เศรฐสาร ปีที่ 32ฉบับที่ 8 (สิงหาคม 2561)

Page 1

02

บทความพิเศษ

แมส่ อดซ่อนเร้น กิริยา กุลกลการ

ปี ที่ 32 ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2561

04

ISSN 0875-5924 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก

32/08

บทความพิเศษ

ธันย์ชนก นันทกิจ

06

ศัพท์นโยบายเศรษฐกิจไทย

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) นภนต์ ภุมมา

08

โลกหนังสือ

หลังเขตเศรษฐกิจพิเศษ สิทธิกร นิพภยะ

ที่ปรึกษา

ชยันต์ ตันติวัสดาการ ภราดร ปรีดาศักดิ์ บรรณาธิการ

สิทธิกร นิพภยะ

สวัสดีทา่ นผูอ้ ่านทุ​ุกทา่ น ในฉบับนีจ้ ะเป็ นเรื่องราวเกีย่ วกับการรวมกลุม่ เศรษฐกิจ AEC ตัง้ แตป่ ี พ.ศ. 2558 ซึ่งไดร้ ับความ

สนใจจากหลากหลายประเทศรวมถึงไทย รัฐบาลไทยมีความพยายามทีจ่ ะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 แห่งตามเขตชายแดนของประเทศ เพื่อทีจ่ ะสร้างมูลคา่ ทางเศรษฐกิจระหวา่ งไทยกับเพื่อนบา้ น ซึ่งทำ�ให้เกิดการอพยพแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำ�งานในไทย เป็ นการสร้างงานให้กับ เพื่อนบา้ นและเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนให้กับไทย หนึ่งในเศรษฐกิจพิเศษที่สำ�คัญที่นำ�มาเสนอใน เศรษฐสารฉบับนี้ คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษอำ�เภอแมส่ อด จังหวัดตาก อยา่ งไรก็ตาม ในความรุ่งเรือง จากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษก็มีจุดซ่อนเร้นทีเ่ ราไมอ่ าจจะมองขา้ ม คือ การอพยพแรงงานทีผ่ ิด กฎหมาย โดยเฉพาะกลุม่ มุสลิม เมียนมา ทีไ่ มไ่ ดร้ ับการคุม้ ครองจากรัฐบาลทัง้ สองประเทศ ทำ�ให้ แรงงานเหลา่ นัน้ ตอ้ งหลบซ่อน ไดร้ ับคา่ ตอบแทนอยา่ งไมเ่ ป็ นธรรม และไมไ่ ดร้ ับสวัสดิการ ซึ่งเป็ น ปั ญหาทีร่ ัฐบาลไมค่ วรละเลย

กองบรรณาธิการ

หงษฟ์ ้ า ทรัพยบ์ ุญเรือง ธีรวุฒิ ศรีพินิจ นภนต์ ภุมมา พิชญ์ จงวัฒนากุล วีระวัฒน์ ภัทรศักดิก์ ำ�จร ธันยช์ นก นันทกิจ อิสร์กุล อุณหเกตุ ผู้จัดการ

พิชามญชุ์ ดีทน

ดว้ ยความเคารพ

หงษฟ์ ้ า ทรัพยบ์ ุญเรือง www.setthasarn.econ.tu.ac.th


02

บทความพิเศษ

แม่สอด ซ่อนเร้น

เรือนอยู่กันอย่างแออัดในลักษณะเป็น “สลัมพม่า” ในบริเวณใกล้เคียง กับชุมชนของชาวไทยมุสลิม เมื่อจำ�นวนชาวพม่ามุสลิมอพยพเข้ามาอยู่ ใหม่เพิ่มมากขึ้นทำ�ให้พื้นที่เดิมไม่เพียงพอ จึงได้ขยายการตั้งชุมชนออกไป ยังแห่งอื่น ๆ กระจัดกระจายออกไป ซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วย ชุมชน ดารุน ชุมชนมาดีนะฮ์ ชุมชนอันซอร์ และชุมชนมูฮันจีรีนห์ เป็นต้น

กิริยา กุลกลการ

อาจารย์ประจำ�คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ่ คง กรรมการจัดทำ�ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมัน

คนส่วนใหญ่มองเห็นแม่สอดในรูปแบบที่เป็นอำ�เภอในพื้นที่เขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีความเจริญมากกว่าอำ�เภอเมืองตากเสียอีก ราคา ที่ดินขยับสูงขึ้นอย่างมาก ถนนขยายกว้างหลายช่องจราจร มีสนามบิน ที่ มีเที่ยวบินขึ้นลงกรุงเทพ-แม่สอดขาละ 4 เที่ยวต่อวัน มีห้างสรรพสินค้า แบรนด์ดังเกือบทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นโรบินสัน แม็คโคร บิ๊กซี และเทสโก้ โลตัส แต่ท่ามกลางความเจริญของแม่สอดก็ซุกซ่อนสิ่งที่คนนอกพื้นที่อาจ ไม่ทันได้สังเกต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้หลบซ่อนอยู่ตามชายขอบหรือชานเมือง แต่อยู่ใจกลางเมืองแม่สอดเลยทีเดียว การตื่นเช้าตรู่ไปนั่งจิบชานม ทานไข่ลวกกับโรตีอุ่น ๆ ที่ร้านโรตี โอ่งตรงใจกลางเมืองแม่สอดถือว่าเป็นเรื่องควรค่ายิ่งนัก ถ้าไปหลังแปดโมง เช้า จะอดทานโรตีเนื้อนุ่มหอมละมุนที่หาทานได้ยากในที่อื่น ๆ ร้านโรตีโอ่ง ตั้งอยู่ในย่านชุมชนอิสลามเป็นแหล่งพบปะของลูกค้าท้องถิ่นขาประจำ�ใน ยามเช้าก่อนแยกย้ายกันไปทำ�งาน บรรยากาศภายในร้านสบาย ๆ ผู้เขียน มีโอกาสได้นั่งคุยกับคุณป้าเจ้าของร้าน และพบคุณลุงท่านหนึ่งที่อดีตเป็น ตำ�รวจ ท่านได้เปรียบเปรยให้ฟังว่า แม่สอดก็เหมือน “แกงโฮะ” (อาหาร เหนือที่มาจากการนำ�เอาอาหารที่เหลือหลาย ๆ อย่างมารวมกันแล้วปรุง ใหม่) เพราะประกอบด้วยผู้คนหลากหลายสัญชาติศาสนา ส่วนหนึ่งเพราะ แม่สอดอยู่ติดกับพรมแดนประเทศเมียนมา ซึ่งเป็นประเทศที่มีชนกลุ่ม น้อยหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ หนึ่งในชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศเมียนมา คือ ชาวมุสลิม แต่รัฐบาลเมียนมาไม่ยอมรับกลุ่มคนเหล่านี้ว่าเป็นประชากรของประเทศ ตน ทำ�ให้ชาวมุสลิมต้องอาศัยอยู่ในเมียนมาอย่างยากลำ�บาก ไม่ได้รับสิทธิ ต่าง ๆ ถูกกดขี่และเลือกปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้ชาวมุสลิมจึงอพยพออกนอก ประเทศมายังประเทศไทย ซึ่งอำ�เภอแม่สอดเป็นเมืองปลายทางที่สำ�คัญ ของการเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ชาวมุสลิมที่แม่สอดถูกเรียกว่า “พม่ามุสลิม” เพื่อให้แตกต่างจากชาวไทยมุสลิมที่อยู่มาแต่ดั้งเดิม พม่ามุสลิมจะตั้งบ้าน เศรษฐสาร

รูปภาพ : “สลัมพม่า” ในแม่สอด

ใครไปเที่ยวแม่สอด ลองไปเดินสำ�รวจความเป็นอยู่ของชาวพม่า มุสลิมในชุมชนต่าง ๆ เหล่านี้ดู จะเห็นว่า ชาวพม่ามุสลิมพักอาศัยอยู่ใน ลักษณะเป็นเพิงพักชั่วคราวที่ทำ�จากเศษไม้และสังกะสีเก่า โดยเช่าที่ดิน หรือบุกรุกที่ดินว่างเปล่า หรือเช่าบ้านหรือห้องแถวอยู่ในตรอกเล็ก ๆ โดย มากพักอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ในสภาพที่แออัด สุขภาวะไม่ ได้มาตรฐาน โดยคนเหล่านี้อยู่ในประเทศไทยในสถานะผู้หลบหนีเข้าเมือง อย่างผิดกฎหมาย พม่ามุสลิมคนหนึ่งกล่าวว่า “จ่ายเท่าไรก็ยอมจ่าย ขอแค่ อยู่ในประเทศไทยต่อไปได้ เพราะเราไม่ได้มีบัตรและผิดกฎหมายจริง เมื่อ เขามาจับก็แค่ออกนอกชุมชนไปก่อนหรือซ่อนอยู่ไม่ไปไหน” ในขณะเดียว กันก็ไม่ได้รับการยอมรับในฐานะพลเมืองของประเทศเมียนมา ดังที่พม่า มุสลิมกล่าวว่า “ไป (พม่า) มาสามรอบสี่รอบแล้ว เขาก็บอกให้รอ พอไป ครั้งสุดท้ายก็ทำ� (บัตรประชาชน) ไม่ได้เพราะเขาบอกเป็นมุสลิม” พม่า มุสลิมจึงเป็นบุคคลที่ไม่ได้รับการดูแลในฐานะพลเมืองของรัฐใด ๆ เลย ไม่สามารถเข้ารับบริการของรัฐไทยและเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นการรักษา พยาบาลหรือการศึกษา ตลอดจนการประกอบอาชีพ และมีความเสี่ยงถูก กวาดจับและขูดรีดจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอยู่เสมอ บางคนอาศัยอยู่ ในเมืองไทยมานานกว่า 30 ปีแล้ว คนเหล่านี้ยังชีพด้วยการลักลอบทำ�งาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงาน 3 ส (สกปรก เสี่ยง แสนสาหัส) ได้แก่ งานก่อสร้าง แบกหาม ประมง รับจ้างทำ�ความสะอาดบ้าน ดูแลสวน ร้านอาหาร เกษตรกรรม เก็บของเก่าขาย เป็นต้น โดยมักได้รับค่าจ้างที่ต่ำ� และไม่ได้ รับสวัสดิการใด ๆ จากการทำ�งาน นอกจากชุมชนพม่ามุสลิมแล้ว แม่สอดยังเป็นชุมชนของเยาวชน ที่เดินทางมาจากประเทศเมียนมา บางส่วนของเด็กเหล่านี้เดินทางติดตาม พ่ อ แม่ เข้ า มาเป็ นแรงงานในประเทศไทย แต่ เด็ กส่ ว นใหญ่ ต ั ้ ง ใจเดิ น ทาง


มาอยู่แม่สอดเพื่อเรียนหนังสือ ในขณะที่พ่อแม่ไม่ได้เดินทางมาด้วย แต่ ยังทำ�ไร่ทำ�นาอยู่ในประเทศเมียนมา เด็กเหล่านี้แทบจะอยู่ฟรีกินฟรีใน ประเทศไทย ไม่ต้องจ่ายค่าเล่าเรียน ค่าเดินทางไปโรงเรียน ค่าอาหาร และ ค่าหอพัก ซึ่งหากอยู่ที่ประเทศเมียนมา ต้องเสียค่าใช้จ่ายเหล่านี้ในอัตราที่ สูงกว่ามาก และการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียนยังลำ�บากอีกด้วย เด็กนักเรียนเหล่านี้จะเข้าเรียนในศูนย์การเรียนรู้ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น อย่างไม่เป็นทางการ โดยการสนับสนุนทางด้านการเงินจากองค์กรเอกชน ระหว่างประเทศ ในปัจจุบันแม่สอดมีศูนย์การเรียนรู้ในลักษณะนี้จำ�นวน มากถึง 50 ศูนย์การเรียนรู้จากทั้งหมดประมาณ 70 ศูนย์ในแม่สอด โดย ศูนย์การเรียนรู้ที่ใหญ่ที่สุดในแม่สอดมีชื่อว่า Children Development Center (CDC) มีนักเรียนอยู่ราว 850 คน ตั้งอยู่ใกล้กับสนามบินแม่สอด ศูนย์การเรียนรู้ CDC เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นเตรียมอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ไม่ได้จดทะเบียนเป็นสถาบันการศึกษาที่ถูกต้องตามกฎหมาย เปิดสอน โดยใช้ ห ลั ก สู ต รเมียนมา แต่ไม่ถูก รับรองโดยทางการเมี ย นมา นักเรียนที่ จบจาก CDC จึงต้องไปสอบวัดระดับที่ประเทศเมียนมาก่อน จึงจะสามารถ สมัครทำ�งานในเมียนมาได้ นอกจากนี้ ยังมีการเรียนการสอนวิชาภาษา ไทย หลักสูตรการศึกษานอกระบบ (กศน.) และหลักสูตร Pre-General Educational Development (Pre-GED) ซึ่งเป็นหลักสูตรเตรียมความรู้เพื่อ สอบเทียบระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรการศึกษาของประเทศไทย และสหรัฐอเมริกาตามลำ�ดับ นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรอาชีวะอีกด้วย อย่างไรก็ดี แม้นักเรียนจะเรียนจบการศึกษาจาก CDC ในหลักสูตร ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรกศน.หรือ Pre-GED แต่การจะไปเรียนต่อ ในระดับปริญญาตรีในประเทศไทยหรือต่างประเทศได้นั้น นักเรียนเหล่า นี้จำ�เป็นต้องมีบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง ซึ่งสำ�หรับนักเรียนที่ เป็นชาติพันธุ์กลุ่มน้อยในเมียนมา โดยเฉพาะนักเรียนมุสลิม จะมีปัญหาที่ รัฐบาลเมียนมาไม่ยอมรับว่าเป็นประชาชนของตนจึงไม่ออกเอกสารความ เป็นพลเมืองให้ เยาวชนกลุ่มนี้จึงกลายเป็นคนไร้สัญชาติปราศจากสิทธิ พลเมืองของประเทศใด ๆ และไม่มีทางเลือกในชีวิตมากนัก ไม่สามารถ เรียนสูง ๆ และทำ�งานดี ๆ ได้แม้จะมีศักยภาพมากเพียงไรก็ตาม เด็กนักเรียนที่เรียนอยู่ที่ศูนย์การเรียนรู้ CDC มีหลายสัญชาติ เช่น กะเหรี่ยงปกากะญอ กะเหรี่ยงโปว์ พม่​่า เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยง ปกากะญอเพราะแม่ ส อดตั้ ง อยู่ ติ ด กั บ เมื อ งเมี ย วดี ซึ่ ง เป็ น รั ฐ กะเหรี่ ย งใน ประเทศเมียนมา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาคริสต์ และมุสลิม ตามลำ�ดับ นักเรียนในศูนย์การเรียนรู้ CDC จำ�นวนไม่น้อย มีอายุมากกว่าเกณฑ์ปกติ ด้วยเหตุที่เข้าเรียนช้า เช่น บางคนมีอายุ 23 ปี บางคนเกิดในประเทศไทย แต่โดยเฉลี่ยจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ตอนอายุ 11 ปี เด็กส่วนใหญ่จะพักอาศัยอยู่ในหอพักของศูนย์การเรียน รู้ ซึ่งแบ่งเป็นหอพักชายหญิง อยู่แยกกันคนละสถานที่ห่างจากศูนย์การ เรียนรู้พอสมควร โดยหอพักหญิงมีนักเรียนหญิงพักอาศัยอยู่ราว 120 คน หอพักชาย 60 กว่าคน ในหอพักหญิงจะแบ่งเป็น 6 ห้องนอน มีสภาพค่อน ข้างแออัด โดยนักเรียนจะนอนเรียงกันบนเตียงที่เป็นไม้กระดานมีเสื่อปู รอง ห้องอาบนำ�้ รวมแบบตักอาบ ห้องอาบนำ�้ แบบแยกมีจำ�นวน 2 ห้อง ห้องสุขาแบบส้วมซึมจำ�นวน 8 ห้อง ในหอพักจะมีกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติ

ตามอย่างเคร่งครัด เด็ก ๆ มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบผลัดกันทำ�เวร เช่น ทำ� อาหาร ทำ�ความสะอาดหอพัก โดยอาหารในหอพักจะมีปริมาณจำ�กัด และ มักจะไม่มีเนื้อสัตว์และไข่ ส่วนใหญ่จะเป็นนำ�้ พริก แกงจืดซี่โครงไก่หรือ กระดูกปลาใส่ผัก ผัดผัก เป็นต้น นิยมใช้กะปิและผงชูรสในการปรุงอาหาร จึงอาจกล่าวได้ว่า สภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนในหอพักไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็คงจะดีกว่าความเป็นอยู่ที่เมียนมา

รูปภาพ : โรงเรียนและหอพัก CDC ในแม่สอด

แม่สอดจึงซ่อนเร้นด้วยสองชุมชนดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นปัญหา กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ประชาชนไม่สามารถจัดการปัญหาเองได้ สอง ประเทศจึงควรจับเข่าคุยกันว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร และอาจต้องเชิญ องค์กรนานาชาติ เช่น หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ มาร่วมพูด คุยหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้คนมีโอกาสได้มีชีวิตที่มีคุณภาพ และไม่เป็น ภาระของประเทศใดประเทศหนึ่งมากจนเกินไป ก่อนจะจบจะขอกล่าวถึงสิ่งซ่อนเร้นอีกซักเรื่อง เป็นเรื่องดี ๆ ที่แม้ จะไม่ได้อยู่อำ�เภอแม่สอด แต่ก็อยู่ในจังหวัดตาก ไม่ใช่นำ�้ ตกทีลอซูที่ขึ้นชื่อ ว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ที่มีนักท่องเที่ยว จำ�นวนกว่า 2 แสนคนเดินทางมาเที่ยวในแต่ละปี แต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติอื่น ๆ ที่งดงามมหัศจรรย์อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน (Unseen) เช่น ม่อนทูเล ดอยหลวงตาก นำ�้ ตกปิตุ๊โกร เป็นต้น สถานที่เหล่านี้ต้องอาศัยการ เดินทางที่ท้าทายแต่รับรองว่าคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปและที่น่าสนใจกว่านั้นคือ มีหมูบ่ า้ นของกลุม่ ชาติพนั ธุต์ า่ ง ๆ อยูเ่ ป็นจำ�นวนมาก เช่น เลตองคุ หม่องกัว๊ ะ กุยเลอตอ เปิ่งเคลิ่ง ในอำ�เภออุ้มผาง หมู่บ้านเหล่านี้ต้องเดินทางไปไกลแสน ไกล ลัดเลาะขุนเขาไปหลายโค้ง หน้าฝนต้องใช้รถโฟร์วิล แต่มีธรรมชาติอัน บริสุทธิ์รอให้ชื่นชม และวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ยังดำ�รงชีวิตแบบดั้งเดิมที่น่า ศึกษาหาความรู้ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจตัวเราและเพื่อนร่วมประเทศได้มากขึ้น จังหวัดตากจึงสมควรได้รับการสนับสนุนให้เป็นจุดหมายปลายทางของนัก ท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น เอกสารอ้างอิง

จิราภรณ์ มีด้วง. 2560.“ชุมชนพม่ามุสลิมในตาบลแม่สอด อำ�เภอแม่สอด จังหวัดตาก: สถานะความ เป็นพลเมืองและปัญหาในการดารงชีวิต.” การวิจัยเฉพาะเรื่องหลักสูตรประกาศนียบัตร บัณฑิต. วิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ดฤนทารา ธันยกัลยกร. 2560. “ที่มา ที่อยู่ และที่ไปของนักเรียนชาติพันธุ์ในพื้นที่พรมแดนไทย-พม่า กรณีศึกษาชุมชนซี.ดี.ซี. หมู่ 1 ตำ�บลท่าสายลวด อำ�เภอแม่สอด จังหวัดตาก.” การวิจัย เฉพาะเรื่องหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต. วิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เศรษฐสาร


04

บทความพิเศษ

เขตพัฒนาเศรษฐกิจ

ตาก ธันย์ชนก นันทกิจ

อาจารย์ประจำ�คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนวพรมแดนทางบกด้ า นทิ ศ ตะวั น ตกของไทยเรามี พื้ น ที่ ติ ด กั บ เมียนมา ประเทศเพื่อนบ้านและคู่ค้าสำ�คัญของไทย ที่หลังเปิดประเทศ ในราว ๆ ปี 2554 ก็มีแนวโน้มความเจริญทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ประชาธิ ป ไตยอยู่เรื่อยมา กอปรกับความสำ�คั ญ ด้ า นการค้ า ชายแดนที ่ ด่านแม่สอด จังหวัดตากด้วยแล้ว คงไม่แปลกนักหากรัฐบาลจะได้เลือก จังหวัดตาก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 14 ตำ�บล 3 อำ�เภอ อันได้แก่ แม่สอด แม่ระมาด และพบพระ เป็นหนึ่งในห้าเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษระยะแรก ภายใต้นโยบายพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones: SEZs) ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หากเทียบจำ�นวน เขตพื้นที่ SEZs อื่น (มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา และตราด) จังหวัดตาก มีพื้นที่ SEZs มากที่สุดเลยทีเดียว ลักษณะที่ตั้งของจังหวัดตากเป็นเครื่องมือส่งเสริมศักยภาพทาง เศรษฐกิจได้อย่างดี เพราะพื้นที่ของจังหวัดตากเป็นจุดตัดของทางหลวง สายเอเชีย (Asian Highway) 3 สาย ได้แก่ AH1, AH2 และ AH16 และ อยู่บนแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) อันเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำ�คัญเชื่อม ทะเลจีนใต้-เวียดนาม-ลาว-ไทย-เมียนมา ต่อเนื่องไปถึง บังกลาเทศ-อินเดีย-ยุโรป นอกจากนี ้ แม่ ส อดยั ง เชื ่ อ มกั บ เขตพั ฒ นา เศรษฐกิ จ ชายแดนจังหวัดเมียวดีของประเทศเมียนมา โดยมีระยะห่างจากนิคมอุตสาหกรรมเมียวดีเพียง 11 กิโลเมตร สามารถเชื่อมไปสู่ท่าเรือเมาะละแหม่ง และ นครย่างกุ้งที่มีระยะห่าง 560 กิโลเมตรได้ เมื่ อ การเดิ น ทางผ่ า นจั ง หวั ด ตากมี ค วาม สะดวกสบาย และชาวเมียนมาก็นิยมชมชอบสินค้า ไทย ตลาดการค้าชายแดนที่ด่านแม่สอดจึงคึกคัก ดัง จะเห็นได้จากมูลค่าการค้า ณ ด่านแม่สอด ที่เกิน ดุลการค้ามาทุกปี โดยล่าสุด ในปี 2560 มีมูลค่าการ เศรษฐสาร


ส่งออก 76,322 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าการนำ�เข้าเพียง 5,340 ล้านบาท เกินดุลการค้าไปถึง 70,982 ล้านบาทเลยทีเดียว1 สินค้าหลัก ๆ ที่ส่งออก จากไทยไปเมียนมาคือ นำ�้ ตาลทราย รถจักรยานยนต์ โทรศัพท์มือถือ พร้อมอุปกรณ์ และเครื่องดื่มบำ�รุงกำ�ลัง ส่วนสินค้าหลักที่เรานำ�เข้านั้น คือ ก๊าซธรรมชาติ โคกระบือ และถั่วลิสง นอกจากการค้ า กั บ เมี ย นมา ไทยเรายั ง ได้ ร ั บ ประโยชน์ จ าก แรงงานหนุ ่ มสาวชาวเมียนมาที่เข้ามาทำ�งานในประเทศไทย จากจุ ด เด่นของเมียนมาในเรื่องประชากรที่มีจำ�นวนประมาณ 53.9 ล้านคน โดยมีอายุเฉลี่ยเป็นคนหนุ่มสาววัยประมาณ 27.9 ปี2 ทำ�ให้ในแต่ละปีมี แรงงานชาวเมียนมาจำ�นวนมากไหลเข้ามาทำ�งานหาเงินในประเทศไทย ผ่านทางด่านพรมแดนเชิงสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา บ้านริมเมย จังหวัดตาก ยิ่งในช่วงเทศกาลอย่างเช่นสงกรานต์ปี 2561 ที่ผ่านมา

ชายแดนแม่สอดยิ่งคึกคัก เพราะแค่ 23 วัน ตั้งแต่ต้นเดือนเมษา ก็มี แรงงานไหลเข้าออกผ่านทางด่านแม่สอดแห่งนี้มากถึง 200,000 คน และไม่ใช่แค่เรื่องแรงงานที่ไทยได้รับประโยชน์ เพราะเมื่อใดที่แรงงาน ชาวเมียนมาเดินทางกลับบ้านเกิด พวกเขามักสร้างมูลค่าทางการส่งออก ให้ไทย ด้วยการซื้อสินค้าไทยติดไม้ติดมือไปฝากญาติพี่น้องของตนอีกด้วย เศรษฐกิ จ การค้ า ชายแดนในจั ง หวั ด ตากอาจได้ เ ปรี ย บในเชิ ง พื้นที่ซึ่งเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับเมียนมา ยิ่งบวกกับแรงส่ง จากนโยบายภาครัฐผ่านกฎเกณฑ์ด้านการค้า การลงทุน และแรงงาน เศรษฐกิจการค้าชายแดนแม่สอดยิ่งขยายตัว ดังนั้นนโยบาย SEZs ใน เขตจั ง หวั ด ตากจึ ง เป็ น อี ก หนึ่ ง ความคาดหวั ง ในการส่ ง ต่ อ ไม้ ผ ลั ด ให้ เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปจนถึงเส้นชัย ผลักดันให้เศรษฐกิจการค้าชายแดน เติบโต และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยได้ต่อไป

ข้อมูลจากด่านศุลกากรแม่สอด เข้าถึงได้จาก http://www.danmaesot.com/im-ex1.html United Nations, World Population Prospects: The 2017

เศรษฐสาร

1 2


06

ศัพท์นโยบายเศรษกิจไทย

เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ)

นภนต์ ภุมมา

อาจารย์ประจำ�คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

่ ระแสของ จากที่ ตั้ ง นี้ ไ ม่ ไ ด้ ห มายถึ ง เพี ย งแค่ โ อกาสในการพั ฒ นาความรุ่ ง เรื อ งทาง ขณะทีก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic เศรษฐกิจ แต่ยังหมายถึงความเจริญที่จะกระจายไปยังหัวเมืองชายแดน ้ ในปี 2558 เหล่านี้ รัฐบาลจึงพยายามทำ�ให้พื้นที่พิเศษมีความพิเศษเพิ่มขึ้นมากกว่า ่ ำ�ลังจะเกิดขึน Community: AEC) ทีก

ในเดือนมิถุนายน

2557

เดิม โดยการให้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ

กำ�ลังดังกระหึ่มคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่ออำ�นวยความสะดวกในการดำ�เนินธุรกิจและกำ�หนดสิทธิประโยชน์แก่

นำ�โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้กุมอำ�นาจปกครองประเทศไทย ได้ยังไม่ถึง 1 เดือนเต็ม ก็ไม่ปล่อยโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจตาม กระแสให้หลุดลอยไป นายกรัฐมนตรีได้อาศัยอำ�นาจจากมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 แต่ง ตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ขึ้นเพื่อ ทำ � ให้ ป ระเทศไทยมี ก ารเชื่ อ มโยงทางเศรษฐกิ จ กั บ ประเทศเพื่ อ นบ้ า นที่ มีชายแดนทางบกติดกัน คือ มาเลเซีย พม่า ลาว และกัมพูชา มากยิ่ง ขึ้น โดยการจัดตั้งและดำ�เนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) จากการดำ�เนินงานอันรวดเร็วของ กนพ. ทำ�ให้ ในเดือนมกราคม 2558 กนพ. สามารถประกาศพื้นที่บางส่วนในจังหวัด ชายแดน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา และ ตราด เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จากนั้นในเดือนเมษายน 2558 กนพ. ก็ประกาศเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะ 2 อันประกอบด้วย พื้นที่บางส่วนในจังหวัดชายแดนอีก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย นราธิวาส เชียงราย นครพนม และกาญจนบุรี ด้วยเหตุนี้เองในปัจจุบัน ประเทศไทยของเราจึงมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอยู่ 10 แห่ง ว่าแต่ พื้นที่เหล่านี้มีความ “พิเศษ” อย่างไร? ความพิ เศษอย่างแรกเกิดจากที่ตั้ง พื ้ นที ่ เ หล่ า นี ้ ตั ้ ง อยู ่ บริ เวณ ชายแดนซึ่ ง ประชาชนจากประเทศเพื่ อ นบ้ า นแวะเวี ย นเข้ า มาท่ อ งเที่ ย ว ทำ�งาน ทำ�การค้า และจับจ่ายใช้สอยค่อนข้างหนาแน่น ข้อได้เปรียบ เศรษฐสาร

นักลงทุนเพื่อจูงใจให้ดำ�เนินธุรกิจในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ยกตัวอย่าง เช่น สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) กำ�หนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม และให้มีการ ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ กรมสรรพากรกำ�หนดให้ลด ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 ธนาคารเพื่อการ ส่งออกและนำ�เข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) กำ�หนดให้มีโครงการ ให้กู้ระยะยาวในอัตราดอกเบี้ยตำ่� กรมศุลกากรอนุญาตให้สามารถตั้ง เขตปลอดอากร (Duty Free) ในพื้นที่ได้และให้เอกชนสามารถประกอบ กิจการในเขตปลอดอากรได้ สำ�นักงานตรวจคนเข้าเมืองพัฒนาระบบฐาน ข้อมูลลายนิ้วมืออัตโนมัติ (E-Fingerprint) ขณะที่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงต่างประเทศ ต่าง มี บ ทบาทในการแก้ ไขกฎระเบี ย บเพื่ อ สนั บ สนุ น ให้ แรงงานและนั ก ท่ อ ง เที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านสามารถเข้ามาและออกไปจากประเทศไทย ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกกฎหมาย นอกจากนี้การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน เช่น ด่านตรวจคนเข้าเมือง สะพาน ถนน ฯลฯ และการใช้อำ�นาจ ผ่านมาตรา 44 ของรัฐบาลในการจัดหาที่ดินเพื่อนำ�มาใช้ประโยชน์ในเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารล้วนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาล พยายามระดมสรรพกำ�ลังเต็มที่เพื่อผลักดันให้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ทั้ง 10 แห่งเกิดขึ้นได้จริงและเกิดการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค


ข้อมูลจากสำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ (สศช.) เผยว่าตั้งแต่มีการก่อตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 10 แห่ง ในปี 2558 เป็นต้นมา มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ทั้งสิ้น 52 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 9,059 ล้านบาท โดยสามารถแยกการขอรับ การส่งเสริมการลงทุนเป็นรายเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ดังนี้ เขตเศรษฐกิจพิเศษ

จำ�นวนโครงการ

สิ่ ง ผู้ เขี ย นคิ ด ว่ า ผู้ อ่ า นพึ ง ตระหนั ก ก็ คื อ ประเด็ น เหล่ า นี้ คื อ มุ ม ที่ สะท้อนออกมาจากนักลงทุนเพียงฝ่ายเดียว อันที่จริงการเกิดขึ้นของเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอาจจะก่อปัญหาอื่น เช่น คุณภาพชีวิตและคุณภาพใน ที่ทำ�งานของแรงงาน ปัญหาการหลบหนีเข้าเมือง ปัญหาอาชญากรรม ปัญหา สิ ่ ง แวดล้ อ ม และปั ญ หาอื ่ น ๆ ต่ า งก็ มี ค วามสำ � คั ญ ที่ รั ฐ บาลจำ � เป็ น ต้ อ ง มองให้รอบเพื่อป้องกันและแก้ไข

มูลค่า (ลบ.)

ตัวอย่างประเภทธุรกิจ

ตาก

28

3,817.30

เสื้อผ้า/พลาสติก/ยานยนต์

สงขลา

6

1,749.50

น้ำ�มันมะพร้าว/ถุงมือยาง

สระแก้ว

4

1,315.60

พลาสติก/อาหารสัตว์/โลหะ

มุกดาหาร

4

831.50

อุปกรณ์ก่อสร้าง/พลาสติก

กาญจนบุรี

2

639.60

อาหารสัตว์

หนองคาย

1

301.80

คอนเทนเนอร์

ตราด

2

279.60

อาหารสัตว์/พลาสติก

เชียงราย

5

124.10

ยางเครป/พืชและไซโล/อาหารสัตว์

นอกเหนือจากเม็ดเงินลงทุนที่ผ่าน BOI ดังที่ได้เสนอไปในตารางข้าง ต้นแล้ว ยังมีเม็ดเงินลงทุนผ่านการสนับสนุนรูปแบบอื่นอีก เช่น กรมธนารักษ์ คัดเลือกบริษัท พร็อพเพอร์ตี เพอร์เฟคท์ จำ�กัด (มหาชน) เป็นผู้พัฒนา พื้ น ที่ ใ นเขตพั ฒ นาเศรษฐกิ จ พิ เ ศษจั ง หวั ด ตากเพื่ อ ทำ � ศู น ย์ ก ลางการท่ อ ง เที่ยวนานาชาติ วงเงินลงทุน 3,001 ล้านบาท EXIM Bank อนุมัติสินเชื่อแก่ ผู้ประกอบการจากสงขลา ตาก และหนองคายแล้วรวม 3 ราย วงเงิน ลงทุน 90 ล้านบาท และผู้ประกอบการรายหนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หนองคายขอรับสิทธิพิเศษด้านภาษีจากกรมสรรพากร เป็นต้น งานศึกษาโดยศาสตราและประสพโชค (2560) พบว่าการลงทุนใน เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเกือบทั้งหมดเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเบาที่ มิได้ใช้เทคโนโลยีระดับสูง เป้าหมายของการลงทุนมิได้เพื่อขยายตลาดไปยัง ประเทศเพื่อนบ้าน แต่คือเพื่อใช้ประโยชน์จากแรงงานราคาถูกในการผลิต สินค้าเพื่อนำ�ไปขายยังภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศหรือส่งออกไปยังลูกค้าต่าง ประเทศ (ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน) ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุน คิดว่ารัฐบาลควรทำ�อย่างต่อเนื่องก็คือการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานโดย เฉพาะด้านการคมนาคม รวมถึงการอำ�นวยความสะดวกในการค้าและการ เคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลตระหนักและพยายาม พัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ว่ามีประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจ เนื่องจากเป็นปัญหาที่ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะไม่มีอำ�นาจตรงในการแก้ นั่นคือ ปัญหาการขาดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนโรงงานเสื้อผ้า ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีโรงงานทำ�ถุงพลาสติกอยู่ ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเดียวกันหรืออยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เนื่องจากถุง พลาสติกเป็นวัตถุดิบสำ�คัญประการหนึ่งที่การผลิตเสื้อผ้าจำ�เป็นต้องใช้ แต่ หากนักลงทุนยังคงต้องซื้อถุงพลาสติกจากกรุงเทพมหานคร ต้นทุนในการ ผลิตอาจจะสูงเกินกว่าที่จะคุ้มลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ศาสตรา สุดสวาสดิ์ และ ประสพโชค มั่งสวัสดิ์. 2560. “การตัดสินใจลงทุนในเขตจังหวัดชายแดน และการลงทุนในประเทศอาเซียนของผู้ประกอบการไทย”. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 35(3). หน้า 40-68.

1

เศรษฐสาร


08

โลกหนังสือ

เพียงกว้านหาทรัพยากรราคาถูกจำ�นวนมากมามอบให้แก่นายทุนพร้อมสิทธิพิเศษ ต่าง ๆ และปล่อยให้หน้าที่ในการพัฒนาอยู่ในมือของกลุ่มทุน” (ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, 2561, หน้า 59)

“ หลังเขต

เศรษฐกิจ พิเศษ ”

สิทธิกร นิพภยะ

อาจารย์ประจำ�คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“หลังเขตเศรษฐกิจพิเศษ” ของรองศาสตราจารย์

หนังสือเรื่อง

บทแรก เป็นกรอบการพิจารณาเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ และความเป็นมา

บทที่สอง

ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี แห่งคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทบทวนการ ศึกษาเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ผ่านมา พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับนโยบายและการ ดำ�เนินการเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย หนังสือเล่มนี้มี 5 บท

โดยสังเขปของเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย

เป็นการทบทวนการศึกษาประวัติศาสตร์เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ ผ่านมา ในบทนี้ อาจารย์ปน่ิ แก้ว ได้ทบทวนการศึกษาทางด้านประวัตศิ าสตร์ของเศรษฐกิจ พิเศษจากทั้งด้านวิวัฒนาการเขตเศรษฐกิจพิเศษ และด้านการศึกษาเปรียบเทียบเขต เศรษฐกิจพิเศษทีผ่ า่ นมา จากการทบทวนการศึกษาประวัตศิ าสตร์เขตเศรษฐกิจพิเศษทัง้ สองด้าน หนังสือเล่มนีเ้ ห็นว่า “…(การเปลี่ยน) วิธีคิดในเชิงวิวัฒนาการนิยม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะชวนให้เชื่อว่า นวัตกรรมที่ปรับปรุงขึ้นจากอดีตที่สืบเนื่องกันมา ย่อมหมายถึงการจัดการพื้นที่ ที่ก้าวหน้าและดีขึ้นกว่าเดิม (มาเป็น) มุมมองเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งเสนอให้วิเคราะห์เขต เศรษฐกิจพิเศษในฐานะที่เป็นผลผลิตของเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ที่เพิ่งถือกำ�เนิดขึ้นเมื่อ สามทศวรรษที่ผ่านมา และเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างออกไป… ทำ�ให้การวิเคราะห์เขตเศรษฐกิจพิเศษมีมิติที่ยึดโยงกับบริบทของสังคมเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งแง่เวลาและพื้นที่” (ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, 2561, หน้า 51-52)

บทที่สาม

เป็นการทบทวนการศึกษาเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษจากการ ศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ในบทนี้ผู้เขียนได้นำ�เสนอประเด็นที่สำ�คัญอาทิ บทบาท ของรัฐ ปัจจัยที่ส่งให้เขตเศรษฐกิจพิเศษประสบความสำ�เร็จหรือล้มเหลว ตลอดจน ปัญหาผลกระทบจากเขตเศรษฐกิจพิเศษ อาทิ การฉ้อราษฎร์บังหลวง ความเหลื่อมลำ�้ ทางเพศ และปัญหาสิ่งแวดล้อม อาจารย์ปิ่นแก้วได้ตั้งขอสังเกตเกี่ยวกับบทบาทของ รัฐที่ส่งผลต่อความสำ�เร็จหรือความล้มเหลวที่น่าสนใจว่า “ความล้มเหลวของเศรษฐกิจพิเศษในหลายประเทศ ไม่ได้มาจากการที่รัฐ “อ่อนแอ” ในการควบคุมกำ�กับเขตเศรษฐกิจพิเศษ หากแต่เกิดจากที่รัฐเปลี่ยนหรือ ละทิ้งบทบาทจากการพัฒนา ไปสู่การเป็นรัฐนายหน้า (Broker State) ที่ทำ�หน้าที่

ส่วนบททีส่ ่ี

เป็นการทบวนการศึกษาเรือ่ งเขตเศรษฐกิจพิเศษจากการศึกษา ด้านสังคมวิทยา จากทัง้ มุมมองด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง และมุมมองด้านหลังโครงสร้าง นิยม ผู้เขียนได้นำ�เสนอเขตเศรษฐกิจพิเศษจากมุมเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งพิจารณา เขตเศรษฐกิจพิเศษในฐานะที่เป็นเทคโนโลยีการปกครองของรัฐที่ใช้การแบ่งเขตพื้นที่ เป็นเครื่องมือทดลองระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมที่แตกต่างไปจากระบบเศรษฐกิจส่วน ใหญ่ของประเทศ โดยการสร้าง “สภาวะยกเว้น” ทางเศรษฐกิจขึน้ ส่วนการนำ�เสนอเขต เศรษฐกิจพิเศษจากมุมมองด้านหลังโครงสร้างนิยมนั้น พิจารณาเขตเศรษฐกิจพิเศษใน ฐานะการสะสมทุนด้วยการพรากสิทธิ “การสะสมทุนด้วยการพรากสิทธิเกิดขึน้ อย่างรุนแรงในประเทศทีร่ ฐั เปลีย่ นบทบาท จากรัฐพัฒนาไปสูร่ ฐั นายหน้า การเปลีย่ นแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดการรวบรวมทีด่ นิ จำ�นวน มหาศาล ทัง้ ทีเ่ พือ่ แปลงให้เป็นทุนทางอุตสาหกรรมและเพือ่ เก็งกำ�ไร โดยทีร่ ฐั ทำ�ตัวเป็น ตัวกลางระหว่างทุนกับชาวบ้าน และปกป้องประโยชน์ของนายทุน พร้อมทัง้ ถ่ายโอนหน้าทีใ่ น การพัฒนาไปให้นายทุน ซึง่ ได้น�ำ มาสูก่ ารประท้วงและคัดค้านจากประชาชนจำ�นวนมาก โดย เฉพาะอย่างยิง่ ในอินเดีย ทัง้ นี้ ประเด็นเรือ่ งทีด่ นิ จึงได้กลายเป็นหัวใจสำ�คัญของผลกระทบ ทางสังคมทีเ่ ขตเศรษฐกิจพิเศษมีตอ่ ชุมชน” (ปิน่ แก้ว เหลืองอร่ามศรี, 2561, หน้า 156)

บทสุดท้าย เป็นบทสังเคราะห์การทบทวนการศึกษาเรื่องเขตเศรษฐกิจ พิเศษของประเทศต่าง ๆ ทีผ่ า่ นมา พร้อมทัง้ การตัง้ ข้อสังเกตและคำ�ถามกับเขตเศรษฐกิจ พิเศษของไทย อาทิ “แม้วา่ รัฐไทย ในฐานะรัฐพัฒนา จะมีบทบาทสำ�คัญในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ พิเศษรูปแบบต่าง …มาเป็นเวลากว่าสามทศวรรษ แต่ความผันผวนทางการเองและการไร้ เสถียรภาพของรัฐ ส่งผลต่อความชะงักงันไม่ตอ่ เนือ่ งทางเศรษฐกิจและการลงทุน… ภาย ใต้รัฐบาลที่ปกครองโดยทหาร ประเด็นความมั่นคงทางการเมืองได้กลายเป็นเป้าหมาย ที่ส�ำ คัญ และทำ�ให้ชายแดนกลายเป็นพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ให้ความสำ�คัญทางการเมือง โดยเฉพาะใน แง่ของการควบคุมแรงงานข้ามชาติ ซึง่ ได้กลายเป็นปัจจัยหลักทีร่ ฐั ใช้สร้างแรงจูงใจในการ ลงทุน หรือกล่าวอีกนัยหนึง่ คือ เป็นการพยายามรวมเป้าหมายทางเศรษฐกิจและเป้าหมาย ทางการเมืองเข้าด้วยกัน” (ปิน่ แก้ว เหลืองอร่ามศรี, 2561, หน้า 241-242) หากต้องทำ�ความเข้าใจเรื่องเขตเศรษฐกิจ พิเศษแล้ว หนังสือเล่มนี้อธิบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ อย่างรอบด้านหลากมุมมอง หนังสือ ผู้แต่ง พิมพ์โดย ปีท่ ีพิมพ์

หลังเขตเศรษฐกิจพิเศษ ปิ่ นแก้ว เหลืองอร่ามศรี กองทุนพัฒนาวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2561

ในราชการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เหตุขัดข้องนำ�จ่ายผู้รับไม่ได้

กรุณาส่ง

1. จ่าหน้าซองไม่ชัดเจน 2. ไม่มีเลขที่บ้านตามจ่าหน้า 3. ไม่ยอมรับ 4. ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า 5. ไม่มารับตามกำ�หนด 6. เลิกกิจการ 7. ย้าย ไม่ทราบที่อยู่ใหม่ 8. อื่น ๆ ลงชื่อ.................................................... คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ 10200

ชำ�ระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ 2/2521 ไปรษณีย์หน้าพระลาน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.