สายใย ฉบับที่ 39 นิเทศนานาสัตว์

Page 1

ฉบับที่ 39 l กรกฎาคม 2562



สาส์น นายก

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา พวกเราเหล่าพี่น้อง นิเทศฯ จุฬาฯ ได้มีกิจกรรมใหญ่ๆ มาแล้ว 2 งานคือ ‘งานวิ่ง นิเทศ FUND RUN’ และ ‘งานคืนสู่เหย้า Nitade Super Hit’ ซึ่งสร้าง ความบันเทิงเริงใจ สนุกสนานตามแบบฉบับ ของชาวนิเทศฯ แต่ขณะเดียวกันทั้งสองงาน นี้ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นมาจนเป็น ที่ระบือไปทั่ว จนมีแต่คนสงสัยว่านิเทศฯ ทำ�ได้ยังไง นั่นคือการเอาแนวคิดลดขยะ ใช้อุปกรณ์ ภาชนะที่รีไซเคิลได้ หรือแม้แต่ การที่ทุกคนเอาจาน ชาม ช้อน แก้วมา จากบ้านกันเองจนถึงเอามาเผื่อเพื่อนทั้งโต๊ะ ด้วย ซึ่งพวกเราก็สนุกกันอย่างเดิม เพิ่มเติม คือรักษ์โลก สิ่งนี้เป็นที่ฮือฮามาก จนทำ�ให้ ทางผูจ้ ดั งานคืนสูเ่ หย้าจุฬาฯขอให้ทางนิเทศฯ เราไปให้ข้อมูลแนวทางการจัดการต่างๆ ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง บังเอิญผมไปเห็น ใน facebook ของพี่ตุ๊รุ่น 20 ซึ่งทำ�ให้ผม รู้สึกดีมากๆ ลูกค้าบอกพี่ตุ๊ว่า

“อยากจั ด งานที่ ค นมางานรู้ สึ ก รั ก กั น เป็นพี่เป็นน้องเหมือนไปงานนิเทศฯ จุฬาฯ พี่เคยไปหรือเปล่าคะ” ไม่ รู้ ว่ า พี่ ตุ๊ ต อบลู ก ค้ า ไปว่ า อย่ า งไร ว่าแต่รู้สึกดีเหมือนผมมั้ยครับ ทางสมาคมฯ ต้ อ งขอขอบคุ ณ ที ม จั ด งานทุ ก ฝ่ า ยและ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนที่ให้ความร่วมมือจนเป็น ปรากฏการณ์ต้นแบบขึ้นมาครับ ครึ่งปีหลังทางสมาคมฯ จะยังมีกิจกรรม ทีร่ ว่ มมือกับนิสติ เก่าอีกมากมายหลายรูปแบบ ตามที่ เ ราวางเป้ า หมายไว้ ว่ า เราจะเป็ น สายใยนิเทศฯ สายใยสังคม โปรดติดตาม รายละเอียดต่อๆ ไปครับ หรือถ้าพี่ๆ น้องๆ ท่านใด กลุ่มใด หรือรุ่นไหนก็ได้ที่มีไอเดีย กิจกรรมดีๆ สนุกๆ หรือไม่เน้นสนุกมากแต่ มีประโยชน์ ทางสมาคมฯ ยินดีต้อนรับครับ ขอบคุณครับ สิน และ เหน่ง รุ่น 21

*หนังสือสานความสัมพันธ์ชาวนิเทศฯ จุฬาฯ ของสมาคมนิสิตเก่านิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขนาด A5 หรือ ครึ่งหน้า A4 ตามที่ อ.มานพ รุ่น 7 พร�่ำสอน แถมฉบับนี้บางหน่อย มีแค่ 40 หน้า ประหยัดกระดาษไว้เป็นต้นไม้ให้สัตว์ป่า ได้อยู่อาศัย มีให้อ่านทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์เช่นเคย

ผู้ก่อตั้ง หน่อง 11 จ๋อง 25 l นายกสมาคมฯ สิน 21 เหน่ง 21 บรรณาธิการ อ�ำ 31 l กองบรรณาธิการ ช่อน 40 เจ๊เป็ด 41 หลิน 42 ติ้ง 45 รัชมอส 48 ออยจิ 53 นักเขียนรับเชิญ นรรณ 22 จอย 27 แอ้ 39 l เหนียวแน่นหนึบ วีระเกียรติ 24 ทีมแฟชั่น ปุย 40 และทีมงาน Dreamer Studio l ทีมอาร์ต แพรวชั่ว 53 ต้นน�้ำ 53 เจณ 54 ติดต่อโฆษณา ปูนเล็ก 34 l ใส่ซองแก้วติดสติ๊กเกอร์ น้องๆ คณะที่น่ารัก



บทบรรณาธิการ

บ่ายวันหนึ่งเมื่อหลายปีที่แล้ว ขณะที่ฉันยังเป็นพนักงานเขียนบทประจ�ำที่ GTH โทรศัพท์ที่โต๊ะท�ำงานดังขึ้น เมื่อยกหูรับสาย อีกฝ่ายก็ถามว่า “พี่อ�ำคะ ...ไก่เพื่อนเป็ดที่เป็นน้องหมู อยู่แถวโต๊ะพี่เก้งหรือเปล่าคะ?” ฟังจบ ฉันก็หลุดข�ำออกมาดังพรืด ...นึกในใจว่านี่มัน GTH หรือซาฟารีเวิลด์กันเนี่ยยย! แล้วพอถามกลับไปว่า “นั่นใครโทรมาคะ?” “น้องกระแตเองค่ะ” อื้อหือ... จบได้สวย ที่เล่าเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เพราะมานึกๆ ดูว่าคณะนิเทศศาสตร์ของเรานี่มีชื่อคนที่เป็นสัตว์ เยอะจริงๆ บางคนอาจจะไม่ได้เป็นชื่อที่พ่อแม่หรือพระตั้งให้แต่ก�ำเนิด ในรายชื่อที่น้องกระแตถามมา มีแค่พี่เก้งกับหมูเท่านั้นที่เป็นชื่อเล่นจริงๆ ส่วนเป็ดมีชื่อเล่นจริงๆ ว่าเบนซ์ และไก่มีชื่อเล่นว่าอ้น ...ซึ่งก็มาถูกเพื่อนๆ หรือรุ่นพี่ที่คณะนี่แหละ ตั้งให้ตามความเหมาะสมของหน้าตา ผิวพรรณ บุคลิกลักษณะนิสัยในภายหลัง รุ่นแรกๆ ก็อาจจะเป็นแค่หมูเห็ดเป็ดไก่...ควาย แต่รุ่นหลังๆ นี่เริ่มวิวัฒนาการจ�ำแนก สายพันธุ์แยกย่อยลงไปอีก จากควาย ก็กลายเป็นไบซัน ปลาก็มีทั้งปลาบู่ ปลากระเบน ปลาโลมา (โอ๊ะ...ไม่ใช่สิ โลมาไม่ใช่ปลา) นั่นก็เลยเป็นที่มาของไอเดีย สายใยฉบับ ‘นิเทศนานาสัตว์’ ที่อยู่ในมือทุกท่านขณะนี้ ...รึเปล่า??? ขอตอบว่าไม่ใช่ค่ะ ที่มาของเราซีเรียส มีสาระกว่านั้น เรื่องของเรื่องก็คือ มีรุ่นพี่ๆ น้องๆ ของเราที่จบนิเทศฯ ไป แต่เลือกไปท�ำงานในแวดวงที่เกี่ยวกับสัตว์ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งนักอนุรักษ์ ช่างภาพทั้งสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง ที่โด่งดังไปไกลระดับนานาชาติ รวมไปถึงเจ้าของคาเฟ่แมว หมา กระต่าย ฯลฯ จึงรวบรวมมาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะกันในเล่มนี้ ...ซึ่งทุกท่านก�ำลังจะได้อ่านกันต่อไป (เพียงพลิกหน้าหนังสือ) ส่วนเรื่องที่เล่ามาข้างต้นนั้น พอดีมันไม่รู้จะเอาลงในคอลัมน์ไหน ก็เห็นว่ามีแต่หน้าบก.นี่แหละที่ยังพอมีที่ว่างจะเอามาเล่า(เม้าท์)ต่อกันได้ พบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ อมราพร รุ่น 31


เรื่อง : วีระเกียรติ 24 ภาพประกอบ : แพรวชั่ว 53

เหนียว เเน่น หนึบ.

สวัสดีหน้าฝน หวังว่าพี่น้องทุกคนจะชุ่มฉ�่ำ ชุ ่ ม ชื่ น หั ว ใจกั บ สิ่ ง ที่ อ ยู ่ ร อบตั ว อาจจะเป็ น ครอบครัว การงาน หรือกิจกรรมต่างๆ ใครทีบ่ รรลุตามเป้าหมายก็ขอแสดงความยินดี คนที่อาจจะประสบปัญหาบ้าง เหนียวแน่นหนึบ ก็ขอเป็นก�ำลังใจให้ฝ่าฟันอุปสรรค ก้าวต่อไป อย่าเพิ่งท้อถอยนะจ๊ะ แป๊บเดียวผ่านไปอีก 1 ปี ได้เวลาต้อนรับน้อง ใหม่รุ่น 55 เลขสวยกันแล้ว ที่คณะคงมีกิจกรรม สนุกมากมาย เป็นช่วงเวลาทีพ่ ๆี่ มีความสุขนัง่ มอง น้องเฟรชชี่น่ารัก น่าเอ็นดู เช่นกันสมาคมนิสติ เก่าฯ ในวาระ พีส่ นิ ยงยุทธ & พีเ่ หน่ง นันทา # 21 ท�ำงานเพือ่ ชาวนิเทศฯ มาครบ 1 ปี เป็นปีที่กิจกรรมแน่นปึ้ก หลากหลายและได้ จุดประกายสิ่งใหม่ๆ ให้นิเทศฯ และสังคมด้วย ลองไปทบทวนดูกันหน่อยว่าหนึ่งปีที่ผ่านมาท�ำ เหนี อะไรกัยวนไปบ้าง! เเน่น หนึบ.

31 ม.ค. 62 กิจกรรม ‘บ�ำรุงสุข แด่ผู้ให้’ น�ำ ทีมโดย พี่ไก่แก้ว จตุพร #17 สอนพี่น้องจิต อาสาหลายรุ่น ท�ำแซนด์วิชทูน่า ท�ำเองทุกขั้น ตอนและน�ำไปแจกให้ แ ก่ ผู ้ ม าบริ จ าคเลื อ ดที่ สภากาชาดไทย บรรยากาศสนุกสนานเฮฮา ได้ น�้ำสลัดติดไม้ติดมือไปอร่อยกันที่บ้านด้วย

รณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกและแยกขยะ น�ำโดย อุ๊บ ภัทราทิพย์ # 25 แหม่ม เอมอร # 26 ท�ำบอร์ดมีถุงผ้าให้ยืมไปซื้อของ จะได้ไม่ต้องรับ ถุงพลาสติก หรือใครมีถุงพลาสติกใช้แล้วก็เอา มาใส่ไว้ในกล่องเพื่อให้เพื่อนๆ เอาไปใช้ซ�้ำ รวม ทั้ ง สมาคมฯ ได้ ม อบถั ง ขยะส�ำหรั บ คั ด แยก ประเภทขยะให้น้องๆ ไว้ใช้ที่คณะอีกด้วย 9 มี.ค. 62 บ�ำรุงสุขด้วยภาพ : Rediscovery Photo ใช้ใจถ่ายภาพ โดยวิศรุต # 25 เจ้าของ ภาพถ่ า ยปลากั ด ที่ ดั ง ไปทั่ ว โลกมาแชร์ ประสบการณ์ ก ารถ่ า ยภาพที่ ไ ม่ ไ ด้ เ น้ น เรื่ อ ง อุปกรณ์ แต่เน้นเรื่องมุมมองและการสื่อสารผ่าน ภาพถ่าย 19 ม.ค. 62 อีกหนึ่งกิจกรรมที่เต็มไปด้วย คุณค่าและความประทับใจ Nitade Fund Run 2019 งานวิ่งที่จริงจังทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่อง ‘วิ่ง’ ซึ่งได้ โอ๊ค โลจน์ # 25 บี๋ ปรารถนา # 26 มาเป็น แกนน�ำ และเมือ่ ผนึกก�ำลงั กับพีต่ นู & ก้อย รัชวิน # 38 และทีมก้าวคนละก้าว จึงเกิดงานวิ่ง ‘ก้าบคนละ ก้าบ ทุกก้าบเราช่วยก้าว’ ขึ้น และยังได้ หมู ASAVA # 25 มาออกแบบเสื้อวิ่ง ผ้าบั๊ฟ Bib เหรียญ Trophy ให้อีก


จึงกลายเป็นงานวิ่งขวัญใจมหาชนประจ�ำปี ฝุ่น PM 2.5 ก็ไม่สามารถท�ำอะไรเราได้ เพราะ เราไม่เน้นวิ่งแต่เน้นกินอร่อย กินไม่อั้น พร้อม สนุกกับมินิคอนเสิร์ตวงจิระบันเทิงแบนด์น�ำโดย พี่เก้ง จิระ & พี่กร๋อย กิตติพงศ์ # 15 featuring กับพี่ตูน ก้อย ท�ำให้วิ่งนี้มีแต่ความสุขและความ สุข ได้ร่วมสมทบทุน 1,555,555 บาท กับ โครงการ ‘ก้าว’ เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้ กับอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา เพื่อผู้ป่วย ด้ อ ยโอกาสและเพื่ อ ผลิ ต บุ ค คลากรทาง การแพทย์ต่อไป และรายได้ส่วนหนึ่งมอบให้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบ�ำบัดมะเร็ง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 16 ก.พ. 62 คืนสู่เหย้า Nitade Super Hit อาสาจัดงานโดย รุ่น 24 เป็นงานที่เกิดจากความ ร่วมแรงร่วมใจของชาวนิเทศฯ จริงๆ ทั้งในรุ่น 24 เองที่ทุกคนอยากมีส่วนร่วม โดยเฉพาะการ หาของรางวั ล เกมสอยไข่ เ ป็ด จนมูลค่าของ รางวัลทะลุเป้าไปถึง 5 แสน และความช่วยเหลือ จากรุ่นพี่ รุ่นน้อง ไปจนถึงน้องๆ นิสิตปัจจุบัน ท�ำให้เป็นอีกปีที่คนมางานจนล้นพื้นที่คณะ และ สนุกกันไม่ยอมเลิกจนเกินเวลาแล้วเกินเวลาอีก

ถือโอกาสนี้ขอบคุณทีมงานทุกฝ่าย นักร้อง นักดนตรี นักแสดงทั้งชาย หญิง และเพศพิเศษ รวมทั้งผู้สนับสนุนทุกรายด้วยจ้า ส่วนรายได้จากเกมสอยไข่เป็ดน�ำไปท�ำบุญ เรียบร้อย มอบให้ 4 โรงพยาบาล จุฬาฯ ศิริราช รามา จักษุบ้านแพ้ว และสนับสนุนกลุ่มนิเทศฯ จุฬาฯ อาสา ลืมไม่ได้เลย ขอขอบคุณผู้ร่วมประมูลเพื่อ ‘กิจกรรมบ�ำรุงสุข’ ทุกๆ คน ท�ำให้มีทุนไว้ ส�ำหรับจัดกิจกรรมดีๆ ถึง 233,000 บาท ขอผล บุญส่งความสุขให้ทั่วถึงทุกคนทั้งผู้ประมูลและผู้ สอยไข่เป็ด เรื่องที่ได้รับกล่าวขวัญชื่นชมยินดีกว่าความ สนุกสนาน ความมันครบเครื่องของทั้งงานวิ่ง และคืนสู่เหย้าคือ ‘คิดเผื่อโลก’ ต้องปรบมือให้ อุ๊บ#25 แหม่ม#26 บี๋#26 ผู้น�ำการรณรงค์ และ ทีม ThinkTrash รวมถึงชาวนิเทศฯ และผู้ร่วม กิจกรรมทุกๆ ท่าน ที่ช่วยกันลดการใช้พลาสติก และคั ด แยกขยะอย่ า งจริ ง จั ง ท�ำให้ เ ราลด ปริมาณขยะไปได้มากมาย นอกจากนั้นขยะ 7080% ได้น�ำไปใช้ประโยชน์ต่อ โดยเศษอาหารน�ำ ไปผลิตปุ๋ย ขวดแก้ว พลาสติก กระป๋อง น�ำไป รีไซเคิล เหลือเพียง 20-30% ที่ไปสู่บ่อฝังกลบ และกิจกรรมต่อๆ ไปทุกงานของนิเทศศาสตร์ จุฬาฯเราจะไม่ลืมคิดเผื่อโลกอย่างแน่นอน

ปิ ด ท้ า ยด้ ว ยขอแสดงความยิ น ดี กั บ ประธาน กรรมการ มูลนิธินิเทศศาสตร์ ศ.บ�ำรุงสุข สีหอ�ำไพ คนใหม่ พี่ร็อต มารุต อรรถไกวัลวที รุ่น 9 พร้อมทีม งานคุณภาพคับแก้ว รอพบกิจกรรมดีๆ มีคุณค่าจาก มูลนิธิฯได้เร็วๆ นี้



ก็ชาวนิเทศทำ�ได้ทุกอย่าง… ชวนมาสมัครทีมนักพากย์จิตอาสา หน้าตาไม่ต้อง ขอแค่กล้าปล่อยของ เพื่อ “บำ�รุงสุข” ให้กับน้อง ๆ ที่ตาบอด กับโครงการ “การ์ตูนทางเสียง” (แถวบ้านผู้เขียนอาจจะเรียกว่าละครวิทยุ) จัดโดยสมาคมนิสิตเก่านิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ที่ขยันสร้างกิจกรรม “วันบำ�รุงสุข” เพื่อรำ�ลึกคุณ อ.บำ�รุงสุข สีหอำ�ไพ ... นำ�ทีมโดย จอย 27 และ อ. ปิ่น 29

โดยพี่จอยจะเอาการ์ตูน comic book ‘ชุมชนนิมนต์ยิ้ม’ ที่เคยตีพิมพ์ (ตอนไม่ซ้ำ�กับทีวี) มาแปลงเป็นเวอร์ชั่น ‘การ์ตูนทางเสียง’ นำ�ไปให้น้อง ๆ เยาวชนตาบอดได้ ฟังไปยิ้มไป ภายใต้ทีมผลิตมืออาชีพ (ยังอาย) คือ อ.ปิ่น แห่งภาค MC พร้อมเหล่าลูกศิษย์ที่จะเกณฑ์กันมาช่วยทำ�บทวิทยุและเป็นทีมเบื้องหลัง โดยจะทำ�การพากย์ เสียงในสตูดิโอของคณะที่มีชื่อเก๋ไก๋ว่า ‘ห้องสตูดิโอทางเสียง ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านสื่อ ดิจิทัล’ (โห) ในช่วงวันเสาร์ของเดือนกันยายนนี้ >> พร้อมเปิดเชิญชวนให้พี่น้องนิสิตเก่า-นิสิตปัจจุบัน รวมทีมเพื่อนรัก 5-6 คน

มาฟอร์มทีมพากย์เสียงดาวรุ่ง ให้กับ ‘การ์ตูนทางเสียง – ชุมชนนิมนต์ยิ้ม’

สนใจลงชื่อ สมัครเลย ใน 1 ทีม ทีมควรมีนักพากย์ชาย 2 คน และหญิง 3-4 คน ส่วนใครจะเกณฑ์ลูกหลานมาร่วมพากย์เสียงประกอบด้วย ก็ยินดีต้อนรับนะ ... เรารับแค่ 12 ทีม สำ�หรับงานพากย์การ์ตูน 12 ตอน เท่านั้นนะจ๊ะ 1 ทีม พากย์ 1 ตอน...

และคอยติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก Fanpage “Nitade Chula Alumni” ...เพื่อรอยยิ้มของน้องๆ ตาบอดแล้ว พี่นิเทศฯ พร้อมปล่อยมุกสุดตัว ทีมพันธมิตรก็พันธมิตรเถอะนะ... คอยดู! นรรณ 22, จอย 27


ตกลง

มันคือตัวอะไร กั นเเน่!? เรื่อง : ช่อน 40 ภาพประกอบ : แพรวชั่ว 53

เป็นปัญหาโลกแตกของชาวนิเทศ ไม่แพ้ ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน เพราะเวลาพูดถึงมาสคอตคณะ รายชื่อ สารพัดสัตว์ก็มักจะดังมาจากทั่วทุกสารทิศ โดยเฉพาะในห้องประชุมสายใยของเรา ไหนจะเป็ด ไหนจะนก ไหนจะหอย แล้วยังแมงมุมอีกล่ะ เรื่องนี้ ผมไม่อาจชี้ชัดว่า ค�ำตอบไหน ถูกต้อง แต่กไ็ ด้รบั มอบหมายให้ลองหาค�ำตอบ และเมื่อลองไปประมวลเรื่องราวจากการพูด คุยกับผูร้ ทู้ งั้ หลาย ก็พบว่า เรือ่ งนีช้ กั ไม่ธรรมดา เพราะถ้าเอาตามความรู้แบบราชการ ไม่มีความผูกพันใดๆ เจือปน ก็คงต้องยึด ตามที่อาจารย์อาวุโสท่านหนึ่งบอกกับผมว่า ยังไงก็ต้องเป็นหอยแน่นอน เหตุเพราะโลโก้อย่างเป็นทางการของ เราเป็นรูปหอยนั่นเอง ถึงตรงนี้หลายคนอาจคิดในใจ “เหรอ!! ท�ำไมเพิ่งรู้” นั่นแหละครับ ผมก็มาเริ่มรู้ตอนเรียนไป ได้หลายปีเหมือนกัน ท่านอธิบายอย่างละเอียดว่า หอยที่ว่านี้ ไม่ใช่หอยธรรมดา แต่เป็นหอยสังข์ที่เทวดา ใช้เป่า

เพราะฉะนั้นการที่เทวดาลุกขึ้นมาเป่า สังข์ก็เหมือนการลุกขึ้นมาประชาสัมพันธ์ อะไรสักอย่างให้เราๆ รับรู้นั่นเอง แต่อย่างว่าครับ ผมยังไม่เจอเทวดาก็ เลยไม่รู้ว่าเป่าหอยจะมีเสียงแบบที่ว่าหรือไม่ คงต้องพิสูจน์กันเอง แต่ที่ผมรู้สึกงงสุดว่ามาได้ไง ก็ต้องเป็น แมงมุม!! ตอนท่าน บ.ก.ใหญ่ ลิสต์รายชื่อมา ก็ได้ แต่นึกสงสัย หรือว่าเห็นมีหอยแล้วก็ต้องมี แมงมุม เหมือนมีหอยลาย ก็ต้องมีแมงมุม ลายตัวนั้นด้วย.. เพิ่งมาถึงบางอ้อว่า ท่าน บ.ก.ใหญ่อาจ ตั้ ง ใจโปรโมตวารสารสายใยของพวกเรา นั่นเอง เพราะคงเห็นแมงมุมชักใยได้ ก็คง เหมือนสายใยที่โยงใยเราไว้ด้วยกัน ส่วนนก นีน่ อกจากเพลงวิหคเหินลมทีเ่ รา ไปเคลมครู ส มานกั บ ครู สุ น ทรี ย าจากวง ดนตรีสุนทราภรณ์ จนล่าสุดมีเวอร์ชั่น 2019 ผมก็ยังไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างนิเทศ กับนกเท่าใดนัก กระทั่งมีเสียงหนึ่งตะโกนมาว่า มึงไม่รู้ จักเพลงนกน้อยในไร่ส้มเหรอ เคยเข้าห้อง เชียร์บ้างไหม


นั่นแหละผมถึงระลึกได้ เราเคยร้อง เพลงนี้กันด้วย พร้อมยังมีประวัติอันยาวยืด อย่างนกพิราบที่บินไปในไร่ส้ม (ไร่ส้มมันอยู่ ตรงไหน เคยได้ยินแต่สวนส้ม) ผ่านขวาก หนามมากมาย ก็เหมือนชีวิตสื่อมวลชน บ้านเราก็เต็มไปด้วยอุปสรรค จนมารู้ทีหลังว่า เพลงนี้ไม่ใช่ของเรา แต่เป็นของสัตวแพทย์ต่างหากเขาใช้ร้องใน วงเหล้าหลังจากขี่ม้าออกเยี่ยมไข้สารพัด สัตว์ในต่างจังหวัด แต่ที่เรียกว่าป๊อปสุด กวาดเสียงจากชาว นิเทศไปเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ เห็นจะไม่พ้น ‘เป็ด’ สังเกตได้จากการเป็นชื่องานคืนสู่เหย้า อยู่หลายปี รวมทั้งสารพัดงานทั้งงานวิ่ง งานทอล์ก งานหนังสือ เอาจริงๆ นอกจากค�ำบอกของใครสักคน เมื่อนานมาแล้วว่า เราเรียนแบบเป็ด คือ เรียนทุกวิชา ทั้งกฎหมาย สถิติ การเมือง เศรษฐศาสตร์ (ซึ่งผมไม่เคยเรียน หรือลง ทะเบียนก็ไม่เคยเข้า) ผมก็ไม่เคยเห็นสิ่งที่เชื่อมโยงอื่นๆ อีกที่ เกี่ยวกับเป็ดอีก หรือแต่ก่อนคณะเราเคยเอา เป็ดมาเลี้ยงที่ใต้ถุนกันแน่ ผมเลยต้องไปดึงตัวช่วยอย่าง น้องรัก รุ่นติดกัน เจ๊เป็ด 41 มาช่วยอธิบาย เอาตรงๆ ผมตัง้ ใจถามเป็ดสัน้ ๆ ประโยค เดียว แต่เป็ดถามกลับมาว่า พีอ่ ยากรูจ้ ริงเหรอ!! จากนั้นมันก็หายไปคืนหนึ่งเต็มๆ ก่อน กลับมาพร้อมไฟล์ Word หนึ่งไฟล์ และข้อ เรียกร้องว่าเลี้ยงเบียร์ผมด้วย!!

เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา ผมขอหยิบยก เรื่องของเป็ดมาเล่าเลยดีกว่า มีสุภาษิตประเทศตุรกีที่ว่า “If the world flooded, it wouldn’t matter to the duck” ถอดความได้ว่า “แม้ น�้ำจะท่วมโลก แต่เป็ดก็ไม่เดือดร้อน” ฟังดูแล้วเหมือนกับเด็กนิเทศฯ ที่แม้จะ เกรดตก อกหัก นำ�้ หนักขึน้ งานไม่มี เงินไม่ออก ออกกองสองวันติด เลยสามสิบแล้วยังโสด หรือลูกตื่นมาร้องตอนตีสาม แต่พวกเราก็ ยังยิ้มสู้ หัวเราะเอิ๊กอ๊าก แดนซ์กระจาย ไม่ดราม่ารันทดชีวิต และยังเหมือนกับสุภาษิตประเทศลิทวั เนีย ที่ว่า “A good ploughman can plough even with a goose” (คนเรียน AE Tran sec 4 กับ sec 5 คงแปลกันไม่ออกใช่มั้ย ครับ^^) หมายถึง คนไถนาที่ดี ก็สามารถ ใช้ห่านไถนาได้ แต่ห่านโดนน�้ำท่วมโลกตาย หมดแล้ว จึงเหลือแต่เป็ด เลยเหมือนกับเด็กนิเทศที่เราสามารถ ท�ำได้ทกุ อย่างถึงจะไม่ได้รำ�่ เรียนมา และเรา ก็ท�ำได้อย่างดีเสียด้วย เป็ดจึงเปรียบเสมือน โลโก้ของชาวนิเทศอย่างแท้จริง!!! อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะงงๆ สักหน่อยว่า สรุปแล้วมาสคอตคณะเราคือ ตัวอะไรและเราจะเชื่อใครดี เจ๊เป็ดหรือ อาจารย์อาวุโสท่านนั้น แต่ก็อย่างที่ผมเกริ่น ตั้งแต่ต้นว่ามันเป็นปัญหาโลกแตก เพราะ ฉะนั้นลืมๆ มันไปเถอะ จบเเล้วครับ!!!


โดย เป็ด : ทศพล ทิพย์ทินกร รุ่น 41

ก่อนทีจ่ ะได้สมั ภาษณ์ พีป่ ยุ๋ ปริญญา ผดุงถิน่ รุน่ 20 ผมชอบอ่านคอลัมน์ของพีป่ ยุ๋ ทีช่ อื่ ว่า ‘สะเทินนำ�้ สะเทินบก’ ที่เขียนเกี่ยวกับตกปลาบ้าง ดูนกบ้าง เที่ยวป่าบ้างใน หนังสือพิมพ์มติชน สุดสัปดาห์ ผมเลยขอให้พี่ปุ๋ยเล่า ย้อนว่าเข้ามาสนใจเรื่องของสัตว์ป่าได้อย่างไร พี่ปุ๋ยตอบว่าตั้งแต่เรียนอยู่มัธยมก็อ่านเพชรพระอุมา เป็นนิยายผจญภัยในป่าทุกเล่มจนจบ แล้วก็ชอบดูสารคดีสัตว์ช่อง 5 “เป็นคนเดียวในบ้านเลยที่ดูรายการนี้ ช่วงนั้นก็เริ่มไปเที่ยวป่า ตกปลา จนจบ ม.6 ก็เลือกเข้า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เพราะอ่านงานของพี่ศุภักษรแล้วชอบมาก เป็นนิยายเกี่ยวกับชีวิต เด็กมหาลัย แล้วพี่ศุภักษรก็เรียนที่นิเทศฯ ภาควิชาหนังสือพิมพ์ ก็เลยเลือกภาควิชานี้เหมือน พี่เค้าด้วย” “ตอนอยูค่ ณะก็ยงั ไม่ได้สนใจถ่ายรูปสัตว์ มีแค่ชวนพีๆ่ น้องๆ ไปตกปลากันทีเ่ กาะสองสามวัน ตอนนั้นมีกฎว่าห้ามเอาเสบียงไป เอาไปได้แค่พวกผัก เราต้องไปตกปลาแล้วก็ท�ำกินกันที่นู่น และมีใครสักคนก็เอาถั่วเขียวไปปลูกด้วย จะได้มีถั่วงอกไว้กิน แต่มันดันงอกไม่ทัน ต้องกลับบ้าน กันก่อน” “จนเรียนจบก็ไปเป็นนักข่าวที่มติชน จนวันหนึ่งจ�ำได้เลยว่าก�ำลังยืนปัสสาวะอยู่ที่ห้องน�้ำ พี่เสถียร จันทิมาธร บ.ก.มติชนสุดสัปดาห์ มายืนปัสสาวะข้างๆ พี่เค้ารู้ว่าเราชอบตกปลาก็เลย ชวนมาเขียนคอลัมน์ เราก็เขียนด้วยความมันส์มาก ตัวละครก็เป็นเพือ่ นๆ พีน่ อ้ งเรา หลังจากนัน้ ก็เริ่มเขียนเรื่องนก เพราะพอเข้าป่าก็มีเพื่อนที่เค้าดูนกกัน เราก็เริ่มสนใจ ซึ่งถ้าจะดูนก ก็ต้อง ตระเวนไปดูทั่วประเทศ เพราะนกแต่ละสายพันธุ์ก็อยู่กันคนละที่ ก็เลยเท่ากับได้เที่ยวป่าทั่ว ประเทศไทยเลย ซึ่งเวลาเราไปถ่ายนกก็ไม่ได้เจอแต่นก แต่ก็จะได้เจอสัตว์อื่นๆด้วย แต่ก็แค่ดูนะ “จนเราได้ไปเจอนิตยสารถ่ายภาพเสือในทวีปเอเชียของช่างภาพสัตว์ป่าต่างประเทศ เราเห็น รูปเสือโคร่งที่เขาถ่าย แล้วมันสวยมาก แล้วเรารู้ว่าถ่ายสัตว์ป่ามันยากมาก เพราะสัตว์ใช้จมูก เป็นอันดับแรก ต่อให้เรานิ่ง ไม่มีเสียง สัตว์ป่าก็รู้ว่าเราแอบอยู่จากกลิ่นของเรา อย่างที่มีคนบอก ว่าเหมือนมีทุเรียนอยู่ในบ้านอ่ะ ต่อให้เราไม่เห็น เราก็ยังได้กลิ่นอยู่ดี เราก็เลยเริ่มที่จะเรียนรู้วิธี การถ่าย สัง่ ซือ้ อุปกรณ์จากต่างประเทศมา พอเลิกงานหนังสือพิมพ์ทอี่ อฟฟิศตอนดึก ก็ขบั รถเข้าป่าเลย ลุยไปคนเดียว มันส์ดี”


ผมสงสัยว่าถ่ายภาพสัตว์ปา่ มันส์อย่างไร พีป่ ยุ๋ ยิม้ ก่อนตอบว่า “ตอนเราเปิดดูรูปที่ถ่ายมาทีละรูป มันเหมือนลุ้นไพ่ป๊อกที่ลุ้น ทีละใบเลย พอเจอรูปทีถ่ า่ ยได้สวยๆ ชัดๆ เราจะร้องซีด้ เลยนะ จังหวะ นั้นแหละแม่งมันส์มาก” ผมเห็นว่าหน้าพี่ปุ๋ยดูมันส์จริงๆ เลยถามต่อว่า จากการที่พี่ปุ๋ยเรียนนิเทศฯ มา หรือการเป็นนัก หนังสือพิมพ์มีส่วนช่วยในการเป็นถ่ายภาพสัตว์ป่าบ้างหรือเปล่า พี่ปุ๋ยตอบทันควันว่า “ไม่มีเลย มี แค่ว่างานหนังสือพิมพ์เลิกงานดึก รถก็เลยโล่ง เราก็เลยขับรถเข้าป่าได้สะดวก (หัวเราะ)” หลังจากนั้น พอนั่งคุยกับพี่ปุ๋ยไปเรื่อยๆ ถึงได้รู้ว่าตอนนี้พี่ปยุ๋ ไม่ได้ท�ำงานหนังสือพิมพ์แล้วเพราะ บริษทั ปิดไป แต่กไ็ ด้งานเป็นไกด์พาชาวต่างประเทศเข้าป่าถ่ายรูป ผมจึงถามพี่ปุ๋ยว่า แล้วอย่างนี้ พี่ปุ๋ยยังถ่ายรูปสัตว์ป่าอยู่มั้ย พี่ปุ๋ยก็ตอบว่า “ตอนนี้ก�ำลังถ่ายรูป เสือโคร่งร่วมกับกลุ่มนักวิจัย เพื่อท�ำเป็นหนังสือข้อมูลของเสือในป่าห้วยขาแข้ง คอยตามดูวงจรชีวิต ของพวกมัน อยากท�ำหนังสือให้มันสมบูรณ์ อยากให้หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานชิ้นหนึ่งของโลกเลย” พี่ปุ๋ยตอบด้วยสายตาที่มุ่งมั่น จนผมนึกอยากเห็นหนังสือที่พี่ปุ๋ยท�ำเร็วๆ และมั่นใจว่าต้องเป็น หนังสือที่ดีแน่ๆ

ภาพแรกคือ ‘เสือกระต่าย หรือ แมวป่า’ (Jungle Cat) ที่เคยเป็นข่าวครึกโครมในทีวี ลงหนังสือพิมพ์หน้า 1 เพจต่างๆ เมื่ออธิบดี กรมอุทยานฯ น�ำภาพนี้มาเปิดแถลง ระบุว่า เป็นการค้นพบเสือกระต่ายในรอบ 40 ปีของ ไทย โดยรายงานการพบเสือกระต่ายไทยหาย ไปอย่างยาวนาน จนวงการสัตว์ปา่ แทบจะหมดหวัง คิดว่าพวกมันไม่มีเหลืออีกแล้วจากธรรมชาติ ของไทย ซึ่งปีหน้า ภาพนี้จะถูกตีพิมพ์ใน หนังสือ Felids of the World (สัตว์ตระกูลแมว ของโลก) อีกด้วย

ส่วนภาพที่สอง คือ ‘เสือโคร่งกับดวงดาว’ จริงๆ เป็นภาพเสือโคร่งพร้อมฉากหลัง ดวงดาว ที่ผมท�ำได้เป็นครัง้ ที่ 2 แต่มนั ลงตัว กว่าภาพแรก พอนิตยสารสารคดีทราบข่าวก็ ติดต่อขอไปตีพิมพ์ รวมถึงเคยไปจัดแสดงแกล เลอรี่ในห้างเอ็มควอเทียร์มาแล้ว ความพิเศษ คือ จนบัดนี้ก็ยังไม่มีช่างภาพสัตว์ป่าคนไหน ในโลก ถ่ายภาพ ‘เสือโคร่งกับดาว’ ได้ (เต็มที่ก็ ‘เสือดาวกับดาว’ ‘สิงโตภูเขากับ ดาว’) ขณะที่ผมเอง มีภาพ ‘เสือโคร่งกับดาว’ มากพอสมควรในเวลานี้ รวมไปถึงขั้น แอดวานซ์ ‘เสือโคร่งกับทางช้างเผือก’ ที่ยังไม่ เคยน�ำมาเผยแพร่”


ซัง

จุฑามาศ หวังอายัตวณิชย์

ผู้สร้าง แรงบันดาลใจให้... โดย อ�ำ : อมราพร แผ่นดินทอง รุ่น 31

เป็นที่รู้กันดีในหมู่เพื่อนๆ นิเทศศาสตร์ รุ่น 29 และรุ่นน้องรุ่นพี่ที่ใกล้ชิดว่า ซัง-จุฑามาศ หวังอายัตวณิชย์ ได้ย้ายรกรากไปท�ำงานและใช้ชีวิตอยู่ใน ‘ป่า’ เกือบ 7 ปีแล้ว จนเพื่อนบาง คนถึงกับแซวว่าพีเ่ ขาเป็นเมียทาร์ซาน!!! ด้วยอาชีพการงานทีเ่ กีย่ วข้องอยูใ่ นแวดวงสิง่ แวดล้อม และธรรมชาติ คือการเป็นฝ่ายประสานงานองค์กรให้กับมูลนิธิ ‘กระต่ายในดวงจันทร์’ ซึ่งมีที่ ตั้งอยู่ในบริเวณป่าจ�ำนวน 14 ไร่ ที่ อ.สวนผึ้ง ราชบุรี ภารกิจหลักของมูลนิธินี้ก็คือการพาคน เข้าไปสัมผัสและอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ซึ่งกิจกรรมเด่นๆ อันเป็นที่รู้จักก็ เช่น การจัดค่าย ‘กระต่ายตื่นตัว’ พาเด็กๆ วัยประถมไปรู้จักกับธรรมชาติ แต่นอกเหนือจากนั้น ก็ยังมีการ ท�ำงานวิชาการร่วมกับทีมวิจัย และเจ้าหน้าที่ป่าไม้เพื่อรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยว กับป่าไม้และสัตว์ป่าในประเทศไทย แล้วอะไรที่ท�ำให้ พี่เขาละทิ้งวิถีชีวิตคนเมือง แล้วตัดสินใจเดินเข้าป่า? “เดิมพอเรียนจบมา เราก็ไปท�ำงานเป็น AE ให้กับบริษัทพรีเซนเตชั่น ‘10 อาษา’ ทีนี้ในตึกเดียวกัน ชั้นบนก็เป็นออฟฟิศของมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ซึ่ง ลุงอ๋อย-ชาญชัย พินทุเสน กับ พี่ทศ-ทศเทพ วงศ์หนองเตย เจ้าของบริษัทเรา เค้าเป็นเพื่อนกัน เวลาที่ว่างๆ บางทีเราก็ขึ้นไปที่มูลนิธิไปนั่งคุย แล้วก็ช่วยเค้าท�ำกราฟิกนู่นนี่” “จนกระทั่งประมาณปี 2544 พี่อ๋อยก็ชวนไปเดินป่าที่เขากระโจม สวนผึ้ง ก็สนใจ พอไปถึง เราก็ไปเจอชาวบ้าน เจอเด็กๆ ในพืน้ ทีท่ เี่ ป็นชาวกะเหรีย่ ง ตอนนัน้ เราก็คดิ ในใจว่าจะไปช่วยเค้า ไปสอนเค้า เพราะเราเรียนมาตั้งปริญญาตรี จบมาตั้งสูง ความรู้เราเยอะ แต่พอไปถึง...กลาย เป็นว่าเราโง่ที่สุดในกลุ่ม (หัวเราะ) ท�ำอะไรไม่เป็นอะไรเลย ก่อกองไฟก็ไม่เป็น จะสับไม้ไผ่ท�ำ ฟืนก็ท�ำไม่ได้ เจอตัวอะไรก็วิ่งหนีตลอด เจอผึ้งก็กลัว เจอทากก็กรี๊ด ในขณะที่เด็กๆ เหล่านี้ ชิลด์กันมาก ตอนนั้นยังคิดว่า ถ้าเกิดอะไรขึ้น กูตายก่อน พวกนี้รอด”


การเข้าป่าครั้งแรก พี่ซังบอกว่ายังไม่ถึง กับอินหรือประทับใจอะไรมาก แต่เมื่อถูก ชวนซ�้ำ ก็ยังอยากไปอีก เพราะเริ่มติดใจ ประสบการณ์ในโลกใบใหม่ “พอช่วงหลังๆ เด็กๆ ก็จะคอยสอนว่า ทากไม่ได้จะดูดเลือดเราทันทีนะ มันต้องไต่ หาเส้นเลือดก่อน ช่วงนั้นเราแกะมันออกได้ แล้วเค้าก็ท�ำให้ดูว่าหยิบออกแบบนี้ ดีดทิ้ง แบบนี้ แค่นี้เอง กลายเป็นว่าเด็กๆ เหล่านี้ กลายเป็นครูของเรา เราก็เริ่มค่อยๆ ท�ำเป็น ก็เริ่มรู้ว่ามันไม่ได้น่ากลัว ซึ่งพอมีความรู้ ความกลัวก็จะหาย “อย่างทีแรก ก็กลัวผึ้ง เวลาเจอทีจะวิ่ง หนีป่าราบ แต่พอรู้ว่ามันแค่มาตอมเรา เพราะจะเอาเกลือแร่ที่ผิวหนัง แล้วมันก็มี ประโยชน์ในการผสมเกสร ความรู้เหล่านี้ก็ ช่วยเราเชื่อมโยงกับทุกอย่าง กลายเป็นว่า ทุกอย่างมีประโยชน์กับโลกหมด มันก็เลย เกิดค�ำถามว่าแล้วตัวเราล่ะ เรามีประโยชน์ อะไรกับโลก ...แล้วไอ้วิชาที่เรียนมา จะท�ำ อะไรเพื่อโลกได้ไหม?” จากจุ ด เปลี่ ย นความคิ ด ในตอนนั้ น ท�ำให้ พี่ ซั ง พาตั ว เองเข้ า ไปสู ่ โ ลกของ ธรรมชาติเพื่อเรียนรู้มากขึ้น หลังจากจบ ภารกิจของการเป็นผู้ช่วยฝ่ายศิลป์ในกอง ถ่ายภาพยนตร์เรื่อง ‘แฟนฉัน’ ซึ่งเป็นการ ท�ำตามความฝั น ของตั ว เองในสาขาวิ ช า ภาพยนตร์ที่ร�่ำเรียนมา เธอก็สมัครเข้าไป เป็นเจ้าหน้าที่ประจ�ำมูลนิธิกระต่ายในดวง จันทร์อย่างเต็มตัว ท�ำหน้าที่ตั้งแต่ระดมทุน

ประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมต่างๆ เพือ่ สือ่ สาร ความรู้เรื่องธรรมชาติให้แพร่หลายออกไป ในวงกว้าง แต่เมือ่ ถามว่าความรูน้ เิ ทศศาสตร์ ที่ร�่ำเรียนมาถูกน�ำไปปรับใช้อะไรกับงานได้ มากที่สุด พี่ซังตอบว่า “สิ่งที่เอามาใช้จริงๆ คือการวางแผน โปรแกรมค่าย ‘กระต่ายตื่นตัว’ เพราะเรา จะคิดเป็นหนังเหมือนกับการเขียนบท เช่น จะพาเด็กไปกระบี่ ตัวละครแรกที่อยากให้ เด็กเจอคือตัวอะไร แล้วเค้าจะรับรู้เรื่องนี้ แบบไหน มันควรจะตื่นเต้น หรือซาบซึ้ง ดราม่า แล้วหลังจากนี้เค้าจะไปเจออะไร แล้วไคลแมกซ์อยู่ตรงไหน แล้วมันจะขมวด จบแบบไหน นีค่ อื วิธคี ดิ ในเวลาทีเ่ ราออกแบบ ค่ายเด็ก มันมีประโยชน์จริงๆ “หรืออย่างตอนท�ำค่ายไดโนเสาร์ ด้วย ความเป็นเด็ก เค้าจะนึกถึงตัวเองก่อน เวลา เค้ า ขุ ด เจออะไรก็ แ ล้ ว แต่ เ ค้ า จะอยากได้ กลับบ้าน แต่ถ้าเรามอบบทให้เค้าเป็นผู้ช่วย นักวิจัย เค้าก็จะรู้ว่านี่เป็นสมบัติของชาติ เค้ามีหน้าที่เอาไปขัด ไปท�ำความสะอาด แล้วน�ำเข้าพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้คนอื่นๆ ได้ ชื่นชม และได้ความรู้จากสิ่งที่เค้าท�ำ มันก็ จะมี ก ารวางพล็ อ ตให้ เ ค้ า ไปถึ ง เส้ น ทาง สุดท้ายที่เราอยากให้ไปถึง” และเมื่อถามว่าเป้าหมายสุดท้ายของ การท�ำงานที่ตั้งใจเอาไว้คืออะไร พี่ซังตอบ กับเราว่า “อยากให้คนเข้าใจ รู้จัก และอยู่ ร่วมกับธรรมชาติได้ แล้วก็เอื้อประโยชน์ซึ่ง กันและกัน”


วาด : ต้นน�้ำ 53



เรื่อง : รัชมอส 48 ภาพประกอบ : เจณ 54

จากใจสัตว์ๆ

แคทฉับ

จะคุยอะไรเจ้ามนุษย์? ถามไรเนี่ย วุ่นวายจริง ฮึ่มมมม.. ข้าชื่อแคทฉับ เป็นแมวพันธุ์ Exotic Shorthair อายุ 9 ปี อยู่กับพ่อชื่อกอล์ฟโย่ง ปวีณ ภูริจิตปัญญา รุ่น 32 มีความสัมพันธ์กันแบบแมว-ทาสแมว ท�ำไมเป็นทาส? ถามได้ พ่อกอล์ฟโย่งนี่เขาก็ปรนนิบัติทุกอย่าง ให้อาหาร ตักทราย หวีขน นวด เกาพุง เกาจมูก ข้าไม่ทันได้ร้องขออะไรเลย เวลาหายไปนานๆ กลับมาก็ต้องมีของฝาก ของเล่นของกินต่างๆ นานา ญี่ปุ่นบ้างอะไรบ้าง เพื่อนฝูงมนุษย์ด้วยกันนี่ไม่มีหรอกนะของฝาก มีแต่ของฝากให้ข้า แล้วก็เอามาวอแวข้า ฮึ่มมมมมมม บอกเลยว่าไม้กวาดทางมะพร้าวเท่านั้น ที่แคทฉับต้องการ ข้ามีกจิ การคาเฟ่แมวอยูห่ นึง่ ที่ ชือ่ Caturday Cat Cafe อยูต่ ดิ BTS ราชเทวี เป็นผูก้ อ่ ตัง้ ร้าน หึ เปล่าร้อก! พ่อกอล์ฟโย่งน่ะเป็นแค่พนักงาน! ข้าบอกเลยว่าที่เขามีทุกวันนี้ได้ก็เพราะข้านะ เวลาพ่อกอล์ฟโย่งเจอหน้าเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เขาไม่ถามหรอกนะว่างานหนังเป็นไง เขาถาม ถึงข้า อยากเล่นอยากเจอ แต่ข้าน่ะเบื่อนักพวกมนุษย์จอมวอแว เลยเปิดร้านซะเลย ให้มาเล่น กับแมวตัวอื่นๆซะ มีประวัติข้าแปะอยู่ที่ร้านน่ะ ลองไปหาอ่านดู เมื่อก่อนข้าก็ไปที่ร้านบ้างนะ แต่เดี๋ยวนี้เกษียณละ เบื่อ นั่งดูผลประกอบการกินเงินปันผลอยู่ที่บ้าน นอกจากกิจการคาเฟ่แมว ข้าก็ออกหน้ากล้องบ้างนะ มันเริ่มมาจากพ่อกอล์ฟโย่งนี่แหละ จะเอาข้าไปเล่นหนัง หึ เจ้าทาส! กล้าดียังไง ตอนถ่ายเสร็จข้าก็แง้วใส่ไปยกนึง หลังจากนั้นก็มี คนมาจ้างอีก ข้าก็เลยรีบๆ เล่นให้มันถ่ายเสร็จไวๆ อะ อยากนอนละ เบื่อมนุษย์ อยากเจอข้า? ไม่ต้องเลยนะ มีทาสแค่คนเดียวก็วุ่นวายแล้ว พ่อกอล์ฟโย่งปรนนิบัติพัดวีข้า มา 9 ปี ข้ายังไม่ไยดีอะไรนางเลย จริงๆ! เวลาอยู่กันสองคนก็ท�ำทีเป็นอ้อน หลอกให้นาง อ่อนใจเกาพุงข้าต่อไปเรื่อยๆเท่านั้นแหละ ไม่รักไม่อะไรหรอก เออ! พอได้ยังอะ ถามเยอะนะเจ้ามนุษย์ ฮึ่มมมมม


หนูชื่อ ‘เปียกปูน’ เป็นนกแก้วพันธุ์แอฟริกันเกรย์ เจ้าของหนูคือหม่ามี้แอ้ นิเทศฯ รุ่น 39 โดย ‘ป่าป๊าเบิร์ด’ (สามีของมี้แอ้) ที่ห้าวหาญซื้อหนูมา 1 ฟอง พร้อมตู้กกไข่ ทุกอย่างเหมือนจะราบรื่น แต่หนูเสียฟอร์มนิดหน่อยตรงที่ เจาะเปลือกไข่ออกมาเองไม่เป็น เลยต้องร้องปิด๊ ๆๆๆ เพือ่ ให้ ป่าป๊าช่วยมาแกะออกให้ (เกือบไม่รอดดด) แล้วหลังจากนั้น หนูก็กินหรูอยู่สบาย มีคนป้อนให้กินทุกวัน ก่อนจะพัฒนา เป็นถั่วและเมล็ดธัญพืชต่างๆ ที่แทะกินได้เอง พอขนขึ้นเต็มตัว หนูก็เริ่มร้องเลียนเสียงที่ได้ยิน ไม่ว่า จะเป็น notification จากสมาร์ทโฟน, เสียงหม่ามี้ผิวปาก เป็นเพลงสั้นๆ เช่น My Neighbor Totoro, เสียงกดเครื่อง ซักผ้า, เสียงรั้วบ้านฝืดๆ ฯลฯ ส่วนทักษะอื่นๆ โดยเฉพาะ ‘การบิน’ ของหนูอ่อนด๋อยมากกก หัวค�่ำของคืนนึงหนูเผลอ โผบินหลุดออกไปนอกระเบียงคอนโดตอนที่ก�ำลังมีพายุฝน หายไปในความมืด หม่ามี้ท�ำป้ายประกาศตามหา, เดินแจก ใบปลิวทั่วรัศมีรอบๆ 2 ก.ม., โทรแจ้ง จ.ส.100, โพสต์ในทุก กรุ๊ปที่เกี่ยวกับนกแก้ว ฯลฯ ถัดมาอีกเกือบ 2 วันจึงมีคนเจอ ว่าหนูแอบไปเกาะราวตากผ้าของคอนโดคนอืน่ โธ่... ลองไป ทัศนศึกษาแค่แป๊บเดียว ท�ำไมหม่ามีก้ บั ป่าป๊าถึงต้องร้องห่ม ร้องไห้กันขนาดนั้นก็ไม่รู้? ตอนนี้หนูอายุ 5 ขวบแล้ว งานถนัดคือการปลุก ผู้ปกครองทุกเช้า สิ่งที่งงที่สุดก็คือเวลามีคน มาบอกว่าอยากเลี้ยงนกแบบหนู หม่ามี้ไม่เคยเชียร์เลยสักคน ได้แต่บอกว่า “นกพันธุ์นี้อายุยืนได้ถึง 45 ปีเลยนะ ถ้าเราตาย อาจจะต้องยกเป็นมรดกให้ลูก / ไอคิวเปียกปูน ยังกะเด็กสองขวบเลยนะ ดื้อเงียบ รู้มาก แถมกวนตี_สุดๆ / ถ้ายังไม่อยากให้นิ้วเลือดอาบ อย่าเอานกแก้วมาเลี้ยง” ดูเอาเถอะ...หม่ามี้ต้องรักหนูมากแน่ๆ !! เอาเป็นว่าถ้าใครอยากพิสูจน์ว่าหม่ามี้พูดจริงรึ เปล่า แวะมาเล่นกับเปียกปูนได้นะ รับรองว่านิ้วไม่ขาด หนูสัญญา

เปียก ปูน


ปลา

กัด พวกเราคือกลุ่มนายแบบนางแบบของ พี่รุต นิเทศรุ่น 25 เขาไม่ได้ตั้งชื่อให้พวกเราหรอก เพราะเรามีกันกรุ๊ปใหญ่มาก จ�ำกันไม่หวาดไม่ไหว พี่รุตเลี้ยงพวกเราไว้เป็นแบบถ่ายรูป ส่วนหนึ่งก็ต้องขอบคุณพี่รุตเขาน่ะนะ ที่ถ่ายพวกเราซะ ขึ้นกล้องเชียว จนดังไประดับโลกเชียวแหละ! ก่อนจะมาอยู่กับพี่รุต พวกเราก็อยู่ตามตลาดนี่แหละ พี่เขาก็ไปแคสท์พวกเราที่หน้าตาดีๆ หรือไม่ก็พวกที่มีคาแรคเตอร์โดดเด่นขึ้นกล้อง มาเลี้ยงไว้ที่บ้าน พอมาอยู่บ้านพี่รุต พวกเราก็อยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ 30 - 40 ตัว แต่ไม่ค่อยได้เจอกันเท่าไร เพราะพวกเราหัวร้อนง่าย แค่มองหน้า หรือเหยียบเงากันหน่อยเป็นไม่ได้ ของมันจะขึ้น! มาเดะ! มองหน้าหาเรื่องเหรอวะ! ยังไง ยังไง ก็มาดิค้าบ!! แง่งๆๆๆ แต่นอกจากเรื่องนิสัยใจร้อนพร้อมมีเรื่อง (กับพวกเดียวกัน) พวกเราถือว่าเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายนะ เวลาที่พี่รุตเขาต้องเดินทางไปไหนมาไหนนานๆ พวกเราก็ไม่ต้องการอะไรมาก แค่น�้ำสะอาด อาหารเม็ดก็อยู่ได้แล้ว หรือถึงจะไม่ได้อาหารหลายๆ วัน พวกเราก็ยังอึด อยู่ได้ ไม่เรื่องมาก แต่ที่น่าเศร้าคือพวกเราอายุไม่ค่อยยืน ปีกว่าๆ ก็ตายแล้ว แต่ระหว่างที่มีชีวิตอยู่ พวกเราก็จะใช้ชีวิตให้สวยงามเฉิดฉายที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ โดยเฉพาะ เวลาพี่รุตเขาถ่ายรูป พวกเราก็แข่งกัน อวดเกล็ด สะบัดครีบ โชว์โฉมกันเต็มที่ ถ้าอยากดูรูปงามๆ ของพวกเราก็รอดูตามงานของพี่รุตเขาละกัน ที่เว็บไซต์ 500px.com/bluehand หรือจะไปพลิกหาโฟโต้บุ๊คของพวกเราก็ได้นะ ชื่อว่า Betta Paradiso น่ะ


สวัสดี เราชื่อดาวพระศุกร์ หรือเรียกว่าด�ำเฉยๆก็ได้นะ คนแถวนี้เขาเบื่อชื่อเก่าเราละ เดี๋ยวนี้เรียกแต่ด�ำ เราเป็นควายตัวเมีย ตอนนี้อาศัยอยู่ที่สวนของ พี่แสน - พรชัย แสนชัยชนะ รุ่น 25 ที่อ�ำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ที่สวนเขามาก็สองปีละ

ที่เราได้มาอยู่ที่นี่เพราะว่าพี่แสนเขาน่ะใจดี ปกติคนทั่วไปเค้าไปไถ่ชีวิตโคกระบือ ก็แค่เอาเงินมาบริจาค ให้ชิมหญ้าหนึ่งที แล้วก็กรวดน�้ำกลับบ้าน แต่เพื่อนเรายังยืนหน้าละห้อยอยู่ในวัดเหมือนเดิม ไม่ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเลย แต่พี่แสนเขาอยากให้การไถ่ชีวิตเพื่อนๆ เรามันได้บุญจริงๆ ก็เลยเอาเรามาอยู่ด้วย แล้วดูเถอะ แค่หญ้าก็ต้องกินเป็นไร่ละ (จริงๆควายชอบกินหญ้า สุดๆเลยนะ ฟางเนี่ยทนกินได้แค่ตอนหน้าแล้งเท่านั้นแหละ เพราะมันไม่มีสารอาหารอะไรเลยน่ะ) แถมด้วยวัยด้วยอะไร ต้องมีค่ายาค่ารักษาพยาบาลอีก เรียกว่ามีค่าเลี้ยงดูเยอะเหมือนกัน

แล้วพี่แสนเขายังไปศึกษามาอีกว่าควายอย่างเราควรมีพื้นที่ใช้ชีวิตเท่าไร เขาก็ท�ำคอกให้อยู่ มีปลักให้ลงไปแช่สปา ว่ายน�้ำเล่น ตกค�่ำยุงมันจะเยอะหน่อย เพราะน�้ำขังในนา เขาก็กางมุ้งให้ตอนกลางคืน

จริงๆ พวกเราน่ะไม่ได้เป็นสัตว์ที่โง่อย่างที่พวกมนุษย์ชอบเอาไปด่ากันนะ เอาง่ายๆ เรื่องกินอยู่เนี่ย พวกวัวน่ะ กินไปขี้ไปทั่วคอก แต่พวกเราน่ะ มีวินัยกินตรงไหนก็ขี้ตรงที่เดิมตลอด แล้วถ้าแขกไปใครมา คนไหนคุ้นหน้า พวกเราจ�ำได้นะ มาเล่นด้วยกันได้!

ด�ำ

ดาวพระศุกร์



กระดาษคําถาม

เลขประจําตัวนิสิต

ชื่อฉายา

เรือ่ ง : ติง้ 45 ภาพประกอบ : เเพรวชัว่ 53

ผู้คุมสอบ

1

เด็กนิเทศทั้ง 7 คนนี้ล้วนแต่มีชื่อเล่นเป็นสัตว์โลกน่ารักทั้งสิ้น คุณรู้หรือไม่ว่าสัตว์ตัวใด เป็นชื่อเล่นของพวกเขาและเธอเหล่านี้

1

a b

2 3

c

4

d 5

e f

6 7

2

g

เป็นเรื่องปกติที่คนเราจะชื่อซ�้ำ ท�ำให้ต้องมีชื่อสร้อยมาห้อยท้าย เพื่อให้จดจ�ำและแยกแยะได้ง่าย และหนึ่งในชื่อสร้อยที่นิยมใช้คือชื่อของสัตว์ต่างๆ นั่นเอง ถามว่าชื่อสร้อยใดต่อไปนี้ ไม่มีอยู่จริง a. จิบ ๊ ควาย

b. บุ๋มควาย

c. แบงค์ควาย


3 เด็กนิเทศทั้ง 5 คนนี้ต่างก็มีชื่อสัตว์เป็นชื่อสร้อย

ข้อนี้เราขอท้าให้คุณเรียงล�ำดับขนาดของสัตว์ในชื่อสร้อยจากเล็กไปใหญ่

a. มาย 48 b. เกตุ 42 c. นิว 49

d. พี ท 41 e. เจน 46

4

ในสมัยเรียน ทั้งสี่คนนี้ได้รับการเรียกขานนามว่า ‘หมี’ เพราะทุกคนต่างมีใบหน้าละม้าย คล้ายกับหมี แต่รู้หรือไม่ว่ากันที่มีชื่อเล่นว่า ‘หมี’ จริงๆ

a

b

c

d

2-f

7-a

ทวิตตี้ 46

ปูกะตอย 54

ถามหลายครัง้ หลายหน ว่าท�ำไมชือ่ ช่อน ก็ไม่ยอมตอบสักที มันต้องมีอะไรแน่ๆ

ไม่ตอ้ งสงสัยเลยว่า... ท�ำไมชือ่ ทวิตตี้ เหมือนกันซะขนาดนี้

5-b

6-e

ช่อน 40

3-g

โลมา 53 ไบซัน 42 อดี ต นั กกีฬาว่ายน�ำ้ ชือ่ นีไ้ ม่ได้มา ประจ�ำโรงเรียน เพราะโชคช่วย ได้มาเพราะความถึกล้วนๆ พ่อตัง้ ให้เพราะไปด�ำน�ำ้ แล้วเจอโลมา (ดีนะ ไม่เจอปลาไหลซะก่อน)

ช้าง 52

น้องไม่ได้ชอื่ ปูกระตอยทอดนะ แต่ทเี่ อารูปนีม้ าเพราะปูกะตอยสด มันไม่สวย... ชือ่ น้องนีย่ นู กี มาก

4-d

ชายทีต่ วั เล็กทีส่ ดุ ในรุน่ แต่ไม่เป็นไรชือ่ ใหญ่กพ็ อ

เก้ง 15

1-c

ใครๆ ก็รจู้ กั พีเ่ ก้ง แต่ไม่รตู้ วั เก้ง หน้าตาเป็นยังไง นี!่ เราเอามาให้ดแู ล้ว

(เก้งในรูปมีชอื่ สามัญว่าเก้งหม้อ ไม่มอี ะไร แค่บอกเฉยๆ)

กระดาษค�ำตอบ

1


2

บุ๋มสวยเองจ้า~

มีอยู่จริงทุกชื่อเลยจ้า

จิ๊บควาย

ไม่ใช่ใครอื่น..อาจารย์จิ๊บรุ่น 25 สาเหตุ ที่ ไ ด้ ส ร้ อ ยนี้ ก็ เ พราะสมั ย เรี ย นอาจารย์จิ๊บ มัก หวีผมแสกกลาง จนท�ำให้เส้นผมแบะออกจนดูเหมือน เขาควาย จึงได้สร้อยนี้มา ซึ่งรุ่น 25 ทั้ง รุน่ มีจบิ๊ เดียว ก็ไม่รจู้ ะตัง้ ชือ่ สร้อยไปท�ำไม

บุ๋มควาย

เนื่องจากรุ่น 31 มี สองบุ๋ม และหนึ่งบุ๋มในนั้นก็ได้ชื่อว่าบุ๋ม สวย อีกคนเลยต้องชื่อบุ๋มควาย แทน ซึ่งคนที่ตั้งชื่อบุ๋มควายให้ก็ ไม่ ใ ช่ ใ ครอื่ น ...บุ ๋ ม สวยนั่ น เอง (เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด)

แบงค์ควาย

นี่ก็กรณีเดียวกันกับอาจารย์จิ๊บ เพราะรุ่น 32 เองก็มีอยู่แค่แบงค์เดียว แต่ที่ได้ชื่อสร้อยนี้มา ก็เพราะ เอ่อ.. ใช้ค�ำว่าอะไรดีล่ะ เอ่อ.. ‘ไม่เก่งด้านวิชาการ’ จึงได้สร้อยนี้ว่า แต่ว่าไม่ได้นะ ได้ ข่าวว่าเดี๋ยวนี้เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศแล้ว ธรรมดาซะที่ไหน

3

ล�ำดับที่ถูกต้องคือ b-c-d-e-a เกตุ ‘ปลาบู่’ 42

สาเหตุ ที่ ไ ด้ ชื่ อ สร้ อ ยนี้ ม า เพราะมี ใ บหน้ า ละม้ า ยคล้ า ย ปลาบู่ที่ว่ายไปชนเขื่อน ขนาด อันดับ โดยปกติของปลาบู่ที่โตเต็มที่อยู่ 5 ที่ประมาณ 20-30 เซนติเมตร

นิว ‘แมวด�ำ’ 49

ชื่อสร้อยนี้ได้มาตั้งแต่สมัย เรียนมัธยม ซึ่งเจ้าขอปิดไว้เป็น ความลับด�ำมืด ไม่สามารถเปิด เผยให้เราทราบได้ ขนาดล�ำตัว อันดับ โดยประมาณของแมวด�ำคื อ 4 35-45 เซนติเมตร

เจน ‘ปลากระบิ๋ม’ 46

ปลากระเบนที่ มี ข นาด ใหญ่ที่สุดคือปลากระเบนราหู อันดับ ความยาวถึงจากปลายปีกถึง 2 ปลายปี ก ที่ เ คยบั น ทึ ก ได้ คื อ 6.7 เมตร...เอ๊ะ! แต่เดี๋ยวนะ ชื่อสร้อยน้องเขาคือปลากระบิ๋มนี่ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ ปลากระเบนล่ะ ไม่เห็นเข้าใจเลย (พยายามอย่าผวนค�ำ)

มาย ‘ก็อตซิลล่า’ 48

ชื่อสร้อยคือ ก็อตซิลล่า ซึ่งแผลงมาจากชื่อจริงของเจ้า ตัวว่า ‘กษิรา’ อันดับ จากข้อมูล ก็อตซิลล่ามี 1 ขนาดไม่แน่นอน เดี๋ยวสูง เดี๋ยวเตี้ย แล้วแต่ผู้สร้าง แต่ พีท ‘หมีพูห์’ 41 เคยท�ำสถิติไว้สูงสุดที่ 318 เมตร ถึงแม้จะมีชื่อสร้อย ได้มาจากใบหน้าที่ละม้าย เป็นสัตว์เลื้อยคลานกลายพันธุ์ขนาดยักษ์ แต่ตัวจริง ตัวการ์ตูนวินนี่ เดอะ พูห์ แต่ ของมายนั้นตัวเล็กกระจิ๋วเดียว ตัวการ์ตูนนี้ไม่มีการระบุขนาด ที่ชัดเจนไว้ แต่ถ้าประมาณจาก อันดับ สายตาจากเวอร์ชั่นภาพยนตร์ 4 3 ของดิสนี่ย์ เจ้าพูห์จะมีความสูง ไม่มีใครชื่อเล่นว่า ‘หมี’ ทั้งนั้นแหละ ประมาณครึ่งหนึ่งของคริสโตเฟอร์ โรบิน ซึ่งเป็นเด็กชาย a. ปิ๊บปอนด์ 45 c. หญิง 43 ชาวตะวันตกอยู่ 15 ปี โดยเด็กในวัยนี้จะมีความสูงเฉลี่ย ประมาณ 170 เซนติเมตร ดังนั้นความสูงโดยประมาณ b. ลูกหมี 48 ของเจ้าพูห์จะอยู่ที่ 85 เซนติเมตร d. เคน 48 (ไม่ได้ชื่อหมี ชื่อลูกหมี)


สัมภาษณ์หมูเป็ดไก่แฮม เรื่อง : เก้ง 15 ภาพประกอบ : เจณ 54


สนทนา วิสา

สัตว์





Model: มาดามมด 39 Photographer: ปุย 40 Stylist: เมลลี่ 52 Make up: ป๋อมแป๋ม Hair do: เหมียว Prop: ทิด สนใจติดต่องาน Dreamer Studio Tel. 063-161-7798 Dreamer Studio dreamerstudiobkk


วาด : ต้นน�้ำ 53


อาจจะดูโหดร้ายไปหน่อย เเต่นกี่ เ็ ป็นเรือ่ งจริงสมัยทีพ่ หี่ มู ประภัทร์ รุน่ 3 ยังเรียนอยู่ เเละคนต้นคิดเเบบทีจ่ ะเเปรรูปหมูกไ็ ม่ใช่ใครอืน่ ก็พหี่ มูอนั เป็นทีร่ กั ยิง่ ของพวกเรานีเ่ อง ทางทีมงานสายใยขอให้นอ้ งหมูอโหสิกรรมให้ดว้ ย เเละสัญญาว่าเราจะไม่ฆา่ หมูอกี เพราะเราจะไปซือ้ กินทีต่ ลาดสามย่านเเทน ...เอวัง


ท�ำไมชื่อเเมว?

ห้าปีเเล้วที่เเมวมาอยู่กับเรา เท้าความก่อนว่า เเมวในที่นี้คือหมาคณะตัวปัจจุบัน (เเต่จริงๆ ยังมีอยู่อีกหนึ่งตัวชื่อเเพะ เเต่ว่าเเพะไม่ค่อยเป็นมิตรกับใครเท่าไหร่ สนิทเเต่กับพี่ยาม เด็กๆ เลยไม่ค่อยรักเเพะ) มีหลายครั้งที่ใครหลายคนจะงงว่าเป็นหมา เเล้วท�ำไมชื่อว่าเเมว? มีทั้งกรณีที่พี่ศิษย์เก่า กลับมาคณะ เเล้วได้ยินว่าคณะเลี้ยงเเมว เดินดูทั่วใต้ถุน ก็เห็นว่ามีเเต่หมา หรือว่าตอนพา หมาไปหาหมอ หมอก็จะงงๆ หน่อยเวลาเรียกชื่อ ซึ่งเหตุผลจริงๆ เเล้ว ที่เเมวได้ชื่อว่าเเมว ก็เพราะความประชาธิปไตยของเด็กนิเทศเนี่ยเเหละ มีเรื่องเล่าว่า ตอนเเมวเพิ่งเข้ามาอาศัยที่ใต้ถุน เเมวได้ชื่อเรียกอยู่หลายชื่อ บางคนเรียก ว่าเเฮร์รี่ เพราะเเมวเข้ามาตอนคณะจัดงานกีฬาสีตีมแฮร์รี่ พอตเตอร์พอดี เลยเรียกชื่อตาม ตีมงาน บางคนก็เรียกว่าหมี อาจเป็นเพราะว่าเเมว มีลักษณะคล้ายๆ ตุ๊กตาหมี ดูน่ากอด ส่วนบางคนก็เรียกว่าเเมว ด้วยเพราะนิสัยบางอย่างนั้น คล้ายๆ กับเเมว (ท�ำไมคณะเราชอบ ตั้งชื่อหมาคณะเป็นสัตว์ชนิดอื่นนะ มีทั้งเเมว มีทั้งหมี มีทั้งเเพะ น่าสงสัยจัง) เเต่ว่าหมาตัวหนึ่งไม่ควรมีชื่อเรียกถึงสามชื่อ เเละดูเหมือนทุกคนก็ตกลงกันไม่ได้ด้วยว่า ชื่อไหนเหมาะสมที่สุด จนกระทั่งมีคนเสนอไอเดียว่าให้จัดเลือกตั้งชื่อหมาคณะกัน เเละหลัง จากตั้งโพลในเฟซบุ๊กให้ทุกคนเข้ามาโหวต ผลออกมาว่าให้ใช้ชื่อว่า ‘เเมว’ อย่างเป็นทางการ

นิสัยเเบบเเมว?

เเมวมีลักษณะที่เป็นสุนัขพันธ์ุผสมระหว่างโกลเด้นรีทรีเวอร์กับอะไรสักอย่าง คือมีลักษณะ ของขนเเละสีเหมือนกับโกลเด้นฯ เเต่ตา่ งตรงหน้ากับขนาดตัวทีเ่ ล็กกว่า ซึง่ นอกจากจะมีรปู ร่าง เป็นพันธุ์ผสมเเล้ว ก็ยังมีนิสัยเป็นพันธ์ุผสมด้วย นั่นคือผสมกันระหว่างหมากับเเมว มีไม่กี่คน ในคณะที่เเมวรักเเละผูกพันด้วย ที่เวลาเรียกเเล้วจะหันเเละเดินมาหา หรือเมื่อเห็นหน้าเเล้ว จะกระดิกหางเเละส่งเสียงร้อง เเต่กับคนส่วนใหญ่นั้นเวลาเข้าไปทักทายหรือเล่นด้วย เเมวก็


เรื่อง : ติ้ง 45 ภาพประกอบ : แพรวชั่ว 53

จะนิง่ ๆ เเละเฉยเมย ไม่คอ่ ยตอบสนองอะไรเท่าไหร่ คล้ายๆ กับเเมวทีไ่ ม่คอ่ ยเเยเเสเวลาเจ้าของเรียก ในเเต่ละวัน เเมวจะมีที่นอนต่างๆ กันตามช่วงเวลา ตอนเช้าจะนอนเอาคางเกยขาโต๊ะอยู่ใกล้ๆ กับคนที่ มานัง่ รอเข้าเรียนในคาบเช้า ส่วนตอนเทีย่ งก็จะไปนอนตรงทางเดินหน้าลิฟท์ คอยคนทีเ่ พิง่ เลิกเรียนลงมาจากตึก พอตกบ่ายก็จะไปนอนตรงทางไปโรงอาหาร ท�ำตาปรือๆ ใส่คนที่โดดเรียนมากินข้าว เเละตอนเย็นจะไปนอน ใต้ร่มต้นไทร รอส่งคนที่ก�ำลังจะกลับบ้าน ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่เดินผ่านเเมวจะมีพฤติกรรมคล้ายๆ กันก็คือ ถ้าไม่ เรียกชื่อ ลูบหัว ยิ้มให้ ก็ขอถ่ายรูปด้วย จากนั้นจึงค่อยไปท�ำธุระตัวเอง เเต่ปัญหาคือช่วงหยุดยาวหรือปิดเทอม ที่ใต้ถุนจะเงียบเหงาเเละร้างคนมาก เเมวจะหงอยเเละซึมลงไป อย่างเห็นได้ชัด เเมวจะพยายามเดินไปหาคนเเละไปนอนอยู่ใกล้ๆ เเละถึงเเม้ว่าใครคนนั้นจะเรียกเเมวด้วย น�้ำเสียงเอ็นดูเพียงใด เเมวก็จะกลับเข้าสู่โหมดปกติคือนิ่งๆ เฉยๆ ตามเดิม เเม้หลายคนจะมองว่าเเมวนั้นออก จะดูหยิ่ง เเต่จริงๆ เเล้ว เเมวติดคนเเละขี้เหงา ไม่ค่อยมีใครเห็นเเมวแอบไปนอนเงียบๆ ตัวคนเดียว เเถมเป็น หมาที่มีใบหน้าดูหงอยๆ ตลอดเวลา เด็กนิเทศจึงอดที่จะเอ็นดูในความขี้เหงาของเเมวไม่ได้

อยู่กับเเมว

ไม่มีใครเคยรู้เเมวมาจากไหน ใครเคยเป็นเจ้าของ จึงไม่ค่อยรู้ความหลังของเเมวเท่าไหร่ เเม้อายุก็ไม่รู้ เพราะตอนที่มาถึงคณะ เเมวก็เป็นหมาตัวโตเต็มวัยเเล้ว เเต่หลังจากพาไปหาหมอหลายครั้ง เราก็พอจะรู้อายุ ของเเมวคร่าวๆ จากคุณหมอว่าเเมวนั้นเเก่มาก ที่ไม่เคยมีใครเห็นเเมววิ่งพล่านไปทั่ว ก็คงเพราะเรื่องอายุนี่เอง เเถมตอนนี้เเมวยังมีปัญหาเรื่องขาเเละกระดูก ท�ำให้ลุกเดินไปไหนค่อนข้างล�ำบาก ต้องได้รับการดูเเลอย่าง เอาใจใส่ซึ่งก็มีน้องๆ นิเทศใจดีที่คอยอาบน�้ำ ให้ยา เเละพาไปหาหมอ รวมไปถึงเด็กนิเทศจ�ำนวนมากที่คอย ลูบหัว ลูบหาง เเละถ่ายรูป ซึ่งช่วยรักษาอาการเหงาๆ ของเเมวไว้ เรามักมีค�ำพูดติดปากกันว่า “สี่ปีในคณะนี้ มันสั้น” เอาไว้คอยบอกกันเเละกันในยามเหนื่อย ยามเศร้า เเม้ในยามเหงาเเต่ในกรณีของเเมว “ห้าปีในคณะนี้...” นั้นเป็นอย่างไร ส�ำหรับหมาตัวหนึ่ง มันจะสั้นหรือยาว เราไม่อาจรู้ได้เลย เพราะเเมวไม่เคยพูด หรือจริงๆ มันก็ไม่จ�ำเป็น เพราะเเค่เเมวนอนอยู่เฉยๆ ก็สามารถรักษา อาการเหนื่อย เศร้า หรือเเม้เเต่เหงาให้กับคนเเถวๆ นี้ได้ โดยไม่ตอ้ งพูดเเม้ค�ำเดียว อีกอย่างเเมวเป็นหมาทีไ่ ม่มเี จ้าของ เเมวมีเเต่เพื่อน ดังนัน้ ถ้าใครผ่านไปผ่านมา รบกวนฝากลูบหัวเเมวเบาๆ ติดตามความเหงาของเเมวได้ที่ IG : catcatatnitade สักหนึ่งทีเพื่อรักษาอาการเหงากันให้บ้าง ร่วมสบทบทุนค่ายาเเละรักษาพยาบาลเเมวได้ที่บัญชีของเเมว ในฐานะเพื่อนกันก็ยังดี ธนาคารกสิกรไทย เลขที่บัญชี 049-3-54598-1


เรียบเรียง : ออยจิ 53 ภาพประกอบ : เจณ 54

บอกอจ๋อง ตอบ จดหมาย

อยู่กันมา 39 ฉบับแล้ว จ�ำไม่ได้ว่าตอบครบทุกฉบับไหม และถึงแม้ประมาณ 35 ฉบับที่ส่งออกไป จะลงชื่ออีเมล์ที่เปิดรับค�ำถามผิดมาตลอด แต่โลกแห่งการสื่อสาร ก็ยังท�ำให้เรามีค�ำถามหลั่งไหล จากช่องทางอื่นๆ เข้ามามากมาย และมีเนื้อหาที่หลากหลายมากขึ้นทุกวัน ค�ำถามของใครยังไม่ได้รับค�ำตอบอย่าเพิ่งเสียใจนะครับ เรายังมีสายใยไปอีกนาน


พี่ จ๋องคิดว่า วิชาอะไรสนุกที่สุดในนิเทศฯ (บอส 46)

ในฐานะคนที่ลงทะเบียนเรียนมากถึง 149 หน่วยกิต แต่ขึ้นเรียนน้อยสุดๆ อย่าง พี่คงไม่เหมาะสมนัก ถ้าจะถือให้ค�ำตอบพี่เป็นบรรทัดฐาน เพราะมีหลายวิชา พี่แทบจะไม่ได้เข้าเรียน เช่น วิชา Intro to PR พี่เข้าเรียน 1 ครั้ง ที่วันนั้นได้ เข้าเรียนก็เพราะอาจารย์ปรมะ สตะเวทิน เดินมาตามด้วยตัวท่านเอง ขณะที่พี่นั่งอ่านหนังสือกินกาแฟอยู่ที่ใต้ถุน และในมือก็น่าจะคีบบุหรี่อยู่ด้วย “จ๋อง วันนี้ให้เกียรติขึ้นเรียนวิชาผมหน่อยได้มั้ย” พี่จ�ำไม่ได้ว่าตอบอะไรไป แต่ก็เดินตามอาจารย์เข้าห้องเรียนแต่โดยดี นั่งเรียนไปประมาณ 1 ชั่วโมง อาจารย์ก็พูดขึ้นว่า “ขอให้พวกเราตบมือให้เกียรติจ๋องที่เข้ามาเรียนเป็นครั้งแรกหน่อย” พี่ก็รู้ในทันทีว่า นี่คือการล่อซื้อ มันจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ที่พี่ไม่ได้ขึ้นเรียนวิชานี้อีกเลย แต่ถึงกระนั้น ก็มีอยู่หลายวิชาที่พี่ขึ้นเรียนด้วยความสนุกสนาน อย่างเช่น Film Critic สอนโดยอาจารย์แดง กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน ที่เปิดโลกทัศน์ อย่างสุดๆ หรือวิชา Lang Comm ที่เรียนกับ อ.ชมัยพร แสงกระจ่าง ที่ท�ำให้ ค้นพบและมั่นใจในทักษะของตัวเอง แถมอาจารย์ยังเป็นคนน่ารักอย่างมาก ในการเสนอให้พี่ไปนั่งเขียนงานสอบไฟนอล เก้าอี้ที่จัดวางเป็นพิเศษตรงระเบียง หน้าห้องสอบ จะได้เขียนงานไป และสูบบุหรี่ไปได้พร้อมๆ กัน ...อาจารย์ครับ รู้มั้ยว่ามันเป็นนิสัยไปแล้ว อย่างไรก็ดี หากจัดอันดับวิชาที่สนุกที่สุดในความคิดเห็นของพี่นั้น พี่ยกให้วิชาภาควาทฯ ชื่อวิชา “การโต้แย้งและแสดงเหตุผล” แม้ว่าจะจ�ำ หลักการอะไรไม่ได้เลย แต่โดยคอนเซ็ปต์แล้ว เค้าสอนให้เรารู้จักวิธีเถียง รู้จักวิธีหาทางออกร่วมกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล ขีดเส้นใต้ตรงค�ำว่า “ร่วมกัน” ซึ่งพี่เห็นว่า น่าจะเชิญคนไทยทั้งหลาย มานั่งเรียนกันให้หมด น่าจะเป็นบุญของประเทศ ถ้าบอส 46 ไม่เห็นด้วย จะลองเถียงกันมั้ยล่ะ


ท�ำไมในน�้ำมีปลาคะพี่ (แพร 54)

เพราะปลายังขึ้นบกไม่ได้ครับ ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และทฤษฎีวิวัฒนาการ ที่ยังคง เป็นที่เชื่อถือมากที่สุดในตอนนี้ สิ่งมีชีวิตในโลกในปัจจุบันล้วนก�ำเนิดมาจากทะเลครับ เริ่มจาก สิ่ ง มี ชี วิ ต เซลล์ เ ดี ย วจนมาถึ ง สิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ เ ริ่ ม ซั บ ซ้ อ นเป็ น หลายเซลล์ ที่ อ าศั ย อยู ่ ใ นท้ อ งทะเล วิวัฒนาการจนกลายเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ สัตว์เลื้อยคลาน และเริ่มขึ้นมาอยู่บนบกได้ จนเป็น บรรพบุรุษให้สัตว์บกทั้งหมดบนโลกใบนี้ ส่วนปลาและรวมถึงสัตว์น�้ำทั้งหลาย ซึ่งอาจจะอยู่ในน�้ำจืด น�้ำกร่อยหรือน�้ำเค็มก็ตาม ยังคง ต้องอาศัยการได้รับออกซิเจนเพื่อการหายใจผ่านน�้ำด้วยเหงือกของมัน ต่างจากสัตว์บกที่หายใจ เอาออกซิเจนจากอากาศได้โดยตรง ปลาเลยยังต้องอาศัยอยู่ในน�้ำ จนกว่าจะมีวิวัฒนาการที่ สามารถมีระบบหายใจอีกแบบ ซึ่งพี่เชื่อว่า วันนั้นอาจจะมาถึงในอนาคต แต่ไม่น่าเร็วกว่าอีก 1 ล้านปีข้างหน้า ไว้รอแพร 54 มาถามใหม่เมื่อวันนั้นมาถึง ระหว่างนี้ขอให้สัตว์น�้ำน้อยใหญ่ในทะเล อยู่ในอาณัติของ Aquaman ไปพลางๆ ก่อน เพื่อรอ วิวัฒนาการและได้โปรดพยายามหลีกเลี่ยงขยะพลาสติก เพื่อสุขภาพที่ดีของเหงือก และช่องปาก ส่วนอันนี้ไม่ได้ถามมา แต่เป็นข้อความที่เขียนมาเพื่อแสดงความประสงค์ (ดี) ในกล่องข้อความทาง facebook fanpage - สายใย “พี่ ธิดา รุ่น 13 ค่ะ ตรวจค�ำผิดให้ได้ ใช้ photoshop, illustrator, indesign ได้ แต่ตามประสา “ส-ว“ จะออกแบบให้จี๊ดจ๊าด อย่างที่ท�ำกันมานั้นไม่ได้ อิอิ ถ้ามีการออกแบบให้ก่อน ยินดีลงมือท�ำให้ค่ะ”

ก่อนอื่นต้องขอบคุณพี่ธิดา 13 เป็นอย่างสูงนะครับที่เข้ามาพูดคุยทักทายกัน และยังกรุณาเป็นอย่างยิ่ง ทีมงานสายใยซึ่งน�ำโดย บ.ก.อ�ำ 30 ในใจลึกๆ คงไม่ค่อยกล้าใช้งานแรงงานรุ่นพี่มากนัก แต่ถ้าพี่ธิดาไม่ติดอะไร มาเริ่มฉบับหน้าเลยได้ไหมครับพี่ ส่งคำ�ถามมาพูดคุยกันได้ทาง khunjonk@yahoo.com (อันนี้ถูกแล้ว) หรือทาง facebook fanpage – สายใย หรือทางไหนก็ได้ แล้วจะทยอยตอบให้ในสายใยฉบับต่อๆ ไปนะครับ


วาด : ต้นน�้ำ 53



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.