Ra secondary

Page 1

มัธยมรุ่งอรุณ

กั ล ย า ณ มิ ต ร ข อง ต น เ อ ง

โ ย นิ โ ส ม น สิ ก า ร เ ผ ชิ ญ ก า ร ง า น ที่ แ ท้ จ ริ ง



มัธยมรุ่งอรุณ เป็นกัลยาณมิตรของตนเอง ด้วยโยนิโสมนสิการ เพื่อเผชิญการงานที่แท้จริง


ธรรมชาติของวัยรุ่น และพัฒนาการของผู้เรียน ช่วงวัยมัธยมต้น (๑๓-๑๕ ปี) ช่วงวัยมัธยมต้น (๑๓-๑๕ ปี) วัยที่ท้าทายพลังการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลง อย่างก้าวกระโดด วัยที่เรียนรู้จากความสับสน เรียนรู้ที่จะเป็นใครสักคนหนึ่ง เรียนรู้จากการ พ้นกรอบ เรียนรู้จากการประลอง และเรียนรู้จากการงานจริง เพื่อเปิดตัวเองออกไปเผชิญความ ไม่รู้ที่รออยู่ รู้สึกได้ถึงความไม่ลงตัวเมื่อต้องปรากฏตัวอยู่ในเวลา สถานที่ และสถานการณ์ต่างๆ “การปรับตัว ปรับใจ” ครั้งนี้จึงเป็นการเรียนรู้ที่ต้องใช้สติปัญญา และต้องการกำ�ลังใจ การยอมรับ และความเข้าใจจากผู้ใหญ่ใกล้ตัวอย่างมาก

บรรยากาศความสนุกสนานในค่ายทักษะชีวิตของนักเรียนชั้น ม.๒ ที่บ้านเรียนละครมรดกใหม่ จ.เลย


ช่วงวัยมัธยมปลาย (๑๖-๑๘ ปี) วัยที่เริ่มพึ่งพาสติปัญญาตนเองได้ วัยที่มีความสามารถและวุฒิภาวะเทียบเท่าผู้ใหญ่ ต่างเพียงด้อยประสบการณ์กว่า วัยนี้กระหายใคร่รู้ในแนวมนุษยปรัชญา ฟังเป็น คิดเป็น ตามทัน ผู้ใหญ่ สร้างชุดภาษาของตนเองได้ถนัดขึ้น สามารถพัฒนาเป็นผู้สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ด้วยระบบ จัดการความรู้ เริ่มสร้างแบบฉบับของตนเองอย่างมีปัญญา และต้องการเผชิญโจทย์จริง เทียมบ่าเทียมไหล่กับผู้ใหญ่ หากมีโจทย์ที่ท้าทาการเรียนรู้ที่เป็นเรื่องจริง หรือกิจกรรมการเรียนรู้บน สถานการณ์จริง เขาจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ดังนั้นการมอบหมายความรับผิดชอบให้ จึงเหมือน เป็นการยอมรับความสามารถ พร้อมไปกับการเปิดโอกาสให้เขาได้เผชิญที่ต้องอาศัยความกล้าหาญ ความอดทน และการเรียนรู้ตัวตนจนเปลี่ยนแปลงตนได้ นักเรียนชั้น ม.๕ ร่วมเดินธรรมยาตราและตรวจวัดคุณภาพน�้ำที่ลุ่มน�้ำล�ำปะทาว จ.ชัยภูมิ


ความสามารถและทักษะของมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ นานาชาติเชือ่ ว่าสังคมมนุษย์และเผ่าพันธุม์ นุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ จะอยูร่ อดได้ มนุษย์ตอ้ ง มีความรูร้ อบด้าน มีทกั ษะการคิดและการจัดการความรูอ้ ย่างเป็นระบบ มีความสามารถในการแสวงหา ความรู้ได้เองจากสื่อทุกประเภท มีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆ ที่ทันสมัย รวมทั้งมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมใหม่และความรู้ใหม่ ผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง การวิจัยทดลอง และการลองผิดลองถูก ทั้งนี้นวัตกรรมและความรู้ใหม่ดังกล่าวจะช่วยให้มนุษย์ นำ�พาตนเองและสังคมฝ่ากระแสที่รุนแรงและไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ครั้งแล้วครั้งเล่า ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวถึงทักษะและความสามารถของมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ ในการ บรรยาย “ครูเพื่อศิษย์” และ “บัณฑิตอุดมคติไทย” ไว้ว่า มนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ จะต้องมี 3Rs + 7Cs + 1L ซึ่งหากเพิ่มเติมแนวคิดเรื่องการเข้าถึงระบบคุณค่าของโรงเรียนรุ่งอรุณ (Core Value) ทักษะและความสามารถของมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อความอยู่รอด สามารถพึ่งพาตนเองและ สร้างสรรค์สิ่งดีงามแก่สังคมโลกได้นั้นก็จะลึกซึ้งและถาวรยิ่งขึ้น

21st C. Skills

(ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช) 3Rs

7Cs

• Reading

• Critical Thinking & Problem Solving

• ‘Riting

• Creativity & Innovation

• ‘Rithmetics

• Collaboration Teamwork & Leadership • Cross-Cultural Understanding • Communication Information & Media Literacy • Computing & Media Literacy • Career & Learning Self-Reliance

1L • Learning Skills


อาจกล่าวโดยสรุปว่ามนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ จำ�เป็นต้องมีคุณสมบัติใหม่ (21st Century Skills) คือ สามารถดำ�รงชีวิต เป็นคนดีของสังคม พึ่งพาตนเองได้ และเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น เผชิญ และปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและไม่คาดฝันได้ครั้งแล้วครั้งเล่า และมี Learning Skills, Life Skills, Work Skills ซึ่งโรงเรียนรุ่งอรุณได้นำ�มาประยุกต์สู่การจัดการเรียนการสอนของ นักเรียนมัธยมดังต่อไปนี้ การเรียนรู้ของโรงเรียนรุ่งอรุณ 8Cs

3Rs • Reading

• Critical Thinking & Problem Solving

• ‘Riting

• Creativity & Innovation

• ‘Rithmetics

• Collaboration Teamwork & Leadership • Cross-Cultural Understanding • Communication Information & Media Literacy

• Self-Directed Learning 7Cs

• Project-Based Learning • Problem-Based Learning • Life Skill Learning

• Computing & Media Literacy • Career & Learning Self-Reliance

+ Core Value Competency


ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ ของนักเรียนมัธยมรุ่งอรุณในศตวรรษที่ ๒๑ แนวทางการจัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนรุ่งอรุณ มุ่งเน้นให้นักเรียน พัฒนาทักษะ 3Rs + 8Cs และมีความสามารถในการเรียนรู้ทั้งความรู้ในวิชาพื้นฐาน (Core Subjects) และความรู้เพื่อเท่าทันสถานการณ์โลกในศตวรรษที่ ๒๑ (Theme in 21st Century) โดยกำ�หนด ให้ “ครู” ฝึกฝนทักษะเดียวกันนี้เพื่อพร้อมที่จะพานักเรียนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้นี้ในชั้นเรียน เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นพลเมืองโลกที่มีความเข้มแข็ง อดทน คิดเป็น เท่าทันและสร้างสรรค์

สร้างผูเ้ รียนทีแ่ ท้จริง ไม่ใช่ผถู้ กู สอน (Self-Directed Learners)

การจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงจึงเกิดขึ้นทั้ง ๒ มิติ ได้แก่ มิติของ กิจวัตรประจำ�วันที่ต้องดูแลตนเอง ดูแลห้องเรียน สถานที่ จัดการเรื่องการทำ�อาหารกลางวัน อาหารว่างด้วยตนเอง และงานจิตอาสาอื่นๆ ส่วนอีกมิติหนึ่งคือ มิติของการเรียนในสาระวิชาต่างๆ ซึ่งมีหลักการเดียวกัน คือต้องบูรณาการสู่ชีวิตเช่นกัน ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้จึงหลากหลาย ไม่ว่า จะเป็นการสืบค้น การทดลอง การจัดการข้อมูล การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยง และ สร้างสรรค์ การทำ�งานเป็นทีมและการแลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ะหว่างกันในห้องเรียน-ต่างห้องเรียน รวมทัง้ การใช้เครื่องมือการสื่อสารเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning) ทั้งยังพัฒนาทักษะในการเผชิญสถานการณ์ที่ตนไม่คุ้นชิน และจัดปรับตนเอง (Adaptability) ได้ดี ในสถานการณ์ต่างๆ

นั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมปลายร่ ว ม เรี ย นรู้แ ละฝึ ก การรายงานข่ า ว ผ่ า นสื่อ ที วีอ อนไลน์ กับ ที ม ข่ า ว ส ถ า นี โ ท ร ทั ศ น์ ไ ท ย พี บี เ อ ส ในงานระพีเสวนา ครั้งที่ ๖ สื่อ เพื่อการเปลี่ยนแปลง ณ อาคาร สารนิเทศ ๕๐ ปี มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ๘


การเรียนผ่านโครงงาน (Project-Based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐานปฏิบัติงานการเรียนรู้ (Project-Based Learning) โดยมีครูร่วม อยู่ในทีมการเรียนรู้ อันเป็นวิธีการเรียนที่นักเรียนจะใช้ศักยภาพทั้งหมดและที่แท้จริงตามวัยของตน โดยกำ�หนดให้นักเรียนทำ�การศึกษาปัญหาที่เป็นโจทย์จริงที่สำ�คัญ (Global Issues) และเรียนรู้การ ทำ�งานในลักษณะของทีมทำ�งาน นักเรียนจะเริ่มต้นศึกษาจากภาคสนามผ่านการเรียนหน่วยบูรณาการ สังคมภาษาไทย ที่นักเรียนลงไปในสถานที่จริง และมีเวลาไม่น้อยกว่า ๑ สัปดาห์ ที่จะศึกษาข้อมูลเชิง ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ การทำ�มาหากิน ในระดับบริบทชุมชน และเมือง ตลอดจนภูมิภาค จากนั้นจึงนำ�มาจัดระบบข้อมูลข้อเท็จจริงจากพื้นที่ และจากเอกสารอ้างอิง อื่นๆ ซึ่งนำ�ไปสู่การวิเคราะห์เชิงประเด็นสำ�คัญ และปัญหาที่กำ�ลังเผชิญอยู่ เป็นการทดลองตั้งโจทย์ โครงงานที่จะดำ�เนินการศึกษาเชิงลึกต่อไป ในกระบวนการดังกล่าวนี้ นักเรียนจะได้รับการฝึกทักษะ การเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยทักษะการสังเกต การสืบค้น การสัมภาษณ์ การบันทึก ทักษะการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ การสื่อสารความคิดเห็น การคิดเชื่อมโยงอย่างเป็นลำ�ดับ การประมวลความคิดสำ�คัญ การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) การนำ�เสนอ (Presentation Skills) การสื่อสาร (Communication Skills) การเจรจาต่อรอง (Negotiation) การจัดการความขัดแย้ง (Conflict Resolution) การ แก้ปัญหาทั้งในระดับบุคคล ทีมทำ�งาน รวมทั้งการแก้ปัญหาของโจทย์การศึกษา (Problem Solving) ได้เป็นอย่างดี นักเรียนจะเรียนรูด้ ว้ ยตนเองและมีบทบาทเป็นหนึง่ ในทีมทำ�งานร่วมกัน โดยมีครูเป็นทีป่ รึกษา ขณะที่ครูจะทิ้งบทบาทของผู้สอนไปเป็นหุ้นส่วนในการเรียนรู้ และผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (Facilitator) ที่จะพานักเรียนร่วมเรียนรู้และทำ�งานไปด้วยกัน ทั้งนี้ชั้นเรียนจะมีรูปแบบ Studio Type หรือห้องทำ�งาน มากกว่าเป็นห้องบรรยายอย่าง ที่คุ้นเคย การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่นักเรียนสามารถลองผิดลองถูกอย่างมีทิศทาง การทดสอบ และประเมินที่ไม่มีผิดมีถูก แต่เป็นการทดสอบและประเมินความคิดอย่างมีหลักการและเหตุผล รวมทั้ง การประเมินเพื่อพัฒนาโดยทีม ในบรรยากาศการเรียนรู้ที่เท่าเทียมและมีหลักการ

นักเรียนชั้น ม.๖ ทำ�ผังข้อมูล การสำ�รวจทรัพยากรธรรมชาติ และอาชีพของชาวบ้านใน อ.วังสะพุง จ.เลย ก่อนการมา ของอุตสาหกรรมเหมืองทอง ในโครงงานเรื่องเหมืองแร่ ทองคำ�กับชุมชน


นักเรียนชั้น ม.๓ นำ�เสนอข้อมูลวิถีชีวิตชาวเล “อูรักลาโว้ย-มอแกน” กับชาวบ้านและผู้นำ�ชุมชน ในการออกภาคสนามโครงงานภาคใต้ที่บ้านหาดราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

การฝึกฝนทักษะสื่อสารสร้างสรรค์และทันการณ์ (Communication Information & Media Literacy)

๑๐

สังคมในศตวรรษที่ ๒๑ ร�่ำรวยไปด้วยข้อมูลข่าวสาร นักเรียนควรต้องสามารถเข้าถึงแหล่ง ข้อมูลเป็น กลั่นกรองข้อมูลอย่างเฉลียวฉลาด และที่ส�ำคัญไม่แพ้กันคือการเป็นผู้จัดท�ำและน�ำเสนอ ข้อมูลเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้บนฐานความรู้ที่มีคุณค่าด้วย โดยการน�ำเสนอและเผยแพร่ผลการศึกษา และผลงานของตนได้อย่างกว้างขวางด้วยภาษาสากล ผ่านช่องทางสื่อ เทคโนโลยี และเครื่องมือที่จะ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ในเวทีสากลได้ โดยไม่ต้องรอให้ถึงระดับอุดมศึกษา ดังนั้นนักเรียนมัธยมของรุ่งอรุณจะได้รับการฝึกทักษะการเรียนรู้อย่างครบวงจรทั้ง ๒ ทาง คือมีทั้งความรู้ขาเข้า (Input) และความรู้ขาออก (Output) เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จน นักเรียนเป็นเจ้าของความรู้นั้นด้วยตนเอง (Tacit Knowledge) เพราะการมีทักษะการเรียนรู้โดยผ่าน การสื่อสารทั้ง ๒ ทางนี้จะเป็นการกระตุ้นการใช้ศักยภาพที่แท้จริงของตนให้เป็น Active Learner มิใช่ ผู้รอเรียน เพราะในโลกแห่งข้อมูลข่าวสารของยุคนี้ สิ่งที่ควรเรียนรู้ได้รอเราอยู่แล้ว รวมทั้งเทคโนโลยี การเข้าถึงข้อมูลความรู้ก็ช่วยให้เราสะดวก ประหยัดเวลาได้มากมาย แทบไม่มีข้อจ�ำกัด เหลืออยู่แต่ เพียงการเปิดศักยภาพ การรับรู้ การคิดวิเคราะห์ การเลือกตัดสินใจ การน�ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ กับเรื่องราวและสถานการณ์หนึ่งๆ เท่านั้น ยิ่งถ้าเป็นสถานการณ์สด เช่น การไปศึกษาภาคสนามที่ นักเรียนจะได้รับโจทย์ที่ท้าทายทั้งในระดับการคิดหัวข้อการศึกษา ซึ่งเป็นโจทย์จริงและเท่าทันโลก ไร้ รูปแบบ หลากหลาย ที่ดูเหมือนจะจัดการความรู้ยาก ยิ่งต้องการวิธีการท�ำงานเป็นทีมและท�ำงานร่วม กับครูหรือผู้ใหญ่ รวมทั้งร่วมกับชุมชนหรือสังคมภายนอกโรงเรียน การน�ำเสนอที่มีประสิทธิภาพและ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งการเผยแพร่ผลการศึกษาอย่างกว้างขวาง เพื่อโอกาสการเทียบวัด คุณภาพผลงานผ่านเวทีการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้สาธารณะต่างๆ ด้วย


การเรียนบนบริบทที่หลากหลาย (Cross-Cultural Understanding) นักเรียนต้องเรียนรู้ร่วมกับคนในชุมชนทั้งในและนอกโรงเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ใน ระดับที่เรียกว่า “ข้ามวัฒนธรรม” ทั้งนี้เพื่อการเข้าถึงคุณค่าของรากเหง้าทางวัฒนธรรม และการ เคารพในความแตกต่าง ซึ่งจำ�เป็นมากสำ�หรับสันติภาพของสังคมในโลกปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จาก การศึกษาภาคสนามและการศึกษาชุมชนซึ่งเป็นการเรียนผ่านหน่วยบูรณาการสังคมภาษาไทย ของนักเรียนมัธยมโรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาและทำ�งานร่วมกับองค์กรหรือ สถาบันต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนและผู้คนในหน่วยสังคมอื่นอย่างเท่าเทียม นักเรียนต้องมีความสามารถใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเข้าถึงปัญหาและมีส่วนร่วมใน การนำ�เสนอทางออกหรือการสะท้อนข้อเท็จจริงของชุมชนในบริบททางวัฒนธรรมนั้นๆ รวมทั้ง สามารถสร้างสังคมแห่งความปรองดองได้ ตัวอย่างเช่น การศึกษาหน่วยบูรณาการสังคมภาษาไทย มัธยมปีที่ ๓ ที่ศึกษาชุมชนท้องถิ่นของแต่ละภูมิภาค ได้แก่ ภาคอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ภาค ใต้ และภาคเหนือ ภาคเรียนละ ๑ ชุมชน นักเรียนจึงได้ไปศึกษาที่ชุมชนกุดชุม จ.สกลนคร ชุมชน ชาวเลอูรักลาโว้ย จ.ภูเก็ต และชุมชนบ้านเมืองปอน จ.แม่ฮ่องสอน เป็นต้น

การเรียนแบบ Self-Directed Learning by Flipped Classroom ผ่าน E-Learning Flipped Classroom คือการกลับทิศทางห้องเรียน จากเดิมที่นักเรียนเรียนเนื้อหากับ ครูและท�ำแบบฝึกหัดในห้องเรียน แล้วมีการบ้านให้ไปฝึกท�ำจนเกิดความช�ำนาญ เปลี่ยนเป็นให้ นักเรียนเตรียมพร้อมการเรียนรู้จากการเรียนและท�ำความเข้าใจเนื้อหาที่บ้านผ่านวิดีโอการสอน ออนไลน์ที่ครูจัดหามาให้ เพื่อเทียบเท่ามาตรฐานสากล ซึ่งนักเรียนสามารถเปิดดู กดหยุด หรือย้อนดู ซ�้ำไปมาเพื่อทบทวนท�ำความเข้าใจ และจดบันทึกได้อย่างอิสระที่บ้าน ใช้เวลาเพียง ๑๕-๓๐ นาที ขึ้นอยู่กับความสามารถและความพร้อมในการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน แล้วใช้เวลาในห้องเรียน ส�ำหรับการเรียนรู้ที่เป็น Active Learning เช่น การสนทนาภาษาอังกฤษ การเขียนและการอ่าน บทความภาษาอังกฤษ การท�ำ Lab คณิตศาสตร์ การตั้งค�ำถามเชิงวิเคราะห์ ความเชื่อมโยงระหว่าง คณิตศาสตร์กับวิชาอื่นๆ การปฏิสัมพันธ์ และการซักถามในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจ ซึ่งจะช่วยให้ครู มองเห็นและพัฒนานักเรียนได้เป็นรายบุคคล ๑๑


การฝึกทักษะน้อมใจเข้าถึงระบบคุณค่า (Core Value Competency) การใช้ปัญหาจริงในสังคม (Global Issues) เป็นโจทย์การเรียนรู้หรือโครงงาน เพื่อให้ นักเรียนเกิดการเรียนรูท้ งั้ สาระวิชาการและวิชาชีวติ กระทัง่ มองเห็นคุณค่าแท้ในระบบความสัมพันธ์ อย่างเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง เป็นการฝึกฝนอย่างท้าทายไปบนการปฏิบัติการเรียนรู้ผ่านการลงมือท�ำ เกิดประสบการณ์ตรงในตนเอง และได้พัฒนามุมมอง ทัศนคติ รวมทั้งจิตส�ำนึกไปพร้อมกัน เช่น โจทย์ ส�ำหรับชัน้ ม.๑ คือ กรุงเทพมหานครในศตวรรษที่ ๒๑ ประกอบด้วยประเด็นทีน่ กั เรียนต้องพิจารณา เพื่อน�ำไปสู่การตอบโจทย์อนาคตที่ใกล้ตัวของนักเรียน เช่น ท�ำไมกรุงเทพถึงเป็นเมืองน�้ำ (ท่วม) อาหารการกินของคนกรุงปลอดภัยหรือเปล่า ขยะและมลพิษในกรุงเทพ คน กทม.จะช่วยกันจัดการ อย่างไร การจัดการพื้นที่ว่าควรมีอะไร-ไม่มีอะไรใน กทม. เช่น ชุมชนเก่า รถไฟฟ้า พื้นที่ปลูกต้นไม้ ปัญหาการจราจร ปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหาสัตว์จรจัด กลุ่มจิตอาสาช่วยเหลือสังคม เป็นต้น จนกระทั่งนักเรียนรู้สึกได้ถึงความเป็นเจ้าของเมืองที่ปรารถนาจะดูแลและรักษาเมืองกรุงเทพ มหานคร ในฐานะพลเมืองที่มีความรู้ ความเข้าใจ และเป็นผู้ก�ำหนดอนาคตทิศทางการพัฒนา นักเรียนนำ�เสนอเรื่องราวของสมาคมพิทักษ์สัตว์ (ไทย) ในงานเสวนาเรื่อง “รวมพลคนรักษ์กรุงเทพ” ที่จัดขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของ หน่วยงานหรือกลุ่มคนต่างๆ ที่รวมตัวกันทำ�เรื่องดีๆ เพื่อแก้ไขปัญหาของกรุงเทพ โดยนักเรียนชั้น ม.๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕

๑๒


หนึ่งวันของนักเรียนมัธยมรุ่งอรุณ

๗.๕๐ น. ตีระฆัง

๘.๐๐ น. เข้าแถว กิจกรรมเบิกฟ้า

๑๓.๐๐-๑๔.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

๑๔.๐๐ น. บำ�เพ็ญประโยชน์ ดูแลทำ�ความสะอาดห้องเรียนและสถานที่ต่างๆ

๘.๑๕ น. โฮมรูม สวดมนต์และเจริญสติ ๑๒.๑๐ น. หมุนเวียนกันทำ� อาหารรับประทานเองทุกวัน

๑๔.๓๐ น. หน่วยการเรียนภาคบ่าย ดนตรี ศิลปะ กีฬา กิจกรรมชมรมต่างๆ

๘.๓๐ น. หน่วยการเรียน/โครงงาน สาระวิชาต่างๆ อังกฤษ วิทย์ คณิต IT ๑๐.๑๐ น. พักกินอาหารว่าง หน่วยการเรียน/ โครงงาน ๕๐ นาที/คาบ

๑๖.๑๐ น. สนทนายามเย็น

๑๓


การเรียนรูท้ กั ษะชีวติ บนวิถกี จิ วัตร นักเรียนรับผิดชอบและจัดทำ�อาหารการกินด้วยตัวเอง หน้าที่สำ�คัญที่เป็นกิจวัตรหนึ่งของนักเรียนมัธยม คือ การผลัดกลุ่มกันรับผิดชอบทำ�อาหาร กลางวันให้กับนักเรียนห้องอื่นๆ ในระดับชั้น นักเรียนได้ร่วมเป็นเจ้าของการงานอย่างครบวงจร ทำ�ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการทำ�อาหาร การใช้ความรู้กับการทำ�อาหาร และการทำ�อาหารในปริมาณ ที่มาก คือ ม.ต้น ดูแล ๗๐ ชีวิต ม.ปลาย ดูแล ๒๐๐ กว่าชีวิต การตระหนักถึงผลสำ�เร็จ ในความสามารถ รวมถึงข้อผิดพลาดที่ควรปรับปรุง เริ่มตั้งแต่ ม.ต้น ที่คิดรายการอาหารส่ง แผนกครัวของโรงเรียนช่วยจัดซื้อวัตถุดิบให้ แล้วบริหารจัดสรรหน้าที่ทำ�อาหาร เก็บล้างอุปกรณ์ ดูแลครัวให้เรียบร้อย ม.ปลายได้รับมอบหมายหน้าที่อย่างครบวงจรตั้งแต่บริหารงบประมาณที่ได้ รับจากทางโรงเรียน และสรุปรายจ่ายส่งให้ฝ่ายบัญชี คิดรายการอาหาร กะปริมาณให้พอดีกับ จำ�นวนคน บริหารเวลาไปจ่ายตลาด ทำ�อาหารและดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องครัวด้วยตัวเอง เวทีนี้ เป็นการฝึกฝนการทำ�งานเป็นทีม การจัดการ การรู้คุณค่าของทรัพยากรและธรรมชาติที่ใช้ไปกับการ ทำ�อาหาร และการรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

๑๔


การเรียนรูท้ กั ษะชีวติ ผ่านงานจิตอาสา

Life Skills Learning through Volunteering Activities

แบ่งหน้าที่ร่วมรับผิดชอบดูแลความสะอาด ของอาคารเรียนและพื้นที่สาธารณะ นอกจากนี้นักเรียนยังมีหน้าที่ดูแลท�ำความสะอาดบริเวณของตนเองและส่วนรวม ไม่ เพียงแค่ปัดกวาดเช็ดถูในห้องเรียน แต่รวมไปถึงโถงเรียนรวม ลานเข้าแถว องค์พระประจ�ำโรงเรียน การขัดล้างห้องส้วม ห้องครัว และการดูแลบ่อดักไขมันประจ�ำอาคาร การงานเช่นนี้จะท�ำให้ นักเรียนเห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนจากการอยู่ การกิน และการใช้ของตัวเอง ท�ำให้นักเรียน มีสติ รู้รับผิดชอบและดูแลตัวเองและส่วนรวมมากขึ้น เพราะยิ่งเขาท�ำสกปรกมากก็ยิ่งต้องเช็ดถู มาก ยิ่งใช้น�้ำมันหรือกะทิมากก็ยิ่งมีภาระงานการดูแลบ่อดักไขมันมากขึ้น

๑๕


การเข้าค่ายปฏิบัติธรรม เจริญสติ

การเรียนรู้ทักษะชีวิตผ่านการภาวนาด้านจิตใจ+ปัญญา

Life Skills Learning through Mind and Wisdom Contemplation

การเรียนรู้จักตัวเองเพื่อพัฒนาชีวิตมนุษย์ ตามแนววิถีพุทธ นั ก เรี ย นระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาจะเรี ย นวิ ช าพระพุ ท ธศาสนาผ่ า นการปฏิ บั ติ ธ รรม เจริญจิตภาวนา ในรูปแบบการเข้าค่ายปฏิบัติธรรมที่โรงเรียนเป็นเวลา ๖ วัน ๕ คืน (จันทร์-เสาร์) หมุนเวียนกันไปทีละระดับชั้น ระดับชั้นละ ๑ ครั้งต่อภาคเรียน โดยช่วงกลางวันนักเรียนจะเข้าเรียน และท�ำกิจกรรมการเรียนรู้ตามตารางสอนปกติ ในช่วงเย็นหลังเลิกเรียนและช่วงเช้าก่อนเข้าเรียน ครู และนักเรียนจะมาปฏิบัติธรรมร่วมกัน ด้วยการสวดมนต์ท�ำวัตรเช้า ท�ำวัตรเย็น แผ่เมตตา ปฏิบัติเจริญ สติแบบเคลื่อนไหว ท�ำกิจกรรมฝึกสติ ฟังพระธรรมเทศนา สนทนาธรรม สรุปและบันทึกบทเรียนใน แต่ละวัน เพื่อให้นักเรียนรู้จักตัวเองผ่านการเจริญสติที่ต่อเนื่อง สม�่ำเสมอ เข้าใจหลักธรรม และน้อมน�ำ หลักธรรมนั้นมาเป็นหลักในการด�ำเนินชีวิตให้เป็นปกติ ๑๖


การเรียนรู้ทักษะชีวิต ความสามารถในการสร้างสรรค์ และการงานอาชีพ ชมรมพัฒนาทักษะตามความสนใจ นักเรียนชั้น ม.๑-ม.๖ จะเรียนชมรมร่วมกันในช่วง ๒ คาบสุดท้ายของวันศุกร์ โดยมี พี่นักเรียนชั้น ม.๖ รับผิดชอบจัดกิจกรรมชมรมให้น้องๆ ชั้น ม.๑-ม.๕ ได้เลือกตามความสนใจ หากมีกิจกรรมอื่นที่น้องๆ สนใจนอกเหนือจากชมรมที่พี่ชั้น ม.๖ จัดไว้ให้ ก็สามารถเปิดเป็น ชมรมใหม่ขึ้นมาได้ โดยรวบรวมสมาชิกให้ได้ ๗-๘ คน แล้วชักชวนพี่ชั้น ม.๖ มาเป็นประธาน ชมรม ตัวอย่างชมรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ปลูกต้นไม้ ว่ายน�้ำ แบดมินตัน วอลเลย์บอล ฟุตบอล บาสเกตบอล ภาษาญี่ปุ่น ถ่ายภาพ ดนตรีไทย ดนตรีสากล เต้น (Cover Dance) โดยพี่ชั้น ม.๖ ได้ฝึกฝนการท�ำหน้าที่เป็นผู้น�ำชมรม ดูแลบริหารจัดการสมาชิกในชมรม และประเมินผล การเรียนรู้ของสมาชิกในชมรม ตลอดจนจัดงานชมรมแฟร์เพื่อน�ำเสนอผลงานการเรียนรู้ของ แต่ละชมรมในปลายปีการศึกษา การแสดงของชมรมโปงลาง

๑๗


งาน CG Printing

การออกแบบแผ่นพับด้วยโปรแกรมกราฟฟิค

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือเครื่องมือสำ�คัญของโลกในศตวรรษที่ ๒๑ นักเรียนจะเรียนรู้เพื่อเท่าทันเทคโนโลยีและสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และ การทำ�งานได้อย่างชำ�นาญ สร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น โดยบูรณาการกับหน่วย วิชาหลัก แล้วเรียนโปรแกรมตามการใช้งานจริงของแต่ละวิชา ทั้งในแง่ของการสืบค้นที่นักเรียนจะ ต้องเรียนรู้เรื่องการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล การประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล และ การฝึกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในการสร้างชิ้นงานตามโจทย์ของแต่ละวิชา ๑๘


นักเรียนมัธยมต้นเรียนอะไร? วิชาบูรณาการ สังคมศึกษา-ภูมิปัญญาภาษาไทย IT ๑๐ คาบ/สัปดาห์ วิชาพื้นฐาน คณิต, วิทย์, อังกฤษ, IT ๑๖ คาบ/สัปดาห์

ศิลปะ, ดนตรี, พละ ๖ คาบ/สัปดาห์

มัธยมต้น

ชมรม (บ่ายวันศุกร์) ๒ คาบ/สัปดาห์

เสริมทักษะ ๒ คาบ/สัปดาห์

๑๙


งาน “ตุ้มโฮมศิลปวัฒนธรรมอีสาน” นำ�เสนอศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานในรูปแบบต่างๆ อาทิ การแสดง นิทรรศการและการสาธิต ส่วนหนึ่งของโครงงานภาคอีสานโดยนักเรียนชั้น ม.๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๖

วิชาบูรณาการสังคมศึกษา-ภูมิปัญญาภาษาไทย “ขยายพื้นที่-ขยายศักยภาพการเรียนรู้สู่การทำ�โครงงานอย่างง่าย”

๒๐

การนำ�ปัญหาจริงในสังคมมาเป็นโจทย์ในการเรียนรู้ (Problem-Based Learning) เพื่อ ขยายพื้นที่และขยายศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โดยกำ�หนดพื้นที่การเรียนรู้ดังนี้ ม.๑ พื้นที่ กรุงเทพฯ ม.๒ พื้นที่ภาคกลาง (ประวัติศาสตร์สมัยทวารวดี-สุโขทัย-อยุธยา-รัตนโกสินทร์ตอนต้น) ม.๓ พื้นที่ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคเหนือ (เทอมละภาค) โดยครูเป็นผู้ให้โจทย์และจัด กระบวนการเรียนรู้ เช่น การเชิญวิทยากร การพานักเรียนออกภาคสนาม แล้วนักเรียนเป็นเจ้าของงาน หรือการเรียนรู้ที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการ ความรู้ และการทำ�โครงงานต่างๆ ที่มีขนาดเล็ก-ใหญ่ ตามวัยของนักเรียน เช่น โครงงาน เรียนรู้จากปัญหาด้วยแนวทางการวิจัย โครงการจิตอาสา โครงการเชิงสร้างสรรค์ เช่น การจัดแสดง ละคร จัดแสดงนิทรรศการ การจัดสัมมนา/เสวนา การทำ�หนังสือพิมพ์ ทำ�หนังสั้น-สารคดี เพื่อพัฒนา ศักยภาพนักเรียนให้เรียนรู้ด้วยตัวเองเป็น และรู้วิธีการทำ�โครงงานอย่างง่ายที่จะเป็นพื้นฐานในการทำ� โครงงานเพื่อสังคมในระดับชั้นมัธยมปลายต่อไป


ตัวอย่างโครงงานวิชาบูรณาการสังคมศึกษา-ภูมิปัญญาภาษาไทย ของนักเรียนชั้น ม.๑-ม.๓ ชั้น ม.๑ : โครงงานรวมพลคนรักษ์กรุงเทพ เรียนรู้ ในฐานะพลเมืองเจ้าของเมืองที่มีความรู้ ความเข้าใจ และเป็น ผู้กำ�หนดอนาคตทิศทางการพัฒนากรุงเทพมหานครในศตวรรษ ที่ ๒๑ ด้วยการจัดแสดงนิทรรศการและงานเสวนาบอกเล่า เรื่ อ งราวของหน่ ว ยงานหรื อ กลุ่ ม คนที่ ร วมตั ว กั น ทำ � เรื่ อ งดี ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาของกรุงเทพ โดยมีตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ ในเมือง-Big Trees Project สมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย) มูลนิธิ กระจกเงา และกลุ่มไอศกรีมฟาร์มสุขเพื่อเด็กด้อยโอกาส ร่วม แลกเปลี่ยนในเวทีเสวนา ชั้น ม.๒ : โครงงานละครอิงประวัติศาสตร์เรื่อง พระนเรศวรมหาราช พระเจ้าตาก และบ้านบางระจัน เรียนรู้ คุณงามความดีและการต่อสู้เพื่อบ้านเมืองของวีรชนไทยในสมัย กรุงศรีอยุธยา ในประเด็นการทำ�หน้าที่ของตนเอง การเสียสละ เพื่อส่วนรวม และความสามัคคี แล้วเชื่อมโยงคุณค่านั้นมาสู่ ตนเอง ผ่านกระบวนการทำ�ละคร แล้วจัดการแสดงละครเพื่อ สะท้อนคุณค่านั้นสู่ผู้ชม ชั้น ม.๓ : โครงงานทอดผ้าป่าที่บ้านอมลอง อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ พื้นที่ที่นักเรียนออกภาคสนามศึกษาวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมภาคเหนือ แล้วน�ำปัญหาที่พบในพื้นที่มาจัดท�ำเป็น โครงงานเพื่อกลับไปช่วยแก้ไขปัญหา เช่น การท�ำเกษตรเคมี การเผาป่า โดยจัดท�ำเป็นโครงงานทอดผ้าป่าคืนความรู้สู่ชุมชน ประกอบด้วย การจัดบริการตรวจเลือดส�ำหรับเกษตรกรที่กังวล ว่าอาจได้รับผลกระทบจากสารเคมีท�ำการเกษตร การจัดท�ำสื่อ ความรู้เรื่องการท�ำเกษตรอินทรีย์ในรูปแบบ Big Book เรื่อง “สตรอเบอร์รี่อินทรีย์ได้ ง่ายจัง” มอบให้กับเกษตรกรที่สนใจ และการแสดงละครเรื่องเทพแห่งป่าเพื่อบอกเล่าให้ชาวบ้านเห็น ความส�ำคัญของธรรมชาติ และความสัมพันธ์ของดิน ป่า น�้ำ ๒๑


ค่ายวิทยาศาสตร์ Science Fighting นักเรียนชัน้ ม.๑ เรียนเรือ่ งน�ำ้ การลอย การจม และแรงลอยตัว แล้วแข่งกันประดิษฐ์แพจากวัสดุใกล้ตวั ทีส่ ามารถใช้งาน ได้จริงหากเกิดน�้ำท่วม

กลุ่มวิชาพื้นฐาน “เรียนรู้สาระวิชา พัฒนาใช้ในชีวิตจริง” วิชาวิทยาศาสตร์ คือ เครื่องมือพามนุษย์ไปหาค�ำตอบของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในสังคมและส่งผลต่อชีวิตของมนุษย์ ทั้งยังเป็นศาสตร์ที่ช่วยขยายขีดจ�ำกัดของมนุษย์ จนเกิดเป็น สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีต่างๆ การเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมต้นของรุ่งอรุณจึงเป็นการเรียน บนเรื่องตามโจทย์ของวิชาบูรณาการสังคมศึกษาและภูมิปัญญาภาษาไทย ให้นักเรียนมองเห็น ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในสังคม เช่น วิชาสังคมศึกษาชั้น ม.๑ เรียนเรื่องกรุงเทพฯ วิทยาศาสตร์จะจับประเด็นปัญหากรุงเทพฯ เรื่องน�้ำท่วม อาหาร และโรคภัยไข้เจ็บ ชั้น ม.๒ เรียนเรื่องประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์จะพานักเรียนไปเรียนรู้พัฒนาการของเทคโนโลยีในแต่ละยุค (Timeline) การคมนาคมขนส่ง เครื่องปั้นดินเผา ชั้น ม.๓ เรียนเรื่องภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคเหนือ โจทย์วิทยาศาสตร์จะเรียนรู้เรื่องนิเวศของป่าในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น การเรียนบนเรื่องเช่นนี้จะบูรณาการ วิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยาไว้ด้วยกัน ซึ่งนักเรียนไม่เพียงได้เนื้อหา แต่ยังได้วิธีคิด และได้เห็นความ สัมพันธ์ของสรรพสิ่งว่าเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอย่างไร ด้วยเหตุปัจจัยอะไร และส่งผลอะไร อย่างไร ๒๒


วิชาภาษาอังกฤษ นักเรียนเรียนรู้ที่จะใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารความคิด (Critical Thinking) ในเรื่องต่างๆ จาก โจทย์ปัญหาจริงในสังคมปัจจุบัน (Global Issues) ที่ครูใช้เป็นแกนหลัก (Theme) ในการวางแผนการเรียนการสอนของเทอม จัดเป็น กิจกรรมที่ต้องลงมือปฏิบัติเพื่อการใช้ภาษา ทั้งในสถานการณ์/กิจกรรมในห้องเรียน และนอกห้องเรียน ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พบ กับชาวต่างชาติ และท�ำงานให้บรรลุเป้าหมายของงานที่ก�ำหนดไว้ โรงเรียนใช้ Common European Framework of Reference (CEFR) เป็นแนวทางการแบ่งระดับความสามารถทาง ภาษาอังกฤษที่ครูน�ำมาเป็นกรอบการออกแบบ theme และกิจกรรมที่น�ำสู่การบรรลุผลตามระดับความสามารถของแต่ละระดับชั้น และพัฒนาไปสู่ระดับต่อๆ ไปตามระดับชั้นอย่างต่อเนื่องกัน นักเรียนจะศึกษาเนื้อหาและหลักไวยากรณ์เบื้องต้นด้วยตนเองที่บ้านจาก Cambridge “English in Mind” Online Program เพื่อเตรียมพร้อมการเรียนรู้ แล้วน�ำมาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่ครูจัดในห้องเรียน ครูจะเป็นโค้ชช่วยพัฒนาให้นักเรียน ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมั่นใจ ถูกต้อง และกล้าที่จะสื่อสารกับทั้งคนไทยและคนต่างชาติต่อไป การใช้เวลาในห้องเรียนปกติ

แบบฝึกหัด 30%

ทักทาย warm up 10%

ทบทวน เรียนเนื้อหา 60%

การใช้เวลาในห้องเรียนแบบ Flipped classroom

แบบฝึกหัด กิจกรรม เชื่อมโยง ประยุกต์ใช้ 70%

ทักทาย warm up 10% ทบทวน เรียนเนื้อหา 20%

เวลาในห้องเรียนคณิตศาสตร์จะเปลี่ยนจากเรียนเนื้อหาเป็นท�ำแบบฝึกหัดหรือกิจกรรมอื่นๆ เชื่อมโยง ประยุกต์เพื่อให้นักเรียนได้มองเห็นการใช้ประโยชน์และคุณค่าของวิชามากขึ้น

วิชาคณิตศาสตร์ การเรียนคณิตศาสตร์ในระดับชั้น ม.๑-ม.๓ มีเป้าหมายให้นักเรียนเกิดความเข้าใจการคิดแบบตรรกะ ที่ได้มาจากการศึกษาสืบค้นจากกฎเกณฑ์และแบบแผนที่เป็นล�ำดับต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ กระบวนการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จึงไม่ได้จ�ำกัดอยู่เพียงการจดจ�ำเนื้อหา ทฤษฎี แล้วท�ำแบบฝึกหัด แต่ออกแบบให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการทดลอง การสืบเสาะ หาความรู้ และการท�ำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องอาศัยการแก้ปัญหาด้วยคณิตศาสตร์ ให้นักเรียนได้มีโอกาสทดลองความคิดของตนเอง เห็นการถอดแบบรูป (Pattern) ของวิธีคิดของตน จนเกิดความเข้าใจในหลักการ หลังจากนั้นครูจึงพาสรุปตามทฤษฎีและให้นักเรียน ฝึกฝนท�ำแบบฝึกหัด จนกระทั่งสามารถน�ำความรู้หรือทฤษฎีไปแก้สถานการณ์ปัญหาอื่นๆ ต่อไปได้ โดยใช้การเรียนแบบ Flipped Classroom ผ่านระบบออนไลน์ ที่ครูมอบหมายให้นักเรียนเรียนรู้เนื้อหาและท�ำแบบฝึกหัดบางส่วนจากที่บ้าน แล้วใช้เวลาใน ห้องเรียน ปฏิบัติการกับโจทย์ปัญหาจริงในชีวิตประจ�ำวัน นักเรียนได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ทบทวนเรื่องที่ไม่เข้าใจ จนน�ำไปสู่การรู้จริงในเรื่องที่เรียนนั้น ๒๓


วิชาเลือกภาคบ่าย “ดนตรี ศิลปะ พละ” จากการเรียนรู้วิชาดนตรี ศิลปะ พละ ในระดับประถมศึกษา พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะ เบื้องต้นกับการงานต่างๆ ใน ๓ วิชานี้ ดังนั้นในระดับมัธยมจึงเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกวิชาที่จะ เรียนของตนเอง เพื่อให้นักเรียนได้ตัดสินใจและคิดพิจารณาถึงความถนัด ความสามารถของตนเอง รวมทั้งสิ่งที่ต้องการพัฒนาเพิ่ม กระบวนการเรียนรู้ในวิชาเลือกภาคบ่ายเป็นการเรียนรู้ที่นักเรียนต้องลงมือปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาตนและพัฒนาทักษะต่างๆ ที่ตนถนัดหรือต้องการเพิ่มพูนทักษะนั้นๆ ของตนเอง โดยมี ครูทำ�หน้าที่เป็นโค้ชที่ช่วยออกแบบงาน ให้คำ�ปรึกษา คำ�แนะนำ� สนับสนุน และส่งเสริมการเรียนรู้ ของนักเรียน จนนำ�ไปสู่ความสำ�เร็จ วิชาเลือกภาคบ่ายเป็นชั่วโมงเรียนตั้งแต่เวลา ๑๔.๓๐-๑๖.๑๐ น. ในวันอังคาร พุธ และ พฤหัสบดี โดยนักเรียนสามารถเลือกวิชาเรียนตามความสนใจ คนละ ๓ วิชา ประกอบด้วย ดนตรี : ดนตรีไทย ดนตรีสากล ศิลปะ : งานปั้น งานไม้ การออกแบบ การทอผ้า พละ : กีฬาไทย ฟุตบอล บาสเกตบอล จักรยาน โยคะ

๒๔


นักเรียนมัธยมปลายเรียนอะไร? สำ�นักปฏิบัติการ ๒๐คาบ/สัปดาห์

มัธยมปลาย

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (เลือก ๑ กิจกรรม) รักษาดินแดน บำ�เพ็ญประโยชน์

สาระพืน้ ฐาน ๑๒ คาบ/สัปดาห์ ภาษาไทย, คณิต, วิทย์,(ชีวะ, เคมี, ฟิสิกส์, วิทย์กายภาพ) สังคม, ภาษาอังกฤษ, ชมรม

๒๕


สำ�นักปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล หลักสูตรมัธยมปลายได้สลายสายวิทย์-ศิลป์ แล้วตั้งสำ�นักปฏิบัติการขึ้นมา ๔ สำ�นัก บวกกับกลุ่มสาระเพิ่มเติม และกลุ่ม สาระพื้นฐาน เพื่อให้นักเรียนเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจของตนเองอย่างแท้จริง ประกอบด้วย ๑.สำ�นักวิทยาศาสตร์ • วิทยาศาสตร์การแพทย์ • วิทยาศาสตร์การอาหารและสิ่งแวดล้อม • วิทยาศาสตร์ช่าง ๒.สำ�นักภาษาสร้างสรรค์และสื่อเพื่อสังคม • สำ�นักพิมพ์ สำ�นักข่าว และสื่อ ๓.สำ�นักวิจัยการตลาดเพื่อสินค้าชุมชน • การตลาดและการบัญชี ๔.สำ�นักศิลปะการออกแบบและคุณภาพชีวิต • งานออกแบบและสถาปัตย์ • ดนตรีไทย • งานหัตถศิลป์ • พละศึกษา • งานทัศนศิลป์ • กราฟฟิกดีไซน์ (IT) • ดนตรีสากล • โปรแกรมมิ่ง (IT) ๕.กลุ่มสาระเพิ่มเติม • ภาษาที่ ๓ (จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส ฯลฯ) • ภาษาอังกฤษ (Intensive) • คณิตศาสตร์ (Advance) ๖.กลุ่มสาระพื้นฐาน • ภาษาไทย • สังคม • คณิตศาสตร์ • ภาษาอังกฤษ • วิทยาศาสตร์ (ชีวะ, เคมี, ฟิสิกส์, วิทยาศาสตร์กายภาพ) • ชมรม เมื่อขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ นักเรียนจะต้องลงทะเบียนเลือกวิชาในสำ�นักปฏิบัติการและกลุ่มสาระเพิ่มเติม คนละ ๔ วิชา โดยนักเรียนแต่ละคนสามารถเลือกวิชาในสำ�นักเดียวกันหรือต่างสำ�นักกันก็ได้ สำ�นักปฏิบัติการจะจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านการทำ�โครงงาน (Project-Based Learning) เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เชิงลึกและลงมือปฏิบัติในเรื่องที่ตนสนใจ เป็นการเรียนรู้กลุ่มเล็กที่ครูสามารถเข้าถึงนักเรียนได้เป็นรายบุคคล นักเรียนจะได้ฝึกมองตัวเอง คิด ตัดสินใจและเผชิญปัญหาด้วย ตัวเอง ที่สำ�คัญวิชาที่เลือกเหล่านี้จะเป็นแบบฝึกปฏิบัติให้นักเรียนค้นหาและพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพื่อการตั้งเป้าหมายในชีวิต และการเลือกคณะวิชาที่จะศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป ๒๖


โครงงานมัธยมปลาย “แก้ปญ ั หาสังคมด้วยปัญญา สร้างคุณค่าและอุดมการณ์” การทำ�โครงงานในระดับมัธยมปลายมุ่งเน้นพัฒนานักเรียนให้ประยุกต์ใช้ความรู้เป็นและเกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม เป็นการขยายผลของการเรียนรู้ไปสู่สังคมใหญ่ โดยนำ�โจทย์ปัญหาจริง ในสังคมมาเป็นแกนหลัก (Theme) ของการทำ�โครงงาน (Problem-Based Learning) ด้วยแนวทาง การวิจัย ผ่านการลงมือทำ�บนบริบทจริงของสังคม ที่นักเรียนต้องไปทำ�งานร่วมกับชุมชนเพื่อรู้ถึงเหตุ ปัจจัยของปัญหา สภาพของปัญหา และผลกระทบที่เกิดขึ้น ตลอดจนมีส่วนร่วมเสนอแนวทางแก้ไข หรือบรรเทาปัญหานั้น ร่วมไปกับการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรอิสระ ที่จะเป็นเครือข่ายในการเรียนรู้และการทำ�งาน เพื่อเป้าหมายการพัฒนา นักเรียนให้เติบโตเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีอุดมการณ์ทางสังคม

ตัวอย่างโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย

โครงงานจัดทำ�นิตยสาร ROONG AROON GEOGRAPHIC เชื่อมโยงการเรียนรู้เรื่องภูมิศาสตร์สู่ชีวิตของนักเรียน ในแง่ มุม ของการเป็ น ผู้บ ริ โ ภคทรั พ ยากรที่ ส่ ง ผลทั้ ง ต่ อ ตนเอง ผูค้ นในสังคม และธรรมชาติ โดยเลือกประเด็นทีน่ กั เรียนแต่ละคน สนใจมาศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำ�เสนอทางออกหรือมุมมอง ของนักเรียนต่อประเด็นนั้นๆ แล้วสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ใน รูปแบบของนิตยสาร โดยมีบรรณาธิการจากนิตยสาร NATIONAL GEOGRAPHIC เป็นที่ปรึกษาในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ� นิตยสารภูมิศาสตร์ จัดทำ�โดยนักเรียนสำ�นักภาษาสร้างสรรค์ และสื่อเพื่อสังคม ชั้น ม.๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๖

๒๗


โครงการบ�ำบัดน�้ำเสียในโรงเรียน จากการเรียนรู้เรื่องทรัพยากรน�้ำและการจัดการน�้ำ โดยชุมชน นักเรียนน�ำความรู้วิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์คิดค้น ทดลองจนเกิดเป็นระบบบ�ำบัดน�้ำในอาคารเรียนมัธยมและโรง ครัว เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน ของตนเอง โดยนักเรียนชั้นม.๕ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ (หลังอาคาร เรียน ม.ปลาย) ๒๕๕๔ (หลังอาคารเรียน ม.ต้น) และปีการ ศึกษา ๒๕๕๕ (หลังโรงครัว ม.ปลาย)

โครงการไบโอดีเซล จากการเรียนรู้เรื่องปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อม การส�ำรวจการใช้พลังงานของตนเอง ของห้อง และของกรุงเทพ มหานคร น�ำมาสู่การคิดค้นแนวทางช่วยบรรเทาปัญหา โดย เริ่มจากชุมชุนโรงเรียนรุ่งอรุณที่มีน�้ำมันเหลือใช้จากครัวต่างๆ แล้วน�ำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จนเกิดเป็นน�้ำมัน ไบโอดีเซลส�ำหรับรถกระบะขนของในโรงเรียน ผลงานของ นักเรียนชั้น ม.๕ ปีการศึกษา ๒๕๕๕

นักเรียนนำ�เสนอโครงงานไบโอดีเซล

๒๘


การสำ�รวจพันธ์ุปลาชนิดต่างๆ ที่สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของอ่าวอุดม ในรายงาน HIA อ่าวอุดมอันอุดม

รายงานการประเมินผลกระทบต่อ สุขภาพ (Health Impact Assessment; HIA) เรื่อง “อ่าวอุดมอันอุดม” ที่บ้าน อ่าวอุดม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ศึ ก ษาผลกระทบของอุ ต สาหกรรมท่ า เรื อ ต่ อ

รายงาน HIA อ่าวอุดมอันอุดม

สิ่งแวดล้อมและวิถีดั้งเดิมของชาวบ้านในพื้นที่ พร้อมทั้งจัดเวที เสวนาโต๊ะกลมเชิญตัวแทนฝ่ายต่างๆ ทั้งผู้น�ำชุมชน แกนน�ำกลุ่ม ประมงพื้นบ้าน นักวิชาการชุมชน สมาชิกวุฒิสภา ตัวแทนภาครัฐ และตัวแทนจากบริษัทท่าเรือ มาร่วมพูดคุยเพื่อหาทางออก ร่วมกัน ณ ส�ำนักงานเทศบาลนครแหลมฉบัง จ.ชลบุรี โดย นักเรียนชั้น ม.๕ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ๒๙


นำ�เสนอโครงงานเหมืองแร่ทองคำ�กับชุมชน ในงานเทศกาลความเป็นธรรม (Just&Fair Society Festival) ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โครงงานเหมื อ งแร่ ท องคำ�กั บ ชุมชน ในพื้นที่ อ.วังสะพุง จ.เลย ศึกษาผลกระทบของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ� ต่อสิ่งแวดล้ม การทำ�เกษตรกรรม และสุขภาพของชาวบ้านใน พื้นที่ โดยจัดทำ�ชุดข้อมูลเรื่อง “เหมืองแร่ทองคำ� ทำ�รายได้ หรือทำ�ร้ายกัน” ประกอบด้วย หนังสั้น ๔ ตอน คู่กับแผ่นพับ ให้ข้อมูลในรูปแบบ Infographics ๔ ชุด พร้อมทั้งจัดทำ� เพจ “เหมืองทองคำ� ทำ�รายได้หรือทำ�ร้ายกัน?” บนเว็บไซต์ Facebook เพื่อบอกเล่าความเดือดร้อนของชาวบ้านในพื้นที่ รอบเหมืองสู่สังคมวงกว้าง โดยนักเรียนชั้น ม.๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ แผ่นพับให้ข้อมูลในรูปแบบ Infographics ๓๐


เรียนรู้สู่การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ นักเรียนระดับมัธยมปลายอยู่ในวัยที่มีความสามารถและวุฒิภาวะเทียบเท่าผู้ใหญ่ แต่มี ประสบการณ์น้อยกว่า ดังนั้นในวัยนี้ครูได้ออกแบบให้นักเรียนรับผิดชอบเป็นพี่ใหญ่ เป็นแม่งานวัน สำ�คัญต่างๆ ให้กับน้องๆ ทั้งในมัธยมต้นและประถม โดยในวัย ม.๔ ฝึกการวางแผน ออกแบบ และ จัดงานในวันพ่อ นักเรียนวัย ม.๕ รับผิดชอบกับการจัดงานวันไหว้ครู และพี่ใหญ่วัย ม.๖ รับผิดชอบ ต่อการจัดงานสัปดาห์กีฬาสีให้กับชาวมัธยม และจัดให้กับน้องประถม รวมถึงการจัดชมรมให้กับ นักเรียนมัธยมในบ่ายวันศุกร์ นอกจากนี้พี่ๆ วัยมัธยมปลายยังต้องร่วมกันรับผิดชอบดูแลวินัยของ นักเรียนมัธยมทั้งหมด และดูแลจัดสรรแบ่งหน้าที่ในการทำ�กิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์ในช่วงเวลา ๑๔.๐๐-๑๔.๒๕ น. ๓๑


รุ่งอรุณให้อะไรกับเรา?

เสียงสะท้อนของศิษย์เก่า

“ตอนนีพ้ ายเรียนรัฐศาสตร์ดว้ ย อาจารย์ให้ท�ำ รายงาน เพื่อนส่วนใหญ่ก็จะทำ�ประวัติชีวิตบุคคล แต่พายทำ�เรื่องความ ชอบธรรมกับการเมืองไทย กรณีศึกษากบฏเมษาฮาวาย ซึ่ง อาจารย์ชอบมาก ด้วยความที่อยู่โรงเรียนรุ่งอรุณ เราทำ�โปรเจก มาโดยตลอด ครูก็จะบอกว่า คุณจะเรียนอะไร คุณอย่าคิด แค่ว่าเรียนเพื่อให้จบหลักสูตรการศึกษา ทำ�งานแล้วค่อยไป สร้างการเปลี่ยนแปลงหรือสร้างประโยชน์ให้สังคม แต่ใน ชีวิตคุณอาจจะไม่ได้สร้างอะไรเลยก็ได้ ถ้าคุณเรียนตอนนี้ แล้วคุณเปลี่ยนแปลงสังคมได้ตอนนี้เลย เรียนแล้วมันเป็น ประโยชน์กับคนอื่นได้ก็ให้ทำ�เลย เราก็พยายามจะทำ�รายงาน ที่ส่อื ให้เห็นเรื่องของความชอบธรรมหรือกระบวนการการเมือง ให้คนอ่านได้เห็นเกมการเมือง” ๓๒

นางสาวพิริน วรรณวลี (พาย) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“ตั้งแต่ ม.๔ ม.๕ แล้วที่จีนอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ ทุกวันจนกลายเป็นนิสัย เราจะไวกับข่าว วิธีการหาข้อมูล จีน จะใช้หนังสืออ้างอิงจากห้องสมุด ทั้งหนังสือภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ แต่เพื่อนจะติดอยู่กับ การใช้เว็บไซต์และหนังสือภาษาไทย ไม่มากกว่านั้น... เมื่อไม่ นานมานี้จีนทำ�รายงานโดยจับไปที่นัยยะเรื่องของการเมืองบน สถาปัตยกรรม เป็นหัวข้อที่อาจารย์เคยบรรยายมาแล้ว แต่ทั้ง ห้องไม่มีใครเข้าใจเลย จีนก็ไม่เข้าใจ แต่จีนมองว่านี่เป็นโอกาส ดีที่เราจะทำ�ความเข้าใจมันใหม่อีกครั้ง นี่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ติด ไปจากรุ่งอรุณ คือเวลาที่เราไม่เข้าใจเรื่องอะไร เราจะต้องหา ต้องถาม ต้องทำ�ทุกอย่างเพื่อให้เราเข้าใจมากที่สุด” นางสาวกัญญารัตน์ แสนกุล (จีน) โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


“สิ่งหนึ่งที่ผมได้จากโรงเรียนมากๆ คือ ทักษะการแสวงหาความรู้ ในมหาวิทยาลัย อาจารย์เขาไม่ได้สอนทั้งหมด แล้วเขาก็ไม่ได้มาสนใจตามว่าเราจะส่งการบ้านไหม เราต้องดูแลตัวเอง ต้องหาความรู้เพิ่มเติมเอง ต้องไปดูว่าเราจะหาความรู้อะไร จากไหน หนังสือเล่มไหนดี ไม่ดี คือทักษะพวกนี้โรงเรียนไม่ได้สอนผมตรงๆ แต่เราถูกหลอมให้ทำ�มาตั้งแต่เด็กๆ ทำ�จนติดเป็นนิสัย ใจที่จะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมมันติดตัวเราไป... อีกทักษะหนึ่งที่รุ่งอรุณสอนและเราทำ�มาตลอดตอนอยู่ที่โรงเรียน เป็นทักษะที่ ฟังดูเหมือนง่าย คือ การกล้าที่จะถาม บางทีอาจารย์สอนไม่เข้าใจ ผมจะยกมือว่าอาจารย์ครับตรงนี้ไม่เข้าใจ ช่วยสอนใหม่ได้ไหม ครับ อาจารย์เขาก็ยินดีที่จะสอนใหม่ แต่หลายคนสงสัยแล้วก็กระซิบๆ กัน ไม่กล้าถาม ถามกันเองบ้าง ผมว่าทักษะการกล้าถาม เราต้องทนแรงเสียดทาน บางคนอาจมองว่าอยากเท่หรือเปล่า แต่อยู่ในรุ่งอรุณ ทุกคนยกมือถามเป็นปกติ” นายพรรษ วุฒิพงศ์ (กุ๋ย) คณะวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๓๓


ภาพความทรงจำ�ดีๆ ระหว่างศิษย์และครู รศ.ประภาภัทร นิยมและคุณครูมัธยม ถ่ายรูปร่วมกับนักเรียนชั้น ม.๖ ในงานปัจฉิมนิเทศ ปีการศึกษา ๒๕๕๕

๓๔


นักเรียนมัธยมของรุ่งอรุณคือ ‘นักรบสายรุ้ง’ การเรียนเกิดผลตลอดเวลา แต่ถ้ามองเป้าหมายสุดท้ายเมื่อนักเรียนชั้น ม.๖ จบจาก โรงเรียนรุ่งอรุณ คือ การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งในมิติของความรู้ มิติของทักษะ ทักษะการคิด ทักษะสังคม ทักษะด้านศิลปะ ฯลฯ มิติของสมรรถนะ เป็นเรื่องของทัศนคติ มุมมอง การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การทำ�งาน สิ่งเหล่านี้โดยทั่วไปการศึกษาทุกแห่งต่างก็ต้องการให้นักเรียนมัธยมเป็น แต่ถ้ามองเฉพาะของโรงเรียนรุ่งอรุณ นักเรียนในแบบที่เราคิดว่าน่าจะเป็น คือ เราต้องการนักเรียน ที่จบออกไปเป็นผู้นำ�ในสังคม หรือที่เราใช้คำ�ว่า ‘นักรบสายรุ้ง’ คุณสมบัติของนักรบสายรุ้ง ประกอบด้วย

๑ ๒ ๓ หนึ่ง เป็นคนที่รู้จักตัวเองดี พอสมควร พร้อมจะปรับปรุงแก้ไขตัวเอง โดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาบอก มาเตือน เป็นทักษะที่รุ่งอรุณพยายามให้นักเรียน ฝึกฝน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากที่สุด เพราะคนเรา ส่วนใหญ่ชอบไปรู้จักเรื่องนอกตัว รู้เรื่อง ของคนอื่น แต่เรื่องของตัวเองไม่รู้เลย ดั ง นั้ น นั ก รบสายรุ้ ง จะต้ อ งมี ทั ก ษะนี้ เพราะคนเราต้องพัฒนาตัวเอง แต่จะ พัฒนาได้ เราต้องรู้จุดอ่อนของตัวเองก่อน แต่ ค นส่ ว นใหญ่ ไ ม่ ค่ อ ยรู้ จุ ด อ่ อ นของ ตัวเอง มักจะมองเห็นแต่จุดอ่อนของ คนอื่น

สอง มีความกล้าหาญ กล้า คิด กล้าลอง กล้าทำ� กล้าตัดสินใจ พร้อม เผชิญปัญหาต่างๆ ที่จะต้องไปประสบ พบเห็น พร้อมเผชิญอุปสรรคต่างๆ ที่จะ เกิดขึ้นในชีวิตเราข้างหน้า เพราะสังคม ในขณะนี้รอให้เราไปแก้ปัญหา ไม่ใช่ สังคมปกติ แต่เป็นสังคมที่มีปัญหาเยอะ มาก ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องการแย่ง ชิงทรัพยากร เรื่องการดำ�รงชีวิต เรื่อง ของความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ ดังนั้นนักเรียนของรุ่งอรุณที่จบไปน่าจะ พร้อมเผชิญสภาพสังคมเหล่านี้ เขาจะไม่ เป็นคนที่ตกอยู่ภายใต้กระแสของปัญหา หรือไปเสริมปัญหาด้วยอีกคน ทั้งก็ไม่ เพิกเฉยกับปัญหา แต่เป็นคนที่สามารถ ลุกขึ้นมาพาตัวเองออกจากปัญหา และ สร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ขึ้นมาได้ นี้คือ คุณสมบัติของคนที่ทำ�งานกับคนอื่นเป็น คื อ การเผชิ ญ และการแก้ ปั ญ หาอย่ า ง สร้างสรรค์

สาม ใช้ชีวิตที่ไม่เป็นโมฆะ คือ เป็นประโยชน์กับคนอื่นเสมอ ทำ�อะไร แล้วไม่ได้นึกถึงแต่ตัวเอง แต่ต้องทำ�ตัว ให้เป็นประโยชน์กับผู้อื่น กับโลกนี้ เช่น การฝึกแยกขยะ เพื่อให้ตัวเราเป็นบวก มี ผลกระทบที่เป็นบวกกับโลกนี้ เราไม่ได้ เป็นคนที่เพิ่มขยะหรือเพิ่มภาระให้กับโลก จะใช้อะไรเราก็รู้ที่จะใช้อย่างพอเพียง ไม่ สร้ า งภาระจากการใช้ ท รั พ ยากรที่ ห นั ก หนาเกินกว่าความจำ�เป็น เป็นต้น อย่าง น้อยๆ ต้องไม่เกิดโทษ ไม่ไปเบียดเบียน ผู้อื่น ไม่ไปเบียดเบียนสรรพสัตว์ ไม่ไป เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม นี้คือการใช้ชีวิตที่ ไม่เป็นโมฆะ รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม ครูใหญ่ฝ่ายมัธยม

๓๕


โรงเรียนรุ่งอรุณ ๓๙๑ ซอยอนามัยงามเจริญ ๒๕ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐ โทรศัพท์ ๐๒-๘๔๐-๒๕๐๑-๔, ๐๒-๘๗๐-๗๕๑๒-๓ โทรสาร ๐๒-๘๗๐-๗๕๑๔ www.roong-aroon.ac.th / www.facebook.com/roongaroonschool


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.