สื่อ สาน สันติ ฉบับที่ 1 | พฤษภาคม 2556 | www.facebook.com/seusarnsanti
of P
เสียงของบ้าน
“สันติวิธีกับการแก้ไขปัญหา”
ovi nc
es of T
hailand
nion Students U rom ote P ea
t Pr s o ce in Southernm
สานสันติ
“สมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้”
สื่อสัญจร “สื่อสันติ”
Seu Sarn Santi | 1
2 | Seu Sarn Santi
Pf P nof o nUinoino StSutduednetnstsU
ovoi vin nceces s ofoTf Thailand hailand
http://www.facebook.com/SUPSPT
ror m omote t Prr ote PPeace mos t P eace inin SSoouutthheerrnnmos
Seu Sarn Santi | 3
06 10 12 18 22 26 28
เสียงของบ้าน (Sounds of the South) “สันติวิธีกับการแก้ไขปัญหา”
ใจนำ�ทาง (Daylight) “ขอความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่าน”
สานสันติ (Believe) “สมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้”
คือเรา (We) “สมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้”
สื่อสัญจร (On the Way) “สื่อสันติ”
เรียนรู้ (Knowledge) “สาระชีวิตจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้”
ท่องเที่ยว (Check in) “มรดกอารยธรรมแห่งมหานครปัตตานี”
ที่ปรึกษา | สามารถ ทองเฝือ, อับดุลรอนิง สือแต, ศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี, มูหัมมัดตอลาล แกมะ, สุไลมาน เจ๊ะและ บรรณาธิการ | วีรโชติ เพ็งสิงห์ ช่างภาพ | อีมาด หะยีแล๊ะ, อดุลย์ เฮ็งปียา, อิลฮาม กะแน ศิลปกรรม | ซาบารียะห์ ปอระ, ไซนุรดิน เจ๊ะอาลี, อนีล บือราเฮง จัดทำ�โดย | สมาพันธ์เครือข่ายนักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.)
of P
4 | Seu Sarn Santi
ovi nc
es of T
hailand
nion Students U
rom ote P ea
r st P ce in Southernmo
การจัดทำ�วารสารสักเล่ม สำ�หรับนักศึกษาจบใหม่มันเป็นอะไรที่ชวนท้าทาย และกดดันไม่น้อย เพราะถึงแม้พวกเราจะผ่านการฝึกฝนและสั่งสมประสบการณ์ทาง ด้านนี้มา แต่การจัดทำ�วารสารที่นำ�มาใช้จริง ถ่ายทอดสู่สายตาของสังคม สู่ผู้คนที่เรา ไม่เคยพบเจอ การเสนอความคิดผ่านภาพและตัวอักษร ให้รดั กุมและแม่นยำ�ทัง้ เนือ้ หา และแนวคิด เป็นอะไรทีพ่ วกเราทีมงาน “สือ่ สันติ” พึง่ จะได้สมั ผัสกันเป็นครัง้ แรก แต่ถงึ จะเรียกว่ามือใหม่ทางด้านเส้นทางวารสาร แต่ส�ำ หรับทางด้านเนือ้ หาและข้อมูลภายใน เล่มทางทีมงานกลับเชื่อว่าเราค่อนข้างจะทำ�ได้ดี เพราะคอลัมน์ทุกคอลัมน์เราต่างได้ หยิบยกบุคคลที่มากประสบการณ์และน่าสนใจในแวดวงสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ มีแนวความคิดทางด้านสันติวิธีหรือสันติภาพขึ้นมาพูดคุยถึงบางประเด็นที่ต้องการให้ ผูค้ นในสามจังหวัดได้รบั รูอ้ ย่างตรงไปตรงมา และด้วยรูปแบบการจัดวางและการดีไซน์ หน้าวารสารที่แบ่งเนื้อหาเป็นสัดเป็นส่วน สะอาดตา เลยทำ�ให้ง่ายต่อการอ่าน สำ�หรับ อีกหนึ่งสิ่งที่สำ�คัญที่อยากฝากให้กับผู้อ่านได้เข้าใจและรับรู้ถึงการจัดทำ�วารสารเล่ม นี้ คือการได้เข้าใจถึงพลังของนักศึกษา พลังที่เดินหน้าอย่างมีแนวคิดและจุดยืน บาง ข้อความ บางย่อหน้า ผมเชือ่ ว่าเมือ่ ท่านได้อา่ น ท่านจะสามารถมัน่ ใจได้วา่ วารสารเล่ม นีเ้ ป็นมากกว่าวารสารน้องใหม่บนเส้นทางสายสันติ เส้นทางทีเ่ ต็มไปด้วยความหวัง เส้น ทางที่เต็มไปด้วยโอกาส ที่เราต่างโหยหาและอยากได้มันกลับอีกครั้งหนึ่ง... วีรโชติ เพ็งสิงห์ บรรณาธิการ
Seu Sarn Santi | 5
“สันติวิธีกับการแก้ไขปัญหา” ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี
อาจารย์ที่ปรึกษา สมาพันธ์นกั ศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) สันติหรือว่าสันติวธิ ี ตอนนีก้ �ำ ลังพูดกันเยอะและมีการปฏิบตั ดิ ว้ ย สำ�หรับ การปฏิบัติในทางสันติก็ได้แก่ การที่รัฐบาลและทหาร องค์กรลับฝ่าย ต่างๆ ในพื้นที่ พยายามที่จะส่งสัญญาณในแง่ของการที่จะต้องการแก้ ปัญหาโดยสันติ ต้องการพูดคุยกับฝ่ายต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ แล้วก็ต้องการ ที่จะให้มีการแก้ปัญหาโดยที่เปลี่ยนความขัดแย้ง เราเรียกว่าการเปลี่ยน การขัดแย้งจากเดิมทีเ่ ป็นความขัดแย้งทีใ่ ช้ความรุนแรง มาสูค่ วามขัดแย้ง ที่ไม่ใช้ความรุนแรง อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่สำ�คัญมาก ทำ�ให้แก้ปัญหาที่เกิด ขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ 6 | Seu Sarn Santi
การะบวนสันติ คือ เมื่อมีนโยบายเปิดพื้นที่สร้างบรรยาย หรือ สร้างเงื่อนไขในการนำ�ไปสู่การพูดคุยเพื่อหาทางออกกับฝ่ายต่างๆ โดย เฉพาะฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงต่อต้านรัฐ มันคือการเปิดพื้นที่เปิดเงื่อนไขให้ นำ�ไปสู่สันติภาพ จะยุติความรุนแรงได้ในที่สุด คำ�ถามมันอยู่ที่ช้าหรือเร็ว เท่านั้น? แต่ทุกประเทศก็ต้องผ่านกระบวนการนี้ที่นำ�ไปสู่แนวทางสันติ หรือการแก้ปัญหาโดยทางสันติ นี้คือสิ่งที่เราคาดหวังว่า สันติวิธีจะแก้ ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น องค์กรนักศึกษา สื่อ การสร้างแนวร่วม การสร้างเครือข่าย การสร้างกระบวนการสันติ คือ พลังหนุนในสร้างกระบวนการสันติภาพ เพราะฉะนั้นสมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นส่วน หนึ่ง เป็นพลังในการสร้างสันติ เพราะนักศึกษาที่มุ่งเน้นเรื่องสันติหรือ การแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง มันก็จะเป็นพลังในการถ่วงดุลการใช้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา นักศึกษาเป็นคนรุ่นใหม่เป็น
เสียงของบ้าน Sounds of the South กลางคือกระบวนการนักศึกษา ประชาชน ก็ต้องมีส่วนในแง่ตอกยํ้าให้ เห็นแนวทางของการสันติ และวิธีการที่มีความจริงใจ ตรงนี้พลังของภาค ประชาสังคม และนักศึกษาจะทำ�ให้เกิดสิ่งนี้ขึ้น และเราควรมีข้อเสนอ การเปลี่ยนแปลงปฏิรูปได้ เช่น การปกครองรูปแบบพิเศษ การกระจาย อำ�นาจ การส่งเสริมอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ การศึกษาภาษามาลายู หลักศาสนา หรือการส่งเสริมความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งเรื่อง ของพื้นที่ที่จะสามารถส่งเสริมได้ สร้างบทบาทต่อนักศึกษาให้เข้มแข็ง และท้ายสุดแล้วประชาชนระดับรากหญ้าพี่น้องเรา ก็จะเข้าใจและตื่น ตัว เพื่อที่จะเข้าร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยแนวทางสันติ เพราะฉะนั้น สมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนใต้จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำ�คัญที่ จะก่อให้เกิดกระบวนการเหล่านี้ สมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรที่ นักศึกษาสถาบันต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกัน ประกอบ กันเป็นเครือข่าย ทำ�งานร่วมกันในเชิงกิจกรรม ของสันติภาพ เสริมสร้าง สันติภาพ หรือว่าเป็นกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์ เรามุ่งเน้นไปที่ความ คิด การสร้างความคิด ความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ในแนวทางสันติ และแก้ปัญหาในเรื่องของการใช้ความ รุนแรง ความอยุติธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม นี้คือจุดมุ่งหมายที่ดี แล้ว ก็ ผมคิดว่าตัง้ แต่เริม่ ต้นทีผ่ มเคยได้มาร่วมรับฟังหรือว่าได้มามีโอกาสเป็น วิทยากรบรรยายให้กันหลายครั้ง ผมรู้สึกว่าเป็นภาพที่ดีของการทำ�งาน ของนักศึกษา เพราะว่ากิจกรรมของนักศึกษาเป็นส่วนที่สำ�คัญในเรื่อง ของการพัฒนาศักยภาพของสังคม ชุมชนนะครับ กิจกรรมนักศึกษา คน รุ่นใหม่ เยาวชนมันจะเป็นพลังสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับภาคประชาสังคม ภาคประชาชนในพื้นที่ ภาคประชาสังคมเป็นองค์กรที่เป็นเครือข่ายที่จะ เป็นฐานรองรับในการพัฒนาแนวทางสันติ ซึ่งผมคิดว่าอันนี้เป็นตัวที่เป็น พลัง คือส่วนของพลังนักศึกษา เป็นพลังที่จะเป็นตัวที่สร้างความเข้มแข็ง ให้กับภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนภาพใต้ เพราะว่าในอดีตนั้น ภาคประชาสังคม ในแง่ของความพัฒนาการ เราก็ทำ�กันมานาน เพื่อจะ ให้เป็นส่วนหนึ่งในพลังของการหนุนเสริมกระบวนการแก้ปัญหาในทาง คนที่มีการศึกษาถือเป็นส่วนหัวของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สันติ ของคนในสังคม และต่อไปจะเป็นผู้นำ�พัฒนาและแก้ปัญหาเปลี่ยนแปลง สังคม นักศึกษาจะต้องมีความเข้มแข็ง เรื่องของการต่อสู้เพื่อสันติภาพ แล้วเราจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของพลังที่จะส่งเสริมสันติภาพ อย่างเช่น กิจกรรมในมหาวิทยาลัย การส่งเสริมประชาธิปไตย การทำ�กิจกรรม สร้างสรรค์สังคม การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน แล้วการ ให้ความรู้ให้คำ�ปรึกษาเพื่อประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ ความยุติธรรม และการไม่ใช้ความรุนแรง ในการแก้ปัญหา มันจะเป็นตัวหมุนให้เกิด กระบวนการสันติภาพขึ้น ในทุกระดับ ขบวนการสันติภาพถ้าหากจะ เกิดขึ้นต้องเกิดในทุกระดับ มวลชน ชาวบ้าน รากหน้า คนระดับกลาง คนมีการศึกษาหรือว่านักศึกษา ที่มีความรู้ความเข้าใจในระดับ และที่ จะเป็นกระบวนการภาคประชาสังคม และระดับสูงคือรัฐบาล หน่วย งานของรัฐ หรือกระบวนการที่มีความเห็นต่างจากรัฐ สำ�หรับในระดับ
“การเปิดพื้นที่ เปิดเงื่อนไข ให้นำ�ไปสู่สันติภาพ จะยุติความรุนแรงได้ในที่สุด”
Seu Sarn Santi | 7
“สันติภาพเกิดขึ้นได้มาจากหัวใจ ถ้าหัวใจมีเจตนารมณ์ที่ดีแล้ว มันก็จะขับเคลื่อนสังคมไปในทางที่ดี ” ดร.สามารถ ทองเฝือ
ประธานอาจารย์ที่ปรึกษา สมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) การสร้างสันติภาพแบบยัง่ ยืนสิง่ ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ เราจะต้องให้ความสำ�คัญกับ ตัวของเราเอง แล้วจากนัน้ ก็เป็นคนข้างๆ ก่อนจะค่อยขยับไปสูส่ งั คมทีม่ นั กว้างเพิม่ ขึน้ หัวใจต้องมีจดุ ยืนทีส่ �ำ คัญ เพราะว่าสันติภาพเกิดขึน้ ได้มาจาก หัวใจ ถ้าหัวใจมีเจตนารมณ์ที่ดีแล้ว มันก็จะขับเคลื่อนสังคมไปในทางที่ดี 8 | Seu Sarn Santi
ตามเจตนารมณ์นั้นที่ได้วางเอาไว้ โดยตามหลักความจริงแล้ว หัวใจของ การสร้างสันติภาพนั้นก็คือหัวใจของแต่ละคน เพราะฉะนั้นแล้วการสร้าง สันติภาพที่ยั่งยืน จะต้องร่วมแรงร่วมใจกันจากทุกๆฝ่าย แล้วมีองค์ความ รูท้ จี่ ะสร้าง เพราะว่าถ้าปราศจากองค์ความรู้ การสร้างสันติภาพนัน้ ก็เป็น สันติภาพที่ไม่ยั่งยืน ไม่แท้จริง เพราะฉะนั้นแล้ว การที่จะทำ�ให้สังคมเกิด ความสันติภาพทีย่ งั่ ยืนได้นนั้ อยูท่ หี่ วั ใจและองค์ความรูข้ องการสร้างสันติ ภาพนัน้ ๆ เริม่ จากตัวเอง เข้าไปสูค่ นรอบข้าง แล้วก็จากคนรอบข้างก็ขยาย ไปสู่สังคม ขอฝากให้ผู้รักสันติที่จะทำ�กิจกรรมเพื่อสังคมว่า เราจะต้องขับ เคลือ่ นให้สงิ่ เหล่านีเ้ กิดขึน้ ให้มากทีส่ ดุ ในการสร้างสันติภาพทีย่ งั่ ยืนให้กบั ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และสังคมโลกในภาพรวมต่อไป
เสียงของบ้าน Sounds of the South
ดร.มูหัมมัดตอลาล แกมะ
สัมมนากับสมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนใต้ จาก 4 สถาบัน เป็นประสบการณ์ที่ดีและเป็นการจัดอบรมที่ดีมากนับได้ว่าเป็นอิฐก้อน อาจารย์ที่ปรึกษา แรกในการสร้างกระบวนการสันติภาพ แม้ว่ากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่ สมาพันธ์นกั ศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) ไม่ได้ถูกขนานนามโดยองค์กรหรือว่า หนังสือพิมพ์ต่างๆ แต่กลุ่มนี้เป็น กลุ่ม ที่รวมกลุ่มกับนักศึกษาพร้อมที่จะขับเคลื่อนสันติภาพให้เกิดขึ้นใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วสันติภาพตรงนีจ้ ะเกิดขึน้ อย่างถาวร จาก อัสลามูอาลัยกุม วาเราะห์มาตุลลอฮี วาบารอกาตุฮ ขอความสันติสุขจง คนหลายๆ กลุ่ม และหลายๆ ฝ่าย ซึ่งมีหัวใจที่บริสุทธิ์ และมีความจริงใจ มีแด่ทุกท่านนะครับ พูดถึงเรื่องสันติภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนแสวงหา แล้ว ที่จะสร้างกระบวนการสันติภาพตรงนี้ครับผม สันติสุขหรือว่าสันติภาพจะเกิดขึ้นมาได้ อย่างไร สันติภาพจะเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ เพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือว่ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะฉะนั้นเราอยู่ ในสังคมที่มีความหลากหลายตรงนี้ เราจะต้อง เข้าหาหันหน้าซึ่งกันและ กัน แล้วเราต้องมาพูดคุยว่าเราจะสร้างสรรค์สนั ติภาพ ออกแบบสันติภาพ ในรูปแบบใด เพราะว่าคำ�ว่าสันติภาพก็คอื จุดหมายสูงสุดของทุกคน และ เมือ่ เกิดสันติภาพแล้ว ความสันติสขุ ก็จะเกิดขึน้ ไม่วา่ จะทีไ่ หนก็แล้วแต่ ไม่ ว่าจะเป็นสามจังหวัด ทีไ่ หนก็แล้วแต่ทวั่ ทุกมุมโลก ทีไ่ หนทีม่ คี วามขัดแย้ง อยู่ ทุกคนก็แสวงหาสันติภาพ และในการมาครั้งนี้ของผม ในการเข้าร่วม
“ที่ไหนที่มีความขัดแย้งอยู่ ทุกคนก็แสวงหาสันติภาพ”
Seu Sarn Santi | 9
ا
ขอความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่าน
ا ขอความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่าน 1. สมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) มีจุดยืนและอุดมการณ์ที่ชัดเจนคือ ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงทุกรูป แบบและการยอมรับต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความ หลากหลายในความเชื่อและการนับถือศาสนา ดังนั้นอุดมการณ์ สนสต. จึงสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งพระมหาคำ�ภีร์ อัล-กรุอาน ในซูเราะห์ อัล-หุญุรอต อายัตที่ 13 ที่กล่าวว่า...
ซึง่ มีความหมายว่า... “โอ้มนุษยชาติทงั้ หลาย แท้จริงเราได้สร้าง พวกเจ้าจากเพศชาย และเพศหญิง และเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่าและ ตระกูลเพือ่ จะได้รจู้ กั กัน แท้จริงผูท้ มี่ เี กียรติยงิ่ ในหมูพ่ วกเจ้า ณ ทีอ่ ลั ลอฮ. นั้น คือผู้ที่มีความยำ�เกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮ.นั้นเป็นผู้ทรง รอบรู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน” และในอายัตดังกล่าวนี้ ได้มีนักวิชาการอิสลามให้การอธิบาย ว่ามนุษยชาติทงั้ หมดให้ถกู บอกให้จดั การกับความชัว่ อันยิง่ ใหญ่ทมี่ กั เป็น สาเหตุสร้างความเสียหายขึน้ ทัว่ ไปในโลกนัน่ คือ ความอคติเรือ่ งเผ่าพันธุ์ สี ผิว ภาษาประเทศและเชื้อชาติเพราะความอคติเหล่านี้เองที่ทำ�ให้มนุษย์ ในทุกยุคทอดทิง้ มนุษย์ดว้ ยกันและขีดเส้นวงกลมเล็กๆ ไว้รอบตัวเองและ ถือว่าคนที่อยู่นอกวงไม่ใช่พวกของตน เส้นวงกลมเล็กๆ เหล่านี้ถูกขีดขึ้น 10 | Seu Sarn Santi
โดยอาศัยการเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญมิได้อาศัยเหตุผลและศิลธรรมเป็นตัว กำ�หนด ในบางครั้งก็อาศัยการเกิดมาในวงตระกูลบางเผ่าและบางพื้นที่ ในชาติ ที่ผู้คนพูดภาษาเดียวกัน หลังจากนั้นการแบ่งแยกมนุษย์นี้ก็ไม่ได้ จำ�กัดอยูแ่ ค่เพียงว่าคนของตัวเองจะได้รบั การปฏิบตั ทิ ดี่ กี ว่าคนทีม่ ใิ ช่พวก ของตัวเองเท่านัน้ แต่การแบ่งแยกนีย้ งั ได้กอ่ ให้เกิดรูปแบบทีเ่ ลวทรามของ ความเกลียดชังความเป็นศัตรู การดูถูกและการกดขี่ข่มเหงด้วย หลังจาก นัน้ ก็มกี ารสร้างปรัชญาใหม่ๆ ขึน้ มาสนับสนุนการแบ่งแยกของตน... (โดย เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา เมาดูดี แปลโดยบรรจง บินกาซัน, ตัฟฮีมุลกุ รอานความหมาย คัมภีรอ์ ลั -กุรอาน เล่ม 7, ศูนย์หนังสืออิสลาม กรุงเทพ) 2. อายัตสั้นๆ นี้ อัลลอฮฺได้ทรงชี้ให้มนุษย์เห็นถึงความจริงที่ สำ�คัญ 3 ประการด้วยกันนั่นคือ : 2.1 “สูเจ้าทัง้ หลายมีตน้ กำ�เนิดมาจากทีเ่ ดียวกัน สายพันธุข์ องสูเจ้า มาจากมนุษย์คนหนึง่ และผูห้ ญิงคนหนึง่ เผ่าพันธุข์ องสูเจ้าทัง้ หลายทีม่ อี ยู่ ในโลกขณะนี้ความจริงแล้วก็เป็นสาขาของเผ่าพันธุ์เริ่มแรก ที่เริ่มด้วยแม่ คนหนึ่งและพ่อคนหนึ่ง ดังนั้น ในกระบวนการสร้างนี้จึงไม่มีเหตุผลอะไร ที่จะต้องมาแบ่งแยกและสร้างความแตกต่างที่สูเจ้าต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะความคิดผิดๆ ของสูเจ้า อัลลอฮฺเท่านัน้ ทีเ่ ป็นผูส้ ร้างสูเจ้า ความแตก ต่างทางด้านเผ่าพันธุม์ ไิ ด้เกิดขึน้ มาจากพระเจ้าหลายองค์ สูเจ้าได้ถกู สร้าง มาจากธาตุอย่างเดียวกัน มิใช่ว่าใครบางคนถูกสร้างมาจากธาตุที่บริสุทธิ์ กว่าและสูงส่งกว่าและอีกบางคนถูกสร้างจากธาตุที่ด้อยกว่าหรือตํ่ากว่า สูเจ้าทั้งหลายได้ถูกสร้างมาในลักษณะเดียวกันมิใช่ใครคนใดคนหนึ่งถูก สร้างมาในลักษณะที่แตกต่างไปจากคนอื่นและสูเจ้าคือลูกหลานของพ่อ
ใจนำ�ทาง Daylight
แม่เดียวกัน มิใช่มนุษย์มีหลายคู่ซึ่งให้กำ�เนิด” 2.2 “ถึงแม้จะมีที่มาเหมือนกันมันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่สูเจ้า จะถูกแบ่งออกเป็นชาติและเผ่าต่างๆ จะเห็นได้ว่ามนุษย์ทุกคนบนโลก นี้ไม่สามารถที่จะอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ดังนั้นด้วยการแพร่ขยายของ เผ่าพันธุ์ มันจะหลีกเลี่ยงมิได้ที่จะมีครอบครัวมากมายเกิดขึ้นและหลัง จากนั้นก็มีเผ่าและชาติเกิดขึ้นจากครอบครัว ในทำ�นองเดียวกันมันก็เป็น เรือ่ งทีห่ ลีกเลีย่ งมิได้อกี เช่นกันทีห่ ลังจากได้มกี ารตัง้ ถิน่ ฐานในภูมภิ าคส่วน ต่างๆของโลกแล้ว ก็จะต้องมีความแตกต่างของสีผิว ลักษณะ ภาษาและ วิถชี วี ติ ในหมูผ่ คู้ นและก็เป็นเรือ่ งธรรมดาอีกเช่นกันทีค่ นทีอ่ าศัยอยูใ่ นพืน้ ที่ เดียวกันจะมีความใกล้ชิดกันและคนที่อยู่ห่างไกลกันจะไม่มีความใกล้ ชิดกันแต่ความแตกต่างตามธรรมชาตินี้ไม่เคยเรียกร้องให้ต้องมีความไม่ เสมอภาคกัน ความสูงส่งและความตํ่าต้อยเพราะความแตกต่างดังกล่าว ความแตกต่างนี้ไม่เคยเรียกร้องต้องการว่าคนเผ่าพันธ์ุหนึ่งจะต้องสูงกว่า อีกเผ่าพันธุห์ นึง่ คนสีผวิ หนึง่ จะต้องดูถกู คนสีผวิ หนึง่ และชาติหนึง่ จะต้อง เหนือกว่าอีกชาติหนึ่งโดยไม่มีเหตุผล พระผู้ทรงสร้างได้แบ่งประชาคม มนุษย์ออกเป็นชาติและเผ่าต่างๆ เพราะว่านั้นเป็นหนทางปกติของการ ร่วมมือกันและการบ่งบอกให้รู้ว่าใครเป็นใครในหมู่มนุษย์ด้วยกันโดยวิธี การนีเ้ ท่านัน้ ทีค่ รอบครัว พีน่ อ้ งเผ่าและชาติหนึง่ จะรวมตัวเข้าด้วยกันเพือ่ สร้างวิถีชีวิตร่วมกันและร่วมมือกันในกิจการต่างๆ ของโลก แต่เนื่องมา จากมนุษย์โง่เขล่าแบบมารร้ายนั่นเองที่ความแตกต่างที่อัลลอฮฺทรงสร้าง ขึ้นในหมู่มนุษยชาติเพื่อให้รู้ว่าใครเป็นใครได้ถูกทำ�ให้กลายเป็นช่องทาง แห่งการอวดใหญ่และความเกลียดชังซึ่งนำ�มนุษย์ไปสู่ความอธรรมและ
การกดขี่ในทุกรูปแบบ” 2.3 เหตุผลเพียงอย่างเดียวของความสูงส่งและประเสริฐกว่ากัน ทีส่ ามารถจะมีขนึ้ ได้ในระหว่างมนุษย์ดว้ ยกันก็คอื เหตุผลทางศีลธรรม ใน เรื่องการกำ�เนิดนั้น มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันเพราะผู้ทรงสร้างเขามานั้น คืออัลลอฮฺองค์เดียว สิ่งที่ใช้สร้างเขาขึ้นมานั้นก็เป็นสิ่งเดียวกันและวิธีที่ สร้างเขาขึ้นมานั้นก็วิธีเดียวกันและเขาก็เป็นลูกหลานจากพ่อแม่เดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้นการที่ใครบางคนเกิดในประเทศใดหรือชาติใดหรืตระกูลใด ก็เป็นเพราะเลือกไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ใครคนหนึ่งจะ ถูกถือว่าเหนือกว่าคนอื่นสิ่งที่แท้จริงที่มนุษย์สูงส่งกว่าคนอื่นก็คือ ใคร มีความยำ�แกรงหรือความสำ�รวมต่อพระเจ้ามากกว่า คนเช่นนั้นแหละที่ จะมีเกียรติกว่าเพราะความดีส่วนตัวของเขาไม่ว่าคนผู้นั้นจะเป็นคนใน เผ่าพันธุ์ สีผิว ชนชาติหรือประเทศใดและใครที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับ เขาก็ควรจะเป็นคนทีต่ าํ่ ต้อยด้อยกว่าไม่วา่ เขาจะเป็นคนผิวดำ�หรือผิวขาว หรือจะเกิดมาในตะวันออกหรือตะวันตก 3. แนวทางและบทบาทของนักศึกษารักสันติ ภายใต้สมาพันธ์ นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) ยอมรับต่อการอยู่ร่วม กันในสังคมพหุวัฒนธรรมและปฏิเสธความรุนแรงทุกรูปแบบ ดังนัน้ สัจธรรมทีแ่ ท้จริง สำ�หรับบทบาทของนักศึกษานัน้ คือการ ยึดถือบทบัญญัติแห่งพระมหาคัมภีร์อัล-กรุอาน ตามที่ได้อธิบายในข้อ 1 และ 2 มาเป็นแนวทางในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในสังคม
Seu Sarn Santi | 11
นายสุไลมาน เจ๊ะและ
ประธาน สมาพันธ์นกั ศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) สมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2551 เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักศึกษาจาก 4 สถาบันหลักในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ซึ่งการรวมตัวตรงนั้นมีจุดยืนร่วมกันคือ เราปฏิเสธความรุนแรงทุกรูปแบบ และยอมรับสังคมพหุวัฒนธรรม ที่จะ ทำ�ให้เราอยูร่ ว่ มกันได้อย่างสันติสขุ ซึง่ จุดยืนของความรักสันติตรงนี้ มีผล มาจากความไม่สงบที่เราพบเจอ พบเห็น ในเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยผู้ไม่หวังดีต่อรัฐบาล หรือการกระทำ�จากรัฐบาลที่ไม่ ให้ความเป็นธรรมจากประชาชนก็ตาม ซึง่ สิง่ ต่างๆ เหล่านัน้ ทางสมาพันธ์ นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่เห็นด้วยกับการกระทำ�ต่างๆ เหล่านั้น เราเลยได้ร่วมมือกันและจัดทำ�กิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้าง สันติสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้บุคคลที่มาร่วมกิจกรรม กับพวกเรา ได้มภี มู คิ วามรูพ้ นื้ ฐานเกีย่ วกับพืน้ ทีใ่ น 3 จังหวัดชายแดนภาค ใต้ ซึง่ เป็นทีพ่ นื้ ทีเ่ ฉพาะกิจ และเป็นพืน้ ทีพ่ เิ ศษ และสำ�หรับเยาวชน นิสติ นักศึกษา มหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่เฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สนใจอยากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เราก็ยินดีต้อนรับเพื่อมาร่วมแรงร่วมมือกันสร้างสันติสุข ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กลับมาโดยเร็วยิ่งขึ้น
“เราปฏิเสธความรุนแรง ทุกรูปแบบ และ ยอมรับสังคม พหุวัฒนธรรม”
12 | Seu Sarn Santi
สานสันติ Believe
Seu Sarn Santi | 13
ความรุนแรงในปัจจุบันที่ขาดการพูดคุย การแลกเปลี่ยนความคิดซึ่ง กันและกัน อาจนำ�ไปสู่การปิดกั้นอนาคตแห่งการเรียนรู้ ทางสมาพันธ์ นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้มีการจัดกิจกรรมให้ความ รู้ และความสนุกทีส่ อดแทรกการอยูร่ ว่ มกันของสังคมพหุวฒ ั นธรรม และ การหันหน้าพูดคุยกันเพือ่ ปฏิเสธการใช้ความรุนแรง จากหลากหลายค่าย หลากหลายความคิดที่เราได้เข้าไปสัมผัส และพูดคุย เสียงตอบรับจาก เยาวชนเหล่านั้นเป็นเสมือนกระจกและผลตอบรับที่ทำ�ให้เรามีกำ�ลังใน การขับเคลื่อน องค์กร และแนวความคิดที่มีจุดยืนตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมาต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ
นายนิอิลยัส นิมะ
รองประธาน สมาพันธ์นกั ศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) การทีไ่ ด้เข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ของสมาพันธ์นกั ศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดน ภาคใต้นนั้ เกิดจากทีไ่ ด้เข้าร่วมกิจกรรมทีผ่ า่ นๆ มา ซึง่ ตัง้ แต่วนั แรกจนถึง วันนี้ สมาพันธ์นกั ศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้ ก็ได้มกี ารกิจกรรม มากมายที่เด่นชัดไม่ว่าจะเป็น แนะแนวให้ความรู้แก่ปอเนาะต่างๆ ซึ่งใน ส่วนนี้ได้รับความสนใจจากน้องๆ และผู้เข้าร่วมเป็นอย่างมาก หรือแม้แต่ การลงพื้นที่มอบของช่วยเหลือชาวบ้านจนไปถึงค่ายกิจกรรมต่างๆ ทุก อย่างล้วนแต่เป็นสิง่ ทีย่ าํ้ ชัดให้เห็นถึงการทำ�งานของสมาพันธ์และบทบาท ความสำ�คัญทางสังคมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสิ่งที่เป็นผลตอบ รับที่คาดว่าจะรับหลังจากที่เราได้เข้าไปช่วยเหลือ หรือจัดกิจกรรมทุกๆ ครั้งนั้นคือ เรื่องสันติภาพ การปลูกฝังความคิดของการหาทางออก โดย ไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งรวมไปถึงการเข้าใจสังคมพหุวัฒนธรรมของการอยู่ ร่วมกัน เมื่อพวกเขาเหล่านั้นได้ก้าวจากรั้วมัธยมเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย
14 | Seu Sarn Santi
“การปลูกฝังความคิด ของการหาทางออกโดย ไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งรวม ไปถึงการเข้าใจสังคม พหุวัฒนธรรม”
สานสันติ Believe
นายฟาฤทธิ์ มะเด็ง
เลขาธิการ สมาพันธ์นกั ศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.)
“สิ่งหนึ่งที่เราใช้ เป็นจุดยืนของทุกๆ ค่าย คือการเปิดพื้นที่ซักถาม และเสนอความคิด”
สมาพันธ์นกั ศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้ทผี่ า่ นมามีผลงานหลาก หลายที่มอบให้สังคม ไม่ว่าจะเป็น โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ซึ่ง เป็นการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษาที่สามารถนำ�ไปปรับใช้ในการ ศึกษา และชีวิตการทำ�งานได้ หรือ ค่ายวินัยกับอิสรภาพทางความคิด เป็นอีกหนึ่งค่ายที่เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับนักศึกษาได้มีการพูดคุย เสนอ ความคิด และซักถามเกี่ยวปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาค ใต้ ซึ่งสำ�หรับค่ายนี้ทางสมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาค ใต้ ได้มีการดำ�เนินเข้าสู่ รุ่นที่ 5 นับได้ว่าเป็นค่ายที่มีผลตอบรับต่อสังคม ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ดีมากอีกค่ายหนึ่ง ซึ่งผลงานจากทั้งสอง ค่ายและรวมถึงอีก 40 กว่าค่ายทีผ่ า่ นมา สามารถพูดได้วา่ สิง่ หนึง่ ทีเ่ ราใช้ เป็นจุดยืนของทุกๆ ค่ายคือการเปิดพื้นที่ซักถาม และเสนอความคิด เพื่อ ให้ผเู้ ข้าร่วมได้เข้าใจถึงต้นต่อของปัญหาและความคลุมเครือ ทัง้ นีเ้ พือ่ เป็น แนวทางของการลดปัญหาการใช้ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาค ใต้ ที่ยังคงลุกลามอยู่ในขณะนี้
Seu Sarn Santi | 15
นายสะอูดี อาแวกือจิ
รองประธาน สมาพันธ์นกั ศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) การทำ�กิจกรรมต่างๆ สิ่งที่เราคำ�นึงถึงเสมอคือ เป้าหมาย จุดยืน และ ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ สมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของเราเดินหน้าไป ได้อย่างไม่ย่อท้อ และทุกครั้งที่มีกิจกรรม เสียงตอบรับจากผู้เข้าร่วม ที่ผ่านๆ มา นับว่าเป็นอีกสิ่งที่ทำ�ให้เรารู้ว่าสมาพันธ์นักศึกษารักสันติ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้นมีความสำ�คัญอย่างไรต่อสังคมใน 3 จังหวัด สมาชิกจากหลากหลายสถาบันอาจเรียกได้ว่าเป็นอีกเสียงยืนยันของ ความแข็งแกร่งขององค์กร จากวันแรกจนถึงวันนี้ที่ผมได้เข้าสู่กิจกรรม ของทางสมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการนำ�มา ขยายในสถานศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นผลประโยชน์อย่างมากที่ผู้เข้าร่วมทุก คนจากทุกๆ ค่ายกิจกรรมสามารถนำ�ไปต่อยอดได้จากสังคมที่เขาอยู่ ทั้ง ในปัจจุบันและอนาคต
16 | Seu Sarn Santi
“ที่เราคำ�นึงถึงเสมอ คือ เป้าหมาย จุดยืน และ ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้”
สานสันติ Believe
“หากขาดการ แลกเปลี่ยนความคิด ซึ่งกันและกัน อาจนำ�ไปสู่ การปิดกั้นอนาคตแห่ง การเรียนรู้”
นายสมชาย ผลผลา
รองประธาน สมาพันธ์นกั ศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) ความรุนแรงในปัจจุบันที่ขาดการพูดคุย การแลกเปลี่ยนความคิดซึ่ง กันและกัน อาจนำ�ไปสู่การปิดกั้นอนาคตแห่งการเรียนรู้ทางสมาพันธ์ นักศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้มกี ารจัดกิจกรรมให้ความรู้ และความสนุกสนาน ที่สอดแทรกการอยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรม และการหันหน้าพูดคุยกัน เพือ่ ปฏิเสธการใช้ความรุนแรง จากหลากหลาย ค่าย หลากหลายความคิดที่เราได้เข้าไปสัมผัส และพูดคุย เสียงตอบรับ จากเยาวชนเหล่านั้นเป็นเสมือนกระจกและผลตอบรับที่ทำ�ให้เรามีกำ�ลัง ในการขับเคลื่อนองค์กร และแนวความคิดที่มีจุดยืนตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ
Seu Sarn Santi | 17
การได้เข้าร่วมค่ายครั้งหนึ่ง เกิดจากการชักชวนของเพื่อนๆ ซึ่งในตอน แรกเราไม่เคยรู้เลยว่าสมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ คืออะไร ทำ�งานเกี่ยวกับอะไร แต่เมื่อได้สอบถามจากเพื่อนๆ เราก็เลย อยากที่จะมาเข้าร่วม และสิ่งที่เป็นแรงกระตุ้นและผลักดันอีกอย่างหนึ่ง คือความสงสัยในเรื่องของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าเหตุการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่ที่เราคนในพื้นที่เองพบเห็นในแต่ละวัน มีปัญหามา จากอะไร และจากคำ�ถามตรงนั้น เราก็คาดหวังว่าการเข้าค่ายในครั้งนี้ น่าจะให้คำ�ตอบกับเราได้ดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นักศึกษาต่อบทบาทของปัญหาในสามจังหวัด ดูเหมือนว่าจะห่างไกลกัน มาก ทัง้ ทีม่ นั เป็นเรือ่ งใกล้ตวั เรือ่ งทีเ่ ราสมควรทำ� เพราะเราเองก็สามารถ เป็นแรงพลังผลัดดันในเรื่องของความสันติ เรื่องที่เราสามารถทำ�ให้ เหตุการณ์ในพื้นที่ทุเลาลงได้ และส่วนหนึ่งการที่ได้มาเข้าร่วมค่ายในครั้ง นี้ เพราะว่าอยากทีจ่ ะหาประสบการณ์ ทีเ่ ราจะสามารถนำ�ไปใช้ในชีวติ ซึง่ เป็นสิ่งที่เราสามารถใช้ได้จริง และนั่นคือเรื่อง สันติภาพ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 18 | Seu Sarn Santi
คือเรา We ผมได้มาค่ายในครั้งนี้จากการชักชวนของพี่ร่วมมหาวิทยาลัย และตัวเรา เองทีเ่ ป็นคนชอบในเรือ่ งของการรักสันติ เลยทำ�ให้เกิดการตัดสินใจอยากที่ จะเข้าร่วมค่ายครัง้ นี้ และหลังจากได้เข้าร่วมแล้วทำ�ให้เราได้รบั รูถ้ งึ ปัญหา ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราทุกคนก็รู้ อยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ชัดเจนเท่านั้นเอง และจากข้อมูล จากการรับรู้ตรง นี้ ทำ�ให้เราอยากที่จะนำ�ไปขยายต่อ เพราะความสันติเป็นสิ่งสำ�คัญตาม หลักศาสนาของเราด้วย และนอกจากนั้นการได้เข้าค่ายในครั้งนี้เรายังได้ รู้จักกับเพื่อนๆ พี่ๆ ที่จะเป็นกำ�ลังใจและแรงหลักดันที่ทำ�ให้เรา อยากที่ จะทำ�งานทางด้านสันติภาพในภายภาคหน้า
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จากปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เราพบเห็นและ รับรู้อยู่ในทุกๆ วัน จึงเกิดเป็นเหตุจูงใจที่ทำ�ให้เราอยากที่จะเข้าร่วมค่าย ในครั้งนี้ ในตอนแรกเรายังคงสงสัยว่าสมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัด ชายแดนภาคใต้ทำ�งานเกี่ยวกับอะไร มีจุดยืนและเป้าหมายยังไงในสาม จังหวัด จนเมื่อได้เข้ามารับฟังและเข้าร่วมกิจกรรมก็ทำ�ให้เรายิ่งมั่นใจว่า เราได้มาถูกค่ายแล้ว ค่ายที่มีจุดยืนในเรื่องความสันติ และการอยู่ร่วมกัน ของเพื่อนๆ ต่างศาสนา และหากมีโอกาสก็อยากที่จะชวนเพื่อนๆ มาเข้า ร่วมกันอีก เพราะอยากที่จะให้เพื่อนๆ ที่ยังสงสัย ยังคลุมเครือ ถึงปัญหา ความรุนแรงได้เข้าใจ และหากเป็นไปได้กอ็ ยากทีจ่ ะเป็นส่วนหนึง่ ของการ ช่วยเหลือยุติปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
Seu Sarn Santi | 19
กิจกรรม เตรียมความพร้อม นักศึกษาแลกเปลี่ยนระหว่าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บรรจบครบห้าปี แห่งความดี คือสิ่งดีที่เต็มเปี่ยม ซึ่งความหมาย ที่ทุกคนได้กระทำ� ด้วยหัวใจ เพื่อชาวใต้ มีสุข อย่างยั่งยืน
สานสัมพันธ์ชุมชน ในพื้นที่ จชต. (เครือข่ายนักศึกษารักสันติ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา)
เครดิต : รพี รวีวงศ์เบญจมาธิกุลศิริยานนท์ กิจกรรม บริจาคหนังสือและอุปกรณ์ การเรียนแก่โรงเรียน เด็กกำ�พร้า 20 | Seu Sarn Santi
(Islam Orphan Border Maele Camp)
คือเรา We
กิจกรรม สร้างฝายเพื่อในหลวง (ฝายที่ 59)
ค่ายเยาวชน สร้างสรรค์ รู้ทันสื่อ โครงการพัฒนาองค์ความรู้ เท่าทันยุคโลกาภิวัฒน์
สัมมนาเชิงปฏิบัติการ คณะกรรมการเครือข่าย นักศึกษารักสันติ
กิจกรรม สร้างความพร้อม ก่อความเชื้อมั่น เพื่อเครือข่าย สมาพันธ์นักศึกษารักสันติ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.)
กิจกรรม แนะแนวโรงเรียน Seu Sarn Santi | 21
“พลังของนักศึกษา พลังที่เดินหน้า อย่างมีแนวคิดและจุดยืน”
22 | Seu Sarn Santi
สื่อ สาน สันติ คือวารสารที่มีการประกาศจุดยืนอย่างชัดเจน ตั้งแต่ชื่อวารสารจนถึงเนื้อหาภายในเล่ม การจัดทำ�วารสารเล่มนี้ เป็น เสมือนพื้นที่แสดงความคิดเห็นจากหลากหลายมุมมองของเยาวชน และ ผูม้ ากประสบการณ์ หรือรวมไปถึงประชาชนในและนอกพืน้ ทีส่ ามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ที่มีความเห็นต่อความรุนแรงที่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ใน ปัจจุบัน ประเด็นต่างๆในวารสารเล่มนี้ ไม่ใช่เป็นการถกเถียงถึงความ รุนแรง หรือการหาคำ�ตอบว่าใครผิดใครถูกในเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ที่ผ่านๆมา แต่วารสารฉบับนี้เป็นเสมือนเส้นทางสร้างเสริมสันติภาพให้ เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้สันติวิธี การพูดคุย และ
การหาเหตุผล ภายใต้การยอมรับของสังคมพหุวัฒนธรรม สำ�หรับทีมสื่อ ที่ได้เข้ามามีบทบาทต่อการจัดทำ�วารสารเล่มนี้ ต่างก็เป็นบุคคลในพื้นที่ หรือเป็นบุคคลที่ได้เข้ามาอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้มาเป็นระยะ หนึ่ง จนสามารถเข้าใจถึงปัญหาความรุนแรงหรือเหตุการณ์ความไม่สงบ ว่าแท้จริงแล้วเกิดจากอะไร ประเด็นและหัวข้อสำ�คัญๆต่างๆ ที่ทางทีม งานได้ยบิ ขึน้ มาพูดคุยและเขียนเนือ้ หา ล้วนแต่เป็นแนวความคิดทางด้าน สันติภาพ ทีส่ อดคล้องกับความเห็นของผูค้ นในสังคมสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ในขณะนี้ด้วย Seu Sarn Santi | 23
นายอิลฮาม กะแน
ทีมงาน สื่อสันติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นายวีรโชติ เพ็งสิงห์ ทีมงาน สื่อสันติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
..........เปิด ทัศนคติทางความคิดคือต้นทุนชีวิตที่ ทุกคนมีต่างกัน มีหลากหลายเหตุผล ที่ เ ป็ น ปั จ จั ย ให้ ทั ศ นคติ ข องแต่ ล ะคน แบ่งแยก แตกต่าง มากหรือน้อยไม่เท่า กัน อาจจะมาจากปัจจัยภายในและ ภายนอก แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนสามารถ ทำ�ได้คือ “เปิด” คำ�ว่า เปิด ตรงนี้คือ การเปิดทัศนคติทางความคิด การรับรู้ แม้ว่าทัศนคตินั้นเราจะเห็นด้วยหรือไม่ ก็ตาม แต่การที่เราลองเปิดทัศนคติ มัน ก็เปรียบได้กับการเปิดโลกทัศน์ เพื่อที่ เราจะนำ�มาเป็นประสบการณ์ในการ วิเคราะห์และให้ค�ำ ตอบ กับบางคำ�ถาม ที่ยังคลุมเครือ กับบางสิ่งที่ยังไม่แน่ชัด เพราะการที่เรารับสารจากฝ่ายใดฝ่าย เดียว อาจทำ�ให้เราลืมมองความคิดและ ทัศนคติที่จะเป็นคำ�ตอบได้ สื่อทุกสื่อ ก็เช่นเดียวกัน การที่จะรับข่าวสาร เรา ควรศึกษาจากสื่อหลากหลายช่องทาง เพื่อที่เราจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าสิ่ง ใดจริงสิง่ ใดลวง เพราะสือ่ เองย่อมมีการ ผิดพลาด และบางครั้งสื่อเองอาจจะไม่ เป็น กลางอย่างที่เราเห็น เพราะฉะนั้น การ“เปิด” ตรงนี้ไม่ใช่แค่เราได้รับรู้คำ� ตอบหรือข้อเท็จจริงเท่านัน้ แต่เรายังได้ รับข่าวสารทีเ่ ราเองไม่เคยรูเ้ ลยก็เป็นได้
24 | Seu Sarn Santi
..........สื่อ เสมือนอาวุธสงคราม สือ่ สามารถชักจูง ยุยง ให้คนคล้อยตามหรือบังคับใจคนได้ หากเปรียบแล้วมันก็เหมือนกับนํา้ หยดลงบนหิน ป้อน วันละนิด เพื่อเปลี่ยนแนวคิด เพราะฉะนั้นตัวเราเองที่เป็นผู้บริโภคสื่อหรือรับข่าวสาร ควรมีการวิเคราะห์และ สำ�รวจแหล่งทีม่ า ไม่ใช่เราเลือกรับข่าวสารจากฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ โดยไม่มกี ารหาเหตุและผล อย่างเช่น สือ่ ในหลายๆ ประเทศที่มีการนำ�เสนอข่าวในด้านเดียว ปิดหูปิดตาประชาชน ป้อนข่าวสารแต่ด้านเดียว โดยที่ไม่นำ�เสนอข่าว สองด้าน เลยทำ�ให้ผคู้ นกลุม่ นัน้ มีความคิดและทัศนคติในด้านเดียว และการเลือกบริโภคสือ่ เราต้องมองไปถึงจุด มุ่งหมายและจุดยืนที่สื่อต้องการให้กับผู้รับอย่างเราด้วยว่า เขาต้องการอะไรจากเราที่เป็นผู้รับ “ความสันติหรือ ความรุนแรง” เพราะหากพูดแล้ว สือ่ คืออาวุธสงความทีร่ า้ ยแรงกว่าอาวุธสงครามใดๆ ในโลก ซึง่ หมายถึงการนำ� สื่อไปใช้ในทางที่ดีมันจะเกิดผลดีมาก แต่ถ้าใช้ในทางที่ไม่ดี ผลที่ตามมาก็จะกลับกัน
นายไซนุรดิน เจ๊ะอาลี
ทีมงาน สื่อสันติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
...........ที่มาของข่าวสารคือตัวยํ้าชัดความน่าเชื่อถือ วารสารทีม่ แี นวความคิดในเรือ่ งของสันติภาพ การนำ�เสนอข่าวสารทีเ่ ป็นกลางและมีเหตุผล คือสิง่ ทีว่ ารสารฉบับ นีถ้ อื เป็นแบบอย่างในการค้นหาข่าวสารและข้อมูลต่างๆ และเนือ้ หาภายในเล่มโดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำ�เสนอ ความคิดและทัศนคติผา่ นมุมมองของคนในพืน้ ทีส่ ามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เลยทำ�ให้วารสารฉบับนีจ้ ะต้องมีการ อ้างอิงแหล่งทีม่ าของข้อมูลหรือผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ เพือ่ ความน่าเชือ่ ถือต่อคำ�พูดทีเ่ ราได้หยิบมาใส่ แต่ส�ำ หรับสือ่ บาง ประเภทก็ไม่ได้ให้ข้อมูลที่เด่นชัดของแหล่งที่มา เราเคยสงสัยไหมว่าทำ�ไม? นั่นเพราะผู้ที่ให้ความคิดเห็นต่อสื่อ บางครั้งอาจไม่ประสงค์ที่จะแสดงชื่อของตัวเองในที่สาธารณะ อาจมีปัจจัยหลายๆ อย่างในเรื่องของความเป็น ส่วนตัว ที่อาจกระทบต่อการทำ�กิจกรรมในชีวิตประจำ�วัน และสำ�หรับคนทำ�สื่อก็ควรเคารพต่อการตัดสินใจนั้น
นางสาวอนีล บือราเฮง
ทีมงาน สื่อสันติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นายอดุลย์ เฮ็งปียา ทีมงาน สื่อสันติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
..........สื่อจะเป็นตัวขับเคลื่อนในการสร้างสันติภาพได้ การสือ่ สารกับคนจำ�นวนมากโดยให้รบั รูพ้ ร้อมกันอย่างทัว่ ถึง อย่างรวดเร็ว และไม่ท�ำ ให้ความหมายของข่าวสาร มีการบิดเบือนหรือตกหล่น เราจะต้องอาศัย “สือ่ สารมวลชล” ในหลากหลายรูปแบบ อาทิ วารสาร หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น แต่สงิ่ หนึง่ ทีม่ คี วามสำ�คัญอย่างมากในสือ่ สารมวลชลทุกรูปแบบคือ แหล่งข้อมูล ข้อเท็จจริง และการนำ�เสนอข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา ซึง่ สิง่ นีจ้ ะเป็นเสมือนอุดมการณ์หรือจุดยืนของตัว “สือ่ ” สำ�หรับสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ของเราเองก็มกี ารนำ�เสนอข่าวของสือ่ สารมวลชนหลากหลายรูปแบบ แต่บางครัง้ สือ่ เองก็ ลืมคำ�นึงถึงความละเอียดอ่อนในด้านศาสนา ความคิด และทัศนะคติการรับรู้ของคนในพื้นที่ ซึ่งปัญหาตรงนี้เอง ทำ�ให้คนภายนอกนำ�ข่าวสารจากในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปตีความในลักษณะที่บิดเบือนจากความ เป็นจริงได้ ดังนั้นเราจึงสามารถพูดได้ว่า...สื่อจะเป็นตัวขับเคลื่อนในการสร้างสันติภาพได้
นางสาวซาบารียะห์ ปอระ ทีมงาน สื่อสันติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
..........จรรยาบรรณ สิ่งสำ�คัญต่อการสร้างสื่อ จรรยาบรรณของสื่อในการนำ�เสนอข่าวสารเป็นสิ่งสำ�คัญอย่างมากที่สื่อทุกสื่อควรให้ความสำ�คัญ เพราะการทำ� สื่อจะต้องอาศัยความรอบคอบ และการไตร่ตรอง ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำ�คัญอย่างมากก่อนที่เราจะนำ�เสนอ ข่าวออกไป และด้วยพื้นที่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นพื้นที่พิเศษเลยทำ�ให้การนำ�เสนอข่าวสารจะ ต้องมีความละเอียดอย่างมาก นั่นคือต้องเข้าใจผลกระทบที่จะตามมาเสมอ และสำ�หรับผู้เขียนหรือผู้หาข่าว จรรยาบรรณของคนกลุ่มนี้เป็นสิ่งสำ�คัญอย่างมาก ในการนำ�เสนอและถ่ายทอดความรู้ที่มี ความรู้ที่ได้รับ ให้กับ คนนับร้อย นับพันด้วยความคิดเห็นและเจตนารมณ์ที่เป็นกลาง ไม่เอาความคิดเห็นที่ขาดความมีเหตุผลไปใช้ใน การเขียน เพราะหากเป็นเช่นนั้นแล้ว เป้าหมายที่เราตั้งไว้ก็จะไม่มีความหมายหรือค่าอะไรเลย ..........เนื้อหาของสื่อ แสดงถึงจุดยืนได้อย่างชัดเจน ข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง ข่าวสารคดี ข่าวการเมือง ข่าวพวกนี้มีความแตกต่างอย่างที่เห็นได้ชัดคืออยู่คนละประเภท คนละหมวดหมู่ และสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความต่างนั่นคือ เนื้อหา ที่เป็นเป็นแกนหลัก หัวใจหลักที่จะสามารถ ทำ�ให้ผู้อ่านเข้าใจถึงแนวความคิด และการนำ�เสนอที่จะดีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคการเขียนและการนำ� เสนอของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้นการที่เราต้องการจะทราบถึงเจตนาหรือเป้าหมายของสื่อชนิดใดชนิดหนึ่ง เราสามารถสังเกตได้จากสิ่งที่เขาทำ� สิ่งที่เขาต้องการแสดงให้เราเห็น อย่างเช่นวารสารฉบับนี้ ชื่อของวารสาร กับตัวเนื้อหาทั้งหมดมีความสอดคล้องกันอย่างเห็นได้ชัด คือ ไม่ว่าจะเป็นแนวความคิด ภาพที่เป็นตัวแทนของ ความสันติ หรือรวมไปถึงการแสดงออกถึงการปฏิเสธความรุนแรง ที่เป็นจุดยืนหลักของวารสาร ทุกอย่างคือสิ่ง ที่คุณสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวคุณเองในฉบับนี้
นายอีมาด หะยีแล๊ะ ทีมงาน สื่อสันติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
..........สื่อเป็นเสมือนกระบอกเสียง ขององค์กร การทำ�งานขององค์กรหรือหน่วยงาน ต่างๆ การที่จะทำ�ให้บุคคลภายนอก มองเห็นถึงอุดมการณ์และจุดยืนอย่าง ชัดเจน สื่อจะต้องเป็นเสมือนกระบอก เสียงที่แสดงให้เห็นถึงผลงานที่เกิดขึ้น ขององค์กรนั้นๆ และสำ�หรับสมาพันธ์ นักศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดระยะเวลา 5 ปีทผี่ า่ นมากับผลงาน ที่มากมายต่อพื้นที่สามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ คนภายนอกหรือบุคคลทั่วไปที่ ได้ยินหรือรับรู้เกี่ยวกับการทำ�งานของ ทางสมาพันธ์ อาจจะยังมีความสงสัยใน ตัวจุดยืนและการทำ�งานอยู่บ้าง เพราะ ฉะนั้นการที่มีวารสารฉบับนี้ขึ้นมา จะ ทำ � ให้ ทุ ก คนสามารถเข้ า ใจได้ ว่ า ทาง สมาพันธ์มีจุดยืนยังไง และการทำ�งาน ของทางสมาพันธ์เองได้มีการกำ�หนดไป ในทิศทางไหน และเนื้อหาภายในเล่ม ทุกตัวย่อหน้า ท่านสามารถตรวจสอบ แหล่งทีม่ าและข้อเท็จจริงได้เสมอ เพราะ ฉะนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า สื่อคือตัว เชือ่ มโยงทีจ่ ะเป็นเสมือนสะพานระหว่าง คำ�ถาม ที่จะตอบความคลุมเครือทุกข้อ สงสัยเกี่ยวกับองค์กร หรือทางสมาพันธ์ นักศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้
Seu Sarn Santi | 25
NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับที่ 142 พฤษภาคม 2556 บริษทั อมรินทร์พริน้ ติง้ แอนด์พบั ลิชชิง่ จำ�กัด (มหาชน)
หากพูดถึงวารสารเชิงสารคดี คงหนีไม่พ้น “เนชั่นเนล จีโอก ราฟิก” วารสารที่มีหน้าปกโดดเด่นด้วยกรอบสีเหลืองและการถ่ายภาพ ที่สะท้อนเนื้อหาด้านในได้อย่างกระชับชัดเจน และดึงดูดสายตา สำ�หรับ วารสารเล่มนี้จะออกทุกๆเดือน และในแต่ละเดือนก็จะมีการคัดสรรภาพ และเนื้อหาที่น่าสนใจ และเป็นประเด็นที่ทำ�ให้เราขบคิดได้เสมอ แม้เรื่อง นัน้ จะเป็นเรือ่ งราวทีผ่ า่ นมาสักระยะแล้วก็ตาม แต่เมือ่ กลับมาย้อนคิด มัน ก็ท�ำ ให้เราได้รบั ข้อมูลและแนวคิดดีๆมากมาย สำ�หรับในเดือนพฤษภาคม นี้ หากใครผ่านไปผ่านมาแถวแผงหนังสือ เราก็จะพบเนชันแนล จีโอกรา ฟิก หน้าปกขาวดำ�กับเด็กผู้หญิงในชุดนักเรียนสวมผ้าคลุมกอดหนังสือไว้ แนบอก โดยเบื้องหลังเป็นเจ้าหน้าที่ทหารกำ�ลังยืนปฏิบตั ิงานสายตาของ เด็กผูห้ ญิงภายในภาพทำ�ให้เราสามารถตีความไปได้หลากหลาย แต่เหนือ 26 | Seu Sarn Santi
อื่นใดคือเหตุการณ์ในภาพเกิดขึ้นที่ไหน? “ไฟใต้ สันติภาพรำ�ไรหรืออีกยาวไกล” หากไม่มพี าดหัวคอลัมน์ ผมก็เชือ่ ว่าคนไทยส่วนใหญ่คงสามารถตอบได้ทนั ที เพราะด้วยเอกลักษณ์ ของภาพและประเด็นทีก่ �ำ ลังตกเป็นข่าวอยูใ่ นขณะนี้ บนหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือสือ่ ต่างๆ ภาพลักษณ์ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำ�หรับ คนนอกพืน้ ทีแ่ ล้วดูจะสวนทางกับคนในพืน้ ที่ ในเหตุการณ์มากพอสมควร ซึ่งเนื้อหาภายในคอลัมน์ของวารสารเล่มนี้จะเป็นการพูดถึงวิถีชีวิต และ เหตุการณ์ช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้จะเป็นเพียงส่วนเล็กๆ แต่ก็เชื่อว่าจะ ทำ�ให้ผอู้ า่ นเข้าใจถึงทัศนะคติบางส่วนของผูค้ นในพืน้ ทีไ่ ด้ ทัง้ นีผ้ คู้ นในสาม จังหวัดหรือในพืน้ ทีเ่ องผมก็อยากให้ลองหยิบมาอ่านกันดูเพราะบางข้อมูล บางข่าวสาร เราเองอาจจะยังไม่ทราบและสิง่ ทีส่ �ำ คัญคือ การได้เปิดความ คิด รับฟังเสียงของสังคมของผู้อื่น ที่จะเป็นเสมือนกระจกสะท้อนที่ทำ�ให้ เราเดินหน้าและใช้ชีวิตท่ามกลางเส้นทางของคำ�ว่า “สันติ”
เรียนรู้ Knowledge
โลดเต้นบนเส้นด้าย คามิน คมนีย์ บริษทั อมรินทร์พริน้ ติง้ แอนด์พบั ลิชชิง่ จำ�กัด (มหาชน)
โลดเต้นบนเส้นด้าย คือสารคดีเข้ารอบสุดท้ายรางวัลนายอิน ทร์อวอร์ด ปี 2554 “เรื่องราวชีวิตของครูฝึกตำ�รวจตระเวนชายแดนและ ความตายซึ่งเป็นสิ่งเล็กๆ ราคาไม่แพง หาได้ง่ายในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้” คำ�โปรยบนปกหนังสือสีฟ้าอ่อนที่มีความหมายและนัยยะ ได้ อย่างไม่ตอ้ งตีความหมายมากมาย เพราะภาพของนกพิราบทัง้ สีขาวและ สีดำ�กับกระบอกปืนยาวก็สามารถตีความหมายได้เป็นอย่างดีเนื้อหากว่า 200 หน้า ทีบ่ อกเล่าเรือ่ งราวผ่านการสูญเสียและมิตรภาพท่ามกลางความ ขัดแย้ง ได้ร้อยเรียงตัวหนังสือภายในเล่มให้ดูมีความหมาย และบางบท บางตอนก็ทำ�ให้เราเข้าใจถึงอารมณ์ของการสูญเสีย ด้วยภาษาการเขียน ทีเ่ ปรียบได้กบั ชีวติ ของครูฝกึ ตำ�รวจตระเวนชายแดนทีม่ ชี วี ติ เสมือนแขวน อยู่บนเส้นด้าย
“สาระชีวิตจากสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้” Seu Sarn Santi | 27
วัดช้างให้
ตำ�บลนาประดู่ อำ�เภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ตั้งอยู่ที่ตำ�บลควนโนรี อำ�เภอโคกโพธิ์ เป็นวัดเก่าแก่ สร้าง มาแล้วกว่า 300 ปี ตามตำ�นานกล่าวว่า พระยาแก้มดำ�เจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำ�หรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐาน ปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตาม ไป จนมาถึงวันหนึ่ง ช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำ�จึงได้ถอื เป็นนิมติ ทีด่ ี จะใช้บริเวณนัน้ สร้างเมือง แต่นอ้ งสาว ไม่ชอบ พระยาแก้มคำ�จึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชอื่ ว่า วัดช้างให้ แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านลังกา หรือ สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบนํา้ ทะเลจืด มาเป็นเจ้าอาวาสองค์
แรก ท่านได้เดินธุดงค์ไปมา ระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้ และได้สั่ง ลูกศิษย์ไว้ว่า ถ้าท่านมรณภาพ ขอให้นำ�ศพไปทำ�การฌาปนกิจ ณ วัดช้าง ให้ ซึ่งเมื่อท่านมรณภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ก็ได้นำ�ศพท่านมา ทำ�การ ฌาปนกิจที่วัดช้างให้ อัฐิของท่านส่วนหนึ่งฝังไว้ที่วัดช้างให้ อีกส่วนหนึ่ง นำ�กลับไปเมืองไทรบุรี ต่อมาได้สร้างสถูปบรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดช้างให้ เมือ่ ปี พ.ศ. 2480 พระครูมนูญเจ้าอาวาสวัดพลานุภาพ เจ้าคณะ ตำ�บลทุ่งพลา ให้พระช่วงมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ ท่านได้ชักชวนชาว บ้านมาแผ้วถางป่า สร้างกุฎิ ศาลาการเปรียญ พร้อมเสนาสนะอื่นๆ จึงได้ ชื่อว่า วัดราษฎร์บูรณะ เจ้าอาวาสองค์ต่อๆ มาก็ได้บูรณะเพิ่มเติมวัดช้าง
ให้ มาตามลำ�ดับจนถึงปัจจุบัน วัดช้างให้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ผ่านสามแยกนาเกตุ ตรงไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 409 (ปัตตานี – เมื่อปี พ.ศ. 2500 และผูกพันธสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2501 ยะลา) ผ่านเทศบาลนาประดู่ ตัง้ อยูร่ ะหว่างตำ�บลทุง่ เพลา-ตำ�บลนาประดู่ เป็นศูนย์การแสดง และจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ ศิลปาชีพ เช่น ผ้าบาติก เรือกอและจำ�ลอง เซรา มิก เป็นต้น การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี – โคกโพธิ)์
“วัดช้างให้ เป็นวัดเก่าแก่ ที่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี”
28 | Seu Sarn Santi
ท่องเที่ยว Check in
มัสยิดกรือเซะ
ตำ�บลตันหยงลุโละ อำ�เภอเมือง จังหวัดปัตตานี
มีต�ำ นานเล่าสืบต่อกันต่อๆ มาว่า ในยุคทีเ่ มืองปัตตานีมี เจ้าผูค้ รองเมืองเป็นนางพญา ชือ่ รายาบีรู (พ.ศ. ๒๑๕๑ - ๒๑๖๗) นั้น ได้มีชาวจีนชื่อ ลิ้มเต้าเคียน มาอยู่เมืองปัตตานี และเข้ารีต รับนับถือศาสนาอิสลาม แล้วไม่ยอมกลับเมืองจีน ลิ้มกอเหนี่ยว น้องสาวเดินทางมาตามพี่ชายให้กลับเมืองจีนเพื่อดูแลมารดาที่ ชราตามประเพณีของชาวจีน แต่ลิ้มเต้าเคียมไม่ยอมกลับเพราะ ได้รับมอบหมายจากเจ้าเมืองปัตตานีให้เป็น ผู้ควบคุมก่อสร้าง มัสยิดกรือเซะอยู่ และยังสร้างไม่เสร็จจะขออยู่เมืองปัตตานี ต่อไปจนกว่าจะสร้างเสร็จ ลิ้มกอเหนี่ยวมีความน้อยใจจึงทำ� อัตวินิบาตกรรมประท้วงพี่ชาย แต่ก่อนที่นางจะผูกคอตายนาง ได้อธิษฐานว่าแม้นพี่ชายจะเป็นช่างที่เก่งเพียงใดก็ขอ ให้สร้าง มัสยิดนี้ไม่สำ�เร็จ ด้วยแรงแห่งคำ�สาปแช่งของนาง ปรากฏว่า ลิ้มเต้าเคียมสร้างไม่สำ�เร็จ ได้ทำ�การสร้าง หลังคาและโดมถึงสามครัง้ เมือ่ สร้างจวนเสร็จก็เกิดอัสนีบาตฟาด โดมและหลังคาพังทลายลงมาทุกครัง้ ทำ�ให้ลมิ้ เต้าเคียมเกิดความ หวาดกลัว จึงได้ทิ้งงานก่อสร้างให้ค้างอยู่จนบัดนี้ มัสยิดกรือเซะ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดกว้าง ๑๕.๑๐ เมตร ยาว ๒๙.๖๐ เมตร สูง ๖.๕๐ เมตร เสาทรงกลม เลียนรูปลักษณะแบบเสาโคชิดของยุโรป ช่องประตูหน้าต่าง มีทงั้ แบบโค้งแหลมและโค้งมนแบบโคธิค โดมและหลังคายังก่อสร้าง ไม่เสร็จ อิฐที่ใช้ก่อมีลักษณะเป็นอิฐสมัยอยุธยา ตรงฐานมัสยิดมี อิฐรูปแบบคล้ายอิฐสมัยทวารวดีปะปนอยู่บ้าง ตัง้ อยูท่ บี่ า้ นกรือเซะ หมูท่ ี่ ๒ ตำ�บลตันหยงลุโละ อำ�เภอ เมือง จังหวัดปัตตานี การเดินทางใช้ทางจากตัวเมืองปัตตานีไปยังมัสยิด กรือเซะ บนเส้นทางถนนเพชรเกษม สายปัตตานี - นราธิวาส ประมาณ ๘ กิโลเมตร
“มัสยิดกรือเซะ มรดกอารยธรรมแห่ง มหานครปัตตานี” Seu Sarn Santi | 29
http://www.facebook.com/SUPSPT
of P
30 | Seu Sarn Santi
ovi nc
es of T
hailand
nion Students U
rom ote P ea
r st P ce in Southernmo
Seu Sarn Santi | 31
เราปฏิเสธความรุนแรง ทุกรูปแบบ และยอม รับสังคม พหุวัฒนธรรม
32 | Seu Sarn Santi