สื่อสานสันติ เล่ม 3

Page 1

สื่อ สาน สันติ

ฉบับที่ 3 | กุมภาพันธ์ 2557 | www.facebook.com/seusarnsanti

àÇ·ÕàÊÇ¹Ò ·Ò§ÍÍ¡¢Í§»˜ÞËÒªÒÂᴹ㵌

เสียงของบ้าน “เสียงจากคนไกล”

สื่อสัญจร

“เวทีเสวนาสันติภาพปาตานี”

สานสันติ

“สัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรม(สนสต.)”


www.facebook.com/SEUSARNSANTI



06 11 15 18 26 28 30 32

สานสันติ (Believe) “สัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรม(สนสต.)”

ใจนำ�ทาง (Daylight) “ใจบริสุทธิ์ จุดประกายความสันติ”

เสียงของบ้าน (Sounds of the South) “เสียงจากคนไกล สื่อความห่วงใยสู่ชายแดนใต้”

สื่อสัญจร (On the Way) “เวทีเสวนาสันติภาพปาตานี”

ท่องเที่ยว (Check in) “มนตร์เสน่ห์ลังกาสุกะ”

เรียนรู้ (Knowledge) “เยี่ยมเยียน สานฝัน”

คือเรา (We) “ค่ายวินัยกับอิสรภาพทางความคิดรุ่นที่ 7”

ก่อน (Sunshine) “ค่ายวินัยกับอิสรภาพทางความคิดรุ่นที่ 7”

ที่ปรึกษา | สามารถ ทองเฝือ, อับดุลรอนิง สือแต, ศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี, มูหัมมัดตอลาล แกมะ, สุไลมาน เจ๊ะและ บรรณาธิการ | ฝ้ายลิกา ยาแดง ช่างภาพ | รุสนี ปาเซเลาะ ศิลปกรรม | วีรโชติ เพ็งสิงห์, อิลฮาม กะแน, ไซนุรดิน เจ๊ะอาลี, ซาบารียะห์ ปอระ จัดทำ�โดย | สมาพันธ์เครือข่ายนักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) 300/111 หมู่ 4 ตำ�บทรูสะมิแล อำ�เภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000


ย่างเข้าสู่ปีที่ 10 พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้แสวงหา “สันติสุข” พร้อมๆกับวารสาร “สื่อ สาน สันติ” ฉบับที่3 สื่อจากกลุ่มนักศึกษาที่พยายามสร้าง การขับเคลื่อนไปสู่ความสุขแห่งสันติภาพ ซึ่งแม้จะเป็นพลังเพียงส่วนน้อยที่จะเข้าไป มีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลง แต่ทั้งนี้ทางกลุ่มนักศึกษาผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นปัญญาชน มิได้หยุดนิ่งในการแสวงหาสันติภาพโดยใช้ สื่อวารสารเป็นช่องทางในการเปิดและ รับข้อมูลข่าวสารต่างๆเกี่ยวกับหนทางที่นำ�ไปสู่สันติวิธีและในฉบับนี้ถือได้ว่ามีเรื่อง ราวดีๆที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การเปิดเวทีเสนากระบวนการสันติภาพปาตานี ซึ่ง ในครั้งนี้เราจะได้รับรู้อัตชีวประวัติของผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเรื่องราวของพื้นที่ สามจังหวัดและร่วมพูดคุยเพือ่ หาทางออกทีเ่ ป็นจริง อีกทัง้ ประเด็นการรับฟังเสียงจาก คนนอกพืน้ ทีท่ มี่ ตี อ่ ราวเรือ่ งในพืน้ ที่ รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆอีกมากมายทีเ่ ราได้เข้าไป มีส่วนร่วมและทำ�หน้าที่เป็นแกนนำ�ในการสร้างรอยยิ้ม ทางเราคิดว่าเป้าหมาย สันติ วิธี คือวิธเี ดียวทีจ่ ะสามารถเนรมิตความสุข ความสงบ กลับสูพ่ นื้ ทีไ่ ด้ แต่กระบวนการ ที่จะนำ�ไปสู่เป้าหมายนั้นจะต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่าง ดังนั้น สื่อ สาน สันติ เล่ม ที่3 และเล่มต่อๆไปขอเดินหน้าไปพร้อมๆกับการมีส่วนช่วยในการใช้สันติวิธี เพื่อนำ� สันติสุขคืนพื้นที่แห่งนี้สืบไป คณะบรรณาธิการ


ภาพผู้เข้าร่วม “กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการสมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้” เมื่อวันที่ 22-25พฤศจิกายน 2556

SEUSARNSANTI |

6 | FEBRUARY 2014


สานสันติ | Believe |

กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

คณะกรรมการสมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้

กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการสมา พันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกิจกรรม หลักที่เพิ่มทักษะและข้อมูลเชิงลึกให้กับคณะกรรมการของ สมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) ภายใต้แนวคิดปฏิเสธความรุ่นแรงทุกรูปแบบและยอมรับ การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม การที่ ทุ ก คนได้ ม าสั ม มนาเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารคณะ กรรมการในครั้งนี้ นั้นหมายความว่าทุกคนที่มาที่นี่ล้วนแล้ว แต่เป็นผู้นำ�ทั้งสิ้น การที่เราจะเป็นคณะกรรมการ สนสต. ได้เราทุกคนต้องผ่านการเข้าค่ายวินัยกับอิสรภาพทางความ คิดมาก่อน เพราะเนื่องจากระเบียบหรือธรรมนูญ สนสต. กำ�หนดประเภทสมาชิก สนสต. ออกเป็น 3 ประเภทคือ

สมาชิกวิสามัญ สมาชิกสามัญ และสมาชิกกิติมาศักดิ์คน ที่มาในโครงการ คือคนที่มาจากการคัดเลือก ซึ่งมาจาก ตำ � แหน่ ง ที่ แ ตกต่ า งกั น มากมายทั้ ง ผู้ นำ � ชุ ม นุ ม ชมรมใน มหาวิทยาลัยต่างๆ ในการสัมมนาครั้งนี้ สนสต. ได้เชิญวิทยากรหรือ อาจารย์ ดร. นินาวาลย์ ปานากาเซ็ง อาจารย์มหาวิทยาลัย ปทุมธานีซึ่ง โดยจะให้ อาจารย์สอนถึงสาระทฤษฏี และ การปฏิบัติ ภาวการณ์เป็นผู้นำ� ซึ่งในการเข้าร่วมกิจกรรม อาจารย์ได้ตั้งข้อตกลงเบื้องต้น คือใช้กระบวนการ Knowledge Management (เคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นำ�เสนอตัวตนของตนเอง) ออกมาให้มากที่สุด ทำ�กิจกรรม ให้เสร็จภายในเวลาที่กำ�หนด ให้ความร่วมมือในการทำ�

กิจกรรม อาจารย์ยังมี Main Concept และเล่นเกมส์ใน ฐานต่างๆมากมายให้ข้อคิดที่เกี่ยวกับภาวะนำ� มีรูปภาพการ ทำ�งานของสมองมนุษย์กับผู้นำ� บทรายละเอียดเกี่ยวกับการ พูด การสือ่ สาร สำ�หรับผูน้ �ำ โดยให้รายละเอียดว่า การเขียน 10% การอ่าน 15% การพูด 30% และการฟัง 45% มี หลัก 3 สบาย คือ ฟังสบายหู ดูสบายตา และพาสบายใจ และยังกล่าวอีกว่า หากจบการฝึกฝนครั้งนี้สิ่งที่อยากจะเห็น คือ การเปลี่ยนแปลงของผู้นำ�กิจกรรมเอง การเปลี่ยนแปลง ของตัวเราเอง เพราะหากเราเปลี่ยนแปลงวันนี้ให้มากกว่า เมื่อวานเราก็จะได้เปรียบ นอกจากนี้ยังมีการให้ทำ�กิจกรรม ในฐานต่างๆเพื่อแสดงถึงความมีศักยภาพของตนเอง

“ หากเราเปลี่ยนแปลงวันนี้ ให้มากกว่าเมื่อวาน เราก็จะได้เปรียบ ”

SEUSARNSANTI |

7 | FEBRUARY 2014


“จุดเริ่มต้นของ สนสต.คือการมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหา องค์ประกอบที่ทำ�ให้เกิด ความขัดแย้งคือการเห็นต่างไม่สอดคล้องกัน”

นายสุไลมาน เจ๊ะและ

เลขาธิการสมาพันธ์นักศึกษารักสันติ จังหวัดชายแดนใต ้(สนสต.) ค่ายดังกล่าวนี้ถือเป็นค่ายที่ทำ�ให้คณะกรรมการ ในเครือข่ายของสมาพันธ์นักศึกษารักสันติ (สนสต.) ได้มี พื้นที่แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ต่างๆ และมากำ�หนด แนวทางร่วมกันในการขับเคลื่อนภารกิจหนุนเสริมและสร้าง สันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย เครือข่ายนักศึกษารักสันติของ สนสต.มีจำ�นวน 7 กลุ่ม ใน 6 สถาบันจะประกอบไปด้วย ชมรมนักศึกษารักสันติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชุมนุมสิงห์สันติภาพคณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชมรมนักศึกษา รักสันติมหาวิทยาลัยอัลฟาฎอนี ชมรมนักศึกษารักสันติ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ชมรมต้นกล้าร่วมใจ จิตอาสามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กลุ่มนักศึกษารักสันติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา และกลุ่มนักศึกษารัก สันติวิทยาลัยเทคนิคปัตตานี วันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมาทาง สนสต. ได้จัดค่ายสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการสมา พันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่โรงแรมหาด แก้ว รีสอร์ท มีคณะเลขาธิการ สนสต. และคณะกรรมการ

เครือข่ายนักศึกษารักสันติ 7 กลุ่มใน 6 สถาบันรวมคณะ กรรมการในส่วนต่างๆที่เข้าร่วมในครั้งนี้ทั้งหมด 80 กว่าคน โจทย์ที่สำ�คัญในค่ายนี้ “จะทำ�อย่างไรให้สังคมเกิดสันติสุข และสันติภาพ” เราเป็นนักศึกษาแล้วเราจะเกี่ยวอะไรกับ ประชาสังคม นี่คือคำ�ถามของนักศึกษา... แต่ทุกภาคส่วน ล้วนแล้วแต่มีความสำ�คัญต่อการแก้ปัญหาในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ด้วยกันทั้งสิ้น เราต้องมีจุดยืนที่จะนำ�ไปสู่ สังคมแห่งสันติสุขและสันติภาพ และต้องมีอุดมการณ์ เรา ควรเริ่มจากการสร้างตัวเราพ้นจุดเริ่มต้น เรารวมตัวกัน อย่างไร เรามีอุดมการณ์อย่างไร โจทย์สังคมบางคนอาจจะ เข้าใจว่าเกิดอะไรในพื้นที่ของเรา จุดเริ่มต้นของ สนสต.คือ การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา องค์ประกอบที่ทำ�ให้เกิด ความขัดแย้งคือการเห็นต่างไม่สอดคล้องกัน คือสังคมไทย เกิดการแบ่งบ้านกันอย่างชัดเจน มองอีกมุมหนึ่งคือมีกลุ่ม ในสังคมเข้ามามีอำ�นาจ เมื่อเกิดการเลือกข้างแล้วก็จะทำ�ให้ อีกกลุ่มหนึ่งเกิดความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน ส่งผลให้ เกิดความแตกแยกทางสังคมอย่างหนักหน่วง เกิดปัจจัย ต่อต้านนำ�ไปสู่ความรุนแรงทางสังคม แต่อย่างไรก็ตามเรา มั่นใจว่า สนสต. มีจุดยืนที่สามารถแก้โจทย์ทางสังคมได้ แน่นอน เพราะการขับเคลื่อนภารกิจนี้ของ สนสต. นั้นยึด แนวทางของศาสนามาขับเคลื่อนโดยเฉพาะอายัดที่ 13 ซู เราะห์อัล-หุจรอด ซึ่งเมื่อจบจากค่ายนี้ไปแล้วคาดหวังว่าเรา จะเติมเต็มและปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อที่จะสามารถเป็นผู้นำ� และขับเคลื่อนชมรมหรือองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและ

SEUSARNSANTI |

8 | FEBRUARY 2014

อยากให้น้องๆมีความเป็นผู้นำ�สามารถพูดในเวทีสาธารณะ ได้ มีบุคลิกที่มีความเป็นผู้นำ�กล้าแสดงออก โดยในแต่ละ มหาวิทยาลัย อาจจะมีรูปแบบในการจัดกิจกรรมที่แตกต่าง กัน แนะนำ�น้องๆและทำ�ให้รู้จักถึงจุดยืนของสมาพันธ์ สมา พันธ์มี คำ�ภีร์อัลกุรอ่านรองรับ ในส่วนของจุดยืนของสมา พันธ์ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า อัลลอฮ ได้สร้างมนุษย์ ให้มี ความแตกต่างกัน แต่ล้วนแล้วเป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น และ อัลลอฮ์ ได้ประทานอายัตนี้ลงมาเพื่อให้มนุษย์เรียนรู้ความ หลากหลายซึ่งกันและกัน และพระเจ้าประณามบุคคล ที่ พยายามว่าตัวเองดีกว่าเพราะมนุษย์ไม่ว่าจะมีสีผิวสีอะไร ก็ สร้างมาจากดินชนิดเดียวกันหากมีการอ้างถึงการแบ่งพรรค พวกที่สร้าง เป็นกำ�แพงแบ่งกั้นทั้งหมดนี้คือสิ่งที่พระเจ้า ไม่ประสงค์ การแบ่งชนชั้นอาจทำ�ให้เกิดความรุนแรงได้ ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของสมาพันธ์ สมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) นั้นเป็นพลังนักศึกษามาลายูปาตานีและนักศึกษา นอกพื้นที่ที่เป็นเพื่อนมนุษย์และมีความตั้งใจที่จะช่วยกัน สร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่ง เป็นพลังบริสุทธิ์ การขับเคลื่อนกิจกรรมของ สนสต. ยึดมัน แนวทางที่ถูกต้องของศาสนาอิสลามเพื่อร่วมกันสร้างสันสติ ภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้และเพื่อนพี่น้องของเรา


สานสันติ | Believe |

อ.ปรีดี มะนีวัน

วัฒนธรรมอำ�เภอเมืองปัตตานี อย่าต่อต้านการนิรโทษกรรมของมนุษย์กับพระเจ้า คนจะดี อยู่ที่ศาสนา ศาสนาจะทำ�ให้เราเป็นคนดี กล่าวไว้ว่า ถ้าเป็น คน “มั่งมี อย่าดีแต่จ่าย” และหากอยากเป็นคนที่ทันสมัย อย่าทำ�ลายศาสนา เพราะศาสนาจะทำ�ให้เกิดสันติอย่าง ยั่งยืน If you want permanent peace หากเราต้องการ สันติภาพที่ยั่งยืน Then this start with the Religion ศาสนาคือ กติกาของพระเจ้า กฎหมายคือ กติกาของมนุษย์ แต่สามารถแก้ปัญหาได้ ไม่นำ�แต่ศาสนาคือกติกาที่สามารถ แก้ปัญหาได้ยั่งยืน ผู้นำ�ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม ผู้นำ�ต้องมี สติและสมาธิ ทั้งผู้น�ำ และผู้ตามเราต้องมีสติเพื่อยั้งคิด และ สถานการณ์การเมืองในปัจจุบันเราต้องมีสติในการบริโภค เพราะเราคือผูท้ จี่ ะนำ�อนาคตของสังคมเราต้องมีสติอยูต่ ลอด เวลา ถ้าไม่มีสติมันจะเกิดความเลวร้าย ผู้นำ�ต้องมีความ คิดสร้างสรรค์ ยึดมั่นการมีส่วนร่วมของทุกคนในสังคมพหุ วัฒนธรรมเรื่องความต่างต้องปล่อยให้เป็นสิทธิของปัจเจก ชน ต้องให้เกียรติกัน “ซูรอ” เป็นประเพณีทางวัฒนธรรมสู่การ สร้างสังคมปรองดองที่ยั่งยืน เป็นเทคนิคที่จะทำ�ให้เกิดการ

ปรองดองโดยประเพณีกวนขนมซูรอ ไม่ใช่แค่เป็นของชาว มุสลิมอย่างเดียวแต่ทุกศาสนาสามารถร่วมกันทำ�ได้ ทุกคน ร่วมกันเสียสละ เมื่อรัฐเข้ามาระบบทุนการเงิน ได้สลายความ สัมพันธ์ของสังคมสูค่ วามอ่อนแอ ทุกอย่างต้องใช้เงินซือ้ ผูน้ �ำ ต้องมีจดุ ยืน่ อย่างมัน่ คงภายใต้ศาสนาและบ้านเมืองอย่างถูก ต้อง หากผู้นำ�ขาดสติแคร์อีกฝ่ายมากเกินไป ก็จะทำ�ให้เกิด ความวุ่นวายเกิดความไม่มีจุดยืนถึงจุดเปลี่ยนเกิดปัญหา ผู้นำ�กับการเมืองประชาธิปไตย ถ้าไม่มีความขัดแย้ง ความ เปลีย่ นแปลงจะไม่เกิดขึน้ หากอยูส่ บายความเป็นเอกภาพจะ ไม่เกิดขึ้น ที่มาของความขัดแย้ง Confict จะมีกลุ่มแข็งที่เอา รัดเอาเปรียบพยายามรักษาผลประโยชน์ของตน และกลุ่ม มักจะเสียเปรียบเสียผลประโยชน์และมักจะชักโยงประเด็น มาสู่การสลายของกลุ่มแข็ง โดยมีการเรียกร้องคัดค้านทุก รูปแบบเมื่อทุกคนมีวีถีต่างกันสุดท้ายคือความขัดแย้ง เมื่อ มีความขัดแย้งก็มีการต่อสู้ทำ�ลาย ทำ�ทุกวิธีทางเพื่อต่อต้าน กลุ่มแข็งทุกกลุ่มแข็งก็ใช่มาตรการทุกรูปแบบ เพื่อเราต่อ ต้านกลุ่มอ่อน การรักชาตินี้ต้องสร้างสติให้แก่ประชาชน ทำ�ให้ประชาชนมีความสามัคคีอย่างไร ความขัดแย้งมี 2 ประการ ขัดแย้งในแนวคิด และขัดแย้งในผลประโยชน์ วัตถุ เป็นพระเจ้า การรับรู้ข้อมูลต่างกัน จะนำ�ไปสู่การขัดแย้ง ทุก วันนีเ้ ราฟังแต่เฉพาะผูน้ �ำ มากเกินไป ขาดความยัง้ คิด อัลลอฮ กล่าวไว้ว่า “เมื่อสูเจ้าขัดแย้งจงกลับไปสู่ศาสดา” ทุกอย่าง ต้องกลับไปสู่กติกาของบ้านเมืองของศาสนา

SEUSARNSANTI |

9 | FEBRUARY 2014

การเปลี่ ย นแปลงการปกครองไทย 24 มิถุนายน 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ของไทยครัง้ แรก โดยมีแนวคิดของประชาธิปไตย คือ อำ�นาจ เป็นของประชาชน โดยจะพบว่าระบอบประชาธิปไตยที่แรก มาจากสมัยกรีก ประชาชนทั้งนครรัฐมีส่วนร่วม หลังจาก เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในไทยก็ยังถือว่ายังไม่เป็น ประชาธิปไตย เนื่องจากอำ�นาจตกอยู่ที่ตัวผู้นำ�ไม่ได้ตกอยู่ ที่ประชาชน รัฐต้องดูว่าแต่ละภาคของประชาชนต้องการ อะไรและจุดเปลี่ยนของประเทศที่สำ�คัญที่สุดคือสมัยช่วง ของ พ.ต.ท. ดร.ทักษิน ชินวัตร บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ความหลากหลาย อั ล ลอฮ ได้ ส ร้ า งความ หลากหลายแตกกอเป็นชนชาติหลากหลายเผ่าพันธุ์นานา เพื่อพวกเจ้า...จะได้ทำ�ความรู้จักสานไมตรีต่อกัน แท้จริงผู้ ประเสริฐสุด ณ อัลลอฮ คือผู้ที่ยำ�เกรงพระองค์สูงสุด... “(45 : 13) ท่านผู้ศรัทธาทั้งหลายจงยำ�เกรงต่อพระเจ้า เพราะไม่มี ชาติพันธ์ใดเหนือกว่าชาติพันธุ์ใด อัลลอฮจะรักคนที่ยำ�เกรง ต่ออัลลอฮ ไม่มีใครเหนือกว่าใคร ชาติพันธุ์ไม่ใช่ศาสนา อย่า ต่อสู้เพื่อชาติพันธุ์ เพราะศาสนาจะนำ�สันติอย่างยั่งยืน

“ ผู้นำ�ต้องมีจุดยื่นอย่างมั่นคง ภายใต้ศาสนาและบ้านเมืองอย่างถูกต้อง หากผู้นำ�ขาดสติแคร์อีกฝ่ายมากเกินไป ก็จะทำ�ให้เกิดความวุ่นวายเกิดความไม่มีจุดยืน ”


ภาพผู้เข้าร่วม “กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการสมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้” เมื่อวันที่ 22-25พฤศจิกายน 2556

SEUSARNSANTI |

10 | FEBRUARY 2014


ใจนำ� ทาง | Daylight |

ใจบริสุทธิ์ จุดประกายความสันติ “ ในท่ามกลางกระแสแห่งโลกที่กำ�ลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทุกสิ่งทุกอย่างดำ�เนินไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดนิ่ง โดยเฉพาะมนุษย์ ก็พยายามแสวงหาสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด เหมาะที่สุดสำ�หรับตัวเอง ด้วยการขวนขวายตะเกียกตะกายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น และการที่ จะทำ�อะไรให้สำ�เร็จสมความมุ่งหมายได้นั้น ที่สำ�คัญต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งมีความมั่งคงในจิตใจไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใดๆเป็นต้น ”

SEUSARNSANTI |

11 | FEBRUARY 2014


การละหมาด “ ศาสนา คือ หลักยึดเหนี่ยวจิตใจที่มนุษย์ใช้เป็นทางนำ�ในการดำ�รงชีวิต ทุกๆศาสนามีหลักคำ�สอนมีหลักปฏิบัติและหลัก ศรัทธา เพื่อที่จะให้ผู้ศรัทธามีแนวทางในการดำ�รงชีวิตที่สงบสุขทั้งกายและใจ หลักปฏิบัติประการหนึ่งที่มีความสำ�คัญต่อ ศาสนิกทุกคน นั้นก็คือ การระลึก นึกถึงผู้ที่ตนนับถือให้ความศรัทธาเพื่อที่จะนำ�พาจิตใจไปสู่ความมั่ันคงและสงบสุขนั้นเอง สำ�หรับชาวมุสลิม หลักปฏิบัติที่ตรงกับจุดมุ่งหมายข้างต้นนั้น ก็คือ การละหมาด….”

การละหมาด หรือการนมัสการพระเจ้าคือ การ แสดงความเคารพต่อพระเจ้า เป็นการปฏิบัติความภักดีต่อ ผู้สร้าง นอกจากนี้การละหมาดเป็นการแสวงหาความสุข ทางจิตใจ เพราะจะทำ�ให้มีสมาธิที่ดี จิตใจมั่งคงปราศจาก ปัญหาทางใจในเรื่องต่างๆ การละหมาดมีความจำ�เป็นต่อชาวมุสลิมทุกคนที่มี ความสามารถ บรรลุนิติภาวะ ในวันหนึ่งๆจะต้องปฏิบัติการ ละหมาดวันละ 5 เวลาคือ - เวลาย่ำ�รุ่ง เรียกว่า ละหมาด ซุบฮ - เวลากลางวัน เรียกว่า ละหมาด ดุฮรีฮ - เวลาเย็น เรียกว่า ละหมาด ฮะซัร - เวลาพลบค่ำ� เรียกว่า ละหมาด มัฆริบ - เวลากลางคืน เรียกว่า ละหมาดอีชา ทุกๆช่วงเวลาในการละหมาดมุสลิมจะต้องปฏิบัติ อย่างเคร่งครัด กายจะต้องกระทำ�อย่างถูกวิธีตามลำ�ดับ ขั้นตอน จิตใจต้องไม่วอกแวก ใจสงบ จิตสะอาด ปราศจาก ความคิดในแง่ร้ายทั้งปวง ผู้ที่ละหมาดจะต้องพึงระลึกคล้าย ว่าตนกำ�ลัง เข้าเฝ้าพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ มุสลิมจะใช้การ ละหมาดเป็นช่วงเวลาของการสำ�นึกผิด จากความผิดต่าง ๆ ที่เขาได้ก่อขึ้น

SEUSARNSANTI |

เนื่องจากในช่วงวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนั้น มนุษย์ต้อง เผชิญกับบาปและความผิดต่าง ๆ มากมาย ทัง้ ทีเ่ ขารูต้ วั และ อาจไม่รู้ตัว ดังนั้นการละหมาดระหว่างเวลาหนึ่ง จะช่วย ขัดเกลาเขาให้สะอาดบริสทุ ธิจ์ ากบาปและความผิดต่าง ๆ ได้ นอกจากนีส้ �ำ หรับชาวมุสลิมแล้ว ละหมาด เป็นเสมือนอาหาร ทีห่ ล่อเลีย้ งหลักศรัทธาทีอ่ ยูใ่ นจิตใจของตน ความเพลิดเพลิน ในดุนยาและการลวงล่อของชัยตอน จะทำ�ให้หลงลืมหลัก ศรัทธานี้ ถึงแม้จะถูกปลูกฝังอยู่ในจิตใจแล้วก็ตาม และเมื่อ มนุษย์ตกอยู่ในความหลงลืม ในลักษณะเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุทจ่ี มปลักอยูใ่ นอารมณ์ใฝ่ต�ำ่ ความหลงลืมนีจ้ ะเปลีย่ น เป็นการปฏิเสธและไม่ยอมรับเหมือนต้นไม้ท่ขี าดน้ำ�ล่อเลี้ยง ก็จะเหี่ยวเฉาและตายไปในที่สุด และในไม่ช้าต้นไม้น้นั ก็จะ กลายเป็นฟืนทีไ่ ร้คา่ แต่มสุ ลิมทีย่ นื หยัดปฏิบตั ลิ ะหมาดอย่าง สม่�ำ เสมอ ละหมาดนัน้ ก็จะเป็นอาหารคอยหล่อเลีย้ งความมี ศรัทธาของเขาให้สดชืน่ และงอกงาม ความเพลิดเพลินในดุน ยาไม่อาจทำ�ให้ศรัทธาของเขาอ่อนแอและตายได้ ดังนัน้ มุสลิมทีด่ �ำ รงละหมาดอย่างเคร่งครัด จะเป็นผูศ้ รัทธา ทีม่ คี วามสมบูรณ์แบบมีจติ ใจทีด่ คี อยเป็นทางนำ� ทำ�ให้พบกับ ความผาสุขแห่งชีวติ เพราะด้วยใจทีส่ ะอาด บริสทุ ธิ์ จากการ ระลึกถึงพระเจ้า ส่งผลให้จติ ใจสงบ คิดและทำ�ในสิง่ ทีด่ งี าม

12 | FEBRUARY 2014


ใจนำ� ทาง | Daylight |

การสวดมนต์ “ ในขณะเดียวกันชาวพุทธ ก็มีหนทางที่นำ�ไปสู่เส้นทางอันสงบสุขทั้งทางกายและทางใจ นั้นก็คือ การสวดมนต์ ซึ่งเป็น หลัก ปฏิบัติที่ชาวพุทธใช้เป็นหนทางค้นหา แสงสว่างให้กับชีวิต และนำ�พาไปสู่ความเจริญดีงาม” การสวดมนต์ เป็นกิจที่จำ�เป็นและสำ�คัญสำ�หรับ ชาวพุทธศาสนิกชน เป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้น อันจะนำ�ไปสู่ การเรียนรู้และปฏิบัติตาม หลักคำ�สอนในระดับที่สูงขึ้นไป การสวดมนต์ ในศาสนาพุทธ มิได้เป็นการสวดมนต์เพื่อ พระเจ้า แต่เป็นความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมหรือกฎแห่งเหตุ และผล ว่าความสุขและความทุกข์เป็นผลแห่งการกระทำ� ของตนเอง นั้นคือ การพูด คิด และทำ�จะกำ�หนดหรือให้ผล ความเจริญ ความเสื่อม ความสำ�เร็จหรือความสุขแก่มนุษย์ การสวดมนต์แต่ละครั้งจึงถือว่า ผู้สวดได้รับคุณ ประโยชน์นานัปการ ทั้งแก่ตัวเองและแก่ส่วนรวมด้วย หาก สวดด้วยความตั้งใจจริง หมั่นพิจารณาเนื้อความจนเข้าใจ และรู้ซึ้งถึงความหมายของบทสวดนั้นๆแล้ว ย่อมได้รับผล บุญมากมายอาทิ เช่น - เป็นการสร้างปัญญา คือ การสร้างสรรค์พลังทาง ปัญญา เพราะการที่เราท่องบ่นจดจำ�หลักธรรมที่ปรากฏใน พระสูตรต่างๆนั้น แล้วนำ�ไปพิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ อย่างลึกซึง้ โดยการพินจิ พิจารณาความหมายของแต่ละสูตร ซึ่งในกระบวนการดังกล่าว เป็นการพัฒนาทางด้านความคิด และสติปัญญาให้เกิดขึ้น

SEUSARNSANTI |

- จิตสงบเป็นสมาธิ ในขณะที่สวดมนต์ ผู้สวดต้อง สำ�รวมใจให้แน่วแน่ ไม่หวั่นไหวคลอนแคลน มีใจจดจ่ออยู่ กับบทสวดมนต์ระมัดระวังอย่าให้สวดผิดอักขระ ขณะที่ สวดอยู่จิตย่อมเป็นสมาธิ และเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมเกิด ความสงบเยือกเย็น ทำ�ให้มีพลังในการคิดสร้างสรรค์ในสิ่ง ต่างๆได้ดียิ่งขึ้น - ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กล่าวคือ ในขณะที่เรากำ�ลัง สวดมนต์อยู่นั้น เราย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา กล่าวคือ มีกายวาจา เป็นปกติ มีใจที่แน่วแน่นิ่งสงบ และ มีความรู้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า ซึ่ง เท่ากับว่าเป็นการได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยการปฏิบัติบูชา คือ การสวดมนต์ สิ่งสำ�คัญในการสวดมนต์ นั้นก็คือ การทำ�จิตให้เป็น สมาธิ เพราะจิตใจของคนเรามักจะมีเรื่องชวนคิดอยู่ตลอด เวลา ส่งผลให้เกิดปัญหาทางใจ สภาพจิตใจย้ำ�แย่ และทำ�ให้ การดำ�รงชีวิตไม่เป็นสุข ดังนั้นหากหมั่นสวดมนต์บ่อยๆจะ ทำ�ให้มีสุขภาพจิตที่ดีและเป็นคนดีของสังคมมีภูมิคุ้มกันใน การสร้างสังคมของประเทศชาติให้มีความสุขสืบไป

13 | FEBRUARY 2014


ภาพบรรยากาศริมแมน้ำ�ปัตตานี หลังจากเลิกเรียนของเหล่านักเรียน นักศึกษา

SEUSARNSANTI |

14 | FEBRUARY 2014


เสี ย งของบ ้ า น | Sounds of the South |

เสียงจากคนไกล สื่อความห่วงใยสู่ชายแดนใต้ “สังคมสามจังหวัดชายแดนใต้ เป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานความเป็นพหุวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นพื้นที่นี้จึงมีความหลากหลาย มีวัฒนธรรม ภาษา การเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้มาพร้อมกับผู้คนต่างพื้นที่ที่ได้เดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนใต้ ดังนั้นพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์แห่งความหลากหลาย รายล้อมไปกับความเป็นพหุ วัฒนธรรม จากคนที่เป็นคนนอกพื้นที่จึงกลายมาเป็นคนในพื้นที่ที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกันและที่สำ�คัญมีความรู้สึกเดียวกันนั้นเอง”

SEUSARNSANTI |

15 | FEBRUARY 2014


“สิง่ ทีเ่ ห็นอาจจะไม่ใช่สงิ่ ทีเ่ ป็นเสมอไป สำ�หรับข่าว และข้อมูลที่ได้มีการเผยแพร่ออกไปนั้น หลายครั้งๆ ที่การกระจายข่าวมีการบิดเบือนไปจากความจริง”

นาย สนั่น หลีนายน้ำ�

รองเลขาธิการสมาพันธ์นักศึกษารักสันติ จังหวัดชายแดนใต ้(สนสต.) หนึ่ง ในจำ�นวนนักศึกษาต่างพื้นที่ จากมหาวิทยา ลัยอัลฟาฎอนี เดิมเป็นคนต่างจังหวัด แต่ดว้ ยโอกาสและโชค ชะตานำ�พาเขาเข้ามาศึกษาเล่าเรียน ในจังหวัดยะลา “ ตั้งแต่ย่างก้าวแรกเข้ามาในพื้นที่สามจังหวัด ไม่เคยมี เลยสักครั้งที่ผมรู้สึกหวาดกลัว ระแวง ในพื้นที่ตรงนี้ ก่อนที่ ผมจะตัดสินใจเข้ามาใช้ชีวิตในสามจังหวัด ผมได้บอกกับตัว เองว่า ผมพร้อมที่จะเข้ามา ผมที่จะไปทำ�ตามความฝัน แม้ ทางครอบครัวค่อนข้างทีจ่ ะไม่เห็นด้วย ผมจึงทำ�ทุกวิธเี พือ่ ให้ ครอบครัวยอมรับ เข้าใจ และทุกๆวันนี้ความจริงได้พิสูจน์ให้ ทุกคนได้เห็นแล้วว่า พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้ น่ากลัวอย่างที่คิด จริงๆแล้วที่แห่งนี้มีความงดงาม เองราว ดีๆ ที่รอใครมาสัมผัสอีกมากมาย ในตอนที่ผมอยู่มัธยม ผมเคยศึกษาที่ โรงเรียนสามารถ ดีวิทยา ซึ่ง อยู่ ใน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เป็นโรงเรียน ที่อยู่ในเขตพื้นที่ ที่มีความรุนแรง ตั้ง 3 ปี ในสวนตัวผม เองแล้วนั้น ผมก็เคยคิดที่จะกลัวกับสถานนะการณ์ที่เกิดขึ้น

ในพื้น 3 จังหวัด แต่เมื่อผมได้มาสัมผัสถึงการเป็นอยู่ของ คนในพื้นที่ก็เหมือนกับการใช้ชีวิตเหมือนกับที่บ้านเรา ผม คิดว่าที่แห่งนี้ก็มีความรักและสิ่งต่างๆที่เขามอบให้กับเด็ก ต่างจังหวัดอย่างพวกเรา เหมือนกับเราเป็นสวนหนึ่งในชีวิต ของพวกเขา พื้นที่แห่งนี้ที่มีความสมบูรณ์ในด้านศาสนา จึ ง ทำ � ให้ ก ารเป็ น อยู่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยกลิ่ น อายของศาสนาและ การศรัทธาที่มั่งคง ผมคิดว่าพื้นที่เหล่านี้คือเสน่ห์มากกว่า มากกว่าความหวาดกลัว และความรุนแรง ถ้าเรามองใน สังคมเมืองนี้ แท้จริงในพื้นที่นี้มีสิ่งดีงามมากมาย มีสถานที่ ท่องเที่ยวสวยงาม มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีการแต่งกาย ที่เป็นเอกลักษณ์ และอื่นๆอีกมากมาย ปัญหาความรุนแรงกับการได้สัมผัส “สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นเสมอไป สำ�หรับข่าว และ ข้อมูลที่ได้มีการเผยแพร่ออกไปนั้น หลายครั้งๆที่การกระ จายข่าวมีการบิดเบือนไปจากความจริง มีการสร้างข่าว หรือ พูดเกินความจริง ทำ�ให้ผู้คนนอกพื้นที่มีความหวาดกลัวใน พื้นที่สามจังหวัด และทำ�ให้คนนอกพื้นที่มองคนในพื้นที่มี ภาพลักษณ์ที่ไม่ดี ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกๆอย่างที่ผมรู้และทุกๆที่ ผมสัมผัสไม่ได้จริงหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นแค่บางส่วนที่ถูกสร้างขึ้นเท่านั้น แต่จริงๆแล้วพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้น่ากลัวมากมาย ปัญหาเกิดจาก การไม่เข้าใจกันแค่นั้นเอง และสักวันหนึ่งเมื่อพื้นที่ตรงนี้มี ความเข้าใจเข้ามา ความสงบสุขก็จะมาเยือน”

SEUSARNSANTI |

16 | FEBRUARY 2014

ในฐานะที่เป็นนักศึกษาต่างพื้นที่ สามารถที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสามจังหวัด ในฐานะนักศึกษานอกพื้นที่สิ่งที่เราสามารถมีส่วนร่วม ได้ในการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดคือ ต้องสร้างความเข้าใจให้ กับคนในพื้นที่ที่เราอยู่ด้วยโดยการสร้างกระบวนการการอยู่ ร่วมกัน ใช้ศาสนาเป็นตำ�กำ�หนด เพราะ ผมเชื่อว่าศาสนา เป็นตัวสำ�คัญที่จะทำ�ให้เราอยู่รวมกันได้ เพราะศาสนาสอน ให้เราว่า ทุกคนคือพี่น้องกัน เพราะเราคือเรือนร่างเดียว ถึงแม้อาศัยอยู่คนละจังหวัด คนละภาษา ลักษณะการเป็น อยู่ไม่เหมือนกัน แต่เราก็สามารถที่จะใช้ชีวิตรวมกันได้ และสถานภาพการเป็นนักศึกษา จงให้ความรู้ที่มีแสวงหา แนวทางสันติภาพและแสดงออกด้วยการนำ�สันติวิธีมาใช้ใน การแก้ไขปัญหาและจะนำ�ไปสู่ความรักความเข้าใจ เมื่อเรา สร้างความเข้าใจในการอยู่รวมกันได้แล้วผมคิดว่าสันติสุขก็ จะเข้ามาแทนที่ปัญหาต่างๆ สิ่งที่ได้รับจากพื้นที่ “สิ่งที่ผมได้รับตั้งแต่ได้เข้ามาศึกษาพื้นที่สามจังหวัด เกือบ 9 ปี ที่ทำ�ให้ผมได้เรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆทั้งด้าน วิชาการและด้านกิจกรรมภายใต้การเรียนรู้ผ่านวัฒนธรรมที่ เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นอิสลามที่แท้จริง ได้รู้จักสังคม ที่มีความหลายแห่ง ได้เรียนรู้ภาษานายูที่เป็นอัตลักษณ์ของ ชาวมลายู ที่สำ�คัญสิ่งที่ผมได้รับรู้คือ ความรัก ความสัมพันที่ ดีจากคนในพื้นที่ได้มอบให้กับเด็กนอกพื้นที่อย่างผม”


เสี ย งของบ ้ า น | Sounds of the South |

“พยายามเรี ย นรู้ ค วามต่ า งให้ เ ป็ น ประโยชน์ นำ�ความแตกต่างนั้นๆมาบูรณาการกับความเหมือน ที่ตัวเองมีแล้วนำ�ไปสู่การแลกเปลี่ยน”

นาย พิสิษฎ์ มะโนรัตน์

รองเลขาธิการสมาพันธ์นักศึกษารักสันติ จังหวัดชายแดนใต ้(สนสต.) เมื่ อ ชายหนุ่ ม จากภาคใต้ ต อนบนได้ เข้ า มาตั้ ง ถิ่นฐาน ทำ�งานในพื้นที่สามจังหวัด บนพื้นฐานแห่งความ หวาดระแวงที่มีอยู่แล้ว แต่เมื่อต้องเข้ามาสัมผัสจริงๆทำ�ให้ เกิดความคิดใหม่เข้ามาแทนที่ “ ตอนที่ผมยังไม่ได้มาสัมผัสในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ผมก็มีความรู้สึกเหมือนกับคนอื่นๆที่มอง พื้นที่ 3 จังหวัด ว่าเป็นพื้นที่ ที่มีความรุ่นแรงเกิดขึ้นใน ทุกๆวัน และเมื่อสื่อต่างๆรายงานถึงสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัด ยิ่งทำ�ให้ผมมีความรู้สึกที่ว่า จะมาสัมผัสพื้นที่ 3 จังหวัดเด็ดขาด แต่เมื่อผมได้เข้ามาสัมผัสและมาอาศัยใน พื้นที่ 3 จังหวัด โดยตรง ก็ทำ�ให้ผมได้รับรู้ว่า มันไม่ได้มีอะไร น่ากลัวอย่างที่ผมคิดเลย เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เกิด ขึ้นในทุกพื้นที่หรือทุกๆเวลา อย่างที่สื่อต่างๆรายงาน แต่ สำ�หรับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ� จากฝ่ายใดก็ตาม สิ่งที่เป็นผลกระทบจากสถานการณ์ คือ การสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียสภาวะความรู้สึกทางใจ ชีวติ รวมไปถึงทรัพย์สนิ เงินทอง แต่ผลกระทบทีเ่ ป็นรูปธรรม ที่ชัดเจนที่สุดของเหตุการณ์ คือความรุนแรงคือ ประชาชน”

การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสามจังหวัด “แม้ ว่ า ผมไม่ ใช่ ค นในพื้ น ที่ โ ดยตรงแต่ ผ มก็ รั บ รู้ ความรู้สึกดังเช่นคนในพื้นที่ได้ดี และผมก็อยากที่จะเข้าไป มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสามจังหวัด ผมเป็นคนนอก พื้นที่สิ่งที่ทำ�ได้คือพยายามเรียนรู้ความต่างให้เป็นประโยชน์ นำ�ความแตกต่างนั้นๆมาบูรณาการกับความเหมือนที่ตัวเอง มี แล้วนำ�ไปสู่การแลกเปลี่ยน ผมคิดว่าหากคนเราได้แลก เปลีย่ นอะไรๆด้วยกัน เช่นแลกเปลีย่ นประสบการณ์ ทัศนคติ อุดมการณ์ ความคิดและอื่นๆอีกทากมายจะนำ�ไปสู่การรับ รูข้ องคนอีกคนทำ�ให้ตา่ งคนต่างรูใ้ จ ท้ายสุดสามารถนำ�ความ สันติสุขกลับเข้ามาสู่สังคมได้ และสิ่งสำ�คัญนั้นก็คือ การคิด ดี ทำ�ดี ความดีจะช่วยยับยั้งความรุนแรง ได้มองปัญหาให้ เป็นเรื่องเล็กและอย่าคิดเล็กคิดน้อยกับเรื่องราวที่ก่อให้เกิด ความขัดแย้ง ใครดีมา เราดีตอบ ใครร้ายมาเราไม่โต้ตอบ ซึ่ง สิ่งเหล่านี้ผมเชื่อว่าทุกคนสามารถที่จะทำ�ได้ ผมคิดว่ามันก็ เป็นสิง่ ทีส่ ามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างไม่นอ้ ยเลยทีเดียว” สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ “อยากให้ ค นในสั ง คมในพื้ น ที่ ส ามจั ง หวั ด ชายแดนภาค ใต้ กลับมาเป็นเหมือนเดิม เหมือนก่อน ปี 2547 ที่ยังไม่มี สถานการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น เพราะก่อนหน้านี่การใช้ ชีวิตของคนในพื้นที่สามจังหวัดมีแต่ความสงบสุข ไม่มีเสียง

SEUSARNSANTI |

17 | FEBRUARY 2014

ปืน เสียงระเบิด และน้ำ�ตาและเสียงร้องไห้และแม้ว่าผมจะ ไม่ใช่คนในพื้นที่แต่ ณ ปัจจุบันผมปฏิเสธิไม่ได้จริงๆว่าทุก ครั้งที่มีข่าวเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นผมรู้สึกหดหู่ และเจ็บ ปวด ดังคนในพื้นที่ ผมอยากให้ความรุนแรงที่เกิดขึ้น หมด ไปจากสังคมและพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมอยาก เห็นรอยยิ้ม อยากเห็นความสุขของพี่น้องสามจังหวัดกลับ มาอีกครั้ง”

“สิ่งที่เป็นผลกระทบ จากสถานการณ์ คือการสูญ เสีย ไม่วา่ จะเป็นการสูญเสีย สภาวะความรูส้ กึ ทางใจ ชีวติ รวมไปถึงทรัพย์สินเงินทอง แต่ผลกระทบทีเ่ ป็นรูปธรรมที่ ชัดเจนทีส่ ดุ ของเหตุการณ์ คือ ความรุนแรงคือ ประชาชน”


เวทีเสวนา “สันติภาพปาตานี” ทางออกที่เป็นจริงของปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ในวันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2556

SEUSARNSANTI |

18 | FEBRUARY 2014


สื ่ อ สั ญจร | On the Way |

ผศ.ดร.สามารถ ทองเฝือ (นักวิชาการรัฐศาสตร์)

วันนี้นับเป็นโอกาสดีที่เราหลายๆท่านได้มีโอกาส รั บ ฟั ง ถึ ง ทั ศ นะคติ เรื่ อ งราวต่ า งๆในหั ว ข้ อ ที่ ตั้ ง เอาไว้ คื อ “สันติภาพปาตานี” ทางออกปัญหาชายแดนใต้ สิ่งที่น่า สนใจ ณ ตอนนี้เป็นที่รับรู้ด้วยกันว่า สถานการณ์บ้านเมือง ในปัจจุบัน รุมเร้ามากเหลือเกิน ในฐานะนักวิ ชาการใน ฐานะนักต่อสู้ไม่ใช่เฉพาะภายในประเทศแต่ในลักษณะเป็น โลกาภิ วั ฒ น์ มั น จะมี ท างออกมั น จะมี ค วามเป็ น สั น ติ ภ าพ มากน้อยแค่ไหนโดยเฉพาะโฟกัสมาสู่ปัญหาใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ หรือแม้กระทั่ง ปัญหาความขัดแย้งต่างๆที่ เกิดขึ้นในทุกมุมโลกวันนี้นับว่าเป็นโอกาสดีอย่างยิ่ง ที่ได้มี โอกาสเชิญท่าน รศ.ดร วันกาเดร์ เจ๊ะมัน ซึ่งท่านเป็นอดีต นักวิชาการ อดีตนักรัฐศาสตร์ ณ วันนี้เป็นโอกาสหาได้ยาก และอีกท่านหนึ่ง ท่าน ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม ในฐานะที่เป็น นักรัฐศาสตร์ ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องของโลกมุสลิม มีความ เชี่ยวชาญในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังกัด

อยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่านอาจารย์ทั้งสองท่านเป็น นักต่อสู้วันนี้ในมุมมองหรือในทัศนคติของทั้งสองท่าน ท่าน หนึ่งเป็นคนในพื้นที่ได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศเป็น ส่ ว นใหญ่ แ ละอี ก ท่ า นหนึ่ ง ก็ เ ป็ น คนภายในที่ อ ยู่ ท างตอน กลางของประเทศไทยแต่มีความผูกพัน ความสัมพันธ์กับ ภาคใต้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวิจัยแม้กระทั่ง ในเรื่องของสถานะทางครอบครัว เพราะท่านมีภรรยาเป็น ชาวนราธิวาส นั่นคือ ท่าน ศ.ดร จรัญ มะลูลีม จะขอชี้แจง เกี่ยวกับการแถลงในวันนี้ โดยในช่วงต้นๆจะให้ทั้งสองท่าน พูดคุยในมุมมอง หรือทัศนคติของท่านในฐานะ ที่เป็นนัก เคลื่อนไหว นักต่อสู้ หนึ่งรอบแล้วจากนั้นเมื่อพูดคุยเสร็จ ผมในฐานะผู้ดำ�เนินรายการอยากจะรับฟังคำ�ถามหรือคำ� อภิปรายจากท่านผู้เข้าร่วมเสวนาเพราะฉะนั้นแล้วเราจะ ดำ�เนินการเสวนาบนเวที บนเวทีเริ่มต้นให้ท่าน รศ.ดร.วัน กาเดร์ เจ๊ะมัน เป็นผู้พูดคนแรก และท่าน ศ.ดร.จรัญ มะลู ลีม เป็นผู้พูด ท่านพูดเสร็จแล้วท่านที่อยากจะแลกเปลี่ยน เปลี่ยนทัศนคติ มีความสนอกสนใจ ในมุมมองในอะไรต่างๆ สามารถที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านวิทยากรได้เพื่อไม่ ให้เป็นการเสียเวลาและทุกคนคงรู้จักท่านทั้งสองเป็นอย่าง ดีแล้วขอเชิญ รศ.ดร.วันกาเดร์ เจ๊ะมัน เป็นผู้พูดท่านแรก

SEUSARNSANTI |

19 | FEBRUARY 2014

ณ ตอนนี้ เ ป็ น ที่ รั บ รู้ ด้ ว ย กันว่า สถานการณ์บ้านเมืองใน ปั จ จุ บั น รุ ม เร้ า มากเหลื อ เกิ น ในฐานะนักวิชาการในฐานะนัก ต่อสู้ไม่ใช่เฉพาะภายในประเทศ แต่ในลักษณะเป็นโลกาภิวัฒน์ มั น จะมี ท างออกมั น จะมี ค วาม เป็ น สั น ติ ภ าพมากน้ อ ยแค่ ไ หน โดยเฉพาะโฟกัสมาสู่ปัญหาใน 3 จังหวัด


รศ.ดร วันกาเดร์ เจ๊ะมัน

(นักวิชาการรัฐศาสตร์)

สันติวิธี… ทางออกที่เป็นจริง “ปัญหาความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาค ใต้จะต้องแก้โดยสันติวิธี นี่เป็นหัวข้อ ที่มาจากความคิดเห็น ผมว่า การแก้ปัญหาความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาค ใต้ ผมคิดว่าเราจะต้องแก้โดยสันติวิธี การแก้ปัญหาความขัด แย้งในสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมในโลกตะวันออกหรือว่าใน โลกตะวันตก ชุมชนในสังคมนั้นๆมักจะเลือกแก้ปัญหาโดย วิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ วิธีแรกคือ การแก้ปัญหาโดยวิธีการ ใช้ก�ำ ลัง วิธที สี่ องคือ การแก้ปญ ั หาโดยสันติ วิธกี ารแก้ปญ ั หา โดยใช้ก�ำ ลังคือการแก้ปญ ั หาโดยการใช้อาวุธมาแก้ปญ ั หานัน้ คือการแก้ปัญหาโดยการฆ่ากันหรือการแก้ปัญหาโดยการ ทำ�ลายซึ่งกันและกัน ตรงกันข้ามการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ก็คือการแก้ปัญหาโดยการใช้เหตุผลใช้สติปัญญาใช้ความรู้ และความยุติธรรมเป็นหลักในการแก้ปัญหา

สำ�หรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ของเราการแก้ ปัญหาความขัดแย้งโดยการใช้กำ�ลัง กำ�ลังเป็นที่นิยมใช้กัน มาล่าสุด 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้เผชิญกับวิธีการแก้ปัญหา ความขัดแย้งโดยใช้กำ�ลังมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และจนถึง วันนี้เป็นเวลาเกือบสิบปีแล้ว ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ของเราก็ยังคงมีและยังไม่มีทีท่าว่าจะจบเราจึงจำ�เป็นจะ ต้องเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาจากวิธีการใช้กำ�ลังหรือวิธีการ ปราบปรามมาเป็นการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีเป็นวิธีการ แก้ปัญหาที่เป็นที่นิยมของชุมชนต่างๆทุกยุคทุกสมัยทั่วทุก มุมโลก สันติวิธีเป็นที่นิยมของชุมชนทุกมุมโลกเพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่แก้ปัญหาโดยสันติวิธีแสดงว่าเราล้าสมัย civilize society เขาแก้ปัญหากันด้วยวิธีนี้ผมอยู่ที่สวีเดน มา 3 ปี เขาสร้างปืน เครื่องบินรบขายคนอื่นแต่ตัวเองไม่ได้ใช้นี่เขา ฉลาดกว่าเราเยอะ นี่ที่สวีเดน และนี่ก็เป็นประสบการณ์ของ ผมทัง้ นีก้ เ็ พราะสันติวธิ สี ามารถทีท่ �ำ ให้คขู่ ดั แย้งได้รบั ชัยชนะ ทั้งคู่ ถ้าเราแก้ปัญหาโดยสันติวิธีทั้งสองฝ่ายหรือว่าหลายๆ ฝ่ายจะได้ชัยชนะทุกฝ่าย นั่นคือ ความพ่ายแพ้ จะไม่เกิดขึ้น กับคู่กรณี ทั้งสองฝ่าย หากใช้สันติวิธี ในการแก้ปัญหาความ ขัดแย้ง เราจะพูดได้ว่าสันติวิธีคือยาวิเศษ หรือ miracle medicine สำ�หรับการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม ใน กรณี ความขัดแย้งในสังคมของเราสังคมบ้านเราที่ 3 จังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส การแก้ปัญหาโดยสันติวิธี จะ

SEUSARNSANTI |

20 | FEBRUARY 2014

นำ�มาซึง่ ความมีชยั ชนะในทุกครัง้ นีค่ อื ความคิดของผม ถ้าเรา แก้ปัญหา 3 จังหวัด โดยสันติวิธี ชัยชนะจะได้แก่ทุกฝ่าย การแก้ปัญหาโดยสันติวิธี จะต้องประกอบด้วยสองเสาหลักที่สำ�คัญ เสาหลักแรกคือ เสาหลักที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐผู้ซึ่ง เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี เสา หลักที่สองคือเสาหลักของผู้เห็นต่างกับรัฐหรือกลุ่มผู้ต่อต้าน รัฐก็เห็นดีด้วยกับวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้ง มีพวกบาง กลุ่มที่ต่อต้านรัฐก็มีทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งโจมตีรัฐว่าเราต้อง แก้ปัญหา อีกฝ่ายหนึ่งก็คิดว่าควรจะแก้ปัญหาโดยสันติวิธี เพราะฉะนั้นเราควรที่จะเอาผู้ที่เห็นด้วยกับสันติวิธีมาพูดคุย กันสำ�หรับ เสาหลักแรกแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน เสาหลักแรกกลุ่มที่หนึ่ง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ ของรั ฐ ซึ่ ง มี ค วามรู้ ค วามสามารถในด้ า นทฤษฏี ต่ า งๆที่ เกีย่ วข้องกับการแก้ปญ ั หาโดยสันติวธิ ที า่ นเหล่านีจ้ ะรูด้ เี กีย่ ว กับข้อดีและข้อเสียของการแก้ปัญหาโดยสันติวิธีดังนั้นท่าน เหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะเลือกสันติวิธีเป็นที่ตั้งในการแก้ปัญหา เพราะรูด้ วี า่ การแก้ปญ ั หาโดยสันติวธิ ขี อ้ ดีขอ้ เสียเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นท่านเหล่านี้ส่วนมากจะเลือกสันติวิธีเป็นที่ตั้ง เสาหลักแรกกลุ่มที่สอง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่


สื ่ อ สั ญจร | On the Way |

“ถ้าเราแก้ปัญหาโดยสันติวิธีทั้งสองฝ่ายหรือว่า หลายๆฝ่ายจะได้ชัยชนะทุกฝ่าย นั่นคือ ความพ่ายแพ้ จะไม่เกิดขึ้นกับคู่กรณี ทั้งสองฝ่าย”

ของรัฐทีม่ ปี ระสบการณ์ตอ่ การแก้ปญ ั หาต่อความขัดแย้งเจ้า หน้าที่ของรัฐเหล่านี้จะเลือกสันติวิธีในการแก้ปัญหาความ ขัดแย้ง เพราะประสบการณ์ทำ�ให้ท่านเหล่านี้ไม่หลงทาง เพราะฉะนั้นท่านเหล่านี้จึงไม่เลือกวิธีอื่นนอกจากวิธีนี้ เสาหลักแรกกลุ่มที่สาม ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีอำ�นาจชี้ขาดว่าควรจะใช้วิธีใด แก้ปัญหาเจ้าหน้าที่รัฐที่ มีอำ�นาจชี้ขาดนี้ก็จะเลือกแก้ปัญหาโดยสันติวิธี เพราะท่าน เหล่านี้รู้ได้ว่าการใช้กำ�ลังหรือการใช้วิธีปราบปรามจะนำ�มา ซึ่งความหายนะกับทุกกลุ่มทุกฝ่าย เสาหลักแรกกลุ่มที่สี่ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รัฐผู้ซึ่ง มีงบประมาณเพียงพอสำ�หรับแก้ปัญหาความขัดแย้งในสาม จังหวัดชายแดนใต้ ท่านเหล่านี้ก็จะเลือกสันติวิธีในการแก้ ปัญหาเพราะท่านเหล่านี้ถือว่าเสียเงินดีกว่าเสียชีวิต เสาหลักแรกกลุ่มที่ห้า ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รัฐที่ มีเวลาไม่จำ�กัดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัด ชายแดนใต้ ท่านเหล่านี้จะเลือกใช้สันติวิธีเป็นวิธีหนึ่งของ การแก้ปญ ั หา ทัง้ นีท้ า่ นเหล่านีร้ ดู้ วี า่ รูแ้ น่ชดั ว่า การแก้ปญ ั หา ความขัดแย้งที่มีเวลาไม่จำ�กัดนั้นการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี เป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด สำ�หรับเสาหลักทีส่ อง ประกอบด้วยแกนนำ�ของกลุม่ ผู้เห็นต่างกับรัฐหรือกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐที่อยู่ภายนอกพื้นที่สาม

จังหวัดชายแดนใต้ กลุม่ ผูเ้ ห็นต่างเหล่านีบ้ างกลุม่ บางพวกบาง ฝ่าย เห็นว่าสันติวธิ เี ป็นวิธที จ่ี ะนำ�มาซึง่ ความสำ�เร็จในการแก้ ปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ ถ้าหากทัง้ สองเสาหลักดังกล่าว ข้างต้นสามารถร่วมมือกันสามารถมาช่วยกันแก้ปัญหา สาม จังหวัดชายแดนใต้ของเราความหวาดระแวงความเข้าใจผิด ความไม่ลงรอยกันก็จะค่อยๆคลายลดน้อยลงในทีส่ ดุ พืน้ ทีส่ าม จังหวัดชายแดนใต้ ของเราก็จะพบกับความสามัคคี และความ สงบ ชุมชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ ก็จะสามารถยกฐานะตัว เองให้เท่าเทียมกับชุมชนอืน่ ๆทัง้ ในด้านการเมือง ในด้านการ ศึกษา ในด้านเศรษฐกิจ และในด้านสังคม ในด้านการเมือง ชุมชนของเราควรจะฉวยโอกาสเล่นการเมือง เพราะในวงการ การเมือง เราจะได้มองเห็นว่านโยบายใดเหมาะสมหรือขัดแย้ง กับความต้องการของกลุ่มชนของเราหมายความว่า นักการ เมืองของเราสามารถทีจ่ ะปรับหรือแก้ไขให้นโยบาย ของรัฐ ไป ในทิศทาง ทีเ่ หมาะสมกับความต้องการได้ไม่มากก็นอ้ ย ในด้าน การศึกษาชุมชนของเราควรจะมีโอกาสหาความรูใ้ ห้กบั ตนเอง ได้โดยไม่มขี ดี จำ�กัด และในพืน้ ที่ ของเราควรจะมีสถาบันการ ศึกษาทีโ่ ดดเด่นในด้านคุณภาพไม่แพ้ในสมัยอดีตกาล ซึง่ พืน้ ที่ สามจังหวัดแห่งนีเ้ ป็นศูนย์ การศึกษาทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั กันทัว่ โลก ในด้านเศรษฐกิจ ชุมชนของเราน่าจะสามารถสร้างพืน้ ที่ สามจังหวัดให้เป็นหนึง่ ของศูนย์เศรษฐกิจระดับอาเซียนเราควรจะสร้างความก้าวหน้า

SEUSARNSANTI |

21 | FEBRUARY 2014

ในด้านเศรษฐกิจ ให้เหมาะสมกับความต้องการของชุมชนของ เราและชุมชนของอาเซียนนอกจากนั้นเราจะต้องรอบรู้และ เท่าทันกับระบบการเปลีย่ นแปลงของเศรษฐกิจระดับโลกด้วย ในด้านสังคมชุมชนของเราจะต้องสร้างสังคมที่มีความเจริญ รุง่ เรือง สังคมทีฝ่ รัง่ เรียกว่า civilize society สังคมทีไ่ ม่ตก เป็นเครือ่ งมือของผูอ้ น่ื และสังคมทีส่ ามารถชีช้ ะตาของตนเอง อีกประการหนึง่ ชุมชนในพืน้ ทีส่ ามจังหวัดชายแดนใต้ของเรามี ความสามารถในด้านภาษาเพิม่ ขึน้ อีกด้านหนึง่ คือชุมชนของ เราสามารถพูดและเขียนได้หลายภาษา เช่น ภาษาไทย ภาษา มลายู ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ และบางคนก็สามารถพูด ภาษาสวีเดน และภาษาเยอรมันอีกด้วย ความสามารถดังกล่าว ข้างต้นจะต้องถือว่าชุมชนในพืน้ ทีส่ ามจังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ของเรามีความสามารถเฉพาะด้านไม่น้อยห น้าใคร ถึงเวลาแล้วทีช่ มุ ชนของเราในพืน้ ทีส่ ามจังหวัดจะต้อง แข่งขันจะต้องพยายามและจะต้องยกฐานะของชุมชนเราให้ เท่าเทียมกับชุมชนอืน่ ๆในโลกทีไ่ ร้พรมแดนยุคนีเ้ มือ่ ถึงวันนัน้ เมือ่ ถึงเวลานัน้ ความขัดแย้งทีเ่ ราเคยมี ความยากจนทีเ่ ราเคย ประสบ ความไม่เท่าเทียมกัน ทีเ่ ราเคยรูส้ กึ ก็จะค่อยๆคลาย สิง่ ทีม่ าแทนทีก่ ค็ อื ความร่วมมือร่วมใจ ความอยูด่ กี นิ ดี ชุมชน ของเราก็จะเป็นชุมชนทีม่ คี วามรับผิดชอบ จะเป็นชุมชนทีม่ อง การไกล และจะเป็นชุมชนทีม่ คี วามเชือ่ มัน่ ว่าไม่มสี ง่ิ อืน่ ใดทีจ่ ะ มีความเจริญความสำ�คัญมากยิง่ ไปกว่าชีวติ และสันติภาพ


ศ.ดร.จรัญ มะลูมีม (นักวิชาการรัฐศาสตร์)

ปัญหาภาคใต้ ในมุมมองของผม กับมุมมองของ ดร.วัน ซึง่ ผมเห็นว่า มุมมองของผมทุกคนคงจะพอรับรูแ้ ต่มมุ มองของ ดร.วัน ซึง่ ปรารถนาให้ทกุ คนเรียกว่า วันกาเดร์ เป็น ประธานขบวนการเบอร์ซาตู มาก่อนและเป็นอดีต ขบวนการ แกนนำ� แนวร่วมอิสลามปลดแอกปัตตานีหรือเรียกว่า IPP ที่สำ�คัญ ก็คือท่านเป็น รองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย อิสลามนานาชาติมาเลเซีย ในคณะรัฐศาสตร์ ถือว่าเป็นบุคคล สำ�คัญเป็นทรัพยากรบุคคลทีอ่ ยูห่ ลายประเทศมาก มีชวี ติ ทีผ่ ก พัน น่าสนในพีช่ ายผม ศ.ดร. อิมรอน มะลูลมี บอกว่าเป็น เพื่อนกับ ดร. วันกาเดร์ สมัยที่อยู่กรุงไคโร ประเทศอิยิปต์ ดร. วัน เป็นคนที่ชอบเล่นฟุตบอลมากแล้วท่านก็เป็นทหาร อยูส่ หรัฐอเมริกา เรียนทีป่ นี งั เรียนทีอ่ อสเตรเลีย แล้วก็เรียนที่ สหรัฐด้วย ชีวติ ของดร.วันกาเดร์ เป็นชีวติ ของคนชาวใต้ โดย เฉพาะสามจังหวัดชายแดนใต้ เป็นมาเลย์-มุสลิม ทีม่ โี อกาสได้ เห็นโลกกว้าง จะเห็นขบวนการต่างๆ

โดยเฉพาะในสวีเดนครั้งหนึ่งผมมีนัดกับ ตวนกูบีรอ กอตอ นีลอ วันนัน้ ไปกับ อาจารย์ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สมัยทีก่ �ำ ลัง มีปญ ั หากันเยอะว่า ความรุนแรง ในภาคใต้ ความจริง PULO ยังมีสว่ นร่วมอยูห่ รือไม่ แต่วา่ เป็นนัดทีผ่ ดิ พลาดพลัดพลาดกัน นิดเดียวไปเจอแต่ขบวนการอาเจ๊ะห์เสรีเคลื่อนไหวที่สวีเดน เพราะสวีเดน เขานิยมให้นักต่อสู้ไปอยู่ท่นี ่นั แต่เขานิยมให้ ต่อสู้โดยสันติวิธี รวมทั้งอาเจ๊ะห์เสรีด้วยอีกไม่ก่ปี ีต่อมาไปที่ ซีเรีย เพือ่ ทีจ่ ะพบว่า คนทีผ่ มอยากเจอมากทีส่ ดุ เพราะว่าเคย อยูบ่ า้ นเดียวกันในสมัยเด็กๆก็ปรากฏว่าขณะทีไ่ ปเยือนทีห่ ลุม ฝังศพ ซอลาฮุดดีน หรือ ครูทผูย้ ง่ิ ใหญ่ ทีเ่ อาชนะสงครามครู เสดนัน้ มีคนบอกผมว่า ตวนกูบรี อ กอตอนีลอ นัน้ ได้มาจบ ชีวติ ลงในซีเรีย เรียบร้อยแล้ว ตอนนัน้ ผมอยูท่ ซ่ี เี รีย ก็ได้รบั ทราบว่าในระยะหลัง กระบวนการทีล่ กุ ขึน้ มาต่อสูก้ บั อำ�นาจ รัฐเป็นกระบวนการทีห่ ลากหลาย มากขึน้ พูโลเริม่ ลดบทบาท ลงแม้วา่ จะมี พูโลใหม่ตามมาก็ตาม ฉะนัน้ ในการพูดคุยกับ คนทีอ่ ยูใ่ นเหตุการณ์คนทีผ่ า่ นประสบการณ์ได้เห็นการเปลีย่ น ผ่านในภาคใต้ของไทยนัน้ สำ�คัญมาก แล้วก็มชี ว่ งวันเวลาของ ชีวติ ทีน่ า่ สนใจ ใน วัย 72 ปีของ ดร.วันกาเดร์ เป็นวัยทีเ่ รียก ว่าชีวติ ตกผลึกแล้ว และในทีส่ ดุ ท่านก็เลือกว่าวิธกี ารทีด่ ที ส่ี ดุ ซึง่ จะนำ�เอาสันติภาพมาสูผ่ คู้ นในจังหวัดภาคใต้กค็ อื แนวทาง แห่งสันติวธิ ี ยัสเซอร์ อาราฟัด ต่อสูม้ ายาวนาน ตัง้ แต่สมัย เป็นอบูญฮิ าด เริม่ ขบวนการใน อิยปิ ต์ ระยะหลังเริม่ รูว้ า่ ลูก หลานที่สูญเสียชีวิตนั้นเป็นเด็กอายุน้อยๆ ความผิดไปนั้น

SEUSARNSANTI |

22 | FEBRUARY 2014

ถูกตอบโต้เพิม่ มากขึน้ แม้วา่ จะขมขืน่ แค่ไหนก็ตาม ในทีส่ ดุ ตัดสินใจใช้หลักเจรจาแต่การเจรจาใดๆ ถ้ามันเป็นสันติภาพ ที่ ปราศจากความยุตธิ รรม มันก็ไม่ส�ำ เร็จ อันนีร้ ฐั ไทย ต้องคำ�นึง ให้มากเช่นเดียวกันแม้วา่ จะมีความปรารถนาดีกต็ ามในสังคม ใดก็แล้วแต่ทม่ี ผี คู้ นไม่รบั ความยุตธิ รรมไม่สามารถใช้ชวี ติ ตาม ระเบียบประเพณีท่ผี ้คู นเติบโตมารัฐหรือว่าการพยายามที่จะ ใช้ความผสมกลมกลืนทั้งหลายต้องสรุปบทเรียนให้ได้รวมทั้ง บรรดา ผูค้ า้ ขาย ความมัน่ คง ทัง้ หลายแหล่ โดยต้องให้ความ จริงใจ ให้การรับฟังคนในพืน้ ทีอ่ ย่างแท้จริง จากการพูดคุย กับ ดร. วันกาเดร์ วันนัน้ ผมเอาสิง่ ที่ ดร. วันกาเดร์ พูดไว้มาแสดง อีกครัง้ หนึง่ สำ�หรับพีน่ อ้ งทีอ่ ยูท่ น่ี ว่ี า่ นอกจากข้อเสนอวันนีแ้ ล้ว ดร.วัน มีขอ้ เสนอ หลายด้านในการพูดคราวทีแ่ ล้ว คือ หนึง่ ดร.วัน มีความคิดเห็นว่าการแบ่งแยกดินแดนสมัยนีเ้ ป็นไปไม่ ได้แล้วทุกกลุม่ ชนพยายามจะรวมกันแต่การแบ่งแยกปัตตานี ออกไปขณะนีค้ งทำ�ไม่ได้ ฉะนัน้ หนทางการแก้ไขก็คอื การแก้ ปัญหาด้วยสันติวิธี อันเป็นการแก้ไปที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ เป็นวิธกี ารทีท่ ว่ั โลก ให้การยอมรับแต่ทผ่ี มพูดว่าขบวนการไป สูส่ นั ติภาพนัน่ มันมีขบวนการเยอะมากโดยเฉพาะ เรือ่ งความ ยุตธิ รรม ดร. วัน มีความคิดเห็นว่า การส่งทหารลงไปภาคใต้นน้ั เป็นเรือ่ งปกติของรัฐ แต่มคี �ำ ถามว่าส่งทหารไปทำ�อะไร หากไป ปราบปราม อย่างเดียวเป็นวิธกี ารทีผ่ ดิ และการส่งกำ�ลังทหาร ไปนัน้ ไม่ใช่วธิ กี ารแก้ปญ ั หาสำ�หรับการเจรจา และการพูดคุย ดร.วัน มีความคิดว่า การพูดคุยนัน้ มีทง้ั ทางบวกและทางลบ


สื ่ อ สั ญจร | On the Way |

“การแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี อันเป็นการแก้ไปที่ทุก ฝ่ายให้การยอมรับ เป็นวิธีการที่ทั่วโลก ให้การยอมรับ”

ขึน้ อยูก่ บั พฤติกรรมและเทคนิคของการเปิดเวทีพดู คุย แล้ว ก็มองว่า การพูดคุย ทีผ่ า่ นมายังไม่ถกู ต้อง มีผลลบมากกว่าผล บวกยกตัวอย่างเช่น ในขณะทีม่ กี ารพูดคุยซึง่ นายกทักษิณ ชิน วัตร ไปทีก่ รุงกัวลาลัมเปอร์ ตอนนัน้ ได้เชิญกลุม่ ผูน้ �ำ ไป สิบ หกคน แต่สง่ิ ทีต่ ามมา สองอย่างทีถ่ อื ว่าเป็นการผิดพลาด คือ หนึง่ คนแปลภาษามลายู แปลจากไทย เป็นภาษามลายูไม่ถกู ต้อง ประการทีส่ อง เวลาเข้าพบฝ่ายไทย ให้เข้าพบ แค่ หกคน มันไม่ถูกต้อง แล้วก็ท้ายที่สุด นำ�ไปสู่ความรุนแรงความเจ็บ แค้น ดังทีเ่ กิดเหตุในยะลาและ หาดใหญ่ ดังนัน้ ในทัศนะ ของ คนทีเ่ คยอยูใ่ นสถานการณ์ ทัง้ หลายแหล่อย่าง ดร. วันมีความ เห็นว่าการพูดคุยหรือการร่วมพูดคุยทุกคนโดยเฉพาะคนทีอ่ ยู่ ในองค์กรแต่วา่ ปัจจุบนั การพูดคุยไม่ใช่คยุ กับผูท้ ม่ี อี �ำ นาจจริง ทีส่ ามารถหยุดปฏิบตั กิ ารของผูท้ อ่ี ยูใ่ นพืน้ ทีไ่ ด้ ฉะนัน้ การพูด คุยถ้าเอาทัศนะของ ดร.วัน ไม่จำ�เป็นต้องที่มาเลเซียก็ได้แต่ อาจเป็นทีส่ รุ าษฎร์ธานี อุดรธานี ก็ได้เช่นเดียวกันภาคใต้ตอน ล่างทุกวันนีก้ ลุม่ ทีแ่ ยกออกมาไม่มอี ดุ มการณ์ทช่ี ดั เจนบางครัง้ เป็นกลุ่มที่มีความเจ็บแค้นจากสถานการณ์ท่เี กิดขึ้นกลุ่มที่มี ความเคลื่อนไหวอาจเป็นกลุ่มเล็กๆที่สังคมอาจไม่เคยเอ่ยถึง พวกเขาเลยก็ได้ ทีส่ �ำ คัญก็คอื กลุม่ ทีต่ อ่ ต้านรัฐทีต่ อ่ สูอ้ ยูใ่ ต้ดนิ คิดไม่เหมือนกับกลุ่มที่อยู่บนดินอยากที่จะเข้าในกันได้ฉะนั้น การทำ�งานเพือ่ แก้ไขความขัดแย้งในภาคใต้นน้ั แม้วา่ ดูเหมือน ว่าหลายครั้งด้วยกันประสบความสำ�เร็จแต่ท่ไี ม่ประสบความ สำ�เร็จก็มีเช่นอันนี้ต้องแก้ไขคือรัฐไทยยังใช้การปราบปราม

เป็นหลักประชาชนในพื้นที่ไม่ยอมรับการแก้ปัญหาด้วยการ ปราบปรามประชาชนส่วนน้อย อาจเห็นด้วยแต่คนส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยการแก้โดยสันติวธิ ไี ม่สามารถบอกได้วา่ ใช้วธิ กี ารใด แต่ ส่ิง สำ � คั ญ ก็ คือ ควรเปิ ด ให้ มีเวที ก ารพู ด คุ ย หา ทางออกโดยไม่ตอ้ งใช้ ระเบิด ใช้ปนื แต่ให้ใช้ความรูใ้ ห้ชยั ชนะ ของความรู้เป็นตัวตัดสิน หลักการแก้ปัญหาต้องแก้ปัญหา ร่วมกันระหว่างภาครัฐกับผูท้ เ่ี ห็นต่างไม่ใช่เจ้าหน้าทีข่ องรัฐแก้ อยูฝ่ า่ ยเดียวต้องให้ผเู้ ห็นต่างมาแก้ไขปัญหาด้วย ซึง่ คนเหล่า นี้ก็มีสองกลุ่ม คือ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่เห็นด้วยกับสันติวิธีใน ขณะทีอ่ กี กลุม่ ไม่เห็นด้วยมาแก้ปญ ั หาร่วมกันอันนีจ้ ากทีท่ า่ น พูดมาเมื่อสักครู่ข้อเสนออื่นๆก็คือว่าเราต้องมีองค์กรหนึ่งที่ ชี้แนะร่วมกันได้ต้องแม่นยำ�ว่าบุคคลใดหรือกลุ่มใดองค์กรใด ทีก่ �ำ ลังมีบทบาทอยูใ่ นความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนใต้ ต้องมีองค์กรที่เป็นคล้ายๆแนวสันติบาลที่สามารถชี้ได้ว่าใคร เป็นตัวจริงอย่าไปพูดกับคนอื่นที่มิใช่ตัวจริงต้องเอาคนที่เป็น ตัวจริงมาคุยด้วยมิเช่นนั้นจะเสียเวลาเปล่าแต่เรื่องที่จะเอามี สันติบาลที่แท้จริงออกพูดด้วยนั้นมันมีปัญหาเพราะคนเหล่า นี้ทำ�งานอยู่ใต้ดินเราจึงต้องเอากลไก อื่นมาช่วยชี้นำ�เอาคน ใต้ดนิ ทีค่ ดิ ว่าเราควรจะแก้ปญ ั หาโดยสันติวธิ ี มาช่วยชี้ ให้เรา ว่าใครเป็นผูม้ อี �ำ นาจอยูเ่ บือ้ งหลัง มันยากแต่ยากอย่างไรก็คง ต้องใช้ความพยายาม ดร.วันสรุปไว้วันนั้นว่าเขามีความหวัง และอยากจะเห็นปัตตานีดารุสซาลาม หรือ ทีเ่ รียกว่า ปัตตานี แห่งสันติสุขที่ทุกคนอยู่ร่วมกันมีความสุขเหมือนจังหวัดอื่น

SEUSARNSANTI |

23 | FEBRUARY 2014

ของราชอาณาจักรไทย แล้วเขาก็กล่าวอีกเช่นกันว่า การทีเ่ รา จะเรียกร้องกลุม่ จูแวมาพูดในบ้านเราต้องใช้คนจูแวด้วยกันไป ชักจูง คนจูแวเห็นพ้องโดยในการแก้ปญ ั หาเหมือนกันก็เลือก คนเหล่านี้มาช่วย ช่วยหาทางเพราะว่า มันถึงเวลาแล้วที่จะ แก้ปญ ั หาด้วยสันติวธิ แี ก้ปญ ั หาด้วยเหตุผล ไม่ใช่ความรุนแรง ดร.วัน ได้โค้ด คำ�พูดคำ�ว่า “ถ้าผมจะบอกเขาเขาก็ไม่คอ่ ยเชือ่ บอกเขาว่าการใช้กำ�ลังแก้ปัญหาจะมีแต่แพ้กับแพ้แก้ปัญหา ด้วยสันติวธิ จี ะมีแต่ชนะกับชนะไม่มใี ครแพ้ถา้ แก้ปญ ั หาแบบใช้ กำ�ลังคนทีแ่ พ้มากทีส่ ดุ คือพวกจูแวเพราะอาวุธของพวกเขายัง ไม่มากพอ” พร้อมกับแนะนำ�ต่อไปอีกว่าในการพูดคุยระหว่าง รัฐกับในองค์กรนั้นอย่าให้ความสำ�คัญกับองค์กรใดองค์กร หนึ่งต้องให้ความสำ�คัญกับทุกกลุ่มในท้ายที่สุดเมื่อกล่าวถึง เหตุการณ์ตากใบก็มกี ารสรุปกันว่าเจ้าหน้าทีไ่ ทยโดยส่วนรวม ยังไม่คอ่ ยเปลีย่ นวิธคี ดิ ต่อการปกครองพีน่ อ้ งชาวมลายูนบั จาก ทีเ่ หตุการณ์ทส่ี ะพานกอตอมาถึง เหตุการณ์ตากใบ ซึง่ เป็นการ ตอกย้�ำ วิธคี ดิ ของรัฐไทยคำ�ๆหนึง่ ที ดร. วันจบลงและสะเทือน ใจของพวกเราทุกคนก็คอื ว่าคนบางกลุม่ มองคนมลายูวา่ เป็น บุคคลชัน้ สามทัง้ หมดนีค้ อื สิง่ ทีผ่ มสรุปได้จาก ดร .วันได้รว่ ม อภิปรายซึง่ ผมให้ความสำ�คัญกับการคิดของคนทีเ่ ติบโตได้เห็น ได้ผา่ นได้ศกึ ษาประสบการณ์จากความเป็นจริงของสังคมและ วันนีด้ ร.วัน กลับมาสานความฝันในอดีตสันติสขุ ความเข้าใจ การอยูร่ ว่ มกันและการทีค่ นทีน่ ม่ี ศี กั ดิศ์ รีเช่นเดียวกับคนทีอ่ น่ื


“ กิจกรรมเสวนา “สันติภาพปาตานี” ทางออกทีเ่ ป็นจริงของปัญหาจังหวัด ชายแดนใต้เป็นประโยชน์อย่างมากในการสร้างความเข้าใจให้กับนิสิต นักศึกษา ภาคประชาสังคม และประชาชนต่อกระบวนสร้างสันติภาพให้เกินขึ้น ภายใต้ แนวคิดปฏิเสธความรุ่นแรงทุกรูปแบบและยอมรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุ วัฒนธรรม ฝ่ายให้การยอมรับ เป็นวิธีการที่ทั่วโลก ให้การยอมรับ”

ภาพบรรยากาศภายในงาน “กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการสมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้” เมื่อวันที่ 22-25พฤศจิกายน 2556

SEUSARNSANTI |

24 | FEBRUARY 2014


สื ่ อ สั ญจร | On the Way |

ผศ.ดร.สุใจ ส่วนไพโรจน์ ผู้เข้าร่วม

นางสาวคอลีเยาะ หะหลี ผู้เข้าร่วม

นายอภิสิทธิ์ ฤทธิพล ผู้เข้าร่วม

จากการรวมตัวของสมาพันธ์นักศึกษาผู้รักสันติใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการจัดงานที่นักศึกษาผู้ที่มี โอกาสศึกษาในอุดมศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ความสำ�เร็จหรือ ความล้มเหลวในการใช้ชีวิตในการต่อสู้ผู้ผ่านประสบการณ์ อย่างอย่างยาวนาน อย่าง รศ.ดร.วันกาเดร์ เราได้ข้อคิดที่ น่าสนใจในหลายๆคำ�พูดหลายๆคำ�ตอบที่ท่านได้พยายาม ตอกย้ำ�พวกเราว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่เราคำ�ตอบเดียว ที่จะทำ�ให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุขและเต็มไปด้วยความ สำ�เร็จก็คือการอยู่กับความสงบ ความสงบตรงนี้ท่านหมาย ถึงว่าเราจะจัดอะไรก็ตามจะดำ�เนินการยังไงก็ตามเราต้อง คำ�นึงเรื่องความสุขของผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ด้วยไม่ว่าจะมีการ เจรจาหรือมีการเสวนามีการเยียวยาอะไรก็ตามคนที่เข้า มาเกี่ ย วข้ อ งควรจะรู้ ว่ า ควรทำ � อย่ า งไรก็ อ ยากฝากให้ ผู้ ที่ เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานของภาครัฐ ขอให้เห็นว่า ความสุข สงบที่แท้จริงต้องมาจากหัวใจ สันติภาพที่เริ่มมาจากความ จริงใจและพระเจ้าจะเมตตาดูแลปกป้องคุณทั้งโลกนี้และ โลกหน้า

ปั ญหาบ้ านเราเป็ น ปั ญหาสมควรที่ จ ะยกระดั บ แล้วถ้าเรามานั่งแต่พูดคุยแบบนี้เราไม่มีข้อสรุปในการที่เรา จะหาทางออกของบ้านเมืองเราได้ ควรที่จะยกระดับขึ้นมา เพื่อให้การพูดคุยเพื่อสันติภาพเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา เราพูด จนเป็นนามธรรมไปแล้ว เราอยากให้เป็นรูปธรรม คือต้อง แก้ปัญหาที่ต้นต่อของปัญหา เรามีกลุ่มก่อความไม่สงบที่ อยู่ในพื้นที่ แล้วเราเองไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น นอกจากส่งกำ�ลังเข้ามา เพราะฉะนั้นเมื่อกลุ่มผู้ก่อความไม่ สงบเผชิญหน้ากับผู้ที่เข้ามารักษา รักประเทศชาติ เข้ามา ดูแลพี่น้องประชาชนพอมีการเผชิญหน้า ต่างฝ่ายต่างก็มี กำ�ลังอยู่ในมือมีอาวุธสุดแล้วก็ทำ�ให้การเผชิญหน้าเกิดความ รุ่นแรงแล้วก็นำ�มาสู่ความรุ่นแรงมากขึ้นแพงขึ้น ทำ�ให้มีผู้ ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นซึ้งสิ่งนี้สมควรที่จะนำ�มาพูดอย่าง จริงจังและพูดให้เป็นรูปธรรมสักที เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีเด็ก กำ�พร้า หรือหญิงหม้ายเพิ่มขึ้น ดังนั้นนักศึกษาเป็นกำ�ลัง ของชาติ ในอนาคตอยากจะเห็นน้องๆนักศึกษาที่มีความคิด สร้างสรรค์ในสันติภาพ เกิดขึน้ ในพืน้ ทีเ่ ยอะๆ วันนีเ้ ราได้เห็น แล้วว่ากิจกรรมทีน่ อ้ งๆนักศึกษาริเริม่ ทำ�เป็นสิง่ ทีม่ ปี ระโยชน์ อย่างมากต่อพื้นที่ เพราะว่าลำ�พังองค์กรหรือว่าหน่วยงาน ต่างๆที่จะเข้ามาทำ�หน้าที่อาจจะมีบางอย่างที่เป็นเกราะ ทำ�ให้ไม่สามารถพูดคุยได้ทุกเรื่องแต่ว่าอาศัยน้องๆนักศึกษา เป็นตัวเชื่อมก็ถือใช้ได้ ก็อยากให้น้องๆทำ�ต่อมันเป็นเวที สมควรสนับสนุนให้มีเวทีแบบนี้บ่อยๆโดยเฉพาะลงไปถึง พื้นที่ด้วย อยากให้เปิดเวทีระดับชุมชนด้วย เพราะเราจะได้ กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้น

เป็นเวทีที่ดีมาก เพราะเป็นเวทีในการพูดคุยใน หลายๆกลุ่มมาคุยพูดกัน คือ อย่างน้อยทำ�ให้คนส่วนหนึ่ง ที่ไม่มีโอกาสได้พูด ได้สะท้อนได้ระบาย การเข้ามาพูดคุย หันหน้ามาคุยกันเป็นสิ่งที่ทำ�ให้เราลดความรู้สึก ความไม่ สบายใจ ความระหวาดระแวงลดลง แล้วทำ�ให้เราสามารถ รู้ ว่ า คู่ ต่ อ สู้ ข องเราต้ อ งการอะไรแล้ ว ประชาชนส่ ว นหนึ่ ง ต้องการอะไร เป็นพื้นที่ที่ทำ�ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น อย่างเป็นประชาธิปไตย

นางสาวนูรอัยนี หะยีวามะ ผู้เข้าร่วม วั น นี้ รู้ สึ ก ดี ที่ ไ ด้ เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรม เวที เ สวนา “สันติภาพปาตานี” เพราะเป็นเวทีที่เกี่ยวกับบ้านของเรา ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และดีฉันเองก็เป็นคนจังหวัด ยะลามีความจำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ถึงเรื่องปัญหาในสาม จังหวัดและวันนี้ดิฉันก็ได้ความรู้มากมายจากเวทีแห่งนี้ โดย เฉพาะคำ�ว่า “สันติภาพ”

“นั ก ศึ ก ษาเป็ น กำ � ลั ง ของชาติ ในอนาคตอยากจะเห็ น น้ อ งๆ นักศึกษาที่มีความคิดสร้างสรรค์ ในสันติภาพ เกิดขึน้ ในพืน้ ทีเ่ ยอะๆ วันนี้เราได้เห็นแล้วว่ากิจกรรมที่ น้องๆนักศึกษาริเริม่ ทำ�เป็นสิง่ ทีม่ ี ประโยชน์อย่างมากต่อพืน้ ที”่

SEUSARNSANTI |

25 | FEBRUARY 2014

นายนฤพนธ์ กันรี ผู้เข้าร่วม วันนี้รู้สึกดีใจที่ได้มาฟังที่หลายๆคนมานำ�เสนอ รู้สึกประทับ ใจ เพราะเราเองไม่เคยมีโอกาสได้รู้จักกับกลุ่ม Bersatu หรือ กลุ่ม Polo พอมาเห็นแล้ววันนี้ก็มีความรู้สึกว่าอยาก รู้จักกับกลุ่มอื่นๆบ้างอย่างน้อยก็จะได้รู้ว่ามุมมองความคิด แล้วก็อุดมการณ์ของเขาที่เขาก็ตั้งสร้างตัวขึ้นมา เขามีจุด ประสงค์หรือเป้าหมายอะไร แล้วอะไรเป็นเหตุจูงใจและ แรงบันดาลใจที่ทำ�ให้เขาได้ก่อกลุ่มที่เป็นความรุนแรงจาก อดีตจนถึงปัจจุบัน


น้ำ�ตานกพิราบ

เรื่อง : ฟูอัด ชีวิตวิทยา ข่าวด่วนเมื่อเวลา05.00น. เจ้าหน้าที่ต�ำ รวจได้รับ แจ้งเหตุว่า พบศพถูฆ่าตายในสวนยาง เมื่อเจ้าหน้าที่ลงไป ตรวจสอบ พบศพสองสามีภรรยาชาวไทยพุทธ ถูกยิงเสีย ชีวิตในสวนยาง คาดว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ของกลุ่ม ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้… เบื่อจริงจริ๊ง! กับข่าวสามจังหวัดชายแดนใต้ มีได้ ไม่เว้นวัน แต่กช็ า่ งเหอะ มันไม่ใช่เรือ่ งของข้านิ๊ จะไปสนทำ�ไม แต่ขา้ ก็แอบหวัน่ ๆนะ เพราะข้าก็ท�ำ อาชีพกรีดยางเหมือนกัน แต่คงไม่เป็นไรหรอกมั๊ง เพราะคนที่ถูกฆ่าคือไทยพุทธนิ๊ เขา คงไม่ทำ�อะไรคนมุสลิมหรอกเน๊อะ (ณ ร้านน้ำ�ชาแห่งหนึ่งใน3จังหวัดชายแดนใต้) เปาะมะ แกดูข่าวไหมวันนี้ ได้ข่าวว่าระเบิดที่ตลาดนัดใน เมืองยะลาน่ะ ตายหลายรายเลยล่ะ ไม่ว่าจะเป็นทหาร ชาว บ้านไทยพุทธและมุสลิมด้วย ไอ้แว แกจะมาบอกข้าทำ�ไม ข้าเบือ่ จนไม่อยากฟังแล้วล่ะข่าว ภาคใต้ มันจะระเบิดจะยิงกันที่ไหนก็ช่างมันเหอะ ไม่ใช่เรื่อง ของข้า! แค่ข้าไม่โดนลูกหลงก็พอล่ะ (เปาะมะเอ่ยตอบด้วย สีหน้าที่เอื่อมระอาเต็มทน) สำ�นักงานข่าวไทยได้รายงานว่า ช่วงเย็นของวันนี้ ทางรัฐบาลได้ส่งตัวแทนมอบเงินเยียวยา แก่ครอบครัวของผู้ ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต จากเหตุการณ์ระเบิดเมื่อเช้านี้…

เหอะๆ อิจฉาจังว่ะ เขาคงได้รับเงินเยียวยาเยอะ แน่ (เปาะมะเอ่ยบอกเปาะแว ขณะนั่งดูข่าวพลางจิบน้ำ�ชา) เปาะแวตอบกลับมาด้วยน้ำ�เสียงเศร้าๆว่า เงินมากมายแค่ ไหน ก็ไม่สามารถทดแทนคนรักที่สูญเสียไปได้หรอกนะ หรอว่ะ(เปาะมะตอบกลับด้วยสีหน้าที่เฉยชา) วันรุ่งขึ้นช่วงเวลาสายๆ หลังจากที่เปาะมะและ ภรรยากลั บ มาจากการกรี ด ยาง ภรรยาของเขาได้ ห ยิ บ ตะกร้า เดินออกไปจ่ายตลาดซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านนัก ส่วน เปาะมะได้จูงแพะไปในสวนหลังบ้าน ไอ้ขาวข้าจะผูกแกไว้ท่ีนี่นะ หญ้าดูอวบๆดี เมื่อ เปาะมะผูกแพะไว้กับต้นไม้เสร็จ ก็เดินไปนั่งพักเหนื่อยใต้ ต้นไม้ใหญ่ แกเอนตัวนั่งลงไม่ทันจะถึงพื้น ก็มีเสียงกัมปนาท ดังสนั่นหวั่นไหว 2 ครั้งติดต่อกัน ห๊า! นี่มันเสียงอะไรน่ะ ระเบิดแน่ๆ เสียงดังมาจาก ตลาดนิ๊ เสร็จกัน! เมียข้าเพิ่งออกไปจ่ายตลาดนิ๊ เปาะมะรีบ วิ่งหน้าตาตื่นกลับบ้าน ถอยรถจักยานยนต์เก่าๆของตนออก มา แล้วรีบบิดคันเร่งตรงไปยังตลาดทันที โดยไม่สนใจว่าจะมี ระเบิดตามมาอีกหรือเปล่า ด้วยเพราะความเป็นห่วงภรรยา เมื่อเขาไปถึง ภาพที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าคือ เศษ ข้าวของกระจัดกระจายเรีย่ ราด มีหลุมโหว่เล็กใหญ่ทว่ั บริเวณ เขาเดินเข้าไปกวาดสายตามองหาภรรยา เขาเหลือบไปเห็น ร่างหนึง่ นอนแน่นง่ิ จมกองเลือดสภาพเละดูไม่ได้ และมีอกี ร่าง หนึง่ นอนร้องดิน้ ทุรนทุรายอวดโอยอยูใ่ กล้ๆกับร่างแรก เขาทัง้ คูเ่ ป็นทหารในชุดสีเขียว ห่างจากนัน้ ไม่กเ่ี มตร มีผหู้ ญิงร่างใกล้ เคียงกับภรรยาเขา นอนคว่�ำ หน้ามีเลือดเปือ่ นทัง้ ตัว เปาะมะ เห็นแล้วตกใจ จึงรีบวิง่ ตรงดิง่ ไปยังร่างนัน้ ทันที

SEUSARNSANTI |

26 | FEBRUARY 2014

เขาพลิกร่างมาดูหน้ากลับไม่ใช่ภรรยาของตน เขา โล่งอกได้เพียงไม่กี่อึดใจ ก็เหลือบไปเห็นมือโผล่ออกมาจาก ซากไม้ที่ทับถมกัน “ แหวนที่นิ้วมือซ้ายนั่น!!! แหวนแต่งงาน ที่ข้าสวมให้เมียข้านิ๊………ไม่!!! ” จริ ง อย่ า งที่ ไ อ้ แ วมั น บอกไว้ เงิ น เยี ย วยาอั น มากมายนี้ มันแทบไม่มีค่าเลย เมื่อเทียบกับคนรักของข้าที่ เสียไป ข้าเพิ่งได้เข้าใจความรู้สึกของผู้สูญเสียก็วันนี้แหละ จากแต่ก่อนข้าไม่เคยสนใจใยดีแก่ผู้ที่สูญเสียเลยแม้แต่น้อย และข้าเพิ่งเข้าใจว่า ปัญหาความไม่สงบในสาม จังหวัดชายแดนใต้ มันก็คือปัญหาของข้าเช่นเดียวกัน ไฟมัน ลุกโขนในบ้านของข้าแท้ๆ แต่ข้ากลับคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องของ ข้า เพิ่งมาเข้าใจก็ต่อเมื่อ ไฟมันได้คร่าชีวิตของเมียข้าไปแล้ว ปัญหาคือสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมกันแก้ไข เราไม่ควร อคติหรือเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องเปิดใจรับฟังทุกด้าน แล้วเลือกทำ�สิ่งที่ถูกต้อง

“ปั ญ หาเกิ ด มาแล้ ว เกิ ด 10ปี มี ผู้ สู ญ เสี ย จากเหตุ ก ารณ์ เ ป็ น หมื่ น เป็ น พั น แค่ นี้ ยั ง ไม่ ม ากพออี ก หรื อ ? หรือว่าผู้ที่สูญเสียยังไม่ใช่คนที่คุณรัก”


ก่อน | Sunshine |

ลดอคติ เพื่อสร้างพื้นที่กลาง เรื่อง : เจ้เหรียง

เคยสงสัยและตั้งคำ�ถามว่า เมื่อมนุษย์ทุกคนแตก ต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ หรือแม้กระทั้งความคิด ทำ�ไมเมื่อ มนุษย์หันหน้าคุยกันในเรื่องที่คิดต่าง ผลสรุปของการพูด คุยถึงแบ่งออกเป็น2แบบจากคนสองจำ�พวกคือ แบบที่หนึ่ง ทั้งสองฝ่ายเข้าใจและได้ข้อสรุปร่วมกัน และแบบที่สองเกิด รอยร้าวระหว่างคนสองฝ่ายมากขึ้นไม่ได้ข้อสรุปแต่ได้การ ต่อสู้เพื่อเอาชนะทั้งทางวาจา หรือแม้การกระทำ� และส่วน ใหญ่จากการสังเกตผลสรุปของการพูดคุยจะเป็นในลักษณะ หลังมากกว่า คำ�ถามก็ตามมาอีกว่าแล้วการพูดคุยของคน สองจำ�พวกนี้แตกต่างกันยังไง ทำ�ไมผลสรุปของการพูดคุย ถึงแตกต่างกันอย่างสินเชิง ด้วยความสงสัยจึงหวนกับมาพิจารณาตัวเอง ว่า อะไรคือสิ่งที่ทำ�ให้เกิดแตกต่างระหว่างมนุษย์ แล้วนอกจาก ความแตกต่างยังมีอะไรอีกบ้าง ทีท่ �ำ ให้แต่เราคุยกันไม่เข้าใจ แต่การมองตัวอาจมันก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้ค�ำ ตอบที่ สมบูรณ์ดงั นัน้ เราต้องมองตัวเองกับเพือ่ นมนุษย์คนอืน่ ควบคู่ กัน ซึ่งได้คำ�ตอบจากการตั้งสมมติฐานคือ เหตุที่ทำ�ให้มนุษย์ เราแตกต่างกันเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละคนที่พบเจอ มากันคนละแง่มุม คนละช่วงเวลา สิ่งแวดล้อมที่ถูกปลูกฝัง ความคิดมาคนละอย่าง ได้รับความรู้หรือชุดข้อมูลคนละ ชุด และคนให้ความรู้คนละคนกัน ซึ่งสิ่งเหล่าอาจเป็นส่วน

“เมื่อตัวอคติเข้ามาอยู่ในพื้นที่ กลางแทน จึงไม่เหลือที่ว่างให้ชุดข้อมูล ใดๆของใครเข้ามา”

หนึ่งในสาเหตุที่ทำ�ให้มนุษย์แตกต่างกัน แต่ทำ�ให้ได้ข้อสรุป ว่า มนุษย์ทุกคนถูกสร้างมาให้แตกต่างกันเพื่อทำ�หน้าที่ต่าง กันไปด้วยหน้าที่ที่ต่างทำ�ให้ความคิดความเชื่อแตกต่างกัน ไป แต่หากกล่าวได้เช่นนี้ก็ทำ�ให้คิดได้อีกแง่หนึ่งว่า มนุษย์ที่ มีหน้าที่ หรือทำ�งานคลายๆกันจะมีความคิดความเชื่อที่ใกล้ เคียงกัน คุยกันได้เข้าใจกว่า คำ�กล่าวข้างต้นเป็นการพุดถึง ความคิดของมนุษย์ที่คลายๆกัน ซึ่งเกิดเป็นกลุ่มคนที่มีความ รูส้ กึ และความต้องการเหมือนๆกัน ซึง่ แน่นอนว่ายอมมีกลุม่ คนอีกฝ่ายที่คิดต่างกันออกไป จึงกลายเป็นกลุ่มคนหลายๆ กลุ่มที่คิดต่างออกไปในเรื่องหนึ่ง ซึ่งแต่ละกลุ่ม แต่ละคนก็ จะใช่ประสบการณ์ที่ตนพบเจอ ใช่ความรู้และชุดข้อมูลที่ ตนได้รับมา ใช่ในการอธิบายให้ความคิดของตนได้รับการ ยอมรับ จากคนหรือกลุ่มคนอีกฝ่าย โดยไม่ยอมรับฟังการ อธิบายจากคนฝ่ายตรงข้าม ซึ่งการพูดคุยกันอย่างนี้เรียกว่า “ใช่อคติในการพูดคุย” ในความเป็นจริง มนุษย์ทุกคนล้วน มีอคติ การคิดตัดสินใจก็จะมีอคติเป็นที่ตั้งแต่แล้วแต่ว่าจะมี อคติในเรื่องนั้นๆมากน้อยเพียงใดหากให้เราจิตนาการถึงตัว

SEUSARNSANTI |

27 | FEBRUARY 2014

อคติ ที่อยู่ในตัวมนุษย์ เราคงจิตจาการถึงตัวเชื่อโรค หรือ ตัวไวรัส ที่คอยกัดกินเนื้อดีในร่างกาย ทำ�ให้ร่างกายของเรา เกิดโรคร้ายๆตามมา เช่นกันตัวอคติที่อยู่ในใจก็คอยกัดกิน อารมณ์ ความคิดและความรู้สึกด้านดี และ ทำ�ให้มนุษย์เกิด โรคทางความคิด ตัวอคติเกิดจากมนุษย์มีความโกรธติดตัว เป็นพื้นฐาน ความโกรธเป็นตัวบันทอนการทำ�งานของจิตใจ ด้านดีให้มีประสิทธิภาพในการทำ�งานลดน้อยลง เมื่อความ โกรธถูกสะสมมากขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นก้อนเนื้อร้ายใน จิตใจยากที่จะรักษาแลเนื้อร้ายอคติก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ อคติ เป็นตัวสร้างอารมณ์ หากเราไม่พยายามดูแลจิตใจให้รู้จัก คิดและแยกแยะอย่างมีเหตุผล และพยายามสร้างอารมณ์ ด้านดีอย่างสม่ำ�เสมอ และอีกอย่างหนึ่งคือการคิดที่ไม่อยาก เอาชนะพื้นที่ที่ อคติอยู่นั้นคือพื้นที่กลางของความคิด เป็น พื้นที่สำ�หรับการเปิดรับชุดข้อมูลจากคนรอบข้าง ซึ่งอาจ เป็นข้อมูลที่คิดต่างจากเรา แต่เมื่อชุดข้อมูลเหล่านั้นเข้ามา อยู่ในพื้นที่กลาง มันก็จะถูกประมวลจากข้อมูลชุดเก่าของ ตัวเองและชุดใหม่ที่รับมาถูกแปรผลออกมาเป็นข้อมูล1ชุด ที่สามารถใช่ร่วมกันได้ แต่เมื่อตัวอคติเข้ามาอยู่ในพื้นที่กลาง แทน จึงไม่เหลือที่ว่างให้ชุดข้อมูลใดๆของใครเข้ามา ดังนั้น ตัวเราจึงเชือ่ และตัดสินใจโดยใช่ชดุ ข้อมูลเก่าประกอบการใช่ อคติซึ่งเป็นตัวสร้างอารมณ์ในการคิดและตัดสินใจ จึงทำ�ให้ ชุดข้อมูลที่ถูกแปรผลเป็นชุดข้อมูลที่ใช่ได้เพียงเราคนเดียว ซึ่งคนรอบข้างอาจจะไม่ยอมรับในการคิดและตัดสินใจที่มี อคติร่วม


สานฝันปันรัก ให้น้องสา

นายสะอูดี อาแวกือจิ

ประสานงาน สมาพันธ์นักศึกษารักสันติ จังหวัดชายแดนใต้ และประธานชมรมนักศึกษรักสันติ (สนสต.) เพราะชีวติ ของคนเรา มิได้เกิดมาพร้อมกับคำ�ว่า “มี” กันหมดทุกคน เพราะฉะนั้นยังมีอีกหลายชีวิตที่รอคอยกับ สิ่งที่มาเติมเต็ม เพื่อที่เขาเหล่านั้นจะได้ประจักษ์กับคำ�ว่า มี ได้อย่างเท่าเทียมผู้อ่นื โดยที่มิได้เป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้อง ร้องขอ แต่เป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคนที่มีความพร้อมพอที่ จะให้และแบ่งปัน….. สำ�หรับสมาพันนักศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาค ใต้ มีโอกาสได้พบปะ น้องๆ ณ สถานสงเคราะห์เด็กปัตตานี

ในวันที่ 16 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556 โดยกิจกรรมในครัง้ นี้ ทางสมาพัน ได้สมทบทุนและสิง่ ของเครือ่ งใช้ตา่ งๆเพือ่ แจก จ่ายให้กบั น้องๆทีย่ งั ด้อยโอกาส รวมไปกิจกรรมมากมายทีไ่ ด้ จัด เช่น เล่นเกม ตอบคำ�ถาม เพือ่ ให้นอ้ งๆได้มสี ว่ นร่วมกับพีๆ่ ทางสมาพัน นอกจากนีย้ งั มีการเปิดใจพูดคุยกับน้องๆเพือ่ ให้ น้องได้แลกเปลีย่ นปัญหาภายในใจ เมือ่ ทราบถึงปัญหาพีเ่ ลีย้ ง ทุกคนจะเข้าไปปลอบขวัญสร้างกำ�ลังใจให้กบั น้องๆ สิง่ หนึง่ ทีร่ บั รู้ และเห็นได้ชดั ในการทำ�กิจกรรมครัง้ นีก้ ค็ อื น้องๆที่อาศัยในสถานสงเคราะห์ล้วนแต่มีความฝัน ทุกคนมี ฝันทีส่ วยงาม บางคนอยากทีจ่ ะเรียนสูงๆเพือ่ ทีจ่ ะได้ท�ำ งานที่ ดีมรี ายได้สง่ ให้ทางบ้าน บางคนฝันอยากมีอาชีพทีด่ ใี นอนาคต เช่น หมอ คุณครู วิศวะ เป็นต้น แต่ส่งิ ที่น้องๆยังขาดและ ต้องการ การเติมเต็ม คือ กำ�ลังใจ ในการใช้ชีวิตแม้จะเป็น เพียงเด็กอายุน้อยๆ แต่น้องๆก็ต้องการสิ่งเหล่านี้เพื่อให้เป็น แรงบันดาลใจในการเดินทางไปสูค่ วามฝันอันงดงาม

SEUSARNSANTI |

28 | FEBRUARY 2014


เรีย นรู้ | Knowledge |

ามจังหวัดชายแดนภาคใต้

การให้ คือ การกระทำ�ทีน่ �ำ ไปสูค่ วามสุขทางจิตใจ ทัง้ ผูใ้ ห้ และผูร้ บั ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน หรือให้โดยไม่หวังการได้ รับตอบกลับมานัน้ เอง จงจำ�ให้ขน้ึ ใจว่า จงให้กอ่ นทีจ่ ะรับ ถ้าเราให้อยูเ่ รือ่ ยๆ เราก็จะมีเรือ่ ยๆ ไป ยิง่ ให้กย็ ง่ิ ได้รบั และหนึง่ ในกฎของการ มีชีวิตที่ประสบความสำ�เร็จก็คือ การที่เราให้โดยปราศจาก ความเห็นแก่ตัวแล้วคุณก็จะได้รับผลตอบแทนที่แท้จริง จง คิดถึงเรือ่ งการให้แทนทีจ่ ะคิดแต่เรือ่ งการรับ จงให้ไปเรือ่ ยๆ จนกระทัง่ เราไม่อาจทนทีจ่ ะไม่แบ่งปันได้เลย นอกจากกิจกรรม ณ สถานสงค์เคราะห์เด็กปัตตานีแล้ว สมาพันนักศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้ ได้มกี จิ กรรม ทีให้ความสำ�คัญเรื่องของประโยชน์ส่วนรวมหลายๆกิจกรรม ด้วยกัน เช่น กิจกรรมช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยน้�ำ ท่วม โครงการ มอบหนังสือคัมภีร์อัลกรุอ่านให้กับเด็กๆโรงเรียนปอเนาะ กิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติมีการแจกของขวัญรางวัลให้กับ สมาพันนักศึกษารักสันติจงั หวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) ได้ไปมอบของให้กบั สถานสงเคราะห์เด็กจังหวัดปัตตานี

SEUSARNSANTI |

29 | FEBRUARY 2014

นางสาวฝ้ายลิกา ยาแดง

สารสนเทศ สมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนใต้ และวิชาการชมรมนักศึกษารักสันติ เด็กๆ ซึง่ ทุกๆกิจกรรมล้วนแต่มเี ป้าหมายหลัก นัน้ ก็คอื การได้ ให้สง่ิ ต่างๆกับผูอ้ น่ื ไม่วา่ จะเป็น ให้ ในลักษณะของรูปธรรม ทัง้ สิง่ ของ เครือ่ งใช้ อุปกรณ์ตา่ งๆ และให้ในลักษณะนามธรรม คือ ให้ ด้วยคำ�พูด ความหวังรวมไปถึงการสร้างกำ�ลังใจ แนะนำ� แนวทางทีด่ ซี ง่ึ เป็นการให้ทป่ี ระเสริฐทีส่ ดุ


วงเวียนหอนาฬิกา ณ จังหวัดปัตตานี

SEUSARNSANTI |

30 | FEBRUARY 2014


ท่องเท่ีย ว | Check in |

แม่น้ำ�ปัตตานี

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี

มนตร์เสน่ห์ลังกาสุกะ

เรื่อง : เจ้เหรียง ภาพ : นายนัฟซาน สะมะ “ลังกาสุกะ ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ เชื่อมรอย วิถีชีวิต วัฒนธรรม มนตร์เสน่ห์ที่ชวนหลงใหลด้วย ด้วย ความงามของโบราณสถานที่ถูกผสมผสานด้วยเอกลักษณ์ ของวัฒนธรรมในแต่ละยุคเสมัย ภายใต้ความงามนั้นมีเรื่อง ราวและเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ คนในพื้นที่ ต่างรู้ดีว่า แผ่นดินที่เราอาศัยมีอะไรที่น่าค้นหามากมาย เรื่องราวเหล่า นี้จึงอยากถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ เพื่อเราจะได้แลก เปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเพื่อเราจะสามารถก้าวข้าม ผ่านความกลัวที่มีต่อพื้นที่แห่งนี้ ที่ที่คนภายนอกมองว่า รุนแรง แล้วเราจะเห็นคุณค่าของความงาม ที่ควรค่าแก่การ ชื่นชมและดูแล เมื่อนั้นสันติภาพจะเกิดขึ้น สันติภาพแห่ง การเข้าใจกัน ผ่านการเรียนรู้ แสงไฟจากหอนาฬิ ก าสามวั ฒ นธรรมจั ง หวั ด ปัตตานี เปล่งออกมาด้วยแสงสว่างเจิดจ้า ดูเด่นตระการตา แสงไฟสะท้อนกระทบผิวน้ำ�ที่ไหลเอื่อย ของแม่น้ำ�ปัตตานี ที่ทอดยาวสู่อ่าวไทย และรอบบริเวณยังมีแสงไฟน้อยใหญ่

ระยิบระยับไปทั่ว ทำ�ให้ที่นี้สว่างตลอดทั้งคืน และมีผู้คน แวะเวียนเข้ามาไม่ขาดสาย ลังกะสุกะดินแดนที่ไม่เคยมืด ดับ แม้ในความมืดยังมีแสงสว่าง ไม่เพียงพื้นที่บริเวณหอ นาฬิกา แต่เกือบทุกพื้นที่ในอำ�เภอเมืองปัตตานีเต็มไปด้วย สีสันของแสงสีที่งดงาม เพราะหากที่ใดยังมีผู้คน ที่นั้นยอม มีแสงสว่างเสมอ แม้ในยามที่ผู้คนหลับใหล ดินแดนแห่งนี้ ก็ไม่เคยหลับ แสงสีที่เปล่งประกายออกมาจากหลอดไฟ นีออนในยามค่�ำ คืน แข็งกันประกวดความสวยงาม หลอดไฟ ทุกหลอดต่างทำ�หน้าที่ของตนอย่างดีที่สุด เมื่อความมืดถูก แทนที่ด้วยแสงสว่างเหล่านี้ วิถีชีวิตที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ สร้างความเป็นตัวตนของ คนและพื้นที่ ลังกาสุกะยามค่ำ�คืน ถูกผสมผสานด้วยตัวตน ที่แตกต่าง แต่ในความแตกต่างของ ความหลากหลาย ไม่ใช่อุปสรรคของการอยู่ร่วมกัน แต่ความ เข้าใจซึ่งกันและกัน เข้าใจเธอเข้าใจฉัน เข้าใจในความแตก ต่าง คือสิ่งสำ�คัญของการอยู่ร่วมกัน หากเรามองเห็นคุณค่า ความสันติภาพ ที่เกิดจากความเข้าใจกันจะเกิดขึ้น หากมองหาสถานที่ท่องเที่ยว มนตร์เสน่ห์ยาม ค่ำ�คืนของดินแดนแห่งประวัติศาสตร์อาจเป็นหนึ่งทางเลือก ที่ชวนให้เราได้ค้นหา การมองเห็นความงดงามในความมืด ผ่านแสงไฟนีออนทำ�ให้ความงดงามนั้นดูแปลกตาและหน้า ค้นหามากขึ้น ด้วยคุณค่าที่ซ้อนอยู่เราจำ�ต้องพยายามมอง

SEUSARNSANTI |

31 | FEBRUARY 2014

เทศบาลเมืองปัตตานี

ให้เห็นถึงแก่นลึก ใน บางครั้งแสงไฟจากหลอดไฟดวงเดียว อาจไม่เพียงพอดูการมองเห็น แต่ถ้าเรามีดวงไฟหลายดวง ช่วยกันเปล่งแสงออกมา เราจะเห็นความงดงามที่แท้จริง เมื่อนั้นเราก็จะเห็นคุณค่าที่แขวงอยู่ จากรูปลักษณ์ ที่ถูก สร้างและรังสรรค์ภายใต้ความเป็นตัวตน ลังกาสุกะกำ�ลัง รอให้ทุกคนได้เรียนรู้และศึกษาวิถีของเรา แล้วทุกคนจะรู้ ว่า ในความมืด ยังมีแสงสว่างเสมอ อย่ า งไรก็ ต ามการประชาสั ม พั น ธ์ เป็ น อี ก ช่ อ ง ทางหนึ่งของการรับรู้ เพราะข้อมูลข่าวสารคือสิ่งสำ�คัญใน การตัดสินใจ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชนหรือหน่วยงานที่ เกีย่ วข้อง จะต้องแนะนำ�ข้อมูล สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วต่างๆออกสู่ สาธารณชนเพือ่ เป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ ที่ดีให้กับพื้นที่ โดยการสร้างความมั่นในว่าผู้มาเยือนจะได้ รับสิง่ ตอบแทนทีแ่ สนประทับใจ เมือ่ ได้มาทีน่ ี้ “ดินแดนลังกา สุกะ” “วิ ถี ชี วิ ต ที่ บ่ ง บอกถึ ง เอกลั ก ษณ์ สร้ า ง ความเป็นตัวตนของคนและพื้นที่ ลังกาสุกะยาม ค่ำ�คืนถูกผสมผสานด้วยตัวตน ที่แตกต่าง”


13-15 กันยายน 2556 ค่ายวินัยกับอิสรภาพทางความคิดรุ่นที่ 7

SEUSARNSANTI |

32 | FEBRUARY 2014


คือเรา | We |

ค่ายวินัยกับอิสรภาพทางความคิด รุ่นที่ 7

“ค่ายรุน่ เจ็ดให้อะไรหลายๆอย่างโดยเฉพาะ ความสันพันธ์ที่ดีระหว่างนักศึกษาแต่ละสถาบัน” นางสาว ซุวีร่า สาแรหะ

“ประสบการณ์นอกห้องเรียนครัง้ นี้เพิ่มทักษะและคุณภาพชีวิตได้อย่างดี” นางสาว นัสรีน สาลา

“อิสรภาพทางความคิดสามารถ นำ�ไปสู่แนวทางสันติภาพได้ครับ” นายวีรยุทธ ภาระเกตุ

เดินทางมาสู่รุ่นที่ 7 กับค่ายวินัยกับอิสรภาพทางความคิด ภายใต้การได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วม ทั้งสี่สถาบันเป็นอย่าง ดีอีกเช่นเคย เพราะด้วยสายใยที่ยังผูกพันหลังจากค่ายรุ่นก่อนๆทำ�ให้ค่ายรุ่นนี้ต้องขยับเวลาให้เร็วกว่าเดิม เมื่อถึงเวลาเริ่มวันค่าย 13-15 กันยายน 2556 นักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆได้ร่วมกิจกรรมกันเป็นอย่างเต็มที่เหมือนได้เตรียมตัวกันมาก่อนล่วงหน้า ทั้ง กิจกรรมภาคปฎิบัติ และกิจกรรมภาคทฤษฎี การบรรยายน้องๆให้คำ�สนใจเป็นอย่างมาก สิ่งที่ได้มีการปรับเปลี่ยนในค่ายรุ่นนี้ที่ จะเห็นได้ชัดคือ รูปแบบกิจกรรมที่ให้ความสำ�คัญเรื่องของความรัก ความสามัคคีมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการสร้างสายใยความผูกพัน ระหว่างพี่เลี้ยงกับน้องค่าย พี่เลี้ยงกับพี้เลี้ยง น้องค่ายกับน้องค่ายกันเอง ทำ�ให้ว่าค่ายวินัยกับอิสรภาพทางความคิดรุ่นที่7เต็มไป ด้วยบรรยากาศที่มีทั้งเสียงหัวเราะและน้ำ�ตาไปพร้อมๆกันเพียงแค่ช่วงเวลา2 คืน 3วันเท่านั้น

SEUSARNSANTI |

33 | FEBRUARY 2014



www.facebook.com/SEUSARNSANTI


เราปฏิเสธความรุนแรง ทุกรูปแบบ และยอมรับสังคม พหุวัฒนธรรม

SEUSARNSANTI |

36 | FEBRUARY 2014


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.