English issue
นิตยสารรายสองเดือน ปีที่ 35 ฉบับที่ 178 กันยายน-ตุลาคม ๒๕๖๑ September-October 2018
โรตารี คืออะไร ? วัตถุประสงค์ของโรตารี โรตารีมวี ตั ถุประสงค์เพือ่ สนับสนุนและส่งเสริมอุดมการณ์แห่งการบ�ำเพ็ญ ประโยชน์ ในการด�ำเนินกิจกรรมทีม่ คี ณ ุ ค่าเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิง่ เพือ่ สนับสนุนและส่งเสริม หนึ่ง การเสริมสร้างความคุ้นเคยระหว่างสมาชิกเพื่อการบ�ำเพ็ญประโยชน์ สอง การยกระดับจรรยาบรรณในธุรกิจและวิชาชีพ การยอมรับคุณค่าใน การประกอบอาชีพที่ยังคุณประโยชน์ และการให้โรแทเรียนทุกคนภูมิใจใน อาชีพของตน เพื่อการบ�ำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สาม การให้โรแทเรียนทุกคน น�ำเอาอุดมการณ์แห่งการบ�ำเพ็ญประโยชน์ ไปใช้ในชีวิตส่วนตัว ธุรกิจและชุมชน สี่ การเพิ่มพูนความเข้าใจ ไมตรีจิตและสันติสุขระหว่างชาติ ด้วยมิตร สัมพันธ์ของบุคคลในธุรกิจและวิชาชีพทัว่ โลก ทีม่ อี ดุ มการณ์ในการบ�ำเพ็ญ ประโยชน์อย่างเดียวกัน
The Object of Rotary
The Object of Rotary is to encourage and foster the ideal of service as a basis of worthy enterprise and, in particular, to encourage and foster: FIRST The development of acquaintance as an opportunity for service; SECOND High ethical standards in business and professions, the recognition of the worthiness of all useful occupations, and the dignifying of each Rotarian’s occupation as an opportunity to serve society; THIRD The application of the ideal of service in each Rotarian’s personal, business, and community life; FOURTH The advancement of international understanding, goodwill, and peace through a world fellowship of business, and professional persons united in the ideal of service. แฮมเบิร ก์ , เยอรมัน 1-5 มิถุนายน 2019
สารประธานโรตารีสากล แบรี แรซซิน กันยายน ๒๕๖๑
มิตรโรแทเรียนที่รัก หากเราใช้จนิ ตนาการว่า เราสามารถจับภาพรวมผลงาน ทั้งหมดที่โรตารีปฏิบัติการในวันใดวันหนึ่งมาดูกัน คงไม่มีใครเชื่อ (ยกเว้นโรแทเรียน) ว่าองค์กรเพียงหนึ่งเดียวนี้จะสามารถสร้างผล งานได้มากมายขนาดนี้ ในภาพถ่าย ท่านอาจเห็นอาสาสมัครทีอ่ ทุ ศิ ตนท�ำงานขจัดโปลิโอ จัดให้สินเชื่อขนาดย่อย จัดหาน�้ำสะอาด ให้ ค�ำแนะน�ำแก่เยาวชนและกิจกรรมอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน สิ่งที่เราสามารถกระท�ำได้ทั้งหมดนั้น ต้องขอบคุณทั้ง ด้านการติดต่อถึงกันในทางภูมิศาสตร์และความจริงที่ว่า สโมสร ของพวกเรานัน้ ประกอบด้วยบุคลากรผูม้ สี ว่ นร่วมงานอยูใ่ นชุมชน ในส่วนของชุมชนที่ท่านบ�ำเพ็ญประโยชน์อยู่นั้น ท่านก็จะทราบ ความต้องการของชุมชน ท่านมีเครือข่ายต่างๆ ที่ท่านสามารถ ติดต่อด�ำเนินการได้ในทันที นีค่ อื เหตุผลว่า สโมสรโรตารีทกุ ๆ แห่ง ควรต้องมีสมาชิกภาพ ทีส่ ะท้อนถึงอาชีพหลากหลายในชุมชนด้วย เรายังมีความคืบหน้ามากอีกด้านหนึ่ง สมาชิกภาพของ สุภาพสตรีในโรตารีอียิปต์ อินโดนีเซีย และเคนยา เกือบจะถึง ร้อยละ ๕๐ แล้ว และเราก�ำลังขยายความแตกต่างด้านอายุใน สโมสรของเราด้วย ในแต่ละชุมชนของเรา มีผู้ประกอบการหนุ่ม สาวที่อยากจะขอแบ่งปันพรสวรรค์ของพวกเขาคืนให้แก่สังคม และมาเรียนรู้จากที่ปรึกษา (โรแทเรียน) ดังนั้นโปรดแบ่งปันเรื่อง ของโรตารีที่เกี่ยวข้องให้พวกเขาทราบด้วย มีคู่มือส�ำหรับใช้ติดต่อ ผู้ประกอบการวัยหนุ่มสาวของ โรตารีสากล (The Engaging Younger Professionals Toolkit) อยู่ในเว็บไซท์ของ Rotary. org ซึ่งมีแผนปฏิบัติการส�ำหรับช่วยติดต่อผู้น�ำหนุ่มสาว และศิษย์ เก่ามูลนิธิที่อยู่ในพื้นที่ของท่าน อีกแหล่งทรัพยากรหนึง่ ทีส่ ามารถช่วยเราสะท้อนชุมชน ของเราดียิ่งขึ้น นั่นคือ โรทาแรคท์ ที่มีสมาชิกในโลกที่เข้มแข็ง
กว่าสองแสนห้าหมื่นคน โรทาแรคเทอร์คือหุ้นส่วนของเราในการ แบ่งปันคุณค่าของการบ�ำเพ็ญประโยชน์ และการเป็นผู้น�ำเหมือน กับเรา โปรดร่วมงานกับพวกเขาในการท�ำโครงการ เชิญชวนเขา มากล่าวปราศรัยในงานของท่าน และเชิญชวนเขามาเป็นสมาชิก ในสโมสรท่าน โรทาแรคเทอร์ในโลกที่มุ่งมั่นอุทิศตนได้เข้ามาเป็น สมาชิกของโรตารีแล้ว และยังได้เริม่ ก่อตัง้ สโมสรโรตารีใหม่ ในขณะ ที่ท�ำหน้าที่สมาชิกโรทาแรคท์ด้วย โลกขณะนี้ต้องการโรตารี และโรตารีก็ต้องการสโมสร ที่เข้มแข็งและสมาชิกที่ร่วมกิจกรรมเพื่อการท�ำสิ่งดีๆ ในโลกมาก ยิ่งขึ้น นี่คือหน้าที่ที่เรารับผิดชอบร่วมกันทั้งท่านและผม เพื่อให้ แน่ใจว่าทุกคนทีม่ คี วามสนใจจะเข้าร่วมในโรตารี ต้องได้รบั ค�ำเชิญ โปรดใช้ประโยชน์จากคู่มือแนะน�ำสมาชิกใหม่ (Membership Leads tool) ในเว็บ Rotary.org ซึ่งจะช่วยให้บุคคลที่สนใจใน การร่วมงานโรตารี ได้ตดิ ต่อกับสโมสรทีเ่ หมาะสมส�ำหรับเขา และ มัน่ ใจว่าสมาชิกทุกๆ คนมีเหตุผลทีจ่ ะอยูต่ อ่ ไปด้วย การสร้างความ เข้มแข็งให้สโมสรในการท�ำโครงการที่มีคุณค่าและสนุกสนาน ไปพร้อมกันด้วย เราได้มอบคุณค่าให้แก่สมาชิกสโมสรของเราที่ พวกเขาไม่สามารถหาได้จากที่อื่นๆ โปรดอย่าเก็บเรื่องราวของโรตารี ที่จับภาพการบ�ำเพ็ญ ประโยชน์ที่กล่าวข้างต้นไว้กับตัวเอง ผมขอท้าให้ท่านเชื้อเชิญ ผูน้ ำ� ชายและหญิง ทุกระดับอายุ ผูก้ ำ� ลังมองหาวิธคี นื กลับให้สงั คม ในการนี้ท่านจะได้ร่วมสร้างแรงบันดาลใจในชุมชนของท่านและ ช่วยให้โรตารีสืบสานการท�ำสิ่งดีๆ ในโลกต่อไป แบรี แรซซิน ประธานโรตารีสากล ปี ๒๕๖๑-๖๒
On the Web Speeches and news from RI President Barry Rassin at www.rotary.org/office-president
สารประธานโรตารีสากล แบรี แรซซิน ตุลาคม ๒๕๖๑
มิตรโรแทเรียนที่รัก ทุกเช้าวันพฤหัสบดี ผมจะรับอีเมลจากองค์การ อนามัยโลก อัพเดทข้อมูลปัจจุบนั ของการขจัดโปลิโอ ซึง่ เป็น ข้อมูลทีม่ คี ณ ุ ค่า เป็นรายประเทศๆไป ในสถานทีแ่ ละวิธกี าร รณรงค์กำ� ลังปฏิบตั งิ าน มีเด็กนับจ�ำนวนล้านๆ คนทีก่ ำ� ลังได้ รับวัคซีน และสถานทีท่ ถี่ กู จับตาว่ามีหลักฐานของไวรัสแพร่ ระบาดทีใ่ ดบ้าง แต่ทกุ สัปดาห์ทผี่ มได้รบั อีเมล หัวใจผมแทบ จะหยุดเต้น เมื่อได้อ่านข้อความสองสามบรรทัดแรกที่แจ้ง ว่ามีเด็กคนหนึ่งพิการด้วยไวรัสโปลิโอในช่วงสัปดาห์นั้น มิตรรักครับ นัน่ คือการท�ำงานของพวกเราทุกวันนี้ เพื่อขจัดโรคโปลิโอ ค�ำถามในหัวของผมในขณะที่เปิดอีเมล นั้น มิใช่จะมีจ�ำนวนผู้ป่วยกี่พันรายในหนึ่งปี ที่เรามิได้เห็น มานานหลายปีแล้ว หรือจะเป็นกี่ร้อยรายก็ตาม แต่ที่จริง เมื่ออีเมลขององค์การอนามัยโลก WHO จะมาทุกเช้าวัน พฤหัสบดี จะมีคำ� ตอบเพียงหนึง่ เดียวคือมีผปู้ ว่ ยรายใหม่ใน สัปดาห์นี้หรือไม่? หรือไม่มีเลย เมือ่ สามสิบปีกอ่ น มีเด็กหนึง่ พันคนต้องพิการด้วย โปลิโอทุกๆ วัน และตัง้ แต่นนั้ มาเราก็มองเห็นความก้าวหน้า ของเราทุกๆ ปี ทุกๆ สัปดาห์ เราได้เฉลิมฉลองการปลอดโรค โปลิโอกันไปในแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาคที่ปลอดโปลิโอ ขณะนี้เรามาใกล้จุดหมายของเราแล้ว และผู้ป่วยโปลิโอก็ มีจ�ำนวนลดลงตามล�ำดับ จ�ำนวนเด็กที่ป่วยโปลิโอมิใช่สิ่ง จูงใจให้ผมเปิดอ่านอีเมลอีกต่อไป แต่ผมจะเฝ้าดูเพียงว่า ในสัปดาห์นจี้ ะมีเด็กคนใดคนหนึง่ ต้องพิการด้วยโปลิโอหรือ ไม่?
02
กันยายน-ตุลาคม 2561
เราเข้ามาใกล้ทจี่ ะขจัดโปลิโอให้สนิ้ ไปจากโลกแล้ว แต่ก็มีงานอีกมากที่จะต้องกระท�ำต่อไป ดังนั้นในเดือนนี้ ผมจึงใคร่ขอให้ทุกๆ สโมสร โรตารีช่วยขจัดโปลิโอ ด้วยการจัดวันโปลิโอโลกในวันที่ ๒๔ ตุลาคมนี้ด้วย เมื่อปีกลายนี้สโมสรโรตารีนับพันสโมสร ทั่วโลกได้จัดวันโปลิโอโลก เพื่อสร้างความตระหนักและ ระดมทุนขจัดโปลิโอ ส�ำหรับปีนี้ เราต้องการเห็นการจัดวัน โปลิโอโลกเพิม่ การลงทะเบียนมากยิง่ ขึน้ หากท่านมีแผนจัด งานแล้ว โปรดอย่าลืมลงทะเบียนส่งเสริมการจัดงานในเว็บ endpolio.org เพื่อให้มีคนร่วมจัดงานมากยิ่งขึ้น แต่หาก ท่านยังมิได้วางแผนจัดงานนี้ก็ยังไม่สายเกินไป โปรดเยี่ยม เว็บ endpolio.org เพื่อแสวงหาแนวคิด หรือข้อมูลทางสื่อ ออนไลน์ และแหล่งทรัพยากรส�ำหรับช่วยสโมสรท่านจัดงาน ที่ประสบผลส�ำเร็จต่อไป วันโปลิโอโลก คือโอกาสที่ยิ่งใหญ่ส�ำหรับสโมสร เพือ่ จัดเป็นไฮไลท์ของโรตารี ตลอดจนผลงานประวัตศิ าสตร์ การกวาดล้างโปลิโอในชุมชนของเราและชุมชนโลก และ ยังเป็นหนทางส�ำหรับรับประโยชน์ทวีคูณจากมูลนิธิบิล& เมลินด้า เกตส์ ซึ่งจะสมทบให้อีกสองเท่าของทุนที่เราได้รับ ดังนั้นขอโปรดร่วมมือกับผมและโรแทเรียนทุกๆ แห่งในวัน ที่ ๒๔ ตุลาคม วันโปลิโอโลก และ ร่วมสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อให้โลกปลอดโปลิโอตลอดไป แบรี แรซซิน ประธานโรตารีสากล ปี ๒๕๖๑-๖๒
สารประธานทรัสตี
รอน ดี. เบอร์ตัน กันยายน ๒๕๖๑
ในปีบริหาร พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๑ ผมเป็นผู้ว่าการภาค ในปีของอดีตประธานโรตารีสากล Charles C. Keller (ถึงแก่ กรรมแล้ว) ในฐานะผูว้ า่ การภาคผมจึงไปเข้าร่วมประชุมประจ�ำปี ๒๕๓๑ โรตารีสากล ณ เมือง Philadelphia ซึ่งได้รับทราบว่ามี ผู้ป่วยโรคโปลิโอประมาณ ๓๕๐,๐๐๐ รายอยู่ใน ๑๒๕ ประเทศ และมีข่าวดีว่า เราสามารถระดมทุนขจัดโปลิโอสูงเกินเป้าหมาย ๑๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐ โดยท�ำได้ถึง ๒๑๙,๓๕๐,๔๔๙ เหรียญ สหรัฐ (ซึง่ ต่อมาหลังจากปรับยอดบัญชีแล้ว ตัวเลขเป็น ๒๔๗ ล้าน เหรียญสหรัฐ) เป็นเรือ่ งน่าชืน่ ชมยินดีมาก พวกเราสามารถพิสจู น์ ตัวเองและให้โลกประจักษ์ถึงพลังของโรตารีที่สามารถรับมือกับ ปัญหาด้านสุขภาพในระดับโลกได้ ต่อจากนั้นมาอีก ๓๐ ปี เราพร้อมกับหุ้นส่วน คือ องค์การอนามัยโลก WHO ศูนย์ควบคุมป้องกันโรคติดต่อของ สหรัฐ องค์การ UNICEF และ มูลนิธิบิล&เมลินดา เกตส์ ร่วมกัน ระดมทุนเพิ่มขึ้นและจัดตั้งวันหยอดวัคซีนแห่งชาติ รวมถึงการ ติดต่อกับทุกรัฐบาลในโลก เรามีเป้าหมายรักษาค�ำมั่นสัญญาที่ จะท�ำให้เด็กในโลกปลอดโรคโปลิโอตลอดไป และในปีที่ผ่านมา นี้ มีรายงานผู้ป่วยเพียง ๒๒ รายเท่านั้น เราได้บรรลุผลงานที่เหลือเชื่อ แม้ทราบดีว่างานนี้ยัง ไม่จบสิ้น ต่อเมื่อเราได้ลดจ�ำนวนรายผู้ป่วยลงให้เป็นศูนย์และ ไม่มีไวรัสแพร่ระบาดในโลกอีก เราก็ต้องรอให้องค์การอนามัย โลก ให้การรับรองว่าโลกปลอดโปลิโอจริง ซึ่งจะต้องใช้เวลาอีก อย่างต�่ำสามปี โดยไม่พบการติดต่อของเชื้อไวรัสในบุคคลหรือ บริเวณแวดล้อมแม้แต่รายเดียว ในระหว่างสามปีนั้น พวกเรายัง ต้องท�ำการให้วัคซีนแก่เด็กต่อไป และต้องแน่ใจในการเฝ้าระวัง ว่าเชื้อไวรัสจะไม่หวนคืนมาอีก
ในความพยายามทีก่ ล่าวมานี้ เราชาวโรแทเรียนอยูแ่ นว หน้าเสมอมาและเรายังอยูใ่ นปัจจุบนั ถามว่า ท่านจะช่วยท�ำอะไร ต่อไป? โปรดแจ้งให้ทุกๆ คนที่ท่านรู้จักได้ทราบเรื่องของโรตา รีและโปลิโอด้วย โปรดร่วมบริจาค (ทุนโปลิโอ) ปรับปรุงข้อมูล สโมสรของท่าน และส�ำรวจว่าพวกเราจะร่วมมือกันโดยตรงใน การต่อสู้ครั้งนี้ต่อไปอย่างไร วันที่ ๒๔ ตุลาคมนี้ เราจะเฉลิมฉลองวันครบรอบ ๓๐ ปีของการรณรงค์กวาดล้างโปลิโอในโลก เป็นการจัดฉลองวัน โปลิโอโลกประจ�ำปี ครั้งที่หก ณ เมืองฟิลาเดลเฟีย เมืองที่เป็น จุดเริ่มต้นของการรณรงค์ฯ โปรดเป็นเจ้าภาพจัดงานหาทุนใน วันโปลิโอโลก หรือจัดงานปาร์ตี้ขึ้นในสโมสร แล้วแจ้งข้อมูลแก่ เราที่เว็บ endpolio.org/promote-your-event และส�ำหรับ ข้อมูลเพิ่มเติมโปรดตรวจที่เว็บ endpolio.org ด้วย ผมขอให้ท่านช่วยเหลือ และหวังพึ่งพาท่านเพื่อให้เรา รักษาค�ำมั่นสัญญาของเราต่อไป
รอน ดี. เบอร์ตัน ประธานทรัสตีมูลนิธิโรตารี ปี ๒๕๖๑-๖๒
สารประธานทรัสตี รอน ดี. เบอร์ตัน ตุลาคม ๒๕๖๑
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี ๑๙๐๕ เป็นต้นมา โรตารีเป็น ผูช้ นะเลิศด้านสันติภาพเสมอ และในการประชุมใหญ่โรตารี สากลปี ๑๙๑๔ ได้มีข้อยุติว่า องค์กรของเรานั้น“ให้ผล กระทบทีด่ ตี อ่ การบ�ำรุงรักษาสันติภาพ ท่ามกลางนานาชาติ ทัว่ โลก” และอีกครัง้ ในการประชุมใหญ่ปี ๑๙๒๑ ทีป่ ระชุม ได้ก�ำหนดเป้าหมายไว้ในธรรมนูญของโรตารีเพื่อช่วยเหลือ ส่ ง เสริ ม การก้ า วสู ่ สั น ติ ภ าพระหว่ า งประเทศและสร้ า ง ไมตรีจิตด้วยมิตรภาพในอุดมการณ์บ�ำเพ็ญประโยชน์ของ โรตารี เมื่อถึงปี ๑๙๔๕ โรตารีก็มีบทบาทส�ำคัญในการ ก่อตั้งองค์การสหประชาติ โดยโรแทเรียนเกือบ ๕๐ คนได้ ท�ำหน้าที่เป็นผู้แทน เป็นที่ปรึกษาในการประชุมก่อตั้ง องค์การสหประชาชาติ ที่เมืองซานฟรานซิสโก ทุกวันนี้ หนึง่ ในหกข้อส�ำคัญทีเ่ รามุง่ เน้น ก็คอื การ ส่งเสริมสันติภาพ เกือบทุกโครงการบ�ำเพ็ญประโยชน์ของ โรตารี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ทุนสนับสนุนระดับภาค หรือทุน ระดับโลกก็ตาม จะเป็นโครงการสันติภาพ โครงการน�้ำ สะอาดและสุขอนามัย โครงการเรียนรูห้ นังสือและการศึกษา ขัน้ พืน้ ฐาน โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและชุมชน หรือจะเป็น โครงการใดโครงการหนึ่งที่เกี่ยวกับสุขพลานามัยของเพื่อน มนุษย์ เช่น สุขภาพของแม่และเด็ก หรือการรักษาป้องกัน โรค ไม่ว่าจะเรืองใดก็ตาม ผลประโยชน์สูงสุดที่ได้คือการ สร้างผลดีด้านบวกส�ำหรับโลกของเราด้วยการปรับปรุง
ผู้แปลสาร : อน.พิเชษฐ์ รุจิรัตน์ สร.ราชบุรี pr.pichet3330@gmail.com
04
กันยายน-ตุลาคม 2561
คุณภาพชีวติ ของผูท้ ไี่ ด้รบั ผลกระทบ การพัฒนาปรับปรุงนัน้ ก็คือพื้นฐานของสันติภาพ นอกเหนือไปจากนั้น ในแต่ละปี เราจะคัดเลือก บุคลากรมืออาชีพจากทัว่ โลกราวๆ ๑๐๐ คนเข้ารับทุนศึกษา สันติภาพของโรตารี ณ ศูนย์ใดศูนย์หนึง่ ในหกศูนย์สนั ติภาพ ของเรา โดยจะได้รบั ปริญญาโทหรือประกาศณียบัตรพัฒนา อาชีพเช่นสิทธิมนุษยชน การเมืองระหว่างประเทศ การ สาธารณสุขและการพัฒนาเศรษฐกิจ ทุกวันนี้ เรามีบคุ ลากร มากกว่า ๑,๑๐๐ คนที่มีส่วนร่วมในโปรแกรมสันติภาพนี้ และเราก�ำลังเห็นผลบวกของโปรแกรมนี้เกิดขึ้น เราก�ำลังมองไปในอนาคต คณะทรัสตี มูลนิธโิ รตารี ก�ำลังปรึกษากันว่า เราจะปรับปรุงโปรแกรมนี้ตลอดจน ความพยายามด้านสันติภาพทั้งหมดของเราต่อไปอย่างไร เพือ่ ทีจ่ ะให้เราสามารถบรรลุผลกระทบด้านบวกได้มากทีส่ ดุ หากท่านต้องการที่จะช่วยเหลือ ท่านก็สามารถบริจาคให้ แก่กองทุนของขวัญขนาดใหญ่ (เมเจอร์กิฟท์) ส�ำหรับศูนย์ สั น ติ ภ าพของโรตารี และช่ ว ยในการสนั บ สนุ น ผู ้ ส ร้ า ง สันติภาพรุ่นต่อๆ ไปด้วย รอน ดี. เบอร์ตัน ประธานทรัสตีมูลนิธิโรตารี ปี 2561-62
บทบรรณาธิการ อน.วาณิช โยธาวุธ สร.แม่สาย D.3360
มวลมิตรโรแทเรียนทุกท่านครับ ห้วงเวลาที่ผ่านมา เราได้ข่าวสารที่เกี่ยวกับอุบัติภัยต่างๆ จากทั้งธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากทั่วทุกมุมโลก เป็นยุคสมัยแห่งการเชื่อมต่อ ที่ท�ำให้การเข้าถึงข่าวสาร ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและง่ายดาย ท�ำให้การแบ่งปันความรัก ความเมตตา ในรูปแบบต่างๆ ไปถึงผู้ประสบภัย และทุกข์ยากล�ำบากทั้งหลายได้อย่างทันท่วงที โลกเราใบนี้ ไม่ได้เชื่อมต่อเพียงแค่ข้อมูลข่าวสารเท่านั้น แต่เราเชื่อมโยง เกี่ยวข้องกันในแทบทุกๆ ด้าน มนุษย์เราได้ใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติในทุกรูปแบบอย่างสิ้นเปลือง เพื่อความสะดวกสบาย แต่ผลกระทบที่ตามมาก็มากมายมหาศาล ในวันนี้ สภาพแวดล้อมของโลกใบนี้ ทั้ง ดิน น�้ำ ฟ้า อากาศ เริ่มสึกหรอ ต้องการการเยียวยา และไม่ใช่ภาระของใครคนใดคนหนึ่ง ถึงเวลาที่เราทุกคนจะต้องมอบความรัก ความเมตตา ให้กับตัวเราเอง ซึ่งหมายถึงโลกใบนี้นั่นเอง ร่วมแรง รวมใจ คนละไม้ละมือ ทะนุถนอมให้โลกใบนี้สวยงาม และอยู่ไปกับเราตราบนานเท่านาน ด้วยไมตรีจิตแห่งโรตารี อน.วาณิช โยธาวุธ
Behind the Scene @ ภัทรฟาร์ม เชียงใหม่ 1. เปิดไลน์ ในมือถือ แล้วเลือก หัวข้ออื่นๆ 2. กดเลือกตัวอ่านคิวอาร์โค้ด 3. สแกนคิวอาร์โค้ด ด้านข้างนี้ 4. กดเปิด และร่วมสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ
นิตยสารโรตารีประเทศไทย
(ภาพหน้ า ปกและสารบั ญ ) โรแทเรี ย น เยาวชนแลกเปลี่ ย นและ ผู้ปกครองจำ�นวน 30 คน เข้ามาร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ ที่ฟาร์มช้างภัทร นอกจากจะได้รับความรู้เกี่ยวกับช้างและดูแลช้างในช่วงเวลาสั้นๆ แล้ว ทุกๆ คนต่างตื่นเต้น และมีความสุขกับกิจกรรม ได้สัมผัสกับช้างที่เป็น มิตรไม่ว่าจะเป็นช้างตัวใหญ่หรือตัวเล็ก ที่ออกมาเคล้าคลอเคลียด้วย อย่างน่ารัก
06 กันยายน-ตุลาคม 2561
นิตยสารรายสองเดือน ปีที่ 35 ฉบับที่ 178 กันยายน-ตุลาคม ๒๕๖๑ September-October 2018
สารบัญ Contents สารประธานโรตารีสากล สารประธานทรัสตีฯ สารบัญ สนเทศโรตารี บทความ “แรงบันดาลใจ”
1-2 3-4 6-7 8 9
สกู๊ปพิเศษ “ข้อแนะน�ำประกอบแนวทาง 10-19 การขจัดโปลิโอ” “END POLIO NOW”
20
กองบรรณาธิการ คณะกรรมการที่ปรึกษา ผวภ.พลโท คณิต แจ่มจันทรา (3330) ผวภ.สุรพล ทวีแสงสกุลไทย (3340) ผวภ.นครินทร์ รัตนกิจสุนทร (3350) ผวภ.รุ่งรานี แสงศิริ (3360) อผภ.นพ.พีระ ฟาร์มไพบูลย์ (3330) อผภ.อรอนงค์ ศิริพรมนัส (3340) อผภ.มารศี สกุลหลิว (3350) อผภ.นิธิ สูงสว่าง (3360) PRID.รศ.ดร.เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์ (3350) อผภ.วิวัฒน์ ศิริจางคพัฒนา (3360) อผภ.นพ.พรชัย บุญแสง (3330) อผภ.นิเวศน์ คุณาวิศรุต (3340) คุณดนุชา ภูมิถาวร
บรรณาธิการบริหาร อน.วาณิช โยธาวุธ (3360) บรรณาธิการผู้ช่วย ภาค 3330 อผภ.จุฑาทิพย์ ธรรมศิริพงษ์ ภาค 3340 รทร.เดียร์ราห์ พิบูลย์วัฒนวงษ์ ภาค 3350 อน.ตรอง แสงสว่างวัฒนะ ภาค 3360 อน.นพ.ณัฏฐธนิน เศรษฐวนิชย์ บรรณาธิการผู้ช่วยบริหาร อน.จันทนี เทียนวิจิตร (3360) คอลัมนิสต์ อน.ดร.บุษบง จ�ำเริญดารารัศมี (3360) กรรมการที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ อผภ.อนุรักษ์ นภาวรรณ (3360)
สถานที่ติดต่อ ศูนย์โรตารีในประเทศไทย 75/82-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 32 ซ.วัฒนา ถ.อโศก เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 c/o Rotary Centre in Thailand 75/82-83, 32/Fl., Ocean Tower II, Soi Wattana, Asok Rd., Wattana, Bangkok 10110 Tel: 02-661-6720 Fax: 02-661-6719 Mobile: 085-822-4442 Email: magazine@rotarythailand.org , v.yotharvut@rotarythailand.org Website: www.rotarythailand.org
สนเทศโรตารี อผภ.วิวัฒน์ พิพัฒน์ไชยศิริ สร.หมากแข้ง
เป็นโรตารี แล้วได้อะไร ? ดังที่เราอาจทราบกันอยู่แล้วว่า โรตารีเกิดขึ้นครั้งแรกที่รัฐชิคาโก้ สหรัฐอเมริกา สมาชิกโรตารีมีอยู่กว่า 200 ประเทศทั่วโลก ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี คศ. 1905 รวม 114 ปี ปัจจุบันมีมวลสมาชิกกว่า 1,255,555 คน ส�ำหรับประเทศไทย ประกอบด้วยโรตารีทั้ง 4 ภาค ได้แก่ ภาค 3330 ซึ่งเป็นโซนภาคใต้ ภาค 3340 เป็น โซนภาคอีสานไปจนถึงตะวันออก ภาค 3350 โซนภาคกลางและตะวันตก และภาค 3360 โซนภาคเหนือ โดยแต่ละภาคก็จะมีการท�ำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์ ในพื้นที่เขตแต่ละจังหวัด แต่ละอ�ำเภอของที่ตั้งแต่ละสโมสร ที่จะต้องท�ำกิจกรรม ของแต่ละพื้นที่ในชุมชนในท้องถิ่นที่อยู่ ซึ่งการบ�ำเพ็ญประโยชน์ของโรตารีเราก็จะ ท�ำงานโดยมีระบบ มีแบบแผนมีทิศทางที่ชัดเจนตาม 6 แนวทางได้แก่ การส่งเสริม สันติภาพ การต่อสูก้ บั โรคภัย การจัดหาน�ำ้ สะอาด อนามัยแม่และเด็ก การสนับสนุน การศึกษา และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งแต่ละแนวทางก็เกี่ยวข้องกับคน ชีวิต คนตัง้ แต่เกิดจนตาย ทุกเรือ่ งทีโ่ รตารีทำ� จะพยายามให้ประชาชนผูด้ อ้ ยโอกาสได้ยก ระดับฐานะความเป็นอยู่ร่วมกับชุมชนให้ดีขึ้น สมาชิกโรตารีมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ ฯลฯ โดยผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกได้ โดยทั่วไปต้องมีพื้นฐานมาจากการมี จิตอาสา มีจิตใจที่จะมาเสียสละเพื่อผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ในโรตารีจะมีค�ำ กล่าวว่า “service above self” “บริการผู้อื่นเหนือตนเอง” ส�ำหรับผม ผมเป็น สมาชิกโรตารีหมากแข้ง เป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งเมื่อ 30 ปีที่แล้ว และได้วางโครงการ ต่างๆ ส่งมอบโครงการดีๆ มากมาย ท�ำแล้วรู้สึกมีความสุข เพราะโรตารีสอนให้เรา รักประชาชน สอนให้เรารักเพื่อนมนุษย์ สอนให้เรารู้จักการให้และการแบ่งปัน การ ให้เป็นการสือ่ สารทีด่ ที สี่ ดุ ของมนุษย์ชาติ ทุกครัง้ ทีผ่ มไปมอบโครงการต่างๆ ผมรูส้ กึ มีความซาบซึง้ ในสิง่ ทีไ่ ด้ทำ � ได้แบ่งปัน ได้ชว่ ยเหลือผูท้ ดี่ อ้ ยโอกาสกว่า เป็นความสุข ลึกๆ ที่อธิบายไม่ได้หมด การทีม่ าเป็นสมาชิกโรตารี เราจะไม่ถามว่ามา เป็นโรตารี แล้วได้อะไร เรา ต้องถามตัวเองว่า การทีเ่ รามาสมัครเป็นโรตารี เราเข้าใจความเป็นโรตารีวา่ อย่างไร เราจะให้อะไรกับโรตารี การที่เรามาเป็นโรตารี สิ่งที่เราได้คือมิตรภาพ เราได้เรียนรู้มากมาย ในการให้แบบโรตารี จากวันที่เป็นสมาชิกมา 30 ปี ผมได้รับการหล่อหลอมจาก โรตารีมากมายหลายเรือ่ ง ได้รบั การมอบหมาย ส่งเสริมจากสโมสรให้ดำ� รงต�ำแหน่ง ผูว้ า่ การภาคเมือ่ ปี 2558-2559 ซึง่ การได้เป็นผูว้ า่ การภาคเป็นประสบการณ์ชวี ติ อีก แบบหนึ่ง ได้เรียนรู้มากมาย โดยเฉพาะการเป็นผู้น�ำที่มีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับ สโมสรไปจนถึงระดับภาค นั่นหมายถึงเราต้องท�ำงานร่วมกับโรตารีสากล มีมิติ การท�ำงานหลายรูปแบบ มีการเดินทางที่บ่อยมาก แต่เป็นโอกาสที่ท�ำให้รู้จักผู้คน มากมาย ได้ไปในที่ที่เราไม่เคยไป เป็นการซึมซับระบบบริหารจัดการ การอยู่ร่วม กัน ในการออกเยี่ยมสโมสร การแก้ปัญหา การเปลี่ยนแปลงปรับทัศนคติสมาชิกใน ภาค เพื่อให้มวลสมาชิก เข้าใจและภูมิใจในการเป็นโรตารี ภายใต้โลโก้ฟันเฟืองที่สง่างามมีวิวัฒนาการจากอดีตสู่ปัจจุบันอันมี ความหมายลึกซึ้งมาก ไม่ว่าจะเป็นฟันเฟือง 24 ร่อง อันหมายถึง 24 ชั่วโมงแห่ง การท�ำงานทั่วโลกที่ไม่หยุดพัก ซีกโลกหนึ่งกลางคืนแต่อีกซีกโลกที่เป็นเวลาเช้าก็ ท�ำงานต่อเนื่องหมุนเวียนกันไป แกน 6 แกนในฟันเฟืองหมายถึง 6 ทวีปในโลกที่ ช่วยกันท�ำงานเพื่อมนุษย์ชาติ นั่นคือความหมายที่ผู้จะมาร่วมอุดมการณ์กับโรตารี มาท�ำงานเพือ่ สังคมควรทราบ เพือ่ จะได้ภาคภูมใิ จกับการท�ำงานทีม่ เี กียรตินี้ มีความ สุขในการท�ำกิจกรรมโดยไม่รู้สึกเหนื่อยหรือท้อ ส่วนตัวผมท�ำเพื่อให้ยกระดับชีวิต
08
กันยายน-ตุลาคม 2561
ของทุกคน เพื่อการช่วยเหลือผู้คนในชุมชน ยังมีอีกมากมายที่เราเอื้อมมือไปไม่ถึง ส�ำหรับประเทศไทยเป็นประเทศทีเ่ วลาท�ำงานต้องลงพืน้ ทีจ่ ริงเพราะมีผู้ รอความช่วยเหลืออยู่มาก และต้องช่วยเหลือให้ตรงกับความต้องการในแต่ละพื้นที่ แต่ในต่างประเทศใหญ่หลายประเทศจะเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือประเทศเล็กๆ เป็นส่วนมาก โครงการต่างๆ มากมายที่ท�ำในภาค 3340 ไม่ว่าจะเป็น รถดับเพลิง เครือ่ งกรองน�ำ้ สะอาด ทุนการศึกษา หนังสือ ห้องสมุด โครงการส่งเสริมอาชีพ เครือ่ ง มือแพทย์ ฯลฯ หลายร้อยหลายพันโครงการ ล้วนเป็นสิ่งดีๆ ที่เราชาวโรตารีได้น�ำสู่ ชาวบ้าน สู่ชุมชนในพื้นที่ การส่งเสริมอาชีพ เป็นเรื่องส�ำคัญ โดยเฉพาะผู้ไม่มีความรู้ด้านอาชีพ ก็เหมือนเราไปให้อาชีพ ให้ชีวิตที่ดีขึ้น สามารถด�ำรงชีวิตได้ยั่งยืนขึ้น คนมักจะถามว่า มาเป็นโรตารีแล้วได้อะไร เสียอะไร อันดับแรกเลย คือได้มิตรภาพ ได้เพื่อน ได้เรียนรู้ ได้พัฒนาการที่ดี ได้รู้จักความรับผิดชอบ ได้รู้จัก แบ่งปัน เป็นอะไรดีที่แฝงด้วยความสุขที่ได้เป็นผู้ให้ ส่วนที่เสียคือ เสียเวลา เสียสละ ความสบายส่วนตัว เสียเงิน ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย การมีจติ ใจอาสาเป็นส่วนส�ำคัญของการเป็นโรตารี เป็นสิง่ ทีเ่ ราต้องรูจ้ กั แบ่งปัน เมือ่ เราประสบความส�ำเร็จแล้วถึงแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม เพราะการเป็น สมาชิกโรตารีก็เกิดจากการรวมตัวของนักธุรกิจที่ประสบความส�ำเร็จระดับหนึ่ง มา รวมตัวกันมาท�ำกิจกรรมเพื่อสังคม นี่คือพื้นฐานของโรตารี ถ้าถามว่าเป็นโรตารีแล้วมีความสุขไหม ผมขอตอบว่ามีมาก มีความสุขที่ ได้ให้ เพราะการให้ของโรตารี เป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ ให้ไม่รู้จบ ให้แบบยั่งยืน ให้โดย ไม่มีเงื่อนไข การให้ที่สูงสุดของการให้ คือการให้ชีวิต ได้ช่วยเหลือชีวิต เป็นการให้ มหากุศล ถ้าเราไม่ไปหยิบยืน่ ความช่วยเหลือ แล้วใครจะท�ำ ผมเคยได้ยนิ ได้ฟงั เวลา ที่ได้ไปมอบโครงการต่างๆ ของโรตารี ชาวบ้านจะมองว่าเราเป็นเทวดาเป็นนางฟ้า เพราะเราช่วยเขาอย่างมาก เราไปเพื่อต่อลมหายใจให้เขา ทุกโครงการที่เรามอบ เป็นโครงการที่ยั่งยืน เรามีการส�ำรวจทั้งก่อนท�ำและหลังท�ำโครงการว่าโครงการ ต่างๆ นั้นยังอยู่ดีหรือไม่ ไปดูแลติดตาม ทุกครั้งที่เรามอบโครงการต่างๆ เราก็จะ ฝากกับผู้รับมอบว่า ขอให้ได้โปรดรักษาสิ่งที่เราได้มอบไป ให้ใช้ได้ยาวนานที่สุด ให้ เกิดประโยชน์สงู สุดกับประชาชน เพราะสิง่ ทีเ่ รามอบไปนัน้ มีหวั ใจหลายดวงทีอ่ ยูใ่ น เครือ่ งเหล่านัน้ ด้วย ไม่ใช่เพียงตัวเครือ่ ง ทุกสิง่ อย่างทีเ่ ราให้ เป็นเรือ่ งของการให้ดว้ ย หัวใจ ด้วยจิตวิญญาณจริง เพราะเราให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ด้วยความเป็นอดีตผูว้ า่ การภาค เวลาทีไ่ ด้เดินทางไปเยีย่ มสโมสรต่างๆ ก็ จะได้เห็นวัฒนธรรมองค์กร พฤติกรรม ความรูค้ วามเข้าใจมวลสมาชิก จะเห็นความ แข็งแรงของสมาชิก จึงเกิดแนวความคิดว่าถ้าเราอยูล่ ำ� พัง เราก็จะท�ำอะไรไม่คอ่ ยได้ แต่หากท�ำเป็นทีม ท�ำเป็นคณะ ถ้าทุกคนในภาค เข้าใจองค์กร เข้าบทบาทหน้าทีแ่ ละ จิตวิญญาณ อุดมการณ์ ก็จะท�ำงานได้อย่างไม่เหนื่อย ผมจึงเชิญชวนอดีตผู้ว่าการ ภาคหลายท่านที่มีความโดดเด่นเดินสายให้ความรู้เกี่ยวกับโรตารี เกี่ยวกับการเป็น โรตารีไปตามเขตต่างๆ ในภาค ซึ่งตั้งเป้าว่าจะท�ำให้ครบทั้ง 12 เขตในภาค 3340 เพื่อสร้างทัศนคติและเปลี่ยนแปลงความคิด มีพัฒนาการใหม่ในการเป็นโรแทเรียน ด้วยความเข้าใจด้วยจิตวิญญาณ ให้มพี ลังในการสร้างแรงบันดาลให้มวลสมาชิก ซึง่ ได้ดำ� เนินการมาแล้วสองถึงสามเดือนและจะท�ำให้ครบทัง้ ภาค เรามีวตั ถุประสงค์ใน การพัฒนาสมาชิกภาพ มีความภาคภูมิใจ ถ้าท�ำครบสมบูรณ์ผมคิดว่าภาคเราน่าจะ ยกระดับความเป็นโรตารีขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
Article : บทความ อน.ดร.บุษบง จ�ำเริญดารารัศมี สร.พะเยา
แรงบันดาลใจ “การรวมแรงบันดาลใจ โดยใช้เป้าหมายร่วมกัน” โรแทเรียนกลุม่ ใหญ่ได้รบั เชิญจากโรงพยาบาลให้เข้าร่วมการ ออกหน่วยแพทย์เพือ่ ให้การรักษาแก่ชมุ ชนในทีห่ า่ งไกล ทุกคนขับรถไป รวมกันทีจ่ ดุ นัดหมายและร่วมเดินทางไปกับขบวนของโรงพยาบาล ซึง่ มี รถขนเวชภัณฑ์ ขนคน ขนอาหารเพือ่ ให้บริการแก่ชมุ ชนตลอดวัน ออก เดินทางแต่เช้าและคาดว่าจะกลับมาถึงที่นัดพบในยามค�่ำ ครึ่งชั่วโมงหลังจากออกเดินทาง โรแทเรียนท่านหนึ่งบ่นเสียง ดัง “นี่พวกเราช่วยกันบริจาคเงินแล้ว เขียนโครงการซื้อรถบริจาคให้ โรงพยาบาลออกหน่วยกันหน่อย ร้อนจะแย่......” ในปีตอ่ มา สโมสรก็สามารถเขียนโครงการและบริจาครถยนต์ ส�ำหรับออกหน่วยแพทย์ให้โรงพยาบาลเป็นที่เรียบร้อย เหตุการณ์ระหว่างปีเกิดขึ้นมากมาย เริ่มแต่การประชุมครั้ง ถัดจากการออกหน่วย สมาชิกท่านหนึ่งน�ำเรื่องเข้าที่ประชุมเพื่อขอท�ำ โครงการบริจาครถยนต์ เพื่อใช้ในหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ มีผู้เห็นด้วย มี ผูค้ ดั ค้าน พร้อมด้วยเหตุผลมากมาย ตัง้ แต่จะให้ใครเป็นคนเขียน จะเอา DDF มาจากไหน จะให้ใครเป็นผู้บริจาค จะซื้อรถยี่ห้อไหน ฯลฯ ดูมัน ยากและมีแต่อุปสรรค ข้อขัดข้องเสียจริงๆ ด้วยอะไรสักอย่าง หรือจะเป็นเพราะมีหลายคนอยากบริจาค รถยนต์ พูดกันไปพูดกันมาจนเกิดเป้าหมายร่วมกันว่าจะบริจาครถยนต์ เพือ่ ออกหน่วยแพทย์ จากนัน้ สมาชิกเริม่ ช่วยกันบริจาค ช่วยกันหาข้อมูล ช่วยกันเขียนโครงการ เมื่อแล้วเสร็จ น�ำรถยนต์ไปบริจาค ต่อมาพบว่าเมื่อโรงพยาบาลเชิญชวนสโมสรตารี ไปร่วมออก หน่วยแพทย์ สมาชิกไปร่วมกิจกรรมมากขึ้น ด้วยเหตุผลว่าเป็นรถยนต์ ของเราเองต้องไปเสียหน่อย ระหว่างท�ำกิจกรรมได้รับฟังเรื่องราว มากมายจากผูร้ ว่ มกิจกรรม คนทีเ่ ป็นหมอก็รว่ มตรวจ คนเป็นพยาบาลก็ ช่วยวัดความดันโลหิต คนเป็นเภสัชกรเริม่ จ่ายยา คนอืน่ ๆ ก็รว่ มจัดแจก ข้าวปลาอาหาร เหนื่อยไปตามๆ กัน แต่ทุกคนมีรอยยิ้มบนใบหน้า พอ มือว่างก็ใช้ปาก พูดคุยกันเรื่องความล�ำบากในการเดินทางของทีมงาน และชุมชนที่จะมาให้และรับบริการ ฯลฯ เวลาผ่านไปโรแทเรียนมีความเข้าใจชุมชนมากขึน้ เริม่ หาทาง บริจาครถยนต์คันที่สอง ที่สาม กระทั่งเขียนโครงการบริจาครถบัสเพื่อ ออกหน่วยแพทย์ และรับบริจาคโลหิตได้สำ� เร็จในทีส่ ดุ โดยการขยายมิตร ออกไป
ทั้งหมดนี้็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่โรแทเรียนกลุ่มหนึ่งก็ท�ำได้ส�ำเร็จ อะไรหนอ เป็นเหตุแห่งความส�ำเร็จ จากหนังสือ The Law of Success (ศาสตร์แห่งความส�ำเร็จ) เขียนโดย นโปเลียน ฮิลล์ หนังสือที่ใช้เวลา 25 ปี เพื่อรวบรวมข้อมูล จากการใกล้ชดิ และศึกษาข้อมูลคนส�ำเร็จทีพ่ ลิกโลก เช่น โทมัส เอดิสนั อัลวา เฮนรี่ ฟอร์ด อับราฮัม ลินคอล์น ฯลฯ เขียนไว้วา่ จากการวิเคราะห์ ปรัชญาทางธุรกิจ ผู้ที่ประสบความส�ำเร็จอย่างโดดเด่นทุกวงการ ไม่ว่า จะหญิงหรือชาย พบว่าทุกคน “มีเป้าหมายที่ชัดเจน” ในการด�ำเนินชีวิตของคนเรา ต้องมีพลังช่วยขับเคลื่อนไปใน ทิศทางที่ปรารถนา หลายคนสามารถสร้างพลังในตัวเองได้ เหตุผลทาง จิตวิทยาบอกว่า การกระท�ำของเราจะสอดคล้องกับความคิดของเรา และหนึ่งในความคิดที่อยู่ในจิตใจของเรา ก็คือ เป้าหมาย … เป้าหมาย ที่เราคิดถึงอยู่เสมอ ทุกลมหายใจถูกปลูกไว้ในจิตใจของเรา พร้อมด้วย การตัดสินใจที่จะท�ำให้มันกลายเป็นความจริง จนมันมีอิทธิพลอย่าง อัตโนมัติ ให้เรากระท�ำการบางสิ่งเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น และต้อง เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนด้วย เพราะหากเป้าหมายไม่ชัดเจน ผลลัพธ์ของ ชีวิตหรือผลลัพธ์ของธุรกิจก็จะไม่ชัดเจนเช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา โรแทเรียนกลุม่ เล็กๆ สามารถผลักดันทัง้ ตนเองและกลุม่ ให้ทำ� เป้าหมายให้เป็นความจริง บริจาครถยนต์คนั แล้วคันเล่า มากขึน้ ใหญ่ขนึ้ ด้วยความภาคภูมิใจในความส�ำเร็จเป็นขั้นเป็นตอน เป้าหมายที่ชัดเจน และยิ่งใหญ่ส�ำหรับแต่ละบุคคลจะเป็นองค์ประกอบในการสร้างแรง บันดาลใจในแต่ละบุคคล เมื่อรวมกันเข้ามากคนขึ้นจะเกิดพลัง แรงบันดาลใจ (Inspiration) หมายถึง พลังที่เราทุกคนใช้ใน การผลักดันตนเอง ไม่ว่าจะเป็นจากความคิดหรือการกระท�ำ เพื่อให้เรา เดินไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ส�ำเร็จ
หมายเหตุ คอลัมภ์นี้เป็นของนักเขียนสมัครเล่น อาจไม่กระจ่างทั้งในความคิดและ การสื่อสาร การพูดคุยเพิ่มเติม ทาง 081-8837144 จะไม่เพียงท�ำให้ความคิดของ สองฝ่ายกระจ่างขึ้น แต่เป็นการพัฒนาทั้งแนวคิดและการสื่อสารต่อไปอีก ผู้เขียน ยินดีอย่างยิ่งที่จะรับฟัง
โ ป ลิ โ อ : เ ร า ไ ป ถึ ง ไ ห น กั น แ ล ้ ว ?
ข้อแนะน�ำประกอบแนวทาง การขจัดโปลิโอ ไดอะน่า โชเบอร์ค / ภาพประกอบโดย จีเวน เคอราวอล อผภ.นพ.วีระชัย จําเริญดารารัศมี สร.เชียงใหม่ ผู้แปล โดย
ด้วยจ�ำนวนของผู้ป่วยจากโรคโปลิโอใกล้จะเป็นศูนย์ โรตารีและมิตรที่ร่วมโครงการขจัดโรคโปลิโอระดับโลกมาตั้งแต่เริ่มต้น เผชิญกับ การท้าทายของแนวทางที่เปลี่ยนไปจากแรกเริ่ม แน่นอน เรายังคงมีความต้องการวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอส�ำหรับเด็กทุกคน มีการใช้ กลยุทธ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ในการด�ำเนินการ ถึงแม้จะเจอกับปัญหาของความไม่แน่นอนของแต่ละพื้นที่ และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของแผนงาน เราก�ำลังต่อสู้กับเชื้อโปลิโอไวรัสที่กลายพันธ์ุจากวัคซีนที่เคยได้รับ และสามารถระบาดได้ในพื้นที่ที่เคยได้รับวัคซีนไปแล้ว แต่อาจจะไม่สามารถครอบคลุมได้ทั่วถึง เราเปลี่ยนเป็นผู้ตรวจตรา สอดส่อง ติดตามหาหลักฐานการกระจายของเชื้อโปลิโอไวรัสที่ยังมี อยู่ในทุกหนแห่ง และวางแผนเพื่อให้โรคโปลิโอหมดไปจากโลกนี้อย่างถาวร นี่คือสิ่งที่ทุกคนต้องการจะรู้ว่า เราไปถึงไหนกันแล้ว พวกเราพร้อมหรือยัง ที่จะเป็นพยานของจุดสิ้นสุดในการต่อสู้ครั้งนี้
โปลิโอเป็นไวรัสที่ฟักตัวในล�ำไส้ และติดต่อผู้สัมผัสน�้ำหรืออาหาร จากการปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อ
โปลิโอเป็นยีนทีม่ ี capsid ปกป้องโดยรอบ มี 3 สายพันธ์ุ แตกต่างกันทีส่ ารปกป้องโดยรอบ
10 กันยายน-ตุลาคม 2561
จ�ำนวนผู้ป่วยไม่กี่รายของโรคโปลิโอ ที่ระบาดอยู่เป็นสายพันธ์ุที่ 1 (type 1) สายพันธ์ุที่ 2 หมดไปจากโลกในปี ค.ศ. 1999 และโลกได้ประกาศว่า ปราศจากเชื้อโปลิโอสายพันธ์ุ ที่ 2 ในปี ค.ศ.2015 ส่วนเชื้อโปลิโอสายพันธ์ุที่ 3 รายสุดท้าย ได้มีรายงานในปี ค.ศ. 2012 โดยเกิดกับเด็กอายุต�่ำกว่า 5 ขวบ สาเหตุจากได้ วัคซีนไม่ครบ และมีจ�ำนวนที่รักษาไม่หาย 32 ราย
โปลิโอ : เราไปถึงไหนกันแล้ว?
2
เมือ่ เชือ้ ไวรัสเข้าเซลล์แล้ว จะบังคับให้เซลล์ทำ� หน้าทีแ่ บ่งตัว เพิม่ จ�ำนวนไวรัส
1
เชือ้ ไวรัสเจาะเข้าทางเซลล์ บนผิวของล�ำไส้ แล้วแบ่งตัวเพิม่ จ�ำนวน
3
ต่อไปเชือ้ ไวรัสรุกเข้าเซลล์โดยรอบ, น�ำ้ เหลือง และกระจายเข้าหลอดเลือด, ปนเปือ้ นในอุจจาระ และขยายวงจรต่อๆ ไป
โ ป ลิ โ อ : เ ร า ไ ป ถึ ง ไ ห น กั น แ ล ้ ว ? ในปี ค.ศ. 2017 โรตารีและมิตรร่วมโครงการ ได้รณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอ ให้เด็กๆ ทั่วโลกไปแล้ว รวม 39 ประเทศ เป็นจ�ำนวน 430 ล้านคน
• • • • • • • •
Afghanistan Angola Benin Cameroun Central African Republic Chad Côte d’Ivoire Democratic Republic of Congo • Djibouti
• • • • • • • • • •
Equatorial Guinea Ethiopia Gabon Guinea Guinea-Bissau India Indonesia Iraq Kenya Laos
12 กันยายน-ตุลาคม 2561
• • • • • • • • • •
Liberia Libya Madagascar Mali Mauritania Mozambique Myanmar Nepal Niger Nigeria
• • • • • • • • • •
Pakistan Republic of the Congo Sierra Leone Somalia South Sudan Sudan Syria Tajikistan Uganda Yemen
โ ป ลิ โ อ : เ ร า ไ ป ถึ ง ไ ห น กั น แ ล ้ ว ? เราก�ำลังต่อสู้กับไวรัสโปลิโอ ที่กลายพันธ์ุมาจากวัคซีน (VDPV)
ไวรัสทีม่ ฤี ทธิอ์ อ่ น แบ่งตัวทีล่ ำ� ไส้ในเด็กและ กระตุน้ สร้างภูมติ า้ นทานทีผ ่ วิ ล�ำไส้ ก่อนจะกลายเป็นวัคซีน ในอุจจาระ แนว GPEI ใช้วคั ซีนหยอดในการรณรงค์ สร้างจากเชือ้ ไวรัสทีม่ ชี วี ติ แต่มฤี ทธิอ์ อ่ น
ในทางตรงกันข้าม ไวรัสทีม่ ฤี ทธิอ์ อ่ น สามารถกลายพันธ์เุ ป็นสาเหตุของการเกิดอัมพาธได้ เราเรียกไวรัสทีก่ ลายพันธ์มุ าจากวัคซีน (VDPV)
ไวรัสทีม่ ฤี ทธิอ์ อ่ น ปนเปือ้ นในอุจจาระ ดีกบั สิง่ แวดล้อม สามารถกระตุน้ การสร้างภูมติ า้ นทาน ในเด็กทีไ่ ม่เคยได้วคั ซีน
เริม่ ปี ค.ศ. 2016 เราใช้วคั ซีนชนิดคุมเชือ้ ไว้รสั สายพันธ์ุ 1 และ 3 เท่านัน้ ท�ำให้สายพันธ์ุ 2 ระบาดใหม่ใน 4 ประเทศ ต้องเริม่ วัคซีนตาม GPEI ใหม่
ภูมติ า้ นทานสูงป้องกันไวรัสทุกชนิดดีทสี่ ดุ
ประเทศส่วนใหญ่ใช้วคั ซีน จากไวรัสทีต่ ายแล้ว เพือ่ หลีกเลีย่ งไวรัสกลายพันธ์จุ ากวัคซีน แต่ปอ้ งกันได้เฉพาะเด็กทีไ่ ด้รบั วัคซีนเท่านัน้
เราใช้วคั ซีนโปลิโอมีชวี ติ ชนิดหยอด ป้องกันการระบาดจากคนสูค่ น จนกว่าสายพันธ์ุ 1 และ 3 หมดไป จึงจะเริม่ หยอดวัคซีน ทีท่ ำ� จากไวรัสทีต่ ายแล้ว
โ ป ลิ โ อ : เ ร า ไ ป ถึ ง ไ ห น กั น แ ล ้ ว ? เรารณรงค์ค้นหาโปลิโอไวรัสทุกแห่งหน ไม่ว่าจะซ่อนเร้นที่ไหนในโลก นักวิทยาศาสตร์ช่วยกันค้นหาหลักฐานในทุกสิ่งแวดล้อมที่มีโปลิโอไวรัส และพร้อมเรียนรู้แนวทางระบาดของไวรัสดังกล่าว เด็กส่วนใหญ่ทตี่ ดิ เชือ้ ไวรัสโปลิโอ ไม่แสดงอาการ แต่ถา่ ยทอดไวรัสปนเปือ้ นในอุจจาระ ได้หลายอาทิตย์
มีการเก็บตัวอย่างน�ำ้ เสีย จากบริเวณใกล้ทบี่ ำ� บัด หรือทีส่ ขุ าภิบาลไม่ดี รวมทัง้ ทีร่ ะบายน�ำ้ ใช้
แช่เย็นน�ำ้ ตัวอย่าง ระหว่างส่งไปห้องทดลองโครงการวิจยั
นักไวรัสวิทยาตรวจสอบตัวอย่าง เพื่อหาโปลิโอไวรัส นักไวรัสวิทยาตรวจหาโปลิโอไวรัส ทดสอบทางพันธุกรรมว่า เป็นไวรัสธรรมชาติ หรือทีก่ ลายพันธ์ุ
14 กันยายน-ตุลาคม 2561
โ ป ลิ โ อ : เ ร า ไ ป ถึ ง ไ ห น กั น แ ล ้ ว ?
นักสาธารณสุขตรวจหาเด็กที่มีอาการป่วย และมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโปลิโอ เด็กอายุตำ�่ กว่า 15 อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือ อัมพาธแบบอ่อนแรง (AFP) โดยตรวจหาสาเหตุ ส่วนใหญ่อมั พาธไม่ได้เกิดจากโรคโปลิโอ
แพทย์หรือผูช้ ว่ ยทางการแพทย์อนื่ ช่วยตรวจและรายงานผลตรวจ
ตัวอย่างจะถูกแช่เย็นก่อนส่งไปห้องปฏิบตั กิ าร
นักวิทยาศาสตร์ ศึกษาเปรียบเทียบเชือ้ ตัวอย่าง กับเชือ้ โปลิโอทีท่ ราบชัดเจนแล้ว แต่ละแห่งมีความแตกต่างทางพันธุกรรม นักไวรัสวิทยาสามารถบอกได้วา่ เชือ้ มาจากแหล่งไหน
นักสาธารณสุข ใช้ขอ้ มูลดังกล่าว ในการวางกลยุทธ์ การให้วคั ซีคทีด่ ที สี่ ดุ เพือ่ ป้องกันการระบาด
แพทย์เก็บตัวอย่างอุจจาระ ภายใน 24 ชม. ตัง้ แต่เริม่ อัมพาธ 24 ถึง 48 ชม.
1 ใน 200 ของผูป้ ว่ ยด้วยโรคโปลิโอ เป็นอัมพาธอย่างถาวร
โ ป ลิ โ อ : เ ร า ไ ป ถึ ง ไ ห น กั น แ ล ้ ว ? นักวิทยาศาสตร์ทตี่ รวจแยกชนิดไวรัส ปฏิบตั กิ ารในห้องปฏิบตั กิ าร 146 แห่งทัว่ โลก ที่ องค์การอนามัยโลกให้การรับรองใน 92 ประเทศ เพือ่ สร้างเครือข่ายห้องปฏิบตั กิ ารระดับโลก (Global Laboratory Network)
123
SUBNATIONAL AND NATIONAL LABORATORIES ทดสอบตัวอย่างอุจจาระจากแหล่งบ�ำบัดน�ำ้ เสีย
16 กันยายน-ตุลาคม 2561
17
REGIONAL REFERENCE LABORATORIES ทดสอบแยกตัวอย่างไวรัสธรรมชาติ กับไวรัสกลายพันธ์ดุ า้ นพันธุกรรม
โ ป ลิ โ อ : เ ร า ไ ป ถึ ง ไ ห น กั น แ ล ้ ว ? เราใช้เวลา 30 ปี ลดการระบาดของโรคโปลิโอได้ 125 ประเทศ
1988 ลดเหลือ 3 ประเทศ ในปี ค.ศ. 2018 Afghanistan Nigeria
Pakistan
2018
17.4 million 6
GLOBAL SPECIALIZED LABORATORIES ตรวจหาพันธุกรรมของไวรัส เพือ่ เตรียมน�ำ้ ยาส�ำหรับการทดสอบไวรัส
17.4 ล้านคน ยังคงมีสขุ ภาพดี ไม่ปว่ ยเป็นอัมพาธจาก โรคโปลิโอ ตัง้ แต่ 1988
โ ป ลิ โ อ : เ ร า ไ ป ถึ ง ไ ห น กั น แ ล ้ ว ? มูลนิธโิ รตารีของโรตารีสากล ให้ทนุ สนับสนุน โครงการโปลิโอพลัส เป็นเงิน 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ระหว่างปี ค.ศ. 2010 ถึง 2017 โดยไม่นบั วัคซีนซึง่ มีผบู้ ริจาคเป็นการเฉพาะ
RESEARCH ใช้สำ� หรับงานวิจยั 16.6 ล้านเหรียญ
$16.6 million
SURVEILLANCE
11%
ตรวจหาโรคและห้องปฏิบตั กิ าร 72.5 ล้านเหรียญ
TECHNICAL ASSISTANCE ใช้สำ� หรับงานเทคนิค 132 ล้านเหรียญ
2%
$132 million
20%
$72.5 million
45%
19%
SOCIAL MOBILIZATION
ใช้รณรงค์เรื่องวัคซีน 141.4 ล้านเหรียญ
$141.4 million 3%
OPERATIONAL SUPPORT ใช้สำ� หรับงานปฏิบตั กิ าร 308 ล้านเหรียญ
$308 million VACCINES ค่าวัคซีน 20.4 ล้านเหรียญ
$20.4 million
18 กันยายน-ตุลาคม 2561
โ ป ลิ โ อ : เ ร า ไ ป ถึ ง ไ ห น กั น แ ล ้ ว ? สุดท้าย เรามีแผนเพื่อให้โลกของเรานี้ ปราศจากโรคโปลิโออย่างถาวรตลอดไป INTERRUPTION ค้นหาโปลิโอไวรัสธรรมชาติ l ให้วค ั ซีนต่อไป ควบคุมติดตามไวรัสกลายพันธ์ุ l เริม ่ ปรับเปลีย่ นแนวทางจากเดิม เป็นสนับสนุนองค์กร สุขภาพอืน่ ๆ เป็นอันดับแรก l
CERTIFICATION ให้การรับรองโลกนีป้ ราศจากโรคโปลิโอ l ลดจ�ำนวนห้องปฏิบต ั กิ าร การผลิตวัคซีนส�ำรอง และ เข้มงวดความปลอดภัยจากไวรัส l รณรงค์การให้ภม ู คิ มุ้ กันเพือ่ เป็นก�ำแพงช่วยปกป้อง การเกิดโรคโปลิโอเมือ่ ยกเลิกการให้โปลิโอวัคซีนชนิด หยอด l
TRANSITION ยุติการหยอดโปลิโอวัคซีนในปัจจุบันทุกประเทศเพื่อ ลดความเสี่ยงโรคโปลิโอกลายพันธ์ุ และเริ่มให้วัคซีนที่ ท�ำจากเชื้อตายแล้ว ในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคปกติ ส�ำหรับเด็กๆ l เข้มข้นในการควบคุมโรค ภายหลังประกาศรับรองโลก นี้ไม่มีโรคโปลิโอแล้ว l ติดตามการระบาดของเชื้อโปลิโอกลายพันธ์ุที่อาจเกิด ขึ้นได้อีกหลายปี ภายหลังหยุดหยอดโปลิโอวัคซีน l
ร่วมบริจาคในการต่อสู้เพื่อขจัดโปลิโอ ได้ที่ endpolio.org.
Special Scoop บทความพิเศษ
อดีตกรรมการบริหารโรตารีสากล นรเศรษฐ ปัทมานันท์
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกา ได้รับ ความสูญเสีย จากการระบาดของโรคโปลิโอเพิ่มขึ้นทุก ปีๆ ในปี ค.ศ. 1952 เป็น ปีที่มีการระบาดรุนแรงที่สุด เป็นประวัติการณ์ของประเทศ มีรายงานโรคโปลิโอเกือบ 58,000 ราย ในปีนั้น 3,145 ราย เสียชีวิต และ 21,269 ราย ต้องทุพพลภาพ ส่วนใหญ่เป็นเด็ก สร้างความตื่น ตระหนกแก่ชาวเมืองเป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาม ที่โรคระบาดนี้กลับมาเยือนเมื่อฤดูร้อนมาถึง สารคดีช่อง พีบเี อส ในปี ค.ศ. 2009 กล่าวว่า นอกจาก Atomic bomb แล้ว ชาวอเมริกันกลัวโปลิโอมากที่สุด เมือ่ ข่าวการรับรองโปลิโอวัคซีนของ Jonas Salk วันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1955 แพร่กระจาย ทั่วโลกได้กรู เข้ามาหาวัคซีนนี้ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ประเทศต่างๆ อาทิ แคนาดา สวีเดน เดนมาร์ค นอร์เวย์ เยอรมนีตะวันตก เนเธอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ และเบลเยียม วางแผนที่จะ เริ่มรณรงค์ให้ภูมิคุ้มกันเด็กด้วย Salk วัคซีน ณ เวลานั้น โปลิโอนับเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่น่ากลัวที่สุดในโลก Salk วัคซีน ผลิตจากไวรัสที่ตายแล้ว ใช้ฉีด เรียก ว่า IPV (Injection Polio Vaccine) Salk วัคซีนถือว่ามี ความปลอดภัยสูง ฉีด 2 ครั้ง ให้ภูมิคุ้มกัน 90% ถ้าฉีด 3 ครั้ง ให้ภูมิคุ้มกันได้ถึง 99% แต่เราไม่ทราบว่า ภูมิคุ้มกัน นั้นจะอยู่ได้นานกี่ปี เนื่องจากไวรัสโปลิโอเข้ามาทางปาก แล้วไปอยู่ในล�ำไส้ จากล�ำไส้ก็เข้าไปในเส้นเลือดท�ำให้เกิด โรคโปลิโอ แต่ไวรัสส่วนทีเ่ หลือจะออกมาทางอุจจาระ และ แพร่เชื้อไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น IPV จึงไม่สามารถตัดวงจร โรคระบาดโปลิโอได้ ยังมีวคั ซีนโปลิโออีกชนิดหนึง่ พัฒนาโดย Albert Sabin เรียกว่า Sabin วัคซีน ใช้หยอดทางปาก เรียกว่า OPV (Oral Polio Vaccine) ผลิตจากไวรัสที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่เป็นเชือ้ ทีอ่ อ่ นก�ำลังลง เข้าไปท�ำหน้าทีก่ ระตุน้ ภูมคิ มุ้ กัน ให้กับผู้ที่ได้รับวัคซีน แต่ไม่เป็นโรคโปลิโอ พอหยอดเข้าไป 20
กันยายน-ตุลาคม 2561
Sabin วัคซีน จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว เข้าไปเคลือบล�ำไส้ ป้องกันไม่ให้โปลิโอ ไวรัสผ่านเข้าไปในเส้นเลือด นอกจากนั้น ยังฆ่าไวรัสที่จะออกมาทางอุจจาระ เป็นการตัดวงจรไม่ให้ระบาดต่อไป Salk วัคซีน (IPV) สามารถฆ่าเชือ้ ไวรัสทีเ่ ข้าไปในเส้นเลือดและสร้าง ภูมิคุ้มกันได้ดี แต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อที่อยู่ในล�ำไส้ได้ ในขณะที่ Sabin วัคซีน (OPV) สามารถตัดวงจรได้เบ็ดเสร็จ จะเห็นได้วา่ วัคซีนทัง้ 2 ชนิด มีประโยชน์ ต่างกัน ข้อเสียอีกประการของ IPV ก็คือ มีราคาแพงมาก ประมาณ 9 เหรียญ สหรัฐฯ ต่อโดส ขณะที่ OVP มีราคาถูกกว่า 45 เท่า เพียงแค่ 0.2 เหรียญ สหรัฐฯ ต่อโดสเท่านั้น อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกแนะน�ำให้ใช้วัคซีน ทั้ง 2 ชนิดนี้ร่วมกัน จากความเป็นมาเหล่านี้ เป็นเหตุให้โรตารีสากลริเริ่มท�ำโครงการ ขจัดโรคโปลิโอให้หมดไปจากโลก และได้รบั การสนับสนุนอย่างกว้างขวางจาก โรแทเรียนในสหรัฐอเมริกา องค์การอนามัยโลก และองค์กรอื่นๆ รวมทั้ง ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ สถานการณ์ปจั จุบนั ของโรคโปลิโอนัน้ ประเทศไนจีเรีย ไม่มรี ายงาน โรค 2 ปีติดต่อกันแล้ว ยังเหลืออีกเพียง 2 ประเทศที่ยังมีรายงานโรคอยู่ คือ ปากีสถานและอัฟกานิสถาน ส�ำหรับประเทศไทยนั้น ไม่มีรายงานโรคโปลิโอตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 แต่ก็ยังต้องให้วัคซีนแก่เด็ก (Routine Immunization) อย่างครอบคลุม ครบถ้วนและทัว่ ถึง ยังมีการเฝ้าระวังผูป้ ว่ ยอาการอ่อนแรงและมีอมั พาตแบบ อ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน (AFP) ยังมีการสอบสวนและควบคุมโรคอย่างมี ประสิทธิภาพ และให้วคั ซีนเสริมแก่เด็กในพืน้ ทีท่ มี่ คี วามเสีย่ งสูง โดยแผนงาน สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ค.ศ. 2018 นั้น จะให้ OPV แก่เด็กเมื่ออายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน และให้เสริมเมื่ออายุ 1 ปี, 4 ปี และเข้า ป.1 และให้ IPV เมื่ออายุ 4 เดือน และ ป.1 เราในฐานะโรแทเรียน จึงยังต้องให้การสนับสนุนโครงการขจัดโรค โปลิโอให้หมดไปจากโลกอย่างถาวร เนื่องในโอกาสวันโปลิโอโลก วันที่ 24 ตุลาคมของทุกปี สโมสร โรตารีสามารถจัดงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและโครงการ ขจัดโรคโปลิโอ โดยเชิญสมาชิกสโมสร เจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อนมิตร ผู้น�ำชุมชน และสื่อมวลชน หรือหาทุนสนับสนุนโครงการนี้ต่อไป
Our District
สารบัญ Contents
กองบรรณาธิการ
Special Scoop Our Leader 3330 Our Leader 3340 Our Leader 3350 Our Leader 3360 Our Centre
บรรณาธิการบริหาร
หน้า 22-25 หน้า 26-29 หน้า 30-33 หน้า 34-37 หน้า 38-41 หน้า 42-44
อน.วาณิช โยธาวุธ (สร.แม่สาย 3360)
บรรณาธิการผู้ช่วย
อผภ.จุฑาทิพย์ ธรรมศิริพงษ์ รทร.เดียร์ราห์ พิบูลย์วัฒนวงษ์ อน.ตรอง แสงสว่างวัฒนะ อน.นพ.ณัฏฐธนิน เศรษฐวนิชย์
(สร.พระปฐมเจดีย์ 3330) (สร.หมากแข้ง 3340) (สร.กรุงเทพสุวรรณภูมิ 3350) (สร.แพร่ 3360)
Special Scoop บทความพิเศษ
ช้างกับการอนุรักษ
อน.จันทนี เทียนวิจิตร สร.ล้านนาเชียงใหม่
“มนุษย์จะอยู่อย่างไร้สังคม หากยังท�ำลาย สิ่งแวดล้อม” (We don’t have a society if we destroy the Environment)
กล่าวโดย มาร์กาเร็ต มี้ด นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ได้ รับรางวัล Kalinga จากองค์การยูเนสโก สอดคล้องกับภารกิจขององค์กรโรตารี ดังค�ำกล่าวของประธานโรตารีสากล ปี 2560-2561 เอียน ไรซ์ลีย์ ที่กล่าวว่า “เรื่องของสิ่งแวดล้อมนั้นเกี่ยวข้องลึกซึ้งอยู่ใน ทุกหัวข้อส�ำคัญ (หกเรื่อง) ที่โรตารีมุ่งเน้น และ ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า มิได้เกี่ยวข้องกับโรตารี” (Environmental issues are deeply entwined in every one of our areas of focus and cannot be dismissed as not Rotary’s concern).
22
กันยายน-ตุลาคม 2561
เมื่อนิตยสารโรตารีประเทศไทยฉบับนี้ มีธีมในเรื่องของการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ทีมงานกองบรรณาธิการฯ จึงขอน�ำทุกท่านไปเจาะลึกถึงสัตว์ขนาด ใหญ่นนั่ คือช้างกับการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม โดยทีมงานได้ นัดหมายกันทีฟ่ าร์มช้างภัทร อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทัง้ น�ำเยาวชน แลกเปลี่ยน (YE In bound) ที่พ�ำนักอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ในจังหวัดเชียงใหม่ มาร่วมกันเรียนรูช้ วี ติ ความเป็นอยูข่ องช้าง โดยได้รบั การต้อนรับอย่างอบอุน่ จาก คุณธีรภัทร ตรังปราการพร้อมด้วยทีมงาน และช้างน้อยช้างใหญ่ทมี่ คี วามเป็นมิตร เป็นช้างอารมณ์ดีอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน “ช้างเป็นสัตว์ที่แสดงบทบาทของ key stone animal ในการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” คุณธีรภัทรเปรียบเทียบให้เราฟังว่า ในเชิงสถาปัตยกรรมการก่อสร้าง โบสถ์จะมี key stone ซึง่ เป็นหินหรือเสาขนาดใหญ่ทเี่ ป็นหลักในการยึดตัวอาคาร ไว้ หากเอาหินหรือเสานี้ออกมาเมื่อไหร่ตัวอาคารก็จะพังครืนลงมา ในระบบ นิเวศน์วิทยาก็เช่นเดียวกัน ช้างเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ โดยน�ำพาสัตว์อนื่ ไปสูแ่ หล่งน�ำ้ แหล่งอาหาร ก่อให้เกิดประโยชน์ตอ่ สัตว์อนื่ อย่าง
ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
“ช้างเป็นสัตว์ที่แสดงบทบาทของ key stone animal ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” มากมาย ความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึง่ ก็คอื ช้างสามารถดมกลิน่ ดินโป่งซึง่ เป็นแหล่งอาหารทีส่ ตั ว์ทกุ ชนิดต้องการ ช้างเป็นสัตว์ชนิดเดียวทีจ่ ะค้นพบก่อน และสามารถเปิดหน้าดินได้ หลังจากนั้นสัตว์ชนิดอื่นๆ ก็จะทยอยตามมากิน โป่งดินเหล่านี้ ช้างมีบทบาทในการปลูกและขยายพันธุ์พืชเป็นอย่างมาก เพราะ เมล็ดพันธุ์พืชโดยเฉพาะพืชขนาดใหญ่หลายชนิด หากตกลงมาแล้วจะไม่ สามารถงอกเองได้ จะต้องผ่านการบดให้แตกซึ่งช้างจะท�ำให้เมล็ดพืชเหล่า นั้นถูกบีบอัดหรือถ่ายเมล็ดพืชเหล่านั้นลงมา ช้างเป็นสัตว์ที่เดินทางและกิน ไปด้วยจะท�ำให้เกิดความหลากหลายของเมล็ดพันธุ์ อีกทั้งพื้นดินนิ่มที่เกิด จากรอยเท้าช้างจะเกิดเป็นหลุมขนาดใหญ่ท�ำให้เกิดมีน�้ำขัง สัตว์เล็กๆ เช่น กบ เขียด แมลงปอ ก็จะวางไข่ไว้ที่หลุมน�้ำในรอยเท้าช้างซึ่งน�้ำสามารถอยู่ได้ นาน 1-2 สัปดาห์ นานพอที่จะท�ำให้ลูกอ๊อดเติบโตเป็นลูกกบได้ สัตว์ต่างๆ เหล่านีก้ จ็ ะกินแมลงท�ำให้เกิดสมดุลย์ในระบบนิเวศน์วทิ ยา ท�ำให้จำ� นวนแมลง ลดล งโดยเฉพาะในระบบการท�ำไร่ปลูกพืชผักสวนครัวทีไ่ ม่ตอ้ งใช้สารเคมีแต่ อย่างใด
ในส่วนของช้างเลี้ยง มีมากว่าสี่พันปีสืบทอดมาจากการที่ช้างมี บทบาทในพุทธศาสนา เป็นพระราชพาหนะของพระมหากษัตริย์ เป็นสัตว์ แรงงานของการอุตสาหกรรมป่าไม้ จนกระทั่งถึงปัจจุบันบทบาทของช้าง ด้านนี้ได้ลดลงหรือเสร็จสิ้นไปตามกาลเวลา ป่าไม้ที่เป็นที่อยู่อาศัยธรรมชาติ ของช้างได้ลดลงเราจึงต้องดูแลช้างเลี้ยงที่มีอยู่ 3,600 เชือกในเมืองไทยให้ดี ช้างยังต้องการคนเลีย้ ง เพราะเราไม่สามารถเอาช้างบ้านไปปล่อยให้ไปใช้ชวี ติ ร่วมกับช้างป่าที่มีราว 3,800 ตัวได้ (ช้างป่าเรียกเป็นตัว ส่วนช้างบ้านเรียก เป็นเชือก) ในจ�ำนวนช้างเลีย้ งสามพันกว่าเชือกนีอ้ ยูใ่ นความดูแลขององค์การ อุตสาหกรรมป่าไม้ โดยให้ศูนยอนุรักษ์ช้างไทยเป็นผู้ดูแลจ�ำนวน 120 เชือก เท่ากับว่ารัฐบาลไทยดูแลช้างเลีย้ งเพียง 4% ส่วนทีเ่ หลืออีก 96% อยูใ่ นความ ดูแลของภาคเอกชน เอกชนรายใหญ่สุดมีช้างจ�ำนวน 150 เชือก อันดับสอง รองลงมามีจ�ำนวน 80 เชือก อันดับสามคือภัทรฟาร์มมีจ�ำนวน 68 เชือก ส่วน ทีเ่ หลือจะกระจายกันไป บางหมูบ่ า้ นจะมี 1-2 เชือก ซึง่ ต้องดูแลและรักษาช้าง ให้อยูใ่ นระบบอย่างยัง่ ยืน ระบบทัวร์เป็นแหล่งรายได้สำ� หรับการเลีย้ งช้างของ ภาคเอกชน
คุณธีรภัทร ตรังปราการ นายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย ฟาร์มช้างภัทร คุ ณ ธี ร ภั ท ร ตรั ง ปราการ เกิ ด ที่ จั ง หวั ด สมุทรปราการ ขณะเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย ได้ทุนอเมริกัน ฟิ ล ด์ เซอร์ วิ ส ไปเป็ น เยาวชนแลกเปลี่ ย นที่ ป ระเทศ ออสเตรเลียเป็นระยะเวลา 1 ปี กลับมาสอบเข้าเรียนได้ที่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วงเรียนท�ำงาน พิ เ ศษเป็ น มั ค คุ เ ทศน์ อบรมประวั ติ ศ าสตร์ ภู มิ ศ าสตร์ วัฒนธรรมเรื่องช้าง เมื่อเรียนจบแล้วได้ท�ำงานด้านการท่อง เที่ ย วระยะหนึ่ ง หลั ง จากนั้ น คุ ณ ธี ร ภั ท รและคุ ณ อโนชา ภรรยาซึ่งเป็นคนสันป่าตองตั้งใจจะท�ำฟาร์มออแกนิค ซื้อ ทีด่ นิ 6 ไร่ ปรากฎว่าเจ้าของทีด่ นิ มีชา้ ง 1 เชือกชือ่ ทองค�ำ เขา ขอร้องให้ซื้อทั้งช้างและที่ดินเป็นแพ็คเก็จ ท�ำให้มีช้างเชือก แรก ต่อมาได้ขยายกิจการจนปัจจุบันปี 2561 มีช้างจ�ำนวน 68 เชือก คุณธีรภัทรเป็นคนรุ่นใหม่ ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ในการท�ำงานเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อย่าง ยัง่ ยืนและควบคูไ่ ปกับ ส่งเสริมการด�ำรงวิถชี วี ติ ของชุมชนให้ อยู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืน ปัจจุบันคุณธีรภัทรวัย 44 ปี ได้รับมอบหมายให้ด�ำรงต�ำแหน่ง นายกสมาคมสหพันธ์ช้าง ไทย มี ค วามภาคภู มิ ใ จที่ ไ ด้ รั บ ผิ ด ชอบดู แ ลช้ า งของ ประเทศไทย จะรักษารูปแบบการส่งเสริมให้ช้างสุขภาพดี เพือ่ ให้เกิดประชากรช้างทีม่ คี ณ ุ ภาพมากขึน้ หรือไม่ให้มอี ตั รา ลดลง พร้อมกันนี้ก็ได้พัฒนาการดูแลและจัดท�ำผลิตภัณฑ์ที่ เกีย่ วกับช้างเพิม่ ขึน้ เช่น ปัจจุบนั ได้ทำ� ปุย๋ คอกจากมูลช้าง น�ำ ไปขายให้กับโครงการหลวงในพื้นที่เพื่อลดการใช้สารเคมี เป็นต้น สถานที่ติดต่อ: ฟาร์มช้างภัทร บ้านแม่ฮะ ต�ำบลบ้านปง อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เว็บไซต์ www.pataraelephantfarm.com โทร. 098-5493644
24 กันยายน-ตุลาคม 2561
ประชากรของช้างลดลงจากเมื่อ 45 ปีก่อน เรามีช้างเลี้ยงจ�ำนวน 6,000 กว่าเชือก หากเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์ช้างกันต่อไปในอนาคตอีก 40-50 ปี ข้างหน้าช้างอาจจะลดลงหรือสูญพันธุ์ไปเลยก็ได้ ภัทรฟาร์มจึงมีแนวคิดในการ อนุรักษ์ด้วยการขยายพันธุ์ช้างที่มีสุขภาพดี ขยายพันธุ์ให้สมดุลย์กับอัตราการ ตายปกติ จึงได้สืบเสาะพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาบ�ำบัดเพื่อเข้าสู่ระบบการขยายพันธุ์ ตามธรรมชาติ ให้เขามีสขุ ภาพดี ให้ชา้ งมีความเป็นมิตรเพือ่ ความปลอดภัยต่อคน เลีย้ งด้วย ในระยะเวลา 15 ปีของการก่อตัง้ ภัทรฟาร์มได้เพาะลูกช้างถึง 38 เชือก ซึ่งแหล่งรายได้หลักในการขับเคลื่อนระบบการเลี้ยงช้างคือการท�ำทัวร์ แพ็คเกจ ทัวร์ของภัทรฟาร์มจะเน้นการที่ให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสและอยู่กับช้างด้วยการ ดูแลเขาที่เรียกว่า Elephant healthcare base tourism เพื่อให้สอดคล้องกับ การส่งเสริมให้ช้างสุขภาพดี นักท่องเที่ยวจะได้มาท�ำกิจกรรมประจ�ำวันร่วมกับ ช้าง ตั้งแต่เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของช้าง ดูแลช้าง ให้อาหารช้าง ขี่ช้าง และ อาบน�้ำให้ช้างอย่างถูกวิธี ซึ่งทั้งคนและช้างจะมีความสุขและเพลิดเพลินไปกับ กิจกรรมที่ท�ำร่วมกันได้อย่างกลมกลืน ในส่วนของการบริหารของฟาร์มได้ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกๆ ส่วน ของการท�ำงานทั้ง Back stage และ Front stage ซึ่งในส่วนของ Back stage มีดังนี้คือ ด้านบุคลากร ช้างหนึง่ เชือกจะมีควาญช้างประจ�ำ 1 คน ซึง่ เป็นคนใน พืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั การฝึกฝนจนเกิดความช�ำนาญในการดูแลช้างในชีวติ ประจ�ำวัน รวม ไปถึงเปิดโอกาสให้ญาติพี่น้องของเขามาท�ำงานร่วมกันด้วยการปลูกพืช ตัดหญ้า ท�ำสวน กวาดมูลช้าง เป็นพ่อบ้านแม่บ้าน ดูและงานทั่วไป ด้านทรัพยากร อาหารช้างทางฟาร์มได้จัดสัดส่วนของพืชที่ปลูก เองและซื้อจากเกษตรกรที่น�ำมาขายในระบบ Sub-contract ท�ำให้เกษตรกร
มีรายได้เสริมเพิ่มจากการปลูกพืชไร่ปกติ เช่น เขาปลูกพืชผักอยู่แล้วก็ปลูก หญ้าเสริมขึ้นมาเพื่อน�ำมาขายให้กับภัทรฟาร์ม ชาวบ้านจะใช้เวลาปลูกหญ้า 75 วัน ซึง่ หญ้าก็ไม่ได้ใช้การดูแลมาก เมือ่ ถึงเวลาก็ตดั มาขายให้กบั ทางฟาร์ม ซึง่ ส่วนใหญ่จะตัดเวลาทีล่ กู เปิดเทอมท�ำให้มเี งินก้อนไปจ่ายค่าเทอมให้ลกู พืช ไร่ เช่น กล้วย อ้อย และหญ้าเหล่านี้จะต้องมีการควบคุมคุณภาพด้วยการไม่ ใช้สารเคมีใดๆ เพื่อให้ปลอดภัยต่อเกษตรกรและช้างเอง เกษตรกรเองก็จะ สามารถขายผลผลิตที่อาจจะไม่สวย หงิกงอไปตามธรรมชาติ ซึ่งหากขายให้ คนกินอาจจะไม่ได้ราคา แต่ขายให้ช้างกินอย่างไรก็ขายได้ ท�ำให้เกษตรกรมี รายได้เสริมที่แน่นอนด้วย ในส่วนของ Front stage เป็นการจัดท�ำทัวร์ให้กับนักท่องเที่ยว ตามแพ็คเกจ ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือสิ่งของต่างๆ จะผลิตจากสมาชิกในครอบครัว ควาญช้างและคนในชุมชน ท�ำให้ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชนคือ เสื้อผ้า นักท่องเที่ยวจะเปลี่ยนมาใส่เสื้อกะเหรี่ยงเพื่อให้ช้างได้ คุ้นเคย โดยเสื้อผ้ากะเหรี่ยงเหล่านี้ทอและตัดเย็บจากฝีมือของสมาชิกใน ครอบครัวของควาญช้างหรือคนในชุมชน ท�ำให้พวกเขามีรายได้อีกทางหนึ่ง สเปรย์ส�ำหรับฉีดขับไล่แมลง ทางฟาร์มจะขอให้นักท่องเที่ยว ใช้ สเปรย์สมุนไพรทีผ่ ลิตจากชุมชน เพือ่ ให้มคี วามปลอดภัยต่อทุกคนและต่อช้าง อุปกรณ์ในการใส่ของและอาหารช้าง เช่น ตะกร้า กระบุง ที่ตัก น�้ำที่ทางเหนือเรียกว่าน�้ำถุ้ง เป็นวัสดุธรรมชาติ อาหารกลางวันส�ำหรับนักท่องเที่ยว จะเป็นอาหารที่ปรุงโดยแม่ ครัวในพื้นที่ ทุกอย่างใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ห่อข้าวด้วยใบตองซึ่งหลังจากใช้ แล้วก็นำ� ใบตองไปป้อนเป็นอาหารช้างได้ดว้ ย ลดการใช้พลาสติกทีต่ อ้ งใช้เวลา นับร้อยปีในการย่อยสลาย
ความภาคภูมิใจในการท�ำฟาร์มช้าง ของคุณธีรภัทรบอกว่ามี สโลแกน 3 ประการคือ เพื่อช้าง เพื่อชาติ และเพื่อชุมชน ซึ่งขยายความคือ เพื่อช้าง จัดให้เป็นสถานที่ส�ำหรับดูแลสุขภาพช้าง ปัจจุบันภัทร ฟาร์มเป็นฟาร์มที่ดูแลสุขภาพช้างที่มีโปรแกรมสูงได้มาตรฐานระดับโลก มี ประเทศเพื่อนบ้านมาดูงานเช่น อินโดนีเซีย อินเดีย และเป็นสถานที่ที่มีอัตรา การเกิดของช้างสูง เพื่อชาติ ประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจ�ำชาติ มีช้างในพระพุทธศาสนา เป็นช้างคู่พระบารมีในพระมหากษัตริย์ และช้างมี บทบาทในการเป็น Key stone ในระบบการท�ำทัวร์ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ มาเที่ยวประเทศไทย ซึ่งเมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาก็จะท�ำให้ภาคส่วนอื่นๆ มี รายได้ตามเข้ามาด้วย เพื่อชุมชน เป็นการท�ำงานที่อยู่ร่วมกับชุมชนในทุกๆ มิติ ทั้งด้าน การใช้แรงงาน การใช้ทรัพยากร เป็นแหล่งท�ำงานและรายได้ให้กับชุมชนใน วิถีชีวิตเดิมของผู้คนในชุมชน ในวันนี้เราชาวโรแทเรียน เยาวชนแลกเปลี่ยนที่มาร่วมกิจกรรมที่ ฟาร์มช้างและผู้ปกครองจ�ำนวน 30 คน ได้รับความรู้เกี่ยวกับช้างและดูแล ช้างในช่วงเวลาสั้นๆ ทุกคนตื่นเต้นและมีความสุขกับกิจกรรม โดยเฉพาะได้ สัมผัสกับช้างทีเ่ ป็นมิตรไม่วา่ จะเป็นช้างตัวใหญ่หรือลูกช้างตัวเล็กๆ ทีอ่ อกมา เคล้าคลอเคลียด้วยอย่างน่ารัก วันนีจ้ งึ เป็นอีกวันหนึง่ ทีพ่ วกเรามีความสุขกับ ช้างที่เป็นสัตว์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน
D.3330 บรรณาธิการ ภาค 3330 โรตารีสากล
อผภ.จุฑาทิพย์ ธรรมศิริพงษ์ สร.พระปฐมเจดีย์
สวัสดีคะ่ ท่านทีก่ ำ� ลังอ่านนิตยสารโรตารีประเทศไทย ฉบั บ ที่ 2 ของปี บ ริ ห าร เมื่ อ ปลายเดื อ นกั น ยายน ท่ า น บรรณาธิการ อน.วาณิช โยธาวุธ และคุณจิตราพร เจ้าหน้าที่ ศูนย์โรตารี ได้นัดพบทีมงานทั้ง 4 ภาค มาร่วมปรึกษาหารือ เรื่องที่เราทุกคนคาดหวังคืออยากเห็นผู้อ่านได้ความ รู้สึกใหม่ๆ ได้ทราบเรื่องราวมากมายที่ผู้น�ำขององค์กรโรตารี คือประธานโรตารีสากล แบรี แรซซิน ได้ให้แรงบันดาลใจกับ โรแทเรียนทั่วโลก และกิจกรรมที่น่าสนใจ เราคาดหวังว่า การอ่านคือการสื่อสารที่โรแทเรียนมี อยู่แล้ว ทั้งอ่านจากเว็บไซต์ Line ไม่ว่าจะรับรู้ทางใดก็ต้องใช้ วิธีการอ่านด้วยกันทั้งนั้น อยากบอกว่าทีมงานทุกคน เดินทางมาร่วมปรึกษา หารือ เพื่อจัดท�ำนิตยสารฯ ออกมาให้โรแทเรียนและผู้ที่สนใจ ได้รับทราบสิ่งดีดี ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้มากมาย หวังว่าสิ่งที่ท่าน บ.ก. และทีมงานคาดหวังไว้คงไม่ผิด หวังนะคะ มีหนังสือเล่มหนึ่งผู้เขียนเขียนไว้ว่า ผู้ที่อ่านหนังสือ จากด้วยวิธีใด คือ “ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน เพราะคิดว่ายังมีอะไร ที่ยังไม่รู้อีกมากมาย จึงชอบอ่าน หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา ก็จะเป็นเรื่องดีส�ำหรับทุกคนค่ะ”
26
กันยายน-ตุลาคม 2561
สโมสรโรตารีสมุทรสงคราม โครงการปลูกป่าชายเลน สโมสรโรตารีสมุทรสงครามได้ดำ� เนินกิจกรรมโครงการปลูกป่าชายเลนต่อเนือ่ งมาตัง้ แต่ปบี ริหาร 2553-2554 และ ต่อเนื่องมาจนถึงปีบริหาร 2561-2562 เนือ่ งด้วยพืน้ ทีป่ า่ ชายเลนในปัจจุบนั ได้ถกู บุกรุกท�ำลายมากมาย และมีบางส่วนได้ถกู เปลีย่ นสภาพไปใช้ประโยชน์ อืน่ ๆ จ�ำนวนมาก เช่น การเพาะเลีย้ งชายฝัง่ โดยเฉพาะการเลีย้ งกุง้ แหล่งชุมชน อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ร้านอาหาร และ กิจกรรมอื่นๆ ซึ่งได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้จ�ำนวนสัตว์น�้ำในท้องทะเลอ่าวไทยลดจ�ำนวนลงไปมาก และลิงแสม นก นานาชนิดที่เคยอาศัยอยู่ชุกชุมในพื้นที่ป่าชายเลนก็เริ่มลดน้อยลง เนื่องจากพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกท�ำลาย โดยต้นไม้ที่น�ำมาปลูกลงในพื้นที่ คือ ต้นโกงกาง ต้นแสม เพราะเป็นพืชที่ขึ้นตามบริเวณชายฝั่งทะเลและมีน�้ำ ทะเลท่วมถึง ในปีแรกของการท�ำโครงการ สโมสรฯ ได้ดำ� เนินโครงการ ณ ริมทะเลของสวนสาธารณเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่มีคลื่น ลมแรง ไม่เอื้ออ�ำนวยในการปลูกป่าชายเลน ท�ำให้ ต้นไม้ที่น�ำมาปลูกไม่เติบโตและตายหมด สโมสรฯ จึงย้ายสถานที่ในการด�ำเนินโครงการไปที่บริเวณพื้นที่ บ้านบางบ่อล่าง หมู่ 10 ต�ำบลบางแก้ว อ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีคุณวิสูตร นวมศิริ อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 10 ท�ำหน้าที่ดูแลรับ ผิดชอบในพื้นที่และเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกป่าชายเลน โดยสโมสรฯ จะด�ำเนินโครงการต่อเนื่องทุกปี โดยมี โรงเรียน วิทยาลัยในเขตจังหวัดสมุทรสงคราม และสโมสรโรตารีในพื้นที่ใกล้เคียงมาร่วมโครงการ ผลที่ได้รับจากการด�ำเนินโครงการปลูกป่า คือ มีจ�ำนวนพื้นที่ป่าชายเลน และสถานที่อนุบาลตัวอ่อนสัตว์น�้ำ และ ทีอ่ ยูอ่ าศัยให้กบั ลิงแสม นกนานาชนิด เพิม่ มากขึน้ ส่งผลให้ปริมาณสัตว์นำ�้ ในท้องทะเลอ่าวไทยมีปริมาณมากขึน้ และมีแนว กั้นคลื่นลมธรรมชาติมีความแข็งแรงมากขึ้น ปัจจุบันสโมสรฯ ก็ยังคงด�ำเนินกิจกรรมโครงการปลูกป่าชายเลน ในพื้นที่บ้าน บางบ่อล่าง หมู่ 10 ต�ำบลบางแก้ว อ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อเนื่องในทุกๆ ปี
D.3330 Interview บทสัมภาษณ์
อน.ชวนณภค ศิริณภัค สโมสรโรตารีศรีธรรมาโศกราช
กว่าจะมาเป็น www.rotary3330.org ประวัติการพัฒนาเว็บไซต์โรตารีภาค 3330 ประวัตคิ วามเป็นมาก่อนจะมาเป็นเว็บไซต์ภาค 3330 ทีถ่ าวร เริ่มจากการสะสมของปัญหาทางด้านข้อมูลในการบริหารจัดการของ ภาค ตั้งแต่ปีบริหาร 2006-2007 โดยพอจะรวบรวมไว้ได้ดังนี้ 1. เว็บไซต์ภาคดั้งเดิม เปลี่ยนที่อยู่ตามผู้ว่าการภาคในแต่ละ ปี มีการย้ายข้อมูลทุกปี 2. เว็บไซต์ภาค ท�ำหน้าที่แค่การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ ผู้ว่าการภาคปีนั้นๆ เท่านั้น 3. ไม่มฐี านข้อมูลของประธานภาคแต่ละฝ่าย ไม่มกี ารเผยแพร่ ผ่านเว็บไซต์ภาค 4. ไม่มีฐานข้อมูลของระดับสโมสร ประวัติการก่อตั้ง จ�ำนวน สมาชิก ข่าวการท�ำกิจกรรมต่างๆ 5. ไม่มีฐานข้อมูลส�ำหรับการลงทะเบียนประชุมสัมมนา ระดับภาค (ท�ำให้ใช้กระดาษมากมายในการพิมพ์ชื่อและนามสกุล ผู้ลงทะเบียน ผิดๆ ถูกๆ ทุกครั้งในการประชุมระดับภาค ถึงแม้จะเป็น โรแทเรียนมาหลายปีแล้วก็ตาม) 6. ไม่มีฐานข้อมูลจ�ำนวนสมาชิกแต่ละสโมสร และทั้งภาค เผยแพร่ให้ตรวจสอบความถูกต้อง 7. ไม่มีการเผยแพร่คะแนนการประชุมสโมสรแต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือนในเว็บภาคฯ 8. แต่ละครั้งที่เว็บภาคถูกย้ายตามผู้ว่าการภาค ข้อมูลจะมี การสูญหายบางส่วน 9. ฯลฯ จากปัญหาข้างต้นไม่ได้มีการพัฒนาใดๆ จนกระทั่งก่อนจะ เริ่มต้นปีบริหาร 2013-2014 ของท่าน ผวล.สงวน คุณาพร ในสมัยนั้น ซึ่งท่านก็ได้เห็นปัญหาเหล่านี้มาอย่างยาวนานเช่นกัน และได้มีการพูด คุยกับผมอย่างเป็นทางการ เนือ่ งจากเห็นว่าท�ำธุรกิจด้าน Information Technology Management (IT) อยู่ จึงได้พูดคุยถึงปัญหาข้อมูล สารสนเทศระดับภาคว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนในการจัด เก็บข้อมูล District Database online รวมถึงการน�ำไปใช้งานในการ แก้ปัญหา เช่น การลงทะเบียนล่วงหน้า Online โดยไม่ใช้กระดาษ พิมพ์ชื่อสมาชิกผิดๆ ถูกๆ เป็นการลงทุนแบบครั้งเดียว การวางแผนใน ระยะยาว การขอยืมแหล่งเงินทุนมาเพื่อเริ่มโครงการฯ จนกระทั่งท่าน ได้น�ำเข้าสู่ที่ประชุมสภาภาค 3330 และได้รับการอนุมัติ จึงนับได้ว่า เป็นก้าวแรกที่ส�ำคัญของโรตารีในภาค 3330 อย่างแท้จริง ในการน�ำ 28
กันยายน-ตุลาคม 2561
เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการทั้งภาค ถึงแม้ช่วงแรกจะต้อง ผ่านอุปสรรคของสมาชิกที่ยังไม่คุ้นเคยกับการใช้งาน ต้องมีการอธิบาย มีการอบรมการใช้งานในการประชุมใหญ่ของภาคอยู่ 3-4 ปี ก่อนจะ หมดไป เพราะกว่า 80% สามารถเรียนรู้และเข้าใจ เข้าถึงประโยชน์ที่ สมาชิกจะได้รบั รวมถึงสโมสรและสถิตขิ อ้ มูลในการบริหารจัดการระดับ ภาค ทุกการประชุมใหญ่ในปัจจุบันเราใช้คนน้อยลง ใช้กระดาษน้อยลง อย่างมาก แต่ข้อมูลกลับมีความถูกต้องแม่นย�ำมากยิ่งขึ้น รวบรวมสถิติ ข้อมูลได้เร็วขึ้นในทุกการประชุมใหญ่ของภาค จนปัจจุบัน ภาคเราเป็น ภาคเดียวในประเทศไทยทีส่ ามารถประกาศได้วา่ “ไม่รบั ลงทะเบียนหน้า งาน” ถือเป็นการจัดระเบียบองค์กรผูน้ ำ� ทีช่ ดั เจน และยกระดับบุคลากร ทั้งสมาชิกและสโมสร ในการก้าวสู่ไอที 4.0 ณ วันนี้ การพัฒนาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง Rotary District 3330 Database นับเป็นความโชคดีของทีมงานไอทีภาคที่ท่าน อผภ.วิชัย มณีวัชรเกียรติ ได้ให้เกียรติเสียสละเวลามาให้ค�ำปรึกษาถึงแนวทาง การ Groping Data ในแต่ละส่วน เพื่อให้ข้อมูลมีกลุ่มประเภทที่ถูกต้อง และสวยงาม ไม่รกจนเกินงาม ให้มีความเป็น International District Database มากที่สุด ต้องขอขอบคุณท่าน อผภ.วิชัย มณีวัชรเกียรติ มา ณ โอกาสนี้ เป้าหมายสู่อนาคต หลังจากมี Chanel ช่องทางในการสื่อสารของประธานแต่ละ ฝ่าย และข่าวสารกิจกรรมประชาสัมพันธ์ของแต่ละสโมสรแล้ว ทีมงาน อยู่ระหว่างจัดท�ำ Application on Mobile เพื่อให้สามารถส่งข้อมูล เข้าถึงสมาชิกได้มากขึ้น ได้แก่ 1. ข่าวประชาสัมพันธ์ของภาค 2. กิจกรรมก�ำหนดการต่างๆ ของภาค 3. ข้อมูลข่าวสารเป้าหมายของประธานแต่ละฝ่ายของภาค 4. การใส่คะแนนการประชุมของสโมสรแต่ละสัปดาห์ของ สโมสรสู่ฐานข้อมูลของภาค 5. ข้อมูลการประชุม สถานทีป่ ระชุม ของแต่ละสโมสรภายใน ภาค 3330 6. ประวัติการเข้าประชุมของสมาชิกรายคน 7. และอื่นๆ ที่สมาชิกจะช่วยกันน�ำเสนอ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพิ่มเติมเพื่อองค์กรโรตารี ภาค 3330
สโมสรโรตารีอีคลับ ภาค 3330 นย.อรพรรณ เต่าทอง พร้อมด้วยสมาชิก ในสโมสร และ กลุ่ม RCC ชุมชนบ้านใต้ ลงพื้นที่รับบริจาคเงินจากพ่อค้าแม่ค้า เพื่อน�ำ ไปช่วยเหลือผู้ป่วยโปลิโอ ที่ตลาดนัดท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
สโมสรโรตารีสุพรรณบุรี จัดกิจกรรมเรามาต่อลมหายใจให้กับผู้ด้อย โอกาส ผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีความสุข สะดวกสบายและชีวิตอยู่กับลูกกับหลาน ไปอีกนาน คนสุพรรณช่วยคนสุพรรณกับ “โครงการต่อลมหายใจเพื่อนมนุษย์” ณ เทศบาลเมือง จ.สุพรรณบุรี
สโมสรโรตารีกาญจนบุรี น�ำโดย นย.พ.ต.อ.พรชัย เพ็ชรเจริญ และ แอนน์ อน.ณัฐรินีย์ เข้าร่วมกิจกรรม ให้ความรู้เรื่องสุขภาพอนามัยของแม่และ เด็ก ของชุมชนบ้านบ่อพัฒนา พร้อมกันนี้ และได้มอบสิ่งของเครื่องใช้เด็กอ่อนให้แก่ ครอบครัวในชุมชน 3 ครอบครัว
สโมสรโรตารีทวารวดี จัดโครงการ “รักการอ่าน” ปีที่ 3 (Free English Online Program Year 3) โดยการอบรมครูในจังหวัดนครปฐม District Grant # 1977025 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
D.3340 บรรณาธิการ ภาค 3340 โรตารีสากล
รทร.เดียร์ราห์ พิบูลย์วัฒนวงษ์ สร.หมากแข้ง
สวัสดีค่ะมวลมิตรโรแทเรียนทุกท่าน ช่วงนี้อากาศเริ่ม เข้าสู่ฤดูหนาว เป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่หลายท่านวางแผนจะไป สัมผัสความเย็น ณ แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ไม่ ว่าจะเป็นบนภูเขาของภาคเหนือ หรือบนยอดภูทางภาคอีสานเพื่อ ชมทะเลหมอก อย่างไรก็ดี ตลอดทริปเดินทางของท่าน ขอแนะน�ำ ให้ท่านไม่ลืม ที่จะแวะเวียนเยี่ยมมิตรโรแทเรียนในพื้นที่ที่ท่านไป เยือน แม้ว่าจะมิใช่คู่มิตรก็ตาม เพราะท่านจะได้สัมผัสการต้อนรับ แบบเป็นกันเองจากเจ้าถิ่นซึ่งเป็นโรแทเรียนด้วยกัน ได้มีโอกาส แลกเปลีย่ นแนวคิดบ้างเล็กน้อยอันมีประโยชน์ และท่านทีเ่ ป็นสโมสร เจ้าถิน่ อาจเป็นโอกาสน้อยครั้ งทีท่ า่ นได้ตอ้ นรับมิตรภาพจากต่างภาค ก็ดี หรือภายในภาคเดียวกัน ท่านจะได้มติ รใหม่ทที่ า่ นอาจได้วางแผน ท�ำโครงการร่วมกันในอนาคต ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มีเพียงจุดประสงค์เดียวที่จะบอก แก่ทุกท่านว่า การเป็นหนึ่งในฟันเฟืองของโรตารีนั้น สิ่งที่เราได้คือ มิตรภาพ โดยเฉพาะมิตรโรแทเรียนมากมายจากทุกที่ไม่ว่าจะแห่ง ใดในโลก ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติจากการเสียสละทุมเทท�ำงาน กิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ จากการได้เป็นผูใ้ ห้โดยไม่หวังสิง่ ตอบแทน ภาค 3340 ในวันนี้ ก�ำลังมุง่ มัน่ พัฒนาศักยภาพสมาชิกไปสู่ การเป็นโรตารีทสี่ มบูรณ์แบบ ทัง้ จิตใจ ความคิด และบุคลิกภาพ เพือ่ ให้สมาชิกในภาคเกิดแรงบันดาลใจทีจ่ ะเป็นผูม้ จี ติ อาสา เป็นผูม้ เี ลือด ของโรตารีไหลเวียนอยู่ในร่างกาย และพร้อมที่จะบ�ำเพ็ญประโยชน์ เพือ่ ชุมชนของตนเอง ซึง่ เหล่าอดีตผูว้ า่ การภาคของภาค 3340 ก�ำลัง เดินสายเสวนาให้ความรูเ้ กีย่ วกับการเป็นโรตารี แต่ทกุ เขตบริหารของ ภาคในปีบริหารนี้ ขอทุกท่านมีความสุขกับการเป็นผูเ้ สียสละและสนุกกับการ ท�ำงานบ�ำเพ็ญประโยชน์โดยไม่รู้เหน็ดเหนื่อย ด้วยใจอาสาที่ท่านได้ บรรจงใส่ลงในโครงการต่างๆ ที่ท่านได้มอบสู่สังคม และชุมชนของ ท่าน
30
กันยายน-ตุลาคม 2561
นย.อังกูร ฤชาคณิต สโมสรโรตารีตราด
ท้องฟ้า หาดทราย สาย การอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมถือเป็นเรือ่ งส�ำคัญทีเ่ ราควรใส่ใจอย่าง มากในปัจจุบัน เนื่องจากสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก จากน�้ำมือ มนุษย์ตั้งแต่ยุคอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา เป็นเหตุให้เกิด สภาวะโลกร้อน สัตว์สูญพันธ์ และอื่นๆ มากมาย ภาค 3340 ได้ตระหนักในปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเช่นกัน โดย โครงการเด่นด้านสิง่ แวดล้อมนัน้ ต้องยกให้สโมสรโรตารีตราด ซึง่ มีความ โดดเด่นในโครงการความร่วมมือต่างๆ เกีย่ วกับสิง่ แวดล้อมชายทะเล ใน พื้นที่บริการของสโมสร รวมถึงการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการปลูกจิต ส�ำนึกให้เยาวชนมีจติ ส�ำนึกในการอนุรกั ษ์ทรัพยากรทางทะเลของจังหวัด อันจะเป็นการแก้ปญ ั หาด้านสิง่ แวดล้อมระยะยาวในอนาคตร่วมกัน โดย เฉพาะในค่ายผู้น�ำเยาวชน RYLA ที่สโมสรร่วมเป็นเจ้าภาพ ก็ได้บรรจุ กิจกรรมการอนุรักษ์เข้าไป ไม่ว่าจะเป็นการท�ำกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ซึง่ มีเยาวชนโรตารีรว่ มกันปลูกป่าชายเลนเพือ่ รักษาสิง่ แวดล้อมชายทะเล ให้เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยของกุง้ หอย ปู ปลา การท�ำความสะอาดชายหาด ท�ำให้ ชายหาดทะเลตราดสวยงาม และการปล่อยเต่า ปล่อยลูกปู กลับคืนสู่ ทะเล เพื่อให้สภาพวะแวดล้อมทางทะเลเกิดความสมดุล จังหวัดตราดเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลสวยงาม โดยเฉพาะหมู่บ้านไม้รูด ซึ่งเป็นชุมชนที่นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนจะ ได้สัมผัสวิถีชุมชนประมงพื้นบ้านสุดทางตะวันออก ชาวบ้านส่วนใหญ่ มีอาชีพท�ำการประมง เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งเรื่องการอนุรักษ์
ยลม กับการรักษาธรรมชาติชายฝั่งทะเล สโมสรโรตารีตราด ทรัพยากรธรรมชาติ และเห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรทางทะเล การ อนุรักษ์เริ่มต้นในปี 2554 ซึ่งจังหวัดตราดได้วิจัยและพบว่าสัตว์น�้ำลด ลง ชาวบ้านจึงรวมตัวกันตั้งกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล และร่วมใจกันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น�้ำ โดยมีการจัดตั้ง “ธนาคารปูม้า” ขึ้น มา เพื่อฟื้นฟู ขยายพันธุ์ปูม้าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ซึ่งธนาคาร ปูม้าแห่งบ้านไม้รูดด�ำเนินการโดยสมาชิกในชุมชนที่จับปูม้าที่มีไข่นอก กระดองได้จะน�ำมาฝากที่ธนาคารปูม้าเพื่ออนุบาลจนมีการเขี่ยไข่ออก เรียบร้อย ธนาคารจะส่งคืนแม่ปูให้สมาชิกที่เอาปูมาฝาก และเอาลูกปู ไปปล่อยคืนทะเล ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติ และยังเป็นการ เพิ่มรายได้ของชุมชนด้วย ธรรมชาติที่ส�ำคัญไม่แพ้กันคือป่าชายเลน ในจังหวัดตราด มีหน้าตัดดินลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลักษณะดินที่พบส่วนมากเป็น ดินเหนียวปนทราย (Sandy Clay) ดินเหนียว (Clay) และดินทราย (Sand) มีพนื้ ทีป่ า่ ชายเลนทัง้ หมด 110,654.17 ไร่ มีพนื้ ทีป่ า่ ชายเลนใน เขตป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งหมด 371984.41ไร่ ป่าชายเลนในเขตอุทยาน แห่งชาติ 21.44 ไร่ พันธุ์ไม้ป่าชายเลนจังหวัดตราด มี 12 วงศ์ 15 สกุล และ 26 ชนิด พันธุ์ไม้ที่พบอยู่ในวงศ์ไม้แสม ได้แก่ โกงกางใบเล็กซึ่งเป็น พันธุ์ไม้ที่มีความส�ำคัญสูงที่สุด รองลงมาคือ ตาตุ่มทะเล, ถั่วขาว, ฝาด ดอกขาว และแสมด�ำ สัตว์ที่พบในป่าชายเลน ได้แก่ หอยกัน, ปูแสม, ปูก้ามดาบ และกุ้งขาว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มของนกในป่าชายเลน ในจังหวัดตราด
พบจ�ำนวน 27 ชนิด 24 สกุล 20 วงศ์ และ 7 อันดับ ตัวอย่างนกที่พบ ได้แก่ นกนางแอ่นแปซิฟิก นกเด้าดิน นกยางควาย เป็นต้น ยังมีกลุ่ม ของแมลง พบแมลงจ�ำนวน 9 อันดับ 11 วงศ์ และ 20 ชนิด ได้แก่ มวน เขียวข้าว ผีเสือ้ จรกาหนอนยีโ่ ถ ต่อ แมลงปอบ้านใหม่ผแู้ ต้มขาวเมียลาย และหิ่งห้อย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ธรรมชาติรอบๆ ชายทะเลของจังหวัดตราดนั้น มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก สมควรที่จะได้รับการอนุรักษ์ให้คงอยู่ ไปให้นานที่สุด สโมสรโรตารีตราดร่วมกับภาค 3340 ได้มีแนวคิดเกี่ยว กับกิจกรรมที่ส�ำคัญตามภารกิจเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน กรม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตามโครงการด�ำเนินกิจกรรมที่ส�ำคัญ ตามภารกิจ 6 แนวทางโรตารี เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรชายทะเลให้สมบูรณ์ ในจังหวัดตราด เนือ่ งจากสภาพแวดล้อมทางทะเลของจังหวัดตราดและ อ�ำเภอคลองใหญ่ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ประสบปัญหาการท�ำประมง ที่ผิดกฎหมาย และมีเครื่องมือประมงที่ไม่ถูกต้องเข้ามาในพื้นที่เขต อนุรักษ์ จนท�ำให้สัตว์ทะเลหายากต้องเสียชีวิต และสัตว์ทะเลวัยอ่อน ไม่มีแหล่งอนุบาล ส่งผลให้ระบบนิเวศน์เสียสมดุล จนส่งผลกระทบ ถึงทรัพยากรธรรมชาติในทะเลที่ลดลง อย่างน้อยในวันนี้โครงการของ สโมสรโรตารีตราด ซึง่ จะร่วมมือกับท้องถิน่ และชุมชนในการอนุรกั ษ์และ ปกป้องไม่ให้สภาพสิ่งแวดล้อมต้องถูกท�ำลายลงไป ที่ผ่านมาก็สามารถ ป้องกันระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมหลายอย่างที่มุ่งไปในการ สร้างจิตส�ำนึกเป็นหลักเหมือนดังเช่นที่ได้ท�ำมา
D.3340 Interview บทสัมภาษณ์
อน.กิจจา เตชะศิริธนะกุล สโมสรโรตารีมูลริเวอร์
เครือ่ งมือสูก่ ารเข้าถึงสาธารณะชนและมวลมิตรด้วยการ ประชาสัมพันธ์ที่ตรงสู่เป้าหมาย การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องที่ ท�ำได้ง่าย และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัย ใหม่มากมาย โดยเฉพาะสังคมออนไลน์ เมื่อเทียบกับการสื่อสารด้วย สื่อเก่าๆ อย่างสิ่งพิมพ์หรือโทรทัศน์ ต้องนับว่าสื่อใหม่ให้ประสิทธิผล สูงสุด การท�ำกิจกรรมต่างๆ ของโรตารี ไม่วา่ จะเป็นโครงการบ�ำเพ็ญ ประโยชน์ หรือกิจกรรมการร่วมตัวและการร่วมงานต่างๆ ก็จำ� เป็นอย่าง มากที่เมื่อท�ำส�ำเร็จผ่านไปแล้ว ก็ต้องมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะชน หรืออย่างน้อยก็ในกลุ่มชาวโรแทเรียนด้วยกันให้ได้รับทราบ ด้วยแนวคิดที่ว่า เราท�ำดีต้องมีการ “ตีฆ้อง ร้องเป่า” เพราะ แน่นอนว่า เราท�ำสิง่ ดี เรารู้ เราสบายใจของเรา แต่ถา้ สังคมไม่รกู้ ไ็ ม่เกิด ประโยชน์ภายหลัง เพราะจะไม่สามารถดึงความร่วมมือและเครือข่าย ต่างๆ ได้ ถ้าองค์กรเหล่านั้นไม่รู้ว่าเราท�ำดีอะไรบ้าง สื่อประชาสัมพันธ์ของภาค 3340 โรตารีสากลที่ดีจะช่วย ปรับปรุงความสัมพันธ์ของสโมสรกับชุมชน และดึงดูดความสนใจ ของสมาชิกที่คาดหวังส่งเสริมภาพลักษณ์ของสโมสรและสร้างความ ตระหนักในโรตารีของชุมชน โดยการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับกิจกรรม การพัฒนาที่น่า สนใจของสโมสร โดยในปีบริหาร 2561- 2562 นี้ ภาค 3340 โรตารี สากล ได้ใช้สื่อประชาสัมพันธ์หลากหลาย และช่วยสร้างการรับรู้ไปยัง กิจกรรมของสโมสรทีบ่ ำ� เพ็ญประโยชน์สง่ ออกไปยังชุมชนภายนอก ดัง ต่อไปนี้ • สื่อสารประชาสัมพันธ์ โดยเกี่ยวกับตราสัญลักษณ์ของโรตารีในการสื่อสารทุกประเภทเพื่อ สร้างความเข้มแข็งในภาพลักษณ์ของโรตารี www.rotaryd3340.org หรือข้อมูลกิจกรรมของแต่ละสโมสรที่ส่งมาให้ น�ำลงในเว็บไซต์ภาค • สื่อสารโดยการโฆษณา บอกเล่าเรือ่ งราวของโรตารี บนสือ่ สังคมออนไลน์ทางสังคมของสโมสร
32
กันยายน-ตุลาคม 2561
ให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อแสดงถึงกิจกรรมของสโมสรและผลกระทบที่ โรตารีท�ำทั้งในท้องถิ่นและทั่วโลก สโมสรต้องรายงานที่ Rotary Club Central และการใช้ My Rotary • สื่อโดยใช้กิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ของแต่ละสโมสร โดยส่งเสริม ให้แต่ละสโมสร เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมต่างๆ ของภาค และส่งเสริมงานกิจกรรมของแต่ละสโมสรให้ร่วมมือการอบรม การ ประชุมกับ ภาคอื่นๆ ในประเทศไทย • สื่อโดยใช้เยาวชน สโมสรโรทาแรคท์ท�ำให้ชุมชนมีส่วนร่วมโดยการเป็นเจ้าภาพจัดงาน เครือข่ายส�ำหรับเยาวชน ท�ำกิจกรรมเพื่อองค์กรชุมชนหรือศิษย์เก่า โรตารี ในชุมชนที่สโมสรมีพื้นที่ตั้งอยู่เช่น ภาค 3340 จัดให้มีการ อบรมเยาวชนไรลา ในทุกๆ ปีเพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ของโรตารี ให้มี ในทุกๆ ชุมชน • สื่อประชาสัมพันธ์ในการสร้าง หรือ รักษาการเป็นพันธมิตรกับสโมสรในต่างภาค หรือ ต่างประเทศ ในการท�ำกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ของแต่ละสโมสรเอง หรือการท�ำ โครงการโกลบอลแกรนท์กับภาคต่างๆ ในต่างประเทศ • เป็นเจ้าภาพจัดการอภิปราย หรือการประชุมส�ำหรับสโมสรต่างๆ หรือเกี่ยวกับประเด็นส�ำคัญใน ชุมชนในแต่ละสัปดาห์ของการประชุมสโมสร เน้นความส�ำคัญในการ ที่สโมสรน�ำพาผู้คนมาร่วมกันท�ำกิจกรรมเพื่อบ�ำเพ็ญประโยชน์แก่ สโมสรและชุมชน ภาค 3340 วันนีไ้ ด้มงุ่ เน้นการสร้างภาพลักษณ์ทดี่ ขี องโรตารี เผยแพร่สสู่ าธารณะ เพือ่ ส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้ผคู้ นได้รจู้ กั และเข้าใจถึง “โรตารี” ให้ผู้คนได้เห็นว่าโรตารีท�ำอะไร โรตารีคืออะไร พร้อมกับการหันมาสนับสนุนกิจกรรมของโรตารีในอนาคต
สโมสรโรตารีหมากแข้ง
จัดกิจกรรม Little Engineer prilot project อันเป็นโครงการต่อ เนื่องจากการมอบเครื่องกรองน�้ำ 211 โรงเรียนในชนบท กิจกรรมจัด ขึ้นเพื่อให้เด็กในโรงเรียนที่ได้รับเครื่องกรองน�้ำทั้ง 211 โรงเรียน ได้เรียน รูเ้ กีย่ วกับความส�ำคัญของการมีนำ้� ดืม่ ทีส่ ะอาด และรูจ้ กั วิธกี ารตรวจสอบ น�้ำสะอาด รวมถึงการดูแลรักษาเครื่องกรองน�้ำที่ได้รับ และเนื่องจาก กิจกรรมนีเ้ ป็นลักษณะกิจกรรมลูกเสือแบบเต็มรูปแบบ และเป็นโครงการ ความร่วมมือระหว่างศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี และสาธารณสุขจังหวัด อุดรธานี โดยมีการให้กลุ่มนักเรียนลูกเสือ-เนตรนารี ตัวแทนแต่ละ โรงเรียนเข้าท�ำกิจกรรมฐาน 4 ฐาน (ซึง่ แต่ละฐานเกีย่ วข้องกับเครือ่ งกรอง น�ำ้ และน�ำ้ ส�ำคัญอย่างไรต่อชีวติ ) เมือ่ จบกิจกรรม นักเรียนโรงเรียนแต่ละ แห่งจะต้องสรุปสิ่งที่ได้รับแต่ละฐาน เพื่อประเมินโครงการได้ว่านักเรียน มีความเข้าใจต่อกิจกรรมทั้งหมดนี้อย่างไร
สโมสรโรตารีจันทบุรี ร่ ว มกั บ สโมสรโรตารี พ ระโขนง ภาค 3350 ท� ำ โครงการ Global Grant GG#1865705 เป็นการมอบเครื่องกระตุก หัวใจ Defibrillator และเครื่องตรวจออกซิเจนในเลือดมูลค่า 1,488,868.21 บาท และเครื่องวัดปริมาณความอิ่มตัวของ ออกซิ เจนในเลื อดและสั ญญาณชีพจร ชนิด พกพา มูลค่า 412,217 บาท ให้โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี สโมสรโรตารีน�้ำพอง ท�ำโครงการมอบถังหยดน�้ำสะอาด มอบแก่โรงเรียน 7 แห่ง ใน จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ร.ร.บ้านเวียงแก้ว ร.ร.บ้านผักหนาม ร.ร.บ้านบะแต้ ร.ร.บ้านโคกสง่านางาม ร.ร.บ้านศรีเมืองแอม ร.ร.โนนศิลาราศรี ร.ร.บ้านวังโพน โดยมีมวลสมาชิกของสโมสร ร่วมเดินทางไปมอบถังหยดน�้ำทั้ง 7 โรงเรียน อย่างมุ่งมั่นไม่ เหน็ดเหนื่อยและพร้อมที่จะตั้งใจท�ำงานต่อไปตลอดปีบริหาร สโมสรโรตารีครบุรีโคราช น�ำสมาชิกสโมสรและนักเรียนแลกเปลี่ยนร่วมกิจกรรมทาสี ซ่อมแซมโรงเรียนไทยสามัคคี วังน�้ำเขียว เพื่อปรับปรุงและส่ง เสริมบรรยากาศของโรงเรียนให้น่าอยู่
สโมสรโรตารีจันทบูร จัดกิจกรรมเลี้ยงอาหาร มอบจักรยานและทุนการศึกษาให้กับ เด็กนักเรียนยากไร้ ที่โรงเรียนวัดเนินยาง อ.เมือง จ.จันทบุรี สมาชิกสโมสรและเด็กๆ โรงเรียนวัดเนินยาง ต่างอิ่มบุญ อิ่มใจ ในการท�ำกิจกรรมครั้งนี้ถ้วนหน้า
D.3350 บรรณาธิการ ภาค 3350 โรตารีสากล
อน.ตรอง แสงสว่างวัฒนะ สร.กรุงเทพสุวรรณภูมิ
สวัสดีค่ะ มิตรโรแทเรียน หลังจากช่วง 2 เดือนแรกของปี 2561–2562 ที่ค่อน ข้างเป็นงานฉลองการเข้ารับต�ำแหน่งของนายกแต่ละสโมสร คือ การเคาะฆ้องครัง้ แรก ภาค 3350 ก็มกี ารอบรมทางวิชาการด้วย คือ การสัมมนาภาพลักษณ์สาธารณะโรตารี และการอบรมเรือ่ ง สมาชิกภาพ รวมทัง้ สัมมนาเชิงปฏิบตั กิ ารทีเ่ น้นให้ผชู้ ว่ ยผูว้ า่ การ ภาคเข้ารับฟัง พอย่างเข้าเดือนถัดมาจึงเริม่ เข้าสูก่ จิ กรรมสโมสร กันอย่างเป็นเรือ่ งเป็นราว หลายสโมสรยังมีการส่งมอบโครงการ ทีต่ อ่ เนือ่ งมาจากปีกอ่ น ในขณะทีอ่ กี หลายๆ สโมสรเริม่ เดินหน้า ในโครงการของตนเอง โดยเฉพาะสโมสรทีท่ ำ� โครงการทุนสมทบ ระดับโลกจะต้องรีบส่งโครงการเพราะประธานมูลนิธภิ าคท่านมี โปรโมชั่นมาจูงใจให้พวกเราท�ำเพื่อชุมชนส่วนรวมได้ง่ายยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันส�ำหรับ ผวภ.นครินทร์ รัตนกิจสุนทร นอกจากจะต้องจัดเวลาไปร่วมงานต่างๆ ของภาค และบางงาน ทีส่ ำ� คัญ เช่น งานฉลองครบรอบ 88 ปีของโรตารีในประเทศไทย ซึ่งจัดโดย สร.กรุงเทพ ฯลฯ แต่ภารกิจหลักของท่านคือการเดิน สายเยี่ยมทุกสโมสรอย่างเป็นทางการ เพื่อพูดคุยกันถึงปัญหา (ที่อาจมี) แจ้งให้ทราบถึงนโยบายของประธานโรตารีสากล แบรี- แรซซิน และเชิญชวนให้สมาชิกทุกท่านร่วมบริจาคเพื่อ มูลนิธิ ซึ่งนับถึงกลางเดือน ต.ค. ท่านผู้ว่าเยี่ยมไปแล้วราว 60 สโมสร มีโอกาสได้ติดเข็มต้อนรับสมาชิกใหม่ และรับมอบเงิน บริจาคจากบางสโมสรด้วยตนเอง นอกจากนั้น ภาค 3350 ยังได้จัดการประชุมผู้ว่าการ ภาคพบนายกสโมสร ผูช้ ว่ ยผูว้ า่ การภาค และคณะกรรมการภาค ครั้งที่ 1 ไปแล้วเมื่อวันที่ 29 ก.ย.61 มีการสรุปงานใน 3 เดือนที่ ผ่านมาของปีโรตารีนี้ น�ำเสนอทั้งข้อดีข้อด้อยที่เกิดขึ้น เพื่อเป็น แนวทางในการท�ำงานต่อไปและได้รับความสนใจเข้าร่วมงาน จากกลุ่มนายกและผู้ช่วยฯ กว่า 140 ท่าน
34
กันยายน-ตุลาคม 2561
โครงการอนุรักษ์ ภาค 3350 โรตารีสากล เมือ่ พูดถึงการอนุรกั ษ์ เราน�ำค�ำนีม้ าใช้กบั หลายๆ เรือ่ ง เช่น อนุรกั ษ์ ธรรมชาติ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อนุรักษ์พลังงาน อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ฯลฯ ความหมายของการอนุรกั ษ์แต่ละอย่างอาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยรวมแล้ว ล้วนแต่ออกมาทางด้านบวกทั้งสิ้น จะเห็นว่าในปัจจุบันสังคมไทยให้ความส�ำคัญกับการอนุรักษ์สิ่ง แวดล้อมมากขึ้น เช่น กรมการแพทย์ ได้ขอให้โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดใช้ ถุงกระดาษแทนถุงพลาสติกใส่ยา ดีเดย์ไปเมือ่ วันที1่ ตุลาคม บางโรงพยาบาล ขอร้องให้ประชาชนน�ำถุงผ้ามาใส่ยากลับบ้านด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ช่วยลด ปริมาณขยะ ลดภาวะโลกร้อนลงไปได้ เพราะจากสถิติที่ผ่านมาโรงพยาบาล ใช้ถุงพลาสติกปีละกว่า 9 ล้านใบ ซึ่งการย่อยสลายพลาสติกนั้นใช้เวลากว่า 450 ปี ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซือ้ หลายแห่งก็เริม่ รณรงค์เรือ่ งนีก้ นั มากขึ้น โดยใช้การให้คะแนนสะสม หรือส่วนลดเป็นสิ่งจูงใจ เพราะการน�ำถุง พลาสติกไปใช้ซำ�้ โดยน�ำไปเป็นถุงขยะนัน้ ไม่ได้ชว่ ยอะไร แต่ละสัปดาห์คนไทย น�ำถุงพลาสติกกลับบ้านมากกว่า 100 ล้านถุง เป็นสาเหตุของการเกิดก๊าซ ชีวภาพที่ท�ำให้โลกร้อน โรตารีในภาค 3350 ก็เน้นกิจกรรมเรือ่ งการอนุรกั ษ์กนั หลายสโมสร ขอน�ำเสนอเป็นตัวอย่างสัก 2 เรื่องค่ะ คือ กิจกรรมการปลูกป่าชายเลน และ การประดิษฐ์วัสดุจากสิ่งเหลือใช้
กิจกรรมปลูกป่าชายเลน
โดยการน�ำของ นย.พลเรือตรี สุรัชฏ์ ศิริวรรณนาวี สโมสร โรตารีราชพฤกษ์ เป็นผู้จัดหาทุนในการปลูกต้นโกงกาง 449 ต้นที่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เขาหมาจอ ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยปลูกในท่อใยหิน ซึ่งท�ำสัญลักษณ์เป็นรูป Long Live The King ด�ำเนินการโดยหน่วยซีล เพราะการปลูกในท่อใยหินจะ ช่วยให้ตน้ โกงกางอยูร่ อดครบทัง้ 100% ส่วนก�ำลังพลทีม่ าช่วยกันปลูกนัน้ นอกจากโรแทเรียนกว่า 50 คนแล้ว ยังมีชมรมชุมชนน่าอยู่ลุมพินีสัมพันธ์ อีกจ�ำนวน 200 คน นอกจากนั้น ยังได้ปล่อยปูม้าจ�ำนวน 5 ล้านตัว และข้ามไปช่วย กันเก็บขยะที่เกาะขาม พร้อมกับมอบเงินให้กับหน่วยซีลเป็นการขอบคุณ จ�ำนวน 54,379 บาท กิจกรรมนี้ท�ำต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว ได้รับการ สนับสนุนจากมิตรต่างสโมสรเป็นอย่างดี เห็นได้จากปีนี้ได้ร่วมจดคู่มิตร เพือ่ ท�ำกิจกรรมกันในโอกาสต่อไปกับสโมสรโรตารีปากเกร็ด นนทบุรดี ว้ ย
กิจกรรมประดิษฐ์วัสดุจากของเหลือใช้
สโมสรโรตารีกรุงเทพรัตนโกสินทร์ โดย นย.ลิขิต ลิ้มรสรวย ได้จดั โครงการประกวดสร้างสรรค์สงิ่ ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้รนุ่ เด็ก โดย มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รณรงค์ การลดปริมาณขยะ และรีไซเคิลวัสดุเหลือใช้ ส่งเสริมให้เด็กรู้จักใช้ความ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการรักษาสิ่งแวดล้อม น�ำวัสดุเหลือใช้มาท�ำให้เกิด ประโยชน์ กิจกรรมนี้ท�ำมาเป็นปีที่ 2 และตั้งใจว่าจะท�ำต่อเนื่องไปทุกปี เพราะได้รับผลตอบรับดีมาก เยาวชนให้ความสนใจและสามารถต่อยอด ไปเป็นธุรกิจได้
D.3350 Interview บทสัมภาษณ์ บ.ก. เป็นแฟนประจ�ำคนหนึ่งของรายการ คุ้ยข่าว.ชาวโรตารี ติดตามมาตั้งแต่ช่วงแรกๆ ร่วม ตอบค�ำถาม ได้รับรางวัลมาก็หลายชิ้น ช่วงหลังจึงได้ แต่รับฟังอย่างเดียว จนปัจจุบันทางรายการเปลี่ยน จากของรางวัลหลากหลายทีม่ ผี บู้ ริจาคให้มาเป็นหมวก ชื่อรายการและเริ่มจ�ำกัดผู้รับรางวัลไม่ให้ซ�้ำคนเดิมๆ เมื่อผู้จัดเริ่มขยายวงกว้าง โดยสัมภาษณ์ท่านอดีต ผู้ว่าการภาคจากต่างภาคท�ำให้มีโรแทเรียนต่างภาค เข้ามาติดตามฟังกันเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ เดือนกันยายนนีค้ รบ รอบ 1 ปีทรี่ ายการนีอ้ อกอากาศสดทาง Facebook จึง อยากจะให้ทกุ ท่านได้ทราบความเป็นมาของรายการนี้ ค่ะ
ประวัติย่อด้านโรตารีของผู้จัด ผมเข้าร่วมประชุมครัง้ แรกกับสโมสรโรตารีกรุงเทพ ตะวันออก สมัยประชุมทีโ่ รงแรมเซ็นทาราแกรนด์แอท เซ็นทรัลลาดพร้าว โดยการชักชวนของ รทร.ไพศาล วาณิชย์ศรีภิญโญ และได้หายไประยะหนึ่ง จนได้ถูก ชักชวนให้เข้าร่วมประชุมอีกครั้งเมื่อคุณไพศาลเป็น นายกสโมสรในปี พ.ศ. 2545-2546 ได้เข้าเป็นสมาชิก ของสโมสรโรตารีกรุงเทพตะวันออก ตอนต้นปี 2545 จนถึงปัจจุบัน เป็นโรแทเรียนมาแล้วกว่า 16 ปี รับหน้าที่มาทั้งเป็นประธานประชาสัมพันธ์ ประธานบริการสโมสร ปฏิคม เหรัญญิก และเลขา สโมสร 7 สมัย เป็นนายกสโมสร เมื่อปี 2554 - 2555
เจาะใจ อน.สุขกิจ ทวีวิเสสานนท์ ผู้จัดรายการ คุ้ยข่าว.ชาวโรตารี • ความเป็นมาของรายการ เนือ่ งจากพืน้ ฐานผมมีความรูท้ างการใช้คอมพิวเตอร์พอสมควร ชืน่ ชอบ การใช้สอื่ ทางอินเตอร์เน็ตในการเอ็นเตอร์เทนให้กบั ตัวเอง ท�ำงานค้นคว้าศึกษาเรียน รูส้ งิ่ ใหม่ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ตลอดเวลาโดยเฉพาะในเฟสบุค๊ เมือ่ ปีทแี่ ล้วได้เห็นรายการหนึง่ ที่ ใช้สอื่ ทางเฟสบุค๊ ไลฟ์ จัดรายการท�ำข่าวสัมภาษณ์พดู คุยในรายการและมีผตู้ ดิ ตามรับ ชมเป็นจ�ำนวนมาก จึงท�ำให้ผมมีความคิดที่จะจัดรายการส�ำหรับโรตารี ในลักษณะ เช่นนี้บ้าง • แรงบันดาลใจ ความคิดแรกที่เกิดขึ้นคือ ท�ำไมโรตารีไม่ท�ำสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ที่สามารถน�ำเสนอการอัพเดทข่าวสารหรือกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ของสโมสร ต่างๆ ที่น่าสนใจ ให้ได้รับทราบโดยรวดเร็วและฉับไว ถ้าผมสามารถท�ำรายการเอง ได้ ก็อยากจะรวบรวมหาข่าวที่น่าสนใจ รวมถึงเชิญผู้ร่วมรายการมาพูดคุยสนทนา ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับโรตารีที่มีประโยชน์ มาเผยแพร่ให้กับชาวโรแทเรียนด้วย กันจ�ำนวนกว่า 8 พันคนในประเทศไทย รวมทั้งบุคคลทั่วไปให้ได้รับรู้ โดยใช้สื่อทาง โซเชียลให้เป็นประโยชน์มากที่สุด • รูปแบบและต้นทุน การจัดรายการเป็นการออกอากาศสดผ่านทางเฟสบุค๊ ในชือ่ เพจ คุย้ ข่าว. ชาวโรตารี ทุกคืนวันจันทร์ เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น.เป็นต้นไป เนื้อหาและการน�ำ เสนอของรายการจะเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ โดยการค้นคว้าหาข่าวหรือกิจกรรม ที่น่าสนใจที่จะหาได้ในแหล่งต่างๆ เช่น ทางเว๊ปไซท์ หรือ ทางไลน์ ของทุกสโมสร และทุกภาคในประเทศไทย มาประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับชมรายการได้ทราบ ประกอบ กับเชิญผูห้ ลักผูใ้ หญ่ในองค์กรโรตารี หรือโรแทเรียนทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถ มาร่วม สนทนาเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในรายการ โดยไม่ต้องเดินทางมาพบปะกัน ผู้จัดรายการ เพียงแค่จัดรายการอยู่บ้านหรือที่ท�ำงานพร้อมอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ สคริปท์รายการ อุปกรณ์ส่วนประกอบอื่นๆ และ สัญญาณอินเตอร์เน็ต จึงใช้ต้นทุนการท�ำรายการน้อยมาก (เว้นแต่จะมีของพรีเมียม ส�ำหรับผู้ชมรายการ) ผู้ร่วมรายการ มีเพียงโทรศัพท์มือถือ และสามารถอยู่ที่ใดก็ได้ ที่มีสัญญาณ WIFI • ความมุ่งหวังของผู้จัดรายการ ต้องการเผยแพร่ขา่ วและกิจกรรมของโรตารีให้ครอบคลุมครบทัง้ 4 ภาค โดยขยายรายการให้มที กุ วันตลอดสัปดาห์ (ยกเว้นวันเสาร์และอาทิตย์) มีผจู้ ดั รายการ ทั้ง 4 ภาคจัดรายการในแต่ละวันรวม 4 วัน และอีก 1 วันจะเป็นการจัดรายการภาค ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ โดยหมุนเวียนให้โรแทเรียนได้ท�ำหน้าที่จัดรายการเป็นการ เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆ
36
กันยายน-ตุลาคม 2561
• เพราะเหตุใดจึงไม่จัดรายการในนามของภาค ความตัง้ ใจของการจัดรายการต้องการเป็นสือ่ น�ำเสนอข่าวหรือกิจกรรม ที่ดีๆ ทั้ง 4 ภาค โดยไม่เน้นภาคใดเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม และ ประชาสัมพันธ์ให้ได้ทวั่ ถึงเท่าทีค่ วามสามารถจะท�ำได้ เพือ่ แบ่งปันเรือ่ งราว เป็นการ สร้างมิตรภาพและความผูกพันให้กับชาวโรแทเรียนให้มีมากยิ่งขึ้น การท�ำรายการ เป็นสิง่ ทีผ่ จู้ ดั ต้องรับผิดชอบในสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ทัง้ ทางบวกและทางลบ ถ้ารายการอยูภ่ าย ใต้สังกัดภาคอาจจะมีผลกระทบ ผมจึงขอหลีกเลี่ยง • ผลกระทบ และความส�ำเร็จของรายการ รายการคุย้ ข่าว.ชาวโรตารี เริม่ จัดครัง้ แรกเมือ่ วันที่ 4 กันยายน 2560 โดย ออกอากาศสดในกลุ่มเพื่อนเท่านั้น รูปแบบเพียงประชาสัมพันธ์ข่าวในภาค 3350 และเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในภาค 3350 มาร่วมสนทนา แต่สักระยะหนึ่งก็ได้เล็งเห็น ประโยชน์ของการท�ำกิจกรรมในต่างภาค ต่างสโมสร จึงเปลี่ยนเนื้อหาการจัดและ การน�ำเสนอให้ขยายไปที่สโมสรและภาคต่างๆ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบตลอดเวลา การเริ่มต้นท�ำสิ่งใดก็แล้วแต่ ย่อมมีผลกระทบแน่นอน มีหลายครั้งที่ผม ถูกถามว่าจัดรายการแล้วได้อะไร รายการเรทติ้งดีไหม เอาเวลาท�ำรายการไปท�ำ อย่างอื่นดีกว่าไหม ค�ำตอบคือ ส�ำหรับตัวผมนั้นได้หลายสิ่งหลายอย่างมากมาย ได้ รูจ้ กั เพือ่ นโรแทเรียนมากขึน้ ได้มโี อกาสสนทนากับผูใ้ หญ่และผูท้ รงคุณวุฒใิ นองค์กร โรตารีหลายๆ ท่าน ได้ความรูแ้ ละความเข้าใจในสิง่ ทีไ่ ม่เคยรู้ และได้สมั ผัสความรูส้ กึ ของมิตรภาพอย่างแท้จริง ส่วนเรทติ้งของผู้รับชมรายการจะมากหรือน้อยก็ไม่มี ผลกระทบต่อการท�ำรายการ เพราะผมท�ำด้วยใจและความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ท�ำจะเป็น ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโรตารี ส่วนเรื่องเวลา ผม ยอมรับว่ามีผลกระทบบ้าง แต่ถา้ วันหนึง่ ชาวโรแทเรียนได้เห็นประโยชน์ของรายการ และมาร่วมช่วยกันเป็นก�ำลังหลักสร้างรายการด้วยกัน วันนั้นก็จะแบ่งเบาเวลาของ ผมได้ครับ • ไลน์กลุ่ม คุ้ยข่าว.ชาวโรตารี คืออะไร ไลน์กลุ่มนี้จัดตั้งเพื่อรวบรวมและเชื้อเชิญโรแทเรียนทั้ง 4 ภาคให้ได้รู้จัก กัน ได้แลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น รวมทั้งแจ้งข่าวสโมสร ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมของสโมสรหรือในภาคที่สังกัด ทางรายการก็จะคัดเลือกข่าวที่น่าสนใจเพื่อ น�ำไปออกรายการในแต่ละสัปดาห์ • อยากฝากอะไรถึงผู้อ่านบ้าง ท่านทีส่ นใจสามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึง่ ของรายการได้ โดยส่งข่าวผ่าน ทางไลน์ หรือเพจทางเฟสบุ๊ค เข้าร่วมเป็นสมาชิกในไลน์กลุ่ม คุ้ยข่าว.ชาวโรตารีได้ โดยให้เพื่อนที่อยู่ในกลุ่มเป็นผู้เชิญ ผมขอเชิญโรแทเรียนและผู้ที่สนใจได้ติดตามรับชมรายการสดทาง เฟสบุ๊ค ทุกวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 19.00 น. การมีส่วนร่วมของท่านจะเป็นก�ำลัง ใจในการท�ำรายการ เพื่อตอบสนองให้ผู้ชมได้รับประโยชน์อย่างมากที่สุดครับ
สโมสรโรตารีราชเทวี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนิน มาทรงเปิด “ลานกีฬาพัฒน์ 2” ณ พื้นที่ใต้ทางพิเศษศรีรัช เขตราชเทวี โดยสโมสรโรตารีราชเทวี ร่วมสนับสนุน “บ้านหนังสือลานกีฬาสร้าง กรุงเทพมหานคร” สโมสรโรตารีรังสิต จัดกิจกรรมวัดสายตา และบริจาคแว่นตาให้กบั นักเรียนชัน้ ม.ต้น - ม.ปลาย จ�ำนวน 110 คน ณ โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร
สโมสรโรตารีบางปะอิน มอบตู้อบเด็กแรกเกิดให้กับโรงพยาบาล บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา (ซึ่งเป็น โครงการทุนสมทบระดับโลกของสโมสร โรตารีธนบุรี) มีการอบรมมารดาที่ก�ำลัง ตัง้ ครรภ์โดยสูตนิ รีเวช พร้อมสอนวิธดี แู ล และเลี้ยงดูลูกโดยพยาบาลวิชาชีพ
D.3360 บรรณาธิการ ภาค 3360 โรตารีสากล
อน.นพ.ณัฏฐธนิน เศรษฐวนิชย์ สร.แพร่
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ก้าวมาได้เกือบครึ่งปี บริหารแล้ว สโมสรต่างๆในภาค 3360 ก็มีกิจกรรมบ�ำเพ็ญ ประโยชน์ต่างๆ แก่สังคมอย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่ากิจกรรม เข้มข้นจริงๆ ครับ และในส่วนของท่านรุ่งราณี แสงศิริ ผู้ว่าการ ภาค 3360 ก็ได้ปฏิบัติภารกิจผู้ว่าการภาคอย่างเข้มแข็ง เพื่อ เป็นก�ำลังใจให้กับทุกสโมสรที่เข้าเยี่ยมในภาค 3360 และสร้าง แรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นแก่โรแทเรียนทุกคน ทั้งนี้ได้รับการ ต้อนรับเป็นอย่างดีจากสโมสรต่างๆ เดื อ นสิ ง หาคมที่ ผ ่ า นมา เนื่ อ งในวโรกาสเฉลิ ม พระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาล ที่ 9 สโมสรต่างๆ ในภาค 3360 ได้จัดกิจกรรมดีๆ เพื่อถวาย เป็นพระราชกุศล ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่า ปล่อยปลา เป็นต้น ส่วนใหญ่ถือเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็น อย่างดี หลังจากกลางเดือนสิงหาคมผ่านมา ภาค 3360 ได้จัด สัมมนามูลนิธิโรตารี สมาชิกภาพและภาพลักษณ์โรตารี จัดขึ้น ที่จังหวัดแพร่ ได้รับความรู้ใหม่ๆและค�ำแนะน�ำดีจากวิทยากร ต่างภาค ซึ่งปีนี้ทางภาค 3360 ต้องการจะแชร์ประสบการณ์ และแนวความคิดจากอดีตผูว้ า่ การภาค จากต่างภาค เพือ่ ให้เห็น มุมมองใหม่ๆ และค�ำแนะน�ำดีๆ เพือ่ สร้างแรงบันดาลใจแก่นายก สโมสรทุกๆสโมสร ตลอดจนโรแทเรียนในภาค 3360 ส�ำหรับในฉบับนี้ทางนิตยสารโรตารีประเทศไทย เรารณรงค์เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ และ ในส่วนของการเผยแพร่ข่าวสารกิจกรรมต่างๆ ของสโมสร โรตารีในภาค ซึ่งสกู๊ปในเรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติ ผมได้ รับความอนุเคราะห์จากท่านนายกของสโมสรโรตารีเชียงใหม่ที่ จัดกิจกรรมปลูกป่าเพื่อแม่ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ได้ รับความร่วมมือจากหลายองค์กรที่เข้ามาท�ำกิจกรรมและปลูก ฝังจิตส�ำนึกต่อการอนุรกั ษ์ปา่ ได้เป็นอย่างดี จึงขอน�ำมาเผยแพร่ ให้ทุกท่านได้ทราบ ส่วนในเรื่องของการเผยแพร่ข่าวสารของ โรตารีในฉบับนี้ผมของเผยแพร่การน�ำเสนอภาพลักษณ์โรตารี ในปีบริหาร 2561-62 ในแคมเปญ people of action มาให้ โรแทเรียนทุกท่านได้ศกึ ษากันดูนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ แก่คุณผู้อ่านไม่มากก็น้อย
38
กันยายน-ตุลาคม 2561
โรตารีภาค 3360 ฟื้นฟูป่า...เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืน ข้อมูล : นย.พูนทิพย์ แอนเดอร์เซ่น สร.เชียงใหม่ เรียบเรียง : อน.นพ.ณัฏฐธนิน เศรษฐวนิชย์ สร.แพร่ ในปีบริหาร 2017-2018 ประธานโรตารีสากลได้เน้นให้ โรแทเรียนท�ำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีการ น�ำร่องด้วยโครงการปลูกป่า ตลอดมาจนถึงปีบริหาร 2018-2019 ประธานโรตารีสากล แบรี แรซซิน ได้สานต่อกิจกรรมอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม ให้ต่อเนื่อง ท�ำให้หลายสโมสรโรตารี ภาค 3360 ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากมาย โดยกิจกรรมที่โดดเด่นในเรื่องของการ อนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมในภาค 3360 ทีผ่ มขออนุญาตน�ำมาแบ่งปันให้ทา่ นผู้ อ่านได้ทราบ คือ โครงการปลูกป่าเพือ่ แม่ ของสโมสรเชียงใหม่ โครงการ นีเ้ ป็นทีน่ า่ สนใจเพราะเป็นโครงการทีเ่ กิดจากการร่วมมือกันถึง 4 องค์กร ด้วยกัน ผมได้มีโอกาสได้พูดคุยกับนายกพูนทิพย์ แอนเดอร์เซ่น นายก สโมสรเชียงใหม่ ซึ่งท่านได้น�ำสมาชิกสโมสรจัดโครงการปลูกป่าเพื่อแม่ ขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2561 ณ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุยที่ 3 (น�้ำตกแม่สา) เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 12 สิงหาคม 2561 แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินนี าถ ซึง่ กิจกรรมนีไ้ ด้รบั ความร่วมมือจาก มูลนิธยิ แู สค ประเทศไทย ร่วมด้วยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ร่วม แรงร่วมใจกัน นางฉายดรุณ ทิพวรรณ ประธานมูลนิธิยูแสค ประเทศไทย เปิดเผยว่า เนือ่ งด้วยปัจจุบนั โลกก�ำลังเผชิญกับสภาวะการเปลีย่ นแปลง ของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น หรือที่ เรียกว่า สภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่มี ผลกระทบต่อวิถีชีวิตมนุษย์ อาทิ ความแห้งแล้ง ไฟป่า อากาศหนาวใน ฤดูร้อน ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ภาวะน�้ำท่วม เป็นต้น ส่วนหนึ่งเป็น
ผลมาจากการตัดไม้ท�ำลายป่าและการเผาป่า ท�ำให้พื้นที่ป่าถูกท�ำลาย ต้นไม้ที่ช่วยในการชะลอน�้ำมีจ�ำนวนที่ลดลง เมื่อเกิดน�้ำป่าไหลหลาก หน้าดินจึงถูกกัดเซาะและพังทะลายลงในที่สุด จึงเห็นได้ว่าปัญหา ดังกล่าวเป็นปัญหาใหญ่ที่ท�ำให้เกิดความตื่นตัวในทุกระดับ เพื่อช่วย กันหาแนวทางแก้ไขและป้องกันวิกฤติที่เกิดขึ้น ทั้งระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับชุมชนและระดับปัจเจกบุคคล การจัดกิจกรรมปลูก ป่าเพือ่ แม่จงึ เป็นการประสานความร่วมมือและก�ำลังของสังคมเชียงใหม่ ทั้งนักศึกษาและบุคคลทั่วไปได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและสร้าง จิตส�ำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ภายในงานได้รับเกียรติจากท่านอดีตผู้ว่าการภาค 3360 อผภ.สุรศักดิ์ พฤกษิกานนท์ นายกพูนทิพย์ แอนเดอร์เซ่น อน.เมธา โสระธิวา ประธานบ�ำเพ็ญประโยชน์ สโมสรโรตารีเชียงใหม่ คุณสมศักดิ์ บุตรฉุย หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยที่ 3 (น�้ำตก แม่สา) ตลอดทั้งสมาชิกโรตารีในจังหวัดเชียงใหม่ และนักศึกษาไทย ตลอดจนนักศึกษาแลกเปลี่ยนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กว่า 100 ชีวิต ได้ร่วมใจกันปลูกกล้าไม้กว่า 400 ต้น ท่ามกลางสายฝนที่ชุ่มฉ�่ำ นับเป็น บรรยากาศที่สนุกสนานกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้ช่วยกันดูแล และเพิ่ม พื้นที่สีเขียวให้กับป่าไม้ในประเทศไทยของเรา และยังส่งเสริมจิตส�ำนึก ในการฟื้นฟูผืนป่ากับเยาวชนอีกด้วย ซึง่ นอกจากกิจกรรมปลูกป่าเพือ่ แม่ของสโมสรโรตารีเชียงใหม่ แล้วนัน้ ยังมีโครงการปลูกป่าจากหลายสโมสรในภาค 3360 อีกมากมาย เช่น สโมสรโรตารีเชียงค�ำ สโมสรโรตารีเวียงโกศัย อีกทั้งสโมสรในภาค 3360 ยังมีกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามมาเรื่อยๆ อาทิ เช่น โครงการปล่อยปลามหากุศล โครงการท�ำฝายเก็บกักน�้ำ อีกด้วย
D.3360 Interview บทสัมภาษณ์
มาร่วมมือกัน..เปลี่ยนแปลง ภาพลักษณ์โรตารี Together W E T R A N S FO R M Public Image
สิน้ สุดกันไปแล้วกับงานสัมมนามูลนิธสิ มาชิกภาพและภาพลักษณ์โรตารี ภาค 3360 ปีบริหาร 2561-62 ในส่วนของภาพลักษณ์โรตารีก็เป็นส่วนหนึ่งที่ น่าสนใจมากส�ำหรับปีนี้ เพราะ นอกจากการเปลีย่ นชือ่ จากประชาสัมพันธ์ไปเป็น ภาพลักษณ์โรตารีแล้ว ยังมีการเผยแพร่ภาพลักษณ์ใหม่ๆ ทีเ่ ป็นหนึง่ ในเกณฑ์ของ การผ่านประกาศเกียรติคณ ุ จากประธานโรตารีสากลในด้านภาพลักษณ์โรตารีอกี ด้วย นั้นก็คือการเผยแพร่ภาพลักษณ์โรตารีในรูปแบบของ people of action (คนท�ำจริง) เนื่องจากปัจจุบันนี้มุมมองของผู้คนทั่วไป ได้มองชาวโรแทเรียนเราใน หลายๆ ด้าน จากการสัมมนาที่ผ่านมา เราได้ค�ำถามที่น่าคิดจากสมาชิกในภาค 3360 ว่า ท�ำอย่างไรจะให้ผู้คนเลิกมองโรแทเรียนว่าเป็นกลุ่ม “คนรวย” ท�ำให้ ชุมชนเข้าถึงโรตารียาก ซึ่งเป็นค�ำถามที่น่าสนใจ และเชื่อมโยงกับ people of action ได้อย่างดี People of action จึงเป็นแคมเปญหนึ่ง ในการรณรงค์ให้โรแทเรียน ทุกท่านทุกสโมสร เผยแพร่ภาพกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ ที่องค์ประกอบของ ภาพเป็นโรแทเรียน ก�ำลังท�ำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ในโครงการนั้นๆ โดยอยู่ ภายใต้ชื่อในแคมเปญ 4 ประเภท ได้แก่ 1. CONNECT 2. INSPIRE 3. TRANSFORM 4. END POLIO แทนที่จะเป็นการยืนเรียงแถวถ่ายรูปพร้อมกับยิ้มให้กล้อง และแถมด้วย การชูนิ้วโป้งกดไลค์ แล้วเกิดค�ำถามขึ้นว่า ท�ำไมภาพเหล่านี้เรากดไลค์ให้ตัวเอง ทั้งสิ้น ท�ำไมไม่ให้สังคมกดไลค์ให้เราล่ะ ดังนั้น ภาพ people of action จะท�ำให้ เราเข้าถึงชุมชนได้มากขึ้น ท�ำให้คนมองเห็นสิ่งที่โรแทเรียนท�ำมาโดยตลอด ถึง เวลาที่เราจะร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์สู่สังคมแล้วครับในปีนี้ เพื่อสร้าง แรงบันดาลต่อสังคมต่อไป อน.นพ.ณัฏฐธนิน เศรษฐวนิชย์ ประธานคณะกรรมการภาพลักษณ์โรตารี ภาค 3360
40
กันยายน-ตุลาคม 2561
ผวภ.รุ่งรานี แสงศิริ ผู้ว่าการภาค 3360 โรตารีสากล และ นย.พญา ธาราวุฒิ นายกสโมสรโรตารีวังจันทน์ พร้อม ทัง้ สมาชิกสโมสรโรตารี 5 สโมสรในจังหวัดพิษณุโลก ร่วมงาน “เฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหามหาราชินี ปล่อย ปลามหากุศล”
สโมสรโรตารีเชียงใหม่ถิ่นไทยงาม สโมสรโรตารีเชียงใหม่ตะวันตก ภาค 3360 และ สโมสรโรตารีอันดามัน ภาค 3330 (สนับสนุนงบประมาณโดย รทร.สุขสันต์ ว่องสินไพบูลย์ 150,000 บาท) ท�ำโครงการตรวจวัดสายตาประกอบแว่นตา ให้กับสามเณรและนักเรียนคฤหัสถ์ ณ.วัดดอนจั่น
สโมสรโรตารีขาณุวรลักษบุรี ร่วมกันสโมสรโรตารีบางรักและมูลนิธิเซนต์โยเซฟ LDSC มอบมุ้งนาโน และรองเท้าให้ชาวบ้านในอ�ำเภอ ขาณุวรลักษบุรี จ�ำนวน 400 ราย พร้อมมอบห้องน�้ำให้โรงเรียนอนุบาลอุดมสามัคคี โดย โบสถ์ LDSC
Lake of Love โครงการแก้มลิงหนองโนนต่ายของโรตารี
“ในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ เราจะจัดให้มีการปลูก ต้นไม้และหญ้าแฝกในพื้นที่ โครงการ จึงขอเชิญชวน ทุกท่านร่วมงาน ‘วันดีๆ กับโรตารี ที่แก้มลิงหนองโนนต่าย’ ” อดีตประธานโรตารีสากล พิชัย รัตตกุล ประธานมูลนิธิภาคโรตารีไทย และ ประธานโครงการแก้มลิงหนองโนนต่ายของโรตารี 42
กันยายน-ตุลาคม 2561
หลังจากที่ได้มีการเปิดโครงการแก้มลิงหนองโนนต่ายของโรตารี ไปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2560 ผ่านมาแล้ว 10 เดือน โครงการขุดลอกแก้มลิง และโครงการปรับภูมิทัศน์ได้ด�ำเนินไปแล้วมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในการนี้ อดีตประธานโรตารีสากลพิชยั รัตตกุล ประธานโครงการได้ให้สมั ภาษณ์เกีย่ ว กับโครงการดังนี้
ไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย คือ อผภ.วิชัย มณีวัชรเกียรติ อน.นิวัต บุญยสิริวงษ์ (สโมสรโรตารีสกลนคร) รวมถึงสมาชิกสโมสรโรตารีสกลนครทุกคน และ อผภ.สุชาดา อิทธิจารุกุล ที่ได้ช่วยในเรื่องการหาทุนอย่างมาก นอกจากนี้ เรายังได้ดึงเอา อน.จรัล พัฒน์จร จากสโมสรโรตารีพังงา ผู้ซึ่งมีความรู้เป็น พิเศษในเรื่องต้นไม้เข้ามาช่วยในเรื่องของการปลูกและจัดวางต้นไม้เพราะ จะมีการสร้างสวนสาธารณะในพื้นที่ 12 ไร่ และยังมีเจ้าหน้าที่ของศูนย์ “ทีต่ งั้ ใจไว้ตอนนัน้ ไม่คดิ ว่าจะเป็นโครงการใหญ่ขนาดนี้ คิดแต่จะ โรตารีฯ ทีท่ มุ่ เทเวลา ไม่เห็นแก่เหน็ดเหนือ่ ยมาช่วยประสานงานในเรือ่ งต่างๆ ท�ำแก้มลิงเพียงอย่างเดียว แต่ตอนนี้โครงการขยายใหญ่ขึ้น มีโครงการปรับ นอกจากนี้ ผมต้องขอขอบคุณโรแทเรียนทุกคนที่ช่วยกันบริจาคเงิน ไม่ว่าจะ ภูมิทัศน์ มีศาลา 9 เหลี่ยม อาคารผลิตน�้ำ ห้องน�้ำ ศาลาท่าปลา และยังมีการ มากหรือน้อยก็ตามเพื่อโครงการนี้” ปรับระดับถนนให้สูงขึ้นเพื่อความสะดวกในการสัญจรของพี่น้องประชาชน มีไฟฟ้าเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งทั้งหมดนี้จะดึงดูดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาท่อง “ในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ เราจะจัดให้มีการปลูกต้นไม้และหญ้าแฝก เที่ยว เป็นโอกาสที่เราจะได้เผยแพร่โรตารีและชาวบ้านจะมีรายได้มากขึ้น” ในพื้ น ที่ โ ครงการ จึ ง ขอเชิ ญ ชวนทุ ก ท่ า นร่ ว มงาน ‘วั น ดี ๆ กั บ โรตารี ที่ ท่านพิชัยกล่าวต่อไปว่า “คาดไม่ถึงว่างานจะหนักและมีราย แก้มลิงหนองโนนต่าย’ นอกจากจะได้ร่วมกันปลูกหญ้าแฝกอันเป็นการ ละเอียดมากมายขนาดนี้ ถ้าไม่มีทีมงานที่เข้มแข็ง โครงการก็คงจะเผชิญกับ สื บ สานโครงการตามแนวพระราชด� ำ ริ ฯ แล้ ว จะมี ก ารปลู ก ต้ น ไม้ แ ละ ปัญหาหนักหน่วงกว่านี้มากมาย เพราะต้องมีการประสานงานกับภาครัฐทั้ง กิจกรรมอื่นๆ เพื่อชุมชน รวมทั้งตลาดนัดชุมชนอีกด้วย ขอให้มาร่วมกันท�ำ ในระดับกรม จังหวัด อ�ำเภอ อบต. และหมู่บ้าน ไหนจะต้องเผชิญกับน�้ำท่วม กิจกรรม Hands-on Service อันเป็นสิ่งที่โรแทเรียนพึงกระท�ำกันให้มากๆ” บริเวณรอบโครงการ รถไม่สามารถเข้าถึงโครงการได้เป็นเวลาถึง 2 เดือน ท่านประธานโครงการเชิญชวนและแสดงความหวังว่าจะมีโรแทเรียน ตอนนี้ (ตุลาคม) น�้ำแห้งแล้ว ผู้รับเหมาเริ่มกลับมาท�ำงานได้ตามปกติทั้งการ จากทั่วประเทศไปร่วมงานกันเป็นจ�ำนวนมาก ก่อสร้างและการขุดลอกแก้มลิง” “อย่างไรก็ตาม น่าดีใจที่ทางราชการได้ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง ผมอยากจะให้เครดิตกับคณะท�ำงาน บุคคล 3-4 คน ที่ท�ำงานอย่างเต็มที ่
Rotary Centre Thailand ศูนย์โรตารีในประเทศไทย
สารจากประธาน กษณ์ รัตนวิชช์ PRID.รศ.ดร.เสาวลั ศูนย์โรตารี ประธานศู นย์ในประเทศไทย โรตารีในประเทศไทย
มวลมิตรโรแทเรียนที่รัก แม้วันเวลาจะผ่านไปรวดเร็วสักเพียงใด แต่พวก เราก็ยังคงมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ของเราในฐานะโรแทเรียนท�ำ ประโยชน์แก่สังคมและสาธารณชนต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในวั น ที่ 13 ตุ ล าคม ที่ พ วกเรายั ง คง ร� ำ ลึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ของพระบาทสมเด็ จ พระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร องค์อุปถัมภ์ โรตารีในประเทศไทยอย่างมิรู้ลืม แรงบันดาลใจจากพระ มหากรุณาธิคุณนั้น ท�ำให้เรายิ่งคิดมุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติภารกิจ ของเราเพื่อมวลชนต่อไป โดยเฉพาะกิจกรรมในโครงการ แก้มลิงหนองโนนต่าย ซึ่งเป็นงานของโรแทเรียนทุกภาค ในประเทศไทยร่วมใจกัน น�ำโดยอดีตประธานโรตารีสากล พิชัย รัตตกุล เพื่อร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุด มิได้ครั้งนี้ จึงขอเชิญชวนมวลมิตรโรแทเรียนทั้งหลายทุก สโมสรร่วมใจกันปลูกต้นไม้และหญ้าแฝกบริเวณโครงการ แก้มลิงหนองโนนต่าย จ.สกลนคร ในวันที่ 15 ธันวาคม 2561 โครงการนี้นอกจากจะช่วยเกษตรกรทั้งหลายได้ อย่างมากมายแล้ว ยังจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามอีก แห่งหนึ่งได้ใน จ.สกลนคร พร้อมทั้งเป็นศูนย์รวมแห่งการ
ร�ำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ที่ เคารพรักเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของพสกนิกรโดยทั่วไปอีกด้วย พระองค์ คือแรงบันดาลใจแก่พวกเราในการสร้างสรรค์ความดีแก่ทุกคนทั้งในชุมชนและ ทั่วโลก นอกจากโครงการแก้มลิงหนองโนนต่ายแล้ว ขณะนี้ ศูนย์โรตารีฯ ก�ำลังรวบรวมยอดบริจาคของมวลมิตรโรแทเรียนทั่วประเทศทุกภาคในการ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติสึนามิในประเทศอินโดนีเซีย น�้ำใจของพวกเรา ยิ่งใหญ่และมีคุณค่ามาก ไม่ส�ำคัญว่าจะจ�ำนวนเท่าใด เท่าที่เราสามารถท�ำได้ ร่วมกันนับเป็นกุศลอันประเสริฐยิ่งแล้ว ขอเชิญชวนมวลมิตรโรแทเรียนร่วม กันบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในประเทศอินโดนีเซียดังกล่าวภายในสิ้น เดือนตุลาคม เงินช่วยเหลือจะส่งตรงไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบของโรตารี สากลของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งจะท�ำหน้าที่ด�ำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในพื้นที่ต่อไป ขอให้บุญกุศลทั้งหลายที่มวลมิตรโรแทเรียนร่วมกันปฏิบัติหรือ บริจาคแก่มวลชนทั้งหลาย จงสนองตอบให้ท่านประสบความสุขความเจริญ ด้วยจตุรพิธพรชัยตลอดไป
ด้วยไมตรีจิตแห่งโรตารี
(PRID.รศ.ดร.เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์) ประธานศูนย์โรตารีในประเทศไทย
ตัวเลขโรตารี ข้อมูล www.rotary.org ณ วันที่ 31 ต.ค. 61 (ในวงเล็บข้อมูล ณ วันที่ 1 ก.ค. 61) 3330 3340 3350 3360 ภาค สมาชิก สโมสร
2,440 (2,323) 101 (99) 44
1,539 (1,472) 67 (67)
กันยายน-ตุลาคม 2561
2,935 (2,796) 112 (110)
1,410 (1,348) 68 (68)
รวม
8,324 (7,939) 348 (344)
มาร่วมมือกัน
สร้างแรงบันดาลใจ สโมสรโรตารีพนัสนิคม ท�ำโครงการด้านอาชีพ โดยมอบเครื่องตัดผมและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ให้แก่นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เพื่อสนับสนุนโครงการ “พี่ตัดผมให้น้องฟรี” อันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ปกครอง และส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกอาชีพไปในตัว โอกาสนี้ยังได้บริการตัดผมให้แก่เด็กๆ ของโรงเรียนด้วยความตั้งใจอีกด้วย