Sanmoror oct 2013

Page 1

ในฉบับ

ม.อ. เป็นเจ้าภาพ “IMT-GT Varsity Carnival ครั้งที่ 15” 18-19 ม.อ.เป็นเจ้าภาพ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี มข.-ม.อ.” ครั้งที่ 5 20-21 รศ.ดร.โอภาส พิมพา นักวิจัยจากม.อ.สุราษฎร์ สู่ “บุคคลตัวอย่างแห่งปี 2556” 32-33 มช.-ม.อ.วิจัยข้าวกล้องงอกพบช่วยฟื้นฟู ระบบประสาทและสมอง 6


รอบรั้วศรีตรัง

หาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จัดพิธีวาง พวงมาลาเพื่ อ สั ก การะสมเด็ จ พระ มหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรม ราชชนก องค์ บิ ด าแห่ ง การแพทย์ แผนปัจจุบันของไทย เนื่องในวันมหิดล เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2556 มีคณะผู้ บริหาร บุคลากรจากหน่วยงานภายใน มหาวิ ท ยาลั ย หน่ ว ยงานภาครั ฐ และ เอกชนในจั ง หวั ด สงขลา เข้ า ร่ ว มพิ ธี เพื่อน้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระราชบิดาโดยพร้อมเพรียงกัน

ม.อ. หาดใหญ่ จัดพิธีวางพวงมาลา

เนื่องในวันมหิดล ประจ�ำปี 2556 พิ

ธี ว างพวงมาลาถวาย สั ก การะจั ด ขึ้ น บริ เ วณ ลานพระบรมราชานุ ส าวรี ย ์ สมเด็ จ พระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยมี รศ.ดร.ชู ศั ก ดิ์ ลิ่ ม สกุ ล อธิ ก ารบดี มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ เป็ น ประธานในพิ ธี ซึ่ ง ในปี นี้ มี ค ณะ ผู ้บ ริหาร บุ คลากร จากคณะหน่วยงานภายในมหาวิทยาลั ย หน่วย งานราชการ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น สมาคม องค์ ก รการกุ ศ ล ต่างๆ หน่วยงานภาคเอกชน รวมกว่า 40 หน่วยงาน ตลอดจนนักเรียน นั ก ศึ ก ษา ต่ า งเดิ น ทางมาเพื่ อ แสดงออกถึ ง ความกตั ญ ญู ก ตเวทิ ต า ร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวัน สวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลเดชวิกรม พระบรมราชชนก มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ จั ด กิ จ กรรมวางพวงมาลาถวาย สักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนกเป็นประจ�ำทุกปี

เพื่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ แ ละน้ อ มร� ำ ลึ ก ถึ ง พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ของ พระองค์ท่าน ที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ ยิ่งต่อแผ่นดิน ทั้งด้านสาธารณสุข การแพทย์ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้ า นการทหาร และด้ า นการศึ ก ษาของไทยให้ เ จริ ญ ก้ า วหน้ า ทั ด เที ย มกั บ นานาอารยประเทศ นอกเหนื อ จากที่ ก ล่ า วมาแล้ ว สมเด็ จ พระบรมราชชนกยั ง ทรงปฏิ บั ติ พ ระกรณี ย กิ จ อี ก มากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและปวงชนชาวไทย


มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

สารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็ น สื่ อ กลางประชาสั ม พั น ธ์ ภารกิ จ ของมหาวิ ท ยาลั ย ให้ กั บ หน่ ว ยงานภายในและภายนอก มหาวิ ท ยาลั ย โดยมุ่ ง เน้ น หน่ ว ยงานภาครั ฐ และเอกชน สื่ อ สร้ า งความเข้ า ใจที่ จ ะท� ำ ให้ ก ลุ ่ ม เป้าหมายดังกล่าวรู้จักมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น และจะเป็นจดหมายเหตุหรือบันทึกความทรงจ�ำ ภารกิจของสถาบัน

สารบัญ รอบรั้วศรีตรัง

บริการวิชาการ

• ม.อ. หาดใหญ่ จัดพิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันมหิดล ประจ�ำปี 2556 • ม.อ.สุราษฎร์ เปิด “ศาลาจิตตปัญญาศึกษา” สร้างบรรยากาศการ เรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม • คณะทันตแพทยศาสตร์น้อมร�ำลึกถึงสมเด็จย่า จัดวันรณรงค์ทันต สาธารณสุขแห่งชาติและงานเปิดกระปุกออมเงินฯ • ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ “การพัฒนาคนยากที่สุด เพราะต้องพัฒนาตลอดชีวิต” • คณะวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมการเซ็นสัญญารับทุนโครงการ พสวท. ปีการศึกษา 2557 • ยินดีศิษย์เก่า ม.อ. รับต�ำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง • อธิการบดี ม.อ.ร่วมงานฉลอง 80 ปี Kunming Medical University

• อุตสาหกรรมเกษตร ม.อ.จับมือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ สร้างมาตรฐานให้โอทอป และเอส เอ็มอี ภาคใต้ • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มอบสถาบันวิจัยพลังงาน ม.อ. เป็นที่ปรึกษาโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์

2 15 22 23

• สภามหาวิทยาลัยอนุมัติตั้ง คณะพยาบาล ม.อ. • ม.อ. เผยผลสัมภาษณ์เด็กเรียนเก่งทั่วประเทศ

34 34 35

สู่...ประชาคมอาเซียน

4-5 24-25

วิจัย • มช.-ม.อ.วิจัยข้าวกล้องงอกพบช่วยฟื้นฟูระบบประสาทและสมอง

6-7

แนะน�ำหน่วยงาน/บุคคล • ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดอย่างเป็นทางการ บริการด้วยใจ...ด้วยรอยยิ้ม 8-9 • “ซากาต” หนังสือเพื่อการบริหารจัดการที่ดีของระบอบอิสลาม 31 • “รศ.ดร.โอภาส พิมพา” นักวิจัยจากม.อ.สุราษฎร์ สู่ “บุคคลตัวอย่างแห่งปี 2556” 32-33

26-27

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ • นศ. ม.สงขลานครินทร์ คว้ารางวัลดีเด่น เยาวชน เก่ง ดี และมีคุณธรรม ปี 56 • 2 น.ศ. รัฐศาสตร์ รับรางวัล สหกิจศึกษานานาชาติดีเด่น ระดับชาติ

การศึกษา

10-11

• ม.อ.เชิญนักวิชาการทั่วโลก ร่วมประชุมเพื่อพัฒนาระบบการ ศึกษาในกลุ่มประเทศ ASEAN ณ จังหวัดภูเก็ต

12-13 30

14

กีฬา ศิลปและวัฒนธรรม • ม.อ. คว้าอันดับ 2 “สงขลานครินทร์บัณฑิตศึกษาเกมส์” • ม.อ. เป็นเจ้าภาพ “IMT-GT Varsity Carnival ครั้งที่ 15”

16-17 18-19

ความร่วมมือ ชุมชน/สังคม • ม.อ.เป็นเจ้าภาพ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี มข.-ม.อ.” ครั้งที่ 5 20-21 • ความร่วมมือการผ่าตัดผู้ป่วยโรคหัวใจ อีกขั้นของพัฒนา ระหว่างโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กับโรงพยาบาลหาดใหญ่ เพื่อผู้ป่วย 28-29

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

3


การศึกษา

ภามหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2556 ได้อนุมัติ การจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขตปั ต ตานี ซึ่ ง เปิ ด สอนหลั ก สู ต รพยาบาลศาสตรบั ณ ฑิ ต เพื่ อ ขยายโอกาสทางการศึ ก ษาแก่ เ ยาวชนใน จั ง หวั ด ชายแดนใต้ ที่ จ ากการส� ำ รวจพบว่ า มีความสนใจที่จะเข้าเรียนในสาขาดังกล่าว

สภามหาวิทยาลัยอนุมัติตั้ง

คณะพยาบาล ม.อ. ค

ณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เริ่มเปิดการ เรียนการสอนในปีการศึกษา 2556 โดยมีนักศึกษาใน ปีแรกจ�ำนวน 34 คน และจะขยายแผนการรับนักศึกษาเพิ่มเป็น 50 คนต่อชั้นปีในปีการศึกษา 2560 โดยเน้นการพัฒนาบุคลากร พยาบาลภายใต้ความต่างทางวัฒนธรรม และสาธารณภัย เพื่อ ตอบสนองความต้ อ งการการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต สุ ข ภาพ ที่ สอดคล้ อ งกั บ สภาพของท้ อ งถิ่ น นอกจากนั้ น ยั ง เพื่ อ ทดแทน บุ ค ลากรด้ า นการพยาบาลที่ ข อย้ า ยออกจากพื้ น ที่ เ นื่ อ งจาก สถานการณ์ความไม่สงบ และช่วยแบ่งเบาภาระงานของพยาบาล ในพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับความภาวะเสี่ยงภัยตลอดเวลา นอกจากการผลิตบุคลากรพยาบาลแล้ว คณะพยาบาล ศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี ยังก�ำหนดภารกิจด้านการวิจัยและ บริการวิชาการเช่น การวิจัยทางการพยาบาลภายใต้ความต่าง

“ อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นอุปสรรคในระยะเริ่มต้น คือ

การรับบุคลากรเข้าท�ำงานเนื่องจากเหตุการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่ อีกทั้งอาจารย์และบุคลากร ของคณะต้ อ งท�ำ งานหนั ก ในการพั ฒ นาหน่ ว ย งานในระยะเริ่มต้น

4

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556


ผู้ช่วยศาสตราจารยพัชรียา ไชยลังกา

ทางวั ฒ นธรรม โครงการศู น ย์ วิ จั ย และพั ฒ นาเด็ ก เยาวชนและครอบครัว โครงการติดตามคุณลักษณะ บั ณ ฑิ ต พยาบาล การสร้ า งเสริ ม ความคิ ด ทางบวก เพื่ อ ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพสตรี ใ นชุ ม ชนที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบ จากสถานการณ์ความไม่สงบฯ โครงการเวทีสุขภาพ ภายใต้ ค วามหลากหลายทางวั ฒ นธรรม โครงการ อบรมสมรรถนะด้ า นการสอนแก่ พ ยาบาลพี่ เ ลี้ ย ง และการบูรณาการองค์ความรู้สู่ชุมชน เป็นต้น สภามหาวิ ท ยาลั ย เห็ น ว่ า การจั ด ตั้ ง คณะ พยาบาลศาสตร์ ที่ วิ ท ยาเขตปั ต ตานี จะช่ ว ยสร้ า ง บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และสร้างให้คนใน พื้ น ที่ ไ ด้ ท� ำ งานรั บ ใช้ บ ้ า นเกิ ด อั น จะเป็ น ส่ ว นที่ จ ะ น� ำ ความสงบสุ ข มาสู ่ พื้ น ที่ อย่ า งไรก็ ต ามหลั ก สู ต ร พยาบาลศาสตร์ จ ะมี ก ารลงทุ น ที่ สู ง ซึ่ ง ความร่ ว ม มือระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถานพยาบาลในพื้นที่ ใน การฝึกอบรมคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเข้าฝึก ปฏิบัติ จะช่วยลดปัญหาค่าใช้จ่ายและการจัดการได้

ผศ.พั ช รี ย า ไชยลั ง กา ผู ้ อ� ำ นวยการโครงการจั ด ตั้ ง คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า แม้จะเป็นคณะใหม่และ เพิ่งจะมีการรับนักศึกษาเป็นปีแรก แต่ก็มั่นใจในคุณภาพเนื่องจากได้ ใช้เกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษาที่ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นการตอบสนอง ความคาดหวั ง ของคนในพื้ น ที่ มี ค วามมั่ น ใจอย่ า งมากต่ อ คุ ณ ภาพ ของนั ก ศึ ก ษาพยาบาลของวิ ท ยาเขตปั ต ตานี เนื่ อ งจากชื่ อ เสี ย ง และมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับความไว้วางใจ จากประชาชนในพื้นที่มาเป็นเวลานาน โดยได้มีความร่วมมือกับคณะ ในวิทยาเขตหาดใหญ่อยู่หลายส่วน เช่น การเรี ย นการสอนในสาขาที่ เ กี่ ย วกั บ กายวิภาคศาสตร์เป็นต้น อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นอุปสรรค ในระยะเริ่ ม ต้ น คื อ การรั บ บุ ค ลากรเข้ า ท�ำงานเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ในพื้นที่ อีกทั้งอาจารย์และบุคลากรของ คณะต้ อ งท� ำ งานหนั ก ในการพั ฒ นา หน่ ว ยงานในระยะเริ่ ม ต้ น และต้ อ งมี การอบรมส� ำ หรั บ อาจารย์ ที่ ยั ง ไม่ มี ประสบการณ์ในการสอน

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

5


การวิจัย

มช.-ม.อ. วิจัยข้าวกล้องงอก

พบช่วยฟื้นฟูระบบประสาทและสมอง

2

อาจารย์ นั ก วิ จั ย จากคณะอุ ต สาหกรรมเกษตร มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ และคณะวิ ท ยาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ บูรณาการความรู้ร่วมกัน ศึกษาผลิตภัณฑ์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จาก ข้าวกล้องงอก ช่วยฟื้นฟูระบบประสาทและสมอง เตรียมศึกษาวิจัยเชิงลึกใน มนุษย์ก่อนต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ข้าวกล้องงอก เป็นอาหารที่ได้รับความ นิยมบริโภคอย่างสูง และมีการผลิตเพื่อป้อนสู่ตลาดอาหาร เพื่อสุขภาพใน ปริมาณมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการกล่าวถึงสรรพคุณมากมาย ของข้าวกล้องงอก ต่อการบ�ำบัดหรือช่วยฟื้นฟูสุขภาพของผู้บริโภค ทั้งการ ออกฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ การลดภาวะความเครียด คลายกังวล ซึ่งเป็น ผลมาจากสารในกลุ่ม สารประกอบฟีนอลิก และสารกาบา (GABA: gamma -aminobutyric acid) เป็นต้น และจากจุดนี้จึงได้มีการศึกษาวิจัยลึกลงไป เพื่ อ ศึ ก ษาฤทธิ์ ต ่ อ สุ ข ภาพอื่ น ๆ เพิ่ ม เติ ม ของข้ า วกล้ อ งงอก ซึ่ ง พบว่ า หากใช้ ก ระบวนการและสภาวะในการเตรี ย มและสกั ด ที่ เ หมาะสม สามารถ ท� ำ ให้ ไ ด้ ส ารออกฤทธิ์ ท างชี ว ภาพ ที่ ส ่ ง ผลต่ อ การฟื ้ น ฟู ร ะบบประสาท และสมองในผู้สูงอายุได้

6

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556


ณะผู ้ วิ จั ย ซึ่ ง ท� ำ งานวิ จั ย เชิ ง บู ร ณาการระหว่ า ง สถาบัน น�ำโดย อ.ดร.เอกสิทธิ์ จงเจริ ญ รั กษ์ จากสาขา วิ ช าวิ ศ วกรรมอาหาร คณะอุ ต สาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์ ภาควิ ช าสรี ร วิ ท ยา คณะวิ ท ยาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นครินทร์ ได้ค้นพบว่า ในระหว่างกระบวนการงอกของข้าวนั้น หากท�ำการจ�ำกัดสภาวะในการงอกของข้าว เช่น การก�ำหนด ความเป็ น กรด-ด่ า ง ปริ ม าณออกซิ เ จนที่ ใ ห้ อุ ณ หภู มิ ระยะ เวลา รวมถึงการให้สารส�ำคัญบางชนิดที่มีผลต่อกระบวนการ งอกของข้าว มีผลท�ำให้ข้าวกล้องงอก สร้างสารต่างๆ ออกมา แตกต่างกันไป และด้วยการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา นานกว่า 5 ปี โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก ส�ำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ผ่านงบประมาณแผ่นดิน จึงท�ำให้ ได้ข้อมูลมากมาย ที่ส�ำคัญของสภาวะระหว่างกระบวนการงอก ต่อการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของข้าวกล้องงอก เช่น หากท� ำ ให้ เกิ ด สภาวะความเป็ น กรดขึ้ น เล็ ก น้ อ ยระหว่ า ง กระบวนการงอกของข้าวมีผล ท� ำ ให้ ข้ า วเจริ ญ หรื อ งอกและ สร้ า งสารออกฤทธิ์ ต ่ อ ต้ า น อ นุ มู ล อิ ส ร ะ ม า ก ขึ้ น ก ว ่ า ที่ สภาวะเป็ น กลางหรื อ ด่ า ง เป็นต้น นอกจากนี้ ก ารท� ำ งาน วิ จั ย เชิ ง บู ร ณาการข้ า มสาขา วิ ช าระหว่ า งสถาบั น ท� ำ ให้ เกิดความร่วมมือในการศึกษา เชิ ง ลึ ก ถึ ง ผลของสารออกฤทธิ์ ทางชีวภาพจากข้าวกล้องงอก ต่ อ สุ ข ภาพ โดยได้ พ บว่ า การ ก�ำหนดสภาวะและการควบคุม ปั จ จั ย ที่ เ หมาะสม รวมถึ ง การ ใช้ ส ารกระตุ ้ น การท�ำ งานของ เอนไซม์บางชนิดในข้าว ท�ำให้ข้าวกล้องมีการผลิต หรือสร้าง สารออกฤทธิ์ส�ำคัญขึ้นในระหว่างกระบวนการงอก ซึ่งจากการ ศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าสารสกัดที่ได้จากข้าวกล้องงอกนี้ ออกฤทธิ์ต่อการกระตุ้นให้การท�ำงานของสมองของสัตว์ทดลอง ที่ถูกท�ำลายไปฟื้นฟูขึ้น และยังพบว่าสามารถช่วยในการฟื้นฟู สภาวะการนอนหลั บ ของสั ต ว์ ท ดลองที่ มี อ ายุ ม ากให้ เ ข้ า สู ่ สภาวะการหลับลึกได้อีกด้วย อีกทั้งยังส่งผลต่อคลื่นไฟฟ้าสมอง ของสัตว์ทดลอง ในช่วงที่บ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของความสามารถ ในการเรียนรู้ และจดจ�ำ ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อสัตว์หรือมนุษย์ มีอายุมากขึ้น การเข้าสู่สภาวะหลับลึกเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น

และส่งผลต่อสุขภาพโดยองค์รวม เนื่องจากเมื่อนอนหลับได้ไม่ เต็มที่ร่างกายจึงไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ท�ำให้เกิด สภาวะ เครี ย ดของร่ า งกายหากเกิ ด สภาวะเช่ น นี้ ต ่ อ เนื่ อ งเป็ น ระยะ เวลานาน จะส่งผลให้ระบบการฟื้นฟูร่างกายโดยธรรมชาติสูญ เสียไป และส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาในระยะยาว ดั ง นั้ น จากการค้ น พบนี้ จึ ง อาจเป็ น แนวทางที่ ส� ำ คั ญ ในการน� ำ สารสกั ด ออกฤทธิ์ ท างชี ว ภาพจากข้ า วกล้ อ งงอก มาประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นมนุ ษ ย์ เ พื่ อ ใช้ ใ นการบ� ำ บั ด ร่ ว มหรื อ ฟื ้ น ฟู ผู ้ สู ง อายุ แ ละผู ้ ที่ มี ป ั ญ หาด้ า นการนอนหลั บ ซึ่ ง ไม่ ส ามารถ เข้ า สู ่ ส ภาวะหลั บ ลึ ก ได้ อี ก ทั้ ง อาจช่ ว ยในการบ� ำ บั ด ส� ำ หรั บ ผู้ที่มีปัญหาด้านสภาวะการเรียนรู้และจดจ�ำ นอกจากนี้จาก การศึ ก ษาในเบื้ อ งต้ น พบว่ า สารสกั ด นี้ ไม่ ก ่ อ พิ ษ และไม่ ส ่ ง ผลเสี ย ต่ อ สุ ข ภาพของสั ต ว์ ท ดลองจึ ง ไม่ เ ป็ น อุ ป สรรคในการ น�ำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาวิจัย ในเชิงลึกในมนุษย์ก่อนน�ำไปประยุกต์ใช้เป็นสิ่งที่คณะผู้วิจัย ให้ความส�ำคัญและสนใจศึกษาต่อ

ขณะนี้มีผู้ประกอบการให้ความสนใจและยินดีใน การสนับสนุนการศึกษาในเชิงลึกและประสงค์ใน การขอน�ำผลิตภัณฑ์สารสกัดออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ช่ ว ยฟื ้ น ฟู ร ะบบประสาทและสมองของคณะผู ้ วิจัยไปต่อยอดเพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ต่อไป

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

7


แนะน�ำหน่วยงาน

ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีความมุ่งมั่นในการให้บริการแก่ประชาคม ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ได้ รับความสะดวกในการจัดซื้อจัดหาหนังสือ ทุกสาขา ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก

ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดอย่างเป็นทางการ

บริการด้วยใจ...ด้วยรอยยิ้ม ศู

นย์หนังสือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เปิด อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 บริเวณที่ตั้ง ณ อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (ตึก LRC) ชั้ น ล่ า ง โดยมี ศ.ดร.สุ ร พล นิ ติ ไ กรพจน์ ประธาน คณะกรรมการอ� ำ นวยการศู น ย์ ห นั ง สื อ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ กล่ า วรายงาน การจั ด ตั้ ง ศู น ย์ ห นั ง สื อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศ.ดร.ชูศักดิ์ ลิ่ ม สกุ ล อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ กล่ า วต้ อ นรั บ ศ.ดร.สมคิ ด เลิ ศ ไพฑู ร ย์ อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ และ นายกฤษฎา บุ ญ ราช ผู้ว่าราชการ จั ง หวั ด สงขลา กล่ า วแสดงความยิ น ดี และร่ ว มเปิ ด ศู น ย์ ห นั ง สื อ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นคริ น ทร์ อย่ า งเป็ น ทางการ โดยมี รศ.ดร.บุ ญ สม ศิ ริ บ� ำ รุ ง สุ ข ที่ปรึกษา

8

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

คณะกรรมการอ�ำ นวยการศู น ย์ ห นั ง สื อ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นครินทร์ ร่วมเป็นเกียรติ ในโอกาสนี้ ได้มีพิธีมอบทุนการศึกษา ให้กับนักศึกษาที่ได้รับรางวัลประกวดปกสมุด มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ดังนี้ รางวัลที่ 1 น.ส.นารีรัตน์ ศรีหิรัญเดช ปี 2 คณะทันตแพทยศาสตร์ ทุนการศึกษา 5,000 บาท รางวัล ที่ 2 นายกรกช แก้วกระจก ปี 3 คณะวิทยาศาสตร์ ทุนการ ศึ ก ษา 3,000 บาท รางวั ล ที่ 3 นายหั ส ชั ย นาคทองแก้ ว ปี 2 คณะนิติศาสตร์ ทุนการศึกษา 2,000 บาท รางวัลชมเชย ได้แก่ นายหัสชัย นาคทองแก้ว ปี 2 คณะนิติศาสตร์ วิ สั ย ทั ศ น์ ก ้ า วไกล....สู ่ ค วามร่ ว มมื อ ระหว่ า ง มหาวิทยาลัย ด้วยแนวคิดและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัย สงขลานคริ น ทร์ ที่ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ ต่ อ การพั ฒ นาส่ ง เสริ ม


ศั ก ยภาพทางวิ ช าการ ตลอดจนค� ำ นึ ง ถึ ง การอ� ำ นวยความ สะดวกแก่ นั ก ศึ ก ษาและประชาคมในมหาวิ ท ยาลั ย ให้ ไ ด้ รั บ การบริ ก ารเกี่ ย วกั บ เอกสาร ต� ำ ราวิ ช าการ หนั ง สื อ ต่ า งๆ ตลอดจนอุป กรณ์เครื่องเขียนเพื่อการศึกษา ซึ่งศูนย์หนังสื อ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่สามารถตอบสนองแนวคิดดังกล่าว ศู น ย์ ห นั ง สื อ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ จึ ง ได้ รั บ การจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือกับศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เช่นเดียวกับศูนย์ หนังสือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นในแนวทางเดียวกัน จึง ท�ำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมต่อไปยังศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ โดยการบริหารจัดการร่วมกัน ซึ่งมิได้มุ่งหวังเพียง ผลทางธุรกิจเป็นส�ำคัญ ด้วยต่างก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อ เป็นหน่วยงานที่สามารถตอบสนองพันธกิจในความเป็นศูนย์ หนังสือของมหาวิทยาลัยให้แก่ประชาคมในมหาวิทยาลัยตลอด จนขยายการบริการไปยังสถาบันต่างๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน จากการเชื่อมโยงทั้ง 3 ศูนย์หนังสือของมหาวิทยาลัย ชั้นน�ำในประเทศ จึงท�ำให้ผลงานวิชาการจากมหาวิทยาลัย หนึ่ ง สามารถเผยแพร่ แ ละปรากฏไปยั ง มหาวิ ท ยาลั ย หนึ่ ง โดยผ่ า นศู น ย์ ห นั ง สื อ ของแต่ ล ะแห่ ง ซึ่ ง จะท� ำ ให้ เ กิ ด การ สร้ า งเสริ ม ศั ก ยภาพตลอดจนแลกเปลี่ ย นความรู ้ ผลงาน ระหว่ า งมหาวิ ท ยาลั ย ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ม ากกว่ า การบริ ก ารทั่ ว ไป บริการด้วยใจ....ด้วยรอยยิ้ม ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีความมุ่งมั่น ในการให้บริการแก่ประชาคมในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ให้ได้รับความสะดวกในการจัดซื้อจัดหาหนังสือทุกสาขา ทั้งใน และต่างประเทศทั่วโลก ตลอดจนรวบรวมผลงานทางวิชาการ ของคณาจารย์ / หน่ ว ยงานในมหาวิ ท ยาลั ย ออกสู ่ ภ ายนอก มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างให้ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นศูนย์กลางการบริการเกี่ยวกับ เอกสาร ต�ำราวิชาการ และหนังสือต่างๆ ให้แก่สถาบันในพื้นที่ ภาคใต้อีกด้วย นอกจากการบริ ก ารหนั ง สื อ ต่ า งๆ ศู น ย์ ห นั ง สื อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยังเป็นหน่วยงานที่บริการอุปกรณ์ เครื่ อ งเขี ย นหลายรู ป แบบ ตลอดจนรั บ สั่ ง ซื้ อ อุ ป กรณ์ เ ครื่ อ ง เขี ย นต่ า งๆ ที่ ใ ช้ เ ฉพาะในแต่ ล ะสาขาวิ ช า และที่ ส�ำ คัญการ บริการสินค้าที่ระลึกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก็เป็นจุด มุ่งหมายที่ศูนย์หนังสือพยายามสร้างสรรค์เพื่อประชาคมของ หมาวิทยาลัยให้ได้รับความสะดวกและภาคภูมิใจในสถาบัน

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

9


บริการวิชาการ

อุตสาหกรรมเกษตร ม.อ. จับมือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

สร้างมาตรฐานให้ โอทอป และเอส เอ็มอี ภาคใต้

ณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.อ.จับมือ กรมวิทยาศาสตร์ บริ ก าร สร้ า งมาตรฐานให้ โ อทอป และเอส เอ็ ม อี เพื่อน�ำเทคโนโลยีไปปรับปรุงสินค้าและบริการ ตรวจสอบคุณภาพ สิ น ค้ า เพื่ อ ให้ มี ศั ก ยภาพในการแข่ ง ขั น ทั้ ง ในประเทศและ ต่างประเทศ และศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อการส่งออก คณะอุตสาหกรรมเกษตร ยังได้เปิดโรงงานต้นแบบ (pilot plant) ให้ ท ดลองผลิ ต ไปทดสอบตลาด เพื่ อ ลดความเสี่ ย งของผู ้ ส นใจ ผลิตอาหารแปรรูป นางสาวเสาวณี มุ สิ แ ดง อธิ บ ดี ก รมวิ ท ยาศาสตร์ บ ริ ก าร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ที่ 3 จากซ้าย)กล่าวในโอกาส น�ำคณะเข้าเยี่ยมชม ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารทดสอบเคมี แ ละจุ ล ชี ว วิ ท ยา โรงงานต้ น แบบ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ otop คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ โดย ศ.ดร.สุ ท ธวั ฒ น์ เบญจกุ ล คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร และรศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา น�ำเยี่ยมชม รวมทั้งเข้า

10

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556


เยี่ยมโรงงานโอทอป ของจังหวัดพัทลุง ได้แก่โรงงานผลิต บ้าน ไทยเฮิร์บ และโรงงานผลิตหมูทองท่าแค วิสาหกิจ ชุมชน otop 5 ดาว จั ง หวั ด พั ท ลุ ง ระหว่ า งวั น ที่ 19-20 ตุ ล าคม 2556 ว่ า กรมวิทยาศาสตร์บริการจะร่วมมือกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพสิ น ค้ า โอทอปและเอสเอ็ ม อี ให้มีคุณภาพเพื่อให้เกิดผลเชิ ง พาณิ ช ย์ อย่างยั่งยืน สินค้าในชุมชน ต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน จาก สมอ. หรื อ อ.ย. ผ่ า นกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ เพื่ อ ให้ มี คุณภาพมาตรฐาน เพื่อส่งออกได้ และต้องเน้นเรื่องบรรจุภัณฑ์ ที่เด่น สะดุดตา มีเอกลักษณ์ สร้างจุดต่าง ต้องเป็นพี่เลี้ยงให้ ผู้ประกอบการ

ผู้ประกอบการต้องพัฒนารูปแบบ อย่างเช่น น�้ำพริก ของ จังหวัดพัทลุง มีชื่อเสียง มีหลายรูปแบบทั้งเป็นถุง เพื่อขายใน ตลาดนัด ในรูปแบบเป็นกระปุก หรือเป็นผง ขึ้นกับว่าเขาต้องการ พั ฒ นาไปในรู ป แบบไหน ต้ อ งเข้ า ไปช่ ว ยแก้ ป ั ญ หา ซึ่ ง กรม วิ ท ยาศาสตร์ บ ริ ก ารจะร่ ว มกั บ คณะอุ ต สาหกรรมเกษตร มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ท� ำ งานร่ ว มกั น เป็ น เครื อ ข่ า ย และช่วยพัฒนาสินค้าไปสู่อาเซียน ช่วยให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่ม และวางบนหิ้งได้ในอนาคต ส�ำหรับ ปัญหาสินค้าของภาคใต้ มีจุดอ่อนคือยังไม่ผ่านมาตรฐาน น�้ำพริก มีจุลินทรีย์ มีเชื้อรา ต้ อ งให้ ค วามรู ้ ผู ้ ป ระกอบการ ไม่ ส ามารถท� ำ ตามมี ต ามเกิ ด เหมื อ นเดิ ม ได้ เพราะเราต้ อ งไปแข่ ง กั บ คนอื่ น ในการก้ า วสู ่ ประชาคมอาเซียน ม.อ.มีองค์ความรู้ มีห้องปฏิบัติการทดสอบ พร้อมผู้เชี่ยวชาญ จะร่วมกันแก้ไขจุดอ่อนในเรื่องเหล่านี้ โดยเอา สินค้ามาทดสอบในห้องปฏิบัติการ เป็นพี่เลี้ยงในกระบวนการ ผลิต จนกว่าจะผ่านมาตรฐาน นายเฉลิ ม เกี ย รติ ช่ ว ยสั ง ข์ ผู ้ จั ด การศู น ย์ พั ฒ นา อุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ไฮไลท์ ของปี 2557 คือ ศู น ย์ จั ด ตั้ ง โรงงานต้ น แบบ (pilot plant) ให้ กั บ โอทอป และ

ผู้ประกอบการต้องพัฒนารูปแบบ อย่างเช่น น�้ำพริก ของ จังหวัดพัทลุง มีชื่อเสียง มีหลายรูปแบบทั้งเป็นถุง เพื่อขาย ในตลาดนัด ในรูปแบบเป็นกระปุก หรือเป็นผง ขึ้นกับว่าเขาต้องการพัฒนาไปในรูปแบบไหน ต้องเข้าไป ช่วยแก้ปัญหา ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์บริการจะร่วมกับ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ท�ำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย และช่วยพัฒนาสินค้าไปสู่ อาเซียน ช่วยให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่ม และวางบนหิ้งได้ ใน อนาคต ส�ำหรับปัญหาสินค้าของภาคใต้ มีจุดอ่อนคือยังไม่ผ่านมาตรฐาน

เอสเอ็มอี ที่ก�ำลังสนใจลงทุนผลิตสินค้าประเภทอาหารแปรรูป ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการน�ำสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด เป้า หมายคื อ ได้ สิ น ค้ า ที่ ไ ด้ ม าตรฐานเป็ น ที่ ย อมรั บ และทราบ ถึงความเป็นไปได้ของสินค้าที่ออกวางจ� ำหน่าย ก่อนเข้าสู่ กระบวนการลงทุนสร้างโรงงานเพื่อผลิตอย่างจริงจัง ในโรงงาน ที่ผลิตผ่านการรับรอง มาตรฐานจีเอ็มพี เพื่อไปขอ อ.ย. ต่อไป ให้สินค้าโอทอปที่ผ่านการรับรองมาตรฐานไปทดลองตลาด ให้ผู้บริโภคยอมรับ พอมีโอกาสค่อยไปลองตลาดจริง เรามี โรงงานต้นแบบพร้อมให้บริการ ลดความเสี่ยง ในโมเดลระดับ ผลิตที่เป็นอุตสาหกรรม เพราะไม่ว่าจะเป็นโรงงาน เครื่องจักร ค่าออกแบบ จิปาถะ จะมีงบประมาณสูงมาก ผู้ประกอบการ ก็จะรู้ต้นทุนการผลิตที่แท้จริง และถ่ายทอดเทคโนโลยีการ ผลิตสู่ผู้ผลิต ทั้งยังเป็นการน�ำผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ ตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น ศู น ย์ ไ ด้ ช ่ ว ยทั้ ง เอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน และโรงงานขนาดใหญ่ ท�ำหน้าที่ เป็ น สะพานเชื่ อ ม เอาความรู ้ ม าสู ่ ผู ้ ป ระกอบการ เป็ น ที่ ปรึ ก ษา บริ ก ารส่ ง ผู ้ เ ชี่ ย วชาญ ไปยั ง สถานประกอบการ มี ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารตรวจจุ ลิ น ทรี ย ์ ทดสอบความปลอดภั ย ของ อาหาร มีศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดที่มาตรฐาน ส่วนใหญ่ โอทอปจะตกกับเรื่องเล็กน้อย ได้แก่เครื่องชั่งน�้ำหนัก เราก็จะ ตรวจสอบให้ได้ นายเฉลิมเกียรติ กล่าว

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

11


รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

นศ. ม.สงขลานครินทร์

คว้ารางวัลดีเด่น เยาวชน เก่ง ดี และมีคุณธรรม ปี 56

ายราชันย์ ชูชาติ นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลดีเด่น ระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย ตามโครงการส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาเด็ ก เยาวชน เก่ง ดี และมีคุณธรรม จังหวัดสงขลา ประจ�ำปี 2556 เข้ารับโล่รางวัลจากนายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556 เผยใช้หลักอิทธิบาทสี่ในการเรียน การท�ำกิจกรรม และต้องรู้จักกตัญญูต่อตัวเอง ต่อครอบครัว และต่อสังคม

นายราชันย์ ชูชาติ

12

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

นายราชันย์ ชูชาติ นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เจ้าของรางวัล กล่าวว่า ตนเองท�ำกิจกรรม เพื่อส่วนรวมควบคู่กับการเรียนหนังสือมาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา โดยยึดหลัก อิทธิบาทสี่ในการเรียนและการท�ำงาน ที่ส�ำคัญคือจะต้องมีความกตัญญู ทั้ง ต่ อ ตั ว เอง ต้ อ งตระหนั ก ว่ า ตนเองมี ห น้ า ที่ อ ะไร กตั ญ ญู ต ่ อ ครอบครั ว รู ้ จั ก แบ่ ง เบาภาระของบิ ด ามารดา และต้ อ งรู ้ จั ก กตั ญ ญู ต ่ อ ส่ ว นรวม ช่ ว ยเหลื อ สั ง คมให้ ไ ด้ ม ากที่ สุ ด เท่ า ที่ ต นเองจะช่ ว ยได้ การท� ำ กิ จ กรรมเพื่ อ สั ง คมนั้ น สอนให้ ต นเองมี ค วามเป็ น ผู ้ น� ำ รู ้ จั ก การเสี ย สละ โดยเฉพาะการได้ เ ข้ า มา ศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ท�ำให้ตนเองได้มีโอกาสเป็นผู้น�ำจัดท�ำ โครงการต่างๆ เพื่อประโยชน์ของเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน ตามพระราชปณิธาน ของสมเด็จพระบรมราชชนกที่ว่า “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” ท�ำให้ทราบว่าการได้ท� ำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นจะท� ำให้เราเป็นคน ที่ ส มบู ร ณ์ แ บบมากยิ่ ง ขึ้ น ส� ำ หรั บ รางวั ล ที่ ไ ด้ รั บ ในครั้ ง นี้ จ ะเป็ น เหมื อ นแรง


บั น ดาลใจที่ จ ะท� ำ กิจกรรมและดึงเพื่อนๆ นักศึกษาเข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในการพั ฒ นามหาวิ ท ยาลั ย พั ฒ นาประเทศต่ อ ไป ด้ า นรศ.ดร.วรวุ ธ วิ สุ ท ธิ์ เ มธางกู ร รองอธิ ก ารบดี ฝ ่ า ยพั ฒ นานั ก ศึ ก ษา และศิ ษ ย์ เ ก่ า สั ม พั น ธ์ มหาวิ ท ยาลั ย ส ง ข ล า น ค ริ น ท ร ์ เ ป ิ ด เ ผ ย ว ่ า มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ใ ห้ ความส� ำ คั ญ กั บ เรื่ อ งการพั ฒ นา นั ก ศึ ก ษาให้ เ ป็ น ทั้ ง คนเก่ ง คนดี และมี คุ ณ ธรรม โดยได้ ก� ำ หนดให้ มี โ ครงสร้ า งกิ จ กรรมเสริ ม หลั ก สู ต ร ที่ ร ะบุ ว ่ า นั ก ศึ ก ษาที่ จ ะ ส�ำเร็จการศึกษาได้นั้นต้องผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 100 ชั่วโมง ซึ่งกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยสนับสนุนให้เกิดขึ้นนั้น

และพั ฒ นาเด็ ก เยาวชน เก่ ง ดี แ ละมี คุ ณ ธรรม ประจ� ำ ปี 2556 โดยมี ร ศ.ดร. พี ร ะพงศ์ ที ฆ สกุ ล รองอธิ ก ารบดี ฝ่ า ยระบบวิ จั ย และบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นคริ น ทร์ เป็ น ตั ว แทนอธิ ก ารบดี ขึ้ น รั บ โล่ ร างวั ล จากผู ้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด สงขลา ในพิ ธี ม อบรางวั ล ครั้ ง นี้ ด ้ ว ย โครงการส่งเสริมและพัฒนาเด็ก เยาวชน เก่ง ดี มีคุณธรรม จัดขึ้นโดยส�ำนักงานจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นคนเก่ง คน ดี และมีคุณธรรม ตามปณิธานในการส่งเสริมการท�ำความดี และการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินของ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เพื่อสร้างทัศนคติ ให้เด็กและเยาวชนในจังหวัดสงขลา รักษาความเก่ง ความดี เกิดผลการพัฒนาบ้านเมืองที่เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

จะสามารถพั ฒ นานั ก ศึ ก ษาในหลายๆ ด้ า น หนึ่ ง ในนั้ น คื อ ด้านคุณธรรม จริยธรรม นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้ส่งเสริม ให้มีการใช้สื่อที่บ่มเพาะคุณธรรม สอดแทรกเข้าไปในเนื้อหา การเรียนการสอนของหลักสูตรต่างๆ ด้วย ซึ่งกระบวนการต่างๆ เหล่ า นี้ จ ะช่ ว ยให้ นั ก ศึ ก ษาสนใจที่ จ ะท� ำ กิ จ กรรมหรื อ ก้ า วสู ่ การเป็ น ผู ้ น� ำ กิ จ กรรมเพื่ อ ส่ ว นรวมมากขึ้ น แทนที่ จ ะให้ ความสนใจในด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว จากการที่ นั ก ศึ ก ษาของมหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ได้ รั บ คั ด เลื อ กให้ ไ ด้ รั บ รางวั ล ในครั้ ง นี้ ท� ำ ให้ ม หาวิ ท ยาลั ย สงขลานครินทร์ ได้รับการยกย่องให้เป็นสถานศึกษาที่ส่งเสริม ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

13


ประชาคมอาเซียน

หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เชิญนักวิชาการ ทั่ ว โลก น� ำ เสนอผลงานวิ จั ย ด้ า นการศึ ก ษา เพื่ อ พั ฒ นาระบบ การศึกษาในกลุ่มสังคม ASEAN ให้มีความเท่าเทียมนานาประเทศ โดยมี อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ผู้อ�ำนวยการองค์การยูเนสโก คณาจารย์ และนั ก ศึ ก ษาจากมหาวิ ท ยาลั ย ทั้ ง ในและต่ า งประเทศ เข้ า ร่ ว มประชุ ม 200 คน ในระหว่างวันที่ 21-24 พฤษภาคม 2557 ณ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

ผศ.ดร. ณัฐวิทย์ พจนตันติ

ผศ.ดร. ณั ฐ วิ ท ย์ พจนตั น ติ คณบดี ค ณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แจ้งว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปั ต ตานี ร่ ว มกั บ University of Missouri สหรั ฐ อเมริ ก า ก� ำ หนดจั ด การประชุ ม ทางวิชาการนานาชาติ เพื่อการน�ำเสนอผลงานวิจัยด้านการศึกษาและภาวะผู้น�ำ ทางการศึกษา ท่ามกลางการผสานกันของกระแสความเป็นท้องถิ่นและโลกาภิวัตน์

ม.อ.เชิญนักวิชาการทั่วโลก

ร่วมประชุมเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาใน กลุ่มประเทศ ASEAN ณ จังหวัดภูเก็ต ระหว่ า งวั น ที่ 21-24 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรม ภู เ ก็ ต เกรซแลนด์ รี ส อร์ ท แอนด์ สปา ต.ป่ า ตอง อ.กะทู ้ จ.ภู เ ก็ ต เนื่องในโอกาสครบรอบ 45 ปี แห่งการก่อตั้งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในปี 2556 ทั้ ง นี้ มี ห น่ ว ยงานที่ ร ่ ว มจั ด การประชุ ม นานาชาติ ค รั้ ง นี้ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต, มหาวิทยาลัยไอดาโฮ สหรัฐอเมริกา, สถานทูตอเมริกาประจ�ำ ประเทศไทย, มูลนิธิฟูลไบรท์, องค์การยูเนสโก, องค์การซีมีโอ , โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา, ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และศูนย์อ�ำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หัวข้อใน การจัดการประชุมคือ Education and Leadership in Glocalization: What does “think globally, act locally” mean for education around the world? หรือการน�ำเสนอผลงาน วิจัยด้านการศึกษาและภาวะผู้น� ำทางการศึกษา ท่ามกลาง การผสานกั น ของกระแสความเป็ น ท้ อ งถิ่ น และโลกาภิ วั ต น์ เพื่อเป็นเวทีในการน�ำเสนอผลงานวิจัย อันจะเป็นประโยชน์ สู ง สุ ด ต่ อ การจั ด การศึ ก ษา การแสวงหาความร่ ว มมื อ การ ประสานงาน การวางแผนจัดตั้งเครือข่ายการจัดการศึกษาใน มิติที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ตลอดจน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องในระดับต่างๆ และหน่วยงาน

14

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

ต่ า งๆ ระดั บ ภู มิ ภ าค และนานาชาติ ได้ แ ลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ประสบการณ์ แ ละความรู ้ ร ะหว่ า งกั น เป็ น การสร้ า งความ เข้าใจระหว่างกัน และเป็นการพัฒนาระบบการศึกษาในกลุ่ม สังคม ASEAN ให้มีความเท่าเทียมนานาประเทศ ตลอดจน สามารถสร้างงานวิจัยและความร่วมมือในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ทั้ ง นี้ มี ก ารปาฐกถาน� ำ โดย ดร.อภิ สิ ท ธิ์ เวชชาชี ว ะ อดีตนายกรัฐมนตรี Dr. Gwang-Jo Kim ผู้อ�ำนวยการองค์การ ยูเนสโก กรุงเทพฯ ,Prof. Dr. Daniel Clay จากมหาวิทยาลัย มิสซูรีโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ,Prof. Dr. Jeffrey Brooks จาก มหาวิทยาลัยไอดาโฮ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น หัวข้อการประชุม ประกอบด้วยการบริหารโรงเรียน ครู และนักศึกษา การพัฒนา หลั ก สู ต ร เทคโนโลยี ก ารเรี ย นการสอนการเตรี ย มครู ความ ร่วมมือด้านการศึกษา จิตวิทยาการให้ค�ำปรึกษา การพัฒนา ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ สั น ติ ภ าพและการศึ ก ษาของพลเมื อ ง และสุขภาพและวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นต้น ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าร่วมประชุม สอบถามรายละเอียด เพิ่ ม เติ ม ได้ ที่ ส� ำ นั ก งานโครงการประชุ ม วิ ช าการนานาชาติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000 โทรศัพท์ 0-7335-0346 โทรสาร 0-7333-7385.


รอบรั้วศรีตรัง

ม.อ.สุราษฎร์ เปิด “ศาลาจิตตปัญญาศึกษา” สร้างบรรยากาศการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม รศ. ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อ ธิ ก า ร บ ดี ม ห า วิ ท ย า ลั ย สงขลานครินทร์ และผู้บริหาร มหาวิทยาลัย ร่วมเปิด “ศาลา จิตตปัญญาศึกษา” วิทยาเขต สุ ร า ษ ฎ ร ์ ธ า นี เ มื่ อ วั น ที่ 4 ตุ ล าคม 2556 เพื่ อ เป็ น สถานที่ ศึ ก ษาเรี ย นรู ้ ด ้ า น คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม เป็ น สถานที่ ที่ เ อื้ อ ต่ อ การสร้ า งบรรยากาศแห่ ง การเรี ย นรู ้ และเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ จ ะน� ำ ไปสู ่ ก ารจั ด ตั้ ง สถาบั น พุทธทาส ที่วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ วิทยาเขตฯ ได้ด�ำเนิน งานด้าน “จิตตปัญญาศึกษา” ซึ่งมีความหมายถึง การเรียนรู้ ด้ ว ยหั ว ใจอย่ า งใคร่ ค รวญ เน้ น ให้ เ กิ ด ปั ญ ญาเฉพาะตน มา อย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นจริงจัง จนได้รับรางวัลคุณภาพจาก มหาวิทยาลัย ในปี 2554 และปี 2555 “ศู น ย์ จิ ต ตปั ญ ญาศึ ก ษา” เป็ น หนึ่ ง ในแนวคิ ด เรื่ อ ง สันติศึกษา ของอดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยซึ่งประกอบด้วย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ศ.ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง และ คุณโสภณ สุ ภ าพงษ์ ที่มี แ นวคิดให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการจัดการความ ขั ด แย้ ง ศู น ย์ จิ ต ตปั ญ ญาศึ ก ษา ศู น ย์ อิ ส ลามศึ ก ษาเพื่ อ การพั ฒ นา และ ศู น ย์ ศึ ก ษาสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน โดยวิ ท ยาเขต สุราษฎร์ธานี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้น�ำร่องในด้าน “จิตต ปัญญาศึกษา” ตั้งแต่ปี 2547 โดยตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา ได้ มี ก ารน� ำ แนวนโยบาย “บ่ ม เพาะคนดี ” เพื่ อ ออกไปใช้ น� ำ สังคม มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นองค์รวม ต่อเนื่อง ตั้งแต่กระบวนการปฐมนิเทศ จนถึงการปัจฉิมนิเทศ ภายใต้ ค วามมุ ่ ง หมายที่ จ ะสร้ า งบั ณ ฑิ ต ให้ เ ป็ น ทั้ ง คนเก่ ง

คนดี มีการเรียนเพื่อรู้ตนเองเข้าใจผู้อื่น และรู้จักวางเป้าหมาย ชีวิต ในปี 2555 วิทยาเขตฯ ได้มีนโยบายในการจัดตั้งสถาบัน พุทธทาส เพื่อเป็นหน่วยงานส่งเสริมการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม งานวิชาการด้านพุทธทาสศึกษา และงานด้านท�ำนุ บ� ำ รุ ง ศิ ล ปวั ฒ นธรรม โดยมี กิ จ กรรมเช่ น โครงการตามรอย ธรรมาจารย์ พุ ท ธทาส การประกวดเรี ย งความ การฟั ง ธรรม ในสวนเดือนละ 1 ครั้ง โดยพระอาจารย์จาก สวนโมกขพลา รามมาเทศนาธรรมเป็นหลัก เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มี ความใกล้ ชิ ด และเรี ย นรู ้ วิ ถี ส วนโมก โดยจะใช้ “ศาลาจิ ต ต ปัญญาศึกษา” เป็นสถานที่จัดกิจกรรม

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

15


กีฬา ศิลปะและวัฒนธรรม

ม.อ. คว้าอันดับ 2

“สงขลานครินทร์บัณฑิตศึกษาเกมส์”

ารแข่งขันกีฬาศึกษาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20 “สงขลานคริ น ทร์ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาเกมส์ ” ซึ่ ง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 17 – 18 ตุลาคม 2556 โดยมี พิธีเปิดการแข่งขันในวันที่ 17 ตุลาคม 2556 และ พิธีปิดการ แข่งขัน เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556 ณ อาคารยิมเนเซี่ยม ศูนย์ กีฬา วิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ รับถ้วยรางวัลคะแนนรวมเหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬา ในครั้งนี้เป็นอันดับ 2 รอง จาก มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รศ.ดร. สมบัติ ธนะวันต์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล แทน ประธานที่ประชุม คณะผู ้ บ ริ ห ารบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย ของรั ฐ และ มหาวิ ท ยาลั ย ในก� ำ กั บ ของรั ฐ (ทคบร.) เป็ น ประธานใน พิ ธี เ ปิ ด และ ปิ ด การแข่ ง ขั น พร้ อ มทั้ ง มอบถ้ ว ยรางวั ล แก่ สถาบันที่ได้คะแนนรวมเหรียญรางวัล จากการแข่งขันกีฬา อันดับที่ 1 – 3 การแข่งขันกีฬาในครั้งนี้ มี 10 ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา เซปักตะกร้อ เทเบิลเทนนิส บาสเกตบอล แบดมินตัน เปตอง ฟุตบอล วอลเลย์บอล ว่ายน�้ำ หมากกระดาน และ กีฬานันทนาการ ได้แก่ วิ่ง 11 ขา วิ่งผลัด ฮุลาฮูบ และ ชักเย่อ ผลการแข่งขัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ รับถ้วยรางวัลคะแนนรวมเหรียญรางวัล อันดับ 2 รองจาก มหาวิทยาลัย มหิดล โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับถ้วยรางวัลอันดับ 3 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเหรียญรางวัล รวม 34 เหรียญ ทอง 10 เหรี ย ญ เงิ น 12 เหรี ย ญ ทองแดง 12 เหรี ย ญ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ครองถ้ ว ยรางวั ล อั น ดั บ 1 ได้ รั บ เหรี ย ญรางวั ล 42 เหรี ย ญ ทอง 13 เหรี ย ญ เงิ น 16 เหรี ย ญ ทองแดง 13 เหรี ย ญ จุ ฬ าลงกรณ์

16

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556


มหาวิทยาลัย ได้รับเหรียญรางวัล 21 เหรียญ ทอง 7 เหรียญ เงิ น 6 เหรี ย ญ และ ทองแดง 8 เหรี ย ญ โดยสถาบั น ที่ เ ข้ า ร่วมการแข่งขันกีฬา ในครั้งนี้ จ�ำนวน 16 สถาบัน ทั่วประเทศ เจ้ า ภาพการแข่ ง ขั น กี ฬ าบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาสั ม พั น ธ์ แ ห่ ง ประเทศไทย ครั้งต่อไป จะเป็นมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้มีพิธีส่ง มอบธงเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในงานเลี้ยงต้อนรับนักกีฬาเมื่อ คืนวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา ณ Conference Hall ศูนย์ประชุม นานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ม.อ. โดย ผศ.ดร.นิวัติ แก้ ว ประดั บ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและการเงิน กล่าว ต้อนรับ และ มอบของที่ระลึกให้กับสถาบันที่เข้าร่วมแข่งขัน รศ.ดร.ธีรพล ศรีชนะ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ส่งมอบธงให้กับ รศ.ดร. สมบัติ ธนะวันต์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้แทน ประธานที่ประชุม คณะผู ้ บ ริ ห ารบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย ของรั ฐ และ มหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ (ทคบร.) เพื่อส่งมอบให้ ผศ.ดร. อาณดี นิ ติ ธ รรมยง รองคณบดี ฝ ่ า ยกิ จ การนั ก ศึ ก ษาและ วิเทศสัมพันธ์ แทน คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งที่ 21 ที่ ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้จัดการแสดง 3 ชุด ได้แก่ ชุดเทวาเทพสถิตนิมิตสถาน ชุด ศาลายาชื่นบานต้อนรับมวลมิตรใหม่ และ การแสดงชุดเกมส์ กีฬาบัณฑิตศึกษาไทย กันภัยมหิดลเกมส์ สถาบันที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในครั้งนี้ จ�ำนวน 16 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ มหาวิ ท ยาลั ย ทั ก ษิ ณ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า พระนครเหนื อ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร มหาวิ ท ยาลั ย บู ร พา มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิ ท ยาลั ย รามค� ำ แหง มหาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริ น ทรวิ โ รฒ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

17


กีฬา ศิลปะและวัฒนธรรม

ม.อ. เป็นเจ้าภาพ

“IMT-GT Varsity Carnival ครั้งที่ 15”

สานสัมพันธ์-พัฒนาเยาวชน ไทย-มาเลย์-อินโด

หาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ได้ รั บ เกี ย รติ ใ ห้ เ ป็ น เจ้ า ภาพจั ด กิ จ กรรม IMT-GT Varsity Carnival ครั้ ง ที่ 15 ในระหว่ า ง วั น ที่ 22-28 พฤศจิ ก ายน 2556 เชื่ อ มความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ ในเขตสามเหลี่ ย มเศรษฐกิ จ ไทย มาเลเซี ย และอิ น โดนี เ ซี ย ด้ ว ยกิ จ กรรม การแสดงศิ ล ปวั ฒ นธรรม การสั ม มนาแลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ร ะหว่ า ง ผู ้ น� ำ นั ก ศึ ก ษาและการแข่ ง ขั น กี ฬ า หวั ง พั ฒ นานิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา ส่ ง เสริ ม ความร่วมมือระหว่างประเทศก่อนก้าวสู่ประชาคมอาเซียน รศ.ดร.วรวุธ วิสุทธิ์เมธางกูร

18

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

รศ.ดร.วรวุ ธ วิ สุ ท ธิ์ เ มธางกู ร รองอธิ ก ารบดี ฝ ่ า ยพั ฒ นานั ก ศึ ก ษาและ ศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า โครงการ IMT-GT Varsity Carnival จั ด ขึ้ น ครั้ ง แรกเมื่ อ ปี พ .ศ. 2539 โดยมี ม หาวิ ท ยาลั ย อุ ต ระมาเลเซี ย (Universiti Utara Malaysia) ประเทศมาเลเซีย และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


ร่วมกันก่อตั้ง เพื่อให้เกิดการสร้างความ สั ม พั น ธ์ ท างด้ า นวิ ช าการ การพั ฒ นา บุคลากร การพัฒนานิสิตนักศึกษาร่วมกัน ผ่านกิจกรรมทางด้านกีฬา ศิลปวัฒนธรรม การสั ม มนาแลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ระหว่ า งนั ก ศึ ก ษาผู ้ น� ำ กิ จ กรรมของ มหาวิทยาลัยในเครือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ซึ่งได้ตกลงที่จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เป็ น เจ้ า ภาพในแต่ ล ะปี โดยมุ ่ ง หวั ง จะ พั ฒ นานิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาและเสริ ม สร้ า ง ความสั ม พั น ธ์ อั น ใกล้ ชิ ด ในหมู ่ เ ยาวชน ของสามประเทศให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่ ง จะส่ ง ผลต่ อ เนื่ อ งให้ เ กิ ด การประสาน สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศที่ ดี ใ นอนาคต สอดคล้องกับนโยบายการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558

“ส�ำหรับโครงการ IMT-GT Varsity Carnival ในปีนี้ได้จัด ขึ้นเป็นครั้งที่ 15 โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นเจ้าภาพ ก�ำหนดให้มีการจัดกิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมในหัวข้อ “Exploring ASEAN Culture Through Mythic Dance” ที่มุ่งเน้น การสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในกลุ่ม อาเซียน กิจกรรมการสัมมนาในหัวข้อ “Maintaining Self-Identity Towards ASEAN Community” ที่จะพานักศึกษาของแต่ละ มหาวิทยาลัยลงชุมชนเพื่อเรียนรู้การท่องเที่ยวแบบ Ecotourism และเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง และกิ จ กรรมการแข่ ง กี ฬ าในหั ว ข้ อ “Sport Spirit” ประกอบด้วยการแข่งขันฟุตบอล วอลเลย์บอล เทนนิส แบดมินตัน ฟุตซอล และปันจักสีลัต ซึ่งคาดว่าทั้ง 3 กิจกรรมจะมีนักศึกษาและบุคลากรจากทั้ง 3 ประเทศรวม 12 มหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 1,200 คน โดยจะมีพิธี เปิดในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 เวลา 18.30 น. เป็นต้นไป ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ ฉลองสิ ริ ร าชสมบั ติ ค รบ 60 ปี ” รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ กล่าว

รศ.ดร.วรวุธ วิสุทธิ์เมธางกูร กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดกิจกรรม IMT-GT Varsity Carnival ครั้งที่ 15 ในปีนี้ นอกจากบุคลากรและนักศึกษาที่ร่วมกันด�ำเนิน การจัดกิจกรรมแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้รับการประสาน ความร่ ว มมื อ จากหลายองค์ ก รส� ำ คั ญ ในท้ อ งถิ่ น เพื่ อ ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าว อาทิ ศูนย์อ�ำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดสงขลา องค์การ บริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สงขลา เทศบาลนครหาดใหญ่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยส�ำนักงานภาคใต้ เขต 1 สถานี ต� ำ รวจภู ธ รหาดใหญ่ เป็ น ต้ น และในโอกาสนี้ ขอเชิ ญ ชวนประชาชนชาวจั ง หวั ด สงขลาร่ ว มกั น เป็ น เจ้าภาพต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งจากมหาวิทยาลัย ในประเทศไทย มาเลเซี ย และอิ น โดนี เ ซี ย เพื่ อ เป็ น จุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและด้านอื่นๆ ต่อไป

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

19


ความร่วมมือ ชุมชน สังคม

“แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเพณี มข.-ม.อ.” ครั้งที่ 5

ม.อ.เป็นเจ้าภาพ

หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) จัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านบริหารและแนวปฏิบัติใน การท�ำงาน โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้จากกรณีตัวอย่างที่มี ความส�ำเร็จและถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดี รวมทั้งใช้โอกาสนี้ สร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างมหาวิทยาลัยต่างภูมิภาค ทั้งสองสถาบัน ภายใต้ชื่อโครงการ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเพณี มข. - ม.อ.” ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 20 - 23 ตุลาคม 2556 ณ โรงแรม Sentido Graceland Khaolak Resort and Spa โดยมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพ

20

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

กิจกรรมในครั้งนี้แบ่งหัวข้อ การแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ อ อกเป็ น 5 หั ว ข้ อ ได้ แ ก่ การบริ ห ารจั ด การ ทรั พ ย์ สิ น การเตรี ย มความพร้ อ ม ส� ำ หรั บ การเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ใน ก�ำกับ การจัดขนาดองค์กรที่เหมาะ สม แนวทางกาน�ำแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ไปสู่การ ขยายผลในองค์กร และการขับเคลื่อนงานวิจัยและความเป็น นานาชาติ ส�ำหรับผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมครั้งนี้จะ ประกอบไปด้วย ผู้บริหารทั้งส่วนกลางและระดับคณะหน่วย งาน รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นๆ นอกจากนี้ ทั้งสองสถาบันยังจะท�ำพิธีลงนามความร่วมมือว่าด้วยการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ ประเพณี ในช่วงที่ 2 มีการลงนามความร่วมมือ และร่วมแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเพณี มข.-ม.อ. ในระดับคณะอีกด้วย


มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่างมีนโยบายในการ ส่งเสริมการท�ำงานในลักษณะเครือข่ายความ ร่ ว มมื อ เพื่ อ การพั ฒ นามหาวิ ท ยาลั ย โดย การจับมือกับมหาวิทยาลัยซึ่งมีภารกิจ ความ ส� ำ เร็ จ และพั ฒ นาการที่ ค ล้ า ยคลึ ง กั น เพื่ อ แลกเปลี่ ย นความรู ้ ร ่ ว มกั น เพื่ อ ประโยชน์ ที่ จะเกิดขึ้นทั้งแก่ทั้งสถาบันการศึกษา ชุมชน และสังคม การจัดประเพณีกิจกรรมสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ จัดขึ้นประจ�ำปีตั้งแต่ปี 2553 ตามหัวข้อและประเด็นที่มีความส�ำคัญ ต่ อ การพั ฒ นามหาวิ ท ยาลั ย ในด้ า นต่ า งๆ มีการผลัดเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรของ แต่ละมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการเทียบเคียง สมรรถนะและประยุกต์ใช้เพื่อการปฏิบัติงาน อย่างเหมาะสม

ส� ำ หรั บ ของที่ ร ะลึ ก ในโครงการประชุ ม แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ป ระเพณี ม.อ. - มข. ในปี นี้ เป็ น ผ้ า บาติ ก ที่ มี ต รามหาวิ ท ยาลั ย ทั้ ง 2 แห่ ง สร้างสรรค์ผลงานโดย อาจารย์สุดารัตน์ สุกาพัฒน์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและกิจการนักศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ ผู้สอนวิชาด้านบาติกของ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์ 45 ปี ม.อ. ออกแบบตราสัญลักษณ์และตัวมัสคอต กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย รายละเอี ย ดก� ำ หนดการ http://www. psu.ac.th/sites/files/n6112_program.pdf

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

21


รอบรั้วศรีตรัง

คณะทันตแพทยศาสตร์น้อมร�ำลึกถึงสมเด็จย่า

จัดวันรณรงค์ทันตสาธารณสุขแห่งชาติ

และงานเปิดกระปุกออมเงินฯ น

ายสมพร ใช้บางยาง ประธานกรรมการบริหารกองทุนเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สมเด็จย่า ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงานวันรณรงค์ ทันตสาธารณสุขแห่งชาติและงานเปิดกระปุกออมเงินวันละเหรียญ..เพื่อผู้ป่วย ปากแหว่งเพดานโหว่ โครงการ 3 เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือย่าของปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ที่ผ่านมา คณะฯได้ร่วมกับโรงพยาบาลมิตรภาพสามัคคี จัดงานวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ เพื่อให้บริการทางทันตกรรมแก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่ คิ ด มู ล ค่ า งานที่ ใ ห้ บ ริ ก ารมี ทั้ ง การอุ ด ฟั น ขู ด หิ น ปู น ถอนฟั น ผ่ า ฟั น คุ ด และ เคลือบฟลูออไรด์ โดยมีผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลทันตกรรม ทั้งสิ้น 1,270 ราย นอกจากนี้ ยังมีพิธีเปิดกระปุกออมเงินโครงการวันละเหรียญเพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ โครงการ 3 ของกองทุนเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สมเด็จย่า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้ รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากผู้มีจิตศรัทธา ประชาชนทั่วไป นักศึกษาตลอดจนบุคลากร ของคณะฯ ร่วมออมเงินเพื่อน�ำมาบริจาคสมทบกองทุนเฉลิมพระเกียรติ100 ปี สมเด็จย่า โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการได้ส่งมอบคืนกระปุกมาแล้วกว่า 500 กระปุก อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ส�ำหรับผู้ที่รับกระปุกไปแล้วยังไม่ได้น�ำกระปุกมาคืนสามารถน�ำมาคืนได้ในวัน ดังกล่าว และหลังจากนี้สามารถน�ำกระปุกมาคืนได้ที่ส�ำนักงานกองทุนเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สมเด็จย่าฯ อาคาร 3 ชั้น 7 ได้ทุกวันในเวลาราชการ ส�ำหรับเงินทุกบาททุกสตางค์ ทางกองทุนจะน�ำไปช่วยเติมเต็มร้อยยิ้มให้กับผู้ป่วย ปากแหว่งเพดานโหว่ของกองทุนเฉลิมพระเกียรติ100 ปี สมเด็จย่า คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ. ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากกว่า 400 คน โดยแต่ละปีจะมีค่าใช้จ่าย ในการรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นการรักษาที่ต่อเนื่องตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่ ง เติ บ โตเข้ า สู ่ วั ย ผู ้ ใ หญ่ ซึ่ ง ผู ้ ป ่ ว ยแต่ ล ะรายจะมี ค ่ า ใช้ จ ่ า ยในการดู แ ลรั ก ษา ประมาณ 2 แสนห้าหมื่นบาท โดยเงินที่ได้รับบริจาคในครั้งนี้จะน� ำไปเป็นค่าใช้จ่าย ในการดูแล รักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในกองทุนต่อไป

22

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556


รอบรั้วศรีตรัง

ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์

“การพัฒนาคนยากที่สุด เพราะต้องพัฒนาตลอดชีวิต” ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ กรรมการสภา มหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้บรรยายเรื่อง “การ พั ฒ นาคุ ณ ภาพอุ ด มศึ ก ษาไทยไปสู ่ อ นาคต :กรณี ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ” ในการจั ด โครงการเวทีคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี 2556 เมื่อ 25 กันยายน ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖o ปี

ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์

ศ.ดร.จี ร ะ หงศ์ ล ดารมภ์ กล่ า วว่ า การพั ฒ นา คุณภาพการศึกษาต้องเกี่ยวข้องกับคน และการพัฒนาคน เป็นสิ่งที่ยากที่สุดเพราะต้องพัฒนากันตลอดชีวิต ทุกวันนี้ ต้ อ งยอมรั บ กั น ว่ า ศั ก ยภาพในการแข่ ง ขั น ใดๆ ก็ ต าม ล้วนขึ้นอยู่กับคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นหน้าที่ ของมหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ที่ จ ะให้ ก ารศึ ก ษาแก่ เยาวชน เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน

การจะบรรลุเป้าหมายทั้ง 4 เรื่องนี้ให้ได้ จะต้องมองถึง แนวโน้ม ของสิ่ งที่จ ะมากระทบการพัฒนาของเราในอนาคต เช่น การก�ำหนดยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ รายได้ต่อหัวของประชากร ปัจจัยลบทางการเมืองที่เกิดจาก การเปลี่ ย นแปลงนโยบายบ่ อ ยครั้ ง และงบประมาณที่ จ� ำ กั ด การเปลี่ ย นแปลงแปลงของภู มิ อ ากาศโลกที่ ต ้ อ งเตรี ย ม นั ก วิ ช าการไว้ ร องรั บ เรื่ อ งนี้ ปั ญ หาความรุ น แรงในจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ที่ต้องเข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือ การที่ เยาวชนทิ้ ง ถิ่ น ออกไปศึ ก ษานอกพื้ น ที่ การเข้ า สู ่ ป ระชาคม อาเซี ย น จ� ำ นวนนั ก ศึ ก ษาที่ จ ะน้ อ ยลงในอี ก 10 ปี ข ้ า งหน้ า เนื่องจากอัตราการเกิดลดลง และพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในอนาคต อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องเป็นผู้ที่ต้องเรียนรู้ ตลอดชีวิตเพื่อจะได้สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาได้ ต้องมีความรู้เพื่อการน�ำไปใช้มากกว่าเพื่อการสอนและเป็นสิ่งที่ ตรงกับความต้องการของชุมชน ต้องสามารถเป็นกระจกเงา สะท้ อ นปั ญ หาประเทศให้ ผู ้ เ กี่ ย วข้ อ งได้ รั บ ทราบ ต้ อ งสร้ า ง ผู้น�ำทางวิชาการส�ำหรับอนาคต ที่มีการท�ำงานเชิงยุทธศาสตร์ และมีการกระจายอ�ำนาจที่เหมาะสม โดยก�ำหนดบทบาทของ แต่ละฝ่ายให้ชัดเจนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ในการท�ำภาระหน้าที่นี้ในอนาคต มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ จะต้องมีวิเคราะห์ใน 4 เรื่อง คือ เรายืนอยู่จุดไหน ก�ำลัง จะมีเป้าหมายอย่างไร มีกลยุทธ์อย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นั้น และจะเอาชนะอุปสรรคอย่างไรเพื่อให้ประสบความส�ำเร็จ อย่างยั่งยืน ซึ่งประการหลังเป็นสิ่งที่ยากและท้าทายอย่างมาก

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

23


การศึกษา

ดร. ดร. สุขสวัสดิ์ ศิริจารุกุล

สุ ข สวั ส ดิ์ ศิ ริ จ ารุ กุ ล ผู ้ ช ่ ว ยอธิ ก ารบดี ฝ ่ า ยการรั บ นั ก ศึ ก ษา ประธานกรรมการด� ำ เนิ น การคั ด เลื อ กนั ก เรี ย นโดยวิ ธี รั บ ตรง ทั่วประเทศ ประจ�ำปีการศึกษา 2557 ได้เปิดเผยว่า จากการที่มหาวิทยาลัย สงขลานคริ น ทร์ เ ปิ ด รั บ นั ก เรี ย นเข้ า ศึ ก ษาในโครงการรั บ นั ก เรี ย นที่ มี ผ ล การเรี ย นดี เ ข้ า ศึ ก ษาต่ อ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ประจ� ำ ปี ก ารศึ ก ษา 2557 โดยไม่ ต ้ อ งสอบข้ อ เขี ย น ทั้ ง นี้ ม หาวิ ท ยาลั ย ได้ ป รั บ ระบบการรั บ นั ก ศึ ก ษาตามการเปลี่ ย นแปลงของสถานการณ์ เพื่ อ รองรั บ การแข่ ง ขั น ที่ค่อนข้างสูงทางการศึกษา และเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปยัง ทั่ ว ประเทศ จึ ง ได้ จั ด ให้ มี โ ครงการรั บ นั ก เรี ย นที่ เ รี ย นดี ขึ้ น ปี นี้ เ ป็ น ปี ที่ 7 โดยได้ รั บ นั ก เรี ย นที่ มี ผ ลการเรี ย นดี จ ากทั่ ว ประเทศโดยมี ผู ้ ส มั ค รทั้ ง สิ้ น จ�ำนวน 7,632 คนเป็นผู้สมัครจากภาคใต้ จ�ำนวน 6,216 คน และภาคอื่นๆ จ�ำนวน 1,416 คน

ม.อ. เผยผลสัมภาษณ์เด็กเรียนเก่งทั่วประเทศ ดร.สุ ข สวั ส ดิ์ ได้ เ ปิ ด เผยต่ อ ไปว่ า มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานครินทร์ มีวิธีการคัดเลือกนักเรียนในเบื้องต้น โดยใช้ หลักเกณฑ์ดูผลการเรียนรวมจากทุกหมวด การเรียน 4 ภาค การศึ ก ษาของชั้ น มั ธ ยมปลาย ม.4-ม.5 โดยมหาวิ ท ยาลั ย ได้น�ำคะแนนดังกล่าวมาแปลงเป็นคะแนนเพื่อจัดล�ำดับ โดย น� ำ ค่ า เฉลี่ ย ของคะแนน O-NET ของโรงเรี ย นในปี ที่ ผ ่ า นมา ประกอบการพิจารณา ซึ่งท้ายที่สุดจะคิดคะแนนจากผลการ เรี ย นร้ อ ยละ 75 ผลปรากฎว่ า ในปี นี้ มี ผู ้ ส นใจจากโรงเรี ย น ต่างๆ สมัครผ่านทางออนไลน์และมีผู้ผ่านเกณฑ์ตามคุณสมบัติ ข้างต้นในทุกภาคทั่วประเทศมากกว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้งสิ้น 6,924 คน ทั้งนี้ได้คัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้ามาสอบสัมภาษณ์ จ�ำนวน 3,245 คน และผ่านการคัดเลือกได้เข้าศึกษา จ�ำนวน 1,603 คน โดยคณะเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ มีผู้เลือกมากที่สุด คณะที่เข้าร่วมโครงการรับในครั้งนี้ของมหาวิทยาลัย มีจ�ำนวน 27 คณะ 161 สาขาวิชา ใน 5 วิทยาเขต มีสาขาใหม่ ที่เปิดรับในปีการศึกษา 2557 นี้ ได้แก่ สาขาการจัดการประชุม นิทรรศการและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล วิทยาศาสตร์นิเทศ เศรษฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์การพัฒนา และ ภาษาอาหรับธุรกิจ สามารถจ�ำแนกคณะที่มีผู้สมัครมากที่สุด 10 อันดับแรก ดังนี้ คณะเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ จ�ำนวน 762 คน คณะ เทคนิ ค การแพทย์ สาขาเทคนิ ค การแพทย์ จ� ำ นวน 456 คน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จ�ำนวน 410 คน คณะเภสั ช ศาสตร์ สาขาการบริ บ าลทางเภสั ช กรรม จ� ำ นวน 341 คน คณะนิ ติ ศ าสตร์ สาขานิ ติ ศ าสตร์ จ� ำ นวน 333 คน คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาพยาบาลศาสตร์ จ�ำนวน 277 คน

24

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ จ� ำ นวน 249 คน คณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ จ�ำนวน 244 คน คณะ วิ ศ วกรรมศาสตร์ สาขาวิ ศ วกรรมเคมี จ� ำ นวน 232 คน และคณะศึกษาศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ จ�ำนวน 231 คน มหาวิ ท ยาลั ย ได้ จั ด ให้ มี ก ารสอบสั ม ภาษณ์ โดยใช้ สถานที่ 2 แห่ง แก่นักเรียนที่ได้ผ่านการคัดเลือกในเบื้องต้นแล้ว กล่าวคือ ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร โดยสัมภาษณ์นักเรียนจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2556 ส่วน ภาคใต้ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขตหาดใหญ่ และ วิทยาเขตต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2556 ดร.สุ ข สวั ส ดิ์ ศิ ริ จ ารุ กุ ล ได้ ก ล่ า วต้ อ นรั บ คณะ ผู้ปกครองและนักเรียนที่มาสอบสัมภาษณ์ที่กรุงเทพมหานคร ว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีความมุ่งมั่น พัฒนาคุณภาพ การศึกษามาตลอด 45 ปี จะเห็นได้จากรางวัลคุณภาพด้วย มาตรฐานการศึ ก ษาที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ได้ รั บ มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง อาทิ การเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพที่ติด 1 ใน 5 มหาวิทยาลัย ของไทย รวมทั้งการเข้าเป็นสมาชิก 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยไทย ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ในส่วนคุณภาพของนักศึกษา ที่ผ่านการคัดเลือกจากโครงการดังกล่าว ดร.สุขสวัสดิ์ กล่าวว่า สามารถคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณภาพเข้าศึกษาต่อ และให้ นั ก ศึ ก ษาจากต่ า งภู มิ ภ าคได้ ม าศึ ก ษา พั ฒ นาทั ก ษะชี วิ ต บนพื้นฐานต่างพหุวัฒนธรรม


ส�ำหรับเยาวชนที่มาสอบสัมภาษณ์ นางสาวฉัตรสาภรณ์-นางสาวฉันทรัตนา นนตามา และนางสาวพิมวรัตน์ พงษ์โสภณ โรงเรียนนวมินทร์ทราชูทิศ จังหวัด นครสวรรค์ ได้ บ อกว่ า ตนและเพื่ อ นทราบว่ า มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ เ ป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ที่ มี ชื่ อ เสี ย งทางภาคใต้ แ ละของประเทศ เลื อ กคณะวิ ท ยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี คิดว่าเหมาะกับตนเอง ได้ศึกษา ข้อมูลและทราบความเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัยจากเว็ปไซด์ต่างๆ โดยเฉพาะอาจารย์ รุ่นพี่มาให้ค�ำแนะน�ำ ประกอบกับผู้ปกครองสนับสนุนให้เรียนทางด้านนี้

อนึ่ ง ผู ้ ที่ ผ ่ า นการคั ด เลื อ กฯ ส่ ว นนางสาวบรรณสรณ์ อามาตย์ กั น จาก มหาวิทยาลัยขอให้ผู้ที่ได้รับการคัด โรงเรี ย นเดี ย วกั น เลื อ กเรี ย นคณะศึ ก ษาศาสตร์ สาขา เลือก ท�ำการตรวจสุขภาพร่างกาย วิ ช าเคมี วิ ท ยาเขตปั ต ตานี เพราะชอบอาชี พ ครู เ ป็ น ผู ้ และเอ็ ก ซ์ เ รย์ โดยน� ำ แบบฟอร์ ม ถ่ายทอดให้ความรู้ ภูมิใจ รู้สึกตนเองมีคุณค่าต้องการมา การตรวจสุขภาพของมหาวิทยาลัย เป็นลูกพระบิดา ตนคิดว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี เปิด สามารถ download ได้ ที่ http// โอกาสให้นักเรียนได้เข้าศึกษาในคณะสมดังที่ตั้งความ www.entrance.psu.ac.th ไป หวังเอาไว้ และท�ำให้เยาวชนรุ่นต่อไปสามารถเตรียมตัว ขอรั บ การตรวจร่ า งกายจากโรง และขยันในการศึกษาเล่าเรียนมากขึ้นเพื่อจะได้มีโอกาส พยาบาลรั ฐ หรื อ เอกชน และส่ ง เข้ า ศึ ก ษาต่ อ ในโครงการนี้ นางสาวบรรณสรณ์ กล่ า ว หนังสือแสดงความจ�ำนง “ ยืนยันขอ ใช้สิทธิ์เข้าศึกษา” มายังมหาวิทยาลัย พร้อมช�ำระเงินค่าประกัน ใช้ผลคะแนน GAT/PATครั้งที่1/2557(สอบ ธันวาคม 2556) ที่เรียน จ�ำนวน 5,000 บาท ภายในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556 และวิชาสามัญ 7 วิชา (สอบมกราคม2557) สามารถติดตาม หากเยาวชนพลาดจากโครงการนี้ มหาวิ ท ยาลั ย ยั ง รายละเอียดได้ทางเว็ปไซด์ ของมหาวิทยาลัยประมาณเดือน มี โ ครงการพิ เ ศษที่ ค ณะและวิ ท ยาเขตของมหาวิ ท ยาลั ย รั บ กุมภาพันธ์ 2557 และโครงการอื่นๆจ�ำนวนกว่า 30 โครงการ โดยตรง เช่ น การรั บ บุ ค คลเข้ า ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี โ ดย ที่ รั บ อยู ่ ใ นขณะนี้ ทางhttp//www.entrance.psu.ac.th ภาพบรรยากาศการสัมภาษณ์ ณ กรุงเทพมหานคร

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

25


บริการวิชาการ

ถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงลานครินทร์ ที่ปรึกษาด� ำเนินงาน โครงการติ ด ตั้ ง ระบบผลิ ต ไฟฟ้ า ด้ ว ยเซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ บ นหลั ง คาน� ำ ร่ อ ง อาคารภาครัฐในภูมิภาค กลุ่มพื้นที่ภาคใต้ และจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และ สมุทรสาคร รวม 18 จังหวัด ตามนโยบายกระทรวงพลังงาน ในการพัฒนาและขับ เคลื่อนพลังงานแสงอาทิตย์ ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนในระดับชุมชน โดยด�ำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ได้รับงบประมาณการด�ำเนินโครงการฯ จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ให้กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นผู้ด�ำเนินการ

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มอบสถาบันวิจัยพลังงาน ม.อ.

เป็นที่ปรึกษาโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ารไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้มอบให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสถาบั น วิ จั ย ระบบพลั ง งาน ร่ ว มเป็ น ที่ ป รึ ก ษาด� ำ เนิ น งาน “โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาน�ำร่องใน อาคารของรัฐในภูมิภาค” โดยด�ำเนินการศึกษา และเสนอข้อก�ำหนดราย ละเอียดการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาให้กับ อาคารภาครัฐ ส�ำรวจพื้นที่และคัดเลือกพื้นที่ด�ำเนินการติดตั้งอาคารรัฐที่ เหมาะสม ให้กับ ศาลากลาง เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การ บริหารส่วนต�ำบล โรงพยาบาล สถานศึกษา ในเขตพื้นที่ 18 จังหวัด ออกแบบ และตรวจสอบควบคุมการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ รวมทั้ ง ประเมิ น ผลประหยั ด พลั ง งานไฟฟ้ า จากการติ ด ตั้ ง ระบบฯ และความคุ ้ ม ค่ า ในการลงทุ น โดยมี รศ.ดร.สุ เ มธ ไชยประพั ท ธ์ ผู ้ อ� ำ นวยการสถาบั น วิ จั ย ระบบพลั ง งาน มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ เป็นหัวหน้าโครงการฯ

26

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556


โดยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 นายวิชญ์ เลาหะสราญ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยระบบพลังงาน ม.อ. ได้มีการประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสง อาทิ ต ย์ ให้กับหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการฯ ในเขต พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ประกอบด้วย พลังงานจังหวัด ท้องถิ่น จังหวัด หัวหน้าส�ำนักงานจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วน จังหวัด เทศมนตรีเทศบาล องค์การบริหารส่วนต�ำบล รวมทั้ง ผู ้ ป ระสานงานโครงการฯ และพิ จ ารณาคั ด เลื อ กพื้ น ที่ ติ ด ตั้ ง เพื่อเตรียมความพร้อมด�ำเนินการติดตั้งในช่วงเดือนมีนาคม – มิ ถุ น ายน 2557 ขณะนี้ มี ห น่ ว ยงานภาครั ฐ ที่ อ ยู ่ ใ นความ รับผิดชอบ ตอบรับเข้าร่วมโครงการประมาณ กว่า 300 แห่ง ทั้งนี้ ระยะเวลาด�ำเนินงานโครงการฯ เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 – กรกฎาคม 2557 ด� ำ เนิ น การในพื้ น ที่ 18 จั ง หวั ด ได้ แ ก่ จั ง หวั ด เพชรบุ รี ประจวบคี รี ขั น ธ์ ราชบุ รี สมุ ท รสาคร ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช ตรัง กระบี่ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต

พังงา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา สตูล และพัทลุง ตั้งเป้า ด�ำเนินการติดตั้งระบบฯ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ศาลากลาง จังหวัด ขนาดก�ำลังผลิต 30 KW 18 แห่ง อาคารภาครัฐ ขนาด ก�ำลังผลิต 10 KW จ�ำนวน ไม่น้อยกว่า 435 แห่ง

การด� ำ เนิ น งานตามโครงการ ดังกล่าว สามารถประหยัดพลังงาน ได้ 36.5 ล้านหน่วยต่อปี คิดเป็น เงิ น ที่ ป ระหยั ด ได้ ป ระมาณ 146 ล้ า นบาทต่ อ ปี ลดการใช้ น�้ ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง ในการผลิ ต ไฟฟ้ า ได้ ประมาณ 11 ล้านลิตรต่อปี หรือ ประมาณ 330 ล้ า นบาทต่ อ ปี อี ก ทั้ ง ลดปั ญ หาผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยลดการปล่ อ ยก๊ า ซ คาร์บอนไดอ๊อกไซต์ ได้ประมาณ 18,980 ตันต่อปี

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

27


ความร่วมมือ ชุมชน สังคม

ความร่วมมือ

การผ่าตัดผู้ป่วยโรคหัวใจ

อีกขั้นของการพัฒนา ระหว่างโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กับโรงพยาบาลหาดใหญ่ ....เพื่อผู้ป่วย

ส�ำหรับผู้ป่วย ผมคิดว่า โครงการนี้ ส่งผลดีกับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้องรอการผ่าตัด บางครั้งอาจท�ำให้ป่วยมากขึ้น ถ้าดูแลตนเองได้ไม่ดีพอ แต่โครงการนี้ จะท�ำให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดที่เร็วขึ้น ท�ำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วย

28

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

ากอั ต ราการเสี ย ชี วิ ต ของคนไทยในปั จ จุ บั น โรคหัวใจและหลอดเลือดถือเป็นกลุ่มโรคที่เป็น สาเหตุ ก ารเสี ย ชี วิ ต มากเป็ น อั น ดั บ 1 ของประเทศ และจังหวัดสงขลา เป็น1 ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ที่มีผู้ป่วยมาก ซึ่งผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่จำ� เป็นต้อง ได้ รั บ การรั ก ษาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งตลอดชี วิ ต แต่ ทั้ ง นี้ การรักษาโรคหัวใจต้องมีค่าใช้จ่ายสูง และจากอาการ ของโรค ส่งผลให้การด�ำเนินชีวิตของผู้ป่วยล�ำบาก มากขึ้น


ประกอบกับในปัจจุบัน แต่ละโรงพยาบาลยังประสบ ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และข้อ จ�ำกัดในบางด้านของโรงพยาบาล ท�ำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจเขต ภาคใต้ตอนล่างจ� ำนวนมากต้องรอการผ่าตัดเป็นระยะเวลา นาน จากข้ อ มู ล ของโรงพยาบาลสงขลานคริ น ทร์ ใ นปี พ.ศ. 2554 พบว่า มีผู้ป่วยโรคหัวใจที่ลงทะเบียนรอผ่าตัด 528 ราย ซึ่ ง แต่ ล ะรายมี ร ะยะเวลารอการผ่ า ตั ด เฉลี่ ย 176 วัน/คน โดยในจ�ำนวนนี้ผู้ป่วยบางรายต้อง เสียชีวิตไป เนื่องจากไม่ได้รับการผ่าตัด ดังนั้น คณะอนุกรรมการหลักประกัน สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ (สปสช.)เขต 12 สงขลา ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรง พยาบาลสงขลานครินทร์ และโรงพยาบาล หาดใหญ่ ได้ ร ่ ว มกั น หาทางออกเพื่ อ แก้ ไ ข ปัญหาดังกล่าว โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ ลดระยะเวลาการรอ ได้รับการผ่าตัดที่รวดเร็วขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วย ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้อง ในโครงการนี้แต่ละท่านได้ให้ความเห็นในแง่มุมต่างๆ ดังนี้ ผศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ กล่ า วว่ า : ในส่ ว นของคณะแพทยศาสตร์ ซึ่ ง เป็ น องค์ ก รที่ ผลิ ต แพทย์ ป ้ อ นให้ กั บ โรงพยาบาลต่ า งๆ ทั่ ว ประเทศ คิ ด ว่ า โครงการนี้ เป็ น ประโยชน์ แ ละเป็ น โอกาสในการฝึ ก แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ให้มีความรู้และเพิ่มประสบการณ์ด้านการดูแล ผู้ป่วยโรคหัวใจ ดูแลญาติของผู้ป่วยที่ผ่าตัดหัวใจ ขณะเดียวกัน นับเป็นแนวทางที่ดีในการพัฒนาความร่วมมือในด้านอื่นๆ และ การพัฒนาในระยะยาว ซึ่งผลสุดท้ายผู้ที่ได้รับประโยชน์ คือ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาคใต้ตอนล่าง ผศ.นพ.ชิ ต เพชรพิ เ ชษฐเชี ย ร ผู ้ อ� ำ นวยการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กล่าวว่า “โครงการนี้เป็นความ ร่วมมือที่ทางโรงพยาบาลเน้นมาก เพราะนอกจากจะเป็นการ พัฒนาศักยภาพร่วมกันแล้ว ยังเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยช่ ว งระยะแรกทางโรงพยาบาลสงขลานคริ น ทร์ จ ะท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น พี่ เ ลี้ ย ง และเมื่ อ ที ม บุ ค ลากรจากโรงพยาบาล หาดใหญ่ เ ข้ ม แข็ ง เราจะคอยช่ ว ยเหลื อ ในอยู ่ ห ่ า งๆ ทั้ ง นี้ ใ น อนาคตทั้ง 2 โรงพยาบาลยังมีโครงการที่จะมีการแลกเปลี่ยน และเสริมแรงระหว่างกันในด้านอื่นๆ ต่อไปอีกด้วย ส� ำ หรั บ ผู ้ ป ่ วย ผมคิดว่า โครงการนี้ส่งผลดีกั บ ผู ้ ป ่ ว ย เป็นอย่างมาก เนื่องจาก ระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้องรอการผ่าตัด บางครั้งอาจท�ำให้ป่วยมากขึ้น ถ้าดูแลตนเองได้ไม่ดีพอ แต่ โครงการนี้ จ ะท� ำ ให้ ผู ้ ป ่ ว ยได้ รั บ การผ่ า ตั ด ที่ เ ร็ ว ขึ้ น ท� ำ ให้ มี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วย

นายแพทย์ กุ ล เดช เตชะนภารั ก ษ์ ผู ้ อ� ำ นวยการ โรงพยาบาลหาดใหญ่ กล่าวว่า : โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการ ตายอั น ดั บ 1 ใน 3 โดยกระทรวงสาธารณสุ ข เองพยายามที่ จะพั ฒ นาศั ก ยภาพและขี ด ความสามารถของโรงพยาบาล ในกระทรวงเอง ในทุ ก เขตพื้ น ที่ ซึ่ ง เมื่ อ หั น กลั บ มามองในพื้ น ที่ บ ริ ก ารเขต 12 มี ประชากรอยู่ที่ประมาณ 4,500,00 คน โดยประชากรที่ ป ่ ว ยเป็ น โรคหั ว ใจ สามารถเข้ า รั บ การรั ก ษาได้ 2 แห่ ง คื อ ที่ โรงพยาบาลศู น ย์ ย ะลา และโรงพยาบาลสงขลา นครินทร์ แต่ยังไม่เพียงพอ ดั ง นั้ น ท า ง โ ร ง พ ย า บ า ล หาดใหญ่จึงคิดว่า การที่เรามี ทรัพยากร ทั้งด้านสถานที่ ทุนทรัพย์ และโรงพยาบาลสงขลานคริ น ทร์ มี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถให้การช่วยเหลือได้ จึงมีการหารือว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะสร้างให้โรงพยาบาล หาดใหญ่ เ ปิ ด บริ ก ารส�ำ หรั บ ผู ้ ป ่ ว ยโรคหั ว ใจอี ก แห่ ง หนึ่ ง ซึ่ ง หลั ง จากมี ก ารคุ ย กั น ประมาณ 6 - 7 เดื อ น จึ ง มี ก ารเริ่ ม ด�ำเนินการ ขณะนี้ผ่าตัดไปแล้ว 2 ราย และมีแพทย์ที่สมัคร เข้ า มาร่ ว มโครงการ และมี บุ ค ลากรตามมาอี ก ดั ง นั้ น การ ที่ แ พทย์ จ ากโรงพยาบาลสงขลานคริ น ทร์ ม าเป็ น พี่ เ ลี้ ย ง จึ ง ถื อ เป็ น เรื่ อ งที่ ดี ม าก ทั้ ง ในด้ า นของการพั ฒ นาบุ ค ลากรของ โรงพยาบาลหาดใหญ่ และการเพิ่มโอกาสให้กับผู้ป่วย นายแพทย์ เ จริ ญ เกี ย รติ หั ว หน้ า แพทย์ ผู ้ ผ ่ า ตั ด ใน โครงการ กล่ า วว่ า “ที่ ม าของโครงการ คื อ ผู ้ ป ่ ว ยแต่ ล ะคน ต้องรอคิวนาน ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ขณะนี้คิวยาว ประมาณ 5 ปี และผู้ป่วยสิทธิ์ 30 บาท รอประมาณ 3 ปี จาก ข้ อ มู ล ตรงนี้ ท� ำ ให้ สปสช. ได้ พู ด คุ ย กั บ โรงพยาบาลสงขลา นครินทร์และโรงพยาบาลหาดใหญ่ ว่ามีแนวทางอย่างไร ที่จะ ท�ำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการบริการได้เร็วขึ้น จึงมีนโยบายร่วม กันว่า โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่มี ข้อจ�ำกัดด้านสถานที่และบุคลากร ขณะเดียวกันโรงพยาบาล หาดใหญ่มีการพัฒนาด้านสถานที่และบุคลากรขึ้นมา เพียง พอที่จะสนับสนุนการผ่าตัด จึงเกิดความร่วมมือการให้บริการ ผ่ า ตั ด หั ว ใจแบบเปิ ด ที่ โ รงพยาบาลหาดใหญ่ ขึ้ น อี ก 1 ที่ นอกจากโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และโรงพยาบาลศูนย์ยะลา” ที่มา : ข่าวคณะแพทย์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 219 ประจ�ำเดือนมิถุนายน 2556

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

29


รางวัลแห่งคุณภาพ

นั

กศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปั ต ตานี ไ ด้ รั บ รางวั ล ชนะเลิ ศ นั ก ศึ ก ษาสหกิ จ ศึ ก ษานานาชาติ ดีเด่น ระดับชาติ โล่ห์รางวัล เกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัลจ�ำนวน 20,000 บาท ในงาน “วั น สหกิ จ ศึ ก ษาไทย” ครั้ ง ที่ 5 ภายใต้ แ นวคิ ด “สหกิ จ ศึ ก ษาไทย กลไกสู่การพัฒนาประชาคมอาเซียนพลัส” จัดโดยส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับสมาคมสหกิจศึกษาไทย และ 9 เครือข่าย สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาทั่ ว ประเทศ เมื่ อ วั น ที่ 6 มิ ถุ น ายน 2556 ณ ศู น ย์ นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

2 น.ศ.รัฐศาสตร์ รับรางวัล

สหกิจศึกษานานาชาติดีเด่นระดับชาติ นายอับดุลรอฮิม ดาซิง และนายอับดุลฮากิม ดือราแมง นั ก ศึ ก ษ า ค ณ ะ รั ฐ ศ า ส ต ร ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิ ท ยาปั ต ตานี ผู ้ ไ ด้ รั บ รางวั ล ชนะเลิศ นักศึกษาสหกิจศึกษา นานาชาติดีเด่น ระดับชาติ จาก โครงงานเรื่อง “Employment Tendency of Thai Labour in the Sultanate of Oman” เปิดเผยว่า ได้มีโอกาสฝึกงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมัสกัต ประเทศ โอมาน ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ สาขาวิ ช าความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ ที่ ก� ำ ลั ง ศึ ก ษาอยู ่ โดยท� ำ หน้ า ที่ ฝ ่ า ยการเมื อ งและเศรษฐกิ จ และ ฝ่ายกงสุลแผนกการตรวจลงตรา (วีซ่า) ซึ่งงานหลักได้แก่ สรุปข่าว บทความ สรุปสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐสุลต่านโอมานและ สาธารณรัฐเยเมน ข่าวเกี่ยวกับประเทศไทยในหนังสือพิมพ์โอมาน การติ ดต่อ กับ หน่วยงานราชการ การพบปะกับ นักธุรกิจ การเยี่ยม นักโทษไทย การรับค� ำร้องขอตรวจลงตรา นิติกรณ์ รวมทั้งได้เป็น ตัวแทนขึ้นแสดงร�ำมวยไทยต่อหน้าเอกอัครราชทูตจากประเทศต่างๆ ในงานวันชาติหรือวันพ่อแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ในการปฏิบัติสหกิจศึกษาครั้งนี้ นักศึกษาทั้งสองได้จัดท�ำ 2 โครงการได้แก่ “สรุปกฎหมายแรงงานของรัฐสุลต่านโอมาน” และ วิจัย เชิงคุณภาพในหัวข้อ “สถานการณ์แรงงานไทยในรัฐสุลต่านโอมาน” แต่ในการน�ำเสนอผลงานสหกิจศึกษาได้เลือกหัวข้อ “แนวโน้มการจ้าง แรงงานไทยในรัฐสุลต่านโอมาน” มาน�ำเสนอ ทั้งนี้ ทั้งสองโครงการ ดังกล่าว ได้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สถานเอกอัครราชทูต และ แรงงานไทยที่จะเข้ามาท�ำงานในรัฐสุลต่านโอมาน งานวิจัย “แนวโน้มการจ้างแรงงานไทยในรัฐสุลต่านโอมาน” สรุปได้ว่า ปัจจุบันมีแรงงานไทยที่เข้าไปท�ำงานในรัฐสุลต่านโอมาน อย่างถูกต้องตามกฎหมายประมาณ 500 คน ซึ่งแรงงานเหล่านี้จะ ได้ รั บ ค่ า จ้ า ง ประมาณ 12,000-20,000 บาท/เดื อ น ขึ้ น อยู ่ กั บ ความสามารถและฝีมือ พร้อมกับได้รับสวัสดิการที่พักอาศัย พร้อม

30

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

อาหาร รถรับ-ส่ง และการรักษาพยาบาล ส�ำหรับแน้วโน้มการจ้าง แรงงานไทยในรั ฐ สุ ล ต่ า นโอมานยั ง คงเพิ่ ม ขึ้ น ในอั ต ราต�่ ำ มากเมื่ อ เที ย บกั บ การจ้ า งในประเทศสหรั ฐ อาหรั บ เอมิ เ รตส์ แ ละกาตาร์ ทั้งนี้ อาจจะเป็นผลมาจากอัตราค่าจ้างแรงงานต่างชาติจากประเทศ ในภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ เนปาล และ ศรีลังกา อยู่ในระดับต�่ำมาก นายจ้างสามารถเลือกจ้างได้ง่ายกว่า ลงทุนน้อยกว่า และแรงงานจากชาติที่กล่าว ล้วนมีความสัมพันธ์ วิ ถี ชี วิ ต ความเชื่ อ และศาสนาที่ ใ กล้ เ คี ย งกั น โดยเฉพาะแรงงาน อินเดียที่มีมากที่เป็นชุมชนใหญ่ที่สุดในประเทศนี้ ส่วน “สรุปกฎหมายแรงงานของรัฐสุลต่านโอมาน” เป็นการ สรุ ป จากภาษาอั ง กฤษเป็ น ภาษาไทยมี ทั้ ง หมด 125 มาตรา ซึ่ ง รั ฐ สุลต่านโอมานได้แก้ไขกฎหมายแรงงานใหม่ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 สถานเอกอั ค รราชทู ต ณ กรุ ง มั ส กั ต ได้ ม อบหมายให้ ส รุ ป กฎหมายแรงงานที่ แ ก้ ไ ขล่ า สุ ด เพื่ อ เป็ น ประโยชน์ แ ก่ แ รงงานไทย และเพื่อเป็นคู่มือแก่ผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับการจ้างแรงงานใน รัฐสุลต่านโอมาน การสรุปกฎหมายแรงงานฉบับนี้ ได้แบ่งเป็นสิทธิ และหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง และเลือกมาตราที่เป็นสิทธิและ หน้าที่โดยการแบ่งเป็นบทต่างๆ ได้แก่ การจ้างงานคนโอมานและ ต่ า งชาติ สั ญ ญาการจ้ า งงาน ค่ า จ้ า ง การจ้ า งงานผู ้ เ ยาว์ ชั่ ว โมง การท� ำ งาน การจ้ า งงานสตรี การจ้ า งงานภาคอุ ต สาหกรรม การ จ้ า งงานในเหมื อ งแร่ การจั ด การความขั ด แย้ ง และการลงโทษ


วิจัย จากการศึกษาวิจัยการบริหารจัดการซากาตของประเทศมาเลเซีย ในช่วงปี 2006 - 2008 พบว่า สามารถจัดเก็บและบริหารจัดการมากกว่า 150 ล้านริงกิต และกระจายซากาตให้กับบุคคล 8 ประเภทตามหลักการที่ศาสนาอิสลาม

“ซากาต” หนังสือเพื่อการบริหารจัดการที่ดี ของระบอบอิสลาม

นั

กวิจัยสถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิ ท ยาเขตปั ต ตานี เปิ ด ตั ว หนั ง สื อ การบริ ห ารจั ด การซากาต การกระจายซากาตและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ : กรณี ศึกษาในสหพันธรัฐ ประเทศมาเลเซีย จากการศึกษาวิจัยใน พื้นที่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ปุตราจายาและลาบวน ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่รัฐบาลกลางมาเลเซียจัดเก็บซากาตเอง อาจารย์โซร์ฟีน่า เด่นสุมิตร สถานวิจัยความขัดแย้งและความ หลากหลายทางวั ฒ นธรรมภาค ใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า หนังสือ การบริหารจัดการซากาต การกระจายซากาตและการเจริญ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ : กรณี ศึ ก ษาในสหพั น ธรั ฐ ประเทศ มาเลเซีย (Zakat Administration, Distribution and Economic Growth: A Study in the Federal Territory of Malaysia) เกิด จากการศึ ก ษาวิ จั ย ระบบซากาตของประเทศมาเลเซี ย โดย ใช้พื้นที่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ปุตราจายาและลาบวน ซึ่งเป็น พื้นที่ที่รัฐบาลกลางมาเลเซียจัดเก็บซากาตเอง น�ำเสนอเป็น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ด้วยเหตุผลว่า ซากาตเป็นส่วนหนึ่ง ของการพัฒนาทุนในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นจุดเด่นของ ระบบเศรษฐกิจอิสลาม หากสามารถพัฒนาระบบซากาตที่น�ำ ไปสู ่ ก ารพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และพั ฒ นาสั ง คมจั ง หวั ด ชายแดน ภาคใต้จะเป็นสิ่งที่ดีมาก ทั้งนี้หนังสือดังกล่าวมีเพียงฉบับภาษา อังกฤษและมีขายเฉพาะส�ำนักพิมพ์ในต่างประเทศเท่านั้น ใน อนาคตจะมีการแปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาไทย โดยอาจารย์ มั จ มี ย ์ หมั ด หมาน คณะรั ฐ ศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ อาจารย์โซร์ฟีน่า เด่นสุมิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบ ซากาตเป็นระบบที่เป็นหลักส�ำคัญในการจัดการเรื่องการออม

สวัสดิการสังคม ช่วยเหลือคนยากจน ในรูปแบบของอิสลาม ที่มุสลิมถือเป็นหลักการส�ำคัญ เป็นจุดเด่นของระบบเศรษฐกิจ อิ ส ลาม การจั ด เก็ บ ซากาตในประเทศมาเลเซี ย มี ร ะบบการ จั ด เก็ บ ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและมี ค วามสะดวกต่ อ ประชาชน ที่ ต ้ อ งการจ่ า ยซากาตมาก โดยมี ช ่ อ งทางการจ่ า ยซากาต ที่ เ ปิ ด บริ ก ารตามสถาบั น การเงิ น ในประเทศมาเลเซี ย ในรูป แบบการหักบัญชีเงินฝากธนาคาร การจ่ายทางอินเตอร์เน็ต การจ่ายซากาตผ่านเอทีเอ็ม จ่ายทางโทรศัพท์หรือบัตรเครดิต และทางไปรษณีย์ โดยเฉพาะการหักบัญชีธนาคารนั้น จาก ข้อมูลปี 2008 ประชาชนมาเลเซียจ่ายซากาตกว่า 115 ล้าน ริ ง กิ ต โดยการบริ ห ารจั ด การทั้ ง การจั ด เก็ บ และการกระจาย ซากาต ด�ำเนินการโดยคณะกรรมการอิสลามประจ�ำสหพันธ์รัฐ มี ห น่ ว ยงานจั ด เก็ บ และบริ ห ารจั ด การซากาต ท� ำ หน้ า ที่ บริหารจัดการและก�ำหนดรูปแบบ อัตราการจัดเก็บ การจ่าย ซากาตแก่ ผู ้ ที่ อ ยู ่ ใ นข่ า ยมี คุ ณ สมบั ติ ที่ ส ามารถรั บ ซากาตได้ จากการศึ ก ษาวิ จั ย การบริ ห ารจั ด การซากาตของ ประเทศมาเลเซีย ในช่วงปี 2006 - 2008 พบว่า สามารถจัดเก็บ และบริหารจัดการมากกว่า 150 ล้านริงกิต และกระจายซากาต ให้กับบุคคล 8 ประเภทตามหลักการที่ศาสนาอิสลามก�ำหนด สหพันธรัฐ 3 แห่งของมาเลเซียกระจายซากาตแก่ทุกกลุ่มคน ทั้งคนยากจน คนขัดสน เจ้าหน้าที่จัดเก็บ มุสลิมใหม่ ผู้มีหนี้สิน ผู้เดินทางและการจ่ายเพื่อหนทางของอัลลอฮฺ แต่ไม่มีการจ่าย ซากาตให้กับทาสและนักโทษกว่าครึ่งของการจ่ายซากาต ได้ ด�ำเนินการในรูปแบบการมอบทุนการศึกษา การสร้างโรงเรียน และสถานศึกษาด้วย “หวั ง ว่ า ระบบซากาตจะเป็ น ระบบที่ น� ำ มาใช้ กั บ ระบบเศรษฐกิ จ ในพื้ น ที่ ช ายแดนใต้ ที่ มี มุ ส ลิ ม อาศั ย เป็ น ประชากรส่วนใหญ่ได้ โดยรัฐต้องให้ โอกาสและจะสามารถ แก้ปัญหาอื่นๆ ได้ ทั้งยังช่วยลดภาระของรัฐได้ ในระดับหนึ่ง” อาจารย์โซร์ฟีน่า เด่นสุมิตร กล่าวเพิ่มเติม ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

31


แนะน�ำบุคคล

ผมใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็น แนวทางด� ำเนินการ ทั้งเรื่องหน้าที่การงานและการด�ำเนินชีวิต พร้อมกับตระหนักอยู่เสมอ ว่ า เมื่ อ เกิ ด มาบนผื น แผ่ น ดิ น ไทย หน้ า ที่ อั น ยิ่ ง ใหญ่ คื อ การตอบแทน คุ ณ แผ่ น ดิ น ตามศั ก ยภาพและบทบาทหน้ า ที่ ใ นทุ ก โอกาส อย่ า งที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่กระผมท�ำงานอยู่ พยายามปลูกฝังให้ ทั้งคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ได้ยึดหลักการท�ำงานเพื่อองค์กร และเพื่อสังคม ดังพระปณิธานของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดช วิกรม พระบรมราชชนกว่า “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” ซึ่งถือเป็นกรอบสร้างแนวคิดของทุกคนสู่การสร้างสังคมได้เป็นอย่างดี

“รศ.ดร.โอภาส พิ ม พา” นักวิจัยจากม.อ.สุราษฎร์ สู่

“บุคคลตัวอย่างแห่งปี 2556”

รับประกาศเกียรติบัตรและโล่รางวัลเกียรติยศจาก ฯพณฯ พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี

32

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

วามในใจตอนหนึ่งของรศ.ดร.โอภาส พิมพา คณบดี คณะวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี อุ ต สาหกรรม มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขตสุ ร าษฎร์ ธ านี หลั ง ได้ รั บ การประกาศ เกี ย รติ คุ ณ จากส� ำ นั ก งานคณะกรรมการอ� ำ นวย การจั ด งาน “รางวั ล ไทย” ให้ เ ป็ น “บุ ค คลตั ว อย่ า งแห่ ง ปี ” ประจ� ำ ปี 2556 สาขาวิ จั ย และพั ฒ นา และได้ เ ข้ า รั บ ประกาศ เกียรติบัตรและโล่รางวัลเกียรติยศจาก ฯพณฯ พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ในฐานะ เป็นบุคคลที่ประสบความส�ำเร็จในหน้าที่การงาน ชีวิตครอบครัว และสร้างผลประโยชน์ตอบแทนสังคม สมควรเป็นต้นแบบแก่ผู้อื่น รศ.ดร.โอภาส พิมพา มีผลงานด้านการวิจัยและพัฒนา สังคมมาเป็นระยะเวลาเกือบ 20 ปี ในสาขาสัตวศาสตร์ ด้าน โภชนศาสตร์ สั ต ว์ เ คี้ ย วเอื้ อ ง ระบบเกษตรอิ น ทรี ย ์ โดยใช้ ห ลั ก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ ทางการเกษตรและสิ่ ง แวดล้ อ ม การผลิ ต อาหารสั ต ว์ จ ากวั ส ดุ ทางการเกษตรและผลพลอยได้ จ ากอุ ต สาหกรรมการเกษตร ศึกษาวิจัยโดยมุ่งเน้นการพัฒนาสังคมชนบทด้านการประกอบ อาชี พ มี ผ ลงานวิ จั ย ที่ ไ ด้ รั บ การตี พิ ม พ์ ใ นวารสารวิ ช าการทั้ ง


ในและต่างประเทศ อาทิ การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและการ ตลาดน�้ำนมดิบขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย สาขาสุ โ ขทั ย การศึ ก ษาการผลิ ต ไขมั น ไหลผ่ า นส�ำหรับอาหาร โคนมโดยใช้น�้ำมันปาล์มดิบและเปลือกหอยป่น การศึกษาผลการ ใช้น�้ำหมักกะปิ กากตะกอนน�้ำมันปาล์มและกากส่าเหล้าเพื่อ ผลิตน�้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักส�ำหรับปาล์มน�้ำมัน เป็นต้น นอกเหนือจากการศึกษาวิจัยแล้ว รศ.ดร.โอภาส พิมพา ยังมีผลงานด้านบริการวิชาการมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดอบรม เชิญปฏิบัติการหลักสูตรการเลี้ยงโคนม การฝึกอบรมหลักสูตร โรงเรี ย นปศุ สั ต ว์ จั ง หวั ด กระบี่ การจั ด อบรมสมาชิ ก สหกรณ์ การเกษตรสวรรคโลก จ�ำกัด จังหวัดสุโขทัย ในหลักสูตร “การผลิต อาหารข้นผสมใช้เองส� ำหรับลดต้นทุนการเลี้ยงโคนม” การฝึก อบรมหลั ก สู ต ร การถ่ า ยทอดเทคโนโลยี ง านวิ จั ย สู ่ เ กษตรกร เป็ น ต้ น นอกจากนี้ รศ.ดร.โอภาส พิ ม พา ยั ง ได้ เ ผยแพร่ องค์ ค วามรู ้ ผ ่ า นการแต่ ง เรี ย บเรี ย ง และแปลหนั ง สื อ เขี ย น บทความทางวิ ช าการ ตลอดจนเป็ น ที่ ป รึ ก ษาให้ กั บ หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ด้านการเกษตร อีกด้วย ด้วยผลงานวิจัยที่โดดเด่นประกอบกับการอุทิศตนเพื่อ ประโยชน์ แ ก่ สั ง คมเสมอมา ส่ ง ผลให้ ร ศ.ดร.โอภาส พิ ม พา ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติในหลายรางวัล เช่น รางวัลนักวิจัยผู้มี ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจ� ำ ปี 2550 รางวั ล นั ก วิ จั ย ดี เ ด่ น คณะวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจ�ำปี 2553 รางวัลอาจารย์ที่เป็นที่รัก ชื่นชม และศรัทธา ของนักศึกษา คณะวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี อุ ต สาหกรรม มหาวิ ท ยาลั ย

สงขลานครินทร์ ประจ�ำปี 2555 กระทั่งได้รับรางวัลบุคคลตัวอย่าง แห่ ง ปี ประจ� ำ ปี 2556 สาขาวิ จั ย และพั ฒ นา จากส� ำ นั ก งาน คณะกรรมการอ�ำนวยการจัดงาน “รางวัลไทย” ยังความภาคภูมิใจ มาสู่ตนเอง ครอบครัว และชาวสงขลานครินทร์เป็นอย่างมาก “รางวั ล บุ ค คลตั ว อย่ า งแห่ ง ปี ” ไม่ เ พี ย งแต่ เ ป็ น เครื่ อ ง ยื น ยั น ถึ ง ศั ก ยภาพและความมุ ่ ง มั่ น ที่ จ ะพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต พี่ น ้ อ งเกษตรกรของ รศ.ดร.โอภาส พิ ม พา เท่ า นั้ น เหนื อ สิ่ ง อื่ น ใดคื อ พลั ง ใจและแรงผลั ก ดั น ที่ ท�ำ ให้ นั ก วิ จั ย ท่ า นนี้ ตั้ ง มั่ น ที่ จะด�ำรงตนอยู่เพื่อการแสวงหาความรู้ พร้อมถ่ายทอดสู่ชุมชน ท้องถิ่น สู่การพัฒนาอาชีพทางการเกษตรของประเทศที่ยั่งยืน

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

33


รอบรั้วศรีตรัง

คณะวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมการเซ็นสัญญารับทุน

โครงการ พสวท. ปีการศึกษา 2557

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2556 คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมการเซ็นสัญญารับทุนโครงการ พสวท. ปี ก ารศึ ก ษา 2557 ของนั ก เรี ย นที่ ไ ด้ รั บ ทุ น พร้ อ ม ด้ ว ยผู ้ ป กครอง และการบรรยายรายละเอี ย ดทุ น พร้อมข้อมูลต่างๆ ที่ส�ำคัญของคณะวิทยาศาสตร์ โดยผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ณ ห้ อ งสั ม มนา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์

ยินดีศิษย์เก่า ม.อ.

รับต�ำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง

รศ.วรวุธ วิสุทธิ์เมธางกูร รองอธิการบดีฝ่าย พั ฒ นานั ก ศึ ก ษาและศิ ษ ย์ เ ก่ า สั ม พั น ธ์ มหาวิทยาลัย สงขลานคริ น ทร์ ศ.นพ.วี ร ะพล จั น ทร์ ดี ยิ่ ง นายก สมาคมนั ก ศึ ก ษาเก่ า ม.อ. และกรรมการสมาคมฯ เข้ า มอบกระเช้ า แสดงความยิ น ดี แ ก่ นายรั ง สรรค์ ศรี ว รศาสตร์ ปลั ด กระทรวงการคลั ง ศิ ษ ย์ เ ก่ า มหาวิทยาลัย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(MBA) คณะวิทยาการจัดการ ในโอกาสเข้ารับต�ำแหน่ง เมื่อ วั น ที่ 10 พฤศจิ ก ายน 56 ที่ ก ระทรวงการคลั ง โดย ปลั ด กระทรวงการคลั ง ยิ น ดี ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น มหาวิทยาลัย โดยตอบรับการเชิญเป็นกรรมการสภา มหาวิทยาลัยในคณะกรรมการสภาชุดใหม่ และยินดี ติ ด ต่ อ ประสานงานในระดั บ บริ ห ารเพื่ อ การจั ด งาน 45 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทางสถานีโทรทัศน์ ในเดือนมีนาคม 2557

34

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556


สิ่งแวดล้อม

อธิการบดี ม.อ.ร่วมงานฉลอง 80 ปี Kunming Medical University

ศ.ดร.ชู ศั ก ดิ์ ลิ่ ม สกุ ล อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ พร้ อ มด้ ว ย ผศ.ดร.ราม แย้ ม แสงสั ง ข์ ผู ้ ช ่ ว ยอธิ ก ารบดี ฝ ่ า ย วิเ ทศสัมพันธ์ และ ดร.พีรภัฏ รุ่งสัทธรรม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ร่วมงานฉลองครบรอบ ๘๐ ปี Kunming Medical University ณ เมืองคุนหมิง มณฑลยู น นาน เมื่ อ วั น ที่ ๑๘ ตุ ล าคม ๒๕๕๖ โดยมี ก ารกล่ า วสุ น ทรพจน์ แสดงความยิ น ดี จ ากหน่ ว ยงานต่ า ง ๆ จากนั้ น มี ก ารสั ม มนาเพื่ อ แลกเปลี่ ย น ประสบการณ์ ก ารศึกษาทางการแพทย์ ในภูมิภาคที่ แ ตกต่ า งกั น โดยมุ ่ ง เน้ น การ ศึกษาทางการแพทย์ ในเขตชนบท ทั้งนี้อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ รั บ เกี ย รติ จ ากศาสตราจารย์ Ian Puddey คณบดี ค ณะแพทยศาสตร์ ทั น ต แพทยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัย Western Australia เชิญ ไปศึ ก ษาดู ง านการศึ ก ษาทางการแพทย์ ใ นเขตชนบทที่ ม หาวิ ท ยาลั ย Western Australia ในช่วงค�่ำ Kunming Medical University จัดการแสดงและเล่าประวัติ ความเป็ น มาของการแพทย์ ส มั ย ใหม่ ใ นจี น และประวั ติ ม หาวิ ท ยาลั ย ตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึงปัจจุบันโดยผ่านการแสดงวัฒนธรรมจีนทั้งแบบดั้งเดิมและประยุกต์

คณะวิทยาศาสตร์ PSU ลงนามร่วม ศูนย์ NANOTEC

จัดตั้งศูนย์ความรู้นาโนเทคโนโลยีระดับภาคใต้ รศ.ดร.วิ ไ ลวรรณ โชติ เ กี ย รติ คณบดี ค ณวิ ท ยาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ จ.สงขลา และ ศ.นพ.สิ ริ ฤ กษ์ ทรงศิ วิ ไ ล ผอ.ศู น ย์ น าเทคโนโลยี แ ห่ ง ชาติ ลงนามความร่ ว มมื อ จั ด ตั้ ง ศู น ย์ ป ระสานวิ ท ยากรเครื อ ข่ า ย เพื่ อ เป็ น ศู น ย์ ก ลางการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านนาโนเทคโนโลยีระดับภาคใต้ ภายใต้ชื่อ “NANO PLUS+” โดยจัดตั้งขึ้น ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ มีพันธกิจหลักในการสร้างความตระหนัก และความ เข้าใจทางด้านนาโนเทคโนโลยีอย่างถูกต้องและปลอดภัยอย่างมี จริยธรรม แก่ ชุมชนประชาชน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ทั้ง ภาครัฐและเอกชน และสนับสนุนในการน�ำนาโนเทคโนโลยี ไปเพิ่ม มูลค่าให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ในภาครัฐและเอกชน

ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

35



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.