1
CHANGE
ศิลปิน : ครูภัทรี อรรถยุกติ (ครูใบตอง) แนวคิด : การเปลี่ยนแปลงของเจ้าแห่งการเปลี่ยนแปลง
RA Journal วารสารบันทึกรุ่งอรุณ
เจ้าของ โรงเรียนรุ่งอรุณ วัตถุประสงค์ เพื่ อ เป็ น ช่ อ งทางเผยแพร่ อ งค์ ความรู ้ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในกระบวน การเรียนการสอนของโรงเรียนรุ่งอรุณ และเครือข่ายโรงเรียนทางเลือก อันจะท�ำให้ เกิดการสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนและ ผู้ปกครอง นักการศึกษา ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาของชาติในการร่วมกันส่งเสริม สร้างความงอกงาม ทางปัญญาให้เกิดขึ้น เพื่อน�ำไปไปสู่การพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
2
ผู้อ�ำนวยการ สุนิสา ชื่นเจริญสุข ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ อัจฉรา สมบูรณ์ ครูใหญ่โรงเรียนอนุบาล สุนิสา ชื่นเจริญสุข ครูใหญ่โรงเรียนประถม สกุณี บุญญะบัญชา รักษาการครูใหญ่โรงเรียนมัธยม สุวรรณา ชีวพฤกษ์ ผู้ช่วยครูใหญ่โรงเรียนมัธยม อารีย์ จันทร์แย้ม บรรณาธิการบริหาร รศ.ประภาภัทร นิยม กองบรรณาธิการ ปราณี เชาว์ชัยพร นันทิยา ตันศรีเจริญ ช่างภาพ ภูวิศ สุภัณวงศ์ ออกแบบ เข็มเพชร ระหว่างงาน อรุณโรจน์ รัตนพันธ์ ส�ำนักงาน ส่วนสือ่ สารองค์กร โรงเรียนรุง่ อรุณ ๓๙๑ ซอยอนามัยงามเจริญ ๒๕ แขวงท่าข้าม กรุงเทพ ๑๐๑๕๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๗๐-๗๕๑๒-๓ ๐-๒๘๔๐-๒๕๐๑-๔ โทรสาร ๐-๒๘๗๐-๗๕๑๔ www.roong-aroon.ac.th E-mail : info@roong-aroon.ac.th www.facebook.com/roongaroon school
“ ความมีสติระลึกรู้ของเราจะช่วยดูแลทุกสิ่งทุกอย่าง เช่นเดียวกับที่แสงอาทิตย์ดูแลพืชพรรณ แสงอาทิตย์เพียงแค่สาดส่องลงมา หาได้ตั้งใจจะท�ำอะไรมากไปกว่านั้นไม่ แต่นั่นก็เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งทุกอย่างในพืชพรรณ ” ติช นัท ฮันห์
แววหยก โดย ครูธัญลักษณ์ สุนทรมัฏฐ์ (ครูกุ้ง)
3
WELCOME
งานการแสดงดนตรี “รวมไทย ใจหนึ่งเดียว”
4
เรือ่ งธรรมดาๆ เรือ่ งหนึง่ ของรุง่ อรุณ คือ การเปลีย่ นแปลง ถ้าไม่เชื่อลองไปถามครู นักเรียน ผู้ปกครอง ดูก็ได้ ว่าตลอด ระยะเวลา ๑๖ ปีที่ผ่านมานั้น รุ่งอรุณมีการเปลี่ยนแปลง มากี่ครั้ง แทบจะเรียกได้ว่า อย่างน้อยๆ ปีละครั้ง บางครั้ง อาจมีเสียงบ่นว่าจะเปลี่ยนท�ำไมไม่บอกล่วงหน้า?! อืมม์!! ตอบยาก ถ้าบอกล่วงหน้าได้จะไม่เรียกว่าเปลีย่ นหรอกนะ น่าจะ เรียกว่าวางแผน บางคนก็จะถามต่อว่า แล้วท�ำไมไม่วางแผน ล่วงหน้าล่ะ?! อืมม์!! ถ้าจะว่าไป แผนการสอนก็มี แผนการ บริหารจัดการก็มี แผนการรับนักเรียนก็มี แม้แต่แผนพัฒนาครู บุคลากรก็มีอยู่เช่นกัน แล้วจะเปลี่ยนอะไรกันอีกเล่า? ชาวรุ่งอรุณทั้งหลายได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว ทุกคน ไม่มากก็นอ้ ย แรกๆ อาจจะติดขัดข้องใจอยูบ่ า้ ง ไม่คอ่ ย เต็มใจที่จะผละจากความลงตัว ในงานที่ท�ำอยู่จนคล่องแคล่ว แล้วบ้าง หรือที่คิดว่ามันดีอยู่แล้วบ้าง แต่เมื่อเราสร้างเงื่อนไข หรือตัวแปรใหม่ๆ ลงไปในงานนั้นๆ ที่ว่าลงตัวแล้วนั่นแหละ บางครั้งเรียกว่าเป็นตัวป่วนหรือโจทย์ใหม่ ท�ำให้แต่ละคน จ�ำต้องฝืนออกจากความสบายและลงตัวนัน้ ๆ เพือ่ ไปหาวิธกี าร ที่จะบรรลุเป้าหมายใหม่ๆ ที่ประณีตขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น ให้ได้ ทั้งนี้เพราะเราเชื่อว่า โดยธรรมชาติที่แท้ของจิตมนุษย์ นั้นปรารถนาในสิ่งที่ดี หรือใฝ่ดีด้วยกันทุกคน แต่ ก ่ อ นจะไปถึ ง จุ ด นั้ น ได้ แต่ ล ะคนต้ อ งเผชิ ญ กระบวนการหนึ่งที่ส�ำคัญมาก นั่นก็คือ กระบวนการฝึกทักษะ เปิ ด ใจและเรี ย นรู ้ ใ หม่ และแน่น อนก่อ นที่ จ ะเปิ ด ใจได้ เขาต้อ งเพิ่ ม ทั กษะพิเศษของการย้อนมองตัวตนที่ ภ ายใน ให้เห็นถึงความติดขัดของตนลึกลงไปเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ครูเจี๊ยบเสียงหวานและทีมครูดนตรีรุ่งอรุณ ได้มีโอกาสเผชิญ และเรียนรู้เพื่อไปสู่จุดหมายใหม่ที่ตนเองก็ยอมรับว่ามันดีกว่า
เดิมแน่นอน นั่นก็คือ การช่วยให้เด็กๆ ทุกคนรักดนตรีและ มีความสุขกับการเล่นดนตรี รวมทั้งรู้ซึ้งถึงคุณค่าของดนตรี ซึง่ แน่นอนว่ามันช่างแตกต่างจากเดิมทีเ่ ด็กๆ จ�ำต้องเรียนดนตรี ไปตามแผนการสอนที่ครูวางไว้ให้เท่านั้น เรื่องมีอยู่ว่า ผู้บริหารรุ่งอรุณซึ่งท�ำหน้าที่เป็นโค้ชของ ครูอยูต่ ลอดเวลา แอบสังเกตเห็นแววทีมครูดนตรีสากล ว่าเขา มีความภาคภูมิใจเมือ่ สามารถน�ำนักเรียนรวมวงจัดแสดงดนตรี ไม่วา่ จะเป็นวงโยธวาทิต การร้องเพลงประสานเสียง การแสดง วงดุริยางค์ฯ ได้บ้างแล้ว หลังจากลุ้นกันอยู่หลายปีที่ผู้บริหาร เอะใจว่า ในเมื่อครูก็เก่ง นักเรียนก็เก่ง ท�ำไมครูและนักเรียน จึ ง ดู อึ ด อั ด เคร่ ง เครี ย ด และมี อาการติ ด เพดาน ที่ ม อง ไม่เห็นอยู่อีก และแล้วต่างคนต่างก็พาตนเองออกไปแสดง ความสามารถเปล่งศักยภาพกันข้างนอก แทนที่จะหันหน้า เข้าหากัน แล้วรวมพลังกันพัฒนาหรือแก้ปัญหาข้อติดขัด ของการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุผลที่ต้องการ โค้ช จึ ง หาอุ บ ายที่ จ ะผลั ก ดั น ให้ พ วกเขาผ่ า นพ้ น ข้อจ�ำกัดนี้ไปให้ได้ โดยการตั้งโจทย์ใหม่ที่ส�ำคัญให้ นั่นก็คือ การจัดแสดงดนตรีและเพลงประสานเสียงที่โรงละครแห่งชาติ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยรักชาติอย่างมีความหมาย เชิงคุณค่าต่อจิตใจของทุกคน ซึ่งประจวบเหมาะกับเหตุการณ์ อันตึงเครียดของบ้านเมืองพอดี โจทย์นี้ท�ำให้ทีมครูดนตรี ต้องหันหน้าเข้าหากัน ร่วมกันเผชิญความยากล�ำบากที่สุด ในชีวิต ซึ่งไม่ใช่เรื่องการพาเด็กๆ กว่า ๓๐๐ ชีวิตซ้อมรวม พร้ อ มกั น ทั้ ง ผู ้ เ ล่ น ดนตรี แ ละผู ้ ร ้ อ ง การจั ด คิ ว เข้ า -ออก แต่ละเพลง ซึ่งโกลาหลเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการซ้อม กับศิลปินรับเชิญ และเบื้องหลังการแสดงได้แก่ การจัดฉาก แสง เสี ย ง การก�ำ กั บ การแสดง ฯลฯ ซึ่ ง ล้ ว นเป็ น ฝี มื อ
5
WELCOME
ของนักเรียนทัง้ สิน้ นีย่ งั ไม่นบั ถึงการเรียบเรียงเพลง การจัดท�ำ สูจิบัตร การติดต่อประสานงานวัน เวลา สถานที่ การจ�ำหน่าย บัตร โดยมีครูประถมช่วยอีกแรง ความยุง่ ยากเหล่านีค้ อื ปัญหา ที่ปรากฏ เปรียบเหมือนยอดภูเขาน�้ำแข็งซึ่งเป็นเพียง ๑ ส่วน เท่านั้น หากแต่ด้านล่างที่อยู่ใต้น�้ำที่ยากยิ่งกว่าอีก ๑๐ เท่านั้น ต่างหาก คือความยากของจริง สิง่ นัน้ คืออะไร ท่านคงจะเดาได้ การเห็นตัวตนของตนเองไงคะ ความยึดมั่นถือมั่น อย่างไม่ลดละ กลับเป็นอุปสรรคที่ยากที่สุด เพราะกว่าจะรู้ว่า ที่ออกอาการต่างๆ เช่น กลัวผิด กลัวไม่ดีสมบูรณ์แบบ กังวล ว่าจะท�ำไม่ได้ทั้งๆ ที่ก�ำลังท�ำอยู่ ไม่ยอมรับความคิดเห็นหรือ ไม่ไว้วางใจในความสามารถของผู้อื่น ขัดอกขัดใจ เครียด ท้อแท้ อยากลาออกเหล่านี้นั้น มาจากการเพ่งเล็งไปที่คนอื่น สิ่งอื่น มากกว่าการย้อนมองเข้ามาหาตนเอง เดชะบุญที่ เป้าหมายของงานนี้มุ่งสร้างความรักความสามัคคี ตามชื่อที่ พวกเขาตั้งขึ้นเองคือ รวมไทย ใจหนึ่งเดียว ในที่สุดแต่ละคน จึงค่อยๆ ยอมรับในความบกพร่องหรือความไม่เอาไหนของ ตัวเอง หรือเห็นข้อดีของตนเองและของผูอ้ นื่ ผลงานจึงปรากฏ ออกมางดงามอย่างน่าอัศจรรย์ที่สุด เหล่านี้คือบทเรียนหรือ แบบฝึกที่มีค่ายิ่ง ความส� ำ เร็ จ ดั ง กล่ า วมิ ใ ช่ แ ต่ เ พี ย งงานที่ จ บลงไป เท่านั้น แต่คือการเปลี่ยนแปลงคุณภาพภายในของคุณครู ต่างหาก และเบือ้ งหลังความส�ำเร็จนัน้ ก็ยงั มีเคล็ด (ไม่) ลับส�ำคัญ อีกอย่างหนึง่ ทีท่ างโรงเรียนรุง่ อรุณค้นพบจากบทเรียนราคาแพง ครั้งนี้ และจึงได้น�ำมาเป็นจุดเริ่มต้นของการด�ำเนินโครงการ Project for Change ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ นี้ อยากจะเรียก เคล็ดนี้ว่ากระบวนการกระจกวิเศษบอกข้าเถิด เพื่อให้ครู มีโอกาสเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน ผ่านการสะท้อน
6
ย้อนมองการปฏิบตั งิ านประจ�ำวันทีเ่ คยท�ำไปตามความเคยชิน นั้น ให้กลายเป็นการส่องกระจกแล้วเห็นด้วยสายตาและ มุมมองที่เปลี่ยนไป เริ่มตั้งแต่ “โค้ช” ซึ่งเป็นองค์ประกอบส�ำคัญส่วนหนึ่ง ของกระบวนการนี้ มีสายตามองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ มีบทบาทสร้างกระจกเงา คือ เวทีและโอกาสของการสะท้อน ย้อนมองตนเอง ด้วยวิธกี ารเชิงบวก เช่น วงสนทนาทบทวนผล หลังกิจกรรม (After Action Review) ช่วยครูสร้างเครื่องมือ คือแบบบันทึกผล ที่เกิดขึ้นจริงกับนักเรียนเป็นรายบุคคล ผ่านสายตาและมุมมองของครู ผ่านปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้ ระหว่างครูและนักเรียน ในการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม ต่ า งๆ โดยใช้ ห ลั ก การประเมิ น เพื่ อ พั ฒ นาตามสภาพจริ ง (Embedded Formative Assessment) และน�ำผลการบันทึก ดังกล่าวมาเป็นข้อมูลในการสนทนาสะท้อนผลร่วมกัน เชือ่ เหลือเกินว่า ด้วยพืน้ ฐานความปรารถนาดีทคี่ รูมตี อ่ นักเรียน ครูยอ่ มเรียนรูผ้ า่ นการย้อนมองตนเองได้ และหากครู พากันท�ำเช่นนั้นได้ดีขึ้นเท่าไร จะยิ่งมองเห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ได้ชดั เจนมากขึน้ เท่านัน้ และยิง่ พบความสามารถทีจ่ ะปรับเปลีย่ น สิ่งที่อยู่ภายนอกได้ง่ายขึ้นด้วยซ�้ำ เรียกง่ายๆ ว่ายอมปล่อย วางความยึดถือเดิมๆ ไปได้ง่ายขึ้น ความคิดสร้างสรรค์และ ศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายในก็จะถูกท้าทายมากยิ่งๆ ขึ้นไป หากท่านผู้อ่านอยากเห็นภาพที่สะท้อนผ่านกระจก วิ เ ศษบอกข้ า เถิ ด ของบรรดาครู รุ ่ ง อรุ ณ ในภาคการเรี ย นที่ ผ่านมา โปรดติดตามได้ทันทีจากเนื้อในของวารสารฉบับที่อยู่ ในมือท่านนี้ค่ะ รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม
CONTENT
สารบัญ ROONG-AROON WAYS
๖
Project for Change ทีร่ งุ่ อรุณ ๒๕๕๗ “นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ�… ครูไม่เห็นนักเรียน” KINDERGARTEN
๑๓
เมื่อครูอนุบาลย้อนมองตน
๑๓
PRIMARY
๒๕
การเรียนรู้ตนเองของครูประถม
๔๑
SECONDARY
๔๑
ครูมัธยมสะท้อนย้อนมองตน
PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY
๕๓
การเปลี่ยนแปลงของครูดนตรี ศิลปะ กีฬา ROONG-AROON ART
๖๕
๖๕
การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ในเรือนศิลปะ VIEW OF THOUGHT
๗๕
ปฐมบทแห่งการเปลี่ยนแปลง
7
ROONG-AROON WAYS
ฝูงเป็ดเดินเป็นทิวแถวที่ไร่ปลูกรัก 8
Project for Change ที่รุ่งอรุณ ๒๕๕๗
“นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน�้ำ… ครูไม่เห็นนักเรียน” เรื่อง รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม เมื่ อ พู ด ถึ ง การเปลี่ ย นแปลงกั บ คุ ณ ครู รุ ่ ง อรุ ณ เขาอาจจะไม่รู้สึกตื่นเต้นเท่าไร เพราะเราเปลี่ยนกันทุกเทอม ครูแต่ละคนอาจไม่เคยสอนซ�ำ้ แผนการสอนเดิมของตนเองเลย ก็ว่าได้ แรกๆ เมื่อต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลง (จากสิ่งที่คิด ว่าลงตัวดีอยู่แล้ว) เขาก็จะหงุดหงิดและไม่ค่อยสบอารมณ์ สักเท่าไร แต่หลังจากนั้นเมื่อเขาได้ทดลองท� ำสิ่งนั้นใหม่ ในอีกแบบหนึ่ง แล้วปรากฏว่าได้ผลดีกับนักเรียนและแม้แต่ ตั ว ครู เ อง เขาก็ มั ก จะเกิ ด ความภาคภู มิ ใ จและเริ่ ม สะสม ความเป็นผู้เชี่ยวชาญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว หากคุณครูลองหวนกลับไปตั้งข้อสังเกตให้ดี จะพบว่า ไม่ว่าคุณครูจะอยากหรือไม่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือ ไม่ ก็ ต าม วงจรเหล่ า นี้ ย ่ อ มไม่ เ คยหยุ ด นิ่ ง หรื อ รอถาม ความสมัครใจของใคร ทั้งนี้เพราะการเรียนที่รุ่งอรุณส่วนใหญ่ เป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงที่ครูไม่อาจจะใช้วิธีพกพา เนื้อหาความรู้ส�ำเร็จรูปมาเพื่อยัดเยียดให้แก่เด็ก จนเด็ก กลายเป็นผู้รอเรียนและถูกสอนตลอดเวลาแบบ Passive Learners แต่ในทางกลับกัน ที่รุ่งอรุณครูเปลี่ยนบทบาทมาใช้ ความพยายามกระตุ้นต่อมอยากรู้ใฝ่เรียนให้เกิดกับผู้เรียน ให้เขาเป็น Active Learners และครูหลายคนอาจถึงบทสรุป
กับตัวเองแล้วว่า ยิง่ พยายามยึดถือรูปแบบทีพ่ อใจแล้ว ลงตัวแล้ว ไว้อย่างเหนียวแน่นเมื่อไร เมื่อนั้นเขายิ่งกลับทุกข์เสียยิ่งกว่า การเข้าเผชิญกับสิ่งที่ ไม่แน่นอนได้อย่างไม่สะทกสะท้าน แม้จะประหวั่นพรั่นพรึงอยู่บ้างก็ตาม ปั จ จุ บั น ครู รุ ่ ง อรุ ณ เริ่ ม ที่ จ ะหั ว เราะเยาะเย้ ย ตั ว เอง ได้เต็มๆ เมือ่ พบว่าแม้ได้เตรียมการสอนไว้อย่างดี ลงทุนพาไป ท�ำกิจกรรมอย่างเลิศหรู แต่ปรากฏว่าเด็กนักเรียนกลับไพล่ไป สนใจอย่างอื่นในสิ่งที่ครูไม่คาดคิด ไม่เป็นไปตามแผนของครู เอาเสียเลย ดังเช่นเมือ่ ๒-๓ วันก่อน ครูจวิ๋ (สกุณี บุญญะบัญชา ครูใหญ่โรงเรียนประถม) เล่าให้ฟังว่า ครูชั้นประถมปีที่ ๒ และ ผู ้ ป กครองให้ ความร่ ว มมื อ พาเด็ ก ๆ ไปออกภาคสนามที่ ไร่ปลูกรัก เพื่อที่จะเรียนรู้เรื่องการปลูกพืชผักอินทรีย์ เด็กๆ ได้รับการชี้ชวนให้เรียนรู้เรื่องการปลูกผักและเรื่องการเพาะ เมล็ดต่างๆ เขาก็ฟังบ้าง ไม่ฟังบ้าง ต่อเมื่อไปเจอฝูงเป็ด ที่เลี้ยงไว้เดินมาเป็นทิวแถว เท่านั้นแหละ เด็กๆ ก็พากันพุ่ง ความสนใจไปที่เป็ด เรียบร้อยโรงเรียนเป็ด! ครูถึงกับอึ้ง และไปต่อไม่เป็น ในขณะที่เด็กๆ เริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเองอยู่ว่า “ดูสิ! แม้แต่เป็ดยังเดินแถวได้ตรงกว่าพวกเราเลย”
9
ROONG-AROON WAYS
เด็กๆ สอบถามความคิดเห็นเพื่อนๆ เรื่องปัญหา ของห้องน�้ำและสรุปความเห็นออกมาเป็นภาพ
นี่ แ หละสถานการณ์ ที่ ค ลาสสิ ก มากๆ ส� ำ หรั บ ครู ทุกคน และเป็นสิ่งท้าทายให้ครูอยู่กับการเปลี่ยนแปลงให้เป็น เราพูดกันถึงความสดของครูที่ไม่ตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตรงหน้า แต่สามารถมีวิจารณญาณพาเด็กเรียนรู้ได้กับทุกสิ่ง รอบตัว รวมทั้งเรียนรู้จักตัวเองไปด้วย ไม่เพียงเท่านั้นครูยัง ต้องสามารถเชื่อมโยงเอาเนื้อหาสาระ การพัฒนาทักษะต่างๆ รวมทั้ ง การสร้ า งจิ ต ส� ำ นึ กรู ้ ถึ ง คุ ณ ค่ า ที่ เ ป็ นมิ ติ การเรี ย นรู ้ ที่ลึกซึ้งที่สุดให้ได้ด้วย ฟังดูเหมือนครูเป็นผู้วิเศษ ยิ่งกว่านั้นเสียอีก ครูจะเป็น ผู้ปลุกพลังอ�ำนาจลี้ลับในตัวเด็กขึ้นมาต่างหาก ดูอย่างเด็กอนุบาลห้องแสงดาวของครูอีฟ (จินตนา ศิริน�ำโชค) และครูลูกหว้า (วิเมลือง สุขบาง) สิ! เขาเริ่มพูดกัน ว่าห้องน�ำ้ ห้องส้วมซึง่ อยู่ในห้องเรียนของเขาเหม็น พอครูได้ยนิ เข้าก็พาเขาเรียนรู้ทันที โดยตั้งค�ำถามว่า เพราะอะไรเป็นเหตุ ท�ำให้เหม็น เด็กๆ ช่วยกันหาเหตุได้ว่า เพราะฉี่ ไม่ตรง ลงในโถ กระเด็นเปื้อนบ้าง เมื่อถ่ายแล้วไม่กดน�้ำช�ำระบ้าง 10
และอืน่ ๆ ครูจงึ ถามต่อว่าแล้วจะแก้ไขอย่างไร เด็กๆ จะช่วยกัน รักษาห้องน�้ำไม่ให้เหม็นได้อย่างไร ปรากฏว่านอกเหนือจากที่ จะต้องระมัดระวังในเวลาใช้ห้องน�ำ้ แล้ว เด็กๆ ยังอาสาจะมา ช่วยกันท�ำความสะอาดด้วยการไปขอยืมอุปกรณ์ล้างห้องน�้ำ มาจากบ้าน และผลัดกันเป็นเวรท�ำห้องน�้ำที่อยู่ในห้องเรียน ของตนเอง ห้องครูบัว (วุฒิภา สว่างสุข) และครู โบว์ (ฐิศิรักษ์ รุจเิ รขเสรีกลุ ) ก็เช่นเดียวกัน เมือ่ เทอมทีผ่ า่ นมา เด็กๆ ได้ไปเข้า ห้องน�้ำส่วนรวมที่อยู่ชั้นล่าง และเด็กๆ ก็บอกว่าห้องน�้ำเหม็น แม้วา่ จะไม่ใช่หอ้ งน�ำ้ ในห้องเรียนของเขาเอง พวกเขาก็ชวนกัน มาช่วยขัดล้างท�ำความสะอาดตลอดเทอม ต่อมาเด็กๆ เห็นผล ที่เกิดขึ้นแล้วยิ่งอยากจะท�ำต่อ เรียกว่าใจใหญ่ขึ้น เขาเสนอว่า นอกจากจะช่วยกันท�ำความสะอาดห้องน�ำ้ ส่วนรวมเพือ่ ให้ผทู้ มี่ า ใช้หอ้ งน�ำ้ มีความสบายใจแล้ว เขายังอยากให้หอ้ งน�ำ้ ดูสวยงาม น่าเข้าไปใช้ ในเทอมนีพ้ วกเขาก�ำลังคิดวางแผนช่วยกันตกแต่ง ห้องน�้ำอีกด้วย จากกิ จ กรรมล้ า งห้ อ งน�้ำ ของนั ก เรี ย นทั้ ง ๒ ห้ อ ง เป็นเรื่องน่าสนใจและยินดีกับการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับครูและ นักเรียน ยิ่งไปกว่านั้นยังได้มองเห็นโอกาสและความพร้อม ที่จะเรียนรู้ของเด็กๆ ซึ่งเปิดรออยู่แล้ว มากกว่าการพาเขา สนทนาหลังกิจกรรม ซึง่ เด็กๆ อาจจะยังไม่พร้อมทีจ่ ะเรียบเรียง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในทันทีนั้นได้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน แต่ ค รู ย ่ อ มฉวยโอกาสนี้ พ าเรี ย นต่ อ ได้ อี ก ทั้ ง สั ป ดาห์ ห รื อ มากกว่านั้น ทั้งนี้เพราะการเรียนขาออกตรงนี้แหละ มีประเด็นให้ เก็บเกี่ยวมากมายหลายมิติต่อเนื่องกันไป ไม่ว่าจะเป็นในด้าน เนือ้ หา เช่นภาษาทัง้ ไทย อังกฤษ ทีม่ คี ำ� ศัพท์ทเี่ กีย่ วข้องมากมาย เนื้อหาความรู้เรื่องของสุขอนามัย เรื่องของร่างกายที่ต้อง ถ่ายเทของเสีย และระบบห้องน�้ำทีเ่ ราใช้กนั อยูท่ กุ วันนี้ ของเสีย ไปไหนและถูกก�ำจัดอย่างไร ฯลฯ ส่วนด้านทักษะชีวิตก็มี
มากมาย ซึ่งสื่อออกผ่านภาษา เช่นแต่งนิทาน งานศิลปะ งานแสดง และทีส่ ำ� คัญคือการสร้างจิตส�ำนึกความรับผิดชอบ ต่อสาธารณประโยชน์ จึงอยากชวนครูทุกคนกลับไปทบทวนบทบาทของครู อีกครั้ง ตรงจุดนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพของครู มากทีส่ ดุ แล้วทัง้ ครูและเด็กเมือ่ เริม่ สร้างกระบวนการเรียนรู้ ไปด้วยกันเช่นนี้ได้ ทั้งคู่จะมีความสุขและไม่เครียด ในการทบทวนของครู นั้ น ให้ ล องย้ อ นไปสั ง เกต ตั้งแต่หลังกิจกรรมแต่ละครั้ง ครูพยายามจะพานักเรียนสรุป แต่ครูจะพบว่าเป็นการยากมากทีเดียวที่จะไม่พูดชี้น�ำบทสรุป และยากที่จะตั้งค�ำถามเพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจรวบยอด ในทางกลับกันหากครูเดินตามเส้นทางการเรียนรูไ้ ปเป็นล�ำดับ จะพานักเรียนไปง่ายกว่า ตัวอย่างเช่น
11
ROONG-AROON WAYS
๑. เรื่องภาษาและความหมายของค�ำศัพท์ที่เกิดขึ้น
ให้เด็กๆ ช่วยกันระบุและท�ำบัตรค�ำ หลังจากนั้นน�ำมา ติดบนกระดานหรือแม้แต่ในห้องน�้ำ แล้วชวนนักเรียนเรียง ล�ำดับค�ำศัพท์เหล่านี้ให้ใกล้เคียงกับพฤติกรรมหรือกระบวนการ ใช้ห้องน�้ำในแต่ละครั้ง หากมีค�ำอื่นๆ ที่ยังขาดหายไปก็ให้ ช่วยกันท�ำเพิ่มเติม ฯลฯ
๒.เรื่องทักษะชีวิตในเชิงการดูแลสุขอนามัยของตนเอง
ครูสามารถชวนนักเรียนมองเปรียบเทียบ หรือพาไปดู ห้องน�ำ้ ทีส่ ะอาดและสกปรก แม้แต่กบั ห้องน�ำ้ ทีบ่ า้ นตนเอง แล้ว ครูจะพบว่าจะมีการเก็บเกีย่ วความรูไ้ ด้มากมายหลากหลายรูป แบบอย่างไร คิดว่าตรงนี้ไม่น่าจะยากส�ำหรับครูแล้ว
๓.เรือ่ งความสนใจใฝ่รแู้ ละการเข้าถึงความรูด้ ว้ ยตนเอง
หากครูตั้งค�ำถามว่า แล้วของเสียเหล่านี้เมื่อออกจาก ตัวเราลงไปในส้วม หรือน�้ำอาบ น�้ำล้างมือต่างๆ สิ่งเหล่านั้น ถูกก�ำจัดไปได้อย่างไร นักเรียนก็นา่ จะสงสัยเช่นกัน หลังจากนัน้ ครูคงพอจะนึกออกว่าเราจะพานักเรียนเข้าถึงความรู้เหล่านี้ ได้อย่างไร น่าสนุกด้วยซ�้ ำไป หนังสือเรื่อง “อึ” เราก็มี ส้วมก็น่าจะมี ถ้ายังไม่มี นักเรียนของเรานี่แหละจะช่วยกัน เรียบเรียงขึ้นมา เป็นต้น
๔.เรื่องจิตส�ำนึกสาธารณะ
เป็นเรือ่ งลึกซึง้ ก็จริง หากแต่วา่ เมือ่ นักเรียนเขาได้ผา่ น การเรียนรู้ตามล�ำดับข้อ ๑-๒-๓ มาแล้วจะพบว่า ข้อมูล ความรู้เบื้องต้นเหล่านั้นเองที่จะเป็นต้นทุนให้เขาเข้าใจในมิติ ทีล่ กึ ซึง้ นี้ได้ดว้ ยตัวของเขาเอง และจะไม่ใช่การรับรูจ้ ากค�ำบอก ของครูที่พยายามยัดเยียดให้นักเรียนโดยที่นักเรียนเองยัง ไม่สามารถเข้าถึงความเข้าใจและจิตส�ำนึกนี้ได้ด้วยตนเอง เพียงแต่ครูตงั้ ค�ำถามหรือใช้การท้าทายให้ลงมือท�ำอีกเล็กน้อย เด็กๆ ก็จะสัมผัสคุณค่าความดีงามนี้ได้ไม่ยาก และไม่ใช่เป็น เพียงคุณค่าที่ติดอยู่เพียงริมฝีปากเท่านั้น 12
เด็กๆ ช่วยกันบอกรายการอุปกรณ์ท�ำความสะอาดห้องน�้ำที่ต้องใข้ 13
ROONG-AROON WAYS
“ เคล็ดลับแห่ง ความส�ำเร็จมีอยู่นิดเดียว ตรงที่ครูต้องมีสายตามองเห็นเด็กๆ และความเป็นไปของอาการเรียนรู้ ของเขาเฉพาะหน้าตรงๆ มากกว่าที่ใจครูจดจ่ออยู่แต่ตัวเอง และงานของตนที่จะท�ำให้ได้ ตามความคิดของตนเท่านั้น ” จะเห็ น ได้ ว ่ า จากหนึ่ ง กิ จ กรรมเราสามารถขยาย การเรียนรู้ไปทีละเรื่องๆ ค่อยๆ เป็นไปตามล�ำดับความรับรู้ จากมิติที่ตื้นสู่มิติที่ลึกขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ต้องรีบกระโดดไปท�ำ กิ จ กรรมใหม่ ที่ เ รี ย กว่ า ใช้ กิ จ กรรมเปลื อ งและไม่ ส มกั บ ความสนใจของเด็กๆ ที่เปิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นมีเคล็ดลับ แห่งความส�ำเร็จอยูน่ ดิ เดียว ตรงทีค่ รูตอ้ งมีสายตามองเห็นเด็กๆ และความเป็นไปของอาการเรียนรู้ของเขาเฉพาะหน้าตรงๆ มากกว่าทีใ่ จครูจดจ่ออยูแ่ ต่ตวั เองและงานของตนทีจ่ ะท�ำให้ได้ ตามความคิดของตนเท่านั้น นี่แหละคุณพ่อคุณแม่ คุณครูทั้งหลาย เข้าใจหรือยังว่า เด็กๆ ทุกคนเขามีเมล็ดพันธุ์ที่ดีงามอยู่ในหัวใจและพร้อมที่ จะเจริญงอกงามขึ้นทันทีที่เรารดน�้ำ พรวนดิน ให้แสงสว่าง ที่พอเหมาะ แล้วครูจะพาเรียนเนื้อหาสาระและทักษะต่างๆ ได้หรือไม่ อย่างไร ส่วนจิตส�ำนึกซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่รู้ ยากทีส่ ดุ นัน้ กลับกลายเป็นเรือ่ งทีแ่ ทบจะไม่ตอ้ งสอนเลยด้วยซ�ำ้
14
และนั่นก็คือเรื่องจริงที่ครูและพ่อแม่ทุกคนควรตระหนักว่า เรามี เ พี ย งความสามารถในการเสนอข้ อ มู ล หรื อ ค� ำ ถาม บางอย่างที่เป็นระบบ และสอดคล้องกับจังหวะการเรียนรู้ เท่านั้น แต่ไม่ได้มีอ�ำนาจที่จะยัดเยียดความรู้ให้เด็ก เราเคยเห็นตัวอย่างของครูที่ประสบความส�ำเร็จระดับ โลกมา ไม่ว่าจะเป็นครูเรฟ เอสควิท จาก Teach like your hair’s on fire หรือครูคานาโมริ ใน Children full of life หรือ ในกระบวนการของการสอนคณิตศาสตร์แบบ Open Approach ที่ครูต้องประเมิน คาดเดาการเรียนรู้ของนักเรียนตลอดเวลา ในห้องเรียน และในสายตาของ Prof.Dylan William ทีน่ ำ� เสนอ การประเมินเพื่อมอบอ�ำนาจการเรียนรู้ (ให้ผู้เรียน) ดังที่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้กรุณาถอดความมาจากหนังสือของท่าน จะพบว่ างานครู ที่วิ เ ศษที่สุ ด นั้น อยู่ ต รงที่ ครูมี ส ายตาและ ใจจดจ่ออยู่ที่การเรียนรู้ของเด็ก สุดท้ายนี้สิ่งที่ต้องการจะสื่อสารสร้างความเข้าใจให้ครู และผูใ้ หญ่ผหู้ วังดีทงั้ หลายได้เข้าใจหัวใจของการเปลีย่ นแปลง ให้ตรงที่สุด นั่นก็คือการเปลี่ยนความเคยชินดั้งเดิมของตน จากการมุ่งแต่สิ่งที่อยากสอนของตนเอง และพยายามที่จะ ผลั ก ดั น การสอนของตนสู ่ เ ด็ ก ให้ ส� ำ เร็ จ เสร็ จ สิ้ น ตามที่ ไ ด้ เตรียมไว้ มาสูก่ ารมองเห็นเด็กแต่ละคน และภาวะการเรียนรูใ้ น ขณะปัจจุบนั ของเขาเสมอๆ และพร้อมปรับบทบาทการพาเรียน ให้เกิดผลได้รอบด้านทุกมิติ การพาท�ำ Project for Change นั้นเป็นเพียงการหากุศโลบายให้ครูสร้างและใช้เครื่องมือ ที่ จ ะดึ ง ความสนใจของตนเองไปอยู ่ ที่ การเรี ย นรู ้ ที่ เ กิ ด กั บ เด็กตลอดชั่วโมงการเรียนหนึ่งๆ ให้ได้เท่านั้น และผนวกกับ การจัดกลุม่ แลกเปลีย่ นเรียนรูก้ นั ของครู ซึง่ จะช่วยให้งานนีง้ า่ ย และมีทางลัดมากขึ้นนั่นเอง
KINDERGARTEN
แม่ของฉัน โดย เด็กชายวรินทร วงศ์ประเสริฐสุข (ใบบอน) ชั้นอนุบาลห้องสายธาร 15
KINDERGARTEN
ตัดสินใจและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ครูทิชากร บุญศรี (ครูน้อง)
สวัสดีจ้ะ ครูน้อง การที่เราได้อยู่กับเด็กๆ อนุบาลทุกวัน เหมือนกับการได้ อยู่กับรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของธรรมชาติของโลก เรามี เรื่องเล่าที่น่าประทับใจมากเกี่ยวกับโครงงานของเด็กๆ มาเล่า ให้ครูน้องฟัง และเรารู้สึกมีความสุขมากที่ได้พาเด็กๆ และ ตัวเราเองเรียนรู้เรื่องนี้ ครูน้องคงเคยเห็นรูปถ่ายห่านที่เรามัก จะโพสต์ในเฟซบุ๊กของเรา นั่นแหละเป็นต้นเรื่องของโครงงาน ของเด็กๆ ห้องเรา ในเช้าวันหนึ่งที่เราพาเด็กๆ เดินชมธรรมชาติในโรงเรียน และเดินผ่านเล้าห่าน เด็กๆ สงสัยว่าท�ำไมมีห่านหนึ่งตัวชื่อ
16
พี่นวล ไม่ออกไปว่ายน�้ำกับเพื่อนในฝูงของมัน เมื่อไปดูใกล้ๆ พบว่าพีน่ วลขาเจ็บ เมือ่ กลับมาถึงห้องเรียน เด็กๆ สนใจพูดคุย แต่เรือ่ งพีน่ วลว่ารูส้ กึ สงสารทีพ่ นี่ วลขาเจ็บ มีเด็กบอกว่าอยากให้ พี่นวลหายเร็วๆ “เห็นแผลพี่นวล หนูเกือบน�้ำตาไหล” เราเลยถามว่าแล้วเด็กๆ จะช่วยพีน่ วลได้อย่างไร เด็กบางคน บอกว่า “หนูอยากช่วย พรุ่งนี้หนูไม่อยากหยุด หนูจะมาเยี่ยม พี่นวล” หรือ “พาไปหาหมอ อากงของหนูเป็นหมอรักษาเด็ก” เด็กๆ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากพาพี่นวลไปหาหมอ และ บางคนก็คิดต่อไปว่าจะให้พี่นวลนั่งรถกระบะ/ใช้รถเข็นลาก/ ฉีดยาสลบแล้วพาไปหาหมอ ฯลฯ นอกจากนั้นเด็กๆ กลับ
ไปเล่าให้พอ่ แม่ฟงั และคุยกันว่าจะช่วยพีน่ วลได้อย่างไร พ่อแม่ ก็เข้ามาช่วยกันติดต่อหาหมอหลายๆ แห่ง จากนัน้ เราก็ถามเด็กๆ เพิม่ เติมว่า “แล้วเราจะหาเงินจาก ไหนมาเป็นค่ารักษาพี่นวล” เด็กๆ ช่วยกันออกความคิดน่ารัก มากมาย อย่างเช่น “เอาจากกระปุกของป๊ากับกัส” “ท�ำไม ไม่เอาเงินมารวมกัน” “แต๊ะเอีย” “ไปหางานมาท�ำ ลูกค้าจะให้ เงินมา” ถกกันไปมาก็มาจบที่จะช่วยกันท�ำขนมปังและขนม ลู ก ชุ บ ไปขายเพื่ อ น�ำ เงิ น ไปรั ก ษาพี่ นวล และสุ ด ท้ า ยด้ ว ย ความร่วมแรงร่วมใจและความตั้งใจจริงของเด็กๆ พี่นวลก็ได้ ไปหาหมอที่คลินิกสัตวแพทย์ตรงข้ามกับโรงเรียนนั่นแหละ เลิกเรียนก็พากันอุ้มห่านไป ครูน้อง...เราได้เรียนรู้กับเรื่องราวนี้หลายแง่มุมเลยนะ อย่างแรกก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเราเอง เราว่าเราได้ก้าวผ่าน ความกลัว ความไม่กล้า อาจเพราะเป็นครัง้ แรกทีเ่ ราท�ำโครงงาน ทีร่ งุ่ อรุณ เรารูเ้ ลยว่าเราต้องมีภาระงานมากขึน้ ต้องรับผิดชอบ ต้องเหนื่อยมากขึ้นกว่าการเรียนการสอนธรรมดา แต่เราก็ ตัดสินใจว่าเราจะลองสู้ดู เพราะเราเห็นความกระตือรือร้น ความตั้งใจของเด็กๆ ที่เขาอยากจะเรียนรู้ และเราก็เชื่อว่า เราน่าจะเป็นผู้น�ำพาเขาไปสู่การเรียนรู้ได้ ต่อมาเราก็ได้เห็นว่าการจัดการสอนแบบโครงงานที่เกิด จากความสนใจของเด็ก เป็นการสร้างการเรียนรูท้ ดี่ มี ากเพราะ เด็กเกิดแรงจูงใจภายใน เราเห็นเด็กรู้จักตัดสินใจว่าเขาควร จะท�ำอะไร เขาร่วมกันวางแผนจัดการสิ่งต่างๆ ได้เรียนรู้ด้วย ตัวเอง จึงมีความสุข สนุกกับสิง่ ทีเ่ รียนรู้ และในทีส่ ดุ เขาได้เห็น คุ ณ ค่ า ของตนเองว่ า เขาสามารถที่ จ ะท�ำ อะไรได้ ม ากมาย ทั้งหมดนี้ครูมีหน้าที่รับฟังเด็กๆ พร้อมฉวยโอกาสที่เหมาะสม ที่จะพาเด็กไปสู่การเรียนรู้ รอคอย อดทน ไม่เอาความคิด เห็นของครูใส่ลงไป แต่คอยสนับสนุนเขาอยู่ ช่วยพาเขาท�ำไป พร้อมๆ กัน ท�ำให้โครงงานในครัง้ นีเ้ ป็นของเด็กๆ ไม่ใช่โครงงาน ของครู
ครูอยากบอกว่า... การเรี ย นรู ้ แ บบโครงงานที่ เ กิ ด จาก ความสนใจของนักเรียนจริงๆ เป็นการสร้าง การเรี ย นรู ้ ที่ ดี ม าก เพราะเด็ ก เกิ ด แรงจู ง ใจภายใน เขาได้ เ รี ย นรู ้ ด ้ ว ย ตั ว ของเขาเองจึ ง มี ค วามสุ ข สนุ ก กั บ สิ่ ง ที่ เ รี ย นรู ้ และในที่ สุ ด เขาได้ เ ห็ น คุ ณ ค่ า ของตนเองว่ า ตั ว เขามี ศั ก ยภาพ มากมาย ในวันที่เขาพาห่านไปหาคุณหมอและคุณหมอได้บอก กับเด็กๆ ว่าห่านแก่แล้ว ถึงจะรักษาก็คงจะไม่หาย แต่เด็กๆ ยืนยันว่าจะรักษา พวกเขาก็มีเงินจากการขายขนมปังอยู่ ๓,๐๐๐ บาท พอทีจ่ ะรักษาห่านได้ และเขาเชือ่ ว่าพีห่ า่ นจะต้อง เดินได้ถา้ ได้กนิ ยา พวกเขาสูไ้ ม่ถอยจริงๆ ช่วยพูดกันจนคุณหมอ ยอมจ�ำนนเลยทีเดียวล่ะ คุณหมอบอกว่าต้องให้เด็กๆ ช่วยกัน อาบน�ำ้ ให้พหี่ า่ นก่อน คุณหมอรักษาให้ได้เพียงให้ยา ฉีดยาและ ท�ำแผล เด็กๆ จะต้องพาพี่ห่านมาฉีดยาทุกวันจนครบ ๕ วัน คุณหมอถามย�ำ้ อีกว่าเด็กๆ จะท�ำได้ไหม เด็กและพ่อแม่ชว่ ยกัน ยืนยันกับคุณหมอว่าสามารถท�ำได้ คุณหมอจึงรักษาโดยการ ฉีดยาพร้อมทัง้ บอกวิธกี ารดูแลพีห่ า่ นให้ พ่อแม่เองก็มสี ว่ นร่วม ในโครงงานของเด็กๆ ช่วยกันคิดหาวิธีที่จะไม่ท� ำให้แผล ของพี่ห่านเกิดการกดทับอีก จึงได้ช่วยกันท�ำเปลผ้าข้าวม้า เพื่อช่วยพยุงให้พี่ห่านยืนได้ ถ้าครูนอ้ งได้อยูท่ �ำโครงงานกับเรา เราว่าหัวใจของครูนอ้ ง คงจะพองโตและมีรอยยิ้มกว้างๆ แบบเรานี่แหละ
17
KINDERGARTEN
ถ้าเราเห็นตัวเราชัดเจน
เราก็จะเห็นเด็กได้ชัด ครูศุภามาศ ราชมณี (ครูนก)
ถึงนกเพื่อนรัก ได้ขา่ วว่าเด็กๆ เริม่ ปรับตัวได้ หยุดร้องไห้แล้ว ดีใจด้วยนะ ช่วงแรกเด็กก็เล่นเอาครูเหนื่อย ดีที่เรามีโอกาสได้เจริญสติ อยู่บ่อยๆ เราเลยเอามาตั้งหลักให้ตัวเองด้วยการนิ่ง สังเกต รับรูภ้ าวะภายในใจของเราว่าตอนนีเ้ รารูส้ กึ อย่างไร แล้วเข้าไปดู เข้าไปรู้ จนรู้สึกตัวขึ้นมา เราจึงมองเห็นปัญหาเด็กร้องไห้ และปัญหาอื่นๆ ที่อยู่ตรงหน้าอย่างเป็นปกติ ไม่ได้เป็นทุกข์ ไปกับปัญหานัน้ ๆ และทีแ่ ปลกก็คอื พอเรานิง่ ขึน้ เราเห็นตัวเรา ชัดเจน เรารู้สึกว่าเราเองเห็นเด็กชัดขึ้น และเห็นถึงวิธีการแก้ ปัญหาได้เอง เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันมากเหลือเกิน เราต้อง งัดกลยุทธ์ เทคนิคต่างๆ มาปลอบหรือเล่นกับเด็กเพือ่ ให้เด็ก รู้สึกสนุกและผ่อนคลาย อย่างเช่นเด็กคนหนึ่งไม่เคยอยู่ห่าง จากคุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ อยู ่ ที่ บ ้ า นก็ จ ะอยู ่ ด ้ ว ยกั น ตลอดเวลา พอมาโรงเรียนจึงกังวล กลัว ร้องไห้เสียงดัง เราก็ยิ้มเข้าไป ทักทาย รับรู้อารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของเด็ก เป็ น อั น ดั บ แรก พร้ อ มกั บ เออออไปด้ ว ย พอเด็ ก เริ่ ม นิ่ ง เรากระซิ บ กั บ เด็ กว่ า เป็ น ความลั บ ของเรารู ้ กั น แค่ ส องคน
ครูอยากบอกว่า... ถ้าเราเห็นตัวเราชัดเจน เราก็จะเห็นเด็กได้ ชัดด้วย ความคิดดีๆ วิธีการแก้ปัญหา จะเกิดขึ้นเอง 18
ว่าเดี๋ยวคุณครูไปส่งนะ ตอนนี้ขอเงียบๆ ก่อนเพราะคนอื่น จะรู้จะแอบออกไปไม่ได้ เด็กจึงเงียบ หยุดร้องไห้ เราย�้ำอีกว่า ตอนนี้ขอครูดูแลพี่ๆ ก่อนนะ ไว้กินข้าวเสร็จเราจะแอบออกไป พีๆ่ จะได้ไม่ไปกับเรา จากนัน้ เด็กคนนีก้ ส็ นใจท�ำกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นตามมุม วาดรูป รดน�้ำต้นไม้ ด้วยอารมณ์ที่เบิกบาน นอกจากนี้เรายังน�ำเทคนิคการฟลอร์ ไทม์ที่ได้อบรม กั บ คุ ณ หมอกิ่ ง แก้ ว มาใช้ ร ่ ว มกั บ การท� ำ AAR กั บ ที ม ทุกวันพฤหัสบดี โดยมีแบบประเมินพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล ท�ำให้เรามองเห็นเด็กได้ละเอียด รูถ้ งึ ปัญหาหรือข้อติดขัด และ ภาวะอารมณ์ที่เขาเป็น เราน�ำข้อมูลเหล่านี้มาคุยแลกเปลี่ยน วางแผนเพื่ อ หาแนวทางพั ฒ นาช่ ว ยเหลื อ ร่ ว มกั น กั บ ที ม จึงท�ำให้เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นตามล�ำดับ มีตัวอย่างของเด็ก ที่ร้องไห้ไม่อยากมาโรงเรียนเพราะเล่นไม่เป็น ไม่มีเพื่อน เราช่วยตั้งหลักให้ด้วยการพาเล่นบทบาทสมมติที่เด็กสนใจ เช่น เราชวนเด็กคนนี้ไปชือ้ ขนมกับของเล่นทีซ่ ปุ เปอร์มาร์เก็ต ที่อยู่ที่ลานทราย โดยมีเพื่อนๆ มาร่วมเล่น เด็กๆ และครู จิ น ตนาการกั นว่ า ต้ อ งไปขึ้ น รถบรรทุ ก ผู ้ โ ดยสารก็ พ ากั น วิ่งไปขึ้นรถ เด็ก ๒ คนลงจากรถไปดึงเชือกเพื่อขับรถ ฯลฯ จากการเล่นครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้น เริ่มมีเด็กสนใจเข้ามา เล่นเป็นกลุม่ ใหญ่มากขึน้ และเด็กทีเ่ ล่นไม่เป็นก็สามารถปรับตัว เล่นกับเพื่อนในกลุ่มได้อย่างสนุกสนาน เพลิดเพลินจนลืม ข้อติดขัดกับความกังวลบางอย่างของตน และตัวเราก็ได้เรียนรู้ ว่าการเข้าไปเล่นกับเด็กๆ ตามจินตนาการของพวกเขาแบบนี้ ก็สนุกและได้รู้ความคิดของเด็กที่ตลกดี แถมเราเองได้ลดอายุ ลงมาเป็นเด็กอีกครั้ง เรารู้สึกภูมิ ใจและมีความสุขมาก เรารู้แล้วว่าเวลา ที่เราเจอปัญหาต่างๆ ถ้าใจเรานิ่ง เราจะสังเกตได้ละเอียด และรับรู้สภาวะของเรา พอเรารู้สึกตัว รู้ว่าเรารู้สึกอย่างไร เราก็จะไม่เครียดไปกับปัญหา และเราจะคิดออกว่าเราจะแก้ ปัญหาอย่างไร และการทีร่ บั ฟังเด็ก รับรูอ้ ารมณ์ ความต้องการ ของเขา ไม่ใช่แค่เฝ้ามอง บอกเขาด้วยค�ำพูด แต่เราต้อง แปลงตัวเป็นเด็ก เข้าไปร่วมเล่นเป็นเพื่อนเขา
เมื่อครูเปลี่ยน เด็กก็เปลี่ยน ครูนิภาวรรณ แชสันเทียะ (ครูวรรณ)
ถึงครูวรรณนะจ๊ะ ขอเล่าสิ่งที่ตัวเองภูมิใจมากที่สุดในภาคเรียนที่ผ่านมา จากที่ ได้เข้าปฏิบัติธรรม และได้ย้อนคิดทบทวนตัวเองใน บทบาทของความเป็นครู ฉันเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยฉันพูด น้อยลง ไม่อธิบายยืดยาว แต่ใช้ทา่ ทางและพาเด็กๆ ลงมือท�ำเลย ฉันรู้สึกว่านิ่ง สงบ และตั้งใจฟังเด็ก ใส่ใจในทุกค�ำพูดของเขา มากขึน้ ท�ำให้เด็กรูส้ กึ ว่าฉันรับรูเ้ ขาจริงๆ เมือ่ ตัวฉันเองเปลีย่ น ท่าทีไปในทางทีด่ ี เด็กๆ ก็รบั รูแ้ ละก็กอ่ ให้เกิดการเปลีย่ นแปลง กับตัวเด็กเช่นกัน ฉันขอเล่าถึงเด็กคนหนึง่ ซึง่ มีบคุ ลิกเงียบๆ พูดน้อย ไม่ยมิ้ ท่าทีเฉยๆ ไม่ชอบเล่นกับเพื่อน ต้องใช้เวลาในการปรับตัว ค่อนข้างมาก เมื่อก่อนเด็กคนนี้จะเขินอายไม่กล้าเข้าหาฉัน ฉันจึงเข้าไปหาเขาก่อน พูดเล่น พูดแหย่เขาบ้าง ท�ำอย่าง นี้ทุกวันๆ ในช่วงแรกเมื่อฉันเข้าไปชวนคุย ฉันถามอะไร เขาก็ตอบทีละค�ำ ในระหว่างการคุยฉันพยายามมองหน้า สบตาเขา ฟังค�ำตอบของเขาอย่างตั้งใจ ให้เขารับรู้ว่าฉันฟัง เขาจริงๆ ต่อมาฉันเริม่ ดึงเพือ่ นๆ ของเขาเข้ามาพูดคุยด้วยกัน ทีละคนสองคน จนเป็นวงพูดคุยปกติที่มีเขา เพื่อนๆ และฉัน เขาเริม่ มีความมัน่ ใจ กล้าทีจ่ ะพูดหรือแสดงความคิดเห็นของตัวเอง ออกมา และมีความวางใจในตัวฉัน ท�ำให้เรามีปฏิสัมพันธ์ ที่ดีต่อกัน รับรู้ทุกข์ - สุขซึ่งกันและกัน ในเทอมนี้ เ ด็ ก คนนี้ เ ปลี่ ย นไป เขามาโรงเรี ย นด้ ว ย ความเบิกบาน ร่าเริงสดใส และก็จะเข้ามากอดฉัน แล้วจ๊ะเอ๋ฉนั ทุกวัน และเมือ่ เด็กมีพฒ ั นาการเปลีย่ นไปในทางทีด่ ี ไม่เก็บตัว
รู้จักเล่นกับเพื่อนๆ ก็ท�ำให้เด็กคนนี้มีความกระตือรือร้นใน การท�ำกิจกรรมและมีความรับผิดชอบดีมาก เช่น เวลาท�ำอาหาร เสร็จ เขาจะช่วยน�ำอุปกรณ์การท�ำอาหารทัง้ หมดไปเก็บล้างจน เรียบร้อย โดยทีฉ่ นั ไม่ตอ้ งคอยมาพูดบอกเตือนเหมือนเมือ่ ก่อน การเรียนรู้ของฉันและเด็กเป็นไปอย่างราบรื่น และอยู่ร่วมกัน กับเพือ่ นได้อย่างมีความสุข ซึง่ ก็ทำ� ให้ฉนั รูส้ กึ ภูมใิ จในตัวเองมาก นอกจากนั้นฉันได้เปิดโอกาส เปิดพื้นที่ ให้เด็กได้เรียนรู้ อย่างอิสระ ได้ลองผิด ลองถูก ลงมือท�ำ เป็นเจ้าของงานการ เองทั้งในกิจกรรมและโครงงานต่างๆ ท�ำให้เด็กมีประสบการณ์ และน�ำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้ รู้จักแก้ ปัญหาง่ายๆ ได้ เด็กมีความสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ดี มีระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกัน ได้ดี นี่คือความภูมิใจที่ฉันสามารถท�ำให้เด็กเป็นเช่นนี้ได้
ครูอยากบอกว่า... การเปลีย่ นแปลงของครูสง่ ผลอันยิง่ ใหญ่ กั บ เด็ ก ๆ ความวางใจในตั ว ครู การมี ปฏิสมั พันธ์ที่ดีระหว่างเด็กและครู ท�ำให้ เด็กๆ เปลีย่ นแปลงและมีพฒ ั นาการทีด่ ไี ด้
19
KINDERGARTEN
ขอเพียงโอกาสและค�ำชม ครูปรานี สุภาภพ (ครูนี)
20
ถึง...ครูนี เพื่อนรัก วันนี้ได้ฟังนิทานเรื่องจุดจากครูโม เลยเกิดแรงบันดาลใจ ในการย้อนมองตนเอง เพือ่ ความก้าวหน้าไปสูก่ ารเป็นแบบอย่าง ที่ดีกับเด็ก ที่ตัดสินใจเขียนมาเล่าให้เธอฟังเพราะเธอก็เป็นครู เหมือนกับฉัน และมีความเชื่อเดียวกันว่า ครูเป็นอย่างไร เด็กก็จะเป็นอย่างนั้น มีเรื่องที่ฉันประทับใจมากในตัวเด็กคนหนึ่งซึ่งเป็นเด็ก ในห้องปลายฟ้าของฉันเอง เด็กคนนี้ครั้งแรกๆ ที่ฉันมาเจอ กับเขา เขาเป็นเด็กมีน�้ำใจช่วยเหลืองานต่างๆ ในห้อง ท�ำได้ดี ทุกงาน ยกเว้นจะท�ำงานเพียงงานเดียว เมือ่ ท�ำเสร็จแล้วจะไม่ทำ� งานอื่นๆ อีก แล้วก็มาบอกกับฉันว่า “หนูท�ำแล้ว ๑ งาน” เมื่อฉันเจอเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องสะกิดใจมากว่าจะท�ำอย่างไร ที่ จ ะเปลี่ ย นเด็ ก คนนี้ ไ ด้ ฉั น เองนั้ น เวลาที่ ท� ำ การงานใน ห้องเรียน ฉันก็จะท�ำทุกงาน ไม่ต้องดูว่าเป็นหน้าที่หรือเปล่า เสร็จงานหนึ่งก็ไปท�ำงานอื่นๆ ต่อ ฉันเลยคิดว่าจะต้องค่อยๆ ชวนเด็กคนนี้ท�ำงานไปกับฉัน ฉันบอกเด็กๆ ว่ามาท�ำงานกัน คนละไม้คนละมือ เจองานก็ทำ� ไป ฉันจะคอยชวนเขาอยูเ่ รือ่ ยๆ ทุกวันๆ เมือ่ เวลาผ่านไป เขาก็ชว่ ยเหลืองานฉันมากขึน้ แต่ยงั เป็นการบอกให้เขาท�ำ เขาก็ยอมท�ำให้ ค่อยๆ เขยิบจากท�ำ ทีละอย่าง เพิ่มขึ้นเป็น ๒ อย่างและ ๓ อย่าง และฉันก็ใช้วิธี ชมเขาทุกครั้งที่เขาท�ำงานเพิ่มขึ้น แสดงให้เขาเห็นว่าสิ่งที่เขา ท�ำอยู่ในสายตาครูตลอด เวลาผ่านไปประมาณไม่ถงึ เดือน วันหนึง่ เด็กคนนีม้ าแต่เช้า ท�ำงานในห้องเกือบจะหมดทุกอย่าง ตั้งแต่ยกเก้าอี้ กรอกน�้ำ
ครูอยากบอกว่า... ตลอดเวลาในการท�ำงานในหน้าที่ “ครู” ฉันเชือ่ เสมอว่า ครูเป็นแบบอย่างทีด่ แี ละเป็น แรงบันดาลใจให้เด็กๆ ได้ สองมือของครู นีแ้ หละทีจ่ ะสร้างโลกแห่งการเรียนรูใ้ ห้กบั เด็ก อย่างเต็มศักยภาพทีเ่ ขามี ใส่เหยือก จัดที่ล้างจาน ปูที่กันลื่น เช็ดช้อน เมื่อเขาท�ำเสร็จ และตัดสินใจขอไปเล่น ฉันเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงไม่ปล่อยให้พลาดโอกาสนี้ไป ฉันรีบเข้าไปคุยกับเด็กคนนี้ ในทันทีวา่ ครูชนื่ ใจและมีความสุขมากทีห่ นูมนี ำ�้ ใจช่วยเหลืองาน ได้มากมายขนาดนี้ (ขณะพูดฉันยิม้ และน�ำ้ ตาคลอ เสียงเครือๆ) เด็กคนนี้มองมาที่ฉันและยิ้มเช่นกัน ฉันเลยเข้าไปกอดและ พูดกับเขาว่า “ขอบใจนะจ๊ะ” และบอกว่า “วันนี้หนูเหมางาน หมดเลยนะเนีย่ ” เด็กไม่เข้าใจค�ำว่าเหมา เด็กถามฉัน ฉันจึงเล่า เป็นนิทานว่าเป็นเรือ่ งราวของเด็กผูห้ ญิงใจดีคนหนึง่ ช่วยงานครู เกือบหมดทุกงาน งานที่ท�ำเกือบหมดเลยเรียกว่า เหมา เด็กคนนั้นเดินไปยิ้มไป ตั้งแต่วันนั้นมาไม่ว่าฉันจะขออาสมัครช่วยงาน เด็กคนนี้ จะไม่ลงั เล จะเป็นคนแรกๆ ทีอ่ าสาท�ำงานและหางานให้ตนเอง เป็นงานที่เขาคิดท�ำขึ้นมาเอง เช่น ช่วยดูแลน้องจัดกระเป๋า และเขาก็สามารถท�ำได้อย่างตั้งใจ ค�ำพูดที่พูดกับน้องเป็น ค�ำแนะน�ำอย่างอ่อนโยน
21
KINDERGARTEN
แค่ครูรู้จังหวะและมีจินตนาการ ครูพัชรีย์ เพลินเพลงเพราะ (ครูพัช)
ถึงพัช เรือ่ งภูมใิ จมากทีส่ ดุ ของครูอนุบาลในเทอมทีผ่ า่ นมา แม้วา่ จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็เป็นเรื่องที่มีความหมายต่อฉันมาก นัน่ คือการพาเด็กท�ำของเล่นตามความสนใจเรือ่ งสัตว์ ตามโครงงาน สวนสัตว์แสนสุข วันหนึ่งในขณะที่เด็กๆ เล่นอยู่ ในสนาม มีเด็ก ๒-๓ คนพบใบไม้ทมี่ ลี กั ษณะเป็นใบยาวๆ เหมือนหูกระต่าย จากเดิมทีเ่ ป็นเด็กทีย่ งั ไม่คอ่ ยมีความมัน่ คงทางจิตใจเท่าไรนัก เขาคิดออกแบบใบไม้มาติดทีห่ วั เขา เหมือนเป็นการติดหูกระต่าย โดยเอาใบไม้มาติดเข้าทีผ่ มแกละทีม่ อี ยู่ ๒ ข้าง พยายามติดเอง อยู่นานแต่ติดเองไม่ได้ เลยขอให้ครูช่วยติดให้ ฉันเห็นถึง จินตนาการของพวกเขาและฉวยโอกาสเข้าไปร่วมในจินตนาการ ของเขาด้วย พอฉันช่วยติดหูใบไม้เสร็จ เขามีท่าที แววตา และสีหน้าที่เบิกบาน มีความสุขมาก กระโดดโลดเต้นเป็น กระต่ายรอบๆ ตัวครูด้วยความสนุกสนาน และต่อด้วยเล่น ตามจินตนาการของตนเองต่อไปอีก
ครูอยากบอกว่า... เป็ น การดี ก ว่ า ถ้ า ครู ฝ ึ ก ที่ จ ะเป็ น ผู ้ ร อ ไม่ต้องรีบ ให้เด็กลองคิดแก้ปัญหาด้วย ตนเองก่อน โดยครูยังไม่ต้องเข้าไปช่วย
22
อีกเรื่องหนึ่งคือการเล่นกับลม ที่เด็กๆ ช่วยกันคิดท�ำ ของเล่น คือกังหันลม จากเดิมท�ำด้วยกระดาษ A4 แบบบาง น�ำมาระบายสี แต่พบว่ามีปัญหาที่กระดาษนิ่มไป เด็กก็มา บอกกับฉัน ฉันรับฟังเสียงของเด็กๆ และช่วยแก้ปัญหาด้วย การเปลี่ยนกระดาษมาเป็นกระดาษ ๑๐๐ ปอนด์ ซึ่งเป็นงานที่ ยากขึน้ ส�ำหรับเด็กๆ ทีต่ อ้ งเตรียมแกนกังหัน ผูกไม้ ผูกยางเข้า กับไม้ ตัดกระดาษด้วยกรรไกรให้เป็นรูปกังหัน และเจาะกระดาษ ซึง่ เขาก็พยายามแล้วพยายามอีกอยูห่ ลายครัง้ ตรงนีฉ้ นั เข้ามา ช่วยเมื่อเห็นว่าเริ่มจะเกินความสามารถที่เด็กจะท�ำได้ ฉันกับ เด็กช่วยกันท�ำกังหันจนเสร็จ จนน�ำไปวิ่งเล่นกันได้ เด็กๆ รู้สึก ภูมิใจและดีใจเมื่อได้น�ำกังหันกลับบ้านไปด้วย ฉันว่าการทีฉ่ นั อยูก่ บั เด็กๆ สังเกต และรับฟังเขาอย่างใส่ใจ จริงๆ และเข้าไปร่วมเล่นในจินตนาการของพวกเขา ในโอกาส และจังหวะทีเ่ หมาะสม เมือ่ บวกกับความตัง้ ใจมุง่ มัน่ ของพวกเขา ก็ท�ำให้พวกเขาประสบความส�ำเร็จในการท�ำของเล่น เรื่องเล็กๆ เหล่านี้สร้างความรู้สึกที่ดีๆ ให้เกิดขึ้นกับ ทัง้ เด็กๆ และครู และถ้าจะให้ดกี ว่านี้ ครัง้ หน้าฉันว่าฉันจะไม่ลมื ให้เด็กลองคิดแก้ปญั หาด้วยตนเองก่อน ถ้าไม่ได้จริงๆ ฉันถึงจะ เข้าไปช่วย
เปิดใจเรียนรู้
ลองผิด ลองถูก จนท�ำได้ ครูจรรยา แก้วม่วง (พี่อี๊ด)
เรียนคุณจรรยา แก้วม่วง สิ่งที่ภูมิใจในตัวเอง ๑ ปีของการศึกษา เริ่มจากกิจกรรม การเล่านิทานตั้งโต๊ะ ที่คุณครูจะต้องมีการท�ำตัวตุ๊กตาคน เสือและสัตว์ต่างๆ เป็นตัวเล็กๆ ขนาดจิ๋วๆ มาใช้ประกอบ การเล่านิทาน เราเองถึงแม้จะมีพื้นฐานการถักนิตติ้งมาบ้าง แต่ก็เป็นแบบง่ายๆ ที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม และก็ท�ำเป็นเพียง ไม่กี่อย่าง เมื่อต้องการใช้งาน ประกอบกับอยากช่วยท�ำให้ครู เอาไปใช้เล่านิทานได้สนุก และยังมีเด็กๆ มาถามอีกว่า พี่อี๊ด ท�ำตัวสัตว์อะไรได้บา้ ง อยากให้ท�ำ เราก็บอกเด็กไปว่า เดีย๋ วจะ ลองท�ำดูนะ แถมด้วยเราก็มีใจรักชอบอยู่แล้ว เลยตัดสินใจ ทดลองวาดแพทเทิร์นเอง ลงมือท�ำดู ลองถักตัวสัตว์ ถักผิด ถักถูกอยู่หลายเดือน บางครั้งไหมเป็นรูด�ำปิ๊ดปี๋ ปรับแก้กันไป จนในที่สุดเราก็ท�ำได้ เราสามารถถักรูปสัตว์แปลกๆ อย่างเช่น กิง้ กือ ม้า หนูจดี๊ แมว กระต่าย หัวแครอท และอืน่ ๆ ทีท่ กุ คน เห็นต่างพากันชอบ บอกว่าน่ารักเหมือนจริงมาก ถามเราว่า ท�ำได้อย่างไร เราเกิดความภาคภูมิใจและอยากจะไปสอนเพือ่ นๆ ครูทำ� แต่เขาก็บอกว่ามันท�ำยาก แต่ก็มีคนหลายคนที่ชอบ แต่บอก ว่าไม่มีเวลาท�ำ และท�ำไม่เป็น เราก็เลยใช้วิธีชวนกันมาถัก ในช่วงเวลาชมรมของครู นั่งท�ำไปพร้อมๆ กัน ท�ำให้ดู ให้ท�ำ ตามบ้าง ในทีส่ ดุ ก็สำ� เร็จ มีครูหลายคนถักได้กย็ งิ่ ท�ำให้เราดีใจ และภูมิใจมากขึ้น
ครูอยากบอกว่า... ถ้าเราเปิดใจทีจ่ ะเรียนรู้ กล้าลงมือท�ำไปเลย ลองผิด ลองถูก มัน่ ใจในตัวเอง บวกกับ มีจนิ ตนาการ และความตัง้ ใจอีกนิด ทุกคน ก็จะสามารถท�ำในสิง่ ทีค่ ดิ ว่ายากหรือท�ำไม่ ได้ ได้ในทีส่ ดุ เราอยากบอกให้เพื่อนๆ ฟังว่า มันไม่ยากหรอกถ้าจะท�ำ อะไรสักอย่าง เราต้องมั่นใจในตัวเอง ต้องเปิดใจที่จะเรียนรู้ ถ้าทุกคนเปิดใจเรียนรู้ก็จะสามารถท�ำได้ บวกกับมีจินตนาการ และความตั้งใจอีกนิด เรายังคิดต่อไปว่าความรู้พวกนี้จะไม่มี ประโยชน์ถ้าคงอยู่กับเราตลอดไปโดยเก็บไว้คนเดียว ถ้าเรา ถ่ายทอดกับรุน่ ต่อไป ก็จะมีคนเรียนรูต้ อ่ ไปเรือ่ ยๆ มีคนสานต่อ ไปอีกนาน
23
KINDERGARTEN
สติต้องอยู่กับตัว ครูฐิศิรักษ์ รุจิเรขเสรีกุล (ครูโบว์)
ถึงโบว์ วันนี้ฉันได้ฟังนิทานเรื่องจุด ก่อนหน้านี้ฉันเคยฟังมา นานแล้ว วันนี้เป็นวันที่ดีที่ฉันได้กลับมาฟังอีกครั้ง เหมือนกับ เป็นการทบทวน ย�้ำเตือน เรียกสติให้รสู้ กึ ตัวกับการอยูก่ บั เด็กๆ เมื่อย้อนกลับไป ฉันเผลอท� ำอะไรลงไป เพียงแค่ เหตุการณ์เล็กๆ เมื่อมีเด็กคนหนึ่งท�ำน�้ำในแจกันดอกไม้หก ฉันไม่รู้ตัวเลยว่าฉันแสดงท่าทางไม่พอใจ หงุดหงิด ถึงแม้ ค�ำพูดจะเป็นค�ำพูดที่ว่า ไม่เป็นไรก็ตาม แต่เมื่อฉันเห็นสีหน้า และท่าทางที่เด็กคนนั้นแสดงออกมา ฉันรู้สึกว่า นี่ฉันท� ำ อะไรลงไป เด็กคนนั้นตกใจและกลัว รีบหยิบผ้ามาเช็ดน�้ำ ที่ ห ก มั น ท� ำ ให้ ฉั น เห็ น ตั ว เองอี ก ด้ า นที่ ไ ม่ มี ส ติ ไม่ ร ะวั ง
24
ครูอยากบอกว่า... ครู ต ้ อ งเห็ น ตั ว เอง มี ส ติ ระวั ง ท่ า ที ละเอี ย ดอ่ อ นต่ อ ค� ำ พู ด ไม่ ใ ห้ อ ารมณ์ ที่อยู่ภายในใจมาท�ำร้ายตัวเองและเด็กๆ มันเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนมาก เพราะการที่น�้ำในแจกันหก ที่จริงมันเป็นเรื่องธรรมดา ฉันเอควรที่จะทบทวน ระวังท่าที ค�ำพูดไม่ให้อารมณ์ที่อยู่ภายในใจมาท�ำร้ายตัวฉันและเด็กๆ รวมถึงทุกๆ คนที่อยู่รอบตัวฉัน ฉั น ชอบนิ ท านเรื่ อ งนี้ จั ง อยากให้ ไ ด้ ห ยิ บ มั น มา อ่านบ่อยๆ
พลังแห่งความเชื่อใจ ก�ำลังใจ มีค่าส�ำหรับเด็กๆ เสมอ ครูวุฒิภา สว่างสุข (ครูบัว)
จดหมายถึงบัว หลายครั้งและดูเหมือนบ่อยมากๆ ที่เด็กๆ มักจะเรียก ให้เราดูในสิ่งที่เขาท�ำ เรื่องบางเรื่องเราคิดในใจว่าจะเรียกให้ดู ท�ำไมหนอ ครูเห็นแบบนีอ้ ยูบ่ อ่ ยๆ เช่น เวลาทีเ่ ด็กปีนโหนเชือก ในชั่วโมงมวยไทย เด็กโหนบาร์ตอนเล่นอิสระ หรือแม้กระทั่ง ก่อกองทรายได้สงู เพียงไม่กเี่ ซนติเมตร ทุกครัง้ ทีเ่ ด็กๆ เรียกให้ดู “ครูบัว ดูหนูสิ หนูปีนได้แล้ว” “ครูบัวดูหนูสิ หนูท�ำได้” ทุกครัง้ ทีไ่ ด้ยนิ เสียงเรียก แล้วเราหันไปมอง เด็กจะส่งยิม้ ให้โดยมีนยั ยะอย่างภาคภูมใิ จ เราก็จะส่งยิม้ กลับไปให้ แล้วพูดว่า “โอ้โห เก่งมากเลย ท�ำได้ยังไงเนี่ย” ทุกครั้งที่เราพูดแบบนี้ รอยยิ้มของเด็กจะกว้างขึ้นทันที แล้วท�ำซ�้ำๆ เพื่อให้เราเห็น กลับมานึกดู จากค�ำถามที่เราสงสัยก็เริ่มได้ค�ำตอบ เล็กๆ อย่างน้อยเราสนใจเขาอยู่นะ เรายังมีเด็กอยู่ในสายตา และเด็กๆ ก็ยังมีครูบัวอยู่ในความนึกคิดของเขาเสมอ
มีเด็กที่ไม่เคยกล้าโหนบาร์ทงั้ ทีเ่ ป็นพี่โต เราบอกเขาว่า ไหนหนูลองท�ำดูสิ ครูเชื่อว่าหนูท�ำได้นะ เขาเริ่มลองโหนและ ตกตัง้ แต่จะเอือ้ มขึน้ ขัน้ ทีส่ อง เราบอกเขาว่า “โห นีเ่ ป็นครัง้ แรก ยังพลังเยอะขนาดนี้ แล้วครั้งต่อไปจะเป็นอย่างไงนะเนี่ย ครู ยังปีนได้ขนั้ เดียวเลยนะตอนนี”้ เด็กคนนัน้ ก็หนั กลับไปโหนบาร์ และพยายามมากขึ้นๆ พลังแห่งความเชื่อใจและก�ำลังใจเป็นสิ่งมีค่าส�ำหรับ พวกเขาจริงๆ ฟังเสียงหัวใจของพวกเขาต่อไปนะ
ครูอยากบอกว่า... เด็กๆ มีครูอยูใ่ นสายตาและในความนึกคิด ของเขาเสมอ ก�ำลังใจเป็นสิ่งมีค่าส�ำหรับ พวกเขาจริงๆ
25
KINDERGARTEN
แล้ววันหนึ่งเขาจะท�ำได้ ครูศิริเพ็ญ เหลืองยิ่งยง (ครูเพ็ญ)
ถึงเพ็ญ เพื่อนรัก วันนี้ได้ฟังนิทานเรื่องจุดอีกครั้งหนึ่งจากครูโม ผู้น�ำ ประชุม ท�ำให้เรานึกย้อนถึงเหตุการณ์ที่เราได้มีโอกาสดีๆ ในการสร้างคุณค่าในตัวเด็กคนหนึ่งที่ดูเหมือนไม่เห็นคุณค่า ของตนเอง เพราะเด็กคนนั้นเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง มี ลั ก ษณะแข้ ง ขาลี บ เดิ น เหิ น ต้ อ งเกาะ ต้ อ งให้ ค รู จู ง ท�ำอะไรได้ช้า เพื่อนๆ ต้องเสียเวลารอเขา ไปวิ่งเล่นกับเพื่อน ก็ไม่ได้ ท�ำให้เริม่ ถูกเพือ่ นบางคน แสดงออกว่าไม่คอ่ ยชอบเขา น้องๆ ก็รู้สึกว่าพี่คนนี้ ไม่เก่ง เราเองรู้สึกสงสารเด็กคนนี้ และก็ไม่ชอบที่เด็กๆ บางคนในห้องกระท�ำกับเขา ไม่อยากให้ เกิดเหตุการณ์แบบนี้ เราอยากให้เขาลองพยายามท�ำอะไร ให้ได้ด้วยตนเอง เราจึงเข้าไปคุยกับเขา ถามว่าเขาต้องการ จะท�ำอะไรให้ได้เหมือนเพื่อนๆ หรือคนอื่นๆ หรือเปล่า เขา บอกว่าเขาอยากท� ำได้ เราจึงบอกเขาไปว่า “ครูก็เชื่อว่า หนูท�ำได้เหมือนคนอื่น แต่หนูต้องมีความพยายามให้มากกว่า คนอื่นๆ หลายเท่านะ” เราเริ่มเห็นถึงฉันทะที่เกิดจากตัวเขาแล้ว เหลือเพียง แค่ โ อกาสและก� ำ ลั ง ใจที่ เ ราต้ อ งหมั่ น สร้ า งให้ เ ขามากขึ้ น เราจึงเปิดพืน้ ที่ ให้โอกาสให้เขาท�ำอะไรๆ ได้ดว้ ยตนเองมากขึน้ เช่น วันหนึ่งเราพาเด็กๆ ไปเดินเล่นรอบสวนป่า ปกติเขา
26
ครูอยากบอกว่า... การให้ โ อกาส ให้ พื้ น ที่ แ ละค� ำ พู ด ให้ ก�ำลังใจของครู สามารถช่วยให้เด็กเห็น คุณค่าของตนเอง ก้าวข้ามปัญหาและ อุปสรรคได้ จะต้องเดินเกาะ ให้ครูจูงมือไป เราลองให้เขาเดินไปด้วย ตัวเอง เขาก็พยายามเดินไปช้าๆ มีล้มบ้าง แต่เขาก็ ไป ถึ ง จนได้ และหลั ง จากนั้ น เราเห็ น ผลส� ำ เร็ จว่ า เด็ ก คนนั้ น กล้าลอง กล้าลุย กล้าท�ำในสิ่งที่ไม่เคยท�ำในห้องเรียนมาก่อน เช่ น เดิ ม เวลาเราให้ เ ขาช่ ว ยหยิ บ สมุ ด ไปเรี ย งให้ เ พื่ อ น ช่วยงานบริการของห้อง เขาจะปฏิเสธตลอด แต่พอระยะหลัง เขายอมท�ำโดยทีเ่ ราคอยพูดให้กำ� ลังใจ และช่วยเหลืออยูข่ า้ งๆ ห่างๆ เราชื่นใจมาก แล้ววันหนึ่งเขาจะท�ำได้ด้วยความมั่นใจ ที่เต็มเปี่ยมของตนเอง
PRIMARY
ภาพสีน�้ำ โดย นายธนพล เมฆอรียะวัฒน์ (ท็อป) ศิษย์เก่ารุ่งอรุณ RA12 27
PRIMARY
การเรียนรู้งอกงาม เพราะความเมตตาของครู ครูทิวา เสมวิมล (ครูวา)
ถึงวา ในปีการศึกษาที่ผ่านมาเรารู้สึกประทับใจกับการสอน ภาษาไทย เรื่องแรกคือการสอนเขียนอิสระ ตอนแรกๆ เด็กๆ จะไม่กล้าเขียนเลย ถามไปถามมาเราก็พบว่าเด็กเขากลัวเขียนผิด เขาเลยไม่กล้าเขียน บางคนก็จะถามและให้เราเขียนให้ดู สรุปก็คือความกลัวนั่นเองที่เป็นอุปสรรค เราเลยใช้ความเมตตาแทนการสอน คือการเปิดประตู ความกลัวให้เด็กๆ ออกมา โดยใช้วิธีผ่อนคลายตัวเราเอง ไม่ แ สดงความอยากให้ เ ขาเขี ย นออกมา พู ด ให้ ก� ำ ลั ง ใจ ไม่คาดหวัง ชืน่ ชมความกล้าของแต่ละคน เราท�ำแบบนีท้ กุ ครัง้ ที่มีการสอนเขียนอิสระ เราไม่เคยว่าหรือต�ำหนิเด็กๆ เลยเวลา เขาเขียนผิด เธอเชือ่ ไหม เวลาผ่านไป ๑ เดือน เขากล้าขึน้ มาก แทบจะไม่มีเด็กๆ ถามเราเลย พอถึงเวลาเขียนทุกคนก้ม หน้าก้มตาเขียน จนผ่านพ้นไป ๑ ปีการศึกษา เราเห็นเด็กๆ
28
ครูอยากบอกว่า... ครูต้องระวังอย่าให้ความหวังดีของครู กลายเป็ น ความคาดหวั ง จนกดดั น เด็ ก ครูควรสอนด้วยความรัก ความเมตตา ยอมรับและเข้าใจเด็กอย่างทีเ่ ขาเป็น พัฒนาการเขียนไปมาก มันมากกว่าความกล้าด้วยซ�้ำ แต่เขา เขียนเก่งขึ้น บางคนเก่งจนไม่อยากเชื่อ อีกเรื่องหนึ่งคือการสอนเขียนบันทึก เราให้เด็กเขียน บันทึกเป็นข้อๆ วันละ ๕ ข้อ พ่อแม่กง็ งว่าท�ำไมให้ลกู เขาเขียน แบบนี้ หลังจากเขียนได้ ๑ สัปดาห์ เราให้เขาเอาตัวเลขออก ตัดค�ำว่า ฉัน ออก แล้วใช้เว้นวรรคแทน น�ำข้อความมาต่อกัน เออ...เด็กๆ เขียนบันทึกและเว้นวรรคได้เกือบทุกคน เราเลยอยากบอกกั บ เธอว่ า ถ้ า เธออยู ่ กั บ เด็ ก เล็ ก ๆ เธออย่าไปให้ค่ากับการอธิบายหลักการมากนักนะ แค่เธอให้ ความเมตตาและเป็นมิตรกับเขา เด็กๆ เหล่านั้นเขาก็จะค่อยๆ ค้นพบตนเองและเรียนรู้ได้ดีขึ้น อย่าลืมนะ เธออย่าเอา ความคาดหวังของตัวเองไปให้เด็ก แต่เธอจงเอาความรัก ความเมตตา และการเป็นมิตรที่ดีให้เขาแทน แล้วการเรียนรู้ ของเด็กเขาก็จะงอกงามเอง
ความภูมิใจของครู
คือเด็กเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ครูอุบล เชื้อชมกุล (ครูเบนซ์) หวัดดีเบนซ์ เธอรู้ใช่ไหมว่าฉันเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนรุ่งอรุณ ที่ผ่านมา ฉั น สอนนั ก เรี ย นชั้ น ป.๓ แต่ ว ่ า ปี นี้ ฉั น ได้ มี โ อกาสสอน นักเรียนชั้น ป.๒ ในความคิดของฉัน วันแรกที่สอนฉันคิดว่า ท�ำไมเด็กชั้น ป.๒ ถึงเด็กกว่าชั้น ป.๓ เยอะจัง ท�ำอะไรเอง ไม่เป็นเลย ในวันแรกต้องสอนทุกอย่าง แม้กระทั่งการขีด เส้นกั้นหน้า เขียนวันที่ การเว้นวรรค ช่างเป็นปีที่โหดร้ายเสีย นี่กระไร แต่พวกเรา (หมายถึงครูในทีม ป.๒) ทั้งหมดก็ตั้งเป้า ไว้ตงั้ แต่เทอม ๑ ว่าเราจะฝึกเด็กของเราให้เรียนรูไ้ ด้ดว้ ยตนเอง ได้เลือกเรียนในสิ่งที่เขาสนใจ โดยครูมีโจทย์ ให้ แล้วให้เด็ก ช่วยกันออกแบบวิธกี ารเรียนรู้ หรือหาค�ำตอบในเรือ่ งทีเ่ ขาสนใจ ด้วยตนเอง ครูมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและให้ค�ำชี้แนะเท่านั้น (อาจจะมีแอบสอนหรือบอกบ้างในบ้างครั้ง แหะๆ) เธอเชื่อไหมว่าจากเด็ก ป.๒ เมื่อตอนต้นเทอมที่ท�ำไม่ได้ แม้กระทั่งขีดเส้นกั้นหน้า เขียนวันที่ มาเทอมสามเขามี พัฒนาการในการท�ำงานอย่างมาก อย่างเช่นในงานหยดน�้ำ ที่ผ่านมา (หยดน�้ำคืองานที่เด็กๆ จะน�ำเสนอสิ่งที่ตนเองได้ เรียนรูม้ าตลอดทัง้ เทอมให้ผปู้ กครองชม) เด็กๆ ได้เลือกหน้าที่ ด้ ว ยตนเองว่ า อยากจะน� ำ เสนอในรู ป แบบใด ซึ่ ง ก็ มี ทั้ ง นิทรรศการ เกม ละคร การท�ำอาหาร ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็น กิจกรรมที่เขาเคยท�ำมาแล้ว และคราวนี้เขาอยากจะท�ำด้วย
ตนเอง (ด้วยตนเองจริงๆ นะ แบบว่าไม่ต้องมีครูมาช่วยเลย) เราแค่คุย Concept กับเขาว่าสิ่งที่เราต้องการจะน� ำเสนอ คืออะไร เนื้อหาประมาณไหน จากนั้นแต่ละกลุ่มก็แยกย้ายไป ช่วยกันคิด เธอเชื่อไหมว่าเขาคิดกันตั้งแต่กระบวนการแรก จนถึงกระบวนการสุดท้าย เช่น กลุ่มเกม ก็คิดวิธีการเล่น อุ ป กรณ์ ที่ ต ้ อ งใช้ ไปจนถึ ง ของรางวั ล ที่ จ ะให้ ผู ้ ป กครอง ที่เล่นเกมชนะ บางกลุ่มเก๋มาก เขาคิดว่าจะให้กล้วยเป็น ของรางวัลแก่ผู้ปกครองที่เล่นเกมชนะ เมื่อคิดรูปแบบ วิธีการ เสร็จแล้ว ก็ได้มีโอกาสน�ำเสนอให้ครูชม และน�ำข้อเสนอแนะ ของครูไปปรับ ผลออกมาในวันงานอาจมีบางจุดที่ดูแล้วยังผิดพลาด ไม่สมบูรณ์ แต่สิ่งที่ครูภาคภูมิใจคือเด็กของเราเขาท�ำงาน กันเองจริ ง ๆ นะ (มี บ างกลุ ่ ม บางคน ก็ อาจต้ อ งกระตุ ้ น นิดหน่อย) ชื่นใจจริงๆ ที่เห็นว่าเขามีพัฒนาการ สมกับจะเป็น พี่ ป.๓ แล้ว
ครูอยากบอกว่า... เมื่ อ ครู เ ปลี่ ย นความคาดหวั ง มาเป็ น ความเชื่ อ มั่ น ในศั ก ยภาพของเด็ ก จึงท�ำให้เด็กเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
29
PRIMARY
นักเรียนคือผู้สะท้อนผลการเรียนรู้ ไม่ใช่แผนการสอนของครู ครูกันยารัตน์ แก้วลิ้นไม้ (ครูตาล)
ถึงตาล ตลอดทัง้ ภาคเรียนของเทอม ๓ ในปีทผี่ า่ นมา ป.๑ เขาเรียน เรือ่ งสัตว์กนั โดยเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ สังเกต สืบค้น และบันทึก จากนัน้ ก็คอ่ ยมาถ่ายทอดสิง่ ทีไ่ ด้เรียนรูร้ ว่ มกัน ทัง้ จากสิง่ ทีม่ องออกด้วยตาและมองไม่เห็นด้วยตา จากการไป สังเกตสัตว์ในโรงเรียนกันก่อนออกภาคสนามใช่ไหม จากนั้น ก็ไปสวนสัตว์ต่อ ก็ใช้วิธีเดิมนั่นแหละ แต่รอบนี้เราอยากให้ใจ เขามองเห็นคุณธรรมบางอย่างจากการทีเ่ ขาไป แต่ตอ้ งบอกเลย ว่าฉันค่อนข้างคาดหวังและวางแผนไปมากๆ พอเอาเข้าจริง ฉันกลับท�ำตามที่ตัวเองต้องการไม่ได้สักอย่าง พอวันสรุป รูอ้ ะไรไหม เด็กเขาได้นะ ได้เรียนรูเ้ ยอะแยะเลย มันท�ำให้ฉนั ซึง้ จนพูดไม่ออกอยูห่ น้าห้องเรียน มีคนอยากจะพูด พูดหลายๆ ครั้ง จนฉันต้องเพิ่มคาบเรียน และให้มีเวลาพอ
ครูอยากบอกว่า... เมื่อครูเปลี่ยนวิธีคิดจากการอยากให้เด็ก เป็นในสิง่ ทีต่ วั เราอยากให้เป็น มาเป็นมอง ในสิง่ ทีเ่ ด็กเป็นจริงๆ ผลทีเ่ รามองเห็นใน ตัวเด็ก อาจจะมากกว่าสิง่ ทีเ่ ราอยากให้เป็น
30
สิง่ ทีเ่ ขาพูดมันดีมากเลยนะ หัวข้อทีฉ่ นั ให้เด็กบอกคือ สิง่ ทีฉ่ นั ได้เรียนรู้จากการไปสวนสัตว์ เช่น “ผมได้เรียนรู้ว่าสิงโตมันต้องอดทนมากๆ ที่ต้องอยู่ ใน ที่แคบๆ คือกรง เพราะปกติมันต้องอยู่ในที่โล่ง” จากเด็กชาย ไต้ฝุ่นผู้ไม่เคยอยู่นิ่ง “เพนกวินต้องปรับตัวมากๆ เลยล่ะค่ะ เพราะประเทศไทย ร้อน เขาน่าจะอยู่ในที่หนาวๆ แต่เขาก็ต้องปรับตัว ไม่งั้นเขา ก็ตาย” จาก ด.ญ.โอปอลผู้ตั้งใจเรียนเสมอ “ผมได้เรียนรู้ความสามัคคีของกวางครับ เพราะถ้าเขา ไม่อยู่เป็นฝูง เขาก็ต้องถูกล่า” จากเด็กชายขนุนหลังห้อง “หนู ได้เรียนรู้การพรางตัวของงู เพราะถ้าไม่มองดีๆ แทบจะหาเขาไม่เจอเลย” จาก ด.ช.ปั้น “หนู ได้เรียนรู้ถึงความอดทนกับความร้อนและเหนื่อย จากการเดินเยอะๆ ในสวนสัตว์ แต่กส็ นุกดีคะ่ ” จาก ด.ญ.ปีใหม่ และอืน่ ๆ อีกมากมาย วันที่ไปภาคสนาม ฉันคิดว่าห้องฉัน แย่ทสี่ ดุ แต่สงิ่ ทีต่ ามองเห็นก็ไม่ใช่ผลส�ำเร็จเสมอไป สิง่ ทีเ่ ขาได้ และพูดออกมาต่างหากคือผลส�ำเร็จจริงๆ ขอบใจที่ท�ำให้ครูได้เรียนรู้นะคะ
นอกห้องเรียนคือเวลาท�ำงานหนักของครู ในห้องเรียนคือเวลาเรียนรู้ของนักเรียน ครูณัฎฐสุดา ดอนเส (ครูโน้ต)
ถึงครูโน้ตที่รัก การสอนของฉันสดๆ ในปีที่ผ่านมา ฉันรู้สึกทุกข์ใจมาก ในการเขียนแผน ฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์รชั ดา และเตรียม สื่อที่มากมาย แต่ฉันก็ผ่านกระบวนการเหล่านั้นมาได้อย่าง ทุกลักทุเล ถ้าเป็นนักกีฬาว่ายน�้ำก็คงเกือบจมน�้ำหลายครั้ง แต่การเตรียมการที่หนักก่อนเริ่มสอนนั้น ฉันเพิ่งรู้สึกว่ามี การพัฒนาภายในและออกดอกออกผลมาสู่ผู้เรียน จริงสิ ฉันสอนวิทยาศาสตร์ ป.๔ นะ มีนักเรียน ๗๕ คน ๓ ห้องเรียน การเข้าสอนโดยมีสื่อเป็นตะกร้าเข้าไปทุกครั้ง หรื อ มี ภาพติ ด กระดาน มี กิ จ กรรมให้ นั ก เรี ย นได้ ท ดลอง ตรวจสอบอยู่เสมอ ท�ำให้ฉันได้ยินเสียงนักเรียนชายคนหนึ่ง (เชวู) สะท้อนความคิดออกมาว่า “ครูครับ ปีนี้ผมว่าผมได้ ทดลองวิทย์มากมายเหลือเกิน แทบไม่มีคาบใดเลยที่ผมไม่ได้ ท�ำการทดลอง” แฟนคลับเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายก็ไม่แพ้กัน เขาเหล่านั้นตั้งตารอคาบวิทย์ และมักมีค�ำถามว่า “วันนี้ผม/ หนูจะได้ท�ำกิจกรรมอะไรคะ” หรือแม้แต่ผู้ปกครองยังสะท้อน ท้ายภาคเรียนว่า “ลูกชายผมบอกผมว่าเขาชอบวิทย์ทคี่ รูสอนมาก ครูสอนได้สนุกที่สุด”
ครูอยากบอกว่า... นอกห้องเรียนเป็นเวลาท�ำงานหนักของครู ทีต่ อ้ งอ่าน คิด เขียนแผน เตรียมสือ่ ทดลอง ก่อนสอน ทัง้ ฟังค�ำเสนอแนะจากผูร้ ู้ เพือ่ ให้ครูเท่าทันสถานการณ์ความรูท้ ปี่ รากฏ ตรงหน้า แล้วให้ในห้องเรียนเป็นเวลาแห่ง การเรียนรูข้ องนักเรียนอย่างแท้จริง จากการอภิปรายแลกเปลี่ยนแนวคิดของวิทย์ ขอบอกว่า ป.๔ รุ่นนี้ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ ตอบได้ตามที่คาดเดาไว้ หรือ ไม่ก็เกิน Concept ที่ตั้งไว้ด้วย นี่ ถึ ง เรี ย กว่ า “นอกห้ อ งเรี ย นเป็ น เวลาหนั ก ของครู ในห้องเรียนเป็นเวลาของการเรียนรู้ของนักเรียน”
31
PRIMARY
เมื่อครูสนุกที่จะเล่า นักเรียนก็สนุกที่จะเขียน ครูณัฏฐนันท์ จิตต์เพ็ชร (ครูแอน) ถึงแอนเพื่อนรัก ตอนนี้เราได้สอนชั้น ป.๑ ซึ่งเด็กๆ น่ารักกันทุกคน บางคนอ่านหนังสือกับเขียนหนังสือยังไม่ได้ แต่เราก็ใช้วิธี การสอนแบบแทรกรูปแบบเกมต่างๆ เข้าไปตลอดภาคเรียน เราได้ลองฝึกให้เด็กของเราเขียนอิสระ โดยทีแ่ ต่ละครัง้ เราจะใช้ วิธียกตัวอย่างต่างๆ นานา ทั้งเรื่องจริงและเรื่องที่แต่งขึ้นบ้าง แล้วให้เด็กลงมือเขียนตามหัวข้อทีเ่ รากับเพือ่ นในทีมคิดขึน้ มา ภาพแรกที่เราเห็นตอนเริ่มต้นเทอมแรกให้เด็กลองเขียน มีเด็กหลายคนยังงง ยังไม่เข้าใจ เราก็ตอ้ งอธิบายซ�้ำ ต่อจากนัน้ ทุกๆ ครั้งเราก็จะคิดหัวข้อที่ตื่นเต้นบ้าง เศร้าบ้าง สนุกบ้าง เด็กๆ เริ่มเขียนเก่งมากขึ้น ที่ประทับใจสุดๆ ก็คือหัวข้อ ฉันเป็นคนอย่างไร ไม่น่าเชื่อเลยแอนเอ๊ย? เด็กของเรา สามารถเขียนสะท้อนตนเองได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว เทียบนะ ห้องเรามี ๒๕ คน สะท้อนตัวเองได้อย่างชัดเจน ๒๐ กว่าคน เลยล่ะ เราเลยรู้สึกว่าเราตื่นเต้นมีความสุขจากการได้สอนเด็ก จากทีเ่ ขียนอ่านไม่คอ่ ยเก่ง ท�ำให้สามารถเขียนอ่านได้คล่องขึน้ และที่ส�ำคัญสามารถมองสะท้อนตนเอง บอกความรู้สึกของ ตนเองได้อีกด้วย
32
ครูอยากบอกว่า... บางครั้ ง ครู เ ผลอกดดั น และคาดหวั ง มากเกินไป แต่เมื่อครูเปลี่ยนวิธีการคิด และวิธีการสอนตามสถานการณ์ปัจจุบัน ให้ นั ก เรี ย นสนุ ก ในการอ่ า นและเขี ย น ครูกม็ คี วามสุขในการสอน
ความเข้าใจมาจากการลงมือท�ำ ไม่ได้มาจากที่ครูสอน ครูพัชรี อนันต์ทรัพย์สุข (ครูอ้อ) ถึงอ้อ วันนีฉ้ นั เขียนจดหมายถึงเธออีกฉบับหนึง่ เพราะจริงๆ ฉัน มีเรื่องเล่าประสบการณ์จากการสอนมากมาย ความประทับใจ หลังจากสอนแล้วเด็กๆ เข้าถึงคอนเซปต์ จนท�ำให้ฉันก็ภูมิใจ ไม่น้อย แต่อย่างว่าหลายเรื่องก็ไม่ประสบความส�ำเร็จ แต่เธอ เชื่อไหม อย่างน้อยชั่วโมงเหล่านั้นมันท�ำให้ฉันสอนดีขึ้น ในปีถัดไป เธอว่าเธอจะท�ำให้เด็กเข้าใจโจทย์หมูๆ โจทย์นี้ได้อย่างไร ๑ ตารางเมตร เท่ากับกี่ตารางเซนติเมตร ถ้าเป็นเธอจะสอน อย่างไร ฉันว่ามันง่ายนิดเดียว ก็วาดรูปสี่เหลี่ยมแล้วก็เขียน ให้เห็นด้านกว้างยาว ด้านละ ๑ เมตร แล้วก็ถามว่า ๑ เมตร เท่ากับกี่เซนติเมตร ก็เขียน ๑๐๐ ซม.ลงไปตรงด้านกว้าง และยาวนั่นแหละ (เอ่อ จริงๆ ก็ด้านเท่ากันอ่ะนะ) เด็กๆ เรียน มาแล้วว่าถ้าจะหาพื้นที่ต้องเอาด้านกว้าง x ยาว ก็ได้ค�ำตอบ ง่าย จบ แต่เอ่อ... ไม่จบ เด็กที่เข้าใจมีไม่ถึง ๑ ใน ๔ ของห้อง แต่เด็กเขาก็กลัวครูเหนื่อยมั้ง เขาก็ดูเหมือนเข้าใจ แต่ฉันพบ ว่าเด็กไม่เข้าใจจริงๆ ในปี นี้ ฉั น จึ ง ... เอ้ า ! เด็ ก ๆ จั บ กลุ ่ ม ครู มี กระดาษ หนังสือพิมพ์ ๓ แผ่น สก็อตเทป และไม้เมตร ๑ อัน ช่วยกัน สร้าง ๑ ตารางเมตรขึ้นมา เด็กๆ ชอบมาก กระตือรือร้นจริงๆ จากนั้นให้ตีตาราง ๑ เซนติเมตรให้เต็มแผ่น พร้อมกับถามว่า
ครูอยากบอกว่า... ครั้ ง นี้ เ ป็ น การเรี ย นรู ้ ที่ มี ค ่ า ทั้ ง ของครู และนักเรียน ครูได้รู้ว่าการให้นักเรียน ได้ลงมือปฏิบัตินั้นได้อะไรมากกว่าค�ำตอบ เพราะเป้ า หมายของการสอนไม่ ไ ด้ อยู่ที่ค�ำตอบแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ อยู่ที่นักเรียนได้เครื่องมือ วิธีการ และ มีประสบการณ์ในการแก้ปญ ั หา ๑ ตารางเมตรมีกตี่ ารางเซนติเมตร มีบางคนตอบได้แบบมัน่ ใจ ๑,๐๐๐ ตารางซม. บางคนก็ตอบถูกนะ แต่จะกี่คนในหนึ่งห้อง จากนั้นบางส่วนก็ตีเส้นไปสักพักก็เริ่มบอกว่า ไม่น่าใช่ สักพัก เขาก็ตอบถูก จากเวลาและข้อจ�ำกัดท�ำให้ตอ้ งหยุด เด็กบางคน ก็ยังตอบไม่ถูกอยู่ แต่ฉันก็เห็นว่ามีคนที่เข้าใจมากขึ้น และ อย่างน้อยเขารูว้ ธิ กี ารว่าจะหาค�ำตอบได้อย่างไร และความรูส้ กึ เชิงจ�ำนวนว่า ๑ ตารางเมตร ไม่ใช่ ๑๐๐ หรือ ๑๐๐๐ ตาราง เซนติเมตรแน่นอน
33
PRIMARY
เมื่อครูมองข้ามความซนของเด็ก จึงเห็นความสร้างสรรค์ของเด็กซนๆ ครูวิภารัตน์ วงศ์วรรณะดิลก (ครูต่าย) ถึงต่าย ถ้าจะเล่าถึงประสบการณ์การเรียนรูข้ องเด็กทีเ่ ราประทับใจ พอนึกถึงหน้าเด็กของเรา ต่ายก็ฮาแล้วใช่ไหม วีรกรรมของเขา เยอะมาก ถ้าให้เขียนประสบการณ์ปัญหานอกห้องเรียนของ พวกเขาอาจจะง่ายกว่า เพราะมีให้เรียนรู้วันละหลายเรื่อง และด้วยความที่พวกเขาซน ดูจะหาเรื่องเล่นได้ตลอดเวลา นี่แหละ มันเลยท�ำให้เราประมาทพวกเขาเหมือนกัน ท้ายเทอม ๒ เราให้เด็กคิดโครงการจิตอาสา และมีเด็ก กลุ่มหนึ่งได้แก่ พัต เซน กู๊ด ปั้น ฟลุ้ค ภูมิ แค่ชื่อต่ายก็คิด แล้วใช่ไหมว่าเรายอมให้พวกเขามารวมอยู่ด้วยกันได้อย่างไร ตอนที่พวกเขามาขออยู่ด้วยกัน เราก็คิดหนักเหมือนกัน แต่ก็
ครูอยากบอกว่า... เด็ ก เป็ น อย่ า งไรไม่ ส� ำ คั ญ เท่ า กั บ โจทย์ ที่ครูน�ำมาให้เรียนรู้นั้นสามารถกระตุ้น ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของเด็กๆ ทุกคน ได้หรือไม่ และหากครูมองที่การเรียนรู้ ของเด็ ก จริ ง ๆ ไม่ ไ ด้ ม องเพี ย งแค่ ใ ห้ งานส�ำเร็จ เราอาจได้เห็นความสร้างสรรค์ ที่น่าทึ่งจากเด็กหลายๆ คน
34
ลองดู แล้วตอนที่ท�ำงาน ระหว่างที่ให้คิดโครงการ เราก็เห็น กลุม่ นีด้ หู วั เราะกันสนุกสนาน ท�ำท่าทางเหมือนเล่นกันเสียงดัง เราก็คิดว่าพวกเขาเล่นกันแน่นอน ก็กะเข้าไปจัดการ แต่พอ เข้าไปเราผิดคาดมาก เขาคิดท�ำโครงการรณรงค์แยกขยะโดย ดัดแปลงเพลงพี่มากมาร้องรณรงค์ เช่น ชวนให้คนแยกขยะ เขาช่วยกันแต่งกลอน เราดีใจมาก ไม่คิดว่าเขาจะแต่ง เพราะปกติพวกเขา ไม่ชอบเลย แต่พวกเขาทุกคนก็พยายามช่วยกันแต่ง แน่นอน มันย่อมมีค�ำตลกๆ แว้บๆ ออกมา แสดงถึงความบันเทิง ในหมูค่ ณะของพวกเขา แต่เขาก็ไม่ได้เอามาใส่ในเพลงหรอกนะ ที่เขาแต่งในเพลงดีมาก ซ้อมท่าเต้นกันอีกต่างหาก เราเลยดู เหมือนว่าเขาเล่นกัน สุดท้ายผลงานของกลุม่ พวกเขาก็ออกมา ได้สร้างสรรค์ที่สุดจริงๆ เราก็ได้เรียนรู้นะว่า การจัดกลุ่มเด็กแต่ละครั้งมันต้อง คิดถึงงานที่เราจะให้เขาท�ำด้วย อย่างงานนี้มันออกมาดีได้ เพราะพวกเขาคอเดียวกัน มุมมอง/ความคิดคล้ายกัน พอเขา เริ่ ม ได้ ดี มั น ก็ ต ่ อ ยอดกั น ไปได้ บางครั้ ง เวลาเราจั ด กลุ ่ ม เรามักจะกระจายตัวเด็กที่คาดว่าจะซน เล่น ไม่ให้อยู่ด้วยกัน แต่หากมันเป็นงานที่แรงพอที่ท�ำให้เขาสนใจได้ เขาก็อยากให้ งานส�ำเร็จ เขาก็คุมตัวเองและจัดการเพื่อนได้อีกต่างหาก ไงล่ะ เด็กห้องเรา เขามักจะมีอะไรมาให้เราแปลกใจเสมอ เรารักพวกเขานะ และมีความสุขที่ค่อยๆ เห็นพวกเขาเติบโต ขึ้นเรื่อยๆ
ท�ำความดีเล็กๆ เพื่อส่วนรวมใหญ่ๆ ครูพรรณยมน โตกทอง (ครูมนต์) ถึงมนต์ คนน่ารัก เราเป็นครูสอนที่รุ่งอรุณมาหลายปี เข้าปีที่ ๑๗ แล้วนะ ทุกเทอมทุกปีการศึกษาจะมีเรือ่ งราวประทับใจมากมาย แต่ปที ี่ ๑๖ นี้ (ที่จริงเริ่มมาหลายปีละ) ครู ให้นักเรียนมีโอกาสเป็น เจ้าของโครงการเอง เช่นไปภาคสนามสถานที่ในกรุงเทพฯ ตามที่ตนสนใจ เราจึงพบว่าอะไรที่นักเรียนสนใจจะท� ำได้ดี ทุกเรื่องจริงๆ แต่ที่เราอึ้งและประทับใจมากคือให้นักเรียนท�ำโครงการ ตามรอยพ่อ เป็นการตามรอยในหลวงที่พระองค์ทรงท�ำเพื่อ ส่วนรวม เราให้เด็กเลือกจับกลุม่ ตามใจชอบ คือจะรวมกับเพือ่ น กี่คนก็ได้ แล้วเลือกเรื่องที่อยากท�ำเพื่อส่วนรวมในโรงเรียน นักเรียนสองห้องมีหลากหลายกลุม่ หลากหลายเรือ่ งมาก แต่ละ กลุ่มเลือกเรื่องตามที่นักเรียนมีประสบการณ์ เห็นถึงปัญหา จริงๆ พร้อมกับพยายามติดตามแม้มนั จะยากก็ตาม มีกลุม่ หนึง่ ที่เราประทับใจคือ กลุ่มจัดรองเท้าหน้าห้องน�ำ้ ดูเหมือนเป็น เรือ่ งเล็กๆ น้อยๆ ไม่มอี ะไรมาก แต่เราเห็นถึงความเปลีย่ นแปลง ของนักเรียนชายคนหนึ่ง คือกลุ่มนี้จะรณรงค์ ให้คนมาใช้ ห้องน�้ำแล้วสวมรองเท้าแตะเข้าห้องน�้ำ เมื่อท�ำกิจธุระเสร็จ จะถอดรองเท้าทิ้งไว้สะเปะสะปะ ห้องน�้ำนี้ไม่เพียงแต่นักเรียน ในตึกจะเข้าเท่านั้น ยังมีบุคลากรส่วนต่างๆ มาเข้าด้วย เช่น จากห้องครัว ครูภาษาอังกฤษ เจ้าหน้าที่ห้องโอที ฯลฯ เมื่ อ นั ก เรี ย นกลุ ่ ม นี้ เ ลื อ กท� ำ โครงการนี้ เราดี ใ จมาก ที่มีแนวร่วม เพราะเราพยายามจัดการกับเรื่องนี้มาก นักเรียน กลุ่มนี้บอกเป้าหมายว่าเขาอยากให้ตึกนี้ดูเรียบร้อย เพราะ
การถอดรองเท้าไม่เป็นระเบียบ เลยไม่น่ามอง เขาจัดเวรกัน จัดทุกช่วงเวลาที่ว่าง เขาบอกว่าทุกครั้งที่มาดูก็จะพบว่า รองเท้าไม่เคยเป็นระเบียบ หนึ่งในกลุ่มนี้จากเดิมที่เราคิดว่า เขาไม่น่าติดตามจัดอะไรมาก แต่กลับพบว่าเขาจัดรองเท้า บ่ อ ยมาก เราทึ่ ง ที่ เ ขาติ ด ตามขนาดนี้ สิ่ ง ที่ เ ห็ น นอกจาก การจัดรองเท้าแล้ว การติดตามงานในห้องก็ดขี นึ้ เราเคยถามเขา ว่าท�ำไมเห็นจัดรองเท้าบ่อยจัง เขาตอบว่า อยากให้ตกึ ของเรา ดู เ รี ย บร้ อ ย และเขาพยายามเตื อ นคนที่ เ ผลอถอดแบบ ไม่เรียบร้อย เขาบอกจัดแล้วก็ไม่เคยเรียบร้อย ถามเขาว่าจะจัด ต่อไปไหม เขาบอกว่าจะจัดต่อไป วันหนึ่งก็จะเรียบร้อย เรารู้สึกดีใจมากๆ ว่าแม้มันจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ อย่างน้อยที่สุดความคิดของเขาก็เริ่มเติบโต มองเห็นปัญหา เล็กๆ แต่เพือ่ ส่วนใหญ่ เพือ่ ส่วนรวม เราพยายามปลูกสิง่ เหล่านี้ มาตลอดการเป็นครู พร้อมกับการท�ำเป็นตัวอย่างมาตลอด วันนี้เริ่มเห็นดอกผลของมันแล้วล่ะ ตั้งใจบ่มเพาะต่อไปนะ วันหนึ่งจะงอกงามทั้งโรงเรียนเลยล่ะ เพื่อสังคมของเรา
ครูอยากบอกว่า... เรื่ อ งนี้ ท� ำ ให้ เ ราเปลี่ ย นความคิ ด ใน การมองปัญหา จากทีม่ องเป็นปัญหาใหญ่ และยากจะแก้ไข เพราะเราคิดเยอะ (ใครท�ำ ท�ำไมถึงท�ำ) แต่เด็กเขามองปัญหาตรงๆ เมือ่ เห็นปัญหาก็ลงมือแก้ไขทันที
35
PRIMARY
เมื่อครูพาเรียนจากเรื่องจริง และด้วยค�ำถามทีท่ ้าทายความคิด ครูชฎาภรณ์ พิพุทธางกูร (ครูหนู)
สวัสดี หนูเพื่อนรัก หลายครัง้ ทีก่ ารสอนของหนูคงสร้างความประทับใจและ เบิกบานให้กับทั้งหนูและนักเรียนของครูได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ครั้งหนึ่งบ้านเมืองของเราเกิดปัญหาทางการเมือง เรื่องของ ความแตกต่างทางความคิด ท�ำให้เกิดความไม่สงบขึน้ หลายฝ่าย ได้รบั ผลกระทบนัน้ แม้กระทัง่ นักเรียนชัน้ ป.๕ ทีห่ นูสอนอยูท่ งั้ ๓ ห้อง เขาก็รบั รูป้ ญั หาทีเ่ กิดขึน้ นี้ จนมีการแสดงความคิดเห็น การโพสต์ข้อความต่างๆ ใน Social network จนหนูได้อ่านได้ พบเห็น จึงคิดว่าหนูน่าจะใช้ Current event ที่เกิดขึ้นในขณะ นั้นมาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของนักเรียนและตัวของหนู ไปพร้อมกัน เราจ�ำได้ว่าวันนั้นหนูตั้งค�ำถามถามนักเรียนค�ำถาม หนึ่งว่า “ช่วงปิดเทอมที่ผ่านมานักเรียนรับรู้สถานการณ์ ข่าวสารบ้านเมืองอะไรบ้าง” นักเรียนทั้งสามห้องต่างหยิบยก ประเด็นการเมืองและเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องขึน้ มาแสดงความคิดเห็น บางกลุ่มติดตามผู้ปกครองไปร่วมเหตุการณ์ บางกลุ่มติดตาม ข่าวสารผ่ า นจอโทรทัศน์ จากการสนทนาของผู้ปกครอง และอื่นๆ วันนั้นหนูเขียนทุกความคิดเห็นของเด็กบนกระดาน
36
จนเต็มไปด้วยข้อความสีขาวจากชอล์กทีห่ นูเขียน เด็กๆ บางคน ไม่รอจังหวะให้หนูเขียนเสร็จ มันเป็นห้องเรียนที่สนุกและ มีอรรถรส เพราะเด็กทุกคนต่างรับรู้ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บางคนก็ใช้คำ� พูดและความรูส้ กึ ของตนเอง บางคนจดจ�ำค�ำมา จากผู้ปกครองหรือสื่อที่พบเห็น เด็กๆ สนทนาแลกเปลี่ยนกัน อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งครูใช้ค�ำถามต่อไปว่า “นักเรียนคิดว่า ปัญหาความขัดแย้งทีเ่ กิดขึน้ นัน้ มีสาเหตุมาจากอะไร” หนูรไู้ หม วันนั้นฉันอึ้งกับค�ำตอบของเด็กนะ เพราะเด็กทั้ง ๓ ห้อง ตอบตรงกันว่าคอร์รัปชั่น แล้วหนูก็ให้เด็กแสดงความคิดเห็น ต่อว่า คอร์รัปชั่นคืออะไร ฉันจ�ำได้ว่าเด็กๆ เขาก็ตอบค�ำถาม หนูด้วยความตั้งใจ และสนทนาแลกเปลี่ยนอย่างเข้มข้นเช่น ค�ำถามแรก ต่อมาหนูจ�ำได้ไหม หนูถามเด็กว่า “เด็กๆ คิดว่า คอร์รัปชั่นเกิดได้ที่ไหนบ้าง กับคนกลุ่มใดบ้าง” เด็กมีหยุดคิด และตอบค�ำถามต่างๆ จากนั้นหนูก็ให้เด็กชมภาพยนตร์สั้นชุด เล่าเรือ่ งโกง เพือ่ ให้เห็นถึงความหมายของการกระท�ำได้ชดั ขึน้ มันเป็นคาบเรียนที่เงียบมาก เด็กๆ ดูกันโดยตั้งใจจนกระทั่ง ภาพยนตร์จบ เด็กๆ กลับมาสนทนาต่อเกี่ยวกับเหตุการณ์
ทีเ่ กิดขึน้ และสะท้อนความคิดทีม่ ตี อ่ เหตุการณ์หรือต่อตัวละคร ในเรื่องได้อย่างน่าสนใจ แล้วหนูพอจ�ำได้อีกไหมว่าหนูท�ำอะไรต่อ ฉันจ�ำได้ว่า หนู ให้เด็กเขียนอิสระเรื่อง การโกงมีอยู่ในทุกสังคมจริงหรือ หนูเชื่อไหมมันเป็นหัวข้ออิสระหัวข้อแรกใน ป.๕ เทอมสาม ที่นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็นได้มาก หลายคนประมาณ ๑ หน้ากระดาษขึ้นไป และใช้ภาษาได้หลากหลาย หลายคน มองตัวเองประกอบด้วย หนูเลยเอาสิ่งที่เด็กเขียนมาอ่านเป็น ตัวอย่างให้เพื่อนฟัง และยังน�ำไปรับค�ำแนะน�ำต่อจากผู้รู้เลย การเขียนอิสระในครั้งนั้นจึงเป็นแรงบันดาลใจของหนู ให้มพี ลังและความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะพัฒนาความสามารถด้านการเขียน ของ ป.๕ เรื่อยมา จนถึงวันนี้ทุกคนสามารถเขียนอิสระได้ มากกว่า ๒ หน้ากระดาษแล้ว หลายคนเขียนได้ถึง ๔-๕ หน้า ฉันอยากให้หนูพัฒนาตนเองต่อไป และเชื่อในความสามารถ ของนักเรียนนะ ท�ำอย่างที่หนูเคยบอกเด็กทุกครั้งว่า “ครูเชื่อ ว่าทุกคนท�ำได้ ครูเชื่อว่าทุกคนท�ำได้ดี ครูจะเรียนรู้ไปกับเธอ” ฉันขอให้หนูเก็บค�ำนี้ไว้เตือนใจนะ เพราะคนเป็นครูทกุ คนต้อง ท�ำได้เช่นกัน ท�ำให้เด็กเรียนรู้และท�ำเต็มความสามารถไง
ครูอยากบอกว่า... ครูตอ้ งเชือ่ มัน่ ว่านักเรียนทุกคนมีศกั ยภาพ ในการรับรูข้ อ้ มูลข่าวสารต่างๆ แล้วให้โอกาส พวกเขาเรียนรูเ้ รือ่ งราวเหล่านัน้ โดยครูตงั้ ค�ำถามทีท่ า้ ทายความคิด จะช่วยให้นกั เรียน ดึงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาวิเคราะห์และ สือ่ สารได้อย่างหลากหลายจนครูคาดไม่ถงึ
37
PRIMARY
เรียนเรื่องคาน ผ่านเกมโชว์ ครูฤทธิรงค์ เจริญวัฒนมงคล (ครูเซียน) ถึงครูเซียนที่รัก เรื่องหนึ่งที่เรากังวลที่จะสอนในภาคเรียนที่ ๓ คือเรื่อง คาน มันยากตั้งแต่ออกแบบอุปกรณ์แล้ว ซึ่งต้อง Create มาก ทีเดียว ปรับแก้ตั้งหลายครั้ง เพราะมันต้องแม่นย�ำ ปลอดภัย เลื่อนจุดหมุนได้อีก เพราะเราตั้งเป้าหมายว่านักเรียนจะเป็น ผู้ค้นพบความสัมพันธ์ด้วยตนเอง อีกอย่างนะ เวลาที่จะสอน มีน้อยกว่าเดิมตั้งเกือบ ๒ สัปดาห์ เพราะเหตุการณ์บ้านเมือง เราจึงกังวลสุดๆ เลย เมื่อเราสอนเรื่องกรด - เบสจบ ก็จะได้เวลาสอนเรื่อง คาน เราก็เจอปัญหาใหญ่ นัน่ คืออุปกรณ์ยงั ไม่เสร็จ จะสอนตอน บ่ายอยู่แล้ว เราเลยต้องไปช่วยพี่เขาท�ำและเสร็จทันสอนพอดี แต่อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ออกมาน่าพอใจมากเลย ขอบคุณ พี่ขอดจากใจเลย สิ่งที่เราจะสอนเรื่องนี้มี ๒ ประเด็น นั่นคือ คานใช้ใน การผ่อนแรงอย่างไร คานใช้ในการบอกน�ำ้ หนักสิง่ ของอย่างไร เห็นแผนในคูม่ อื เป็นล�ำดับดีมาก ละเอียดด้วย ถ้าไปตามล�ำดับนี้ รับรองนักเรียนได้ Concept แน่ แต่ใช้เวลา ๑๒ คาบ แต่เรามี ๖ คาบ คิดๆๆๆ ท�ำอย่างไรจึงจะท�ำได้ ระหว่างที่อาบน�้ำก็ ปิ๊ง ท�ำแบบเกมโชว์ดกี ว่า คล้ายรายการคิดวิทย์ทเี่ คยพานักเรียนไป 38
ซึ่งเราเห็นว่าใช้เวลาน้อย และนักเรียนก็สนุกด้วย คาบแรกเราก็เริม่ ถามว่า ถ้าจะยกขวดน�ำ้ (แกลลอนน�ำ้ ) ให้สูงจากพื้น ๕๐ ซม. โดยให้ออกแรงน้อยที่สุดจะท�ำอย่างไร โดยมีขวดน�ำ้ คาน จุดหมุน และเชือก เราจับเวลาภายใน ๒๐ นาที ปรากฏว่านักเรียนเกิดการ try และ check ตลอดหลายรูปแบบ ในห้องเรียนสนุกสนาน ทุกคนกระตือรือร้นอย่างยิ่ง เมื่อ หมดเวลาครูก็จัดเป็นฐานให้นักเรียนเวียนดูผลงานของเพื่อน แล้วลองยก เกิดการแลกเปลี่ยนกันอย่างยิ่ง ได้พบว่ากลุ่ม ที่เบามากๆ ใช้นิ้วก้อยยังยกขึ้นเลย นักเรียนเกิดข้อสงสัย
ครูอยากบอกว่า... การสร้างสถานการณ์ที่ท้าทาย ท�ำให้ นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กระบวนการและค�ำถามที่ชัดเจนอย่างเป็น ล�ำดับ บวกกับ การอดทนรอคอยของ ครู ช่วยให้นักเรียนค้นพบความสัมพันธ์ ในธรรมชาติได้ด้วยตนเอง
จึงพากันสังเกตและถอดบทเรียนว่าท�ำไมกลุ่มที่ท�ำให้ยกขวด ได้โดยการออกแรงน้อยถึงออกแบบแบบนัน้ จนน�ำไปสูข่ อ้ สรุป เดียวกัน ร่วมกัน และก็ให้ปรับแก้กับคานของตนเองอีกครั้ง ซึ่งน�ำไปสู่ปัญหาที่สองทันที ขวดน�้ำที่ครู ให้ยกหนักเท่าไร ถ้าครูมขี วดน�ำ้ ๑ กิโลกรัม และ ๐.๕ กิโลกรัมให้ ครูให้นกั เรียน คาดเดาและท�ำเป็นเกมเหมือนเดิม กระบวนการคล้ายเดิม แต่คราวนี้ไม่ง่าย ครูจึงเปิดโอกาสให้ค้นคว้า นักเรียนมี ๕ กลุม่ สามารถค้นพบหลักการได้ถงึ ๓ กลุม่ และครูเปิดโอกาสให้นักเรียนน�ำเสนอโดยที่ ให้กลุ่มที่เป็นคู่
แข่งขัน ถามค�ำถามสกัดดาวรุ่งได้ (คล้ายวิทยสัประยุทธ์ ไหม) สนุกและได้หลักการมาในระดับหนึง่ ครูเปิดโอกาสให้นำ� แนวคิด เพื่อนไปหาน�้ำหนักขวดอีกครั้ง ผลคือนักเรียนหาน�ำ้ หนักได้ แม่นย�ำทีเดียว คราวนีท้ ำ� ได้ทกุ กลุม่ ครูเข้าไปฟังวิธขี องทุกกลุม่ สรุ ป เป็ น ความสั ม พั น ธ์ ร ่ ว มกั น ได้ เ ลย และเราต้ อ งพิ สู จ น์ ด้วยใบงาน เมื่อให้ใบงาน นักเรียนส่วนใหญ่ท�ำได้เกือบทุกข้อ เราจึงได้เรียนรู้ว่า เกมการแข่งขัน การให้เวลาจ�ำกัด เครือ่ งมือทีด่ ี การอธิบาย การโต้แย้ง การน�ำไปปรับแก้ การเห็น ผลประจักษ์ดว้ ยตนเอง และการสรุปร่วมกันเป็นหลักการง่ายๆ ด้วยนักเรียน นั้นใช้ได้ดีเลย แม้ว่าแผนนี้จะขาดการวางแผน แบบวิทยาศาสตร์เป๊ะๆ แต่ผมก็พอใจมากทีเดียว หวังว่าปีการศึกษาหน้าจะมีเวลาพอนะ อยากเปรียบเทียบ กันว่าสอนแบบกระบวนการกับสอนแบบเกม มีความแตกต่าง กันอย่างไร 39
PRIMARY
นักเรียนทุกคนต้องการโอกาสและพื้นที่ ของตนเองในห้องเรียน ครูโกเมน อ้อชัยภูมิ (ครูเต้ย) สวัสดีครับครูเต้ย ๒ ใกล้จะเปิดเทอมแล้ว เราเลยเริ่มเก็บของเตรียมตัว ย้ายไปตึกใหม่ พอดีเราไปเจอสมุดคณิตศาสตร์ของนักเรียน เล่มหนึง่ เลยเปิดอ่านดู เห็นเขียนอะไรไว้เยอะแยะเลยพลิกอ่าน ไปอ่านมา ท�ำให้เรานึกถึงตอนทีส่ อนนักเรียนคนนีข้ นึ้ มา ก็เลย อยากจะเล่าให้ฟังสักหน่อย นายคงไม่ว่ากันนะ จะว่าไปเด็กนักเรียนคนนี้ก็เหมือนเราตอนเด็กๆ นะ เวลาเข้าเรียนต้องมีอะไรติดไม้ติดมือมาเล่นบนโต๊ะเป็นประจ�ำ แบบว่าต้องเล่นไปฟังไป แถมยังพูดติดอ่างน�้ำลายไหลอีกด้วย เราก็เข้าใจเขานะ เลยไม่ได้วา่ อะไร เพียงแต่เขาสามารถท�ำงาน และเรียนรู้ได้โดยไม่รบกวนคนอื่นก็โอเคแล้วล่ะ วันหนึ่งเราต้องสอนเรื่องการค�ำนวณพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม คางหมู ซึ่งนายคงนึกภาพออกนะว่ายากแค่ไหนที่จะเข้าใจ เรื่องนี้ ได้ ซึ่งเราเริ่มด้วยการติดปัญหาให้นักเรียนช่วยกัน ค� ำ นวณพื้ น ที่ รู ป เรขาคณิ ต พื้ น ฐานที่ เ รี ย นมาก่ อ นหน้ า นี้ ส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญหาอะไร ค�ำนวณกันเร็วปรู๊ดปร๊าดทันที ซึ่งนักเรียนที่เราพูดถึงคนนี้ก็ไม่ค่อยท� ำหรอก เราก็สังเกต เห็นนะ แต่ก็ประเมินไว้แล้วว่าสงสัยโจทย์เรายังไม่เจ๋งพอ เขาเลยไม่สนใจ จากนั้ น เราติ ด โจทย์ สี่ เ หลี่ ย มคางหมู เท่ า นั้ น ล่ ะ เขาเงยหน้ามาดูนิดหนึ่งเพราะมีเหตุการณ์เพื่อนนักเรียน
40
อภิ ป รายกั นว่ า จะท� ำ อย่ า งไรกั บ โจทย์ ข ้ อ นี้ ก็ มี นั ก เรี ย น หลายคนออกมาคิ ด ค้ นวิ ธี ค� ำ นวณพื้ น ที่ สี่ เ หลี่ ย มคางหมู แต่ก็มีปัญหาหลายอย่างในการอธิบาย เช่น ถ้าแบ่งเป็น รูปสามเหลี่ยม ๒ รูป แล้วจะค�ำนวณหาสี่เหลี่ยมคางหมู รูปอื่นๆ ได้หรือเปล่า หรือแบ่งเป็นสี่เหลี่ยม ๑ รูป กับ สามเหลี่ยม ๒ รูป แล้วมันจะหาได้จริงทุกรูปแบบหรือเปล่า เกิดเป็นเรื่องถกเถียงกันใหญ่ เราเลยถามต่อไปว่า “จะมีวิธี ไหนที่อธิบายเรื่องนี้ชัดเจนและใช้อธิบายได้ทุกกรณี” นักเรียน คนนี้ก็ลุกขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย จนเพื่อนๆ งงกันใหญ่ แถมพูดติดอ่าง “ผะ..ผม” แล้วเขาขยิบตาพร้อมขยับปากกา สองทีแบบเร็วๆ แล้วพูดต่อไปว่า “ถะ..ท�ำ..ดะ..ได้ครับ” จากนัน้ ก็เดินอาดๆ ไปหยิบรูปทีเ่ ราติดบนกระดานไปเป็นแบบวาดใหม่ อีกรูปหนึ่ง แล้ววางต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เพื่อนๆ ที่นั่งดูอยู่มีอาการอึ้งๆ ตอนนั้นเราแอบยิ้มและชื่นชมนักเรียนคนนี้มาก และ เราก็คิดต่อเลยว่าจะต้องตั้งค�ำถามให้เพื่อนช่วยกันอธิบาย แนวคิดโดยให้นักเรียนคนนี้คอยยืนยันว่าใช่อย่างที่เขาคิด หรือเปล่า เพื่อนๆ ก็ช่วยกันเดาใจและขยายความคิดของ เขาจนเสร็จสมบูรณ์ นักเรียนคนนี้ที่พูดติดอ่างก็ยืนยิ้มดูมี ความสุขมากโดยเฉพาะช่วงสุดท้ายมีเพื่อนคนหนึ่งพูดออกมา ว่า “แมทธิวเก่งจริงๆ”
ตอนนั้ น เราแอบชื่ น ชมนั ก เรี ย นคนนี้ จ นน�้ ำ ตาแทบ จะไหล เหตุการณ์นที้ ำ� ให้เรารูว้ า่ นักเรียนทุกคนต้องการโอกาส และพื้นที่ของตนเองในห้องเรียน ไม่ว่าเขาจะมีบุคลิกอย่างไร ความสามารถแค่ไหน หากครูเห็นพรสวรรค์นั้นของเขาและ ให้โอกาสที่จะได้เปิดเผยตนเองโดยมีเพือ่ นๆ ทุกคนเป็นพยาน พืน้ ทีห่ อ้ งเรียนอย่างนีก้ จ็ ะเป็นของทุกคน นายว่าไหมครูเต้ย ๒ ปล.ตอนเด็กๆ เราไม่ได้ตดิ อ่างเหมือนนักเรียนคนนีน้ ะ แต่ชอบมีของติดไม้ตดิ มือเวลาเรียนหนังสือเท่านั้นล่ะ
ครูอยากบอกว่า... ตามธรรมชาติของห้องเรียนแล้ว ครูไม่ สามารถก�ำหนดกระบวนการเรียนรูท้ แี่ น่นอน หรือตายตัวได้เลย สิง่ ส�ำคัญคือสายตาใน การมองเป้าหมายของการเรียนรูท้ คี่ รูตอ้ ง แม่นย�ำ และมองเห็นช่องทางทีจ่ ะช่วยให้แต่ละ คนมีโอกาสเรียนรูม้ ากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ 41
PRIMARY
เมื่อนักเรียนสวมบทบาทครู
ครูจึงเห็นตัวเอง ครูดวงเพ็ญ ชูนาม (ครูหญิง)
สวัสดี หญิงเพื่อนรัก เรามีเรื่องเล่าน่ารัก ใสๆ ของชายหนุ่มตัวน้อยๆ นามว่า จงเฮง มาเล่าให้ฟัง ปีนี้เขาโตขึ้นมาก ช่างพูดช่างคุย ดูเป็น เด็กประถมปลายที่มีความเป็นตัวของตัวเองมาก เราคิดว่าปีนี้ เราสบายแล้ ว ล่ ะ เพราะจงเฮงเริ่ ม ท� ำ กิ จ กรรมกั บ เพื่ อ นๆ ได้มากขึ้น เราจะได้เป็นผู้ช่วยครูเต็มที่ท� ำงานในชั้นเรียน แต่รู้ไหม...ทุกๆ วันจงเฮงจะชวนเราดูตารางเรียนของเขา และเปลี่ยนทุกวิชาให้เป็นคณิตศาสตร์หมดเลย และต้องเรียน กับเราด้วย เราถามเขาว่าอยากเรียนอะไรในคณิตศาสตร์ เขาบอกว่า บวก ลบ คูณ และแสดงละคร ก็งงๆ กับค�ำตอบเหมือนกัน แต่สไตล์เราหญิงก็รู้ใช่ไหมว่า ถ้าเด็กอยากลอง ลองเลย เราก็ยกชัน้ เรียนให้ ๑ ชัว่ โมงของทุกวันจันทร์ วันนัน้ จะเป็นวัน ที่เราเป็นนักเรียน รวมทั้งป้าต่อยที่ดูแลจงเฮง แล้วจงเฮง ก็เป็นครูสอน เขาจัดห้องเรียนของเขาเป็นเวทีสอนเหมือน ทีเ่ ราสอนเลย มี concept การบวกผ่านสิง่ ของ มีเพลง มีคำ� พูด ชักชวนให้นกั เรียนไปตอบค�ำถามหน้าห้อง ลองท�ำ มีคำ� ชมและ เสียงปรบมือให้ นัง่ เป็นนักเรียนไปก็อดข�ำแบบน�ำ้ ตาไหลเลย... เหมือนแบบ copy เลยล่ะ แต่ดีใจนะที่ concept ไม่ผิด ^_^ ภาพนั้ น มั น นึ ก ที ไ รแล้ ว ยิ้ ม กั บ ตั ว เองเหมื อ นกั น เรานี่ ก็
42
หลายบทบาทนะ แต่เอาเถอะ ท�ำแล้วเด็กชอบ สนุก อยากมาเรียน ก็ลุยล่ะ แต่ก็ไม่รู้ว่าใครจะนึกเหมือนเราหรือเปล่านะ ทุกๆ วันจงเฮงจะชอบแวะเวียนมาที่ห้องพักของเรา มาขอกระดาษ นั่งเขียนนิทาน แต่งเรื่องของตนเอง เสร็จแล้ว เอามาให้เราอ่าน เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง เราก็ถามเขานัน่ แหละ ดูเขามีความสุขมากเลย เราท�ำงานกับเด็กกลุ่มนี้ยิ่งท�ำให้มีความสุข เมื่อเขาท�ำ อะไรได้ด้วยตนเองแล้วก็ภูมิใจ ตอนนี้มีอะไรดีก็จะน�ำเสนอ ที่บ้านเพื่อช่วยต่อยอดได้ เราก็จะแนะน�ำนะ... โดยเฉพาะวัยนี้ เขาเริม่ เป็นวัยรุน่ แล้ว เราคงมีอะไรท�ำกับเขาอีกเยอะ... ปิดเทอมนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาจะก้าวกระโดดไปแค่ไหน คิดถึงเขานะ รวมทั้งเด็กๆ ของเราอีกหลายคน
ครูอยากบอกว่า... ถ้าเราไม่เปิดโอกาสให้นกั เรียนสวมบทบาท เป็นครู เราคงไม่มโี อกาสได้เห็นภาพสะท้อน ของตัวเองขณะสอน
SECONDARY
ประตูทางเข้าเก๋งจีน : วัดโพธิ์ โดย นายศุภวุฒิ ธีระวัฒนชัย (ลีโอ) ชั้น ม.๔/๓ ส�ำนักสถาปัตยกรรมและการออกแบบ 43
SECONDARY
ธรรมดา.. แต่ไม่ธรรมดา ครูอดิเรก สมบัติวงค์ (ครูอดิเรก)
ถึงอดิเรกน้องรัก ฉั น มี เ รื่ อ งดี ๆ ที่ ฉั น ได้ เ ห็ น พั ฒ นาการของนั ก เรี ย น ในห้องเรียนชัน้ มัธยม ๓/๑ ทีฉ่ นั เป็นครูประจ�ำชัน้ แล้วอยากจะ มาเล่าให้เธอฟัง เมื่อปีการศึกษาที่ผ่านมา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จะต้ อ งจั ด งานหยดน�้ ำ แห่ ง ความรู ้ ใ นหั ว ข้ อ แลปั ก ษ์ ใ ต้ 44
ซึ่งมีนักเรียนหญิงกลุ่มหนึ่งจ�ำนวน ๔ คน ที่ชอบการฟ้อนร�ำ เลือกเรียนรู้การร�ำมโนราห์ ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ นักเรียน ไปครอบครู เรียนรูก้ บั ครูมโนราห์จากสิงหนครทีฉ่ นั เชิญมาสอน ถึง ๗ ครั้ง สนใจถึงขนาดถ่ายวิดีโอการเรียนไว้ และฝึกซ้อม กั น เองอย่ า งตั้ ง ใจ แม้ จ ะเป็ น เรื่ อ งยากและต้ อ งฝึ ก หนั ก จนปวดเมื่อยไปทั้งตัว แต่นักเรียนก็มีใจสู้ อดทน ไม่ท้อถอย นอกจากนั้นเพื่อนๆ ในกลุ่มก็รู้สึกรักกันมากขึ้นเพราะผ่าน ความล�ำบากมาด้วยกัน ฉันเองก็เข้าไปไต่ถาม พูดคุยกับพวกเขา เรือ่ งการฝึกซ้อมอยูบ่ อ่ ยๆ และได้เห็นมาตลอดว่าพวกเขาใส่ใจ ในการฝึกซ้อมมาก
ในการแสดงมโนราห์ในงานหยดน�้ำแห่งความรู้ นักเรียน ต้องการแต่งกายอย่างมโนราห์ภาคใต้ทกุ ประการ จึงมาปรึกษาฉัน เรื่องค่าชุดและเครื่องประดับซึ่งนักเรียนจะต้องรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายเอง ฉันไม่ได้บอกไปว่าพวกเขาต้องท�ำอย่างไร เพราะฉันรู้ว่า ถ้าฉันรีบบอกไป นักเรียนต้องคิดว่าเป็นค�ำสั่ง ของครู อ าจเกิ ด การต่ อ ต้ า น เหมื อ นอย่ า งงานหยดน�้ ำ ฯ ในเทอมที่ ๑ ที่ฉันเคยมีความคาดหวังสูง อยากให้งานส�ำเร็จ จึงล้อมกรอบให้นักเรียนท�ำตามสคริปต์ที่เขียนที่ซ้อมกันไว้ จึงเหมือนฉันไม่ไว้ใจพวกเขา พวกเขาจึงไม่รสู้ กึ ว่างานหยดน�้ำฯ เป็นของพวกเขา หากแต่เป็นงานของครู พวกเขาเลยไม่มี ก� ำ ลั ง ใจท� ำ งาน และต้ อ งการแสดงออกถึ ง การต่ อ ต้ า นครู ถึงกับไม่ยอมท�ำงาน ปล่อยให้งานเสียหาย จนครูรสู้ กึ หน้าแตก ไปกับสิ่งที่เกิดขึ้น ครั้งนี้ฉันได้พูดคุยกับนักเรียนด้วยการตั้งค�ำถาม ตะล่อม ไปเป็นขัน้ เป็นตอนว่าพวกเขามีเป้าหมายอย่างไร ท�ำไมจ�ำเป็น ต้องใช้ชุดแสดงจริง คิดอย่างไรถ้าจะแสดงด้วยการใส่ผ้าแดง ไม่ต้องใส่ชุดโนรา เพราะจะได้ไม่มีค่าใช้จ่าย นักเรียนตอบว่า มโนราห์ทเี่ ขาฝึกมาเป็นภูมปิ ญั ญาอันทรงคุณค่าของชาวปักษ์ใต้ เพื่อแสดงถึงรากเหง้าและความภาคภูมิใจในแผ่นดินบ้านเกิด ของคนปักษ์ ใต้ ดังนั้นจึงต้องแสดงออกมาให้สมน�้ ำสมเนื้อ กับความเป็นชาวปักษ์ใต้ พวกเขาเห็ น ในคุ ณ ค่ า ของการแสดงโนราจริ ง ๆ เขา ยืนยันว่า “หนูไม่ยอม” ฉันจึงถามต่อไปว่าแล้วจะหาทางแก้ไข อย่างไร พวกเธอมีต้นทุนอะไรอยู่บ้าง พวกเขาช่วยกันคิด หลายๆ อย่าง จนได้แนวทางว่าพวกเขาต้องหาทุนด้วยตนเอง เลยไปคุยหว่านล้อมเพื่อนๆ ทั้งห้องเดียวกันและห้องอื่นๆ ให้เห็นว่างานนี้เป็นงานหยดน�้ำฯ ของ ม.๓ ไม่ใช่แค่ของกลุ่ม พวกเขา เพื่อนๆ ก็ให้ความร่วมมืออย่างดี มาร่วมร้องเพลง แสดงดนตรีเดี่ยว และร�ำมโนราห์ที่โรงช้าง ปรากฏว่าเพียงแค่
๓๐ นาที นักเรียนรีบวิ่งมาบอกครูว่าหาเงินได้ถึง ๓,๘๖๐ บาท สามารถน�ำไปเป็นค่าเช่าชุดแสดงโนราได้ และพอเป็นค่าเช่า เครื่องขยายเสียงที่ต้องเช่ามาอีกด้วย เมื่ อ ถึ ง วั น งานหยดน�้ ำ ฯ ทุ ก คนก็ ต ้ อ งตกตะลึ ง กั บ ความสามารถของนักเรียนทั้ง ๔ คนนี้ พวกเขาร�ำโนราได้ อย่างสวยงาม สมบูรณ์ ค�ำตอบทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า เขารู้สึกว่างานหยดน�้ำฯ เป็นงานของเขา เขาเป็นเจ้าของ การเรียนรู้เอง เขาจึงลุกขึ้นมาจัดการกับสิ่งที่เขาชื่นชอบด้วย ตัวของเขาเอง ลุกขึน้ มาแก้ปญั หากันเอง และจากการทีพ่ วกเขา มีโอกาสเรียนรู้ด้วยการฝึกร�ำมโนราห์ด้วยตนเอง เผชิญและ ผ่านปัญหาอุปสรรคมามาก ประกอบกับครูพาย้อนมองคุณค่า ของสิง่ ทีต่ นได้เรียนรูบ้ อ่ ยๆ จึงท�ำให้นกั เรียนเกิดจิตใจทีย่ งิ่ ใหญ่ ขึน้ มา ในขณะทีฉ่ นั เองก็ไว้ใจพวกเขา แม้จะแอบมีความคาดหวัง อยู่เหมือนกัน แต่ได้อดทนให้เขาแก้ไขปัญหาของเขาเอง ไม่ได้บอกให้เขาท�ำตามความคิดของครู เมือ่ ถึงตรงนี้ เธอคงทึง่ ในความเป็นนักเรียนของโรงเรียน รุ่งอรุณแล้วละสิ หากเธออยากรู้อะไรที่เข้มข้นกว่านี้ เธอต้อง มาสมัครเป็นครูที่โรงเรียนรุ่งอรุณ แล้วเธอจะรู้ว่าที่นี่มี เรื่อง ธรรมดา แต่ไม่ธรรมดา แน่นอน
ครูอยากบอกว่า... ครูตอ้ งวางใจว่าการเรียนรูเ้ ป็นของนักเรียน นักเรียนจะแสดงศักยภาพได้เต็มที่ทั้งใน การเรียนรู้ การแก้ปญ ั หาต่างๆ ด้วยตนเอง หากครูมคี วามอดทน ฟังนักเรียนด้วยใจ ทีใ่ คร่ครวญ และลดความคาดหวังลง 45
SECONDARY
อดทน ไว้วางใจ เพื่อผลส�ำเร็จ ครูเรวัตร ภคพาณิชย์ (ครูเร) ถึงครูเรวัตร ในคาบเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น ม.๒/๑ เรื่อง การบวก ลบ คู ณ หารของจ�ำ นวนที่ อ ยู ่ ใ นรู ป รากที่ ส อง โดยกิจกรรมในวันนั้นครู ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มและให้ออกมา น� ำ เสนอเรื่ อ งที่ ค รู ม อบหมายให้ ไ ปอ่ า นมาก่ อ นจากระบบ ออนไลน์ ซึ่ ง ในวั น นั้ น ได้ เ กิ ด ช่ ว งเวลาที่ ตั ว ครู เ องรู ้ สึ กว่ า อยากเห็นภาพแบบนีใ้ นใจของตนมาตลอด ก็คอื ภาพทีน่ กั เรียน ถกเถียงกันโดยให้ขอ้ สังเกตและให้เหตุผลถึงเรือ่ งราวจากโจทย์ ค�ำถามของครู คือ 4 + 9 = 13 หรือไม่ 4 x 9 = 36 หรือไม่ ในขณะที่ นั ก เรี ย นก� ำ ลั ง ให้ เ หตุ ผ ลกั นว่ า สมการนั้ น จะหาข้อพิสูจน์ ได้อย่างไร ตัวครูเองเกิดความคิดขึ้นมาในใจ ว่าจะเข้าไปยุติการถกเถียงและให้ข้อสรุปเลย หรือว่าปล่อยให้ นักเรียนได้ถกเถียงกันต่อไป ซึ่งความรู้สึกตอนนั้น รู้สึกได้ ว่ากระวนกระวายใจอยากที่จะหาข้อยุติ แต่อยู่ๆ ความรู้สึก ไว้วางใจก็เกิดขึ้น และเพิ่มมากขึ้นไปตามค�ำพูดของนักเรียน ที่ถกเถียงกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล จนใกล้เข้าไปเรื่อยๆ กับ ข้อสรุปที่ถูกต้อง จนในที่สุดนักเรียนก็สามารถสรุป ได้ข้อยุติ และน�ำเสนอข้อพิสูจน์ที่ถูกต้องได้
46
ครูอยากบอกว่า... การที่ครูอดทน ให้โอกาสและให้ความไว้ วางใจในตัวนักเรียน และรอคอยผลทีจ่ ะ เกิดขึน้ กับตัวนักเรียนเองจริงๆ ผลส�ำเร็จ ก็จะเกิดขึน้ ได้แน่นอน ถ้าเป็นเมื่อก่อนที่ตัวเองเป็นคนใจร้อน ไม่ชอบอะไรที่ วุ่นวาย ก็อาจจะไม่รอ ไม่ปล่อยให้นักเรียนโต้แย้งถกเถียงกัน เสียงดังวุน่ วาย ก็จะเข้าไปจัดการ ไปหยุดเด็กไว้ หรือไปเปลีย่ น วิธีการ เปลี่ยนค�ำถามใหม่ เด็กก็อาจจะไม่ได้พบค�ำตอบด้วย ตนเอง แต่ครั้งนี้การที่ตัวเองได้ลองดู ลองปล่อยวาง อดทน ไม่ลงไปจัดการ แต่รบั ฟังสิง่ ทีน่ กั เรียนก�ำลังถกเถียง ให้เหตุผลกัน เป็นการให้โอกาสและให้ความไว้วางใจกับตัวนักเรียน และรอคอย ผลที่จะเกิดขึ้นกับตัวนักเรียนเอง ซึ่งก็เป็นที่น่าภาคภูมิใจว่า เรื่องนี้เป็นผลส�ำเร็จของทั้งนักเรียนและครู
ครูผู้เรียนรูไ้ ปกับนักเรียน ครูศิริพร รัตนพานิช (ครูอ้อม) ถึงครูอ้อม ปี ที่ ผ ่ า นมาเรื่ อ งที่ ส นุ ก ที่ สุ ด ของฉั น คื อ การท�ำ ขนม ฝอยทอง ทองหยอดกับ หิมะ เน และเม็ดทราย นักเรียนทั้ง ๓ คนนีเ้ ทอมแรกคุยกันมากเหลือเกิน วันทีท่ ำ� ขนมเป็นวันทีห่ มิ ะ เน เม็ดทรายดูร่าเริงมาก วันนั้นป้าเสริมสอนท�ำขนม นักเรียน มากันตั้งแต่เช้าเพื่อเตรียมแยกไข่แดงออกจากไข่ขาว ฉันลง ไปดูตอนพัก ข้าวของถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ นักเรียน ดูกระตือรือร้นเป็นอย่างมาก พอถึงเวลาท�ำขนมพวกเธอลง มาก่อนฉันเสียอีก ระหว่างท�ำขนมเม็ดทรายยืนตีแป้งขนม ทองหยอดอยู ่ เ กือบ ๑ ชั่วโมง โดยไม่มีค� ำบ่น เลยสั ก ค� ำ ใครหยอดได้เป็นตัวก็จะมีเสียงเฮขึ้นทีหนึ่ง เรื่องราวในวันนั้น ท�ำให้ฉันมองนักเรียนกลุ่มนี้เปลี่ยนไป พวกเธอไม่ ใช่พวก หยิบโหย่ง เวลาตั้งใจท�ำก็ท�ำได้ดี หลังจากวันนั้นนักเรียน
ครูอยากบอกว่า...
กลุม่ นีฟ้ งั ฉันมากขึน้ บอกกล่าวอะไรก็งา่ ยขึน้ ฉันลองมองย้อนดู ตั ว เองเหมื อ นกั นว่ า ท� ำ ไมวั น นั้ น ฉั นมี ความสุ ข ฉั น พบว่ า เพราะว่าวันนั้นฉันไม่ได้วางท่าเป็นครูจริงจัง ฉันท�ำตัวเป็นผู้ ที่เรียนรู้ไปกับพวกเขา การท� ำ ขนมครั้ ง นี้ เ กิ ด จากการเรี ย นรู ้ เ รื่ อ งราวต่ า งๆ ในอาณาจักรอยุธยา แล้วนักเรียนก็เลือกเรื่องราวที่ตนเอง สนใจ สืบค้นทีม่ าที่ไป ปฏิบตั จิ นตนเองท�ำได้จริง เป็นผูส้ บื สาน ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ และท�ำเป็นแผ่นพับน�ำเสนอความรู้ สิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ งานแผ่นพับชิ้นนี้หิมะส่งงานก่อนเวลา ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงของหิมะที่ฉันดีใจมาก เรือ่ งนีเ้ กิดขึน้ ตอนปลายเทอม ๒ พอเข้าเทอม ๓ นักเรียน กลุ่มนี้ก็ส่งงานได้ตรงเวลามากขึ้น ดูมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ในห้องมากขึ้น และในวันสุดท้ายพวกเธอก็เป็นกลุ่มสุดท้าย ที่ออกจากห้อง พวกเธอช่วยกันเก็บขยะและปิดหน้าต่าง ขอบคุณพวกเธอมากๆ
ฉันลองมองย้อนดูตวั เองเหมือนกันว่าท�ำไม วันนัน้ ฉันมีความสุข ฉันพบว่าเพราะว่าวันนัน้ ฉันไม่ได้วางท่าเป็นครูจริงจัง ฉันท�ำตัวเป็น ผูท้ เี่ รียนรูไ้ ปกับพวกเขา
47
SECONDARY
จากเห่ชมปลา ถึงสป(ล)าเก็ตตีปลานวลจันทร์ ครูบุญญรัชฎ์ สาลี (ครูเฉิม) ถึงครูเฉิม ที่คิดถึง เทอมที่ผ่านมาผมสอนนักเรียนของผมเรื่องกาพย์เห่ชม ปลาของเจ้ า ฟ้ า กุ ้ ง ที่ ผ มรั ก และซาบซึ้ ง ในพระนิ พ นธ์ ข อง พระองค์ท่าน ผมเชื่อว่าการเรียนกาพย์เห่นี้จะท�ำให้นักเรียน เข้าถึงอรรถรสและความงามของภาษา เท่าที่ผมเคยสอนมา หลายๆ รุน่ ก็ประสบผลดี แต่ก็ไม่ได้มโี อกาสสอนมาหลายปีแล้ว ตอนแรกผมไม่ มั่ น ใจนั กว่ า กาพย์ เ ห่ ช มปลาจะเป็ น ที่จับใจของนักเรียนไหม ใจลึกๆ อยากจะสอนชมนก ชมไม้ เห่ครวญ มากกว่า แต่เมื่อวิชาบูรณาการสอนเรื่องปลา ผมจึง ต้องสอนกาพย์เห่ชมปลา การเห่น่าจะเป็นสิ่งที่ยากที่สุดแล้ว ในการสอนเด็ก เพราะเป็นท�ำนองโบราณ เด็กๆ ยุคนีค้ งไม่สนใจ คงจะเชยมากๆ ผมคิดว่าแค่อ่านออกเสียงคงพอแล้วมั้ง แต่วันหนึ่งจู่ๆ ผมก็คิดว่าวันนี้เราต้องไปร่วมชุมนุมกับ กปปส. ถ้าเราเป็นอะไรไป เราจะไม่มโี อกาสสอนสิง่ ทีเ่ รารักทีส่ ดุ เราถนัดทีส่ ดุ แก่นกั เรียน ผมเลยตัดสินใจสอนอ่านเห่ โดยทีไ่ ม่ได้
ครูอยากบอกว่า... การที่ครูเชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะท�ำใน สิ่งที่เรารัก เราชอบ และเราถนัด โดยเรา เชื่อมั่นว่าสิ่งนั้นมีคุณค่ามากพอ เด็กๆ เองก็พร้อมจะเรียนรู้ไปกับเราและเรียนรู้ ได้มากกว่าที่เราคิดไว้เสียอีก 48
หวังผล ไม่ได้คาดหวังจากเด็กมากนัก นักเรียนตอบรับบ้าง ไม่ได้ดอี ะไรอย่างทีค่ ดิ ไว้ แต่ผมก็ดีใจแล้วที่ได้สอน ได้เผยแพร่ งานของเจ้าฟ้ากุ้ง กวีที่เป็นไอดอลของผม ทีนี้ผมและนักเรียนได้ไปภาคสนาม และได้ไปเจอปลา นวลจันทร์ ชื่อปลาของกาพย์บทที่ ๒ ที่พูดถึงว่า “นวลจันทร์เป็นนวลจริง เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา คางเบือนเบือนหน้ามา ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย” ปรากฏว่านักเรียนจ�ำได้ เป็นประสบการณ์ตรงของพวกเขา ที่เจอปลาจากกาพย์เห่สมัยโบราณอยู่ในปัจจุบันด้วย นักเรียน ก็รอ้ งเห่กนั ใหญ่ ร้องผิดบ้างถูกบ้าง แม้แต่นกั เรียนทีไ่ ม่คอ่ ยชอบ อย่างศศิน ก็ร้องเห่ลั่นรถตู้ ผมเองก็ดีใจมากที่ได้เห็นปลา นวลจันทร์ทงั้ ในบทกวีและตัวจริงๆ ของมัน มันสวยมากจริงๆ เกล็ดเป็นสีอร่ามงามเหมือนสีพระจันทร์ นักเรียนกลุ่มหนึ่งประทับใจขนาดที่เลือกปลานวลจันทร์ มาท�ำสปาเก็ตตีในงานหยดน�ำ้ เทศกาลกินปลา คือ สปลาเก็ตตี้ ปลานวลจันทร์ (นักเรียนกลุม่ นีต้ งั้ ชือ่ สปลาเก็ตตี ด้วยการเลียนค�ำ ปา-ปลา เพราะน�ำเนื้อปลานวลจันทร์มาท�ำ) และผมยังได้ให้ นักเรียนเขียนกาพย์เห่ชมสิ่งที่เขาชอบในยุคสมัยของเขา ปรากฏว่าพวกเขาก็เขียนเห่ออกมาได้ดีมาก น่าพอใจยิ่ง ผมคิดว่าผมตัดสินใจถูกต้องแล้ว แม้จะลังเล ไม่มั่นใจ ในตอนแรก ที่กล้าก้าวข้ามน�ำเรื่องที่ดูไม่ทันสมัย แต่มีคุณค่า มีคุณความงามของภาษามาสอนนักเรียน ผมเชื่อว่านักเรียน จะประทับใจ จดจ�ำปลานวลจันทร์ ได้ตลอดไป และซึมซับ ความงามของภาษาไว้ในตัวพวกเขาบ้าง
เพียงต้นไม้ ๑ ต้น ในป่าไม้รุ่งอรุณ ครูวรรณพร สิงห์บุญ (ครูกิ๊ก) ถึงครูกิ๊ก ความที่เราเป็นครูใหม่ เราแอบมีความกังวลซ่อนไว้ว่า เราจะสอนนักเรียนได้รู้เรื่องหรือเปล่า แต่ก็มีเรื่องราวที่เรามี ความภาคภูมิใจทีส่ ดุ คือเหตุการณ์ทนี่ นี า่ ชัน้ ม.๔ เข้ามาขอให้ เราสอนเพิม่ เติมให้ในวันทีข่ าดเรียนไป ซึง่ เราจ�ำได้ดวี า่ เป็นช่วง ประมาณสัปดาห์ที่ ๖ ของภาคเรียนที่ ๓ /๒๕๕๖ วันหนึ่งนีน่าเดินมาหาเราที่โต๊ะแล้วบอกว่า “ครูกิ๊กคะ หนูมาให้ครูสอนเพิ่มในวันที่หนูขาดเรียนไปค่ะ” เราเลยพูดว่า “ว่าไง ไม่เข้าใจตรงไหน จะให้ครูช่วยสอน เรื่องอะไรบ้าง” “ตั้งแต่แรกเลยค่ะครู อนุภาคมูลฐาน การจัดเรียงอะตอม ความเสถียรของธาตุ ค่าENไปจนถึงพันธะเคมีเลยค่ะ” นีน่า ตอบเรา เราเองพอได้ยินแบบนั้นก็เกิดอาการแอบหงุดหงิด ในใจว่าท�ำไมเด็กคนนี้เรียนกับเราไม่รู้เรื่องเลยเหรอ เราเลยถามต่อว่า “อะไรนะ...ตั้งแต่เรียนมาไม่เข้าใจเลย เหรอ แสดงว่าครูสอนไม่เข้าใจน่ะสิ” นีน่าบอกว่า “พอเข้าใจค่ะครู แต่เหมือนมันยังกัก๊ ๆ อยู่ในใจ” เราเองมีความรูส้ กึ ลึกๆ ในใจว่าเราตัง้ ใจและอยากจะช่วย นีน่าจริงๆ เราเลยสอนใหม่โดยการให้นีน่าตั้งค�ำถามในเรื่อง ทีเ่ ธอไม่เข้าใจ แล้วเราก็ตงั้ ข้อสังเกตพานีนา่ ค่อยๆ คิด ถาม-ตอบ กันไป ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ก็สามารถท�ำให้นีน่าเข้าใจ แนวคิดของเรื่องทั้งหมดได้ หลังจากเรียนเสร็จเราชวนนีน่าคุยว่า “ท�ำไมเรียนไม่ เข้าใจเหรอ ครูสอนไม่เข้าใจหรือเปล่า หรือพวกเราไม่ชอบ เรียนกับครู บอกครูได้นะ”
นีนา่ ก็บอกกลับว่า “ก็พอเข้าใจค่ะ แต่ไม่คอ่ ยเคลียร์ แต่หนู รูส้ กึ ว่าหนูเรียนกับครูหนูใช้ความพยายามในการเรียนน้อยกว่า ตอนทีห่ นูเรียนตอน ม.๒ แต่หนูเป็นคนทีเ่ รียนวิทย์ไม่เก่ง ไม่คอ่ ยชอบ และหนูเองก็เป็นเด็กหัวศิลป์ค่ะ เลยไม่ค่อยเข้าใจ แต่หนูเรียน กับครูทำ� ให้หนูชอบวิทย์มากขึน้ นะคะ” ด้วยค�ำพูดของเด็ก ม.๔ คนนี้ท�ำให้เราภูมิใจว่า “เด็กบ้านนอกอย่างเราก็สามารถสอน เด็กกรุงเทพให้เข้าใจและรู้สึกดีกับวิชาวิทยาศาสตร์ ได้น่ะ” หลังจากเหตุการณ์สอนนีน่าครั้งนั้น ท�ำให้เราปลดแอก ความกลัวในใจเรา ใจเรารูส้ กึ เบาขึน้ ทีเ่ ราสามารถช่วยนักเรียน ทีเ่ รียนไม่เข้าใจ ให้เข้าใจได้ เรารูส้ กึ ได้ถงึ ความหมายของค�ำว่า ครู ที่ไม่ใช่แค่ท�ำหน้าที่สอนหนังสือแค่ ๕๐ นาทีในห้องเรียน เท่านั้น อย่างที่เคยได้ยินค�ำพูดที่ว่าการเป็นครู ไม่มีวันหยุด แต่เป็นครูต้องเป็นตลอดชีวิต ตอนนีเ้ ราพร้อมทีจ่ ะเป็นครูทใี่ ห้เวลากับนักเรียนอย่างเต็มที่ จะพยายามช่วยนักเรียน ไม่ตัดสินว่านักเรียนไม่รู้เรื่องเอง ช่วยไม่ได้ เราจะใจเย็น ค่อยๆ ช่วยเขาเป็นขัน้ เป็นตอนเหมือนกับ ที่เราเคยช่วยนีน่าให้เข้าใจและรู้สึกดีกับวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ แม้วา่ เราจะเป็นต้นไม้เพียง ๑ ต้นในป่าไม้รงุ่ อรุณ บางครัง้ ต้นไม้ต้นนี้อาจจะยังไม่แข็งแกร่งสักทีเดียว อาจจะเจอลม เจอแดด เจอฝน เปรี ย บเสมื อ นกั บ การเจออุ ป สรรคใน การวางแผนและการสอน แต่ต้นไม้ต้นนี้จะค่อยๆ เติบโตและ เรียนรู้จนกลายเป็นต้นไม้ที่แข็งแกร่งให้ได้ในสักวัน
ครูอยากบอกว่า... คนเป็น “ครู” ไม่ใช่แค่ทำ� หน้าทีส่ อนหนังสือ แค่ ๕๐ นาทีในห้องเรียนเท่านัน้ แต่ตอ้ งพร้อม ที่ จ ะเป็ น ครู น อกเวลา นอกห้ อ งเรี ย น ต้องเป็นตลอดชีวติ
49
SECONDARY
งานล้มเหลวแต่การเรียนรู้ส�ำเร็จ ครูธิดารัตน์ ฮงสวัสดิ์ (ครูกิ๊บ) ถึงคุณนายคิมกิ๊บ ปีการศึกษาที่ผ่านมา ในช่วง ๒ สัปดาห์สุดท้ายของ เทอม ๒ มีการฝึกให้นักเรียนย้อนมองภาวะอารมณ์ความคิด ความรู้สึกของตนจากการท�ำงาน นั่นคือที่มาของโปรเจกต์ แต่ละห้อง ส�ำหรับห้องเราก็เป็นไปตามคาด นักเรียนสนใจท�ำ โปรเจกต์ถั่วงอกเพื่อสุขภาพ เพราะเคยเพาะถั่วงอกเอามาท�ำ ผัดไทย ตอนท�ำอาหารสมัยจอมพล ป. ช่วงแรกของการท�ำโปรเจกต์ ทุกคนกระตือรือร้นมาก จัดการกันเอง แบ่งงานกันไปท�ำหลายกลุม่ ทัง้ ออกแบบแพ็คเกจ โปรโมทด้ ว ยแผ่ น พั บ บอกสรรพคุ ณ ของถั่ ว งอกปลอดสาร เทคนิคการเพาะถั่วง่ายๆ ไว้กินที่บ้าน ท�ำสติกเกอร์ อัพเดต ข้อมูลลงเฟสบุ๊ก และกลุ่มที่ส�ำคัญคือกลุ่มเพาะถั่ว ที่เป็นเด็ก ผู้ชายทั้งหมด คราวนี้จะเพาะถั่วถึง ๔ สี คือ นอกจากถั่วเขียว ก็มถี วั่ แดง ถัว่ ด�ำ ถัว่ ลิสง และจะเพิม่ เทคนิคให้ถวั่ งอกอวบอ้วน ด้วยการเอาถุงใส่น�้ำมาทับไว้ แล้วก็รองด้วยกระสอบเพื่อให้ ตัดรากได้เลยทีเดียว ไม่ต้องมานั่งเด็ดทีละอัน ฟังดูดีน่าสนุก เลยใช่เปล่า แต่มันไม่เป็นอย่างงั้นสิ ช่วงน�ำเสนอความคืบหน้า ทุกกลุม่ ท�ำได้ดี เว้นแต่กลุม่ เพาะถั่วที่มีแต่ข้อมูลกับอุปกรณ์ แต่ไม่ยอมทดลองเพาะสักที เพื่อนๆ บอกให้กลุ่มนี้ลองเพาะถั่วดู จะได้รู้ปริมาณถั่ว พอถึง
50
ครูอยากบอกว่า... ครูตอ้ งมีสติ รูท้ นั ตนเอง และรับฟังความรูส้ กึ ของเด็ก สามารถฉวยโอกาสน�ำพานักเรียน ให้เกิดการเรียนรู้ได้จากความล้มเหลว ไม่ใช่แค่จากความส�ำเร็จเพียงอย่างเดียว วันพฤหัสกลุ่มนี้เริ่มเอาถั่วมาแช่น�้ำอุ่นค้างคืนไว้ เพื่อวันศุกร์ จะได้เอามาเพาะ และแล้ววันขายถัว่ ปลอดสาร ๔ สีกม็ าถึง คือ ตลาดนัดวันอังคาร ผลคือถัว่ งอกออกมาแค่ ๒ สีคอื เขียวและแดง แล้วที่ตั้งเป้าไว้ ๑๐ กิโลกรัม งอกมาไม่ถึงกิโลกรัม ที่เหลือ หงิกงอและเน่า คราวนี้กลุ่มนี้เริ่มโทษกันเองว่ารดน�ำ้ เยอะไป วางถุงน�ำ้ หนักไป อุปกรณ์หว่ ย กระสอบเก่าเลยเน่า ฯลฯ ในขณะ ทีเ่ พือ่ นกลุม่ อืน่ มีอาการผิดหวัง เอาถัว่ ใส่ถงุ ไปขายแค่แป๊บเดียว ก็หมด เพราะมันมีนอ้ ยมาก เช้าวันรุ่งขึ้นครูรวมเด็กเพื่อสรุปการเรียนรู้ ตอนแรก เรากะจะต�ำหนิดุกลุ่มที่ท�ำพลาด แต่พอเห็นหน้าเศร้าๆ จ๋อยๆ
ของเด็กทีม่ านัง่ รวมแล้วดุไม่ลง เลยถามว่าตอนนีแ้ ต่ละคนรูส้ กึ อย่างไร หลายคนบอกเสียใจ ผิดหวัง โกรธมาก เราเลยถามว่า เราจะท�ำยังไงกันดีกับความรู้สึกนี้ ฟ้าสร้างบอกว่า “เป้าหมายเราคือ เราจะปลูกถัว่ ที่ไม่ได้ งอกแค่ถวั่ หนูวา่ มันก็ได้นะครู ถึงแม้มนั จะไม่งอกตามทีต่ งั้ ไว้ แต่เราก็ได้รู้ว่าถ้ามานั่งโทษกันเองก็มีแต่จะเครียด แย่นะครู” ส่วนนักเรียนอีกหลายๆ คนบอกว่า “งั้นมาดูไหมครูว่ามันพลาดตรงไหน” “มันผ่านมาแล้ว ก็ต้องท�ำใจให้เป็นนะครู” เกสทีเ่ ป็นหัวหน้าบอกว่า “หนูควรจะติดตามความคืบหน้า ด้วยแหละ จริงๆ ช่วยกันเพาะก็ได้” แล้ ว กลุ ่ มเพาะถั่วก็ขอโทษที่ท� ำให้เพื่อนๆ ผิ ด หวั ง บรรยากาศในห้ อ งเริ่ ม ผ่ อ นคลาย กลุ ่ ม เพาะถั่ ว เสนอว่ า จะขอเพาะใหม่ตอนเปิดเทอม แล้วเพื่อนๆ ในห้องก็เริ่มพูด กั นว่ า จะช่ ว ยกั น เพาะเอาไปขายในวั น ที่ จั ด งานช่ ว ยครู จ ้ อ บรรยากาศดี ๆ กลั บ มา เราเลยจบด้ ว ยการตั้ ง ค�ำ ถามให้ นักเรียนทุกคนพูดว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากการท�ำโปรเจกต์ ครั้งนี้ “ถ้าท�ำงานกลุ่มแล้วมันผิดพลาด มาโทษกันก็จะยิ่งแย่ ท�ำงานกลุม่ ไม่ได้ เรามาหาทางแก้ไขกันเลยดีกว่า” “เรียนรูจ้ าก สิ่งที่ผิดพลาดก็ได้ แต่ต้องไม่โทษกันเอง มาลองท�ำใหม่ดีกว่า” “ให้อภัยกัน” “ท�ำผิดต้องขอโทษ” “ไม่ควรประมาท” “ถ้าเราท�ำอะไรได้ก็ให้ท�ำ อย่าคิดว่า ไม่ใช่ความรับผิดชอบของเรา”
ฯลฯ ยังมีอีกที่เราจ�ำไม่ได้แล้ว แต่เป็นไงล่ะ โปรเจกต์ที่ผล ออกมาล้มเหลว แต่เรากับเด็กในห้องก็ได้เรียนรู้อะไรตั้งเยอะ จากความล้มเหลว ถ้าวันนั้นเราเข้าไปดุ ไม่ไปถามความรู้สึก ไม่ฟังเขา เหตุการณ์อาจจะไม่ได้เป็นอย่างนี้ เราเลยประทับใจ และคิดว่านี่แหละคือความส�ำเร็จของการเรียนการสอน
51
SECONDARY
ไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์นี้
เรียนรู้ได้มากกว่าที่ครูเคยคิด
ครูเปรมปรีติ หาญทนงค์ (ครูปุ๊)
สวัสดีครูปุ๊ที่รัก ฉันมีนักเรียนคนหนึ่งในชั้นเรียนที่ดูเงียบๆ ไม่ค่อยพูด เรียกได้ว่าไม่พูดเอาเสียเลย หากจะพูดถึงเรื่องของการเขียน ส�ำหรับฉันยังเห็นว่าอยู่ในขั้น ท�ำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ขึ้นอยู่กับ ว่างานนัน้ ง่ายหรือยาก ค่อนไปทางทีจ่ ะเขียนไม่ได้เสียมากกว่า เอาเป็นว่ายังไม่มีชิ้นงานที่แสดงทักษะทางภาษาที่ดีในช่วง ที่ผ่านมาก็แล้วกัน นักเรียนคนนีก้ แ็ ทบไม่มสี ว่ นร่วมใดๆ ในชัน้ เรียนเอาเสียเลย จนแทบไม่มีคะแนนจะให้ จริงๆ ฉันก็บอกกับตัวเองไปแล้วว่า ฉันคงไม่สามารถมองหาทางเข้าส�ำหรับการเรียนของนักเรียน
ครูอยากบอกว่า... บางครั้ ง การยึ ด การเรี ย นการสอนที่ วางแผนมาอย่างดี ก็ไม่ได้ชว่ ยให้ครูคน้ พบ อะไรในตัวนักเรียน ฉันว่าคนเป็นครูต้อง ใส่ใจและพยายามท�ำความเข้าใจนักเรียน อย่างแท้จริง มีหลายโอกาสทีม่ าถึง แต่ครู อาจมองข้ามและยึดแต่วธิ กี ารของครู หากครู ไม่ มี ส ายตามองเห็ น ความเป็ น ตั ว เขา คนเป็นครูตอ้ งเชือ่ ว่ามนุษย์ทกุ คนเรียนรู้ ได้ไม่จ�ำกัด 52
คนนี้ได้ ฉันเองก็ไม่รู้จะให้เธอท�ำอะไรเช่นกัน สิ่งที่ฉันท�ำได้ ก็เพียงแค่หาทางให้เธอมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น ให้ค้น หนังสือ หรือไม่ก็ให้รว่ มน�ำเสนอ ซึง่ หากมองผ่านการให้คะแนน ทางเนือ้ หาและการอธิบายก็พอให้ผา่ นได้ โดยฉันได้ปรับเกณฑ์ การประเมินลงไปอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อนๆ ในห้องก็ ไม่อยากท�ำงานกับนักเรียนคนนีเ้ อาเสียเลย เพราะเธอช่วยงาน ไม่ได้มาก เรื่องของนักเรียนคนนี้เป็นโจทย์ ในใจของฉันมานาน จนวันหนึ่งได้คุยกับพ่อแม่ของเธอ ในฐานะที่เป็นครูประจ�ำชั้น เนื่องจากลูกสาวเรียนเลขไม่ได้ พ่อแม่จึงอยากให้เรียนภาษา จีนแทน วันนั้นผู้ปกครองได้รวบรวมงานทั้งหมดที่ลูกของตน เก็บไว้ในแฟ้มงานมาด้วย การพูดคุยปรึกษาเรื่องการเรียน ในวั น นั้ น พลอยท� ำ ให้ ฉั น ได้ มี โ อกาสพู ด คุ ย กั บ ผู ้ ป กครอง ของนักเรียนผู้นี้ไปยังเรื่องอื่น ฉันได้เห็นว่านักเรียนของฉันเก็บงานเขียนของตัวเอง ไว้เยอะ ซึง่ ก็เป็นงานเขียนตามโจทย์ของวิชาต่างๆ บางชิน้ งาน ก็มีการเขียนเพียงสองสามบรรทัด แต่สังเกตได้ว่างานเขียน ของเธอจะยาวขึ้นเมื่อเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง มีบางชิ้น งานที่เมื่อฉันอ่านดู แวบแรกท�ำให้ฉันคิดว่า นักเรียนคนนี้ ต้องมีอะไรในใจมากกว่าที่คิด หรือเธออาจเป็นอะไรมากกว่า ที่ฉันรู้ เช่นความผิดปกติในการรับรู้ หรือบกพร่องในบางด้าน ขอโทษจริงๆ ที่ฉันจ�ำตัวอย่างไม่ได้ แต่พอจ�ำได้ถึงความรู้สึก และความคิดเห็นของตัวเองทีว่ า่ งานเขียนของนักเรียนหลายชิน้ ดูประหลาดในสายตาของของฉัน มันเหมือนเป็นเรื่องแต่งเอง ไม่มีจริง แต่แม่ของเธอบอกว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงกับเธอ ตอนเด็ก
นาเกลือ : ภาพถ่ายขณะออกภาคสนาม โดย นายภูวิศ สุภัณวงศ์ ชั้น ม.๖/๑
ชิ้นงานหนึ่งที่ท�ำให้ฉันเข้าใจว่าท�ำไมนักเรียนจึงไม่พูด ที่โรงเรียนเอาเสียเลย ก็คืองานเขียนที่มีเพียง ๒-๓ บรรทัด ซึง่ มีเนือ้ หาท�ำนองว่า เจ้าตัวรูว้ า่ การทีไ่ ม่พดู จะท�ำให้เรียนไม่ได้ดี ช่วยงานเพื่อนไม่ได้ และเธอก็เล่าต่อว่าเมื่อตอนที่ยังเด็กมาก ราวอนุบาลหรือ ป.๑ มีครูคนหนึ่งบอกกับเธอว่า หากเธอ ไม่พูดก็ให้ไปเรียนโรงเรียนคนใบ้ ไม่ต้องพูดถึงความรู้สึกใน เวลานั้นของผู้ที่ได้ยินจะรู้สึกกันอย่างไร ฉันเองก็สะเทือนใจ ไม่น้อย นี่คงเป็นเหตุของการไม่มีส่วนร่วมในชั้นเรียนของเธอ ตลอดมา เพราะขาดความเชื่อมั่นอันเนื่องด้วยค�ำพูดของครู ที่เคยบอกว่าเธอควรไปอยู่โรงเรียนคนใบ้นั่นเอง ฉันเลยคิดว่า การเรียนรู้ของเธอที่น่าจะท�ำให้นักเรียนคนนี้ท�ำงานเขียนได้ คงต้องเชื่อมโยงกับประสบการณ์ชีวิตโดยเฉพาะเรื่องราว ของตนเอง หรือคนในครอบครัวของตนเอง จนถึงปลายเทอม นักเรียนในชัน้ เรียนต้องช่วยกันท�ำงาน หนังสือส่งหน่วยงาน สช. ฉันเองได้ถามนักเรียนคนนี้ว่า อยากท�ำอะไร (แอบคิดในใจว่านักเรียนจะตอบว่าถ่ายรูปหรือหา ภาพประกอบ) แต่แล้วเธอก็ตอบฉันว่าอยากเขียน ซึ่งฉันเอง ก็หนักใจ “งานเขียนที่ส่ง สช. เลยเชียวนะ!!” แต่ฉันก็ตัดสินใจ
ให้เธอได้ท�ำงานในสิ่งที่เธออยากท�ำอยู่ดี โดยให้ไปเขียนเรื่อง ของครูบญุ รอด ซึง่ ท่านเป็นบุคคลทีม่ คี วามรูเ้ รือ่ งนาเกลือสมุทร ฉันให้นกั เรียนทบทวนสิง่ ทีเ่ คยพูดคุยกับครูบญุ รอดแล้วก็เขียน โดยในงานเขียนเธอได้โยงเรื่องของครูไปสู่เรื่องปู่ของตัวเอง (จริงๆ ด้วยแหละ) เพราะทั้งครูบุญรอดและปู่ของเธอต่าง ก็ปว่ ยเป็นมะเร็งปอดทัง้ คู่ เธอเขียนถึงครูบญุ รอดว่าสงสารและ เข้าใจในความทรมาน (เพราะปู่ก็ป่วยเหมือนกัน) และชื่นชม ที่ครูบุญรอดยังเป็นห่วงอนาคตของนาเกลือแม้จะป่วยหนัก นักเรียนส่งงานเขียนนี้อีกสองสามครั้ง โดยฉันแนะน�ำ แหล่งความรูเ้ พิม่ เติมให้เธอได้ศกึ ษาเพิม่ เติมประกอบการเขียน ไม่ น านงานก็ เ สร็ จ และถื อ เป็ น งานเขี ย นที่ ดี พ อสมควร เป็นงานเขียนที่มีความยาวมากกว่าหนึ่งหน้ากระดาษชิ้นแรก ของเธอและเธอก็ดูภูมิใจกับตัวเอง ส�ำหรับฉันต้องตอบว่า ไม่อยากเชื่อ ไม่ใช่ในเรื่องที่ว่า ฉันช่วยให้นกั เรียนคนนีเ้ ขียนงานได้ แต่ฉนั กลับทึง่ ในเรือ่ งทีว่ า่ นักเรียนสามารถเขียนได้ มนุษย์นี้เรียนรู้ได้เกินกว่าที่ฉันคิด จริงๆ แม้แต่คนที่ฉันคิดว่าจะไม่สามารถท�ำอะไรได้เลย
53
SECONDARY
เมื่อการเรียนรู้
เป็นเรื่องเดียวกับทักษะชีวิต ครูวิวรรธน์ หมั่นปรุ (ครูวรรธน์)
ถึงครูวรรธน์ เมื่อตอนที่ผมสอนอยู่ที่ชั้น ม.๓ เทอม ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ วันนั้นสอนนักเรียนเรื่องคานและโมเมนต์ ผมตัดสินใจ เปลี่ยนความเคยชินเดิมๆ ที่สอนเนื้อหาวิชาการด้วยการเขียน กระดาน ลองเปลี่ยนเป็นการตั้งค�ำถามถามนักเรียนว่าถ้า นักเรียนเดินทางไปท�ำธุระกับแม่หรือกับครอบครัวทีต่ า่ งจังหวัด โดยขับรถยนต์ แล้วรถยนต์เกิดยางแตกจะท�ำอย่างไรกัน? มีนักเรียนส่งเสียงตอบมาว่า “ก็เปลี่ยนยางสิครู” ผมจึงตอบกลับไปว่า “ได้.. ถ้างั้นพวกเราทั้งหมดลงไป ชั้นล่างที่รถยนต์ที่จอดอยู่ เพื่อฝึกการเปลี่ยนยางรถกัน” และ ผมได้ให้กุญแจบล็อกขันล้อที่มีด้ามยาวประมาณ ๑ ฟุตกับ
ครูอยากบอกว่า... เราเลือกได้วา่ เราจะสอนแบบไหน สอนแบบ เขียนกระดานตามทีเ่ ราก็เรียนมา หรือยอม เหนื่อยมากขึ้น คิดมากขึ้น พานักเรียน ลงมือซึ่งมันได้ผลกว่า 54
นักเรียน เพื่อใช้ถอดน็อตล้อ ปรากฏว่านักเรียนทั้งหมด ไม่สามารถถอดน็อตออกได้เลย ผมจึงถามต่อว่าเป็นเพราะอะไร นักเรียนตอบกลับมาว่า “แรงผม/แรงหนู ไม่พอค่ะ” ผมจึงถามต่อไปว่าแล้วนักเรียนจะยอม อยูก่ บั ทีห่ รือรอคนมาช่วยหรือ ถ้าแรงไม่พอแล้วต้องท�ำอย่างไร สักพักก็มนี กั เรียนคนหนึง่ ใช้เท้าเหยียบไปทีป่ ระแจขันน็อต ซึ่งก็เกือบท�ำให้ดีดขาตัวเอง เพราะประแจมันหลุดออกมา และมีนักเรียนอีกคนหนึ่งเดินไปหยิบท่อนเหล็กมาแล้วบอกว่า “ครูต้องต่อด้ามให้ยาวครับ“ (ผมได้เตรียมท่อนเหล็กกับไม้เอา ไปวางบริเวณใกล้ๆ อยู่แล้ว) นักเรียนจึงพากันถอดน็อตเปลีย่ นล้อกันสนุกสนานไปเลย มีนักเรียนพูดขึ้นมาว่า “ดูมันยาก.. แต่ก็ง่ายนะครู” จากนั้ น ผมก็ พ านั ก เรี ย นขึ้ น ไปเรี ย นต่ อ บนห้ อ งเรี ย น และนั ก เรี ย นก็ ไ ด้ แ นวคิ ด (Concept)ในเรื่ อ งของคานและ โมเมนต์ว่าถ้าแรงคูณระยะทางตั้งฉากตามแนวแรง จะท�ำให้ เกิ ด งานของโมเมนต์ และถ้ า ระยะเพิ่ ม มากขึ้ น จะท� ำ ให้ แรงบิดเพิ่มมากขึ้นด้วย ท�ำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาวิชาการ ได้ดีขึ้น และท�ำให้เขามีทักษะชีวิตที่จะเอาวิทยาศาสตร์หรือ ฟิสิกส์ช่วยแก้ปัญหาและสามารถช่วยผู้อื่นได้อีกด้วย
PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY
ลานอิฐ ๑๖.๓๐ น. โดย ครูชวลิต อุ๋ยจ๋าย (ครูเชา) 55
PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY
รอหน่อยนะ
หนูก�ำลังพยายาม
ครูปาญิกา ปลั่งกลาง (ครูเป๊ก)
ถึงเป๊กเพื่อนรัก วันนี้เป็นวันที่อากาศสดใส และที่ส�ำคัญหัวใจของฉัน ก็ยงั เบิกบานด้วยนะ ฉันจึงอยากเขียนถึงเรือ่ งทีท่ ำ� ให้หวั ใจของ ฉันเบิกบานมาให้เธอได้อา่ นบ้าง เผือ่ ว่าจะได้เบิกบานไปด้วยกัน เรื่องเกิดขึ้นเมื่อตอนช่วงบ่ายวันหนึ่ง ฉันสอนมวยไทยเด็ก อนุบาล ๓ ฉันก็ด�ำเนินกิจกรรมทุกอย่างไปตามปกติและ
56
ตามล�ำดับขัน้ ตอน ตัง้ แต่รวมแถว รวมใจสร้างความพร้อมก่อน สวดมนต์บชู าครู เมือ่ ทุกอย่างพร้อมเราก็พาเด็กๆ อนุบาลเข้าสู่ กิจกรรมที่เตรียมเอาไว้ เราต้องเน้นค�ำว่าเตรียมเอาไว้ เพราะ ก�ำลังจะมีบทเรียนดีๆ ของการเป็นครูเกิดขึ้น เธอคงอยากรู้ แล้วสินะว่ามันก�ำลังจะเกิดอะไรขึ้น ในเมื่อทุกอย่างดูเหมือนมี ความเป็นปกติ เตรียมการไว้ล่วงหน้าทุกอย่าง
กิจกรรมทีฉ่ นั เตรียมไว้คอื การไต่สะพานเชือก ๒ เส้นข้าง ริมบึง โดยเริม่ ทีเ่ ด็กๆ แต่ละคนต่อแถว ค่อยๆ ปีนขึน้ บนต้นไทร แล้วค่อยๆ หาจังหวะยืนทรงตัว และเอือ้ มมือไปเกาะเชือกเพือ่ ไต่ สักครูฉ่ นั สังเกตเห็นเด็กคนหนึง่ ตัวเล็กๆ ดูทา่ ทางใช้ความพยายาม มากๆ หน้าตาดูมุ่งมั่นจริงจัง แต่ด้วยตัวเขาเล็ก จึงเอื้อมไปจับ กิง่ ไม้ไม่คอ่ ยถึงสักเท่าไร ฉันมีความกังวล ก็เลยตัดสินใจขึน้ ไป บนต้นไม้ แล้วเอื้อมไปจะช่วยพยุงเขา ทันใดนั้นเสียงจากเด็ก ที่เราพยายามจะช่วยก็ลอยมาว่า “ไม่เป็นไรครับ ผมแค่ค่อยๆ หาที่ที่เหมาะๆ ส�ำหรับตัวเองอยู่ครับ” เราก็รับฟัง แต่ยังไม่ลึกซึ้งเท่าไรนัก ก็เลยรับทราบว่า “อ้อ เหรอคะ” แต่สายตาเราก็ยังไม่ห่างจากเขา ยังมองต่อไป (เริ่มกังวลโดยไม่รู้ตัวแล้วสิเรา เพราะไม่ได้อยู่ในแผนที่เตรียม ไว้) แล้วเด็กคนนั้นก็ค่อยๆ ขึ้นไปยืนบนเชือก ค่อยๆ เอื้อมมือ ไปเกาะเชือกเพื่อขึ้นยืน แต่ขณะที่เขาพยายามที่จะเกาะเชือก ด้วยว่าตัวเขาเล็ก จึงค่อยๆ ท�ำ เรากลับกังวลหนัก ก็เลยเข้าไปหา แล้วบอกเขาว่า “เอามือมาเกาะกิ่งไม้ตรงนี้ก่อนสิ” ทันใดนั้น เสียงของเด็กคนนี้ก็ให้สติกับเราในทันทีว่า “เอ่อ ครูเป๊กครับ ครูไม่ต้องช่วยผมครับ” เราเองยังไม่เข้าใจอยู่ดี เลยถามกลับ ไปว่า “เพราะอะไรเหรอคะ” เขาก็ตอบออกมาด้วยน�ำ้ เสียงทีเ่ รา รับรูไ้ ด้ทนั ทีวา่ เขามัน่ ใจต่อสิง่ ทีเ่ ขาก�ำลังท�ำว่า “ผมรูส้ กึ ว่ามันดู วุ่นวาย”
ครูอยากบอกว่า... บางครัง้ ครูมองไม่เห็นตัวเองว่าเราเร็วเกินไป เราตั ด สิ น เด็ ก ไปแล้ ว จากมาตรฐานและ ความคาดหวังในใจครู จนกลายเป็นปิด โอกาสทีเ่ ด็กจะได้เผชิญและเรียนรูด้ ว้ ยตัวเอง เท่านัน้ ล่ะเพือ่ นรัก หากเราไม่เคยพบครูบาอาจารย์มาก่อน ไม่เคยได้ปฏิบัติธรรมมาบ้าง เราก็คงต้องโกรธเด็กคนนี้ทันที ทีบ่ งั อาจมาต�ำหนิเรา แต่กลับกัน ฉันกลับรูส้ กึ ตัวในทันทีวา่ เรา เร็วเกินไป ไปประเมินว่าที่เขาก�ำลังพยายามอยู่นั้นคือการท�ำ ไม่ได้ เราตัดสินเขาไปแล้ว ทันใดนัน้ ฉันก็เบิกบานขึน้ มา พร้อม กับเสียงหัวเราะของตัวเอง แล้วตอบกลับไปว่า “อ่อเหรอ ครูขอโทษค่ะ” แล้วก็เงียบเพื่อให้นักเรียนที่เป็นครูเราภายใน เวลาเดียวกัน ได้น�ำทักษะและความรู้ที่เขาสะสมจากกิจกรรม ที่เราพาเขาท�ำมาตั้งแต่ต้นมาปรับใช้ด้วยตัวเขาเองจริงๆ ครูเป๊กขอบคุณมากค่ะที่ช่วยเตือนสติให้ครูได้ท�ำหน้าที่ ของครู ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช่ท�ำหน้าที่แค่ผู้สอน จนไม่ยอมวางใจปล่อยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเผชิญปัญหา ด้วยตัวเอง
57
PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY
เพราะครูสนุก
เด็กจึงสนุก(กับการเรียนรู้) ครูเอกลักษณ์ เล้าเจริญ (ครูเจี๊ยบ)
ถึงเจี๊ยบเพื่อนรัก เจี๊ยบรู้ใช่มั้ยว่าเราเป็นครูที่นี่มาปีนี้ก็เข้าปีที่ ๑๑ แล้ว ตลอดเวลาของการเป็น ครูรุ่งอรุณ ท�ำให้เราได้เรียนรู้อยู่ ตลอดเวลา ความรูท้ เี่ รามีเราต้องพัฒนามันให้กา้ วหน้าอยูเ่ สมอ แต่ก็มีที่เราท�ำเรื่องเดิมๆ ซ�้ำๆ อยู่ เช่น เราสอนดนตรีสากล กับนักเรียน ป.๒ โดยให้เด็กๆ เป่าขลุ่ยมาเป็นเวลา ๕-๖ ปี จะว่านานก็ได้นะ แต่เด็กที่มาเรียนกับเราในตอนนั้นจะวนฐาน มาเรียนกันแค่ ๑ เทอมเท่านัน้ เราก็เลยท�ำแผนการสอนชุดเดียว กันมาเป็นเวลานาน ถึ ง จุ ด หนึ่ ง เราเริ่ ม รู ้ สึ กว่ า เราไม่ ส นุ ก กั บ การสอนแล้ ว ย้อนมองกลับมาที่ตัวเอง ขนาดเรายังไม่สนุกแล้วเด็กๆ ล่ะ? คิดแล้วก็ตอ้ งเริม่ ตัง้ หลักใหม่แล้วล่ะ มานัง่ คิด จะท�ำอย่างไร ให้เด็กกับเราสนุกไปด้วยกัน ก็เลยปิ๊งไอเดียว่า ก็ลงไปร่วม เล่น ร่วมทดลองกับเด็กๆ เลยดีกว่า จากนั้นแผนการสอน กิจกรรมต่างๆ ก็เริม่ ต้นขึน้ เราให้เด็กได้ทดลองหาวัสดุรอบตัว มาประดิษฐ์เครือ่ งดนตรีเล่นร่วมกัน ก็ได้ขวดแก้วทีม่ ขี นาดและ
ครูอยากบอกว่า... ในการสอนนั้ น ให้ เ ราพยายามคิ ด ท� ำ สิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทาย จะท�ำให้เราสนุกกับ การท�ำงาน เมื่อตัวเราสนุกแล้ว รับรองว่า เด็กๆ ก็ย่อมสนุกไปกับเราด้วย
58
รูปร่างทีแ่ ตกต่างกันจากสถานีรไี ซเคิล มาทดลองใส่นำ�้ และเคาะ ให้เป็นระดับเสียง เด็กๆ ตื่นเต้นและสนุกสนานกับการทดลอง ใส่นำ�้ เทน�ำ้ วัดระดับเสียง กิจกรรมนีม้ นั มีความท้าทายและกระตุน้ ความส�ำเร็จของเด็กๆ มากทีเดียว พอท�ำได้ระดับเสียงหนึ่ง ก็ดีใจ เฮกันลั่นห้อง เราอยากให้เจี๊ยบมาเห็นบรรยากาศนั้นจริงๆ พอท�ำได้ หลายๆ ขวด ได้หลายระดับเสียง เราก็มาร่วมบรรเลงเป็นเพลง ด้วยกัน เพลงแรกคือเพลงหนูมาลี จากนั้นเราก็ได้แต่งเพลง ทีม่ ที ำ� นองสนุกๆ อีก ๑ เพลงให้เด็กๆ เล่นเครือ่ งดนตรีขวดแก้ว พอเล่นไปสักพัก ความคิดที่จะมีเนื้อร้องก็ตามมา เลยชวน ให้เด็กๆ ช่วยกันคิดเนื้อร้อง ได้เนื้อร้องมาห้องละ ๑ เพลง ทีม่ เี นือ้ หาเกีย่ วกับสิง่ แวดล้อมในโรงเรียนรุง่ อรุณ ตอนทีใ่ ห้เด็กๆ ช่วยกันแต่งเนือ้ ร้องนะเป็นภาพที่ได้เห็นความร่วมมือของเด็กๆ การรับฟัง การยอมรับความคิดเห็นของเพือ่ นๆ เป็นบรรยากาศ การเรียนรู้ที่ดีมากๆ เลย หลังจากนั้นมีการน�ำเอาอังกะลุง มาเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีขวดแก้ว ได้รับเสียงปรบมือและ ค�ำชื่นชมในงานหยดน�้ำด้วยนะ ประเด็นที่เราอยากบอกเจี๊ยบก็คือ ในการสอนนั้นให้ เราพยายามคิดท�ำในสิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทาย จะท�ำให้เราสนุกกับ การท�ำงาน เมื่อตัวเราสนุกแล้ว รับรองว่าเด็กๆ ก็ย่อมสนุก ไปกับเราด้วย อย่ากลัวที่จะลองท�ำเรื่องใหม่ๆ นะ
คุณค่าของทีม ครูเอกราช แพรม่วง (ครูเล็ก)
สวัสดีเล็กเพื่อนรัก การท� ำ งานในอาชี พ ครู นั้ น การวางแผนการสอนเป็ น สิง่ ส�ำคัญ บางครัง้ วางแผนแล้วเป็นไปอย่างทีว่ างไว้กม็ คี วามสุข ทั้งนักเรียนและครู แต่ถ้าไม่เป็นไปอย่างที่วางแผนไว้ หรือ วางแผนไม่รัดกุม เราก็ต้องแก้ไขหรือปรับแผนการสอนบ้าง ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ บางครั้งแผนการสอนของเรา ไม่ประสบความส�ำเร็จ นักเรียนไม่สนใจในกิจกรรมของครู เราก็ไปโทษนักเรียนว่าไม่ตั้งใจเรียน หรือถ้าห้องเรียนเริ่ม วุ่นวาย ครูก็เริ่มหงุดหงิด แต่พอกลับมาดูตัวเอง ท�ำจิตใจ ให้เป็นปกติ จะเริ่มมองแผนการสอนตัวเองที่ยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่ตอบรับการเรียนรู้ของนักเรียน ผมค่อยๆ สงบอารมณ์ ตัวเอง และตั้งสติค่อยๆ แก้ปัญหาตามความเป็นจริง ท�ำให้ลด อาการโกรธและหงุดหงิดลงได้ แล้วน�ำปัญหาที่เกิดขึ้นมา ปรึกษาเพื่อนครูในทีม ผมเริ่ ม เล่ า ปั ญ หาให้ เ พื่ อ นครู ใ นที ม ฟั ง ทุ ก คนช่ ว ย วิเคราะห์ วิจารณ์ และช่วยเสนอความคิด ช่วยคิดแผนการสอน ให้ เ หมาะสมกั บ ชั้ น เรี ย น พอผมน� ำ ค� ำ แนะน� ำ มาปรั บ ใช้ ในการสอนปรากฏว่าช่วยท�ำให้การเรียนการสอนราบรื่นขึ้น นักเรียนมีความใฝ่รู้ในการเรียนดีขึ้น ท� ำให้ห้องเรียนเกิด ความสุขทั้งนักเรียนและครู ผมจะเล่ า การสอนกลุ ่ ม กี ต าร์ ก ลุ ่ ม คละชั้ น ป.๔-๖ เป็นครัง้ แรกทีผ่ มมาสอนเครือ่ งดนตรีชนิดนีซ้ งึ่ มีนกั เรียนเลือก สิบคน ในช่วงแรกผมสอนเหมือนกันทุกคน คือเริ่มจากเพลง ที่ง่ายๆ เพราะคิดว่าจะจัดการเรียนได้ง่าย ปรากฏว่าสอน ไปได้สกั สองสัปดาห์ นักเรียนทีม่ พี นื้ ฐานอยูแ่ ล้วเริม่ เบือ่ ไม่คอ่ ย
ครูอยากบอกว่า... การยอมรับฟังคนอืน่ ไม่เอาตัวเองเป็นทีต่ งั้ ท�ำให้เราก้าวออกจากกรอบและเห็นข้อจ�ำกัด ของตัวเอง สนใจในเพลงที่เราเตรียมไว้ และไม่ค่อยซ้อม ผมเห็นนักเรียน ไม่ฝึกซ้อมก็เริ่มไม่พอใจ พยายามหาสาเหตุที่ท�ำให้นักเรียน เป็นเช่นนั้น แต่ก็ยังคิดไม่ออก เพราะเราคิดในมุมของตนเอง จึงน�ำปัญหาดังกล่าวมาปรึกษาครูในทีม เพื่ อ นครู ใ นที ม ช่ ว ยวิ เ คราะห์ แ ล้ ว แนะน� ำ โดยให้ เ รา ลองแยกนักเรียนตามความสามารถเป็นกลุ่ม กลุ่มมีพื้นฐาน เบื้องต้น กลุ่มมีพื้นฐานปานกลาง และกลุ่มมีพื้นฐานที่ดี แล้วเลือกเพลงตามความสามารถของกลุ่มนั้นๆ จากนั้นพอ เล่นได้แล้วให้ไปร่วมเล่นกับวง R.A. Pop Orchestra หลังจาก ลองท�ำตามค�ำแนะน�ำปรากฏว่าบรรยากาศในห้องเรียนเริม่ ดีขนึ้ นักเรียนเริ่มฝึกซ้อมด้วยตนเอง มีความสนใจและตั้งใจ ฝึกซ้อมดี เพราะนักเรียนมีเป้าหมายในการเรียนที่ต่อไปจะได้ ไปรวมกับวง R.A. Pop Orchestra ผมประทับใจในการท�ำงานแบบเป็นทีมที่ทุกคนช่วยกัน แก้ปัญหา ท�ำให้ได้ความคิดหลากหลาย หลายมุมมอง และ เมื่อน�ำมาปรับใช้ก็ท�ำให้แผนการสอนของเรามีประสิทธิภาพ มากขึ้น
59
PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY
การเรียนรู้
ที่ท้าทายครูและนักเรียน ครูคมสันต์ ละครอนันต์ (ครูบั๊ก)
ถึงคมสันต์เพื่อนรัก ตอนนี้ก็หลายปีแล้วที่ท�ำงานในรุ่งอรุณ นายเคยรู้สึกบ้าง รึเปล่าเวลาที่เราท�ำอะไรบ่อยๆ จนคุ้นชินก็จะรู้สึกเบื่อ ไม่สนุก เราเคยรูส้ กึ แบบนีม้ าระยะหนึง่ รูส้ กึ ว่าเราท�ำในสิง่ เดิม นักเรียนเอง ก็รู้ว่าเราจะท�ำอะไร เขาก็รู้สึกชิน มันเริ่มไม่สนุก ไม่ท้าทาย ทั้งครูและนักเรียน พอเราคุยกับทีมครูดนตรีสากล ทั้งทีมก็มี ประเด็นนีอ้ ยู่ ทุกคนรูส้ กึ คล้ายๆ กัน เลยมาคิดกันว่าจะท�ำอย่างไร ให้เกิดความแปลกใหม่และท้าทาย เราต้องหาแรงบันดาลใจ ใหม่ๆ จนเกิดไอเดียการสร้างวงดนตรีออร์เคสตร้าขึ้น ตอนสร้างวง R.A. Pop Orchestra เราก็ไม่รหู้ รอกว่าจะเกิด อะไรขึ้น มันเป็นเรื่องใหม่ เราคิดกันว่าจะตั้งวงขึ้นให้เป็น จุดรวมของนักดนตรีของโรงเรียน แล้วค่อยๆ ตั้งเป้าหมาย
ครูอยากบอกว่า... ครูต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด ถ้าย�่ำ อยู่กับสิ่งเดิมๆ มันจะเกิดภาวะที่รู้สึกเบื่อ ไม่สนุก ไม่ท้าทาย ดังนั้นเราต้องไม่หยุด คิ ด ในสิ่ ง ที่ ท� ำ อยู ่ ไม่ ม องว่ า ดี อ ยู ่ แ ล้ ว แต่มองว่ามันต้องไปได้อกี ต้องมีทดี่ กี ว่านี้ อีก แล้วเราจะสนุกกับการเป็นครู
60
ไปเรื่อยๆ ตามรายทาง หลังจากเราตั้งวงออร์เคสตร้าได้ เราก็ นัดหมายมาฝึกซ้อมรวมวง พอฝึกซ้อมไปได้ระยะหนึง่ เราเห็น พัฒนาการและความตัง้ ใจของทุกคนในวง เลยตัง้ เป้าหมายแรก ว่าจะจัดการแสดงเล็กๆ ขึ้นในโรงเรียนเพื่อเปิดตัววงของเรา การแสดงครัง้ แรกท�ำให้เราเห็นการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ทั้งกับครูและนักเรียน เด็กๆ ตื่นเต้น ครูก็ตื่นเต้น ทุกคนมาอยู่ รวมกัน ร่วมกันฝึกซ้อม ร่วมกันแสดง เรารู้สึกชื่นใจกับภาพ ที่เกิดขึ้นและเห็นทางจะไปต่อ นั่นคือการออกไปแสดงนอก โรงเรียน คอนเสิร์ต รวมไทย ใจหนึ่งเดียว ที่จัดขึ้นที่โรงละคร แห่งชาติเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมานั่นเอง การแสดงครั้งนี้ท�ำให้เรารู้สึกกดดันกันพอสมควร เพราะ เรามีเวลาฝึกซ้อมและเตรียมตัวค่อนข้างน้อย มีเรื่องที่ต้องท�ำ เพิม่ เติมมากมายหลายเรือ่ ง โดยเฉพาะการติดต่อประสานงาน กับทีมอื่นๆ ที่จะมาช่วยเรา การฝึกซ้อมที่เหน็ดเหนื่อยกัน ทั้งครูและนักเรียน แต่เพราะทุกคนเข้าใจความหมายของงาน ในครัง้ นีท้ เี่ ป็นงานการกุศล และจะท�ำให้คนในชาติเกิดความคิด อะไรบางอย่าง ทุกคนเลยอยากท�ำและตั้งใจกันเต็มที่ เมือ่ เราย้อนมองกลับไป เราเห็นว่าคุณค่าของดนตรีมนั ได้ เกิดขึน้ แล้ว ทัง้ กับตัวนักเรียนและครู จากประสบการณ์การฝึกซ้อม และการแสดงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตัวเราเองเราก็รู้สึกประทับใจ หายเหนื่อย และสนุกกับการท�ำงานได้ต่อไป
บรรยากาศการซ้อมงานคอนเสิร์ต “รวมไทย ใจหนึ่งเดียว”
61
PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY
ไม้กลองท�ำมือ
สื่อสร้างจังหวะ-สมาธิ ครูเชษฐพงศ์ รอตฤดี (ครูเชษฐ)
ถึงเชษฐ...เพื่อนรัก การท�ำงานที่ โรงเรียนรุ่งอรุณที่ผ่านมา มีเรื่องให้เรา ประทับใจอยู่ตลอด อย่างล่าสุดก็การสอนชั้น ป.๑ เทอมนี้ เด็กๆ เรียนดนตรีกันสนุกมาก เพราะเด็กๆ เขาชอบร้องเพลง และมีจินตนาการต่างๆ มากมาย เทอมนี้เราชวนเขาเล่นเรื่อง จัง หวะ เอาจั ง หวะที่ เด็ กๆ เขาเรี ยนรู้ กัน อยู ่ ใ นห้อ งเรี ย น อย่างบทกลอนและสระต่างๆ มาเพิ่มท่าทางอย่างมีเงื่อนไข โดยใช้กลองเป็นสื่อสร้างจังหวะ และสร้างสรรค์ท่าทางการตี ที่หลากหลาย เด็กๆ ชื่นชอบกันมาก ตอนนัน้ เราให้เด็กแบ่งกลุม่ กลุม่ ละ ๕ คน แล้วให้ออกมา ตีกลองทีละกลุ่ม เราอยากให้เชษฐมาเห็นด้วยตาตัวเอง เด็กๆ เขาตื่นเต้นและสนุกกันมาก แต่ละกลุ่มแข่งกันนั่งเรียบร้อย เตรี ย มพร้ อ มให้ ค รู เ รี ย ก เพราะอยากจะออกมาตี ก ลอง ตามท่าทางที่คิดไว้ พอเห็นเด็กๆ สนุกกับการตีกลอง เราก็ชวนเขาประดิษฐ์ ไม้กลองกันต่อ คือเราอยากให้เด็กๆ มีไม้กลองของตัวเอง เพือ่ จูงใจให้เขาสนุกกับการตีกลองและการสร้างจังหวะ เราเลย ชวนเขาคุยว่าไม้กลองมีไม่พอส�ำหรับทุกคน แล้วบางอันก็ หัก ช�ำรุด เราจะท�ำอย่างไรกันดี เด็กที่ไวเขาก็บอกออกมาว่า ท�ำไม้กลองกันสิ (ตรงกับค�ำตอบในใจครูเลย) วันนั้นเราชวนกันท�ำไม้กลองง่ายๆ โดยเอาไม้ที่เคยใช้ ท�ำธงในการแสดงดนตรี รวมไทย ใจหนึ่งเดียว เมื่อเทอมก่อน มาพันไหมพรมสีต่างๆ ที่เด็กๆ เลือก จากนั้นก็เอาลูกปัดมา ท�ำเป็นหัวไม้กลอง แค่นี้เด็กๆ ก็ตื่นเต้นกันมากที่ได้มีไม้กลอง
62
ครูอยากบอกว่า... เมือ่ ก่อนเราเป็นครูทยี่ ดึ เนือ้ หา เด็กต้องท�ำได้ อย่างที่เราคาดหวัง แต่พอเราเปลี่ยนมา ดูที่เด็ก ดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กเป็นหลัก แม้เราจะแวงแผนไว้ ๑-๒-๓-๔ กิจกรรม ถ้าวันนัน้ ท�ำได้แค่ ๑ กับ ๒ แต่เด็กเขาได้ เรียนรูแ้ ละมีความสุข เราก็มคี วามสุข เป็ น ของตั ว เอง ที่ ส�ำ คั ญ คื อ เป็ น ไม้ ก ลองที่ เ ขาท�ำ ขึ้ น ด้ ว ย ตัวเขาเอง เราเองก็พลอยตืน่ เต้นไปกับเด็กๆ นะเชษฐ หลังจาก ประดิษฐ์ ไม้กลองเสร็จ ก็เอามาตีกลองประกอบการร้องเล่น สระกัน สนุกมากๆ ตั้งแต่ท�ำไม้กลอง เชษฐรู้ไหมว่านักเรียนพกติดตัวเอามา เรียนดนตรีทุกสัปดาห์เลย ทุกคนดูกระตือรือร้นกับการตีกลอง ทีไ่ ม่ใช่เพียงการตีกลอง แต่เป็นกิจกรรมทีเ่ ด็กๆ ได้ใช้จนิ ตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้เรื่องจังหวะ ทั้งยังช่วยกระตุ้น การเรียนรูแ้ ละฝึกสมาธิได้ดมี าก อยากให้มาเห็นจังเลย เด็กๆ เขา เรียนรูอ้ ย่างมีความสุข เราเองก็มคี วามสุขในการสอนมากๆ
จังหวะการสอน ที่สอดคล้องกับ
จังหวะการเรียนรู้ ครูปิติธรรม ธรรมศรี (ครูตั๋ม)
สวัสดีตั๋มเพื่อนรัก เมือ่ เทอมทีผ่ า่ นมาเราได้สอนเด็กห้องพิเศษ ซึง่ มีนกั เรียน ๕-๖ คน ส่วนตัวเราชอบสอนเด็กกลุ่มนี้อยู่แล้ว เพราะเป็น สิ่งที่ท้าทายเรานะ ในการออกแบบกิจกรรมเพื่อไปตอบโจทย์ ของเด็กแต่ละคนว่าต้องการเพิ่มศักยภาพในด้านต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายผ่านกิจกรรมจังหวะดนตรี เราใช้สื่อ ประกอบด้วยนะ เช่น ห่วงหวาย ลูกบอล ความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบท่าทางการเคลื่อนไหวผ่านกิจกรรมส่งลูกไม้ รู้ไหมว่าเด็กๆ ชอบมากๆ พอเขาเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว เขาจะยิ้มและร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุข ได้สังเกตเห็น พัฒนาการของเขาในเรื่องของจังหวะด้วยว่า พอท�ำกิจกรรมนี้ ซ�้ำๆ และเพิ่มโจทย์ ไปทีละนิดๆ เด็กๆ เขาสามารารถท�ำได้ ตรงจังหวะมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เราสังเกตเห็นเขามีความสุข เราก็มีความสุขนะ การร้องเพลง ช่วงแรกก็ฝึกร้องโน้ต เราก็เล่นเปียโน ประกอบไปด้วย ตอนแรกเด็กๆ ก็งงว่า เอ๊ะ! ครูร้องเพลงอะไร ไม่เห็นจะรู้เรื่องเลย เรารู้ตัวเลยว่าเราสอนเร็วเกินไป ท�ำให้ เด็กๆ ไม่เข้าใจ เราก็เลยย่อยกิจกรรมการร้องเพลง ให้เด็กๆ ร้องตามครูเป็นประโยคสัน้ ๆ ก่อน แล้วอ่านออกเสียงตาม เด็กๆ ก็อา่ นออกเสียงได้ดขี นึ้ นะ แต่ดอู าการเด็กแล้วไม่คอ่ ยสนุกเลย
เราก็เลยคิดท�ำนองสัน้ ๆ จากโน้ตร้อง ๓ ตัวโน้ต ใส่จงั หวะสนุกๆ เข้าไป คราวนี้เด็กๆ ดูสนุกขึ้น เราเห็นพัฒนาการเด็กๆ ว่าเขา ร้องเพลงออกมาได้ชัดถ้อยชัดค�ำขึ้น และร้องเพลงตรงระดับ เสียงบ้างเป็นช่วงสั้นๆ คงต้องใช้เวลาล่ะ อีกกิจกรรมหนึง่ คือการเล่นเครือ่ งดนตรี เราให้เด็กๆ ลอง เล่นเครือ่ งดนตรีหลายๆ ชิน้ เริม่ จากกลองตลับ ฝึกให้เขาตีตาม เราให้ตรงจังหวะ ปรากฏว่าเด็กๆ เขามันกับการตีกลองเลย ไม่ฟังเราเลย ฮ่าๆๆ เลยให้ใช้แค่กลองใบเดียวดีกว่า แต่ละคน มีคนละใบ เออ..ดีขึ้นกว่าเดิม เด็กๆ มีสมาธิฟังเสียงกลอง มากขึน้ เครือ่ งดนตรีอกี อย่างหนึง่ ทีใ่ ช้ในการซ้อมคือ ระนาดออร์ฟ เราให้เขาฝึกการตีระนาดซ้าย-ขวาสลับกัน ท�ำให้เด็กสามารถ แยกแยะการตีมือซ้ายและมือขวาได้ แล้วก็ฝึกตีโน้ตเพลงสั้นๆ ก็มีคนที่ตีได้และยังไม่ได้ ก็คงใช้เวลาฝึกอีกสักระยะ เราเขียนมาเพียงอยากให้เธอเห็นวิธกี ารสอนของเรา ทีเ่ รา คอยสังเกตสีหน้าท่าทางของเด็กตอนเรียนว่าเขาเข้าใจหรือ สนุกหรือเปล่า ยิง่ กับเด็กพิเศษด้วยแล้วจะมองเห็นง่าย เพราะถ้า ไม่เข้าใจ ไม่สนุก เขาจะเริม่ ไม่สนใจ เราก็กลับมามองตัวเองว่า อ๋อ...เราเร็วเกินไป พอเห็นเราก็ปรับจังหวะการสอนของเราให้ ช้าลง ให้สอดคล้องกับจังหวะการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มนี้ เด็กๆ เขาก็สนุกและมีความสุขการเรียนรู้ เราเองก็พลอยสนุกไปกับ เขาด้วย
ครูอยากบอกว่า... ครูต้องไม่จมอยู่กับการสอน แต่ครูต้อง อยู่กับเด็ก คอยสังเกตเด็กว่าเขาเข้าใจ หรื อ เปล่ า แล้ ว ปรั บ เปลี่ ย นการสอน ตามสถานการณ์ตรงหน้า
63
PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY
หัวใจส�ำคัญของการเป็นครู คือความสัมพันธ์ของครูกับศิษย์ ครูอภิญญาวุฒิ วิโรจน์เวชภัณฑ์ (ครูโอ๊ต) ถึงโอ๊ตเพื่อนรัก ในความรับผิดชอบของครูดนตรีไทย เมือ่ นึกไปถึงช่วงแรก ของการท�ำงานก็อดข�ำตัวเองไม่ได้ ตอนนัน้ จ�ำได้วา่ แค่ ๒ สัปดาห์ แรกของการท�ำงานก็มเี สียงตอบรับดีมากถึงครูโอ๊ต ทัง้ หนังสือ สือ่ สารจากผูป้ กครอง นักเรียนจะลาออก นักเรียนเดินหนีครูโอ๊ต และอื่นๆ อีกมากหลายต่อหลายสิ่ง ตอนมาใหม่ๆ เราสวมหัวโขนเป็นครูเต็มตัว ไม่รตู้ วั เลยว่า เราจริงจังและคาดหวังมาก พอเจอนักเรียนท�ำไม่ได้ (ดั่งใจครู) ก็คดิ ในใจว่า “มันก็งา่ ยแค่นเี้ อง ท�ำไมท�ำไม่ได้” พอใจคิด ปากก็ไป ทุกครั้งที่มาเรียนกับเรา นักเรียนแทบไม่เคยได้ค�ำชมกลับ ไปเลย เพราะเราใช้แต่ค�ำพูดเชิงลบ เชิงต�ำหนิ
ครูอยากบอกว่า... ครู ก็ คื อ นั ก เรี ย นคนหนึ่ ง ที่ เ รี ย นรู ้ ไ ป พร้อมกับนักเรียน ถ้าครูติดกับดักกับ ค�ำว่าครู ครูจะพลาดการเรียนรู้ ลืมเนื้อ ลื ม ตั ว แล้ ว ครู จ ะกลายเป็ น แค่ ค นที่ ม า อ่านหนังสือให้เด็กฟัง
64
นักเรียนบางคนเขารู้สึกเสียใจกับค�ำพูดของเรา แต่เขา เก็บอาการ ไม่แสดงออก เราก็ไม่รู้ตัว เพราะคิดว่าเด็กเข้าใจ ความหวังดีของเรา จนวันหนึ่งเราสังเกตเห็นท่าทีของเขา ที่มาเรียนอย่างเกร็งๆ กลัวๆ นักเรียนบางคนก็เอาไปบอก ผู้ปกครอง บางคนที่แรงหน่อยก็แสดงอาการต่อต้าน ลุก หนีเราต่อหน้าเลย ตอนนั้นความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ แย่มาก เราเองก็เศร้าใจ คิดในใจว่าเราผิดด้วยหรือที่ต้องการ ให้นักเรียนได้ดี เราก็ถูกอบรมถูกสอนมาแบบนี้ คิดถึงขั้นว่า จะหางานใหม่เลยนะ พอผ่านไปสักพัก เราเริ่มคิดได้ นึกย้อนไปตอนเด็กๆ เราก็ไม่อยากโดนดุ บอกดีๆ ก็ได้ แต่พอมาเป็นครู เราลืมตรงนี้ ไปเลย พอคิดได้เราก็เริม่ เปิดใจไปดูครูคนอืน่ สอน ก็คอ่ ยๆ เรียนรู้ ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงตัวเอง พอเราถอดหัวโขนของครูออก ไม่เอาความเป็นครูมาคาดหวังกับนักเรียน เรารู้สึกผ่อนคลาย และมีความสุขขึ้นนะ เด็กๆ เองเขาก็รับรู้ได้ ความสัมพันธ์ ของครูกับศิษย์ก็ดีขึ้น ประสบการณ์ ๓ ปีในรั้วรุ่งอรุณ มีเรื่องให้เราเรียนรู้และ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เราได้เรียนรู้ว่าการเป็นครูนั้นเราต้อง รักษาความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ ไว้ให้ได้ คุยเล่นบ้าง ชวนกันกินน�้ำกินขนมบ้าง บางจังหวะที่เขาไว้ใจเรา เขาก็พูด เรื่องส่วนตัวที่ท�ำให้เราได้รู้จักเขามากขึ้นหรือเป็นที่ปรึกษา ให้เขาได้
เรียนรู้อย่างมีความสุข เพราะครูลดความคาดหวัง ครูภัทรี อรรถยุกติ (ครูใบตอง) สวัสดี ครูตอง เราเรียนรู้การเป็นครูทุกวัน บางครั้งการสอนคือการเปิด โอกาสให้นกั เรียนเรียนรูด้ ว้ ยตัวเองก็เป็นได้ ถ้าการสอนเป็นไป อย่างถูกจังหวะ สิ่งนั้นๆ จะเข้าไปโดนจิตโดนใจผู้เรียนถึงขั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เลยทีเดียว แล้วโอกาสไหนล่ะที่ครู จะสอนอะไร สอนอย่ า งไร มั น เป็ น จั ง หวะที่ ค รู ต ้ อ งรู ้ ทั น สถานการณ์ ฉกฉวยด้วยสติสัมปชัญญะที่มีอยู่ทั้งหมดทีเดียว มีตวั อย่างข�ำๆ ทีท่ ำ� ให้ครูอย่างเราสะอึกอย่างจัง คือเราสอน ศิลปะนักเรียนคนหนึ่งที่มีความต้องการพิเศษ (เด็กพิเศษ) เราสอนเขาวาดรูปลงสีน�้ำ เราก็พยายามสอนวิธีการวาด ลงสี แบบนี้ๆ ให้เขาท�ำตาม ด้วยความที่เขาพิเศษเรายิ่งสอนเยอะ ละเอียด อยากให้เขาท�ำได้ตามที่เราคาดหวัง (โดยไม่รู้ตัว) พอเขาอยากท�ำในแบบของเขา หรือท�ำตามที่เราบอกไม่ได้ เราก็ยงิ่ จี้ เขาก็ไม่อยากท�ำ คือเขาก็อยากท�ำตามทีเ่ ขาอยากท�ำ เราก็เฮ้ยไม่ได้นะ ต้องท�ำตามครูสิ ครูสอนครูหวังดีนะ บางครัง้ งัดกันมากๆ ครูก็โมโห แต่เราจะรู้ว่ากับนักเรียนคนนี้เขาจะไว กับอารมณ์มาก เขาจับอารมณ์คนรอบข้างได้ไวและมีผล กระทบกับเขามาก ในการสอนเขาทุกครั้งเราพยายามข่ม อารมณ์ตัวเองให้ใจเย็นๆ อย่าไปคาดหวัง ให้เขามีความสุข กับงานเท่านั้น แต่ก็เผลอเพ่งบ้าง ครั้งหนึ่งเขาขอไปเข้าห้องน�้ำ แล้วหายไปนานมากจน เราถึงกับตามไปดู ไปถึงห้องน�้ำไม่เห็นใคร เราก็คิดว่าเขาไป เถลไถลแน่นอน ก็กลับมานั่งรอที่ห้องเตรียมดุเลย พอเขามา
ครูอยากบอกว่า... ถ้าครูลดความคาดหวัง จะท�ำให้นกั เรียน เรียนรูอ้ ย่างมีความสุข เราก็ใส่เลย “ไปไหนมา ท�ำไมไปนาน” เขาก็พยายามอธิบาย ว่าเขาไปห้องน�้ำแต่มันไม่ว่าง เขาเลยต้องเดินไปเข้าอีกที่หนึ่ง ซึ่งมันอยู่ไกลออกไปเลยช้า เราก็อ้าว โอเค เข้าใจ แต่อารมณ์ โกรธยังอยู่ (ยังอยากดุอยู่ ฮ่าๆ) เลยพยายามสอนเขาเรือ่ งเวลา ว่า “ต้องตรงเวลานะ นี่กี่โมงแล้ว เลยเวลาเรียนมาตั้งเยอะ” เขาเห็นหน้าเรานิ่งๆ เขาก็ถามว่าครูตองโกรธหรอ เราก็อุ๊ย! พยายามข่มอารมณ์โกรธ ใจเย็น พยายามเงียบๆ ข่มใจ แล้วเขา ก็พูดขึ้นมาว่า “ครูตองเป็นอะไร หน้าตาดู ไม่ดีเลยนะจ๊ะ” เท่านั้นแหละ จากโกรธๆ นี่เราข�ำเลย เออแฮะ! หน้าตาเรา คงดูไม่ดีจริงๆ หน้าตาคงง�้ำมาก ต้องขอบคุณเขาที่ท�ำให้เรา รูส้ กึ ตัวแบบกระชากเลยนะว่า เอ๊อ! เราจะโกรธไปท�ำไม จากนัน้ ก็กลับมาเรียนมาสอนกันอย่างมีความสุขต่อไปได้อย่างราบรืน่ ๓ ปีแล้วสินะทีม่ าเป็นครู เวลาผ่านไปไวมาก เคยได้ยนิ ว่า ช่วงเวลาที่เรารู้สึกว่าผ่านไปไวคือช่วงเวลาที่เรามีความสุข เราก็พูดได้เต็มปากจริงๆ ว่าเรามีความสุขกับชุมชนแห่งนี้ มั่นใจว่าเราก�ำลังใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า ได้ทำ� ในสิ่งที่มีประโยชน์ เราต่างช่วยพากันด�ำเนินการเรียนรู้ด้วยกันต่อไป
65
PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY
การเรียนรู้
เริ่มต้นเมื่อสนใจ ครูอมร รักษาทรัพย์ (ครูต้น)
ถึงต้นเพื่อนรัก เรามีเรื่องสนุกๆ มาเล่าให้นายฟัง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ นักเรียนชั้น ม.ปลายที่เราสอนอยู่ นักเรียนกลุ่มนี้เขาอยาก เล่นวอลเลย์บอล สงสัยน่าจะมาจากทีมวอลเลย์บอลหญิงไทย ที่ก�ำลังดัง เรื่องมันมีอยู่ว่านักเรียนกลุ่มนี้เขาอยากตบเป็น คือตบลูกวอลเลย์บอลนะ เราก็เลยบอกว่าก่อนจะตบเป็นมัน ต้องตั้งเป็น (Under) เซตเป็น (Set) ก่อน อยู่ๆ จะมาตบเลย มันท�ำไม่ได้ อีกอย่างถ้าก�ำลังขาไม่ดี กระโดดไม่สูง ก�ำลังไหล่ ไม่มีก็ตบไม่แรง ตบไม่ผ่านตาข่าย นักเรียนก็เลยถามเราว่า ต้องฝึกยังไง ทีนกี้ เ็ ข้าทางเราเลย เราก็เลยแสดงให้ดแู บบจัดเต็ม นักเรียนเห็นบอก “ครูโดดแรงจัง...ครูโดดสูงจัง...ท�ำยังไงครับ ผมโดดยังไงก็ตบไม่โดน” เราก็เลยเริม่ จัดแบบฝึกมาให้ ตอนแรก คิดว่านักเรียนเขาคงไม่เอา ที่ไหนได้ เขาตัง้ ใจกันมาก ให้วงิ่ ก็วงิ่ ให้กระโดดก็กระโดด คราวนี้พอฝึกมากขึ้นก็เริ่มมีทักษะที่แน่นขึ้น เราก็สอน ทักษะที่สูงขึ้น เช่น การตบลูก A คือการตีบอลเร็ว มันยากอยู่ ๒ จุด คือ คนเซตต้องเซตให้เข้ามือเพือ่ นและไม่สงู เกินไป เอาแค่
ครูอยากบอกว่า... การเรียนรูเ้ ริม่ ต้นเมือ่ ผูเ้ รียนสนใจ อยาก รู้เรื่องนั้นด้วยตัวของเขาเอง แม้ว่าจะยาก ล�ำบากหรือต้องพบเจออุปสรรคเพียงใด แต่เขาจะตั้งใจ ไม่ย่อท้อและมีความสุขกับ การเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ 66
สูงกว่าตาข่ายไม่เกิน ๑ ฟุต คนตบต้องกระโดดจังหวะเดียวกัน กับตอนที่เพื่อนเซต แล้วตบบอลจังหวะที่ลูกก�ำลังลอยขึ้น จั ง หวะมั น ถึ ง จะพอดี พอให้ ฝ ึ ก นะ นั ก เรี ย นชอบกั น ใหญ่ มีหลายคนท�ำได้ด้วย คราวนี้ก็เริ่มมันน่ะสิ เริ่มอยากลองของ นักเรียนเขามาบอกเราว่าอยากแข่ง เราก็จัดให้ เอาทีมครู ทีเ่ ล่นวอลเลย์บอลมาแข่งให้ รูไ้ หมผลออกมาเป็นยังไง นักเรียน สู้ครูไม่ได้ ครูเก๋ากว่า เราก็เลยมาคุยกับนักเรียน โดยเริม่ ถามว่าเสียใจไหมทีแ่ พ้ เขาบอกว่าไม่เลย สนุกมากกว่า เราก็ถามต่อว่าแพ้ตรงไหน เขาบอกว่ามันตื่นเต้น เล่นลนไปหมด บางทีลูกง่ายก็เล่นเกร็ง เกินไป ถ้าได้ซอ้ มมากกว่านีน้ า่ จะเล่นได้ดกี ว่านี้ เราก็ถามต่อว่า อยากฟังความเห็นของครูไหม พวกเขาก็บอกว่าอยากฟังมาก เราก็คดิ ในใจ เข้าทางเราอีกแล้ว เราก็เริม่ เลย โดยบอกว่าเวลา เล่นต้องให้เสียงกัน ต้องบอกกัน เวลาเล่นทีมทุกคนมีหน้าที่ คนตั้งบอลแรกต้องพร้อม คนเซตก็ต้องพร้อมรับบอลต่อ คนตบก็พร้อมตบ ถ้าตบไม่ได้ก็ต้องไม่ให้ลูกเสีย คนรองบอล ก็ต้องคอยรองบอลถ้าเพื่อนตบแล้วติดบล็อก แล้วอีกอย่างนะ วอลเลย์บอลมันเล่นเป็นทีม เก่งคนเดียวเล่นไม่ได้ เพราะคนที่ จะตบได้แสดงว่ามีคนเซตมาให้ คนที่เซตได้แสดงว่ามีเพื่อน ตัง้ บอลแรกให้ แล้วทีส่ ำ� คัญอีกอย่าง เล่นวอลเลย์บอลอย่าเหม่อ มัวแต่มองบอล ต้องตื่นตัวตลอดเวลา เพราะบอลมันลอยอยู่ กลางอากาศ ดังนัน้ เวลาซ้อมให้เคลือ่ นที่ ให้วงิ่ ให้กระโดด ต้องท�ำ อย่าอู้ เพราะมันใช้ได้จริงตอนแข่ง เชือ่ ไหม นักเรียนฟังกันนิง่ เลย เราก็ชกั เอ๊ะยังไง พูดเยอะ ไปไหม เราก็เลยถามนักเรียนว่าที่ครูบอกไปเข้าใจไหม โอเค หรือเปล่า นักเรียนเขาก็ตอบกลับมาว่า “มันก็จริงอย่างที่ ครูพูด... พวกเราคงต้องซ้อมกันอีกเยอะ... แต่ผมก็อยากแข่ง กับทีมครูอกี ” เราก็เลยบอกว่าตกลง แต่ตอ้ งซ้อมให้มากกว่านีน้ ะ จะได้สู้กับทีมครูเขาได้ ก็อย่างที่เล่า สอนตั้งแต่ Under Ball ไม่ค่อยจะเป็น Set ก็ไม่ถูก จนสามารถเล่นได้ ตบเป็น มันไม่ง่ายนะ แต่เห็นพวก นักเรียนเขาตั้งใจก็ชื่นใจ ขนาดเรียนเสร็จเจ้าพวกนี้ยังเล่นกัน ต่อถึงเย็นนะ
ROONG-AROON ART
ภาพวาดสีฝุ่นบนผืนผ้าดิบ งาน Reproduction จากจิตรกรจีน โดย สันทวุทธ์ เซ่งเส้ง (จป.ขวัญ) 67
ROONG-AROON ART
การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ในเรือนศิลปะ ชุ ม ชนบ้ า นช่ า ง พื้ น ที่ แ ห่ ง จิ น ตนาการและความ สร้างสรรค์ของชาวชุมชนรุ่งอรุณ ที่นี่เปิดกว้างส�ำหรับทุกคน ทีม่ ใี จรักศิลปะ บางคนเข้ามาเรียนรู้ บางคนลองลงมือท�ำ หลายคน ขอเป็นผู้ชมผลงาน บางครั้งมีเวลาว่างก็แวะเวียนมาพูดคุย แลกเปลีย่ นเรือ่ งราวของศิลปะ ท่ามกลางบรรยากาศทีเ่ ปิดกว้าง และผ่อนคลาย ศิลปะน�ำพาใครหลายคนให้เติบโตและเปลีย่ นแปลง ไม่เฉพาะเพียงศักยภาพด้านศิลปะ แต่รวมไปถึงภาวะภายใน ของแต่ละคนด้วย
คืนศิลปะสู่สาธารณะ “ศิลปะเป็นเรื่องสาธารณะ ศิลปะอยู่ในชีวิตประจ�ำวัน ใน วัฒนธรรมและประเพณีของผู้คน อย่างงานประเพณีชักพระ หรืองานบุญเดือน ๑๑ ของภาคใต้ เขาจะมีการตกแต่งเรือ เพือ่ ใช้ในงานนี้ มีหวั เรือ หางเรือ และส่วนส�ำคัญคือพนมเรือพระ หรือบุษบกบริเวณกลางล�ำเรือ ในช่วงเตรียมงาน ช่างพื้นบ้าน จะมารวมตัวกันอยู่ในโบสถ์ ทัง้ คนแก่ คนหนุม่ คนสาว มาช่วยกัน ตัดกระดาษและแปะลายท� ำพนมเรือพระ เด็กๆ ก็วิ่งเล่น อยู่ในนั้น ได้เห็นและซึมซับบรรยากาศของศิลปะ สนุกมาก เราโตมาก็เพราะศิลปะไม่มขี อบเขตแบบนี”้ อาจารย์ผอ่ ง เซ่งกิง่ หัวหน้าชุมชนบ้านช่าง โรงเรียนรุง่ อรุณ ย้อนร�ำลึกถึงบรรยากาศ ศิลปะในวัยเด็ก อย่างไรก็ตามเมื่อความเป็นเมืองเริ่มแผ่ขยาย ชุมชน หลายแห่งล่มสลายกลายเป็นเมือง งานศิลปะที่เคยเป็นของ ชุมชนค่อยๆ แปรเปลีย่ นเป็นของคนเฉพาะกลุม่ เฉพาะผูเ้ ชีย่ วชาญ แล้วกันชาวบ้านคนธรรมดาสามัญไปเป็นเพียงผู้เสพ “ยิ่งเมื่อรัฐมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ก็ยิ่งกันคน ทั่วไปไม่ ให้เข้าไปท�ำ คนท�ำพนมเรือพระจะต้องเป็นศิลปิน มีการประกวดประชันกัน ก็กันคนทั่วไปไม่ให้เข้าไปจับไปต้อง 68
เดีย๋ วของจะเสีย กลายเป็นไปตัดตอนเรือ่ งศิลปะสาธารณะ กุศล ที่คนเขาท�ำกันอยู่ ในชีวิตประจ�ำวัน ในวัฒนธรรม ประเพณี ก็สูญหายไป โอกาสที่เด็กๆ ในชุมชนจะได้สัมผัสและมารัก มาชอบความงามตรงนี้ก็สูญหายตามไปด้วย” “พอเรามาท�ำชุมชนบ้านช่างของรุ่งอรุณ เลยท�ำให้เป็น สาธารณะ ทีน่ ใี่ ครจะเข้ามาก็ได้ ถ้าเขามีเจตนาอยากรู้ อยากเรียนรู้ พร้อมจะรับฟังและแลกเปลี่ยน เรายินดี เพราะศิลปะไม่มี ขอบเขต ศิลปะต้องไปสู่สาธารณะ” อาจารย์ผ่องอธิบายถึง เบื้องหลังที่ท�ำให้เรือนศิลปะแห่งนี้เป็นพื้นที่เปิดส�ำหรับทุกคน
ครูบัวลอย ครูผู้เปิดพื้นที่แห่งโอกาสให้ เด็กใช้ศักยภาพเต็มที่ “เก้าอี้ตัวนี้เป็นตัวที่ ๔ แล้วครับ” กฤต-ด.ช.ธนภั ท ร เติ ม สิ น ทวี นั ก เรี ย นชั้ น ม.๓/๓ เล่าถึงผลงานชิ้นล่าสุดอย่างภาคภูมิใจ ขณะก�ำลังขะมักเขม้น ดึงสานสายหนังสีนำ�้ ตาลขนาดกว้าง ๑ นิว้ เป็นทีน่ งั่ เก้าอี้ ผลงาน เก้าอี้ทั้งสามตัวที่กฤตท�ำขึ้นตอนอยู่ชั้น ม.๑ ถึง ม.๒ มีคนขอ ซื้อไปหมดแล้ว (สองตัวแรกราคาตัวละ ๑,๐๐๐ บาท ตัวที่สาม ๑,๕๐๐ บาท) กฤตเลือกเรียนงานไม้เป็นวิชาเรียนภาคบ่ายมาตั้งแต่อยู่ ชั้น ม.๑ เพราะคิดว่าน่าจะเหมาะกับเขามากกว่าศิลปะแขนง อื่นๆ ในเรือนศิลปะ และเมื่อได้ลงมือท�ำ เขาพบว่าตัวเอง เลือกไม่ผดิ งานไม้สนุกและท้าทายกว่าทีค่ ดิ เมือ่ สนุกกับสิง่ ทีท่ ำ� เขาจึงท�ำไม่หยุด มีเวลาว่างก็แวะมาเลือ่ ย มาขัด มาตอก ค่อยๆ เปลีย่ นไม้แต่ละชิน้ เป็นส่วนต่างๆ ของเก้าอี้ ขณะทีภ่ ายในตัวเขา ก็ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปพร้อมกัน “เมื่อก่อนผมเป็นคนใจร้อนมาก แล้วก็ไม่ค่อยอดทน แต่
กฤตกับเก้าอี้ตัวที่ ๔
พอมาเจอตัวนี้ ใจเย็นเลย เพราะงานไม้เราต้องค่อยๆ ท�ำ ต้อง ใช้เวลา ต้องใช้ความอดทน ค่อยๆ ท�ำไป ถ้าเราอยากได้งาน ที่ดี เราท�ำชุ่ยๆ ก็ได้ แป๊บเดียวก็เสร็จ แต่งานมันจะออกมา ไม่ดี พอท�ำงานไม้ไปเรื่อยๆ เลยท�ำให้ผมใจเย็นลง นิ่งขึ้น มีสมาธิ มีความอดทนมากขึ้น เพราะอยากเห็นงานเสร็จ อยากให้ออกมาดี” นอกจากนีก้ ฤตยังรูส้ กึ ว่าเขาประณีตขึน้ จากทีแ่ ต่เดิมเขา มักจะท�ำอะไรเร็วๆ รีบๆ ไม่ละเอียด ไม่ประณีต แต่การท�ำเก้าอี้ บังคับให้เขาต้องประณีต “เราต้องท�ำไปเช็คไปเป็นระยะๆ ถ้าไม่ละเอียด ไม่คอย เช็คอยู่เรื่อยๆ มาเห็นจุดผิดตอนหลังเดี๋ยวต้องรื้อท�ำใหม่ แต่ ก่อนความภูมิใจของผมมักเป็นเรื่องเล็กๆ เช่น สอบได้คะแนน
ดี แต่เก้าอีม้ นั เป็นความภูมิใจแรกทีเ่ ห็นความส�ำเร็จเป็นชิน้ เป็น อัน ยิ่งพอขายได้ มันยิ่งกว่าภูมิใจ” ทุ ก วั น นี้ เ มื่ อ มี เ วลาว่ า งกฤตจะแวะมาท� ำ งานไม้ ที่ เรือนศิลปะ ทั้งยังแบ่งปันสิ่งที่ตนได้เรียนรู้สู่น้องๆ โดยอาสา เป็นผู้ช่วยครูบัวลอยสอนงานไม้ให้กับน้องๆ ชั้นประถม ช่วย เก็บอุปกรณ์และเก็บกวาดห้องเรียนอย่างเรียบร้อย เพราะ ส�ำหรับกฤตแล้ว สตูดิโองานไม้ในเรือนศิลปะแห่งนี้คือพื้นที่ ของเขา พื้นที่ที่เขาจะพัฒนางานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เหมือนที่เขา ท�ำมาก่อนหน้านี้ ไม่มีเก้าอี้ตัวไหนที่แบบซ�้ำกันเลย แต่ละตัว มีแต่จะยากขึ้นเรื่อยๆ “ถ้าเราท�ำแบบเดิมๆ ก็ ไม่มีอะไรใหม่ ไม่ ได้พัฒนา ไม่น่าสนใจ ผมคิดไว้ว่าจะต้องพัฒนางานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ” 69
ROONG-AROON ART
ครูโต้ ครูผู้เปิดทางให้นักเรียน ลิ้มรสแห่งความภาคภูมิใจ
ผลงานเก้าอี้ตัวที่ ๓ ของกฤต
“กฤตเขามี ค วามสนใจ มี ค วามพยายาม มีความตั้งใจ เขาเอาจริงเอาจังกับงานมาก เราก็แค่ มาให้มาตรฐาน ช่วยเติมในเรื่องฝีมือ เรื่องความ ละเอียด งานไม้มีคุณค่าบางอย่างที่ต้องจับให้ติด ถ้าไม่แม่นจะผิดพลาด ถ้าหยาบตอนแรก มันจะมา โผล่ในตอนท้าย แต่ถ้าแม่นแต่แรกจะสบาย งานไม้ มันบังคับให้เขาต้องละเอียด ต้องประณีต ต้องแม่นย�ำ ผมว่าจุดเปลี่ยนคือตอนเก้าอี้ตัวแรกเสร็จ เป็นจุดที่ ท�ำให้เขาเห็นตัวเองว่าเขาท�ำได้ มีคนมาชืน่ ชมชืน่ ชอบ ผลงาน รู้สึกได้รับการยอมรับ ก็เกิดแรงบันดาลใจ ที่พาเขาเคลื่อนไปเรื่อยๆ ผมมองว่ากฤตเขามีดีอยู่แล้ว เราแค่ชวนเขา ท�ำงานให้สำ� เร็จด้วยตัวเขาเอง อย่างเก้าอีต้ วั ทีส่ ที่ เี่ ขา ท�ำอยู่นี้ยากมาก ต้องใช้มือทั้งหมด แต่เขาก็ตั้งใจท�ำ จนใกล้จะเสร็จ เพราะเขามีแรงบันดาลใจอยากเห็น ผลส�ำเร็จ เราเพียงให้พื้นที่ที่เขาจะได้เกิดและเติบโต มันคือพื้นที่ของความภูมิใจ” ครูบัวลอย-ชัยวัฒน์ พุ่มเฟือง ครูวิชางานไม้
70
“รู้สึกสงบ มีสมาธิ แต่ละชิ้นเราท�ำได้ครั้งเดียว เราต้อง ท�ำให้ดีที่สุด” เจมส์-นายชัชชัย อาชวพงศ์พาณิชย์ นักเรียนชั้น ม.๖/๓ บอกเล่าความรู้สึกขณะปั้นแจกันแต่ละใบ วิชาที่เขา เลือกเรียนมาตัง้ แต่ชนั้ ม.๒ แม้ตอนแรกเจมส์จะไม่ชอบงานปัน้ สักเท่าไร เพราะต้องตัวเลอะ มือเลอะ มีเศษดินเข้าไปติด ในซอกเล็บ แต่เมื่อได้แรงเสริมจากครู ทั้งครู โต้ที่สอนปั้น และครูต้นที่เป็นครูประจ�ำชั้น ซึ่งเห็นว่าเจมส์เป็นคนประณีต และมีสมาธิจดจ่อกับงาน น่าจะท�ำงานปั้นได้ดี ท�ำให้เจมส์ฝึก ปัน้ มาเรือ่ ยๆ รูต้ วั อีกทีเขาก็ชอบและมีความสุขกับการปัน้ แล้ว “เราได้ฝึกในสิ่งที่เราท�ำไม่ได้ พอท�ำไปเรื่อยๆ ตอนนี้ เราได้ท�ำในสิ่งที่เราชอบ ได้ผลงานที่รู้สึกภูมิใจว่าเราปั้นเอง” นอกจากการท�ำอาหารแล้ว เจมส์บอกว่าการปัน้ คืองาน อีกแขนงหนึง่ ทีเ่ ขารูส้ กึ ว่าท�ำได้ดี เขารูส้ กึ มีสมาธิขณะปัน้ รูส้ กึ มีความสุขที่เห็นดินค่อยๆ ขึ้นรูป และรู้สึกภูมิใจเมื่อดินก้อน นั้นเปลี่ยนเป็นจาน เป็นแจกัน เป็นผลงานที่มีเพียงชิ้นเดียว ความรูส้ กึ เหล่านีส้ ร้างแรงบันดาลใจให้เขาอยากปัน้ งานชิน้ ต่อๆ ไป พร้อมไปกับค่อยๆ เห็นความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในตัวเอง ผลงานของเจมส์
“พอมาปั้นแล้วเจมส์ได้ฝึกสมาธิ ได้อยู่กับเอง แล้วได้ ทบทวนตัวเอง เพราะปกติเจมส์เป็นคนพูดมาก พูดอยูต่ ลอดเวลา อยูก่ บั เพือ่ นก็จะพูดเรือ่ งคนโน้นคนนี้ แต่ไม่ได้รเู้ รือ่ งตัวเองเลย พอมาปั้น ท�ำให้เจมส์มีเวลาอยู่กับตัวเองเยอะขึ้น ได้เรียนรู้ ว่าตัวเราเป็นอย่างไร มองเห็นตัวเองทั้งในอดีต ปัจจุบัน และ เริ่มคิดถึงอนาคตข้างหน้า” ปีนี้เจมส์มีโครงการปั้นแจกันขาย เพื่อหาเงินมาช่วย เพือ่ นในรุน่ ท�ำกิจกรรมต่างๆ และสะสมเป็นแฟ้มผลงาน (Portfolio) ส�ำหรับสมัครเรียนต่อ ช่วงนี้เขาจึงมาที่โรงปั้นบ่อยๆ แล้วปั้นแจกันแต่ละใบอย่างตั้งใจเพื่อให้ได้ผลงานดีๆ ที่ดีพอ จะขายได้ “ตอนปั้นเราต้องตั้งใจท�ำให้ดีที่สุด ถ้าสุดท้ายแล้วมัน แก้ไขไม่ ได้ ต้องยุบงาน เราก็เสียใจ แต่เราก็ต้องเริ่มใหม่ ล้มแล้วก็ท�ำใหม่ได้”
“ตอนแรกๆ เรายังไม่เห็นอะไรในตัวเขานะ แต่มีอยู่วันหนึ่งที่เห็นว่าเขาน่าจะพัฒนาทางนี้ ได้ คือเขาท�ำไม่หยุด ท�ำแล้วก็รู้สึกว่า ยังจะท�ำให้ดีได้อีก ท�ำไปเรือ่ ยๆ แสดงว่าเขามี “อะไร” อยูข่ า้ งใน อาจจะเป็น ช่วงที่เขาก�ำลังหาตัวเอง หน้าที่ของครูคือต้องเตรียม ของให้พร้อมอยู่ตลอด ถ้าเขาเกิดไอเดีย แต่ห้องปั้น ไม่พร้อม อันนั้นไม่มี อันนี้ใช้ไม่ได้ มันไม่ได้ ดังนั้น เราจะเตรียมทีน่ ี่ไว้พร้อมเสมอ เพราะเราไม่รวู้ า่ ไอเดีย เขาจะมาตอนไหน” ครูโต้-ชัชวัสส์ นาคคุ้ม ครูวิชางานปั้น
71
ROONG-AROON ART
ศิลปะเปลี่ยนมุมมอง “บรรยากาศที่เรือนศิลปะจะสบายๆ คุณครู ใจดี หนูเลยชอบเรียนศิลปะที่นี่” ลัลลัล-นางสาวด้วยรัก ผดุงวิเชียร ศิษย์เก่ารุง่ อรุณ (RA14) เล่าถึงบรรยากาศ ในเรื อ นศิ ล ปะของรุ ่ ง อรุ ณ ที่ เ ป็ น ทั้ ง ที่เรียน ที่ท�ำงาน และที่นั่งเล่นมาตั้งแต่ สมั ย อยู ่ ชั้ น อนุ บ าล ลั ล ลั ล ชอบเรี ย น ศิ ล ปะมาตั้ ง แต่ เ ด็ ก ๆ เพราะทางบ้ า น ส่งเสริม สนับสนุน ยิง่ ได้มาเจอห้องเรียน ศิลปะแบบรุ่งอรุณที่เปิดกว้าง ให้อิสระ ทางความคิด และมีศิลปะหลากหลาย แขนงให้เลือกเรียนตามความสนใจ ท�ำให้ จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในตัว เธอค่อยๆ เติบโต งอกงาม “รุ่งอรุณจะส่งเสริมเรื่องธรรมชาติ มั น สนุ ก ที่ ไ ด้ เ อาวั ส ดุ จ ากธรรมชาติ มาท� ำ งานศิ ล ปะ เช่ น ให้ เ ราลองท� ำ สี จากธรรมชาติ ย้อมผ้าด้วยสีที่เราท�ำเอง เราก็ ลุ ้ น ว่ า สี จ ะออกมาเป็ น อย่ า งไร การเรียนแบบนี้มันสนุก แล้วบรรยากาศ ทีเ่ รือนศิลปะจะสบายๆ ครูไม่ได้มาตีกรอบ หรื อ บอกว่ า ศิ ล ปะต้ อ งเป็ น แบบนี้ ๆ ต้ อ งเหมื อ นเด๊ ะ ๆ แต่ ค รู จ ะให้ โ จทย์ แล้วให้อิสระ ให้เราคิดเอง เราสามารถ เสนอความคิดของเราได้ สามารถคิด งานของเราออกมาเองได้ ลัลลัลชอบการ เรียนแบบนี้ ถ้าไม่ได้เรียนแบบนี้ เราอาจ ไม่ชอบศิลปะก็ได้” ความชอบน�ำไปสู่ความสุข ลัลลัล รู ้ สึ ก สนุ ก กั บ การเรี ย นและการท� ำ งาน Monster Head ผลงานในชุด MONSTER ของลัลลัล ศิลปะทุกๆ ชิ้น เรือนศิลปะกลายเป็น 72
ช่วงปิดเทอมกลางปี ๒๕๕๗ ลัลลัลท�ำโครงการออกแบบตัดเย็บ กระเป๋าจ�ำหน่ายผ่าน Instagram น�ำรายได้จ�ำนวน ๑๓,๐๐๐ บาท มอบเป็นค่ารักษาพยาบาลคุณครูรุ่งอรุณที่ป่วยเป็นมะเร็ง
สถานทีป่ ระจ�ำในรุง่ อรุณทีเ่ ธอจะแวะเวียนไปนัง่ ท�ำงานอยูบ่ อ่ ยๆ ช่วงไหนสนใจงานผ้าก็ท�ำงานผ้า ช่วงไหนชอบปั้นก็ไปปั้น บางช่วงรู้สึกอยากวาดภาพระบายสีก็ไปท�ำงานวาด (Drawing & Painting) และเมื่อผลงานได้รับการชื่นชมจากคนรอบข้าง ลัลลัลยิ่งมั่นใจว่าอนาคตของเธอคือศิลปะนี่เอง ปีที่แล้วผลงานการ์ตูนลายเส้นสีด�ำชุด “MONSTER” โครงงานวิชาศิลปะขณะลัลลัลเรียนอยูช่ นั้ ม.๓ ทีร่ งุ่ อรุณ ได้รบั รางวัล 2014 YoungArts Winner สาขา Visual Arts/Visual Arts ในการประกวด YoungArts Award ของ National YoungArts Foundation ประเทศสหรัฐอเมริกา (ชมผลงานของลัลลัลได้ที่ www.iamlunlun.com) ปั จ จุ บั น ลั ล ลั ล ก� ำ ลั ง เดิ น ตามความฝั น บนเส้ น ทาง ของศิลปะที่โรงเรียน Interlochen Art Academy รัฐมิชิแกน ประเทศสหรั ฐ อเมริ กา เพราะมั่ น ใจแล้ วว่ า เส้ น ทางนี้ คื อ เส้นทางแห่งความสุข
“ศิลปะท�ำให้การมองสิ่งรอบตัวเปลี่ยนไป ท�ำให้เรามี มุมมองและสายตาละเอียดขึน้ อย่างมองใบไม้ ต้นไม้ เราจะเห็น รายละเอียด เห็นมุมทีส่ วยงาม เห็นมุมทีเ่ ราจะเอามาใช้ในงาน ศิลปะได้” ลัลลัล “อยากให้นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะครู ของโรงเรี ย นรุ ่ ง อรุ ณ เชื่ อ มั่ น ในวิ ถี การเรี ย นการ สอนของโรงเรียน ที่เปิดโอกาสและส่งเสริมให้เด็ก ได้คิด ได้ท�ำนอกกรอบ ซึ่งเป็นโอกาสให้เด็กได้ลอง ผิด ลองถูก โดยปราศจากความกลัว ซึ่งถือเป็นสิ่ง ส�ำคัญในการพัฒนาศักยภาพทุกๆ ด้านของเด็กๆ ค่ะ และอยากให้ก�ำลังใจคุณครูทุกท่านจริงๆ ว่า คุณครูมาถูกทางแล้ว อย่าลังเล สงสัย ในสิ่งที่เหล่า คุณครูร่วมกันท�ำนะคะ กรณีลัลลัล (และอีกหลายๆ คน) อาจจะเรียกว่าได้เห็นผลลัพธ์ที่ค่อนข้างเป็นรูป ธรรม แต่ในความเป็นจริงแล้ว คุณแม่เชื่อว่าผลลัพธ์ ดีๆ ที่เหล่าคุณครูร่วมกันสร้างมานั้นมีอยู่ ในเนื้อ ในตัวของเด็กๆ รุ่งอรุณอยู่แล้วทุกคนค่ะ เพียงแต่ งานสร้างคนเป็นงานที่ยากและต้องใช้เวลานานกว่า จะเห็นผล” พนิดา ผดุงวิเชียร คุณแม่ของลัลลัล 73
ROONG-AROON ART
ศิลปะ-จริยศิลป์ งานศิลป์เพื่อย้อนดูตนเอง “ส�ำหรับผมแล้ว ภาพทีว่ าดเป็นผลพลอยได้มากกว่า สิง่ ที่ ได้จริงๆ คือตรงนี้ คือการที่เราได้เห็นตัวเองด้วยตัวเอง” จป.ขวั ญ -สั น ทวุ ท ธ์ เซ่ ง เส้ ง เจ้ า หน้ า ที่ รั ก ษาความ ปลอดภัยของรุง่ อรุณ พูดถึงการเปลีย่ นแปลงในตัวเอง หลังฝึก วาดภาพมาปีกว่า ขวัญเริม่ วาดภาพหลังจากมาท�ำงานทีร่ งุ่ อรุณ ได้ไม่นาน คืนนั้นเขาเข้าเวรกลางคืนที่สถาบันอาศรมศิลป์ มองไปเห็นต้นไม้อยู่เบื้องหน้า จึงหยิบดินสอและสมุดบันทึก ทีเ่ ก็บจากโรงคัดแยกขยะขึน้ มาวาดรูปเล่นฆ่าเวลา จากนัน้ ก็วาด เรือ่ ยมา จนวันหนึง่ อาจารย์ผอ่ ง เซ่งกิง่ หัวหน้าชุมชนบ้านช่าง มาเห็นภาพทีเ่ ขาวาดไว้ ขวัญจึงมีครูผเู้ ป็นกัลยาณมิตรช่วยน�ำ เขาก้าวเดินบนเส้นทางศิลปะ “อาจารย์ผ่องแนะน�ำว่าถ้าชอบก็ต้องเขียนบ่อยๆ เจอ ภาพอะไรก็เอามาเขียน บอกว่าอาจารย์เองก็เขียนตามแบบ มาก่อนเหมือนกัน พออาจารย์พูดแบบนี้ก็เริ่มมั่นใจขึ้นมา นิดหนึ่ง เริ่มอยากวาดมากขึ้น ส่วนใหญ่จะวาดตอนอยู่เวร กลางคืน วาดแล้วก็เอามาให้อาจารย์ช่วยดู อาจารย์ ไม่ได้พูด อะไรมากเท่าไร ถ้าตรงไหนยังไม่ดี อาจารย์จะไม่บอกว่า มันไม่ดี ใช้ไม่ได้ จะบอกสั้นๆ เช่น อันนี้พอได้ ตรงนี้ดีแล้ว เริ่มละเอียดขึ้น ตรงนี้ยังไม่เหมือน ตรงนี้ยังแข็งๆ นะ คือ อาจารย์ก็ไม่ได้พูดตรงๆ เราต้องมาตีความเอาเอง” ทุกครั้งที่พูดคุยกันขวัญจะน�ำถ้อยค�ำของอาจารย์ผ่อง กลับมาทบทวน แล้วน�ำมาแก้ไขงานชิน้ เดิมและเป็นหลักท�ำงาน ชิ้นใหม่ การฝึกทบทวนอย่างใคร่ครวญบ่อยๆ ท�ำให้เขาค่อยๆ มองเห็นตนเอง ณ ขณะเขียนงานว่าแต่ละช่วง แต่ละจุด เขามีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร ภาพสีฝุ่นบนผืนผ้าดิบ งาน Reproduction จากจิตรกรญี่ปุ่น Hayami Gyoshu โดย จป.ขวัญ 74
“เราไปย้อนเห็นตัวเองตอนที่ก�ำลังท�ำตรงจุดที่อาจารย์ บอก เกิดอะไรขึ้น ท�ำไมเส้นมันถึงยึกยักๆ จากตรงอื่นมันตรง เนี้ยบมาตลอด ก็เห็นอารมณ์ตัวเองว่าตอนนั้นเรามีความเบื่อ เราขี้เกียจ หรือบางครั้งหงุดหงิด จากตอนแรกท�ำไปก็เย็นดี มี สมาธิ พอถึงเวลาทีห่ งุดหงิดปุบ๊ มันไปเลย แล้วตอนท�ำเราไม่รตู้ วั บางภาพพอมองย้อนไป เราเห็นอารมณ์ตัวเองว่าอยากให้ได้ เหมือนของเขา เสร็จแล้วเราก็คิดว่าท�ำได้ตามแบบ แต่ที่จริง มันแข็งไปหมด มันแข็งมาจากข้างใน เพราะเราอยากได้ อยากให้เหมือน อยากให้สวย จนงานที่ออกมาเพี้ยนไปหมด” “เราเห็ น อารมณ์ ตั ว เองชั ด ขึ้ น ตรงที่ อ าจารย์ บ อก ตอนนั้นเรารู้สึกอย่างไร เกิดอะไรขึ้น แล้วตอนที่เราท�ำได้ดี เส้นเล็ก เส้นสวย มีความพลิ้ว มีความอ่อนไหว ตอนนั้นข้าง ในเราเป็นอย่างไร ก็ย้อนดูอารมณ์ตัวเอง ผมว่าการเขียนภาพ เป็นการฝึกตัวเอง เหมือนการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่เหมือนหรอก แต่เป็นการปฏิบัติธรรมเลยล่ะ” “หลังๆ เราเห็นเร็วขึ้น บางทีท�ำไป ๑๕ นาที เราจับความ รู้สึกตัวเองได้ว่าไม่อยากท�ำ พอไม่อยากท�ำ ผมก็วางพู่กัน แล้วไปเดิน เดินจงกรมบ้าง เดินไปเดินมา ภาพก็ยังตั้งอยู่ เดินๆ ไปเมื่อยขาก็กลับมานั่ง พออยากท�ำค่อยท�ำต่อ มันดีขึ้น ตรงที่เรารู้จักหยุดตัวเอง พอเราหยุดเป็น ก็ผิดน้อยลง แต่ อารมณ์คนเราเป็นธรรมดา บางทีนิ่ง บางทีรวน แต่การเขียน ภาพท�ำให้เราจับอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้น” “จากตอนแรกเราไม่เห็นอารมณ์ตัวเอง ไม่เห็นความผิด พลาดของงาน จนอาจารย์มาบอก เราถึงย้อนมองไปเห็นว่า เกิดจากอะไร ต่อมาเรารู้เร็วขึ้นว่าผิดตรงไหน แต่ก่อนรู้แล้ว ยังไปต่อ ยังหยุดไม่เป็น คิดว่าไม่เป็นไรหรอก ก็กลายเป็นจุดด่าง ต่อมาเราเห็น เราหยุดเสียก่อนจะผิด มันก็ไม่ผดิ เหมือนเราใช้ ชีวิต พอเห็นว่าผิด เราหยุดเลย อยู่เฉยๆ ก่อนถ้ายังคิดไม่ออก
ยังแก้ปัญหาไม่ได้ แล้วเดี๋ยวความถูกต้องมันเกิดขึ้นเอง” “เรามาวาดรู ป แล้ ว มั น ชั ด ถ้ า บอกเล่ า มั น ไม่ ชั ด เท่ า การฝึกเอง เพราะฝึกแล้วจะเห็นได้ด้วยตัวเอง ถ้าเราไม่ฝึก เราจะเห็นตัวเองจากที่คนอื่นบอก แต่พอเรามาฝึกตรงนี้ เราได้เห็นตัวเองด้วยตัวเอง” ปัจจุบันขวัญก�ำลังก้าวไปอีกขั้นกับการเรียนทฤษฎี ศิลปะ ที่ผ่านมาเขาเขียนภาพตามที่เห็น แต่ถึงวันนี้เขารู้สึกว่า การท�ำตามทีเ่ ห็นเริม่ ไม่เพียงพอ แต่ตอ้ งมีองค์ความรูป้ ระกอบ ด้วย เย็นวันไหนที่ ไม่ได้เข้าเวร ขวัญจะแวะมาขอความรู้ จากอาจารย์ผอ่ งทีเ่ รือนศิลปะ ขณะทีก่ ารเรียนรูแ้ ละพัฒนาชีวติ ด้านในยังคงด�ำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง “เมื่อก่อนเราไม่เคยเห็นตัวเอง แม้แต่อารมณ์ตัวเราเอง ก็ไม่เคยเห็น จับไม่ ได้ว่ามันปรวนแปรไปอย่างไร ตอนนี้เรา เท่าทันปัจจุบันมากขึ้น แต่เพิ่งเห็นได้ไม่นาน ยังเป็นๆ หายๆ ยังต้องฝึกอีกนาน เพราะแม้ฝึกแล้ว ได้แล้ว มันก็ไม่อยู่ยั่งยืน ถ้าเราไม่ท�ำต่อเนื่อง ต้องฝึกตลอด”
75
ROONG-AROON ART
“เราเห็นฝีมือเขาตั้งแต่ภาพแรกๆ แล้ว ทั้ง ที่เขาไม่ได้เรียนมาแต่มีฝีมือระดับนี้ น่าสนใจมาก การสังเกตเขาดีมาก ตาเขาละเอียด การฟังเขาดี สามารถจับสาระที่เราบอกไปใช้ได้รวดเร็ว ทั้งๆ ที่ เราก็ไม่ได้บอกอะไรเขามาก ส่วนใหญ่เราจะแนะน�ำ เขาเรื่องทัศนะในการมอง ท�ำไมภาพต้นฉบับเป็น อย่างนั้น แล้วท�ำไมของเราเป็นอย่างนี้ หรือภาพ ของเขามั น เป็ น แสงมาก แล้ ว ท� ำ ไมของเรายั ง ทึบๆ การเห็นของเขาเป็นอย่างไร แล้วอะไรที่เรา ยังไม่เห็น เราเน้นสอนเรื่องการเห็นมากกว่าอย่าง อื่น เพราะการเห็นเป็นสิ่งส�ำคัญส�ำหรับคนที่จะมา ท�ำงานศิลปะ ขวัญเป็นคนที่มีความเพียร มีความพยายาม งานแต่ละชิ้นของเขาจะยากขึ้นเรื่อยๆ วาดเสร็จเขา จะเอามาให้เราดูแล้วคุยกัน ชิ้นหลังๆ นี่เราติเขา น้อยมาก เขาเป็นตัวอย่างที่ดีว่า คนเราถ้ามีความรัก ความศรัทธา มีสมาธิจดจ่อ มีความเพียร ตั้งมั่นที่จะ เรียนรู้ ตั้งใจที่จะแสดงออก ท�ำอะไรก็ส�ำเร็จ ซึ่งของ พวกนี้มีอยู่ในทุกคนอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่ได้ค้นไม่ ได้หาเท่านั้นเอง” อ.ผ่อง เซ่งกิ่ง หัวหน้าชุมชนบ้านช่าง โรงเรียนรุ่งอรุณ
76
ผลงานของ จป.ขวัญ
ในแต่ละวันที่เรือนไม้สองชั้นแห่งนี้มีการเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา ทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ด้วยตา และ การเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสได้ด้วยใจ ในบรรยากาศที่เปิดกว้าง และเป็ น กั ล ยาณมิ ต ร เพราะศิ ล ปะไม่ ใ ช่ เ พี ย งวิ ช าเรี ย น ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย งพื้ น ที่ ข องศิ ล ปิ น แต่ ศิ ล ปะคื อ ความงาม ที่ดลใจให้ชีวิตมนุษย์ผลิบานในวิถีที่งดงามและเป็นกุศล
VIEW OF THOUGHT
ปฐมบทแห่งการเปลี่ยนแปลง โดย รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม
The usual of Nature ความปกติที่เป็นไปตามธรรมชาติ โดย น.ส.ธารี ไชยวุฒิกรณ์วานิช ชั้น ม.๖/๓ 77
VIEW OF THOUGHT
เปลี่ยนแปลงใจ สู่คุณภาพชีวิตใหม่ การเปลี่ยนแปลง เมื่อพูดถึงค�ำนี้จะมีอีกค�ำหนึ่งคู่มาด้วย คือ การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงต้องมีการปรับปรุง ถามว่า คนเราที่นั่งๆ อยู่นี้เปลี่ยนแปลงไหม อะไรเปลี่ยนบ้าง อายุ รูปร่าง ผิวหนัง หน้าตา สายตา ผม กล้ามเนื้อ ทุกสิ่งทุกอย่าง เปลีย่ นแปลงทุกวัน แล้วเรารูส้ กึ ได้ไหม ไม่เกิดความรูส้ กึ หรอก เราเปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลาโดยทีเ่ ราไม่รสู้ กึ ตัว เราเลยนึกว่า เราเหมือนเดิม กายเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็เห็นได้ยาก เราไม่ค่อยเชื่อด้วยซ�้ำไปว่ามันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เพราะเรา ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง เราอยากให้เหมือนเดิม ห้ามได้ไหม ไม่ ใ ห้ ร ่ า งกายเปลี่ ย นแปลง ห้ า มไม่ ไ ด้ มั น ก็ เ ปลี่ ย นไปๆ 78
ในทิศทางของมันเอง ในธรรมชาติของมันเอง โดยที่เรา ก็ห้ามไม่ได้ อาจจะช่วยได้บ้าง เช่น การออกก�ำลังกาย ที่ ใ ห้ ดี ขึ้ น ได้ นิ ด หน่ อ ย แต่ เ ปลี่ ย นแบบชนิ ด ที่ ว ่ า ให้ ดี ร ้ อ ย เปอร์เซ็นต์ เป็นไปไม่ได้ อันนั้นเราก็ต้องยอม แต่อีกส่วนหนึ่ง ของเราที่เปลี่ยนแปลงแล้วน�ำสู่ชีวิตใหม่ได้มีเหมือนกันนะ ส่วนนั้นคือใจ เป็นการเปลี่ยนแปลงจากข้างใน แล้วใครท�ำให้ เปลี่ยนแปลงได้ไหม แล้วมันเปลี่ยนได้อย่างไร มันเปลี่ยนเอง การเปลี่ยนแปลงในจิตใจท�ำให้ไปสู่คุณภาพชีวิตใหม่ๆ ขึ้นมาทันที แต่ว่ามันก็อาจจะมีเหตุปัจจัยอยู่บ้าง เพียงแต่ว่า คนเรานั้นไม่อาจเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุปัจจัยภายนอก เอาเข้า จริงๆ แล้วมันเปลี่ยนข้างใน จากคนที่เคยกลัวอะไรต่ออะไร เปลี่ยนเป็นคนที่มั่นใจ มีใครรู้สึกตัวเองขี้กลัวไหม ไม่มีใคร ยกมือเลย แสดงว่าทุกคนกล้าหมดเลยนะ แม้แต่จะยกมือ ยังไม่กล้ายกเลยใช่ไหม แล้วเราก็อยากให้ความกลัวนี้หมดไป
เราอยากมั่นใจ เวลาท�ำอะไรก็ท�ำอย่างมั่นใจ เวลาพูดก็พูด อย่างมั่นใจ เราอยากให้ ก ารเปลี่ ย นแปลงอย่ า งนี้ เ กิ ด ขึ้ น ในชี วิ ต ของเรา เพราะรู้ว่ามันจะท�ำให้ชีวิตของเราดีขึ้น ชีวิตเราจะไป ข้างหน้า ไม่ได้ถอยหลังเหมือนอย่างร่างกายของเรา ร่างกาย เราเปลี่ยนแปลงในเชิงถอยหลัง แต่จิตใจเราเปลี่ยนแปลง ในเชิงไปข้างหน้าได้
สะเทือนใจแล้วสอนใจตัวเอง ในคลิปวิดีโออันหนึ่ง เป็นเรื่องของลูกพิการเลี้ยงแม่ ทีก่ พ็ กิ ารเหมือนกัน แม่อายุมากแล้ว ถึงไม้ใกล้ฝง่ั แล้ว ลูกไม่มี มือนะ มีแขนเล็กนิดเดียว แต่ก็ยังสู้อุตส่าห์เลี้ยงแม่ ป้อนข้าว ให้แม่ คนไม่มีมือยังป้อนข้าวให้แม่ได้ เมื่อเราเห็นภาพอย่างนี้ แล้วเรารูส้ กึ อย่างไรบ้าง สะเทือนใจไหม คนเรามีความสะเทือน ใจอยู่ แล้วเราสะเทือนใจแบบไหนบ้างเมือ่ เห็นภาพของผูพ้ กิ าร เลี้ยงดูและดูแลแม่แบบนี้ บางคนบอกว่าสะเทือนใจแล้วหันกลับมาโทษตัวเองว่า ยังท�ำไม่ดีพอ บางคนรู้สึกปลื้มใจแทนแม่ของเขา บางคน รู ้ สึ ก ตื้ น ตั น ใจ รู ้ สึ ก สงสาร รู ้ สึ ก ชื่ น ชมการสู ้ ชี วิ ต ของเขา อยากช่ ว ยเหลื อ เขา หรื อ บอกคนก็ บ อกว่ า รู ้ สึ ก หดหู ่ ความสะเทือนใจทั้งหมดนี้สอนใจเราไหม ล้วนแต่สอนใจเรา ทุกอย่าง ตั้งแต่ความสะเทือนใจว่าเราไม่ดีพอเมื่อเทียบกับเขา สะเทือนใจทีว่ า่ สงสารเขา สะเทือนใจว่ารูส้ กึ ชืน่ ชมทีเ่ ขาอดทน สู้ชีวิต สะเทือนใจแบบหดหู่ใจ สิ่งเหล่านี้ล้วนท�ำให้เราเกิด แรงบันดาลใจบางอย่าง
แรงบันดาลใจนี้จะมีผลต่อเราอย่างไร ความสะเทือนใจ ของเรานี่ล่ะจะสอนเราเองเมื่อเรากลับเข้าไปรู้ความหมาย ของความสะเทือนใจนั้น ไม่ว่าจะเป็นเชิงลบหรือเชิงบวกล้วน แล้วแต่สอนเราได้หมด ในเชิงหดหู่ใจก็สอนเรานะ สอนว่า คนเรานี้ไม่แน่นอน เราไม่ควรประมาท สักวันหนึ่งเราอาจ จะล�ำบากอย่างนั้นก็ได้ ถ้าเราเอาใจเข้าไปรู้ความหมายของ ความสะเทือนใจทีเ่ กิดขึน้ เราจะมีค�ำสอนค�ำบอกตัวเองออกมา เราลองหาค� ำ สอนต่ อ ท้ า ยความสะเทื อ นใจอื่ น ๆ สิ ชื่นชมเขาที่เขาอดทนสู้ชีวิต เราจะบอกตัวเราเองว่าอย่างไร คนที่ ด ้ อ ยกว่ า เรายั ง มี อี ก เยอะ เพราะฉะนั้ น เรายั ง มี ความสามารถได้มากกว่านี้ ความสามารถของเราไม่น่าจะ น้อยไปกว่าเขาหรอก เราสอนตัวเองได้ทันทีเลย อย่าปล่อยให้ ความสะเทือนใจนั้นผ่านไปเฉยๆ แต่ลองต่อท้ายด้วยค�ำสอน ใจตัวเราเองดู แล้วเราจะรู้สึกว่า นี่แหละคือที่หมายใหม่ ของชีวิตเรา เราอาจจะไม่เคยรู้สึกอย่างนี้มาก่อนก็ได้ถ้าเราไม่ เห็นภาพนี้ นี้คือวิธีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ อาจจะมี เหตุปัจจัยภายนอกเอื้อให้เราสะดุดคิด สะกิดให้เราสะเทือนใจ แล้วเราลองสอนใจตัวเราเองต่อไป ไม่มีใครสอนได้เลยนอกจาก ตัวเราเอง ทุกคนเห็นภาพเดียวกัน แต่สอนใจตัวเองคนละแบบ ในตั ว อย่ า งของความเป็ น ครู ก็ ต ้ อ งมี ภาพสะเทื อ นใจ เหล่านี้สะกิดใจครู ให้ระลึกถึงจิตวิญญาณของครูที่แท้จริง มี ภาพบางภาพให้ ค รู ร ะลึ ก ได้ ว ่ า เขาควรจะเป็ น ครู เ ช่ น ไร ในความเป็นพ่อแม่ก็เช่นกัน พ่อแม่แบบไหนจึงจะเรียกว่า เป็นพรหมของลูก มีตัวอย่างมากมายเรื่องพ่อแม่ที่เป็นพรหม ของลูก ที่เราเห็นแล้วสะเทือนใจ บางคนเป็นผู้หญิงแก่มาก เก็บขยะขายเลีย้ งลูกพิการตัง้ สามคน ทัง้ ๆ ตัวเองก็แก่เฒ่ามาก นี่ก็เป็นสิ่งที่สะเทือนใจ 79
VIEW OF THOUGHT
เปลี่ยนแปลงจิตใจ ด้วยเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา อีกตัวอย่างหนึ่งคือกรณีแม่อั้วที่จังหวัดชัยภูมิ แม่อั้ว เป็นครูสอนกรรมฐาน เป็นลูกศิษย์ของพระมหาดิเรก พุทธยานันโท ชีวติ ของแกอ่านแล้วสะเทือนใจ แกล�ำบากมากตัง้ แต่แกแต่งงาน มีลูก สามีตายไป แกก็ต้องเลี้ยงลูกคนเดียวทุลักทุเล ทุกข์ยาก ท�ำงานหนักทุกวันๆ ท�ำงานไปก็ทุกข์ใจไปว่าท�ำไมเราล�ำบาก ขนาดนี้ แต่ก็ต้องอดทนท�ำเลี้ยงลูกจนกระทั่งลูกเติบโตไปมี ครอบครัว มีครอบครัวแล้วแกก็นึกว่าแกสบายแล้ว ปรากฏว่า ลูกก็มลี กู แล้วเอามาให้แกเลีย้ งต่อ แกก็ทกุ ข์ตอ่ ต้องท�ำมาหากิน เพือ่ เลีย้ งตัวเองเลีย้ งหลาน ทุกข์จนกระทัง่ สุดท้ายต้องหาทางว่า ที่ไหนบ้างทีจ่ ะท�ำให้พน้ ทุกข์ได้ แกก็เข้าไปหาพระสงฆ์องค์เจ้า จนไปพบลูกศิษย์หลวงพ่อเทียนทีพ่ าปฏิบตั ธิ รรมด้วยการเจริญ สติแบบเคลือ่ นไหว ๑๔ จังหวะ แล้วก็เดินจงกรม พอแกปฏิบตั ไิ ป สติมีก�ำลังสูงก็มองเห็นตัวเองชัดเจน เห็นว่าความทุกข์มัน ไม่ใช่เรา มันมีอยู่ แต่ไม่ใช่เรา เราเองต่างหากไปแบกมันไว้ ตัง้ แต่ นั้นมาแกเลยไม่ทุกข์ แล้วก็เลี้ยงหลานไป ก็ยังท�ำเหมือนเดิม เหนื่อยยากเหมือนเดิม แต่ไม่ทุกข์ แล้วก็ปฏิบัติธรรมไป ในแต่ละวันแม่อั้วจะนอนสองชั่วโมงแล้วตื่นมาปฏิบัติธรรม แล้วก็นอนไปอีกนิดหนึ่ง แล้วตื่นมาท�ำกับข้าวใส่บาตรพระ ท�ำกับข้าวให้หลานไปโรงเรียน กลับมาท�ำงานที่บ้าน แล้วค่อย ปฏิบัติธรรมต่อ จนกระทั่งในที่สุดแกสร้างสถานปฏิบัติธรรม
80
ทันทีหลังจากที่เรา สอนใจตัวเราเองแล้ว ทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงทันตาเห็น เพราะจิตใจของคนเรา มีเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา คือ โพธิปญ ั ญา อยูแ่ ล้ว ของตัวแกเองขึ้นที่ชัยภูมิ ให้คนมาปฏิบัติธรรมโดยไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่าย แกปลูกพืชผักทุกอย่างที่จะต้องใช้ท�ำอาหารเอา ไว้รอบๆ ที่หนึ่งไร่ แล้วท�ำอาหารเลี้ยงดูคนที่มาปฏิบัติธรรม และสอนกรรมฐานควบคู่กันไป เราเห็ น ชี วิ ต ของแม่ ค นหนึ่ ง แล้ ว รู ้ สึ ก อย่ า งไรบ้ า ง สะเทือนใจไปกับแกด้วยไหม บัดนี้แกเสียชีวิตแล้ว เพราะแก ใช้งานร่างกายหนักมาก แกอายุไม่มากเท่าไรก็เป็นโรคหลายโรค ฟังแล้วรูส้ กึ อย่างไรเรือ่ งความเป็นแม่ ชืน่ ชมแกนะ แกเสียสละ มาก แกไม่ได้เรียนหนังสือ อดทนมาก ถ้าเรารู้สึกอย่างนี้เรา จะสอนใจตัวเองอย่างไร เอะอะเราก็บน่ ว่าเหนือ่ ยใช่ไหม ท�ำงาน อยู่หน้างานเดียวแท้ๆ ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรหนักหนา แต่เราก็ บ่ นว่ า เหนื่ อ ยมากเลย เราก็ ล องกลั บ มาสอนใจตั ว เราเอง จริงหรือ คนคนหนึ่งท�ำงานได้แค่นี้ก็เหนื่อยแล้วหรือ ท�ำไมคน
อืน่ ท�ำได้มากจังเลย ท�ำไมชีวติ เขามีประโยชน์มากจังเลย เราก็ อาจจะสอนใจตัวเราเองอย่างนี้ การพบตัวอย่างเช่นนีเ้ ป็นสิง่ ทีส่ ะเทือนใจ พาให้เราสอนใจ ตัวเราเองได้ แล้วเราจะออกจากความดัง้ เดิมของเรา ใครจะพา ออกได้นอกจากตัวเราเอง การน้อมความสะเทือนใจเข้าไปพินจิ พิเคราะห์ใคร่ครวญ หรือเรียกง่ายๆ ว่ามีโยนิโสมนสิการ เข้าไป สูค่ วามเป็นกุศล คือสอนใจตัวเองเป็น สิง่ นีแ้ หละคือทักษะทีจ่ ะ ท�ำให้เราเปลี่ยนแปลงจากภายใน ระเบิดจากข้างใน ไม่มีใคร มาระเบิดให้เราได้ เราต้องระเบิดของเราเอง แต่จะระเบิดได้ เราต้องมีทักษะ ไม่อย่างนั้นเราจะไปมองข้างนอก มองเรื่อง คนอื่ น มองเรื่ อ งโน้ น เรื่ อ งนี้ ยากนั ก ที่ จ ะมองเห็ น ตั ว เอง แม้ความสะเทือนใจของตัวเองบางครั้งเราก็ไม่ทันได้สังเกต แล้วเมือ่ สะเทือนใจแล้วก็ไม่ทนั ได้โยนิโสมนสิการต่อ เรือ่ งเหล่านี้ เราจะพบอยู่เรื่อยๆ รอบๆ ตัวเรา แล้วควรเป็นเรื่องที่มาเล่า สู่กันฟัง พากันสอนใจตัวเอง นี่แหละแล้วเราจะพบชีวิตใหม่ การเปลี่ยนแปลงใหม่สู่สิ่งที่ดีกว่า เมื่อคนเราสอนใจตัวเองเป็น แล้วซื่อสัตย์ ท�ำสิ่งที่ควรท�ำ เสียใหม่ทันทีหลังจากที่เราสอนใจตัวเราเองแล้ว ทุกอย่างจะ เปลีย่ นแปลงทันตาเห็น เพราะจิตใจของคนเรามีเมล็ดพันธุแ์ ห่ง ปัญญา คือ โพธิปัญญา อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเราอาจไม่คุ้นเคย กับทักษะการน้อมใจเข้าไปเมื่อเห็นหรือสัมผัสเรื่องราวต่างๆ ไม่น้อมเข้าไปรับรู้ ไม่สะเทือนใจ ใจมันแข็งกระด้างเกินไป ไม่ยอมสัมผัส เราก็ฝึกใหม่ได้ ฝึกให้รับรู้ได้ ประทับใจกับเรื่อง โน้นเรื่องนี้ได้ แต่เราไม่ได้ไปไหน เราประทับใจเพื่อให้เกิด การสะกิดใจตัวเรา แล้วสอนใจตัวเราเองกลับมา
81
VIEW OF THOUGHT
มีแต่ตวั เราเท่านัน้ ทีส่ อนใจตัวเองได้ เรื่ อ งของหลวงพ่ อ ค� ำ เขี ย นก็ ส ะเทื อ นใจนะ เมื่ อ วันอาทิตย์ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ อาจารย์ ไปกราบท่าน หลวงพ่อมรณภาพวันเสาร์เช้า ลูกศิษย์ที่อยู่ใกล้ชิดกับท่าน จนวินาทีสดุ ท้ายเล่าให้ฟงั ว่า หลวงพ่อคงจะรูต้ วั เพราะตอนนัน้ ท่านหายใจเองไม่ได้ กินอาหารเองไม่ได้ กลืนน�้ำเองไม่ได้ พูดไม่ได้ ต้องใช้วธิ กี ารอย่างอืน่ ช่วยทัง้ นัน้ เลย แล้วท่านมีกอ้ นเนือ้ อยู่ที่คอ ที่ผ่านมาก็รักษา ก้อนเนื้อนี้ก็ทุเลาลงไป จนสามารถ ใส่ท่อปั๊มออกซิเจนเข้าไปได้ พอสุดท้ายก้อนเนื้อนี้ใหญ่ขึ้น แล้วไปเบียดท่อออกซิเจนออกมาจนไม่สามารถใส่เข้าไปอีกได้ ปกติทา่ นยอมให้หมอดูแล ยอมให้ลกู ศิษย์ลกู หาช่วย เมือ่ เห็นว่า ก้อนเนื้อนี้บวมก็จะฉีดสเตียรอยด์เพื่อให้มันยุบลง แต่สเตียรอยด์เมื่อฉีดซ�้ำๆ จะไม่ได้ผลแล้ว ท่อก็หลุด ออกมา ท่านก็หายใจไม่คอ่ ยได้ ตอนก่อนมรณภาพท่านลุกขึน้ กลางดึกแล้วเดินไปเข้าห้องน�้ำ ปกติแม้แต่จะพลิกตัวท่านยัง พลิกเองไม่ได้เลยนะ ต้องให้ลูกศิษย์พลิกให้ แต่พอลุกได้แล้ว ท่านก็เดินไปห้องน�้ำเอง ท�ำธุระเสร็จท่านก็ไปล้างมือ ล้างหน้า แล้วกลับมานอน พอกลับมานอนท่านหายใจไม่ได้ ลูกศิษย์ ก็พยายามจะช่วยเหลือ หาทางท�ำโน่นท�ำนี่ โทรศัพท์ปรึกษา หมอว่าจะใช้วิธีไหนอย่างไรดี วุ่นวายกันใหญ่ เพราะท่านเริ่ม ไม่มีออกซิเจน แล้วท่านก็โบกมือบอกลูกศิษย์ว่าไม่ต้องแล้ว ลูกศิษย์ยังไม่เข้าใจ ท่านก็ท�ำท่าว่าจะเขียน ลูกศิษย์ก็เอา กระดาษให้ท่านเขียน ท่านเขียนแล้วส่งให้ท่านโน้ต ท่านโน้ต ดูแล้วอ่านไม่ออก แล้วก็ส่งต่อให้พระอีกรูปหนึ่ง พระรูปนั้นก็ ไม่ได้อ่านอะไร แล้วก็พยายามกัน แต่ไม่ส�ำเร็จ ท่านไปอย่าง สงบ อย่างรู้ตัว พระอั๋นจับชีพจรจนกระทั่งหายไป
82
หลังจากนัน้ พอเอากระดาษทีท่ า่ นเขียนมาอ่าน ท่านเขียน ว่า “พวกเรา ขอให้หลวงพ่อตาย” เรื่ อ งนี้ ส อนอะไรเราบ้ า ง บางคนบอกว่ า อย่ า ฝื น ธรรมชาติ สอนอะไรเราอีก ใครรู้สึกสะเทือนใจมากๆ บ้าง ไหม อาจารย์ฟงั แล้วรูส้ กึ สะเทือนใจมาก แล้วความสะเทือนใจนี้ บอกอะไรเรา มีคนบอกว่าเป็นอุทาหรณ์ ให้เราหมั่นฝึกสติ เพือ่ เตรียมใจตัวเองให้พร้อมกับวาระสุดท้ายทีแ่ ม้วา่ จะทรมาน แต่ก็ไม่ทุรนทุราย ไปได้อย่างสงบ อาจารย์พอฟังแล้วรู้สึก สะเทือนวูบขึ้นมาว่า แล้วเราท�ำอะไรอยู่ ถึงวันนี้เราท�ำอะไรอยู่ ครูบาอาจารย์หมดไปอีกหนึง่ แล้ว จะหาใครทีเ่ ป็นทีพ่ งึ่ ทีม่ าสอน เราน้อยลงไปอีกหนึ่งแล้ว ถ้าเราไม่รีบสอนตัวเราเองให้ได้ แล้วใครจะสอนเรา รูส้ กึ ว้าเหว่ รูส้ กึ ใจหาย ครูบาอาจารย์ไม่อยู่ รอเราแล้ว เพราะฉะนั้นถึงบอกว่า เหตุการณ์จะเกิดขึ้นรอบตัวเรา ให้เราต้องรู้สึกสะเทือน เราต้องหัดรู้สึกนะ เราอย่าเป็นคน แข็งๆ ทื่อๆ เห็นอะไรแล้วก็เฉยเมย ไม่รับรู้ อันนั้นจะล�ำบาก เรียกว่าใจมีเกราะหินก�ำบังอยู่ แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ไป ฟูมฟายโวยวายกับอะไรนะ เพียงแต่กลับเข้ามาดูใจให้เป็นว่า รู้สึกอย่างไร แล้วเกิดการสอนใจตัวเองขึ้นมาอย่างไร มีอยู่ตรง วินาทีนั้นเลย มนุษย์ทุกคนมีสิ่งนี้อยู่ในใจ ปล่อยมันออกมา อย่าท�ำเป็นมองข้าม จุดนี้แหละที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง ที่ส�ำคัญที่สุด ขอให้เราทุกคนใช้ทักษะใช้ชีวิตของเราเป็นการทดลอง แห่งการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แล้วเราจะพบว่ายังมีดี กว่านี้อีก ทุกวันๆ