สารม.อ. ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555

Page 1

ม.อ.

สาร

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

www.psu.ac.th

ม ห า วิ ท ย า ลั ย ส ง ข ล า น ค ริ น ท ร์

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 2555

n ่ e ม ห m .ใ

h ศ . s น Freนิเทศ ปฐม

อธิการบดี ม.อ. วางเป้าสู่

1 ใน 10

ม.วิจัยอาเซียนที่เป็นที่พึ่งของชุมชน..... 2

“Soksophath Um” จากกัมพูชาสู่ ม.อ.สุราษฎร์ฯ

วิชาการและกิจกรรมในชุมชนคือความประทับใจ.... 8 ม.อ. เตรียมเปิดหลักสูตรร่วมกับ UMK มาเลเซีย นำ�ร่อง 2 ปริญญาสาขา Food Technology and Security..... 14


สู่ความเป็นนานาชาติ

อธิการบดี ม.อ. วางเป้าสู่

1 ใน 10

ม.วิจัยอาเซียนที่เป็นที่พึ่งของชุมชน ใ น ก า ร เ ส ว น า เ รื่ อ ง “ทิ ศ ทางการวิ จั ย ของ ม.อ. ในช่วง 3 ปีต่อจากนี้” ในงาน “วั น นั ก วิ จั ย และนวั ต กรรม” ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 6 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2555 ที่ศูนย์ประชุม นานาชาติ ฉ ลองสิ ริ ร าชสมบั ติ ครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิม่ สกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงการ มองวิสัยทัศน์ด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในอีก 3 ปีข้างหน้า หลังจากการเข้ารับต�ำแหน่งอธิการบดีเมื่อวันที่ 1 มิถนุ ายน ทีผ่ า่ นมาว่า จะพยายามน�ำมหาวิทยาลัยสูม่ หาวิทยาลัยวิจยั ชั้นน�ำใน 10 อันดับแรกของอาเซียน ในขณะเดียวกันก็สามารถน�ำ งานวิจัยเพื่อใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นได้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบนั ใน การจัดอันดับมหาวิทยาลัยวิจัย โดย SCImago Institutions Rankings ได้จัดให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อยู่ในอันดับที่ 13 ของอาเซียน ดังนัน้ ยังมีมหาวิทยาลัยอีก 4 แห่งทีเ่ ราจะต้องพยายาม ก้าวน�ำให้ได้ โดยการวางกลยุทธ์ให้มนี กั วิจยั ใหม่เพิม่ ขึน้ มีการจัดหา ทรัพยากรสนับสนุนทีเ่ พียงพอ โดยเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาเอก ทีเ่ ป็นก�ำลังส�ำคัญในการช่วยสนับสนุนการท�ำวิจยั ทีผ่ า่ นมาแม้เราจะ มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นจ�ำนวนที่น่าพอใจ แต่ยังเป็น ผลงานของนักวิชาการทีอ่ ยูใ่ นวงจ�ำกัด และต้องมีการขับเคลือ่ นให้มี การน�ำผลงานวิจัยสู่การตีพิมพ์ในวารสารที่มีคุณภาพ เพื่อให้มีการ

2:

PSU

สาร ม.อ.

ยอมรับในระดับนานาชาติเพิ่มขึ้น เป้าหมายส�ำคัญอีกประการหนึ่ง คือการน�ำมหาวิทยาลัยสู่สังคม แห่งปัญญา เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถเป็นที่พึ่งของชุมชน โดยการน�ำ งานวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถประมวล ความรู้ที่ได้รับไปแก้ปัญหาตนเอง และให้ชุมชนมามีส่วนร่วมในการหา โจทย์วิจัย เพราะมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคต้องมีหน้าที่ในการเป็นที่พึ่ง ของชุมชน โดยจะใช้ส�ำนักวิจัยและพัฒนา ซึ่งประกอบด้วยส�ำนักงาน ประสานงานวิจัยอุตสาหกรรมและชุมชน อุทยานวิทยาศาสตร์ และ หน่วยบริการวิชาการกลาง ซึ่งจะจัดตั้งขึ้นใหม่เป็นตัวขับเคลื่อน โดยมี เป้าหมายน�ำงานวิจัยเข้าสู่ชุมชนให้ได้ร้อยละ 70 รองศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดี ฝ่ายระบบวิจัยและบัณฑิตศึกษา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยก�ำลังจะ ปรับเปลี่ยนวิธีการการเข้าถึงชุมชน โดยการให้นักวิชาการในสาขา สังคมศาสตร์นำ� ร่องเข้าไปก่อนเพือ่ ส�ำรวจความคิดเห็น ความต้องการของ ชุมชน และเข้าถึงชุมชน จากนั้นจึงน�ำนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ การแก้ปญ ั หาชุมชนในสาขาต่างๆ เข้าไปแก้ปญ ั หา ดังจะเห็นตัวอย่างจาก การเข้าพัฒนาชุมชนเกาะบุโหลน จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมกับ มูลนิธิชัยพัฒนา เป็นต้น

“เมื่อก่อนงานวิจัยเกิดขึ้นโดยนักวิจัยที่มีความรู้ทางวิชาการ ในด้านนั้นๆ แต่ในปัจจุบันมีการปรับกระบวนการวิจัยโดยใช้ปัญหาเป็น ตัวตัง้ มีการร่วมกับชาวบ้านหรือภาคอุตสาหกรรม ในการค้นหาปัญหา ของชุมชน เพื่อน�ำไปสู่การมีโจทย์วิจัย เพื่อจัดท�ำโครงการวิจัยที่นำ� มา แก้ปัญหาชุมชนอีกครั้งหนึ่ง วิธีการเช่นนี้ทำ� ให้ค�ำกล่าวของหลายคนที่ บอกว่าผลงานวิจยั มีไว้ขนึ้ หิง้ นัน้ หมดไปได้” รองอธิการบดีฝา่ ยระบบวิจยั

และบัณฑิตศึกษา กล่าว

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555


ม.อ.

ส า ร ม ห า วิ ท ย า ลั ย ส ง ข ล า น ค ริ น ท ร์

สาร

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

www.psu.ac.th

ม ห า วิ ท ย า ลั ย ส ง ข ล า น ค ริ น ท ร์

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 2555

เป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์ภารกิจของมหาวิทยาลัยให้กับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สื​ื่อสร้างความเข้าใจที่จะทำ�ให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวรู้จัก มหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น และจะเป็นจดหมายเหตุหรือบันทึกความทรงจำ�ภารกิจของสถาบัน

ส ารบั ญ ร อ บ รั้ ว ศ รี ต รั ง ม.อ. จัดพิธีส่งมอบงานผู้บริหารชุดใหม่ รศ.ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล เริ่มรับตำ�แหน่ง 1 มิถุนายน 2555 ........................................................ 4-5 ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่…อธิการบดีให้นักศึกษาใหม่ภูมิใจในสถาบัน เปรียบวิทยาเขตเหมือนพี่น้องที่ต้องดูแลกัน.................................... 16-17 “ศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข” ปูชนียบุคคลของ ม.อ. ผู้ควรค่าแก่การเชิดชู........................................................................... 22-23 ผู้บริหาร ม.อ. เยี่ยมคารวะทายาท “อรรถกระวีสุนทร”...................... 35 ความภาคภูมิใจของ ม.อ. ......................................................................... 35

ร า ง วั ล แ ห่ ง คุ ณ ภ า พ วันนักวิจัยและนวัตกรรม ม.อ. ครั้งที่ 6.................................................. 24 “ธีระพงศ์ จันทรนิยม” กับรางวัล “การบริการดีเด่น” จาก ปขมท. จากประสบการณ์ 16 ปี ในการนำ�ความรู้ เข้าถึงชาวสวนปาล์ม............................................................................ 32-33

แ น ะ นำ � ห น่ ว ย ง า น ใ ห ม่ ตั้ง “สถานวิจัยระบบการดูแลผู้สูงอายุไทย” หวังพัฒนาระบบการดูแล ผู้สูงอายุ ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม.................................................... 26-27

สู่ สั ง ค ม / ชุ ม ช น คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.อ. สร้างตู้อบแปรรูปอาหารทะเล มอบชาวบ้านเกาะบุโหลน จ.สตูล...................................................... 10-11 คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ. ร่วมกับเทศบาลนครยะลา คืนรอยยิ้มผู้สูงวัยแก่ผู้สูงอายุในจังหวัดยะลา......................................... 25

สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม

ถ่ า ย ท อ ด เ ท ค โ น โ ล ยี สู่ ชุ ม ช น คณะทรัพฯ ม.อ. ผลิตกิ่งพันธุ์ส้มโอทับทิมสยามปลอดโรค พร้อมถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนปากพนัง.............................................28-29

กิ จ ก ร ร ม นั ก ศึ ก ษ า “ศรีตรังนครินทร์ จ�ำกัด” ของ ม.อ.สุราษฎร์ฯ บริษัทจ�ำลอง : ประสบการณ์ใหม่ที่ต้องลอง.......................................... 34

วิ จั ย “ชุดตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ราคาประหยัด” ม.อ. ผลงานประดิษฐ์ คิดค้นระดับดีเด่น จากสภาวิจัยแห่งชาติ ประจ�ำปี 2555.............. 30-31

ก า ร ศึ ก ษ า “Soksophath Um” จากกัมพูชาสู่ ม.อ.สุราษฎร์ฯ วิชาการและ กิจกรรมในชุมชนคือความประทับใจ...................................................... 8-9 ม.อ. ลุย 5 จังหวัดภาคใต้ จัด PSU Road Show แนะหลักสูตร-แจงระบบสอบเข้า ม.อ. ปี 56.................................. 20-21

สู่ ค ว า ม เ ป็ น น า น า ช า ติ อธิการบดี ม.อ. วางเป้าสู่ 1 ใน 10 ม.วิจัยอาเซียนที่เป็นที่พึ่ง ของชุมชน....................................................................................................... 2 ม.อ. เตรียมเปิดหลักสูตรร่วมกับ UMK มาเลเซีย น�ำร่อง 2 ปริญญา สาขา Food Technology and Security................................................ 14 PSU English Camp 2012......................................................................... 15 องค์การอนามัยโลกตั้งหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. เป็นศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกเพื่อการอบรมและวิจัย ด้านระบาดวิทยา.................................................................................. 18-19

ม.อ. เดินหน้าศึกษา “ทุ่งกังหันลมเกาะใหญ่” เปิดเวทีฟังเสียง คนในท้องถิ่น............................................................................................. 6-7 ชี้ลุ่มน�้ำทะเลสาบสงขลา...เสี่ยงภัยน�้ำท่วม........................................ 12-13

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

:3


รอบรั้วศรีตรัง

ม.อ. จัดพิธีส่งมอบงานผู้บริหารชุดใหม่ รศ.ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล เริ่มรับต�ำแหน่ง 1 มิถุนายน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัด พิธีส่งมอบงานและทรัพย์สิน ระหว่าง รองศาสตราจารย์ ดร.บุ ญ สม ศิริบ�ำรุงสุข อธิการบดีคนปัจจุบันซึ่ง ด�ำรงต�ำแหน่งมา 2 วาระ รวมเวลา 6 ปี และได้ครบวาระที่ 2 เมือ่ วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 กั บ รองศาสตราจารย์ ดร. ชู ศั ก ดิ์ ลิ่ ม สกุ ล ซึ่ ง เข้ า รั บ ต�ำแหน่ ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คนต่อไป เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555 รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิ ริ บ� ำ รุ ง สุ ข กล่ า วในการส่ ง มอบงาน ดังกล่าวว่า สิ่งส�ำคัญที่สุดของมหาวิทยาลัย คือความรัก ความสามัคคี ซึง่ ไม่สามารถแลก กับสิ่งใดได้ ต้องถนอมไว้เพราะเป็นสิ่งมีค่า ที่สุด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็น

4:

PSU

สาร ม.อ.

มหาวิทยาลัยนามพระราชทาน ประชาคม มหาวิทยาลัยจึงต้องมีส่วนร่วมอย่างเข้มข้น กับพระราชกรณียกิจ และต้องอุทิศตนเพื่อ ถวายงานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ทกุ พระองค์ เส้นทางในการเดินไปข้างหน้าของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยงั มีอกี ยาวไกล ขึน้ อยูก่ บั ว่าเราจะมีแรงก้าวไปได้เพียงใดเพือ่ ให้ถึงจุดแห่งความส�ำเร็จ แต่เส้นทางของ มหาวิทยาลัยในอนาคตจะไม่มีจุดแห่งการ สิ้นสุด และเรายังอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัย ชั้ น น� ำ อื่ น ๆ อี ก มาก ดั ง นั้ น เราจึ ง ต้ อ งมี รูปแบบใหม่ๆ ในการท�ำงาน เพื่อก้าวให้ทัน การรุดไปข้างหน้าของสถาบันอืน่ มหาวิทยาลัย หลายแห่ ง ในต่ า งประเทศได้ มี ก ารปรั บ หลักสูตรให้มีคุณภาพ เพื่อบัณฑิตจะได้เข้า สู ่ ต ลาดแรงงานในระดั บ นานาชาติ การ

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555

2555

เคลื่อนตัวของ “สงขลานครินทร์” ตอนนี้ เราได้รับการอนุมัติจาก UNESCO ให้เป็น มหาวิ ท ยาลั ย ในเครื อ ข่ า ยขององค์ ก าร สหประชาชาติ ภายใต้โครงการ ProsperNet ซึ่ ง ยั ง เป็ น การเริ่ ม ต้ น และจะต้ อ งมี ก าร สานต่ออีกระยะเวลานาน ต�ำแหน่งอธิการบดี อาจดูว่าเป็น ต�ำแหน่งทีม่ เี กียรติในสังคม แต่ความจริงเป็น ภาระหนักในการท� ำงาน แต่ทุ ก อย่ า งจะ ส�ำเร็จได้ด้วยความรัก ความสามัคคี การ ส่งมอบงานไม่ใช่เรื่องส�ำคัญมากเท่ากับการ ส่งมอบบุคลากรกว่าหมืน่ คนในมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขต ให้อยู่ใน ความดูแลของอธิการบดีใหม่ “การได้ ม าซึ่ ง งบประมาณ ล�ำ พั ง มหาวิ ท ยาลั ย จะท� ำ แต่ ฝ ่ า ยเดี ย วคงไม่ ไ ด้


“นกบิ น สู ง ได้ ต ้ อ งมี ข น คนจะน� ำ องค์กรไปได้ต้องมีพวก” เราต้องมีการ สร้างสัมพันธ์กับองค์กรภายนอก เพื่อน�ำพา มหาวิทยาลัยให้พัฒนาไปได้ แต่การพึ่งพา อาศัยกันนัน้ เราต้องมีคำ� ตอบทีช่ ดั เจนให้กบั องค์กรหรือประชาคมภายนอกถึงข้อจ�ำกัด ของเรา ในการสนองตอบต่อความต้องการ ของเขาเหล่านั้น” รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบ�ำรุงสุข กล่าว รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล กล่าวหลังจากรับมอบงานและ ทรัพย์สิน โดยขอบคุณท่านอธิการบดี และ คณะผู้บริหารที่ได้ทุ่มเทเพื่อมหาวิทยาลัย จนมีความก้าวหน้าในหลายด้าน เช่น น�ำ สงขลานครินทร์สู่มหาวิทยาลัยวิจัย ส่งเสริม นักวิชาการในการแสดงความสามารถจน มีชื่อเสียง เช่นการที่คณาจารย์ได้รับการ คัดเลือกเป็นนักวิจัยดีเด่นของประเทศถึง 4 ปีซ้อน การได้รับรางวัลทั้งระดับชาติและ นานาชาติ บางท่านได้รบั รางวัลระดับชาติถงึ 3 รางวัล ได้รับการจัดล�ำดับในด้านการวิจัย เป็นอันดับ 4 ของประเทศ นอกจากนั้ น ยั ง ได้ ขั บ เคลื่ อ นให้

นักศึกษามีความรู้ทั้งทางวิชาการ และเป็น คนดี ข องชาติ โดยมุ ่ ง เน้ น การมี จิ ต ส� ำ นึ ก ในการช่ ว ยเหลื อ สั ง คม ซึ่ ง จะต้ อ งมี ก าร ด�ำเนินการเพื่อความต่อเนื่อง ได้ขับเคลื่อน ให้มหาวิทยาลัยมีความเอือ้ อาทรในการพัฒนา ชุมชนผ่านกระบวนการการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการวิจยั รวมทัง้ การ สร้างเอกภาพให้องค์กรโดยการใช้พระราช ปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนกเป็น สิง่ หลอมรวมจิตใจ การสร้างพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนกครบทัง้ 5 วิทยาเขต เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ มีการสร้างความ เข้มแข็ง ความร่วมมือกันระหว่างวิทยาเขต ภายใต้ระบบ PSU system รวมทั้งขยาย งบประมาณของมหาวิทยาลัยไปถึง 4,000 ล้านบาท ท�ำให้มหาวิทยาลัยสามารถน�ำมา

ด�ำเนินการเพื่อพัฒนาองค์กรได้เต็มที่ ต�ำแหน่งอธิการบดีเป็นต�ำแหน่งที่มี ภาระหนั ก มาก ทุ ก คนเข้ า ใจดี ว ่ า ในการ บริหารมหาวิทยาลัยทุกวันนี้ไม่ง่าย แต่ยินดี และเต็มใจที่จะรับภาระนี้ โดยจะใช้ความรู้ ความสามารถในการบริหารมหาวิทยาลัย แห่งนี้อย่างเต็มที่ โดยใช้หลักธรรมาภิบาล จะอุทิศก�ำลังกาย ก�ำลังสมอง และก�ำลังใจ ในการด�ำเนินการตามแผนพัฒนาที่ได้เสนอ ต่อสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสรรหา เพื่อที่จะน�ำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สู ่ ม หาวิ ท ยาลั ย ชั้ น น�ำ ของอาเซี ย น โดยมี เป้าหมายจะเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย 1 ใน 10 ของอาเซียน และจะสร้างความก้าวหน้าให้ มหาวิ ท ยาลั ย เหมื อ นดั ง ที่ อ ดี ต อธิ ก ารบดี ทุกท่านได้เคยสร้างไว้

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

:5


สิ่งแวดล้อม

ม.อ. เดินหน้าศึกษา “ทุ่งกังหันลมเกาะใหญ่”

เปิดเวทีฟังเสียงคนในท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เดินหน้าศึกษาโครงการทุ่งกังหันลม เกาะใหญ่ จับมือองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา จัดประชุมเสวนาเพื่อ ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดทุง่ กังหันลมเกาะใหญ่ อ�ำเภอ กระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เปิดเวทีชแี้ จงผลกระทบหลังติดตัง้ กังหันลมผลิต ไฟฟ้า พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากประชาชนในพืน้ ทีแ่ ละองค์กรท้องถิน่ เมือ่ วันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ณ ส�ำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ พ ยอม รั ต นมณี อาจารย์ ป ระจ� ำ ภาควิ ช า วิ ศ วกรรมโยธา คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ หั ว หน้ า โครงการศึ ก ษาความเหมาะสมและการ ออกแบบรายละเอียดทุง่ กังหันลมเกาะใหญ่ อ�ำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เปิดเผย ที่มาของโครงการว่า รายงานผลการศึกษา ศักยภาพพลังงานลมในประเทศไทยจาก หลายหน่วยงานยืนยันตรงกันว่าพื้นที่ภาค ใต้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสุด โดยเฉพาะ ตลอดแนวชายฝั ่ ง อ่ า วไทย จากนั้ น ในปี พ.ศ.2549 กรมพั ฒ นาพลั ง งานทดแทน และอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งานจึ ง มอบหมายให้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ด�ำเนินการ ศึ ก ษาเชิ ง ลึ ก พบว่ า เกาะใหญ่ ต� ำ บล เกาะใหญ่ อ�ำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสุดในการติดตั้ง กั ง หั น ลมขนาดใหญ่ ทั้ ง ในเชิ ง กายภาพ

6:

PSU

สาร ม.อ.

เชิงเศรษฐศาสตร์ เชิงสังคมศาสตร์ และ เชิงสิง่ แวดล้อม หากแต่ในช่วงเวลาดังกล่าว โครงการทุ่งกังหันลมเกาะใหญ่ไม่ได้รับการ ขับเคลื่อนต่อไปด้วยเหตุผลหลายประการ

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555

แต่ด้วยในปัจจุบันกระแสอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานสะอาดก�ำลังได้รับความสนใจ เป็นอย่างมาก จึงเป็นโอกาสดีสำ� หรับการน�ำ โครงการทุ่งกังหันลมเกาะใหญ่มาทบทวน อีกครั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม สิ่ ง แวดล้ อ ม คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า การ ประเมิ น ผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ มจากการ ติดตัง้ กังหันลมขนาดใหญ่ พบว่าปัญหาหลัก ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ได้ แ ก่ เ รื่ อ งของเสี ย งและเงา อย่ า งไรก็ ต ามการประเมิ น ผลกระทบ


ผศ.พยอม รัตนมณี

รศ.ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์

สิ่งแวดล้อมนั้นไม่ได้เป็นสูตรส�ำเร็จส�ำหรับ ทุ ก พื้ น ที่ การติ ด ตั้ ง กั ง หั น ลมบนพื้ น ที่ เกาะใหญ่ นั้ น ยั ง คงต้ อ งศึ ก ษาพื้ น ที่ ใ น ปัจจุบนั ว่ามีสภาพอย่างไร มีทรัพยากรอะไร บ้าง นอกจากนี้สิ่งส�ำคัญคือการประเมิน ผลกระทบทางด้านสังคม เนือ่ งจากปัจจุบนั การมี ส ่ ว นร่ ว มของประชาชนเป็ น เรื่ อ ง ส�ำคัญมาก จึงเป็นหน้าที่ของคณะผู้ด�ำเนิน โครงการที่จะต้องชี้แจงถึงผลดีผลเสียที่จะ เกิดขึน้ ว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เพือ่ เป็น ข้อมูลให้ชาวบ้านตัดสินใจว่าจะสามารถ ยอมรับการด�ำเนินโครงการในครัง้ นีไ้ ด้หรือ ไม่ อีกทั้งยังจะต้องอาศัยข้อมูลของคนใน พืน้ ทีใ่ นการด�ำเนินโครงการให้ประสบความ ส�ำเร็จอีกด้วย

นายจักรชัยศ์ สุขแดง ประธานกลุ่มคนรักเกาะใหญ่

ขณะที่นายประเสริฐ ไชยสาลี นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลเกาะใหญ่ กล่ า วว่ า ต� ำ บลเกาะใหญ่ ป ระกอบด้ ว ย หมู่บ้าน 9 หมู่บ้าน มีจ�ำนวนประชากร 5,000 กว่ า คน ส่ ว นใหญ่ มี อ าชี พ ปลู ก ยางพารา ชาวบ้านจึงยังคงมีความเป็นห่วง ในเรื่องของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับ สวนยางพารา หากมีการติดตั้งกังหันลม ผลิตพลังงานไฟฟ้าบนพื้นที่ดังกล่าว หาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ลงพื้นที่ เพื่ อ ท� ำ ประชาพิ จ ารณ์ เ พื่ อ รั บ ฟั ง ความ คิ ด เห็ น ของชาวเกาะใหญ่ พร้ อ มทั้ ง ให้ ความรู ้ ค วามเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ การด� ำ เนิ น โครงการดังกล่าว น่าจะเป็นเรือ่ งทีด่ ี ในนาม ขององค์การบริหารส่วนต�ำบลเกาะใหญ่

นายประเสริฐ ไชยสาลี

มีความยินดีที่จะให้ความร่วมมือในทุกๆ ด้าน และขอเป็นก�ำลังใจให้คณะท�ำงาน ด�ำเนินโครงการไปได้อย่างส�ำเร็จ ด้ า นนายจั ก รชั ย ศ์ สุ ข แดง ประธานกลุ ่ ม คนรั ก เกาะใหญ่ กล่ า วว่ า โดยส่ ว นตั ว เชื่ อ ว่ า ทุ ก อย่ า งล้ ว นมี ก าร เปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นจะน�ำ มาซึ่งสิ่งที่ดีและไม่ดี การติดตั้งกังหันลม ผลิตพลังงานไฟฟ้าบนพื้นที่เกาะใหญ่ก็เช่น เดียวกัน คงต้องเกิดความเปลีย่ นแปลงอย่าง มาก และต้องมีทั้งผลดีและผลเสียเกิดขึ้น สิ่งส�ำคัญคือจะมีวิธีการแก้ปัญหาส�ำหรับ ผลเสี ย ที่ เ กิ ด ขึ้ น อย่ า งไร เท่ า ที่ ท ราบมา ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความรู้สึกยินดีกับการ จัดท�ำโครงการดังกล่าว และเชื่อว่าการ ติ ด ตั้ ง กั ง หั น ลมผลิ ต พลั ง งานไฟฟ้ า จะส่ ง ผลดีทงั้ ต่อชาวบ้านและสิง่ แวดล้อมบนพืน้ ที่ เกาะใหญ่มากกว่าผลเสีย ชาวบ้านทุกคน รูส้ กึ รักและภูมใิ จทีไ่ ด้เกิดเป็นชาวเกาะใหญ่ จึงต้องการให้พื้นที่เกาะใหญ่มีการพัฒนา และได้รับการยอมรับมากขึ้น

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

:7


การศึกษา

“Soksophath Um” จากกัมพูชาสู่ ม.อ.สุราษฎร์ วิชาการและกิจกรรมในชุมชนคือความประทับใจ

2 ปี ม าแล้ ว ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ มี โ ครงการให้ ทุ น นั ก เรี ย นต่ า งชาติ ผู ้ ต ้ อ งการจะเข้ า ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ทั้งที่เป็น หลั ก สู ต รภาษาไทยหรื อ หลั ก สู ต ร นานาชาติ ในชื่ อ “โครงการรั บ นักศึกษาต่างชาติเข้าศึกษาภายใต้ โครงการ 1 ทุน 1 คณะ” โดยเริ่ม จากการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ นักเรียนนักศึกษาในภูมิภาคอาเซียน ก่อน ซึ่งผู้รับการคัดเลือกจะได้รับทุน อุ ด หนุ น การศึ ก ษาตลอดหลั ก สู ต ร ค่ า ที่ พั ก ค่ า ใช้ จ ่ า ยรายเดื อ น ค่ า เอกสารประกอบการเรียน เป็นต้น ทั้ ง นี้ ในปี ก ารศึ ก ษา 2554 ซึ่ ง เป็ น ปี แ รกของโครงการ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ไ ด้ พิ จ ารณาให้ ทุ น กั บ นักศึกษาของ 2 ประเทศ คือ สาธารณรัฐ ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย ป ร ะ ช า ช น ล า ว แ ล ะ ราชอาณาจั ก รกั ม พู ช า โดยได้ ส ่ ง รายละเอียดโครงการไปยังสถานทูตไทย ประจ�ำทั้งสองประเทศ และได้รับความ ร่วมมือเป็นอย่างดีในการประชาสัมพันธ์ โครงการ การให้ความอนุเคราะห์สถานที่ ส�ำหรับสัมภาษณ์ผู้รับทุน นอกจากนั้นยัง ได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากมหาวิทยาลัยใน ประเทศไทยที่มีนักศึกษาลาวและกัมพูชา ศึกษาอยู่ โดยในปีแรกมี 4 คณะที่ยืนยัน การรับผูส้ มัครทีผ่ า่ นการคัดเลือกเข้าศึกษา ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 คื อ คณะเทคนิ ค การแพทย์ คณะ วิ ศ วกรรมศาสตร์ วิ ท ยาเขตหาดใหญ่

8:

PSU

สาร ม.อ.

Soksophath Um คณะวิเทศศึกษา วิทยาเขตภูเก็ต และคณะ ศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ วิทยาเขต สุราษฎร์ธานี คณะละ 1 ทุน Soksophath Um หรือที่เพื่อนๆ พี่ๆ ที่วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีเรียกกันว่า “สุภาพ” เป็นนักศึกษาชาวกัมพูชาหนึ่ง เดียวที่เข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตร บัณฑิต สาขาวิชาภาษา การสื่อสาร และ ธุ ร กิ จ คณะศิ ล ปศาสตร์ แ ละวิ ท ยาการ จั ด การ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เมื่อปีการศึกษา 2554 และในปีนี้ก�ำลังศึกษาในชั้นปีที่ 2 ของคณะดังกล่าว “สุ ภ าพ” มี ค วามฝั น อยากเป็ น นักธุรกิจมาตัง้ แต่ยงั เรียนในชัน้ มัธยมศึกษา อนาคตอยากเป็นนักธุรกิจ แต่ท� ำธุรกิจ ต้องมีความรู้ด้านภาษาควบคู่ไปด้วย ทั้ง ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ เมื่อได้ทราบ ข่ า วจากการแจ้ ง ของสถานทู ต ไทยใน กัมพูชา ผ่านกระทรวงอบรมของกัมพูชา ว่ า มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ มี ก าร รั บ สมั ค รนั ก ศึ ก ษาใน “โครงการรั บ

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555

นักศึกษาต่างชาติเข้าศึกษาภายใต้ โครงการ 1 ทุน 1 คณะ” จึงมีความ สนใจและสมัครเข้ามาศึกษา “เคยเรียนมหาวิทยาลัยที่กัมพูชา มาก่อน 1 ภาคการศึกษา โดยเรียน 2 มหาวิ ท ยาลั ย ในขณะเดี ย วกั น ในสาขา เทคโนโลยีการสื่อสาร และเศรษฐศาสตร์ แต่ที่ลาออกและสนใจมาเรียนที่ “สงขลา นครินทร์” เพราะจากการติดตามข่าว และเปิดดูทางอินเทอร์เน็ต ท�ำให้ทราบว่า “สงขลานครินทร์” เป็นมหาวิทยาลัย คุ ณ ภาพ 1 ใน 5 ของประเทศ มี ก าร ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรการศึกษาตลอด เวลา และบัณฑิตที่จบออกไปเข้าสู่ตลาด แรงงานอย่างมีคณ ุ ภาพ แสดงว่าการศึกษา ใน “สงขลานคริ น ทร์ ” ท� ำ ให้ ไ ด้ ทั้ ง ประสบการณ์และความรูท้ างวิชาการอย่าง แท้จริง” “สุ ภ าพ” มี ค วามรู ้ ด ้ า นการใช้ ภาษาอังกฤษดีในระดับที่สามารถพูดจา โต้ตอบได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งที่เรียนใน โรงเรียนระบบปกติที่ไม่ใช่โรงเรียนสอง ภาษา แต่ มี ก ารเรี ย นพิ เ ศษเพื่ อ เพิ่ ม พู น ความรู้หลังเลิกเรียน กั บ การมาศึ ก ษาที่ ม หาวิ ท ยาลั ย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ซึง่ อยูใ่ นภาคใต้ของประเทศไทย “สุภาพ” บอกว่ า มี ค วามต่ า งจากบ้ า นเกิ ด ทั้ ง ภูมอิ ากาศและความเป็นอยู่ เพราะเป็นภาค ที่มีอากาศร้อนกว่าที่บ้าน บางฤดูฝนตก มากกว่ า ส่ ว นสั ง คมไทยและกั ม พู ช าที่ ต่างกัน ท�ำให้ต้องมีการปรับตัวพอสมควร


โดยเฉพาะเรื่ อ งความเป็ น อยู ่ ใ นหอพั ก เพราะเมื่อก่อนเคยพักกับครอบครัวที่บ้าน เลิ ก เรี ย นก็ ก ลั บ บ้ า น แต่ เ มื่ อ มาเรี ย นใน ประเทศไทยต้องมาพักกับเพื่อนในหอพัก โดยเฉพาะเป็นเพื่อนต่างชาติอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทาง ทางภาษาและวั ฒ นธรรมไม่ เ ป็ น ปั ญ หา ส�ำหรับการอยู่ร่วมกัน เพราะความสัมพันธ์ ระหว่าง “สุภาพ” กับเพื่อนๆ เป็นไปด้วย ความสนิทสนม โดยเฉพาะการท�ำกิจกรรม ร่วมกันนอกเหนือจากการศึกษาเล่าเรียน ในวิชาการตามหลักสูตรของคณะ นั่นคือ ความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลา นคริ น ทร์ กั บ สถานศึ ก ษาที่ เ คยเล่ า เรี ย น เพราะที่ นั่ น จะเน้ น วิ ช าการในห้ อ งเรี ย น เป็นหลัก แต่ “สงขลานครินทร์” ให้ ทั้งวิชาการและประสบการณ์ในการร่วม กิจกรรมกับชุมชน “ผมได้ไปปลูกป่าที่ อ�ำเภอไชยา สนุกมาก เป็น ครั้ ง แรกในชี วิ ต ที่ ผ มได้ ไ ป ร่ ว มกิ จ กรรมปลู ก ป่ า กั บ เพื่อนๆ” ภ า ษ า ไ ท ย คื อ สิ่ ง เดี ย วที่ เ ป็ น ปั ญ หาใน ระยะแรกของการมาเรียน ที่ “สงขลานคริ น ทร์ ” เพราะอาจารย์จะสอนเป็น

ภาษาไทยในห้ อ งเรี ย น และซึ่ ง บางครั้ ง “สุภาพ” ฟังไม่เข้าใจเลย แต่ได้เพื่อนช่วย สอนและอธิบายหลังเลิกเรียน จนในระยะ หลังได้ฝึกพูดและฟังภาษาไทยกับเพื่อน และขอเอกสารประกอบการเรียนการสอน ที่เป็นภาษาไทยมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ แล้วแปลกลับไปเป็นภาษากัมพูชาอีกครั้ง หนึ่ง “สุภาพ” จะอ่านหลายรอบ จะท�ำ เครือ่ งหมายทัง้ ในส่วนทีเ่ ข้าใจและไม่เข้าใจ เอาไว้ ในชั่วโมงเรียนวันต่อมาจะสอบถาม เพิ่มเติมในส่วนที่เข้าใจจากอาจารย์ ส่วนที่ ไม่เข้าใจจะรอถามอาจารย์นอกเวลาเรียน ซึ่งอาจารย์จะอธิบายจนเข้าใจ นอกจากนี้ เพือ่ นๆ มักพูดกันด้วยภาษาถิน่ ใต้ซงึ่ ฟังยาก เช่นกัน “แต่ ห ลั ง จากเรี ย นที่ วิ ท ยาเขต สุราษฎร์ธานีมากว่า 1 ปี ภาษาไทยไม่เป็น ปัญหาส�ำหรับผมอีกแล้ว ผมสามารถพูด

และฟั ง ได้ ดี คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และการเปิด โอกาสให้นกั ศึกษาในการร่วมท�ำกิจกรรมใน ชุมชน คือสิง่ ทีผ่ มจะไปบอกกับเพือ่ นๆ และ ชาวกัมพูชา เมื่อผมได้กลับบ้านอีกครั้ง” “สุภาพ” บอกด้วยความภาคภูมิใจ ปั จ จุ บั น มี นั ก ศึ ก ษาในประเทศ เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ศึ ก ษาในระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาอยู ่ ใ นมหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นครินทร์ ทั้งด้วยทุนส่วนตัวและทุนความ ร่วมมืออื่นๆ หลายคน แต่ “โครงการรับ นักศึกษาต่างชาติเข้าศึกษาภายใต้ โครงการ 1 ทุน 1 คณะ” เป็นโครงการ แรกที่ให้ทุนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ซึ่งจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน กว่า เพราะได้มีโอกาสร่วมเรียนและท� ำ กิจกรรมร่วมกันตั้งแต่เป็นเยาวชน นอกจากนัน้ ผลจากการจัดโครงการ นี้ ยังท�ำให้เกิดความร่วมมือ ในการผลิ ต บุ ค ลากรกั บ ประเทศเพื่ อ นบ้ า น อย่ า ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา การมีโครงการ ร่วมแลกเปลี่ยนบุคลากร นักศึกษา และ ความร่วมมือทางวิชาการเช่นการร่วมเก็บ ข้อมูลและท�ำวิจัยร่วมกัน เป็นสิ่งที่น่าจะ ต้องท�ำเพือ่ ให้ได้รจู้ กั กันมากขึน้ แม้โดยทีต่ งั้ แล้ว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะตัง้ อยู่ ห่างไกลจากประเทศทั้งสองมากกว่าภาค อื่นๆ ก็ตาม

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

:9


สู่สังคม/ชุมชน

คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.อ.

สร้างตู้อบแปรรูปอาหารทะเล มอบชาวบ้านเกาะบุโหลน จ.สตูล

นายสุทธิรักษ์ เพชรรัตน์

นายสุ ท ธิ รั ก ษ์ เพชรรั ต น์ นักวิทยาศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ หั ว หน้ า โครงการวิจัยเปิดเผยว่า ชาวบ้านที่อาศัย อยูบ่ นเกาะบุโหลนดอนและเกาะบุโหลนเล ส่วนใหญ่มีอาชีพประมง ซึ่งการท�ำประมง ของชาวบ้ า นส่ ว นใหญ่ จ ะส่ ง สั ต ว์ ท ะเล จ�ำหน่ายให้กบั พ่อค้าคนกลาง หรือหากขาย เองจะต้องน�ำมาขายบนฝั่งซึ่งอยู่ห่างจาก เกาะประมาณ 20 กิโลเมตร ท�ำให้มีต้นทุน ในการขนส่งสูง เพื่อให้คุ้มค่าขนส่งหรือ ค่าน�ำ้ มันเรือ ชาวบ้านจึงต้องเก็บสัตว์ทะเล ไว้ ด ้ ว ยการแช่ น�้ ำ แข็ ง รอจนกว่ า จะได้ จ�ำนวนมากพอจึงจะส่งมาจ�ำหน่ายบนฝั่ง ซึ่งใช้ระยะเวลาหลายวัน ส่งผลให้สัตว์ ทะเลเน่าเสียและจ�ำเป็นต้องทิ้งไปในที่สุด การแปรรูปอาหารทะเลโดยการท�ำ แห้งโดยใช้ตู้อบ เป็นเครื่องมือการแปรรูป เบื้องต้นที่มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนต�่ำ สามารถท�ำได้ทกุ พืน้ ที่ ซึง่ ตูอ้ บทีผ่ ลิตขึน้ นัน้

10 :

PSU

สาร ม.อ.

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลิต ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์และไม้ฟืน ติดตั้งบนพื้นที่เกาะบุโหลนดอนและ เกาะบุโหลนเล จังหวัดสตูล สนับสนุนให้ชาวบ้านแปรรูปสัตว์ทะเลเป็น ผลิตภัณฑ์ตากแห้ง ลดปัญหาการเน่าเสียของสัตว์ทะเลสด และถ่ายทอด วิธีการแปรรูปมะม่วงและมันส�ำปะหลังแก่ชาวบ้าน เมื่อวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2555 ซึ่งเป็นหนึ่งในการด�ำเนินการภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างมูลนิธชิ ยั พัฒนากับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และการพัฒนา ตามนโยบายหนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งจังหวัดของรัฐบาล เป็ น ตู ้ อ บที่ ใ ช้ พ ลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ เ ป็ น แหล่งให้ความร้อน และยังออกแบบให้ สามารถใช้ไม้ฟนื เป็นแหล่งให้ความร้อนใน ขณะที่ไม่มีแสงแดด คือในเวลากลางคืน หรือขณะฝนตก จึงสามารถใช้งานได้ใน ทุกสภาพอากาศ ชาวบ้านสามารถใช้เป็น เครื่องมือในการแปรรูปอาหารทะเล เช่น ปลาตากแห้ง กุง้ แห้ง หมึกตากแห้ง ซึง่ การ ท�ำแห้งจะสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ นานโดยไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิ ช่วยลด ปริมาณน�้ำหนัก ลดภาระการขนส่ง ลด ต้นทุนในการเก็บรักษา และยังสามารถน�ำ

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555

มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าอย่าง อื่นได้ นอกจากการผลิตและติดตั้งตู้อบ พลังงานแสงอาทิตย์และไม้ฟืนให้กับชาว บ้านเกาะบุโหลนดอนและเกาะบุโหลนเล ได้ใช้แปรรูปอาหารทะเลเป็นผลิตภัณฑ์ ตากแห้งแล้ว คณะผู้วิจัยยังได้ให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสุขลักษณะ ที่ดีในการแปรรูปอาหาร ตามหลักเกณฑ์ วิธกี ารทีด่ ใี นการผลิตอาหาร (GMP) รวมทัง้ ยังได้ถ่ายทอดวิธีการแปรรูปมะม่วงและ มันส�ำปะหลัง ได้แก่ การท�ำมะม่วงกวน


มะม่วงดอง มะม่วงแช่อมิ่ และมันส�ำปะหลัง ทอดกรอบ ซึ่ ง พื ช ทั้ ง สองชนิ ด นี้ นิ ย ม ปลูกกันมากบนพืน้ ทีเ่ กาะบุโหลน เป็นการ ส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้เพิ่มให้ กับชาวบ้านในพื้นที่เกาะบุโหลนอีกด้วย ด้าน นางปรีดา โสรมณ์ หัวหน้า กลุ่มสตรีเกาะบุโหลนเล หนึ่งในผู้เข้าร่วม รั บ ฟั ง การถ่ า ยทอดความรู ้ ก ารแปรรู ป อาหารในครั้งนี้กล่าวว่า เนื่องจากตนเปิด ร้านจ�ำหน่ายอาหารไทยแก่นักท่องเที่ยว จึงชอบที่จะเข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการท�ำ อาหาร ซึ่งที่ผ่านมาจะต้องเดินทางเข้าฝั่ง ซึ่งมีระยะทางไกลพอสมควร การเดินทาง มาติ ด ตั้ ง ตู ้ อ บและถ่ า ยทอดความรู ้ เรื่องการแปรรูปอาหารแก่ชาวบ้านของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ท�ำให้ตนและ ชาวบ้ า นรู ้ สึ ก ประทั บ ใจเป็ น อย่ า งมาก ถือเป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้านตื่นตัวใน เรื่องการท�ำมาหากินด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ในฐานะตัวแทนชาวบ้านทุกคนขอขอบคุณ มูลนิธิชัยพัฒนาและมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ที่มีส่วนช่วยต่อยอดภูมิปัญญา ของชาวบ้านเกาะบุโหลน ตนและชาวบ้าน ตั้งใจไว้ว่าจะรวมกลุ่มกันผลิตอาหารตาม วิธกี ารทีไ่ ด้รบั การถ่ายทอดในครัง้ นีเ้ พือ่ วาง

จ�ำหน่าย โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดพายุ ไม่ สามารถออกทะเลได้ จะได้ใช้เวลาและ ทรั พ ยากรที่ มี อ ยู ่ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ แ ละ คุ้มค่าสูงสุด นายสุทธิรกั ษ์ เพชรรัตน์ กล่าว เพิ่มเติมว่า โครงการผลิตปลา ปลาหมึก ตากแห้ ง ด้ ว ยตู ้ อ บพลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ และไม้ ฟ ื น เป็ น โครงการในสั ง กั ด คณะ

อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ และเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ พัฒนาเกาะบุโหลน ระยะที่ 1 ปี 2555 ซึ่ง ได้รบั เงินสนับสนุนการด�ำเนินงานวิจยั จาก มูลนิธิชัยพัฒนา โดยมุ่งเน้นพัฒนาด้าน ประมงและผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อช่วย เสริมสร้างรายได้และคุณภาพชีวติ ทีด่ ใี ห้กบั ชาวบ้านเกาะบุโหลนอย่างยั่งยืน

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 11


สิ่งแวดล้อม

ชี้ลุ่มน�้ำทะเลสาบสงขลา...

เสี่ยงภัยน�้ำท่วม

พิบัติภัยในเขตพื้นที่ลุ่มน�้ำทะเลสาบสงขลามีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้น เช่น น�้ำท่วม ส่วนหนึง่ เป็นเพราะการตืน้ เขินของทะเลสาบสงขลา ซึง่ อาจเป็นผลจากการบุกรุกภูเขา ท�ำสวนยางพารา ท�ำให้เกิดการชะล้างหน้าดินลงมายังทะเลสาบ และสภาพอากาศที่ เปลี่ยนแปลงไปยังอาจจะส่งผลท�ำให้เกิดอุทกภัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีฝนตกหนักใน ช่วงเวลาสั้นๆ มากขึ้น ด้านการเกษตร คาดว่าสวนยางพารา เส้นเลือดใหญ่ของ ชาวใต้ได้รับผลกระทบจากการกระจายตัวของฝนที่ตกเกือบทั้งปี ท�ำให้จ�ำนวนวันที่ กรีดยางได้ลดลงจาก 160 วัน เหลือเพียง 100 วัน ในขณะที่มังคุด ลองกอง เลื่อน ระยะเวลาออกดอกและเก็บเกี่ยวผลผลิตจากภัยแล้ง

12 :

PSU

สาร ม.อ.

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555

ในส่ ว นของพื้ น ที่ ช ายฝั ่ ง ทะเล ยั ง มี ข้อสังเกตว่า การปลูกป่าสนชายหาด หรือปลูก ปะการังในทะเล ไม่ส่งผลดี สู้ปล่อยให้ธรรมชาติ ฟืน้ ฟูตวั เองจะมีความหลากหลายของพันธุพ์ ชื และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้มากกว่า ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ได้จัดสัมมนาโครงการพัฒนา ลุม่ น�ำ้ ทะเลสาบสงขลาอย่างยัง่ ยืน เพือ่ ระดมความ คิดเห็นเบื้องต้น โดยมีนักวิชาการสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร สังคม การมีสว่ นร่วม และภูมสิ ารสนเทศศาสตร์ เมือ่ วันที่ 30 พฤษภาคม 2555 เพื่อศึกษาประเมินพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อ ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ พื้นที่ลุ่มน�้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งครอบคลุมพัทลุง ทัง้ จังหวัด สงขลา 12 อ�ำเภอ และนครศรีธรรมราช 2 อ�ำเภอ และเตรียมความพร้อมเพือ่ รับมือกับการ เปลี่ยนแปลงและภัยพิบัติ และจัดท� ำแผนการ ปรับตัวต่อการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศทีอ่ าจ เกิดขึ้น


รศ.ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง

นายสมศั ก ดิ์ บุ ญ ดาว รั ก ษาการ ผู้อ�ำนวยการกองประสานการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส�ำนักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม กล่าวเปิด ประเด็นว่า นักวิชาการต้องเป็นผู้พิสูจน์ว่าการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบอะไร บ้าง ภัยพิบัติเกิดจากสภาพภูมิอากาศจริงหรือไม่ เพราะจากการศึกษาพิบัติภัยหลายอย่าง เช่น การ กัดเซาะชายฝั่ง ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของ มนุษย์ เช่น สร้างสิ่งก่อสร้างลงไป หากมีประเด็น อะไรที่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือพิบัติภัยในลุ่มน�้ำ ทะเลสาบสงขลา ประชาชนจะต้องปรับตัว เช่นจะ ต้องปรับเปลี่ยนการท�ำเกษตรกรรมให้เหมาะกับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไร รศ.ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ หัวหน้า ศูนย์วจิ ยั ภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ นทร์ กล่าวว่า ลุ่มน�้ำ ทะเลสาบสงขลาแบ่งเป็น 12 ลุม่ น�้ำ ลุม่ น�้ำใหญ่ คือ ลุ่มน�้ำคลองอู่ตะเภา มีประชากรอยู่มาก รวมทั้ง อ�ำเภอหาดใหญ่ มีเขื่อนหลักคืออ่างเก็บน�้ำคลอง สะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา จุนำ�้ ได้ 56 ล้านลูกบาศก์ เมตร ซึง่ ถือว่ามีขนาดเล็กมากถ้าเทียบกับทีอ่ นื่ เช่น เขื่อนภูมิพล จุน�้ำได้หมื่นกว่าล้านลูกบาศก์เมตร ประวัติการเกิดน�้ำท่วมในลุ่มน�้ำทะเลสาบ สงขลา เกิดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ.2376 มีบนั ทึกว่าพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 3 ได้พระราชทาน ข้าวสาร จ�ำนวน 1,000 เกวียน แก่ประชาชน และ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2485 เป็นต้นมา มี การเกิดน�้ำท่วม 16 ครั้ง เป็นน�้ำท่วมใหญ่ 3 ครั้ง พ.ศ.2531 พ.ศ.2543 และ พ.ศ.2553 ซึ่งเป็น น�ำ้ ท่วมใหญ่สดุ เท่าทีเ่ คยเกิดขึน้ มา มีพนื้ ทีท่ ว่ มเกิน 3 เมตร ใกล้ทางรถไฟ ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1-3 อ�ำเภอ หาดใหญ่ จ.สงขลา น�้ำท่วมประมาณ 2 เมตร ในปี พ.ศ.2553 มีพื้นที่ที่ถูกน�้ำท่วมจ�ำนวน 220 ตาราง กิโลเมตร จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ฝน ในช่วงเวลาเดียวกันตกมากกว่าเมือ่ ก่อน เดิมฝนเคย ตกปริมาณ 40-60 มิลลิเมตรต่อวัน เพิ่มเป็น 200 มิลลิเมตรต่อวัน คลองระบายน�ำ้ ร.1 - คลองระบาย ร.5 ของอ�ำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ก็ชว่ ยได้บา้ ง แต่ คลองทีม่ ใี นปัจจุบนั ยังไม่พอ วิธที ที่ �ำได้คอื เพิม่ คลอง ถ้ามีงบประมาณมากพอก็จะลดความเสี่ยงที่จะ เกิดน�้ำท่วมได้ ให้คลองรับน�้ำโดยตรง แล้วไหลลง ทะเลสาบสงขลา ขณะนี้กรมชลประทานก�ำลังของบขยาย

คลอง ร.1 จากเดิมระบายน�ำ้ ได้ 465 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที จะเพิ่มคันคลองขึ้นมาและระบายน�้ำได้ มากขึน้ ก็จะช่วยได้ และทีท่ างหลวงจะสร้างทางหลวง ไฮเวย์ ถ้าขุดคลองขนานกับถนนเส้นใหม่ก็ช่วยได้ มาก สภาพอากาศที่เปลี่ยนไป แนวโน้มที่จะเกิด อุทกภัยเพิม่ ขึน้ จากฝนตกในช่วงเวลาสัน้ ๆ จะหนัก ขึ้น รศ.ดร.สายั ณ ห์ สดุ ดี คณะทรัพยากร ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ส่งผล กระทบโดยตรงกับการเกษตร ประชาชน 60% ท�ำการเกษตร โดยปลูกยางพารา ปาล์มน�ำ้ มัน และ ไม้ผล ปัจจัยที่มีผลกระทบมากคือการกระจายตัว ของฝน ปัจจุบันเริ่มไม่มีหน้าร้อน เพราะหน้าร้อน เกิดน�้ำท่วม เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลกระทบ มาก ปี พ.ศ.2554 เราไม่มีผลิตผลมังคุด แม้มีฝน แต่เราก็มชี ว่ งแล้ง แต่ตอนนีไ้ ม่มี โดยเฉพาะปี 2554 ผลไม้ไม่ออก ซึง่ เป็นปัญหาในอนาคต ศึกษาย้อนไป 10 ปี พบว่าวันออกดอกของพืชเลื่อนไปเรื่อย จน เมือ่ ปีทแี่ ล้ว มังคุด ลองกอง ออกดอกเดือนกันยายน แล้วไปเก็บผลได้เดือนมกราคม ซึ่งไม่เคยเป็นมา ก่อน แสดงว่าการออกดอกของพืชถอยไปเรื่อยๆ ยางพาราเป็นเส้นเลือดของชาวภาคใต้ ผลผลิต ยางพาราลดลงเรือ่ ยๆ สาเหตุเนือ่ งจากฤดูรอ้ นมีฝน ปกติยางพาราต้องมีช่วงที่แล้งจัด ใบจะร่วงเดือน เมษายน ฝนมาพฤษภาคม ฝนทยอยมาท�ำให้เกิด โรค เรียกว่า ราแป้ง ใบผลิแตกมาก็ร่วงหล่น ปีที่ แล้วการกรีดยางของจังหวัดสงขลาบางสวนเหลือ ไม่ ถึ ง 100 วั น จากปกติ เ รากรี ด ได้ 160 วั น ในอนาคต การกรีดยางก็จะได้รับผลกระทบ ปี 2553 ดีเปรสชั่นเข้า ท� ำให้สวนยางเสียหายไป จ� ำ นวนประมาณสองแสนไร่ ใ นพั ท ลุ ง สงขลา นครศรีธรรมราช ผลกระทบเริม่ ใกล้เข้ามา เกษตรกร ต้องรู้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อเตรียมตัวหรือตั้งรับ อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าว ว่า สิ่งที่น่ากลัวคือ บางปีจะพบความแห้งแล้งและ ไฟป่า ในขณะที่บางปีจะมีฝนตกมาก จนน�้ำจืด ทะลั ก ออกสู ่ ท ะเลอย่ า งรวดเร็ ว ปั จ จุ บั น แนว ปะการังบริเวณเกาะหนู เกาะแมว จ.สงขลา มี สภาพเสื่อมโทรมจากปัญหาน�้ำจืดและตะกอนที่ ออกจากปากทะเลสาบสงขลา นอกจากนี้ การ เปลี่ยนแปลงของน�้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ท�ำให้สตั ว์นำ�้ หลายชนิดหายไป ปลาทีเ่ คยมีมากกว่า 400 ชนิด พบว่าเหลือเพียง 271 ชนิด เพราะน�้ำจืด

มากขึ้ น ปลาทะเลและสั ต ว์ น�้ ำ อื่ น ๆ จะไม่ เ ข้ า มาในทะเลสาบ สงขลา ในขณะที่ บ ริ เ วณท้ อ งทะเลด้ า นนอก ชาวประมงต้องเดินเรือไปไกลขึ้นกว่า 10 กิโลเมตร ถึงจะเจอปลาและกุ้งที่จะจับ เนื่องจากมีน�้ำจืดไหล ออกไปจากทะเลสาบสงขลาเป็นปริมาณมาก ดังนัน้ จึงจ�ำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันในระบบนิเวศน์ เพื่อ ให้ ร ะบบนิ เ วศน์ ป รั บ ตั ว ได้ กั บ การเปลี่ ย นแปลง พืน้ ทีท่ ตี่ อ้ งอนุรกั ษ์จ�ำเป็นต้องอนุรกั ษ์อย่างเข้มงวด ธรรมชาติจะเป็นผู้คัดเลือกว่าใครจะอยู่ รอด การฟืน้ ฟูปา่ ชายหาดโดยเอาต้นสนไปปลูก ซึง่ ไม่เหมาะสมกับชายหาด ต้องพิจารณา ไม่ใช่เรา อยากปลูกพืชอะไรก็ปลูกโดยไม่สนใจระบบนิเวศน์ ดั้งเดิมในแถบนั้น การปกป้องพื้นที่และปล่อยให้ ธรรมชาติ ฟ ื ้ น ฟู ตั ว มั น เอง เราจะได้ พ รรณไม้ ที่ ทนทานต่อการเปลีย่ นแปลงและมีความหลากหลาย การฟื้นฟูแนวปะการังก็เช่นกัน เราไม่ควรส่งเสริม การปลูกปะการัง เพราะที่ผ่านมาแนวปะการัง ส่วนใหญ่จะฟื้นตัวได้เอง เพียงอาศัยเวลา โดยต้อง ปกป้องธรรมชาติ อย่าให้มีการทิ้งน�้ำเสียลงไป ผ ศ . พ ย อ ม รั ต น ม ณี ค ณ ะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ปัญหาที่วิกฤตหนักหนากว่าการกัดเซาะ ชายฝั ่ ง ทะเลคื อ น�้ ำ ท่ ว ม จากการตื้ น เขิ น ของ ทะเลสาบ เพราะไม่มีแหล่งระบาย น�้ำทะเลสาบ สงขลาอาจจะแห้งกลายเป็นสนามกอล์ฟเพราะ หน้าดินมันไหลลงมาในทะเล เนือ่ งจากมีการบุกรุก ปลูกยางพาราบริเวณเทือกเขาบรรทัดและเขาหลวง ปัญหานี้จะยังคงมีอยู่ตราบใดที่ยางพาราราคาสูง ดร.มณทิพย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน อดี ต อธิ บ ดี ก รมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม กรรมการส่ ง เสริ ม กิ จ การมหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นคริ น ทร์ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ด ้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม และ ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องสร้างจิตส�ำนึกด้าน การรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องมีการให้ความรู้ มีการฝึกอบรม เตรียมรับเหตุ ภัยพิบัติ เช่น ดินถล่ม มีการประสานงานทุกภาค ส่วน การบริหารจัดการ เพื่อช่วยลดความเสี่ยง แต่ ทั้งนี้จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป โดยพิ จ ารณาทั้ ง ด้ า นเศรษฐกิ จ สั ง คม และ สิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไป ผู ้ ส นใจศึ ก ษาโครงการพั ฒ นาลุ ่ ม น�้ ำ ทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืน เข้าชมข้อมูลได้ที่ www.onep.go.th/slbproject2555/

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 13


สู่ความเป็นนานาชาติ

ม.อ. เตรียมเปิดหลักสูตรร่วมกับ UMK มาเลเซีย

นำ�ร่อง 2 ปริญญาสาขา Food Technology and Security

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ Universiti Malaysia Kelantan (UMK) ประเทศมาเลเซีย เพื่อร่วมโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากร นักศึกษา การร่วมกันท�ำวิจยั และการร่วมกันเปิดหลักสูตร 2 ปริญญา โดยเริม่ จากสาขา Food Technology and Security เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางวิชาการที่ยั่งยืนระหว่าง สองมหาวิทยาลัย รองรับการหลอมรวมของประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า โดย ผู้ร่วมลงนามประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบ�ำรุงสุข อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.เจริญ นาคะสรรค์ คณบดีคณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ ดร.ราดวน เชโรส อธิการบดี Universiti Malaysia Kelantan โดยมี ฯพณฯ ชวน หลี ก ภั ย ที่ ป รึ ก ษาสภามหาวิ ท ยาลั ย สงขลานครินทร์ และคณะผู้บริหารของทั้งสองมหาวิทยาลัยร่วมเป็นสักขีพยาน ศาสตราจารย์ ดร.ราดวน เชโรส อธิการบดี Universiti Malaysia Kelantan กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ใน เบือ้ งต้นจะน�ำร่องโดยการเปิดหลักสูตร 2 ปริญญา ในสาขา Food Technology and Security ในปี ก ารศึ ก ษา 2556 ซึ่ งคณะที่เกี่ยวข้องคือ Faculty of Agro Based Industry ของ UMK และ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาเขตปัตตานี โดยนักศึกษาทีเ่ รียนหลักสูตร นี้ จะได้รบั ปริญญาของทัง้ สองมหาวิทยาลัย และ ในระยะต่ อ ไปก� ำ ลั ง มองไปถึ ง การร่ ว มมื อ ใน ลั ก ษณะเดี ย วกั น กั บ หลั ก สู ต รอื่ น ซึ่ ง ไม่ มี ค วาม ซับซ้อนในการด�ำเนินการ เช่น หลักสูตรด้าน บริหารธุรกิจ เป็นต้น นอกจากความร่วมมือทาง วิชาการแล้ว ก�ำลังมองถึงความเป็นไปได้ในการ แลกเปลีย่ นนักวิชาการ นักศึกษา การสัมมนาทาง

14 :

PSU

สาร ม.อ.

วิชาการร่วมกัน การเดินทางไปเยี่ยมเยือนซึ่งกัน และกัน และการเชือ่ มความสัมพันธ์ดา้ นการกีฬา ซึ่งจะท�ำให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองมหาวิทยาลัย ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิ ริ บ� ำ รุ ง สุ ข กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์มีความต้องการมานานแล้วที่จะเปิด หลั ก สู ต รร่ ว มกั น ระหว่ า งมหาวิ ท ยาลั ย ใน ประเทศไทยและมาเลเซีย เนื่องจากเป็นหน้าที่ ของมหาวิทยาลัยที่อยู่ติดชายแดนที่จะสมาน สามัคคี มีความเข้าใจ ซึง่ กันและกัน ช่วยกัน พั ฒ น า ก า ร ศึ ก ษ า ของเยาวชนทั้ ง สอง ประเทศ เพื่ อ สร้ า ง ความเจริญรุ่งเรืองที่ ยั่งยืนร่วมกัน เมื่อ 20

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555

ปี ก ่ อ นการเปิ ด หลั ก สู ต รร่ ว มกั น ระหว่ า ง 2 ประเทศถือว่าท�ำได้ยากเพราะต้องผ่านข้อจ�ำกัด หลายขั้ น ตอน เช่ น การที่ จ ะต้ อ งผ่ า นความ เห็นชอบจากกระทรวงศึกษาธิการ แต่ปัจจุบันมี ความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น เพราะเรื่องดังกล่าว สามารถตัดสินใจกันในระดับมหาวิทยาลัยได้ การ ลงนามความร่วมมือเปิดหลักสูตร 2 ปริญญา ในสาขาเทคโนโลยีและความมั่นคงด้านอาหาร ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ UMK ในครัง้ นี้ ถือเป็นต้นแบบให้กบั หลักสูตรอื่นๆ ที่จะ ตามมาในอนาคต ที่ผ่านมา หลายคณะในมหาวิทยาลัย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขตปั ต ตานี และ Universiti Malaysia Kelantan (UMK) ซึ่งเป็น มหาวิทยาลัยทีอ่ ยูใ่ นรัฐกลันตัน ทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศมาเลเซีย ติดชายแดนไทย เขตจั ง หวั ด นราธิ ว าส ได้ มี ค วามร่ ว มมื อ ทาง วิชาการมาระยะหนึง่ แล้ว แต่ยงั ไม่ได้มกี ารลงนาม ความร่วมมือระหว่างกันในระดับมหาวิทยาลัย เช่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มกี าร จัดสัมมนาร่วมกันในเรื่องการสอนภาษาอังกฤษ และภาษามาเลย์ การท� ำ กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา ร่วมกันเพือ่ เปิดมุมมองและสร้างความเข้าใจเรือ่ ง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน น�ำนักศึกษา UMK ท�ำกิจกรรมร่วมกับชุมชนชาวปัตตานี การเจรจา เรือ่ งหลักสูตรนานาชาติ คณะวิทยาการสือ่ สารได้ มีการหารือเพือ่ สร้างความร่วมมือกับ Faculty of Creative Technology and Heritage ส่วนคณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก�ำลังด�ำเนินการ โครงการแลกเปลี่ยนทักษะด้านห้องปฏิบัติการ การน�ำเสนอผลงานวิจยั ของนักศึกษา การฝึกงาน ในต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนนักศึกษาเพื่อ ท�ำงานวิจัย และโครงการจัดท�ำหลักสูตรร่วม ด้าน Food Technology and Security กับ Faculty of Agro Based Industry ของ UMK เป็นต้น


สู่ความเป็นนานาชาติ

PSU English Camp

2012

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัด โครงการค่ายภาษาอังกฤษ (English Camp) เพื่ อ เสริ ม ทั ก ษะด้ า นภาษาอั ง กฤษให้ แ ก่ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยทุกวิทยาเขต รวม ทั้ ง เพื่ อ ให้ ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มโครงการได้ เ รี ย นรู ้ วัฒนธรรมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ ชาวต่างชาติเจ้าของภาษา เพื่อให้ผู้เข้าร่วม โครงการมีโลกทัศน์ที่กว้างไกลขึ้น รู้จักปรับ ตัวเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีความอดทน และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้น�ำความรู้และ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไป ใช้ในชีวติ ประจ�ำวันได้อย่างเหมาะสม ผูเ้ ข้าร่วม โครงการในปี นี้ มี นั ก ศึ ก ษาจากคณะต่ า งๆ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ�ำนวน 108 คน นักเรียนทุนต้นกล้าสงขลานครินทร์ จ�ำนวน 10 คน โครงการนี้ มี อ าสาสมั ค รจากสหรั ฐ อเมริกา จ�ำนวน 13 คน จัดสอนภาษาอังกฤษวัน ละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งสอดแทรกเรื่องการใช้ภาษา อังกฤษในชีวิตประจ�ำวัน ภายในบรรยากาศที่ เหมาะสม เป็นธรรมชาติ นอกจากนัน้ ยังมีการจัด ทัศนศึกษาในช่วงเวลาที่นอกเหนือจากการสอน ภาษาอังกฤษของแต่ละวัน โดยเดินทางไปตาม แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดต่างๆ ที่ตั้งค่าย รวมทั้ง การท�ำกิจกรรมนันทนาการ เล่นกีฬา หรือเกม ภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ ในปี 2555 โครงการค่ายภาษา อังกฤษ (English Camp 2012) จัดใน ระหว่างวันที่ 13-27 พฤษภาคม 2555 ที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา ภูเก็ต และมีพิธีปิด ค่ายที่วิทยาเขตตรัง โ ค ร ง ก า ร ค ่ า ย ภ า ษ า อั ง ก ฤ ษ ข อ ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นโครงการที่

สืบเนื่องมาจากด�ำริของคณะกรรมการส่งเสริม กิจการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพือ่ ส่งเสริม ให้ มี ก ารพั ฒ นาความรู ้ ด ้ า นภาษาอั ง กฤษแก่ นักศึกษานอกเหนือจากการเรียนตามหลักสูตร ปกติในชั้นเรียน โดยได้มีการจัดโครงการมาแล้ว 11 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2544-2555 ซึ่งจากปี 2546 ถึง ปัจจุบัน เป็นการจัดโครงการฯ ร่วมกับ Ball State University (BSU) รัฐ Indiana ประเทศ สหรัฐอเมริกา มี Dr.Kris Rugsaken เป็น ผู้ประสานงานหลักจาก BSU ท�ำหน้าที่รับสมัคร ชาวต่างประเทศที่สนใจทั้งจาก BSU และอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เพื่อมาท�ำหน้าที่

เป็นผู้สอนภาษาอังกฤษหรือ Camp leader ใน โครงการ ก่อนการเดินทางไปเข้าค่าย มหาวิทยาลัย สงขลานคริ น ทร์ ไ ด้ จั ด ปฐมนิ เ ทศผู ้ เ ข้ า ร่ ว ม โครงการฯ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2555 โดยมี รศ.ดร.วิเชียร จาฏุพจน์ ผูช้ ว่ ยอธิการบดีฝา่ ย วิเทศสัมพันธ์ กล่าวเปิดโครงการ นางซัลมา โกสุมพันธ์ หัวหน้างานวิเทศสัมพันธ์ นางสาว จงจิต ราชยอด นางสาวจีรนันท์ นิลวงศ์ งานวิเทศสัมพันธ์ กองบริการการศึกษา ร่วม ปฐมนิเทศและแนะน�ำการเตรียมตัวให้กับน้องๆ ในการเข้าค่ายในครั้งนี้

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 15


รอบรั้วศรีตรัง

ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่…

อธิการบดีให้นักศึกษาใหม่ภูมิใจในสถาบัน เปรียบวิทยาเขตเหมือนพี่น้องที่ต้องดูแลกัน รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับนักศึกษาใหม่ของ มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2555 ในโอกาสการปฐมนิเทศ นักศึกษาใหม่ของวิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อ 1 มิถุนายน โดย ขอให้นักศึกษาได้เรียนรู้ประสบการณ์หรือทักษะชีวิตที่ได้รับ จากการบ่มเพาะของมหาวิทยาลัย เพือ่ ทีจ่ ะออกไปท�ำงานร่วม กับผูอ้ นื่ ได้อย่างมีความสุข และส�ำนึกในความเป็นมหาวิทยาลัย หลายวิทยาเขตที่เหมือนการมีพี่น้องที่ต้องดูแลกัน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังได้ขอให้นักศึกษา ใหม่ได้ภมู ใิ จทีม่ โี อกาสเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัย ซึง่ ได้รบั พระราชทาน นามตามพระนามของสมเด็ จ พระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลา นครินทร์ และมีพระองค์ทา่ นเป็นทีย่ ดึ เหนีย่ วจิตใจ พระราชานุสาวรียท์ ี่ ประดิษฐานอยูใ่ นทัง้ 5 วิทยาเขต ล้วนเป็นทีส่ กั การะและเตือนใจให้เดิน ตามรอยพระบาท โดยยึดพระราชปณิธานที่ว่า “ให้ถือประโยชน์ของ

16 :

PSU

สาร ม.อ.

เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่สมาชิกทุกคนของ สงขลานครินทร์ยึดเป็นแนวปฏิบัติทั้งในหน้าที่การงานและการด�ำเนิน ชีวิตส่วนตัว นอกจากนัน้ ยังขอให้มนั่ ใจในคุณภาพทางวิชาการและการศึกษา ของสถาบั น แห่ ง นี้ โดยได้ ย กค� ำ กล่ า วของ ท่ า นศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข อธิการบดีท่านที่สองของมหาวิทยาลัย ที่ว่า คุณภาพของอาจารย์และนักศึกษาเป็นเครือ่ งชีถ้ งึ มาตรฐานของมหาวิทยา ลัยนัน้ ๆ ทีผ่ า่ นมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รกั ษาคุณภาพมาตลอด ระยะเวลากว่า 40 ปี มีอาจารย์ทมี่ คี ณ ุ ภาพ อาจารย์ทจี่ บการศึกษาระดับ ปริญญาเอกประมาณร้อยละ 50 และมีผู้มีต�ำแหน่งทางวิชาการตั้งแต่ ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไปประมาณร้อยละ 50 มีการจัดการเรียน การสอนตามมาตรฐานส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ ส�ำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. โดยเมื่อปีที่ ผ่านมา ได้ผ่านการประเมินจาก สมศ. ในระดับดีมาก ซึ่งเป็นระดับที่สูง ที่สุดของการประเมิน และยังได้รับการจัดอันดับคุณภาพจากหน่วยงาน ของนานาชาติอยู่ในล�ำดับที่น่าพอใจ

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555


มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังได้รบั การคัดเลือกเป็น 1 ใน 9 ของมหาวิ ท ยาลั ย วิ จั ย แห่ ง ชาติ และได้รับการจัดอันดับจาก SCImago Institutions ประเทศสเปน ให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย อันดับที่ 4 ของประเทศ ซึ่งแสดงว่าคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้ ท�ำการวิจยั อย่างต่อเนือ่ ง และเป็นทีย่ อมรับจากนานาชาติ มีการแสวงหา ความรู้ใหม่และน�ำความรู้เหล่านั้นมาสอนนักศึกษา นอกจากความมีคุณภาพทางทางวิชาการแล้ว มหาวิทยาลัยยัง เน้นให้นกั ศึกษามีจติ ส�ำนึกในการช่วยเหลือสังคม ภายใต้พระราชปณิธาน ของสมเด็จพระบรมราชชนก และโดยที่เราเป็นมหาวิทยาลัยหลาย วิทยาเขต คือที่ ปัตตานี สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ตรัง และหาดใหญ่ นักศึกษา ใหม่เกือบหมื่นคนที่เข้าศึกษาในปีนี้ ต้องส�ำนึกตลอดเวลาว่าเรามีเพื่อน อยู่ในวิทยาเขตอื่นอีก 4 วิทยาเขต เหมือนกับการที่มีพี่น้อง เพื่อน ที่ ต้องดูแลซึง่ กันและกันอยูใ่ นบ้านอืน่ ๆ อีก 4 แห่ง มีกจิ กรรมร่วมกัน มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุด เป็นการหลอมรวมกันเป็นลูกพระบิดา พร้อมที่จะร่วมแรงร่วมใจ ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน ภายใต้ความภาคภูมใิ จในความเป็นนักศึกษาของ “สงขลานครินทร์” กิจกรรมการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2555 ที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 - 4 มิถุนายน 2555 โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การบรรยาย หัวข้อ “การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย” โดย ศุ บุญเลี้ยง การบรรยาย “เรียน มหาวิ ท ยาลั ย ให้ ส นุ ก อย่างมีความสุขและคุณภาพ” โดย รอง ศาสตราจารย์ วิ ล าวั ณ ย์ เจริ ญ จิ ร ะตระกู ล กิ จ กรรม “สั ง คมพหุ วัฒนธรรม” และ “สายใจเดียว ม.อ. เกลียวสัมพันธ์” กิจกรรม “ร่วมแรงร่วมใจน้องใหม่บ�ำเพ็ญฯ” เป็นกิจกรรมปลูกป่า ปรับปรุง ภูมิทัศน์ ท�ำความสะอาดภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย เป็นต้น

นายทรงภพ ศรีภักดี “น้องโอม” มาจากโรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร

เข้ า มาสู่ รั้ ว สงขลานคริ น ทร์ “ ประทับใจรุ่นพี่มาก ที่ได้เข้ามาศึกษาใน

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพราะได้เข้า ร่ ว มโครงการแนะแนวศึ ก ษาต่ อ ฯ ม.อ. “โรดโชว์” มาที่จังหวัดชุมพร มีคณะมา แนะแนวหลายคณะ ตัดสินใจเลือกเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ รุ่นพี่ ให้คำ�แนะนำ�ดีมาก ทำ�ให้ตัดสินใจได้โดยไม่ลังเลใจ ปฐมนิเทศใน วันนีก้ จิ กรรมดีมากครับ ได้รบั ความรูจ้ ากวิทยากร บรรยากาศเป็น กันเอง ได้รู้จักเพื่อนๆ ต่างคณะด้วย

นายประสงค์ บุญซ้อน ”น้องไข่เจียว” จากโรงเรียนปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร

ม.อ. ดีมาก ร่มรื่น ต้นไม้ “เยอะดีบรรยากาศใน ครับ ตัดสินใจไม่ผิดที่เลือกเรียนที่

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผมได้รับการ คัดเลือกจากโครงการรับนักเรียนที่เรียนดี ของ ม.อ. เลือกเรียนคณะวิทยาศาสตร์ ตอน แรกๆ ก็ดูคณะวิทยาศาสตร์อยู่หลายที่ จนมาเจอพี่ๆ ของ ม.อ. มาออกบูธ ในงาน SEA FUTURE EXPO ทีส่ ยามพารากอน แนะนำ� ข้อมูลดีและมีโครงการหนึ่งที่น่าสนใจ คือโครงการรับนักเรียนที่ เรียนดี เลยสนใจ ประทับใจพี่ๆ ที่แนะนำ� ขณะนั้นเรียนอยู่ ม.5 พอดี จากนั้นได้ตามพี่ๆ ไปออกบูธงาน U-EXPO ที่ไบเทคบางนา อีก เพื่อฟังข้อมูลอีกครั้ง เลยตัดสินใจเลือกเข้าโครงการนี้ เข้ามา รั้ว ม.อ. รุ่นพี่ที่คณะดูแลเอาใจใส่ดีครับ

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 17


สู่ความเป็นนานาชาติ

องค์การอนามัยโลกตั้งหน่วยระบาดวิทยา

คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. เป็นศูนย์ความร่วมมือ องค์การอนามัยโลกเพื่อการอบรมและวิจัย ด้านระบาดวิทยา หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก สร้างความเข้มแข็งด้านวิจัยและผลิตนักวิจัยให้ประเทศก�ำลังพัฒนาในเอเชียตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 เป็นจ�ำนวนกว่า 130 คน จาก 15 ชาติ ให้กลับไปเป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ จนเป็นทีร่ จู้ กั ในระดับชาติและนานาชาติ องค์การอนามัยโลกจึงแต่งตัง้ หน่วยระบาดวิทยา ม.อ. เป็นศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกเพือ่ การอบรม และวิจัยด้านระบาดวิทยา (WHO Collaboration Center for Research and Training on Epidemiology) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2555 ทั้งนี้ระบาดวิทยาคือการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายและสาเหตุของ การเกิดโรคหรือภาวะใดภาวะหนึ่งในประชากร โดยมีจุดหมายในการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรค เพื่อน�ำไปสู่ การมีสุขภาพที่ดีของประชาชน

ศ.ดร.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

ศาสตราจารย์ ดร.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ประธานหลักสูตรระบาด วิทยานานาชาติ ผู้ก่อตั้งหน่วยระบาดวิทยา ม.อ. และผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา สุขภาพภาคใต้ (วพส.) กล่าวว่า หน่วยระบาด วิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ มีพันธกิจ 3 ประการภายใต้ศูนย์ ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกเพือ่ การอบรม และวิจัยด้านระบาดวิทยา คือ 1) อบรมและ

18 :

PSU

สาร ม.อ.

พัฒนาการวิจัยและจัดการข้อมูลด้านระบาด วิทยา 2) สนับสนุนการวิจัยด้านระบาดวิทยา และ 3) สร้างงานวิจัยด้านระบาดวิทยาสห สถาบันภายในและระหว่างประเทศ ศาสตราจารย์ ดร.นพ.วีระศักดิ์ จง สู่วิวัฒน์วงศ์ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่ง ชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ประจ�ำปี 2552 จากส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่ง ชาติ จากผลงานวิจยั ทางด้านวิชาการทีโ่ ดดเด่น ต่ อ เนื่ อ งตลอด 30 ปี ทั้ ง ทางด้ า นสั ง คม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี โดยเฉพาะการแก้ไข ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ภาคใต้ระยะยาว พร้อมทั้งได้สร้างทรัพยากรมนุษย์ส�ำหรับงาน วิจัยระดับนานาชาติ ใ ห้ แ ก่ ท วี ป เอเชี ย โดย ท�ำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขภาคใต้ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 และต่อมา ขยายเป็นการวิจยั ระดับนานาชาติ ทีช่ ว่ ยแก้ไข ปัญหาต่างๆ ได้กว้างขวาง นอกจากนี้ยังได้ พัฒนาแพคเกจคอมพิวเตอร์เพือ่ การวิจยั ซึง่ ทัว่ โลกให้การยอมรับและสามารถใช้ได้โดยไม่ตอ้ ง

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555

รศ.ดร.พญ.ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล

เสียค่าใช้จ่าย มีหนังสือและตัวอย่างอธิบาย ประกอบที่ ช ่ ว ยให้ ป ระเทศก� ำ ลั ง พั ฒ นาใน เอเชีย แอฟริกา ละตินอเมริกา และประเทศที่ พัฒนาแล้ว ต่างสามารถเข้าถึงได้เท่าเทียมกัน “เราต้องการนักวิจัยรุ่นใหม่และสร้างความ หลากหลายในงานวิจยั ทัง้ ทางด้านสาธารณสุข สังคม และเทคโนโลยี โดยมุ่งหวังที่ต้องการให้ งานวิจยั สามารถน�ำไปใช้ยกระดับคุณภาพชีวติ และความเป็นอยู่ของคนในสังคมต่างๆ ให้ดี


ขึ้น” ศาสตราจารย์ ดร.นพ.วีระศักดิ์ กล่าว รศ.ดร.พญ.ทิพวรรณ เลียบสือ่ ตระกูล หัวหน้า หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ผู้รับต�ำแหน่งสืบต่อ จาก ศาสตราจารย์ ดร.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ เป็นผู้รับทุนวิจัยโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สาขา ระบาดวิทยานานาชาติ คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. และได้ทุน สนับสนุนจากโครงการเร่งรัดสูค่ วามเป็นเลิศด้านระบาดวิทยา จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าอบรมระยะสัน้ ด้านการ ประเมิ น ความคุ ้ ม ทุ น และเศรษฐศาสตร์ ส าธารณสุ ข ณ มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ ในปี 2553 และในปี เดียวกัน ก็เป็นนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์สูงสุด 20 ล�ำดับแรก ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และได้รบั คัดเลือกเป็นดุษฎี บัณฑิตโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกดีเด่นประจ�ำปี 2554 ทั้งนี้ งานวิจัยขณะศึกษาปริญญาเอกระบาดวิทยา และต่อเนื่องจนปัจจุบัน เน้นองค์ประกอบส�ำคัญที่น�ำไปสู่ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย พบว่าประเทศไทยมีความพร้อมและ มีการเข้าถึงบริการสุขภาพสูงกว่าหลายประเทศในแถบเอเซีย ไม่มีความเหลื่อมล�้ำระหว่างคนจน-คนรวย หรือเมือง-ชนบท แม้ว่าอัตราการตายของมารดาจากการค�ำนวณขององค์การ อนามัย ในปี 2552 เท่ากับ 48 ต่อแสนการเกิดมีชีพ ซึ่ง ต�ำ่ กว่าประเทศเพือ่ นบ้าน แต่ยงั คงสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว จึ ง มี ค วามจ� ำ เป็ น ที่ ต ้ อ งพั ฒ นางานวิ จั ย เพื่ อ น� ำ ไปสู ่ ก ารมี สุขภาพที่ดีของมารดาและทารกปริก�ำเนิดอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันมีงานวิจัยในด้านระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์ สาธารณสุข และการแพทย์เชิงประจักษ์ เพื่อให้เกิดการ พัฒนาสุขภาพและการแพทย์องค์รวม

รศ.ดร.พญ.ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล กล่าวว่า“หน่วยระบาดวิทยา มี การท�ำงานเป็นระบบระหว่างเครือข่ายกับเครือข่าย ทั้งในประเทศและระหว่าง ประเทศ โดยผูท้ มี่ าเรียนระบาดวิทยามีทงั้ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุข หรือ นักวิจัย ซึ่งส่วนใหญ่สถาบันเป็นผู้ส่งหรือสนับสนุนให้มาเรียน เนื่องจากสถาบัน ต้องการสร้างคนและพัฒนาองค์กร ดังนัน้ งานของเราจึงไม่ได้สร้างเพียงคนอย่างเดียว เราเน้นสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กรด้วย ผูเ้ รียนมีความต้องการเรียนรูใ้ นหลากหลาย สาขา เช่น แม่และเด็ก อนามัยเจริญพันธุ์ มะเร็ง สารเสพติด ยาสูบ แอลกอฮอล์ โรค ติดต่อ โรคไม่ตดิ ต่อ หรือสิง่ แวดล้อม โดยทางเราจะพิจารณาจากสาขาทีเ่ กีย่ วข้องและ จัดให้มีอาจารย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เป็นผู้ดูแล” “หลักสูตรของเรามีทั้งปริญญาโทและปริญญาเอก โดยปริญญาโทหลักสูตร 2 ปี ส่วนปริญญาเอกหลักสูตร 3-4 ปี การเรียนเริ่มจากการเรียนในห้องเรียน สอบ โครงร่างวิจัย แล้วไปเก็บข้อมูลที่ประเทศของนักศึกษาเองเป็นเวลา 6-12 เดือน ขึ้นอยู่ว่าเป็นปริญญาโทหรือเอก จากนั้นกลับมาที่มหาวิทยาลัยเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และเขียนบทความตีพิมพ์ ตลอดจนสอบวิทยานิพนธ์ ระหว่างที่ นักศึกษาอยู่กับเรา เราส่งเสริมให้นักศึกษาอยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือหรือ แลกเปลี่ยนกับเพื่อนต่างชาติ เราเน้นจริยธรรมในการท�ำวิจัยและ ระเบียบวิธวี จิ ยั ทีถ่ กู ต้อง เมือ่ มีคำ� ถามจะท�ำอย่างไรให้เกิดกระบวนการ ที่ดี ได้ค�ำตอบที่ถูก สิ่งที่เรามุ่งหวัง คือ ความต้องการสร้างคนที่มี อุดมการณ์ในการท�ำงาน มีความตั้งใจ รับผิดชอบ และซื่อสัตย์” “ระบาดวิ ท ยา เป็ น การศึ ก ษาหรื อ หาค� ำ ตอบ ค� ำ ถามที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ น�ำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยระเบียบวิธีวิจัย” หน่ ว ยระบาดวิ ท ยา ตั้ ง อยู ่ ที่ ชั้ น 6 อาคารบริ ห ารคณะ แพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทร. 074-451165 อ่านรายละเอียดเพิ่มได้ที่ http://medipe2.psu.ac.th

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 19


การศึกษา

ม.อ. ลุย 5 จังหวัดภาคใต้ จัด PSU Road Show

แนะหลักสูตร-แจงระบบสอบเข้า ม.อ. ปี 56

คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากกว่า 30 คณะ เดินทางไปประชาสัมพันธ์และแนะแนวการเข้าศึกษาต่อใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แก่นกั เรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาใน 5 จังหวัดภาค ใต้ ภายใต้ชื่อกิจกรรม “PSU Road Show” ครั้งที่ 13 เพื่อแนะน�ำคณะและ หลักสูตรที่มีการเปิดสอน และให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย และโครงการพิเศษต่างๆ ในปีการศึกษา 2556 ระหว่างวันที่ 2-6 กรกฎาคม 2555 ทีจ่ งั หวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ตรัง และนครศรีธรรมราช มีนกั เรียน ครูแนะแนว และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 5,000 คน กิจกรรมประกอบด้วยการน�ำเสนอศักยภาพและความโดดเด่นของมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตหาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี ตรัง ภูเก็ต และ ปัตตานี ผ่านการบรรยายและกิจกรรมบนเวทีของวิทยาเขตต่างๆ และเปิดโอกาสให้นกั เรียน ครูแนะแนวจากโรงเรียนใน 5 จังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนผู้สนใจได้ซักถามถึงข้อ สงสัยต่างๆ และรับทราบข้อมูลจากการจัดคูหาแสดงนิทรรศการ การแจกเอกสารแผ่นพับ การแสดงผลงานและนวัตกรรม และให้โอกาสนักเรียนได้รว่ มกิจกรรมเพือ่ สัมผัสความอบอุน่

20 :

PSU

สาร ม.อ.

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555

จากรุ ่ น พี่ นั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นครินทร์จากทุกวิทยาเขต นายอมรเทพ หนูแบน นักเรียน ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 6 โรงเรี ย นเมื อ ง สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ตนสนใจจะเข้าศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา ทีม่ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพราะใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ และมั่นใจว่าการเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัย ส ง ข ล า น ค ริ น ท ร ์ จ ะ ท� ำ ใ ห ้ ต น เ ป ็ น นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ที่ มี คุ ณ ภาพได้ การมา แนะแนวการสอบเข้าและแนะน�ำสาขาวิชา


นายอมรเทพ หนูแบน

นางสาวนุสรี ยาชะรัด

ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใน ครัง้ นี้ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการเตรียมตัว สอบเข้าศึกษาต่อให้กบั ตนเองเป็นอย่างมาก รู้สึกประทับใจรุ่นพี่ทุกคนที่มาร่วมให้ข้อมูล ความรู ้ และอยากให้ จั ด กิ จ กรรมอย่ า งนี้ เป็นประจ�ำทุกปี เพือ่ จะได้เป็นประโยชน์กับ รุ่นน้องต่อๆ ไป นางสาวนุสรี ยาชะรัด นักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนูรลุ อิงซานมูลนิธิ จังหวัดตรัง กล่าวว่า ตนเข้าร่วมกิจกรรม PSU Road Show ครัง้ นีเ้ ป็นครัง้ ที่ 2 จึงรูจ้ กั และเริ่ ม คุ ้ น เคยกั บ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นคริ น ทร์ ใ นระดั บ หนึ่ ง ส่วนตัวสนใจเข้า ศึกษาต่อในคณะการแพทย์แผนไทย เพราะ ปัจจุบันสังคมหันมาให้ความส�ำคัญกับการ ใช้ ส มุ น ไพรและแพทย์ ท างเลื อ กมากขึ้ น ขอบคุณอาจารย์และพี่ๆ จากมหาวิทยาลัย สงขลานคริ น ทร์ ที่ เ ปิ ด โอกาสให้ ต นและ เพื่ อ นๆ ซึ่ ง เป็ น นั ก เรี ย นในโรงเรี ย นสอน ศาสนาได้เข้าถึงข้อมูลความรูท้ เี่ ป็นประโยชน์ ตนตั้งใจว่าจะสอบเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ให้ได้ และอยากให้เพื่อน นักเรียนในจังหวัดต่างๆ ได้เข้ามารู้จักและ สั ม ผั ส กั บ บรรยากาศของมหาวิ ท ยาลั ย สงขลานครินทร์แบบตนเองด้วย

อาจารย์จุรีพรรณ พูลศรี

ขณะที่อาจารย์จุรีพรรณ พูลศรี อาจารย์แนะแนวโรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต กล่าวว่า เชื่อว่านักเรียนมีความมั่นใจ ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เห็นได้จาก อัตราการเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ของนักเรียนโรงเรียนที่ตน สอนอยู่นั้นมาเป็นอันดับหนึ่ง ประกอบกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีวิธีรับเข้า

ศึ ก ษาโดยวิ ธี รั บ ตรงหลายวิ ธี ไม่ ว ่ า จะ เป็นการรับนักเรียนเรียนดีโดยพิจารณาจาก ผลการเรียน การรับตรงโดยใช้คะแนน GAT และ PAT การรับตรงนักเรียนใน 14 จังหวัด ภาคใต้ และการรับตรงของคณะต่างๆ จึง เป็นการเพิม่ โอกาสให้นกั เรียนได้เข้าศึกษาที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในคณะ สาขา ที่ตัวเองต้องการ กิ จ ก ร ร ม ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ ์ แ ล ะ แนะแนวการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ในจังหวัดภาคใต้จดั ขึน้ เป็น ประจ�ำทุกปี โดยเริม่ จัดขึน้ ตัง้ แต่ปี พ.ศ.2543 เพือ่ ให้นกั เรียนในภาคใต้ได้มโี อกาสรับทราบ ข้อมูลของสาขาวิชาและคณะต่างๆ ของ มหาวิ ท ยาลั ย จากรุ ่ น พี่ แ ละบุ ค ลากร มหาวิทยาลัยโดยตรง เพือ่ เพิม่ ความมัน่ ใจใน การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ในทุกวิทยาเขต

คณะ/หน่วยงานที่ร่วมแนะแนวมีดังนี้

ปัตตานี

- คณะวิทยาการสื่อสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศึกษาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และประชาสัมพันธ์ ม.อ.ปัตตานี หาดใหญ่ - คณะแพทยศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทย์แผนไทย คณะเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและ BBA คณะศิลปศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ คณะนิติศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ ประชาสัมพันธ์ ม.อ.หาดใหญ่ และสถานีวิทยุ ม.อ.หาดใหญ่ ภูเก็ต - คณะการบริการและการท่องเที่ยว คณะเทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อม คณะวิเทศศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ม.อ.ภูเก็ต และประชาสัมพันธ์ ม.อ.ภูเก็ต ตรัง - คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และประชาสัมพันธ์ ม.อ.ตรัง สุราษฎร์ธานี - คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ และประชาสัมพันธ์ ม.อ.สุราษฎร์ธานี PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 21


รอบรั้วศรีตรัง

เสียงบทสวดบวงสรวงดังกึกก้องไปทั่วบริเวณลานหน้าอาคารสตางค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขณะประกอบพิธีอ่าน โองการเชิญเทพในพิธปี ระดิษฐานรูปหล่อ “อาจารย์สตางค์ มงคลสุข” ท่ามกลาง ผู ้ ม าร่ ว มแสดงความกตั ญ ญู ก ตเวทิ ต า ในโอกาสครบรอบ 45 ปี คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 เฉกเช่นคุณงามความดีของพ่อพิมพ์ผเู้ ป็นก�ำลังส�ำคัญในการจัดตัง้ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ผู้นี้ ที่ยังคงแผ่กระจายไปทั่วผืนแผ่นดินและตราตรึงอยู่ในหัวใจ ของลูกศิษย์และชาวสงขลานครินทร์มาเป็นระยะเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ

ศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข

“ศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข”

ปูชนียบุคคลของ ม.อ. ผู้ควรค่าแก่การเชิดชู

ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุ ข เป็ น ชาวอ� ำ เภอท่ า ใหม่ จั ง หวั ด จันทบุรี เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2462 เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายแจ้งและนางไน้ มงคลสุข ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ เป็นผูม้ บี ทบาทส�ำคัญในการจัด ตั้ ง มหาวิ ท ยาลั ย ต่ า งๆ ของประเทศไทยใน ระยะเริ่มแรก และหนึ่งในนั้นคือมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ โดยเป็นผูด้ ำ� เนินการขับเคลือ่ น ในเรื่องพื้นที่ตั้ง สิ่งก่อสร้าง มาตรฐานหลักสูตร ตลอดจนการประสานความร่ ว มมื อ กั บ ต่ า งประเทศ ท่ า นได้ รั บ การโปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มแต่ ง ตั้ ง ให้ ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง

22 :

PSU

สาร ม.อ.

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555


อาจารย์มนัส กันตวิรุฒ

อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ท่านที่ สอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2512-2514 หากแต่ต�ำแหน่ง ผู้บริหารไม่ได้ท�ำให้ท่านละทิ้งบทบาทด้านการ สอน ท่ า นยั ง คงทุ ่ ม เทชี วิ ต และจิ ต ใจในการ ประสิ ท ธิ์ ป ระสาทวิ ช าความรู ้ แ ก่ ศิ ษ ย์ ต ลอด ระยะเวลาการท�ำงานในชีวิตท่าน ศาสตราจารย์ ดร.ศกรณ์ มงคลสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บุตรชายของศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข กล่าวถึงผู้เป็นพ่อในโอกาสเดินทาง

ศาสตราจารย์ ดร.ศกรณ์ มงคลสุข

มาร่วมพิธีประดิษฐานรูปหล่อศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ว่าศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข เป็นผู้ที่มีความขยัน และมุ่งใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา ท่านจึงได้ ถ่ายทอดคุณลักษณะดังกล่าวนี้ให้แก่ลูกศิษย์ ของท่าน ท่านสอนให้ลูกศิษย์ทุกคนเรียนอย่าง ใช้ความคิดมากกว่าการจดจ�ำอย่างไม่มีความ เข้ า ใจถ่ อ งแท้ และเมื่ อ ได้ รั บ ความรู ้ จ าก การศึกษาเล่าเรียนแล้ว ยังต้องน�ำความรู้ที่ได้ เหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและ ประเทศชาติ ด ้ ว ย ที่ ส� ำ คั ญ ต้ อ งหมั่ น เตรี ย ม ตนเองให้มีความพร้อมอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ แสดงศั ก ยภาพอย่ า งสุ ด ความสามารถเมื่ อ โอกาสมาถึง ซึ่งค�ำสอนของท่านเหล่านี้คงจะ ยังใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติของนักเรียน นักศึกษาในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี อ า จ า ร ย ์ ม นั ส กั น ต วิ รุ ฒ ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงานหอประวัติ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ผูม้ โี อกาสได้ศกึ ษาเล่าเรียนกับ ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข เมื่อ ครั้งเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า “โชคดีของผมอย่าง หนึ่ ง ในชี วิ ต คื อ การที่ ผ มได้ เ ป็ น ลู ก ศิ ษ ย์ ของอาจารย์สตางค์ อาจารย์สตางค์เป็นผู้มี

ภูมิความรู้สูง มีวิธีการสอนที่เข้าใจง่ายและเป็น กันเองกับลูกศิษย์ ท�ำให้ลูกศิษย์มีความเคารพ รักท่านเสมือนพ่อ และเรียกท่านว่า “ป๋า” ท่าน ให้ความช่วยเหลือศิษย์ด้านการศึกษาอย่าง เต็มก�ำลัง แม้เวลาจะผ่านมาเนิน่ นาน แต่ทา่ ทาง เท้าสะเอว ปากคาบไปป์ แววตาฉายประกาย มุ่งมั่นของท่าน ยังคงชัดเจนอยู่ในความทรงจ�ำ ของผมเสมอมา วันนีผ้ มมีโอกาสได้ทำ� งานให้กบั หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงถือ เป็ น โชคดี ข องผมอี ก ครั้ ง หนึ่ ง ที่ จ ะได้ ท� ำ สิ่ ง ที่ แ สดงความเคารพและระลึ ก ถึ ง ท่ า น โดย ด�ำเนินการจัดสร้างห้องท�ำงานจ�ำลองและหุ่น ขี้ ผึ้ ง อาจารย์ ส ตางค์ ไ ว้ ใ นอาคารหอประวั ติ ภายในจะมีการแสดงประวัติ ผลงาน บันทึก ค�ำสอน และภาพของอาจารย์สตางค์ในอิรยิ าบถ ต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2557 สิ่งเหล่านี้จะสะท้อนที่มาที่ไปของความเจริญ ก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่มี ท่านเป็นผู้วางรากฐานให้พัฒนามาได้จนถึงทุก วันนี้” คุณงามความดีของศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุ ข ปู ช นี ย บุ ค คล ผู้ท�ำคุณประโยชน์ทางการศึกษาแก่ประเทศ ไทยผู ้ นี้ จะยั ง คงเบ่ ง บานอยู ่ ใ นจิ ต ใจและ ได้รบั การกล่าวขานเชิดชูจากนักศึกษา ศิษย์เก่า และบุคลากรชาวสงขลานครินทร์ ตลอดจน ประชาชนผู ้ ศ รั ท ธาจากรุ ่ น สู ่ รุ ่ น ตราบนาน เท่านาน

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 23


รางวัลแห่งคุณภาพ รองศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีฝ่ายระบบวิจัยและ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ทรัพยากรที่มีความส�ำคัญที่สุดที่จะ ท�ำให้มหาวิทยาลัยบรรลุถงึ เป้าหมายในการเป็น มหาวิ ท ยาลั ย วิ จั ย ไม่ ใ ช่ เ งิ น หรื อ เครื่ อ งมื อ อุปกรณ์ แต่เป็น “ทรัพยากรบุคคล” ถ้าไม่มี คนก็จะไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มี คุณค่าออกมาได้ ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรให้ เป็นนักวิชาการผูม้ คี วามรูค้ วามสามารถ มีความ เข้ ม แข็ ง และมี ทั ก ษะด้ า นการวิ จั ย จึ ง เป็ น นโยบายหลักของมหาวิทยาลัย ซึ่งเราได้มีการ ให้สงิ่ จูงใจในหลายรูปแบบเพือ่ น�ำไปสูเ่ ป้าหมาย นี้ อย่ า งไรก็ ต าม เมื่ อ นั ก วิ ช าการของ มหาวิทยาลัยได้มคี วามส�ำเร็จในการสร้างสรรค์ ผลงานเป็นทีร่ จู้ กั กันในระดับชาติและนานาชาติ สิ่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยจัดให้มีขึ้น คือการจัด กิ จ กรรมเพื่ อ เชิ ด ชู เ กี ย รติ โดยการจั ด งาน “วันนักวิจัยและนวัตกรรม” ซึ่งปีนี้จัดขึ้น เป็นปีที่ 6 ในวันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2555 เวลา 8.30 - 13.00 น. ที่ ห้อง Conference Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ส่ ว นหนึ่ ง ซึ่ ง ถื อ เป็ น กิ จ กรรมส� ำ คั ญ

ของงานคื อ การเปิ ด ตั ว นั ก วิ จั ย ดี เ ด่ น ของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้รับรางวัล ระดับประเทศ เช่น รางวัลนักวิจยั ดีเด่นแห่งชาติ รางวั ล นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ดี เ ด่ น แห่ ง ชาติ หรื อ รางวั ล นั ก วิ จั ย ผู ้ ไ ด้ รั บ รางวั ล มู ล นิ ธิ โ ทเรแห่ ง ประเทศไทย และจะได้รับ The BLUE Jacket จากท่านอธิการบดีเพื่อเป็นเกียรติยศ ซึ่งมี 4 ท่าน คือ ศาสตราจารย์ ดร.สุ ท ธวั ฒ น์ เบญจกุ ล จากภาควิ ช าเทคโนโลยี อ าหาร คณะอุ ต สาหกรรมเกษตร เคยได้ รั บ รางวั ล นั ก วิ จั ย ดี เ ด่ น แห่ ง ชาติ สาขาเกษตรศาสตร์ และชีววิทยา ประจ�ำปี 2551 รางวัลวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมลู นิธโิ ทเร ประเทศไทย ปี 2553 รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจ�ำปี 2554 เป็นผูท้ ำ� งานวิจยั ทีม่ ปี ระโยชน์ดา้ นอาหารทะเล มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีการน�ำสิ่งเหลือใช้จาก การผลิตผลิตภัณฑ์สตั ว์นำ�้ ก่อให้เกิดองค์ความรู้ และการพัฒนาเทคโนโลยีสำ� หรับอุตสาหกรรม การแปรรูปสัตว์น�้ำ ซึ่งเป็นสินค้าเศรษฐกิจของ ภาคใต้และของประเทศไทย เพื่อให้สามารถ แข่งขันได้ในตลาดโลก ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ วีระศักดิ์ จงสูว่ วิ ฒ ั น์วงศ์ คณะแพทยศาสตร์ เป็นนักวิจยั ดีเด่นแห่งชาติ ประจ�ำปี 2552 สาขา

วิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทำ� งานวิจยั เพือ่ สร้าง องค์ความรู้ในเชิงลึกเพื่อน�ำไปท�ำประโยชน์แก่ ชุมชน เป็นผู้ใช้ความรู้ความสามารถเพื่อสร้าง นั ก วิ จั ย และบั ณ ฑิ ต ให้ กั บ ประเทศไทยและ ประเทศที่ ด ้ อ ยโอกาสอี ก หลายประเทศใน ภูมิภาคเอเชีย มีงานวิจัยที่เน้นการแก้ปัญหา ด้านสาธารณสุขของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ ภาคใต้ รองศาสตราจารย์ ดร.เจริ ญ นาคะสรรค์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผูไ้ ด้รบั รางวัลนักวิจยั ดีเด่นแห่งชาติ ประจ�ำ ปี 2553 สาขาวิ ท ยาศาสตร์ ก ายภาพและ คณิ ต ศาสตร์ และรางวั ล วิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีมูลนิธิโทเร ประเภทบุคคล ประจ�ำปี 2553 เป็นผู้ศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต จากยางพารา โดยการดัดแปลงโมเลกุลเพื่อให้ สามารถใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลาย อย่าง รวมทั้งได้น�ำความรู้ออกช่วยชุมชนเพื่อ การเพิ่มมูลค่าน�้ำยางแก่กลุ่มสหกรณ์ องค์กรที่ เกี่ยวข้องกับการผลิตยางพารา รองศาสตราจารย์ ดร.เพริศพิชญ์ คณาธารณา คณะวิทยาศาสตร์ เป็นนักวิจัย ดี เ ด่ น แห่ ง ชาติ ประจ� ำ ปี 2554 สาขา เภสัชศาสตร์และเคมี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเคมี โดยเน้นการวิเคราะห์สารที่ปนเปื้อนตกค้าง

วันนักวิจัยและนวัตกรรม ม.อ. ครั้งที่ 6

24 :

PSU

สาร ม.อ.

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555

ในสิ่งแวดล้อมที่มีความแม่นย�ำ มีการพัฒนา เครื่องตรวจวัดต่างๆ สามารถวิเคราะห์ได้แม้ สารที่ มี ป ริ ม าณน้ อ ยมากแต่ มี ผ ลกั บ สภาพ แวดล้อมและอาหาร นอกจากนั้น ในงานวันดังกล่าว จะมี การเสวนาเรื่ อ ง “ ทิ ศ ท า ง ก า ร วิ จั ย ของ ม.อ. ในช่วง 3 ปีต่อจากนี้” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ที ฆ สกุ ล รองอธิการบดีฝ่ายระบบวิจัยและ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา มี พิ ธี ม อบเกี ย รติ บั ต ร มอบ โล่รางวัลและเหรียญรางวัล แก่นักวิจัยที่สร้าง ชือ่ เสียงให้กบั มหาวิทยาลัย เครือข่ายวิจยั ดีเด่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลงานวิจัยที่มี ประโยชน์ต่อชุมชน รางวัลนวัตกรรมสงขลา นครินทร์ ผูป้ ระกอบการดีเด่นของศูนย์บม่ เพาะ วิสาหกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มอบเกียรติบัตรแก่วิทยานิพนธ์ดีเด่น


สู่สังคม/ชุมชน

คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ. ร่วมกับเทศบาลนครยะลา

คืนรอยยิ้มผู้สูงวัยแก่ผู้สูงอายุในจังหวัดยะลา ค ณ ะ ทั น ต แ พ ท ย ศ า ส ต ร ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วม กับเทศบาลนครยะลา คืนรอยยิ้มให้ ผู ้ สู ง วั ย ในโครงการคื น รอยยิ้ ม ผู ้ สู ง วั ย เทิ ด ไท้ อ งค์ ร าชิ นี เพื่ อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเจริญ พระชนมายุ ค รบ 80 พรรษา ใน วันที่ 12 สิงหาคม 2555 โดยจะท�ำ ฟันเทียมให้แก่ผู้สูงวัยในเขตเทศบาล นครยะลา จ�ำนวน 100 ราย เริ่ม โครงการตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2555

ผศ.ทพ.ไพฑู ร ย์ ดาวสดใส หั ว หน้ า ภาควิ ช าทั น ตกรรมประดิ ษ ฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาส เจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ทางคณะฯ ได้ร่วมกับเทศบาลนครยะลาร่วม คืนรอยยิ้มให้แก่ผู้สูงวัยในเทศบาลนครยะลา โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดท�ำฟันเทียมให้แก่ผู้สูงอายุซึ่งสูญเสีย ฟันให้ได้มีฟันเทียมเพื่อใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร ส�ำหรับผู้ป่วยนั้นจะคัดกรองจากผู้ป่วยที่มีฐานะค่อนข้างยากจนในเขต เทศบาลนครยะลา จ�ำนวน 100 คน โครงการนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2555 และจะไปสิ้นสุดในวันที่ 19 สิงหาคม 2555 โดยผู้ป่วยต้องมารับการรักษาที่ โรงพยาบาลทันตกรรม 7 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการตรวจวินิจฉัย พิมพ์ปากเพื่อท�ำแบบ การศึกษา ครั้งที่ 2 พิมพ์ปากเพื่อท�ำสันเหงือก ครั้งที่ 3 ลองและปรับแต่งแท่นกัด ครั้งที่ 4 ลองและปรับแต่งสีฟันเทียม ครั้งที่ 5 ใส่ฟันเทียมในผู้ป่วยและปรับแต่ง แก้ไข จากนั้นครั้งที่ 6 ก็ปรับแต่งอีกครั้ง ครั้งสุดท้ายเป็นการปรับแต่งแก้ไขหลัง ใช้งาน และจะมีการส่งมอบฟันเทียมในวันที่ 19 สิงหาคม 2555 ที่โรงพยาบาล ทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โครงการนี้จึงนับ เป็นโครงการที่ดีอีกโครงการหนึ่งที่คณะทันตแพทยศาสตร์และบุคลากรทุกฝ่ายใน คณะฯ ได้มีโอกาสร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงวัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อกลับไปมีการบดเคี้ยวที่ดีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 25


แนะนำ�หน่วยงานใหม่

ตั้ง “สถานวิจัยระบบการดูแลผู้สูงอายุไทย” หวังพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ได้ เ ห็ น ชอบการจั ด ตั้ ง “สถานวิ จั ย ระบบการดู แ ลผู ้ สู ง อายุ ไ ทย” ซึ่ ง อยู ่ ใ นความ รับผิดชอบของคณะพยาบาลศาสตร์ โดยมีผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วิภาวี คงอินทร์ เป็นผู้อ�ำนวยการสถานวิจัย เพื่อพัฒนา ระบบการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ผศ.ดร.วิภาวี คงอินทร์

ผศ.ดร.วิ ภ าวี คงอิ น ทร์ ได้ กล่าวว่ายุทธศาสตร์ในการวิจัยเพื่อสร้าง ฐานความรู ้ แ ละพั ฒ นาระบบการดู แ ล ผู้สูงอายุในอนาคต มี 4 ด้าน ได้แก่ การ จั ด การตนเองในผู ้ สู ง อายุ การจั ด ระบบ สนั บ สนุ น กระบวนการเปลี่ ย นผ่ า นของ ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง การจัดการชมรม หรือเครือข่ายผู้สูงอายุ และการจัดระบบ สุ ข ภาพชุ ม ชนเพื่ อ การดู แ ลผู ้ สู ง อายุ ไ ทย โดยแบ่ ง การด� ำ เนิ น การในระยะ 5 ปี หลั ง จากนี้ คื อ ในปี แ รก เริ่ ม จากการ วิเคราะห์สถานการณ์ ปีที่สองและปีที่สาม จะเป็นการพัฒนารูปแบบการวิจยั ปีทสี่ เี่ ป็น การทดสอบ และปีที่ห้าเป็นการขยายผล

26 :

PSU

สาร ม.อ.

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555


เพื่อน�ำรูปแบบระบบสุขภาพที่พัฒนาขึ้น จากผลการวิจัยที่ได้ไปผลักดันแผนพัฒนา สุขภาพในระดับต�ำบล จนถึงระดับภาคเพือ่ ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป การจัดตัง้ “สถานวิจยั ระบบการ ดู แ ลผู ้ สู ง อายุ ไ ทย” มีขึ้นเนื่องจากใน ปัจจุบันความเจริญทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดการพัฒนาความ เจริ ญ ทั้ ง ด้ า นเศรษฐกิ จ สังคม และการ สาธารณสุข ท�ำให้จ�ำนวนผู้สูงอายุทั่วโลก ในปัจจุบันมีจ�ำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศทีก่ ำ� ลังพัฒนา ส�ำหรับ ประเทศไทย จ� ำ นวนผู ้ สู ง อายุ เ พิ่ ม จาก ร้อยละ 5.0 ในปี พ.ศ.2493 เป็นร้อยละ 10.1 ในปี พ.ศ.2543 เป็นการเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และคาดว่าในปี พ.ศ.2558, 2568 และ 2576 จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุ ร้อยละ 15.6, 21.5 และ 25 ตามล�ำดับ กล่าวได้ว่า ตั้ ง แต่ ป ี 2543 เป็ น ต้ น มาสั ง คมไทยได้ เปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมการสูงอายุอย่าง

ชัดเจน ผู้สูงอายุจึงเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ ทีส่ งั คมต้องให้การดูแล เพราะวัยสูงอายุเป็น วัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายไปใน ทางเสือ่ มถอย และท�ำให้ภาระการดูแลของ สังคมเพิ่มขึ้น การเปลีย่ นแปลงในวัยสูงอายุเกิดได้ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยการ เปลี่ยนแปลงด้านร่างกายจะมีลักษณะค่อย เป็นค่อยไป และเป็นการเปลี่ยนแปลงใน ทางเสื่อมสภาพการท�ำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย และจะส่งผลกระทบให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจตามมา เพราะ การที่ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง จึง มักจะคิดว่าตนเองไร้ค่าต่อครอบครัวและ สังคม การเปลีย่ นแปลงด้านจิตใจทีพ่ บบ่อย ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และ ความรู้สึกสิ้นหวัง นอกจากนี้ยังก่อให้เกิด การเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คม เช่ น การมี ส่ ว นร่ ว มทางสั ง คมลดลง และสั ง คมมั ก ให้ โ อกาสในการเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมของ

ผู้สูงอายุน้อยลงด้วย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มี น โยบายในการส่ ง เสริ ม ให้ ง านวิ จั ย มี ทิศทางที่ชัดเจน และรองรับบัณฑิตศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถน�ำผลการ วิ จั ย มาใช้ ป ระโยชน์ ไ ด้ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ทั้ ง การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม การ สนับสนุนบัณฑิตศึกษา รวมทั้งการน�ำผล มาใช้ ใ นการแก้ ป ั ญ หา พั ฒ นาชุ ม ชน หรือสังคม และตอบสนองวิสัยทัศน์ที่จะ พั ฒ นามหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ใ ห้ เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัย และเพื่อ เป็นการตอบสนองต่อนโยบายมหาวิทยาลัย ดังกล่าวข้างต้น จึงได้ให้การสนับสนุนการ จัดตั้งเครือข่ายการวิจัย โดยก�ำหนดไว้ 4 ประเภท คือ สาขาความเป็นเลิศ สถานวิจยั ความเป็นเลิศ สถานวิจัย และหน่วยวิจัย โดยมีงบประมาณสนับสนุนโครงการทัง้ จาก มหาวิทยาลัย วิทยาเขต และจากคณะที่ เกี่ยวข้อง

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 27


ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

คณะทรัพฯ ม.อ. ผลิตกิ่งพันธุ์ส้มโอ ทับทิมสยามปลอดโรค พร้อมถ่ายทอด ความรู้สู่ชุมชนปากพนัง คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. จับมือส�ำนักงาน เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ผลิตต้นแม่พันธุ์และ กิง่ พันธุป์ ลอดโรคส้มโอพันธุท์ บั ทิมสยาม และถ่ายทอด ความรูแ้ ก่เกษตรกรลุม่ น�ำ้ ปากพนัง หวังช่วยแก้ปญ ั หา ความล้มเหลวในการปลูกส้มโออันเกิดจากการติดเชือ้ ของกิ่งพันธุ์ และสร้างทักษะการขยายพันธุ์ส้มโอให้แก่ เกษตรกร

28 :

PSU

สาร ม.อ.

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555


รศ.ดร.รัตนา สดุดี

นายวิฑูร อินทมณี

รองศาสตราจารย์ ดร.รั ต นา สดุดี อาจารย์ประจ�ำภาควิชาการจัดการศัตรู พืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ หัวหน้าโครงการวิจยั เปิดเผยว่า การปลูกพืชตระกูลส้มซึง่ รวมทัง้ ส้มโอมักประสบ ปัญหาการระบาดของโรคทริสเตซาและโรค ฮวงลองบิง ซึง่ ท�ำความเสียหายให้แก่พชื ตระกูล ส้มทุกชนิด โดยท�ำให้ผลผลิตลดลงและคุณภาพ ต�่ำ หากเชื้อเข้าท�ำลายตั้งแต่ระยะกิ่งพันธุ์ จะ ท�ำให้ต้นตายก่อนให้ผลผลิต จึงเป็นที่มาของ โครงการวิจัยการผลิตต้นแม่พันธุ์และกิ่งพันธุ์ ปลอดโรคของส้มโอพันธุท์ บั ทิมสยาม ซึง่ มุง่ เน้น การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการลดปริมาณเชื้อ ในแปลงปลูก โดยการผลิตกิ่งพันธุ์ส้มโอปลอด โรคเพื่อปลูกทดแทนต้นที่เป็นโรค ด้วยเทคนิค การเสียบยอดขนาดเล็กในหลอดทดลองและวิธี การตอนกิ่งจากต้นปลอดโรคในแปลงปลูก ซึ่ง การจัดการดังกล่าวจะท�ำให้ตน้ ส้มโอติดเชือ้ น้อย ลง ได้ผลผลิตส้มโอที่ได้มาตรฐานส่งออกคือมี ขนาดผลใหญ่ สีผิวผลสม�่ำเสมอ โดยเลือกพื้นที่ ปลูกส้มโอในเขตลุ่มน�้ำปากพนังอันเนื่องจาก พระราชด� ำ ริ เ ป็ น กรณี ศึ ก ษา ซึ่ ง ได้ รั บ ความ อนุเคราะห์พนื้ ทีป่ ลูกส้มโอพันธุท์ บั ทิมสยามจาก เกษตรกรในเขตพื้นที่ดังกล่าว ด้านนายวิฑรู อินทมณี นักวิชาการ ส่งเสริมการเกษตรช�ำนาญการ ส�ำนักงานเกษตร จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ในเขตลุ่มน�้ำ ปากพนังมีการปลูกส้มโอทีเ่ ป็นสวนเก่าประมาณ 600-800 ไร่ และสวนใหม่ประมาณ 200-300 ไร่ ซึง่ จากการประชุมกลุม่ เกษตรกรผูป้ ลูกส้มโอ ในแต่ละเดือนที่ผ่านมาพบว่า เกษตรกรยังมีวิธี การขยายพันธุ์ส้มโอที่ไม่ถูกต้องเท่าที่ควร ซึ่ง ปัญหาหลักมักเกิดจากการน�ำกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรค มาขยายพันธุ์ต่อ ท�ำให้เกิดโรคระบาดในส้มโอ

ไปยังหลายพื้นที่ จึงเกิดความร่วมมือระหว่าง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมี องค์ ค วามรู ้ แ ละความเชี่ ย วชาญด้ า นการ ก� ำ จั ด ศั ต รู พื ช กั บ ส� ำ นั ก งานเกษตรจั ง หวั ด นครศรีธรรมราช ผลิตกิ่งพันธุ์ที่ปลอดโรค โดย เน้นที่กิ่งส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามเป็นหลัก ซึ่งถือ ได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส�ำคัญและก�ำลังได้รับ ความนิยมของจังหวัดนครศรีธรรมราช การเข้า มาช่ ว ยเหลื อ ด้ า นวิ ช าการของมหาวิ ท ยาลั ย สงขลานครินทร์ ส่งผลให้เกษตรกรมีความตืน่ ตัว รู้จักวิธีการป้องกันและก�ำจัดโรคและแมลงมาก ยิง่ ขึน้ และรูจ้ กั วิธกี ารขยายพันธุท์ ถี่ กู ต้อง ท�ำให้ ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ นางสมพร ณ นคร หนึง่ ในเกษตรกร ผูอ้ นุเคราะห์พนื้ ทีป่ ลูกส้มโอในการท�ำวิจยั ครัง้ นี้ กล่าวว่า นอกจากปัญหาน�ำ้ ท่วมทีท่ ำ� ให้ตน้ ส้มโอ ล้มตายแล้ว ปัญหาต้นส้มโอติดโรคเป็นอีกปัจจัย หนึ่งที่ท�ำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต การ คิดค้นวิธผี ลิตกิง่ พันธุป์ ลอดโรคจะช่วยแก้ปญ ั หา ดั ง กล่ า วได้ ช่ ว ยให้ มี ร ายได้ ดี ขึ้ น ตนรู ้ สึ ก ภาคภูมใิ จทีไ่ ด้เป็นส่วนหนึง่ ในการท�ำให้งานวิจยั ชิ้นนี้ประสบความส�ำเร็จ และขอขอบคุณทุกๆ หน่วยงานที่มีส่วนช่วยให้ตนเองและเกษตรกร ในลุ่มน�้ำปากพนังได้รับความรู้ดังกล่าว ขณะที่นายวิรัช สุขแสง เกษตรกร ผูอ้ นุเคราะห์พนื้ ทีป่ ลูกส้มโอในการท�ำวิจยั ครัง้ นี้ อีกคนหนึ่งกล่าวว่า ตนปลูกส้มโอมาแล้ว 12 ปี ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกจ�ำนวน 50 กว่าไร่ นอกจาก วางขายเองแล้ว ยังส่งขายในกรุงเทพมหานคร

และส่งขายในประเทศสิงคโปร์ จีน และไต้หวัน การผลิตกิง่ พันธุป์ ลอดโรคของส้มโอนอกจากจะ เพิ่มรายได้จากการขายผลส้มโอแล้ว ยังจะมี รายได้จากการผลิตกิ่งพันธุ์ส้มโอปลอดโรคขาย อี ก ด้ ว ย และตนจะน� ำ ความรู ้ ท างวิ ช าการที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์น�ำมาถ่ายทอดไป ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป รองศาสตราจารย์ ดร.รั ต นา สดุดี กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการวิจัยการผลิต ต้นแม่พนั ธุแ์ ละกิง่ พันธุป์ ลอดโรคของส้มโอพันธุ์ ทับทิมสยาม ได้รบั ทุนสนับสนุนการวิจยั จากเงิน รายได้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประจ�ำปี 2553 (รอบสอง) ใช้เวลาด�ำเนินการทั้งสิ้น 1 ปี 6 เดื อ น โดยมี ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย ์ ดร.สมปอง เตชะโต อาจารย์ประจ�ำภาควิชา พืชศาสตร์ เป็นผู้ร่วมวิจัย และมีนักศึกษาระดับ ปริญญาโท สาขาโรคพืชวิทยา เป็นผูช้ ว่ ยวิจยั อีก 1 คน ซึ่งงานวิจัยชิ้นดังกล่าวเป็นงานวิจัยที่ ต่อยอดมาจากงานวิจัยในหลายๆ ชิ้นที่ผ่านมา ได้แก่ การฟื้นฟูการผลิตส้มจุกในภาคใต้ของ ประเทศไทย โดยการผลิตต้นแม่พันธุ์และตา ขยายพันธุ์ปลอดโรคไปสู่เกษตรกร การพัฒนา โรงเรือนผลิตกิ่งพันธุ์ส้มปลอดโรค โครงการ พัฒนาวิธีการทางเซรุ่มวิทยาเพื่อวินิจฉัยโรค ทริสเตซาของส้มในประเทศไทย เป็นต้น และ ในอนาคตภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะ ทรั พ ยากรธรรมชาติ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นครินทร์ ยังคงจะด�ำเนินการผลิตงานวิจัยที่มี คุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนต่อไป

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 29


วิจัย

รศ.ดร.เพริศพิชญ์ คณาธารณา นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจ�ำปี 2554 คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้คิดค้นชุดตรวจวัดสารพิษระเหย “ชุ ด ตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ราคาประหยัด” และผลงานดั ง กล่ า วได้ รั บ รางวั ล ผลงาน ประดิษฐ์คิดค้นระดับดีเด่น ประจ�ำปี 2555 จากสภาวิจัยแห่งชาติ เนื่องจากเป็นผลงาน ทีจ่ �ำเป็นและเป็นประโยชน์อย่างยิง่ ต่อสุขภาพ และสวัสดิภาพของผู้ปฎิบัติงานในโรงงาน อุตสาหกรรมและประชาชนโดยรอบ

“ชุดตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ราคาประหยัด” ม.อ. ผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดีเด่น จากสภาวิจัยแห่งชาติ ประจ�ำปี 2555 รศ.ดร.เพริศพิชญ์ คณาธารณา กล่าวว่า “ปัญหาของฟอร์มาลดีไฮด์ในอุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมีการศึกษาเรื่อง ดังกล่าวค่อนข้างจ�ำกัด เนื่องจากการเก็บตัวอย่าง ในแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูง ด้วยเหตุนี้ ตนและ ทีมงานประกอบด้วย รศ.ดร.ปณต ถาวรังกูร ดร.จงดี ธรรมเขต และ ดร.โอภาส บุญเกิด จึงได้ศึกษาและพัฒนาอุปกรณ์ที่มีราคาประหยัด ผลิตได้เองในประเทศ โดยไม่ต้องมีการน� ำเข้า จากต่างประเทศ ได้ผลเทียบเท่ากับอุปกรณ์เก็บ ตัวอย่างที่สั่งซื้อจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง ท�ำให้ได้ข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์ในการเฝ้าระวัง สารระเหย “ฟอร์มาลดีไฮด์” ก็คอื สารระเหยของ ฟอร์มาลีน ซึ่งเป็นสารพิษก่อให้เกิดโรคมะเร็ง”

30 :

PSU

สาร ม.อ.

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555


ส� ำ หรั บ รางวั ล ที่ ไ ด้ รั บ รศ.ดร. เพริศพิชญ์ คณาธารณา กล่าวว่า “ดีใจ กับรางวัลที่ได้รับและท�ำให้คณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นที่รู้จัก อย่างกว้างขวาง และเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้ เห็นว่า “นั ก วิ จั ย ต่ า งจั ง หวั ด ก็ สู ้ ไ ด้ ถ้ า ท�ำงานจริงจังและต่อเนื่อง” ตั้งแต่จบเคมี วิเคราะห์ ได้ร่วมกับทีมงานมุ่งเน้นศึกษาสาร ปริมาณน้อย จนเป็นทีย่ อมรับ และทราบกันว่า ถ้าต้องการวิเคราะห์สารปริมาณน้อย ให้มาที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” เนือ่ งจากปัจจุบนั มีการใช้ฟอร์มาลดีไฮด์ ในปริมาณมากในโรงงานอุตสาหกรรมหลาย ประเภท เช่น โรงงานอุตสาหกรรมผลิตกาว โรงงานท�ำไม้อัด เฟอร์นิเจอร์ สีย้อม กระดาษ และมี แ นวโน้ ม เพิ่ ม มากขึ้ น ท�ำ ให้ มี โ อกาส การปนเปื ้ อ นและมี ก ารแพร่ ก ระจายของ ฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศบริเวณของโรงงาน และพื้นที่โดยรอบ ฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นสารที่มี ความเป็นพิษสูง ถูกจัดอยูใ่ นกลุม่ สารก่อมะเร็ง ดังนั้นการติดตามตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ จึงมี ความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง

รศ.ดร.เพริศพิชญ์ คณาธารณา เปิดเผยว่า ชุดตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ที่พัฒนา ขึ้น สามารถเตรียมได้ง่าย ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มี ราคาไม่แพง และใช้สารเคมีที่มีทั่วไปในห้อง ปฏิบัติการ ท�ำให้ต้นทุนของการผลิตชุดตรวจ วัดฟอร์มาลดีไฮด์ต�่ำ (ประมาณ 7 บาท ต่อ การวิเคราะห์ 1 ตัวอย่าง) โดยที่อุปกรณ์ตรวจ วัดที่มีจ�ำหน่ายในปัจจุบันราคา 400 - 2,000 บาท ต่อการวิเคราะห์ 1 ตัวอย่าง) นอกจากนีใ้ นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ สามารถวิเคราะห์ด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโต มิเตอร์ได้โดยตรง ไม่ต้องมีขั้นตอนการเตรียม ตัวอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการที่ใช้อยู่ ในปั จ จุ บั น ซึ่ ง นิ ย มใช้ เ ครื่ อ งโครมาโทกราฟี ของเหลวสมรรถนะสูง ที่ต้องใช้ผู้ที่มีความ ช�ำนาญในการวิเคราะห์และมีค่าใช้จ่ายในการ บ�ำรุงรักษาเครื่องมือค่อนข้างสูง ดังนั้นจะเห็น ได้ว่าชุดตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ที่พัฒนาขึ้นมี ประโยชน์ อ ย่ า งมากในทางเศรษฐกิ จ โดย ประเทศสามารถลดการน�ำเข้าอุปกรณ์ตรวจวัด จากต่างประเทศได้มาก นอกจากจะน�ำไปใช้ในการตรวจวัด ฟอร์มาลดีไฮด์ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

แล้ว ยังสามารถน�ำไปใช้ตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ ในบริ เ วณอื่ น ๆได้ เช่ น บริ เ วณที่ พั ก อาศั ย ภายในอาคาร ตลอดจนบริเวณที่อาจมีการ ปนเปื้อนของสารระเหยดังกล่าว และบ่งบอก แหล่งทีม่ าของมลพิษทีป่ ลดปล่อยสูส่ งิ่ แวดล้อม คณะวิ ท ยาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ โดย รศ.ดร.จุ ฑ ามาส ศตสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ได้ลงนามความร่วมมือกับ ดร.กฤษณ์ จงสฤษดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมบิลิส ออโตมาต้า จ�ำกัด ในความ ร่ ว มมื อ พั ฒ นาเทคโนโลยี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละ นวัตกรรม โดยมีนายอภินนั ท์ ศรีสมานุวตั ร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ร่วม ลงนามเป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2555 นับเป็นอีกก้าวส�ำคัญของการส่งเสริม ผลงานวิจัยออกสู่ตลาดอุตสาหกรรม เริ่มจาก การพัฒนารูปแบบและการตลาดชุดตรวจวัด ฟอร์มาลดีไฮด์ราคาประหยัด ผลงานประดิษฐ์ คิดค้นระดับดีเด่นประจ�ำปี 2555 สร้างสรรค์ โดยทีมนักวิจยั คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ เจ้าของรางวัลนักวิจัยดีเด่น แห่งชาติ ประจ�ำปี 2554

PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 31


รางวัลแห่งคุณภาพ

“ธีระพงศ์ จันทรนิยม”

กับรางวัล “การบริการดีเด่น” จาก ปขมท. จากประสบการณ์ 16 ปี

ในการน�ำความรู้เข้าถึงชาวสวนปาล์ม

ธีระพงศ์ จันทรนิยม

ปาล์มน�ำ้ มันเป็นพืชเศรษฐกิจทีส่ �ำคัญของไทย ทีท่ กุ วันนีไ้ ด้มกี ารขยายพืน้ ทีป่ ลูกทัว่ ประเทศ โดยจากข้อมูล ของส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2554 พบว่า ทั่วประเทศมีพื้นที่ปลูกปาล์ม 4.07 ล้านไร่ ให้ผลผลิตรวม 8.22 ล้านตันต่อปี มีผลผลิตปาล์มเฉลี่ย 2.31 ตัน/ไร่ และมีครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับการปลูกปาล์มน�้ำมันทั้ง ประเทศ จ�ำนวน 121,306 ครอบครัว อย่างไรก็ตาม พบว่าปัญหาทีส่ �ำคัญทีท่ �ำให้ผลผลิตปาล์มต�ำ่ คือ เกษตรกร ยังขาดความรู้ด้านการจัดการสวนปาล์มที่ถูกต้อง ซึ่งหากเกษตรกรไทยมีความรู้ที่ถูกต้องก็จะเป็นการเพิ่ม ผลผลิตในภาพรวมของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงเกษตรกรเพือ่ ให้ความรู้ทางวิชาการ เป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้ง เวลา ความรูค้ วามสามารถ ประสบการณ์ และ วิธีการในการน�ำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และต่ อ ยอดไปสู ่ ก ารน� ำ ไปปฏิ บั ติ เ พื่ อ เพิ่ ม ผลผลิตทางการเกษตรของตน “ในการเผยแพร่ความรู้สู่เกษตรกร เราต้องให้ความรู้ที่อิงวิชาการกับเขา แต่อย่า ไปใส่ความเป็นวิชาการมากเกินไป ถ้าเขาสนใจ ใฝ่รู้ เขาจะติดตามถามรายละเอียดภายหลัง ซึง่ ตอนนัน้ เราสามารถพูดเน้นวิชาการเพิม่ เติมได้ เขาจะเชื่อหรือไม่อยู่ในดุลพินิจของเขาเอง ที่ ส�ำคัญคือต้องให้ความส�ำคัญกับเขา อย่าคิดว่า เกษตรกรคือผูไ้ ม่มคี วามรู้ เขาอาจจะเป็นเพียง ผู้ขาดโอกาสในบางเรื่องเท่านั้น และที่ผ่านมา อาจจะยังไม่เคยมีใครไปบอกข้อเท็จจริงกับเขา เมือ่ เขาได้ความรูจ้ ากเรา ขอให้เขาบอกต่อเพือ่ ให้ความรู้ได้เผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง มากขึ้น” “ธีระพงศ์ จันทรนิยม” นักวิชาการ เกษตรช� ำ นาญการพิ เ ศษ ศู น ย์ วิ จั ย และ

32 :

PSU

สาร ม.อ.

พัฒนาการผลิตปาล์มน�้ำมัน คณะทรัพยากร ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอก วิธีการและประสบการณ์ในการน�ำความรู้เข้า ถึงเกษตรกรชาวสวนปาล์ม ซึง่ สัง่ สมมาจากการ ท�ำงานด้านนี้มาตั้งแต่ปี 2539 จนวันนี้ได้รับ รางวัลแห่งความส�ำเร็จ ในฐานะของบุคลากร สายสนับสนุนผู้มีผลงาน “ด้านการบริการ ดีเด่น” ประจ�ำปี 2554 จากที่ประชุมสภา ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง มหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย หรือ ปขมท. และเข้ารับ รางวั ล เข็ ม ทองค� ำ และเกี ย รติ บั ต ร พร้ อ ม น�ำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ ปขมท. ประจ�ำปี 2555 ระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2555

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555

16 ปี ข องการท� ำ งานด้ า นบริ ก าร วิ ช าการที่ ศู น ย์ วิ จั ย และพั ฒ นาการผลิ ต ปาล์มน�้ำมัน คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. “ธีระพงศ์ จันทรนิยม” มีผลงานทีภ่ าคภูมใิ จ เป็ น ที่ ย อมรั บ ปรากฏผลเด่ น ชั ด และเป็น ประโยชน์ในวงกว้างจ�ำนวนมาก เช่น การเป็น วิ ท ยากรเผยแพร่ ค วามรู ้ แ ก่ เ กษตรกรทั่ ว ประเทศ โดยตั้งแต่ปี 2552-2554 ได้อบรม เกษตรกรทัว่ ประเทศไปแล้วจ�ำนวนกว่า 9,000 ราย มีการสร้างกลไกการถ่ายทอดความรู้เรื่อง ปาล์มน�ำ้ มันให้กบั เจ้าหน้าทีเ่ กษตรสูเ่ กษตรกร ด้วยการจัดท�ำชุดอบรมการปลูกปาล์มน�้ำมัน ให้กับเจ้าหน้าที่เกษตร ส� ำหรับบรรยายให้ กั บ เกษตรกรผู ้ ป ลู ก ปาล์ ม จั ด ท� ำ เอกสาร ปาล์มน�ำ้ มันเผยแพร่ให้กบั เกษตรกร ทีม่ เี นือ้ หา ที่อ่านเข้าใจง่าย ซึ่งเป็นการลดช่องว่างของ แหล่งความรู้ หรือนักวิจยั และผูร้ บั องค์ความรู้ หรือเกษตรกร ไ ด ้ มี ก า ร เ ผ ย แ พ ร ่ ค ว า ม รู ้ เ รื่ อ ง ปาล์ ม น�้ ำ มั น ในบทความวารสารเกษตร รวมทั้งมีการประสานงานกับหน่วยงาน หรือ


บริษัทที่ต้องการน�ำไปจัดพิมพ์เพื่อแจกจ่ายให้ กับเกษตรกร เป็นการให้เปล่า เช่น คู่มือการ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน�้ำมัน คู่มือ การปลูกปาล์มน�้ำมันแบบก้าวหน้า : 9 บท สู่ ความส�ำเร็จกับธุรกิจสวนปาล์มน�ำ้ มัน คูม่ อื การ ใช้ปุ๋ยในสวนปาล์มน�้ำมัน ฉบับเกษตรกร คู่มือ การจัดการสวนปาล์มน�้ำมัน ฉบับเกษตรกร คู่มือการปลูกปาล์มน�้ำมันอย่างยั่งยืน ซึ่งก�ำลัง อยู่ระหว่างการจัดพิมพ์ เป็นต้น อย่ า งไรก็ ต าม “ธี ร ะพงศ์ ” คิดว่า เหตุผลหลักที่ทำ� ให้เขาได้รับรางวัลการบริการ ดี เ ด่ น คื อ การมุ ่ ง มั่ น ในการตอบสนองสิ่ ง ที่ ผูข้ อใช้บริการต้องการ โดยไม่เคยจ�ำกัดจ�ำนวน มากหรือน้อย จะตั้งใจให้ความรู้เต็มที่ไม่ว่าจะ มีผเู้ ข้าฟังกีค่ นก็ตาม ไม่ตอ้ งการเกณฑ์คนมาฟัง ขอแต่ให้เป็นผู้ที่ต้องการความรู้จากเรา แล้ว เวลาที่เราให้ไปส�ำหรับเขาจะไม่สูญเปล่า ใน การให้ความรู้แต่ละครั้งต้องมีการเปรียบเทียบ ให้เห็นชัดเจน เช่น เปรียบการดูแลต้นปาล์ม เหมือนกับการท�ำบุญ ที่หากมีการท�ำอย่าง สม�่ำเสมอ ผลที่ได้รับในบั้นปลายก็จะมีความ คุ้มค่ากับการที่ได้สะสมผลบุญไว้ ใช้ค�ำง่ายๆ ทุกค�ำถามของเกษตรกร และทุกค�ำตอบต้อง สอดคล้องหลักการที่เราให้ไว้ ในฐานะข้าราชการสายสนับสนุนของ มหาวิทยาลัย “ธีระพงศ์” มองว่า บุคลากร สายสนับสนุนควรมีการสร้างความเชื่อมั่นให้

กับตัวเอง ท�ำอะไรให้ท�ำจริง ให้เก่งจริง รู้จริง และงานวิจัยของสายสนับสนุน ไม่จ�ำเป็นต้อง เป็นหัวข้อที่ยากมาก ขอเพียงแต่ให้สามารถ ตอบโจทย์ของชุมชนและท้องถิ่นได้ โดยใช้ กระบวนการวิจยั และให้เข้าถึงชาวบ้านได้เพือ่ ให้เขารู้ว่าเราท�ำเพื่อเขา ปัญหาส่วนหนึ่งของเกษตรกรคือ การ ไม่สามารถเข้าหาแหล่งความรู้เมื่อเกิดปัญหา โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง เกี่ ย วกั บ คุ ณ ภาพของ ผลิตภัณฑ์ที่มาใช้ในการปลูกพืช เช่น คุณภาพ ของปุ ๋ ย ซึ่ ง มี ห ลากหลายยี่ ห ้ อ ซึ่ ง หลายคน อาจมองว่ า ค� ำ ตอบทางวิ ช าการอาจขั ด กั บ ผลประโยชน์ทางธุรกิจ แต่ “ธีระพงศ์” กลับ มองว่า นั่นคือโอกาสของพ่อค้าและโรงงาน “การให้ความรูก้ บั เกษตรกร ไม่จำ� เป็น ต้องไปขัดผลประโยชน์กับนักธุรกิจเสมอไป บางครัง้ อาจท�ำรายได้เพิม่ เติมให้ดว้ ยซ�ำ้ ไป เช่น หากเกษตรกรมี ค วามรู ้ เ รื่ อ งชนิ ด ของปุ ๋ ย ที่ เหมาะสมกับพันธุ์ปาล์มหรือพืชอื่นที่เขาปลูก จะมีความต้องการซื้อปุ๋ยที่มีคุณสมบัติเช่นนั้น มากขึ้น พ่อค้าก็จะสามารถสั่งซื้อปุ๋ยมาขายได้ ตรงตามความต้องการของเกษตรกร และขาย ได้มากขึน้ กว่าการสัง่ ผลิตภัณฑ์แบบอืน่ มาเก็บ ไว้เพื่อขาย ซึ่งจะขายไม่ได้ เมื่อผลิตผลออกมา ดี โรงงานก็จะมีวัตถุดิบมาก มีผลผลิตมาก ก�ำไรจะมากขึ้นด้วย”

การท�ำงานบริการวิชาการถือว่าเป็น พันธกิจหนึ่งของศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิต ปาล์ ม น�้ ำ มั น คณะทรั พ ยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึง่ ในอดีตอาจจะ มีคนไม่เข้าใจประโยชน์ของการบริการวิชาการ แต่ปจั จุบนั มหาวิทยาลัยได้เน้นการเข้าสูช่ มุ ชน มากขึ้น การท�ำงานบริการชุมชนจึงมีการให้ ความส� ำ คั ญ มากขึ้ น เป็ น การเปิ ด ตลาดให้ ชุมชนรู้จักชื่อมหาวิทยาลัยมากขึ้น เพราะใน การไปให้ความรู้ทุกครั้งเค้าจะพูดว่าวิทยากร มาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มากกว่า จะพูดถึงชื่อของผู้ที่มาบรรยาย แนวโน้มอนาคตของตลาดปาล์มน�ำ้ มัน ยั ง สดใส เพราะเป็ น พื ช พลั ง งานที่ยังเป็นที่ ต้องการ ในขณะทีพ่ ลังงานฟอสซิล เช่น น�ำ้ มัน ก� ำ ลั ง จะหมดไป มี ค วามทนทานต่ อ สภาพ แวดล้อม ไม่ตอ้ งมีสว่ นแบ่งส�ำหรับแรงงานมาก เท่ากับยางพารา และสามารถเก็บผลผลิตได้ ก่อนยางพารา ในภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลา นคริ น ทร์ ถื อ ว่ า เป็ น สถาบั น ทางวิ ช าการที่ มี ความโดดเด่นในเรื่องของปาล์มน�้ำมัน และได้ รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน แต่สิ่งที่ ยากคือท�ำอย่างไรให้รกั ษาความเด่นนีไ้ ว้ตลอด ไป เพราะทุ ก สถาบั น ต่ า งก็ พ ยายามพัฒนา ตนเองให้มีศักยภาพมากขึ้น เมื่อใดที่เราแพ้ มหาวิ ท ยาลั ย อื่ น ในเรื่ อ งปาล์ ม น�้ ำ มั น และ ยางพารา ก็คงถึงเวลาทีต่ อ้ งทบทวนตนเอง PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 33


กิจกรรมนักศึกษา

“ศรีตรังนครินทร์ จ�ำกัด” ของ ม.อ.สุราษฎร์

บริษัทจ�ำลอง : ประสบการณ์ใหม่ที่ต้องลอง

บริษัทจ�ำลอง (Dummy) คือ การจ�ำลองการด�ำเนินธุรกิจในรูปแบบ บริษัท โดยให้นักศึกษาที่ก�ำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ได้มีโอกาสเรียนรู้ระบบ การบริหารงานในรูปแบบการท�ำธุรกิจเสมือนจริง ก่อนจะส�ำเร็จการศึกษาออกไป จากรั้วมหาวิทยาลัย และพร้อมจะเรียนรู้กับการท�ำงานจริงในระบบธุรกิจจริง ซึ่ง สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการ บริหารธุรกิจและสามารถเป็นผู้ประกอบการที่ดีได้อย่างแท้จริง บริษัท ศรีตรังนครินทร์ จ�ำกัด เป็น บริษัทจ�ำลองที่ด�ำเนินการโดยนักศึกษา ได้จัดตั้ง เป็นองค์กรธุรกิจในรูปบริษัท ที่ด�ำเนินการโดย นักศึกษาเอง โดยให้นักศึกษาที่ก�ำลังศึกษาอยู่ใน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ร่วมกัน บริหาร ภายใต้การก�ำกับดูแลจากคณาจารย์ภายใน คณะฯ รวมทัง้ การสนับสนุนงบประมาณจากคณะฯ และมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นที่ฝึกงาน เสมือนจริงแก่นักศึกษา เนื่องจากเล็งเห็นถึงความ ส�ำคัญของการบ่มเพาะและเตรียมฝึกประสบการณ์ วิ ช าชี พ บริ ห ารธุ ร กิ จ ซึ่ ง นอกจากเป็ น การฝึ ก ประสบการณ์ ท างด้ า นธุ ร กิ จ แล้ ว ยั ง เป็ น การ สร้างเสริมรายได้พิเศษให้กับนักศึกษาอีกด้วย ส� ำ หรั บ วิ ธี ก ารด� ำ เนิ น งานของ บริ ษั ท

34 :

PSU

สาร ม.อ.

ศรีตรังนครินทร์ จ�ำกัด จะเสมือนกับบริษทั จริง ที่มีเป้าหมายการด�ำเนินงานเป็นการทดลองการ ท� ำ งานจริ ง ทุ ก กระบวนการ ตั้ ง แต่ ขั้ น ตอนการ วางแผน การลงมือปฏิบตั ิ และการประเมินผล รวม ทั้งการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ลักษณะการ ประกอบธุรกิจแบบซื้อมาขายไป โดยมีผลิตภัณฑ์ หลัก คือ น�้ำดื่มศรีตรัง ซึ่งเป็นน�้ำดื่มที่ผลิตภายใต้ ตราสินค้าของบริษัทเอง หากมองในมุมมองของ การแข่งขัน การกระจายสินค้า หรือแม้แต่การ ประชาสัมพันธ์แล้ว พบว่า น�้ำดื่มศรีตรัง ยังไม่ สามารถแข่งขันกับน�้ำดื่มที่มีจ�ำหน่ายอยู่ทั่วไปใน ท้องตลาดได้ แต่อย่างไรก็ตาม น�้ำดื่มตรีตรัง คือ ความภาคภูมิใจของชาว ม.อ.สุราษฎร์ธานี มาจาก ความตั้งใจของนักศึกษา ม.อ.สุราษฎร์ธานี และ เป็ น น�้ ำ ดื่ ม ที่ พ ร้ อ มให้ บ ริ ก ารกั บ บุ ค ลากรและ

ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 ประจำ�เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555

นักศึกษาภายในวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีตลอดไป ส�ำหรับปีการศึกษา 2555 นี้ ถือเป็นรุ่นที่ 5 ของการบริหาร บริษัท ศรีตรังนครินทร์ จ�ำกัด ที่เริ่มเปิดตัวบริษัทขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 ในปี ก ารศึ ก ษานี้ จ ะมี ก ารรั บ สมั ค รและ คัดเลือกกลุม่ นักศึกษาทีม่ คี วามตัง้ ใจทีจ่ ะเรียนรูก้ าร ท�ำธุรกิจในบริษัทจ�ำลองเหมือนทุกๆ ปีที่ผ่านมา นักศึกษาผู้รักที่จะเรียนรู้และมีความพร้อมส�ำหรับ การเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ในการบริหารธุรกิจ รวมกลุม่ กันเพือ่ จัดตัง้ เป็นคณะกรรมการของบริษทั จ�ำลอง โครงสร้างองค์กรของบริษัท ประกอบด้วย ผู้จัดการทั่วไป คณะที่ปรึกษา ผู้จัดการฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ด�ำเนินธุรกิจจ�ำหน่าย สินค้าและบริการทีม่ คี ณ ุ ภาพ มีความเป็นธรรม และ รับผิดชอบต่อสังคม สินค้าของบริษัทที่มีจ�ำหน่าย ประกอบ ด้วย (1) สินค้าที่เบ็ดเตล็ดทั่วไป เช่น ขนม บะหมี่ กึ่งส�ำเร็จรูป น�้ำผลไม้และเครื่องดื่ม ฯลฯ มีการเติม เต็มสินค้าทุกๆ หนึ่งสัปดาห์ (2) ขนมจีบ จะมีการ สั่งซื้อสินค้าวันต่อวัน โดยทางร้านค้าส่งจะบริการ ส่งสินค้าให้กบั บริษทั (3) น�้ำดืม่ ศรีตรัง ซึง่ ใช้วธิ กี าร เติมเต็มสินค้าแบบระบบจุดสัง่ ซือ้ (Reorder Point System) โดยการสั่ ง สิ น ค้ า จากซั พ พลายเออร์ (Supplier) ที่เป็นโรงงานผลิตน�้ำดื่มขนาดใหญ่ใน พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี “ศรีตรังนครินทร์” แม้จะเป็นเพียง บริษัทจ�ำลองเล็กๆ ที่ด�ำเนินธุรกิจโดยนักศึกษา ระดับปริญญาตรี แต่ลักษณะของการเรียนรู้ระบบ การท� ำ งานในบริ ษั ท จ� ำ ลอง เป็ น การสร้ า ง ประสบการณ์การท�ำงานราคาแพงที่มากกว่าการ เรียนในรั้วมหาวิทยาลัย และที่ส�ำคัญสิ่งเหล่านี้ไม่ สามารถหาซื้อได้ในห้องเรียน ณ วันนี้ ความส�ำเร็จ ของ “ศรีตรังนครินทร์” หากวัดด้วยตัวเลขอาจ มีมูลค่าไม่มากมายนัก แต่คุณค่าที่งดงามนั้นกลับ เติ บ โตอยู ่ ภ ายในจิ ต ใจของนั ก ศึ ก ษาที่ รั ก การ เรียน รูก้ ลุม่ นี้ สิง่ เหล่านีถ้ อื เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ นักศึกษาได้น�ำความรู้ประกอบกับการมีความคิด สร้างสรรค์ในการท�ำงาน เพื่อที่จะน�ำไปใช้ในการ พัฒนาตนเองและประเทศชาติต่อไป


รอบรั้วศรีตรัง

ผู้บริหาร ม.อ. เยี่ยมคารวะทายาท “อรรถกระวีสุนทร”

คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ น�ำโดย รอง ศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบ�ำรุงสุข อธิการบดี เข้าเยี่ยม คารวะทายาท พระยาอรรถกระวีสุนทร และคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ผู้ทูลเกล้าฯ ถวายที่ดินที่ต�ำบลคอหงส์ อ�ำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จ�ำนวน 690 ไร่ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เพือ่ เป็นสถานทีส่ ร้างมหาวิทยาลัยภาคใต้ ซึ่งก็คือ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในปัจจุบัน และต่อมาคณะผู้จัดการมรดก

ได้มอบที่ดินเพิ่มเติมอีกประมาณ 90 ไร่ รวมเป็นจ�ำนวนเกือบ 800 ไร่ ซึ่งนับได้ว่าท่านเป็นผู้ที่มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นอย่างมาก โดยมีคุณเหมาะโชค อรรถกระวีสุนทร คุณอาจ อรรถกระวีสุนทร (บุตร) ให้การต้อนรับ และได้ใช้โอกาสนี้แนะน�ำ คณะผู้บริหารชุดใหม่ของมหาวิทยาลัยซึ่งจะเข้ารับต�ำแหน่งในวันที่ 1 มิถุนายน 2555 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล ด�ำรง ต�ำแหน่งอธิการบดีท่านต่อไป พร้อมกับร่วมพูดคุยถึงพัฒนาการในรอบ 45 ปีที่ผ่านมา รวมถึงความก้าวหน้าในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ปัจจุบัน ทายาทคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ยินดีให้ มหาวิทยาลัยจัดท�ำหอประวัติตระกูลอรรถกระวีสุนทร พร้อมกับได้มอบ เอกสารให้จ�ำนวน 1 ชุด และได้มอบรูปปั้นครึ่งตัวขนาดเท่าตัวจริงของ พระยาอรรถกระวีสุนทร และคุณหญิงหลงฯ เพื่อน�ำมาประดิษฐานไว้ที่ หน้าอาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการตั้งชื่อตามนามของทั้ง สองท่านเพื่อเป็นการส�ำนึกในพระคุณ และเป็นกิจกรรมหนึ่งในโอกาสที่ มหาวิทยาลัยมีอายุครบ 40 ปี ในปี 2550 โดยมีพิธีประดิษฐานรูปปั้นเมื่อ วันที่ 25 สิงหาคม 2551

ความภาคภูมิใจของ ม.อ. รองศาสตราจารย์ ดร. บุ ญ สม ศิ ริ บ� ำ รุ ง สุ ข อธิ ก ารบดี มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ มอบ ช่อดอกไม้แสดงความยินดีกับ อาจารย์ ชาวดี ง่วนสน อาจารย์ประจ�ำคณะ สถาปั ต ยกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ได้รับ รางวัลแนวความคิดยอดเยี่ยม อันดับที่ 2 จากการประกวด experimental design 2012 “F-L-U-D” prize winners (Future Living for Unstable Delta อยู-่ กับ-น�ำ้ ) ในการ ประชุมคณบดี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม

2555 ณ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขตสุ ร าษฎร์ ธ านี โดยมี ผู ้ ช ่ ว ย ศาสตราจารย์พักตรา คูบุรัตถ์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ วิทยาเขต ตรัง (ซ้าย) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เสียง กฤษณีไพบูลย์ รองอธิการบดีวทิ ยาเขต สุราษฎร์ธานี (ขวา) ร่วมแสดงความยินดี การประกวดดังกล่าวจัดโดยสมาคม สถาปนิ ก สยามในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ มี นั ก ออกแบบทุ ก สาขาจากทั่ ว โลกส่ ง ผลงาน เข้าประกวด โดยได้ประกาศผลการตัดสินเมื่อ วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2555 ณ สมาคมสถาปนิก สยามในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ รั บ เงิ น รางวั ล 60,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศการประกวด experimental design 2012 “F-L-U-D” prize winners PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY

: 35


ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง “ (our Soul is for the Benefit of Mankind) ” PSU is a university Beyond University

เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำ�หนดออกเป็นประจำ�ทุกสองเดือน จัดทำ�โดย งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : 15 ถนนกาญจนวนิช อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร. 0-7455-8959 http://www.psu.ac.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.