Safrole สารกอมะเร็งที่ใชผลิตยาอี อมรชัย ไตรคุณากรวงศ
Safrole หรืออัลลิลคาทีโคล เมททิลลีน อีเธอร (allylcatechol methylene ether) เปนสารที่มี สูตรโครงสรางทางเคมี คือ C10H10O2 มีชื่อเรียกโครงสรางทางเคมีนี้วา 5-(2-propenyl)-1,3benzodioxole หรือ 4-allyl-1,2-methylenedioxybenzene (ดังภาพที่ 1) เปนสารที่ไมมีสีหรืออาจมีสี เหลืองออน กลิ่นออนๆ คลายหญาฝรั่น (Saffron-like odor) มีจุดเดือดสูงถึง 232-234 OC โดยสาร ชนิดนี้มักพบปะปนกับสารอนุพันธที่มีชื่อทางเคมีวา Myristicin สาร Safrole ยังจัดเปนยาเสพติด ประเภท 4 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดใหโทษ พ.ศ. 2522 และสามารถที่จะนําไปผลิตเปนยาเสพ ติดประเภท เอ็กซตาซี หรือที่รูจักกันเปนอยางดีในวงการก็คือ ยาอีได ดังนัน้ ลองมาทําความรูจักกับ สาร Safrole ที่ไดจาก Sassafras oil ในแงมมุ ตางๆ กันดูบา งนะครับ โดยปกติ Safrole สามารถเปลี่ยนเปน Isosafrole ไดงายภายใตสภาวะความเปนดาง ในแอลกอฮอลที่ Safrol อุณหภูมิสูง ซึ่ง Safrole ถูกนํามาใชเปนสารตั้งตนหลัก ในการสังเคราะห 3,4-Methylenedioxymethamphetamine (MDMA) หรือยาอีที่รูจักกันในหมูนกั เที่ยว Isosafrole กลางคืน โดยผานกรรมวิธีตางๆ ซึ่งกระบวนการ ดังกลาว Safrole จะถูกเปลีย่ นไปเปน Isosafrole กอน แลวผานปฏิกริ ิยาตางๆ จนไดผลิตภัณฑเปน MDMA Myristicin หรือ 3,4-Methylenedioxy-N-ethylamphetamine (MDEA) หรือ 3,4-Methylenedioxyamphetamine ภาพที่ 1 โครงสรางทางเคมีของสาร (MDA) ซึ่งในปจจุบันมีวิธีที่งายและรวดเร็วในการ Safrole และสารอนุพันธ สังเคราะหยาอี โดยการออกซิไดซ Safrole โดยตรงก็จะ ไดสารตัวกลางที่งายตอการเปลี่ยนไปเปนยาอี1 Safrole เปนองคประกอบหลัก ที่ถูกสกัดไดจากเปลือกและรากของพืชสมุนไพร ที่มีชื่อสามัญ วา Sassafras มีชื่อทางพฤกษศาสตรวา Sassafras albidum (Nuttall) Nees ในวงศอบเชย (Lauraceae) (ดังภาพที่ 2) ซึ่งมีปริมาณของสารนี้สะสมมากถึงรอยละ 80-90 ของน้ํามันระเหยทีส่ กัดดวย เฮกเซน และคลอโรฟอรม2 และสามารถสังเคราะหไดจากอนุพันธของสารประกอบ Methylene dioxy compounds3
สาร Safrole เคยถูกใชอยางกวางขวาง ในการปรุงแตงกลิ่นในผลิตภัณฑอาหาร น้ําหอม เครื่องสําอาง และเครื่องดื่ม โดยเปนสารเติมแตง ในรูปเครื่องดืม่ รูทเบียร (Root beer) และเครื่องดื่ม ชา (Sassafras tea) ตอมาองคการอาหารและยา ของสหรัฐ ไมอนุญาตใหใชสารนี้เปนสวนผสม ปรุงแตงในผลิตภัณฑตางๆ ภายหลังพบวาสาร ดังกลาวกอใหเกิดมะเร็ง และไดถูกจัดขึ้นทะเบียน เปนสารเฝาระวัง ที่มีโอกาสกอใหเกิดมะเร็งใน มนุษย โดยองคการวิจัยมะเร็งนานาชาติ ภาพที่ 2 ลักษณะใบ ดอก และผลของ (International Agency for Research on Cancer) Sassafras albidum (Nuttall) Nees ไดมีการศึกษากันอยางกวางขวาง และเปนที่ทราบ กันดีวา สารนี้กอใหเกิดมะเร็งในตับของหนู และสัตวฟนแทะชนิดอื่นๆ (Rodent hepatocarcinogenicity) ได และสารกอมะเร็งชนิดนี้สามารถทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับยีน ได4,5 รายงานบางฉบับกลาววา ปริมาณเพียงไมกี่หยดของน้ํามันระเหยจากพืชสมุนไพร Sassafras oil มีผลทําใหลูกออดตายได และปริมาณหนึง่ ชอนชาสามารถทําใหกบทีโ่ ตเต็มที่ตาย ซึง่ อาการที่เกิดจะ เปนผลมาจากการเกร็งและอัมพาตกอนที่จะลมตาย6 และการศึกษาทางพิษวิทยาพบวาสาร Safrole ในปริมาณ 1.95-2.4 ก/กก น้ําหนักตัว จะมีผลทําใหหนูทดลองมีอตั ราการตายทีร่ ะดับรอยละ 50 (LD50)3 สวนการศึกษาผลของสาร Safrole ตอสุขภาพมนุษยยังไมมีผลการศึกษายืนยันแนชัดถึง ปริมาณของสาร Safrole ตอการกอมะเร็งในมนุษย จะมีก็เพียงผลการศึกษาของ Chen Chiu-Lan ที่ ไดศึกษาชอดอกของพลูที่ใชเคี้ยวในประเทศไตหวัน พบวามีการสะสมของสาร Safrole มากถึง 15 มก/ก ซึ่งอาจเกี่ยวของกับการเกิดมะเร็งในชองปากได (Oral carcinogenesis) โดยในปจจุบัน Safrole ถูกจัดเปนวัตถุอันตรายทางการเกษตร จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีผลบังคับใชตั้งแต 1 ธันวาคม 2544 เปนตนมา นอกจากนี้สารอนุพันธกลุมนี้ยังอาจทําใหเกิดอาการประสาทหลอน (Hallucinogenic activity) อีกดวย7 ดังนั้น Safrole จึงถูกจัดอยูในกลุมยาเสพติดใหโทษประเภท 4 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดใหโทษ พ.ศ. 2522 อยางไรก็ตามพบวามีการใชประโยชนจากสาร และอนุพันธของสารนี้ในดานอื่นๆ อีก ไดแก การใชเปนสวนผสมในสบู น้ําหอม หรือกระทั่งยาฆาแมลง8 รวมถึงการพัฒนาสารสกัดซึ่ง เปนน้ํามันระเหยที่มีสาร Safrole และสารอนุพันธจากเปลือกของตน Virola calophylla Warb. ใน วงศ Myristicaceae โดยเอธานอล เพื่อใชเปนยาตานเชื้อจุลินทรีย 9
สําหรับพืชสมุนไพรและเครื่องเทศบางชนิดที่มีการศึกษาและพบสาร Safrole เปน องคประกอบในน้ํามันระเหยที่พบไดในสวนตางๆ มีรายงานการวิจยั ไดแก การพบสารนี้ในพืช สมุนไพร หรือเครื่องเทศบางชนิดที่อยูใ นวงศอบเชย (Lauraceae) เชน สวนใบของการบูร (Cinnamomum camphora (L.) Sieb.) พบวามีองคประกอบหลักเปนสาร Safrole มากถึง รอยละ 30-70 ในน้ํามันระเหย10,11 และการสะสมสารนี้อาจจะพบไดในสวนใบของพืชบางชนิด เทานั้นในสกุลเดียวกับการบูร11 สารชนิดนี้อาจพบไดจากสวนใบของพืชสมุนไพรสกุลพลู (Piper) โดยสวนใบของพลูหลายสายพันธุพบ Safrole มากถึงรอยละ 65-9812 การศึกษาองคประกอบทาง เคมีของน้ํามันระเหย ที่พบในเปลือกลําตนและรากของพืชชนิดหนึ่ง ทีย่ ังไมสามารถระบุชนิดพันธุ ไดในสกุลโปยกั๊ก (Illicium) ที่พบในประเทศเวียตนาม ทําใหทราบวาสาร Safrole มีการสะสมมาก ถึงรอยละ 70-80 ของน้ํามันระเหยเชนกัน13 สําหรับโปยกั๊กจีนหรือจันทนแปดกลีบ Chinese Star Anise (Illicium verum Hook.f.) ซึ่งถูกใชเปนเครื่องเทศพะโลมีปริมาณ Safrole ในน้ํามันระเหยนอย กวา 10% ในขณะที่โปยกัก๊ ญี่ปุน (Japanese Star Anise) มีชื่อทางวิทยาศาสตรวา Illicium lanceolatum A.C.Smith เปนสมุนไพรที่มรี สเปรี้ยวและมีพิษมากเมื่อนํามาชงเปนเครื่องดื่ม ซึ่งพืช สกุลนี้ก็พบ Safrole เปนองคประกอบดวยเชนเดียวกัน14 ตอมามีการศึกษาน้ํามันระเหยจากพืชบาง ชนิดพบวามีสาร Safrole เปนองคประกอบหลักในน้ํามันระเหยจากสวนใบ ผล และเมล็ดของพืช สมุนไพร Pala maba (Myristica succedanea) จากสวนเมล็ดลูกจันทนเทศ (Nutmeg) และจากสวน รกดอกจันทนเทศ (Mace) ของพืชสมุนไพรจันทนเทศ (Myristica fragrans) ในวงศ Myristicaceae
อบเชย
พลู
โปยกั๊ก
จันทนเทศ
ภาพที่ 3 พืชประเภทอื่นๆ ทีพ่ บ Safrole เปนองคประกอบ จากขอมูลขางตนอาจกลาวไดวาสาร Safrole มักจะสะสมในสวนตางๆ ของพืชสมุนไพรที่ จัดอยูใ นวงศอบเชย (Lauraceae) วงศพลู (Piperaceae) วงศโปยกั๊ก (Illiciaceae) และวงศจันทนเทศ (Myristicaceae) อยางไรก็ตามอาจพบการสะสมของสารนี้ไดในพืชสมุนไพรตางวงศกับที่ไดกลาว มาแลวขางตน เชน วานน้ํา (Acorus gramineus Soland.) วงศเผือก (Araceae) เทียนขาวเปลือก (Anethum graveolens L.) วงศผักชี (Umbelliferae) วงศสม (Rutaceae) วงศกานพลู (Myrtaceae) โหระพา (Ocimum basilicum L.) และเนียมงวงชาง (Pogostemon plectranthoides Desf.) ในวงศ กระเพรา (Labiatae) เปนตน
พืชสมุนไพรและเครื่องเทศหลายชนิดในประเทศไทย ที่มีการใชประโยชนจากสวนตางๆ ทั้งสวนราก ลําตน ใบ ดอก ผล และเมล็ด อยางแพรหลายและรูจ ักกันดีอาจมีการสะสมของสาร Safrole ไดแก พืชสมุนไพรวานน้ํา (Acorus calamus และ A. gramineus) อบเชย ขาตน และเชียด (Cinnamomum spp.) เทพทาโร (C. porrectum) สุรามะริด ตะไครตน หมีเหม็นและทํามัง (Litsea spp.) กําลังเลือดมา กําลังเลือดแรด (Knema spp.) พลู ดีปลีและสะคาน (Piper spp.) สันโสกและ สองฟา (Clausena spp.) หัสคุณและสมัด (Micromelum spp.) พืชสมุนไพร และเครื่องยาที่ได กลาวมาแลวขางตน มักใชเปนสวนผสม ในยาพื้นบาน และยาไทยแผนโบราณ หลายตํารับ 15 จากรายละเอียดขางตนอาจสรุปไดวา พืชสมุนไพรที่ถูกนํามาใชในการบริโภค หรือเขา ตํารับยา อาจมีการสรางและสะสมสารกอมะเร็ง Safrole ในดานการนําไปใชเปนสารตั้งตนในการ ผลิตยาอีนั้น นอกจากจะเกิดผลเสียตอสุขภาพของผูเสพ ในดานกอใหเกิดอาการทางประสาทแลว จะเปนไปไดหรือไมวาผูเสพยาอีอาจกําลังสะสมสารกอมะเร็ง เนือ่ งจากยาอีจัดเปนอนุพันธอยาง หนึ่งของ Safrole และสิ่งทีส่ ําคัญคือหากผูใดมี Safrole ซึ่งเปนยาเสพติดใหโทษประเภท 4 ไวใน ครอบครองจะมีความผิดตามมาตรา 26, 74 โดยไดรับโทษจําคุกไมเกิน 5 ป หรือปรับไมเกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และหากมีไวผลิต นําเขา สงออก จําหนาย ครอบครองเพื่อจําหนาย จะมีความผิดตามมาตรา 26, 73 โดยไดรับโทษจําคุก 1-10 ป และปรับ 20,000-200,000 บาท หรือถา มี Safrole น้ําหนัก 10 กิโลกรัมขึ้นไปจะมีโทษ จําคุก 1-15 ป และปรับ 100,000-1,500,000 บาท บทความนี้จึงอาจเปนขอมูลเบื้องตนเพื่อใชเปนแนวทางในการติดตาม และเฝาระวัง รวมถึง ตระหนักตออันตรายของสาร Safrole ในการนํามาใชในดานอื่นๆ
เอกสารอางอิง 1. Valter, K. and Arrizabalaga, P. 1998. Designer Drugs Directory. Amsterdam: ELSEVIER. 2. Kadeem,D.P. and Gage, D.A. 1995. Chemical Composition of Essential Oil from the Root Bark of Sassafras albidum. Planta Med. 61(6):574-575. 3. Steglich, W., Fugmann, B. and Lang-Fugmann, S. 2000. Rompp Encyclopedia (Natural Products). Stuttgart: Georg Thieme Verlag.
4. Tan, D. et. al. 1994. Both Physiological and Pharmacological Levels of Melatonin Reduce DNA Adduct Formation Induced by the Carcinogen Safrole. Carcinogenesis. 15(2): 215-218. 5. Tyler, V.E. and Foster, S. 1999. Tyler’s honest herbal: a sensible guide to the use of herbs and related remedies. 4th ed. New York: Haworth Herbal Press. 6. Newall, C.A. et. al. 1996. Herbal Medicines, A Guide for Health-Care Professionals. London: Pharmaceutical Press. 7. Chen, Chiu-Lan, Chi, Chin-Wen, Chang, Kuo-Wei and Liu, Tsung-Yun. 1999. Safrolelike DNA adducts in oral tissue from oral cancer patients with a betel quid chewing history. Carcinogenesis. 20(12): 2331-2334. 8. Saez, J., Granados, H., Moreno, M.E. and Pelaez, C.A 1998. In vitro Matrix Medel for the Evaluation of Insecticidal Activity of Piper auritum Leaves (Piperaceae). Afinidad. 55(477): 363-368. 9. Constanza, R.O., Luis,E.C.S. and Juan, M.V. 1998. Chemical and Microbiological Study of the Ethanolic Extracts of Leaves and Bark of Virola calophylla (Myristicaceae). Rev. Colomb. Cienc. Quim.-Farm. 27:25-29. 10. Khien, P., Chien, H.T., Dung, N.X., Leclercq, A.X., Leclercq, P.A. 1998. Chemical Segregation of Progeny of Camphor Trees with High Camphor c.q. Linalool Content. J. Essent. Oil Res. 10(6): 607-612. 11. Lewis, W.H. and Elvin-Lewis, M.P.F. 2003. Medical Botany (Plants Affecting Human Health. 2nd ed. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc. 12. Maia, J.G.S., Silva, M.L.D.A., Luz, A.I.R., Zoghbi, M.D.G.B. and Ramos, L.S. 1987. Species of Piper of the Amazon Region Rich in Safrole. Quimica Nova. 10(3): 200-204. 13. Thi, T.N., Lai, A.H., Alain, M., Ange, B. and Joseph, C. 1998. Essential Oil of an Unidentified Illicium species from Ninh Binh Province, Vietnam. Flavour Fragrance Journal. 13(6): 393-396. 14. นิจศิริ เรืองรังษี. 2543. เครื่องเทศ. พิมพครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โรงพิมพจุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย. 15. เพ็ญนภา ทรัพยเจริญ, จินดาพร ภูริพัฒนาวงษ, ศิรินนั ท ทิมคํา, เมตตา อินทรวาป และ อรทัย สารสกุล. 2539. เภสัชเวทกับตํารายาแผนโบราณ. กรุงเทพฯ: สถาบันแพทยแผนไทย กรมการแพทย กระทรวงสาธารณสุข.