ฉบับพิเศษ ‘ในหลวงรัชกาลที่ ๙’
พระราชด�ำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “ผู้มีหน้าที่สื่อข่าวก็ดี หรือมีหน้าที่ประสานความเข้าใจระหว่างคนหลายชาติหลายชั้น ก็ดี ควรส�ำนึกอยู่เสมอว่างานของเขาเป็นงานส�ำคัญ และมีเกียรติสูง เพราะหมายถึง ความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ในการร่วมกันสร้างสันติสุขให้แก่โลก การแพร่ข่าวโดยขาด ความระมัดระวังหรือแม้แต่ค�ำพูดง่ายๆ เพียงนิดเดียว ก็สามารถท�ำลายงานที่ผู้มีความ ปรารถนาดีทั้งหลายพยายามสร้างไว้ด้วยความยากล�ำบากเป็นเวลาแรมปี หากจะแก้ตัว ว่าการพูดพล่อยๆ เพียงสองสามค�ำนี้ เป็นเรื่องเล็ก ไม่น่าจะเก็บมาถือเป็นเรื่องใหญ่เลยก็ ไม่ถูก เหมือนฟองอากาศนิดเดียว ถ้าเข้าไปอยู่ในเส้นเลือด ก็จะสามารถปลิดชีวิตคนได้ ทั้งคน และน�้ำตาลหวานๆ ก้อนเล็กนิดเดียว ถ้าใส่ลงไปในถังน�้ำมันรถ ก็จะท�ำให้ เครื่องจักรดีๆ ของรถเสียได้โดยสิ้นเชิง” พระราชด�ำรัสพระราชทานแก่นักธุรกิจและนักหนังสือพิมพ์ ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโพลิทัน นครนิวยอร์ก ระหว่างเสด็จฯ เยือนสหรัฐอเมริกา วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๑๐
ใบหยก
หนึ่งทุ่มตรง วันที่ 13 ตุลาคม 2559 เราสองคนเชื่อว่าคนไทยทุกคนคงตกใจ เสียใจ จุก ท�ำอะไรไม่ถูก เสมือนกับว่า โลกได้หยุดนิ่งไปชั่วขณะ ถ้าจะเปรียบก็คงเหมือนภาพที่ เห็นเบลอ มองไปทางไหนก็ไม่ชัดไปหมดเลย พวกเราชาวนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ก็เช่นกัน เราตกใจ เราเสียใจ เราจุก และเราท�ำอะไรไม่ถูก จะให้เราท�ำอะไรถูกได้ยงั ไง ในเมือ่ ตลอดชีวติ ของพวกเรา เราเกิดมาในรัชกาลที่ 9 คณะ ของเราก็เกิดมาในรัชกาลที่ 9 บัณฑิตคนแรกจนถึงบัณฑิตคนสุดท้ายที่รับพระราชทาน ปริญญาบัตร ก็เป็นบัณฑิตในรัชกาลที่ 9 เหมือนกันหมดทุกคน แม้ความรู้สึกตกใจจะหมดไปแล้ว แต่ความรู้สึกเสียใจและคิดถึงของพวกเรา ก็ยังคง มีอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ชีวิตต้องเดินหน้าต่อไป พวกเราชาวนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ หลายคน ทั้งรุ่นเก่า กลาง และใหม่ จึงได้แสดงความรักและระลึกถึงพระองค์ รวมกัน เป็นกลุม่ บ้าง คนเดียวบ้าง ด้วยการท�ำสิง่ ทีต่ นเองถนัด ทัง้ ท�ำหนัง วาดรูป แต่งเพลง ร้องเพลง เขียนบทความ และอื่นๆ อีกมากมาย สมาคมฯ ของเราก็ได้รว่ มกันจัดท�ำสายใยฉบับนีเ้ พือ่ ร�ำลึกถึงพระเจ้าอยูห่ วั ฯ รัชกาลที่ 9 …พระเจ้าอยู่หัวฯ ที่จะสถิตอยู่ในใจของพวกเราชั่วนิรันดร์ ด้วยส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้าฯ สมาคมนิสิตเก่านิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ล. วิฏราธร จิรประวัติ และ จินา โอสถศิลป์ รุ่น 18
ซัดสาดพิรุณโถม ครื้นครันโครมหาญทายท้า เปียกเปื้อนทั้งกายา ยังยืนกล้าหยัดสู้ลม หนึ่งมือปกป้องพ่อ อีกมือขอประคองก้ม สายฝนพาพร่างพรม ห่อนใจข่มเสด็จคืน สุดเศร้าระทมลึก ย�้ำจิตนึกอยากขัดขืน พลีชีพให้พ่อฟื้น คงแย่งยื่นชีพตายแทน ความจริงคือความจริง แน่แท้ยิ่งกว่าใดแม้น เสด็จกลับสู่เมืองแมน จากแว่นแคว้นสุดอาลัย จึ่งพ่อประทับฟ้า ดุจดาราประดับไว้ พสกถ้วนล้วนอาลัย กราบบาทไท้ใจดิ่งจม ประพันธ์โดย บุญญ์พัชรเกษม เสริมวัฒนากุล (เจ็ง) รุ่น 15
ทรงเป น แบบอย า งแห ง ความพอเพพ ย ง หลอดยาสส พ ระทนต ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ า อยู ห ั ว รั ช กาลที ่ ๙
“
…มหาดเล็ ก มาทำความสะอาดห อ งสรง คิ ด ว า หมดแล ว มาเอาไป แล ว เปลล ่ ย นหลอดใหม ม าให เราบอกให ไ ปตามกลั บ มา เรายั ง ใช ต อ ได อ ี ก ๕ วั น …
Gum Alive
”
ขอน อ มรำลล ก ในพระมหากรุ ณ าธิ ค ุ ณ อย า งหาที ่ ส ุ ด มิ ไ ด
ข า พระพพ ท ธเจ า บรร ษ ั ท สหภั ณ ฑ กรุ ป (ประเทศไทย) จำกั ด ผู ผ ลล ต ยาสส ฟ ฟ น คอลบาเด น ท และยาสส ฟ ฟ น กั ม อะไลฟ
เรื่องจากปก ยุวรัตน์ สุรัตนาสถิตย์กุล หรือ ต่อ 43 เป็น คนท�ำงานกราฟิกในเอเจนซี่โฆษณาแห่งหนึ่ง ท�ำงานสื่อสารผ่านสื่อโฆษณา ออกแบบตรา สัญลักษณ์สนิ ค้าต่างๆ บ้าง แต่งานทีเ่ ขาออกปาก ว่าเป็นงานที่ภูมิใจที่สุดในชีวิต เป็นเพียงเลข ๙ ตัวเดียวเท่านั้น ผลงานของต่อ ซึ่งคือเลข ๙ ไทยที่ได้แรง บันดาลใจจากฉลองพระเนตร จากความเชื่อที่ ว่า คนไทยทุกคนมีภาพพระองค์ชัดเจนอยู่ใน ใจอยู่แล้ว เขาจึงอยากลดทอนรายละเอียด ต่างๆ ให้น้อยลงที่สุด เพื่อให้ทุกคนเห็น พระองค์ชัดที่สุดในภาพนี้ และเห็นว่าฉลอง พระเนตรเป็นสัญลักษณ์อย่างต้นๆ ที่คนไทย จะนึกถึงพระองค์ ด้วยที่พระองค์ทรงฉลอง พระเนตรตลอดเวลา ต่อเล่าว่า ตัวงานดัง้ เดิมเกิดขึน้ เมือ่ สองปีกอ่ น มี วั น หนึ่ ง ที่ เ ขานั่ ง ดู รู ป ในหลวงรู ป หนึ่ ง แล้ ว สั ง เกตว่ า ขาแว่ น ของพระองค์ ชี้ ขึ้ น เหมื อ น หางเลข ๙ พอไล่กลับมาดูกรอบแว่นก็คิดว่า น่าจะกลายเป็นเลข ๙ เต็มๆ ได้ ด้วยความกึ่ง บังเอิญกึ่งตั้งใจ หลังจากได้ลองดัดลองวาดดู ก็พบว่าสามารถแปลงฉลองพระเนตรให้กลาย
เป็นเลข ๙ ได้ และหลังจากทราบข่าวการ สวรรคตของพระองค์ ต่อจึงได้น�ำภาพที่เคยท�ำ ไว้เมื่อสองปีก่อนมาปรับแก้ใหม่ จึงได้ออกมา เป็นกราฟิกเลข ๙ ไทยที่ถูกแชร์กันจนคุ้นตา ด้วยความที่ตัวงานมีลักษณะเชิงสัญลักษณ์ ภายหลังถูกเผยแพร่ออกไปจึงมีผลตอบรับที่ หลากหลาย มีตั้งแต่คนที่เห็นเป็นเลข ๙ แบบ ลายมือเด็ก บ้างเห็นเป็นแว่นธรรมดา บ้าง ตี ค วามไปว่ า นี่ คื อ สายพระเนตรที่ ท อดมอง พสกนิกรชาวไทยมาตลอด 70 ปี หรือ บางคน ก็ลึกถึงขนาดที่ว่า นี่คือฉลองพระเนตรที่ท่าน ทรงถอดวางไว้ จากนั้นจะได้พักผ่อนอย่างสงบ อย่างแท้จริง นอกจากความหมาย งานชิ้นนี้ก็ยังท�ำงาน กับความรู้สึกของคนอย่างรุนแรง ต่อเล่าว่ามี บางคนที่เห็นแล้วร้องไห้ เพราะเห็นเป็นภาพ พระองค์ทรงฉลองพระเนตรซ้อนอยู่จริงๆ บ้าง ก็ขอบคุณต่อที่ท�ำผลงานชิ้นนี้ขึ้นมา ท�ำให้เขา เองเห็นว่าผลงานนั้นก่อเกิดความรู้สึกต่อผู้ชม หมู่มากเพียงไร เขาจึงรู้สึกว่าผลงานชิ้นนี้ได้ ท�ำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ ประสบความส�ำเร็จ เกินกว่าที่คาดคิดไว้เสียอีก
บ่ายวันหนึ่งกลางเดือนพฤษภาคม 2559 ฉันได้รับโทรศัพท์จากพี่สมภพ รุ่น 27 เลขา นายกสมาคมนิสิตเก่านิเทศศาสตร์สมัยที่แล้ว ว่ามี ‘โปรเจกต์ดีๆ’ อยากชวนท�ำ (ซึ่งปกติ เวลามีรุ่นพี่นิเทศฯ โทรมาพูดประโยคนี้ทีไร มันชวนให้ร้อนๆ หนาวๆ ว่า ‘งานเข้า’ ทุกที) จนกระทั่ ง พี่ แ กบอกว่ า คราวนี้ จ ะเป็ น โครงการเกี่ยวกับ ‘ในหลวง’ ที่ตั้งใจท�ำขึ้นเพื่อ
ฉลองวาระครองราชย์ครบ 70 ปี อยากชวน เพื่อนพ้องน้องพี่ชาวนิเทศศาสตร์ มาช่วยกัน คิดว่าเราจะท�ำอะไรเพื่อในหลวงของเรากันดี การประชุ ม แมตซ์ แ รกมี ขึ้ น ที่ ส นาม แบดมินตันของ SCG โดยมีพี่ตู่ วีนัส รุ่น 17 นายกสมาคมนิสิตเก่านิเทศศาสตร์สมัยที่แล้ว เป็นประธาน และพี่บี๋ รุ่น 26 เป็นแกนน�ำใน การคิ ด และวางกลยุ ท ธ์ เ ชิ ง ภาพรวมของ
โครงการทั้งหมด โดยที่ฉันได้ชวนปุ้ย รุ่น 31 เพื่อนร่วมรุ่น และพี่แป้ง รุ่น 29 กับนวลจาก คณะบัญชี จุฬาฯ น้องสาวที่เป็นนักวาดภาพ ประกอบด้วยกันทั้งคู่ กับพี่ป๊อบ แขกรับเชิญ จากคณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ เพื่อมาพรีเซนต์ ไอเดียโครงการที่เราไปคิดเป็นการบ้านมา โชคดีวา่ งานทีแ่ ต่ละกลุม่ น�ำมาเสนอในวันนัน้ สามารถจับคู่เข้ากับกลุ่มเป้าหมายที่พี่บี๋ได้วาง กลยุทธ์เอาไว้อย่างพอเหมาะพอเจาะ ราวกับ นัดแนะกันไว้ อย่างเช่น พี่ป๋อม รุ่น 27 ที่เป็น คนท�ำเอเจนซี่โฆษณา ก็มีไอเดียว่าจะท�ำหนัง โฆษณาเกี่ยวกับปราชญ์ชาวบ้านที่ด�ำเนินตาม รอยพระราชด�ำริของในหลวง จนท�ำให้มคี ณุ ภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นงานสื่อสารทางทีวีกับกลุ่ม mass ที่เป็นประชาชนทั่วไป พี่ป๋อมจึงรับไป ส่วนอู๋ รุ่น 39 หนึ่งในทีมงาน ‘รู้ สู้! Flood’ อินโฟกราฟิกน้องวาฬสีฟ้า อันโด่งดังเมื่อตอน น�้ำท่วมปี 54 และทีมงาน WHY NOT Social Enterprise ก็รบั อาสาไปสนทนากับกลุม่ Gen Y ซึ่งเป็นกลุ่มที่เติบโตมากับภาพความส�ำเร็จ ของงานที่ในหลวงทรงท�ำ แต่ไม่ค่อยได้เห็น ภาพตอนที่พระองค์เสด็จไปทรงงานช่วยเหลือ ประชาชนตามที่ต่างๆ จึงเป็นที่มาของ กิจกรรม ‘เดินทางพ่อ : Walk of The King’ ที่ ชวนเด็ก Gen Y ออกเดินทางไปยังโครงการใน พระราชด�ำริ เพื่อไปเรียนรู้คุณค่าที่แท้จริงของ
สิ่งที่พระองค์ทรงท�ำ ผ่านค�ำบอกเล่าของคนใน ท้องที่ โดยหวังว่าการเดินทางครั้งนี้ จะท�ำให้ กลุ่มเป้าหมายได้รับแรงบันดาลใจในการใช้ ความสามารถของตัวเองเพื่อประโยชน์ของผู้ อื่น แล้วส่งต่อแรงบันดาลใจนี้ไปอย่างไม่สิ้น สุด มาถึงกลุ่มของฉัน ที่คุ้นเคยการท�ำงานกับ กลุ่มเด็ก ก็มาพร้อมไอเดียโปรเจกต์นิทาน ‘ตามค�ำพ่อ’ ซึ่งมีพี่ดาว รักษิตา รุ่น 19 มา ช่วยคิดและเขียนนิทานที่มีแรงบันดาลใจจาก พระราชด� ำ รั ส และพระบรมราโชวาทของ ในหลวง ประกอบภาพวาดลายเส้นน่ารักๆ จากฝีมือ พี่แป้ง รุ่น 29 ที่เราตั้งใจท�ำเป็นสมุด นิทานที่ให้ระบายสีได้ด้วย เพื่อมอบให้กับ เด็กๆ ที่เจ็บป่วยเรื้อรังรวมถึงเด็กด้อยโอกาส ทั่วประเทศได้น้อมน�ำพระบรมราโชวาทไปเป็น ข้อคิดสอนใจ ผ่านกิจกรรมสนุกๆ อย่างการ อ่านนิทานและการระบายสี รวมถึงจะมีพี่ป๊อบ ที่จะสร้างสรรค์การ์ตูนแอนิเมชั่นจากนิทาน เรือ่ งเดียวกัน เผยแพร่ให้เด็กๆ และครอบครัว ได้ดูฟรีกันทางสื่อออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีทีมของแบงค์และเพื่อนๆ รุ่น 40 ที่มาพร้อมกับทีมน้องๆ นิเทศฯ รุ่นใหม่ อี ก มากมายหลายรุ ่ น ที่ อ าสาคั ด สรรเนื้ อ หา เกี่ยวกับในหลวงที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ ผ่าน วิธีการเล่าแบบย่อยง่าย เช่น การ์ตูนสามช่องที่
เตรียมจะเผยแพร่เป็นพ็อกเกตบุ๊ก รวมถึงคลิป สั้นๆ ผ่านช่องทางเพจ #สานต่อที่พ่อท�ำ ซึ่ง จะรับหน้าที่เป็นเพจเฟซบุ๊คส่วนกลาง ส�ำหรับ สื่อสารงานของทุกกลุ่มให้ประชาชนคนไทยได้ รับรู้เรื่องของในหลวง เรามุ ่ ง มั่ น เตรี ย มงานนี้ กั น หลายเดื อ น ประชุมระดมความคิดครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อให้ ได้งานที่ดีที่สุด เพื่อถวายแด่ในหลวงอันเป็น ที่รักยิ่งของเรา โดยมีก�ำหนดที่จะเปิดโครงการ นีใ้ นช่วงปลายปี ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา... ไม่มีใครคาดคิดว่า วันที่ 13 ตุลาคม จะ เกิดเหตุการณ์ที่พรากเอาหัวใจของคนไทยทั้ง ประเทศ... สองสามวันแรก ทีมงานทุกคนล้วนตกอยู่ ในอาการโศกเศร้า หมดเรี่ยวแรงกะจิตใจใน การท�ำงาน แต่เมื่อเวลาผ่าน สติกลับมา เรา ถึงค่อยได้นึกว่างานที่เราท�ำอยู่นี่แหละ! คือสิ่ง ที่จะท�ำให้ในหลวงยังอยู่กับเราตลอดไป เพราะเมื่อมองดูเนื้องานตรงหน้า เรื่องราว ต่างๆ ที่เราเคยได้ยินได้ฟัง รวมถึงได้รวบรวม ข้อมูลมาเป็นวัตถุดิบในการท�ำงาน ไม่ว่าจะ เป็นโครงการพระราชด�ำริต่างๆ นับพัน พระ ราชด�ำรัสและพระบรมราโชวาทที่พระองค์ท่าน มอบให้ เป็นข้อคิดคติสอนใจกับประชาชนชาว ไทยในวาระต่างๆ ..พระจริยาวัตรอันงดงาม และเป็นแบบอย่างของพระมหากษัตริย์อันยิ่ง
ใหญ่ และยังเรื่องราวจากประชาชนไทยที่ได้ รับพระมหากรุณาธิคุณทั้งโดยทางตรงและโดย อ้อม สิ่งเหล่านี้ยังคงเบ่งบานและงดงามอยู่ทั่ว ผืนแผ่นดินไทย... นั่นแปลว่า สิ่งที่ท่านท�ำ ค�ำที่ท่านสอนนั้น ไม่เคยสูญสลายหายไปไหน การจากไปของ พระองค์ท่านจึงเป็นเพียงร่างกาย แต่สิ่งที่ท่าน สร้างและท�ำไว้ให้กับพวกเรานั้นคือ ...นิรันดร์ ดังนัน้ หน้าทีข่ องเราในฐานะนักนิเทศศาสตร์ ก็คือการใช้ความรู้ในวิชาชีพของเรา เผยแพร่ และส่งต่อสิ่งต่างๆ ที่ในหลวงของเรา ‘คิด’ และ ‘ท�ำ’ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนคน ไทยได้รับรู้ และยึดถือพระองค์ท่านเป็นแบบ อย่าง ในการด�ำเนินชีวิต และสุดท้ายเรือ่ งกลับกลายเป็นว่า สิง่ ต่างๆ ที่เราลงมือท�ำตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รวม ถึงที่เป็นอยู่ในขณะนี้ แทนที่เราจะเป็น ‘ผู้ให้’ …แต่สุดท้าย เรากลับกลายเป็น ‘ผู้รับ’ เพราะ ทีมงานทุกคนล้วนได้รับความอิ่มอกอิ่มใจ และ ภาคภูมิใจที่ได้ท�ำเพื่อพระมหากษัตริย์อันเป็น ที่รักยิ่ง และในช่วงเวลาแห่งความสูญเสีย สิ่ง เหล่านี้คือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่ท�ำให้เรายังคง รู้สึกเหมือนว่า “ในหลวงยังอยู่กับเราเสมอ... และตลอดไป” อมราพร แผ่นดินทอง (อ�ำ) รุ่น 31
AIS
แสนเสียง แสนเทียน แสนเสียงซร้องสรรเสริญก้อง ทั่วทั้งท้องสนามหลวง แดดเผาร่างอย่างหนักหน่วง ไทยทั้งปวงไม่ห่วงกาย ด้วยใจภักดิ์ใจรักปักหลักสู้ ให้โลกรู้พระองค์ทรงยิ่งใหญ่ บารมีเกริกเกียรติขจรไกล สมค่าไท้ทรงทุ่มเทเพื่อแผ่นดิน
ไทยทุกคนจะตั้งมั่นไม่หวั่นไหว จะร่วมใจร่วมแรงอย่างแข็งขัน ท�ำหน้าที่ส่วนตนทุกคนพลัน เพื่อสานสร้างฝันไท้ให้เป็นจริง
ธ ทรงเป็นตะวันไร้วันดับ ทรงประทับส่องแสงไปไม่จบสิ้น พระจริยวัตรอาบไล้ทั่วธรณินทร์ โลกยลยินพระนามคู่คุณความดี
ทั่วถิ่นไทยต้องไร้ซึ่งความยากไร้ ทุกเผ่าไทยมีปัจจัยพร้อมทุกสิ่ง ไทยเป็นไทยหนึ่งเดียวอย่างแท้จริง ขจัดทิ้งชนถ่อยคอยยุยง
แสนเทียนส่องไสวพราวระยับ พร้อมเสียงขับสรรเสริญพระบารมี ธ ทรงเปรียบดวงจันทร์ยามราตรี ส่องวิถีนวลฉายให้เห็นทาง
คนดีๆ ท�ำหน้าที่ผู้ปกครอง คนชั่วต้องถูกกั้นตามพระประสงค์ ผองไทยอยู่พอเพียงตามพระจ�ำนง ไม่โลภหลงตามกระแสโลกน�ำไป
กี่ทิวาราตรี ธ ทรงน�ำ ให้เราท�ำด�ำเนินทางสว่าง กี่ทะเล ภูผามากั้นกลาง มิอาจขวางทางใจให้ฝ่าฟัน
นี่คือค�ำปฏิญาณที่หาญกล้า เหล่าปวงข้าฯ ตั้งชีวิตมอบถวาย จะปฏิบัติด้วยสัตย์จริงจวบชีพวาย ทรงเกษมพระทัยสราญเทอญ นรินทร์ องค์อินทรี รุ่น 19 23 ต.ค. 2559
ปริญญาบัตรใบสุดท้าย
เราอาจลืมไปแล้วว่า ครั้งหนึ่ง เด็กนิเทศฯ เกือบทุกคนจะมีโอกาสได้ถ่ายรูปคู่กับในหลวง และได้ เ ข้ า เฝ้ า ใกล้ ชิ ด แบบห่ า งกั น แค่ เ พี ย ง เอื้อมมือ นั่ น คื อ ในพิ ธี พ ระราชทานปริ ญ ญาบั ต ร นั่นเอง นั่ น ท� ำ ให้ วั น เรี ย นจบนี้ เ ป็ น โอกาสพิ เ ศษ สุดๆ ส�ำหรับใครหลายคน อย่างไรก็ดี สิทธิ พิเศษนี้ก็สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2542 เมื่อพระองค์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพฯ เสด็จมา พระราชทานปริ ญ ญาบั ต รแทนจวบจนถึ ง ปัจจุบัน สายใยได้เสาะหาเด็กนิเทศฯ คนสุดท้ายที่ ได้รับปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ และได้พบกับ
อินทิรา ศิริผลสมสุข หรือ ต๊ะ 30 นั่นเอง ที่ เป็นคนสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานปริญญา บัตรในปี พ.ศ. 2541 (รุ่นจบ 2540) เธอเล่าให้ฟงั ว่า วันนัน้ เป็นวันหนึง่ ทีต่ นื่ เต้น ที่สุดในชีวิต เพราะเป็นวันรับปริญญาด้วย วัน แห่งความส�ำเร็จภายหลังร�่ำเรียนมา วันที่ก�ำลัง จะได้ออกไปเริ่มต้นชีวิตการท�ำงาน และเป็น วันที่จะได้เข้าเฝ้าพระองค์อย่างใกล้ชิดด้วย แต่ต๊ะสารภาพกับเราว่า สิ่งที่ท�ำให้ตื่นเต้น ที่สุดคือ เธอเป็นคนซุ่มซ่าม! “ไอ้เราก็เป็นคนโก๊ะๆ ซุ่มซ่าม ป�้ำๆ เป๋อๆ ด้วย ยิ่งเป็นคนสุดท้าย ถ้าก้าวผิดจังหวะอะไร มันเห็นชัดอะ เลยตื่นเต้นไปหมด” ด้วยความที่เธอเรียนภาค MC จึงมีโอกาส
เข้ า ไปท� ำ ข่ า วถ่ า ยทอดในพิ ธี พ ระราชทาน ปริญญาบัตรแล้วตอนที่รุ่น 29 เข้ารับ แต่ว่า บรรยากาศในวันนั้น ก็แตกต่างกับตอนที่เข้า รับเอง “ตอนนั้นเราอยู่หลังฉาก ไม่ตื่นเต้นเท่าไร เพราะอยู่กับเพื่อน ตอนแรกก็รู้สึกว่าขลัง แต่ พอเริ่ม พิธีมันไปเร็วมาก เราก็ต้องดูกล้องด้วย เลยเป็ น ความสนุ ก ที่ ไ ด้ จ ากการท� ำ งาน มากกว่า” และเมือ่ วันรับปริญญาของเธอมาถึง ในขณะ ทีก่ า้ วเท้าขึน้ ไปบนเวทีเป็นจังหวะตามทีซ่ กั ซ้อม ความตื่นเต้นของเธอกลับหายไป เมื่อได้เห็น พระพักตร์ของพระองค์จริงๆ “โห ตอนนั้นเหมือนสตันท์ไปเลย รู้สึกได้ เลยว่าท่านมีพลังบารมี พอได้เห็นใกล้ๆ รู้สึก ถึงออร่าบางอย่าง” เหตุการณ์ผ่านไปอย่างเรียบร้อย ต๊ะไม่ได้ ก้าวเดินผิดพลาดแต่อย่างใด และเดินลงจาก เวทีในฐานะเด็กนิเทศฯ คนสุดท้ายที่ได้รับใบ ปริญญาจากพระหัตถ์อย่างราบรื่น เธอบอกกับเราว่า ในตอนนั้นก็เหมือนจะรู้ แล้ ว ว่ า ท่ า นจะเสด็ จ มาครั้ ง นี้ เ ป็ น ปี สุ ด ท้ า ย เนื่องจากก่อนหน้านี้ตอนรุ่น 28 รับปริญญา ท่านก็ประชวร แถมยังมีการให้ปริญญาโทและ เอก รับกับพระบรมสาทิสลักษณ์อยู่ก่อนหน้านี้ ปีสองปีแล้ว ซึง่ ในปีถดั มาก็เป็นสมเด็จพระเทพฯ เสด็จแทนนับจากนั้น แต่ส�ำหรับเธอในตอนนั้น
ต๊ะบอกว่า “ตื่นเต้นจนลืมคิดไป” “ภายหลังท่านสวรรคต เราถึงเริม่ มานึกเสียใจนะ ที่ลืมอะไรไปหลายอย่าง ลืมว่าพระราชด�ำรัส วันนั้นท่านพูดว่าอะไร ลืมด้วยว่าตัวเองเป็นคน สุดท้ายที่ได้รับปริญญาจากมือท่าน ต้องมาไล่ ถามนีแ่ หละถึงเพิง่ นึกออก” ต๊ะได้แต่นกึ เสียดาย และเสียใจกับตัวเอง ทีก่ อ่ นหน้านีไ้ ม่ได้รสู้ กึ ลึกซึง้ กับโมเมนท์ตอนนั้นๆ อย่างไรก็ดี แม้ต๊ะจะลืมพระราชด�ำรัสของ พระองค์ในวันนั้นไปแล้ว แต่เธอก็บอกว่ามีบท อื่นๆ หลายบทที่เธอได้อ่านและประทับใจ ต๊ะ บอกว่า บางคนชอบคิดว่าพระราชด�ำรัสเป็น เรื่องของค�ำพูดสวยๆ สังเคราะห์ปั้นแต่งทั้งสิ้น แต่ถ้ามาวิเคราะห์จริงๆ มันจริงมาก และมี ประโยชน์กับชีวิตจริงๆ เช่นที่พระองค์ทรงตรัส เกี่ยวกับความเข้มแข็งในจิตใจ “พระองค์ทรงสอนให้เราฝึกตัวเองให้เข้ม แข็ง ฝึกจิตใจให้แข็งแรง เพื่อเตรียมพบกับ อุปสรรคนานาทั้งร่างกายและจิตใจ ตอนเด็กๆ ฟังแล้วเราก็ไม่คิดอะไรมาก แต่โตมา เจอกับ ชีวิตที่ไม่เพอร์เฟกต์ ถึงได้รู้ว่าสิ่งที่พระองค์ ทรงสอนนัน้ จริง และเตือนให้เราเป็นคนทีพ่ ร้อม เผชิญหน้ากับปัญหาอุปสรรคอยู่เสมอ” และแรงบันดาลใจนี้ ก็เป็นอีกสิง่ ทีต่ ะ๊ อินทิรา ได้รับพระราชทานมาพร้อมๆ กับปริญญาบัตร ใบนั้น
วาดโดย สุชนา มัดกาฑ์รัน (ดาว) รุ่น 42
พรจากฟ้า เพลงจากพ่อ หนังจากใจ
ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ GDH ที่เพิ่งเข้า ฉายไปไม่นานมานี้ เป็นอีกหนึ่งผลงานของเด็ก นิเทศฯ โดยเด็กนิเทศฯ เพือ่ ความสุขสนุกสนาน ประทับใจของสังคมไทย จริงๆ แล้ว โปรเจกต์ New year gift ที่ กลายมาเป็นภาพยนตร์เรื่องพรจากฟ้านี้ เพิ่ง เริ่มต้นคิดท�ำกันเมื่อต้นปี 2559 นี้เอง สืบเนื่อง มาจากโปรเจกต์คีตราชนิพนธ์ บทเพลงใน ดวงใจราษฎร์ ของสิงห์ คอเปอร์เรชัน่ ทีเ่ ข้าฉาย ในปี 2558 ที่ผ่านมา โดยเมื่อมาถึงมือค่าย GDH ก็จึงมีการคิดกันว่า อยากเล่นกับการใช้
เพลงพระราชนิพนธ์ให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีก จากเดิม คีตราชนิพนธ์ฯ ท�ำมาจากบทเพลง 4 เพลง ออกมาเป็นภาพยนตร์สั้น 4 เรื่องแยกจากกัน พรจากฟ้าจึงต่อยอดจากนั้น ไอเดียตั้งต้นของพรจากฟ้า เกิดมาจาก การที่เก้ง 15 รู้สึกประทับใจบทเพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เพราะหากลองคิดว่า การที่ พระราชามอบบทเพลงเป็นของขวัญปีใหม่แก่ ประชาชน ก็ดูจะเป็นสิ่งพิเศษที่ไม่อาจจะหาได้ จากทีใ่ ดในโลก และยังต้องการน�ำเสนอบทเพลง พระราชนิพนธ์ในฐานะเพลงที่เราสามารถเสพ
สามารถชื่ น ชมได้ ด ้ ว ยความไพเราะในตั ว บทเพลงเอง ไม่ใช่ชนื่ ชมเพียงเพราะเป็นบทเพลง พระราชนิพนธ์ นอกจากนี้ยังอยากให้บทเพลง พระราชนิพนธ์เป็นส่วนส�ำคัญของเรื่อง ไม่ใช่ เพียง soundtrack ประกอบ อย่างไรก็ดี การจะท�ำเป็นหนังยาวให้ทัน เข้ า ฉายในปลายปี ก็ ดู จ ะยากเกิ น ไปส� ำ หรั บ ความพิถีพิถันของ GDH จึงมีการแตกแยกย่อย ออกเป็นสามส่วนของเรื่อง แต่ไม่ใช่เรื่องสาม เรือ่ งแยกกัน โดยหยิบเอาผูก้ ำ� กับทีส่ นใจหลงใหล ในเสียงดนตรีมาท�ำ ได้แก่ จิระ มะลิกุล หรือ เก้ง 15 ผู้หลงใหลใน เสี ย งเครื่ อ งทองเหลื อ งและผู ้ ก ่ อ ตั้ ง วงจิ ร ะ บันเทิงแบนด์ ก�ำกับ ‘เพลงพรปีใหม่’ นิธิวัฒน์ ธราธร หรือ ต้น 29 ผู้ก�ำกับหนัง ดนตรี Season Change เพราะอากาศ เปลี่ยนแปลงบ่อย ก�ำกับเพลง ‘Still on My Mind’ ชยนพ บุญประกอบ หรือ หมู 39 และ เกรียงไกร วชิรธรรมพร หรือ ปิง 39 ซึ่งทั้งสอง ก็รว่ มวงดนตรีกนั มาตัง้ แต่สมัยเรียน หมูกก็ ำ� กับ
เรื่อง Suckseed ส่วนปิงก็เล่นเครื่องดนตรีได้ แทบทุกต�ำแหน่งในวง ร่วมกันก�ำกับเพลง ‘ยามเย็น’ ภายหลังเริ่มต้นโปรเจกต์ในช่วงต้นปี ถ่าย ท�ำเสร็จในช่วงเดือนสิงหาคม ตัดต่อเสร็จช่วง เดือนกันยายน เหลือเพียงกระบวนการ Post production ท�ำสีผสมเสียงอื่นๆ ก็มาถึง เหตุการณ์ในวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่ง สร้างความสะเทือนใจให้กบั ทีมงาน และเปลีย่ น ความรู้สึกที่มีต่อหนังเรื่องนี้ไปอีกขั้น เคยถึง กับมีการคุยกันว่าอาจจะยังไม่ฉายตามเดิมที่ ก�ำหนด แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทุกคนก็เห็นตรง กันว่า ไม่มีเวลาใดจะเหมาะกว่าเวลานี้อีกแล้ว ที่จะร่วมร�ำลึกพระองค์ และส่งมอบความรู้สึก ดีๆ ให้กับคนไทยในช่วงเวลาปีใหม่ที่จะมาถึง ภาพยนตร์เรื่องพรจากฟ้า เป็นอีกหนึ่ง ทางในการเข้ า ถึ ง บทเพลงพระราชนิ พ นธ์ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจสืบเนื่องกันไป ส่ง ต่อความสุขจากศิลปินสู่ศิลปิน จากพระราชา สู่ประชาชน จากคนท�ำหนังสู่ผู้ชม
ถึงเวลา เทวดา กลับสวรรค์ ถึงเวลา ที่พ่อฉัน เหนื่อยหนักหนา ลูกหลานไทย หลอมรวมใจ ทั้งน�้ำตา กราบเบื้องบาท พระบิดา ด้วยอาลัย คือความจริง ที่อยากให้ เป็นเพียงฝัน ยังนิ่งงัน งุนงง และสงสัย นี่คือจริง แท้แน่หนอ พ่อจากไกล ยังอยากให้ เป็นเพียงฝัน ฉันหลับไป ในวันรุ่ง คราตื่นมา วันพรุ่งนี้ ความจริงที่ ต้องยอมรับ ทุกเงื่อนไข แม้สิ้นแล้ว พระพ่อแก้ว ของชาวไทย แต่ ธ จะ สถิตย์ใจ ไทยนิรันดร์ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ครอบครัวรัตนงาม กราบส่งพอ ด้วยจิตใจ สงบนิ่ง กราบส่งมิ่ง เมืองไทย ไปสวรรค์ กราบกษัตริย์ ผู้ทรงบุญ คุณอนันต์ กราบราชัน ขวัญฟ้า ประชาไทย ประพันธ์โดย ปรีดิยุช รัตนงาม (ก้อง) รุ่น 26
วาดโดย แพรวภากร ชุมสาย ณ อยุธยา (แพรว) รุ่น 48
แซกโซโฟนพลาสติก
เราคงเคยได้ยินเรื่องแซกโซโฟนพลาสติก ฝีมือคนไทยที่โด่งดังในแวดวงนวัตกรรมสิ่ง ประดิษฐ์เมือ่ หลายปีกอ่ น แต่กไ็ ม่คดิ ว่าคุณปิยพัชร์ ธัญญะกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไวเบรโต จ�ำกัด คือพี่เอ่อ นิเทศฯ จุฬา ฯ รุ่น 20 รุ่นพี่ ของพวกเรา ซึ่งผลงานของพี่เอ่อได้สร้างชื่อ และท�ำให้ทั่วโลกหันมาสนใจเครื่องดนตรีชิ้นนี้ อย่างมาก และหนึง่ ในแรงบันดาลใจทีท่ ำ� ให้พเี่ อ่อ ผลิตผลงานนี้ขึ้นมาคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “การที่พี่เห็นภาพในหลวงทรงแซกโซโฟน มาตั้งแต่เด็ก ท�ำให้พี่คิดว่าคนไทยน่าจะเล่น แซกโซโฟนกันเยอะเพราะมีในหลวงเป็นต้น แบบ แต่ไปๆ มาๆ กลับกลายเป็นว่ามีคนไทย เล่นแซกโซโฟนน้อยมาก ด้วยสาเหตุที่ว่า ราคามันแพง ตัวนึงก็สามหมื่นขึ้นแล้ว บางตัว
เป็นแสน อีกอย่างคือน�้ำหนักมาก ตัวเบาสุดก็ เกือบ 3 กิโลแล้ว เด็กสิบขวบคงซ้อมได้ไม่นาน แล้วที่ส�ำคัญคือท่อมันบาง ดูแลรักษายาก โลหะโดนกระทบนิดนึงก็เป็นรอยแล้ว พี่เลย อยากก้าวข้ามข้อจ�ำกัดทั้งสามข้อนี้ไปให้ได้ คนไทยจะได้หันมาเล่นกันเยอะๆ” ด้วยความที่พี่เอ่อก็เป็นคนหนึ่งที่เล่นแซกโซโฟนจึงทราบดีถึงอุปสรรคข้างต้น และมอง เห็นว่าการที่แซกโซโฟนมีราคาแพงเป็นเพราะ ขั้นตอนการผลิตแซกโซโฟนแต่ละตัวต้องใช้ แรงงานคน ซึ่งราคาก็จะสูงขึ้นตามฝีมือและ ความช�ำนาญของช่างท�ำแซกโซโฟนคนนั้นๆ พี่ เ อ่ อ จึ ง คิ ด ว่ า ถ้ า สามารถเอาคนออกจาก กระบวนการผลิตได้ก็จะท�ำให้ราคาของเครื่อง ดนตรีชนิ้ นีถ้ กู ลง รวมถึงวัสดุทใ่ี ช้กเ็ ป็นพลาสติก เมื่อท�ำออกมาแล้วก็มีน�้ำหนักเพียง 850 กรัม
ทนทาน และต้นทุนการผลิตถูกกว่าทองเหลือง มาก นี่จึงเป็นการตอบโจทย์ปัญหาทั้งสามข้อ ได้เป็นอย่างดี แต่เพราะการทีพ่ เี่ อ่อจบนิเทศศาสตร์ ไม่ได้ เป็นนักประดิษฐ์หรือผูเ้ ชีย่ วชาญในวัสดุทจี่ ะสร้าง เครื่องดนตรีชิ้นนี้ พี่เอ่อจึงต้องใช้เวลาและ ความพยายามมากกว่าคนอื่นหลายเท่าตัวนัก “พี่ท�ำเท่าที่ท�ำได้ การท�ำของที่ไม่เคยมีมา ก่อนในโลกก็ต้องทดลองท�ำขึ้นมาให้มีเสียงที่ ใกล้เคียงกับตัวต้นแบบที่สุด” พี่เอ่อใช้เวลากว่า 2 ปีในการออกแบบ และ ใช้เวลาอีก 4 ปีในการแก้ไข ใช้เงินลงทุนท�ำ วิจยั และพัฒนาไปกว่าสิบล้านบาท จนสามารถ ผลิตแซกโซโฟนพลาสติกออกมาได้ส�ำเร็จ แต่ ในรุ่นแรกนี้พี่เอ่อผลิตออกมาเพียง 60 ตัว แต่ละตัวมีเลขประจ�ำเครือ่ ง โดยน�ำออกจ�ำหน่าย ให้กับคนใกล้ตัวเพื่อให้ได้ทดลองใช้ และหวัง จะน�ำกลับมาแก้ไขหากพบข้อผิดพลาด ตอนนี้เราคงพอเดากันได้ว่าใครคือเจ้าของ แซกโซโฟนหมายเลข 009 “เราเป็นคนไทย ยังไงเราก็ต้องให้พ่อเรา เล่นก่อน ในหลวงท่านเป็นเหมือนอาจารย์ใหญ่ ของคนไทยที่เล่นแซกโซโฟนเลยนะ พี่เชื่อว่า ทุกคนสามารถเป่าเพลงพระราชนิพนธ์ได้อย่าง น้อยก็คนละเพลง”
พี่เอ่อเล่าว่า เมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว ตอน ที่ตัดสินใจฝากให้นักดนตรีวง อ.ส.วันศุกร์ ที่ เล่นดนตรีถวายในหลวง ทูลเกล้าถวายแซกโซโฟน พลาสติก ก็รู้สึกตุ๊มๆ ต่อมๆ กลัวว่าในหลวง จะไม่พอพระราชหฤทัย ซึ่งหลังจากที่ถวายไป แล้ว ก็เป็นเรื่องน่าตกใจส�ำหรับพี่เอ่ออย่างมาก เพราะนักดนตรีวง อ.ส. วันศุกร์คนดังกล่าวน�ำ ข้อความที่ในหลวงพระราชทานตอบกลับมา มอบให้พี่เอ่อหลังจากได้ทรงแซกโซโฟนตัวนั้น “ข้อมูลทีท่ า่ น feedback กลับมาแน่นมาก ทรงเป็นกูรูแซกโซโฟนจริงๆ E flat ต้องแข็งขึ้น ตัวนี้เบาไป ในใจเราก็อยากปรึกษาท่านมา ตลอดเพราะคิ ด ว่ า แซกโซโฟนผ่ า นมื อ ท่ า น ไม่ใช่น้อย ท่านเล่นแซกโซโฟนตั้งแต่สิบกว่า จนแปดสิบก็ยังไม่เลิกเล่น ซึ่งพี่ก็เอาข้อมูลตัว นั้นมาปรับแก้ไปเรื่อยๆ เป็นข้อมูลที่ใช้มาจน ทุกวันนี้ แซกโซโฟนพลาสติกมีได้ทุกวันนี้ เพราะพ่อแก้ให้” หลังจากทีพ่ เี่ อ่อพัฒนาและผลิตแซกโซโฟน พลาสติกมาอีกหลายต่อหลายรุ่น ไม่ว่ารุ่นไหน ก็ตาม แซกโซโฟนหมายเลข 009 จะต้องน�ำ ทูลเกล้าถวายในหลวง พี่เอ่อทราบว่าช่วงหลัง ที่ พ ระองค์ เ สด็ จ ประทั บ วั ง ไกลกั ง วลหรื อ ที่ โรงพยาบาลศิริราช ท่านก็จะทรงแซกโซโฟน ของพี่ เ อ่ อ มาโดยตลอดเพราะน�้ ำ หนั ก เบา
และอีกใจก็เชื่อว่าเพราะเป็นสิ่งประดิษฐ์ฝีมือ คนไทย “พอวันอาทิตย์นักดนตรีวง อ.ส. วันศุกร์ที่ พี่เคารพรักจะโทรมาบอกว่าท่านทรงดนตรี เราก็ถามว่าเป็นไง เขาก็บอกว่าท่านทรงเพราะ เลย ท่านทรงดนตรีตั้งแต่ห้าทุ่มจนตีสอง อาทิ ต ย์ ต ่ อ มาก็ โ ทรมาอี ก ทุ ก ครั้ ง ที่ ท ่ า นทรง ดนตรี เราก็เกรงใจเพราะเขาก็อายุไม่ใช่น้อย แล้ว ต้องเล่นดนตรีถวายต่อหน้าพระพักตร์ แล้วยังต้องตื่นมาโทรหาพี่ พี่ก็บอกเขาว่าไม่ ต้องโทรแล้ว แล้วเขาว่าไงรู้ไหม ‘ไม่ได้ครับ ท่านรับสั่งให้โทรบอกคุณ จะได้มีก�ำลังใจท�ำ ต่อไป’” ครึ่งหนึ่งของความส�ำเร็จของพี่เอ่อ คือการ ได้ทูลเกล้าถวายแซกโซโฟนแด่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช การได้รับ พระมหากรุณาธิคุณนี้ถือเป็นการเติมเต็มในสิ่ง ที่พี่เอ่อเชื่อมาตลอด “ถามว่าพี่ได้อะไร คนเราเกิดมาครั้งนึง แล้วได้ถวายของเล่นให้ท่าน และได้รู้ว่าของ เล่นนั้นกลายเป็นของใกล้ชิดและท�ำให้ท่าน ทรงพระเกษมส�ำราญ นั่นคือสิ่งที่พี่ได้” เมื่ อ สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ฝ ี มื อ คนไทยชิ้ น นี้ ไ ด้ รั บ โอกาสที่ จ ะถู ก น�ำ ออกสู ่ ส ายตาชาวโลกเป็ น ครัง้ แรก ก่อนทีพ่ เี่ อ่อจะออกเดินทางจากโรงแรม
ไปยังงานเปิดตัวแซกโซโฟนพลาสติกที่เมือง แฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี พี่เอ่อเล่าว่าเขา ได้สวดมนต์ขอพระบารมีของพระองค์คุ้มครอง และช่วยให้ชาวต่างชาติเห็นคุณค่าของงานชิน้ นี้ และเมื่อถึงงาน บูธไวเบรโตเป็นบูธเดียวที่มีคน ให้ความสนใจมารอทดสอบแซกโซโฟนอย่าง อุ่นหนาฝาคั่ง เป็นผลตอบแทนความพยายาม ก้าวแรกในความส�ำเร็จและสร้างความภูมิใจ ให้กับพี่เอ่อมาจนถึงทุกวันนี้ แต่ว่าในตอนนี้ พี่เอ่อไม่มีโอกาสได้ถวาย แซกโซโฟนหมายเลข 009 รุ่นใหม่ๆ ที่ผลิต ออกมาให้ทา่ นได้อกี แล้ว และไม่ได้นำ� ออกจ�ำหน่าย แก่ใครอีก หากแต่เก็บไว้เพือ่ ระลึกถึงพระปรีชา สามารถแห่งพระองค์ทา่ น และด้วยความส�ำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณ พี่เอ่อได้ท�ำโปรเจกต์ เล็กๆ เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน รับสอน แซกโซโฟนให้กับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 10-80 ปี โดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย หากผู้นั้นมีความสนใจจะเล่น เพลงพระราชนิพนธ์ให้ได้สักครั้งในชีวิต “นี่เป็นโอกาสที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ คนมาเล่นแซกโซโฟนกันมากขึ้น พี่ไม่ได้เก่ง อะไร แล้วก็ยังไปค้นแซกโซโฟนเก่าในสต๊อก มาลดราคาขายให้คนทีม่ าเรียนด้วย แซกโซโฟน ไม่ใช่เครือ่ งดนตรีทเี่ ล่นง่ายเท่าไหร่หรอก แต่ถา้ มีความพยายามและตั้งใจจริง ยังไงก็เล่นได้”
วาดโดย นครินทร์ สินศิริ (มิว) รุ่น 47
ยิ้มสู้ “โลกมืดมนเพียงใดหัวใจอย่าคร้ามเกรง ตั้งหน้าชื่นเอาไว้ย้อมใจด้วยเพลง ไยนึกกลัวหวาดเกรงยิ้มสู้”
เป่าแซกโซโฟนและทรอมโบนอย่างพลิ้วไหวไป กับท่วงท�ำนองเพลง Jazz และเพลงพระราช นิพนธ์อีกหลายเพลงนั้น มันช่างสุดแสนจะ ประทับใจและยังคงตราตรึงในหัวใจจวบจน ทุกวันนี้ ยังความปลาบปลื้มปิติในวาสนาของ ตัวเอง ที่มีโอกาสอันล�้ำค่าได้เข้าเฝ้าพระองค์ ได้อย่างใกล้ชิดถึงเพียงนี้ ช่างโชคดีเหลือเกิน ที่ในชีวิตหนึ่งได้เกิด มาใต้ร่มโพธิ์ร่มไทรของท่าน ได้มีโอกาสชื่นชม พระบารมีของท่าน ทุกค�ำสอนของท่าน จะ เป็นหลักในการด�ำเนินชีวิตของฉันไปจวบจน ชีวิตจะหาไม่....ขอให้พ่อมองฉันอยู่ตรงนั้น ฉัน จะไม่ทำ� ให้พอ่ ผิดหวังเป็นอันขาด...ด้วยความรัก และเทิดทูนอย่างสุดหัวใจ
ในปีแรกของชีวติ การท�ำงาน ฉันได้มโี อกาส เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานจัดคอนเสิร์ต Jazz งานหนึ่ง และในงานนี้เอง ทางผู้จัดได้ เชิญศิลปิน Jazz ระดับโลกท่านหนึ่งมาเปิด แสดงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในช่วงไม่กี่ สัปดาห์ก่อนที่คอนเสิร์ตนั้นจะถูกจัดขึ้น ฉันได้ รับแจ้งจากทีมงานว่า ศิลปินท่านนีจ้ ะได้รบั โอกาส อันยิ่งใหญ่ ในการเดินทางเข้าไปที่วังไกลกังวล อันเป็นที่ประทับของในหลวง เพื่อไปเล่นดนตรี ถวายพระองค์ท่านเป็นการส่วนพระองค์ และ ในโอกาสนี้ ฉัน ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงาน ก็ได้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม รับเกียรติให้เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย ความรู้สึก ณ วินาทีที่อยู่ตรงนั้น ณ วินาที ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวจีรภัทร เจริญชัยกรณ์ (เบิร์ดดี้) รุ่น 34 ที่ ไ ด้ เ ห็ น ท่ า นทรงคุ ย เล่ น หยอกล้ อ อย่ า ง (14/10/59) สนุกสนานกับเหล่านักดนตรี ได้เห็นท่านทรงร่วม
บทเพลงที่เราสร้าง
ภายหลังเหตุการณ์เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ยังมาซึ่งความเศร้าโศก เสียใจอันใหญ่หลวงของสังคม มีบทเพลง มากมายถูกขับขานเปิดซ�้ำ บอกเล่าตอกย�้ำถึง ความโศกเศร้าและเคารพเทิดทูนพระองค์ของ สังคมไทย แต่ทา่ มกลางมวลความโศกเศร้านัน้ กมลรัตน์ ชุติเชาวน์กุล หรือ พีช 33 เกิดตั้งค�ำถามขึ้นมา ว่า ท�ำไมในบรรยากาศแห่งความสูญเสียจึงต้อง มีแต่เพลงช้า เพลงเศร้า พีชจึงอยากท�ำเพลง ขึ้ น มาเพื่ อ ให้ ผู ้ ฟ ั ง สามารถจั ด การกั บ ความ เศร้าได้ ประกอบกับเมื่อได้เห็นพระราชกรณียกิจ หลายอย่างของพระองค์ เช่น สะพานภูมิพล ถนนรัชดาภิเษก ได้เห็นถึงอะไรหลายอย่างที่
อยูใ่ กล้ตวั แต่ไม่รมู้ าก่อนว่าเกิดขึน้ จากพระราชด�ำรัสของพระองค์ พีชจึงเกิดแรงบันดาลใจ จากสิ่งเหล่านี้ ว่าถึงแม้พระองค์จะทรงจากไป แต่สิ่งที่พระองค์ทิ้งไว้ให้ก็ยังมีอยู่มากมาย จึง อยากจะท�ำอะไรที่เป็นแรงบันดาลใจ ให้คนมา สานต่อสิ่งที่พระองค์ได้สร้างไว้ บทเพลงนี้จึงเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น เมื่อได้ คุยกับอมราพร แผ่นดินทอง (อ�ำ 31) ได้ออก มาเป็นบทเพลงสานต่อที่พ่อท�ำ โดยตั้งใจให้มี ความหมายถึงสังคมไทย และพวกเราชาว คณะนิเทศศาสตร์ด้วย โดยมีการเปรียบเทียบ ประเทศเป็นเหมือนรังนก พวกเราต่างเหมือน นกน้อยที่สามารถช่วยกันสร้างรังให้อบอุ่นได้ หลังจากพีชเขียนเนื้อร้องและท�ำนอง ก็ได้ ประเสริฐ สิริสันติธร หรือ เสริฐ 17 มาเป็นผู้
เพือ่ สานต่อทีพ่ อ่ ท�ำ
เรียบเรียงดนตรี นอกจากนี้ เสริฐยังเป็นผูส้ รรหา นักร้องเสียงทองชาวคณะทั้งหมด 9 คน เข้า มามีส่วนร่วมในบทเพลงนี้อีกด้วย ได้แก่: ซัน มาโนช พุฒตาล รุ่น 12, แหวน ฐิติมา กฤษณายุทธ รุน่ 15, ลูกหว้า พิจกิ า จิตตะปุตตะ รุ่น 34, หอย อภิศักดิ์ เจือจาน รุ่น 32, มิ้น สวรรยา แก้วมีชัย รุ่น 35, กีตาร์ พิรนันท์ ชนภัณฑารักษ์ รุ่น 35, ฟิล์ม บงกช เจริญธรรม รุ่น 39, พีทจวย ปิติพงษ์ ผาสุกยืด รุ่น 40, และ อาร์ม กรกันต์ สุทธิโกเศศ รุ่น 43 และยังได้ ตี่ กริช ทอมมัส รุ่น 15 ผู้บริหาร แกรมมี่โกลด์มาร่วมบรรเลงเปียโนให้อีกด้วย พีชเล่าว่า ทุกคนน่ารักมาก เมื่อโทรไปนัดก็ ยินดีทุกคน ยิ่งเมื่อรู้ว่าเป็นเพลงที่ได้รับแรง บันดาลใจจากในหลวง ก็ยิ่งยินดีรีบเคลียร์คิว
ให้ การบันทึกเสียงลุลว่ งไปอย่างราบรืน่ รวดเร็ว ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีจอ๋ ง พงศ์นรินทร์ อุลศิ รุน่ 25 เสนอตัวเข้ามาจะช่วยท�ำเป็น Music Video ให้อีกด้วย พีชบอกกับเราว่า สิ่งที่เธออยากสื่อสาร ผ่านบทเพลงนี้ คือแนวคิดทีเ่ ธอได้จากพระองค์ ทีว่ า่ อยากท�ำอะไรเพือ่ สร้างประโยชน์ให้คนอืน่ จริงๆ ทุกวันนี้มีคนหลายคนพูดว่ารักในหลวง แต่ยังไม่ได้ลงมือท�ำอะไรจริงๆ เพลงนี้อยาก ให้ทุกคนกันส่งต่อความดี เหมือนเป็นการ pay it forward ร่วมกันสร้างสรรค์สังคม เพื่อ เป็นการสานต่อที่พ่อท�ำ
“พ่อหลวงครองราชย์ อยู่ 70 ปี โครงการพระราชด�ำริและโครงการพระราชประสงค์ มีกว่า 4000 โครงการ แล้วบรรดาลูกๆ แค่คิด และพูดๆๆๆ เท่านั้น จะมี กี่ ค นหรื อ กลุ ่ ม ที่ จ ะ ลงมือท�ำ...” -ประธาน มหาสุวรรณ (ประธาน) รุ่น 2 ชายผู้ถ่ายภาพในหลวง
“จึ่งพ่อประทับฟ้า ดุจดาราประดับไว้ พสกถ้วนล้วนอาลัย กราบบาทไท้ใจดิ่งจม”
-บุญญ์พัชรเกษม เสริมวัฒนากุล (เจ็ง) รุ่น 15 ผู้สร้างสรรค์นาฏลีลาภาษามือ เพลงของขวัญจากก้อนดิน
“ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของ คนท�ำงานเบื้องหลัง เพราะพระองค์คือผู้ที่ อยู่เบื้องหลังในการสร้าง ความสุ ข ให้ กั บ พวกเรา ชาวไทยอย่างแท้จริง” -จินา โอสถศิลป์ (จีน่า) รุ่น 18 หนึ่งในผู้สร้าง ‘พรจากฟ้า’
“ของที่ ผ มสร้ า งได้ มี ส่ ว นท� ำ ให้ ท ่ า นทรงพระ เกษมส�ำราญ” -ปิยพัชร์ ธัญญะกิจ (เอ่อ) รุ่น 20 ผู้ประดิษฐ์แซกโซโฟนของพระราชา
“พระองค์ทรงเป็นยิ่ง กว่าพระราชา”
-กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ (ครูลิลลี่) รุ่น 24 อาจารย์พิเศษ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่าน ดาวเทียม โรงเรียนไกลกังวล
“มีทกุ อย่างทีด่ เี พราะใคร ฉันจะไม่ลืม”
-พงศ์นรินทร์ อุลิศ (จ๋อง) รุ่น 25 CEO Cat Radio
“ข้าพระพุทธเจ้านางสาว รสสุคนธ์ กองเกตุ จะท�ำ หน้าทีข่ องครูทดี่ ี จะสอน ลูกศิษย์ให้เป็นคนดี หากเป็น ศิลปินก็จะสอนให้พวกเขา รับผิดชอบต่อสังคม” -รสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) รุ่น 32 ครูสอนการแสดง
“ผมรูส้ กึ ภูมใิ จทุกครัง้ ที่ ได้รอ้ งเพลงของพ่อ ทุกตัวโน้ตทีร่ อ้ ยเรียงใน แต่ละเพลงทั้งซับซ้อนและ สวยงาม..ใครมีโอกาสได้ ร้องจะรูเ้ ลยว่าพระองค์ทา่ น คืออัจฉริยะ” -กรกันต์ สุทธิโกเศศ (อาร์ม) รุ่น 43 ศิลปิน นักร้อง
ผ้าขาวม้าผืนเดียว ทุกก้าวย่างของรอยพระบาทแห่งพระวิริยะ อุตสาหะ พระเมตตา และความรักอันยิ่งใหญ่ บนเส้นทางที่เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเยี่ยม เยือน เพือ่ แก้ไขปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อน ของราษฎรทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ได้ถูก จารึกไว้ในความทรงจ�ำของดิฉันอย่างมิรู้ลืม นับแต่ครั้งเยาว์วัย ในปีพุทธศักราช 2499 เคยได้รับเสด็จบนเส้นทางที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรม ราชินนี าถ เสด็จพระราชด�ำเนินทรงเยีย่ มราษฎร ในภาคอีสาน ณ ศรีสะเกษ จังหวัดบ้านเกิด ซึง่ ในครัง้ นัน้ ได้พระราชทานทรัพย์สว่ นพระองค์ ในการพั ฒ นาโรงเรี ย นสตรี ป ระจ� ำ จั ง หวั ด ศรีสะเกษ และพระราชทานนาม ‘สิริเกศ’ ให้ เป็นชือ่ โรงเรียน และต่อมาดิฉนั ได้มโี อกาสเล่าเรียน ณ โรงเรียนสตรีสิริเกศ แห่งนี้ที่ก่อสร้างด้วย พระเมตตาเพื่ อ ส่ ง เสริ ม ด้ า นการศึ ก ษาแก่ เยาวชนในท้องถิ่น หลังจากนัน้ ดิฉนั ได้มโี อกาสรับเสด็จอีกครัง้ เมื่ อ เข้ า รั บ การศึ ก ษาต่ อ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาที่ กรุงเทพฯ ในปีพุทธศักราช 2511 คราเสด็จ พระราชด�ำเนินในการพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่อง ทรงพระแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรตั นศาสดาราม จวบจนส�ำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี ‘แผนก
อิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์’ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะ สม.รุ่น 4 จึงได้มีโอกาสเข้าเฝ้าใกล้ชิดกว่าครั้งไหนๆ ใน พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ในปีพุทธศักราช 2515 และดิฉนั คงจะไม่มโี อกาสได้เข้าเฝ้าพระองค์ ท่านอีกเลย หากมิได้ท�ำงานที่กรมชลประทาน ซึง่ รับผิดชอบด้านการบริหารจัดการ ‘น�ำ้ ’ ปัจจัย หลักทีส่ ำ� คัญต่อการด�ำรงชีวติ ซึง่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงมุ่งมั่นเอาพระราชหฤทัยใส่ ในด้านการพัฒนาแหล่งน�้ำ และจัดหาน�้ำให้ กับราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่อยู่ในสภาพ ความขาดแคลนแร้นแค้น เพื่อช่วยให้พสกนิกร ส่วนใหญ่ของพระองค์มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้น พระบรมฉายาลักษณ์ที่เห็นกันจนคุ้นตา จากหลากหลายพืน้ ที่ คือการเสด็จพระราชด�ำเนิน ย�่ำไปในป่าดง กล้องคล้องพระศอ ในพระหัตถ์ มีแผนที่และดินสอ เสด็จพระราชด�ำเนินน�ำ เจ้าหน้าที่ไปยังจุดหมายต่างๆ ดิฉันช่างโชคดี ที่ ไ ด้ เ ป็ น ผู ้ ห นึ่ ง ที่ มี โ อกาสตามเสด็ จ ไปใน ขบวนในฐานะเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของ กรมชลประทานหลายครั้งในช่วงชีวิตของการ รับราชการ
ในขณะที่บันทึกภาพนี้ไว้ ก็ประทับใจและ ซาบซึ้งกับเหตุการณ์นี้เป็นอย่างยิ่ง ช่วงเวลาหนึ่งของวันที่ 12 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2527 ขณะแปรพระราชฐานไป ประทับแรม ณ พระต�ำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งน�ำขบวนคณะผู้ตาม เสด็จไปโดยไม่มีผู้ใดในขบวนทราบเลยว่าจะ เสด็จพระราชด�ำเนินไป ณ ที่ใด คณะผู้ติดตามมาทราบเอาก็ต่อเมื่อขบวน รถยนต์พระทีน่ งั่ ถึงยังบ้านดงน้อย ต�ำบลดงมะไฟ อ�ำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จากนั้นพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชด�ำเนิน เข้าไปในหมู่บ้านตรงไปยังนายสอน ดวงปากดี ราษฎรบ้านดงน้อย ผู้ซึ่งก�ำลังใช้ชีวิตประจ�ำวัน ไปตามปกติวิสัย โดยไม่รู้ตัวเลยว่า ในวินาที ต่อมา จะได้เข้าเฝ้าฯ ต่อเบื้องพระพักตร์ ‘เจ้า ชีวิต’ ของคนทั้งแผ่นดินในชุด ‘ผ้าขาวม้าผืน เดียว!!!’ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับยืน ต่อหน้านายสอน ทรงซักถามเกี่ยวกับแหล่งน�้ำ และฝายชาวบ้านที่ราษฎรบ้านดงน้อยช่วยกัน สร้างขึ้นมาเอง และทรงขอให้นายสอน เป็น ผู้น�ำเสด็จพระราชด�ำเนินไปทอดพระเนตรฝาย ชาวบ้านในล�ำห้วยเรือ หลังจากคลายความตื่นเต้นลง นายสอน ได้ขอพระบรมราชานุญาตไปเปลี่ยนเสื้อผ้า และกลับมาในชุดเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว
แต่รองเท้าฟองน�ำ้ คูเ่ ดิม และน�ำเสด็จไป หลังจาก ทรงมีพระราชด�ำรัสเย้านายสอนว่า “แต่งซะหล่อ” คงไม่ ใ ช่ น ายสอนเพี ย งคนเดี ย วที่ จ ะ ประทับใจไม่รู้ลืมกับพระมหากรุณาธิคุณที่ทรง พระอุตสาหะเสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงแก้ไข ปัญหาให้กับราษฎรด้วยพระองค์เอง และพระ ราชจริ ย วั ต รอั น งดงามในการที่ มิ ไ ด้ ท รงถื อ พระองค์ครั้งนั้น แต่เหตุการณ์นี้ยังได้แสดงถึง พระอัจฉริยภาพอย่างแท้จริง ในการทีท่ รงหยัง่ รู้ ข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้อง และมีผลต่อความเป็นอยูข่ อง พสกนิกรของพระองค์ เพราะนอกจากพระองค์ท่านแล้ว ไม่มีผู้ใด ทราบเลยว่า ในหมู่บ้านแห่งนั้น มีฝายชาวบ้าน ที่สร้างขึ้นเองอยู่ พระปรีชาสามารถในด้านการศึกษาวิจัย คิดค้น พัฒนาแหล่งน�้ำ ตลอดจนการอนุรักษ์ และฟื้นฟูแหล่งน�้ำอย่างครบถ้วน แสดงให้เห็น เป็นทีป่ ระจักษ์วา่ ทรงเป็น ‘ปราชญ์แห่งสายน�ำ้ ’ โดยแท้จริง ก่อก�ำเนิดโครงการพัฒนาแหล่งน�้ำ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริกระจายในทั่วทุก ภูมิภาคของประเทศด้วยพระมหากรุณาธิคุณ เป็ น ล้ น พ้ น หาที่ สุ ด มิ ไ ด้ ต ลอดรั ช สมั ย ของ พระองค์ ผู้บันทึกและถ่ายภาพ นางณัฐนันฐ์ (พรพรรณ) สมบัติทวี สม.4 อดีตหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมชลประทาน
วาดโดย มัชมน เฉิน (ต้อย) รุ่น 26
ท�ำไมฉันจึงรักในหลวง ชาวต่างชาติจ�ำนวนมากรวมถึงชาวไทยที่ ต่อต้านราชวงศ์คิดว่าการที่คนไทยรักในหลวง เป็นเพราะถูกอบรมสั่งสอนมาจากครอบครัว และสถาบันการศึกษา พวกเขาคิดว่ามันคือ ลัทธิความเชื่อว่าเราต้องรักและเทิดทูนสถาบัน พระมหากษัตริยโ์ ดยไม่มเี งือ่ นไข เพราะกษัตริย์ คือสมมติเทพ การรักในหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์เป็นหน้าที่ที่ชาวไทยพึงปฏิบัติ พวก เขาลืมคิดไปว่ามันเป็นไปได้ยากที่คนจ�ำนวน มหาศาลจะรักบุคคลหนึง่ โดยไม่มเี งือ่ นไข มีลกู จ�ำนวนไม่น้อยที่ไม่รักพ่อแม่ทั้งๆ ที่การเกิดมา เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน มีเลือดเนื้อเชื้อไข เดียวกัน น่าจะเป็นปัจจัยที่ท�ำให้เกิดความรัก โดยไม่มีเงื่อนไข แต่หากพวกเขาไม่ได้รับความ รักและการเลีย้ งดูแบบทีส่ มควรจะได้รบั บางครัง้ ถึงขั้นทารุณทั้งร่างกายและจิตใจ นั่นก็เป็น สาเหตุที่ท�ำให้ลูกไม่รักพ่อแม่ได้ หากพระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชเป็ น กษัตริย์ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่ครองตน อยู่ในทศพิธราชธรรม จะมีชาวไทยหลายล้าน คนรักและเทิดทูนพระองค์ท่านถึงขั้น “ขอเป็น ข้ารองพระบาททุกชาติไป” เชียวหรือ ทีบ่ า้ นของฉันไม่เคยมีพระบรมฉายาลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระราชินีแขวนอยู่บนฝาผนัง พ่อกับแม่ไม่เคย สอนให้รักในหลวง และฉันก็กล้าพูดเลยว่า
ตอนเด็กๆ ฉันไม่ได้รักในหลวง ความรู้สึกของ ฉั น ที่ มี ต ่ อ พระองค์ มี เ พี ย งความเคารพและ ย�ำเกรงในฐานะที่พระองค์เป็นกษัตริย์เท่านั้น ฉันคิดตามประสาเด็กว่าข่าวพระราชกรณียกิจ นัน้ น่าเบือ่ และฉันก็อยากมีอำ� นาจวิเศษเร่งเวลา ให้มนั จบเร็วๆ เพือ่ ทีจ่ ะได้ดลู ะครหลังข่าวและ ฉันไม่เคยอยากฟังพระบรมราโชวาทเนื่องใน โอกาสส�ำคัญต่างๆ แม้แต่ครั้งเดียว พ่อกับแม่แยกทางกันตั้งแต่ฉันยังเด็ก ฉัน ไม่เคยรู้ว่าแม่รักในหลวงหรือเปล่าจนกระทั่ง พ่อเสียชีวิต และแม่กลับมาอยู่กับฉัน ในวัน เฉลิมฉลองที่ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ าอยู ่ หั ว ครองราชย์ครบ ๖๐ ปี ภาพจากโทรทัศน์ฉาย ให้เห็นผู้คนนับแสนที่รอชื่นชมพระบารมีขณะ เสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชรพระที่นั่ง อนันตสมาคม พวกเขาเปล่งเสียงถวายพระพร กึกก้องเมื่อเห็นในหลวงและสมเด็จพระราชินี แม่ซึ่งสวมเสื้อสีเหลืองมีอักษรพระปรมาภิไธย ปักอยู่บนอกรู้สึกตื้นตันจนน�้ำตาไหลพราก ฉัน เองก็เช่นเดียวกัน เหตุการณ์นั้นท�ำให้ฉันรู้ว่า แม่รักในหลวง ส่วนพ่อ ฉันไม่เคยรู้ว่าพ่อรักในหลวงหรือ เปล่า และก็ไม่มีวันจะได้รู้ เพราะถึงจะยังมี ชีวิตอยู่พ่อก็คงไม่ตอบค�ำถามนี้อย่างตรงไป ตรงมา และเมื่อตอนมีชีวิตพ่อก็ท�ำให้ฉันนั้น คลางแคลงใจมานับครั้งไม่ถ้วน แต่ฉันไม่เคย
ปริปากถาม เพราะเรือ่ งแบบนีไ้ ม่ใช่หวั ข้อสนทนา ส�ำหรับครอบครัวของเรา ในฐานะที่ เ ป็ น บุ ต รชายของหลวงนิ ต ย์ เวชชวิศิษฏ์ ท�ำให้พ่อได้มีโอกาสร่วมเล่นดนตรี กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั หลายครัง้ ครา เมื่อบ้านของเราถูกไฟไหม้ ภาพถ่ายและฟิล์ม ตอนที่พ่อเล่นดนตรีกับพระองค์ก็ถูกไฟไหม้ไป ด้วย ซึ่งถึงแม้เหตุการณ์จะผ่านไปแล้วร่วม สามสิบปี บางครั้งพ่อก็ยังบ่นเสียดายภาพ เหล่านั้น และเมื่อมีการพิมพ์ธนบัตรที่ระลึก เนื่องในวโรกาสส�ำคัญ พ่อก็มักจะซื้อมาเก็บไว้ เสมอ ธนบัตรที่จัดพิมพ์ในปี ๒๕๓๐ เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ ๖๐ พรรษา พ่อถึงกับเอาใส่กรอบตั้งโชว์เลยที เดียว บางครั้งเมื่อพ่อเจอพระบรมฉายาลักษณ์ เก่าๆ ของในหลวงและสมเด็จพระราชินีจาก ตลาดนัดสวนจตุจักร พ่อก็จะซื้อมาเก็บไว้ สิ่ง เหล่านี้ท�ำให้ฉันอนุมานได้ว่าพ่อรักในหลวง แต่ก็มีหลายครั้งหลายคราที่พ่อพูดไปในทางที่ ท�ำให้ฉันคิดว่าพ่อไม่รักพระองค์ท่าน และไม่ นิยมชมชอบราชวงศ์ เช่น “ไม่เห็นประเทศอื่น เขาต้องหมอบกราบกษัตริยเ์ หมือนประเทศเราเลย ก่อนจะมาเป็นราชวงศ์จกั รี ก็เป็นคนธรรมดาๆ เหมือนกันนัน่ แหละ” และนัน่ ก็ทำ� ให้ฉนั อนุมาน ได้อีกเช่นกันว่าพ่อไม่รักในหลวง การที่พ่อ เสียดายภาพที่ถูกไฟไหม้ อาจเป็นเพราะพ่อ เสียดายภาพที่ได้ถ่ายกับ ‘พระมหากษัตริย์’ ก็
เป็นได้ ฉันไม่ได้อยู่กับแม่ตั้งแต่เด็ก ได้กลับมาอยู่ ด้วยกันเมื่อกลางปี ๒๕๔๗ และปลายปี ๒๕๕๐ ฉันก็ย้ายมาอยู่ที่ประเทศเบลเยี่ยม จึงพูดได้ ว่าการที่แม่รักในหลวงไม่ได้มีอิทธิพลต่อความ รู้สึกรักในหลวงของฉันแม้แต่น้อย ส่วนพ่อซึ่ง พูดจาไปในท�ำนองดังกล่าวนับครั้งไม่ถ้วนยิ่ง ไม่ต้องพูดถึง พ่อผู้แสดงออกด้วยค�ำพูดในเชิง ลบต่อสถาบันกษัตริย์ จะท�ำให้ฉันรู้สึกจงรัก ภักดีต่อในหลวงได้อย่างไร เมื่อครั้งเป็นนิสิตชั้นปีที่ ๑ ของคณะ นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉัน และเพื่อนๆ ต้องไปยืนเข้าแถวเพื่อรอรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาส อะไรฉันจ�ำไม่ได้ จ�ำได้เพียงว่าฉันไม่สบาย รูส้ กึ อยากอาเจียนตลอดเวลา จึงบอกกับรุ่นพี่ว่าจะ ไม่ไปรับเสด็จ แล้วฉันก็นอนฟุบอยูท่ ใี่ ต้ถนุ คณะ ณ ตอนนัน้ ฉันไม่ได้รสู้ กึ เสียดายเลยสักนิดทีเ่ สีย โอกาสในการได้ชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด เมื่อมองย้อนไปจึงท�ำให้รู้ว่า ณ เวลานั้นฉันยัง ไม่ได้รักในหลวง ถ้าคนไทยรักในหลวงเพราะ ถูกอบรมสั่งสอนให้รัก เพราะเป็นหน้าที่ที่จะ ต้องรัก ในฐานะที่ฉันเป็นคนไทยคนหนึ่ง แถม ยังเป็นหลานของหลวงนิตย์ เวชชวิศิษฏ์ ผู้เคย เป็นข้ารับใช้ใกล้ชดิ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ก็ ส มควรจะถู ก หล่ อ หลอมให้ จ งรั ก ภั ก ดี ต ่ อ พระองค์ท่านตั้งแต่ฉันยังเป็นเด็กไม่ใช่หรือ
ฉันบอกเวลาที่เฉพาะเจาะจงไม่ได้ว่าเริ่ม รักในหลวงตัง้ แต่เมือ่ ไร ความรูส้ กึ รักและเทิดทูน ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นทีละเล็กละน้อย ในวันเฉลิม พระชนม์พรรษาปีหนึ่ง ซึ่งฉันจ�ำไม่ได้ว่าปีไหน ฉันได้ยินเสียงหัวเราะของบรรดาข้าราชบริพาร ที่ นั่ ง ฟั ง พระบรมราโชวาทดั ง ออกมาจาก โทรทัศน์ ท�ำให้เกิดความสนใจใคร่รู้ว่าพวกเขา หัวเราะอะไรกัน จึงตั้งใจฟังพระบรมราโชวาท อย่างจริงจังเป็นครั้งแรกในชีวิต และก็ค้นพบ ว่าในหลวงทรงเป็นนักพูดที่เก่งกาจ ทรงมีวิธีที่ จะเหน็บแนมบุคคลต่างๆ ได้อย่างแยบยล ชนิดคนอื่นข�ำ แต่เจ้าตัวต้องสะดุ้ง ถ้อยความ ในพระบรมราโชวาทให้แง่คิดที่ดีและสามารถ น�ำไปปฏิบัติได้ มุมมองที่ฉันเคยมีต่อพระบรม ราโชวาทจึงเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงนับตั้งแต่วัน นั้น ฉันผู้เคยอยากมีอ�ำนาจวิเศษเร่งเวลาให้ ข่าวพระราชกรณียกิจจบลงโดยเร็ว และไม่เคย อยากฟังพระบรมราโชวาท ณ วันนี้กลับอยาก มีอำ� นาจวิเศษทีส่ ามารถคืนพระวรกายทีแ่ ข็งแรง และเยาว์วยั ให้แก่ในหลวง เพือ่ ให้พระองค์สามารถ ปฏิ บั ติ พ ระราชกรณี ย กิ จ และพระราชทาน พระบรมราโชวาทนานๆ ได้อีกครั้ง เพื่อให้ฉัน ได้ดู ได้ฟัง ได้ซึมซาบมากเท่าที่ใจต้องการ อย่างทีเ่ ขียนไปตัง้ แต่ตน้ ฉันไม่ได้รกั ในหลวง เพราะเป็นพลเมืองของพระองค์และมีหน้าที่ ต้องรักโดยไม่มเี งือ่ นไข และไม่มใี ครสัง่ สอนให้รกั เหตุผลของฉันคงเหมือนกับเพื่อนร่วมชาติอีก
หลายล้านคน เรารักพระองค์เพราะประจักษ์ ด้วยตนเองว่าทรงห่วงใยประชาชนอย่างแท้จริง และทรงครองแผ่ น ดิ น โดยทศพิ ธ ราชธรรม ตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ พระองค์ เสด็จพระราชด�ำเนินไปยังถิ่นทุรกันดารทั่วผืน แผ่นดินไทย ที่ที่คนทั่วไปไม่คิดจะย่างกราย เพื่อช่วยเหลือให้พสกนิกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้ง มูลนิธติ า่ งๆ ไม่เคยหยุดทรงงานแม้ยามประชวร ภาพพระเสโทที่ผุดบนพระพักตร์ และซึมผ่าน ฉลองพระองค์ขณะทรงงานท�ำให้ฉันตื้นตันจน น�้ำตารื้นทุกครั้งที่เห็น มีกษัตริย์องค์อื่นใดใน โลกที่ทุ่มเทเพื่อพสกนิกรเช่นพระองค์บ้าง ไม่มี เลย ฉันจึงรู้สึกว่าโชคดีและเป็นบุญหนักหนาที่ เกิ ด มาบนผื น แผ่ น ดิ น ไทยใต้ ร ่ ม พระบรม โพธิสมภาร ฉั น ไม่ รู ้ ว ่ า จะท� ำ สิ่ ง ใดเพื่ อ ตอบแทนพระ มหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ได้ นอกจากอบรม สัง่ สอนลูกให้รกั ชาติ ศาสน์ และกษัตริย์ หวงแหน ปกป้องและไม่คิดบ่อนท�ำลายแผ่นดินที่พวก เขาถือก�ำเนิด และให้พวกเขาภาคภูมิใจที่เกิด มาเป็นคนไทย เป็นประชาชนของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กนกกาญจน์ เวชชวิศิษฏ์ (แอน) รุ่น 26
ปวงข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ทีมงานผู้จัดท�ำวารสาร ‘สายใย’ นายกสมาคมฯ: ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. หม่อมหลวง วิฎราธร จิรประวัติ (ครูก)ี้ , จินา โอสถศิลป์ (พีจ่ นี า่ ) รุน่ 18 ที่ปรึกษา: วีระเกียรติ เอื้อประเสริฐวณิช (พี่เกียรติ) รุ่น 24 บรรณาธิการ: พงศ์นรินทร์ อุลศิ (พีจ่ อ๋ ง) รุน่ 25 บรรณาธิการประจ�ำฉบับ: อ�ำนาจ จิวพานิชย์ (ติง้ ) รุน่ 45 ผู้ช่วยบรรณาธิการ: รัชตะ ทองรวย (มอส), ทศพร ไกรวุฒิวงศ์ (เคน) รุ่น 48 ประสานงาน: ภรภัทร ศิลปการธนกิจ (พี่หลิน) รุ่น 42 กองบรรณาธิการ: ภาวิศ สมหมาย (เฟิร์สท) รุ่น 45, มนต์ทิพา วิโรจน์พันธุ์ (อิ๊ก) รุ่น 47 ศิลปกรรม: ปพิชญา ถนัดศีลธรรม (โบกี้) รุ่น 51 กองบรรณาธิการภาพถ่าย: จัสติน โสตางกูร (จัสติน) รุ่น 45, ชัชนันท์ ฉันทจินดา (กาน) รุ่น 48, ธันวา ลุจินตานนท์ (ธันวา) รุ่น 49 เอื้อเฟื้อภาพปก: ยุวรัตน์ สุรัตนาสถิตย์กุล (พี่ต่อ) รุ่น 43 การเงิน: เทวิกา เอื้อประเสริฐวณิช (พี่เต้ย) รุ่น 33 การพิมพ์: พุฒิชัย วรบรรณากร (พี่จุ้ย) รุ่น 42 บรรจุไปรษณีย์ภัณฑ์: นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และขอกราบขอบพระคุณพี่น้องชาวนิเทศฯ ที่ไม่เอ่ยนามไว้ในที่นี้ ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือในทุกๆ ด้าน จนสายใยเล่มนี้ส�ำเร็จลงได้
CPN
สหพัฒนพิบูล