ฉบับที่ 34 | สิงหาคม 2560 | การฟัง
AD GUM ALIVE
หน้านายก สวัสดีพี่น้องชาวนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ สายใยเล่มนี้ นับเป็นเล่มที่ 3 ที่ ส ่ ง ถึ ง มื อ ทุ ก ท่ า นในช่ ว งที่ เ ราสองคนเข้ า มาเป็ น นายกสมาคมฯ ทุกวันนี้ได้เจอพี่น้องชาวคณะมากมายที่ไปท�ำหน้าที่นักสื่อสาร ทั้งเขียนข่าวให้คนอ่าน ท�ำหนังให้คนดู คิดโฆษณาเปรี้ยงๆ ให้คนรู้จักสินค้า ฯลฯ แต่สายใยเล่มนี้ เราอยาก เชิญชวนให้นักสื่อสารอย่างพวกเราทุกคน หันมาให้ความส�ำคัญกับ “การฟัง” เพราะไม่ว่าเราจะสวมหมวกเป็นนักสื่อสารด้วยวิธีไหน หรือสวมหมวกเป็นคนทัว่ ไป เป็นลูก เป็นเพื่อน เป็นแฟน เป็นพ่อหรือเป็นแม่ก็ตาม เราทุกคนก็ต้องใช้การสื่อสารกันทุกวัน อยู่ดี และที่ส�ำคัญ เราเชื่อว่า การสื่อสารที่ดีนั้น เริ่มต้นจาก “การฟังให้เป็น” เสียก่อน พอพู ด ถึ ง ตรงนี้ ค� ำ สอนของท่ า นชยสาโร (พระฝรั่ ง ที่ เ ป็ น ลู ก ศิ ษ ย์ ห ลวงพ่ อ ชา) ก็ดังขึ้นมาทันทีว่า... ทุกวันนี้สังคมของเรามีปัญหามาก เพราะพวกเราเอาแต่ พู ด ไม่มีใครฟัง หรือจะฟังก็ “ฟังแต่ไม่ได้ยิน เพราะไม่ได้เอามาถึงใจ” จะดีแค่ไหนถ้าเราทุกคน เริ่มต้นจาก “ฟังกันให้เข้าถึงใจ” แล้วจึงค่อยๆ “พูด-เขียนแสดง-สื่อสาร” ออกมาจากใจ ถ้าจะให้เปรียบ ก็คงไม่ต่างจากที่คนเราต้องหายใจเข้า นั่นคือการฟังให้เข้าไปถึงใจ แล้วจึงจะหายใจออก ก็คือการสื่อสารออกมาจากใจ ขอให้ทุกๆท่านอ่านสายใยเล่มนี้ให้สนุกและเข้าถึงใจ ด้วยรักจากใจของนายกฯคู่ ผศ.ดร.ม.ล.วิฏราธร จิรประวัติ (กี้ 18) จินา โอสถศิลป์ (จีน่า 18) นายกสมาคมนิสิตเก่านิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
AD หัวช้าง
บทบรรณาธิการ ที่ผมสนใจใน “การฟัง” จนหยิบมาท�ำ สายใยฉบับนี้ เริ่มมาจากการฟัง Podcast ครับ (ซึ่ง Podcast คืออะไรติดตามได้ในเล่ม) พอฟัง Podcast ท�ำให้วันๆหนึ่งผมได้ใช้หู ตั้งใจฟังสิ่งต่างๆมากขึ้นกว่าปกติ จนเกิด ค�ำถามขึ้นมาว่า แล้วในชีวิตปกติของเราฟัง อะไรบ้าง แน่นอนอยูแ่ ล้วว่า ฟังเพลง ฟังวิทยุ แต่จริงๆ แล้วเราก็เปิดมันเป็นเสียงประกอบ การท�ำกิจกรรมอย่างอื่นอยู่เสมอ ไม่ได้ตั้งใจ นั่งฟังจริงๆเท่าไร ไปจนถึงในบทสนทนา เวลาคนอื่นพูด เราฟังจริงๆรึเปล่านะ มาคิดดูแล้ว โสตสัมผัสของมนุษย์เราเป็น สิ่งมหัศจรรย์ หูของเราได้ยินเสียงต่างๆแล้ว จ�ำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งนั้นอยู่ไหน ใกล้ไกล ซ้ายขวา ฟังเสียงคนคนหนึง่ พูดก็บอกอะไรได้ หลายอย่าง ผู ้ ช าย ผู ้ ห ญิ ง เป็ น คนยั ง ไง อยู่ในอารมณ์ไหน ฯลฯ หรือต่อให้เราหลับตา
แต่ ถ ้ า ตั้ ง ใจฟั ง ค� ำ บรรยายพรรณาบางสิ่ ง เราก็สามารถเห็นภาพนั้นได้ และทีส่ ำ� คัญ ไม่ใช่เพียงเรือ่ งของโสตสัมผัส ไม่ว่าใครๆ ต่างก็ต้องการถูกรับฟังกันทั้งนั้น การรับฟังสามารถมีความหมายได้หลายอย่าง ทั้งสนใจ ใส่ใจ เป็ น ห่ ว งเป็ น ใยหรื อ เข้ า ใจ ยิ่งเป็นเหตุให้ผมสนใจจะแสวงหาต่อไปว่า เหตุใดการฟังถึงส�ำคัญกับมนุษย์เราขนาดนั้น หลายๆ คอลัมน์ในสายใยฉบับนี้ เขียนด้วย ความตั้งใจให้มันถูกฟังมากกว่าแค่อ่านเฉยๆ หากท่านอ่านแล้วรู้สึกแปลกๆ หรือขัดใจกับ ส�ำนวนภาษาประหลาดๆ อาจจะต้องรบกวน ให้ ล องฟั ง ต้ อ งขอบคุ ณ เทคโนโลยี ใ นยุ ค ปี 2017 ที่ท�ำให้เราได้มีสายใยฉบับออนไลน์ ที่จะท�ำให้ท่านได้ฟัง ไปพร้อมๆ กับอ่านด้วย ขอขอบคุณทุกคนที่รับฟังครับ รัชมอส 48
*หนังสือสื่อผสมใช้ผสานความสัมพันธ์ของพวกเรา โดยสมาคมศิษย์เก่าคณะ นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขนาด A5 ซึ่งเท่ากับครึ่งหน้า A4 ดังที่อ.มานพ รุ่น7 สอนไว้ให้เราฟังกัน มีความหนา 48 หน้า และยังมาในคลื่น ความถี่ตั้งแต่ 20 - 2 หมื่นเฮิร์ตซ์ ให้เลือกฟังได้ในระบบออนไลน์ หัวหน้าใหญ่: ครูกี้ พี่จีน่า 18 | บรรณาธิการใหญ่: พี่จ๋อง 25 บรรณาธิการประจ�ำฉบับ: รัชมอส 48 | ผู้ช่วยบรรณาธิการ: เคนหมี 48 ประสานงาน: พี่หลิน 42 | กองบรรณาธิการ: รัชมอส ริบบิ้น ตูมตาม 48 ปอย 49 บรรณาธิการศิลปกรรม: เอมหมี 51 | รูปเล่ม: แตงกวา 50 โบกี้ 51 เฟอร์ 52 บรรณาธิการแฟชั่น: โจ้ 48 | ประสานงานแฟชั่น: จิ๊กซอ 51 | ภาพถ่าย: โบนนี่ 51 ภาพปก: ซูโม่ 51 | เรื่องสั้น: พาย 45 | พิสูจน์อักษร: ติ้ง 45 | เหนียวแน่นหนึบ: พี่เกียรติ 24 ติดสติ๊กเกอร์และส่งไปรษณีย์: น้องๆ คณะที่น่ารัก
เหนียวแน่นหนึบ #34 สมาคมนิ สิ ต เก่ า นิ เ ทศศาสตร์ จุ ฬ าฯ ร่วมเป็นเจ้าภาพพิธบี ำ� เพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม พระบรมศพพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร มหาภูมิพ ลอดุ ล ยเดช 16 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 10.00 น. ด้วยส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณุ อันหาทีส่ ดุ มิได้
เ ห นี ย ว แ น ่ น ห นึ บ # 3 4 ขอบันทึกกิจกรรมและความไทรงจ�ำ ดีๆ ดูกี่ทีก็มีรอยยิ้ม อิ่มใจ และภูมิใจ
เริ่มด้วย “เป็ด เปลี่ยน โลก” พลังเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ นักนิเทศศาสตร์อย่างพวกเราก็ใช้ ความรู้ความสามารถช่วยขับเคลื่อนสังคมให้ ดีขนึ้ ได้ และสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผคู้ น อีกมากมาย ผูส้ ร้างแรงบันดาลใจทั้ ง 14 คน พี่จิมมี่ พจนารถ (10) , พี่ซัน มาโนช (12) , พี่เก้ง จิระ (15) , พี่จุ้ย ศุ บุญเลี้ยง (16) , พี่จินา (18) , พี่ แหม่ ม ยุ พา (18) , พี่ จ ๋ อ ม ดร.ณั ช ร (21) , ดี เ จพี่ อ ้ อ ย นภาพร (24) , บี๋ ปรารถนา (26) , ไอ๋ สุพฒั นุช (28) , ครูเงาะ รสสุคนธ์ (32) , ปิง เกรียงไกร (39) , ครูลกู กอล์ฟ คณาธิป (40) และ ปิ ๊ ป โป้ เปรมวิ ชช์ (41) มีความหลากหลายในสไตล์ของแต่ละคน มาร่วม แบ่งปันประสบการณ์ จุดประกาย กระตุกต่อม ท่านนายกฯคู่ ครูกี้ & พี่จีน่า (18) น�ำทีม ให้พวกเราตระหนักว่านักนิเทศศาสตร์ตวั เล็กๆ พี่ น ้ อ งนิ เ ทศจั ด งานเป็ ด ๆกั น ตั้ ง แต่ ต ้ น ปี อย่างพวกเราท�ำอะไรได้บา้ ง สามารถดูยอ้ นหลัง แต่ ดู อี ก ที น ่ า จะเรี ย กว่ า งานช้ า งมากกว่ า ได้ทาง youtube ค้นด้วยค�ำว่า “เป็ด เปลีย่ น โลก” มีทงั้ แบบรายการทีอ่ อนแอร์ชอ่ ง 3 และ เพราะอลังการงานสร้างทุกกิจกรรม เป็ด เปลี่ยน โลก แบบคลิปแยกแต่ละคน เลือกได้ตามสะดวกแต่ การันตีวา่ งานดีทกุ คนครับ ลืมไม่ได้ตอ้ งปรบมือ ดังๆให้แม่งาน จอย โสภิตา (27) และทีมงาน ทุกคนครับ
เป็ด ติด ล้อ
มอบให้ อิสรา จั ด งานเสร็ จ ยั ง พอมี เ งิ น เหลื อ อยู ่ บ ้ า ง จึ ง ม อ บ เ งิ น ส นั บ ส นุ น ส ถ า บั น อิ ศ ร า มูลนิธพิ ฒั นาสือ่ มวลชนแห่งประเทศไทยจ�ำนวน 50,000 บาท เพือ่ เป็นก�ำลังใจในการท�ำหน้าที่ นั ก สื่ อ สารมวลชนอย่ า งมี จ รรยาบรรณและ จริยธรรม เป็นแบบอย่างทีด่ โี ดยเฉพาะในการท�ำ ข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน โดยพี่เก๊ ประสงค์ เลิศรัตนวิสทุ ธิ์ (16)ผูอ้ ำ� นวยการสถาบันอิศรา มารั บ มอบด้ ว ยตั ว เองที่ ค ณะและได้ เ ล่ า ถึ ง ประสบการณ์ในการท�ำข่าวตรวจสอบเรือ่ งทุจริต คอรั ป ชั่ น อย่ า งโชกโชนแบบไม่ ห วั่ น ต่ อ ภั ย คุกคาม สนุ ก สนานน่ า ติ ด ตาม ในอนาคต สมาคมฯน่าจะเชิญพี่เก๊มาเล่าแบบยาวๆก็ดี เหมือนกันนะครับ นอกจากงานทอล์คแล้ว “เป็ด เปลีย่ น โลก” ยังมีในรูปแบบหนังสือด้วย กลัน่ กรองจากมัน สมองและแรงงานของทีมงานมากกว่าร้อยชีวติ ที่ อ�ำ อมราพร (31) บก.ใหญ่ ทัง้ เชิญชวนและ บีบบังคับมา อ่านแล้วคุณจะรูว้ า่ นิเทศศาสตร์ เปลีย่ นแปลงโลกได้อย่างไร!! อ่านแล้วจะรูส้ กึ ว่า ตัวเราเองก็เปลีย่ นโลกได้เช่นกัน!!! หนังสือดีๆ แบบนีเ้ หลืออีกไม่มาก โทรเลย ติง้ (45) อ�ำนาจ จิวพานิชย์ โทร. 080 255 7622
กิจกรรมต่อไปงานวิ่งมหากุศล “เป็ดติดล้อ” งานตื่นเช้าของชาวนิเทศที่ไม่ได้มีบ่อยครั้งนัก งานนี้ พี่จีน่า (18) ขนดารามายกค่าย GDH ทั้งมาวิ่ง ทั้งเอาของส่วนตัวมาประมูล ทั้งแจก ลายเซ็ น ขายเสื้ อ ท� ำ ทุ ก อย่ า งเพื่ อ เอาเงิ น ไปท�ำบุญ ตัง้ ใจจะหาเงินผลิตวีลแชร์ทั้งหมด 51 คัน (ครบรอบ 51 ปี นิเทศ จุฬาฯ) มอบให้ แก่นอ้ งๆทีไ่ ม่สามารถเดินเองได้ เสมือนเป็นการ ติดล้อให้น้อ งๆได้ ก ้ าวไปข้ างหน้ าพร้ อ มๆ กับพวกเรา “ถึงเวลา พากันไป ให้ไกลกว่า เดิม” บรรยากาศความสนุกสนานและความ ประทับใจไม่อาจบรรยายเป็นตัวหนังสือได้ ชมภาพสวยๆได้อารมณ์กว่าเยอะครับ
สิ่งที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดจนต้อง บันทึกเป็นต�ำนานของวงการวิง่ นัน่ คืออาหารอร่อยๆ ทีย่ งิ่ กว่าจัดเต็ม จัดให้อย่างไม่อนั้ งานนีอ้ มิ่ ใจแถม อิม่ ท้องแบบทีน่ า่ จะอิม่ กันไปถึงเย็นเลย ปรบมื อ ดั ง ๆให้ พ ่ อ งานแม่ ง านทั้ ง หลาย พี่ ป ระเสริ ฐ (18) บี๋ ราaรถนา (26) อิ ม จินตกาญ (33) ทีมงานชาวนิเทศทัง้ นิสติ เก่า นิสติ ปัจจุบนั เจ้าหน้าทีค่ ณะทุกคน ดารา-ทีมงาน GDH ทีมชัตเตอร์รนั นิง่ และผูเ้ กีย่ วข้องทุกๆท่าน
ที่ส�ำคัญอย่างยิ่งคือสปอนเซอร์ใจบุญทั้งหลาย ที่ ท� ำ ให้ ง านวิ่ ง มหากุ ศ ลครั้ ง นี้ ป ระสบความ ส�ำเร็จอย่างยอดเยีย่ ม กราบงามๆและหวังว่าจะ ได้มโี อกาสท�ำบุญร่วมกันอีกหลายๆงานนะครับ และจากการสนั บ สนุ น อย่ า งเต็ ม ที่ ข อง สปอนเซอร์ใจบุญ รวมกับรายได้จากการประมูล ของดารา รายได้จากเกมตักไข่ รายได้จากการ ขายเสือ้ ทัง้ หมดแล้ว เมือ่ มอบวีลแชร์ 51 คันให้ แก่มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีแล้ว ยังมีรายได้เพียงพอส�ำหรับบริจาคให้แก่มูลนิธิ และโครงการดีๆ อีก ดังนี้
1. มูลนิธชิ ยั พฤกษ์ จ�ำนวนเงิน 200,000 บาท 2.มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ จ�ำนวนเงิน 200,000 บาท
มูลินิธิชัยพฤกษ์
มูลนิธิพระมหาไถ่
3. กลุม่ นิเทศ จุฬาฯ อาสา - โครงการช่วยเหลือเร่งด่วน ศูนย์การ เรียนต�ำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่เหลอ ต.เสาหิน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน จ�ำนวนเงิน 150,000 บาท - โครงการช่วยเหลือโรงเรียนบ้านสะ บัน ต.ดงพญา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน จ�ำนวน เงิน 150,000 บาท ซึ่งในแต่ละครั้งที่น�ำเงินไปมอบให้มูล นิธิฯยังได้ร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ของ ทางมูลนิธิฯอีกด้วย ถือเป็นความสุขที่ได้ รับเพิ่มเติมมาอีก ขอให้ผลบุญกุศลที่ได้ท�ำ ร่วมกันในครั้งนี้ส่งความสุขไปถึงทุกๆท่าน ด้วยนะครับ ปิดท้ายด้วยสมาคมฯร่วมแสดงความ ยิ น ดี กั บ พี่ ปุ ย รศ.ดร.วิ ล าสิ นี พิ พิ ธ กุ ล รุ่น 18 ที่ได้รับต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการไทย พีบเี อสคนใหม่ เลยได้โอกาสคารวะ รศ.จุมพล รอดค�ำดี รุน่ 2 ประธานกรรมการนโยบายฯ และ พีส่ ธุ รี ์ รัตนนาคินทร์ รุน่ 5 ที่ก�ำลัง ประชุมงานกันอยู่พอดี
ความส�ำคัญ ของการรับฟัง “One of the most sincere form of respect is actually listening to what another has to say.” “วิธีหนึ่งที่จะแสดงความจริงใจได้ดีที่สุด คือการฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดอย่างแท้จริง” – Bryant H. McGill นักเขียนและนักสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกัน
“We have two ears and one mouth, so we should listen more than we say.” “เรามีหูสองหู แต่เรามีปากแค่ปากเดียว ดังนั้นเราจึงควรฟัง มากกว่าพูด” - Zeno of Citium นักปราชญ์ชาวกรีก
สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสู่สายใยฉบับ ‘การฟัง’ การฟังคืออะไร? ผมมองว่า การฟังคือการเชื่อมต่อ ท่านผู้อ่านลอง หลับตาลง (แต่อ่านให้จบย่อหน้าก่อนนะ) จะสังเกตได้ว่า แม้ว่าเราจะ หลั บ ตาลง แต่ เ รายั ง ได้ ยิ น เสี ย งต่ า งๆ อยู ่ เรายั ง รู ้ ว ่ า เราอยู ่ ที่ ไ หน ผ่านเสียงบรรยากาศทแวดล้อม รู้ว่ารอบตัวเราคนเยอะหรือน้อย การฟัง เชื่อมเราไว้กับสถานที่และเวลา และไม่เพียงเท่านั้น การฟังยังเป็นสิ่งที่ เชื่อมมนุษย์เราเข้าด้วยกัน ผมเชื่อว่าการรับฟัง เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการสื่อสาร ถ้าเราเป็น นักเรียนที่ตั้งใจฟัง เราก็จะรับรู้และจดจ�ำเนื้อหาวิชาเรียนได้มากกว่า ถ้าเราเป็นเพื่อนที่พร้อมและตั้งใจรับฟังปัญหาของเพื่อน เราก็จะเป็นเพื่อน ที่ดี มีความเข้าอกเข้าใจ และนอกเหนือจากการฟั ง ที่ ดี จ ะท� ำ ให้ เกิ ด การสื่ อ สารที่ มีป ระสิท ธิภ าพ การฟังทีด่ อี าจจะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองมากขึน้ เป็นมนุษย์ทสี่ มบูรณ์ขนึ้ สายใยฉบับนี้ จะพาไปส�ำรวจการรับฟัง และหวังว่าเราจะได้ยินอะไร ดีๆ กลับมา
“เคยเหมือนแบบคุยกับคนที่ท�ำงานโอทอป แล้วด้วยความที่เขาอาจจะอยู่ต่างจังหวัด แล้วเขาอาจจะไม่ถนัดคุยไลน์ หรือโทรศัพท์มา คือต่อให้คุยโทรศัพท์ คือเขาก็จะมีอายุด้วย คือ การสื่อสารก็จะแบบเหมือนฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ” “คือถ้ามองในแง่ของการแสดงเลย ถ้านักแสดงไม่ฟังเลยนักแสดงก็จะเล่นแต่สิ่งที่เตรียมมา จากบ้านฝั่งเดียว เราในฐานะคนดูเราก็จะรู้สึกว่า นี่แกเล่นอะไรท�ำไมมันดูเฟกจัง มันดูไม่จริง เลย ท�ำไมแกเล่นอยู่ฝั่งเดียวแล้วแกก็แค่หยุดรอให้อีกฝั่งนึงพูด” “ปัญหาของการสื่อสารของนักเขียน มันคือการที่เวลาพูดถึงสไตล์งานเขียนมันอธิบายยาก ว่าจะให้ออกมาเป็นแบบไหน” “คิดว่าที่คุยแล้วฟังกันไม่รู้เรื่อง คือเวลาอาร์ตพูดแล้วกองบางคนไม่เข้าใจว่าก�ำลังพูดถึงเรื่อง อะไรอยู่ บางทีเขาก็จะพูดว่าเลย์เอ้าท์มันจะเป็นประมาณนั้นประมาณนี้ ซึ่งเราคิดว่ากองบางคน เขานึกภาพตามไม่ออกว่าจะเป็นยังไง” “เป็นนักข่าวการเมือง ต้องสัมภาษณ์ นายก รองนายก รัฐมนตรี อะไรงี้ ต้องดักสัมภาษณ์ แล้วเหมือนตอนนี้มันเป็นยุค คสช. ใช่มะ ก็จะมีแต่ทหาร ทหารเต็มไปหมด แล้วทหารพูดไม่รู้ เรื่อง! เป็นอาชีพที่ไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นนักการเมือง อย่างนายกก็จะแร็พเร็วมาก แล้วพูดดังมาก ไม่เข้าใจว่าจะแร็พท�ำไม แล้วบางคนพูดไม่ปะติดปะต่อ แบบ เอ่อ อ่า อืม เอ้อ แล้วก็แกะไป เทปสองนาที แกะเป็นชั่วโมง เพราะไม่รู้พูดว่าอะไร” “เหมือนน้องผู้ก�ำกับเขาเห็นภาพไม่ค่อยชัด แล้วเขาก็บรีฟมา เหมือนเขาก็ไม่รู้ว่าตัวเองบรีฟ อะไร แล้ ว เขาก็ ไ ม่ รู้ ว ่ า จริงๆ แล้วตัวเองต้องการอะไรสุ ด ท้ า ยแล้ ว ก็ ท� ำ ออกไปไม่ ถู ก เพราะก็ ไ ม่ รู้ ว ่ า ต้ อ งท� ำ ยั งไง” “มันก็จะมี flight คนเวียดนามกับคนเตหราน ทีแ่ บบพีกๆ เลยคือ เขาจะไม่พดู ภาษาอังกฤษ เลย ผู้โดยสารฟังไม่รู้เรื่องจนแบบ ก็ไม่รู้จะแก้ปัญหายังไง” ในเส้ น ทางชี วิ ต และวิ ช าชี พ นิ เ ทศศาสตร์ เราอยู่กับการสื่อสาร และถ้าหากเราสื่อสารกัน ราบรืน่ มีประสิทธิภาพ ก็คงไม่มคี ณะนิเทศศาสตร์ ตัง้ แต่ตน้ เราทุกคนทีใ่ ช้ชวี ติ ในสังคมต้องเจอปัญหา กันบ้าง แต่ว่าค�ำถามคือ เราพูดกันไม่รู้เรื่องจริงๆ หรือเราแค่ฟังกันไม่เข้าใจกันแน่? การฟังคือกระบวนการรับข้อมูลข่าวสารที่มี มาก่อนประวัตศิ าสตร์ ก่อนการประดิษฐ์ตวั อักษร ความรู้ ความเชื่อ พิธีกรรม และวัฒนธรรมต่างๆ ของมนุ ษ ย์ ถูก ถ่ า ยทอดผ่ า นสื่อ ทางเสียงทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า การเรียน การสอนแบบมุขปาฐะ ต�ำนานกาพย์กลอนถูกเล่า ผ่านเสียงและจดจ�ำด้วยการฟัง แต่ทุกวันนี้ เรากลับฟังกันได้ยากล�ำบาก เหลือเกิน โลกเสียงดังขึ้น เราอยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่เสียงรบกวนมากมายไปหมด ไม่ว่าจะเสียงรถรา เสียงโฆษณา หรือว่าดนตรี ประกอบกับเราหันมา รับสื่อผ่านสายตาเสียเป็นส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็น ภาพเคลื่ อ นไหวในโทรทั ศ น์ ห รื อ จอโทรศั พ ท์ เราอ่านข้อความตัวอักษรสั้นๆ ในสื่อออนไลน์
และโซเชียลมีเดียทั้งหลาย ที่ส�ำคัญเราท�ำทุก อย่างด้วยความเร็วทีส่ งู เหลือเกิน ซึง่ นัน่ อาจเป็น เหตุผลหนึ่งที่ท�ำให้ทุกวันนี้ เราสนใจการฟังกัน น้อยลงผมมีเรื่องจากลูกศร48 เธอท�ำงานเป็ น Project Manager ทีส่ ตูดโิ อออกแบบแห่งหนึง่ ลูกศรเล่าให้เราฟังว่า: “เคยคุยกับคนที่ท�ำงาน OTOP แล้วด้วย ความที่ เ ขาอาจจะอยู ่ ต่างจังหวัด แล้วเขา อาจจะไม่ถนัดคุย ไลน์ หรือโทรศัพท์ มา คือต่อให้คุย โทรศัพท์ คือเขาก็ จะมีอายุด้วย คือการ สื่อสารก็จะ แบบเหมือนฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ หรือส่งไลน์ส่งรูปไปเขาก็จะไม่ค่อยอ่าน อาจ เป็ น เพราะด้ ว ยสายตาหรื อ ด้ว ยอะไรเงี้ย แล้วมันเหมือนมันไม่คุย คุยกันไม่รู้เรื่อง แล้วก็ จะเหมือนท�ำให้เข้าใจผิดกันบ้าง คือเหมือนแบบ อธิบายเขาว่า “ถ้าสมมติวา่ ท�ำแจกันตัวเนีย้ ค่ะ อาจจะมีลวดลายเป็นของตัว เองแบบเฉพาะทาง คือเดี๋ยวหนูเขียนลายไว้ให้ แล้วก็วาดลายลงไป” ซักพักเขาก็จะแบบว่า “อะไรนะ ท�ำไมอะ นี่ไง เข้ามาดู เข้ามาดูลายที่ ร้านก่อนมันก็จะมีลายเนีย่ ให้เลือก คิดใหม่ท�ำไม” สุดท้าย ลูกศรก็ขับรถไปคุยกับลูกค้าคนนี้ ต่อหน้าเลยจริงๆ ซึง่ กลับกลายเป็นว่าได้ผลมากๆ คุยรู้เรื่อง ฟังกันชัดเจน เห็นสีหน้าค่าตา และ เข้าใจกันมากขึน้ ท�ำให้ผมรูส้ กึ ว่า บางทีตัวกลาง ที่เชื่อมต่อเราไว้ด้วยความเร็วสูง กลับกลายเป็น อุปสรรคที่ขัดขวางเราไว้ไม่ให้ได้เชื่อมต่อสื่อสาร กันจริงๆ แต่บางที เจอหน้าคุยกันตรงๆ ก็ไม่ได้แปลว่า จะราบรื่นเสมอไป บางที เราเจอหน้ากัน คุยกัน
ได้ยิน แต่ก็ยังฟังกันไม่ เข้าใจอยูด่ ี แพรวา48 เคยท� ำ งานเป็ น Post-Producer และเจอเรือ่ งราว ดังนีค้ รับ: “คื อ ตอนที่ ท� ำ บริษัทเก่าอะ มันท�ำเกี่ยว กั บ หนั ง ใช่ป่ะ แล้วเพิ่งเข้าไปท�ำ แล้วก็หลักๆ ก็คือมี ความรู้เกี่ยวกับหนังน้อย เพิ่งเข้าไปท�ำได้แบบไม่ ถึงเดือนอะไรเงี้ย แล้วมีลูกค้าคนนึง ซึ่งเขาก็เป็น ลูกค้าเก่าของที่นี่แหละ แต่ปกติเขาติดต่อกับ โปรดิ ว เซอร์ อี ก คนนึ ง แล้ ว เรามาแทนคนนั้ น ท� ำ ให้ เ ขาต้ อ งติ ด ต่ อ กั บ เรา แล้ ว ก็ คุ ย กั น อยู ่ โปรเจคต์นึง โอเคเราก็ให้ข้อมูลเขาได้ไม่ครบ ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราให้ข้อมูลถูกต้องทุกอย่าง ให้ เ หมื อ นแบบจาก 100 เราให้ เ ขาแค่ 60 เราอาจจะไม่ได้ขยายความให้ครบ 100 เออแล้ว เหมือนแบบพอเราไม่ได้ให้ครบ ลูกค้าเขาก็เอา ไปตีความอีกแบบนึง ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเขาเอาไป ตีความอีกแบบนึงยังไง ทั้งที่เราใช้ค�ำพูดเดียว กับพี่คนเก่าเลย เหมือนแบบพี่คนเก่าเขาใช้ ศัพท์ไหนค�ำไหนค�ำนั้น ใช้ศพั ท์เดิมไม่มกี าร แปลงศัพท์ไ ปตี ค วามหมายเพิ่ ม ใดๆ พอเขา เข้าใจผิด มันท�ำให้ระยะเวลาท�ำงานของโปรเจกต์ นั้นมันเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเขาก็ไม่พอใจแบบ เฮ้ย ท�ำไมอยู่ๆโปรเจคต์นี้ใช้เวลาเพิ่มขึ้นไม่ใช้ เวลาเท่าเดิม แล้วเขาก็โกรธ ท�ำไมแบบน้องคน ใหม่แม่งไม่โอเคแบบนีว้ ะ อะไรประมาณนี้ แล้วก็ไป บ่นกับโปรดิวเซอร์คนเก่าทีเ่ พิง่ ออกไป ซึง่ โปรดิวเซอร์ คนนั้น เขาฟังไปแล้วก็เข้าใจทุกเรื่อง ว่าแบบ เออ น้องยังใหม่ แต่สิ่งที่น้องพูดมาไม่ได้ผิดเลย นะ ผิดทีว่ า่ ยูสอื่ สารกันไม่ครบ เท่านัน้ เอง อะไร แบบนี้ สุดท้ายพี่ที่เป็นโปรดิวเซอร์คนเก่าเขาก็
เอากลั บ มาคุ ย ให้ ฟ ั ง ว่ า เออมั น เกิ ด แบบนี้ ขึ้ น นะ ลองแก้ไขดูอะไรยังไง แบบนี้ ซึ่งหลังจาก นั้นก็ไม่มีปัญหา เราก็เรียนรู้งานมากขึ้น เวลาเจอ เขาก็ไม่ได้เกลียดกัน เราก็รบั เขาเป็นลูกค้าคนนึง”
เป็นกระบวนการของการเรียนให้มีอินเนอร์ในใจ ให้มีเป้าหมาย จุดประสงค์ (objective) ในการ เข้าไปในแต่ละซีนเช่นแบบว่า แกก�ำลังจะเดิน เข้าไปในซีนซีนนี้เพื่อที่จะท�ำให้อีกฝั่งนึงรู้สึกผิด ทีส่ ดุ ตัวเล็กสุดเท่าทีจ่ ะตัวเล็กได้ เพราะฉัน บริ บ ททางการสื่ อ สารก็ เ ป็ น อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง ต้องการชนะจากซีนๆนี้ ดังนั้นมันก็จะไม่ค่อยฟัง ความแตกต่างทางภาษา วัฒนธรรม การเลือกใช้ อะไรอย่างอื่นหรอก มันก็จะเอาตัวเองเป็นใหญ่ ค�ำ ความเข้าใจในบริบท หรือประสบการณ์ร่วม แล้วก็แค่เช็คว่าเราได้สิ่งนั้นหรือยัง อะไรอย่างนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งในหลายๆปัจจัยที่ท�ำให้การสื่อสาร ไม่ส�ำเร็จ ซึ่งเราอาจจะต้องใช้เวลากับการสื่อสาร ให้มากขึ้น ละเอียดลออกับสิ่งที่เราพูด และสิ่งที่ เราฟัง ปัญหาเรานี้ก็อาจจะคลี่คลายไปได้ แต่มันอาจจะมีปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น ซับซ้อน กว่านั้นบางทีเราอาจจะไม่รู้ตัว แต่เราฟังโดยไม่ ได้พยายามท�ำความเข้าใจว่าผู้พูดพูดอะไร ค�ำพูด ทัง้ หลายลอยเข้าหู แต่เดินทางไปไม่ถงึ สมองของเรา เพราะในสมองของเราก� ำ ลั ง คิ ด สิ่ ง อื่ น อยู ่ เรา ฟังเพือ่ ทีเ่ ราจะจับว่า สิง่ ทีผ่ พ้ ู ดู นัน้ ส่งผลกระทบอะไร กับเรา ส่งผลดีหรือผลเสียกับเรา เราจะตอบโต้ อย่างไร บางทีเราฟังโดยมีข้อสรุปอยู่ในใจ และ เลือกจะฟังแต่สิ่งที่เราสนใจ หรือตรงกับที่เรา ต้องการ ซึง่ ท�ำให้ในการสนทนาระหว่างคนสองคน “ซึ่งเราก็รู้สึกว่าคนในชีวิตจริง หลายๆ ครั้ง ความสนใจของผู้ฟัง ไม่ได้อยู่ที่ผู้พูด แต่โฟกัสอยู่ เราก็ มี Attitude แบบนี้ โดยบางครั้ ง เรา กับตัวผู้ฟังเอง อาจจะรูต้ ัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง ท�ำให้เราไม่เห็น ความจริงที่อยู่ตรงหน้า คือถ้าเราคิดอะไรไว้ พู ด มาถึ ง ตรงนี้ สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ผ มนึ ก ถึ ง ก็ คื อ การ อย่างนึง เราจะฟัง แต่เราจะเลือกฟังในสิ่งที่เรา แสดง นีค่ อื เสียงจากพีก่ ก๊ ุ ไก่ 40 รังสิมา อิทธิพรวณิชย์ อยากฟัง คือฟังแค่แบบ สมมติว่าเราต้องการให้ ผู้เปิดโรงเรียนสอนการแสดง Action Play: เขารู้สึกผิด ที่เขาพูดมาอาจจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง “พีส่ อนการแสดงไรงีใ้ ช่ปะ่ พีก่ จ็ ะเห็นว่า มันมี แต่เราก็จะรู้สึกว่า แกก�ำลังหาข้อแก้ตัวให้แก่ตัว บางครั้งถ้าเกิดตัวละครมันเข้าไปด้วยอารมณ์ แกเองอยู่ นี่คือข้ออ้าง เราจะไม่ได้ฟังทุกอย่าง อะไรบางอย่าง หรือมันต้องการอะไรจากอีกฝ่าย อย่างเปิดใจแบบศูนย์ศูนย์อะ เพราะเราก็จะมี นึงมากๆ เช่นต้องการให้อีกฝ่ายรู้สึกผิด อันนี้มัน อารมณ์ความรูส้ กึ ต่างๆ ทีม่ นั ซ่อนอยูใ่ นตัวเรา
ที่เราไม่ได้เห็นตามความเป็นจริง” นีอ่ าจจะเป็นปัญหาใหญ่สดุ ทีเ่ ราต้องเผชิญหน้า ปัญหาของการฟังแต่ไม่ได้ยนิ อย่างแท้จริง เพราะ เสี ย งในหั ว ของเราดั ง กว่ า เสี ย งอื่ น ที่ เ ข้ า มา เป็นอุปสรรคใหญ่ที่ขัดขวางเราจากการสนทนา ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ แต่กเ็ ป็นปัญหาทีแ่ ก้ไขได้ ด้วยตั ว ของเราเอง โดยเปลี่ ย นกรอบความคิ ด ย้ายความสนใจจากตัวเรา ไปสู่ฝั่งของผู้พูด ทั่วโลกตอนนี้ มีกระแสของการฝึกฝนวิธี การฟังแบบใหม่ วิธีการฟังที่จะมาแก้ปัญหา การสื่อสารทั้งหลาย การฟังเหล่านี้มาในหลาย ชื่อ หลายขนาน บ้างก็เรียก Deep Listening, Mindful Listening หรือ Conscious Listening แต่ไม่ว่าจะเรียกขานด้วยชื่อใด หัวใจของการฟัง แบบใหม่นี้ก็เหมือนกันคือ การฟังทีไ่ ม่ได้ฟงั เพือ่ รับ ข้อมูลอย่างเดียว แต่เป็นการฟังที่ใช้ความพร้อม และสมาธิอยูก่ บั ผูพ้ ดู เปิดใจและรับข้อมูลทีไ่ ด้ยิน ให้ได้เต็มที่ รวมไปถึงพยายามท�ำความเข้าใจ สิ่ ง ที่ ไ ม่ ไ ด้ ถู ก พู ด ออกมา เป็นการฟังที่ไม่ได้ ใช้แค่หู แต่ยังใช้หัวใจฟังด้วย แต่การฟังอย่างแท้จริงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เป็น สิ่งที่ต้องการทักษะ สมาธิ และการฝึกฝน และ ก็มหี ลายส�ำนัก หลายแนวทางในการฝึกให้เราฟัง ผมขอยกตัวอย่างวิธีการของ Julian Treasure ที่ พู ด ไว้ ใ นงาน Ted Talks เมื่ อ ปี 2011 Julian Treasure เป็นคนให้ค�ำปรึกษาด้านเสียง เขียนหนังสือเรื่อง Sound Business และ How to be Heard: Secret to Powerful Speaking and Listening เขาแนะน�ำวิธีการไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. Silence - อยู่กับความเงียบ ก่อนที่เราจะ
เริ่มฟังเสียงใดๆ ได้ เราต้องอยู่กับความเงียบ ท�ำบ่อยๆ เหมือนเป็นการนั่งสมาธิประจ�ำวัน เพื่อเปิดโสตประสาท รีเซ็ตหูของเรา ให้พร้อม รับกับเสียงต่างๆ 2. Mixer – ทดลองความสามารถของหู ของเรา สามารถแยกแยะเสียงได้กี่เสียง ใน ชีวิตประจ�ำวันรอบตัวเรามีเสียงของอะไรบ้าง นอกจากจะเป็นการฝึกสมาธิ ยังท�ำให้เราละเอียด ลออกับสัมผัสมากขึน้ 3. Savoring – เสพรสของเสียงธรรมดาๆ ที่อยู่รอบตัวเรา บางอย่างเช่นเสียงเครือ่ งซักผ้า เครือ่ งชงกาแฟ อาจจะมีจงั หวะดนตรี มีเสียงประสาน ทีซ่ อ่ นอยู่ ท�ำให้เราพร้อมจะรับเสียงต่างๆ อย่าง เปิดใจ และตั้งใจ 4. Listening Position – คือการฝึกฝนให้ เราลองฟังในสถานะต่างๆ เช่นฟังด้วยความ เห็ น อกเห็ น ใจ กั บ ฟั ง อย่ า งวิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ ลองฟังผ่านชั้นกรอง หรือ filters ทั้งหลาย เช่น ฟังเพื่อหาความตั้งใจของผู้พูด ฟังเพื่อหาว่าผู้ พูดให้คุณค่ากับอะไร หรือฟังเพื่อหาว่าสิ่งที่พูดมี พื้นฐานวัฒนธรรมแบบไหน 5. RASA -เป็นค�ำสันสกฤต แปลว่า Juice หรือ Essence (แก่น) แต่ส�ำหรับ Julian RASA เป็นตัวย่อของ R - Receive (รับ) รับฟัง และพยายามรับข้อมูลอย่างเต็มที่ A - Appreciate (ซึมซับ) ท�ำความเข้าใจ เห็นคุณค่าของสิ่งที่เรา ได้ฟัง แสดงออกได้ผ่านการพยักหน้า การส่ง เสี ย ง อื ม ให้ ผู ้ พู ด รั บ รู ้ ว ่ า เราฟั ง อยู ่ จ ริ ง ๆ S- Summarize พยายามสรุปรวบยอดความ เข้าใจของเรา เพื่อเช็คว่าเราเข้าใจจริงๆหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน พร้อมกับ A – Ask ถามกลับไป ก่อให้เกิดบทสนทนา ทีม่ พี นื้ ฐานจากการพยายาม ท� ำ ความเข้าใจจริงๆ
ขั้นตอนเหล่านี้เอาไว้ฝึกฝนในชีวิตประจ�ำวัน แล้วเราก็จะแบบโยงเอาต�ำราเล่มนู้นเล่มนี้เข้ามา เพื่อให้เราได้มีประสาทสัมผัสการฟังที่ละเอียด ในหัวเราเต็มไปหมด ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วไม่ อ่อนขึ้น แต่ในสถานการณ์จริงก็ยังคงต้องกลับ ต้องก็ได้” มาทีก่ ารฟังอย่างปราศจากอคติ มีสมาธิ และเปิดใจ ลองไปฟังกันครับ: แต่ ท� ำ ไมการฟั ง ที่ แ ท้ จ ริ ง ถึ ง ยากเหลื อ เกิ น อาจเป็นเพราะดังที่กล่าวไป ว่าเสียงข้างในของ “เราว่ารวมๆ ก็ ในชีวิตจริงระมัดระวังมาก เรามันดังเหลือเกิน ในความซับซ้อนของสังคม แค่ไหนที่จะไม่เอาทัศนคติหรืออคติส่วนตัวที่จะ ปัจจุบัน เราต้องคิดถึงอะไรหลายอย่า ง และ ไม่ได้ตัดสิน มีสติมากแค่ไหนที่จะแบบนั่งนิ่งๆ ถ้าภายในของเรายังไม่ชดั เจน ก็ยากทีก่ ารสือ่ สาร แล้วบอกตัวเองว่าวันนี้เราจะเป็นผู้ฟังที่ดีนะ เรา ของเราจะชัดเจนได้ เสียงจากนนนิดหน่อย ไม่จ�ำเป็นต้องแบบเฮ้ย! พยายามไปแก้ปัญหาให้ เพื่อนของผมอีกคนครับ เป็นนักแสดงละครเวที: ใครก็ได้ บางครั้งเราแค่ฟังอย่างเดียวก็พอ “เรื่องมันก็จะเป็นแบบ เหมือนน้องผู้ก�ำกับ “พีเ่ คยเป็นนะ เป็นช่วงทีแ่ บบ ฉันต้องแก้ เขา ภาพไม่ค่อยชัดแล้วเขาก็บรีฟมา เหมือนเขาก็ ปัญหาถ้ามีคนมาปรับทุกข์กบั ฉัน ต้องหาทางแก้ให้ ไม่รู้ว่าตัวเองบรีฟอะไร แล้วเขาก็ไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว เขาให้ได้ แต่พอแบบตัวเรา ได้เผชิญกับบางสิ่ง ตัวเองต้องการอะไร แล้วสุดท้ายคือกูก็ท�ำออกไป บางอย่างที่เรารู้สึกว่าเฮ้ย มันเป็นความทุกข์ของ ไม่ถูก เพราะกูก็ไม่รู้ว่าต้องท�ำยังไง เหมือนเขาก็ เรา แล้วเราบางครั้งเราต้องการแค่คนฟังจริงๆ ไม่รู้ หลักๆคือ สุดท้ายมาคุยกัน” แบบ ฟังจริงๆ โดยที่ไม่ต้องพูดอะไรกลับมาเลย ไม่ต้องช่วยแก้ไขปัญหาให้ เพราะเราก็จะรู้สึกว่า หลายครั้งที่เราตกอยู่ในภาวะเช่นนี้ ภาวะที่ เขาไม่มีทางเข้าใจเราเท่าทีต่ วั เราเข้าใจ แล้วตัวเอง เสี ย งข้ า งในตั ว เราสั บ สนปนเปไปหมด ก็ยงั ไม่เข้าใจตัวเองด้วยซ�้ำ บางครั้งเราพูดไป เวลาแบบนี้แหละที่เราต้องการความเงียบ ความ เรื่อยๆ ด้วยซ�้ำ พูดเพื่อที่เราจะได้ฟังตัวเองว่าเรา สงบทั้งภายนอก เพื่อแสวงหาความสงบภายใน ก�ำลังรู้สึกอะไรอยู ่ เหมื อ นแค่ ก ารตกตะกอน เพื่อให้เราได้ฟังเสียงตัวเองซักครั้งหนึ่ง พี่กุ๊กไก่ กั บ ตั ว เอง ดังนั้นไม่ต้องแก้ไขทุกปัญหาก็ได้ เรา อีกครั้งครับ: เลยเหมือนเรียนรู้จากตรงนั้นว่าแค่นั่งฟังเฉยๆ ฟัง “ฟังเสียงตัวเอง เรามองเป็นภาพแบบ แค่ฟังแล้วท�ำให้เขารู้สึกเหมือนแบบ เออ ก็ฟังอยู่ นี้นะ เรามองว่า ฟังเสียงตัวเองคือท�ำให้มันเป็น พยักหน้าฟังอยู่ เข้าใจก็เข้าใจ ไม่เข้าใจก็เออตรง รูปธรรมมากขึ้น หลายๆครั้งเราคิดอะไรอยู่ นี้ ไม่ เ ข้ า ใจ นิ่ งขึ้ น มั้ ง ไม่ รู้ ดิ พี่เคยเป็นแบบว่า ในหัวเราแล้วมันแบบไม่รู้ว่าคืออะไรเหมือนกัน ฟังไปแล้วพยายามคิดแก้ไขปัญหาไป มันก็ท�ำให้ เพราะมันมวลๆมัวๆอยู่ในหัว บางครั้งเราใช้วิธี พลาดกับ Message หรือสิ่งที่มันอยู่จริงๆ ตรง พูดออกมา หรือเขียนออกมา เหมือนเขียนความ หน้า เพราะเราไม่ได้อยู่กับเขาจริงๆ เราไปอยู่กับ รู้สึกตัวเองออกมา โดยที่ไม่ต้องพรีเทนด์เลย ความคิดที่พยายามจะแก้ปํญหาให้เขาในหัวเรา เหมือนบางครัง้ เวลาเราเขียนอะไรบางอย่างลงเฟซบุก๊
หรืออะไรบางอย่างทีม่ นั เป็นโซเชีย่ ลมีเดีย มันมีอะไร บางอย่างที่เป็นความต้องการแฝงอยู่แล้วว่าเรา ต้องการจะว่าโชว์ให้เ ห็ น ว่ า เรามี ชี วิ ต บางอย่ า ง ที่ ดี เรามี นั่นนู่ นนี่ แต่ว่าเราควรจะมีเวลาส่วน ตั ว หรื อ พื้ น ที่ ส ่ ว นตั ว ที่ ใ ห้ เ ราได้ ฟ ั ง เสี ย งตั ว เอง จริงๆ ว่าเรารู้สึกอะไรอยู่กนั แน่ โดยทีไ่ ม่ตอ้ ง พยายามโพสิทฟี ไม่ต้องพยายามเลย ถ้าเราอยาก จะเนกาทีฟก็ได้ หรือถ้าเราโพสิทีฟมากๆ มันแค่ ซื่อสัตย์กับสิ่งที่เรารู้สึกว่าเราก�ำลังรู้สึกอะไรอยู่ ซึ่งบางครั้งมันนัว มันไม่เห็น ก็เขียนเอาก็ได้ เขียนเอาเป็นไดอารี่ก็ได้ หรือบางครั้งใช้วิธีวาดรูป หรือบางทีเราก็ใช้วิธีคุยกับเพื่อน หรือบางทีขี้เกียจ เขียน ก็ใช้ไอโฟนอัดเสียงตัวเองแล้วก็พดู ความรูส้ กึ แล้วพอมันพูดไปปุ๊บ มันก็จะเห็นค�ำศัพท์บาง อย่างที่ตัวเองใช้แล้วมันก็จะตกตะกอนบางอย่าง ว่า อ๋อ เราน่าจะรู้สึกประมาณนี้แหละมั้ง แล้วพอ มันพูด พอมันได้ยินมันเหมือนเวลามันเครียดมัน เครียดเหมือนกับแบบ เราไม่รวู้ า่ มันคืออะไร ส�ำหรับ เรานะ ถ้าเราเครียด เรานอยด์ กดดัน มันเกิดจาก ความรู้สึกว่าเราไม่รู้แบบรู้สึกเผชิญอะไรอยู่กันแน่ แต่พอเราพูดออกมามันเห็นว่าแบบเคลียร์ไปมัน หนึ่งเปลาะ แม้อาจจะยังไม่ได้เคลียร์มาก แต่มัน ก็ช่วยให้สบายขึ้น เพราะว่ามันเหมือนได้ยอมรับ แรงบันดาลใจจาก 5 ways to listen better – Julian Treasure
กับตัวเองว่าจริงๆ แล้ว เรารู้สึกแบบนี้อยู่ “เรา รู้สึกอะไรอยู่” …And in the naked light I saw Ten thousand people, maybe more People talking without speaking People hearing without listening People writing songs that voices neve share And no one dared Disturb the Sound of Silence… ยิ่ ง ได้ ท� ำ สายใยฉบั บ นี้ ได้ คุ ย และได้ ฟ ั ง คนหลายๆ คน ยิ่งท�ำให้ผมเชื่อมั่นในพลังของ การฟัง การฟังมีพลังจะเปลีย่ นแปลงโลกได้ ลอง คิดถึงโลกที่ทุกคนพร้อม และเปิดใจสื่อสารกัน โลกที่ทุกคนพร้อมจะฟังก่อนที่จะพูด พร้อมคิด ก่อนจะโต้ตอบ บ้านที่พ่อแม่พร้อมจะฟังลูกๆ เสมอ โรงเรี ย นที่ นั ก เรี ย นทุ ก คนฟั ง อย่ า งชาญ ฉลาด สภาที่นักการเมืองฟังเก่งกว่าพูด ทุกคน สามารถสร้างโลกแห่งการฟังนัน้ ขึน้ มาได้ ถ้าหากเรา พร้อมแล้ว ออกไปเริม่ ต้นรับฟังกันเถอะครับ
The power of listening – William Ury
AIS
ก็คงจะเป็นเสียงฝน ในวันที่ เรานั่งอยู่คนเดียวตรงระเบียง ฟังเสียงฝนตก มันก็เพราะดี – อีฟ 53 –
เสียงคนร้องเพลง เสียงลุลา – แพท 53 –
ชอบเสียงคลื่นตอนกลางคืน หัวหินอะไรงี้ – ได๋ 53 –
ขอเสียงเฟรชชี่หน่อย ชอบเสียงตัวเองเวลาพูด ตลอดเวลาเลย – ไพลิน 53 – เสียงนกร้อง ฟังแล้วผ่อนคลาย – หมิง 53 –
เสียงจากคนในครอบครัว เพราะว่าตอนนี้มาอยู่ต่าง จังหวัด แล้วก็คิดถึง – เหมี่ยวเหมียว 53 –
เสียงอะไร 53 เสียงเพลงตอนฝนตก เพลงแบบอคูสติค แล้วอยู่ในห้องแล้วก็ฝนตก เพลงกับเสียง มันจะไปด้วยกัน มันจะได้อีกฟีล สบายๆ – มิ้ล 53 –
เสียงเปียโนค่ะ – โบ๊ต 53 –
เสียงดนตรี ช่วยท�ำให้ความรู้สึกที่ deep ๆ มันดีขึ้นมาได้ – มุก 53 – เสียงคลื่นทะเล เพราะว่าตอนนี้อยากพัก อยากไปเที่ยว – ใบตอง 53 – เสียงที่อยากได้ยินที่สุดเสียงกรี๊ด เสียงปรบมือเชียร์ – โอ๊ต 53 –
ที่น้อง อยากฟังที่สุด เสียงน�้ำไหล ท�ำให้รู้สึกเย็นๆดี – อิ๊ง 53 –
เสียงที่เวลาที่เขาใส่น�้ำลงไปในแก้ว แล้วตีแก้ว เสียงมันจะแบบใสๆ กังวาน – กรีน 53 –
เสียงหัวเราะ – เนตร 53 –
คิดไม่ออกอ่ะ ... เสียงเพลงดนตรีสดมั้งครับ เวลาเราอยู่ริมทะเล แล้วมีดนตรีสดเล่น แล้วก็มองทะเล แล้วก็มองแสงจันทร์ – โจ้ 53 –
| interview |
ฟังคนท�ำเสียง เคยมีคนกล่าวไว้วา่ เสียงถือเป็นครึง่ หนึง่ ของหนัง หรือก็คอื มีความส�ำคัญ กับภาพยนตร์เทียบเท่ากับภาพเลยทีเดียว แต่เรากลับไม่ค่อยสังเกตเสียงในหนัง เท่าไรนัก เรารูว้ า่ ตากล้องหรือผูก้ ำ� กับภาพ มีหน้าทีท่ ำ� ให้เกิดภาพต่างๆทีเ่ ราเห็นใน หนัง เรารู้ว่ามีคนถือไมค์บูมกับคนอัดเสียงในกองถ่าย แต่หลังจากนั้นล่ะ มีใครท�ำ อะไรกับเสียงบ้าง ก่อนจะมาเป็นเสียงในภาพยนตร์ให้เราได้ชมได้ฟงั กัน วันนีเ้ ราจะ ไปพบกับเขากัน
สวัสดีครับ ชื่อ นล อยู่รุ่น 45 ปัจจุบัน ท�ำงานอยู่ที่ Kantana Sound Studio เป็นที่ ท�ำงานที่ท�ำเสียงให้กับภาพยนตร์ คือ ตอนนัน้ เราอยู่ เรียนจบปีสอง ช่วงปิดเทอม ระหว่างปีสองไปปีสาม ช่วงนั้น รุ่น 43 เป็นช่วง กางจอพอดี แล้วติง้ 45 ก็ออกกองกางจอท�ำเสียง ติ้งมันเห็นเราเศร้าๆว่างๆ ก็เลยมาลากเราไป ออกกอง ครั้งแรกรู้สึกจะเป็นกองของพี่ก๊อยกับ พี่โรส คือไปถึงปุ๊บติ้งก็ให้ถือไมค์บูมเลย เราก็ แบบกลัวมาก กลัวมันจะเข้ากล้องมาก แล้วหลัง จากนั้นก็ จะเรี ยกว่ า ติ ด ใจก็ไม่เชิง รู้สึก ว่า ก็ทำ� ได้นหี่ ว่า แล้วเดิมทีเ่ ราท�ำเพลงละครอยูแ่ ล้ว เราก็จะได้ใช้พวกโปรแกรมท�ำเสียงท�ำเพลงด้วย กัน มันก็เริ่มไปเบลนด์เข้าด้วยกัน แล้วก็ทไี่ ด้เข้าไปท�ำโพสต์ เพราะว่า ข้ามมา ตอนปี สี่ เ ลย คื อ ครู ยุ ้ ย พาไปทั ศ นศึ ก ษาที่ Technicolor Thailand ซึ่ง Technicolor นี่ก็ เป็ น บริ ษั ท ท� ำ โพสต์ ไม่ ว ่ า จะเป็ น ท� ำ ฟิ ล ์ ม ท�ำภาพ ท�ำเสียง มันเป็นบริษทั ใหญ่ของฝรัง่ เศส และเปิ ด สาขาที่ ไ ทย ซึ่ ง ตอนนั้ น ประทั บ ใจ
เพราะว่าทีท่ ำ� งานมันเท่ ทีท่ ำ� งานมันคือโรงหนัง เลย พอเราเรียนจบปุ๊บ ก็เลยตัดสินใจว่าจบ กางจอปุ๊บ ไปขอฝึกงานที่ Technicolor คือ ท�ำงานฟรี เพราะเราเรียนจบแล้วแต่วา่ เราไม่ได้ เรียนจบด้านซาวด์ ถ้าเกิดไปขอเขาท�ำ เขาไม่ รับหรอก เพราะว่าความรูไ้ ม่มเี ลย ก็เลยใช้แผน คื อ ไปท� ำ งานฟรี ซึ่ ง ก็ ไ ด้ ผ ลมาก เพราะว่ า ไปที่นู่นใช้โปรแกรมเป็น เริ่มเข้าสู่โลกของการ ท�ำซาวด์ ต� ำ แหน่ ง แรกที่ เ ราไปท� ำ เลยคื อ โฟลี่ ย ์ (Foley) ค�ำจ�ำกัดความง่ายๆของโฟลี่ย์ก็คือ เสียงอะไรก็ตามที่ไม่ใช่ไดอะล็อก ไม่ใช่ดนตรี และเป็นสิ่งที่มันขยับ จริงๆแล้วมันจะมีความ คาบเกี่ยวกับเอฟเฟคต์ (Sound Effect) อยู่ แต่ ส่วนใหญ่แล้วโฟลี่ย์จะเป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับ แอคชัน่ ของตัวละคร เช่นการเดิน คือถ้าเกิดเรา เอาเอฟเฟคต์มาวาง เสียง footstep เนี่ยก็จะ เดินต๊อกๆๆๆ เป็นจังหวะเดียวแต่จริงๆมนุษย์ เราไม่ได้เดินงัน้ อยูแ่ ล้วไง โฟลีย่ จ์ ะเข้ามาท�ำตรง นี้ เขาจะPerformให้มนั ดูธรรมชาติมากขึน้ บาง
ก้าวเอาส้นลง บางก้าวเอาด้านข้างเท้าลง รวม ไปถึงแอคชัน่ ต่างๆของมนุษย์อย่างเช่น การสูบ บุหรี่ การเปิดหนังสือ คือพวกนี้มันจะเป็นของ เล็กๆน้อยๆ ที่สามารถอัดในสตูดิโอได้ แต่ว่า บางอย่างที่ไม่สามารถอัดในสตูดโิ อได้เช่นเสียง เครื่องบิน ก็จะเป็นเอฟเฟคต์ ศาสตร์ของโฟลี่ย์ก็คือ การท�ำเลียนแบบ เราะว่าเวลาคุณท�ำโฟลีย่ ค์ ณุ จะมองโลกอีกแบบ ไปเลย คุณจะไม่มองว่าสิ่งนั้นคืออะไร แต่คณุ จะมองว่าสิง่ นัน้ ท�ำมาจากอะไร อย่างเช่น มันท�ำมาจากกระดาษ มันท�ำมาจากไม้ มันท�ำ มาจากเหล็ก หรือว่ามันท�ำมาจากพลาสติค เพราะว่าอย่างเช่นถ้าเราเดินบนพื้นไม้กับเดิน บนพืน้ เหล็ก ยังไงเสียงก็ตา่ งกัน แต่วา่ ทุกสิง่ ทุก อย่างต้องฟังผ่านไมโครโฟนแล้วออกล�ำโพง อีกที อย่างเช่นล่าสุด มีคล้ายๆกับเอาการ์ดมา สปินบนโต๊ะ ไพ่เอามาสปินบนโต๊ะเท่ๆนะเป็น ฉากเท่ๆ ท�ำยังไงก็ไม่เหมือน จนกระทั่งแบบมี คนลองเสนอไอเดียว่าให้เอาแครกเกอร์ขา้ ว โดโซะ เอามาขู ด ๆบนโต๊ ะ แล้ ว เสี ย งมั น ใช่ ม าก
อะไรอย่างงี้ คือศิลปะของโฟลี่ย์ งานโฟลี่ย์จะบอกทุกวันนี้ คนที่เคยดูคลิป โฟลี่ ย ์ ใ น YouTube หรื อ Facebook มันคืออาชีพในฝัน มันสนุกหรือว่าเท่ คุณก�ำลัง โดนหลอกอย่างสิ้นเชิง อย่างแรกคือ เวลาจะ เริ่มเรคคอร์ด ถ้าคุณเป็น Foley Artist คุณต้อง เล่นให้ซงิ ค์กบั นักแสดงให้มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ แค่ท�ำให้ซิงค์ก็ยากแล้วนะ เท่ากับว่าคุณต้องมี ประสาทสัมผัสที่ไวมาก สมมติคนก�ำลังเดินๆ อยู่แล้วหกล้ม คุณก็ต้อง perform ให้มันหกล้ม ให้มันซิงค์ให้ได้ เรื่องของอารมณ์อีก อย่างเช่น เวลาคนเราเอามือวางบนโต๊ะ ระหว่างที่เราวาง ในอารมณ์ปกติกับระหว่างที่เราโมโห การตบ โต๊ะบางทีก็ต้องท�ำให้เสียงมันดู Aggressive ให้ได้ แล้วของแบบนี้ เราไปท�ำ เราไม่ชอบ เพราะว่าหนึง่ เราเป็นคนทีไ่ ม่มคี วามมัน่ ใจในตัว เอง มันจะมีคนทีท่ ำ� หน้าทีค่ กู่ บั เราอีกคนนึงคือ หน้าที่ในการอัด แล้วก็คอยฟังด้วยว่าเสียงที่ท�ำ ไปดีมั้ย แล้วทุกครั้งที่เราท�ำแล้วมันพลาด
เรารูส้ กึ กดดัน ท�ำให้เขาเสียเวลา บางทีใช้ เวลาทั้งวันได้แบบไม่ถึงสามนาทีในหนังอะไรงี้ เราก็จะรู้สึกโอ้โห เราห่วยมาก ก็เลยไม่ท�ำละ Foley เผอิญTechnicolor เจ๊งพอดี คือเรา เข้าไปได้สามเดือน Technicolor มันปิดตัว แล้ว เราก็ ย ้ า ยไปกั น ตนาพร้ อ มกั บ หลายคนใน Technicolor ย้ายไปกันตนาหมดเลย พออยู่ที่ กันตนาเราก็เลยเริม่ ต้นใหม่วา่ เราไม่ทำ� Foleyละ ตัดเอฟเฟคต์ดกี ว่า ทุกวันนี้ก็เลยยึดหน้าที่ตัด เอฟเฟกต์มาโดยตลอด ศิลปะของการท�ำเอฟเฟคต์ คือมันจะคิด ออกเป็นเลเยอร์ครับ มันจะคล้ายๆกับการท�ำอ นิเมชัน่ หรือการท�ำภาพ คือมันจะมีเลเยอร์แบ็ค กราวด์ สมมติฉากเป็นป่า แบ็คกราวด์ก็ต้องมี ต้นไม้ มีภูเขาที่อยู่ไกลๆ มีท้องฟ้า พวกนี้คือ แบ็คกราวด์ แล้วสองก็คือต้องมีเสียงตัวละคร หลัก มีเสียงเดินตัวละครหลัก เสียงรถวิ่งผ่าน คือทุกอย่างที่เราเห็นเป็นวัตถุแต่ละอย่าง เวลา ตัดเอฟเฟกต์กต็ อ้ งตัดแยกทัง้ หมดเลย อย่างเช่น มีรถวิ่งผ่านก็ต้องตัดเสียงรถ มีคนหกล้ม ต้องท�ำเสียงคนล้ม ก็ต้องตัดเสียงนั้นเข้าไป มันแล้วแต่แนวด้วย สมมติหนังดราม่า เรา ก็จะเน้นการตัดที่มันดู Realistic เข้าไว้ ไม่ค่อย มีอะไรที่หวือหวา แต่ถ้าเป็นหนังแอคชั่น หรือ หนังไซไฟ หนังแบบฮอลลีวดู้ มันจะต้องมีความ ดูแล้วเร้าใจ ต้องมีความเว่อร์ เพราะว่าถ้าตัด แบบRealisticไป บางทีเปิดเพลงดังๆ มีสกอร์ ดังๆ ก็โดนกลบหมดละ เพราะฉะนัน้ เวลาตัด ซาวด์เอฟเฟกต์เราว่าต้องดูกอ่ นว่าหนังทีต่ ดั เป็น แนวอะไร แล้วก็เลือกเสียงที่แมทช์กับหนังแนว นั้นได้ ตั ว อย่ า งที่ ชั ด เจนที่ สุ ด อย่ า งเช่ น เสียง Ambience เสียง Ambience สามารถ บอกเล่าความรู้สึก หรือว่าส่งเสริมอารมณ์ของ ซีน หรือแนวหนังนัน้ ๆได้ สมมติอย่างเช่น ลอก
นึกภาพว่า อย่างตอนกลางคืนมันก็จะมีพวก เสียงจิ้งหรีด เสียงแมลงอะไรงี้ เสียงแมลงพวก นี้ ถ้าคุณลองไปหาใน Library มันจะมีหลาย คาแรคเตอร์มาก จิ้งหรีดบางอันฟังแล้วรู้สึก หวาน ฟังแล้วรูส้ กึ โรแมนติค ฟีลกูด๊ จิง้ หรีดบาง อันฟังแล้ว หลอน ใส่ในหนังผีดกี ว่ามัย้ จิง้ หรีด บางอันมันจะเสียงคล้ายๆกับเสียงสังเคราะห์ มันจะแบบ หวี-๊ ฟังนานๆแล้วรูส้ กึ เครียด อะไร อย่างงี้ พวกนี้เราก็ต้องเลือกให้ถูก คือเรา สามารถใส่จงิ้ หรีดอะไรเข้าไปก็ได้ แต่พลังมันก็ จะน้อยกว่า เราคุยกันในมุมคนท�ำเสียงมาซักพัก ก็เลย เปลี่ยนมาคุยในมุมคนดูหรือคนฟังบ้าง เมื่อกี้เพิ่งไปดูดันเคิร์กมา เรื่องนี้ก็ดีนะ เสียงดีคอื แบบว่า ดูแล้วรูส้ กึ ว่าเชือ่ ว่าอยูใ่ นทีน่ นั้ จริงๆ จะเห็นว่าดีเทลมันเยอะมาก ดันเคิร์ก เป็นหนังย้อนยุค เครือ่ งบงเครือ่ งบิน เรือ่ งนีเ้ ล่น กับมุมของกล้องเยอะอะ อย่างเช่น เขาต้องการ เล่าว่า ทหารอยูบ่ นบก แต่เครือ่ งบินมาจากด้าน ซ้าย แน่นอนว่าพอเสียงมาจากด้านซ้าย เราก็ แค่แพนซ้าย แต่ในชีวิตจริงมันไม่ได้ง่ายอย่าง นัน้ มันไม่ใช่แบบ เอาเสียงเครือ่ งบินมาวาง แล้ว ก็แพนซ้าย แล้วค่อยๆไล่จากซ้ายมากลาง บางทีมันต้องมีเลเยอร์อื่นๆ บางทีแบบท�ำยังไง ให้รวู้ า่ มาจากด้านซ้าย แต่ในความเป็นจริงแบบ เสียงเครือ่ งบินมันดังมากใช่ปะ่ มันอยูบ่ นฟ้าแต่ ดังจนหนวกหูอะ คือเขาก็มีวิธีมิกซ์ที่ท�ำให้เรารู้ ว่ามาจากด้านซ้ายแต่ในขณะเดียวกันมันก็เต็ม โรงมาก เหมือนเราไปยืนอยู่ตรงนั้นจริงๆ รวมไปถึง ถ้าใครได้ดู มันจะมีช็อตนึงที่ ก�้ำกึ่งระหว่างพระเอกจมน�้ำกับลอยเหนือน�้ำ เขามิกซ์ตามเลยนะ คือเวลาที่ภาพให้เห็นว่า เวลาพระเอกเงยหัวขึ้นมาได้ เสียงชัด แต่พอ
พระเอกอยู่ในน�้ำนี่เสียงโดนตัดหมด เหลือแต่ เสียงมู่ๆทู่ๆ แล้วเขาแพนตามจังหวะเป๊ะเลนะ เพราะกล้องมันแฮนด์เฮลด์ เนี่ย ของแบบเนี่ย คือสิง่ ทีเ่ รารูส้ กึ ว่ามิกซ์มาดี ท�ำละเอียดมาก คือ คุณไม่จ�ำเป็นจะต้องท�ำละเอียดขนาดนี้ก็ได้ แค่เอาเสียงจมน�้ำมาจ๋อมแจ๋มๆ แล้วก็มิกซ์ไป เลยก็ได้ แต่อันนี้เขาละเอียดมาก แล้วนอกเหนือจากโลกของหนัง ในโลกของ ชีวติ จริง การท�ำเสียงท�ำให้มองโลกเปลีย่ นไปยังไง มองโลกเปลีย่ นไป ก็คอื ว่าต้องสังเกต ชีวิตจริงมากขึ้น ว่าในชีวิตจริงเสียงมันเป็นยัง ไง เราก็ต้องฟังแล้วว่าเวลาเราเดินอยู่ริมถนน จากที่เมื่อก่อนเราเดินไปเรื่อยๆ ตอนนี้ บางที เราก็จะมีการหยุดฟังว่าเอ้ย เสียงรถทีผ่ า่ นไปเนีย่ มัน มีคาแรคเตอร์เป็นแบบไหน เวลาที่เราไปตัด เอฟเฟกต์เสียงแอมเบียนซ์จริงๆเราจะได้ตัดได้ รวมไปถึง เวลาดูหนังเรื่องอื่น ดูในโรงหรือว่า จะดูที่บ้าน จากที่เมื่อก่อนดูแล้วก็ปล่อยผ่าน เดี๋ยวนี้ ดูจบก็ต้องมานั่งไล่ดูว่ามีตรงไหนที่เรา รู้สึกว่าสามารถศึกษาได้ว่าเขาตัดเสียงยังไง ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นหนังนะแบบว่าซีรี่ย์ของฝรั่ง ซีรี่ย์ของญี่ปุ่น ก็ด้วย บางทีเราก็แบบกลับมา นั่งฟังว่าเขาดีไซน์ยังไง ของพวกนี้ยังไงก็ต้อง ใช้ วิ ธี ค รู พั ก ลั ก จ� ำ มั น จะมี บ างเสี ย งที่ เ ป็ น tradition อยู่แล้ว ถ้าใส่ไปปุ๊บคนก็จะรู้ว่าเป็น เสียงอะไร ให้เราตัดแบบนีใ้ ห้ได้กอ่ นค่อยพัฒนา เป็นสไตล์ตัวเอง ก็ได้ เพียงนัง่ คุยกันไม่นาน เราก็รบั รูไ้ ด้วา่ กว่ า จะมาเป็ น ภาพยนตร์ ห นึ่ ง เรื่ อ ง มั น มี กระบวนการทีซ่ บั ซ้อน และมีอะไรมากกว่าทีต่ า
พี่นลเองก็ออกตัวกับเรา ว่าเขาเอง ก็ ไ ม่ ไ ด้ มี ค วามรู ้ เ รื่ อ งเสี ย งมาก ขนาดนั้น ก�ำลังเรียนรู้และพัฒนา อยู่เช่นกัน ต่อจากนี้ เรามาลอง เดิ น เข้ า โรงหนั ง และเปิ ด หู ไ ป พร้อมๆกับเปิดตากันครับ
PLEASE SEE THROUGH
YOUR EARS
ภาพถ่ า ยชุ ด นี้ ต ้ อ งการน� ำ เสนอสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่ทว่ารับ รู้ได้ด้วยหู ในการถ่ายภาพชุดนี้ เราไม่ เพียงเก็บภาพนั้น ในเวลานั้นๆ แต่ยัง ได้เก็บเสียง ในสถานทีน่ นั้ ณ เวลานัน้ ๆ ไว้ให้ทา่ นได้มาสัมผัสร่วมกันอีกด้วย
แบบ - อันนา 51 เค้ก 52 มาริเอะ 52 ปริ๊นซ์ 53 ถ่ายภาพ – โจ้ 48 ซูโม่ 51 ภาพพิเศษ – โบนนี่ 51 ประสานงาน – จิ๊กซอ 51
CPN
หู...หล่อจัง
แนะน�ำ PODCAST สมัยก่อน เวลาหลังเลิกเรียนผมจะนั่งรถ กลับบ้าน พร้อมกับเปิดวิทยุช่อง 97.0 เพื่อฟัง รายการ ‘คุยได้คุยดี’ของอ.วีระ ธีรภัทร เท่าที่ จ�ำได้มีทั้งเล่าเรื่องมหาภารตะ คุยเรื่องการเงิน การลงทุนก็ฟังไปทั้งที่ไม่เข้าใจ หรือยามดึก ก่อนเข้านอน ก็ต้องฟัง The Shock FM101 แต่ พอเติบโตขึ้นมา การนั่งรถกลับบ้านก็เปลี่ยน ไป การโหนเสารถไฟฟ้าก็เข้ามาแทน วิทยุก็ได้ ห่างไปจากชีวิต โทรศัพท์มือถือที่อัดแน่นด้วย เพลงเอ็มพีสามเข้ามาแทน เวลาผ่านไป โทรศัพท์มือถือกลายเป็น สมาร์ทโฟน และผมกับการฟังวิทยุก็ได้กลับ มาพบกั น อี ก ครั้ ง ผ่ า นแอพพลิ เ คชั่ น เล็ ก ๆ สีม่วงที่ชื่อว่า Podcast แต่การกลับมาพบกัน ครั้งนี้ไม่เหมือนเดิม ไม่มีอ.วีระ ไม่มีพี่ป๋อง แต่ผมได้พบกับโลกใบใหม่ของ Podcast Podcast คื อ รายการวิ ท ยุ อ อนไลน์ ที่ ส ามารถฟั ง ได้ ผ ่ า นอิ น เตอร์ เ น็ ต และ สมาร์ทโฟนโดยเราไม่ตอ้ งเกาะหน้าปัดคอยเวลา ออนแอร์ของรายการต่างๆ แต่สามารถกดติดตาม
(Subscribe) รายการหรื อ สถานี นั้น ๆ และ ฟังออนไลน์หรือดาวน์โหลดเก็บไว้ฟังได้ทุกที่ ทุกเวลา และถึงจะเรียกว่ารายการวิทยุ แต่สิ่ง ที่เราจะได้ฟงั กลับไม่ใช่แค่เพลง ทว่าคือ สาระ ความรู้ และความบันเทิงในแทบทุกแขนง ค�ำว่า Podcast เกิดมาจากการผสมค�ำว่า iPod กับ Broadcast (เผยแพร่ข้อมูล) เพราะ บริษัท Apple ผู้ผลิต iPod เป็นผู้ริเริ่มการเผย แพร่ข้อมูลเสียงผ่านช่องทางนี้เป็นรายแรกๆ ในช่วงปี 2004 – 2005 เวลาผ่านไปหลายปี ก่อนที่ Podcast จะกลายมาเป็นสือ่ กระแสใหม่ ทีไ่ ด้รับความนิยม แต่ในช่วงทศวรรษหลังปี 2010 ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเนื้อหาของ Podcast ก็หลากหลายไป ตามช่องสถานีต่างๆที่มีมากมาย ทั้งวิชาการ ปรัชญา สังคม สอนภาษา ท�ำอาหาร ครั้นจะ เลือกมาแนะน� ำ ก็ เ กรงว่ า จะไม่ ต อบสนองกั บ ความสนใจของผู้อ่านผู้ฟังได้ทุกท่าน จึงขอแนะน�ำสถานีต่างๆ ดังนี้
Get Talks
เป็นเจ้าใหญ่ในวงการ podcast ภาษาไทยเจ้าหนึ่ง ด้วย เนื้อหาที่หลากหลายในหนึ่งช่อง ทั้ง ‘ยูธูป’ รายการ podcast เล่าเรือ่ งผีทจี่ ะมี theme แต่ละตอน เช่น ผีทโี่ รงเรียน ผีป่าช้า ฯลฯ หรือ ‘เสาเสาเสา’ รายการเล่าเรื่องเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมที่มีทั้งตลกและสาระปะปนกันไป นอกจาก นี้ยังมีรายการอื่นๆอีกให้กดฟังได้ในช่องเดียว WitCast
คุยเฟื่องเรื่องวิทยาศาสตร์ โดยแทนไท ประเสริฐกุล, ป๋องแป๋ง อาจวรงค์ จันทมาศ แฟนพันธุ์แท้ดาราศาสตร์ และอาบัน สามัญชน โดยเป็น podcast ที่ท�ำกันมา อย่างแข็งขันกว่า 5 ปี มีผู้ติดตามเป็นแฟนคลับมากมาย Omnivore
Omnivore แปลว่าสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ สื่อถึง เนื้อหาสาระหลากหลาย ทั้งสังคม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม เปรียบเหมือนสัตว์ที่กินอาหารได้ทั้งสองชนิด มีสองนักเขียน โตมร ศุขปรีชา และธีป กร วุ ฒิ พิ ท ยามงคล เป็ น พิ ธีก ร จัดรายการคุยกันจนรวมเล่มเป็นหนังสือได้เล่มหนึ่งแล้ว This American Life
เป็นรายการวิทยุที่แต่ละตอนจะมาเล่าเรื่อง จริงจากชีวิตชาวอเมริกัน บางเรื่องก็ตื่นเต้นโลดโผน จนไม่อยากจะเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง บางตอนก็นำ� หลายๆ เรือ่ งมาร้อยเรียงเข้าด้วยกันได้อย่างงดงาม มีภาพยนตร์ทสี่ ร้าง จากเรือ่ งราวใน This American Life แล้วอีกด้วย
Ted Radio Hour
เจ้าของเดียวกับ TedTalk รายการ พูดสร้างแรงบันดาลใจทีแ่ ผ่ขยายไปทัว่ โลก โ ด ย ร ว บ ร ว ม เ สี ย ง ที่ อั ด จ า ก ง า น Ted Talk มารวมอยู่ด้วยกันใน theme ของแต่ละตอน
StarTalk Radio
โดยนั ก ดาราศาสตร์ แ ละนั ก สื่ อ สาร วิท ยาศาสตร์ ช าวอเมริ กัน Neil deGrasse Tyson ที่จะมาพูดคุยถึงดาราศาสตร์ ฟิสกิ สและวิทยาศาสตร์ ในแบบสนุกสนาน
99% Invisible
เป็นรายการ podcast ที่ พู ด ถึ ง การออกแบบ ชื่อรายการมาจากค�ำเปรียบเปรยที่ว่า งานออกแบบที่ดี เรามักจะไม่สังเกตเห็นมัน โดยถึงจะเป็นรายการที่เกี่ยว กับการออกแบบ แต่ก็ไม่ได้มีเพียงตึกราม แต่ครอบคลุม ไปถึงความฉลาดในการออกแบบกับชีวิตมนุษย์
Stuff You Should Know
เป็น podcast จากเว็บไซต์ชื่อ How Stuff Works? ซึ่งในแต่ละตอนก็จะมาตอบค�ำถามว่า สิ่งต่างๆ นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร ท�ำงานยังไง ฟังแล้วได้เกร็ดความรู้ แปลกๆใหม่ๆมากมาย How Stuff Works?ยังท�ำรายการ podcast อีกหลายรายการทั้ง Foodstuff, Techstuff, Stuff You Missed in History Class และอื่นๆ
แม้ว่า Podcast จะเริ่มต้นจากฝั่ง Apple แต่โลกของ Podcast ก็ขยายไปถึง ผู้ใช้ Android ด้วยเช่นกัน ผ่านแอพพลิเคชั่นมากมายทั้ง SoundCloud, Spotify, Google Play, Stitcher และอื่นๆ ส�ำหรับผู้ที่เริ่มต้นใหม่ อาจรู้สึกว่าการนั่งฟังคนคุยกันยาวๆเป็นชั่วโมงเป็น เรื่องประหลาด แต่ในความเป็นจริง เทคโนโลยีปัจจุบันท�ำให้เราพกพา podcast ไปได้ ด้วยทุกที่ ไม่ว่าจะเดินทาง ขับรถ ทานข้าวหรืออาบน�้ำ เราสามารถเปลี่ยนจากเพลง เดิมๆที่เราฟังทุกวัน เป็นเรื่องราวใหม่ๆในสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อนได้ และเมื่อเสียงพูดหยุดลง ถอดหูฟ ัง เราก็ จ ะออกจากโลกของ Podcast กลับมาสู่โลกใบเดิมของเรา ที่กว้างขึ้นกว่าเดิม
Sounds Good ฟัง ดู ดี โดย ริบบิ้น 48
“ วันนี้..ได้ยินเสียงอะไร ?” เป็นค�ำถามที่เฉพาะเจาะจง และคงไม่ ได้ถกู ใช้ถามกันเป็นประจ�ำเหมือนกับ “วันนี้ สบายดีไหม ?”เราหลงใหลเรื่องของเสียงมา ตั้งแต่เริ่มต้นจับฆ้องวงใหญ่และระนาดทุ้ม ตอน ป.2 และเพิ่มพูนความสนใจต่อเนื่อง มาสู่ดนตรีสากล กีตาร์ อุคุเลเล่ และการ ร้องเพลง หลายคนคงไม่แปลกใจถ้าจะชื่น ชอบเสียงดนตรีเพราะมันเป็นเสียงที่ไพเราะ เพลินหู แต่จะว่าไป หูเป็นอวัยวะที่แปลก เราเลือกที่จะหลับหูไม่ได้เหมือนหลับตา แต่ เรากลั บ เลื อ กฟั ง ได้ จุ ด นี้ เ ป็ น การเริ่ ม ต้ น ความอยากรู้ ว่าเสียงบอกอะไร ? เ ร า มั ก ใ ห ้ ค ว า ม ส� ำ คั ญ กั บ ก า ร มองเห็น โดยเปรียบเทียบความจริงว่าเป็น สิง่ ทีเ่ ห็นกับตา เป็นทีม่ าในการท�ำปริญญา นิ พ นธ์ ข องเราที่ เ ป็ น รายการโทรทั ศ น์ ชื่ อ ‘Sounds Good ฟัง ดูดี’ ที่เริ่มต้นตั้งค�ำถาม ว่าได้ยินเสียงอะไร? หลายคนต้องใช้เวลา นึกสักครู่เพื่อทบทวนว่าวันนี้เราได้ยนิ เสียง อะไรบ้าง หรือถ้าพูดให้ถกู อาจจะหมายถึงเรา ฟังอะไรบ้างต่างหากศาสตร์เรื่องทัศนียภาพ ของเสียง หรือSoundscape ถูกให้ความ ส�ำคัญมากในต่างประเทศ เพราะเสียง
บรรยากาศสามารถบอกได้แม้กระทั่งคุณภาพ ชีวิตของผู้คนในพื้นที่นั้น อีกทั้งมีการก�ำหนด ขอบเขตของเสียงที่ก่อให้เกิดการรบกวนได้ (Noise) ท�ำไมเสียงที่วุ่นวายกลายเป็นความ แออัด และความเงียบสงบนั้นคือความหรูหรา ของชีวิต สิ่งเหล่านั้นสะท้อน และให้ความ หมายที่ แ ตกต่ า งออกไปในแต่ ล ะพื้ น ที่ ท่ามกลางความแออัดเบียดเสียด อาจเต็มไป ด้วยความสุข และความเงียบอาจเป็นเสียงที่ น่ากลัวที่สุดก็เป็นไปได้ เราจึงได้ลงพื้นที่ไป ตลาดร่มหุบในจังหวัดสมุทรสงคราม ชุมชนและ ตลาดริมทางรถไฟ ที่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว และคนพื้นที่ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ในทางฟิสกิ ส์ เสียงคือเรือ่ งของการสัน่ สะเทือนผ่านสื่อกลาง เกิดเป็นความดังของ เสียงที่มีหน่วยวัดเป็นเฮิรตซ์ (Hertz) และน�ำ ไปสู่การจัดล�ำดับความดังของเสียงที่มนุษย์ไม่ ได้ยินไปจนถึงเสียงที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ รถไฟจัดอยู่ในประเภทเครื่องจักรที่สามารถ เป็นอันตรายต่อหูได้หากฟังนานจนเกินไป แต่ กลับเป็นหนึ่งในเสน่ห์ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยว เดินทางมาตลาดร่มหุบแห่งนี้ แล้วคนในพื้นที่ ทีต่ อ้ งอาศัยอยูใ่ นสถานทีแ่ ห่งนีท้ กุ วัน เขาได้ยนิ อะไรบ้าง เสียงบรรยากาศรอบตัวของเขามี
ความส�ำคัญอย่างไร เราได้ลงพืน้ ทีไ่ ปด้วยใจทีอ่ ยากรับฟัง ทัง้ เสียงของผู้คน รวมไปถึงเสียงบรรยากาศรอบ ตัว ช่างน่าแปลกที่เราได้ยินเสียงมากขึ้น กว่าเดิม
อันที่จริงคือเราได้ยินเสียงเท่าเดิม แต่กลับได้ฟงั มากขึน้ เสน่ห์ของตลาดร่มหุบแห่งนี้ไม่ได้เกิด จากการที่ร่มหุบตอนรถไฟมาเท่านั้น แต่เริ่ม ต้นมาจากการฟังสัญญาณเตือนว่ารถไฟจะมา บวกกับการตะโกนบอกต่อกันของพ่อค้าแม่ค้า เพื่ อ ให้ เ ตรี ย มเก็ บ ของและหุ บ ร่ ม ได้ ทั น เวลา เสียงเครื่องจักรของรถไฟที่เคลื่อนตัวเข้า ใกล้ เสียงหวูดเปิดดังและถี่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้า ใกล้ตลาด เสี ยงระฆั ง จากสถานี และเสียง ประกาศของเจ้าหน้าที่ นับเป็นอีกสัญญาณเตือน ให้พอ่ ค้าแม่คา้ เตรียมหุบร่ม และที่ส�ำคัญคือนัก ท่ อ งเที่ ย วต้ อ งหลบออกจากรางโดยเร็ ว เพื่ อ ความปลอดภัย นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบาง คนอยากได้ประสบการณ์สุดใกล้ชดิ กับรถไฟจน เกินไป พ่อค้าแม่คา้ ต้องตะโกนเตื อ นเป็ นภาษา อัง กฤษให้ รับรู ้ ว ่ า you ต้อง get out ! train มาแล้วถ้าวันหนึ่งไม่มีเสียงรถไฟทีน่ ี่ จะรูส้ กึ อย่างไร ? แม่คา้ ขายผักตอบอย่างไม่คดิ ว่า “เหงา เพราะว่าได้ยนิ ทุกวัน วันหนึ่งหายไปก็คงจะ แปลกๆ เหมือนกัน” คุณลุงร้านขายอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ผู้มีบ้านอยู่ข้างสถานทีมาหลายสิบปี “จริงๆ รถไฟวอร์มเครื่องตั้งแต่เช้าตรู่ทุกวัน เราก็ตื่นพร้อมกับรถไฟไปด้วย”
การฟังเสียงในครั้งนี้เป็นเหมือนการปลด ล็อกความสามารถในการฟังของเรา เพราะมี หลายอย่างที่เราได้ยิน แต่ไม่ได้ฟัง พอได้ฟัง ก็ เลยอยากสัมผัส และอยากเรียนรู้เรื่องเล่าจาก เสียงมากขึ้น สิ่งเล็กๆ ที่ฟังข้าม อาจมีความ หมายส�ำคัญส�ำหรับหลายคน ทีร่ ๆู้ คือตอนนีเ้ รา ได้สถาปนาตัวเองให้เป็นนักฟัง และยั ง เป็ น นั ก ดนตรี ที่ wanna be อีกด้วย จึงได้สร้างผล งานท้ า ยปริ ญ ญานิ พ นธ์ เ ป็ น บทเพลงที่ ใ ช้ เสี ย งบรรยากาศมาเป็ น เครื่ อ งดนตรี เรา เดินช็อปปิ้งเสียงทั่วตลาด หยิบเสียลงตระกร้า แล้วน�ำมาเขย่ารวมเป็น ‘เพลงเริงรถไฟ The Impossible’ รายการ Sound Goods ท�ำให้เราและคน ที่เราชวนมาฟังได้ร่วมกันตั้งข้อสังเกตกับเสียง มากขึ้น เหตุการณ์เดียวกัน เสียงเดียวกันที่ฟัง จากต่างหู ท�ำให้เกิดการตีความที่ต่างกัน น่า แปลกที่การ ‘ฟัง’ ท�ำให้ได้ ‘เห็น’ ความส�ำคัญ ของหลายสิ่งรอบตัว บรรยากาศของเสียงใน แต่ละสถานที่สะท้อนเรือ่ งราวของชีวติ ทุกทีท่ กุ มุมในธรรมชาติและสังคมก�ำลังส่งเสียง บาง เสียงอาจก�ำลังร้องหาบางอย่าง และเราจะไม่ ได้เพิกเฉยกับเสียงเหล่านัน้ เราเชือ่ ว่าการใส่ใจ ฟังนัน้ ดีเสมอ หวังว่า เสี ย งนี้ จ ะฟั ง ดู ดี ขอให้ ทุ ก คนมี วันที่สุนทรี สวัสดีค่ะ
ชมรายการ
ฟังเริงรถไฟ
ตอนที่เราดูหนัง เราฟังอะไร โดย ปอย 49
เราแทบไม่เคยเอะใจเลยเวลาที่ภาพยนตร์ มีเสียงเพลงประกอบค่อยๆ ดังขึ้น รู้ตัวอีกที เราก็ก�ำลังน�้ำตาคลอไปพร้อมๆ กับนางเอก โดยมีเสียงเพลงเปียโนโศกเศร้าคลอ แถมยัง ถึงท่อนบริจด์อย่างพอดิบพอดี ท�ำให้เรารู้สึก เสียใจกับชะตากรรมของตัวละครมากยิ่งขึ้นไป อีก เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาภาพยนตร์สารคดี เรื่อง The Art Of Listening (2017) ก�ำกับโดย Michael Coleman และ Emmanuel Moran ถูกปล่อยในโลกออนไลน์ให้คนทั่วไปได้ดูกัน แบบเต็มๆ เรื่อง แถมมาพร้อมกับบทบรรยาย หลากภาษา แม้ว่าชื่อเรื่องจะท�ำให้เราคิดว่า สารคดีต้องเกี่ยวกับการฟัง ต้องมีวิธีแยกแยะ เสียงเครื่องดนตรี แต่เปล่าเลย สารคดีกลับเล่า ถึง ทุกๆ กระบวนการที่ เ กิดขึ้นก่อนที่เราจะ ได้ฟังต่างหาก เริ่มกันตั้งแต่ช่างท�ำเครื่องดนตรีที่พิถีพิถัน ในการผลิตชิ้นต่อชิ้น เลือกสรรไม้ ขัดเงา ค�ำนวณรูปทรงที่ใช้งานได้ดีที่สุด ต่อมาคือนัก ดนตรี ไม่ว่าจะเป็นกลอง กีต้าร์ แซ็กโซโฟน ทุกๆ คนก็ต่างเล่าเรื่องราวของตัวเองว่าพวก เขาผูกพันกับเสียงดนตรีมาก “ผมไม่ได้เลือก กลอง กลองเลื อ กผม” Antonio Sanchez มือกลองที่ท�ำเพลงประกอบภาพยนตร์ให้กับ Birdman (2014) เล่าให้คนดูฟังถึงจุดเริ่มต้น ของชีวิตมือกลอง นอกจากนัน้ ยังมีนกั แต่งเพลง นักร้อง คนอัดเสียง คนผสมเสียง ไปจนถึงคน ออกแบบอุปกรณ์ฟังเพลงและสุดท้ายจบลงที่ คนฟัง“โทนคือวิธที นี่ กั ดนตรีเล่น ไม่เกี่ยวว่าจะ
เป็นคีย์บอร์ดหรือบอร์ดกลอง มันส�ำคัญว่า พวกเขาเล่นมันอย่างไร และคนฟังรู้สึก อย่างไร” Todd Simon นักแซ็กโซโฟน พูดถึง โทนและอารมณ์ ข องนั ก ดนตรี ที่ พ วกเขา พยายามจะสื่อมันออกมาผ่านโทน สิ่งที่ บรรเลงไปพร้อมๆ กับตัวโน้ตก็คือความรู้สึก ของศิลปิน การสร้า งสรรค์ เสี ย งดนตรี ของพวกเขา ล้วนเชื่อมโยงกับ ‘เรื่องราว’ อาจเป็นเรื่องราว ของแต่ละคน หรือเรื่องราวจากภาพยนตร์ พวกเขาพยายามส่งความรู้สึก บรรยากาศ อารมณ์ มวลเหล่านั้นผ่านเสียงดนตรี สารคดีเน้นไปที่ศิลปินนักประพันธ์เพลง ประกอบภาพยนตร์เป็นหลัก ปัจจัยและ เงื่อนไขของการท�ำเพลงประกอบภาพยนตร์อยู่ ที่การต้องยึดอยู่กับเรื่องราวของภาพยนตร์ Hans Zimmer นักประพันธ์เพลงประกอบ ภาพยนตร์ชื่อดัง เช่น Inception (2010), Dunkirk (2017) เป็นต้น ฮานส์กล่าวว่า “การ เป็นนักดนตรีหมายถึงการขึ้นรถไฟเหาะแห่ง ความรู้สึก การสร้างนู่นนั่นนี่จากความรู้สึก เพื่อที่จะสื่อสารซึ่งมันล�้ำลึกมากพ่อแม่อาจจะ อยากให้เราเป็นหมอ และมันก็เป็นสิ่งที่ดีกว่า แหละมั้ง แต่นั้นคือชีวิตที่ขาดแรงผลัก ดัน”ฮานส์เป็นนักประพันธ์ที่มีสไตล์เพลงของ ตัวเองชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆการร่วมงานกับผู้ ก�ำกับที่แนวทางชัดเจนส่งผลให้ผลงานของเขา สามารถส่งต่ออารมณ์ของภาพยนตร์ได้อย่าง บีบคั้น “ผมไม่เห็นด้วยกับค�ำที่บอกว่าเทคโนโลยี
ท�ำลายทุกอย่าง ถ้าคุณหาทางที่จะใช้มันเป็น คุณก็จะเข้าใจ ส�ำหรับศิลปินอย่างผม ยุค ดิจิตอลคือการเติบโตที่งดงาม” Steve Vai นัก กี ต ้ า ร์ ชื่ อ ดั ง ระดั บ โลกพู ด กั บ ที ม งานสารคดี หลายปีให้หลังมาวงการภาพยนตร์ก็เริ่มเปิด กว้างมากด้านแนวเพลงเห็นได้จากรางวัลจาก เทศกาลต่างๆ ก็เริ่มเลือกสรรผู้เข้าชิงที่หลาก หลายมากขึ้น ความโด่งดังของเพลงประกอบ ภาพยนตร์เรื่อง It follows (2014) โดย Disasterpeace ก็บ่งบอกถึงความนิยมเพลงที่ แปลกใหม่ได้เช่นกัน “ผมคิดว่าคงเพราะเสียงสังเคราะห์ไม่ใช่ เสียงที่เราจะได้ยินกันในชีวิตจริง มันจึงสร้าง ความรู้สึกแปลกประหลาดและเรานึกที่มาของ เสียงไม่ออก มั น เลยกลายเป็ น วั ต ถุ ดิ บ ที่ ดี ส� ำ หรั บ ภาพยนตร์สยองขวัญ” Rich Vreeland หรือ Disasterpeace เล่าถึงแนวคิดของเขาในการ ท�ำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ และแม้ว่า จะเป็นการประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์ ครั้งแรกของเขา แต่ความโดดเด่นของเพลงก็ ท�ำให้ได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมาก ได้เข้า ชิงและคว้ารางวัลจากหลากหลายเทศกาล การสื่อสารผ่านเพลงจึงไม่ต้องจ�ำกัดวิธี การหรือแนวทางใดๆ เพราะพลังของเรื่องราว เป็นสิ่งแรกที่ศิลปินทุกๆ แขนงพยายามจะ แสดงออกเสมอ เหล่านักดนตรีตลอดจนทุกคนในวงการ เพลงไม่ได้ตั้งใจท�ำเพลงเพื่อพัฒนาทักษะส่วน ตัวหรือเพื่อการแข่งขัน ทว่าพวกเขาต้องการที่ จะเล่าเรื่องเล่าอารมณ์ และนั่นหมายถึงพวก เขาต้องการคนฟัง บทสรุปของสารคดีเรื่องนี้ไม่ใช่บทเรียนว่า เราจะแยกแยะเสียงได้อย่างไร ฟังด้วยอุปกรณ์ ไหนถึงจะดีที่สุด หรืออะไรคือการฟังที่เก่งกาจ
สารคดีเรื่องนี้พูดถึงการฟังในฐานะของคนฟัง อย่างเราๆ เพียงว่า ขอให้พวกเรานั้นตั้งใจฟัง เพลงเพลงหนึ่งให้มากที่สุด ครั้งแรกที่เราฟัง เพลงนั้น อาจจะเป็นเพลงประกอบหนังที่เรา ก�ำลังโฟกัสตัวละคร แต่เมือ่ ลองกลับมาดูอกี ครัง้ ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม เราจะค้นพบสิ่งใหม่ๆ เสมอ อาจเป็นโน้ตเพลงที่จังหวะลงตัวพอดิบ พอดี หรือเนื้อเสียงของนักร้องที่สั่นไหวเพราะ อารมณ์ในท่อนจบ หรือการแอบแทรกเสียง บรรยากาศหรือเสียงแปลกปลอมเข้ามา นั่นคือ มหัศจรรย์ของการฟัง เพราะเราก�ำลังฟังความ รู้สึกของศิลปิน
GDH
แว่ว |
ตูมตาม 48
6 สัปดาห์แล้วทีห่ นูตอ้ งทรมานกับอาการนอน ไม่หลับ หมอบอกว่าเป็นอาการเริ่มต้นของภาวะ ซึมเศร้า ให้ตายเหอะ เดี๋ยวนี้อะไรนิดๆ หน่อยๆ ก็เป็นซึม เศร้ า โอเค โลกมันอาจจะโหดร้ายไป บ้า งแต่หนูไม่ใช่คนอ่อนแอ แล้วไอ้ยาที่หมอให้มา มันก็ท�ำให้หนูมึนมากกว่าที่จะง่วง หนูบอกหมอ 3 รอบแล้วว่าที่หนูนอนไม่หลับเพราะได้ยินเสียง แปลกๆ จนสะดุ้งตื่นกลางดึก “เสียงคนเหมือนเดิมค่ะหมอ” “เค้าพูดว่าอะไรบ้าง” “ช่วยด้วย” หนูไม่ยอมบอกหมอว่าเสียงนั่นเป็นเสียงของ หนู เ อง จะเสี ย งใครแล้ ว มั น ส� ำ คั ญ ตรงไหน ส�ำคัญตรงที่มันมาเวลาเดิม พูดเหมือนเดิม คือ หมอไม่พยายามเข้าใจว่าจิตใต้สำ� นึกหนูอาจจะคิด ว่าหนูก�ำลังอยู่ท่ามกลางหมู่มวลปัญหา เรื่องงาน อนาคต แฟน บลาๆ จนมันท�ำให้หนูได้ยินเสียง ร้องขอความช่วยเหลือ แต่หมอห่านีก่ ลับบอกให้หา พระมาคล้ อ งพร้ อ มกิ นยา มึงบ้าปะ พอกันที สุ ด ท้ า ยก็ จ ่ า ยเงิ น แล้ ว โยนยาทิ้ ง แม่ ง ข้ า งหน้ า ห้องจ่ายยานั่นแหละ ห่วยและแพง แม่งโคตรไทย “กูจะเยียวยาตัวกูเอง” ตีสาม มันจะมาตรงเวลาทุกครั้ง ครั้งนี้หนูจะ รอ พอตกดึ ก หนู นั่ ง รอบนเตี ย งด้ ว ยใจจดจ่ อ หลับตา ให้โสตประสาทท�ำงานอย่างเต็มที่ ฟังทุก เสียงที่วิ่งเข้ามาในหู... เสียงทีวีห้องข้างๆ เสียงรถ เสียงแอร์ เสียงคนคุยกัน เสียงน�้ำหยด เสียงเข็ม นาฬิกา ยิ่งดึกขึ้นเสียงก็ค่อยๆ หายไปทีละอย่าง ตี 2.31 น. หนูลุกไปปิดแอร์แล้วกลับมานั่งรอ อย่างเดิม ความเงียบทีด่ งั ขึน้ หนูได้ยนิ เสียงลมหายใจ เสียงหัวใจเต้น เสียงร่างกายเสียดสีกับผ้าห่มและ เตียงจากการเปลี่ยนท่านั่ง ตี 2.56 น. เงียบ… เงียบเกินไป ตี 2.58 น. หนูตะโกนจนสุดเสียงแต่กลับไม่ ได้ยินอะไร ไม่ได้ยินแม้แต่เสียงลมหายใจตัวเอง เหมือนเสียงถูกดูดหายไปจนหมด เหลือแต่เพียง
เสียงนาฬิกาทีเ่ หมือนนับถอยหลังรอให้ถงึ เวลาส�ำคัญ อีก 30 วินาทีจะตีสาม มีเสียงคนหายใจ ในห้อง ไม่ผิดแน่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ อีก 15 วินาที เสียงหายใจดังอยู่ทั่วห้อง ที่พื้น เพดานและใต้เตียง ดังขึ้น... ดังขึ้น และเพิ่มจ�ำนวนขึ้นจากทุกทิศทุกทาง อีก 5 วิ หนูร้องไห้นั่งแข็งทื่อด้วยความกลัว อีก 3 วิฯ … 2 … 1 เงียบ... ทุกอย่างกลับไปเป็นปกติ คงหลอนไปเอง ไม่นา่ ทิง้ ยาของไอ้หมอนัน่ เลย คิดได้ก็เช็ดน�้ำตาแล้วลุกไปเข้าห้องน�้ำ “อย่าไป!!” หนูหนั ไปหาต้นเสียง... เห็นตัวเองนัง่ อยูบ่ นเตียง ร้องห้าม “อย่าไปๆๆๆ” ไปไหน ?! ฉันไม่ได้จะไปไหน แล้วเธอคือใคร ?! เธอร้องไห้อย่างกับคนเสียสติ ไม่ใช่ฉันแน่ๆ ฉัน ไม่มีวันที่จะอ่อนแอแบบนี้ ...เธอหายไปแล้ว ทิ้งไว้เพียงความว่างเปล่า และความน่าสังเวช แต่ รู ้ ตั ว อี ก ที ข าทั้ ง สองข้ า งก็ ล ากหนู ม าที่ ระเบียงห้อง มันพยายามจะปีนขึน้ ไป เกิดอะไรขึน้ ?! ร่างกายไม่ตอบสนองความต้องการของหนูเลย บังคับอะไรไม่ได้ มันพาหนูขนึ้ ไปบนระเบียง... ยืน นิ่งอยู่อย่างนั้น หนูรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หนูร้องไห้ ด้วยความกลัว จ�ำได้แล้ว หนูจำ� ได้ทง้ั หมดตัง้ แต่ตน้ “ช่วย ด้วย !!!” หนูร้องสุดเสียง ในชั่วขณะเดียวกันกับที่ร่าง ก�ำลังทิ้งดิ่งลงไปตามแรงโน้มถ่วง ไม่มีใครได้ยิน... ไม่มีแม้แต่คนเดียวเหมือน เมื่อก่อนนั่นแหละ เออ... แบบนี้ก็ดีแล้ว “กรีด๊ ดดด..ดดดด..ดด” เสียงกรีดร้องของใครสักคน
เรื่องแสนสั้น
ท่ ว งท� ำ นองสุ ด ท้ า ย เขียน > ภาริอร วัชรศิริ l วาด > ติ้ง 45
ฉันลุกยืนจากเก้าอี้สี่ขาทรงผืนผ้าไร้พนัก ไป ยืนเกาะที่ด้านข้างเครื่องดนตรีขนาดสามคนโอบ ยกกล้องโทรศัพท์มือถือขึ้นถ่ายรูปสีขาวและด�ำ บนทางสายขนานที่สลับกันเป็นแนวทอดยาวออก ไป ถ้าความรักเกิดขึ้นได้จริงระหว่างการสอด ประสานของสีขาวและสีด�ำในบทเพลง บางทีอาจ เป็นเพราะโน้ตทั้งสองสีต่างก็รู้ดีว่า แม้ด้วยกรอบ สายตาที่ฉันมองเห็นอยู่ในขณะนี้ พวกเขาดูคล้าย ไม่ มี วั น มาบรรจบกั น แต่ ใ นโลกของดนตรี โลกของสีขาวและสีด�ำ พวกเขา ‘ห่างกันเพียงครึ่ง เสียงเท่านั้นเอง’ ปลายปีนพี้ เิ ศษกว่าทุกปีทผี่ า่ นมา เพลงบรรเลง ของเหล่าศิลปินตัวจ้อยจะได้ออกวาดลวดลายบน เวทีใหญ่ โอกาสครั้งส�ำคัญก�ำลังเดินทางมาถึง โดยปราศจากซึ่งความหวั่นเกรงใดๆในวินาทีนั้น, ฉันไม่ลังเลแม้แต่น้อย, ที่จะเลือกเธอ ระยะเวลาร่วมแปดเดือนผสานกับแรงดึงดูด บางอย่าง ก่อร่างกลายเป็นความสัมพันธ์เล็กๆ ระหว่างเรา ละม้ายว่าเริ่มต้นจากความใส่ใจและ ความพยายาม นานวันเข้าบางครั้งก็ปนเปไปด้วย ความเข้าใจและอดทน ทุกๆรายละเอียด ทุกๆเสียง ทีส่ ง่ ผ่านจากปลายนิว้ ไปสูเ่ ธอ สะท้อนความงดงาม กลับมาเป็นภาพตรึงตรา เมื่อยามที่มันเลื่อนไหล ผ่านสุ้มเสียงที่เธอได้บอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวโน้ต ให้ฉันได้ค่อยๆเรียนรู้ ซึ่งเธอไม่อาจคาดเดาได้ เลยว่าทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านั้น, มีความหมายกับ ฉันมากมายเพียงใด ฉันสัญญา ฉันจะพาเธอ, ก้าวข้ามทุกความ เป็นไปได้, ไปด้วยกัน ช่วงสองเดือนสุดท้ายก่อนถึงก�ำหนดการตาม
วันแสดง เมื่อโครงร่างทั้งหมดของเธอหลอมรวม เป็นหนึ่งเดียวกับฉัน ก็เหลือเพียงสิ่งสุดท้ายที่เรา จะท� ำ เพื่ อ เติ ม เต็ ม ทุ ก ตั ว โน้ ต ให้ ส มบู ร ณ์ ฉั น พยายามจดจ่ อ ซึ ม ซั บ ทุ ก ความอ่ อ นละมุ น ทุกความเฉยชา และทุกๆความกราดเกรี้ยวผ่าน ตัวโน้ตสีขาวด�ำ มันพัดพาให้โสตประสาทของฉัน ปรวนแปรไปตามแรงอารมณ์ในห้วงจังหวะและ คลื่นเสียงที่กระทบผ่านเข้ามา บทเพลงของฉัน, ปลายนิ้วทั้งหมดนี้เป็นของ เธอ, ของเธอแต่เพียงผู้เดียว หน้าปัดนาฬิกาบอกเวลาใกล้สามทุ่ม, เพลง บรรเลงล�ำดับที่สิบสี่กำ� ลังบดขยี้อารมณ์ผู้ฟังในหอ ประชุมด้วยตัวโน้ตเสียงดังสนั่น ตอกกระแทกเน้น ย�้ำลงในทุกความรู้สึก ปลดปล่อยทุกพลังที่กักขัง ตัวตนอย่างไร้ทิศไร้ทางก่อนจะจบลงด้วยตัวโน้ต เบาหวิว หยอกเย้าลอยล่องอยู่ในอากาศ เพลงบรรเลงล�ำดับที่สิบห้าก�ำลังจะเริ่มต้นขึ้น ผู ้ ป ระกาศขานชื่ อ ผู ้ ป ระพั น ธ์ แ ละชื่ อ บทเพลง สิ้นเสียงนั้นหัวใจของฉันถูกบิดจนผิดรูป ไม่ใช่เพียงฉัน, ที่อุทิศทุกปลายนิ้วให้แก่เธอ หั ว ใจของฉั น แกว่ ง โยนด้ ว ยความผิ ด หวั ง โศกเศร้ า เคล้ า ความโกรธวนเวี ย นอยู ่ เ ป็ น ลู ป อารมณ์อย่างไม่รู้เหนื่อย ฝ่ามือของฉันสั่นเทา ขมวดเข้าก�ำแน่นเพื่อตรึงทุกความรู้สึกให้คงที่ แต่ค วามพยายามไม่เป็นผล ปลายนิ้วของฉัน ด้านชา...ก่อนจะไม่รับรู้สัมผัสใดอีกต่อไป สี่ปีที่ผ่านมา ฉันเฝ้ามองความคิดของตัวเอง ทุกครั้งที่นึกถึงเธอ ทั้งหมดล้วนแต่เป็นอดีตไป เสียหมดแล้ว ทุกประสาทสัมผัสและทุกหนทางที่ จะท�ำให้เราได้กลับมาเจอกัน ล้วนถูกตัดขาดแล้ว
อย่างสิ้นเชิง มีคนพูดถึงเธออยู่บ่อยครั้ง บ้างถามถึงเธอใน วันนี้ และบ้างก็ถามถึงเธอในวันนั้น การปราศจาก เธอได้ท�ำให้ฉันตระหนักว่า ต่อให้ฉันจะมอบทุก สิ่งให้แก่เธอ ก็ไม่อาจเป็นเครื่องประกันความเป็น เจ้าของของฉันเอาไว้ได้ ท�ำไมน่ะเหรอ? คงเพราะ สุดท้ายแล้วเราต่างก็เลือกกันและกันเสียล่ะมั้ง ฉันได้เลือกเธอแล้ว เพียงแต่เธอไม่ได้เลือกฉัน เธออาจจะคร้านโต้เถียงกับฉัน ว่าเธอก็ได้เลือก ฉันแล้วนี่อย่างไร เราเกือบจะก้าวข้ามทุกความ เป็นไปได้อย่างที่ตั้งใจไว้แล้วทีเดียว แต่เธอที่รักของฉัน, ฉันไม่อยากเป็นที่หนึ่ง ส�ำหรับเธอ, ฉันอยากเป็นเพียงสิ่งเดียว, แค่เพียง สิ่งเดียวเท่านั้นส�ำหรับเธอ วันนี้ฉันกลับมายืนที่เดิมอีกครั้งในฐานะผู้ฟัง ป ร ะ ห ล า ด ใ จ อ ยู ่ ลึ ก ๆ ที่ ก ลั บ ยั ง รู ้ สึ ก ไ ม ่ มั่ น คง คล้ายกับว่าเพดานและเวทีด้านหน้าเขยิบ เข้าบีบอัดกระชั้นชิดกว่าที่เคย ไม่ใช่ความรู้สึกที่ พอดีเลย เสียงปรบมือครั้งสุดท้ายถูกสงวนไว้ส�ำหรับ เข็ ม นาิ ก าที่ เ วลาสามทุ ่ ม ครึ่ ง เมื่ อ ตั ว โน้ ต ตัวสุดท้ายถูกบรรเลง สามทุ่มสิบห้า สปอร์ตไลท์ดวงจ้าส่ายปัดมา หยุดลงที่ฉัน ลางสังหรณ์ประหลาดชวนให้นิ้วมือ เริ่มชา ผู้ประกาศเอ่ยแนะน�ำ เชิญชวนให้ฉันขึ้นไป ปิดท้ายการแสดงด้วยบทเพลงสุดคลาสสิกติดหู คนไทย ความคาดหวั ง ค่ อ ยๆ กดทั บ ร่ า งกาย แต่ ส องขายั งสั่ ง ให้เดิน ฉันทรุดลง นั่ง บนเก้ า อี้ ไร้พนักประจ�ำต�ำแหน่ง บรรเลงเพลง คลาสสิกเพลงนั้นอย่างกระท่อนกระแท่นเต็มทน แต่งเสริมเองบ้าง กระโดดข้ามโน้ตไปบ้าง, ปลาย นิ้วของฉันคงจะขึ้นสนิมเสียแล้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิท่านนึงที่ริมสุดห้องด้านซ้ายลุก ขึ้นยืนเมื่อฉันบรรเลงจบ ปรารถนาอย่างแรงกล้า ให้ฉันได้มีโอกาสแนะน�ำเธอให้แก่ท่านผู้ฟัง โอ..ฉันควรจะปฏิเสธไปไหม? ฉันจดจ�ำอะไร เกีย่ วกับเธอแทบไม่ได้เลย ระยะเวลาสีป่ กี บั รากลึก แห่ ง ความผิ ด หวั ง ในครั้ ง นั้ น ปลดเธอออกจาก ทุกพันธนาการความรู้สึกของฉัน เราต่างก็ตาย จากกันไปแล้วอย่างสิ้นเชิง ‘ไม่มีใครลืมสิ่งที่อยู่ในชีวิตของเราได้จริงๆ หรอก’ เสียงเดิมส�ำทับมา เจ็บเหลือเกิน, หัวใจ หรือปลายนิ้ว ฉันนั่งไล้พื้นผิวสีขาวที่เคยคุ้น ค่อยๆผ่อนน�้ำ หนักลงบนโน้ตตัวแรก, ความทรงจ�ำแรกระหว่างเรา และในวันนี้เองซึ่งฉันได้เรียนรู้ แม้ระยะเวลา จะกลบเกลื่อนร่องรอยของมันออกไปบ้าง แต่แล้ว เมื่อถูกสะกิดเพียงนิด มันกลับพรั่งพรูจนเกินจะ ต้านทาน ทุกสัมผัสปลายนิ้วของฉันคล้ายจดจ�ำ เธอเอาไว้ จากด้ า นชากลายเป็ น อ่ อ นไหว เร่งความเร็วขึ้นอีกและเร็วขึ้นอีก ทุกความทรงจ�ำ ไหลผ่านจากข้อต่อสู่ปลายสัมผัส เวลาผ่านมา เนิ่นนานเกินกว่าจะกล่าวได้ว่าความทรงจ�ำเหล่า นี้ถูกตราตรึงด้วยสมอง และกระด้างเกินกว่าจะ บอกได้ ว ่ า จดจ� ำ จากหั ว ใจ สิ บ นิ้ ว เคลื่ อ นไหว ระเรื่อยเร่งไปไม่หยุดพัก ฉันจบการบรรเลงเพลง สุดท้ายด้วยสติพร่าเลือน เหงื่อเม็ดเล็กเม็ดน้อย ซึมผุดพราวที่ข้างขมับ เสียงปรบมือด้วยความ ชื่นชมดังกึกก้องสะท้อนไปมาในห้องทรงจัตุรัส ฉันยังคงนิ่งงัน หัวใจเต้นเร่า วาบไหวไปมาด้วย ความคาดไม่ถึง ‘ในห้องโอ่โถงกว้างใหญ่ใจกลางกรุงแห่งนี้ มีเพียงแต่ตัวฉันเท่านั้นที่รู้ว่า เสียงของบทเพลง สุดท้ายในค�่ำคืนนี้, แปร่งพร่าเพียงใด.’
บ.ก.จ๋อง ตอบจดหมาย #34
Q
พี่จ๋องครับ ผมเป็นคนที่ชอบฟังเพลงมาก ปกติแล้วจะฟังวันละสี่ อัลบั้ม และฟังทุกแนวไม่ว่าจะคลาสสิก ร็อกแอนด์โรล ป๊อบ แจ๊ส ลูกทุ่ง และผมมักจะฟังเพลงด้วยหูฟัง เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีที่สุด ปัญหาคือ วันก่อนผมเดินเข้ามาที่ใต้ถุนคณะ มีเพื่อนตะโกนทัก แต่ผมไม่ได้ยิน เพราะใส่หูฟังอยู่ และเดินผ่านเลยไป กลายเป็นเรื่องผิดใจไปกันใหญ่ว่า ผมเป็นคนเย็นชา ทั้งๆ ที่จริงๆ ผมแค่ชอบฟังเพลง ผมจะท�ำยังไงดีครับ พี่จ๋อง ให้เราสามารถใส่หูฟังฟังเพลงได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่กลายเป็น คนหยิ่ง หวงตัว ใครทักไม่ตอบ แทนไท 50
..
A
น่าเห็นใจนะครับทีก่ ารแค่เป็นคนชอบฟังเพลง จะถูกมองหรือเข้าใจผิด ไปว่าหยิง่ และการเป็นคนชอบฟังเพลงระดับวันละ 4 อัลบัม ซึ่งใช้เวลาไป ประมาณ 200 นาที หรือคิดเป็น 3 ชั่วโมงเกือบๆครึ่งนั้น ไม่สมควรถูกมอง เป็นอย่างอื่น นอกจากว่า บ้า บ้า...ฟังเพลง เรือ่ งนีแ้ ก้งา่ ยท�ำได้หลายวิธี เช่น ใส่หฟู งั ตลอดเวลา แม้ไม่ได้ฟงั เพลงอยู่ กระทัง่ เวลาทีไ่ ม่นา่ ท�ำได้ อย่างการว่ายน�ำ้ แบบนีเ้ พือ่ นก็จะชินและไม่เข้าใจผิด อ๋อๆ...มันไม่ได้หยิง่ มันแค่ตดิ หูฟงั หรือปล่อยตัวปล่อยใจไปกับบีทหรือ อารมณ์ของเพลง ผงกหัวโยกตัวตาม ร้องเพลงตามหรือร้องไห้อย่างฟูมฟาย ย่อมไม่ท�ำให้ใครมองว่าเป็นคนเย็นชาหรือหวงตัวอย่างแน่นอน แต่ถา้ เค้าจะ มองเป็นอย่างอืน่ นัน้ มันก็ชว่ ยไม่ได้ ลองดูนะครับ
Q
หนูมีเรื่องสงสัยมานานแล้วค่ะพี่จ๋อง ว่าถ้าเกิดหนูย้าย ศาสนาจากพุทธเป็นคริสต์ที่ไม่มีบาปบุญ แล้วบาปบุญของหนู จะถูกโอนเข้าศาสนาใหม่ไปด้วยมั้ย หรือถ้าหนูท�ำกรรมเลวมา ตลอดชี วิ ต ก่ อ นตายเปลี่ ย นเป็ น ศาสนาคริ ส ต์ แ ล้ ว ไป สารภาพบาป พระเจ้าจะยอมฟังหนูมั้ยคะ มาริเอะ 52
.
A
ขอออกตัวก่อนเลยนะ ทั้งมาริเอะและพี่ๆน้องๆคนอื่นๆว่า ผมไม่มี ความรู้ความช�ำนาญด้าน วิชาการศาสนาสักเท่าไหร่ ตอนที่เรียนนี่เกรดวิชา ศาสนาค่อนข้างแย่ แต่จะว่าไปวิชาอะไรก็ค่อนข้างแย่ทั้งนั้น 555 งั้นว่าด้วยความเข้าใจของพี่ ย�้ำนะครับว่าของพี่คนเดียว ไม่ใช่ว่า คริสต์ไม่มีบาปบุญนะครับ อย่างน้อยก็มีค�ำว่า Sin เป็นหลักฐาน ความต่างกัน ของพุทธและคริสต์ในแง่นี้เป็นเพียงแค่ว่าพุทธบอกว่าอะไรไม่ดี อย่าไปท�ำ เพราะท�ำแล้วมันแก้ไม่ได้ ต้องได้รับผลของมัน ส่วนคริสต์ก็พูดคล้ายๆ กัน แต่เพิ่มเรื่อง ถ้าคุณพลาดไป และส�ำนึกก็เริ่มต้นใหม่กัน แต่พระเจ้าก็คงไม่ ได้มีไว้เป็นตัวช่วยให้เราไปท�ำอะไรไม่ดี หรือเราจะมีสิทธิ์ท�ำอะไรก็ได้ เพราะมี พระเจ้าหนุนหลัง ดังนั้น แม้ทางเทคนิคแล้ว หนูจะสามารถล้างไพ่ได้ แต่ท้ายสุดแล้ว มันก็คงขึ้นอยู่กับเจตนาของเรา ใจเรามันจะรู้ดีที่สุด บาปบุญมันอาจจะไม่ได้ถูก โอนไปไหน แต่อยู่ในใจของเรานี่เอง อ้าว...ตอบไปตอบมา จบหล่อซะอย่างนั้น
.. Q
หนูอยากรู้ว่าพี่จ๋องมีเสียงที่ทนฟังไม่ได้เลยมั้ย เพราะหนู ประสบปัญหามากค่ะ กับเสียงเสียดสีเอี๊ยดๆ ของสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะ เสียงตีนตุ๊กแก เสียงโฟมสีกัน เสียงเล็บขูดกระดาษ เมื่อก่อนเรียน มัธยมเจอเสียงชอล์กเขียนกระดานทุกวัน พอเข้ามหา’ลัยก็ยังเจอเสียง เขียนปากกาไวท์บอร์ดอีก ทุกวันนีห้ นูใช้ชวี ติ ล�ำบากมากเลย พีจ่ อ๋ งมีวธิ ี บรรเทาอาการจึ๊กกะดึ๋ยจากการฟังเสียงเหล่านี้มั้ยคะ พอลลีน 50
A
ใช้ชีวิตล�ำบากเลยเหรอครับถ้าอย่างนั้นก็คงต้องใช้ชีวิตหลีกเลี่ยง ด้วยการใส่หฟู งั เหมือนคุณแทนไท น่าจะช่วยบรรเทาอาการจึก๊ กะดึย๋ ลงได้บา้ ง หรือไม่ก็ท�ำอีกวิธีนึง ก็คือฝึกตัวเองให้ชินกับสิ่งที่จะมาส่งเสียงเสียดสี ในรูปแบบอื่นๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง เช่น ทนฟังผู้ชายพูดจา เอี๊ยดๆ พี่ขอยกตัวอย่างนะครับ สมมติว่าพี่พูดกับพอลลีนว่า พอลลีนจ๋า ... พอลลีนจ๋า ... พอลลีนจ๋า ... พอลลีนจ๋า ... พอลลีนจ๋า ... พอลลีนจ๋า ... พอลลีนจ๋า ... เป็นไง หายจึ๊กกะดึ๋ยหรือยังครับ
ถ้าอ่านจนจบเล่มแล้ว อย่าลืมมองหา สัญลักษณ์ หรื อ QR Code เมื่อเจอแล้ว ล อ ง ค ลิ ก เ บ า ๆ ห นึ่ ง ที อาจจะมีอะไรซ่อนอยู่ก็ได้นะ!
MAGNUM