small team
บรรณาธิการบริหาร กชกร ความเจริญ
บรรณาธิการศิลปกรรม สิรินดา มธุรสสุคนธ์
กองบรรณาธิการ ภูริชญา คุปตจิต ปรินทร์ ทรงคุณแท้ ปาณิศา เจิมหรรษา นลิน สินธุประมา ศุกลภัทร วงค์พิมล การัณยภาส ภู่ยงยุทธ์ กองพิสูจน์อักษร ภูริชญา คุปตจิต เสาวภาคย์ ขันมั่น อลีนา เก่งชน ศุภชัย เลิศกิตติโกศล ธีรดลย์ ศรีชาติ อริยะ รู้ยาม
ฝ่ายศิลปกรรม และภาพประกอบ นฤมล เจริญจรัสกุล ศศิภา วิจิตรไกรวิน นิศาชล พร้อมสุทธิพงศ์ สุวรา บุญภากร ธนัท ลัพธวรรณ์ ปรินทร์ ทรงคุณแท้ ปาณิศา เจิมหรรษา
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ วิลิน พิพัฒน์นัดดา ปฏิพล โชคชัยนันท์ ปิยะธิดา สายขุน
พูดคุยกันได้ที่ page facebook > small but matter e-mail > smallbutmatter@hotmail.com
นิตยสารเล่มที่ท่านอ่านอยู่นี้มีต้นทุน 90 บาท small but matter เป็นนิตยสารที่ กลุ่มคนตัวเล็ก ๆ ร่วมกันทำ�ขึ้น ทีมงานส่วนใหญ่เป็นนิสิตนักศึกษา ถึงแม้ ไม่แสวงหากำ�ไรและค่าตอบแทน แต่เราพบว่าเงินเป็นสิ่งจำ�เป็น เพื่อจะเผยแพร่สิ่งเราเห็นว่ามีความหมายออกไป สนับสนุนค่าพิมพ์นิตยสารได้ที่ เลขที่บัญชี 002-1-41626-6 กชกร ความเจริญ ธนาคาร กสิกรไทย สาขา สยามพารากอน (นิตยสาร small ใช้วิธีระดมทุนจากผู้อ่านในการพิมพ์แจก)
smal l TALK
วันที่แจก small เล่มที่เพื่อนถืออยู่ แทบจะเป็นวัน
เดือนเดียวกัน กับวันที่เราเริ่มร่างความคิดของ small ครั้งแรก
แต่หักลบออกไปหนึ่งปี และตอนนั้นยังไม่มีชื่อ
ไม่ใช่ชื่อเสียง เพราะถึงตอนนี้ก็ยังไม่มี (ฮา) หมายถึงชื่อนิตยสารที่แม้แต่คำ�ว่า small but matter ก็ ยังไม่โผล่ออกจากจิตใต้สำ�นึกให้เราหยิบมาใช้ วันนั้นเมื่อ ความอยากทำ�สะสมมามากพอ เราคว้าโน๊ตบุ๊คขึ้นเปิด แล้ว เริ่ ม เขี ย นว่ า นิ ต ยสารที่ เ ราอยากทำ � เราจะทำ � มั น ไปทำ � ไม นิตยสารนี้ควรมีภารกิจอะไร คนทำ�ควรพกความเชื่ออะไรไว้ ในหัวใจ เราอยากให้ใครอ่าน เล่มแรกของ small เรามีหนึ่ง บก. หนึ่ง บก.ศิลปกรรม และอีกสองกอง บก. ซึ่งเจ้าตัวก็ เขินมากที่จะบอกว่าเป็นตัวเองเป็น ‘กอง’ ทำ�ไปประกาศหา เพื่อนร่วมงานไป โฆษณาในเล่มบ้าง ชวนปากต่อปากบ้าง จนกระทั่งเล่มนี้มีกอง บก. แปดคน รวมกับเพื่อนอีกส่วนหนึ่ง ที่มาร่วมกันเติมเต็มต่อยอดหน้าที่อื่น
สนุก เหนื่อย ท้อ กอดคอ จมดิ่ง ผิงดาว
สามเล่มที่ผ่านมา เราภูมิใจที่เราได้ทำ� small ไม่ น้อย ที่จริงก็มากเลยแหละ (หัวเราะ) ถึงเราจะเป็นคนเริ่ม แต่ ว่า small ไม่ใช่ของเรา small ไม่ใช่ของใครคนเดียว small but matter เป็นวิธีคิด เป็นหัวใจ และเป็นได้มากกว่านิตยสาร สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนกับว่าเราเป็นเพียงแค่คนที่เดินผ่านมาแล้ว พบเจอความเชื่อนี้ล่องลอยอยู่ในอากาศ ก้อนความเชื่อนี้นุ่ม และฟุ้ง แต่ก็ใหญ่และแผ่กว้างเพียงพอจะแบ่งให้คนจำ�นวน ไม่น้อย เราเอื้อมมือไปบิส่วนหนึ่งของก้อนนั้นลงมาใส่ลงใน หัวใจและหน้ากระดาษ
small ในหัวเราเกิดขึ้นแบบนั้น
มีวันนึงคุยเล่นกับเพื่อนในทีม แท้จริง, small คือกลุ่ม ก้อนของคนที่มีความเชื่อบางอย่างร่วมกัน ทิศทางความคิด ความเห็นอาจไม่ตรงกันไปเสียหมด แต่คงจะเห็นว่าอะไรคือ ‘สิ่งสำ�คัญ’ เหมือนกันอยู่บ้าง นิตยสารเป็นการสร้างพื้นที่แบบ หนึ่ง แต่รูปแบบการสร้างพื้นที่ยังมีได้อีกล้านแปด จะเป็นยังไง ถ้าวันหนึ่ง small กลายเป็น start-up กลายเป็นกลุ่มนักศึกษา แอคติวิสต์ กลายเป็นค่าย กลายเป็นชมรมระหว่างมหา’ลัย กลายเป็นรายการ podcast กลายเป็นร้านกาแฟที่จัดสภากาแฟ ทุกวันศุกร์ กลายเป็น.. ไปได้อีกล้านเจ็ดแสนกว่า!
คิดไปก็ตื่นเต้นไป!
กลับมาสูค่ วามเป็นจริง พวกเรา, ทีมงานรุน่ นี,้ กำ�ลังจะ เรียนจบ เราเองก็ไม่รวู้ า่ small จะมีตอ่ ไปอีกนานแค่ไหน ไม่แน่วา่ เล่มนีอ้ าจจะเป็นผลลัพธ์สง่ ท้ายของกลุม่ ก้อน มีรนุ่ พีแ่ นะนำ�ว่า ‘ทำ� เต็มที่ แต่ไม่ตอ้ งไปคาดหวัง’ เราก็สงสัยว่ามันทำ�ได้ดว้ ยหรอวะ (ฮา)‘ทำ�เต็มที่ คาดหวัง และหัดปล่อยวาง’ พีอ่ กี คนเสริม เราก็ไม่รู้ ว่าอย่างไหนทีม่ นั ควรจะเป็น ทีพ่ ดู มานีก่ บ็ น่ ให้ฟงั ไปเรือ่ ย ไม่ได้มขี อ้ สรุปเท่ ๆ หรอก I have a long way to go. And you also have a long way to go with this 76-page issue! อะแฮ่ม. ยังไม่ได้พูดถึงเนื้อหาในเล่มเลย เรา ขอหยุดบ่นแต่เพียงเท่านี้ แล้วชวนเพื่อนมาเอนจอยกับเนื้อหาที่ เพื่อนๆ เขียนไว้ในเล่มดีกว่า ยินดีต้อนรับสู่โลกมหาวิทยาลัย และโลกในหัวของคุณ กชกร ความเจริญ บรรณาธิการบริหาร
small but matter l issue 03
smal l DESIGN small design#3
ไม่รู้ว่า small design เล่มนี้ควรจะนับเป็น #1 หรือ #3 กันแน่ เอาเป็นว่า เราลองมาทำ�ความรู้จักเกี่ยวกับ small เล่มนี้กันซักเล็กน้อย
ภาพวาด ลายเส้น และภาพตัดต่อที่เลือกนำ�มาใช้ ในเล่มนี้ เป็นความตั้งใจของทีมอาร์ตที่อยากจะสื่อความหมาย ของมายาคติในด้านหนึ่ง ภาพตัดต่อมีชื่อเรียกว่า “collage art (คอลลาจ อาร์ต)“ อาจจะเกิดจากการตัดภาพจาก magazine หนังสือพิมพ์ หรือจะวาดต่อเติมลงไปเองก็ได้ งาน Collage art มีต้นกำ�เนิดมาตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 200 ปี แต่เพิ่ง มาเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 19 โดยรู้จักกันในรูปแบบของศิลปะ สมัยใหม่ (Modern Art)
จะได้เห็นได้ว่าภาพรวมของหน้าตา small เล่มนี้ อาจจะผิดหูผิดตาไปบ้าง เหตุผลที่ชัดเจนที่สุดก็คงเป็น การ เปลี่ยนตัว บก. ฝ่ายศิลป์นั่นเอง เนื่องจาก บก. ฝ่ายศิลป์คนเก่า หรือท่านปลาของเราอยากจะลงมือเขียนคอลัมน์ ให้ผู้อ่านได้อ่าน อย่างเต็มอรรถรสท่านปลาเลยทำ�การแปะมือกับเรา ให้มาร่วมงาน กับ small ในครั้งนี้ นับเป็นประสบการณ์ที่เต็มที่พอสมควรเลย “แก ๆ อยากทำ� small ป่าว” ... เอาดิ อยากทำ� magazine พอดี
จากการเข้ามาทำ� small ครั้งนี้ อย่างน้อยมันก็ทำ�ให้ เราเปิดรับข้อมูลมากขึ้น รับความคิดใหม่ ๆ จากทั้งคนรอบตัว ความคิดของคนในมหาวิทยาลัยเดียวกันแต่คิดต่างกัน กระตุกให้ เราลองหันกลับมาคิดว่า “ไอ้ที่เราเชื่อเนี่ย เพราะอะไร คนอื่นเขา เชื่ออย่างเราไหม?” ซึ่งตัวเราเองคิดว่านี่แหละ เป็นสิ่งที่คนทำ� small อยากให้ผู้อ่านรู้สึกไปด้วยกัน
Collage Art by Darrel Rees
จากการตีความบางส่วนของกอง บก. ทำ�ให้ได้ ความมาว่ามายาคติ คือ ความเชื่อ ความเชื่อของคนบางกลุ่ม อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ พลางนึกไปความจริงและไม่จริง ท้ายที่สุดแล้วจึงได้ตีความออกมาในลักษณะของความบิดเบือน และนอกจากนั้น collage art ยังแสดงให้เห็นถึงการรวมกันของ ความเชื่อในหลาย ๆ อย่าง ทั้งที่เป็นอุปลักษณ์ และความคิด ทางสังคมทั้งจากทีม บก. ฝ่ายศิลป์เองด้วย
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
ลองอ่าน small เล่มนี้ พร้อมกับการเปิดใจให้กว้าง วางความเป็นตัวเราไว้กอ่ นเปิดนิตยสาร แล้วค่อยกลับมาคุยกับตัวเอง หลังจากทีอ่ า่ นหนัาสุดท้าย... เราอาจจะพบว่าตัวเราก่อนเปิดนิตยสาร กับตัวเราในตอนท้าย อาจจะเป็นคนละคนแล้วก็ได้ ดีใจที่ได้คุยกัน สิรินดา มธุรสสุคนธ์ บรรณาธิการฝ่ายศิลป์
smal l CONTENT -main course-
-column-
08 10 12 14 28 30
16 38 42 44 46 48 50 51 52 54 60 68 70 72 74 75
คุณมาทำ�อะไรที่นี่ อยากลาออกจากมหาวิทยาลัย ไปเป็นคนงานเก็บส้ม พิธีรับปริญญา จุดมุ่งหมายสุดท้ายของชีวิตนักศึกษา ? ยังไงถึงจะเรียกว่าประสบความสำ�เร็จ เรียนไม่จบ ไม่ใช่จุดจบ ฤา ไม้บรรทัดจะวัดไม่ ได้
-small interview17 22 32 62
อ.ธเนศ วงศ์ยานนาวา Admin กุ๊กไก้ แห่ง CU cute boy อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อ.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
ขมขัน: ความฝัน อันสูงสุด ว่าด้วยมายาคติ การแคะขี้หูด้วยวิชาการศึกษาทั่วไป Observer: การอ่านนั้นแสนน่าเบื่อ กิจกรรม = ทำ�งานเป็น ? วัฒนธรรมขงจื้อและอุปสรรคต่อการเรียนการสอน แบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นอกห้องสี่เหลี่ยม: เรียนจบช้า = โง่ ? เชื่ออย่างที่อยากจะเป็น หรือเป็นอย่างที่อยากจะเชื่อ อำ�นาจทางการเมืองของตุ๊ด Intro to Logic: ใครเป็นคนพูด เทียนหรือตะเกียงเจ้าพายุ บันทึก(ทัก) ความจริงที่ถูกสร้างเกี่ยวกับการเรียน สายวิทย์- คณิต รีบชิดขวา ช้าชิดซ้าย: มายาคติความเป็นคณะ พินิจฟิล์ม: Mean Girls กวีทีละบท
small but matter l issue 03
มายาคติ
ในรั้ว
มหาวิทยาลัย
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
A myth is an image in terms of which we try to make sense of the world. -Alan Watts-
small but matter l issue 03
small maincourse
คุณมาทำ�อะไรที่นี่
ปาณิศา เจิมหรรษา
คุณมาทำ� อะไรที่นี่ ?
นับตั้งแต่เด็ก คุณใช้ชีวิตอยู่กับสถานศึกษา คุณซึ่งบังเอิญเกิดมาโชคดี ในประเทศที่บังคับให้ ได้รับการศึกษาขั้นต้น ในครอบครัวที่มีเงินพอสนับสนุน ในสภาพแวดล้อมที่มีสถานศึกษาเตรียมรองรับ ตัง้ แต่วนั ทีค่ ณุ ยังจำ�ความไม่ชดั เจนทีโ่ รงเรียนอนุบาลแถวบ้านต่อไปยังชัน้ เรียน ป.1-ป.6 แล้วสอบ ขึน้ ชัน้ มัธยมศึกษา คุณใช้เวลา 3 ปีส�ำ หรับม.ต้นจนจบการศึกษาระดับทีร่ ฐั บังคับ แล้วเลือกแนวทางเรียน ต่อ จะสายวิทย์หรือสายศิลป์ที่ชั้นมัธยมปลาย หรือไปสายวิชาชีพ สามปีผ่านไป คุณต้องเลือก... คุณอ่านหนังสือ คุณฝึกปรือทักษะเป็นบ้าเป็นหลัง คุณสอบ สอบ สอบ สอบ สอบ คุณเฝ้ารอ โลดเต้นยินดี ซื้อเครื่องแบบ ซื้อหนังสือ คุณลงนามในเอกสาร และจ่ายเงินค่าแรกเข้า คุณได้เข้ามหาวิทยาลัยแล้ว มหาวิทยาลัยแห่งความฝัน ความหวัง และคำ�สัญญา คุณเคยได้ยนิ เรือ่ งเล่าของทีน่ ม่ี ากมาย และคุณก็ได้ยนิ เรือ่ งเล่า ณ ทีน่ อ่ี กี มากมาย เขาว่ากันว่าที่นี่จะทำ�ให้ฝันคุณเป็นจริง เขาว่าคุณทำ�ความฝันเป็นจริงคนเดียวไม่ได้ คุณต้องเตรียมพร้อม ต้องรับการฝึกฝน ต้องเรียนรู้จากคนอื่นก่อน เขาว่าที่นี่ช่วยคุณได้ เขาว่าคุณเรียนจบจากทีน่ แ่ี ล้วจะหางานได้งา่ ยขึน้ พ่อแม่บอกว่าคุณต้องมีงานคุณจะได้ไม่อดตาย เขาว่ามาที่นี่แล้วจะทำ�ให้คุณทำ�งานได้ดี ทำ�ให้คุณไม่ขาดแคลนปัจจัยและมีอนาคตที่สดใส
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-8-
small maincourse
คุณมาทำ�อะไรที่นี่
ปาณิศา เจิมหรรษา
เขาว่ามหาวิทยาลัยเป็นที่ของคนโต ๆ เป็นโลกอิสระของผู้ใหญ่ เป็นการก้าวผ่านสู่อนาคต เขาว่าที่นี่มีระบบระเบียบ มีความเจริญทางความคิด มีคนบอกว่าคุณจะทำ�อะไรก็ได้ จะคิดอย่างไรก็ได้ มีคนบอกว่าไม่ใช่ว่าคุณจะทำ�อะไรก็ได้ และมีสิ่งที่คุณไม่ควรคิดเช่นนั้น มีสิ่งที่คุณควรทำ�และสิ่งที่คุณไม่ควรทำ�
คุณคิดอะไรอยู่
คุณมาทำ�อะไรที่นี่ มหาวิทยาลัยแห่งความฝัน ความหวัง และคำ�สัญญา
คุณเคยได้ยินเรื่องเล่าของที่นี่มากมาย และคุณก็ได้ยินเรื่องเล่า ณ ที่นี่อีกมากมาย
เขาว่าคนนั้นไม่ดี เขาว่าคนนั้นดี เขาว่าใส่เครื่องแบบเป็นคนดี เขาว่าใส่กระโปรงสั้นเพราะ อยากให้ดู เขาว่ากินเหล้าเป็นคนไม่ดี เขาว่ากินเหล้าแล้วเท่ เขาว่าสูบบุหรี่แล้วเป็นผู้ใหญ่ เขาว่า สาวอักษรสวยน่ารัก หนุ่มวิศวะหล่อเข้ม ชาวบัญชีบ้านรวย ศิลปกรรมไส้แห้ง สถาปัตย์เพ้อฝัน ครุศาสตร์สอบไม่ติดที่อื่น รัฐศาสตร์เรียนไปแต่งกับฑูต วิทยาศาสตร์จืดชืด อาชีวะคนเถื่อน ไม่เรียน มหาวิทยาลัยเดินเตะฝุ่น จุฬาฯ เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ธรรมศาสตร์ลิเบอรัล ลาดกระบังขี้เมา อุเทนแก๊ง ช่างกล ราชภัฏเรียนไปวัน ๆ ? เขาว่าเพศหญิงคือความอ่อนโยน เพศชายคือความแข็งแกร่ง ผู้หญิงคืออารมณ์ และผู้ชาย คือเหตุผล เขาว่าเพศอื่น ๆ ไม่ควรมี เขาว่าคนเราควรมีอิสระในรสนิยมทางเพศและตัวตนทางเพศ ? บาป บุญ ความดี ความชั่ว ความรัก พระเจ้า พระพุทธเจ้า นิพพาน นบีมูฮัมหมัด คานท์ ฟรอยด์ ที-ฟอร์ดโมเดล วิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี มนุษยชาติ สันติภาพ สงคราม มาร์กซ์ เองเกิล คอมมิวนิสต์ รัฐประหาร อำ�นจทหาร เผด็จการ สมบูรณายาสิทธิ ราช ประชาธิปไตย ความจริง ความดี ความงาม ? คุณเชือ่ อะไร ทำ�ไมคุณถึงคิดอย่างนัน้ ทำ�ไมคุณถึงเชือ่ ทำ�ไมคุณถึงคิดว่าเป็นความจริง คุณคิดอะไรอยู่ คุณทำ�อะไรอยู่ คุณมาทำ�อะไรทีน่ ่ี มหาวิทยาลัยแห่งความฝัน ความหวัง และคำ�สัญญา
-9-
small but matter l issue 03
small main course
main course
อยากลาออกจากมหาวิทยาลัย ไปเป็นคนงานเก็บส้ม
“อยากลาออกจากมหาวิทยาลัย ไปเป็นคนงานเก็บส้ม”
เมือ่ ไม่นานมานี้ มีโอกาสได้อา่ นกระทูห้ นึง่ ในเว็บไซต์ thaiseoboard.com โดยผูใ้ ช้นาม metoo55 เขาเขียนเอาไว้ว่า “... ถ้าพรุ่งนี้คุณตัดสินใจเรียนต่อให้จบ ป.ตรี ให้ได้ อีก 20 ปีข้างหน้า ความรู้สึกเลวร้ายสุด --> ผมยังนึกไม่ออก ปานกลาง --> จบแล้วก็ดี ความรู้สึกดีมาก --> คุณจะภูมิใจว่า..ตรูก็จบตรีมาฟระ ถ้าพรุ่งนี้คุณตัดสินใจไม่เรียนต่อ ป.ตรี อีก 20 ปีข้างหน้า ความรู้สึกเลวร้ายสุด --> เสียดายรู้งี้น่าจะเรียนตั้งนานแล้ว ปานกลาง --> ตอนนั้นถ้ามีเวลาก็น่าจะเรียนนะ ความรู้สึกดีมาก --> ก็ไม่เห็นสำ�คัญเลย เรียนจบหรือไม่จบ
มีใครบ้างไม๊ครับทีจ่ บ ป.ตรี มาแล้ว บอกว่าเสียดายทีเ่ รียนจบมา รูง้ ไ้ี ม่นา่ เรียนให้จบเลย ...ถามจริงๆ เถอะครับว่ามีใครบ้างไม๊ทค่ี ดิ แบบ นี...้ วันเวลาไม่เคยคอยใคร เมือ่ มันผ่านไปแล้ว...คุณจะเรียกมันกลับมาไม่ได้อกี เลย ทางทีด่ ตี ดั สินใจเลยนะครับ...มาลุยกัน ผมให้ก�ำ ลังใจครับ :) ” เชื่อเถอะว่าคนที่คิดแบบนี้ แบบที่เชิดชูและให้คุณค่าแก่ การศึกษาปริญญาตรี หาเจอได้ง่าย ๆ ไม่ต่างจากร้านสะดวกซื้อ อย่าง 7-11 และความคิดแบบนี้แหละที่เป็นหนึ่งในตัวการสำ�คัญที่ ทำ�ให้เราต้องเข้ารับการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย ผู้เขียนอยากรู้เหลือเกินว่าความคิดแบบนี้น่ีได้แต่ใดมา ถ้าทีม่ ามันไม่ได้เรือ่ ง ผูเ้ ขียนก็จะขอจรลีหนีไปรับจ้างเก็บส้ม แลก ข้าวแลกทีพ่ กั ไม่ตอ้ งคิด ไม่ตอ้ งรับผิดชอบ แค่ตดั ส้มทีอ่ ยูต่ รงหน้า พอหมดเวลาก็ไปพักผ่อน ไม่ขอตรากตรำ�เรียนหนังสืออีกต่อไป มีคนบอกว่า ในอดีตประชากรส่วนใหญ่ต้องอยู่ภายใต้ การควบคุมของขุนนาง หรือข้าราชการอันเป็นผู้ซึ่งผ่านการศึกษา เล่าเรียนจนได้ชื่อว่ามีวิชาความรู้เหนือกว่าผู้ใต้ปกครอง หรือก็คือ เหล่าชาวบ้านธรรมดาตาดำ� ๆ นั้นเอง หากยังไม่เห็นภาพ ขอ ให้หลับตานึกถึงละครไทยที่พระเอกเป็นปลัดอำ�เภอความรู้ ความ สามารถสูง เข้ามารับตำ�แหน่งไม่ทันไรก็ปราบปรามโจรผู้ร้ายได้ ไม่ต่างกับการปัดยุงให้พ้นรำ�คาญ และยังถือได้ว่าเป็นที่พ่ึงแก่ชาว บ้านในคราวมีภัย ปลัดอำ�เภอจึงถือเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในชุมชนโดยแท้
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
ใครจะขัดแย้งด้วยย่อมเป็นไปไม่ได้ โดยตัวคุณปลัดนี้ก็คงไม่แคล้ว เป็นบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง หากคุณเป็นชาวบ้านแล้วย่อม ต้องใฝ่ฝันให้ลูกหลานโหลนเหลนของตนได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่อย่าง เช่นคุณปลัดผู้เก่งกาจเป็นแน่ เพราะตำ�แหน่งดังกล่าวเป็นที่นับ หน้าถือตา เงินเดือนเบี้ยหวัดก็พรักพร้อม ชีวิตย่อมบริบูรณ์ไปด้วย ความสุขเป็นแน่แท้ และหนทางสู่ฝันดังกล่าวมีเพียงทางเดียว คือ ส่งเสียให้เด็กน้อยได้มีโอกาสเล่าเรียนให้สำ�เร็จได้ใบปริญญา ให้ ได้เป็นเจ้าคนนายคน มีอำ�นาจปกครองผู้อื่นต่อไป หากที่เขาเล่ามาเป็นเรื่องจริง... คำ�ถามต่อมาก็คือ ความคิดดังกล่าวถูกต้องไหม หรือถูกต้องเพียงแค่ในอดีต แต่ หมดอายุเสียแล้วสำ�หรับปี พ.ศ. นี้ จากการรวบรวมและเรียบ เรียงขี้ปากชาวบ้านเกี่ยวกับใบปริญญามาให้ทุกคนได้อ่านกัน ผู้ เขียนเองก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าการศึกษาปริญญาตรีมีข้อดีควรค่าสม แก่การเชิดชูหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ การได้เรียนปริญญาตรีก็เป็นหนึ่ง ในหนทางที่มอบความรู้แก่ผู้ที่เดินไปบนเส้นทางนั้นไม่มากก็น้อย -10-
small main course
ภูริชญา คุปตจิต
ค่าเสียโอกาสแก่ชีวิตเราไม่น้อยเหมือนกัน หลายปีในรั้ว มหาวิทยาลัยตัดโอกาสที่เราจะเอาเวลาไปทำ�อย่างอื่นที่อาจจะมี คุณค่ากับชีวิตของเรามากกว่าก็เป็นได้ บ้างก็ว่ามหาวิทยาลัยเป็นเหมือนโรงงานผลิตบัณฑิต ที่ให้บัณฑิตออกมามากมายประหนึ่งของโหล ที่ไม่ตอบสนอง ความต้องการของตลาดแรงงาน อีกทั้งมีปริมาณมากเกินไปจน ล้นตลาด เป็นเหตุให้ต้องอัปเกรดสินค้าโดยการเพิ่มสีเพิ่มกลิ่นให้ กลายเป็นบัณฑิตปริญญาโท หากแต่ถ้าสินค้าทุกชิ้นถูกอัปเกรดให้ กลายเป็นบัณฑิตปริญญาโทแล้ว คุณสมบัตดิ งั กล่าวจะไม่กลายเป็น ของโหลหรืออย่างไร หากเรากำ�ลังเรียนหนังสืออยู่ในโรงงานจริง ทำ�ไมเรายัง เรียนกันอยู่ หรือเพราะเราหลงทาง ไม่รู้จะไปไหน ยังมีที่อื่นให้ไป อีกหรือ หลายคนเสนอความคิดให้ลองเรียนสายอาชีพที่จบมา พร้อมทักษะที่ใช้งานได้จริงและใช้ได้ในทันที อีกทั้งมีประสิทธิภาพ อีกหลายเสียงก็เสนอให้เลิกเรียนเสียเลย เพราะมีคนมาก มายที่ไม่ได้สำ�เร็จปริญญา ก็ประสบความสำ�เร็จเกินหน้าใคร ๆ ไม่ว่าจะเป็น บิล เกตส์ สตีฟ จอบส์ หรือมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
ต่างคน ต่างคิด ต่างจิต ต่างใจ ผูเ้ ขียนเองคงไม่อาจสรุป ลงไปได้ ว่าแนวคิดไหนทีจ่ ริงแท้ ควรค่าแก่การยึดไว้ปฏิบตั ติ าม ในส่วนของตัวผู้เขียนเองนั้น ขอตัดสินใจเดินต่อไปใน เส้นทางสู่ใบปริญญา ไม่ใช่เพราะเห็นว่าทางนี้เป็นทางที่สูงค่าที่สุด ดีที่สุด หรือปลอดภัยที่สุด แต่เพราะเดินบนทางนี้มาไกลกว่า 7/8 ของทางทั้งหมดแล้ว ดังคำ�กล่าวที่ว่าผีมาจวนจะถึงป่าช้าอยู่แล้ว จะไม่เผาก็คงไม่ได้ แต่ตัวผู้เขียนเองนั้นก็ยังคงรักที่จะเรียนรู้โลก กว้าง ยังอยากลองทำ�ในสิ่งที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน ผู้เขียนจึง สัญญากับตัวเองว่าจะลองหาโอกาสกลับไปเป็นแรงงานไร้ฝีมือใน ไร่ส้ม ผู้ไม่ต้องใช้ใบปริญญาในการทำ�งาน อันเป็นตำ�แหน่งงาน ที่สอนให้เราได้เรียนรู้ว่าชีวิตที่ไม่มีใบปริญญาเป็นเครื่องคุ้มกาย มีรสชาติเช่นไร อีกทั้งยังเตือนให้เราตระหนักอยู่เสมอว่าคนอีก มากมายมีค่าเพียงใด แม้ไร้ใบปริญญา เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่าน คงได้แง่คิดเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกเส้นทางชีวิตของตนเองบ้าง ไม่มากก็น้อย แม้ไม่ได้ข้อสรุปสำ�หรับการตัดสินใจ ก็ขอให้ท่านได้ เก็บบทความนี้ไว้เป็นอีกหนึ่งข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำ�หรับ อนาคตของท่านต่อไป “แด่ทุกคนผู้กำ�ลังหลงทาง ...ด้วยรัก”
แหล่งที่มา: - http://thaipublica.org/2015/08/anik-3/ -http://www.adecco.co.th/adecco-news-detail.aspx?id=1062&c=1 -http://unigang.com/Article/12814 -http://www. oknation.net/blog/tomomi/2007/05/12/entry-1 -http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=49830.60;wap2 -https://blog.eduzones.com/training/128754
-11-
small but matter l issue 03
small main course
พิธีรับปริญญา จุดมุ่งหมายสุดท้ายของชีวิตนักศึกษา ?
main course
พิ ธี รั บ ป ริ ญ ญ า จุดมุ่งหมายสุดท้ายของชีวิตนักศึกษา ?
ถ้าเราเดินเข้าไปถามนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาเกี่ยวกับการเข้ารับปริญญาบัตร ผู้เขียนเชื่อมั่นว่า ร้อยละ 90 ย่อมต้องการที่จะเข้าร่วม พิธีนี้อย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละบุคคล ถึงอย่างนั้นก็ยังมีนักศึกษาจำ�นวนหนึ่งที่ไม่ประสงค์จะเข้าร่วมพิธีนี้เช่นกัน มุมมองทีแ่ ตกต่างกันออกไปของพวกเขาเหล่านี้ ล้วนเป็นประเด็นทีน่ า่ สนใจในการพยายามทำ�ความเข้าใจ รวมถึงการมอง “พิธปี ระสาทปริญญาบัตร” (Graduation Ceremony ) ในหลาย ๆ แง่มุมอีกด้วย
การรับปริญญามาจากไหน ? จุดเริ่มต้นของพิธีรับปริญญาในไทย เว็ บ ไซต์ ข องหอประวั ติ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย นั้ น ได้มีการบันทึกไว้ว่า วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 ได้เกิดพิธี พระราชทานปริญญาบัตรขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงสยาม ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำ�เร็จการศึกษา และ พิ ธี รั บ พระราชทานปริ ญ ญาบั ต รก็ ดำ � เนิ น ต่ อ เนื่ อ งกั น มาจนถึ ง ปัจจุบัน ในส่วนของการรับพระราชทานปริญญาบัตรในปัจจุบนั นัน้ เดิมทีแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นผู้พระราชทาน ใบปริญญาด้วยพระองค์เอง โดยเริ่มพระราชทานเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2493 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2544 มีเหตุจำ�เป็นที่ต้องยุติ พระราชกิจเนื่องจากพระชนมายุที่เพิ่มขึ้นจึงทรงพระกรุณาโปรด เกล้าให้มีผู้แทนพระองค์ในการประกอบราชกรณียกิจนี้แทนซึ่ง ได้แก่พระบรมวงศ์โดยในแต่ละมหาวิทยาลัยก็มีผู้แทนพระองค์ แตกต่างกันไป
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-12-
small main course
ภีม (ภีมะ)
มุมมองที่แตกต่าง ต่อการรับปริญญา
พิธีรับปริญญา กับภาษีสังคมที่ต้องจ่าย
ผูเ้ ขียนนัน้ ได้อา่ นความคิดเห็นเกีย่ วกับการรับปริญญาของ นิสติ นักศึกษามาหลายคน รวมถึงผ่านคำ�บอกเล่าและประสบการณ์ ตรง ซึ่งมีทั้งผู้ที่อยากเข้าร่วมและผู้ที่ไม่สนใจเข้าร่วม โดยแต่ละ คนก็ให้เหตุผลของตัวเอง สำ�หรับผู้ที่อยากเข้าร่วมนั้น มองว่าการรับปริญญาเป็น พิธีที่สำ�คัญมาก ๆ ในชีวิตอุดมศึกษา โดยมองว่าเป็นพิธีการที่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ สำ�หรับบางคนแล้วอาจเกิดขึน้ เพียงครัง้ เดียวในชีวติ เป็น การแสดงให้เห็นถึงความสำ�เร็จในการศึกษา บางคนก็ได้รับการ คาดหวังจากพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ที่หวังว่าลูกของตนจะได้เข้าร่วม พิธีรับปริญญา หรือกล่าวอย่างง่าย ๆ ว่า การรับปริญญาเป็นเสมือน เส้นชัยสุดท้ายของชีวิตมหาวิทยาลัย ที่ไม่ว่าใครก็อยากจะเข้าร่วม สักครั้งในชีวิต สำ�หรับผู้ที่ไม่อยากเข้าร่วมนั้น ล้วนให้เหตุผลที่คล้าย ๆ กัน ก็คือ พิธีรับปริญญานั้นมีความเป็นพิธีการมากเกินไป บาง คนนั้นไม่ชอบบรรยากาศในพิธีรับปริญญาที่เน้นความศักดิ์สิทธิ์ ระเบียบ และข้อกำ�หนดทีว่ นุ่ วาย มีก�ำ หนดการซ้อมทีย่ ดื ยาว น่าเบือ่ รวมถึงเหตุผลสำ�คัญก็คือ พิธีรับปริญญามีค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง ทำ�ให้บางคนไม่สะดวกทีจ่ ะต้องเสียค่าใช้จา่ ยส่วนนี้ ซึง่ เป็นทีแ่ น่นอน ว่าถึงไม่ได้เข้าร่วมพิธี พวกเขาก็ย่อมได้รับใบปริญญา ถ้าเรียนจบ ตามหลักสูตรครบถ้วน
ในการรับปริญญาครั้งหนึ่ง ๆ แล้ว มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น มากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายของทางมหาวิทยาลัยในการเตรียม สถานที่ อุปกรณ์ และบุคลากร หรือจะเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของ บัณฑิตที่มีอัตราค่อนข้างสูง เหตุ ผลที่ บั ณฑิ ต หลายคนเลื อ กที่ จ ะไม่ เข้ าร่ ว มพิ ธี รั บ ปริญญา มาจากค่าใช้จ่ายเนื่องในพิธี จากการสำ�รวจพบว่า ราคา ของ “ชุดครุย” นั้นมีหลายระดับ ตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ซึ่งมีทั้งให้เช่าและซื้อ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าช่างภาพ ค่าลง ทะเบียน ค่าของขวัญ ค่าแต่งหน้าทำ�ผม (ในกรณีที่เป็นผู้หญิงอาจ สิ้นเปลืองกว่า) รวมไปถึงค่าเดินทางค่าที่พักสำ�หรับญาติอีกด้วย โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ถ้ารวมกันแล้ว อาจจะต้องเสียถึงหลักหมื่น บาท ซึ่งเป็นราคาที่ผู้เข้ารับปริญญาต้องจ่าย เพื่อให้ได้เข้าร่วมพิธี (อย่างน้อยก็ต้องมีชุดครุย) เพราะฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกใจสักเท่า ไหร่ที่พิธีรับปริญญาจะถูกมองว่าสิ้นเปลือง การผลิตซำ�้ว่าการรับปริญญาเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต นักศึกษา จึงส่งผลให้คนทุกคนเชือ่ ว่าต้องเข้ารับปริญญา แม้แต่ คนทีม่ สี ถานะทางเศรษฐกิจทีไ่ ม่เอือ้ อำ�นวยก็ตาม ภาพการรับปริญญา จึงเป็นภาพที่ทุกคนจะต้องเดินไปให้ถึง แม้แต่พ่อแม่ผู้ปกครองก็ พลอยคิดไปด้วยว่า อยากให้ลูกของคนเองเข้าร่วมพิธี แม้จะต้องมี ค่าใช้จ่ายมากมายก็ตาม
การรับปริญญาควรเปลี่ยนแปลงหรือไม่ จากการสอบถามของผู้เขียน รวมถึงสำ�รวจความเห็น จากทีต่ า่ ง ๆ มีคนจำ�นวนไม่นอ้ ยทีอ่ ยากเห็นการรับปริญญามีรปู แบบ ที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน โดยเฉพาะการลดความศักดิ์สิทธิ์ของ พิธีการลง ถ้าเรามองไปที่ประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยเกียวโตนั้นมีชื่อเสียงเกี่ยวกับการรับปริญญาที่อนุญาตให้ บัณฑิตผูเ้ ข้าร่วมพิธสี ามารถแต่งกายได้ตามใจชอบ ดังนัน้ จึงมีหลาย คนที่เลือกจะแต่ง “คอสเพลย์” เป็นการสร้างสีสันให้กับงานเป็น อย่างมาก สื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากยุคสมัยได้ เป็นอย่างดี -13-
เมื่อเห็นตัวอย่างจากต่างประเทศแล้ว จึงต้องมองย้อน กลับมาที่ไทยว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง ผู้เขียนเชื่อ ว่าการรับปริญญาของไทยยังเน้นไปที่ความศักดิ์สิทธิ์อยู่มาก เมื่อ พูดถึงการรับปริญญา ภาพของความเป็นทางการจะผุดขึ้นมาเป็น อันดับแรก จนเราไม่สามารถมองเห็นวิธีการอื่น ๆ ที่แตกต่างออกไป ของพิธีรับปริญญา และนั่นก็เป็นสิ่งที่ทำ�ให้พิธีรับปริญญาของไทย กลายเป็นเรื่องที่ตายตัวมากเกินไป และเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้ข้อเสีย บางประการของการรับปริญญายังคงดำ�รงอยู่ต่อไป โดยที่ไม่มีใคร ตระหนักเท่าที่ควร
small but matter l issue 03
small main course
ยังไงถึงจะเรียกว่าประสบความสำ�เร็จ
main course
หากพูดถึง “ความสำ�เร็จ” คุณนึกถึงอะไร ? ความหมายของชีวิตคุณขึ้นกับสิ่งใด เงินทอง? สุขภาพ ร่างกาย? รูปร่างหน้าตา? ภาพลักษณ์? ความรู้? ความคิดแรกที่ แล่นเข้ามาในหัวคุณคืออะไร? แต่ละคนให้ความหมายกับคำ�นี้ แตกต่างกันออกไปเพราะบริบทหรือเงื่อนไขคอยกำ�หนดให้เรามี เป้าหมายกับเพียงบางสิง่ เราจะเลือกเส้นทางเพือ่ เดินทางสูจ่ ดุ หมาย เมื่อถึงจุดนั้น หรือในจุดที่เราพอใจ เราถึงเริ่มเอ่ยถึงสิ่งนั้นว่า ประสบความสำ�เร็จ ทว่าเป้าความสำ�เร็จนี้ดูเหมือนจะไม่อยู่นิ่ง หลังจากเราเช็คอิน ณ จุดหมาย หัวใจและความกระหายก็เริ่มไม่ พึงพอใจกับเส้นชัยและเริ่มตั้งภารกิจใหม่ให้กับเรา จริง ๆ แล้ว--เราต้องการอะไร ? หากลองหยิบยกตัวอย่างจากแผนภาพพีระมิด Hierarchy of Needs คุณอับบราฮัม มาสโลว์ได้สร้างทฤษฎี ว่าด้วยลำ�ดับขั้น ความต้องการของมนุษย์โดยทั่วไป เขาบอกว่าความต้องการของ มนุษย์มี 5 ขั้น ความต้องการเริ่มต้นที่ขั้นแรกที่อยู่ส่วนฐานของ
พิระมิดแล้วจึงไต่ขึ้นด้านบน ทฤษฎีบอกว่าเราต้องได้รับการตอบ สนองความต้องการฐานที่ล่างกว่าก่อน จึงจะเขยิบความต้องการ ของตนเองขึ้นชั้นต่อไป เราจะไม่แคร์เรื่องความความปลอดภัยใน ที่ทำ�งานสักเท่าไหร่ ถ้าวันพรุ่งนี้ยังไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนซื้อข้าว ซึ่ง มันทำ�ให้คนแต่ละประเภทแต่ล่ะคนมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ทุกคนอยากประสบความสำ�เร็จภายในเวลาอันรวดเร็ว มีหนังสือ และ บทความต่าง ๆ ออกมามากมาย เช่นบอกให้ คุณเพียงทำ�ตาม 10 ข้อนี้แล้วคุณจะประสบความสำ�เร็จ บางครั้ง เราถูกล่อลวงจนลืมตั้งคำ�ถามกับตัวเอง ว่าเป้าหมายของเรามัน คืออะไรกันแน่ การที่ไปไล่ตามคนอื่นอาจไม่ใช่สิ่งที่เหมาะกับเรา เรา--ลึก ๆ แล้วต่างมีความต้องการที่แตกต่างกัน ในหนังสือ The Law of Success ของ Dr. Napoleon Hills ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับการยอมรับสูงสุดจนเรียกได้ว่า เป็นหนังสือ ต้นแบบของหนังสือ Self-improvement ในปัจจุบัน มีเนื้อหาบท หนึ่งได้เขียนเกี่ยวกับ “การขจัดความกลัว” ซึ่งสอดคล้องกับแผน ภาพปิรามิดลำ�ดับที่ 2 ของ Maslow (Safety Needs) ในหนังสือ เขียนไว้ทำ�นองว่า หากเราไม่ขจัดความกลัวและความกังวลทั้งใน ด้านร่างกายและจิตใจ เราก็ไม่อาจก้าวผ่านไปถึงความสำ�เร็จได้ คุณอาจไม่เคยกังวลเรื่องอาหาร หรือเรื่องที่ว่าคืนนี้จะนอนที่ไหน คุณอาจไม่ ‘เข้า’ ‘ใจ’ กับคำ�ถามนั้นเลยด้วยซ้ำ� เพราะมันได้รับ การเติมเต็มเรียบร้อยแล้ว แต่อย่างที่กล่าวในบทความตอนต้น คุณ ยังคงมีเป้าหมายอื่นรอให้คุณไปถึงอยู่ดี
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-14-
small main course
tullaparin
ทุกวันนี้ ความเชื่อต่างๆ ในสังคมกำ�หนดทิศทางที่มัน คับแคบสำ�หรับเรา บางครั้งเราเกิดความกลัวที่จะออกนอกเส้นทาง สายที่ใครๆ ต่างก็คุ้นเคย เกิดความไขว้เขววิตกกังวลกับเป้าหมาย ของตัวเอง อย่าให้อะไรมาฉุดคุณไว้กับที่ ถ้าลองตัดมายาคติบาง อย่างออกไป เราอาจได้เห็นหลาย ๆ หลายคนจะสามารถมุ่งหน้า ไปยังสิ่งที่เขาต้องการจริง ๆ เกิดบุคลากรที่มีความชำ�นิชำ�นาญ หลากหลาย เปิดใจรับความคิดแปลกใหม่ อะไรก็สามารถเกิดขึ้น ได้ เพราะแม้กระทั่งแผนภาพพิระมิดของมาสโลว์ที่ถูกอ้างอิงถึง ตลอดในบทความนี้ ก็ถูกมาสโลว์ใส่ตัวตนของเขาเข้าไปโดยไม่ได้ ตั้งใจ และอาจเสริมสร้างความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก
(ขออภัยที่มาเฉลยท้ายบทความ ท่านที่พยักหน้าเห็นด้วยอย่างแรง กับทฤษฎีและเริ่มคิดทบทวนถึงความต้องการของตนเองในวัย ต่างๆ ขอให้คิดเถิดว่านี่เป็นการแสดงให้ดูว่ามนุษย์เก็บสิ่งต่างๆ มาเป็นความเชื่อง่ายแค่ไหน และท้าทายต่อไปให้ลองแจกแจง ความเชื่อเหล่านั้นดู)
Abraham Maslow (1908-1970)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เสนอทฤษฎี Maslow’s Hierarchy of Needs ในปี 1954 ซึ่งเป็นพื้นฐานของ จิตวิทยามนุษยนิยม
ทฤษฎีของมาสโลว์ถูกตั้งคำ�ถามเรื่อง
ความถูกต้องของลำ�ดับขั้น นักวิจารณ์นามว่า Geert Hofstede มีความเห็นว่างานของมาสโลว์แฝงนัยยะที่ ดูถูกชาติพันธุ์อื่น กล่าวคือ ความต้องการของคนใน สังคมที่เน้นความเป็นปัจเจกเช่นวัฒนธรรมตะวันตก มีแนวโน้มจะเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง ความต้องการ ที่จะพัฒนาตนเองและตระหนักรู้ ในตนเองมีลำ�ดับขั้นที่ สูงกว่าความต้องการทางด้านสังคม แต่ในวัฒนธรรม ตะวันออกที่เน้นการรวมหมู่ความต้องการทางด้าน สังคมอาจจะอยู่เหนือกว่าความต้องการบรรลุความ ต้องการแบบปัจเจก พีระมิดมาสโลว์ ไม่สามารถให้ ความกระจ่างในสังคมสองแบบที่ต่างกัน
ถึงตอนนี้อยากให้คุณลองถามตัวเองอีกครั้งหนึ่ง
หากพูดถึง “ความสำ�เร็จ” คุณนึกถึงอะไร ?
แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wikiMaslow%27s_ hierarchy_of_needs#Criticism
-15-
small but matter l issue 03
ขมขัน
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
ความฝัน อันสูงสุด
panisaj.
-16-
small interview
ธเนศ วงศ์ยานนาวา
สัมภาษณ์: tullaparin/ สิทธิชัย รณชัยมงคล
small interview
บ่ายวันหนึ่งฉันต่อสายไปหาอาจารย์ธเนศตามเวลา ในข้อความที่อาจารย์ทิ้งไว้ในแช็ทบอกซ์ ฉันเล่าให้อาจารย์ฟังว่ามาจาก นิตยสาร small และอยากสัมภาษณ์อาจารย์เรื่อง “มายาคติและชีวิตของ อาจารย์” “ผมยินดีจะช่วย” อาจารย์บอกว่าถ้านั่นจะช่วยให้คุณได้ออก นิตยสาร “แต่ผมไม่อยากยุ่งเรื่องการเมือง ประเทศนี้พูดไปก็เท่านั้นแหละ” พร้อมกับบอกว่า โลกนี้มันก็มายาคติทั้งนั้นแหละคุ๊ณ...
small interview: ธเนศ วงค์ยานนาวา ผู้สัมภาษณ์และเรียบเรียง: tullaparin/ สิทธิชัย รณชัยมงคล -17-
small but matter l issue 03
small interview
ธเนศ วงศ์ยานนาวา
มายาคติคืออะไร
ธเนศ วงศ์ยานนาวา มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
ผมคงไม่ใช่คนที่จะสามารถให้คำ�นิยามได้ว่าอะไรคือสิ่ง ที่หลอกลวงได้อย่างถูกต้อง เพราะถ้าให้คำ�นิยามได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนก็แสดงว่าผมรู้ว่าอะไรคือความจริงแท้ที่ไม่ผิดเลย เพราะ ความเข้าใจต่อมายาคติวางอยู่รากฐานความคิดที่แยกความแตก ต่างระหว่างสิ่งที่จริงและไม่จริง ของจริงกับของปลอม ภาพที่เรา เห็นเป็นเหมือนน้ำ�ในระยะไกล ๆ บนพื้นที่มีความร้อนที่เรียกว่า mirage ก็เป็นภาพลวงตา แต่นนั่ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ใน การดำ�เนินชีวิตคงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่เราจะต้องแยกมายาคติออก จากความจริงที่ไม่มีวันผิด เพราะอย่างน้อย ๆ ในกระบวนการแสวง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การพิสูจน์และท้าทายความคิดดั้งเดิมได้ ว่า “ผิด” ก็เป็นพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของความเป็นศาสตร์ ที่มีเป้าหมายอยู่ที่การแสวงหาความจริง ผมก็ต้องเผื่อไว้ว่ามันมี โอกาสที่จะผิดได้น่ะในอนาคต -18-
สัมภาษณ์: tullaparin/ สิทธิชัย รณชัยมงคล
มายาคติเรื่องไหน ที่น่าหงุดหงิดใจที่สุด โอ๊ย !! ผมไม่รู้ว่าผมหงุดหงิดกับมายาคติเรื่องไหนน่ะ ผมมักจะหงุดหงิดกับเรื่องไม่เป็นเรื่องมากกว่าเรื่องใหญ่ ๆ เพราะ เรื่องที่ยิ่งใหญ่มันเป็นเรื่องที่ผมคิดว่าผมคงไม่มีปัญญาไปแก้ไข มัน เช่น เวลานั่งรถในกรุงเทพแล้วรถติด เรื่องของชีวิตประจำ� วันที่เกินความสามารถในการควบคุมก็ไม่รู้จะหงุดหงิดไปทำ�ไม ใหม่ ๆ ก็อาจจะหงุดหงิด อยู่ ๆ ไปก็เคยชิน ความเคยชินก็ ทำ�ให้อยู่ได้ เพราะฉะนั้นในการจะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ต้องเปลี่ยน มันให้กลายเป็นของที่เราจะต้องไม่เคยชิน สำ�หรับในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันมนุษย์ก็ต้องจัดการ เรื่องต่าง ๆ ให้ได้ เวลาคนสำ�คัญมาก ๆ ในชีวิตของเราตายจากไป เราอาจจะรู้สึกว่าเราอยู่ยากหรืออยู่ไม่ได้ เราอาจจะร้องไห้เสียใจ ผ่าน ๆ ไปเราก็หันไปให้ความสำ�คัญกับสิ่งอื่น ๆ จนมันกลายเป็นสิ่ง สำ�คัญตัวใหม่ ผมว่าคงมีคนไม่เท่าใดหรอกนะเมื่อเปรียบเทียบกับ ปริมาณมนุษย์ในวิวัฒนาการที่ผ่านมา เวลาพ่อตายแล้วบอกอยู่ไม่ ได้ต้องฆ่าตัวตายตาม แต่เวลาผ่านไปเราก็ค่อย ๆ ลืมเรื่องนั้น ๆ ไป แต่เราไม่ได้ลืมความตายของพ่อหรือแม่เราไปหรอก คงไม่ใช่เรื่อง ง่าย ๆ ที่เราจะลบความทรงจำ�เรื่องความตายของคนในครอบครัว มนุษย์ดำ�รงชีวิตอยู่ได้หรือเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำ�เนินไปได้ด้วยความ ทรงจำ� เป็นสัตตะแห่งความทรงจำ� (memorial being) นี่ยืม ความคิดของ Eric Kandel นักประสาทวิทยามาใช้
“เพราะฉะนั้น จะเปลี่ยนแปลงอะไร ก็ต้องเปลี่ยนมัน ให้กลายเป็นของที่เรา จะต้องไม่ เ คยชิ น ”
-19-
ถ้าโลกนี้ ไม่มีมายาคติ โลกนี จ ้ ะเป็ น อย่ า งไร ชีวิตมนุษย์ต้องมุ่งแสวงหาความจริงตลอดหรือเปล่า? โอ๊ย! ถ้ามนุษย์ตอ้ งมุง่ แสวงหาความจริงตลอดเราคงทำ�ให้จติ แพทย์ รวยหรื อ ไม่ จิ ต แพทย์ ก็ เ ครี ย ดตายเพราะงานล้ น มื อ ไปแล้ ว กิ จ กรรมพั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจของมนุ ษ ย์ ไ ม่ ไ ด้ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ แสวงหาความจริง กิจกรรมพักผ่อนของเรามักจะเป็นเรื่องที่เรารู้ ว่าไม่จริง เราพักผ่อนด้วยการอ่านนิยาย เราหลบเข้าไปสู่โลกที่ เราให้ “เกียรติ” มันว่าเป็นโลกแห่งจิตนาการ โลกใหม่ ๆ ที่เป็น Novel จากจินตนาการไปจนถึงวีดิโอเกม ภาพยนตร์ กีฬาและอีก สารพัด ทั้งหมดไม่ได้เป็นชีวิตจริง ในชีวิตประจำ�วันของเราที่ เป็นสิง่ ทีเ่ ราตืน่ ขึน้ มาแล้วต้องทำ�อย่างอืน่ แปรงฟัน นัง่ ขี้ ขึน้ รถเมล์ ไม่ใช่อ่านนิยาย เราก็รวู้ า่ งานเลีย้ งต้องมีวนั เลิกรา ไปพักร้อนนอนชายหาด พักร้อนนอนชายหาดไม่ได้นอนได้ตลอดไป เพราะถ้าตลอดไปก็ แหลกอีก การพักร้อนจะต้องมีช่วงเวลาแห่งความสุข ถ้าสุขตลอด เวลาหรือยาวนานมาก ๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องปกติ พอปกติมาก ๆ ก็ไม่ได้เป็นความสุขแล้ว วันแต่งงานวันลูกคลอดก็มีความสุข แต่ สักพักเราก็กลับไปสู่สภาวะปกติ ลองจิตนาการว่าเราต้องฉลองวัน ไม่เกิดเรา 364 วันใน 365 วัน ฉิบหายแน่ การดำ�เนินชีวิตไม่จำ�เป็นที่จะต้องการความจริงหรือ สัจธรรมในประกอบการดำ�เนินชีวิต วิถีทางปฏิบัติหลาย ๆ อย่าง ไม่ต้องการสัจธรรม เราไม่จำ�เป็นที่จะต้องรู้ว่าจักรวาลมีขอบเขต แค่ไหนหรือสิ้นสุดหรือไม่? จักรวาลขยายตัวหรือไม่? ตกลงแล้ว Higgs boson เป็นอย่างไร? ถึงจะมีหรือไม่มีก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ มีชีวิตอยู่รอดของเรา หรือในอดีตการรู้ว่าโลกกลมหรือโลกแบนก็ ไม่ได้ทำ�ให้มนุษย์มีชีวิตรอดหรือไม่รอด ที่ใช้คำ�ว่าชีวิตรอดก็ หมายถึงการที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่โดยทั่ว ๆ ไปแล้วก็ต้องการมี ชีวิตรอด ความกลัวทำ�ให้เรามีชีวิตรอด เพราะถ้าทุก ๆ คนกล้า หาญตลอดเวลาเราคงตายกันไปเยอะกว่านี้หรืออาจจะไม่มีชีวิต ตลอดระยะเวลาวิวัฒนาการของมนุษย์ เช่น เวลาเห็นเสือแล้วไม่ กลัว บอกกับเสือว่าแน่จริงมึงเข้ามาเลย เสือเบงกอลไม่ใช่ Hobbes ในการ์ตูน Calvin & Hobbes
small but matter l issue 03
small interview
แต่ ถึ ง แม้ ว่ า เราจะรู้ ว่ า ความจริ ง คื อ อะไรก็ ไ ม่ ไ ด้ หมายความว่าเราจะไม่กลัว เช่น คนกลัวเครื่องบินตก ทั้ง ๆ ที่ อุบัติเหตุที่จะทำ�ให้เราตายจากเครื่องบินตกนั้นต่ำ�มาก ๆ อุบัติเหตุ ทางรถยนต์มีมากกว่า การตายด้วยเครื่องบินตกก็น้อยมาก ๆ เมื่อ เปรียบเทียบกับรถยนต์หรือโอกาสตายด้วยมะเร็ง แต่ไม่ว่าสายการบินจะตรวจเช็คขนาดไหนคนหลายต่อหลายคนขึ้นเครื่องบินก็ ยังกลัวเครื่องบินตก คุณขึ้นเครื่องบินแล้วลองชวนคนนั่งข้างคุยเ รื่องเครื่องบินตกดูสิ หรือสายการบินเปิดสารคดีเครื่องบินตกให้ดู บนเครื่องเพื่อเป็นความรู้กับผู้โดยสาร แล้วแจ้งให้ผู้โดยสารทราบ ว่านี่เป็นมรณานุสติ เงินประกันที่ได้จากเครื่องบินตกก็สูงกว่าตาย จากการนัง่ รถประจำ�ทาง ลองนึกภาพเงินค่าทำ�ขวัญและค่าทำ�ศพ จากบริษทั ทัวร์กบั สายการบิน เงินประกันเยอะกว่าก็ไม่ได้ปลอบขวัญ หรือลดความกลัวเครื่องบินตกน่ะ ปฏิกิริยาที่เรามีต่อสิ่งที่เรา “คิดว่าจะเป็น” หรือ เรา “รู้สึกว่าจะเป็น” หรือ “ดูราวกับว่าเป็น” จึงเป็นสิ่งที่สำ�คัญมาก ไม่น้อยไปกว่าสิ่งที่เป็นจริง ๆ เพราะฉะนั้นจริงหรือไม่จริงก็ไม่
“ความเชือ ่ ผิด ๆ นัน ้ มักจะ เป็นอะไรทีส ่ �ำ คัญในการดำ�เนิน ชีวต ิ ตลอดระยะเวลาทาง ประวัตศ ิ าสตร์” สำ�คัญ สมองที่ทำ�งานผ่านอารมณ์ของมนุษย์ไม่ได้สนใจหรอกว่า จริงหรือไม่จริง แต่สิ่งที่เรา “คิดว่าจริง” หรือ “รู้สึกว่าจริง” ต่าง หากที่จัดการการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันของเรา มนุษย์ทั่วๆ ไปก็ ไม่ได้สนใจที่จะแยกว่าอะไรจริงและอะไรไม่จริงขนาดที่คาดหวัง กันจากการอ่านหรือได้รับการอบรมจากเหล่าปราชญ์ทั้งหลายของ โลกที่เน้นให้หาและเข้าถึงความจริง อย่างน้อย ๆ จินตนาการ ที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงก็เป็นสิ่งสำ�คัญในชีวิต แต่ก็ไม่มีใครคิดว่า จินตนาการเป็นของหลอกลวง การมองโลกในแง่ดีเป็นมายาคติ หรือเปล่า? ไม่มีใครคิดว่า positive thinking หรือ positive psychology เป็นมายาคติ เพราะคิดว่าทำ�ได้ แต่จะทำ�ได้ใน อนาคตหรือไม่ยังไม่มีใครรู้ คุณก็ต้องเชื่อไว้ก่อนว่าทำ�ได้ การคิด ว่าอนาคตจะแย่กว่านี้แน่ทำ�ให้ชีวิตหดหู่เกินไป แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
ธเนศ วงศ์ยานนาวา
มนุ ษ ย์ โ ดยเฉพาะในกรอบคิ ด ของคริ ส ต์ ศ าสนาหรื อ เอกเทวนิยม (monotheism) นัน้ ต้องมีความหวัง เพราะถ้า ไม่มีค วามหวั ง คุ ณ ก็ แ สดงว่ า คุ ณ ไม่ เ ชื่ อ ว่ า พระผู้ เ ป็ น เจ้ า จะมา ปลดปล่อยมนุษย์ ไม่มี Messiah ไม่มโี ลกพระศรีอาริย ์ ไม่มี สวรรค์ ศาสนาก็หมดพลัง ถ้าในอดีตพรรคการเมืองอย่าง พรรคคอมมิ ว นิ ส ต์ ไ ม่ ส ามารถบอกว่ า จะพาคุ ณ ไปสู่ สั ง คม อุดมคติที่วาดฝันเอาไว้ไม่ได้ ถ้าบอกว่าไปไม่ได้ก็ฉิบหาย เท่านั้น บ้าแล้วถ้าพรรคคอมมิวนิสต์บอกกับประชาชน ว่า “เฮ้ยกูให้ความสุขสุดยอดกับมึงไม่ได้นะ” คุณคิดว่าใคร จะเดินตามหรือใครจะเชื่อคุณล่ะ คุณก็ต้องขายฝันไปว่า มีความสุขในอนาคตจะต้องมี กูนั่นแหละจะทำ�ให้พวกมึงมีความ สุขสุดยอด นักเขียนจากยุโรปตะวันออกอย่าง Milan Kundera ถึงเขียนไว้ในนิยายของเขาเพื่อล้อเล่นกับพรรคคอมมิวนิสต์ใน ทำ�นองว่า “ความฝันคือยาฝิ่นของประชาชน” แต่พรรคไม่ขำ� ด้วยแม้ว่าจะบอกนี่เป็นเรื่องตลก ๆ เรื่องขำ� ๆ ประโยคของ Kundera ก็คล้ายกับที่ Karl Marx เคยกล่าวไว้ว่า “ศาสนาคือยาฝิ่น” อันนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าฝิ่นเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมากในยุโรปใน ศตวรรษที่สิบเก้า โดยเฉพาะชนชั้นสูงของยุโรปที่นิยมการใช้ฝิ่น เพื่อมีความสุข การสูบฝิ่นทำ�ให้รู้สึกสบาย สถานะของฝิ่นใน ศตวรรษทีส่ บิ ก็คล้ายๆ กับเพลงคาราบาวล่ะ “ความสุขเล็ก ๆ นอ้ ย ๆ ที่จะถอยวิดีโอมาฉายดูหนังโป๊” นั่นล่ะ ความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ไม่ได้เป็นความสุขที่แท้จริงใน ความหมายของ เช่น ศาสนาที่ต้องการนำ�เสนอสิ่งที่แท้จริงนอก เหนือไปจากการรับรู้และการใช้ชีวิตแบบคนทั่ว ๆ ไป แต่ไม่ว่า ศาสนาจะบอกว่าอะไรเป็นมายาคติเป็นภาพลวงตาขนาดไหน เราก็มีสามารถให้ความสมเหตุสมผลกับสิ่งที่ศาสนาบอกว่าผิด เรามีเหตุผลให้กับการกระทำ�ของเราทั้ง ๆ เรารู้สึกว่าเราไม่ควรทำ� เช่น เราไปซื้อของหรือทำ�อะไรบางอย่างที่เรารู้สึกว่าแพงเราไม่ควร จะซื้อ เราก็บอกว่า ‘เราให้รางวัลกับตัวเอง’ เมื่อไม่มีใครให้ไม่มีใคร ยอไม่ใครชื่นชมหรือให้แล้วไม่ถูกใจ กูก็ชื่นชมหรือซื้อให้กับตัวเอง ก็ได้วะ ความเชือ่ ทีผ่ ดิ ๆ นน้ั มักจะเป็นอะไรทีส่ �ำ คัญในการดำ�เนิน ชีวติ ตลอดระยะเวลาทางประวัตศิ าสตร์ ปัญญาชนฝรัง่ เศส Ernest Renan ในปลายศตวรรษที่สิบเก้าได้กล่าวไว้ว่า ความเชื่อที่ผิดๆ ทางประวัติศาสตร์นี่แหละเป็นกลไกสำ�คัญในการสร้างรัฐประชา ติหรือ Nation-State เพราะการดำ�รงอยู่ของชาติ (รัฐ) ไม่ได้ ต้องการความจริงแบบที่นักประวัติศาสตร์ต้องการนำ�เสนอ ดังที่ ได้พูดไปแล้วว่าเราไม่ได้ต้องการความจริงแท้ในการนำ�ชีวิตตลอด -20-
สัมภาษณ์: tullaparin/ สิทธิชัย รณชัยมงคล อีกแบบหนึ่งก็ตาม โลกแห่งศาสตร์ต้องการและต้องมี the will to truth หรือเจตจำ�นงที่จะมุ่งมั่นไปสู่ความจริง เพลงเก่าๆ “Caress and Whisper” ของวง Wham ที่ ร้องไว้ว่า “Ignorance is kind There’s no comfort in the truth Pain is all you find” ในแง่นี้การที่เราคิดว่าโลกเป็นแบบหนึ่งทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการดำ�เนินชีวิต เราจึงมีความ สุขกับนวนิยายหรือ Novel สารพัดแบบ เราซึ้งกับตัวละครหรือ เกลียดตัวละครนั้น ๆ มากทั้ง ๆ เราก็รู้ว่ามันไม่ได้เป็นเรื่องจริง แต่เราก็ร้องไห้กับหนังเศร้า กลัวหนังเขย่าขวัญ เราร้องไห้กับ หนังรักรันทดหรือเขย่าขวัญแต่ก็ทำ�ให้เรามีความสุขหลังจากออก จากโรงภาพยนตร์ คงไม่มีใครบอกว่าเราไม่ได้ร้องไห้จริงหรือกลัว ปลอม ๆ อารมณ์พวกนี้เป็นของจริงไม่ได้เกิดขึ้นแบบหลอก ๆ เราก็รู้ว่าเราไม่ได้เศร้าตลอดไปและไม่ได้มีความสุขไป ได้ตลอด เพราะถ้าสุขตลอดหรือทุกข์ตลอดมันเป็นอะไรที่น่ากลัว เกินไป เสี่ยงเกินไป แย่แน่ถ้าเราต้อง Orgasm ตลอดเวลา เรา จึงต้องเข้าไปอยู่ในโลกที่ไม่จริงเหล่านี้บ้างบางเวลา แล้วเราก็ต้อง “แกล้ง” ทำ�ทีว่ามันจริง คุณลองนั่งดู Star Wars แล้วมีคนมา ตะโกนในโรงว่า “บ้าหรือเปล่าว่ะนั่งดูหนังหลอกเด็กอยู่ได้ โตเป็น ควายแล้ว” การได้มีอะไร “เล่น ๆ” ทำ�ให้เรามีความสุขเพราะมัน ไม่จริง เราถึงสนุกกับการละเล่นแบบเด็ก ๆ เพราะถ้าการละเล่น เราเล่นแบบเอาเป็นเอาตาย เล่นอย่างจริงจัง ก็แหลกอีกเหมือน กัน ตรงนั้นจะไม่มีความสุขแล้ว คนที่เล่นด้วยก็จะไม่สนุก
ชีวิตมหาวิทยาลัยของ อาจารย์เป็นอย่างไร
“นี่เป็นสังคมที่ยึดมั่น ถือมั่นในชาติวุฒิ คุณวุฒิและวัยวุฒิ ไม่ใช่แรงงานทักษะ”
ถ้ า ย้ อ นเวลากลั บ ไปได้ จ ะเรี ย น ปริญญาตรี ไหม ย้อนเวลากลับไปเมื่อสี่สิบที่แล้วอยู่ในพื้นที่นี้น่ะ เรียน สิครับ นี่เป็นสังคมที่ยึดมั่นถือมั่นในชาติวุฒิ คุณวุฒิและวัยวุฒิ ไม่ใช่แรงานทักษะ แต่ถ้าคุณถามผมว่าถ้า “ย้อนเวลากลับไป ในอนาคต” เช่น ค.ศ. 2050 ค.ศ.2100 ผมคงทำ�อะไรอย่างอื่น เพราะผมคงจะสู้หุ่นยนต์ไม่ได้ในหลายต่อหลายเรื่อง ผมเป็นสิ่ง มีชีวิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยกิเลสตัณหาและราคะผมก็ต้องปรับตัว ถ้าไม่มีก็แสดงว่าผมตายแล้ว การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเป็นกลไก สำ�คัญที่ทำ�ให้สิ่งมีชีวิตมีชีวิตรอด
ฝากถึงเด็กมหา’ลัย
ผมเป็นเหมือนชีวิตวัยรุ่นทั่ว ๆ ไป ผมชอบเที่ยว ผมชอบ เดินทาง ถา้ มีเวลาว่างมากก็ออกไปไกลหน่อย ชอบดูหนัง กนิ ตาม ทีต่ า่ ง ๆ เดินห้าง ผมเป็นคนกรุงเทพ คนเมือง สยามสแควร์ ไปจนถึงย่านราชประสงค์ สีลม บางรัก สุขุมวิทหรือเมื่อก่อนเรียก ว่า บางกะปิ ไม่ใช่บางกะปิปัจจุบัน จึงเป็นส่วนสำ�คัญของชีวิต ผม นอกจากนั้นก็ยืมหนังสือจากห้องสมุดต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ไปอ่าน ผมนิยมไปอ่านนิตยสารหนังสือพิมพ์สารพัดแบบที่ AUA และ British Council ที่อยู่ที่สยามสแควร์ โลกผมก็แคบ ๆ แค่นี้ แหละ วนเวียนอยู่แค่นี้แหละ -21-
ผมเป็นไดโนเสาร์ที่ยังอยู่ในยุค Analog ผมไม่ใช่ Digital Native ผมไม่ใช่แม้แต่ Digital Immigrant น่ะ จะให้ผมเปลี่ยน หัวสมองแบบที่เขาคิดทำ�กันนั้นน่ะคงไม่ใช่ ผมไม่มีอายุยืนยาวไป เจอกับยุคของ Luke Skywalker หรอก ผมจึงไม่มอี ะไรฝาก ฝากแล้ว กลับเป็นภาระให้กับโลกยุค Singularity ที่บางคนคิดว่ากำ�ลังจะมา ถึง สำ�หรับผม ผมยังอยู่และคงตายในโลกที่เงื่อนไขทางชีววิทยายัง เป็นข้อจำ�กัดอยู่ของมนุษย์
small but matter l issue 03
small interview
แอดมินกุ๊กไก่แห่ง Chula Cute Boy
small interview
“ภายในจุฬาฯ เขตจามจุรีรั้วสีชมพู เห็นนางคนหนึ่งงามหรู สวยเป็นดาราที่รู้ทั่วไป แม่เป็นขวัญตา แก่ชาวจุฬาฯ สมค่าพึงใจ จะมองแห่งใด ถูกตาถูกใจ ไม่มีแห่งไหนลวงตา ชวนนิยม...” เพลง ดาวจุฬาฯ ประพันธ์โดย เอื้อ สุนทรสนาน และ แก้ว อัจฉริยะกุล ในช่วงปี พ.ศ. 2480-2490
บทสัมภาษณ์
“แอดมินกุ๊กไก่ Chula Cute Boy” ผู้ ให้สัมภาษณ์ ต๊ะ-ปรัชญา ดวงมั่น สัมภาษณ์และเรียบเรียง วิลิน พิพัฒน์นัดดา ปฏิพล โชคชัยนันท์ ปาณิศา เจิมหรรษา ติดตาม Chula Cute Boy ได้ที่ Facebook : Chula Cute Boy Instagram : chulacuteboyofficial
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-22-
สัมภาษณ์และเรียบเรียง: วิลิน พิพัฒน์นัดดา / ปฏิพล โชคชัยนันท์ / ปาณิศา เจิมหรรษา กล่าวถึงความงามและความเด่นในสังคมของนิสิตหญิงที่ ศึกษาอยู่ที่จุฬาฯ “...ดาวจุฬาฯ คือใคร อยู่ที่ใด เลิศวิไล เด่นปานใด เหล่าจุฬาฯ รู้ข่าวนั้น” ผ่านมาเกือบ 80 ปี ในยุคสมัยของอินเตอร์เน็ต และโซเชียลเน็ตเวิร์ก หนุ่มหน้าใสกลายมาเป็นหน้าตาและเสมือน เป็นตัวแทนของนิสิตจุฬาฯ แทนนิสิตหญิงเสียเเล้ว เมื่อกล่าวถึงจุฬาฯ กล่าวถึงนิสิตจุฬาฯ ไม่แคล้วต้องมีบทสนทนาที่พูดถึงเพจหนึ่ง “Chula Cute Boy” เพจนี้เสาะหา คัดกรอง และนำ�เสนอหนุ่มน่ารักใน รั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีแอดมินเพียงหนึ่งเดียว ของเพจในชื่อ “แอดมินกุ๊กไก่” หรือ ต๊ะ-ปรัชญา ดวงมั่น นิสิตชั้นปที่ี 5 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แอดมินกุ๊กไก่เป็นคนอย่างไร มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาพูดคุยกัน
อะไรที่ทำ�ให้เพจดังขนาดนี้ เป็นเพราะมีคำ�ว่าจุฬาฯ ไง เเบบคนเขาก็จะให้ความสนใจมากกว่า เเบบปกติอยู่เเล้วอะ พอเป็นคำ�ว่าจุฬาฯ ก็จะต้องเรียนเก่งจะต้องอะไร เเบบเนี้ย พอเขาเจอคนที่เรียนเก่งเเล้วหน้าตาดีเขาจะยิ่งกรี๊ด ยิ่งถ้าคน หล่อนะ จะกรี๊ดหนักมาก ตลาดของน้องหมอเนี่ย ลงไปเถอะขำ� ๆ ก็ กรี้ดกันสนั่น ขอเเค่เป็นหมออ่ะ ‘ถาปัตย์ก็จะชอบเหมือนกัน เนี่ยก็มีอยู่ สองคณะนี้เเหละ
อาชีพหรือคณะที่ Cute Boy เรียนมีผลทำ�ให้ดูหล่อขึ้นใช่ ไหม ก็น่าจะมีส่วนนะ มันอาจจะเป็นเพราะว่าคนเขามี stereotype ว่า เเพทย์ต้องเเบบเนิร์ดๆ ‘ถาปัตย์ติสต์ๆ เเน่เลย ซึ่งมันก็มีบ้าง เเต่พอ เขาเจออะไรที่เเบบ...ว้าว! เขาก็กรี๊ดไง
“รู้จักเพจ Chula Cute Boy รึเปล่า?” 239,772 people like this 23,722 talking about this 2 people checked in here (และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)
ทำ�ไปเเล้วได้อะไร
ไม่รู้ (หัวเราะ) ชั้นก็ไม่รู้ มันเป็นธรรมชาติ มันเกิดมาพร้อมกับชั้น ชั้น จะสามารถจดจำ�รายละเอียดผู้ชายได้หมดเลย ไม่จำ�เป็นต้องผู้ชายอ่ะ เริ่มต้นพี่ไม่ได้เป็นคนทำ�ค่ะ พี่มีเพื่อนคนนึงที่เป็นเฟรนด์กันในเฟสบุ๊ค เอาเเค่เรื่องเพื่อน เพื่อนเล่าอะไรให้ชั้นฟังนะจะจำ�ได้ทุกอย่าง เป็นคน เเต่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ซึ่งช่วงนั้นจะมีเพจ Cute Boy อยู่เยอะมา ที่เก็บดีเทลดีมากโดยเฉพาะผู้ชายหล่อๆจะจำ�ได้หมดเลยว่าคนนี้ชื่อ กกกก KU Cute Boy, TU Cute Boy… คือมีทุกมหาลัย มันกำ�ลังบูม อะไร เรียนที่ไหน ถ้าไม่รู้ชื่อก็จะสามารถหาวิธีการในการรู้ชื่อได้ ชั้นก็ เเล้วเเบบจุฬาฯ เขาก็ทำ�นะเเต่เขาใช้ชื่อว่า CU Cute Boy ซึ่งมันก็ทำ� จะเข้าไปดูก่อนว่าเพื่อนเรียกเขาว่าไร ชั้นก็จะเข้าไปดูเลย ไปเเปปนึงเเล้วก็หยุดหายไปเลย เพื่อนพี่คนนี้ก็เลยสร้างเพจใหม่ แต่ใช้ คำ�ว่า Chula เเทน เพราะว่ามันมี CU อยู่เเล้ว คราวนี้ พอเขาเริ่มเปิด มีวิธีเสาะหา Cute Boy ยังไง เพจมาได้ซัก 1 เดือนคุณพี่ก็รู้สึกว่าเเบบ...ดี ดีมาก (ลากเสียง) มีเสียที ชั้นจะมีวิธีในการสืบเสาะหาผู้ชาย เพื่อนๆจะเรียกชั้นว่าฝ่าย Data ชั้นรอของมหาลัยชั้นมานานละ! คุณพี่ก็เลยส่งข้อความแนะนำ�ไปใน base รู้จักทุกอย่าง ชั้นรู้จักมากกว่าแค่ในรั้วจุฬาฯ เด็กมัธยมก็รู้จัก เพจให้ ลงคนนี้สิ ลงคนนี้สิ บ่อยมากจนชีบอกว่ามาเป็นเเอดมินด้วยกัน หมดเลย อย่างน้องอิน รู้จักเขาตั้งเเต่เรียนอยู่กรุงเทพคริสเตียน ตอน เถอะ ก็เลยได้เป็นค่ะ น้องอินติดอินด้านะ ชั้นรู้ก่อนน้องอินอีก เเล้วอย่างสมัยนี้เเพทย์จะ
ความเป็นมาของเพจ Chula Cute Boy
ประกาศก่อนเพราะสอบกสพท. ก็จะมีแฮชแท็กร่วมกัน ก็ไปไล่หาสิคะ ว่าคนนี้ติดจุฬาฯ ชั้นก็ลิสต์ๆไว้ ปกติชั้นก็จะดูชื่อ ดูโปรไฟล์เฟสบุ๊ค ก็ มันเริ่มมาจากที่ชั้นอยากมีนามเเฝง เเล้วชื่อกุ๊กไก่เนี่ยเป็นชื่อเเรกที่มัน จะมีวันเกิดหรือเป็นปีที่เรียนหรือพวกรุ่นที่เพื่อนๆ แท็คกันมา อันนั้นก็ เเว๊บเข้ามาในหัว ก็เอาเลยชื่อนี้เเหละ ดูได้หมด ตามได้หมด แล้วก็เอามาเทียบรุ่นกันได้ อย่าง AC127 เราก็ จะรู้ละอยู่ปีไหน ถ้าสถาปัตย์ก็จะรู้ว่าอยู่สตู 81หรือ 82 อีกอย่างคือเรา Like post ที่เยอะสุดประมาณเท่าไหร่ ก็อยากโปรโมทจุฬาฯด้วยว่าไม่ได้มีเเต่เเบบเนิร์ดๆ เเบบคิวท์ๆเราก็มี อย่างตอนงาน Cu Open House ชั้นก็จะหมายหัว Cute Boy ว่าอยู่ โพสนึงก็ประมาณ 30,000-40,000 likes มีคนกดไลค์เพจอยู่ประมาณ คณะไหนบ้างชั้นก็จะไปขอเขาอัดคลิปชวนคนมางาน Cu Open House 240,000 likes
ทำ�ไมใช้ชื่อว่า “แอดมินกุ๊กไก่”
-23-
small but matter l issue 03
small interview
แอดมินกุ๊กไก่แห่ง Chula Cute Boy
ซึ่งฝ่าย PR เขาไม่ได้ขอให้ชั้นทำ� ชั้นทำ�ให้เขาเอง อีกงานนึงที่ชั้นจะได้ สังเกตว่าในเพจจะเป็นผู้ชายขาวๆ ตี๋ๆ เลยคิดกันเล่นๆ ว่า เจอ Cute Boy มากที่สุด คือวันลงทะเบียนเเรกเข้า ชั้นจะไปดักรอตรง ถ้าไม่มีเพจ Chula Cute Boy คนอาจจะนิยมกรี๊ดผู้ชายผิว ทางออกเลย นี่จะเป็นวันที่ชั้นจะได้เจอทุกคนทุกคณะ เเล้วชั้นก็ถามชื่อ เข้มมากขึ้น ถามอะไรตรงนั้นเลย ปีนี้เป็นปีเเรก ซึ่งได้มา 30-40 คนเลยนะ มันก็มีเพจทางเลือกนะ เช่น Chula Sexy Boys, CU RUGBY CLUB, CU แอดมินกุ๊กไก่เป็นใครในสังคมจุฬาฯ Bad Boy, หรือ CU Sleeping Club เห็นมั้ย พอเขาเห็นว่าเป็นจุฬาฯ นอนก็จะเเบบ...อื้อหืม ในตอนนี้ เรามองว่าตัวเองเป็นคนที่เสียงดังมากคนนึงของสังคมจุฬาฯ เลยล่ะ ตอนเราโพสต์อะไร ข้อมูลก็ไปถึงได้กว้างขวาง ก็ต้องมีความรับ ข้อความเเปลกสุดที่ส่งมาทาง message ผิดชอบกับมันมากขึ้น คือเขาไม่ได้ประกาศ official เเต่คือร่วมมือกับ จุฬาฯ ทั้งใน อบจ. ประธานเชียร์ หลีด คทากร พอมีการประชาสัมพันธ์ ก็มีเเบบฝากลงคน เเต่คนนั้นเขาก็ไม่ได้เรียนจุฬาฯ เออชั้นก็งง อะไร ทางเพจของเขาอาจจะ reach ผู้คนได้ไม่มากเท่าเพจเรา เพราะ (หัวเราะ) เพจเรามีคนติดตามให้ความสนใจเยอะ เพจอื่นเขาอาจจะไม่ได้ติดตาม ทางเพจเราก็มาช่วยในการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยหลายอย่าง เขา เคยมีคนขอเบอร์ Cute Boy ไหม ไม่ได้บอกให้ทำ�เลยนะ คือโอเคเขาอาจจะฝากประชาสัมพันธ์ open ก็จะมีขอ contact อย่าง IG ชั้นก็ให้เเต่ถ้าเป็นเฟสบุ๊คจะไม่ได้ ชั้น house เเต่คือชั้นน่ะช่วยทั้งอัพวีดีลง ฝากใน Google Drive ลงมือ ถือเป็นนโยบายเพราะเคยมี Cute Boy มาบอกว่ามีคนมาส่ง friend reถือ ตัดต่อลง IG, Twitter มันเหมือนเป็นการช่วยมหาวิทยาลัยไปด้วย quest เยอะมาก อย่างเวลามีคนมาติดเเท็กใน comment ชั้นก็จะกด อย่างเช่นงานบอล ชั้นไม่เคยพลาด เเทบจะเป็น PR คนนึงของงานบอล hide เเต่ไม่ได้ลบนะ มันก็จะมีเเต่เพื่อนคนนั้นที่เห็น เพื่อช่วยป้องกัน เลย ก็ช่วยเกือบทุกอีเว้นท์ กิจกรรมไรงี้ เดี๋ยวนี้องค์กรณ์ในจุฬาฯก็เริ่ม ตัวคนนั้นไปด้วย ยอมรับ จะมีการฝาก เช่น มีการคัดเลือกอะไรในองคร์กรเขาก็ฝาก ประชาสัมพันธ์ให้หน่อย มีคนรู้เยอะไหมว่าเป็นแอดมิน ช่วงเเรก ๆ ที่ยังไม่ได้เปิดตัวเขาก็จะเกรงใจในระดับนึงเพราะชั้นใช้ชื่อ เพจเล่น เเต่เดี๋ยวนี้ส่วนมากก็จะรู้จักกันหมด แล้วถ้าอ่าน Chu! ก็คงจะ รู้เเล้ว เเต่ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยรู้ ต้องเเบบเพื่อนสนิทจริงๆ เเล้วก็ Cute boy ที่สนิทๆ ในคณะก็ไม่รู้ เพื่อนในสาขาบางคนยังไม่รู้เลย ส่วนมาก ชั้นทำ�อยู่ด้านหลัง ไม่กล้าเปิดเผยตัว เดี๋ยวคนหมั่นไส้ชั้น เล็งเป้ามาที่ ชั้น ชั้นกลัว คงถูกจับตามอง เเต่ตอนนี้ก็ใกล้จะเรียนจบเเล้ว เดี๋ยวก็ไม่ มีใครรรู้จักชั้นอยู่เเล้วก็รู้ ๆ ไปเถอะ
เคยติดตามอย่างอื่นมาก่อนไหม ก่อนจะมาทำ�เพจ ชั้นบ้านางงาม อย่างมิสยูนิเวอร์สไทยแลนด์ หรือมิสไทยแลนด์เวิลด์ ชั้นจะตามดูตลอด ติดขอบเวที บ้ามาตั้งแต่ ม.6 คือชอบดูพวกนางเดิน เพจนี้เป็นรสนิยมของเเอดมินคนเดียว เเล้วใช้คำ�ว่า Chula ความสวยส่วนนึงแต่ที่ชอบที่สุดคือการใส่จริต ความมีเสน่ห์ คือมันดู Cute Boy ได้หรือ แรงดี ชั้นก็อยากทำ�ได้บ้าง (หัวเราะ) ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงรสนิยมนี้อยู่ ทำ�อยู่เหมือนเดิม เออมันก็มีส่วนนะ เอาจริงชั้นจะลงใครไม่ลงใครมันก็ขึ้นอยู่กับชั้น ชั้น ชอบใครชั้นก็ลง ชั้นก็ดูว่ามันโอเคไหม ถ้าโอเคชั้นก็ลง
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-24-
สัมภาษณ์และเรียบเรียง: วิลิน พิพัฒน์นัดดา / ปฏิพล โชคชัยนันท์ / ปาณิศา เจิมหรรษา ความงามภายนอกในมุมมองของแอดมินกุ๊กไก่เป็นอย่างไร อย่างผมมีสิทธิ์ลง Cute Boy บ้างไหมครับ? (ทีมงานของเราถาม) เธอเดินมาเธอเห็นอะไรก่อนล่ะ เธอเห็นอะไร คือ ถ้าเขาเป็นคนดีมัน ก็เรื่องนึงนะ แต่เธอเห็นหน้าเขาก่อน มันก็เป็นความประทับใจเล็กๆ น้อยๆ ก่อนแล้วจริงมั้ย อะไรที่มันดูเเล้วสบายตา “pleasant to the eye” เราก็อยากดูใช่ไหม เเต่รสนิยมของคนก็ต่างไป เพจนี้ก็สนอง need ชั้นเลยอ่ะ เห็นมะ มันก็เริ่มวนเวียนละ ชั้นก็กำ�ลังหาหน้าใหม่ๆ อยู่ตอนเนี้ย เพื่อไม่ให้มันจำ�เจ เพื่อนำ�เสนอให้น้อง ๆ หลายคนได้มี spotlight ฉาย
อย่างน้อง ก็ต้องมีรูปที่คนรู้สึกว้าวอ่ะค่ะ (หัวเราะ) เวลาที่ชั้นจะลงนะ รูปนั้นจะต้องดูว้าว มันมีบางคนนะที่หน้าตาดีเเต่เขาไม่เคยอัพรูปที่ดู โอเค ซึ่งจริงๆ เราเคยเจอเขา in person ก็หน้าตาดีนะ เเต่เเบบคนเขา ไม่เจอตัวจริงไง เขาเจอเเต่รูปไง เจอเเค่ JPG
หน้าตาในอุดมคติ เทียบกับ Cute Boy คนไหน? เอาน้องอินละกัน เเต่เอาหุ่นพี่ตุลย์ (หัวเราะ)
Spotlight ที่ว่ามีอะไรบ้าง ก็มีหลายคนที่มีเเฟนคลับซึ่งก็เป็นน้อง ๆ มัธยมนั่นเเหละ ในทวิตเตอร์งี้ก็จะมีเป็นเเท็กเลย เวลาออกงานอย่างเช่น Open House ที่ผ่าน มา น้องๆ ทั้งหลายก็จะไปตามคณะ ขนาดเขาเป็น Cute Boy เเค่เด็ก มหาลัยธรรมดาเเต่เขาก็มีเเฟนคลับ ลงรูปกันเต็มเลย เเล้วอาจจะเพิ่ม โอกาสในวงการบันเทิงด้วย ก็เหมือนกับว่าชั้นช่วยให้หลาย ๆ คนได้ เห็น เป็นการประชาสัมพันธ์ เหมือนการ shout out เป็น PR ในตัว ชั้น ทำ�หมดทุกทางเลย FB Twitter IG เเต่ถามชั้นว่าได้อะไรไหม ไม่ได้อะไร เลย ชั้นเเค่รู้สึกว่าภูมิใจ
“ คนไทยชอบดูถูกกัน ตั้งแต่เรื่อง ชาติกำ�เนิดลงไปถึงสีผิวไปถึง ครอบครัวหรือการศึกษา อะไร ก็ตามแต่ที่คนไทยเห็นว่า มันดูผิด มักจะมองเห็นเร็ว พูดง่าย ๆ คือ ชอบจับผิดคนอื่นนั่นแหละ ”
คิดว่าเสป็คผู้ชายที่แอดมินกุ๊กไก่นำ�เสนอมีส่วนหล่อหลอม ให้คนในสังคมชอบเหมือนเราหรือเปล่า? เออก็เป็นไปได้เนอะ อย่างชั้นเห็นเด็กสมัยนี้ชอบเเนวเกาหลี ชั้นก็ชอบ เหมือนกัน ส่วนใหญ่ก็เป็นแนวนี้ที่เอามาลง นาน ๆ ทีก็มีแนวอื่นมา สลับบ้างเพื่อนำ�เสนอมุมมองใหม่ ๆ ทุกวันนี้ก็พยายามจะนำ�เสนอส่วน ของ role model มากกว่า แต่ก็ยังคงคอนเสปต์ของคำ�ว่า คิวท์ เนอะ คิวท์ ๆ ก็ต้องดูตี๋ ๆ ขาว ๆ ...เหมือนไปสร้าง stereotype ให้สังคมรึเปล่าก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน บางทีชั้นเห็นน้องอยากเข้าเพราะ Cute Boy ชั้นรู้สึกผิดเหมือนกันนะ กลายเป็นว่าน้องไม่ได้อยากเข้า เพราะการศึกษาแต่เข้าเพราะสนใจ Cute Boy (หัวเราะ) ชั้นทำ� ผิดมั้ยเนี่ย แต่เอาเข้าจริง ๆ ถ้าทุกคนลองเข้ามาดูก็คงจะเข้าใจตรงกัน ว่า เพจนี้น่ะ “Just for fun”
แอดมินกุ๊กไก่มีแฟนไหม ยังจะถามอีกหรอ ไม่มี!
คนส่วนใหญ่คิดว่าเเอดมินเป็นผู้หญิง เพราะใช้ชื่อ “แอดมินกุ๊กไก่” คิดอย่างไรกับเรื่องนี้
ผู้ชายน่าสนใจที่ส่วนไหน
คนเขารู้ก็คงจะงงอะเนอะ ว่าผู้หญิงอะไรจะเเรดขนาดนี้ (หัวเราะ) ไม่รู้ มันก็รวม ๆ อะเธอ ส่วนใหญ่ชั้นก็ชอบเเบบ cute มาก่อน ดูฟุ้งฟิ้ง ชั้นว่าต้องตุ๊ดค่ะ ตุ๊ดจะมีพรสวรรค์ในทางด้านนี้ ด้านการจดจำ�ผู้ชาย มุ้งมิ้ง …ชอบผู้ชายสมาร์ทนะ จริง ๆ ชอบคนหุ่นดี ชั้นชอบคนที่แต่ง อะไรพวกเนี้ย ตัวแฟชั่น ๆ หน่อย สูง ๆ นี่ดีเลย จริง ๆ หุ่นดี ๆ ก็เยอะนะ ไอ้นัท ก็โอเคนะ ขอนึกก่อน จริง ๆ ต้องคนสูง ๆ แบบพี่ตุลย์นี่แหละ พี่ตุลย์ ภาพรวมดี ...ส่วนผู้หญิง ถ้านางแบบก็ต้อง Karlie Kloss -25-
small but matter l issue 03
small interview
คิดอย่างไรเรื่องเพศที่สามกับการเปิดเผยต่อสาธารณะ
แอดมินกุ๊กไก่แห่ง Chula Cute Boy
จะมองเห็นเร็ว พูดง่าย ๆ คือชอบจับผิดคนอื่นนั่นแหละ แม้แต่ตุ๊ดด้วย กันเอง ยังกัดกันเองเลยเธอ กว่าจะคิดแบบมีเหตุผล มีวิจารณญาณ เนี่ยยากมาก มันก็เกี่ยวโยงมาถึงสถาบันการศึกษาแล้วก็ระบบด้วย นะ อยากให้การศึกษาสนับสนุนให้เด็กได้คิดมากกว่านี้ ได้วิเคราะห์ มากกว่านี้ จริง ๆ แล้วสถาบันครอบครัวก็มีผล บางคนพ่อแม่ไม่พร้อม มีลูกก็ไม่มีแรงส่งลูกไปในส่วนที่ดี มันก็พังมาตั้งแต่จุดนี้แล้วล่ะ ตั้งแต่ สถาบันครอบครัว จะทำ�ยังไง เราจะเปลี่ยนแปลงได้มั้ย ณ จุดนี้
ยากอะเธอในประเทศไทย เอาอย่างชั้นเรียนครูยังสาวไม่ได้เลย ผมชั้น ยังต้องตัดเลย เห็นมะ ก็ประเทศไทยมีกรอบ จะสาวไม่ได้ อาจจะมอง ในเเง่กาลเทศะด้วย คนยุคก่อนยังมีความ conservative อยู่ อาจจะ มองว่าไม่เหมาะ ไม่ควร กลัวเราเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ชั้นก็เข้าใจในด้านนี้ ชั้นก็ปรับตัวตามกาลเทศะ ตอนอยู่โรงเรียนนี่ชั้นเเมนมากนะ นักเรียน ไม่รู้เลยว่าชั้นเป็นตุ้ด ชั้นเเบบ “เห่ยยย! พร้อมเรียนยัง” (เปลี่ยนเสียง) คิดอย่างไรกับการศึกษาไทยในปัจจุบัน ชั้นเเมนมาก ชั้นพลิกบทบาทขึ้นอยู่กับกาละเทศะ
ครูเป็นตุ๊ดไม่ ได้หรือ เขาอาจจะยึดกับความคิดที่ว่าครูควรน่าเคารพ น่าเชื่อถือไรนี้ อันนี้คือ ที่ผู้ใหญ่มอง
ทำ�ไมเป็นตุ๊ดแล้วไม่น่าเชื่อถือ เออ ชั้นก็คิดอยู่ บางทีเด็กอาจจะรัก อาจจะชอบ ปลื้ม มากกว่าอีกด้วย ซ้ำ� เขาอาจจะกลัวเด็กเป็นตุ๊ดรึเปล่าไม่รู้
จะทำ�อย่างไรให้คนเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับ “มายาคติ” เกี่ยวกับตุ๊ดได้ ยาก! คนไทยชอบดูถูกกัน ตั้งแต่เรื่องชาติกำ�เนิดลงไปถึงสีผิวไปถึง ครอบครัวหรือการศึกษา อะไรก็ตามแต่ที่คนไทยเห็นว่า มันดูผิด มัก
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
กว่าจะไปถึงฝรั่งคงยาก ซัก 30-40 ปีอะเธอ ที่จะมี critical thinking ได้ขนาดนั้น กว่าจะถึงระดับพวกฟินแลนด์คงใช้เวลา จริงๆ แล้ว เขา เขียนหลักสูตรมาดีนะ แบบจุดประสงค์ทุกอย่างโอเค ดูดีหมด แต่การ วัดผลของเขานี่สิมันไม่ได้ตามจุดประสงค์เลย อยากให้เด็กมี critical thinking แต่ก็วัดผลแบบไม่ใช้ critical thinking เลยมันคงไปได้ยาก แต่ก็เข้าใจเขานะ เหมือนการวัดผลเด็กจำ�นวนมาก หลายแสน หลาย ล้าน มันจะทำ�ยังไงให้ควบคุม standard ได้ แบบครูมันจะให้คะแนน ด้วยเกณฑ์ที่ต่างกันมาก ความเห็นเหมือนกันไหม จริง ๆ มันก็หาวิธีที่ ดีที่สุดยากอยู่ ชั้นเห็นใจเหมือนกันนะ ก็คงต้องค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป ช้า ๆ เมืองไทยมันมีค่านิยมเรื่องใบปริญญาอยู่ แบบเรียนเสร็จไปมหา ลัยกันหมด โรงเรียนสอนเฉพาะทางไม่ค่อยมี เราขาดพวกทางนี้ เพราะ มันไม่ชัดเจนมาแต่แรกแล้วไง ต่างประเทศเขาเริ่มตั้งแต่ 4-5 ขวบ เขา ปล่อยเด็กเล่น ให้เด็กหาตัวเอง หาความสนใจ อันนี้เป็นจุดดีของเขาที่ น่าเลียนแบบ แต่ก็ถ้าเป็นไทยคงใช้เวลาหน่อย -26-
สัมภาษณ์และเรียบเรียง: วิลิน พิพัฒน์นัดดา / ปฏิพล โชคชัยนันท์ / ปาณิศา เจิมหรรษา มีเยอะไป แต่แค่ระบบมันยัง conservative อยู่ อย่างแบบสังคมจุฬาฯ แต่งหญิงไม่ได้ แสดงออกถึงความเป็นเพศที่สามไม่ได้ ก็อาจจะเป็น อังกฤษกับเยอรมัน แต่มันก็มีกรอบของมันเหมือนกันนะ คือ เราอยาก เรื่องหนึ่ง แต่ก็ต้องเข้าใจว่า จุฬาฯ มีภาพลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยที่ จะสอนนอกกรอบแต่ข้อสอบมันออกในกรอบ ถ้าไม่สอนในกรอบแล้ว ก่อตั้งโดยพระมหากษัตริย์อยู่ คนเลยคิดว่าจะทำ�อะไรตามใจก็ไม่ใช่ เด็กมันจะทำ�ได้มั้ย แต่มันมาแบบนี้เราก็ต้องทำ�ตามเขาไป พลังเราคน เดียวมันยังน้อย ทำ�อะไรยาก หลังจากนี้ก็จะเป็นครูนะ แต่คงเป็น tutor คิดอย่างไรการที่คนรุ่นใหม่อยู่ในระบบของสังคมคนรุ่นเก่า มากกว่า เพราะ โรงเรียนรัฐส่วนใหญ่จะไม่โอเคกับเรื่องเพศที่สามหรือ อยู่ เราทำ�อะไรได้บ้างในฐานะคนรุ่นใหม่? อะไรพวกนี้ ถ้าเป็น โรงเรียนเอกชนก็อาจจะได้ บางกรณี บางที่เท่านั้น คืออยากทำ�ที่ที่ไม่อยู่ในระบบ อยากมีความเป็นตัวของตัวเองบ้าง จริง ๆ มันเปลี่ยนแปลงทีเดียวไม่ได้ มันใช้เวลา ก็คงต้องรอให้คนรุ่น ใหม่เติบโตขึ้นมา ชั้นว่าถึงตอนนั้นก็ต้องรอดูอีกทีด้วยว่า พวกเราจะ แล้วคิดอย่างไรเรื่องการเรียนพิเศษ แสดงพลังได้มากแค่ไหน
ฝึกสอนวิชาอะไรอยู่ หลังจากนี้จะทำ�งานเป็นครูไหม
ก็จำ�เป็นอะนะ ถ้าชั้นไม่เรียน ชั้นก็สู้ใครไม่ได้ ก็ทุกคนก็เรียนกันมา หมดใช่มั้ยล่ะ ทำ�อะไรไม่ได้อยู่แล้ว คาบนึงเรามีกันแค่ 50 นาที ถ้า จะสอนหลายอย่างก็คงไมได้อะไรดีซักอย่าง จริง ๆ ถ้าเป็นไปได้อยาก สอนให้เด็กรู้จักวิธีเรียนรู้นอกห้องเรียนนะ แบบเขาต้องเข้าใจว่า เขา จะทำ�อย่างไรถ้าเขาออกไปเจอสังคมข้างนอก แต่ก็ระบบก็สนับสนุน เป็นข้อสอบแนวความจำ� มันก็อัดความรู้กันเข้าไป ไม่ได้วิเคราะห์หรือ ทำ�การประยุกต์ความรู้มาใช้ได้เลย
“ คาบนึงเรามีกันแค่ 50 นาที ถ้า จะสอนหลายอย่างก็คงไมได้อะไรดี ซักอย่าง จริง ๆ ถ้าเป็นไปได้อยาก สอนให้เด็กรู้จักวิธีเรียนรู้นอก ห้องเรียนนะ แบบเขาต้องเข้าใจว่า เขาจะทำ�อย่างไรถ้าเขาออกไปเจอ สังคมข้างนอก ”
มีความรู้สึกอย่างไรถ้าเพจ CU Cute Boy มันจะหายไป? ก็คงเฉยๆ นะ คนเรียนเขาก็เรียนของเขาไป แต่ถ้าคนติดตามอาจ จะ….คิดถึงมั้ง! แต่ก็ยังทำ�ต่อนะ ยังไม่ได้คิดถึงตรงนั้นเลย แต่ถ้าหาย ไปจริงๆ เพจอื่นก็จะได้มีพื้นที่เติบโตขึ้นอีก ก็เป็นเรื่องดีนะ เพราะพวก คิ้วบงคิ้วบอย คิ้วเกิร์ลมันก็มีเต็มไปหมดอยู่แล้วนะ (หัวเราะ)
หลังจากเรียนจบ จะทำ�เพจนี้ต่อไปไหม ก็คงทำ�เรื่อย ๆ เธอ เดี๋ยวนี้อินเตอร์เน็ตเข้าถึงเเป๊ปเดียว ฟรึบ ๆ คิดว่า เรียนจบก็น่าจะทำ�ได้ IG เดี๋ยวนี้เเป๊ปเดียวค่ะ เเป๊ปเดียวจริง ๆ
คำ�ถามสุดท้าย อยากให้แนะนำ�คนที่อยากจีบ Cute Boy ว่าต้องทำ�อะไรบ้าง ไม่มีเลย ชั้นไม่รู้อะไรเลย ชั้นยังไม่ได้เลยแก ชั้นว่าก็ต้องศึกษา ธรรมชาติของเขา ครอบครัว ความสนใจ แล้วก็ nature อย่างที่บอกว่า ถ้าใช่มันก็ใช่นั่นแหละแก
คนมักมองว่าเด็กจุฬาฯ เอาแต่เรียน เป็นเด็กเนิร์ด ไม่สนใจ ทำ�กิจกรรมหรือเรื่องบ้านเมือง จริงหรือเปล่า ก็ส่วนใหญ่ก็เรียนกันนะ บางคนเขาสนใจก็ออกมาทำ� เอาจริง ๆ นะ ชั้นว่า จุฬาฯ ถูก stereotype ตัดสินไปแล้วว่า เด็กจะต้องเป็นแบบนี้ ซึ่ง ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นแบบนั้น คนมาทำ�ก็มีเยอะ ทำ�แล้วไม่แสดงออกก็ -27-
small but matter l issue 03
small main course
เรียนไม่จบไม่ใช่จุดจบ
ปีกจักรวาล
main course
เ รี ย น ไ ม่ จ บ ไ ม่ ใ ช่ จุ ด จ บ ชีวิตในสังคมที่เต็มไปด้วยความคาดหวัง ใคร ๆ ก็คงเข้าใจดีอยู่แล้วว่าการเรียนไม่จบคงจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะในหลักสูตรระยะสั้นสองสามวันไปจนถึง หลักสูตรระยะยาวที่ใช้เวลาเรียนนานหลายปี แน่นอนว่าไม่มีใคร อยากสัมผัสความรู้สึกของการเรียนไม่จบ เพราะการเรียนให้จบคือ สิ่งที่อาจจะทำ�ให้ทุกคนปลอดภัย สุขสบาย และภาคภูมิใจได้ สำ�หรับการมีชวี ติ อยูใ่ นสังคมทีเ่ ต็มไปด้วยความคาดหวัง โดยเฉพาะ การได้เรียนจบถึงในระดับปริญญาตรีในสังคมไทย
การศึกษาที่ทำ�ให้คนไม่มีโอกาสได้ใช้ความสามารถที่มีอย่างเต็มที่ การศึกษาไทยเป็นระบบการศึกษาที่ทำ�ให้นักเรียนไทย ไม่มีโอกาสได้ใช้ความสามารถของตัวเองที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ส่วน หนึ่ ง มาจากความคาดหวั ง ของคนในสั ง คมที่ ต้ อ งการผลลั พ ธ์ ของการศึกษาที่จับต้องได้ มองเห็นได้ชัดเจน และเป็นประโยชน์ กับโลกในชีวิตประจำ�วันของคนเหล่านั้นเอง เช่น การที่พ่อ แม่ ส่ ง ลู ก ไปเรี ย นในโรงเรี ย นอนุ บ าลที่ เ น้ น การพั ฒ นาความรั ก ความเอาใจใส่ในการเรียนรู้ แต่พ่อแม่กลับคาดหวังให้ลูกต้องอ่าน ออก เขียนได้ บวกเลขได้เป็นหมื่น ๆ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ได้อย่างโดดเด่น เล่นเครื่องดนตรีสักเครื่องได้อย่างสมบูรณ์แบบ หรือเล่นกีฬายอดฮิตได้ในระดับที่เกินความสามารถของเด็กเอง
นี่ เ ป็ น เพี ย งจุ ด เริ่ ม ต้ น เล็ ก ๆของช่ ว งเวลาที่ ย าวนานของความ คาดหวังที่กำ�ลังจะส่งผลให้การตัดสินใจเลือกหนทางชีวิตของ ตัวเองบดบังความสามารถและความสนใจที่แท้จริงของเด็กไป ซึ่ ง จะส่ ง ผลให้ ความสามารถในการตั ด สิ น ใจและการประเมิ น ความสามารถของตนเองที่ น้ อ ยกว่ า ที่ ค วรจะเป็ น ของเด็ ก เหล่ า นั้ น เป็ น เหตุ ใ ห้ ป รากฏการณ์ ที่ ก ารเรี ย นไม่ จ บปริ ญ ญาตรี ในสังคมไทยสมัยนี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุด
การจ้างติวเตอร์พิเศษประจำ�วิชาต่าง ๆ มาติวเข้ม ให้ ลู ก ได้ เ ป็ น อย่ า งที่ ต นเองตั้ ง ความคาดหวั ง เอาไว้ ใ นช่ ว ง เวลาเย็นหลังเลิกเรียนระหว่างรอพ่อแม่มารับ โดยที่ไม่ได้คำ�นึงว่า ความหวั ง ดี โ ดยที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ ความสนใจจากเด็ ก เองนั้ น กำ � ลั ง ทำ � ลายความรู้ สึ ก ที่ ดี กั บ การเรี ย นรู้ ข องเด็ ก อยู่ ห รื อ ไม่
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-28-
small main course
เรียนไม่จบไม่ใช่จุดจบ
ปีกจักรวาล เหตุ ผ ลนี้ นำ � มาสู่ ก ารที่ ค นที่ อ ยู่ ภ ายใต้ ค วามคาดหวั ง ของสังคมนั้นไม่สามารถใช้ความสามารถที่ตัวเองมีได้อย่างเต็มที่ ด้วยการที่จะต้องเลือกเดินตามหนทางที่สังคมได้วางเอาไว้แล้วว่า ดีสำ�หรับคนส่วนใหญ่ โดยที่ความเป็นจริงนั้น “การเลือกที่จะมี ชีวิตอยู่” เป็นธรรมชาติที่เจ้าของชีวิตควรจะมีโอกาสได้สัมผัสบท เรียนของชีวิตที่พวกเขาหรือเธอได้เลือกเองเพื่อเติบโตไปเป็นคนที่ มีพัฒนาการ การที่สังคมคาดหวังคนในสังคมมากไปจนบดบังความ สามารถทีม่ อี ยูอ่ ย่างเต็มทีข่ องคนในสังคม อาจหมายความว่าสังคม นั้นมองว่าคนในสังคมเองกำ�ลัง “ไร้เดียงสา” “อ่อนไหวง่าย” และ “เปราะบาง” เหมือนเด็กตัวเล็ก ๆ อยู่ตลอดเวลาก็เป็นได้
เรียนรู้ด้วยความรัก
ความท้าทายของการศึกษาไทยในทุกวันนี้ คือ จะทำ� อย่างไรให้คนในสังคมรักที่จะเรียนรู้ รักที่จะพัฒนาตนเอง และรัก ที่จะมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลขึ้น การศึกษาในระบบจะทำ�อย่างไรให้ ผู้เรียนรักที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ต่อไปไม่ว่าผู้เรียนจะจบการศึกษา ออกไปหรือไม่ ระบบการศึกษาจะทำ�อย่างไรให้การศึกษามีความ ยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้จริง นักการศึกษา จะทำ � อย่ า งไรไม่ ใ ห้ ค วามคาดหวั ง ของสั ง คมมาทำ � ลายความ อยากรู้อยากเรียนของผู้เรียนไป สังคมจะทำ�อย่างไรให้โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยไม่ใช่ที่สุดท้ายที่ทุกคนอยากไป เพราะไม่ว่า จะเรียนจบหรือไม่จบทุกคนก็ยังต้องเรียนรู้ต่อไป นักการศึกษา ในยุคปัจจุบันได้สร้างแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิตเอาไว้ ท่ามกลางยุคของอินเทอร์เน็ตว่า คนในสังคมจะมีชวี ติ ทีด่ มี าจาก การรู้จักพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาและมีความสามารถที่จะเป็น พลเมืองที่ดีตามระบอบประชาธิปไตยได้
-29-
ไม่ใช่จุดจบอย่างไร
ความคาดหวังของสังคมอาจไม่ใช่ความคาดหวังของทุก คนในสังคมและการเรียนไม่จบปริญญาตรีหรือหลักสูตรใด ๆ ก็ ไม่ใช่จดุ สิน้ สุดของชีวติ สำ�หรับทุกคน แม้วา่ สังคมจะมีความคาด หวังมากมายแค่ไหนและไม่ว่าเหตุผลที่ทำ�ให้เรียนไม่จบจะเป็น เหตุผลอะไร แต่ความปรารถนาของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันใน แบบของแต่ละคนเอง ทุกคนมีสทิ ธิทจ่ี ะเติบโตและเรียนรูจ้ ากความ ผิดพลาดในชีวติ ภายใต้ความพยายามที่จะเรียนรู้และทำ�ความ เข้าใจความเป็นไปของชีวิตและสังคมของตนเอง การเรียนไม่จบ จึงเป็นความท้าทายของการมีชีวิตอยู่ที่ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นจุดเริ่ม ต้นที่จะเป็นเรื่องราวความทรงจำ�ที่สามารถเล่าได้อย่างภาคภูมิใจ ว่าคน ๆ นึงผ่านพ้นบทพิสูจน์ที่ยากลำ�บากพวกนั้นมาได้อย่างไร
small but matter l issue 03
small maincourse
ฤ ไม้บรรทัดจะวัดไม่ ได้
ฝัน เฟื่องฟ้า
main course
คุณอาจตั้งนาฬิกาปลุกไว้ เมื่อเข็ม สูงๆ เพื่อเข้าสู่โรงเรียนมัธยมที่ต้องการ ย้อนไป กระดิกมาถึงตัวเลขที่คุณต้องตื่น นาฬิกาปลุก ก่อนเข้าอนุบาล ย้อนไปก่อนเราจะเกิด ตัวเลข ของคุณก็จะแผดร้อง คุณอาจหันไปดูวันที่ เพื่อ จำ�นวนเงินในกระเป๋าของพ่อแม่ก็อาจมีส่วน ให้รู้ว่าวันนี้คุณต้องไปทำ�อะไรที่ไหน ต่อมาคุณ กำ�หนดได้ว่าชีวิตเราจะดำ�เนินไปในทิศทาง ต้องนับเงินในกระเป๋าสำ�หรับซื้อข้าว จ่ายค่ารถ ไหน ได้เข้าเรียนที่ใด เกิดที่โรงพยาบาลไหน และค่าจิปาถะต่าง ๆ ถ้าวันนี้บังเอิญเป็นวัน ตัวเลขดูเหมือนจะอยู่ในชีวิตเรามา ประกาศคะแนนของสักวิชา คุณอาจนัง่ ลุน้ ตัวเลข ตั้งแต่แรกลืมตาดูโลก ไม่กี่หลักนั้นจนตัวโก่ง จุดทศนิยมที่มากหรือ หรืออาจจะนานกว่านั้น ? น้อยกว่าคนอื่นสักจุดสองจุด อาจชี้เป็นชี้ตาย คุณได้เมื่อถึงสิ้นเทอม ตัวเลขใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างนะ ? ใช้นับ ใช้วัด ใช้คำ�นวณ ใช้กำ�หนดเวลา ฯลฯ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากตัวเลข ในการสร้างสิ่งมหัศจรรย์มานักต่อนัก นับตั้งแต่ การสร้ า งสถาปั ต ยกรรมอั น ยิ่ ง ใหญ่ อ ย่ า ง พีระมิด สารพัดสูตรคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ที่ ช่วยอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนโลก ทั้ง ยังสามารถนำ�มาพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ตัวเลขยังพลิกโฉมการค้าขายในอดีต จากการ ม นุ ษ ย์ มี ก า ร นั บ เ ล ข ม า ตั้ ง แ ต่ แลกเปลี่ยนสินค้า ไปสู่การซื้อขายกันด้วยเงิน ตรา การกำ�หนดให้มีธนบัตรและเช็กเงินสดนำ� 150,000 ปีที่แล้ว แต่ก็เป็นเพียงรอยขีดตาม ไปสู่การซื้อขายกันด้วยเงินจำ�นวนมหาศาลเกิน ผนังถำ�้ เพื่อช่วยนับวันคืนและฤดูกาล เพื่อนำ� กว่าชาวเมโสโปเตเมียจะจินตนาการออก ยังให้ ไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก ทว่าเมือ่ มนุษย์ ต้องข้องเกีย่ วกับสิง่ ของปริมาณมาก ๆ ขึน้ ก็เริม่ การค้าเติบโตอย่างไร้ขีดจำ�กัน ฉะนี้แล้ว ใครเล่าจะไม่นิยมตัวเลข มาเกิดสัญลักษณ์แทนจำ�นวนต่าง ๆ ขึ้นในสมัย ทว่า แท้จริงแล้ว มนุษย์กำ�ลังใช้ ซูเมอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมเมโซโปประโยชน์จากตัวเลข หรือกำ�ลังค่อย ๆ ถูก เตเมีย ก่อนจะมีชนชาติอื่นค่อย ๆ พัฒนาตัวเลข ของตัวเองขึ้นมา จนมีเกิดตัวเลขฮินดู-อารบิก ตัวเลขควบคุมอยู่กันแน่ ? ย้ อ นไปก่ อ นจะแข่ ง กั น สอบเข้ า ทีเ่ ราใช้กนั ในปัจจุบนั กล่าวได้วา่ เริม่ แรกทีม่ นุษย์ มหาวิทยาลัยด้วยคะแนนแอดมิชชั่นสูงลิบลิ่ว มีตัวเลข ก็เพื่อใช้บริหารจัดการ ควบคุมกิจการ ย้อนไปก่อนการลุ้นเกรด ม.3 เพื่อขอโควต้า ต่าง ๆ ในหมู่มนุษย์ด้วยโดยแท้ เรียนต่อ ม.4 หรือตั้งใจสอบแข่งขันให้ได้
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-30-
จุดเปลี่ยนสำ�คัญของตัวเลข คือการ ที่ชาวอียิปต์เปลี่ยนจากการใช้ตัวเลขเพื่อ “การ นับ” เป็น “การวัด” พวกเขาชอบสร้างสิ่งของ ที่ใหญ่โตมโหฬาร ไม่ว่าจะพีรามิดหรือรูปปั้น ฟาโรห์ ชาวอียิปต์จึงประดิษฐ์ตัวเลขอย่างหนึ่ง พัน หนึ่งล้านขึ้น เพื่อขยายขอบเขตการนับ ออกไป และใช้ตัวเลขเหล่านั้นมาช่วยในการ คำ�นวณโครงสร้างของสถาปัตยกรรม (แน่นอน
ว่าไม่ได้ใช้หน่วยในเมตริกอย่างในปัจจุบันแต่ ใช้ร่างกายของมนุษย์เป็นเครื่องมือวัด เช่น ศอก ฝ่ามือ นิ้ว เป็นต้น) ก่อนจะมาหักเหครั้งสำ�คัญ เมือ่ ชาวอินเดียประดิษฐ์เลขศูนย์ขน้ึ อยูใ่ นระบบ เลขฮินดู-อารบิกที่เราใช้กันทุกวันนี้ เพราะเลข ศูนย์ได้ช่วยขยายขอบเขตตัวเลขไปได้กว้าง ไกลไร้ที่สิ้นสุด ทว่า ณ วันนั้น ตัวเลขยังคงเป็นเพียง “เครื่องมือ” หนึ่งของมนุษย์ แต่ ตั้ ง แต่ เ มื่ อ ไหร่ กั น ที่ ตั ว เลขเริ่ ม ก้าวเข้ามามีบทบาทต่อการกำ�หนดชีวิตมนุษย์ อย่างมีนัยยสำ�คัญ
small maincourse
ฤ ไม้บรรทัดจะวัดไม่ ไก้
ฝัน เฟื่องฟ้า
ฤๅ ไม้บรรทัดจะวัดไม่ ได้?
เมื่อไหร่ที่เราเริ่มขยับขยายจากการ ใช้ตัวเลขนับหรือวัดสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น นับ จำ�นวนสินค้า วัดความกว้างของเกวียน ฯลฯ ไปสู่การนำ�ตัวเลขไปวัดสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น แปลงความรู้ในหัวสมองเด็กนักเรียนให้เป็น ตั ว เลขที่ วั ด ได้ อ ย่ า งคะแนนหรื อ เกรดเฉลี่ ย เปลี่ยนระดับความเป็นนักกิจกรรมให้อยู่ในรูป AT การประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยที่จะต้อง
ให้คะแนน “ความเป็นไทย” ฯลฯ เมื่อตัวเลข เริ่มขยับขยายพื้นที่มาจำ�กัดขอบเขตของสิ่งที่ เป็นนามธรรม หลาย ๆ คนก็เริ่มจะอึดอัดและ รู้สึกว่ามันไม่ถูกต้องเสียแล้ว ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นกรอบความคิด แบบวิทยาศาสตร์ ที่ทำ�ให้ทุกอย่างวัดค่าได้ จัด อันดับได้ แนวคิดที่มองว่า วิทยาศาสตร์เป็นคำ� ตอบของทุกสิ่ง เริ่มต้นในยุครอยต่อที่ผู้คนเริ่ม เสื่อมศรัทธาในศาสนาและหันมายึดมั่นในหลัก การเหตุผล เมื่อสิ่งเหนือธรรมชาติที่จับต้อง ไม่ได้อย่าง “พระเจ้า” เริ่มทำ�ให้คนกังขาและ หมดศรัทธา ผู้คนจึงหันไปหาสิ่งที่จับต้องได้ และจะมีหลักการหรือเหตุผลใดน่าเชื่อถือไป
ไปกว่าวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ทุกอย่างได้ด้วย เราอยู่ ใ นสั ง คมที่ เ ห็ น ว่ า การให้ ตั ว เลขและ ทฤษฎี สูตรคำ�นวณ และตัวเลข แปลงสิ่งที่ วิทยาศาสตร์ช่วยตอบคำ�ถามเป็นเรื่องสะดวก มองไม่เห็นอย่างแรงโน้มถ่วงให้มีสูตรสมการ สบาย และพาวิทยาศาสตร์ออกจากตำ�แหน่ง รองรับ และสามารถหา “คำ�ตอบ” อันแม่นยำ� แห่งที่ของตัวเองมาอยู่ร่วมกับสิ่งที่วัดไม่ได้ด้วย เป็ น ความจริ ง แท้ ที่ จ ะไม่ มี วั น เปลี่ ย นแปลง ตัวเลขมากขึ้นทุกที ผู้คนหันมาเชื่อถือในผัสสะทั้งห้า ไม่จำ�เป็นหรอกว่า “สิ่งที่มีประโยชน์” เมื่อถึงจุดหนึ่ง จะโดยตั้งใจหรือไม่ได้ จะต้องใช้ประโยชน์ได้กับทุก ๆ อย่าง เราอาจใช้ ตั้งใจก็ดี มายาคติว่าวิทยาศาสตร์คือคำ�ตอบ ตัวเลขนับ วัด และคำ�นวณอะไรได้หลายอย่าง ของทุกอย่าง ค่อย ๆ ฟักตัวขึ้นจากยุคฟื้นฟู และได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากสิ่งเหล่า ศิลปวิทยาการ (Renaissance) และยุคภูมธิ รรม นัน้ แต่กย็ งั มีสง่ิ ต่าง ๆ อีกมากมายทีต่ วั เลขไม่ (Enlightenment) และโดยไม่รู้ตัว เรากลาย อาจให้คำ�ตอบ นักวิทยาศาสตร์พยายามอย่าง เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนิยมตัวเลข ที่นิยมการ ยาวนานที่ จ ะศึ ก ษาการทำ � งานของสมอง ตีทุกอย่างเป็นตัวเลขไปเสียหมด แถมยังไม่ใช่ มนุษย์ บ่อยครั้งเราจะได้เห็นบทความทาง การใช้ไสยศาสตร์มาตีความฝันเป็นตัวเลขไป วิทยาศาสตร์ที่พยายามอธิบายการทำ�งานของ แทงหวย แต่เป็นการใช้วิทยาศาสตร์มาตีความ สารเคมีในสมองเมื่อมนุษย์เกิดความรัก เรื่ อ งนามธรรมให้ ก ลายเป็ น ตั ว เลขไปเสี ย นี่ วิทยาศาสตร์อาจช่วยอธิบายไว้แค่ อาจเพราะเราอยู่ในยุคที่อะไร ๆ ก็ต้องคำ�นึงถึง ความเป็นไปของความรู้สึก อธิบายด้วยคลื่น ผลลัพธ์และประโยชน์ที่จะได้รับไปเสียทุกอย่าง สมอง และระดับสารเคมีที่มากน้อยต่างกัน แต่ จึงต้องหาทางแปลงผลลัพธ์ทั้งหลายนั้นให้เป็น สุดท้ายแล้ววิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถอธิบาย ตัวเลข เพื่อจะได้รู้ว่านี่เราได้ผลประโยชน์จาก ได้ว่าทำ�ไมเราจึงรักคนนี้ แทนที่จะรักคนนั้น มันครบตรงตามเป้าหรือยัง? วิ ท ยาศาสตร์ อ าจกำ � ลั ง ทำ � หน้ า ที่ วิทยาศาสตร์เป็นวิธีการอธิบายโลก ของมันอย่างเต็มประสิทธิภาพอยู่ในสังคมนี้ แบบใหม่ทค่ี นทัว่ ไปจะจับต้องได้ หากมีคนถาม แต่บางที การขยับขยายพื้นที่ให้ศาสตร์อื่น ๆ ว่าทำ�ไมฝนจึงตก แล้วมีคนบอกว่าเพราะเทพเจ้า ก็อาจช่วยให้เห็นโลกในมุมมองใหม่ ๆ ได้เช่นกัน บันดาลให้ฝนตก ผู้ฟังก็พิสูจน์อะไรไม่ได้ว่า เพราะเราไม่อาจใช้ไม้บรรทัดของวิทยาศาสตร์ เทพเจ้านี่เป็นใคร อยู่ที่ไหน มีอยู่จริงหรือเปล่า วัดทุกสิ่งอย่างบนโลกใบนี้ แต่วิทยาศาสตร์มีสูตรคำ�นวณและกระบวนการ พิสูจน์ให้เห็นกันจะ ๆ แต่เรื่องราวอาจจะเริ่ม วันนี้... คุณได้ปล่อยให้ “ความรู้สึก” ไม่สมเหตุผล เมื่อมนุษย์คนเดิมมาบอกให้ นำ�ทางบ้างหรือยัง? วิทยาศาสตร์ช่วยเปรียบเทียบความงามของผู้ หญิงสองคน หรือให้สร้างเกณฑ์การให้คะแนน ความมีเสน่ห์ของผู้หญิงสองคนนั้น -31-
small but matter l issue 03
small interview
คุยกับมือปราบวิทยาศาสตร์ลวงโลกของไทย
small interview
คุยกับมือปราบวิทยาศาสตร์ลวงโลกของไทย ในขณะที่สังคมเต็มไปด้วยความมืดมัว คน ๆ นี้กลับพร้อมที่จะออกมาทำ�ให้ทุก ๆ อย่างมันชัดเจนขึ้น ไม่ใช่ด้วยความรู้ความ สามารถทางวิชาการที่น่าจับตามองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงไปความกล้าหาญที่มีอยู่อย่างไม่เคยหมดสิ้นและความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ ที่ปรารถนาจะทำ�ให้สังคมได้ทำ�ความรู้จักกับการคิดอย่างมีเหตุผลได้ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลทำ�ให้พวกเราจดจำ�เขาได้ บทความนี้จะนำ�ผู้อ่านเข้าสู่ บทสัมภาษณ์ที่จะอธิบาย “ตัวตน” และ “ความรู้สึกนึกคิด” ของคนที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “มือปราบวิทยาศาตร์ลวงโลก” ของไทย ที่มีชื่อว่า
“อาจารย์ เจษฏา เด่นดวงบริพันธ์” มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-32-
สัมภาษณ์: ปีกจักรวาล/ กชกร ความเจริญ เรียบเรียง: ปีกจักรวาล
ถ่ายภาพ: กชกร ความเจริญ
เป้าหมายของผมเองโดยส่วนตัวมัน ไม่ใช่แค่เรื่องของการสอน ส่วนใหญ่การสอน มันอยูใ่ นห้องเรียน ผมอยากกระตุน้ ทัง้ สังคมเลย ด้วยซ้ำ�ให้คนในสังคมเริ่มคิดเป็นวิทยาศาสตร์ ก็จะอธิบายอย่างนั้นก็ได้ครับ ผมคิด มากขึ้ น เป็ น กระบวนการวิ ท ยาศาสตร์ ม าก ว่าสังคมเราเป็นสังคมที่ค่อนข้างมีน้ำ�ใจซึ้งกัน ขึ้น เริ่มรู้จักตั้งคำ�ถามกับเรื่องต่างๆ ตั้งคำ�ว่า และกันแต่ไหนแต่ไร เราเป็นสังคมที่ค่อนข้าง “จริงเหรอ” เวลาฟังเรื่องไหน แล้วก็ “ทำ�ไม” โดนเทรนให้ไม่โต้เถียงกัน เราค่อนข้างจะเชื่อ “ใช่ไหม” แล้วก็เอาคำ�ตอบมาโต้แย้งกันซึ่ง คนง่ายโดยธรรมชาติ ในครอบครัวที่เราโตขึ้น กระบวนการทั้งหมดมันไม่เกิดในปัจจุบัน มัน มาสิ่งที่เราโดนปลูกฝังอย่างแรกเลยก็คือ “เชื่อ ค่อย ๆ ดีขึ้นบ้างเวลาเรามีเรื่องมีราวในสังคม ผู้ใหญ่” ประโยคอย่าง “เชื่อผู้ใหญ่หมาไม่กัด” ตั ว อย่ า งคลาสสิ ค ที่ ผ มชอบยกขึ้ น มาก็ คื อ วลีนี้ผมไม่เชื่อว่าในภาษาอังกฤษจะมี แต่คน GMO ไทยมีสุภาษิตแบบนี้อยู่ว่าคุณต้องเชื่อไว้ก่อน เดือนที่ผ่านมาผมพูดเรื่อง GMO แล้วมันจะไม่มีอะไรมาทำ�ลายคุณ รู้ได้ยังไง ค่อนข้างเยอะ มันเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ว่าผู้ใหญ่พูดถูก รู้ได้ยังไงว่าคำ�พูดที่ผู้ใหญ่พูด ที่สังคมได้รับรู้เร่ืองนี้ แล้วก็มีกระแสการโต้ ณ วันนั้น วันนี้มันจะไม่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว แย้งกันเกิดขึ้นบ้างแต่น้อย แล้วคนก็จะเชื่อ ซึ่ ง มั น ขั ด กั บ หลั ก วิ ท ยาศาสตร์ โ ดยสิ้ น เชิ ง ตาม ๆ กันมาตลอด เพราะฉะนั้นเมื่อมันมี วิ ท ยาศาสตร์ ใ นบ้ า นเราก็ เ รี ย นมาผิ ด ตลอด การโต้แย้งกันมากขึ้น ผมว่ามันทำ�ให้เรามีมุม เราเรียนวิท ยาศาสตร์ แบบท่ อ งจำ � ตามตำ � รา มองที่ต่างออกไปได้ เริ่มมีการตั้งคำ�ถามได้ ตามที่ครูสอน มีเด็กคนไหนกล้ายกมือแย้งครู ถ้าคุณไม่มีการโต้แย้งเกิดขึ้นคุณก็จะไม่เข้ากับ ไหมเวลาเรียนหนังสือว่าที่ครูสอนมันไม่จริง กระบวนการนี้ เราไปหวังพึ่งแต่กระบวนการ เพราะฉะนั้ น เป็ น ไปได้ ที่ บ่ อ ยครั้ ง มากที่ สิ่ ง เรียนการสอนในห้องเรียน เราหวังว่าแต่ตำ�รา ที่ ค รู ส อนอาจจะเปลี่ ย นแปลงไปแล้ ว ก็ ไ ด้ จะเขียนสิ่งที่ถูกต้องที่สุดให้เรา แล้วเราก็เชื่อ วิ ท ยาศาสตร์ ผ่ า นมาสองสามพั น ปี นี้ มั น เป็ น ตามนั้น ถ้าวันนั้น GMO เป็นเทคโนโลยีที่น่า ศาสตร์ที่โดนแก้ไขอยู่ตลอดเวลา วันนี้ผมพูด กลัวคุณก็กลัว แล้ววันนี้ตำ�รามันเขียนใหม่ พรุ่งนี้ผมอาจจะผิดก็ได้ แต่เราไม่โดนกระตุ้น แล้วว่า GMO เป็นเทคโนโลยีธรรมดาในการ แบบนี้ในสังคมไทย เราโดนกระตุ้นแบบ จง ปรับปรุงพันธ์พืช เด็กสมัยใหม่ตอนนี้ก็จะไม่ เชื่อตามเถอะ จงเชื่อตามเถอะ เพราะฉะนั้น กลัวแล้ว แต่มันพร้อมไหมกับสังคมไทยที่คุณ พอมาถึงยุคที่ข้อมูลข่าวสารเยอะมากและมี มีคนทุกระดับอยู่ตั้งแต่เด็ก ผู้ใหญ่ และคนแก่ ข้อมูลที่เข้ามาเพื่อทำ�ให้คุณเสียผลประโยชน์ แล้วคนแก่ยิ่งเยอะขึ้นเรื่อย ๆ แล้วถ้าคุณคิดแต่ เสียทรัพย์ เสียกำ�ลัง เสียแม้แต่ความเชื่อความ ว่าแค่ในห้องเรียนพอแล้วที่อื่นคุณไม่ต้องเรียน ศรัทธาที่คุณไปเชื่อตามเขา การเมืองก็เป็นด้วย เพิ่ม ความรู้คุณก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย มันทำ�ให้คุณโดนหลอกได้ง่ายในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมอยากทำ�จริง ๆ มันไม่ใช่ แค่การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการของการ สิ่ ง ที่ คุ ย กั น ไปคื อ สิ่ ง ที่ ท้ า ทาย เรียนทั่วไป แต่ทำ�อย่างไรให้กระบวนการการ ที่สุดของการสอนวิทยาศาสตร์ ทำ�ความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวในสังคมไทย มันเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยวิทยาศาสตร์มากขึ้น หรือไม่
จุดไหนที่ทำ�ให้อาจารย์ทนไม่ไหว ดูเหมือนสังคมไทยจะเป็นสังคมที่ ลุกออกมาเป็นตัวตัง้ ตัวตีจดั การ ไว้ใจคนง่าย กับวิทยาศาสตร์ลวงโลก เมื่ อ ห้ า หกปี ก่ อ นมั น มี ร ะเบิ ด ลวง โลกอยู่ตัวนึงชื่อ GT200 ผมเองไม่ได้ยุ่งกับมัน ตั้งแต่แรก ผมเป็นอาจารย์สอนชีววิทยา ผมไม่ ได้สอนวิศวะหรือฟิสิกส์อะไรทางด้านนั้น แต่ว่า มีลูกศิษย์เขาเอาเอกสารมาให้ดูว่าเครื่องนี้มัน เป็นเครื่องที่เจ้าหน้าที่เขาใช้อยู่ แล้วมันน่าจะ หลอกลวง เราเคยเห็นลักษณะของเครื่องแล้ว ในจอทีวีบ้าง แต่เราไม่เคยคิดอย่างที่เขาคิดว่า มันน่าจะหลอกลวงเพราะเจ้าหน้าที่เราใช้อยู่ แต่พอลองอ่านเอกสารประกอบก็รู้ได้เลยว่ามัน มีความผิดปกติ เช่น มันไม่ใช้ไฟฟ้าเลย มันใช้ ไฟฟ้าสถิตจากร่างกายมนุษย์ เป็นตัวเปล่า ๆ ไม่มีของอะไรข้างในเลย แต่มันมีเสาอากาศที่ ส่ายหาของได้ ทุกอย่างมันสามารถกระตุ้นให้ เราคิดได้ว่ามีอะไรบางอย่างผิดปกติแล้วล่ะ
ตอนแรกมีการร่วมกันให้ข้อมูลจาก หน่วยงานราชการต่าง ๆ แต่ยังไม่ค่อยเป็น ประเด็น จนกระทั่งเป็นข่าวใหญ่ขึ้นมา มันเกิด จากสำ�นักงานบีบีซีที่อังกฤษเข้ามาขุดคุ้ยเรื่อง พวกนี้ขึ้น พอเป็นข่าวใหญ่ สังคมไทยถึงเริ่ม สนใจ แล้วก็เป็นประเด็นที่เกิดการโต้เถียงค่อน ข้างมากในสังคม แล้วผมก็มีโอกาสได้ออกสื่อ ทีวีบ้างพูดคุยกับนักข่าวบ้าง มันอาจเป็นมายา คติก็ได้ที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้ของมันต้องเป็นของที่ ถูกต้อง คุณต้องเชื่อว่าถ้ามีผู้ที่เป็นคนที่มีชื่อ เสียงในสังคมเป็นอาจารย์ เป็นนักวิชาการหรือ เป็นคนที่โด่งดังหรือเป็นที่เคารพ เราก็ต้องเชื่อ เขา แต่จุดจบของตอนนั้นคือเรามีการทดสอบ ว่าสิง่ ทีถ่ กู ต้องคืออะไร แล้วเราก็ได้เรียนรูก้ นั ว่า เครือ่ งมันใช้ไม่ได้ พอเราเรียนรูว้ า่ เครือ่ งมันใช้ไม่ ได้เราก็รชู้ ดั เลยว่า Pseudosci หรือวิทยาศาสตร์ ทีม่ นั หลอกลวงเนีย่ อยูร่ อบตัวเรามากขึน้
-33-
small but matter l issue 03
small interview
คุยกับมือปราบวิทยาศาสตร์ลวงโลกของไทย
อาจารย์คิดยังไงกับบทบาทของ เวลาน้อยลงเพราะคนก็จะมาตั้งคำ�ถามกับผม จำ � เป็ น ด้ ว ยเหรอที่ เ ราต้ อ งมี เยอะ เปิดคอมพิวเตอร์มาก็จะมีเต็มอินบ็อกซ์ ทุก ชีวิตอยู่กับความเป็นจริง อยู่กับ ตัวเองทีม่ ตี อ่ สังคม วันก็จะมีคำ�ถามเต็มไปหมดว่าช่วยตอบคำ�ถาม ข้ อ มู ล ที่ ถู ก ต้ อ งอยู่ กั บ หลั ก เรือ่ งนัน้ เรือ่ งนีห้ น่อย เวลาส่วนตัวก็จะหายไป วิทยาศาสตร์ ก็เป็นแค่คนคนนึงนะ แต่เผอิญว่าเป็น คนทีม่ คี นเขาสนใจติดตามเยอะหน่อย ทำ�ให้เรา พูดอะไรออกไปก็ท�ำ ให้คนรับฟังได้มากขึน้ โดย เฉพาะทีพ่ ยายามจะกลับมาพูดเรือ่ งเดิมเรือ่ งการ สอนคนโต้แย้งเป็น คือผมเองคนก็จะมองผมว่า เป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นนักวิชาการโซเชียลก็ ว่าไปกันไป ที่ผมโพสต์บ่อยครั้งคือนี่มันเฟสบุ๊ค ส่วนตัวผมนะไม่ได้พูดแต่เรื่องวิทยาศาสตร์ผม พูดทุกเรือ่ ง แต่ผมต้องการกระตุน้ ให้เกิดการโต้ แย้งกันเกิดขึน้ แล้วก็พยายามจะหาเรือ่ งวิทยา ศาสตร์ใหม่ๆ มาให้คนให้ฟงั เหมือนกัน แต่ผม ก็สงั เกตว่าวิทยาศาสตร์เฉยๆใหม่ๆในสังคมไทย เข้ามาก็ยงั เฉยๆ แต่ถา้ ทีเ่ ป็นเรือ่ งทีเ่ ป็นประเด็น ในสังคมที่มีคนช่วยตอบ แบบนี้คนจะตื่นเต้น มากกว่า ซึง่ มันแปลว่าสังคมมันขาดเรือ่ งพวกนี้ อยู่ คือนักวิชาการเราเต็มบ้านเต็มเมือง เก่งๆ เยอะ ผมถือว่าเป็นชั้นกลางมาก ไม่ใช่คนเก่ง อะไรเลย แต่ว่าเป็นอีกคนนึงที่พยายามจะออก มาพูดอะไรมากขึ้นหน่อย เพราะฉะนั้นใน บทบาทนี้ สังคมก็คงมองเห็นเป็นคนทีอ่ อกมา พูดตอบคำ�ถามเรื่องต่างๆในสังคมได้ แต่ผม พยายามเตือนทุกครัง้ ว่า ฟังหูไว้หนู ะ อย่าเพิง่ ฟัง ผมแล้วเชือ่ ทันทีวา่ ถูก มาโต้แย้งกันมาลองแลก เปลีย่ นข้อมูลกัน
การออกมาเปิ ด เผยความเป็ น จริ ง ต่ า งๆได้ ส่ ง ผลอย่ า งไร บ้ า งกั บ ชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ข อง อาจารย์
โดยส่วนตัวไม่ค่อยมีการเปลี่ยนมาก เท่าไหร่นกั อาจจะมีคนรูจ้ กั ชือ่ มากขึน้ แต่คนก็ ไม่คอ่ ยรูจ้ กั หน้าตาผมมากเท่าไหร่ แต่วา่ ก็จะมี
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
หน่อย แต่วา่ ถ้าเรามองเป็นความสนุก ผมสนุก สนุกในการตามหาคำ�ตอบต่าง ๆ มาให้ ส่วน ในการที่ช่วยให้คนเลิกเชื่อบางอย่างที่มันไม่ควร จะเชือ่ อย่างเช่นสมมติวา่ มันมีการแชร์สมุนไพร รักษาว่าโรคนั้นโรคนี้แล้วก็เป็นความเชื่อผิดๆ อย่างนี ้ มันไม่มใี ครมาคอยแย้งเลยแล้วก็จะเชือ่ ตาม ๆ กัน ผมก็รสู้ กึ ว่าผมพูดไปแล้วถ้าคนเชือ่ เราบ้าง ฟังเราบ้างเพราะอย่างนัน้ มันก็อาจจะ เป็นข้อดีของสังคมได้วา่ คนก็จะไม่ท�ำ อะไรผิด ๆ
มันแล้วแต่คน โดยส่วนตัวผมถือว่า จำ�เป็นมาก คือมันอยูท่ เ่ี ราอยากจะอยูใ่ นสังคม แบบไหน ถ้าเราอยากอยูใ่ นสังคนแบบทีเ่ ก็บข้าว เก็บของไปอยู่ในทุ่งนาทำ�ไร่ทำ�สวนไม่ย่งุ กับใคร เลยมันก็ได้ แต่ถงึ ทำ�ไร่ท�ำ สวนชีวติ คุณก็ตอ้ ง พึ่งพาวิทยาศาสตร์ต้งั แต่ต่นื นอนจนกระทั่งคุณ นอนอีกรอบนึง ส่วนใหญ่คนจำ�นวนมากไม่รตู้ วั และผมเจอคนจำ�นวนมากที่ด่าทอวิทยาศาสตร์ โลกเลวร้ายลง เกิดสงคราม อย่างนัน้ อย่างนี้ คุณ “ทุกวันจะมีคำ�ถามเต็มไปหมด ใช้ไฟฟ้าตรงนีก้ ว็ ทิ ยาศาสตร์ น้�ำ ประปาไหลอยูก่ ็ วิทยาศาสตร์ คุณเล่นมือถือ คุณเล่นเฟสบุค๊ คุณ ว่าช่วยตอบคำ�ถาม บ่น ๆ ๆ
เรือ่ งนัน้ เรือ่ งนีห้ น่อย เวลาส่วนตัวก็จะหายไป แต่วา่ ถ้าเรามองเป็นความสนุก ผมสนุก สนุกในการตามหา คำ�ตอบต่างๆ ช่วยให้คนเลิกเชือ่ บางอย่างที่ มันไม่ควรจะเชือ่ ”
ย้อนกลับไปโลกเมื่อร้อยปีท่ีแล้วหรือ สองร้อยปีทแ่ี ล้ว ชีวติ ของคนเมือ่ ก่อนเลวร้ายกว่า นีม้ าก ถ้าคุณอายุสกั 35 คุณก็ปว่ ยตายแล้ว วันนีค้ ณุ มีการแพทย์ คุณมีการรักษาโรค คุณ มีเสือ้ ผ้า คนมีทกุ อย่างใช้ มันคือวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนัน้ ถ้าเราอยูก่ บั มันโดยทีเ่ ราไม่รเู้ ท่าทัน มันว่า มันคืออะไรและโทษมันคืออะไร มันก็ อยูใ่ นโลกค่อนข้างยาก คือต้องถามก่อนว่าคุณ อยากอยูใ่ นโลกแบบไหน ถ้าคุณอยากอยูใ่ นโลก แห่งความเป็นจริงมากขึน้ ไม่ตอ้ งเครียดกับเรือ่ ง นัน้ แล้วก็รเู้ ท่านัน้ เรือ่ งนี้ คุณก็มารูค้ วามรูท้ าง วิทยาศาสตร์ทแ่ี ท้จริงมากขึน้
แต่กลับมาเรื่องเดิมในความตั้งใจใน ชีวิตผมอยากให้สังคมไทยเป็นสังคมที่คิดเป็น วิทยาศาสตร์มาขึน้ ในมุมกลับข้างมันก็จะมีคน เกลียดเราแน่ ๆ คนทีว่ า่ เรา คนทีไ่ ม่เห็นด้วยกับ เรา มันก็ตอ้ งทำ�ใจ รับฟังทัง้ สองด้าน อะไรทีม่ นั เป็นเชิงไม่มปี ระโยชน์เลย เช่น ด่าทออย่างเดียว ผมก็จะไม่คอ่ ยฟังเท่าไหร่ อะไรทีม่ กี ารหาข้อมูล ถ้ า วั น นึ ง คนในสั ง คมบอกว่ า มาแย้งผม ผมชอบ ผมก็จะพยายามรับฟัง มัน พ ว ก เ ข า ช อ บ ค ว า ม ง ม ง า ย น่าจะเป็นหมือนคนทีบ่ กุ เบิกเรือ่ งพวกนีม้ ากกว่า พวกเขาพอใจกั บ ความงมงาย และหวังว่าในอนาคตจะมีคนที่เข้ามาทำ�อย่างนี้ อาจารย์จะว่าอย่างไร เยอะขึน้ ด้วยวิธกี ารต่าง ๆ -34-
สัมภาษณ์: ปีกจักรวาล/ กชกร ความเจริญ เรียบเรียง:ปีกจักรวาล
ถ่ายภาพ:กชกร ความเจริญ
ผมไม่ว่าอะไรนะ คำ�ว่าสังคมมัน กว้าง ถ้าทั้งประเทศไทย 99.99% พูดอย่างนั้น ผมก็ต้องหาทางไปอยู่ต่างประเทศแล้วล่ะ มัน ก็คงอยู่ยาก มันก็เหมือนถ้าอยู่ในสังคมที่เป็น วิทยาศาสตร์จ๋ามากๆ แต่เป็นคนงมงายหนึ่ง คนในสังคมนั้นก็คงอยู่ยากเช่นกันใช่ไหมครับ ผมยังโชคดีที่ว่าผมเกิดในประเทศไทยซึ่งโดย พื้นฐานตั้งแต่ผมเกิดมาจนวันนี้นะ โดยพื้นฐาน เป็นประเทศที่ค่อนข้างมีความหลากหลายสูง ทั้งเชื้อชาติ ศาสนา ความชอบ แม้ว่าในช่วง ไม่กี่ปีมานี้มันจะมีปัญหาทางการเมือง ที่คนไม่ ค่อยยอมรับความแตกต่าง อันนี้เป็นปัญหา ใหญ่ของสังคมไทยมาก เรากำ�ลังหลง แต่ว่า วิทยาศาสตร์ที่แท้จริงเนี่ยตั้งแต่แรกคือยอมรับ ความแตกต่างอยู่แล้ว ผมบอกว่าวิทยาศาสตร์ มีการยอมให้โต้เถียงตั้งแต่แรกใช่ไหมครับ นั่น คือกรอบที่คุณสามารถอยู่ร่วมกันได้
ในระดั บ มหาลั ย อาจารย์ คิ ด ว่ า นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษามี ค วามเชื่ อ อะไร ที่น่าจะต้องคิดกับมันมากขึ้น คุณมาเรียนมหาวิทยาลัยทำ�ไม นี่ คือมายาคติที่ใหญ่ที่สุดแล้ว ในต่างประเทศ เด็กฝรั่งพอจบมัธยม มันจะค่อนข้างเป็นอิสระ จากพ่อแม่แล้ว พ่อแม่ก็จะมองว่าลูกโตเป็น ผู้ใหญ่แล้ว แล้วก็หน้าที่ของคุณคือตัดสินใจว่า จะเข้ามหาวิทยาลัยหรือไปทำ�งาน หรือที่นิยม คือการไปแก๊บเยียร์ประมาณหนึ่งปี ไปหาอะไร ทำ� โดยที่มีโครงการเต็มไปหมดเลย ไปเพื่อ เรียนรู้ตัวเองว่าต้องการจะเรียนรู้อะไร เด็กฝรั่ง จำ�นวนมากตอบตัวเองได้ชัด อีกห้าปี ฉันจะ เป็นอะไร อีกห้าปีฉันจะทำ�อะไร เป็นสเต็บๆ เด็กไทยผมถามว่าคุณรู้ตัวเองไหม คุณมาเข้า เรียนมหาลัยเพื่ออะไร มายาคติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คื อ ฉั น ต้ อ งเรี ย นจบมั ธ ยมเพื่ อ เรี ย นต่ อ มหา วิทยาลัยที่ทั้งผู้ปกครองก็เป็นนักศึกษาก็เป็น -35-
small but matter l issue 03
small interview คุยกับมือปราบวิทยาศาสตร์ลวงโลกของไทย
และเด็กมหาลัยจบปีสี่โดยความเคว้งคว้างว่า ฉันเองก็จบแล้ว นี่ใช่สิ่งที่ฉันอยากเป็นหรือ เปล่า บางคนมาเรียนต่อปริญญาโท ผมถาม บ่อยมากเลยว่ามาเรียนต่อปริญญาโทเพราะ อะไร คำ�ตอบจำ�นวนมากนะ ไม่ใช่ทุกคนคือ ส่วนมากยังค้นหาตัวเองไม่เจอก็เลยมาเรียน ต่อไปก่อน ซึ่งมันต่างจากเด็กฝรั่งคือ เรียน มหา’ลัยคุณต้องหาเงินเรียนเอง คุณก็ต้อง ตัดสินใจไงว่าคุณต้องทำ�อะไรกันแน่ ต้องกู้ ธนาคารมาเรียนเอง ทุกคนเป็นหนี้ บางคนมี ความสุขมาก ฉันจะออกจากบ้านไปอยู่ข้าง นอกแล้ว ไปหาแฟลตอยู่กับเพื่อน ไม่เกาะพ่อ แม่แล้ว เด็กไทยโดยพื้นฐานเกาะพ่อแม่จนอายุ
สัมภาษณ์: ปีกจักรวาล/ กชกร ความเจริญ
ดันของผมคือทำ�ผลงานวิจยั เยอะ ๆ มีผลงานตี พิมพ์ สิบปีนต้ี ง้ั แต่อายุสส่ี บิ ถึงห้าสิบ ก็คอื สือ่ สาร วิทยาศาสตร์ แรงพลักดันที่อยากทำ�ให้คนไทย คิดเป็นวิทยาศาสตร์มากขึน้ อีกสิบปีขา้ งหน้าผม อาจจะเล่นการเมืองก็ได้ เพราะว่ามันเป็นอีกวิธี การหนึง่ ทีเ่ ป็นทางตรงทีส่ ามารถจะเปลีย่ นสังคม ไทยได้ คุณไม่สามารถปรับเปลีย่ นสังคมไทยได้ ถ้าคุณไม่ไปอยูใ่ นมุมของผูบ้ ริหาร และนีค่ อื แรงพลักดันในชีวติ ผม
เวลาอาจารย์ส่อื สารเรื่องที่เกี่ยว กับวิทยาศาสตร์ลวงโลกออกไป แต่กย็ งั มีคนไม่เชือ่ อยู่ อาจารย์ รูส้ กึ ท้อบ้างไหม
อะไรเป็ น แรงบั น ดาลใจของ อาจารย์ในการใช้ชวี ติ ในทุกวันนี้
ผมได้เรียนรูจ้ ากเรือ่ ง GMO แล้วมัน เป็นประโยชน์กบั ผมค่อนข้างมากครับ หรือจริงๆ โดยเบสิคผมเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลตัง้ แต่ กลับมาตั้งแต่เรื่อง GT200 หรืออะไรก็ตาม คุณ เด็กๆ ทุนชือ่ พสวท เป็นทุนวิทยาศาสตร์ ผม ก็น่าจะเห็นการพิสูจน์แล้วว่ามันเป็นเครื่องมือ รับทุนตัง้ แต่ผมจบม.สามขึน้ ม.สี่ ก็เป็นนักเรียน เปล่า ๆ มเี สาอากาศ แต่คนทีย่ งั เชือ่ ว่ามันใช้งาน วิทยาศาสตร์ยาวจนจบปริญญาเอกเลย ดังนั้น ได้กม็ อี ยูเ่ ยอะมาก คนทีม่ ตี รรกะในการโต้เถียง แรงพลักดันทีส่ �ำ คัญมาก ๆ เลยคือ รูว้ า่ เราเข้า แปลก ๆ บอกว่าอันที่ผมเอามาทดสอบเป็น มาสูเ่ ส้นทางวิทยาศาสตร์ และโดยเฉพาะทีเ่ รา ของปลอม หรือว่าผมรับเงินใครมา คือเราต้องตัด ใช้เงินจากรัฐบาลที่เป็นเงินภาษีของประชาชน เรือ่ งพวกนีอ้ อกไป เวลาสือ่ สารเรือ่ ง GMO เขา หน้าที่ของผมโดยส่วนตัวผมคิดว่า ผมเอาตัว สอนผมตั้งแต่แรกเวลาผมดูจากต่างประเทศ รอดในชีวิตได้ ผมมีฐานะ มีเงินทองอยู่รอด คือ คนในสังคมก็จะมีสามส่วน คนทีเ่ ชือ่ ว่ามัน สามารถเลีย้ งลูกเลีย้ งเมียได้แล้วผมก็ตอ้ งให้อะไร เลวร้าย ยังไงมันก็เลวร้าย คนทีเ่ ชือ่ ว่ามันดีมี กับสังคมด้วยในฐานะทีผ่ มรับทุนมา แล้วก็สง่ิ ที่ ประโยชน์ และก็คนตรงกลางทีย่ งั ไงก็ได้ ฉันไม่รู้ ผมทำ�ได้ให้กบั สังคมก็คงไม่พน้ เรือ่ งวิทยาศาสตร์ ขอฟังข้อมูลก่อน ซึง่ คนตรงกลางมีเยอะกว่าเสมอ ทีผ่ มเชีย่ วชาญและถนัดอยูข่ ณะนีแ้ ละนัน่ คือแรง หน้าทีเ่ ราคือไม่ใช่ไปเปลีย่ นใจคนทีไ่ ม่ พลักดันสำ�คัญ เชื่อตามเรา หน้าที่เราคือการสื่อสารให้คนที่เขา ไม่มีข้อมูลอยู่ตรงกลาง เขาอาจจะเชื่อตามเรา ในอนาคตอาจจะเปลี่ย นแปลงไป หรือว่ามีข้อมูลมากขึ้น และถ้าเราใช้หลักการนี้ ก็ได้ สิบปีกอ่ นกลับมาบรรจุใหม่ ๆ แรงผลัก กับทุกเรื่องเราจะสบายใจ ผมพูดเรื่องบั้งไฟ
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-36-
“...ถ้าคุณเป็นขบถทาง ความคิดแล้วคุณลงมือทำ�ด้วย ตรงนี้ต่างหากที่สำ�คัญ ” พญานาค ผมไม่จำ�เป็นต้องไปยุ่งกับเรื่องที่เขา เชื่อเรื่องบั้งไฟพญานาคว่าเกิดจากสิ่งเล้นลับ หรื อ ว่ า แม้ จ ะเชื่ อ ว่ า เกิ ด จากแก๊ ส ธรรมชาติ เพราะเถียงไปก็ไม่จบ ผมมีหน้าทีค่ ยุ กับคนท่เี ขา อยากรู้ ว่ามันเกิดจากอะไรกันแน่ และถ้าเรา เข้าใจตรงนีท้ กุ เรือ่ งในสังคมเราจะสือ่ ได้หมดเลย แม้แต่เรือ่ งการเมือง การเมืองคุณก็เห็นอยูม่ นั มี ขัว้ อยู่ หน้าทีเ่ ราคือไปเถียงไปเปลีย่ นคนแต่ละขัว้ ไม่ได้ คุณก็ตอ้ งคุยกับคนตรงกลางว่าผมมีขอ้ มูล อย่างนีน้ ะให้คณุ เข้าใจนะ แล้วคุณลองคิดใหม่วา่ จริง ๆ แล้วเรือ่ งมันคืออะไรกันแน่
อาจารย์อยากฝากอะไรให้ผู้อ่าน การตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับมายาคติเป็นสิ่งที่ดี มากๆ เพราะมันคือการฉีกกรอบของสังคม แล้ววิธีฉีกกรอบของผมก็คือการตั้งคำ�ถามจาก สิ่งรอบข้าง ตั้งแต่เรามาเรียนหนังสือทำ�ไม เราเอ็นทรานซ์ทำ�ไม เราจบไปแล้วจะทำ�อะไร กันแน่ เราทำ�อะไรให้สังคมได้บ้างไหม เรื่อง ต่างๆรอบตัวที่เรารับรู้อยู่เนี่ย ตั้งแต่เด็กๆจน เติบโตขึ้นมาสิ่งต่างๆมันเป็นจริงแค่ไหน แต่ ทั้งหมดถ้าคุณได้กระตุ้นตรงนี้มันยังไม่พอ มัน จะกลายเป็นแค่การสร้างคนกลุ่มใหม่ที่มีขบฏ ทางความคิด แล้วทุกคนก็เข้าสู่กระแสเดิมๆ จบมาก็ยังทำ�งานตามกระแสเดิมๆ แต่ถ้าคุณ เป็นขบฏทางความคิดแล้วคุณลงมือทำ�ด้วย ตรงนี้ต่างหากที่สำ�คัญ
เมื่อวันหนึ่ง เราถาม #smallteam ว่า...
สำ�หรับคุณ small คืออะไร?
“เป็นนิตยาสารเล่มเล็ก ๆ ที่ฉุกให้คิดในหลาย ๆ มุม” — หลินหลิน, บก.ศิลปกรรม
“small คือนิตยสารเล็ก ๆ...แต่ผมไม่เล็กนะครับ” — หอยขม, พิสูจน์อักษร “small คืองานคืนสู่เหย้าที่เปิดโอกาสได้อยู่ร่วมกับคนที่มีรสนิยม เดียวกันได้มาเจอทั้งอาจารย์ (เหล่าคอลัมนิสต์เป็นต้น) เพื่อนสนิทที่ไม่ ได้เจอกันนาน และทำ�ความรู้จักกับเหล่าพี ๆ น้อง ๆ” — ใบพลู, กอง บก. และหัวหน้ากองพิสูจน์
“เป็นพื้นที่ในการป่าวประกาศเพื่อต่อสู้ กับความอลวนของสังคม ด้วยความคิดความอ่านผ่านภาษา” — ตั้ม, พิสูจน์อักษร
“small คือพื้นที่เล็ก ๆ ให้คนเล็ก ๆ ได้แสดงความคิดเห็นสู่สาธารณะ” — เก้า, คอลัมนิสต์
“พวกเราไม่ใด้ทำ�นิตยสารเพื่อให้ได้นิตยสารเฉยๆ” เรามองว่า small มีศักยภาพที่จะต่อยอดเป็นพื้นที่เปิด ภายในมหาวิทยาลัยและระหว่างมหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่ที่นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนความคิด อพื้นที่ ที่ให้นักศึกษาตัวเล็ก ๆ มาแสดงพลัง สร้างกลุ“คืมาทดลอง ่ม และลงมื อทำ� มาลงมือทำ� มาเปลี่ยนแปลง
“ภาคีลึกลับที่มีคนกลุ่มนึงมาทำ�อะไร บางอย่างด้วยกันตอนเรียน” — ฟินิกส์, กองบก.
“small คือพื้นที่เล็ก ๆ ให้คนเล็ก ๆ ได้แสดงความคิดเห็นสู่สาธารณะ” — เก้า, คอลัมนิสต์
มาหาเพื่อนที่สบถกับเรื่องเดียวกัน” — บิ๊ว, บก.
ใครอ่าน small แล้วเห็นว่ามันมีคุณค่า และครั่นเนื้อครั่นตัวอยาก ‘ลงมือทำ�’ ด้วย “small คือ นิตยสารเเจกไอ เดียเด็ด ๆ ของนักศึกษา” — บอส, คอลัมนิสต์
ส่งข้อความมาคุยกัน Facebook > small but matter
“เป็นสนามเด็กเล่นให้บรรดาเด็ก ๆ (?) ได้ (ทด) ลองเล่น” — เคี้ยง, คอลัมนิสต์
#smallteam ยินดีต้อนรับเพื่อนช่วยคิดช่วยทำ� “คือพื้นที่ ที่ให้นักศึกษาตัวเล็ก ๆ มาแสดงพลัง มาทดลอง มาลงมือทำ� มาเปลี่ยนแปลง มาหาเพื่อนที่สบถกับเรื่องเดียวกัน” — บิ๊ว, บก.บริหาร
“เป็นนิตยสารที่รวบรวมเรื่องราวเล็กๆน้อยๆที่เป็นประเด็นในสังคม เขียนอย่างเบา ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่านได้ฉุกคิด แต่ก็ไม่ได้ชี้นำ�แนวทางใด ๆ” — ปลาย, คอลัมนิสต์ “จุดเล็กๆ จากกลุ่มเล็กๆ ที่ พยายามสร้างเส้นตรงเล็กๆ จน เกิดเป็นรูปขนาดใหญ่” — นัท, artwork
“เหมือนตัวหนังสือตัวเล็ก ๆ ตัวนึงที่มี ความหมายซ้อนอยู่ข้างในคำ�นั้นมากมาย จนเล่าได้ไม่รู้จบ แล้วก็มีความหมาย ที่แตกต่างกันไปแล้วแต่คนจะมอง ไม่มีคำ�ว่าถูกหรือผิด” — แก้ม, artwork
“ที่ๆ เรากล้าพูดเรื่องที่ไม่ผิด แต่ไม่เป็นที่ยอมรับ ในสังคมได้ และทำ�ให้คนยอมรับมันมากขึ้น” — แอปเปิ้ล, คอลัมนิสต์
-37-
“ศูนย์รวมมนุษย์ปรัชญา” “ที่ ๆ ได้ทำ�อะไรที่ไม่คิดว่าจะทำ�ได้/ ได้ทำ�” “ที่ ๆ มาทำ�เเล้วกินเวลาเรียนเเต่รู้สึกดีค่ดดด” — ป่าน, PR
small but matter l issue 03
ว่าด้วยมายาคติ
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
ภูเขา
-38-
ว่าด้วยมายาคติ
ภูเขา
ว่าด้วยมายาคติ : กรณีตัวอย่างของสังคมในมหาวิทยาลัย ภูเขา : เรียบเรียง
เวลาพูดถึงสังคมในมหาวิทยาลัย สิ่งหนึ่ง ที่มักจะถูกกล่าวอ้างก็ คือ สังคมในมหาวิทยาลัยเป็น เสมือนภาพจำ�ลองของสังคมจริง ในแง่หนึ่ง การเป็น ภาพจำ�ลองแสดงให้เห็นถึงธรรมชาติบางประการที่มี ร่วมกันระหว่างสังคมทั้งสอง แต่ในภาพที่ปรากฏต่อ เรา เราอาจมิได้ตระหนักถึงการทำ�งานของมายาคติ ที่ครอบคลุมมันอยู่เลย บทความนี้จะพยายามทำ�ให้ ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวของ “มายาคติ” มากขึ้น โดย อาศั ย เรื่ อ งราวของสั ง คมมหาวิ ท ยาลั ย เป็ น กรณี ตัวอย่าง โดยบทความนี้จะวิเคราะห์ให้เห็นว่ามายา คติของสังคมในมหาวิทยาลัยนั้น มันกำ�ลังทำ�งาน อย่างไร เพื่ออะไร อะไรคือ “มายาคติ” มันอาจไม่ใช่สิ่งที่ ตอบได้ง่ายนัก อันที่จริงหากเราต้องการรู้จักมัน ส่วน หนึ่งที่เราควรเข้าใจ คือ กลับไปสนใจถึงสิ่งที่ประกอบ ขึ้นมาเป็นคำ�ว่า “มายาคติ” ทั้งนี้ คำ�ว่ามายาคติมา จากคำ�ในภาษากรีกโบราณว่า mythos แปลว่านิทาน หรือตำ�นาน ซึ่งต่อมา โรลองด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสนำ�มาผสมกับคำ�ว่า logos ที่แปลว่าความรู้ รวมกันเข้าเป็นคติความเชื่อ หรือทัศนคติที่เป็นมายา คือ เป็นความเชื่อที่ไม่เป็น ความจริงนั่นเอง หรือหากอธิบายให้ชัดเจนมากขึ้น มันหมายถึง การสื่อความหมายด้วยคติความเชื่อทาง วัฒนธรรมซึ่งถูกกลบเกลื่อนให้เป็นที่รับรู้เสมือนว่า เป็นธรรมชาติ ซึ่งก็คือกระบวนการของการลวงให้หลง อย่างหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่า มายาคติเป็น การโกหกหลอกลวงแบบปั้ น นำ �้ เ ป็ น ตั ว หรื อ การ โฆษณาชวนเชื่อที่บิดเบือนข้อเท็จจริง โรลองด์ บาร์ตส์ เขียนหนังสือชื่อว่า Mythologies ขึ้นในปี 1957 เพื่อ ที่จะวิเคราะห์ให้เห็นถึงมายาคติที่ครอบคลุม ความ หมายของสิ่งต่าง ๆ ไว้ จนทำ�ให้เราเข้าใจว่ามัน
เป็นธรรมชาติ แต่อันที่จริงแล้วมันคือปฏิบัติการทาง ความหมายของมายาคติ มายาคติทำ�งานอย่างไร บาร์ตส์ อธิบายว่า “ตัวมายาคตินนั้ ทำ�งานด้วยการเข้าไปครอบงำ� “ความ หมายเบื้องต้น” ของสรรพสิ่ง ซึ่งเป็นความหมายเชิง ผัสสะหรือประโยชน์ใช้สอย แล้วทำ�ให้มนั สือ่ ความหมาย ใหม่ในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นความหมายเชิงค่านิยม อุดมการณ์”
“ สังคมในมหาวิทยาลัย เป็นเสมือนภาพจำ�ลองของ สังคมจริง ในแง่หนึ่งการ เป็นภาพจำ�ลองแสดงให้เห็น ถึงธรรมชาติบางประการที่ มีร่วมกันระหว่างสังคมทั้ง สอง แต่ในภาพที่ปรากฏต่อ เรา เราอาจมิ ได้ตระหนักถึง การทำ�งานของมายาคติที่ ครอบคลุมมันอยู่เลย ”
หากจะอธิบายให้ง่ายขึ้น เวลาเราพูดคำ�ว่า “หัวใจ” มันกำ�ลังทำ�หน้าที่ 2 อย่าง อย่างแรกคือมันเป็น เสียงพูดของเราที่เราพูดคำ�ว่า “หัวใจ” สื่อสารให้ คนอื่นได้ยิน เราเรียกว่า “รูปสัญญะ” อย่างที่สอง คือมันกำ�ลังสื่อความหมายถึงอวัยวะอย่างหนึ่งที่ทำ� หน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เราเรียกมันว่า “ความหมายสัญญะ” ซึ่งรูปสัญญะกับความหมาย สัญญะไม่จำ�เป็นจะต้องเกี่ยวข้องกัน เพราะในบาง
-39-
วัฒนธรรม เราอาจเรียกอวัยวะนั้นในรูปสัญญะอื่น ๆ ก็ได้ เช่น Heart หรือ 心 ซึ่งมายาคตินี่เองทำ�งาน บนโครงสร้างดังกล่าว โดยมันเข้าไปครอบครองความ หมายของรูปสัญญะให้มันสื่อความหมายใหม่ ไม่ใช่ เพียงแค่ความหมายเดิม อย่างเช่นหัวใจกับอวัยวะที่ ทำ�หน้าที่สูบฉีดเลือด เมื่ อ มายาคติ ไ ด้ ทำ � งานโดยการเข้ า ไป ครอบครองความหมายของหัวใจ เราจึงอาจ เข้าใจ “หัวใจ” ในฐานะตัวแทนของอะไรบาง อย่าง เช่น ความรัก ทั้งๆ ที่ความรักไม่ได้มี อะไรเกี่ ย วข้ อ งกั บ อวั ย วะที่ ทำ � หน้ า ที่ สู บ ฉี ด เลื อ ด เลย แต่เรากลับรูส้ กึ ว่าหัวใจเป็นตัวแทนของความ รัก ราวกับว่ามันเป็นเรือ่ งธรรมชาติ ด้วยการทีม่ ายาคติ เข้าไปสวมทับความหมายเดิม เวลาเราเห็นรูปหัวใจ สีแดง เราจึงสามารถจะเข้าใจว่ามันหมายถึงความรัก โดยทีเ่ ราไม่จ�ำ เป็นต้องเข้าใจเลยว่าจริง ๆ แล้วอวัยวะ ที่เรียกว่าหัวใจคืออะไร ทำ�งานอย่างไร แน่นอน มายาคติทำ�งานแบบนี้ แต่ไม่ได้ หมายความว่ามันทำ�งานเพียงเท่านี้ การที่มายาคติ เข้าไปสวมทับความหมายเดิม ทำ�ให้มันมีพลังในเชิง อุดมการณ์ มายาคติสามารถทำ�ให้ผู้คนเข้าใจว่า วั ฒ นธรรมหรื อ สิ่ ง ที่ ป รากฏอยู่ อั น มี ที่ ม าที่ ไ ปใน เชิงประวัติศาสตร์นั้นมันเป็นธรรมชาติที่ดำ�เนินไป แบบนั้น โดยไม่ได้สนใจว่าทำ�ไมมันถึงเป็นแบบนั้น หรือมันเป็นแบบนั้นมาอย่างไร เพื่ออะไร เช่นเดียว กับเรื่องของสังคมในมหาวิทยาลัย เรามักจะเชื่อกัน ว่า สังคมในมหาวิทยาลัยเป็นเสมือนภาพจำ�ลอง ของสังคมจริง แน่นอน ผู้เขียนไม่ได้ปฏิเสธว่ามัน ผิดหรือมันไม่ได้เป็นแบบนั้น ใช่ มันเป็น เพราะใน ความหมายเบื้องต้น สังคมก็คือคือการอยู่รวมกันของ มนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลาย
small but matter l issue 03
ว่าด้วยมายาคติ
ภูเขา
ภาพประกอบ : NisachonP
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-40-
ว่าด้วยมายาคติ
รูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่ อาศัย ฯลฯ สังคมในมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน การทีเ่ รา เป็นนิสติ นักศึกษา เราจำ�เป็นต้องมีความสัมพันธ์กับ บุคคลอื่น ๆ ในหลายรูปแบบเช่นเดียวกับการใช้ชีวิต อยู่ในสังคมจริง เราสามารถที่ จ ะเลื อ กอยู่ กั บ เพื่ อ นที่ เ รา สนิท เราสามารถเลือกที่จะเรียนในแบบที่เราชอบ เรา มีสิทธิ์ในการร่วมกำ�หนดทิศทางของมหาวิทยาลัย ดู ราวกับเป็นชีวิตในฝัน
“ แท้จริงแล้วมันคือการไปสู่ เบ้าหลอมของทุนนิยมผ่าน การสร้างระเบียบวิธีบาง อย่างที่กำ�หนดว่าในสังคม ควรจะเป็นอย่างไร ” แต่อย่างไรก็ตาม หลายคนมิได้ตระหนักว่า การที่มันเป็นเช่นนั้น มันไม่ใช่เพียงการจำ�ลองสังคม จริง ๆ ที่มีอิสระ แต่สังคมของมหาวิทยาลัยที่อยู่ใน มโนภาพของเราว่ามันเป็นเสมือนสังคมภายอกจริงๆ นั้น มันยังแฝงไปด้วยอุดมการณ์บางอย่างของชนชั้น ปกครองที่คอยกำ�หนดสถานะ ตำ�แหน่ง จุดยืน หรือ แม้แต่ทัศนคติที่คาดหวังของชนชั้นปกครองที่มีต่อ นักศึกษา การเลือกที่จะเข้าไปเรียนในคณะบาง คณะที่นักศึกษาคิดว่าเป็นการเลือกจากความชอบ แท้จริงแล้วมันคือการไปสู่เบ้าหลอมของทุนนิยมผ่าน การสร้างระเบียบวิธีบางอย่างที่กำ�หนดว่าในสังคม ควรจะเป็นอย่างไร คณะแต่ละคณะ หลักสูตรแต่ละ
ภูเขา
หลักสูตร หรือแม้แต่วชิ าทีเ่ ราจำ�เป็นต้องเรียน เราอาจ จะคิดว่ามันเป็นไปโดยอิสระโดยการเลือกของเรา แต่ อันที่จริงแล้ว มันคือการพยายามกำ�หนดตำ�แหน่ง ทางสั ง คมบางอย่ า งที่ จ ะทำ � ให้ นั ก ศึ ก ษาออกมาใน ฐานะผลผลิตที่สามารถประกอบอาชีพในสังคม มี ตำ�แหน่งแห่งที่ในสังคมภายใต้โครงสร้างสังคมอย่าง ที่มันเป็นอยู่ได้ นักศึกษาจึงมิอาจที่จะเลือกหรือมี อิสระในการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่กำ�หนดไว้ได้ หากทำ�ได้ ก็เพียงในพื้นที่จำ�กัดโดยไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง ความสัมพันธ์เชิงอำ�นาจอื่น ๆ ที่มันเป็นอยู ่
การดำ�รงชีวิตในมหาวิทยาลัย
แม้ว่าเราจะเชื่อว่าเรามีอิสระที่จะมีความ สัมพันธ์กับ เพื่อนกับอาจารย์ตามที่เราอยากรู้จัก แต่ ในความเป็นจริง ระบบโซตัส ระบบสายรหัส หรือ แม้แต่ระเบียบที่ครอบงำ�การใช้ชีวิตของเรานั้น มิอาจ ทำ�ให้เรามีอสิ ระได้โดยแท้จริง เราไม่ได้มอี �ำ นาจใน การที่จะเลือกได้ถึงการปฏิบัติต่อบุคคลใด ๆ ในรูป แบบที่เป็นอิสระ การให้ความเคารพต่ออาจารย์หรือ ผู้มีอำ�นาจ การยอมรับกฎระเบียบต่างๆ ที่ไม่มีความ ชอบธรรม ล่วงลำ�้ ไม่เคารพต่อความเป็นมนุษย์ โดย นักศึกษาไม่มีอำ�นาจที่จะพิจารณาหรือปฏิเสธ เป็น เพีย งการเตรี ยมตั ว ให้ นั ก ศึ ก ษาออกไปเป็ น ประชา ชนเชื่องๆ ที่ไม่มีปากมีเสียง และจำ�ยอมที่จะอยู่ใน สถานะแบบนั้น (อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย) เราอาจจะไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งที่อยู่เบื้อง หลังสังคมในมหาวิทยาลัย แน่นอน เราไม่อาจปฏิเสธ ได้เลยว่าสังคมในมหาวิทยาลัยคือภาพจำ�ลองของ สังคมจริง ๆ ภายนอกมหาวิทยาลัย แต่การที่มันเป็น ภาพจำ�ลอง มันมิได้ท�ำ หน้าทีเ่ พียงแค่สะท้อนความหมาย
-41-
สัญญะของสังคมเท่านั้น แต่ปฏิบัติการของมายาคติ ยั ง สร้ า งอุ ด มการณ์ บ างอย่ า งขึ้ น มาครอบครอง ความหมายของมันอีกชั้นหนึ่ง ภาพจำ�ลองของสังคม ในมหาวิ ท ยาลั ย จึ ง มี ห น้ า ที่ ใ นเชิ ง อุ ด มการณ์ ที่ จ ะ สร้างนักศึกษาให้ออกมาเป็นประชาชนในแบบที่รัฐ หรือผู้มีอำ�นาจต้องการ แต่อย่างไรก็ตาม การเข้าไป วิเคราะห์ถึงมายาคติดังกล่าว มิได้หมายความถึงการ ปฏิเสธมายาคติหรือสิ่งที่เป็นอยู่ทั้งหมด แต่การเข้าไป วิเคราะห์มัน ทำ�ให้เราเข้าใจมันมากขึ้นว่ามายาคตินั้น มันกำ�ลังทำ�งานอย่างไร และเมื่อเราเข้าใจมัน เราจะ สามารถใช้วิจารณญาณของเราเองในการพิจารณา มันได้เต็มที่ว่ามันเป็นอย่างไร ความหมายของการ เป็นมนุษย์ เป็นเสรีชน คงมิได้ หมายถึงการยอมรับ หรือการปฏิเสธในทุกสิ่งทุกอย่าง แต่มันควรเป็นการ มีความสามารถที่จะเข้าใจและเลือกพิจารณาบางสิ่ง บางอย่างเพื่อการใช้ชีวิตของเราเองมิใช่หรือ ?
small but matter l issue 03
Alcohol101
การแคะขี้หูด้วยวิชาการศึกษาทั่วไป
ธีรภัทร รื่นศิริ
การแคะขี้หูด้วยวิชาศึกษาทั่วไป การศึกษาทั่วไปหรือเจนเอ็ด (Gen-Ed) เป็นภาพสะท้อนความ ล้มเหลวของการศึกษาไทยอันเกิดจากวัฒนธรรมของประเทศอาณานิคม ผมเรียกวัฒนธรรมนี้ว่าวัฒนธรรมยัดหนังสือใส่มือเด็ก วัฒนธรรมที่ว่าคือการที่เรางมงายตามเจ้าอาณานิคมอเมริกัน ว่าเราควรส่งเสริมให้เยาวชนอ่านหนังสือ สาเหตุที่ผมว่างมงายเพราะผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเราไม่รู้ด้วยซำ�้ ว่าทำ�ไมเยาวชนจึงควรอ่านหนังสือ รู้แต่ว่าเราควรเอาอย่างอารยประเทศ เพื่อไม่ให้ถูกหัวเราะเยาะ รู้แต่ว่าควรคุ้นเคยกับศัพท์เทคนิคและชื่อเฉพาะ บางชื่อ โดยไม่แม้จะระแคะระคายถามว่าความทรงจำ�เหล่านี้มีคุณค่า ตรงไหน
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-42-
Alcohol101
การแคะขี้หูด้วยวิชาการศึกษาทั่วไป
คนไทยถูกหัวเราะเยาะจริง ๆ ครับ ผมรู้จักนักเรียนไทย ในอเมริกาทีไ่ ม่รวู้ า่ พ่อของจอร์จ บุชก็เคยเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ นักเรียนทุนรัฐศาสตร์ที่แยกเพลงแจ๊สกับคลาสสิคไม่ออก และนักศึกษา กฎหมายที่เชื่อทุกอย่างที่ฮิตเลอร์เขียนใน “การต่อสู้ของข้าพเจ้า” การเป็นนักศึกษาไทยในอารยประเทศเป็นเรื่องค่อนข้างน่า อายครับ มีแต่คนพยักเพยิดเห็นใจว่าเรามาจากประเทศด้อยพัฒนา การ ศึกษาตำ�่ จึงไม่รแู้ ม้แต่เรือ่ งพืน้ ฐานทีป่ ญั ญาชนพึงรูแ้ ละขาดวิจารณญาณ ของพลเมืองคุณภาพ ไม่น่าแปลกใจเลยว่าวิชาศึกษาทั่วไปขายดิบขายดีในหมู่ผู้ บริหารที่น่าจะเคยเห็นเรื่องน่าอายหรือเคยปล่อยไก่เองมาแล้ว ปัญหาคือวิชาศึกษาทั่วไปบำ�บัดความน่าอับอายนี้ได้หรือไม่? ผมคิดว่าเราคงเห็นพ้องต้องกันว่าไม่ได้ ซำ�้ร้าย วิชาศึกษา ทั่วไปยังคล้ายกับการแคะหู เหมือนจะเป็นการเยียวยา แต่จริง ๆ แล้ว คือการบ่อนทำ�ลายสุขภาพระยะยาว ยิ่งแคะ หูยิ่งตัน หลักสูตรของการ ศึกษาทั่วไปไม่ได้ทำ�ให้นักศึกษามีความรู้ความสนใจขึ้นมาจริง ๆ กลับ กัน มันคือการบ่อนทำ�ลายความสนใจของนักศึกษาด้วยการโกหกเขา ว่าเขาโง่ หัวของเขาไม่ได้ไปทางนั้น ก็มันจะเรียนรู้เรื่องได้อย่างไรล่ะ ครับ? ให้อาจารย์ประวัติศาสตร์มาสรุปย่อเรื่องราวอันแสนเข้มข้นใน สองนาที ไม่มีนักประวัติศาสตร์ที่ไหนชอบหรอก มีแต่จะงุนงงในเรื่อง ราวที่เต็มไปด้วยช่องโหว่ ให้อาจารย์ปรัชญามาพูดเรื่องภูมิปัญญาคน โบราณที่ห่างไกลตัวแล้วมันจะไปน่าสนใจได้อย่างไร? ปัญหาชีวิตของ คนยุคกรีกโบราณและอินเดียโบราณมันจะไปเหมือนกับยุคเล่นมือถือ ยืนรอรถเมล์ได้อย่างไร? หากไม่เห็นภาพ ลองนึกดูว่าถ้าโรงเรียนสอนทำ�อาหารด้วย การพูดว่า “เราจุดไฟด้วยการรอให้ฟ้าผ่าลงมายังต้นไม้ แล้วเอาเนื้อไป ย่าง นี่คือพื้นฐานที่สำ�คัญ ถ้าเรียนแล้วไม่สนุกก็ไม่เป็นไร แปลว่าคุณไม่ ชอบ” มันจะสมเหตุสมผลหรือไม่? มันจะมีประโยชน์หรือไม่? คนจะ อยากเรียนหรือไม่? แต่ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศิลปะ วรรณคดี เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ที่ปรากฏในเจนเอ็ดล้วนมี ลักษณะเช่นนี้ ราวกับคนที่จงเกลียดจงชังการศึกษานั่งขบคิดร่วมกันว่า เราจะบ่อนทำ�ลายจิตวิญญาณการเรียนรู้ได้อย่างไร หูของนักศึกษา ยิ่งเรียน ยิ่งตัน ยิ่งไม่อยากรับฟัง ยิ่งไม่รับฟัง ก็ยิ่งไม่เห็นคุณค่า ยิ่งไม่เห็นคุณค่าก็ยิ่งไม่อยากเรียน ยิ่งไม่อยากเรียนก็ ยิ่งเลือกแต่วิชาที่มีโอกาสได้เกรดดี ๆ สูง ก็ในเมื่อจำ�ใจต้องเรียนวิชา ไร้ประโยชน์ ก็ขอเสาะหาประโยชน์จากเกรดหรืออย่างน้อยก็ขอให้ได้ -43-
ธีรภัทร รื่นศิริ
เกรดดี ๆ หน่อย ไม่เป็นภาระจนเกินไป ผมวิพากษ์วิจารณ์วิชาศึกษาทั่วไปเสียจนไม่น่าเชื่อว่าตัวเอง ก็จะสอนวิชาตระกูลนี้เช่นกัน นี่แปลว่าผมมือถือสากปากถือศีลใช่หรือ ไม่? ใช่ครับ เฮ้ย! อาจารย์มหาวิทยาลัยก็คือลูกจ้างที่เขาจะไล่ออกเมื่อไหร่ก็ ไม่รู้ ดังนั้นผู้หลักผู้ใหญ่สั่งมาผมก็ต้องน้อมรับบัญชา แต่จิตวิญญาณ ขบถไร้พิษสงของผมคงไม่อาจทนได้หากผมยอมทำ�ตามหน้าที่เพาะ สร้างความเกลียดชังวิชาที่ผมรัก ดังนั้นผมจึงเสาะหาหนทางที่จะเพาะ สร้างความเข้าใจมาแทนที่ความเกลียดชัง ผลลัพธ์ออกมาดีมากครับ เทอมที่แล้วมีคนยี่สิบกว่าคนมา สอบถามอยากลงเรียนวิชาปรัชญาเพิ่มเติม บางคนก็คิดจะเลือกปรัชญา เป็นวิชาเอกวิชาโทเลยด้วยซำ�้ ผมทำ�ได้อย่างไร? ผมบรรยายวิชาปรัชญาเบื้องต้นด้วยทัศนคติที่ว่าผมไม่คู่ควร ได้รับความสนใจจากนักศึกษา ไม่มีแม้แต่สิทธิที่จะเรียกร้องให้พวกเขา มานั่งฟังผมบรรยาย ด้วยเหตุนี้ทุกท่วงท่า ทุกถ้อยคำ� ทุกวินาทีที่ ยังมีใครสักคนนั่งอยู่ในห้อง ผมต้องกลั่นกรองและอุทิศตนเต็มที่ เพื่อ วัตถุประสงค์สามประการ ประการแรก เขาต้องเข้าใจว่าเขากำ�ลังเรียนอะไรอยู่ ประการที่สอง เขาต้องรู้ว่าเขาเรียนมันไปทำ�ไม ประการสุดท้าย เขาต้องรู้ว่าอาจารย์คนนี้กำ�ลังทุ่มเททุกอณู ของความเป็นครู เป็นพี่ และเป็นเพื่อน เพื่อมอบประสบการณ์ ที่ดีที่สุดให้เขา เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสาม ผมไม่คิดว่าผมจะสอนทุกสิ่ง ทุกอย่างที่สอนได้ให้กับเขา ไม่คิดว่าเขาจะต้องมองเห็นภาพรวมของ วิชาอย่างชัดเจน แต่ผมใช้วิธีเสาะหาเนื้อชั้นดีมาหมักเครื่องเทศหอม กรุ่นก่อนจะสาธิตการย่างอย่างพิถีพิถันให้เขาชมดูจนน้ำ�ลายสอ แล้วเรื่องมหัศจรรรย์ก็เกิดขึ้น เมื่อเขาหลายๆคนน้ำ�ลายสอ เพื่อนของเขาที่กำ�ลังเหม่อลอย เล่นโทรศัพท์ อ่านการ์ตูนก็เริ่มหันมา ชมดูด้วยความสนใจก่อนจะนำ�้ลายสอไปตาม ๆ กัน แม้สุดท้ายแล้วบางคนจะเป็นมังสวิรัติ บางคนจะไม่กินเนื้อ นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร หน้าที่ของผมไม่ใช่การแปลงให้ทุกคนกลายเป็น คนรักเนื้อที่ชื่อว่าปรัชญา แต่เป็นการแนะนำ�ให้พวกเขารับรู้ว่ามีอาหาร โอชาทรงคุณค่าชนิดนี้อยู่ในโลก
small but matter l issue 03
Observer
การอ่านนั้นแสนน่าเบื่อ
พีรณัฐ ทวีชลพิสิฐ
การอ่านนั้นแสนน่าเบื่อ เชื่อว่ามิตรสหายผู้รักการอ่าน (โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา) น่าจะเคยเจอสถานการณ์จำ�ลองนี้ B1: คืนนี้ไม่มีการบ้าน ทำ�อะไรดีวะ B2: คิดว่าจะอ่านหนังสืออ่ะ B1: โห ขยันว่ะ มิดเทอมติวให้ด้วยนะ B2: ... หารู้ไม่ว่า B2 ตั้งใจจะอ่านนิยายที่ซื้อจากงานหนังสือ เมื่อสองปีก่อน (ซื้อเยอะมาก อ่านไม่ทัน) ตั ว อย่ า งบทสนทนานี้ ตั ว ผู้ เ ขี ย นเองเคยเผชิ ญ อยู่ หลายครั้ง ชวนให้สงสัยว่า 1.ทำ�ไมการ “อ่านหนังสือ” จึงมักจะ ถูกตีความกลายเป็นการ “อ่านหนังสือเรียน” และ 2.ทำ�ไมการอ่าน หนังสือ (เรียน) จึงได้รับคำ�ชม (ไม่ว่าจะเสแสร้งหรือจริงใจ) ว่าเป็น กิจกรรมคนขยัน ราวกับว่าการอ่านหนังสือ (เรียน) เป็นสิ่งที่น่าเบื่อ และต้องใช้ความพยายาม น่าสงสัยว่าเบื่อเพราะเป็นหนังสือ หรือ เบื่อเพราะเป็นหนังสือเรียน เบื่อเพราะอะไร? ตั้งแต่เมื่อไหร่กันที่การอ่านหนังสือถูกเหมารวมว่าเป็นการอ่าน หนังสือเรียนเท่านั้น ผู้เขียนคิดว่ามีสองปัจจัยหลัก ปัจจัยแรกคือ ภาษาไทย ใช้กริยา “อ่าน” สำ�หรับหนังสือทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน เพื่อศึกษาความรู้จากหนังสือเรียน หรือเป็นการอ่านเพื่อความ บันเทิง ไม่ว่าคุณผู้อ่านจะอ่านหนังสือกลศาสตร์ควอนตัมหรืออ่าน แฮร์รี่ พอตเตอร์ ถ้ามีใครถามว่าทำ�อะไรอยู่ คุณก็จะตอบว่าอ่าน หนังสืออยู่ ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะสามารถใช้คำ�ว่า “เรียน” (study) กับการอ่านหนังสือเรียนได้เพื่อเจาะจงความหมาย ใน ขณะที่คำ�ว่า “อ่าน” (read) ใช้ได้กับหนังสือทั้งสองประเภท เมื่อ คำ�ว่า “อ่าน” ในภาษาไทยสามารถใช้ได้ทั้งสองความหมายจึงอาจ ทำ�ให้เกิดความสับสน
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
ส่วนปัจจัยที่สองคือการถูกพร่ำ�สอนให้ “ตั้งใจเรียน อ่าน หนังสือ ไม่เทีย่ วเล่น” พ่อแม่สอนให้ลกู ทุม่ เทอย่างหนักเพือ่ การเรียน พวกเขาคิดว่าการเรียนหนักทำ�ให้เรียนเก่ง การเรียนเก่งทำ�ให้ได้ อาชีพทีด่ แี ละมัน่ คง เมือ่ โดนพร่�ำ บอกให้ลกู อุทศิ ตัวเข้ากับการศึกษา คำ�ว่า “อ่าน” จึงถูกผูกกับการอ่านหนังสือเรียนมากกว่าการอ่าน เพื่อความบันเทิง ก่อให้เกิดความเคยชินว่า อ่านหนังสือ = อ่าน หนังสือเรียน การอ่านหนังสือนั้นน่าเบื่อ “ใช่ มันเป็นความเชื่อผิด ๆ อ่านหนังสือน่าเบื่อตรงไหน สนุกจะตาย” ผูเ้ ขียนบอกตัวเองเมือ่ ได้อา่ นหัวข้อเรือ่ งตอนทีก่ องบก. แจกงาน แฮร์รี่ พอตเตอร์เอย ฮังเกอร์เกมเอย งานวรรณกรรม พวกนี้ล้วนอ่านเพลินอ่านสนุก หรือจะเป็นหนังสือประเภทสารคดี (non-fiction) อย่างเรื่อง เพศ ของธเนศ วงศ์ยานนาวา หรือ Sapiens: A Brief History of Humankind ของ Yuval Harari ก็ สนุกไม่แพ้กัน แต่เมื่อลองนึกถึงหนังสือที่ใกล้ตัวเข้ามาหน่อยอย่าง หนังสือเรียนที่อ่านช่วงสอบ กลับเริ่มรู้สึกว่ามันไม่สนุก น่าเบื่อ! เพราะอะไรกัน?
-44-
Observer
การอ่านนั้นแสนน่าเบื่อ
พีรณัฐ ทวีชลพิสิฐ
มีค�ำ กล่าวทีว่ า่ “If you find reading boring, you’re not doing it right” ผูเ้ ขียนคิดว่าจริงเลยทีเดียว ถ้าคิดว่าการอ่าน น่าเบือ่ แสดงว่าต้องทำ�อะไรพลาดไปแน่ ๆ ผูเ้ ขียนคิดว่าความสนุก เกิดจากความชอบหรือความเต็มใจทีจ่ ะทำ� ดังนัน้ ถ้าหากผูอ้ า่ นคิด ว่าการอ่านเป็นเรือ่ งน่าเบือ่ อาจจะลองเปลีย่ นประเภทหนังสือทีอ่ า่ น เช่นลองอ่านประเภทไซไฟ คลาสสิค สยองขวัญ หรือ non-fiction สำ�หรับนิยาย ช่วงแรก ๆ หรือช่วงเกริ่นเรื่องเป็นช่วงที่ ค่อนข้างน่าเบื่อ (เมื่อเทียบกับช่วงอื่น) เพราะผู้แต่งต้องบรรยาย ฉากและตัวละคร คุณต้องทนอ่านให้ผ่านช่วงนี้ไปก่อน แต่ถ้า หากอ่านเลยไปไกลแล้วยังรู้สึกเบื่อ เป็นไปได้ว่าหนังสือเล่มนั้นไม่ เหมาะกับคุณผู้อ่าน คุณอาจจะไม่ชอบเพราะประเภทหนังสือหรือ รูปแบบการเขียนของผู้ประพันธ์ จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า “ความชอบและความเต็มใจ ที่จะทำ�” ส่งผลต่อความสนุกในการอ่าน ดังนั้น การอ่านหนังสือ เรียนจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่อ ถ้ามันเป็นเรื่องที่คุณชอบ และมันคง เป็นเรื่องที่น่าเบื่อมากแน่ ๆ ถ้าคุณไม่ชอบเรื่องนั้น เช่นกัน ถ้าเป็น ช่วงสอบปลายภาคและคุณกำ�ลังอ่านหนังสือไม่ทัน การบังคับให้ ตัวเองอ่านจะส่งผลให้คุณรู้สึกไม่สนุกกับการอ่านเช่นกัน บางคนก็ ตะโกนว่า “ไม่อ่านแล้วโว้ยยยยย” พร้อมกับโยนชีทเรียนทิ้ง และ ลุกขึ้นไปทำ�ความสะอาดห้องแทน (ปกติไม่เคยจะทำ�) มายาคติที่ว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องน่าเบื่อจึงเกิดจาก การที่คำ�ว่าอ่านหนังสือถูกผูกไว้กับหนังสือเรียน ซ้ำ�ยังเป็นการอ่าน ที่ไม่เต็มใจ (มากนัก) ภาพมายาคติที่ว่าการอ่านเป็นเรื่องน่าเบื่อจึง ถือกำ�เนิดขึ้น แต่ถ้าหากผู้อ่านลองเลือกอ่านเรื่องที่ถูกใจ ลองอ่าน หนังสือประเภทใหม่ ๆ ผูเ้ ขียนเชือ่ ว่าคุณผูอ้ า่ นจะต้องเจอหนังสือที่ อ่านสนุกแน่นอน (และบางครัง้ .. มันอาจจะเป็นหนังสือเรียนก็ได้)
-45-
small but matter l issue 03
The Mechanic
กิจกรรม = ทำ�งานเป็น?
กิจกรรม = ทำ�งานเป็น ?
ในมหาวิทยาลัย เราเชื่อว่าทุกมหาวิทยาลัยมีระบบ คะแนนกิจกรรม เหตุผลที่เราหาได้ก็คือ เพื่อเป็น “รางวัล” ตอบแทนคนที่ทำ�กิจกรรม และอีกเหตุผลคือเพื่อ “ชักจูง” (แกม บังคับ) ให้คนที่ไม่ชอบหันมาสนใจทำ�กิจกรรมบ้าง ถึงกับต้องให้ คะแนน บางมหาวิทยาลัยถึงกับปรากฏคะแนนนี้ในทรานสคริปต์ ทำ�ไมกิจกรรมถึงสำ�คัญขนาดนั้น? “กิจกรรมทำ�ให้คนทำ�งานเป็น” “เรียนอย่างเดียวไม่มีใครรับเข้าทำ�งาน ต้องทำ�กิจกรรมด้วย”
คำ�พูดเหล่านี้ทุกคนต้องเคยได้ยินแน่ ๆ และคิดว่านี่ เป็นเหตุผลสำ�คัญที่ทำ�ให้มหาวิทยาลัยและสถานศึกษาให้ความ สำ�คัญกับการทำ�กิจกรรม แต่ปัญหาก็คือเรามัวแต่ก้มหน้าก้มตา ทำ�กิจกรรม เพราะแค่มันเป็นกิจกรรมที่นอกจากการเรียน เพื่อให้ มีคะแนนกิจกรรมลงทรานสคริปต์ มีหลักฐานไปประกอบ resume โดยลืมคิดไปว่ากิจกรรมเล่านั้นทำ�ไปเพื่ออะไร มีประโยชน์ต่อใคร และให้ทักษะอะไรเราติดไม่ติดมือกลับมาด้วยหรือไม่
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
“ทักษะการสื่อสารเป็นเรื่องสำ�คัญ การพูดอย่างน่าสนใจและเข้าใจ ง่ายช่วยให้การทำ�งานร่วมกันมีประสิทธิภาพขึ้น และทำ�ให้ลูกค้า เข้าใจเนื้องานที่ซับซ้อน โดยเฉพาะงานด้านเทคโนโลยี ความ สามารถในการอธิบายรายละเอียดของเทคโนโลยีที่ซับซ้อนอาจจะ น่าเบื่อ การสื่อสารที่น่าสนใจจึงมีประโยชน์มาก” - Lonne Jaffe CEO ของบริษัทซอฟต์แวร์ Syncsort “ทำ�การบ้านมาเป็นอย่างดี เข้าใจบริษทั และตำ�แหน่งที่ ตัวเองจะทำ�อย่างลึกซึง้ มีความตัง้ ใจจะทำ�งานในตำ�แหน่งนัน้ จริง ๆ ” - Randy Garutti CEO บริษัทเบอร์เกอร์ Shake Shack นอกจากความเก่งในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ� ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าพิจารณาจากเกรด ยังมีคุณสมบัติอื่น ที่ทำ�ให้ เราเป็นที่ต้องการของบรรดาบริษัท ดูจาก quote ข้างบน สิ่งที่ ผู้ประกอบการต้องการ ก็คือ คนที่พูดรู้เรื่อง เข้าใจหน้าที่ และมี ความตั้งใจ ดูเหมือน “ความสามัคคี” หรือ “ทำ�งานร่วมกับผู้อื่น” ที่คนในมหาวิทยาลัยมักจะหยิบยกมาเป็นจุดประสงค์ของการร่วม กันทำ�กิจกรรมจะไม่ถูกพูดถึง นั่นอาจเป็นเพราะ คนที่ “เข้าใจ หน้าที่” จะเข้าใจได้และมีความรับผิดชอบมากพอที่จะทำ�งานร่วม กับคนอื่น และ “การสื่อสารรู้เรื่อง” ก็จะทำ�ให้การประสานงาน ระหว่างบุคคลเป็นไปอย่างราบลื่น เราไม่อาจปฏิเสธว่ากิจกรรมยอดฮิตในมหาวิทยาลัย อย่างค่ายอาสา เชียร์กีฬา รับน้องต่าง ๆ ให้ประโยชน์ อย่างน้อย ก็ฝึกให้เราสื่อสาร ประสานงานกับคนอื่น อย่างเช่นตอนติดต่อกับ หน่วยงานภายนอก เพื่อขอสปอนเซอร์ ฝึกให้เราทำ�ความเข้าใจ ว่าหน้าที่เราต้องทำ�อะไร คือถ้ามองหาประโยชน์ ยังไงมันก็เจอ แต่ประเด็นคือ ตอนทำ�กิจกรรม เราได้แสวงหาผลประโยชน์พวกนี้ มั้ย ? หรือแค่ทำ� ๆ ไป ให้ได้คะแนน พูดง่าย ๆ ก็คือ จะชอบทำ�กิจกรรมก็ไม่ได้ไร้สาระนะ แต่ใครไม่ทำ�กิจกรรมก็ไม่ผิด ไม่ใช่สิ่งที่ต้องเอามาบลัฟฟ์ เอามา บีบบังคับกัน แต่ วั น นี้ เรามีไอดอลในการทำ�กิจกรรมคนนึงอยาก มาแนะนำ�ให้รู้จัก พี่เขาทำ�โครงการเล็ก ๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาหมา จรจัดในมหาวิทยาลัย ทำ�ให้มันมีที่อยู่เป็นที่ทาง มีสุขภาพดี และ ลดจำ�นวนในระยะยาว ถึงแม้พี่จะจบไปแล้ว แต่โครงการก็ยังอยู่ กิจกรรมของพี่เขายั่งยืนและให้ประสบการณ์ที่มีประโยชน์ในการ สมัครงานด้วย “พีโ่ จ้ ปัณพัทธ์ ช่วยจุลจิตร” นักศึกษาคณะ วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบังเจ้าของโครงการและเพจ “หมาจร ณ ลาดกระบัง” -46-
กิจกรรม = ทำ�งานเป็น ?
The Mechanic
ทำ�ไมอยู่ ๆ พี่ถึงมาสนใจทำ�งานเกี่ยวกับหมาจร?
เริ่มจากพี่เป็นคนที่รักหมามาตั้งแต่เด็ก มีช่วยเหลือหมา เล็ก ๆ น้อย ๆ มาตลอด แต่มีวันนึงที่เป็นจุดเปลี่ยน คือพี่ได้รับ ลูกหมามาเลี้ยงราว ๆ ในช่วงปี 2 ของการเรียนมหาลัย พี่ตั้งชื่อ ให้ว่า ริชชี่ ริชชี่เป็นสุนัขตัวนึงที่พี่รักมากอาจจะเป็นแค่ช่วงเวลา สั้นๆ ที่พี่ได้เลี้ยงริชชี่ เพราะริชชี่ได้จากพี่ไปด้วยความสะเพร่าของ พี่ จนริชชี่โดนหมาใหญ่กัด ทำ�ให้ตอนนั้นพี่เสียใจมาก จนทำ�ให้พี่ คิดว่าทำ�ไหมหมาบางตัวถึงดุ พี่ก็คิดว่าเหตุผลนึงคือหมาจรบาง ตัวคงไม่เคยได้รับความรัก อยากต้องการความรักการเอาใจใส่ ถ้า เรารักและเอาใจใส่ดูแลมันคงทำ�ให้มันดุน้อยลงบ้าง ทำ�ให้พี่เริ่ม หันมาดูแลใส่ใจหมาจรจัดอย่างจริงจัง และเห็นจากการช่วยเหลือ หมาของหลาย ๆ คน ทำ�ให้เราคิดว่าเราก็ต้องทำ�ได้ มีพลังกาย พลังใจพร้อมที่จะทำ� จากทำ�ด้วยตัวเองคนเดียวจนมันพัฒนาเป็น อย่างทุกวันนี้และพยายามพัฒนาไปเรื่อย ๆ โครงการนี้ทำ�กิจกรรมอะไรบ้าง ?
กิจกรรมหลัก คือ 1.การควบคุมประชากรหมาบริเวณสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าลาดกระบังโดยการทำ�หมันหมาตัวเมีย 2.ช่วยเหลือหมาเวลาเจ็บป่วยไม่สบาย 3.ดูแลให้อาหารหมาบริเวณในและรอบ ๆ สถาบัน 4.อาบน้ำ�ให้หมา กิจกรรมต่าง ๆ ล้วนต้องใช้เงิน แล้วโครงการเอา เงินมาจากไหน ? เงินในโครงการมาจากการเปิดเพจ “หมาจร ณ ลาดกระบัง” ทำ�ให้คนรู้จักหมาจรมากขึ้น รู้ว่ามันไม่ได้ดุ น่ากลัวอย่างที่คิด รู้ ว่ามันต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง แล้วก็เปิดรับบริจาคเงิน ผ่านเพจนั้น หลัง ๆ มาก็เริ่มมีการขายเสื้อ โดยมีคนรู้จักที่วาดรูป เป็นมาช่วยออกแบบลาย กำ�ไรจากตรงนี้ก็ให้หมาหมด อ้อ พอเริ่ม รักษาหมาไปนานๆ เราก็เริ่มสนิทกับหมอ ก็ได้ความช่วยเหลือจาก หมอในเรื่องส่วนลด เรื่องวัคซีนที่ต้องใช้ทีละมาก ๆ อะไรแบบนี้ ตอนนีพ ้ โ่ี จ้เรียนจบแล้ว มีวธิ บี ริหารยังไงให้โครงการ หมาจรยังคงอยู่ การส่งต่องานเริ่มจากการมีทั้งรุ่นพี่ รุ่นน้อง และก็เพื่อน คิดว่าถ้าเราจบไปหมาเหล่านี้ใครจะดูแลต่อ ก็ทำ�ให้คิดเปิดแฟน เพจ “หมาจร ณ ลาดกระบัง” เพื่อนำ�เสนอมุม ๆ นึงของความ น่ารักของหมาจรบริเวณรอบ ๆ สถาบัน เพื่อให้คนที่ได้รับสื่อกล้า -47-
ที่จะเล่นกับหมาเหล่านี้ ไม่รังเกียจหมาเหล่านี้ พอเขาเริ่มกล้าเล่น กับหมาเห็นความน่ารักของมันก็เริ่มผูกพัน เริ่มที่อยากจะดูแลหมา จรเอง ด้วยโชคช่วยหรืออะไรก็ตามก่อนจบก็มีน้องโบกับน้องต้น (รุ่นน้องที่มหาวิทยาลัย) มาเป็นหลักทำ�งานต่อ โดยที่เวลาว่างหรือ เสาร์อาทิตย์เราก็ยังไปช่วยดูแล ส่วนการบริหาร ก็ไม่มีอะไรมากก็ เน้นการช่วย ๆ กันทำ�พูดคุยกัน โครงการนี้ให้ประโยชน์อะไรบ้าง? พี่ว่าประโยชน์ของโครงการนี้คงเป็นความสุขที่ได้ทำ�ให้ หมาเหล่านี้ได้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้รับความอบอุ่นที่อาจจะไม่เคยได้ สัมผัส จากที่ได้ฟังคำ�ให้สัมภาษณ์ เราได้รู้เลยว่า โครงการ หมาจรมันมาจากความตั้งใจจริง ๆ ของคนที่อยากจะสร้าง ผลประโยชน์อะไรซักอย่างให้เกิดเป็นรูปเป็นร่าง ประโยชน์ของ โครงการนี้ ที่เห็นได้แน่ ๆ คือ หมาจรในมหาลัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ควบคุมจำ�นวนได้ ไม่เป็นอันตรายกับคนในมหาลัย ซึ่งตรงนี้ทำ�ให้ คนกับหมาอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข เป็นการแก้ปัญหาหมาจร ที่เราคิดว่ายั่งยืนทีเดียว ส่วนประโยชน์ต่อทีมงาน นอกจากความ สุขอย่างที่พี่เขาบอกมา เราเห็นว่า มันคือทักษะการวางแผน การ บริหาร การติดต่อประสานงาน แล้วก็การแก้ปัญหา เราจะเห็นได้ ว่าพี่เขาทำ�การบ้านมาว่าหมาต้องการอะไร มีเป้าหมายชัดเจน แล้วก็ทำ�งานเป็นขั้น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาทีละเปลาะ มีวิธีสื่อสาร ให้คนอื่นรับรู้และสนับสนุนโครงการ สร้าง connection ระหว่าง คนในมหาวิทยาลัย สัตวแพทย์ ให้มีคนมาดูแลโครงการต่อ
แหล่งที่มา : อ้างอิงบทสัมภาษณ์ CEO https://agenda.weforum.org/2015/11/this-is-what-elon-musk-tony-hsieh-andother-successful-business-leaders-ask-job-candidates/?utm_content=buffere751a&utm_medium=social&utm_source=twitter.com&utm_campaign=buffer เพจหมาจร ณ ลาดกระบัง https://www.facebook.com/หมาจร-ณ-ลาดกระบัง -243594525797418/?fref=ts
small but matter l issue 03
วัฒนธรรมขงจื้อและอุปสรรคต่อการเรียนการสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ปรีดา อนันต์
วั ฒ น ธ ร ร ม ข ง จื้ อ แ ล ะ อุ ป ส ร ร ค ต่ อ การเรี ย นการสอน แ บ บ นั ก เ รี ย น เ ป็ น ศู น ย์ ก ลาง
ปัญหา
เป็ น ที่ แ น่ น อนว่ า ในสั ง คมตะวั น ออกซื่ ง มี ร ากฐาน ของลัทธิขงจื้อที่ฝังรากลึก นักเรียนมีความคาดหวังว่าครูคือผู้ ถ่ายทอดวิชาและนักเรียนทำ�หน้าที่รับคำ�สั่ง ตามความเข้าใจและ ประสบการณ์ของผู้เขียนความคาดหวังดังกล่าวสร้างอุปสรรคต่อ การเรียนการสอนแบบที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางดังต่อไปนี้
ข้อมูลพื้นฐาน
1 บรรยากาศในห้องเรียนขาดการถกเถียง และนักเรียน
ก่อนอื่นผู้เขียนขอเริ่มต้นด้วยหลักปรัชญาการเรียนการ สอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลางซึ่งเป็นหลักการย้ายความรับผิด ชอบต่อการเรียนรู้ไปที่นักเรียน นั่นก็คือนักเรียนจะเป็นผู้กำ�หนด เองว่าอยากจะเรียนรู้อะไรโดยอยู่ในภายใต้ของเขตของหัวข้อที่ถูก กำ�หนดจากผู้สอน การวัดผลของการเรียนการสอนแบบนี้จะอยู่ใน ลักษณะการติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อชี้แนะแนวทางการเรียน มากกว่าการวัดที่ตัวผลลัพธ์ ผู้เรียนและผู้สอนทำ�งานร่วมกันใน การสร้างประสบการณ์การเรียนที่ดี การเรียนการสอนลักษณะนี้จึง พึ่งพาความกล้าแสดงออกของนักเรียนพอสมควร ความกล้าแสดง ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรไปแล้ว ความกลัาที่จะตั้งคำ�ถามกับผู้สอน ซึ่งบางครั้งอาจจะรวมถึงการตำ�หนิอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับหัวข้อ และวิธีวัดผลที่เป็นอยู่
2 การวัดผลแบบเปิดหัวข้อเพื่อให้นักเรียนไปค้นคว้า ในสิ่งที่ตัวเองอยากรู้ทำ�ได้ยาก นักเรียนมีความคาดหวัง ว่าจะได้รับคำ�สั่งอย่างชัดเจนว่าต้องทำ�อะไรบ้าง แล้วทำ� เยอะแค่ไหน ถูกต้องแค่ไหน ได้คะแนนเท่าไหร่ ในขณะ ที่การวัดผลแบบที่นักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ ของตัวเองจะดูที่กระบวนการการเรียนรู้เป็นหลัก
คราวนี้เรามาพูดถึงลัทธิขงจื้อกัน จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ อาจจะเป็นหัวข้อที่ใหญ่สำ�หรับถกเถียงในวันหลังได้ แต่สำ�หรับ บทความนี้ผมขอแสดงความเห็นในส่วนที่เกี่ยวกับ การเรียนการ สอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง คำ�สอนของขงจื้อกำ�หนดบทบาท ของผู้เป็นใหญ่และผู้น้อยไว้อย่างชัดเจน ผู้เป็นใหญ่คือผู้ออกคำ�สั่ง และผู้น้อยมีหน้าที่ปฏิบัติตามด้วยความเคารพ นอกจากนี้แล้วคำ� สอนของขงจื้อยังให้ความสำ�คัญต่อการอ่อนน้อมถ่อมตนอีกด้วย โดยถือว่าความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นพื้นฐานสำ�คัญต่อคุณสมบัติที่ ดีอื่นๆ
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
มีความคาดหวังว่าหน้าที่การถ่ายทอดความรู้อยู่ที่ผู้สอน เป็นส่วนใหญ่ สิ่งนี้เป็นอุปสรรคต่อผู้สอนที่พยายามที่จะ แบ่งความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ไปที่นักเรียน นอกจาก นี้แล้วการแสดงออกในห้องเรียนสำ�หรับนักเรียนหลายๆ คนคือการอวดความรู้ซึ่งขัดต่อคุณสมบัติการอ่อนน้อม ถ่อมตน
3 เป็นเรื่องยากที่นักเรียนจะวิพากษ์วิจารณ์การสอน หรือทิศทางการถ่ายทอดวิชาของผู้สอนทั้งนอกและใน ห้องเรียน อันนี้อาจจะเกิดจากเหตุผลแรกก็คือนักเรียน ไม่มีความกล้าที่จะตำ�หนิวิธีการสอนของผู้สอนเพราะ ไม่ใช่บทบาทของผู้เรียนที่นักเรียนเคยปฏิบัติมา และ เหตุ ผ ลที่ ส องอาจจะเป็ น เพราะว่ า การศึ ก ษาในเอเชี ย ตะวันออกไม่ได้เน้นความคิดเชิงวิพากษ์หรือความคิดเชิง วิเคราะห์แต่จะเน้นความสามารถทางเทคนิคเป็นหลัก
-48-
วัฒนธรรมขงจื้อและอุปสรรคต่อการเรียนการสองแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ปรีดา อนันต์
สิ่งที่เราทำ�ได้
เทอมนี้เป็นเทอมที่สี่ที่ผู้เขียนทำ�หน้าที่เป็นอาจารย์ใน ฮ่องกงและได้ลองผิดลองถูกกับวิธีการผลักดันการเรียนการสอน แบบที่นักเรียนเป็นศูนย์กลาง และได้พบว่าเทคนิคดังกล่าวได้ผลดี พอสมควร จัดแบบสอบถามกลางเทอม - การได้รบั การตอบสนองจาก
นักเรียนเป็นส่วนสำ�คัญในการเรียนการสอนแบบนักเรียน เป็นศูนย์กลาง ผูเ้ ขียนพบว่านักเรียนมีความกล้าทีจ่ ะออก ความคิดเห็นในเชิงติตงิ มากกว่าถ้าเขาไม่ตอ้ งแสดงตน ผู้ เขียนใช้แบบสอบถามที่นักเรียนไม่ต้องกรอกชื่อที่นักเรียน ทำ�ทันทีหลังจากสอบกลางภาคเป็นเครือ่ งมือหลักในการหา ข้อมูลตอบสนองจากนักเรียนทัง้ ห้อง ให้การบ้านแบบผสม - การบ้านชิ้นใหญ่ในลักษณะโครง งานจะแบ่งเป็นสองส่วนคือส่วนปิดกับส่วนเปิด ส่วนปิดจะ เป็นส่วนที่นักเรียนทำ�ตามข้อกำ�หนดที่มีอยู่อย่างชัดเจน และเมื่อทำ�ส่วนปิดเสร็จแล้วก็นำ�ไปต่อยอดทำ�ส่วนที่เปิด และขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเอง ด้วยวิธีนี้ นักเรียนมีการบ้านส่วนปิดที่เป็นเครื่องชี้แนะและนอกจาก นี้แล้วการันตีว่าตัวเองจะได้คะแนนอย่างน้อยเท่าใดถ้าทำ� ส่วนปิดได้อย่างถูกต้องเรียบร้อย สอบสัมภาษณ์การบ้านที่นักเรียนทำ�มา นอกจาก การที่นักเรียนส่งการบ้านที่เป็นตัวงานแล้ว ผู้สอนได้ จั ด สอบสั ม ภาษณ์ กั บ นั ก เรี ย นคนต่ อ คนเพื่ อ สอบถาม ถึ ง ความเข้ า ใจของนั ก เรี ย นและให้ นั ก เรี ย นให้ เ หตุ ผ ล ว่ า ทำ � ไมถึ ง เลื อ กที่ จ ะแก้ ปั ญ หาโดยใช้ วิ ธี ที่ ตั ว เอง เลือก ด้วยวิธีนี้ผู้สอนสามารถทำ�ความเข้าใจกับ ปั ญ หาที่ นั ก เรี ย นแต่ ล ะคนมี แ ละให้ ก ารชี้ แ นะแนวทาง การศึ ก ษาเพิ่ ม เติ ม หรื อ แบบฝึ ก หั ด ที่ นั ก เรี ย นสามารถ ทำ�เพิ่มเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ตนเองขาด และ นอกจากนี้ แ ล้ ว ยั ง เป็ น การป้ อ งกั น การลอกการบ้ า น อีกด้วย -49-
นอกจากเทคนิคพวกนี้แล้วของง่าย ๆ อย่างเช่นการ กำ�หนดความคาดหวังและหน้าที่ของผู้สอนอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น และการจัดชั่วโมงให้คำ�ปรึกษาอย่างเพียงพอต่อสัปดาห์ยังมีส่วน ช่วยอีกด้วย
บทสรุปและข้อคิด โดยรวมแล้วผู้เขียนได้รับการตอบสนองที่ดีกับเทคนิค พวกนี้ นักเรียนที่เรียนช้าให้ความเห็นว่าเหมือนเขาได้รับการจูงมือ ให้คิดด้วยตัวเองทีหลัง ส่วนนักเรียนที่เรียนเร็วสามารถกระโดดลง ไปทำ�ในส่วนที่ท้าทายได้อย่างทันที สำ�หรับคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการศึกษาข้อคิดข้อหนึ่ง ที่ผู้สอนอยากฝากไว้ก็คือว่าในหลาย ๆ ครั้งเราอาจจะเจอปัญหา ที่อุปสรรคหลักมาจากวัฒนธรรมและโครงสร้างสังคม ผู้เขียนเชื่อ ว่าปัญหาหลายปัญหาในประเทศเราก็อยู่ในลักษณะนั้น เพราะมี หลาย ๆ ครั้งที่ผู้เขียนได้ยินคำ�พูดว่า “ประเทศเราทำ�แบบนี้ไม่ได้ หรอก” เพื่อเป็นเหตุผลในการยอมแพ้
เกี่ยวกับผู้เขียน
สรณะ นุชอนงค์ ผู้เขียนเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย วิจัยแห่งหนึ่งในฮ่องกงและมีประสบการณ์เกี่ยวกับการศึกษาในประ ออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา ปรีดา อนันต์ คือนามปากกา > s.nutanong@gmail.com / https://www.facebook.com/s.nutanong
small but matter l issue 03
นอกห้องสี่เหลี่ยม
เรียนจบช้า = โง่ ?
เก้า ชีวิต
เรี ย นจบช้ า = โง่ ?
สังคมไทยมักจะตีค่าคนที่เรียนจบช้าว่าโง่ ขี้เกียจกว่าคนอื่น ๆ ที่เรียนมหา’ลัยแล้วเรียนจบตามหลักสูตร (ตามหลักสูตรถ้าคณะทั่วไปก็ 4 ปี ถ้าพวกศิลปะ ครู ก็ 5 ปี แพทย์ก็ 6 ปี) เพราะคิดว่าคนที่เรียนจบช้าเป็นพวกไม่ตั้งใจเรียน หรือมีสติปัญญาไม่เท่ากับคนอื่น ซึ่งนั่นอาจไม่ใช่ ความจริงเสมอไปสำ�หรับทุกคนที่เรียนจบช้า แต่อยู่ที่ว่าจะเลือกทำ�แบบไหนมากกว่า ฉันก็เป็นคนนึงที่เรียนจบช้า และมักถูกตราหน้าว่าเป็น “เด็กเป้อร์” (หมายถึงเด็กที่เรียนจบช้ากว่ากำ�หนด) บางคนก็พูด กับฉันว่า “ไม่เป็นไรเนอะ เรียนเยอะ ๆ ซ้ำ� ๆ จะได้เก่ง” หลาย คนก็ล้อฉันว่าเป็น “เด็กเป้อร์” ซึ่งนั่นไม่ได้ทำ�ให้ฉันรู้สึกดีขึ้นเลย ตรงกันข้าม กลับทำ�ให้ฉันรู้สึกแย่ลง เพราะฉันแทบไม่ได้เรียนซ้ำ� แต่ตอนดรอปก็ไม่ได้เรียนเลย และที่ไม่ได้เรียนเลย ไม่ใช่เพราะว่า ขี้เกียจ แต่เพราะตอบตัวเองไม่ได้ว่าเรียนไปทำ�ไม ชอบเรียนคณะ นี้ สาขานี้ จริงรึเปล่า ถ้าเรียนจบสาขานี้ไปจะทำ�งานอะไร อีกทั้ง ฉันไม่ค่อยชอบการรับน้องที่นี่ด้วย แต่ฉันก็ไม่ค่อยอธิบายให้ใคร ฟังเท่าไหร่ หลังจากคิดอยู่นานและออกไปหาประสบการณ์แล้ว ฉันก็ตัดสินใจเรียนสาขาเดิม เพราะยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร แต่ท้ายที่สุดฉันก็สามารถยอมรับการเป็นเด็กเป้อร์ของ ตัวเองได้ ฉันว่าการดรอปเรียนไม่ใช่เรื่องผิดแปลก หากคุณไม่ ดรอปพร่ำ�เพรื่อและมีเหตุผลที่ตอบตัวเองได้ ถ้าคุณเรียนไปโดย ไม่มีจุดมุ่งหมาย ไม่มีแรงบันดาลใจ หมดไฟในการเรียนชั่วคราว ก็อาจจะดรอปเรียนสักเทอม ออกไปหาประสบการณ์ ออกเดินทาง หางานทำ� เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ แล้วค่อยกลับมาเรียนก็ได้ (ถ้าที่บ้านไม่ว่าอะไร) หลายคนที่ฉันรู้จักก็ทำ�แบบนี้ แล้วเขาก็ กลับมาเล่าประสบการณ์แปลกใหม่มากมาย เป็นทีน่ า่ อิจฉาไม่นอ้ ย
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
เป็นต้นว่าหากคุณอยากหาประสบการณ์และที่บ้านพอจะมีเงิน สนับสนุน หรือคุณหาเงินเองได้ คุณอาจจะสมัครไปเรียน หรือ เป็นอาสาสมัคร หรือทำ�งานต่างประเทศสักปี หรือถ้ามีเงินไม่พอ อาจจะลองขอทุนการศึกษาดูก็ได้ ฉันว่าวัยรุ่นเป็นวัยสับสน แน่นอนว่าฉันเคยผ่านจุดนั้นมาก่อน จุดที่สับสนไม่รู้จะทำ�ไปทำ�ไม แต่ใช่ว่าเราต้องหยุดทุกอย่าง เราอาจจะหยุดไปทางเดิม แต่ไปเริ่ม ทางใหม่ บางคนอาจค้นพบภายหลังว่าคณะที่กำ�ลังเรียนยังไม่ใช่ อาจจะย้ายคณะหรือซิ่ว ก็ยังไม่สาย แต่คนที่มีเหตุผลที่ต้องทนเรียนคณะเดิม ก็ใช่ว่าผลจะ เลวร้ายเสมอไป อย่างน้อยเราก็มีความรู้ทางวิชาชีพติดตัว ให้ได้ ทำ�มาหากินหรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ�วัน หากเราเลือกสิ่งที่ ชอบไม่ได้ ก็ขอให้มีความสุขกับสิ่งที่เลือกให้ได้ หรืออาจอาชีพ เสริมในสิ่งที่ชอบก็ได้ ทักษะต่าง ๆ เราอาจไม่ได้มีแค่ในห้องเรียน และคนจำ�นวนไม่น้อยก็ไม่ได้ทำ�อาชีพตามคณะที่เรียนมา ประเด็นคือไม่ว่าเราจะทำ�อะไร จะจบกี่ปี จะย้ายคณะ จะซิ่ว จะไปต่างประเทศ หาประสบการณ์ หางาน ทำ�กิจกรรม หรือเรียนไม่จบ มันก็คือช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต เป็นความทรงจำ� เป็นการเรียนรู้ จะเลือกทางไหน ก็ขอให้มีความสุขกับมันก็พอ
-50-
เชื่ออย่างที่อยากจะเป็น หรือเป็นอย่างที่อยากจะเชื่อ
วิศว์ ปัญญา
เชื่ออย่างที่อยากจะเป็น หรือ
เป็นอย่างที่อยากจะเชื่อ ก่อนที่จะเดินเข้าห้องสอบ เราจะบอกเพื่อนว่าอย่างไร “โชคดี” หรือ “พยายามเข้านะ” ? คำ�หลังอาจจะฟังดูปร่าแปร่ง สำ�หรับคนไทยสักหน่อย แต่ก็เป็นคำ�ที่เรามักได้ยินในการ์ตูนญี่ปุ่น คำ�นี้มาจากคำ�ญี่ปุ่นที่ว่า “頑張れ (Ganbare)” การเลือกใช้สอง คำ�นี้ สะท้อนวิธีคิดพื้นฐานที่แตกต่างกันอย่างมาก คนที่ใช้คำ�แรก นอกจากจะมีแนวโน้มที่เชื่อโชคชะตาแล้ว ยังสะท้อนความเชื่อ ลึกๆ ว่าทุกอย่างเป็นไปตามบุญตามกรรมที่ทำ�มาแต่ชาติปางก่อน การที่ใครประสบความสำ�เร็จก็จะเป็นว่าชาติก่อนทำ�บุญมามาก แข่งเรือแข่งพายได้ แต่แข่งบุญแข่งวาสนาไม่ได้ ในขณะที่คำ�อีก คำ�หนึง่ สะท้อนความคิดของผูพ้ ดู ว่าทุกอย่างเปลีย่ นแปลงได้หากเรา พยายาม การที่เราเชื่อว่าขีดจำ�กัดของเราถูกกำ�หนดไว้แล้วหรือ ว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงมันได้นั้น ส่งผลอย่างมากต่อการ พัฒนาขีดความสามารถของเราเอง จากทฤษฎีเรื่อง Mindset ของ Prof. Carol S. Dweck (1) คนที่เชื่อว่าทุกอย่างถูกกำ�หนด มาตั้งแต่เกิดเรียกว่า fixed mindset ในขณะที่อีกพวกที่เชื่อใน ความพยายามเรียกว่า growth mindset แนวคิดนี้ถูกบ่มเพาะ มาตั้งแต่ตอนที่เรายังเป็นเด็ก ถ้าเราทำ�อะไรสำ�เร็จแล้ว พ่อ แม่ ครู หรือคนรอบข้างชมว่า “เก่ง” หรือชมความสามารถ เรา ก็จะเติบโตขึ้นมาแบบ fixed mindset แต่ถ้าชมว่า “พยายามได้ ดีมาก” หรือชมความพยายามแล้ว เราก็จะเชื่อมั่นใน growth mindset คนที่เชื่อใน fixed mindset นั้น เมื่อประสบความ สำ�เร็จแล้ว ก็จะไม่เดินหน้าต่อ เพราะกลัวที่จะเสียหน้าหากไม่ ประสบความสำ�เร็จ ในขณะที่เมื่อประสบปัญหาหรืออุปสรรคที่ ยากลำ�บาก ก็จะล้มเลิกความตั้งใจที่จะทำ�ต่อเพื่อที่จะได้มีข้อ แก้ตัวกับตัวเองว่าที่ทำ�ไม่สำ�เร็จเพราะไม่อยากจะเหนื่อยทำ�ต่อ
อ้างอิง (1) https://en.wikipedia.org/wiki/Carol_Dweck (2) https://alumni.stanford.edu/get/page/magazine/article/?article_id=32124
-51-
ในทางกลับกันพวก growth mindset จะมีฉันทะมากกว่าในการที่ จะพยายามทำ�ให้สำ�เร็จ เนื่องจากเชื่อในคุณค่าของความพยายาม ความล้ ม เหลวครั้ ง แล้ ว ครั้ ง เล่ า ถื อ เป็ น โอกาสดี ที่ จ ะได้ เ รี ย นรู้ ได้ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ถ้าเราเชื่อว่าเราทำ�ได้และมุ่งมั่นพยายามทำ� ต่อไป แม้ว่าสุดท้ายอาจจะทำ�ไม่ได้แต่อย่างน้อยตัวเราก็พัฒนาขึ้น จากความพยายามดังกล่าว ในการทดลองหนึ่งที่แบ่งเด็กนักเรียน ประถมที่คิดว่าตัวเองไม่เก่งเลขออกเป็นสองกลุ่ม ทั้งสองกลุ่ม ได้รับการติววิธีการทำ�โจทย์เหมือนกัน แต่ถ้าทำ�โจทย์ไม่ได้ ครูจะบอกนักเรียนในกลุ่มทดลองว่าพวกเขาสามารถทำ�ได้แต่ ให้พยายามให้มากขึ้นหลังจากนั้น ผลการเรียนเลขคณิตกลุ่ม ควบคุ ม ที่ ไ ด้ รั บ การติ ว แต่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ การกระตุ้ น ไม่ เ ปลี่ ย นแปลง ในขณะที่กลุ่มทดลองพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อีกการทดลอง หนึ่ ง กั บ นั ก ศึ ก ษาในหั ว ข้ อ ทั ก ษะการเรี ย นรู้ ก็ ไ ด้ ผ ลอย่ า ง เดียวกัน นักศึกษากลุ่มที่ได้ฟังการบรรยายว่าสมองก็เหมือนกับ กล้ามเนื้อ คือยิ่งใช้ก็จะยิ่งพัฒนาขึ้นนั้น มีพัฒนาการอย่างมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มนักศึกษาที่ฟังบรรยายเกี่ยวกับสมองและความ ทรงจำ� (2) สิ่งที่สำ�คัญคือการกำ�หนดเป้าหมายว่าเป็นการเรียนรู้ หรือเป็นสิ่งที่ทำ�ได้ อีกนัยหนึ่งเราให้ความสำ�คัญกับกระบวนการ หรือผลลัพธ์มากกว่ากัน ถ้าเป้าหมายเป็นการเรียนรู้แล้ว การไม่ประสบความสำ�เร็จคือการไม่ได้เรียนรู้ ไม่ใช่การไม่ได้ ผลลัพธ์ตามต้องการ สิ่งนี้คือแรงขับเคลื่อนให้คนที่เชื่อในการ เรียนรู้สามารถมุมานะในการทำ�งานที่ยากลำ�บากได้ แม้ว่าบาง ครั้งอาจจะเป็นความฝันที่หลายคนมองว่าไกลเกินเอื้อม เพราะ รางวัลของคนกลุ่มนี้คือการเรียนรู้และได้พยายาม “頑張った (Ganbatta)”
small but matter l issue 03
อำ�นาจทางการเมืองของตุ๊ด
ปีกจักรวาล
ความหมายของตุ๊ด
สำ�หรับบทความนี้ “ตุด๊ ” หมายถึง ผูท้ ม่ี เี พศสภาพเป็นเพศชาย แต่มลี กั ษณะการกระทาํ ทีค่ ล้าย เพศหญิงโดยที่ลักษณะที่คล้ายเพศหญิงนั้นจะครอบคลุมไปตั้งแต่ความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ภายในจิตใจที่ลึกที่สุด ของตุด๊ ไปจนถึงลักษณะของการดำ�รงชีวติ อยูท่ ว่ั ไปของตุด๊ ทีท่ ง้ั สามารถสังเกตได้และสังเกตไม่ได้จากภายนอก
ชีวิตในมหาวิทยาลัยของตุ๊ด
ชีวติ ในมหาวิทยาลัยเป็นเหมือน ห้องทดลองขนาดใหญ่ ทีใ่ ช้ทดสอบปฏิกริ ยิ าเคมีในร่างกายของตุด๊ การ ทำ�ปฏิกริ ยิ าต่าง ๆ จะเกิดขึน้ ไม่ได้หากขาดการแลกเปลีย่ นประจุไฟฟ้าจากคนรอบข้างมากมายทีจ่ ะเข้ามาทำ�ให้ตดุ๊ เริม่ รูจ้ กั คุณสมบัตพิ เิ ศษของตนเอง นอกจากโลกในมหาวิทยาลัยของตุด๊ จะเป็นสถานทีท่ ท่ี �ำ ให้ตดุ๊ ได้คน้ หาความเป็น ตัวตนของตัวเองเพิม่ ขึน้ แล้ว โลกในมหาวิทยาลัยยังเป็น สังคมจำ�ลองของโลกแห่งความเป็นจริงทีจ่ ะช่วยเปิดโอกาส ให้ตดุ๊ บางคนได้เริม่ รูจ้ กั สร้างชือ่ เสียงเพือ่ การได้รบั การยอมรับ ทีจ่ ะนำ�ไปสูค่ วามโดดเด่นทีอ่ าจถูกเปรียบเทียบได้ อย่างอัตโนมัตใิ นสายตาของสังคมมหาวิทยาลัย ทีค่ นทีน่ า่ จับตามองเท่านัน้ ทีจ่ ะมีพน้ื ทีย่ นื อยูไ่ ด้อย่างภาคภูมใิ จ ตุด๊ มีมากมายหลากหลายแบบเกินกว่าจะอธิบายครอบคลุมได้หมด แต่ลกั ษณะทีท่ �ำ ให้ตดุ๊ สามารถเข้า มามีบทบาทในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างโดดเด่นในมหาวิทยาลัยได้นน้ั ส่วนหนึง่ มาจากความสามารถในการสร้างเสียง เฮฮาได้อย่างน่าเหลือเชื่อบวกกับความสามารถในจัดการปัญหาที่หลากหลายด้วยวิสัยทัศน์ท่ีกว้างไกลกว่าความ คิดทีเ่ ฉียบแหลมกว่าและสภาพร่างกายทีพ่ ร้อมกว่าคนทัว่ ไป สิง่ เหล่านีเ้ ป็นสิง่ ทีท่ �ำ ให้ตดุ๊ บางคนมีโอกาสได้สมั ผัส บทบาทใหม่ ๆ อย่างการเป็นผูน้ �ำ ในตำ�แหน่งต่าง ๆ ทีส่ �ำ คัญของมหาวิทยาลัยทีซ่ ง่ึ ตุด๊ เหล่านัน้ ต้องซ่อนความ พิเศษของการเป็นตุด๊ เอาไว้ดว้ ยความท้าทายทีไ่ ม่ธรรมดา
หนทางสู่การเป็นผู้นำ�ของตุ๊ด
เมือ่ บทบาทของการได้เป็นผูน้ �ำ มาถึง ก็เหมือนจะต้องมีเงือ่ นไขและกฎเกณฑ์มาผูกพันกับคนที่ เป็นตุด๊ มากขึน้ ด้วยเช่นกัน ตำ�แหน่งใหญ่ ๆ บางตำ�แหน่งอาจยังคงแสดงความรูส้ กึ นึกคิดทีแ่ ท้จริงของตัว เองออกมาได้ดว้ ยความทีเ่ ป็นตำ�แหน่งทีเ่ หมาะสมกับความเป็นตุด๊ โดยเฉพาะ แต่ส�ำ หรับตำ�แหน่งทีเ่ กีย่ วกับ การบริหารจัดการระดับมหาวิทยาลัยทีม่ เี งินผ่านมือเยอะ ๆ ภาพลักษณ์ทด่ี นี น้ั กลับเป็นสิง่ ทีท่ �ำ ให้ความเป็น ตุด๊ เริม่ ละลายหายไปเพือ่ ทำ�ให้เหล่าตุด๊ ได้มาซึง่ ความภาคภูมใิ จ สิทธิพเิ ศษ และความน่าเชือ่ ถือ
การเป็นตุ๊ดทำ�ให้มีความน่าเชื่อถือ น้อยลงได้อย่างไร?
ความน่าเชื่อถือนั้นมาพร้อมกับ การเป็นชายจริงหญิงแท้เท่านั้นหรือ? สังคมควรคาดหวังให้คนที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นคนที่มีลักษณะแบบไหนกันแน่? หรือว่าคนที่เป็นตุ๊ดไม่น่าไว้ใจ? หรือว่าคนที่เป็นชายจริงหญิงแท้เท่านั้น เมือ่ มีความสามารถใน การตัดสินใจ ควบคุม และผลักดัน สิง่ ต่าง ๆ ทีอ่ ยูใ่ นสิง่ แวดล้อมของ อำ�นาจทีต่ ดุ๊ มี บวกกับ การทีจ่ ะต้องเก็บซ่อนตัวตนทีแ่ ท้จริงของตัวเองเอาไว้ นีแ่ หละคือความท้าทาย ระหว่างทีผ่ นู้ �ำ ตุด๊ จะต้องรักษาอำ�นาจของตัวเองต่อไปและมีบทบาทสำ�คัญในสังคมได้โดยไม่จ�ำ เป็นต้องพูด ถึงการเปิดเผยตัวตนของตัวเองต่อสาธารณะ เพือ่ สิง่ ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ก็คอื การได้รบั การยอมรับจากสังคม
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-52-
อำ�นาจทางการเมืองของตุ๊ด
ปีกจักรวาล
หลังจากการเรียนจบของตุ๊ด
หัวข้อทีแ่ ล้วเป็นเพียงกรณีหนึง่ ทีเ่ กีย่ วกับตุด๊ ในมหาวิทยาลัยทีเ่ ข้ามามีบทบาทในการมีอ�ำ นาจจัดการสิง่ ต่าง ๆ ในกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เท่านัน้ นอกจากนีย้ งั มีตดุ๊ อีกมากมายหลายรูปแบบทีป่ รากฏตัวและยังไม่ปรากฏตัวในสังคม แบบหนึง่ ทีน่ า่ สนใจก็คอื ตุด๊ ทีเ่ มือ่ ตอนร่�ำ เรียนใน มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาอืน่ ๆ นัน้ ได้สง่ั สมประสบการณ์ความเป็นหญิงเอาไว้อย่างเปิดเผย แต่เมือ่ จบการศึกษาออกไปสูส่ งั คมทีไ่ ม่ได้มแี ต่ คนคร่�ำ เครียดกับการเรียนหนังสือ การได้มาซึง่ การได้รบั การยอมรับจากสังคมส่วนใหญ่จงึ เป็นสิง่ ทีส่ �ำ คัญกว่า เมือ่ ต้องไปทำ�หน้าทีท่ ส่ี �ำ คัญต่าง ๆ ที่ สังคมได้ให้ความคาดหวังเอาไว้ ตุด๊ ทีแ่ สวงหาความสุขจากการยอมรับจากหน้าทีก่ ารงานทีต่ นเองใฝ่ฝนั จึงต้องทำ�ทุกวิถที างเพือ่ ทําให้ทกุ อย่างดาํ เนิน ไป ตามทีต่ นเองได้วางเอาไว้ หลายคนทำ�สำ�เร็จและได้เติบโตไปเป็นบุคคลทีถ่ กู เรียกว่าสำ�คัญระดับประเทศ แม้วา่ ความเป็นจริงนัน้ คนเหล่านีม้ บี าง อย่างทีเ่ ปิดเผยไม่ได้ทค่ี นในสังคมควรจะเข้าใจได้แล้วว่า เป็นสิง่ ธรรมดา นัน่ ก็คอื การเป็นตุด๊
บทสรุปและการอยู่อย่างมีความหมายของตุ๊ด
ในทุกที่ ทุกองค์กร ทุกหน่วยงาน ทุกชนชัน้ และทุกประเทศต่าง ก็มตี ดุ๊ ทัง้ นัน้ บางทีอ่ าจแสดงออกได้มาก บางทีอ่ าจแสดงออกได้นอ้ ย แต่ไม่ ว่าอย่างไรก็ตามคนเหล่านีก้ จ็ ะยังเป็นส่วนหนึง่ ของทุก ๆ สังคมทีม่ บี ทบาท สำ�คัญสำ�หรับการเป็นมนุษย์ทม่ี ชี วี ติ อยูห่ นึง่ คนอยูด่ ี สำ�หรับคนทุกคนสิง่ ที่ คูค่ วรกับการมีชวี ติ อยูเ่ ป็นคนหนึง่ คนนัน้ คือ
การไม่ลืมว่าตนเองเป็นใครและยืนหยัดไม่ยอมให้ใคร คนอื่นมาลดคุณค่าที่ตัวเองมีไปได้
ส่วนการยอมรับความหลากหลายทางเพศให้ได้น้ันอาจเป็นเรื่อง ยากแต่แน่นอนว่าไม่ใช่เรือ่ งทีเ่ ป็นไปไม่ได้ การเปิดใจอาจเป็นสิง่ หนึง่ ทีส่ �ำ คัญ สำ�หรับการเรียนรู้ท่จี ะอยู่ร่วมกันกับผู้อ่นื ได้อย่างมีความสุขแม้ในวันนี้การเป็น ตุด๊ อาจสร้างความน่าเชือ่ ถือยังไม่ได้มากพอแต่ก็คงไม่ได้
หมายความว่าในอนาคตความคิดเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ ในสังคมจะเป็นอย่างนี้ตลอดไป
เพราะทุกคนแตกต่างกัน และความแตกต่าง จะเป็นสิ่งที่จะช่วยสร้าง ให้เกิดสิ่งใหม่ ที่สามารถเบ่งบาน เอาความสวยงามออกมา สู่สายตาของทุกคนได้ ท้ายที่สุดแล้วใครที่มองไม่เห็นความสวยงามนี้คงจะต้องเสียดายที่ ไม่มโี อกาสได้สมั ผัสบรรยากาศใหม่ ๆ ในสังคมไทยทีอ่ าจเกิดขึน้ เมือ่ ไหร่กไ็ ด้ ในอนาคตข้างหน้า
-53-
small but matter l issue 03
Intro to Logic
ใครเป็นคนพูด ?
พีริยา
ใครเป็นคนพูด ?
“ผู้ที่ ไม่ยินยอมพร้อมอยู่ในใจ ว่าจะสละชีวิตเพื่อรักษาพระเจ้าแผ่นดิน รักษาชาติบ้านเมืองและรักษาศาสนา อันเป็นที่นับถือของตนแล้ว ก็ควรหลบหน้าไปเสียให้พ้น” อ่านข้อความนี้แล้วท่านรู้สึกอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยตรงไหน เพราะอะไร ?
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-54-
Intro to Logic
ใครเป็นคนพูด ?
-55-
พีริยา
ภาพประกอบ small but matter: NisachonP l issue 03
Intro to Logic
ใครเป็นคนพูด ?
พีริยา
ออกตัวก่อน นี่ไม่ใช่ข้อความของผู้เขียน บทความนี้เอง แต่เป็นข้อเสนอเด่นจากบุคคลสำ�คัญ คนหนึ่งของไทย ไม่แน่ใจว่าจะเคยมีคนอ่านเจอมา ก่อนแล้วหรือเปล่า ถ้าท่านเคยอ่านเจอแล้วรู้ว่าใคร พูด ก็ขออภัยที่การเกริ่นเรื่องของเราแป้ก... เอาเป็น ว่า เราจะขอชวนเล่นกับคนที่ยังไม่รู้ว่าโควตนี้ของใคร ก็แล้วกัน ถ้าบอกว่า โควตข้อเสนอให้ประชาชน รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ยิ่งชีพ ข้างบนนี้ เป็นคำ�พูด จากปากของทักษิณ ชินวัตร ตอนปี ’49 ในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราช สมบัติครบ 60 ปี ท่านรู้สึกอย่างไรบ้าง โอเค ลองคิดใหม่ ถ้าโควตนี้ดังมาจากโทร โข่งของสุเทพ เทือกสุบรรณ ตอนการชุมนุมประท้วง มวลมหาประชาชน ปีที่แล้วนี้เอง ท่านพร้อมจะเห็น ด้วยหรือไม่เห็นด้วยเพิ่มขึ้นไหม แล้วถ้าเกิดเราเฉลยว่า... ที่จริงโควตนี้มา จากหนังสือคำ�สอนของพระพุทธทาสภิกขุล่ะ Intro to Logic ฉบับที่แล้วเราได้พูดถึง ตรรกะวิบัติที่เกี่ยวกับข้อมูลข้อเท็จจริงกันไป มาวัน นี้ เราย้ายมาพูดถึงตรรกะวิบัติที่เกี่ยวกับผู้พูดกันบ้าง สาธุชนเอย ขอแนะนำ�ให้ท่านรู้จักกับตรรกะวิบัติซึ่งใช้ กันอย่างแพร่หลายในสังเวียนการเมือง ชื่อว่า “มุ่งตัว บุคคล” (ad hominem) การมุ่งตัวบุคคลหมายถึงว่า เวลามีคนพูดข้อเสนอ หรือข้อถกเถียงอะไร
มาสักอย่างหนึ่ง แทนที่เราจะพิจารณาชั่งน้ำ�หนักตัว เนื้อหาของข้อถกเถียง ดั๊น... หันไปหาทางเอาเรื่อง ของคนพูดมาเล่นแทนซะอย่างงั้น ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะมีใครทำ� กันบ่อย แต่ในความเป็นจริง จิตใจของคนเราอ่อน ไหวมากนะ และง่ายมากเลยที่จะเชื่อฟังคนที่เรารัก ในขณะที่ต่อต้านคนที่เราเกลียด แม้ว่าบางทีจะพูด เหมือน ๆ กันก็ตาม หรือแม้ว่าจะยังไม่ได้ฟังเขาดี ๆ ด้วยซ้ำ�ไป ดังนั้นเจ้าของโควตจึงเป็นอะไรที่มีพลังกับ ใจคนมาก ลองสังเกตดูแคมเปญการกุศลต่าง ๆ หรือ พวกเว็บไซต์แรงบันดาลใจ ก็มักจะเอาโควตมาแปะไว้ ข้างรูปภาพบุคคลสำ�คัญ ดูแล้วชวนอ่าน น่าเชื่อถือยิ่ง ใหญ่ เพราะถ้าเขาเขียนเองเรื่องเดียวกันนี้โดยไม่มีชื่อ คนดัง มวลชนคงจะไม่สนใจเท่าไร (ทั้งนี้พวกโควตที่ มีภาพคนดังประกอบบ่อยครั้งก็มั่ว จนกระทั่ ง มี ค นล้ อ เลี ย นโดยนำ � ภาพ ลินคอล์นมาประกอบโควตปลอมต่าง ๆ เสียดสีนสิ ยั มุง่ ตัวบุคคล เช่น “อย่าเชือ่ ทุกอย่างทีค่ ณุ อ่านบนอินเตอร์เน็ต แค่เพราะมีโควตกับภาพคนแปะอยูข่ า้ ง ๆ” )
ตรรกะวิบัติมุ่งตัวบุคคลก็เล่นกับจิตใจคน เราอย่างนี้ แต่ไปมุ่งที่อคติ สร้างความเกลียดแทนที่ จะเป็นความรัก ส่วนใหญ่แล้วตรรกะวิบัติชนิดนี้จะ เกิดเมื่ออีกฝ่ายเถียงไม่ออก หาเหตุผลดี ๆ มาโต้ไม่ ได้ ก็เลยหาทางชกใต้เข็มขัด แถไปประเด็นอื่นเกี่ยว กับความน่าเชื่อถือของคนพูด หรือบุคลิกลักษณะของ คนพูดแทน ตัวอย่างที่เข้าใจง่าย เช่น เวลาคนป่วยลืม กินยาฆ่าเชื้อ แล้วไปหาหมอ หมอจะดุว่าทำ�ไมกินยา ฆ่าเชื้อไม่ครบ ยาฆ่าเชื้อจำ�เป็นต้องกินติดต่อกันจน หมดแผง หยุดเองไม่ได้ มิฉะนั้นเชื้อจะดื้อยา คนป่วยเลยพูดว่า “ไม่กิน ไม่จริงหรอก หมอ บริษัทยามันจ่ายเงินให้หมอล่ะสิ อยากบังคับ ขายเป็นแผงให้คนเสียเงินซื้อยากินเยอะ ๆ” คือที่ถูกต้องนั้น ถ้าคนป่วยต้องการจะค้าน ก็ต้องหาหลักฐานการแพทย์มาสู้กับหมอว่า ทำ�ไมการ ไม่กินยาฆ่าเชื้อติดต่อกันจนหมดจึงไม่ทำ�ให้เชื้อดื้อยา (เพราะนั่นคือเหตุผลของยาฆ่าเชื้อที่หมอยกมา) แต่ คนป่วยมุ่งไปที่ตัวหมอเอง(ว่าหมอ
ตัวอย่างโควตพร้อมภาพบุคคลสำ�คัญ
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-56-
Intro to Logic
ตรรกะวิบัติมุ่งตัวบุคคล ก็เล่นกับจิตใจคนเรา อย่างนี้ ส่วนใหญ่แล้ว ตรรกะวิบัติชนิดนี้ จะเกิดเมื่ออีกฝ่าย เถียงไม่ออก หาเหตุผลดี ๆ มาโต้ไม่ได้ เลยหาทางชกใต้เข็มขัด
ใครเป็นคนพูด ?
พีริยา
คนนี้ได้สินจ้างจากบริษัทยา แม้จะไม่มีหลักฐานอีก เหมือนกัน) ซึ่งไม่ได้ทำ�ให้ความจริงที่ว่ายาฆ่าเชื้อต้อง กินติดต่อกันจนหมดถูกปฏิเสธได้ จุดสำ�คัญของการมุ่งตัวบุคคลแบบนี้ คือ การ “แปะป้าย” ใส่อีกฝ่ายหนึ่ง ว่ามีจุดประสงค์ไม่ดี เป็นคนเลว ขี้ขลาด โง่ บ้า ฯลฯ จึงไม่ควรที่จะฟังเขา เลยตั้งแต่แรก ไม่ว่าเขาจะพูดอะไรก็ตาม ได้ยินบ่อยมาก เขาเป็นควายแดง เขาเป็น สลิ่มคลั่งเจ้า พอมีป้ายแปะบนตัวเขาแบบนี้แล้ว คน ๆ นี้ก็ไม่เป็นบุคคลที่มีความคิดอ่านอิสระของตัวเองที่ จะมาให้เรารับฟังตัดสินอีกต่อไป แต่กลายเป็นแค่ตัว ละครไร้ชื่อที่รับบทควายแดงหรือสลิ่มคลั่งเจ้าเท่านั้น ทั้งที่เขาอาจจะไม่ได้เห็นด้วยกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแบบ สุดลิ่มทิ่มประตูก็ได้ แค่ว่าเห็นด้วยกับบางอย่าง แต่ กลับโดนจัดเข้าประเภทใดประเภทหนึ่งไปซะแล้ว มีตัวอย่างการแปะป้ายที่เห็นกันบ่อย ๆ เลยในสังคมโซเชียล คือเวลามีคนออกความเห็นอะไร สักอย่าง โดยที่เฟสบุ๊คของเขาอาจจะไม่ได้ขึ้นโปรไฟล์ เป็นรูปตัวเอง หรือไม่ได้ตั้งชื่อเป็นชื่อจริง คนที่มา ค้านก็จะเย้ยว่า “ขนาดชื่อกับหน้าตายังไม่กล้าเปิด เผย หลบอยู่หลังคีย์บอร์ด” กล่าวคือ หันไปโจมตี ลักษณะบัญชีเฟสบุ๊คของคนคนนี้ว่าไม่มีความกล้า แปะป้ายเกรียนขี้ขลาดลงไป แทนที่จะสู้กับข้อคิดเห็น ของเขาตรง ๆ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกัน เขาอาจจะ ทำ�ผิดกฎเฟสบุ๊คจริง แต่นั่นไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของ ความเห็นที่เขาพิมพ์มา นอกจากการแปะป้ า ยบุ ค คลว่ า เป็ น คน ชั่วคนบ้าดังที่เล่ามาแล้ว ตรรกะวิบัติชนิดนี้ก็ ยังแอดวานซ์กว่านั้นได้อีก เพราะสามารถแปะป้าย
บุคคลเข้ากับกลุ่มที่ถูกมองว่าด้อยกว่าหรือไม่น่าฟัง เสียงได้ด้วยล่ะ เช่น คนอาจจะไม่อยากฟังความ เห็นของใครคนใดคนหนึ่ง แค่เพราะว่าเขาเป็นเพศ ที่สาม หรือไม่ต้องการฟังความเห็นของนักวิชาการ มุสลิม แบบนี้เป็นต้น ตั้งแต่ปี 1963 ถึงกับมีการบัญญัติศัพท์ “มุ่งที่ผู้หญิง” ad feminam ก็ตามศัพท์เลยนั่นแหละ คือปฏิเสธความเห็นหรือข้อถกเถียงของบุคคลคนหนึ่ง เพราะเป็นเพศหญิง คุยกันเรื่องนี้แล้วอาจจะงง ๆ เพราะเพศหญิงก็เป็นครึ่งหนึ่งของประชากร ทำ�ไมจะ ถูกปฏิเสธได้ เราคุ ย กั น ผ่ า นตั ว อย่ า งที่ เ พิ่ ง ดั ง ไปเรื่ อ ง หนึ่งดีกว่า อย่างที่ทุกคนรู้ ผู้หญิงมีประจำ�เดือน บาง คนอาจจะทุกเดือน บางคนก็ถี่หรือห่างกว่านั้น เวลามี ประจำ�เดือนก็จะปวดท้องเพราะว่ามดลูกบีบตัว ผู้หญิงปวดท้องก็กินยาแก้ปวด เอาถุงน้ำ� ร้อนประคบ นอนพัก บ่น ๆ ๆ ๆ คร่ำ�ครวญ แล้วถ้าปวดมาก ไม่สบาย เหนื่อยมาก ทำ�ยังไง ผู้หญิงก็ไปหาหมอสิ แล้วหมอก็ถามอาการ ผู้หญิงก็บ่น ๆ ๆ ๆ หมอฟังจบก็ให้ยามาตามที่เห็น ว่าเหมาะสม เสนอแนวทางผ่อนคลาย หรือบางทีก็อุล ตราซาวนด์แล้วเจอเนื้องอกในมดลูก ก็ผ่าตัดออกทิ้ง พวกเนื้องอกนี้เจริญขึ้นใหม่ได้อีก ก็ไปผ่าอีก วงจร การปวดเมนส์ของผู้หญิงก็เป็นแบบนี้เรื่อยมา ปรากฏว่าในยุคหลังนี่เอง การแพทย์เพิ่ง จะมาค้นพบว่า ที่จริงแล้ว 20% ของประชากรหญิงใน โลกมีโรคทางพันธุกรรมชื่อว่า โรคเยื่อบุโพรงมดลูก เจริญผิดที่ (endometriosis) คือเนื้อเยื่อในมดลูกมัน ออกมาโตข้างนอกแทน ทำ�ให้อวัยวะอื่น ๆ เป็นพังผืด ติดกัน ท้องเสีย อาเจียน เป็นเนื้องอกและเจ็บปวด
• http://www.theguardian.com/society/2015/sep/28/im-not-a-hypochondriac-i-have-a-disease-all-these-things-that-are-wrong-with-me- are-real-they-are-endometriosis?CMP=fb_gu • http://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/00497878.2015.1078212 -57small but matter l issue 03
Intro to Logic
ใครเป็นคนพูด ?
พีริยา
เวลามีเพศสัมพันธ์ บางครั้งเนื้อเยื่อกระจายออกไปได้ ถึงปอดและสมอง ในตะวันตกได้มีการออกมายอมรับและ กระตุ้นให้ตระหนักแล้วว่า ที่โรคนี้ไม่เป็นที่รู้จักและ ค้นพบช้าก็เพราะการปฏิเสธคำ�พูดของผู้หญิง พูด ง่าย ๆ ก็คือ หมอ (และคนรอบข้าง) แปะป้ายไปแล้ว ในใจว่า ผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ ทนความเจ็บปวดไม่ ได้ ที่บ่น ๆ ๆ ๆ ก็เพราะแสร้งทำ�สำ�ออย หรือคิด ว่าเป็นอาการทางจิตที่อุปาทานไปเองว่าเจ็บและส่ง ไปรักษากับจิตแพทย์แทน เพราะแทบไม่มีใครนึกเลย ว่าที่ผู้หญิงบ่นกันนักหนานี่ ก็เพราะว่าเจ็บจริง มีโรค อันตรายเกิดขึ้นอยู่จริง ๆ อีกลักษณะหนึ่งที่พบบ่อยเกี่ยวกับการมุ่ง โจมตีตัวบุคคล คือการโต้กลับว่า “ว่าแต่เขาอิเหนา เป็นเอง” หมายถึงการโจมตีว่า ตัวคนพูดมันก็ทำ�แบบ นี้เหมือนกันนั่นแหละ จึงไม่มีสิทธิ์จะไปวิจารณ์ใครได้ เช่น เวลาฝ่ายค้านพูดในสภา พบว่าฝ่าย รัฐบาลมีพิรุธว่าโกงโครงการนั้นโครงการนี้ คนสนับสนุนรัฐบาลก็จะพูดว่า “กล้าพูดเนอะ ตอน ฝ่ายค้านเป็นรัฐบาลมันก็โกงเหมือนกัน” ซึ่งพอสวนแบบนี้ ก็มักจะทำ�ให้อีกฝ่ายสะอึก (ถ้าฝ่าย ค้านก็เคยโกงด้วยจริง) แต่ว่ากันตามเหตุผลแล้ว นั่น ไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่ฝ่ายค้านพูดจะถูกล้ม โอเค ล่ะ ฝ่ายค้านในที่นี้เป็นผู้พูดชนิดปากว่าตาขยิบ แต่ เราจะไม่สนใจตรวจสอบพิรุธโครงการของรัฐบาลหรือ ก็ไม่ใช่ เพราะเนื้อหาเฉพาะประเด็นนี้มีน้ำ�หนัก ไม่ว่า ฝ่ายค้านพูดหรือใครพูดก็สมควรได้รับการตัดสินด้วย เหตุผลเหมือน ๆ กัน อืม พูดถึงฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาลอาจจะเชย ไป ในเมื่อปัจจุบันเราเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลทหารแล้ว
เอาตัวอย่างที่เพิ่งเห็นผ่านตาไปบ้างก็แล้วกัน เร็ว ๆ นี้เอง ตอนอเมริกาวิจารณ์รัฐบาลไทย เรื่องกรณีชาว โรฮิงญา คืนตัวชาวอุยกูร์ ฯลฯ จะเห็นอยู่ตลอดว่าข้อ ตอบโต้จากชาวไทยคือ “อย่างน้อยเราก็ไม่สาระแน เรื่องประเทศอื่นอย่างอเมริกา” “อเมริกาเองก็เคย กดขี่คนดำ�มาก่อน” “ทีอเมริกายังไม่อยากรับผู้อพยพ เม็กซิโกเลย” เอ่อ... ขอโทษนะ ทั้งหมดนี้หันไปขุดคุ้ย ความผิดของอเมริกา แต่ไม่มีใครคิดจะสนใจชาวโรฮิงญากับอุยกูร์เลยหรือ... อันตรายของการมุ่งตัวบุคคลอยู่ตรงนี้ มัน ทำ�ให้ประเด็นต้นเหตุที่กำ�ลังคุยกันมันปลิวหายแว้บ ไปเลย เพราะอีกฝ่ายก็มักจะต้องออกมาแก้เรื่องของ ตัวเอง แทนที่จะได้อภิปรายเรื่องที่ต้องพูด ในขณะที่ ฝ่ายโจมตีตัวบุคคลโห่ร้องกับชัยชนะซึ่งได้จากฝีปาก ไม่ใช่ฝีมือแก้ปัญหาหรือเหตุผลใด ๆ
หมอได้เลย ไม่จำ�เป็นต้องฟังการวินิจฉัยของหมอ ไม่ งั้นหมอดูหมอเดาหมออะไรก็ตรวจโรคเราได้กันหมด บทสนทนาจะเป็นดังนี้ “กินยานี้สามเวลาหลังอาหารนะ แล้ว คราวหน้ามาให้ฉีดยา” “ไม่กิน ไม่ฉีด ไม่เชื่อ คุณไม่ใช่หมอ” แบบนี้โอเคเลยนะ ไม่ต้องเอาหลักฐานสู้ ไม่ได้เป็นตรรกะวิบัติแต่อย่างใด (ก็แน่สิฟะ ใครจะให้ ฉีด) สังคมเราบ่อยครั้งก็ต้องตัดสินแบบนี้ด้วย เพราะ มีคนอ้างตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เยอะแยะ โดยที่อาจจะไม่ได้มีความรู้ตามมาตรฐานจริง แบบนี้ การมุ่งตัวบุคคลแทนข้อเสนอของเขาไม่ผิดอะไร มีกรณีที่สำ�คัญด้านการเมืองการปกครอง ที่อยู่ในประเด็นนี้ คือความประพฤติของผู้นำ�ประเทศ โดยทั่วไปแล้ว ผู้นำ�มักจะประกาศตัวว่ามีความ สามารถ ซื่อตรง จริงใจ คือเป็นบุคคลที่ประชาชน สามารถเชื่อถือไว้วางใจได้สนิท ถึงได้ฝากอำ�นาจการ ปกครองรัฐไว้ให้เขาใช้ แต่ถ้าเกิดเราพบว่าผู้นำ�คนนี้โกหกเรื่องใด เรื่องหนึ่งขึ้นมาล่ะ เรื่องอื่น ๆ ของเขายังจะน่าเชื่อ ถือได้อยู่ไหม เวลาเขาพูดอะไร เราควรจะใส่ใจตัดสิน ด้วยมาตรฐานเดียวกับที่เราจะตัดสินคนทั่วไปหรือ เปล่า ในอเมริกามีเหตุอื้อฉาวทำ�นองนี้อยู่ 3 ครั้งที่คล้ายคลึงกัน คือผู้นำ�ถูกจับได้ว่าไม่ซื่อสัตย์ กับภรรยาของตัวเอง ครั้งแรกอดีตข้าหลวงนิวยอร์ก เอเลียต สปิตเซอร์ ถูกจับได้ว่าซื้อโสเภณี ครั้งที่ 2 อดีตรัฐมนตรีจิมมี่ สแวกการ์ต มีคนเห็นว่าเข้า โรงแรมกับโสเภณี และครั้งที่ 3 อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน เป็นชู้กับเด็กฝึกงานทำ�เนียบขาว
อย่างไรก็ตาม คำ�พูดทุกคำ�มี “เสียง” ไม่ ได้ออกมาลอย ๆ แต่ต้องออกจากปากใครคนหนึ่ง เป็นผลผลิตของมนุษย์คนหนึง่ การไม่สนใจว่าใครเป็น คนพูดเสียเลยจะดีหรือ โดยส่วนตัวแล้ว เราคิดว่าจะไม่สนใจเลย ก็ไม่ถูก แต่ว่าสัดส่วนความสนใจนั้นต้องไม่ใหญ่โต มโหฬารจนบังเนือ้ หาของข้อถกเถียงนัน้ ยกเว้นในกรณี ที่เรากำ�ลังคุยกันเรื่องคุณสมบัติ นิสัย บุคลิก ลักษณะ หรือคุณธรรมของบุคคลนั้น ๆ จริง ๆ ถ้ า เรากำ � ลั ง คุ ย เรื่ อ งที่ ต้ อ งอาศั ย ความรู้ ความเชี่ยวชาญของใครคนหนึ่ง ใช้ตัวอย่างคล้ายเดิม ก็ได้ คือเราป่วยแล้วไปหาหมอ แต่หนนี้ ปรากฏว่า หมอคลินิกนั้นไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ แน่นอนเรา สามารถตั้งคำ�ถามมุ่งที่คุณสมบัติของ
http://www.scientificamerican.com/article/character-attack/
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-58-
Intro to Logic
ใครเป็นคนพูด ?
พีริยา
ในไทย เรื่องแบบนี้อาจจะดูธรรมดา ๆ แต่สำ�หรับตะวันตก เป็นเรื่องใหญ่ที่โดนประณาม อย่างเละเทะมาก เหตุผลไม่ใช่เพราะนอกใจภรรยา แต่เหตุผลเพราะแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นคนโกหก หลอกลวง ขอให้ท่านลองพิจารณาดู คนประเภท ไหนกันที่สามารถโกหกคู่ชีวิตที่อยู่บ้านด้วยกันทุกวัน ได้ โกหกญาติ ๆ โกหกเพื่อนทุกคนที่รู้จักได้หน้าตา เฉย ไม่เคยมีใครระแคะระคายว่านอกใจ คนอเมริกันเห็นว่านัยยะคือ คนที่โกหก เรื่องใหญ่ขนาดนี้ (ไม่ใช่โกหกแบบตามมารยาทหรือ ถนอมจิตใจ แต่เป็นโกหกเพื่อปกปิดความผิด) ต่อคน ที่ตนเองรักและใกล้ชิดได้ ก็แปลว่าเขาสามารถโกหก เรื่องใหญ่อื่น ๆ เกี่ยวกับคุณสมบัติของเขา หรือเกี่ยว กับกิจการบ้านเมือง ต่อประชาชน ซึ่งเขาคงจะรัก น้อยกว่าคู่ชีวิต ญาติ หรือเพื่อนรอบตัวของเขาเสียอีก ความชอบธรรมของผู้นำ�เหล่านี้จึงลดน้อยลงไป จริงอยู่ การที่คนเราโกหกเรื่องหนึ่ง ไม่ ได้แปลว่าต้องโกหกทุก ๆ เรื่อง จะตัดสินไปเลยที เดียวว่าทุกความเห็นจากปากคนที่เคยโกหกหนึ่งครั้ง เท่ากับโกหกทุกครั้ง ก็คงผิดความจริงเกินไป
ในกรณีนี้ สิ่งที่ปฏิเสธได้ด้วยการมุ่งตัวบุคคลโดยไม่ เป็นตรรกะวิบัติ จึงมีเพียงคำ�ประกาศของผู้นำ�คน นั้นที่ว่าเขาเป็นคนซื่อตรง ไว้วางใจได้ เพราะความ ประพฤติของเขาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเขาไม่เลิศเลอ อย่างที่อ้าง การมุ่งตัวบุคคลตรงนี้เป็นข้อโต้แย้งได้ เลยเพราะเราก็กำ�ลังเถียงเรื่องตัวบุคคล ส่วนที่เหลือซึ่งเชื่อมโยงกับความซื่อตรง นั้น เราคิดว่าพอรับฟังได้อยู่ แต่ก็เป็นที่น่าสงสัย เช่น ว่า ผู้นำ�บอกว่าทำ�โครงการนี้ด้วยเจตนานี้ ประชาชน ก็พอจะสงสัยได้ว่าเจตนาที่เขาพูดอาจจะไม่จริง ด้วยเหตุที่รู้ว่าเขาหลอกลวงคนได้เก่ง แม้ว่าเขาจะ ทำ�โครงการสำ�เร็จจริง ๆ ดังนี้เป็นต้น การปฏิเสธ ทั้งหมดของความสามารถและข้อเสนอจากผู้นำ�คนนี้ เลยอาจจะเกินไป แต่จำ�เป็นต้องมีฝ่ายตรวจสอบเขา อย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้ความไม่ซื่อตรงในนิสัยเขาสบ โอกาสแสดงตัว เรียกว่าในแง่หนึ่งเขาก็ถูกแปะป้ายเด็ก เลี้ยงแกะไปแล้วแหละนะในสายตาสังคม เพราะ ว่าคำ�พูดของคนเราต้องตั้งบนพื้นฐานความซื่อตรง ความจริง โดยเฉพาะคนที่ต้องรับผิดชอบจัดการอะไร หลายอย่างเช่นผู้นำ�ประเทศ เมื่อมันต้องสงสัย
ว่า “ไม่จริง” เสียแล้ว คนฟังก็ไม่รู้จะเสียเวลาตัดสิน เนื้อหาคำ�พูดเขาทำ�ไม ตรรกะเหตุผลไม่เสวนากับ ความหลอกลวง สุดท้ายนี้ ขอย้อนกลับไปที่โควตเปิดเรื่อง ของเราอีกครั้ง “ผู้ที่ไม่ยินยอมพร้อมอยู่ในใจว่าจะ สละชีวิตเพื่อรักษาพระเจ้าแผ่นดิน รักษาชาติบ้าน เมือง และรักษาศาสนา อันเป็นที่นับถือของตนแล้ว ก็ควรหลบหน้าไปเสียให้พ้น” เพื่อไม่ให้คาใจ ว่าสรุปแล้วนี่มันเป็นโควต ของทักษิณ สุเทพ หรือพุทธทาส กันแน่ ก็ขอเฉลย เลยก่อนจบฉบับนี้ว่า โควตนี้ไม่ใช่ของทั้งสามคนนั้น หรอก แต่เป็นพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) จากพระราชนิพนธ์ เรื่องปลุกใจเสือป่า ก็หวังว่ามาถึงจุดนี้ เราทุกคนจะ สามารถลดความหวั่นไหวที่เกิดจากเจ้าของโควตไป ได้บ้าง และตัดสินกันที่เนื้อหามากกว่านะ
ปลุกใจเสือป่า. (พ.ศ.2457). พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณ พิพรรฒธนาก หน้า 74
-59-
small but matter l issue 03
เทียนหรือตะเกียงเจ้าพายุ
Kittipat A.
ความรัก
มันเกิดขึน้ ได้กบั ทุกวัย แน่นอนไม่เว้นแม้แต่เด็ก น้อยวัยกระเตาะทีม่ คี ลิปวิดโี อแย่งแฟนกันในสังคมออนไลน์ทกุ วัน ปัญหา ท้องในวัยเรียนและการทำ�แท้ง หรือแม้แต่นิยายรักสามเส้าจากโครงเรื่องจริง ที่โพสต์เล่าเรื่องราวกันราวกับว่าเป็นเรื่องเสียวในสังคมออนไลน์ชื่อดัง ทำ�ให้ ผู้ใหญ่มักจะบอกกับเราเสมอว่า่ “รักในวัยเรียนเหมือนจุดเทียนกลางสายฝนนะลูกจ๋า มันไม่มั่นคงหรอก เดี๋ยวก็ต้องเลิกกันไป” ที่ผู้ใหญ่บอกแบบนี้ก็เพราะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นข้างต้นนั้น ผู้ใหญ่คงไม่ อยากให้มันเกิดกับลูกหลานตัวเองแน่ๆ “แต่รักในวัยเรียนเหมือนจุดเทียนกลางสายฝนจริงหรอวะ???” ไอ้ตัวผมก็ยังไม่พ้นช่วงวัยรุ่น (ตอนปลาย) มาเท่าไหร่ คงยังไม่มี ประสบการณ์มากพอที่จะชี้แน่ชัดว่ามันเป็นการจุดเทียนกลางสายฝนหรือ การจุดตะเกียงเจ้าพายุกันแน่ แต่ด้วยการยึดถือในความมั่นคงของรักแท้ (อ่านดี ๆ ไม่ใช่รักแร้และอย่าเพิ่งอ้วกกันไปก่อน) ทำ�ให้ผมเชื่อว่า รักใน วัยเรียนเป็นสิ่งที่มั่นคงและยั่งยืนได้ แล้วไอ้เรื่องเทียนกลางฝนนี่ก็แค่นิยาย หลอกเด็กเพื่อกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้เท่านั้น
แล้ว
ทำ�ไมผมถึงบอกว่ารักในวัยเรียนถึงมั่นคงและยั่งยืน ได้ เหตุผลที่ว่าคือ ผมคิดว่า คำ�ว่า “รักในวัยเรียนเหมือนจุดเทียนกลาง สายฝน” เป็นแค่ stereotype เป็นแค่ความเชื่อแบบเหมารวมชุดหนึ่งเท่านั้น เพราะวัยรุ่นวัยเรียนเป็นวัยคึกคะนองและเสาะแสวงหาเรื่องต่าง ๆ ด้วย ความอยากรู้อยากเห็น แล้วพยายามตอบคำ�ถามในสิ่งที่ตัวเองอยากรู้ แต่นั่น ไม่ได้หมายถึงการได้รับสนับสนุนหรือได้รับคำ�ปรึกษาจากคนรอบข้างเพื่อ ให้ได้คำ�ตอบที่ดีและเหมาะสม นอกจากนี้ในบางครั้งพวกเขาต้องแก้ปัญหา ด้วยตัวเอง เหมือนคนตาบอดเดินหาทางออกในเขาวงกต ยกตัวอย่างเช่น สาวน้อยน่ารักตัวเล็กชั้นมัธยมต้นและเป็นที่หมายปองของหนุ่ม ๆ ใน โรงเรียนเกิดไปปิ๊งกับรุ่นพี่นักบาสสุดหล่อจากมัธยมปลาย ด้วยความที่เป็น เด็กในโอวาทของบุพการีเสมอจึงรายงานว่าตนจะตกลงคบหากับรุ่นพี่ใน ฐานะคนรัก ทางบุพการีรู้ก็เดือดพล่านราวกับว่าดอกบัวน้อย ๆ จะบอบช้ำ� และกลีบจะร่วงโรย จึงสั่งห้ามไม่ให้คบหากันนับเป็นจุดจบของความรักที่ยัง ไม่ได้แม้แต่จะเริ่มด้วยซำ�้ แสดงว่า หากพ่อแม่ไม่สนับสนุนความรักในวัยเรียน ก็สรุปได้ว่ามันเป็นแค่
การจุดเทียนด้วยไม้ขีดไฟเปียกนำ�้ ก็เท่านั้น
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-60-
เทียนหรือตะเกียงเจ้าพายุ
Kittipat A.
แต
่หากเรื่องราวนี้ไม่ได้ถูกบอกกล่าวให้บุพการีฟัง ปัญหาที่จะ เกิดขึ้นตามมาก็หนักหนาไม่ใช่น้อย ด้วยความด้อยประสบการณ์ของเด็กทั้ง สอง และความล้มเหลวของระบบการศึกษาวิชาเพศศึกษาของประเทศสาร ขัณฑ์นี้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการตั้งท้องในวัยเรียน ปัญหาการแย่งชิงผู้ชาย ราวกับเป็นแหวนจาก ”มอดอร์” ในเรื่องลอร์ดออฟเดอะริงแล้ว ปัญหาที่เกิด ขึ้นนี้อาจทำ�ให้ต้องเลิกรากันไป ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า ต่อให้หลบพ่อแม่มาคบกับหนุ่มสุดหล่อแล้ว ความเป็นไปได้ก็แค่เพิ่มมาเป็น
จุดเทียนด้วยไฟแช็คที่เปียกนำ�้
ที่อาจจะต้องจุดกันหลายทีกว่าไฟจะติด
..ตอนนี้ คุณยังคิดว่ารักในวัยเรียนเหมือนจุดเทียนกลางสายฝนอยู่
แล้วถ้าเรื่องเป็นไปในแบบที่พ่อและแม่เข้าใจวัยรุ่น และเป็นพ่อแม่ร่วมสมัย ไม่ยึดติดล่ะ ?
.
หรือมันกลายเป็นตะเกียงเจ้าพายุกันแน่ ในเมื่อพ่อและแม่ ต่างก็เป็น ทั้งน้ำ�มันก๊าดและตะเกียงป้องกันไม่ให้ไฟแห่งความรักนี้ดับลง....
ถ้าพ่อและแม่เป็นที่ปรึกษาที่ดี เข้าใจและพร้อมที่จะกอดลูกอยู่เสมอ?
ถึงตอนนี้คุณจะมีรักแบบเทียนกลางฝน แต่หากคุณมีความพยายามมากพอ
ถ้าเป็นพ่อแม่ที่พร้อมที่จะให้อภัยไม่ว่าจะเกิดเรื่องอะไร เพราะมันไม่ใช่จุดสิ้นสุดของชีวิตล่ะ?
คุณและคนรักของคุณ ก็เป็นทั้งน้ำ�มันก๊าดและตะเกียงของกันและกัน
ถ้าเป็นพ่อและแม่ที่คอยสั่งสอนเรื่องการธรรมชาติของมนุษย์ และความไม่แน่นอนทั้งหมดล่ะ?
เพื่อกลบเสียงก่นด่าของคนรอบข้างได้เหมือนกัน
ถ้าเป็นพ่อและแม่ที่บอกลูกเสมอว่าการประคองชีวิตคู่ ควบคู่ไปกับการรับผิดชอบหน้าที่ทำ�อย่างไรล่ะ?
-61-
.. แด่ความรักในวัยเรียนทุกคู่ .. small but matter l issue 03
small interview
อ.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
ภาพจาก: http://waymagazine.org/ดร-สมเกียรติ-aec-2015/
“ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์์” หลังหมดคาบเรียนตอนเช้า พวกเราสองคนนั่งแท็กซี่จากจุฬาฯ ไปแถวรามคำ�แหง
39 ย่างเท้าเข้าไปเจอตึกสีขาวที่มีคำ�โปรยอย่างเท่อยู่ข้างบน “สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย” เราแลกบัตรกด ลิฟท์ขึ้นตึก ความรู้สึกตื่นเต้นเริ่มก่อกวนช่องท้อง วันนี้เราเดินทางมาสัมภาษณ์ อ.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เรารู้ว่า อาจารย์เป็นรุ่นพี่ที่คณะวิศวฯ แถมยังเรียนวิศวฯ จนจบปริญญาเอก แต่ตอนนี้อาจารย์มาเป็นประธานสถาบันวิจัยเชิง นโยบายที่คนรู้จักกันทั่วไปในชื่อ TDRI สถาบันวิจัยที่เต็มไปด้วย infographics บ่งบอกถึงความพยายามจะสื่อสารกับ สามัญชนคนไม่วิชาการ เราพกความสงสัยมาเต็มกระเป๋าเป้ คนที่ทำ�งานเชิงนโยบายจะคิดอย่างไรกับการขับเคลื่อนจากข้างล่าง (BOTTOM-UP) เขาจะเห็นว่ามันสำ�คัญน้อยกว่าไหม สมัยเรียนมหา’ลัย อาจารย์ใช้ชีวิตอย่างไร เป็นยังไงมายังไงถึง มาเดินเส้นทางสายนี้หลังจากจบวิศวฯ ด้วยคะแนนสูงลิ่ว นาฬิกาบอกว่าบ่ายสองโมงห้านาที เลขาฯ อาจารย์บอกให้ เราเข้าไปรอในห้องประชุม และรออาจารย์สักพัก...
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-62-
สัมภาษณ์: กชกร ความเจริญ/ I_was_impressed_by_kindness
เรียบเรียง: กชกร ความเจริญ ในเรือ่ งงาน ตอนนีอ้ าจารย์กำ�ลัง ทำ�อะไรอยู่
“
งานแรกคือทำ�วิจัย ทำ�โปรเจ็กต์ ซึ่ง ส่วนใหญ่ไม่มีเวลามาเขียนงานเองเท่าไหร่แล้ว ให้ไอเดียแล้วให้นักวิจัยในทีมไปทำ�กันมา ผม คอมเม้นต์ แล้วก็ช่วยพรีเซนต์ให้ กลายเป็นว่า เป็นนักแสดง ข้างหลังเขาผลิตบทให้ ทำ�เอง ไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ตอนนี้ครับ เพราะมันไม่มี เวลา เป็นหัวหน้าในนามเยอะ ลูกน้องทำ� ลูก น้องก็ไม่ยอมออกหน้า นี่กลุ้มใจอยู่ อยากจะ ดันลูกน้องมาออกหน้าเยอะ ๆ ลูกน้องเห็นว่า เรามีอาวุโส พูดแล้วคนเกรงใจ ก็ดันเราไปพูด เรื่อยเลย ผมพยายามจะแก้อยู่
ถ้าวิจัยโดยใช้ความรู้ เป็นนโยบายวิจัย ที่ดี... มันจะทำ�ให้ของดี ๆ เกิดขึ้น ของไม่ดีไม่เกิดขึ้น แล้วก็-ทำ�ให้ประชาชนเข้าใจว่านโยบายที่ดีเป็น ยังไง เพราะว่าถ้าคนเข้าใจไม่ถูก นโยบายไม่ดีจะเกิดขึ้นมาเยอะ
”
อีกเรือ่ งนึงคือบริหาร ทำ�ยังไงให้ TDRI เป็นประโยชน์ตอ่ สังคมมากขึน้ ซึง่ มันก็เกีย่ วกับ วิจยั นะครับ แต่มนั ก็มงี านหลังบ้านเยอะด้วย ก็ คือทำ�ยังไงเรือ่ งบุคลากร recriut คนให้ได้ดี ๆ ทำ�ให้คนทีท่ �ำ งานดี ๆ อยูแ่ ล้วมีความสุขอะไร แบบนี้ เป็นงานทีไ่ ม่ถนัดและไม่มคี วามรูม้ าก่อน ก็ได้เปิดหูเปิดตาตัวเองนะครับ เรื่องบุคลากรนี่เรื่องใหญ่เลย เพราะ ถ้าสถาบันวิจัยไม่มีบุคคลากรก็คือไม่มีอะไร เลย สถาบันวิจัยอย่างงี้ จะไปได้ไปไม่ได้อยู่ ที่ recruit คนเก่งได้มั๊ย ทำ�ยังไงให้คนเก่ง ๆ อยากมาทำ�งานกับเรา มาอยู่แล้วมีความสุข เห็นอนาคต สร้าง impact ให้กับประเทศได้ นี่ คืองานอันนึง อีกอันนึงก็คือ มีเพื่อนักวิจัยที่อยู่ ข้างในนี้ทำ�งานดี ๆ ออกมาเยอะ ทำ�ยังไงให้ งานตัวนี้ออกมาสู่การปฏิบัติจริง ประสานกับ สารพัดหน่วยงาน คนนั้นให้ไปประชุมนี่ คนนี้ ให้ไปประชุมนั่น ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ครับ มีแต่คนสั่งว่าให้ไปไหน ไปไหน (หัวเราะ) เนี่ยครับ งานใหญ่ ๆ มีแค่นี้
-63-
small but matter l issue 03
small interview
อ.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
จุ ด ประสงค์ ข องงานวิ จั ย ที่ สังคมอาจจะสนใจ เป็นวิจัยที่ไม่ได้ทำ�ปีสองปี อาจารย์ทำ�โครงการวิจยั หลาย ๆ แต่ทำ�เดือนสองเดือน อะไรแบบนี้ครับ พวกนี้ อาจารย์ทำ�คืออะไร ก็มี เพือ่ ให้งานตอบโจทย์ที่มันต้องรีบแก้ปัญหา เรื่องที่นา่ สนใจ เช่น การปฏิรูป การศึกษา อาจารย์มีวิธีเผยแพร่ งานวิจัยนโยบาย จุดประสงค์คือทำ� แล้ ว ก็ มี วิ จั ย ประเภทที่ ว่ า เราคิ ด ว่ า ให้ สิ่ ง เหล่ า นี้ อ อกไปสู่ สั ง คมได้ ยังไงให้มีคนเอาความรู้ ไปแก้ปัญหาประเทศ เรื่องอะไรสำ�คัญแต่ไม่มีคนมาจ้าง เราก็ไปหา อย่างไรคะ ให้ได้ การพัฒนาประเทศที่มันมีปัญหาสารพัด เลย ทำ�ยังไงให้การกำ�หนดนโยบายที่จะแก้ ปัญหานี้มันมาจากความรู้ ฟังดูก็ตรงไปตรง มา แต่นโยบายจำ�นวนมากไม่ได้กำ�หนดมา จากความรู้ แต่กำ�หนดมาจากการเดา ไอ้นั่น คงจะดี ไอ้นี่คงจะดีโดยไม่มีข้อมูล ไม่มีทฤษฎี รองรับ พอทำ�แล้วก็เสียหายเยอะ หรือมาจาก ผลประโยชน์ คือมีคนนู้นอยากได้โน่นได้นี่ก็ไป วิ่งเต้นรัฐ ทุกรัฐบาลนะครับ ว่าให้ออกนโยบาย อย่างโน้นอย่างนี้ ตนเองจะได้ได้ประโยชน์ ถ้า วิจัยโดยใช้ความรู้ เป็นนโยบายวิจัยที่ดี มันจะ ลดไอ้สองตัวนี้ มันจะทำ�ให้ของดี ๆ เกิดขึ้น ของไม่ดีไม่เกิดขึ้น แล้วก็--ทำ�ให้ประชาชน เข้าใจว่านโยบายที่ดีเป็นยังไง เพราะว่าถ้าคน เข้ า ใจไม่ ถู ก นโยบายไม่ ดี จ ะเกิ ด ขึ้ น มาเยอะ เช่น คนเข้าใจว่ารัฐต้องมาอุ้มประชาชนทุก เรื่อง ทุกเรื่อง คนก็จะไม่คิดทำ�เอง อ้าว ให้รัฐ ประกันราคาข้าว ให้รัฐแทรกแทรงราคาสินค้า ให้ รั ฐ ทำ � นู่ น ทำ � นี่ ใ นบางอย่ า งที่ รั ฐ ก็ ทำ � ไม่ ไ ด้ ภาครัฐก็โตเอา โตเอา โดยที่ไม่มีความสามารถ งานวิจัยนโยบายก็เหมือนชื่อ TDRI “สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย”
หัวข้อทีเ่ ลือกมาทำ�วิจยั อาจารย์ เป็นคนเลือกเองรึเปล่าคะ มันมีวจิ ยั สองแบบ วิจยั แบบนึงก็คอื คนที่เขาอยากเห็นเรื่องอะไรได้รับการแก้ปัญหา เช่น หน่วยงานรัฐ องค์กรระหว่างประเทศ เขา ก็จะบอกว่ามีโครงการนัน้ โครงการนี้ เชิญเรา เข้าไปร่วมแข่งขันทำ�ข้อเสนอเข้าไป แล้วก็มวี จิ ยั ย่อย ๆ นะครับ ทีธ่ รุ กิจอาจจะสนใจ ประชาชน
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
แหล่งทุนอีกแบบนึงมา ซึ่งก็จะเป็นโครงการ ที่เป็นโจทย์ใหญ่ ๆ ของประเทศ พอเป็น โจทย์ใหญ่ของประเทศ มันก็ไม่มีกระทรวง ใดกระทรวงหนึ่งมาจ้างทำ� เพราะมันใหญ่ เกินกระทรวง เช่น ปฏิรูปการศึกษา คนอาจ จะคิดว่า เอ้อ มันเป็นเรื่องของกระทรวงการ ศึกษา แต่จริง ๆ มันไปเกี่ยวกับเรื่องที่ใหญ่ กว่ากระทรวงศึกษา มันเกี่ยวกับตลาดแรงงาน ซึ่งมันใหญ่ว่าเรื่องในโรงเรียนหรือในมหา’ลัย มีเรื่องทำ�ยังไงให้ประเทศไทยพัฒนาแล้วพ้น “กับดักรายได้ปานกลาง” ให้พัฒนาแล้วพุ่งโต ต่อไปได้เรื่อย ๆ ไม่ใช่โต ๆ หยุด ๆ แล้วก็ ไม่มีของใหม่มา ไม่มีนวัตกรรม ไม่มีความคิด สร้างสรรค์เรื่องแบบนี้ครับ ไม่ใช่เรื่องของ กระทรวงวิทย์ กระทรวงอุตสาหกรรม หรือกระ ทรวงเกษตรฯ เพราะมันไปอยู่ในทุกแห่งเลยใน สังคม เรื่องแบบนี้ก็ไม่ค่อยมีคนจ้างทำ� ต้องหา วิธีตั้งโครงการทำ�กันเอง ต่อไปก็เป็นเรื่องที่ไทย เกี่ยวกับอาเซียนเยอะ ทำ�ยังไงให้เรามีส่วนช่วย เขากำ�หนดนโยบายดี ๆ ออกมา มีประโยชน์ กับไทยและมีประโยชน์กับเขาด้วย อะไรแบบนี้ ครับ แล้วก็มีเรื่องการคลัง ก็คือรัฐบาลมีรายรับ เท่าไหร่ มีรายจ่ายเท่าไหร่ ถ้ารายจ่ายมากกว่า รายรับ รัฐบาลก็ถังแตกใช่มั๊ย เป็นเรื่องที่ รัฐบาลทั่วไปไม่อยากให้มีใครมาดูหรอก เขาจะ ได้มีโอกาสใช้เงินใช้ทองได้ตามใจชอบ แต่ว่า ในฐานะที่เราเสียภาษี ประชาชนเสียภาษี แล้ว ก็คนที่จะเกิดมาก็ต้องเจอในอนาคต ถ้ารัฐบาล ตอนนี้ใช้เงินไปหมด พอถึงอนาคตก็ไม่มีเงิน ใช้กัน เรื่องแบบนี้ก้ต้องมีใครมาช่วยดู เราก็ ทำ�เรื่องพวกนี้ครับ แล้วก็เรื่องต่อต้านคอรัปชั่น 5-6 เรื่องนี้คือเรื่องที่เราคิดโจทย์ขึ้นมาเองแล้ว -64-
ยังสำ�เร็จไปไม่เท่าไหร่เลย ถ้าสำ�เร็จ แปลว่าอะไร คนไทยต้องเห็นเรื่องที่พูดกัน เช่น จะปฏิรูปการศึกษายังไง ให้มันตรงกันมากกว่า นี้ เพราะทุกวันนี้เราคิดว่าเรามีผลงานวิจัย ออกมา แต่พอเราไปดูการถกเถียงกันในสังคม ก็ยังพูดกันคนละทิศคนละทาง ซึ่งหนึ่ง มันก็ สะท้อนว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องยาก แต่ว่าอีกส่วน หนึ่งก็เป็นเพราะว่ามันยังไม่สื่อสารไปถึงกลุ่มที่ ใหญ่พอ แล้วทำ�ให้เกิดความเข้าใจตรงกันได้ หรือมันอาจเข้าใจด้วยสมอง แต่ยังไม่กินใจ ไอ้ ของที่เข้าใจด้วยสมองแป๊ปเดียวมันลืม แต่ถ้า เป็นเรื่องที่กินใจ ผมว่าคนจะจดจำ�และหันมา มองทางเดียวกัน ที่เราทำ�เยอะนะ สื่อสารผ่านสื่อ เราออกทีวี ผมเองก็ทำ�อยู่ทุกวันอาทิตย์ ชื่อ รายการ “คิดยกกำ�ลังสอง” ที่ Thaipbs ก็ พยายามพรีเซนต์ด้วยกราฟฟิกส์ ให้คนเข้าใจ เรื่องยาก ๆ ได้ง่าย ๆ แล้วก็พูดสรุปเรื่องยาก แบบสั้น ๆ 7 นาทีให้รู้เรื่องเลย แล้วก็มีเขียน บทความลงหนังสือพิมพ์ เผยแพร่ลง facebook มีรายการวิทยุ มีสื่อต่าง ๆ สารพัด แต่ เดี๋ยวนี้ทำ�ยากเพราะสื่อต่าง ๆ กระจัดกระจาย เยอะ แล้วพวกผมก็ต้องเรียนรู้การสื่อสารผ่าน social media ให้เก่งกว่านี้ คนเดี๋ยวนี้อายุ สิบกว่ามีคนตามเฟสเป็นแสนก็มี ทำ�ได้ยังไง เก่งเนอะ ต้องไปหัดเรียนรู้ (หัวเราะ)
สัมภาษณ์: กชกร ความเจริญ/ I_was_impressed_by_kindness
เรียบเรียง: กชกร ความเจริญ
พอไปออกค่ า ยเราก็ จ ะเห็ น ว่ า บางทีมันอาจจะไม่ไปถึงจุดที่เรา ทำ�วิจัยพวกนี้ได้ แล้วก็ไปเขียนบทความเรื่อง กฎหมาย รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ทั้ง ๆ ที่ ประเทศไทยความแตกต่างมันเยอะใช่มั๊ยฮะ ตัง้ ไว้ มีทอ้ บ้างไหมคะ ไม่เคยเรียนอะไรนอกจากวิศวฯ มาเลย ทำ�ไม รุน่ นี้คงไม่มีแล้วมั้ง รุ่นนั้นก็คือหมู่บ้านไม่มี มันเป็นกระบวนการเรียนรู้ เราคิด ว่าเราโชคดีแล้วจะไปท้อทำ�ไม มีคนจ้างให้ทำ� ในสิ่งที่เราอยากจะทำ�เองอยู่แล้ว เพราะงั้นมัน ไม่มีเหตุอะไรให้ไปท้อ มันมีแต่ เอ๊ะทำ�ยังไงให้ ดีขึ้น เช่น สื่อสารยังไม่ได้ มีไอเดียที่เราคิดว่า มันดี ๆ แต่ยังไม่ไปสู่การปฏิบัติ เราคุยกับคน กำ�หนดนโยบาย เราคุยกับชาวบ้าน แปลว่าเขา ยังไม่เข้าใจพอรึเปล่า ปัญหาถึงยังแก้ไม่ได้ เรา ก็ต้องคิดว่าทำ�ยังไงให้มันทำ�ได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
ถึงทำ�ได้ เพราะว่าเราอยากจะรู้ปัญหา เรามี ไฟฟ้าใช้ ส้วมก็เป็นส้วมขุดส้วมหลุม เพราะ motivation ที่อยากจะแก้ปัญหา แล้ววิชาถึง งั้นความแตกต่างเยอะในสังคมไทย ก็คิดว่า จะตามมา อย่างงี้มันจะมีพลังกว่ากันเยอะเลย เอ๊ะเราเรียนหนังสือมาขนาดนี้ เรียนรู้มาขนาด นี้ คิดเอาตัวรอดมันไม่น่ายากอะไรนะ ทำ�มา ถ้าคนอยากจะเรียนรู้เพื่อเล่นดนตรี หากินได้อาชีพที่มั่นคงมันก็จบแล้วล่ะ แต่จะ แจ๊สเป็น แบบนี้มาก่อน แล้วโน๊ตมาทีหลัง ทำ�ยังไงให้ประเทศไทยมันเดินต่อไปได้ มันมี แบบนี้จะมีพลัง อะไรบางอย่างที่มันฝังอยู่กับตัวเอง
พื้นเพอาจารย์มาจากการเรียน วิศวฯ ความคิดทีว่ า่ อยากจะมา เคยฟั ง คลิ ป ปฏิ รู ป การศึ ก ษา ทำ � งานที่ มี ป ระโยชน์ กั บ สั ง คม ของอาจารย์ แล้วคิดถึงตอนที่ดู มันบ่มเพาะมายังไง หรือว่ามีจดุ The voice มีคนนึงเขาอยาก เปลีย่ นทีส่ ำ�คัญไหมคะ เป็นนักร้องแจ๊ส แต่พอเข้าไปเรียน ผมก็ รุ่ น พี่ พ วกคุ ณ นี่ แ หละครั บ ก็ไปเจอทฤษฎี จากคนที่มีแรง บันดาลใจเรียนก็รู้สึกไม่มีความ แต่อย่าถามว่ารุ่นไหน เดี๋ยวรู้อายุ (หัวเราะ) ก็คล้าย ๆ พวกคุณนะ ตอนเรียนหนังสือทำ� สุข ทั้ง ๆ ที่ความรู้พวกนี้น่า กิจกรรมนะ ตอนม.ปลายเรียนหนังสือมาเยอะ จะมาหลั งจากที่เราเข้า ใจมันไป ไม่ค่อยได้ทำ�กิจกรรมเท่าไหร่ ตั้งแต่เล็ก ๆ แล้ว เลยคิดว่าการศึกษาเดี๋ยวนี้ มาถึงม.ห้า เรียนหนังสืออย่างเดียวเลย ไม่ทำ� อะไร ก็คิดว่าก็สอบเข้ามหา’ลัยได้แล้ว ม.หกก็ ทำ�ร้ายความสนใจเด็ก ผมคิดว่าวิธีการสอนมันไม่ถูก คือ แคลคูลัสที่สอนแย่ ๆ เนี่ยมันทำ�ให้คนไม่ อยากเรียนต่อ เช่นผมเป็นคนชอบคณิตศาสตร์ นะ แต่พอเจอสอนแคลคูลัสประเภทว่าต้อง ทำ�สี่ขั้นตอนนะ ถ้าไม่ทำ�อย่างงี้ไม่ได้คะแนน มันทำ�ให้ความคิดสร้างสรรค์มันหดหมดเลย ทั้ง ๆ ทีโ่ อโหคณิตศาสตร์มนั มีอะไรน่าสนุกเต็ม ไปหมดเลย เพราะงัน้ ทำ�ไงให้คนมีแรงบันดาลใจ เอาของจริง เอาการแก้ปญั หาจริง เอาการ ทำ�งานจริงมาเป็นตัวตัง้ แล้ววิชาการจะตามมา มีคนถามผมอยู่เรื่อย ๆ ว่าผมไม่ ได้เรียนสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ทำ�ไมมา
สบายแล้ว ก็เลยมานั่งทำ�กิจกรรม อยู่โรงเรียน เตรียมก็เป็นประธานกีฬาสี ประธานตึก เข้า มหา’ลัยมาก็มาทำ�กิจกรรม ทั้งกิจกรรมใน คณะวิศวฯ ก็ทำ�ชมรมวิชาการ แล้วก็ชมรม โต้วาทีของวิศวฯ แล้วก็ไปทำ�นอกคณะ ตอน แรกไปดูเต็มไปหมดเลย ไปชมรมภาษาอังกฤษ ไปชมรมค่ายอาสาฯ ทำ�อีกอย่างสองอย่างจำ� ไม่ได้แล้ว ทำ�นู่นทำ�นี่เยอะไปหมด แล้วพอ ขึ้นมาปีสาม ก็มาเป็นอุปนายกของ อบจ. มา ทำ�จัดงานลอยกระทง ฟุตบอลประเพณี ไป เคลื่อนไหวทางการเมือง เพราะงั้นเรื่องทำ�เพื่อ ประโยชน์สาธารณะมันซึมซับมาตั้งแต่เด็ก ๆ
-65-
พอทำ�กิจกรรมจะเห็นมิติเรื่องสังคม แต่มาทำ�งานแบบนี้ก็เพราะว่าถ้าเราเป็นคน ชอบเรียนหนังสือ ชอบหาความรู้ มันจะมีอะไร ที่สองอย่างที่ไปด้วยกัน ถ้าเราหาความรู้แล้วมี ประโยชน์ต่อประเทศก็ต้องเป็นงานวิจัย ตอน ไปเรียน ph.D ก็เคยทำ�วิจัยแบบของใหม่ที่สุด ในโลก เรียนคอมพิวเตอร์ก็เขียนโปรแกรมที่ มันฉลาดที่สุดในโลกโปรแกรมนึง (Machine Learning) ไปแข่งกับคนนู้นคนนี้มันก็สนุก ดี ทำ�ยังไงให้มันแจ๋วกว่าเจ้านึงที่กำ�ลังออก มา ตีพิมพ์ให้ไวกว่ามหา’ลัยนี้ในอเมริกา มัน ก็สนุกแบบนั้น กลับมาเมืองไทย ก็คิดว่า เอ เรามาทำ�แบบนี้ในเมืองไทยได้ประโยชน์เยอะ มั๊ย มันก็ไปต่อเรื่องอุตสาหกรรมในประเทศ ถ้ามีอุตสาหกรรมในประเทศรองรับ มันก็ต่อ ได้พอดี แต่ถ้าไม่มี อืมทำ�ยังไง เราจะเขียน เปเปอร์ เพื่ อ ตี พิมพ์ ในระดั บ นานาชาติ ใ ห้ มั น สนุก มันใช่ตอบโจทย์ตัวเองตอบโจทย์นานา ชาติรึเปล่า ก็คิดว่าอาจจะไม่ใช่ เลยมาทำ�วิจัย นโยบายครับ ผมว่ า คนโชคดี คื อ คนที่ ทำ � งาน เหมือนงานอดิเรก คนที่ชอบงานวิชาการ ได้ มาทำ�งานวิจัยก็ดีสิ เพราะมีคนจ้างให้ไปทำ�ใน สิ่งที่เราอยากทำ�อยู่แล้ว ชีวิตเราหนึ่งในสามก็ เป็นเวลาทำ�งานอยู่แล้ว บางคนอีกหนึ่งในสาม อาจจะเป็นครอบครัว อีกหนึ่งในสามก็นอน
small but matter l issue 03
small interview ตอนเรี ย นอาจารย์ทำ�กิจกรรม เยอะเลย แล้วก็เรียนเก่งมากด้วย อาจารย์ทำ�ได้ยงั ไง ก็เกือบแย่เหมือนกัน ม.ปลายเรียน ดี พอเข้ามหา’ลัยปีหนึ่งก็เลยคิดว่าไม่ต้องเรียน หนังสือหรอก ตอนเข้าแรก ๆ วิชาประเภท แคลคูลัสของวิศวฯ Static Dynamic มันก็ไม่ ยาก มันก็เหมือนฟิสิกส์ตอนม.หก ก็เลยตายใจ ไม่ค่อยเรียน (กลั้วหัวเราะ) พอออกมา เอ้อ ที่ เราคิดว่ารู้ ก็มีที่ยังไม่รู้อีกเยอะ เราก็หลงระเริง ไปทำ�นู่นทำ�นี่อยู่พักใหญ่ แล้วค่อยกลับมาเรียน ตอนปีสี่อีกทีครับ เพราะปีสามทำ�มาเยอะแล้ว ปีสี่ก็มาเรียนหนังสือหน่อย ถ้าปีสี่ไม่เรียนให้ ได้ 4.00 ทั้งสองเทอมมันก็จะไม่ได้เกียรตินิยม อันดับหนึ่ง (หัวเราะ) แล้วก็ได้พอดี
อ.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ของเน่าเสียใช่มั๊ย ถ้าไม่มีคนไปอยู่คืนนั้นห้อง ว่างเฉย ๆ เหมือนเป็นอาหาร มันก็เสียไป เฉย ๆ โดยไม่มีคนกิน เขาเห็นช่องว่างตรงนี้ เลยบอกว่าใครยินดีจะจ่ายเงินพักห้องที่ว่างอยู่ โรงแรมก็ได้ คนไปพักก็ได้ แล้วเอาเงินก้อนนึง หักออกไปบริจาคเพื่อการกุศลด้วย มัน winwin ทุกฝ่าย เป็น social enterprise ของแบบ นี้นี่สมัยผมทำ�ได้รึเปล่า คงทำ�ได้แต่ยากกว่านี้ เยอะ เพราะงั้น นิสิตนักศึกษาเดี๋ยวนี้ถ้ามีพลัง มีแรงบันดาลใจ สามารถทำ�อะไรได้เยอะมาก เลย
ทำ�จริงรู้จริงไม่ได้เลย เช่น ผมทำ�วิจัยเรื่องการ สร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี สนุกมากเลย เวลาไปคุยกับคนที่เขาคิดอะไรแปลก ๆ แล้ว สามารถผลิตของที่เป็นของใหม่ออกมาได้ มี เยอะแยะไปหมดเลย มีคนทำ�โรงงานรถยนต์ คนทำ�วัสดุก่อสร้าง คนทำ� software ให้ผู้รับ เหมา ไปคุยกับคนออกแบบรถแท็กซี่ สิ่งเหล่า นี้ มั น เห็ น พลั ง และความคิ ด สร้ า งสรรค์ เ ต็ ม ไปหมดเลย ได้ของพวกนี้มาก่อนถึงจะมา สังเคราะห์เป็นข้อเสนอ
งานที่อาจารย์ทำ�เป็นการทำ�งาน เชิงนโยบาย จาก TOP-DOWN ลงมา อาจารย์มีความเห็นยังไง กั บ ก า ร ขั บ เ ค ลื่ อ น แ บ บ BOTTOM-UP
เพราะความรู้ที่ถูกต้อง จะมาจากข้างล่าง ความรู้ ที่ ม าจากการปฏิ บั ติ จ ริ ง จึ ง ไปเป็ น ทฤษฎี ที่ ดี ไ ด้ ถ้ า ทฤษฎี ห รื อ ข้ อ เสนอ ใดไม่ มี ฐ านจากข้ า งล่ า ง มันไม่แน่น ไม่มั่นคงหรอก
อาจารย์ว่านิสิตนักศึกษามีส่วน สร้ า งสรรค์ สั ง คมได้ ยั ง ไงบ้ า ง ต้องเอามาประกอบกันเลย ที่เราดู เหมือนทำ� TOP-DOWN มันจะมีมิติที่เกี่ยวข้อง รูปแบบไหนบ้าง สมัยผมเนี่ย มันจะเป็นลักษณะที่ว่า เราคิดว่าเราใช้ประสบการณ์สมัยนิสิตนักศึกษา เรียนรู้โลก เรียนรู้ชีวิต เรียนรู้ว่าประเทศเรา เป็นยังไง แล้วปลูกฝังในจิตสำ�นึก แล้วพอเรา ทำ�งาน เราค่อยเอามาใช้ แต่เดี๋ยวนี้ผมว่าโลก มันไปเร็วกว่านั้นนะ โลกมันเปิดขึ้นเยอะ มีคน อายุน้อย ๆ เรียนหนังสืออยู่ อย่าง Malala ที่ เขาได้รางวัลโนเบลตั้งแต่อายุ 18 ตอนอายุเท่า กันผมเรียนอยู่ปีหนึ่ง ยังไม่ทำ�อะไรเป็นโล้เป็น พายเลย แล้วคนเดี๋ยวนี้สามารถสร้าง impact ให้สังคมได้เยอะเลย เช่น ยังนึกตัวอย่างชัดๆ ไม่ออกนะ อย่างไปเที่ยวคนเดียวแล้วเขียน blog เนี่ยก็ตามกันอื้อเลยใช่มั๊ย มันมีวิธีที่คน ปัจจุบันสามารถสร้าง impact ให้มันกระทบ กับโลกได้เยอะขึ้น ผมรู้จักคนอายุแค่ 30 กว่า เองที business ที่น่าสนใจมากเลย เขาเห็น โรงแรมที่มีห้องว่าง ห้องว่างของโรงแรมก็คือ
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
กับของจริงจากข้างล่าง เพราะความรู้ที่ถูก ต้องจะมาจากข้างล่าง ความรู้ที่มาจากการ ปฏิบัติจริง จึงไปเป็นทฤษฎีที่ดีได้ ถ้าทฤษฎี หรือข้อเสนอใดไม่มีฐานจากข้างล่าง มันไม่ แน่น ไม่มั่นคงหรอก อย่างที่เราทำ�เรื่องปฏิรูป การศึกษา ทีมวิจัยเราจะไปคุยกับคนเต็มไป หมดเลย ไปดูโรงเรียน ไปสัมภาษณ์ครู ไป สัมภาษณ์ผู้อำ�นวยการเขต ไปดูจุดนู้นจุดนี้ นั่นคือความรู้ที่มาจากข้างล่าง มันมีพลังจากข้างล่างอยู่เยอะนะ มี โรงเรียนที่ทดลองสอนด้วยวิธีแปลก ที่ไม่ใช่วิธี การที่กระทรวงศึกษากำ�หนด มันเป็นเหมือน ดอกไม้ที่บานขึ้นมาจากข้างล่าง ตรงนี้ไม่ใช่ แก้ใหม่ ค่อย ๆ ทดลอง ลองผิดลองถูกกัน ของพวกนี้เป็นฐานทางความรู้ที่ดีเลย ทฤษฎี มันเป็นเพียงการสังเคราะห์จากการปฏิบัติจริง เพราะงั้นสิ่งที่เราทำ�จะขาดการไปคุยกับคนที่ -66-
“
”
เมื่อเราได้แล้ว เราจะไม่มีทาง เปลี่ยนสังคมได้เลย ถ้าเราคิดว่าเราจะให้ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเข้าใจแค่นั้น เพราะนโยบายหลายอย่างมันกดปุ่มไม่ได้ มัน มีนโยบายประเภทที่กดปุ่มได้กับกดปุ่มไม่ได้ นโยบายแบบกดปุ่มได้มันก็มี เช่น เรื่องแก้ กฎหมายบางตัวเพราะกฎหมายเป็นอุปสรรค ถ้านายกรัฐมนตรีเห็นด้วยแล้วแก้กฎหมายตาม นั้น แบบนี้สั่งการแล้วจบเลย แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ เกี่ยวกับคนเยอะ ๆ เช่น จะปฏิรูปการศึกษา แล้วไปแก้กฏหมายการศึกษาอย่างเดียว ไม่มี ทางจะดีขึ้นเลย เพราะการศึกษาเป็นระบบที่ เกี่ยวกับผู้อำ�นวยการ กับครู เกี่ยวกับนักเรียน พลังจาก BOTTOM-UP จึงสำ�คัญมากๆ เลย หลังจากที่ได้ความจริงจากข้างล่างมา สังเคราะห์เป็นนโยบายแล้ว ต้องสื่อสารกลับลง ไปข้างล่าง ให้เกิดความเข้าใจทั่วกันด้วย
สัมภาษณ์: กชกร ความเจริญ/ I_was_impressed_by_kindness
เวลาขั บ เคลื่ อ นเชิ ง นโยบาย อาจารย์ใช้วิธีไหนให้คนข้างบน เขารับข้อเสนอฟังและทำ�ตาม
แต่จะทำ�ได้มากขึ้น ถ้า individual อยู่กันเป็น node หมายความว่า มีกลุ่ม มีชุมชน มี interaction มันจะโต มันจะงอกงามเพราะมีการ แลกเปลี่ยนความคิด จุดประกาย test idea กันไปมา ถ้าไปดูเรื่องบางเรื่อง มันมีหนังสือ ที่เอามาเป็นตัวอย่างเยอะแยะเลยนะ ว่าเวลา มีคนจะประดิษฐ์ของอะไรออกมาขาย หรือ นักประดิษฐ์อะไรโบราณ หรืออะไรก็แล้วแต่ ส่วนใหญ่จะไม่ใช่คน ๆ เดียวคิด เป็น single genius บางทีจะมาเป็นคู่ มาช่วยกันคิด คน นึงมีจุดเด่นเรื่องนึง อีกคนมีจุดเด่นอีกเรื่อง นึง แล้วสองคนเสริมกัน เหมือน เอี้ยก้วย กับ เซียวเหลงนึ่ง (หัวเราะ) เหมือนกับมารี คูรี่ กับ ปิแอร์ คูรี่ อะไรมันจะมีคนที่มีจุดเด่นด้านนึง กับเด่นอีกด้านนึงมาประกอบกัน ถ้าไปดูคน ทำ�ธุรกิจมันก็จะมีแบบนี้ อย่างเช่น บิล เกต ก็จะมีคู่หูตอนตั้งบริษัท ซึ่งเราอาจจะรู้จักน้อย กว่า Google ก็จะมี เซอร์เกย์ บินช์ กับ ลาร์รี่ เพจ มันก็จะมาเป็นแฝด ๆ กันอย่างนี้อยู่เยอะ เลย ซึ่งคน ๆ เดียวนั้นมีศักยภาพเยอะ คน สองคนที่ว่ามันต้องไม่เหมือนกัน ถ้าเหมือนกัน ทีเดียวก็เหมือนพี่น้องฝาแฝดคุยกัน คงไม่ค่อย สนุกนะ มันต้องต่างกันบ้าง แต่ถ้าต่างกันมาก เนี่ย มันก็พูดคุยกันยาก มันต้องมีความคล้าย อยู่เยอะและต้องมีส่วนที่ต่างอยู่ มองจากคนละ angle แต่ชอบแบบเดียวกัน
แต่ละเจ้าไม่เหมือนกันเลย เราต้อง เข้าใจว่าเขาอยู่ตรงนั้นแล้วเขาเป็นยังไง ถ้า เราอยากจะรู้ว่าคนแต่ละจุดคิดอะไรยังไง เรา เคยเป็นนิสิตนักศึกษา เราเข้าใจมั๊ยว่านิสิต นักศึกษาคิดอะไรในสมัยเรา ถ้าเราอยากจะ รู้ว่าอาจารย์เป็นยังไงเราก็ไปเป็นอาจารย์ ถ้า เราอยากรู้ว่านักการเมืองคิดยังไงเราก็ไปเป็น นักการเมือง แต่ผมไม่มีโอกาสจะไปเป็นทุก อย่างที่พูดมาได้ สมัยเรียนหนังสือยังคิดเลยว่า อยากรู้ว่าคนกรุงเทพฯ อยู่ยังไง เราก็นั่งรถเมล์ ไปเรื่อย ๆ สุดสาย แล้ววันพรุ่งนี้ก็เปลี่ยนสาย เราก็จะเห็นตรงนู้นตรงนี้ เป็นวิธีการมองโลก แบบนึง ถ้าจะเข้าใจเจ้าของโรงงานผมก็ต้องไป คุยกับเขา เขาใช้เวลาครึ่งชีวิตหรือหลายสิบปี ในการเข้าใจเรื่อง ๆ นึง เราใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง คุยกับเขา ถึงจะไม่เข้าใจทั้งหมด แต่เราจะจับ หลักได้ว่าอะไรคืออะไรถ้าเราถามคำ�ถามที่ถูก เพราะฉะนั้นเรื่องของการขับเคลื่อนนโยบาย ต้องเข้าใจว่าคนที่อยู่ในจุดที่กำ�หนดนโยบาย เขาอยู่ในโลกยังไง เช่น เขาเดือดร้อนกับเรื่อง อะไร ที่ทำ�ให้เขาอยากจะเปลี่ยน เขามีความ สุขเมื่อไหร่ เขามีข้อจำ�กัดยังไง เขาโตมายังไง เพื่อที่เขาจะคิดเรื่อง ๆ นึงได้ อย่างนี้เป็นต้น แล้วถ้าเกิดมีมากกว่าสองคน เป็น ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ ก็สื่อสารในรูปแบบที่บอกว่า community มันสนุกมากเลย เวลาไป มันดีต่อประชาชนยังไง แล้วมันดีต่อเขายังไง conference เมืองนอกในงานวิชาการที่มี พวกเก่ง ๆ มาแล้วมา comment กันมันสนุก อยากให้ฝากข้อความถึงนิสิต/ มากเลย เพราะมันเป็น interaction of mind นักศึกษาที่อ่าน small หรือทำ�ไมทำ�งาน innovation อยู่ใน Silicon Valley ถึงได้งานออกมาเยอะกว่า เพราะรอบ จริง ๆ ชื่อหนังสือก็บอกเยอะเลยนะ ตัวคุณมันเต็มไปด้วยประกายความคิด ผมเพิ่ง small but matter ก็คือเหมือนกับว่า คนเรา ไปบรรยายที่มหา’ลัย Harvard มา สิ่งที่ได้เห็น ปัจเจก เล็ก ๆ นิดนึงนะ make a difference คือ ความคิดดี ๆ มันลอยอยู่ในอากาศเต็มไป คือ matter นะ ทำ�อะไรได้นะ ให้เชื่อว่าคนเรา หมด เช่น เราบรรยายจบก็จะมีคนมาคุยกับเรา มีศักยภาพที่จะทำ�เรื่องใหญ่ ๆ เรื่องดี ๆ ได้ แล้วทำ�ให้เราคิดอะไรดี ๆ ได้เพิ่มขึ้นเต็มไป -67-
เรียบเรียง: กชกร ความเจริญ
“
เราจะไม่มีทางเปลี่ยน สังคมได้เลย ถ้าเราคิดว่า เราจะให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเข้าใจแค่ นั้น เพราะนโยบายหลาย อย่างมันกดปุ่มไม่ได้
”
ถามคำ�ถามที่มันน่าสนใจ เพราะฉะนั้น เนี้ย คน มันอยู่คนเดียวมีศักยภาพละ ถ้า อยู่เป็นกลุ่มยิ่งดีใหญ่เลย เป็น node แล้วยิ่ง เป็น node ที่มีองค์กรทำ�งาน อย่างเช่น TDRI เป็น ตัวอย่างของ node ที่เอานักวิชาการที่ สนใจเรื่องนโยบายเหมือนกันมาอยู่ด้วยกัน มี interaction กัน มันก็จะเกิดความงอกงาม เกิด idea ถ้าเอา node มาต่อกันเป็น network พลังมันยิ่งเยอะนะ เพราะงั้นที่อยากจะฝากไว้ small but matter แต่วิธีที่จะ matter ได้มากก็คือเป็น node กับเป็น network นะ อย่าไปติสต์มาก อยู่คนเดียวไม่เกี่ยวกับใคร (หัวเราะ)
small but matter l issue 03
บันทึก(ทัก)
P.N.
บันทึก(ทัก) 13.10.58, 2.55 pm จำ � ได้ ว่ า เมื่ อ สองวั น ก่ อ นนั่ ง คุ ย กั น อย่ า งออกรสกั บ นักการศึกษาท่านหนึ่ง การพูดคุยวันนั้นถึงรสถึงชาติจริงๆ อาจเป็นเพราะเรามีวิธีคิดคล้ายๆ กัน สนใจในเรื่องราว และวิถีที่ใกล้เคียงกัน
เคยได้ยินเรื่องนักศึกษาในออสเตรเลียเกิดสงสัยว่าชาว อะบอริจินส์รู้เรื่องสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้ อย่างไรทั้งที่ไม่มีเทคโนโลยีอะไรแม้แต่อย่างเดียว รู้ถึงขั้น กำ�หนดวันเวลาของการเปลี่ยนแปลงนั้นได้
วั น นั้ น เราเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการพู ด ถึ ง นั ก ปราชญ์ ผู้ ยิ่ ง ใหญ่ ท่านหนึ่งของอินเดีย คือ ท่านกฤษณามูรติ วลีหนึ่งของ ท่านกฤษณามูรติท่ีเราหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อสนทนาคือ “ความรู้คือพันธนาการ”
นักศึกษากลุ่มนั้นต่างพากันเดินทางไปหาชางอะบอริจินส์ เผ่านั้น อาศัยอยู่ด้วยและเรียนรู้สิ่งที่อะบอริจินส์เหล่านั้น รู้ ปรากฎว่าเป็นความรู้ที่รู้จริง เรียนรู้ด้วยชีวิตและวิถีชีวิต กอปรกับมุขปาฐะที่ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น
เรามองความรู้ในมิติไหน และความหมายอย่างไร เรา คุยกันและเห็นคล้ายกันว่าที่เรียกว่าความรู้นั้นน่ะแบ่งเป็น Knowledge และ Wisdom แต่เท่าที่เห็น ดูเหมือนจะเรียก ว่าเป็นความรู้รวมๆ กันไป
หรือทีค่ ริสทาเนียในเดนมาร์ก เป็นกลุม่ คนทีร่ วมตัวและก่อ ตัง้ ชุมชนโดยรัฐบาลเดนมาร์ก อนุญาตให้สร้างกฎเกณฑ์ การอยูอ่ าศัยได้เองในพืน้ ทีค่ ริสทาเนียนัน้ คนคริสทาเนียจึง ไม่อยูใ่ นระบบปกครองรัฐ แต่มกี ติกาของตัวเอง
ชุดความรู้ knowledge ในบ้านเราที่ผ่านมาเท่าที่เห็นมี ลักษณะการเรียนรู้แบบแยกส่วน เรียนใครเรียนมัน เหมือน ผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตในสายการผลิตของโรงงาน ที่ผลิตออก มาเป็นชิ้น ๆ ส่วน ๆ แล้วจึงนำ�ไปประกอบเป็นเครื่องจักร เมื่อผลิตเสร็จแล้ว
คนคริสทาเนียเริ่มก่อตั้งชุมชนตั้งแต่ยุค ’70 โดยเป็น กลุ่มคนที่คนฟังไปเรียกบุปผาชนหรือฮิปปี้ คนกลุ่มนี้เป็น กลุ่มคนทีแ่ สวงหาศานติ ฉะนัน้ การเรียนรูข้ องพวกเขา จึงเน้นไปที่วิถีธรรมชาติและปรัชญาในศาสนาและความ ศรัทธาต่างๆ
ทุกชิน้ ส่วนหรืออาจะเรียกว่าฟันเฟืองต่าง ๆ ต่างก็ ทำ�งานตามระบบควบคุมของเครื่องจักรใหญ่น้ันจะผสาน สอดคล้องก็ดว้ ยระบบการควบคุม แต่วา่ ในแต่ละฟันเฟือง เองยังไม่คอ่ ยรูจ้ กั กันเท่าไร ต่างคนต่างทำ�เรือ่ งทีต่ วั เองทำ�
ปรัชญาที่คนคริสทาเนียเน้นมากได้แก่ พุทธปรัชญาและ ฮินดูปรัชญา ซึ่งศาสนาทั้งสองมักพูดถึงสภาวะความเป็น ธรรมชาติอย่างศานติ จึงตรงกับวิธีคิดของคนกลุ่มนี้ เพียง แต่นำ�มาปรับใช้ให้เข้ากับวิถีและวัฒนธรรมของกลุ่ม
ในระหว่างการสนทนากันเกิดคำ�ถามหนึ่งขึ้นว่า นอกจาก การเรียนกระแสหลัก คนเราสามารถเรียนรู้ได้กี่ทาง และ คนเราจะเรียนรู้ในทางอื่น ๆ โดยไม่ข้องแวะกับการเรียน กระแสหลักได้หรือไม่
คนคริสทาเนียเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างศานติและเกื้อกูล โดยเรียนรู้ผ่านหัวใจของตัวเอง ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นและสิ่งที่ เข้ามากระทบอย่างพินิจพิเคราะห์และใคร่ครวญ ปัญหาจึง ไม่ค่อยเกิดกับคนคริสทาเนีย มีแต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นและ นำ�มาพิจารณา
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
-68-
บันทึก(ทัก)
P.N.
การปกครองชุมชนคริสทาเนียใช้ระบบฉันทามติเห็นพ้อง ต้องกัน หากยังมีข้อขัดแย้งของเสียงข้างน้อยก็จะระงับมติ นั้นไว้ก่อน แล้วค่อยหาความลงตัวร่วมกัน จึงมีมติ แม้แต่ในเมืองไทยเราเอง เมื่อหลายปีก่อน เคยได้ยินเรื่อง ของอดีตนักข่าว BBC กับภรรยาที่เป็นอดีตอาจารย์สอน หนังสือ ต่างพากันไปใช้ชีวิตแบบพึ่งตัวเอง ตั้งแต่การกิน การอยู่ การใช้ชีวิต จนกระะทั่งมีลูกด้วยกัน อยู่ในพื้นที่ที่ เป็นป่าริมน้ำ�แม่เงาที่แม่ฮ่องสอน พ่อแม่ต่างบ่มเพาะลูกด้วยวิถีธรรมชาติ ถ่ายทอดความรู้ ทั้งแบบที่ตัวเองเคยเรียนรู้มาจากกระแสหลัก และความรู้ ที่เกิดจากประสบการณ์การใช้ชีวิต ทั้งจิตวิญญาณที่เป็น อันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ เด็กน้อยเรียนรู้อย่างบริสุทธิ์ ซึมซับทุกอย่าง วันหนึ่ง พ่อแม่พาลูกไปเยี่ยมปู่ย่าที่อยู่ในเมือง และอาศัย อยู่ในเมืองนั้นพักหนึ่ง ก็เลยคิดว่าจะให้ลูกไปสอบเทียบ วัดความรู้ เพื่อว่าจะมีการันตีอะไรบางอย่างสำ�หรับลูก ปรากฎว่าเด็กน้อยสอบได้คะแนนสูงสุด ชนะเด็กรุ่นราว คราวเดียวกันทั้งหมดง่ายดาย ทั้งนี้เด็กในเมืองเหล่านั้น เรียนในกระแสหลักโดยตลอด คำ�ถามที่ว่า ความรู้มีมาได้กี่ทาง หลังจากที่ได้พูดคุย กั บ นั ก การศึ ก ษาท่ า นนั้ น เราต่ า งเห็ น เหมื อ นกั น ว่ า กรณี นักศึกษาออสเตรเลีย ชุมชนคริสทาเนีย หรือพ่อแม่ลูกที่ริม น้ำ�แม่เงา เหล่านี้น่าจะเรียกว่าการเรียนรู้ wisdom ไม่ใช่ แค่ knowledge
-69-
การเรียนรู้จึงไม่ได้มีทางเดียว เฉพาะแต่ที่เป็นกระแสหลัก เท่านั้น แต่มีอีกมากมายโดยเฉพาะการเรียนรู้ตัวเองและ ชีวิตตัวเอง ความรู้กระแสหลักนั้นเราคุยกันแล้วก็เลยนิยาม มันว่า ความจำ�ได้แล้วหมายรู้ ไม่ใช่ความรู้ ต่างจากความรู้ที่มาจากการเรียนรู้เพื่อ wisdom ซึ่งต้อง อาศัย การเห็น การสัมผัส และความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ถึงแก่น เห็นจริงๆ และไม่ใช่แค่เห็นด้วยสองตา แต่ต้อง เห็นและสัมผัสจากชีวิตด้านใน ถึงจะมีความเข้าใจอย่าง ลึกซึ้งได้ คือเห็นอย่างลึกซึ้ง สัมผัสอย่างลึกซึ้ง คราวนี้ พอเราย้อนกลับไปที่ประเด็นวลีของกฤษณามูรติ ที่ว่า ความรู้คือพันธนาการ เราก็เห็นพ้องกันอีกว่า การ ที่คนเราถูกพันธนาการได้ในกรณีอย่างนี้ก็เป็นด้วยเหตุที่ เราไปยึดติดอยู่นี้ ให้คุณค่ากับความหมาย จนไปบ่มเพาะ อัตตาให้ใหญ่ขึ้นจนบดบังคุณค่าและความหมายอื่นที่มี ความสำ�คัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เราอาจะเคยเห็ น คนที่ ถู ก ความรู้ พั น ธนาการกั น มาบ้ า ง แล้ว ความจริงเป็นเพราะมายาคติที่คนผู้นั้นมีและมอง ไม่เห็นมายาคติในตัวเอง จึงกลายเป็นคนที่ถูกความรู้ ที่มีพันธนาการเหนียวแน่นแกะไม่หลุด วลีเด็ดที่ท่าน กฤษณามูรติกล่าวไว้จึงเป็นเหมือนคำ�เตือนที่กระตุ้นให้ ออกจากมายาคติที่ตัวเองสร้างขึ้น ให้คลายพันธนาการนั้น ออก ไม่ยึดติดในสิ่งที่ตัวเองคิดว่ารู้
small but matter l issue 03
ความจริงที่ถูกสร้างเกี่ยวกับการเรียนสายวิทย์-คณิต
อีคิว
ความจริงที่ถูกสร้าง เกี่ยวกับการเรียนสายวิทย์-คณิต ในบรรดาหัวข้อเรื่องการศึกษา ประเด็นของสาย วิทย์-คณิตเหมือนเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ต่างมองข้าม เพราะนั่นไม่ ได้น่ากังวลใจเท่ากับเรื่องนักเรียนตีกัน หนีเรียน มีเพศสัมพันธ์ ตรงกันข้ามสายวิทย์-คณิตกลับเป็นแบบจำ�ลองของสังคมที่ดี มี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท างการศึ ก ษารวมถึ ง สถิ ติ ก ารสอบเข้ า มหาวิทยาลัยตามที่โรงเรียนผลักดันได้มาเป็นผลสะท้อนต่อ ชื่อเสียงของโรงเรียน เมื่อดูตามผิวเผินก็ไม่ได้คิดว่าสายวิทย์คณิตจะมีปัญหาอะไร แต่ใครล่ะจะปฏิเสธว่านั่นไม่ใช่ภาระที่ต้องแบกรับ ในความเพียบพร้อมของการเรียนสายวิทย์-คณิต ยังมีบางด้าน ที่ชวนคิดตั้งคำ�ถามและอภิปรายว่ายิ่งนักเรียน ครู ผู้ปกครอง โรงเรียน ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้ความสำ�คัญกับสาย วิทย์-คณิตมากเท่าไรก็ยิ่งจะมีผลตามมาอย่างไรในปัจจุบัน ปรากฏการณ์ ที่ ฉั น เห็ น ในหลายโรงเรี ย นนั้ น มี ก าร ขยายห้องเรียนทางสายวิทย์-คณิตเพิ่มขึ้นอีก นัยว่าจะช่วยยก ระดับทางการเรียนการสอน เหนือสิ่งอื่นใดห้องเรียนที่ขยายเพิ่ม ขึ้นนั้นเป็นห้องเรียนพิเศษ (gifted) ที่ดึงดูดนักเรียนหัวกะทิมาก องรวมกัน เกิดการแข่งขันกันเอง ส่งผลให้นักเรียนสายวิทย์คณิต ต้องไปเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับทางด้านนี้จากการเรียน กวดวิชา เพื่อเอาไปใช้ตอบในคาบเรียนที่อัดแน่นด้วยการสอบ จำ�นวนมาก เราอย่าพึ่งกล่าวโทษสายศิลป์ว่าเรียนน้อยกว่าสาย วิทย์ สอบน้อยกว่า แท้ที่จริงแล้วการขยายปริมาณสายวิทย์คณิตจนเทอะทะทุกวันนี้ต่างหากที่ไปซ้ำ�เติมความห่างชั้นที่ ไม่เท่าเทียมดังกล่าว การมีห้องเรียนพิเศษยิ่งสร้างระยะห่าง จากสายวิทย์ปกติไปอีก เมื่อเป็นดังนี้แล้วในโรงเรียนหนึ่งๆก็ แสดงออกมาในรูปของการจัดแบ่งเกรดห้องเรียนหรือนักเรียน ไปโดยปริยาย
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
เด็กนักเรียนที่อยู่ในห้องเรียนพิเศษจึงเปรียบเสมือน จุดสูงสุดของการเรียน ซึ่งหากจะเอื้อมเอาหมอก็ย่อมไม่ห่าง ไกลนัก ถ้าเป็นเด็กเก่งที่พื้นฐานดีมาตลอดก็ผ่านไปได้ไม่ยาก แต่ความคิดที่ว่าเด็กสายวิทย์เป็นเด็กเก่งก็คงไม่ใช่ทั้งหมด ยังมี คนที่ต้องขื่นขมอยู่ไม่น้อย รากฐานความสำ�คััญของสายวิทย์-คณิต ไม่ได้มาเริ่ม ตั้งต้นในวันแรกของชั้นมัธยมปลาย แต่มีรากฐานที่มาตั้งแต่ชั้น ประถม-มัธยมต้นแล้วที่เตรียมความพร้อมมาก่อนหน้านั้น ค่อย มาเป็นคำ�ถามของนักเรียนชั้น ม.3 ที่จะเลือกสายการเรียน ทีหลังอีกทีหนึ่ง เหตุผลในการเลือกมีหลากหลาย อย่างเช่น เลือกสายวิทย์ก่อน พอเข้ามหาวิทยาลัยก็ยังสอบเข้าคณะสาย ศิลป์ได้ ฉันตอบแทนสิ่งที่ผู้ปกครองบอกลูก เมื่อเร็ว ๆ นี้ ฉันเจอครอบครัวหนึ่ง มีลูกสาวเรียนอยู่ ชั้น ป.3 แม่ของน้องเขาบอกว่าลูกกำ�ลังจะเตรียมสอบ gifted ชั้น ป.4 ฉันตกใจอย่างมากที่ว่าเด็กเดี๋ยวนี้ต้องแข่งขันกันตั้งแต่ อายุยังน้อย ห้องเด็กเก่งที่ถูกแบ่งขึ้นมาในชั้นมัธยมต้นก็เพียง เพื่อมุ่งหน้าสู่สายวิทย์-คณิตต่อไปในชั้นมัธยมปลาย แน่ล่ะ เด็กเรียนสายวิทย์เป็นเด็กเก่ง ฉันยอมรับ แต่ ฉันกลับหมดจินตนาการเรื่องการเรียนแบบบังคับยัดเยียด เคย จำ�ได้ว่ารากศัพท์ภาษาอังกฤษของคำ�ว่า “tutor” แปลว่า “กด” มีทางเป็นไปได้ไหมที่จะไม่ได้มองเด็กเก่งแบบเดียวว่าต้องเรียน สายวิทย์-คณิต และแบ่งหลายระดับตามห้องเรียน (จะยกเว้นก็ แค่ห้องเรียนสายศิลป์ในโรงเรียนที่มีมาตรฐานดีขึ้นมาจึงจะนับ ว่าเป็นเด็กเก่งได้) ฉันนั่งคิดถึงที่มาที่ไปของการเรียนสายวิทย์-คณิต ก็พอเห็นลูกของชนชั้นกลางที่พยายามรักษาฐานะทางสังคม ของตัวเองกับลูกของชนชั้นล่างที่พยายามไต่ระดับฐานะทาง สังคมขึ้นมา เป้าหมายปลายทางของระบบการศึกษาจึงไปอยู่ -70-
ความจริงที่ถูกสร้างเกี่ยวกับการเรียนสายวิทย์-คณิต
ที่การเรียนสายวิทย์-คณิต ยิ่งเกณฑ์การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่ไม่ได้ดีอะไรเลยคือไม่สามารถวัดอะไรได้จริง ทำ�ให้เด็กวิทย์คณิตเข้าเรียนในคณะทางสายศิลป์บางคณะได้เกินครึ่งด้วยซ้ำ� ชนชั้นกลางเองก็มัวแต่คิดถึงสังคมที่ปลอดภัยสำ�หรับลูกตัวเอง เด็กเนิร์ดจึงต้องควรจะไปกระจุกอยู่ตามห้องเรียนสายวิทย์คณิตตลอดจนโรงเรียนกวดวิชา จะไม่มีเวลามายุ่งกับเรื่องที่ไม่ ดี ในเมื่อการเรียนเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ลูก ๆ จึงต้องอยู่ในสังคมที่ ตั้งใจเรียน ฉันแบ่งง่าย ๆ แบบนี้แหละ ด้วยเหตุที่การเรียนสายวิทย์-คณิตถูกกำ�หนดเป็น เป้าหมายปลายทางสำ�หรับนักเรียน จึงกลายเป็นความจริงที่ ถูกสร้างขึ้นในสังคมไทย ได้ส่งทอดไปรุ่นต่อรุ่น และอยู่อย่าง แน่นหนามั่นคง หากมองในมุมกลับกัน อาจจะเป็นเพราะเรา ยังไม่มีการเขียนตำ�ราหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาที่กระตุ้น ความสนใจให้ผู้เรียนอยากที่จะขวนขวายหาความรู้ต่อไป เรา ไม่มีหนังสือเรียนภาษาไทยที่เปิดเนื้อหากว้างขวางให้ไปสู่โลก ของการอ่านหนังสือมากไปกว่าความงามของโลกวรรณคดี วิชา วิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์จึงทันกับโลกที่เป็นสมัยใหม่เมื่อ เปรียบเทียบกับวิชาอื่น แต่กระนั้น การเรียนสายวิทย์-คณิต ที่ได้รับการเอาอกเอาใจใส่มากทุกวันนี้ เป็นสายวิทย์-คณิตที่ ขาดการเชื่อมโยงความรู้หลากหลายให้เห็นเพียงแต่ความรู้และ ทัศนคติด้านเดียว ทางออกของการศึ ก ษาจึ ง มิ ใ ช่ อ ยู่ ที่ ว่ า ทำ �ให้ เ ด็ ก ที่ ฉลาดนั้นเป็นเด็กสายวิทย์ทั้งหมด แต่ควรที่จะสร้างความรู้ที่ เชื่อมโยงเนื้อหาเข้ากับความสนใจของนักเรียนแต่ละคน ฉะนั้น การส่งเสริมการเรียนวิทยาศาสตร์ หรือหน่วยงานที่จัดการ เรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ก็ควรที่จะมาส่งเสริมการเรียนสาย สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ที่เชื่อมโยงเข้ากับส่วนประกอบทาง ความรู้ของผู้เรียน -71-
อีคิว
น่าสงสัยว่าจะต้องใช้ทรัพยากรจำ�นวนมากขนาดไหน ในการลงทุนการเรียนสายวิทย์-คณิตซึ่งถือว่าเป็นความเพียบ พร้อมที่สุดของการศึกษาไทย ที่ส่วนต่าง ๆ ของสังคมร่วมกัน สร้างต่อเติมขึ้นมา ไม่ว่านักเรียน ครู ผู้ปกครอง โรงเรียน ใน เมื่อเป็นการเรียนเพื่อเอาตัวรอดกัน แต่ให้เอาตัวรอดได้ดีกว่า การเรียนสายวิทย์-คณิตที่ควบคุมไม่ได้ต่างหากที่น่ากลัวว่าจะ เป็นการสิ้นเปลือง กลายเป็นมายาคติหลอกหลอนผู้คน และ ยังกดทับเด็กที่เรียนกับที่ไม่ได้เรียนอีก เลิกพูดถึงการศึกษาเพื่อ ผู้ถูกกดขี่เถอะ ถ้าผู้ถูกกดขี่ไปกดขี่กันเองเพื่อจะได้ดิ้นรนเอาตัว รอด ฉันอยากให้ปลดปล่อยผู้เรียนออกจากความจริงที่ถูกสร้าง นั้น คงจะดีที่หากจะคลายมนต์สะกดบ้างให้เห็นว่าความรู้นั้น ไม่ใช่การแข่งขันกันภายใต้ชื่อของนักเรียนวิทย์-คณิต ฉันยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ราวกับเรื่องนี้ต่างคน ต่างกำ�ลังย่ำ�เท้าอยู่ที่ตำ�แหน่งเดิมจนค่อย ๆ จมลง ได้แต่คิด ว่าต่อไปข้างหน้าถ้าฉันมีครอบครัว มันคงมีทางเลือกมากกว่านี้ สำ�หรับการเรียน และสำ�หรับสังคมไทยที่เป็นอยู่ด้วย
small but matter l issue 03
รีบชิดขวา ช้าชิดซ้าย
แก่ขวบ
มายาคติความเป็นคณะ มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัยที่หลายคนมองข้าม
นิตยสาร small ฉบับนี้มีเนื้อหาว่าด้วยมายาคติใน รั้วมหาวิทยาลัย และบทความในคอลัมน์ “รีบชิดขวา...ช้าชิด ซ้าย” ฉบับสุดท้าย ? เราจะมาถกเถียงเรื่องพวกนี้กัน ก่อนจะเริ่มต้นเลือกหัวข้อและอภิปรายกันในเรื่อง พวกนี้ คิดว่าผู้อ่านหลายคนน่าจะมีคำ�ถามในใจแน่ ๆ ผู้เขียนขอถือวิสาสะเดาคำ�ถามของผู้อ่านคำ�ถามหนึ่ง ว่า...มายาคติคืออะไร ? ถ้าจะให้อธิบาย ตามหลักวิชาการ มายาคติคือการสื่อความหมายด้วยคติความเชื่อทางวัฒนธรรม ซึ่งถูกกลบเกลื่อนให้เป็นที่รับรู้เสมือนว่าเป็นธรรมชาติ คิดว่าก่อนหน้านี้คงมีผู้อ่านหลายคนไม่เคยรู้จักกับคำ� ว่า “มายาคติ” มาก่อน และอาจจะสงสัยก็ได้ว่าเราจะต้องมา ครุ่นคิดเรื่องมายาคติในมหาวิทยาลัยกันไปเพื่ออะไร ? และการ ถกเถียงเรื่องนี้มีความสำ�คัญกับนักศึกษามากขนาดไหน? มันทำ�ให้เรามีผลการเรียนดีหรือเปล่า ? ช่วยทำ�ให้ เราเรียนแบบไม่ติดเอฟในวิชาไหนหรือไม่ ? ช่วยให้น้องปีหนึ่ง ไม่ต้องถูกพี่ว้ากในห้องเชียร์ ? ช่วยให้มหาวิทยาลัยจัดงาน สปอร์ตเดย์ให้ยิ่งใหญ่หรือเปล่า ? ช่วยให้เลือกเรียนตัวนอก คณะที่ได้เกรดง่ายหรือไม่ ? ผู้อ่านคงรู้คำ�ตอบดีอยู่แล้วว่าการถกเถียงเรื่องมายา คติในรั้วมหาวิทยาลัยไม่ช่วยทำ�ให้เราสอบได้เกรดสี่หรือช่วย ให้รอดพ้นจากการติดเอฟวิชาที่เกลียดเข้าไส้ น้องปีหนึ่งก็ถูก พี่ว้ากอยู่ดี ต่อให้เรารู้ความหมายของมายาคติก็ไม่ช่วยให้ มหาวิทยาลัยเลิกจัดงานสปอร์ตเดย์ ผู้เขียนเองก็เห็นด้วยกับผู้ อ่านตรงที่ว่าถ้าเราคิดแบบนี้ เราหยุดอ่านคอลัมน์นี้แล้วไปอ่าน หนังสือสอบ ไปว้ากน้องปีหนึ่งในห้องเชียร์ กิจกรรมโชว์เชียร์ใน งานสปอร์ตเดย์ตามใจต้องการเสียดีกว่า แต่ผู้เขียนเองก็มีบางอย่างที่ไม่เห็นด้วยกับผู้อ่านเช่น เดียวกัน เพราะผู้เขียนกลับคิดว่าการทำ�ความเข้าใจมายาคติ ในรั้วมหาวิทยาลัยจะทำ�ให้เราเห็นว่าการเรียนให้ไม่ได้เกรดเอฟ การว้ากในห้องเชียร์ การเข้าร่วมกิจกรรมสปอร์ตเดย์ (หรือชือ่ กิจกรรมอืน่ ๆ ตามแต่ละมหาวิทยาลัยของตัวเอง แต่มกี จิ กรรม โชว์เชียร์ประกอบการแข่งขันกีฬาในมหาวิทยาลัย) การเลือก เรียนตัวนอกคณะที่เกรดง่ายแทนเลือกเรียนเพราะความสนใจ ทุกอย่างเกีย่ วข้องกัน เพราะนักศึกษาส่วนมาก (ย้�ำ ว่าแค่สว่ น มากไม่ใช่ทกุ คน) ล้วนอยูภ่ ายใต้มายาคติเรือ่ งหนึง่ ทัง้ สิน้
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
นั่นก็คือ “มายาคติความเป็นคณะ” ซึ่งมีที่มาที่ไปอยู่ นอกรั้วมหาวิทยาลัย โดยเราต้องมองจุดเริ่มต้นของการรับรู้มายาคติจาก การขัดเกลาทางสังคมตั้งแต่แรกเกิด นั้นก็คือการปลูกฝังจาก ครอบครัวให้ลูก ๆ ของตนให้เลือกประกอบอาชีพใดอาชีพ หนึ่งสำ�หรับการดำ�รงชีวิต และการตั้งคำ�ถามจากสังคมรอบ ข้างตลอดเวลาว่า “หนูอยากเป็น (ในบริบทนี้คืออยากประกอบ อาชีพ) อะไร ?” ซึ่งสะท้อนนัยยะของสังคมที่ต้องการให้คนใน สังคมเลือกอาชีพที่มีความเฉพาะทางสูงเพื่อทำ�งานในภาคส่วน ต่าง ๆ ในสังคม เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก เป็นต้น เมื่อย้อนมองย้อนกลับมาในรั้วมหาวิทยาลัยสำ�หรับ การศึกษาภาคสามัญ เพื่อการรองรับการสร้างกำ�ลังคนที่มี ความเฉพาะทางสูง ทำ�ให้สถาบันระดับอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิต เฉพาะทางเพื่อป้อนเข้าสู่สังคม แน่นอนว่ามหาวิทยาลัยจะต้อง จัดการเรียนการสอนโดยแบ่งออกเป็นคณะต่าง ๆ ตามสาขา วิชาที่ตลาดแรงงานต้องการ เช่น คณะแพทยศาสตร์ผลิตแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ผลิตวิศวกร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผลิตสถาปนิก เป็นต้น การแบ่งแยกในลักษณะนี้ทำ�ให้มายาคติ ความเป็นคณะ (ตามความคิดเห็นส่วนตัว) เกิดขึ้นมา นั บ จากการรั บ รู้ ค่ า นิ ย มทางสั ง คมเรื่ อ งการเลื อ ก ประกอบอาชีพใดอาชีพหนึ่งตามความสนใจ การตัดสินใจเลือก ที่เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา การสมัครสอบและการสอบเข้า มหาวิทยาลัย ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับความเป็นคณะทั้งนั้น แทบทุก คนในสังคมล้วนมีภาพจำ�ว่าถ้าอยากทำ�งานอันนี้จะต้องเรียน คณะนี้ อยากทำ�งานอันนั้นจะต้องเรียนคณะนั้น เมื่อสอบติด คณะที่ต้องการก็ทำ�ให้ผู้สอบติดมีความยึดมั่นในคณะที่ตนเอง ติดมาสูงยิ่งขึ้นไปอีก การยึดติดในตัวคณะที่ตัวเองสังกัด ส่งผลให้แต่ละ คณะปลูกฝังความคิด ให้เชื่อมั่นในคณะของตนว่าเป็นคณะที่ดี ที่สุด ทุกคนที่อยู่คณะเดียวกันต้องมีความสามัคคีและมีความ เป็นเนื้อหนึ่งใจเดียวกันผ่านกิจกรรมรับน้องประชุมเชียร์และ กิจกรรมสปอร์ตเดย์ กิจกรรมเหล่านี้มีมายาคติของความเป็นคณะที่ไม่ ยอมให้คณะของตนน้อยหน้าไปกว่าคณะอื่น ในแง่ของความ พร้อมเพรียงในการร้องเพลงเชียร์และความสวยงามอลังการ -72-
รีบชิดขวา ช้าชิดซ้าย
มายาคติความเป็นคณะ: มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัยที่หลายคนมองข้าม
ของการโชว์เชียร์คณะ ยกตัวอย่างเช่นบางคณะในมหาวิทยาลัย ภู มิ ภ าคแห่ ง หนึ่ ง ของประเทศไทยใช้ ง บประมาณในการจั ด เตรียมแสงสีเสียงสำ�หรับการโชว์เชียร์สูงมาก ทำ�ให้คณะนั้นได้ รับการยอมรับจากคนในสังคมว่าเป็นจุดเด่นของกิจกรรมโชว์ เชียร์ตอนกลางคืนของมหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกเหนือไปจากกิจกรรมพวกนี้แล้ว มายาคตินี้ยัง ทำ�ให้นักศึกษาส่วนใหญ่เรียนให้ได้เกรดที่ดี (ไม่ให้ติดเอฟ) เพื่อให้ผลการเรียนในทรานสคริปท์สวยและเป็นที่ดึงดูดใจของ นายจ้างตอนสมัครงานตามที่ต้องการ ทำ�ให้นักศึกษาส่วนใหญ่ เลือกเรียนตัวนอกคณะ (ตามที่หลักสูตรกำ�หนดให้เลือกเรียน) ที่ให้เกรดง่าย ๆ แทนที่จะเลือกเรียนตัวที่สนใจ ในทางกลับกันคนที่เลือกเรียนตัวนอกคณะเพราะ ความสนใจส่วนตัวก็อาจถูกตำ�หนิ ประชดประชัน หรือเสียดสี จากเพื่อนร่วมคณะได้เช่นเดียวกันทั้งที่ในความจริงนักศึกษาทุก คนมีสิทธิ์จะเลือกวิชาเรียนได้ตามความสมัครใจ และไม่มีสิทธิ์ ที่จะถูกสังคมรอบข้างมองในแง่ไม่ดีเช่นนี้ เช่น นาย ก. อยู่คณะ วิทยาศาสตร์แต่เลือกเรียนตัวฟรีวิชาประวัติศาสตร์ จนถูกเพื่อน ล้อว่า นาย ก. เป็นนักศึกษาภาคประวัติศาสตร์ เป็นต้น กล่าวโดยสรุปแล้วมายาคติของความเป็นคณะคือ ความเชื่อของคนกลุ่มหนึ่งที่เชื่อในทุกสิ่งทุกอย่างของคณะไม่วา่ จะเป็นการเรียน กิจกรรม โดยผูเ้ ขียนเสนอว่าเกิดมาจากแนวคิด การผลิตกำ�ลังคนแบบแยกส่วน แม้วา่ บางคณะจะมีอาชีพทีไ่ ม่ ตายตัวสำ�หรับคนเรียนจบก็ตาม มายาคติความเป็นคณะเป็นแค่ สิง่ ทีค่ นอุปโลกน์ขน้ึ มาเท่านัน้ ไม่ใช่ความจริงเสมอไป ตั ว อย่ า งที่ เ ห็ น ได้ ชั ด เจนที่ สุ ด ก็ คื อ การประกอบ อาชีพกับคณะที่เรียนในระดับมหาวิทยาลัยไม่จำ�เป็นจะต้อง เกี่ยวข้องกันเสมอไป เรามีอิสระในการเลือกประกอบอาชีพตาม ที่ใจต้องการ หากไม่ติดขัดกับเงื่อนไขของสัญญาทุนการศึกษา สำ�หรับบางคณะ ยกตัวอย่างเช่น เราเรียนจบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เราก็อาจไปทำ�งานเป็นครีเอทีฟหรือศิลปิน ก็ได้ ประภาส ชลศรานนท์ หนึ่งในเจ้าของบริษัทเวิร์คพ้อยท์ เอ็นเตอร์เทอร์เมนท์ ผู้ประพันธ์เพลง “วันพรุ่งนี้” และเพลง “ปั่นจักรยาน” ที่ติดหูคนทั้งประเทศ ก็เรียนจบสถาปัตย์จาก จุฬาฯ สถาบันเดียวกันกับวินทร์ เลียววาริณ นักเขียนรางวัลซีไรต์ ที่ผลิตงานเขียนออกสู่สาธารณะอย่างสม่ำ�เสมอ เป็นต้น -73-
ในเมื่อการประกอบอาชีพกับคณะที่เรียนไม่จำ�เป็น จะต้องเกี่ยวกัน แล้วเราจะยังปลูกฝังมายาคติความเป็นคณะ ไปเพื่ออะไรกัน ? แล้วเราจะแบ่งแยกคณะใครคณะมันแล้ว แข่งขันกันไปจนวันตายกันไปเพื่ออะไร ? เพื่อปลูกฝังแนวคิด ระบบอุปถัมภ์และอำ�นาจนิยมให้กับคนในสังคมแค่ไหนหรอก หรือ ? สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีความจำ�เป็นกับการทำ�งานในกระแส โลกาภิวัฒน์ที่ต้องมีการบูรณาการศาสตร์หลาย ๆ สาขา ระหว่างวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ธุรกิจ การ ตลาด กฎหมาย เข้าด้วยกัน ทักษะวิชาชีพเพียงอย่างเดียวไม่ เพียงพอกับการทำ�งาน การแก้ปัญหา และการดำ�รงชีวิตอีก ต่อไป ข่าวเรื่องการเสนอร่างกฎหมายพืชตัดต่อพันธุกรรมและ กระแสการต่อต้านหรือสนับสนุนจีเอ็มโอเป็นตัวอย่างที่ดีว่าเรา ไม่สามารถวิเคราะห์จากข้อมูลสาขาใดสาขาหนึ่งได้ เราควรลงมือทำ�อะไรสักอย่างดีไหม ? การริ เริ่ มปรั บ เปลี่ ย นกิ จ กรรมรั บ น้ อ งประชุ ม เชี ย ร์ และกีฬาสีให้มองความสำ�คัญของความเป็นปัจเจกและลดทอน ความสำ�คัญของคณะตนเอง การสร้างความร่วมมือในการ แก้ไขปัญหาจากคนในหลาย ๆ สาขาวิชา การให้ความสำ�คัญ กับงานที่อยากทำ�ในอนาคตแทนคณะที่จะเรียนในอนาคต สิ่ง เหล่านี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการลดทอนมายาคตินี้ ไม่ได้ เป็นการลบล้างมายาคติความเป็นคณะให้หมดไป เพียงแค่มันเริ่มตรงที่เราต้องมองการเรียนในระดับ มหาวิทยาลัยใหม่ ไม่ได้มองแค่ว่าเราจะต้องสอบเข้าคณะนั้น ให้ได้เพราะเป็นคณะที่ดังหรือจบมามีงานทำ� ไม่ได้มองว่าเรา จะต้องเข้าร่วมกิจกรรมรับน้องที่ดูศักดิ์สิทธิ์ดังเช่นกิจกรรมของ บางมหาวิทยาลัย ไม่ได้มองว่าเราจะต้องไปเป็นส่วนหนึ่งของ การโชว์เชียร์สปอร์ตเดย์ แต่ต้องมองให้เห็นถึงความเชื่อมโยง กับเครือข่ายขนาดใหญ่อย่างละเอียดมากกว่ามองประเด็นแค่ บางประเด็นแบบผิวเผินเท่านั้น เพราะในชีวิตจริงยังมีมายาคติที่มองไม่เห็นและที่ยัง ไม่รู้อีกจำ�นวนมากคอยควบคุมเราอยู่ แหล่งที่มา: นิยามของมายาคติ http://johnnopadon.blogspot.com/2015/10/roland-barthes-myth-post-structural.html
small but matter l issue 03
พินิจฟิล์ม
Mean Girl
เกศสุดา ลำ�ใย
MEAN GIRLS
ประเภท Comedy ความยาว 97 นาที กำ�กับโดย Mark Waters เขียนบทโดย Tina Fey
Cady คือเด็กสาวที่โตมาแบบใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติในแอฟริกา เธอชอบและเก่งคณิตศาสตร์ ไม่ชอบแต่งตัวอะไรมากมาย แต่ แล้ววันหนึ่งเธอกลับต้องไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ High School ใน อเมริกา
Regina เป็นเหมือนตัวแทนของค่านิยมสำ�หรับวัยรุ่น ที่ตัวเอง ต้องเด่นและดูดีที่สุดในสายตาคนอื่น และมักหาวิธีการอะไรก็ได้ ที่ทำ�ให้คนอื่นนั้นดูต่ำ�ต้อยกว่าตน เช่น นินทาทั้งเรื่องจริงและ เรื่องแต่ง หรือหาเรื่องกลั่นแกล้งจนสภาพคนนั้นดูไม่ได้ ในขณะ ที่ Cady นั้นเป็นเหมือนวัยรุ่นทั่วไปที่มองว่าค่านิยมแบบ Regina นั้นดีและจำ�เป็นสำ�หรับตัวเอง เธอจึงต้องนำ�เปลือกแบบ Regina มาสวมใส่ เพื่อให้ตัวเองได้รับตามสิ่งที่ Regina ได้รับ จนลืมไป ว่าตัวตนที่แท้จริงของเธอภายใต้เปลือกนั้นเป็นอย่างไร
ตัวตนที่โดนปกคลุมด้วยเปลือก
Regina คือเด็กสาวผู้เป็นดาวเด่นประจำ�โรงเรียน การแต่งตัวต้อง เลิศทุกระเบียบนิ้ว ทุกสิ่งทุกอย่างในโรงเรียนนี้จะต้องหมุนรอบตัว เธอ เธอมีเพื่อนผู้ติดตาม 2 คน คือ Gretchen กับ Karen ดูจากคาแร็คเตอร์ในตอนต้นเรื่องของตัวละคร Cady กับ Regina แล้ว จะรู้สึกได้ว่าทั้งสองคนไม่น่าจะมาเป็นเพื่อนกันได้ เลย ถ้าไม่ใช่เพราะว่า Cady ต้องการได้รับความสนใจจากชาย หนุ่มที่เธอแอบชอบ เธอเลยต้องเริ่มตีสนิทกับ Regina เพื่อที่จะ ได้เป็นที่สนใจของคนรอบข้างเหมือนที่ Regina เป็น เธอจึงต้อง ทิ้งกลุ่มเพื่อนที่โดนคนอื่นมองว่าเป็นตัวประหลาด ทิ้งการฝึกซ้อม แข่งคณิตศาสตร์ และไปเข้ากลุ่มเพื่อนสาวของ Regina แทน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา Cady ก็เริ่มแต่งตัวมากขึ้น แกล้งทำ�โจทย์ไม่ ได้เพื่อให้ชายหนุ่มที่เธอแอบชอบมาสอนเธอ ใช้เวลาหลังเลิกเรียน อยู่ที่บ้านของเหล่าเพื่อนสาว โดนกิจกรรมหลัก ๆ ที่พวกเธอทำ� กันก็เป็นการนินทาชาวบ้าน เขียนด่าคนอื่นลงสมุดไดอารี่ และ แน่นอนว่าในบางครั้งพวกเธอก็แอบนินทาลับหลังกันเอง
มายาคติในรั้วมหาวิทยาลัย
ฉายปี 2004 IMDB 7.0/10 Rotten Tomatoes 83%
จริงอยู่ที่ว่าพอเธอลองทำ�ตัวแบบ Regina ก็ได้รับความสนใจ มากกว่าเป็นเด็กบ้านๆธรรมดา แต่นั่นก็ทำ�ให้เธอเสียตัวตน เสีย เพื่อนที่มีไลฟ์สไตล์เข้ากับตัวเธอจริงๆไป และนั่นก็ทำ�ให้เธอหัน มาถามกับตัวเองว่า สิ่งที่เธอทำ�อยู่นั้นมันดีจริง ๆ เหรอ ทั้ง ๆ ที่คุณค่าของตัวคนนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการทำ�ตัวสวยเลิศหรือฉลาด เรียนเก่งเพียงอย่างเดียว แต่คือการคงคุณค่าในสิ่งที่ตัวเองเป็น จริง ๆ ไว้ ไม่ปรับเปลี่ยนสวมใส่เปลือกตามค่านิยมจนเกินไป และที่สำ�คัญที่สุดคือต้องให้เกียรติในคุณค่าของคนอื่นเช่นกัน สุดท้ายแล้วสิ่งที่ตัวละครอย่าง Cady ต้องเรียนรู้นั้นคือ การใส่ เปลือกไม่ได้ช่วยให้ชีวิตของเธอมีความสุขขึ้นเลย ในทางกลับกัน เธอมีความสุขน้อยลงมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ�กับการที่ต้องมาคอย ทำ�ให้ตัวเองเป็นที่น่าสนใจของคนอื่นและกดคนอื่นให้ต่ำ�ลงแทน หากเธอลองถอดเปลือกออกแล้วเลิกสนใจว่าทุกคนจะมองมาที่ เธอหรือไม่ เธอก็จะพบว่าการเป็นแบบ Regina นั้นไม่จำ�เป็น สำ�หรับชีวิตของเธอเลย -74-
กวี ทีละ บท
นาฬิกา ควัน
จอกจันทร์นิทรา
“ คิดว่าถึงก็คือถึง, คิดว่าไม่ถึงก็คือไม่ถึง เพราะท้องฟ้าที่นายไล่ไขว่คว้า ความจริงก็เป็นแค่อากาศธรรมดาๆ นี่แหละ ” ..จอกจันทร์นิทรา..
-75-
small but matter l issue 03