หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน พฤษภาคม 2558

Page 1






“...ความสามัคคีนี้ หมายถึงว่ามีสงิ่ ใดทีอ่ าจขัดแย้งซึง่ กันและกันบ้าง ก็ต้องปรองดองกันเสีย และหาทางออกโดยที่ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน เพราะความสามัคคีเป็นกำ�ลังอย่างสูงสุดของหมู่ชน...”

พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่กลุ่มชาวไร่หมู่บ้านตัวอย่าง โครงการไทย - อิสราเอล จังหวัดเพชรบุรี วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๑๓


บทอาเศียรพาทฉัตรมงคล ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ห้าพฤษภาคมอุดมสวัสดิ์ ฉัตรมงคลดลใจให้เบิกบาน บรมราชจักรีวงศ์พงษ์ไพศาล ตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ทวีดล สมเด็จพระนวมินทร์ปิ่นกษัตริย์ ด้วยพระคุณอเนกอนันต์เกินพรรณนา พระเกียรติคุณก้องไกลไปทั่วหล้า พระราชวังกังวาลตระการพงษ์ ทุกโครงการในพระองค์ดำ�รงจรัส เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีวัน พระปรีชาเรื่องน้ำ�สุดล้ำ�เลิศ ทั้งฝนหลวงห่วงใยไทยนิยม กตัญญูเป็นแบบอย่างอย่างล้ำ�เลิศ การเกษตรอินทรีย์ที่อุดม สมบรมราชโองการอันเลิศล้ำ� ต่างจารึกทั่วหน้าพระการุณย์ ฉัตรมงคลเวียนมาค่าไพศาล ฉัตรมงคลล้นค่าพาชื่นชม ขอคุณพระรัตนตรัยคุณไพศาล ทวยเทพทั่วสากลผลอมร

วันฉัตรมงคลผลไพศาล สุดสราญทั่วหน้าค่าอำ�พน สุดตระการด้วยพระคุณบุญกุศล บังเกิดผลสุขสวัสดิ์วัฒนา เจิดจรัสด้วยพระคุณบุญล้ำ�ค่า สมคุณค่ามหาราชชาติมั่นคง สมสง่าจอมกษัตริย์ฉัตรประสงค์ เกียรติดำ�รงวงศ์จักรีทวีวรรณ ทั่วไทยรัฐอิ่มบุญพูนสุขสันต์ ต่างสุขสันต์แก้มลิงสิ่งนิยม ต่างทูนเทิดพระคุณบุญเหมาะสม กราบบังคมน้อมบูชาสาธุคุณ สุดประเสริฐชัยพัฒนาสง่าสม อย่างเหมาะสมการดนตรีทวีคุณ จะปกครองโดยธรรมนำ�สู่สุนทร์ นับเป็นบุญของไทยใหญ่อุดม ต่างเบิกบานชีวิตประสิทธิ์สม ให้สืบสมสง่าคุณที่สุนทร อภิบาลบพิตรอดิศร ถวายพรขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้จัดทำ�หนังสือข่าวทหารอากาศ (น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์ถวาย)


พชร

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช ได้มพี ระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธบี รมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พสกนิกรชาวไทยจึงได้ถือเอาวันที่ ๕ พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันฉัตรมงคล เพื่อน้อมรำ�ลึกถึงวันสำ�คัญนี้ วันฉัตรมงคล เป็นวันที่รำ�ลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี และราชอาณาจักรไทย ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช ได้เสด็จขึน้ เถลิงถวัลยราชสมบัติ ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั อานันทมหิดล เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ และดำ�รงพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” รัฐบาลไทยและพสกนิกร จึงได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม จัดงานพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร หรือรัฐพิธี ฉัตรมงคล หรืออาจเรียกว่าพระราชพิธีฉัตรมงคล ซึ่งกระทำ�ในวันบรมราชาภิเษก ถวายเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ซึง่ ก่อนหน้ารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช พระราชพิธฉี ตั รมงคล ถือเป็นพิธี ของเจ้าพนักงานในพระราชฐาน ที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภช สังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในเดือนหก และเป็นงานส่วนตัว ไม่ถือเป็นงานหลวง


ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงกระทำ�พิธีฉัตรมงคลขึ้น เป็นครัง้ แรก ในวันบรมราชาภิเษก เมือ่ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๙๓ โดยมีพระราชดำ�ริวา่ วันบรมราชาภิเษก เป็นมหามงคลสมัยที่ควรแก่การเฉลิมฉลองในประเทศที่มีพระเจ้าแผ่นดิน จึงถือให้วันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล และควรที่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ แต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่ ยากต่อการเข้าใจ อีกทัง้ เผอิญทีว่ นั บรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครือ่ งราชูปโภคทีม่ แี ต่เดิม พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั จึงทรงอธิบายว่า วันฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครือ่ งราชูปโภค จึงได้มพี ระราชดำ�ริจดั งาน พระราชกุศลพระราชทานชื่อว่า “ฉัตรมงคล” นี้ขึ้น


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวภูมพิ ลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันมีคณ ุ อนันต์ แก่ปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ และมีการเฉลิมฉลองด้วยการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ ในวัน ขึน้ ๑๓ ค่�ำ เดือน ๖ รุง่ ขึน้ มีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ทพี่ ระทีน่ งั่ ดุสติ มหาปราสาท และพระทีน่ งั่ ไพศาลทักษิณ ด้วยเหตุนจี้ งึ ถือว่าการเฉลิมฉลองพระราชพิธฉี ตั รมงคล เริม่ มีในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เป็นครั้งแรก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน ๑๒ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคล ในเดือน ๑๒ แต่ไม่ได้รบั การยินยอม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติ ว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำ�หรับตระกูลขึน้ ให้มพี ระราชทานตรานีต้ รงกับวันคล้ายวันบรมราชาภิเษก จึงได้รบั การ ยินยอมให้เลื่อนงานวันฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูปโภค อยู่ตามเดิม ตั้งแต่บัดนั้นจึงได้มีพระราชดำ�ริจัดงานพระราชกุศลพระราชทานชื่อว่า “วันฉัตรมงคล” และเมื่อ วันฉัตรมงคลเวียนมาบรรจบครบรอบอีกหนึ่งคราในวันที่ ๕ พฤษภาคม พสกนิกรชาวไทยพร้อมใจทำ�กิจกรรม เพื่อน้อมรำ�ลึกถึงวันสำ�คัญนี้ อาทิ ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ, ร่วมทำ�บุญตักบาตร ประกอบพิธีทางศาสนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยพร้อมเพรียงกัน กล่าวคำ�ถวายอาศิรวาทราชสดุดี ถวายชัยมงคลให้ทรงพระเกษมสำ�ราญทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน เป็น มหามิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทยไปชั่วกาลยิ่งยืนนาน 

แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.ppb.moi.go.th/5may/5may.htm


ข่าวทหารอากาศ คณะผู้จัดทำ�หนังสือข่าวทหารอากาศ เจ้าของ

กองทัพอากาศ

ที่ปรึกษา

พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร พล.อ.ต.หญิง มาลี ดิษฐบรรจง

พล.อ.ท.ประพัตรา ตัณฑ์ไพโรจน์ พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.ต.ฉัตรชัย บุญญานุรักษ์ พล.อ.ต.ณัฐพงษ์ วิริยะคุปต์ น.อ.ไววิทย์ เสือดี น.อ.ศุภโชติ ชัยวงษ์ น.อ.กานต์ชนก หันหาบุญ น.อ.วันชัย บุญภักดี

พล.อ.ต.ธนบดี อุตะมะ พล.อ.ต.คุณทร มณีเขียว น.อ.ขวัญกล้า นกเอี้ยงทอง น.อ.วันชัย พึ่งเจียม น.อ.หญิง สุคนธ์ทิพย์ วัฒนามระ น.อ.นพนันทพงศ์ พิชิตชโลธร

ผู้อำ�นวยการ

พล.อ.ท.ฌเณศ ชลิตภิรัติ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

รองผู้อำ�นวยการ

พล.อ.ต.กัลชาญ หอมไกรลาศ เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ น.อ.สำ�เริง พูลเพิ่ม รองเสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ผู้จัดการ น.อ.สหัสชัย มาระเนตร ผู้ช่วยผู้จัดการ น.อ.หญิง กาญจณา แตงฉ่ำ� กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ พล.อ.ท.ฌเณศ ชลิตภิรัติ ผู้ช่วยบรรณาธิการ น.อ.หญิง นภิศพร สังข์ทอง น.ท.ชาญยุทธ รัตนสาลี ประจำ�กองบรรณาธิการ น.อ.หญิง วรรณิภา ยี่ประชา น.อ.นิพนธ์ ก่อสินค้า น.ท.หญิง อนงค์นาถ บุญจฑิตย์ น.ท.สินธพ ประดับญาติ น.ท.หญิง ยุพเรศ วงศ์มีศักดิ์ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์ กองจัดการ น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง ร.อ.สุวัฒน์ ประชากูล ร.อ.หญิง สุมาลี สายะนันท์ ร.ต.ชัดชัย ชาวดร พ.อ.อ.หญิง เฉลา แก้วยศ นาง พรทิพย์ ศรีวรพงษ์ นาง อมรา หัตถมาศ

หนังสือข่าวทหารอากาศ ความเป็นมา

หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของกองทัพ อากาศ เริ่มดำ�เนินการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึ้นกับกรมข่าวทหารอากาศ มีนาวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็นบรรณาธิการคนแรก ดำ�เนินการ โดยทุนของข้าราชการทหารอากาศ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการ มาอยู่ในความอำ�นวยการของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ตามคำ�สั่ง ทอ. (เฉพาะ)ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ กำ�กับดูแลโดยคณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพ อากาศ ตามอนุมัติ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๘ ธ.ค.๕๒ กำ�หนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพ อากาศ ว่าด้วยการบริหารวารสารและสือ่ สิง่ พิมพ์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒

ภารกิจ

ดำ�เนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เป็นไปตามนโยบายของ คณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสือ่ สิง่ พิมพ์กองทัพอากาศ มีผอู้ �ำ นวยการ หนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.ยศ.ทอ.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่วๆ ไป ๒. เพือ่ แลกเปลีย่ นแสดงความคิดเห็นในด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อันจะ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการกองทัพอากาศ

การดำ�เนินงาน

๑. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น ที่เป็น ประโยชน์ในการพัฒนากองทัพและส่วนรวม ๒. เรื่องที่นำ�ลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์/นโยบาย กองทัพอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะกรรมการ พิจารณาเรื่องของสำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ

กำ�หนดการเผยแพร่

นิตยสารรายเดือน

สำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ ห้อง ๑๐๑ อาคารหอสมุดกองทัพอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กทม. ๑๐๒๑๐ โทร. ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑, ๐-๒๕๓๔-๔๒๔๑ Fax. ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑

พิมพ์ที่ บริษัท ปรีชาธร อินเตอร์พริ้น จำ�กัด ๔/๕ ซอย รามอินทรา ๔๒ แยก ๘ แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม. ๑๐๒๓๐ โทร. ๐๒-๙๓๐-๗๐๕๓-๔ แฟกซ์ ๐๒-๙๓๐๗๐๕๐ ค่าสมาชิกภายนอกปีละ ๓๕๐ บาท (รวมค่าส่ง) สั่งจ่าย ปณ.คลองถนน ๑๐๒๒๒ ความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด

ออกแบบปก : น.ท.สินธพ ประดับญาติ / พ.อ.อ.อุดมศักดิ์ รุ่งแสง

http://www.rtaf.mi.th หรือ E-mail : rtafmag@gmail.com


ปีที่ ๗๕ ฉบับที่ ๕ เดือน พฤษภาคม ๒๕๕๘

สารบัญ ๓๙

๑๔ ๑๕ ๑๘ ๑๙ ๒๕ ๒๙ ๓๓ ๓๖ ๓๙ ๔๔ ๕๑

บทบรรณาธิการ วันพืชมงคล ...น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประโยชน์สุขของแผ่นดิน : น้ำ�ก่ำ�...ภาพร่างตัวยึกยือ ...ตามรอย ภาพเก่าเล่าเรื่อง ...ฒ.ผู้เฒ่า เมื่อไปรับศพนักบินบนยอดเขากระช่อง จังหวัดตรัง ตอนปลายสงครามมหาเอเชียบูรพา ...พล.อ.ท.ศรีศักดิ์ สุจริตธรรม บทบาทด้านการรักษาความปลอดภัยของ ทอ. ในสถานการณ์ปัจุบัน ...น.อ.ประจง ศรีสุข โรงเรียนนายเรืออากาศ ก้าวสู่ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ในปีที่ ๖๒ ...ปชส.รร.นนก. ก้าวใหม่ของการส่งกำ�ลังบำ�รุงของกองทัพอากาศ กับแนวคิด LCC ...กบ.ทอ. การพัฒนาศักยภาพด้านการแพทย์ทหารอากาศ ให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับประเทศและ ภูมิภาคอาเซียน ...พล.อ.อ.สุรศักดิ์ โปร่งจันทึก MICA มิสไซล์เมืองน้ำ�หอม ...น.ต.วัชรพงษ์ กลีบม่วง งูในรังพญาอินทรี ...น.อ.วัชระ สกุลรัตน์ ยุทธศาสตร์ความมั่นคงใหม่ ...พล.อ.ท.ปรีชา ประดับมุข

๕๑

๕๕ ภูมิทัศน์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของ อาเซียน ...สทป. ๕๙ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ของ ทอ. สำ�หรับสงครามยุคใหม่ ...ทสส.ทอ. ๖๓ ภาษาไทยด้วยใจรัก : ตอบคำ�ถามที่ถามบ่อย ...นวีร์ ๖๕ ครูภาษาพาที : I'm not Old but Retro ...sOrA ๖๙ เวลาการ์ตูน ...มิสกรีน ๗๑ รอบรู้อาเซียน : ASIA TROTTING ตะลอน เอเชียกับอาจารย์เฮนรี่ ...เฮนรี่ อิกนาทีส อารูจา ๗๓ แนวโน้ม ICT 2015 ...น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ ๗๙ พลร่มกองทัพอากาศ พลานุภาพ แห่งอากาศโยธิน ...พ.อ.อ.จักราพิชญ์ อัตโน ๘๓ CROSSWORD ...อ.วารุณี ๘๖ มุมสุขภาพ : ดื่มกาแฟแล้วงีบหลับได้ผลดีกว่า ...นายห่วงใย ๘๗ ขอบฟ้าคุณธรรม ...1261 ๙๑ ในรั้วสีเทา

ขออภัยแก้ไขข้อความ : ผู้เขียนเรื่องในหนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับประจำ�เดือน เมษายน ๒๕๕๘ หน้าสารบัญ และ หน้า ๕๘ บทความเรือ่ ง มุมมองนภานุภาพในมิติ ๒๐๑๕ ทีถ่ กู ต้องเป็น “กรมยุทธการทหารอากาศ”


บทบรรณาธิการ

สวัสดีครับ สมาชิกหนังสือข่าวทหารอากาศทุกท่าน

เดือนพฤษภาคม มีวันสำ�คัญหลายวันด้วยกัน อาทิ วันที่ ๕ พฤษภาคม “วันฉัตรมงคล” เป็นวันคล้าย วันบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งพระองค์ทรงเป็นนักพัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงงานหนัก เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามโดยแท้ พระองค์ทรง สืบสานวัฒนธรรมประเพณีของไทยแต่โบราณ จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งประเพณีที่สำ�คัญต่าง ๆ ยังคงอยู่ด้วยความเลื่อมใส และศรัทธายิ่งของปวงชนชาวไทยและที่ควรรำ�ลึกถึงอีกเช่นกัน คือ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม เป็นวัน พืชมงคล หรือ วัน เกษตรกร ที่เรียกกันทั่วไปว่าวัน แรกนาขวัญ ที่มีการจัดพิธีการสืบมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์... รัชกาลที่ ๑, ๒ และ ๓ มีแต่พิธีพราหมณ์ เรียกว่า จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กระทั่ง รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้น เรียกว่า พืชมงคล และเรียกชื่อรวมว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จนถึงทุกวันนี้ ภาพจากปก MICA มิสไซล์เมืองน้�ำ หอม เป็นอาวุธนำ�วิถอี ากาศสูอ่ ากาศทีม่ คี วามทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง ซึง่ ฝรัง่ เศสออกแบบมาเพือ่ ใช้กบั เครือ่ งบินรบ ๒ รุน่ คือ Rafale และ Mirage 2000-5 เป็นอาวุธทีม่ คี วามอเนกประสงค์ ทั้งรุกและรับ นำ�วิถีทั้งระยะใกล้และระยะพ้นสายตา ความเด่นอีกอย่างคือ สามารถเปลี่ยนบทบาทเป็นอาวุธนำ�วิถี จากพืน้ สูอ่ ากาศได้ดว้ ย สามารถตรวจจับข้าศึกจากด้านหลังได้ และประเทศในกลุม่ อาเซียนมีการสัง่ ซือ้ เข้าประจำ�การ ในกองทัพเรือแล้ว ได้แก่ มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง แต่ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างก้าวกระโดด ความรุนแรงไม่ได้ช่วยให้เกิดสันติภาพอย่างแท้จริง ดังนั้น...บทความที่จะสานสัมพันธ์กับ มิตรประเทศให้เกิดสันติภาพที่จะให้ผู้อ่านติดตามคือ ยุทธศาสตร์ความมั่นคงใหม่ ที่ญี่ปุ่นได้กำ�หนดบทบาทตัวเอง ในเชิงรุกของกองทัพ โดยใช้วิธีการทางการทูตและสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ และในช่วง ค.ศ.๒๐๑๔ - ๒๐๑๙ น่าจะ เห็นเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ยังมีบทความที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้คือ... ICT 2015 เป็นวิวัฒนาการที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต เพื่อตอบสนองความต้องการด้าน ICT ที่สามารถทำ�งานได้อย่างอัตโนมัติ เกิดความอัจฉริยะแทนมนุษย์ได้อย่างเป็น รูปธรรมยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันก็สร้างงานใหม่ ๆ ขึ้นมาทดแทน เพื่อรองรับ Digital Business ที่กำ�ลังจะเกิดขึ้น ในอนาคตอันใกล้นี้ ขอเชิญผู้อ่านติดตามบทความที่น่าสนใจในฉบับอีกมากมาย ที่มีสาระ ความรู้ ตามอัธยาศัย ... บรรณาธิการ 


วันพืชมงคล วันพืชมงคลเวียนมาพาสุขสันต์ วันแรกนาค่าอนันต์วรรณทวี ทรงยกย่องชาวนามาแต่ต้น เกษตรกรทุกประเภททั่วเขตคาม พระเสด็จแรกนาพาสุขสันต์ ฤดูฝนน้ำ�มาพาจำ�รูญ บ่งชี้ชัดคุณชาติศาสน์กษัตริย์ ในน้ำ�ก็มีปลาสถาพร ยกเอาพืชเป็นหลักประจักษ์ชัด ข้าวเป็นพืชมงคลกุศลนาม ข้าวมีคุณหนักหนาสารพัด ได้กินข้าวได้ชีวิตประสิทธา จึงควรเห็นคุณค่ามหาศาล อธิษฐานค่ำ�เช้าเท่าชีว ี แม้พุทธองค์ตรัสรู้สู่พุทธะ ข้าวทั้งนั้นพลันช่วยให้อวยชัย พืชมงคลมั่นคงจงสดใส ขอไตรรัตน์คุ้มไทยให้ไพบูลย์

วันสำ�คัญเกษตรกรพรราศี เสริมราศีขวัญชาติพิลาสงาม เกียรติอำ�พนชาวไร่ในสยาม คุณงดงามช่วยไทยให้ไพบูลย์ คุณผูกพันทั่วไทยไม่เสื่อมสูญ ช่วยเพิ่มพูนขวัญชาติราษฎร แจ่มจรัสทั่วไทยมิถ่ายถอน ในน้ำ�ก็สมพรมีข้าวงาม คุณสมบัติคือข้าวชาวสยาม ไทยงดงามเพราะข้าวดีมีราคา มนุษย์สัตว์ทั่วไปได้หรรษา ขาดข้าวปลาชีพสิ้นทั้งอินทรีย์ ก่อนจะทานระลึกคุณพูนราศี ทำ�ความดีตอบแทนไม่แค้นใจ ด้วยข้าวมธุปายาสศาสน์สดใส ทุกวันได้ข้าวใส่บาตรไม่ขาดบุญ อำ�นวยชัยสมบัติไม่ขาดสูญ เลิศจำ�รูญสุขสวัสดิ์พิพัฒน์เทอญ

คณะผู้จัดทำ�หนังสือข่าวทหารอากาศ (น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์)


ประโยชน์สุขของแผ่นดิน

น้ำ�ก่ำ�...ภาพร่างตัวยึกยือ

ตามรอย

“...ถ้าสร้างอาคารบังคับน้ำ�ในลำ�น้ำ�ก่ำ�ตอนล่างนี้ได้แล้ว จะช่วยพื้นที่บริเวณริมน้ำ�โขงนี้ได้อย่างมาก...”

พระราชดำ�รัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

แต่ไหนแต่ไรมา ชีวิตของคนนครพนมต่างก็ผูกพันกับแม่น้ำ�โขงแม่น้ำ�สายนี้ แต่ในอดีตใคร ๆ ต่างบอกว่า เส้นเลือดสายหลักของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำ�ลังเข้าขั้นวิกฤต จากระดับน้ำ�ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ ในปัจจุบันผู้คนในแถบลำ�น้ำ�นี้ ยังคงเก็บเกี่ยวความอุดมสมบูรณ์จากไร่นาของพวกเขาได้อย่างวางใจ เพราะ เส้นเลือดที่กลับมาหล่อเลี้ยงวิถีเกษตรกรรมอีกครั้งในวันนี้ คือ ลำ�น้ำ�สายยาวจากหนองหานของสกลนคร ทอดผ่านพื้นที่อำ�เภอต่าง ๆ ของนครพนม ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำ�โขงที่อำ�เภอธาตุพนม มีชื่อว่า “ลำ�น้ำ�ก่ำ�” เพิ่งจะ ๑๐ กว่าปีมานี่เอง ที่คนกับน้ำ�จับมืออยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล แต่ก่อนหน้านั้นในสงครามระหว่างน้ำ�กับ มนุษย์ ดูเหมือนว่ามนุษย์จะไม่อาจเอาชนะได้เลย โครงการลุม่ น้�ำ ก่�ำ อันเนือ่ งมาจากพระราชดำ�ริ เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๓๕ ราษฎรในสกลนคร กราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรง แก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ�แล้ง น้ำ�ท่วม พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ มาดูพื้นที่ด้วยพระองค์เอง ทอดพระเนตรโดยเฮลิคอปเตอร์ โครงการนี้เกิดขึ้น กลางท้องฟ้า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับบนเครื่องบินพระที่นั่ง และทรงร่างภาพ โครงการทีท่ รงเรียกว่า “ตัวยึกยือ” บนเศษกระดาษ ก่อนจะพระราชทานให้ไว้เป็นแนวทางการพัฒนา โครงการ หน้าตาของตัวยึกยือภาพร่างฝีพระหัตถ์แสนจะเรียบง่าย แต่สะท้อนให้เห็นว่าพระองค์ทรงงาน เพื่อพวกเราตลอดเวลาจริง ๆ ... ไม่ว่าบนโต๊ะทรงงาน... บนพื้นดิน ... หรือว่าบนฟ้า


ภาพร่างฝีพระหัตถ์ “ตัวยึกยือ” ตัวยึกยือทีเ่ ห็นในรูปก็จะเป็นลักษณะทางกายภาพของลำ�น้�ำ ก่�ำ จะเห็นบริเวณหัวกลม ๆ นัน้ ก็คอื บริเวณ หนองหาน ตัวยึกยือ คือ ตัวลำ�น้ำ�ก่ำ�ที่ตามลักษณะทางกายภาพคดเคี้ยวไปมา และที่ลักษณะเป็นปล้อง ๆ ตามตัวยึกยืออันนั้นก็เป็นอาคารทดน้ำ�ที่เหมาะสม เพื่อยกระดับน้ำ�ให้สูงเป็นระยะ ๆ ในลำ�น้ำ�ก่ำ�ตลอดความยาว ๑๒๓ กิโลเมตร แล้วยังมีเส้นทีอ่ อกไปด้านข้าง ๒ ข้างสร้างคลองส่งน้�ำ ชักน้�ำ จากลำ�น้�ำ ก่�ำ เข้าไปสูพ่ นื้ ทีก่ ารเกษตร

จากภาพร่างตัวยึกยือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้นแบบของประตูระบายน้ำ� ๗ แห่ง สถานีสูบน้ำ� ๒๔ แห่ง และหนองบึงขนาดใหญ่ที่พัฒนาแล้วอีก ๑๕ แห่ง ทำ�หน้าที่เป็นกลไกของระบบการจัดการน้ำ� อันสมดุล ถึงวันนี้สามารถช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้มากกว่า ๕๐,๐๐๐ ไร่ การบรรเทาปัญหาน้ำ�ท่วม


หนองหาน

สถานีสูบน้ำ�

บึงแต้ (แก้มลิง) น้ำ�ไหลเข้าแปลงนา

ประตูระบายน้ำ�

ในเมื่อรู้แล้วว่าน้ำ�มักจะท่วมในหน้าฝน ก็ปล่อยน้ำ�จากหนองหานออกไปตั้งแต่หน้าแล้ง เพื่อเตรียม รับน้ำ�ปริมาณมาก โดยมีหนองบึงที่พัฒนาเป็นแก้มลิงคอยช่วยอีกแรง น้ำ�ที่ปล่อยลงมาก็จะช่วยให้เกษตรกร ปลูกพืชฤดูแล้ง ไม่ได้ปล่อยลงแม่น�้ำ โขงไปเปล่า ๆ และความคดเคีย้ วลาดชันของลำ�น้�ำ ก่�ำ ทีท่ �ำ ให้น�้ำ ไหลลงแม่น�้ำ โขงอย่างรวดเร็วจนเกิดความแห้งแล้งนั้น ประตูระบายน้ำ�ก็จะทำ�หน้าที่กั้นน้ำ�ไว้เป็นช่วง ๆ ตลอดลำ�น้ำ� ต่อให้ ฝนทิ้งช่วง หรือเป็นฤดูแล้ง ก็จะสามารถสูบน้ำ�จากลำ�น้ำ�ก่ำ�มาตามคลองส่งน้ำ�ได้ แถมยังมีการผันน้ำ�จากบริเวณ ปากน้ำ�ก่ำ�ติดแม่น้ำ�โขง ซึ่งมีน้ำ�ตลอดปี กลับเข้ามาเติมเพื่อช่วยในการเพาะปลูกอีกด้วย คนเมืองบางครั้งก็ลืมนึกไปว่า ข้าว ปลา พืชผัก ที่เลี้ยงพวกเราให้อิ่มท้องในแต่ละวันนั้นมาจากไหน อย่างนี้นี่เองที่พระองค์ทรงให้ความสำ�คัญกับพื้นที่ชนบทมาตลอด เพราะนี่คือฐานการผลิตอาหารสำ�หรับ คนทั้งประเทศ “น้ำ�” จากพระองค์ไม่เพียงหล่อเลี้ยงพืชผลให้งอกงามเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ชาวน้ำ�ก่ำ�ได้ทำ�กิน เลี้ยงชีพ และที่สุดผลผลิตเหล่านั้น ก็คือความอยู่รอดของพวกเราด้วย สงครามระหว่างน้ำ�กับมนุษย์ ในวันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็คือผู้ที่เข้ามาเป็นแม่ทัพนำ�ชาวบ้านสู้ แต่ไม่ได้สู้เพื่อเอาชนะ หรือเพื่ออยู่ เหนือธรรมชาติ เราสู้ด้วยการเรียนรู้ ทำ�ความเข้าใจความผันผวนของฤดูกาล และวางกลไกทางชลประทาน อย่างกลมกลืนคนน้ำ�ก่ำ�ในวันนี้ จึงเอาชนะความยากจน ด้วยการอยู่ร่วมกันกับ “น้ำ�”...อย่างพึ่งพิง 


ภาพเก่าเล่าเรื่อง

ฒ.ผู้เฒ่า

วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๕๘ นายพันโท พระเฉลิมอากาศ ได้ทดลองบินเครื่องบินเบรเกต์ ปีก ๒ ชั้น ที่สร้างขึ้นเองโดยใช้ วัสดุภายในประเทศ (ยกเว้นเครือ่ งยนต์) ในการนีเ้ ครือ่ งบินได้บนิ ไปมาในระยะสูงจากพืน้ ดิน ๑๐๐ เมตร และได้แสดงให้ปรากฏว่า เลีย้ วไปเลีย้ วมาได้อย่างคล่องแคล่วและใช้การได้เรียบร้อยดีจริง มีสมรรถนะเทียบเท่าเครื่องบินที่ซื้อจากต่างประเทศ เป็นอันว่า การประกอบสร้างลำ�ตัว ปีก หาง ทั้งใบพัดของเครื่องบิน ด้วย พันธุ์ไม้ต่าง ๆ ในประเทศไทย และด้วยฝีมือคนไทยได้บรรลุ ถึงผลสำ�เร็จอย่างเรียบร้อยและสมบูรณ์ สมดังปณิธานของ นายพันโท พระเฉลิมอากาศ ที่ว่า “เราต้องสร้างเครื่องบินของเรา ขึ้นใช้เองให้ได้” วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๖๑ จอมพล เจ้าพระยา บดินทรเดชานุชติ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้มปี ระกาศชมเชย เรื่องทำ�ใบพัดสำ�หรับเครื่องบิน ความว่า “ด้วยโรงงานในกองบินทหารบก ได้กระทำ�ใบพัด สำ�หรับเครื่องบินขึ้น ได้ทดลองประกอบกับเครื่องบินและขึ้นบินจริงแล้ว ใช้ได้ดีทีเดียว นับว่าเราสามารถ ทำ�ใบพัดได้เอง ใช้ของในพื้นเมืองทั้งสิ้น ทำ�ให้เป็นทางประหยัดพระราชทรัพย์ได้อย่างดีอีกส่วนหนึ่ง ที่โรงงานในกองบินทหารบกได้กระทำ�การเป็นผลสำ�เร็จดีเช่นนี้ ก็ด้วยอาศัยความมานะอุตสาหะ พยายามของ นายพันโท หลวงอาวุธสิขกิ ร ผูอ้ �ำ นวยการโรงงานนัน้ เพราะฉะนัน้ ขอประกาศแสดงความชมเชย เป็นพิเศษ” การทำ�ใบพัดเครื่องบินของกองบินทหารบก

ขอขอบคุณ : หนังสือ ๔ แผ่นดินราชวงศ์จักรี ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ


พล.อ.ท.ศรีศักดิ์ สุจริตธรรม ในตอนปลายของมหาสงคราม ครัง้ ที่ ๒ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รบั ชัยชนะอย่างเด็ดขาดในทวีปยุโรปสามารถ ปราบฝ่ายอักษะทั้งสองประเทศ คือ เยอรมันกับอิตาลีลงได้อย่างราบคาบ เหลือภาคีอักษะอีกประเทศเดียว คือ ญี่ปุ่น ซึ่งยังคงต่อสู้ ต่อต้านอย่างเหนียวแน่นอยู่ในทวีปเอเชีย ในสงครามมหาเอเชียบูรพา รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งต้องจำ�ยอมเข้าทำ�การร่วมรบกับประเทศญี่ปุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พันจ่าอากาศโท ชิด จำ�นงค์วงศ์ และพันจ่าอากาศตรี เฉลิมพร ยศพล สองนักบินหนุ่มจากฝูงบิน ตรวจการณ์ที่ ๕๓ กองบินน้อยที่ ๕ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่เดิม แล้วย้ายมาประจำ�ฝูงบินผสมประจำ�กองพล ทหารราบที่ ๕ นครศรีธรรมราช ได้นำ�เครื่องบินตรวจการณ์ ๒ ที่นั่ง ขึ้นบินตรวจการณ์ระหว่างสนามบินทุ่งชน นครศรีธรรมราช - สนามบินสมิหรา สงขลา - สนามบินไม้ขาว ภูเก็ต โดยมี พ.อ.ท.ชิด จำ�นงค์วงศ์ เป็นนักบิน และ พ.อ.ต.เฉลิมพร ยศพล (นักบิน) ทำ�หน้าที่ยิงปืนกลหลังตามคำ�สั่งผู้บังคับบัญชา เมื่อ ๑๑ ส.ค.๘๗ ขณะบิน เดินทางระหว่างสนามบินนครศรีธรรมราช - สนามบินสงขลา ได้ประสบกับอากาศวิปริต ฝนตกหนัก เมฆฝนดำ� หนาทึบ จนไม่สามารถบังคับเครื่องบินได้ เครื่องบินเสียอาการทรงตัว ควงสว่านลงชนยอดเขากระช่อง จังหวัดตรัง ทำ�ให้นักบินเสียชีวิตทั้งคู่ ในตอนแรกผู้บังคับฝูงบินผสมร่วมกับกองพลทหารราบที่ ๕ ได้ออกค้นหาเครื่องบิน เครือ่ งนีเ้ ป็นเวลาถึง ๕ เดือนเศษ ทัง้ ทางพืน้ ดินและทางอากาศ แต่กไ็ ม่พบวีแ่ ววของซากเครือ่ งบินและศพนักบิน ทั้งสองแต่ประการใด จึงได้หยุดการค้นหา ตราบจนเมื่อผู้เขียนไปรับหน้าที่ผู้บังคับฝูงบินผสมต่อจากเรืออากาศ เอก จำ�รัส ทัพอาภา เมื่อปลาย เม.ย.๘๘ จึงเริ่มการค้นหาอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ไม่พบเช่นเคย จนได้รับทราบข่าวการ ค้นพบซากเครือ่ งบินพร้อมศพนักบิน จึงเดินทางไปรับศพ ทัง้ ในฐานะผูบ้ งั คับบัญชาและผูค้ นุ้ เคยกับนักบินทัง้ สอง เป็นอย่างดี ด้วยตนเอง


๒๐ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

จะขอย้อนไปกล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีน - ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ กองทัพอากาศ ได้รับคำ�สั่งให้รับผิดชอบป้องกันอธิปไตยของชาติ ส่วนหนึ่งได้เคลื่อนกำ�ลังฝูงบินไปประจำ�ชายแดนตามภาคต่าง ๆ ที่จะต้องป้องกันการรุกล้ำ�ของศัตรู โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ครั้งนั้น จ่าอากาศโท ชิด จำ�นงค์วงศ์ นักบินหนุ่มชั้นประทวน สังกัดอยู่ในฝูงบินตรวจการณ์โจมตีที่ ๓๕ กองบินน้อยผสม จันทบุรี อันมี เรืออากาศเอก หม่อมหลวง ประวาศ ชุมสาย เป็นผู้บังคับกองบิน ได้มีโอกาสออกปฏิบัติการรบ ในสนามเป็นครั้งแรกอยู่ชั่วเวลาหนึ่ง เมื่อเสร็จศึกอินโดจีนในต้นปี พ.ศ.๒๔๘๔ ได้ย้ายจากกองบินโคกกะเทียม จังหวัดลพบุรีมาอยู่กองบินน้อยที่ ๕ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการบังคับบัญชาของ นาวาอากาศตรี หม่อมหลวง ประวาศ ชุมสาย ซึง่ ย้ายมาจากลพบุรเี ช่นกัน คราวนี้ พ.อ.ต.ชิด จำ�นงค์วงศ์ เข้าสังกัดฝูงบินตรวจการณ์ โจมตีที่ ๕๓ มี นาวาอากาศตรี ชาลี ศิลาพงษ์ เป็นผู้บังคับฝูงบิน เป็นเหตุให้ผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะและได้รู้จัก พันจ่าอากาศตรี ชิด จำ�นงค์วงศ์ ในฐานะลูกหมวดบินของผู้เขียนในฝูงบินเดียวกันเป็นครั้งแรก จึงมีโอกาสรู้จัก สนิทสนมกันมากพอสมควร ได้เคยมีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกันที่สนามบินสมิหรา จังหวัดสงขลา อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่กองทัพญี่ปุ่นจะบุกประเทศไทยใน ๘ ธ.ค.๘๔ ในกลางปี พ.ศ.๒๔๘๗ ผู้เขียนได้ย้ายไปเป็นผู้บังคับฝูงบินผสม ประจำ�กองพลทหารราบที่ ๕ ตั้งอยู่ที่สนามบินทุ่งชน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรับหน้าที่ต่อจากเรืออากาศเอก จำ�รัส ทัพอาภา (ตอนหลังเป็นนาวาอากาศโท ตำ�แหน่งผู้บังคับกองบินน้อยที่ ๕ เสียชีวิตแล้ว) ฝูงบินผสมนี้เป็น ฝูงบินเฉพาะกิจ มีเครื่องบินตรวจการณ์จากกองบินน้อยที่ ๕ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำ�นวน ๑ หมวดบิน กับกำ�ลัง เครื่องบินขับไล่ - โจมตีจากกองบินน้อยที่ ๒ จังหวัดลพบุรี อีก ๑ หมวดบิน ฝูงบินผสมเฉพาะกิจนี้ มีเครื่องบิน ตรวจการณ์ แบบ 23 Wrought Corsair จำ�นวน ๕ เครื่อง กับเครื่องบินขับไล่ - โจมตี แบบ 8 g ของญี่ปุ่นอีก ๕ เครื่อง มี เรืออากาศโท เสงี่ยม ชัยสิทธิ์ จากกองบิน ๒ โคกกะเทียม ลพบุรี เป็นรองผู้บังคับฝูงบินกองพล ทหารราบที่ ๕ มี พลโท เสนา ณรงค์ เป็นผู้บัญชาการกองพล พันเอก หลวงสวัสดิ์ กลยุทธ เป็นเสนาธิการ และ พันเอก หลวงอมร เสนีย์ เป็นรองผู้บัญชาการ และเป็นผู้บังคับการทหารปืนใหญ่ประจำ�กองพลอีกตำ�แหน่งหนึ่ง (กองพลทหารราบที่ ๕ นี้ คือ โครงสร้างหลักของกองทัพภาคที่ ๔ ในปัจจุบัน) ก่อนที่ผู้เขียนจะไปรับหน้าที่ผู้บังคับฝูงบินผสม นครศรีธรรมราช ประมาณ ๕ เดือนเศษ พ.อ.ท.ชิด จำ�นงค์วงศ์ นักบิน และ พ.อ.ต.เฉลิมพร ยศพล (นักบิน) ทำ�หน้าที่ยิงปืนกลหลัง ได้รับคำ�สั่งให้ทำ�การบิน ตรวจการณ์โดยใช้เครือ่ งบินตรวจการณ์ ๒ ทีน่ งั่ เดินทางจากสนามบินนครศรีธรรมราช-สงขลา-ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราช เมื่อ ๑๑ ส.ค.๘๗ และขาดการติดต่อ บินหายไประหว่างเส้นทางบิน นครศรีธรรมราช-สงขลา เข้าใจว่าคงจะประสบปัญหาอากาศเลวร้าย ซึง่ เกิดขึน้ เป็นประจำ� สำ�หรับลมฟ้าอากาศในภาคใต้ของประเทศไทย เพราะในวันนัน้ มีฝนตกหนักทัว่ บริเวณจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ของประเทศซึง่ ผูเ้ ขียนเคยประสบพบเห็นมากับตนเอง หลายครั้ง เช่นครั้งสำ�คัญที่บินเดินทางจากสนามบินภูเก็ตจะไปลงสนามบินนครศรีธรรมราช โดยมี จ.ท.จำ�เนียร ประทุมวงศ์ (นักบิน) เป็นปืนหลัง ก่อนออกเดินทางอากาศดีมาก ออกเดินทางมาได้ไม่ถึง ๒๐ นาที แทบไม่น่าเชื่อ เลยว่าจะต้องเผชิญกับอากาศเลวร้ายประกอบกับเป็นเครือ่ งบินขนาดเล็ก การบินด้วยเครือ่ งวัด ประกอบการบิน ฝ่าเมฆฝนหนาทึบไม่ได้ผล ทำ�ให้เครื่องบินเสียอาการทรงตัว ต้องแก้ไขด้วยการควบคุมสมาธิอย่างมั่นคงตั้งหลายครัง้


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๒๑

จนที่สุดบินหลุดออกมาจากเมฆฝนขนาดหนัก เมื่อบินตะแคงอยู่ทิศเหนือสนามบินสุราษฎร์ธานีเพียงเล็กน้อย เมื่ออากาศเปิด มองเห็นช่องทางผ่านยอดเขาเข้าสู่สนามบินนครศรีธรรมราช จึงตัดสินใจนำ�เครื่องบินมาลงสนามบิน นครศรีธรรมราชได้สำ�เร็จ นับเป็นการผจญภัยด้วยชีวิตครั้งหนึ่ง ที่จะต้องจดจำ�ไปอีกนานแสนนาน ในตอนแรก ๆ ที่ พ.อ.ท.ชิด จำ�นงค์วงศ์ และ พ.อ.ต.เฉลิมพร ยศพล บินตรวจการณ์ขาดการติดต่อหายไป ทางฝูงบินผสมร่วมกับกองพลทหารราบที่ ๕ นครศรีธรรมราช ได้ออกค้นหาทัง้ ทางพืน้ ดินและทางอากาศตลอดเส้นทาง นครศรีธรรมราช-สงขลา อย่างต่อเนื่อง กระชั้นชิด แต่เนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าเขา มีบริเวณกว้างมาก ประกอบกับ เครื่องบินสมัยนั้นไม่มีวิทยุสื่อสารแจ้งเหตุ ขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งจุดที่อยู่ของเครื่องบิน จึงเป็นการยากที่ จะค้นหาจุดที่เกิดเหตุได้ ได้แต่ภาวนาขอให้นักบินทั้งสองปลอดภัย ถึงแม้จะมีอุบัติเหตุ แต่ก็ยังเชื่อว่า ถ้านักบิน ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยก็ยังคงพอเอาตัวรอด เพราะได้รับการฝึกเดินป่า และการยังชีพในป่ามาแล้ว เป็นอย่างดี เป็นเวลากว่า ๑ เดือน การค้นหาก็ค่อย ๆ ลดลงตามความเนิ่นนานของเวลา ตราบจนเมื่อผู้เขียนย้ายมา รับหน้าที่ผู้บังคับฝูงบินผสม ต่อจาก ร.อ.จำ�รัส ทัพอาภา ดังกล่าวแล้ว จึงได้เริ่มทำ�การค้นหาอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ ไม่ประสบความสำ�เร็จอีกเช่นเคย จนจวนจะสิ้นหวังอยู่แล้ว ก็ได้รับทราบจากกองพลทหารราบที่ ๕ ว่ามีผู้พบ ซากเครื่องบินและศพนักบิน ๒ นาย ตกอยู่บนยอดเขากระช่อง จังหวัดตรัง ห่างจากน้ำ�ตกขึ้นไปประมาณ ๕๐ เมตร โดยพรานป่าออกล่าสัตว์ไปพบเข้าโดยบังเอิญ จึงได้รายงานขึน้ มาตามลำ�ดับจนถึงกองพล เมือ่ ผูเ้ ขียนได้รบั ทราบ ข่าว จึงได้รีบรายงานโดยละเอียดให้ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด คือ บน.๕ ทราบ ไม่ช้าก็ได้รับคำ�สั่งตอบมาว่า ให้ฝูงบินผสมไปรับศพ ตั้งสวดอภิธรรมไว้ ๗ วัน แล้วจัดการฌาปนกิจฝังศพไว้ชั่วคราวอย่างสมเกียรติ ที่จังหวัด นครศรีธรรมราช ต่อจากนั้นผู้เขียนจึงได้วางแผนการไปรับซากเครื่องบินและศพนักบินตามคำ�สั่งทันที ได้ติดต่อขอความช่วยเหลือไปทางกองพันทหารราบที่ ๔๔ ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดพัทลุง ใกล้กับที่เกิดเหตุ กองพันนี้ มี พันโท ขุนชัชวาลย์ ศิริยุทธ เป็นผู้บังคับกองพัน ขอกำ�ลังทหาร ๑ หมู่ จำ�นวน ๑๐ นาย มี สิบโท สมพงษ์ (จำ�นามสกุลไม่ได้) เป็นผู้บังคับหมู่ จำ�ได้แม่นยำ�เพราะมีหน้าตาคล้ายดาวตลก สมพงษ์ พงษ์มิตร ทำ�หน้าที่ผู้บังคับหมู่ กับมีนายทหารที่เลื่อนขึ้นมาจากชั้นประทวนยศร้อยตรี เป็นผู้ควบคุมมา กับได้ขอร้องไปทางกำ�นันตำ�บลเขากระช่อง ซึ่งมีบ้านพักอยู่เชิงเขาทางจะขึ้นไปสู่นำ้�ตกเขากระช่องให้จัดหาผู้นำ�ทางและพรานป่าไปพบซากเครื่องบินและ ศพนักบินรวม ๒ นาย สำ�หรับผู้เขียนได้คัดเลือกจ่าอากาศในฝูงบินผสมอีก ๔ นาย รวมจำ�นวนผู้ร่วมเดินทาง ทั้งหมด ๒๐ นาย ก่อนอื่นได้ศึกษาแผนที่เส้นทางเดินโดยละเอียด พบว่าจะต้องเดินทางขึ้นเขาอย่างยากลำ�บาก เป็นระยะทางอย่างน้อย ๖ - ๘ ชม.ใช้เวลาเกือบ ๑๐ ชั่วโมงจึงจะถึงที่หมาย จะต้องค้างคืนบนเขาอีก ๑ คืน จะต้อง เตรียมเสบียงอาหาร น้ำ�ดื่ม และเครื่องมือ เครื่องใช้ที่จำ�เป็นในการค้างนอนในป่า กำ�หนดออกเดินทางจาก จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ ๗ พ.ย.๘๗ ไปสมทบกับกำ�ลังทหารจาก พัน ร.ที่ ๔๔ และผู้พบศพ และผู้นำ�ทาง ที่บ้านเชิงเขากระช่อง ที่นี่เราจะต้องประชุมวางแผนการปฏิบัติและนอนค้างคืนที่บ้านกำ�นัน ๑ คืน เมื่อเดินทาง ไปถึงได้พบหน้ากับกำ�นันเป็นคนอายุประมาณ ๕๐ ปี ผิวคล้ำ� รูปร่างล่ำ�สัน สูงใหญ่ กิริยามารยาทเรียบร้อย เป็นคนสุขุมเยือกเย็น พูดจาตรงไปตรงมา เมื่อพบกับผู้เขียนซึ่งในตอนนั้นเป็นนายทหารหนุ่มอายุยังไม่ถึง ๓๐ ปี แกพูดตรง ๆ ด้วยความหวังดีว่า “ผู้ฝูงอย่าขึ้นไปดีกว่า เพราะเส้นทางยากลำ�บากมาก ผ่านหุบเหวภูเขาสูงชัน


๒๒ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

เต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้ายนานาชนิดโดยเฉพาะตัวทากที่จะคอยดูดกินเลือดมนุษย์ตลอดระยะทางทั้งไป และกลับ” แต่ผู้เขียนก็ยังยืนยันความตั้งใจเดิมที่จะเดินขึ้นไปบนเขาเพื่อตามหาซากเครื่องบินและศพนักบิน ทั้ง ๒ นาย ให้จงได้ตามคำ�สั่งผู้บังคับบัญชา คืนนั้นได้รับการบอกเล่าจากพรานป่าผู้พบศพเล่าให้ฟังว่า วันหนึ่ง ขณะที่เขาและเพื่อนอีกคนหนึ่งกำ�ลังนั่งพักกินอาหารกลางวันอยู่ที่ริมน้ำ�ตกบนเขากระช่อง แลเห็นหมีควายตัวใหญ่ เดินลงมาจากพุ่มไม้เหนือน้ำ�ตกขึ้นไปไม่มากนัก เพื่อจะลงมากินน้ำ�ในแอ่งจึงสะกิดเพื่อนให้เฝ้าดูสังเกตเห็นหมี คาบของสิง่ หนึง่ คล้ายกับหมวกแก็ปสีมอ ๆ ขาดกะรุง่ กะริง่ เพราะเป็นระยะใกล้มากจึงยังไม่ทนั ทำ�อะไร ได้แต่มอง ตามหมีเดินขึน้ ไปชัน้ บน ก็พบซากวัตถุขนาดใหญ่พอสมควรมีล�ำ ตัวและปีกคล้ายเครือ่ งบิน หมีตวั นัน้ เดินเข้าไปหา วัตถุชนิ้ นัน้ และใช้เท้าหน้าและปากดึงวัตถุเล็ก ๆ รูปร่างคล้ายคนอยูพ่ กั หนึง่ จึงเดินห่างออกไป พรานป่าเห็นดังนัน้ จึงชวนเพื่อนเดินตามขึ้นไปดู ก็เห็นถนัดตาว่ามีซากเครื่องบินเครื่องหนึ่งตกลงมาหัวปักดิน และปีกทั้งสอง ข้างหักพาดอยู่ระหว่างต้นไม้สูง หางชี้ขึ้นฟ้าขนานกับหมู่ต้นไม้ใหญ่ที่หักโค่น เครื่องบินเครื่องนั้น ทาสีพราง เพราะฉะนัน้ จึงมองกลมกลืนกับต้นไม้ใหญ่ทขี่ นึ้ อยูห่ นาทึบพอดี ยิง่ มองลงมาจากทีส่ งู จะไม่แลเห็นเครือ่ งบินนีเ้ ลย ลำ�ตัวเครือ่ งขาดเป็น ๒ ท่อน ในทีน่ งั่ นักบินมีซากศพสวมเครือ่ งแบบนักบินอยูแ่ ต่รา่ งกายเน่าเปือ่ ย ในรองเท้าทัง้ ๒ ข้าง มีแต่กระดูก ส่วนอีกศพหนึ่งอยู่ข้างนอกใต้ปีกเครื่องบินในท่านอนหงายหนุนเบาะคล้าย ๆ กับร่มชูชีพ เหลือซากโครงกระดูกมีเนือ้ และเสือ้ ผ้าติดตัวอยูบ่ า้ ง เนือ่ งจากเสียชีวติ มาเป็นเวลานานและเกิดเน่าเหม็นมีหนอน ไต่ยวั้ เยีย้ และโดนสัตว์ปา่ และนกหนูมากัดแทะกินซากศพรวมทัง้ หมีด�ำ ตัวใหญ่ดงั กล่าว จึงได้ท�ำ เครือ่ งหมายบอก จุดไว้แล้ว รีบกลับลงมารายงานให้ผู้ใหญ่บ้าน กำ�นัน ให้ทราบไว้เป็นหลักฐาน คืนนั้นยังคงนอนค้างอยู่ที่บ้าน ของกำ�นันทั้งคณะใหญ่ วันรุ่งขึ้นเตรียมตัวแต่เช้าออกเดินทางขึ้นเขา เมื่อ ๙ พ.ย.๘๗ เวลา ๐๗.๐๐ น.ตรง เช้านี้มีฝนตกปรอย ๆ และเมื่อคืนที่ผ่านมาก็มีฝนตกขนาดหนักมาก อากาศยังคงมืดครึ้ม เราเดินตามทางเดินขึ้นเขาแคบ ๆ นำ�โดยผู้นำ�ทาง ใน ๓ - ๔ ชั่วโมงแรก ไม่มีอุปสรรคใด ๆ การเดินทางค่อนข้างลื่นเพราะฝนตก ทำ�ให้ดินเละเทะ หยุดกินกลางวัน แล้วต้องรีบออกเดินทาง เพราะผู้นำ�ทางบอกว่าระยะทางที่จะเดินต่อไปค่อนข้างลำ�บาก ต้องไปทางลัด ผ่านเลียบหุบเขา ทางเดินแคบ ๆ เต็มไปด้วยตัวทากเกาะกินเลือด และต้องรีบไปถึงยอดเขาที่หมายก่อนค่ำ� เราเดินทางด้วยความ ยากลำ�บาก บางแห่งต้องเดินผ่านเลียบลำ�ห้วย ต้องเดินไปช้า ๆ ทีละคน ถึงที่หมายเมื่อเวลา ๑๗.๔๕ น. ใกล้จะมืด ได้จัดการเรื่องที่พักโดยกางเต็นท์นอนและหุงหาอาหารรับประทานพร้อมกับก่อกองไฟ จัดยามเฝ้ารักษาการณ์ อยู่ห่างจากน้ำ�ตกและจุดที่เครื่องบินตกไม่มากนัก ตอนกลางคืนกลางป่าเปลี่ยวบนเขาที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาทึบ อากาศเย็นยะเยือก ประมาณตี ๒ เห็นจะได้ ส.ท.สมพงษ์ ฯ ซึ่งนอนอยู่ติดกับผู้เขียนในเต็นท์เดียวกัน สะกิด บอกเบา ๆ ว่า “ผู้ฝูงครับผมได้ยินเสียงเหมือนคนร้องไห้” ผู้เขียนยังหลับ ๆ ตื่น ๆ เงี่ยหูฟังก็ไม่ได้ยินเสียงอะไร นอกจากเสียงน้ำ�ตกและเสียงจักจั่นเรไรร้องระงมอยู่รอบเต็นท์ จึงรีบบอกปลอบใจให้ ส.ท.สมพงษ์ ฯ ข่มตา ให้หลับเข้านอนจนรุ่งเช้า แสงเงินแสงทองส่องลงมาสู่ยอดเขาดูสวยงามตา อากาศตอนเช้าสดชื่นฝนหยุดตก แต่พื้นดินยังเปียกแฉะอยู่


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๒๓

งานหนักที่รออยู่เบื้องหน้าที่ต้องทำ�ให้สำ�เร็จและเดินลงจากเขากลับสู่บ้านกำ�นัน คือ การจัดการ กับซากเครื่องบินและศพนักบินที่จะต้องนำ�กลับลงมาข้างล่างให้ได้ในวันนั้น ได้แบ่งความรับผิดชอบของงานนี้ ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เกี่ยวกับซากเครื่องบินและเกี่ยวกับงานศพนักบิน ได้ตรวจดูทั่วบริเวณที่เครื่องบินตกและ ศพนักบินแล้วเป็นการสุดวิสัยที่จะนำ�กลับลงมาจากยอดเขาสู่เบื้องล่างทั้งหมดได้ จึงตัดสินใจที่จะทำ�ลาย (เผา) ซากเครื่องบิน เครื่องยนต์ทั้งหมด เพราะเสียหายยับเยินเกินกว่าที่จะซ่อมแซมใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ประกอบกับ การผุพังอันเกิดจากการตากแดดฝนเป็นเวลาหลายเดือน แต่สำ�หรับถังน้ำ�มันถึงแม้จะรั่วเล็กน้อย แต่ก็ยังมี เชื้อเพลิงเหลืออยู่บ้างพอที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงเผาศพนักบินบางส่วนและเครื่องบินที่เสียหายหักพังได้ ส่วนศพ นักบินเนื่องจากผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ที่ต้องเป็นสัปเหร่อจำ�เป็น เคยแยกชิ้นส่วนศพผู้เสียชีวิตที่กองบิน ประจวบคีรีขันธ์ จำ�นวน ๔๒ ศพ เมื่อครั้งรบกับทหารญี่ปุ่น เมื่อ ๘ ธ.ค.๘๔ มาแล้วจึงเป็นเรื่องเล็กที่จะแยกเอา ชิ้นส่วนสำ�คัญของศพนักบินเพียง ๒ นาย เพื่อบรรจุหีบห่อนำ�ติดตัวลงมาจากยอดเขาได้ จึงได้สั่งให้ทหาร ช่วยกันขนซากเครือ่ งบินมารวมกองไว้ ณ ทีบ่ ริเวณเครือ่ งบินตก ได้ตดั ไม้หาฟืนเพือ่ ทำ�การฌาปนกิจเผาบางส่วน ของศพที่เหลือจากการคัดเลือกส่วนสำ�คัญ ๆ ที่น่าจะนำ�กลับลงมา ทำ�การฌาปนกิจตามคำ�สั่งผู้บังคับบัญชาที่ นครศรีธรรมราช กล่าวคือ ได้แยกชิ้นส่วนศพนักบิน แยกเอาส่วนกะโหลกศีรษะ แขน และขาท่อนล่าง เข้าบรรจุ ในโลงศพชั่วคราว ที่ประกอบขึ้นจากไม้ซึ่งพอจะหาได้ในป่า และให้ทหารอีกพวกหนึ่งไปช่วยกันหาดอกไม้ป่า มาเคารพศพตอนเผา ด้วยความร่วมมือร่วมใจของพวกเราทุกคน ทำ�ให้งานเผาศพเรียบร้อยลงได้เมือ่ เวลาประมาณ เที่ยงเศษ โดยผู้เขียนเป็นผู้จุดไฟเผาเป็นคนแรก เราลงมาจากยอดเขาเมื่อเวลาบ่ายโมงเศษ ในตอนเดินทางขาลง ค่อยง่ายและเร็วกว่าขาขึ้น เพราะฝน หยุดตก และแผ่นดินเริม่ แห้ง เราลงมาถึงบ้านกำ�นันเมือ่ เวลาพลบค่�ำ ได้อาศัยกางเต็นท์นอนทีล่ านข้างบ้านกำ�นัน เพราะไม่สมควร ทั้งไม่เป็นสิริมงคลที่จะนำ�ศพเข้าสู่บ้านกำ�นันตามความเชื่อถือที่มีมาแต่โบราณ วันรุ่งขึ้นต่างก็แยกย้ายกันกลับ ทหาร ร.พัน ๔๔ แยกกลับไปจังหวัดพัทลุง ผู้เขียนพร้อมทั้งจ่าอากาศ อีก ๔ นาย นำ�หีบศพนักบินทั้ง ๒ คือ พ.อ.ท.ชิด จำ�นงค์วงศ์ และ พ.อ.ต.เฉลิมพร ยศพล ขึ้นรถไฟมายังจังหวัด นครศรีธรรมราช มีเรื่องจริงชวนขำ�ที่จะเล่าให้ฟังเล็กน้อยที่สถานีรถไฟเขาชุมทอง ในระหว่างสงครามการเดินทาง ขนส่งคมนาคมไม่ค่อยสะดวกนัก ที่สถานีมีผู้คนพลุกพล่านมาก โบกี้ผู้โดยสารแน่นขนัด ขนาดแทบจะไม่มีที่นั่ง และที่ยืนให้ผู้โดยสาร ผู้เขียนพบเพื่อนคนหนึ่ง กำ�ลังจะเดินทางไปนครศรีธรรมราชเช่นกัน เมื่อพบหน้ากันเขาดีใจมาก ถามผู้เขียนว่าจะเดินทางไปไหน ด้วยข้าวของพะรุงพะรังเนื้อตัวมอมแมม และเสื้อผ้าเหม็นสาบ สกปรก ผู้เขียน ตอบเขาไปว่า ไปตามหาศพนักบินที่เสียชีวิตบนยอดเขากระช่องเมืองตรัง เขาถามอีกว่าพบและได้ศพมารึเปล่า ผู้เขียนเลยชี้ไปที่จ่าอากาศ ๔ นาย ที่อุ้มหีบศพชั่วคราว ๒ ใบ แล้วเปิดฝาหีบให้เขาดูศพต่อหน้าบรรดาผู้โดยสาร ที่เบียดเสียดกันจนจะไม่มีที่ยืน เมื่อเห็นกะโหลกศีรษะและกระดูกนักบิน ผู้โดยสารที่น่ังและยืนเบียดเสียดกัน อยู่นั้นต่างก็ค่อย ๆ แตกกระจายไปที่อื่น เปิดโอกาสให้ผู้เขียน เพื่อน กับจ่าอากาศอีก ๔ นาย ที่อุ้มหีบศพ ได้นั่ง โดยสารตามสบาย จนกระทั่งถึงสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช ทั้งนี้เห็นจะเป็นเพราะผู้โดยสารคนอื่น ๆ มีมารยาทดี ให้เกียรติศพหรือไม่ก็คงจะกลัวผีนักบินที่อยู่ในหีบศพนั้นก็เป็นได้


เรืออากาศโท ชิด จำ�นงค์วงศ์ ถ่ายเมือ่ ครัง้ เป็นพลทหารศิษย์การบิน

เรืออากาศตรี เฉลิมพร ยศพล ถ่ายเมือ่ ครัง้ เป็นพันจ่าอากาศตรี

ผู้เขียนได้นำ�ศพนักบินทั้ง ๒ มาทำ�การฌาปนกิจฝังไว้ที่วัดท้าวโคตรวรวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยตั้งศพสวดอภิธรรมครบ ๗ วัน และทำ�พิธีฝังอย่างสมเกียรติ ตามคำ�สั่งของผู้บังคับบัญชาด้วยความช่วยเหลือ และร่วมมือเป็นอย่างดีจาก พ.อ.หลวงอมร เสนีย์ ผูแ้ ทนจากกองพลทหารราบที่ ๕ ค่ายเสนาณรงค์ และประชาชน ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มาร่วมงานและให้ความร่วมมือช่วยเหลือเป็นอย่างดี พ.อ.ท.ชิด จำ�นงค์วงศ์ และชั้นยอดของกองทัพ พ.อ.ต.เฉลิมพร ยศพล ถึงแม้จะไม่ใช่นักบินชั้นยอด ของกองทัพอากาศ แต่ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่นักรบผู้เสียสละต่อชาติบ้านเมืองสมชายชาติทหาร โดยเอาชีวิตและ เลือดเนื้อเป็นเดิมพันอย่างน่าสรรเสริญ พ.อ.ท.ชิด จำ�นงค์วงศ์ เป็นนักบินรูปงาม สูงโปร่ง สมชายชาติทหาร มีนิสัย สุภาพ ร่าเริง เข้ากับ เพื่อนฝูงและสังคมได้ทุกชั้น มีความเป็นสุภาพบุรุษ มีระเบียบวินัย เคยผ่านศึกกรณีพิพาทอินโดจีน ฝรั่งเศส จนได้รบั พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมมิ าแล้ว เมือ่ ต้องมาเสียชีวติ ลงในหน้าทีร่ าชการจึงได้ปนู บำ�เหน็จความชอบ เลื่อนยศขึ้นเป็นนายทหารสัญญาบัตรชั้นเรืออากาศโท พันจ่าอากาศตรี เฉลิมพร ยศพล จบการศึกษามัธยมปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพฯ ได้สมัครเข้ารับ ราชการและรับการฝึกบินเป็นนักบินประจำ�การในกองทัพอากาศ เป็นนักฟุตบอลดาวเด่นของทีมทหารอากาศ เล่นในตำ�แหน่งดาวยิงศูนย์หน้า เคยนำ�ทีมฟุตบอลทหารอากาศเป็นแชมป์ชนะเลิศ ฟุตบอลถ้วย ก. ติดต่อกันถึง ๓ ปีซ้อน ฝีมือไม่แพ้ ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน เป็นนักบินที่มีชั่วโมงบินไม่มากนัก แต่มีความตั้งใจ มุมานะในการทำ�งาน มีระเบียบวินยั ดีเยีย่ ม เมือ่ ต้องมาเสียชีวติ ลงในหน้าทีร่ าชการก่อนเวลาอันสมควร จึงเป็นทีน่ า่ เสียใจและเสียดายยิง่ ทางราชการจึงได้ปูนบำ�เหน็จความชอบเลื่อนยศขึ้นเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร เป็น เรืออากาศตรี เพื่อเป็น ศักดิ์ศรีของวงศ์สกุลสืบไป ผู้เขียนขอตั้งจิตอธิษฐาน ภาวนาขอให้ดวงวิญญาณของนักบินทั้งสอง เรืออากาศโท ชิด จำ�นงค์วงศ์ และ เรืออากาศตรี เฉลิมพร ยศพล จงไปสู่สุขคติและเสวยสุขในสัมปรายภพ นั้นเถิด


(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

นอกเหนือไปจากภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำ�คัญแล้ว กรมข่าวทหารอากาศ ยังมีภารกิจในการดำ�เนินมาตรการการรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ในกองทัพอากาศ ไม่ว่าจะเป็นการรักษา ความปลอดภัยข้อมูลข่าวสารลับ การรักษาความปลอดภัยบุคคล การรักษาความปลอดภัยในการประชุมลับ รวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยสถานที่ ซึง่ กรมข่าวทหารอากาศได้มกี ารปรับปรุง พัฒนาการดำ�เนินมาตรการ ต่าง ๆ เหล่านั้นให้มีความเหมาะสม ทันสมัย และรองรับต่อสถานการณ์และสภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ยกตัวอย่างเช่น การปรับมาตรการการรักษาความปลอดภัยในเขตกองบัญชาการกองทัพอากาศ โดยการปรับ การกำ�หนดพืน้ ทีก่ ารรักษาความปลอดภัย กัน้ พืน้ ที่ Public Zone เพือ่ ลดจำ�นวนบุคคลภายนอกทีเ่ ข้ามาในพืน้ ที่ กองบัญชาการกองทัพอากาศ รวมไปถึงการพิจารณาย้ายศูนย์ปฏิบตั กิ ารทีใ่ ช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operation Center) ไปอยู่ที่โรงเรียนนายเรืออากาศ และจัดระบบการรักษาความปลอดภัยให้เหมาะสม กับสภาพของพื้นที่ พิจารณานำ�เอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการควบคุมบุคคลและยานพาหนะ เพื่อ ให้การรักษาความปลอดภัยโดยรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยกรมข่าวทหารอากาศ มีภารกิจหลักในการควบคุม กำ�กับดูแล กำ�หนดมาตรการ แนวทางปฏิบัติ และตรวจสอบกิจการด้านการรักษาความปลอดภัยของกองทัพอากาศ จึงได้จัดทำ�โครงการแผนแม่บทด้านการ รักษาความปลอดภัย รวมทั้งโครงการสำ�คัญอื่น ๆ เพื่อจัดหาเครื่องมือ/อุปกรณ์ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่ทันสมัยให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ของกองทัพอากาศใช้ในการปฏิบัติภารกิจระวังป้องกันและดูแลสถานที่


๒๖ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข้อมูลข่าวสารลับ หรือบุคคลสำ�คัญของหน่วย มิให้ถกู กระทำ�การใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทัง้ ชีวติ และ ทรัพย์สนิ ของทางราชการได้ ซึง่ จะเห็นได้วา่ กองทัพอากาศเล็งเห็นความสำ�คัญของการรักษาความปลอดภัย และ มีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาขีดความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันและ ในอนาคต โดยงบประมาณในการจัดหาเครือ่ งมือ/อุปกรณ์ดา้ นการรักษาความปลอดภัยที่ใช้เทคโนโลยีขนั้ สูงนัน้ นำ�มาใช้ลดภารกรรมและทดแทนขีดจำ�กัดของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัยได้อย่างดียิ่ง

กรมข่าวทหารอากาศในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติภารกิจด้านการรักษา ความปลอดภัยของกองทัพอากาศมีความมุง่ หมายทีจ่ ะดำ�รงการปฏิบตั ทิ เี่ ป็นแบบอย่างและมีมาตรฐานเดียวกัน ทัง้ ในทีต่ งั้ ดอนเมืองและพืน้ ทีต่ า่ งจังหวัด ซึง่ จะเป็นการปฏิบตั ทิ เี่ ป็นมาตรฐานสากล ด้วยเหตุนี้ การเพิม่ ศักยภาพ ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัยในภาพรวมของกองทัพอากาศจึงมีความสำ�คัญอย่างยิ่ง และจะต้องดำ�เนินการให้มคี วามต่อเนือ่ งเหมาะสม เพือ่ ให้มขี ดี ความสามารถรองรับต่อภารกิจ และวิสยั ทัศน์ของ กองทัพอากาศได้ โดยเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศจะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติงานได้หลายภารกิจ มีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และเรียนรู้เทคนิคการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ต่าง ๆ


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๒๗

สำ�หรับภารกิจการรักษาความปลอดภัยทั้งปวงได้อย่างมีประสิทธิภาพตามสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป และสามารถใช้งานระบบสารสนเทศที่มีความทันสมัยของกองทัพอากาศ อีกทั้งสามารถนำ�มา ประยุกต์เข้าได้กับงานด้านการรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสม และที่สำ�คัญจะต้องมีขีดความสามารถ ในการใช้ทกั ษะความรูด้ า้ นภาษาอังกฤษหรือภาษาอืน่ ๆ เพือ่ ประโยชน์ในการติดต่อประสานสัมพันธ์หรือปฏิบตั ิ การรักษาความปลอดภัยบุคคลสำ�คัญร่วมกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ทัง้ นี้ กรมข่าวทหารอากาศ ได้มีแนวทางปฏิบัติสำ�หรับเพิ่มศักยภาพของบุคลากรด้านการรักษาความปลอดภัยของกองทัพอากาศให้มี ขีดความสามารถมากยิ่งขึ้น โดยมีโครงการสร้างศูนย์ฝึกอบรมด้านการข่าวและการรักษาความปลอดภัย ซึ่งจะ เป็นสถานที่สำ�หรับเรียนรู้ ฝึกอบรม ทบทวนการปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัยของกองทัพอากาศ โดยมีการจัดหาเครือ่ งมือ/อุปกรณ์ดา้ นการรักษาความปลอดภัยทีม่ คี วามทันสมัย มีศนู ย์ฝกึ การเรียนรูแ้ ละอบรม ด้านการรักษาความปลอดภัยทีม่ เี ทคโนโลยีสงู มีโครงการฝึกอบรมภาษาอังกฤษให้กบั เจ้าหน้าทีร่ กั ษาความปลอดภัย ของกองทัพอากาศ ส่งเสริมการเรียนรู้เพิ่มเติมในหลักสูตรต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับ การรักษาความปลอดภัยที่ส�ำ คัญ พร้อมทัง้ จัดให้มีการรณรงค์สร้างจิตสำ�นึกด้านการรักษาความปลอดภัยให้กบั บุคลากรของกองทัพอากาศในแต่ละปีมากยิ่งขึ้น


๒๘ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

เครือ่ งมือ/อุปกรณ์ทมี่ มี ลู ค่าสูง รวมถึงเทคโนโลยีล�้ำ ค่าจะหมดสิน้ ไร้คณ ุ ค่าต่อกองทัพอากาศ หากบุคลากร ด้านการรักษาความปลอดภัย ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการหรือแม้แต่ทหารกองประจำ�การทุกคน ซึง่ เป็น ฟันเฟืองส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศที่จะต้องขับเคลื่อนต่อไป ขาดซึ่งความมีจิตสำ�นึกที่ดีด้านการรักษา ความปลอดภัย ขาดความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเครื่องมือ/อุปกรณ์ และไม่เห็นถึงความสำ�คัญของการรักษา ความปลอดภัยกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นกองทัพที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง มีอาวุธที่ทันสมัย มีบุคลากรที่มีศักยภาพสูง อาจจะถูกฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาทำ�ลาย หรือสร้างความสูญเสียให้เกิดขึ้นซึ่งไม่สามารถประเมินค่า ได้ กองทัพอากาศจะยังคงสามารถยืนหยัดอยู่บนสังคมโลกอย่างสง่างามด้วยความภาคภูมิใจ สมเกียรติ และ สมศักดิ์ศรีได้อย่างไร ถ้าหากพวกเราทุกคนขาดจิตสำ�นึกที่ดีด้านการรักษาความปลอดภัย กรมข่าวทหารอากาศ ในฐานะสายวิทยาการด้าน รปภ. มีความตระหนักในเรื่องนี้ และจะทำ�ทุกวิถีทางให้ทุกคนได้มีความรู้สึกในการ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของกองทัพอากาศ ดั่งคำ�ปฏิญาณที่ จนท.กรภ.สนผ.ขว.ทอ.ทุกคน ปฏิบัติหลังเคารพธงชาติทุกเช้าว่า พวกเราจะ “ดำ�รงศักยภาพในการรักษาความปลอดภัย ภายใต้การมีส่วนร่วม ของข้าราชการ เพื่อประโยชน์สูงสุดของกองทัพอากาศ” 


ข่าวทหารอากาศ ๒๙

พฤษภาคม ๒๕๕๘

โรงเรียนนายเรืออากาศ ก้าวสู่

โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ในปีที่ ๖๒

ปชส.รร.นนก.

โรงเรียนนายเรืออากาศ สถาบันหลักในการผลิตผูน้ ำ�และแหล่งองค์ความรู้ด้านการบินของชาติได้สถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๔๙๖ ตามเจตนารมณ์อันมุ่งมั่นที่จะสร้างโรงเรียนผลิตนายทหารอากาศสัญญาบัตร ของกองทัพอากาศ โดยพลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ เจ้ากรมอากาศยานในขณะนั้น ดังความตอนหนึ่งว่า “...เราจะต้องมีโรงเรียนผลิตนายทหารสัญญาบัตรของเราขึ้นเองให้จงได้...” และอีกปัจจัยหนึ่งที่เร่งเร้าให้ กองทัพอากาศต้องสร้างบุคลากรของตนเอง คือ เทคโนโลยีด้านการบินของโลกที่เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว และทวีบทบาทในการรบดังปรากฏชัดในช่วงสงครามต่าง ๆ ที่ผ่านมา และเพื่อธำ�รงรักษาไว้ซึ่งอธิปไตยของ น่านฟ้าไทยและความมัน่ คงของชาติ ซึง่ โรงเรียนนายเรืออากาศ มีหน้าทีใ่ นการผลิตนายทหารชัน้ สัญญาบัตรหลัก ของกองทัพอากาศ เพื่อเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพิทักษ์รักษาอธิปไตยของน่านฟ้าไทย ในฐานะเป็นสถาบันการศึกษา เฉพาะทางระดับอุดมศึกษา สังกัดกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม จากวันนั้นถึงวันนี้มีผู้สำ�เร็จการศึกษาจาก โรงเรียนนายเรืออากาศ ตั้งแต่รุ่นที่ ๑ ถึงรุ่นที่ ๕๘ จำ�นวน ๕,๖๔๔ คน ปัจจุบันรุ่นที่กำ�ลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ ๑ เป็นรุ่นที่ ๖๓ เพื่อให้ได้นายทหารสัญญาบัตรหลักของกองทัพอากาศที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีความรอบรูใ้ นด้านวิชาการและวิทยาการ ทัง้ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบตั ิ มีความเป็นผูน้ �ำ ทางการทหาร มีความ สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมที่ปฏิบัติหน้าที่ตามความประสงค์ของกองทัพอากาศและประเทศชาติ อย่างสมบูรณ์ สมดังคำ�พูดที่ว่า นภานุภาพกองทัพอากาศ เริ่มต้นที่นี่ “Air Power Begins Here”


๓๐ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่อโรงเรียนนายเรืออากาศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม พระราชทาน ชือ่ โรงเรียนนายเรืออากาศ ว่า “โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช” ตัง้ แต่วนั ที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ แก่ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และ นักเรียนนายเรืออากาศ อย่างหาที่สุดมิได้  ก้าวสู่ปีที่ ๖๒ ปี ๒๕๕๘ เป็นปีมหามงคลทีพ่ ระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ ผู้บังคับบัญชา ๘๘ พรรษา และเป็นปีทคี่ รบรอบ ๖๒ ปี โรงเรียน นายเรืออากาศ (๗ พฤษภาคม ๕๘) กับการก้าว สู่โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช จึงได้ จัดทำ�โครงการเฉลิมพระเกียรติข้ึนมา จำ�นวน ๕ โครงการ ประกอบด้วย ๑. โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พล.อ.ท.วิเชียร ธรรมาธร ผบ.รร.นนก. “โครงการโรงเรียนนายเรืออากาศสีขาว ตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ประกอบด้วย ๑.๑ การจัดพิธีถวายเครื่องราชสักการะ และลงนามถวายพระพร ๑.๒ กิจกรรมปฏิญาณตน พร้อมดำ�เนินชีวติ พล.อ.ต.ถาวรวัฒน์ จันทนาคม พล.อ.ต.นิกร ชำ�นาญกุล พล.อ.ต.ประเสริฐ ช่างประเสริฐ รอง ผบ.รร.นนก. รอง ผบ.รร.นนก. เสธ.รร.นนก. ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (สายบริหาร) (สายการศึกษา) ๑.๓ กิจกรรมปฏิญาณตนเอาชนะยาเสพติด ๑.๔ กิจกรรมบริจาคโลหิต ๒. โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๓ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ “โครงการ RTAFA go GREEN” ประกอบด้วย ๒.๑ พิธีถวายเครื่องราชสักการะ และลงนามถวายพระพร ๒.๒ กิจกรรมผลิตก๊าซชีวมวลจากเศษอาหาร เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซหุงต้ม โรงเลี้ยงนักเรียน นายเรืออากาศ ๒.๓ กิจกรรมการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์สุริยะ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซหุงต้ม โรงเลี้ยง นักเรียนนายเรืออากาศ ๒.๔ กิจกรรมรวบรวมเศษวัสดุอลูมิเนียม เพื่อบริจาคโครงการขาเทียมพระราชทาน ๒.๕ กิจกรรม RTAFA – Carbon Credit ๒.๖ กิจกรรมบริจาคโลหิต


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๓๑

๓. โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๓ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ประกอบด้วย ๓.๑ การจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ๓.๒ กิจกรรมต้นกล้านักรบเวหาโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ๔. โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา ๒ เมษายน ๒๕๕๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประกอบด้วย ๔.๑ โครงการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ กิจกรรมรวบรวมองค์ความรู้ และฝึกปฏิบัติ นำ�ไปสู่โครงการ Space Guard ๔.๒ การจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๕. โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๕๘ พรรษา ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประกอบด้วย ๕.๑ การจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยของคณาจารย์และ นนอ. (วันวิจัย รร.นนก.) ๕.๒ เปิดโลกทัศน์งานวันวิจัย รร.นนก.’๕๘ นอกจากนี้ พลอากาศโท วิเชียร ธรรมาธร ผูบ้ ญั ชาการโรงเรียน นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ได้รเิ ริม่ ให้ด�ำ เนินโครงการสนับสนุน นักเรียนนายเรืออากาศ เป็นศูนย์กลาง โดยได้กล่าวถึงความเป็นมาว่า “เนื่องจากโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช มีหน้าที่ ผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้ตรงกับความต้องการของกองทัพ อากาศ สถาบันการศึกษาแห่งนี้ จึงต้องมีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ซึง่ ทีผ่ า่ นมา ผูบ้ ญ ั ชาการโรงเรียนนายเรืออากาศทุกท่าน ได้สานต่อ และช่วยกันพัฒนาให้โรงเรียนนายเรืออากาศได้ก้าวหน้ามาอย่าง ต่อเนือ่ ง เมือ่ ผมมารับตำ�แหน่งเมือ่ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ได้รว่ มกัน พิจารณาแล้วเห็นว่า มีสว่ นใดบ้างทีจ่ ะได้ชว่ ยเติมเต็มไปยังนักเรียน นายเรืออากาศ เพือ่ ทีจ่ ะได้ผทู้ สี่ �ำ เร็จการศึกษาจากสถาบันนี้ ได้เป็น นายทหารสัญญาบัตรหลักที่เพียบพร้อมด้วยความรู้ความสามารถ ด้านวิชาการ วิชาทหาร คุณลักษณะผูน้ �ำ ทางทหาร และคุณธรรมจริยธรรม พร้อมทัง้ สามารถพัฒนาตนเอง ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงได้ จึงได้จัดทำ�โครงการสนับสนุน นักเรียนนายเรืออากาศ เป็นศูนย์กลาง ครับ” รายละเอียดของโครงการ ฯ ประกอบด้วย


๓๒ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

๑. โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สวนวรรณคดีเพื่อการเรียนรู้ เพื่อให้มีภูมิทัศน์ที่มีบรรยายสวยงาม สะอาด ร่มรื่น เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจพัฒนาคุณภาพชีวิต และใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับนักเรียนนายเรืออากาศ ๒. โครงการจัดหาอุปกรณ์เสริมสร้างสมรรถภาพกล้ามเนื้อ (Weight Training) เพื่อให้นักเรียน นายเรืออากาศ ได้ออกกำ�ลังกาย ส่งเสริมสุขภาพร่างกาย ลดปัญหาอาการบาดเจ็บ เสริมสร้างกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มีบุคลิกภาพที่ดีเหมาะสมแก่การเป็นนายทหารสัญญาบัตรของกองทัพอากาศ ๓. โครงการจัดหาอุปกรณ์เครื่องอบ ปิ้ง ย่าง ใช้สำ�หรับการประกอบอาหาร เพื่อให้นักเรียนนายเรืออากาศ ได้รับประทานอาหารที่อร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย รวดเร็ว ประหยัดเวลาและได้ปริมาณมาก ๔. โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากถังหมักต้นแบบ เพื่อลดการจัดซื้อก๊าซหุงต้มสำ�หรับประกอบอาหาร ให้แก่นักเรียนนายเรืออากาศ และนักเรียนนายเรืออากาศได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทน ๕. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลัง (Long Spinal Board) เพือ่ การปฐมพยาบาลขัน้ ต้นรวมถึงการเคลือ่ นย้ายนักเรียนนายเรืออากาศทีไ่ ด้รบั บาดเจ็บอย่างรวดเร็ว โดยไม่เกิด อันตราย ๖. โครงการจัดหาเครื่องถ่ายภาพรังสีในช่องปาก เพื่อลดขั้นตอนและเวลาในการส่งตัวนักเรียน นายเรืออากาศไปทำ�การถ่ายภาพรังสีในช่องปากที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. ทำ�ให้เกิดความรวดเร็ว ในการรักษาด้านทันตกรรมให้กับนักเรียนนายเรืออากาศในที่ตั้ง ๗. โครงการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศห้องสมุด เพื่อลดมลภาวะฝุ่นละอองจากหนังสือภายในห้องสมุด ที่มีปริมาณมาก ส่งเสริมการรักษาสุขภาพให้แก่นักเรียนายเรืออากาศในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ๘. โครงการพัฒนารูปแบบและองค์ความรูใ้ นการพัฒนาคุณลักษณะนายทหารสัญญาบัตรทีพ่ งึ ประสงค์ ให้แก่ นักเรียนนายเรืออากาศ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ เพือ่ สร้างองค์ความรูใ้ นการพัฒนาคุณลักษณะนายทหาร สัญญาบัตรทีพ่ งึ ประสงค์ให้แก่นกั เรียนนายเรืออากาศด้วยกระบวนการจัดการความรู้ รวมถึงเพือ่ ให้ได้ระบบและ กระบวนการพัฒนาคุณลักษณะนายทหารสัญญาบัตรที่พึงประสงค์ให้แก่นักเรียนนายเรืออากาศอย่างเป็นระบบ ๙. โครงการจัดหาหมวกป้องกันกระสุนสำ�หรับ นักเรียนนายเรืออากาศ เพือ่ จัดหาหมวกป้องกันกระสุน เพิ่มเติมสำ�หรับนักเรียนนายเรืออากาศสำ�หรับใช้ประกอบการฝึกศึกษาวิชาการทหารได้อย่างปลอดภัย ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา โรงเรียนนายเรืออากาศ ครบรอบ ๖๒ ปี ก้าวสู่โรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช ในวันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ตั้งแต่เวลา ๐๗๐๐ เป็นต้นไป ขอเชิญชวนศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันร่วมกิจกรรม “กลับถิ่นดอน แดนอินทรี ปีละครั้ง รวมพลังสรรค์สร้าง เรืออากาศ” โดย พร้อมเพรียงกัน รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rtafa.ac.th 


ข่าวทหารอากาศ ๓๓

พฤษภาคม ๒๕๕๘

ก้าวใหม่ของการส่งกำ�ลังบำ�รุง ของกองทัพอากาศ กับแนวคิด LCC กบ.ทอ. (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

L Life-Cycle Cost

C

C

 หลักการคำ�นวณ LCC การแบ่งกลุ่มค่าใช้จ่าย (Cost Elements) ตลอดอายุการใช้งานของยุทโธปกรณ์ โดยทั่วไปหากเป็น ยุทโธปกรณ์ที่ยังไม่เคยทำ�การแผนแบบและผลิตมาก่อน หรือ เป็นของวิจัยและพัฒนาขึ้นมาใหม่ ก็สามารถ แบ่งกลุ่มค่าใช้จ่ายได้ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่ในกรณีของกองทัพอากาศ ซึ่งยุทโธปกรณ์เกือบทั้งหมดได้มา ด้วยการจัดซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งผ่านขัน้ ตอนการวิจยั และพัฒนา (Research and Development) โดยบริษัท ผู้ผลิตมาแล้ว ในฐานะผู้ซื้อจึงไม่มีส่วนที่จะไปเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เลย ดังนั้นการแบ่งกลุ่มค่าใช้จ่าย เพื่อให้สามารถคำ�นวณและวิเคราะห์รายละเอียดที่ใช้ในการตัดสินใจได้ จึงอาจแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ (Life Acquisition Cost: LAC) ค่าใช้จ่ายปฏิบัติการ (Life Operation Cost: LOC) ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุน (Life Support Cost: LSC) และค่าใช้จ่ายในการปลดประจำ�การ (Life Termination Cost: LTC) ในกรณีที่เป็นโครงการจัดซื้อ ค่า LAC ก็คือมูลค่าในการจัดซื้อของโครงการ ส่วนค่าใช้จ่ายอีก ๓ กลุ่ม ทีเ่ หลือ คือ LOC, LSC และ LTC นัน้ กองทัพอากาศจะต้องคำ�นวณเอง โดยส่วนหนึง่ จะใช้ขอ้ มูลของยุทโธปกรณ์ ที่บริษัทผู้เสนอราคาจะต้องจัดส่งให้กองทัพอากาศ ทั้งนี้ในเอกสารเชิญชวนให้บริษัทยื่นเสนอราคา (Request for Quotation: RFQ) จะต้องระบุความต้องการข้อมูลสำ�หรับวิเคราะห์ LCC ให้บริษัทจัดส่งให้กองทัพอากาศ พร้อมกับซองข้อเสนอด้านเทคนิคด้วย ข้อมูลดังกล่าวนีเ้ รียกว่า RAMS ซึง่ คำ�ว่า RAMS นีย้ อ่ มาจากภาษาอังกฤษ คำ�เต็มคือ Reliability, Availability, Maintainability และ Supportability โดยได้อธิบายความหมายของ คำ�เหล่านี้ไปแล้วข้างต้น ตัวอย่างข้อมูล RAMS ได้แก่ อัตราการชำ�รุดของชิ้นส่วนประกอบของยุทโธปกรณ์ (Failure Rate) ระยะเวลาได้คนื พัสดุสง่ ซ่อม (Turn-Around Time) ราคาต่อหน่วยของพัสดุอะไหล่หรือของงานซ่อม (Unit Price/ Task Price)


๓๔ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

ในกรณีท่ีต้องการคำ�นวณค่า LCC ของยุทโธปกรณ์ที่กองทัพอากาศ มีประจำ�การอยู่แล้ว เพื่อนำ�มา ประกอบการพิจารณายืดอายุหรือปลดประจำ�การ หรือเพื่อกำ�หนดทางเลือกที่เหมาะสมในการส่งกำ�ลังและ ซ่อมบำ�รุง ก็สามารถใช้ข้อมูลที่หน่วยปฏิบัติเก็บรวบรวมไว้ก็ได้ หรือ หากมีข้อมูลการเบิก-จ่ายพัสดุเพื่อใช้ ในการบำ�รุงรักษายุทโธปกรณ์ชนิดนั้น ผ่านระบบ Logistics Management Information System (LMIS) ก็อาจสามารถดึงข้อมูลดังกล่าวจากฐานข้อมูล LMIS มาใช้ในการคำ�นวณได้เช่นกัน การคำ�นวณค่า LCC สำ�หรับยุทโธปกรณ์ที่มีชิ้นส่วนประกอบและระบบการทำ�งานสลับซับซ้อนนั้น จำ�เป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะช่วยในการคำ�นวณ ซึ่งนับว่าโชคดีที่กองทัพอากาศ ได้รับมอบซอฟต์แวร์สำ�หรับ คำ�นวณ LCC อันเป็นผลพลอยได้จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี ภายใต้โครงการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน ปัจจุบัน กรมส่งกำ�ลังบำ�รุงทหารอากาศ ได้จัดตั้งสำ�นักงานวิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุง (Logistics Analysis Office: LAO) ตามอนุมัติ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้เป็นหน่วยรับผิดชอบในการดูแลและใช้ซอฟต์แวร์สำ�หรับการคำ�นวณ LCC แก่หน่วยต่าง ๆ ของกองทัพอากาศ เมื่อได้รับการติดต่อประสาน  การนำ�แนวคิด LCC มาใช้ในกองทัพอากาศ ณ ปัจจุบนั กล่าวได้วา่ กองทัพอากาศ มีบคุ ลากรสังกัดกรมส่งกำ�ลังบำ�รุงทหารอากาศ ทีไ่ ด้รบั การถ่ายทอด องค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุง ซึ่งรวมถึงความรู้เรื่องแนวคิด LCC และสามารถนำ�มาประยุกต์ใช้ ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงมีซอฟต์แวร์ช่วยในการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมความต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุง ของกองทัพอากาศ จึงมีความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุงแก่หน่วยต่าง ๆ ของกองทัพอากาศ เมื่อได้รับการติดต่อประสาน ตัวอย่างของงานที่นำ�แนวคิด LCC มาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การประเมินค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานเพื่อคัดเลือกบริษัท (Tender Evaluation) กล่าวคือ ในกรณีที่ กองทัพอากาศมีโครงการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ใหม่เข้าประจำ�การ เช่น อากาศยาน ระบบเรดาร์ ระบบควบคุมการยิง ซึ่งมีมูลค่าสูง และมีระยะเวลาประจำ�การนาน การวิเคราะห์ LCC เพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งาน จะทำ�ให้ทราบว่า นอกจากความเหมาะสมของราคาจัดซือ้ (LAC) แล้ว ค่าใช้จา่ ยอืน่ ๆ โดยเฉพาะค่าใช้จา่ ยในการ สนับสนุน (LSC) ซึ่งเกี่ยวข้องกับค่าจัดหาพัสดุอะไหล่และค่าบำ�รุงรักษา ยังเป็นปัจจัยในการพิจารณาคัดเลือก ทีส่ �ำ คัญด้วย เพราะหากเลือกซือ้ ยุทโธปกรณ์จากบริษทั ทีเ่ สนอราคาจัดซือ้ ถูก (LAC) แต่คา่ ใช้จา่ ยในการสนับสนุน (LSC) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสูงมาก ก็อาจเสี่ยงต่อปัญหาขาดแคลนงบประมาณในการส่งกำ�ลัง และซ่อมบำ�รุงในอนาคตก็ได้ นอกจากการนำ�แนวคิด LCC มาประยุกต์ใช้ตามกรณีตวั อย่างข้างต้นแล้ว แนวคิด LCC ยังสามารถนำ�มา ประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุง ด้านอื่นๆ ได้อีกมาก เช่น การวิเคราะห์หาความเหมาะสมในการ สะสมพัสดุอะไหล่ (Spare Optimization) การวิเคราะห์หาทางเลือกที่คุ้มค่าในการทำ�สัญญาจ้างเหมาบริการ ส่งกำ�ลังและซ่อมบำ�รุง (Pool Services) สำ�หรับยุทโธปกรณ์ประเภทต่าง ๆ


ข่าวทหารอากาศ ๓๕

พฤษภาคม ๒๕๕๘

ตัวอย่างเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกลุ่มต่าง ๆ เพื่อประเมินข้อเสนอของบริษัท

 บทสรุป การนำ�แนวคิดเรือ่ ง ค่าใช้จา่ ยตลอดอายุการใช้งาน (LCC) มาประยุกต์ใช้ในกิจการส่งกำ�ลังบำ�รุง อาจจะ เป็นเรื่องใหม่สำ�หรับกองทัพอากาศของเรา แต่สำ�หรับกองทัพสหรัฐอเมริกา และกองทัพชั้นนำ�อื่น ๆ ของยุโรป ต่างได้นำ�แนวคิด LCC มาใช้อย่างกว้างขวางและใช้มานานแล้ว หลักคิดทฤษฎีของ LCC ตลอดจนซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความน่าเชื่อถือ และที่สำ�คัญได้รับการนำ�มา ใช้งานในกองทัพอากาศของเราแล้วในเวลานี้ จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่แนวคิด LCC จะช่วยเผยให้กองทัพอากาศ ได้เห็นค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของยุทโธปกรณ์ทั้งที่จะจัดหาใหม่และที่มีประจำ�การอยู่แล้ว สามารถ วางแผนและบริหารจัดการให้การส่งกำ�ลังบำ�รุงยุทโธปกรณ์เหล่านั้นมีความพร้อมปฏิบัติการ (Availability) ได้ ตามเกณฑ์ที่กำ�หนดอย่างต่อเนื่อง โดยใช้งบประมาณที่กองทัพอากาศได้รับการจัดสรรอย่างคุ้มค่าที่สุด  เอกสารอ้างอิง : - Blanchard, Benjamin S. Logistics Engineering and Management. 6th Edition, 2003. - FMV, Technology Transfer Document: Logistics and Composites PS I, PS II. 2009-2012 - NATO, Code of Practice for Life Cycle Costing (RTO Publication), 2009. - NATO, Methods and Models for Life Cycle Costing, (RTO Publication), 2007.


“การพัฒนาศักยภาพ ด้านการแพทย์ทหารอากาศ ให้เป็นที่ประจักษ์ ในระดับประเทศและภูมิภาคอาเซียน”

พล.อ.อ.สุรศักดิ์ โปร่งจันทึก (อดีต จก.พอ.) (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

แผนที่กลยุทธ์ กรมแพทย์ทหารอากาศ วิสัยทัศน์ องค์กรแพทย์ทหารชั้นนำ�ที่มีคุณภาพระดับประเทศ


ข่าวทหารอากาศ ๓๗

พฤษภาคม ๒๕๕๘ SP1 ส่งกำ�ลังบำ�รุงสายการแพทย์อย่างมี ประสิทธิภาพ

๑. โครงการพัฒนาระบบคลังพัสดุสายการแพทย์

SP2 ปฏิบัติงานเมื่อเกิดสาธารณภัยหรือ ภาวะคับขันอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์

๑. โครงการจัดหายุทโธปกรณ์และเวชบริภัณฑ์สำ�หรับชุดปฏิบัติการ นชค. สายแพทย์ ๒. โครงการจัดหารถตู้พยาบาล รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

SP3 ส่งเสริมกำ�ลังพล ทอ.ให้มีสุขภาวะ และสมรรถภาพทางกายดี

๑. โครงการคัดกรองภาวะสุขภาพและการตรวจสุขภาพประจำ�ปี ๒. โครงการควบคุมสมรรถภาพผู้ปฏิบัติราชการสนามและผู้เข้ารับการศึกษา ๓. โครงการและการป้องกันและแก้ไขเอดส์ ของ ทอ. ๔. โครงการจำ�แนก คัดกรองและการตรวจสารเสพติดในทหารกองประจำ�การ เพื่อสนับสนุนการบำ�บัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

SP4 บริการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ

๑. โครงการปรับปรุงห้องตรวจข้าราชการและประชาชน (ชั้น ๒ อาคาร คุ้มเกล้า รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.)

SP5 ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและพัฒนา คุณภาพผูเ้ รียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ

๑. โครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. ๒. โครงการอบรมสัมมนาการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน นิสิตแพทย์และแพทย์ประจำ�บ้าน ๓. โครงการผลิตบุคลากรทางการพยาบาล นพอ., นจอ. ๔. โครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม

๑. กิจกรรมจัดหาอุปกรณ์ใช้ในการผลิตเภสัชภัณฑ์ ๒. กิจกรรมซ่อมบำ�รุงชุด รพ.เคลื่อนที่

IP1 เสริ ม สร้ า งความพร้ อ มด้ า นการ ส่งกำ�ลังบำ�รุงสายการแพทย์

๑. โครงการจัดหายุทโธปกรณ์และเวชภัณฑ์ส�ำ หรับชุดปฏิบตั กิ าร นชค.สายแพทย์ ๒. โครงการจัดซือ้ รถรับบริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิต รพ.ภูมพิ ลอดุลยเดช พอ.

IP2 เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติการ ทางการแพทย์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

๑. โครงการจัดหาเครือ่ ง X-Ray และพัฒนาเพือ่ การรักษาผูป้ ว่ ยทางทันตกรรม

IP3 ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

๑. กิจกรรมการเยีย่ มให้ค�ำ ปรึกษาการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลสังกัด ทอ.

IP4 พั ฒ นามาตรฐานและคุ ณ ภาพ การรักษาพยาบาล

๑. โครงการพัฒนาวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศด้านการประเมินคุณภาพ การศึกษา

IP5 พัฒนาคุณภาพการศึกษา

๑. กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์

IP6 ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้าน การแพทย์


๓๘ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

LP1 เสริมสร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

๑. โครงการ การแลกเปลีย่ นเรียนรูด้ า้ นการแพทย์ทหารในการเข้าสูป่ ระชาคม อาเซียน ๒. โครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ (E library) รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

LP2 พัฒนาทักษะความสามารถบุคลากร

๑. กิจกรรมการอบรมพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของกำ�ลังพล พอ. ๒. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกำ�ลังพล กวป.พอ.

LP3 พัฒนาระบบเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ของบริการการแพทย์ทหาร (Network Centric Medical Services)

๑. โครงการพัฒนาฐานข้อมูลกลาง พอ.(ระยะที่ ๑) ปี ๕๗ – ๕๙ ๒. โครงการพัฒนาฐานข้อมูลกลาง พอ.(ระยะที่ ๒)ปี ๖๐ ๓. โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ อาคารศูนย์วจิ ยั และพัฒนาการทางการแพทย์ ๔. โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ กวก.พอ.

LP4 วิ จั ย และพั ฒ นานวั ต กรรมด้ า น การแพทย์ทหาร

๑. โครงการความร่วมมือด้านการวิจยั ทางการแพทย์ทหารเพือ่ เข้าสูป่ ระชาคม อาเซียน

การขับเคลือ่ นกลยุทธ์ ไปสูเ่ ป้าประสงค์ในแผนทีก่ ลยุทธ์ของ พอ.นัน้ จะต้องใช้จดุ แข็งและโอกาสทีม่ อี ยู่ดงั นี้ บุคลากรที่ผลิตมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพได้รบั การยอมรับสูงจากภายนอก มีความสามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง มีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนือ่ ง โดยภาพรวมมีคณ ุ ภาพในการปฏิบตั งิ าน มีระบบการจัดการ อย่างชัดเจนและมีส่วนร่วมพร้อมทั้งผู้บังคับบัญชาให้การสนับสนุน มีระบบควบคุมการเงินและงบประมาณที่ดี มีแหล่งเงินทุนนอกงบประมาณในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร ทำ�ให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ เช่น มูลนิธิคุ้มเกล้าฯ และมีแหล่งงบประมาณหลากหลายที่เอื้อสำ�หรับงานส่งเสริมสุขภาพ (สสส., สปสช., เอดส์ ฯลฯ) มีโครงสร้างเพื่อการพัฒนานโยบายการพัฒนาคุณภาพ รพ.ที่ชัดเจน ผู้บริหารสนับสนุนงานพัฒนาอย่าง สม่ำ�เสมอและต่อเนื่อง เป็นองค์กรแหล่งฝึกงานที่มีคุณภาพผ่านการรับรองคุณภาพจากสถาบันต่าง ๆ ครบทุกสาขา ทางการแพทย์ สามารถตอบสนองต่อการฝึกงานได้ มีโครงสร้างองค์กรรองรับภารกิจ ทอ. มีชุด รพ.เคลื่อนที่ พร้อมปฏิบัติงาน ชุดเวชภัณฑ์เพื่อใช้ปฏิบัติงานการสนับสนุนด้านยุทธการ มีการให้บริการทางคลินิกระดับสูง (4 Excellences centers, Sub specialty clinic) นโยบายการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของรัฐบาล สนับสนุน ธุรกิจด้านสุขภาพเพือ่ เข้า AEC และการสนับสนุนแพทย์แผนไทยตาม พ.ร.บ.สุขภาพปี ๒๕๕๐ และ พ.ร.บ.คุม้ ครอง ผู้เสียหาย พอ.มีส่วนร่วมในการดำ�เนินกิจกรรมทางการแพทย์ด้วย อีกทั้งเป็นเครือข่ายสถาบันการศึกษาให้การ ผลิตบุคลากรสายแพทย์ (ม.จุฬาฯ และ ม.มหิดล) มีระบบประเมินคุณภาพสถานพยาบาลที่เป็นมาตรฐาน เช่น สถานพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ, กฎหมายในเรือ่ งอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำ�งาน เอือ้ ให้มกี าร ดูแลกำ�ลังพลตามลักษณะของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคำ�สั่ง ระเบียบ ที่สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กำ�ลังพล ทอ. เพื่อสนับสนุนกองทัพอากาศให้เป็นกองทัพอากาศชั้นนำ�ในภูมิภาคอาเซียน 


เมื่อพูดถึงประเทศฝรั่งเศสหลาย ๆ คน อาจจะนึกถึงหอคอยไอเฟล, น้ำ�หอม หรือกระเป๋าแบรนด์เนม อย่างหลุยส์ วิตตอง หรือภาพวาดโมนาลิซ่าที่โด่งดัง แต่ในความหรูหราและสวยงามของศิลปะสไตล์ยุโรปนั้น บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสนั้นก็มีศักยภาพในการที่จะสร้างอาวุธนำ�วิถีที่มีความทันสมัยและประสิทธิภาพสูงไม่แพ้ อาวุธนำ�วิถีจากค่ายอื่น ๆ ในโลก MICA (ไมก้า) เป็นอาวุธนำ�วิถีอากาศสู่อากาศซึ่งพัฒนาโดยบริษัท MBDA (ฝรั่งเศส) โดยออกแบบมา เพือ่ ใช้กบั เครือ่ งบินรบสัญชาติฝรัง่ เศส 2 รุน่ คือ Rafale และ Mirage 2000-5 นอกจากนัน้ แล้วก็ยงั ติดตัง้ ได้กบั บ.F-16 Block 60 ได้อกี ด้วย อาวุธนำ�วิถี MICA อาจจะเรียกได้วา่ เป็นอาวุธนำ�วิถที มี่ คี วามอเนกประสงค์เนือ่ งด้วย ความสามารถในการตอบสนองต่อภารกิจการรบทางอากาศได้หลายรูปแบบทั้งรุกและรับ ใช้เป็นอาวุธนำ�วิถี ระยะใกล้และระยะพ้นสายตา (BVR) ได้ทั้งสองแบบ โดยมีระยะปฏิบัติการตั้งแต่ 500 เมตร ถึง 60 กิโลเมตร

RF MICA ติดตั้งกับ บ.


RF MICA ติดตั้งกับ บ.Mirage 2000

นอกจากนั้นแล้วการนำ�วิถียังถูกสร้างแยกออกเป็นรุ่น RF MICA (นำ�วิถีด้วยเรดาร์ ในชื่อฝรั่งเศส เรียกว่า MICA EM) สามารถใช้งานได้ทุกสภาวะอากาศ ซึ่งได้ถูกผลิตออกมาใช้งานตั้งแต่ปี 1996 จนถึงปัจจุบัน หลังจาก RF MICA ผลิตออกมาได้ไม่นาน ในปี 2000 ทางบริษัทก็ผลิตรุ่น IR MICA (นำ�วิถีด้วยรังสีความร้อน) ซึ่งค้นหาและสร้างภาพจากรังสีความร้อนในการระบุเป้าหมายก็ถูกผลิตตามออกมา โดยทั้งสองรุ่นสามารถที่จะ ใช้งานได้ในโหมด Lock-on After Launch ซึ่งเป็นการใช้งานรวมกับระบบ Data Link หรือหมวกนักบินติดเป้าเล็ง (Helmet Mounted Sight: HMS) จึงทำ�ให้มุมในการยิงเพิ่มขึ้นเป็น 360 องศารอบทิศทาง เพิ่มโอกาสในการ ตรวจจับและโจมตีเป้าหมายที่อยู่ในตำ�แหน่งนอกแนวยิงเช่นเครื่องบินฝ่ายตรงข้ามที่ลอบเข้ามาทางด้านหลังได้ ลักษณะของอาวุธนำ�วิถี MICA ที่จะค่อนข้างแตกต่างจากอาวุธนำ�วิถีในค่ายอื่นอย่างเช่น อาวุธนำ�วิถี ตระกูล AIM-9, Python-4, 5 อย่างเห็นได้ชัดคือรูปร่างที่กะทัดรัดโดยมีปีกที่เป็นแนวยาวไม่ยื่นแหลมออกมา ด้านข้างเหมือนกับอาวุธนำ�วิถีอื่น มีชุดส่วนหางในการบังคับทิศทางพร้อมชุดควบคุมไอพ่น อีกทั้งยังมีน้ำ�หนักเบา โดยรุ่น MICA RF หนัก 112 กิโลกรัม ส่วนรุ่น MICA IR หนัก 110 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับ AIM-9M แล้วอาจจะ หนักกว่าเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับ AIM-120 AMRAAM ซึ่งเป็นอาวุธนำ�วิถีระยะพ้นสายตา (BVR) แล้วจะถือว่า มีน้ำ�หนักน้อยกว่ามากต่างกันราว 40 กิโลกรัม ซึ่งเครื่องบินรบรุ่นใหม่ ๆ สามารถที่จะติดตั้งอาวุธนำ�วิถี MICA ได้อย่างน้อย 6 นัดด้วยกันและยังสามารถติดตัง้ อาวุธชนิดอืน่ ได้อกี สำ�หรับในแต่ละภารกิจ สำ�หรับขนาดความยาว ของตัวอาวุธนำ�วิถี MICA ทั้งสองรุ่นเท่ากันคือ 3.10 เมตรซึ่งสั้นกว่า AMRAAM ประมาณ 50 เซนติเมตร


พฤษภาคม พฤษภาคม๒๕๕๘ ๒๕๕๘

ข่ข่าาวทหารอากาศ วทหารอากาศ ๔๑

จับเป้าหมายหลังยิง โดยอาศัยข้อมูล (Data link) จากเครื่องบิน (Lock-on After Launch)

ด้วยความที่เป็นอาวุธนำ�วิถีที่ใช้งานได้ทั้งแบบระยะใกล้และระยะพ้นสายตา (BVR) หัวใจสำ�คัญจึงอยู่ที่ ระบบขับเคลื่อน (Rocket Motor) ของอาวุธนำ�วิถี MICA ซึ่งเป็นแบบเชื้อเพลิงแข็งที่ให้แรงขับสูงเพื่อสามารถ เพิม่ ความเร็วได้ในระยะสัน้ (ความเร็วสูงสุดอยูท่ ี่ 4 มัค) และต้องสามารถสร้างแรงขับได้เป็นเวลานานพอสำ�หรับ ปฏิบัติการในระยะพ้นสายตา (BVR) และความสามารถในการนำ�วิถีเข้าสู่เป้าหมายที่ดีเยี่ยม นั่นคือเมื่อยิงแล้ว


IR MICA ถูกยิงจาก บ.

ต้องสามารถไล่ตามและทำ�ลายเป้าหมายได้พร้อมทัง้ ต้องสามารถต่อต้านการลวงโดยเป้าลวงหรือสัญญาณรบกวน ต่าง ๆ จากเป้าหมายได้ สำ�หรับในส่วนของหัวรบเป็นแบบสะเก็ดมีน้ำ�หนัก 12 กิโลกรัมซึง่ ใกล้เคียงกับ AIM-9M แต่เมื่อเทียบกับ AMRAAM แล้ว น้ำ�หนักห่างกันเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว ทำ�งานด้วยชนวนแบบเฉียดระเบิดและ ชนวนแบบกระทบแตกซึ่งจะมีอยู่ในอาวุธนำ�วิถีส่วนใหญ่ เพื่อเป็นการเพิ่มความแน่นอนในการทำ�ลายเป้าหมาย โดยในกรณีที่ตัวอาวุธนำ�วิถีถึงเป้าหมายก่อนที่ชนวนเฉียดระเบิดจะทำ�งานก็ยังมีชนวนแบบกระทบแตกที่จะ ทำ�งานเมื่ออาวุธนำ�วิถีพุ่งชนกับเป้าหมาย ความอเนกประสงค์อกี อย่างหนึง่ ของอาวุธนำ�วิถี MICA คือสามารถ ที่จะเปลี่ยนบทบาทจากอาวุธนำ�วิถีอากาศสู่อากาศ (Air to Air) ไปเป็น อาวุธนำ�วิถีพื้นสู่อากาศ (Ground to Air) ได้ โดยมีชื่อเรียกว่า VL MICA ด้วยขนาดที่กะทัดรัดจึงสามารถที่จะนำ�ไปติดตั้งได้กับเรือรบขนาดเล็กที่ ไม่สามารถติดตั้งระบบอาวุธนำ�วิถีพ้ืนสู่อากาศที่มีขนาดใหญ่ได้ (ซึ่ง มิตรประเทศอย่างอินโดนีเซียและมาเลเซียต่างก็มไี ว้ประจำ�การในกองทัพเรือ) นอกจากนัน้ แล้วยังสามารถทีจ่ ะติดตัง้ กับชุดรถบรรทุกติดฐานยิงได้อกี ด้วย ซึง่ ในการเปลีย่ นหน้าทีม่ าเป็นอาวุธนำ�วิถพี นื้ สูอ่ ากาศนัน้ ทำ�ให้ระยะปฏิบตั กิ าร ลดลงเนือ่ งจากต้องใช้พลังงานอย่างมากในการทีจ่ ะไต่ระดับความสูงขึน้ ไป สู่เป้าหมายทำ�ให้ระยะปฏิบัติการลดลงจากเดิม 60 กิโลเมตร เหลือเพียง 20 กิโลเมตรเท่านั้น


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๔๓

ประเทศที่มีการสั่งซื้ออาวุธนำ�วิถี RF MICA หรือ IR MICA จากบริษัท MBDA เข้าประจำ�การในกองทัพอากาศ ได้แก่ ประเทศกรีซ, อินเดีย, โมร็อกโก, กาตาร์, อียิปต์, ไต้หวัน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วน VL MICA ที่ ถูกนำ�เข้าประจำ�การในกองทัพเรือได้แก่ มาเลเซีย, โอมาน, อียิปต์, และอินโดนีเซีย ซึ่งจะเห็นได้ว่าในภูมิภาค เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ของเรานั้นนิยม VL MICA ในรูปแบบพื้นสู่อากาศมากกว่าที่จะนำ�ไปใช้กับเครื่องบินรบ เนือ่ งจากมาเลเซียและอินโดนีเซียนัน้ มีภมู ปิ ระเทศทีต่ ดิ พืน้ ทีท่ างทะเลค่อนข้างมาก และด้วยความกะทัดรัดของ ระบบอาวุธนำ�วิถี VL MICA ซึง่ สามารถติดตัง้ ได้ในเรือรบขนาดเล็กได้ท�ำ ให้มคี วามสะดวกและคล่องตัวในการปฏิบตั กิ าร อาวุธนำ�วิถี MICA เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีทางทหารที่บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสอย่างบริษัท MBDA ได้ดำ�เนินการสร้างและพัฒนาขึ้นมาซึ่งสามารถที่จะใช้เป็นเขี้ยวเล็บที่แหลมคมให้กับกองทัพอากาศและ กองทัพเรือของประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งกองทัพต่าง ๆ ในมิตรประเทศอื่น ๆ ซึ่งภาพลักษณะในมุมมองที่ผู้คนส่วนใหญ่ รู้จักประเทศฝรั่งเศสจากสินค้าแบรนด์เนม, หอคอยไอเฟล และน้ำ�หอมกลิ่นรัญจวนใจนั้นคงเป็นเพียงเศษเสี้ยว หนึง่ เท่านัน้ เมืองน้�ำ หอมแห่งนีย้ งั มีเทคโนโลยีระบบอาวุธขัน้ สูงอีกหลายแบบด้วยกันทีม่ คี วามน่าสนใจและถือว่า อยู่ในขั้นแนวหน้าของโลกเลยก็ว่าได้  แหล่งที่มาของข้อมูล : 1. เอกสาร Press Information บริษัท MBDA (ฝรั่งเศส) 2. เอกสาร MICA Multi – Mission Air to Air Missile System บริษัท MBDA (ฝรั่งเศส) 3. http://www.weaponsystems.net 4. http://www.wikipedia.org 5. ภาพจาก www.MBDA-system.com


(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

บทที่ ๒ มองอดีต

 ภัยคุกคามที่หลากหลาย ในอดีต ฐานบินถูกโจมตีด้วยหลายวิธี หลายวัตถุประสงค์ ไล่เรียงตั้งแต่การเข้ายึดสนามบิน จนถึงการ รบกวน หรือสร้างสถานการณ์ให้คนในฐานบินแตกตื่น ดังนั้นเพื่อที่จะทำ�ให้มองเห็นภาพภัยคุกคามฐานบินได้ ชัดเจนขึ้น ก็จะแบ่งรูปแบบของการโจมตีฐานบิน ตามวัตถุประสงค์ของการเข้าโจมตี ดังนี้ • ยึดฐานบิน ๔๑ ครั้ง • ทำ�ให้ฝ่ายป้องกันไม่สามารถใช้ฐานบินได้ ๔๗ ครั้ง • รบกวนฝ่ายป้องกัน ๑๗๓ ครั้ง • ทำ�ลายเครื่องบิน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ๓๘๔ ครั้ง

วัตถุประสงค์ของการโจมตีฐานบิน


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๔๕

ดังแสดงในรูป ส่วนใหญ่วัตถุประสงค์ของการโจมตีฐานบินก็คือ ความต้องการที่จะทำ�ลายเครื่องบิน มีเพียง ๖ % เท่านั้นที่ต้องการยึดฐานบินเพื่อเข้าใช้งานเป็นฐานบินหน้า ส่วนใหญ่การโจมตีเพื่อยึดฐานบิน เกิดขึน้ ในสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง โซเวียตก็ใช้วตั ถุประสงค์นใี้ นคราวยึดอัฟกานิสถาน (ค.ศ.๑๙๗๙) สหรัฐอเมริกา ก็เคยเข้ายึดสนามบินสองครั้งในเกรนาด้า (ค.ศ.๑๙๘๓) และในปานามา (ค.ศ.๑๙๘๙)

วัตถุประสงค์ที่ ๑ : ยึดฐานบิน จากจำ�นวน ๔๑ ครั้งที่ถูกจัดว่าเป็นการโจมตีเพื่อยึดฐานบินนั้น ๑๖ ครั้งเป็นการโจมตีด้วยหน่วยพลร่ม เพื่อที่จะใช้เป็นฐานบินหน้าในการเพิ่มเติมกำ�ลัง และส่งกำ�ลังบำ�รุง, ๒๓ ครั้งเป็นการโจมตีเพื่อที่จะให้ ทอ.ของฝ่ายตนใช้เป็นฐานบินหน้าในการรุกทางอากาศ และมีเพียง ๒ ครัง้ เป็นการเข้าโจมตีดว้ ยทหารราบยานยนต์ เพื่อทำ�ลายเครื่องบินและกองกำ�ลังในฐานบิน  การยึดฐานบินเพื่อใช้เป็นฐานบินหน้าในการเพิ่มเติมกำ�ลัง กองทัพเยอรมันเป็นกองทัพแรกทีเ่ ห็นประโยชน์ของสนามบินข้าศึก ในอันทีจ่ ะใช้เป็นฐานในการเพิม่ เติม กำ�ลังของตน ๙ เมษายน ค.ศ.๑๙๔๐ พลร่มเยอรมันเข้ายึด ๔ สนามบินพร้อมกัน เมืองอัลบอร์ก ของเดนมาร์ก, เมืองโซลา, ออสโล และเมืองสตาแวนเกอร์ ของนอร์เวย์ ที่เมืองออสโลนั้นในตอนแรกการส่งลงของหน่วยพลร่ม มีอันต้องยกเลิกไป เนื่องจากมีการต่อต้านจากปืนต่อสู้อากาศยานอย่างหนัก ทำ�ให้เยอรมันต้องใช้ยุทธวิธี นำ�อากาศยานร่อนลงแล้วส่งทหารพลร่มเข้ายึดฐานบินได้เป็นผลสำ�เร็จ ๑๐ พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๔๐ พลร่มเยอรมันเข้ายึดอีก ๔ สนามบินในฮอลแลนด์ ๓ สนามบินแรก ตั้งอยู่ที่เมืองเฮก และอีกแห่งอยู่ที่เมืองรอตเตอร์ดัม ที่เมืองเฮกนั้นกองกำ�ลังของฮอลแลนด์สามารถผลักดัน พลร่มเยอรมันออกไปได้ แต่...๕ วันต่อมาพลร่มเยอรมันก็เข้ายึดฐานบินทั้งสามได้สำ�เร็จ ๑ ปี หลังจากนั้น ยุทธการส่งทางอากาศครั้งที่ใหญ่ที่สุด ของเยอรมันในสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ ก็บงั เกิดขึน้ โดยพลร่มเยอรมัน เข้าโจมตีสนามบินของสหราชอาณาจักรในครีต ๓ สนามบิน แต่ถกู ผลักดันออกไปด้วยกำ�ลังป้องกันที่กล้าหาญและเข้มแข็ง อย่างไร ก็ตามสนามบินทีเ่ มืองเมเลมี่ ก็ถกู เยอรมันยึดเป็นฐานบินหน้า จน ในที่สุด สหราชอาณาจักรจำ�ต้องยอมเสียครีตให้แก่เยอรมันใน สัปดาห์ถัดไป ค.ศ.๑๙๗๙ พลร่มโซเวียตเข้ายึดสนามบินกรุงคาบูล เพื่อใช้เป็นฐานบินในการเพิ่มเติมกำ�ลังของตน ในปฏิบัติการ ยึดอัฟกานิสถาน


๔๖ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

ค.ศ.๑๙๘๓ อเมริกันก็ใช้ยุทธวิธีคล้าย ๆ กับโซเวียตในการโจมตีเกรนาด้า (ยุทธการ Urgent Fury) โดยเข้ายึดสนามบินเมืองซาลิน่า และสนามบินเมืองเพิรล์ ด้วยทหารพลร่ม และการโจมตีด้วยเฮลิคอปเตอร์ ค.ศ.๑๙๘๙ ภายใต้ยุทธการ Just Cause หน่วยจู่โจม ทบ.สหรัฐอเมริกา เข้ายึดสนามบินเมืองริโอ และ สนามบินเมืองโตคูเมน ในปานามา  การยึดฐานบินเพื่อใช้เป็นฐานบินหน้าในการรุกทางอากาศ เห็นทีว่าการเข้ายึดฐานบินเพื่อวัตถุประสงค์นี้จะพบได้ในเฉพาะสมรภูมิสงครามโลกครั้งที่ ๒ เท่านั้น และส่วนใหญ่ก็มักจะเข้ายึดฐานบินสำ�เร็จ และไม่กี่ชั่วโมง หรือแค่ไม่กี่วัน ก็สามารถใช้ฐานบินของข้าศึกที่ ยึดมาได้นี้ เป็นฐานบินในการส่งเครือ่ งบินของฝ่ายตนกลับเข้าไปรุกในดินแดนข้าศึก เป็นการต่อระยะรัศมีปฏิบตั กิ าร ของ บ.รบ ฝ่ายตนได้เป็นอย่างดี ความต้องการในการเข้ายึดฐานบิน และความจำ�เป็นในการป้องกันฐานบินให้ปลอดภัยนั้น กลายเป็น วัตถุประสงค์หลักของแผนการยุทธในสมรภูมิแปซิฟิก ดังจะเห็นได้ว่าการเปิดยุทธการรุกส่วนใหญ่ เป็นการรุก เพื่อเข้ายึดฐานบิน เพื่อที่จะให้กำ�ลังทางอากาศของฝ่ายตน สามารถขยายเขตการรุกกินแดนข้าศึกเข้าไปเรื่อย ๆ เปิดโอกาสให้กำ�ลังทางภาคพื้น และกำ�ลังทางเรือ ทำ�การรวมกำ�ลังเข้าตีเพื่อยึดฐานบินใหม่อีกต่อไป ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. ๑๙๔๑ กองทัพญีป่ นุ่ ส่งกำ�ลัง ภาคพืน้ และกำ�ลังทางเรือ บุกเกาะเวค (ทางเหนือของแปซิฟกิ ) เพือ่ ต้องการเข้ายึดสนามบิน โดยตอนแรกทหารอเมริกนั ทีต่ งั้ ฐาน อยูบ่ นเกาะเวคตีไล่กองกำ�ลังญีป่ นุ่ จนกองทัพของจักรพรรดิตอ้ ง ถอยกลับออกมา แต่หลังจากนั้นสองสามสัปดาห์ ทหารญี่ปุ่น ก็หาทางเข้ายึดทัง้ เกาะไว้ได้ ในระหว่างทีโ่ ถมกำ�ลังเข้ายึดเกาะ เวคนั้น ในอีกด้านญี่ปุ่นก็ส่งกำ�ลังรุกเข้าทางประเทศไทย และ มาลายา โดยมีวัตถุประสงค์สุดท้ายเพื่อเอาชนะกองกำ�ลัง อังกฤษในมาลายา และยึดเกาะสิงคโปร์ สิ่งสำ�คัญก็คือญี่ปุ่น ต้องเอาชนะกำ�ลังทางอากาศของอังกฤษให้ได้ จะทำ�อย่างนัน้ ญีป่ นุ่ ต้องการสนามบินในไทยและทางเหนือของมาลายา ว่าแล้ว กองทัพบกที่ ๒๕ ของจักรพรรดิก็ยกพลขึ้นบกที่สงขลาและ ปัตตานีของไทย และทีโ่ กตาบารูของมาลายา เพียง ๑ สัปดาห์ ญี่ปุ่นก็สามารถยึดสนามบินไทยที่สงขลา และปัตตานีได้ ส่วนในมาลายา ฐานบินของอังกฤษในเมืองโกตาบารู, อัลลอ สตาร์ และเมืองซันไก เปตานี ก็ถูกญี่ปุ่นเข้ายึดเช่นกัน เครื่องบินของญี่ปุ่นบินขึ้นจากสนามบินเหล่านี้ เพื่อโจมตีที่ตั้ง ของกองทัพอังกฤษทัว่ มาลายา จนวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ค.ศ.๑๙๔๒ ญีป่ นุ่ ก็บรรลุวตั ถุประสงค์สดุ ท้าย เมือ่ กองทัพ อังกฤษในสิงคโปร์ยอมแพ้ต่อญี่ปุ่น


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๔๗

การโจมตีฐานบินเพื่อวัตถุประสงค์เช่นนี้ เกิดขึ้นในสมรภูมิอื่น ๆ อีกเช่น • การเข้ายึดฐานบินของอังกฤษที่ ปาเลมบัง เกาะสุมาตรา ในกุมภาพันธ์ ๑๙๔๒ • ญี่ปุ่นบุกเกาะมิดเวย์ ใน มิถุนายน ๑๙๔๒ • อังกฤษจู่โจมฐานบินของฝรั่งเศส ที่ โซค เอล อาบา ในอัลจีเรีย พฤศจิกายน ๑๙๔๒ • การรุกของสหรัฐอเมริกา ที่ ไทเนียน, โอว จิมา, โอกินาวา และ ไอชิมา ของญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. ๑๙๔๔ และ ๑๙๔๕

วัตถุประสงค์ที่ ๒ : ทำ�ให้ฝ่ายป้องกันไม่สามารถใช้ฐานบินได้ การโจมตีฐานบินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำ�ให้ฝ่ายป้องกันไม่สามารถใช้ฐานบินได้ (ทำ�การเข้ายึดแต่ ไม่ใช้ประโยชน์) นั้น รวบรวมได้จำ�นวน ๔๗ ครั้ง จำ�นวน ๔ ครั้ง มาจาก “ยุทธการ ทอร์ช” ในเดือนพฤศจิกายน ๑๙๔๒ โดยฝ่ายสัมพันธมิตรทำ�การ รุกเข้าอัลจีเรีย (ซึง่ ในเวลานั้นถูกครอบครองโดยฝรั่งเศส) ด้วยความระแวงของนักวางแผนฝ่ายสัมพันธมิตรที่ว่า เครื่องบินของฝรั่งเศสอาจโจมตีสกัดกั้นเส้นทางการส่งกำ�ลังบำ�รุง ในช่วงต้นของปฏิบัติการรุก พวกเขาจึงตัดสินใจ ส่งพลร่ม ผสานกับขบวนยานเกราะ เข้ายึดสนามบินของฝรั่งเศสในอัลจีเรียซะก่อน ผลก็คือ ในกลางเดือน พฤศจิกายน ๓ สนามบินอันได้แก่ ลา ซีเนีย, ดูเซอร์วิล และ โยค เลส เบน ถูกยึดเรียบร้อยโดยฝ่ายสัมพันธมิตร

มาชมอีก ๔ ครั้ง ที่มาจาก “ยุทธการ อิชิโกะ” ระหว่างเดือนกันยายน และพฤศจิกายน ๑๙๔๔ โดยผู้บัญชาการกองกำ�ลังญี่ปุ่นในยุทธบริเวณจีนตอนเหนือ ทนหงุดหงิดรำ�คาญต่อการถูกเครื่องบินของจีน (ซึง่ ได้รบั การสนับสนุนทัง้ คนและของ จากสหรัฐอเมริกา/หน่วยบินไทเกอร์) โจมตีเส้นทางและขบวนส่งกำ�ลังบำ�รุง ของตนต่อไปไม่ไหว จึงต้องเปิดยุทธการดังกล่าวเพื่อเข้ายึดฐานบินศัตรู เมื่อสิ้นยุทธการ ฐานบินของจีนที่ถูกยึด ได้แก่ ฐานบินที่ หลิง หลิง, ตันชุค, เข่ยหลิง และหลุ่ยโช


๔๘ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

อีก ๓๐ ครั้งถ้วนมาจากการพยายามของญี่ปุ่นตลอดเดือนมีนาคม ๑๙๔๕ ที่ต้องการเข้ายึดสนามบิน อังกฤษ ในเมืองเมิคทีเล ประเทศพม่า โดยทุกคืนทหารญี่ปุ่นพยายามโจมตีสนามบินเมิคทีเล คืนละหลายระลอก แต่ก็ไม่มีคืนไหนสำ�เร็จ ส่วนทีเ่ หลือก็เกิดขึน้ ในสงครามเกาหลี เมือ่ กองทัพสหรัฐอเมริกาพยายามทีจ่ ะใช้สนามบินทีเ่ มืองคุนซาน แต่ก็ถูกทหารเกาหลีเหนือใช้ยุทธวิธีกองโจร ต่อต้านรบกวน จนต้องเสียเวลาไปหลายเดือนกว่าที่จะใช้สนามบิน ได้จริง ๆ

วัตถุประสงค์ที่ ๓ : รบกวนฝ่ายป้องกัน ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการโจมตีฐานบินด้วยวัตถุประสงค์นี้ คือ “สงครามเวียดนาม” เวียดกง และกองทัพเวียดนามเหนือใช้ยุทธวิธีโจมตีฐานบินฝ่ายตรงข้ามด้วยการยิงอาวุธวิถีโค้ง จากภายนอก ทั้งสิ้นจำ�นวน ๔๔๘ ครั้ง ในจำ�นวนนี้ ๑๗๒ ครั้งใช้กระสุนปืน ค.ยิงแต่ละครั้งน้อยกว่า ๕ นัด โดยที่ ไม่ได้สร้างความเสียหายต่อเครื่องบินอเมริกันเลย นั่นก็เพราะขงเบ้งเวอร์ชั่นเวียดกง มิได้ให้ความสำ�คัญต่อการ ทำ�ลายเครื่องบิน แต่หวังผลเชิงยุทธศาสตร์ สร้างภาพให้พลเรือนชาวอเมริกันในสหรัฐอเมริกา รับรู้ถึงความ สูญเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ทหารอเมริกันถูกสังหาร เพื่อลดการสนับสนุนของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล ในการทำ�สงครามทีเ่ วียดนาม หากแม้วา่ การโจมตีจะสร้างความเสียหายต่อเครือ่ งบินอเมริกนั ได้กถ็ อื ว่าเป็นของแถม เพราะนัน่ ไม่ใช่วตั ถุประสงค์หลักจริง ๆ ส่วนปฏิบตั กิ ารทีเ่ วียดกงต้องการทำ�ลายเครือ่ งบินโดยตรงนัน้ พวกเขาจะ วางแผนอย่างแยบยล ทุ่มกำ�ลังและอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างเต็มที่ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปในวัตถุประสงค์ที่ ๔


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๔๙

วัตถุประสงค์ที่ ๔ : ทำ�ลายเครื่องบินและอุปกรณ์ ๖๐ % ของการโจมตีฐานบินทัง้ หมดในรายงานฉบับนี้ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ทำ�ลายเครือ่ งบินและอุปกรณ์ ถึงแม้ว่าการโจมตีฐานบินตามวัตถุประสงค์ ๑, ๒ และ ๓ อาจมีเครื่องบินและหรืออุปกรณ์ได้รับความเสียหาย บ้าง แต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จนแทบไม่มีนัยยะใด ๆ บันทึกแรกในประวัติศาสตร์การโจมตีฐานบินเพื่อทำ�ลายเครื่องบินและอุปกรณ์ เริ่มขึ้นในเดือน ตุลาคม ๑๙๔๐ เมื่อหน่วยรบพิเศษอังกฤษ แทรกซึมเข้าทำ�ลายเครื่องบินของอิตาลีและฝ่ายอักษะที่ประจำ�การ อยู่ ณ ฐานบินในแอฟริกาเหนือ ตลอดห้วง ๒ ปี ทหารรบพิเศษอังกฤษทีมเล็ก ๆ ไม่กี่ทีมสามารถแทรกซึม ลึกเข้าไปในเขตอิทธิพลของฝ่ายตรงข้ามนับร้อยไมล์ ผลงานของพวกเขาก็คือ เครื่องบินฝ่ายอักษะ จำ�นวน ๓๖๗ ลำ� กลายสภาพเป็นเศษเหล็กกองอยู่บนลานจอด ในระหว่างสงครามเกาหลี ทหารราบเกาหลีเหนือพยายามเล็ดลอดผ่านแนวรั้วป้องกันเข้าโจมตี สนามบินโปฮัง ในเกาหลีใต้ แต่ก็ถูกต่อต้านไว้ได้ด้วยกองกำ�ลังผสมที่จัดตั้งไว้เป็นพิเศษเพื่อป้องกันฐานบิน อันได้แก่ ทหารอากาศโยธิน, สารวัตรทหาร, ทหารช่าง และทหารเหล่าสนับสนุนอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม สองสามวันต่อมา สนามบินโปฮังก็ต้องปิดตัวเองลง เมื่อท่าเรือเมืองโปฮังซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับสนามบิน ต้องถูกยึด ด้วยกองกำ�ลังขนาดใหญ่ของเกาหลีเหนือ

สงครามเวียดนามเป็นพระเอกของการโจมตีฐานบินด้วยวัตถุประสงค์นี้ ด้วยตัวเลข ๓๑๖ ครั้ง, เครื่องบิน อเมริกันและพันธมิตรถูกทำ�ลาย ๓๙๓ ลำ�, ๑,๑๘๕ ลำ� ได้รับความเสียหาย โดยแทคติกยอดฮิตของเวียดกง ที่ใช้เกือบ ๓๐๐ ครั้ง ก็คือ ยิงถล่มฐานบินด้วยปืน ค., จรวด และปืนไร้แรงสะท้อน ไม่ถึง ๑๐ นัด แล้วรีบชิ่งหนีไป ปล่อยไว้แต่เพียงความโกลาหลในฐานบินอเมริกัน ในขณะที่มีเพียง ๒๑ ครั้งเท่านั้นที่เวียดกงส่ง “แซปเปอร์”


๕๐ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

เข้าโจมตีฐานบินของอเมริกันที่ตั้งอยู่ในเวียดนามใต้ และประเทศไทย และมี ๘ ครั้งที่พวกเขาใช้ยุทธวิธีผสม (แซปเปอร์ + ถล่มด้วยปืน ค.) มีตัวอย่างของปฏิบัติการที่วางแผนและปฏิบัติได้อย่างเนียน ๆ กล่าวคือ กลุ่มชาตินิยมเปอร์โตริกัน ที่เรียกกันว่าพวก “มาเชคเตอโร่” จำ�นวนเท่าใดไม่ทราบ ขุดหลุมลอดผ่านแนวรั้วของฐานบินอเมริกัน (ฐานบิน “มูนิค”) ในเมืองซานจวน เปอร์โตริโก ใน ๑๒ มกราคม ๑๙๘๑ แล้วย่องเข้าไปแขวน “ระเบิดกระเป๋า” ไว้กับ เครื่องบิน ๑๑ ลำ� เสร็จแล้วก็หนีกลับออกมาโดยมิได้ถูกตรวจจับได้แต่อย่างใด คล้อยหลังเพียง ๖๐ นาที เจ้าระเบิดกระเป๋าก็ทำ�หน้าที่ของมัน บ.แบบ A-7D จำ�นวน ๘ ลำ� กลายเป็นซาก ๒ ลำ� เสียหาย อีก ๒ ลำ� รอดหวุดหวิดเพราะระเบิดมันด้าน แม้แต่เจ้า บ.แบบ F-104 ที่ปลดประจำ�การไปแล้วและถูกนำ�มาตั้งแสดงไว้ เป็นที่ระลึก ยังไม่แคล้วโดนระเบิดทำ�ลายไปกับเค้าด้วย ใน ๒๗ มกราคม ๑๙๘๒ เหตุเกิดที่ประเทศเอลซัลวาดอร์ เมื่อกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหาร ที่มีชื่อเรียก ย่อว่า FMLN ใช้ยุทธวิธียิงด้วยลูกจรวด และใช้ “แซปเปอร์” แทรกซึมเข้าก่อวินาศกรรม ผลงานของ FMLN ก็คือ เฮลิคอปเตอร์ ๕ ลำ�, บ.รบ ๕ ลำ�, บ.ลำ�เลียง ๕ ลำ� ถูกทำ�ลาย และ บ.แบบต่าง ๆ อีก ๗ ลำ� เสียหาย ในปี ค.ศ. ๑๙๘๒ ระหว่างสงครามชิงหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ หน่วยรบพิเศษอังกฤษ SAS ได้รับมอบหมาย ให้โจมตีสนามบินของอาร์เจนตินา บนเกาะเพบเบิ้ล เนื่องจาก ผบ.กองกำ�ลังอังกฤษเกรงว่า อาร์เจนตินาอาจใช้ ฝูงบินโจมตีขนาดเบาที่วางกำ�ลังบนเกาะเพบเบิ้ล เล่นงานการยกพลขึ้นบกของอังกฤษซึ่งจะมีขึ้นอีกไม่กี่วันที่ อ่าวซาน คาลอส ภารกิจของ SAS ก็คือ ทำ�ลายฝูงบินนั้นซะ

(อ่านต่อฉบับหน้า)


สันติภาพ ซึ่งเป็นนโยบายบทบาทเชิงรุก (proactive) ของกองทัพ ญี่ปุ่นจึงได้กำ�หนดยุทธศาสตร์ ความมัน่ คงแห่งชาติขนึ้ นโยบายนีจ้ ะทำ�ให้ญปี่ นุ่ สามารถส่งออกอาวุธได้งา่ ยโดยการเพิม่ งบประมาณกลาโหม เป็นการกระทำ�เพื่อสันติภาพ ซึ่งโดยที่หลังจากจีนประกาศเขตป้องกันภัยทางอากาศทับพื้นที่หมู่เกาะที่เป็น ข้อพิพาทกับญีป่ นุ่ (เซนกากุ/เตียวหยู) แล้ว รัฐบาลญีป่ นุ่ ก็ได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ความมัน่ คงแห่งชาติ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการพื้นฐานด้านนโยบายความมั่นคงระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบโดยตรง ต่อการเมืองและสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกในอนาคต ในอดีตนโยบายความมั่นคงระหว่างประเทศของญี่ปุ่นอิงกับการตีความมาตราที่ ๙ ของรัฐธรรมนูญ ทีห่ า้ มการทำ�สงครามและห้ามแก้ไขข้อพิพาทด้วยกำ�ลังทหาร รวมทัง้ ห้ามมีกองทัพ แต่ญปี่ นุ่ มีกองกำ�ลังป้องกันตนเอง ที่มีศักยภาพทางการทหารไม่ต่างอะไรกับกองทัพทั่วไป ดังนั้น ญี่ปุ่นจะใช้วิธีการทางการทูตและความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขความขัดแย้ง และใช้การสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศต่าง ๆ เป็นวิธีการในการสร้างสันติภาพในระดับนานาชาติ ตัง้ แต่ปี ค.ศ.๑๙๙๒ ญีป่ นุ่ ได้สง่ กองกำ�ลังป้องกันตนเองเข้าร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ ตามข้อเรียกร้องจากประเทศมหาอำ�นาจตะวันตก ซึ่งการปฏิบัติการทางการทหารดังกล่าวขัดกับมาตราที่ ๙ ของรัฐธรรมนูญ จึงมีความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากกลายเป็นข้อจำ�กัดของญี่ปุ่นในการ ปรับตัวตามการเปลีย่ นแปลงด้านความมัน่ คงของภูมภิ าคเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะความรุนแรงของข้อพิพาท กับจีนเกี่ยวกับการอ้างสิทธิในหมู่เกาะเซนกากุ/เตียวหยู และการคุกคามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ แผนยุทธศาสตร์นี้ เรื่องประเด็นความมั่นคงของชาติจะเป็นหัวใจสำ�คัญของการกำ�หนดนโยบายในทุกด้าน ของญี่ปุ่นในอีกสิบปีข้างหน้า โดยญี่ปุ่นจะใช้วิธีการเชิงรุกมากยิ่งขึ้น และมีเป้าหมาย ๓ ประการ คือ


กองกำ�ลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น ๑. เสริมสร้างแสนยานุภาพทางการทหาร ๒. เพิ่มความเข้มแข็งของการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาและ แสวงหาพันธมิตรเพิ่มเติมทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และ ๓. ให้การสนับสนุนระเบียบโลกสากล และ การมีบทบาทในการแก้ไขข้อพิพาทด้วยวิธีการทางการทูต ซึ่งแผนยุทธศาสตร์นี้เป็นแนวคิดสันติภาพเชิงรุก (Proactive Contribution to Peace หรือ Proactive Pacifism) ซึ่งเป็นการขยายบทบาททางการทหารของ ญี่ปุ่นไปในทิศทางที่ขัดแย้งกับมาตราที่ ๙ ของรัฐธรรมนูญ และอาจนำ�ไปสู่การแข่งขันสะสมอาวุธในภูมิภาค เอเชียตะวันออก  บทบาทในเวทีโลก สำ�หรับยุทธศาสตร์ใหม่ของญี่ปุ่นในช่วงปี ค.ศ.๒๐๑๔ – ๒๐๑๙ กำ�หนดให้มีการปรับเปลี่ยนเป้าหมาย ทางการทหารที่สำ�คัญสูงสุดของญี่ปุ่น โยกจากทางด้านเหนือของประเทศซึ่งอยู่ประชิดกับรัสเซีย มาเป็นพื้นที่ด้าน ตะวันตกและด้านใต้ของประเทศ ซึ่งครอบคลุมบรรดาหมู่เกาะในทะเลจีนตะวันออกที่ทางรัฐบาลโตเกียวและปักกิ่ง กำ�ลังมีข้อพิพาทแย่งชิงอธิปไตยเหนือหมู่เกาะต่าง ๆ ยุทธศาสตร์การทหารใหม่นี้เป็นการเพิ่มบทบาททางการทหาร ของญี่ปุ่นในเวทีโลก โดยยุทธศาสตร์และแผนกลาโหมใหม่ของญี่ปุ่นจะมีความสอดคล้องกับดุลอำ�นาจของโลก ที่กำ�ลังเปลี่ยนแปรไปของเพื่อนบ้านของญี่ปุ่น โดยเฉพาะจีน เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ โดยทั้งหมดวิตกว่า ยุทธศาสตร์ใหม่อาจทำ�ให้ญปี่ นุ่ ละทิง้ จุดยืนในการจำ�กัดบทบาทของกองทัพทีม่ สี ถานะเป็นเพียงกองกำ�ลังป้องกัน ตนเอง (Japan Self-Defense Forces : JSDF) ตามรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นภายหลังจากที่ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายปราชัย ในมหาสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ใหม่ของญี่ปุ่นยังหมายถึงการจัดตั้งหน่วยงาน “สภาความมั่นคง แห่งชาติ” ที่มีรูปแบบมาจากองค์กร National Security Agency (NSA) ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการรวมศูนย์แห่ง อำ�นาจในการตัดสินใจทางด้านความมั่นคงและการทหาร ในช่วง ๕ ปี ตั้งแต่ ค.ศ.๒๐๑๔ จนถึงปี ค.ศ.๒๐๑๙


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๕๓

ปัจจุบันรัฐบาลญี่ปุ่นได้เพิ่มงบประมาณด้านการป้องกันประเทศในระยะกลาง (Mid-term Defense Program) ขึ้นไปเป็น ๒๔๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างเดือน เม.ย.๒๐๑๔ – ๒๐๑๙ ซึ่งจะถูกใช้ไปใน การจัดหาอาวุธและยุทโธปกรณ์ส�ำ หรับการเพิม่ แสนยานุภาพทางทะเลและอากาศของกองกำ�ลังป้องกันประเทศ ทั้งนี้ แผนความมั่นคงชุดใหม่ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับแรกของประเทศ แนวปฏิบัติ ด้านการป้องกันประเทศระยะ ๑๐ ปี (10-years defense guideline) แผนเพิ่มกำ�ลังรบ ๕ ปี โดยอาวุธหลักที่จะซื้อ ได้แก่ อากาศยานไร้คนขับ Global Hawk จำ�นวน ๓ เครื่อง ยานสะเทินน้ำ�สะเทินบก ๕๒ คัน เฮลิคอปเตอร์ Osprey จำ�นวน ๑๗ เครื่อง เรือดำ�น้ำ� ๕ ลำ� เครื่องบินขับไล่ล่องหน สเตลธ์ เอฟ - ๓๕ เอ รวม ๒๘ เครื่อง ระบบสกัดกั้นขีปนาวุธเอจิส ๒ ชุด เพื่อเพิ่มบทบาทกองทัพญี่ปุ่นให้สอดรับกับนโยบายความมั่นคงของรัฐบาล โอบามา ซึ่งถือเป็นความร่วมมือทางด้านความมั่นคงของทั้ง ๒ ประเทศ รวมถึงมิตรประเทศในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ถือเป็นการเสริมเขี้ยวเล็บด้านการทหารและความมั่นคงแบบขนานใหญ่ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความจำ�เป็น อย่างยิ่งยวด เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากอิทธิพลที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องของจีนและเกาหลีเหนือ กรณีมีอาวุธ นิวเคลียร์ในครอบครอง รวมถึงการที่สหรัฐฯ ที่เป็นพันธมิตรสำ�คัญของญี่ปุ่นจะสานต่อนโยบาย “Pivot to Asia” ที่หยุดชะงักไป ทั้งนี้ สมุดปกขาวว่าด้วยนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ “Defense of Japan 2013” จะรวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบปี ทั้งเกาหลีเหนือ จีน กิจกรรมทางทหารของรัสเซีย และสถานการณ์ ความมัน่ คงอันเป็นหัวใจในการกำ�หนดยุทธศาสตร์ในระยะยาว ตัวอย่างเช่น ภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือต่อญีป่ นุ่ จะเป็นภัยคุกคามที่มุ่งมองไปในอนาคต ซึ่งแสดงถึงอำ�นาจการรบขั้นสูงและมีเป้าหมายใช้โจมตีญี่ปุ่น  บทบาทของสหรัฐฯ สหรัฐฯ คือ ตัวแสดงหลักทีม่ บี ทบาทอย่างยิง่ ต่อสถานการณ์ความมัน่ คงในภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ ดังนัน้ แผนความมั่นคงของญี่ปุ่นจึงสอดรับกับนโยบายความมั่นคงของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคและสอดรับกับยุทธศาสตร์ แม่บท “pivot to Asia” ของรัฐบาลโอบามา โดยอาวุธหลักที่ญี่ปุ่นวางแผนจะซื้อเพิ่มเติมทั้งหมดล้วนติดตรา MADE IN USA ทั้งสิ้น และล้วนเป็นอาวุธรุ่นใหม่ล่าสุดที่พันธมิตรชั้นเยี่ยมของสหรัฐฯ เท่านั้น จึงจะได้สิทธิ ครอบครอง ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของญี่ปุ่นจะให้ความสำ�คัญในกรอบเอเชียตะวันออกไกลเป็นสำ�คัญ โดยดึง ประเทศนอกภูมิภาคอย่างสหรัฐฯ เข้ามาเกี่ยวพัน โดยญีป่ ุ่นได้น�ำ นโยบายด้านความมั่นคงชุดใหม่มาใช้ และเน้น แนวคิดเรื่องกองกำ�ลังป้องกันแบบพลวัต แนวคิดดังกล่าวมุ่งเน้นการป้องกันหมู่เกาะทางตะวันตกเฉียงใต้ และ

Global Hawk


ทำ�ให้กองกำ�ลังสหรัฐฯ ที่ประจำ�อยู่ในโอกินาวาและบริเวณรอบ ๆ ได้รับการคุ้มครองจากญี่ปุ่น ดังนั้น สหรัฐฯ และญี่ปุ่นจำ�เป็นต้องหารืออย่างจริงจัง เพื่อประสานงานด้านยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของตน ซึ่งสหรัฐฯ และพันธมิตรในเอเชียจะมีโอกาสสร้างสภาพแวดล้อมของความมั่นคงที่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาครวมทั้งจีน จะมีแนวโน้มที่จะสร้างความสัมพันธ์เชิงร่วมมือมากกว่าความสัมพันธ์เชิงปะทะ ซึ่งความเป็นพันธมิตรระหว่าง ญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ จะช่วยเสริมผลประโยชน์ร่วมกันในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และเป็น เสาหลักของระเบียบโลกเสรี อันมีส่วนเอื้อให้ภูมิภาคนี้มีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าด้าน ประชาธิปไตย และการร่วมมือระดับภูมิภาค โดยทั้ง ๒ ประเทศ ควรส่งเสริมความร่วมมือในระดับไตรภาคีกับ ประเทศที่มีแนวคิดคล้ายกัน เช่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ รวมทั้งมีบทบาทหลัก ในการส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงในรูปแบบใหม่ ๆ ภายในภูมิภาค รวมถึงการฟื้นฟูความร่วมมือแบบ ดั้งเดิมของญี่ปุ่นและสหรัฐฯ อาทิ การป้องปรามจีนและความมั่นคงทางทะเล ความมั่นคงในคาบสมุทรเกาหลี และการฟื้นฟูระบบป้องปรามของภูมิภาค ยิ่งสถานการณ์มีความเปราะบางเพียงใด ความสำ�คัญของสหรัฐฯ ก็ยิ่ง เพิ่มขึ้น ดังนั้น สมการความมั่นคงในเอเชียแปซิฟิกจึงมีสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในตัวแปรสำ�คัญ  บทบาทต่ออาเซียน อาเซียนซึ่งประกอบด้วย ๑๐ ประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นจุดศูนย์กลางของนโยบาย หลักของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยอาเซียนจะเพิ่มบทบาทในเชิงรุกมากขึ้นในการคงไว้ซึ่งสันติภาพและความเจริญเติบโต ของเศรษฐกิจโลก ดังนั้น อาเซียนซึ่งเป็นเสมือนหุ้นส่วนพิเศษของญี่ปุ่น ก็อยู่ในจุดศูนย์กลางของนโยบาย ญี่ปุ่น ต้องการหาแนวร่วมจากอาเซียนเพือ่ คานอำ�นาจกับจีน โดยฟิลปิ ปินส์และญีป่ นุ่ ได้ตกลงกันทีจ่ ะเพิม่ ความร่วมมือ ด้านความมั่นคงในภาวะที่จีนมีบทบาททางทะเลมากขึ้น ทั้งนี้ อาเซียนและญี่ปุ่นจะต้องร่วมกันสนับสนุนค่านิยม พื้นฐานเกี่ยวกับเสรีภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และการเคารพกฎ กติกา ทั้งยังต้องยึดมั่นในจุดยืนที่จะ คัดค้านการขูค่ กุ คามและการใช้ก�ำ ลังหรือการเผชิญหน้าด้วยความรุนแรง ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของนโยบาย “การเสริมสร้าง สันติภาพเชิงรุก” ของญี่ปุ่นด้วย  บทสรุป ประเทศไทยกับยุทธศาสตร์ความมัน่ คงใหม่ของญีป่ นุ่ นัน้ จะเห็นได้วา่ การพัฒนากองทัพทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ต้องจำ�แนกอย่างชัดเจนว่าสิ่งใดคือภัยคุกคามในปัจจุบัน และสิ่งใดเป็นภัยคุกคามในอนาคตอีกสิบปี หรือยี่สิบปี ข้างหน้า อาทิ การพิทักษ์ความมั่นคงตามแนวชายแดน เขตเศรษฐกิจทางทะเลที่ควรมีปริมาณกำ�ลังเพียงพอ การพัฒนาการต่อต้านการก่อการร้ายสากล และการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งทุกประเทศจำ�ต้องมีกองทัพที่พอเหมาะ แก่การป้องปราม แต่การใช้กำ�ลังควรเป็นเครื่องมือสุดท้าย เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด ทั้งนี้ ควรเพิ่มการ มีส่วนร่วมกับญี่ปุ่น ในการรักษาความมีเสถียรภาพในภูมิภาค แต่ก็ไม่ละเลยความสัมพันธ์กับจีน เช่น การผลักดัน ความร่วมมือทางทหาร ดังนัน้ นโยบายต่างประเทศของไทยต่อยุทธศาสตร์ความมัน่ คงใหม่ของญีป่ นุ่ จะประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเอกเทศกับส่วนที่ผูกพันกับองค์กรระหว่างประเทศ ส่วนที่เป็นเอกเทศ คือ ประเทศไทย ดำ�เนินนโยบายเป็นมิตรกับญี่ปุ่น จีน และสหรัฐฯ พร้อมกันทั้งสามประเทศ ส่วนที่ผูกพันกับองค์กรระหว่าง ประเทศ คือ การเน้นท่าทีจุดยืนของอาเซียน ในเวทีกลไกด้านความมั่นคงของภูมิภาค  อ้างอิง : - เครดิต ศศย.สปท. - http://www.apdforum.com - http://www.manager.co.th


สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหม

ภูมิทัศน์อุตสาหกรรม ป้องกันประเทศของอาเซียน สทป.

ขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของมาเลเซีย ผู้นำ�ของประเทศมาเลเซียนับตั้งแต่นายกรัฐมนตรี มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด เล็งเห็นถึงความจำ�เป็น ในการพัฒนาประเทศในการสร้างนวัตกรรมเพือ่ ให้ได้มาซึง่ การเป็นเจ้าของเทคโนโลยีปอ้ งกันประเทศมาเลเซียได้ ดำ�เนินการหลายแนวทาง ตั้งแต่การตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนาของกระทรวงกลาโหม (Science and Technology Research Institute for Defence : STRIDE) สำ�หรับในภาคการผลิตมาเลเซียมีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มี รัฐบาล หรือเอกชนเป็นเจ้าของ และ/หรือ รัฐบาลมีส่วนร่วมลงทุนกับเอกชน หลายบริษัท เช่น บริษัท DRBHicom Defence Technologies หรือ Deftech บริษัท Aerospace Technology System Corporation บริษัท Astronautic Technology บริษัท Composite Technology Research Malaysia SDN BHD เป็นต้น ซึง่ บริษทั เหล่านีจ้ ะมีสว่ นลงทุนในด้านการวิจยั และพัฒนา หรืออาจจะร่วมลงทุนกับบริษทั ต่างชาติซงึ่ มีสว่ นช่วย เป็นอย่างมากในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


อากาศยานขนส่ง Airbus A400M  โครงสร้างอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อุตสาหกรรมการบิน – มีขีดความสามารถในการผลิตอะไหล่และชิ้นส่วน การซ่อมบำ�รุง การซ่อมคืนสภาพ ยกตัวอย่าง เช่น บริษทั Aerospace Technologies Systems Corporation ก่อตัง้ เพือ่ ให้บริการซ่อมบำ�รุงเครือ่ งบิน MiG และบริษัท Composite Technology Research Malaysia ที่มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้น ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนา อากาศยานขนาดเล็กและระบบย่อยต่าง ๆ รวมทัง้ การมีสว่ นร่วมในการผลิต อากาศยานขนส่ง Airbus A400M Atlas ซึ่งมาเลเซียได้รับผลประโยชน์กลับคืนจากผลทวีคูณทางเศรษฐกิจ มูลค่าราว 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อุตสาหกรรมต่อเรือของมาเลเซีย


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๕๗

 อุตสาหกรรมต่อเรือ สามารถต่อและซ่อมบำ�รุงเรือตรวจการณ์ เรือ OPV มีความร่วมมือภายใต้ Offset ร่วมกับบริษัทจาก ต่างประเทศ DCNS และ Blohm Voss ในการต่อเรือขนาดใหญ่ รวมถึงความร่วมมือระหว่าง Atlas Elektronik จากประเทศเยอรมนี และ BHIC จากประเทศมาเลเซีย เพื่อติดตั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์บนเรือรบ นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือกับบริษัท Daewoo Shipbuilding จากเกาหลีใต้อีกด้วย  ยุทโธปกรณ์ทางบก ประเทศมาเลเซียสามารถผลิตยุทธยานยนต์ประเภทล้อยาง โดยมีผปู้ ระกอบการหลัก ได้แก่ Drb-Hicom Defence Technology (Deftech), Pesaka Astama และ Muadamzam Oto (M) Sdn. Bhd นอกจากนี้ ยังสามารถผลิตอาวุธทหารราบภายใต้ใบอนุญาต เช่น ปืนเล็กยาวแบบ M4 Carbine ในด้านของเทคโนโลยี C4ISR บริษัท Sapura ของมาเลเซียได้ร่วมมือกับบริษัท Thales ในการผลิตวิทยุสื่อสารทางทหารให้กับ กองทัพมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีขีดความสามารถในการดูแลระบบเรดาร์ตรวจการณ์ทางทะเล

ยานเกราะล้อยาง 8x8 แบบ AV8

ในด้านของเทคโนโลยีจรวด รัฐบาลมาเลเซียเจรจาทำ�สัญญากับ บริษัท Destini Prima เพื่อการจัดหาจรวด (ไม่นำ�วิถี) ขนาด 70 มม. แบบ FZ-90 จำ�นวน 90 ชุด มูลค่า 12.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จรวดกระสุน เหล่านี้ถูกพัฒนาในช่วงปี 1990 โดยบริษัท Forzes de Zeebrugge ของเบลเยีย่ มและทำ�การผลิตตามใบอนุญาตในมาเลเซีย นำ�ไปใช้ภารกิจ การปราบปรามผูก้ อ่ ความไม่สงบทางทิศตะวันออกของประเทศแทนทีจ่ ะ ใช้จรวด JDAM ที่มีราคาแพง โดยตกลงจะจัดซื้อหลังจากการปะทะกับ ผูก้ อ่ ความไม่สงบโดยการใช้ระเบิด JDAM และเลเซอร์ปรับระยะในพืน้ ที่

จรวด (ไม่นำ�วิถี) ขนาด 70 มม.


๕๘ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

เครือข่ายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ จีน

ข้อตกลงความร่วมมือทางด้านการลาดตระเวนเฝ้าตรวจทางทะเล รวมทั้งความร่วมมือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหลายบริษัทยื่นข้อเสนอการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อหวังเปิดช่องทางการตลาด

ฝรั่งเศส

ก่อตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่าง DCNS จากประเทศฝรั่งเศส และ Boustead Heavy Industries Corp ของมาเลเซีย ในการซ่อมบำ�รุงเรือดำ�น้ำ�, บริษัท Thales มีความร่วมมือ ในการติดตัง้ ระบบ Combat Management System (CMS) และการถ่ายทอดเทคโนโลยี จรวดต่อสู้อากาศยานแบบ Star Streak และ บริษัท Dassault Systems มีการลงนาม บันทึกความเข้าใจกับ บริษัท Feiran Technology

เยอรมนี

บริษัท Rheinmetall มีความร่วมมือกับบริษัท Boustead

อิตาลี

หลายบริษัทสนใจที่จะลงทุนในประเทศมาเลเซีย อาทิ Selex Sistemi

รัสเซีย

บริษัท Sukhoi และ Irkut Rosoboronexport ได้ร่วมกับบริษัทในประเทศมาเลเซีย ในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ดำ�เนินกิจการให้บริการซ่อมบำ�รุง เครื่องบินแบบ MiG 29N และ SU30MKM

เกาหลีใต้

บริษัท Daewoo Shipbuilding มีข้อตกลงร่วมต่อเรือลาดตระเวน ร่วมกับบริษัท NGV Tech ของมาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทต่อเรือ TKS Shipbuilding ในเกาหลีใต้

สหราชอาณาจักร

ก่อตัง้ บริษทั ร่วมทุนเพือ่ ให้บริการซ่อมบำ�รุงเครือ่ งบินแบบ HAWK รวมทัง้ การออกแบบ UAV รุ่น Eagles ในปี 2002 ร่วมกับบริษัท CTRM

สวีเดน

บริษัท Saab ร่วมลงนามกับบริษัท PT Pindad ในโครงการปรับปรุงระบบป้องกันภัย ทางอากาศ

ความร่วมมือระหว่างมาเลเซียและจีน

ลงนามร่วมกับ Thales

(ฉบับหน้าจะกล่าวถึง ขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของเวียดนาม)


การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของ ทอ. สำ�หรับสงครามยุคใหม่ ทสส.ทอ. (ต่อจากฉบับที่แล้ว)  อุปกรณ์ (Hardware)

ทอ.ได้ดำ�เนินการพัฒนาและปรับปรุงอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ให้มีความเหมาะสมและพอเพียงต่อการใช้งาน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งในส่วนชุดประมวลผลของ ทุกระบบงาน (ระบบ ACCS, CCIS, NCOC, Data Center, LMIS, HRIS, IBCS) และเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล รวมถึงอุปกรณ์ที่สนับสนุนการทำ�งานประจำ�วันของกำ�ลังพล เช่น PC, Notebook, Tablet เป็นต้น ทั้งนี้ ยังรวมถึงอุปกรณ์วิทยุสื่อสารทั้งภาคพื้นและภาคอากาศ ระบบโทรศัพท์ และเครื่องช่วยเดินอากาศต่าง ๆ ได้แก่ TACAN, NDB, VOR และ ILS  โปรแกรม (Software)

ทอ.จะดำ�เนินการพัฒนาให้ระบบสารสนเทศของทุกระบบงานเป็น Web Service เพื่อทำ�ให้เกิด การบูรณาการข้อมูลจากระบบงานทีเ่ กีย่ วข้องกัน และสามารถแลกเปลีย่ นข้อมูลกันได้โดยตรง โดยแบ่งการพัฒนา ด้านซอร์ฟแวร์เป็น ๒ ระบบใหญ่ คือ ระบบสารสนเทศเพือ่ การยุทธ (CIS) และระบบสารสนเทศเพือ่ การสนับสนุน (SIS) โดยมีการบูรณาการข้อมูลฝ่ายอำ�นวยการเพื่อการบัญชาการและควบคุม เป็นแกนกลางในการหลอมรวม ข้อมูลต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบข้อมูล (Data Model) ที่ใช้มาตรฐาน JC3IEDM ให้ผู้บังคับบัญชาใช้ในการตัดสิน ตกลงใจ โดยใช้งบประมาณปี ๕๗ ในการจัดทำ�เป็นโครงการนำ�ร่อง และในปี ๕๘ จะเป็นการบูรณาการข้อมูล ฝ่ายอำ�นวยการให้ครบทัง้ ๖ ระบบงาน สำ�หรับปี ๕๙ จะเป็นการบูรณาการกับหน่วยงานภายนอก ทอ.ทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น ศูนย์แจ้งเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และกรมแผนที่ทหาร เป็นต้น รวมทั้งจัดทำ�ระบบรักษาความปลอดภัย ด้านสารสนเทศบางส่วนให้กับ NCOC Portal ทั้งนี้ยังมีโครงการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการกองบิน เพื่อบูรณาการ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง ศปก.กองบินต่าง ๆ กับ ศปก.ทอ.ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว


๖๐ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

 การตรวจจับ (Sensor)

ทอ.จะทำ�การปรับปรุงเรดาร์ในระบบป้องกันทางอากาศ (Air Defense Radar) เรดาร์ควบคุมการจราจร ทางอากาศ (Airport Surveillance Radar) และเรดาร์ตรวจอากาศ (Weather Radar) ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และมีความพร้อมในการใช้งาน เช่นเดียวกันเทคโนโลยีดา้ นการตรวจจับของ ทอ.มีทงั้ ทีเ่ ป็นอุปกรณ์ตรวจจับภาคพืน้ ได้แก่ VTC, CCTV, Remote Camera (Surveillance/Patrol/Maintenance) และ IR Detector และอุปกรณ์ตรวจจับภาคอากาศ แบบต่าง ๆ ได้แก่ Air Defense Radar, Fire Control Radar, Weather Radar, ASR, EO/IR Camera on Aircraft & VDL, UAV & VDL และ ELINT ก็จะมีการพัฒนาหรือปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีมาตรฐาน แบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถควบคุม เรียกดูได้จากอาคารศูนย์ปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCOC) ทั้งนี้ในส่วนโครงการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการกองบินจะทำ�การรีโมทสัญญาณภาพ Sensor ทั้งส่วนภาคพื้น และ ภาคอากาศที่มีใช้งานในกองบินนั้น ๆ จากตัวอุปกรณ์ Sensor เข้ามาที่ศูนย์ปฏิบัติการกองบิน ด้านสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ทอ.ได้จัดหาอุปกรณ์ข่าวกรองอิเล็กทรอนิกส์ (ELINT) ใช้เก็บรวบรวม สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในพื้นที่ปฏิบัติการ และดำ�เนินกรรมวิธีจนเป็นข้อมูลที่สามารถนำ�กลับไปใช้งาน ด้านสงครามอิเล็กทรอนิกส์ให้กับเครื่องบินขับไล่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ  การรักษาความปลอดภัย (Security)

ทอ.จะทำ�การพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านสถานทีม่ ีการ ติดตั้งระบบ Access Control และการใช้บัตรแสดงตนข้าราชการ ทอ. (RTAF Card) แบบ RFID เพื่อการติดตาม บุคคลภายในอาคารที่สำ�คัญ รวมทั้งมีแนวความคิดในการติดตั้ง CCTV แบบตรวจจับหน้าบุคคลเพื่อพิสูจน์ตัวตน ด้านเครือข่ายติดตั้ง Network Access Control, Intrusion Prevention System, Firewall, SIM, DLP และ Backup Site เพื่อป้องกันรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่าย ด้านโปรแกรมใช้งานติดตั้งโปรแกรมพิสูจน์ตัวตน ผู้ใช้งานที่ใช้พร้อมอุปกรณ์ Token และอุปกรณ์จัดเก็บโปรแกรม และบันทึกการใช้งาน (Backup & Log) ด้านข้อมูลข่าวสารจะทำ�การเข้ารหัสข่าวสารจากผู้ส่งและถอดรหัสโดยผู้รับเองโดยตรง (Encryption at the Edge) และมีอุปกรณ์จัดเก็บบันทึกข้อมูลที่สามารถกู้คืนได้อย่างรวดเร็ว (Backup and Recovery)  ทรัพยากรมนุษย์ (Peopleware)

บุคลากรเป็นปัจจัยสำ�คัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร โดยจะดำ�เนินการให้มกี าร จัดการองค์ความรูอ้ ย่างเป็นระบบ และทำ�ให้บคุ ลากร ทอ.สามารถปฏิบตั งิ านได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และรวดเร็ว โดยจัดให้มีการฝึกอบรม (Training, On the Job Training), การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) การจัดกิจกรรมแข่งขัน (Operations Contest) และการจัดทำ�บัญชีรายชือ่ กำ�ลังพลพร้อมเรียก (On Call List) ซึ่งมีความจำ�เป็นสำ�หรับบุคลากรในบางสาขาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะไม่สามารถพัฒนา


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๖๑

ความต้องการขีดความสามารถด้านการสื่อสาร

หรือทดแทนได้ในระยะเวลาสั้นให้สามารถปฏิบัติงานได้ทันทีในเวลาที่ต้องการ บัญชีรายชื่อกำ�ลังพลพร้อมเรียก (On Call List) เป็นรายชือ่ ของผูท้ ผี่ า่ นการอบรม มีประสบการณ์ในการปฏิบตั ทิ งั้ การทดสอบและการจัดกิจกรรม การแข่งขัน เช่น Cyber Operation Contest จากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างต่อเนื่องของ ทอ. จึงเชื่อว่า ทอ.ยังคง เป็นทีย่ อมรับจากหน่วยงานอืน่ ในการเป็นผูน้ �ำ ด้านการทหารทีน่ �ำ เทคโนโลยีมาใช้ปฏิบตั งิ านได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึง่ เห็นได้จากเหล่าทัพอืน่ ทีเ่ ดินตามเส้นทางที่ ทอ.ได้เป็นผูร้ เิ ริม่ การนำ�หลักการปฏิบตั ทิ ใี่ ช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง มาเป็นตัวขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กองทัพอากาศให้เป็น One of the Best Air Forces in ASEAN อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องคำ�นึงเกี่ยวกับสงครามยุคใหม่ที่นอกเหนือจากความต้องการขีดความสามารถ ด้านการสื่อสาร ที่ทวีความต้องการสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งสำ�คัญที่ต้องคำ�นึงคือ ความสลับซับซ้อนของปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานความขัดแย้งของปัญหานั้น ๆ

ความสลับซับซ้อนของปัญหา และความต้องการขีดความสามารถด้านการสื่อสารที่เพิ่มขึ้น

ดังนั้น นักการทหารรุ่นใหม่ต้องไม่คิดเพียงทำ�ลายเป้าหมาย หรือไม่คิดทำ�ลายปัจจัยสำ�คัญ หรือ จุดยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้ามเพียงเท่านัน้ แต่นกั การทหารรุน่ ใหม่ทดี่ ตี อ้ งคำ�นึงในเรือ่ งผลกระทบต่อเป้าหมาย ในเชิงกระบวนความคิด และเชิงสังคมควบคูไ่ ปกับการเอาชนะต่อเป้าหมายเพือ่ ให้ได้ผลลัพธ์ในระดับยุทธศาสตร์ ที่วางแผนไว้โดยใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่าและสูญเสียกำ�ลังพลน้อยที่สุดตามหลักของการปฏิบัติการบนพื้นฐานของ ผลกระทบ (Effects Based Operations: EBO)


๖๒ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

การเปลี่ยนแปลงของสงครามจากสงครามตามแบบเป็นสงครามไร้รูปแบบที่ต้องต่อสู้ไม่เฉพาะกับ กองกำ�ลังฝ่ายข้าศึก แต่ต้องสู้กับการก่อการร้าย ต้องคำ�นึงถึงองค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐ (NGO) ตลอดจนสื่อมวลชน ทั้งในและต่างประเทศ จึงทำ�ให้กองทัพของนานาประเทศที่เจริญแล้วให้ความสำ�คัญกับระบบบัญชาการและ ควบคุม และระบบข้อมูลข่าวสาร เท่าเทียมกับระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อให้ฝ่ายอำ�นวยการสามารถมีข้อมูล ข่าวสารครบถ้วน รอบด้าน สามารถวิเคราะห์ปัจจัย ผลกระทบ และผลลัพธ์ที่จะเกิด รวมทั้งสามารถสรุปให้ ผู้บังคับบัญชาสามารถตัดสินตกลงใจได้ถูกต้อง รวดเร็วเท่าทันสถานการณ์ ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สือ่ สารจึงเข้ามามีบทบาทสำ�คัญในการสนับสนุนการปฏิบตั กิ ารทางทหารมากยิง่ ขึน้ การปฏิบตั กิ ารรูปแบบใหม่ ๆ เช่น การข่าวกรอง เฝ้าตรวจ และลาดตระเวน (Intelligence Surveillance and Recognizance: ISR) และ การปฏิบตั กิ ารไซเบอร์ (Cyber Operations: CO) โดยเฉพาะอย่างยิง่ การปฏิบตั กิ ารข้อมูลข่าวสาร (Information Operations: IO) เป็นสิง่ ที่ ทอ.จำ�เป็นต้องเร่งพัฒนาการปฏิบตั กิ ารเหล่านี้ เพือ่ ทำ�ให้ระบบข้อมูลข่าวสารเพียงพอ และรองรับกับสงครามยุคใหม่ ปัญหาสำ�คัญในการพัฒนาระบบใด ๆ คือ ข้อจำ�กัดด้านทรัพยากร โดยเฉพาะข้อจำ�กัดด้านงบประมาณ จึงเป็นความท้าทายของฝ่ายอำ�นวยการทีต่ อ้ งหาจุดสมดุลระหว่างความต้องการกับความเป็นไปได้ โดยการกำ�หนด ขีดความสามารถที่จำ�เป็นและเหมาะสมให้ชัดเจน ด้วยการนำ�หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่คำ�นึงถึง ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภมู คิ มุ้ กัน บนพืน้ ฐานของความรู้ และคุณธรรม มาใช้ประกอบการพิจารณากำ�หนด ขีดความสามารถให้ชดั เจน เพือ่ ให้ ทอ.สามารถดำ�รงความเป็นผูน้ �ำ ทางทหารในด้านการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของกองทัพไทยอยู่ต่อไปในอนาคต

การหาจุดสมดุลของการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๖๓

ภาษาไทยด้วยใจรัก

ตอบคำ�ถามที่ถามบ่อย

นวีร์

ฉบับนี้ขอนำ�คำ�ถามภาษาไทยที่มีผู้ถามบ่อยมาเสนอ

 คำ�ถามแรก พยัญชนะ ฌ เรียกว่า ชอ – กะ – เชอ หรือ ชอ – เชอ ในหนังสือมาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ พ.ศ.๒๕๔๐ ได้ระบุชื่อ ตัวพยัญชนะไทย ซึ่งมีชื่อเฉพาะตามที่ใช้ปัจจุบัน ฌ มีชื่อเฉพาะว่า ฌ เฌอ เรียกว่า ชอ – เชอ คำ�ว่า เฌอ แปลว่า ไม้ หรือต้นไม้ เป็นคำ�ยืมจากภาษาเขมร  คำ�ถามที่สอง คำ�ว่า กริยา กับ กิริยา ใช้เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร คำ�ทั้งสองคำ�ใช้แตกต่างกัน ดังนี้ กริยา หมายถึงคำ�ที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ กำ�หนดให้อ่านได้ ๒ แบบ คือ อ่านว่า กริ – ยา หรือ กะ – ริ – ยา ก็ได้ เป็นศัพท์เฉพาะแทนภาษาอังกฤษว่า verb และเป็นเรื่องของไวยากรณ์หรือหลักภาษา ส่วนคำ�ว่า กิริยา หมายความถึง ท่าทางที่แสดงออกหรือมารยาท เช่น เวลาคุยกับผู้ชาย ควรระวังจริต กิริยาไว้บ้าง ผู้หญิงนั้น ถึงจะสวยเพียงไหน แต่ถ้ากิริยาไม่งามก็ไม่น่าดู บางครั้งจะใช้ซ้อนกับคำ�ว่ามารยาท และ ท่าทาง เช่น กิริยาท่าทางของเขาดูหลุกหลิก ไม่น่าไว้ใจ, เขาเป็นคนที่มกี ิริยามารยาทเรียบร้อย แต่ตามปกติ ก็อาจใช้คำ�ว่ากิริยา โดยไม่มีคำ�อื่นมาขยายก็ได้ โดยสื่อความหมายว่า มีกิริยาดี มีกิริยา งดงาม มีกิริยาเหมาะสม เช่น เด็กคนนี้มกี ิริยา รู้จักไหว้ผู้อาวุโสกว่า, ผู้มกี ิริยาเท่านั้นที่จะได้รับการยอมรับ จากสังคม อันที่จริง กริยา เป็นคำ�ที่ยืมจากภาษาสันสกฤต ส่วนกิริยาเป็นคำ�ที่ยืมจากภาษาบาลี ทั้งสองคำ�นี้หมายถึง การกระทำ� งาน ท่าทางที่แสดงออก รวมทั้งเป็นศัพท์เฉพาะทางไวยากรณ์ในความหมายที่ตรงกับคำ�ว่า verb แต่เมื่อนำ�มาใช้ในภาษาไทยแล้ว กริยา และ กิริยา มีความหมายต่างกันดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  คำ�ถามที่สาม ชื่อภูมิภาคและภาษาในทวีปอเมริกาใต้ เรียกว่า ละตินหรือลาติน ถ้าเป็นชื่อภูมิภาคใช้ว่า ลาตินอเมริกา แต่ถ้าเป็นภาษาใช้ว่า ภาษาละติน


๖๔ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

 คำ�ถามที่สี่ เมื่อประเทศต่าง ๆ ใช้หน่วยเงินเป็นดอลลาร์หลายประเทศเราจะเรียกอย่างไรจึงจะไม่สับสน เราต้องกำ�หนดชื่อประเทศไว้ด้วย เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์สหรัฐ (ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย ฯ ท้ายคำ�ว่า สหรัฐ)  คำ�ถามที่ห้า สำ�นวน กระเชอก้นรั่ว หมายความว่าอย่างไร กระเชอ เป็นคำ�ที่ยืมจากภาษาเขมร หมายถึง ภาชนะสานรูปทรงสูง ก้นสอบ นิยมใช้ใส่สิ่งของแล้วยกขึ้น กระเดียด สำ�นวนกระเชอก้นรั่ว จึงหมายถึง ใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายจนไม่มีเหลือเก็บ เหมือนกับกระเชอ เมื่อก้นรั่ว เสียแล้ว ก็ไม่อาจใส่สิ่งของได้ สำ�นวนนี้มักใช้เป็นคำ�ตำ�หนิผู้หญิง โดยเฉพาะหญิงที่ไม่รู้จักใช้จ่าย จึงมีแต่สำ�นวนว่า แม่กระเชอก้นรั่ว ไม่มี พ่อกระเชอก้นรั่ว เช่นประโยคที่ว่า แม่กระเชอก้นรั่ว อย่างรัศมี ถ้าใครแต่งงานด้วย ต่อให้เป็นเศรษฐีก็ต้องยากจนเข้าสักวัน  คำ�ถามที่หก คำ�ว่า ระบบ กับ ระบอบ ใช้ต่างกันอย่างไร คำ�ว่า ระบบ เป็นศัพท์บัญญัติของคำ�ว่า system หมายถึง ความเป็นระเบียบหรือความมีกฎเกณฑ์ แน่นอนของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือของปรากฏการณ์หนึ่ง เช่น ระบบการย่อยอาหาร ระบบการบังคับบัญชาตามสายงาน ระบบข้าราชการไทย ตามปกติมักเกิดจากส่วนต่าง ๆ หลายส่วนมาประกอบกัน เช่น ระบบการย่อยอาหารของคน เป็นการทำ�งานร่วมกันของอวัยวะหลายชนิด ได้แก่ ต่อมน้ำ�ลาย กระเพาะอาหาร ลำ�ไส้เล็ก ส่วน ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นดาวแม่กับดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย และดาวเคราะห์บริวาร ทั้ง ๙ ดวง คำ�นี้ ใช้ได้ทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เช่น รถคันนี้ใช้ระบบขับเคลื่อน ๔ ล้อ (รูปธรรม) เขาเป็นคนคิดไม่เป็นระบบ เขียนอะไรออกมา เราจึงอ่านไม่รู้เรื่อง (รูปธรรม) อย่างไรก็ตาม เราไม่นิยมใช้คำ�ว่า ระบบ กับการปกครอง แต่จะใช้คำ�ว่า ระบอบ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติ ของคำ�ว่า regime แทน ระบอบ จึงหมายถึง “ระบบการปกครอง” นั่นเอง เช่น การปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตย รัฐในระบอบสังคมนิยม  คำ�ถามที่เจ็ด ควรใช้คำ�ว่า อัญเชิญพระบรมราโชวาท หรือ เชิญพระบรมราโชวาท จึงจะถูกต้อง ข้อนี้ บางคนอาจคิดว่าน่าจะใช้ค�ำ ว่า อัญเชิญพระบรมราโชวาท แต่แบบแผนการใช้ถอ้ ยคำ�ของ ราชสำ�นัก ทั้งสำ�นักราชเลขาธิการ และสำ�นักพระราชวัง ใช้ว่า เชิญพระบรมราโชวาท  คำ�ถามที่แปด คำ�ว่า apartment และ carrot เขียนทับศัพท์ว่าอย่างไร เขียนตาม หลักเกณฑ์การทับศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ว่า อะพาร์ตเมนต์ และ แคร์รอต ขอขอบคุณผู้ถามที่ทำ�ให้ผู้เขียนได้สาระมาเขียน ยิ่งกว่านั้น ทำ�ให้ผู้เขียนดีใจที่มีผู้สนใจ ถือว่ามีส่วน ในคอลัมน์นี้ 


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๖๕

ครูภาษาพาที

sOrA เมือ่ มีโอกาสได้ไปเยือนถิน่ เก่า San Antonio, Texas อดไม่ได้ทจี่ ะต้องไปเดินกินลมชมวิวทีร่ เิ วอร์วอล์ค (Riverwalk) อันเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจพบปะสังสรรค์ของวัยรุ่นทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่ รวมไปถึงกลุ่มที่มาเป็น หมู่คณะและครอบครัว มีร้านรวงขายของมากมายให้เลือกชอปเลือกชมและเลือกชิม ระหว่างทางที่เดินบังเอิญ เหลือบไปเห็นร้านขายของที่ระลึก (souvenir shop) แต่งหน้าร้านได้โดนใจวัยรุ่น (ที่เหลือน้อย) เป็นอย่างมาก จึงพากันแวะเข้าไปคลายร้อนพร้อมกับเลือกดูของในร้าน ขณะทีก่ ม้ ๆ เงย ๆ เลือกดูของอยูน่ นั้ สายตาก็ไปสะดุด กับป้าย ๆ หนึ่ง ซึ่งข้อความที่เขียนบนป้ายช่างเหมาะกับมนุษย์ป้าอย่างเราจริง ๆ “I’m not old but retro.” “old” น่ะพอจะเข้าใจแต่ “retro” จะเก่าประมาณไหน เก่าพอ ๆ กับ “antique” หรือเปล่า หรือ เลยรวมไปถึง “vintage” ว่าอยู่ในข่ายเดียวกันหรือไม่ จึงถามบรรดากูรู (guru) หรือผู้รู้ ว่าความหมายของ “retro” “antique” และ “vintage” แตกต่างกันอย่างไร เพื่อน ๆ กูรูที่ไปด้วยกันต่างก็ให้คำ�นิยามที่แตกต่างกัน ออกไปไม่มีใครฟันธงแน่ชัด เมื่อกลับถึงที่ตั้งจึงรีบออกตามค้นหาความจริงทันที ประมาณว่ารู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรำ�คาญ


๖๖ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

คำ�ว่า “antique” (แอนทีค) ตามความหมายของ Oxford Advanced Learner’s Dictionary บอกว่า เป็นสิ่งที่เก่าและมีค่าในปัจจุบัน (old and often valuable) Merriam Webster Dictionary บอกว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากสมัยก่อนอาจเป็นงานศิลปะ เฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่งที่ทำ�ขึ้นในช่วงยุคสมัยที่ผ่านมา หรือวัตถุโบราณ โดยต้องมีอายุ ๑๐๐ ปี ขึ้นไป (a work of art, piece of furniture, or decorative object made at an earlier period and according to various customs laws at least 100 years ago) บางตำ�ราหรือบางแหล่งข้อมูลกล่าวว่า “antique” ต้องนับจากปี ค.ศ. ๑๙๒๐ หรือ ๑๙๐๐ ลงไป สรุปคือ เป็นของเก่าแก่ ดูคร่�ำ ครึ มีประวัตดิ ว้ ยยิง่ ดูขลังดี อย่างเช่นงานศิลปะหรือเฟอร์นเิ จอร์แบบยุควิคตอเรีย (Victorian) อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า “antique” เก่าอย่างมีคุณค่า ขณะที่คำ�ว่า “vintage” (วินทิจ) เป็นอีกคำ�ที่ได้ยินกันมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานออกแบบ แฟชั่น หรือแม้แต่สื่อวิทยุโทรทัศน์ หากเข้าค้นคว้าใน Google จะพบว่า“vintage” เป็นภาษาหรือคำ�ที่ใช้ ในการผลิตไวน์ (wine) ที่หมายถึง การเก็บบ่มไวน์เป็นระยะเวลาหลาย ๆ ปี เพื่อให้ไวน์มีรสชาติที่ดี และมีตัวเลข ปี ค.ศ. ที่ผลิตกำ�กับไว้ด้วย ดังนัน้ vintage wine คือไวน์คณ ุ ภาพเลิศ ที่ถูกเก็บมาเป็นเวลานานหลายปี ว่ากันว่าเป็น คำ�ที่มาจากภาษาฝรั่งเศส “vendange” แปลว่า การเก็บองุ่นในฤดูกาลที่เหมาะสม เพื่อนำ�มาทำ�ไวน์ ในแง่สถาปัตยกรรม “vintage” เป็น สถาปัตยกรรมแนวตะวันตก ซึ่งในปัจจุบัน เราเห็นได้จากตัวตึกหรือบ้านในบริเวณถนน ราชดำ�เนิน ถนนหลานหลวง ถนนพระอาทิตย์ เป็นต้น สถาปัตยกรรมแนวนี้เริ่มแพร่หลาย เนื่องจากได้รับอิทธิพล (influence) จาก ต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทางด้านเฟอร์นิเจอร์ ลักษณะที่โดดเด่นของ “vintage furniture” คือการแกะสลัก (carving) ที่มีการ ใส่รายละเอียดมากมายในตัวเฟอร์นิเจอร์ ในส่วนของหัวเก้าอี้ หัวเตียง ไม่เว้นแม้แต่ขาโต๊ะ เนื้อไม้ย้อมสีเข้มและ ขัดให้ขึ้นเงา ผ้าบุหรูหราปักดิ้นทองหรือเดินลายดอกไม้สีสดและเด่นชัด โคมไฟระย้าย้อย (chandelier) จะเห็น เฟอร์นิเจอร์ลักษณะนี้ในบ้านของขุนนาง ชนชั้นสูง หรือคนมีเงินเท่านั้น เมื่อยุคสมัยใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่นั้นมา จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนลดความหรูหราอลังการ (elegance) ลง วัสดุที่ใช้มีลวดลายทันสมัยขึ้น แต่เฟอร์นิเจอร์ยังมีโครงสร้างและการแกะสลักที่ดูอ่อนช้อยงดงามผสมอยู่ หุ้มด้วยผ้าลายดอกไม้สีหวาน ๆ สีของ vintage จะเป็นสีแนวหวาน ๆ แบบ*แพสเทิล (pastel) คือสีที่ใช้สีขาวมาผสมเพื่อให้ดูอ่อนหวาน เช่น * pastel ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ ออกเสียงว่า แพสเทิล, ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ออกเสียงว่า แพสเทล


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๖๗

สีเขียวอ่อน สีชมพูอ่อน สีเหลืองอ่อน ๆ ดังนั้น vintage หมายถึง สิ่งของที่ผลิตขึ้นในยุคอดีต ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เมื่อหยิบนำ�มาใช้อีกครั้ง จะได้ความรู้สึกที่คลาสสิกและมีเสน่ห์ หรือจะเป็นการทำ�ให้เกิดใหม่ แต่คงความรู้สึกละเมียดละไมแบบของเก่าได้ “retro” (เระโทร) ถือเป็นคำ�โบราณเลยทีเดียว คือคำ�นำ�หน้า (prefix) ในภาษาละติน แปลว่าอดีต หรือย้อนหลัง ประมาณช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ฝรั่งเศสนำ�คำ�นี้มาใช้ ซึ่งย่อมาจาก “retrospectif” หรือ “retrospective” (เรทเทรอะสเปคทิฟ) ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเริ่มใช้ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๗๔ คำ�ว่า “retro” จึงเป็นคำ�ทีม่ รี ากศัพท์ มาจากภาษาละติน แต่นำ�ไปใช้โดยฝรั่งเศส ความหมายตาม Merriam Webster Dictionary คือ เกี่ยวกับสไตล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแฟชั่น ในอดีต (relating to, reviving, or being the styles and especially the fashions of the past) ที่เห็นแล้วทำ�ให้ย้อนระลึกถึง ความหลัง ครั้งเยาว์วัย (nostalgia) ส่วน Oxford English Dictionary ให้ความหมายว่า การชอบหรือนิยม ในสิ่งที่ผ่านไปไม่นาน (using styles or fashions from the recent past) และในปัจจุบันได้จัดความนิยม ต่าง ๆ เข้าในกลุ่ม retro ซึ่งความนิยมนั้นจะต้องย้อนยุคกลับไปประมาณ ๑๕ - ๒๐ ปี ดังนัน้ ความหมายแบบไทย ๆ ของ “retro” คืออะไรก็ตามทีท่ �ำ ให้นกึ ถึงเรือ่ งราวในวัยเด็ก (childhood) หรือช่วงเวลาที่เป็นวัยรุ่น (adolescent years) การใช้คำ�นี้ไม่ได้ใช้ในงานดีไซน์ (design) เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง เพลง ศิลปะ สิ่งของต่าง ๆ หรือนามธรรมที่ทำ�ให้นึกถึงอดีตในวัยเด็ก และแบ่งออกเป็นยุค ๆ ตามลักษณะเด่น ๆ ดังนี้ ยุค ๖๐ (60s) เป็นยุคบุกเบิกของ pop culture หรือวัฒนธรรมสมัยนิยม ที่กลายเป็นกระแสของชาว baby boomers คือยุคทีม่ อี ตั ราการเพิม่ ของประชากร ที่สูงมาก กลุ่มประชากรที่อยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว ต้องเริม่ วางแผนปลดระวางและดีดตัวเองออกจากงาน ซึ่งก็คือรุ่น ปู่ย่า ตายาย และพ่อแม่ของเรา ที่กำ�ลัง เจริญเติบโตอยูใ่ นช่วงวัยรุน่ ของคนยุคนัน้ และเป็นช่วง แห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างแท้จริง การต่อต้านสงครามเวียดนาม ผู้คนแสวงหาอิสรภาพ (freedom) และเกิดกระแสสันติภาพจากเพลงดนตรีป็อปร็อค (pop rock) ของวง The Beatles เครื่องเรือนสมัยใหม่ ถูกผลิตขึ้นจากเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เครื่องเรือนแถบสแกนดิเนเวียน เช่น ไม้กลึง ไม้ดีด กลับมาได้รับความนิยม อีกครั้ง


๖๘ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

ยุค ๗๐ (70s) เป็นช่วงเศรษฐกิจถดถอยและขาดแคลนพลังงาน แต่งานออกแบบยังคงพัฒนาต่อไป โดยรับอิทธิพลจากกระแสป็อปอาร์ต (pop art) และดนตรีร็อคแอนด์โรล (rock & roll) ซึ่งมีบทบาทสำ�คัญ ก่อนเข้าสู่ยุคดิสโก้ (disco) การตกแต่งภายในเป็นลักษณะของการผสมผสานงานที่หลากหลายรูปแบบ มีการ ขยายตัวของร้านเครือ่ งเรือนชือ่ ดังผลิตงานออกสูต่ ลาดและผูบ้ ริโภคจำ�นวนมาก ซึง่ มีแนวทางตกแต่งในรูปแบบสำ�เร็จ ของงานอุตสาหกรรมปะปนอยู่บ้าง เช่น เหล็ก สแตนเลส อะลูมิเนียม ไม้อัด เป็นต้น อาจกล่าวได้วา่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม มีอทิ ธิพล ต่อการออกแบบและแฟชัน่ ส่งผลให้รปู แบบของงานออกแบบ เปลี่ยนไป ในยุค ๕๐ - ๗๐ (50s - 70s) เป็นยุคที่มีความ เปลี่ยนแปลงมากทำ�ให้เกิดความหลากหลาย และแนวความคิด ในงานที่เปลี่ยนความงามแบบวิจิตร หรูหรา มาสู่ความงาม แบบสามัญชนที่จับต้องได้ สรุปงานสไตล์เระโทร (retro style) เป็นงานที่ ย้อนวันวานโดยนำ�เสน่หท์ มี่ ใี นอดีตมาใช้ในการออกแบบตกแต่ง ซึง่ งานออกแบบได้รบั อิทธิพลจากยุค ๕๐ - ๗๐ ศิลปะในยุคนัน้ เป็นที่แพร่หลายแก่คนทั่วไป ทำ�ให้เข้าถึงง่ายและจับต้องได้ ในยุคปัจจุบันนี้การตกแต่งสไตล์เระโทรได้รับ ความนิยมอีกครัง้ ด้วยองค์ประกอบทีแ่ ตกต่างและโดดเด่นของแต่ละยุค เต็มไปด้วยเรือ่ งราว ความเป็นมา นำ�เอา ของเก่าที่ล้าสมัยไปแล้วหรือไม่มีใช้ในปัจจุบัน เช่น แผ่นเสียง (records) วิทยุทรานซิสเตอร์ (transistor radio) ภาพวาดยุคเก่า (retro painting) โคมไฟ (lamp) ฯลฯ นำ�มาใช้หรือตกแต่งทำ�ให้เกิดเอกลักษณ์ (unique) ที่มี กลิ่นอายของอดีตซึ่งแตกต่างจากยุคปัจจุบัน ว่ากันง่าย ๆ เว้ากันซือ่ ๆ “antique” อายุ ๑๐๐ ปีขนึ้ ไป “vintage” จะอยูใ่ นช่วงประมาณปี ๑๙๒๐ จนถึงประมาณปี ๑๙๗๐ สำ�หรับ “retro” นั้นอยู่ในช่วงที่ถอยหลังจากปัจจุบันลงไปประมาณ ๑๕ - ๒๐ ปี ซึ่งอาจคาบเกี่ยวไปในช่วง vintage ก็ได้ แต่ยังสามารถแยกได้ด้วยการแสดงออกในเรื่องของสี อารมณ์ และ การใช้งาน มาถึงจุดนี้ท่านผู้อ่านคงตัดสินใจได้แล้วว่า “antique” “vintage” และ “retro” คำ�ไหนเก่าและ แก่กว่ากัน  แหล่งอ้างอิง : - www.apartmenttherapy.com - http://en.wikipedia.org/wiki/Retro_style - http://en.wikipedia.org/wiki/Vintage_clothing - http://www.merriam-webster.com/dictionary - http://bangkokbindery.blogspot.com/2012/12/vintage-retro-and-antique.html - http://www.oxforddictionaries.com


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๖๙

เวลา...การ์ตูน

มิสกรีน

BEETLE BAILEY

ภาพ ๑ - กี่ครั้งกี่หนที่ฉันต้องตะโกนใส่แก ฮ้า ? - ก็แล้วแต่นะ ภาพ ๒ - ยิ่งงานชิ้นใหญ่ หูผมยิ่งจะไม่ค่อยได้ยินหรอก to yell at - ตะโกนเสียงดัง (to shout loudly) มักจะเพราะโมโห, กลัว, ตื่นเต้น หรือเจ็บปวด It depends - เป็นสำ�นวนที่ใช้เมื่อผู้พูดไม่แน่ใจในเรื่องนั้น เพราะมีสิ่งอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาด้วย อาจจะเห็น That depends. ก็มีความหมายเหมือนกัน Ex. Is he coming ? (เขาจะมามั้ยนี่ ?) That depends. (ก็แล้วแต่นะ) ความหมายคือ ไม่แน่ใจ เพราะเขาอาจไม่มีเวลา หรือฝนตก หรือไม่สบาย ฯลฯ อีกสำ�นวนคือ depend on หรือ upon (ขึ้นอยู่กับ...) Ex. Starting salary varies from 20,000 baht 30,000 baht. It depends on experience. (เงินเดือนเริ่มต้นจะแตกต่างระหว่าง 20,000 - 30,000 บาท ขึ้นอยู่กับประสบการณ์) the bigger the job, the harder my hearing - เป็นโครงสร้างประโยคการเปรียบเทียบแบบหนึ่ง ของขั้นกว่า (comparative degree) โดยใช้ The .......... the better Ex. What time shall we leave ? (เราจะออกไปกันกี่โมง ?) The sooner the better. (ยิ่งเร็วยิ่งดี) และ โดยใช้ The ......... the ......... แสดงว่าสิ่งหนึ่งขึ้นอยู่กับอีกสิ่งหนึ่ง Ex. The warmer the weather, the happier I feel. (ยิ่งอากาศอุ่นขึ้น ฉันก็ยิ่งมีความสุขขึ้น)


๗๐ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

BLONDIE

ภาพ ๑ - จอห์น นายเอาหนังสือเศรษฐศาสตร์ของฉันไปนะ ภาพ ๒ - แล้วฉันก็ต้องการมันคืนด้วย !! ภาพ ๓ - ลูกเริ่มสนใจหนังสือเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่เมื่อไหร่จ๊ะ ? ภาพ ๔ - ตั้งแต่เบอร์โทรของแคเรนมาอยู่ในหน้า ๙๐ ฮะแม่ economics (n.) since when to get excited

- วิชาเศรษฐศาสตร์ (ออกเสียงว่า "อิเคอน้อมิคซ") คำ�ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้แก่ economy (n.) ออกเสียงว่า "อิค้อเนอมี่" Ex. The country's economy is in a recession. (เศรษฐกิจของประเทศ กำ�ลังอยู่ในภาวะถดถอย) economic (adj.) ออกเสียงว่า "อิเคอน้อมิค" หมายถึง ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ Ex. Our economic growth increases by 2 percent this year. (ปีนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจของเราเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒) สำ�หรับ economical (อิเคอน้อมิคั่ล) ก็เป็นคำ�คุณศัพท์ แต่มีความหมายว่า ใช้เงินใช้ของ อย่างประหยัด Ex. It is more economical to buy washing powder in large quantities. (มันประหยัดกว่าที่จะซื้อผงซักฟอกในปริมาณมาก) - ตั้งแต่เมื่อไร คือ จุดที่เริ่มต้นของการกระทำ�นั้น ซึ่งอาจจะตามด้วยคำ�นาม since last year หรือประโยคก็ได้ since I was born เป็นต้น - รู้สึกตื่นเต้นดีใจ, มีความสุข หรือ ตื่นเต้นกังวล, หงุดหงิดก็ได้ แล้วแต่จะใช้ ในสถานการณ์ใด


รอบรู้...อาเซียน

ASIA TROTTING ตะลอนเอเชียกับอาจารย์เฮนรี A weekend in

JAKARTA

เขียนโดย เฮนรี อิกนาทีส อารูจา แปลโดย ร.ต.หญิง ธีรารัตน์ นามมูลน้อย

 A weekend in Jakarta (Part I) Well, the title just about says it all. I’m not in Jakarta anymore. Three days is all I had and I wish I had more. This holiday plan of mine wasn’t the same as all my other holiday plans. My tickets to Jakarta were bought half a year ago. The time came and I was on the verge of cancelling my holiday as I wasn’t keeping too well mentally. Time kept ticking and I was torn on making a decision to venture on my holiday or stay put here in Bangkok. A couple of days went by, I made the call and I was on a plane to Jakarta. I deplaned three hours and twenty minutes later at Soekarno–Hatta International Airport, got my passport stamped with a Visa on Arrival for USD35, cleared immigration and walked straight out to the taxi park. I boarded a metered taxi and began my journey by road to the guesthouse I had booked the day before. I paid toll fees at three tolls within a distance of about 5 kilometers and yet the traffic was never going to ease off. Sitting in the backseat, looking out the window, all I could see was hundreds of shanties, loads of garbage, overflowing gutters and in the distance the skyscrapers in the CBD (central business district). I was wondering if I made the right decision of flying to Jakarta. Well, three hours and ten minutes later my taxi driver stopped in front of the guesthouse, I paid him 200,000 Indonesian Rupiah which works out to USD16 roughly. I entered the guesthouse and, boy oh boy, was I in a museum! The guesthouse owners Mel and Nana were their classic best in hospitality and I went from a confused traveler to a traveler feeling at home. Every element in the guesthouse was given such attention to detail that it deserved high admiration. My camera lens was all smiles capturing the beauty of this abode.


๗๒ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

 วันสุดสัปดาห์ที่จาการ์ตา (ตอนที่ ๑) แค่ชื่อเรื่องก็คงรู้แล้วว่าผมจะเล่าเกี่ยวกับอะไร ตอนนี้ผมกลับจากจาการ์ตาแล้ว ผมมีเวลาแค่สามวันทั้ง ๆ ที่อยากมีมากกว่านี้ แผนวันหยุดครั้งนี้ ไม่เหมือนครั้งก่อน ๆ ผมซื้อตั๋วเครื่องบินไปจาการ์ตาล่วงหน้าตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่พอใกล้ถึงเวลาเดินทาง กลับรู้สึก กระวนกระวายใจอยากยกเลิกแผนการครั้งนี้ ผมตัดสินใจไม่ได้ว่าจะอยู่ที่กรุงเทพฯ หรือควรจะออกไปเที่ยวดี เวลาก็เริ่มเหลือน้อยลงทุกที ผ่านไปไม่กี่วันก็ตกลงใจบินไปจาการ์ตา ผ่านไปสามชั่วโมงยี่สิบนาที ผมลงจากเครื่องที่ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน ฮัตตา และจ่ายเงิน สามสิบห้าดอลลาร์สหรัฐเป็นค่าตรวจลงตราแบบ visa on arrival เมื่อผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง ผมเดินตรง ไปที่ลานจอดรถแท็กซี่เพื่อต่อรถแท็กซี่มิเตอร์ไปยังเกสต์เฮ้าส์ที่จองไว้เมื่อวันก่อน ระยะทางแค่ห้ากิโลเมตร จ่ายค่าทางด่วนไปถึงสามครั้ง การจราจรติดหนึบแน่นขนัดเหมือนเดิม ในขณะที่นั่งอยู่เบาะหลังแล้วมองออกไป นอกหน้าต่าง เห็นแต่บ้านโทรม ๆ ที่อยู่อย่างแออัด เต็มไปด้วยกองขยะและน้ำ�เสีย และไกลออกไปจะมองเห็น ตึกสูงเสียดฟ้ามากมายตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ซึ่งผมเองยังสงสัยว่าตัวเองตัดสินใจถูกหรือผิดที่บินมาจาการ์ตา แต่เอาเถอะ อีกสามชั่วโมงสิบนาทีต่อมา คนขับรถแท็กซี่ก็มาจอดที่หน้าเกสต์เฮ้าส์ ผมจ่ายไปสองแสนรูเปียห์ ก็ประมาณสิบหกดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเดินเข้าไปในเกสต์เฮ้าส์ โอ้โฮ! ผมอยู่ในพิพิธภัณฑ์หรือนี่! คุณเมลและคุณนานาซึ่งเป็นเจ้าของ เกสต์เฮ้าส์แห่งนีใ้ ห้การต้อนรับเป็นอย่างดีท�ำ ให้นกั ท่องเทีย่ วแปลกถิน่ อย่างผมรูส้ กึ อบอุน่ ขึน้ มาทันที ทุก ๆ รายละเอียด ในเกสต์เฮ้าส์แห่งนีไ้ ด้รบั การเลือกสรรมาอย่างพิถพี ถิ นั น่าชืน่ ชมเป็นอย่างยิง่ เจ้ากล้องตัวโปรดของผมมีความสุข เป็นอย่างมาก ที่จะได้ออกมาเก็บภาพสวย ๆ ณ ที่แห่งนี้ 


เป็นประจำ�ทุกปีทผี่ เู้ ขียนจะรายงานบทวิเคราะห์การคาดการณ์เทคโนโลยีดา้ น ICT ของ Gartner บริษทั ทำ�วิจยั เทคโนโลยีดา้ น ICT ระดับโลก (www.gartner.com/newsroom/id/2867917) ทีไ่ ด้ท�ำ การคาดการณ์ฯ เป็นประจำ�ทุกปี ในงาน Gartner Symposium/ITxpo ที่ผ่านมา โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 9 ตุลาคม 2014 ที่เมือง Orlando รัฐ Florida ประเทศสหรัฐฯ นักวิเคราะห์ของ Gartner ได้คาดการณ์แนวโน้ม 10 เทคโนโลยี ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ส่งผลต่อองค์กรและผู้บริโภคในปี 2015 ซึ่งทิศทางของเทคโนโลยี ด้าน ICT ในปี 2015 นัน้ ยังคงไม่เปลีย่ นไปจากปีทผี่ า่ นมามากนัก แต่ได้ทวีความเข้มข้นมากขึน้ ทัง้ นีเ้ พือ่ ตอบสนอง ความต้องการขององค์กรและผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด โดยถือเป็นกลุ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ได้นำ�ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาสู่องค์กรและผู้บริโภค อาทิ ในเรื่องความนิยมในการใช้อุปกรณ์ไฮเทค พกพา (Mobile Devices) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทสวมใส่ (Wearable Devices) ที่ทำ�ให้ผู้บริโภค สามารถใช้งานได้ทุกที่ (Computing Everywhere) ไม่ว่าจะเป็นในที่ทำ�งานหรือในสถานที่สาธารณะ ในเรื่อง เครื่องจักรกลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน ICT ทำ�ให้เกิดความอัจฉริยะ (Smart Machine) ที่เห็นได้จากรถยนต์รุ่นใหม่ สามารถเข้าที่จอดรถได้ด้วยตัวเอง ซึ่ง Smart Machine จะเข้ามารับบทบาทในงานที่มนุษย์ทำ� และจะเริ่มเข้า มามีบทบาทในองค์กรทางธุรกิจมากขึ้น หรือในเรื่องศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Web-Scale IT) ที่องค์กรทั่วโลก เริ่มที่จะนำ�สถาปัตยกรรมของศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ในแบบ Facebook และ Google มาใช้ในองค์การมากขึ้น เพื่อสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้งานได้ในจำ�นวนมาก ซึ่งนักวิเคราะห์ของ Gartner คุณ David Cearley ได้เน้นว่า ICT ตั้งแต่ปี 2015 จะสร้างความได้เปรียบในเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Strategic Business Advantage) ให้แก่ ผูบ้ ริหารองค์กรทีก่ ล้าลงทุนและนำ�มาใช้กอ่ น โดยคาดว่าในเวลาอีก 2 ปีขา้ งหน้านับตัง้ แต่ปี 2015 จะเป็นเวลา ของแนวโน้ม 10 เทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารที่ได้ทำ�การคาดการณ์ไว้ ในบทความขอนำ�เสนอ


๗๔ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

เพียง 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีบทบาทสำ�คัญต่อองค์กรและผู้บริโภค โดยบทความในฉบับ มีมุมมองและรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้  ความนิยมอุปกรณ์ไฮเทคใช้งานได้ทุกที่ ความนิยมในอุปกรณ์ไฮเทคสามารถใช้งานได้ทุกที่ (Computing Everywhere) นั้นอยู่ในส่วนแรก ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ Gartner คาดการณ์ว่าความนิยมอุปกรณ์ไฮเทคใช้งานได้ทุกที่ ตั้งแต่ปี 2015 จะเชื่อมต่อโลกเสมือน (Virtual World) เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริง (Real World) คงเห็นได้จาก


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๗๕

Gartner มองในปัจจุบันอุปกรณ์ไฮเทคพกพา (Mobile Devices) ได้รับความนิยมจากผู้ใช้เป็นจำ�นวนมาก และ อุปกรณ์ไฮเทคพกพาเหล่านีใ้ นจำ�นวนมากเป็นพวกสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตทีม่ คี วามสามารถในการประมวลผล ไม่แพ้เครือ่ งคอมพิวเตอร์เมือ่ หลายปีกอ่ น แถมตามติดมาด้วยอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์ประเภทสวมใส่ (Wearable Devices) ที่กำ�ลังได้รับความนิยม โดยเข้ามาเสริมในการ “เก็บข้อมูล” จนทำ�ให้ทั้งอุปกรณ์ไฮเทคพกพาและ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทสวมใส่นั้น กลายเป็นส่วนที่สำ�คัญของ “สภาพแวดล้อมในการนำ�มาใช้งานกัน อย่างแพร่หลาย” ไม่ว่าจะเป็นในที่ทำ�งานหรือในสถานที่สาธารณะ ผลทำ�ให้เกิดผู้ใช้ที่สามารถเข้าถึงการ ใช้งานได้จากทุกที่ (Mobile Users) ผ่านการใช้อุปกรณ์ไฮเทคที่หลากหลายและเชื่อมต่อมาจากทุกที่ แทนการ ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop) ที่องค์กรได้จัดเตรียมไว้ให้พนักงาน ส่งผลให้การประมวลผลผ่าน อินเทอร์เน็ตมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง (IoT) จะเห็นว่าการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะนำ�ไปสู่การตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในองค์กร สิ่งที่ตามมาในส่วนของ ผู้ใช้งานก็คือ การออกแบบอุปกรณ์ไฮเทคจะให้ความสำ�คัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience Design) มากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองในความต้องการของผู้บริโภคที่มีความหลากหลายทั้งทางด้านเนื้อหาและ สภาพแวดล้อม ที่สำ�คัญรวมถึงความสามารถในการทำ�งานนอกสถานที่ อย่างเช่น ทำ�งานภายในบ้าน (Work at Home) หรือบริษัทไร้สำ�นักงาน (Virtual Office) ซึ่งจะช่วยในการเชื่อมต่อโลกเสมือนเข้ากับโลกแห่งความ เป็นจริง ในมุมมองผู้เขียนอุปกรณ์ไฮเทคที่เชื่อมต่อกันจะมีจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายรูปแบบ โดย สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจะเป็นอุปกรณ์ไฮเทคที่สำ�คัญในการเข้าถึงบริการออนไลน์ต่าง ๆ และเมื่ออุปกรณ์ที่ ใช้ในการทำ�งานนั้น ไม่ได้ถูกจำ�กัดอยู่แค่อุปกรณ์ที่องค์กรได้เตรียมไว้ให้พนักงาน (Desktop) จะเห็นพนักงาน จำ�นวนไม่น้อยได้ใช้อุปกรณ์ไฮเทคของตนเองในการทำ�งาน ณ ปัจจุบันหลาย ๆ องค์กรก็ยอมรับกระแสของ พนักงานนำ�อุปกรณ์ไฮเทคมาใช้ในที่ทำ�งาน (BYOD) ฉะนั้นจึงเป็นงานที่ท้าทายในส่วนของแผนก ICT ในองค์กร ที่จะต้องปรับตัว โดยนำ�เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อรองรับการให้บริการในยุคดิจิตอลและช่วยให้การทำ�งาน นั้นสะดวกขึ้น ทั้งนี้รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมประเภทของอุปกรณ์ไฮเทค ที่พนักงานอาจจะนำ� มาใช้ในองค์กรมากขึ้นเรื่อย ๆ  การเกิดขึ้นเครื่องจักรกลอัจฉริยะ เครื่องจักรกลอัจฉริยะ (Smart Machine) หรือในอีกความหมาย “เครื่องจักรกลที่ใช้เทคโนโลยี ด้าน ICT ทำ�ให้เกิดความอัจฉริยะ” โดยเมือ่ ปีทแี่ ล้ว Gartner ได้กล่าวถึง Smart Machine ซึง่ เป็นระบบทีท่ �ำ งาน แบบอัตโนมัติ สามารถที่จะคิด เรียนรู้และตอบสนองได้ด้วยตัวเอง ในปี 2015 Smart Machine ถูกกำ�หนดให้อยู่ ในส่วนทีส่ องของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สารกับการเกิดทีเ่ พิม่ ขึน้ ของอุปกรณ์ทชี่ าญฉลาด (Intelligence Everywhere) ที่อาจจะเห็นได้จากรถยนต์รุ่นใหม่สามารถเข้าจอดได้ด้วยตัวเอง ด้วยการนำ�เทคโนโลยีในด้าน Intelligent Software และ Expert System มาใช้ หรือระบบสมองกลอัจฉริยะของ IBM ในชื่อ Watson สามารถที่จะเข้าใจและตอบคำ�ถามด้วยภาษามนุษย์ได้ โดยได้มีการนำ�ไปใช้ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งในปอด


๗๖ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

เพื่อจะแนะนำ�วิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่ง Gartner ได้คาดการณ์ไว้ว่าหลังจากปี 2015 เครื่องจักรกลอัจฉริยะ หรือ Smart Machine จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคขององค์กรทางธุรกิจ ในช่วงแรกเครื่องจักรกลอัจฉริยะเหล่านี้ จะสามารถทำ�งานโดยอาศัยความรู้พื้นฐานแทนการทำ�งานของมนุษย์ ซึ่งในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะเรียนรู้ ได้ด้วยตัวเอง ทำ�ให้เกิดการพัฒนาความรู้และทักษะที่ช่วยให้สามารถทำ�งานที่สลับซับซ้อนเพิ่มขึ้นได้ สิ่งที่จูงใจ ทำ�ให้องค์กรทางธุรกิจหันมาสนใจในการนำ� Smart Machine มาใช้ทดแทนการทำ�งานของมนุษย์นนั้ ทีส่ �ำ คัญมาจาก ค่าแรงของบุคลากรในระดับทีม่ คี วามรูน้ นั้ เพิม่ สูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ ในสภาวะทีม่ กี ารแข่งขันอย่างรุนแรงในทาง ธุรกิจ ผู้บริหารองค์กรที่มีความกล้าในการตัดสินใจ โดยเลือกที่จะลดค่าใช้จ่าย อาทิ การใช้หุ่นยนต์ (Robots) มาแทนการทำ�งานของมนุษย์นั้น ในมุมมองของผู้เขียนถือเป็นทางออกที่เหมาะสมและสร้างความได้เปรียบให้ องค์กร อย่างที่ทราบในส่วน Smart Machine ที่ถูกนำ�มาช่วยทำ�งานในสำ�นักงาน หรือในโรงงานจะถูกเรียกว่า “Digital Workforce” หรือ “แรงงานดิจิตอล” ซึ่ง Gartner ได้เน้นให้เห็นว่า ยุคของ Smart Machine ที่กำ�ลัง จะมาถึงในอีกไม่กปี่ ขี า้ งหน้า จะส่งผลกระทบต่อองค์กรอย่างทีห่ ลีกเลีย่ งไม่ได้ ทีส่ �ำ คัญนัน้ จะเข้ามารับบทบาทแทน มนุษย์ในงานประเภทเป็นทีป่ รึกษาด้านข้อมูลและความรู้ ซึง่ จะช่วยให้มนุษย์สามารถรับรูส้ งิ่ ทีเ่ กิดขึน้ ได้รอบด้าน ทัง้ ในปัจจุบนั และอนาคตได้อย่างแม่นยำ� ตลอดจนเป็นผูช้ ว่ ยในด้านปฏิบตั งิ านบางอย่างทีจ่ ะอำ�นวยความสะดวก และประหยัดเวลา อาทิ รถยนต์ที่ขับได้เองโดยอัตโนมัติ (Google’s Self-Driving Car) ที่จะทำ�การทดสอบ การขับบนถนนได้เองโดยอัตโนมัตใิ นปี 2015 ในภาพรวมองค์กรทางธุรกิจใดทีส่ ามารถปรับใช้ Smart Machine ได้ก่อน จะได้เปรียบในด้านการแข่งขัน เนื่องจากมีความคล่องตัวสูงในเชิงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจ จะเห็นว่า การปฏิบัติงานโดยวิธีทดแทนการใช้แรงงานมนุษย์ด้วย Smart Machine อย่างเช่น การนำ�เอาอากาศยานไร้คนขับ (Drones) มาใช้นั้น ย่อมทำ�ให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีกว่า


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๗๗

 ก้าวสู่ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Web-Scale IT) หรือขนาดระบบ IT ที่ใช้ Web ซึ่งในปัจจุบัน ศูนย์ข้อมูล ขนาดใหญ่ของ Amazon, Facebook และ Google นั้น มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้งาน ได้เป็นพันล้านรายการต่อวัน ซึง่ ถือเป็นแบบแผนการประมวลผลระดับโลกทีน่ �ำ เอาความสามารถในการให้บริการ ของ Cloud มาใส่ไว้ในองค์กร เกิดจากบริษัทผู้ให้บริการ Cloud ขนาดใหญ่ของโลกทั้ง Amazon, Facebook และ Google นัน้ เป็นผูค้ น้ คิดวิธใี นการให้บริการทางด้านไอทีขนึ้ มาใหม่ ซึง่ Gartner เรียกศูนย์ขอ้ มูลขนาดใหญ่ เหล่านี้ว่า “Web-scale IT” และในปี 2015 Web-Scale IT ได้ถูกกำ�หนดให้อยู่ในส่วนที่สามของเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารที่ถูกเรียกว่า “ไอทีในยุคใหม่” (The New IT Reality Emerges) ปัจจุบันประมาณ ร้อยละ 20 ของศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในโลกถูกจัดอยู่ในแบบ Web-Scale IT โดยศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ บางส่วนให้บริการสาธารณะ อาทิ Google และ Facebook อีกแบบนั้นเป็นศูนย์ข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่ ที่ไม่ได้ให้บริการสาธารณะ อย่างเช่น ของรัฐบาล ซึ่ง Gartner คาดการณ์ไว้ว่าก่อนปี 2017 องค์กรขนาดใหญ่ ทั่วโลก จะนำ�สถาปัตยกรรมของ Web-Scale IT ไปใช้ในองค์กรคิดเป็นร้อยละ 50 ถือว่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกัน น้อยกว่าร้อยละ 10 ขององค์กรที่นำ�สถาปัตยกรรม Web-Scale IT มาใช้ในปี 2013 ทั้งนี้ก็เพื่อทำ�ให้องค์กร สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ในจำ�นวนมาก และสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับผู้ใช้ผ่านศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ ในมุมมอง ของผู้เขียน ณ ปัจจุบันแต่ละองค์กรเริ่มที่จะเข้าใจเกี่ยวกับการนำ�สถาปัตยกรรมของ Web-Scale IT มาใช้ว่า “ในการขยายศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่นั้น ความยุ่งยากไม่ได้อยู่ที่ขนาด แต่อยู่ที่การออกแบบให้มีความยืดหยุ่น พร้อมรับประเด็นของการบำ�รุงรักษา การแก้ไขปัญหา และกู้คืนระบบงานให้สามารถกลับมาทำ�งานตาม ปกติได้โดยเร็ว โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ ที่สำ�คัญต้องนำ�แนวคิดในเรื่องของซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้


๗๘ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

(Software-Defined Anything) เพือ่ ทีจ่ ะสามารถให้บริการได้อย่างราบรืน่ และสามารถแก้ปญ ั หา ณ จุดทีว่ กิ ฤตได้ ตามหลักการแล้ว Web-Scale IT นัน้ จะเข้ามาเปลีย่ นแปลงการให้บริการทางด้านไอทีได้อย่างเป็นระบบ ซึง่ ความ สามารถของมันจะก้าวข้ามการขยายในความหมายของขนาดไปสู่การรวมเอาคำ�ว่าความเร็วเข้ามาด้วย ที่สำ�คัญ จะเห็นว่าศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ในแบบ Web-Scale IT นั้น ได้ถูกออกแบบด้วยมุมมองทางวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering Perspective) ที่จะช่วยหาโอกาสในการลดต้นทุนและลดการสูญเสีย หากองค์กรคิด จะตามให้ทันก็ต้องนำ�สถาปัตยกรรม Web-Scale IT มาใช้ในการปฏิบัติ โดยอาศัย Google หรือ Facebook เป็นตัวอย่าง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ท้าทายในการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และถือเป็นเรื่องที่องค์กร อาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้”

 ข้อคิดที่ฝากไว้ การประกาศแนวโน้ม 10 เทคโนโลยีด้าน ICT ของ Gartner สำ�หรับองค์กรในปี 2015 สรุปให้เห็น ICT ทั้ง 3 อย่างที่ได้นำ�เสนอมีผลต่อองค์กรและผู้บริโภค ด้วยความนิยมในอุปกรณ์ไฮเทคสามารถใช้งานได้ทุกที่ การเกิดขึ้นของเครื่องจักรกลอัจฉริยะ และการก้าวสู่ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ ทำ�ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มาสู่องค์กรและผู้บริโภค โดย Gartner นั้นให้ความสำ�คัญกับพัฒนาการของ Digital Business ที่มีรูปแบบ ในการทำ�งานผสมผสานระหว่างมนุษย์กบั เครือ่ งจักรกลอัจฉริยะในลักษณะการใช้ ICT ช่วยทำ�งานด้านการตลาด และการขาย ส่วนการส่งมอบนั้นทำ�ด้วยมนุษย์ ซึ่งต่างจากยุคก่อนที่ทำ�งานด้วยมนุษย์แต่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็น เครื่องมือเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โดยผลจากบทบาทของเครื่องจักรกลอัจฉริยะนั้นจะทำ�ให้ลดการใช้แรงงาน มนุษย์ลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากปี 2015 และในขณะเดียวกันก็ได้สร้างงานใหม่ ๆ ขึ้นมาทดแทน เพื่อรองรับ Digital Business ที่กำ�ลังเกิดขึ้น... 


พลร่มกองทัพอากาศ

พลานุภาพแห่งอากาศโยธิน

พ.อ.อ.จักราพิชญ์ อัตโน กองบิน ๒๑

ฤาโลกจะไม่ร้างลาจากสงคราม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเย็นก็ปะทุขึ้นระหว่าง ขั้วเสรีนิยมกับสังคมนิยม ไทยถูกคุกคามรอบด้านจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่แฝงตัวอยู่ตามป่าเขา ยากต่อการ เข้าตี กองทัพบกจึงนำ�หลักสูตรส่งกำ�ลังทางอากาศของกองทัพสหรัฐฯ มาฝึกทหารและจัดตั้งเป็นกองพัน ทหารพลร่มเป็นครั้งแรกในไทยเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๗ ที่บ้านป่าหวาย ตำ�บลป่าตาล อำ�เภอเมือง จังหวัดลพบุรี รูจ้ กั กันดีในนาม “พลร่มป่าหวาย” มีบทบาทสำ�คัญในการออกปราบปรามผูก้ อ่ การร้ายคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ ภายหลังได้พัฒนาหลักสูตรส่งกำ�ลังทางอากาศเรื่อยมา อาทิ การแทรกซึมทางอากาศ หรือ พรานเวหา (High Altitude High Opening: HAHO) มีขีดความสามารถในการแทรกซึมเข้าสู่ที่หมายโดย ไร้การตรวจจับจากเรดาร์ของข้าศึก รวบรวมข่าวสาร ค้นหาเป้าหมาย และชีเ้ ป้าให้ก�ำ ลังทางอากาศ ผูท้ ผี่ า่ นหลักสูตร ส่งกำ�ลังทางอากาศจากกองพันทหารพลร่ม มีทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และตำ�รวจ ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ โดยประมาณ ผูบ้ งั คับบัญชาระดับสูงกองทัพอากาศ มีแนวคิดสร้างความเป็นเอกภาพ ในด้านการส่งกำ�ลังทางอากาศ จึงมอบหมายให้ศนู ย์การทหารอากาศโยธิน (ศทย.) นำ�หลักสูตร ส่งกำ�ลังทางอากาศ ของกองทัพบกมาบรรจุเป็นหลักสูตรส่งกำ�ลังทางอากาศ ฝึกสอนให้กบั นักเรียนนายเรืออากาศ และนักเรียน จ่าอากาศเหล่าอากาศโยธิน ที่โรงเรียนการบิน อำ�เภอกำ�แพงแสน จังหวัดนครปฐม ปีละ ๒ รุ่น ซึ่งเป็นงานที่ ท้าทายของ ศทย. ในการชุบตัวนักเรียนทหารให้กลายเป็น “พลร่มอากาศโยธิน” อันเป็นเอกลักษณ์ของหน่วย รบภาคพื้นหลักของกองทัพอากาศ ระยะเวลา ๑ เดือน ที่นักเรียนทหารจะต้องฝึกฝนร่างกายอย่างหนัก ฝึกพื้นฐานการโดดจากหอโดดร่ม จำ�ลอง การบังคับร่ม และการลงสู่พื้นอย่างปลอดภัย หลังจากปีนขึ้นหอคอยแล้ว ทหารแต่ละนายจะรัดเข็มขัด โรยตัว สับตะขอเข้ากับสายรั้งสิบห้าฟุต สายรั้งติดรอกพานักเรียนทหารไหลเคลื่อนมาตามสายเคเบิ้ลหกสิบฟุต ลงสู่พื้น จุดที่ร่างกระทบพื้นโดยแรงถือได้ว่ามีความจำ�เป็นยิ่งสำ�หรับพลร่มที่จะต้องตั้งท่าให้เหมาะสมในตอนที่


๘๐ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

โดดผ่านประตูจำ�ลอง และรักษาท่านั้นไว้ ทุ่มเทสมาธิกับหลักการพื้นฐานของการโดด เพื่อจะตกกระทบพื้นโดยไม่เจ็บ และฝึกทบทวนกฎนิรภัยข้อบังคับในการแก้ไขเหตุติดขัดของร่ม เมื่อการฝึกที่เข้มข้นดำ�เนินไปได้หล่อหลอมให้ นักเรียนทหารเหล่าอากาศโยธินเป็นผู้มีวินัย และเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น และแล้ววันที่ทุกคนรอคอยเฝ้าฝัน ก็มาถึง วันที่จะได้ประดับปีกพลร่มบนอกเสื้อ ด้วยการโดดร่มจากเครื่องบิน C – 130 จำ�นวน ๕ ครั้ง รับปีกร่ม ติดหน้าอก และใบประกาศนียบัตรรับรองศักดิ์และสิทธิ์ในปีกร่มนั้น เรียกตัวเองได้ว่า “พลร่มอากาศโยธิน” หลังจากปี พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นต้นมา ศทย.ได้ย้ายสถานที่โดดร่มไปยังกองบิน ๒ จังหวัดลพบุรี ความเหมือนทีแ่ ตกต่างระหว่างพลร่มกองทัพอากาศ กับกองทัพบก พลร่มป่าหวายเป็นหน่วยเฉพาะพลร่ม เรียกตัวเอง ได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า “พลร่ม” ส่วนพลร่มกองทัพอากาศ จะกระจายกันไปสังกัดตามหน่วยต่าง ๆ ของหน่วยบัญชาการ อากาศโยธิน บางคนจบหลักสูตรรบพิเศษคอมมานโด หรือ พลร่มกู้ภัย (Pararescue Jumper: PJ) จะได้ย้ายเข้าสังกัด กรมปฏิบัติการพิเศษ แทนตัวเองว่า “คอมมานโด หรือ พีเจ” มีค่าตอบแทนพิเศษ ประดับตราสัญลักษณ์นักรบพิเศษ สวมหมวกเบย์เล่แดง ถือปืนทีอ่ อกแบบเป็นพิเศษสำ�หรับกระโดดร่ม ส่วนพลร่มในสังกัดอืน่ ๆ ของหน่วยบัญชาการ อากาศโยธิน จะไม่มีค่าตอบแทนพิเศษ เรียกตัวเองว่า อย. (อากาศโยธิน) ด้วยเหตุนี้ “พลร่ม” คำ�เรียกพื้น ๆ จึงไม่ใช่คำ�คุ้นหูนักสำ�หรับทหารอากาศ เพราะไม่ค่อยได้ใช้เรียกกันนั่นเอง บทบาทสำ�คัญของพลร่ม คือ การยุทธ์ส่งทางอากาศ (Air assault operations) หรือเรียกอีกชื่อ ว่า การโดดร่มทางยุทธวิธี โดยอากาศยานบรรทุกพลร่มจากพื้นที่รวมพล นำ�เข้าสู่พื้นที่หมาย แล้วโดดร่มลงมา รวมพล เข้าจูโ่ จม ยึดครองด้วยความรวดเร็ว จุดเด่นอยูท่ กี่ ารเดินทางทีร่ วดเร็ว พืน้ ทีแ่ ละสิง่ กีดขวางไม่เป็นอุปสรรค ปฏิบตั กิ ารตรงจังหวะเวลาทีแ่ น่นอน เมือ่ ปฏิบตั กิ ารเริม่ ขึน้ จะเป็นทีร่ กู้ นั ในหมูพ่ ลร่มว่า “เงียบ เฉียบขาด รวดเร็ว” คือหัวใจของพลร่ม ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ มีเหตุการณ์หนึง่ ทีส่ ะท้อนถึงบทบาท และศักยภาพ ให้เป็นทีป่ ระจักษ์ถงึ ขีดความสามารถ ของพลร่มกองทัพอากาศ จากเหตุการณ์ชาวเขมรบุกเผาสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ เพียง ๒ ชั่วโมงหลังได้รับ คำ�สั่งหน่วยคอมมานโด ทอ. และหน่วยรบพิเศษ ทบ. (ร.๓๒ รอ.ลพบุรี ) รวม ๑๑๐ คน พร้อมอาวุธครบมือ ขึน้ เครือ่ งบิน C – 130 จำ�นวน ๕ เครือ่ ง บินด่วนไปถึงกรุงพนมเปญกลางดึก กระจายกำ�ลังโดยรอบสนามบินโปเชนตง รักษาความปลอดภัยให้คนไทยวิง่ ขึน้ เครือ่ งบิน ท่ามกลางชาวกัมพูชาทีโ่ กรธเกรีย้ ว นำ�น้�ำ มันมาเผารอบสนามบิน ฝ่ายไทยต้องประสานกับ พล.อ.เตีย บันห์ รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชาในขณะนั้น ให้ส่งทหารกัมพูชามาปิดกั้นสนามบิน อีกชั้น โชคดีที่ไม่มีการปะทะกันเกิดขึ้น เมื่อเครื่องบินเครื่องสุดท้ายลงจอดที่ดอนเมืองก่อนรุ่งสาง เสียงปรบมือ ก็ดังกระหึ่ม พร้อมด้วยการจับมือแสดงความยินดีกับความสำ�เร็จที่นำ�คนไทยกลับบ้านโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ เหตุการณ์นแี้ สดงให้เห็นถึงความพร้อมรบทีอ่ ยูใ่ นระดับสูง สามารถตอบรับกับสถานการณ์เบือ้ งหน้าได้อย่างทันท่วงที


แต่การยุทธ์ส่งทางอากาศมีจุดอ่อนตรงที่อาจถูกตรวจพบ และถูกทำ�ลายตั้งแต่อยู่บนอากาศยาน สภาพอากาศที่เลวร้ายเกินคาดคะเนอาจทำ�ให้ภารกิจล้มเหลวได้ง่าย ๆ ส่งผลให้หน่วยอื่น ๆ ที่ตามเข้าไปสมทบ ต้องสูญเสียตามไปด้วย ส่วนปัญหาพื้นฐานของหน่วยพลร่มก็คือ ไม่ได้รับกำ�ลังเสริม ถูกทิ้งให้สู้รบนานเกินไป การสนับสนุนทางอากาศไม่เพียงพอ จึงสูญเสียชีวติ และบาดเจ็บมากขึน้ เรือ่ ย ๆ โดยเฉพาะการสูญเสียระดับ ผูน้ �ำ หน่วย นักประวัตศิ าสตร์สงครามตัง้ ข้อสันนิษฐานว่า “พลร่มจะสูร้ บในสงครามได้อย่างดุเดือด เฉพาะสงคราม ระยะสั้นกับศัตรูที่สับสน” ข้อสันนิษฐานนี้มีส่วนจริงอยู่บ้างแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ผู้เขียนขออ้างอิงหลักฐานจากบท ประพันธ์เรื่อง “Band of Brothers เพื่อนตายสหายศึก” โดยสตีเฟน แอมโบรส นักประวัติศาสตร์สงคราม เขานำ�บันทึกการสู้รบของผู้พันดิ๊ก วินเทอร์ส์ ผู้บังคับกองร้อยอีซี่ กรมทหารราบ พลร่มที่ ๕๐๖ กองพลร่มที่ ๑๐๑ แห่งกองทัพบกสหรัฐฯ บอกเล่ารายละเอียดทางประวัตศิ าสตร์และวีรกรรมของเหล่าทหารพลร่ม (Airborne) ที่ กรุยทางให้ทหารพันธมิตรกว่าหกหมื่นนายยกพลขึ้นบกที่หาดของนอร์มังดีในวันดีเดย์ หลายคนเสียชีวิต แต่วีรกรรมของพวกเขาได้ถูกจารึกเป็นอมตะอยู่ในหนังสือ และภาพยนตร์ซีรียเ์ รื่องดังอย่าง Band of Brothers ที่เคยสร้างความประทับใจให้ผู้ชมทั่วโลกมาแล้ว กองพลร่มที่ ๑๐๑ เป็นหนึง่ ในห้ากองพลร่ม รุน่ บุกเบิกทีก่ องทัพบกสหรัฐฯ จัดตัง้ ขึน้ ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ โดยสามนายพล แมทธิว บี. ริดจ์เวย์, แม็กเวลล์ บี. เทย์เลอร์ และเจมส์ เอ็ม. กาวิน ที่มีแนวคิดใช้ทหารพลร่ม วางกำ�ลังลึกเข้าไปในแนวของศัตรูด้วยการโดดร่มลงเข้ายึดพื้นที่ เพื่อปูทางให้กองกำ�ลังหลักตามเข้าไปสมทบ แนวคิดย่ำ�ไปบนดาบนี้ได้รับการพิสูจน์ในราวตีหนึ่งของวันที่ ๖ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๔๔ เครื่องบินลำ�เลียงพลร่ม บินเกาะหมู่เป็นรูปตัว V หน้ากระดานเรียงเก้าเครื่อง กระจายเต็มท้องฟ้า แสดงแสนยานุภาพทางอากาศชุมนุมกัน ในความมืดมิดกลางฟ้าเหนือชายฝั่งนอร์มังดี ไม่กี่นาทีถัดมาแสงสีแดง น้ำ�เงิน และเขียวของกระสุนนำ�วิถี แต้มเส้นสายเต็มฟ้า สว่างตระการตายิง่ กว่าดอกไม้ไฟในวันชาติสหรัฐฯ เครือ่ งบินโดนยิงร่วงไปหลายเครือ่ งก่อน ถึงเป้าหมาย นักบินไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากให้ไฟเขียวโดด ชาวบ้านฝรั่งเศสเล่าว่า “มันเป็นคืนที่เสียงระฆังใน โบสถ์ดังเหง่งหง่าง บนท้องฟ้ามีลูกไฟดวงใหญ่หลายลูกกำ�ลังล่วงลงสู่พื้น แสงไฟสว่างจ้าจนมองเห็นดอก เห็ดกระจัดกระจายเต็มท้องฟ้า พวกเรารู้ในทันทีว่าพลร่มบุกแล้ว” เมื่อลงถึงพื้นกองร้อยอีซี่รีบรวบรวมพล ลอบเข้าทำ�ลายป้อมปืนใหญ่จากแนวหลังข้าศึกอย่างรวดเร็ว ก่อนทหารที่ลอยลำ�อยู่ในเรือจะยกพลขึ้นบก ตามเข้าไปสมทบ ตามแผนปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overload) ซึ่งเป็นรหัสในการยกพลขึ้นบก ๕ แห่งของนอร์มังดีของฝ่ายพันธมิตร ปฏิบัติการเปิดฉากของพลร่มช่วยลดการสูญเสียทหารจากการยกพลขึ้นบก ได้หลายชีวิต


๘๒ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

กองร้อยอีซี่ กองพันที่ ๒ กรมทหารราบพลร่มที่ ๕๐๖ แห่งแคมป์โทโค ถือได้ว่าเป็นหน่วยพลร่มสุดยอด ของสุดยอด ทั้งด้านการฝึกและกลยุทธ์ด้านการรบ มีพันโทรอเบิร์ต ซิงก์ เป็นผู้บังคับกรม ผู้การซิงก์รู้ว่า พลร่มคือหน่วยแรกทีต่ อ้ งเหยียบย่างลงไปในแดนนาซี เขาจึงกำ�ชับแน่นหนักว่า “ต้องรีดความแกร่งให้ถงึ ขีดสุด ขับดันทหารแต่ละนายให้ถึงเพดานความเหนื่อยล้า ทำ�ทุกอย่างให้เร็วเป็นสองเท่า” วินัยเคร่งครัด วิ่งหกไมล์ ขึ้นและลงยอดเขาเคอร์ราฮี (Currahee) กายบริหารชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่า เดินทางไกลทั้งที่มีเครื่องสนามและไม่มี การฝึกไม่เคยผ่อนปรน ไม่มที สี่ นิ้ สุดทัง้ กลางวันและกลางคืน จนกลายเป็นวิถปี กติสามัญประจำ�วัน ทหารหลายคน ถอดใจยอมแพ้ รวมถึงคนที่ไม่ผ่านด่านการฝึกตามมาตรฐานก็จะถูกคัดทิ้งด้วย เพื่อทดสอบความแข็งแกร่งก่อนฝึกโดดร่ม กองร้อยอีซี่ต้องเดินทางด้วยเท้าจากแคมป์โทโคไปรับการ ฝึกโดดร่มที่ฟอร์ตเบนนิง ระยะทาง ๑๑๘ ไมล์ ภายใน ๓ วัน ทหารต้องผจญกับฝนหนาวเย็นเปลี่ยนเป็น หิมะ เดินลุยโคลนทีก่ �ำ ลังจะเป็นน้�ำ แข็ง นอนท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ เลวร้ายทีส่ ดุ คือรองเท้าบูทเป็นน้�ำ แข็ง หลายคนเท้าบวมจนแทบใส่รองเท้าไม่ได้แม้จะพยายามคลายรองเท้า แต่ในที่สุดพวกเขาก็มาถึงเส้นชัยโดยเท้า สวมถุงเท้า สีส่ ปั ดาห์ตอ่ มาก็ผา่ นการฝึกโดดร่มครบทุกคน ได้รบั ปีกพลร่มและประกาศนียบัตร ประกาศว่ามีศกั ดิ์ และสิทธิ์ประดับปีกพลร่มสีเงิน ต้นเดือนกันยายน ค.ศ.๑๙๔๓ ระหว่างรอคำ�สั่งบุกอยู่ที่อังกฤษ กองร้อยอีซ่ียังต้องฝึกเดินทางไกล อ่านแผนที่เข็มทิศ ฝึกจู่โจมในยามค่ำ�คืน การโดดร่มกลางคืน การเข้าตีในที่ตั้งในความมืด และฝึกการใช้อาวุธ นานาชนิด ระหว่างฝึกพวกเขานึกถึงอดีตแสนสั้นแต่สวยงามของชีวิตพลเรือนที่เคยใช้ชีวิตตามใจตัวเอง แต่บัดนี้ พวกเขาผ่านการยกระดับให้เป็นนักรบ และเคี่ยวกร่ำ�ให้เป็นชายชาตรี และในที่สุดวันที่พวกเขารอใช้ตวั๋ ใบสำ�คัญ ก็มาถึง “วันดีเดย์” พลร่มบางนายโกนหัวเหลือไว้เพียงแท่งเส้นผมกลางหัวเหมือนอินเดียนแดงโมฮอว์ก รับอาวุธ แล้วเดินผ่านเพื่อนสนิทและคนอื่น ๆ มีเพียงรอยยิ้มฝืน ๆ การค้อมศีรษะทักทาย หรือตบหลังตบไหล่ แทบจะ ไม่แสดงความรู้สึกใด ๆ บนใบหน้า มาดสงบนิ่ง ประหนึ่งว่าเป็นการโดดร่มอีกครั้ง ถึงนาทีนี้ทหารทุกนายแกร่งเต็มที่ และพร้อมทำ�ศึกแล้ว กองร้อยอีซอี่ ทุ ศิ ทุม่ เทให้กบั การรบทีด่ เุ ดือดเคียงข้างเพือ่ นทหารในแนวหน้า ทหารบางนายหลอกแพทย์ ที่โรงพยาบาลเพื่อจะได้กลับไปหาเพื่อนในสนามรบ ขณะที่ทหารราบถอยทัพ หลั่งไหลเป็นสายสู่แนวหลัง แต่ กองร้อยอีซี่ยังเดินหน้าต่อไปยังเสียงปืนแตกตูมตามที่รอท่าพวกเขาอยู่ข้างหน้า การบุกเข้ายึดหาดนอร์มังดี บุกข้ามทวีปไปทัว่ ยุโรป ไปจนถึงรังนกอินทรีของฮิตเลอร์ เป็นตราประทับยืนยันถึงความหาญกล้า เด็ดเดีย่ ว และ พร้อมพลีชพี กองพลร่มที่ ๑๐๑ ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของหน่วยพลร่มของสหรัฐฯ รวมถึงพลร่มอากาศโยธินไทย ในปัจจุบัน ประเทศไทยไม่คอ่ ยปรากฏภาวะสงครามหรือการสูร้ บทีร่ นุ แรง พลร่มกองทัพอากาศจึงดูไม่คอ่ ยมีบทบาท อะไรนักในสายตาชาวบ้านทั่วไป นอกจากการทำ�งานในกรมกองที่สังกัด และการปฏิบัติงานช่วยเหลือชาวบ้าน ในยามที่บ้านเมืองประสบปัญหาและภัยธรรมชาติต่าง ๆ ปัญหารุมเร้าที่เกิดในสามจังหวัดชายแดนใต้ในช่วงสิบปี ทีผ่ า่ นมา ทำ�ให้ทหารมีภารกิจเสีย่ งภัยกับการก่อการร้ายไม่เว้นแต่ละวัน และพลร่มอากาศโยธินก็เป็นกำ�ลังสำ�คัญ ในภารกิจนี้  เอกสารอ้างอิง : ๑. นภดล เวชสวัสดิ์. ผู้พันวินเทอร์ส กองร้อยวีรบุรุษ. สำ�นักพิพม์มติชน. กรุงเทพฯ, ๒๕๕๔ ๒. นงนุช สิงห์เดชะ. ๑๐๐ สิ่งของสำ�คัญในสงครามโลกครั้งที่ ๒. สำ�นักพิพม์มติชน. กรุงเทพฯ, ๒๕๕๖


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๘๓

ฉบับเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๘

CROSSWORD อ.วารุณี


๘๔ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

 Across 

 Down 

1. We feel pity on Philipine that has many ........., the violent tropical storms that make the people in this country so suffer, poorer and poorer. 5. Don't keep your pistal or gun carelessly or your children may take it to shoot or ............ someone at school. 8. "............." makes you attractive but moral makes you kind to other people, this case is the best way of living together. 10. Chusri likes to shop in a mall because it is easier to find a parking ........... to park her car. 12. An abbreviation for "Senior" 13. .......... April there is longer holidays, that is Songkran Fastival. 14. Every house in Europe must have a ............ the passage through which smoke get out of a house, a building. 16. For the above No. .............. house has own style of it, small and low or big and high one. 20. July usually has only a piece of ..........burger for her breakfast. 22. To meet unexpectedly. 25. To ........... means to force gas or liquid to go in a particular direction. 27. Tom usually goes to his plant at 7 ............... (an abbreviation) its meaning is in the morning. 28. A : ............. do you know about Tom ? B : I see him every morning. 30. Let ............ swimming in the pool, will you ? 32. Oh, sorry I .......... doing that many weeks, I am too busy.

1. The most beautiful flower, the first time there is only in Netherland but now there are many of them in many countries. 2. To ............ off means to postpone or to make late. 3. An ............. is a room or building where written work is done. 4. She wants to .......... a lawyer so she studies about laws. 5. The North Pole bears have thick ......... to protect the cold weather. 6. ............ is very hard to climb up the Everest mountain. 7. The plant that is grown for its grain, which is used to make flour and also whisky. 9. Formal agreement 11. ........... and off means "without stopping." 14. When we were the students we went to ........... at the rural, we had a good time to sleep out door. 15. A : Do you have .............. money to lend me ? B : Oh, I have sufficient amount. 17. We ride a train ........... the train station. 18. To be sure 19. There are 60 minutes in one ............ (an abbreviation) 20. The disaster was caused by ............ error such as cutting down the big trees, forgetting to extinguish fire in the woods when they went camping. 21. The same as No.27 Across.


ข่าวทหารอากาศ ๘๕

พฤษภาคม ๒๕๕๘

 Across 

 Down 

34. It is great .......... (a chance that somebody be hurt, killed) that you quit exercise suddenly. 36. ............ do you worry me ? may be I am your close friend. 37. My grandson eats only ............ with fresh milk or some grain with fresh milk for breakfast. 38. His mother has .............. time to prepare another dish daily. 39. Light, ............., lit 41. Look ! they ........... or walk on the end of their toes with their heels off the ground, it is beautiful performance. 43. I bought many books, some are novels and other ............. are cartoons. 44. I told you ............. story, I am not a liar. 45. Opposite of "that." 48. Female, third person 49. A : Does it .......... here even in winter ? B : Normally not, but you should take an umbrella with you. 53. ............ is a large ship that carries people etc. long distances. 54. When I arrived home, no ........... is in my house. 56. To ............ means to move something slowly and carefully across etc. 57. If I were rich, I would fly ............. the world. 58. An object for the child, children to play with.

23. Opposite of "old" 24. This liquid medicine is very bitter, she must .............. it little by little. 25. Now there are many brands of .............. advertised on TV. so the woman can select it for this monthly period. 26. The popular activity that a guide tour often takes the tourists to see when they go to Australia is cutting the fur of .............. . 29. Will you go to a super market on Saturday ................ on Sunday ? 31. A pearl from .............. is not so beautiful as the one by nature. 32. He wants to fly .............. or fly by himself. 33. ............... is a kind of animal with brown fur that lives in water and eats fish. 35. After she retired, she has ................. to do so she feels boring. 36. She should take a Tour ................ she likes to go. 40. Somrug, a famous boxer, he is going to fight with another one from the foreign country to defend his ........... or to stay champion next week. 42. Somchit, the ........... one ignores boxing, he turns to be the TV star. 46. Hide, hid, ............. 47. ............, saw, seen 50. Curry ............ rice is Dan's favorite food. 51. .......... only Dan's favorite food but also mine. 52. .........., let go having it now. 55. .........., I am too busy to go to have it.

(เฉลยอยู่หน้า ๙๐)


มุมสุขภาพ นายห่วงใย ถ้าคุณรู้สึกง่วงนอน แต่มีภารกิจต้องปฏิบัติ ไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้ กาแฟ หรือการงีบหลับ สัก ๑๐ – ๒๐ นาที อาจช่วยทำ�ให้ร่างกายตื่นตัว สามารถปฏิบัติภารกิจต่อไปได้ แต่วิธีที่จะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวมากที่สุดไม่ใช่เลือกดื่มกาแฟ หรืองีบหลับอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นการ ทำ�ทั้งสองอย่างร่วมกัน นั่นก็คือ การดื่มกาแฟแล้วงีบหลับ หลายคนอาจไม่เห็นด้วย เพราะเชื่อว่ากาแฟรบกวนการนอนหลับ แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบแล้วว่า การดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แล้วงีบหลับเป็นเวลา ๒๐ นาที หรือน้อยกว่านั้น จะช่วยให้ร่างกาย ตื่นตัวได้ดีกว่า การดืม่ กาแฟทำ�ให้หายง่วงได้ เพราะคาเฟอีนจะไปปิดกัน้ ตัวรับ ไม่ให้สารอะดีโนซีน (adenosine) เข้าไป จับกับตัวรับได้ ซึ่งสารอะดีโนซีนนี้เป็นสารเคมีซึ่งสร้างขึ้นในสมอง ยิ่งตื่นนานสมองก็ยิ่งผลิตอะดีโนซีนมากขึ้น เมื่ออะดีโนซีนมาจับกับตัวรับจะทำ�ให้เรารู้สึกง่วงนอน และเมื่ออะดีโนซีนเข้าไปจับกับตัวรับไม่ได้ เราก็จะไม่รู้สึก ง่วงนอน กระบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที กว่าคาเฟอีนจะเดินทางผ่านระบบทางเดินอาหาร เข้าไปสู่กระแสเลือด การงีบหลับหลังจากดื่มกาแฟ จะช่วยลดระดับของอะดีโนซีนลงเมื่อถึงเวลาที่คาเฟอีน ในกาแฟทำ�งาน ก็จะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวได้มากยิ่งขึ้น นักวิจัยในมหาวิทยาลัยลัฟบร้า ประเทศอังกฤษ พบว่า เมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยทำ�การดื่มกาแฟแล้วงีบหลับ เป็นเวลา ๑๕ นาที พวกเขาทำ�การผิดพลาดน้อยลงในการทดสอบการขับรถโดยเครื่องจำ�ลองมากกว่าที่พวกเขา ดื่มกาแฟ หรืองีบหลับเพียงอย่างเดียว ขณะที่การศึกษาของญี่ปุ่น พบว่า คนที่ดื่มกาแฟแล้วงีบหลับ ก่อนทำ�การทดสอบความจำ� พบว่าพวกเขา มีความจำ�ดีขึ้นอย่างมีนัยสำ�คัญ สำ�หรับคนที่ดื่มกาแฟไม่ได้ สามารถดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างอื่นแทนได้ เช่น ชา เครื่องดื่มชูกำ�ลัง เป็นต้น แต่ต้องดื่มอย่างรวดเร็ว แล้วก็งีบหลับทันที สำ�คัญต้องรีบตื่นภายในเวลาไม่เกิน ๒๐ นาที (ก่อนที่จะเข้าสู่ ช่วงหลับลึก) ซึ่งเป็นเวลาที่คาเฟอีนกำ�ลังกระตุ้นการทำ�งานของสมองพอดี “การดื่มกาแฟแล้วงีบหลับ ช่วยให้หายง่วงได้ดีกว่าการดื่มกาแฟ หรืองีบหลับแต่เพียงอย่างเดียว เหมาะสำ�หรับทำ�เมื่อจำ�เป็น เช่น ต้องขับรถไปต่อ ไม่มีเวลานอน หรือต้องสอบพรุ่งนี้ อ่านหนังสือไม่ทัน หรือ ต้องทำ�รายงานด่วน การดืม่ กาแฟร่วมกับการงีบหลับ ทำ�ให้ผลงานออกมาดีกว่าทำ�อย่างใดอย่างหนึง่ แต่เมือ่ ทำ�ไปแล้ว วันรุ่งขึ้นต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ควรทำ�แบบนี้บ่อย ๆ เพราะถึงอย่างไร การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ก็ยงั คงเป็นทางเลือกทีด่ ที สี่ ดุ ” นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานทุนง่วงอย่าขับ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิรามาธิบดี กล่าวสรุป  ขอขอบคุณ : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๘๗

 เป็นคนใช้โอกาสเป็น  ผู้เขียนได้เข้าร่วมพิธีไหว้ครูของ สถานศึกษาแห่งหนึง่ เพราะเคยเป็นผูบ้ รรยาย รับเชิญให้เขาอยูบ่ อ่ ย ๆ ทำ�ให้ทราบว่าตัวเรานี้ อายุมากแล้วเขาจึงเชิญมาเป็นปูชนียบุคคล ในคราวนี้ เมื่อมีเวลาก็นั่งอ่านสูจิบัตรของ เขาไปเรื่อย ๆ และก็เจอประโยคที่ชอบใจ จนได้ เขาเขียนว่า “ชีวติ ทีผ่ า่ นมาคือครู ชีวติ ที่ เหลืออยูค่ อื โอกาส” ชอบใจตรงคำ�ว่า โอกาส นีแ่ หละ เพราะคำ�คำ�นีใ้ ช้ได้หลายแง่หลายมุม ทั้งบวกทั้งลบแต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อย ใช้โอกาสเมื่อมีโอกาส เราก็จะเรียกกันว่า ใช้โอกาสเปลืองหรือบางคนก็ใช้โอกาสทุกครัง้ ทีม่ โี อกาสเรียกว่าไม่ยอมพลาดโอกาสเลย แต่คนจำ�นวนไม่นอ้ ยเลย ทีไ่ ม่เคยบริหารจัดการโอกาสทีผ่ า่ นเข้ามาในชีวติ ปล่อยทุกอย่างไปตามยถากรรมจึงเป็นเรือ่ งทีด่ จู ะเสียโอกาสไป ผู้เขียนจึงนำ�เรื่องนี้มาคุยในวันนี้ โอกาส คือ เวลาทีเ่ หมาะหรือจังหวะทีเ่ หมาะทีจ่ ะทำ�สิง่ ใดสิง่ หนึง่ ได้ตามทีเ่ ราอยากจะทำ�หรือตัง้ ใจจะทำ� แล้วทำ�ไมไม่ใช้โอกาสหรือไม่ทำ�ในสิ่งที่อยากทำ�เมื่อมีโอกาส ตรงนี้แหละคือปัญหาแรกที่เราน่าจะคิดกัน สาเหตุ ที่คนเราพลาดโอกาสหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์เมื่อมีโอกาสเพราะ ๑. คนมักจะลังเลเมื่อโอกาสมาถึง บางครัง้ เรามีความตัง้ ใจจะทำ�สิง่ ใดสิง่ หนึง่ แต่เมือ่ มีโอกาสได้ท�ำ เราอาจจะไม่แน่ใจในหลาย ๆ เรือ่ ง ไม่แน่ใจ ตัวเอง ไม่แน่ใจคนรอบข้าง ไม่แน่ใจสภาพแวดล้อม รวมทั้งไม่แน่ใจว่าเป็นโอกาสจริง ๆ หรือเปล่า คิดไปคิดมา จนโอกาสผ่านไปเสียแล้ว


๘๘ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

๒. เวลาของโอกาสบางครั้งมันสั้นมาก เรามักจะได้รับคำ�ถามบ่อย ๆ ว่าจะเอาโน่นไหม จะเอานี่ไหม จะทำ�โน่นทำ�นี่ไหม หรือแม้แต่ตำ�แหน่ง หน้าทีใ่ นการทำ�งาน คำ�ถามเหล่านีค้ อื โอกาสทีเ่ ข้ามาในชีวติ แต่เวลาทีจ่ ะตอบมักมีนดิ เดียวและคำ�ตอบแค่ ใช่ครับ เอาครับ ตกลงครับ หรือตรงกันข้ามเท่านั้นเอง คือ เวลาทั้งหมดของโอกาสจบแล้วก็จบไปเลยต้องรอกันอีก เป็นเดือนเป็นปีหรือไม่มีโอกาสอีกเลย ๓. นึกได้ทีหลังว่ามีโอกาส หลายครัง้ ทีเ่ รารูส้ กึ ตัวว่ามีโอกาสเมือ่ โอกาสนัน้ ผ่านพ้นไปตัง้ นานแล้วเพราะเรามีเรือ่ งราวต่าง ๆ มากมาย ต้องคิดต้องทำ� หลายครั้งจึงไม่ได้สังเกตด้วยซ้ำ�ว่าโอกาสผ่านเข้ามาแล้ว ๔. เงื่อนไขยังไม่พร้อมเมื่อมีโอกาส หลายครั้งที่เราตั้งใจจะทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่เมื่อมีโอกาสที่ดีแต่เราก็ยังมีประเด็นอื่น ๆ อีกบางเรื่องที่ ไม่พร้อม เช่น เราอยากเรียนต่อในระดับปริญญาโทในบางสาขา แต่ต้องรอให้มหาวิทยาลัยเขาเปิดในหลักสูตรนี้ เมื่อเขาเปิดจริง ๆ เราอาจจะขอทุนจากกองทัพไม่ได้หรือมีทุนแล้วแต่ภรรยาตั้งครรภ์เราก็ไม่อยากจะมีภาระ หลายด้าน เป็นต้น จากที่รอโอกาสตั้งนานแต่ถึงเวลาโอกาสผ่านมาตัวแปรอื่นอาจจะเปลี่ยนไปจนเราใช้โอกาส นั้นไม่ได้ ๕. มัวแต่นั่งรอโอกาส คนจำ�นวนมากมีความคิดและความตั้งใจอยู่มากมาย และทุกคนก็คิดว่าเมื่อมีโอกาสก็จะทำ�ในสิ่งที่คิด และตั้งใจ แต่หลายคนก็ไม่ได้ขวนขวายแสวงหาติดตามโอกาสที่ต้องการเลย รอให้โอกาสเดินเข้ามาหาเราเอง ซึ่งก็คงไม่ง่ายนักและหลายครั้งที่โอกาสย่างเข้ามาก็มักจะรู้ทีหลังอีกต่างหาก ดังที่กล่าวแล้ว เงื่อนไขหลัก ๆ ดังที่กล่าวมาทำ�ให้เราพลาดโอกาสที่ตั้งใจไว้ก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย แต่ยังมีอีกด้านหนึ่ง คือ มีคนจำ�นวนมากที่ไม่ยอมพลาดโอกาสเลย คือ เมื่อมีโอกาสก็จะตักตวงทุกอย่างให้มากที่สุด ตรงนี้แหละที่ ผู้เขียนต้องการกล่าวถึงในที่นี้จึงใช้หัวข้อว่าเป็นคนใช้โอกาสเป็น ใช้เป็นไม่ได้หมายถึงทำ�ทุกอย่างเมื่อมีโอกาส เพราะในชีวิตคนเราโอกาสจะผ่านเข้ามาแบบตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจบ่อย ๆ การใช้เป็นจึงมีความสำ�คัญ  การบริหารจัดการโอกาส หากเราเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจะมีเรื่องเกี่ยวกับโอกาสอยู่ ๓ เรื่อง ๑. เป็นผูร้ บั โอกาส คนเราทุกคนกว่าจะโตมาจนอายุปจั จุบนั นีท้ กุ ท่านต้องเป็นผูร้ บั โอกาสมาอย่างมากมาย สิ่งแรกเลยท่านได้รับโอกาสให้เกิดมาเป็นคน ซึ่งโอกาสนี้นับว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตและได้รับโอกาสเป็นคนที่มี อาการครบ ๓๒ ด้วย ท่านได้รับโอกาสให้เล่าเรียน ได้รับโอกาสทำ�งานในกองทัพอากาศ ฯลฯ จะเห็นว่าแต่ละคน เป็นผู้รับโอกาสมากมายทั้งจากธรรมชาติและจากสังคม


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๘๙

๒. เป็นผู้ใช้โอกาส โอกาสต่าง ๆ ที่ท่านเป็นผู้รับโอกาสมาท่านก็ทำ�หน้าที่เป็นผู้ใช้โอกาสนั้น แล้วท่าน ได้ใช้โอกาสนั้นคุ้มค่าหรือไม่ เหตุที่มีคำ�ว่าใช้โอกาสเปลืองก็เพราะว่าเมื่อมีโอกาสแล้วใช้โอกาสนั้นไม่คุ้มค่า คำ�พูดนีม้ กั จะมาจากการแข่งขันกีฬา เมือ่ มีโอกาสทำ�คะแนนได้แต่หลาย ๆ ครัง้ ก็ท�ำ ไม่ได้จงึ เรียกว่าใช้โอกาสเปลือง และมักจะตามมาด้วยคำ�ว่าพลาดโอกาสทอง ผู้เขียนได้กล่าวไว้แต่ต้นว่าเราทุกคนนั้นได้รับโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตมาแล้ว คือ โอกาสที่ได้เกิด มาเป็นคน แต่คนจำ�นวนมากก็ไม่ยอมใช้โอกาสนี้ให้คุ้มค่าเลยกลับจะดำ�รงชีวิตแบบสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ไม่ดูแลชีวิต ตนเองให้ดี ไม่ช่วยกันพัฒนาสังคมของตนให้น่าอยู่น่าอาศัย เอาความเป็นคนมาอ้างทำ�สิ่งต่าง ๆ ที่สร้างปัญหา และความวุ่นวายให้ตัวเองและผู้อื่น สำ�หรับข้าราชการกองทัพอากาศของเรา หลาย ท่านที่ไม่มีความสุขกับการเป็นทหารอากาศท่านก็ยังมี โอกาสเสมอ ที่จะลาออกไปทำ�อาชีพอื่นได้ สำ�หรับท่าน ทีร่ กั และมีความสุขกับการเป็นทหารอากาศก็ตอ้ งยอมรับ กันว่าท่านเป็นผู้ท่ีโชคดีมาก ๆ คนหนึ่ง เพราะคนไทย เกือบเจ็ดสิบล้านคนในปัจจุบนั มีทหารอากาศอยูร่ าวสีห่ มืน่ ห้าพันคนเศษเท่านัน้ เมือ่ ท่านได้รบั โอกาสนีแ้ ล้วท่านน่าจะ เอาใจใส่งานในหน้าที่ของท่านให้ดี ปฏิบัติงานด้วยความ ตัง้ ใจและทีส่ ำ�คัญงานในหน้าทีข่ องแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป แต่ภารกิจหลักของกองทัพอากาศนัน้ ยังเป็น เรื่องเดียวเสมอ คือ การใช้กำ�ลังกองทัพอากาศในการป้องกันประเทศและช่วยเหลือประชาชน...เมื่อมีเวลาว่าง จากงานประจำ�ท่านจะไม่ลองใช้โอกาสที่ท่านได้รับ ทำ�ความเข้าใจในเรื่องราวและภารกิจของกองทัพอากาศ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อความภาคภูมิใจที่ได้เป็นทหารอากาศ และเพื่อความภาคภูมิใจที่จะบอกเล่าให้ ผูค้ นอีกเกือบเจ็ดสิบล้านคนฟังว่าท่านมีภารกิจอะไรร่วมกับกองทัพอากาศ เมือ่ ท่านได้รบั โอกาสเป็นทหารอากาศ ๓. เป็นผู้ให้โอกาสผู้อื่น บางทีเราก็มัวแต่ตั้งหน้าตั้งตาแสวงหาโอกาส และขอโอกาสจนลืมไปว่าเรานัน้ มีสทิ ธิและหน้าทีท่ จี่ ะต้อง ให้โอกาสผูอ้ นื่ ด้วย และเรือ่ งนีก้ เ็ ป็นเรือ่ งทีส่ �ำ คัญอีกเรือ่ งหนึง่ เช่น หากเราไปซื้อของในห้างสรรพสินค้าเจอสินค้าที่เราต้องการ ลดราคาลงมามาก เมื่อเราเลือกซื้อมาแล้วหากเรารู้ว่าเพื่อนฝูง คนรูจ้ กั เขาต้องใช้สนิ ค้าเหล่านีด้ ว้ ยเราก็มนี �้ำ ใจบอกเขา ให้เขา ได้ใช้โอกาสในการลดราคาในครั้งนี้ หาซื้อของที่เขาต้องการ ในราคาถูกด้วยเป็นการแนะนำ�ให้โอกาสผู้อื่น หรือกรณี ที่เราได้เห็นเด็ก ๆ บางคนเขามีพรสวรรค์ในการเล่นกีฬา


๙๐ ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘

บางประเภท เรารู้ว่าสถานศึกษาหรือสโมสรกีฬาใดเขามีโครงการสนับสนุนกีฬาประเภทนั้น ๆ เราแนะนำ�เขา เขาก็ได้มีโอกาสแสดงความสามารถ อาจจะมีนักกีฬาดี ๆ เกิดขึ้นก็ได้ จะเห็นว่าการให้โอกาสผู้อื่นนั้นเราทุกคน มีโอกาสทำ�ได้มากเหลือเกิน เพราะในสังคมนั้นคนมีโอกาสและต้องการโอกาสที่ต่างกัน การแบ่งปันโอกาส ให้กันและกันเป็นความงดงามของสังคมอารยะ จะเห็นว่าการบริหารจัดการโอกาสนั้นเป็นเรื่องสำ�คัญมากสำ�หรับชีวิตของคนเรา หากท่านไม่ใช้โอกาส ทีผ่ า่ นเข้ามาอย่างเหมาะสมแล้วในโอกาสสุดท้ายของท่าน ท่านจะต้องเสียใจว่าท่านได้พลาดโอกาสทองทีไ่ ด้เกิดมา เป็นคนไปเสียแล้ว และคงจะไม่มีโอกาสนี้อีก 

เฉลย CROSSWORD

อ.วารุณี


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผูอำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินทรงเปดงานกาชาด ประจำป ๒๕๕๘ และพระราชทาน เกียรติบัตร พระราชทานโลรางวัลผูชนะการประกวดขบวนแหรถเฉลิมพระเกียรติฯ และรางวัลการประกวดรานกาชาดป ๒๕๕๘ ในโอกาสนี้ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ.

ไดเขาเฝารับเสด็จฯ และรับพระราชทานเกียรติบัตรและโลรางวัล “ชนะเลิศ” การประกวดรานกาชาด ประเภทหนวยงานภาครัฐ ณ สวนอัมพร เมื่อ ๓๐ มี.ค.๕๘

พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. เปนประธานในพิธีวางพานพุมถวายสักการะและพิธีวางพวงมาลา ณ อนุสาวรียอดีตผูบังคับบัญชาของกองทัพอากาศ และพิธีบำเพ็ญกุศล ณ หองรับรองกองทัพอากาศ เนื่องในวัน “กองทัพอากาศ” เมื่อ ๙ เม.ย.๕๘

พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. เปนประธานในพิธีเนื่องในวันที่ระลึ​ึกกองทัพอากาศ ประจำป ๕๘ โดยมี พล.อ.ท.วิเชียร ธรรมาธร ผบ.รร.นนก. พรอมคณะ น.ผูใหญ

เขารวมพิธี ณ รร.นนก. เมื่อ ๒๗ มี.ค.๕๘

พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. และ น.อ.หญิงอุดมลักษณ สนแจง นายกสมาคม แมบาน ทอ. เปนประธานรดน้ำขอพรอดีตผูบังคับบัญชา และอดีตนายกสมาคมแมบาน ทอ. เนื่องในวันสงกรานต ประจำป ๒๕๕๘ ณ หองรับรอง ทอ. เมื่อ ๑๐ เม.ย.๕๘


ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ


ข่าวทหารอากาศ

พฤษภาคม ๒๕๕๘


พฤษภาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ







Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.