรมที่มีความ สำ � คั ญ และมี ก ารแข่ ง ขั น กั น ในระดั บ โลก ดั ง นั้ น ผู้ประกอบการชาวไทยจึงจำ�เป็นที่จะต้องพัฒนาใน

2:

PSU

สาร ม.อ.

ทุ ก ๆ ด้ า น เพื่ อ ให้ รู้ เ ท่ า ทั น คู่ แข่ ง และสามารถปรั บ ตั ว เพื่ อ ให้ อยู่ภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมนี้ในอนาคต บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำ �กัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัย สงขลานคริ น ทร์ จึ ง เห็ น พ้ อ งต้ อ งกั น ถึ ง ความจำ � เป็ น ในการ สนับสนุนการศึกษา สถานที่ฝึกงานของนักศึกษา การปฏิบัติงาน สหกิจศึกษาและการทำ�วิจยั ในระดับบัณฑิตศึกษา โดยมุง่ เน้นงาน วิจยั และพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราและอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ตัง้ แต่ ระดับต้นน้ำ�ถึงระดับปลายน้ำ� ส่วนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นสถาบันการศึกษาหลักในการสร้างบุคลากร งานวิจัยด้าน ยางพารา และงานวิจัยด้านอื่นที่เกี่ยวข้องเช่นกัน รองศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ผูอ้ �ำ นวยการ สำ�นักวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวและเน้น ว่า จุดมุ่งหมายในการลงนามตามบันทึกข้อตกลงร่วมกันมีอยู่ 2 โครงการด้วยกัน กล่าวคือ โครงการสร้างบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมยางพารา และโครงการ สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราและอุตสาหกรรมเกษตรอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีกรอบระยะเวลาความร่วมมือ 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2555 - 2560 ทั้งนี้มีแนวทางในการให้ความร่วมมือ ดังนี้ ในด้านโครงการสร้างบุคลากรเข้าสู่ อุตสาหกรรมยางพารา แบ่งออกเป็น 2 โครงการย่อย ได้แก่ 1. การให้ทนุ การศึกษากับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในระดับปริญญาตรี จำ�นวนปีละ 3 ทุน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (วัสดุศาสตร์) วิทยาการจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เทคโนโลยียาง) หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การสนับสนุนค่าธรรมเนียมในการศึกษาและค่าใช้จา่ ยอีกเดือนละ 4,500 บาท เป็นระยะเวลา 4 ปี โดยมีเงื่อนไขว่า หลังจากจบการศึกษาแล้วนักศึกษาผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาจะต้องทำ�งาน ให้กับโรงงานในเครือของบริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำ�กัด (มหาชน) เป็นเวลาไม่ต่ำ�กว่า 2 ปี โครงการนีจ้ ะเริม่ ให้ทนุ การศึกษากับนักศึกษาชัน้ ปีท่ี 1 ทีเ่ ข้าเรียนในปีการศึกษา 2555 2557 2. การสนับสนุนสถานทีฝ่ กึ งานสำ�หรับนักศึกษา การปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษา และการ ทำ�วิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา โดยการจัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และประสบการณ์ เป็นพี่เลี้ยง ตลอดระยะเวลาในการปฏิบัติงานภายในโรงงานในเครือของบริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำ�กัด (มหาชน) นอกจากนี้ยังมีโครงการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราและ อุตสาหกรรมเกษตรอื่นที่เกี่ยวข้องกับ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำ�กัด (มหาชน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ�ถึงระดับปลายน้ำ�ดังที่กล่าวข้างต้น

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555


ม.อ.

ส า ร ม ห า วิ ท ย า ลั ย ส ง ข ล า น ค ริ น ท ร์

สาร

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

www.psu.ac.th

ม ห า วิ ท ย า ลั ย ส ง ข ล า น ค ริ น ท ร์

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือน เมษายน - พฤษภาคม 2555

เป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์ภารกิจของมหาวิทยาลัยให้กับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สื​ื่อสร้างความเข้าใจที่จะทำ�ให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวรู้จัก มหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น และจะเป็นจดหมายเหตุหรือบันทึกความทรงจำ�ภารกิจของสถาบัน

ส ารบั ญ ร อ บ รั้ ว ศ รี ต รั ง ม.อ.ภูเก็ต จัดพิธีประดิษฐานพระรูป สมเด็จพระบรมราชชนก 24 เมษายน 2555............................................................................... 24-25

เ รื่ อ ง เ ล่ า อ ธิ ก า ร บ ดี เรื่องเล่าสุดท้าย : มงคล 6 ประการ ของความเป็น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.................................................................. 4-5

ร า ง วั ล แ ห่ ง คุ ณ ภ า พ นักเรียน สาธิต ม.อ. ได้รับรางวัล การจัดงาน “SCiUS Forum 2nd” ที่เชียงใหม่.................................................................................................... 13 ผลการจัดอันดับ “มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-university” ม.อ. อยู่ในอันดับ TopTen ทั้งในประเทศไทยและใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อเนื่องมาตลอด 6 ปี.................................... 20 ทีมปันตัย ฟาฎอนีย์ คณะวิทยาการสื่อสาร ได้รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 การประกวดแผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาสู่อาเซียน......... 21 วิศวะ ม.อ. ชนะเลิศการแข่งขันโครงการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ แห่งประเทศไทย 2012 (RDC 2012) สนามภาคใต้........................ 26-27 อาจารย์คณะสถาปัตย์ ม.อ.ตรัง รับรางวัลออกแบบ “F-L-U-D” อยู่-กับ-นํ้า............................................................................ 35

สู่ สั ง ค ม / ชุ ม ช น คณะวิทย์ ม.อ. จับมือภาคอุตสาหกรรม ลงนาม MOU พัฒนา เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ ประเดิมส่งชุดตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ ราคาประหยัด........................................................................................... 6-7 วิทยาเขตตรัง วิทยาเขตน้องใหม่ ม.อ. กับเส้นทางของการพัฒนา คุณภาพวิชาการเพื่อชุมชน.................................................................. 10-12 ส่องแว่นขยาย : บทบาทนักศึกษากับการพัฒนาชุมชน วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี................................................................ 30-31 ม.อ. สุราษฎร์ฯ ร่วมเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในชนบท...... 34

กี ฬ า ศิ ล ป ะ แ ล ะ วั ฒ น ธ ร ร ม ทัพนักกีฬา ม.อ. ตบเท้าแข่งขัน “วลัยลักษณ์ เกมส์” เชื่อมสัมพันธ์ บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ...................................................... 9 สงขลานครินทร์เกมส์ ก้าวสำ�คัญของกีฬามหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย.................................................................................. 15-18 ตัวแทนสถาบันที่ร่วม “สงขลานครินทร์เกมส์” ร่วมปลูกต้นไม้ ถวายแม่ของแผ่นดิน................................................................................... 19 นักกีฬาฟุตซอลกว่าสองร้อยทีม ร่วมการแข่งขันฟุตซอลสมานฉันท์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี......................................................................................... 22

วิ จั ย เท้าเทียม ขยับได้เหมือนธรรมชาติ ผลงานวิศวะ ม.อ. ....................... 23 ม.อ.สุราษฎร์ฯ ศึกษาประเมินแรงลมชายฝั่งสุราษฎร์ฯ หาความคุ้มค่า ตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่เกาะพะงัน........................ 32-33

ล ง น า ม ค ว า ม ร่ ว ม มื อ ม.อ. ลงนามความร่วมมือกับบริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำ�กัด (มหาชน) สนับสนุนการศึกษา มุ่งเน้นงานวิจัยด้านยางพารา................................... 2

ก า ร ศึ ก ษ า กระทรวงการต่างประเทศ สนับสนุนงบประมาณให้ ม.อ.ปัตตานี สานต่อโครงการเครือข่ายนักศึกษาอิสลามนานาชาติ............................. 8

สู่ ค ว า ม เ ป็ น น า น า ช า ติ วิศวะ ม.อ. จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านความปลอดภัย บนท้องถนนในเอเชียและยุโรป................................................................ 14

สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม นักวิจัยคณะวิทย์แจงข้อมูลภัยธรรมชาติ เพื่อเตรียมการรับมือ... 28-29

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

:3


เรื่องเล่าอธิการบดี : รศ.ดร.บุญสม ศิริบำ�รุงสุข

เรื่องเล่าสุดท้าย : มงคล 6 ประการ ของความเป็นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มีมหาวิทยาลัยในโลกนี้หลาย มหาวิทยาลัยที่แม้อายุจะเกิน 500 ปี แล้ ว ก็ ยั ง เป็ น มหาวิ ท ยาลั ย โนเนม เพราะธรรมชาติของมหาวิทยาลัยมี ขึ้น มีหยุดนิ่ง มีลง สลับกันไป ม.อ. ของพวกเราทั้ง 5 วิทยาเขต จะไม่ เ ป็ น เช่ น นั้ น ม.อ. ของพวกเรายิ่ ง นานวันก็ยิ่งรุ่งเรือง เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ไม่ หยุด เจริญเติบโต ไม่หยุดแผ่กิ่งก้านสาขา เราจะรุ่งโรจน์และเบ่งบานด้วย มงคล 6 ประการ มงคลนี้ จ ะช่ ว ยให้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รงุ่ โรจน์อย่าง ยั่งยืนตราบนานแสนนาน

4:

PSU

สาร ม.อ.

1. มงคลจากการเทิดทูนสมเด็จ มนุ ษ ย์ เ ปนกิ จ ที่ ห นึ่ ง ลาภทรั พ ย์ แ ละ เกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรง พระบรมราชชนก

ม.อ. เราโชคดีทมี่ สี มเด็จพระบรมราช ชนกเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ เรามี พระบรมราชานุสาวรีย์ครบทั้ง 5 วิทยาเขต ม.อ. เราเจริญรอยตามเบือ้ งพระยุคลบาท ทัง้ พระราโชวาทที่ว่า “ขอให้ถือผลประโยชน์ ส่ ว นตั ว เปนที่ ส อง ประโยชน์ ข องเพื่ อ น

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555

ธรรมะแห่งอาชีพย์ไว้ให้บริสุทธิ” และทั้ง พระราชประสงค์ในกิจของมหาวิทยาลัยทีว่ า่ “เมื่อดำ�ริจะมีมหาวิทยาลัยของประเทศนี้ เองแล้ ว เราควรพิ จ ารณาว่ า กิ จ ของ มหาวิ ท ยาลั ย นั้ น มี อ ะไรบ้ า ง กิ จ ของ มหาวิทยาลัยคือ “(1) การเสาะหาวิชชา หรือเปิดโอกาสให้กุลบุตรได้เรียน ทำ�การ เสาะหาวิชชา เลี้ยงดูทำ�นุบำ�รุงนักปราชญ์ ผู้สามารถเสาะหาวิชชา และใช้ผลอันนั้น มาสอนกุลบุตรได้ เปนกิจสำ�คัญที่สุด ของ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเปนสมองต้น ความคิด ของชาติ เปนสถานเลี้ยง “คน ดี” ของชาติ” เมื่อเรายึดมั่นใน (1) องค์ สมเด็จพระบรมราชชนก (2) พระราโชวาท “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” (3) ดำ � เนิ น กิ จ ของมหาวิ ท ยาลั ย ตาม พระราชประสงค์ของพระองค์ ท่ า น ก็ จ ะ บั ง เกิ ด ความมี คุ ณ ค่ า สู ง สุ ด ของการดำ � รง สถานะความเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย นำ � มาซึ่ ง


ม.อ. เราจะสร้างเยาวชน เกียรติยศ ความศรัทธา และความเจริญ ให้ ช าติ ด้ ว ยจิ ต วิ ญ ญาณของ งอกงามให้แก่ ม.อ. ความเป็นครู 2. มงคลจากการมีความรู้ มหาวิทยาลัยต้องมีความรู้ จึงจะเป็น 4. มงคลจากการมี มหาวิทยาลัยทีแ่ ท้จริง ความรูเ้ กิดได้ดว้ ยการ ระบบนิ เ วศที่ เ หมาะแก่ ก าร เสาะหาวิชชา นักปราชญ์เกิดได้ด้วยการได้ ฟูมฟักเยาวชน รับการทำ�นุบ�ำ รุง ม.อ. เป็นมหาวิทยาลัยวิจยั มหาวิ ท ยาลั ย สงขลา เมื่อวิจัยมีความรู้ ผู้คนเป็นปราชญ์ แล้วนำ� นคริ น ทร์ ทั้ ง 5 วิ ท ยาเขต จะ ความรู้ของปราชญ์สู่การเรียนการสอน ให้ ค่อยๆ พัฒนาเข้าสู่การมีระบบ คนรุ่นใหม่มีสติปัญญาที่แหลมคม ทันสังคม นิเวศ 5 ระบบคือ (1) ระบบนิเวศ ทันโลก ทันความก้าวหน้าทางวิชาการ เป็น ทางจิ ต วิ ญ ญาณ – Spiritual ทรั พ ยากรบุ ค คลที่ มี ค่ า ต่ อ สั ง คมไทยและ Ecosystem (2) ระบบนิเวศทาง สังคมโลก ปั ญ ญาและทางการเรี ย นรู้ - PSU 3. มงคลจากการมีจติ วิญญาณ Intellectual and Learning Ecosystem (3) ระบบนิเวศของการออกกำ�ลังกาย - PSU ของความเป็นครู ถ้าคนจากรุ่นสู่รุ่นไม่ส่งต่อมรดกทาง is a sport heaven (4) ระบบนิเวศของสวน ความรู้ มรดกทางทรัพยากรธรรมชาติ มรดก สวรรค์และดอกไม้หลากสี และ (5) ระบบ ทางวัฒนธรรมมาสู่คนรุ่นปัจจุบัน คนรุ่น นิเวศของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ปัจจุบันก็จะพัฒนาต่อไปได้ยาก โชคดีที่ PSU Multicultural Ecosystem ระบบ บรรพบุรุษของมนุษยชาติส่งต่อมรดกไว้ให้ นิเวศ 5 ระบบนี้ จะเสริม ม.อ. ให้เป็น คนรุ่นปัจจุบัน และโชคดีที่วันนี้คนรุ่นนี้เริ่ม สถานทีใ่ นอุดมคติส�ำ หรับการบ่มเพาะคนดี ตระหนักมากขึ้น และพูดถึงการพัฒนาที่ ของชาติ ยัง่ ยืนแล้ว สังคมมนุษย์จะยังดำ�รงไว้ซงึ่ ความ 5. มงคลจากการธำ�รงไว้ซึ่ง น่าอยู่ ฝรั่งเขาใช้ประโยคที่ว่า Let’s help คุณภาพ every life livable on this planet. วันนีป้ ระเทศไทยมีมหาวิทยาลัยกว่า เพราะเราเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ที่ 200 แห่ ง จะมี สั ก กี่ แ ห่ ง ที่ มั่ น คงอยู่ กั บ ถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชน คุณภาพ ไม่สั่นคลอนไปตามกระแสของการ ในมหาวิทยาลัย การถ่ายทอดมรดก หารายได้ ไม่สั่นคลอนไปตามความกดดัน ความรู้สึกซึ่งความผูกพันเป็นเรื่องที่สำ�คัญ ด้านงบประมาณ มหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ มาก ความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ ความ จึงกลายเป็นของหายาก ยิ่งนานวันก็ยิ่งเป็น ผูกพันระหว่างหมอ-พยาบาลกับคนไข้ เป็น ของหายาก ม.อ. มุ่งมั่นที่เป็นมหาวิทยาลัย ความผูกพันที่ลึกซึ้งเกินกว่าที่จะมาใช้คำ�ว่า แห่งคุณภาพทั้งด้านการวิจัย การเรียนการ ผูใ้ ห้บริการและผูร้ บั บริการ เพราะเป็นความ สอน การบริ ก ารสั ง คม การทำ � นุ บำ � รุ ง ผูกพันที่มีพื้นฐานของความรัก ความเมตตา วัฒนธรรมให้สังคมเข้มแข็ง ความมุ่งมั่นใน ความปรารถนาดี คุณภาพของ ม.อ. จะได้รับการตอบแทน ครู เ ป็ น อาชี พ สร้ า งคน ไม่ ใ ช่ ใ ห้ กลับมาในรูปของความภาคภูมิใจ ความ ความรูแ้ ก่คนเพียงอย่างเดียว เราสร้างเขาให้ อิ่มเอิบใจ ซึ่งเป็นความสุขที่ไม่รู้เลือนของ เข้มแข็ง ทั้งกาย สติปัญญา และจิตใจ ชาวสงขลานครินทร์

6. มงคลจากความสามัคคี

ความสามัคคีคือความมั่นคงที่แท้ จริ ง ของการดำ � รงอยู่ ข องมหาวิ ท ยาลั ย สงขลานครินทร์ในระบบหลายวิทยาเขต และดูวา่ น่าจะเป็นสิง่ ทีน่ า่ หวงแหนเป็นทีส่ ดุ ความสามัคคีจะช่วยให้เกิดความแกร่งของ PSU System ทำ�ให้เกิด SOLIDARITY ความ สามัคคีเกิดได้ด้วยใจที่มีให้กันและกัน ความ สามั ค คี ดำ � รงอยู่ ไ ด้ ด้ ว ยการช่ ว ยกั น ทะนุ ถนอมซึ่งกันและกัน มงคลทั้ง 6 ประการนี้ จะเสมือน แก้ว 6 ชั้นที่คอยคุ้มครองมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ให้เจิดจรัส ส่องประกาย อยู่ตลอดเวลา พวกเราชาวสงขลานครินทร์ขอแสดง ความยินดีกบั รศ.ดร.ชูศกั ดิ์ ลิม่ สกุล นะครับ เมือ่ วันที่ 17 มีนาคม 2555 สภามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์มีมติเห็นชอบให้ รศ.ดร. ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล ดำ�รงตำ�แหน่งอธิการบดีคน ต่อไป เริ่มปฏิบัติภารกิจวันที่ 1 มิถุนายน 2555 ครับ และผมถือโอกาสนี้ร่ำ�ลาประชาคม ชาว ม.อ. นะครับ ผมและทีมขอขอบคุณชาว ม.อ. ทุกท่านทีร่ ว่ มกันเดินทางมาตลอดระยะ เวลา 6 ปี ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน ครับ PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

:5


สู่สังคม/ชุมชน

คณะวิทย์ ม.อ. จับมือภาคอุตสาหกรรม ลงนาม MOU พัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์

ประเดิมส่งชุดตรวจวัดฟอร์มาลดี ไฮด์ราคาประหยัด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ บริษัท โมบิลิส ออโตมาต้า จำ�กัด ลงนามความร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2555 ก้าวสำ�คัญ ของการส่งเสริมผลงานวิจัยออกสู่ตลาดอุตสาหกรรม เริ่มจากการ พัฒนารูปแบบและการตลาดชุดตรวจวัดฟอร์มาลดี ไฮด์ราคาประหยัด ผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดีเด่นประจำ�ปี 2555 สร้างสรรค์ โดยทีม นักวิจยั คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เจ้าของรางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำ�ปี 2554

รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาส

ศตสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์ เปิดเผยว่าคณะวิทยาศาสตร์ มี ค วามต้ อ งการจะสร้ า งผลงานวิ จั ย ที่ เ ป็ น ประโยชน์และเข้าถึงชุมชนได้อย่างแท้จริง ซึง่

6:

PSU

สาร ม.อ.

กล่าวได้รบั รางวัลผลงานประดิษฐ์คดิ ค้นระดับ ดีเด่นประจำ�ปี 2555 จากสภาวิจัยแห่งชาติ การได้ รั บ ความร่ ว มมื อ และการ สนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมในครั้งนี้ ช่วย ให้ ผ ลงานวิ จั ย ของคณะวิ ท ยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่มีอยู่จำ�นวน มาก ได้ รั บ การพั ฒ นาสานต่ อ ออกสู่ ภ าค อุตสาหกรรมให้สามารถนำ�ไปใช้งานได้จริง ลดการนำ�เข้าสินค้าจากต่างประเทศซึง่ มีราคา แพง สามารถพัฒนาความเจริญสู่ประเทศได้ อย่างยั่งยืน

นอกจากองค์ความรูท้ คี่ ณะมีอยูจ่ �ำ นวนมาก แล้ว ยังต้องอาศัยแนวความคิดทางการ ตลาด เพือ่ นำ�องค์ความรูเ้ หล่านัน้ ออกสูภ่ าค อุตสาหกรรม เกิดการใช้งานได้อย่างเป็น รูปธรรม เป็นที่มาของการลงนามความ ร่วมมือเพือ่ พัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และ นวัตกรรมกับบริษัท โมบิลิส ออโตมาต้า จำ � กั ด โดยมี น ายอภิ นั น ท์ ศรี ส มานุ วั ต ร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ลง นามเป็นพยาน ซึ่งนอกจากการลงนามเพื่อ พัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม ของคณะในภาพรวมแล้ว ยังได้ลงนามข้อ ตกลงความร่วมมือ การสร้างสรรค์ผลงาน รองศาสตราจารย์ ดร.เพริศพิชญ์ วิจัยชุดตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ สู่สินค้าเชิง คณาธารณา ผู้อำ�นวยการสถานวิจัยการ พ า ณิ ช ย์ ผ ล ง า น จ า ก นั ก วิ จั ย ค ณ ะ วิเคราะห์สารปริมาณน้อยและไบโอเซนเซอร์ วิ ท ยาศาสตร์ นำ � โดยรองศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ดร.เพริศพิชญ์ คณาธารณา ซึง่ ผลงานชิน้ ดัง สงขลานครินทร์ หัวหน้าทีมวิจยั ผูไ้ ด้รบั รางวัล

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555


นั ก วิ จั ย ดี เ ด่ น ประจำ � ปี 2554 สาขา วิทยาศาสตร์ เคมี และเภสัช จากสำ�นักงาน คณะกรรมการวิ จั ย แห่ ง ชาติ กล่ า วว่ า ประเด็นหนึง่ ทีส่ ถานวิจยั มุง่ เน้นวิจยั มาโดย ตลอดคือเรื่องเกี่ยวกับสารระเหยอินทรีย์ ซึ่ ง มี ห ลายชนิ ด ที่ มี พิ ษ หนึ่ ง ในนั้ น คื อ ฟอร์มาลดีไฮด์หรือที่รู้จักกันในชื่อฟอร์มาลีน จัดเป็นไอระเหยที่ก่อ ให้เกิดมะเร็ง มีใช้มากในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเครื่องตรวจวัดสาร ระเหยดังกล่าวที่มีจำ�หน่ายตามท้องตลาดมีราคาสูงมาก ทำ�ให้ โรงงานอุตสาหกรรมไม่สามารถซื้อมาใช้งานได้อย่างสม่ำ�เสมอ จึง เกิดการวิจัยคิดค้นชุดตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ราคาประหยัดขึ้น ที่ สามารถลดค่าใช้จา่ ยในการตรวจวัด ลดระยะเวลาของการวิเคราะห์ ลดปริมาณการใช้ตวั ทำ�ละลายอินทรีย์ และสามารถใช้เป็นเซนเซอร์ เพื่อประเมินคุณภาพอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมและอากาศ ทัว่ ไปได้ ซึง่ นอกจากชุดตรวจวัดดังกล่าวแล้ว ทีมนักวิจยั กำ�ลังคิดค้น พัฒนาชุดตรวจวัดไอระเหยชนิดอื่นๆ เช่น ชุดตรวจวัดไอระเหยที่ เกิดขึ้นขณะใช้เครื่องถ่ายเอกสาร ชุดตรวจวัดไอระเหยที่เกิดขึ้นใน ปั๊มน้ำ�มัน ชุดตรวจวัดฟอร์มาลีนในน้ำ�ชำ�ระล้างสัตว์ทะเลที่นำ�มา รับประทานเป็นต้น ด้าน ดร.กฤษณ์ จงสฤษดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท โมบิลิส ออโตมาต้า จำ�กัด กล่าวว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มี องค์ความรู้อยู่จำ�นวนมาก เป็นศูนย์กลางความรู้และเทคโนโลยี สามารถให้ค�ำ ปรึกษาและช่วยพัฒนาเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม ได้ ดี ม าก อี ก ทั้ ง บั ณ ฑิ ต ที่ จ บการศึ ก ษาจากมหาวิ ท ยาลั ย สงขลานครินทร์ยังกระจายตัวอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ในฐานะตัวแทนภาคอุตสาหกรรมรู้สึกยินดียิ่งที่ได้ร่วมมือกับทาง มหาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ ช่ ว ยกั น พั ฒ นาให้ ภ าคใต้ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลางทาง เศรษฐกิจที่สำ�คัญของประเทศ ขณะที่ นายอภิ นั น ท์ ศรี ส มานุ วั ต ร ประธานสภา อุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา กล่าวว่าการขับเคลื่อนภาคประชาชน

จะดำ�เนินไปได้ดว้ ยดีกต็ อ่ เมือ่ ได้รบั ความร่วมมืออย่างใกล้ชดิ จาก ทัง้ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีพนื้ ฐานความรูแ้ ละแผนใน การพัฒนาทีด่ ี โดยเฉพาะองค์ความรูจ้ ากงานวิจยั ซึง่ เป็นสิง่ สำ�คัญ อย่างมากในการพัฒนาทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภาคและใน ระดั บ ประเทศ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ มี วิ ท ยาเขตที่ ครอบคลุมทั้งภาคใต้ฝั่งอันดามัน ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งชายแดน จึง มีความสำ�คัญอย่างยิ่งในการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ อีกประเด็นหนึ่ง ทีส่ �ำ คัญคือการทีป่ ระเทศไทยกำ�ลังจะก้าวเข้าสูป่ ระชาคมอาเซียน ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งมีแนวโน้มว่านักวิจัยไทยหลายท่านจะ ถู ก ทาบทามจากหน่ ว ยงานต่ า งประเทศ การสนั บ สนุ น ด้ า น งบประมาณและการสนับสนุนด้านต่างๆ ของการทำ�วิจัยเพื่อ ส่งเสริมให้นักวิจัยของไทยซึ่งมีคุณภาพ สามารถพัฒนางานวิจัย ได้อย่างคล่องตัว จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

:7


การศึกษา

กระทรวงการต่างประเทศ สนับสนุนงบประมาณให้ ม.อ.ปัตตานี สานต่อ

โครงการเครือข่าย นักศึกษาอิสลามนานาชาติ กระทรวงการต่างประเทศ สนับสนุน งบประมาณแก่ วิ ท ยาลั ย อิ ส ลามศึ ก ษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี ในการดำ�เนินโครงการเครือข่าย นักศึกษาอิสลามนานาชาติ (International Islamic Studies-Networking - IISN) เพื่ อ พั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาสำ � หรั บ เยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นับ เป็นโครงการที่หน่วยงานของรัฐและเอกชน ต้ อ งร่ ว มกั น พั ฒ นาเพราะเป็ น แนวทาง ที่ ส ามารถปรั บ เปลี่ ย นกระบวนทั ศ น์ ข อง เยาวชนให้ ส ามารถอยู่ ร่ ว มกั น ในสั ง คม พหุวัฒนธรรมได้อย่างสร้างสรรค์ ดร.ยูโซะ

ตาและ ผู้อำ�นวยการ

วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลา นคริ น ทร์ วิ ท ยาเขตปั ต ตานี กล่ า วว่ า วิทยาลัยอิสลามศึกษา ได้ดำ�เนินโครงการ เครื อ ข่ า ยนั ก ศึ ก ษาอิ ส ลามนานาชาติ ต่ อ เนื่ อ งมาตั้ ง แต่ ปี ง บประมาณ 2551

8:

PSU

สาร ม.อ.

โดยคั ด เลื อ กนั ก ศึ ก ษาจากวิ ท ยาลั ย อิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิ ท ย า เข ต ปั ต ต า นี ใ ห้ ไ ป ศึ ก ษ า ใ น มหาวิทยาลัยในต่างประเทศเป็นเวลา 2 ภาคการศึกษา หรือ 1 ปี อาทิ มหาวิทยาลัย บอลสเตท ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า มหาวิทยาลัยอัลไบต์ ประเทศจอร์แดน มหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย (International Islamic University Malaysia) และมหาวิ ท ยาลั ย มาลายา (University of Malaya) ประเทศมาเลเซีย มหาวิทยาลัยอิสลาม ประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น ในปีงบประมาณ 2552 วิทยาลัย อิ ส ลามศึ ก ษา ได้ รั บ การสนั บ สนุ น งบประมาณจากกระทรวงการต่างประเทศ เป็ น เงิ น 15,011,630 บาท และขอ การสนั บ สนุ น จากมหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นครินทร์ เป็นเงิน 1,071,200 บาท โดย

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555

วิทยาลัยอิสลามศึกษา ได้ทำ�การคัดเลือก นักศึกษาจำ�นวน 36 คน และได้สง่ นักศึกษา ไปศึกษาต่อในสถาบันต่างประเทศที่กล่าว มาแล้วข้างต้นเป็นเวลา 1 ปี หรือ 2 ภาค การศึกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำ � หรั บ ปี ง บประมาณ 2553 วิทยาลัยอิสลามศึกษาได้เสนอโครงการ เครื อ ข่ า ยนั ก ศึ ก ษาอิ ส ลามนานาชาติ (International Islamic StudiesNetworking IISN) ซึ่ ง เป็ น โครงการ ต่ อ เนื่ อ งและได้ รั บ การสนั บ สนุ น จาก กระทรวงการต่างประเทศเป็นจำ�นวนเงิน 5,000,000 บาท โดยวิทยาลัยอิสลาม ศึ ก ษาได้ คั ด เลื อ กนั ก ศึ ก ษาจำ � นวน 18 คน ไปศึกษายังมหาวิทยาลัยบอลสเตท ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า มหาวิ ท ยาลั ย อั ล ไบต์ มหาวิ ท ยาลั ย ยามู ค ประเทศ จอร์แดน มหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ มาเลเซี ย และมหาวิ ท ยาลั ย มาลายา ประเทศมาเลเซีย มหาวิทยาลัยอิสลาม เมืองจาการ์ตา มหาวิทยาลัยอิสลามเมือง ริเยา ประเทศอินโดนีเซีย และมหาวิทยาลัย หนิงเซียะ สาธารณรัฐประชาชนจีน


กีฬา ศิลปะ และวัฒนธรรม

ทัพนักกีฬา ม.อ. ตบเท้าแข่งขัน

“วลัยลักษณ์ เกมส์”

เชื่อมสัมพันธ์บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ บุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กว่า 200 ชีวิต เดินทาง เข้าร่วมแข่งขันกีฬาบุคลากรสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครัง้ ที่ 31 “วลัยลักษณ์ เกมส์” ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัด นครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 18-25 เมษายน 2555 หวังใช้โอกาสนี้ สานสัมพันธ์และสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับบุคลากรจากสถาบัน อุดมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งในครั้งนี้มีการจัดแข่งขันจำ�นวน 17 ชนิดกีฬา และมีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมแข่งขันทัง้ สิน้ จำ�นวน 45 สถาบัน ผูช้ ว่ ย ศาสตราจารย์ชูชาติ ผลบัณฑิต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการ นักศึกษาและกีฬา ในฐานะประธานคณะกรรมการดำ�เนินการฝ่ายเทคนิค กีฬา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยในโอกาสเดินทางมาร่วม พิธีเปิดการแข่งขันเมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมาว่า มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ได้สง่ บุคลากรเข้าร่วมการแข่งขันในครัง้ นีจ้ ำ�นวน 220 คน เข้าร่วมแข่งขันกีฬาจำ�นวน 16 ชนิดกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล เซปักตะกร้อ ตะกร้อลอดห่วง แอโรบิค เปตอง ลีลาศ เทเบิลเทนนิส โบว์ลิ่ง เทนนิส กรีฑา วอลเลย์บอล แบดมินตัน กอล์ฟ สนุกเกอร์-บิลเลียด หมากกระดาน และว่ายน้ำ� ซึง่ ทีผ่ า่ นมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เล็งเห็นความสำ�คัญ ของการส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาบุคลากรฯ มาโดย ตลอด โดยส่งตัวแทนบุคลากรเข้าร่วมแข่งขันเป็นประจำ�ทุกปี และได้มี โอกาสเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันกีฬาบุคลากรฯ มาแล้วจำ�นวน 4 ครัง้ โดยจัดขึ้นที่วิทยาเขตหาดใหญ่ 3 ครั้ง และที่วิทยาเขตปัตตานี 1 ครั้ง ซึ่ง หากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน

กีฬาบุคลากรฯ ในโอกาสต่อไป คาดว่าความพร้อมในการจัดเตรียมการ แข่งขันจะมีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้มีศูนย์กีฬา มาตรฐานระดับสากลหรือ PSU Sport Complex ซึ่งจะมีการประเดิม สนามด้วยการแข่งขันกีฬา “สงขลานครินทร์ เกมส์” ที่ได้ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1-8 พฤษภาคม 2555 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำ�หรับความ พร้อมของนักกีฬาในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาบุคลากรสำ �นักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ 31 “วลัยลักษณ์ เกมส์” ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในครั้งนี้ นักกีฬาจากมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ในแต่ละชนิดกีฬาได้เตรียมการฝึกซ้อมกันอย่างหนัก รวมทั้ง คณะกรรมการดำ�เนินงานในแต่ละฝ่ายของมหาวิทยาลัยก็ได้มีการจัด เตรียมงานกันอย่างเต็มที่ แต่อย่างไรก็ตามเหรียญรางวัลนัน้ ไม่ใช่เป้าหมาย หลักของการเดินทางมาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาสามัคคีไมตรีจิตในครั้งนี้ แต่สิ่งสำ�คัญคือการที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสพบปะ สร้าง ความสั ม พั น ธ์ อั น ดี ร ะหว่ า งกั น กั บ บุ ค ลากรจากสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ทัว่ ประเทศ รวมทัง้ เป็นการรณรงค์สง่ เสริมให้บคุ ลากรได้มสี ขุ ภาพร่างกาย ที่สมบูรณ์แข็งแรงด้วยการเล่นกีฬา เพื่อศักยภาพในการปฏิบัติงานและ การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน สำ � หรั บ ผลจากการเข้ า ร่ ว มการแข่ ง ขั น “วลั ย ลั ก ษณ์ เกมส์ ” ดังกล่าว ทัพนักกีฬาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คว้าเหรียญเป็นลำ�ดับที่ 4 จาก 45 สถาบัน ด้วย 23 เหรียญทอง 30 เหรียญเงิน และ 38 เหรียญทองแดง รวมทั้งสิ้น 91 เหรียญ

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

:9


สู่สังคม/ชุมชน

วิทยาเขตตรัง วิทยาเขตน้องใหม่ ม.อ. กับเส้นทางของการพัฒนาคุณภาพวิชาการเพื่อชุมชน

รองฯ วิ ท ยาเขตตรั ง เผย เส้ น ทางสู่ ค วามเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย คุ ณ ภาพเพื่ อ สนองชุ ม ชน จาก วิทยาเขตสารสนเทศของ ม.อ. สู่ การเปิดสาขาเพื่อรองรับการรวมตัว ของประชาคมอาเซียน

รองศาสตราจารย์ ดร.ปิ ติ ทฤษฎิคุณ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง กล่าวถึง พัฒนาการของวิทยาเขตตรัง ซึ่งในระยะ

10 :

PSU

สาร ม.อ.

เวลาหลายปีที่ผ่านมา มีการเปิดสาขาวิชาใหม่ และการก่อสร้างอาคารสถานที่เพื่อ รองรับการเติบโตของวิทยาเขตตรังในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมา หากจะนับเวลาจากที่มีการ ขยายเขตการศึกษาของมหาวิทยาลัยไปที่จังหวัดตรังแล้วนับเป็นปีที่ 21 โดยเป็นการ เปิดตามคำ�เรียกร้องของชุมชนในพื้นที่ โดยมี ฯพณฯ ชวน หลีกภัย กรรมการสภา มหาวิทยาลัยในขณะนั้น มีส่วนช่วยสนับสนุน ในระยะเริม่ ต้นของวิทยาเขตตรัง เป็นระยะเวลาทีม่ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังเป็นมหาวิทยาลัยใหม่และยังไม่มีความเข้มแข็ง จึงมีผลให้วิทยาเขตตรังไม่ได้พัฒนา เท่าทีค่ วร จนกระทัง่ ปี 2534 ได้มกี ารนำ�หลักสูตรคอมพิวเตอร์ธรุ กิจของคณะวิทยาการ จัดการไปเปิดสอน โดยใช้สถานที่โรงเรียนเทศบาลวัดมัชฌิมภูมิ อำ�เภอเมือง จังหวัด ตรัง เป็นสำ�นักงานชั่วคราว โดยนักศึกษาจะเรียนที่วิทยาเขตตรัง 2 ปี และเรียนที่ วิทยาเขตหาดใหญ่ 2 ปี ซึง่ ถือเป็นจุดเริม่ ต้นของความก้าวหน้าด้านการศึกษาวิทยาเขต ตรัง หลังจากนั้น ในปี 2538 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศขึ้น ทั่วประเทศ วิทยาเขตตรังจึงกลายเป็นวิทยาเขตสารสนเทศของมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้มีการผสมผสานกันระหว่างการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศกับการสอน โดยได้สมั ผัสกับผูส้ อนจริง เพือ่ ให้เกิดความสัมพันธ์กนั ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียนมากขึ้น ปี 2542 มีการย้ายวิทยาเขตตรังไปยังที่ตั้งใหม่ที่ตำ�บลควนปริงซึ่งเป็นพื้นที่ ปัจจุบัน ในพื้นที่ 680 ไร่ ซึ่งชุมชนมอบให้แก่มหาวิทยาลัยโดยไม่คิดมูลค่า เป็นการ แสดงถึงความจริงใจของภาครัฐและเอกชนทีต่ อ้ งการให้มมี หาวิทยาลัยเกิดขึน้ ในจังหวัด ปี 2546 มีการจัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการขึ้นเป็นคณะแรก มีการพัฒนา เรื่อยมาจนมีการเปิดหลักสูตรการสอน 9 หลักสูตรในปีการศึกษา 2554 และในปีการ

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555


รศ.ดร.ปิติ ทฤษฎิคุณ ศึกษา 2555 จะเพิ่มขึ้นอีก 2 หลักสูตร คือหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ ธุรกิจ วิทยาเขตตรังภายใต้ความร่วมมือใน ระบบ PSU System ในระยะเริ่ ม ต้ น ของการเปิ ด การ เรียนการสอน วิทยาเขตตรังได้รับความ ร่ ว มมื อ จากวิ ท ยาเขตหาดใหญ่ แ ละ วิทยาเขตปัตตานีในด้านคณาจารย์ ซึง่ เป็น ปัจจัยสำ�คัญในการเปิดมหาวิทยาลัยและ การเป็นพี่เลี้ยงด้านวิชาการ โดยเฉพาะ คณะวิ ท ยาการจั ด การ ซึ่งมีสาขาวิชาที่ ใกล้เคียงกับสาขาทีว่ ทิ ยาเขตตรังมากทีส่ ดุ รวมทั้ ง คณะวิ ท ยาศาสตร์ คณะศึ ก ษา ศาสตร์ ในขณะที่ ปั จ จุ บั น กำ � ลั ง มี ก ระแส เรี ย กร้ อ งให้ เ กิ ด มหาวิ ท ยาลั ย ขึ้ น ในทุ ก จังหวัด และส่วนใหญ่มกั ต้องการให้มคี ณะ วิชาทีช่ มุ ชนต้องการ เช่น คณะแพทยศาสตร์ เภสั ช ศาสตร์ ทั น ตแพทยศาสตร์ หรื อ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น แต่การตอบสนอง ตามความต้องการของชุมชนในลักษณะ เช่นนี้คงยาก เพราะมีการลงทุนที่สูงมาก ประกอบกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีสาขาวิชาดังกล่าวเปิดสอนที่วิทยาเขต หาดใหญ่ซึ่งเป็นจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน

“สถาปัตยกรรมศาสตร์” คณะใหม่ใน วิทยาเขตตรัง การเปิ ด การเรี ย นการสอนที่ วิทยาเขตตรังระยะแรก มหาวิทยาลัยมี นโยบายจะเปิดสาขาที่ตอบสนองด้านการ บริการในสังคมโลกาภิวัตน์ เช่น ด้านบัญชี บริหารธุรกิจ การตลาด การประกันภัย ซึ่ง ภายหลังสภามหาวิทยาลัยได้มีนโยบายให้ เปิดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทีว่ ทิ ยาเขต ตรัง ซึง่ แม้จะเป็นวิทยาเขตเล็กแต่สามารถ ใช้ ท รั พ ยากรร่ ว มกั บ วิ ท ยาเขตอื่ น ของ มหาวิทยาลัยได้ ประกอบกับเป็นสาขาที่ สนองความต้ อ งการของโลกในยุ ค ไร้ พรมแดน และเป็นการสร้างคณะสถาปัตย์ ที่ มี เ อกลั ก ษณ์ เ ฉพาะเพื่ อ สนองความ ต้องการของชุมชนด้วย นอกจากนั้นยังได้ รั บ ความร่ ว มมื อ ช่ ว ยเหลื อ จากอาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คือ รองศาสตราจารย์ ไตรรัตน์ จารุทศั น์ ซึง่ เป็นชาวจังหวัดตรัง มาช่วยทำ�โครงการ จากการสำ�รวจวิจัยความต้องการ ทั้งวิชาชีพ นักศึกษา พบว่า ในภาคใต้มี หน่วยการอนุญาตการจัดสรรที่ดิน ซึ่งเป็น เกณฑ์ในการวัดการเติบโตของการก่อสร้าง ประมาณร้อยละ 3.5 ในขณะที่กรุงเทพฯ มีร้อยละ 73 ภาคกลางร้อยละ 13.1 ภาค

ตะวันออกร้อยละ 5.6 ภาคเหนือร้อยละ 3.1 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 1.8 ในขณะที่จำ�นวนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำ�นวน 17 คณะ ภาค เหนือ มี 3 คณะ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 5 คณะ แต่ภาคใต้มีเพียง 2 คณะ การ เปิดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ขึ้นอีกใน ภาคใต้จึงเป็นสิ่งที่มีเหตุผลสมควร โดยจะ มีการเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2555 เป็นรุ่นแรก ความพร้อมเรื่องคุณภาพทางวิชาการ ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากประสบการณ์ในการสร้างคณะ ใหม่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า ปั จ จั ย สำ � คั ญ ที่ สุ ด ในการประสบความ สำ�เร็จด้านการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยคือ คณาจารย์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส�ำ คัญที่สุดและ หายากทีส่ ดุ วิทยาเขตตรังใช้เวลาประมาณ 2 ปี ในการพูดคุยชักจูงอาจารย์มาประจำ� ที่คณะ จนปัจจุบันได้มีคณาจารย์ผู้ทรง คุณวุฒิด้านนี้จำ�นวน 5 ท่าน แต่ละท่านมี ความชำ � นาญที่ ห ลากหลาย เพื่ อ ให้ ครอบคลุมสาขาทีจ่ ะเปิดสอน นอกจากนัน้ ยั ง มี ค วามพร้ อ มอย่ า งมากด้ า นอาคาร สถานที่ อุปกรณ์การเรียนการสอน และ ได้รับความสนใจจากหลายฝ่าย ทั้งนักการ PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 11


ศึ ก ษาระดั บ สู ง และกรรมการสภา มหาวิทยาลัย ในระยะแรกจะใช้ชั้น 3 ของอาคาร เรียนรวม 1 เป็นสถานที่จัดการเรียนการ สอน โดยจะมีหอ้ งเรียน ห้องปฏิบตั กิ าร ห้อง บรรยาย ห้องแสดงนิทรรศการของนักศึกษา นักศึกษาจะมีโอกาสเรียนทัง้ ภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติ สาขาวิชาใหม่อื่นๆ ก่อนปี 2554 ได้มีการนำ�หลักสูตร ศิลปะการแสดงของคณะศิลปกรรมศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานีมาเปิดทีว่ ทิ ยาเขตตรัง แต่ นักศึกษาที่มีพื้นความรู้ทางด้านศิลปะการ แสดงในภาคใต้มักเรียนระดับมัธยมศึกษา อยูใ่ นโรงเรียนนาฏศิลป์ ซึง่ สามารถเรียนต่อ ไปถึงระดับปริญญาตรีโดยไม่ต้องเปลี่ยน สถาบัน จึงทำ�ให้จำ�นวนนักเรียนที่มาเข้า ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสาขานีไ้ ม่มาก เท่าที่ควร จึงมีการปรับกลยุทธ์ใหม่ โดยมี การเสนอร่างหลักสูตรศิลปะการแสดงและ การจัดการ เพือ่ ผลิตบัณฑิตทีม่ คี วามรูค้ วาม สามารถด้านการแสดงและการจัดการแสดง และสภามหาวิทยาลัยได้ให้ความเห็นชอบ แล้ว คาดว่าจะเปิดรับนักศึกษาได้ในปีการ ศึกษา 2556 อีกหลักสูตรที่กำ�ลังมีการเจรจา คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้มีความสนใจจะ ขยายการศึกษาไปที่วิทยาเขตตรัง โดยจะ เป็นหลักสูตรที่ไม่ต้องอาศัยห้องปฏิบัติการ

12 :

PSU

สาร ม.อ.

ที่ใช้เครื่องมือที่มีความ เป็ น หนึ่ ง ในปั จ จั ย สำ � คั ญ ที่ ป ระกอบการ ยุ่งยาก เช่น เรื่องของ ตั ด สิ น ใจมาทำ � งานที่ วิ ท ยาเขตตรั ง ของ คอมพิวเตอร์ การจัดการ คณาจารย์ สิ่ ง ที่ ภ าคภู มิ ใ จคื อ การจั ด สร้ า ง ชุมชน พระราชานุสาวรียส์ มเด็จพระบรมราชชนก ความก้าวหน้าด้าน ขึ้ น ที่ วิ ท ยาเขตตรั ง เพื่ อ เป็ น ที่ เ คารพ อาคารสถานที่ ภูมทิ ศั น์ สักการะ เป็นขวัญและกำ�ลังใจให้ทุกคนใน ของวิทยาเขตตรัง วิทยาเขตตรัง รวมถึงกลายเป็นสัญลักษณ์ หลังปี 2549 มี หนึ่ ง ของวิ ท ยาเขตตรั ง เนื่ อ งจากเป็ น การสร้างเพิ่มเติมเพื่อ พระราชานุสาวรีย์ที่สวยงามเต็มรูปแบบ รองรั บ การใช้ ง านใน อนาคต เช่น ศูนย์กีฬา ซึ่งเป็นการรองรับ ทิศทางการพัฒนาและความก้าวหน้า กั บ นโยบายของ รองศาสตราจารย์ ของวิทยาเขตตรังในอนาคต ดร.บุญสม ศิริบำ�รุงสุข อธิการบดี ที่จะให้ วิ ท ยาเขตตรั ง เป็ น วิ ท ยาเขตเล็ ก วิ ท ยาเขตต่ า งๆ ของมหาวิ ท ยาลั ย สงขลา มี ข้ อ จำ � กั ด เรื่ อ งพื้ น ที่ คงมี ก ารตี ก รอบ นครินทร์เป็นสวรรค์ของการเล่นกีฬา เป็นที่ วิสยั ทัศน์ให้จ�ำ กัดอยูใ่ นเรือ่ งของสังคมศาสตร์ ออกกำ�ลังกายของนักศึกษา ศูนย์กฬี าดังกล่าว ประยุกต์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง แต่อาจมี ประกอบด้วยโรงยิมเนเซียมขนาดใหญ่ สนาม การขยายไปเปิดสาขาที่มีศักยภาพและมี กีฬา สระว่ายน้ำ�หลังคาคลุมขนาดมาตรฐาน ความพร้ อ ม โดยความช่ ว ยเหลื อ ของ โอลิมปิก สนามไดรฟ์กอล์ฟ ซึง่ กอล์ฟเป็นวิชา คณะต่างๆ ตามระบบ PSU System แต่ หนึ่งที่มีการเปิดสอนในวิทยาเขตตรัง เพราะ หากจะมีคณะเพิ่มขึ้นในอนาคตคงไม่เกิน ถือว่านักธุรกิจต้องมีความสามารถในกีฬา 3-4 คณะ สิ่งหนึ่งที่อยากให้เกิดมากที่สุด ประเภทนี้ อย่ า งไรก็ ต ามในระหว่ า งช่ ว ง คือสถาบันภาษา ซึ่งเป็นสิ่งจำ�เป็น เพราะ การเปิดประมูล ราคาวัสดุก่อสร้างมีราคาสูง ปั จ จุ บั น บั ณ ฑิ ต ต้ อ งมี ค วามรอบรู้ ภ าษา ทำ�ให้ดำ�เนินการได้ไม่เต็มรูปแบบ ทำ�ให้ต้อง ต่างๆ มากขึ้นเพื่อรองรับการรวมตัวของ แบ่งเป็นหลายเฟส โดยขณะนี้เป็นการรอ ประชาคมอาเซี ย น และควรเน้ น ความ ดำ�เนินการในเฟสที่ 2 ร่วมมือของมหาวิทยาลัยต่อชุมชน ซึ่งที่ นอกจากนั้ น ยั ง ได้ รั บ งบประมาณ ผ่ า นมาเราได้ จั ด กิ จ กรรมร่ ว มกั บ องค์ ก ร จำ�นวน 260 ล้านบาท เพื่อสร้างศูนย์ประชุม ต่างๆ ในจังหวัดตรัง และบางครัง้ รับผิดชอบ และศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม มีการสร้าง งานหลักด้านการจัดขบวนต่างๆ เช่น งาน หอพักนักศึกษาจำ�นวนกว่า 300 ยูนิต ซึ่ง เทศกาลหมูย่าง เทศกาลขนมเค้กเมืองตรัง สามารถรองรับนักศึกษาเข้าพักได้กว่า 600 งานวิวาห์ใต้สมุทร จึงถือโอกาสนี้ขอบคุณ คน โดยวิ ท ยาเขตมี แ ผนที่ จ ะให้ มี จำ � นวน ทุกฝ่ายที่ร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่พักที่สามารถรองรับนักศึกษาได้ไม่ต่ำ�กว่า วิทยาเขตตรังแม้จะเป็นวิทยาเขต ร้อยละ 40 ของนักศึกษาทัง้ หมด นอกจากนัน้ น้ อ งใหม่ ล่ า สุ ด ของมหาวิ ท ยาลั ย สงขลา ยังได้รับงบประมาณสร้างที่พักบุคลากร 48 นครินทร์ แต่เราเชื่อมั่นว่าเรามีความพร้อม ยูนิต ซึ่งเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว และกำ�ลังอยู่ ทั้งคุณภาพวิชาการ กิจกรรมนักศึกษา ซึ่งมี ระหว่างการจัดสรรผู้เข้าพัก การได้ที่พักเพิ่ม ส่วนในการบ่มเพาะนักศึกษา และมีส่วนใน ดั ง กล่ า วจะสามารถทำ � ให้ มี ก ารขยายการ การสร้างประสบการณ์เพื่อความสำ�เร็จใน ศึกษาได้มากขึ้น เพราะความต้องการที่พัก ชีวิตการทำ�งานในอนาคต

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555


รางวัลแห่งคุณภาพ

นักเรียน สาธิต ม.อ. ได้รับรางวัล

การจัดงาน “SCiUS Forum 2nd” ทีเ่ ชียงใหม่ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งอยู่ในโครงการ สนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียน โดยการกำ�กับดูแลของ มหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ซึง่ ดำ�เนินการโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลการจัดงาน “SCiUS Forum 2nd” เมื่อวันที่ 1-3 เมษายน 2555 ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ� จังหวัดเชียงใหม่

รางวัลที่ 2 โครงงานเรือ่ งแบบจำ�ลอง ปฏิ ก รณ์ ไ ททาเนี ย ม (IV) ออกไซด์ เพื่ อ ควบคุมปริมาณเอทิลีน ผู้จัดทำ �โครงงาน นายนาอีม หะยีบานุง อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.สุจริต ส่วนไพโรจน์ ดร.โรมรัน ชูศรี

แ ล ะ โ ร ง เ รี ย น ส า ธิ ต ม ห า วิ ท ย า ลั ย สงขลานครินทร์ (โดยการกำ�กับดูแลของ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขต ปัตตานี) ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีนักเรียน จากโรงเรี ย นทั้ ง 5 แห่ ง ส่ ง โครงงาน วิทยาศาสตร์เข้าร่วมจำ�นวน 85 โครงงาน ผลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ในกิจกรรม “SCiUS Forum 2nd” โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลโครงงานวิทยาสาสตร์สาขาเคมี และสาขาชีววิทยาดังนี้ โครงงานวิทยาศาสตร์สาขาเคมี รางวั ล ที่ 1 โครงงานเรื่ อ งเครื่ อ ง ตรวจวัดปริมาณวิตามินอี โดยใช้หลักการ วิเคราะห์ภาพ สาขาเคมี ผู้จัดทำ�โครงงาน นายอับดุลญับบาร์ กริยา อาจารย์ทปี่ รึกษา ผศ.ดร.สุ จ ริ ต ส่ ว นไพโรจน์ ดร.สมพร ช่วยอารีย์

โครงงานวิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา รางวัลที่ 2 โครงงานเรื่องการยับยั้ง แบคที เรี ย ก่ อ โรคทางเดิ น อาหารของผั ก พืน้ บ้านบางชนิดทางภาคใต้ของประเทศไทย ผู้ จั ด ทำ � โครงงาน นายพศวี ร์ ศี ล พั น ธุ์ อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษา ดร.สมรั ก ษ์ พั น ธ์ ผ ล ดร.เจริญ ภคธีรเธียร รางวัลที่ 3 โครงงานเรือ่ งผลของแสง สีและความเข้มแสงต่อการเปลีย่ นแปลงของ สีใบและการตอบสนองทางสรีรวิทยาของ ผักเป็ด (Alternathera picoidea) ผู้จัดทำ� โครงงาน นางสาววัชรมณี อารักษ์คุณากร อาจารย์ที่ปรึกษา อ.รุ่งนภา แก้วทองราช ซึ่งจากการจัดกิจกรรมครั้งนี้ นาย อับดุลญับบาร์ กริยา เป็นผู้ได้รับเลือกเป็น ตัวแทนไปร่วมแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ในโครงการ Asia Pacific Conference of Young Scientists 2010 (APCYS) ณ ประเทศอินโดนีเซีย

การจั ด งาน “SCiUS Forum 2nd” ในครั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนในโครงการ สนับสนุนการจัดตัง้ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ใน โรงเรียน โดยการกำ�กับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ได้นำ �เสนอผลงานทาง วิ ช าการและแลกเปลี่ ย นองค์ ค วามรู้ กั บ เพื่ อ นๆ นั ก เรี ย นต่ า งโรงเรี ย น ของชั้ น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ประจำ�ปีการศึกษา 2554 ในโครงการ วมว. จำ�นวน 5 แห่ง เข้าร่วม กิจกรรม ได้แก่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย เชี ย งใหม่ (โดยการกำ �กั บ ดู แ ลของ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ) โรงเรี ย น มอ. วิ ท ยานุ ส รณ์ (โดยการกำ � กั บ ดู แ ลของ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ) โรงเรี ย น ดรุ ณ สิ ก ขาลั ย (โดยการกำ � กั บ ดู แ ลของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุร)ี โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย (โดยการกำ�กับ ดูแลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 13


สู่ความเป็นนานาชาติ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดตั้ง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความปลอดภัยบนท้องถนนในเอเชียและยุโรป ร่วมกับ มหาวิ ท ยาลั ย ไทยและมหาวิ ท ยาลั ย ในยุ โ รป โดยมี ศู น ย์ วิ จั ย อยู่ ที่ ค ณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อ เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย โดยได้จัดการ ประชุม “1st Intermediate Meeting” ณ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อ 6-9 มีนาคม 2555

ความเป็นเลิศด้านความปลอดภัยทางถนน EU-Asia Road Safety Centre of Excellence (RoSCoE) และคณะ วิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นครินทร์ ทัง้ นี้ นักวิชาการทีเ่ ข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นักวิชาการของสถาบันต่างๆ ได้ แ ก่ ศ.ดร.พิ ชั ย ธานี ร ณานนท์

วิศวะ ม.อ. จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ

ด้านความปลอดภัยบนท้องถนนในเอเชียและยุโรป

ศ.ดร.พิ ชั ย ธานี ร ณานนท์

อาจารย์ ป ระจำ� ภาควิ ชาวิศวกรรมโยธา คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานครินทร์ กล่าวว่า ศูนย์ความเป็น เลิศด้านความปลอดภัยทางถนน EUAsia Road Safety Centre of Excellence (RoSCoE) เกิดจากความ ร่ ว มมื อ ของมหาวิ ท ยาลั ย ในยุ โรปและ ไทยรวม 6 แห่ง ซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร Asian Institute of Technology (AIT) มหาวิทยาลัย Szechenyi Istvan ประเทศฮังการี และ มหาวิ ท ยาลั ย Bauhaus-University Weimar ประเทศเยอรมัน ในการร่วมกัน จั ด ตั้ ง ศู น ย์ ค วามเป็ น เลิ ศ ด้ า นความ ปลอดภัยทางถนน EU-Asia Road Safety Centre of Excellence (RoSCoE) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบน ถนนในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย

14 :

PSU

สาร ม.อ.

รศ.ดร.จรั ญ บุ ญ กาญจน์

คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ส ง ข ล า น ค ริ น ท ร์ ก ล่ า ว ว่ า ค ณ ะ วิ ศ ว ก ร ร ม ศ า ส ต ร์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย สงขลานคริ น ทร์ ได้ จั ด ประชุ ม “1st Intermediate Meeting” ขึ้น เพื่อ รายงานผลความก้าวหน้าของงานวิจยั ของ นักวิชาการ พร้อมทัง้ เป็นการเปิดโอกาสให้ นักศึกษาปริญญาเอกได้มีโอกาสนำ�เสนอ ผลงานและพบปะอาจารย์ที่ปรึกษา นับ เป็นอีกก้าวหนึ่งของความสำ�เร็จของศูนย์

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555

ดร.ปรเมศวร์ เหลื อ เทพ ผศ.สุ วั ฒ น์ ไทยนะ รศ.ดร.จรัญ บุญกาญจน์ จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่ง เอเชีย (AIT) ผศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ดร.ปรี ด า พิ ช ยาพั น ธ์ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ นายพรเทพ ธีระกุล ศูนย์สร้างทางสงขลา นายทวี ศั ก ดิ์ ชาญวรรณกุ ล และนาย โอภาส สมใจนึก จากกรมทางหลวง นักวิชาการจากประเทศเยอรมัน 3 คน ฮังการี 2 คน และไต้หวัน 1 คน และนักศึกษาปริญญาเอก ประกอบด้วย นั ก ศึ ก ษาจากประเทศอิ น เดี ย 1 คน เวี ย ดนาม 1 คน พม่ า 1 คน รวมทั้ ง นักศึกษาปริญญาเอกของไทย 3 คน ได้แก่ พ.ต.ต.อมรชัย ลีลาขจรจิตร นายดลยฤทธิ์ เสฏฐสุวจะ และนายอรรถกร สาละ


กีฬา ศิลปะ และวัฒนธรรม

สงขลานคริ น ทร์ เ กมส์ ก้าวสำ�คัญของกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครัง้ ที่ 39 หรือ สงขลานครินทร์เกมส์ เมือ่ 1-8 พฤษภาคม 2555 ประทับตาตรึงใจ ทุกคน และเป็นก้าวสำ�คัญของการจัดแข่งขัน กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เพราะมี การทำ�ลายสถิติกีฬาหลายประเภท เป็นการ แข่งขันที่บริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นที่ยอมรับ นักกีฬาพึงพอใจ สนามแข่งขันทีไ่ ด้มาตรฐาน รวมทั้งการต้อนรับอันอบอุ่นของชาว ม.อ. และอัธยาศัยไมตรีของชาวใต้ เป็นเสียง ตอบรับจากผูเ้ ข้าร่วมแข่งขันสงขลานครินทร์ เกมส์ อธิการบดีชี้ทุกคนได้ร่วมกันสร้าง ความเชื่อมั่นแก่ชายแดนใต้ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี

เป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย ครัง้ ที่ 39 หรือ สงขลานครินทร์ เกมส์ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต หาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 1-8 พฤษภาคม 2555 เพื่ อ เชื่ อ มความสามั ค คี 112 มหาวิ ท ยาลั ย ใน 27 ชนิ ด กี ฬ า มี ผู้ เ ข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมจาก มหาวิทยาลัยต่างๆ 15,000 คน การแข่งขัน ครั้งนี้เป็นการเปิดใช้ศูนย์กีฬาใหม่ มาตรฐาน PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 15


ระดับสากล มูลค่า 475 ล้านบาท ภายใน มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขต หาดใหญ่ ประกอบด้วย อาคารยิมเนเซียม 3 ชั้น สนามฟุตบอลพร้อมลู่วิ่งมาตรฐาน สระว่ายน้ำ� 50 เมตร สนามเทนนิส 5 คอร์ท สนามซอฟต์บอล สนามฟุตซอล นับเป็น สนามมาตรฐานของภาคใต้ แ ละของ ประเทศไทย สามารถรองรับกีฬาระดับชาติ และนานาชาติได้ในอนาคต รวมทั้งได้รับ ความร่วมมือด้านสนามแข่งขันกีฬาประเภท ต่างๆ จากหลายหน่วยงาน

พันเอกหญิงมานิตย์ เกียรติไพบูลย์

อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เจ้ า ของแชมป์ โ ลกกี ฬ าปั น จั ก สี ลั ต เป็ น ผู้แทนนักกีฬานำ�กล่าวคำ�ปฏิญาณตน

ผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์ น ภดล นิ่ ม สุ ว รรณ จากคณะศิ ล ปศาสตร์

16 :

PSU

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผูแ้ ทนผูต้ ดั สิน กล่าวคำ�ปฏิญาณตน นายตันติพงษ์ เพชรไชยา อดีต นั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภูเก็ต เจ้าของเหรียญทองซีเกมส์ กีฬาขว้าง ค้อน เป็นนักกีฬาผู้วิ่งคบเพลิง พิ ธี เ ปิ ด เรี ย บง่ า ย งดงาม ในชุ ด จากความหลากหลายรวมใจเป็นหนึ่งเดียว ถวายองค์มหาราชา เพื่อสื่อให้เห็นถึงความ หลากหลายในวิถกี ารดำ�เนินชีวติ ทัง้ เชือ้ ชาติ ศาสนา ท่ามกลางความแตกต่าง ทุกคนอยู่ ร่วมกันอย่างสันติสขุ การแสดงในพิธเี ปิดเกิด จากการรวมพลังของสถานศึกษาในจังหวัด สงขลา มีผู้แสดงทั้งสิ้น 556 คน และทีมงาน 50 คน สัตว์น�ำ โชคของสงขลานครินทร์เกมส์ ได้แก่ นกเงือกพันธุ์ปากย่น ที่ชี้ถึงความ สมบูรณ์ของป่าดงดิบในภาคใต้ ชาว ม.อ. ตัง้ ชื่อสัตว์นำ�โชคว่า “น้องข้าวยำ�” ซึ่งเป็น ของดีปักษ์ใต้ที่มีความหลากหลายของผัก ชนิดต่างๆ สื่อถึงการผสมสีสันผสานพลัง

สาร ม.อ.

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555


ผสมผสานความหลากหลายให้กลายเป็น ชาวใต้ ในการแข่ ง ขั น การใช้ ชี วิ ต อยู่ ที่ พลังสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นโอกาส “เงื อ กอุ้ ม ” ณั ช ฐานั น ดร์ ให้เพื่อนนักศึกษาได้มาสัมผัสบรรยากาศ จันทร์กระจ่าง จากมหาวิทยาลัยหอการค้า ที่แท้จริงและความมีน้ำ�ใจของคนใต้ เราได้ ทำ�ได้ 14 เหรียญทอง พร้อมทำ�ลายสถิติ จัดหอพักมหาวิทยาลัยรองรับนักกีฬาและ การแข่งขันว่ายน้ำ�ไปถึง 7 รายการ กล่าวว่า กองเชียร์ได้ 8,000 คน ส่วนที่เหลือพัก พอใจกับผลงานที่ได้ และพอใจกับสระ โรงแรมในตัวเมืองหาดใหญ่ ว่ายน้ำ�ที่ได้มาตรฐานของ ม.อ. ประทับใจ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ได้ น้องๆ ทีมงาน เจ้าหน้าที่จัดแข่งขันว่ายน้ำ� เตรียมการ 2 ปีแล้ว อุปกรณ์ในการแข่งขัน มาก ได้ผ่านการทดสอบเทคนิคและมาตรฐาน จินตหรา เสียงดี ลมกรดหญิงจาก จากการกีฬาแห่งประเทศไทย ด้วยสนาม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ทำ�เวลา กีฬาสามารถจัดการแข่งขันระดับชาติและ ดีกว่าเจ้าของเหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 26 นานาชาติ ไ ด้ มี ค วามพร้ อ มได้ ม าตรฐาน ที่อินโดนีเซีย โดยทำ�เวลา 11.41 วินาที ใน สากล การวิ่ง 100 เมตร ทำ�ลายสถิติที่ทำ�ไว้ที่ อีกจุดหนึ่งคือมวยสากลสมัครเล่น 11.67 วินาที เมือ่ ปี 2551 กล่าวว่า เป็นสถิติ คาราเต้ - โด เทควั น โด ยู โ ด ปั น จั ก สี ลั ต ที่ดีที่สุดที่เคยทำ�ได้ และทุบสถิติไปถึง 0.26 ใช้ ส ถานที่ ห อประชุ ม นานาชาติ ฉ ลอง วินาที สิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณัฎฐา นาชาญ หรือ น้องเปรี้ยว ศ.ดร.ประสาท สืบค้า ประธาน เจ้าของเหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 26 ที่ กรรมการบริ ห ารกี ฬ ามหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง อินโดนีเซีย จากสถาบันพลศึกษา วิทยาเขต ประเทศไทย (ก.ก.ม.ท.) ร่วมกับ รศ.ดร. ชลบุ รี ผู้ ทำ � เหรี ย ญทองเหรี ย ญแรกใน บุญสม ศิริบำ�รุงสุข อธิการบดี ม.อ. และ สงขลานครินทร์เกมส์ จากพุง่ แหลนหญิง ทำ� ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ รองอธิการบดี สถิติพุ่งแหลนได้ 51.42 เมตร เพราะใน ม.อ. ร่วมแถลงข่าวสรุปผลการจัดการแข่งขัน ซีเกมส์ เธอทำ�ได้ 48.80 เมตร ซึ่งเป็นสถิติ “สงขลานคริ น ทร์ เ กมส์ ” โดยประธาน ที่เจ้าตัวพอใจมาก เนื่องจากลู่ยางใหม่ได้ ก.ก.ม.ท. กล่าวว่า การแข่งขันครั้งนี้ผ่านไป มาตรฐาน ทำ�ให้สปริงตัวได้ดี ด้วยความเรียบร้อย มีการประท้วงเกิดขึ้น ปทุ ม กลิ่ น หอม ผู้ สื่ อ ข่ า วจาก น้ อ ยมาก ทุ ก ฝ่ า ยยอมรั บ ในคำ � ตั ด สิ น หนังสือพิมพ์คมชัดลึก กล่าวว่า ม.อ. เตรียม นักศึกษา ม.อ. เรียนรู้ทักษะในการจัดการ งานเต็มที่ในทุกด้าน ม.อ. ได้พยายามทำ� แข่ ง ขั น กี ฬ าได้ ดี ม าก และทาง ม.อ. ก็ ทุกอย่างให้ปัญญาชนจากทั่วทุกสารทิศใช้ สามารถจัดการแข่งขันได้ดีเยี่ยม ชีวิตได้อย่างมีความสุขในระหว่างที่ใช้ชีวิต รางวั ล นั ก กี ฬ าดี เ ด่ น ประจำ � การ อยู่ใน “สงขลานครินทร์เกมส์” แข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ รอง “สงขลานครินทร์เกมส์” ได้แก่ รางวัล อธิ ก ารบดี ฝ่ า ยพั ฒ นานั ก ศึ ก ษา กี ฬ า นั ก กี ฬ าดี เ ด่ น ชายมี ส ถิ ติ ณั ฐ พงษ์ และวั ฒ นธรรม ม.อ. ในฐานะประธาน เกษอิ น ทร์ (ว่ า ยน้ำ � -แม่ โ จ้ ) , หญิ ง มี ส ถิ ติ คณะกรรมการฝ่ายเทคนิคกีฬา กล่าวว่า ณั ช ฐานั น ดร์ จั น ทร์ ก ระจ่ า ง (ว่ า ยน้ำ � การเป็ น เจ้ า ภาพครั้ ง นี้ เ ป็ น การรวมพลั ง หอการค้ า ไทย), ชายไม่ มี ส ถิ ติ ณั ฐ พงศ์ สถาบันการศึกษาในภาคใต้ และประชาชน ลิ้ ม วั ฒ นะ (เทควั น โด-เกษตรศาสตร์ ) , PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 17


ได้ใช้สนามกีฬาที่ได้มาตรฐานที่สุดในภาคใต้ ทุก คนได้ เ รี ย นรู้ การทำ�งานด้านการจัดแข่งขันกีฬาและภาคภูมใิ จทีไ่ ด้เป็นส่วนหนึง่ ของสงขลานครินทร์เกมส์ นอกจากนี้ ทุกคนยังได้รว่ มกันสร้างความ เชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่ชายแดนใต้ที่มีความสงบสุข พิธีปิดการแข่งขันจัดที่สนามกีฬากลาง ม.อ. วิทยาเขต หาดใหญ่ โดยมี ฯพณฯ ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัย เป็นประธาน ม.อ. จัดการแสดงที่ สวยงามและสร้างความประทับใจ ชื่อชุด “สี สั น แห่ ง ความดี พลีไว้ให้แผ่นดินทุกถิ่นหล้า” ซึ่งใช้นักศึกษาแสดงจำ�นวน 250 คน จากนั้นเป็นพิธีเชิญธงกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และ ธง ม.อ. ลงจากยอดเสา ก่อนส่งมอบธงกีฬามหาวิทยาลัยแห่ง ประเทศไทยให้สถาบันการพลศึกษา เจ้าภาพครั้งที่ 40 และ ปิ ด ท้ า ยด้ ว ยพิ ธี ดั บ ไฟในกระถางคบเพลิ ง สื่ อ ความหมายว่ า “สงขลานครินทร์เกมส์” จบลงอย่างเป็นทางการ แล้วพบกันใหม่ ในศึก “พลบดีเกมส์” ระหว่างวันที่ 8-15 มกราคม ศกหน้า ที่ จ.ชลบุรี จัดแข่งขันทั้งหมด 29 ชนิดกีฬา 2 กีฬาสาธิต

สรุปเหรียญรางวัล

หญิงไม่มสี ถิติ ศิรวลัย สตารัตน์ (ฟันดาบ-ม.กรุงเทพ), ทีมกีฬาดีเด่น ทีมชายมีสถิติ ทีมยิงปืน ม.กรุงเทพ, ทีมหญิงมีสถิติ ทีมผลัดผสม 4X100 ม. จุฬาฯ, ทีมชายไม่มสี ถิติ ทีมบาสเกตบอล มธบ., ทีมหญิง ไม่มีสถิติ ทีมบาสเกตบอล ม.กรุงเทพ รศ.ดร.บุญสม ศิริบำ�รุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยจะดูแลบริหารจัดการสนาม ที่ลงทุนไป 475 ล้านบาท อย่างเป็นระบบ ชาวหาดใหญ่ สงขลา จะ

18 :

PSU

สาร ม.อ.

สถาบัน ทอง เงิน ทองแดง สพล. 36 29 27 จุฬาฯ 34 28 44 เกษตรศาสตร์ 24 26 33 รัตนบัณฑิต 20 12 12 หอการค้าไทย 19 8 13 กรุงเทพ 17 20 22 สยาม 17 9 17 รามคำ�แหง 15 19 18 ธุรกิจบัณฑิตย์ 15 12 14 เกษมบัณฑิต 12 8 17 โดยเจ้าภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ลำ�ดับที่ 27 โดยได้ 2 เหรียญทองจากบริดจ์ 1 เหรียญเงินจากบริดจ์ 5 เหรียญ ทองแดงจากดาบสากลประเภทเอเป้บุคคลชาย เปตอง หมากรุก ไทยทีมชาย หมากรุกสากลทีมชาย และหมากรุกสากลทีมหญิง

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555


กีฬา ศิลปะ และวัฒนธรรม

ตัวแทนสถาบันที่ร่วม “สงขลานครินทร์เกมส์”

ร่วมปลูกต้นไม้ถวายแม่ของแผ่นดิน

รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำ�รุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถือวาระอันเป็นมงคล วันที่ 5 เดือน 5 ปี 55 นำ�ตัวแทนสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 39 “สงขลานครินทร์ เกมส์ 2555” ร่วมปลูกต้นไม้ยืนต้น 100 ต้น ถวายแม่ของแผ่นดิน 80 พรรษามหาราชินี บริเวณศูนย์กีฬา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อสนองแนวพระราชเสาวนีย์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ โดยเฉพาะ การเพิ่มพื้นที่การปลูกต้นไม้ โดยพันธุ์ไม้ดังกล่าวประกอบด้วยต้นตำ�เสา พะยอมหอม ทองกวาว ราชพฤกษ์ ตะเคียน และ คริสตินา ซึ่งคาดว่าอีกประมาณ 5 ปี บริเวณดังกล่าวจะมีความร่มรื่น งดงาม เป็นการสร้างที่ระลึกแห่งความทรงจำ�ที่ยั่งยืนของ การได้มาร่วมการแข่งขันกีฬาอันยิ่งใหญ่นี้ กิจกรรมดังกล่าว ยังเป็นการสนอง นโยบายการสร้างระบบนิเวศของความเป็น “สวนดอกไม้หลากสี” ของท่านอธิการบดี ที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทุกวิทยาเขตมีพนื้ ทีเ่ ต็มไปด้วยไม้ดอกยืนต้น และไม้ดอกขนาดเล็ก อยู่ในสภาพแวดล้อม ที่ มี ทั้ ง สวนและป่ า และให้ เ ป็ น สถานที่ พักผ่อนของประชาชนในชุมชน และนโยบาย มหาวิทยาลัยสีเขียวที่เน้นการพัฒนาอย่าง ยั่ ง ยื น ที่ เ น้ น การรั ก ษาพื้ น ที่ สี เขี ย วด้ ว ย พันธุ์ไม้ยืนต้นท้องถิ่น อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย สงขลา นครินทร์ กล่าวว่า เราปรารถนาอย่างแรงกล้า ให้ “สงขลานครินทร์” เป็นสถาบันแห่ง

อุดมคติที่มีหน้าที่หล่อหลอมเยาวชนแห่ง ชาติ เพื่ อ ให้ ผู้ ป กครองมุ่ ง ส่ ง ลู ก หลานมา เล่าเรียนที่นี่ และเพื่อให้นักเรียนอยากมา ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ซึ่งหากจะเป็นเช่นนั้นได้ นอกจากจะต้ อ งเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ที่ มี คุณภาพทางวิชาการเป็นที่ยอมรับแล้ว เรา ยังจะต้องมี “บ้ า น” ที่เหมาะสมสำ�หรับ เยาวชนด้วย “บ้านทีเ่ หมาะสมสำ�หรับเยาวชน ใน ความหมายของสงขลานคริ น ทร์ คื อ การ สร้ า งระบบนิ เวศที่ เ หมาะสมสำ � หรั บ การ หล่อหลอมเยาวชนให้พร้อมไปด้วยความรู้ สติปัญญา มีจิตใจที่ดีงาม และสุขภาพกายที่ แข็ ง แรง เปรี ย บเหมื อ นการที่ เราช่ ว ยกั น

เพาะปลูกไม้นานาพันธุจ์ นกลายเป็นป่าใหญ่ และร่วมรักษาหวงแหนป่าที่เราช่วยกันปลูก นี้ให้คงไว้” ระบบนิเวศที่มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์คาดหวังว่าจะให้มีขึ้นเพื่อสำ�หรับ การหล่อหลอมเยาวชน มี 5 ระบบด้วยกัน คือ ความเป็นสวรรค์ของการออกกำ�ลังกาย ความเป็ น สวนดอกไม้ ห ลากสี ความเป็ น มหาวิทยาลัยทีม่ รี ะบบนิเวศทางจิตวิญญาณ ความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีระบบนิเวศทาง ปั ญ ญาและการเรี ย นรู้ และความเป็ น มหาวิทยาลัยทีม่ รี ะบบนิเวศของความหลาก หลายทางวัฒนธรรม PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 19


รางวัลแห่งคุณภาพ

ผลการจัดอันดับ

“มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-university”

ม.อ. อยู่ในอันดับ TopTen ทั้งในประเทศไทยและ

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อเนื่องมาตลอด 6 ปี Webometrics จั ด ให้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อยูใ่ นอันดับที่ 4 ของไทย อันดับ 5 ของเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ อันดับที่ 26 ของเอเชีย และอันดับ ที่ 228 ของโลก นับเป็นการอยู่ในอันดับ TopTen ต่อเนื่องตลอด 6 ปี จากจำ�นวน 100 มหาวิทยาลัยในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ซึ่ ง เป็ น ผลการจั ด อั น ดั บ เมื่ อ เดื อ น มกราคม 2555

ผลการจั ด อั น ดั บ Webometrics (Ranking Web of World University) Harvard University สหรัฐอเมริกา อยู่ ในอันดับ 1 ของโลก National Taiwan University ไต้หวัน อยูใ่ นอันดับ 1 ของเอเชีย และ National University of Singapore ประเทศสิงคโปร์ อยู่ในอันดับ 1 ของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ทัง้ นีม้ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รบั การจัดอันดับมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 ถึง ปัจจุบันดังนี้ เดือนมกราคม 2550 ลำ�ดับที่ 6 ของ ไทย ลำ�ดับที่ 8 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำ�ดับที่ 896 ของโลก เดือนกรกฎาคม 2550 อันดับที่ 3 ของ ไทย ลำ�ดับที่ 5 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำ�ดับที่ 672 ของโลก เดือนมกราคม 2551 ลำ�ดับที่ 1 ของ ไทย ลำ�ดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำ�ดับที่ 309 ของโลก เดือนกรกฎาคม 2551 อันดับที่ 1 ของ ไทย ลำ�ดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำ�ดับที่ 384 ของโลก เดือนมกราคม 2552 อันดับที่ 1 ของ ไทย ลำ�ดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำ�ดับที่ 295 ของโลก เดือนกรกฎาคม 2552 อันดับที่ 1 ของ ไทย ลำ�ดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำ�ดับที่ 175 ของโลก

20 :

PSU

สาร ม.อ.

เดือนมกราคม 2553 ลำ�ดับที่ 2 ของ ไทย ลำ�ดับที่ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำ�ดับที่ 338 ของโลก เดือนกรกฎาคม 2553 อันดับที่ 3 ของ ไทย ลำ�ดับที่ 4 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำ�ดับที่ 392 ของโลก เดือนมกราคม 2554 อันดับที่ 1 ของ ไทย ลำ�ดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำ�ดับที่ 324 ของโลก เดือนกรกฎาคม 2554 อันดับที่ 4 ของ ไทย ลำ�ดับที่ 7 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำ�ดับที่ 448 ของโลก และล่าสุดเดือนมกราคม 2555 อยู่ใน อันดับที่ 4 ของไทย ลำ�ดับที่ 5 ของเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ และลำ�ดับที่ 228 ของโลก Webometrics (http://www. webometrics.info/index.html) ซึ่งเป็น สถาบั น ระดั บ โลกที่ ดำ � เนิ น การจั ด อั น ดั บ มหาวิทยาลัยทั่วโลกปีละสองครั้ง (มีการเก็บ ข้ อ มู ล ในช่ ว งสั ป ดาห์ แรกของเดื อ นมกราคม และเดือนกรกฎาคม) ครอบคลุมกว่า 20,000 สถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์ เพือ่ ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการบน website สนับสนุนการเข้าถึงสื่อสิ่งพิมพ์ทาง วิทยาศาสตร์และวัสดุทางวิชาการอื่น สำ � หรั บ วิ ธี ก ารและตั ว แปรที่ Webometrics ใช้เป็นข้อมูลในการจัด อันดับมหาวิทยาลัยนั้น ได้อาศัยข้อมูล ของทุกมหาวิทยาลัยที่เผยแพร่ในฐาน ข้อมูลต่างๆ ผ่านทาง Website ของทุก สถาบั น และบนฐานข้ อ มู ล อื่ น ๆ ใน หลายประเด็น เช่น ดูองค์ประกอบว่าใน website ของมหาวิทยาลัยนัน้ มีจ�ำ นวน ไฟล์ที่มีสาระน่าสนใจมากน้อยเพียงใด จำ�นวนของผลงานตีพิมพ์ในรอบสิบปีที่ ผ่านมา รวมทั้งจำ�นวนผลงานที่เป็นที่ ยอมรับของนักวิชาการ และจำ�นวนไฟล์ เหล่านัน้ มีการถูกนำ�ไปใช้ประโยชน์มาก

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555

น้ อ ยเพี ย งใด โดยเฉพาะการถู ก อ้ า งอิ ง โดย ผลงานตีพิมพ์อื่นในฐานข้อมูลของ ISI รวมทั้ง ความนิยมของผูใ้ ช้ทเี่ ข้าเยีย่ มชม web domain ว่ามีความสม่ำ�เสมอและมากน้อยเพียงใด ตั ว แ ป ร ที่ ใ ช้ ใ น ก า ร จั ด อั น ดั บ Webometrics มี 4 รายการคือ 1. Size (S) จำ�นวน Webpage ทัง้ หมด ของสถาบันใน Domain เดียวกัน (Domain ของ ม.อ. คือ psu.ac.th ) 2. Visibility (V) จำ�นวน Webpage ทัง้ หมดของสถาบันใน Domainเดียวกันทีไ่ ด้รบั การเชื่อมโยง (Link) จาก Website อื่น 3. Rich File (R) จำ�นวนของเอกสาร อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ หรื อ แฟ้ ม ข้ อ มู ล ทั้ ง หมดของ สถาบันใน Domain เดียวกัน ประเภทของ เอกสารทีน่ �ำ มาใช้ในการจัดอันดับประกอบด้วย เอกสาร PDF, Post Scrip, MS Word, MS Excel, MS PowerPoint 4. Scholar (Sc) จำ � นวนเอกสาร วิชาการทีป่ รากฏใน Domain เดียวกันทีป่ รากฏ ใน Google Scholar เพื่ อ การประเมิ น Productivity ของสถาบัน


รางวัลแห่งคุณภาพ

ทีมปันตัย ฟาฏอนีย์ คณะวิทยาการสื่อสาร ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดแผนธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาสู่อาเซียน ขอแสดงความยินดีกบั ทีมปันตัย ฟาฏอนีย์ ประกอบด้วย นางสาวกนกรัตน์ ท่อทิพย์

นางสาวสุมาลี พุทธาโร นางสาวอังคณา ทองอินทร์ นางสาวบุษรอ แลหะ และ นาย ธฤต วิศาลกิจ นักศึกษาคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดแผน ธุรกิจผลิตภัณฑ์ภมู ปิ ญ ั ญาสูอ่ าเซียน พร้อมเปิดบูธ สิ น ค้ า ในงานมหกรรมศิ ล ปวั ฒ นธรรมอาเซี ย น เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ณ จ.เพชรบุรี วันที่ 2-6 ธันวาคม 2554 รศ.ดร.บุญสม ศิริบำ�รุงสุข อธิการบดี

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมแสดงความยินดี และมอบของที่ ร ะลึ ก ให้ แ ก่ นั ก ศึ ก ษาที ม ปั น ตั ย ฟาฏอนีย์ นักศึกษาคณะวิทยาการสือ่ สาร เมือ่ วันที่ 1 มีนาคม 2555 ณ สำ�นักงานอธิการบดี วิทยาเขต หาดใหญ่ ที่ ไ ด้ รั บ รางวั ล รองชนะเลิ ศ อั น ดั บ 1 จากการประกวดแผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาสู่ อาเซียน อาจารย์ ไลลา บุญพิศ อาจารย์ที่ปรึกษา โครงการประกวดแผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาสู่ อาเซียน กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ จัดโครงการประกวดแผนธุรกิจผลิตภัณฑ์สินค้า ชุมชนสูอ่ าเชียน เพือ่ ให้นกั ศึกษามีโอกาสนำ�ความรู้ ที่ ไ ด้ ศึ ก ษามาประยุ ก ต์ ใช้ ใ นการวางแผนธุ ร กิ จ ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญากลุ่มประเทศภูมิภาคอาเซียน เพือ่ เข้าสูต่ ลาดอาเซียน โดยแผนธุรกิจดังกล่าวต้อง มีการวางแผนธุรกิจระยะเวลา 3 ปี คือ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2554 - 30 พฤศจิกายน 2557 เพื่อ พัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญากลุ่มประเทศภูมิภาค อาเซียนเพื่อเข้าสู่ตลาดอาเซียนที่นอกเหนือจาก ประเทศแหล่ ง กำ � เนิ ด ของสิ น ค้ า โดยนำ�เสนอแนวคิดในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ระบุประเทศที่ต้องการ ส่งออก สาเหตุที่เลือกการศึกษา องค์ประกอบต่างๆ ในการทำ�ตลาด ส่ ง ออกและวิ ธี ก ารทำ � การตลาด พร้ อ มทั้ ง ออกบู ธ จั ด แสดงสิ น ค้ า โดยมี ที ม ที่ ผ่ า นการเข้ า รอบชิ ง ชนะเลิศจำ�นวน 6 ทีม ทีต่ อ้ งออกบูธ

เสนอขายสินค้าจริง ในงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรม อาเซียนสัมพันธ์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา จังหวัด เพชรบุรี เมื่อวันที่ 2-6 ธันวาคม 2554 ได้แก่ ทีม Batics Design มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัย ทีมเสื้อยืด Thai Design มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ ทีมถั่วทองสยาม มหาวิทยาลัย ราชภั ฏ นครราชสี ม า ที ม Asean World มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ทีมสับปะรดกระปุก มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และทีมปันตัย ฟาฏอ นีย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สำ � หรั บ ผลการประกวดแผนธุ ร กิ จ ผลิตภัณฑ์ภมู ปิ ญ ั ญาสูอ่ าเซียนระดับประเทศ ได้แก่ รางวั ล ชนะเลิ ศ ได้ แ ก่ ที ม Asean World มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เงินรางวัล 40,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีมปันตัย ฟาฏอนีย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เงินรางวัล 25,000 บาท พร้อม เกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม ถัว่ ทองสยาม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เงิน รางวัล 15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร รางวัลรอง ชนะเลิ ศ อั น ดั บ 3 ได้ แ ก่ ที ม สั บ ปะรดกระปุ ก มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบตั ร และรางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม Batics Design มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัย เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

อาจารย์ ไลลา บุญพิศ กล่าวเพิ่มเติมว่า

คณะวิทยาการสื่อสาร เล็งเห็นความสำ�คัญในการ ผลักดันให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมการประกวด แข่งขัน เพื่อเพิ่มทักษะทางวิชาชีพให้เกิดความ เชี่ยวชาญมากขึ้น โดยสามารถบูรณาการความรู้ที่ ได้จากห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์จริง ได้ จึงสนับสนุนให้นักศึกษาพัฒนาผลงานทั้งทาง วิชาการ วิชาชีพ การส่งเสริมให้นักศึกษาส่งผลงาน เข้าประกวดในกิจกรรมต่างๆ นอกจากเป็นการ สร้างชือ่ เสียงให้กบั มหาวิทยาลัยแล้ว ยังเป็นเวทีให้ นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการทำ�งานจริงเป็นทีม การต่อยอดจากห้องเรียนสู่เวทีอาเซียน “มหาวิทยาลัยต้องเตรียมพร้อมสำ�หรับ การก้าวสู่อาเซียนในปี 2558 นี้ ดังนั้นการส่งเสริม ให้นักศึกษาก้าวไประดับนานาชาติเป็นสิ่งสำ�คัญ และนักศึกษาเองก็จะได้พฒ ั นาศักยภาพของตัวเอง ได้เรียนรูป้ ระสบการณ์เวทีระดับนานาชาติทจี่ ะต้อง ก้าวไปยืนตรงจุดนัน้ พร้อมกับประเทศอืน่ ๆ ในกลุม่ ประเทศอาเซียนด้วยกัน” อาจารย์ไลลา บุญพิศ กล่าว นางสาวอังคณา ทองอินทร์ หนึ่งในทีม ปันตัย ฟาฏอนีย์ เปิดเผยว่า การที่ได้ตัดสินใจเข้า ร่วมโครงการประกวดดังกล่าว เนื่องจากได้รับแรง บั น ดาลใจจากที ม มากั น กาจั ง ซึ่ ง ได้ รั บ รางวั ล ชนะเลิศระดับประเทศ จึงต้องการส่งผลงานเข้า แข่งขันบ้าง ประกอบกับการประกวดครัง้ นีเ้ ป็นเวที ที่ ก้ า วสู่ อ าเซี ย น คงทำ � ให้ ไ ด้ รั บ ประสบการณ์ นอกเหนือจากตำ�รา ซึ่งการเป็นมหาวิทยาลัยใน ภู มิ ภ าคไม่ ไ ด้ ส่ ง ผลให้ เ กิ ด ความท้ อ แท้ แต่ เ ป็ น แรงผลักดันให้มีความพยายามมากขึ้น นอกเหนือ จากรางวัลที่ได้รับแล้ว ประการสำ�คัญได้เรียนรู้ กระบวนการทำ � งานเป็ น ที ม การศึ ก ษาค้ น คว้ า นอกเหนือจากตำ�ราเรียน และสามารถนำ�ไปใช้ ประโยชน์ได้จริงต่อไป

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 21


กีฬา ศิลปะ และวัฒนธรรม

นักกีฬาฟุตซอลกว่าสองร้อยทีม

ร่วมการแข่งขันฟุตซอลสมานฉันท์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เปิดการแข่งขันฟุตซอล สมานฉันท์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “สันติสุขชายแดนใต้” เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี โดยมีนักกีฬา รวม 209 ทีม จาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมการแข่งขัน

ผศ.สมเกียรติ สุขนันตพงศ์ หัวหน้า

ภาควิ ช าพลศึ ก ษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปั ต ตานี กล่ า วว่ า เพื่ อ ส่งเสริมการเล่นกีฬา เพื่อ สุขภาพ และเพือ่ สร้างความสมานฉันท์ระหว่าง ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้น คณะฯ จึ ง กำ � หนดจั ด การแข่ ง ขั น ฟุ ต ซอล สมานฉันท์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 5 ในชื่อ “สันติสุขชายแดนใต้” เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2555 ณ โรงยิมเนเซียม ภาควิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภท คือ ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 13 ปี มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 32 ทีม, ประเภท ประชาชนทั่วไป มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 144 ทีม, ประเภทอายุ 40 ปีขึ้นไป มีทีมเข้าร่วม แข่งขัน 27 ทีม และประเภทประชาชนอายุ 45 ปีขึ้นไป (VIP) มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 9 ทีม รวมทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 209 ทีม

22 :

PSU

สาร ม.อ.

นายธีระ มินทราศักดิ์ ผูว้ า่ ราชการ

จังหวัดปัตตานี กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิง่ ที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา ฟุตซอลสมานฉันท์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 5 ภายใต้ชื่อ “สันติสุขชายแดนใต้” และชืน่ ชมภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญของกิจกรรมกีฬาที่ จะช่วยสร้างความรัก ความสมานฉันท์ในหมู่ เยาวชนและประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ และได้ดำ�เนินการจัดการแข่งขันอย่าง ต่อเนือ่ งมาเป็นครัง้ ที่ 5 ซึง่ กีฬาฟุตซอลเป็นกีฬา อีกชนิดหนึง่ ทีน่ ยิ มเล่นและแข่งขันกันแพร่หลาย ทั่วประเทศไทยในขณะนี้ รวมถึงใน 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ดว้ ย ดังจะเห็นได้จากจำ�นวนทีม ที่เข้าร่วมในการแข่งขันที่เพิ่มจำ�นวนมากขึ้น ทุกปีซึ่งนอกจากจะส่งเสริมให้ผู้เล่นมีสุขภาพ

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555

ดีแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมความรัก ความสามัคคี สร้างความสมานฉันท์ในหมูพ่ นี่ อ้ งประชาชน และ นำ�สังคมไปสู่ความสันติสุขอีกด้วย การแสดงชุด 3 วัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี หลังจากพิธีเปิดการ แข่งขันแล้ว ผูว้ า่ ราชการจังหวัดปัตตานี ประธาน ในพิธีได้ให้โอวาทแก่นักกีฬาและกล่าวเปิดการ แข่งขัน หลังจากนั้นเป็นการแสดงนาฏศิลป์จาก โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและการแข่งขันฟุตซอลคูพ่ เิ ศษ ระหว่างทีมผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบกับทีมรวมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดปัตตานี


วิจัย

เท้ า เที ย ม ขยับได้เหมือนธรรมชาติ ผลงานวิศวะ ม.อ.

จากการสำ�รวจความพิการของ คนไทย โดยสำ � นั ก งานสถิ ติ แ ห่ ง ชาติ พบว่าประเทศไทยมีผู้พิการมากถึง 1.9 ล้านคน ในจำ�นวนนี้มี “ผู้พิการขาขาด” มากกว่า 50,000 คน สาเหตุส่วนใหญ่ หรือประมาณ 45% ของผู้พิการขาขาด เกิดจากอุบัติเหตุทางการจราจร 25% เกิดจากการเหยียบกับดักระเบิด อีก 20% เกิ ด จากแผลเรื้ อ รั ง จากโรค เบาหวาน ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 10% เป็นความผิดปกติมาแต่ก�ำ เนิดและปัญหา สุขภาพอื่นๆ เท้าเทียมสำ�หรับผู้พิการขาขาดที่ใช้ กันอยู่ทั่วไปในประเทศ ไม่สามารถช่วยการ เดินได้อย่างสมบรูณ์ เพราะเท้าเทียมทั่วไป ไม่ ส ามารถขยั บ หรื อ เคลื่ อ นไหวข้ อ เท้ า ระหว่ า งการเดิ น เท้ า เที ย มที่ ส ามารถ เคลื่อนไหวได้เหมือนจริงนั้น มีจำ�หน่ายใน ต่ า งประเทศ ราคาประมาณ 420,000630,000 บาท โดยที่ ร าคาเท้ า เที ย มที่ มี ขายโดยทั่วไปในประเทศมีราคาประมาณ 40,000 บาท เมือ่ เปรียบเทียบประสิทธิภาพ ของอุ ป กรณ์ แ ละราคาแล้ ว จะเห็ น ได้ ว่ า มี ความแตกต่างกันมาก ด้วยเหตุนี้ โครงการนี้ จึ ง เกิ ด ขึ้ น โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ จ ะสร้ า ง ต้ น แบบและออกแบบระบบควบคุ ม การ เคลือ่ นทีข่ องเท้าเทียมให้ชว่ ยการเดินได้เป็น ปกติมากยิง่ ขึน้ และมีราคาถูกกว่าทีจ่ �ำ หน่าย ในต่างประเทศ เท้าเทียมขยับได้ ผลงาน ของ นายอุ ก ฤษฎ์ ชำ � มริ นั ก ศึ ก ษา ปริญญาโทภาควิชาวิศวกรรมเครือ่ งกล คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี รศ.ดร.พฤทธิกร สมิตไมตรี เป็น

อาจารย์ที่ปรึกษา

นายอุกฤษฎ์ ชำ�มริ เจ้าของผลงานเท้าเทียมที่ขยับได้ เปิดเผยว่า แนวคิดในการ

ประดิษฐ์ผลงานเกิดจากความรู้สึกเห็นใจผู้ป่วยอุบัติเหตุที่จำ�เป็นต้องใช้เท้าเทียม เท้าเทียม มีสองแบบ คือแบบทีข่ ยับได้และแบบทีข่ ยับไม่ได้ ถ้าเป็นแบบขยับได้จะเป็นของต่างประเทศ จากเยอรมัน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เท้าเทียมของต่างประเทศมีราคา 4-5 แสนบาท จึงได้ประดิษฐ์ ขึ้น ของเราจะมีราคาประมาณ 4-5 หมื่นบาท จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยได้มาก และลด นำ�เข้าสินค้าต่างประเทศ อุปกรณ์ทปี่ ระดิษฐ์ขนึ้ จะใช้กบั ผูป้ ว่ ยทีข่ าขาดใต้เข่า จะมีตวั อุปกรณ์ วัดมุม เป็นเซ็นเซอร์ วัดมุมการเคลือ่ นทีข่ องแกนขาผูป้ ว่ ยขณะแกว่ง แล้วปรับมุมข้อเท้าตาม การเดิน ควบคุมการทำ�งานด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ มีมอเตอร์เป็นตัวทำ�งาน ใช้แบตเตอรี่ แบบชาร์จได้เป็นแหล่งพลังงาน ขั้นตอนต่อไปจากนี้ ต้องลองทดสอบ ดีไซน์ และปรับปรุง แก้ไขก่อนจะนำ�มาใช้กับผู้ป่วย รวมทั้งทดสอบความทนทานด้วย อาจใช้เวลาอีก 2-3 เดือน ข้อดีเด่นของเท้าเทียมที่ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเท้าเทียมทั่วไป คือ การ ควบคุมการขยับของเท้าแบบเป็นอัตโนมัติ เมื่อผู้ป่วยเดิน สามารถปรับมุมได้ตามการเดิน ของผูป้ ว่ ย ผูป้ ว่ ยยังสามารถควบคุมการปิดเปิดเองได้ดว้ ยสวิตช์ สิง่ ประดิษฐ์นชี้ ว่ ยให้การเดิน ทางราบของผู้ป่วยเป็นธรรมชาติมากขึ้น พลังงานจากแบตเตอรี่สามารถใช้ได้ในระยะเวลา 1 วัน “เท่าที่คุยกับอาจารย์แพทย์ห้องกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ น้ำ�หนัก ของเท้าเทียมใต้เข่าประมาณ 2 กก. ผู้ประดิษฐ์ก็ได้เปลี่ยนอุปกรณ์บางส่วนให้มีน้ำ�หนัก เบาลง ปัจจุบันเท้าเทียมที่ประดิษฐ์ขึ้นมีน้ำ�หนักประมาณ 1.8 กก. ขณะนี้อยู่ระหว่าง การจดสิทธิบัตร และได้เลขคำ�ขอสิทธิบัตรแล้ว เมื่อได้สิทธิบัตรแล้ว ก็จะผลิตเพื่อจำ�หน่าย ต่อไป” PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 23


รอบรั้วศรีตรัง

ม.อ.ภูเก็ต

จัดพิธีประดิษฐานพระรูป

สมเด็จพระบรมราชชนก 24 เมษายน 2555

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เมธี สรรพานิช รอง อธิการบดีวทิ ยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า วิทยาเขตภูเก็ตได้จัดพิธีอัญเชิญพระรูป สมเด็ จ พระมหิ ต ลาธิ เ บศร อดุ ล ยเดชวิ ก รม พระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ เพื่อ ประดิ ษ ฐานยั ง พระราชานุ ส าวรี ย์ ห น้ า สำ � นั ก งาน อธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต เพื่อเป็นที่เคารพและเป็น สิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยและชาวจังหวัดภูเก็ต เมื่อ วันที่ 24 เมษายน 2555 ทั้งนี้พระรูปสมเด็จพระบรมราชชนก มีการทำ�พิธี อัญเชิญออกจากสำ�นักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2555 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้มีการก่อตั้งมาเป็นเวลา 45 ปี โดยเริม่ ต้นทีว่ ทิ ยาเขตปัตตานีเป็นแห่งแรก โดยได้รบั พระราชทานพระนาม “สงขลานครินทร์” ซึ่งเป็นพระนามของสมเด็จพระบรมราชชนก และ มี ค วามมุ่ ง หมายตั้ ง แต่ เริ่ ม ก่ อ ตั้ ง ให้ เ ป็ น มหาวิ ท ยาลั ย หลายวิ ท ยาเขต ดังนัน้ เมือ่ ได้มกี ารจัดสร้างพระราชานุสาวรียส์ มเด็จพระบรมราชชนกขึน้ โดยเริ่มที่วิทยาเขตปัตตานี ประชาคมของทุกวิทยาเขต รวมทั้งชุมชน ในจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย จึงได้มีความปรารถนาจะให้มี พระราชานุสาวรีย์ขึ้นที่วิทยาเขตของตนเช่นกัน จึงเป็นที่มาของการจัด สร้างพระราชานุสาวรีย์ขึ้นอีกที่วิทยาเขตหาดใหญ่ วิทยาเขตตรัง และ

24 :

PSU

สาร ม.อ.

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555

วิ ท ยาเขตสุ ร าษฎร์ ธ านี ตามลำ � ดั บ การมี พระราชานุสาวรียข์ นึ้ ทีว่ ทิ ยาเขตภูเก็ตจึงนับเป็น วิทยาเขตสุดท้าย และทำ�ให้มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์มีพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรม ราชชนกครบสมบูรณ์ทั้ง 5 วิทยาเขต พระราชานุสาวรีย์นี้ มีค่าใช้จ่ายในการ ก่อสร้างประมาณ 14 ล้านบาท เป็นค่าใช้จา่ ยใน การสร้างพระรูป 4 ล้านบาท และ ใช้ในการปรับ ภู มิ ทั ศ น์ แ ละสร้ า งฐานพระราชานุ ส าวรี ย์ ประมาณ 10 ล้ า นบาท วิ ท ยาเขตภู เ ก็ ต ได้ ทุ น ในการจั ด สร้ า งมาจากงบประมาณของ


มหาวิทยาลัยทีใ่ ห้มาสำ�หรับการดำ�เนินการ ในขั้นแรก และการระดมทุนที่ดำ�เนินการ โดยวิทยาเขตภูเก็ต โดยได้ขอรับบริจาคจาก ผู้มีจิตศรัทธาและศิษย์เก่าของวิทยาเขต ภูเก็ต “ผูร้ ว่ มบริจาคในครัง้ นี้ ไม่เพียงแต่ได้ ร่วมสมทบทุนในการสร้างพระราชานุสาวรีย์ เท่ า นั้ น แต่ ยั ง มี ส่ ว นในการร่ ว มสร้ า ง ประวัติศาสตร์ให้วิทยาเขตภูเก็ต เพราะ เรามีการจัดทำ�หนังสือที่เกี่ยวข้องกับการ ดำ � เนิ น การจั ด สร้ า งพระราชานุ ส าวรี ย์ ที่ วิทยาเขตภูเก็ต มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาและรายนามผู้เกี่ยวข้องและ ผู้บริจาค เพื่อจัดส่งไปยังหน่วยงานต่างๆ ขณะนี้ มี ก ารระดมทุ น จากการบริ จ าคได้ จำ�นวนประมาณ 1 ล้านบาท มหาวิทยาลัย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขตภู เ ก็ ต จึ ง ยั ง ต้องการเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาเพื่อร่วมกัน สร้ า งประวั ติ ศ าสตร์ กั บ มหาวิ ท ยาลั ย ใน

ครั้งนี้” รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ตกล่าว วงเวี ย นหอนาฬิ ก า ถนนบางกอก ถนน สำ � หรั บ กำ � หนดการพิ ธี อั ญ เชิ ญ พระรู ป ปฏิพทั ธิ์ พักขบวนที่สนามกีฬาสุรกุล และ สมเด็ จ พระบรมราชชนก กรมหลวง จะมี ร ถขบวนจากเทศบาลกะทู้ อั ญ เชิ ญ สงขลานคริ น ทร์ เพื่ อ ประดิ ษ ฐานยั ง พระรูปผ่านสี่แยกไทนาน สามแยกเก็ตโฮ่ พระราชานุสาวรีย์ที่วิทยาเขตภูเก็ตนั้น จะ สามแยกบ้านหมากสง เข้าสู่อำ �เภอกะทู้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2555 โดยจะมี และวนกลับมาสมทบกับริว้ ขบวนของคณะ การอัญเชิญพระรูปสมเด็จพระบรมราชชนก ผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา ณ สามแยก จากสำ � นั ก ช่ า งสิ บ หมู่ อำ � เภอศาลายา เก็ตโฮ่ เพือ่ ไปยังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดนครปฐม มายังจังหวัดภูเก็ต และจะ วิทยาเขตภูเก็ต ในวันที่ 24 เมษายน 2555 มีพิธี นำ�ไปประดิษฐานเป็นการชั่วคราวที่อาคาร ศู น ย์ บ ริ ก ารวิ ช าการของวิ ท ยาเขตภู เ ก็ ต ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร ที่ ส ะพานหิ น ซึ่ ง เป็ น ที่ ตั้ ง แห่ ง แรกของ อดุ ล ยเดชวิ ก รม พระบรมราชชนก ยั ง วิทยาเขตภูเก็ต เพือ่ ตกแต่งเตรียมจัดขบวน พระราชานุสาวรีย์ โดยจะเริม่ พิธตี งั้ แต่เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป อัญเชิญรอบเมืองภูเก็ตในวันรุ่งขึ้น ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่วนในวันที่ 23 เมษายน 2555 มหาวิทยาลัยได้จดั ริว้ ขบวนอัญเชิญพระรูป ได้มกี ารจัดสร้างพระราชานุสาวรียไ์ ว้แล้วใน รอบตัวเมืองภูเก็ต โดยเริม่ ต้นจากสะพานหิน สถานที่ตั้งของ 4 วิทยาเขต คือ ที่วิทยาเขต เคลื่อนไปยังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี วิทยาเขตหาดใหญ่ วิทยาเขตตรัง วิทยาเขตภูเก็ต โดยผ่านเส้นทางถนนภูเก็ต และที่ วิ ท ยาเขตสุ ร าษฎร์ ธ านี เพื่ อ เป็ น ที่เคารพสักการะ เป็นสิริมงคลแก่บุคลากร นักศึกษา และประชาชนในจังหวัดภาคใต้ เพื่อน้อมรำ�ลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ ทรงเสียสละ มุง่ มัน่ ปฏิบตั พิ ระราชกรณียกิจ ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ รวมทั้ง เป็นหนึ่งในกิจกรรมในโอกาสครบ 40 ปี ของมหาวิ ท ยาลั ย และได้ มี พิ ธี เ ปิ ด พระราชานุสาวรียอ์ ย่างเป็นทางการไปแล้ว ใน 4 วิ ท ยาเขต โดยล่ า สุ ด สมเด็ จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ทรงเปิดพระราชานุสาวรียส์ มเด็จ พระบรมราชชนก ที่มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2554 PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 25


รางวัลแห่งคุณภาพ

วิศวะ ม.อ. ชนะเลิศ

การแข่งขันโครงการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ แห่งประเทศไทย 2012 (RDC 2012) สนามภาคใต้

การแข่งขันออกแบบและสร้าง หุ่นยนต์แห่งประเทศไทย 2012 สนาม

โครงการนี้จัดโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับศูนย์ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคใต้ มี โจทย์ ข องการสร้ า งหุ่ น ยนต์ ที่ แห่งชาติ โดยมี รศ.ดร.พฤทธิกร สมิตไมตรี เป็นหัวโครงการ สามารถผลิ ต เก็ บ ถ้ ว ยน้ำ � ยางพาราและ มี นั ก ศึ ก ษาเข้ า ร่ ว มอบรมและแข่ ง ขั น จากมหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ้น�ำ ยางพารา เพือ่ ช่วยลดภาระของเกษตรกร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัย ในชี วิ ต ประจำ � วั น ได้ โดยหุ่นยนต์จะต้อง เทคโนโลยีราชมงคลศรีวชิ ยั วิทยาเขตสงขลา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เดิ น ทางไปเก็ บ ถ้ ว ยน้ำ � ยางพาราและน้ำ � ศรีวิชัย วิทยาลัยรัตภูมิ รวมทั้งสิ้นจำ�นวน 40 คน ซึ่งได้ทำ�การอบรมและสร้างหุ่นยนต์ ยางพาราจากที่เนินเขา แล้วนำ�น้ำ�ยางพารา ระหว่างวันที่ 10-15 มีนาคม 2555 ณ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และทำ�การแข่งขัน มาเทใส่ในภาชนะทำ�ยางแผ่น และนำ�ถ้วย ในวันที่ 16 มีนาคม 2555 โดยมี อาจารย์วินิจ จึงเจริญธรรม รองคณบดีฝ่ายอาคาร ยางพารามาเก็ บ ให้ เ กษตรกรที่ อ ยู่ บ น สถานที่และสาธารณูปการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็น พื้ น ราบ เพื่ อ สร้ า งรายได้ ใ ห้ เ กษตรกร ประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน และมี ดร.สมนึก ศิริสุนทร ผู้อำ�นวยการฝ่ายอาวุโส ชาวสวนยาง และเพิ่ ม ความมั่ น คงทาง สำ�นักผู้อำ�นวยการ จาก MTEC เป็นประธานปิดการแข่งขันและมอบรางวัล ซึ่งมี เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ม า ก ขึ้ น ผลการแข่งขันดังนี้

26 :

PSU

สาร ม.อ.

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555


ชนะเลิศ ทีมดงยางนา ได้แก่

นางสาวจุฑารัตน์ จูตะสน นายณัฏฐศิริ อินชะนะ นายอาฟีพ จิการะจิ นายนิติพัฒน์ เหล่ามงคลชัยศรี นายจีระศักดิ์ ทองมูล

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาลัยรัตภูมิ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมลูกยางเหล็ก ได้แก่ นายกิตติพัฒน์ เหมจินดา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายอุหมาด หีมโป๊ะหมอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาลัยรัตภูมิ นายติณณภพ แร่ดีบุก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายศุภกาญจน์ จันทร์ทอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายดิษพงศ์ คงสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมยางไซ ได้แก่ นายสหภูมิ เด่นไตรรัตน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายปุณณวิช สงชู มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ นายวิษณุ เมโส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาลัยรัตภูมิ นายอรรถสุนทร ไตรสุวรรณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายสมพงษ์ มิตรจงรัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา โดยนักศึกษาทั้ง 15 คนนี้ จะเป็นตัวแทนของภาคใต้เข้าร่วมการ แข่งขันโครงการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย (ระดับ ประเทศ) และขอเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมเป็นกำ�ลังใจและติดตามผลงาน ของนักศึกษาตัวแทนภาคใต้ในการแข่งขันระดับประเทศ ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2555 ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ประตูน้ำ� เพื่อหาตัวแทน นักศึกษาของประเทศเข้าร่วมการแข่งขันหุน่ ยนต์ระดับนานาชาติ หรือ IDC Robocon 2012 ที่ Tokyo Denki University ประเทศญี่ปุ่น PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 27


สิ่งแวดล้อม

นักวิจัยคณะวิทย์ แจงข้อมูลภัยธรรมชาติ เพื่อเตรียมการรับมือ ทุกวันนี้ เราเริม่ ได้ยนิ การกล่าวถึงการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศบ่อยขึน้ เนือ่ งด้วยสภาพภูมอิ ากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลง ไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อองค์ประกอบของบรรยากาศโลกทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำ�ฝน และฤดูกาล ปัจจัยเหล่านี้มีความสำ�คัญต่อการดำ�รงอยู่ของสิ่งมีชีวีตที่จะต้องปรับตัว ให้เข้ากับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งข่าวลือต่างๆ ที่เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย นักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. จะให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการเตรียมพร้อมรับมือต่อไป...

นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง

นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ ตะวันออกเฉียงใต้ โดยปรากฏการณ์ดังกล่าว จะต้องมีข้อมูลรายละเอียดที่เพียงพอในการ

ภาควิชาชีววิทยา ได้กล่าวถึงเหตุการณ์คลืน่ ลม แรงกั ด เซาะชายฝั่ ง อ่ า วไทย ได้สร้างปัญหา ความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ริม ชายหาดเป็นจำ�นวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิง่ ใน แถบจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และสงขลา มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งปรากฏการณ์ ลานินญ่า อิทธิพลของคลืน่ ลมพายุโซนร้อนวาชิ ทีไ่ ด้ลดกำ�ลังลงเมือ่ ปะทะกับความกดอากาศสูง จากประเทศจี น ที่ ไ ด้ พ าลมหนาวเข้ า มาใน ประเทศไทยว่า “ตลอด 10-20 ปีที่ผ่านมา ชายฝั่งภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนราธิวาส สงขลา ปัตตานี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และ ชุมพร ประสบกับปัญหาเรื่องการกัดเซาะของ คลื่นมาโดยตลอด ด้วยมีปัจจัยหลายด้าน ทั้ง ปัจจัยร่วมและปัจจัยธรรมชาติ ปัจจัยร่วมทีเ่ กิด จากการที่เราไปสร้างสิ่งกีดขวาง เช่น กำ�แพง หรือเขื่อนกันคลื่น ซึ่งในระยะสั้นสิ่งก่อสร้าง เหล่านีส้ ามารถป้องกันการกัดเซาะของคลืน่ ได้ แต่อาจจะสร้างปัญหาให้พื้นที่มากขึ้นกว่าเดิม ในอนาคตต่อไปได้ การสร้างสิง่ ก่อสร้างดังกล่าว อาจไปขัดขวางการเคลือ่ นตัวของทราย แต่ดว้ ย ปีนี้ความแรงของคลื่นจะแรงเป็นพิเศษ เพราะ เป็นปีของปรากฏการณ์ลานินญ่า ซึ่งจะเกิดลม ฝนและคลื่นค่อนข้างแรงบริเวณภูมิภาคเอเชีย

28 :

PSU

สาร ม.อ.

เป็นปรากฏการณ์ที่ต่อเนื่องจากปีที่แล้วที่ได้ เกิดปรากฏการณ์ลานินญ่า ซึง่ จะเกิดลมฝนและ คลืน่ ค่อนข้างแรงบริเวณภูมภิ าคเอเชียตะวันออก เฉี ย งใต้ โดยปรากฏการณ์ ดั ง กล่ า วเป็ น ปรากฏการณ์ที่ต่อเนื่องจากปีที่แล้วที่ได้เกิด ปรากฏการณ์เอลนีโญ (น้ำ�ทะเลมีอุณหภูมิสูง ทะเลนิ่งเงียบเป็นเวลานาน) ผนวกกับปัจจุบัน โลกของเรากำ�ลังเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง สภาวะภูมอิ ากาศของโลก (Climate change) ซึ่งจะมีความรุนแรงของสภาวะภูมิอากาศของ โลกเป็นอย่างมาก ซึ่งจากเดิมเมื่อ 20 กว่าปี ก่อน โลกของเราเผชิญกับยุคโลกร้อน (global warming) และสถานการณ์ต่อไปในอนาคตที่ เราจะเจอคือ Global change ซึ่งจะเป็นการ เปลี่ยนแปลงของโลกในทุกมิติ” อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ได้กล่าวเพิ่มเติม ถึงแนวโน้มปรากฏการณ์ความรุนแรงที่จะเพิ่ม ขึ้นทุกปี โดยมีภูมิอากาศเป็นตัวกำ�หนดความ รุนแรงที่เพิ่มขึ้นของคลื่นลม การทำ�นายสภาพ อากาศจะทำ�ได้ยากขึ้นซึ่งจะสามารถทำ�นาย ล่วงหน้าได้เพียงไม่กี่วัน เพราะเหตุปัจจัยของ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น และสิ่งสำ�คัญ อาจารย์ศักดิ์อนันต์ได้ฝากไว้ คือ ระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555

แจ้งให้ประชาชนได้รบั ทราบ โดยเน้นพืน้ ทีเ่ สีย่ ง และระดับความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น เพื่อการ เตรียมพร้อมรับความรุนแรงและลดการสูญเสีย ในแต่ละระดับต่อไป ส่ ว นของข่ า วลื อ หรื อ คำ � ทำ � นายเรื่ อ ง แผ่ น ดิ น ไหวและสึ น ามิ ที่ มี ก ระแสหนาหู ม า ตั้งแต่ปลายปี 2553 ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการ เกิดสึนามิ แผ่นดินไหว หรือเขื่อนภูมิพลและ เขือ่ นศรีนครินทร์แตก ทีไ่ ด้สร้างความตระหนัก ให้กับประชาชนที่อยู่ใกล้พื้นที่ที่เป็นข่าว และ ความเสียหายด้านเศรษฐกิจ ดังนัน้ ดร.ไพบูลย์ นวลนิล นักแผ่นดินไหววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์ ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับ “แผ่นดินไหวและสึนามิ : คำ�ทำ�นาย องค์ความรู้ และการเตรียมความ พร้อม” ซึ่งคำ�ทำ�นายบางอย่างที่เผยแพร่ทาง สื่อต่างๆ มีผลกระทบต่อประชาชนค่อนข้าง มาก โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง คำ � ทำ � นายหรื อ พยากรณ์ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ภั ย พิ บั ติ ธ รรมชาติ แผ่นดินไหวและสึนามิที่สร้างความเสียหายต่อ เศรษฐกิจและจิตใจของประชาชนเป็นวงกว้าง ซึ่ง ดร.ไพบูลย์ ได้ย้ำ�มาตลอดในหลายสื่อว่า “เหตุการณ์แผ่นดินไหว ยังไม่สามารถที่จะ ทำ�นายให้ถูกต้องได้ เนื่องจากการทำ�นายจะ ต้องครอบคลุมองค์ประกอบ 3 อย่างคือ เกิด


ดร.ไพบูลย์ นวลนิล ขนาดเล็กเท่านั้น”

ดร.ไตรภพ ผ่องสุวรรณ

มากที่สุด ด้านสภาพภูมิประเทศ พื้นที่ที่มีความ

ดร.ไพบู ล ย์ ลาดชันสูง (ความชันมากกว่า 30 องศา) มีโอกาส

ที่ไหน เมื่อไหร่ และขนาดเท่าใด หากทำ�นายได้ ไม่ครบทั้งสามอย่างก็นำ�ไปใช้ประโยชน์อะไร ไม่ได้ ดังนั้น การที่ใครทำ�นายว่าจะเกิดแผ่นดิน ไหวที่นั่น ที่นี่ โดยระบุวัน เวลา และบังเอิญถูก ก็ถือว่าทายแม่นเพียง 66 เปอร์เซ็นต์ เพราะยัง ขาดการทำ�นายเรือ่ งขนาดของแผ่นดินไหว หาก จะบอกว่ า จะเกิ ด แผ่ น ดิ น ไหวในสุ ม าตราอันดามัน ทายถูกแน่นอนเพราะมันไหวปกติที่ บันทึกได้ถงึ วันละ 4 ครัง้ หรือบอกว่าขณะนีเ้ กิด แผ่นดินไหวอยู่ก็ถูกอีก เพระในโลกนี้มีแผ่นดิน ไหวเกิดขึ้นเฉลี่ยนาทีละ 2 ครั้ง ขอยืนยันว่าไม่มี โอกาสทีเ่ ขือ่ นภูมพิ ลจะแตกด้วยแรงสัน่ สะเทือน จากแผ่นดินไหวแน่นอน เพราะจากการศึกษา แผ่นดินไหวในประเทศไทยและบริเวณใกล้เคียง พบว่ า มี แรงสั่ น สะเทื อ นถึ ง ตั ว เขื่ อ นน้ อ ยมาก (<0.05g) และจะไม่เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ที่เขื่อนด้วย สำ�หรับเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งตั้งอยู่บน รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ได้เกิดแผ่นดินไหวหลังจาก เขื่อนเก็บน้ำ�ได้ถึงระดับความสูงประมาณ 172 เมตร เมื่อ 24 เมษายน 2526 ขนาด M = 6.0 และมีขบวนของแผ่นดินไหวตามหลังเป็นร้อย ครั้งเป็นระยะเวลานานเป็นปี และหลังจากนั้น แผ่นดินไหวก็เกิดในบริเวณเขื่อนอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2536 มีขนาดราวๆ M = 3 ในปี 2537 อัตราการเกิดแผ่นดินไหวก็ลดลงเหลือเดือนละ ไม่ กี่ ค รั้ ง หากจะอธิ บ ายให้ เข้ า ใจง่ า ยก็ จ ะ หมายความถึงเปลือกโลกในบริเวณนั้นได้ปรับ สภาพไปสูส่ ถานะทีเ่ ริม่ นิง่ อย่างไรก็ตามแผ่นดิน ไหวก็ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องเพราะได้รับแรงกระทำ� จากน้ำ�อยู่ตลอดเวลา แต่เนื่องจากเปลือกโลก บริเวณนัน้ ได้สญ ู เสียความแข็งแรงไป ไม่สามารถ สะสมพลังงานได้มาก จึงเกิดแผ่นดินไหวที่มี

ก ล่ า ว เ พิ่ ม เ ติ ม ว่ า “ส่วนหน่วยงานของ รั ฐ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งและ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ โ ดยตรงในการให้ ข้ อ มู ล ความ กระจ่างของแผ่นดินไหวและสึนามิ คือ สำ�นัก เฝ้าระวังแผ่นดินไหวของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่ง ทำ�หน้าที่ตรวจติดตามการเกิดแผ่นดินไหวและ รายงานการเกิดแผ่นดินไหวตลอด 24 ชั่วโมง ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ทำ�หน้าที่ติดตาม รวบรวมข้อมูลภัยธรรมชาติแล้วประกาศเตือน ภัยหรือส่งสัญญาณเตือนภัยเพื่อให้ประชาชน เตรียมพร้อมและหลบไปอยู่ในที่ปลอดภัยได้ ทั น ท่ ว งที กรมทรั พ ยากรธรณี ก็ ศึ ก ษาการ เคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (มีพลัง) มีเครือข่าย ตรวจวัดแผ่นดินไหวอยูด่ ว้ ย ส่วนกรมชลประทาน ก็ ต รวจติ ด ตามแผ่ น ดิ น ไหวตามเขื่ อ น และ อ่ า งเก็ บ น้ำ � ต่ า งๆ การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทยก็ตรวจวัดแผ่นดินไหวในบริเวณ เขื่อนด้วยเช่นกัน ดังนั้น การเตรียมความพร้อม ในการรับมือแผ่นดินไหวและสึนามิ รวมทั้งภัย พิบัติอื่นๆ เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ หากทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องหันหน้ามาร่วมกันใช้ทรัพยากรและ องค์ความรู้มาแก้ปัญหาและเตรียมความพร้อม ในการรับมือ มากกว่าการเชื่ อคำ � ทำ � นายและ ข่ า วลื อ เราต้ อ งก้ า วพ้ น คำ � ว่ า “ไม่ เชื่ อ อย่ า ลบหลู่” ให้ได้ เพื่อความปลอดภัยของเราและ ลูกหลานของเราในอนาคต” ในส่วนของสถานการณ์ฝนตกหนักใน เขตภาคใต้ ซึ่งอาจทำ�ให้เกิดภัยพิบัติและดิน โคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยงนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ไตรภพ ผ่องสุวรรณ อาจารย์ภาควิชา ฟิสกิ ส์ ได้ให้ขอ้ มลูเกีย่ วกับการเกิดธรณีพบิ ตั ภิ ยั ดินโคลนถล่มและพืน้ ทีเ่ สีย่ งว่า “สาเหตุส�ำ คัญมี อยู่ทั้งปัจจัยด้านสภาพธรณีวิทยา ได้แก่ ชนิด ของหินและโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีอัตรา การผุพังสูง โดยพื้นที่หินแกรนิตจะมีอัตราเสี่ยง

เกิดดินถล่มได้ง่าย หรือพื้นที่ที่มีทางน้ำ�คดเคี้ยว จำ�นวนมาก และลักษณะภูมิประเทศที่เป็นร่อง เขา ด้านหน้ารับน้ำ�ฝน และบริเวณที่เป็นหุบเขา กว้างสลับซับซ้อน แต่มลี �ำ น�้ำ หลักเพียงสายเดียว จะมีโอกาสเกิดดินถล่มได้งา่ ยกว่าพืน้ ทีอ่ นื่ ปัจจัย สำ�คัญ คือ ด้านปริมาณน้ำ�ฝน การเกิดฝนตก หนักหรือตกต่อเนือ่ งเป็นเวลานาน และลักษณะ ของฝนที่กระจุกตัวในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอย่าง ปัจจุบัน จะทำ�ให้เกิดน้ำ�ท่วมขังได้เร็วขึ้น ดินที่ อุ้มน้ำ�ไว้อย่างอิ่มตัวก็เป็นปัจจัยเร่งที่จะทำ�ให้ เกิดดินโคลนถล่มได้ และด้วยสภาพแวดล้อม พื้นที่เกิดดินถล่มจะอยู่ในพื้นที่ภูเขาสูงชัน ซึ่ง ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ ที่ดินจากมนุษย์ เช่น การก่อสร้างถนนเข้าสู่ ชุมชน การปรับเปลีย่ นความลาดชัน และการรุก พื้ น ที่ ป่ า /การจั ด สรรพื้ น ที่ ป่ า เสื่ อ มโทรมเพื่ อ ทำ�การเกษตร ส่วนของพืน้ ทีเ่ สีย่ งในแถบภาคใต้ ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในเขตอำ�เภอสิชล ขนอม และนบพิตำ� และบาง ส่วนในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพัทลุง” ท้ า ย สุ ด ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ดร.ไตรภพ ฝากถึงเรื่องเครือข่ายเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัยดินถล่มซึ่งเป็นเรื่องสำ�คัญ โดย จะต้ อ งบู ร ณาการข้ อ มู ล จากหลายฝ่ า ย ทั้ ง กรมอุ ตุ นิ ย มวิ ท ยา กรมทรั พ ยากรน้ำ � กรม ทรัพยากรธรณี หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงประชาชนในหมู่บ้านจะต้องช่วยกันแจ้ง ข่าวสาร สถานการณ์ของพื้นที่ และขอบข่าย งานของตนเองให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ รวมทั้ ง การเตรี ย มแผนแจ้ ง เตื อ นและพื้ น ที่ สำ�หรับอพยพ และการกระจายข่าวให้ประชาชน ในแถบพื้นที่เสี่ยงได้รับทราบโดยทั่วกัน เพื่อ ลดอัตราการสูญเสียและเป็นข้อมูลสำ�หรับแผน รับมือภัยดินโคลนถล่มที่อาจจะเกิดขึ้น ที่มา : ข่าวคณะวิทยาศาสตร์ ฉบับที่ 1 ประจำ�เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2555 หน้า 2-3

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 29


สู่สังคม/ชุมชน

ส่ อ งแว่ น ขยาย : บทบาทนักศึกษากับการพัฒนาชุมชน วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

อ.ศักดา ขจรบุญ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์

และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า การให้บริการวิชาการกับชุมชนเป็นอีกภารกิจหนึง่ ทีส่ �ำ คัญของ มหาวิทยาลัย ซึง่ หมายถึงการนำ�วิชาการทีเ่ ป็นองค์ความรู้ ในแต่ละศาสตร์ ไปใช้ ในการขับเคลื่อนหรือสนับสนุนชุมชนให้เกิดการพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงมีแนวความ คิดที่จะต้องปลูกฝังนักศึกษาให้มีจิตสำ�นึกสาธารณะ ในการช่วยเหลือชุมชน โดยการนำ�ความรูท้ มี่ ไี ปใช้ใน การพัฒนาชุมชนและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเขต พื้ น ที่ ภ าคใต้ ที่ นั ก ศึ ก ษาได้ อ าศั ย อยู่ โดยได้ มี ก าร ออกแบบรายวิชากิจกรรมเสริมหลักสูตรขึ้นมา ถึง แม้ว่าจะเป็นรายวิชาที่มีจำ�นวนหน่วยกิตเพียง 1 หน่วยเท่านัน้ แต่กส็ ามารถทีจ่ ะเป็นจุดเริม่ ต้นของการ สร้างจิตสำ�นึกสาธารณะได้ จากการทีไ่ ด้มกี ารเปิดสอนรายวิชานี้ ได้มกี าร ปรั บ เปลี่ ย นกลวิ ธี เ พื่ อ ที่ จ ะสร้ า งแรงบั น ดาลใจให้ เกิดขึ้นกับนักศึกษา ในการที่จะสรรสร้างกิจกรรมที่ เป็นประโยชน์ตอ่ สังคม โดยรูปแบบจะมีการแบ่งกลุม่ นักศึกษาประมาณ 15-20 คน แล้วเลือกพืน้ ทีท่ จี่ ะทำ� กิจกรรม ซึ่งแต่ละกลุ่มส่วนใหญ่ก็จะใช้พื้นที่ที่เป็น

30 :

PSU

สาร ม.อ.

อ.ศักดา ขจรบุญ

ภูมิลำ�เนาของสมาชิกในกลุ่ม หรือเลือกพื้นที่ที่มีความสะดวกในการไปดำ�เนิน โครงการ แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นที่สำ�คัญ เพราะมหาวิทยาลัยมีความเชื่อว่า ไม่ว่าจะ เป็นพืน้ ทีใ่ ดก็ตามสามารถทีจ่ ะทำ�ให้เกิดการพัฒนามากยิง่ ขึน้ ได้ หลังจากนัน้ เมือ่ คัดเลือกพื้นที่ได้แล้วก็จะต้องมีการลงสำ�รวจพื้นที่ชุมชน สอบถามแลกเปลี่ยน ข้อมูลกับผู้นำ�ชุมชน ชาวบ้าน เพื่อให้สามารถรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ของชุมชน เพื่อนำ�มาใช้ในการวิเคราะห์ถึงปัญหาและ ความต้องการในการพัฒนาของพื้นที่ หลั ง จากนั้ น สมาชิ ก ในกลุ่ ม ต้ อ งร่ ว มกั น พิ จ ารณาถึ ง กิ จ กรรมที่ จ ะ ดำ�เนินการ โดยจะต้องสอดคล้องกับศักยภาพของกลุ่มที่สามารถดำ�เนินการได้ และเหมาะสมกับองค์ความรู้ในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ซึ่งหลายคนมองว่ามันยาก สำ�หรับการประยุกต์ศาสตร์ต่างๆ ลงปฏิบัติงานในพื้นที่จริงๆ ทั้งที่เป้าประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอน คือ การนำ�เอาองค์ความรูม้ าประยุกต์ใช้ในการให้ บริการชุมชน ซึ่งจากการที่ได้ให้นักศึกษาคิดทำ�โครงการต่างๆ นั้น ทำ�ให้เห็น ภาพตัวอย่างของการทำ�กิจกรรมที่มีการนำ�เอาศาสตร์มาใช้ในการดำ�เนินการ โครงการดังนี้

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555


โครงการร่วมใจ สร้างห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ใหม่ จาก ใจพี่ ม.อ. สูน่ อ้ งโรงเรียนบ้านซอย 2 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เป็นโครงการที่นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งมีความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี ได้พบว่า โรงเรียนบ้านซอย 2 อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี มีความต้องการทีจ่ ะจัดทำ�ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน แต่ ยั ง ขาดความพร้ อ มทั้ ง ในเรื่ อ งของกำ � ลั ง คนและงบประมาณ นั ก ศึ ก ษาได้ เข้ า ไปช่ ว ยในการสนั บ สนุ น การสร้ า งห้ อ งเรี ย น วิทยาศาสตร์ โดยการวางแผนอย่างเป็นระบบในการจัดหางบ ประมาณและแรงสนับสนุนในการสร้างห้องเรียนดังกล่าว มีการ ร่วมกันคิดและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่ควรจะนำ�มา ให้นกั เรียนในระดับชัน้ ต่างๆ ได้เข้าใจวิทยาศาสตร์มากยิง่ ขึน้ จน ได้ห้องเรียนทางวิทยาศาสตร์ใหม่ 1 ห้อง และสามารถใช้งานได้ จริงจนถึงปัจจุบัน

ดังกล่าว ผลจากการทำ�โครงการทำ�ให้นักเรียนได้มีความรู้ทางด้าน คอมพิวเตอร์มากขึ้น โดยวัดจากผลการสอบหลังการอบรม ซึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่ได้ระดับผลคะแนนมากขึ้น

โครงการนิทานสร้างฝัน สานสัมพันธ์สองภาษา พี่ ม.อ. สู่น้องนูรุ้ลฮูดา เป็นการผสมผสานของนักศึกษาหลายสาขาวิชา

จุดเด่นคือนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักศึกษามุสลิม โดยมีความรู้เรื่อง ภาษาและไอทีเป็นอย่างดี ได้เลือกพื้นที่ในจังหวัดสตูลเป็นพื้นที่ใน การจัดทำ�โครงการ ได้สะท้อนให้เห็นปัญหาในการที่คนในพื้นที่ไม่มี ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยมากนัก ใช้แต่ภาษาถิ่นในการสื่อสาร โดย เห็นว่าควรจะมีแบบเรียนที่มีทั้งภาษาไทยและภาษามลายูถิ่น เพื่อ ให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรูภ้ าษาได้ทงั้ สองภาษา เป็นการลดช่องว่างใน สังคมแบบพหุวัฒนธรรมให้น้อยลง และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุขได้ โดยนักศึกษาได้เลือกที่จะสร้างหนังสือนิทานที่มีทั้งสอง ภาษา และมีภาพประกอบเพือ่ ให้เด็กได้มจี นิ ตนาการ สามารถระบาย สีได้ตามใจชอบ ในอนาคต จะมี ก ารใช้ ไ อที เข้ า มาทำ � หนังสือให้มีความสวยงาม มากยิ่งขึ้น และนำ�ไปสู่การ โครงการเด็ก ม.อ. สอนไอที ให้กับน้องโรงเรียน สร้างการ์ตูนอนิเมชั่นสอง บ้านไสตอ ตำ�บลช้างซ้าย อำ�เภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัด ภาษา ซึ่งต้องใช้ความรู้ทาง สุราษฎร์ธานี เป็นโครงการทีน่ กั ศึกษาสาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยี ด้านไอทีเข้ามาช่วย หนังสือ สารสนเทศ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ ซึ่งมีความรู้ นิทานได้มกี ารนำ�ไปทดลอง ทางด้ า นไอที เ ป็ น อย่ า งดี ได้ ร่ ว มกั น จั ด ทำ � โครงการอบรม ใช้งานจริงในโรงเรียนต่างๆ คอมพิวเตอร์ให้กับนักเรียนในระดับชั้นต่างๆ เพื่อให้นักเรียน ผลตอบรับออกมาค่อนข้าง สามารถที่จะใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้ โดยก่อนการดำ�เนินการ ดี ประเมินจากรอยยิ้มของเด็กและความสุขในการอ่านนิทาน ได้ มี ก ารวางแผนการ โครงการตัวอย่างทั้ง 3 โครงการ ได้สะท้อนให้เห็นภาพ ทำ�งานอย่างเป็นระบบ มี ของการนำ�เอาองค์ความรู้ทางวิชาการมาบูรณาการให้เกิดกิจกรรม การทดสอบความรู้ของ การสร้างสรรค์ชมุ ชนได้ ซึง่ ทำ�ให้ได้ประโยชน์ทงั้ ในส่วนของนักศึกษา นั ก เ รี ย น แ ล ะ เ ลื อ ก ที่ได้มองเห็นภาพความเป็นจริงของสังคม ชุมชน ประเทศ และมี โ ป ร แ ก ร ม ที่ มี ค ว า ม บทบาทในการสนับสนุนงานด้านการพัฒนาชุมชนตามศักยภาพ เ ห ม า ะ ส ม กั บ ร ะ ดั บ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาตัวนักศึกษาด้วย ส่วนชุมชนก็ได้รับ ความรู้ ข องนั ก เรี ย นใน ประโยชน์จากกิจกรรมที่ได้จัดทำ�ขึ้น โดยอาศัยความรู้ทางวิชาการที่ การอบรม โดยเน้นการ มี และไม่ต้องไปลองผิดลองถูกอีกต่อไป สำ�หรับมหาวิทยาลัยก็จะได้ เรี ย นรู้ แ บบพี่ ส อนน้ อ ง ปฏิบัติภารกิจในการเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้สร้างองค์ความรู้ในการ ทำ � ให้ นั ก เรี ย นมี ค วาม รับใช้ชุมชนอย่างแท้จริง เข้าใจมากยิ่งขึ้น และมี ความสุ ข กั บ การเรี ย น PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 31


วิจัย

ม.อ.สุราษฎร์ฯ ศึกษาประเมินแรงลมชายฝั่งสุราษฎร์ฯ หาความคุ้มค่าตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้า ทีเ่ กาะพะงัน ม.อ.สุราษฎร์ฯ ร่วมทำ�โครงการ

วิจัยประเมินศักยภาพพลังงานลมนอกชายฝั่ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศึกษาความเป็นไปได้ ใน การลงทุนติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตพลังงาน ไฟฟ้า รองรับธุรกิจท่องเที่ยวเกาะพะงัน

ดร.วาริช วีระพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า เกาะพะงัน เป็นเกาะทีม่ ีชื่อเสียงด้านการ ท่องเทีย่ วระดับโลก โดยเฉพาะช่วงฤดูการท่องเทีย่ วจะมีนกั ท่องเทีย่ วมาพักจำ�นวนมาก ทำ�ให้ ธุรกิจการโรงแรม รีสอร์ท ธุรกิจการท่องเที่ยวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นผลทำ�ให้มี ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น อย่างไรก็ตามระบบไฟฟ้าของเกาะพะงันในปัจจุบัน ถูกเชื่อมต่อกับเกาะสมุยด้วยสายเคเบิลใต้น้ำ�ด้วยแรงดันขนาด 33 กิโลโวลต์ กำ�ลังไฟฟ้า 15 เมกะวัตต์ ทางเลือกหนึ่งที่มีความเป็นไปได้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้รองรับการ ขยายตัวด้านการท่องเทีย่ วของเกาะพะงัน คือการลงทุนติดตัง้ กังหันลมเพือ่ ผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณสูง และต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ เส้นทางเดินเรือ ประมงพื้นฐาน แนวปะการัง เป็นต้น ดังนั้น คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้จัดทำ�โครงการวิจัยเพื่อ ศึกษาการประเมินศักยภาพพลังงานลมนอกชายฝัง่ บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยได้รบั การ สนับสนุนงบประมาณจากสำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และหลายหน่วยงานของ มหาวิทยาลัย เช่น วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี คณะวิทยาศาสตร์ สำ�นักวิจัยและพัฒนา และ

32 :

PSU

สาร ม.อ.

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555


กองทุ น วิ จั ย มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ เพื่ อ ทำ � การ ประเมินศักยภาพพลังงานลม โดยการติดตั้งเสาวัดลม และ ทำ�การเก็บข้อมูลอัตราเร็วลม และทิศทางลมรายปี จากการทีไ่ ด้ส�ำ รวจพืน้ ทีเ่ กาะพะงันเพือ่ ติดตัง้ เสาวัด ลมซึ่งจะต้องใช้พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ ซึ่งในระยะแรกพบว่ามี ข้อจำ�กัดหลายอย่าง เช่น พืน้ ทีใ่ นการติดตัง้ ค่าเช่าพืน้ ทีเ่ พือ่ ติดตั้งเสาวัดลม และการคมนาคม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากการที่ได้มีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับองค์การบริหารส่วน ตำ�บลเกาะพะงัน ทำ�ให้ได้รับความร่วมมือจัดหาพื้นที่ใกล้ กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำ�บลเกาะพะงัน สำ�หรับติดตั้งเสา วั ด ลมสู ง 120 เมตร การดำ � เนิ น การติ ด ตั้ ง เสาวั ด ลม ประกอบด้วยการเตรียมฐานรากเพื่อที่จะยึดไว้กับเสา ติด ตั้งเซนเซอร์ วัดอัตราเร็วลมที่ระดับความสูง 65, 90, 100, 110 และ 120 เมตร มีการบันทึกข้อมูลในการ์ดหน่วย ความจำ� และส่งข้อมูลทางไกลผ่านโมเด็มเข้าทาง E-mail ทุกวัน และนำ�ข้อมูลที่ได้มาประมวลผลด้วยโปรแกรม สำ�เร็จรูปสำ�หรับวิเคราะห์อัตราเร็วและทิศทางลม โดยมี การเก็บข้อมูลต่อเนื่องอย่างน้อย 8 เดือน ขณะนี้ อ ยู่ ใ นช่ ว งดำ � เนิ น โครงการ หากผลการ ประเมินศักยภาพพลังงานลมมีความเร็วพอทีจ่ ะผลิตกระแส ไฟฟ้าได้จะมีข้อดีมากมาย เช่น ไม่มีค่าใช้จ่ายในด้านการ จัดหาเชือ้ เพลิงพลังงาน ส่งผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมต�่ำ ทีส่ ดุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถช่วยลดระดับการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนได้

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 33


สู่สังคม/ชุมชน

ม.อ. สุราษฎร์ฯ ร่วมเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชนในชนบท

ข้ า วหอมไชยา เป็ น ข้ า วหอมดั้ ง เดิ ม ของ อำ � เภอไชยา และการอนุ รั ก ษ์ วั ฒ นธรรม วิ ถี ก ารทำ � นา เช่ น การโซแรงเกี่ ย วข้ า ว พิธีการสวดทุ่ง นอกจากนี้มีการเลี้ยงเป็ด ไล่ทุ่ง ทำ�ไข่เค็ม รวมทั้งการประมงพื้นบ้าน ชุมชนบ้านแพรกแห้ง ตำ�บลวิสยั ใต้ อำ�เภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นชุมชนทีต่ อ้ งการ การพัฒนาให้เป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง และชุมชนสีเขียว ซึ่งชุมชนดำ�เนินกิจกรรม นายธวัชชัย ทองธรรมชาติ ฝ่ายบริการวิชาการ วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี กลุ่ ม อาชี พ การพั ฒ นาการเพาะปลู ก ให้ เปิดเผยว่า วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เป็ น เกษตรอิ น ทรี ย์ การผลิ ต ปุ๋ ย ชี ว ภาพ ในการประสานและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนชนบท เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ นอกจากนี้ชุมชนต้องการการเรียนรู้ในการ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดภาคใต้ตอนบน ซึ่งการดำ�เนินการเป็นไปตามความ บริ ห ารจั ด การกลุ่ ม และการจั ด การด้ า น ต้องการของชุมชน โดยตั้งแต่ต้นปี 2555 ได้มีชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ร้องขอให้ ข้อมูลชุมชน โดยอาศัยความร่วมมือของผูน้ �ำ มหาวิทยาลัยเข้าไปดำ�เนินการช่วยเหลือและพัฒนาหลายชุมชน เช่น ชุมชน อบต. และโรงเรียน จากการประชุ ม ร่ ว มกั บ ชุ ม ชนใน ชุมชนบ้านนางกำ� ตำ�บลดอนสัก ครั้งนี้ ทำ�ให้ได้รับทราบข้อมูลต่างๆ และได้ อำ�เภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็น มีการจัดตั้งคณะทำ�งานโดยการบูรณาการ ชุ ม ชนที่ อ ยู่ ติ ด กั บ ชายทะเล ประชาชน ร่ ว มกั น ของคณะและหน่ ว ยงานต่ า งๆ ประกอบอาชี พ ด้ า นการประมง และ ในวิ ท ยาเขตสุ ร าษฎร์ ธ านี เช่ น คณะ เกษตรกรรม ในการลงพื้นที่ครั้งที่ 1 เพื่อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม รับฟังความคิดเห็นและความต้องการ พบว่า คณะศิ ล ปศาสตร์ แ ละวิ ท ยาการจั ด การ ชุมชนต้องการในการพัฒนาการท่องเที่ยว วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี เพื่อจัดทำ�แผน เชิงอนุรักษ์ เนื่องจากมีทรัพยากรที่น่าสนใจ ประกอบด้วยป่าชายเลน เกาะแก่งทีส่ วยงาม และประมงชายฝั่ ง จากการลงพี้ น ที่ เ พื่ อ งานและกิจกรรมการพัฒนาชุมชนต่างๆ ให้ และอยู่ ใ กล้ บ ริ เวณที่ อ ยู่ อ าศั ย หากิ น ของ รับฟังความคิดเห็นและความต้องการของ บรรลุเป้าหมายและทำ�ให้ชุมชนเป็นชุมชน ปลาโลมา และมีการทำ�การเกษตรอินทรีย์ ชุมชนได้ขอ้ สรุปว่า ชุมชนต้องการจะอนุรกั ษ์ ต้นแบบในการพัฒนาต่อไป ของภาคเอกชนและชุ ม ชน จึ ง มี ค วาม วิ ถี ก ารทำ � นาของคนไชยา ซึ่ ง มี ก ารฟื้ น ฟู เหมาะสมในการพั ฒ นาเพื่ อ การอนุ รั ก ษ์ ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม ประกอบกั บ ได้ รั บ ร่ ว มมื อ จากผู้ นำ � ชุ ม ชน อบต. และภาคเอกชนในพื้นที่ ชุ ม ชนบ้ า นเลม็ ด ตำ � บลเลม็ ด อำ�เภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นชุมชน ที่ มี ก ารประกอบอาชี พ ทำ � นา สวนปาล์ ม

34 :

PSU

สาร ม.อ.

ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555


รางวัลแห่งคุณภาพ

อาจารย์คณะสถาปัตย์ ม.อ.ตรัง รับรางวัลออกแบบ

“F-L-U-D”อยู่-กับ-น้ำ� อาจารย์ชาวดี ง่วนสน

ค ณ ะ ส ถ า ปั ต ย ก ร ร ม ศ า ส ต ร์ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิทยาเขตตรัง ได้รับรางวัลแนวความ คิดยอดเยี่ยมอันดับที่ 2 จากการ ประกวด experimental design 2012 “F-L-U-D” prize winners (Future Living for Unstable Delta อยู่-กับ-น้ำ�) จัดโดย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม ราชูปถัมภ์ รับรางวัลเงินสด 60,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ การประกวด experimental design 2012 “F-L-U-D” prize winners เป็นการเชิญชวนนักออกแบบทุก สาขาจากทั่วโลก มาร่วมค้นหาวิสัยทัศน์ส�ำ หรับการใช้ชีวิตกับน้ำ�ในอนาคต ด้วยการส่งแบบประกวดแนวความคิดที่พักอาศัยที่ เหมาะกับสถานการณ์น้ำ� ในบริเวณพื้นที่ลุ่มที่นับวันจะมีแต่ความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น โดยแนวคิดที่น�ำ เสนอไม่จำ�เป็นต้องมีที่ตั้งที่ เฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด เป็นการนำ�เสนอสถาปัตยกรรมสำ�หรับโลกในวันพรุ่งนี้ ที่มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันกับสิ่งที่บรรพบุรุษของ เราสร้างขึ้นในอดีต ผลการตัดสิน ได้มีการประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2555 ณ สมาคมสถาปนิกสยามฯ และ website ของสมาคม และมีการจัดแสดงผลงานเมื่อวันที่ 24 - 29 เมษายน 2555 ในงานสถาปนิก’55 ที่ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีการมอบรางวัลในวันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2555 ในงานสถาปนิก’55

รางวัลประกอบด้วย

รางวัลแนวความคิดยอดเยี่ยมอันดับที่

1 จำ�นวน 1 รางวัล : เงินสด 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ รางวัลแนวความคิดยอดเยี่ยมอันดับที่ 2 จำ�นวน 1 รางวัล : เงินสด 60,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ รางวัลแนวความคิดยอดเยี่ยมอันดับที่ 3 จำ�นวน 1 รางวัล : เงินสด 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ รางวัลแนวความคิดที่สมควรได้รับการเผยแพร่ 3 รางวัล : เงินสด 15,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 35


เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำ�หนดออกเป็นประจำ�ทุกสองเดือน จัดทำ�โดย งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : 15 ถนนกาญจนวนิช อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร. 0-7455-8959 http://www.psu.ac.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.