หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน เมษายน 2563

Page 1

ขาวทหารอากาศ ISSN 0125 6173 ปที่ ๘๐ ฉบับที่ ๔ เดือนเมษายน ๒๕๖๓

ขาวทหารอากาศ

ปที่ ๘๐ ฉบับที่ ๔ เดือนเมษายน ๒๕๖๓

http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th

ISSN 0125 6173


2

วันจักรี ๖ เมษายน ๒๕๖๓

โอองคพระจักรีศรีสยาม ทรงยิ่งดวยพระบุญญาบารมี ประดุจแกวแววมณีศรีสวัสดิ์ ทรงยิ่งดวยพระเกียรติยศปรากฏไกล ยิ่งนานวันมิผันแปรแนตระหนัก สารพัดพระกรุณาพาเพิ่มพูน อาณาเขตประเทศสยามงามนักหนา สงบเย็นเปนสุขทุกประการ ทรงสรางวัดสรางวังดังประสงค พุทธศาสนเฟองฟุงจรุงใจ ในนํ้าก็มปี ลาในนามีขาว ชนในชาติมคี วามสุขทุกเวลา แมหลายปเสด็จสวรรคยังมั่นภักดิ์ ยิ่งเทิดทูนพูนพงษวงศจักรี ขอคุณพระรัตนตรัยคุณไพศาล สูพระองคพระจักรีมิมีคลาย

สงางามพระเกียรติคุณบุญราศี วงศจักรีฟุงเฟองกระเดื่องไกล สารพัดพระปรีชาจะหาไหน ประชาไทยตางรําลึกสํานึกคุณ ยิ่งประจักษพระบารมีมิเสื่อมสูญ นับเปนบุญแหงสยามงามตระการ ดวยบุญญากวางไกลยิ่งไพศาล ดวยพระบุญญาธิการที่เกริกไกร เพื่อมั่นคงอาณาจักรหลักสดใส งามวิไลดวยศีลธรรมนําจรรยา ใจคนเลามีศีลธรรมงามหนักหนา ชาติศรัทธาพระทรงยศหมดฤดี ยังจงรักเทิดทูนพูนราศี เพราะบุญญาบารมีศรีชาติไทย โปรดประทานพรเลิศอยางเฉิดฉาย สถิตใดมั่นคงจงนิรันดร

ปวงข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมส�านึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจ�าการ และครอบครัวกองทัพอากาศ น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์


ข าวทหารอากาศ

3

บทอาเศียรวาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจา กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๒ เมษายน ๒๕๖๓ สองเมษายนมงคลสมัย ราชสมภพทูลกระหมอมจอมนารี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจา ดวยทรงมีบุญญาพระการุณย เปนประดุจแกวมณีศักดิ์ศรีชาติ ทรงยิ่งดวยเกียรติยศปรากฏไกล ทรงตามรอยพระชนกบุญปกเกศ ดวยบุญญาบารมีที่รุงเรือง แมพระเณรเรียนธรรมตามอาวาส ก็ดวยพระบารมีศรีมงคล พระเสด็จแดนใดทั้งไทยเทศ นําสุขแดทวยราษฎรมิคลาดคลา สองเมษายนวนมาถึง ตางตั้งใจ มั่นรัก สามัคคี ขออํานาจอันศักดิ์สิทธิ์วิจิตรลน พรเทวาทุกทิศามามิคลาย

ประชาไทยปรีเปรมเกษมศรี สยามราชกุมารีศรีแผนดิน ชาวไทยเฝาจงรักตระหนักหนุน นับเปนบุญชาติไทยไมเสื่อมคลาย งามพิลาสพระจริยาจะหาไหน งามวิไลพระปรีชาพารุงเรือง ทั่วทุกเขตแดนสยามงามลือเลื่อง นําบานเมืองพบความสุขไรทุกขทน งามพิลาสพระปริยัติจรัสผล ใหเกิดผลสุขสวัสดิ์วัฒนา ยอมเปนเหตุสรางสรรคสุดหรรษา ไทยทั่วหลาตางจงรักและภักดี ชาวไทยซึ่งจงรักประจักษศรี เทิดทูนพระบารมีมิเสื่อมคลาย พรมงคลพระไตรรัตนจรัสฉาย สองประกายคุม ครององคทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจ�าการ และครอบครัวกองทัพอากาศ น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์


4

บทอาเศียรวาท สมเด็จพระเจาลูกยาเธอ เจาฟาทีปงกรรัศมีโชติ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๓ ยี่สบิ เกาเมษายนมงคลดิถี นําสุขเกิดภายในดวงใจชน ทรงเปนมิ่งขวัญใจไทยทั้งผอง เหมือนทวยเทพมาโปรดรุงโรจนงาม ปโยรสพระทศมินทรปนกษัตริย คงเสด็จจากฟามาสูไทย ทรงโปรดปรานการบุญพูนกุศล โปรดเสด็จสูอารามงามฤดี โปรดสงบพบสุขใสในวิถี ปวงประชาชื่นสุขในทุกกาล ทรงทูนเทิดทางกุศลผลไพศาล เปนแบบอยางแนวทางอยางวิมล ทรงเจริญวัยจรูญพูนราศี พระเสด็จแดนใดซึ้งใจชน ขอคุณพระไตรรัตนจรัสศรี ขอทวยเทพเทวฤทธิ์ประสิทธิชัย

พระองคทีประสูติวิสุทธิผล ไทยทุกคนสุขฤดีมีผลงาม แผนดินทองผองใสในสยาม ทุกเขตคามตางยินดีมสี ุขใจ เจิดจรัสดวยบุญญาจะหาไหน จึงสดใสพระการุณยบุญทวี ศาสตรศิลปในพระคุณบุญราศี บุญทวีศกึ ษาธรรมนํามงคล พระเมตตาบารมีที่สืบสาน ดวยศีลทานมากมีศรีมงคล กตัญูองคภูบาลมั่นกุศล ทั่วสากลสรรเสริญเจริญพร พระบุญญาบารมีศรีกุศล นอมนําผลบารมีวิถีไทย คุมครองพระองคทที ี่สดใส อวยพรชัยขอพระองคทรงพระเจริญ

ควรมิควรสุดแต่จะโปรด ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจ�าการ และครอบครัวกองทัพอากาศ น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์


ข่าวทหารอากาศ

5


6

บทบรรณาธิการ

สวั ส ดี ค รั บ ท่ า นผู ้ อ ่ า นหนั ง สื อ ข่ า วทหารอากาศ ที่รักทุกท่าน ในห้วงเดือนที่ผ่านมาพวกเราชาวไทยต่างได้ เผชิญกับภาวะวิกฤตจากหลายสถานการณ์ โดยเฉพาะ COVID-19 จนทางราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนกองทั พ อากาศได้ เ ข้ า ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ทางด้านการดูแลสุขภาพ การตรวจคัดกรองผูโ้ ดยสาร ตามสนามบินทุกแห่ง อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ ให้ ค วามรู ้ ใ นเรื่ อ งการดู แ ลป้ อ งกั น ตนเอง รวมทั้ ง การเร่งผลิตหน้ากากอนามัยและจัดท�าวิดีโอเผยแพร่ ความรูก้ ารตัดเย็บหน้ากากอนามัยเพือ่ แจกจ่ายให้แก่ ข้าราชการและครอบครัว ตลอดจนพี่น้องประชาชน ในพื้นที่โดยรอบกองทัพอากาศ เพื่อให้ทุกคนผ่านพ้น สถานการณ์ ดั ง กล่ า วไปด้ ว ยกั น ตามเจตนารมณ์ “กองทัพอากาศเคียงข้างประชาชน” ที่ส�าคัญคือในวันที่ ๒ เมษายน เป็นวันคล้ายวัน พระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรง เป็นมิ่งขวัญของอาณาประชาราษฎร์ พระองค์ทรง ปฏิ บั ติ พ ระราชกรณี ย กิ จ มากล้ น เหลื อ คณานั บ ด้ ว ยความเสี ย สละ อดทน และมิ ท รงย่ อ ท้ อ ต่ อ ความเหนื่ อ ยยากทั้ ง ปวง ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ประโยชน์ สุ ข แก่พสกนิกรและประเทศชาติ

นอกจากนี้ ใ นวั น ที่ ๙ เมษายน ของทุ ก ปี ยังตรงกับวาระพิเศษเนื่องใน “วันกองทัพอากาศ” โดยนับตั้งแต่การเปลี่ยนจาก “กรมอากาศยาน” เป็น “กรมทหารอากาศ” และได้รับการยกฐานะ ขึ้นเป็น “กองทัพอากาศ” เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๔๘๐ กองทัพอากาศได้พัฒนาขึ้นมาตามล�าดับ และพร้อมทีจ่ ะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยัง้ ครอบคลุม ทุกมิติ ภายใต้แนวคิด “การพัฒนากองทัพอากาศ อย่างชาญฉลาดและยั่งยืน (Moving Toward Sustainable Smart Air Force)” รวมทั้ ง จั ก ร่ ว มแรงร่ ว มใจกั น ปฏิ บั ติ ง านอย่ า งไม่ ย ่ อ ท้ อ ต่อปัญหา หรืออุปสรรคทัง้ ปวง เพือ่ ด�ารงไว้ซงึ่ ศักดิศ์ รี และเกียรติภูมิของกองทัพอากาศ ตลอดจนพัฒนา ศักยภาพก�าลังทางอากาศให้พร้อมปกป้องเอกราช อธิ ป ไตย และน่ า นฟ้ า ไทย ให้ บั ง เกิ ด ความผาสุ ก ของประชาชนในชาติให้ยั่งยืนถาวรสืบไป ปกฉบั บ นี้ เป็ น เทคโนโลยี ป ั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ (Artificial Intelligence) ซึ่ ง เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ มี ความชาญฉลาดและจะน� า พากองทั พ อากาศไปสู ่ ความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี รวมทัง้ Space Domain ซึ่งกองทัพอากาศได้สร้างและพัฒนาดาวเทียมขึ้นมา จนพร้อมส่งเข้าสูว่ งโคจรในชัน้ บรรยากาศ เพือ่ ประโยชน์ ของประเทศชาติในหลาย ๆ ด้าน ส�าหรับเรือ่ งเด่นในฉบับได้แก่ เทคโนโลยีดาวเทียม กั บ การพึ่ ง พาตนเองของกองทั พ อากาศ, รู ้ จั ก กั บ ความมั่นคงปลอดภัยทาง CYBER, RQ-4 Global Hawk สุดยอดโดรนสอดแนม, วิทยาการหุ่นยนต์ ทางทหารและปัญญาประดิษฐ์ รวมทัง้ คอลัมน์ประจ�า อีกหลายเรือ่ ง ล้วนเป็นเรือ่ งน่าสนใจ เชิญท่านพลิกอ่าน ได้ตามอัธยาศัยครับ 


ข าวทหารอากาศ

สารบัญ

ป ที่ ๘๐ ฉบั บ ที่ ๔ เดื อ นเมษายน ๒๕๖๓

๒ กลอนวันจักรี - น.อ.เกษม พงษ พันธ ๓ บทอาเศียรวาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ า กรมสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี - น.อ.เกษม พงษ พันธ ๔ บทอาเศียรวาท สมเด็จพระเจ าลูกยาเธอ เจ าฟ าทีป งกรรัศมีโชติ - น.อ.เกษม พงษ พันธ ั ชาการทหารอากาศ เนือ่ งในวันกองทัพอากาศ วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๓ ๕ สารผูบ ญ ๙ อุดมการณ ทหารอาชีพ - น.อ.ธันยวัต ชูส งแสง ๑๓ เทคโนโลยีดาวเทียมกับการพึ่งพาตนเองของกองทัพอากาศ - น.ท.ศศิศ เชื้อสมบูรณ ๑๙ เป ดปูม ๑๐๐ ป การบินของบุพการี กองทัพอากาศ - พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร ๒๓ รู จักกับความมั่นคงปลอดภัยทาง CYBER - น.อ.ดร.ณัฐวุฒิ สามไพบูลย ๒๗ ตําราพิชัยสงคราม SUNTZU ๑๓ บทไม ตาย - พล.อ.อ.จอม รุ งสว าง ๓๑ RQ-4 Global Hawk สุดยอดโดรนสอดแนม - น.อ.วัชรพงษ กลีบม วง ๓๕ เวลาการ ตูน - มีสกรีน ๓๗ Red Eagle อินทรีแดง แผลงฤทธิ์ : Air Marshal ภารกิจลับ พิทักษ เหนือเวหา - น.ต.ภฤศพงศ ช อนแก ว ๔๓ พลิกโฉมสร างฐานรากนวัตกรรม และแหล งรวมป ญญาของกองทัพอากาศ : โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป ดสอน "ปริญญาโท" ครัง้ แรก - สํานักบัณฑิตศึกษา รร.นนก. ๔๖ วิทยาการหุ นยนต ทางทหารและป ญญาประดิษฐ - น.อ.หญิง ชมพูนุท พูลสนอง (สพ.ทอ.) ๕๓ มุมกฎหมาย : ผ อนรถยังไม ครบสัญญา นําไปจํานําหรือขายต อ มีผลทาง กฎหมายอย างไร - ร.อ.ชานุวัฒน แสงสุวรรณ ๕๖ เกร็ดเล็กเกร็ดน อย ประชาคมอาเซียน : สัตว ประจําชาติของสาธารณรัฐ แห งสหภาพเมียนมา - @Zilch ๕๗ มุมท องเที่ยว : Along The River - กันตา ๖๔ WEAPONIZED INFORMATION - ร.ต.พอภัทร สดสร อย ๖๘ ครูภาษาพาที : เรียนรู ภาษาอังกฤษจากนิทานอีสป Learn English from Aesop's Fables - PJ the Piglet ๗๒ บุคคลดีเด น กองทัพอากาศ ๗๘ จับจิต จับใจ กับ อ.หนู : ตระหนัก แต ไม ตระหนก…เตรียมใจให พร อม - อ.หนู ๘๓ ภาษาไทยด วยใจรัก : ภาษาสวยงามในวรรณกรรมไทย - นวีร ๘๗ ขอบฟ าคุณธรรม : …เป นคนรู ทัมใจ… - 1261 ๙๑ ในรัว้ สีเทา ๙๗ ศูนย บรรเทาสาธารณภัย : มาตรการแนวทางการปฏิบตั ปิ อ งกัน การแพร ระบาด ของโรค COVID-19 ของกองทัพอากาศ - ร.อ.หญิง วิวสั วัน เปล งวิทยา

๑๓

๒๓

๓๑

๔๖

7


8

ข าวทหารอากาศ คณะผูจ้ ดั ท�าหนังสือข่าวทหารอากาศ เจ้าของ กองทัพอากาศ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ ทองใหญ่ พล.อ.อ.ธนนิตย เนียมทันต พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน

พล.อ.อ.อมร แนวมาลี พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย

ที่ปรึกษา พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร พล.อ.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ พล.อ.ต.สหัสชัย มาระเนตร

พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ผู้อํานวยการ/บรรณาธิการ

พล.อ.ท.ตรีพล อ่องไพฑูรย เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

รองผู้อํานวยการ

พล.อ.ต.ฐานัตถ จันทรอําไพ พล.อ.ต.สมพร แต้พานิช

พล.อ.ต.ธรรมรงคเดช เจริญสุข

ผู้ช่วยผู้อํานวยการ

น.อ.นิโรจน จําปาแดง น.อ.ขจรฤทธิ์ แก้วอําไพ ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้จัดการ

น.อ.นินาท มูลจนะบาตร น.อ.สมพร ร่มพยอม

น.อ.นิโรจน จําปาแดง น.อ.อภิรัตน รังสิมาการ น.อ.ปยะ พลนาวี

ประจําบรรณาธิการ

น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง น.ท.หญิง รัชนก เกิดสุข พ.อ.อ.พันธกานต พูลผล พ.อ.อ.หญิง วาสนา รับสมบัติ น.ส.อุไรวรรณ บุญณรงค น.ส.รสสุคนธ บุญประเทือง

น.ท.หญิง มุตสิตา มาหะศักดิ์ พ.อ.อ.ธรรมวัฒน รัตนวิจารณ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห จ.อ.หญิง ศุภวัลย กระจ่างนฤมลกุล นางจันทรสม คํามา น.ส.ณัฐวดี ธํารงวงศถาวร

หนังสือข่าวทหารอากาศ ความเปนมา หนังสือข่าวทหารอากาศ เปนนิตยสารรายเดือนของกองทัพอากาศ เริม่ ดําเนินการเมือ่ ป พ.ศ.๒๔๘๓ ขึน้ กับกรมข่าวทหารอากาศ โดย นาวาอากาศเอก สกล รสานนท เปนบรรณาธิการคนแรก ดําเนินการโดยทุนของข้าราชการทหารอากาศ พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการมาอยูใ่ นความอํานวยการของกรมยุทธศึกษาทหาร อากาศ ตามคําสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ กํากับดูแล โดยคณะอนุ ก รรมการบริ ห ารวารสารและสื่ อ สิ่ ง พิ ม พ ก องทั พ อากาศ ตามอนุมัติ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๘ ธ.ค. ๒๕๕๒ กําหนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ ว่าด้วยการ บริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพกองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒ ๑ ม.ค.๒๕๖๑ ได้เข้ามาอยู่ในการกํากับดูแลของกรมกิจการพลเรือนทหาร อากาศ ตามคําสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๑๓๖/๖๐ ลง ๒๖ ก.ย.๒๕๖๐

ภารกิจ ดําเนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เปนไปตามนโยบายของผูบ้ ญั ชาการ ทหารอากาศ โดยมีผู้อํานวยการหนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.กร.ทอ.) เปนผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่วไป ๒. เพือ่ แสดงความคิดเห็นด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร เทคโนโลยีและสิง่ แวดล้อม อันจะเปนประโยชนตอ่ ส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพอากาศ

การด�าเนินงาน ๑. เปนสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นที่เปนประโยชนใน การพัฒนากองทัพอากาศและส่วนรวม ๒. เนื้อหาที่นํามาลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขดั ต่อวัตถุประสงค/นโยบายของผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะผู้จัดทําหนังสือข่าว ทหารอากาศ

ก�าหนดการเผยแพร่ นิตยสารรายเดือน

กองวารสารและสื่อสิ่งพิมพ (เพื่อพลาง) สํานักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ กรมกิจการพลเรืิอนทหารอากาศ ถนน พหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑, ๐ ๒๕๓๔ ๔๒๔๑ โทรสาร ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑ ส่งบทความและภาพกิจกรรมได้ที่ rtafmag@gmail.com

พิมพที่ บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จํากัด (มหาชน) ๓๐/๘๘ หมู่ ๑ ถ.เจษฎาวิถี ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ โทรศัพท ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๘๘ โทรสาร ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๕๘

อ่านบทความเอกสารอิเล็กทรอนิกสได้ที่ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th และ www.rtaf.mi.th บทความและความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ภาพบางส่วนในหนังสือ นํามาจาก www.google.com ออกแบบปก : น.อ.ปยะ พลนาวี, พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห (ภาพกราฟกสเวกเตอรบางส่วนอาจนํามาจาก www.freepik.com)


ข าวทหารอากาศ

9

อØดมการ³ ·ËÒÃÍÒªÕ¾ น.อ.ธันยวัต ชูส่งแสง

ชีวติ ทีข่ าดเป้าหมายและอุดมคติยอ่ มจะล่องลอย ไปตามยถากรรมเปรียบเสมือนเรือใบที่ไร้หางเสือ จึ ง ถู ก กระแสคลื่ น ลมพั ด พาไปอย่ า งไม่ มี จุ ด หมาย ปลายทางทีแ่ น่นอน และทีส่ ดุ ก็คงอับปางลงกลางทะเล เมื่อเจอพายุ กองทัพก็เช่นกันถ้าหากขาดเป้าหมาย และอุดมการณ์ทชี่ ดั เจนก็ยอ่ มล่องลอยไปตามกระแส แห่งความเปลี่ยนแปลง ความผันผวน ความกดดัน ทางการเมืองและสังคมวัฒนธรรม จนในทีส่ ดุ ก็อาจจะ ระส�่าระสายตกต�่าลงได้ในวันใดวันหนึ่ง ส� า หรั บ ค� า ถามที่ ว ่ า "ชายและหญิ ง ที่ แ ต่ ง เครื่องแบบทหารเดินกันดาษดื่นในกองทัพทุกวันนี้ จะรู้ได้อย่างไรว่า ใครคือทหารอาชีพหรือใครที่แค่ เลื อ กที่ จ ะท� า อาชี พ ทหารเพื่ อ หาเลี้ ย งปากท้ อ ง" ค�าตอบนัน้ น่าจะอยูท่ กี่ ารค้นหาความหมายของค�าว่า ทหารอาชีพ และอุดมการณ์ทหารที่พวกเขายึดถือ ย้อนเวลาไปสัก ๓๐-๔๐ ปีก่อน หากมีใครพูดถึงค�าว่า "ทหารอาชีพ" ทุกคนคงเต็มไปด้วยความสงสัยว่า "ทหารอาชี พ " หมายถึ ง อะไร ท� า ไมต้ อ งมี ค� า ว่ า “อาชีพ” ต่อท้ายทหาร ค�าว่า "ทหาร" มันสือ่ ความหมาย ที่ไม่ชัดเจนหรือคลุมเครืออย่างไร หรือโลกของเรานี้

มีทหารทีเ่ ป็นอาชีพกับทหารทีไ่ ม่ใช่อาชีพ บางคนก็คดิ ไปว่ า นั่ น คื อ การแยกทหารหลั ก ของชาติ อ อกไป จากทหารพรานและทหารรับจ้าง คนสมัยนัน้ มีภาพคิด ของทหารชัดเจนเป็นภาพเดียว ทหารก็คือทหาร พวกเขาเป็นนักรบผู้ท�าหน้าที่สู้รบป้องกันประเทศ ภาพของทหารในสายตาของประชาชนคือ กลุ่มคน ผู ้ เ สี ย สละ กล้ า หาญ และอยู ่ ภ ายใต้ ก ฎระเบี ย บ อันเคร่งครัด และพวกเขาเหล่านั้นพร้อมที่จะพลีชีพ เพือ่ อุดมการณ์ความเชือ่ ของพวกเขา หรือทีเ่ รียกกันว่า อุดมการณ์ทหาร ส่วนค�าว่า “ทหารอาชีพ” นั้น ปรากฎขึน้ ในประเทศไทยภายหลังกระแสโลกาภิวตั น์

RTAF C-130 ในการฝึก Teak Torch 2017


10

และค่านิยมบริโภคนิยมจากโลกตะวันตก ทีแ่ พร่หลาย เข้าสูส่ งั คมไทย ท�ำให้ทหารบางส่วนมีวถิ ชี วี ติ บนความ อยากได้ อยากมี รักความสุขสบาย เข้ามาเป็นทหาร ด้วยหวังในยศศักดิ์และสิทธิประโยชน์ แต่ไม่อาจ อดทนต่อความยากล�ำบากและวิถีชีวิตแบบทหาร ดั้ ง เดิ ม ได้ อี ก ขณะที่ ท หารอี ก พวกหนึ่ ง ยั ง ยึ ด มั่ น ในหน้าทีแ่ ละวิถเี กียรติยศ เกิดเป็นภาพทหาร ๒ แบบ ที่แตกต่างกัน และทหารพวกหลังนี้เองที่เป็นทหาร ตามค�ำนิยามว่า “ทหารอาชีพ” แล้ ว อุ ด มการณ์ ที่ ท หารอาชี พ ยึ ด ถื อ นั้ น เป็ น อย่างไร ? ในเรื่ อ งของความหมาย “อุ ด มการณ์ ” คื อ จินตนาการอย่างหนึ่ง เป็นจินตนาการที่ถือเป็น มาตรฐานแห่งความดีงามซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมาย แห่งชีวิตอันสูงส่งที่จูงใจให้มนุษย์พยายามมุ่งมั่น ที่จะท�ำหรือบรรลุถึง อุดมการณ์ทหาร จึงหมายถึง มาตรฐานแห่งความดีงามสูงสุดในหน้าที่ของนักรบ ของชาติ ที่ต้องมุ่งมั่นอุทิศตน เพื่อให้บรรลุถึงนั่นเอง ด้วยเหตุนอี้ ดุ มการณ์ทหารจึงเป็นสิง่ ส�ำคัญและจ�ำเป็น อย่างยิ่งต่อความเป็นทหารอาชีพ การมีอุดมการณ์ ทหารทีฝ่ งั แน่น จะเป็นแนวทางให้ทหารเกิดความส�ำนึก ในหน้าที่ ยึดมัน่ ในผลส�ำเร็จของภารกิจ เป็นหลักประกัน ได้ว่า ผู้ที่มีอุดมการณ์ทหารที่ฝังแน่นและกล้าแกร่ง จะน�ำผลดีมาสู่กองทัพและประเทศชาติได้อย่างไม่มี ข้อกังขา จึงไม่ใช่เรือ่ งแปลกทีก่ องทัพจะให้ความส�ำคัญ กับการปลูกฝังอุดมการณ์ และมีแนวทางที่ชัดเจน ในการท�ำให้ก�ำลังพลเชื่อในหลักการ แนวคิด ค่านิยม หรือทฤษฏีบางอย่าง กองทัพเราเป็นอย่างนี้ กองทัพ อื่น ๆ ในโลกก็ไม่ต่างกัน เพราะมันเป็นวิถีปฏิบัติ ที่สืบทอดกันมาในสังคมทหาร อุดมการณ์ของทหารนับวันจะมีความส�ำคัญ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสังคมทหารไทย ณ ปัจจุบัน ทีก่ ำ� ลังเผชิญหน้ากับความผันผวนและการเปลีย่ นแปลง จากกระแสโลกาภิ วั ฒ น์ แ ละความก้ า วหน้ า ของ เทคโนโลยีการสือ่ สารและระบบเครือข่าย นักวิชาการ

หลายคนได้แสดงความเห็นว่า ที่สังคมไทยวุ่นวาย ทุกวันนี้ ส่วนหนึง่ มาจากความก้าวหน้าของโลกไซเบอร์ ที่ให้พื้นที่ในการสื่อสารกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เพราะหากย้อนมองไปในอดีต การที่ความคิดเห็น ของผูค้ นจะสือ่ สารออกสูส่ าธารณชนได้นนั้ จะมีชอ่ งทาง เพียงไม่กชี่ อ่ งทางเท่านัน้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และสิง่ พิมพ์ และแต่ละช่องทางก็จะมีการกลัน่ กรองทัง้ ตัวผูส้ อื่ สาร และตัวสารอย่างถี่ถ้วน ความคิดที่ถูกสื่อสารออกไป จึงผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์มาเป็นอย่างดีหรือ ออกมาจากนักวิชาการ ผู้รู้จริงมีประสบการณ์จริง ทั้ ง สิ้ น แต่ โ ลกไซเบอร์ วั น นี้ ผู ้ เ ขลาปั ญ ญากลั บ มี พื้นที่แสดงความคิดเห็นได้เท่ากับนักวิชาการ ผู้รู้ ผู้ผ่านประสบการณ์ และผู้มีสติปัญญา ต่างกันก็แต่ ผู้รู้และผู้มีสติปัญญาเหล่านั้น ท่านคิดแล้วคิดอีก ก่อนจะแสดงความคิดเห็นไม่กปี่ ระโยคออกไปในพืน้ ที่ สาธารณะ ขณะทีก่ ลุม่ คนพวกแรกไม่ลงั เลทีจ่ ะระเบิด อารมณ์ความรูส้ กึ และถ่ายทอดความคิดเห็นทีเ่ อนเอียง คิดไม่รอบด้าน ไม่ถถี่ ว้ นของตนเข้าสูพ่ นื้ ทีโ่ ลกไซเบอร์ คุณค่าแม้จะดีจริง แต่ก็อาจพ่ายแพ้ให้กับปริมาณ ที่ท่วมท้นได้ กระแสโลกาภิ วั ต น์ แ ละความก้ า วหน้ า ของ เทคโนโลยีการสือ่ สารและระบบเครือข่ายนีเ้ อง ทีท่ ำ� ให้ ก�ำลังพลของกองทัพ มีความสับสนกับแนวความคิด ใหม่ ๆ ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่ถูกถ่ายทอด เข้ามาจากหลากหลายช่องทางและต่อเนือ่ ง การแก้ไข ปัญหาดังกล่าว วิธีการที่ส�ำคัญประการหนึ่งคือการ เสริมสร้างให้กำ� ลังพลของหน่วยมีอดุ มการณ์ทแี่ ข็งแกร่ง เนือ่ งจากอุดมการณ์เป็นสิง่ ทีม่ คี วามหมายและมีความ ส� ำ คั ญ มาก ส� ำ หรั บ ผู ้ ที่ ยึ ด ถื อ อย่ า งเหนี ย วแน่ น และอุดมการณ์นนั่ เองทีจ่ ะท�ำให้ทหารมีความทนทาน ต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภายใต้อุปสรรคที่มีอยู่ในวิถีทหารปัจจุบัน แรงจู ง ใจในการเป็ น ทหารที่ เ ปลี่ ย นไปของสั ง คม รวมทั้งความสะดวกสบายและวิถีชีวิตแบบวัตถุนิยม กองทัพจะต้องสามารถด�ำรงแบบอย่างทีง่ ดงามเอาไว้


ข่าวทหารอากาศ

ให้ ส มกั บ ที่ เ ป็ น สถาบั น ที่ มี ร ะเบี ย บวิ นั ย สู ง ที่ ไ ม่ มี หน่วยงานใดกระท�ำได้เสมอเหมือน ทหารต้องท�ำให้ ประชาชนศรัทธาและวางใจได้ว่าจะเป็นที่พึ่งได้จริง ในยามคับขัน ก�ำลังพลที่สวมเครื่องแบบทหารต้อง ละอายต่ อการสวมเครื่องแบบ โดยกระท�ำ หน้ าที่ ของตนให้สมบูรณ์ เพราะทหารไม่ใช่ผปู้ ระกอบอาชีพ แลกกับเงินเพื่อยังชีวิต แต่ทหารเป็นผู้ที่กล้าเอาชีวิต เข้ า แลกเพื่ อ ให้ บ ้ า นเมื อ งอยู ่ ร อด ซึ่ ง การอุ ทิ ศ ตน และเสียสละดังกล่าวก็คือหน้าที่ ไม่ใช่การท�ำงาน เพื่อแลกเงิน อุ ด มการณ์ ท หารไม่ ใ ช่ สิ่ ง ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ได้ เ อง ไม่อาจพึง่ พาปาฏิหาริยท์ ำ� ให้กอ่ ตัวขึน้ อุดมการณ์ทหาร จะเกิ ด ขึ้ น ได้ ก็ ด ้ ว ยความตั้ ง ใจที่ จ ะปลู ก ฝั ง และ กระบวนการปลู ก ฝั ง นั้ น จะต้ อ งท� ำ ตั้ ง แต่ บุ ค คล พลเรือนเข้ามาเป็นทหารต่อเนือ่ งไปตลอดชีวติ การรับ ราชการ ในขั้นต้นของชีวิตทหาร การด�ำเนินการปลูก ฝั ง อุ ด มการณ์ ต ้ อ งด� ำ เนิ น ไปอย่ า งเข้ ม ข้ น เมื่ อ รั บ ราชการไปแล้ ว ก็ ใ ห้ มี ก ารตอกย�้ ำ อยู ่ เ ป็ น ระยะ พัฒนาการของอุดมการณ์ทหารและความสัมพันธ์กบั ปัจจัยแวดล้อม พิจารณาได้ตามรูป

ในกลุม่ บุคคลทีเ่ ข้ามาใหม่จะต้องปลูกฝังค่านิยม พื้นฐานของทหาร เช่น ความรักชาติ ความเข้มแข็ง อดทน ความมีวนิ ยั และการเชือ่ ฟังค�ำสัง่ เป็นต้น แล้ว ค่อยๆ พัฒนาค่านิยมทหารในระดับที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ การด�ำเนินการปลูกฝังอาจกระท�ำได้ทั้งการศึกษาค�ำ สอนทางศาสนา ปรัชญา การอบรมให้ภาคภูมิใจใน อดีตการต่อสู้ของชาติและบรรพบุรุษ การใช้ค�ำขวัญ การร้องเพลงปลุกใจ การฝึก การศึกษาประวัตศิ าสตร์ การดูงานพิพิธภัณฑ์ การบรรยายของผู้ทรงคุณวุฒิ และการพัฒนาความเข้มแข็งของกลไกในระบบ เช่น ระบบเกียรติศักดิ์ เป็นต้น ในระหว่างเส้นทางไปสู่การมีอุดมการณ์ทหาร ก�ำลังพลจะถูกปลูกฝังค่านิยมของกองทัพไปทีละน้อย

การฝึกวินัยเบื้องต้น

พัฒนาการของอุดมการณ์ทหารและความสัมพันธ์ กับปัจจัยแวดล้อมพัฒนาจากแนวคิด ของ ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้

11

การฝึกภาคสนาม


12

ซึ่ ง ค่ า นิ ย มดั ง กล่ า วนั้ น พอจะสรุ ป ออกมาได้ ดั ง นี้ ค่านิยมในเรื่องการเสียสละ ไม่ละทิ้งหน้าที่ และไม่ เห็นแก่ตวั ทหารถูกสร้างและฝึกเพือ่ ไปรบ ทหารทุกคน จึงต้องยอมรับต่อข้อตกลงที่ว่า จะสามารถไปปฏิบัติ หน้าที่ในที่ใดและเมื่อใดก็ได้ตามที่กองทัพต้องการ ไม่ ว ่ า จะยากล� า บากหรื อ อั น ตรายเพี ย งใดก็ ต าม ข้ อ ตกลงดั ง กล่ า วนี้ จึ ง เป็ น ข้ อ จ� า กั ด ต่ อ เสรี ภ าพ ส่ ว นบุ ค คลของทหาร ต้ อ งอาศั ย ความเสี ย สละ ส่วนบุคคลอย่างสูง ค่านิยมในเรื่องความกล้าหาญ ทหารทุ ก คนต้ อ งพร้ อ มที่ จ ะรบ อดทนอดกลั้ น และแม้ ข ณะเผชิ ญ กั บ ภั ย อั น ตรายการบาดเจ็ บ และเสี ย ชี วิ ต ของเพื่ อ นร่ ว มงานก็ ไ ม่ อ าจบั่ น ทอน ความกล้ า หาญและความมุ ่ ง มั่ น ที่ จ ะปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ของตนต่ อ ไป และนอกจากการแสดงออกถึ ง ความกล้าหาญทางกายแล้ว ทหารต้องแสดงออกถึง ความกล้าหาญทางใจด้วย กล้าที่จะกระท�าในสิ่งที่ ถูกต้อง กล้าที่จะยืนหยัดต่อการรักษาไว้ซึ่งมาตรฐาน อันสูงสุดของความส�านึกและความประพฤติทเี่ หมาะสม อยูต่ ลอดเวลา ค่านิยมในเรือ่ งการด�ารงความเป็นหน่วย มีวนิ ยั และจงรักภักดี ทหารต้องมีวนิ ยั และปฏิบตั ติ าม ค�าสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยเคร่งครัด เพราะวินัย เป็นเครื่องมือในการควบคุมและสร้างความมั่นใจว่า หน้าที่และภารกิจที่หน่วยได้รับมอบหมายนั้นจะไม่มี ใครคนใดละทิ้งเพิกเฉย และทหารทุกคนจะทุ่มเท ปฏิ บั ติ อ ย่ า งเต็ ม ก� า ลั ง ความสามารถ ในขณะที่ อ้างอิง

ความจงรั ก ภั ก ดี นั้ น ทหารสามารถแสดงออกซึ่ ง ความจงรักภักดีได้ทั้งต่อหน้าที่ ต่อหน่วย ต่อผู้บังคับ บัญชา ต่อเพื่อนร่วมงาน และต่อผู้ใต้บังคับบัญชา หลายคนสงสัยว่าการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี ต่ อ ผู ้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชานั้ น เป็ น อย่ า งไร หากอธิ บ าย อย่ า งง่ า ยก็ ดั ง เช่ น การเอาใจใส่ อ ย่ า งจริ ง ใจต่ อ สิ ท ธิ แ ละผลประโยชน์ ข องผู ้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชา การรั บ ฟั ง และช่ ว ยแก้ ไ ขปั ญ หาข้ อ ขั ด ข้ อ งต่ า ง ๆ รวมไปถึงการฝึกและการพัฒนาขีดความสามารถ ของผู ้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชาให้ มี ศั ก ยภาพมากยิ่ ง ขึ้ น ขณะที่ความจงรักภักดีที่หน่วยและผู้บังคับบัญชา คาดหวั ง จากผู ้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชา จะเป็ น เรื่ อ งของ การปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมทหาร ความเสียสละ ส่ ว นตั ว ความกล้ า หาญ ความเป็ น ผู ้ ช� า นาญการ และความเป็นน�้าหนึ่งใจเดียว ค่ า นิ ย มที่ ห ล่ อ หลอมไปสู ่ ก ารมี อุ ด มการณ์ ทหารนั้น ต้องรักษาไว้ให้ถึงที่สุด และทหารทุกคน ต้องก�าหนดเป็นมาตรฐานสูงสุดของชีวิตเพื่อเป็น หลักประกันต่อความประพฤติของทหารว่าได้ปฏิบตั ติ น อยู่ภายใต้กฎ สง่างาม และมีความเหมาะสม ทหาร พึ ง ระลึ ก และตระหนั ก อยู ่ เ สมอว่ า มาตรฐานของ ความประพฤติในสังคมทหารนั้นจะมีมากกว่าสังคม ทั่ ว ไป และต้ อ งยึ ด ถื อ ปฏิ บั ติ ทั้ ง ในและนอกเวลา ราชการโดยเท่าเทียม ท�าได้ดังนี้ จึงนับว่าเป็นทหาร ผู้มีอุดมการณ์และเป็นทหารอาชีพอย่างแท้จริง

- กระมล ทองธรรมชาติ, และ พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (๒๕๓๙). ข้าราชการไทย ความส�านึกและอุดมการณ์. กรุงเทพฯ : ส�านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. - คณะอนุกรรมการอุดมการณ์ของชาติในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ. (๒๕๒๔). อุดมการณ์ของชาติ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์. - เจนธรรม น�ากระบวนยุทธ์. (๒๕๔๒. ผู้มีอุดมการณ์หาญกล้า. กรุงเทพฯ: ส�านักพิมพ์น�้าฝน. - ณรงค์พนั ธ์ จิตต์แก้วแท้. (๒๕๔๖). อุดมการณ์ทหารของนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. กรุงเทพฯ: โรงเรียนเสนาธิการทหารบก. - นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (๒๕๔๘) (๒๕ ๔๘). ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างอุดมการณ์ ความรักชาติ ๒๕๕๐-๒๕๕๙. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. - ไพฑูรย์ ประเทืองมาน. (๒๕๔๘). การพัฒนาค่านิยมและอุดมการณ์ของนักเรียนนายเรืออากาศ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการทัพอากาศ.


ข าวทหารอากาศ

13

เทคโนโลยี ด าวเที ย ม กั บ การพึ่ ง พาตนเอง ของกองทั พ อากาศ น.ท.ศศิศ เชื้อสมบูรณ์ กิจการอวกาศเป็นหนึ่งในพลังอ�านาจที่ส�าคัญ น�ามาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติในหลายมิติรวมทั้ง งานด้านความมั่นคง ห้วงอวกาศถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ การรบสมั ย ใหม่ ฝ่ า ยที่ ส ามารถใช้ ป ระโยชน์ จ าก ห้ ว งอวกาศได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพจะเป็ น ปั จ จั ย สร้างความได้เปรียบในการท�าสงคราม และเพื่อให้ สอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนากิจการด้านอวกาศ ของประเทศและกระทรวงกลาโหม กองทัพอากาศ มีความจ�าเป็นต้องพัฒนาขีดความสามารถทางอวกาศ ทัง้ ด้านการสังเกตการณ์หว้ งอวกาศ (Space Observation) การตรวจการณ์ทางอวกาศ (Space Surveillance) และการป้ อ งกั น ทางอวกาศ (Space Defense) จึงได้กา� หนดให้การพัฒนาขีดความสามารถด้านกิจการ อวกาศ เป็ น หนึ่ ง ในกลยุ ท ธ์ ต ามแผนยุ ท ธศาสตร์ กองทัพอากาศ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) เทคโนโลยีดาวเทียม อาทิ ดาวเทียมสื่อสาร และโทรคมนาคม ดาวเทียมลาดตระเวนและเฝ้าตรวจ ทางอวกาศ เป็นต้น เป็นส่วนส�าคัญอย่างยิง่ ในกิจการ อวกาศ การพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมในปัจจุบัน มี แ นวโน้ ม ไปในลั ก ษณะของการสร้ า งดาวเที ย ม ให้มขี นาดเล็กลง น�าขึน้ สูว่ งโคจรต่อครัง้ เป็นจ�านวนมาก

ในรู ป แบบของกลุ ่ ม ดาวเที ย ม (Constellation) ส่งขึ้นไปที่ต�าแหน่งวงโคจรต�่า Low Earth Orbit : LEO ความสู ง ไม่ เ กิ น ๒,๐๐๐ กิ โ ลเมตร จากพื้นโลก และให้ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นเครือข่าย (Network) กองทัพอากาศ ภายใต้นโยบาย Purchase & Development ของผู ้ บั ญ ชาการทหารอากาศ ท่านปัจจุบัน จะมีแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี ดาวเทียมนี้อย่างไร เป็นค�าถามที่น�ามาซึ่งการเขียน บทความในครัง้ นี้ เพือ่ เป็นแนวทางให้กบั กองทัพอากาศ และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ในการ พัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมและกิจการด้านอวกาศให้มี ความเจริญก้าวหน้า ภายใต้หลักการพึ่งพาตนเอง ของกองทั พ อากาศ และประเทศไทยต่ อ ไป


14

จรวดขนส่ง Vostok-1

เทคโนโลยีอวกาศกับการพัฒนาประเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดา้ นอวกาศ ในปัจจุบนั ท�ำให้มนุษยชาติเริม่ มองเห็นความ เป็นไปได้ในการเดินทางไปยังดาวเคราะห์ดวงอืน่ เพื่อสร้างอาณานิคม (Colonies) เป็นแหล่ง ที่อยู่ใหม่ การเดินทางท่องเที่ยวไปในอวกาศ การมองหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติใหม่ หรื อ การสร้ า งกลุ ่ ม ดาวเที ย มจ� ำ นวนมาก (Constellation satellites) นับหมื่นดวง เพือ่ ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงทัว่ โลก ซึ่ ง ในอดี ต ที่ ผ ่ า นมา ศู น ย์ ก ลางการพั ฒ นา ด้านอวกาศจะเป็นองค์กรของรัฐบาลเท่านั้น แต่ในปัจจุบนั องค์กรภาคเอกชนเริม่ มีบทบาท มากขึ้ น ในการพั ฒ นาหรื อ ด� ำ เนิ น กิ จ กรรม ด้านอวกาศ เนื่องจากมีความได้เปรียบด้าน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การใช้จา่ ยงบประมาณ ที่อ่อนตัว และโครงสร้างองค์กรที่เอื้อให้เกิด นวัตกรรมด้านอวกาศใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย การพั ฒ นาเทคโนโลยี ข องประเทศ มหาอ�ำนาจในอดีต เป็นทีย่ อมรับกันว่ายุคอวกาศ (Space Age) ได้ เ ริ่ ม ขึ้ น ตั้ ง แต่ ๔ ตุ ล าคม พ.ศ.๒๕๐๒ เมื่อสหภาพโซเวียต ได้ส่งดาวเทียมสปุตนิก

ดาวเทียมสปุตนิก

ทีม่ นี ำ�้ หนักเพียง ๘๔ กิโลกรัม ขึน้ สูอ่ วกาศเป็นครัง้ แรก โดยใช้จรวดขนส่ง Vostok-1 ดัดแปลงขีปนาวุธน�ำวิถี ข้ามทวีป R-7 “Semyorka” เป็นจรวดน�ำส่ง จรวดขนส่ง Vostok-1 ดาวเทียมสปุตนิก นับตัง้ แต่นนั้ มา เทคโนโลยีอวกาศได้มกี ารพัฒนา อย่างก้าวกระโดด ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต ต่างแข่งขันเพื่อส่งมนุษย์ สิ่งของ และอุ ป กรณ์ ต ่ า ง ๆ ขึ้ น สู ่ อ วกาศ การที่ จ ะบรรลุ จุดมุง่ หมายดังกล่าวได้นนั้ ทัง้ สองประเทศจ�ำเป็นต้อง มีจรวดน�ำส่งทีม่ แี รงขับ (Thrust) มหาศาลเพือ่ เอาชนะ แรงดึงดูดของโลก และมียานอวกาศทีส่ ามารถบรรทุก มนุษย์และอุปกรณ์สู่อวกาศอย่างปลอดภัย ซึ่งการ พัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ต้องใช้ศาสตร์ทางวิศวกรรม ที่หลากหลาย เช่น วัสดุศาสตร์ Mechatronics กลศาสตร์ฟิสิกส์ เทอร์โมไดนามิกส์ ระบบสื่อสาร วิศวกรรมควบคุม Programming Logistics System Engineering เป็นต้น การพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ ได้ด�ำเนินมา อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๔ ประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐฯ ในขณะนัน้ คืออดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ (John F. Kennedy) ได้ประกาศต่อสภาคองเกรซ ประเทศสหรัฐฯ มีใจความตอนหนึง่ ว่า “... I believe that this nation


ข่าวทหารอากาศ

should commit itself to achieving the goal, before this decade is out, of landing a man on the Moon and returning him safely to the Earth ...” ซึง่ เป็นการให้คำ� มัน่ สัญญาในการทีจ่ ะ น�ำมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ และน�ำกลับมาได้อย่าง ปลอดภัย นับเป็นประโยคทีเ่ ปลีย่ นโฉมหน้าเทคโนโลยี ด้านอวกาศของโลกไปตลอดกาลและน�ำพาการพัฒนา เทคโนโลยีอวกาศยุคแรกไปสู่จุดสูงสุด หลังการประกาศ ประเทศสหรัฐฯ ได้รวบรวม ผู้เชี่ยวชาญ เงินทุน เทคโนโลยี รวมทั้งพัฒนางาน ด้านการบริหารจัดการบุคลากร เพือ่ ทีจ่ ะบรรลุเป้าหมาย ทีไ่ ด้ตงั้ ไว้ โดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration : NASA) ได้ก�ำหนดแผนการด�ำเนินงาน ๓ โครงการ ประกอบด้วย - โครงการ Mercury (พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๐๖) - โครงการ Gemini (พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๐๙) - โครงการ Apollo (พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๑๕ ) โดยความส�ำเร็จแรกของโครงการ คือ การส่ง มนุษย์อวกาศสหรัฐฯ ชื่อว่า อลัน เชพเพิร์ด (Alan Shepard) ขึ้นไปในอวกาศและน�ำกลับมายังโลก ได้ส�ำเร็จ โดยใช้ยาน Mercury หลังจากนั้น ในวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๒ ประเทศสหรัฐฯ ภายใต้

ยาน Apollo Command and Service module

15

โครงการ Apollo ประสบความส� ำ เร็ จในการน� ำ มนุ ษ ย์ อ วกาศสู ่ ด วงจั น ทร์ เ ป็ น ครั้ ง แรกของโลก โดยยานอวกาศ Apollo 11 ได้น�ำมนุษย์อวกาศ ชาวอเมริกัน ๓ คน ประกอบด้วย นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) บัซ ออลดริน (Buzz Aldrin) และ ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) ลงสู่ดวงจันทร์ ได้ส�ำเร็จและน�ำกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย ความส�ำเร็จของโครงการ Apollo ท�ำให้ประเทศ สหรัฐฯ กลายเป็นหนึง่ ในผูน้ ำ� ด้านอวกาศอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม อีกซีกหนึ่งของโลก สหภาพโซเวียต ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศล�้ำหน้าไปมากเช่นกัน โดยเมือ่ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๔ สหภาพโซเวียต ได้ส่งนักบินอวกาศคนแรกของโลกคือ ยูริ กาการิน ขึ้นสู่อวกาศ และมีนักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลก คือ วาเลนตินา่ เตเรชโคว่า นอกจากนัน้ ยังให้ความส�ำคัญ กับการส�ำรวจดวงจันทร์ เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐฯ โดยมีโครงการ Lunik ซึ่งเน้นการส่งยานอวกาศ ที่ท�ำงานแบบอัตโนมัติไปสู่ดวงจันทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๑๙ ปฏิบตั ภิ ารกิจส�ำเร็จ ได้แก่ ยานอวกาศ Luna 2 เดินทางถึงดวงจันทร์เป็นล�ำแรก ยานอวกาศ Luna 3 สามารถถ่ายด้านไกลของดวงจันทร์ได้เป็น ล�ำแรก ยานอวกาศไร้มนุษย์ที่สามารถลงจอดบน ดวงจันทร์ได้ Luna 9 และยูโรเวอร์ล�ำแรกที่ลงบน

Lunar Module


16

ดวงจันทร์ (Lunokhod 1) เป็นล�ำดับ แม้วา่ สหภาพโซเวียต จะไม่ประสบความส�ำเร็จในการส่งมนุษย์อวกาศไปยัง ดวงจันทร์ แต่ก็ประสบความส�ำเร็จอย่างมากในการ พัฒนาเทคโนโลยีด้านสถานีอวกาศ โครงการ Salyut เป็นโครงการวิจัยพัฒนาสถานีอวกาศรุ่นแรก (พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๒๙) เพื่อใช้ในการลาดตระเวนทางทหาร และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ในปี พ.ศ.๒๕๒๙ สหภาพโซเวี ย ต เริ่ ม ต้ น โครงการสร้างสถานีอวกาศขนาดใหญ่ คือสถานีอวกาศ มีร์ (Mir Space Station) ใช้เวลานาน ๑๐ ปี จึงเสร็จ สมบูรณ์ และอยู่บนวงโคจรอีก ๕ ปี รวมเวลาที่ท�ำ ภารกิจในอวกาศทั้งสิ้น ๑๕ ปี ออกแบบให้มนุษย์ สามารถอยู่อาศัยได้ ๓ คน ถือเป็นต้นแบบส�ำคัญ ของการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติในปัจจุบัน แนวโน้มเทคโนโลยีอวกาศในปัจจุบัน ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า องค์กรภาคเอกชน เริ่ ม มี บ ทบาทมากขึ้ น ในการพั ฒ นาเทคโนโลยี ด้านอวกาศ สาเหตุหลักเนื่องมาจากเทคโนโลยีต่าง ๆ มีราคาถูกลง ส่งผลให้ภาคเอกชนมีศักยภาพในการ ลงทุน อีกทัง้ ภาคเอกชนมีความอ่อนตัวในการบริหาร ทั้งเงินทุน และบุคลากร ท�ำให้การพัฒนาเป็นไปด้วย ความรวดเร็ว บริษัทที่มีเงินทุนมหาศาลเริ่มเปลี่ยน แนวทางธุรกิจมาสู่ด้านอวกาศมากขึ้น โดยเฉพาะ เทคโนโลยีจรวดขนส่ง ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มบริษัท Virgin ได้จัดตั้งบริษัท Virgin Galactic เพื่อท�ำการ พัฒนายานอวกาศ ที่สามารถบรรทุกคนได้เหมือน เครือ่ งบินโดยสาร ไปเทีย่ วอวกาศและกลับสูโ่ ลกอย่าง ปลอดภัย ซึ่งอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา บริษัท Amazon ท�ำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ยกั ษ์ใหญ่ของโลก เปิดบริษทั ลูกชื่อ Blue Origin เพื่อท�ำธุรกิจการขนส่ง ทางอวกาศ นอกจากกลุ ่ ม บริ ษั ท เงิ น ทุ น สู ง ที่ หั น มาลงทุ น ในธุ ร กิ จ ด้ า นอวกาศเพิ่ ม ขึ้ น แล้ ว ยั ง มี บ ริ ษั ท ใหม่ ที่ เ ปิ ด ตั ว ขึ้ น และมี บ ทบาทส� ำ คั ญ ต่ อ การพั ฒ นา เทคโนโลยีอวกาศของโลก ได้แก่ บริษัท Space X

ยูโรเวอร์ล�ำแรกที่ลงบนดวงจันทร์ (Lunokhod 1) ของสหภาพโซเวียต

สถานีอวกาศมีร์ (Mir) ของสหภาพโซเวียต

จรวดขนส่ง Shepard ของ บริษัท Blue Origin


ข่าวทหารอากาศ

จรวดขนส่ง Falcon 9 ของ บริษัท SpaceX

ของประเทศสหรัฐฯ ก่อตัง้ โดย อิลอน มัสก์ (Elon Musk) เมื่ อ พ.ศ.๒๕๔๕ โดยใช้ เ งิ น ทุ น ส่ ว นตั ว เป็ น หลั ก มีจดุ มุง่ หมายเพือ่ ลดค่าใช้จา่ ย ในการส่งจรวดส�ำหรับ การตั้งอาณานิคมบนดาวอังคาร ซึ่งทีมวิศวกรของ บริษัทฯ สามารถพัฒนาและสร้างจรวดด้วยต้นทุน เพียงแค่ ๖๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ๑.๘ พันล้านบาท อีกทั้งยังสามารถน�ำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วย ในฝั ่ ง ของประเทศสหภาพยุ โ รป ก็ มี บ ริ ษั ท Ariane ซึ่งเป็นผู้ผลิตจรวดน�ำส่งรายใหญ่ ได้พัฒนา จรวดเชื้อเพลิงแข็งขนาดเล็ก VEGA เพื่อส่งดาวเทียม ขึน้ สูว่ งโคจรต�ำ่ (Low Earth Orbit) เป็นต้น นอกจาก การสร้ า งจรวดแล้ ว บริ ษั ท ฯ ยั ง มี แ ผนการสร้ า ง ยานอวกาศ Starship ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการ พัฒนาต้นแบบ เพื่อให้เป็นยานอวกาศที่สามารถ น�ำกลับมาใช้ใหม่ได้ และท�ำหน้าที่เป็นจรวดท่อนที่ ๒ (Second stage) ใช้ประโยชน์เพื่อขนส่งมนุษย์และ สิ่งของระหว่างดาวเคราะห์และโลก อีกด้วย ในปัจจุบัน การส่งดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นไป โคจรในอวกาศ เป็ น อี ก เทคโนโลยี ห นึ่ ง ที่ ไ ด้ รั บ

ความสนใจเข้ า ลงทุ น พั ฒ นาจากบริ ษั ท จ� ำ นวนมาก เนื่ อ งจากดาวเที ย มเหล่ า นี้ มีราคาไม่สูง ท�ำให้หลาย ๆ ประเทศต้องการ มีดาวเทียมเหล่านี้ไว้ใช้งาน จึงส่งผลให้มี การขยายตั ว ของฐานลู ก ค้ า อย่ า งรวดเร็ ว ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Rocket Lab ของ ประเทศสหรั ฐ ฯ ที่ ตั้ ง ฐานที่ ซี ก โลกใต้ บนแหลมมาเฮี ย (Mahia Peninsula) เกาะเหนือ ประเทศนิวซีแลนด์ จุดเด่นคือ การพัฒนาจรวดน�ำส่งดาวเทียมขนาดเล็ก แบบใหม่ทเี่ รียกว่า จรวด Electron เป็นการ ลดความซับซ้อนของระบบจรวดโดยการ จุดระเบิดด้วยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ซึ่งใช้ แบตเตอรี่ Lithium Polymer ทั่วไป อีกทั้ง ล�ำตัวจรวดผลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์ทั้งหมด ชิ้นส่วนอื่น ๆ ได้ออกแบบให้ถอดเปลี่ยนง่าย และผลิตขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติทั้งหมด ท�ำให้ต้นทุนการผลิตจรวด เหลือประมาณ ๖ ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ๑๘๐ ล้านบาท

17


18

แต่เนื่องจากข้อจ�ากัดด้านขนาดจรวด จึงสามารถ ส่งดาวเทียมขนาดเล็กน�้าหนักไม่เกิน ๒๕๐ กิโลกรัม ขึ้นสู่วงโคจรต�่า (Low Earth Orbit) เท่านั้น เทคโนโลยี ด าวเที ย มเป็ น อี ก หนึ่ ง เทคโนโลยี อวกาศที่ ส� า คั ญ โดยเฉพาะการพั ฒ นาดาวเที ย ม ขนาดเล็ก ได้แก่ Microsatellite และ Nanosatellite ปัจจุบัน มีบริษัทผลิตดาวเทียมขนาดเล็กเกิดใหม่ มากมาย เช่น ISIS space ของประเทศเนเธอร์แลนด์ GOM space ของประเทศเดนมาร์ก SPUTNIX ของสหพันธรัฐรัสเซีย และ AXEL Space ของประเทศ อ้างอิง

ญี่ปุ่น เป็นต้น บริษัทเหล่านี้มีขีดความสามารถในการ สร้างดาวเทียมด้วยต้นทุนไม่เกิน ๑๐๐ ล้านบาท ซึง่ ต�า่ กว่าในอดีตทีอ่ าจต้องใช้ตน้ ทุนถึง ๑ พันล้านบาท และในอนาคตมี แ นวคิ ด ที่ จ ะใช้ ป ระโยชน์ จ าก ดาวเทียมแบบกลุ่ม (Constellation Satellites) ทีป่ ระกอบด้วยดาวเทียมขนาดเล็กทีท่ า� หน้าทีเ่ ดียวกัน นับร้อยดวง เคลื่อนที่รอบโลกครอบคลุมทุกพื้นที่ ท� า ให้ มี ค วามสามารถในการสั ง เกตการณ์ พื้ น โลก หรือให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ตลอดเวลา (อ่านต่อฉบับหน้า)

- About SPACEX. (๒๕๖๒). สืบค้นจาก http://www.spacex.com - Don Dannis (2013). The Great Space Race. CoffeeBook.com.au (2 edition) - Apollo program. (๒๕๖๒). สืบค้นจาก http://www.nasa.gov/nasa-explorers-apollo - Luna programme. (๒๕๖๒). สืบค้นจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Luna_programme


ข าวทหารอากาศ

เปดปูม ๑๐๐ ป การบิน ของบุพการี กองทัพอากาศ พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙ กระทรวง กลาโหมได้ อ อกกฎกระทรวงว่ า ด้ ว ยเครื่ อ งแบบ ทหารอากาศ ก�าหนดรายละเอียด ลักษณะ ชนิด และประเภทของเครือ่ งแบบทหารอากาศขึน้ ซึง่ สีของ เครื่องแบบได้เปลี่ยนเป็นสีเทา ทหารอากาศจึงใช้ เครื่องแบบสีเทาตลอดมาจนถึงปัจจุบัน วั น ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๐ กระทรวง กลาโหมมี ค� า สั่ ง ยกฐานะ “กรมทหารอากาศ” เป็น “กองทัพอากาศ” และให้นายนาวาอากาศเอก พระเวชยั น ตรั ง สฤษฏ์ เจ้ า กรมทหารอากาศเป็ น ผู้บัญชาการทหารอากาศ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๐ นับเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก ของกองทั พ อากาศและกองทั พ อากาศก� า หนดให้ วันที่ ๙ เมษายน ของทุกปี เป็น “วันกองทัพอากาศ”

นายนาวาอากาศเอก พระเวชยันตรังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์)

เครื่องแบบทหารอากาศแบบต่าง ๆ

19


20

เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบที่ ๓ (Martin 139WSM)

เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๐ (Curtiss Hawk III)

เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๑ (Curtiss Hawk 75 N)

เครื่องบินสื่อสารแบบที่ ๑ (Fairchild 24J)

เครื่องบินสื่อสารแบบที่ ๒ (Rearwin Deluxe M900)

ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ จั ด ซื้ อ เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ แบบที่ ๑๑ (บ.ข.๑๑) จากบริษทั เคอร์ตสิ สหรัฐอเมริกา จ� า นวน ๑๒ เครื่ อ ง จั ด ซื้ อ เครื่ อ งบิ น ทิ้ ง ระเบิ ด แบบที่ ๓ (บ.ท.๓) จากบริษัท เกล็น แอล มาร์ติน จ�านวน ๖ เครื่อง จัดสร้างเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๑ ออกใช้ ใ นราชการเป็ น ครั้ ง ที่ ๒ อี ก ๒๕ เครื่ อ ง

และจั ด สร้ า งเครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ แ บบที่ ๑๐ ออกใช้ ในราชการเป็นรุ่นแรกได้ ๒๕ เครื่อง ในปี พ.ศ.๒๔๘๑ จั ด ซื้ อ เครื่ อ งบิ น จาก สหรั ฐ อเมริ ก าอี ก ๒ แบบ คื อ เครื่ อ งบิ น สื่ อ สาร แบบที่ ๑ (บ.ส.๑) จ�านวน ๓ เครื่อง และเครื่องบิน สื่อสารแบบที่ ๒ (บ.ส.๒) จ�านวน ๒ เครื่อง


ข าวทหารอากาศ

ในระหว่างวันที่ ๑ – ๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๑ กองทัพอากาศได้จัดงานแสดงการบินครั้งยิ่งใหญ่ เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการแสดงขีดความสามารถ และเผยแพร่กจิ การของกองทัพอากาศ ได้แก่ การบิน ผาดแผลงทัง้ เดีย่ วและหมู่ การบินรบในอากาศ การบิน ตรวจการณ์ การโจมตีในระยะต�่า การยิงเป้าพื้นดิน

21

การด�าทิง้ ระเบิด การโจมตีทางอากาศ และการบินตลก (คือการใช้เครือ่ งบิน ๒ เครือ่ ง ให้เครือ่ งหนึง่ ท�าการบิน บังคับเครื่องในท่าทางต่าง ๆ ถูกต้องตามหลักการบิน แต่อกี เครือ่ งหนึง่ จะปฏิบตั อิ ย่างตรงกันข้าม คือ ผิดหลัก การบิน ซึ่งเป็นการบินที่หวาดเสียว นักบินจะต้องมี ฝีมือเยี่ยม)

การแสดงการบินครั้งแรกที่ดอนเมือง เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑


22

ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ จั ด สร้ า งเครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ แบบที่ ๑๐ ขึน้ ใช้ในราชการเป็นรุน่ ที่ ๒ อีก ๒๕ เครือ่ ง และจัดสร้างเครื่องบินฝึกแบบที่ ๕ (บ.ฝ.๕) จ�านวน ๑๐ เครื่อง โดยดัดแปลงแก้ไขจากเครื่องบินโจมตี แบบที่ ๑ และเปลี่ยนใช้เครื่องยนต์ก�าลังต�่าลง ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ จั ด ซื้ อ เครื่ อ งบิ น สื่ อ สาร แบบที่ ๑ จากบริษัทแฟร์ไชลด์ สหรัฐอเมริกาอีก ๑๐ เครื่อง สั่งซื้อเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๒ (บ.จ.๒) จากประเทศญี่ปุ่น จ�านวน ๒๕ เครื่อง และเครื่องบิน ทิ้งระเบิดแบบที่ ๔ (บ.ท.๔) จ�านวน ๙ เครื่อง

เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบที่ ๔ (Mitsubishi Ki – 21-I Sally หรือนากาจิมา)

เครื่องบินฝึกแบบที่ ๕ (Corsair Trainer)

เครื่องบินโจมตีแบบที่ ๒ (Mitsubishi Ki – 30 Ann หรือนาโงยา)

วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๓ ก่อนที่จะเกิด ได้มกี ารทดสอบท�าการทิง้ ระเบิดและยิงปืนกลอากาศ สงครามกรณีพิพาทอินโดจีน กองทัพอากาศได้จัดให้มี ที่กองบินน้อยที่ ๔ โคกกะเทียม จังหวัดลพบุรี ทั้งนี้ การทดลองสมรรถภาพของอาวุธทุกชนิด ในการนี้ ได้มเี จ้าหน้าทีข่ องกองทัพบกได้มาร่วมการทดสอบด้วย

การทดสอบการทิ้งระเบิดขนาด ๕๐ กิโลกรัม กับเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๓ (อ่านต่อฉบับหน้า) อ้างอิง - หนังสือ ๔ แผ่นดินราชวงศ์จักรี ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ


ข่าวทหารอากาศ

23

รู้จักกับความมั่นคง ปลอดภัยทาง

CYBER

การพัฒนาทีก่ า้ วกระโดดของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสือ่ สารในปัจจุบนั ส่งผลให้รปู แบบการดำ�เนินชีวติ ของมนุษย์เปลีย่ นไปจากเดิมอย่างสิน้ เชิง คงปฏิเสธไม่ได้ ว่าทุกวันนีผ้ คู้ นล้วนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในการ ปฏิบัติงาน ช่วยในการสนับสนุนข้อมูล ช่วยตัดสินใจ ตลอดจนใช้ชีวิตอยู่กับกิจกรรมต่าง ๆ ในโลกไซเบอร์ เป็นประจำ�ทุกวัน แต่ท่ามกลางความสะดวกสบาย และความรวดเร็วในการใช้ชีวิต ก็จะมีความเสี่ยงต่อ ความมัน่ คงปลอดภัยทีแ่ ฝงอยูเ่ สมอในโลกของไซเบอร์ ในด้านการทำ�งานแล้ว ความมัน่ คงปลอดภัยทางไซเบอร์ นับเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้การดำ�เนินงานขององค์การ บรรลุผลสำ�เร็จตามเป้าหมาย ดังนัน้ การทำ�ความเข้าใจ ถึ ง ความมั่ น คงปลอดภั ย ทางไซเบอร์ เ พื่ อ สร้ า ง ความตระหนั ก รู้ จึ ง เป็ น สิ่ ง สำ�คั ญ สำ�หรั บ ทุ ก คน ในยุคปัจจุบัน ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ คืออะไร? ก่อนที่จะกล่าวถึง “ความมั่นคงปลอดภัยทาง ไซเบอร์” ควรทำ�ความเข้าใจกับคำ�ว่า “ไซเบอร์” “ระบบทางไซเบอร์” และ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” ให้ถูกต้องตรงกันก่อน ตามพระราชบัญญัติการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.๒๕๖๒ ได้ให้ คำ�จำ�กั ด ความของไซเบอร์ ไว้ ว่ า หมายถึ ง ข้ อ มู ล และการสื่ อ สารที่ เ กิ ด จาก การให้ บ ริ ก ารหรื อ

น.อ.ดร.ณัฐวุฒิ สามไพบูลย์

การประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) ระบบสารสนเทศ (Information Systems) ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Systems) ระบบโทรคมนาคม (Telecommunication Systems) ระบบควบคุมกำ�กับดูแลและเก็บข้อมูล (Supervisory Control and Data Acquisition : SCADA) และระบบ ควบคุ ม การทำ�งาน ของอุ ป กรณ์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (Embedded Systems) รวมทัง้ การให้บริการโดยปกติ ของดาวเที ย ม (Satellite) และระบบเครื อ ข่ า ย (Networks) ที่คล้ายคลึงกันที่มีการเชื่อมต่อกัน ส่วน “ระบบทางไซเบอร์” หมายถึง ระบบและ องค์ประกอบทัง้ มวลของระบบทีเ่ กีย่ วข้องกับไซเบอร์ และ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” หมายถึงการกระทำ� หรือการดำ�เนินการใด ๆ โดยมิชอบโดยใช้คอมพิวเตอร์


24

หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ โดยมุง่ หมายให้เกิดการประทุษร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้ อ มู ล คอมพิ ว เตอร์ ห รื อ ข้ อ มู ล อื่ น ที่ เ กี่ ย วข้ อ งและ เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือส่งผลกระทบต่อการท�างานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิ ว เตอร์ ห รื อ ข้ อ มู ล อื่ น ที่ เ กี่ ย วข้ อ งและ “ความมัน่ คงปลอดภัยทางไซเบอร์” หมายถึง การที่ ระบบทางไซเบอร์ได้รับการปกป้องจากภัยคุกคาม ทางไซเบอร์ สามารถด�ารงไว้ซง่ึ คุณสมบัตดิ า้ นความมัน่ คง ปลอดภั ย ทางไซเบอร์ ไว้ ไ ด้ อ ย่ า งครบถ้ ว น ตรงนี้ เริม่ อยากรูล้ กึ ต่อไปว่า แล้วคุณสมบัตดิ า้ นความมัน่ คง ปลอดภัยทางไซเบอร์ทว่ี า่ นัน้ เป็นอย่างไร ประกอบด้วย คุณสมบัติอะไรบ้าง ไปท�าความเข้าใจกันเลย

คุ ณ ส ม บั ติ ด้ า น ค ว า ม มั่ น ค ง ป ล อ ด ภั ย ทางไซเบอร์มีอะไรบ้าง? คุณสมบัตดิ า้ นความมัน่ คงปลอดภัยทางไซเบอร์ ประกอบด้วย คุณสมบัตหิ ลักและคุณสมบัตสิ า� คัญอืน่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคุณสมบัติหลักเป็นคุณสมบัติด้าน การรักษาความปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security) ได้แก่ การรักษาความลับ การรักษาความ ถูกต้อง และการด�ารงความพร้อมในการให้บริการ

ของระบบ มั ก เขี ย นแสดงด้ ว ยสามเหลี่ ย ม CIA ส่วนคุณสมบัตสิ า� คัญอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ได้แก่ การระบุ ตั ว ตน (Identification) การพิ สู จ น์ ยื น ยั น ตั ว ตน (Authentication) การก� า หนดสิ ท ธิ ก ารใช้ ง าน (Authorization) และการป้องกันการปฏิเสธความ รับผิดชอบ (Non-Repudiation) โดยมีรายละเอียดดังนี้ คุณสมบัติหลัก การรักษาความลับ (Confidentiality) เป็นคุณสมบัติ ข้อแรกในสามเหลี่ยม CIA หากกลไกของระบบใด ให้คณ ุ สมบัตขิ อ้ นี้ แสดงว่าระบบนัน้ ให้การรับประกันว่า เนื้ อ หาของข้ อ มู ล จะไม่ ถู ก เข้ า ถึ ง ได้ โ ดยผู้ ที่ ไ ม่ ไ ด้ รับอนุญาต โดยทั่วไปการรักษาความลับของข้อมูล ในระบบ หมายถึงข้อมูลจะถูกปกป้องจากการเข้าถึง การใช้ ง าน หรื อ การเปิ ด เผยโดยไม่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าต ระหว่างการจัดเก็บ การถ่ายโอน และการน�าเข้าเพื่อ ประมวลผลซึ่ ง ในบางบริ บ ทอาจเรี ย กคุ ณ สมบั ติ นี้ ว่าการรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ส่วนใหญ่จะมุ่งเป้าไปที่ การละเมิดความลับของข้อมูล เช่น การดักจับข้อมูล เพื่อขโมยรหัสผ่าน การปฏิบัติการวิศวกรรมสังคม (Social Engineering) โดยใช้หลักจิตวิทยาเกี่ยวกับ การรับรู้ข้อมูล และการแสดงท่าทีต่อข้อมูลนั้น ๆ ของมนุษย์ การดักฟัง ตลอดจนการท�าการใด ๆ เพื่ อ ให้ เข้ า ถึ ง เนื้ อ หาของข้ อ มู ล ที่ ต้ อ งการ เป็ นต้ น


ข าวทหารอากาศ

การละเมิดความลับของข้อมูลไม่จ�ากัดเฉพาะ การโจมตีเพื่อเข้าถึงเนื้อหาข้อมูลแบบทางตรงเท่านั้น แต่รวมถึงการเปิดเผยเนือ้ หาข้อมูลแบบทางอ้อมอืน่ ๆ เช่น การรับส่งข้อมูลส�าคัญโดยปราศจากการเข้ารหัส ข้อมูล การเปิดการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายแบบ ไม่มีการพิสูจน์ยืนยันตัวตน การติดมัลแวร์ประเภท เปิดช่องทางลับส�าหรับการเชื่อมต่อ (Back Door) การส่งโทรสารหรืออีเมลผิดไปยังผู้รับอื่น การทิ้งงาน พิมพ์ข้อมูลส�าคัญค้างไว้ท่เี ครื่องพิมพ์ หรือแม้กระทั่ง การละจากเครือ่ งคอมพิวเตอร์ในขณะทีห่ น้าจอแสดงผล ข้อมูลส�าคัญค้างไว้ เป็นต้น ดังนัน้ การป้องกันการละเมิด ความลั บ ของข้ อ มู ล จึ ง ประกอบไปด้ ว ยมาตรการ ทั้งด้านการป้องกันด้วยเทคโนโลยี และการป้องกัน ด้านนโยบายด้วยการก�าหนดระเบียบหรือข้อปฏิบัติ ส�าหรับบุคลากรข้อมูลทีต่ อ้ งรักษาความลับ มีทงั้ ข้อมูล ประเภทที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive) ข้อมูล ที่มีความส�าคัญสูง (Critical) ข้อมูลลับ (Secret) และข้อมูลส่วนบุคคล (Private) เป็นต้น การรักษาความถูกต้อง (Integrity) เป็นคุณสมบัติ ข้อที่ ๒ ในสามเหลี่ยม CIA หากกลไกของระบบใด ให้คณ ุ สมบัตขิ อ้ นี้ แสดงว่าระบบนัน้ ให้การรับประกันว่า ข้อมูลจะยังคงอยู่ในสภาพเดิม ไม่ถูกเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข โดยไม่ได้รับอนุญาต ระหว่างการจัดเก็บ การถ่ายโอน และการน�าเข้าเพื่อประมวลผลใด ๆ โดยการรั ก ษาความถู ก ต้ อ งสามารถพิ จ ารณาได้ ใน ๒ มุมมอง ได้แก่ การป้องกันมิให้ขอ้ มูลถูกเปลีย่ นแปลง แก้ ไขโดยผู้ ที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าตในการเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล

25

และการป้องกันมิให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตในการเข้าถึง ข้อมูล สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลในส่วนที่ ไม่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าตในการรั ก ษาไว้ ซึ่ ง ความถู ก ต้ อ ง ในระบบนั้น จะต้องท�าการก�ากับควบคุมเพื่อจ�ากัด การเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรสารสนเทศ พร้อมทั้ง บริ ห ารจั ด การให้ ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าตในการเข้ า ถึ ง สามารถเข้าถึงได้เฉพาะในระดับที่ได้รับสิทธิเท่านั้น การโจมตีทางไซเบอร์ที่มุ่งเป้าไปที่การละเมิด ความถูกต้อง เช่น การแฮกเพื่อเข้าถึงระบบโดยไม่ได้ รับอนุญาต การโจมตีจากไวรัสคอมพิวเตอร์และมัลแวร์ รวมถึงความผิดพลาดในการเขียนโค้ดของแอปพลิเคชัน เป็นต้น ซึ่งแสดงถึงว่าการละเมิดความถูกต้องไม่ได้ จ�ากัดแต่เพียงการโจมตี หรือการกระท�า โดยตั้งใจ เท่านั้น แต่หมายรวมถึงความผิดพลาดของมนุษย์ เช่น การไม่ปฏิบตั ติ ามระเบียบข้อบังคับ ความประมาทหรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหตุการณ์ท่ีจะน�ามาซึ่งการสูญเสีย ความถูกต้อง เช่น การลบไฟล์ที่เกี่ยวข้องโดยไม่ตั้งใจ การกรอกข้อมูลทีไ่ ม่ถกู ต้อง การปรับแต่งค่าของระบบ การเขียนโค้ดหรือสคริ​ิปต์ ที่มีจุดอ่อนหรือช่องโหว่ ที่ ไวรั ส และมั ล แวร์ ส ามารถใช้ ใ นการแพร่ ก ระจาย เพือ่ โจมตีได้ วิธกี ารป้องกันการถูกละเมิดความถูกต้อง มีดว้ ยกันหลายวิธี เช่น การจ�ากัดด้านการเข้าถึงระบบ ข้อมูล และทรัพยากรสารสนเทศ ขัน้ ตอนการตรวจพิสจู น์ ยืนยันตัวตนที่รัดกุมและปลอดภัย การติดตั้งระบบ ป้องกันการบุกรุก การเข้ารหัสข้อมูลและการตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูลด้วยวิธกี ารท�า Hashing การจ�ากัด การเชือ่ มต่อไปยังฟังก์ชนั ต่าง ๆ ของระบบส่วนต่อประสาน


26

(Interface) ตลอดจนการอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทุกระดับชั้น เป็นต้น การดำ�รงความพร้อมในการให้บริการ (Availability) เป็นคุณสมบัติข้อที่สามในสามเหลี่ยม CIA หากกลไกของระบบใดให้คุณสมบัติข้อนี้ แสดงว่า ระบบนัน้ ให้การรับประกันว่าผูท้ ไ่ี ด้รบั อนุญาตจะสามารถ เข้าถึงและใช้งานข้อมูล รวมทั้งระบบที่ให้บริการ ตลอดจนทรัพยากรสารสนเทศอืน่ ๆ ได้ในเวลาทีต่ อ้ งการ โดยหมายความรวมถึงกลไกการเข้าถึงอาคาร สถานที่ อุปกรณ์ และความพร้อมในการใช้งานระบบ การติดต่อ สื่อสารอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ในการดำ�รงความพร้อม ในการให้บริการของระบบนั้น จะต้องทำ�การกำ�กับ ควบคุ ม การเข้ า ถึ ง ระบบ ข้ อ มู ล และทรั พ ยากร สารสนเทศ พร้อมทัง้ กำ�หนดระดับของการให้บริการ ของระบบที่ยอมรับได้ รวมทั้งมาตรการในการรับมือ กับเหตุการณ์ที่ทำ�ให้ระบบไม่พร้อมหรือไม่สามารถ ให้บริการเป็นปกติได้ การจัดตัง้ ระบบสำ�รองการบริการ และระบบสำ�รองข้อมูล เพื่อป้องกันการสูญเสียหรือ การถูกทำ�ลายของข้อมูล ปัจจัยที่ส่งผลทำ�ให้เกิดความไม่พร้อมใช้งาน ของระบบมีดว้ ยกันหลายรูปแบบ เช่น ความบกพร่อง ของตัวอุปกรณ์ ความผิดพลาดในการทำ�งานของ

ซอฟต์แวร์ ตลอดจนข้อขัดข้องด้านสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ภัยธรรมชาติ กระแสไฟฟ้าไม่คงที่ เป็นต้น ซึง่ รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์ทมี่ งุ่ เป้าทำ�ให้ ระบบล่มหรือไม่สามารถให้บริการได้เป็นปกติ เช่น การระดมโจมตีเครื่องแม่ข่ายเพื่อให้ปฏิเสธหรือหยุด การให้บริการ (Distributed Denial of Service : DDoS) การเปลีย่ นค่าของอุปกรณ์เครือข่าย และการรบกวน ระบบในรูปแบบอื่น ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ สาเหตุของการ ถูกละเมิดความพร้อมในการให้บริการนัน้ ไม่จำ�กัดอยู่ เฉพาะการกระทำ�แบบตั้งใจเท่านั้น ยังหมายรวมถึง การกระทำ�ทีเ่ กิดจากความประมาทเลินเล่อของมนุษย์ ได้อกี ด้วย เช่น การลบไฟล์สำ�คัญของระบบโดยไม่ตง้ั ใจ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการปรับแต่งค่าของระบบ ที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น วิธีการป้องกันการถูกละเมิด ความพร้อมใช้งาน มีด้วยกันหลายวิธี เช่น การกำ�กับ ควบคุมการเข้าถึงและการตรวจสอบสิทธิของผูใ้ ช้งาน การเฝ้าระวังและตรวจสอบปริมาณการจราจรในระบบ เครือข่าย การติดตัง้ ระบบไฟร์วอลล์ปอ้ งกันการถูกโจมตี แบบ DDoS การจัดเตรียมระบบสำ�รองฉุกเฉินกรณี ระบบหลักล่ม หรือไม่สามารถให้บริการเป็นปกติได้ และการตรวจสอบการทำ�งาน ของระบบสำ�รอง ตามวงรอบที่เหมาะสม เป็นต้น (อ่านต่อฉบับหน้า)

อ้างอิง - James Michael Stewart, Mike Chapple., & Darril Gibson. (2015) CISSP: Certified Information Systems Security Professional. SYBEX. - Lokheed Martin. (n.d.) Cyber Kill Chain. Retrieved September 21, 2019 from https://wwwlockheedmartin.com - National Institute of Standards and Technology. (n.d.) Cybersecurity Framework. Retrieved August 06, 2019 from https://www.nist.gov/cyberframework


ข่าวทหารอากาศ

27

ต�ำราพิชัยสงคราม SUNTZU ๑๓ บทไม้ตาย

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

บทที่

การแข่งขัน

พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ๑. SUNTZU กล่ า วไว้ จ ากกฎของสงคราม ตั้งแต่แม่ทัพรับค�ำสั่งผู้น�ำประเทศให้จัดก�ำลังทหาร เข้ายันข้าศึก จนถึงเมื่อเตรียมก�ำลังพร้อมยกไปตั้งรับ ข้าศึกเสร็จสิน้ ช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า “การแข่งขัน ทางทหาร” เป็ น การแข่ ง ขั น ที่ ชิ ง ความได้ เ ปรี ย บ เป็นเรื่องที่ไม่ถึงกับยากนัก ความยากของการแข่งขัน ทางทหาร ก็คอื การท�ำเรือ่ งยากให้เป็นเรือ่ งง่าย การท�ำ สิ่งที่จะเกิดความเสียหายให้พลิกกลับเป็นประโยชน์ นั่นเอง การแข่งขันทางทหารนัน้ ยังมีอนั ตรายอย่างหนึง่ เมือ่ ทหารทัง้ หมดพยายามแข่งขันกับข้าศึกเพือ่ เข้ายึด พื้นที่ได้เปรียบให้ได้ก่อน การเคลื่อนก�ำลังทั้งหมด ย่อมล่าช้าเสียเวลา ซึ่งหากไม่ค�ำนึงถึงรังแต่จะรีบไป ให้ถงึ ก่อนข้าศึก ก็อาจไม่สามารถขนเอาเสบียงอาหาร อาวุธที่จ�ำเป็นไปด้วยได้ ทหารที่ขาดเสบียงอาหาร และอาวุธย่อมพ่ายแพ้ ขณะทิง้ เสบียงอาหารและอาวุธ รีบเดินทางทัง้ กลางวันกลางคืนไม่มพี กั เพือ่ จะไปได้เร็วขึน้


28

ถ้าแม่ทพั ถูกจับก็หมายถึงความพ่ายแพ้อย่างใหญ่หลวง ทหารที่แข็งแรงอาจจะไปถึงได้ ทหารที่อ่อนล้าจะถึง ทีหลัง ๑๐๐ ลี้ เคลื่อนไป ๑๐ คน จะมาถึงได้ ๑ คน ๕๐ ลี้ จะมาได้ครึ่งหนึ่ง ๓๐ ลี้ จะมาได้ ๒ ใน ๓ คน เท่านั้น อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนี้คือ ความล�ำบาก ความยาก ของการแข่งขันทางทหาร ๒. ดังนัน้ ไม่รเู้ รือ่ งภายในของต่างชาติ เป็นพันธมิตร กับต่างชาตินนั้ ย่อมไม่ได้รภู้ มู ปิ ระเทศ การเคลือ่ นทัพ เข้าไปย่อมท�ำไม่ได้ ไม่รวู้ ธิ ใี ช้คนในพืน้ ทีน่ นั้ ย่อมไม่ได้ ประโยชน์จากพื้นที่นั้น ๓. ด้ ว ยเหตุ นี้ ก ารสงครามนั้ น ใช้ ก ารดั ด หลั ง คู่ต่อสู้เป็นหลัก เคลื่อนไหวไปในที่ที่เป็นประโยชน์ เปลีย่ นแปลงรูปด้วยการกระจายก�ำลังและรวมก�ำลัง ฉะนัน้ เคลือ่ นไหวรวดเร็วเช่นดัง่ ลม รอคอยเหมือนไม้ ซ่ อ นลมหายใจ รุ ก รบเช่ น เปลวเพลิ ง เข้ า ใจยาก

ดุจความมืด เข้มแข็งดุจขุนเขา เกรี้ยวกราดเหมือน สายฟ้า จะรวบรวมเสบียงอาหารให้กระจายก�ำลัง ออกไป จะขยายพื้ น ที่ ยึ ด ครองให้ รั ก ษาจุ ด ส� ำ คั ญ มั่ น คง เคลื่ อ นไหวระมั ด ระวั ง คิ ด อ่ า นรอบคอบ ชิงปฏิบัติการก่อนข้าศึก ท�ำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย “ผู้รู้เข้าใจดีชนะ ดั่งนี้คือกฎของการแข่งขัน” ๔. การศึ ก นั้ น ยากที่ จ ะสั่ ง การใดใดด้ ว ยปาก ให้ทุกคนเข้าใจได้ จะต้องเตรียมเครื่องมือบางอย่าง ที่จะท�ำให้ หู และตาของเหล่าทหารหาญเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันได้ การที่ทหารของฝ่ายเราเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน แม้ผู้กล้าก็ฝ่ามาไม่ได้ ผู้ขลาดก็ถอยหนี ไม่ พ ้ น ความสั บ สนจะหมดไป จะท� ำ ให้ ส ามารถ เปลี่ ย นแปลงรู ป แบบตามสถานการณ์ ไ ด้ ทั น ต่ อ เหตุการณ์ น�ำมาซึ่งหนทางแห่งชัยชนะ


ข่าวทหารอากาศ

บทที่

เก้าเหตุการณ์ ๑. SUNTZU กล่าวไว้ตามกฎของสงคราม - อย่าโจมตีข้าศึกบนเนินสูง - อย่าตั้งรับข้าศึกที่รุกเข้ามาโดยมีเนินเขา อยู่เบื้องหลัง - อย่าเผชิญหน้ากับข้าศึกในทีร่ กชัดเป็นเวลานาน - อย่ารุกไล่ข้าศึกที่หลอกถอย - อย่าโจมตีข้าศึกที่ขวัญดี - อย่ากินเหยื่อที่ข้าศึกลวงไว้ - อย่าหยุดข้าศึกที่ก�ำลังกลับบ้านเกิด - อย่าล้อมข้าศึกโดยมิดชิด ต้องเปิดทางให้หนี อย่างน้อย ๑ ทาง - อย่ารุกไล่ข้าศึกที่ถอยอย่างระมัดระวัง เข้าไปชิดนัก ทั้งหมดคือ เก้าเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและ เกิดขึ้น เป็นกฎของสงคราม

29

๒. ถนนที่น่าจะผ่านไปด้วยดี แต่ผ่านไม่ได้นั้น มีอยู่ กองทัพข้าศึกที่น่าเข้าตี แต่เข้าตีไม่ได้นั้นมีอยู่ ป้อมปราการที่มั่นที่น่าเข้าโจมตี แต่เข้าโจมตีไม่ได้นั้น มีอยู่ พื้นที่ที่น่าเข้ายึดครอง แต่เข้ายึดครองไม่ได้นั้น มี อ ยู ่ “ค� ำ สั่ ง ของผู ้ น� ำ ประเทศที่ น ่ า ปฏิ บั ติ ต าม แต่ปฏิบัติไม่ได้ ก็มีอยู่เช่นกัน” ๓. เพราะฉะนั้น แม่ทัพที่ค�ำนึงผลได้ผลเสีย จากเก้าเหตุการณ์เป็นอย่างดี คือผู้ใช้ทหารอย่าง ระมั ด ระวั ง แม่ ทั พ ที่ ไ ม่ ค� ำ นึ ง ผลได้ ผ ลเสี ย จาก เก้าเหตุการณ์เป็นอย่างดี แม้จะเข้าใจภูมิประเทศดี แต่ก็จะไม่ได้ประโยชน์จากพื้นที่นั้นในการควบคุม การใช้ ก� ำ ลั ง ทหารนั้ น เก้ า เหตุ ก ารณ์ นี้ เ ข้ า ใจบ้ า ง ไม่เข้าใจบ้าง แม้จะเข้าใจถึง ๕ ส่วน ก็ยังมิสามารถ ใช้ก�ำลังทหารให้เกิดประโยชน์อย่างเพียงพอได้ ๔. ดั ง ที่ ก ล่ า วมา การคิ ด อ่ า นของผู ้ รู ้ นั้ น คิ ด เรื่ อ งราวใด ต้ อ งระมั ด ระวั ง ผลได้ แ ละผลเสี ย ประกอบกันไป เรือ่ งราวใดเป็นประโยชน์กต็ อ้ งคิดอ่าน ด้ า นผลเสี ย ด้ ว ย งานก็ จ ะส� ำ เร็ จ บรรลุ เ ป้ า หมาย เรื่ อ งราวใดเป็ น ผลเสี ย ก็ ต ้ อ งคิ ด อ่ า นด้ า นดี ด ้ ว ย ความกังวลก็จะหมดไป


30

๕. ฉะนั้ น ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ผลเสี ย จึ ง สยบต่ า งชาติ ชีใ้ ห้เห็นว่าจ�ำเป็นจึงใช้ทตู ต่างชาติ ชีใ้ ห้เห็นประโยชน์ จึงให้ข้าศึกแตกหนี ๖. เรามิอาจขอร้องข้าศึกมิให้ยกกองทัพมา แต่เราพึ่งพาการเตรียมการที่พร้อมต่อข้าศึกที่จะ ยกมาทุกเมื่อ เรามิอาจขอร้องข้าศึกมิให้เข้าโจมตี แต่เราพึ่งพาการตั้งมั่นที่มิอาจเข้าตีได้ต่างหาก ๗. ฉะนัน้ ส�ำหรับแม่ทพั มีอนั ตรายอยู่ ๕ ประการ - ส�ำนึกว่าตนต้องสู้ตาย ไม่รู้จักถอย แล้วถูก ฆ่าตาย - คิดแต่จะเอาตนรอด ขาดความกล้า แล้วถูก จับเป็นเชลย

- เอาแต่ใจร้อนจนผูค้ นทัง้ หลายมองว่าบ้าเลือด - ขาดความกระตือรือร้น ตกอยู่ในสภาวะ ต้องอาย - รั ก ทหารจนต้ อ งเหนื่ อ ยเพราะท� ำ งาน ให้ทหาร ๕ ประการเหล่านี้ยามศึกเป็นผลเสีย กองทัพ ละลาย แม่ทัพตายในสนามรบ จะต้องเกิดขึ้นจาก ๕ ประการดังกล่าวแน่นอน จ�ำเป็นที่แม่ทัพจะต้อง ระมัดระวังใส่ใจ (อ่านต่อฉบับหน้า)

รูปภาพจาก - https://s3-us-west-2.amazonaws.com/tabs.web.media/d/q/dqw2/dqw2-square-1536.jpg - https://i.pinimg.com/originals/bc/6f/d1/bc6fd182fa14fcfcfe06d4aa94e233be.jpg - https://i.pinimg.com/originals/de/10/38/de1038c47be957f099b8c9428bdb5741.jpg - http://www.tarihikadim.com/wp-content/uploads/2019/03/sun-tzu-03.jpg


ข าวทหารอากาศ

31

RQ-4 Global Hawk สุดยอดโดรนสอดแนม น.อ.วัชรพงษ์ กลีบม่วง ในปั จ จุ บั น อากาศยานไร้ ค นขั บ หรื อ โดรน นั บ ว่ า มีบทบาทส�าคัญในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ อย่างกว้างขวางทั้งทางทหาร และพลเรือน เช่น การถ่ายวีดีโอแบบเรียลไทม์ การถ่ายภาพจากมุมสูง การรับส่งสินค้า การโจมตีเป้าหมายด้วยอาวุธหรือพุง่ ชน แบบคามิกาเซ่ ซึ่งขึ้นอยู่กับขีดสมรรถนะของโดรน แต่ละชนิดที่แตกต่างกัน และล่าสุดจากสถานการณ์ ความตึงเครียดระหว่าง สหรัฐอเมริกากับอิหร่าน ในประเทศอิรักเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๖๓ ที่สหรัฐฯ ได้ใช้ โดรนติดอาวุธ MQ-9 Reaper สังหารผู้บัญชาการ หน่วยปฏิบัติการพิเศษของอิหร่าน ด้วยการยิงอาวุธ

โดรนติดอาวุธ MQ-9 Reaper

น�าวิถีซึ่งคาดว่าเป็น AGM-114 Hellfire พุ่งท�าลาย รถที่ มี ผู ้ บั ญ ชาการหน่ ว ยรบพิ เ ศษนั่ ง อยู ่ ผลลั พ ธ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ได้ ท� า ให้ ส ถานการณ์ ร ะหว่ า งสหรั ฐ ฯ กั บ อิ ห ร่ า นตึ ง เครี ย ดมากยิ่ ง ขึ้ น และน� า มาสู ่ ก าร ประกาศล้างแค้นของอิหร่าน ในอีกมุมหนึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศมหาอ�านาจ เช่นสหรัฐฯ ได้เริม่ น�าโดรนแบบต่าง ๆ มาใช้ในภารกิจ ส�าคัญทดแทนการส่งคนเข้าไปในพืน้ ทีอ่ ย่างเห็นได้ชดั โดยนอกจากการโจมตีเป้าหมายในพื้นที่เสี่ยงแล้ว ภารกิจการบินลาดตระเวนเพื่อท�าการรวบรวมข้อมูล ข่าวสารเหนือพืน้ ทีข่ องฝ่ายตรงข้ามทีม่ กี ารต่อต้านสูง ก็ได้มกี ารพัฒนาโดรนทีส่ ามารถบินได้สงู และบินเหนือ พืน้ ทีไ่ ด้นาน ซึง่ หนึง่ ในโดรนเหล่านัน้ คือ RQ-4 Global Hawk ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ ดังกล่าว ก่อนหน้าที่จะมีการพัฒนา RQ-4 ในช่วงยุค สงครามเย็น กองทัพอากาศสหรัฐฯ และ ส�านักข่าว กรองกลาง (Central Intelligence Agency : CIA) มี U-2 เครือ่ งบินสายลับ ซึง่ เป็นเครือ่ งบินเจ็ททีน่ งั่ เดีย่ ว ออกแบบมาให้ ส ามารถบิ น ที่ เ พดานบิ น สู ง มาก


32

ประมาณ ๒๑ กิโลเมตร ส�าหรับภารกิจการลาดตระเวน เหนือพืน้ ทีข่ องฝ่ายตรงข้าม เพือ่ รวบรวมข้อมูลข่าวสาร ที่ต้องการ เช่น ภาพถ่ายสถานที่ส�าคัญ ต�าแหน่งสถานที่ ยุทโธปกรณ์ทางทหารของฝ่ายตรงข้ามเพือ่ ปิดช่องว่าง ในพื้นที่ซึ่งดาวเทียมไม่สามารถท�าได้ โดย U-2 ถูกใช้ ในการสอดแนมฝ่ายตรงข้ามของสหรัฐฯ ในหลาย ประเทศ อาทิ โซเวียต จีน เวียดนาม คิวบา และเคยมา ประจ�าการที่สนามบินอู่ตะเภาของไทยในช่วงสงคราม เวียดนามอีกด้วย ปัจจุบนั U-2 เริม่ ถูกปลดประจ�าการ โดยมี RQ-4 มาแทนที่ RQ-4 ถูกพัฒนาและผลิตโดยบริษัท Northrop Grumman ซึง่ เป็นยักษ์ใหญ่ดา้ นอุตสาหกรรมการบิน และยุทโธปกรณ์ทางทหารของสหรัฐฯ โดยแรกเริม่ นัน้ ถูกพัฒนาเพือ่ ใช้ประจ�าการใน ทอ.สหรัฐฯ รองรับภารกิจ ISR (Intelligence Surveillance Reconnaissance) หรือการข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน อาจกล่าวง่าย ๆ คือการสอดแนมเพื่อให้ได้ข้อมูล ที่ ส� า คั ญ ของฝ่ า ยตรงข้ า ม จากบนอากาศโดยใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กล้องถ่ายภาพ อุปกรณ์ดักจับ สั ญ ญาณ เป็ น ต้ น ในส่ ว นของชุ ด ควบคุ ม ภาคพื้ น ประกอบด้วย นักบิน ๒ คนรับผิดชอบในการส่งเครือ่ ง และน�ากลับ การควบคุมการปฏิบตั ภิ ารกิจ และ เจ้าหน้าที่ ๑ คน ในการใช้งานระบบตรวจจับ ในด้านโครงสร้าง RQ-4 ในรุ่น Block30/40 มีความยาว ๑๔.๕ เมตร ระยะปีกกางสุด ๓๙.๙ เมตร ความสูง ๔.๗ เมตร น�้าหนักเครื่องเปล่า ๖,๗๘๑ กิโลกรัม น�้าหนักบินขึ้นสูงสุด ๑๔,๖๒๘ กิโลกรัม

RQ-4 Global Hawk

เครื่องบินสายลับ U-2

ติดตัง้ อุปกรณ์ได้มากถึง ๑,๓๖๐ กิโลกรัม ใช้เครือ่ งยนต์ Rolls-Royce F137-RR-100 Turbofan ให้แรงขับ ๗,๖๐๐ ปอนด์ จากโครงสร้างทีม่ ปี กี ยาวมาก รวมทัง้ เครือ่ งยนต์ ที่ให้แรงขับสูง ท�าให้ RQ-4 สามารถบินด้วยความเร็ว สู ง สุ ด ๖๒๙ กิ โ ลเมตร/ชั่ ว โมง ระยะบิ น ไกลสุ ด ๒๒,๗๘๐ กิโลเมตร บินได้นานต่อเนือ่ งสูงสุดถึง ๓๔.๓ ชั่วโมง และเพดานบินสูงสุด ๑๘.๓ กิโลเมตรหรือ ๖๐,๐๐๐ ฟุต ซึ่ง RQ-4 สามารถบินด้วยความเร็ว สูงสุดได้ใกล้เคียงกับ U-2 แม้ว่าเพดานบินอาจจะ น้อยกว่า U-2 เพียงเล็กน้อย แต่ RQ-4 สามารถบินได้ ไกลกว่าเกือบเท่าตัว และยังบินได้นานกว่าเกือบ ๓ เท่า และด้วยการสื่อสารข้อมูลผ่านทางดาวเทียมท�าให้ RQ-4 มีรัศมีปฏิบัติการห่างจากชุดควบคุมภาคพื้น ได้ไกลมากขึ้น ส่วนส�าคัญที่ท�าให้ RQ-4 เป็นสุดยอดโดรน สอดแนมคืออุปกรณ์ตรวจจับหรือ Sensor ต่าง ๆ ที่ถูกติดตั้งซึ่ง RQ-4 สามารถสร้างภาพภูมิประเทศ ทั้งแบบ ๒ มิติ และ ๓ มิติ จากระยะไกลในทุกสภาพ อากาศ โดยใช้ Synthetic Aperture Radar หรือ SAR ซึง่ จะส่งสัญญาณเรดาร์ไปยังพืน้ ทีเ่ ป้าหมายและ รับสัญญาณที่สะท้อนกลับมาเพื่อสร้างเป็นภาพพื้นที่ เป้าหมายที่มีความละเอียดสูงมากกว่าเรดาร์ทั่วไป ถัดมาคือกล้อง EO/IR ความละเอียดสูงที่สามารถ ถ่ายภาพพืน้ ทีเ่ ป้าหมายในขณะที่ RQ-4 รักษาเพดานบิน ที่ สู ง ได้ นอกจากนั้ น แล้ ว ยั ง สามารถตรวจจั บ รั ง สี อินฟราเรดได้ จึงท�าให้สามารถถ่ายภาพได้ทงั้ กลางวัน และกลางคืน และอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้คือ Sensor


ข่าวทหารอากาศ

ส�ำหรับดักจับสัญญาณคลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้า หลายความถี่ ซึ่ ง ใช้ ใ นการดั ก รั บ ดั ก ฟั ง สั ญ ญาณวิ ท ยุ สื่ อ สารของ ฝ่ายตรงข้ามในพื้นที่ สัญญาเรดาร์ที่ปล่อยจากสถานี เรดาร์ของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นข้อมูลส�ำคัญที่ท�ำให้ สามารถประเมินขีดความสามารถในการตรวจจับ ของฝ่ายตรงข้ามและต�ำแหน่งของสถานีเรดาร์ได้ นอกจากระบบตรวจจับหรือ Sensor ทีค่ รบครัน ส�ำหรับการสอดแนมแล้ว RQ-4 ยังมีระบบสื่อสาร ที่สามารถติดต่อกับชุดควบคุมภาคพื้นได้ทั้งโดยตรง และผ่ า นระบบดาวเที ย ม (ใช้ ใ นกรณี ท่ี เ ครื่ อ งกั บ ชุดควบคุมภาคพื้นอยู่ไกลมากตามแนวโค้งของโลก) ซึง่ ช่วยให้ RQ-4 สามารถปฏิบตั ภิ ารกิจได้แบบข้ามทวีป นอกจากนัน้ แล้วยังสามารถท�ำหน้าทีเ่ ป็นศูนย์ถา่ ยทอด สัญญาณสือ่ สารลอยฟ้าในพืน้ ทีก่ ารรบ ซึง่ เรียกชือ่ เป็น EQ-4B ด้วยขีดความสามารถในการสอดแนมทีค่ รบครัน ท�ำให้ RQ-4 ถูกพัฒนาต่อมาอีกหลายรุ่น เพื่อรองรับ ความต้ อ งการของผู ้ ใ ช้ ง านทั่ ว โลก อาทิ RQ-4D ของกลุ่มนาโต้ RQ-4E ของเยอรมัน MQ-4C Triton ของ ทร.สหรัฐฯ และ KQ-X ของนาซ่าที่ใช้ทดสอบ การเติมเชื้อในอากาศแบบอัตโนมัติส�ำหรับ MQ-4C Triton ของ ทร.สหรัฐฯ มีข้อแตกต่างจาก RQ-4 ของ

33

ทอ.สหรัฐฯ ในส่วนของปีกซึ่งถูกปรับโครงสร้างใหม่ ให้มีความแข็งแรงมากกว่าเนื่องจาก MQ-4C ถูกใช้ ในการบินเฝ้าตรวจทีร่ ะดับสูงประมาณ ๕๐,๐๐๐ ฟุต เพื่อดูพื้นที่ทะเลในภาพกว้าง และจะลดระดับลงมา ราว ๑๐,๐๐๐ ฟุต อย่างรวดเร็วเมือ่ ตรวจพบเป้าหมาย ซึง่ การบินแบบนีจ้ ะสร้างแรงกดดันทีป่ กี เป็นอย่างมาก นอกจากนัน้ แล้ว MQ-4C ยังมีระบบป้องกันการจับตัว เป็นน�้ำแข็งเมื่อบินในเพดานบินสูงและระบบป้องกัน ฟ้าผ่าอีกด้วย RQ-4 นอกจากจะถูกใช้ในภารกิจทางทหารแล้ว ยังได้ถูกน�ำไปใช้ในภารกิจอื่น ๆ เช่น การบรรเทาภัย พิบตั ิ การถ่ายภาพพืน้ ทีเ่ กิดไฟป่า การวิจยั และพัฒนา โดยเฉพาะนาซ่ า ได้ น� ำ RQ-4 ไปใช้ ใ นการวิ จั ย ชัน้ บรรยากาศของโลกการตรวจวัดชัน้ โอโซน การตรวจ คุณภาพอากาศในชั้นบรรยากาศ การติดตามการเกิด พายุเฮอร์รเิ คน เป็นต้น แม้วา่ RQ-4 จะสามารถบินได้ สูงเหนือพื้นที่ฝ่ายตรงข้ามเพื่อสอดแนม แต่ก็ใช่ว่า จะปลอดภั ย จากอาวุ ธ ต่ อ สู ้ อ ากาศยาน โดยเมื่ อ ๑๙ มิถนุ ายน พ.ศ.๒๕๖๒ ทีผ่ า่ นมา มีการรายงานข่าวว่า RQ-4 ของ ทร.สหรัฐฯ ถูกยิงตกบริเวณช่องแคบฮอร์มซุ โดยทัง้ สหรัฐฯ และอิหร่าน ต่างแถลงการณ์วา่ ตนเป็น ฝ่ายถูก โดยสหรัฐฯ แถลงว่า RQ-4 บินอยูน่ อกน่านฟ้า


34

ของอิหร่าน ในขณะที่อิหร่านแถลงว่า RQ-4 บินล�้ำ น่านฟ้าอิหร่าน แม้ว่าจะยังไม่ได้ข้อสรุปว่าใครผิด ใครถูก แต่สงิ่ ทีน่ า่ สนใจคืออิหร่านมีอาวุธทีส่ ามารถยิง โดรนสอดแนมอย่าง RQ-4 ได้ ซึง่ อาวุธดังกล่าวคาดว่า เป็นระบบอาวุธน�ำวิถพี นื้ สูอ่ ากาศ 3 KHORDAD มีระยะยิง ไกลสุด ๑๒๐ กิโลเมตร ระยะยิงทางสูง ๒๗ กิโลเมตร อาวุธมีความเร็วสูงสุด ๔ มัค ด้วยสมรรถนะของอาวุธ และผลที่เกิดขึ้นอาจท�ำให้การใช้ RQ-4 บินสอดแนม ในพืน้ ทีอ่ หิ ร่านไม่ใช่เรือ่ งง่ายส�ำหรับสหรัฐฯ แต่ปญั หานี้ อาจได้รบั การแก้ไขด้วยเทคโนโลยี Stealth ซึง่ มีความ เป็นไปได้ที่ RQ-4 อาจได้รบั การพัฒนาให้ถกู ตรวจจับ ได้ยากยิง่ ขึน้ และสามารถสอดแนมเหนือพืน้ ทีฝ่ า่ ยตรงข้าม ได้อย่างไร้การต่อต้านหรือฝ่ายตรงข้ามไม่รู้ตัว ในปัจจุบัน RQ-4 ได้รับความสนใจจากหลาย ประเทศที่มีเป้าหมายในการเสริมความแข็งแกร่ง ให้กับการข่าวกรองทางอากาศ การเฝ้าตรวจและ การลาดตระเวน เพราะยิ่งมีข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม มากเท่าไหร่ ก็ยงิ่ เป็นประโยชน์ตอ่ ฝ่ายตนในการวางแผน เพื่อเอาชนะหรือป้องกันตัวเองได้ ส�ำหรับประเทศ ในอาเซียนที่เริ่มมีการจัดหา RQ-4 มาประจ�ำการ ได้แก่ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น โดยเกาหลีใต้เริ่มน�ำ RQ-4 เข้าประจ�ำการแล้วตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๖๒ และ จะเข้าประจ�ำการครบทั้ง ๔ ล�ำ ราวปี พ.ศ.๒๕๖๔ ส�ำหรับญีป่ นุ่ จะเริม่ น�ำเข้าประจ�ำการในปี พ.ศ.๒๕๖๖ จากความเคลื่อนไหวของทั้ง ๒ ประเทศในคาบสมุทร

เกาหลี จะเห็นได้ว่าการข่าวกรองจากการเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวนทางอากาศมีความส�ำคัญมากยิง่ ขึน้ โดยเฉพาะการสอดแนมเหนือพืน้ ทีฝ่ า่ ยตรงข้าม ซึง่ คง หนี ไ ม่ พ ้ น เกาหลี เ หนื อ ที่ ยั ง คงมุ ่ ง มั่ น ในการพั ฒ นา ขีปนาวุธแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและยิงทดสอบ ในทะเลญีป่ นุ่ เป็นประจ�ำ รวมทัง้ ในพืน้ ทีอ่ า้ งสิทธิทบั ซ้อน ระหว่างญีป่ นุ่ กับจีน และญีป่ นุ่ กับรัสเซีย โดยเฉพาะจีน ที่มีอัตราการล่วงล�้ำน่านฟ้าของญี่ปุ่นอยู่บ่อยครั้ง RQ-4 ถือว่าเป็นสุดยอดโดรนสอดแนมที่หลาย ประเทศทั่วโลก ไม่ต้องการให้บินผ่านประเทศตน เพราะเพียงแค่บินผ่านก็อาจจะเก็บเกี่ยวข้อมูลต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการเปิดเผยไปได้ รวมทั้งหากประเทศไหน จัดหา RQ-4 มาประจ�ำการย่อมสร้างความหวาดระแวง ให้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างแน่นอน เปรียบเสมือน เหรี ย ญที่ มี ส องด้ า น RQ-4 มี ป ระโยชน์ อ ย่ า งยิ่ ง ในงานด้านการข่าวท�ำให้ได้รบั ข้อมูลโดยตรงจากพืน้ ที่ ฝ่ายตรงข้าม อีกทั้งยังสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ใน ภารกิจต่าง ๆ เช่น การบรรเทาภัยพิบตั ใิ นการถ่ายภาพ พื้นที่ประสบภัย แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นอุปสรรค ส�ำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์กบั ประเทศเพือ่ นบ้าน การน�ำ RQ-4 มาประจ�ำการในกองทัพอาจเป็นโจทย์ ส�ำคัญที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ส�ำหรับประเทศ ที่ต้องรักษาสมดุลระหว่างการได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร เชิงลึกทางทหาร กับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อนบ้านที่ไม่สามารถย้ายประเทศหนีไปจากกันได้

อ้างอิง - South Korean air force receives first RQ-4 Global Hawk UAV,https://www.janes.com - RQ-4 Global Hawk, https://www.military.com - RQ-4 Global Hawk, https://www.af.mil


ข าวทหารอากาศ

35

มีสกรีน BEETLE BAILEY

ภาพที่ ๑ - จ่า! นั่นมารยาทไม่ดีเลย คุณเลียจานของคุณ! - แผล็บ! ภาพที่ ๒ - จานของบีทเทิ่ลครับ (ของจ่าหมดแล้วเลยไปเลียจานของลูกน้อง) Sarge (n.) manners (n.)

to lick slurp!

- ซารจ เป็นค�าย่อของ sergeant ชั้นยศจ่านายสิบของทหารบก ออกเสียงว่า ‘ซ้ารเจิ่นท’ - มารยาทสมาคม (the way that someone behaves and speaks toward other people) Ex. It’s bad manners to talk with your mouth full. (มันเป็นมารยาทไม่ดี ที่จะพูดในขณะที่อาหารเต็มปาก) และ His manner was polite but cool. (มารยาทของเขาสุภาพดีแต่ไม่ค่อยจะเป็นมิตร) - เลีย (to move your tongue over the surface of sth. in order to eat it, make it wet or clean it) Ex. He licked his fingers. (เขาเลียนิ้วให้สะอาด) - สเลิรพ! เป็นเสียงดังจากการดื่ม เลีย หรือ ซด อาหาร ซึ่งเป็นเสียงที่แตกต่างจาก ของภาษาไทยที่เสียงดัง ‘แผล็บ ๆ’ slurp ใช้เป็นค�ากริยาได้ แปลว่า ดื่ม หรือ ซด อาหารเสียงดัง Ex. He was slurping his soup. (เขาซดน�้าซุปเสียงดัง)


36

BLONDIE

ภาพที่ ๑ - ผมก�าลังคิดว่าจะออกจากโครงการลูกเสือครับ คุณบี - ออกเลยรึ? ท�าไมล่ะ? ภาพที่ ๒ - ผมอยากให้เขามีอะไรที่มันเปดเผยกว่านี้ - เช่นอะไรล่ะ? ภาพที่ ๓ - อย่างหนึ่งก็คือ – คุณรู้มั้ยครับว่าเราไม่ได้รับเงินน่ะ?! to drop out (of some thing) - เป็นส�านวน (idiom) แปลว่า ออกจากการมีส่วนร่วมในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (to no longer take part in or be part of sth.) Ex. He has dropped out of active politics. (เขาเลิกมีส่วนร่วมในวงการเมือง แบบเต็มตัวแล้ว) และ She dropped out after only one year of college (เธอออกจากมหาวิทยาลัยแล้วหลังจากเรียนได้ปีเดียว) cub scouts (n.)

- เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับลูกเสือส�าหรับเด็กชาย อายุ ๘ – ๑๐ ปี ในสหรัฐอเมริกา

up front (adj.)

- เปิดเผย ซือ่ สัตย์ (brank, honest) Ex. He’s been up front about his intentions since the beginning. (เขาเปิดเผยความตั้งใจจริงของเขาตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว)

like (prep.)

- ในที่นี้เป็นค�าบุพบท แปลว่า ตัวอย่างเช่น (for example) Ex. I love big cats, like lions. (ฉันชอบแมวตัวใหญ่ อย่างเช่นสิงโต)

to get (be) paid - ได้รับเงิน เป็นกริยาในรูป passive voice (ถูกกระท�า V.to be + V.3) V.to pay คือ จ่ายเงิน


ข าวทหารอากาศ

RED

37

EAGLE

อินทรีแดง แผลงฤทธิ์

น.ต.ภฤศพงศ์ ช้อนแก้ว

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

Air Marshal ภารกิจลับ พิทักษ เหนือเวหา

ปัจจุบนั ทัว่ โลกได้ความส�าคัญในด้านการต่อต้าน การก่อการร้ายเป็นอย่างมาก สืบเนื่องจากรูปแบบ ภัยคุกคามทีผ่ กู้ อ่ การร้ายนิยมใช้จะเป็นการปฏิบตั กิ าร ทีไ่ ม่จา� เป็นต้องใช้ทรัพยากรมาก แต่สามารถใช้เครือ่ งมือ ที่สร้างความเสียหายให้กับส่วนรวมให้ได้มากที่สุด โดยที่มิอาจประเมินค่าได้ จากบทเรียนเมื่อ 9/11 ท�าให้สหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้เริ่ม ให้ความส�าคัญกับการรักษาความปลอดภัยในอากาศยาน โดยเป็นการปฏิบัติระงับเหตุการณ์ มีลักษณะเป็น แนวป้องกันขัน้ สุดท้าย (Last Line of Defense) หรือ ในขณะที่อากาศยานท�าการบินอยู่ โดยเจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัยบนอากาศยาน จะเป็นผูด้ า� เนินการ ขัดขวางไม่ให้ผู้ก่อการร้ายสามารถจี้ยึดเครื่องบิน

เพื่อน�าไปใช้เป็นเครื่องต่อรองทางการเมืองหรือเป็น อาวุธท�าลายล้างสูงได้ ซึง่ ได้มกี ารประสานงานกันทัว่ โลก ทัง้ ในระดับนโยบายและระดับปฏิบตั ิ ตัง้ แต่การร่วมมือ ทางด้านการฝึกอบรมให้ความรู้ การแลกเปลีย่ นข้อมูล ข่าวสาร (Information Sharing) รวมถึงการประชุม สัมมนาระดับทวิภาคีและพหุภาคี เช่น การประชุม สัมมนา International Air Marshal Conference (IAMC) โดยครั้งที่ ๑ ในปี พ.ศ.๒๕๔๔ ณ ประเทศ อิสราเอล ครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ ณ ประเทศ ออสเตรีย ครั้งที่ ๓ ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ ณ ประเทศ เยอรมัน ครั้งที่ ๔ ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ ณ เมือง Reston รัฐ Virginia ประเทศสหรัฐฯ และอีกหลายครัง้ ในเวลา ต่อมาจนปัจจุบัน


38

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติพิเศษ กรมปฏิบัติการพิเศษฯ ในช่วงการจัดงานประชุม สุดยอดผู้น�ำเอเชียแปซิฟิก ห้วงเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๖

ในช่วงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.๒๕๔๖ ประเทศไทย ได้จัดการประชุมสุดยอดผู้น�ำเอเชียแปซิฟิก บริษัท การบิ น ไทยจ� ำ กั ด (มหาชน) จึ ง ได้ ริ เ ริ่ ม โครงการ เจ้าหน้าทีร่ กั ษาความปลอดภัยไม่ตดิ อาวุธ (Unarmed Sky Marshal) ซึ่งกองทัพอากาศได้มอบหมายให้ กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองบัญชาการยุทธทางอากาศ (ในขณะนัน้ ) สนับสนุน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษ ให้กับบริษัทการบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวน ๕๙ คน เพื่อปฏิบัติงานบน เครือ่ งบินของบริษทั ฯ ทัง้ เทีย่ วบินภายในและระหว่าง ประเทศ เป็นจ�ำนวนรวมทั้งหมด ๕๔๘ เที่ยวบิน ซึ่ ง โครงการดั ง กล่ า ว ถื อ ว่ า ได้ ป ระสบผลส� ำ เร็ จ เป็นอย่างดียิ่ง และนับเป็นก้าวแรกของประเทศไทย ที่ ไ ด้ มี ก ารพั ฒ นา ด้ า นการรั ก ษาความปลอดภั ย

ด้านการบิน โดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ไปปฏิบตั งิ านบนเครือ่ งบินพาณิชย์เป็นครัง้ แรก อันส่งผล ต่ อ ความเชื่ อ มั่ นของผู ้ โ ดยสารตลอดจนก่ อ ให้ เ กิ ด ภาพลักษณ์ทดี่ ตี อ่ ธุรกิจการบินของไทยด้วย หลังจากนัน้ เป็นต้นมา บริษัทการบินไทยและกองทัพอากาศได้ ร่วมมือกันในโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ พัฒนา มาตรการ การรั ก ษาความปลอดภั ย บนเครื่ อ งบิ น ให้ก้าวหน้าและมีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น กรมปฏิบัติการพิเศษฯ ได้พัฒนาองค์ความรู้ ในด้ า นการรั ก ษาความปลอดภั ย ในอากาศยาน มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.๒๕๔๗ โดยได้รับ การสนับสนุนจาก บริษัทการบินไทยจ�ำกัด (มหาชน) และกองทัพอากาศ ทั้งทางด้านการดูงานและการฝึก ภายในประเทศและต่างประเทศ เริม่ จากการแลกเปลีย่ น


ข่าวทหารอากาศ

เยี่ยมชมกิจการงานด้านการรักษาความปลอดภัย ในอากาศยาน ณ เมือง Atlantic รัฐ New Jersey ประเทศสหรั ฐ ฯ และการเยื อ นของคณะท� ำ งาน ด้ า นการรั ก ษาความปลอดภั ย ในอากาศยาน ณ กรมปฏิบัติการพิเศษฯ พร้อมเสนองบประมาณ ซ่ อ ม ปรั บ ปรุ ง สนามฝึ ก ยิ ง ปื น ทางยุ ท ธวิ ธี แ ละ เครือ่ งบินจ�ำลอง จากนัน้ ในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ปี พ.ศ.๒๕๔๙ กรมปฏิบัติการพิเศษฯ ได้ส่งก�ำลังพล ๑๑ คน เข้ารับการฝึกหลักสูตร Air Marshal Train the Trainer course ณ เมือง Atlantic รัฐ New Jersey ประเทศสหรั ฐ ฯ ต่ อ มาในการประชุ ม สั ม มนา International Air Marshal Conference (IAMC) ครั้งที่ ๗ ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ณ เมือง Miami รั ฐ Florida ประเทศสหรั ฐ ฯ ระหว่ า ง การประชุ ม ในครั้ ง นี้ ประเทศแคนาดายิ น ดี เ สนอ ให้ทนุ การฝึกกับประเทศไทยเป็นจ�ำนวนหนึง่ จากนัน้ ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ กรมปฏิบัติการ

39

พิเศษฯ จึงได้สง่ ก�ำลังพล ๒๔ คน เข้ารับการฝึกหลักสูตร In Flight Security Officer : I.F.S.O. (Canadian Air Carrier Protective Program) ณ เมือง Ottawa ประเทศแคนาดา และหลังจากนั้นกองทัพอากาศ ได้ส่งก�ำลังพลเข้าร่วมประชุม IAMC อย่างต่อเนื่อง ในทุก ๆ ปี รวมถึงการดูงานในต่างประเทศ

ลักษณะการฝึกในหลักสูตร Air Marshal Train the Trainer course ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ลักษณะการฝึกในหลักสูตร Air Marshal Train the Trainer course ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา


40

อากาศยานเพื่อใช้ฝึกประจ�ำหลักสูตร In Flight Security Officer : I.F.S.O.

หุ่นจ�ำลองใช้ในการฝึกประจ�ำหลักสูตร In Flight Security Officer : I.F.S.O.

จนกระทั่งในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๘ ร่างกฎหมายส�ำคัญจึงได้เกิดขึ้น คือพระราชบัญญัติ ความผิ ด บางประการ ว่ า ด้ ว ยการเดิ น อากาศ ปี พ.ศ.๒๕๕๘ ได้บัญญัติความหมายของเจ้าหน้าที่ ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยานไว้ว่า “ผู้ซึ่ง รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงคมนาคมแต่ ง ตั้ ง ให้ มี อ� ำ นาจหน้ า ที่ ใ นการป้ อ งกั น และปราบปราม การกระท�ำความผิดในอากาศยานในระหว่างการบิน ตามมาตรา ๓๘ และเจ้าหน้าที่เพื่อการนี้ส�ำหรับ อากาศยานต่างประเทศ” และเพือ่ ให้สามารถด�ำเนิน แต่งตัง้ เจ้าหน้าทีผ่ รู้ กั ษาความปลอดภัยในอากาศยาน ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ บนเครื่ อ งบิ น พาณิ ช ย์ สั ญ ชาติ ไ ทย ได้อย่างถูกกฎหมาย อีกทั้งทางด้านกองทัพอากาศ

ห้องจ�ำลองห้องผู้โดยสารประจ�ำหลักสูตร In Flight Security Officer : I.F.S.O.

ซึง่ น�ำโดยศูนย์การทหารอากาศโยธิน หน่วยบัญชาการ อากาศโยธิน ได้จัดให้มีหลักสูตรเจ้าหน้าที่ผู้รักษา ความปลอดภัยในอากาศยาน (I.F.S.O.) โดยให้ความ รั บ ผิ ด ชอบการฝึ ก ขึ้ น กั บ กรมปฏิ บั ติ ก ารพิ เ ศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เพื่อเตรียมความพร้อม ให้ กั บ ก� ำ ลั ง พล ให้ มี ขี ด ความสามารถในการเป็ น เจ้าหน้าทีผ่ รู้ กั ษาความปลอดภัยในอากาศยาน มีระยะ เวลาในการฝึก ๒ เดือน ซึ่งในการฝึกนี้ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติถูกแบ่งองค์ความรู้ออกเป็น ๖ หมวดวิชา ส�ำคัญ การศึกษาพื้นฐานการรักษาความปลอดภัย ในอากาศยาน มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ ให้ ผู ้ เ ข้ า รั บ การศึ ก ษามี ค วามเข้ า ใจพื้ น ฐานที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การรักษาความปลอดภัยในอากาศยาน เกี่ยวกับ ประวัตคิ วามเป็นมา แนวความคิดในการจัดเจ้าหน้าที่ ผู ้ รั ก ษาความปลอดภั ย ในอากาศยาน กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง กฎการใช้ก�ำลัง สิทธิมนุษยชน รวมทั้ง มีร่างกายที่พร้อมปฏิบัติภารกิจและสามารถน�ำไป ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง การเรียนรูเ้ วชศาสตร์การบินและเวชกิจฉุกเฉิน มีวตั ถุประสงค์ เพือ่ ให้ผเู้ ข้ารับการศึกษา มีความเข้าใจ เกี่ยวกับความดันอากาศในห้องโดยสาร ออกซิเจน และการพร่ อ งออกซิ เ จน การขยายตั ว ของแก๊ ส


ข่าวทหารอากาศ

ความชื้นในห้องโดยสาร ภาวะขาดการเคลื่อนไหว และปัญหาการไหลเวียนของโลหิต อาการเมาจาก การบิน (Jetlag) และการฝึกปรับสภาพในบรรยากาศ ความกดดันต�่ำ รวมทั้งมีทักษะในการปฏิบัติเวชกิจ ฉุกเฉิน สามารถน�ำไปปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย การฝึ ก ศึ ก ษาด้ า นเกี่ ย วกั บ วั ต ถุ ร ะเบิ ด และ การท�ำลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษา มี ค วามเข้ า ใจในเรื่ อ งของวั ต ถุ ร ะเบิ ด ทางทหาร ระบบและวิธีการจุดระเบิด วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง และตัวจุด การถอดประกอบและการวางวัตถุระเบิด การตรวจและการเก็ บ กู ้ รวมถึ ง กั บ ระเบิ ด และ การท� ำ ลาย สามารถน� ำ ไปปฏิ บั ติ ไ ด้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง และปลอดภัย การฝึ ก การต่ อ สู ้ ป ้ อ งกั น ตั ว มีวัตถุ ประสงค์ เพือ่ ให้ผเู้ ข้ารับการศึกษามีทกั ษะในการต่อสูป้ อ้ งกันตัว ด้วยมือเปล่า การปลดอาวุธ การควบคุมตัว การใช้ กุญแจมือ การใช้มีดพก สามารถน�ำไปปฏิบัติได้อย่าง ถูกต้องและปลอดภัย การฝึกการใช้อาวุธประจ�ำกาย มีวัตถุประสงค์ เพื่ อ ให้ ผู ้ เ ข้ า รั บ การศึ ก ษามี ทั ก ษะเกี่ ย วกั บ กลไก ของอาวุ ธ ปื น พก การถอดประกอบอาวุ ธ ปื น มี ค วามช� ำ นาญในการยิ ง ปื น พกและท� ำ การยิ ง ปื น ในอากาศยานได้ อ ย่ า งแม่ น ย� ำ สามารถแก้ ไ ข เหตุ ติ ด ขั ด และแก้ ไ ขปั ญ หาตามสถานการณ์ ไ ด้ อย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกยุทธวิธีการรักษาความปลอดภั ย ใน อากาศยาน มีวตั ถุประสงค์ เพือ่ ให้ผเู้ ข้ารับการศึกษา มี ค วามเข้ า ใจและทั ก ษะเกี่ ย วกั บ เทคนิ ค ยุ ท ธวิ ธี ในการรักษาความปลอดภัยในอากาศยาน การปฏิบตั ิ ทางยุทธวิธีในอากาศยานจ�ำลอง ใช้การติดต่อสื่อสาร ระหว่างเจ้าหน้าที่ และเทคนิคการปฏิบตั ใิ นอากาศยาน ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ในการฝึกการเป็นเจ้าหน้าทีผ่ รู้ กั ษาความปลอดภัย ในอากาศยานนั้ น มี ร ายวิ ช าที่ ส� ำ คั ญ ๒ วิ ช าหลั ก

การฝึกต่อสู้ป้องกันตัวของเจ้าหน้าที่ ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยาน

การทดสอบจับเวลาในท่ายืนยิง

การฝึกยุทธวิธีในอากาศยานจ�ำลอง

41


42

ที่ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องท�ำการฝึกจนมีความช�ำนาญ มากที่สุด ได้แก่ การฝึกยิงปืนพก ๗ สถานี และการฝึก ยุ ท ธวิ ธี ใ นอากาศยาน การทดสอบความแม่ น ย� ำ และความรวดเร็วในการใช้อาวุธนั้น ผู้เข้ารับการฝึก จะได้รับการทดสอบกับการยิง ๗ สถานี ซึ่งมีการ ทดสอบวัดผลอย่างจริงจัง ผู้ที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ Air Marshal ได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการสอบผ่าน ระบบการยิง ๗ สถานี อันถือว่าเป็นพื้นฐานส�ำคัญ ของการใช้อาวุธประเภทปืนพกของเจ้าหน้าที่ผู้รักษา ความปลอดภัยในอากาศยาน ระหว่างการทดสอบ ผู้เข้ารับการฝึกอาจเกิดความเครียดและกดดันตัวเอง ขึ้นได้ เนื่องจากผู้เข้าการฝึกจะต้องพิจารณาค�ำนวณ การยิงแต่ละครัง้ ในแต่ละสถานีซงึ่ จะมีรปู แบบการยิง ทีแ่ ตกต่างกันไป บางเหตุการณ์ในช่วงการทดสอบบาง สถานีของผู้เข้ารับการฝึกจะต้องเลือกยิงระหว่าง การท�ำคะแนนให้ได้ดหี รือจะท�ำเวลาให้ได้ดจี นกลายเป็น ความกดดันในรูปแบบหนึง่ และทีส่ ำ� คัญต้องไม่ยงิ หลุด ออกนอกกรอบเป้าหมายเป็นอันขาดเพราะจะท�ำให้ การทดสอบในสถานีนั้น ๆ ตกไปหรืออาจส่งผลให้ ไม่ ผ ่ า นการทดสอบการยิ ง ปื น ในภาพรวมทั้ ง หมด ในทันที เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในการปฏิบัติงานจริง เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยาน ต้องท�ำการใช้อาวุธต่อผู้ก่อการร้ายในอากาศยาน ทีก่ ำ� ลังบินอยูเ่ หนือพืน้ ดินทีร่ ะดับความสูงไม่นอ้ ยกว่า ๘,๐๐๐ ฟุต จากระดับน�ำ้ ทะเล แต่กระสุนทีย่ งิ ออกไป กลับพลาดเป้าถูกเข้าบริเวณโครงสร้างของอากาศยาน จนทะลุออกไปภายนอก เป็นผลท�ำให้ความดันอากาศ

ภายในเครือ่ งบินทีม่ มี ากกว่าภายนอกจะถูกดันออกไป ภายนอกอากาศยานทั น ที สิ่ ง ที่ ต ามมาคื อ ภายใน อากาศยานจะเกิ ด การสู ญ เสี ย ออกซิ เ จนและแก็ ส ภายในร่างกายเราจะขยายตัวขึน้ อย่างฉับพลัน ซึง่ หาก เกิดสถานการณ์เช่นนี้นักบินจะต้องรีบน�ำอากาศยาน ลงสู่ระยะที่ต�่ำกว่าความสูง ๘,๐๐๐ ฟุต จากระดับ น�้ำทะเล ให้เร็วที่สุดเพื่อมิให้เกิดการสูญเสียอากาศ ภายในเครื่ อ งซึ่ ง จะท� ำ ให้ ผู ้ โ ดยสารหมดสติ แ ละ อาจเสี ย ชี วิ ต ได้ ล� ำ ดั บ ต่ อ มาเป็ น การฝึ ก ยุ ท ธวิ ธี ในอากาศยาน มีลักษณะการฝึกควบคุมสถานการณ์ ทีเ่ กิดขึน้ ให้สงบลง เริม่ ตัง้ แต่การใช้อาวุธยิงผูก้ อ่ การร้าย ให้ล้มลง จากนั้นท�ำการควบคุมสถานการณ์ที่ก�ำลัง วุน่ วายให้หมดไป ลดความตืน่ ตระหนกและความสับสน ของผู ้ โ ดยสารให้ ก ลั บ เข้ า สู ่ ภ าวะปกติ โ ดยเร็ ว การด�ำเนินการติดต่อกับนักบิน การประสานงาน กับลูกเรือเพื่อให้ช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ การบริหาร จั ด การในกรณี ที่ ต รวจพบวั ต ถุ ร ะเบิ ด แสวงเครื่ อ ง หรือวัตถุตอ้ งสงสัยทีค่ าดว่าจะเป็นระเบิด หรือทีเ่ รียกว่า “Least Risk Bomb Location (LRBL)” เป็นขัน้ ตอน ในการย้ายวัตถุระเบิดแสวงเครื่องไปไว้ยังจุด LRBL ซึ่งจะมีในอากาศยานพานิชย์ทุกล�ำตามหลักนิรภัย ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังต้องมีความเข้าใจในกรรมวิธีแนวทางการปฏิบัติ ของลูกเรือเมื่อต้องรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้ที่จะได้ชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รักษา ความปลอดภัยในอากาศยานจะต้องมีความรู้ความ เข้าใจและรู้จักเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ (อ่านต่อฉบับหน้า)

อ้างอิง - หลักสูตรเจ้าหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยาน (In Flight Security Officers) ศูนย์การทหารอากาศโยธิน - คู่มือการฝึกเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน - https://www.icao.int/about-icao/History/Pages/default.aspx


ข าวทหารอากาศ

43

พลิกโฉมสร างฐานรากนวัตกรรม และแหล งรวมป ญญาของกองทัพอากาศ : โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป ดสอน “ปริญญาโท” ครั้งแรก ส�านักบัณฑิตศึกษา รร.นนก.

ในปัจจุบันเป็นโลกยุค ๔.๐ สถานการณ์โลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรุนแรง และซับซ้อน โดยเฉพาะการเปลีย่ นแปลงทางด้านเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั เป็นไปแบบก้าวกระโดด ทัง้ นีเ้ ป็นอิทธิพลจากเทคโนโลยี ดิสรัปชันที่เป็นการลบล้างแล้วสร้างใหม่ที่ส่งผลต่อ การเปลี่ยนแปลงและท�าให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ รวมทั้ง ท�าให้เกิดการพลิกฟื้น ปรับปรุง และพัฒนายกระดับ หน่ ว ยงาน ทั้ ง ยั ง ครอบคลุ ม ถึ ง เรื่ อ งความเป็ น อยู ่ และการปฏิบัติภารกิจของก�าลังพลในกองทัพอากาศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความท้าทายของกองทัพอากาศและประเทศชาติ ในการวางแนวทางการพัฒนาก�าลังคน ให้สามารถ รองรับการเปลีย่ นแปลงและภัยคุกคามในรูปแบบเดิม และรู ป แบบใหม่ ไ ด้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ

ประสิทธิผลจึงมีความจ�าเป็น และส�าคัญในระดับ เร่ ง ด่ ว น โดยเฉพาะการพั ฒ นาการศึ ก ษาภายใน กองทั พ อากาศจึ ง สมควรอย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะต้ อ งมี ก าร ปฏิรูปใหม่ในระดับที่สูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากนโยบาย ที่ชัดเจนของ พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการ ทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ประจ�าปี พ.ศ.๒๕๖๓ ข้อที่ ๖ ด้านการศึกษาในข้อย่อย ๖.๒ นั้น ได้ก�าหนดไว้ว่า โรงเรี ย นนายเรื อ อากาศนวมิ น ทกษั ต ริ ย าธิ ร าช (รร.นนก.) โรงเรียนจ่าอากาศ และโรงเรียนสายวิทยาการ ที่เกี่ยวข้อง ทบทวนและปรับปรุงหลักสูตร โดยมี เป้ า หมายให้ ผู ้ ส� า เร็ จ การศึ ก ษามี ค วามพร้ อ ม ปฏิ บั ติ ง านในมิ ติ ท างอากาศ มิ ติ ท างไซเบอร์ แ ละ มิ ติ ท างอวกาศ ตลอดจนตรงกั บ ความต้ อ งการ ของสายวิทยาการ


44

เนื่ อ งจากเนื้ อ หาในยุ ท ธศาสตร์ ช าติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ได้เน้นให้ทรัพยากรมนุษย์ เป็นปัจจัยส�าคัญทีส่ ดุ ในการยกระดับการพัฒนาประเทศ ในทุกมิติไปสู่เป้าหมายการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ทีข่ บั เคลือ่ นโดยภูมปิ ญั ญาและนวัตกรรมของสัญชาติไทย ดังนั้นกองทัพอากาศจึงจ�าเป็นต้องมีการพัฒนาและ ยกระดั บ ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ไ ห้ เ ต็ ม ศั ก ยภาพในการ พัฒนาประเทศ โดยสอดคล้องกับนโยบายการขับเคลือ่ น อุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เป็น New S-Curve ตัวที่ ๑๑ ของรัฐบาล ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ที่เป็นหลักประกันทางด้านความมั่นคงของประเทศ เพือ่ เสริมสร้างความพร้อมของกองทัพด้านยุทโธปกรณ์ ในการปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของประเทศ อย่างไรก็ดียุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ได้ให้ความส�าคัญกับการ ขับเคลือ่ นกองทัพอากาศไปสู่ “กองทัพอากาศชัน้ น�า ในภูมิภาค (One of the Best Air Forces in ASEAN)” โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและแนวความคิด การปฏิบตั กิ ารทีใ่ ช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations : NCO) ในการปฏิบัติการรบ และการปฏิบัติการที่มิใช่การรบเพื่อตอบสนองต่อ ภัยคุกคามทุกรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพืน้ ฐาน

ของการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ ท�าให้ กองทัพอากาศต้องส่งเสริมการพัฒนาสถานศึกษา ในกองทั พ ให้ ข ยายฐานความรู ้ ใ นศาสตร์ ต ่ า ง ๆ เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ โดยยกระดับให้บริการทาง การศึ ก ษาแก่ บุ ค ลากรทั้ ง ในกองทั พ และบุ ค คล ภายนอกกองทัพ ทั้งนี้เป็นการพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพบุคลากรในกองทัพให้เข้มแข็ง มีขีดความ สามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีอันน�าไปสู่การพึ่งพา ตนเองในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ ระบบป้องกัน ประเทศให้ทนั สมัย มีความพร้อมในการรักษาอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติ สามารถอยู่รอดและรับมือ กับภัยคุกคามได้ทกุ รูปแบบรวมไปถึงการน�าเทคโนโลยี ไปใช้ในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบตั ิ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief : HADR) ประกอบกับ ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ หรือปี ๒๐๒๐ เป็นปีครบรอบ ๑๐๐ ปี ของการทิวงคต พระบิดากองทัพอากาศ คือท่าน จอมพล สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภวู นารถ กรมหลวง พิศณุโลกประชานารถ นับว่าเป็นโอกาสเหมาะและ เป็นมหามงคลที่ทาง รร.นนก.จะได้ท�าการพัฒนา ยกระดับการศึกษาและวิจัยขั้นสูงเพื่อปฏิรูประบบ การศึกษาตามนโยบายท่าน ผบ. ทอ.ซึง่ ถือว่าเป็นการ


ข าวทหารอากาศ

พลิกโฉมอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ ๖๗ ปี ของการก่อตัง้ รร.นนก.อนึง่ ทาง รร.นนก.ด�าเนินการ เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยี ป ้ อ งกั น ประเทศขึ้ น มา ซึ่ ง บุ ค ลากร ห้องปฏิบัติการ และอาคารสถานที่ รวมทั้งสิ่งอ�านวย ความสะดวกต่ า ง ๆ ของ รร.นนก.มี ค วามพร้ อ ม และมีศกั ยภาพทีเ่ ข้มแข็งเพียงพอในการเปิดหลักสูตร ปริญญาโท ดังกล่าว การวิจัยและพัฒนาถือเป็นกระบวนการต้นน�้า ทีจ่ ะน�าไปสูก่ ารพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรม ที่ จ ะช่ ว ยเพิ่ ม ขี ด ความสามารถด้ า นการแข่ ง ขั น และพึ่งพาตนเองได้ การพัฒนาการศึกษาภายใน กองทั พ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงหลักสูตร ปริ ญ ญาตรี ใ หม่ เ พื่ อ ให้ ส อดรั บ กั บ นโยบายของ กองทัพอากาศในปัจจุบนั และอนาคต เพือ่ สร้างบุคลากร นักบิน วิศวกร และนักวิจยั ของกองทัพให้มศี กั ยภาพ ในการป้องกันประเทศเพื่ อ เสริ ม สร้ า งความมั่ น คง มั่ น คั่ ง และยั่ ง ยื น ให้ กั บ กองทั พ และประเทศชาติ ด้วยเหตุผลดังกล่าวทาง รร.นนก.จึงได้เปิดหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิ ช าเทคโนโลยี ป้องกันประเทศขึ้น หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีป้องกันประเทศมีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมทางด้าน เทคโนโลยีปอ้ งกันประเทศส�าหรับการพึง่ พาตนเองได้ อย่างยั่งยืน ๒. เพือ่ วิจยั และพัฒนาองค์ความรูใ้ หม่ทสี่ ามารถ น�าไปใช้ได้จริงในกองทัพตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ๓. เพือ่ ผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมทีข่ าดแคลน ในการสนับสนุน New S-Curve ที่ ๑๑ และ ๑๒ (อุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศและอุ ต สาหกรรม พัฒนาคนและการศึกษา) ขอบเขตพื้ น ที่ ก ารวิ จั ย (Research Areas) จะอิงสมุดปกขาว (White Paper) ที่เป็นนโยบาย ผบ.ทอ.ในการพัฒนาศักยภาพกองทัพอากาศให้มี

45

นวัตกรรมภายใต้เงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดหา พร้อมการพัฒนา (Purchase and Development : P&D) ซึ่งจะครอบคลุมใน ๓ มิติ ได้แก่ Air Domain, Cyber Domain และ Space Domain กล่ า วโดยสรุ ป แล้ ว หลั ก สู ต รปริ ญ ญาโท นี้ เป็นการพัฒนายกระดับการศึกษาและวิจยั เพือ่ ปฏิรปู ระบบการศึ ก ษาของ รร.นนก.เพื่ อ มุ ่ ง ไปสู ่ ดิ จิ ทั ล อะคาเดมีที่มีความฉลาดและยั่งยืน (Sustainable Smart Digital Academy) เป็นหลักสูตรที่สามารถ ตอบสนองความต้องการของกองทัพและประเทศ เป็นการสร้างงานวิจัยสู่การปฏิบัติจริง โดยเน้นสร้าง นักวิจยั ทีม่ คี วามสมาร์ต มีสมรรถนะการวิจยั ทีเ่ ข้มแข็ง สามารถพัฒนาองค์ความรูใ้ หม่และนวัตกรรม มีทกั ษะ กระบวนการคิดที่เป็นระบบมีหลักการและสามารถ ที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ มีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่ การเป็ น วิ ศ วกรนั ก วิ จั ย ระดั บ มื อ อาชี พ อั น น� า ไปสู ่ การแก้ปัญหาของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์ความรูท้ เี่ ป็นฐานปัญญาให้แก่กองทัพและประเทศ เพื่อประเทศชาติสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน อีกทัง้ ยังเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ให้ มี ค วามเข้ ม แข็ ง ในขณะที่ ยั ง ธ� า รงรั ก ษาไว้ ซึ่ ง สิง่ แวดล้อม จริยธรรมและมีความภูมใิ จในความเป็นชาติ ส� า นั ก บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา รร.นนก.ให้ ทุ น เรี ย นฟรี ทุกคนตลอดหลักสูตร ในรุ่นแรก มีทุนการศึกษาให้ จ�านวน ๒๐ ทุน และจะเปิดเรียน ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓ นี้ ส�าหรับท่านที่สนใจ ขอให้ติดต่อสมัคร เข้ารับการศึกษาได้ที่ส�านักบัณฑิตศึกษา รร.นนก. ๑๗๑/๑ ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ ๑๐๒๒๐ โทรศัพท์ ๐๒-๕๔๓-๕๘๘๒ (ติดต่อ พล.อ.ท.ผศ.ดร.พาห์รณ สงวนโภคัย) หรือ ๐๙๑-๙๖๑-๔๙๔๑ (ติดต่อ พล.อ.ท.ศ.ดร.นพพล หาญกล้า) อีเมล : grad.nkrafa@rtaf.mi.th หรือ สมัครผ่านทางเว็บไซต์ https://sites.google.com/ view/nkrafa/home?authuser=4


46

วิทยาการหุ นยนต ทางทหาร และป ญญาประดิษฐ น.อ.หญิง ชมพูนุท พูลสนอง (สพ.ทอ.)

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) หรือ AI หมายถึง ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับ สิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้าน วิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเป็นหลักรวมถึง ศาสตร์ในด้านอื่น ปั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ เป็ น เทคโนโลยี ที่ ส ่ ง ผลต่ อ สงคราม การปกครอง การเมืองและเศรษฐกิจกองทัพ ในหลายประเทศเร่งวิจัยและพัฒนาอัลกอริทึมขั้นสูง เทคโนโลยีอตั โนมัติ และปัญญาประดิษฐ์อย่างต่อเนือ่ ง เช่น กองทัพสหรัฐอเมริกา ลงทุนกว่า ๗๒ ล้านเหรียญ สหรัฐ เพิม่ ความมัน่ คงด้านการทหาร พัฒนาขีดความ สามารถด้าน AI ประเทศในทวีปยุโรปหลายประเทศ มีโปรแกรมหุน่ ยนต์ทางทหารและการใช้งานอากาศยาน ไร้คนขับ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย ปัจจัย ส�าคัญมาจากการลงทุนทีเ่ พิม่ ขึน้ และการพัฒนาหุน่ ยนต์ เพือ่ การขนส่ง การเฝ้าระวัง และการประยุกต์ดา้ นการรบ เพราะว่าหุ่นยนต์ทหารมีประสิทธิภาพในด้านความ แข็งแรง ความแม่นย�า ความหลากหลาย การใช้งาน และบ� า รุ ง รั ก ษาช่ ว ยลดก� า ลั ง ทหารในการปฏิ บั ติ ภารกิจ

ระบบอัตโนมัติ (Automation System) คือ ระบบใด ๆ ทีอ่ อกแบบด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ ให้สามารถท�างานได้ด้วยตนเอง โดยท�างานตามโปรแกรมที่วางไว้ เช่น ระบบตอบรับ โทรศัพท์อัตโนมัติ หุ่นยนต์ (Robot) คือเครื่องจักรกลที่สามารถ ประมวลผลชุ ด ระบบปฏิ บั ติ ก ารการท� า งานของ เครื่ อ งจั ก รโดยการควบคุ ม จากคอมพิ ว เตอร์ ห รื อ จากมนุษย์ประกอบด้วย แพลตฟอร์ม ซอฟต์แวร์

Relationships of Selected AI Definitions


ข่าวทหารอากาศ

และแหล่งพลังงานมีลักษณะโครงสร้างและรูปร่าง แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ ออกแบบให้สามารถ ตั้งล�ำดับการท�ำงาน หรือตัดสินใจได้เองในระดับใด ระดับหนึ่ง โดยทั่วไปหุ่นยนต์แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ หุ ่ น ยนต์ ช นิ ด ที่ ติ ด ตั้ ง อยู ่ กั บ ที่ (Fixed robot) เป็นหุน่ ยนต์ทไี่ ม่สามารถเคลือ่ นทีได้สว่ นใหญ่มลี กั ษณะ เป็นแขนกลใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน ประกอบรถยนต์ แ ละหุ ่ น ยนต์ ช นิ ด ที่ เ คลื่ อ นที่ ไ ด้ (Mobile robot) สามารถเคลื่อนที่ไปไหนมาไหน ได้ดว้ ยตัวเอง โดยการใช้ลอ้ หรือการใช้ขา เช่น หุน่ ยนต์ ส� ำ รวจดาวอั ง คารขององค์ ก ารนาซ่ า นอกจากนี้ สามารถแบ่งได้หลายประเภทตามเกณฑ์ที่พิจารณา

47

เช่น เทคโนโลยีในการพัฒนาหุ่นยนต์ โครงสร้าง และการน�ำไปใช้งาน เช่น การแบ่งประเภทของหุน่ ยนต์ ตามการประยุกต์ใช้งานเป็น ๘ ประเภท ดังนี้ ๑. หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robot) ได้แก่ แขนกลที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมในการ เคลื่ อ นย้ า ยสิ่ ง ของการเชื่ อ ม การพ่ น สี ประกอบ ชิ้นส่วน ๒. หุ่นยนต์บริการ (Service Robot) เป็นการ บริ ก าร และอ� ำ นวยความสะดวก เช่ น หุ ่ น ยนต์ ท�ำความสะอาด หุ่นยนต์บริกรในร้านอาหาร ๓. หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robot) เช่น ช่วยกายภาพบ�ำบัด ช่วยแพทย์ผ่าตัดที่สามารถ เปิดแผลให้มีขนาดเล็ก

Anti-IED robot known as the “Dragon Runner” in London. Robotic systems to Navy EOD Officer The robot fits in a backpack


48

๔. หุ่นยนต์ทางการทหาร (Military Robot) ช่วยการทหารทั้งสอดแนม แบกสัมภาระ ตรวจสอบ สภาพพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัยต่าง ๆ หรือใช้ตอบโต้ฝา่ ยตรงข้าม เช่น หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด อากาศยานไร้คนขับ ๕. หุ่นยนต์เพื่อการศึกษา (Education Robot) ใช้ศึกษาการท�างานพื้นฐานของหุ่นยนต์ และช่วยฝึก ทักษะด้านส่วนประกอบทางกลและอิเล็กทรอนิกส์ ๖. หุ่นยนต์ส�ารวจ (Survey Robot) ใช้ส�ารวจ และเก็ บ ข้ อ มู ล ทั้ ง ภาคพื้ น ดิ น ทางอากาศ ใต้ น�้ า หรืออวกาศ ๗. หุ่นยนต์เพื่อความบันเทิง (Entertainment and PR Robot) พัฒนาให้ตอบสนองและโต้ตอบ กับมนุษย์ได้ เช่น หุ่นยนต์ประชาสัมพันธ์ ๘. หุ่นยนต์เพื่อการเกษตรกรรมและปศุสัตว์ (Agricultural and Livestock Robot) ช่วยผ่อนแรง และท�างานเฉพาะอย่าง เช่น การรีดนมวัว วิทยาการหุน่ ยนต์เป็นวิชาทีศ่ กึ ษาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ หุ ่ น ยนต์ (Robot Technology) ระบบหุ่นยนต์ (Robot System) และ

Rancher Robot

ความสามารถของหุ่นยนต์ (Robotic Capability) เพื่อน�าไปออกแบบผลิต หรือประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์ การพัฒนาหุน่ ยนต์ทางทหารมาจากความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีดา้ นระบบอัตโนมัติ และระบบเซ็นเซอร์ ในปั จ จุ บั น หุ ่ น ยนต์ ท หารมี ก ารติ ด ตั้ ง ระบบอาวุ ธ อัตโนมัติ และมีระบบป้องกันความผิดปกติ ประกอบกับ การเข้าหลายรหัสและหลายอัลกอริทึม และเพิ่ม เทคโนโลยีล�้าสมัยทางทหาร ในด้าน ML (Machine Learning) หุ่นยนต์อัจฉริยะฟังก์ชั่นสูงนี้ออกแบบ

HP RoboCop patrols the ParkTALON robot


ข าวทหารอากาศ

เพือ่ เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ทงั้ กองทัพบก กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ ต่างพัฒนาการสร้างหุน่ ยนต์ทางทหาร ชนิดเคลื่อนที่รูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ หุ่นยนต์ภาคพื้น (Ground Robot) กองทัพสหรัฐฯ ใช้ยานพาหนะภาคพื้นแบบ อัตโนมัตแิ ละกึง่ อัตโนมัติ ทัง้ ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ตัวอย่างเช่น PackBot ซึง่ เคลือ่ นทีไ่ ด้เหมือนรถถังเล็ก ๆ ๘ ไมล์ตอ่ ชัว่ โมง ติดตัง้ กล้องอุปกรณ์สอื่ สารและแขนกล ออกแบบส�าหรับปฏิบัติการลาดตระเวน ค้นหาและ การระเบิ ด วั ต ถุ ร ะเบิ ด แสวงเครื่ อ ง Improvised Explosive Device : IED สามารถพกพาไปกับทหาร ในกระเปาเป้สะพายหลังน�า้ หนักประมาณ ๑๘ กิโลกรัม คุมโดย Pentium processor ใช้ระบบ GPS เข็มทิศ อิเล็กทรอนิกส์เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ และทนทานต่อ การกระแทกพื้นคอนกรีตที่ระยะความสูง ๑.๘ เมตร Talon SWORDS (Special Weapons Observation Reconnaissance Detection System) สามารถติดตัง้ ปืนกล M240, M249 หรือ Barrett 50 caliber rifles เครื่องยิงลูกระเบิดขนาดเล็กหรือจรวดต่อต้านรถถัง กล้อง และเซ็นเซอร์อื่น ๆ ใช้ GPS ในการน�าทาง อัตโนมัตไิ ปยังเป้าหมายเฉพาะและยิงอาวุธโดยทหาร ที่ควบคุมอยู่ในระยะที่ปลอดภัย หุ่นยนต์ทางอากาศ (Aerial Robot) กองทัพใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ซึง่ สามารถ

49

RQ7B Shadow 200 UAV can be catapult launched from a hydraulic rail launcher.

RQ-4A Global Hawk UAV

บิ นด้ วยระบบอั ต โนมั ติ ไม่ มีนัก บิ นในอากาศยาน ควบคุ ม จากสถานี ภ าคพื้ น ดิ น โดยสื่ อ ลารทางไกล ทั้ ง วิ ดี โ อและเสี ย งไปยั ง กองก� า ลั ง ภาคพื้ น ติ ด ตั้ ง อุปกรณ์และเซ็นเซอร์หลายชนิด เช่นเรดาร์ EO/IR Sensor ใช้ในภารกิจลาดตระเวน ค้นหาระบุและ


50

ติดตามเป้าหมายศัตรูและอากาศยานโจมตีไร้คนขับ (UCAV) บรรทุกอาวุธและอาวุธน�าวิถีโจมตีเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น Predator UCAV, Reaper UCAV ส�าหรับ Shadow UAV เป็นอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี ความยาว ๓.๔๑ เมตร ปีกกว้าง ๓.๘๗ เมตร เพดานบิน ๑๕,๐๐๐ ฟุต ความทนทาน ๖ ชัว่ โมง พิสยั บิน ๑๐๙.๕ กิโลเมตร ยิงจากเครือ่ งส่ง Catapult, RQ-4A Global Hawk UAV เป็นอากาศยานไร้คนขับเฝ้าระวังจาก ระยะไกลที่มีความสูงระดับสูง ความยาว ๑๔.๕ เมตร ปีกกว้าง ๓๙.๙ เมตร เพดานบิน ๖๐,๐๐๐ ฟุต ความทนทาน ๓๒ ชัว่ โมง พิสยั บิน ๒๒,๗๘๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังพัฒนาอากาศยานขนาดเล็ก (Micro Air Vehicles) ซึ่งสามารถบรรทุกกล้อง และส่งภาพ มาที่ฐานทัพ หุ่นยนต์ทางนาวี (Marine Robot) กองทั พ เรื อ พั ฒ นาเรื อ ผิ ว น�้ า อั ต โนมั ติ และ Unmanned Underwater Vehicle (UUV) ส�าหรับ การเฝ้าระวัง ลาดตระเวน การสงครามต่อต้านเรือด�าน�า้ การตรวจจับทุน่ ระเบิดและสมุทรศาสตร์ ตัวอย่างเช่น Sea Hunter เป็น Autonomous unmanned surface vehicle ซึ่งมีความสามารถในการเดินเรือ

Drone warship Sea Hunter of the U.S. Navy is powered by artificial intelligence

อัตโนมัติ ความยาว ๔๐ เมตร ความเร็ว ๒๗ นอต น�้าหนัก ๑๓๕ ตัน ความทนทาน ๓๐-๙๐ วัน พิสัย ๑๐,๐๐๐ ไมล์ทะเล วิทยาการพัฒนาหุ่นยนต์ทางทหาร การสื่อสารขั้นพื้นฐานของหุ่นยนต์ คือ ปัญญา ประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ซึง่ ช่วยให้หนุ่ ยนต์ เข้าใจความหมายเชิงกลุ่มค�าและประโยค หรือการ ตีความหมาย เช่น การพัฒนาให้จดจ�าใบหน้าและ ท่าทางการเคลื่อนไหวด้วยเทคโนโลยีการมองเห็น ของหุ ่ น ยนต์ ที่ ใ ช้ ก ล้ อ งเป็ น ตั ว รั บ ภาพ และการ ประมวลผลภาพในคอมพิวเตอร์ ซึ่งในบางระบบผู้ใช้ สามารถใช้เสียงในการสัง่ งานหุน่ ยนต์ผา่ นการจดจ�าเสียง

BigDog - Boston Dynamics


ข่าวทหารอากาศ

โดยหุ่นยนต์จะโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยท่าทางผ่านทาง จอแสดงภาพ หรือผ่านทางล�ำโพงด้วยเสียงสังเคราะห์ นอกจากนีต้ อ้ งพัฒนาด้านการเคลือ่ นที่ (Locomotion) ที่ใช้ความรู้ด้านพลศาสตร์การพัฒนาอุปกรณ์ขับเร้า (Actuator) ท�ำให้หุ่นยนต์มีประสิท ธิภาพในการ ขับเคลื่อนมากขึ้น ด้านการน�ำทาง (Navigation) มี ก ารติ ด ตั้ ง อุ ป กรณ์ ร ะบุ ต� ำ แหน่ ง และการน� ำ ทาง ที่มีประสิทธิภาพ เช่น สัญญาณดาวเทียมหรือระบบ อัลตร้าโซนิค ด้านการเคลือ่ นย้ายชิน้ งาน (Manipulation) การเคลื่อนไหวของแขนหุ่นยนต์ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับงาน และสามารถปรับเปลี่ยนได้

51

การประยุกต์ใช้ AI ในกองทัพ ในด้าน ISR (Intelligence Surveillance and Reconnaissance) เช่น โครงการ “Mavan” เป็นการ รวมเข้าด้วยกันของคอมพิวเตอร์วิทัศน์ และ ML อัลกอริทึม (Machine Learning) ในเซลล์รวบรวม ข่าวกรอง ซึ่งจะค้นหาอย่างละเอียด และส่งภาพจาก UAV โดยก�ำหนดเป้าหมายและระบุกิจกรรมศัตรู โดยอัตโนมัติ การใช้ AI มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การ วิเคราะห์ การรับรู้ภาพ และการท�ำนายเป็นไปโดย อั ต โนมั ติ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และทั น เวลา ในด้ า น Command and Control กองทัพอากาศสหรัฐฯ พัฒนาระบบ Multi–Domain Command and Control (MDC2) ซึง่ มีจดุ มุง่ หมายทีจ่ ะรวมศูนย์กลาง การวางแผนและการด�ำเนินการปฏิบตั กิ ารทางอากาศ อวกาศ ทะเล และภาคพืน้ และก�ำลังพัฒนา AI ในการ รวมข้อมูลจากเซ็นเซอร์ทุกโดเมน เพื่อสร้างแหล่ง ข้อมูลเดียว ทีเ่ รียกว่า “Common operating picture” ส�ำหรับผูต้ ดั สินใจ เพราะปัจจุบนั ข้อมูลส�ำหรับผูต้ ดั สินใจ มาจากรูปแบบที่แตกต่างกันจากหลายแพลตฟอร์ม


52

โดย AI สามารถใช้งานรูปภาพทัว่ ไปรวมข้อมูลในหนึง่ จอแสดงผล ให้ภาพทีค่ รอบคลุมกองก�ำลังฝ่ายพันธมิตร และศัตรู แก้ไขผลต่างจากข้อมูลเข้าโดยอัตโนมัติ และระบบสามารถเข้าถึงเซ็นเซอร์ใด ๆ ที่จะให้ข้อมูล กับผู้ตัดสินใจเพื่อบรรลุเป้าหมาย ในขณะทีย่ ทุ ธศาสตร์และยุทธวิธที างทหารก�ำลัง ปรับปรุงอย่างต่อเนือ่ ง ทุกเหล่าทัพด�ำเนินงานเพือ่ เสริม ก�ำลัง AI เข้ามาในระบบยานพาหนะกึ่งอัตโนมัติ และอัตโนมัติ รวมทัง้ เครือ่ งบินรบ อากาศยานไร้คนขับ ยานพาหนะ ภาคพื้น และเรือเดินทะเล ซึ่งใช้ AI เทคโนโลยีเพื่อรับรู้สภาพแวดล้อม จ�ำแนกอุปสรรค

รวมข้อมูลจากเซ็นเซอร์ การน�ำทางตามแผนการ และสื่อสารกับยานพาหนะอื่น ๆ จึงจ�ำเป็นต้องมีการ ปรับปรุงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลในฐานทัพ เช่น ข้อมูล ทีร่ วบรวมจากอากาศยานไร้คนขับและหุน่ ยนต์ทหาร ขณะที่อยู่ในสนามรบจะต้องมีโครงสร้างและจัดกลุ่ม ในลักษณะที่เป็นระเบียบ เพื่อท�ำให้ข้อมูลภาพถ่าย ดาวเทียม ข้อมูลภูมิประเทศ และข้อมูลจากเซ็นเซอร์ ต่าง ๆ สามารถใช้สร้างการรับรูส้ ถานการณ์โดยใช้การ วิเคราะห์ทางสถิตอิ ลั กอริทมึ และการเรียนรูอ้ ย่างลึกซึง้ (Deep learning) ซึ่งมีบทบาทส�ำคัญในการพัฒนา หุ่นยนต์ทางทหารระบบอัตโนมัติต่อไป

อ้างอิง - http://en.wikipedia.org - www.marketstandmarkets.com - www.airforce-technology.com - www.defense-update.com - www.science.howstuff, works.com - Artificial Intelligence and National security, Update November 21,2019 - Autonomous Military Robotics: Risk, Ethics, and Design


ข าวทหารอากาศ

53

ผ อนรถยังไม ครบสัญญา นําไปจํานําหรือขายต อ มีผลทางกฎหมายอย างไร ร.อ.ชานุวัฒน์ แสงสุวรรณ รรก.นายทหารพระธรรมนูญ บน.๑

กรณีที่เราไปเช่าซื้อรถกับไฟแนนซ์ยังผ่อนช�าระ ค่าเช่าซือ้ ไม่ครบตามสัญญา กรรมสิทธิใ์ นรถคันดังกล่าว ยังเป็นของไฟแนนซ์ ผูเ้ ช่าซือ้ มีแต่เพียงสิทธิครอบครอง ตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถ เพราะยังผ่อนช�าระค่าเช่าซื้อไม่หมด ในระหว่างที่ยังผ่อนช�าระค่าเช่าซื้อรถไม่หมด หากน�ารถไปขายต่อหรือน�าไปจ�าน�า ถือเป็นการเบียดบัง เอาทรั พ ย์ ข องผู ้ อื่ น มี ค วามผิ ด ฐานยั ก ยอกทรั พ ย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๒ “ผู้ใด ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อ่ืน เป็ น เจ้ าของรวมอยู่ด ้ว ย เบีย ดบัง เอาทรั พ ย์ นั้ น เป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระท�า ความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจ�าคุกไม่เกิน สามป หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทัง้ จ�าทัง้ ปรับ” อย่างไรก็ตาม ความผิดฐานยักยอกเป็นความผิด อาญาที่ยอมความได้ ดังนั้น ตราบใดที่เรายังผ่อน ค่างวดอยู่ ไฟแนนซ์คงไม่แจ้งความด�าเนินคดีกับเรา แต่เมื่อใดก็ตามหากเราไม่ผ่อนช�าระค่างวด เราจะถูก ด�าเนินคดีในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ พร้อมเรียก ค่าเสียหายอีกด้วย แต่ในปัจจุบัน มีหลาย ๆ กรณีเกิดขึ้น คือ น�ารถ ที่ยังผ่อนไม่หมดไปจ�าน�าเพื่อน�าเงินมาหมุน ซึ่งพอ จ�าน�าแล้วจะไถ่รถคืน ปรากฏว่ารถหาย หรือไม่ยอม คืนรถ เราจะมีสิทธิด�าเนินคดีเพื่อจะน�ารถกลับคืน ได้หรือไม่ ในกรณีเช่นนี้ ย่อมเกิดภาวะกลืนไม่เข้า คายไม่ออก หรือไม่กล้าแจ้งไฟแนนซ์ หรือไปแจ้งความ

ด� า เนิ น คดี ต� า รวจก็ ไ ม่ รั บ แจ้ ง ความ บอกเป็ น คดี ทางแพ่งบ้าง อะไรบ้าง จากเหตุ ก ารณ์ ดั ง กล่ า วเกิ ด ขึ้ น ค่ อ นข้ า งมาก ซึ่งเมื่อน�ารถไปจ�าน�าแล้ว ในกรณีที่จ่ายเงินต้นและ ดอกเบี้ยตามสัญญาแล้ว ปรากฏว่าฝ่ายผู้รับจ�าน�า ไม่ยอมคืนรถ เช่นนี้ผู้เช่าซื้อที่น�ารถไปจ�าน�าจะมีสิทธิ ตามกฎหมายอย่างไรบ้างนัน้ ในเรือ่ งดังกล่าวมีปญ ั หา ในทางกฎหมายที่น่าสนใจหลายประเด็น ดังจะกล่าว ต่อไปนี้ เมือ่ ผูเ้ ช่าซือ้ รูต้ วั ว่าถูกโกงรถ ไปแจ้งความร้องทุกข์ ต่อเจ้าพนักงานต�ารวจหรือพนักงานสอบสวน ซึง่ มักจะ ไม่รบั แจ้งความ โดยอาจอ้างว่า ผูเ้ ช่าซือ้ ไม่ใช่ผเู้ สียหาย เพราะไม่ใช่เจ้าของ ซึ่งในประเด็นนี้ ศาลได้ตัดสินไว้ หลายคดี ว่าผูเ้ ช่าซือ้ เป็นผูเ้ สียหายทีม่ สี ทิ ธิรอ้ งทุกข์ได้ เช่น ค�าพิพากษาฎีกาที่ ๗๘๓๒/๒๕๕๖ จ�าเลย กับพวกร่วมกันยักยอกรถยนต์ของผูเ้ สียหายที่ ๑ ซึง่ เป็น ผูใ้ ห้เช่าซือ้ ขณะอยูใ่ นความครอบครองของผูเ้ สียหาย ที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ เมื่อในขณะกระท�าความผิด ผู้เสียหายที่ ๒ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ รถยนต์ทเี่ ช่าซือ้ ดังกล่าว การกระท�าของจ�าเลยกับพวก ย่อมท�าให้ผู้เสียหายที่ ๒ ได้รับความเสียหายโดยตรง แม้ผู้เสียหายที่ ๒ จะไปแจ้งความร้องทุกข์ในฐานะ ผูร้ บั มอบอ�านาจจากผูเ้ สียหายที่ ๑ แต่กถ็ อื ว่าได้รอ้ งทุกข์ ในฐานะที่ผู้เสียหายที่ ๒ เป็นผู้เสียหายด้วยเช่นกัน ผูเ้ สียหายที่ ๒ จึงเป็นผูเ้ สียหายในคดีนี้ และย่อมมีอา� นาจ ในการถอนค�าร้องทุกข์ เมือ่ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์


54

เป็นความผิดต่อส่วนตัวและคดียงั ไม่ถงึ ทีส่ ดุ ผูเ้ สียหาย ขอถอนค�ำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อปรากฏว่าก่อน ศาลชัน้ ต้นมีคำ� สัง่ รับฎีกา ผูเ้ สียหายที่ ๒ ถอนค�ำร้องทุกข์ สิทธิน�ำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๒) ค�ำพิพากษาฎีกาที่ ๘๙๘๐/๒๕๕๕ แม้โจทก์รว่ ม เป็นเพียงผู้เช่าซื้อ แต่ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิครอบครอง ใช้ประโยชน์จากรถทีเ่ ช่าซือ้ และมีหน้าทีต่ อ้ งส่งมอบรถ ที่เช่าซื้อคืนแก่ผู้ให้เช่าซื้อ หากมีกรณีต้องส่งคืนเมื่อมี ผู้ยักยอกรถนั้นไป โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหาย โจทก์รว่ มจึงเป็นผูเ้ สียหายมีอำ� นาจร้องทุกข์และขอเข้าร่วม เป็นโจทก์กบั พนักงานอัยการได้ โดยไม่จำ� เป็นต้องได้รบั มอบอ�ำนาจจากผู้ให้เช่าซื้อ และการที่ผู้ให้เช่าซื้อ มอบอ�ำนาจให้โจทก์รว่ มไปร้องทุกข์กถ็ อื ได้วา่ โจทก์รว่ ม ร้ อ งทุ ก ข์ ใ นฐานะที่ ต นเป็ น ผู ้ เ สี ย หายด้ ว ย ดั ง นั้ น ไม่วา่ ผูล้ งชือ่ ในฐานะผูใ้ ห้เช่าซือ้ ในหนังสือมอบอ�ำนาจ ให้โจทก์ร่วมไปร้องทุกข์จะเป็นผู้มีอ�ำนาจลงชื่อหรือ เป็นเจ้าของรถทีแ่ ท้จริงหรือไม่ และหนังสือมอบอ�ำนาจ มีขอ้ ความถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่กไ็ ม่มผี ลลบล้าง การที่โจทก์ร่วมร้องทุกข์ในฐานะที่ตนเป็นผู้เสียหาย แม้โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้น�ำบันทึก และหลักฐาน การรับค�ำร้องทุกข์มาน�ำสืบ แต่จ�ำเลยก็เบิกความ ยอมรับว่าโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์จริง กรณีนี้จงึ ถือได้วา่ โจทก์ร่วมร้องทุกข์โดยชอบ พนักงานสอบสวนย่อมมี อ�ำนาจสอบสวน โจทก์จึงมีอ�ำนาจฟ้อง ค�ำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๕๔/๒๕๕๒ จ�ำเลยยักยอก รถที่เช่าซื้อขณะอยู่ในความครอบครองใช้ประโยชน์ ของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจึงเป็นผู้ได้รับความเสียหาย จากการกระท�ำของจ�ำเลยโดยตรง ดังนั้น แม้ผเู้ ช่าซือ้ จะแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำ� เนินคดีแก่จำ� เลยในความผิด ฐานยักยอกในฐานะผู้รับมอบอ�ำนาจจากผู้ให้เช่าซื้อ ก็ตาม ก็ถอื ได้วา่ ได้รอ้ งทุกข์ในฐานะเป็นผูเ้ สียหายเอง ด้วยเช่นกัน ผู้เช่าซื้อย่อมมีอ�ำนาจถอนค�ำร้องทุกข์ ในฐานะทีเ่ ป็นผูเ้ สียหายด้วยคนหนึง่ ได้ ค� ำ พิ พ ากษาฎี ก าที่ ๗๙๖๐/๒๕๕๑ แม้ ต าม สั ญ ญาเช่ า ซื้ อ จะมี ข ้ อ สั ญ ญาห้ า มมิ ใ ห้ ผู ้ เ ช่ า ชื้ อ

น�ำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจ�ำหน่ายให้แก่บุคคลอื่นก็ตาม ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เสียหาย ซึ่งจะต้อง ไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง ทั้งข้อเท็จจริงยังได้ความ จากค� ำ เบิ ก ความของผู ้ เ สี ย หายว่ า ผู ้ เ สี ย หายแจ้ ง ให้บริษทั ผูใ้ ห้เช่าซือ้ ทราบแล้วว่าจะท�ำสัญญาเปลีย่ นตัว ผูเ้ ช่าซือ้ เป็นจ�ำเลย เมือ่ จ�ำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวง ผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์แก่จ�ำเลย การกระท�ำ ของจ�ำเลยจึงเป็นการกระท�ำต่อผู้เสียหายโดยตรง โดยผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระท�ำความผิด ฐานฉ้อโกงด้วย อีกทั้งขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็น ผูค้ รอบครองและใช้ประโยชน์จากรถยนต์คนั ดังกล่าว ในฐานะผูเ้ ช่าซือ้ จึงเป็นผูเ้ สียหายตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔) ผู้เสียหาย จึงมีอ�ำนาจร้องทุกข์ให้ด�ำเนินคดีแก่จ�ำเลยได้ ประเด็นต่อมา การตัง้ ข้อกล่าวหาผูท้ มี่ ารับจ�ำน�ำรถ ปัญหาที่เกิดขึ้นในคดีรับจ�ำน�ำรถ จะมีความผิด ทีเ่ ข้ามาเกีย่ วข้อง คือ ความผิดฐานฉ้อโกง และยักยอก แต่ พ นั ก งานสอบสวนมั ก จะตั้ ง ข้ อ หายั ก ยอกเพี ย ง ข้อหาเดียว โดยมองว่าผู้รับจ�ำน�ำซึ่งไม่ยอมคืนรถ ได้ครอบครองรถคันนั้นอยู่แล้ว และมีเจตนาทุจริต เบี ย ดบั ง เอารถคั นนั้ นไป ในขณะที่ ร ถอยู ่ ในความ ครอบครอง แต่ถา้ พิจารณาโดยละเอียดแล้วจะเห็นว่า ผูท้ รี่ บั จ�ำน�ำรถมีพฤติการณ์คอื ใช้กลอุบายท�ำทีวา่ รับจ�ำน�ำรถ ทั้งที่ความจริงคือมีเจตนาหลอกลวงให้มีคนเอารถ มาจ�ำน�ำ เมื่อได้รถจากผู้น�ำมาจ�ำน�ำแล้ว ก็จะน�ำรถ ไปขายต่อหรือไม่ยอมคืนรถ การกระท�ำของผูร้ บั จ�ำน�ำ ในลักษณะนี้ย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกง เพราะมี เจตนาโดยทุ จ ริ ต มาตั้ ง แต่ ต ้ น และแสดงข้ อ ความ อันเป็นเท็จ เอาทรัพย์ไป จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงสรุปได้ว่า ในระหว่าง ที่เรายังผ่อนช�ำระค่าเช่าซื้อรถไม่หมด หากน�ำรถ คันดังกล่าวนัน้ ไปจ�ำน�ำหรือขายต่อ ถือเป็นการเบียดบัง เอาทรัพย์ของผู้อื่น ซึ่งมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาทหรือทั้งจ�ำทั้งปรับ


ข่าวทหารอากาศ

55


56

ASEAN Community Little Tidbits เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน @Zilch

National Animal of Myanmar สัตว์ประจ�าชาติของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

Indochinses Tiger

The national animal of Myanmar is the Indochinese Tiger. Panthera Tigris Corbetti is its scientific name. Tigers are now protected in Myanmar. Indochinese tigers are carnivores, which mean that they like to chow down on meat. The color and stripes on the Indochinese tiger's fur help it camouflage (blend) into the forest where it lives. This lets it sneak up on prey and pounce on it. Once they get their prey to the ground, tigers use their large, sharp teeth to bite and kill the prey. Indochinese tigers like hot and humid forests. That's because they can hide out in the shadows and sneak around looking for food in the forest.

เสือโคร่งอินโดจีน

สั ต ว์ ป ระจ� ำ ชำติ ข องสำธำรณรั ฐ แห่ ง สหภำพ เมียนมำคือ เสือโคร่งอินโดจีน มีชื่อทำงวิทยำศำสตร์ ว่ำ แพนธีรำ ไทกริสคอร์เบตติ ในปัจจุบันเสือโคร่ง อินโดจีนได้รบั กำรคุม้ ครอง ในสำธำรณรัฐแห่งสหภำพ เมียนมำ เสือโคร่งอินโดจีนเป็นสัตว์กนิ เนือ้ นัน่ หมำยถึง พวกมันชอบกินเนือ้ เป็นอำหำร สีขนและลำยพำดกลอน บนตัวของเสือโคร่งอินโดจีนนั้น ช่วยให้มันพรำงตัว และกลมกลืนไปกับป่ำที่มันอำศัยอยู่ กำรพรำงตัวนี้ ท�ำให้มันสำมำรถย่องเข้ำหำเหยื่อและจู่โจมเหยื่อ ได้ อ ย่ ำ งรวดเร็ ว เมื่ อ เสื อ โคร่ ง อิ น โดจี น จั บ เหยื่ อ กดลงกับพืน้ พวกมันจะใช้เขีย้ วขนำดใหญ่อนั แหลมคม กั ด เหยื่ อ จนตำย เสื อ โคร่ ง อิ น โดจี น ชอบอำศั ย อยู ่ ในแถบป่ำร้อนชื้น เนื่องจำกพวกมันสำมำรถซ่อนตัว ในร่มเงำของต้นไม้ได้ อีกทั้งยังแอบออกหำอำหำร ได้อย่ำงเงียบ ๆ

ข้อมูลจาก : https://seasia.co/2018/01/28/national-animals-of-southeast-asian-countries https://study.com/academy/lesson/indochinese-tiger-facts-lesson-for-kids.html รูปจาก : https://seasia.co/2018/01/28/national-animals-of-southeast-asian-countries http://www.wwf.or.th https://www.greenpeace.org/thailand/story/2297/tiger-king-of-forest/


ข าวทหารอากาศ

มุมท องเที่ยว

Along The River

á

ม่นา�้ เจ้าพระยาเปรียบเสมือนเส้นเลือดเส้นใหญ่ ของประเทศไทยที่หล่อเลี้ยงชีวิตที่อยู่ริมสองฝั่ง แม่นา�้ เจ้าพระยามาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ริมสองฝั่ง แม่ น�้ า ประดุ จ สั ญ ลั ก ษณที่ บ อกเล่ า เรื่ อ งราวของ คนเมืองกรุง ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม บ้าน วัด วัง ร้านรวงต่าง ๆ ที่ขายอาหาร รวมถึงสถานที่ต่าง ๆ ทีเ่ ป็นสถานทีส่ า� คัญในเหตุการณ์ตา่ ง ๆ ของประเทศไทย วันนีผ้ เู้ ขียนจึงอยากจะเชิญชวนทุกท่านทีพ่ อจะมีเวลาว่าง ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ไปนัง่ เรือชมริมสองฝัง่ แม่นา�้ เจ้าพระยา เพือ่ สัมผัสวิถชี วี ติ ทีเ่ รียบง่ายแต่เต็มไปด้วย กลิน่ อายของวัฒนธรรมของชาติไทย เราไปกันเลยดีกว่าค่ะ

กันตา

57


58

เราเริ่ ม ต้ น กั น ที่ ท ่ า น�้ ำ ตลาดจั ง หวั ด นนทบุ รี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “ท่าน�้ำนนท์” เพื่อที่จะมา ขึ้ น เรื อ ด่ ว นเจ้ า พระยา ที่ จ ะเป็ น พระเอกพาเรา ท่ อ งเที่ ย วกั น ในวั น นี้ ตั๋ ว เรื อ ด่ ว นเจ้ า พระยาจะมี ๒ แบบ แบบแรกคือตั๋วโดยสารแบบไม่จ�ำกัดเที่ยว ขึ้นได้ทั้งวัน ตั้งแต่ ๐๖.๐๐ น. ถึง ๑๘.๐๐ น. ราคา ค่าตั๋ว ๑๘๐ บาท/วัน อีกแบบหนึ่งสามารถซื้อได้ ทีท่ า่ เรือราคา ๔๐ บาท/เทีย่ ว ถ้าหากเราจะเทีย่ วทัง้ วัน ไปหลายที่ แบบเหมาจะคุม้ กว่า แต่ถา้ เรามีจดุ มุง่ หมาย ทีจ่ ะแวะแค่จดุ สองจุด ก็ซอื้ เอาทีท่ า่ เรือนัน้ ๆ จะดีกว่า เรือจะเข้าเทียบท่าทุก ๆ ๑๕ นาที เรือด่วนเจ้าพระยา สังเกตง่าย ๆ จะมี “ธงสีฟ้า” ติดที่เรือทุกล�ำและ ที่ท่าเรือ ส่วนในวันนี้เนื่องจากเรามีที่หมายหลายที่ จึงเลือกซื้อตั๋วแบบไม่จ�ำกัดเที่ยว เราเดินทางออกจากท่าน�้ำนนท์ผ่านริมฝั่งแม่น�้ำ เจ้าพระยาจะได้เห็นทั้งวัดวาอาราม บ้านเรือนแบบ ต่าง ๆ ผ่านสะพานพระราม ๗ ที่อยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้า พระนครเหนือ สะพานพระราม ๖ หรือสะพานซังฮี้ จนในทีส่ ดุ ก็ถงึ ทีห่ มายแรกของเรา ตลาดเทวราชหรือ ที่คนในย่านนี้เรียกกันว่า “ตลาดเทเวศร์” ตลาดเทเวศร์ คือแหล่งรวมพืชผักอาหารสด ที่คึกคักตั้งแต่เช้ามืด แผงผักสด เนื้อหมูเรียงราย เป็นทางยาวตลอดแนวคลอง เดินไปถึงช่วงท้าย ๆ จะเป็นแผงขายปลานานาชนิด ส�ำหรับน�ำไปปล่อย แม้ ต ลาดต้ น ไม้ ริ ม คลองจะหายไปแล้ ว จนท� ำ ให้ เงียบเหงาลงไปบ้าง แต่ยามเช้าของตลาดแห่งนีไ้ ม่เคย ร้างผู้คน ยังคงเต็มไปด้วยพ่อค้าแม่ค้าและผู้คนที่มา จับจ่ายซื้อของสดกันอย่างเนืองแน่น


ข่าวทหารอากาศ

ทีเ่ ชิงสะพานพระราม ๘ ใกล้กนั กับวังบางขุนพรหม วังแสนสวยริมแม่น�้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีศูนย์การเรียนรู้ เปิดใหม่ทใี่ ครต่อใครต่างกล่าวขวัญถึง มีชอื่ ว่าศูนย์การ เรียนรูธ้ นาคารแห่งประเทศไทย อดีตโรงพิมพ์ธนบัตร ที่ ไ ด้ รั บ การปรั บ ปรุ ง อย่ า งประณี ต คิ ด มาครบเพื่ อ ตอบสนองความต้องการของคนเมือง มีทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ Co-working Space ร้านกาแฟ และห้อง ประชุมใหญ่ พืน้ ทีก่ ว้างขวาง นัง่ สบาย แถมยังออกแบบ มาเป็นอย่างดี ทั้งในแง่การอนุรักษ์โครงสร้างเก่าไว้ ให้เห็นร่องรอยของอดีต เช่น ผนังและเสาประดับ กระเบื้องชิ้นเล็กจิ๋วสีขาว ที่เรียงรายอยู่ทั่วอาคาร ฝั่งที่ติดกับแม่น�้ำเปิดโล่งให้เห็นวิวสวย ๆ ของแม่น�้ำ เจ้าพระยายามพักสายตาจากตัวหนังสือ ตัวพิพธิ ภัณฑ์ จัดแสดงในพื้นที่ ๔ ชั้น เดิมทีเ่ ป็นห้องมั่นคง หรือห้อง ที่ใช้เก็บธนบัตรและทองค�ำ ปัจจุบันกลายเป็นแหล่ง เรียนรู้สุดล�้ำ เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ และการเงินตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน นอกจากจะ อัดแน่นไปด้วยความรู้สนุก ๆ แล้วยังมีวัตถุโบราณ เหรียญ ธนบัตรล�้ำค่า ทั้งของจริงและแบบจ�ำลอง มาให้เราได้ชมและลูบคล�ำสัมผัสจริง ๆ กันอีกด้วย

59


60

เราแวะที่ตลาดเทเวศน์ และเดินเรื่อยไปจนถึง ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ขึ้นเรือต่อ จากท่าเทเวศน์มาถึงท่าพระอาทิตย์ ท่าเรือนี้คึกคัก ตลอดทั้งวัน เพราะอยู่ใกล้แหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ อย่างตรอกไก่แจ้ ตรอกเขียนนิวาสน์ ไม่ไกลจาก แหล่ ง บั น เทิ ง ยามค�่ ำ คื น อย่ า งถนนข้ า วสารและ แหล่ ง บั น เทิ ง กระเพาะอาหารริ ม ถนนพระสุ เ มรุ มาทีน่ รี่ บั รองว่ามีกจิ กรรมให้ทำ� มีของอร่อยให้เลือกชิม กันทั้งวัน ร้านอาหารเก่าแก่ที่ขายมากว่า ๔๐ ปี มีสารพัดเมนูให้เลือก ทั้งข้าวราดแกง ขนมจีนซาวน�้ำ ข้าวคลุกกะปิ ข้าวผัดน�้ำพริกลงเรือ ตบท้ายด้วย ขนมหวาน ที่ จ ะแตกต่ า งกั น ไปในแต่ ล ะวั น มี ทั้ ง ข้าวฟ่างน�้ำกะทิ ขนมไทยหากินยาก รสหวาน ๆ เค็ม ๆ ทับทิมกรอบ เคี้ยวเพลิน น่ารักตรงที่แยกน�้ำแข็ง มาให้เราตักเองจะได้ไม่ละลายระหว่างกินอาหาร ส่วนขนมอินทนิลมีเฉพาะวันจันทร์เท่านั้น แนะน�ำว่า

มาช่วงเช้าจะได้กินทุกอย่างที่หวังไว้แน่นอน เพราะ หลังเทีย่ งร้านจะแน่นไปด้วยคนย่านนี้ ทีม่ าฝากท้องกัน อย่างคึกคัก ความพิเศษของร้านนี้คือมีเมนูใหม่ ๆ มาให้เราได้ลนุ้ ทุกวันว่าจะได้ชมิ อะไรบ้าง ใกล้ ๆ กันนัน้ คือ "สวนสาธารณะสันติชยั ปราการ" สวนสาธารณะ อันแสนร่มรื่นบนถนนพระอาทิตย์ มีผู้คนแวะเวียน มานั่งเล่น นอนหลับพักผ่อนหย่อนใจ ทั่วบริเวณสวน แห่งนี้ตลอดทั้งวัน สวนแห่งนี้อยู่ติดกับป้อมพระสุเมรุ สูงตระหง่าน รอบสวนมีเกสต์เฮาส์เล็ก ๆ ริมคลอง บางล�ำพู ที่บรรยากาศดีจนเราอยากจะขอหย่อนตัว ลงนอนบนเปลหน้าบ้านให้รแู้ ล้วรูร้ อด เพราะนอกจาก อากาศจะเย็ น สบายใต้ ร ่ ม ไม้ แ ล้ ว ยั ง เพลิ ด เพลิ น ไปกับเสียงน�้ำสาดกระเซ็นชวนให้ผ่อนคลายสุด ๆ จนเราต่างยกให้บริเวณนี้เป็นพื้นที่แห่งความชิลล์ อย่างแท้จริง นั่งนานกว่านี้อาจจะเคลิ้มหลับไปได้ ไม่รู้ตัว


ข่าวทหารอากาศ

เพื่อให้การท่องเที่ยวครบทุกรสชาติทั้งบันเทิง นันทนาการ อาหาร และความรู้ “พิพิธบางล�ำพู” จึ ง นั บ เป็ น อี ก จุ ด หมายใกล้ ๆ ท่ า พระอาทิ ต ย์ ที่ เราไม่ควรพลาด “พิพิธบางล�ำพู” ตั้งอยู่บนถนน พระอาทิตย์ ริมคลองบางล�ำพู ใกล้กับป้อมพระสุเมรุ โดยกรมธนารักษ์ด�ำเนินการบูรณะซ่อมแซมอาคาร โรงพิมพ์คุรุสภา (โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช) ซึ่งเป็น โรงพิมพ์คุรุสภาและเป็นสถานที่ฝึกสอนช่างพิมพ์ แห่งแรกของประเทศไทย มีประวัติศาสตร์มาอย่าง ยาวนาน ตัง้ แต่สมัยรัชกาลที่ ๑ และได้ขนึ้ ทะเบียนเป็น โบราณสถานอาคารจากกรมศิลปากรเมือ่ ปี พ.ศ.๒๕๔๓ เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ และศูนย์การเรียนรู้เชิงการศึกษาวัฒนธรรมชุมชน เป็นพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ ซึ่งประยุกต์การแสดงวัตถุ และการเล่าเรื่องเชิงประวัติศาสตร์เข้ากับการแสดง

61

วิถีชุมชนบางล�ำพูเดิมอย่างน่าสนใจ หลังจากเทีย่ วชมสถานทีส่ ำ� คัญบริเวณท่าพระอาทิตย์ ครบถ้วนแล้ว เรานัง่ เรือต่อจากท่าพระอาทิตย์ ผ่านสะพาน พระปิ ่ น เกล้ า ผ่ า นท่ า พระจั น ทร์ ซึ่ ง เป็ น ที่ ตั้ ง ของ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ พิ พิ ธภั ณ ฑ์ บพิ ตรพิ มุ ข โรงพยาบาลศิริราช จนมาถึงที่หมายต่อไปของเราคือ “ท่าเตียน” นั่นเอง ท่าเตียน ตลาดเก่าแก่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยาแห่งนี้ เคยเป็ น ท่ า เรื อ ที่ คึ ก คั ก ที่ สุ ด แห่ ง หนึ่ ง ในพระนคร กาลเวลาผ่านไปแม้จะเงียบเหงาลงไปบ้าง แต่ทนี่ กี่ ย็ งั คง เป็นฐานทีม่ นั่ ของอาหารทะเลแห้งซึง่ มัน่ ใจได้วา่ ราคาถูก สะอาด และคุณภาพไม่เป็นรองใคร เมื่อเดินเข้ามา ในตั ว ตลาด จะได้ เ ห็ น ปลาอิ น ทรี ตั ว ใหญ่ เ บ้ อ เริ่ ม กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้งตั้งวางเรียงกันเป็นตับให้เรา เลือกซื้อหาตลอดทั้งวัน


62

อาคารทรงยุโรปอยู่ใกล้กับสะพานพุทธแห่งนี้ ดูเผิน ๆ เหมือนจะเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่หลายร้อยปี แต่ แ ท้ จ ริ ง แล้ ว เป็ น อาคารสร้ า งที่ จ� ำ ลองมาจาก “ไปรสะนียาคาร” ทีท่ ำ� การไปรษณียแ์ ห่งแรกของไทย ซึง่ สร้างขึน้ เมือ่ ประมาณ พ.ศ.๒๔๑๔ เดิมเป็นบ้านของ พระปรีชากลการ (ส�ำอางค์ อมาตยกุล) อดีตเจ้าเมือง ปราจี นบุ รี ได้ รั บการปรั บเปลี่ ย นให้ เ ป็ นที่ ท� ำ การ ถู ก ลดความส� ำ คั ญ ลงเมื่ อ ย้ า ยที่ ท� ำ การใหญ่ ไ ปอยู ่ ไปรษณียก์ ลาง ย่านบางรัก อาคารเดิมจึงถูกรือ้ ถอนไป เมือ่ มีการก่อสร้างสะพานพระปกเกล้าในปี พ.ศ.๒๕๒๕ ในวาระสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี โชคดีที่เรา ยังได้มีโอกาสเห็นอาคารจ�ำลองอยู่ท�ำให้พอต่อเติม จินตนาการออกได้ไม่ยากว่า ความงามของอาคารแห่งนี้ พอจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร เราจึงแวะกันที่ท่าเรือ สะพานพุทธนี้เพื่อที่จะแวะพักทานไอศกรีมเย็น ๆ คลายร้อน คราวนี้ จ ะขอชิ ม ไอศกรี ม โฮมเมดรสดอกไม้ ให้ชุ่มใจ วันนี้เราเลือกราสเบอร์รี่โรส รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ แถมยังมีผลราสเบอร์รี่อบแห้งเคี้ยวเพลิน ชวนให้ รู ้ สึ ก เป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั บ บรรดาดอกไม้ แ ละ ของตกแต่งกระจุกกระจิกรอบข้าง เปลี่ยนยามบ่าย แดดร้อนให้กลายเป็นยามบ่ายที่เย็นใจ ได้ในพริบตา เดินออกจากท่าราชวงศ์มาไม่กี่สิบก้าว ก็จะเจอตึก หัวมุมแสนสวยบนถนนทรงวาด เป็นการเรียกน�ำ้ ย่อย เพราะกว่ า จะเดิ น ไปจนสุ ด ถนนสายนี้ ก็ จ ะได้ พ บ ห้องแถวเก่า บ้านเก่าสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ปนจีนเรียงรายอยู่ตลอดแนวสองข้างทาง อย่าลืม แหงนมองลวดลายปูนปัน้ บนตัวอาคาร กรอบหน้าต่าง สวยประณีตทีก่ าลเวลายิง่ ขับให้มนั สวยงามยิง่ ขึน้ ไปอีก เมื่อเดินกันจนเหนื่อยแล้วเราขึ้นเรือต่อมากันที่ ท่าราชวงศ์ ซึง่ อยูใ่ กล้กบั จุดหมายถัดไปของเรานัน่ คือ อาสนวิหารอัสสัมชัญซึง่ หากห่างจากท่าเรือไม่มากนัก อาสนวิหารอัสสัมชัญ หรือโบสถ์อัสสัมชัญ เป็นอาสน วิหารประจ�ำมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ และที่ตั้ง ของโรงเรียน ๓ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียน อัสสัมชัญคอนแวนต์ และโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา


ข่าวทหารอากาศ

อาสนวิ ห ารตั้ ง อยู ่ ที่ เ ขตบางรั ก กรุ ง เทพมหานคร สร้างขึ้นครั้งแรกในรูปแบบทรงไทยโดยบาทหลวง ปาสกัล ซึง่ เป็นชาวไทย-โปรตุเกส โบสถ์หลังปัจจุบนั นี้ ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.๒๔๕๒ โดยคุณพ่อเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ อธิการโบสถ์ชาวฝรัง่ เศสในขณะนัน้ เพื่อรองรับการขยายตัวของคริสต์ศาสนิกชนที่มีเพิ่ม มากขึน้ โดยมีสถาปนิกชาวฝรัง่ เศสเป็นผูอ้ อกแบบและ ควบคุมการก่อสร้าง โดยมีวัสดุก่อสร้างเช่นหินอ่อน และกระจกสี ซึ่งสั่งมาจากประเทศฝรั่งเศส สิงคโปร์ และอิตาลี วิหารได้รับการออกแบบในรูปของงาน สถาปัตยกรรมสมัยฟืน้ ฟูศลิ ปวิทยาในอิตาลี มีความสูง ของหอระฆั ง ตั้ ง แต่ ย อดหอคอยจดพื้ น ๓๒ เมตร ด้วยกัน ส่วนด้านในผนังและเพดานก็ตกแต่งด้วย จิ ต รกรรมแบบเฟรสโกและประติ ม ากรรมปู น ปั ้ น ทีแ่ สดงถึงเรือ่ งราวความเชือ่ ทางศาสนาคริสต์ ปัจจุบนั วิหารมีอายุเก่าแก่กว่า ๑๑๑ ปี เป็นหนึง่ ในอาสนวิหาร ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและยังได้รับการยกย่อง

63

ให้เป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่สวยที่สุดในไทยอีกด้วย ที่ผ่านมาอาสนวิหารอัสสัมชัญมีโอกาสได้รับเสด็จ สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา ประมุ ข สู ง สุ ด ของโรมั น คาทอลิก ถึงสองพระองค์ คือสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ ๒ เนือ่ งในวโรกาสเสด็จฯ เยือนประเทศไทย เมือ่ ปี พ.ศ.๒๕๒๗ และสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เนื่ อ งในวโรกาสเสด็ จ ฯ เยื อ นประเทศไทยเมื่ อ ปี พ.ศ.๒๕๖๒ มาถึงอาสนวิหารนีเ้ วลาก็ลว่ งไปถึงบ่ายแก่ ๆ หากเราประสงค์จะนัง่ รับลมเย็น ๆ ชมพระอาทิตย์ตก ที่ ส ถานที่ ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มอีกแห่งหนึ่ง ริมแม่น�้ำ เจ้าพระยา คือ เอเชียทีค ก็สามารถอยูต่ อ่ ได้ แต่ส�ำหรับ วั น นี้ ผู ้ เ ขี ย นหมดแรงขอจบทริ ป ที่ ท ่ า เรื อ สะพาน ตากสิน ซึ่งเราสามารถนั่งรถไฟฟ้า กลับมาลงที่สถานี หมอชิตและนั่งรถเมล์กลับถึงบ้านได้โดยสวัสดิภาพ หวังว่าการเดินทาง One Day Trip ในวันนีจ้ ะถูกใจ ท่านผูอ้ า่ นไม่นอ้ ยนะคะ ลองหาเวลาว่างไปลองเที่ยว ล่องเรือแบบนี้ดูนะคะ เผื่อท่านจะติดใจ


64

WEAPONIZED

INFORMATION

ร.ต.พอภัทร สดสรอย

The control of knowledge is the crux of tomorrow’s worldwide struggle for power in every human institution Alvin Tolffler

การควบคุมความรู คือ ปจจัยสูการครอง อํานาจของโลกอนาคตที่เกี่ยวพันธกับทุกองคพายพ ของมนุษยชาติ อัลวิน ทอลฟเลอร

อัลวิน ทอลฟเลอร นักวิชาการชาวอเมริกัน เสนอแนวคิดวาสังคมโลกมีทิศทางการเปลี่ยนแปลง โดยคลืน่ ลูกใหญ ๓ ครัง้ เมือ่ สังคมโลกกาวไปสูจ ดุ สิน้ สุด ของยุคอุตสาหกรรมและเขาสูสังคมขอมูลขาวสาร และสังคมแหงความรู ทอลฟเลอรไดลาํ ดับพัฒนาการ สังคมมนุษยออกเปน ๕ ขั้น ซึ่งแตละขั้นก็จะมีเหตุ ปจจัยแหงการเปลี่ยนแปลงที่สืบเนื่องมาจากยุคเดิม เหมือนกับวัฏจักรการเปลีย่ นแปลงของสิง่ ตาง ๆ เขาจึง ไดใชคาํ วา “คลืน่ ” เพราะมันหมายถึง ความเปลีย่ นแปลง ระลอกใหญและมันจะจางหายไปโดยมีระลอกใหม เกิดมาแทนที่ ทอลฟเลอร ไดเสนอความคิดตอการเปลี่ยน ผานทางสังคมออกเปนคลื่น ๕ ลูก ดังตอไปนี้

อัลวิน ทอลฟเลอร

คลืน่ ลูกที่ ๑ ระบบสังคมเนนการใชประโยชน จากที่ดิน และสะสมองคความรูดานเกษตรกรรม คลืน่ ลูกที่ ๒ ระบบสังคมทีเ่ นนการใชประโยชน จากเทคโนโลยี แ ละเครื่ อ งยนต ก ลไก และสะสม องคความรูดานเทคโนโลยี การคาขาย สังคมศาสตร พาณิชยศาสตร การทหาร คลืน่ ลูกที่ ๓ ระบบสังคมทีเ่ นนการใชประโยชน จากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร ระบบขอมูลและการสือ่ สาร และมี ก ารสะสมองค ค วามรู  ด  า นเทคโนโลยี คอมพิวเตอร เทคโนโลยีการสือ่ สาร และระบบเครือขาย คลืน่ ลูกที่ ๔ ระบบสังคมเนนการใชประโยชน จากการสังเคราะหความรูเดิมใหเกิดเปนความรูใหม หรือเรียกวา “นวัตกรรม” เปนยุคที่ใชประโยชน


ข่าวทหารอากาศ

จากความรู้เดิมน�ามาท�าสิ่งใหม่ที่มีประโยชน์และมี ประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการมากขึน้ คลืน่ ลูกที่ ๕ ระบบสังคมเน้นการใช้ประโยชน์ จากทรัพย์สนิ ทางปัญญา ทีเ่ กิดขึน้ มาจากการจดทะเบียน ปกป้องนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ได้จากยุคที่ ๔ ซึ่งในยุคนี้ ใครมีทรัพย์สินทางปัญญามากกว่ากัน และสามารถ จัดระบบและน�ามาใช้ประโยชน์ ใช้แก้ไขปัญหาสังคม เศรษฐกิจหรือปัญหาต่าง ๆ ได้มากกว่า ก็ยอ่ มจะมีการ พัฒนามากกว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลพวงจากคลื่น ความเปลี่ยนแปลงของกระแสคลื่นทั้ง ๕ ลูก ที่กล่าว ข้างต้น ได้นา� พาสังคมโลกก้าวไปสูส่ งั คมขององค์ความรู้ ทีเ่ ราควรทีจ่ ะย้อนกลับไปศึกษาแนวคิดของนักปรัชญา ในอดีต เซอร์ ฟรานซิส เบค่อน ได้เสนอความคิดไว้ อย่ า งหนึ่ ง ว่ า “scientiapotentiaest”และ “knowledge is power” หรือ “ความรูค้ อื พลังอ�านาจ” ใครจะมีความสามารถและความได้เปรียบมากกว่ากัน จะต้องตัดสินว่า ใครมีความสามารถในการจัดการ กับความรู้และข้อมูลข่าวสาร และน�ามาใช้ประโยชน์ เพื่อตอบโจทย์ของชีวิตและองค์กรได้มากกว่ากัน

65

Information Warfare/สงครามข้อมูลข่าวสาร สงครามข้อมูลข่าวสาร คือ แนวความคิด ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่การสงครามที่ใช้ข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีดา้ นการสือ่ สารเพือ่ น�าไปสูค่ วามได้เปรียบ เหนื อ ฝ่ า ยตรงข้ า ม สงครามข้ อ มู ล ข่ า วสารคื อ การจัดการหรือสร้างข่าวสารให้มีความน่าเชื่อถือ ต่อกลุม่ เป้าหมายโดยทีผ่ รู้ บั สารไม่ลว่ งรูว้ า่ เป็นข่าวสาร ทีถ่ กู สร้างขึน้ มา โดยข่าวสารนีอ้ าจน�าไปสูก่ ารตัดสินใจ ที่สร้างความเสียหายแก่ผู้รับข่าวสารเอง ซึ่งผู้ส่ง ข่าวสารจะเป็นฝ่ายได้ประโยชน์จากการท�าสงคราม ข้อมูลข่าวสารนี้ การท�าสงครามข้อมูลข่าวสารนัน้ นักการทหาร ทั่ ว ไปเข้ า ใจกั น ดี ว ่ า เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการต่ อ สู ้ ในสนามรบของทุกยุคสมัย เพราะเป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการบั่นทอนศักยภาพการต่อสู้ของฝ่ายตรงข้ามได้ เป็นอย่างดี การใช้สงครามข้อมูลข่าวสารเชิงรุก เพือ่ ท�าลาย ความชอบธรรมในการสู้รบ และท�าลายความมั่นใจ ในการปฏิบตั กิ ารของกองก�าลังติดอาวุธของฝ่ายตรงข้าม เป็นกลยุทธ์สา� คัญประการหนึง่ ในการน�ามาซึง่ ชัยชนะ ของฝ่ายทีม่ ขี ดี ความสามารถในการท�าสงครามข้อมูล


66

ขาวสารที่เหนือกวา แมศักยภาพในการสูรบโดยตรง ของฝายนั้น จะออนดอยกวา หากฝายนั้น มีความ ชาญฉลาดในการใชสงครามขอมูลขาวสารทีเ่ หนือกวา อีกฝายหนึง่ ยอมสรางความสับสนในการตอสูข องฝาย ตรงขามไดอยางมาก การปฏิบตั กิ ารขาวสารไมใชสง่ิ ใหม แตมใี ชมา ตัง้ แตโบราณกาล All warfare is based on deception เปนหลักคิดการสงครามสําคัญที่กลาวไวใน ตํารา พิชัยสงครามของมหาปราชญซุนวู การลวงจึงเปน กลวิธที ถี่ กู นํามาใชในทุกยุคของการสงคราม เมือ่ ระบบ การติดตอสื่อสารไดรับการพัฒนา รูปแบบก็ไดรับ การปรับปรุงพัฒนาไปสูว ธิ กี ารใหม เชน ในยุคสงครามเย็น สหรัฐอเมริการใชสถานีวิทยุ Radio Free Europe และ Voice of America ออกอากาศเผยแพรขา วสาร ที่เปนผลเสียตอสหภาพโซเวียต เพื่อใหประชาชน ในกลุมประเทศยุโรปตะวันออกที่ปกครองในระบอบ คอมมิวนิสต มีความรูสึกที่เปนปฏิปกษตอระบอบ การปกครอง ขณะทีป่ ระเทศไทยก็ใชสถานีวทิ ยุ Radio Thailand เปนเครือ่ งมือสําหรับการชักชวนใหผหู ลงผิด เขารวมกับพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย (พคท.) ยุตกิ ารสนับสนุน และเลิกเปนปฏิปก ษกบั ฝายรัฐบาล อีกเหตุการณสําคัญในประวัติศาสตรของ ประเทศไทยในเรือ่ งการใชเทคโนโลยีดา นการสือ่ สาร เปนเครือ่ งมือทีส่ ง ผลกระทบอยางมากตอระบบสังคม ของประเทศ คือกรณีการชุมนุมประทวงตอตานรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร เมื่อป พ.ศ.๒๕๓๕ แมวา รัฐบาลจะควบคุมการเผยแพรขาวสารผานสื่อของรัฐ อยางรัดกุม แตกลุม ผูช มุ นุมก็ใชประโยชนจากเทคโนโลยี โทรศัพทเคลือ่ นทีส่ ง ขาวสารไปสูก นั อยางมีประสิทธิภาพ

ทําใหการชุมนุมยืดเยื้อและนําไปสูการลาออกของ นายกรัฐมนตรี สงครามขอมูลขาวสารในการปฏิบัติ การใชขาวสารเปนอาวุธจะประกอบดวย อยางใดอยางหนึ่งของสิ่งเหลานี้ - เปนความเท็จทีจ่ งใจ หรือ ทําใหเขาใจผิด - เพื่อมีอิทธิพลตอความคิดเห็น พฤติกรรม หรือการรับรูขอเท็จจริง - กระทําตอเปาหมายและออกแบบเพือ่ การ รับรูเฉพาะกลุม - อาจจัดเปนการโฆษณาชวนเชือ่ ขาวปลอม การเสียดสี ทฤษฎีสมคบคิด - แพร ก ระจายโดยใช สื่ อ สั ง คมออนไลน หรือเว็บไซตเฉพาะกิจ - อาจใชระบบโตตอบอัตโนมัติเพื่อใสความ คิดเห็นโดยหุน ยนตโปรแกรม เพือ่ สรางกระแสใหเกิด ภาพความนิยมในวงกวาง - สรางขึ้นมาเพื่อผลักดันวาระใดวาระหนึ่ง เปนการเฉพาะ หรือเพือ่ ผลักดันใหเกิดรายไดทางการเงิน (จากการบริจาค) ๑. สงครามและการเริม่ ตนของการปฏิบตั กิ าร ขาวสาร โดยทัว่ ไปประเภทของการสงครามขนาดใหญ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในอดี ต พอจะสามารถจํ า แนกออกเป น ๔ ประเภทใหญ ๆ คือ ๑.๑ สงครามระหวางชาติพงศเผาพันธุ เปนสงครามที่เกิดขึ้นระหวางชาติพงศเผาพันธุที่มี ความแตกตางกัน เพื่อแยงชิงความเปนใหญในการ ปกครอง การแยงชิงดินแดนและผลประโยชนตาง ๆ เชน กรีก - โรมัน ไทย - พมา ฯลฯ


ข่าวทหารอากาศ

๑.๒ สงครามศาสนา เป็นสงครามทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างความเชื่อทางศาสนา ทั้งศาสนาเดียวกัน แต่ต่างนิกาย หรือต่างศาสนา เช่น สงครามครูเสด (Crusades War) เป็นสงครามระหว่าง ฝ่ายคริสเตียน ในยุ โ รป กั บ ฝ่ า ยมุ ส ลิ ม ที่ ยึ ด ครองนครเยรู ซ าเล็ ม ในปาเลสไตน์ ซึง่ เป็นดินแดนอันศักดิส์ ทิ ธิข์ องศาสนาคริสต์ ๑.๓ สงครามลัทธิทางการเมือง เป็น สงครามทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างความเชือ่ ของลัทธิทางการเมือง ระหว่างลัทธิเผด็จการสังคมนิยม – ประชาธิปไตย เช่น สงครามโลก สงครามเวียดนาม สงครามเกาหลี ฯลฯ ๑.๔ สงครามเศรษฐกิจ เป็นสงคราม ทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างประเทศมหาอ�านาจใหญ่ ทีไ่ ม่สามารถ ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์และก�าลังรบห�า้ หัน่ กันได้โดยตรง แต่มีมีวัตถุประสงค์ด้านผลประโยชน์ของชาติในการ เข้ายึดครอง ครอบง�า ปกป้อง รักษาผลประโยชน์ ของชาติ ต นไว้ จึ ง มั ก นิ ย มใช้ ส งครามเศรษฐกิ จ เป็ น เครื่ อ งมื อ ของประเทศไทยเคยเจอถู ก โจมตี ค่าเงินบาท ในยุคต้มย�ากุง้ ไครซีส (Tom Yum Kung/ Economic Crisis) จนต้องมานัง่ ใช้หนี้ IMF อยูห่ ลายปี เมือ่ เทคโนโลยีดา้ นการสือ่ สารพัฒนาไปตาม ความเปลีย่ นแปลงจากคลืน่ ลูกที่ ๓ ตามความเห็นของ อัลวิน ทอล์ฟเลอร์ และได้รบั การต่อยอดไปสูเ่ ครือข่าย สังคมออนไลน์ หรือ โซเชีย่ ลมีเดียในปัจจุบนั การส่งผ่าน ข่าวสารต่าง ๆ ไปสู่ผู้รับสารเป้าหมายสามารถท�าได้ อย่างรวดเร็ว ในสังคมที่มีความแตกแยกแบ่งฝักฝ่าย การใช้ขา่ วสารเป็นเครือ่ งมือเสริมสร้างความนิยมให้กบั ฝ่ายตนเอง หรือใช้เป็นอาวุธท�าลายชือ่ เสียงฝ่ายตรงข้าม อ้างอิง

67

จึงกลายเป็นกลยุทธที่ถูกน�ามาใช้ได้อย่างแพร่หลาย และมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการข่าวสาร หรือ Information Operation อาจจะดู เ ป็ นค� าศั พ ท์ ใหม่ เ พราะเริ่ ม มี ก ารน� า มาใช้ ใ นช่ ว งหลั ง สิ้ น สุ ด ยุ ค สงครามเย็ น และถูกกล่าวถึงอย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบนั อย่างไรก็ตาม พิจารณาในแง่ของการปฏิบตั นิ นั้ เรือ่ งของรูปแบบการ ปฏิบัติการข่าวสารนั้น ฝ่ายทหารในประเทศต่าง ๆ รวมทัง้ ไทยอาจจะเคยน�ามาใช้แต่ไม่ได้เรียกชือ่ เฉพาะ ว่าเป็นการปฏิบัติการข่าวสารโดยตรงแต่ในบางกรณี ก็มผี ตู้ คี วามอย่างง่าย ๆ ว่า ปฏิบตั กิ ารข่าวสารหมายถึง การปฏิบตั กิ ารจิตวิทยา (Psychological Operation) การโฆษณาชวนเชือ่ (Propaganda) การวิเทศสัมพันธ์ ทางสือ่ มวลชน (Media Relations) การลวงทางทหาร (Deception) และอื่น ๆ สงครามจิตวิทยา (Psychological warfare) เป็นสงครามที่ใช้ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาที่มุ่งเน้น การกระท�าทีส่ ง่ ผลกระทบต่อความคิด และความเชือ่ ของบุคคลและกลุม่ บุคคล โดยอาศัยการโฆษณาชวนเชือ่ ร่วมกับกิจกรรมทางจิตวิทยา สงครามจิตวิทยานั้น กระท�าทั้งในยามสงบและยามสงคราม ทั้งฝ่ายข้าศึก และฝ่ายเดียวกัน รวมถึงฝ่ายเป็นกลางอีกด้วย ทัง้ ในด้าน การเมื อ งและการทหาร ทั้ ง ในระดั บ ยุ ท ธศาสตร์ ยุทธการ และระดับยุทธวิธี ตัวอย่างเช่น สงคราม กรุงทรอย การปฏิวตั อิ เมริกา และสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ และ ๒ เป็นต้น (อ่านต่อฉบับหน้า)

- Scientiapotentiaest, Anonymous, https://en.wikipedia.org/wiki/Scientia_potentia_est - TheGiver, สังคมสารสนเทศสู่สังคมความรู้ (พัฒนาการสังคม ๕ ยุค), http://oknation.nationtv.tv/blog/rinyabhatr/2009/06/22/entry-1 - Informationwarfare, Anonymous, https://en.wikipedia.org/wiki/Information_warfare


68

by PJ the Piglet

àÃÕ¹ÃÙŒÀÒÉÒÍѧ¡Äɨҡ¹Ô·Ò¹ÍÕÊ» Learn English from Aesop’s Fables สวัสดีทานผูอานทุกทานในฉบับนี้จะเปน การเรียนรูภาษาอังกฤษจากนิทานอีสปที่โดงดังและไดรับ ความนิยมไปทัว่ โลก นิทานอีสปเปนนิทานทีม่ าพรอมกับคติสอนใจและแงคดิ ใหกบั ทานผูอ า น ผูเ ขียนนํานิทานอีสป จํานวน ๒ เรื่องมานําเสนอเปนภาษาอังกฤษพรอมคําแปลภาษาไทยและคําศัพททายเรื่อง หากทานผูอานพรอมแลวขอใหเพลิดเพลินกับการอานนิทานอีสปดังตอไปนี้

The Astrologer

A man who lived a long time ago believed that he could read the future in the stars. He called himself an Astrologer, and spent his time at night gazing at the sky. One evening he was walking along the open road outside the village. His eyes

were fixed on the stars. He thought he saw there that the end of the world was at hand, when all at once, down he went into a hole full of mud and water. There, he stood up to his ears, in the muddy water, and madly clawing at the slippery sides of the hole in his effort to climb out. His cries for help soon brought the villagers running. As they pulled him out of the mud, one of them said: “You pretend to read the future in the stars, and yet you fail to see what is at your feet! This may teach you to pay more attention to what is right in front of you, and let the future take care of itself.” “What use is it” said another, “To read the stars, when you can’t see what’s right here on the earth?” Moral of the story: ‘Take care of the little things and the big things will take care of themselves.’


ข่าวทหารอากาศ

นักโหราศาสตร์ เมือ่ นานมาแล้ว มีชายผูห้ นึง่ เชือ่ ว่าเขาท�านาย อนาคตจากดวงดาวได้ เขาเรียกตัวเองว่านักโหราศาสตร์ และใช้ชีวิตยามค�่าคืนไปกับการจ้องมองท้องฟ้า เย็นวันหนึง่ ขณะทีเ่ ขาก�าลังเดินไปตามถนน นอกหมู่บ้าน ดวงตาของเขาจับจ้องไปยังหมู่ดาว เขาคิดว่าเขาได้มองเห็นวันโลกาวินาศทีใ่ กล้จะมาถึงแล้ว ทันใดนั้นเอง เขาก็พลัดตกลงไปในบ่อซึ่งเต็มไปด้วย น�้าโคลนเขายืนขึ้น น�้าโคลนขุ่นคลักสูงแทบจะถึงหู เขาพยายามตะเกี ย กตะกายและปี น ป่ า ยอยู ่ ต รง ขอบบ่อลื่น ๆ อย่างบ้าคลั่ง เสียงร้องขอความช่วยเหลือของเขาดังออกไป ท�าให้พวกชาวบ้านรีบวิง่ มาช่วย เมือ่ พวกชาวบ้านดึงเขา ขึ้ น มาจากบ่ อ โคลนได้ แ ล้ ว หนึ่ ง ในนั้ น ก็ ก ล่ า วว่ า “ท่านแสร้งว่าท�านายอนาคตได้จากดวงดาว แต่กลับ มองไม่เห็นสิ่งที่อยู่ใต้ฝ่าเท้าของท่านเอง เรื่องนี้น่าจะ สอนท่านได้ดีว่า จงสนใจสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามากกว่า และปล่อยให้อนาคตจัดการตัวเอง” “จะมีประโยชน์อะไร” ชาวบ้านอีกคนหนึง่ พูด “หากท่านอ่านดวงดาวได้ แต่กลับมองไม่เห็นว่ามี อะไรอยู่ตรงหน้าบนโลกนี้บ้าง” นิทานเรือ่ งนีส้ อนให้รวู้ า่ “จงใส่ใจเรือ่ งเล็กน้อย และปล่อยให้เรื่องที่ใหญ่กว่าจัดการตัวเอง” ค�าศัพท์ทนี่ า่ สนใจจากเรือ่ ง The Astrologer - gaze (v.)/เกซ/แปลว่า เพ่งมอง จ้องมอง ตัวอย่าง Emily gazes at the photo of her long-lost childhood friend.

69

เอมิลมี องดูรปู เพือ่ นในวัยเด็กทีพ่ ลัดพราก จากกันไปนาน - fix on (somebody/something) phrasal verb/ฟิคซฺออน/แปลว่าจับจ้อง จ้องมอง อย่างตั้งใจ ตัวอย่าง In the darkness, Marge has her eyes fixed ona shadow behind the curtains. ท่ามกลางความมืดมิด มาร์จจ้องมองไปยัง เงาที่อยู่หลังผ้าม่าน - at once (idiom) /แอท วันสฺ/แปลว่า ทันทีทันใด ตัวอย่าง As soon as Jane heard the news, she decided to call heraunt at once. เจนตั ด สิ นใจโทรหาป้ า ของเธอในทั น ที ที่ทราบข่าว - slippery (adj.)/สลิปเปอะรี/แปลว่า ลืน่ ตั ว อย่ า ง The rain has made this walkway slippery. ฝนที่ตกลงมาท�าให้ทางเดินนี้ลื่น - effort (n.)/เอะเฟิรทฺ /แปลว่า ความพยายาม ความมานะ ความอุตสาหะ ตั ว อย่ า ง It takes a long time to climb to the top of the mountain, but it is worth the effort. กว่าจะปีนถึงยอดเขาได้นั้นใช้เวลานาน แต่ก็คุ้มค่ากับความพยายาม


70

The Oak and the Reeds A Giant Oak stood near a brook in which grew some slender Reeds. When the wind blew, the great Oak stood proudly upright with its hundred arms uplifted to the sky. But the Reeds bowed low in the wind and sang a sad and mournful song. “You have reason to complain” said the Oak. “The slightest breeze that ruffles the surface of the water makes you bow your heads, while I, the mighty Oak, stand upright andfirm before the howling tempest.” “Do not worry about us” replied the Reeds. “The winds do not harm us. We bow before them and so we do not break. You, in all your pride and strength, have so far resisted their blows. But the end is coming.” As the Reeds spoke, a great hurricane rushed out of the north. The Oak stood proudly and fought against the storm, while

the yielding Reeds bowed low. The wind redoubled in fury, and all at once the great tree fell, torn up by the roots, and lay among the pitying Reeds. Moral of the story: “Better to yield when it is folly to resist, than to resist stubbornly and be destroyed.” ต้นโอ๊กกับต้นอ้อ ณ ล�ำธำรแห่งหนึ่ง มีต้นโอ๊กขนำดใหญ่และ ต้นอ้อเรียวยำวขึ้นอยู่ในยำมที่ลมพัดผ่ำน ต้นโอ๊ก ยืนล�ำต้นตัง้ ตรงอยูอ่ ย่ำงภำคภูมใิ จ พร้อมกับแผ่กงิ่ ก้ำน สำขำมำกมำยนับร้อยขึน้ ไปยังท้องฟ้ำ ในขณะทีต่ น้ อ้อ กลับโน้มตัวลูต่ ำ�่ ไปกับสำยลม และได้รอ้ งเพลงอันแสนเศร้ำ ออกมำ “ระบายออกมาเถิด” ต้นโอ๊กพูด “ขนาดเพียง ลมพัดเบา ๆ ทีม่ แี รงพอให้ผวิ น�า้ กระเพือ่ มนัน้ ยังท�าให้ ศีรษะของเจ้าโอนเอนได้แต่อันตัวข้าผู้ทรงพลังยังคง ยืนล�าต้นตั้งตรงได้อย่างไม่ไหวหวั่นต่อพายุที่โหม กระหน�่า”


ข่าวทหารอากาศ

“ท่านไม่ต้องเป็นกังวลกับพวกข้าหรอก” ต้นอ้อตอบ “สายลมไม่ได้ทา� อันตรายใด ๆ พวกข้าเลย พวกข้ า เพี ย งแค่ โ น้ ม ตั ว ไปตามลมแล้ ว ก็ ไ ม่ ไ ด้ หั ก เสียหายสักหน่อย ทีผ่ า่ นมาท่านทะนงในความแข็งแรง ของตั ว เองที่ ส ามารถต้ า นทานกระแสลมได้ ก็ จ ริ ง แต่จุดจบของท่านก�าลังจะมาถึง” เมื่อต้นอ้อพูดจบ พายุเฮอริเคนพัดกระหน�่า มาทางทิศเหนือ ต้นโอ๊กยืนต้านแรงพายุดว้ ยความทะนง ในขณะที่ต้นอ้อลู่ตัวต�่าไปตามลม แต่ทันทีที่ลมพายุ ทวีความรุนแรงขึน้ ต้นโอ๊กก็ถกู แรงพายุขดุ รากถอนโคน จนหักโค่นลงมากองอยูท่ า่ มกลางต้นอ้อทีก่ า� ลังสมเพช ต้นโอ๊ก นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “การโอนอ่อน ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ดีกว่าแข็งกร้าวบ้าบิ่น จนเกิดอันตราย” ค�าศัพท์ทนี่ า่ สนใจจากเรือ่ ง The Oak and the Reeds - surface (n.)/เซอรฺฟิส/แปลว่าผิวหน้า พื้นผิว ตัวอย่าง The road surface in this area is uneven. ผิวถนนบริเวณนี้ขรุขระ - stand firm (phrasal verb)/สแตนดฺ เฟิรฺม/แปลว่ายืนหยัด ตั้งอยู่ในที่มั่น

ruling.

71

ตัวอย่าง The judge stood firm in his

ผู้พิพากษายืนหยัดในค�าตัดสินของเขา - resist (v.)/รีซสิ ทฺ/ แปลว่าต่อต้าน ต้านทาน สกัดกั้น ขัดขืน ตัวอย่าง When evera mother tried to cut her child’s nails, he usually resisted. เมื่อใดก็ตามที่แม่พยายามจะตัดเล็บให้ ลูกก็มักจะขัดขืน - rush (v.) /รัช/แปลว่ารีบเร่ง จู่โจม ตัวอย่าง Those children rush out of school. เด็ก ๆ เหล่านั้นรีบเร่งออกจากโรงเรียน - fury (n.) /ฟฺยู รี/ แปลว่าความรุนแรง ความโกรธ ตัวอย่าง There is no safe shelter from the fury of the storm. ไม่มีที่ก�าบังที่ปลอดภัยจากความรุนแรง ของพายุ - tearup (phrasal verb) /เเทรฺอพั /แปลว่า ดึงทิ้งรื้อถอน ถอนขึ้น ท�าลาย ตัวอย่าง A railway track was torn up and damaged yesterday. รางรถไฟถูกท�าลายจนเสียหายเมื่อวานนี้

ก่อนจากกันผู้เขียนหวังว่าท่านผู้อ่านคงรู้สึกเพลิดเพลินพร้อมกับได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษผ่านนิทานอีสปทัง้ ๒ เรือ่ งนีไ้ ว้พบกันใหม่ครั้งหน้า ข้อมูลและภาพจาก - http://mythfolklore.net/aesopica/milowinter/89.htm, - http://mythfolklore.net/aesopica/milowinter/28.htm - https://www.malyshu.com/razvlecheniya/astrolog-upavshij-v-kolodec


72

บุคคลดีเดน

กองทัพอากาศ ป ๒๕๖๒ น.อ.อมร ชมเชย ผอ.กปซ.ศซบ.ทอ.

ผลงานที่โดดเดน ๑. ผลงานระดับ ทอ.

ระบุงาน/ผลงาน

- นําเสนอขอมูลเพื่อขออนุมัติจัดตั้งศูนยไซเบอร ทอ. - นําการฝกการคนหาและปองกันการโจมตีทางไซเบอร (Cyber Field Training Exercise : CFTX) เขารวมในการฝกรวมผสม Cobra Gold 2019 ระหวาง ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาเปนครั้งแรก - จัดโครงการ Cyber Operations Contest ของ ทอ. ๒. ผลงานระดับนอก ทอ. - ผูดําเนินรายการสัมมนาระดับภูมิภาค ASEAN ในงาน INTERNATIONAL CONFERENCE ON หัวขอ “CYBER SECURITY : IMPLICATIONS ON PEACE AND SECURITY IN THE ASEAN REGION” โดย กระทรวงการตางประเทศ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม - จัดอบรมเตรียมความพรอมสอบใบรับรองขอมูลที่ไดรับการรับรองระบบ การรักษาความปลอดภัยระดับมืออาชีพ (Certified Information Systems Security Professional : CISSP) ออกโดย International Information Systems Security Certifications Consortium, Inc เพือ่ เปนผูต รวจสอบและประเมินผลเกีย่ วกับ Information Security ในระดับมาตราฐานสากล ปจจุบัน ทอ.มีผูสอบผาน จํานวน ๒ คน ไดแก น.อ.อมร ชมเชย และ น.อ.จตุชยั แพงจันทร (สังกัด สอ.ทอ.) - วิทยากร เสวนาทางวิชาการ เรือ่ ง “เตรียมพรอมรับมือ พ.ร.บ.ความมัน่ คง ปลอดภัยไซเบอร ๖๒” ณ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย - ผูบ รรยายพิเศษ ณ การทาเรือแหงประเทศไทย และจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


ข่าวทหารอากาศ

บุคคลดีเดน

กองทัพอากาศ ป ๒๕๖๒ น.อ.เชษฐพัฒน ไกรขาว หก.กซอท.กอท.สอ.ทอ.

ผลงานที่โดดเดน ๑. ผลงานระดับ ทอ.

ระบุงาน/ผลงาน

- วิจยั และพัฒนาดาน Software และ Hardware โครงการสรางเครือ่ งฝกบิน จําลอง บ.ฝ.๒๐ (DA-42) และ บ.ฝ.๑๖ ก (CT-4E) โดยสงมอบเครื่องฝกบิน จําลองบ.ฝ.๒๐ (DA-42) ใหกับ รร.การบินนําไปใช - ตรวจสอบ Software ของอากาศยานไรคนขับ (UAV) ประเภทตาง ๆ ของระบบตอตานอากาศยานไรคนขับ พรอมอะไหลขั้นตนและอุปกรณ ประกอบระบบ ทีจ่ ดั ซือ้ จากบริษทั ผูผ ลิตจากตางประเทศ (Obiter II, Aero Star และ Dominator XP) - ผลิต T - Eagle eyes2 โดยความรวมมือจาก สอ.ทอ. รร.นนก.และ ศวอ.ทอ. - ตรวจสอบอุปกรณระบบควบคุมการฝกบินทางอากาศยุทธวิธี (ACMI POD) ที่ ทอ.จัดซื้อ ทั้งในรูปแบบ Offline และ Online ผานหอง C2 เพื่อพัฒนา ทักษะดานการบินทางยุทธวิธใี หมปี ระสิทธิผลมากยิง่ ขึน้ ปจจุบนั ทอ.มีใชงานอยู จํานวน ๒๙ POD ๒. ผลงานระดับนอก ทอ. - ผลิต RTAF U1 โดยความรวมมือระหวาง ทอ.และหนวยงานนอก ทอ. เชน บริษทั อุตสาหกรรมการบิน จํากัด และ บริษทั RV Connex จํากัด เปนตน

73


74

บุคคลดีเดน

กองทัพอากาศ ป ๒๕๖๒ น.ต.วรุต ธรรมวิชัย อจ.กกศ.รร.นนก.

ผลงานที่โดดเดน ๑. ผลงานระดับ ทอ.

ระบุงาน/ผลงาน

- จัดหาทุนทําหองปฏิบตั กิ ารทางแมเหล็กไฟฟาและการทดสอบสมบัตเิ ชิงกล เพือ่ การวิจยั ของ นนอ.ไดแก หองปฏิบตั กิ ารทางแมเหล็กไฟฟา และหองปฏิบตั กิ าร ทดสอบคุณสมบัตเิ ชิงกล ประหยัดงบประมาณ ทอ.มากกวา ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท (งบจากหนวยงานภายนอก) - วิจยั การสังเคราะหวสั ดุเซรามิกฉนวนความรอนสูง เพือ่ สนับสนุนการพัฒนา ทางอวกาศ ๒. ผลงานระดับนอก ทอ. - วิจยั ดานการสังเคราะหแกนควบแนนขนาดยักษสาํ หรับทําฝนเทียม ตอยอด งานวิจัยการสรางชุดเครื่องมือตนแบบสําหรับวิเคราะหขนาดอนุภาคของพลุ สารดูดความชื้นในโครงการพระราชดําริฝนหลวง - การศึกษาการสังเคราะหและทดสอบสารดูดกลืนคลื่นเรดารยานความถี่ S band สําหรับการฉาบเคลือบผิวยุทโธปกรณ (เครื่องบินลองหน) - ตีพิมพบทความในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ดานเคมีบริสุทธิ์และ เคมีประยุกต ไดแก วารสาร Proceedings of Pure and Applied Chemistry International Conference 2019 เรื่อง“Fabrication A Hydrophobic Surface with Polyurethane and Silica Nanoparticles for Tile Materials by Spray Coating Method” (Poster Presentation)


ข่าวทหารอากาศ

บุคคลดีเดน

กองทัพอากาศ ป ๒๕๖๒ ร.อ.นรพงษ เอกหาญกมล น.วัตถุระเบิด ผวรบ.กสย.ศวอ.ทอ.

ผลงานที่โดดเดน ๑. ผลงานระดับ ทอ.

ระบุงาน/ผลงาน

- ควบคุมการผลิตจรวดฝกควัน Smokey SAM สนับสนุนการฝกทางยุทธการ ใหกับสพ.ทอ.ทุกป - ผลิตพลุรังสีความรอน (IR Flare) สนับสนุนการฝกทางยุทธการใหกับ อย. ทุกป (งบวิจัยจากบริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน)) ๒. ผลงานระดับนอก ทอ. - วิจยั และพัฒนารวมกับ สทป.เรือ่ ง ดินขับจรวดชนิด Composite ประยุกตใช และติดตัง้ กับอากาศยานไรคนขับ เชน จรวดดึงรมชูชพี จรวดกระจายอนุภาคสาร ฝนหลวง และอาวุธขนาดเล็กของอากาศยานไรคนขับ เปนตน และพัฒนาเปน จรวดขนาดเล็ก รวมถึงเปนพื้นฐานการผลิตจรวดขนาดใหญ - ทดลองผลิตพัฒนาและปรับสูตรสารยับยั้งไฟปาสูตร ทอ.๑ (สารบางชนิด ถูกหามใชงาน) นํามาใชยบั ยัง้ ไฟปา พรุควนเคร็ง จว.นครศรีธรรมราช ไดอยาง มีประสิทธิผล - ควบคุมการผลิตพลุซิลเวอรไอโอไดด ซึ่งเปนสารฝนหลวงใหมีคุณลักษณะ ตรงตามความตองการของ กฝษ.กษ.ติดตัง้ กับ บ.Alpha Jet , AU-23 ของ ทอ. และ บ.Super king Air ของ กฝษ.กษ.สนับสนุนภารกิจบรรเทาภัยแลง

75


76

บุคคลดีเดน

กองทัพอากาศ ป ๒๕๖๒ พ.อ.อ.เรืองเดช ปรีชานุกูล ชางอิเล็กทรอนิกส ผสอ.ศคปอ.๑ ศปอ.คปอ.

ผลงานที่โดดเดน ๑. ผลงานระดับ ทอ.

ระบุงาน/ผลงาน

- รวมศึกษาและจัดทํา Server และเฝาระวัง ตรวจสอบการบุกรุกทาง Firewall ของระบบควบคุมและบัญชาการทางอากาศ (Air Command and Control System : ACCS) และดําเนินมาตรการดานความปลอดภัยตาม รปป. - แกไขปญหาดานแบตเตอรี่วิทยุ M3AR (F-5) และวิทยุ M3SR (Gripen) ของ สร.เขาพนมรุง ทีใ่ ชสาํ หรับ Link-T ใหกลับมาใชงานได โดยลบ Algorithm และขอมูลตาง ๆ และลง Algorithm ใหมกอนนํากลับไปติดตั้ง ๒. ผลงานระดับนอก ทอ. - รวมติดตั้ง ถายทอดความรูการใชงานการตรวจสอบและติดตั้งระบบ ความปลอดภัยผาน Algorithm และทดสอบระบบ Link-T ใหกบั ทร.ซึง่ จัดซือ้ ระบบ ACCS และ TDL สําหรับ รล.จักรีนฤเบศร รล.นเรศวร รล.ตากสิน และ รล.ภูมิพลอดุลยเดช เพื่อใหสามารถเชื่อมโยงการปฏิบัติภารกิจรวมกัน


ข่าวทหารอากาศ

พ.อ.อ.ทรงวุฒิ อินทรา ช่างเรดาร์ มว.ช่างเรดาร์ ฝซอพ.ผสอ.กทน.บน.๔๖ ผลงานที่โดดเด่น ๑. ผลงานระดับ ทอ.

ระบุงาน/ผลงาน - จัดท�าระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่าย (Network Security) ของ บน.๔๖ เพือ่ เฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย Phishing mail และป้องกันมัลแวร์ ชือ่ Wannacry - จัดเตรียมเส้นทางการสื่อสารรองรับการฝึกควบคุมไฟป่าแบบรวมการ (Combined Wild Fire Suppression : CWFS 2019) เพือ่ แสดงภาพในห้อง C2 แบบ Real time - ประดิษฐ์และติดตัง้ เครือ่ งวัดอุณหภูมแิ ละความชืน้ ในห้อง Server ของ บน.๔๖ ให้สามารถแจ้งเตือนสถานะได้ตลอดเวลาผ่านโปรแกรม Line ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และถ่ายทอดความรู้ให้ประยุกต์ใช้กับห้อง Sever บน.๗

จ.อ.ทะนงศักดิ์ กะตรุดเงิน จนท.ปก.ผปก.กกม.สบง.สปช.ทอ. ผลงานที่โดดเด่น ๑. ผลงานระดับ ทอ.

ระบุงาน/ผลงาน - ร่วมเขียนโปรแกรมและพัฒนาระบบการบูรณาการข้อมูลระหว่างระบบ IBCS กับระบบ LMIS ของ ทอ. ระบบติดตามงานที่ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ระบบสารสนเทศระบบติดตามงานจัดซื้อจัดจ้าง ทอ.และระบบติดตามเร่งรัด การใช้จา่ ยงบประมาณ ทอ. เพือ่ ให้ ผบช.ตัดสินใจและติดตามแก้ไขปัญหาด้าน งบประมาณของ ทอ.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การเบิกจ่ายเสร็จสิ้น ตามวัตถุประสงค์ของโครงการเพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยละ ๖๐ - ร่วมจัดท�าโครงการวิจัยพัฒนาระบบจัดท�าฐานข้อมูล ส�าหรับ ผบช.ในการ จัดท�าค�าขอตั้งงบประมาณ ทอ.

77


78

จับจิต จับใจ ¡Ñº Í.˹Ù

µÃÐ˹ѡ ᵋ äÁ‹µÃÐ˹¡... àµÃÕÂÁã¨ãËŒ¾ÃŒÍÁ สภาพสั ง คมทุ ก วั น นี้ มี ค วามเปลี่ ย นแปลง อย า งรวดเร็ ว ทั้ ง ในเรื่ อ งที่ เ ป น ความก า วหน า ของเทคโนโลยีที่มีสิ่งใหม ๆ หรือนวัตกรรมเกิดขึ้น ใหเราเรียนรูและตองปรับตัวอยูตลอดเวลา รวมทั้ง ในบางครั้ ง เราก็ อ าจต อ งเผชิ ญ กั บ สถานการณ ที่ไมคาดฝน หรือภาวะวิกฤตเกิดขึ้นไดในชีวิตดวย ยกตัวอยางเชน ถาทานอาศัยอยูในกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงทีเ่ ต็มไปดวยสิง่ อํานวยความสะดวกในชีวติ ที่ครบครัน ในรอบ ๑-๒ ปที่ผานมา จะพบวาเราเริ่ม ตองเผชิญกับปญหาฝุน PM 2.5 ที่นับวันดูเหมือน ปญหาจะไมไดลดนอยลง โดยเฉพาะในสังคมเมืองที่ พืน้ ทีส่ ว นใหญเปนบริษทั หางราน สิง่ ปลูกสรางตาง ๆ ยากที่จะหาพื้นที่สีเขียวของตนไม ซึ่งปฏิเสธไมไดวา ปญหามลพิษทางอากาศนี้ไดกลายเปนหนึ่งในภาวะ วิกฤตของประเทศไทยที่สําคัญ ภาวะวิกฤตคืออะไร ภาวะวิกฤต หมายถึง “สถานการณที่เขาสู ภาวะทีจ่ าํ เปนตองเขาจัดการเพือ่ หลีกเลีย่ งหรือแกไข ความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ หรือวิกฤตทางดานความปลอดภัย สิ่งแวดลอมหรือสุขภาพซึ่งเปนเหตุการณที่เกิดขึ้น อยางไมไดมีการวางแผนลวงหนา ที่กอใหเกิดภาวะ คุกคามโดยไมวา จะเปนความจริงหรือทําใหรบั รูว า เกิด ความไมปลอดภัยในดานตาง ๆ มีผลตอภาพลักษณ หรือความเชือ่ ถือในองคกร หรือกอใหเกิดการฟองรอง

ทางกฎหมาย เกิ ด ความเสี ย หายต อ สิ่ ง แวดล อ ม เศรษฐกิจ และภาพลักษณ” หรืออาจกลาวไดวา ภาวะวิ ก ฤติ ห มายถึ ง สภาพความไม ป กติ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ซึง่ อาจสงผลกระทบทีร่ า ยแรงเสียหายแกชวี ติ และ/หรือ ทรัพยสินในรูปใดรูปหนึ่ง โดยเหตุการณท่ีสามารถ กอใหเกิดภาวะวิกฤตนัน้ มีมากมาย ตัง้ แตเรือ่ งภัยธรรมชาติ มลพิษสิง่ แวดลอม ความปลอดภัย สุขภาพ การเจ็บปวย สิ่ ง แวดล อ ม การฟ อ งร อ ง การทํ า ผิ ด กฎหมาย และปญหาอืน่ ๆ ทีม่ คี วามคิดเห็นทีแ่ ตกตางกัน เปนตน ในป ๒๕๖๓ นี้ พบวาประเทศไทยมีหลาย เหตุการณทเี่ กิดขึน้ และถูกจัดวาเปนภาวะวิกฤตตัง้ แต สถานการณ ฝุ  น ควั น เหตุ ก ารณ ป ล น ร า นทอง เหตุการณกราดยิง และลาสุดสถานการณการระบาด ของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึง่ องคการอนามัยโลก (WHO) ไดประกาศให COVID-19 เปนโรคระบาดใหญ ทั่วโลก (Pandemic) หรือที่เรียกไดวาการติดตอ ของโรคเกิดระหวางคนสูคนที่ระบาดไปทั่วโลก ทําให อัตราการปวยและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจากการ ระบาดของไวรั ส COVID-19 นี้ ก็ เ ป น ตั ว กระตุ  น อีกหนึง่ ปจจัยทีน่ าํ ไปสูส ถานการณวกิ ฤตในดานอืน่ ๆ ตามมา โดยเฉพาะสถานการณทางดานเศรษฐกิจ โดยภาคสวนทีไ่ ดรบั ผลกระทบทีช่ ดั เจนคือดานธุรกิจการบิน ธุรกิจการทองเทีย่ ว ตลาดหลักทรัพยทลี่ ว นเปนรายไดหลัก ทีส่ าํ คัญของประเทศ ซึง่ จากสถานการณตา ง ๆ ทีถ่ าโถม


ข่าวทหารอากาศ

เกิดขึน้ ในชวงนีอ้ าจทําใหหลายคนเกิดอาการตระหนก และวิตกกังวลกับความไมปกติ หรือความไมแนนอน ของสถานการณทเี่ กิดขึน้ รายวันวาจะทวีความรุนแรงขึน้ หรื อ มี ร ะยะเวลายาวนานจนถึ ง เมื่ อ ใด ดั ง นั้ น ในสถานการณเชนนี้ เราจะสามารถเตรียมความพรอม ที่จะเผชิญกับเหตุการณตาง ๆ อยางไร วัตถุประสงคของการรับมือกับสถานการณวิกฤต เมือ่ ภาวะวิกฤติ หมายถึงสภาพความไมปกติ ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจสงผลกระทบที่รายแรงเสียหายแก ชี วิ ต และ/หรื อ ทรั พ ย สิ น ในรู ป ใดรู ป หนึ่ ง ดั ง นั้ น วัตถุประสงคของการจัดการกับสถานการณวกิ ฤต คือ • เพื่อปองกันการบาดเจ็บ รักษาชีวิตและ บรรเทาทุกข • เพื่อปกปองความเสียหายของทรัพยสิน • เพื่อปองกันความเสียหายตอสิ่งแวดลอม • เพื่อลดการสูญเสียทางดานการเงินและ ชื่อเสียง • เพือ่ ทําใหสถานการณกลับสูค วามเปนปกติ ใหไดโดยเร็วที่สุดเทาที่จะเปนไปได โดยวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับสถานการณ วิกฤตคือ การเผชิญกับปญหาอยางทันเวลาและเด็ดขาด กอนทีป่ ญ  หาเล็ก ๆ นัน้ จะกลายเปนสถานการณวกิ ฤต และกอนทีจ่ ะรับมือกับสถานการณวกิ ฤตที่ (จะ) เกิดขึน้ เราตองประเมินกอนวาอะไรทีเ่ ปนภาวะวิกฤติของเรา เนือ่ งจากแตละคนยอมจะมีตน ทุนและปจจัยทีก่ อ ใหเกิด ความเสี่ ย งหรือในทางจิตวิท ยาเรียกวาความรู  สึ ก ไม มั่ น คงปลอดภั ย ที่ แ ตกต า งกั น ดั ง นั้ น วิ ธี เ ริ่ ม ต น ในการเตรียมใจใหพรอมรับกับสถานการณตาง ๆ โดยเฉพาะภาวะวิกฤตนัน้ แตละคนควรตองคาดการณ สิ่งเหลานี้ไดในเบื้องตนคือ ๑. รูถ งึ สถานการณ (recognize) คือ เราควร คาดการณถงึ ความเสีย่ ง หรือเหตุการณทอี่ าจจะเกิดขึน้ ทั้งในกรณีที่เปนเหตุการณที่มีผลกระทบนอยที่สุด

79

ไปจนถึงผลกระทบมากที่สุด บนพื้นฐานของขอมูล ที่มีประโยชน ถูกตองและรวดเร็ว ซึ่งขั้นตอนนี้บุคคล ตองใชทักษะที่สําคัญคือ การคิดวิเคราะห เนื่องจาก ในสถานการณวกิ ฤตมักจะมีขอ มูลทีถ่ กู เผยแพรโดยมี ทัง้ ขอความเท็จและขอความที่เปนจริง เพราะฉะนั้น หากบุคคลไมคดิ วิเคราะหโดยใชหลักเหตุและผลก็อาจจะ ทําใหเกิดความสับสน ตื่นตระหนกหรือไมระมัดระวัง ตนเองได ซึง่ สิง่ สําคัญในขัน้ ตอนนีค้ อื บุคคลควรจะตอง มี ส ติ แ ละระบุ ไ ด ว า ความเสี่ ย งของตนเองคื อ อะไร และสามารถประเมิ น ความเสี่ ย งได ใ กล เ คี ย งกั บ ความเปนจริงใหไดมากทีส่ ดุ เพือ่ จะสามารถดําเนินการ ในขั้นตอไปไดอยางเหมาะสม ๒. จัดลําดับความสําคัญ (prioritize) คือ เมื่ อ เราทราบว า ความเสี่ ย งคื อ อะไรแล ว ดั ง นั้ น การปฏิบัติตนที่ตามมาคือการจัดลําดับความสําคัญ ในแตละกิจกรรม หรือภารกิจที่ไมสามารถกระทําได ในสถานการณวกิ ฤต เชน ชวงทีม่ กี ารระบาดของไวรัส COVID-19 ไดมกี ารขอความรวมมือในการงดการเดินทาง ไปต า งประเทศในกลุ  ม ประเทศที่ มี ก ารระบาด การหลีกเลีย่ งทีช่ มุ ชน ซึง่ เมือ่ แตละคนประเมินความเสีย่ ง ของตนเองอยางใกลเคียงความจริงมากที่สุดแลว ยอมทําใหสามารถจัดลําดับความสําคัญไดวา ควรจะตอง ปฏิบัติตนอยางไรกอนหรือหลัง เปนตน ๓. บริหารทรัพยากร (Mobilize Resources) ขัน้ ตอนตอไปคือ การจัดการทรัพยากรหรือตนทุนของ แตละคนในการดําเนินการในสถานการณวิกฤต เชน การเตรียมหนากากผาสํารองเมื่อตองเขาไปในเขต ชุมชน การเตรียมแอลกอฮอลเจลหรือลางมือใหบอ ยขึน้ หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณใบหนาหากยังไมได ทําความสะอาดมืออยางถูกตอง รวมไปถึงสถานการณ วิกฤตทางเศรษฐกิจทีถ่ ดถอย การระมัดระวังในเรือ่ งของ รายจ า ยที่ ไ ม จํ า เป น ระหว า งที่ ยั ง อยู  ใ นช ว งวิ ก ฤต เปนตน


80

จะเห็นได้วา่ หากบุคคลเตรียมตนเองให้พร้อม ใน ๓ ขั้นตอนเบื้องต้นนี้ จะท�าให้เกิดการตระหนัก ในการด�าเนินชีวิตในสถานการณ์วิกฤตที่ค่อนข้าง มีความไม่แน่นอนได้ในเบือ้ งต้น ลดอาการตืน่ ตระหนก ที่จะเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจาก มนุษย์นั้น อยูก่ นั เป็นสังคม ซึง่ ส่วนใหญ่เวลาเกิดสถานการณ์ทมี่ ี ผลกระทบต่อบุคคลในวงกว้าง ก็จะเกิดการปฏิสมั พันธ์ ทางสังคมที่ส�าคัญ หรือในทางจิตวิทยาสังคมเรียกว่า หลักการแลกเปลี่ยนทางสังคม (social exchange) เพื่อด�ารงการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความ มั่นคงปลอดภัย การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ส�าคัญ มนุษย์เป็นสัตว์สงั คม ดังนัน้ การปฏิสมั พันธ์ ระหว่างกันจึงเกิดขึน้ ตลอดชีวติ ซึง่ การปฏิสมั พันธ์นนั้ มีหลายรูปแบบแตกต่างกันไป โดยทางจิตวิทยาเชือ่ ว่า การที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร ส่วนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับลักษณะของความสัมพันธ์ที่ทั้งคู่มีต่อกัน หรือที่เรียกว่าหลักการแลกเปลี่ยนทางสังคม (social exchange) ตัวอย่างของรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมที่ส�าคัญ มีดังนี้

๑. การเห็นแก่ประโยชน์ของผูอ้ นื่ (altruism) หรือพฤติกรรมช่วยเหลือสังคม เป็นพฤติกรรมทีเ่ กีย่ วข้อง กับการท�าประโยชน์ให้กับผู้อื่น โดยไม่ได้คาดหวัง ผลตอบแทนจากการกระท�านั้น ถือเป็นพฤติกรรม ที่พึงประสงค์ในทุกสังคม แต่ในสภาพสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ท่ีมีการแข่งขันสูง พฤติกรรม การเห็นประโยชน์ของผูอ้ นื่ กลับยิง่ น้อยลง นักจิตวิทยา สังคมได้อธิบายถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการลดลง ของพฤติกรรมการเห็นแก่ประโยชน์ของผูอ้ นื่ ดังต่อไปนี้ - ความก�ากวมของสถานการณ์ (ambiguity) หมายถึง การทีบ่ คุ คลไม่เข้าใจในสถานการณ์ทเี่ กิดขึน้ หรือไม่สามารถตีความได้ว่าเกิดอะไรขึ้น จึงไม่ได้ ให้ความสนใจหรือไม่กล้าเข้าไปยุง่ เกีย่ วให้ความช่วยเหลือ ผู้อื่น - ความไม่รขู้ องคนจ�านวนมาก (pluralistic ignorance) คือ การที่บุคคลคิดว่า มีคนอื่น ๆ อีก ทีเ่ ฝ้าดูเหตุการณ์เช่นเดียวกับตน แต่ละคนก็คดิ ว่าผูอ้ นื่ น่าจะเข้าใจเหตุการณ์ดกี ว่าตน ทัง้ ทีจ่ ริง ๆ แล้วคนอืน่ ก็ไม่แน่ใจในเหตุการณ์เช่นเดียวกัน จึงไม่มีใครลงมือ ท�าอะไร


ข่าวทหารอากาศ

- การกระจายความรับผิดชอบ (diffusion of responsibility) คือความรู้สึกว่า ตนเองไม่ต้อง ลงมือท�าอะไร หรือรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็ได้ เพราะมีบคุ คลอืน่ อยูม่ ากมายทีจ่ ะช่วยกันรับผิดชอบ เช่น หน่วยงานของรัฐควรรับผิดชอบ ดังนัน้ หากต้องการให้พฤติกรรมการเห็นแก่ ประโยชน์ของผูอ้ นื่ หรือประโยชน์ของส่วนรวม ควรลด ความก�ากวมของสถานการณ์ โดยการสื่อสารข้อมูล ทีเ่ ป็นจริง เป็นประโยชน์ สัน้ กระชับให้กบั บุคคลมากทีส่ ดุ แต่อย่างไรก็ตาม การเห็นแก่ประโยชน์ของผูอ้ นื่ ก็ยงั เป็น พฤติกรรมที่พบได้ในสังคมอยู่ อาจเป็นไปได้ว่าข้อดี ของการช่วยเหลือสังคมนัน้ ผูก้ ระท�ามักจะได้รบั การชืน่ ชม จากสังคม (social approval) และการชืน่ ชมเห็นชอบนี้ มักท�าให้บคุ คลเกิดความรูส้ กึ ภาคภูมใิ จในตนเอง และ มีแนวโน้มจะกระท�าพฤติกรรมช่วยเหลือสังคมอีก เป็นปัจจัยหนึง่ ทีท่ า� ให้พฤติกรรมการเห็นแก่ประโยชน์ ของผู้อื่นยังคงอยู่ ๒. การเกื้ อ หนุ น ทางสั ง คม (social facilitation) เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่นักจิตวิทยา สังคมพบว่า บางครั้ง การมีผู้อื่นท�างานแบบเดียวกัน หรือการมีผู้อื่นอยู่ด้วย ส่งผลท�าให้บุคคลมีการตื่นตัว ทีจ่ ะระมัดระวังพฤติกรรมของตน โดยการพยายามแสดง พฤติกรรมเด่น (dominant response) แบบอัตโนมัติ เนื่องจากบุคคลอยากให้สังคมยอมรับ ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการเชียร์กฬี า ทีม่ กั จะท�าให้นกั กีฬามีกา� ลังใจ ในการแข่ งขัน เป็นต้น การเกื้อหนุนทางสั ง คมนี้ จะเกิดขึน้ กับลักษณะงาน ทักษะหรือการเรียนรูท้ เี่ ป็น พืน้ ฐาน มากกว่างานทีซ่ บั ซ้อนหรือมีความยากซึง่ ต้อง อาศัยสมาธิ ๓. การเชือ่ ฟัง (obedience) เป็นลักษณะ การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยใช้อิทธิพลทางสังคม ทางตรง คือ ใช้ความมีอ�านาจ (authority) หรือ สถานภาพทีส่ งู กว่า ชักจูงให้บคุ คลยอมรับและปฏิบตั ิ ตามค�าสั่ง อย่างเคร่งครัดโดยง่ายดาย ซึ่งแนวคิดทาง จิตวิทยาสังคมเชือ่ ว่า การเชือ่ ฟังเป็นสิง่ จ�าเป็นในการ ด�าเนินชีวิตร่วมกันในสังคม เนื่องจากแต่ละบุคคล มีหน้าที่ บทบาทและความเชี่ยวชาญต่างกันในสังคม การปลูกฝังให้เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ส�าหรับเด็กถือเป็น เรือ่ งปกติ แต่สา� หรับผูใ้ หญ่ การเชือ่ ฟังผูอ้ นื่ ขึน้ อยูก่ บั พืน้ ฐานของหลักเหตุผล หลักศีลธรรม หลักความเป็นจริง

81

มากกว่าท�าตามค�าสัง่ เพียงอย่างเดียว รวมทั้ง บางครั้ง การเป็นเพียงผูร้ ับค�าสัง่ จะท�าให้บุคคล เกิดความรูส้ กึ รับผิดชอบในการกระท�าน้อยลง จึงท�าให้ยังพบเห็น พฤติกรรมเชื่อฟังผู้อื่นในสังคม ทั้งที่เหมาะสมและ ไม่เหมาะสมอยู่ ๔. ความเป็นผูน้ า� (leadership) เป็นการ ปฏิสมั พันธ์ในรูปแบบทีเ่ ห็นชัดเจน เนือ่ งจากเป็นการ แสดงออกถึงอิทธิพลทางสังคมของบุคคลที่มีต่อคน หมูม่ าก เมือ่ ใดทีส่ มาชิกกลุม่ มีเป้าหมายร่วมกันในการท�า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง กลุ่มนั้นจ�าเป็นต้องมีผู้น�า เพื่อท�าให้เกิด การบรรลุผลตามเป้าหมายของกลุ่ม จึงน่าสนใจว่า ความเป็นผูน้ า� นัน้ เป็นพฤติกรรมทีม่ ตี ดิ ตัวมาตัง้ แต่เกิด หรือเป็นทักษะที่บุคคลสามารถฝึกฝนและเรียนรู้ได้ มีผู้ให้ความสนใจและสร้างทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับ ความเป็นผูน้ า� ไว้หลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีบคุ คลผูย้ งิ่ ใหญ่ (Great-man theory) ที่เชื่อในคุณลักษณะส�าคัญ บางอย่างที่ติดตัวมาแต่ก�าเนิด ท�าให้บุคคลเป็นผู้น�า ทีม่ คี วามแตกต่างจากผูต้ าม ทฤษฎีผนู้ า� ตามสถานการณ์ ทีใ่ ห้ความส�าคัญกับสถานการณ์ทเี่ กิดขึน้ เป็นตัวก�าหนด ผู้น�า หรือทฤษฎีคุณลักษณะของผู้น�า เป็นต้น ซึ่งอาจ สรุปได้วา่ ความเป็นผูน้ า� นัน้ มีความซับซ้อนและขึน้ อยูก่ บั ปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกัน แต่ในทุกสถานการณ์ วิกฤตมักจะท�าให้เกิดผู้น�าหรือผู้ที่มีความเป็นผู้น�า ที่ชัดเจนเสมอ ๕. พฤติกรรมฝูงชน (crowd behavior) เป็นการปฏิสมั พันธ์ทางสังคมทีน่ า่ สนใจเนือ่ งจากพบว่า หลายครั้งที่บุคคลอยู่ด้วยกันเป็นจ�านวนมาก มักจะมี พฤติ ก รรมแตกต่ า งไปจากเวลาที่ เ ขาอยู ่ ค นเดี ย ว นักจิตวิทยาสังคมได้อธิบายว่า การทีบ่ คุ คลอยูร่ วมกัน เป็นฝูงชน จะท�าให้บคุ คลลดความเป็นตัวของตัวเองลง (deindividuation) หรือทีเ่ รียกว่า ภาวะบุคคลนิรนาม โดยการลดเอกลักษณ์ของตัวเองลงนี้ ท�าให้บุคคล สามารถท�าอะไรได้แปลก ๆ ได้ เนื่องจากขาดความ ยับยั้งชั่งใจว่าตนเองเป็นบุคคลหนึ่ง ที่ต้องรับผิดชอบ ต่อการกระท�าของตนเอง นอกจากนี้ เมือ่ บุคคลอยูร่ วมกัน อาจท� า ให้ ประเมิ นสถานการณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ได้ อ ย่ าง ไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควร จึงท�าให้มักเกิดพฤติกรรม ที่ขาดเหตุผล ไม่เหมาะสม เมื่อบุคคลอยู่รวมกัน เป็นจ�านวนมากในเวลาเดียวกัน เช่น พฤติกรรม การยกพวกตีกัน พฤติกรรมจลาจล เป็นต้น ซึ่งการ


82

จะรับมือกับพฤติกรรมฝูงชนใหเปนไปในทิศทางทีต่ อ งการ ควรใชการสื่อสารที่สั้นกระชับ พรอมดวยเหตุผลและ ความสําคัญของพฤติกรรมทีต่ อ งการใหกลุม คนปฏิบตั ติ าม เช น การขอความร ว มมื อ ให ผู  ที่ เ ดิ น ทางมาจาก กลุม ประเทศทีม่ คี วามเสีย่ งของโรคระบาด ดําเนินการ กั ก ตั ว เอง ๑๔ วั น เพื่ อ เป น การเฝ า ระวั ง อาการ เจ็บปวยของตนเองและรับผิดชอบตอสังคม (social responsiveness) ในการไมแพรกระจายการระบาด ของโรค เปนตน สรุปไดวา การปฏิสัมพันธทางสังคม ถือเปน การสนับสนุนทางสังคมทีช่ ว ยใหมนุษยสามารถปรับตัว ในการเผชิญสถานการณวกิ ฤต ใหสามารถอยูร ว มกันได ดังนั้น การเขาใจและประเมินสถานการณทางสังคม โดยเฉพาะในภาวะวิกฤตจึงมีความสําคัญ เนื่องจาก มีผลโดยตรงตอการรับมือกับสถานการณวิกฤตที่มี ผลกระทบตอสังคมเปนวงกวาง ซึง่ หากเรามีการเตรียม ความพรอมของจิตใจใหพรอมรับมือกับภาวะวิกฤต ทีเ่ ราคาดการณไววา อาจจะเกิดขึน้ ไดแลว ยอมทําใหเรา อางอิง

ตระหนั ก และมี ส ติ ใ นการจั ด การกั บ ป ญ หาหรื อ อุปสรรคทีอ่ าจจะเกิดขึน้ ได ถาใครเคยอานหนังสือของ James Allen ที่ชื่อวา As A Man Thinketh จะมี ประโยคที่นาสนใจเขียนไววา “จิตจะดึงดูดสิ่งที่มัน แอบซอนไวเขาสูช วี ติ ทัง้ สิง่ ทีม่ นั รักรวมถึงสิง่ ทีม่ นั กลัว” ซึ่ ง ส ว นใหญ มุ ม มองประสบการณ ชี วิ ต ของคนเรา มักจะเกิดขึน้ ตามคุณภาพความคิดของเรา แมในยาม ที่เราทอแท หรือกังวลมากที่สุด ชีวิตก็ยังเปนของเรา เพียงแตในเวลาที่เราตระหนก หรือออนแอ ความคิด ของเรามั ก จะถู ก บดบั ง ด ว ยหลายสิ่ ง หลายอย า ง ทําใหเกิดการตัดสินใจทีผ่ ดิ พลาดได หากไมไดวางแผน ประเมินสถานการณเพือ่ เตรียมความพรอมไวลว งหนา ดั ง นั้ น ถ า เราตระหนั ก ถึ ง สถานการณ ที่ ป กติ ห รื อ ไมปกติที่มีผลกระทบตอตนเองอยูเสมอ ประเมิน สถานการณอยางเหมาะสม เรายอมสามารถรับมือ กับทุกสถานการณที่ผานเขามาในชีวิตได อาจมีการ ลมลุกคลุกคลานบาง บาดเจ็บบาง แตเราจะกาวผาน สถานการณที่ยากลําบากไปไดเสมอ

- Covello, V. (1995), Risk communication paper. Opening the black box, risk conference. Mcmaster University. - King, Laura A. (2017), The Science of Psychology: An Appreciative View. 4th ed. New York: McGraw-Hill Education. - Long, R.K. (2001), Seven Needless Sins of Crisis (Mis)management. PR Tactics, August, p. 14. - Nolen-Hoeksema, S., Fredrickson, Barbara L., Loftus, Geoffey R. & Lutz, Christel. - Atkinson & Hilgard’s Introduction to Psychology, 16th ed. United Kingdom: RR Donnelley, 2016. - คัคนางค มณีศรี. (๒๕๕๕), จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ชอระกาการพิมพ. - Long, 2001 - Covello, 1995 - คัคนางค มณีศรี, ๒๕๕๕: ๑๖๒; King, 2017: 441-446 - Latane & Darley อางใน คัคนางค มณีศรี, ๒๕๕๕: ๑๖๒ - Nolen-Hoeksema et al., 2016: 559 - Zajonc & Sales อางใน คัคนางค มณีศรี, ๒๕๕๕: ๑๖๖


ภาษาไทย

ข่าวทหารอากาศ

83

ด้วยใจรัก

นวีร

“ภาษาไทยเปนเครื่องมืออยางหนึ่งของชาติ

ภาษาทั้งหลายเปนเครื่องมืออยางหนึ่งของมนุษยชนิดหนึ่ง คือเปนทางสาหรับแสดงความคิดเห็นอยางหนึ่ง เปนสงสวยงามอยางหนึ่ง เชนในทางวรรณคดี เปนตน” พระราชดํารัสในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ภาษาสวยงามในวรรณกรรมไทย ในฉบับนี้ขอนําเสนอเนื้อหาเรื่องราวของ "ภาษาสวยงามในวรรณกรรมแปล" ฉบับกอน ไดกลาวถึงความสวยงามของวรรณคดีไทย จนมีผนู าํ ไปแปลเปนภาษาตางชาติ เพือ่ ใหเขาใจ ศิลปวัฒนธรรมของวรรณกรรมชาตินั้น ๆ และไดยกตัวอยางงานวรรณกรรมแปลของ ม.ร.ว.เสนีย ปราโมช ซึ่งตองรูความหมายและแกนแทของวรรณคดีเรื่องนั้น ๆ และพยายามรักษาฉันทลักษณไทยโดยยึดเสียง และจํานวนเสียงเปนเกณฑ นักวรรณกรรมผูเ ลือ่ งชือ่ วาสามารถแปลวรรณกรรมทํานองนีไ้ ดเปนเยีย่ ม นอกจาก ม.ร.ว.เสนีย ปราโมช แลวเห็นจะเปน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูห วั ดังทีย่ กตัวอยางในฉบับทีแ่ ลว และที่จะกลาวถึงตอไปจาก โคลงภาษิตนักรบโบราณ โคลงภาษิตนักรบโบราณเปนพระราชนิพนธแปลจากภาษาฝรัง่ เศส ทัง้ นีท้ รงพระราชนิพนธชแี้ จงไววา นักรบโบราณมีภาษิตอยูอ นั หนึง่ สําหรับเปนบรรทัดฐานแหงความประพฤติของเขา เปนทีจ่ บั ใจของผูเ ขียนยิง่ นัก ดังขอความตอไปนี้ Mon ame au Dieu, Mon bras au roi, Moñ coerur aux dams, L' honneur a`moi. ซึ่งทรงพระราชนิพนธเปนภาษาไทย ในรูปของโคลงสี่สุภาพ ไดวา


84

มโนมอบพระผู้

เสวยสวรรค์

แขนมอบถวายทรงธรรม์

เทิดหล้า

ดวงใจมอบเมียขวัญ

และแม่

เกียรติศักดิ์รักของข้า

มอบไว้แก่ตัว

บทประพันธ์ข้างต้นนี้ มีความหมายและแก่นแท้ตรงกัน โดยพยายามยึดเสียงและจ�านวนเสียง ให้สอดคล้องใกล้เคียงกัน นอกจากนี้พระองค์ยังทรงใช้ค�าที่ทรงพลังด้วย จึงเป็นที่ประทับใจของผู้อ่าน ที่จะสร้างสรรค์งานอื่น ๆ ต่อไป เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๙๙๕ อิงอร (ศักดิ์เกษม หุตาคม) ได้เชิญ บทพระราชนิพนธ์นเี้ ป็นละครเวทีเรือ่ ง เกียรติศกั ดิท์ หารเสือ ซึง่ ดัดแปลงจากเรือ่ งสามทหารเสือ (The three Musketèers) ของ อเล็กซานเดอร์ ดูมาส์ โดยแต่งกาพย์ยานี ๑๑ เพิ่มในตอนต้นของโคลง ดังนื้ มโนมอบพระผู้

สถิตอยู่ยอดสวรรค์

แขนถวายให้ทรงธรรม์

พระผ่านเกล้าเจ้าชีวา

ดวงใจให้ขวัญจิต

ยอดชีวิตและมารดา

เกียรติศักดิ์รักของข้า

ชาติชายแท้แก่ตนเอง

และกลายเป็นเพลง เกียรติศักดิ์ทหารเสือ ที่เราคุ้นหู มีกาพย์ยานี ๒ บท และโคลงสี่สุภาพ ๑ บท ส่วนผู้ขับร้องเพลงคือผู้แสดงละคร เป็น ๓ ทหารเสือ ประกอบด้วย ส.อาสนจินดา สมพงษ์ พงษ์มิตร และ จอก ดอกจันทน์ แต่เรามาคุ้นกันในเสียงของ สันติ ลุนเผ่ สิ่งเหล่านี้ล้วนท�าให้ได้สุนทรียรส ไม่ว่าจะเป็น บทละครโทรทัศน์ บทละครเวที หรือบทภาพยนตร์ เพลงเกียรติศักดิ์ทหารเสือก็เป็นที่รู้จักและไพเราะจับใจ ด้วยภาษาที่สวยงาม จาก Love of Race and Fatherland ซึ่งแปลว่า ความรัก เชื้อชาติและแผ่นดินเกิด ในบทกวีภาษาอังกฤษ มีว่า With the nation that is without Love and Unity No work undertaken : could bear any fruit, And if the nation is disintagrated and retired How may the individual is there of hope for happiness. ซึ่งพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนสุภาพรักชาติบทหนึ่ง ความว่า


ข่าวทหารอากาศ

85

ชาติใดไร้รักสมัครสมาน จะท�าการสิ่งใดก็ไร้ผล แม้ชาติย่อยยับอับจน

บุคคลจะสุขอยู่อย่างไร

- ผู้เขียนจ�าได้ว่า เมื่อเป็นนักเรียนชั้นประถม คุณครูจะให้ร่วมกันร้องเพลงนี้ในชั่วโมงวิชาขับร้อง ซึ่งมักจะเป็นชั่วโมงสุดท้ายของวัน พวกเราจึงชอบและจ�าเนื้อร้องกันได้ดี จากเรือ่ ง มัทนะพาธา (แปลว่า ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนแห่งความรัก) หรือชือ่ ภาษาอังกฤษ ว่า The Pain of Love ซึง่ เป็นต�านานดอกกุหลาบ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระราชนิพนธ์ ขึน้ เอง เป็นค�าฉันท์ (ค�าประพันธ์ประเภทกาพย์และฉันท์ชนิดต่าง ๆ รวมกัน รวมทัง้ บทพูดทีไ่ ม่กา� หนดจ�านวนค�า และไม่บังคับสัมผัส) ที่ส�าคัญ พระองค์ใช้ภาษาที่สวยงาม และมีความหมาย เช่น ความรักเหมือนโรคา

บันดาลตาให้มืดมน

ไม่ยินและไม่ยล

อุปสรรคใดใด

ความรักเหมือนโคถึก

ก�าลังคึกผิขังไว้

ก็โลดจากคอกไป

ถึงหากจะผูกไว้

ก็ดึงไปด้วยก�าลัง

ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง

บ่หวนคิดถึงเจ็บกาย

บ่ยอมอยู่ ณ ที่ขัง

และทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง ว่าดังนี้ Love 's like sickness, that makes men's eyes misty. Neither knowing, nor seeing obstacles. Love's like a lusty bull which, if confined, Leaps from the pen and will not be kept in, And e'en wheh tied, would strongly strain its bond; Violent in restrain, It fears no hurt. แม้จากวรรณกรรม เพียง ๓ เรื่อง คือ โคลงภาษิตนักรบโบราณ ความรักเชื้อชาติและแผ่นดินเกิด และมัทนะพาธา แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลือกใช้ค�าที่สวยงาม ท�าให้ ได้ผลงานที่ไพเราะ อมตะ และทันสมัยอยู่เสมอ เหมาะสมแล้วที่ท่านเป็น พระมหาธีรราชเจ้า นิรันดร


86


ขอบฟ้าคุณธรรม

ข่าวทหารอากาศ

รู้จักพอ ซื่ อตรง รับผิดชอบ คิดบวก .. มองไปข้างหน้า .. แก้ไขที่ตัวเรา

โดย 1261

... อยา่ ท�าคนดี... ให้หเป็ มองมั ว อย้ า่ ทัปล อ่ ยคนชั นคนรู มใจ ... ว่ ให้ลอยนวล ... วั น หนึ่ ง ผู ้ เ ขี ย นชมรายการ Talk Show จาก YouTube เป็นการดูทวี ที เี่ หนือ่ ยมาก ๆ ครัง้ หนึง่ ทัง้ ๆ ที่ เป็ น เรื่ อ งค่ อ นข้ า งตลก มี ช ายคนหนึ่ ง ชื่ อ ว่ า โทมั ส มีอาชีพเป็นช่างตั้งเสียงเปียโน เขาก�าลังเล่าปัญหาของ เขาให้เพื่อน ๆ ฟังว่า เมื่อวานเขาต้องไปตั้งเสียงเปียโน ในห้องพักผ่อนของโรงพยาบาลโรคจิตทีต่ งั้ อยูช่ านเมือง เขารู้อยู่แล้วว่าเขาจะต้องพบ กั บ อะไรบ้ า งที่ โ รงพยาบาล โรคจิต เขาจึงเตรียมใจไปอย่างดี แต่เรือ่ งมันก็เกือบท�าให้เขาทน ไม่ไหว ขณะทีเ่ ขาก�าลังตัง้ เสียง เปียโนอยู่นั้น ก็มีชายคนหนึ่ง เข้ามาในห้อง มาเปิดทีวีเสียง ดังลั่น จนเขาฟังเสียงเปียโน ที่ จ ะตั้ ง ไม่ ชั ด เลย แม้ เ ขาจะ พยายามเคาะแป้ น เปี ย โนให้ ดั ง ที่ สุ ด แล้ ว เขาคิ ด ในใจว่ า เขาต้องใจเย็น ๆ พวกคนป่วย โรคจิตนั้นจะท�าให้อารมณ์เสีย ไม่ได้ เขารอสักห้านาทีเมือ่ ชาย ผู้นั้นถอยมานั่งแล้ว เขาจึงค่อย ๆ ลุกขึ้นไปปิดทีวีและ มาตั้งเปียโนต่อ เขาตั้งเปียโนได้สักห้านาทีชายผู้นั้นก็ ลุกไปเปิดทีวีอีก เขาก็รอสักพักแล้วก็ลุกขึ้นไปปิดทีวี อีกครั้ง อีกสักครู่ชายผู้นั้นก็ลุกขึ้นไปเปิดทีวีอีก กลับไป กลั บ มาอย่ า งนี้ สิ บ กว่ า ครั้ ง กว่ า จะตั้ ง เปี ย โนเสร็ จ เสียเวลาและเสียอารมณ์อย่างมาก เป็นวันทีโ่ ชคไม่ดเี ลย คราวหน้าจะไม่รับงานที่นี่แล้ว เพื่อน ๆ ก็ให้ก�าลังใจ ว่าที่โรงพยาบาลโรคจิตมันก็อย่างนี้แหละ อย่าไปถือ

87

คนบ้าอย่าไปด่าคนเมาเดี๋ยวจะเอาตัวไม่รอด ในวันเดียวกันนั้นเอง อีกฟากหนึ่งของเมือง มิเชล เป็นช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ก�าลังทานอาหารเช้าอยูก่ บั ครอบครัว เขาเล่าให้พ่อแม่และภรรยาฟังว่า เมื่อวานนี้ เป็นวันที่แย่สุด ๆ วันหนึ่ง เจ้านายใช้ให้ไปซ่อมทีวี ที่ ห ้ อ งพั ก ผ่ อ นของโรงพยาบาลโรคจิ ต ที่ ช านเมื อ ง

ทีวีมีปัญหาว่าเปิดใช้งานได้สักสิบนาทีภาพก็จะล้ม ขณะที่เขาเข้าไปซ่อมนั้นมีชายคนหนึ่งนั่งเล่นเปียโน เสียงดังลัน่ เล่นก็ไม่เป็น เคาะซ�า้ ๆ อยูน่ นั่ แหละแป้นเดียว ไม่รสู้ กั กีค่ รัง้ เมื่อเขาเปิดทีวีดูอาการ รอได้แค่สี่ห้านาที ชายผู้นั้นก็ลุกขึ้นมาปิดทีวี และไปเคาะเปียโนแบบเดิม เสียงดังหนวกหูมาก มิเชลท�าตามที่เจ้านายสั่งไว้ว่า อย่าไปขัดขืนกับคนไข้ทนี่ ี่ จึงรอสักห้านาที แล้วไปเปิดทีวใี หม่ แต่สักพักชายผู้นั้นก็มาปิดทีวีและไปเล่นเปียโนต่ออีก


88

เป็นสิบรอบ สุดท้ายเขาจึงต้องกลับมาบอกเจ้านายว่า วั น นี้ ซ ่ อ มไม่ ไ ด้ เพราะเหตุ ก ารณ์ ที่ เ ล่ า มา ผลก็ คื อ โดนเจ้านายต่อว่า ไม่รู้จักอดทนไม่รู้จักท�าใจเสียบ้าง ผู้เขียนดูแล้วเหนื่อยแทนทั้งสองคน และตัวเอง ก็เหนือ่ ยมาก ทีจ่ ริงรายการก็ตลกดีอยู่ แต่รายการแบบนี้ จะมีการตัดต่อแทรกโฆษณามาขัดจังหวะตลอดเวลา ใน YouTube เดี๋ยวนี้มีโฆษณาเต็มไปหมด ผู้เขียนต้อง ลุ ก ขึ้ น ไปกด Skip เลื่ อ นโฆษณาเป็ น สิ บ รอบกว่ า จะจบได้ จบแล้วก็ยังงง ๆ อยู่ว่าใครป่วยกันแน่ระหว่าง โทมัส มิเชล และตัวผู้เขียนเองด้วย ที่มาทนดูสู้กับ โฆษณาอยู่ท�าไมเนี่ย พอตอนกลางวันลูกผู้เขียนชวนไปทานอาหารที่ ร้านอาหารบ้านบางเขน ตรงหน้ากรมทหารราบที่ ๑๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ ที่นี่มุมหนึ่งเขาจัดให้เป็นมุม ของเก่า มีอปุ กรณ์เครือ่ งใช้สมัยสี่ ห้าสิบปีกอ่ น มาจัดไว้ ให้ดู มีพดั ลมเก่า ๆ จักรเย็บผ้าเก่า ๆ มอเตอร์ไชค์เก่า ๆ กาน�า้ เตารีดเก่า ๆ การจัดร้านขายของช�าสมัยเก่า ผูเ้ ขียน เดินดูแล้วชอบใจป้ายขายยาอันหนึ่ง คือ ยาทัมใจ คนที่ อายุห้าหกสิบปีคงยังพอเคยเห็นและจ�าได้ แต่ผู้เขียน ชอบชือ่ นีม้ าก นึกถึงเรือ่ งทีโ่ รงพยาบาลโรคจิตทีด่ เู มือ่ เช้า ใช่เลยเราทุกคนต้องรู้จักทัมใจ การทัมใจเป็นคุณธรรม ทีส่ า� คัญมากข้อหนึง่ ทีเดียว แม้ตวั เขียนทีใ่ ช้ในกรณีนจี้ ะ ไม่ได้แปลตรงความหมายนัก แต่เอาเป็นว่า เราเข้าใจ ได้วา่ การรูจ้ ักทัมใจนัน้ ส�าคัญนัก จึงเป็นเรื่องที่จะคุยกันในวันนี้ ยาทัมใจนั้น จริงแล้วเป็นยา แอสไพรินธรรมดา ๆ นีเ่ อง แต่เดิม ตั้งชื่อในภาษาไทยว่า ยาทันใจ เวลาโฆษณา ก็บอกว่า เป็นไข้ ปวดหัว ปวดฟัน ใช้ยาทันใจ หาย ทันใจ พอตอนหลังมี กบว.เกิดขึน้ เขาบอกว่ า เป็ น ชื่ อ ที่ เ กิ น จริ ง ไปหน่อย โฆษณาก็เกินจริง ก็เลย เปลี่ ย นชื่ อ เป็ น ยาทั ม ใจ นี่ คื อ ประเทศไทยและภาษาไทย ถ้าจะ อยูใ่ ห้มคี วามสุขต้อง "ทัมใจ" ให้ได้

การท� า ใจ (ที่ ถู ก ต้ อ ง) ในพจนานุ ก รมแปลว่ า การบังคับใจ การควบคุมใจ การควบคุมความรู้สึก เป็นค�าที่ใช้ในความหมายเชิงลบ คือก่อนที่จะท�าใจนั้น มักจะมีเหตุการณ์ ที่ท�าให้เราเศร้าใจ เจ็บใจ แค้นใจ เสียใจ ฯลฯ เช่น อกหักคนรักทิ้งเราไป คนที่เราไว้ใจ หักหลังเรา ทีมกีฬาที่เราเชียร์อยู่พ่ายแพ้ตกรอบไป สิ่งเหล่านี้จะมีความรู้สึกเกิดขึ้นในใจ มากบ้างน้อยบ้าง หากตกค้างอยูใ่ นใจนาน ๆ ก็ไม่ดนี กั เราต้องรูจ้ กั ควบคุม จิตใจให้สงบลงให้ได้ นั่นคือการท�าใจนั่นเอง จะเห็นว่า ทั้งหมดเป็นนามธรรมทั้งนั้นเลย ไม่ว่าจะเป็นความ เศร้าใจ เสียใจ หรือท�าใจ สิ่งเหล่านี้จะชั่ง ตวง วัด หรือ ตัดออก ยกไปทิ้ง เหมือนสิ่งของทั่ว ๆ ไปไม่ได้ แต่ต้อง ควบคุมจิตใจของเราให้สงบ การที่จะท�าได้จา� เป็นต้อง มีการฝึกฝน ทดสอบ แก้ไข ปรับปรุง จิตใจของเรา อยู่เสมอ ๆ เราถึงจะท�าใจได้ วิธีฝึก ท�ำใจ สิ่งส�าคัญที่จะท�าให้จิตใจคนเรา ปล่อยได้ วางได้ สงบได้ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น คือการฝึกให้ใจมีความ เข้มแข็ง โดยพยายามฝึกฝนในเรื่องต่อไปนี้ ๑. ฝึกกำรท�ำใจยอมรับ การยอมรับไม่ใช่การยอมแพ้ หรือยอมจ�านน แต่เป็นการฝึกใจให้มองเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเรา จะเสี ย เงิ น ทอง ของหายของช� า รุ ด รถเสี ย ไฟไหม้


ข่าวทหารอากาศ

ญาติพี่น้องคนรักจากไป เกิดการเจ็บป่วยกับตัวเรา พลาดต�าแหน่ง พลาดสองขั้น ฯ เราต้องมองสิ่งเหล่านี้ ว่าเป็นเรื่องที่มีเกิดขึ้นกับทุกคนในโลกนี้ ไม่ใช่เกิดกับ เราคนเดียว มันเป็นธรรมดาโลก เราไม่ควรโวยวาย ไม่โทษโชคชะตาราศีอะไร มีปัญหาอะไรก็แก้ปัญหา ให้ดที สี่ ดุ แก้ได้กด็ แี ก้ไม่ได้กเ็ ป็นธรรมดา เพราะไม่มใี คร ในโลกนี้แก้ปัญหาได้ทุกปัญหา ทุก ๆ วันจะมีสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นกับเรา การฝึกการท�าใจยอมรับ จึงฝึกได้ทุกวัน มีค�าคมที่น่าคิดบอกว่า "...แม้การยอมรับความจริง จะเป็นสิ่งที่เจ็บปวด แต่สิ่งที่ปวดใจมากกว่าคือการ ไม่ยอมรับความจริง..." และเมือ่ เราฝึกจนมีความช�านาญ การท�าใจจะไม่ใช่เรื่องยากเลย ๒. ฝึกรูใ้ จ เห็นใจ ตัวเองเสมอ ๆ เป็นเรือ่ งแปลกมาก ที่ ค นเราทุ ก คน อยากมี เ พื่ อ นที่ รู ้ ใ จ มี แ ฟนที่ รู ้ ใ จ มีหัวหน้าหรือลูกน้องที่รู้ใจ หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงก็อยาก ให้เขารู้ใจเรา เวลาเจ็บป่วย ทุกข์ยาก ก็อยากให้มีคน เห็นอกเห็นใจ แต่ถ้าถามว่า แล้วแต่ละท่านเคย รู้ใจ หรือเห็นใจตัวเองบ้างไหม มากกว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ ของผู้คนไม่เคยเห็นใจ หรือรู้ใจตนเองเลย วันหนึ่ง ๆ ก็ ป ล่ อ ยให้ ใ จตกเป็ น ทาสของกิ เ ลส โดนความโลภ

ความโกรธ ความหลงใช้งานทั้งวัน เราไม่รับรู้อะไรเลย แถมเอาใจช่วยกิเลสตลอดเวลา ไม่เคยรู้ใจและเห็นใจ ตัวเองบ้างเลย แล้วจะไปเรียกร้องให้คนอื่นมารู้ใจ มาเห็นใจเรา ก็ดูเป็นเรื่องที่แปลกอยู่ทีเดียว หากท่าน ผู้อ่านมีสติหยุด ดูใจตัวเองบ้างก็จะเห็นความเหนื่อย ความทุกข์ของใจตัวเองชัดเจน ดูบ่อย ๆ ก็จะเห็นใจ ตัวเองมากขึ้นรู้ใจตัวเองมากขึ้น ใจของท่านจะอบอุ่น มีเพื่อน มีคนดูแล มีคนรู้ใจ มีคนเห็นใจตลอดเวลา และท่านก็จะไม่เรียกร้องสิง่ นีจ้ ากผูอ้ นื่ อีก เพราะไม่มใี คร รู้ใจเห็นใจท่านดีเท่าตัวท่านอีกแล้ว และเมื่อไรที่ท่าน ต้องท�าใจ ก็จะเป็นเรื่องง่ายเพราะท่านก�าลังแก้ปัญหา ร่วมกับเพื่อนรักคือใจของท่าน ๓. ฝึกมีมุทิตาจิต การมีมุทิตาจิตคือมีจิตที่ยินดี ดีใจ กับความโชคดี ความส�าเร็จของคนอื่น การฝึกดีใจ กั บ คนอื่ น นั้ น ฝึ ก บ่ อ ย ๆ มั น จะเป็ น ไปโดยอั ต โนมั ติ เพราะถ้าได้เห็นได้ยนิ เรือ่ งอะไรของคนอืน่ แล้วไม่ฝกึ คิด ดีใจกับเขา ความอิจฉาตาร้อนจะเข้ามาแทน แล้วใจ จะไม่สงบเลย ๔. ฝึกคิดเชิงบวก การคิดเชิงบวกนั้น เหมือนยา พาราเซตามอล บรรเทาได้ทกุ โรคภัย เรือ่ งราวทัง้ หลาย

89


90

ที่เกิดขึ้นกับชี วิตคนเรานั้น ย่อมมีทั้งผลทางบวกและ ผลทางลบแล้วแต่เราจะมอง รถติดก็ดีใจที่ได้คุยกับลูก นานขึ้นก่อนถึงโรงเรียน ของหายก็ดีใจได้เพราะจะได้ เปลี่ยนใหม่เสียที เจ็บป่วยก็ดีใจได้ จะได้มีเหตุให้ได้ นอนพักสบาย ๆ บ้าง นอนโรงพยาบาลก็คิดว่ามันเป็น โรงแรมชั้นหนึ่ง มีคนเสิร์ฟอาหารแถมมีหมอพยาบาล มาดูแลด้วย คิดดู ซิว่าถ้าจ้างคนเหล่านี้ไปบริการที่บ้าน เราจะแพงแค่ไหน เจ้านายดุด่าว่ากล่าวก็ต้องขอบคุณ ที่เขาเอาใจใส่ดู แลเรา ถ้าเขาไม่เอาใจใส่เราเขาจะรู้ ได้ยังไงว่าเรามาท�างานสายตลอด ถ้าเป็นเรื่องงาน ไม่เรียบร้อยก็ต้ อ งขอบคุณที่เขาช่วยตรวจแก้ไขให้ เพื่ อ นแหย่ เ พื่ อ นแซวก็ บ อกได้ ว ่ า ไม่ ต ้ อ งอิ จ ฉากั น ทุกอย่างมันมีมมุ บวกเสมอ แต่อย่าลืมส�ารวจตัวเองด้วย ว่าเรือ่ งเหล่านัน้ เราต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง การคิดบวก เป็นก�าไรแบบไม่ต้องท�าใจเอาทีเดียว ๕. ฝึกเจริญมรณสติ อ ยู่ เสมอ การเจริญมรณสติ

คือการคิดถึงการตาย ความตาย จะเห็นว่าทุกวันที่ วั ด พระศรี ฯ มี ง านศพเต็ ม เกื อ บทุ ก ศาลา แสดงว่ า การตายนั้นเกิดขึ้ น กั บ คนบนโลกนี้ตลอดเวลาและมอง ให้เห็นว่า ตัวเรานั้ น ต้องตายแน่นอน และมีสิทธิ์ตาย ได้ทกุ วินาทีจากนีไ้ ป นึกถึงเมือ่ ไรก็วนิ าทีถดั ไปนัน่ แหละ การตายคือการสูญเสียทุกอย่างแม้แต่ลมหายใจ แล้วแค่ ของหาย แฟนทิ้ง เจ้านายดุด่า ไม่ได้ต�าแหน่ง เพื่อนไม่ กดไลค์ให้ จะมีปัญหาอะไรถ้าเทียบกับการตายของเรา คิดบ่อย ๆ เมื่อมีเรื่องต้องท�าใจ ก็ง่ายมากเลย เพียงฝึกฝนห้าข้อนี้ อ ย่างสม�่าเสมอ เมื่อมีปัญหา เกิดขึน้ เราก็จะท�าใจได้ จิตใจก็จะไม่ทกุ ข์ เพราะปัญหา บางอย่างมันแก้ไขไม่ ไ ด้ ตอนนั้นแต่ก็พอจะท�าใจได้ แต่ถ้าท�าทุกอย่างแล้วรู้สึกว่าไม่มีอะไรดีขึ้น ก็นึกเสียว่า ท่านก�าลังท�างานอยู่ในที่ ท�างานเหมือนที่โทมัส และ มิเชล เขาไปท�างานก็แล้ว กั น จะได้สบายใจ ถ้าปวดหัว ก็ทานยาทัมใจ ถ้าปวดใจก็จงรู้จัก "ท�าใจ"


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๑ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย ผบ.ทอ.เปนประธานในพิธเี ปดอาคาร ศซบ.ทอ.โดยมี พล.อ.ต.วิสทุ ธิ์ สมภักดี ผอ.ศซบ.ทอ.ใหการตอนรับ ณ ศซบ.ทอ. เมื่อวันที่ ๑๘ มี.ค.๖๓

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย ผบ.ทอ.ตรวจเยีย่ ม ชอ.บางซือ่ เพือ่ ควบคุมการแพรระบาดของโรค COVID-19 โดยมี พล.อ.ท.ภาณุวัชร เปยมศรี จก.ชอ.ใหการตอนรับ ณ ชอ.บางซื่อ เมื่อวันที่ ๒๐ มี.ค.๖๓

พญ.วิไลภรณ วงษวาทย นายกสมาคมแมบาน ทอ.สอนวิธีการทําหนากากอนามัยอยางงายดวยตนเอง จากกระดาษ Non-Woven ใหแกบคุ ลากรทางการแพทย ของ พอ.และ สวบ.ทอ.โดยมี พล.อ.ท.เกรียงไกร โสธรชัย จก.พอ.ใหการตอนรับ ณ วพอ.พอ. เมื่อวันที่ ๑๓ มี.ค.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๒

พล.อ.อ.วีรพงษ นิลจินดา รอง ผบ.ทอ.ตรวจเยีย่ ม รร.นนก.โดยมี พล.อ.ท.ธาดา เคีย่ มทองคํา ผบ.รร.นนก. ใหการตอนรับ ณ รร.นนก. เมื่อวันที่ ๑๓ มี.ค.๖๓

พล.อ.อ.สิทธิชยั แกวบัวดี ผช.ผบ.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ ม ศวอ.ทอ.โดยมี พล.อ.ท.ยุทธชัย วัชรสิงห ผอ.ศวอ.ทอ.ใหการตอนรับ ณ หองประชุม ศวอ.ทอ. เมื่อวันที่ ๑๓ มี.ค.๖๓

พล.อ.อ.สฤษฎพงศ วัฒนวรางกูร หัวหนาคณะนายทหารฝายเสนาธิการประจําผูบ งั คับบัญชา/ผูบ ญ ั ชาการ เหตุการณ ศบภ.ทอ.นํากําลังพลพรอมยานพาหนะและอุปกรณ ปฏิบตั กิ ารลางถนนและฉีดพนนํา้ ยาฆาเชือ้ โรค ณ บริเวณหนาหางสรรพสินคาฟวเจอรพารค รังสิต เมื่อวันที่ ๑๙ มี.ค.๖๓


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๓ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.ท.ตรีพล อองไพฑูรย จก.กร.ทอ./เลขานุการ ศบภ.ทอ.ตรวจเยีย่ มจุดประชาสัมพันธการใหความรู และคําแนะนําในการลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรค COVID - 19 พรอมทั้งแจกหนากากอนามัยแบบผา จํานวน ๒,๐๐๐ ชิ้น ใหแกพี่นองประชาชน ณ บริเวณหนาวัดดอนเมือง และตลาดวัฒนานันท (ฝงโขง) เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๓ มี.ค.๖๓

พล.อ.ท.สุรสีห สิมะเศรษฐ ผบ.อย.พรอมคณะ ตรวจเยี่ยมสายวิทยาการอากาศโยธิน บน.๔๖ โดยมี น.อ.ภาณุวัตร เรืองประยูร ผบ.บน.๔๖ ใหการตอนรับ ณ บน.๔๖ จว.พิษณุโลก เมื่อวันที่ ๑๘ มี.ค.๖๓

พล.อ.ท.ภาณุวชั ร เปย มศรี จก.ชอ./หัวหนาคณะ DAE MTT บรรยายพิเศษเรือ่ ง Reliability Engineering ใหแกขา ราชการ ชอ. (AEROMAN) ของ บน.๒๑ โดยมี น.อ.วัชรพล นวลเปนใย ผบ.บน.๒๑ ใหการตอนรับ ณ บน.๒๑ จว.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๒ มี.ค.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๔

พล.อ.ต.ภูวเดช สวางแสง จก.จร.ทอ.พรอมคณะ ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการ บน.๗ ประจําป ๖๓ โดยมี น.อ.ศุภวัจน จิตรมนตรี รอง.ผบ.บน.๗ ใหการตอนรับ ณ หองประชุม บน.๗ จว.สุราษฎรธานี เมื่อวันที่ ๑๒ มี.ค.๖๓

พล.อ.ต.ครรชิต นิภารัตน จก.กง.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ มสายวิทยาการการเงิน ยศ.ทอ.ประจําป ๖๓ โดยมี พล.อ.ต.กานตชนก หันหาบุญ รอง จก.ยศ.ทอ.ใหการตอนรับ ณ ยศ.ทอ. เมื่อวันที่ ๑๓ มี.ค.๖๓

พล.อ.ต.อติชาติ ศิลานันท จก.สบ.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ มสายวิทยาการสารบรรณ บน.๕๖ ประจําป ๖๓ โดยมี น.อ.สุทธิพงษ วงษสวัสดิ์ ผบ.บน.๕๖ ใหการตอนรับ ณ ฝูง.๕๖๑ บน.๕๖ เมือ่ วันที่ ๑๘ มี.ค.๖๓


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๕ ขาวทหารอากาศ

น.อ.นรินทร หงสกุล เสธ.รร.การบิน/ผูแทน ผบ.รร.การบิน รวมกับ รพ.จันทรุเบกษา พอ.จัดกิจกรรม มิตรประชาตาน COVID - 19 ณ ตลาดแสนเมือง รร.การบิน จว.นครปฐม เมื่อวันที่ ๒๐ มี.ค.๖๓

น.อ.ภคณัฐ ศุขะพันธุ ผูอ าํ นวยการกองอํานวยการฝกรวมการ ทดแทนการฝกผสม COPE TIGER 2020 เป น ประธานในการออกหน ว ยมิ ต รประชาช ว ยเหลื อ ประชาชน ร ว มกั บ หน ว ยมิ ต รประชา บน.๑ ณ รร.บานหนองไขนํ้า ต.หนองไขนํ้า อ.เมืองนครราชสีมา จว.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑๙ มี.ค.๖๓

น.อ.ชยศว สวรรคสรรค ผบ.บน.๕ นําขาราชการ ลูกจาง และพนักงานราชการ บน.๕ รวมพิธบี าํ เพ็ญกุศล วันคลายวันสถาปนา ฝูง.๕๐๑ บน.๕ (๑๕ ก.พ.๖๓) ณ โรงจอดอากาศยาน ฝูง.๕๐๑ บน.๕ จว.ประจวบคีรขี นั ธ เมื่อวันที่ ๑๙ มี.ค.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๖

น.อ.ชนาวีร กลิ่นมาลี ผบ.บน.๒๓ นําขาราชการ ลูกจาง และพนักงานราชการ บน.๒๓ เขารวม การตรวจวัดไขจากคณะแพทย พยาบาล และเจาหนาที่ จาก รพ.บน.๒๓ เพื่อเฝาระวังไวรัส COVID - 19 ณ บก.บน.๒๓ จว.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๑๖ มี.ค.๖๒

น.อ.นรุธ กําเนิดนักตะ ผบ.บน.๔๑ รวมเปนเจาภาพงานพิธบี าํ เพ็ญพระราชกุศล ๑๐๐ วันพระราชทานศพ พระพรหมมงคล วิ.(หลวงปูท อง สิรมิ งคลโล) อดีตเจาอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร ณ มหาศาลา หทัยนเรศวร วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร อ.จอมทอง จว.เชียงใหม เมื่อวันที่ ๑๗ มี.ค.๖๓

น.อ.สุทธิพงษ วงษสวัสดิ์ ผบ.บน.๕๖ ชี้แจงใหความรู และแนะนําเรื่องการปองกันโรคปอดอักเสบ จากเชื้อไวรัส COVID - 19 ใหแกขาราชการ ลูก จาง และพนักงานราชการ บน.๕๖ ณ บก.บน.๕๖ จว.สงขลา เมื่อวันที่ ๑๘ มี.ค.๖๓


มาตรการแนวทางการปฏิบัติปองกัน การแพรระบาดของโรค COVID-19

ของกองทัพอากาศ ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปลงวิทยา

ในการประชุม ศปก.ทอ.เมือ่ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ ๒๕๖๓ ทีผ่ า นมา ผูบ ญั ชาการทหารอากาศไดมอบหมายให พล.อ.อ.สฤษฎพงศ วัฒนวรางกูร หน.คณะ ฝสธ.ประจํา ผบช.วางแผน อํานวยการ ประสานงาน สัง่ การ ควบคุม แล ะกํ า กั บ ดู แ ล ก ารป อ งกั น และแก ไ ขป ญ หา กา รแพรระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม หรือ COVID-19 ในพืน้ ทีก่ องทัพอากาศจากนัน้ จึงได จัดใหมกี ารประชุมเพือ่ กําหนดแนวทางในการปองกัน การแพรระบาดของเชือ้ โรค ในพืน้ ทีก่ องทัพอากาศขึน้ โด ยได มี ข  อ สรุ ป เรื่ อ ง แนวทางในการป อ งกั น การแพรระบาดของเชือ้ โรค COVID-19 แนวทางในการ ตรวจรักษา และแนวทางในการติดตามและประเมินผล

อยางที่ทุก ๆ ทานไดเห็นกันตั้งแตเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๓ อาทิ แนวทางการเฝาระวัง ไดกาํ หนดมาตรการ กา รตรวจและคัดกร อง ซึ่งไดมีการจํากัดชองทาง เขา - ออก ของสถานทีท่ าํ งาน เพือ่ ตรวจและคัดกรอง กํา ลังพล ทอ.ทั้ง หนวยงานภายใน อาคาร บก.ทอ. และหนวยงานภายนอก อาคาร บก.ทอ. ตลอดจน ได จัดใหมีเครื่ องตรวจวัดอุณหภูมิ ประจํา ประตู หรือชองทางเขา - ออก ของสถานที่ทํางาน และจัด แอลกอฮอลเจล ความเขมขนของแอลกอฮอลไมตาํ่ กวา ๗๐ เปอรเซ็นต ต ามจุดชองทางเขา - ออก เพื่อให กํ า ลั ง พลของ ทอ.ได ใ ช ทํ า ความสะอาดหลั ง จาก เปดประตูผานชองทาง


98

ส่วนมาตรการแนวทางการป้องกัน ได้มกี ารจัดชุดปฏิบตั กิ ารประชาสัมพันธ์ให้ความรูแ้ ละค�าแนะน�า ในการลดความเสีย่ งการติดเชือ้ เชือ้ โรค COVID-19 พร้อมแจกจ่ายหน้ากากอนามัยให้กา� ลังพลและครอบครัว รวมทัง้ ประชาชนบริเวณรอบฐานทัพอากาศดอนเมือง การผลิตสือ่ และเผยแพร่ เพือ่ รณรงค์ให้ความรูแ้ ละวิธกี าร ป้องกันตนเอง จากการแพร่ระบาดเชื้อโรค COVID-19 ผ่านทุกช่องทางสื่อของ ทอ.

มาตรการรักษาพยาบาลได้จัดให้บริการทางการแพทย์ แบบ One Stop Service เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย และดูแลรักษาผู้ป่วยจัดเตรียมห้องพักผู้ป่วย ส�าหรับก�าลังพล และครอบครัว เพื่อรองรับการรักษา โรงพยาบาล ทอ. ณ ที่ตั้งต่างจังหวัด ออกให้ความรู้และค�าแนะน�าในการป้องกันตัวเองส�าหรับก�าลังพล และครอบครัว รวมทั้งชุมชนโดยรอบที่ตั้งของหน่วย


ข่าวทหารอากาศ

มาตรการดูแลสภาพแวดล้อมสถานทีท่ า� งาน ด�ำเนินกำรท�ำควำมสะอำดสถำนที่ ห้องท�ำงำน และ อุปกร ณ์ที่ใช้ร่วมกั น เช่น รำวบันได มือจับประตู แป้นพิมพ์ โทรศัพท์ เป็นต้น อย่ำงน้อยสัปดำห์ละ ๑ ครั้ ง จั ด แอลกอฮอล์ เ จลไว้ ต ำมจุ ด ที่ ก� ำ ลั ง พล ปฏิบตั งิ ำน จัดสบูล่ ำ้ งมือในห้องน�ำ้ ให้เพียงพอ มำตรกำร เมือ่ สถำนกำรณ์กำรแพร่ระบำดของเชือ้ โรค COVID-19 เข้ ำ สู ่ ร ะยะที่ ๓ ให้ ด� ำ เนิ น กำรปิ ด แหล่ ง ชุ ม นุ ม ของข้ำรำชกำรที่ส�ำคัญ เช่น สโมสร สถำนที่จัดเลี้ยง สังสรรค์ สถำนที่ออกก�ำลังกำยที่มีระบบปรับอำกำศ เป็นต้น กรมอนามั ย ชี้ แ จงว่ ำ หน้ ำ กำกผ้ ำ ยั ง เป็ น ทำงเลื อ กของคนไม่ ป ่ ว ยในกำรป้ อ งกั น โรคไวรั ส COVID-19 ๑. คนปกติทวั่ ไปไม่จำ� เป็นต้องสวมหน้ำกำก อนำมัย แต่สิ่งส�ำคัญคือ ลดกำรสัมผัส ไปไหนมำไหน ไม่จ�ำ เป็นต้องสัมผัสสิ่งของก็อย่ำจับ จึงแนะน�ำว่ำ ให้ ล ้ ำ งมื อ บ่ อ ย ๆ ด้ ว ยน�้ ำ หรื อ สบู ่ หรื อ ใช้ เ จล แอลกอฮอล์ล้ำงมือ ๒. ช่วยกันประดิษฐ์หน้ำกำกกันเอง คนปกติ ทั่ ว ไป ที่ ไ ปยั ง พื้ น ที่ แ ออั ด มี ค นหนำแน่ น ให้ ส วม หน้ ำ กำ กผ้ำ ส่วนหน้ำ กำกอนำมัยเหมำะส� ำ หรั บ เป็นบุคลำกรทำงกำรแพทย์ หน้ำกำกผ้ำ อย่ำงผ้ำฝ้ำย ผ้ำใยสังเครำะห์ ผ้ำสำลู ผ้ำกลุ่มนี้สำมำรถน�ำมำผลิต เป็นหน้ำกำกผ้ำได้ ยิ่งซักยิ่งมีควำมแน่นหนำมำกขึ้น เพรำะเ ส้นจะเหลือประมำณ ๑ ไมครอน โดยไวรัส COVID - 19 ขนำดอยู่ที่ ๕ ไมครอน แม้ว่ำกรองได้ ไม่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่กรองก็ได้ถงึ ๕๔ - ๕๙ เปอร์เซ็นต์ ถือว่ำเพียงพอส�ำหรับคนทั่วไปที่ใช้ในพื้นที่แออัด

99

ส�าหรับค�าแนะน�าการสวมหน้ากากอนามัยชนิดผ้า • ผู้ที่มีอำกำรไข้ ไอ น�้ำมูกไหล ควรสวม หน้ำกำกอนำมัยตลอดเวลำเมื่อเข้ำสังคมหรือชุมชน • ท�ำควำมสะอำดหน้ำกำกอนำมัยชนิดผ้ำ ทุกวัน โดยวิธกี ำรซักด้วยสบูห่ รือผงซักฟอก ตำกให้แห้ง และรีดด้วยเตำรีด • หำกผูส้ วมหน้ำกำกชนิดผ้ำสัมผัสกับผูป้ ว่ ย โรคทำงเดิ น หำยใจอย่ำงใกล้ชิด หรือมีกำรไอ จำม รดใบหน้ำ ควรถอดหน้ำกำกออก ท�ำควำมสะอำดใบหน้ำ และหน้ำกำกอนำมัยโดยเร็ว • กำรใช้หน้ำกำกอนำมัยไม่วำ่ ชนิดใดให้เกิด ประสิทธิภำพสูงสุด ผูใ้ ช้ตอ้ งหมัน่ ล้ำงมือร่วมด้วยอย่ำง สม�่ำเสมอ


กองทัพอากาศรวมแรง รวมใจ สูภัยจากไวรัส COVID-19


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.