RA Journal Vol.1

Page 1


(ภาพจากปก) We mutually depend on each other. ศิลปิน : Patree Arthayukti แนวคิด : แสดงสังคมอุดมคติของการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เรามีความสัมพันธ์ มีความเชือ่ มโยงและต่างเป็นส่วนหนึง่ ของกันและกัน สมควรอยูร่ ว่ มกันอย่างถ้อยทีถอ้ ยอาศัย เพราะเราต่างพึ่งพากันและกัน RA Journal วารสารบันทึกรุ่งอรุณ เจ้าของ : โรงเรียนรุ่งอรุณ วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นช่องทางเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนการสอน ของโรงเรียนรุง่ อรุณ และเครือข่ายโรงเรียนทางเลือก อันจะทำให้เกิดการสือ่ สาร แลกเปลีย่ น เรียนรูร้ ะหว่างโรงเรียนและผูป้ กครอง นักการศึกษา ตลอดจนผูเ้ กีย่ วข้องกับการศึกษาของชาติ ในการร่วมกันส่งเสริม สร้างความงอกงามทางปัญญาให้เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนา ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ผู้อำนวยการ สุนิสา ชื่นเจริญสุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อัจฉรา สมบูรณ์ ครูใหญ่โรงเรียนอนุบาล สุนิสา ชื่นเจริญสุข ครูใหญ่โรงเรียนประถม สกุณี บุญญะบัญชา ครูใหญ่โรงเรียนมัธยม รศ.ประภาภัทร นิยม บรรณาธิการบริหาร รศ.ประภาภัทร นิยม กองบรรณาธิการ ปราณี เชาว์ชัยพร นันทิยา ตันศรีเจริญ ออกแบบ โสภณ สุกแสงแก้ว สำนักงาน ส่วนสื่อสารองค์กร โรงเรียนรุ่งอรุณ ๓๙๑ ซอยอนามัยงามเจริญ ๒๕ แขวงท่าข้าม กรุงเทพ ๑๐๑๕๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๗๐-๗๕๑๒-๓, ๐-๒๘๔๐-๒๕๐๑-๔ โทรสาร ๐-๒๘๗๐-๗๕๑๔ www.roong-aroon.ac.th, E-mail : info@roong-aroon.ac.th, www.facebook.com/roongaroon school


WELCOME

การจัดการศึกษาในยุคศตวรรษที่ ๒๑ นี้ หากเป็นไปเพือ่ ให้เด็กอ่านออกเขียนได้ แล้วสอบผ่านนั้นไม่เพียงพอแล้ว เพราะสังคมตอนนี้ไม่ใช่ภาวะปกติ สังคมกำลังอยู่ใน ภาวะสงคราม ทั่วโลกกำลังแย่งชิงน้ำมัน แย่งชิงอาหาร แย่งชิงทรัพยากร เป็นภาวะ คุกคามโดยไม่ได้ใช้อาวุธ แต่ใช้เศรษฐกิจและการสื่อสารนำ สังคมไทยไม่ได้เตรียมเด็กและเยาวชนหรือคนไทยทั้งหลายให้พร้อมที่จะเผชิญ กับภาวะนี้ เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่านี่เป็นภาวะความรุนแรงที่คืบคลานเข้ามาถึงในบ้าน เมื่อไม่รู้เราจึงตกอยู่ในการเบียดเบียนตนเอง แล้วก็ไปเบียดเบียนคนอื่น ตัวอย่างจาก โครงงานที่นักเรียนของเราทำ เรื่องอ่าวอุดมก็ดี เรื่องบางปะกงก็ดี แม้แต่ปลากะพง ยัง ไม่ มีที่จ ะวางไข่ เพราะคนเบียดเบียนกันเองแล้ว ก็ ไ ปเบีย ดเบี ยนธรรมชาติต่ อ เป็นทอดๆ ไป สุดท้ายแล้วเศรษฐกิจแบบนี้จะพาเราไปสู่ความเจริญจริงหรือ? ถ้าต่อไป ชาวนา ชาวสวน ชาวประมง ล้มละลาย เราก็ปลูกข้าวกินเองไม่เป็น เราสร้างอาหารเอง ไม่ได้ สังคมไทยจะดำเนินไปสู่ความทุกข์ยากอย่างแน่นอน ดังนัน้ โจทย์ของเราจึงไม่ใช่แค่ให้เด็กอ่านออกเขียนได้ แต่ตอ้ งให้เขาใช้ความรูเ้ ป็น ใช้ความรู้เพื่อแก้ปัญหา วิเคราะห์ปัญหา คิดเชื่อมโยงว่าอะไรเป็นอะไร ต้นตอคืออะไร ผลกระทบคืออะไร แล้วเขาจะมีบทบาทอะไรได้บา้ ง เขาจะเข้าถึงความรูเ้ หล่านีไ้ ด้อย่างไร และเมื่อนั้นเขาจะใช้ความรู้เหล่านี้ได้อย่างไร ในวารสาร บันทึกรุ่งอรุณ ฉบับแรกนี้เป็นการพยายามถอดบทเรียนการจัดการ เรียนรู้เพื่อสะท้อนให้เห็นเส้นทางการพัฒนานักเรียนของรุ่งอรุณในแต่ละโรงเรียน ตั้งแต่โรงเรียนเล็กที่มีพ่อแม่และผู้ปกครองเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนานักเรียน อย่างใกล้ชิด โรงเรียนประถมที่จัดการเรียนรู้อย่างบูรณาการสู่ชีวิต และโรงเรียนมัธยม ที่นำโจทย์ปัญหาจริงในสังคมมาเป็นโจทย์การเรียนรู้ ให้นักเรียนได้ใช้ปัญญาคิดแก้ไข ปัญหาของสังคม ในฐานะพลเมืองคนหนึ่งที่มีหน้าที่ร่วมรับผิดชอบและพัฒนาสังคม ขณะที่ครูจะไม่เน้นบทบาทของการเป็นผู้สอน แต่ไปเป็นหุ้นส่วนในการเรียนรู้ หรือผู้ ชี้แนะการเรียนรู้ที่จะร่วมเรียนรู้และทำงานไปกับนักเรียน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความในวารสารฉบับนี้จะช่วยจุดประกายและสร้างแรง บันดาลใจในการจัดการศึกษาใหม่ให้กับสังคมไทย ไปสู่บทบาทของการศึกษาที่แท้ คือ การสร้างอุดมการณ์ทางสังคม บทบาทของครูต้องเปลี่ยนไป ครูไม่ใช่นักสอน

แต่ครูคือนักสร้าง เพื่อให้นักเรียนเติบโตเป็นคนรุ่นใหม่ที่เป็นผู้นำทิศทางการพัฒนา สังคมไทยได้ในทันที รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม “โรงเรียนเราสวยจัง” โดย นางสาวสาริศา เลิศวัฒนากิจกุล ชั้น ม.๔


การศึกษาคือการปลูกบำรุงคน ซึ่งต้องใช้เวลาตลอดชีวิตของคนแต่ละคน อีกทั้งใช้บทเรียนจากชีวิตจริง ศ.ระพี สาคริก จากหนังสือ “หอมทวนลม”

“ดอกไม้บานทีร่ งุ่ อรุณ ดอกเทียนหยด” โดย ครูกงุ้ -ธัญลักษณ์ สุนทรมัฏฐ์


CONTENT

สารบัญ ROONG-AROON WAYS

เรียนแก้ ปั ญ หาด้ ว ยปั ญ ญา ได้คุณ ค่ า และอุ ด มการณ์ KINDERGARTEN

๑๕

เมื่อพ่ อแม่ ต ้ องมาเข้ า ห้ องเรี ยน... เพื่อค้ นหาความเป็ นพ่ อแม่ ผู ้ เ ชี ่ ยวชาญ PRIMARY

๒๕

Open Approach กระบวนการเรี ยนรู ้ ที ่ ‘เปิ ด ศั ก ยภาพ’ เด็ก และครู

๓๑

โขนจิ ๋ ว รุ ่ ง อรุ ณ สำเร็ จ ได้ ด ้ ว ย “ใจ” ที ่ เ ห็ นคุ ณ ค่ า

๑๕ ๓๑

SECONDARY

๓๗

เรียนรู ้ ส าระวิ ช า สาระชี ว ิ ต ในมิ ต ิ ก ารทำละคร

LEARNING ACTIVITY

๔๕

เรียนรู ้ จ ากการงาน ผ่า นอุ ปสรรคจึ ง เติ บโตด้ ว ยปั ญ ญา

VIEW OF THOUGHT

๔๘

วิพากษ์ ก ารจั ด การศึ ก ษาไทย... ความท้ า ทายของการสร้ า งมนุ ษ ย์ ใ นศตวรรษที ่ ๒๑

๓๗


ROONG-AROON WAYS

ผังข้อมูลแสดงวิถชี วี ติ ทีพ่ งึ่ พิงทรัพยากรธรรมชาติของชาวบ้านใน อ.วังสะพุง จ.เลย 6


เรียนแก้ปัญหา

ด้วยปัญญา

ได้คุณค่าและอุดมการณ์ รศ.ประภาภัทร นิยม ผู้ก่อตั้งโรงเรียนรุ่งอรุณ กล่าวใน วงสนทนากับครูรุ่งอรุณเมื่อช่วงปิดภาคเรียนที่ผ่านมาว่า โลกใน ศตวรรษใหม่นี้ไม่ใช่โลกใบเดิมอีกต่อไปแล้ว สังคมตอนนี้ไม่ใช่ ภาวะปกติ สังคมกำลังอยู่ในภาวะสงคราม ทั่วโลกกำลังแย่งชิง น้ำมัน แย่งชิงอาหาร แย่งชิงทรัพยากร เป็นภาวะสงครามที ่

ไม่ ไ ด้ ใ ช้ อาวุ ธ แต่ ใ ช้ เ ศรษฐกิ จ นำ เป็ น เศรษฐกิ จ ที่ เ น้ น การ บริโภค ลดศักยภาพการเป็นผู้ผลิตและพึ่งพาตนเอง ต่อไปคน จะปลูกข้าวกินเองไม่เป็น ผลิตอาหารเองไม่ได้ แล้วสุดท้าย เศรษฐกิจแบบนี้จะพาเราไปสู่อะไรหากไม่ใช่หายนะ “ปัจจุบันนี้ การจัดการศึกษาให้เด็กอ่านออกเขียนได้แล้ว สอบผ่ า นนั้ น ไม่ เ พี ย งพอแล้ ว การศึ ก ษาต้ อ งสร้ า งให้ เ ด็ ก ใช้

ความรูเ้ ป็น คิดเชือ่ มโยงได้วา่ อะไรเป็นอะไร ต้นตอปัญหาคืออะไร ผลกระทบคืออะไร แล้วเขาจะมีบทบาทอะไรได้บา้ ง เขาจะเข้าถึง ความรู้และใช้ความรู้ ได้อย่างไร บทบาทของการศึกษาที่แท้

คือ การสร้างอุดมการณ์ทางสังคมให้คนรูว้ า่ อะไรควรอยู่ ควรเป็น ควรทำ บทบาทของครูก็ต้องเปลี่ยนไป ครูไม่ใช่นักสอน แต่ครู คือนักสร้างอุดมการณ์ทางสังคม ให้นกั เรียนเติบโตเป็นคนรุน่ ใหม่ ที่มีอุดมการณ์ทางสังคม”

คำกล่าวของ รศ.ประภาภัทรข้างต้นชี้ให้เห็นว่า เมือ่ สังคม เปลี่ยน โจทย์ปัญหาของสังคมเปลี่ยน โจทย์ของการศึกษา ก็ต้องเปลี่ยนด้วยเช่นกัน

โจทย์จริงของสังคมคือโจทย์จริงของ การศึกษา

วิกฤติทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาร่วมของโลก ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบ ต่อชีวิตของผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเรื่องปริมาณและความ หลากหลายของทรัพยากรที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงทรัพยากร ปัญหาการพัฒนาของภาครัฐและภาคเอกชน ที่ละเลยเรื่องสิ่งแวดล้อมจนส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ ของผู้คนในพื้นที่ รวมไปถึงภาวะโลกร้อนที่ทวีอุณหภูมิสูงขึ้นทั่ว ทุกมุมโลก การหาทางออกของปัญหาเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องของใคร คนใดคนหนึ่ง แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของประชากรโลก ทุกคน ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กและเยาวชนในโรงเรียน

7


นักเรียน ม.๓ กับเกษตรอินทรีย์ และไฟป่า

ทีบ่ า้ นอมลอง อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

ปลายปี ๒๕๕๕ นักเรียนชั้น ม.๓ ออกภาคสนาม หน่ ว ยบู ร ณาการวิ ช าสั ง คมและภาษาไทย ที่ บ้ า นอมลอง ต.ยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ตลอดระยะเวลา ๑ สัปดาห์ ที่ใช้ชีวิตอยู่ที่วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม วัดที่เป็นศูนย์กลาง ของบ้ า นอมลอง และแบ่ ง กลุ่ ม ออกสำรวจพื้ น ที่ พู ด คุ ย กั บ

ชาวบ้าน พวกเขาพบข้อมูลเบื้องต้นว่า บ้านยั้งเมินเป็นชุมชน เกษตรกรรมที่ ป ลู ก พื ช หมุ น เวี ย นไปตามความต้ อ งการ ของตลาด เช่น ข้าว สตรอเบอร์รี่ เก๊กฮวย และดอกดาวเรือง โดยชาวบ้ า นส่ ว นใหญ่ ยั ง คงใช้ ส ารเคมี ท ำการเกษตร ซึ่ ง ทำลายดิ น สร้ า งมลพิ ษ ในอากาศ และส่ ง ผลกระทบ ต่อสุขภาพของเกษตรกร แม้จะมีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่ อยากเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ แต่ก็ ไม่มั่นใจเพราะไม่มี ความรู้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการเผาป่าเพื่อเก็บของป่า ไปขาย ที่ ส่ ง ผลเสี ย ต่ อ ดิ น น้ ำ ป่ า และก่ อ เกิ ด มลพิ ษ

ในอากาศจากหมอกควันไฟป่า การลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้าน ได้รับน้ำใจไมตรีจาก ลุ ง ป้ า น้ า อาที่ ใ ห้ ข้ อ มู ล และตอบคำถามด้ ว ยความยิ น ดี

สร้างความรู้สึกเห็นอกเห็นใจขึ้นในใจของนักเรียน และอยาก ช่วยเหลือลุงป้าน้าอาเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อยากมี ส่วนร่วมดูแลพื้นที่ต้นน้ำที่เป็นแหล่งทรัพยากรของคนปลาย น้ำเช่นพวกเขา โจทย์ของชุมชนจึงกลายมาเป็นโจทย์ของ พวกเขาเช่นกัน

สตรอเบอร์รอี่ นิ ทรียไ์ ด้ ง่ายจัง

ประเด็นปัญหาที่พบกับศักยภาพของนักเรียนชั้น ม.๓ สรุปเป็นแนวทางช่วยเหลือ ๒ เรื่องหลักๆ คือ การหาความรู้ เรื่องการทำเกษตรอิ นทรีย์กลับไปแลกเปลี่ยนกับชาวบ้ า น โดยไปดูงานและสัมภาษณ์อาจารย์ยักษ์-วิวัฒน์ ศัลยกำธร ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี แล้วจัดทำ 8

เป็น Big Book เรื่อง ‘สตรอเบอร์รี่อินทรีย์ได้ ง่ายจัง’ อีกเรื่อง คื อ การกระตุ้ น เตื อ นชาวบ้ า นให้ ต ระหนั ก ถึ ง อั น ตรายของ สารเคมีด้านการเกษตร ด้วยการกลับมาจัดงานขายของและ ทอดผ้าป่าขึ้นที่โรงเรียน เพื่อหาทุนซื้อชุดตรวจเลือดจำนวน ๑๐๐ ชุด กลับไปตรวจเลือดให้กับชาวบ้าน และนำชื่อการค้า ของยาฆ่าแมลงและยาฆ่าวัชพืชที่ชาวบ้านใช้ไปหาสารเคมี

ตั้งต้นในการผลิตที่เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัดทำเป็น โปสเตอร์อธิบายถึงอันตรายของสารเคมีดังกล่าว ในเดื อ นมี นาคม ๒๕๕๖ นั ก เรี ย นกลุ่ ม นี้ เ ดิ น ทาง กลับไปจัดงานทอดผ้าป่าที่วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม และนำ


ชวนชาวบ้านคุยเรือ่ งไฟป่าผ่านละคร

“เทพไฟรู้ สึ ก น้ อ ยใจที่ ทุ ก วั น นี้ ค นหั น ไปใช้ ไ ฟฟ้ า

กันหมด ไม่เห็นความสำคัญของไฟเหมือนในอดีต ต่างกับ เทพแห่งป่าที่ยังคงมีความสำคัญและเป็นที่พึ่งพิงของชาวบ้าน เทพไฟจึงไปหลอกชาวบ้านว่าการเผาป่าจะทำให้ปลูกพืชผล ได้ง่าย เมื่อชาวบ้านส่วนหนึ่งหลงเชื่อและลงมือเผาป่า ผลที่ ตามมากลับเป็นฝนแล้ง ดินแห้ง สายน้ำเหือดหาย ชาวบ้าน จึงร่วมมือกับลูกน้องของเทพแห่งป่า คือ เทพดิน เทพน้ำ เทพลม และเทพต้นไม้ ต่อสู้กับสามเหลี่ยมไฟ (เชื้อเพลิง ออกซิเจน ความร้อน) ที่เป็นลูกน้องของเทพไฟ จนได้รับ ชัยชนะและกอบกู้ความชุ่มชื้นกลับคืนสู่ผืนป่าอีกครั้ง” ละครเรื่ อ งเทพแห่ ง ป่ า นี้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของกิ จ กรรม คืนความรู้สู่ชุมชนของนักเรียนชั้น ม.๓ อีกกลุ่มหนึ่ง ที่ได้

รั บ แรงบันดาลใจมาจากเมื่อครั้งออกภาคสนามที่บ้านยั้งเมิน แล้วเกิดไฟป่า และเหตุการณ์นำ้ ไม่ไหลถึง ๓-๔ วัน ซึง่ เป็น สั ญ ญาณเตื อ นว่ า ป่ า แห้ ง แล้ ง และเริ่ ม ผลิ ต น้ ำ ไม่ ไ ด้ แ ล้ ว สองเหตุการณ์นนี้ ำมาสูก่ ารทำโครงงานเรือ่ งทรัพยากรป่าและน้ำ เพือ่ บอกเล่าให้ชาวบ้านเห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติ และ ความสัมพันธ์ของป่า ดิน และน้ำ ประเด็นที่จะสื่อสารพร้อมแล้ว แต่จะสื่ออย่างไรให้ ตรงใจชาวบ้ า น เป็ น คำถามที่ นั ก เรี ย นใช้ เ วลาถกเถี ย งกั น

อยู่นาน ก่ อนจะสรุ ป ที่การแสดงละคร สื่ อบั น เทิง ที่ เข้ า ถึ ง

คนทุ ก เพศทุ กวั ย เพราะลึ ก ๆ แล้ ว นั ก เรี ย นกลุ่ ม นี้ ไ ม่ ไ ด้ ต้องการไปสอนหรือบอกความรู้กับชาวบ้าน เพียงแต่อยาก พูดคุยในฐานะลูกหลานคนหนึ่งที่รู้สึกห่วงใยหมู่บ้านแห่งนี้ อยากมีสว่ นร่วมดูแลพืน้ ทีต่ น้ น้ำ ซึ่งพวกเขาเคยมาพักพิงและเรียนรู้ในช่วงเวลาหนึ่ง ทีเ่ ป็นแหล่งทรัพยากรของคนปลายน้ำ ดูเหมือนความตั้งใจของพวกเขาจะไม่สูญเปล่า เพราะ เช่นพวกเขา โจทย์ของชุมชน ชาวบ้านบ้านยั้งเมินที่จูงลูกจูงหลานมาร่วมทอดผ้าป่าที่วัด จึงกลายมาเป็นโจทย์ของพวกเขาเช่นกัน พระบรมธาตุดอยผาส้ม ดูจะถูกอกถูกใจและสนุกกับละคร เรื่องนี้ของพวกเขาอยู่ไม่น้อย สื่ อ ที่ พ วกเขาจัดทำขึ้นกลับไปคืนความรู้สู่ชุมชน ด้วยหวังว่า สือ่ เหล่านีจ้ ะช่วยกระตุน้ เตือนให้ชาวบ้านตระหนักถึงอันตรายของ สารเคมีมากขึน้ มองเห็นว่าการทำเกษตรอินทรียน์ นั้ ทำได้และ ไม่ยากอย่างทีค่ ดิ หากว่าวันหนึง่ จะมีชาวบ้านเพียงหนึง่ รายลุกขึน้ มาเปลีย่ นแปลงไปสูว่ ถิ เี กษตรอินทรีย์ พวกเขาก็มคี วามสุขแล้ว 9


นักเรียน ม.๕ กับลุ่มน้ำบางปะกง และอ่าวอุดม

จากปลากะพงทอดน้ำปลาทีค่ รูนำมาให้รบั ประทานในมือ้ กลางวันเมื่อต้นปีการศึกษา นำพานักเรียนชั้น ม.๕ สายศิลป์ โรงเรียนรุง่ อรุณ ว่ายเวียนตามปลากะพงไปถึง ‘ลุม่ น้ำบางปะกง’ แหล่งอาหารทีเ่ คยอุดมของคนในพืน้ ทีภ่ าคตะวันออก และคนไทย ในภาคอืน่ ๆ แต่มาวันนีล้ มุ่ น้ำบางปะกงกำลังป่วยไข้จากนโยบาย การพัฒนาประเทศของภาครัฐ

คืนความรูส้ ชู่ มุ ชนด้วย ‘รายงาน HIA-เวทีสาธารณะ’

ข้อค้นพบของนักเรียนนำมาสูก่ ารจัดทำรายงานการประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment ; HIA) ๓ ฉบับ ตามเขตการประกอบอาชีพและภูมศิ าสตร์ของลุม่ น้ำบางปะกง ได้แก่ เล่ม ๑ : แหล่งอาหารบางปะกงช่วงต้น กับ อุตสาหกรรมน้ำดิบ เล่ม ๒ : แหล่งอาหารบางปะกงช่วงกลาง กับ นิคมอุตสาหกรรม และโครงการท่าเรือ เล่ม ๓ : แหล่งอาหารบางปะกงช่วงล่าง กับ โรงงาน อุตสาหกรรม นำเสนอข้อมูลด้านทรัพยากร อาชีพ และผลผลิต

นักเรียนชัน้ ม.๕ ล้อมวงคุยกับแกนนำชาวบ้านบางปะกง 10

ทางอาหารในแต่ละพื้นที่ รวมถึงผลกระทบจากโครงการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดขยะ มลพิษทางน้ำและทางอากาศ ซึ่งส่งผลให้ทรัพยากรและแหล่งอาหารอันอุดมตามธรรมชาติ เริ่มลดหายไปจากลุ่มน้ำบางปะกง

เวทีเสวนา ‘เด็กวอนถามผูใ้ หญ่ กรณี : แหล่งอาหารกับการ พัฒนา พืน้ ทีล่ มุ่ น้ำบางปะกง’

วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ นักเรียนกลุ่มนี้ได้ จัดเวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอรายงาน HIA ที่พวกเขาจัดทำขึ้น ในชือ่ งาน เด็กวอนถามผูใ้ หญ่ กรณี : แหล่งอาหารกับการพัฒนา พืน้ ทีล่ มุ่ น้ำบางปะกง ทีว่ ดั สนามจันทร์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีชาวลุ่มน้ำบางปะกง ทั้งชาวบ้าน ผู้นำชุมชน นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ตัวแทนเยาวชน และตัวแทนภาครัฐ มาร่วมฟังเสียงสะท้อนของพวกเขาที่มีต่อลุ่มน้ำแห่งนี้ และร่วม พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น กับชุมชนของพวกเขา ภายใต้ข้อสังเกตที่ว่า “ศักยภาพของ พื้นที่ลดถอยเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกเข้ามาสู่ชุมชน สิ่ ง แปลกปลอมเหล่ า นี้ เ ข้ า มาได้ อ ย่ า งไร มี ปั จ จั ย ใดบ้ า ง สนับสนุน แล้วมีทางใดบ้างที่จะนำความสมบูรณ์คืนสู่ลุ่มน้ำ บางปะกงอีกครั้ง”


เวที เ สวนาในวั น นั้ น จบลงด้ ว ยการมอบรายงาน HIA ให้ผใู้ หญ่บา้ นนำไปแจกจ่ายให้กบั ชาวบ้านในแต่ละพืน้ ที่ พร้อมด้วย ความหวังของผูจ้ ดั ทำว่าข้อมูลในรายงานและการพูดคุยกันในวันนี้ จะทำให้ชาวบ้านหันมาตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และลุกขึ้น มาร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากรในท้องถิ่นที่เป็นขุมทรัพย์ทาง อาหารของตนไว้ ให้ปลากะพงยังคงมีแม่ (น้ำ) บางปะกงให้ อาศัยและว่ายเวียนต่อไป

HIA-เวทีสาธารณะ ‘อ่าวอุดมอันอุดม’ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

ในภาคเรียนต่อมา นักเรียนกลุม่ นีข้ ยับพืน้ ทีก่ ารทำโครงงาน ไปยังบ้านอ่าวอุดม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่ประสบปัญหาไม่ต่าง จากชาวบ้านบางปะกง นั่นคือ การได้รับความเดือดร้อนจาก การพัฒนาทีส่ ง่ ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมและวิถดี งั้ เดิมของชาวบ้าน จนกระทั่งนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านเจ้าของพื้นที่กับ บริษัทท่าเรือที่เป็นคนนอก (พื้นที่) จากรายงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment; HIA) เรือ่ ง “อ่าวอุดมอันอุดม” ทีน่ กั เรียน กลุ่มนี้จัดทำขึ้น ชี้ให้เห็นว่าก่อนหน้านี้อ่าวอุดมนั้นอุดมไปด้วย ทรัพยากร สัตว์น้ำ และความสวยงามทางธรรมชาติ ชาวบ้าน เลี้ ย งชี พ ด้ ว ยการทำประมงพื้ น บ้ า นกั นมาแต่ รุ่ น ปู่ ย่ า ตายาย ตราบจนกระทั่งมีการก่อสร้างท่าเรือขึ้นหลายแห่ง อ่าวอุดมก็ เริ่มจะไม่อุดมอีกต่อไป ชาวบ้ า นบอกเป็ น เสี ย งเดี ย วกั นว่ า อ่ า วอุ ด มในวั น นี้ เปลี่ยนไป น้ำทะเลไม่ใส ชายหาดไม่สวยเพราะเกลื่อนไปด้วย ขยะ ฝุ่นฟุ้งกระจายที่กลายเป็นเขม่าจับตามบ้านเรือน ชาวบ้าน เริ่มมีปัญหาสุขภาพ และสัตว์น้ำลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย แม้ จ ะเข้ า ใจและเห็ น ใจในความทุ ก ข์ ข องชาวบ้ า น แต่ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าท่าเรือได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของชุมชนไปแล้ว ในเมือ่ อยูร่ ว่ มชุมชนเดียวกัน แทนทีจ่ ะแบ่งฝัก แบ่งฝ่ายมองแต่ในมุมของตัวเอง นักเรียนเสนอว่าจะดีกว่าไหม ถ้าจะเปลี่ยนจาก “ฉัน (ME)” มาเป็น “เรา (WE)” แล้วจัดเวที เสวนาโต๊ะกลมเชิญตัวแทนฝ่ายต่างๆ ทั้งผู้นำชุมชน แกนนำ กลุ่มประมงพื้นบ้าน นักวิชาการชุมชน สมาชิกวุฒิสภา ตัวแทน ภาครั ฐ และตั ว แทนจากบริ ษั ท ท่ า เรื อ มาร่ ว มพู ด คุ ย เพื่ อ หา ทางออกร่วมกัน ณ สำนักงานเทศบาลนครแหลมฉบัง จ.ชลบุรี โดยมีนักเรียนทำหน้าที่เป็นคนกลางดำเนินการเสวนา

รายงาน HIA อ่าวอุดมอันอุดม

แม้ผลการพูดคุยในครัง้ นีจ้ ะยังไม่ได้ขอ้ สรุปทีเ่ ป็นรูปธรรม แต่สิ่งที่นักเรียนทำก็เป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกฝ่ายได้มาเปิดอกคุยกัน จนนำไปสู่ การตั้ ง คณะกรรมการที่ ม าจากตั ว แทนฝ่ า ยต่ า งๆ เพื่อทำหน้าที่ร่างธรรมนูญชุมชนหรือวิสัยทัศน์ของอ่าวอุดม ตลอดจนหารือเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชุมชนต่อไป

นักเรียน ม.๖ กับเหมืองทองคำ จ.เลย เหมืองทองคำ ทำรายได้หรือทำร้ายกัน?

คำถามที่เกิดขึ้นในใจของนักเรียนชั้น ม.๖ โรงเรียน รุ่งอรุณ ภายหลังลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านบริเวณรอบเหมือง ทองคำใน อ.วังสะพุง จ.เลย แล้วค้นพบความจริงอันน่าเศร้าที่ เด็กเมืองอย่างพวกเขาไม่เคยรับรู้มาก่อน ภูซำป่าบอนและภูทับฟ้า สองภูในอำเภอวังสะพุงที่อดีต เคยเป็นแหล่งอาหาร แหล่งทรัพยากร และต้นน้ำของลำห้วย หลายสาย ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวบ้านมาช้านาน ต้องกลาย สภาพเป็นขุมเหมืองและโรงแต่งแร่ทองคำ กินพื้นที่กว่าพันไร่ ส่งผลให้ ในวันนี้แหล่งอาหารบนภูของชาวบ้านและแหล่งน้ำ สะอาดค่อยๆ หายไป แทนทีด่ ว้ ยสารพิษปนเปือ้ นในลำห้วยบางสาย เช่น ไซยาไนด์ สารพิษสำคัญในกระบวนการสกัดแร่ทองคำ 11


และโลหะหนักจำพวกปรอท ตะกั่ว แคดเมี่ยม ที่มาพร้อมกับแร่ ทองคำ จนชาวบ้านไม่กล้านำมาใช้ ดื่มกิน หรือจับสัตว์น้ำใน ลำห้วยเหล่านัน้ รวมทัง้ อาการเจ็บป่วยของชาวบ้านทีป่ รากฏขึน้ หลังการมาของเหมือง เช่น ระคายเคืองจมูกและคอ ผื่นคัน ตามผิวหนัง แผลเรื้อรัง แสบตา แน่นหน้าอก และผลการ ตรวจเลือดของชาวบ้านพบว่าหลายรายมีค่าไซยาไนด์ ปรอท ตะกั่ว และแคดเมี่ยมเกินมาตรฐาน วิถีชีวิตแบบพึ่งพาตนเองและธรรมชาติกำลังเลือนหาย สุ ข ภาพของชาวบ้ า นถู ก ทำลาย ความจริ ง ที่ ค้ น พบทำให้ นักเรียนกลุ่มนี้ทนนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ การทำโครงงานเรื่องเหมือง ทองคำและชุมชนในหน่วยวิชาสังคมศึกษาครั้งนี้จึงไม่ได้จบลง เพียงการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา สรุป และเสนอ แนวทางแก้ไขเท่านั้น แต่พวกเขายังได้ลงมือแก้ไขปัญหาตาม ศักยภาพที่จะทำได้ ด้วยความรู้สึกของการร่วมทุกข์ร่วมสุขร่วม รับผิดชอบต่อสังคม และด้วยความหวังว่าชาวบ้านจะมีสุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ปลุกจิตสำนึกสังคมผ่านสือ่ ‘หนังสัน้ ’

นักเรียนช่วยกันสร้างเพจ เหมืองทองคำ ทำรายได้หรือ ทำร้ายกัน? บนเว็บไซต์ Facebook เพื่อบอกเล่าข้อมูลที่ค้นพบ สูส่ งั คมวงกว้าง และทำหนังสัน้ ๔ ตอน สะท้อนเรือ่ งความเจ็บป่วย ของชาวบ้าน ผลกระทบของสารพิษปนเปื้อนในน้ำต่อพืชผล

นำเสนอโครงงานเหมืองทองคำ ทำรายได้หรือทำร้ายกัน? ในงานเทศกาลความเป็นธรรม 12

ทางการเกษตร และเรื่องราวการต่อสู้เพื่อสิทธิความเป็นอยู่ที่ดี ของชาวบ้าน แล้วเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ Youtube พร้อมทั้งทำ เอกสารในรูปแบบ Infographic เสนอสถิติและข้อมูลประกอบ หนังสั้นแต่ละตอน เพื่อให้คนในสังคมได้รับรู้ข้อมูลความจริงที่ เกิดขึ้น แล้วลุกขึ้นมามีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง “ผมหวังว่าหนังสัน้ ชุดนีจ้ ะทำให้ทกุ คนฉุกคิด ว่าเป็นธรรม แล้วหรือที่จะมีคนกลุ่มหนึ่งมีความสุขบนความทุกข์ของคนอีก กลุ่มหนึ่ง เป็นธรรมแล้วหรือที่มีคนกลุ่มหนึ่งร่ำรวยบนความ ซวยของคนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ผมใช้คำว่าความซวย เพราะที่จริง ชาวบ้านเหล่านีเ้ ขามีสวนยาง มีนา ทำกินพึง่ พาตัวเองได้ แต่ปจั จุบนั เขาไม่สามารถทำอย่างนั้นได้อีกแล้วนับแต่เหมืองทองเข้ามา” นายศุภณัฏฐ์ ฐานุพลพัฒน์ นักเรียนชัน้ ม.๖ รร.รุง่ อรุณ ผูก้ ำกับ หนั ง สั้ น ทั้ ง ๔ ตอน กล่ า วบนเวที ส ามั ญ ชนคนเปลี่ ย นโลก ในงานเทศกาลความเป็นธรรม (Just&Fair Society Festival) ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๖ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เหตุการณ์ที่บ้านอมลอง ลุ่มน้ำบางปะกง บ้านอ่าวอุดม และสามภูแห่งลำน้ำฮวย เป็นเพียงตัวอย่างปัญหาเรือ่ งทรัพยากร และสิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ กิ ด ขึ้ น และดำเนิ น ไปในหลายพื้ น ที่ ช นบท ของไทย ถ้าโจทย์เหล่านี้ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรหรือแผนการ สอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ การเรียนรู้ของเขาจะมีความหมาย และทำให้เขาเติบโตเป็นผูใ้ หญ่ทใี่ ช้ชวี ติ อย่างเกือ้ กูล ไม่เบียดเบียน ทั้งกับตนเอง ผู้อื่น และธรรมชาติ


เบื้องหลั งการเรียนรู้ ครูเปรมปรีติ หาญทนงค์

หัวหน้าหมวดวิชาสังคมศึกษา โรงเรียนมัธยมรุ่งอรุณ

เชือ่ มโยงนักเรียนไปสูช่ มุ ชนและปัญหา

การเรียนโครงงานวิชาสังคมเราจะพาเด็กลงพื้นที่จริง หัวข้อการเรียนรู้จะอิงประเด็นปัญหาในพื้นที่นั้นๆ (Area based) ซึง่ เนือ้ หาจะหนีไม่พน้ เรือ่ งทรัพยากร สิง่ แวดล้อม ฐานการทำมา หากินของชุมชน และแรงกระทบจากภายนอก เช่น นโยบายรัฐ กฎหมาย โครงการพัฒนาต่างๆ ขณะทีใ่ นเชิงจิตสำนึก เราอยากให้ นักเรียนรูแ้ ละตระหนักว่าชุมชนชนบทเป็นฐานทรัพยากรทีส่ ำคัญ ของเขา ในฐานะที่เป็นคนเมือง เขาจำเป็นต้องรู้ที่ไปที่มาว่า

สิ่งที่เขากิน เขาใช้ ดึงทรัพยากรมาจากไหนและทิ้งปัญหาอะไร ไว้ทนี่ นั่ บ้าง แล้วเราจะทำอะไรกลับไปเพือ่ สร้างสรรค์ บรรเทาปัญหา หรือไม่มีส่วนสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น

ฝึกฝนทักษะการจัดการข้อมูล

ก่อนลงชุมชน เราจะบอกนักเรียนเสมอว่าให้เขาทำตัว เป็นลูกหลาน คอยช่วยงานชาวบ้าน แล้วค่อยๆ ถามในสิง่ ทีต่ วั เอง สงสัย เป็นผู้ฟังที่ดี คอย ‘ถาม ฟัง จด’ ตอนนี้ข้อมูลจะเยอะ และกระจัดกระจาย ครูตอ้ งพาเขาจัดการข้อมูล อาจจะตัง้ คำถาม พาพูดคุยให้เล่าความประทับใจ เพือ่ ให้เห็นว่าอะไรชัดเจนในใจเขา จากนั้นเอาข้อมูลของแต่ละคนมาแลกเปลี่ยนกัน จัดหมวดหมู่ ของข้อมูล แล้วประมวลความรู้ลงในใบงานเพื่อความแม่นยำ ซึง่ จะทำให้นกั เรียนเห็นองค์รวมของความรูท้ งั้ หมด พอเราพาตัง้ ประเด็นคำถามให้เขาค่อยๆ สร้างโจทย์ เขาจะได้หวั ข้อโครงงาน ออกมา

นั้นชัดๆ เช่น เรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับเขา เขารู้สึกอย่างไร ทำไมถึง อยากทำ ทำแล้วดีหรือมีประโยชน์อย่างไร ๒. ครูเป็นผู้ชี้แนะ แนวทางหรือสร้างระบบในการเรียนรู้ ๓. ครูเป็นผู้ให้กำลังใจ ถ้าเด็กไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นดีแล้ว เขาอาจท้อถอย การสะท้อนของ ครูจะทำให้เขาเชื่อมั่นและกล้าหาญที่จะทำงานต่อไป สรุปแล้วบทบาทของครูคือการเป็นผู้อำนวยให้สิ่งที่เด็ก คิ ด สามารถดำเนิ น ไปได้ (Facilitator) สร้ า งแรงบั น ดาลใจ ให้ความช่วยเหลือยามเมื่อเขาต้องการ บางครั้งสิ่งที่เขาคิดอาจ มี อุ ป สรรคปั ญ หา ครู ต้ อ งหาวิ ธี ใ ห้ เ ขาเผชิ ญ ปั ญ หา อาจตั้ ง คำถามให้เขาคิดและตัดสินใจ คอยตรวจสอบการทำงานและ การตัดสินใจของเขา เพราะบางครัง้ ทำไปแล้วเจออุปสรรค เขาอาจ เปลี่ยนแผน เราต้องชวนคุยว่าเกิดปัญหาอะไร ทำไมไม่ทำตาม ที่เคยบอกไว้ มาสางกันว่าเป็นเพราะอะไร เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ จากบทเรียนตรงนั้น

เป้าหมายในใจครู

เราอยากให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตสำนึก รู้สึกรู้สม กับสังคมที่เขามีชีวิตอยู่ ให้รู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นมีผลกับคนอื่น แล้วจะดีมากถ้าเขาไปได้ ไกลกว่านั้น เช่น ลุกขึ้นมาทำสิ่งที่ สร้างสรรค์เพื่อช่วยบรรเทาปัญหา ขณะเดียวกันเขาต้องได้ เนือ้ หาและทักษะต่างๆ ทีจ่ ะทำให้เขาปรากฏไม่วา่ จะอยูเ่ วทีไหน หรือทำงานอะไร เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ เห็นความเชือ่ มโยง ของสิ่งต่างๆ ทักษะการสืบค้นและสร้างองค์ความรู้ ให้ตัวเอง ทันเหตุการณ์ ทันโลก ทันสมัย ซึง่ การเรียนรูผ้ า่ นการทำโครงงาน ทำให้เด็กไปถึงเป้าหมายเหล่านี้ได้ง่ายกว่าการเรียนรู้แบบอื่น บทบาทของครู บทบาทของครูจะปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะการเรียนรู้ เพราะเขาเรียนจากโจทย์จริง ลงพื้นที่จริง ไปมีส่วนได้ส่วนเสีย ของเด็กแต่ละกลุม่ แต่จดุ ร่วมทีเ่ หมือนกัน คือ ๑. ครูเป็นผูต้ งั้ คำถาม มีส่วนสร้างสรรค์ และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนั้น เพือ่ ให้เขาไม่พลาดประเด็นทีส่ ำคัญ และให้ความหมายกับประเด็น

13


ผลงานโดย แถว ๑ : ๑. ด.ช.วรวิชญ์ ดาวศุภโรจน์ (กอไผ่) ๒. ด.ญ.ณัฐชา กาญจนรุจวิ ฒ ุ ิ (อันนา) ๓. ด.ช.รัศมิธ์ นิน ภัทรบุญญนันท์ (ต้นคูน) แถว ๒ : ๔. ด.ช.ปลืม้ บัณฑิตวงศ์ไพศาล (ปลืม้ ) ๕. ด.ญ.ประภาทิพย์ เจริญเสนีย์ (ปินท์ปนิ ท์) ๖. ด.ญ.ทอฝัน หาญทวีสมพล (ต้นฝ้าย)

14


KINDERGARTEN

กีฬาภูมปิ ญั ญาไทย “กระโดดเชือก” ความสนุกสนานและเวลาคุณภาพกับลูก

เมื่อพ่อแม่ต้องมาเข้าห้องเรียน... เพื่อค้นหาความเป็นพ่อแม่ผู้เชี่ยวชาญ

“ชีวิตมนุษ ย์คือการศึกษา นักเรียนทุกคนจะเพาะบ่ม ศรัทธาและฉันทะในการพัฒนาชีวิต จิตใจ สู่ความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ โดยมีพ่อแม่และครู เป็นกัลยาณมิตร” คำกล่าวนี้คือเจตนารมณ์ที่สำคัญในการจัดการการศึกษา ตามวิถีรุ่งอรุณที่ได้วางไว้โดยมุ่งหวังให้นักเรียนรุ่งอรุณเติบโต ด้วยความร่าเริงแจ่มใส ในสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ โรงเรียนเปรียบเสมือนชุมชน ห้องเรียนคือบ้าน และครูคอื พ่อแม่ คนที่ ๒ การเพาะบ่มมนุษย์ที่สมบูรณ์นั้น ทั้งพ่อแม่และครูควร เฝ้าดูการเจริญจิต เจริญปัญญาของลูกให้แนบแน่นอยู่ในกายที่ แข็งแรงและเติบโตตามวัยอันสมควร เพือ่ เปิดโอกาสให้การเรียนรู้ ธรรมชาติของเขาทำหน้าที่ได้อย่างราบรืน่ และเต็มตามศักยภาพ จนสามารถพึ่งพาสติปัญญาของตนเองได้เมื่อเจริญวัยขึ้น ถึ ง แม้ ว่ า พ่ อแม่และโรงเรียนต่างมีเป้าหมายเดี ย วกั น

มีความรักอันยิง่ ใหญ่ทมี่ อบให้กบั ลูก ลูกศิษย์ทกุ คน ในความเป็นจริง

ภาพฝันของพ่อแม่และคุณครูทุกคนที่มุ่งมั่นตั้งใจในการร่วม สร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่พ่อแม่ทุกคนทำได้ โดยปราศจากอุปสรรค แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินกว่าศักยภาพใน การเรียนรู้ของมนุษย์ บนเส้นทางของการเป็นพ่อแม่ ในยุคสมัยนี้ที่ทุกอย่าง สะดวกสบายง่ายดายไปเสียทัง้ หมด ข้อมูลความรู้ในการเลีย้ งลูก มีอย่างท่วมท้นไม่ว่าจะเป็นหนังสือคู่มือตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์ ไปจนถึงคู่มือเลี้ยงลูกในวัยต่างๆ เทคนิคเลี้ยงลูกให้เก่งพร้อมทั้ง ไอคิวและอีคิว ฯลฯ หรืออยากรู้อะไรก็เข้าไปค้นหาข้อมูลจาก อินเทอร์เน็ต เว็บบอร์ดก็มีผู้คนมาตอบ มาบอกเล่า และอีก สารพัดคอร์สอบรมบรรยายในทุกๆ เรื่องไปจนถึงมีโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาเด็กเฉพาะด้านอีกมากมาย ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่ดูเหมือนจะช่วยสร้างความมั่นใจเพิ่มขึ้น

ให้กับพ่อแม่ในระดับหนึ่ง หากแต่ความรู้สำเร็จรูปเหล่านี้ก็ไม่ใช่ คำตอบสุดท้ายที่จะนำพาไปสู่การเรียนรู้ที่แท้ในความเป็นพ่อแม่ 15


KINDERGARTEN

...เป็นผู้เชี่ยวชาญ...เป็นกัลยาณมิตรที่แท้...เป็นผู้สร้างเหตุและ ปัจจัยต่อวิถีแห่งการเจริญเติบโตของลูกโดยตรง ทำอย่างไรที่จะช่วยให้พ่อแม่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของลูกและของตนเองว่าเป็นผู้ที่เรียนรู้และพัฒนาได้ และต้อง เป็นผู้ที่ไม่หยุดนิ่งในการเรียนรู้?

เป็นพ่อแม่ เป็นครูผู้เชี่ยวชาญ ทำอย่างไร บทบาทใหม่ของพ่อแม่ในวันนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือ พ่อแม่ ต้องนำเอาศรัทธาในความเป็นพ่อแม่ เป็นกัลยาณมิตรของลูก ในการทำหน้าที่ของตนให้เต็มศักยภาพ ไม่รอที่จะพึ่งพิงผู้อื่น เพือ่ ทีจ่ ะปัน้ ลูกให้ได้อย่างใจ เช่น การพาลูกไปเรียนดนตรี ศิลปะ ว่ายน้ำ ฯลฯ ทัง้ ๆ ทีพ่ อ่ แม่ไม่ได้ชนื่ ชมดนตรี ศิลปะ หรือกีฬานัน้ ๆ พ่อแม่จึงสูญเสียบทบาทที่จะเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของลูก ดังนั้นการใช้วิถีชีวิตของบ้านหรือครอบครัวเป็นสื่อและสภาพ แวดล้อมในการเลีย้ งดูจงึ มีคณุ ค่าอย่างยิง่ เพือ่ ให้พอ่ แม่เป็นต้นแบบ ของสำเนาที่ถูกต้องของลูก พร้อมๆ กันนั้นในส่วนของโรงเรียน บทบาทของครูก็ต้องพร้อมที่จะเป็นครูผู้เป็นกัลยาณมิตรเช่นกัน พร้อมที่จะเรียนรู้พัฒนากาย-ใจของตนเพื่อที่จะเดินเคียงข้างไป กับพ่อแม่ และเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูกศิษย์ในการสร้างพื้นฐาน ความคิดและจิตใจสำหรับการเรียนรู้ที่ดีงามต่อไป โครงการห้องเรียนพ่อแม่ของโรงเรียนรุ่งอรุณ จึงเกิดขึ้น เพื่อร่วมสร้างพ่อแม่ “ครูคนแรกของลูก” โดยแนะนำแนวคิด วิธีการเพื่อนำพาให้พ่อแม่ค้นพบเส้นทางการเป็นกัลยาณมิตร ที่ แ ท้ ข องลู ก เข้ า ใจธรรมชาติ การเรี ย นรู้ ข องตนเองและลู ก

เชื่ อ มั่ น และศรั ท ธาในศั ก ยภาพว่ า ทุ ก คนสามารถเรี ย นรู้ แ ละ พัฒนาได้ จัดปรับความสัมพันธ์ระหว่างตนกับลูกให้เหมาะสม สามารถใช้เวลาของตนอย่างมี “คุณภาพ” กับลูก เกิดความ เข้าใจแนวทางการเรียนการสอนของโรงเรียนที่เอื้อต่อธรรมชาติ การเรี ย นรู้ ข องเด็ ก อั น นำไปสู่ การสร้ า งวิ ถี กิ จวั ต รทางบ้ า นที่ สอดคล้องกัน 16

ที่รุ่งอรุณ...การศึกษา การเรียนรู้จึงเริ่มต้นที่ตนเอง ของครูและพ่อแม่ นอกจากนั้น โครงการห้องเรียนพ่อแม่ยังเป็นการสร้าง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่นักเรียน พ่อแม่ และคุณครูพร้อมจะ เรียนรู้ พัฒนาตนอยู่ตลอดเวลา และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อ เพื่อนผู้ปกครอง ต่อคุณครู พึ่งพาอาศัยและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ต่อไป ก่อนที่จะเปิดภาคเรียนของปีการศึกษา พ่อแม่ทุกคน ของนักเรียนใหม่ชั้นอนุบาล ๑ จะต้องมาร่วมเรียนรู้ ในการ อบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร “เลี้ ย งลู ก ดี วิ ถี ไ ทย” เป็ น ระยะเวลา ๓๐ ชั่วโมง ซึ่งเป็นกระบวนการการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ความเข้าใจใน ๔ สาระหลัก คือ ๑. ธรรมชาติการเรียนรูข้ องเด็กปฐมวัย เด็กเล็กๆ ก็สามารถ เรี ย นรู้ ด้ ว ยตนเองได้ เป็ น สิ่ ง แรกที่ พ่ อ แม่ แ ละครู หุ้ น ส่ ว น แห่งการเรียนรู้ของเด็ก ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละคน และมีท่าทีที่ยอมรับความจริงนี้อย่างไม่มีเงื่อนไข เข้าใจเขา ยอมรับอย่างไว้วางใจและปล่อยให้การเรียนรู้เป็นของเขาอย่าง เต็มที่ โดยไม่รีบคิดแทนหรือด่วนตัดสินใจแทน ปล่อยให้เขาได้ เรียนรู้ด้วยตนเอง ๒. ความสั ม พั น ธ์ ที่ เ หมาะสมระหว่ า งพ่ อ แม่ แ ละลู ก กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ตัวเด็ก คือระบบความคิด จิตใจ และปัจจัยภายนอก คือความเป็น กั ล ยาณมิ ต รของพ่ อ แม่ แ ละครู โดยมี กุ ญ แจสำคั ญ ที่ จ ะช่ ว ย ขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก คือท่าที การแสดงออก และปฏิสัมพันธ์ที่เปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตาของพ่อแม่ และผู้ใหญ่ทรี่ ายล้อม ผ่านสัมผัสทางกาย การกระทำและน้ำเสียง ที่แสดงถึงความเมตตา ปรารถนาดี ทำให้เด็กได้ซึมซับรับรู้จาก


เย็บปักปลอกหมอน-ผ้าปูทนี่ อนลูกด้วยสองมือของพ่อแม่ การเรียนรูจ้ ากการงานในวิถชี วี ติ

สิ่ ง แวดล้ อ มที่ อ ยู่ ใ กล้ ตั ว เขาตลอดเวลาอย่ า งเป็ น ธรรมชาติ จนเขาสามารถแสดงเจตจำนงขับเคลื่อนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ๓. เปิดรับการรับรู้ที่หลากหลายผ่าน สื่อ กิจกรรมและ สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การเล่นกับสิ่งรอบตัว เป็นอีก หนึ่งอาหารอันโอชะในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เช่น การงาน จริงในชีวิต งานศิลปะหัตถการ การเล่นในธรรมชาติ กิจวัตร ประจำวัน การใช้ชีวิตตามธรรมชาติของวัย ซึ่งล้วนแต่มีคุณค่า มากมาย พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกเข้าไปสัมผัส สัมพันธ์กับ สิ่งต่างๆ รอบตัวเขา เพื่อให้เขาเห็นและเข้าใจในธรรมชาติของ ทุกสิ่ง และยังเป็นการเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เป็นการเปิดรับการ เรียนรู้อยู่เสมอ ซึ่งเป็นจุดเล็กๆ ที่สำคัญในการเติบโตไปเป็น ผู้ใหญ่ที่มั่นคงต่อไป ๔. บทบาทของพ่อแม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ เมือ่ พ่อแม่ เข้าใจธรรมชาติภายในของตน หยุดและย้อนมองตนเองเป็น พร้อมที่จะหยุด รอ ดู ฟังลูกด้วยหัวใจ เพราะเด็กเล็กๆ ยังมี ภาษาน้อย และเขาก็พยายามที่จะสื่อสารกับเราตลอดเวลา

การเล่นคือการเรียนรู้ของลูก การเล่นกับลูกคือการเรียนรู้ ของพ่อแม่ ด้วยภาษากายบ้าง อากัปกริยา สีหน้าและแววตา และการ เอาใจใส่กบั สิง่ ใดสิง่ หนึง่ ทีพ่ อ่ แม่อาจคิดไม่ถงึ จะส่งผลให้เข้าใจลูก ลดละความคาดหวังสูง หวังผลเลิศ แต่กลับมาเข้าใจลูกตาม ความเป็นจริง สาระการเรียนรูท้ งั้ ๔ สาระ ได้รบั การออกแบบให้บรู ณาการ อยู่ ในการอบรม ๘ ครั้ง อย่างเป็นลำดับ ต่อเนื่อง ใช้เวลา ประมาณเดือนละ ๑-๒ ครั้ง ตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนเปิดภาคเรียน ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเวลาเปิดเรียนที่พ่อแม่จะได้เห็นพัฒนาการ ของลูกเมื่ออยู่ที่ โรงเรียน และครั้งสุดท้ายจะเป็นการจัดการ ความรู้จากการอบรมในครั้งนี้ การอบรมทั้ง ๘ ครั้ง มีดังนี้ 17


KINDERGARTEN

¤ÃÑ駷Õè ñ

¸ÃÃÁªÒµÔ¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ ¢Í§à´ç¡»°ÁÇÑ ໚¹ÊÒÃСÒÃàÃÕ¹ÃÙŒº·áá·Õè໚¹àÃ×èͧÊÓ¤ÑÞÂÔè§ â´Â¾‹ÍáÁ‹áÅÐÅÙ¡ÁÒËÇÁã¹ÇÔ¶Õ¡Ô¨ÇѵâͧˌͧàÃÕ¹ ¾ÃŒÍÁ¡Ñ¹·Ø¡¤Ãͺ¤ÃÑÇ ¾‹ÍáÁ‹ä´ŒÁÕâÍ¡ÒÊÊѧࡵàËç¹ ¸ÃÃÁªÒµÔ¢Í§à´ç¡ã¹ÇÑÂà´ÕÂǡѹ «Öè§ÁÕ¤ÇÒÁËÅÒ¡ËÅÒ ÁպؤÅÔ¡·Õèᵡµ‹Ò§¡Ñ¹ã¹¢³Ð·ÕèÍÂً㹺ÃÔº· ¢Í§ÇÔ¶Õ¡Ô¨ÇѵâͧˌͧàÃÕ¹ ä´ŒÁÕâÍ¡ÒÊàËç¹ ¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ¢Í§ÅÙ¡¨Ò¡¡Òû¯ÔÊÑÁ¾Ñ¹¸ ¢Í§ÅÙ¡ ã¹Ê¶Ò¹¡Òó µ‹Ò§æ

¤ÃÑ駷Õè õ

¤ÃÑ駷Õè ò

¡ÕÌÒä·Â/¡ÒÃÅÐàÅ‹¹ä·Â ¡Ñº¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ (More Than Sport) ¹Ó¡ÒÃÅÐàÅ‹¹¡ÕÌÒÀÙÁÔ»˜ÞÞÒä·ÂÁÒ㪌¾Ñ²¹ÒËҧ¡Ò áÅШԵã¨ãËŒÊÁ´ØÅ ªÇ¹¤Ø³¾‹Í¤Ø³áÁ‹àÅ‹¹¡ÑºÅÙ¡ ·Ñ駡ÒÃàÅ‹¹ã¹Ã‹ÁáÅСÒÃàÅ‹¹¡Åҧᨌ§ â´Â੾ÒСÒÃàÅ‹¹¡Åҧᨌ§·Õèä´Œ·Ñ駤ÇÒÁʹءʹҹ áÅÐ໚¹¡ÒÃ㪌àÇÅÒ·ÕèÁդسÀÒ¾¡ÑºÅÙ¡ ÊÒÁÒö¹Óä»Í͡Ẻ¡ÒÃàÅ‹¹à¾×èÍ¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ ¢Í§ÅÙ¡ä´Œ ÍÒ·Ô àÅ‹¹Íյѡ ¡ÃÐâ´´àª×Í¡ ¢ÕèÁŒÒÊ‹§àÁ×ͧ µÕÅѧ¡Ò ÏÅÏ

¤ÃÑ駷Õè ö

¡Ô¨ÇѵûÃШÓÇѹ¡Ñº¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ ¡ÒõÑé§à»‡ÒËÁÒ ËÇÁ¡Ñº¤ÃÙ (More Than Routine) ໚¹¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ¶Ö§¤Ø³¤‹Ò¢Í§¡Ô¨ÇѵûÃШÓÇѹ ઋ¹ »ÅÙ¡µŒ¹äÁŒ ¨Ñ´àÃÕ§¡ÃÇ´ËÔ¹ Ë͹·ÃÒ 㹺‹Í·ÃÒ á¡¢ÂР໚¹¡ÒÃÀÒǹҡѺ¡Òçҹ Í‹ҧÁÕÊµÔ à»ÅÕ蹡Òçҹ¡Ô¨Çѵà §Ò¹àÅ硧ҹ¹ŒÍ ·Õè¨Óਠ·Õ蹋Òàº×èÍ ·Õè·ÓÍÂÙ‹º¹¤ÇÒÁà¤ÂªÔ¹à´ÔÁæ ãËŒ¡ÅÒÂ໚¹¡Òçҹ·ÕèÁդس¤‹Ò´ŒÇ¤ÇÒÁµ×è¹ÃÙŒ

18

¾‹ÍáÁ‹áÅФÃÙËÇÁ¡Ñ¹¡Ó˹´à»‡ÒËÁÒ¢ͧ ¡ÒÃÈÖ¡ÉҢͧÅÙ¡ ÀÒ¾¡ÒÃàµÔºâµ¢Í§ÅÙ¡ã¹ã¨¾‹ÍáÁ‹ áÅÐËÇÁàʹÍá¹Ðá¹Ç·Ò§·Õè¨Ðª‹Ç¡ѹŧÁ×Í·Ó à¾×èÍä»Êً໇ÒËÁÒ·ÕèµÑé§änjËÇÁ¡Ñ¹


¤ÃÑ駷Õè ó

¡Òçҹ¡Ñº¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ (More Than Activity) ¡Ô¨¡ÃÃÁ “ǧ¹éÓªÒ” â´ÂÁÕªÒãºàµÂÍØ‹¹æ ËÍÁ¡ÃØ‹¹ ¡Ñº¢ŒÒÇᵎ¹ ¢¹Á¾×鹺ŒÒ¹áʹ¨Ð¸ÃÃÁ´Ò ·Õè¹Óä»ÊÙ‹¡ÒÃã¤Ã‹¤ÃÇÞ ¡ÒÃä´ŒÍÂÙ‹¡ÑºµÑÇàͧ ·ÓãËŒÁÕÁØÁÁͧãËÁ‹æ ·Õè¡ÇŒÒ§¢ÇÒ§ÅÖ¡«Öé§ ¤Œ¹¾º¤Ø³¤‹Ò¢Í§¤ÇÒÁàª×èÍÁâ§ã¹ÊÃþÊÔè§ ¡‹Í¹¨ÐŧÁ×Í·Ó¡Ô¨¡ÃÃÁàÂ纻ÅÍ¡ËÁ͹ ¼ŒÒ»Ù·Õè¹Í¹ ÊÓËÃѺÅÙ¡´ŒÇÂÊͧÁ×ͧ͢¾‹ÍáÁ‹ ໚¹¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ¨Ò¡¡Òçҹ¸ÃÃÁ´Òã¹ÇÔ¶ÕªÕÇÔµ ·Õè¨Ð¹Óä»ÊÙ‹¡ÒáŒÒÇ¢ŒÒÁ¢ŒÍ¨Ó¡Ñ´¢Í§µ¹ áÅÐࢌҶ֧¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒÊÔè§ãËÁ‹æ

¤ÃÑ駷Õè ÷

àÇÅҤسÀÒ¾¡ÑºÅÙ¡ ໚¹¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ¨Ò¡¼ÙŒàªÕèÂǪÒÞ ¤×Í ÃͧÈÒʵÃÒ¨Òàᾷ ËÞÔ§ ¡Ôè§á¡ŒÇ »Ò¨ÃÕ ã¹àÃ×èͧÊÑÁ¾Ñ¹¸ÀÒ¾¢Í§¾‹ÍáÁ‹ÅÙ¡ ¡ÒÃ㪌àÇÅÒ·ÕèÁդسÀÒ¾¡ÑºÅÙ¡ÃÑ¡ (Floor Time) áÅÐàÅ‹¹¡ÑºÅÙ¡ãˌʹءâ´ÂÁÕà¤Åç´ÅѺ ¤×Í ¡ÒèѴ»ÃѺµÑÇàͧãËŒÅ١໚¹¼ÙŒ¢Ñºà¤Å×è͹ ¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ´ŒÇµÑÇàͧ

¤ÃÑ駷Õè ô

ÈÔŻСѺ¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ (More Than Art) àÃÕ¹ÃÙŒ¡ÒÂ㨵¹àͧ¼‹Ò¹§Ò¹ÈÔŻР¤×ͧҹ¶Ñ¡¹ÔµµÔé§ §Ò¹»˜œ¹´Ô¹ áÅЧҹÊÕ¹éÓ à»š¹¡ÒÃÀÒǹҺ¹¡Ò÷ӧҹ´ŒÇÂʵÔáÅÐÊÁÒ¸Ô ·ÕèṋÇṋ ½ƒ¡½¹¨Ôµà¾×èÍŒ͹ÁͧࢌÒÁÒ´Ù áÅÐÃٌ෋ҷѹ¤ÇÒÁ¤Ô´¢Í§µ¹ ÊÒÁÒö¨Ñ´»ÃѺ µ¹àͧãËŒà¡Ô´¤ÇÒÁÊÁ´ØÅ㹡Ò÷ӧҹ áÅÐÊÌҧ¡Ãкǹ¡ÒÃÊ×èÍÊÒö‹Ò·ʹÍÒÃÁ³ ¤ÇÒÁÃÙŒÊÖ¡¹Ö¡¤Ô´ ¼‹Ò¹§Ò¹ÈÔÅ»Ð

¤ÃÑ駷Õè ø

à¡çº´Í¡¼Å¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ ໚¹¡Ô¨¡ÃÃÁ¤ÃÑé§ÊØ´·ŒÒ à¾×èÍ¡ÒèѴ¡ÒäÇÒÁÃÙŒ ¨Ò¡ÊÔ觷ÕèàÃÕ¹ÃÙŒ áÅлÃÐʺ¡Òó ¢Í§¾‹ÍáÁ‹ ·Ø¡¤Ãͺ¤ÃÑÇ ¹ÓÁÒáÅ¡à»ÅÕè¹àÃÕ¹ÃÙŒà¾×èͶʹº·àÃÕ¹ ࿇¹ËÒÊÒÃÐ ·Ñ¡ÉÐáÅФس¤‹Ò¨Ò¡»ÃÐʺ¡Òó ·Õ輋ҹÁÒáÅÐÊÃØ»á¹Ç·Ò§ã¹¡ÒÃÊÌҧÊÑÁ¾Ñ¹¸ ¾‹ÍáÁ‹ à¾×èÍÊ‹§àÊÃÔÁ¾Ñ²¹Ò¡ÒâͧÅ١ËÇÁ¡Ñ¹

19


KINDERGARTEN

กระบวนการเรี ย นรู้ ทั้ ง หมดจั ด ขึ้ น ในวั น เสาร์ - อาทิ ต ย์ รวม ๘ ครั้ง แบ่งพ่อแม่เป็นกลุ่มย่อยประมาณ ๒๕ ครอบครัว บางครอบครัวก็มาเรียนรู้ทั้งพ่อและแม่ บางครอบครัวพ่อแม่ก็ สลั บ กั นมาและกลั บ ไปถ่ า ยทอดให้ อี ก ฝ่ า ยรั บ รู้ และในบาง ครอบครัวก็ส่งปู่ย่า ตายายหรือผู้ใหญ่ในบ้านที่มีส่วนร่วมเลี้ยงดู ลู ก มาเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรม โดยมี คุ ณ ครู อ นุ บ าลทำหน้ า ที่ เ ป็ น กระบวนกร เป็นคุณอำนวย (Facilitator) ดำเนินกิจกรรมเพื่อ นำพาให้พ่อแม่ลงมือเรียนรู้จากการปฏิบัติ

ความเป็นพ่อแม่ ผู้เป็นกัลยาณมิตร

ถอดรหัสการเรียนรู้... ดอกผลที่เบ่งบาน

ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมา ๖ ปี จนถึงปัจจุบนั ปีการศึกษา ๒๕๕๖ โครงการห้องเรียนพ่อแม่ของโรงเรียนรุ่งอรุณ ได้มีการ ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มีการพัฒนามาตามลำดับ มีการ ประเมิ น โครงการร่ ว มกั น ทั้ ง ในส่ ว นของพ่ อ แม่ และคุ ณ ครู อนุบาลที่ทำหน้าที่เป็นกระบวนกร ผู้นำกิจกรรม การอบรม ประสบความก้าวหน้าเป็นที่พึงพอใจ เกิดดอกผลการเรียนรู้ที่ เบ่งบาน สังเกตได้จากการที่นักเรียนใหม่ชั้นอนุบาล ๑ มีความ คุ้นเคยกับโรงเรียนได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม สามารถเรียนรู้กับ เพื่อนวัยเดียวกัน เรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างมีความสุข เมื่อถึงวัน เปิดเทอม เด็กๆ มีความพร้อม สามารถปรับตัวในวิถีกิจวัตร ประจำวันที่โรงเรียนได้เป็นอย่างดีโดยใช้ระยะเวลาไม่นานนัก ในส่วนของพ่อแม่ก็สามารถเห็นภาพความเป็นพ่อแม่

ผู้เป็นกัลยาณมิตร รู้จักธรรมชาติภายในของตนที่มีผลต่อการ เรียนรู้ของลูก สามารถจัดปรับตนเองเป็นเบื้องต้น เกิดความรู้ ความเข้าใจในความแตกต่างของธรรมชาติของการเรียนรู้ของ เด็กแต่ละคน ตลอดจนเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง ของโรงเรียน และความสัมพันธ์ในกลุม่ พ่อแม่กนั เอง หรือระหว่าง พ่อแม่และครูก็มีความคุ้นเคยใกล้ชิด มีความสัมพันธ์ที่ดีนำไปสู่ การไว้วางใจและความร่วมมือกันในการดูแลส่งเสริมเด็กให้มี พัฒนาการอย่างมีความสุข

20

เย็บปักปลอกหมอน-ผ้าปูที่นอนลูกด้วยสองมือของพ่อแม่ การเรียนรู้จากการงาน ในวิถีชีวิต

àÁ×èͼ‹Ò¹¡ÒÃͺÃÁ¤Ãº·Ñé§ ø ¤ÃÑ駨ӹǹ óð ªÑèÇâÁ§ ¨Ò¡¡ÒûÃÐàÁÔ ¹ ÊÃØ » ¡ÒÃàÃÕ Â ¹ÃÙ Œ ¢ ͧ¾‹ Í áÁ‹ · Õ è à ¢Œ Ò Ã‹ Ç Á¡Ô ¨ ¡ÃÃÁ ˌͧàÃÕ¹¾‹ÍáÁ‹ ¾ºÇ‹Ò¤ÇÒÁ໚¹¾‹ÍáÁ‹¼ÙŒàªÕèÂǪÒÞä´Œ¶Ù¡»ÅØ¡ãËŒµ×è¹ ¢Öé¹ÁÒ ÊÒÁÒöÊÃØ»¤Ø³Åѡɳкҧ»ÃСÒâͧ¤ÇÒÁ໚¹¾‹ÍáÁ‹ ¼ÙŒàªÕèÂǪÒÞ ÍÒ·Ô

“¡ÒÃä´ŒÁÒ¹Ñ觻˜œ¹´Ô¹ ·ÓãËŒÃÙŒÊÖ¡Ç‹ÒµÑÇàÃÒÂѧäÁ‹ÃÙŒ¨Ñ¡µÑÇàͧàÅ áŌǨÐÃÙŒ¨Ñ¡ÅÙ¡Áҡᤋä˹ µÍ¹·Ó¡ç¤Ô´¹Ñè¹ ¤Ô´¹Õè áÅжÒÁµÑÇàÍ§Ç‹Ò àÃÒ¨ÐàÃÕ¹ÃÙŒÍÐäèҡ¡Ò÷ӡԨ¡ÃÃÁ¹Õé” • ¾‹Í-áÁ‹ÊÒÁÒöࢌÒ㨸ÃÃÁªÒµÔ¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ¢Í§ÅÙ¡ã¹ÇÑ»°ÁÇÑ ¸ÃÃÁªÒµÔ¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ¢Í§ÅÙ¡µ¹àͧ ÊÒÁÒö¾Ñ²¹ÒÅÙ¡´ŒÇ·‹Ò·Õ ·Õè¡‹ÍãËŒà¡Ô´¡ÒÃàÃÕ¹ÃٌËÇÁ¡ÑºÅÙ¡Í‹ҧÁÕ¤ÇÒÁÊØ¢ ໚¹¾‹ÍáÁ‹ ¼ÙŒà»š¹µŒ¹¸ÒÃáË‹§ÈÃÑ·¸Ò ໚¹·Õè¾Ö觾ҢͧÅÙ¡ä´Œ


“ÊÔ觷Õè¤ÇþѲ¹Ò¤×Í ¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒÀÒÇÐÀÒÂ㹢ͧµ¹àͧ ÃÙŒ·Ñ¹à¾×èÍ»ÃѺà»ÅÕè¹ ÂÑ駤ÇÒÁÍÂÒ¡¤ÇÒÁµŒÍ§¡Òâͧµ¹àͧ à¾×èÍ¡Òÿ˜§ Êѧࡵ áÅÐࢌÒã¨ÅÙ¡Í‹ҧ᷌¨ÃÔ§”

“¨Ò¡à´ÔÁ·ÕèÅÙ¡ÍÒÃÁ³ Ì͹ ᵋËÅѧ¨Ò¡à¢ŒÒËÇÁâ¤Ã§¡Òà ·ÓãËŒàÃÒà»ÅÕè¹á»Å§µ¹àͧ á·¹·Õè¨Ðä»à»ÅÕè¹ÅÙ¡ à´ç¡àËÁ×͹¼ŒÒ¢ÒÇ àÃÒ໚¹Í‹ҧäà ÅÙ¡¡çÊзŒÍ¹µÑÇàÃÒÍÍ¡ÁÒ໚¹Í‹ҧ¹Ñé¹”

¡ÅØ‹Á¾‹ÍáÁ‹ªÑ鹤ÅÐ

¤Ø³áÁ‹ ªÑé¹ Í.ñ/ñ

• ¾‹Í-áÁ‹ÊÒÁÒöàÃÕ¹ÃÙŒ¸ÃÃÁªÒµÔÀÒÂ㹢ͧµ¹«Öè§Ê‹§¼Åµ‹Í ¡ÒÃàÅÕé§ÅÙ¡áÅл¯ÔÊÑÁ¾Ñ¹¸ ÃÐËÇ‹Ò§µ¹¡ÑºÅÙ¡ ÊÒÁÒö㪌àÇÅÒ ¤Ø³ÀҾ㹡ÒÃÊÌҧ¡ÒÃàÃÕ¹ÃٌËÇÁ¡Ñ¹¡ÑºÅÙ¡

• ¾‹ Í -áÁ‹ Ê ÒÁÒö¿˜ § ÅÙ ¡ Í‹ Ò §ÅÖ ¡ «Ö é § ÊÑ § ࡵ Í´·¹ÃͤÍ ÃÐ§Ñ º ¤ÇÒÁ¤Ò´ËÇÑ § äÁ‹ à ¾‹ § â·É ¨Ñ º ¼Ô ´ ËÃ× Í á·Ã¡á«§ÅÙ ¡ ãËŒ ·ÓµÒÁ·Õèµ¹¤Ò´ËÇѧ ËÃ×Íã¹¢³Ðà´ÕÂǡѹ¡çäÁ‹ª×蹪ÁÅÙ¡¨¹à¡Ô¹àÅ ËÃ×Íŧâ·ÉÅÙ¡Í‹ҧÃعáç´ŒÇÂÍÒÃÁ³ â·ÊР໚¹¾‹ÍáÁ‹¼ÙŒÁÕÊµÔ áÅÐÊÑÁ»ªÑÞÞÐ㹪ÕÇÔµ»ÃШÓÇѹ ÁÕ¡ÒáÃÐ·Ó ¤Ó¾Ù´·ÕèÁÕʵÔ෋ҷѹ ÍÒÃÁ³ ¤ÇÒÁÃÙŒÊÖ¡

“ËÅѧ¨Ò¡Å§Á×Í·Ó»ÅÍ¡ËÁ͹áÅлÅÍ¡·Õè¹Í¹ ÊÔ觷Õèä´ŒàÃÕ¹ÃÙŒ ¤×Í ¤Ø³¤‹Ò¢Í§µ¹àͧ áÅФس¤‹Ò¢Í§ÊÔ觢ͧ áÅÐÊÁÒ¸Ô㹡Ò÷ӧҹ ¤Ø³¤‹Ò¢Í§µ¹àͧ ¤×ÍÁͧàË繤ÇÒÁÊÒÁÒö ¢Í§µ¹àͧ㹡Ò÷ÓÊÔ觷ÕèäÁ‹¤ØŒ¹à¤Â «Öè§ËÒ¡àÃÒÅͧàÍÒã¨ãÊ‹ã¹ÊÔ觹Ñé¹ àÃÒ¡çÊÒÁÒöàÃÕ¹ÃÙŒáÅÐࢌҶ֧Áѹ䴌...” ¤Ø³ÍÒ¹¹· 㨵ç ¤Ø³¾‹Í¹ŒÍ§à¨á»¹ • ¾‹Í-áÁ‹ÁÕ¤ÇÒÁÃÙŒ¤ÇÒÁࢌÒã¨á¹Ç·Ò§¢Í§âçàÃÕ¹ ·ÕèàÍ×é͵‹Í ¸ÃÃÁªÒµÔ¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ¢Í§à´ç¡ ÁÕ¤ÇÒÁࢌÒã¨áÅÐÊÒÁÒö»ÃÐÂØ¡µ 㪌¤ÇÒÁÃÙŒ¹Óä»ÊÙ‹¡Òû¯ÔºÑµÔ䴌͋ҧ¡ÅÁ¡Å×¹ã¹ÇÔ¶ÕªÕÇÔµ·Õ躌ҹ áÅÐÊÒÁÒö»ÃѺÇÔ¶Õ¡Ô¨ÇѵúҧÍ‹ҧà¾×èÍãËŒàÍ×é͵‹Í¡ÒÃà» ´¾×é¹·Õè àÃÕ¹ÃÙŒ¢Í§ÅÙ¡ÁÒ¡¢Öé¹ à»š¹¾‹ÍáÁ‹¼ÙŒà»š¹¡ÑÅÂÒ³ÁÔµÃáÅÐÊ‹§àÊÃÔÁ ¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ¢Í§ÅÙ¡ áÅÐÂѧ໚¹¾‹ÍáÁ‹·Õèà¡×éÍ¡ÙžÌÍÁ¨ÐàÍÒã¨ãÊ‹ ´ÙáÅÅÙ¡æ ËÇÁ¡Ñ¹

“»¡µÔ¾‹Í¨ÐŌҧöàͧà¾×èÍãËŒÊÐÍÒ´ áÅÐàÊÃç¨äÇæ ¾‹ÍÅͧà»ÅÕè¹件ÒÁÅÙ¡Ç‹Ò ÍÂÒ¡ª‹Ç¾‹ÍŌҧöËÃ×Íà»Å‹Ò ÅÙ¡ÃÕºµÍºµ¡Å§·Ñ¹·Õ à¾ÃÒÐÍÂÒ¡·ÓàËÁ×͹¾‹Í ¾‹Í¡çẋ§ÍØ»¡Ã³ áÅк͡¢Ñ鹵͹µ‹Ò§æ ¡‹Í¹ ʋǹÅÙ¡¡ç໚¹¤¹¤Ô´áÅСÓ˹´Ç‹Ò ã¤Ã¨Ð໚¹¤¹ÅŒÒ§Ê‹Ç¹ä˹” • ¾‹Í-áÁ‹µÃÐ˹ѡáÅÐàª×èÍÁÑè¹ã¹ÈÑ¡ÂÀÒ¾¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ¢Í§ÅÙ¡áÅе¹àͧ äÁ‹¾Öè§¾Ò ¾Ö觾ԧ¤ÇÒÁÃÙŒ¨Ò¡à˵ػ˜¨¨ÑÂÀÒ¹͡ᵋà¾Õ§Í‹ҧà´ÕÂÇ ÁÕÊÒµҷÕèÁͧàË繤س¤‹Ò¢Í§¡ÒùÓàÃ×èͧÃÒÇã¹ÇÔ¶ÕªÕÇÔµ ¡Ô¨Çѵà ¡Ò÷ӧҹÁÒŧÁ×Í·Óà¾×èÍÊÌҧ¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒãËŒÅÙ¡ ãËŒÅÙ¡ä´Œ«ÖÁ«Ñº ẺÍ‹ҧ¨Ò¡ÊÔ觷Õ辋ÍáÁ‹·Ó໚¹µŒ¹áºº

21


KINDERGARTEN

ความเป็นครู ผู้เป็นกัลยาณมิตร

ถอดบทเรียน จากห้องเรียนพ่อแม่

การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในการอบรมเชิงปฏิบัติการเลี้ยงลูกดี วิถีไทยนั้น นอกจากพ่อแม่ ผู้ปกครองแล้ว “ครู” หุ้นส่วนแห่ง การเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาลูกศิษ ย์ ก็ ได้ มี โอกาสที่ดียิ่งจากการร่วมเรียนรู้ในโครงการห้องเรียนพ่อแม่ จนสามารถพัฒนาตนให้เป็นครูผู้เป็นกัลยาณมิตรที่มีคุณลักษณะ อาทิ • ครู มี ทั ก ษะการเป็ น ผู้ จั ด กระบวนการเรี ย นรู้ ใ ห้ กั บ ผูป้ กครอง โดยมีการเตรียมการอย่างรอบคอบ ตัง้ แต่กอ่ นเริม่ งาน ระหว่างการทำงานและสรุปการทำงานเพื่อสะท้อนการเรียนรู ้

ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง • ครูมีทักษะการคิดเชิงระบบในการออกแบบแผนการ เรี ย นรู้ อ ย่ า งเป็ น บู ร ณาการ อั น ประกอบด้ ว ย เนื้ อ หาสาระ กิจกรรม กระบวนการเรียนรู้และการประเมินผล • ครูมีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มพ่อแม่ อย่ า งเท่ า เที ย มกั น จึ ง เกิ ด การเรี ย นรู้ ไ ปพร้ อ มๆ กั บ พ่ อ แม่ รวมทั้งเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ระหว่างครูและพ่อแม่ • ครู มี ทั ก ษะการทำงานเป็ น ที ม เกิ ด ความสามั ค คี ระหว่างเพื่อนครู “การเป็นกระบวนกรนั้นต้องลงมือปฏิบัติ จนเกิดความรู้ ความเข้าใจแล้วสามารถถ่ายทอดความรูค้ วามเข้าใจนัน้ สูผ่ อู้ นื่ รับฟัง ความคิดเห็นของกลุม่ นำพากลุม่ ไปสูเ่ ป้าหมายของเรือ่ งนัน้ ๆ ได้ ต้องมีปฏิภาณ ไหวพริบ วิธีคิดแก้ปัญหาที่ดี ได้แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับเพือ่ นครู ทำให้เราได้ความรูม้ อื หนึง่ มีทกั ษะต่างๆ เพิ่มขึ้น เกิดความภูมิใจ มั่นใจในตัวเองมากขึ้นเมื่อต้องมีการ แลกเปลี่ยนข้อมูล และแนะนำพ่อแม่ในการส่งเสริมพัฒนาการ ของลูกได้ดีขึ้น”

ดอกผลที่เบ่งบาน การก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ เติบโตไป เป็นพ่อแม่และครูผู้เป็นกัลยาณมิตรข้างต้น เมื่อนำมาวิเคราะห์ ประเมินผลการเรียนรู้ทั้งหมดพบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จเกิด ขึ้นจาก ๑. การออกแบบกระบวนการเรี ย นรู้ เป็ น การอบรม

เชิงปฏิบัติการที่พ่อแม่มีส่วนร่วมเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ ผ่านประสบการณ์ตรง ผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองในเรื่อง ใกล้ตัวที่อยู่ในวิถีชีวิต กิจวัตร เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติภายใน ของตน เกิดการตระหนักว่าการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่ ต้องการให้เกิดขึ้นต้องเริ่มที่ตนเอง ไม่ใช่เริ่มที่ลูก พ่อแม่สร้าง การเรียนรู้ขึ้นได้ด้วยปัญญาของตนเอง ด้วยการใช้วิถีชีวิตของ บ้านหรือครอบครัวเป็นสื่อและสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดูที่มี คุณค่าอย่างยิ่ง ๒. กระบวนการเรียนรู้ที่พ่อแม่มีโอกาสสร้างการเรียนรู้ ผ่านปฏิสัมพันธ์ร่วมกับกลุ่ม (Group Learning) โดยมีส่วนร่วม กับกลุ่ม มีวงสะท้อนการเรียนรู้ และจัดการความรู้ของกลุ่ม อย่างสม่ำเสมอเป็นระยะ เป็นกัลยาณมิตรที่ร่วมแลกเปลี่ยน

ครูอัญชลี กนกกันทรากร ชั้นอนุบาล ๑/๒ ครูอนุบาลร่วมกันถอดบทเรียนจากห้องเรียนพ่อแม่

22


เรียนรู้ เป็นแบบอย่างและความความสัมพันธ์ที่ดีของการเป็น พ่อแม่ผู้ร่วมเส้นทางความเป็น “พ่อแม่ผู้เชี่ยวชาญ” ด้วยกัน ๓. สาระการเรียนรูท้ เี่ ป็นประโยชน์แก่พอ่ แม่ มีการร้อยเรียง และเชือ่ มโยงของสาระอย่างเป็นลำดับของจุดประสงค์การเรียนรู้ ผ่านการฟัง การใคร่ครวญ ฝึกฝนสติ ได้แก่ สาระเกี่ยวกับ

การเรียนรู้เรื่องภายในตน การเรียนรู้เรื่องภายนอกที่ต้องอาศัย การสร้างสมดุลกาย-ใจ เข้าใจ เท่าทันสถานการณ์และจัดปรับ ความสัมพันธ์ระหว่างตน บุคคลอืน่ และสิง่ แวดล้อม และการเรียนรู้ เรื่องที่นำไปสู่ความเข้าใจลูก มีท่าทีที่ยืดหยุ่น จัดปรับความ สัมพันธ์ระหว่างตนกับลูกเป็นอันดับแรก ประกอบกับการเรียนรู้ จากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้พ่อแม่นำความรู้ที่มีอยู่แล้วมาผสานสร้าง ความรู้ใหม่ จนเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง เป็นความรู้ชั้นหนึ่ง (First hand Knowledge) ที่สามารถนำไป ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับลูกของตนได้จริง ๔. การเรียนรู้จากสื่อธรรมชาติและสื่อใกล้ตัว และยัง เป็นสือ่ /กิจกรรมการเรียนรูท้ สี่ อื่ ถึงมิตเิ ชิงคุณค่า มีการตระเตรียม กิจกรรม สื่อการสอนและขั้นตอนต่างๆ อย่างประณีตและมี แบบแผน เน้นการใช้สื่อกิจกรรมที่หลากหลาย เป็นกิจกรรมที่ เกิดในชีวิตประจำวัน เช่น กิจกรรมศิลปะปั้นดิน ระบายสีน้ำ ประดิษฐ์สิ่งของจากขยะและวัสดุธรรมชาติ การละเล่นและกีฬา ภูมิปัญญาไทย การปลูกต้นไม้ การทำเครื่องใช้ เช่น เย็บ ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอนสำหรับลูก ๕. กระบวนการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้พ่อแม่มีโอกาส ทบทวนตัวเอง ทดลองนำความรู้ไปใช้จริงในการปฏิบัติต่อลูก ด้วยภาพย้อนรอยการเรียนรู้ในการเริ่มต้นกิจกรรมในแต่ละครั้ง เพื่อทบทวนการเรียนรู้ในครั้งที่ผ่านมา ตามด้วยการบอกกล่าว เป้าหมายของการเรียนรู้ในแต่ละครัง้ อย่างชัดเจน และนำพ่อแม่ ลงสูก่ ารปฏิบตั เิ ป็นกลุม่ ย่อยทีม่ จี ำนวนไม่มากนัก และในช่วงท้าย กระบวนกรจะนำพ่อแม่สรุปประเมินประสบการณ์การเรียนรูท้ กุ ครัง้ พร้อมให้พ่อแม่บันทึกความรู้ ความเข้าใจที่เกิดขึ้นในใบงาน หลังจากพ่อแม่นำการเรียนรู้กลับมาปฏิบัติจริงกับลูก การได้ สังเกตและทบทวนตัวเองอยู่อย่างสม่ำเสมอ จะนำไปสู่การ สั่งสมเป็น “ความรู้ฝังลึก” (Tacit Knowledge) ของพ่อแม่ต่อไป

ตัวอย่างใบงานและคำถาม ที่พ่อแม่ต้องทบทวนทำการบ้าน ๑. ท่านมีความรูส้ กึ อย่างไรต่อการทำงานในฐานการเรียนรู้ ทั้งก่อนทำ ในขณะทำ และเสร็จสิ้นกระบวนการทำงาน ท่านได้เกิดการจัดปรับที่ตนเองให้เกิดความสมดุลขณะที่ ทำงานหรือไม่ อย่างไร .................................................................................. ๒. ท่านมองเห็นโอกาสสร้างกิจวัตรประจำวันของตัวเอง เป็นการเรียนรู้ของตัวท่านและตัวลูกอย่างไรได้บ้าง .................................................................................. ๓. ท่านมองเห็นคุณค่าของงานกิจวัตรที่ท่านได้ลงมือ ทำอย่างไรบ้าง .................................................................................. ๖. บรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ ระหว่ า งครู แ ละพ่ อ แม่ การเรี ย นรู้ เ กิ ด ขึ้ น ในโรงเรี ย น ทั้ ง ใน ห้องเรียนของลูกและพื้นที่นอกห้องเรียน มีบรรยากาศที่เป็น ธรรมชาติ ผ่อนคลาย กิจกรรมจัดขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ ทำให้ ไม่ ร บกวนเวลาการทำงานของพ่ อ แม่ อี ก ทั้ ง ที ม ครู อ นุ บ าล ทั้งหมดที่เป็นกระบวนกร และทีมผู้ปฏิบัติงานที่มีความคุ้นชิน ในกระบวนการอบรมที่จัดมาหลายครั้ง ได้ฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ ทำให้มีทักษะของการเป็นกระบวนกรที่ดี มีความเข้าใจในสิ่งที่ จะสอนไปในแนวทางเดียวกัน มีทา่ ทีทยี่ ดื หยุน่ ไม่ตดั สินชีถ้ กู ผิด แต่ ค อยอำนวยการเรี ย นรู้ แ ละเปิ ด โอกาสให้ พ่ อ แม่ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ และเรียนรู้ด้วยตัวเองร่วมกับครู ๗. ทีมครูกระบวนกร เป็นทีมครูอนุบาลทุกระดับชั้น เป็นทีมงานที่มีความสามัคคี มีเป้าหมายร่วมกัน ไม่ได้แบ่งแยก ว่าเป็นเรื่องเฉพาะพ่อแม่ของชั้นเรียนของตน แต่เป็นเรื่องที่ เป็นประโยชน์ร่วมกันของทุกคน มีการประชุมช่วยกันระดม ความคิดในการสร้างสรรค์กิจกรรม มีการเตรียมการ และการ จัดแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน และมีทักษะด้านอื่นๆ เช่น การจัดการสถานการณ์ แก้ไขปัญหาและดำเนินการอบรมอย่าง ราบรื่น

23


KINDERGARTEN

บทบาทพ่อแม่และการเลี้ยงลูก ด้วยสติปัญญา

พ่อแม่คือต้นแบบ ลูกคือสำเนาถูกต้อง อ.อมรา สาขากร

จากการจัดโครงการห้องเรียนพ่อแม่ของโรงเรียนรุ่งอรุณ ที่ผ่านมา ได้นำมาสรุปเป็นองค์ความรู้ ในบทบาทของพ่อแม่ “...มันก็เหนื่อยนะ เวลาเย็บปลอกหมอนเนี่ย เพราะเรา และท่าทีการเลี้ยงลูกด้วยสติปัญญา ไม่เคยทำ แต่จิตตรงนั้นมันวางแล้ว จิตที่อกุศล มันต้าน มันไม่ อยากทำ แต่ก็โอเค ทำก็ทำ ที่ผ่านมานี้ที่ได้ประโยชน์ก็คือเอา ไปปรับใช้ได้ พอเรานิ่งขึ้น มีสติมากขึ้น เรารู้สึกเราเป็นคนดีขึ้น อย่างเวลาเรากลับไปที่บ้านบางครั้งเราหงุดหงิด ใส่อารมณ์กับ คนที่เรารัก มันไม่ถูกนะ ก็ทำให้เรากลับไปทบทวนว่า เราจะ โกรธไปทำไม แต่พอเราสงบและนิ่ง สิ่งที่ทำออกมามันจะทำได้ ง่าย เหมือนการทำงานเวลาเราจดจ่อ เราตั้งใจ อย่าเพิ่งไปมีจิต อกุศลกับเขา นิ่งและก็มอง วิเคราะห์ สังเกต มันน่าจะออกมาดี เหมือนกับเลี้ยงลูกเหมือนกัน ...ถ้าจะตอบเรือ่ งการเปลีย่ นแปลง จริงๆ แล้วการเปลีย่ นแปลง ต้องใช้เวลาเหมือนกัน แต่ทนี่ ี่ (การอบรม) ทีจ่ ดั ไว้ เขาให้เราทำ อย่างต่อเนือ่ ง ตัง้ แต่ครัง้ แรกแล้ว เขาให้เราเริม่ ปล่อยวาง เริม่ ละ เริม่ มีมมุ มองใหม่วา่ เราก้าวเข้ามาทีน่ ี่ เราต้องเปลีย่ น ทีโ่ รงเรียนนี้ รับสมัครอนุบาลตัง้ แต่ลกู ๒ ขวบ เขาก็ให้เวลากับคุณพ่อคุณแม่ ให้เราเข้ามาสัมผัส ให้เราเข้ามารู้ ให้เราได้กลั่นกรองในระดับ หนึง่ ก่อนจะตัดสินใจ แล้วเรือ่ งกิจกรรมเนีย่ เขาร้อยเรียงหมดแล้ว โรงเรียนเขากำลังจะสื่อกับเราว่าเขากำลังทำอะไร คือเราเป็น พ่อเป็นแม่คน เราก็ต้องมีสติ เวลาเราดูแลลูก ลูกก็เป็นมนุษย์ คนหนึ่ ง เขาก็ ค งอยากให้ เ ราทรี ต เขาดี ๆ เหมื อ นกั บ เรา

คิดว่าการอบรมไม่ใช่แค่ครึ่งชั่วโมง แต่มันต่อเนื่องมาเรื่อยๆ มันมีอิมแพค มันทำให้เรารู้สึกได้ว่าโรงเรียนกำลังจะสื่ออะไร และทำให้เราเข้าใจมากขึ้น” แม่อ้อ-ธนัชชา มานะเสถียรกิจ

“โรงเรียนรุ่งอรุณคือโรงเรียนแห่งความรักการมาอบรม ๓๐ ชั่วโมง สอนให้เรารักลูกรักตัวเอง รักครอบครัว สร้างความ สัมพันธ์ของครอบครัว ปู่ย่าตายาย และชุมชน ช่วยปรับทั้งชีวิ ของเราทีเดียว ได้เห็นศักยภาพของตัวเองและของลูก”

๑๑ ท่าทีทั้งหมดนี้เป็นบทบาทและท่าทีที่พ่อแม่ทุกคน ควรฝึกปฏิบัติตนจนเป็นลักษณะนิสัย เพื่อเป็นต้นธารแห่ง ศรัทธาที่เป็นที่พึ่งพาแก่ลูกได้ตลอดไป เป็นอีกก้าวหนึ่งบนเส้น ทางความร่วมมือระหว่างบ้านและโรงเรียน ในการร่วมเดินทาง ไปสู่เป้าหมายของชีวิต...ซึ่งก็คือการศึกษาสู่ความเป็นมนุษย์ที่ แม่อีฟ อ.1/1 สมบูรณ์

24


PRIMARY

Open Approach

กระบวนการเรียนรู้ที่ ‘เปิดศักยภาพ’ เด็กและครู

ห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วธิ กี ารแบบเปิด (Open Approach)

บรรยากาศห้องเรียนที่นักเรียนกระตือรือร้น แข่งกัน ยกมือตอบคำถาม ขณะทีค่ รูคอยเขียนคำตอบของแต่ละคนลงบน กระดานหน้าห้อง ไม่ชี้ว่าคำตอบของใครถูกหรือผิด แต่นำสิ่งที่ นักเรียนตอบมาคิดเป็นโจทย์ใหม่กลับไปท้าทายให้นักเรียนได้ เรียนรู้และขบคิดต่อ คงไม่มีใครคาดคิดว่าห้องเรียนที่มีชีวิตชีวา

ทั้ ง ครู แ ละนั ก เรี ย นต่ า งตื่ น ตั ว กั บ การเรี ย นรู้ เ ช่ น นี้ จ ะเป็ น ห้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แต่สำหรับห้องเรียนคณิตศาสตร์

ที่ใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) นี่คือภาพที่พบเห็นได้ เป็นปกติ 25


PRIMARY

เปิดโอกาสให้นักเรียน สร้างความรู้ด้วยตัวเอง

กระบวนการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) เป็น นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของประเทศญีป่ นุ่ ที่เปิดพื้นที่ ให้กับความคิดที่หลากหลายของนักเรียน และให้ นักเรียนใช้พื้นฐานความรู้เดิมทำความเข้าใจความรู้ ใหม่ด้วย ตนเอง จากโจทย์สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดในชีวิตจริง (Real world situation) ที่ครูสร้างขึ้น ซึ่งเป็นโจทย์ที่มีแนวทางแก้ไข ปัญหาหลากหลาย และครูก็แสดงให้นักเรียนเห็นว่าครูยอมรับ แนวคิดที่หลากหลายนั้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะวิธีการใดหนึ่งเดียว ทำให้นักเรียนกล้าที่จะนำเสนอแนวคิดของตนเอง ไม่กลัวผิด ไม่วา่ วิธกี ารของตนจะเหมือนหรือต่างกับเพือ่ น บรรยากาศห้องเรียน ทีเ่ ปิดกว้าง และคำถามท้าทายความคิดจากครู จะทำให้นกั เรียน สามารถเข้าใจองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ด้วยตัวเอง ครู โกเมน อ้อชัยภูมิ ครูวิชาคณิตศาสตร์ฝ่ายประถม อธิบายว่า คณิตศาสตร์เป็นเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ ที่นักเรียนจะต้องสังเกต เรียนรู้และทำความเข้าใจด้วยตัวเอง แต่การสังเกตจะเกิดขึ้นได้ ครูต้องช่วยสร้างกระบวนการพา นักเรียนไปสังเกต ด้วยการตั้งคำถามโดยใช้สถานการณ์ปัญหา ปลายเปิดที่อยู่ ในวิถีชีวิตของนักเรียนเป็นสถานการณ์เริ่มต้น ชี้ชวนให้นักเรียนสังเกตและขบคิด จนกระทั่งเข้าใจแนวคิด (Concept) ทางคณิตศาสตร์ที่ครูซ่อนไว้ในสถานการณ์นั้นๆ ครูโกเมนยกตัวอย่างเช่นเรื่องการคูณเศษส่วนในระดับ ชั้น ป.๖ นักเรียนเคยเรียนเรื่องการคูณเศษส่วนเบื้องต้นในชั้น ป.๕ มาแล้ว พอมาถึง ป.๖ จะเป็นการคูณเศษส่วนทีซ่ บั ซ้อนขึน้ คือ การคูณเศษส่วนด้วยเศษส่วน ซึง่ นักเรียนส่วนใหญ่จะนึกไม่ออก ครูจะไปบอกตรงๆ ว่าคือ เศษคูณเศษ ส่วนคูณส่วน ไม่ ได้ แต่ต้องให้นักเรียนใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่มาพิจารณาและสร้าง กระบวนการทำความเข้าใจด้วยตัวเอง โดยครูมีสถานการณ์ พร้อมภาพประกอบให้ว่า มีเล้าหมูอยู่เล้าหนึ่ง รั้วของเล้าหมูมี พื้นที่เป็นตารางเมตร เด็กคนนี้มีสีอยู่ ๑ ส่วน ๑๐ กระป๋อง 26


หรือ ๑ เดซิลิตร ลองทาสีรั้วแล้วได้ ๓ ส่วน ๔ ตารางเมตร ระหว่างทีค่ รูเล่า นักเรียนจะฟัง ดูภาพประกอบและจินตนาการตาม ครูก็ใช้สถานการณ์ของเด็กคนนี้มาเป็นหัวข้อการอภิปรายว่า ถ้าเด็กคนนี้ไม่ได้มีสีแค่นี้ล่ะ แต่มี ๓ เดซิลิตร จะทาสีได้เท่าไร นักเรียนก็จะคาดเดาแล้วว่า มีสีมากขึ้นก็ต้องทาได้มากขึ้นสิ โดยที่ไม่รู้สึกว่านี่คือการคูณ แต่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิต ประจำวันทั่วๆ ไป มีสีมากก็ทาได้มาก มีสีน้อยก็ทาได้น้อย แต่ในสถานการณ์ทั่วไปนี้ครู ได้ซ่อนเงื่อนไขให้นักเรียนต้องใช้ ความรู้ทางคณิตศาสตร์ (การคูณเศษส่วน) มาขบคิด ว่าถ้ามีสี เท่านี้จะทาได้พื้นที่เท่าไร ปรับเปลี่ยนตัวเลขไปเรื่อยๆ แล้วถ้า ปริมาณสีไม่ได้เป็น ๑, ๒, ๓ แต่มีสี ๑ ส่วน ๓ เดซิลิตรล่ะ

จะทาได้เท่าไร นักเรียนก็จะคิดตามแล้วว่า ๑ ส่วน ๓ เดซิลิตร ก็ต้องทาสีได้น้อยลง เริ่มคิดว่าตัวเลขเศษส่วนที่ครูถามตอนต้น กับเศษส่วนในตอนท้ายสัมพันธ์กนั อย่างไร เขาต้องนำความรูเ้ ดิม มาขบคิดและหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง แล้วอธิบายวิธีการ นั้นให้ครูและเพื่อนๆ ฟัง นักเรียนบางคนอธิบายด้วยการวาดรูป บางคนใช้เส้นจำนวน หรือคนที่เก่งคณิตศาสตร์ก็ใช้สัญลักษณ์ ทางคณิตศาสตร์มาอธิบาย เราจะเห็นความหลากหลายของวิธกี าร แก้ปัญหาที่มาจากโจทย์ปัญหาเดียวกัน “กระบวนการข้างต้นสอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ ของนั ก เรี ย นที่ เ ริ่ ม จากเรื่ อ งใกล้ ตั ว เอาตั ว เองเข้ า ไปเรี ย นรู้ ลงมือ และขบคิด (Hand and Head) จากนัน้ เป็นการแลกเปลีย่ น เรียนรู้ระหว่างกัน (Heart) ด้วยการอธิบายความคิดของตนเอง และรับฟังความคิดของเพื่อนๆ ถึงตอนนี้นักเรียนจะเห็นวิธีคิดที่ หลากหลาย เริ่มเปรียบเทียบ เริ่มสงสัยว่าทำไมเพื่อนคนนั้น

คิ ด แบบนี้ แล้ ว ทำไมคนนี้ คิ ด แบบนั้ น เริ่ ม นำความคิ ด ของ ตัวเองและของเพือ่ นมาประมวล คิดวิเคราะห์ และคิดสังเคราะห์ โดยครูคอยตั้งคำถามกระตุ้นในประเด็นที่อยากให้นักเรียนคิดต่อ เพือ่ ขยายมุมมองไปสูก่ ารวิเคราะห์ทลี่ กึ ขึน้ เช่น ใน ๓-๔ วิธกี าร ที่นักเรียนบอกมา มีอะไรที่เหมือนกันบ้าง วิธีไหนอธิบายสิ่งที่ ครูถามได้ชัดและรวดเร็วที่สุด คำถามของครูจะช่วยให้เรียน

สังเกตเห็นคีย์เวิร์ดที่เป็นแนวคิดหลักของคาบเรียนนั้นปรากฏ อยู่ในวิธีการต่างๆ ที่พวกเขานำเสนอ” “จากโจทย์ข้างต้น นักเรียนจะเห็นว่า ๓-๔ วิธีการนั้น มี สิ่ ง ที่ เ หมื อ นกั น คื อ การแบ่ ง ไม่ ว่ า จะเป็ น การแบ่ ง ภาพ แบ่งเส้นจำนวน หรือแบ่งจำนวน การจะแก้ปัญหาเรื่องเศษส่วน เขาต้องรูจ้ กั การแบ่ง มองเห็นว่าเศษส่วนคือการแบ่ง ๑ ออกเป็น หลายส่วน นี่คือแนวคิดหลักของคาบเรียนนี้ที่นักเรียนทุกคน จะต้องเข้ าใจตรงกันในท้ายที่สุด”

เปิดพื้นที่การคิด ทุกคนเรียนคณิตศาสตร์ได้

สิง่ ทีต่ า่ งออกไปในห้องเรียนคณิตศาสตร์ทใี่ ช้วธิ กี ารแบบเปิด คือ การเปิดพื้นที่ให้กับแนวคิดที่หลากหลายของนักเรียน ไม่ได้ ยึดติดกับสูตรใดสูตรหนึ่งหรือวิธีการใดวิธีการหนึ่ง จึงเกิดวิธีการ แก้ปัญหาที่หลากหลายในโจทย์เดียวกัน ทำให้นักเรียนทุกคน สามารถเข้ า ถึ ง และเข้ า ใจคณิ ต ศาสตร์ ไ ด้ ไม่ จ ำกั ด เฉพาะ นักเรียนที่เก่งคณิตศาสตร์เหมือนที่ผ่านมา “ธรรมชาติของห้องเรียนจะมีทั้งคนที่เก่งคณิตศาสตร์ คนทีอ่ ยู่ในระดับกลางๆ และคนที่ไม่ถนัดหรือไม่ชอบคณิตศาสตร์ ครูจะต้องวางแผนไว้ลว่ งหน้าว่าจะทำอย่างไรให้นกั เรียนทุกกลุม่ สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ ดังนั้นนอกเหนือไปจากบทเรียนและ สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดแล้ว ครูต้องสร้างบรรยากาศถ้อยที ถ้อยอาศัยให้เกิดขึ้นในชั้นเรียน เปิดพื้นที่ให้นักเรียนทุกคนมี โอกาสแลกเปลี่ ย นความรู้ ห รื อ ความคิ ด ของตน ไม่ ใ ห้ เ กิ ด บรรยากาศการโอ้อวดความรูห้ รือเยาะเย้ยว่าความคิดของใครผิด เช่น ถ้าวันไหนนักเรียนที่ไม่ค่อยเก่งคณิตศาสตร์กล้าพูดแสดง ความคิด อาจเป็นแค่คำพูดสัน้ ๆ อย่างเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ครูตอ้ ง รีบพูดชืน่ ชม หรือคนเก่งทีม่ กั จะตอบตลอดเวลา ครูอาจจะบอกว่า ครูเข้าใจว่า ด.ช....จะต้องรู้อย่างแน่นอน ลองดูสิว่าคนอื่นจะรู้ 27


PRIMARY

ไหมว่า ด.ช....จะตอบว่าอย่างไร วิธีการนี้ช่วยเปิดพื้นที่ ให้ นั ก เรี ย นคนอื่ น ได้ มี ส่ ว นร่ ว ม โดยเฉพาะนั ก เรี ย นที่ ไ ม่ เ ก่ ง คณิตศาสตร์ ส่วนนักเรียนทีเ่ ก่งแม้ไม่ได้ตอบ แต่ความรูจ้ ะยังอยู่ กับเขาและเขาจะคอยฟังเพื่อนว่าคิดตรงกับตนไหม ทำให้เกิด บรรยากาศของการฟังกัน และทำให้ห้องเรียนเป็นของทุกคน” ครูโกเมนกล่าว บรรยากาศการเรียนที่ทำให้นักเรียนรู้สึกมีพื้นที่และได้ รับการยอมรับเช่นนี้ ทำให้นักเรียนที่อ่อนคณิตศาสตร์จนเกิด ทัศนคติดา้ นลบกับวิชาคณิตศาสตร์ กลับมามีกำลังใจทีจ่ ะเรียนรู้ เห็นได้จากนักเรียนในกลุ่มนี้หลายคนเริ่มแสดงความคิดเห็นใน ชั้นเรียนมากขึ้น คอยตามแบบฝึกหัดจากครู จากที่แต่เดิมจะไม่ สนใจและครูตอ้ งเป็นฝ่ายถามหรือติดตามงาน รวมทัง้ มีผลการเรียน คณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น “การฟังกัน ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่เยาะเย้ย หรือไม่โอ้อวดกัน แต่ช่วยกันเรียน ช่วยกันแก้โจทย์ของครู

ผมว่าสิ่งเหล่านี้คือระบบคุณธรรมที่แทรกอยู่ในวิธีการเรียนรู้ แบบเปิด” ครูโกเมนกล่าว

“วิธกี ารแบบเปิดนีส้ อดคล้องกับการเรียนรูใ้ นศตวรรษที่ ๒๑ ที่ความรู้นั้นหาได้ง่าย เพราะเรามีสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะ เข้าหาความรู้นั้นได้ทันที โรงเรียนจึงควรมีหน้าที่สอนนักเรียน ให้มีวิธีการและกระบวนการในการเรียนรู้ ที่จะเข้าไปค้นหาและ ทำความเข้าใจด้วยตัวเอง แต่นักเรียนยังมีประสบการณ์น้อย เขายังไม่รู้ว่าตัวเองควรรู้อะไร ด้วยวิธีการใด กระบวนการของ ครูจึงเป็นเงื่อนไขให้เขาเกิดความคิด ความเข้าใจ และความรู้ ด้ ว ยตั ว เขาเอง การสอนจึ ง มี ลั ก ษณะที่ เ ปลี่ ย นไป ครู ไ ม่ ใ ช่ ผู้ ชี้ ข าดความคิ ด หรื อ คำตอบสำเร็ จ รู ป อี ก ต่ อ ไป” ครู ใ หญ่ โรงเรียนประถม กล่าว สอดคล้องกับแนวคิดของ ผศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผูน้ ำนวัตกรรมนี้ เข้ามาใช้ในประเทศไทย ที่เคยกล่าวไว้ว่า “เวลาในห้องเรียน ไม่ใช่เวลาของครู เวลาของครูอยู่นอกห้องเรียน เป็นเวลาที่ครู ต้องไปเตรียมการมา เวลาในห้องเรียนซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดนั้น เป็ น เวลาของนั ก เรี ย น ครู มี ห น้ า ที่ ส นั บ สนุ น การเรี ย นของ นักเรียน ไม่ใช่สอนตามที่ครูต้องการ”

เปิดประตูสู่การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑

เปิดมุมมองครู นักเรียนทุกคนเรียนรู้ได้

ครูสกุณี บุญญะบัญชา ครู ใหญ่ฝ่ายประถม โรงเรียน รุ่งอรุณ อธิบายว่า วิธีการเรียนรู้แบบเปิดทำให้กระบวนการใน ห้ อ งเรี ย นเปลี่ ย นไป ครู ต้ อ งเอาใจใส่ กั บ การให้ ส ถานการณ์ ปัญหาปลายเปิดในแต่ละชั่วโมงอย่างมาก เพราะถ้านักเรียน ไม่รู้สึกว่าอยากมีส่วนร่วมหรืออยากแก้ไขสถานการณ์ปัญหาที่ ครูให้ ความหลากหลายของความคิดในการแก้ปัญหาจะเกิดขึ้น น้อย ครูจึงต้องพยายามให้นักเรียนรู้สึกว่าสถานการณ์ปัญหาที่ เกิดขึ้น เป็นปัญหาของนักเรียนเอง นักเรียนจึงจะอยากคิดแก้ ปั ญ หา การประมวลความรู้ เ พื่ อ ทำความเข้ า ใจแนวคิ ด (Concept) ทางคณิตศาสตร์จะง่ายขึ้น การใช้วิธีการแบบเปิดนี้ ครูจะมียุทธวิธีที่ทำให้นักเรียนไม่รู้สึกว่าครูเป็นผู้บอกความรู้ แต่ นักเรียนเป็นผู้ที่คิดได้เอง

28

จากกระบวนการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการแบบเปิดที่ กล่าวมาข้างต้น จะสังเกตเห็นว่าห้องเรียนจะประสบผลสำเร็จ ตามแผนการเรียนรู้ที่วางไว้หรือไม่ ครูคือปัจจัยสำคัญ โดยครู โกเมนสรุ ป คุ ณ สมบั ติ ส ำคั ญ ของครู ใ นวิ ธี ก ารแบบเปิ ด ไว้

๔ ประการ คือ ๑. ครูต้องเชื่อในความจริงที่ว่า คนทุกคนสามารถเรียน รู้ได้ด้วยตัวเอง ความเชื่อเช่นนี้จะทำให้ครูทำแผนการสอนด้วย เป้าหมายทีช่ ดั เจนว่า นักเรียนต้องเป็นคนสังเกตและสร้างความรู้ ด้วยตนเอง ๒. ครูต้องเป็นนักฟังและนักสังเกต สังเกตทั้งนักเรียน และตั ว เนื้ อ หาที่ ส อน ว่ า เนื้ อ หาในคาบเรี ย นนั้ นมี แ ก่ น หรื อ แนวคิ ด หลั ก อะไร นั ก เรี ย นแต่ ล ะคนมี วิ ธี การเรี ย นอย่ า งไร


แล้วสร้างกระบวนการให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดนั้นด้วยวิธีการ ของเขาเอง ดังที่อาจารย์ไมตรีเคยกล่าวไว้ว่า ครูต้องไม่ทิ้งเด็ก เวลาของครูอยู่นอกห้องเรียน ที่อยู่ข้างหลัง เพราะเด็กทุกคนเรียนได้หมด อยู่ที่ปัญญาของครู เป็นเวลาที่ครูต้องไปเตรียมการมา ว่าจะออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเด็กมากน้อยแค่ไหน เวลาในห้องเรียนซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดนั้น การที่เด็กเรียนไม่ได้ไม่ใช่ความผิดของเขา แต่เป็นความจริงที่ เป็นเวลาของนักเรียน ครูมีหน้าที่สนับสนุน ครูต้องทำ ทำไม่ ได้ก็ยอมรับแล้วค่อยๆ คิด ค่อยๆ เรียนรู ้

การเรียนของนักเรียน ดั ง นั้ น ในวิ ธี ก ารแบบเปิ ด นี้ ครู ต้ อ งฟั ง สั ง เกต และเข้ า ใจ ไม่ใช่สอนตามที่ครูต้องการ นักเรียนให้มาก ๓. ครูต้องรู้จักตั้งคำถาม เพราะในวิธีการแบบเปิดนี้ครู จะไม่บอกความรู้ให้นักเรียนตรงๆ แต่ต้องคิดว่าจะชวนนักเรียน ไปค้นพบความรู้ด้วยตัวเองได้อย่างไร ๔. ครู ต้ อ งเรี ย นรู้ จ ากสิ่ ง ที่ นั ก เรี ย นคิ ด เข้ า ใจสิ่ ง ที่ นักเรียนเขียนหรือบอกออกมา ถึงจะพานักเรียนไปสู่แนวคิด หลักได้ ดังนั้นครูต้องใจเย็นและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่ด่วนสรุปว่าความคิดของใครถูกหรือผิด แต่คอยทำความ เข้าใจการคิดและการให้เหตุผลของนักเรียนแต่ละคน ตั้งคำถาม การนำแนวคิด Open Approach มาใช้จัดการเรียนรู้ใน เพื่อช่วยขยายความคิด ให้นักเรียนสื่อสารความคิดได้ชัดเจนขึ้น วิชาคณิตศาสตร์นี้ โรงเรียนรุ่งอรุณได้เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญจาก และเชื่ อ มโยงความคิ ด ที่ แ ตกต่ า งนี้ ไ ปสู่ ความรู้ ความเข้ า ใจ ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ในหลักการเดียวกันได้ ขอนแก่น และ ผศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการ ศู น ย์ วิ จั ย คณิ ต ศาสตรศึ ก ษา และคณบดี ค ณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาร่วมสังเกตชั้นเรียนและสะท้อนผล เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ และทำให้นักเรียนเข้าใจ แนวคิดทางคณิตศาสตร์ รู้ว่าคณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่การคำนวณ แต่เป็นบริบทในชีวิต โดยมีระบบการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เป็นตัวช่วยพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรูแ้ บบเปิดได้ ในระบบการศึ ก ษาชั้ น เรี ย น ครู วิ ช าคณิ ต ศาสตร์ ต้ อ ง ทำงานร่วมกันทุกขั้นตอน ตั้งแต่การทำความเข้าใจแนวคิด เนื้อหาในแต่ละบท และช่วยกันวางแผนการสอนต่อจากนั้น ในระหว่างที่สอนจะมีครูคนอื่น (หนึ่งคนหรือหลายคน) มาร่วม สังเกตการสอนในชั้นเรียน และนำการสังเกตในแต่ละครั้งมา สะท้อนผลร่วมกันโดยมีประเด็นในการสะท้อน เช่น ครูคิดว่า บรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ ไ หม มี ส่ ว นไหนที่ คิ ดว่ า อยากจะพั ฒ นา และจะพัฒนาอย่างไร เพื่อนำความเห็นเหล่านั้นไปปรับเปลี่ยน และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไป ซึ่ง Open Approach กับ Lesson Study นีค้ วรทำควบคูก่ นั ไป เพราะบางครัง้

เปิดใจครูให้พร้อมเรียนรู้ และพัฒนา

29


PRIMARY

ครู ผู้ ส อนอาจยั ง ไม่ เ ข้ า ใจแนวคิ ด ของบทเรี ย นนั้ น มากพอ หรืออาจมองเห็นภาพของห้องเรียนไม่ครบถ้วน การมีเพื่อนครู มาช่วยคิดและช่วยมองจะทำให้ครูมีวิธีการพัฒนาการสอนของ ตนเองได้ดีขึ้น อย่ า งไรก็ ตามวิ ธี การสอนแบบเปิ ด และแนวทางการ พัฒนาครูลักษณะนี้ต่างไปจากความเคยชินเดิมของครูไม่น้อย ดังนั้นสิ่งที่ครูต้องปรับเป็นอย่างแรกในการสอนคณิตศาสตร์ด้วย วิธีการแบบเปิด คือ การปรับใจ โดยมีพื้นฐานมาจากการร่วม อบรมปฏิบตั ธิ รรมที่โรงเรียนรุง่ อรุณจัดขึน้ เป็นประจำ สม่ำเสมอ ทั้งในและนอกโรงเรียน ซึ่งช่วยวางรากฐานจิตใจครูรุ่งอรุณให้ อ่อนน้ อ ม พร้ อ มเรี ย นรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ดังเช่นตัว อย่ า ง ประสบการณ์ของครูโกเมนเมื่อครั้งเริ่มนำวิธีการแบบเปิดมาใช้ ในช่วงแรกๆ “ตอนนั้ น ยอมรั บ เลยว่ า รู้ สึ ก กั ง วลที่ มี ค นมาดู เ ราใน ห้องเรียน ไม่ว่าจะคนเดียวหรือหลายคน เพราะธรรมชาติของ คนย่อมกลัวผิด กลัวพลาด กลัวว่าเขาจะมาต่อว่า ความรู้สึกนี้ จะออกมาก่อนโดยไม่รู้ตัว แต่พอผ่านไปเราเริ่มมองเห็นตัวเอง ก็พยายามก้าวข้ามความรู้สึกกลัวไปมองที่เจตนาของคนที่มา สั ง เกตการณ์ ใ นห้ อ งเรี ย นแทน แล้ ว เราก็ พ บว่ า เขาไม่ ไ ด้

30

ตั้งใจมาดูเพื่อจับผิดหรือว่ากล่าวเรา แต่มาเพื่อช่วยเหลือเรา สิ่งที่อาจารย์ไมตรี อาจารย์ประภาภัทร คุณครูใหญ่ฝ่ายประถม หรือเพื่อนครูบอกกับเราไม่ใช่การว่ากล่าว แต่คือความจริงที่ เกิดขึน้ ในชัน้ เรียน และเป็นสิง่ ทีเ่ ราก็อยากทำให้ได้ พอเราก้าวข้าม ความรูส้ กึ กลัวนีม้ าได้กจ็ ะกลายเป็นความอยากรู้ ใจเราจะเริม่ เปิด เริ่ ม ฟั ง เริ่ ม ยอมรั บ สิ่ ง ที่ ค นอื่ น บอก และเริ่ ม เห็ น ความไม่ สมบูรณ์แบบของตัวเอง รู้สึกว่าการทำงานในวิชาชีพครูนี้ยังมี อีกหลายเรื่องที่เรายังไม่เข้าใจ ทั้งในแง่ของกระบวนการและ เนื้อหา สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีความสุขและสนุกกับการออกแบบ แผนการสอน การสอน และการพัฒนาตนเองในทุกๆ วัน” ประสบการณ์ของครู โกเมนเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อน ให้เห็นว่า วิธีการแบบเปิด หรือ Open Approach นี้ ไม่เพียง เปิดพื้นที่ให้กับความคิดและศักยภาพที่หลากหลายของนักเรียน แต่ยังเป็นวิธีการสอนที่เปิดมุมมองของครู ช่วยพัฒนาครูทั้งใน ด้านสติปัญญา จิตวิญญาณความเป็นครู และใจที่อ่อนน้อม พร้อมรับฟังผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง วิธีการเรียนเช่นนี้จึงไม่เพียงพัฒนาสติปัญญา แต่ยัง พัฒนาจิตใจของทั้งครูและนักเรียนไปพร้อมกัน


โขนจิ๋วรุ่งอรุณ สำเร็จได้ด้วย “ใจ” ที่เห็นคุณค่า เรื่อง : ครูเบญจพร ศรีสร้อย, ครูนันทิยา ตันศรีเจริญ

ยามเย็ น เดื อ นมี นาคม ๒๕๕๖ สนามฟุ ต บอลของ โรงเรียนรุ่งอรุณเปลี่ยนเป็นเวทีการแสดงโขนกลางแจ้งเหมือน เช่นทุกปีที่ผ่านมา ในปีนี้นักเรียนชมรมโขนระดับชั้นประถม จัดการแสดงโขนรามเกียรติ์ ชุด จองถนน ยิ่งใกล้เวลาแสดง คนดูทงั้ นักเรียน ครู พ่อแม่ ปูย่ า่ ตายาย ทีเ่ ฝ้ารอคอยการแสดง ชุดนี้มาตลอดทั้งปี ต่างจูงมือ หอบลูกจูงหลาน มาปูเสื่อจับจอง กันจนเต็มพื้นที่หน้าเวทีที่ขึงม่านผ้าดิบผืนใหญ่ ตกแต่งชื่อชุด

การแสดงโขนรามเกียรติ์ ตอน จองถนน

การแสดงอย่างเรียบง่าย และเมื่อการแสดงเริ่มขึ้น ตัวละคร ทยอยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกมาร่ายรำ มาเต้นแสดงไป ตามบทบาท ผู้ ช มก็ อ ดไม่ ไ ด้ ที่ จ ะยิ้ ม ตามไปกั บ ความน่ า รั ก น่าเอ็นดูของเหล่านักแสดงตัวน้อย แน่นอนว่าการแสดงในครั้งนี้อาจเทียบไม่ได้กับการแสดง โขนชุดใหญ่ชั้นครู ทักษะท่ารำของนักเรียนชมรมโขนก็ไม่ได้ สวยงามตามมาตรฐาน แต่เมื่อการแสดงจบลง ผู้ชมทุกคนต่าง

31


PRIMARY

พร้อมใจกันปรบมือให้อย่างกึกก้อง เป็นเสียงปรบมือที่มอบให้ กับความตั้งใจของเหล่านักแสดงและนักดนตรี รวมไปถึงครู ผู้ปกครอง และผู้ที่อยู่เบื้องหลังทุกคน ที่ร่วมแรงร่วมใจทุ่มเท ทำงานอย่างหนักมาตลอดระยะ ๑ ปี เพื่อวันนี้ที่ชาวรุ่งอรุณ

ได้ชม ‘โขน’ ศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยจากฝีมือลูกหลาน ของเราเอง

ฝึกโขน คุณค่าของการฝึกวิชาชีวิต

โขนเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่งดงาม ประณีต เพราะรวมศิลปะไทยไว้เกือบทุกแขนง ทัง้ นาฏศิลป์ ดุรยิ างคศิลป์ วรรณศิลป์ คีตศิลป์ วิจิตรศิลป์ ประณีตศิลป์ การแสดงโขน แต่ละครั้งจึงต้องใช้เวลาฝึกซ้อมยาวนาน และมีค่าใช้จ่ายสูง การนำโขนมาให้นักเรียนชั้นประถมเรียนรู้และแสดงจึงเป็นเรื่อง ที่ท้าทายไม่น้อย ครูสกุณี บุญญะบัญชา ครู ใหญ่ฝ่ายประถม โรงเรียน รุ่งอรุณ กล่าวถึงเหตุผลที่สนับสนุนให้มีการแสดงโขนจิ๋วรุ่งอรุณ เป็นประจำทุกปีว่า เพราะเห็นคุณค่าของโขนที่เป็นศิลปะชั้นสูง

มีความละเอียดอ่อน สวยงาม ในขณะเดียวกันก็เห็นประเด็นทีเ่ ด็ก จะได้เรียนรู้และเปลี่ยนผ่านตัวเองจากการฝึกซ้อมโขน ทั้งเรื่อง การทำความเข้าใจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ที่การเรียนในวิชา ภาษาไทยอาจช่วยสร้างความเข้าใจได้สว่ นหนึง่ แต่การทีน่ กั เรียน ได้มีส่วนร่วมหรือสวมบทบาทเป็นตัวละครในวรรณคดี จะทำให้ เข้าใจและซาบซึ้งมากขึ้น ขณะเดียวกันนักเรียนก็ได้เปลี่ยนผ่าน ตัวเองจากการฝึกซ้อมโขน เพราะโขนเป็นงานยากที่ต้องใช้ เวลาและความอดทนอย่างมาก ตัง้ แต่การยืน การดัดมือ ดัดแขน ดัดตัว การเต้นเสา การแสดงท่าทาง ซึ่งเด็กสมัยนี้มักมีปัญหา ว่ า ความอดทนน้ อ ย แต่ กระบวนการฝึ ก ซ้ อ มโขนจะช่ ว ยให้ นักเรียนมีความอดทนมากขึ้น อย่ า งไรก็ ตามครู ส กุ ณี เ ล่ า ว่ า ก่ อ นหน้ า นี้ เ คยเกื อ บจะ ยกเลิกการเรียนโขน เนื่องจากยุคเริ่มต้นการแสดงโขนของ โรงเรียนรุ่งอรุณเกิดขึ้นเพื่อให้นักเรียนชั้น ป.๖ เรียนรู้วรรณคดี ไทยเรื่องรามเกียรติ์ผ่านการแสดงโขน นักเรียนชั้น ป.๖ ทุกคน 32

จึงต้องเรียนโขน แต่ด้วยท่ารำที่ยากและต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก ทำให้นักเรียนที่ ไม่ ได้รักที่จะเรียนโขนรู้สึกทรมานและแสดง พฤติกรรมต่อต้าน สร้างความหนักใจให้กับครูโขนที่เชิญมาจาก ข้ า งนอกไม่ น้ อ ย เสี ย งสะท้ อ นของครู โ ขนทำให้ ค รู ใ หญ่ ฝ่ า ย ประถมเกือบจะถอดใจและยกเลิกการเรียนโขน แต่เมื่อนึกถึง นั ก เรี ย นอี ก หลายคนที่ รั ก และมี ค วามสุ ข กั บ การแสดงโขน จึ ง ปรั บ เปลี่ ย นจากการบั ง คั บ เรี ย นมาเป็ น การเปิ ด โอกาสให้ นักเรียนเลือกเรียนในรูปแบบของชมรมโขน เพื่อให้การเรียน โขนมีจุดเริ่มต้นจากฉันทะของนักเรียนเอง “เราเปิดชมรมโขนขึน้ ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ แล้วเปิดรับ นักเรียนชั้น ป.๓-ป.๖ ที่มีใจรักและอยากเรียนโขนจริงๆ เข้ามา เรียนรู้ เมื่อนักเรียนเลือกจะมาเรียนโขนด้วยตัวเอง เขาจะ


อดทนกับการฝึกซ้อมและค่อยๆ เปลี่ยนผ่านตัวเองโดยที่เขา ไม่รู้ตัว ทุกปีเมื่อถึงวันซ้อมใหญ่ เราพบว่านักเรียนโขนหลาย คนยังทำได้ไม่ดี แต่พอถึงเวลาแสดงจริง เมื่อเด็กๆ ได้สวมใส่ ชุดโขน หัวโขน และเครื่องโขนที่ครูมอบให้ เขารู้สึกมีพลัง และ เกิดความตั้งใจขึ้นโดยไม่รู้ตัว ทุกคนจึงทำเต็มที่และทำได้ดีกว่า การซ้อมครั้งใดๆ แม้ว่าการแสดงจะไม่ได้สวยวิจิตรเหมือนโขน จากกรมศิลป์ แต่เราเห็นความจริงจัง ความตั้งใจ และความ ทุ่มเทของนักแสดงโขนทุกคนที่ล้วนอยากให้การแสดงประสบ ความสำเร็จและออกมาดีที่สุด ดังนั้นแม้ว่าเราจะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่เราจะยังคงสร้างโอกาสให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ที่หาได้ ยากเช่นนี้ทุกปี” ครูสกุณีกล่าว

ปรับการเรียนการสอน ให้เด็กเรียนได้อย่างเหมาะสม

การแสดงโขนจิ๋วรุ่งอรุณในแต่ละปีมีผู้คนหลากหลายทั้ง ในและนอกโรงเรี ย นเข้ า มาช่ ว ยกั น ทำงาน ในช่ ว งปี แ รกๆ โรงเรียนรุ่งอรุณเรียนเชิญคณะครูจากโรงละครโจหลุยส์มาเป็นผู้ ฝึกสอน ต่อมาได้เชิญครูผู้ชำนาญการฝึกหัดโขนจากวิทยาลัย นาฏศิลป์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็นสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์) นำโดย ดร.ชนั ย วรรณะลี และ อ.ประดิ ษ ฐ์ ศิ ล ปะสมบั ติ มาฝึกสอนจนถึงปัจจุบนั ร่วมด้วยครูศศิประภา รัตนวราหะ ครูวชิ า

ซ้อมใหญ่กอ่ นแสดงจริง

นาฏศิลป์ ไทย และคุณแม่อัจฉราภรณ์ สังข์ทอง ผู้ปกครอง นักเรียนรุ่งอรุณ ที่มาช่วยสอนรำตามคำชักชวนของ ดร.ชนัย ผู้เป็นรุ่นพี่ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ ตั้งแต่ปีแรกที่ลูกเข้าเรียนชั้น ป.๓ จนถึงปัจจุบันลูกอยู่ชั้น ม.๒ แล้ว เพราะอยากถ่ายทอด วัฒนธรรมโขนแบบดั้งเดิมที่สั่งสมจากครูบาอาจารย์นาฏศิลป์ รุน่ เก่าให้ลกู หลานรุน่ หลังได้สบื ทอดต่อ โดยปรับหลักสูตรการเรียน การสอนให้เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียนวัยประถม “เราสอนตามประเพณีของการเล่นโขนที่ครูบาอาจารย์ สอนกันมาแต่ โบราณ เพราะอยากให้เขาได้ของโบราณจริงๆ แต่ ก็ มี ป รั บ บ้ า งในส่ ว นที่ จ ำเป็ น และปรั บ ได้ เพื่ อ ให้ เ ด็ ก ๆ สามารถเรียนรู้ได้และไม่รู้สึกยากจนเกินไป โดยปรับท่าให้เด็ก ฝึกจากง่ายไปยาก พอท่าเริ่มยากขึ้น เด็กจะเริ่มบ่น เราก็รำให้ ดูเลยว่าที่ครูเรียนมาเป็นแบบนี้นะ ที่เด็กๆ ฝึกอยู่นั้นเป็นท่าที่ ปรับให้ง่ายขึ้นแล้ว ซึ่งเด็กเขาจะเห็นเองว่าท่าโบราณดั้งเดิมที่ ครูรำให้ดูนั้นมีเสน่ห์กว่า แล้วเขาจะเกิดแรงกระตุ้นที่อยากจะ ทำให้ได้แบบครู นอกจากนี้การรำโขนต้องประกอบด้วย “ท่า” และ “ที” ทีเ่ ป็นเรือ่ งของสีหน้า แววตา ซึง่ ค่อนข้างยาก ขึน้ อยูก่ บั พรสวรรค์ของเด็กแต่ละคน เวลาสอนเราจะคงท่าไว้ แต่ยืดหยุ่น ในเรื่องของที เพราะเป็นทักษะที่ต้องอาศัยประสบการณ์” “จากที่สอนมาหลายรุ่น ยังไม่มีเด็กคนไหนที่ทำไม่ ได้

มีแต่ทำได้ดมี ากหรือดีนอ้ ย แต่โดยรวมเขาทำผลงานออกมาได้ดี และเป็นธรรมชาติ เพราะเขาเล่นโขนด้วยใจจริงๆ เวลาฝึกซ้อม เราเห็นว่าเขาได้อารมณ์เพราะอยากเป็นตัวละครตัวนั้น ซึ่งการ 33


PRIMARY

มองหรือประเมินเด็ก เราต้องดูระยะเวลาที่ฝึกซ้อมด้วย เราเอง กว่าจะได้มาต้องฝึกฝนเป็นสิบปี เด็กเขามีเวลาฝึกซ้อมไม่ถึงปี ด้วยซ้ำ ได้ขนาดนีถ้ อื ว่าเก่งมากแล้ว” คุณแม่อจั ฉราภรณ์ กล่าว การมองเด็กอย่างเข้าใจด้วยใจที่เปิดกว้างและความยืด หยุ่นของทีมครูผู้สอนโขน คือหัวใจสำคัญที่ทำให้นักเรียนวัย ประถมมีโอกาสเรียนรู้ศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่ทั้งยาก และมีแบบแผนการเรียนเคร่งครัดมาแต่โบราณ โดยไม่ถูกสกัด ด้วยมาตรฐานที่สูงเกินศักยภาพ

คุณค่าระหว่างทาง สำคัญกว่าปลายทางวันแสดง

องค์ ป ระกอบสำคั ญ ของการแสดงโขนไม่ ไ ด้ มี เ พี ย ง นักแสดงเท่านั้น หากยังมีนักดนตรีวงปี่พาทย์ที่เริ่มฝึกซ้อม พร้อมไปกับนักแสดงตั้งแต่ต้นปีการศึกษา ประกอบด้วยเพลง หน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบกริยาอาการ พฤติกรรม และอารมณ์ ของตัวละคร และเพลงสองชั้นที่ ใช้ประกอบการร้อง โดยครู ดนตรีไทยจะพิจารณาปรับเปลี่ยนบางเพลงเพื่อให้เด็กเล่นได้ ครูเอกภพ ศรีรกั ษา ครูวชิ าดนตรีไทย อธิบายว่า บทโขน แต่ ล ะตอนจะมี เ พลงที่ ใ ช้ ใ นการแสดงกำกั บ อยู่ ต ามขนบที่ กำหนดกันมาแต่โบราณ ประกอบด้วยเพลงสองชั้นและเพลง หน้าพาทย์ ซึ่งมีทั้งส่วนที่ต้องคงไว้ ห้ามปรับเปลี่ยน และส่วนที่ อนุญาตให้ปรับได้ ในส่วนหลังนี้เองที่ครูดนตรีไทยจะหารือกัน แล้วปรับเปลี่ยนเพื่อให้เด็กเล่นได้ “คำว่าเด็กเล่นได้นี้ ไม่ ได้หมายถึงความยากง่ายของ เพลงเท่านั้น แต่รวมถึงขนบของดนตรีไทยที่กำหนดคุณสมบัติ ของผู้เล่นในแต่ละเพลงไว้ด้วย เช่น บางเพลงกำหนดคุณวุฒิ วัยวุฒิ หรือบางเพลงกำหนดว่าต้องเป็นผู้ที่บวชเรียนแล้วถึงจะ เล่นได้ ครูก็ต้องมาคุยกันว่าจะเปลี่ยนเป็นเพลงไหนได้บ้างที่เด็ก พอจะเล่นได้ รวมทัง้ ปรึกษา ดร.สิรชิ ยั ชาญ ฟักจำรูญ อธิการบดี สถาบั น บั ณ ฑิ ต พั ฒ นศิ ล ป์ ที่ เ ป็ น ครู ผู้ ใ หญ่ ควบคู่ ไ ปด้ ว ยเพื่ อ ความถูกต้อง เช่น เพลงบาทสกุณี เป็นเพลงเสมอชนิดหนึ่งที่ เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง เด็กยังเล่นไม่ได้ เราก็ปรับเป็นเพลง เสมอธรรมดา บางเพลงต้องเล่น ๕ รอบแบบไม่ซ้ำกันเลย 34

เราก็ปรับให้เด็กเล่นแบบเดียวทั้ง ๕ รอบ คือตรงไหนที่ปรับได้ เราก็ปรับเพื่อให้เด็กมีโอกาสได้เล่นมากที่สุด แต่ตรงไหนที่ปรับ ไม่ ไ ด้ ห รื อ เด็ ก เล่ น ไม่ ไ ด้ จ ริ ง ๆ เช่ น เพลงหน้ า พาทย์ ชั้ น สู ง

เพลงยากๆ หรือการตี (กลอง) ตะโพนที่มี ๒ หน้า แต่ตีได้ถึง ๓๒ เสียง ซึ่งยากมาก เราก็ให้ครูดนตรีไทยของรุ่งอรุณและครู ดนตรีไทยที่เราเชิญมาจากข้างนอกช่วยเล่น” นอกจากฝึกซ้อมเพลงแล้ว เด็กๆ นักดนตรีโขนยังต้อง ฝึกดูท่ารำ ฝึกฟังเพลง และสังเกตรายละเอียดตามบท เพื่อให้ ดนตรีที่เล่นสัมพันธ์กับการแสดง (การรำ) มีจังหวะรับส่งกัน อย่างพอเหมาะพอดี เช่น เพลงร้องบางเพลงต้องตีรับเฉพาะ ตอนท้าย แต่บางเพลงต้องตีทั้งหัวและท้าย หรือถ้าเห็นตัวนาง ยกมือขึ้นจีบในฉากนี้ นักดนตรีต้องตีรับ เด็กนักดนตรีจึงต้อง เราจะดูว่าเด็กคนนี้มีความสามารถตรงไหน แล้วถ้าเขาพัฒนามาอีกจุดหนึ่งได้ เราก็ให้เขา ๑๐๐ แล้วนะ เราจะดูนักเรียนเป็นรายบุคคล บางครั้งผลปลายทางอาจยังไม่ดีมาก แต่เรามองว่าเรื่องระหว่างทางสำคัญกว่า ฟังร้องได้และดูท่ารำเป็น ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนและสั่งสม ประสบการณ์ ดังนั้นหากดูที่ผลลัพธ์ปลายทางด้านทักษะดนตรี เด็กๆ นักดนตรีโขนอาจได้คะแนนไม่มาก แต่ถา้ มองคุณค่าทีเ่ ด็กๆ ได้ระหว่างทางการฝึกซ้อมนับว่าเกินร้อย “เราไม่มเี กณฑ์วา่ ๕๐ หรือ ๑๐๐ อยูต่ รงไหน แต่เราจะดูวา่ เด็ ก คนนี้ มี ความสามารถตรงไหน แล้ ว ถ้ า เขาพั ฒ นามาอี ก

จุดหนึง่ ได้ เราก็ให้เขา ๑๐๐ แล้วนะ เราจะดูนกั เรียนเป็นรายบุคคล บางครัง้ ผลปลายทางอาจยังไม่ดมี าก แต่เรามองว่าเรือ่ งระหว่างทาง สำคั ญ กว่ า ไม่ ว่ า จะเป็ น การปลู ก ฝั ง หรื อ สร้ า งทั ศ นคติ ที่ ด ี

และการปรับแก้นสิ ยั บางอย่าง เช่น ตอนแรกเด็กๆ ยังซนเป็นลิง เป็ น ค่ า งกั น อยู่ เ ลย แต่ พ อฝึ ก ซ้ อ มไปเรื่ อ ยๆ เขาเริ่ มซึ ม ซั บ

เริ่มเห็นบทบาทและความสำคัญของตัวเอง ความพยามและ ความตัง้ ใจเริม่ มา เราเห็นเขาเอาบทมาท่อง สังเกตท่ารำอย่างตัง้ ใจ จนใกล้วันแสดงเขาก็ร้องเพลงและจำได้หมด เพราะเขาใส่ใจ


35


PRIMARY

เขาเห็ น คุ ณ ค่ า ซึ่ ง สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ค รู ด นตรี แ ละนาฏศิ ล ป์ เ น้ นมาก คือ การสร้างให้เด็กเป็นผู้เสพ เพราะหากมองที่การเป็นผู้ผลิต เวลาเพียงเท่านี้เขาทำไม่ ได้มากหรอก แต่การได้มาเรียนจะ ทำให้คุณค่าต่างๆ ซึมเข้าเนื้อเข้าตัวเขา แล้วเขาจะกลายเป็น ผู้เสพที่ช่วยรักษาศิลปวัฒนธรรมโขนได้ดีกว่าการเป็นผู้ผลิต ผมว่ า ทุ ก คนในโรงเรี ย นมาร่ ว มกั น ทำโขนก็ เ พราะเห็ น เรื่ อ ง ระหว่ า งทางที่ เ กิ ด กั บ เด็ ก มากกว่ า ผลลั พ ธ์ ป ลายทางในวั น แสดง” ครูเอกภพกล่าว

นักเรียน-ครู เรียนรู้และพัฒนาไปด้วยกัน

คุ ณ ค่ า ระหว่ า งทางการฝึ ก หั ด โขนที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ เด็ ก ๆ นักเรี ย น คื อ ความมีวินัยและความรับผิดชอบที่ต้องกำกั บ ตัวเองให้มาฝึกซ้อมเป็นประจำทุกสัปดาห์ ตั้งใจฝึกซ้อมทั้งใน ชัว่ โมงเรียนโขนและนอกเวลาทีเ่ ด็กๆ ขอให้ครูมาช่วยฝึกซ้อมเพิม่ นัดหมายเพื่อนๆ มาฝึกซ้อมกันเอง และกลับไปฝึกซ้อมที่บ้าน ทั้งยังได้ฝึกเครื่องความอดทนตั้งแต่วันแรกที่เริ่มซ้อมจนกระทั่ง วันแสดง “แม้เราจะปรับหลักสูตรโขนให้เรียนง่ายขึน้ แต่การฝึกโขน ก็ยังเป็นงานยากที่ต้องใช้ความอดทนอย่างมาก แรกๆ ก็อดทน กับการต่อท่า พอถึงวันแสดง เขาต้องอดทนกับการแต่งตัว เพราะเครื่ อ งแบบแต่ ล ะชุ ด พระ นาง ยั ก ษ์ ลิ ง หนั ก กว่ า ๔ กิโลกรัม แต่งตัวเสร็จแล้วจะดืม่ น้ำไม่ได้เพราะชุดใช้การเย็บติด เด็กเขาก็อดทนกันได้ คอยช่วยเหลือกันเพื่อให้การแสดงออก มาดีที่สุด เราเคยผ่านประสบการณ์ตรงนี้มาก่อน พอเห็นว่าเด็ก ทำได้ เราก็ภูมิใจ” คุณแม่อัจฉราภรณ์สะท้อนภาพการเติบโต ด้านจิตใจของเด็กๆ ที่ค่อยๆ งอกงามระหว่างการเรียนโขน ไม่เพียงแต่นกั เรียนเท่านัน้ ที่ได้ประโยชน์จากการเรียนโขน ครูเองก็ได้พัฒนาตน พัฒนาใจไปพร้อมกับนักเรียน จากการ เข้ามามีส่วนร่วมทำงานโขน ตัวอย่างเช่นครูดนตรีไทยและครู นาฏศิลป์ไทย “ในชั่วโมงสอนเราไม่ได้ร้องเพลงไทยเดิมอย่างเป็นเรื่อง เป็นราว เราสอนเด็กก็ร้องเพลงเล็กๆ เพลงเด็กๆ แต่พอมา 36

สอนโขนก็เป็นโอกาสที่เราได้ร้องเพลงโขนที่มีความประณีต

และไพเราะ ครู น าฏศิ ล ป์ ก็ ไ ด้ โ อกาสแสดงศั ก ยภาพด้ า น นาฏยศาสตร์ชั้นสูง ครูดนตรีไทยก็ได้เล่นเพลงปี่พาทย์ชั้นสูง ซึ่ ง ครู แ ต่ ล ะคนต้ อ งไปทำการบ้ า นและหาครู บ าอาจารย์ ช่ ว ย ฝึกฝนเพิ่มเติม เพราะแม้จะเรียนมา แต่เราไม่ ได้ทำจนเป็น

มืออาชีพเหมือนคนที่เขาเล่นโขนประจำ การทำงานโขนจึงเป็น โอกาสที่ครูจะได้พัฒนาตัวเองด้วย” ครูเอกภพกล่าว ครู เ บญจพร ศรี ส ร้ อ ย เป็ น อี ก ผู้ ห นึ่ ง ที่ อ ยู่ เ บื้ อ งหลั ง การแสดงโขนจิ๋วรุ่งอรุณ ในฐานะครูวิชาภาษาไทยผู้สอนเรื่อง รามเกียรติ์ และเป็นครูผู้ดูแลชมรมโขน ที่อยู่กับนักเรียนโขน ตั้ ง แต่ วั น เปิ ด รั บ สมั ค รรั บ เข้ า ชมรม ดู แ ลการฝึ ก ซ้ อ ม และ ประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เรียกว่าเป็นแม่งานที่อยู่กับนักเรียน โขนตั้งแต่วันแรกที่ยังรำไม่เป็นจนกระทั่งถึงวันสุดท้ายที่เด็กๆ ได้แต่งหน้า แต่งตัว และสวมหัวโขนขึ้นแสดง “เราเป็นครูสอนวิชาภาษาไทย เรื่องโขนและรามเกียรติ์ นั้นอยู่ในเนื้อในตัวเราอยู่แล้ว ปัญหาอุปสรรคอาจจะมีบ้างก็เป็น เรือ่ งปกติ แต่สงิ่ หนึง่ ทีร่ สู้ กึ หนักคือใจของเราเอง เพราะรูส้ กึ ลึกๆ ในใจว่ า โขนเป็ น ศิ ล ปะการแสดงชั้ น สู ง ที่ ง ดงามและมี คุ ณ ค่ า เราก็อยากให้การแสดงออกมาดีทสี่ ดุ บางครัง้ เด็กทำไม่ได้ ตัวเด็กเอง ก็เริ่มล้า เราเองก็กดดัน แต่สุดท้ายเราก็เรียนรู้ที่จะปล่อยวาง เพราะทุกคนทำเต็มที่แล้ว และเมื่อวันแสดงมาถึง สิ่งที่เรา ค่อยๆ ก่อ ค่อยๆ ปั้น สิ่งที่นักเรียนเฝ้าอดทนฝึกซ้อมมาแรมปี ได้ออกสูส่ ายตาผูช้ ม เราเห็นประกายความสุขในตัวนักเรียนโขน ความสุขของครูผฝู้ กึ สอนโขน ครูทา่ นอืน่ ๆ ผูป้ กครอง และความสุข ของทุกคนที่มาชมการแสดงโขนในวันนั้น เราก็หายเหนื่อย รู้สึกภาคภูมิใจและมีความสุขที่ได้ทำงานนี้” ตลอดหนึ่งปีเต็มของการฝึกหัดโขน นักเรียนเติบโตทั้ง ทางร่างกาย คือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ผ่านการฝึกซ้อม ท่ารำต่างๆ และความเติบโตของจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความ อดทน วินัย ความรับผิดชอบ สมาธิ ที่มีจุดเริ่มมาจากความรัก ที่จะเรียนโขน และที่สำคัญคือ ความรักในนาฏกรรมชั้นสูงของ ไทยที่หยั่งลึกลงในจิตใจของนักเรียนโขนทุกคน โดยมีผู้ใหญ่

ที่อยู่รายรอบช่วยสร้างโอกาสและสนับสนุน การแสดงโขนจิ๋ว รุ่ ง อรุ ณ จึ ง เป็ น ภาพสะท้ อ นหนึ่ ง ที่ บ อกเล่ า วิ ถี ก ารเรี ย นรู ้ และความเป็นชุมชนของโรงเรียนรุ่งอรุณได้อย่างเป็นรูปธรรม


SECONDARY

เรียนรู้สาระวิชา สาระชีวิต

ในมิติการทำละคร

กว่าจะเป็นละครหนึ่งเรื่องให้ได้ชมกัน คนทำละครต้อง ผ่านกระบวนการทำงานและอุปสรรคนานัปการ เพราะละครเป็น งานกลุ่มขนาดใหญ่ที่มีคนทำงานจำนวนมาก ประกอบไปด้วย หน้าที่หลากหลาย ต้องสื่อทั้งสาระและความบันเทิง ยิ่งเป็น ละครอิงประวัติศาสตร์ที่ต้องตระหนักถึงความถูกต้องของข้อมูล ด้วยแล้ว ความยากยิ่งเพิ่มขึ้นทวีคูณ กระบวนการทำละครจึง เป็นโจทย์ เป็นเงือ่ นไข ทีท่ า้ ทายให้นักเรียนได้เรียนรู้และพัฒนา ศักยภาพอย่างหลากหลาย

ความล้มเหลวนำไปสู่การเรียนรู้ ในค่ายละคร

จากโจทย์ “ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมถึงตั้งอยู่ในบริเวณ ที่ ร าบภาคกลาง” ในหน่ ว ยวิ ช าบู ร ณาการสั ง คมศึ ก ษาและ ภูมิปัญญาภาษาไทย นักเรียนชั้น ม.๒ เลือกนำเสนอการเรียนรู้ ในงานหยดน้ำแห่งความรู้ตอนปลายภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ในรูปแบบละคร เพราะละครเป็นสื่อสาระและบันเทิงที่ สนุกทั้งคนเล่นและคนดู โดยไม่ได้ฉุกคิดว่าพวกเขารู้เรื่องละคร มากน้อยแค่ไหน ครูอารีย์ จันทร์แย้ม ผู้ช่วยครู ใหญ่ฝ่ายมัธยม และครู หน่วยวิชาบูรณาการสังคมศึกษาและภูมปิ ญั ญาภาษาไทย เล่าถึง

บรรยากาศการทำงานละครของนักเรียนในช่วงนั้นว่า นักเรียน ทุกคนมีความตัง้ ใจและอยากมีสว่ นร่วม แต่เนือ่ งจากไม่มคี วามรู้ ด้านงานละคร จึงทำไปตามที่แต่ละคนเข้าใจ หลายคนรวมตัว ช่วยกันเขียนบทอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ บางคนเดินมาดูเพื่อน เขียนบทเป็นครั้งคราว ขณะที่อีกหลายคนไม่รู้ว่าจะทำอะไร แต่ก็นั่งอยู่ในห้อง ไม่ไปไหน เพราะอยากมีส่วนร่วม “เราเห็นความตั้งใจของเขาที่ร่วมกันทำทั้งห้อง แต่เป็น ลักษณะว่าใครทำได้ก็ทำ คนที่ไม่รู้ว่าจะทำอะไรก็วางบทบาท ตัวเองไม่ถูก แต่เขาก็ไม่ไปไหน นั่งตรึงกันอยู่ในห้อง ซึ่งเป็น ภาพทีแ่ ปลกมาก เพราะปกติถา้ ให้ทำงานกลุม่ ใหญ่แบบนี้ ภาพจะ โกลาหลมาก แต่นี่เขาค่อนข้างเงียบ เพราะใจเขาไปด้วยกัน เพียงแต่เขาทำละครไม่เป็น” การขาดความรูแ้ ละความเข้าใจส่งผลให้ละครตอนปลายภาค ของพวกเขาไม่สนุกอย่างที่ตั้งใจ แต่ถึงกระนั้นครูอารีย์ก็มอง เห็นถึงความตั้งใจของนักเรียนแต่ละคน และรู้ว่านักเรียนกลุ่มนี้ มีความสนใจเรือ่ งละคร ในภาคเรียนต่อมา เมือ่ นักเรียนเริม่ เรียน ประวัตศิ าสตร์สมัยอยุธยา ครูอารียจ์ งึ วางแผนปลายทางการเรียน ด้วยการนำเสนอความรู้ผ่านละครอิงประวัติศาสตร์เรื่องสุริโยไท โดยจะจัดค่ายละครให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการทำละคร อย่างที่พวกเขาเคยร้องขอไว้ “เทอมที่แล้วนักเรียนเริ่มมาบอกว่า “ครู หาคนมาสอน การแสดงให้เราหน่อย ครู เราอยากเรียนเขียนบท” ได้ยนิ อย่างนี้ แล้วเรายินดีมาก เพราะถ้าการเรียนรู้เกิดจากความต้องการของ 37


SECONDARY

ฉากจบละครเรือ่ ง “พระนเรศวร” 38


นักเรียน ก็เป็นเรื่องง่ายที่ครูจะพาเขาเรียนรู้ ตอนต้นภาคเรียน ที่ ๒ เราก็แจ้งให้นักเรียนทราบว่าเขาจะต้องเรียนรู้เพื่อเข้าใจ เรื่องราวประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา แล้วสื่อการเรียนรู้ด้วยละคร เรือ่ งสุรโิ ยไทตอนปลายภาค โดยครูจะหาครูมาสอนการทำละครให้ พอมีเป้าหมายว่าจะได้เรียนและทำละคร เห็นได้ชัดว่านักเรียน เต็มที่กับการเรียนรู้มาก เขารู้สึกเป็นเจ้าของเรื่องราว เอานิยาย เรื่องสุริโยไทมาอ่านก่อน ช่วยกันวางแผนการออกภาคสนาม ศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ ตามรอยนิ ย าย รวมทั้ ง ทำพิ ธี กรรมขอ บรมราชานุญาตต่อองค์พระมหากษัตริยเ์ พือ่ ทำละคร แล้วกลับมา สรุปการเรียนรู้และเขียนบทละครร่วมกันก่อนจะเข้าค่ายละคร” ค่ายละคร “ปลูกฝันให้หยั่งราก ร่วมฝากละครให้ผลิใบ” จัดขึ้นเป็นระยะเวลา ๕ วัน ที่โรงเรียนรุ่งอรุณ เป็นช่วงเวลาที่ นักเรียนชัน้ ม.๒ ทุกคนได้มากินนอนและเรียนรูก้ ารทำละครจาก ครูละครมืออาชีพ คือ ครูชา่ ง-ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง และครูจาก คณะละครมรดกใหม่ พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องการเขียนบท ทักษะการแสดง และบทบาทหน้าทีต่ า่ งๆ ของงานละคร ทีส่ ำคัญคือการทำความ เข้าใจในคุณค่าของละครที่ว่า ละครเป็นสื่อเชื่อมโยงระหว่าง นักแสดงกับคนดู นักแสดงต้องเข้าใจเรื่องราว แล้วเอาเรื่องราว ที่จะแสดงมาเปลี่ยนตัวเองก่อน จึงจะเชื่อมโยงไปสู่คนดู ได้ เมือ่ นักแสดง คนดู และเรือ่ งราว หลอมรวมเป็นหนึง่ เดียว เมือ่ นัน้ องค์ความรูจ้ งึ จะเกิดขึ้น

ค่ายละคร “ปลูกฝันให้หยัง่ ราก ร่วมฝากละครให้ผลิใบ”

ความล้มเหลวของละครในภาคเรียนทีแ่ ล้ว ทำให้นกั เรียน ยอมรับฟังการบอกสอนและการแก้ ไขจากครูละคร จนรู้และ เข้าใจงานละครมากขึน้ มองเห็นว่าตัวเองจะมีสว่ นร่วมได้อย่างไร ในบทบาทไหน เขียนบท กำกับ ทำฉากและเวที จัดหาเสื้อผ้า ดูแลเรือ่ งเสียงและแสง หรือเป็นนักแสดง โดยยึดเรือ่ งความเสียสละ และความสามัคคีเป็นหลักในการทำงาน ตามแก่นเรือ่ ง “สุรโิ ยไท” ทีพ่ วกเขาต้องการสือ่ ถึงความเสียสละและความสามัคคีของบรรพชน “ตอนนั้นนักเรียนคนที่ ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ผู้กำกับ เกิดภาวะเครียดถึงกับไปแอบร้องไห้ เพราะบทบาทเขาต้อง สอนและสัง่ เพือ่ นได้ แต่เพือ่ นในห้องต่างคิดว่าตัวเองแน่ ไม่มีใคร ยอมฟัง ครูจึ ง ต้อ งเข้ ามาเป็น ตั วกลาง ชี้ ให้ นั กเรี ยนเห็ นว่ า

ผู้กำกับเป็นตำแหน่งที่ต้องเสียสละมาก ต้องเป็นผู้นำ แล้วเป็น เรื่องทุกข์มากที่บอกไปแล้วไม่มี ใครฟัง ให้นักเรียนมองเห็น ซึ่งกันและกัน เห็นความเสียสละของเพื่อน ไม่ใช่มองเห็นแต่ บทบาททีต่ วั เองทำ พอได้คยุ กัน เขาก็รอ้ งไห้ ปรับเปลีย่ นตัวเอง แล้วช่วยกันทำละครจนสำเร็จ” ความสามัคคีและความเสียสละของพวกเขาทำให้ละคร เรือ่ งสุรโิ ยไทในงานหยดน้ำแห่งความรูต้ อนปลายภาค ได้รบั เสียง ปรบมือกึกก้องจากคนดู และได้รบั คำชื่นชมจากครูของคณะละคร มรดกใหม่ว่า พวกเขาสามารถทำละครที่ทั้งสนุก ได้อารมณ์ และพาคนดูเข้าถึงคุณค่าหรือแก่นเรื่องที่ตั้งไว้ได้

ฝึกทักษะชีวิตที่บ้านเรียนละคร มรดกใหม่ จ.เลย

ขณะกำลังสนุกกับการเรียนรู้ผ่านละคร ครูได้ใช้โอกาสนี้ พานักเรียนไปเรียนรู้ทักษะชีวิตผ่านการเข้าค่ายละครที่บ้าน เรี ย นละครมรดกใหม่ ณ บ้ า นแก่ ง ปลาปก อำเภอปากชม จังหวัดเลย เป็นเวลา ๑๑ วัน บ้านเรียนละครมรดกใหม่ตงั้ อยูท่ า่ มกลางธรรมชาติปา่ เขา โรงละครเป็นลานดินกลางแจ้ง ห้องเรียนอยูต่ ามร่มไม้ ห้องอาหาร มีเพียงเสาและหลังคาคลุม แสงสว่างยามค่ำคืนมาจากแสงเทียน เพราะไม่มีไฟฟ้า ในแต่ละวันนักเรียนรุ่งอรุณจะใช้ชีวิตร่วมกับ นักเรียนของบ้านเรียนละครมรดกใหม่ที่เป็นรุ่นพี่ ตื่นแต่เช้ามืด 39


SECONDARY

ครูชา่ ง-ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง สอนนักเรียนทีค่ า่ ยละครทีบ่ า้ นเรียนละครมรดกใหม่ จ.เลย

มาเข้าห้องเรียนฝึกพืน้ ฐานทักษะต่างๆ เช่น แม่ทา่ แม่บท ร้องเพลง เล่ น ดนตรี ฝึ ก ภาษาอั ง กฤษจากเรื่ อ งราวธรรมชาติ ร อบตั ว

ฝึกเขียนและอ่านบันทึกประจำวัน ฝึกละคร ช่วยกันทำอาหาร และการงานต่างๆ จากนั้นเข้าฐานเรียนรู้และฝึกซ้อมละคร ไม่เพียงแต่ทักษะการทำละครที่เพิ่มพูนขึ้น แต่วิถีของ บ้านเรียนละครมรดกใหม่ยังช่วยให้นักเรียนรู้จักปรับตัวอยู่กับ ความขาดแคลนและก้าวข้ามข้อติดขัดต่างๆ ครูอารีย์ที่ใช้ชีวิต อยู่กับนักเรียนตลอด ๑๑ วัน เผยถึงปัจจัยที่ทำให้นักเรียน เปลี่ยนแปลงว่า “ความเป็นคนจริงของครูช่าง ความจริงจังของครูและ นักเรียนของครูช่าง ความดิบของพื้นที่ที่ไม่มีอะไรเลย การจัด 40

สถานการณ์จริงให้เผชิญ เหล่านี้คือโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกฝน ตนเองเต็มที่ ทุกคนมีความสุขกับการเรียนรู้ เล่นเกม ทำกิจกรรม ตามฐาน ทำงาน หาผักหาหญ้า ร้องเพลง ได้อยูก่ บั กระบวนการ ความเป็นพีน่ อ้ งของโรงเรียนครูชา่ ง ทำให้นกั เรียนได้สลายตัวตน บางจุดและปลดเปลื้องความเป็นเด็กเมืองออกบ้าง ระยะเวลา ๑๑ วัน นานพอที่เขาจะรู้สึกว่าความทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา เพราะเขาได้เจอความรักความผูกพันของคน และความตรงไป ตรงมาของสถานที่และของผู้คน สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง เห็นได้ชัดเมื่อกลับมาโรงเรียน คือ นักเรียนกินง่ายอยู่ง่ายขึ้น ที่ผ่านมาถ้าเพื่อนลืมสั่งอาหารหรือทำอาหารไม่อร่อย เขาจะ โวยวาย แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่บ่นแล้ว บอกว่าเดี๋ยวเพื่อนเสียใจ”


เรียนรู้จากความสำเร็จ

นักเรียนผ่านค่ายละครมา ๒ ครัง้ มีความรูแ้ ละประสบการณ์ งานละครมาพอสมควรแล้ว ในภาคเรียนที่ ๓ ครูจึงให้นักเรียน เรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านการทำละครอีกครั้ง โดยให้นักเรียน รับผิดชอบหน้าที่เดิม แล้วจะประเมินให้คะแนนจากพัฒนาการ และการเรียนรู้ด้วยตัวเองของแต่ละคน

กระบวนการทำละครอิงประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้น ม.๒/๑ ปีการศึกษา ๓/๒๕๕๕ ชมภาพยนตร์เรือ่ งขุนรองปลัดชูเพือ่ สร้างแรงบันดาลใจ และวิเคราะห์ถงึ หัวใจของบรรพบุรษุ ผูร้ กั ษาแผ่นดินไทยไว้ให้ลกู หลาน • แต่งเพลงตามแก่นเรือ่ ง ละครเพื่อเชื่อมใจบรรพบุรุษกับใจนักเรียน • สืบค้นข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ตามแก่นเรื่อง • ออกภาคสนามตามรอยประวัติศาสตร์ • นำเสนอข้อมูลเพือ่ แลกเปลีย่ นเรียนรู้ • สืบค้นข้อมูลเพิม่ เติม • วางโครงเรือ่ งและเขียนบทละคร • ฝึกซ้อมและจัดเตรียมงานละคร • จัดแสดงละคร เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

โจทย์ ที่ ค รู โ ยนมาท้ า ทายให้ นั ก เรี ย นได้ ใ ช้ ศั ก ยภาพ ทำงานชิน้ ใหญ่ คือการทำละครเรือ่ งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในแก่นเรื่อง “การทำหน้าที่ของตนเอง” โดยศึกษาข้อมูลจาก พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่าและการออกภาคสนามตามรอย ประวัตศิ าสตร์ทพี่ ระบรมราชานุสาวรียส์ มเด็จพระนเรศวรมหาราช จ.กาญจนบุรี แต่ก่อนออกภาคสนาม ครูอารีย์ได้แจ้งโจทย์ใหม่ ที่เป็นโจทย์ใหญ่แก่นักเรียน นั่นคือ ให้นักเรียนสลายกลุ่มที่มีอยู่ ออกให้หมด “เราเห็นปัญหาว่าเขาไม่ค่อยฟังกัน แบ่งกันเป็นกลุ่ม เวลาทำงานจะจับกลุ่มเดิมๆ ไม่ยอมสลายจากกัน เลยโยนโจทย์ ให้วา่ ถ้าเขายังอยูก่ นั เป็นส่วนๆ แบบนี้ พวกเขาไม่มที างทำละคร สำเร็จได้ เพราะละครคือหนึ่งเดียว ทุกคนต้องพร้อมใจกันทำ และไปด้วยกัน ปรากฏว่าเขายอมรับฟัง ซึ่งแปลกมาก เพราะที่ ผ่านมาพอครูบอกปัญหา เขาจะมีข้ออ้าง ไม่ค่อยฟัง แต่แปลก มากที่ ค รั้ ง นี้ เ ขายอมรั บ ว่ า เขาแบ่ ง กั น เป็ น กลุ่ ม เป็ น ก๊ ก จริ ง ๆ แล้วก็ขอไปจัดการกันเอง จนในที่สุดเขาสามารถกระจายกลุ่ม เดิมแล้วจัดกลุ่มทำงานกันใหม่หมด พร้อมทั้งอธิบายเหตุผล ให้ครูฟังได้ว่า ในกลุ่มใหม่นี้ทำไมใครต้องอยู่กับใคร ใครจะ ช่วยเหลือใครได้บ้าง”

ครูอารียม์ องว่า ความเปลีย่ นแปลงครัง้ นีน้ า่ จะเป็นผลมาจาก ความสำเร็จของละครเรื่องสุริโยไทในเทอมที่แล้ว เพราะแต่เดิม ห้องนี้มีความรู้สึกติดลบอยู่ในใจว่าพวกเขาทำละครกันไม่เก่ง และเคยล้มเหลวมาแล้ว แต่เพราะเขาเปิดใจรับฟังการแก้ไขจาก ครูละคร ทำให้ละครเรือ่ งสุรโิ ยไทของพวกเขาประสบความสำเร็จ และได้รับการยอมรับ ซึ่งก่อให้เกิดความภาคภูมิใจร่วมเล็กๆ ของทั้งห้อง และเป็นบทเรียนให้พวกเขาเปิดใจรับฟังคำติเตือน ของผู้อื่นมากขึ้น 41


SECONDARY

การสลายกลุ่มในครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นให้นักเรียนก้าวออก จากมุมและกลุ่มของตนเองมาเรียนรู้จักเพื่อนในห้องมากขึ้น กำแพงที่เคยมีระหว่างกันค่อยๆ ทลายลง ดังนั้นเมื่อเกิดความ ขัดแย้งระหว่างกันจนงานละครไม่คืบหน้า พวกเขาจึงตัดสินใจ แก้ปัญหาด้วยการเปิดใจคุยกันอย่างตรงไปตรงมา “ก่อนหน้านีเ้ ราเคยเล่าให้เขาฟังว่ารุน่ พีช่ นั้ ม.๖ สมัยอยูก่ บั ครูอารีย์ เรามีวนั เปิดสภาคุยกันตรงๆ คือ ยำกันเลย ใครคิดเห็น อย่างไรก็คุยกัน พี่ๆ เขาคุยกันเอง แต่ครูอยู่ด้วยเพื่อไม่ ให้ สถานการณ์รนุ แรง และให้การคุยจบลงด้วยการเรียนรูร้ ะหว่างกัน วันหนึ่งเขาก็มาบอกว่าอยากเปิดใจคุยกันเองในห้อง เพราะไม่ อย่างนั้นละครเขาต้องล่มแน่ๆ เราก็อนุญาต โดยให้หลักการคุย ไว้ ว่ า เขาต้ อ งฟั ง กั น ยอมรั บ ซึ่ ง กั น และกั น จริ ง ใจต่ อ กั น

มีเมตตาต่อกัน แล้วคุยให้จบในวงนี้ อย่าไปคุยนอกรอบ เขาก็ รับฟัง วันนั้นเขามากันตรงเวลา ช่วยกันจัดโต๊ะเป็นวงประชุม เหมือนการประชุมผู้บริหาร ดูเอาจริงเอาจังมาก ซึ่งที่ผ่านมา แต่ละคนก็เจอปัญหาและเก็บสะสมกันมาสักระยะแล้ว พอคนแรก เริ่มเปิดตัวเอง คนอื่นๆ ก็ทยอยบอกความอัดอั้นตันใจของ ตั ว เองบ้ า ง เป็ น ช่ ว งเวลาที่ เ ขาได้ ฝึ ก การเผชิ ญ หน้ า และแก้ ปัญหากันตรงๆ ฝึกการทำเรื่องยากๆ เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะ พูดความรู้สึกออกมาตรงๆ ว่าฉันไม่ชอบเลยที่เธอทำแบบนี ้

ที่ เ ธอไม่ ท ำงาน เอาแต่ เ ล่ น ฉั น รู้ สึ กว่ า เพื่ อ นไม่ ย อมรั บ ฉั น

ฉันเหงา เขาคุยกันทุกคนเลย พูดไปก็ร้องไห้กันไป ปิดห้องคุย กันอยู่ ๒ วันหลังเลิกเรียนตอนเย็น จนสุดท้ายเขาก็สรุปว่า

เขาจะทำละครด้วยกัน” สำหรั บ นั ก เรี ย นแล้ ว การเปิ ด ใจคุ ย กั น ครั้ ง นี้ นั บ เป็ น ประสบการณ์ ใ หม่ ที่ ท ำให้ พ วกเขารู้ จั ก และเข้ า ใจกั นมากขึ้ น นักเรียนบางคนยอมรับว่าตอนแรกๆ ไม่กล้าพูด เพราะกลัว เพื่อนโกรธ แต่เมื่อเห็นเพื่อนๆ เริ่มเปิดใจพูดออกมาตรงๆ ขณะที่คนอื่นก็นิ่งฟัง ไม่มีการทะเลาะหรือลุกขึ้นมาว่ากัน ก็รู้สึก ผ่อนคลายและกล้าพูดบอกความรู้สึกของตัวเองออกมา “หนู ไ ม่ เ คยเปิ ด ใจคุ ย แบบนี้ ม าก่ อ น ตอนแรกเพื่ อ น ก็บอกว่าให้เปิดใจคุยกันตรงๆ ให้ใช้เหตุผล ใครไม่พอใจอะไร

42

เราปรับความเข้าใจกัน จนนำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวของห้อง คือตอนนี้เราก็ยังมีความคิดเห็นขัดแย้งกันอยู่ แต่เราสามารถพูดคุยกันได้

รู้สึกอย่างไรก็พูดออกมา แต่ตอนนั้นหนูกลัว ก็ยังไม่กล้าพูด จนเห็นเพือ่ นๆ เขาเริม่ พูดกันทีละคนๆ แล้วเขาก็ไม่ได้ทะเลาะกัน หนูก็เลยกล้าพูดบ้าง” นักเรียนคนหนึ่งเล่าถึงความรู้สึกการ เปิดใจคุยกันในวันนั้น ขณะที่นักเรียนอีกคนบอกว่า “ตอนนั้นงานค่อนข้างติดขัดเยอะ แม้ว่าบทจะเสร็จแล้ว แต่งานก็ยงั ไม่ไปไหน เกิดความไม่เข้าใจกัน ทะเลาะกัน เราก็เลย คิดว่าต้องมาปรับความเข้าใจกันเพื่อให้งานเดินไปได้ วันนั้นเรา เปิดใจพูดคุยเรื่องที่ผ่านมาทั้งหมด อะไรที่เราทำไม่ดีต่อเพื่อน ออกมายอมรับ ออกมาขอโทษ ผมก็ออกมาขอโทษ คือบอก เรื่องที่เราทุกข์ ใจให้เพื่อนฟัง บอกเพื่อนว่าเราพร้อมจะปรับ เปลี่ยนตัว แล้วเพื่อนล่ะพร้อมหรือเปล่าที่จะปรับเปลี่ยนตัวเอง เพือ่ เข้ามารวมเป็นหนึง่ เดียวกัน เราปรับความเข้าใจกัน จนนำไป สู่ความเป็นหนึ่งเดียวของห้อง คือตอนนี้เราก็ยังมีความคิดเห็น ขัดแย้งกันอยู่ แต่เราสามารถพูดคุยกันได้” ผลจากการคุ ย กั นวั น นั้ น ทำให้ ง านละครที่ เ คยติ ด ขั ด สามารถเดินหน้าต่อไปได้ คนที่เคยน้อยใจว่าตนเองได้บทน้อยก็ ปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ เข้าใจว่าทุกคนคือองค์ประกอบสำคัญที่ จะทำให้ละครสมบูรณ์ ไม่ว่าจะตัวเอก ตัวรอง ตัวประกอบ คนอยู่หลังฉากหรือคนทำความสะอาดสถานที่ เพราะถ้าเอา ตัวเอกไปเล่นคนเดียวกลางเวที ละครก็คงไม่สนุก ถ้าสถานที่ไม่ สะอาด คงไม่มีใครมาดู ละครก็คงล่ม เพราะฉะนั้นทุกหน้าที่ ล้วนมีความสำคัญ


เติบโตบนเส้นทางการทำละคร

การเปิดใจคุยกันในครั้งนั้นไม่เพียงสลายขั้วกลุ่มและ สร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่นักเรียนเท่านั้น แต่ยังทำให้พวก เขารู้จักเพื่อนและเห็นความสำคัญของแต่ละคนมากขึ้น จนเกิด เป็นวิถีการทำงานละครของห้อง คือ การผลัดเปลี่ยนให้คนที่ ไม่ ค่ อ ยมี บ ทบาทในห้ อ งได้ ม ารั บ บทเด่ น เพื่ อ ฝึ ก ฝนตั ว เอง แทนทีจ่ ะเลือกแต่คนเดิมๆ โดยดูตามความเหมาะสมและเล็งเห็น แล้วว่าเพื่อนน่าจะมีศักยภาพทำได้ เพียงแต่ยังไม่มีโอกาสเปิด ศักยภาพของตัวเองออกมา ก็ใช้งานเป็นตัวช่วยพัฒนาศักยภาพ และปรับแก้บุคลิกภาพหรือนิสัยบางอย่าง ตัวอย่างเช่นนักเรียนที่รับบทเป็นสมเด็จพระนเรศวร แต่เดิมจะได้รบั บทเล็กๆ ที่ไม่โดดเด่นมากนัก เพราะเพือ่ นมองว่า เขาไม่คอ่ ยมีสมาธิกบั งาน แต่มาครัง้ นีเ้ พือ่ นๆ มองเห็นศักยภาพ ของเขาว่าเป็นคนเข้มแข็ง เสียงดัง และแสดงละครได้ดี บวกกับ รูปลักษณ์ภายนอกที่ผิวเข้ม เหมาะจะเป็นพระองค์ดำ จึงตกลง ให้เขาแสดงเป็นพระนเรศวร บทเด่นที่สุดของเรื่อง การได้รับ บทสำคัญกระตุ้นให้ เ ขาตั้ ง ใจท่ อ งบทและฝึ ก ซ้ อ มการแสดง จนแสดงออกมาได้ดีสมบทบาทและได้รบั การยอมรับจากเพือ่ นๆ โดยเฉพาะในเรื่องการมีสมาธิและมีความรับผิดชอบกับงาน มากขึน้ เช่นเดียวกับนักเรียนคนอื่นๆ ที่ ได้พัฒนาตัวเองและ เติบโตขึ้นจากการทำละครในครั้งนี้ ครูอารีย์เล่าว่านักเรียนที่เคย ขาดความเชือ่ มัน่ ก็กล้าแสดงออกมากขึน้ คนที่ไม่คอ่ ยมีบทบาท ก็สามารถก้าวขึ้นมาทำงานสำคัญและเป็นที่ยอมรับของเพื่อน คนที่แต่เดิมไม่ค่อยโดดเด่นก็เปลี่ยนมาเป็นผู้นำ หลายคนมี ความรับผิดชอบ มีวินัยมากขึ้น นักเรียนหลายคนมีผลการเรียน ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะการทำงานละครช่วยเปิดศักยภาพ ของเขา ที่สำคัญคือนักเรียนสามารถเชื่อมโยงแก่นเรื่องของ ละครมาสู่ตัวเองได้ “แก่นของละครเรื่องสมเด็จพระนเรศวรที่นักเรียนวางไว้ คือ การรู้หน้าที่ของตนเอง เขาก็พยายามเอาแก่นนี้มาใช้กับ

ตัวเอง เขาวางแผนและทำงานละครกันเองทั้งหมด ครูเป็นแค่ ที่ ป รึ ก ษา ในสั ป ดาห์ สุ ด ท้ า ยก่ อ นแสดง นั ก เรี ย นมาบอกว่ า อยากเข้าค่ายละครที่โรงเรียน เป็นค่าย ๓ วัน ๒ คืน คงเห็นว่า

ฉากหนึง่ ในละครเรือ่ ง “พระนเรศวร”

เขาเข้าค่ายกับครูละครในเทอมก่อนแล้วประสบความสำเร็จ

เราก็อนุญาต แต่ตั้งเงื่อนไขว่านักเรียนต้องเป็นเจ้าของเรื่องนี ้ ให้เขาไปทำจดหมายขออนุญาตเข้าค่ายมาให้เป็นกิจจะลักษณะ ซึ่งเขากระตือรือร้นกันมาก จนกระทั่งจัดค่ายซ้อมละครขึ้นมาได้ แล้วเขาก็จัดการฝึกซ้อมกันเอง ครูแค่เข้ามาช่วยดูและอยู่เป็น

ที่ปรึกษา” ด.ช.วรรณ ธรรมร่มดี หัวหน้าโครงการเข้าค่ายละคร ยอมรับว่าก่อนหน้านี้ตนไม่ค่อยกล้าแสดงออก ได้รับผิดชอบ แต่ ง านเล็ ก ๆ เล่ น บทเล็ ก ๆ ถ้ า บทที่ ต้ อ งออกเยอะก็ ป ฏิ เ สธ เพราะไม่กล้า แต่พอเทอม ๓ ครูอารีย์ให้โจทย์ว่าให้อ่านเรื่อง ไทยรบพม่ า ตนก็ ไ ปซื้ อ มาอ่ า นจนจบเพราะชอบศึ ก ษา ประวัติศาสตร์ พอเพื่อนเห็นว่าตนเข้าใจเรื่องราวก็ชวนมาช่วย เขียนบท กำกับฉาก ทำเสือ้ ผ้า และแสดงบทที่มีบทพูดมากขึ้น ทำให้คอ่ ยๆ เข้าไปมีสว่ นร่วมกับการทำละครมากขึ้น “การทำละครช่วยพัฒนาผม ทำให้ผมกล้าแสดงออก กล้าแสดงความเห็น กล้าตัดสินใจ ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยที่เรา ไม่รู้ตัว มารู้อีกทีคือเราเปลี่ยนไปแล้ว ผมว่าน่าจะเป็นเพราะผม 43


SECONDARY

ได้รับหน้าที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับของเพื่อนมากขึน้ ทำให้ผม รูส้ กึ ว่าควรรับผิดชอบให้มากขึน้ และเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น ของคนอื่นมากขึ้น คิดว่าถ้าเราทำงานที่เพื่อนมอบหมายให้ด ี

ยิ่งกว่าที่เพื่อนคิดไว้ เพื่อนจะดี ใจ แล้วเพื่อนก็จะเชื่อถือเรา เลยทำให้ผมค่อยๆ พัฒนาตัวเองขึ้นมา” “สำหรับผมแล้ว ละครช่วยฝึกความรับผิดชอบ สร้างความ เป็นผู้ใหญ่ และความเป็นผู้นำ ขั้นแรกต้องเป็นผู้นำจิตใจตัวเอง คือ นำใจที่จะคิดออกนอกกรอบ คิดพัฒนาตนเองให้เดินหน้าไป เรือ่ ยๆ สอง ฝึกความสามัคคี คือ ทุกคนมีหน้าทีร่ บั ผิดชอบร่วมกัน เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เพื่อให้งานส่วนรวมออกมาดี ที่สุด เหมือนพลเมืองที่มีหน้าที่ ละครก็มีหน้าที่ของแต่ละคนที่ ต้องรับผิดชอบ สุดท้ายคือ การยอมรับกัน ยอมรับในความ ผิดพลาดที่เกิดขึ้น แล้วนำมาพัฒนาในครั้งต่อไป” เช่นเดียวกับ ด.ญ.กมลมาศ จิตตประมวลบุญ ที่บอกว่า การทำละครทำให้เพื่อนในห้องสามัคคีกันมากขึ้น จากที่เคย แบ่งแยกกันเป็นกลุม่ ก็สามารถรวมกันได้ ได้เรียนรูก้ ารแลกเปลีย่ น ความคิดเห็นซึง่ กันและกัน ฝึกความอดทน ความมีวนิ ยั และการ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และที่สำคัญคือ การแสดงละครทำให้ ตนกล้าแสดงออกมากขึ้น “ก่อนหน้านีห้ นูเป็นคนขีอ้ าย ไม่กล้าแสดงออก แต่เพราะ บทที่ได้รับบังคับให้หนูต้องพูดเสียงดังเพื่อให้คนที่อยู่ข้างหลัง ได้ยิน บังคับให้ต้องกล้าแสดงออก ซึ่งเป็นบทที่เพื่อนเลือกให้ คิดว่าเพือ่ นคงอยากให้เราได้ฝกึ ฝนเรือ่ งนี้ แล้วหนูกอ็ ยากฝึกตัวเอง ให้กล้าแสดงออกมากขึน้ ด้วย เพราะการเรียนทีน่ ตี่ อ้ งนำเสนอเยอะ

เล่นดนตรีเปิดหมวกทีเ่ ชียงคาน จ.เลย

เลยยอมเล่น แล้วก็ช่วยได้จริงๆ ตอนนี้หนูรู้สึกว่าตัวเองมีความ มั่นใจมากขึ้น กล้าพูดนำเสนอมากขึ้นค่ะ” ในงานหยดน้ำแห่งความรู้ตอนปลายปีการศึกษา ๒๕๕๕ นักเรียนทุกคนช่วยกันทำละครอิงประวัติศาสตร์เรื่องสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชออกมาอย่างยิ่งใหญ่ ทั้งการแสดงที่สม บทบาท ฉากที่ ส วยงาม แสงและดนตรี ที่ ส ร้ า งอารมณ์ ร่ ว ม ยิ่งไปกว่านั้นคือความร่วมแรงร่วมใจกันของนักเรียนทุกคนที่ รวมเป็นหนึ่งเดียวเพื่อละครเรื่องนี้ คุณค่าของการทำละครจึง ไม่ใช่เพียงผลงานการแสดงที่ปรากฏต่อผู้ชม หากคือศักยภาพ และทั ก ษะชี วิ ต ที่ ป รากฏอยู่ ใ นตั ว นั ก เรี ย นทุ ก คนบนเส้ น ทาง

การทำละครเรื่องนี้

นักเรียนได้เรียนรู้ เพราะครูไว้วางใจ ครูอารีย์ จันทร์แย้ม ผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายมัธยม

“การเป็นครูประจำชั้นทำให้เราได้อยู่กับนักเรียนตลอด แล้วมองเห็นนักเรียนแต่ละคนชัด ความใกล้ชิดกันทำให้เราได้ทำ บทบาทครู คือ เสริมจุดดีและแก้จุดด้อยของนักเรียนแต่ละคน ดังนั้นครูต้องดูนักเรียนให้ออกว่าความสามารถเขาอยู่ตรงไหน จุดดี จุดด้อยเขาคืออะไร แล้วใช้เขาให้ตรงกับศักยภาพที่เขามีหรือเป็น จากเหตุการณ์การเปิดใจคุยกันทำให้เราได้เรียนรู้ว่า การที่ครู

ไว้วางใจนักเรียน ให้เกียรติเขา มองเขาอย่างผู้ใหญ่คนหนึง่ เขาจะดึงศักยภาพออกมาใช้และจัดการงานต่างๆ ได้ หรือหากมีปญั หา เขาก็วางใจที่จะมาปรึกษาครู เห็นชัดว่านักเรียนเติบโตและมีวุฒิภาวะมากขึ้น เพราะจริงๆ แล้วนักเรียนเขาอยู่ด้วยกันตลอด

เขามองเห็นกันชัด แล้วเขาก็มีทักษะในการแก้ปัญหาอยู่แล้ว ครูเพียงเปิดพื้นที่ เปิดโอกาส แล้วคอยให้คำแนะนำ ช่วยให้เขามั่นใจ ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้องแล้ว แล้วเขาจะพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ” 44


LEARNING ACTIVITY

เรียนรู้จากการงาน

ผ่านอุปสรรคจึงเติบโตด้วยปัญญา หลักสูตรไม่ได้กำหนด ครูไม่ได้บอก แต่ดูเหมือนเป็น ประเพณีของโรงเรียนรุ่งอรุณไปแล้วที่นักเรียนชั้น ม.๖ จะต้อง ทำละครเวทีกอ่ นจบการศึกษา ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๖ ทีผ่ า่ นมา นั ก เรี ย นชั้ น ม.๖ รุ่ น ที่ ๑๑ ของรุ่ ง อรุ ณ หยิ บ ยกเรื่ อ งราว มิตรภาพระหว่างเพื่อนของกลุ่มวัยรุ่นเมืองกรุงในยุคโก๋หลังวัง มาทำเป็นละคร ‘อันธพาล’ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์ เรื่อง ‘อันธพาล’ และ ‘๒๔๙๙ อันธพาลครองเมือง’

‘ละคร’ เวทีฝึกการทำงาน

“งานนี้เป็นการรวมใจกันทำครั้งสุดท้ายของเด็ก ม.๖ รุ่งอรุณทุกคน ทั้งห้องวิทย์และห้องศิลป์ ๔๒ คน ถ้าจะนำเสนอ ในรูปแบบอื่นอาจทำได้ยากและไม่ค่อยน่าสนใจ เพราะเราเรียน ไม่เหมือนกัน แต่ละครเป็นงานกลุ่มขนาดใหญ่ที่เราทำร่วมกัน ได้ มีบทบาทหน้าที่หลากหลายให้ได้ใช้ความสามารถเพื่อให้ งานมีประสิทธิภาพ ฝึกการทำงานได้ดี สื่อได้ง่าย และคนดูก็ สนุก” นายพรหมมาต พิริยะแพทย์สม ฝ่ายข้อมูลและฉาก อธิบายเหตุผลที่พวกเขาเลือกทำละครเป็นงานชิ้นสุดท้ายของ ชีวิตนักเรียนมัธยม ก่ อ นหน้ า นี้ พ วกเขาเคยทำละครกั น มาหลายครั้ ง พอมองเห็นว่าใครเชี่ยวชาญงานไหน ทันทีที่ได้โครงเรื่องจนพอ มองเห็นภาพของละครเรื่องนี้แล้วก็แบ่งงานกันทำตามความ ถนัด เช่น เขียนบท ออกแบบเวที หาอุปกรณ์ประกอบฉาก ดูแลเรื่องแสง เสียง และเอฟเฟ็กต์ จัดหาเสื้อผ้า และคัดเลือก นักแสดงในบทต่างๆ เพื่อให้ทันระยะเวลา ๒ สัปดาห์ก่อนวัน แสดงจริง อย่างไรก็ตามอาจเพราะความเร่งรีบและความมั่นใจว่า ‘รู้งาน’ กันดีอยู่แล้ว ทำให้พวกเขามองข้าม ‘บางสิ่ง’ ที่สำคัญ ไป

‘หันหน้าคุยกัน’ การแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุด

“เรากระจายงานกันไปตามที่เคยทำละครกันมา ใครถนัด งานไหนก็รับไปทำ เพราะตอนนั้นเรามีเวลาน้อยมาก แต่ละคน ก็ทำในส่วนทีต่ วั เองได้รบั ผิดชอบ จนมาวันหนึง่ เราเริม่ มองเห็นว่า เราไม่รู้เลยว่าเพื่อนคนอื่นทำอะไรไปถึงไหนแล้ว ไม่มี ใครรู้ ความคืบหน้าของงานในภาพรวม เพราะเราขาดการสื่อสาร ระหว่ า งกั น และเราก็ ไ ม่ ไ ด้ ตั้ ง คนดู ภ าพรวมมาตั้ ง แต่ แ รก พอเป็นแบบนี้เราเลยเรียกรวมตัว ชวนทุกคนมาล้องวงคุยกัน เพื่อตามความคืบหน้าของงาน ถามถึงปัญหาของแต่ละฝ่าย แล้วช่วยกันมอง ช่วยกันแก้ไข” นายสิราษฎร์ อินทรโชติ ผูร้ บั บท ‘แดง ไบเลย์’ เล่าถึงปัญหาที่เกิดขึ้น 45


LEARNING ACTIVITY

โปสเตอร์ละครเรือ่ ง “อันธพาล” 46


การนั่งล้องวงเปิดอกคุยกันเป็นวิถีของรุ่งอรุณที่นักเรียน คุน้ เคยเป็นอย่างดี ทีผ่ า่ นมาพวกเขาเคยมีประสบการณ์และเรียนรู้ การเผชิ ญ หน้ า คุ ยปัญหากันอย่างตรงไปตรงมา ด้ ว ยท่ า ที ที่ ยอมรับ ให้เกียรติและเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน การคุยกันครัง้ นีจ้ งึ ช่วย คลี่คลายปัญหาและความกังวลในใจของทุกคน เพราะแม้จะเคย ทำละครกันมาหลายครัง้ จนเรียกว่า ‘รูง้ าน’ และ ‘เป็นงาน’ กันดี อยู่ แ ล้ ว แต่ ค ำว่ า ‘ละครเรื่ อ งสุ ด ท้ า ย’ ก่ อ นโบกมื อ ลาชี วิ ต นักเรียนมัธยมก็ทำให้พวกเขารู้สึกกดดันอยู่ไม่น้อย

เรียนรู้จากปัญหา เห็นคุณค่าคนทำงาน

การแสดงจะเริ่มขึ้นในช่วงเย็นย่ำของวันสุดท้ายก่อนปิด ภาคเรียน แต่กว่าทุกอย่างจะพร้อมให้นักแสดงได้ซ้อมเป็นครั้ง แรกก็ ในคืนก่อนวันงาน และมาซ้อมใหญ่อีกครั้งในวันรุ่งขึ้น ก่อนแสดงจริง ซึ่งไม่สามารถซ้อมกับแสงไฟได้เพราะเป็นเวลา กลางวัน รอบแสดงจริงจึงเป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้เห็นภาพ รวมของการแสดงทั้งหมดไปพร้อมๆ กับคนดู และเป็นรอบ เดียวกับที่พวกเขาพบว่า เครื่องเสียงที่เตรียมไว้มีปัญหา ทำให้ เสียงของนักแสดงไปไม่ถึงผู้ชมที่อยู่ตรงกลางและด้านหลัง “ตอนซ้อมใหญ่เรายังได้ยินเสียงทั่วถึง เพราะไม่มีคนดู และไม่มีเสียงพัดลมตัวใหญ่นับสิบตัวดังรบกวนเหมือนตอน

แสดงจริง เราไม่ทนั นึกว่าสิง่ เหล่านีจ้ ะมีผลกับเสียง พอขึน้ แสดง เราก็ยังไม่รู้ว่าเสียงไปไม่ถึงคนดูในครึ่งหลัง จนกระทั่งถึงฉากที่ มีมุกตลก เราเริ่มเอะใจว่าปล่อยมุกไป ทำไมคนดูเงียบ ไม่ขำ กันเลย หรือว่ามุกเราจะไม่โดน” นายศุภณัฏฐ์ ฐานุพลพัฒน์ ผู้รับบท ‘ปุ๊ ระเบิดขวด’ เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้น ผ่านไปพักใหญ่กว่านักแสดงและทีมงานหลังเวทีจะรับรูถ้ งึ ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ต้องรอให้ใครบอกทุกคนก็รู้ว่าจะแก้ปัญหานี้ อย่างไร เพราะถึงตอนนีค้ งหาไมโครโฟนมาเพิม่ ไม่ทนั หนทางเดียว ที่ทำได้คือพึ่งตนเอง ในฉากต่อๆ มาคนดูจึงได้เห็นนักแสดง ทุกคนพร้อมใจกันพูดเสียงดังขึ้น บางคนก็ตะโกน จนเสียง ได้ยินไปถึงคนดูแถวหลังสุด การแก้ปญั หาเฉพาะหน้าทำให้ละครดำเนินไปอย่างราบรืน่ และจบลงด้ ว ยเสี ย งปรบมื อ กึ ก ก้ อ งของคนดู แต่ ใ นใจของ นั ก แสดงและที ม งานทุ ก คนยั ง คงรู้ สึ ก ผิ ด หวั ง กั บ ปั ญ หาเรื่ อ ง เสียงที่เกิดขึ้น เพราะเป็นงานชิ้นสุดท้ายที่ทุกคนทุ่มเททำงาน กันอย่างหนัก พวกเขาจึงคาดหวังความสมบูรณ์แบบ แต่เมื่อ ย้อนกลับไปมองการทำงานที่ผ่านมา ทุกคนก็ยิ้มได้กับคุณค่า บางอย่างที่ค้นพบ “ก่ อ นหน้ า นี้ เ รามี ปั ญ หากั น อยู่ บ้ า ง มี ค วามรู้ สึ ก ว่ า คนนี้บทน้อย คนนั้นบทเยอะ แต่เมื่อถึงเวลาแสดงและเกิด ปัญหาเรื่องเสียงขึ้น เห็นเลยว่าทุกคนรวมใจทำกันเต็มที่มาก ไม่เกี่ยงแล้วว่าบทจะน้อยหรือมาก ทุกคนพยายามทำหน้าที่ ของตัวเองให้ดีที่สุด เพราะ ณ เวลานั้นมันไม่ใช่การแสดงของ ใครแล้ ว แต่ เ ป็ น การแสดงของทุ ก คน เป็ น งานของรุ่ น เรา” นายพสิษฐ์ ตันเดชานุรัตน์ หนึ่งในนักแสดงเผยถึงความรู้สึกใน การทำละครครั้งนี้ “หนู รู้ สึ ก ภู มิ ใ จและประทั บ ใจกั บ การทำละครเรื่ อ งนี้ ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น เป็ น ความผิ ด พลาดทางเทคนิ ค แต่ ใ นเรื่ อ ง ของคน หนูเห็นเลยว่าเพื่อนทุกคนทำเต็มที่และทำได้ดีมาก ตรงนี้น่าจะสำคัญกว่า” นางสาวพีรดา พัวภูมิเจริญ ผู้ดูแลฝ่าย ฉากเล่าถึงความประทับใจของตน แม้จุดเริ่มต้นจะมองหาแต่ผลสำเร็จปลายทาง แต่เมื่อ ก้าวผ่านกระบวนการทำงานมาด้วยกัน ที่มีทั้งอุปสรรคปัญหาให้ ต้องแก้ไข และผลสำเร็จให้ภาคภูมิใจ พวกเขาจึงได้ค้นพบว่า การได้ เ รี ย นรู้ แ ละได้ พั ฒ นาตนของคนทำงานต่ า งหากที่ เ ป็ น คุณค่าแท้ของการทำงานในครั้งนี้ 47


VIEW OF THOUGHT

วิพากษ์การจัดการศึกษาไทย...

ความท้าทายของการสร้างมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ เรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม

ปัจฉิมนิเทศ ศิษย์พบอาจารย์ก่อนจบการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๕ 48


มูลนิธิอโชก้า (ประเทศไทย) โดยสินี จักรธรานนท์ และศุภิสรา อารยะพงษ์ ได้เข้าสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ประภาภัทร นิยม รองอธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนรุ่งอรุณ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนรุ่งอรุณ และสถาบันอาศรมศิลป์ ภายใต้คณะกรรมการมูลนิธโิ รงเรียนรุง่ อรุณ ถึงสถานการณ์การจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบนั เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมสังคมด้านสุขภาวะในการทำงานวิจัยชิ้นหนึ่งของมูลนิธิฯ ทั้งนี้รศ.ประภาภัทร ได้กรุณาเรียบเรียงข้อมูลจากการสัมภาษณ์ มาเป็นบทความที่น่าสนใจเพื่อนำมาเผยแพร่ ให้สังคมไทยได้ตระหนัก และเพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างต่อไป

การศึกษาเพื่อปวงชน

การทำงานวิชาการหรือการจัดการศึกษาเพื่อรับใช้สังคม ของโรงเรี ย นรุ่ ง อรุ ณ และสถาบั น อาศรมศิ ล ป์ นั้ น เริ่ ม ตั้ ง แต่ หลักการของการก่อตั้งสถาบันเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งมีเจตจำนง ให้เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร หากแต่เป็นสถานศึกษาและ สถาบันอุดมศึกษาทีผ่ เู้ รียนเรียนจากการปฏิบตั งิ านจริง โจทย์จริง ปัญหาจริงของกลุ่มคน ชุมชน และสังคม โดยเฉพาะที่สถาบัน อาศรมศิลป์ บางครั้งได้รับเงินอุดหนุนจากบุคคล องค์กร หรือ หน่วยงานทีไ่ ด้รบั ประโยชน์จากโครงการนัน้ ๆ ด้วย บางครัง้ ก็เป็นการ ลงทุ น ของสถาบั น เอง เพื่ อ เป็ น แบบเรี ย นสำหรั บ นั ก ศึ ก ษา ซึง่ เป็นเช่นนีใ้ นทุกหลักสูตร จึงเป็นการรับใช้สงั คมโดยตรงอยูแ่ ล้ว เช่น การเปิดศูนย์การเรียน “โจ๊ะมาโลลือล่ะ” ในหมู่บ้านชาว ปกาเกอะญอทีบ่ า้ นสบลาน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพือ่ ตอบโจทย์ ของชุมชนชาวปกาเกอะญอ ในการให้การศึกษาแก่บุตรหลาน โดยไม่ ต้ อ งพรากออกจากวิ ถี วั ฒ นธรรมชุ ม ชน ซึ่ ง เป็ น งาน วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท ศึกษาศาสตร์แบบองค์รวม โดยทำเป็นงานวิจัยและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและกระบวน การเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรม เป็นชุดงานวิจัย ร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๒ และโรงเรียน บ้านแม่ลานคำ หรือตัวอย่างการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านตลาดเก่า ชุมชนริมน้ำจันทบูร ร่วมกับประชาคมในชุมชนพัฒนาเป็นแหล่ง ท่องเที่ยว เรียนรู้วิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นริมน้ำจันทบูร เป็นงาน วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท สถาปัตยกรรมศาสตร์เพื่อ

ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น จะเห็นได้ว่าสถาบันอาศรมศิลป์ บู ร ณาการทั้ ง ๓ ด้ า นเข้ า ด้ ว ยกั น คื อ ด้ า นวิ ช าการ/วิ จั ย ด้านการเรียนการสอน และด้านบริการวิชาการ เข้าเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน บนฐานปฏิบัติการจริง (Work-Based Learning) นั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อให้การขยายฐานวิชาการเพื่อรับใช้ สังคมให้กว้างขวางมากขึ้น ทางสถาบันฯ จึงได้ตัดสินใจร่วมมือ กั บ มหาวิ ช ชาลั ย ซึ่ ง นำโดยอาจารย์ เ อนก นาคะบุ ต ร และ ดร.ศักดิ์ ประสานดี ทีม่ คี วามพยายามพัฒนาหลักสูตรผูป้ ระกอบการ สังคมระดับปริญญาตรีขนึ้ เพือ่ เปิดโอกาสให้บคุ คลในระดับท้องถิน่ ชุมชนต่างๆ ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานเพื่อชุมชนและสังคม ในด้านต่างๆ อยูแ่ ล้ว สามารถเทียบโอนหรือถ่ายทอดประสบการณ์ เหล่านั้นเข้าสู่ระบบการเรียนรู้ที่มีมาตรฐาน ให้เป็นการสร้าง องค์ความรู้ที่สามารถเผยแพร่ ถ่ายทอดให้เป็นประโยชน์ต่อ ผู้อื่นได้อย่างชัดเจนต่อไป เพื่อสร้างผู้ประกอบการทางสังคม ที่มีความมั่นคงทั้งในการหาเลี้ยงชีพพึ่งพาตนเองพร้อมๆ กับ กิจการนัน้ ๆ คืนกำไรให้สงั คมหรือชุมชนของตนได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งต่างจากคนทำงานเพื่อสังคมใน ๒-๓ ทศวรรษที่ผ่านมา ทีป่ ระสบความยากลำบากในการเลีย้ งชีพของตนเอง พึง่ พาตนเอง ในเชิงเศรษฐกิจได้น้อย เป็นต้น ดั ง นั้ น หลั ก สู ต รผู้ ป ระกอบการสั ง คมที่ อ าจารย์ เ อนก นาคะบุตร และ ดร.ศักดิ์ ประสานดี ริเริ่มไว้นั้นจึงสอดคล้องกับ หลักการของสถาบันอาศรมศิลป์ โดยเฉพาะประเด็นที่สำคัญ และชั ด เจนก็ คื อ การจั ด การเรี ย นการสอนของหลั ก สู ต รมี ลักษณะสอนฟรี เรียนฟรี ผู้สอนเป็นผู้มีจิตอาสามาถ่ายทอด 49


VIEW OF THOUGHT

วิชาและบริหารหลักสูตรโดยไม่มคี า่ ตอบแทน ส่วนผูเ้ รียนไม่ตอ้ ง เสียค่าลงทะเบียนหน่วยกิต เพียงแต่จ่ายค่าธรรมเนียมเล็กน้อย และจัดหาอาหารการกินมาเอง ส่วนสถาบันอาศรมศิลป์ช่วย สนับสนุนด้านอาคารสถานที่ น้ำ-ไฟ และร่วมบริหารหลักสูตร ถือว่าเป็นการลงขันร่วมกันของคณาจารย์จิตอาสา ซึ่งมาจากผู้รู้ นักวิชาการ ที่มีจิตใจเสียสละ และเห็นความสำคัญของการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือคนไทยที่มีคุณภาพ หลักสูตรนี้ได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการ สภาสถาบันฯ และความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.) แล้ว เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ เป็นหลักสูตร ๔ ปี ชั้นปีที่ ๑ จะเน้นเรื่องผู้เรียนรู้จักตนเอง รู้จักชุมชน รู้จักสังคมและสถานการณ์ โลก พอขึ้นชั้นปีที่ ๒ ผู้ เ รี ย นจะต้ อ งเสนอโครงการทดลองประกอบการสั ง คมของ ตนเองทีเ่ ป็นรูปธรรม พร้อมกับการเรียนภาควิชาการทีจ่ ดั เป็นกลุม่ (Learning Module) มิได้เรียนทีละรายวิชา แต่เป็นการบูรณาการ และในปีสดุ ท้ายผูเ้ รียนจะมีกจิ การของตนเองทีช่ ดั เจน ดำเนินการ ได้จริงเป็นเครื่องพิสูจน์และประกอบการประเมินผลเพื่อจบ การศึกษา ในขณะนีน้ อกเหนือจากผูเ้ รียนซึง่ มาจากมหาวิชชาลัยแล้ว ยังมีกลุ่มผู้สนใจที่จะส่งเยาวชนในพื้นที่ต่างๆ เข้ามาเรียนใน หลักสูตรนี้ เช่น นักเรียนของโรงเรียนมีชัยพัฒนา นักเรียน ของบ้านเรียนวัดพระธาตุดอยผาส้ม นักเรียนของกลุม่ การแพทย์ วิถธี รรม ซึง่ กลุม่ เยาวชนเหล่านีไ้ ด้ผา่ นการเรียนรู้ ฝึกอบรมบนฐาน การงานมาตั้งแต่ระดับมัธยมแล้ว บางกลุ่มมีความสามารถ เรียนไป ทำงานอาชีพหารายได้ไปด้วย ดังเช่น นักเรียนของ โรงเรียนมีชัยพัฒนา ที่ซึ่งคุณมีชัย วีระไวทยะ ได้วางรากฐาน การเรี ย นบนการงานอาชี พ และฝึ ก ทั ก ษะการบริ ห ารจั ด การ พร้อมๆ กับการทำงานจิตอาสามาแล้วอย่างเข้มแข็ง ดังนัน้ จึงได้ ร่วมปรึกษาหารือถึงแนวทางการเปิดรับให้นักเรียนหรือเยาวชน เหล่านี้เข้ามาศึกษาต่อตั้งแต่ยังอยู่มัธยมด้วยการลงทะเบียน เรียนแบบ Pre-degree หรือการเทียบโอนประสบการณ์มาสู่ ระดับปริญญาตรีได้ ในระดับหนึ่ง เมื่อนักเรียนจบจากมัธยม ปลายแล้ว จึงมาลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติมอีกบางส่วน ก็จะจบ เร็วกว่า ๔ ปี เช่น อาจจะจบภายใน ๒ ปี เป็นต้น จะเห็นได้ว่า การเปิดโอกาสที่หลากหลายทางการศึกษา ดังกล่าวนี้มาจากมุมมองหรือทัศนคติในการจัดการศึกษาตาม 50

ความต้องการและบริบทของผู้เรียนที่เรียกว่า Demand-side Driven ซึ่งตรงข้ามกับวิธีการจัดการศึกษาตามแบบแผนของ ผู้จัดที่เรียกว่า Supply-side Driven ทำให้การศึกษาถึงมือของ เยาวชนและคนไทยอี ก มากมาย ซึ่ ง มี ความจำเป็ น ในการ ประกอบอาชีพตามบริบทที่หลากหลายของสังคม โดยเฉพาะ ในภาคเกษตรกรรมและการผลิตบนฐานทรัพยากรท้องถิน่ ซึง่ เป็น คนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เขาได้มีโอกาสยกระดับการเรียนรู้ คู่ขนานไปกับการพัฒนาอาชีพและการดูแลสังคม โดยวิธีการ ศึกษาเช่นนี้ก็จะช่วยเพิ่มทักษะ ความสามารถของบุคคล และ สร้างความเข้มแข็งในการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ไปด้วย

กลยุทธ์ในการทำงานด้าน การศึกษา

เริ่ ม จากความเชื่ อ ที่ ว่ า เด็ ก หรื อ คนทุ ก คนเรี ย นรู้ ไ ด้ เป็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในมนุษย์ทุกคน แต่อาจจะมีวิธีการที่ แตกต่างหลากหลาย เช่น เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้ จากการเห็นตัวอย่าง เรียนรู้จากการลงมือทำ เรียนรู้จากการฟัง และการเชือ่ มโยงเหตุและผล หรือแม้แต่การเรียนรูท้ มี่ าจากการดู การฟัง การอ่าน จากความรู้ของผู้อื่นที่ได้บันทึกหรือแต่งเป็น ตำราไว้ หากแต่สงิ่ ทีส่ ำคัญคือ การเรียนรูน้ นั้ ๆ ต้องถูกเชือ่ มโยง เข้าหาตนเองอย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นการให้ความหมายหรือ เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม จนเกิดความเข้าใจ ตระหนักถึง “คุณค่า” กระทัง่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ดังนัน้ การจัดการศึกษาจึงต้องเริ่มจากการสร้างผู้ที่เป็นกัลยาณมิตรที่ เข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้นี้ และสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ ผู้เรียนเกิดเจตจำนง/หรือนิสัยในการใฝ่รู้ใฝ่เรียน นำตนเองไป สัมผัส สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ด้วยท่าทีของผู้ใฝ่เรียน เรียกว่าเป็น Active Learners ซึ่งต่างจากการเป็นนักเรียนว่าง่ายเพราะ นั่งรอเรียน (Passive Learners) ให้ครูมาป้อนวิชาเพื่อไปสอบ เท่านั้น ระบบการศึกษาที่ดีจึงเป็นระบบความสัมพันธ์ขนาดเล็ก ที่ครู ๑ คน สามารถดูแลให้ผู้เรียนทุกคนพัฒนาธรรมชาติการ เรียนรู้ของตนอยู่เสมอ ห้องเรียนขนาดใหญ่จะไม่เอื้อให้เกิด


กระบวนการนี้ได้ จะกลายเป็นการจดจำและลอกเลียนความรู้ สำเร็จรูปแบบทางเดียว การศึกษาเช่นนัน้ จะไม่สร้างคน แต่สร้าง ระบบเหมาเรียน การจัดการศึกษาจึงต้องลงมือทำด้วยตนเอง ด้วยความมุง่ มัน่ และมีเป้าหมายทีช่ ดั เจนในการสร้างคนทีเ่ รียนรูเ้ ป็น จากนั้นจึงชวนผู้ที่มีวิสัยทัศน์เช่นนี้ มองการศึกษาเช่นนี้มาช่วย กันทำ ด้วยการเห็นคุณค่าซึ่งกันและกันจนเกิดความร่วมมือ แบบเครือข่ายมากกว่าเป็นการบริหารจัดการเชิงระบบที่ตายตัว เช่น Linear system

การขับเคลื่อนเชิงนโยบายหรือ การขยายงาน แม้ว่าการทำงานการศึกษาตามความเชื่อนี้จะแตกต่าง จากการจัดการศึกษาในระบบใหญ่ก็ตามที แต่ภารกิจของเรา ไม่ใช่การไปล้มล้างหรือทวนกระแส เพียงแต่มองเห็น เข้าใจ บางสิ่ ง ที่ อ ยู่ ใ นระบบใหญ่ ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ เราบ้ า ง แต่ มิ ใ ช่ ทั้งหมด จึงเป็นเพียงการหาวิธีการ หรือการจัดการต่อเรื่องนั้นๆ มิให้เป็นปัญหามากจนเกินไป เช่นที่โรงเรียนรุ่งอรุณใช้หลักสูตร แกนกลางก็จริง แต่มวี ธิ กี ารเรียนการสอนของตนเองได้ มีวธิ กี าร ประเมินผลของตนเองทีส่ ามารถแปลงไปสูก่ ารจัดทำแบบรายงาน ผลการเรียนตามระเบียบของกระทรวงศึกษาฯ ได้ โดยไม่กอ่ ให้เกิด ปั ญ หาในการสื่ อ สาร เป็ น การพิ จารณาตามเหตุ ตามปั จ จั ย ทำเรื่ อ งยากให้ เ ป็ น เรื่ อ งง่ า ย อย่ า งไรก็ ดี การนำเสนอผล การปฏิบัติที่ดี (Good Practices) ที่เกิดขึ้นจริงให้เป็นตัวอย่าง แก่ผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงาน จากทั้งภายในประเทศหรือจากต่าง ประเทศ นับเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ได้ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย เราเองได้กระจกสะท้อนตนเอง บางครัง้ เกิดการปรับเปลีย่ นรูปแบบ วิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ สังคม ของการใช้สื่อเทคโนโลยี หรือพัฒนาการของเด็กและ เยาวชนในยุคปัจจุบัน จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เหล่านี้เอง เป็นเหตุให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนทีจ่ ดั การศึกษาในรูปแบบ ใหม่ทแี่ ตกต่างจากระบบใหญ่มากขึน้ มีความหลากหลายมากขึน้ จนถูกจัดว่าเป็น “การศึกษาทางเลือก” เพราะเหตุผลที่แท้จริง

ก็ คื อ รู ป แบบการจั ด การศึ ก ษาแบบเดี ย วไม่ อ าจจะสนอง

เด็กน้อยชาวปกาเกอะญอ ต้องการรูปแบบการจัดการศึกษาที่ต่างจากเด็กในเมือง

ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป หรือสภาพบริบทของสังคมที่ แตกต่ า งได้ ทั่ ว ถึ ง จึ ง เป็ น ธรรมดาอยู่ เ องที่ จ ะต้ อ งเกิ ด การ แสวงหาแนวทางอื่นๆ ในยุคที่การเข้าถึงความรู้เป็นไปอย่างไร้ พรมแดนมากขึ้น และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพร้อมที่จะ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันและกันนั่นเอง ที่เป็นโอกาสให้เราได้ร่วม ทำงานกับกลุ่มอื่นๆ พร้อมทั้งการร่วมนำเสนอแนวทางการ จัดการศึกษาตลอดจนการวัดประเมินผลที่สอดคล้องกับการ เรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วย ดังนั้น การขยายการศึ กษาที่ หลากหลาย จึงมิใช่เป็นไปด้วยรูปแบบของรุ่งอรุณอย่างเดียว แต่พบว่าการศึกษาทางเลือกมีมากมาย ขึ้นอยู่กับบริบทและ การตอบโจทย์ของสังคม ชุมชนนัน้ ๆ ไม่วา่ จะเป็นรูปแบบในเมือง ในชนบท ในชุมชนท้องถิ่นหรือแม้แต่ครอบครัว จัดแบบบ้าน เรี ย นก็ มี ม ากขึ้ น จะเห็ น ได้ จ ากอี ก ทางหนึ่ ง คื อ กลไกทาง กฎหมาย ที่เปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนได้จากผู้จัดที่ หลากหลายขึ้น ถึงแม้ว่าการบริการจากเจ้าหน้าที่รัฐจะยังไม่ สะดวกก็ ตาม แต่ ก็ มิ อาจจะชะลอนโยบายการกระจายการ จัดการศึกษาที่เคยผูกขาดอยู่กับรัฐต่อไปได้ 51


VIEW OF THOUGHT

ความท้าทายในการทำงาน ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า การทำงานการศึกษาคือการสร้างคน ฉะนั้นเป้าหมายสูงสุดที่น่าจะท้าท้ายก็คือ การสร้างคนให้เป็น มนุษย์ทสี่ มบูรณ์ นัน่ หมายถึงทุกมิตขิ องการเจริญขึน้ ไม่วา่ ทางกาย ที่แข็งแรง ทางปัญญาที่มีความรู้ ความคิดที่สร้างสรรค์ มีจิตใจ ทีร่ กั และเมตตา ละอายและเกรงกลัวต่อบาป เป็นต้น ทัง้ ๓ มิตนิ ี้ มีความสัมพันธ์กัน และส่งผลต่อกันและกัน หากจะพัฒนาให้ สมบูรณ์ต้องใช้กระบวนการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ด้วยความ ลึกซึ้ง ละเอียดอ่อน ประณีต แท้ที่จริงแล้วมนุษย์มีคุณสมบัติ พิเศษที่ซ่อนอยู่ในตัวทุกคน และรอโอกาสที่ภาวะการเรียนรู้เช่น นี้จะปรากฏขึ้น โดยอาศัยสติ สมาธิ และปัญญา เป็นเครื่อง นำพา ในปัจจุบันนี้จะสังเกตเห็นได้ว่าความรู้เรื่องการเจริญสติ สมาธิ ปัญญา เริ่มแพร่หลายในโลกตะวันตก และได้รับการ พั ฒ นาเป็ น การจั ด การเรี ย นการสอนภาคปฏิ บั ติ ใ นสถาบั น การศึกษาหลายแห่งและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย ดังนัน้ จึงไม่นา่ แปลกสำหรับประเทศไทยและประเทศในซีกโลก ตะวันออกทีเ่ คยเจริญรุง่ เรืองมาบนฐานวัฒนธรรมและองค์ความรู้ เหล่านี้ จะถือเป็นข้อได้เปรียบในการนำมาพัฒนาให้เหมาะสม กับเด็ก เยาวชน และคนในยุคปัจจุบนั ได้ นอกไปจากนี้ การพัฒนา ด้านจิตใจและสติปัญญานี้เอง กำลังจะกลายเป็นกุญแจสำคัญ เช่ น ภู มิ คุ้ ม กั น ให้ ม นุ ษ ย์ ส ามารถเผชิ ญ ต่ อ ปั ญ หาที่ รุ น แรง และซับซ้อน อันเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์เองที่ ได้ทุ่มเทและใช้ทรัพยากรโลกไปพร้อมทั้งปล่อยหรือสร้างพิษภัย ไว้มากมาย จนขาดสมดุลของธรรมชาติที่โลกจะเยียวยาตนเอง ได้ทนั หากมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ยังคงย่ำอยูก่ บั ที่ ใช้สติปญั ญา ความรูช้ ดุ เดิมทีไ่ ด้กอ่ ปัญหาไว้มากมายนี้ ดำเนินชีวติ และถ่ายทอด กันต่อๆ ไป ก็ยากทีม่ นุษย์ทงั้ มวลจะอยู่ได้ แม้ดาวเคราะห์ดวงนี ้ ก็อาจจะเปลี่ยนสภาพไปจนไม่มีใครคาดเดาได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นความท้าทายของการจัดการศึกษา เพื่อสร้างคนในอนาคต มิ ใช่คนของวันวาน หรือวันนี้ ว่าจะ สามารถขยายศักยภาพภายในของมนุษย์ให้งอกงามขึ้นทันต่อ ปฏิกิริยาถดถอยของโลกได้หรือไม่ โดยนัยยะนี้เรื่องการศึกษา เพื่ อ พั ฒ นาพลั ง ของสติ ปั ญ ญามนุ ษ ย์ จึ ง เป็ น โจทย์ ที่ ต้ อ งการ 52

ครูและผู้ปกครองโรงเรียนรุ่งอรุณร่วมปฏิบัติธรรม เจริญสติในหลักสูตร “ครูสติ”

การทดลองอย่างจริงจัง การเรียนรูแ้ นวนีจ้ ะแตกต่างจากการเรียน ทีเ่ คยอยู่ในระบบการศึกษาทัว่ ๆ ไป เพราะแทนทีจ่ ะเรียนความรู ้ ที่มีผู้ค้นพบไว้แล้วและเป็นความรู้ภายนอกทั้งสิ้น กลับต้อง สร้างทักษะการหันกลับไปเรียนรู้ที่ภายในกาย-ใจของตนเอง และค้นพบความรู้ ใหม่-สดของตนเอง ที่มิอาจลอกเลียนจาก ตำราหรือคำสอนของใครได้ ยกตัวอย่างที่ประเทศภูฏานมีนโยบายนำหลักการ GNH (Gross National Happiness) เข้ามาเป็นเป้าหมายของการ ศึกษา โดยระดมนักการศึกษาทั่วโลกมาประชุมกัน ๓-๔ วัน เพื่อหาแนวทางนี้ให้นำไปปฏิบัติได้ ดิฉันเองและท่านอาจารย์ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ได้เข้าร่วมการประชุมนี้ และทีน่ า่ ยินดีคือ ท่านอาจารย์อาจองได้ช่วยจัดอบรมสมาธิให้กับครูและ ผู้บริหารการศึกษาของภูฏานทั้งประเทศ เมื่อหันกลับมาดูที่ ประเทศไทยเอง แม้ว่าจะยังไม่มีนโยบายในเรื่องนี้ ในแวดวง การศึกษาไทย แต่ก็มิได้หมายความว่าหมดโอกาส เพราะความ ได้เปรียบของทุนภูมิปัญญาด้านการฝึกพัฒนาจิตใจ ปัญญา ในสังคมไทยยังคงมีอยู่ มีครูบาอาจารย์ทจี่ ะมีเมตตาอบรมสัง่ สอน ได้อยู่เป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อเป็นเช่นนี้เองเราจึงไม่รอช้าที่จะ ดำเนินการทดลอง เพื่อที่จะสร้างกัลยาณมิตรรุ่นใหม่ขึ้นก่อน โดยการเริ่ ม ทำวิ จั ย แบบปฏิ บั ติ การสร้ า งหลั ก สู ต รครู ส ติ ขึ้ น โดยคาดว่าจะได้รบั การสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย (มจร.) และที่โชคดีคือ ได้รับความเมตตาจาก


พระพุ ท ธยานั น ทภิ ก ขุ (หลวงพ่ อ มหาดิ เ รก) ที่ ใ ห้ ค วาม อนุเคราะห์ทดลองสอนกับกลุ่มทดลองหลายกลุ่ม เพื่อพัฒนา หลักสูตรที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้ทั้งครูระดับต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนสถาบันหรือองค์กรสถานศึกษา ต่างๆ โดยเฉพาะโรงเรียนวิถีพุทธต่อไป อย่างไรก็ตามจุดเริม่ ต้นทีท่ า้ ทายมากทีส่ ดุ คือ การทดลอง ทีต่ วั เราเองว่าจะสามารถเรียนรู้ในระดับจิตตปัญญานี้ได้ และเป็น กัลยาณมิตรให้กับคนรุ่นต่อไปได้มากน้อยเพียงใด

วิพากษ์การเรียนรู้ของคน ในสังคมไทย

ปัจจุบันสื่อมีอิทธิพลมากในสังคม บางครั้งเราปรับตัว ไม่ทัน กล่าวคือแทนที่เราจะใช้สื่อเป็นเครื่องมือขยายฐานและ โอกาสการเรียนรูข้ องเราให้กว้างขวางขึน้ กลับกลายเป็นว่าเราเสพ สื่อที่ไม่ได้เลือก หรือไม่รู้ว่าต้องเลือกจนสื่อเหล่านั้นมีอิทธิพล กล่อมเกลาจิตใจ วิธีคิด ทัศนคติ พฤติกรรม และความเสพคุ้น ต่างๆ ของเราไปโดยไม่ทันรู้ตัว เคยมีนักการศึกษาผู้ที่รู้ทันและ พยายามจะเตือนพ่อแม่ทงั้ หลายว่า อย่าปล่อยให้ทวี เี ลีย้ งลูกเล็ก แทนเรา เขาจะสูญเสียความสามารถในการเรียนรูล้ งไป เพราะสมอง ทำหน้าทีน่ อ้ ยมากเพียงแต่รบั โดยไม่ตอ้ งคิด และไม่ตอ้ งตัดสินใจ ที่จะเลือกอะไร ที่แย่กว่านั้นคือเด็กเกิดความเข้าใจว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างจะปรากฏและตอบสนองตนได้อย่างสำเร็จรูปอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้ความพยายามลงมือทำใดๆ เลย และไม่รู้จักการ อดทนรอคอย ดังนัน้ สภาพแวดล้อมของสังคมยุคสือ่ พาไปนีจ้ งึ มี พลังชักจูงสร้างนิสัยของผู้คนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนคนไทย และมี อิ ท ธิ พ ลเหนื อ กว่ า การเลี้ ย งดู ข องพ่ อ แม่ ครอบครั ว

และโรงเรียน เพราะเขาจะซึมซับรับมาโดยตรงได้อย่างรวดเร็ว และยากที่จะหลีกเลี่ยง เมือ่ สถานการณ์สงั คมเป็นเช่นนี้ การจัดการศึกษาในแบบ แผนเดิมจึงหมดความหมายลงไปทุกที ในบทบาทหน้าที่การ สร้างคนที่ไม่ทนั ต่อสถานการณ์ ทุนทางสังคม ทุนทางทรัพยากร ทุ น ทางบุ ค คลที่ เ คยมี ม าแต่ อ ดี ต ซึ่ ง เคยเป็ น ที่ พึ่ ง ทั้ ง ทางกาย

จิ ต ใจและภู มิ ปั ญ ญาก็ พ ลอยหมดคุ ณ ค่ า ไปด้ ว ย เพราะผู้ น ำ ยุคใหม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน การค้า พาณิชย์ จึงพาสังคมก้าวกระโดดสู่ความเป็นสังคมบริโภคสินค้า ให้ทนั ทุกสิง่ ทุกอย่างถูกตีคา่ ตีราคาเป็นสินค้า แม้แต่คา่ ของคน ก็ต้องวัดกันที่เงินเดือน รายได้ ความร่ำรวย มากกว่าคุณค่าใน จิตใจ ในขณะทีล่ ะทิง้ ทุนเดิมไป ก็ยงั ไม่สามารถเข้าพัฒนาทุนใหม่ ในด้านการผลิตทีแ่ ท้จริงได้ การพัฒนาความรูจ้ ากทุนเดิมทีจ่ ะเป็น ฐานสำคั ญ ของการผลิ ต หรื อ การจั ด การทรั พ ยากร และทุ น ภายในประเทศถูกมองข้ามไป แต่กลับกลายเป็นการจัดการ ศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรเพื่อป้อนในด้านการบริหารจัดการ ธุรกิจการค้าและด้านแรงงานอุตสาหกรรม การผลิตและการ ประกอบสินค้าและการบริการเท่านั้น ส่วนการลงทุนโครงสร้าง พื้นฐานต่างๆ ก็เป็นไปเพื่อการค้าพาณิชย์มากกว่าจะเป็นไป เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการจัดการทรัพยากรเพื่อความ ยั่งยืน จากสถานการณ์ดงั กล่าวนีช้ ใี้ ห้เห็นว่า การจัดการศึกษาก็ดี ความสามารถทางการเรียนรู้ของคนไทยโดยทั่วไปก็ดี กำลัง เผชิญปัญหา ๒ ประการ กล่าวคือ หนึ่งการก้าวกระโดดและ เกิดการขาดตอนการเรียนรู้ที่ควรจะเติบโตมาจากรากฐานทุน ทางสั ง คมของเราเอง และสองคื อ เป็ น การตามกระแสการ

ครูและนักเรียนชัน้ ม.๓ รร.รุง่ อรุณ ช่วยกันสร้างแหล่งอาหารเลีย้ งปลาทีช่ มุ ชนอีโต้นอ้ ย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ 53


VIEW OF THOUGHT

พัฒนาเฉพาะหน้ามากกว่าที่จะเล็งเห็นถึงเป้าหมายระยะยาว ของสังคมทั้งระบบ ทุกวันนี้เราจึงตกอยู่ ในสภาพการวิ่งตาม แก้ ปั ญ หาเฉพาะหน้ า ในเรื่ อ งการศึ ก ษาเรี ย นรู้ ทั้ ง ในระบบ การจัดการศึกษาและการศึกษาตลอดชีวิตของคนไทย เช่นการ รณรงค์ให้เด็กไทยรักการอ่านซึ่งเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ดี แต่ยากที่จะเกิดขึ้นได้ ในบรรยากาศที่แม้ผู้ ใหญ่ก็อ่านไม่ออก เช่นกัน คืออ่านตัวเองไม่ออก อ่านสังคมไม่ออก ทุกหนทุกแห่ง ทุกคนล้วนมุ่งไปสู่การตอบสนองความอยากและความพอใจ เฉพาะหน้า จึงปฏิเสธการอ่านโดยไม่รตู้ วั ดังนัน้ เราจึงไม่สามารถ สร้างรสนิยมหรือวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ดีได้ พ่ อ แม่ ผู้ ป กครองหรื อ ในครอบครั ว เองก็ แ ทบจะลื ม บทบาทการส่งต่อภูมิปัญญา ความรู้ คุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน ให้กบั เด็กๆ ในปัจจุบนั จึงเกิดค่านิยมส่งลูกไปเรียนทุกอย่างนอกบ้าน

54

ตั้งแต่เรียนที่โรงเรียนปกติ เรียนพิเศษสารพัดวิชา เรียนแม้แต่ การเล่นการออกกำลังกาย การทำอาหาร ทุกๆ การเรียนรู้จึง กลายเป็นสินค้า ในขณะเดียวกันสถาบันครอบครัวก็อ่อนแอ หมดพลังที่จะช่วยสร้างเยาวชนคนไทยที่มีวัฒนธรรมรักการ เรียนรู้ได้ และฝากความหวังหรือผลักภาระให้กับโรงเรียนต่างๆ ตลอดจนมหาวิทยาลัย ซึ่งตกอยู่ในกระแสการลอกเลียนความรู ้ มากกว่าการสร้างความรู้และการเรียนรู้ด้วยตนเองเช่นกัน มีคำถามอยู่ ๑๒ ข้อที่น่าจะเป็นการตรวจเช็คอาการ ด้านการเรียนรู้ของสังคมไทย การหาคำตอบให้กับคำถามทั้ง ๑๒ ข้อนี้อาจจะไม่ยาก แต่ที่ยากมากก็คือ การหาผู้ตอบว่าใคร ควรจะเป็นผู้ตอบ ถ้าเปรียบเป็นอาการป่วยของสังคมก็ต้องถาม ว่า ใครคือหมอที่จะตรวจรักษาอาการเหล่านี้ได้นั่นเอง คำถาม มีอยู่ว่า


สถานการณ์สขุ ภาวะของคนไทย ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา

ในช่วง ๑๐ ปีทผี่ า่ นมา คนไทยสนใจเรือ่ งสุขภาพมากขึน้ โดยเฉพาะคนในเมืองจะให้ความสำคัญกับการใช้ผลิตภัณฑ์ และบริ การเพื่ อ สุ ข ภาพกั นมาก เช่ น อาหารเสริ ม วิ ตามิ น สินค้าและบริการสุขภาพต่างๆ เช่น Fitness เป็นต้น จนกระทั่ง เกิดการกระตุ้นแรงจูงใจในการซื้อและทำให้เกิดกลุ่มผู้ที่คิดว่า จำเป็นต้องซื้อและบริโภคสิ่งเหล่านี้ตามมา จนกระทั่งธุรกิจ เหล่านี้สามารถตั้งราคาสินค้าสูง เนื่องจากผู้บริโภคยินยอมจ่าย เพื่อซื้อสุขภาพแบบสำเร็จรูป แต่ ในขณะเดียวกันก็มีกระแส สุขภาพอีกแบบหนึ่งที่เน้นการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ให้อยู่ใน วิ ถี ชี วิ ต ปกติ ที่ รู้ จั ก ตนเอง สั ง เกตตนเองทั้ ง กายและใจเป็ น สามารถปรับสมดุลให้ชีวิตอยู่ ในภาวะปกติสุข หรือสุขภาวะ ได้ตามเหตุปัจจัยและกาลเทศะ แนวการบำบัดด้วยการแพทย์ แผนไทยก็มีค่านิยมมากขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ดีทั้งการดูแลป้องกัน และการรักษาบำบัด เยียวยาการเจ็บป่วยในภาพรวมของสังคมไทยดีขึ้น การทำงาน ของกระทรวงสาธารณสุขมีประสิทธิภาพมากขึน้ การเปลีย่ นแปลง ในระดับโครงสร้าง จากระบบใหญ่สู่ระบบย่อย ทำให้การเข้าถึง ระบบสุ ข ภาพของคนทุ ก คนทำได้ ง่ า ยขึ้ น คนเข้ า ถึ ง บริ การ สาธารณสุขได้ทั่วถึงมากขึ้น ในภาคชนบทมีการพัฒนาสถานี อนามัยให้ยกระดับเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ แม้แต่สถานการ ส่ ง ต่ อ ผู้ ป่ ว ยก็ ส ะดวกขึ้ น การเผยแพร่ ความรู้ เ รื่ อ งสุ ข ภาพ อนามัยโดยอาสาสมัคร (อสม.) ทำได้ถึงครัวเรือน จึงนับว่า

สุขภาวะของคนไทยน่าจะดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันสังคมไทยก็ยังต้องเผชิญกับภาวะ คุ ก คามเช่ น เรื่ อ งความปลอดภั ย และความมั่ น คงทางอาหาร ซึง่ เกิดผลกระทบจากระบบการผลิตและการจัดจำหน่าย รวมไปถึง ยารักษาโรคด้วย ซึ่งเป็นระบบที่เชื่อมโยงกับธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เพราะทุกอย่างถูกทำให้เป็น สินค้าไปหมด ดังนั้นการผลิตเอง ขายเองแทบจะหมดไปจาก รากฐานของสังคมซึ่งระบบเช่นนี้ส่งผลเสียไปถึงวัฒนธรรมการ

บริ โ ภคอาหารและยาของคนไทย ที่ แ ม้ จ ะมี ข้ อ ได้ เ ปรี ย บคื อ ความอุดมสมบูรณ์ในการผลิตอาหาร แต่กลับถูกนำไปสู่ระบบ ที่ จ ะตอบสนองให้ เ กิ ด สิ น ค้ า สำเร็ จ รู ป โดยแท้ ที่ จ ริ ง แล้ ว ครอบครัวไทยทุกบ้านสามารถทีจ่ ะปลูกพืชผักสวนครัวไว้กนิ เองได้ แต่เรากำลังถูกชี้นำให้เป็นผู้ซื้อของสำเร็จรูป แม้แต่อาหารที่ ปรุ ง สำเร็ จ พร้ อ มรั บ ประทาน ซึ่ ง เน้ น รสชาติ แ ละดึ ง ดู ด ให้

ผู้บริโภคสนองความพึงพอใจ ความสะดวก มากกว่าคุณค่าทาง โภชนาการ ดังนั้นการเรียนรู้ของคนไทยจึงมีโจทย์ มีแบบฝึกหัดที่ จำเป็ น ต้ อ งเรี ย นรู้ ที่ เ ริ่ ม จากตนเองเชื่ อ มโยงไปสู่ ค รอบครั ว ชุมชน และสังคมไทยเรื่องสุขภาวะนี้ได้มากมาย รวมไปถึงการ ใช้ ค วามรู้ ส มั ย ใหม่ ความรู้ ท างวิ ท ยานิ พ นธ์ ความรู้ ด้ า น ภู มิ ศ าสตร์ ประวั ติ ศ าสตร์ ทรั พ ยากรธรรมชาติ และอื่ น ๆ มาบูรณาการภายใต้แนวคิด (Theme) ของสุขภาวะนี้ให้เป็น ประเด็นหลัก (Core Subject) ซึ่งถือว่าเป็นแนวคิดของโลก (Global Theme) ซึ่งสำคัญพอๆ กับแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน อาหารและยา เทคโนโลยีสื่อ ฯลฯ หากการเรียนรู้ Core Subject เหล่านีอ้ ยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน และอยู่ ใ นแวดวงของสื่ อ ไปพร้ อ มๆ กั น คนไทยก็ น่ า จะใช้ ศักยภาพของตนได้เต็มที่ ลึกกว่าระดับความรู้ความคิดทั่วๆ ไป แต่ไปถึงระดับจิตสำนึกได้ และอาจจะเข้าถึงการตระหนักรู้ถึง ความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษย์และโลก และสภาพสิ่งต่างๆ ที่จิตมนุษย์สามารถเกื้อกูลให้เกิดสมดุล และเกิดความเจริญที่ พอเพียงได้ ที่มา : บทสัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม รองอธิการบดีสถาบัน อาศรมศิลป์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนรุ่งอรุณ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนรุ่งอรุณ และสถาบัน อาศรมศิลป์ ภายใต้คณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ โดย : สินี จักรธรานนท์ และศุภิสรา อารยะพงษ์ มูลนิธิอโชก้า (ประเทศไทย) สัมภาษณ์เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่สถาบันอาศรมศิลป์

55


อิ่มเอมด้วยความสบายใจ

เจ้าของผลงาน : ด.ญ.ณิชนันทน์ ชูวิทย์ (แพรว) ชั้น ม.๑/๑ แรงบันดาลใจ : เกิดจากความรู้สึกขณะหนึ่งซึ่งเปี่ยมสุขและสบายใจ ในการสร้างสรรค์งานศิลป์ชิ้นใหม่



ROONG AROON SCHOOL


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.