สายใย ฉบับที่ 32 CHANGE

Page 1


AD


ตอนที่ ท ราบว่ า สายใยเล่ ม นี้ จ ะพู ด ถึ ง การเปลี่ ย นแปลง ในรอบ 50 ปี ที่ ผ ่ า นมา ก็ มี ค� ำ พู ด หนึ่ ง ลอยเข้ า มาในความคิ ด “คณะเรามีงาน 50 ปี อีกแล้วเหรอ?” น่าจะเป็นบทสนทนาที่ใช้กันบ่อยมากในหมู่ พี่น้องนิเทศฯ จุฬาฯ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา วันเกิดคณะของเรา คือ 5 กรกฎาคม 2508 พอเราอายุ 49 ก็อยากบอกให้เตรียมตัว เตรียมใจให้พร้อม เราจะ 50 ปีแล้วนะ เราผ่าน อะไรมาบ้าง เลยเกิดเป็นงาน ‘Back to the Future’ พอเข้าปี 2558 เราก็มี ‘คืนสู่เหย้า 50 ปี Young/Me/Hormones’ เรามีวิ่งเป็ด ‘Nitade Fun Run’ ตื่นแต่เช้า มาวิ่งหน้ามันถ่ายรูปฟรุ้งฟริ้งกันทั่วจุฬาฯ เรามี ‘คุยผลัด 5X10’ 10 คน 5 นาที กับ เรือ่ งดีๆ ทีอ่ ยากส่งต่อไปให้พนี่ อ้ งนิเทศฯ จุฬาฯ เป็นแรงบันดาลใจ สร้างสิ่งดีๆ ส่งต่อไปให้คน ภายนอก ยังไม่นับการแต่งเพลง, เขียนหนังสือ, สร้าง Badge Facebook Profile, ขายเสื้อ และการ แอบนัดฉลองกันอีกมากมาย

ในช่วงที่เราได้เจอกันค่อนข้างถี่แบบนี้ พีๆ่ น้องๆ ได้มาเจอกัน ทัง้ มาช่วยเตรียมงาน และมาร่วมงานกันจนเก้าอี้ไม่พอนั่ง ที่ไม่พอยืน เมื่อพี่น้องข้ามกาลเวลามาเจอกัน ท�ำให้ได้ เห็ น การเปลี่ ย นแปลงของคณะในทุ ก มิ ติ ไ ด้ ชัดเจน... แต่กเ็ ป็นการเปลีย่ นแปลงทีย่ งั ผสมไป ด้วยความผูกพัน อาจจะเป็นเพราะอย่างงี้.. เลยจัดงานกัน หลายๆ ครัง้ จะได้มเี หตุผลสารพัดให้มาเจอกัน ให้เห็นว่าสายใยของเรายังคงอยู่ พู ด ถึ ง เรื่ อ งนี้ แ ล้ ว ต้ อ งเชิ ญ มาท้ า พิ สู จ น์ สายใยเหนียวแน่นกันอีกครั้งกับงานยิ่งใหญ่ แห่งปี ‘คืนสู่เหย้า มนต์รักลูกทุ่งนิเทศ’ ที่น�ำทีม โดยป๋าเต็ด ยุทธนา บุญอ้อม รุ่น 22 ในวันเสาร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์นี้ ที่คณะของเรา ขอรับรองเรื่องความสนุก ความอบอุ่นและ ความประทับใจ เรื่องนี้ไม่เคยเปลี่ยนไปแน่ๆ ค่ะ แล้วพบกันนะคะ

พี่ตู่ วีนัส อัศวสิทธิถาวร รุ่น 17 นายกสมาคมนิสิตเก่านิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


AD


บทบรรณาธิ ก าร นี่เป็นครั้งแรกที่ได้พบกันในฐานะที่ผมเป็น บ.ก. ของสายใย (และผมหวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นครั้งสุดท้ายด้วยครับ หนหน้าไม่เอาแล้ว นะครับพี่จ๋อง 55+) จึงขออนุญาตกล่าวค�ำว่า สวัสดีเป็นประเดิมครับ สายใยฉบั บ นี้ เ ป็ น สายใยฉบั บ ออนไลน์ ครั้ ง แรกตามที่ ไ ด้ สั ญ ญากั น เอาไว้ บวกกั บ กระแสเรื่องสื่อสิ่งพิมพ์ในบ้านเราที่เริ่มทยอย ปรับเปลี่ยนรูปแบบตามความเหมาะสมของยุค สายใยเราเองก็ไม่ยอมน้อยหน้า จึงเลือกท�ำ สายใยฉบับ ‘เปลี่ยนแปลง’ ขึ้นมา ฟังแล้วอย่าเพิ่งดราม่านะครับ ส�ำหรับพวก เด็กๆ ในยุคหลังอย่างพวกผม เราก็คยุ เรือ่ งการ เปลีย่ นไปของอะไรหลายๆ อย่างในใต้ถนุ กันมา ไม่ ต�่ ำ กว่ า สิ บ ปี แ ล้ ว พวกเราเฝ้ า ดู ค วาม เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยหลายๆ ความรู้สึก ทั้งตกใจ ใจหาย และเป็นห่วง ซึ่งผมก็เชื่อ เหมือนกันว่าพวกพี่ๆ เองก็มองเห็นและรู้สึกไม่ ต่างกันกับพวกเรา

พวกเราคนท�ำสายใยจึงขอเชิญชวนทุกคน มารับรู้ความเปลี่ยนแปลงร่วมกันของที่ที่เราได้ ใช้ชีวิตใต้ชายคา เฉกเช่นบ้านหลังหนึ่ง แต่เพื่อไม่ใ ห้ดราม่า จนเกินไปและก็เป็น ช่วงเวลาประจวบเหมาะ สายใยฉบับนี้จึงเอา เบื้องลึกเบื้องหลังของงานคืนสู่เหย้าคราวนี้จาก ปากค�ำของประธานจัดงานมาฝาก และเรา พยายามงอกคอลัมน์ใหม่ๆ มาให้ยลโฉมอีก ด้วย อาจแปลกหูแปลกตาไปบ้าง แต่มั่นใจครับ ว่า สายใยยังแน่นเหนียวเหมือนเคย และถ้าใครไม่เต็มอิ่มจุใจกับการอ่านสายใย แบบไฟล์ดิจิทัล อยากอ่านแบบเป็นเล่มเช่นเดิม ง่ายๆ เพียงสมัครเป็นสมาชิกวิสามัญฯ กับทาง สมาคมฯ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้จากพี่ วีระเกียรติ 24 หน้ามนคนเดิม ถ้าพร้อมแล้ว พวกเรามานั่งล้อมวงคุยเรื่อง การเปลี่ยนแปลง พร้อมฟังเพลงลูกทุ่งคลอไป พร้อมๆ กันครับ. ติ้ง 45

*หนังสือสานความสัมพันธ์ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของคณะนิเทศฯ โดยสมาคมศิษย์เก่าคณะ นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นเดิม ขนาดก็ยังเท่าเดิมที่ A5 ครึ่งหนึ่งของ A4 เหมือนที่ อ.มานพ รุ่น 7 สอนไว้ไม่ผิดเพี้ยน หนา 48 หน้าอย่างเคย แถมมีฉบับออนไลน์อีกต่างหาก หัวหน้าใหญ่ : พี่ตู่ 17 l บรรณาธิการใหญ่ : พี่จ๋อง 25 l บรรณาธิการประจ�ำฉบับ : ติ้ง 45 ผู้ช่วยบรรณาธิการ : วัน 46 มิ้นก์ 47 l ประสานงาน : พี่หลิน 42 l ที่ปรึกษาฉบับออนไลน์ : วาลัด 45 กองบรรณาธิการ : กลอย 46 ม็อบ มะขาม แท๊งค์ น�้ำธารใส 47 ปั๊ป รัชมอส 48 ปอย มอส 49 เหนียวแน่นหนึบ : พี่เกียรติ 24 จัสติน 45 l บรรณาธิการศิลปกรรม : พี่แม้ว 44 ลูกหมู 46 บรรณาธิการแฟชั่น : โจ้ 48 l รูปเล่ม : เดียร์ ป้อง ตาล 47 นินจา 48 โญ๋ 49 ทีมงานน่ารักๆ จากพี่เกียรติ 24 และ พี่จ๋อง 25 l ภาพปก : พี่แม้ว 44 l พิสูจน์อักษร : น�้ำตาล 49 หาเงินยอดเยี่ยม : พี่จู 14 พี่เกียรติ 24 พี่ เต้ย 33 l ติดสติ๊กเกอร์และส่งไปรษณีย์ : น้องๆ คณะที่น่ารัก


เหนี ย วแน่ น หนึ บ #32 สวัสดีปีใหม่ และขอบคุณอากาศหนาวที่ไม่ได้เจอ กันมาหลายปี ส�ำหรับพี่น้องที่ก�ำลังอ่านสายใยเล่มนี้ ทางคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก มือถือ iPad ฯลฯ โดยที่ ไม่ได้รับสายใยเล่มน้อยๆ นี้ที่บ้าน หมายถึงท่าน ยัง ไม่ได้สมัครสมาชิกวิสามัญตลอดชีพของสมาคมนิสิต เก่าฯ เพราะเป็นเล่มแรกที่จะถึงบ้านเฉพาะ สมาชิกฯ เท่ า นั้ น ก็ ถื อ โอกาสกราบเชิ ญ ชวนกั น ตั้ ง แต่ ต ้ น คอลัมน์เลย เงิน 1,000 บาทที่พี่น้องกรุณาโอนเข้า สมาคมฯ จะอยู่ไปตราบนานเท่านานชั่วลูกชั่วหลาน เพราะใช้ ไ ด้ เ พี ย งดอกเบี้ ย เท่ า นั้ น วิ ธี ส มั ค รแสน ง่ายดาย เดี๋ยวตอนท้ายจะเขียนไว้ตัวใหญ่ๆ ครับ ปีที่ผ่านมาเฉลิมฉลอง 50 ปี กันเต็มอิ่มหลากหลาย รูปแบบ ตั้งแต่คิกออฟ Back to the Future, คืนสู่เหย้า 50 ปี Young/me/Hormones, 50 ปี วิ่งทีนึง Nitade Fun Run และงานฉลอง 50 ปีอย่างเป็น ทางการ ‘คุยผลัด 5X10’ 10 คน 5 นาที เรื่องดีๆ ที่ อยากส่งต่อ ต้องขอปรบมือให้ตัวแทนทั้ง 10 คนที่ได้ สร้างความสุข เสียงหัวเราะ และความประทับใจให้ กับพวกเรา พี่ซูซี่ หทัยเทพ ธีระธาดา รุ่น 1, พี่แก้ว สันติ วิริยะรังสฤษฎ์ รุ่น 5, พี่อี๊ด ศุภวัฒน์ จงศิริ (ศุภักษร) รุ่น 8, พี่หน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์ รุ่น 11, พี่นก นิรมล เมธีสุวกุล รุ่น 15, พี่เก้ง จิระ มะลิกุล รุ่น 15, ป๋าเต็ด ยุทธนา บุญอ้อม รุ่น 22, สู่ขวัญ บูลกุล รุ่น 27, โอปอล์ ปาณิสรา อารยะสกุล รุ่น 36, เต๋ อ ฉั น ทวิ ช ช์ ธนะเสวี รุ ่ น 36 และ Surprise Speaker ป๋าแหม่ม ศ.กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ รวมถึงทีมงานสปิริตแรงกล้าหน้าเดิมๆ น�ำทีมโดย ครูกี้ ม.ล.วิฎราธร จิรประวัติ รุ่น 18 ...จัดงานโดนใจ ขนาดนี้ สงสัยจะต้องโดนอีกหลายงาน ใครอยากรู้สึก ดีๆ ดูย้อนหลังได้ที่ youtube พิมพ์ ‘นิเทศ จุฬาฯ 50 ปี คุยผลัด 5X10’ มีครบทั้ง 11 คน อี ก ไม่ กี่ วั น แล้ ว งานที่ ทุ ก คนรอคอย คื น สู ่ เ หย้ า ‘มนต์รักลูกทุ่งนิเทศ’ ขอบอกว่ายิ่งใหญ่ไม่แพ้ปีก่อน สถิติที่เพิ่งถูกท�ำลายไปหมดสิ้น อาจจะถูกท�ำลาย

ลงอี ก ครั้ ง ในปี นี้ เพราะความเป็ น ลู ก ทุ ่ ง มั น อยู ่ ใ น สายเลือดนิเทศมานานแสนนาน ย้อนไปตั้งแต่ยุคเลข ตัวเดียว คณะเรามีวงลูกทุ่ง สม. พอรุ่น 10 กว่า ๆ ก็มีวงลูกทุ่งนิเทศ รับจ้างออกงานเล่นกันจริงจัง และ อีกหลายๆ วง หลายๆ รุ่นที่เล่นกันในงานลอยกระทง สมัยเรียนหากใครไม่เคยร่วมวงดนตรีลูกทุ่ง หรือเป็น นักร้องลูกทุ่ง หรือเป็นหางเครื่องลูกทุ่ง หรือฮัมเพลง ลู ก ทุ ่ ง ในวงเหล้ า หรื อ เต้ น บนโต๊ ะ ควาย ต้ อ งเช็ ค ประวัติกันหน่อยว่าจบมาได้ยังไง เปิดตัวประธานจัดงาน ป๋าเต็ด รุ่น 22 ยิ่งใหญ่ อลังการด้วย MV มนต์รักลูกทุ่งนิเทศ ที่เนรมิตหน้า คณะให้รวยระรินเคล้ากลิ่นกองฟาง ก�ำกับโดยคู่หู เอส คมกฤษ & บอล วิทยา รุ่น 29 เรียกเสียงฮาและ ยอดวิ ว ถล่ ม ทลาย งานนี้ ทุ ่ ม กั น สุ ด ตั ว ทั้ ง นั ก แสดง หลากหลายรุ่นที่เห็นใน MV ทีมโปรดิวเซอร์ ปูนเล็ก 34 จั ส ติ น 45 ไมค์ โ ชเล่ 45 และที ม งานอี ก เพี ย บ ตูน 45 แอมมี่ 46 กิ๊ฟ 46 กาน 48 ต่วน 48 ปุ๊ 48 จัสติน่า 49 ธันวา 49 ซัน 50 ปุ๊กกี้ 51 เบ๋อ 51 ตัดต่อ โดยมื อ พระกาฬอย่ า ง หนาว 40 และสนั บ สนุ น อุปกรณ์ถ่ายท�ำโดย แก๊ป 36 บิ๊กบอสแห่ง G Village แต่คนที่มีความสุขที่สุดคงไม่ใครเกิน พี่ปุ๋ย ปริญญา ผดุงถิ่น รุ่น 20 บ.ก. M2F เจ้าของหนังสือตกปลาล่า อารมณ์ขัน ที่มานั่งจับคันเบ็ดตกปลาอยู่ท่ามกลาง


น้องๆ ที่สุดแสนจะน่ารัก โดยเฉพาะที่นั่งข้างๆ คือ น้องแพทริเซีย 50 นางเอกสาวสวย ท�ำเอานักแสดง คนอื่นอิจฉาตาร้อนไปตามๆ กัน ใครยังไม่ได้ดูอย่า รอช้า ไปที่ youtube พิมพ์ ‘มนต์รักลูกทุ่งนิเทศ’ หรือ ใน Facebook เพจ Nitade Chula Alumni ได้เลย

และเพื่ อ ให้ ม หกรรมคอนเสิ ร ์ ต ลู ก ทุ ่ ง ในครั้ ง นี้ ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ BMMF7 ประธานจึงเรียกตัว ต้นตุ๊ดแก่ นโรตม์ อภิมุขวรสกุล รุ่น 27 โปรดิวเซอร์คอนเสิร์ต ระดับประเทศ ให้มาคุมงานนี้ด้วยตัวเอง คงไม่ต้อง สาธยายถึงผลงานของเขา เพราะ 3-4 หน้ากระดาษ คงไม่พอเขียน เอาเป็นว่าคอนเสิร์ตใหญ่ๆ ดังๆ ฝีมือ ของเขาแทบทั้งนั้น งานนี้รวมสุดยอดนักดนตรีไว้อย่างครบครัน น�ำ โดยวง ‘จิระบันเทิงศิลป์’ บิ๊กแบนด์ลูกทุ่งที่คัดมือดี จากหลายๆ รุ่น ตั้งแต่หัวหน้าวง พี่เก้ง 15 พี่กร๋อย 15 พี่เสริฐ ศิริ 17 พี่เอ่อ 20 พี่บุ๊ค 22 ทุเรียน 29 ขนุน 32 คุ้ง 40 เบน 43 แอ๋ 44 นล 45 และนักร้องประจ�ำ วง 3 สาวสวยเสียงดี กีตาร์ 35 มิ้ม 43 ทราย 43 ...แม้ จะฝีมือขั้นเทพทั้งนั้น แต่ก็ซ้อมหนักมากว่า 6 เดือน แล้ว เพื่อเตรียมมอบความสุขความมันกันให้ถึงใจ ที่สุด เปิ ด โผรายชื่ อ นั ก ร้ อ งที่ คั ด แล้ ว คั ด อี ก ไล่ อ าวุ โ ส ไปเลย ป๋าแหม่ม ศ.กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ แฟนคลับเพียบตั้งแต่รุ่น 1 ถึงรุ่นเด็กๆ, ป๋าหวัด 5 สวัสดิ์ นววงศ์ ที่จะมาพร้อมหางเครื่องส่วนตัว สาวๆ

รุ ่ น 5 ที่ ยั ง สวยไม่ ส ร่ า งทุ ก นาง, พี่ ซั น 12 มาโนช พุฒตาล หนุ่มลูกทุ่งเมืองกรุงเก่า, พี่ตุ้ย 13 จรูญ ไชยศร รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ จับไมค์คราวนี้ ควายไม่หายแน่นอน, พี่แหวน 15 ฐิติมา ก่อนจะเป็น ร็ อ กเกอร์ ส าว เคยเป็ น ราชิ นี ลู ก ทุ ่ ง นิ เ ทศมาก่ อ น, พี่จุ่น 15 สมปอง จังทองศิริ เลิกซ้อมบอลเมื่อไหร่ กั ป ตั น ที ม ฟุ ต บอลจุ ฬ าฯ เป็ น ต้ อ งจั บ ไมค์ เ มื่ อ นั้ น , น้ากร๋อย 15 คู่แข่งน้าราม รุ่นพี่ที่น้องๆ ขอแอดเฟรนด์ มากที่สุดในตอนนี้, พี่จุ้ย 16 ศุ บุญเลี้ยง มีเซอร์ไพรส์ ทุกงาน, พี่แอนนา โรจน์รุ่งฤกษ์ 20 นักร้องคุณภาพ มีรางวัลการันตี, ป๋าเต็ด 22 ประธานจัดงานก็เอากับ เขาด้วย, จิ๊บ หน่อย 23 คู่หูคู่ฮา ฝ่ายหญิง ชวน อาตุ่ย พุทธชาด 30 มาร่วมฟีเจอริ่ง จะฮาแค่ไหนต้อง คอยติ ด ตาม, เกี ย รติ ( ชี ว าส) 24 คนนี้ เ สี ย งก็ งั้ น ๆ สงสัยเส้นใหญ่เลยได้ร้องด้วย, จ๋อง 25 ยอมเสียลุค เด็กแนวขึ้นเวทีลูกทุ่ง ห้ามพลาดเลยนะจะบอกให้, ก้อง 26 ปรีดิยุช รัตนงาม ดาวมหา’ลัยตัวจริง มา พร้อมแดนเซอร์ชุดใหญ่ รุ่น 26 อลังการงานสร้าง, หอย 32 อภิศักดิ์ เจือจาน ร้องเพลงเศร้าได้เข้าถึง อารมณ์, ลูกหว้า พิจิกา 34 จะมาชวนทุกคนร�ำวง, น็อต 34 เจ้าพ่อรถตู้ งานนี้จะพาศิลปินคนไหนมา บ้างต้องติดตาม, ต่อพงศ์ 34 จะท�ำให้คนลุกขึ้นเต้น ทั้งงานให้ได้, มิ้น สวรรยา 35 เสียงคุณภาพ ร้อง สไตล์ไหนก็เพราะไปหมด, น�้ำฝน ภักดี 36 เจ้าของ ฉายาฝนล�ำซิ่ง แดนซ์กระจาย, อาร์ม 43 กรกันต์ สุทธิโกเศศ พระเอกโหมโรงเดอะมิวสิคัล, จัสติน 45 หนุ่มหน้ามน ขวัญใจป้าๆ ก็มากับเขาด้วย และวี วิโอเลต 48 น่ารักสดใสขวัญใจพี่น้องนิเทศ ...ช่วงนี้ หมุนเวียนกันไปซ้อมกับวง เหลือป๋าแหม่มคนเดียวที่ บอก “ระดับผมไม่ต้องซ้อม เพราะซ้อมไม่ซ้อมก็ เหมือนกัน 555” แซบแน่ๆ ไม่ควรพลาดด้วยประการ ทั้งปวง


แค่เห็นรายชื่อนักร้อง นักดนตรี ก็ฟินแล้ว แต่งาน ลูกทุ่งจะขาดหัวใจหลักอย่างแดนเซอร์และหางเครื่อง ไปได้อย่างไร ข่าวว่าเกณฑ์กันมายกคณะ ตั้งแต่รุ่น 5 รุ่น 9 ถึง 51 ... รุ่น 5 นั้นขอปิดรายชื่อเป็นความ ลับสุดยอด ต้องมาดูด้วยตาตัวเอง ส่วนรุ่น 9 น�ำทีม โดยพี่เปี๊ยก นงนุช ซึ่งไม่เคยท�ำให้พวกเราผิดหวัง อี ก วงที่ ร วมมื อ โปรรุ ่ น ใหม่ ‘ภั ท รทิ พ ย์ เ ด้ อ ’ ชื่ อ เคยเห็ น ลี ล ากั น มาตั้ ง แต่ แ นวสุ น ทราภรณ์ K-pop ครีเอทีฟมาก น�ำทีมโดย พัดทริป 42 ที่อุตส่าห์ไป ลองมาดู แ นวลู ก ทุ ่ ง กั น บ้ า ง ไม่ ย อมน้ อ ยหน้ า หาง เรียนต่อด้านดนตรีที่ต่างประเทศ เพิ่งกลับมาก็รับ เครื่องรุ่นน้องอย่างแน่นอน งานหัวหน้าวงลูกทุ่งเลย ถือว่าเป็นบททดสอบครั้ง ส�ำคัญ 555 มาพร้อมพ้องเพื่อนพี่น้องหลากหลายรุ่น เช่นกัน หอย 32, ปิง ฮอร์โมนส์ 39, หมู เมย์ไหนฯ 39, โอมปุ๊น 39, ใหม่ 40, จั้ม 46, หง�ำ 46, เอิร์ธจี 47, มะกาย 47, ก๋วยเตี๋ยว 48 และจ๊าบ 49 เห็นชื่อแล้วจะ บอกว่ าเป็ น มื อ ดี ที่ สุ ด ของคณะก็ไม่ผิด วงนี้ก็ซ้อ ม หนักหามรุ่งหามค�่ำไม่แพ้กัน ไม่ใช่เพราะกลัวจะซ้อม ไม่ทันนะ แต่จะขอพักซ้อมชั่วคราว ตามน้องๆ ไป มารัวๆ รายชื่อแดนเซอร์ หางเครื่องกันหน่อย ย�้ำ เที่ยวลองทริ ป สั ม ผั ส อากาศหนาวเย็นและเป็นใจ ว่านี่แค่ส่วนหนึ่ง เพราะรายชื่อยังมาไม่ครบจ้า เค้ก นั่นเอง เที่ยวเรียบร้อยแล้วก็กลับมาซ้อมกันต่อนะ วง 43 แอนด์เดอะแก๊งค์ นัตตี้ 48 โบนัส 48 แก้มแก้ว 48 ไทม์ 48 กั้ง 48 หลิน 48 แอ้ม 48 โอเปิ้ล 49 อิง 49 แจ้ว 49 มาย 49 นุ่น 50 น�้ำหอม 50 แป๋ม 50 มุกมิก 50 เดียร์ 50 กัญ 50 ตาล 50 ไอติม 50 ไกด์ 50 นัทคลุง 50 แพรว 51 อาชา 51 ชอปเปอร์ 51 ปอปอ 51 อันนา 51 แมงปอ 51 มิกซ์ 51 แฟรนซ์ 51 นิค 51 ดาว 51 เอย 51 จูน 51 และที่น่าจะสุดค�ำบรรยาย และการคาดเดาได้คือ รวมหางเครื่องเพศสร้างสรรค์ ภัทรทิพย์เด้อ!!! ชุดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ตระการตาดาวล้านดวง ไปแอบดูรายชื่อนักร้องมามีทั้งศิลปิน ดารา นักร้อง จะมีคณะไหนจัดงานได้เว่อร์เท่าเรา ไม่มีอีกแล้ว!!! ประกวด และน้องๆ หน้าใส หล่อสวยน่ารักกันทั้งนั้น และล่าสุดสดๆ ร้อนๆ คอนเฟิร์มมาแล้วกับโชว์ บอกตามตรงถ้าขายตั๋วยังแย่งกันซื้อเลย ประกาศชื่อ พิเศษโดย พี่ซูซี่ หทัยเทพ ธีระธาดา รุ่น 1 ในชุด เรียกน�้ำย่อยกันหน่อย ฟิล์ม บงกช 39, ส้วม 39, ‘หญิงซี่’ ที่จะเบียดหญิงลีให้ชิดซ้ายตกขอบเวทีไป โบซีบร้า 40, หนุ่มคานส์ ตะวัน 40, ปานปอง 41, เลย แหนม 41, ป้าตอง 41, เกตุปลาบู่ 42, วอลนัท 42, รีบมาจับจองที่นั่งกันแต่หัววัน ไม่งั้นรุ่นใกล้ๆ อาจ วุ้น 44, กล้าปิ๊ 44, ระย�ำ 45 (ชื่อจริงๆ ไม่ได้เขียนผิด จะขโมยโต๊ะเก้าอี้ไปได้ หลายคนกังวลว่างานชนกับ นะ), นิคแนค 45, พรีน 47, บอร์นทูบี 47, ลุงปุ๊ 48 ฟุตบอลประเพณีจะมีปัญหาหรือเปล่า ขอบอกว่าไม่ (ไม่รู้เป็นคู่แข่งลุงโป๊งหรือเปล่า), เริ่มต้น 49 และน้อง ต้องกังวลใจ งานจัดคนละที่และเวลาก็ไม่ตรงกัน ปันปัน 51 น้องใหม่เฟรชชี่ของเรา ส�ำหรับคนที่อยากดูฟุตบอลไปที่สนามศุภฯ ก่อน แข่ง เสร็จทุ่มนึงก็มางานคืนสู่เหย้าต่อ ส�ำหรับคนที่อยาก


ดูแบบวีไอพีจอยักษ์มาที่คณะได้เลย นั่งเชียร์ด้วยกัน ที่คณะเสร็จแล้วจะได้ฉลองชัยกันต่อเลย!!! ขายดิบขายดี ขอกราบขอบคุณพี่น้องที่สนับสนุน เสื้อคืนสู่เหย้าทั้ง 6 แบบ สวยเก๋เท่ไม่ซ�้ำใคร ส�ำหรับ คนที่ยังไม่ได้เป็นเจ้าของ เรามีเสื้อแบบพิเศษมาขาย เฉพาะในวันงานอีก 2 แบบ เริ่มขายตั้งแต่บ่ายสอง โอกาสสุดท้ายหมดแล้วหมดเลย!!! ส่วนคนที่มีแล้วจะ ซื้ออีกสะสมให้ครบ 8 แบบก็จะเป็นมงคลชีวิตยิ่งนัก แล้วใส่เสื้อสวยๆ มาถ่ายรูปกันนะครับพี่น้อง นอกจากรายได้จากการขายเสือ้ แล้ว ถ้าขาดสปอนเซอร์ ผู้ใจดี งานคืนสู่เหย้าสนุกๆ แบบนี้คงเกิดขึ้นไม่ได้ จึง ขอกราบงามๆ ผู้สนับสนุนการจัดงานทุกท่าน เท่าที่ ทราบตอนนี้มี จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, เอไอเอส, โตโยต้า, CPN, ไทยทีวีสี ช่อง 3, หับโห้หิ้น บางกอก, GDH 559, ไทยเบฟเวอเรจ, โออิ ชิ ก รุ ๊ ป , เสริ ม สุ ข (est, คริสตัล) คาดว่าจะมีเพิ่มเติมอีก ขอขอบคุณ ล่วงหน้าไว้เลยจ้า ที่ส�ำคัญมากต้องขอบคุณทางคณะฯ และ อ.จอย ผศ.ดร.ดวงกมล ชาติประเสริฐ ท่านคณบดี รวมถึงผู้ บริ ห ารและเจ้ า หน้ า ที่ ค ณะทุ ก ท่ า น ที่ ช ่ ว ยอ� ำ นวย ความสะดวกอย่างยอดเยี่ยมในการจัดงานคืนสู่เหย้า ในปีนี้ และทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา ...ได้กลับมาเยี่ยม คณะที่รักและผูกพันปีละครั้ง ร�ำลึกความหลัง และ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ ร่วมกัน พี่ได้รู้จักน้องๆ

เพิ่มขึ้น น้องได้รู้จักพี่ๆ เพิ่มขึ้น ยิ่งท�ำให้สายใยนิเทศ ของพวกเราเหนียวแน่นหนึบไร้เทียมทาน สุดท้ายท้ายสุด กว่าจะเป็นสายใยที่พี่น้องได้ถือ อ่าน หรืออ่านออนไลน์อยู่นี้ ทีมงานต้องท�ำงานอย่าง หนัก แบ่งเวลาท�ำงานหาเงิน แบ่งเวลาเลี้ยงลูก มา ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ต้องขอขอบคุณทีมงาน ทุกๆ คนดังปรากฏชื่อในหน้า บ.ก. รวมทั้งสปอนเซอร์ ผู้มีจิตใจงดงาม ได้แก่ มาม่าและซื่อสัตย์, AIS, CPN, ยาสีฟัน Gum Alive ยาสีฟันคุณภาพจากผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ, ‘REO’s Deli’ ลาซานญาพร้อมทานแสน อร่อย และ Miss Mamon Homemade Bakery & Snack Box (*อย่ า ลื ม ตั ด คู ป องไปใช้ สิ ท ธิ์ กิ น ขนม

อร่อยๆ กันด้วยนะจ๊ะ) ปิดท้าย ย�้ำค�ำป๋าเต็ด 22 ประธานจัดงาน ‘มนต์รักลูกทุ่งนิเทศ’ กันอีกสักรอบ “งานนี้นักร้องชั้นดี ตั้งแต่หญิงซี่ ถึง สุรพล ...หางเครื่องเด็ดๆ ตั้งแต่รุ่น 51 ยัน รุ่น 1 ...เครื่องเสียงชุดใหญ่ เครื่องไฟแสบตา ...เสาร์ 13 กุมภา อย่าลืมมาส�ำเริงส�ำราญกันให้ได้ นะครับพี่น้อง แล้วเจอกัน”

สมัครสมาชิกวิสามัญตลอดชีพ สมัครสมาชิกวิสามัญตลอดชีพ ง่ายๆ จ่าย 1,000 ครั้งเดียว เป็นตลอดชีพ • ใบสมัครออนไลน์ http://nitadecualumni.com/membernitade.php • บัญชีสมาคมนิสิตเก่านิเทศศาสตร์ จุฬาฯ SCB 0142346663 สอบถาม วีระเกียรติ#24 0819390924 Line ID : werakiat24


สั มภาษณ์

เปลี่ยน

นั่งคุยเรื่อง

ทุ

กสิ่งมีลักษณะพื้นฐานร่วมกันอยู่อย่างหนึ่ง ที่ไม่ว่าสิ่งใดก็ไม่อาจหลีก เลี่ยงหนีพ้น นั่นคือความเปลี่ยนแปลง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ หรือที่เรามักเรียกกันง่ายๆ ตามประสาคน กันเองว่า ‘ใต้ถุน’ ที่เดินผ่านกาลเวลามากว่าครึ่งร้อยปี ก็ไม่ต่างจากทุกสิ่ง เพราะ ใต้ถุนเองก็จ�ำต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน

1.

ด้วยสายตาของพี่เก่ารุ่น 18 อย่าง ‘ครูปอ๋ ม’ อ.ไศลทิพย์ จารุภมู ิ ครูปอ๋ มจึงเป็น คนแรกๆ ที่เราทีมสายใยนึกถึงเมื่อต้องการ จะหาใครสักคนที่ผูกพันกับคณะมากๆ เรา ถามครูปอ๋ มว่า ถ้าพูดถึงการเปลีย่ นแปลงกับ คณะนิเทศฯ สิ่งแรกที่ครูนึกถึงคืออะไร ครู ตอบกลับมาทันทีว่าสิ่งนั้นคือ ‘ใต้ถุน’ ครู ป ๋ อ มเริ่ ม ต้ น จากการเกริ่ น ถึ ง ใต้ถนุ ในอดีตให้ฟงั ก่อนว่า ใต้ถนุ นัน้ หมายถึง สถานที่ที่ไว้พบปะ พูดคุย ท�ำงาน รวมไปถึง นั่งเล่น ท�ำได้ทุกอย่างที่อยากท�ำ เป็นพื้นที่ที่ เป็นใต้ถุนใต้ตึกจริงๆ อยู่ใต้ตึก 1 ผนังเปิด โล่ง เวลาฝนตก ฝนก็สาดเข้ามา นัน่ คือใต้ถนุ

ในความจ�ำของครูป๋อม ส่วนใต้ถุนปัจจุบัน คือตรงใต้ตึก 2 และตึกใหม่ ที่เป็นที่ตั้งของ โต๊ ะ วั ว (พี่ น ้ อ งของโต๊ ะ ควาย ท� ำ จาก พลาสติก) กับพื้นที่ด้านนอกที่มีโต๊ะควายตั้ง อยู่ ใต้ถุนปัจจุบันก็มีหน้าที่ไม่ต่างจากเดิม แม้แต่น้อย เรายังเอาไว้ท�ำงาน พบปะพูดคุย นั่งเล่น ท�ำได้ทุกอย่างเหมือนเดิม เพียงแค่ จ�ำนวนเด็กนั้นดูเหมือนจะน้อยลง “จ�ำนวนเด็กมันน้อยลง มันมาจาก สาเหตุหลักๆ เลยคือเรือ่ งของ Social Media ที่มันท�ำให้เด็กไม่จ�ำเป็นต้องมาเจอกัน มัน เจอในโลกเสมือนได้ มันไม่ต้องมาเจอกัน ตรงใต้ถุน” ครูป๋อมลองให้เราคิดตามว่า ถ้า


ไม่ใช่งานที่จ�ำเป็นต้องมาเจอหน้ากันเพื่อคิด งาน เด็กสมัยนี้ก็แค่แบ่งงานกันใน Line ส่ง งานให้กนั ใน Facebook แล้วพรุง่ นีเ้ ช้าก็คอ่ ย มาปริ้นต์ส่งอาจารย์ ยังไม่นับว่านั่นคือกรณี ที่นั่งใต้ถุนเพื่อท�ำงาน ไม่ต้องพูดถึงการนั่ง ใต้ถุนเพื่อฆ่าเวลา หรือพูดคุยเล่นกัน ร้องร�ำ ท�ำเพลง สิ่งเหล่านั้นล้วนหยุดอยู่ใน Social Media แล้ว การเลิกเรียนแล้วก็มานั่งเล่น ใต้ ถุ น แล้ ว ค่ อ ยกลั บ บ้ า น แทบจะเป็ น วัฒนธรรมทีจ่ างหายไปตามกาลเวลา สถานที่ นั่งเล่นของยุคนี้คือสยาม ครูปอ๋ มเปิดประเด็นสยามขึน้ มาว่า “ตอนนั้นเขามองว่าสยามเนี่ยเป็นตัวมาดึง เด็ก มันก็มีบางส่วนไปเดินสยาม แต่อย่างไร

คาแรกเตอร์ของพี่ใต้ถุนมันมี “ลักษณะของการครอบครอง พื้นที่หรือการซี้กัน จนพอมีน้อง หน้าตาแปลกๆ มาก็มองแปลกๆ ไม่ใช่ไม่ต้อนรับนะ แต่มองแปลกๆ เหมือน ‘ใครวะ?’ แต่ไม่ได้ หมายความว่าเขาไม่ต้อนรับ แค่มัน ไม่เกิดบรรยากาศที่เอื้อ

– ครูป๋อม 18 ก็ตามส่วนของคนที่วกกลับมาคณะ ไปเดิน แล้วก็กลับมา มันก็มีเยอะกว่าปัจจุบัน เดี๋ยว นี้ คื อ เราก็ ไ ปนั่ ง แช่ แ อร์ ต ามร้ า นกาแฟ วัฒนธรรมนัง่ ร้านกาแฟมันก็ทำ� ให้เราเปลีย่ น ที่นัดพบ เพราะตรงนี้มันไม่มีกาแฟ ไม่มีแอร์ แต่มีไวไฟนะ (หัวเราะ) เพราะงั้นมันก็เลยดึง เด็กออกไปจากใต้ถุน” นอกจากปั จ จั ย ภายนอกอย่ า ง เทคโนโลยีหรือวัฒนธรรมเกิดใหม่ เรื่องนี้ยัง มี ป ั จ จั ย ภายในมาเกี่ ย วข้ อ งด้ ว ย “มั น มี วาทกรรมบางอย่างพูดถึงพี่ใต้ถุนว่า น่ากลัว ไม่ Friendly เหมือนเดินเข้ามาแล้วเราไม่ใช่ เจ้าของตรงนัน้ มันไม่คนุ้ เคยไง เพราะฉะนัน้ ถ้ามันเกิดลักษณะของการมองแบบนี้จาก คนนอก ซึง่ จริงๆ เขาก็มองได้นะ เขาไม่คนุ้ เคย พื้นที่ไง แต่สิ่งที่ท�ำให้เราต้องย้อนมาดูตัวเอง คือ ไอ้คาแรกเตอร์ของพี่ใต้ถุนมันมีลักษณะ


ของการครอบครองพืน้ ทีห่ รือการซีก้ นั จนพอ มี น ้ อ งหน้ า ตาแปลกๆ มาก็ ม องแปลกๆ ไม่ใช่ไม่ต้อนรับนะ แต่มองแปลกๆ เหมือน ‘ใครวะ?’ แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ ต้ อ นรั บ แค่ มั น ไม่ เ กิ ด บรรยากาศที่ เ อื้ อ ” ปัจจัยภายในอย่างความจ�ำเพาะของกลุม่ นัน้ มีมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน ใต้ถุนไม่ใช่ที่ที่ใครจะ มานั่งก็ได้อีกต่อไป เมื่อเกิดลักษณะของการ ครอบครอง ใครที่ไม่ใช่คนคุ้นเคยก็จะรู้สึก แปลกๆ จนในที่สุดก็ไม่ได้แวะเวียนมา “สิ่งที่กระทบตามมาก็คือเวลาที่ เรามีงานอะไร เราก็จะเจอแต่คนหน้าซ�้ำ หน้าเดิม แรงงานเดิมๆ พวกเด็กหอนี่แหละ ที่เขาจะอยู่ เพราะอยู่หอพื้นที่มันก็จ�ำกัด ใช่มยั้ เดินไปเดินมาก็ชนประตูแล้ว งัน้ มานัง่ เล่นคณะดีกว่า แต่ไอ้การที่เด็กหอมาอยู่ ใต้ถุนนี่มันก็ดีนะ คือเด็กพวกนี้ จะค่อนข้าง มีอิสระในการใช้ชีวิต มันไม่ต้องกลับไปกิน ข้าวเย็นกับพ่อแม่ เวลาเราโยนงานให้เขาก็ จะมีเวลานัง่ ท�ำ นัง่ จมจ่อมกับมันมากขึน้ มัน ก็มขี อ้ ดีของมันไป เพียงแค่มนั หน้าเดิม” เมือ่ ครูปอ๋ มเล่าถึงประเด็นนี้ เราเองก็พยักหน้าไป ด้วย อย่างน้อยในช่วงเวลาที่เราอยู่ช่วยท�ำ กิจกรรมคณะ มันสามารถเห็นได้ชัดจริงๆ ว่าเราหาคนมาท�ำกิจกรรมแทบไม่ได้เลย รุ่น พี่ลงมือตอกฉากจะเดินมาหาน้องๆ ไปช่วย ก็ไม่เจอใครที่ใต้ถุน ถ้าเจอก็จะเป็นคนหน้า

เก่าๆ จึงกลายเป็นว่ากิจกรรมคณะเกือบทุก กิจกรรมขับเคลื่อนด้วยคนกลุ่มเดิมมาตลอด บรรยากาศใต้ ถุ น ที่ แ สนอบอุ ่ น สนุกสนาน เราคงพูดได้แน่ๆ แล้วว่ามันก�ำลัง จะหายไป เย็ น บางวั น บางเวลาอาจจะมี บรรยากาศนั้นกลับมาบ้าง มีพี่ๆ เล่นกีตาร์ มีน้องๆ มานั่งจับกลุ่มคุยสัพเพเหระกับรุ่นพี่ มีกลุ่มเพื่อนๆ มานั่งท�ำงานไปช่วยร้องเพลง ไป มีพี่บัณฑิตซื้อขนมกลับมาฝาก ภาพแบบ นี้อาจจะเกิดขึ้นในบางวัน เพียงแต่ระยะห่าง แต่ละครั้งอาจจะห่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ เสีย แล้ว รวมไปถึงการอยู่คณะเพื่อท�ำงานละคร หรือกิจกรรม ภาพของรุ่นพี่สอนงานรุ่นน้อง หรือน้องๆ กลุ่มใหม่มาช่วยกันท�ำฉาก หรือ การผูกมิตรระหว่างเพื่อนต่างกลุ่มก็อาจจะ หายไป มีเพียงพี่กลุ่มเดิม น้องกลุ่มเดิมมา เจอหน้ากัน ซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า

2.

ครัง้ สุดท้ายทีม่ าดูละครนิเทศ พีต่ อ้ บินหลา สันกาลาคีรี เดินออกจากโรงละคร ไปในช่วงพักครึ่ง “ทนดูไม่จบ (หัวเราะ) ไม่นานนี่ แหละ ฉากสวยใหญ่ ผมรู้สึกว่าปัญหาส�ำคัญ สุ ด คื อ บทไม่ ดี บทไม่ แ ข็ ง แรง แล้ ว มั น ก็ พัฒนาการแสดงยาก หรือต่อให้บทแข็งแรงก็ ไม่ได้แปลว่าละครจะดีนะ มันขึ้นอยู่กับคน


เล่น การตีความให้แตก เข้าใจว่านักศึกษา มันก็ทำ� ได้แค่นแี้ หละ คนเขียนบทนักศึกษาที่ ไม่ ดี อ าจจะกลายเป็ น คนเขี ย นบทที่ ดี ใ น อนาคตก็ได้นะ ในแง่ของเด็กนิเทศไม่มีอะไร เสียหายส�ำหรับละคร ต่อให้ท�ำไม่ดีเราก็จะ ได้ประสบการณ์ที่ดี แต่ผมเป็นคนดูไง ผมก็ จะรู้สึกว่ามันไม่คุ้มว่ะ” คือค�ำตอบของพี่ต้อ เมื่อมองดูละครในช่วงหลายๆ ปี หลังมานี้ เสียงตอบรับจากคนนอกหรือพี่ บัณฑิต หรือแม้กระทั่งคนในคณะเองก็เริ่ม เกิดความเบื่อ ความรู้สึกว่าละครซ�้ำไปซ�้ำมา ความรู้สึกที่ว่าเดี๋ยวนี้ละครไม่มีอะไรให้ดู นอกจากมุขตลก (บางคนบอกว่าไม่ตลกด้วย ซ�้ำ) แต่ในขณะเดียวกันนั้นเม็ดเงินหรือการ ลงทุนในแต่ละปีกลับสูงขึ้นๆ ด้วยสถานที่ที่ ค่าเช่าแพงขึ้น ค่าท�ำฉากที่แพงขึ้น น�ำไปสู่ ความกดดันของคนท�ำละคร การพยายาม อย่างมากในการหาสปอนเซอร์ การพยายาม หาพืน้ ทีส่ อื่ การท�ำหน้าตาละครให้นา่ ดูเพือ่ ที่ จะได้ขายบัตรได้ เมื่อถึงจุดหนึ่งเราก็เริ่ม

ต้องการค�ำตอบว่าเราท�ำทั้งหมดนี้ เราท�ำ ละคร เพื่ออะไร? “ผมคิดว่าละครมันเป็นกิจกรรมไว้ ขาย ยิ่งเมื่อมีต้นทุนล้านสองล้านรองอยู่ ข้างล่างด้วย มันต้องขายได้ ผมไม่ใช่เสียง ส่วนใหญ่ของคนดู ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ผม เป็นแค่คนทีผ่ า่ นมาแล้วแวะซือ้ บัตร ฉะนัน้ จะ ต้องคิดถึงคนกลุ่มนั้นมากกว่า มันต้องเป็น ของดีทขี่ ายได้ดว้ ย พูดง่ายๆ อย่างบ้านทรายทอง หรือ gone with the wind มันเป็นไปได้ทั้ง น�้ำเน่าและเป็นไปได้ทั้งคลาสสิกเลยนะ ผม ว่าละครสร้างประโยชน์ให้กบั นิเทศเยอะมาก แต่ท�ำยังไงมันจะตบกลับมาถึงคนดูด้วย” ข้อส�ำคัญแน่ๆ ที่พี่ต้อพูดถึงคือ ละครสร้างประโยชน์ด้านประสบการณ์ให้ เด็กคณะได้มากจริงๆ นี่อาจเป็นสาเหตุหลัก ทีท่ ำ� ไมละครคณะถึงยังคงด�ำเนินมายาวนาน เกื อ บสามสิ บ ปี ส่ ว นเรื่ อ งที่ ว ่ า เราจะท� ำ อย่างไรละครถึงจะดีหรือได้ให้อะไรกับคนดู บ้าง ก็ต้องลงลึกกันไปถึงค�ำถามที่ว่า เรา


ไม่ได้ท�ำละครเพราะอยากท�ำหรือเปล่า แรง บันดาลใจหรือเรือ่ งทีอ่ ยากเล่าจึงไม่ได้เริม่ มา ด้วยกัน ย้อนกลับไปในสมัยยุคแรกเริม่ ของ ละคร พี่ต้อเล่าให้ฟังว่ามันเริ่มจากความ ต้องการที่จะหาเงินไปช่วยชมรมค่าย เพราะ แต่ก่อนนั้น ถ้าอยากได้เงินสองหมื่นบาทมา ท�ำค่าย เขาจะต้องเสนอของบจากส่วนกลาง ไปแปดหมืน่ เพือ่ เผือ่ ไว้ให้สว่ นกลางตัดงบทิง้ แต่พี่ต้อไม่อยากจะท�ำอย่างนั้น เพราะค่าย อาสาไม่ ค วรจะเกิ ด จากความไม่ โ ปร่ ง ใส สุดท้ายพี่ต้อจึงซื่อตรงยื่นไปสองหมื่น ส่วน งบทีไ่ ด้มาจริงๆ ขาดอีกเท่าไหร่กจ็ ะไปหามา เอง ส่วนตอนนี้ เหตุผลของการท�ำละครใน แต่ละปีนั้นกลายเป็นเรื่องของวัฒนธรรมไป แล้ว ทุกครั้งที่การท�ำละครก�ำลังจะเริ่มขึ้น ค�ำถามที่ทุกรุ่นต้องเผชิญก็คือรุ่นเราจะมี ละครหรือไม่?

เป็นต้องท�ำ “ละครผมว่ต้อางไม่ไม่จม�ำองแค่

กิจกรรมละคร แต่มอง กิจกรรมที่สร้างพวกเราได้ ผมคิดว่าท�ำไมไม่ท�ำหนังวะ มันแยบยลกว่า ผมไม่คิดว่า มันมีเงื่อนไขอะไร

– พี่ต้อ 20

“อยากให้มีหรือไม่มี ถ้าอยากมี วิธีการคืออะไร อยากมีแต่ถ้าเราไม่มีคน ท�ำงานก็ไม่มีทางท�ำได้ มันต้องมีคนสอง อย่างก่อน คือคนเขียนบทกับคนหาตังค์ สอง อย่างนี้ ผมว่าไม่จ�ำเป็นต้องท�ำละคร ต้องไม่ มองแค่กิจกรรมละคร แต่มองกิจกรรมที่ สร้างพวกเราได้ ผมคิดว่าท�ำไมไม่ท�ำหนังวะ มันแยบยลกว่า ผมไม่คิดว่ามันมีเงื่อนไข อะไร” ปฏิเสธไม่ได้ว่าละครแต่ละปีสร้าง ความทรงจ�ำดีๆ การฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ความเหน็ดเหนื่อยและความภาคภูมิใจเมื่อ มันประสบความส�ำเร็จ ประสบการณ์การ ท�ำงานจริงที่เด็กๆ แต่ละฝ่ายได้รับ รวมไป ถึ ง มิ ต รภาพจากรุ ่ น พี่ รุ ่ น น้ อ งและเพื่ อ นๆ อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ยังคงงอกเงยขึ้นมา จากการท�ำละครเสมอๆ แต่หากจะมีสักปีที่ อยากลองอะไรใหม่ๆ หรือเปลี่ยนแปลงรูป แบบบางอย่าง เพื่อที่จะน�ำไปสู่กิจกรรมที่ สร้างประโยชน์เหมือนเดิม แต่เพิม่ ความสนุก และคุณค่าให้คนดูด้วย ปีนั้นก็น่าจะเป็นปีที่ ท้าทายไม่แพ้การท�ำละครแบบเดิมๆ “ผมรู้สึกว่าถ้าเป็นผม ผมจะท�ำ หนังสักปีนะ ผมอยู่ปีสี่ เอ้อ ผมอยากท�ำหนัง ว่ะ อะไรงี้ แล้วก็ท�ำหนัง แล้วก็เจ๊งกลับมาท�ำ ละครต่อไป (ทุกคนหัวเราะ) แต่วา่ เราก็ได้ทำ� แล้วไง” พี่ต้อบอกพวกเราด้วยรอยยิ้ม


AD


#Taitoon IsMyHome ใต้ถุน (น.) ที่ใต้พื้นเรือนซึ่งยกพื้นสูง (พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554) ถ้าอ้างอิงจากความหมายด้านบน ‘ใต้ถุน’ ของเหล่าชาวนิเทศฯ จุฬาฯ คงผ่าเหล่า ผ่ากอน่าดู เพราะใต้ถุนในที่นี้ของเราเป็นเพียงพื้นที่โล่งๆ ที่มีโต๊ะควายตั้งอยู่ ไม่มีบ้าน ชั้นบน ไม่มีหลังคา มากสุดก็เป็นสแลนสีด�ำที่ช่วยกางกันแดดเท่านั้น แต่กระนั้นเราก็ยังเรียกพื้นที่ตรงนี้ว่าใต้ถุน “ใต้ถุนมีทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรมด้วย ไม่ใช่ แค่ทางกายภาพ” ครูป๋อม – อ.ไศลทิพย์ จารุภูมิ รุ่น 18 อธิบาย ก่อนจะเล่าลักษณะทางกายภาพ ตั้งแต่ดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบัน “มันเคยเปลี่ยนจาก ตรงที่เคยอยู่ตรงตึกหนึ่งที่ตอนนี้คือศูนย์ความเป็น เลิศทางด้านดิจิทัล ไปอยู่ตรงใต้ตึกใหม่ แล้วก็ ตรงด้านข้างที่มีโต๊ะควาย” แน่ล่ะเมื่อพูดถึงใต้ถุน ศิษย์เก่าที่โตมาพร้อม กับใต้ถุนตั้งแต่ยุคแรกๆ อย่าง พี่น้อง - เกณิกา (อัญจิรา) วงศ์เกล็ดนาค รุ่น 23 ก็อธิบายด้วยค�ำ สั้นๆ ที่เห็นภาพอย่าง รังนกกระจอก “สมัยนั้น รอบๆ คณะจะมีต้นหูกวางเยอะอยู่ โต๊ะควายก็จะ อยู่ตามต้นหูกวาง คุยเล่นกันทีก็เสียงดัง โต๊ะพี่จะ อยู่หน้าคณะ เรียกกันเล่นๆ ว่าโต๊ะหูแตกเพราะ เสียงดังมาก ป๋าแหม่มเคยตะโกนด่าลงมาจาก

ห้องอาจารย์ชั้น 4 ว่าให้เงียบๆ หน่อย บางครั้งก็ ระยะเผาขนคือด่าตรงนั้นเลย เวลาจะหาใครก็แค่ ยืนบนชานพักบันไดที่ออกจากตัวตึก มองปราดๆ ก็จะเห็นว่าใครอยู่ตรงไหน ส่วนใหญ่จะมีโต๊ะ ประจ�ำกัน โดดเรียนก็นั่งตรงนั้นแหละ หาเกรง กลัวอาจารย์จะมาเจอไม่” เช่นเดียวกับ ไบท์ - ฤทธิศักดิ์ ว่องพรรณงาม รุ่น 45 ที่เล่าให้เราฟังในฐานะน้องใหม่รุ่นสุดท้าย ที่ทันใต้ถุนเก่าว่า “มันเหมือนบ้านจริงๆ นะ อาจ เพราะว่าเพดานมันเตี้ยมันเลยอุดอู้ แต่ก็ในทางที่ ดีนะ เทียบกับใต้ถุนใหม่แล้วเป็นเหมือนทางผ่าน ตึกมากกว่า แต่ใต้ถุนเก่ามันคือใต้ถุนจริงๆ” แล้วใต้ถุนเอาไว้ท�ำอะไรได้บ้าง? “กิน นอน ซ้อมเต้น เมาอ้วกแตก ห้องเชียร์ รับน้อง ขัดใต้ถุน ทาสีพร็อพละคร ซ้อมละคร เม้าท์มอยนินทา เล่นน�ำ้ เต้าปูปลา เล่นเกมเศรษฐี”


ตีส - ปุณณวิชญ์ เทศนา รุ่น 39 ไล่เรียงให้ฟัง เช่นเดียวกับ ป้อง - ศุภณัฐ สิริภัทรวณิช รุ่น 47 ที่ คิดเหมือนกันว่านิยามความเป็นใต้ถุนนั้นต้อง ท�ำได้หมด ไม่ว่าจะเลื่อยไม้ เป็นที่นอน ท�ำการ บ้าน โชว์ ท�ำละคร ทุกอย่างต้องเกิดขึ้นได้ที่ใต้ถุน จะจัดงานอะไรก็ตามก็ต้องจัดที่นั่น “รู้สึกว่าใต้ถุน ต้องท�ำได้ทุกอย่าง และต้องท�ำทุกอย่างให้เป็น ใต้ถุนให้ได้” แม้กาลเวลาในตอนนั้นจะล่วงเลยมามากกว่า สิบปีแล้ว แต่กจิ กรรมทีใ่ ต้ถนุ ในยามนีก้ ไ็ ม่คอ่ ยต่าง จากเดิมมากนัก (แน่ล่ะว่ายกเว้นเมาอ้วกแตก) จากใต้ถุนเก่าสมัยใต้ตึกหนึ่งสู่ใต้ถุนใหม่ตรงข้าง ตึก เรายังคงส่งต่อกิจกรรมกันจากรุ่นสู่รุ่น ใต้ถุน ยังคงเป็นสถานที่นัดพบของหนุ่มสาวชาวคณะมา โดยเสมอ มาดูกันดีกว่าว่าแต่ละช่วงปีมีอะไรอยู่ที่ใต้ถุน บ้าง “ไวไฟแรง และปลั๊กไฟ” ปอย - สุจินันท์ อมรเพชรกุล รุ่น 49 รีบบอก ในยุคที่อินเทอร์เน็ต ส�ำคัญเสียยิ่งกว่าอะไร และสามจีรายเดือนก็ต้อง ใช้อย่างจ�ำกัด ไวไฟฟรีคือตัวเลือกที่ประเสริฐที่สุด ใต้ถุนในปี 2016 มีแสงสว่างที่เพียงพอ มีปลั๊กไฟ ให้ชาร์จแบตได้ มีพัดลมและกีต้าร์โปร่งอย่างละ ตัว เหมาะอย่างยิ่งส�ำหรับ “เอาไว้นั่งเวลาไม่มี ตังค์ไปนั่งสตาร์บัคส์” ปอยกล่าวเพิ่ม “นีเวีย” ตีส 39 ว่า - นีเวียที่ว่านี่ไม่ใช่ครีมแต่ อย่างใด แต่เป็นชื่อสุนัขตัวหนึ่งที่ผลัดหลงเข้ามา ที่คณะ นอกจากนีเวียแล้วก็ยังมี ‘อีเตี้ย’ อีกตัว นอกจากนี้ยังมี ‘แก๊งเพื่อนแสง’ ของผู้ชาย 37 ซึ่ง ย่อมาจากแสงโสม ที่ตกดึกทีไรก็จะเห็นหน้าเพื่อน

แสงที่ใต้ถุนทุกที ส่วนพี่น้อง 23 บอกว่าสมัยนั้น นอกจาก ‘จับหมู’ แล้วยังมีเกมทีเ่ รียกว่า ‘เลีย้ บตุย่ ’ ด้วย วิธีการเล่นเป็นอย่างไรให้ลองไปถาม ป๋าเต็ด ดู จะเห็ น ได้ ว ่ า จากอดี ต ถึ ง ปั จ จุ บั น ใต้ ถุ น ได้ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เกมฮิตในสมัยหนึ่ง อาจไม่มีใครรู้จักอีกแล้วในสมัยนี้ เช่นเดียวกับ การนั่งอยู่ใต้ถุนกลายเป็นทางเลือกส�ำรองเมื่อมี ตัวเลือกมากมายโผล่ขนึ้ มา ไม่วา่ จะเป็น หอกลางฯ จามเก้า หรือคาเฟ่เก๋ๆ ย่านเอกมัย ยอมรับว่าใจหายที่จ�ำนวนเด็กใต้ถุนน้อยลง ทุกปี จ�ำนวนที่น้อยลงมาจากสาเหตุหลักๆ เลยคือ เรื่องของโซเชียลมีเดีย มันท�ำให้เด็กไม่จ�ำเป็นต้อง มาเจอกัน อีกปัจจัยหนึ่งที่ท�ำให้เด็กรุ่นใหม่ๆ ไม่ มานั่งใต้ถุนเพราะมองว่าการนั่งใต้ถุนไม่ใช่สิ่งที่เท่ อีกต่อไป พวกเขาแสวงหาสิ่งใหม่ๆ นอกเหนือไป จากการอยู่แต่ในคณะ หลายคนกลัวว่าช่องว่างที่ เกิ ด ขึ้ น นี้ จ ะท� ำ ให้ ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งพี่ น ้ อ ง นิเทศมันเลือนลางไปหรือเปล่า ป้อง 47 ให้ความ เห็นว่า “มันก็มีส่วน แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดเพราะเขา จะไปรู้จักกันที่อื่นอยู่ดี แต่เป็นการรู้จักที่เฉพาะ กลุ่ม เช่น คนชอบดื่มก็จะรู้จักคนชอบดื่ม คนท�ำ หนังก็จะรู้จักคนท�ำหนัง” ไบท์ 45 เสริมในอีกมุมหนึ่งว่า “ความเป็น ใต้ถุนมันคือความสนิทใจกับทั้งคนและสถานที่ ไม่จ�ำเป็นต้องมีคนอยู่ที่ใต้ถุนตลอดเวลาหรอก แต่เราว่าถ้าคนที่อยู่ใต้ถุนมันโอเคที่จะอยู่ด้วยกัน และได้ท�ำอะไรแปลกๆ ไปด้วยกันมากกว่าที่คณะ อื่นเขาท�ำกัน เราว่าก็พิเศษพอแล้ว”


ชาวตะวันตกนิยมตั้งเป้าชีวิตหรือ New Year Resolution ทุกครั้งที่ขึ้นปีใหม่ เพื่อเตือน ตัวเองในการเริ่มสิ่งใหม่หรือเลิกอะไรบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายให้ชีวิตดีขึ้น ทั้งต่อตนเอง และต่อคนรอบข้าง สายใยฉบับนี้จึงรวบรวมนิสัยที่เด็กนิเทศควรเปลี่ยน เพื่อชีวิตที่ดีของเรา และคนรอบข้างในปีใหม่ และปีต่อๆ ไป

นิ สั ย ที่ เ ด็ ก นิ เ ทศ ควรเปลี่ ย น เปลืองพลังงานมาก ไหนจะต้องสร้างตัวละคร ที่มาขัดขวางการมาตรงเวลา ต้องหาเหตุการณ์ ที่เป็นอุปสรรค ต้องหาโลเคชั่นที่เข้ากับเรื่อง การเลท เป็นต้นเหตุของวลีเด็ด ‘นิเทศ หาเรฟเกี่ยวกับการจราจร ฯลฯ โอ้ย! คิดดูสิว่า ไทม์’ อันเป็นที่รู้กันว่า อยากนัดกันเมื่อไร ให้ ต้องเสียเวลาไปแค่ไหน เอาเวลาที่เสียไป มา บอกเวลาเผื่อไว้หนึ่งชั่วโมง เพื่อให้มาเลทได้ คิดหาทางให้มาทันเวลาจะดีกว่าไหม สั ก ครึ่ ง ชั่ ว โมง การเลทท� ำ ให้ เ ราต้ อ งนั่ ง คิ ด หาเหตุผลให้ดูดี น่าให้อภัย หรืออย่างน้อยก็ให้ โดนด่าน้อยที่สุด แต่เหตุผลที่ใช้อ้างนั้นมีจ�ำกัด การร�ำ หมายถึง การท�ำตัวเรื่อยๆ ไม่รีบไม่ แถมยิ่งใช้ซ�้ำจะไม่น่าเชื่อถือ ท�ำให้เรายิ่งต้อง สรรหาเหตุผลใหม่ๆ เพื่อชักจูงให้คนเชื่อ การ ร้อน ที่มาของค�ำว่า ‘ร�ำ’ นั้นไม่แน่ชัด บ้างก็ สร้ า งสตอรี่ ที่ ฟ ั ง แล้ ว น่ า เชื่ อ ถื อ แถมสนุ ก นั้ น ว่าตัดทอนมาจากค�ำว่าร�ำคาญ เพราะว่าเป็น

เลิกเลท

เลิกร�ำ


กิริยาที่น่าร�ำคาญ บ้างก็ว่ามีที่มาจากศิลปะ การแสดงไทยอย่างโขน ที่มักจะมีการร�ำมา แสดงคั่นก่อนถึงบทเจรจา หรือบ้างก็ว่าหมาย ถึงการร�ำนั่นแหละ การร�ำจะเป็นศิลปะชั้นสูง ในการปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ เด็กนิเทศนิยมร�ำกันเป็นประจ�ำ ไม่ว่าจะไป ไหนมาไหนก็จะมีการร�ำให้เห็นอยู่ บ่อยๆ เช่น มักร�ำก่อนไปกินข้าว จนบางครัง้ ก็ไม่ได้ไปเพราะ มัวแต่ร�ำ สถานที่ที่นิยมที่สุดในการร�ำคือใต้ถุน แม้ว่าภาครัฐจะส่งเสริมและสนับสนุนให้ ชาวไทยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม แต่การร�ำของ เด็ ก นิ เ ทศนั้ น ไม่ เ ป็ น ประโยชน์ แ ก่ บ ้ า นเมื อ ง หน� ำ ซ�้ ำ ถ้ า เราร� ำ เก่ ง เกิ น ไป เหล่ า คนที่ เ รี ย น นาฏศิลป์มาโดยตรงจะไม่มีงานรองรับ ฉะนั้น เราควรเลิกร�ำแล้วกลับมาท�ำหน้าที่นักสื่อสาร มวลชนของเราให้ดี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการ เผยแพร่ ก ารร� ำ อย่ า งถู ก วิ ธี ใ ห้ กั บ ประชาชน ชาวไทยต่อไป

ตามสบาย แม้ว่าการดอยจะเป็นการใช้ทรัพยากรให้ เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ก็อาจท�ำให้เราติดนิสัย ชาวดอยอีกอย่างก็คือชอบท�ำไร่เลื่อนลอย ซึ่ง สิง่ ของทีค่ นลืมวางทิง้ ไว้ไม่นานก็จะถูกผลาญจน หมดไป ดังนัน้ ในปี 2559 นีเ้ ราควรเลิกดอย แล้ว หันมาท�ำการเกษตรหมุนเวียนแทน เพือ่ ทีว่ า่ ของ ที่ถูกลืมไว้ที่ใต้ถุนจะยังถูกใช้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น (แล้วไม่ตามหาเจ้าของเรอะ!!)

เลิกนก

คณะนิเทศมีเพลง วิหคเหิรลม ที่ร้องกันใน ทุกๆ รุน่ บางรุน่ มีทา่ เต้นประจ�ำรุน่ ด้วย พวกเรา จึงถูกปลูกฝังให้นกกันมาแต่ไหนแต่ไร เท่านัน้ ไม่ พอ เรายังมีเพลงนกน้อยในไร่ส้มที่ขอยืมจาก คณะรักษาสัตว์มาร้องอีก จะให้เขานกอยู่คณะ เดียวก็ไม่ได้ แม้การเป็นนกจะแสนสุขสม ทั้งวัน นกเจ้าคงเพลิน เหิรลอยละลิ่วล่องลม แต่ดู เหมือนเด็กนิเทศรุ่นใหม่ๆ จะไม่ค่อยอยากนก กันอีกต่อไป หนึ่งในกิจกรรมคณะที่ท�ำเป็นประจ�ำทุกปี แต่เสียใจด้วย การนกไม่ใช่นิสัยต่อให้อยาก คือค่ายอาสา และจะมีบางปีที่ได้ขึ้นดอยซึ่ง เลิกนกยังไง อากาศและทิวทัศน์ดมี าก รวมถึงชาวดอยบนนัน้ ก็ยังนกอยู่ดี ก็มีน�้ำใจ อาจจะมีเด็กนิเทศบางคนยังไม่อยาก ทิ้งความรู้สึกเหล่านั้นจึงกลับมาเป็นชาวดอยที่ ใต้ถุนคณะ ยึดถือคติแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ มี สิ่งของชิ้นใดวางทิ้งไว้ก็นับเป็นสมบัติส่วนรวม หยิบไปใช้ได้เลยโดยไม่ตอ้ งขอ และบางครัง้ ก็ไม่ ต้องเอามาคืน นับว่าเป็นการผนวกรวมน�้ำใจ ชาวดอยและน�้ำใจนิเทศอย่างแข็งแกร่งทรงพลัง พักหลังๆ การดอยพัฒนาเป็นศัพท์ใหม่เรียกกัน ว่า ไอเท็มดรอป (Item Drop) ซึ่งเป็นการล้อ เลียนจากเกมออนไลน์ที่มักจะมีสิ่งของตกหล่น หลังการต่อสู้ และใครอยากจะเก็บไปใช้กเ็ ก็บได้

เลิกดอย


C O L O R C H A N G E เพราะสีเสื้อเปลี่ยนแปลงบ่อย ผิด! ผิด! ผิดไปหมด! แค่หยิบเสือ้ ผ้าผิดสี ทำ�ไมมันผิดไปหมดขนาดนีเ้ นีย่ !? เคยสงสัยบ้างไหมว่าวันบางวันทำ�ไมมันถึงซวยแสนซวย รูห้ รือไม่? การเลือกสีเสือ้ ผ้าทีใ่ ส่ในแต่ละวันก็มผี ลกับดวงเหมือนกัน วันทีด่ ๆี อาจเริม่ ได้งา่ ยๆ เพียงเลีย่ งการหยิบสีเสือ้ ผ้าทีจ่ ะฉุดดวงชะตาของคุณ

ทีมกล้อง : นิก 48 ธันวา 49 โอเปิล้ 49 นิน 51 ซูโม่ 51 แฮร์ดู : พี 48 ฟ้า 50 เอิรธ์ 50 หมุยจิน 50 นิก 50 วีว่ี 50 เมคอัพ : เดียร์ 50 หยก 50 ปุก๊ กี้ 51 คอสตูม : ธร 48 กรฮันนีบ่ ี 49 ข้าวโอ๊ต 51 สวัสดิการ : โจ้ 48 ปัป๊ 48 อีเ้ หวิน 50 นายแบบนางแบบ : โม 51 นัตตี้ 48 รัชมอส 48 บุน๋ 51 ตอง 51 บรูค๊ ก้า 49 จูเนียร์ 51 เริม่ ต้น 49


อาทิตย์ สีนํ้าเงิน

ใครๆ ก็รวู้ า่ วันอาทิตย์นะ่ สีแดง เพราะฉะนัน้ นีค่ อื การจับคูส่ ตี รงกันข้ามโดยแท้จริง ไม่ตอ้ งอธิบายเพิม่ แล้วล่ะว่า ไปด้วยกันไม่รอดแค่ไหน เอาเป็นว่าใครตัง้ ใจใส่เสือ้ ผ้าสีนา้ํ เงินออกไปเฉิดฉายในวันนีก้ ข็ อให้โยนกลับเข้าตูไ้ ปก่อน ไม่งน้ั อาจโดนดวงตกพุง่ ชนได้ไม่รตู้ วั


จันทร์ สีแดง เสริมพลังวันเเรกของการทำ�งานด้วยสีแดงจะได้มพี ลังแถมปัง... ปังเลยเถอะจ้า! ยิงความคิดนัน้ ทิง้ เดีย๋ วนี้ เพราะ ‘สีโทนแดงและส้ม’ เป็นสีดวงตกของวันจันทร์นะ รีบเลีย่ งด่วน


คาร

าวแ ละส

อัง

สีข ีเหล ือง

ใครอยากสงบกายสงบใจ หวังพึง่ บารมีของ ‘สีขาว’ คิดผิดถนัดเลยล่ะ เพราะสีขาวอาจจะทำ�ให้วนั อังคารทีส่ วยงามของคุณ กลายเป็นวันทีท่ กุ อย่างผิดเพีย้ นตาลปัตรขึน้ มาได้ในทันที


พุธ

พุธกลางวัน X สีชมพู หูยยย อยากหวาน อยากจะ แบ๊วใส่สชี มพูให้สดใสอ้ะ! หยุดความคิดนัน้ เดีย๋ วนี!้ เพราะวันใสๆ อาจจะกลาย เป็นวันซวยได้ ‘วันพุธ-แอนตี-้ สีชมพู’ ท่องเอาไว้ให้ขน้ึ ใจเลยนะ พุธกลางคืน X สีแดงแสด ถ้ามีงานด่วนต้องออกไปทำ� ในคืนวันพุธ ก็ไม่แนะนำ�ให้ แต่งตัวด้วยสีแดงแสดนะจ๊ะ ถึงแม้วา่ จะทำ�ให้ดเู ด่น แต่ บางทีกอ็ าจจะเด่นเกินไป

สีชมพูและสีแดงแสด


พฤ หัส ี

สีม

บด

่วง และ สีด ำ� วันพฤหัสบดีคงจะสุดแสนสาหัส ถ้าหยิบเสือ้ ผ้า ‘สีดำ�หรือสีมว่ ง’ มาใส่ อยากบอกว่าเลีย่ งได้กเ็ ลีย่ งเถอะ แล้วชีวติ จะดีแสนดี อ้อ ถึงจะบอกว่าให้เลีย่ งสีมว่ ง แต่มะม่วง ขนมช่อม่วง หรือมะเขือม่วงก็ยงั กินได้ตามปกตินะ


า ะสีเท ำ�แล

ร์

สีด

ศุก

วันศุกร์แห่งชาติทง้ั ที รูน้ ะ่ ว่าอยากคีพคูลดูมนิ มิ อลด้วยเสือ้ ผ้าโทน ‘เทาดำ�’ แต่ขอเถอะว่ารอถัดไปสักวันดีกว่า ไม่งน้ั วันศุกร์แสนสุข อาจจะกลายเป็นวันศุกร์ทเ่ี ศร้าสุดๆ ได้ แล้วจะหาว่าไม่เตือนนะจ๊ะ


เสาร์

สีเขียว

เก็บแรงกายแรงใจไว้อนุรกั ษ์ธรรมชาติวนั อืน่ ดีกว่า เพราะวันเสาร์กบั ‘สีเขียว’ นีไ่ ม่ถกู กันสุดๆ จากทีจ่ ะได้ดี เผลอๆ อาจจะถูกธรรมชาติลงโทษก็ได้นะ ระวังไว้ดกี ว่าแก้จา้


How To ไปงาน เตรียมตัว เตรียมพลังเสียงให้พร้อมแล้วมาร้องลูกทุ่งกัน! ร้องให้ชัดคม

จะร้องลูกทุ่ง ทุกค�ำต้องเคลียร์ ฝึกได้ง่ายๆ ด้วย การพูดให้คมชัดก่อน

แบ่งลมให้ถูก

ไม่จ�ำเป็นต้องแบ่งลมให้เหมือนต้นฉบับเป๊ะ ขอแค่ให้ถูกต้องตามห้องเพลง จะไม่ได้เหนื่อย แรงร้อง จนไปลากเอาแรงเต้นมาจนหมด

ลูกคอต้องมา

ไม่ใช่การร้องเพลงหน้าพัดลม หรือการใช้มือเขย่า หนังตรงกระเดือกให้เสียงฟังดูสั่น แต่เราก�ำลังพูด ถึ ง เสี ย งเอื้ อ นแท้ ๆ ที่ เ กิ ด จากการกระดกลู ก กระเดือกอย่างมีศิลปะ

อารมณ์ต้องมี

ร้องเพลงเศร้าก็ตอ้ งเศร้า ร้องเพลงสนุกก็ตอ้ งสนุก อย่าร้องเพลงสนุกด้วยความเศร้า หรือร้อง เพลงเศร้าด้วยความสนุก


เตรียมพลังกายให้พร้อมแล้วมาซ้อมเต้นกัน! เพลงเร็ว

ท่ามาตรฐาน

ท่านกยูงร�ำแพน

ท่าหมีล�ำบาก

มือเท้าสะเอว พร้อมส่ายเอว อยู่กับที่

เหยียดแขนทั้งสองออกไปด้าน ข้างจนสุด มือก�ำหมัดหลวมๆ แล้ ว ส่ า ยช่ ว งบนเร็ ว ๆ เลี ย น แบบท่ า นกยู ง ขณะเตรี ย ม กล้ามเนื้อเพื่อร�ำแพน

ท่อนที่ใช้บ่อย เปิดตัวหางเครื่อง, เป็นรอยต่อ สู่ท่ายากอื่นๆ

ท่อนที่ใช้บ่อย ท่อนฮุค, ท่อนที่มีจังหวะเร้าใจ วนซ�้ำไปมา

มื อ ข้ า งหนึ่ ง เหยี ย ดขึ้ น ฟ้ า ใน ลักษณะตรง กรีดนิว้ ทัง้ 5 เป็น รูปพัด มืออีกข้างเท้าสะเอวไว้ แล้ ว ส่ า ยสะโพกตามจั ง หวะ เพลง คล้ายกิริยาตอนหมีใช้ ต้นไม้ชว่ ยเกาในส่วนทีเ่ อือ้ มไม่ถงึ ท่อนที่ใช้บ่อย ช่วงพักเหนื่อยระหว่างท่อน

เพลงช้า

ท่ามาตรฐาน

ผายมื อ เข้ า -ออก บน-ล่ า ง ซ้าย-ขวา โอนอ่อนเลียนกิริยา ของต้นหญ้าลู่ลม ท่อนที่ใช้บ่อย ท่ อ นทั่ ว ไปที่ จั ง หวะเพลง สม�่ำเสมอ

ท่าหงส์ช�ำเลือง

วาดมือข้างใดข้างหนึง่ (หรือสอง ข้างพร้อมกันก็ได้) ผ่านหน้าอย่าง แช่มช้า แผ่นิ้วทั้ง 5 ออกกว้าง เพือ่ ให้เห็นแววตาของผูเ้ ต้น ท่อนที่ใช้บ่อย ท่อนทีค่ ำ� ร้องสือ่ ถึงอารมณ์เศร้า โศก เปล่าเปลีย่ ว และโหยไห้

ท่ากรรเชียงปู

วาดวงแขนไปข้างหน้าหรือ ข้ า งหลั ง ช้ า ๆ ท� ำ มุ ม 180 องศา แผ่นิ้วเป็นรูปพัดให้ ท่อนที่ใช้บ่อย ท่อนก่อนขึ้นเนื้อร้อง, ก่อนขึ้น ท่อนฮุก

*สิ่งส�ำคัญคืออินเนอร์ต้องแน่น ต้องให้แผ่ออกมาจากทุกทวารบนร่างกาย ต้องให้ผู้ชมสัมผัสได้ในระยะร้อยเมตร*


ท่ า มกลางบรรดาศิ ษ ย์ เ ก่ า นิ เ ทศฯ จุ ฬ าฯ มากหน้ า หลายตา หลายคนคงคุ ้ น หู กั น ดี กั บ ชื่ อ ‘ยุ ท ธนา บุ ญ อ้ อ ม’ หรื อ ที่ ช าวเราเรี ย ก กั น ติ ด ปากว่ า ‘ป๋ า เต็ ด ’ ศิ ษ ย์ เ ก่ า รุ ่ น 22 ที่ ค น ทั่ ว ไปรู ้ จั ก กั น ดี ใ นบทบาทของพี่ ใ หญ่ แ ห่ ง วงการเพลงอิ น ดี้ เจ้ า ของฉายา ‘เจ้ า พ่ อ เด็ ก แนว’ แต่ ส�ำหรั บ พี่ น ้ อ งในคณะแล้ ว ป๋ า เต็ ด กลั บ มี ห ลายบทบาท ทั้ ง เพื่ อ น พี่ และน้ อ งต่ า ง กั น ไป ท ว ่ า ใ น ว า ร ะ พิ เ ศ ษ ค ร บ ร อ บ 5 0 ป ี นิ เ ทศศาสตร์ จุ ฬ าฯ ในครั้ ง นี้ ป๋ า เต็ ด ได้ รั บ บทบาทที่ แ ตกต่ า งออกไป ซึ่ ง ค่ อ นข้ า งส�ำคั ญ

กั บ การจั ด งานครั้ ง นี้ เ พราะต้ อ งร่ ว มระดม ความคิ ด วางแผน เรื่ อ ยไปจนถึ ง การดู แ ลการ ด�ำเนิ น งานในภาพรวม จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากบทบาท ‘ประธานจั ด งานคื น สู ่ เ หย้ า ’ ภายใต้ ค อนเซ็ ป ต์ ‘มนต์ รั ก ลู ก ทุ ่ ง นิ เ ทศ ไม่ ลื ม กลิ่ น โคลนสาบ (โต๊ ะ )ควาย’ เบื้ อ งหลั ง แนวคิ ด ดั ง กล่ า วคื อ อะไร และ งานครั้ ง นี้ จ ะพิ เ ศษกว่ า ครั้ ง ก่ อ นๆ อย่ า งไร วั น นี้ ที ม งาน ‘สายใย’ ถื อ โอกาสเป็ น สื่ อ กลาง ไขข้ อ ข้ อ งใจให้ ผู ้ อ ่ า นทุ ก คนได้ รั บ ทราบโดย ทั่ ว กั น !


จั บ ผลั ด จั บ ผลู ม าเป็ น ประธานจั ด งานได้ ยั ง ไง?

คือเราเคยคิดไว้แล้วนะว่า เออ ถ้าสมมติได้ เป็นประธานจัดงานคืนสู่เหย้าขึ้นมาจะท�ำอะไรดี คือเชื่อว่าวันหนึ่งมันก็คงมาถึงเราจนได้แหละ เพราะว่ า หน้ า ที่ ก ารงานที่ เ ราท� ำ อยู ่ มั น ก็ แ นว ประมาณนี้ แล้วก่อนหน้านี้เขาก็เคยชวนแล้ว เพียงแต่เราปฏิเสธไปเพราะว่างานเราเยอะ เลย ขอติดเอาไว้กอ่ น จ�ำได้วา่ พอวันงานคืนสูเ่ หย้าครัง้ ที่แล้วเนี่ยแหละมั้ง ไม่รู้ว่าเป็นพี่กร๋อยหรือพี่สิง หันมาพูดกับเราว่า สงสัยคราวหน้าต้องเป็นเต็ด แล้ว เราก็รับปากไปอย่างดี บอกพี่เขาไปด้วยว่า คิดธีมไว้แล้วเรียบร้อย ท�ำไมถึ ง ต้ อ งเป็ น ธี ม ลู ก ทุ ่ ง ล่ ะ ?

ไม่รู้สมัยปัจจุบันเป็นยังไงนะ แต่ตอนรุ่นผม เข้ามาคณะ (รุน่ 22) เรารูส้ กึ ได้ถงึ ความลูกทุง่ ของ นิเทศฯ อย่างแรกเลยคือตั้งแต่เข้ามาจะมีต�ำนาน กล่าวขานถึง ‘วงดนตรีลูกทุ่งนิเทศ’ ที่เป็นพวก พี่ๆ รุ่น 15 เขาตั้งกันขึ้นมา (พี่กร๋อย พี่ตี่ พี่แหวน อะไรพวกนี)้ ซึง่ เราเข้ามาไม่ทนั ได้ดเู ขาแสดงแล้ว เราเลยได้ยินแค่ชื่อเสียง อย่างที่สองคือการที่ นิเทศฯ มันเป็นหนึ่งในสามคณะที่อยู่ฝั่งบ้านนอก (ฝั่งสามย่าน) ดังนั้นความเป็นบ้านนอกมันท�ำให้ เราเหมือนกับเจียมเนื้อเจียมตัว ไม่ฟุ้งเฟ้อไปกับ ความอลังการของความเป็นจุฬาฯ ขนาดเวลาเรา จะเรียนภาษาอังกฤษเขายังต้องให้เราข้ามไป เรียนทีฝ่ ง่ั เมืองเลย เขาไม่ให้เราสอนภาษาอังกฤษ กันเองด้วย คงกลัวเราสอนกันผิดมั้ง หรือว่าการ จัดงานอะไรที่มันเป็นงานส่วนกลาง บางทีเราก็ ต้องจัดของเรากันเอง เพราะไปจัดฝัง่ นูน้ มันก็ไกล ดังนั้นเราเลยมีความรู้สึกเจียมตัวในความเป็น บ้านนอกของเรามาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วล่ะ สอง อย่างนี้ส่งผลให้เราไปหยิบลูกทุ่งนิเทศขึ้นมาท�ำ เป็นธีม ‘มนต์รักลูกทุ่งนิเทศ’

กั ง วลไหมว่ า พอเป็ น ธี ม ลู ก ทุ ่ ง แล้ ว เด็ ก รุ ่ น ใหม่ จะต่ อ ไม่ ติ ด ?

ไม่กังวลเลยนะ เพราะว่าตอนเราท�ำ Big Mountain Music Festival ตัง้ แต่ปที แี่ ล้วเราเพิม่ เวทีลูกทุ่งขึ้นมา ปรากฏว่าที่สนุกกันก็คือเวที ลูกทุง่ นีแ่ หละ แล้วงานเราส่วนใหญ่กม็ แี ต่คนรุน่ ใหม่อยู่แล้ว คือเราเชื่อว่าความเป็นลูกทุ่งมัน เป็นของจริง มันเป็นจังหวะที่มันออกแบบมา เพื่อคนไทยจริงๆ มันเป็นจังหวะที่ได้ยินปุ๊บมัน ก็ขึ้นทันที เนื้อหาของเพลง จริตจะก้านของการ ร้อง มันเป็นวิธีแบบไทยๆ อย่างเวลาที่เราฟัง เพลงฝรั่ง เวลาที่เราเต้นเพลงฝรั่ง อีดีเอ็ม หรือ ร็อก หรืออะไรก็ตาม ฟังนานเข้าแล้วมันจะ เหนื่อย มันจะมีความไม่จริงบางอย่างที่เราต้อง ค่อยๆ ท�ำให้เคยชินกับมันก่อน แต่กับเพลง ลูกทุ่ง มันไม่มีเหนื่อย มันเป็นธรรมชาติ มันไม่ ต้องสอนท่าเต้น มันไม่ตอ้ งอะไรเลย เพลงลูกทุง่ มันอยู่ในสายเลือด ไม่ต้องบอกก็เชื่อว่าคนไทย ทุกคนเกิดมา พอได้ยนิ จังหวะเพลงลูกทุง่ คงเต้น ทันที ดังนั้นเลยค่อนข้างมั่นใจ แล้วพอเริ่มลง รายละเอียดงาน เราก็พบว่ามันจริงอย่างที่คิด เพราะมันสนุกมาก ทุกคน ทุกรุ่น ที่มาช่วยกัน สนุกกับความเป็นลูกทุ่งนิเทศมาก เพลงลู ก ทุ ่ ง เพลงไหนที่ คิ ด ว่ า อธิ บ ายความ เป็ น นิ เ ทศฯ จุ ฬ าฯ ได้ ม ากที่ สุ ด ?

ขอเลือกเพลงมนต์รกั ลูกทุง่ แล้วกัน (หัวเราะ) คือเรารู้สึกว่าในความเป็นนิเทศฯ ถึงแม้ว่าเรา จะเรียนคนละภาควิชา หรือแม้แต่คนละยุค คนละสมัยกัน ไม่ว่าจะ รุ่นพี่ของพี่ รุ่นตัวพี่เอง หรือว่ารุน่ น้องถัดลงมา แต่สงิ่ หนึง่ ทีค่ ณะนิเทศฯ สอนเราเหมือนกันคือเขาสอนให้เราเข้าใจความ เป็นจริง ให้เราเข้าใจความเป็นมนุษย์ สอนให้ เรารู้ว่ามนุษย์ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร หรือชอบ อะไรแล้วแสดงออกไปอย่างไร อะไรพวกนี้มัน เป็นสิง่ ทีเ่ ขาสอนเรามา มันท�ำให้เราเข้าใจว่าท�ำ อย่างไรแล้วมันจึงจะเอาใจคนหมู่มากได้ ซึ่ง


เพลงมนต์รักลูกทุ่ง มันมีความเชยอยู่ในเนื้อ เพลง แต่มันเป็นความเชยที่มันจริง จนท�ำให้ไม่ ว่าคนยุคสมัยไหนก็จะถูกใจกับความเชยเหล่า นั้นได้ ซึ่งมันเหมือนกับเวลาที่เราท�ำงานนิเทศฯ หรือคิดอะไรแบบนิเทศฯ คือพี่ไม่เคยรู้สึกว่า คณะเรามันสอนให้เราเป็นคนคิดแค่เอาทันสมัย อย่างเดียว พีร่ สู้ กึ ว่าพวกเราคิดงานแล้วมันพอดี มันมีความเป็นหนังจีทเี อช ท่ามันจะไม่เยอะ มัน จะมีความนอบน้อมถ่อมตัวอยู่ในนั้น มีความ เข้าใจคนไทยอยู่ในนั้นระดับหนึ่ง ซึ่งนั่นแหละ คือสิ่งที่มันอยู่ในเพลงมนต์รักลูกทุ่ง เพลงมัน เต็มไปด้วยภาษากวี แต่ว่าในขณะเดียวกันมันก็ มีความเข้าใจง่ายอยู่ในนั้น ทั้งๆ ที่หลายค�ำใน นั้นมันเป็นค�ำที่เราไม่รู้ว่ามันคืออะไร อย่างเช่น เห็ดตับเต่า หน้าตาเป็นไงก็ไม่รู้ แต่เรารูส้ กึ ได้วา่ เมือ่ เราได้ยนิ ค�ำว่าเห็ดตับเต่า คนนิเทศฯ ทุกคน จะยิ้ม คือคนนิเทศฯ จะไม่ใช่คนที่พอได้ยินค�ำ ว่าเห็ดตับเต่าแล้วจะ “อะไรวะ? คืออะไรวะ?” พวกเราจะไม่ถามอะไรแบบนี้ พวกเราพร้อมที่ จะเข้าใจ พร้อมที่จะสนุกไปกับมัน งานปี นี้ มี อ ะไรพิ เ ศษกว่ า ปี ก ่ อ นๆ บ้ า ง?

ปีนี้เป็นปีแรกที่เอาดนตรีมาเป็นธีมของงาน ซึ่งก็คือเพลงลูกทุ่ง ดังนั้นทุกอย่างในงานมันจะ อยู่บนความเป็นลูกทุ่งหมดเลย เพียงแค่ว่า ลูกทุ่งมันมีหลายแบบ หลายยุค หลายสมัย ลูกทุง่ ยุคสุรพล ลูกทุง่ ยุคพุม่ พวง ลูกทุง่ ยุคหญิงลี ดังนั้นมันจะมีลูกทุ่งที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ ของคนทุกยุคแน่ๆ บวกกับเพลงลูกทุ่งมันเป็น เพลงที่ฟังง่าย สนุกง่าย โชว์บนเวทีก็จะรวมวง ดนตรีทุกยุคทุกสมัยของคณะนิเทศฯ ไว้รวมกัน

นักดนตรี นักร้อง และหางเครื่องก็จะมาจากพี่ น้องนิเทศฯ ทุกยุคทุกสมัย แล้วครั้งนี้เป็นครั้ง แรกทีท่ กุ คนท�ำธีมเดียวกัน คือเป็นลูกทุง่ เหมือน กันหมดเลย ดังนัน้ มันจะได้เห็นอะไรทีค่ อ่ นข้าง เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกันเป็นพิเศษ พี่ น ้ อ งนิ เ ทศฯ ที่ จ ะไปงานปี นี้ ต ้ อ งเตรี ย มตั ว กั น ยั ง ไงบ้ า ง?

วิธีแรกที่ง่ายมากคือสั่งซื้อเสื้อยืดงานคืนสู่เหย้า เพราะเราดีไซน์ใส่ความเป็นลูกทุ่งลงไป ด้วย อย่างที่สองคือ ปลุกความเป็นลูกทุ่งในตัว เองออกมา ทิ้งจริตอะไรทุกอย่าง ทิ้งกระเป๋า หลุยส์ไว้ที่บ้าน วันนั้นมาขอให้เตรียมมาเซิ้งกัน แล้วก็แน่นอนใครจะเตรียมพวงมาลัย ใครจะ ทัดดอกไม้ ใครจะท�ำอะไรที่คิดว่า มันสร้า ง บรรยากาศความเป็นลูกทุ่งได้ จงท�ำ ในส่วน ของความสนุกเราเตรียมไว้ให้แล้ว เชิ ญ ชวนคนมางานคื น สู ่ เ หย้ า ‘มนต์ รั ก ลู ก ทุ ่ ง นิ เ ทศ’ แบบ ‘ป๋ า เต็ ด 22’ หน่ อ ย

ตามสโลแกนเลย “ถ้ายังไม่ลืมกลิ่นโคลน สาบ(โต๊ะ)ควาย” ในคณะมันมีความสนุกที่เรา ร่วมกันท�ำเอาไว้เยอะเหลือเกิน มันมีความเรือ้ น อยูด่ ว้ ย ความเรือ้ นมันเป็นนิสยั ของพวกเราทีแ่ ก้ ไม่หาย สลัดออกไปก็ไม่หมด อยากให้มาด้วย กัน มารวมตัวกันร�ำลึกถึงความเรื้อน ร�ำลึกถึง โต๊ะควาย มาร้องเพลงด้วยกัน มัน่ ใจว่าทุกเพลง ที่จะได้ยินบนเวทีวันนั้นทุกคนร้องได้ ถ้าร้องไม่ ได้อย่างน้อยก็เต้นได้ ทีมงานทุกคนเตรียมตัว เต็มที่ หลายคนซ้อมกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เชื่อว่านี่จะเป็นงานคืนสู่เหย้าที่สนุกที่สุดครั้ง หนึ่งของนิเทศฯ เลย


ถามไปตอบมา

ระย�ำ 45

บุ๊ค 47

แมงปอ 51

สนุ๊ก 48

แคลร์ 46

1. สี่ปีในคณะคุณเปลี่ยนแฟนไปแล้วทั้งหมดกี่คน? ระย�ำ 45 - ไม่มีให้เปลี่ยนครับ T T 2. ตั้งแต่เข้าคณะรูปร่างหน้าตาคุณเปลี่ยนไปไหม? ฟ้า 50 - อ้วนขึ้นจนไม่น่าให้อภัยเลยค่ะ ขึ้นมาประมาณ 5 กิโลได้ ในส่วนของหน้าตาเชื่อมั่นว่าดีขึ้น วันหนึ่งหนูจะเป็นดาว 3. คณะท�ำให้คุณเปลี่ยนไปอย่างไร? บุ๊ค 47 - คณะท�ำให้รู้สึกกล้าแสดงออก กล้าเป็นตัวเองต่อ หน้าคนอื่นมากขึ้น เช่น ท�ำสีผม โชว์เต้น 4. คิดว่าคณะเปลี่ยนไปไหม? โจ้44 - ตั้งแต่จบมา น้องๆ โตเร็วและสวยขึ้นมาก ท�ำไมมา ช้าไป?! 5. อยากให้คณะเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง? แมงปอ 51 - อยากเปลี่ ย นตรงที่ ไ ม่ อ ยากให้ ค ่ า นิ ย มตรง หน้าตาหรือให้ค่านิยมกับตุ๊ดและผู้ชายมากเกินไปเพราะผู้หญิง ก็มีตัวตนนะคะ 6. สี่ปี เปลี่ยนสีผมไปกี่ครั้ง? หลิน 48 - เปลี่ยนสีกี่ครั้งนี่นับไม่ถ้วน ช่วงปีที่เข้ามาแรกๆ ก็เป็นพวกน�้ำตาล น�้ำตาลอ่อนลง ทอง ส้ม แดงเข้ม แดงมาก แดงปลาย ม่วง ชมพู ชมพูหม่น ชมพูแปร๊ด ฯลฯ 7. ผู้หญิงคณะเราคนไหนที่จะเปลี่ยนให้คุณกลับมาเป็นชาย ได้ เพราะอะไร? สนุ๊ก 49 - กั้ง 48 ยอมใจความโป๊ในโชว์นมแต่ละโชว์ของนาง 8. ผู ้ ช ายคณะเราคนไหนที่ จ ะเปลี่ ย นให้ คุ ณ กลั บ มาเป็ น ผู้หญิงได้ เพราะอะไร แคลร์ 46 - พี่เก้ง จิระ ถ้าพี่เก้งบอกให้แคลร์กระโดด แคลร์ จะถามว่ า ให้ ก ระโดดสู ง แค่ ไ หน ถ้ า พี่ เ ก้ ง บอกให้ แ คลร์ ใ ส่ กระโปรง แคลร์จะถามว่าให้ใส่สั้นแค่ไหน

ฟ้า 50

โจ้ 44

หลิน 48

กั้ง 48

พี่เก้ง จิระ


เรื่องแสนสั้น

น�้ ำ ตากระต่ า ย

เขียน > faikanta l วาด > naisu


โยกเยกเอย น�้ำท่วมเมฆ กระต่ายลอยคอ หมาหางงอ กอดคอ โยกเยก.. วราลี พึ ม พ� ำ สิ่ ง ต่ า งๆ เหล่ า นั้ น ออกมา เบาๆ ยามค�ำ่ คืนท�ำให้ภาพในใจชัดเจนผิดปกติ หากเป็นในอดีต ทุกอย่างคงไม่สร้างความเจ็บ ปวดให้เธอเช่นนี้ เธอรู้สึกทรมานเหมือนตกอยู่ 1 ภายในห้องที่มีแสงสว่างจัดจ้าเกินไป แสงนั้น สาดเข้าไปถึงทุกอณูสมอง เธอนึกออกแม้กระทัง่ ..รู้ไหมว่ากระต่ายบนพระจันทร์คือตัวเดียว มุกสัปดนที่เขาใช้หยอกล้อตอนก�ำลังมีอะไรกัน กับกระต่ายในเพลงโยกเยกเอย เสียงพร่าของเขา รายละเอียดยิบย่อยของต�ำหนิ บนร่างกาย ยี่ห้อแชมพูของเขาที่เธอโวยวายว่า วราลีนึกถึงค�ำของเขา ในคืนที่ทั้งคู่มอง ไม่ชอบกลิน่ แม้แต่ชอ่ื หมาหน้าอพาร์ทเมนท์ทมี่ กั เห็นพระจันทร์เพียงเสี้ยวและเธอกล่าวว่ามอง นอนขวางทางเข้าเวลาไปที่นั่น เธอก็ยังนึกออก ไม่เห็นกระต่าย ความทรงจ�ำเกี่ยวเนื่องกันถูก เปิดออกจากลิ้นชัก เมื่อนึกถึงเวลาที่อยู่กับเขา หมอไม่แนะน�ำให้คุณทานยานอนหลับนะ เธอจะนึกถึงเสียงหัวใจที่ได้ยินยามแนบอิงกับ มันจะไม่ดีในระยะยาว คุณลองท�ำใจให้สบาย ร่างกายนั้นด้วย นั่งสมาธิ ปล่อยวาง แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น.. มันเป็นเสียงไม่เบาไม่หนัก เดินหน้าไป อย่างสม�่ำเสมอ เที่ยงตรง ราวกับเสียงของเข็ม จากนั้นใบหน้านิ่งของจิตแพทย์ก็ลอยขึ้น นาฬิกา เธอรักช่วงเวลานัน้ และจะท�ำตัวประดุจ มา หญิงสาวคัดค้านในใจว่า มันไม่ใช่เลย ใน ลูกนกซุกตัวอยู่ใต้ปีกอุ่นของแม่ เวลานี้เธอเหมือนตกเป็นนักโทษในยามราตรีผู้ นี่คือรังที่ปลอดภัย เธอรู้สึกเช่นนั้น ถูกคุมขังให้ผจญกับภาพความคิดที่ฉายซ�้ำแล้ว ความมืดไม่เคยน่ากลัว ปีศาจฝันร้ายสูญ ซ�้ำอีก บางคืนใจเธอจะเต้นตุบๆ ดังลั่น เธอ สลายหมดฤทธิไ์ ปสิน้ มีเพียงความอบอุน่ เท่านัน้ อยากจะควบคุมมันแต่ก็ไม่สามารถหยุดมันได้ ที่โอบล้อมอยู่ มันเหมือนห้วงเวลาที่ผิดเพี้ยน บิดเบี้ยว เธอ คืนนั้นเขายังคงเล่าต่อ เธอจ�ำได้ว่าเขา รู้สึกเหมือนตัวเองเป็นหนูถีบจักร วิ่งหนีอะไร แกล้งท�ำหน้าตาน่ากลัวใส่เธอ บางอย่างด้วยความตื่นกลัว ทั้งที่มันคือการวิ่ง หนีซึ่งไม่มีจุดจบ ..เพลงนี้มีความหมายเกี่ยวกับอนาคตที่น�้ำ น�้ ำ ตาไหลหนึ่ ง หยด ข้ า งนอกนั่ น ไม่ มี จะท่วมโลกนะ รู้รึเปล่า พระจันทร์ เธอปิดดวงตาอันอ่อนล้า สวดมนต์ ภาวนาต่อพระผู้เป็นเจ้าและศาสดาทุกศาสนา ขอทรงโปรดอวยพรให้ยามราตรีออ่ นโยนกับเธอ มากกว่านี้ด้วยเถิด หรือไม่แล้วก็จงบันดาลให้น�้ำท่วมโลกใน เวลานี้เลย


2 ความรักที่ผุพังของวราลีท�ำให้เธอเก็บตัว มากขึน้ เธอไม่ได้บอกกล่าวเรือ่ งราวต่างๆ นีก้ บั ใคร เพราะไม่อยากให้ใครหน้าไหนมาหัวเราะ เยาะความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในร้านอาหารเพียง หนึ่งคืน ผิดไหมที่วันนั้นเธอร้องไห้แข่งกับสาย ฝนนอกร้านเพราะเพลงที่เขาเล่น ผิดไหมที่เธอ หลงรักความเป็นศิลปินและอารมณ์อ่อนไหว ของเขา ยามรักเธอไม่ชอบเปิดเผยความสุขเหมือน ที่ใครๆ ชอบท�ำ เธอคิดว่ามันโจ่งแจ้งเกินไป ยามร้างลา เธอก็ต้องเก็บซ่อนน�้ำตาไว้ให้มิดชิด เพราะกลัวคนจะสมเพช ภายในร่างกายเธอจึง เป็นเหมือนทะเลสาบขนาดมหึมา และในเวลากลางคืน เธอก็คล้ายถูกมือที่ มองไม่เห็นฉุดให้จมลงไปในทะเลสาบนั้นเสีย เอง หญิงสาวรู้ว่ามือนั้นจะเริ่มไขว่คว้าล่าหาตัว เธอเมื่อดวงอาทิตย์จากไป เธออยากจะส่งเสียง ขอความช่วยเหลือจากใครสักคน แต่ ดู เ หมื อ นคนที่ นั่ ง ตรงกั น ข้ า มบนโต๊ ะ อาหารในเวลานี้-พ่อของวราลี-จะไม่รับรู้ถึงสิ่ง นั้น พ่อไม่รับรู้เรื่องใดๆ เกี่ยวกับเธอมานาน แล้ว หลังจากแม่เสีย เธอกับพ่อผู้เคร่งครัดก็ ยิ่งห่างกันออกไปเรื่อยๆ วราลีรู้ว่ามันไม่ควร เป็นเช่นนี้ส�ำหรับครอบครัวที่เหลืออยู่เพียงสอง คน แต่เธอก็รู้ทันตัวเองว่าแม้พ่อจะถามสิ่งใด เกี่ยวกับตัวเธอ เธอก็จะไม่ตอบสิ่งที่อยู่ลึกในใจ อย่างซื่อสัตย์แน่นอน เธอรู้ดีว่าความขมึงขึงขังของพ่อเป็นต้น เหตุให้เธอเริ่มตีตัวออกห่าง สมัยวัยรุ่น การ ใช้ชีวิตภายใต้กฎเกณฑ์ของพ่อเป็นสิ่งที่ต้อง ระมัดระวังทุกฝีก้าว สมัยมหาวิทยาลัยเธอจึง เลือกอยู่หอพักและกลับบ้านในวันเสาร์อาทิตย์

แม้ปัจจุบัน เธอจะเรียนจบ มีงานท�ำ กลับมา อาศัยอยู่กับพ่อ รอยร้าวในอดีตก็ท�ำให้สองพ่อ ลูกเลือกใช้เวลาอยูก่ บั ตัวเองมากกว่าจะสนทนา กัน ทั้งคู่ไม่ใช่พ่อลูกที่หัวเราะเล่นหัว ไม่ใช่ พ่อลูกที่ถ่ายรูปกันและกันเก็บไว้ในโทรศัพท์ มือถือ ไม่ใช่พ่อลูกที่ซื้อของขวัญมาเซอร์ไพรส์ ในวันเกิด ไม่ใช่พ่อลูกที่ไปเดินเล่นซื้อของและรู้ ไซส์เสื้อผ้าของกันและกัน วราลีและพ่อเป็นพ่อ ลูกที่ใช้มื้ออาหารและการอาศัยภายใต้ชายคา เดียวกันเป็นสิ่งยื้อยุดความเป็นครอบครัวไม่ให้ บุบสลายไปมากกว่านี้ ยามกลางวันเธอใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไปใน สังคม ชีวิตการท�ำงานท�ำให้เธอต้องพบปะผู้คน หลากหลาย เธอต่อสู้ ดิ้นรน เหยียบย�่ำ ถูก เหยียบย�่ำ บางครั้งเธอโหดร้าย บางครั้งเธอ ร้องไห้ เมื่อกลับบ้านในยามค�่ำคืน เธอจึงอยาก กลายเป็นลูกนกในรังอุน่ อีกครัง้ เธอต้องการใคร สักคนที่จะบรรเทาแผลที่ได้จากการใช้ชีวิตใน แต่ละวัน รวมไปถึงรับฟังสิ่งต่างๆ ที่พากันพรั่ง พรูออกจากใจเมื่อเกินจะกลั้น เพียงแต่มันไม่มี หญิงสาวจมจ่อมกับความอ้างว้างเช่นนี้มา เนิ่นนาน หลายต่อหลายครั้งเมื่อเธอลืมตาใน ความมืด เธอถามตัวเองถึงสาเหตุที่เธอไม่อาจ ประคับประคองความสัมพันธ์คนรอบตัวให้อยูด่ ี ได้ ทั้งความรักและครอบครัว แต่ค�ำถามที่ไม่มีค�ำตอบมีแต่จะท�ำให้ใจ ของเธอตื่นตลอดคืน พร้อมๆ กับโพรงในใจที่ ถูกขุดลึกลงไปทุกที ทุกที ทุกวัน รายการโทรทัศน์หลังอาหารมื้อเย็น จะท�ำหน้าที่เชื่อมโยงให้เธอกับพ่อยังอยู่ในมิติ เดียวกัน วราลีลอบมองใบหน้าผู้เป็นบิดา นึก ในใจว่าถ้าเธอเล่าเรื่องอดีตคนรักให้พ่อฟัง พ่อ จะท�ำหน้าอย่างไร พ่อจะเกรี้ยวกราดไหมที่เธอ ไม่ได้ด�ำเนินความสัมพันธ์ตามครรลองที่ดีงาม พ่อจะเห็นใจไหมที่เธอยังไม่สามารถมีความรัก


ที่มั่นคงได้ พ่อจะสมเพชไหม ถ้ารู้ว่าเธอรู้อยู่ แก่ใจว่าทุกอย่างจะไม่ยดื ยาว แต่กย็ งั ดูแลความ รักอันเปราะบางเอาไว้ เพียงเพื่อให้ตนเองมีที่ พักพิงทางจิตใจ ที่พักพิงที่เธอหาไม่ได้จากครอบครัว -- ถ้า พ่อรู้เช่นนั้น พ่อจะเสียใจไหม “ลี” เสียงต�่ำๆ ที่คุ้นดึงเธอกลับสู่โลกที่มีเสียง กรี๊ดของตัวอิจฉาในละครเป็นเสียงประกอบ “คะ?” “พ่อร�ำคาญละครเรื่องนี้ เปลี่ยนช่องทีได้ ไหม” “อ้ อ ค่ ะ ” เธอตอบรั บ ด้ ว ยเสี ย งลอยๆ กดรี โ มตเปลี่ ย นช่ อ งตามที่ บิ ด าต้ อ งการ บรรยากาศในใจหญิงสาวเงียบสงัด ดูเหมือน จะไม่มีรายการใดช่วยสลายความอึมครึมไปได้ รายการเกมโชว์ไร้สาระที่พ่อไม่ชอบ รายการ ขายตรงทีม่ มี ากมายในช่องเคเบิล รายการเพลง วัยรุ่นสมัยใหม่ที่เสียดหู ภาพยนตร์สยองขวัญ ตอนดึก ฯลฯ วราลีคอยลอบมองสีหน้าบิดา ว่าจะเลือกดูรายการใดหรือไม่ แต่หน้าพ่อก็นิ่ง เช่นเดิม สุดท้ายเธอจึงเปิดช่องสารคดีสัตว์โลก ค้างไว้อย่างนั้น เธอรูส้ กึ แสบล้าทีด่ วงตาเกือบจะตลอดเวลา เพราะอาการนอนไม่หลับ แต่ก็พยายามใช้เวลา กับพ่อหลังอาหารเย็นเท่ากันเกือบทุกวัน หาก ในวันนี้เธออยากจะลุกจากเก้าอี้ก่อนเวลา ทั้ง ร่างกายและจิตใจก�ำลังโหยหาการพักผ่อนขั้น ร้ายแรง เธออยากหลับสนิทไปสักหนึ่งเดือนเสีย ด้วยซ�้ำ อยากอยู่ในที่ปลอดภัย อยู่ในที่ๆ เธอ จะอ่อนแอได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องใส่หน้ากาก เข้าหาใคร ไม่ต้องตอบค�ำถามใดๆ ที่ไม่อยาก ตอบ แต่ในเวลานั้นเองค�ำถามที่เธอกลัวก็หลุด ออกมาจนได้ “เมื่อไหร่จะกลับไปท�ำงาน” ....

“นี่ลาพักร้อนกี่วันกันแน่” “ก็ประมาณสองอาทิตย์น่ะค่ะ” “เรื่องอะไรที่มันไม่ดีก็โยนๆ ทิ้งไป เรามีสิ่ง ที่ต้องรับผิดชอบไม่ใช่เหรอลี” .... วราลีเกลียดที่พ่อท�ำเหมือนเธอเป็นหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ผู้ไม่มีสิทธิ์โอดครวญต่อความทุกข์เศร้า ที่เกิดขึ้นบนโลก เธอรู้ว่าพ่อจะเริ่มพูดถึงสิ่งที่ เธอท�ำไม่ได้ พ่อเริ่มโยงเรื่องราวความอ่อนไหว ของเธอกับอาชีพที่ใช้ความรู้สึกท�ำมาหากินว่า มันไม่เหมาะสม หลายอย่างเป็นกับดักให้เธอ ตกอยู่ในความทุกข์นานกว่าคนอื่น เรื่องราว ลามไปถึงโรคซึมเศร้าของหลานทีเ่ พิง่ ฆ่าตัวตาย จิตแพทย์เพื่อนพ่อที่อยากให้ลองไปหา จนถึง เรื่องทางพุทธศาสนาซึ่งพ่อมักจะต�ำหนิที่เธอไม่ ได้ยดึ เป็นสรณะในชีวติ วราลีรสู้ กึ ถึงความผิดหวัง ที่พ่อมีต่อเธอผ่านน�้ำเสียง เธอไม่หันหน้าไป มองเขา เธอไม่อยากเห็นความเย็นชาและการ ต�ำหนิในแววตานั้น ล�ำคอของเธอเริ่มตีบตันขึ้น ทุกที เธอพยายามจะตอบรับสิ่งที่พ่อกล่าวด้วย ค�ำสั้นๆ และระวังไม่ให้เสียงสั่น เธอไม่อยากให้เขาสมเพช เธอไม่ได้อยาก อ่อนแอ เธอแค่ยังไม่พร้อม วราลีค่อยๆ ลุกขึ้น หันหลังให้บิดา เทน�้ำ จากเหยือกอย่างระมัดระวัง ดื่มมันเข้าไป หลบ ซ่อนน�ำ้ ทีป่ ริม่ ซึมบริเวณหางตา ระหว่างนัน้ พ่อก็ พูดซ�้ำในสิ่งที่เธอได้ยินมาเป็นรอบที่ล้าน “เรื่องแค่นี้จัดการกับตัวเองยังไม่ได้ จะอยู่ ต่อไปได้ยังไง” และหากมันเป็นครั้งที่ล้านจริง ครั้งที่หนึ่ง ล้ า นหนึ่ ง นี้ ก็ เ ป็ น ครั้ ง ที่ ห ญิ ง สาวไม่ ส ามารถ ควบคุมน�้ำตาและพฤติกรรมของตนเองไว้ได้ อีกต่อไป


แล้วแม่ไม่ร้องกล่อมลีบ้างเหรอ “ไม่รู้สิ จ�ำไม่ได้ แต่ถ้า คืนไหนพ่ออ่า น 3 หนังสือให้ฟัง ส่วนใหญ่จะไม่ฝันเลย” อืม.. “นี่..” “คงไม่ใช่เพราะเพลงกล่อมหรืออะไรหรอก หืม ที ่ ท � ำ ให้นอนหลับ มันเป็นเพราะ..เรารู้ว่ามีใคร “นอนไม่หลับ” อยู่กับเราต่างหาก” เป็นอะไรล่ะ ..ลองกลับบ้านไหม ไม่ได้กลับมาสักพักแล้ว “อยู่ดีๆ ก็รู้สึก.. เหงา” เผื อ ่ ที ่เดิมๆ จะท�ำให้หลับดี ก็นอนอยู่ข้างๆ นี่ กลัวอะไร “อยู่บ้านตอนนี้เหงา เธอก็รู้” “..ฉันนึกถึงสมัยเด็กๆ” แล้วอย่างนี้.. (หาว) ท�ำไมล่ะ “อย่างนี้?” “ตอนเด็กๆ ฉันไม่ชอบนอน เพราะถ้านอน ..พ่อลีก็นอนคนเดียวเหมือนกันสิ แล้วเขา แล้วจะฝันร้าย” ไม่ เ หงาเหรอ ฝันร้าย..? เด็กๆ หลายคนก็เป็น “ฉันชอบฝันเห็นปีศาจตัวด�ำๆ สูงๆ มาเดิน วราลีลืมตาขึ้น เห็นภายนอกหน้าต่างเป็นสี อยู่ในบ้าน มันน่ากลัว” ฟ้ า ชุ ่มน�้ำ มือของเธอว่างเปล่า ความฝันนั้นจริง ตอนนี้แก่แล้ว ไม่เห็นแล้ว เสียจนเธอนึกว่าสัมผัสอุ่นนั้นคือความจริง การ “เดี๋ยวเถอะ” ร้องไห้อย่างหนักท�ำให้เธอหมดแรงและหลับ แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นท�ำไงต่อ ไปในที่สุด “ก็ลากผ้าห่มไปห้องพ่อกับแม่” เธอคาดเดาเวลาจากแสงสลั ว ที่ ป กคลุ ม (หัวเราะ) ไปขอนอนด้วยว่างั้น บรรยากาศว่ าขณะนี้น่าจะเป็นเวลาตีห้า “..อย่างน้อยมีคนนอนด้วยกันก็อุ่นใจกว่า ความงัวเงียท�ำให้สมองไม่แจ่มใส เธอชัน ตั้งเยอะ” ตัวขึ้นนั่ง นึกย้อนถึงเรื่องราวในความฝัน ครั้งนี้ เราไม่ค่อยฝันร้ายนะ เท่าที่จ�ำได้ แปลกที่เธอไม่รู้สึกโหยหาอย่างเคย บทสนทนา “ดีจัง” อืม อาจเป็นเพราะแม่ร้องเพลงกล่อมตั้งแต่ ในประโยคสุดท้ายก่อนจะลืมตาเป็นสิ่งที่เขา ตัวเล็กๆ ติดมาก โตแล้วก็ยังงอแงให้แม่กล่อม เคยถามเธอจริง เธอไม่เคยตอบค�ำถามนั้นกับ ตัวเอง เพราะความรู้สึกผิดจะทิ่มแทงและบอก อยู่ คิดไปเองว่าจะท�ำให้ฝันดี ว่าเธอไม่ใช่ลูกที่ดี “อาจจะฝันดีจริง ๆ ก็ได้” หญิงสาวนั่งตรึกตรองอีกสักครู่ อุณหภูมิ จริงๆ เพลงกล่อมเด็กเมือ่ ก่อนน่ากลัวนะ มี พูดถึงผีเผออะไรด้วย แต่แม่ไม่เคยร้องหรอก แม่ เยือกจากเครื่องปรับอากาศหรือเปล่าที่ปลุกเธอ ตื่น ไม่น่าใช่ วราลีคลับคล้ายคลับคลาว่าได้ยิน ร้องแต่โยกเยกเอย เสียงอะไรบางอย่างดังจากชั้นล่าง ตัดสินใจลุก “โยกเยกเอย น�้ำท่วมเมฆน่ะนะ” ช่าย.. แม่ร้องเพลงกล่อมแต่เด็ก เห็นไหม ขึน้ เท้าสัมผัสพืน้ ไม้เย็นเยียบ เธอเปิดประตูออก ไป คิดว่าจะลงไปดื่มน�้ำแก้คอแห้ง โตมาเลยกลายเป็นคนมีดนตรีในหัวใจ เสียงนกแว่วมาให้ได้ยิน ในภาวะกึ่งหลับกึ่ง “ตลกแล้ว”


ตื่น เธอนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ ห้าชั่วโมงที่แล้ว คาดว่าในห้องนั้นคงจะยังมี เศษแก้วแตกกระจาย เพราะฉะนั้นเธอต้อ ง ระมัดระวังไม่ให้บาดเท้า แต่ขอเธอกลับไปนอน อีกสักหน่อยเถิด แล้วจะตื่นมาเก็บกวาดเศษ ซากอารมณ์พวกนั้นตอนเช้าอีกที หากแต่ ฉั บ พลั น ที่ ว ราลี เ ปิ ด ไฟ เธอกรี ด ร้องด้วยความตกใจเมื่อเห็นร่างของพ่อนอน แน่นิ่งไม่ไหวติงท่ามกลางเศษแก้วที่ยังตกค้าง เลือดก�ำลังไหลซึมออกจากศีรษะ ปะปนไปกับ น�้ำเปล่าที่วราลีตั้งใจสาดออกจากแก้วเมื่อห้า ชัว่ โมงทีแ่ ล้ว ก่อนจะหลุดมือร่วงหล่นแตกสลาย อยู่บนพื้นสีขาว เธอไม่ แ น่ ใ จว่ า เธอมี ส ติ สั ม ปชั ญ ญะแค่ ไหนในขณะที่ ร ้ อ งไห้ ขั บ รถไปโรงพยาบาล ในตอนเช้ า มื ด ที่ ร ถบางตา เธอก็ เ กื อ บชน ประสานงากับรถกระบะที่สี่แยก เธอคิดว่าเธอ ร้องไห้จนถึงตอนที่แพทย์ออกมาบอกว่าพ่อ ปลอดภัยแล้ว ในวินาทีนั้น คล้ายจิตใจและ ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะหยุดนิ่ง เธอไม่คิดอ่าน ประการใดอีก นอกจากขับรถกลับบ้านเพื่อเอา เสื้อผ้าและสิ่งของต่างๆ ที่จ�ำเป็น ฟ้าเริ่มสว่าง ขึ้นที่ปลายถนน ผสมสีให้บรรยากาศมีชีวิตมาก ขึ้น หากแต่ความเงียบยังคงปกคลุมไปทั่วบ้าน เมื่อวราลีขับรถมาถึง เธอวางปลายเท้าแผ่วเบาไปตามห้องต่างๆ ราวกับตนเองเป็นคนแปลกหน้าผู้ก�ำลังส�ำรวจ ดินแดนใหม่ แสงสี ท องอ่ อ นส่ อ งผ่ า นผ้ า ม่ า นเข้ า มา เคลือบไล้ไปตามโต๊ะเก้าอี้ เธอมองเห็นฝุ่นที่ ล่องลอยอยู่ท่ามกลางแสงนั้น ทุกสิ่งนิ่งสงัด ไร้ การเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นห้องใด ทุกอย่าง ก็เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีสิ่งใดผิดที่ผิดทาง มันท�ำให้เธอรู้สึกว่าบ้านนี้ช่างน่าสงสาร ร่องรอยต่างๆ ต่างหากที่เป็นสัญลักษณ์ ของการมีชีวิต และการได้ใช้ชีวิต

เธอท�ำความสะอาดเศษแก้ว คราบเลือด จนพืน้ เอีย่ มอ่องราวไม่เคยมีความเจ็บปวดใดทิง้ ร่างลง ณ ที่แห่งนั้น วราลีเดินขึ้นชั้นบน ไขประตูสู่ห้องที่เธอ ไม่ได้เข้ามานับปี ห้องของพ่อยังเหมือนเดิม เตียงส�ำหรับสองคนยังอยู่ เธอถือวิสาสะส�ำรวจ สิ่งของต่างๆ แต่ไม่มีอะไรสลักส�ำคัญเป็นพิเศษ ไม่มีสิ่งใดกระซิบความลับของเจ้าของห้องแก่ เธอ ทุกอย่างมีหน้าที่แค่อยู่ในที่ทางที่ถูกต้อง ของมัน ไม่ว่าจะเป็นแว่นตา หนังสือ โคมไฟ ผ้าปูที่นอน.. หญิงสาวไล้มือไปบนผ้าห่ม ทิ้งตัวลงบน เตียงในต�ำแหน่งของพ่อ สัมผัสนุ่มของผ้าท�ำให้ เธอทอดร่างอยู่เนิ่นนาน วันนี้จะเล่านิทานให้ฟัง..เรื่องกระต่ายบน พระจันทร์ เธอนึกถึงใบหน้านิง่ สงบของพ่อซึง่ หลับอยูท่ ี่ โรงพยาบาล ที่ศีรษะมีผ้าพันแผลพันอยู่ ฟังแล้วจะหลับฝันดีเลย ใบหน้าของพ่อที่ตกใจกับการกระท�ำและ น�้ำตาของเธอแล่นผ่านเข้ามา หญิงสาวปิดตาแน่น พลิกตัวมาอีกด้านที่ เป็นต�ำแหน่งของมารดา ได้ยินเสียงกรอบแกรบ เบาๆ จากใต้หมอน เธอหยิบมันออกมาดู พลัน แล้วเสียงสุดท้ายก็แว่วมาจากที่ไกลๆ ..พ่อลีก็นอนคนเดียวเหมือนกันสิ แล้วเขา ไม่เหงาเหรอ วราลีกำ� ถุงยานอนหลับในมือไว้แน่น ร้องไห้ เหมือนเด็กเล็กๆ


4 ทุกอย่างไม่ได้จบลงด้วยดี ความสัมพันธ์ของวราลีและพ่อไม่ได้ดีขึ้น มากมายนักหลังเหตุการณ์นั้น สติที่ขาดหายไป ในช่วงเวลาไม่กี่วินาทีท�ำให้เธอสร้างบาดแผล หนึ่งรอยใหญ่ๆ ลงไปบนความสัมพันธ์ เธอเอ่ยค�ำขอโทษออกมาหนึง่ ครัง้ และพ่อก็ บอกสั้นๆ เพียงว่า “ไม่เป็นไร” ในเวลาสองวันทีพ่ อ่ อยูโ่ รงพยาบาล สิง่ ทีเ่ ธอ ได้ท�ำเพิ่มขึ้นจากปกติคือการหั่นผลไม้ให้รับประทาน เมื่อพ่อยืนยันว่ารู้สึกพอใจกับอาหาร ของโรงพยาบาล เธอจึงเพียงท�ำหน้าที่เฝ้าไข้ และดูแลค่าใช้จ่ายไปตามสมควร บทสนทนาเกี่ยวกับเรื่องราวอันเปราะบาง ยังคงถูกเก็บซ่อนไว้ที่ไหนสักแห่ง หากแต่ในคืนที่สอง หญิงสาวได้เอ่ยถาม ถึงสิ่งสามัญธรรมดาออกไป ระหว่างที่บิดาดู โทรทัศน์ของโรงพยาบาลเงียบๆ “ช่วงนี้ พ่อนอนหลับไหมคะ” พ่อหันมามองเธอช้าๆ ในแววตามีความ สงสัย ก่อนจะพยักหน้ารับ ในเมื่อวราลีบอกตัวเองแทบจะตลอดเวลา ว่าเธอจะไม่ตอบค�ำถามของพ่ออย่างตรงไป ตรงมาในเรื่องที่ไม่ต้องการหรืออึดอัดใจ ใน วินาทีนนั้ พ่อของหญิงสาวคงจดจ�ำได้แต่ใบหน้า ลูกสาวที่ทั้งยิ้มเศร้าๆ และร้องไห้ไปพร้อมกัน ใบหน้ า นั้ น เจื อ ปนไว้ ทั้ ง ความโศกและความ รัก เธอละล�่ำละลักพูดในสิ่งที่แปลกประหลาด พรั่งพรูน�้ำตาออกมา หากแต่เขารู้ได้ว่ามันเป็น น�้ำตาที่ต่างไปจากคืนก่อน “ถ้าพ่อนอนไม่หลับ ให้หนูร้องเพลงกล่อม ไหมคะ เพลงโยกเยกเอยไง” เขาไม่รู้จะตอบสิ่งใดออกไป นอกจากเอื้อม

มือไปลูบศีรษะของลูกแผ่วเบา บางสิ่งบางอย่าง แม้คนที่อยู่ด้วยกันก็คงไม่ อาจเข้าใจถึงความรูส้ กึ หรือความคิดได้ทกุ อย่าง โดยเฉพาะเมื่อสิ่งนั้นคือความเศร้า และหลายต่ อ หลายครั้ ง สิ่ ง ที่ แ สดงออก โต้ตอบออกไป ก็คือความผิดพลาด ซ�้ำแล้ว ซ�้ำเล่า ความไม่เข้าใจยังคงเป็นก�ำแพงหนาอยู่ อย่างนั้น เช่นนี้แล้ว ตัวตนของคนที่ยังอยู่เคียงข้าง จะสามารถลบเลือนบาดแผลนั้นไปได้สักเท่าไร กัน เขาไม่แน่ใจนัก แต่ก็เอ่ยออกไป “..ไม่เป็นไรหรอกนะ” มื อ สั ม ผั ส ได้ ถึ ง การพยั ก หน้ า รั บ รู ้ น ้ อ ยๆ เขาจึงเคลื่อนมือกลับ หยิบรีโมตเปลี่ยนช่องไป เรือ่ ยๆ หวังว่าจะมีชอ่ งไหนทีท่ ำ� ให้ทงั้ คูส่ ามารถ สนทนาร่วมกันได้มากขึ้น เขาแสร้งหัวเราะ เบาๆ ให้ลูกสาวได้ยินเมื่อดูละครช่องเดิมที่เคย ร�ำคาญ เธอยังคงร้องไห้อยู่ พ่อของวราลีเหลือบ มองผ่านช่องผ้าม่านออกไป ข้างนอกนั้นพระจันทร์ก�ำลังส่องสว่างเต็ม ดวง.


การ์ตูนสามย่าน

โดย > น้านน


ตอบจดหมาย

บอกอจ๋ อ งตอบจดหมาย เปลี่ยน พ.ศ.ใหม่ เปลี่ยนใจหรือยัง สวัสดีพี่ๆ น้องๆ ชาวคณะทุกคนครับ ขอ สวัสดีปีใหม่(ฝรั่ง)ย้อนหลัง และสวัสดีปีใหม่ (จีน)ไปในคราวเดียวกันเลยละกัน ขอให้ทุกคน มีความสุขมากๆ คิดอะไรก็ให้ได้ตามนัน้ ดังนัน้ คิดดีๆ กันไว้นะครับ บ.ก. ติ้ง 45 ย�้ำมาทาง บ.ก. หลิน 42 ว่า พีจ่ อ๋ งอย่าลืมเขียนถึงการทีส่ ายใยเล่มนี้ ‘เปลีย่ น’ มาเป็นการพิมพ์ตามยอดสมาชิกวิสามัญเป็น ครั้งแรก ก็จะบอกเหมือนเดิมนะครับว่า ถ้า อยากจับอยากถือ ‘สายใย’ ก็รบกวนสมัครเข้า มา แต่ถ้าชอบหรือสะดวกแบบดิจิทัล ก็เชิญเลย ที่ Facebook แล้วกดค้นหา Group ‘Nitade’ ชอบแบบไหนก็ตามสะดวก ...ไม่ว่ากัน แต่ ใครที่คุ้นกับสายใยแบบเล่มๆ ไม่นิยมความ เปลี่ยนแปลง โทรหาวีระเกียรติ 24 ที่เบอร์ 081939-0924 ได้เลย พูดถึงเรือ่ งความเปลีย่ นแปลงนีม่ นั แปลกนะ ครับ บางทีก็รู้สึกว่าดี บางทีก็รู้สึกว่าไม่ ทั้งๆ ที่ ความเปลี่ยนแปลงนี่มันโคตรธรรมชาติ (เกิดขึน้ ตัง้ อยู่ ดับไป เข้าใจนะครับ) ถ้าไม่เปลีย่ นสิ มัน ถึงจะแปลก แต่หลายคนในบางทีหรือหลายทีในบางคน กลับรูส้ กึ ไม่สบายใจทีอ่ ะไรๆ มันเปลีย่ นไป จาก ที่เคยเป็น เรื่ อ งดิ น ฟ้ า อากาศนี่ ชั ด เลย ทั้ ง ๆ ที่ ทิฟฟี่หรือต้น 29 ก็เคยบอกแล้วว่า อากาศ เปลี่ยนแปลงบ่อย แต่ เ ราทุ ก คนก็ ค งเคยได้ ยิ น ใครบ่ น ว่ า อากาศมันวิปริตไปหมดแล้ว แต่ถ้าเราบังเอิญไปเจอกับช้างแมมมอธ

และเราฟังภาษามันออก มันก็คงบ่นประโยค เดียวกันกับใครคนนั้น ซึ่งมันอาจจะแถมมาอีก สักนิดว่า ยุคน�้ำแข็ง(กู)หายไปไหน โลกมันก็เปลีย่ นไปตลอดนัน่ แหละครับ ฝรัง่ บอกมันเป็นคอนแสตนท์ เช็นจ์ ขณะที่อ่าน สายใยอยู่ตอนนี้ โลกมันก็ยังหมุนอยู่ และเรา ไม่ได้อยู่จุดเดิมของจักรวาลตลอดกาลแน่นอน (ว่าเข้าไปนั่น) ถ้ารู้อย่างนี้แล้ว จะได้ท�ำใจและเข้าใจใน ความเปลี่ยนไป ทั้งแง่ดีแง่ร้าย และหันมาให้ เครดิตอะไรที่ไม่เคยเปลี่ยน ก็อย่าง ‘สายใย’ นีไ่ ง ไม่วา่ จ�ำนวนการพิมพ์ หรือรูปแบบจะเปลี่ยนไปยังไง ‘สายใย’ ก็ยังคง เป็น ‘สายใย’ ให้พี่น้องนิเทศฯ จุฬาฯ ตลอดไป (หรืออย่างน้อยก็พยายาม 55) และถ้าเราโชคดี ก็ขอให้เป็นไปอย่าง MR.Z บอกว่ า “ฉั น ยั ง รั ก เธออยู ่ เหมื อ นเดิ ม ทุ ก ๆ อย่าง” ซึ่งก็ตรงกับที่พี่ติ๊ก ชีโร่ พูดว่า “รักไม่ ยอมเปลี่ยนแปลง” แม้ว่า, และอย่าให้เป็นอย่าง ที่พี่อัศนีเคยตะโกน มาตั้งนานว่า “เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน” เลยก็แล้วกัน แล้วเจอกันในคืนสู่เหย้านะครับ ใครมาได้ ก็อยากให้มา ส่วนใครที่มาไม่ได้ สัญญาว่าจะ คิดถึงนะครับ บก.จ๋อง25 ไม่เคยเปลี่ยนแบบวงพราวและรวมไปถึง โทรศัพท์


หลั ง จากที่ ส หภาพเคมี บ ริ สุ ท ธิ์ แ ละเคมี ประยุกต์ระหว่างประเทศ (IUPAC) ได้ออกมา ประกาศยืนยันการค้นพบ 4 ธาตุสงั เคราะห์ใหม่ ได้แก่ 115, 117 และ 118 ซึ่งค้นพบโดยการ ค้นพบร่วมของศูนย์วิจัยรัสเซียและสหรัฐฯ รวม ถึงธาตุ 113 ซึ่งถูกค้นพบโดยสถาบันวิจัย RIKEN ในญี่ปุ่น ซึ่งท�ำให้ตารางธาตุในคาบที่เจ็ดครบ พอดี แต่คนที่ผมคุยอยู่ยังไม่ยอมคบกับผม พี่ จ๋องว่าผมควรท�ำยังไงดีครับ -วัน 46 >> ดี น ะที่ จ บสายวิ ท ย์ ม า ไม่ งั้ น พี่ ก็ ค งตอบ ค�ำถามน้องวันไม่ได้ ในบรรดา 3 วิชาโหดสาย วิทย์ พี่คิดว่าเคมีเป็นวิชาที่ยากที่สุด ยากกว่า ฟิสิกส์หรือชีวะ และเพราะมันยากนี่แหละ จึง เป็นเหตุให้วันถามค�ำถามนี้ออกมา ก็คนเราจะคบกันได้ มันเป็นเรื่องของเคมี ล้วนๆ การที่คนๆ หนึ่งจะ ‘ท�ำปฏิกิริยาเคมี’ กับ คนอีกคนหนึ่ง ให้ได้ผลที่ออกมาเป็นพอใจทั้ง สองฝ่าย ต้องอาศัยเคมีที่เข้ากันได้ แบบพอ เจาะพอเหมาะ เข้ากันได้นอ้ ยไป มันก็มคี นหรือสองคนต้อง ผิดหวัง เข้ากันได้มากไป มันก็กลายเป็นเพื่อน คุ ย อยู ่ แ ต่ ยั ง ไม่ ย อมคบ มั น บอกอยู ่ ว ่ า กลไกในการท�ำปฏิกิริยา ยังไม่เหมาะสม วัน ควรเปลี่ยนวิธีหรือเครื่องมือในการตอบโจทย์ สมการเคมีนี้ หากลองเปลี่ยนแล้วทุกวิธี รวมถึงเปลี่ยน สภาพแวดล้อมแล้ว (อันนี้ส�ำคัญมากนะครับ อุณหภูมิ สภาพความชื้น ความกดอากาศ มี ผลกับการทดลองทั้งนั้น) ก็ยังไม่ได้ผลตาม สมมติฐานแล้ว พี่ขอแนะน�ำให้ท�ำใจครับ เพราะเป็นไปได้วา่ สมมติฐานเราอาจจะผิด เป็นความผิดแบบที่เขาเรียกว่า ผิดที่คิดไปเอง

‘อยู่คนเดียว’ กับ ‘อยู่กับคนที่ไม่ถูกใจ’ พี่จ๋องจะเลือกอะไรครับ -ระย�ำ 45 >> ระย�ำเอ๊ย (อันนี้พี่เรียกชื่อน้องนะครับ ไม่ ได้สบถ) เวลาที่จะให้คนเลือกอะไร ก็ช่วยให้อย่าง น้อยมันมีช้อยส์ที่น่าเลือกอยู่บ้าง ในสองทางนี้ ไม่เห็นมีอันไหนน่าเลือกเลย แต่ต้องเลือกใช่มั้ย งั้นพี่ขอเลือกแบบเพิ่ม ช้อยส์ ง.งู ว่า ขอเลือกว่าอย่าให้ใครต้องตกอยู่ ในสถานการณ์แบบนี้เลยละกัน โกงไปเหรอ งั้นขอตอบว่า อยู่คนเดียวละ กัน เพราะอยู่กับคนที่ไม่ถูกใจ นอกจากฝืนใจ ตัวเองแล้วในระยะยาว มันเฮิร์ทคนอีกคนหนึ่ง ขึ้นมาเปล่าๆ ไม่เวิร์คหรอก


อยากได้เพลงจีบสาวแบบลูกทุง่ ช่วยแนะน�ำ หน่อยครับ -เฟิร์สทเซ็กซ์ 45 >> ไม่เนียนเลย เฟิรส์ ทเซ็กซ์ ใครเห็นก็รวู้ า่ ถาม ชงมาเพื่อโปรโมทคืนสู่เหย้า ออกตัวก่อนนะครับว่า จริงอยู่ที่โตมาก็ไม่ ได้ฟังเพลงเดิ้นอะไรนักหนา แต่ก็ไม่ค่อยได้ฟัง เพลงลูกทุ่งอะไรมากมาย แม้วา่ หน้าตาพี่ มันจะบอกชัดแบบนัน้ ก็ตาม พี่เลยจะรู้จักเพลงลูกทุ่งแบบเพลงดังทั่วไป มากกว่าจะเป็นแบบเท่ๆ แรร์ไอเท็ม อะไรอย่าง นั้น หรือเจอเพลงที่ชอบว่าเพราะ แต่ก็ไม่ได้อิน ด้วยท้องเรื่องหรือเนื้อหา พี่ก็เลยไม่มีเพลงลูกทุ่งในสต็อคเพื่อใช้จีบ หญิงเลยจริงๆ แต่เฟิร์สทแน่ใจนะว่า ใช้เพลงลูกทุ่งจีบ แล้วมันจะเวิร์ค เพราะมันก็ต้องวิเคราะห์กลุ่ม เป้าหมายด้วยนะ พี่ว่าในกรณีทั่วไป มันอาจ จะดูแตกต่าง แต่หญิงจะอินด้วยรึเปล่าไม่รู้ แต่ถา้ เป็นในงานคืนสูเ่ หย้า ก็ไม่แน่เหมือนกัน เอาเป็นว่า น่าลุ้น เอ้า ขอให้ได้ ขอให้โดน พี่จ๋อง 25

ใครมีคำ�ถาม ปัญหา ข้อสงสัย อยากปรึกษาบอกอจ๋อง ส่งคำ�ถามมาได้ที่ khunjong@yahoo.com รับประกันตอบจริงทุกคน ทุกคำ�ถาม


AD


OM

พ ท เ ุ ง กร กียว โตเ 50 9,8 E.C

PA AR-

เป็ดที่บินเก่งกว่านก

Visual Comm

โดย > อ.แก่ล


AD



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.