02 ปี ที่ 32 ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน 2561
32/11
ISSN 0875-5924 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เวทีสัมมนา
ระบบหนังสือแห่งชาติ และสังคมการอ่านใน ประเทศไทย ภัทรานิษฐ์ เกิดแสง และคณะ
04
บทความนักศึกษา
ธานอส มัลทัส และ เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ว่าด้วยประชากร ปวร เกียรติยุทธชาติ
06
ศัพท์นโยบายเศรษฐกิจไทย
เมืองหนังสือโลก
(World Book Capital) สิทธิกร นิพภยะ
08
สนุกคิดกับอาจารย์พิชญ์
ที่ปรึกษา
ชยันต์ ตันติวัสดาการ ภราดร ปรีดาศักดิ์ บรรณาธิการ
สิทธิกร นิพภยะ สวัสดีทา่ นผูอ้ ่านทุุกทา่ น เพราะการอา่ นหนังสือเป็ นจุดเริม่ ตน้ ความยิง่ ใหญห่ ลายอยา่ งของมนุษย์ เศรษฐสารฉบับนีจ้ งึ จะ พาทา่ นผูอ้ า่ นไปเปิ ดโลกของหนังสือ เริม่ ตน้ ดว้ ยสรุปเวทีสมั มนา “ระบบหนังสือแหง่ ชาติและสังคมการ อา่ นในประเทศไทย” แลว้ ขยับขอบเขตออกไปใหก้ วา้ งขึน้ ดว้ ย “เมืองหนังสือโลก (World Book Capital)” จากนัน้ เชิญชวนทา่ นผูอ้ า่ นเปิ ดโลกของภาพยนตร์ รว่ มรับฟั งแนวคิดของวายรา้ ยตัวสีมว่ งแหง่ จักรวาลกับบทความเรื่อง “ธานอส มัลทัส และเศรษฐศาสตรเ์ บื้องตน้ วา่ ดว้ ยประชากร” และกลับมาอีกครัง้ สำ�หรับ “สนุกคิดกับอาจารยพ์ ชิ ญ”์ พรอ้ มของรางวัลอีกเช่นเคย สุดทา้ ยนี้ หากการอา่ นเปรียบเสมือนการเพาะเมล็ดใหม้ รี ากแกว้ ก็หวังวา่ “เศรษฐสาร” จะเป็ นน้ำ� อี กหยดหนึง่ ทีห่ ลอ่ เลีย้ งตน้ ไมแ้ หง่ ชีวติ ของทา่ นผูอ้ า่ นใหเ้ ติบโตอยา่ งงดงามคะ่
กองบรรณาธิการ
หงษฟ์ ้ า ทรัพยบ์ ุญเรือง ธีรวุฒิ ศรีพินิจ นภนต์ ภุมมา พิชญ์ จงวัฒนากุล วีระวัฒน์ ภัทรศักดิก์ ำ�จร ธันยช์ นก นันทกิจ อิสร์กุล อุณหเกตุ ผู้จัดการ
พิชามญชุ์ ดีทน
ขอให้สนุกกับการอ่าน
ธันยช์ นก นันทกิจ บรรณาธิการประจำ�ฉบับ www.setthasarn.econ.tu.ac.th
02
เวทีสัมมนา
“ระบบหนังสือแห่งชาติ และสังคมการอ่าน ใน ประเทศไทย” ภัทรานิษฐ์ เกิดแสง และคณะ1 นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
‘มกุฏ อรฤดี’ ศิลปินแห่งชาติด้านสาขาวรรณศิลป์ หรือเป็นที่รู้จักกัน ดีในบทบาทของบรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ผีเสื้อ ผู้ซึ่งยืนหยัดสู้ให้ประเทศไทยมี “สถาบันหนังสือแห่งชาติ” แนวคิดสถาบันหนังสือแห่งชาตินี้ได้นำ�เสนอ ต่ อ รัฐบาลมาหลายยุคหลายสมัยเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีการพัฒนา ระบบหนังสือที่ดีขึ้น อ.มกุฏ มักกล่าวเสมอว่า “หนังสือคือเครื่องมือถ่ายทอด ความคิดและความบันเทิง หนังสือคือผลจากการอ่าน การเขียน และความคิด แต่ประเทศไทยขาดความสนใจเรื่องหนังสือและไม่พยายามจัดการระบบ หนังสือ สุดท้ายเราจะตามคนอืน่ ไม่ทนั เพราะการพัฒนาของชาติตอ้ งเริม่ ทีค่ น” เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา อ.มกุฏ อรฤดี ได้ให้ เกียรติมาบรรยายพิเศษเรื่อง “ระบบหนังสือแห่งชาติและสังคมการอ่าน ในประเทศไทย” ณ ห้องกิจกรรม หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ความสนใจเรื่องการพัฒนาระบบหนังสือเริ่มเมื่อ อ.มกุฏ มีโอกาสเดินทางไปโรงเรียนเล็ก ๆ ในจังหวัดสงขลา และค้นพบว่า ชาวบ้านมีความรู้น้อยกว่าเด็กมัธยม เนื่องจากชาวบ้านไม่ได้อ่านหนังสือ แต่ นั่นไม่ได้หมายความว่าชาวบ้านไม่อยากอ่านหนังสือ เพียงแต่ห้องสมุดใน ชุมชนไม่มีบรรณารักษ์ให้คำ�แนะนำ� ประกอบกับหนังสือในห้องสมุดส่วนใหญ่ มีแต่หนังสือนิยายซึ่งไม่สอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้าน ดังนั้นการ มีห้องสมุดในชุมชนจึงไม่มีความหมายอีกต่อไป หนังสือที่ชาวบ้านต้องการ เป็นหนังสือที่จะสามารถนำ�ความรู้มาปรับใช้และพัฒนาความเป็นอยู่ของชาว บ้านให้ดีขึ้น การทำ�ให้หนังสือในห้องสมุดเป็นสิ่งที่ ‘สำ�คัญและจำ�เป็น’ ต่อ ชาวบ้าน จะทำ�ให้ห้องสมุดเป็นแหล่งความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาวบ้าน ได้อย่างแท้จริง ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงได้จุดประกายแนวความคิดเรื่อง ระบบ หนังสือในชุมชน เมื่อปี 2543 อ.มกุฏ ให้สัมภาษณ์ว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทย ควรที่จะมีสถาบันหนังสือแห่งชาติ และการวางโครงสร้างระบบหนังสือ การ สัมภาษณ์ครั้งนั้นสร้างความสนใจแก่รัฐบาลยุคนั้น จนได้ขอให้ อ.มกุฏ จัดทำ� รายละเอียด และเสนอเป็นพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันหนังสือแห่งชาติ หน้า 2
1
อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ถูกปรับเปลี่ยนจนกลายเป็นห้องสมุดในห้างสรรพ สินค้าที่รู้จักกันในชื่อ TK Park ซึ่งไม่ได้เกิดประโยชน์กับชาวบ้านในต่างจังหวัด โดยตรง เพราะมีข้อจำ�กัดการเข้าถึงห้องสมุดแห่งนี้หลายประการ ระบบ หนังสือจึงยังไม่ประสบความสำ�เร็จเพราะระบบหนังสือคือ “การเปิดโอกาส ให้คนในประเทศเข้าถึงความรู้อย่างเท่าเทียม ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบ” การอ่านหนังสือเปรียบเสมือนการเพาะเมล็ดให้ต้นไม้มีรากแก้ว การ เพาะเมล็ดคือการปลูกฝังความรู้ให้กับคนไทย และการมอบความรู้ให้อย่าง ทั่วถึงมีความสำ�คัญเป็นอย่างมาก เพราะประชาชนอาจเดือดร้อนจากการ กระทำ�ของคนที่ขาดความรู้ได้ “หากนักศึกษาเหมารถไปเที่ยวจังหวัดทาง ภาคเหนือ แต่คนขับรถขาดความรู้เรื่องแรงเหวี่ยงของรถเมื่อเข้าโค้งอาจทำ�ให้ รถเกิดอุบัติเหตุได้” เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ อ.มกุฏ ได้เล่าประกอบการบรรยาย ก่อนที่สรุปความในส่วนนี้ว่า “จงเปิดโอกาสให้คนอื่นเรียนรู้ เพื่อการใช้ชีวิต อย่างเป็นสุขของเรา”
วรานิษฐ์ บุณยเรืองศักดิ์ อนันตญา เคลือบหมื่นไว กัญญาณัฐ หมีงาม ภวิกา กล้าหาญ อัษฎาพร สุวรรณนามัย อิษยา บุญสนอง วิสัยทัศน์ จันทรประทักษ์ และอินทัช งามวิไล
อ.มกุฏ อรฤดี ศิลปิ นแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ทีม่ า : https://kiji.life/ อ.มกุฏ ยังได้ยกตัวอย่างการนำ�แนวคิดเรื่องระบบหนังสือชุมชนไป ปฏิบัติจริงว่า ในปี 2553 อ.มกุฏ ได้เริ่มต้นโครงการระบบหมุนเวียนหนังสือ ในมัสยิดที่จังหวัดกระบี่ โดยนำ�หนังสือไปมอบให้มัสยิด 4 แห่ง และทุกๆ 3 เดือนจะหมุนเวียนหนังสือระหว่างมัสยิด เพื่อให้ชาวบ้านได้อ่านหนังสือมาก ขึ้น โดยขั้นแรกของโครงการคือการสำ�รวจว่าคนในชุมชนต้องการอะไร สนใจ เรื่องใด และจัดหาหนังสือให้ตรงตามความต้องการ การมีหนังสือที่ตรงตาม ความต้องการจะทำ�ชาวบ้านสนใจอ่านหนังสือ และมีช่องทางหาความรู้มาก ขึ้น เมื่ออ่านหนังสือชาวบ้านจะมีความคิดมากขึ้น นำ�ความคิดเหล่านี้มา ประกอบอาชีพ จนช่วยพัฒนาชุมชนได้ บังเจ๊ะหันเป็นหนึ่งในตัวอย่างความสำ�เร็จที่เกิดจากการอ่านหนังสือ เขาเริม่ ต้นจากการอ่านหนังสือเรือ่ งพันธุห์ ญ้าเพือ่ ปลูกหญ้าเลีย้ งวัวชน จนสร้าง รายได้ให้แก่ตนเองและคนในชุมชน เขาพบว่า การรณรงค์ควำ่�กะลามะพร้าว ของทางราชการ ไม่ได้ช่วยลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้จริง เพราะ ขาดการพิจารณาถึงสภาพชุมชนว่ามีการเลี้ยงไก่หรือไม่ โดยไก่มักไปคุ้ยเขี่ย กะลาให้กลับหงายขึ้นมาอีก ทำ�ให้ยังมีนำ�้ ขังและเป็นที่เพาะพันธุ์ยุงลาย บัง เจ๊ะหันอ่านหนังสือแล้วพบวิธีการแปรรูปมะพร้าว เขาขอรับซื้อกะลามะพร้าว เพือ่ มาเผาเป็นถ่านส่งขายเพือ่ สร้างรายได้ ความรูท้ ไ่ี ด้จากหนังสือจึงทำ�ให้บงั เจ๊ะ หันมีแหล่งรายได้เพิ่มเติม ในชุมชนเองก็มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายลดลง ใน ช่วงราคายางตกตำ่� บังเจ๊ะหันบอกให้ชาวบ้านปลูกหมากเพราะอ่านหนังสือ แล้วพบว่าราคาหมากตัง้ แต่อดีตถึงปัจจุบนั ไม่เคยตกเลย จนทำ�ให้ปจั จุบนั บังเจ๊ะหันมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น บังเจ๊ะหันยังริเริ่มโครงการกองทุนหมู่บ้าน
ออมเงินวันละ 1 บาท และตั้งกลุ่มอาชีีพในชุมชน จากการลงมือนำ�แนวคิด ห้องสมุดชุมชนไปปฏิบัติจริง อาจกล่าวได้ว่าความรู้จะนำ�มาสู่การพัฒนา ชุมชนได้อย่างแท้จริง หากมีระบบหนังสือเกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่เพียงแต่ชาวบ้านใน ชุมชนเท่านั้นที่จะเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น แต่ระบบนี้จะช่วยให้คนไทยทุกคน สามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น นอกจากตัวอย่างของบังเจ๊ะหันแล้ว อ.มกุฏ ยังได้ยกตัวอย่างข้อเสนออื่น ๆ ในระบบหนังสือแห่งชาติ เช่น การมีหน่วยงาน ของรัฐที่มีอำ�นาจหน้าที่ต่อรองเจรจาด้านลิขสิทธิ์กับสำ�นักพิมพ์ต่างประเทศ อย่างชัดเจน เพื่อแปลหนังสือภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้รวดเร็วยิ่งขึ้น กว่าการให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดำ�เนินงาน แน่นอนว่าเอกชนจะต้องคำ�นึงถึง ผลกำ�ไรจากการลงทุนซื้อลิขสิทธิ์การแปลและจัดพิมพ์หนังสือ หากหนังสือ ที่ไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก ก็อาจไม่มีการพิมพ์หนังสือแปลจากต่างประเทศ ปัจจุบนั ประเทศไทยยังไม่มกี ารจัดระบบหนังสือ ไม่มกี ารสอบถามความ ต้องการของประชาชนว่าต้องการความรู้เรื่องใด เมื่อห้องสมุดไม่สามารถ ตอบสนองความต้องการของประชาชน ประชาชนไม่เข้าห้องสมุด ประชาชน ก็ไม่มีความรู้ ในอนาคตทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้จะค่อย ๆ น้อยลงจน ไม่สามารถไปแข่งขันกับชาติอื่นได้ หากประเทศไทยยังไม่มีระบบหนังสือที่ดี ประเทศก็อาจแย่ได้ ความหมายของระบบหนังสือแห่งชาติคือ การที่ทุกคน สามารถเข้าถึงหนังสืออย่างเท่าเทียม และมีหนังสือที่สามารถตอบสนองความ ต้องการที่สำ�คัญและจำ�เป็นของประชาชนได้ ผู้อ่านที่สนใจเรื่องแนวคิดสถาบันหนังสือแห่งชาติ ติดตามอ่าน ได้ทเี่ ว็บไซต์สำ�นักพิมพ์ผีเสื้อ http://www.bflybook.com หน้า 3
04
บทความนักศึกษา
ธานอส มัลทัส และเศรษฐศาสตร์ ้ งต้นว่าด้วย เบือ ประชากร ปวร เกียรติยุทธชาติ
นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก็อนุมานเอาไว้ในใจว่า “ธานอสเป็นอัครมหาสาวกของมัลทัสแน่นอน”และผู้เขียน ก็ไม่ได้เป็นคนเดียวที่คิดเช่นนี้ หากเราลองค้นหาด้วยคำ�ว่า “Thanos and Malthus” ในเว็บไซต์กูเกิล เราจะพบกับเนื้อหาจำ�นวนมากที่พูดถึงความเกี่ยวข้อง ระหว่างอุดมการณ์ของธานอสและทฤษฎีว่าด้วยประชากรของมัลทัส แล้วมัลทัสคือใคร? โทมัส โรเบิร์ต มัลทัส (Thomas Robert Malthus) เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักประชากรศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผลงานสำ�คัญของมัลทัสคือทฤษฎี ว่าด้วยประชากร ซึ่งปรากฎอยู่ในวรรคแรกของบทที่สองในหนังสือ An Essay on the Principle of Population ที่ตีพิมพ์ในปีคริสต์ศักราช 1789 ความว่า “เมื่อ ปราศจากการควบคุมใด ๆ ประชากรจะมีจำ�นวนเพิ่มขึ้นในอัตราเรขาคณิต ส่วน อาหารจะมีจำ�นวนเพิ่มขึ้นในอัตราเลขคณิต”1 จากประโยคข้างต้น เราสามารถสร้างแบบจำ�ลอง และแสดงด้วยกราฟเส้นแบบง่าย ๆ ได้ดังรูป Quantity
คำ�เตือน: บทความชิ้นนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของ ภาพยนตร์ ย้อนความไปเมื่อหลายเดือนก่อน ผู้เขียนได้มีโอกาสไปชมภาพยนตร์
Population
Malthusian Catastrophe
Production of food เรื่อง Avengers: Infinity Wars สำ�หรับท่านผู้อ่านที่ยังไม่ได้รับชมภาพยนตร์ เรื่องดังกล่าว ก็ขออธิบายเรื่องย่อคร่าว ๆ ว่า เหล่ายอดมนุษย์อเวนเจอร์ส Time ต้องผนึกกำ�ลังกับทีมการ์เดียนส์ออฟเดอะกาแล็กซี่ เพื่อเผชิญหน้ากับธานอส ผู้พยายามรวบรวมอินฟินิตี้สโตนทั้งหกเพื่อที่จะทำ�ลายล้างจักรวาลเหล่ายอด มนุษย์อเวนเจอร์สและทีมการ์เดียนส์ออฟเดอะกาแล็กซี่จำ�เป็นที่จะต้องหยุดยั้ง จากกราฟดังกล่าวจะแสดงให้เห็นว่า ประชากรและอาหารต่างมีปริมาณ มิให้ธานอสรวบรวมอินฟินิตี้สโตนทั้งหกไว้ที่ตนให้จงได้ เพิม่ ขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรจะสูงกว่าอัตราการเพิ่ม ขึ้นของอาหาร เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร จะมากกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของอาหาร และในที่สุดก็จะเกิด เหตุการณ์ที่เรียกว่า Malthus Catastrophe หรือการที่จำ�นวน ประชากรจะมีมากกว่าจำ�นวนอาหารที่ผลิตได้ จนในท้ายที่สุด จะเกิ ด ภาวะของการขาดแคลนอาหารและความอดอยากขึ้ น นอกจากนี้ มัลทัสยังเสนอว่าสังคมมนุษย์มีกลไกในการควบคุม ปริมาณประชากร โดยกลไกดังกล่าวสามารถแบ่งได้เป็นสอง ประเภท คือ Positive Check หรือกลไกในการลดจำ�นวน ประชากร เช่น สงคราม โรคระบาด หรือภาวะอดอยาก และ Negative Check หรือกลไกในการลดอัตราการเกิด เช่น การ ควบคุมผ่านวัฒนธรรมและศีลธรรม มัลทัสเชื่อว่าหากสังคม มนุษย์ปราศจากกลไกในการควบคุมจำ�นวนประชากร หรือกลไก ดังกล่าวล้มเหลว อาหารจะไม่เพียงพอต่อจำ�นวนประชากรและ จะเกิด Malthus Catastrophe ขึ้นในท้ายที่สุด ย้อนกลับมาที่โลกของอเวนเจอร์ส หากพิจารณาถึง ทีม่ า : https://movie.mthai.com/movie-review/231533.html อุดมการณ์หรือการกระทำ�ของธานอส ถ้าวิเคราะห์ด้วยหลัก ปมสำ�คัญในหนังดังกล่าวคือการที่ธานอสเลือกที่จะ “สังหารหมู่แบบ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น การกระทำ�ของธานอสก็อาจอนุมานได้ว่าเป็นการ สุ่ม” (Randomized Mass Killings) โดยใช้พลังของอินฟินิตี้สโตนในการ สร้างดุลยภาพให้กับตลาด ผ่านการทำ�ให้อุปสงค์ของอาหารซึ่งก็คือความต้องการ กวาดล้างสิง่ มีชวี ติ ไปครึง่ หนึง่ ของประชากรทัง้ หมดในจักรวาล โดยเหตุผลทีธ่ านอส อาหาร ซึ่งกำ�หนดด้วยจำ�นวนประชากร สมดุลกับอุปทานซึ่งก็คือปริมาณอาหารที่ ให้ไว้ในภาพยนตร์ คือ “จักรวาลที่มีประชากรมากเกินไปย่อมถึงกาลล่มสลาย ผลิตได้ ในขณะเดียวกัน ถ้าเราเอาทฤษฎีของมัลทัสเป็นเกณฑ์ ก็อาจจะกล่าวได้ การฆ่าของเขาเป็นไปเพื่อรักษาสมดุลของจักรวาล” เมื่อผู้เขียนได้ยินดังนี้ ผู้เขียน ว่าธานอสเป็นศิษย์เอกของมัลทัสอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะการกระทำ�ของธานอส
หน้า 4
1
ข้อความดั้งเดิมตามต้นฉบับ ความว่า “I said that population, when unchecked, increased in a geometrical ratio, and subsistence for man in an arithmetical ratio”
คือการป้องกันการเกิด Malthus Catastrophe ด้วยการสังหารหมู่ประชากร ทั่วทั้งจักรวาล ซึ่งอาจจะนิยามได้ว่าเป็น Positive Check ตามแนวคิดของมัลทัส ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี แม้ว่าการกระทำ�ของธานอสจะเป็นการขจัดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) แต่ก็เป็นการขจัดอุปสงค์ส่วนเกินที่ไร้ศีลธรรมอย่างยิ่งยวด
โทมัส โรเบิร์ต มัลทัส นักเศรษฐศาสตร์ และนักประชากรศาสตร์ ทีม่ า : https://en.wikipedia.org/wiki/Thomas_Robert_Malthus#/ media/File:Thomas_Robert_Malthus_Wellcome_L0069037_-crop.jpg
แม้ว่าเหตุผลของธานอสอาจสอดคล้องกับทฤษฎีของมัลทัส แต่หากมอง ผ่านประวัติศาสตร์ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) ไม่ว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ชาวยิวของนาซีเยอรมัน การสังหารหมู่ของกองกำ�ลังเขมรแดง หรือว่าการฆ่าล้าง เผ่าพันธุ์ในกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกา การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หรือ การสังหารหมู่ (Mass Killing) ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในห้วงประวัติศาสตร์ล้วนไม่ได้ เกิดขึ้นจากการขาดแคลนทรัพยากรหรือเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์แต่อย่าง ใด แต่เกิดขึ้นด้วยเหตุผลทางการเมือง ความขัดแย้งทางศาสนา และความขัดแย้ง ทางชาติพันธุ์เสียมากกว่า หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่อาจจะนิยามว่าเป็นการฆ่าล้าง เผ่าพันธุ์ อย่างการเสียชีวิตจากภาวะอดอยากที่เกิดขึ้นในสหภาพโซเวียตและจีน ในช่วงทศวรรษที่ 1920 ถึงทศวรรษที่ 1960 ที่มีผู้เสียชีวิตรวมกันไม่ต่ำ�กว่า 50 ล้านคน การเสียชีวติ ดังกล่าวเกิดขึน้ ในประเทศทีม่ กี ารควบคุมทางเศรษฐกิจโดยรัฐ สาเหตุสำ�คัญคือการขาดแคลนอาหารอันเป็นผลลัพธ์จากความผิดพลาดของรัฐ ในการดำ�เนินนโยบายด้านอาหาร มากกว่าที่จะเป็นความตั้งใจของรัฐที่จะ “ลด ปริมาณพลเมือง” ของตนเอง หากพิจารณาโดยผิวเผิน สิ่งที่ธานอสกระทำ�แม้ว่า จะเหมือนเป็นการกระทำ�ที่ชอบด้วยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ คือการทำ�ให้ตลาด อยู่ในจุดดุลยภาพ แต่หากพิจารณาด้วยเหตุผลในโลกแห่งความเป็นจริง เหตุผล ของธานอสในการ “เข้าสู่ดุลยภาพ” ด้วยการ “สังหารหมู่แบบสุ่ม” นั้นฟังไม่ขึ้น ทั้งในเชิงเศรษฐศาสตร์และเชิงศีลธรรมแต่ประการใด อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะผ่านมาเนิ่นนานถึงสองร้อยกว่าปี แบบจำ�ลองของ มัลทัสก็ยังไม่ได้หายสาบสูญไปไหน ในปัจจุบันนักวิชาการจำ�นวนมากก็ยังคง ถกเถียงกันถึงทฤษฎีของมัลทัส ในการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์และประชากรศาสตร์ ก็ยังคงมีการสอนทฤษฎีของมัลทัสอยู่ และแม้ว่าทฤษฎีของมัลทัสจะถูกหักล้าง จากนักวิชาการคนอื่น ๆ หรือแม้แต่สภาพจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงมีนัก วิชาการบางส่วนทีเ่ ชือ่ ว่าแบบจำ�ลองของมัลทัสยังคงเป็นจริง และใช้ในการอธิบายได้ รวมถึงยังเชือ่ ว่ายังมีความเป็นไปได้ทจ่ี ะเกิด Malthus Catastrophe ในอนาคตอีกด้วย ส่วนที่ว่าแบบจำ�ลองของมัลทัสจะเป็นจริงตามที่เขาได้ทำ�นายเอาไว้หรือ ไม่? คำ�ถามนี้ตัวผู้เขียนเองก็ตอบไม่ได้ นอกจากปล่อยให้กาลเวลาเป็นเครื่องมือ พิสูจน์ด้วยตัวของมันเอง
เอกสารอ้างอิง ตัดสลับภาพกลับมาที่โลกแห่งความเป็นจริง ในปัจจุบันคำ�ทำ�นายของ Davies, R.S, และ S. G. Wheatcroft. The Industrialization of Soviet Russia Volume 5: Soviet Agriculture 1931-1933. London: Palgrave Macmillan UK, 2016. มัลทัสไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีว่าด้วยการเพิ่มขึ้นของประชากร หรือคำ�ทำ�นายว่าจะ Dikötter, Frank. Mao’s great famine: the history of China’s most devastating catastrophe, เกิด Malthus Catastrophe ยังไม่เกิดขึ้นแต่อย่างใด อันเนื่องมาจากเหตุผลสอง 1958-1962. 1st U.S. ed. New York: Walker & Co, 2010. ประการ คือ “FAO : World agriculture 2030:<br> Global food production will exceed population 1) การปฏิวัติเขียว (Green Revolution) ในช่วงทศวรรษที่ 1950 growth”. สืบค้น 4 ตุลาคม 2018. http://www.fao.org/english/newsroom/ news/2002/7828-en.html. และ 1960 ทำ�ให้ปริมาณอาหารที่ผลิตได้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม จนการเพิ่มขึ้นของ Malthus, Thomas Robert, และ Philip Appleman. An Essay on the Principle of Population: ปริมาณอาหารเริ่มที่เติบโตมากกว่า “อัตราเลขคณิต” และ Text, Sources and Background, Criticism. Norton Critical Editions in the History 2) แนวโน้มอัตราการเกิดของประชากรในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ลด of Ideas. New York, NY: Norton, 1976. ลง ส่งผลให้อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรของทั้งโลกลดลงและไม่เท่ากับ “อัตรา Russo, Anthony, Joe Russo, Christopher Markus, Stephen McFeely, Kevin Feige, Jon Favreau, James Gunn, et al. 2018. Avengers: Infinity War. เรขาคณิต” อีกต่อไป สถานการณ์บนโลกในปัจจุบนั จึงแตกต่างจากแบบจำ�ลองของมัลทัส องค์การ อาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือเอฟเอโอทำ�นายว่าปริมาณอาหาร จะมีจำ�นวนมากกว่าความต้องการของประชากรภายในปีคริสต์ศักราช 20302 ในขณะเดียวกัน ก็อาจจะกล่าวได้วา่ แบบจำ�ลองของมัลทัสไม่สมเหตุสมผลในปัจจุบนั ก็ว่าได้ นอกจากนี้ สถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการแก้ปัญหาการขาดแคลน อาหารนั้นกระทำ�ได้ผ่านการเพิ่มอุปทานด้วยการเพิ่มศักยภาพในการผลิตอาหาร ขึ้นมา 2 3
อ่านรายงานต้นฉบับได้ที่ http://www.fao.org/english/newsroom/news/2002/7828-en.html แบ่งเป็นผู้เสียชีวิตในโซเวียต 7.5 ล้านคน (Davies and Wheatcroft, 2016) และในจีนแผ่นดินใหญ่อีกไม่น้อยกว่า 45 ล้านคน (Dikötter, 2010)
หน้า 5
06
ศัพท์นโยบายเศรษฐกิจไทย
เมือง หนังสือโลก
(World Book Capital)
สิทธิกร นิพภยะ
อาจารย์ประจำ�คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมืองหนังสือโลกเป็นโครงการขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม กิจกรรมการอ่านและหนังสือ สืบเนื่องจากจากยูเนสโกได้กำ�หนดเมื่อปี 2538 ให้วันที่ 23 เมษายน เป็นวันหนังสือและลิขสิทธิ์ของโลก (World Book and Copyright Day) ยูเนสโกได้เริ่มโครงการเมืองหนังสือโลก ในปี 2544 โดยคัดเลือกให้กรุงมาดริด ประเทศ สเปน เป็นเมืองหนังสือโลกเป็นแห่งแรก สำ�หรับการคัดเลือกว่าเมืองใดจะเป็นเมืองหนังสือโลกนั้น คณะกรรมการ ที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากสมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ (International Publishing Association: IPA) ผู้แทนจากสมาพันธ์สมาคมและสถาบันห้องสมุด นานาชาติ (International Federation of Library Associations and Institutions: IFLA) และผู้แทนจากยูเนสโก พิจารณาเมืองต่าง ๆ ที่สมัครเข้าโครงการเมืองหนังสือโลก จากเกณฑ์ 6 ด้านด้วยกัน1 คือ (1) ประโยชน์ระยะยาวทีภ่ าคส่วนต่าง ๆ และสังคมโดยรวมได้รบั จากโครงการ กิจกรรมที่จัดขึ้นในช่วงที่เป็นเมืองหนังสือโลก (2) งบประมาณค่าใช้จ่ายโครงการกิจกรรม ตลอดจนวิธีการระดมทุน (3) การมีส่วนร่วมขององค์กรวิชาชีพและองค์กรภาคเอกชน ทั้งระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระหว่างประเทศ (4) กิจกรรมที่จัดร่วมกับองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยนักเขียน สำ�นัก พิมพ์ ผูจ้ ดั จำ�หน่ายหนังสือ บรรณารักษ์ ตลอดห่วงโซ่อปุ ทานการผลิตหนังสือ และชุมชน วิชาการและวรรณกรรม ทัง้ ระดับชาติ ภูมภิ าค และระหว่างประเทศ (5) โครงการอื่น ๆ ที่ส่งเสริมหนังสือและการอ่าน (6) ความสอดคล้องกับหลักการเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพตีพมิ พ์ และการให้ข้อมูล ตามที่กำ�หนดไว้ในธรรมนูญยูเนสโก และข้อ 19 และข้อ 27 ของ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และความตกลงว่าด้วยการนำ�เข้าวัสดุการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม (ความตกลงฟลอเรนซ์) ในแต่ละปี ยูเนสโกจะประกาศเมืองหนังสือโลกเพียงหนึ่งเมือง จะไม่ ประกาศเมืองที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันเป็นเมืองหนังสือโลกติดต่อกัน และไม่ประกาศ เมืองในประเทศที่เคยมีเมืองหนังสือโลกมาแล้ว ภายในระยะเวลา 10 ปีก่อนหน้า2 (ราย ชื่อเมืองหนังสือโลก ดูตารางที่ 1) เมืองที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลกจะต้องจัดโครงการกิจกรรม ต่าง ๆ ตามที่ได้เสนอมา ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน ของปีที่ได้เป็นเมืองหนังสือ โลก ไปจนถึงวันที่ 22 เมษายน ของปีถัดไป และยังต้องจัดทำ�รายการผลการจัด โครงการกิจกรรม รวมถึงเชิญยูเนสโกและคณะกรรมการทีป่ รึกษาเข้าร่วมกิจกรรมหลัก ต่าง ๆ ของการเป็นเมืองหนังสือโลก เมื่อเดือนกันยายน 2561 ที่ผ่านมา ยูเนสโกได้คัดเลือกกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นเมืองหนังสือโลก ปี 2563 ด้วยเหตุผลว่า มีกิจกรรมที่มุ่งเน้นการ ศึกษาอย่างมีส่วนร่วม มีการพัฒนาสังคมบนพื้นฐานความรู้ และการเปิดให้ประชาชนทุก
หน้า 6
กลุ่มในเมืองเข้าถึงการอ่านได้ โครงการกิจกรรมของเมืองหนังสือ ปี 2563 นี้ มุ่งเน้น 4 ด้านหลัก คือ การอ่านหนังสือทุกรูปแบบสื่อ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรม หนังสือ การเข้าถึงการอ่านอย่างมีส่วนร่วมและการเข้าถึงการอ่านด้วยสื่อดิจิทัล และ การพัฒนาเด็กและเยาวชนจากการอ่าน3 ในส่วนของประเทศไทย กรุงเทพมหานครได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองหนังสือ โลกปี 25564 คณะกรรมการที่ปรึกษาให้เหตุผลว่า กรุงเทพมหานครมีความเต็มใจที่ นำ�ทุกภาคส่วนในห่วงโซ่อุปทานของหนังสือ มาจัดโครงการกิจกรรมร่วมกัน และมีความ มุ่งมั่นอย่างมากในการจัดโครงการกิจกรรมที่เน้นชุมชน5
ทีม่ า : https://www.facebook.com/EventPassfanpage
ตลอดปี 2556 ทีผ่ า่ นมา กรุงเทพมหานคร ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ จัดโครงการ กิจกรรม 9 ภาระกิจหลัก ทีไ่ ด้เสนอต่อ UNESCO6 คือ (1) โครงการหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร เดิมกำ�หนดใช้พน้ื ทีศ่ าลาว่าการ กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ยา้ ยไปเช่าพืน้ ทีส่ �ำ นักงานทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ บริเวณ สี่แยกคอกวัว และเปิดให้บริการตั้งแต่ต้นปี 2560 ด้วยงบประมาณการออกแบบและ ก่อสร้างกว่า 300 ล้านบาท7 (2) โครงการพิพธิ ภัณฑ์การ์ตนู ไทย ซึง่ อยูร่ ะหว่างการดำ�เนินการ เดิมกำ�หนด ใช้พื้นที่บริเวณศูนย์เยาวชนกรุงเทพ (ไทย-ญีป่ นุ่ ) ดินแดง และใช้งบประมาณก่อสร้าง ประมาณ 200 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เนือ่ งจากปัญหาด้านงบประมาณ จึงเปลีย่ นไปใช้ อาคารยูนลิ เี วอร์ในพิพธิ ภัณฑ์เด็กแห่งที่ 1 แทน8 (3) การสร้างวัฒนธรรมการอ่านเพือ่ สร้างวัฒนธรรมการคิด เป็นกิจกรรมส่งเสริม การอ่านให้เด็กตัง้ แต่แรกเกิด ถึง 6 ขวบ เช่น โครงการมอบหนังสือเล่มแรก (Book Start) สำ�หรับอ่านให้เด็กฟัง9 (4) กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในเด็กและเยาวชน ซึง่ ครอบคุลมทัง้ การศึกษาใน ระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน เช่น โครงการส่งเสริมให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนรักการอ่าน และโครงการอ่านกันสนัน่ เมือง การเพิม่ ห้องสมุดเพือ่ การเรียนรูอ้ กี 2 แห่ง และบ้านหนังสืออีก 47 แห่งในกรุงเทพมหานคร (5) การสืบค้นวรรณกรรมของคนกรุงเทพ เช่น การจัดงานประกาศรางวัลซีไรต์ และโครงการคัดเลือกวรรณกรรม (นวนิยายและสารคดี) ให้เป็นวรรณกรรมประจำ�แต่ละ เขตของกรุงเทพมหานคร โดยคัดเลือกจากวรรณกรรมทีป่ ระชาชนในแต่ละเขตพืน้ ทีน่ ยิ ม อ่านและมีฉากหรือตัวละครอยูใ่ นเขตนัน้ รวมถึงการจัดซือ้ วรรณกรรมเรือ่ งละ 500 เล่มเข้า ห้องสมุดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร10
การรดนำ� ้ บำ�รุงดิน ต้นไม้แห่งการอ่านนั้นเป็นสิ่งที่สำ�คัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ทั้ง กรุงเทพมหานครและทุกภาคส่วนคงต้องช่วยกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและหนังสือ อย่างต่อเนื่องต่อไป https://en.unesco.org/system/files/call_2020_en.pdf https://en.unesco.org/system/files/call_2020_en.pdf 3 “Kuala Lumpur named World Book Capital 2020” <https://en.unesco.org/worldbook-capital-city-2020> 4 การขับเคลื่อนการเป็นเมืองหนังสือโลก ดู สุจิตร สุวภาพ (2559). “กทม. เมืองหนังสือโลก 2556”, วารสารห้องสมุด, ปีที่ 55 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2554) หน้า 36-43.; พิมพา พัฒนโยธิน (2555). “กรุงเทพมหานคร เมืองหนังสือโลก ปี 2556”, วารสารห้องสมุด, ปีที่ 56 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2555) หน้า 64-69. 5 “Bangkok designated World Book Capital 2013” <http://www.unesco.org/new/en/media -services/single-view/news/bangkok_designated_world_book_captal_2013/> 6 “กทม. โชว์ผลงาน 9 พันธกิจ ผ่านงานเล่าเรือ่ งเมืองหนังสือโลก” บ้านเมือง วันที่ 7 มิถนุ ายน 2557 หน้า 6 7 “กทม. โชว์ผลงาน 9 พันธกิจ ผ่านงานเล่าเรือ่ งเมืองหนังสือโลก” บ้านเมือง วันที่ 7 มิถนุ ายน 2557 หน้า 6 8 “กทม. ยันของบ 200 ล. ปรับตึกยูนลิ เี วอร์ สร้างพิพธิ ภัณฑ์การ์ตนู ไทย” ข่าวสด วันที่ 15 สิงหาคม 2559 หน้า 5. 9 “กรุงเทพมหานครได้อะไรจากการเป็นเมืองหนังสือโลก” เดลินวิ ส์ วันที่ 14 มิถุนายน 2557 หน้า 15 10 “50 วรรณกรรมประจำ�เขต กทม.” ไทยโพสต์ วันที่ 26 ตุลาคม 2557 หน้า 21 11 “เล็งจ้างเอาต์ซอร์ซแทนข้าราชการดูกจิ กรรมหอสมุดเมืองกรุงเทพฯ” ไทยโพสต์ วันที่ 3 เมษายน 2561 หน้า 8 12 “แลนด์มาร์คแห่งใหม่สแ่ี ยกคอกวัว เตรียมใช้เงิน 200 ล. สร้างหอสมุดเมือง” เดลินวิ ส์ วันที ่ 17 กรกฎาคม 2556 หน้า 16 13 “เล็งจ้างเอาต์ซอร์ซแทนข้าราชการดูกจิ กรรมหอสมุดเมืองกรุงเทพฯ” ไทยโพสต์ วันที่ 3 เมษายน 2561 หน้า 8 14 “นักวิชาการชีไ้ ม่กระตุน้ การอ่าน-ละลายงบ 1.4 พันล้าน ครึง่ ปีเมืองหนังสือโลกเหลว” กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 24 มิถุนายน 2556 หน้า 13 15 “เมืองหนังสือ (ลวง) โลก” โพสต์ทูเดย์ วันที่ 2 พฤษภาคม 2556 หน้า A6 16 “โต้ใช้เงินเมืองหนังสือโลกแค่ 500 ล้านบาท” แนวหน้า วันที่ 1 สิงหาคม 2556 หน้า 20 17 https://fr.unesco.org/system/files/bangkok2013.pdf 1 2
ทีม่ า : https://www.facebook.com/EventPassfanpage
(6) การส่งเสริมหนังสือวิทยาศาสตร์เพื่อความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น การ จัดสัมมนาระดับชาติเกี่ยวกับการอ่านอย่างไรให้หนังสือวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องน่าอ่าน สำ�หรับเยาวชน (7) การส่งเสริมการอ่านหนังสือพัฒนาจิตใจ เช่น การส่งเสริมการอ่านในศาสนสถาน ทัง้ วัด มัสยิด และโบสถ์ (8) กิจกรรมส่งเสริมการอ่านร่วมกับภาคีเครือข่าย 104 องค์กร เช่น กิจกรรม ปล่อยหนังสือ กิจกรรมนิทานในสวน (9) การจัดประชุมใหญ่สมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ ครั้งที่ 30 ระหว่างวันที่ 24-26 มีนาคม 2558 โครงการกิจกรรมกรุงเทพเมืองหนังสือโลก ปี 2556 ทีผ่ า่ นมา มีขอ้ สังเกตอย่างน้อย 4 ประการ คือ 1. โครงการกิจกรรมต่าง ๆ ทีจ่ ดั ขึน้ ให้ความสำ�คัญกับความต่อเนือ่ งของโครงการ น้อยเกินไป อาทิ แม้วา่ จะได้มกี ารจัดสรรงบประมาณจัดสร้างหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ไปแล้วกว่า 300 ล้านบาท แต่ให้ความสำ�คัญกับแผนด้านบริหารจัดการและงบประมาณ บริหารจัดการในอนาคตไม่มากนัก กล่าวคือ หลังจากเปิดให้บริการหอสมุดเมือง กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครได้พจิ ารณาเปลีย่ นไปจ้างบุคคลภายนอกมาดำ�เนินการ ด้านกิจกรรม11 และในส่วนงบประมาณนัน้ กรุงเทพมหานครจะต้องจัดสรรงบประมาณ บริหารจัดการเพิม่ เติมอีกประมาณปีละ 27 ล้านบาท (ค่าเช่าปีละประมาณ 24 ล้านบาท12 งบบุคลากรปีละ 1.97 ล้านบาท และงบดำ�เนินการกิจกรรมปีละ 1.2 ล้านบาท13 ) 2. โครงการกิจกรรมต่าง ๆ ทีจ่ ดั ขึน้ แม้วา่ จะเป็นโครงการทีม่ ภี าคีเครือข่ายมีสว่ น ร่วมจำ�นวนไม่นอ้ ย เช่น สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมผูจ้ ดั พิมพ์และผูจ้ �ำ หน่าย หนังสือแห่งประเทศไทย สถาบันเกอเธ่ และมูลนิธิสิกขาเอเชีย แต่อีกภาคส่วนหนึ่งใน อุปทานหนังสือทีข่ าดหายไปคือ ร้านหนังสืออิสระ ดังเช่นความคิดเห็นของนายวัชระ บัวสนธ์ ผูก้ อ่ ตัง้ สำ�นักพิมพ์สามัญชน ทีว่ า่ “กิจกรรมทีค่ วรทำ� และคิดว่าน่าจะได้รบั ประโยชน์ มากกว่าการเน้นจัดงานอีเว้นท์ คือ การสำ�รวจร้านขายหนังสือในกรุงเทพมหานคร เลือก ร้านอิสระและมีประวัตเิ ชือ่ ถือได้ และให้งบสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน … ช่วยทำ� กิจกรรมหนังสือน่าอ่านประจำ�เดือน”14 3. กรุงเทพมหานครถูกตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับงบประมาณการจัดงาน ตลอด ระยะเวลาการจัดโครงการกิจกรรมกรุงเทพเมืองหนังสือโลก ปี 2556 มีข้อวิจารณ์ว่า มีการใช้งบประมาณสูงถึง 1,400 ล้านบาท15 ส่วนทางด้านกรุงเทพมหานคร ก็ได้ชี้แจงว่า กรุงเทพมหานครได้นำ�เสนองบประมาณไปทางยูเนสโกจำ�นวน 500 ล้านบาท โดยเป็น งบประมาณปี 2554 จำ�นวน 47 ล้านบาท งบประมาณปี 2555 จำ�นวน 60 ล้านบาท งบประมาณ ปี 2556 จำ�นวน 227 ล้านบาท และงบประมาณปี 2557 ได้ของบประมาณ ไป 65 ล้านบาท16 อย่างไรก็ตาม จากรายงานกรุงเทพมหานครเมืองหนังสือโลก (Report Bangkok World Capital 2013)17 ที่กรุงเทพมหานครเสนอต่อยูเนสโกนั้น ได้สรุปการใช้ งบประมาณปี 2555-2557 รวมเป็นเงิน 357,577,181 บาท ในประเด็นการใช้งบประมาณ จัดงานเมืองหนังสือโลกนี้ งบประมาณเกือบครึง่ หนึง่ ใช้ไปกับการจัดเตรียมงานและอีเว้นท์ ต่าง ๆ (ดูตารางที่ 2) 4. การจัดสรรงบประมาณจัดโครงการกิจกรรมกรุงเทพเมืองหนังสือโลกนัน้ งบ ประมาณประมาณร้อยละ 45 เป็นงบประมาณทีจ่ ดั สรรให้โครงการกิจกรรมลักษณะของ การประชาสัมพันธ์ เช่น งบประมาณการเตรียมงานประมาณ 53 ล้านบาท งบประมาณ ประชาสัมพันธ์ 50 ล้านบาท (ดูตารางที่ 3) แม้วา่ โครงการกิจกรรมกรุงเทพเมืองหนังสือโลก ปี 2556 จะผ่านไปแล้ว พันธกิจ ส่วนใหญ่ด�ำ เนินการแล้วเสร็จตามทีไ่ ด้แจ้งกับยูเนสโก คงเหลือเพียงพิพธิ ภัณฑ์การ์ตนู ไทยที่ อยู่ระหว่างการดำ�เนินการ กรุงเทพมหานครได้เพาะพันธุ์หยอดเมล็ดการอ่านบางส่วน ขึน้ ในสังคมไทย เพือ่ ให้ตน้ ไม้แห่งการอ่านเติบโตจนหยัง่ รากและผลิบานได้อย่างถาวรแล้ว
ตารางที่ 1 : รายชื่อเมืองหนังสือโลก ปี
เมือง
ประเทศ
ปี
เมือง
ประเทศ
2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
กรุงมาดริด เมืองอเล็กซานเดรีย กรุงนิวเดลี เมืองแอนต์เวิร์ป เมืองมอนทรีออล เมืองตูริน กรุงโบโกตา เมืองอัมสเตอร์ดัม กรุงเบรุต เมืองลูบลิยานา
สเปน อียิปต์ อินเดีย เบลเยียม แคนาดา อิตาลี โคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ เลบานอน สโลวีเนีย
2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563
กรุงบัวโนสไอเรส กรุงเยราวาน กรุงเทพ กรุงพอร์ตฮาร์คอร์ต เมือนอินชอน เมืองวรอตสวัฟ กรุงโกนากรี กรุงเอเธนส์ ชาร์จาห์ กรุงกัวลาลัมเปอร์
อาร์เจนตินา อาร์มิเนีย ประเทศไทย ไนจีเรีย เกาหลีใต้ โปแลนด์ กินี กรีซ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย
ตารางที่ 2 : งบประมาณจัดโครงการกิจกรรมกรุงเทพเมืองหนังสือโลก ปี 2555-2557 จำ�แนกตามภาระกิจ ภาระกิจ
งบประมาณ (บาท)
เตรียมงาน 1. โครงการหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร 2. โครงการพิพิธภัณฑ์การ์ตูนไทย 3. การสร้างวัฒนธรรมการอ่านเพื่อสร้างวัฒนธรรมการคิด 4. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในเด็กและเยาวชน 5. กิจกรรมสืบค้นวรรณกรรมของคนกรุงเทพ 6. กิจกรรมส่งเสริมหนังสือวิทยาศาสตร์ 7. การส่งเสริมหนังสือวิทยาศาสตร์เพื่อความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ 8. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านร่วมกับภาคีเครือข่าย 9. การจัดประชุมใหญ่สมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ
171,444,800.00 5,360,000.00 17,989,000.00 32,468,080.00 76,975,904.00 4,906,000.00 8,164,000.00 10,578,567.00 29,690,830.00
รวมงบประมาณ
357,577,181.00
ทีม่ า : รวบรวมจาก Report Bangkok World Book Capital 2013
ตารางที่ 3 : งบประมาณจัดโครงการกิจกรรมกรุงเทพเมืองหนังสือโลก ปี 2555-2557 จำ�แนกตามลักษณะโครงการกิจกรรม ลักษณะโครงการกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ กิจกรรมภายในประเทศ กิจกรรมกับหน่วยงานต่างประเทศ รวมงบประมาณ
งบประมาณ (บาท) 159,490,600.00 153,349,284.00 44,737,297.00 357,577,181.00
ทีม่ า : รวบรวมจาก Report Bangkok World Book Capital 2013
หน้า 7
08
สนุกคิดกับอาจารย์พิชญ์
1
2
3
4
พิชญ์ จงวัฒนากุล
อาจารย์ประจำ�คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5
6 7
สวัสดีครับ ห่างหายกันไปหลายฉบับ สนุกคิดกับอาจารย์พิชญ์ ฉบับนี้ ชวนผู้อ่าน เศรษฐสาร มาเล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ภาษาอังกฤษ (Crossword) กันอีก ผู้อ่านที่ส่งคำ�ตอบมาที่ setthasarn@econ.tu.ac.th 3 ท่านแรก กองบรรณาธิการจะติดต่อกลับ และส่งหนังสือ Re-design Thailand ทำ�อย่างไรให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน? รวมบทความ การสัมมนาวิชาการประจำ�ปี 2561 ครั้งที่ 40 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นของรางวัลครับ
8
แนวนอน
2. การทำ�ให้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยใช้ข้อมูล 4. จังหวัดทีเ่ ป็นจุดหมายปลายทางของรถไฟความเร็วสูงซึง่ มีระยะทาง 253 กม. จากกรุงเทพมหานคร 5. ชื่อย่อของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ 6. สาขาหนึ่งของเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งวิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์ตามความ เป็นจริง โดยปฏิเสธข้อสมมติที่เชื่อว่ามนุษย์มีเหตุผล และเห็นแก่ตัว 8. การประชุมผู้นำ�เขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 26 ประจำ�ปี 2561 จัดขึ้นที่ ประเทศใด แนวตัง้
1. ชื่อย่อของความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น 3. ภาพยนตร์ที่สร้างจากชีวิตจริงของ John Nash เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ในปี ค.ศ. 1994 7. ชื่อย่อของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด เฉลยเกมปริศนาอักษรไขว้ เศรษฐสาร ปีที่ 32 ฉบับที่ 6 (มิถุนายน 2561) แนวตัง้ 1.
StartUp 3. EEC 5. Russia 6. NASDAQ 7. TCAS 8. SEC แนวนอน 2. Brexit 4. OpportunityCost 9. JackMa 10. Block Chain
ในราชการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เหตุขัดข้องนำ�จ่ายผู้รับไม่ได้ 1. จ่าหน้าซองไม่ชัดเจน 2. ไม่มีเลขที่บ้านตามจ่าหน้า 3. ไม่ยอมรับ 4. ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า 5. ไม่มารับตามกำ�หนด 6. เลิกกิจการ 7. ย้าย ไม่ทราบที่อยู่ใหม่ 8. อื่น ๆ ลงชื่อ....................................................
กรุณาส่ง
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ 10200
ชำ�ระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ 2/2521 ไปรษณีย์หน้าพระลาน