small magazine 01

Page 1


small magazine กันยายน 2558

จุดเริ่มต้น small team - บรรณาธิการ กชกร ความเจริญ - บรรณาธิการศิลปกรรม ปาณิศา เจิมหรรษา - กองบรรณาธิการ ภูริชญา คุปตจิต, ธนพล ไกรลาศรัตนศิริ - พิสูจน์อักษร บงกชพร ดวงสีแก้ว ขอบคุณ โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และอีกหลาย ๆ คนที่รับฟัง ให้คำ�ปรึกษา และให้กำ�ลังใจ :) ติดต่อนิตยสาร small fb page: small but matter อีเมล์: smallbutmatter@hotmail.com


small talk มีเรื่องเล่าอยู่เรื่องนึงที่เราชอบเล่าให้เพื่อนฟังเมื่อมีโอกาส จำ�ไม่ได้แล้วว่าไปได้ยิน-ได้อ่านครั้ง แรกมาจากที่ไหนแต่ก็จำ�เนื้อหาได้แม่นทีเดียว เราขอตั้งชื่อเรื่องอย่างตามใจว่า ‘ลุงเก็บปลาดาว’ เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่งกลางหน้าร้อน ปลาดาวมากมายถูกคลื่นซัดมาเกยตื้นเรียงรายเต็มชายหาด แดดจ้าแผดเผา ชายหนุ่มคนหนึ่งเดินเล่นเลียบชายฝั่งทะเล เขาเดินข้ามกลุ่มปลาดาวที่กระจัดกระจายไป ทั่ว ชายหนุ่มเดินไปเรื่อย ๆ เขามองตรงไปเห็นชายชราผู้หนึ่งกำ�ลังก้ม ๆ เงย ๆ อยู่ริมหาดอยู่ลิบ ๆ ชาย ชราคนนั้นหยิบปลาดาวหนึ่งตัวจากพื้นทราย แล้วเขวี้ยงกลับไปในทะเล ก้มลงหยิบปลาดาวอีกหนึ่งตัว แล้ว เขวี้ยงอีก ชายหนุ่มสังเกตการณ์อีกสักพักก็เห็นชายชราทำ�เช่นนั้นซ้ำ� ๆ กับปลาดาวทีละตัว ชายหนุ่มทนเริ่ม ทนไม่ไหวเดินเข้าไปหาชายชราแล้วเอ่ยปาก ‘ลุงทำ�อะไรครับ’ ‘ถ้ามันอยู่บนทรายแบบนี้ก็จะแห้งตาย’ ลุงก้ม หน้าเปรยพร้อมกับมองหาปลาดาวตัวต่อไป ‘ลุงทำ�ไปทำ�ไม บนชายหาดนี้มีปลาดาวเป็นหมื่น ๆ แสน ๆ ตัว ช่วยทีละตัวจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เดี๋ยวปลาดาวตัวใหม่ก็ขึ้นมาเกยหาดเพิ่ม ไม่มีประโยชน์’ ชายหนุ่ม รัวความคิดของตนให้ชายผู้มากอายุกว่าฟัง ชายชราขยับตัว ก้าวขาไปหาปลาดาวตัวต่อไปบนหาด และพูด เบา ๆ ‘อย่างน้อย ปลาดาวตัวนี้ก็รอด..’ พร้อมกับก้มลงไปหยิบปลาดาวบนพื้นอีกหนึ่งตัว แล้วโยนมันกลับ ไปยังที่ที่มันควรจะอยู่ ลุงเค้าทำ�แบบนั้นทุกวันเลยหรือ ลุงเหนื่อยบ้างไหมเมื่อครั้งเงยหน้ามอง ยังเห็นปลาดาวอีก มากมายบนชายหาด ลุงลังเลใจในสิ่งที่ตัวเองทำ�บ้างไหมเมื่อถูกตั้งคำ�ถามใส่บ่อย ๆ

การทำ�เรื่องแบบนี้ การเริ่มต้นลงมือทำ�คงไม่ยากเท่ากับการรักษาสิ่งที่ตัวเองเชื่อมั่นไว้ให้มั่นคง

จะว่าไปเราว่าเราเคยเจอ ‘ลุงเก็บปลาดาว’ ในชีวิตจริงอยู่หลายคน เคยอ่านหนังสือจาก ‘สำ�นัก พิมพ์ผีเสื้อ’ ไหม คุณลุงมกุฏ อรฤดีที่เลือกจะทำ�หนังสือดีดีแต่ไม่ทำ�เงิน สำ�นักพิมพ์ขาดทุนมาหลายรอบ ก็ต้องควักเนื้อตัวเองแล้วก็ทำ�ต่อไปเพราะเชื่อว่าหนังสือดีจะสร้างสังคมที่ดี เมื่ออ่านหนังสือของสำ�นักพิมพ์ ผีเสื้อจะสัมผัสได้ อาจารย์ตอนมัธยมปลายของเราที่ท่านเลือกจะมาตั้งโรงเรียนและสอนหนังสือ สร้างคนปี ละไม่กี่คน แล้วไอ้คนที่อาจารย์ปั้นก็กลายมาเป็นพวกเรานี่ไง (ลุงคงจะท้ออยู่บ้าง ฮา) เพื่อน-รุ่นพี่ที่เรารู้จัก หลายคนมีความเชื่อมั่นบางอย่างในใจ แต่ละคนมี ‘ปลาดาว’ เป็นของตัวเอง เค้าก็ลงมือทำ�มันตามสิ่งที่ตน ถนัดหรือเหมาะสมกับบริบท เช่น เพื่อนที่เรียนนิเทศผู้อินกับเรื่องรับน้อง ก็ทำ�หนังสารคดีเพื่อถ่ายทอดความ จริงของการรับน้องในมุมของเขาออกไปสู่สังคม เพื่อนที่เรียนกฎหมายก็รวมกลุ่มกันจัดค่ายให้ความรู้กับเด็ก ในชุมชนที่ถูกเอาเปรียบ สอนชุมชนว่าเขามีสิทธิตามกฎหมายอะไรบ้าง เรื่องพวกนี้มีพลังงาน คนเหล่านี้มีพลังงานอะไรบางอย่างที่ทำ�ให้คนที่อยู่ข้าง ๆ พลอยได้รับพลัง ให้ครั่นเนื้อครั่นตัวอยากลงมือทำ�บางสิ่ง บางทีเรื่องราวครั้งหน้าอาจจะเป็นเรื่องของ ‘ชายหนุ่มปลาดาว’ ผู้โดนเรื่องที่คุณลุงทำ�วันละเล็ก น้อยนี้รบกวนความรู้สึก ครุ่นคิดทบทวน แล้วเขาก็กลับไปยังชาดหาดอีกครั้ง พร้อมวิธีที่ช่วยปลาดาวได้ทีละ มากขึ้น, ช่วยปลาดาวไปด้วยกัน

แด่ ทุกคนที่กำ�ลังเก็บปลาดาว กชกร ความเจริญ บรรณาธิการ

small #3


small design

นิตยสารของคนตัวเล็ก เพื่อคนตัวเล็ก คนตัวเล็กก็มีสิ่งที่คนตัวเล็กทำ�ได้ และคนตัวเล็กหลายๆคน มาอยู่ร่วมกัน ก็มีสิ่งที่สามารถทำ�ได้ คนตัวเล็กอยู่คนเดียว เล็กยิ่งกว่าจุด บนแผนที่โลก คนตัวเล็กอยู่รวมกัน มีความตั้งใจ เจตนาที่จะทำ�อะไรสักอย่าง รับรู้เราไหม - หมายเหตุ จริง ๆ แล้วพื้นที่นี้มีเพื่อบรรยายการออกเเบบ เผื่อว่าคุณจะประทับใจเรามากขึ้น แต่ว่านั่นไม่ใช่สาระสำ�คัญอะไร เทียบเท่าความตั้งใจของคน ปาณิศา เจิมหรรษา บรรณาธิการศิลปกรรม


small talk | p.03 : ลุงเก็บปลาดาว small interview | p.08 : เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงห้องเชียร์วิศวจุฬาฯ Alcohol 101 | p.16 : จริยธรรมในเรื่องเหล้า รีบชิดขวา..ช้าชิดซ้าย | p.18 : Social Science: A missing piece? ฟุ้ง | p.20 : กี่ครั้งแล้ว ที่เราล้มเลิกความตั้งใจจะลงมือทำ�ไป ออกจากห้องสี่เหลี่ยม | p.22 : จนกระทั่ง.. ได้ยิงธนู เอ๊ะ เดี๋ยวนะ | p.23 : ครอบครัวประเทศ Intro to LOGIC | p.25 : จุดบอดของลอจิก เล่าเรื่องเศรษฐกิจ | p.26 : นักศึกษาและอุตสาหกรรม New industries small way | p.30 : Local alike, process engineer สู่ เจ้าของกิจการเพื่อสังคม Observer | p.38 : เมื่อผมรู้สึกตลกยากกว่าที่เคย GIGO | p.40 : Movie review, Recommended Books, Listen deeply กวีทีละบท | p.42


ระหว่างที่ผมโตขึ้น ผมค่อย ๆ พบความจริงที่ว่าสิ่งต่าง ๆ รอบตัวผม ที่ผู้คนเคยบอกผมว่ามันก็เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นไปตามที่มันควรจะเป็น มันไม่ใช่ธรรมชาติเสียหน่อย มันเป็นสิ่งที่เปลี่ยนได้ และมันควรจะต้องเปลี่ยน และเมื่อผมรู้เช่นนั้น มันก็ย้อนกลับไปไม่ได้แล้ว

reference: page Thai Netizen Network


-- อารอน สวาร์ตซ์, 2010


Small interview

จุดเริม่ ต้นการเปลีย่ นแปลง

ยังจำ�กันได้ไหม เมื่อสามเดือนก่อนตอนวิศวฯ ปีสี่ทั้งชั้นปีเข้าร่วม ปฐมนิเทศฝึกงานของคณะ มีเพื่อนเราคนหนึ่งคว้าไมค์ขึ้นพูดว่า “ปีนี้ วิศวจุฬาฯ จะยกเลิกห้องเชียร์” ทันใดห้องประชุมก็อื้ออึง เรื่องนี้กลายเป็น Talk of the Town ของชาวปราสาทแดง เราเองนั่งอยู่ในห้องประชุมขณะนั้นด้วย ตามประสาคนที่ ติดตามข่าวเรื่องรับน้องอยู่บ้างก็ตื่นตัว หลายกระแสในสังคมตอนนี้ต่อต้านการรับ น้องแบบว้าก เกิดเพจหลายเพจที่พูดเรื่อง ANTI-SOTUS ...คราวนี้ วิศวจุฬาฯ จะ เริ่มขยับตัวแล้วหรือ

small #8

ชวนมาฟังหนุ่มผู้คว้าไมค์วันนั้น วิน--ว่าที่ประธานเชียร์(?)ของวิศว จุฬาฯ ปี4 และทีมทำ�งานคณะ โต้ ปี3, โอม ปี3 และจ๋อมแจ๋ม ปี4 พูดถึงการ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของคณะในปีนี้ กิจกรรมไหนจะยังคงอยู่ กิจกรรมไหนจะ ต้องหายไป เท้าความถึงเหตุผลเบื้องหลังการเปลี่ยนแปลง และที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ทำ�ไมพวกเขาถึง ‘กล้า’ ลุกขึ้นมาเปลี่ยน


อินโทรให้ฟังหน่อย เรื่องเป็นยังไง วิน: ตอนเราอยู่ปีสอง พี่บุ้ง (ประธานเชียร์ วิศวจุฬาฯ รุ่น 94 ) ขึ้นมาเป็นซีเนียร์ ตอนนั้นเราไม่ใช่คนที่เข้าห้องเชียร์นะ เราเพิ่งเข้ามาทำ�กิจกรรมคณะตอนวันลอย กระทง พี่บุ้งนี่แหละที่ทำ�ให้เราปรับทัศนคติเรื่องห้องเชียร์ พี่บุ้งบอกว่าสุดท้ายแล้ว การ ‘ว้าก’ มันคือการดูแลน้องจริงหรอ คนที่เป็นพี่น้องกันเค้าเลือกที่จะว้ากกันหรอ สุดท้ายแล้วการรับน้องของทุกคนคืออะไร เราควรให้น้อง ไม่ควรสั่งน้อง อย่างคำ� ว่า SOTUS คนก็จะตีความผิดๆซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าบิ๊วกับแคมป์ตีความ SOTUS ว่ายังไง บิ๊ว: ย่อมาจากอะไรนะ Seniority, Order ...

photo credit: ฝ่าย PR วิศวจุฬาฯ รุ่น 96

แคมป์: มันเป็นคำ�ที่ vague ๆ คำ�นึง บิ๊ว: ถ้ามองว่าเราเป็นวิศวจุฬาฯ มันดีต่อเรา เพราะพี่เค้าก็จะดึงเราขึ้นไปอยู่กับ พี่เค้า แต่ถ้ามองในแง่ภาพรวมของสังคมก็จะทำ�ให้คนที่เค้ามีความสามารถไม่มี โอกาสแสดงศักยภาพจริง ๆ โอม: ผมมองว่า SOTUS หมายถึงความเป็นไทยด้วยซ้ำ� ชีวิตความเป็นอยู่ของคน ไทย มีความเป็น SOTUS แฝงอยู่ตลอดเวลา เรากลับบ้านก็สวัสดีพ่อแม่ Seniority, Order ก็มีในสังคมอยู่แล้ว วิน: อืม นั่นแหละที่อยากพูด ภาพลักษณ์ SOTUS เราจะเห็นได้จากทางเดียวคือการ รับน้อง ระบบ SOTUS คืออะไรก็ไม่รู้ที่สื่อการรับน้อง มันสื่อถึงการว้าก การทำ�อะไร นู่นนี่ ซึ่งจริงๆแล้วจากพี่ ๆ นายช่าง คำ�ว่า SOTUS เป็นสิ่งที่ดีงามเวลาเราใช้ชีวิต อยู่ร่วมกับคนอื่น อย่าง Seniority ไม่ใช่การมีอายุเยอะกว่า แต่เป็นใครก็ได้ที่เรา เลือกเคารพ เป็นสิ่งที่ดีถ้าทุกคนมี และเราก็เป็นอยู่แล้ว เพียงแต่ที่วิศวจุฬาฯ เรา เคารพกันแข็งกว่าที่อื่น สำ�หรับเรา เรามองว่ามันเป็นการใช้คำ�ผิดๆมากกว่า ถ้าจะ บอกว่า Order เป็นอะไรที่เราบังคับได้ มันไม่ใช่ สำ�หรับเรา เรามองว่า Seniority มันมาจากคำ�นี้เลยนะ ‘รักเพื่อน เคารพพี่ ดูแลน้อง’

กิจกรรมมันไม่ได้สร้างมาเพื่อให้ถูกส่งต่อ ให้อนุรักษ์ กิจกรรมมันสร้างเพราะมี จุดประสงค์ของมัน

คำ�ว่า SOTUS เป็นคำ�ที่เซนซิทีฟ

วิน: สิ่งที่เราจะทำ�คือไม่พูดถึงมัน ให้มันเกิดขึ้นจากตัวพี่ๆเอง การที่เราจะสอน SOTUS ไม่ใช่เราไปบอกน้อง ๆ ว่า ‘น้อง ๆ ครับ Seniority คือ รัก เพื่อน เคารพพี่ ดูแลน้อง’ ส่งต่อด้วยการกระทำ�ของเรา ส่งต่อด้วยเราเป็นของเรา แบบนี้ดูแลกัน อันนี้เป็นคำ�ของพี่บุ้งเลยนะว่า ‘เราจะสอน SOTUS โดยการไม่ใช้ SOTUS’ small #9


ห้องเชียร์ ปีที่ผ่านผ่านมาเป็นยังไงบ้าง วิน: ตอนรุ่นเราเป็นปีสอง (ปี 56) ไม่เคยว้าก ไม่เคยบังคับ ขอความร่วมมือ ไม่มี ที่ไหนเป็นแบบนี้นะ ห้องเชียร์ที่พี่แทบจะขอร้องน้องให้เข้า แต่ถามว่ามันดีที่สุดมั้ย มันก็ไม่ดีที่สุดหรอก รับน้องพันคน เราเอาคนหกคนมาคิดงานในช่วงเวลาหนึ่ง เดือนที่ไม่ได้พักเลย มันก็เหนื่อยเป็นธรรมดา สุดท้ายก็ทำ�ออกมาได้ไม่เต็มที่ ส่วนปีนี้ รุ่นเรามีปัญหาด้วย แค่คนที่จะเป็นประธานเชียร์ยังไม่มี เลยถามตัวเองว่า ทำ�ไมคนในไม่แคร์กิจกรรมเลย ถ้าเป็นกิจกรรมที่ดีจริงคนในก็คงจะแคร์บ้าง วัน ๆ นึงที่คนเข้าห้องเชียร์แค่สิบคน ทำ�ไมคนในถึงไม่รู้สึกอะไรเลย เรารู้สึกว่าท้ายสุด แล้วห้องเชียร์ของวิศวจุฬาฯ มีไว้ทำ�ไม มีไว้ทำ�ให้น้องเข้าใจคำ�ว่าวิศวจุฬาฯ หรอ แล้วถ้าอย่างนั้นเราเป็นในสิ่งที่อยากให้น้องเป็นรึเปล่า ขนาดทำ�กิจกรรมยังมาได้ไม่ ถึง 5 คนด้วยซ้ำ� กิจกรรมมันไม่ได้สร้างมาเพื่อให้ถูกส่งต่อ ให้อนุรักษ์ กิจกรรมมันสร้างเพราะมีจุด ประสงค์ของมัน แสดงว่าจุด trigger คือตอนเห็นว่าเพื่อนไม่แคร์ เลยตั้ง คำ�ถามว่างานมันสำ�คัญจริง ๆ หรอ

เปรียบเทียบกับการชงชา ตอนนั้นกระบวนการชงชา มันเป็นแบบนั้น แล้วชาเค้า ออกมามันหอมมาก ๆ

วิน: ใช่ ถูกต้อง ตอนปีสามเป็นจุดเปลี่ยนของเราพอควรเรื่องทำ�กิจกรรม เราอยาก เรียนต่อป.โท เลยบอกเพื่อนว่าขอเฟดตัวออกมาเพื่อเตรียมตัวนะ และพอเราหาย มาคนนึง กลายเป็นว่าไม่มีใครยืนตรงนั้นแล้ว เราเลยเริ่มคิดว่าทำ�ไมคนคนนึงต้อง แบกรับอะไรไม่รู้ที่คนไม่แคร์ เราทำ�สิ่งที่คนในอยากทำ�ไม่ได้หรือ สิ่งที่อิมแพ็คน้ องทั้งคณะ ถ้ามันไม่ดีจริง เราก็ไม่อยากทำ� เราคิดถึงขั้นว่าถ้าประเพณีมันจะหาย ก็ต้องหาย เพราะถ้ามันไม่ดีจริงก็ต้องหายไปอยู่ดี สิ่งที่เราควรทำ�คือปรับหาสิ่งที่ คนรุ่นใหม่ต้องการ ไม่ใช่ทำ�ต่อโดยไม่ได้สนใจเหตุผล รู้แต่ว่าพี่จะด่าว่ากูไม่ยอม สืบทอดประเพณี ห้องเชียร์ก็เป็นสิ่งที่เราคิดว่าถ้ามันไม่ดี ไม่มีใครแคร์ เราก็ต้องปรับแก้มัน เราไม่ได้ เลือกที่จะตัดทิ้ง อย่างน้อยถ้าทำ�มันก็อาจจะเป็นบวกบ้าง ลบบ้าง ศูนย์บ้าง แต่ดี กว่าเป็นแก๊ปไป ถ้าอย่างนั้นเราก็มองว่าเราเหมาะแล้ว เพราะเราเป็นคนที่คลุกคลี กับมันมา เรามองว่าถ้าจะเปลี่ยนอะไร เปลี่ยนได้ ถ้าเราเข้าใจแก่นแท้ของมัน ถ้า เราเข้าใจว่าสุดท้ายแล้วสิ่งที่พี่เค้าอยากให้เราทำ�คืออะไร ก็แค่เลือกสิ่งใหม่ที่ตอบ จุดประสงค์นั้นได้ รู้สึกแบบนั้นแล้วลงมือทำ�ยังไง วิน: สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแรก ๆ ก็คือ เราไปนั่งคุยกับเพื่อนหลาย ๆ แบบ เพื่อน สะพานบ้าง เพื่อนที่ไม่ทำ�กิจกรรมบ้าง คนที่ทำ�กิจกรรม คนที่อินกับกิจกรรม เรา ไปถามเล่น ๆ ว่า ถ้าไม่มีงานห้องเชียร์ต่อ ช่วงรับน้องอยากให้อะไรน้อง ซึ่งเรา ก็รู้สึกดีตรงที่ว่าทุกคนตอบเหมือนกันหมดเลย คืออยากให้น้องรักกัน อยากให้น้อง รู้จักเพื่อนใหม่ ให้น้องรักคณะ มันจะมีอะไรมากกว่านี้สำ�หรับช่วงรับน้องหนึ่งเดือน เราก็คิดว่า เอ้อ ทุกคนก็เห็นตรงกันหนิ แต่เพื่อนบางคนอาจไม่เคยทำ�กิจกรรมมา ก่อน งั้นไม่เป็นไร เราอาสาก็ได้ เราอยากทำ�ให้งานนี้เกิดจากจุดประสงค์ของทุก คนจริง ๆ เราเลยคิดว่ามันต้องเปลี่ยน ถึงตอนนี้คิดว่าก็ได้เปลี่ยนอะไรอย่างที่ควร จะเปลี่ยนไปเยอะแล้วหล่ะ

small #10

photo credit: Urupong promma


เปลี่ยนไปถามน้อง ๆ บ้าง ก่อนที่วินจะพูด น้อง ๆ มีความ คิดแบบนี้มาก่อนมั้ย โต้: อย่างผม ผมเข้ามาทำ�ห้องเชียร์ตอนปีสองด้วยความคิดที่ว่าอยากเปลี่ยน เพราะตอนที่เราเป็นเฟรชชี่ก็ดีนะ แต่กิจกรรมมันกลวงโบ๋ไปหมด โอม: ผมไม่ได้เข้าห้องเชียร์ กิจกรรมมันดูไม่มีอะไรเลย ใจผมอยากเปลี่ยน แต่ก็ อยากมาเรียนรู้ก่อนว่ามันคืออะไรกันแน่ ช่วงแรกก็ไม่ได้คิดอะไรมาก โต้: กูอ่ะคิด โอม: อย่างโต้ เค้าก็จะโฟกัสเรื่องนี้ ผมจะโฟกัสไปที่เรื่องค่ายวิษณุฯ มากกว่า คิด เรื่องจะเปลี่ยนบ้าง มาหนักจริง ๆ มาช่วงสองสามวันที่ผ่านมา ว่าจะเอาไป ไปไง ต่อ อยากให้งานรับน้องเป็นยังไง ปีสามมาสุมหัวกันคิดเยอะมั๊ย โอม: ไม่ ไม่เยอะครับ รุ่นผมคนเยอะขึ้นก็จริง แต่หลายคนยังติดภาพเดิม ๆ ไม่ แฮปปี้ที่จะเปลี่ยน แต่ถึงเค้าอยากเปลี่ยนหรือไม่อยากเปลี่ยน แต่พอพวกผมลุกขึ้น มาเพื่อจะเปลี่ยนแล้ว เค้าก็ให้ความร่วมมือ โต้: ทุกคนของโอมก็หมายถึงคนที่ทำ�กิจกรรมอยู่ดี เราจะออกไปสู่ข้างนอกได้ยังไง อันนี้เป็นความท้าทายของเรา การรวม 97 มาทำ�เชียร์เป็นเรื่องยากด้วยครับ ทุกคน มีทัศนคติที่เป็นลบมาก่อน

แต่ตอนนี้เราจะมา ชงชาแบบเดิมไม่ได้ เราชงชาแบบเดิม แต่ผลลัพธ์มันไม่หอมเท่าเดิม อาจารย์บอกว่าที่แตกต่าง คือคนมันเปลี่ยน เราจะมัวทำ�แบบเดิมอยู่ไม่ได้

โอม: คนที่เค้าไม่แฮปปี้ก็หายไป วิน: น้องอยู่ปีสามก็ไม่ค่อยกล้าเปิด แต่พอเราเปิดแล้วก็ตาม รู้สึกว่าคนที่มาทำ�ห้อง เชียร์ปีเรา ไม่มีใครที่เป็นเด็กเข้าห้องเชียร์เก่า มีแต่สไตล์นักปฏิวัติ เป็นคนที่ผ่าน งานกระทงแล้วรู้สึกว่าอยากจะทำ�อะไรให้คณะ การเปลี่ยนครั้งนี้ไม่ได้บอกว่ามันดี ไม่ดีนะ แต่มันน่าจะออกมาใหญ่ที่สุด ถามแบบเจาะจงหน่อยว่าเราจะยกเลิกอะไรบ้าง โต้: อย่างแรกเลยคือการสอนเพลง มีการดิสคัสเยอะว่าการสอนเพลงทำ�ให้ภาพ ลักษณ์ดูน่าเบื่อ แต่พอคุยกับหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ได้ดึงกลับมาว่าคง สอนเท่าที่จำ�เป็น วิน: ที่เราคุยกับคนในห้องประชุมว่าเราจะเปลี่ยน แต่เอาเข้าจริงก็เปลี่ยนสุด ๆ แบบนั้นไม่ได้ ถ้าเปลี่ยนแบบพลิกจริง ๆ พวกคนที่มีส่วนร่วมต่าง ๆ เช่น เชียร์ ลีดเดอร์ เค้าจะไปอยู่ไหน เค้าจะยอมมั๊ย เราต้องประนีประนอม คุยกับทุกคนและ หาทางออกร่วมกัน เรามองว่าสิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือเปลี่ยนทัศนคติคน เดี๋ยวจะมีการ สรุปเกี่ยวกับที่พวกเราคุยทั้งหมดให้ทุกรุ่นได้รับรู้ small #11


ยิ่งเรารู้เยอะ เรารู้จักนายช่าง อาจารย์เก่า ๆ ทำ�ให้รู้สึกว่าคำ�ว่า ‘วิศวจุฬาฯ’ ของ เค้ามันดีจริง ๆ หว่ะ ทำ�ไมงานรับน้องช่วงนั้นมันถึงดีขนาดนี้ ทำ�ไมถึงหล่อหลอม คนออกมาได้มีประสิทธิภาพขนาดนี้ รุ่นนั้นสามสิบปีก่อนคนเข้าห้องเชียร์แปดสิบ เปอร์เซนต์บวกบวก เป็นรุ่นที่ตอนนี้กลายเป็นผู้บริหาร เป็นรุ่นที่ทุกคนโอเคกับงาน รับน้อง เป็นยุคที่เด็กปีหนึ่งถ้าเดินไปสามย่านจะไม่ต้องจ่ายค่าข้าวเลย ไม่ใช่แค่ เลี้ยงข้าว แต่เกิดจากที่เค้าอยากดูแลน้องจริง ๆ ทุกคนรักคณะ มันเกิดขึ้นได้ มัน เคยเกิดขึ้นได้ และเวลาที่เค้ากลับมา เค้าไม่ใช่ผู้ใหญ่บางคนสำ�หรับเรา เค้าเรียก เราว่าน้อง และเค้าก็ดูแลเราเหมือนน้องจริง ๆ รู้สึกถึงคำ�ว่าครอบครัววิศวจุฬาฯ ยิ่งเรารู้ประวัติและเหตุผลต่าง ๆ ยิ่งทำ�ให้เราอยากส่งต่อมากขึ้น เพราะว่าเรา รู้สึกว่ามันดี แต่หลัง ๆ อาจจะมีปัจจัยบางอย่างที่ทำ�ผิดพลาด เมื่อวานไปคุยกับ อาจารย์ที่เค้าเป็นวากเกอร์เก่า เท่าที่คุยกับเค้า เค้าไม่เคยขอให้เราทำ�กิจกรรมแบบ เดิมเลยแม้แต่คำ�เดียว เค้าเปรียบเทียบกับการชงชา ตอนนั้นกระบวนการชงชามัน เป็นแบบนั้น แล้วชาเค้าออกมามันหอมมาก ๆ แต่ตอนนี้เราจะมาชงชาแบบเดิมไม่ ได้ เราชงชาแบบเดิมแต่ผลลัพธ์มันไม่หอมเท่าเดิม อาจารย์บอกว่าที่แตกต่างคือ คนมันเปลี่ยน เราจะมัวทำ�แบบเดิมอยู่ไม่ได้ ตัดอะไรอีกบ้าง วิน: เราไม่ได้เปลี่ยนแบบรูปธรรมเยอะ ส่วนใหญ่เป็นนามธรรมมากกว่า อย่างเรื่อง เพลง ปรับว่าเราไม่ได้อยากจะยัดเพลงใส่หัวน้อง สิ่งที่สำ�คัญกว่าคือให้น้องประทับ ใจและมีทัศนคติที่ดีต่อตัวเพลง เหมือนว่าเราไม่ได้สอนเพลงชาติโดยการบังคับให้ ร้อง แต่ให้เค้าภูมิใจในตัวชาติ และเค้าถึงจะอยากร้องเพลงนั้น จ๋อมแจ๋ม: เอาแบบนี้ แต่ก่อนวัตถุประสงค์มีคำ�ว่า ‘ให้น้องร้องเพลงเป็น’ แต่ตอน นี้เราไม่มีคำ�นั้นแล้ว วิน: เรามองว่าการไปบังคับให้น้องร้องเพลงจนเป็นมันมีประโยชน์อะไร แต่เพลง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำ�ให้บรรยากาศดีได้ เพลงเป็นรูปแบบหนึ่งที่โยงคนเข้าด้วยกันได้ แม้เพียงชั่วขณะแต่ก็ทำ�ให้เรามีความทรงจำ�ดีดีร่วมกัน จ๋อมแจ๋ม: มันจะมีงานที่วิศวจุฬาฯ หลาย ๆ รุ่นมารวมกัน ทุกคนก็ร้องเพลง ปราสาทแดงร่วมกัน โอม: ตัวผมเป็น Case Study ที่ดีได้ ผมเคยแอนตี้ ไม่อยากได้เพลงคณะ แต่ทุก วันนี้ผมฝึกร้อง ร้องเอง ไม่ได้มาจากการโดนบังคับ แต่เพราะไปนั่งฟังแล้วรู้สึกว่า เพราะดี วิน: เจอนายช่างบางที คุยกันสนุก ๆ ขำ�กัน ร้องเพลง เล่าเรื่องสมัยก่อนแบบคน แก่คุยกันมันเป็นอะไรที่ดีนะ แล้วกิจกรรม **ตื๊ดตื๊ด** ยังจะมีอยู่มั๊ย นี่ต้องเซ็นเซอร์มั๊ยเนี่ย วิน: อืม กิจกรรม **ตื๊ดตื๊ด** เป็นเรื่องละเอียดอ่อนยังคุยกันไม่จบ

small #12

photo credit: Fai Huntrakool

ผู้ให้สัมภาษณ์ กวินท์ ลาภพิเชฐ (วิน)


คิดว่าการเข้าห้องเชียร์ทำ�ให้วิศวจุฬาฯ มีศักยภาพ? วิน: (คิดซักพัก) ไม่ วิศวจุฬาฯ จะมีคุณภาพได้ไม่ใช่แค่ช่วงรับน้องหนึ่งเดือน มัน จะมีคุณภาพก็ต่อเมื่อคนในมีคุณภาพ เหมือนว่าถ้าเราเข้าบริษัทไปแล้วเค้าจัดงาน ต้อนรับดีแล้วเราจะดี บริษัทต้องดี คนต้องดี งานรับน้องเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่เสริม ตรงนี้ได้ มันสำ�คัญเพราะว่าเป็นจุดเริ่มต้น เป็นก้าวแรกที่ทำ�ให้เค้ารู้จักคณะ รู้ว่า ความเป็นวิศวจุฬาฯ คืออะไร ถ้ากิจกรรมห้องเชียร์ห่วย นอกจากกิจกรรมจะเฟล แล้ว ยังทำ�ให้เค้าไม่อยากเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณะอีกด้วย คุณภาพที่ว่าคืออะไร

พอจะตัดกิจกรรมออก มันมักจะมีเสียงลุกฮือจากหลาย ๆ ฝ่ายเข้ามา โต้: เนื่องด้วยงานนี้มีคนแคร์น้อยอย่างที่พี่วินว่า ลึกๆ แล้วเชื่อว่าทุกคนอยาก เปลี่ยน พอบอกว่าฉันจะเปลี่ยน เลยเป็นภาพบวกมากกว่าภาพลบมากเลยครับ ส่วนใหญ่เป็นสนับสนุนมากกว่าโจมตี ภาพของห้องเชียร์ยุคใหม่จะเป็นยังไง วิน: จะไม่ให้ภาพห้องเชียร์ที่เกิดต่อไปเป็นการไปยืนเก๊ก ไขว้หลัง ทำ�หน้าพ่อตาย มันไม่ใช่ อยากให้ทุกคนที่มาทำ�อยู่กับน้องแบบปกติ ธรรมชาติ การกระทำ�ต้อง ไม่ใช่การแสดง แต่เกิดจากความอยากทำ� อยากสอนน้อง

วิน: จุดเด่นของเรา ไม่ว่าใครพูดถึงวิศวจุฬาฯ เค้าจะคิดถึงคอนเนคชั่น นั้นก็เป็น สิ่งที่เรายังมีอยู่บ้าง ถึงแม้ว่าผู้ใหญ่จะมองว่าลดลง เมื่อวานคุยกับอาจารย์ อาจารย์ บอกว่า Core Value ของวิศวจุฬามีอยู่สามอย่าง หนึ่ง.เราเก่ง สอง.Connection อีกเรื่องคือมันแปลกมากที่ทุกวันนี้เราไม่ทำ�งานกับลีดเลย ซึ่งกูมองว่าตลกมาก ลีด สาม.Soft Skill แต่ทุกวันนี้ทุกอย่างลดลง อย่างข้อแรกก็ลดแล้ว เราเก่งกันจริงมั้ย คือ ‘เชียร์ลีดเดอร์’ ทุกวันนี้ลีดเต้นตามน้อง ต่อไปก็จะต้องทำ�งานร่วมกันลีดมาก ขึ้น (แต่ละคนยิ้ม) ความฝันอีกอย่างนึงของเรา คือการรับน้องปีนี้ อยากให้ปีหนึ่ง ปีสอง ปีสาม ปีสี่ โอม: คอนเนคชั่นก็ลดลง เราให้ความสำ�คัญกับรุ่นพี่รุ่นน้องน้อยลง การช่วยเหลือ รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ รับรู้ว่าเราทำ�อะไรอยู่ และรับรู้ว่าจุดประสงค์ของเราทำ� รุ่นน้อง เกื้อกูลคนอื่นน้อยลง soft skill ก็ลดลง กิจกรรมทุกวันนี้ทำ�เอาสนุกอย่าง เพื่ออะไร เดียวแล้ว ไม่ได้จริงจัง ทุกคนเลิกเรียนแล้วกลับบ้าน เรื่องอะไรที่ท้าทายที่สุดในการเปลี่ยนแปลง วิน: เราพูดของเรานิดนึง เรามาทำ�งานวิษณุฯ ฟังรุ่นน้องปีสองพูดตอนจบค่ายกับ รุ่นน้องปีหนึ่ง เรารู้สึกว่าหลายๆอย่างที่เค้าทำ� เค้าทำ�มาจากใจให้น้องปีหนึ่งจริงๆ วิน: เรื่องของคน กิจกรรมที่ทำ�มามันแย่ คนที่พร้อมจะส่งต่อก็มีไม่ได้มาก จะ ยอมเหนื่อย ยอมคิดอะไรก็เพื่อน้อง พอเราเห็นแบบนี้ก็มีกำ�ลังใจ เพื่อน ๆ เราก็ ให้เราไปชวนเพื่อนตอนปีสี่แล้วก็คงไม่ได้ มันคงมีความฝันตัวเอง ทางเดินตัวเอง เหมือนกัน ไม่รู้ว่าแต่ละภาคเป็นยังไงนะ แต่ภาคเราทุกคนเพื่อนกันก็รู้สึกว่าคนที่นี่ หน้าที่ตัวเองที่ต้องรับผิดชอบ เราไม่กี่คนแต่ต้องทำ�การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ก็เป็นแบบนี้อยู่นะ นั่นก็เป็นจุดเด่นของวิศวจุฬาฯ ของเรา จะทำ�ยังไงให้คนมาร่วมกับเรามากที่สุดตรงนี้ยาก อย่างเรามาทำ�เพราะเรารู้สึก เราได้รับในสิ่งที่พี่ๆเค้าส่งต่อมา เราคงทำ�ให้คนอื่นรู้สึกไม่ได้ มามีความทรงจำ�ดี ดีแบบเราไม่ได้ เราขออย่างเดียวว่าคนรุ่นเก่าอย่าส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อคนรุ่นใหม่ แค่นั้นก็พอ

ผู้ให้สัมภาษณ์ กวินท์ ลาภพิเชฐ (วิน) กีรติ ธนกิจเจริญพัฒน์ (โต้) นายรัชภูมิ กรรณสูต (โอม) กรกมล เอี่ยมศิริ (จ๋อมแจ๋ม) ผู้สัมภาษณ์ กชกร ความเจริญ ธนพล ไกรลาศรัตนศิริ เรียบเรียง กชกร ความเจริญ

small #13


อยากถามความรู้สึกของทุกคน จากตอนแรกที่เราเริ่มฉุกคิด อยากเปลี่ยนแปลง และตอนนี้มันกำ�ลังจะเปลี่ยนแปลง ไปจริง ๆ วิน: เราภูมิใจที่ได้ทำ�ตรงนี้นะ ถึงจะเป็นคนกลุ่มน้อย ในเมื่อเราเห็นค่าของมันแล้ว ก็อยากจะทำ� โอม: ผมว่ามันเหนื่อย ลำ�บาก แต่ท้าทาย โดยส่วนตัวที่อยากเข้ามาเปลี่ยนเพราะ ที่ผ่านมามันไม่ดี ไม่น่าสนใจ แต่พอเข้ามาทำ�ก็รู้สึกว่าเฮ้ยมันดี แต่ไม่มีคนเข้ามา ทำ�ให้มันน่าสนใจ เลยคิดว่ามันน่าจะมีคนเข้ามาทำ�ตรงนี้ได้แล้ว ควรเข้ามากระตุ้น ส่งต่อให้ได้รับรู้ว่าวิศวจุฬาฯ มีสิ่งนี้อยู่ แล้วมันกำ�ลังหายไปนะ

photo credit: ฝ่าย PR วิศวจุฬาฯ รุ่น 96

โต้: โต้เป็นคนหัวอยากจะเปลี่ยนอยู่แล้ว ดีใจทีได้เปลี่ยนซักที ดีใจที่ทำ�เต็มที่ สิ่ง ที่ต้องทำ�ตรงนี้คือต้องเข้มแข็ง คนทุกคนเค้าจะมองว่าเฮ้ยมันจะรอดหรอ เราต้อง เข้มแข็งพอที่จะยืนเป็นเสาว่าเราจะเปลี่ยนใครจะมาเปลี่ยนกับเราบ้าง ตอนแรกก็ เหนื่อยมากครับ ซักพักนึงโอมมันก็เริ่มมาจอยละ คนอื่นก็มาจอย คนในรุ่นโต้คน ที่ไม่เคยเข้าเชียร์เลย พอเค้าเห็น กลุ่มเราก็เริ่มใหญ่ขึ้นมาเรื่อย ๆ ครับ ตอนนี้มี ความหวัง และคิดว่ารุ่นนี้ต้องดีแน่ ๆ อย่างน้อยก็เป็นความพยายามที่ดีครับ จ๋อม: จริง ๆ เราไม่ได้รู้สึกว่ามันเปลี่ยน มันแทบไม่แตกต่างจากรุ่นพี่บุ้งตอนเราปี สอง เราเป็นพี่เชียร์ก็จริงแต่เรามีความคิดว่าเรามาดูแลน้อง พอน้องได้รับสิ่งดี ๆ น้องก็จะส่งต่อสิ่งดี ๆ เชื่อมั่นในตัวรุ่น 97 เค้ารวมตัวกันได้ แข็งแกร่งกว่ารุ่นเรา วิน: จุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่มันถูกเริ่มมาแล้วรอบนึง แล้วมันก็เงียบหายไป (รุ่นพี่บุ้งเป็น ประธาน) small #14


มีอะไรฝากถึงเพื่อน ๆ วิศวฯ จุฬาฯ มั้ย วิน: คำ�พูดของพี่กรุ๊ปคำ�เดียวก็ทำ�ให้น้องหายไปจากห้องเชียร์ได้เลยนะ เหมือนกรุ๊ป เรา ตอนค่ายวิษณุฯ ด้วยซ้ำ�ที่พี่บอกว่า ‘ห้องเชียร์หรอ ไม่ต้องเข้าหรอก’ สุดท้าย ทัศนคติที่มีต้องห้องเชียร์ก็คือพี่ ๆ ยังไม่เห็นความสำ�คัญเลย จะเข้าไปทำ�ไม โอม: การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่ว่าปีสี่อยากทำ� ปีสามอยากทำ�แล้วมันจะเปลี่ยน อยากฝากถึงเพื่อนที่อยากทำ� มาเถอะ มาช่วยกัน พาน้องมาร่วมกิจกรรม อะไรที่ อยากเสริมมาเลย ช่วยกันได้ โต้: คนที่พร้อมจะเปลี่ยนอยากให้ก้าวขาเข้ามา เราพร้อมรับอยู่แล้ว ทุกความเห็น ความคิด มีประโยชน์ เราพร้อมจะก้าวไปด้วยกัน สำ�หรับน้องใหม่ก็อยากให้ลอง เข้ามาดู อุตส่าห์ทำ�ขนาดนี้แล้ว อีกอย่างที่อยากฝากก็คืออยากให้เราเดินไปในทาง เดียวกัน ไม่ขัดขากัน วันไหนมีชมรมต้องการคน เราก็ไม่ไปบังคับคนของชมรมมา หาเรา เราไม่อยากให้คนในกรุ๊ปมาสปอยทำ�ให้น้องแย่ลง

ต้องกล้า ต้องเชื่อมั่นในตัวเอง ว่าเราต้องยืนอยู่ตรงนี้นะจนกว่ามันจะจบ ต้องกล้าขึ้นมานำ�เพื่อนให้ได้

ขอคำ�พูดปิดท้าย วิน: เราอยากฝากประโยคกับเพื่อน ๆ เรา สิ่งที่เราอยากให้เกิดกับทุกคนที่สุดใน รั้ววิศวจุฬาฯ ก็คือ อยากให้ดูแลน้องของเราเท่านั้นเอง สำ�หรับคนที่ถามว่าเปลี่ยน แล้วจะเป็นยังไง กังวล เราเห็นมาหลายคณะแล้วที่ห้องเชียร์คณะอื่นล่ม มันถึงจุด ดาวน์ของกิจกรรมแบบเดิม ห้องเชียร์แบบ SOTUS บ้าบอ เราอยากฝากบอกว่า อย่ากลัวที่จะเปลี่ยนแปลงถ้าเข้าใจแก่นแท้ของมันแล้ว ทำ�ซะ ถ้าวันไหนที่เรามอง ว่ามันไม่ดีและควรจะเปลี่ยน อย่าไปกลัว โต้: คนที่คิดจะเปลี่ยนแปลง ก่อนอื่นเค้าต้องรู้ก่อนว่าของเดิมมันมีอะไรอยู่ เพราะ ถ้าเราสักแต่จะเปลี่ยนโดยไม่รู้เลยว่าแก่นแท้ของมันคืออะไร เราเอาอะไรไม่รู้มา โปะหน้า มันก็จะกลายเป็นอะไรไม่รู้เหมือนกัน จับต้องให้ได้ก่อนว่าแก่นแท้ของสิ่ง เดิมคืออะไรตอนนี้ยังจำ�เป็นอยู่มั้ย แล้วการเปลี่ยนจะเอาอะไรขึ้นมาแทน ข้อสอง ต้องกล้า ต้องเชื่อมั่นในตัวเอง ว่าเราต้องยืนอยู่ตรงนี้นะจนกว่ามันจะจบ ต้องกล้า ขึ้นมานำ�เพื่อนให้ได้ small #15


Alcohol 101 ธีรภัทร รื่นศิริ > fb page : ผมเป็นคนจริงจังเกินไปสินะครับ


-

จ ริ ย ธ ร ร ม ใ น เ รื่ อ ง เ ห ล้ า

จวบจนตอนนี้ผมก็ยังอดแปลกใจไม่ได้ที่ทางนิตยสารให้ เกียรติผมมาเขียนบทความเพราะผมไม่เพียงเป็นแค่อาจารย์ใหม่ไร้ ชื่อเสียงแต่ยังแทบไม่มีความรู้เกี่ยวกับแอลกอฮอล์เลย กล่าวเช่นนี้ อาจทำ�ให้หลายท่านเข้าใจผิดคิดว่าผมเป็นคนถ่อมตน ผมจึงอยากจะ เปิดตัวบทความชุด Alcohol 101 นี้ด้วยเรื่องเล่าที่จะสะท้อนความ เขลาของผมต่อหัวข้อดังกล่าว ยังจำ�ได้ว่า เมื่อตอนเด็ก คำ�ว่า “เหล้า” จะมาพร้อมกับ ภาพหนึ่งเสมอ มันคือภาพของชายผิวทองแดงไม่ใส่เสื้อนั่งก้มหัว มือกุมขวดเหล้า ภาพนี้คือภาพที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองปลูกฝัง ให้กับผมผ่านโรงเรียนและวัด ภาพของคนอันน่ากลัว อนาคตอันน่า กลัว อนาคตของใครก็ตามที่ริอาจลองดีกับแอลกอฮอล์ ใครก็ตาม ที่ปล่อยให้น้ำ�อันน่ากลัวนี้ไหลผ่านริมฝีปากไป แอลกอฮอล์เป็นสิ่งชั่ว ร้าย ดื่มเหล้าผิดศีลห้า ดื่มเหล้าตกนรก การที่พ่อดื่มเหล้าทำ�ให้พ่อ ตบตีลูก ภาพชายผิวทองแดงที่ตบตีลูก หมดอนาคตและเตรียม ตกนรกถู ก สั่ น คลอนเมื่ อ ผมบั ง เอิ ญ ได้ รู้ ว่ า คุ ณ แม่ ข องผมก็ ดื่ ม แอลกอฮอล์ คุณแม่ของผมเป็นคนไทยที่มีเชื้อสายจีน 75% คุณแม่ ของผมเป็นคนผิวขาวที่แทบไม่เจือความเหลืองอย่าว่าแต่สีทองแดง คุณแม่ที่เป็นผู้หญิง เป็นข้าราชการที่มั่นคง มีอนาคต คุณแม่ที่ชวน คนไปวัดเสมอ ๆ วัดที่สอนว่าเหล้าเป็นอบายมุข ผมยังจำ�ได้ว่าวันนั้นคุณแม่กลับบ้านดึกอย่างผิดวิสัย ไม่ได้ผิดวิสัยที่การกลับบ้านดึก คุณแม่ของผมท่านเป็นข้าราชการ แบบอย่างประกอบกับต้องการความสมบูรณ์แบบ บางครั้งจึงทำ�งาน จนดึกเพื่อเตรียมการให้สมบูรณ์ คุณแม่พูดบ่อย ๆ ว่าแม้คนจะเรียก ตนเป็นข้าราชการ แต่จริง ๆ แล้วคุณแม่เป็นข้าประชาชน คือทำ�งาน รับใช้ประชาชน ช่วยให้ประชาชนหางานได้ ซึ่งผมไม่รู้จนกระทั่งคืนนั้น ว่าสาเหตุที่คุณแม่สามารถอุทิศตนได้เพียงนี้มาจากแอลกอฮอล์ คืนนั้นคุณแม่กลับบ้านพร้อมเสียงหัวเราะที่ดังเป็นพิเศษ ดังจนปลุกเด็กชายให้ตื่นขึ้นมาได้ คุณแม่อธิบายว่าคุณแม่ไปสังสรรค์ กับเพื่อน ๆ เดือนละครั้งมาโดยตลอด ซึ่งการสังสรรค์ทำ�ให้คุณแม่ ผ่อนคลายความเครียดและพร้อมจะลุยงานใหม่ แต่คุณแม่ไม่ได้บอก ผมเพราะกลัวจะเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี แปลว่าเหล้าไม่ใช่เรื่องของชายผิวทองแดงไม่ใส่เสื้อเสมอ ไป บางครั้งมันยังเป็นเรื่องของหญิงผิวขาวเหลืองสวมชุดราชการใช่ หรือไม่? แปลว่าการดื่มเหล้าไม่ใช่เรื่องการตีลูกเสมอไป บางครั้งมัน ยังเป็นเรื่องของการอุทิศตนเพื่อสังคมใช่หรือไม่? บางทีเหล้าอาจจะคล้ายของวิเศษของโดราเอมอน ขึ้นอยู่ กับว่าผู้ใช้จะเป็นโนบิตะหรือไม่ เด็กชายคิดก่อนจะหลับไป ภาพของแอลกอฮอล์กำ�กวมยิ่งขึ้นเมื่อสังคมบอกเด็กชาย ว่าเขาไม่ใช่เด็กโตแต่โตเป็นวัยรุ่นแล้ว เขาไม่รู้สึกว่าตนเองเปลี่ยนไป แม้แต่น้อย รู้แต่ว่าตนไม่อาจพูดถึงโดราเอมอนได้อีกต่อไป กิจกรรม ที่ทำ� ได้ทั้งชายหญิงกลายเป็นเรื่องของเด็ก เรื่องไร้สาระ เกมที่เด็ก ชายชื่ น ชอบอย่ า งการวิ่ ง ไล่ จั บ และปลู ก ผั ก สร้ า งเมื อ งถู ก ล้ อ เลี ย น เกมที่สังคมเด็กหนุ่มอนุญาตคือการไล่จับลูกบอลกับทำ�สงครามล้าง โลก เด็กสาวยังสามารถทำ�ตัวคล้าย ๆ เดิมได้ คล้ายสังคมจะบอกว่า ผู้หญิงก็ไม่ต่างจากเด็ก แต่เพื่อนผู้หญิงของเขาก็มักเย้ยกลับมาว่า พวกตนเป็นผู้ใหญ่กว่าเพื่อนผู้ชายมาก บางทีผู้หญิงอาจจะคล้าย ๆ คนแก่ที่เป็นผู้ใหญ่จนกล้า ทำ�ตัวเหมือนเด็ก หรือบางทีความเป็นผู้ใหญ่อาจจะเป็นเพียงนิทานหลอกเด็ก ให้คนอื่นเชื่อฟัง

-

เด็กชายไม่แน่ใจในเรื่องของความเป็นผู้หญิงและความเป็น ผู้ใหญ่ แต่เขาแน่ใจว่าแอลกอฮอล์คืบคลานเข้าใกล้เขาในช่วงเวลานี้ เอง การแอบจิบเหล้าอ่อน ๆ ได้แม้เพียงจิบเดียวเป็นความสำ�เร็จทาง สังคม เด็กหนุ่มบางคนเริ่มโอ้อวดว่าตนได้ขโมยดื่มเหล้าของพ่อมา แล้ว (เด็กชายยังแปลกใจว่าทำ�ไมไม่มีใครขโมยเหล้าของแม่) มีเพื่อน คนหนึ่งแอบเอาขวดเหล้าเปล่า ๆ มาโรงเรียน เพื่อน ๆ มุงดูด้วย ความสนใจ คงมีเพียงเด็กชายที่ไม่ได้สนใจจะดูนัก สาเหตุสำ�คัญคง เพราะเด็กชายได้ยินว่าเหล้านั้นขมและตัวเด็กชายเองชอบดื่มนมเป็น ชีวิตจิตใจ เด็กชายผู้ชอบดื่มนมไม่ได้ข้องแวะกับแอลกอฮอล์ แม้ กระทั่งในรั้วมหาวิทยาลัย เด็กชายผู้ชอบดื่มนมกลายเป็นเด็กหนุ่มผู้ ชอบจิบชาแทน เด็กหนุ่มเริ่มหลงใหลและเสาะแสวงหาความรู้เรื่องชา ตั้งแต่ตอนม.ปลาย เขาหลงใหลในรูปรสกลิ่นสีแม้กระทั่งสัมผัสปลาย ลิ้นของน้ำ�ชา นั่นทำ�ให้เขางุนงงกับพฤติกรรมของเพื่อน ๆ ที่ผสม เหล้ากับน้ำ�อัดลมหวาน ๆ เพื่อน ๆ กลบเหล้าราคาแพงด้วยน้ำ�อัดลม และน้ำ�แข็งก่อนจะใช้นิ้วคนของเหลวในแก้วให้เข้ากัน เด็กหนุ่มคิดใน ใจว่าบางทีเพื่อน ๆ อาจจะไม่ได้หลงใหลในแอลกอฮอล์อย่างที่ป่าว ประกาศ แต่ดื่มมันเพื่อสร้างที่ยืนให้ตนเอง ที่ยืนที่ว่านี้เป็นแค่ที่ยืนใน เชิงอุปมาอุปมัยเพราะเพื่อน ๆ ของเขาที่กอดคอกันเมาเหล้าต่างต้อง ใช้วิธีคืบคลานไปกอดคอส้วมในตอนเช้าทั้งสิ้น เด็กหนุ่มลองเสนอการวิเคราะห์ของตนให้เพื่อน ๆ ฟัง แต่ เพื่อน ๆ คร้านจะฟังเขา พวกเขายอมรับว่าตนเองเหลวไหล ไม่ใช่เด็ก ดี ก่อนที่เด็กหนุ่มจะเชื่อมโยงการดื่มเหล้ากับความไม่ดีด้วยซ้ำ�ไป นี่ คงเพราะพวกเขาล้วนผ่านการปลูกฝังภาพชายผิวทองแดงไม่ใส่เสื้อ มือกุมขวดเหล้ามาเหมือนกัน เด็กหนุ่มอดสงสัยไม่ได้ว่าหากตนพลั้งปากแย้งเพื่อนไปว่า เพื่อน ๆ ไม่ใช่คนเหลวไหล พวกเขาจะเจ็บปวดเพียงใด เจ็บปวดเพราะมันหมายความว่าพวกเขาดื่มเหล้าเพียงเพื่อ จะเป็นคนปกติ ไม่แปลกประหลาด ความแปลกประหลาดที่ แ ท้ จ ริ ง อยู่ ที่ โ ศกนาฏกรรมแห่ ง ความปรารถนาของวัยรุ่น ในทางหนึ่ง พวกเราล้วนเชื่อว่าตนเองเป็น ปัจเจก เปรียบประหนึ่งงานศิลปะที่ไม่อาจถูกแทนที่ได้ พวกเราล้วน เชื่อว่าตนเองคือความแปลกใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ในทาง กลับกัน พวกเราก็หวาดกลัวที่จะแปลกแยก ความใฝ่ฝันของเราคือ การเป็นคนพิเศษที่สุดแสนจะปกติ การสงสั ย นี้ นำ � เด็ ก หนุ่ ม ไปสู่ ก ารตระหนั ก ว่ า แท้ จ ริ ง แล้ ว ตนเองไม่เพียงหลงใหลในรูปรสกลิ่นสีสัมผัสของชา แต่ยังหลงใหล ในนัยยะของมันอีกด้วย การจิบชาแทนการจิบเหล้าคือการก่อกบฏ เขาไม่เพียงพอใจที่เพื่อน ๆ มองเขาเป็นตัวประหลาด แต่เขายังซ่อง เสพกับความเป็นตัวประหลาด ซ่องเสพกับการตระหนักว่าทุกครั้ง ที่มีคนหยิบยื่นเหล้าให้เขา สังคมกำ� ลังยึดเขาเป็นสมรภูมิ ฝ่ายหนึ่ง บอกให้เขาจิบ อีกฝ่ายบอกไม่ให้เขาจิบ และเขาเองก็ปรารถนาที่จะเข้า สมัครพรรคพวกกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นพวกคนหนุ่มที่ดื่ม เหล้า หรือผู้ใหญ่ที่ไม่ต้องการให้เขาดื่มเหล้า แต่สุดท้ายเขาเลือกที่จะ ท้าทายความเป็นเด็กหนุ่มของตนเองด้วยการจิบชาอย่างคลุ้มคลั่ง ชาที่ไม่ใช่ของของเด็กหนุ่มแต่เป็นของผู้อาวุโส ชาที่ไม่ใส่นมไม่ใส่ น้ำ�ตาล ชาที่ไม่มีการกลบฝัง ชาที่หอม หอมจนน่ารังเกียจ ภาพของแอลกอฮอล์ในสายตาเด็กหนุ่มจะเปลี่ยนไปอย่าง ยิ่ง ซับซ้อนยิ่งขึ้น เมื่อเขาได้ดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกในชีวิตที่เมือง ผู้ดีอังกฤษ โปรดติดตามตอนต่อไป small #17


รีบชิดขวา..ช้าชิดซ้าย แก่ขวบ > fb page : แก่ขวบ

Social Science: A missing piece?

ทุกวันนี้ปัญหาสังคม เป็นเพราะคนศึกษา สังคมศาสตร์มากเกินไป

” 1. ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาของบทความ ขอ อนุญาตย้อนอดีตกลับไปยังสมัยผมเรียนชั้นมัธยม ปลายในห้องเรียนสายวิทยาศาสตร์เสียก่อน วั น นั้ น ผมถู ก เกณฑ์ ใ ห้ ไ ปฟั ง การ บรรยายโดยผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ผมจำ�หัวข้อและราย ละเอียดส่วนใหญ่ไม่ได้แล้ว แต่หัวข้อการบรรยาย ไม่น่าสนใจเท่าประโยคหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า “ทุกวันนี้ปัญหาสังคมเป็นเพราะคน ศึกษาสังคมศาสตร์มากเกินไป” ในวินาทีแรกที่ได้ยินในฐานะนักเรียน คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในพลังของวิทยาศาสตร์ ผมเห็น ด้วยกับประโยคนั้น เพราะคิดว่าปัญหาจากการ ประท้วงของนักสังคมศาสตร์ทำ�ให้สังคมไม่พัฒนา ไ ม่ เ ห มื อ น กั บ ก า ร ทำ � วิ จั ย ท า ง วิ ท ยาศาสตร์ แ ละวิ ศ วกรรมศาสตร์ ที่ ล้ ว นทำ � ให้ สังคมก้าวไป

2. ชี วิ ต ของผมก็ เ ช่ น เดี ย วกั บ ผู้ อ่ า นอี ก หลายท่านที่เลือกก้าวเดินในเส้นทางวิทยาศาสตร์ และได้รับทุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เพื่อเติม เต็มความฝันให้ไปได้ไกลที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จากประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรม ทางวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ม าเป็ น เวลา หลายปี ผมได้รับการปลูกฝังแนวคิดความมี เหตุ ผ ลและการนำ � วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี มาเปลี่ยนประเทศ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ด้านวิทยาศาสตร์ และตั้งใจประกอบอาชีพนัก วิ ท ยาศาสตร์ ห รื อ นั ก วิ จั ย ในมหาวิ ท ยาลั ย หรื อ สถาบันวิจัยชั้นนำ� ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร ระดับนานาชาติ

แต่แล้ว ผมก็ตั้งคำ�ถามกับตัวเองว่า ทุกสิ่งเหล่านี้ที่ผมได้รับตลอดจนความเชื่อมั่นใน วิทยาศาสตร์เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศแล้ว หรือ? ในขณะที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ส่วน ใหญ่คิดว่าปัญหาสังคมและการเมืองเป็นเรื่องไกล ตัว สังคมยังมีปัญหาอีกหลายปัญหาที่ยังไม่มีคำ� ตอบ ประเทศมีเทคโนโลยีชั้นสูงแต่ทำ�ไมคน ยังงมงายในไสยศาสตร์? ทำ � ไมปั ญ หาตรรกะวิ บั ติ ยั ง คงอยู่ ใ น ความคิดของชนชั้นกลาง? ทำ�ไมการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ถึงมีความผิดจนได้รับโทษจำ�คุก? ทำ�ไมเราถึงมองประเทศเพื่อนบ้านเป็น คู่แข่งทางเศรษฐกิจแทนการสร้างความร่วมมือร่วม กัน? และปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย ปั ญ หาเหล่ า นี้ อ าจดู เ ป็ น เรื่ อ งน่ า เบื่ อ และไม่เกี่ยวข้องกับคนธรรมดาเลยแม้แต่น้อย แต่ถ้าผมลองยกปัญหาใหม่ ทำ�ไมพ่อแม่ถึงต้องการให้ลูกเรียนหมอ เรียนวิศวฯ แทนที่จะปล่อยให้ลูกเลือกเรียนใน คณะที่อยากเรียนได้อย่างอิสระ?

หลายครั้งเราร้องไห้ เก็บกด กลำ�้กลืน ฝืนทน ดิ้นรน แต่สุดท้ายก็จำ�ยอมกับการตัดสิน ใจที่ไม่ใช่ของเรา และฝืนเรียนให้มันจบ ๆ จนได้ ปริญญาใบหนึ่งอย่างไม่มีความสุข ผมเชื่ อ ว่ า ผู้ อ่ า นหลายคนคงเคยเจอ ปัญหานี้ และคิดไม่ออกว่าใครควรจะเป็นคนรับ ผิดชอบระหว่างพ่อแม่กับลูก ๆ แน่นอนว่าปัญหานี้ก็ยังไม่มีทางแก้ไข เช่นเดียวกับปัญหาอื่น ๆ พอผมยกปัญหานี้ขึ้นมา ทุกคนพอจะ เห็นว่าปัญหาสังคมที่ดูเป็นปัญหาของคนอื่นที่อยู่ ไกลตัวกลับส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนตัวเล็ก ๆ ใน สังคมมากมายขนาดไหน และเรื่องเศร้าที่สุดที่เราจำ�เป็นจะต้อง ยอมรับความจริง เราไม่ ส ามารถนำ � วิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีมาแก้ปัญหาเหล่านี้ได้


3. แล้วเราจะใช้ความรู้ของศาสตร์สาขา ใดมาแก้ไขปัญหาพวกนี้ดี? คำ�ตอบคือต้องใช้ศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ อีก มากมายที่ น อกเหนื อ ไปจากวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยี ซึ่งระบบการศึกษาของไทยจัดให้อยู่ใน สายศิลป์ เมื่อพูดถึงคำ�ว่า ‘สายศิลป์’ เราอาจจะ นึกถึงคณะนิเทศศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ที่มัก จะปรากฎในพื้นที่สื่อของสังคม แต่ในความเป็น จริงแล้วยังมีสาขาวิชาหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยอย่าง เข้มข้นไม่แพ้การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ นั่นคือ ‘สังคมศาสตร์’

นั่นคือ ‘สังคมศาสตร์’ สังคมศาสตร์ (Social Science) ประกอบด้วยสาขาวิชาสังคมวิทยา (Sociology) และมานุษยวิทยา (Anthropology) ซึ่งจะ ศึ ก ษาแง่ มุ ม อั น หลากหลายและไม่ ห ยุ ด นิ่ ง ของ สังคมและวัฒนธรรมตามลำ�ดับ โดยเชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม ชุมชน ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณกรรม ปรัชญา และศาสตร์สาขาวิชาอื่น ๆ อีกมากมาย การศึกษาสังคมศาสตร์จะอาศัยแนว ความคิดเชิงสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาซึ่งแตก ต่างไปจากแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ โดยจะศึกษา วิจัยโดยเน้นการอ้างอิงกรอบความคิดของทฤษฎี ของนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาอย่างเป็น เหตุเป็นผล หากนั ก วิ ท ยาศาสตร์ เ ปิ ด ใจยอมรั บ แนวความคิดและปัญหาทางสังคมศาสตร์ จะช่วย ให้มุมมองของปัญหากว้างขวางขึ้น และศึกษา วิเคราะห์สิ่งรอบตัวโดยรอบด้าน ไม่ใช่มองแค่ ความเป็นเหตุเป็นผลและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพียงอย่างเดียว ไม่ ว่ า จะเป็ น เพราะอะไรก็ ต าม สังคมศาสตร์อาจถูกมองข้ามจากคนในสังคมมา เป็นเวลานาน

4. สมมติว่าวันนี้ผมได้พบกับผู้ใหญ่ท่าน นั้นอีกครั้ง ผมอยากจะถามบางคำ�ถามกลับไปว่า “ถ้าประเทศไทยไม่มีนักสังคมศาสตร์ โดยวิ ธี ใ ดวิ ธี ห นึ่ ง แล้ ว แต่ ปั ญ หาสั ง คมยั ง คงมี อ ยู่ อยากทราบว่าใครเป็นสาเหตุของปัญหานั้น?” ผมเห็นว่าการหาสาเหตุของปัญหาเป็น เรื่องที่สำ�คัญและต้องดำ�เนินการ แม้อาจจะต้อง ใช้กำ�ลังคนและเวลามาก แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่เราทำ�ได้ วันนี้และตอนนี้ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่ ยั่งยืน เราควรเริ่มเปิดใจเรียนรู้ทุกมุมมอง ทั้ง ที่เหมือน หรือแตกต่าง ทั้งเรื่องที่เราสนใจ หรือบาง เรื่องที่เราไม่เคยนึกถึง

ไม่แบ่ง ‘วิทย์’ แยก ‘ศิลป์’ อีกต่อไป

ในขณะที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ส่วนใหญ่คิดว่า ปัญหาสังคมและการเมือง เป็นเรื่องไกลตัว สังคมยังมี ปัญหาอีกหลายปัญหาที่ยัง ไม่มีคำ�ตอบ

small #19


ฟุ้ง

กี่ครั้งแล้ว ที่เราล้มเลิกความตั้งใจจะลงมือทำ�ไป

นภัส ชัยลภากุล

สายตาของผมหยุดที่เธอ เธอในชุดนิสิตสีขาว เธอที่กำ�ลังรอรถไฟฟ้า ราวกับโลกกำ�ลังหยุดหมุนเมื่อสองสายตาประสานกัน ตอนนี้ผมอยากจะรู้จักเธอจริง ๆ นะ ผมมีไอเดีย รับรองได้เลยว่ามันเป็นสิ่งที่ถ้าทำ�แล้วมันจะนำ�มาซึ่งความร่ำ�รวย ชนิดที่ใคร ๆ ก็ต้องอิจฉา มันเป็นสิ่งทุกคน มองข้าม แต่ผมกลับมองเห็นมัน เห็นมันชัดเจนเลยทีเดียวล่ะ เราตั้งใจจะไปออกกำ�ลังกายแล้ว ที่ผ่าน ๆ มาเราทำ�เพียงแค่ควบคุมอาหาร แต่มีคนบอกเราว่าถ้าได้ออกกำ�ลังกายควบคู่ไป ด้วย ผลลัพธ์ที่ได้มันจะดีกว่านี้ แล้วจะรออะไรละ เราไปออกกำ�ลังกายด้วยกันเลยดีกว่า สิ่งที่ผมทำ�อยู่ทุกวันนี้มันไม่ใช่เลย ต้องทน ๆ ทำ�ไปแท้ ๆ เหมือนชีวิตมันโดนใช้ไปกับอะไรไม่รู้ ผมมีความฝันนะ มันอาจ เป็นความฝันที่ทุกคนอาจจะหัวเราะเยาะมัน แต่มันถึงเวลาแล้วล่ะ เวลาที่ผมจะหยิบมันออกมาจากลิ้นชัก เอามันมาปัดฝุ่นใหม่ แล้วละ *** ผมไม่กล้าจริงๆ มือไม้มันชาไปหมด คนมันเขินเป็นนะเว่ย ยิ่งต่อหน้าดวงตาคู่นั้นแล้วผมทำ�ตัวไม่ถูกจริง ๆ แค่คำ�พูดง่าย ๆ ว่า อยากรู้จัก ผมก็ลืมวิธีพูดมันไปเสียแล้ว มันจะต้องลงเอยแบบนี้อีกแล้วหรอ มันจะเป็นการเจอกันครั้งแรกแล้วก็เป็นเพียงครั้ง เดียวเพียงเท่านี้หรอ แต่ข้อจำ�กัดมันเยอะจริง ๆ น่ะ ทั้งเงินลงทุน ทั้งคู่แข่ง ไหนจะความเสี่ยงอีกละ เอาจริงมันเหนื่อยมากเลยนะถ้าจะลงมือ ทำ�น่ะ แต่ไอเดียก่อนหน้านี้มันก็มีคนเอาไปทำ�ตัดหน้า ตอนนี้เค้ารวยไปถึงไหนแล้วละ กลับมาที่ไอเดียนี้ สุดท้ายมันจะลงเอยแบบ นั้นเหมือนกันหรอ เหนื่อย แค่ชีวิตที่ต้องเรียนหนังสือ ทำ�งานที่อาจารย์สั่งก็แทบหมดแรงแล้วน่ะ แล้วยิ่งช่วงนี้ฝนตกจะให้แบกรองเท้าไปวิ่งนี้ ลำ�บากชัด ๆ ทำ�ไมใคร ๆ ต้องอยากมีหุ่นดี ๆ กันน่ะ เราขอพอใจในร่างกายตัวเองเท่านี้ได้ไหม กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมอาจมี ความสุขกว่าก็เป็นไปได้น่ะ ผมเปลี่ยนใจเอาความฝันเก็บลงไปได้มั้ย สิ่งที่ทำ�ทุกวันนี้มันอาจไม่ใช่สิ่งที่เรามีความสุขเท่าไหร่ แต่มันก็เลี้ยงเรามาได้ตั้งหลาย ปีแล้วน่ะ แล้วจะออกไปเสี่ยงทำ�ไม ด้วยสิ่งแวดล้อม สังคมที่กำ�ลังคาดหวังกับตัวเราด้วย บางครั้งความฝันก็อาจต้องตามหลังค วามรับผิดชอบนะ เอ้ะ! แต่ถ้ารีบทำ�มันตอนนี้ก็อาจจะยังพอมีโอกาสเปลี่ยนความฝันให้เป็นความจริงแล้วฝันนั้นอาจมาช่วยรับผิด ชอบให้ด้วยยังไงละ โอ้ย! ยิ่งคิดยิ่งสับสนเอายังไงดีวะ *** มันก็เป็นแค่อีกวันที่ผมเดินทางไปมหาวิทยาลัย ถ้าตอนนั้นเข้าไปทักตอนนี้จะเป็นยังไงนะ เราอาจจะได้ลองคุยกัน น่าเสียดาย จริง ๆ เลยนะ ไม่รู้จะมีโอกาสได้เจออีกไหม เดี๋ยวก็คิดใหม่ได้ ไอเดียนี้มันอาจยากเกินไป ผมยังไม่พร้อมหรอก รอพร้อมกว่านี้อีกนิด ต่อให้ไม่มีไอเดียใหม่เข้ามา เดี๋ยวค่อย เอาของเก่าเนี่ยแหละมาทำ� รอผมพร้อมอีกหน่อยละกันนะ งั้นเอาไว้หมดช่วงงานเยอะนี้แล้วค่อยกลับไปวิ่งละกัน แล้วมันอาจจะผ่านหน้าฝนไปแล้วด้วย รอก่อนนะ เราสัญญาเลยล่ะคราว นี้จะวิ่งมันทุกวันเลย ปวดหัวงี้เอาไว้ค่อยคิดละกัน งานประจำ�ทำ�ไปเรื่อย ๆ ก็ไม่แย่เท่าไหร่หรอก ผมอาจแค่เหนื่อยไปช่วงนี้เลยฟุ้งซ่าน วันนี้ขอก ลับไปนอนดูทีวีหน่อยละกัน ส่วนความฝันนะ ถ้าทุกอย่างมันลงตัวแล้ว ผมจะรีบทำ�มันในทันทีเลย

small #20



ออกจากห้องสี่เหลี่ยม เก้า ชีวิต

ธนูที่อาจารย์เคนำ�มาให้ฉันฝึกคือธนูแบบดั้งเดิม โดยท่าน อาจารย์ได้สอนวิธีการยิงธนูมีดังนี้

1. ยืนตั้งฉาก 90 องศากับเป้า โดยหันไหล่ซ้ายไปทางเป้า กางขาให้ กว้างเท่าช่วงไหล่ 2. ใส่ปลอกนิ้วที่นิ้วกลางมือขวา จับคันธนูด้วยมือซ้าย 3. ใส่ลูกธนู โดยก้นของลูกธนูจะมีร่อง ให้นำ�ไปใส่ตรงร่องสีแดงที่สาย ของคันธนู 4. ยกคันธนูขึ้นมา มือซ้ายเหยียดตรงไปข้างหน้า ศอกขวายกตั้งฉาก กับพื้น 5. ใช้สามนิ้วคือนิ้วชี้ กลางและนางของมือขวา (เหมือนลูกเสือ) ดึง สายธนูมาแนบตรงข้างแก้ม แล้วปล่อยมือขวา

จู่ ๆ ฉันกลับรู้สึก กระหายวิชา ขึ้นมาทันใด

ลูกธนูพุ่งไปที่เป้า ห่างจากกลางเป้าพอสมควร... นั่นคือ การยิงธนูครั้งแรกของฉัน อาจารย์เคได้กล่าวคำ�พูดหนึ่งกับฉัน ท่านกล่าวไว้ว่า...

หลายคนคงเคยดูหนังที่มีคนยิงธนู เป็นต้นว่าเห็นเลโกลัสใน เรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริง และคงคิดเหมือนฉันว่าเท่ห์จริง ๆ และช่วงที่ ฉันจะเขียนเรื่องนี้ก็มีกระแส “จนกระทั่ง...ธนูปักที่เข่า” มหาวิทยาลัยที่ฉันเรียนอยู่ (ม.เชียงใหม่) มีชมรมยิงธนู ซึ่ง ฉันไม่เคยคิดจะเข้าไปเลย เพราะคิดว่ามันคงยากมาก ง้างจนเหงื่อ ท่วมตัวก็คงไม่สำ�เร็จ แต่แล้วในวันหนึ่งก็โดนหลอกไปจนได้ ด้วยความ อยากรู้อยากลอง อีกทั้งไม่ต้องเสียตังค์ด้วย

พอไปถึงสนามยิงธนู (อยู่ข้างโรงยิมกลางของมหาวิทยาลัย) เห็นคันธนูและลูกธนูตรงหน้า จู่ ๆ ฉันกลับรู้สึกกระหายวิชาขึ้นมา ทันใด

การยิงธนูนั้นไม่ยาก ที่ยากกว่าคือ การยิงให้ได้ระยะสม่ำ�เสมอ

ศิษย์พี่เคแห่งสำ�นักชมรมยิงธนูเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาให้ฉัน ขอ เรียกว่าท่านอาจารย์เค ท่านอาจารย์เคได้ชี้แจงแถลงไขถึงกฎการยิงธนู มีอยู่ว่า...

1. ห้ามเข้าไปในบริเวณสนาม ขณะที่มีคนยิงธนู (ถ้าไม่กลัวโดนธนูปักที่เข่านะ)

2. ห้ามเข้าไปเก็บลูกธนู จนกระทั่ง...มีสัญญาณบอกให้เก็บลูกธนู

จนกระทั่ง...ได้ยิงธนู

ธนูที่นี่มีสองแบบ ธนูแบบดั้งเดิม (Traditional Archery) และธนูสมัยใหม่ (Modern Archery) ธนูแบบดั้งเดิมเป็นธนูที่ใช้มาแต่ เดิม ส่วนธนูสมัยใหม่จะมีอุปกรณ์เสริมช่วยให้ยิงธนูได้ง่ายขึ้น small #22

3. อย่าง้างสายธนูแล้วปล่อยมือโดยไม่มีลูกธนู ไม่งั้นคันธนูอาจหักได้ (ไม่ได้เล่นมุก)

เป้าที่มีให้ซ้อมยิงธนูมีสองแบบ แบบแรกเป้าที่มีรอบวง หลาย ๆ วง (เหมือนเกมปาเป้า) เป็นเป้าระยะไกล คาดว่าประมาณสิบ เมตร เป้าอีกแบบเป็นเป้าระยะสั้น ห้าเมตร เป็นเป้าที่ทำ�ด้วยฟาง เรียก ว่าเป็นเป้าสำ�หรับผู้เริ่มต้น

ทำ�ให้ฉันตาสว่าง

นั่นหมายความว่า การที่เราจะทำ�การใดให้ได้มาซึ่งความ สำ�เร็จ อาจไม่ได้หมายถึงการทำ�ให้ตรงเป้าเพียงอย่างเดียว แต่ความ สำ�เร็จที่แท้จริงต้องอาศัยการฝึกฝนให้ได้ผลดีอย่างสม่ำ�เสมอ รักษา ระดับฝีมือไม่ให้ตก จึงจะถือว่าเป็นความสำ�เร็จที่แท้จริง จากคำ�พูดนั้น ทำ�ให้ฉันหวนนึกถึงคำ�พูดของอาจารย์วิชา ภาษาอังกฤษ ท่านกล่าวย้ำ�เตือนว่า แม้ว่าฉันจะมีผลสอบที่ดีกว่าคน ส่วนใหญ่ในห้อง แต่อย่าลืมที่จะรักษาระดับคะแนนนี้ไว้อย่าให้ตก แม้ จะแอบกดดันเล็ก ๆ แต่ก็เป็นแรงผลักดันให้ฉันตั้งใจที่จะพากเพียร อย่างสม่ำ�เสมอเพื่อให้ได้มาซึ่งผลการเรียนที่น่าพึงพอใจและพิสูจน์ตัว เองว่า เราไม่ได้แค่ดวงดี


เอ๊ะ เดี๋ยวนะ

Panisaj > fb page : Panisaj

- โอ้โห! ภาพหลุดดาราสาว ตัวย่อ น. - Tackling Thailand’s human trafficking problem : denial and ... - “...ถนนเป็นของทุกคน ทั้งรถยนต์ คนเดินถนน และจักรยานมีสิทธิเท่า เทียมกัน...โครงการนำ�ร่องสร้าง เลน จักรยานนอกเมืองของผมจะทำ�ให้ ทุก คนสามารถขี่จักรยานเล่นกันใน วัน หยุดไม่ต้องกลัวรถชน...” - ...ขาดเเคลนนำ�้หนัก เตรียมเสนอ โครงการสร้างเขื่อนใหญ่บริเวณ ป่า ตะวันตก เชื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง... - “...ประกาศจากคณะ...”

- บทที่ 9 ประเทศไทยมีการปกครอง ระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข เดิมชื่อว่า สยาม ก่อนเปลี่ยนชื่อในสมัย... - ...จนได้ชื่อว่าเสือตัวที่ห้าของเอเชีย... - ...ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม และ ค่านิยมสิบสองประการ... - เหตุการณ์ 14 ตุลา เกิดวันที่ 14 - ...เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทำ�ร้ายทาง เพศ ควรแต่งกายมิดชิด หลีกเลี่ยงการ เดิน คนเดียวเวลาค่ำ�มืดในที่เปลี่ยว ไม่ไปไหนกับเพื่อนต่างเพศ...

- นายกปลื้ม! นร.รำ�ต้อนรับ ความ เป็นไทย ยังอยู่ในหัวใจทุกคน (อ่านต่อหน้า 11) - ข้ามในที่ไม่ควรห้าม! ตายสามเจ็บ หนึ่ง (อ่านต่อหน้า 15) - พามาปล้ำ�ที่บ้าน พ่อแม่โต้นึกว่าเด็ก เล่นกัน (อ่านต่อหน้า 13) - รมต.เผยเศรษฐกิจกำ�ลังเข้าสู่ขาขึ้น ในรัฐบาลนี้ อาหารแพงเป็นข่าวโจมตี (อ่านต่อหน้า 11)

- กระทู้แนะนำ� : ******//สงสัย มากค่ะ// ท้องแล้ว โดนไล่ออก บอกทำ�อนาคตพังเอง - What is “public shaming”? - สาวงามที่ไม่ได้ดีแค่หน้าตา ร่วมโหวตได้ที่นี่ คลิกเลย! - รวมเว็บธรรมะดีๆ ที่นี่ที่เดียว /คลิกที่นี่/ - เปิดวาร์ป xxx6969


Intro to LOGIC พีริยา จำ�นงประสาทพร

พักหลังมานี้เราได้ยินบ่อย คนคนนี้มีลอจิก คนคนนี้เหตุผลดี ส่วน คนคนนี้ตรรกะวิบัติ น่าจะได้ยินตั้งแต่โลกโซเชียลกว้างขึ้นและคนเริ่มถกเถียง กันมากขึ้น เจอพวกเกรียนพูดจาไม่รู้เรื่องมากขึ้น สังคมเลยได้ทำ�ความรู้จักกับ ระบบการใช้เหตุผลประเภทหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับของโลก ตรรกศาสตร์ (logic) ความจริงตรรกศาสตร์เป็นวิชาที่เก่าแก่โบราณ ในเอเชียเรา จีนคิด ระบบตรรกศาสตร์มาตั้งแต่ 2,200 ปีก่อน อินเดีย 1,900 ปีก่อน ไทยเราอาจจะ เชยอยู่สักหน่อย เพิ่งจะได้เรียนกับเขาทีหลังเมื่อรับการศึกษาจากตะวันตก ระบบ ตรรกศาสตร์ของตะวันตกแน่นอนว่ามาจากพวกกรีก คำ�ว่าลอจิกดั้งเดิมในภาษา กรีกหมายถึง สิ่งซึ่งประกอบด้วยเหตุผล ปัญญา การใช้คำ�พูด และการโต้วาที ปัจจุบัน เรามักนิยามตรรกศาสตร์ว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับข้อเสนอหรือข้อโต้ แย้งอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อพิจารณาว่ามันสมเหตุสมผลหรือไม่ บทความนี้จะขอเมาท์เกี่ยวกับลอจิก และข้อบกพร่องที่ผู้นิยมลอจิก ก็ยังชอบตกม้าตายใช้กัน เนื่องจากว่านี่เป็นนิตยสารของวิศวฯ ก็จะขอเน้นไป ที่ข้อบกพร่องประเภทที่พบว่าเด็กวิทย์ชอบใช้เป็นพิเศษ อ้าวไม่โม้นา คนเรียน ศาสตร์ต่างสายชอบทำ�ลอจิกกันคนละแบบจริง ๆ (อีกอย่างตรรกะวิบัติมีเป็น ร้อย ๆ แบบ กว่าจะพูดจบคงจะปีหน้า แม้นผู้ใดสนใจลึกซึ้ง จงไปหาหนังสือเอา เน้อ เทวาลัยอยู่ใกล้วิศวฯ แค่นี้เอง) ในจุฬาฯ ตรรกศาสตร์ไม่ได้สอนในภาพรวม แต่สอนแยกเป็นการ ใช้เหตุผลสำ�หรับสายวิทย์และสายศิลป์ ซึ่งค่อนข้างจะแปลก (อันที่จริงก็อาจ จะแปลกมาตั้งแต่นโยบายแบ่งสายศิลป์สายวิทย์ตัดขาดจากกันในระดับมัธยม แล้ว) อย่างเช่นว่า เด็กวิศวฯ คอมได้เรียนตรรกศาสตร์เชิงสัญลักษณ์แบบที่ใช้ ด้านคณิตศาสตร์และการเขียนโปรแกรม if-else อะไรพรรค์นั้น ในขณะที่เพื่อน บ้านของวิศวฯ คืออักษร มีวิชาบังคับปีหนึ่งคือ การใช้เหตุผล เป็นตรรกศาสตร์ เชิงปรัชญา จะไม่เรียนเฉียดเข้ามาใกล้ด้านคณิตศาสตร์เลยแม้แต่นิดเดียว ทั้งที่ ความจริงแล้วมันก็วิชาเดียวกันนั่นแหละ แต่เอาไปประยุกต์คนละแบบ

ขอเชิญทุกท่านรู้จักกับ ‘หลักการแรก’ เอาล่ะ ตรรกะของวิทย์กับศิลป์ต่างกันตรงไหน เรามีตัวอย่างอมตะ ของลอจิกแบบง่าย ๆ คือเรื่อง ‘โสเครตีสจะต้องตาย’ ลองอ่านดูข้อความต่อไปนี้ “โสเครตีสเป็นคน โสเครตีสจะต้องตาย” อืม...ก็ฟังดูปกติดี ทำ�ไมเราถึงรู้สึกว่าข้อความนี้ใช้ได้ ฟังขึ้น คนพูด ไม่บ้าแน่ เหตุผลเพราะว่า มันมีประโยคหนึ่งซ่อนอยู่ในข้อความนี้ ข้อความเต็ม ๆ เลยคือ “คนทุกคนจะต้องตาย โสเครตีสเป็นคน โสเครตีสจะต้องตาย” นี่เรากำ�ลังใช้เรื่องเซ็ต – ซับเซ็ต อยู่นั่นเอง คนทุกคน (เซ็ต) มีโสเคร ตีส (ซับเซ็ต) อยู่ข้างใน ดังนั้นผลลัพธ์ก็ต้องตายตามเงื่อนไขเหมือนกัน ลอจิกเป็นแค่ระบบ จึงไม่สามารถใช้ได้ตัวเปล่า ๆ แต่ต้องเชื่อมโยง ประโยคต่าง ๆ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่เรียกว่า ‘หลักการแรก’ (the first principle) ในตัวอย่างนี้ หลักการแรกคือ คนทุกคนต้องตาย ซึ่งเป็นเรื่องที่เรารับ ได้ว่าจริง แบบจริงโคตร ๆ ไม่มีอะไรมาล้มได้ ยกเว้นว่าจะเจอคนคนแรกที่ไม่ เคยตาย... แต่คิด ๆ ดู โดยนิยามของคนแล้ว คนที่ไม่เคยตายเราคงจะไม่นับ เป็นคนอีกต่อไป อาจจะเรียกเป็นแวมไพร์ เอล์ฟ หรือพระเยซูก็แล้วแต่ (ขนาด พระเยซูก็ยังต้องตายเลย เพียงแต่ตายเสร็จฟื้นคืนชีพได้) ดังนั้น สรุปแล้วโดย นิยามคนต้องตายแน่ ๆ หลักการแรกนี้ถูก สิ่งอื่น ๆ ที่ตามมันมาจึงถูก ปกติแล้ว หลักการแรกของสายวิทย์ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะข้อเท็จ จริงของวิทย์เป็นความจริงแบบพิสูจน์ บางทีก็เป็นระบบที่ตั้งเพื่อการคำ�นวณ ซึ่ง เราค่อนข้างมั่นใจได้ว่าถูก จนกว่าจะมีหลักฐานมาล้ม เช่น อีกาทุกตัวสีดำ� แต่ ปัญหาชีวิตทั้งหมดทั้งมวลมันดันมาตกอยู่กับหลักการแรกของสายศิลป์ หรือ ธรรมชาติของวิชาฝ่ายมนุษยศาสตร์ตั้งแต่เริ่มต้น นั่นคือ ไม่มีอะไรถูก


จุดบอดของลอจิก

เราบอกได้ว่าคนทุกคนต้องตาย เรื่องนี้ยืนยันพิสูจน์ได้ แต่เรา สามารถบอกได้หรือเปล่าว่า คนทุกคนตายแล้วเกิดใหม่? ปัญหาเกิดขึ้นกับหลักการแรกเมื่อเราก้าวเข้ามาในอาณาเขตของ สังคม การเมือง ศีลธรรม หรือทัศนคติความเชื่อ อาณาเขตของชีวิตและความ เป็นมนุษย์นั่นเองแหละ หลักการแรกของสายศิลป์ไม่มีที่จริงหรือเท็จอยู่แล้ว มี แต่เป็นทฤษฎีต่าง ๆ ที่มีอำ�นาจกับความคิดความเชื่อของเรา ตัวอย่างข้อเท็จจริงเหล่านี้เช่น “คนทุกคนเท่าเทียมกัน” “นิพพาน มีอยู่จริง” “ผู้หญิงมีหน้าที่สำ�คัญที่สุดคือการเป็นแม่” “ความกตัญญูเป็น เครื่องหมายของคนดี” “คนและสัตว์มีวิญญาณ” “พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยงาม ที่สุด” ฯลฯ ลองดูตัวอย่างที่ใช้หลักการแรกประเภทนี้ “เด็กเป็นผ้าขาว ผู้ใหญ่จึงควรรักษาความดีความบริสุทธิ์ของเด็กไว้ และเรียนรู้จากเด็ก” หลักการแรกในที่นี้ คือ เด็กเป็นผ้าขาว นี่เป็นทฤษฎีสังคมสายของ ฌอง-ฌาค รุสโซ และจอห์น ล็อค ว่าคนเกิดมาดีแต่เดิม เป็นเด็กใสซื่อ แต่สังคม แห่งผลประโยชน์อันเน่าเฟะนี่เองที่ทำ�ให้คนต้องมาแก่งแย่งฆ่าฟันกัน ซึ่งก็เป็น ที่ยอมรับอยู่ แต่แน่นอนมีทฤษฎีสังคมสายอื่นเหมือนกัน เช่นสายโธมัส ฮอบบ์ส (ซึ่งเป็นสายเดียวกับศาสนาต่าง ๆ ) คือคนเกิดมาโดยธรรมชาติมีบาป มีความ ชั่ว เด็กทุกคนโกหกเป็น แกล้งคนอื่นเป็นโดยไม่ต้องสอน ดังนั้นสังคมไม่ใช่สิ่งที่ เน่าเฟะ แต่ว่าสังคมคือวัฒนธรรม คือความเจริญที่มาอบรมขัดเกลาให้คนรู้จัก ผิดชอบชั่วดี เป็นต้น หลักการแรกไหนถูกต้องกันแน่ ระหว่างคนเกิดมาดี กับคนมาเกิดมา ชั่ว อย่างที่บอกไป คำ�ตอบคือไม่มีอะไรถูก มีแต่เอาไปใช้การได้หรือไม่ ก่อให้ เกิดความเดือดร้อนไหม ยกตัวอย่าง รัฐศาสตร์อาจจะหยิบทฤษฎีหนึ่งไปใช้ประกอบการ ปกครอง เช่นไทยเราใช้สายโธมัส ฮอบบ์ส อยู่ในปัจจุบัน คือทำ�ให้คนเชื่อว่า

คนเกิดมาชั่ว ไร้ระเบียบวินัย จึงต้องทำ�ตามวัฒนธรรมที่กำ�หนดโดยรัฐส่วน กลางและศาสนา ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมเป็นสิ่งดีงาม แบบนี้เป็นต้น รัฐศาสตร์ไม่สนใจว่าฮอบบ์สจะพูดถูกไหม แต่สนใจว่าคำ�พูดฮอบบ์สนั้นสามารถ ควบคุมคนตามที่รัฐต้องการได้หรือเปล่า ทีนี้ ถ้าเกิดว่าคนเข้าใจหนทางของเหล่าชาวมินเนี่ยนรัฐศาสตร์ว่ามัน เป็นวิธีปกครองบริหารแบบหนึ่งเท่านั้น มันก็โอเคอยู่หรอก แต่ปรากฏว่าบางที รัฐศาสตร์เก่งเว่อร์วังปังบานาน่า เอาทั้งสถาบันการศึกษา ศาสนา และสื่อต่าง ๆ มาช่วยทำ�ให้คนเชื่อทฤษฎีของเขา ถึงขั้นเข้าใจว่ามันถูก มันเป็นข้อเท็จจริง คนก็ จะใช้ทฤษฎีนี้ตั้งเป็นหลักการแรกอย่างไม่สงสัยอะไรเลย จากนั้นลอจิกที่เขาทำ�ก็ จะโยงต่อมาเรื่อย ๆ กลายเป็นชุดความคิดขนาดใหญ่ ตรงนี้แหละคือจุดที่ลอจิกจะยิ่งทำ�ให้เราเสี่ยงจะไร้เหตุผลอย่างมั่นใจ เพราะว่าเวลาเราใช้ลอจิก เรารู้ดีว่าเราใช้ระบบตรรกะที่ถูกต้องอยู่ มันเลยหลอก ให้เรารู้สึกว่า เออ ความคิดนี้ก็สอดคล้องกันดี… เพียงแต่ว่า ‘หลักการแรก’ ของ ลอจิกเราล่ะ เราเอาอะไรมาตั้ง ความคิดจิตใจคนเราตั้งอยู่บนหลักการแรกต่าง ๆ ที่เราต้องเลือก และตัดสินอยู่ตลอดเวลา โดยที่ทุกทฤษฎี ทุกพรรค ทุกศาสนา ต่างก็ใช้ระบบโค รงสร้างลอจิกเหมือน ๆ กัน และเข้ามาเสนอตัวให้เรารู้จักในฐานะชุดความคิด ขนาดใหญ่มหึมาที่โยงเหตุผลซับซ้อนมาหลายร้อยปีแล้ว ดังนั้น แม้ จะมั่นใจว่ามีลอจิก ก็ขอให้อย่าลืมสงสัยและระวังเรื่องหลักการแรกที่เราอาจจะ ยึดถืออยู่ (บางทีไม่รู้ตัว) หรือเวลาฟังใครปราศัยแล้วเห็นดีเห็นงาม ก็อย่าลืม เบรกตัวเองแป๊บหนึ่ง พิจารณาให้ถึงพื้นฐานของระบบการใช้เหตุผลนั้นก่อนจะ ตัดสินใจ ความคิดมีระบบแน่นอนว่าดีกว่าไม่มี แต่ระบบก็ไม่ใช่ยาวิเศษครอบ จักรวาล …โปรดติดตามตอนต่อไป...

small #25


เล่าเรื่องเศรษฐกิจ ศิริวิมล วิสุทธิ์ศักดิ์ชัย > page Economic Today : เศรษฐกิจวันนี้

นักศึกษา

และ

ในช่วงหลายปีที่ผ่าน มา โลกได้มีการเปลี่ยนแปลงและ พัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว จน ทำ�ให้อุตสาหกรรมเกิดใหม่บาง ประเภทขยายตัวและสร้างผลกำ�ไร ได้มาก ในขณะที่อุตสาหกรรมบาง ประเภทก็ล้มหายตายจากไป แต่ สิ่งสำ�คัญที่ทำ�ให้อุตสาหกรรมยัง สามารถอยู่ได้ในปัจจุบัน คือ “การ ปรับตัว” อย่างเช่นอุตสาหกรรม น้ำ�อัดลม ที่มีการปรับภาพลักษณ์ ของแบรนด์ให้ทันสมัยอย่างต่อ เนื่อง เป็นต้น

สำ�หรับประเทศไทย ภาพในอนาคตของอุตสาหกรรม นั้นไม่ได้เป็นภาพแบบเดิมอีกต่อ ไป อุตสาหกรรมในอนาคตที่ทาง สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน หรือ BOI (Board of Investment) ให้การผลักดันและ ส่งเสริม จะเน้นไปในอุตสาหกรรม ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง หรือที่เรียก กันว่า New Industries เพื่อ ผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็น Modern Industry Hub และ เป็นศูนย์กลางของการค้า ซึ่ง การเป็นศูนย์กลางนี้ ต้องใช้เวลา พอสมควรในการเปลี่ยนแปลงแต่ นั่นก็เป็นเวลาที่ดี ที่ทำ�ให้นักเรียน นักศึกษาและคนรุ่นใหม่ ได้เกิดการ ปรับตัวและพัฒนาทักษะที่มีความ จำ�เป็นต้องใช้ในอนาคต

อุตสาหกรรมที่อยู่ใน New Industries มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 อุตสาหกรรม คือ 1.Biotechnology หรือกิจการ เทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีกว่า 200 แห่งในประเทศไทยและมูลค่าตลาด ราว ๆ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่น เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม กิจการผลิตชุดตรวจวินิจฉัยการ ทางแพทย์ การเกษตร อาหารและ สิ่งแวดล้อม การทดสอบฤทธิ์สาร สกัดจากธรรมชาติ ฯลฯ

2.Cloud Service เป็นกิจการ ที่วางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัล โดยครอบคลุมผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ทั้งหมด เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์สื่อสาร บริการทางการ เงิน ภาพยนตร์โทรทัศน์ ฯลฯ


industries

อุตสาหกรรม

New

3.Nanotechnology ใน ส่วนนี้จะเป็นการผลักดันให้นาโน เทคโนโลยีมีความเป็นรูปธรรม มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นอุตสาหกรรม ที่มีความสำ�คัญในหลากหลาย สาขา เช่น นาโนเทคโนโลยีเพื่อการ ตรวจวิเคราะห์อุตสาหกรรมอาหาร ที่มีเป้าหมายในการตรวจไอออน โมเลกุลเคมี และชีวโมเลกุล ได้แก่ โลหะหนักและเชื้อโรคที่ก่อให้เกิด โรคในอาหาร นอกจากนี้ยังมีการ ใช้นาโนเทคโนโลยีในการพัฒนาปุ๋ย สำ�หรับพืชเศรษฐกิจ

4.Aerospace หรือธุรกิจ การบิน ซึ่งนับวันจะยิ่งมีความ โดดเด่นมากขึ้นและเป็นกิจการที่ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง จำ�นวน นักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางมายัง ประเทศไทยขยายตัวอย่างเห็นได้ ชัด จำ�นวนลำ�เครื่องบินที่มาจอด ในไทยนั้น เป็นที่แน่นนอนอยู่แล้ว ว่า ต้องการการตรวจเช็ค ซ่อม บำ�รุง รวมไปถึงการเติมน้ำ�มันเชื้อ เพลิง ทั้งนี้อุตสาหกรรมธุรกิจ การบิน ยังถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่ง เครื่องจักรที่จะสามารถขับเคลื่อน เศรษฐกิจไทยให้พ้นจากกัปดัก สภาพคล่องได้ หากภาครัฐมีการ วางยุทธศาสตร์ พร้อมทั้งแนวทาง ในการปฏิบัติที่ชัดเจน

จากที่กล่าวมาข้างต้น นั้น เห็นได้ว่าอุตสาหกรรมใน อนาคตที่จะขึ้นมาเป็นตัวหลัก มี การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเยอะมาก ในขณะเดียวกัน ก็มีความ ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความ สามารถและมีทักษะเฉพาะตาม เทคโนโลยีนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน นับ ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนรุ่น ใหม่ได้เข้ามาทำ�งานที่มีความหลาก หลายและมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น แถมยังเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของ ประเทศ

แต่หากมองในทรรศนะ ของนักศึกษารุ่นใหม่ คงต้องบอก ว่า นักศึกษาควรมีการพัฒนา ทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการ สื่อสารให้มากขึ้น เพื่อให้รู้ว่าควร ปรับตัวอย่างไร ทั้งในแง่ของ การประกอบอาชีพและการดำ�รง ชีวิตในอนาคต มิใช่เพียงมุม มองเชิงวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ ยังต้องพัฒนามุมมองทางด้าน สังคมศาสตร์ด้วย เช่น การพัฒนา เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทำ�ให้การสื่อสาร และการค้าออนไลน์ทั่วโลกเป็นไป อย่างสะดวก ในขณะเดียวกันก็ เป็นการเพิ่มปริมาณการใช้ไฟฟ้า อย่างมหาศาล และยิ่งเทคโนโลยีมี การพัฒนามากการจ้างงานก็จะยิ่ง ลดลง small #27


We want you to be part of our small team.


อ่านแล้วอยากให้มีเล่มต่อไป อยากให้นิตยสารเผยแพร่ไปได้ไกลยิ่งขึ้น สนับสนุนค่าพิมพ์นิตยสารได้ที่ เลขที่บัญชี 002-1-41626-6 กชกร ความเจริญ ธนาคาร กสิกรไทย สาขา สยามพารากอน (นิตยสาร small ใช้วิธีระดมทุนจากผู้อ่านในการพิมพ์แจกเล่มต่อไป)

ประกาศ: แรงงานขาดแคลน นอกจากขาดแคลนทรัพย์แล้วยังขาดแคลนกำ�ลังคน นิตยสาร small หาเพื่อนร่วมงานในฉบับต่อ ๆ ไป ในตำ�แหน่งดังต่อไปนี้ - พิสูจน์อักษร 1 ตำ�แหน่ง

เป็นคนชอบตรวจสอบ ตาไว รู้สึกหงุดหงิดเวลาเห็นคำ�ที่สะกดผิดไปจนถึงช่องไฟที่เว้นวรรคไม่ถูกต้อง

- กองบรรณาธิการ 3 ตำ�แหน่ง

ชอบคอนเซปต์ของนิตยสาร และอยากช่วยกันทำ�ให้นิตยสารเคลื่อนไป มีหน้าที่จัดทำ�เนื้อหาหลักของเล่ม หาข้อมูล ช่วยคิดทิศทางการเป็นไปของนิตยสาร

- ฝ่ายออกเเบบสื่อสิ่งพิมพ์ 2 ตำ�แหน่ง

จัดหน้า ทำ�กราฟฟิกประกอบคอลัมน์ ทำ� artwork ทั้งหลายของนิตยสาร

- คอลัมนิสต์ มีเรื่องราวจะบอกเล่า ช่างคิด ช่างเขียน ชอบคอนเซปต์ของนิตยสาร ถ้ามีตัวอย่างผลงานจะเยี่ยมมาก แนะนำ�ตัวให้เรารู้จักกันมากขึ้นมาที่ inbox page: small but matter อีเมล์: smallbutmatter@hotmail.com

small #29


small way ผู้ให้สัมภาษณ์ สมศักดิ์ บุญคำ� (ไผ) ผู้สัมภาษณ์ กชกร ความเจริญ ภูริชญา คุปตจิต ธนพล ไกรลาศรัตนศิริ ภาพประกอบ สมศักดิ์ บุญคำ� (ไผ) เรียบเรียง ภูริชญา คุปตจิต

ในฐานะที่ยังอยู่ในวัยเรียน ยังรายล้อมไปด้วยมิตรสหายวัยใกล้เคียงกัน ร่วมเรียนหนังสือเคียงบ๋่าเคียงไหล่ มาด้วยกัน หากลองหันไปถามคนใกล้ตัวว่าเรียนจบแล้วจะไปทำ�อะไร คำ�ตอบที่ได้คงหนีไม่พ้น อยากเริ่มทำ�งานเลยหรือ ไม่ก็อยากเรียนต่อก่อนเริ่มทำ�งาน สุดท้ายทุกคนก็ต้องทำ�งาน และสำ�หรับนิสิต นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ งาน ที่อยากทำ�งานคงหนีไม่พ้นอาชีพวิศวกร ที่ต้องไปคลุกคลีตีโมงกับโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ หรือไม่ก็ทำ�งาน ในด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง หลายครั้งที่เกิดคำ�ถาม วิศวกรต้องอยู่เพียงแต่โรงงานไหม? ถ้าอยู่ต้องอยู่โรงงานนานเพียงไร? หากเรารักในการท่องเที่ยว แล้ววิศวกรในอนาคต (?) อย่างเรานี้ จะไปอยู่ตามป่าเขาลำ�เนาไพรที่สวยงามแทนได้หรือ ไม่? แล้วอาชีพวิศวกรในอนาคตนี้จะนำ�มาซึ่งความสุขของเรา ครอบครัว และสังคมรอบข้างได้รึเปล่า? อาชีพนี้จะสร้าง ประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นได้ไหม?

เราคงไม่อาจตอบคำ�ถามมากมายเหล่านี้ได้ เว้นเสียแต่ว่าจะมีใครในพวกเราเป็นเจ้าของอุปกรณ์เดินทางสู่ อนาคต แต่สิ่งที่ small อยากแบ่งปันให้ทุกคน คือชีวิตของวิศวกรคนหนึ่งที่ห้องทำ�งานของเขาอยู่ตามสถานที่ท้อง เที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม นี้คือเรื่องราวเส้นทางชีวิตของพี่ไผ่ผู้ก่อตั้ง local alike มาฟังกันว่าอะไรคือแรง บันดาลใจที่ทำ�ให้ process engineer คนหนึ่ง ที่ทำ�งานเพื่อกำ�ไรของบริษัท กลายเป็นเจ้าของธุรกิจกิจการเพื่อ สังคมที่มุ่งเน้นคืนกำ�ไรให้สังคม รวมไปถึงอุปสรรค์ที่คนหนึ่งคนต้องเผชิญ เมื่อเขาต้องการจะ “เปลี่ยน” บางสิ่ง

small #30


ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยค่ะว่าตอนนี้พี่ไผทำ�อะไรอยู่

แรงบันดาลใจที่ทำ�ให้เบี่ยงเบนมาทางสายนี้

ตอนนี้พี่ทำ�กิจการเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise (SE) ชื่อ Local Alike เป็นโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชน เนื่องจากในเมือง ไทยการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable tourisms) ไม่ได้ถูก ชูเหมือนการท่องเที่ยวกระแสหลัก (mass tourisms) ก็เลยไปศึกษา ว่าทำ�ไมชาวต่างชาติถึงไม่รู้จักเมืองไทยในมุมมองการท่องเที่ยวที่ดีนัก จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการทำ� Local Alike เพื่อทำ� ให้การท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนในเมืองไทยเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น Show case practice ว่าการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนควรจะทำ�อย่างไร

ย้อนกลับไปเมื่อตอนพี่เรียนปริญญาตรี วิศวปิโตรเคมี ตอนนั้นก็คิด ไม่ได้หรอกว่าอยากทำ�อะไร พอจบมาก็ได้ไปทำ�งานที่เยอรมันนีเพื่อนำ� ผลิตภัณฑ์และกระบวนการของเขาที่เยอรมันนีกลับมาที่เมืองไทย แล้ว มาทำ� งานที่เมืองไทยอีก 3 ปี เพื่อสร้างโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรม ไฮเทค ที่จังหวัดอยุธยา ก็รู้สึกว่าช่วงนั้นพี่และเพื่อนวิศวฯ อีก 5 มหาวิ ท ยาลั ย ทำ � งานหนั ก มากเพื่ อ สร้ า งโรงงานนี้ ใ ห้ เ กิ ด ขึ้ น เพราะเรา สัญญากับเขาไว้แล้ว และเงินเดือนที่ได้ก็ค่อนข้างสูง ก็ 3 ปี ใช้เวลาปี หนึ่งหลังจากกลับจากเยอรมันนีตั้งโรงงาน หาคน ติดตั้งเครื่องจักร ทำ� R&D หนึ่งปีมันก็ผ่านไป แล้วทำ�งานเป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตอีก 2 ปี ช่วงนั้นเก็บเงินได้เยอะมาก ได้เที่ยว ได้นู้นได้นี้ ชอบเที่ยวลาว เที่ยว พม่า เที่ยวแบ็กแพ็คตามลุ่มแม่น้ำ�โขง เจอหมู่บ้านไหนก็นอนนั่น แล้วก็ อินเดีย นั่งเครื่องบินไปลงกากาต้า (Kolkata) สมัยก่อนอินเดียก็ไม่ ได้เจริญเหมือนสมัยนี้ แล้วก็นั่งรถไฟจากกากาต้าไปพุทธคยา พี่รู้สึก ว่าการไปอินเดียได้เห็นอะไรเยอะมาก ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน เยอะมาก คนจนไม่ได้จนแบบบ้านเรา ไม่ได้อยู่ในสลัม แต่เป็นคนไม่มี บ้าน ผมยุ่ง หรือที่เรียกว่า จัณฑาล เป็นวรรณะ ตามที่เราเรียนกันใน วิชาพระพุทธศาสนา ก็คือคนเหล่านี้ไม่โอกาส ทำ�ได้เพียงขอเงินจากคน อื่น ทำ�ให้เราฉุกถามตัวเองว่าอาชีพวิศวกรที่เราทำ�อยู่นี้ช่วยอะไรสังคม หรือยัง? คำ� ตอบก็คือเราเพียงแต่ตอบโจทย์ของบริษัท 3-4 บริษัท แล้วพี่ก็นึกถึงสมัยเด็กที่อยู่ในหมู่บ้านที่ จังหวัดร้อยเอ็ด ไม่ได้รำ�่รวย พ่อเป็นเกษตรกร ไฟฟ้าเพิ่งเข้ามาในหมู่บ้านตอน 7-8 ขวบ ส่วนใหญ่ ก็ยังใช้ตะเกียงกันอยู่ เข้าเรียนก็ไม่ค่อยตั้งใจ ครูก็ไม่ได้สอนอะไร เราก็ ยังสนุกกับการเลี้ยงควาย กระทั่ง 8 ขวบ พ่อแม่ให้ย้ายมาจันทบุรีให้อยู่ กับอาที่ทำ�สวนเพื่อให้ได้เรียน เพราะพ่อแม่คิดแล้วว่าถ้าอยู่ร้อยเอ็ดต่อไป ก็คงเหมือนพ่อแม่ที่ไม่ได้เรียนหนังสือ สุดท้ายคงเป็นได้เพียงลูกจ้างใน โรงงาน พี่มีโอกาสได้กลับบ้านอีกทีตอนอายุ 17 -18 ปี ก็เหมือนที่ แม่พูด เพื่อนสมัยอนุบาลส่วนใหญ่ก็อยู่ที่โรงงานแถว นิคมอุตสาหกรรม ไฮเทค นิคมอุตสาหกรรม นวนคร เพราะพอจบ ม.6 ก็ไม่รู้จะทำ�อะไร พี่คิดว่าสถานการณ์ที่อินเดียกับที่หมู่บ้านพี่ก็เหมือนกัน เพราะว่าชาวบ้าน ไม่มีโอกาสทางเศษฐกิจ เท่าเทียมกับคนในเมือง

Social Enterprise คือ.. Social Enterprise เป็นธุรกิจแนวใหม่ ถ้าเอาภาพของธุรกิจ ทั้งหมดมาเทียบกัน ก็จะมี NGO คือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำ�ไร คือ ไม่สามารถ สร้างรายได้เองได้ ต้องเอาเงินจากผู้บริจาค ซึ่งเป้าหมาย ของแต่ละ NGO คือแก้ปัญหาให้สังคม อีกด้านคือกลุ่มธุรกิจที่มุ่งเน้น แสวงหากำ� ไรเพื่อนักลงทุนและผู้ถือหุ้นเป็นหลัก ส่วน Social Enterprise จะอยู่ตรงกลางระหว่าง 2 กลุ่มองค์กรนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ แก้ปัญหาทางสังคม แล้วสามารถสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงธุรกิจตัวเอง ได้ด้วย ส่วนกำ�ไรที่ได้ ไม่ใช่ 100% กลับไปหานักลงทุน แต่อาจจะ มากกว่า 30% กลับไปหาไปพัฒนาชุมชน ส่วนอีก 50-70% กลับ ไปคืนนักลงทุน Local Alike นี่มาจากอะไรคะ Slogan ของเราครับ Meaningful Experience for Traveler and Local Alike.

แม้พ่อ แม่และสังคมจะตั้งคำ�ถามว่าทำ�ไมต้องเปลี่ยน อุตสาห์ส่งให้มาเรียนที่จันทบุรีตั้งแต่เด็ก แล้วที่ทำ�อยู่เดิมก็ดีอยู่แล้ว แต่พี่ก็รู้สึกว่าเราควรทำ�อะไรเพื่อสังคมบ้าง

ทำ�งานเป็นวิศวกรก็โชคดีหน่อยตรงที่รู้อะไรๆตั้งแต่เริ่มต้น เรารู้ทุกอย่างตั้ง 3 ปี ก็รู้สึกว่าพอแล้ว ก็รู้ว่าต้องทำ�อะไรสักอย่าง ก็ปรึกษาเพื่อน และก็ ศึกษาด้วยตัวเอง แล้วรู้สึกว่า NGO คงไม่ตอบโจทย์เพราะเรามาทางสายธุรกิจแล้ว พี่ก็ไปเจออันหนึ่ง ชื่อ กรามิน แบงค์ ที่บังคลาเทศ คุณโมฮัมหมัด ยูโนส ที่ได้โนเบลสาขาสันติภาพ เขาทำ�ธนาคารสำ�หรับคนจน เพื่อแก้ปัญหาให้คนจนที่กู้เงินไม่ได้เพราะขาดหลักค้ำ�ประกัน โดยกรามิน แบงค์เปิดโอกาสให้ คนจนกู้เงินโดยไม่ต้องใช้หลักประกัน แต่ให้คนในชุมชนมาเซ็นค้ำ�ประกันด้วยกัน ถ้าเขาไม่คืนก็จะเกิดปัญหากับคนในชุมชน คนในหมู่บ้านจะไม่เชื่อเขา ถ้า เขาไม่สามารถคืนเงินได้ และนี้แหละคือสิ่งที่พี่รู้สึกว่าอยากทำ� แต่ก็ไม่รู้จะทำ�อย่างไรเพราะเราจบวิศวฯ มา พอดีมีเพื่อนที่อเมริกาแนะนำ�ให้รู้จักโรงเรียนที่ สอนการบริหารธุรกิจ เป็นการบริหารธุรกิจแบบยั่งยืน พี่จึงตัดสินใจลาออก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในเปลี่ยนตัวเอง แม้พ่อ แม่และสังคมจะตั้งคำ�ถามว่าทำ�ไม ต้องเปลี่ยน อุตสาห์ส่งให้มาเรียนที่จันทบุรี ตั้งแต่เด็ก แล้วที่ทำ�อยู่เดิมก็ดีอยู่แล้ว แต่พี่ก็รู้สึกว่าเราควรทำ�อะไรเพื่อสังคมบ้าง small #31


การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องยาก พี่เจออุปสรรคอะไรบ้างตอนที่ตัดสิน ใจเปลี่ยน พี่ชอบความเสี่ยง ช่วงที่อยู่ที่จันทบุรี พ่อแม่ไม่เคยติดต่อมา ภายหลัง ได้ถามพ่อแม่บอกว่าทำ�ไมตอนนั้นไม่ติดต่อมาเลย พ่อแม่ให้เหตุผลว่า ถ้าติดต่อไปเรื่อย ๆ ก็ไม่โตนะสิ แม้พ่อแม่จะจบประถม 6 แต่แม่ก็รู้ถ้า ลูกขาดเงินเดี๋ยวก็ติดต่อแม่มาเอง ตลอดมาทั้งเรื่องเรียนและทำ�งานพี่ ตัดสินใจเองตลอด ซึ่งก็เป็นผลดีที่พ่อแม่ยอมทิ้งให้โต ทำ�ให้รู้สึกว่าจะทำ� อะไรต้องรีบตัดสินใจ ไม่คิดอะไรมาก เพราะยังเด็กจะเปลี่ยนอะไรก็ง่าย แต่ถ้าโตขึ้น อายุ 30 กว่า จะตัดสินใจเปลี่ยนอะไรมันก็ยากขึ้น เรามีคน ต้องดูแล มีอาชีพ เทียบกับเด็กอายุ 20-21 ถ้าลองเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ก็จะเจอจุดที่ใช่เอง แล้วครอบครัวยอมรับไหม ช่วงแรกค่อนข้างหนัก เพราะต้องเอาเงินเก็บมาเรียน พ่อสนับสนุน แต่ แม่ต่อต้าน ก่อนไปมีเงินเก็บให้พ่อแม่ก้อนหนึ่ง แล้วอีกก้อนเอาไปเรียน ระหว่างเรียนก็ทำ�งานทุกอย่างจึงรับผิดชอบตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งพ่อ แม่ แต่เพราะอยู่นานถึงสามปีครึ่ง จากเดิมที่ว่างแผนว่าจะอยู่แค่สองปี สุดท้ายพ่อจึงต้องขายที่ดินที่ร้อยเอ็ด แต่แม่ก็บอกว่ากลับมาก็มาหาคืน แม่คงคิดว่ากลับมาพี่จะทำ�งานที่ดีขึ้น แต่พอกลับมาพี่เลือกที่จะทำ�งาน กับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ที่ดอยตุง พี่อยากเรียนรู้โมเดลธุรกิจของกิจการ เพื่อสังคมที่ดังอยู่ในขณะนั้น เพื่อเรียนรู้ว่าการทำ�งานกับชุมชนต้องทำ� อย่างไร และ Local Alike ก็เกิดขึ้นตอนนั้น ที่ดอยตุงมี 2 ธุรกิจ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงที่เป็น NGO ทำ�หน้าที่เป็นที่ปรึกษาอย่างเดียว ในขณะ ที่โครงการดอยตุงเป็นกิจการเพื่อสังคม ขายสินค้าของชาวบ้าน ให้ชาว บ้านปลูกกาแฟแทนปลูกฝิ่น ตามพระราชดำ�ริของสมเด็จย่า ให้ชาวบ้าน ช่วยตัวเองได้ พี่เลือกเขาไปทำ�งานในส่วนพัฒนาแผนธุรกิจให้ Home stay ของชาวบ้าน จึงได้ศึกษาเรื่องการท่องเที่ยวมากขึ้น ทำ�ให้รู้ว่าการ ท่องเที่ยวแบบยั่งยืนไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวทั่วไปใน เมืองไทย อยากรู้ว่าการไปที่อินเดียครั้งนั้นถือเป็นจุดเปลี่ยนให้อยากทำ�เพื่อ สังคมเลยไหม? หรือว่ามีอะไรก่อนหน้านั้น อาทิ อ่านหนังสือ หรือรับ สื่อ มันบวก ๆ กัน ทั้งความเบื่อที่ทุกอย่างมันลงตัว แล้วเราก็เป็นแค่หัวหน้าฝ่ายผลิต ซึ่ง ลูกน้องเรา 100-200 คนก็ทำ� งานได้ สุดท้ายเราเพียงแต่นั่งตอบ อีเมล์ลูกค้า ประกอบกับที่เราได้ไปเห็นคนอินเดียขาดโอกาส แล้วคิดว่าจะ เป็นอย่างไรถ้าพ่อแม่ไม่ส่งให้เราเรียนหนังสือ จึงทำ�ให้เห็นชัดว่าเราอยาก ทำ�เพื่อคนอื่นมากกว่า ตอนเรียนอยู่ เคยคิดว่าจะมาสายนี้ไหม เพราะครอบครัวไม่ได้รวย เราจึงคิดแต่ว่าอยากให้ครอบครัวมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น แต่ระหว่างเรียนก็ทำ� กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งสันทนาการ รับน้อง ทำ� หมด ทำ� ให้รู้สึกว่าเราไม่ได้เรียนอย่างเดียว เป็นเหตุให้เรา ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำ�ก็เป็นเหตุผลให้ ได้งานที่เยอรมันนี

small #32

เหตุผลที่ต้องเป็นทัวร์เพราะได้ทำ�งานที่ดอยตุง หรือเพราะชอบเที่ยว หรือมีเหตุผลอื่นด้วย เพราะชอบเที่ยวด้วย แล้วมาเห็นการท่องเที่ยวในไทย จึงมาทำ�ทัวร์ อะไรคือจุดต่างของ Local Alike กับบริษัททัวร์อื่น ๆ ในตลาด ปัจจุบัน ทัวร์ทั่วไป มีไกด์จากภายนอก เพราะกลัวว่าชาวบ้านจะดูแลนักท่องเที่ยว ได้ไม่ดีพอ ชาวบ้านจะได้รายได้ราว 15% จากการขายของให้นักท่อง เที่ยว แต่ Local Alike จะทำ�ให้รายได้ 70% ถึงมือชาวบ้าน ให้ชาว บ้านเป็นไกด์เอง ให้ชาวบ้านจัดการตัวเองได้ และเป็นการลดภาระของ บริษัททัวร์ด้วย นอกจากนี้กำ�ไรที่ได้ยังนำ�กลับไปพัฒนาชุมชน อาทิ แก้ ปัญหาการจัดการขยะ สร้างสนามเด็กเล่น ในเมืองไทยมีหมู่บ้านที่ทำ�ทัวร์ กว่า 300 หมู่บ้าน เราอยากสร้างโมเดลการจัดการที่ดี ที่ชาวบ้านให้การ ยอมรับ ก่อให้เกิดบรรทัดฐานในการปฏิบัติของบริษัททัวร์ต่อคนในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ไห้บริษัททัวร์เอาเปรียบชาวบ้านได้ ให้ชาวบ้านมีเสียงต่อรอง ได้ อย่างเช่นที่ชุมชนวัดกุฎีจีน ชาวบ้านเล่าว่ามีทัวร์ปั่นจักรยานผ่าน แต่ไม่ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนในชุมชน ทาง Local Alike จึงจัดให้นักท่องเที่ยว เรียนทำ�ขนมกับชาวบ้านในช่วงเวลาที่กลุ่มทัวร์จะผ่านกลุ่มทัวร์ดังกล่าวจึง ให้ความสนใจ และเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มีส่วนรวมกับกิจกรรมที่บริษัท ทัวร์มากขึ้น สำ�หรับพี่ ยั่งยืนคืออะไร ยั่งยืนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ถ้าย้อนกลับไปในปี 1972 เขาบอก ว่ า ยั่ ง ยื น คื อ การพั ฒ นาอะไรก็ แ ล้ ว แต่ ที่ ส่ ง ผลทางบวกให้ ทุ ก ผู้ มี ส่ ว นได้ เสีย (stakeholders) แล้วไม่ส่งผลด้านลบให้คนรุ่นต่อไป สำ� หรับพี่และ Local Alike “ยั่งยืน” คือ คนที่เราทำ�งานด้วย ต้องช่วยเหลือตัวเองได้ ในระยะยาว พี่คิดว่าความรู้วิศวฯ เป็นประโยชน์ต่อการทำ�งานที่ Local Alike ไหม ช่วยนะ เพราะวิศวฯ สอนให้เราไม่ทำ�อะไรด้วยความเสี่ยงแบบเดาสุ่ม แต่ ให้เสี่ยงบนสมมติฐานที่เหมาะสม วิศวฯ สอนให้เราทำ�งานเป็นขั้นเป็นตอน เป็นกระบวนการ พอมาบวกกับธุรกิจที่ให้เราบริหารจัดการให้ได้กำ�ไร สูงสุดก็ช่วยได้เยอะ เราไม่ได้มองทุกอย่างเป็นธุรกิจอย่างเดียว แต่มอง ทุกอย่างเป็นกระบวนการ เพราะสุดท้ายเราก็ต้องทำ�ทุกอย่างให้เป็น กระบวนเท่าที่ทำ�ได้ เพื่อน ๆ วิศวฯ ส่วนใหญ่ทำ�งานบริษัท? ในรุ่นรับเข้ามา 300 คน แต่จบจริง 80 คน ที่เหลือออกระหว่างทาง บางส่วนจบ 6 ปี เกือบครึ่งไปต่อวิทยาลัยปิโตรเลียมที่จุฬาฯ บางส่วน ก็ไปทำ�งานตามสาย ส่วนใหญ่จะเป็น R&D ตามโรงงานพอลิเมอร์ หรือ ปิโตรเลียม ส่วนน้อยที่ทำ� งานอื่นด้วย อาทิ เป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ สีลม หรือ Flight Attendant แต่พี่เลือกเป็นวิศวกรเพื่อตอบสนอง ความต้องการของครอบครัว จากนั้นค่อยเปลี่ยน


แล้วพี่ว่ามันเป็นการน่าเสียดายที่ทิ้งงานทางด้านวิศวฯ ไปไหม ไม่เสียดายเพราะเงินไม่สำ� คัญที่สุด เราเกิดมาชีวิตเดียว ต้องเรียนรู้ให้ มากขึ้น ถ้ายังเป็นวิศวกรอยู่แม้ได้เงินเยอะ แต่ก็รู้เพียงแค่ผลิตลูกกลิ้ง พอลิเมอร์อย่างไรให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และการได้ ทำ�งานกับชาวบ้านตามป่าตามเขา มันทำ�ให้เรากลับไปเป็นเด็กที่ร้อยเอ็ด อีกครั้ง รู้สึกว่ามันสนุกกว่า และได้ทำ�เพื่อสังคมมากกว่า

ประกอบกั บ ที่ เ ราได้ ไ ปเห็ น คนอิ น เดี ย ขาด โอกาส แล้วคิดว่าจะเป็นอย่างไรถ้าพ่อแม่ไม่ ส่งให้เราเรียนหนังสือ จึงทำ�ให้เห็นชัดว่า เราอยากทำ�เพื่อคนอื่นมากกว่า

แต่ให้เสี่ยงบนสมมติฐานที่เหมาะสม วิศวฯ สอนให้เราทำ�งาน เป็นขั้นเป็นตอน เป็นกระบวนการ

เพราะเมื่อเราอายุมากขึ้น ต้นทุนค่าเสียโอกาส มันก็มากขึ้นด้วย การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงก็ จะยากกว่าตอนเราเป็นเด็ก

มีอุปสรรคอื่นอีกไหมนอกจากพ่อแม่ ในการเปลี่ยนตัวเองเพื่อมาทำ� Local Alike มันยากมาตลอด ตั้งแต่การไปอเมริกาที่แม่ไม่เห็นด้วย พอกลับมาเมือง ไทยก็ไปทำ�งานที่ดอยตุง ขณะที่มีบริษัทเอกชนเสนอเงินเดือนหลายหมื่น ให้ทำ�งานด้าน CSR แต่พี่ก็ตัดสินใจฝึกงานที่ดอยตุง แม้เงินเดือนจะ น้อยกว่าแต่ก็เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้วิธีการทำ�งานกับชุมชน พอฝึกงาน แล้วก็ยังตัดสินใจทำ�งานกับดอยตุงต่ออีกปีหนึ่ง ซึ่งก็ต้องตอบคำ�ถาม พ่อแม่ให้ได้ว่าทำ�ไม พอทำ�งานครบปีแล้วมาทำ� Local Alike ที่เป็น ธุรกิจใหม่ ยังไม่มีรายได้ ทำ�ให้ต้องคิดอีกมาก เพราะเมื่อเราอายุมากขึ้น ต้นทุนค่าเสียโอกาสมันก็มากขึ้นด้วย การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงก็จะยาก กว่าตอนเราเป็นเด็ก small #33


ความสำ�เร็จที่ภูมิใจที่สุดและอุปสรรคที่ยากที่สุดในการทำ� Local Alike อุปสรรคคือจะทำ�อย่างไรให้ทุกผู้มีส่วนได้เสียพอใจ ส่วนที่ยากที่สุดคือ ทีมงาน เพราะทุกคนไม่ได้ทำ� งานตรงตามสายที่ตัวเองเรียนมา อีกทั้ง การทำ�งานต้องใช้ความรู้สึกมากเพราะท่องเที่ยวเป็น Human Touch จึงส่งผลให้บางคนมีปัญหากับชาวบ้านทำ�งานกับชาวบ้านไม่ได้ บางคน พ่อแม่ไม่เห็นด้วยที่จะทำ�งานกับ Local Alike ทุกคนก็มีสเต็ป ของตัว เองที่ต้องก้าวผ่านไปให้ได้ ส่วนการทำ�งานกับชาวบ้านไม่ยากนักเพราะ ได้เรียนรู้มาจากการทำ�งานที่ดอยตุงแล้ว แค่ต้องบอกน้อง ๆ ที่เขามา ทำ�งานกับ Local Alike ว่าทำ�งานอย่างไรให้ชาวบ้านรัก ส่วนเรื่องที่ประทับใจที่สุดคือเราจะแสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืนเป็นอย่างไร ซึ่งถือเป็นวิสัยทัศน์ของ Local Alike ยั่งยืนของ เราคือช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเองได้ ดังนั้นสิ่งที่ประทับใจที่สุดคือ 18 หมู่บ้านที่เราเข้าไปแล้วเขาสามารถจัดทัวร์เองได้โดยไม่ต้องพึ่งบริษัท ทัวร์ ปกติบริษัทจะไม่ขายทัวร์ให้หมู่บ้าน หรือขายก็เป็นชะโงกทัวร์ ไป เที่ยวหมู่บ้านเพียง 10 นาที แล้วก็ออกไปโดยรายได้ไม่ตกถึงชาวบ้าน สำ�หรับ Local Alike เราจะเข้าไปช่วยเตรียมความพร้อมให้ชาวบ้านนำ� ทัวร์เองได้ ซึ่ง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้ง 18 หมู่บ้านก็ยังอยู่กับเรา ชาวบ้าน คอยบอกแก่นักท่องเที่ยวว่า Local Alike มีบทบาทในการช่วยพวก เขาอย่างไร และบอกกับคนอื่น ๆ ว่า ถ้าอยากทำ�งานกับชาวบ้าน ต้อง ทำ�ให้ได้อย่าง Local Alike ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำ�ให้พี่มีความสุข เป็นสิ่งที่เรา อยากเห็น

small #34

ทำ�งานกับชาวบ้านกับทำ�งานที่บริษัทต่างกับอย่างไร ทำ�งานกับชาวบ้านใช้ใจ ทำ�แล้วมีความสุข เหมือนเป็นลูกหลานของชาว บ้าน แต่ทำ�งานบริษัทต้องเครียด หลายครั้งบัญชีของ Local Alike เป็น 0 ตอนนั้นต้องใช้เงินตังเองบ้าง ยืมบ้าง ทำ�ให้เครียด บางที่เครียด มากก็หนีไปอยู่กับชาวบ้าน ตอนนี้ 3 ปีแล้ว Local Alike เสถียรรึยัง Local Alike มี 3 โมเดล 1. Consult เป็นที่ปรึกษาให้ชาวบ้านทำ�งานได้เอง ช่วงแรกเราใช้เงิน ตัวเอง ภายหลังหน่วยงานของรัฐมาจ้างให้เราไปทำ�งานกับชุมชน ก็จะ มีงบตรงนี้ให้ 2. Tour Organization บริษัททัวร์ เราจัดทัวร์ให้ลูกค้าองค์กร โดย ร่วมกับชุมชน เพราะมีคนจำ�นวนมาก 20-30 คน เข้าไป ชุมชนรับไม่ ไหว เราจึงช่วยชาวบ้านจัดการ 3. Market Place เราเอาชุมชนที่เรามั่นใจขึ้นเว็บให้นักท่องเที่ยวจอง เราเพียงส่งนักท่องเทียวให้กับชาวบ้าน ให้ชาวบ้านจัดการทัวร์ของเขา เอง ตอนนี้เราอยู่ได้ มีเงินลงทุนด้วย จากเมื่อสามปีก่อน นักลงทุนปฏิเสธ เรา พี่จึงหันมานำ�แผนธุรกิจเขาประกวดตามเวทีต่าง ๆ แล้วก็ชนะ ได้ เงินจำ�นวนหนึ่งมาทำ�งาน กระทั่งมีนักลงทุนที่เคยปฏิเสธเรากลับเข้ามา หาเรา ปัจจุบัน Market Place เราอยู่ได้มีเงินลงทุนแล้ว ส่วน Tour Organization ก็อยู่ได้เพราะเราจัดทัวร์เอง ส่วน Consult ถ้ามี องค์กรไหนให้เราไปเป็นที่ปรึกษาให้ชาวบ้านเราก็ทำ�ให้


ตอนนี้ทีมมีกี่คนแล้ว 10 คน แล้วกำ�ลังจะรับชุดใหม่เพิ่มอีก 5 คน

ธรรมศาสตร์ แต่ก็ต้องปรับกันนิดหนึ่งเพราะ mind set จะมาทาง NGO จึงไม่ค่อยสนใจทางธุรกิจ

รับยังไงคะ

พี่ว่าเด็กวิศวฯ ถ้าสนใจงานทางด้านนี้ การทำ�อะไรเพื่อสังคม มีทาง เลือกไหนให้ไปบ้าง

แต่ก่อน พอรับสมัครจะพาไปอยู่กับชุมชน ลงทุนกันเรื่องคนมาก เพราะ อยากให้อยู่กับเรานาน ๆ จากนั้นให้กลับมาตอบคำ�ถามว่า นึกภาพตัว เองอยู่กับชุมชนอีก 5 ปีได้รึเปล่า ถ้านึกไม่ได้ ก็อาจจะไม่ใช่งานของน้อง รึเปล่า ก็คุยกับตามตรง ส่วนหนึ่งก็แถบถามชุมชนว่าน้องเป็นอย่างไร แต่ตอนนี้ทำ�ไม่ได้แล้วก็ต้องมานั่งสัมภาษณ์วันเดียวกัน ไม่ว่าจะ สัมภาษณ์ตำ�แหน่งไหน แล้วก็ดูว่าใครมีทัศนคติที่ตรงกับเรา พี่ให้ความ สำ�คัญกับ attitude มากกว่าสายงาน จะเป็นวิศวฯ มาทำ�งานท่องเที่ยว ก็ได้ อยู่ที่ว่าคุณมองการท่องเที่ยวแบบไหน อยากช่วยแบบไหน เป็น คนฟังคนอื่นรึเปล่า เพราะทำ�งานท่องเที่ยวสำ�คัญคือเรื่องของการฟัง ทำ�งานกับชาวบ้านเราต้องฟังอย่างเดียว ฟังเขาให้เข้าใจมากที่สุดเท่าที่ ทำ�ได้ อยากให้วิศวฯ มาทำ�งานทางนี้เพิ่มมากขึ้นไหม อยาก เพราะวิศวฯ คิดเป็นขั้นเป็นตอน และรู้เรื่องเทคโนโลยีด้วย ซึ่งใน สายกิจกรรมเพื่อสังคมเราต้องการคนกลุ่มนี้มาก ที่ขาดเลยคือวิศวฯ ที่ จะมาคิดกระบวนการ หรือเทคโนโลยีให้ชาวบ้าน และกลุ่มไฟแนนซ์ กลุ่ม บริหารธุรกิจ ที่หายากมาก ในขณะที่สายสังคมสงเคราะห์ เขาเลี้ยวมาอยู่ แล้ว อย่างที่ Local Alike มี 2 คนที่จบสังคมสงเคราะห์จาก

มี 2 ทาง คือทำ�กับกิจการที่เขามีอยู่แล้ว หรือทำ�เองเลย แต่เราต้อง ไม่เดือดร้อนนะ อย่างพี่ก็ไม่ได้เลือกทำ� เองตั้งแต่แรก แต่ทำ� มูลนิธิ แม่ฟ้าหลวงอยู่ตั้ง 1 ปีควบคู่กับไป จนเรามั่นใจว่าธุรกิจเราไปรอด ตอบโจทย์จริง ๆ จึงค่อยออกมาทำ� แต่ถ้าเรายังมีปัญหา ยังมีอะไรต้อง ดูแลก็ไม่เป็นไร ปีสองปีไม่สายเกินไปหรอก เพราะการทำ�งานบริษัทใหญ่ ก็ทำ�ให้เราได้เรียนรู้ระบบ แต่ถ้าอยากทำ�ธุรกิจก็ออกมาทำ�เอง เพราะ สมัยนี้เงินลงทุนเยอะมากที่รอสนับสนุนธุรกิจใหม่ (startup) ซึ่งเงิน ลงทุนหลายพันล้านบาททั้งในประเทศแล้วต่างประเทศ เพื่อให้ธุรกิจโต ขึ้นได้ Startup มี 2 สาย คือ tech startup อาทิ วงใน อุคบี (บริษัทขายดิจิตอลคอนเท้นท์) และกิจกรรมเพื่อสังคม social enterprise แต่ tech startup จะบูมกว่า ด้วยความที่เราหาคนยากที่จะมา ทำ� เพราะต้องเข้าใจปัญหาแล้วแก้เพื่อให้เป็นรายได้ ก็ยากหน่อย พี่ว่ามีไหม คนที่อยากทำ� แต่ติดอะไรบางอย่าง ทำ�ให้ไม่ได้มาทำ�สักที มีเยอะ อาทิ คนที่ไม่ชอบความเสี่ยง ไม่มั่นใจว่าธุรกิจใหม่ ๆ อย่าง Local Alike จะอยู่ได้กี่ปี เขาอยากจะมีอาชีพการงานที่ดี มีความ มั่นคง ที่เพิ่งรับสมัครงานไม่มีเด็กสายวิศวฯ มาสมัครงานเลย

เพราะห้องเรียนที่ดีที่สุดคือห้องเรียนของโลก

small #35


ถ้าอยากท้าทายตัวเองมากที่สุด ก็ต้องทำ� อะไรที่มันเสี่ยงมากที่สุด มัน ไม่ใช่เส้นทางที่คนอื่นทำ� มันเบี่ยงออกไปอีกทางเลย ถึงมันจะล้มเหลวแต่ เราก็ได้เรียนรู้มากกว่าคนที่มาทางสายปกติ ถ้าโชคดีประสบความสำ�เร็จ นอกจากความภูมิใจ ก็จะได้ profile ว่า ในฐานะเด็กรุ่นใหม่ เรายังมี ความท้าทายได้อีกเยอะ อยู่ที่จะทำ�เร็วหรือช้า บางคนบอกว่าจบแล้วอย่า เพิ่งเรียน ให้ทำ�งานก่อน จะได้รู้ว่าอยากเปลี่ยนสายไหม เป็นช่วงเวลาที่ ต้องตักตวง ต้องทำ�ให้เยอะ ๆ เราจะเกษียณเมื่ออายุ 60 แล้วค่อยวางแผนเที่ยว ถ้าเรายืมช่วงเวลา หลังเกษียณมาใส่ในทุกช่วงชีวิตระหว่างทำ�งานจะดีกว่ารึเปล่า ทำ�งานปี เกษียณปี แล้วค่อยกลับมาทำ�ต่อ จะดีกว่ารอเกษียณ 60 แล้วค่อยไป เที่ยวหลังจากนั้น เพราะห้องเรียนที่ดีที่สุดคือห้องเรียนของโลก อย่ามัว รอให้เกษียณก่อน แล้วค่อยเลือกทำ�อะไรบางอย่าง Local Alike แข่งขันกับธุรกิจที่แสวงหาผลกำ�ไรได้อย่างไร มันต้องทำ�ด้วยใจ และไม่ท้อ เพราะว่านอกจากคนกลุ่มน้อยที่มีเส้นทาง สวยหรูปูพรมไว้ คนปกติอย่างพวกเราการเลือกที่จะทำ�อะไรบางอย่าง มันมีโอกาสที่จะล้มเหลว แต่ล้มไม่รู้กี่รอบ ก็ต้องลุกขึ้นมาให้ได้ จนกว่าจะ จุดที่มันจะเดินต่อไปได้เอง ถ้าล้มเลิกไปตั้งแต่ต้น ก็ไม่มีทางที่ธุรกิจจะอยู่ ตัว เงินนะ มันจะมาเมื่อแพสชั่น มันชัดเจนพอ เหมือน Local Alike ที่ ตอนแรกไม่มีนักลงทุนสนใจ แต่พอชนะแผนธุรกิจ มีสื่อเข้ามา นักลงทุน ก็เริ่มให้ความสนใจและกลับมาคุยกับเราเอง สำ�หรับหลายคน ถือว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะหาคนที่มีความสนใจใน กิจกรรมเพื่อสังคมเหมือน ๆ กับ พี่มีความคิดเห็นอย่างไร อย่างตอนแรกที่พี่ทำ� ก็เริ่มทำ�คนเดียว จนกระทั่งมาเจอ Co-Founder จาก Facebook ที่ประกาศเกี่ยวกับ Local Alike ได้ติดต่อมาว่าอยากทำ�งานด้วยกัน ชื่อนุ่น จบมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปกร ก็ ไม่ได้ตรงสาย เพียงแต่ชอบเที่ยวและอยากช่วยชาวบ้าน สุดท้ายก็ได้มา ทำ� งานด้วยกัน ใช้เวลาอยู่สี่ห้าเดือนในการเรียนรู้กัน สามปีที่ผ่านมาพี่ เสียเงินให้กับร้านกาแฟ เพื่อเล่าแนวความคิดเรื่อง Local Alike ให้คน อื่นฟังเยอะมาก เพราะอยากได้เงินลงทุนของเขา อยากให้เขาเป็นลูกค้า อยากได้คำ�แนะนำ� หรือเล่าให้เพื่อน แค่คุย ส่วนจะเอาไม่เอาไม่เป็นไร บาง คนก็คิดว่ามันไม่ดี ไม่น่าเป็นไปได้ เราก็ฟัง ก็รับมาทุกอัน บางคนกลาย มาเป็นลูกค้าเรา บางคนเอาเราไปคุยต่อให้กับนักลงทุน สุดท้ายเราก็ได้ คอนเนคชั่นมากมาย ถ้าเทียบค่ากาแฟ กับเงินลงทุนที่ได้มาในปัจจุบัน ก็ ถือว่าคุ้มมาก ดังนั้นอย่ากลัวที่จะเล่าไอเดียให้คนอื่นฟัง เพราะเขาคงไม่ ก๊อปปี้ ถึงก๊อปปี้ ก็คงทำ�ได้ไม่เท่าเรา หรือเข้าใจปัญหาได้มากกว่า ถ้าย้อนกลับไปบอกบอกตัวเองตอนเริ่มก่อตั้ง Local Alike ได้จะ บอกอะไร ดีแล้วที่เกิดมาในครอบครัวที่ไม่รวย ทำ�ให้เรากระเสือกกระสนที่จะทำ�มัน ขึ้นมาให้ได้ และขอบคุณพ่อแม่ที่ให้ออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 8 ขวบ เลือกไม่ผิดที่ตัดสินใจเปลี่ยนตัวเองไป และได้ช่วยคนเยอะมากขึ้น กิจการเพื่อสังคมในมุมมองของพวกเราคือช่วยอะไรได้มากที่สุด จะช่วย สิ่งแวดล้อม ช่วยสัตว์ ช่วยคน หรือช่วยอะไรก็แล้วแต่ ถ้าช่วยแล้วมันดี เราก็ควรจะแฮปปี้ไปกับมัน small #36

คนปกติอย่างพวกเรา การเลือกที่จะทำ�อะไรบางอย่าง มันมีโอกาสที่จะล้มเหลว แต่ล้มไม่รู้กี่รอบ ก็ต้องลุกขึ้นมาให้ได้

พี่จะพูดอะไรเพื่อโน้มน้าวให้วิศวกรสักคนมาทำ�งานที่ Local Alike หรือทำ�งานด้าน social enterprise


--------------------------------------->

สัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่จะทำ�ให้คุณเข้าใจวิถีชุมชน แล้วย้อนทวนถามถึงวิถีตนเอง รายละเอียดเพิ่มเติมจากบทสัมภาษณ์:

website: localalike.com fb page: Local Alike

“คนดาว”


Observer พีรณัฐ ทวีชลพิสิฐ

เมื่อผม

1. ผมเป็นคนยิ้มง่าย หัวเราะง่าย ตลกง่าย ไม่ต้องซับซ้อนมากมาย แค่ เพราะมุกมันตลก ผมจึงหัวเราะ เราหัวเราะให้กับมุกตลกที่ตลก บางครั้งเราหัวเราะให้กับมุกตลกที่ไม่ ตลก (แหม แค่นี้ก็เอามาเล่นได้หรอ? หัวเราะให้หน่อยละกัน!) จนกระทั่งผมเริ่มสังเกตมากขึ้น ผมเห็น ‘เหยื่อ’ ของมุกตลกในวง สนทนา ตอนนั้นผมเริ่มรู้สึกว่ามันไม่ตลกและผมเริ่มหัวเราะไม่ออก 2. ตอนนั้นผมเพิ่งเข้าม.4 ทั้งชั้นปีมีเพียง 30 คน มาจากหลากหลาย ภูมิภาคทั่วไทย ส่วนผมมาจากจังหวัดทางใต้ แน่นอนว่าเด็กแต่ละคนมีพื้นเพที่ แตกต่าง จึงต้องมีการปรับตัวเข้าหากันเพราะจะต้องอยู่ร่วมกันไปอีก 3 ปี มุก ตลกและเสียงหัวเราะเป็นตัวละลายพฤติกรรมที่ดีอย่างหนึ่ง หลังอาหารมือเย็นวันหนึ่ง พวกเราตั้งวงสนทนาที่โถงของหอพัก บท สนทนาดำ�เนินไปอย่างสนุกสนาน เมื่อบทสนทนาก่อนหน้าจบลง มีใครบางคน ได้เปิดประเด็นใหม่เกี่ยวกับความเปิ่น ๆ ของเพื่อนคนหนึ่งที่นั่งอยู่ในวงด้วย ทั้งวงสนทนาเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะครื้นเครง หัวเราะกันน้ำ�หูน้ำ�ตาไหลเลยที เดียว ส่วนเจ้าตัวก็ได้แต่ยิ้มเจื่อน ๆ และหัวเราะแห้ง ๆ พอแก้เขิน ณ ตอนนั้น สีหน้าที่ยิ้มเจื่อน ๆ ช่างตัดกับเสียงหัวเราะครื้นเครงของ ผู้คนรอบข้าง ๆ ภาพนั้นชวนให้ตั้งคำ�ถามว่า “ถ้าเราเป็นเขา เราจะยังรู้สึก ตลกอยู่ไหม” ถ้าผมเป็นเขา ผมคงไม่รู้สึกว่าตลกเท่าไหร่นัก (อะไรจะขำ�กันปาน นั้น!) และผมขอทึกทักไปเองว่าเจ้าตัวคงไม่รู้สึกตลกเท่าไหร่นักเช่นกัน และนั่นคือเหยื่อที่ถูกสังเวยเพื่อความบันเทิงของผู้อื่น 3. กระโดดข้ามมาปัจจุบัน ผมกำ�ลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะ วิศวกรรมศาสตร์ ล่าสุดผมเพิ่งประสบการณ์ล้อตลก (ที่อาจจะไม่ตลก) เมื่อไม่กี่วันก่อน จริง ๆ ผมเห็นเขาถูกล้อตั้งแต่ปีหนึ่งแล้ว ผ่านไปเป็นปี ๆ การล้อเรื่องนี้ก็ยัง คงอยู่ เพื่อนร่วมชั้นเรียนคนนั้นมีสำ�เนียงการพูดภาษาไทยแบบที่ชาวบางกอก เรียกกันว่าสำ�เนียง “เหน่อ” บ้างก็ล้อด้วยการถามว่า “ทำ�ไมต้องพูดเหน่อใส่” บ้างก็ล้อด้วยการพยายามออกเสียงเหน่อพร้อมกับหัวเราะไปด้วย ผม พยายามจะทำ�ความเข้าใจว่าทำ�ไมสำ�เนียงการพูดจึงเป็นเรื่องที่ตลกได้ (ทั้ง ๆ ที่ในอดีตสำ�เนียงนี้ถือเป็น “สำ�เนียงหลวง”[1] เสียด้วยซ้ำ�! )

small #38

[1] สุจิตต์ วงษ์เทศ. (6 พฤศจิกายน 2551). “เหน่อสุพรรณ” สำ�เนียงหลวง ยุคอยุธยา. มติชน, น. 21.

รู้สึก


หรือเป็นเพราะอะไรก็ตามที่ไม่เป็นไปตามหมู่มากคือเรื่องตลก? เจ้าเพื่อนคนนั้นไม่เคยทำ�สีหน้าเศร้าเลยเวลาที่ถูกล้อ ในทางกลับ กัน เขาหัวเราะตามไปด้วย ผมไม่รู้ว่าเขาแค่หัวเราะแก้เก้อ หรือว่าเขาหัวเราะ เพราะตลกและภูมิใจกับสำ�เนียงตัวเอง ผมอยากรู้ว่าลึก ๆ แล้วเขาเคยโกรธ หรือเสียใจบ้างไหม หรือเขาเคยอยากให้เพื่อนหยุดล้อหรือเปล่า หรือเขาอยาก ให้ทำ�ต่อไป ไม่เป็นไร สนุกดี ผมหวังว่าจะไม่ได้มีเพียงผมคนเดียวที่ไม่รู้สึกตลก

ตลกยาก

4. ในอีกแง่หนึ่ง เสียงหัวเราะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็น เรื่องเล็กๆ ยอมรับได้ ไม่ใช่เรื่องอันตรายร้ายแรงอะไร เช่น เผลอลื่นหกล้ม ท่ามกลางเพื่อน ๆ การที่เจ้าตัวหัวเราะเป็นสัญญาณบอกว่าเขาไม่ได้รับ อันตรายร้ายแรง หรือไม่ใช่เรื่องที่จะนำ�มาเป็นจริงเป็นจัง เรื่องหกล้มอาจจะเอาไปเล่าต่อเป็นเรื่องตลกก็ได้ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ ถ้าผู้เล่ารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่รับได้ ไม่ใช่ ‘เรื่องใหญ่’ อะไร แต่เรื่องไหนเรื่องใหญ่ ใครเล่าตัดสิน เรื่องเดียวกันบางคนมองเป็น เรื่องเล็ก เรื่องตลก บางคนกลับมองว่าใหญ่โต และไม่อยากให้ใครเอาไปเล่าต่อ ถ้าหากมันไม่ใช่เรื่องของเรา เราก็ไม่น่าจะมีหน้าที่ไปตัดสินคิดแทน แต่มนุษย์มักจะชิงตัดสินไปก่อน ชิงหัวเราะไปก่อน แล้วในบางกรณี เราก็ไม่ได้เคารพการตัดสินของผู้อื่นนัก ( “เฮ้ย จริงจังไปป่ะ ขำ� ๆ หน่า” ) ผมว่าการใช้เสียงหัวเราะสานความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ดีถ้าทุกคนได้ หัวเราะไปด้วยกันจริง ๆ

กว่าที่เคย

5. ผมตกอยู่ในสภาวะกึ่งบังคับให้ดูรายการตลกชื่อดังรายการหนึ่ง เป็น รายการโปรดสมัยยังเด็ก ๆ เลยทีเดียว แต่เนื่องจากภายหลังดูโทรทัศน์น้อยลง จึงไม่ได้ติดตาม ผมคิดว่ามุกตลกของรายการไม่ได้พัฒนาไปมากนักจากตอนที่ผมยัง เด็ก มุกตลกยังคงวนเวียนเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ เช่น เพศ ผิว รูปร่าง หน้าตา พื้นเพ (ความเป็นต่างจังหวัด) ความรุนแรง และคำ�หยาบ ระหว่างที่กำ�ลังสังเกตอยู่ เพื่อนที่นั่งข้าง ๆ ระเบิดเสียงหัวเราะออกมา ผมรู้สึกขัดใจจึงหันไปถามมันว่า “ตลกตรงไหนวะ?” “ไม่ได้ตลกที่มุก ตลกที่เราต้องทนดูรายการตลกที่เล่นมุกตลกแบบนี้” ดูเหมือนจะไม่ใช่แค่ผมคนเดียวที่ไม่รู้สึกตลก

small #39


Movie Review เกศสุดา ลำ�ใย

photo credit: http://www.soundonsight.org/wp-content/uploads/2014/03/Kick-Ass-21.jpg

Kick-Ass

จง ”บ้า” ที่จะเริ่ม

ประเภท Action, Comedy ความยาว 117 นาที กำ�กับโดย Matthew Vaughn เขียนบทโดย Jane Goldman ฉายปี 2010 IMDB 7.7/10 Rotten Tomatoes 76%

“ทำ�ไมในโลกแห่งความเป็นจริงนี้ถึงไม่มีอะไรมาคอยจัดการพวกคนชั่วเสียทีนะ.” Dave เด็กหนุ่มวัยรุ่นตั้งคำ�ถามขึ้นมาด้วยความสงสัย พวกเราเองก็อาจจะมีคำ�ถามทำ�นองนี้ขึ้นมาบ่อยครั้งเช่นกัน เป็นต้นว่า.. “ทำ�ไมยังมีใครคิดค้นอะไรแบบนี้ขึ้นมา” “เมื่อไหร่จะมีคนมาจัดการให้บ้านเมืองมันสะอาดสักที” ฯลฯ และในบางครั้งเวลาเราถามคำ�ถามนี้กับคนอื่น เราอาจจะโดนคน ๆ นั้นถามกลับมา (แบบขำ� ๆ ) ว่า “แล้วทำ�ไมไม่เริ่มทำ�เองเสียล่ะ” ...จากนั้นการตั้งคำ�ถามของเราก็จะจบลง ...แต่สำ�หรับ Dave ไม่ได้เป็นเช่นนั้น หลาย ๆ ครั้งที่ไม่มีใครเป็นคนเริ่มสักที ก็เพราะพวกเราชอบบอกกับตัวเองว่า “อย่างเราทำ�ไม่ได้หรอก คนอื่นน่าจะทำ�ได้ดีกว่า” หรือ “ใครมันจะบ้ามาทำ�อะไร แบบนั้นกัน” โดยเฉพาะสิ่งที่Daveอยากให้เมืองของเขามี นั่นก็คือ “ฮีโร่” “ฮีโร่” ถูกสื่อต่าง ๆ ทั้งการ์ตูนหรือภาพยนตร์สร้างรูปลักษณ์ออกมาให้เป็น “คน ที่แต่งชุดแปลก ๆ มีพลังมากกว่าคนทั่วไป และคอยออกมาช่วยเหลือประชาชน ธรรมดาจากคนชั่ว” และนั่นทำ�ให้โลกแห่งความเป็นจริงที่เราอยู่ทุกวันนี้ไม่มี ฮีโร่ เพราะใครมันจะบ้ากล้าแต่งชุดประหลาด ๆ มาอยู่กลางถนนกันล่ะ หรือ ใครมันจะมีพลังมากพอที่จะเป็นฮีโร่ (ตามที่คนส่วนใหญ่นิยามไว้) ได้จริง ๆ ใน ขณะเดียวกันเหล่าคนชั่วที่เราเจอในโลกฮีโร่กลับมีให้เห็นอยู่จริงในชีวิตเรา แถม ยังขาดคนที่จะมีอำ�นาจมาปราบมากพอเหมือนที่ฮีโร่เป็น ด้วยเหตุนี้ทำ�ให้ Dave คิดได้ว่า ในเมื่อไม่มีใครบ้าที่จะเริ่ม งั้นเราก็บ้ามาเริ่มเองก็ได้ (วะ)

แม้ว่าเหตุผลอื่นที่ Dave อยากจะเป็นฮีโร่ เพราะเขาอยากเป็นที่ Popular ใน สังคม อยากเป็น somebody ไม่ใช่ nobody เขาจึงอยากจะ “เริ่ม” เปลี่ยนชีวิต ของเขา จากเด็ก geek ปน loser มาเป็นบุคคลที่ใคร ๆ ก็ชื่นชม ทำ�ให้การหัน มาเป็นฮีโร่เป็นทางออกที่เขาจะทำ� การเริ่มต้นเป็นฮีโร่ของเขาอาจจะไม่ง่ายนัก แต่แม้ว่าเขาจะล้มมากี่ครั้ง เขาก็ ยังกล้าที่จะเริ่มต้นใหม่ไปเรื่อย ๆ หรือการที่เขาเป็นแค่มนุษย์ตัวเล็ก ๆ ไม่อาจ สร้างกระแสลูกใหญ่ให้กับสังคมได้ แต่อย่างน้อยสิ่งที่เขาเริ่มก็กลายเป็นกระแส ลูกเล็ก ๆ ในสังคม ให้คนทั่วไปเริ่มตระหนักถึงการต่อต้านอาชญากรรม และ มากพอให้เขารู้สึกว่าเขาเป็น somebody ไม่ใช่ nobody แล้ว จากเรื่องราวของ Dave ทำ�ให้เราเห็นว่า หลายสิ่งหลายอย่างที่เราอยากให้มีคน เริ่มทำ� แต่ก็ไม่มีใครสักคนทำ�สักที ก็เพราะแม้แต่เราเองยังคิดว่าใครจะบ้ามา เริ่มทำ�กันล่ะ หรือถ้าเป็นเรื่องใกล้ตัว เวลาเราอยากจะเริ่มทำ�อะไรสักอย่างเพื่อ เปลี่ยนตัวเอง เราก็ไม่กล้าที่จะเริ่มเสียที เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่อยากตั้งคำ�ถาม กับตัวเองแบบนี้แล้ว ก็จง “บ้า” ที่จะเริ่มมันซะ


GIGO

Listen deeply จุดสามจุด

จุดสามจุด

เป็นตะคริว โดย โตมร ศุขปรีชา สำ�นักพิมพ์ way of book ไม่รู้ว่าที่สังคมเราเป็น ๆ กันอยู่นี่เพราะเรา คิดน้อยเกินไป เราไม่อยากคิด หรือเราถูก มอมเมาไม่ให้คิด เราก็ไม่อยากคิดได้ ถ้ามันจะสูญเสียผล ประโยนช์ส่วนตน ผู้มีอำ�นาจก็ไม่อยาก ให้อะไรเปลี่ยนแปลงในเมื่อเขาอยู่บนยอด พีระมิด เราถูกควบคุมผ่านบรรยากาศ ผ่านจารีต ผ่านค่านิยม ที่คอยบอกเรา ว่า ‘ผลประโยชน์’ ที่ว่านั้น ‘ควร’ เป็นไป อย่างไร ฮาร์ดคอร์ไหม หนังสือเล่มนี้ก็เป็นเช่นนี้ คอยตั้งคำ�ถามถึงการใช้ชีวิตอยู่ของเรา ในสังคม คำ�อธิบายเป็นอย่างที่เราคุ้นชินจริงหรือ หรือว่าลึก ๆ แล้วเป็นยังไง เป็นหนังสือที่รวมคอลัมน์ 45 ชิ้นที่พี่หนุ่มเคยเขียนไว้ใน way ตั้งแต่ปี 25492557 สังคมไทยตอนนั้นเป็นยังไง ตอนนี้คำ�ถามชุดเดิมก็ยังใช้ได้ เราอ่านแล้วถือว่าชอบ อ่านเรื่อย ๆ ได้ทั้งวัน พี่หนุ่มตรงไปตรงมามาก นึกถึง เพื่อนที่ไม่เคยมีแนวคิดแบบนี้มาก่อน อ่านก็อาจจะช็อคและตะคริวกินสมองให้ เครียดเกร็งอยู่บ้าง

เบาแผ่นดิน / บอย อิมเมจิ้น เจ้าของเพลงเศร้าลึกอย่าง ‘ยินดี‘ ที่ฟังแล้วเขย่าหัวใจให้ย้อนกลับไปคิดถึงความ รักที่ลึกซึ้ง คราวนี้เพลงมาในแนวฟังสบาย ๆ เนื้อหาชวนให้ขบคิดแบบสนุก ๆ

หากเราลองเอา ’อาหาร’ ของคนทั้งโลกแล้วเรามาแบ่งกัน แบ่งกันแล้วเธอกับฉัน จะมีกันสักเท่าไร? หากเราลองเอา ’เงินทอง’ ของคนทั้งโลกแล้วเรามาแบ่งกัน แบ่งกันแล้วเธอกับ ฉันจะมีกันสักเท่าไร? หากเราลองเอา ’ที่ดิน’ ของคนทั้งโลกแล้วเรามาแบ่งกัน แบ่งกันแล้วเธอกับฉัน จะมีกันสักเท่าไร? หนุ่มจากเชียงใหม่คนนี้ชอบแต่งเพลงแนวลึกซึ้ง ถ้าอยากจะลองฟังเพลงที่มอง ชีวิตและความรักแบบปรัชญา ๆ ก็ขอแนะนำ�ให้ลองเสิร์ช youtube ว่า boy imagine แล้วท่านจะติดใจ

แต่เอาหน่าเพื่อน อาการเป็นตะคริวมักเกิดระหว่างออกกำ�ลังกายหนักมิใช่หรือ

93 Million Miles / Jason Mraz

คุรุวิพากษ์คุรุ โดย OSHO โตมร ศุขปรีชา แปลและเรียบเรียง สำ�นักพิมพ์ GMBOOKS

ความเชื่อมั่นของคนไม่ใช่ไม่มีที่มา คนคนหนึ่งจะกล้าก้าวเดินออกไปเราคิดว่า ส่วนสำ�คัญมาจากที่เค้ามีพื้นที่ที่พร้อมจะคอยรองรับยามร่วงหล่น พระพุทธเจ้า, ปิทากอรัส, คาลิล ยิบราน, พระเยซู, เล่าจื้อ, นิทเช่, โสกราติส, ฯลฯ

ทั้งในแง่ของแก่นวิชาของท่าน ๆ และความเป็นคนคนหนึ่ง มีแง่มุมไหนที่จะ วิพากษ์ท่าน ๆ ได้บ้างไหม ไม่ชมอย่างเดียวได้ไหม

she told me son in life you’re gonna go far, if you do it right you’ll love where you are. การมีพื้นที่เช่นนั้นหมายถึงส่วนที่ลึกที่สุดของเราจะไม่เดียวดาย จะมีคนที่ยอมรับเราอยู่ เพียงเพราะเราเป็นเรา เท่านั้น

just know that wherever you go, no you’re never alone, you can always get back home. รู้ไว้ไม่ว่าเธอจะเดินทางไปที่ไหน ไม่, เธอไม่โดดเดี่ยวหรอก กลับบ้านได้เสมอนะ

small #41


กวีทีละบท

นาฬิกาควัน > page นาฬิกาควัน

ฉันไต่เขา ไม่ใช่เพราะ จะได้มองโลกกว้าง ๆ แต่เพราะ อยากมองดาวใกล้ ๆ ..จอกจันทร์นิทรา..


หากท่านไม่รังเกียจดาวเคราะห์ ลองมอง ที่พื้น _นาฬิกาควัน_


เนื่องจากนิตยสารมีข้อจำ�กัดด้านจำ�นวนเล่มพิมพ์ หากไม่เป็นการรบกวน โปรดใช้วิธีส่งต่อและอ่านด้วยกัน :)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.