small team บรรณาธิการ กชกร ความเจริญ บรรณาธิการศิลปกรรม ปาณิศา เจิมหรรษา กองบรรณาธิการ ภูริชญา คุปตจิต กองพิสูจน์อักษร อลีนา เก่งชน อริยะ รู้ยาม ศุภชัย เลิศกิตติโกศล ฝ่ายศิลปกรรม นฤมล เจริญจรัสกุล ศศิภา วิจิตรไกรวิน นิศาชล พร้อมสุทธิพงศ์ สุวรา บุญภากร ธนัท ลัพธวรรณ์ พูดคุยกันได้ที่ page fb > small but matter ร้านพิมพ์ ร้าน ดี-เอสแอล สปีด เลเซอร์ ติดต่อ: 086-621-7252, 089-150-4155 ขอบคุณเพื่อนพี่น้องที่มาร่วมลงแรงลงเวลา ขอบคุณทุกคนที่มาร่วมลงขันสนับสนุน คนละเล็ก คนละน้อย ขอบคุณผู้อ่านที่กำ�ลังอ่านข้อความนี้ ไม่ว่าเราจะไปบังคับให้อ่าน หรือเผอิญเดินผ่านแล้วหยิบขึ้นมา ขอบคุณทุกคำ�แนะนำ� ทุกการสนับสนุน และทุกกำ�ลังใจ :) -- จากใจทีมงาน
small talk small เป็นพื้นที่, ที่เจ้าบ้านอย่างเราพยายามเก็บกวาดห้องรับแขกแล้วชวนผู้อ่านเข้ามานั่งโซฟาคุยกัน แบบที่ บอกแขกตั้งแต่ก้าวเท้าเข้าบ้านว่า please come in and make yourself at home ถ้าเห็น ว่าโซฟามันเกะกะก็บอกมา บางทีเราอาจจะช่วยกันยกโซฟาออกไปแล้วเอาเสื่อมาปูนั่งขัด สมาธิ ถ้ามันจะทำ�ให้บทสนทนาเราออกรสมากขึ้น เราอยากให้บรรยากาศมันสบาย ๆ แบบนั้น ตามประสาเจ้าบ้านที่ดี ในการพูดคุยแต่ละครั้งเราทำ�การบ้านโดยการเตรียมหัวข้อหลักในการ พูดคุย เตรียมเรื่องเล่าและมุกตลก บางครั้ง, เราอาจจะเปิดหนังดูด้วยกัน วันนี้ เราอยากจะชวนทุกคนถอดรองเท้าเข้าบ้าน มาขมวดคิ้วและตั้งคำ�ถามกับ ‘การเรียน’ ไม่ว่าจะเคยผ่านพ้นหรือว่ากำ�ลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะชอบพาตัวเองเข้าห้องเรียนหรือพาตัวเอง ออกไปโลดแล่นข้างนอก การศึกษาขั้นพื้นฐานทำ�ให้การเรียนส่งผลถึงทุกคนในประเทศไทย อย่างถ้วนหน้า--การไม่เข้าเรียนเป็นผลจากอิทธิพลของการเรียนในทางหนึ่งมิใช่หรือ เพราะความคิด-ความเชื่อของคนไม่ได้โผล่มาจากอากาศว่างเปล่า คงไม่มากเกินไปที่จะบอก ว่าสิบกว่าปีในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนก่อร่างความคิด-ความเชื่อของพวกเราทุกคน ตั้งแต่เนื้อหาที่ถูกคัดเลือกมาลงในแบบเรียนประวัติศาสตร์ ค่านิยมที่คนเรียนเก่งต้องเรียน สายวิทย์ การบังคับเข้าแถวเคารพธงชาติทุกเช้า วิชาศิลปะที่ทำ�ให้นักเรียนไม่ว่าจะอยู่ส่วน ไหนของประเทศไทยวาดภูเขารูปทรงเดียวกัน ไปจนถึงระเบียบการแต่งชุดนักเรียนและตัดผม ให้สั้นเกรียนหรือเท่าติ่งหู ไม่ได้บอกว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ดี ยัง.. ยัง วงสนทนาของเราคงไม่จบเพียงแค่เรื่องเล่าจากฝั่งเจ้าบ้าน เวลามีจำ�กัด หน้ากระดาษมีจำ�กัด เรื่องบางเรื่องเราทำ�ได้แค่ตั้งคำ�ถามเพราะเรารู้น้อย แต่เราสนใจ วงนี้ไม่ใช่ปาฐกถาจากผู้รู้แก่ผู้รู้น้อยกว่า เราคุยกันแบบเพื่อน คุยกับเพื่อน เราก็หวังว่าการเปิดประเด็นใน small จะทำ�ให้บางคนสนใจ เอาบางเรื่องกลับไปคิดต่อ ถ้าคิดคนเดียวแล้วเหงา แสดงว่ารู้แล้ว ว่า small เกิดขึ้นมาเพื่ออะไร กชกร ความเจริญ บรรณาธิการ - 02 -
small talk / 01 คำ�ถาม
small content
l
วิถีชีวิต
l
การเรียน
เรียงเรื่องเรียน / 06 small interview : กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท / 07 - 11 ระบบการศึกษาไทย คือ อะไร ใครกำ�หนด / 12 - 13 เครื่องแบบและนัยยะ / 14 - 15 small voice wanna do something / 16 - 17 บันทึก (ทัก) / 18 โดดเรียน / 19 Alcohol101 / 20 - 23 โรงงานผลิตบัณฑิต / 24 - 25 OBSERVER / 26 - 27 ลากเส้นเชื่อม Heart Head Hand/ 28 - 29 แบบหัดอ่านสำ�หรับเด็ก/ 30 รีบชิดขวา.. ช้าชิดซ้าย/ 30 - 31 Economic Today: เศรษฐกิจวันนี้ / 32 ในวันเช่นนี้ / 33 small interview : วสันต์ เสตสิทธิ์ (โต้ง) กลุ่มเผยแพร่กฏหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) / 34 - 37 ออกจากห้องสี่เหลี่ยม / 38 - 39 INTRO TO LOGIC / 40 - 41 ฟุ้ง / 42 - 43 ความสุขอยู่ที่ ไหน ? / 44 พินิจฟิล์ม film review / 45 Try To Listen / 46 - 47 GIGO : Garbage In, Garbage Out / 48 ขมขัน / 50 กวีทีละบท / 51
โศกนาฎกรรม ที่สุด
ในชีวิต คือการใช้เวลา ทั้งชีวิตตกปลา
เพียงเพื่อ
จะพบว่า
มัน
ไม่ใช่ปลาตัวที่ต้องการ
-- เฮนรี่ เอดเวิร์ด ธอโร
small maincourse
issue 02
คำ�ถาม วิถีชีวิต การเรียน
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
small : คำ�ถาม วิถีชีวิต การเรียน
เรียงเรื่องเรียน
ปาณิศา เจิมหรรษา
เรียงเรื่องเรียน เรียนแปลว่าอะไรกันแน่
เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้จากการคิด เรียนรู้จากคนอื่น เรียนรู้จากสิ่งอื่น
เรียน เรียนรู้ ศึกษา
To study (v.) มีกรรมในความนัยหรือเปล่า To learn (v.) มีกรรมในความนัยหรือเปล่า To educate / to be educated (v.) มีบุรุษที่สองเข้ามาในความหมาย แค่ไหนคุณถึงยอมรับได้ หยุดที่กริยาเรียน หยุดที่กริยารู้ ความเข้าใจ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ การเรียนคือการได้รับข้อมูลหรือเปล่า การเรียนต้องมีความคิดร่วมด้วยไหม จากข้อมูล เป็นความเข้าใจ เป็นความรู้ เป็นปัญญา ใส่คำ�สั่งใหม่ ๆ ให้สมองกล นั่นคือการเรียนหรือเปล่า ใน Bicentennial Man แอนดรอยด์ชื่อ Andrew Martin (Robin Williams) เอาข้อมูลดาวน์โหลดใส่สมอง นั่นคือการเรียนหรือเปล่า เข้ารับการศึกษาในสถาบันการศึกษา ผ่านขั้น อ. ขั้นป. ขั้นม. และอื่นๆ ที่สูงกว่า นั่นเรียกว่าเรียนหรือเปล่า เราจำ�เป็นต้องมีครูเพื่อจะเรียนหรือไม่ เราจำ�เป็นต้องมีสื่อจึงจะเรียนรู้ได้หรือไม่ เราเรียนกับตัวเองได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ด้วยตนเองใต้ต้นโพธิ์ ลีโอนาร์โด ดาวินชีศึกษากายวิภาคจากศพ มนุษย์วัยเด็กเดินเป็นครั้งแรก กิน หายใจ ขับถ่าย มีเพศสัมพันธ์ มีลูก คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
เรียนคือการพบสิ่งที่ เรายังไม่เคยพบแต่มีอยู่แล้ว หรือเรียนคือการสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา สร้างวิธีใหม่ สร้างความเข้าใจใหม่ เรียนเพื่ออะไร เรียนเพื่อผลประโยชน์ เพื่อการงาน เพื่อการประกอบอาชีพ เพื่อโอกาส เพื่อชื่อเสียง เพื่อเส้นสาย เพื่อเงิน เพื่อใช้เงิน เพื่อใช้เวลา เพื่อความสัมพันธ์ เพื่อความรัก เพื่อครอบครัว เพื่อชีวิตที่ดี เรียนเพื่อหนีจากโลกเดิม เรียนเพราะความฝัน เรียนเพราะความหวัง เรียนเพื่อปลดปล่อย เพื่อเปิดโลก เปิดมุมมองเพื่อหลุดจากกรอบความคิดเดิม เพื่อสร้างกรอบความเข้าใจใหม่ เรียนเพราะความพยายามจะเข้าใจ ความเป็นไปของโลก เข้าใจมนุษย์ เข้าใจชีวิต เรียนเพราะสับสน เพราะโง่งม เพราะหลงใหล เพราะกระหาย กิเลสที่จะเรียน กิเลสที่จะรู้ อัตตาในการเป็นผู้รู้ เรียนเพราะไม่รู้ เรียนเพราะรู้ เรียนเพราะหลงว่ารู้ รู้ว่าตัวเองรู้ ไม่รู้ว่าตัวเองรู้ รู้ว่าตัวเองไม่รู้ - 06 -
small interview
เพนกวิน / ไนซ์
กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท
หลังเลิกเรียน เรากับบรรณาธิการศิลปกรรมมีนัดกันที่โรงอาหารอักษรฯ เพื่อหาอะไรใส่ท้องระหว่างรอน้องสองคนเดินข้ามมาจากเตรียมอุดมฯ แสงช่วง magic hour กำ�ลังจะหมดแล้วว่ะ --- เราหันไปบอกเพื่อนที่กำ�ลังง่วนกับการกดเช็คกล้อง ผู้ให้สัมภาษณ์ : พริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิน), ณัฐนันท์ วรินทรเวช (ไนซ์)
ผู้สัมภาษณ์และเรียบเรียง: กชกร ความเจริญ ศิลปกรรมและภาพถ่าย : ปาณิศา เจิมหรรษา
เพนกวิน--พริษฐ์ ชิวารักษ์ มาก่อน อยู่นู่นแล้ว เราโบกมือทักทาย เพนกวินคือนักเรียนชั้นม.ห้าผู้เป็นที่รู้จักจากเหตุการณ์เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา หลังจากที่นายกรัฐมนตรีถามว่า มีใครจะถามอะไรไหม เขาชูป้ายต่อหน้านายกฯ ว่า “สอนเด็กไทยไม่ให้โกง ใช้เหตุผลสร้างจริยธรรม ดีกว่าท่องจำ� หน้าที่พลเมือง #จากใจนักเรียนถึงลุงตู่” แล้วก็ถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเชิญตัวออกไปนอกโถงปาฐกถา ไม่นานนัก ไนซ์--ณัฐนันท์ วรินทรเวช เดินมาสมทบที่โต๊ะม้าหินอ่อนพร้อมหอบหิ้วหนังสือเตรียมสอบ SAT กับหนีบวรรณกรรมคลาสสิกเล่มโตที่ยืม จากห้องสมุดไว้ข้างกาย เพนกวินเป็นเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทคนปัจจุบัน ไนซ์เป็นอดีตเลขาฯ ไนซ์ผู้ส่งข้อสอบเปล่าวิชาหน้าที่ พลเมือง ทำ�อารยขัดขืน เพราะข้อสอบชี้นำ�ให้เลือกตอบสิ่งที่ขัดกับความเชื่อของตน น้องทั้งสองคนทำ�อะไร คิดอะไร แล้วสิ่งที่ทำ�ให้เชื่อเช่นนั้นเกิดจากอะไร วันนี้เราจะมาพูดคุยกัน
- 07 -
small but matter l issue 02
small interview
เพนกวิน / ไนซ์
กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท
จุดเริ่มต้นเข้ามาทำ�งานที่กลุ่ม
เล่าถึงงานเสวนาที่กลุ่มทำ�ให้ฟังหน่อย
ไนซ์: เราอยู่มาตั้งแต่กลุ่มก่อตั้งเลย ตั้งแต่ม.สี่ สองปีแล้ว ตอนนั้นทำ�รณรงค์เรื่องทรงผมในโรงเรียน เก่า (โรงเรียนตอนม.ต้น) ตอนนั้นกระแสก็ค่อนข้างแรงมาก มีกฎออกมาว่าห้ามโรงเรียนบังคับให้เด็กไว้ ผมสั้น แต่ว่าโรงเรียนเก่าเราก็พยายามบ่ายเบี่ยง บอกว่าจดหมายไม่ถึงบ้าง เราก็เลยพยายามผลักดัน ประเด็นนี้ให้นักเรียนในโรงเรียนรู้ว่าตัวเองมีสิทธิในการเรียกร้องอะไรบ้าง
เพนกวิน: ตอนส่งมอบตำ�แหน่งอย่างเป็นทางการ ตอนนั้น กลุ่มเริ่มแคมเปนจัดกิจกรรมไปเรื่อง ๆ ครั้งแรกเรื่อง ‘การ ศึกษาภายใต้การเมืองที่เปลี่ยนผ่าน’ คนก็มาฟังกันอย่าง ล้นหลามมาก สื่อมายี่สิบ คนฟังมาสอง
เราก็ผลักดันตรงนั้นมาได้สักพักหนึ่ง ซึ่งสุดท้ายก็ไม่สำ�เร็จ คือเด็กที่โรงเรียนก็เห็นด้วยนะ แต่ไม่กล้าพูด กัน แล้วพอเราไม่ได้อยู่โรงเรียนเก่าแล้วก็โดนว่าว่าเป็นคน นอก มายุ่งอะไรกับโรงเรียน
ไนซ์: (หัวเราะ) เฮ้ย พูดว่าคนฟังมาสองก็เกินไป ตอนนั้นจัดที่ สวนเงินมีมา ในห้องสมุดแล้วมันอยู่ลึกเข้าไปมากเลย คนเข้า ไม่ถูก พอไปคุยทีหลังมีคนมาแต่มาไม่ถูกแล้วกลับไปเยอะ มากเลย วันหลังเลยแก้ปัญหาโดยการไปจัดที่ร้านกาแฟหน้า ซอย ทีนี้คนก็มาถูกละ
พอทำ�เรื่องทรงผมก็บังเอิญไปรู้จักกับเนติวิทย์ (เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล) กับสมาชิกสมาพันธ์ฯ [สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย] บางคน พอตอนหลังไม่รู้เกิดอะไรขึ้นเนติวิทย์ ก็มาชวนว่าตั้งกลุ่มไหม ตอนนั้นเรารู้สึกว่าอยากทำ�ต่อ เพราะโปรเจคที่ทำ�ที่โรงเรียนเก่าก็ทำ�ไม่ได้เต็มที่ ถ้าเกิดมาตั้งอะไรจริง ๆ จัง ๆ ก็น่าสนใจดี ตอนนั้นฟีลแบบ โอ้โห มุ่งมั่นมาก สมาชิกเริ่มแรกมีไม่ถึง 10 คน ก็มีสมาชิกจากสมาพันธ์นักเรียนเก่าบางคน แล้วก็มีเนติวิทย์ ตอนนั้น เนติวิทย์เขาก็รู้งานมากสุด เค้าก็รับเป็นเลขาฯ ค่ะ กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทกำ�ลังทำ�อะไรอยู่ ไนซ์: ตอนแรกก็ทำ�เพจ เขียนวิพากษ์การศึกษาลงเพจ ตอนหลังเริ่มขยับขึ้นมาทำ�รณรงค์ ทำ�เสวนา พอ ช่วงต้นปีสองพันสิบสี่ แฟ้งค์ (เนติวิทย์) ก็ไป gap year ที่อินเดีย ช่วงนั้นก็ไม่มีเลขาธิการ เค้าก็โหวตกัน ไนซ์ไม่ได้ตั้งใจจะมาเป็นเลย กะจะมาช่วยงานเฉย ๆ เราก็เอ๋อ ๆ งง ๆ เออ ก็รับไว้แล้วกัน เป็นก็ได้ เป็นเลขาฯ คนที่สอง ตอนนั้นกลุ่มยังแบบ โอ้โห ยังไม่นิ่งเลย ไม่รู้จะรอดรึเปล่า แล้วเราก็มาเป็นคนที่สอง ก็กดดัน เราทำ�มาเรื่อย ๆ จัดกิจกรรม รณรงค์มาเรื่อย ๆ เราเป็นเลขาฯ ก่อนรัฐประหาร พอหลังรัฐประหารเนี่ย มันดันมีประเด็นเรื่องค่านิยม 12 ประการขึ้นมา เราก็พยายามทำ�ให้คนเข้าใจ ว่า เฮ้ย ประเทศที่มันบังคับให้คนมีความไม่โตจนถึงขั้นให้คนมาท่องค่า นิยมกันทุกคน มันเป็นประเทศแบบไหน คือเรื่อง morality มันไม่ควรต้องมาถูกจำ�กัดด้วยคนไม่กี่คน ที่คิดว่ามีอำ�นาจสูงสุดในประเทศ คือเรามองว่ามันสื่อถึงความไม่โตของคนในสังคมเอง ก็เลยผลักดัน ประเด็นพวกนั้นมาเรื่อย ๆ ตามที่เห็นข่าว พอตอนมีนาต้นปี เราก็หมดวาระเลขาธิการ เลยให้กวินมา เป็นต่อค่ะ ก็โหวตกัน เพนกวิน: ก็ตอนที่เป็นเด็กใส ๆ คือตอนอยู่ม.ต้น ถึงแม้จะเป็นโรงเรียนไทย มีครูแบบไทย ๆ ระบบ แบบไทย ๆ แต่จุดเล็ก ๆ จุดนึงที่ทำ�ให้แตกต่างจากโรงเรียนอื่นนิดหน่อยคือ ถึงแม้คุณครูจะค่อนข้าง คอนเซอร์ แต่เค้าเน้นให้มีการถกเถียง เราก็มีความเคยชิน ยิ่งตอนเด็ก ๆ ที่บ้านเน้นให้มีการคัดค้าน ถกเถียง แลกเปลี่ยน พอเข้ามอปลายปุ๊บ (ย้ายโรงเรียน) ก็เริ่มโดนคอมเม้นท์ ทำ�ไมไม่ฟังครู ทำ�ไมเป็น เด็กก้าวร้าวจัง (ก้าวร้าวตรงไหน - เพนกวินขมุบขมิบ) อยู่ไปอยู่มาชีวิตก็ผ่านไปแบบลุ่ม ๆ ดอน ๆ เทอมนึง ไปรู้จักสายมืด (อะไร สายดาร์กอะไร เราออกจะใส ๆ--ไนซ์พูดเสียงสูง) ตอนอยู่ในห้องรู้สึกว่า ทำ�ไมสิ่งที่ฉันรู้สึกว่ามันถูก ฉันไม่มีสิทธิได้แลกเปลี่ยน ถึงต้องหาที่แลกเปลี่ยน ที่ระบายออกมา ไนซ์: นี่มาหาเราที่ห้องเลย ตอนนั้นไนซ์อยู่ในห้องนั่งเมาท์กับเพื่อนในห้องตอนพักสิบนาที แล้วเพนกวินก็ เข้ามาแล้วถามเพื่อนไนซ์ว่ารู้จักรึเปล่า คนไหนณัฐนันท์ ตอนแรกไนซ์ก็ตกใจมากเลยจะมาดักตบเราป่าว (หัวเราะ) เพนกวิน: ไปถึงจุดที่พี่ไนซ์กำ�ลังจะพ้นจากวาระแล้วกลุ่มร้างเลขาฯ พี่ไนซ์ก็ถามมาว่าสนป่าว ตอนแรกก็ ชั่งใจว่าจะเป็นอะไรรึเปล่าวะ ชั่งใจอยู่พักนึง ‘เป็นอะไร’ หมายถึง.. เพนกวิน: จะโดนอะไรรึเปล่า จะโดนโรงเรียนเล่นรึเปล่า จะโดนคัดชื่อออกตอนสอบมหา’ลัยรึเปล่า ปลงใจอยู่สักพัก อือ ไหน ๆ ก็เข้ามาสายดาร์กแล้ว ก็ต้องไปให้สุด ก็รับ ด้วยอุดมการณ์หลาย ๆ สิ่ง
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 08-
ตอนนั้นเราเฟลถึงขั้นที่รู้สึก ไม่อยากออกไปไหนเลย ถ้าจะมาวิจารณ์สิ่งที่เราถาม วิจารณ์หลักการ เรารู้สึกว่ามันสนุกดี มันสามารถดีเบตกันได้เนาะ
สัมภาษณ์ : กชกร ความเจริญ
เรียบเรียง : I_was_impressed_by_kindness
เพนกวิน: มาถึงเดือนสิงหาฯ ตอนนั้นจักงานเสวนา ‘ประชาธิปไตยในโรงเรียน’ ตอนแรกมันก็ไม่มีอะไรพี่ แต่ตอน ตำ�รวจท้องที่ทำ�รายงานเค้าตัด ‘ในโรงเรียน’ ทิ้ง งานเสวนาเลย กลายเป็นงานเสวนา ‘ประชาธิปไตย’ ไนซ์: คือเราคุยกันแค่เรื่อง critical thinking, ประธานนักเรียน, สภานักเรียนอะไรแบบนี้ แต่พอเค้าตัดออก โอ้โห ดูปลุกระดม เลย เกือบโดนยกเลิกจัด (มองไปทางเพนกวิน) ต้องไปกินข้าว กับเค้าด้วยหนิ เพนกวิน: (หัวเราะ) ใช่ ต้องไปกินข้าวกับทหารตำ�รวจด้วย
คิดว่าการที่อายุน้อยมีผลต่อการทำ�กิจกรรมของกลุ่มไหม ไนซ์: มี ทั้งในด้านบวกและด้านลบ หนึ่งเลย เราอายุน้อย เราเป็นนักเรียน ทหารไม่ค่อยกล้าทำ�อะไร เราเท่าไหร่ การออกมาพูดเยอะมาก ๆ แบบไนซ์ ถ้าไม่ได้อยู่ในสถานะนักเรียนมีโอกาสโดนจับไปปรับ ทัศนคติเยอะมากเลยนะ เราเลยคิดว่านี่เป็นด้านบวก ถึงแม้จะไม่ชอบอภิสิทธิ์ตรงนี้ก็ตาม เพราะเรา มองว่าไม่ว่าใครก็ไม่ควรจะถูกจับไปปรับทัศนคติ ไม่ควรถูกคุกคามโดยทหารทั้งนั้น แล้วคนที่มองเข้า มา บางคนก็จะโอเคกับเรามากกว่าเพราะเราเป็นนักเรียนถึงแม้สิ่งที่เราพูดมันจะแรงก็ตาม ด้านลบก็มี คือคนมองว่าเด็กจะไปรู้อะไร รอเรียนให้จบก่อนค่อยมาพูด คือคนมองว่าเรายังไม่โต เมื่อเร็ว ๆ นี้เห็นมีงานเสวนา คุยกับนิ้วกลมด้วย(1) ไนซ์: ในมุมมองส่วนตัวนะ งานเสวนานี้เราคิดว่ามันเป็นจุดเปลี่ยนอันนึงที่ค่อนข้างสำ�คัญของกลุ่ม เดิมทีกลุ่มค่อนข้างการเมือง เราทำ�มาเราก็รู้สึกว่ามันไม่เวิร์ก ถ้าเกิดท่าทีการพูดมันแรงไป คนที่เค้า ฟังเราพูดก็คือคนที่คิดเหมือนเราอยู่แล้ว ทีนี้เราจะเสียโอกาสในการเข้าถึงคนรุ่นใหม่อีกกลุ่มหน่ึง คน รุ่นใหม่ทั่ว ๆ ไป ที่อาจจะไม่ต้องสนใจการเมืองก็ได้ หลังจากนั้นก็เลยทำ�กิจกรรมที่ฟังง่ายมากขึ้นค่ะ เพนกวิน: เรื่องเสวนา เราก็เปลี่ยนแนวจากแบบ ‘ประชาธิปไตยในโรงเรียน’ มาเป็นแนวชำ�แหละตำ�รา เรียนวิทย์ เรียนวิทย์ที่ดีมันเป็นยังไง ที่มันเฟรนด์ลี่กับทุกคน ไนซ์: คือเราก็ยังพูดเรื่องการศึกษาอยู่นะ แต่เราไม่ได้พูดในเชิงวิพากษ์อย่างเดียว เราอยากเน้นอีกมุม เช่น การส่งเสริม youth culture การมีพื้นที่แสดงออกของคนรุ่นใหม่ ถ้าเกิดว่าเราส่งเสริมตรงนี้ได้ มันก็จะนำ�ไปสู่การที่คนรุ่นใหม่มีความกล้ามากขึ้น กล้าแสดงออกถึงความคิดของตัวเอง แล้วพอเค้า อยากเรียกร้องอะไรมันก็จะเป็นไปได้มากขึ้นค่ะ หลังจากที่เป็นข่าวโดนคนว่าว่าหัวรุนแรงบ้างไหม ไนซ์: โอ๊ย โดน (ตอบเร็ว) เพนกวิน: เยอะแยะพี่ เอาเท่าที่ผมจำ�ได้ว่าเคยโดย อะ อันนึง “ทักษิณจ้างมา” ยิ่งหน้าผมเหลี่ยม ๆ ด้วยโดนด่าว่า ”เป็นลูกเป็นหลานทักษิน” โอเค ไม่เป็นไร้ (เพนกวินเอ่ยเสียงสูงกวน ๆ ตามเคย) อันที่ ดัง ๆ หน่อยคือโดนขุดรูปตอนที่ไปออกงานเสวนาที่ธรรมศาสตร์เวทีเดียวกับ บก.ลายจุด โดยโดนหา ว่ารับเงินจาก บก.ลายจุดมารึเปล่า แล้วก็โดนอีกเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น อยากดังรึเปล่า ในประเด็นอยากดังรึเปล่า ใช่เราอยากดัง แต่ถามว่าเราอยากให้อะไรดัง แล้วดังไปทำ�ไม เราอยากให้ ประเด็นที่เราจะพูดมีคนได้ยินบ้าง ไนซ์: ของไนซ์จะต่างออกไปอีกนิดเพราะว่าไนซ์เป็นข่าวหลายรอบ เป็นข่าวใหญ่จริง ๆ สามรอบ รอบ แรกคือตอนทำ�แคมเปญค่านิยม 12 ประการ ให้ผู้มีอำ�นาจทบทวนการใส่ค่านิยม 12 ประการลงใน หลักสูตร ทำ�ใน change.org ตอนนั้นกลุ่มยังไม่เป็นที่รู้จักแล้วบังเอิญคนมาลงชื่อเยอะ เกือบสามพัน คน โรงเรียนก็ตกใจ ทหารก็ตกใจ ทหารโทรสายตรงไปหา ผอ.โรงเรียนเรา หลังจากวันนั้นเค้าก็ตาม หาตัวกันเลย ไลน์ห้องนี่ป่วนมาก อาจารย์มาถาม เฮ้ย ใครในห้องเรามาเคลื่อนไหวอะไรทางการเมือง รึเปล่า ใครไปทำ�อะไรแปลก ๆ มารึเปล่า
พอคนเอาไปพูดกันว่ามีคน จ้างมา เป็นเสื้อแดงรึเปล่า หน้าแย่ หน้าปลวก เรารู้สึกว่า เห้ย มันไม่ใช่ประเด็นหลักนะ ตั้งสติกันหน่อย เราก็รู้สึกเฟล ว่าสังคมมันขนาดนี้เลยหรอ
ตอนนั้นเราก็ตกใจ เราเลยเขียนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับลงในเฟซบุ๊กของเรา ตอนนั้นเราก็ไม่รู้จะทำ�ยัง ไงแล้ว ถ้าเกิดเค้าทำ�อะไรเราขึ้นมาจริง ๆ อย่างน้อยนะคนก็จะได้รู้ อยู่ที่แจ้งมันก็ปลอดภัยกว่าดีกว่า โดนอุ้มหายไปเฉย ๆ เราเขียนไป แล้วเรื่องมันก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ ส่วนใหญ่คนก็จะออกมาบอกว่า เห็นใจเรา ทำ�แค่นี้ต้องโดนทหารโทรมาที่โรงเรียนแบบนี้เลยหรอ
(1) งานเสวนา ‘คิดให้รอบด้าน อ่านให้รู้เรื่อง’ คุยกับ นิ้วกลม และพี่หนุ่ม โตมร ศุขปรีชา - 09 -
small but matter l issue 02
small interview
เพนกวิน / ไนซ์
กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท
พอรอบสองเราไม่ขอเล่ารายละเอียดมาก คนก็ยังมีความเห็นไปในทางเดียวกันคือ เห็นใจเรา พอรอบสามเนี่ย ที่เราที่ส่งกระดาษเปล่าวิชาหน้าที่พลเมืองไป คนก็จะ มาพูดว่าเฮ้ย “หน้าที่ตัวเองยังไม่รู้จักเลย จะมาเรียกร้องอะไรกับสังคม” “สิทธิกับ หน้าที่แยกกันไม่ออก” รอบนี้โดนหนักเลย เพราะเรื่องมันกระจายไปกว้างมาก เรื่อง นี้มันเริ่มใหญ่ตอนที่อาจารย์คนหนึ่งไปสัมภาษณ์กับมติชน บอกว่าพ่อแม่มาฝากฝัง ไว้กับโรงเรียน นี่ป่วยทางจิต เนี่ยสองปีแล้วตั้งแต่นู่นนี่นั่น ว่าไป แต่จริง ๆ คือพ่อ แม่เรายังไม่เคยมาโรงเรียนเลยค่ะ เพราะเราอยู่ต่างจังหวัดไง ตั้งแต่มารายงานตัว เราก็ให้พี่สาวพามา พ่อแม่ไม่เคยรู้จักอาจารย์คนนี้ด้วยซ้ำ� ตอนนั้นโกรธมาก ขึ้น มาก (หัวเราะ)มันก็เป็นข่าวใหญ่ ดรามา มีคนมาด่าในเฟสเต็มเลย เราก็อ่าน ตอน แรกก็เฟลนะ เฟลมาก แต่ตอนหลังอ่านแล้วก็ตลกดี
ตอนที่เราเด็กมาก ๆ เราก็ถามพ่อเราว่าทำ�ไมเป็นเสื้อแดง มันไม่ดี (หัวเราะ) คือ เราอยู่ในสภาวะที่งง ก็เพื่อนบอกว่าทักษิณไม่ดี ครูก็บอกว่าทักษิณไม่ดี แล้วพ่อเรา เป็นเสื้อแดงอะ (เสียงสูง) แต่พ่อเราก็ดีอย่างหนึ่ง คือถึงไม่เห็นด้วยแต่ก็คุยได้ พ่อก็ เลยสนับสนุนให้เถียงมาตลอด ตอนหลังเราก็เลยอยากรู้เรื่องการเมืองเยอะขึ้น หา บทความมาอ่านบ้าง เริ่มตามข่าว
พอมาถึงจุดที่เราเข้าอินเตอร์เน็ตเยอะ ๆ ป.ห้า ป.หก พยายามเปิดตัวเองกับข้อมูล ใหม่ ๆ เยอะขึ้น เลยเริ่มเปลี่ยนทัศนคติ แต่ไม่ได้เป็นเสื้อแดงนะ เราเบื่อการเมือง สีเสื้อ เรามองว่าคน เจน (gen: generation) เราค่อนข้างจะเบื่อกับการเมืองสีเสื้อ ทำ�ไมเราต้องจำ�กัด ไม่เหลืองก็แดง ไม่แดงก็เหลือง พอเสื้อเหลืองไป ไม่ กปปส. ก็ แดง ไม่แดงก็ กปปส. เรามองว่ามันเป็นอะไรที่สองฝั่งไปเลย ไม่ขาวก็ดำ� ไม่ดำ�ก็ขาว ช่วงที่รู้สึกเฟลจัดการชีวิตตัวเองยังไง แล้วตรงกลางมันอยู่ตรงไหน ไม่มีพื้นที่ให้คนสีเทาเลยหรอ เราก็เลยวางตัวว่าเราโปร ประชาธิปไตยนะ แต่เราไม่นิยามตัวเอง เราไม่ชอบที่จะจับใครใส่กล่องว่าเป็นเสื้อแดง ไนซ์: ตอนนั้นเราเฟลถึงขั้นที่รู้สึกไม่อยากออกไปไหนเลย ข่าวมันใหญ่มาก เราไม่ได้ กปปส. แล้วคุยกันไม่ได้ คิดมาก่อนว่าจะใหญ่ขนาดนี้ ปกติเราไม่ใช่คนที่ชอบถูกรุมสังเกตเห็นเยอะ ๆ มีคน รู้จักเยอะ ๆ เราเป็นคนที่ต้องการความเป็นส่วนตัว แล้วมันก็มีคนด่าในสิ่งที่เรามัน พอ ม.ต้น เข้าอีพี (EP: English program) เรียนเป็นภาษาอังกฤษ อาจารย์บอกให้ไป ไม่ใช่ประเด็นของเรา ถ้าจะมาวิจารณ์สิ่งที่เราถาม วิจารณ์หลักการ วิจารณ์ประเด็น อ่านบทความ เราก็เลยเปลี่ยนนิสัยอ่านข่าว เข้าเว็บฝรั่งมาตั้งแต่ตอนนั้น พอเริ่มอ่าน คือเรารู้สึกว่ามันสนุกดี มันสามารถดีเบตกันได้เนาะ พอคนเอาไปพูดกันว่ามีคนจ้าง เว็บฝรั่งมันก็ยิ่งเปิดโลกให้กว้างขึ้นอีก มีดาตาเบสที่อาจจะหาในภาษาไทยไม่ได้ เริ่ม มา เป็นเสื้อแดงรึเปล่า หน้าแย่ หน้าปลวก เรารู้สึกว่า เห้ยมันไม่ใช่ประเด็นหลัก รู้จักคนมากขึ้น เริ่มตั้งคำ�ถามว่าทำ�ไมต่างประเทศเป็นแบบนี้ ทำ�ไมประเทศไทยเป็น นะ ตั้งสติกันหน่อย เราก็รู้สึกเฟลว่าสังคมมันขนาดนี้เลยหรอ พอตอนหลังเราก็หัน แบบนี้ เรื่องพวกนี้ก็ผลักดันมาเรื่อย ๆ จนถึงจุดที่รู้สึกว่า เฮ้ยต้องทำ�อะไรซักอย่าง มาทำ�สิ่งที่เราสนใจ อยู่กับคนที่อยู่ด้วยแล้วสบายใจ ก็ดีขึ้น ไนซ์สนใจการเมืองขนาดนี้ทำ�ไมมาเรียนสายวิทย์ เพนกวิน: ส่วนผมก็โดนด่ามาแต่ไม่ค่อยเฮิร์ต เพราะผมว่ามันนอนเซนส์ และด้วย ความที่เป็นคนเกรียนพอสมควร โดนบอกให้ไปลดความอ้วนหรอ ก็หัวเราะให้เขา ไนซ์: แม่อยากให้เป็นหมอ (หัวเราะ) คือแม่เป็นพยาบาล ตอนเด็ก ๆ พอกลับมา หน่อยแล้วกัน 555 (อืมม เป็นคนมั่นคง--ไนซ์) จากโรงเรียนก็มารอแม่ เห็นหมอทำ�งานก็รู้สึกว่าเท่ดีนะ แล้วก็เป็นคนเรียนเก่งด้วย แม่เลยบอกว่า เออ เรียนหมอก็ดีนะ ตอนแรกที่มาสอบม.ปลาย ก็ลังเลว่าหรือจะสอบ ตอนเด็กเริ่มสนใจเรื่องพวกนี้ยังไง ศิลป์-ญี่ปุ่นดี อาจารย์ก็บอกว่าไม่ได้หนู เก่งวิทย์ขนาดนี้ เลขก็ได้เกือบท็อป เสียดาย ความสามารถ ทำ�ไมไม่สอบสายวิทย์ เราก็เออศิษย์รักอาจารย์ เลยมาสอบสายวิทย์ เพนกวิน: ผมมาจากภาคเหนือ อยู่ลำ�ปาง เค้าก็ฟังสถานีวิทยุเสื้อแดงกัน ผมไม่ได้ แต่สุดท้ายก็ชอบเศรษฐศาสตร์มากกว่าอยู่ดี เลยมาอยู่สายวิทย์กบฎ วิทย์เปลี่ยน มีสีเสื้อ ไม่ได้อินมากขนาดนั้นแต่มันทำ�ให้เราสนใจอ่านหนังสือพิมพ์การเมือง อ่าน ใจน่ะค่ะ ตอน ป.สี่ จนถึง ป.ห้า ป.หก ปุ๊ป เราเริ่มรู้สึกว่าหนังสือพิมพ์มันก็สนุกเนอะ เรา ก็ไม่เข้าใจธรรมชาติของการเมืองเท่าไหร่จนกระทั่งเราไปอ่านการ์ตูนที่มีปรัชญา วันเวลาว่าง ๆ ทำ�อะไรบ้าง การเมืองนิดหน่อย เรื่องปฏิวัติฝรั่งเศส เราก็เริ่มสนใจความรู้ทางการเมือง การ ปกครองมาเรื่อย ๆ ด้วยความเป็นคนชอบอ่านหนังสือ พอเราอ่านมากเราก็กล้าจะ เพนกวิน: พี่ไนซ์ก่อนเลยครับ น่าจะมีสาระกว่า พูดมากขึ้นเพราะมีเรื่องจะพูด ก็ได้รีเฟล็กต์ที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง แต่สภาพแวดล้อมตอน นั้นเขาอยากให้เราพูด ก็เลยไม่ค่อยเป็นอะไร ไนซ์: ก็ไม่เชิงมีสาระหรอก อย่างที่เราว่าไป ข้อดีมาก ๆ ที่เราตัดสินใจถูกที่เรามาทำ� ตรงนี้ก็คือการที่ได้รู้จัก ที่บ้านสนใจการเมืองอยู่แล้ว? กลุ่มคนที่ทำ�งานศิลปะ คือเราไปเป็นสปีคเกอร์ (speaker) ให้กับงานที่หอศิลป์ หลัง จากนั้นพี่เค้าก็ชวนให้ไป gallery วงคนที่รู้จักก็ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จากที่รู้จักแค่คนที่ เพนกวิน: ไม่เชิงครับ พอกวินพูดมาก ๆ เค้าเลยลองอ่านตามบ้าง gallery ก็เริ่มรู้จัก เพอร์ฟอร์มานซ์อาร์ทติสท์ (performance artist) รู้จักพวกคนใน วงการศิลปะมากขึ้น ด้วยความที่รู้จักกันระดับหนึ่ง กลายเป็นว่าพอว่าง ๆ ก็ไปดูพวก ไนซ์: ของไนซ์แปลกกว่าของเพนกวินนิดนึง คือเป็นคนใต้ แล้วคนใต้ส่วนใหญ่ นี้ค่ะ คอนเซอร์เวทีฟ เข้มข้นมาก ประชาธิปัตย์ แต่พ่อเราเป็นเสื้อแดง เราเลยอยู่ใน บรรยากาศที่มันตีกัน เพื่อนข้างนอกก็ถามใหญ่เลย เลือกตั้งเลือกพรรคไหน ไปเสื้อ เพนกวิน: ก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ อ่ะพี่ โดยพื้นฐานเป็นคนชอบอ่านหนังสือ ว่าง ๆ ก็ เหลืองไหม พอกลับมาบ้าน โอ้โห พ่อเราก็เปิดทีวีเสื้อแดง นู่นนี่นั่น แบบแดงมากอะ จะอ่าน แต่พออ่านไปได้สองสามหน้า พักสายตาดีกว่า เล่นเฟส แล้วมันก็จะยาว ค่ะ แต่เรา แม่เรา พี่สาวเรา อยู่ในสภาพเฉย ๆ ไม่ได้อะไรขนาดนั้น ๆ ไป ส่วนตอน ม.หนึ่ง ม.สอง ม.สาม ชอบออกไปเที่ยวตามที่คลาสสิก ๆ อย่าง วัดพระแก้ว เยาวราช พอ ม.สี่ก็ชอบทำ�เพจเฟซบุ๊ก ทำ�เป็นชีวิตจิตใจเลย พอ ม.ห้า เข้าสู่สายดาร์กงานก็เริ่มเยอะ
พอได้แลกเปลี่ยนกันมันก็เข้าใจมากขึ้น เห็นว่าอะไรทำ�ให้เขาคิดแบบนั้น เรามองแล้วมันกว้างกว่า ไม่แบนตามสเตริโอไทป์ (stereotype) คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 10 -
small interview
เพนกวิน / ไนซ์
กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท
เพื่อน ๆ ที่โรงเรียนอาจจะไม่ได้สนใจเรื่องแบบนี้ แล้วเราทำ�ตัวยังไงเวลา อยู่กับเพื่อน
เพนกวิน: ความรักหรอครับ จะว่ามีก็ได้นะ มีในมโน แอบรักเขา เขาไม่เอาด้วย คือ แบบ... ก็นะ อย่างงั้นล่ะพี่ เรื่องพรรค์นี้
ไนซ์: ตอนแรกอยู่วิทย์-คอมพ์ ก็จะเป็นเด็กเก๊งเก่ง คอนเซอร์เวทีฟ คอนฟอร์มกับระบบอะไรแบบนั้น โชคดีที่ดันมีกลุ่ม weirdo ขึ้นมา ก็รู้จัก กันอยู่สี่ห้าคน กลายเป็นกลุ่มที่สนิทที่สุด บางทีก็คุยเรื่องการเมือง บางทีก็ คุยเรื่องที่คนทั่วไปไม่ค่อยคุยกัน พอย้ายสายมาก็เจอกับคนที่เหมือนเรา มัน ก็ไม่ทุกคน เพื่อนค่อนข้างโอเค บางคนก็สนใจศิลปะเหมือนกัน ไปดูแกลอลี่ ด้วยกัน ไปดูเทศกาลหนังด้วยกัน เราก็รู้สึกแฮปปี้ อยู่ได้
(เว้นไปสักพัก) ไนซ์: จบแล้วใช่ไหม ถ้าไม่มีเราจะได้พูด เพนกวิน: ยังโสดนะครับ ยังโสดอยู่
เพนกวิน:ส่วนผม ตอนที่เข้ามาม.สี่ มีปัญหา เรื่องความคิดเห็นทางการ เมืองไม่มีปัญหาเท่าไหร่ เพื่อนในห้องค่อนข้างจะเปิดกว้าง ผมจะมีปัญหา ว่าหาคนคุยเรื่องประวัติศาสตร์ด้วยไม่ค่อยได้ อยู่ไปก็จะรู้ว่าถ้าจะคุยเรื่อง ประวัติศาสตร์ให้ไปหาคนนี้ ถ้าจะคุยเรื่องภาษาไทยให้ไปหาอีกคน
ไนซ์: (หัวเราะ) ตายละ ของไนซ์มันจะค่อนข้างซับซ้อนนิดหนึ่ง คือยังไงดี ไนซ์ไม่ เคยมีแฟนนะ ก็มีคนมาจีบ แต่เราคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง ไนซ์เป็นคนที่สนใจอะไรก็จะ สนใจมาก ๆ แล้วแบบไนซ์เป็นคนไม่ชอบสัพเพเหระ หมายถึง กินข้าวยัง นอนยัง เป็นอะไรที่ไนซ์เบื่อมาก แล้วไม่สามารถไปกันได้กับนิสัยพวกนี้ แล้วแบบคนที่มาจีบ ไนซ์ก็จะเป็นคนรุ่นเดียวกัน เขาก็จะไม่เข้าใจเราไง เหมือนรสนิยมมันไปกันไม่ได้อะ ค่ะ ไนซ์ก็ไม่โอเค ก็ไม่ต้องมีแล้วกัน ก็น่าจะประมาณนั้น
เอาจริง ๆ เวลาอยู่กับเพื่อนทั่วไปก็ เฮ้ย วันนี้กินอะไรกันดี ก็ปกติอะพี่ ถ้า จะมีบ้างก็คือหลังจากที่เราไปชูป้ายแล้วคนก็รู้จักเราว่าเออเราเป็นแอกทิวิสต์ (activist) นะ เราสนใจการเมืองนะก็จะมีคนชวนเราไปถกเรื่องพวกนี้บ้าง ส่วนคนที่เขาไม่ค่อยชอบเรา ไม่เห็นพ้องกับเราแล้วเอาไปเป็นสิ่งที่ทำ�ให้เขา ไม่ชอบเรา ผมก็รู้ว่ามี ผมคิดว่าเขาไม่ควรตัดสินคนแค่เรื่องนี้ มันไม่ได้เกี่ยว กับความเป็นเฟรนด์ชิปกันเท่าไหร่
คุยกันไม่รู้เรื่องจริง ๆ นะ เราชอบอ่านงานคลาสสิก อะไรแบบนี้ แล้วพอถามเขาว่า เขาเคยอ่านอะไรบ้าง เคยอ่าน รีพับบลิก (Repulic) รึเปล่า แล้วเขาก็งง อะไรแบบ นี้ มันคุยกันไม่รู้เรื่อง มันไม่มีเรื่องที่จะเข้ากันได้เลย อย่างไนซ์ชอบฟังแจซ เค้าชอบ ฟัง EDM แล้วมันจะเข้ากันได้ยังไง คนรุ่นเดียวกันที่ชอบแจซ ชอบอะไรแบบนี้ก็ น้อยเหลือเกิน เราก็เลย เออ ช่างมันเถอะ
ไนซ์: พอพูดเรื่องนี้ก็เพิ่งคิดออก พอย้ายสายมา กลุ่มเราก็มีหลายคนเหมือน กันที่คิดไม่เหมือนเรา แต่ก็สนิทกัน อยู่ด้วยกันได้ บางคนก็ โอ้โห กปปส. เข้มข้นมาก แต่เขาก็ฟังที่เราพูด พอเขาพูด เราก็ฟังที่เขาพูด มันก็เลยอยู่ด้วย กันได้ แล้วบางทีเค้าเห็นเราโดนเลี้ยงมาแบบปล่อย พ่อแม่ค่อนข้างไว้ใจ เค้า ก็ปรึกษาปัญหาให้ฟัง พ่อแม่ไม่ค่อยฟังเค้า เราก็เลยคิดว่าคนเราไม่ควรมา กีดกันกันด้วยเรื่องการเมือง เออ เราว่ามันน่าสนใจนะ ถ้าคนคิดไม่เหมือนกันแล้วอยากจะมาถกเรื่อง การเมืองกัน อย่างเพื่อนคนที่มาปรึกษาเรื่องครอบครัว บางครั้งเขาก็สงสัย ว่าทำ�ไมเราคิดแบบนั้น แล้วพอได้แลกเปลี่ยนกันมันก็เข้าใจมากขึ้น เห็นว่า อะไรทำ�ให้เค้าคิดแบบนั้น เรามองแล้วมันกว้างกว่าไม่แบนตามสเตริโอไทป์ (stereotype) ว่าทุกคนต้องเป็นแบบนี้ ๆ ตามความคิดทางการเมือง เราว่า เป็นประสบการณ์ที่ดี ขอเปลี่ยนโทนคำ�ถามแบบ (หัวเราะ) ความรักเป็นยังไงกันบ้าง
อยากฝากอะไรถึงผู้อ่าน small ไหม ไนซ์: ก็ชอบสิ่งที่เราทำ�ได้ แต่เราไม่อยากให้มองว่าเราเป็นฮีโรหรืออะไรแบบนั้น เรา ก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่งที่เรามีความสนใจในทางนี้ แล้วเราก็อยากจะพูดในสิ่งที่ ตัวเองคิด เราไม่ได้มองว่าการกระทำ�ของเราเป็นสิ่งที่น่ายกย่องหรือมันอะไรขนาด นั้น คือถ้าคุณชอบในสิ่งที่เราทำ�ก็มาคุยกันได้ ในฐานะเพื่อนเลย ติดต่อมาทางเฟส เลย เราไม่อยากให้มองว่า เฮ้ย คนดังว่ะ ไม่กล้าคุย กลายเป็นว่าเราพยายามมาพูด ว่าคนเท่ากัน แต่ในขณะนั้นเรากลับไปนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง กลายเป็นว่าสุดท้าย คนก็ไม่เท่ากันอยู่ดี เป็นไอรอนี (irony) เพนกวิน: ส่วนผม คุณไม่จำ�เป็นต้องลุกขึ้นไปทำ�อะไรใหญ่ ๆ เพื่อสร้างการ เปลี่ยนแปลง คุณไม่จำ�เป็นต้องออกไปชูป้ายไต่อหน้านายกฯ เหมือนผม คุณแค่ลุก ขึ้นไปกลางห้องเชียร์ และทำ�อะไรสักอย่าง “กับสิ่ง” ที่มันไม่ถูกต้อง ที่ปรากฎยู่ใน ห้องนั้น คุณแค่ลุกขึ้นมา แล้วพูดว่าห้องเชียร์มันไม่ดียังไง โซตัสมันไม่ดียังไง ทำ�ไม ถึงควรถูกยกเลิก ถ้าคุณทำ�สำ�เร็จแค่นี้ บางทีมันอาจจะทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ ยิ่งใหญ่กว่าที่พวกผมทำ�ด้วยซ้ำ�ไป
ไนซ์: เอ่อออ... ตอบยากอะ - 11 -
small but matter l issue 02
small : คำ�ถาม วิถีชีวิต การเรียน ระบบการศึกษาไทย คือ อะไร ใครกำ�หนด
เด็กหลง
ระบบการศึกษาไทย คือ อะไร ใครกำ�หนด ? “เขา” คือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (เขา คือ คนกำ�หนด !) เขาบอกว่า ระบบการศึกษา คือ โครงสร้างของการศึกษาที่มีองค์ประกอบ เช่น ระดับชั้น และขั้นตอนของการศึกษา ประเภทของการศึกษา และกระบวนการ เรียนการสอน “เขา” บอกว่า การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
“เขา” บอกว่า การศึกษาในระบบ เรียกภาษาฝรั่งว่า Formal
Education System คือ การเรียนที่กำ�หนดชัดว่าต้องเรียนเรื่องอะไร เรียนไปเพื่ออะไร เรียนอย่างไร (ฟังครูพูด ดูวีดิโอ หรือทำ�การทดลอง) เรียนนานเท่าไร และต้องโดนทดสอบแบบไหน อาทิ โรงเรียน ป. ปลา น่ารัก กำ�หนดว่านักเรียนต้องเรียนเรื่องการเขียน ก – ฮ เพื่อให้เขียนภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว โดยการฟังคุณครูบอกวิธี การเขียน เป็นเวลา 10 ชม. และต้องท่อง ก-ฮ ได้ จึงจะสอบไล่ได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาภาษาไทย ซึ่งสถานศึกษาที่มุ่งเน้น จัดการศึกษาแบบนี้เป็นหลัก มักอยู่ภายใต้การดูแลของสำ�นักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบบการศึกษาสำ�หรับการศึกษา ในระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็นระบบ 6-3-3 คือ ประถมศึกษา 6 ปี มัธยมต้น 3 ปี และมัธยมปลาย 3 ปี โดยกฎหมายบังคับให้คนไทย ทุกคนต้องเข้ารับการศึกษาภาคบังคับเป็นเวลา 9 ปี คือตั้งแต่ประถม จนถึงมัธยมต้น
“เขา” บอกว่า การศึกษานอกระบบ หรือ Non-formal Education System ต้องมีความยืดหยุ่นทั้งเรื่องที่เรียน เป้าหมายแห่ง
การเรียน วิถีแห่งการเรียนรู้ ระยะเวลาที่ใช้เรียน รวมไปถึงวิธีทดสอบผู้เรียน ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการของ นักเรียน อาทิ กรณีของผู้ต้องขังในฑัณฑสถาน จะให้เดินทางมาโรงเรียนเพื่อเข้าแถวเคารพธงชาติยามเช้าก็ใช่ที่ ครั้นจะให้ขาด โอกาสทางการศึกษาก็ไม่เข้าที จึงมีการจัดครูเข้าไปสอนภายในเรือนจำ� โดยเนื้อหาที่สอน นอกไปจากความรู้พื้นฐานตามอย่าง การเรียนในระบบแล้ว ยังมีการสอนเพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ที่จำ�เป็นสำ�หรับผู้เรียนในการประกอบอาชีพหลังพ้นโทษได้ อาทิ สอน ทำ�อาหาร สอนร้อยลูกปัด และสอนปั้นตุ๊กตาดินญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้วิธีการสอนต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับของเรือนจำ� อาทิ การห้าม นำ�ของมีคมเขาไปในเรือนจำ� หรืออีกรูปแบบหนึ่ง คือ การจัดการเรียนการสอนสำ�หรับผู้การจำ�เป็นต้องทำ�งาน ไม่สามารถไป โรงเรียนทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ได้ โดยจัดให้นักเรียนมาพบอาจารย์ หรือที่เรียกว่าการพบกลุ่ม โดยเฉลี่ยในหนึ่งสัปดาห์นักเรียนจะมา พบอาจารย์ประมาณ 3 ชม. เพื่อรับทราบเนื้อหาที่จะต้องเรียนในสัปดาห์นั้น พร้อมทั้งการบ้านที่ต้องทำ� โดยส่วนมากอาจารย์มัก นัดให้นักเรียนมาพร้อมกันช่วงเช้าวันอาทิตย์ เพราะเป็นเวลาที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ต้องทำ�งาน สำ�หรับเนื้อหาที่ยาก จำ�เป็นต้อง ใช้อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ จะมีการเชิญอาจารย์ผู้เชียวชาญมาเป็นครั้งคราวไป โดยอาจารย์ท่านหนึ่งต้องรับผิดชอบนักเรียน ประมาณ 50-100 คน ตามความต้องการในแต่ละพื้นฐาน โดยส่วนมาก นักเรียนที่ต้องการเรียนในรูปแบบนี้มักมีมากที่พื้นที่ที่มี สถานประกอบการ โรงงาน และนิคมอุตสาหกรรม เพราะวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น หมายถึงตำ�แหน่งที่สูงขึ้น และเงินเดือนที่มากขึ้น นอกจากการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ตามที่หลักสูตรกำ�หนดแล้ว ยังกำ�หนดให้ผู้เรียนต้องผ่านกิจกรรมพัฒนาทักษะ ชีวิต อาทิ การเข้าค่าย การบำ�เพ็ญประโยชน์ และการอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ จะเห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอนต้องถูก ปรับในหลายด้าน เพื่อให้เหมาะสมสำ�หรับผู้ที่มีความต้องการเฉพาะ โดยส่วนใหญ่การศึกษาลักษณะนี้ มักอยู่ในความดูแลของ สำ�นักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ กศน. โดย กศน. แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 3 ระดับ คือ ประถม ม.ต้น และ ม.ปลาย โดยเรียนช่วงชั้นละ 2 ปี สำ�หรับผู้ที่ไม่เคยเรียนหนังสือมาก่อนแบบไม่มีวุฒิการศึกษาเลยก็เริ่ม เรียนที่ระดับประถมศึกษาได้ ถือว่าเป็นรูปแบบการศึกษาที่มอบโอกาสที่ 2 ให้แก่ผู้ที่เคยพลาดโอกาสอย่างแท้จริง
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 12 -
small : คำ�ถาม วิถีชีวิต การเรียน ระบบการศึกษาไทย คือ อะไร ใครกำ�หนด
เด็กหลง
“เขา” เขา บอกว่าการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ Informal Educa-
tion System เป็นการจัดการศึกษาแบบเปิดกว้างให้นักเรียนเรียนรู้ด้วย ตัวเองตามศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ อาทิ การเรียนแบบ home school ที่เด็กน้อยไม่ต้องไปโรงเรียนในระบบ เพื่อ ใช้ชีวิตอย่างมีระบบ ตามวิถีของโรงเรียนในระบบ แบบเดิมๆ แต่เรียน หนังสืออยู่ที่บ้าน ตามเนื้อหาที่ผู้ปกครองเห็นเหมาะสมแก่ศักยภาพ การเรียนรู้ของเด็กน้อย และศักยภาพการเติมเต็มของผู้ปกครอง เมื่อ ถึงเวลาที่เหมาะสมผู้ปกครองก็พาเด็กน้อยไปทดสอบศักยภาพตามที่ กฎหมายกำ�หนดได้ ถ้าถามว่าใครเป็นผู้ดูแลรับชอบการศึกษารูปแบบนี้ ก็คงหนีไม่พ้นผู้ปกครองนั้นเอง
อย่าเพิ่งเข้าใจผิด การจัดการศึกษา ไม่ใช่ สถานศึกษา ดังนั้น ในโรงเรียนประถมกุ๊กไก่ อาจมีการจัดการศึกษาทั้งสามรูปแบบ ในขณะที่โรงเรียน ประถมแมวเหมียว อาจจัดเพียงการศึกษาแบบในระบบ ก็ไม่ได้ผิดกฎหมายแต่ประการใด
นอกจากนี้... “เขา”
ยังบอกอีกว่า ผลการเรียน (จากการทดสอบ นะ) ที่ได้จากการเรียนทั้ง 3 รูปแบบ เก็บสะสม และเทียบโอนระหว่างกัน ได้ แต่ต้องเทียบโอนไปตามหลักเกณฑ์ที่กำ�หนดไว้ อาทิ นางสาวสวยสด โรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบในระบบเป็นหลักได้ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 เกิดเหตุไม่ขาดฝัน จำ�ต้องออกจากโรงเรียนมาทำ�งานตัวเป็นเกลียวหัวเป็น น็อต เพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัว กระทั้ง 30 ปีผ่านไป สวยสดได้ดิบได้ ดีมีเงินมีทอง ไม่จำ�เป็นต้องทำ�งานหนักอีก จึงอยากกลับไปเรียนหนังสือ สวยสดรู้ตัวดีว่าคงไม่เหมาะที่ตนเองจะกลับไปเรียนในโรงเรียนกับเด็กน้อย รุ่นราวคราวลูก จึงตัดสินใจไปสมัครเรียนกับ กศน. พร้อมทั้งนำ�เอกสาร ที่แสดงว่าสวยสดจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แล้วไปแสดง ด้วย สวยสดจึงไม่จำ�เป็นต้องเรียนถึง 2 ปี เพื่อให้สำ�เร็จระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย เพราะเทียบโอนวิชาที่เคยเรียนสำ�เร็จแล้วมาได้ด้วย นี้เองคือ ประโยชน์ของการเทียบโอนการศึกษา
อ้างอิงข้อมูลจาก moe.go.th - 13 -
small but matter l issue 02
small : คำ�ถาม วิถีชีวิต การเรียน
เครื่องแบบและนัยยะ
ภาพประกอบ : NisachonP
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
การัณยภาส ภู่ยงยุทธ์
small : คำ�ถาม วิถีชีวิต การเรียน
เครื่องแบบและนัยยะ
การัณยภาส ภู่ยงยุทธ์/ กอง บก.
ก่อนหน้านี้ เราดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับนักเรียนเด็กหญิงเยอรมันสมัยสงครามโลก คิดภาพว่าเป็นเด็กฝรั่งตัวขาวตาฟ้าถักผมเปีย สีบลอนด์ ยืนเข้าแถวพร้อมกับร้องเพลงเพรียงกัน ให้ตาย, เหมือนซาโตริ ทำ�ไมพอเป็นเด็กฝรั่งทำ�แบบนั้นแล้วจึงรู้สึกแปลกนัก การกระทำ�แบบนี้มันไม่ ‘ปกติ’ หรอกหรือ ก็เราล้วนเคยแต่งตัวด้วยเสื้อสีขาว แล้วทำ�เช่นนั้นทุกวัน..
“การแต่งชุดนักศึกษาเป็นเรื่องปกติ ที่ทุกมหาวิทยาลัยจะมีกฏระเบียบ เป็นของตนเองว่านักศึกษาควรแต่งชุดแบบไหน นอกจากนี้การแต่งชุด นักศึกษายังช่วยทำ�ให้ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและตัวนักศึกษาเอง ออกมาดีอีกด้วย” “การบังคับให้นักศึกษาต้องแต่งเครื่องแบบ คือการริดรอนสิทธิเสรีภาพ ของพวกเขาอย่างชัดเจน โดยเฉพาะสิทธิต่อร่างกายตนเอง นักศึกษา ควรมีเสรีภาพในการแต่งกาย ถ้าเสรีภาพของพวกเขามาพร้อมกับความ รับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น” “การแต่งกายที่ถูกระเบียบไม่ได้หมายถึงการให้เกียรติอาจารย์ การ ให้เกียรติอาจารย์ที่แท้จริงคือการตั้งใจเรียนเมื่ออยู่ในห้องเรียน แม้ จะแต่งตัวไม่เรียบร้อยมาเรียนแต่ถ้าเขาตั้งใจเรียน นั่นหมายถึงการให้ เกียรติอาจารย์ผู้สอนแล้ว” “การแต่งชุดนักศึกษาคือสิ่งที่ช่วยให้ผู้แต่งสามารถตระหนักถึงตัวตน และไม่ทำ�สิ่งที่ดูไม่ดีต่อสายตาผู้อื่นออกไป ซึ่งนั่นจะส่งผลกระทบต่อม หาวิทยาลัยนั้น ๆ ด้วย” “การแต่งชุดนักศึกษาไม่ได้มีผลต่อกระบวนการคิด การเรียนรู้ ไม่มี ผลการวิจัยใดที่รับรองว่าการแต่งเครื่องแบบจะสามารถทำ�ให้นักศึกษา เรียนรู้ได้ดีขึ้น ชุดนักศึกษาจึงไม่ได้มีความจำ�เป็นต่อการศึกษาเลย” “นักศึกษาควรทำ�ตามกฏของมหาวิทยาลัย เพราะการที่จะไปอยู่ใน สังคมระดับใหญ่ก็ต้องเผชิญกับกฏที่ใหญ่กว่านี้ โดยเฉพาะกฏหมาย บ้านเมือง แม้จะมีเสรีภาพมากแค่ไหนก็ต้องมีขอบเขตที่อยู่ในกฏกติกา ด้วย” “เราไม่จำ�เป็นต้องเคารพกฏกติกาที่ไม่เป็นธรรม แต่เราควรตั้งคำ�ถา มกับกฏเหล่านั้นและผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง” “การบังคับให้แต่งกายชุดนักศึกษาเป็นสิ่งที่หลงยุคสมัย เพราะในยุคนี้ เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ ๆ ล้วนต้องการเสรีภาพ ในเมื่อพวกเขายังไม่ ได้รับเสรีภาพในร่างกายตนเอง แล้วเขาจะไปหาเสรีภาพจากที่ไหนได้” “การแต่งชุดนักศึกษาทำ�ให้ไม่จำ�เป็นต้องคิดมากว่า วันนี้จะใส่อะไรไป เรียนดี ” “การแต่งชุดอะไรก็ได้ ทำ�ให้เราไม่ต้องมาเสียเวลารีดชุดนัดศึกษา เพียงแค่เราแต่งชุดสุภาพไปก็พอ” “เสรีภาพมีราคาที่ต้องจ่ายก็คือความรับผิดชอบ” Elbert Hubbard
- 15 -
แล้วคุณล่ะ คิดอะไรอยู่?
small but matter l issue 02
small : คำ�ถาม วิถีชีวิต การเรียน
Small voice wanna do something หากว่ารู้สึกอัดอั้นตันใจอยากลงมือทำ� หาที่ทางอยู่ โอเคจัดไป มีช่องทางมากมายพร้อมรองรับผู้ต้องการลงไม้ลงมือเสมอ เพียง แค่คุณมุ่งมั่น มีสิ่งที่อยากจะจริงจัง ตัวอย่างเหล่านี้เป็นช่องทางเท่าที่ small นึกออก เราเลยเอามาแชร์ ส่วนถ้าเพื่อนรู้จักแหล่ง อื่นที่น่าสนใจเพิ่มเติมหล่ะก็ เอามาแบ่งปันกันด้วย! Change.org เว็บไซต์นี้เริ่มคุ้นหูคุ้นตาคนไทยมากขึ้นจากกรณีรณรงค์ การต่อต้าน ซิงเกิลเกตเวย์ เป้าหมายจำ�นวนยอดผู้สนับสนุนถูกขยายขึ้นเรื่อยๆ เพราะจนถึงตอนที่พิมพ์อยู่นี้ มีคนคลิกสนับสนุนมากกว่าหนึ่งแสนห้า หมื่นราย Change.org อธิบายตัวเองว่า เป็นพื้นที่ที่คนทั่วไปสามารถ เริ่มการรณรงค์ ระดมพลังสนับสนุน และทำ�งานร่วมกับผู้มีอำ�นาจใน การตัดสินใจเพื่อร่วมกันหาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ใครอยากรณรงค์เรื่อง ไหนก็สามารถเข้ามาชี้แจงแถลงไขและสร้างแคมเปน ใครเข้าไปอ่าน แล้วเห็นด้วยก็เข้าไปคลิกสนับสนุน หลายหัวข้อรณรงค์ได้เปลี่ยนจาก ข้อความบนหน้าจอเป็นการปฏิบัติจรงิแล้ว เช่น ขอให้วาฬบรูด้าเป็น สัตว์สงวนของประเทศไทย ให้โรงแรมทาวร์อินทาวร์เลิกกีดกันผู้ติดเชื้อ เอชไอวี ให้เด็กผู้หญิงทั่วโลกเข้าถึงโอกาสการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี “เสียงของคุณมีความหมาย” Change.org กล่าวไว้ ตั้งวงเสวนา เริ่มจากที่คนกลุ่มเล็ก ๆ พูดคุยสนทนาบางประเด็นแต่ไม่อยากให้เรื่อง ในวงจบในวง เลยต้องชวนคนอื่นมาฟัง และช่วยกันเสนอความเห็น เผื่อว่าจะเห็นทางออก สถานที่ยอดนิยมของวงเสวนา มีตั้งแต่หอศิลป์ กรุงเทพฯ สถานที่ฮิป ๆ อย่าง Root Garden At Thong Lor, พูดคุย ที่ร้านหนังสือ, จองคาเฟ่, เปิดเวทีที่สวนสาธารณะ หรือจะชวนคนไป ที่ออฟฟิตหรือเคหะสถานของท่านก็ไม่ผิดประเพณี เมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมามีจัดงานเสวนา BEER REVOLUTION โดยกลุ่ม Young People for Social-Democracy Movement (YPD) งานรวมตัวของผู้รัก การดื่มเบียร์ที่รวมเหล่าผู้ต้องการ “ปฏิวัติ” เบียร์ไทยให้ก้าวไกลสู่สากล จัดโดยการเหมาพื้นที่ชั้นสองของร้านอาหารนั่งดื่ม Sawaree Society เพื่อเมามายอย่างมีสาระ เมื่อเดือนสิงหาคมก็มีการจัดวงเสวนาที่เป็น ที่กล่าวขานและประสบความสำ�เร็จ อย่างน้อยก็ในแง่จำ�นวนคนเข้า ร่วม “คุยแบบ No Drama เสรีภาพกัญชา ควรอยู่ตรงไหน” ที่หอศิลป์ กรุงเทพฯ จัดโดย เว็บไซต์ PRACHAMATI.ORG หรือเมื่อปลายเดือน ตุลาที่ผ่านมา
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 16 -
มีงาน “ดูหนัง สนทนา จิบชา รับลมหนาวเคล้าโลก ร้อน” อัพเดทสถานการณ์โลกร้อนและแลกเปลี่ยนไอเดีย ว่าเราจะทำ�อะไรได้มากกว่าแค่ปิดไฟ-ใช้ถุงผ้า โดยกลุ่ม Thai Climate Justice ที่ Root Garden At Thong Lor
small voice wanna do something
โดย กอง บก.
PechaKucha 20x20 PechaKucha 20x20 เป็น platform พรีเซนต์เรื่องราวโดยใช้รูปภาพ ที่เราจัดเตรียมไว้ 20 รูป รูปละ 20 วินาที Pechakucha Night เริ่ม ต้นจากกลุ่มสถาปนิกที่โตเกียวตามแกลลอลี่ บาร์ หรือห้องครัว จาก นั้นก็เผยแพร่ไปทั่วโลก เพราะผู้คนล้วนมีเรื่องอยากเล่า นักเดินทาง อาจจะมาเล่าเรื่องทริปที่เพิ่งตะลุยเสร็จ คุณแม่สามารถมาเล่าเคล็ดลับ การทำ�ขนมสูตรใหม่ หรือนักกิจกรรมสิ่งแวดล้อมพาตัวเองมาเล่าถึง ความสำ�คัญของการอนุรักษ์พื้นที่ป่า เข้าไปเช็คตาราง PechaKucha 20x20 ของแต่ละเมืองได้ในเว็บไซต์ แต่ถ้ายังไม่มีก็ทำ�ไมไม่ริเริ่มเองซะ เลยหล่ะ PechaKucha 20x20 ถูกจัดขึ้นในแต่ละพื้นที่โดยอาสาสมัคร ในพื้นที่นั้น ๆ หาก TED talk นำ�เสนอสาร สาระแบบ Top-Down, PechaKucha 20x20 นิยามตนเองว่า, ที่นี่, เป็นพื้นที่แบบ Bottom-Up ชมรม (ทางการ) ถ้าคุณเป็นคนมีฝัน อะไรจะดีไปว่าการเจอเพื่อนในสถานศึกษาที่ หมกมุ่นเรื่องเดียวกัน อยากลงมือทำ�สิ่งเดียวกันชมรมเป็นพื้นที่พิเศษ ที่นอกจากเหล่านักเรียนจะได้รับสิทธิในการใช้พื้นที่มั่วสุมกันแล้ว ยัง ได้รับสนับสนุนเงินเพื่อเป็นน้ำ�มันหล่อลื่นในการชุมนุมนั้นโดยมีสถาบัน การศึกษาเฝ้าดูอยู่ห่าง ๆ ระเบียบการตั้งชมรมแตกต่างกันไปตาม โรงเรียน-มหาวิทยาลัยและวาระสมัยผู้มีอำ�นาจตัดสินใจ บางที่อาจตั้ง ได้ด้วยคนสามคน บางที่อาจต้องการสิบคนพร้อมกระดาษล่ารายชื่อ ผู้สนใจมาสามสิบราย ถ้าอยากทำ� จงไปศึกษาระเบียบการของพื้นที่ ตนเองและเตรียมตัวให้พร้อม เพราะส่วนมากต้องเขียนข้อเสนอก่อตั้ง ชมรมล่วงหน้ากันเป็นเทอม! ชมรม (เถื่อน) แต่ถ้าประเมินแล้วกลุ่มก้อนของตนเองไม่เหมาะสมจะตั้งเป็น ชมรม(ทางการ) ระเบียบการที่ไหนก็ไม่อาจฉุดรั้งผู้มุ่งมั่นจริงจัง ได้ ทำ�ไมไม่ตั้งชมรม(เถื่อน)ของตัวเองขึ้นมาซะเลย ชมรม ประเภทนี้ จ ะมี ค วามยื ด หยุ่ น ทางความคิ ด และการทำ � งาน มากกว่าแบบเป็นทางการ แต่อาจฝืดเคืองทางการเงิน (เช่น small เป็นต้น — บก.) มักจะเริ่มต้นจากเพื่อนที่มีจุดร่วมทาง ความคิดกลุ่มเล็ก ๆ มาพบปะพูดคุย ทำ�กิจกรรมร่วมกัน บ้าง ลงขันกันเอง บ้างหยิบขันไปวางแล้วดีดกีตาร์เร่ขายฝัน คุณอาจ จะไม่รู้ มีองค์กรมากมายที่พร้อมสนับสนุนกิจกรรมของคุณ โดย เฉพาะถ้ามันเป็นเรื่องที่มีประโยชน์มากไปกว่าความสนุกแค่ใน กลุ่ม รู้หมือไร่ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นอกจากจะเอาภาษีไปรณรงค์เรื่องงดสุราเมรัย เขายัง สนับสนุนการทำ�กิจกรรมเพื่อสร้างสรรสังคมในรูปแบบอื่นด้วย
small เองก็ได้รับทุนทำ�เล่มแรกจาก สสส.คุณอาจไปหามูลนิธิ โกมลคีมทองเมื่ออยากออกค่ายเรียนรู้พื้นที่ต่างจังหวัด คุณ อาจเดินเข้าไปที่ TSEO หรือสำ�นักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อ สังคมแห่งชาติเมื่ออยากทำ�กิจการเพื่อสังคม หรือไม่คุณอาจ จะลองใช้ crowd funding เช่น kickstarter1 ที่สนับสนุน โปรเจ็กต์หลากรูปแบบทั่วโลก, afterword ที่สนับสนุนโปร เจ็กต์หนังสือในเมืองไทย เพื่อหาเงินจากมวลชนผู้สนใจสิ่งที่ คุณกำ�ลังทำ�ก็ยังได้ น่าเสียดายที่ Kickstarter รับผู้สนับสนุนจากทั่วโลก แต่จำ�กัดผู้สร้างโปรเจ็กต์ ไว้แค่ บางประเทศเทา่นั้น ใช่, ไทยไม่ ได้อยู่ในลิสต์ ระหว่างที่รอ--ลองใช้ crowd funding ของคนไทยดูก่อน เช่น เทใจดอทคอม และ afterword.co 1
รูปประกอบโดย: ธนัท ลัพธวรรณ์ fb page: CloudStory - 17 -
small but matter l issue 02
บันทึก(ทัก)
จดหมายถึง small เล่มหนึ่ง
12.10.58, 3.00 pm. าด เมื่อคืนก่อนอ่านนิตยสารเล่มหนึ่ง มีเรื่องเล่าว่า มีชายชราเก็บปลาดาวเกยห ทำ� ปล่อยลงทะเลตามเดิม จนมีชายหนุ่มมาพบแล้วทักประมาณว่า จะไปเสียเวลา เลและ แบบนั้นไปทำ�ไมเพราะมันมีจำ�นวนมาก แต่ชายชรายังทำ�ต่อไปอย่างไม่ลัง ลับ มั่นคงโดยคิดว่าอย่างน้อยปลาดาวตัวหนึ่งก็รอดได้ กับชายหนุ่มคนนั้นอาจจะก นยัน) มาที่หาดอีกครั้งและหาวิธีช่วยปลาดาวครั้งละมากขึ้น.. มีคติดีนะ.. จริง ๆ (ยื ว่า คิดถึงตัวเองว่าถ้าเป็นไอ้เบื๊อกนั่นจะทำ�ไง.. ก็คงเดินไปสะกิดลุงนั่นแล้วบอก ยหาด พอเหอะลุง ไปดูกันดีกว่าว่าอะไรเกิดขึ้นกับทะเลถึงได้เกิดเหตุปลาดาวเก ิถ้า ดูว่ามันเป็นเหตุที่เกิดโดยการกระทำ�ผิดธรรมชาติหรือเป็นเหตุโดยธรรมชาต โดย เป็นอย่างแรกก็หาวิธีแก้ไขด้วยการประมวลความรู้จากที่ต่างๆมาแก้ไข ช่าง ร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์และเกื้อกูล แต่ถ้าเป็นอย่างหลังก็คงบอกลุงว่า แล้วเรียนรู้ปรากฎการณ์นั้นให้ถ่องแท้ลึกซึ้งอย่างเข้าใจ หัวปลาดาวมันปะไร ละ ในแก่นแท้วิถีของธรรมชาติ และนำ�สิ่งที่ได้เรียนรู้ลึกซึ้งนั้นมาสำ�รวจตัวเองแ งหรือ องค์ประกอบรอบข้างว่ามีสิ่งใดขัดแย้งหรือขัดขวางวิถีธรรมชาตินั้นบ้า นส่วน ไม่ แล้วจึงปรับกระบวนการคิดและกระบวนการดำ�รงอยู่ให้สอดคล้องเป็ เน่าอีก หนึ่งของธรรมชาติอย่างกลมกลืน “ปลาดาว” มันจะได้ไม่มาเกยหาดให้
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 18 -
P.N.
โดดเรียน
KITTIPAT A.
ชีวิตในมหาวิทยาลัยของทุกคนคงล้วนมีกิจกรรมที่แตกต่างกันไปตามแต่ความสนใจของแต่ละคน แต่สิ่งที่หนีไม่พ้นและเป็นกิจกรรมที่ทุกคนต้องทำ�ร่วมกันนั่น คือการสอบ การสอบคือการวัดผลทางการเรียน เพื่อดูว่านักศึกษาคนนั้นมีประสิทธิภาพมากพอในการเรียนหรือไม่ โดยวัดจากข้อสอบที่อาจารย์ผู้สอนเป็นคนตั้งโจทย์ คำ�ถาม ซึ่งการวัดผลทางการเรียนแบบนี้ความหมายทางตรงคือการวัดความสามารถในการตอบคำ�ถามเหล่านั้น ถึงแม้ทุกๆคนต่างก็เป็นนักศึกษา แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เข้าเรียน เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่เหมือนกับโรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัยไม่มีกฎที่เคร่งครัดนักในการนับ ชั่วโมงเรียน นักศึกษาบางคนจึงเลือกที่จะไม่เข้าเรียน ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ แต่ท้ายที่สุดแล้ว ทุกคนยังคงต้องสอบ ในฐานะที่ตัวผมเป็นหนึ่งในคนที่ไม่เข้าเรียนเลย ไม่ว่าวิชาจะยากขนาดไหน (เข้าเรียนเฉพาะที่มันเช็คชื่อ) คนรอบ ๆ ตัวมักจะบอกว่าตัวผมเป็นคนที่ขี้เกียจ และไม่มีความพยายามในการเข้าเรียน ในทุก ๆ ภาคเรียนจะต้องมีอาจารย์ผู้สอนอย่างน้อยหนึ่งคนเสมอที่เรียกผมเข้าพบเพื่อปรับความเข้าใจของผมเรื่องการเรียน มหาวิทยาลัย การไม่เข้าเรียนทำ�ให้ผมเป็นเหมือนกับแกะดำ�ในภาควิชาที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ถึงแม้จะไม่ได้เป็นภาควิชาที่เก่งที่สุดในประเทศ แต่ก็มีมาตรฐานในระดับ หนึ่ง ซึ่งนอกจากอาจารย์ที่ตักเตือนผมแล้ว ก็ยังมีเพื่อน ๆ ผมที่มาว่ากล่าวผม “ตักเตือน” เรื่องการเข้าเรียนของผมตลอดในทุก ๆ เทอม บางทีก็ออกไปทางด่าและ เยาะเย้ยด้วยซ้ำ� เวลาในมหาวิทยาลัยของผมดำ�เนินมาถึงปีสุดท้ายแล้ว การไม่เข้าเรียน ของผมก็ยังคงเหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เหตุผลมากมายถูกใช้บอกปัดกับคำ� ว่ากล่าวตักเตือนของทุก ๆ คน ไม่ว่าจะเป็น “อาจารย์สอนไม่รู้เรื่องบ้าง” หรือว่า ”เนื้อหาง่ายพอที่จะอ่านเองแล้วก็ไปสอบบ้าง” แต่ในความเป็นจริงลึก ๆ แล้ว ผมก็แค่ ขี้เกียจ ผมแค่ไม่อยากทนกับการนั่งอยู่ในห้องถึง 3 ชั่วโมงต่อคาบเรียน มุมมองของคนอื่นที่มีต่อการโดดเรียนของผม ดูจะเป็นแง่ลบทั้งหมดเพราะว่ามันผิดแปลกไปจากคนอื่น ๆ ผมมีความเชื่อที่ว่า จริง ๆ แล้วเนื้อหาของการ เรียนแต่ละวิชาในหนึ่งภาคการเรียน เอาเข้าจริงเราทำ�ความเข้าใจและทำ�ให้ตัวเองมีความรู้มากพอที่จะสอบผ่านได้ในไม่กี่ชั่วโมง (ย้ำ�อีกครั้งว่าแค่ผ่านนะจ๊ะ) ซึ่งเป็นเหตุ ผลหลักๆเลยว่าทำ�ไมผมถึงต้องโดดเรียน (เพราะคิดว่ามันโคตรเสียเวลา) อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของคนส่วนมากไม่ได้เป็นแค่เรื่องการเข้าเรียน แต่เป็นเรื่องของผล การสอบ การสอบนั้นคือดัชนีที่ชี้วัดไม่ได้เลยว่าคนนั้น ๆ จะมีความสามารถเอาตัวรอดในสายอาชีพที่ตนเองร่ำ�เรียนมาได้ดีเพราะโลกจริงมีอะไรที่มากกว่าการทำ�โจทย์ และการตอบคำ�ถามของอาจารย์ที่นำ�มาจากเนื้อหาแค่บางส่วนในการเรียน แต่การสอบก็ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนตั้งหน้าตั้งหน้า และวางเป็นเป้าหมายระยะสั้นเพื่อที่จะคว้า เกียรตินิยมกัน (เอาไปใช้ในการเรียนต่อ สมัครงาน หรือแม้แต่เอาไปโชว์เพื่อยืดหน้ายืดตา) โดยการเข้าเรียนเป็นวิธีที่สำ�คัญที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่ามันจะทำ�ให้พวกเขาสอบ ผ่านไปได้ ย้อนกลับมาที่ผม คนที่ไม่ได้มีเป้าหมายชีวิตและไม่ใช่คนเก่งอะไรแต่แค่กล้าพอ (หรือขี้เกียจมากพอ) ที่จะไม่เข้าเรียน เกรดเฉลี่ยก็ไม่ได้มากมาย เอาเป็นว่า มันคือ “เกรดนิยม” ละกัน ดูเหมือนมันจะแย่ แต่มาลองทำ�ความเข้าใจในบางมุมมองผมบ้าง • ผมไม่เคยเสียใจเลยที่ได้เกรดน้อยและไม่ได้เป็นคนที่ตั้งหน้าตั้งตาเรียนหนังสือ เพราะผมเชื่อว่า ในสิ่งที่ผมได้ทำ� มันก็มีมุมที่สั่งสอนผมเหมือนกัน การ เรียนจากชีวิต การเรียนจากการหายใจทิ้ง ลองนั่งคิดและทบทวนในแต่ละวันที่ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง ตั้งคำ�ถามกับตัวเองถึงแม้จะได้คำ�ตอบบ้างไม่ได้คำ�ตอบบ้างก็ช่างมัน เพราะมันไม่มีสอบ เวลาทั้งหมดที่ผมใช้ไปกับตัวเองตลอดสี่ปีมานี้ ทำ�ให้ผมค้นพบว่า ที่จริงทุกคนทำ�เกรดดี ๆ แล้วก็คิดว่าในอนาคตฉันจะต้องมีความสุขด้วยการทำ� อะไรที่ไม่มีความสุข (งานที่ไม่ชอบ) แต่ยังมีความสามารถในการแบกรับภาระทางการเงินได้ดี จากนั้นค่อยเอาเงินที่ว่าไปแลกความสุขอีกรูปแบบหนึ่ง ขั้นตอนทางความ คิดเหล่านี้บ่งบอกว่าคนส่วนมากไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไรจริง ๆ เนื่องจากไม่มีเวลามากพอที่จะอยู่กับตัวเองแล้วครุ่นคิดเรื่องของตัวเองได้เลย นั่นนับเป็นหนึ่ง ความ โชคดีของผมที่โดดเรียน ถึงแม้จะยังไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไรจริง ๆ แต่ก็รู้ว่าผมไม่ต้องการ หรือว่าเกลียดอะไรสุด ๆ • การโดดเรียนของผม ทำ�ให้ผมมีสังคมที่มากกว่าเพื่อนที่อยู่ในคณะแน่นอนมันคือสังคมในวงเหล้า การเข้าไปในร้านเหล้านี่เป็นเรื่องปกติของนักศึกษา วิศวกรรมศาสตร์ สังคมของผู้คนที่ชอบจะหัวทิ่มกันในตอนเช้าหรืออยู่โต้รุ่งจนใส่บาตรพระได้มักจะมีมุมมองดี ๆ เสมอ ถ้าเกิดว่าผมตั้งใจเรียนขึ้นมา มุมมองดี ๆ จาก พวกคนที่มาสังสรรค์ ผมคงพลาดโอกาสรับรู้มันไป ยกตัวอย่างเช่น ผมเจอเพื่อนที่เพิ่งจะมาเมาเป็นครั้งแรก เพื่อนผมคนนี้อกหักมาแล้วก็คิดว่าแอลกอฮอล์จะสามารถ ล้างแผลในใจได้ กินเหล้าจนเมามายร้องไห้จะเป็นจะตาย ทุกคนก็เศร้าไปกับมัน ปลอบใจมันไปแต่ก็รู้ว่ามันไม่หายเศร้าหรอก ผมเหลือบไปเห็นผู้หญิงหลังร้านอยู่หนึ่ง คนที่ไม่ได้เศร้าเลย ผู้หญิงคนนั้นคือคนที่หักอกเพื่อนผม ผมเดาว่าเธอคงใจอ่อน ผมแอบเห็นเธอมานั่งมองเพื่อนของผมคนนี้หลายชั่วโมงด้วยความเป็นห่วง แต่พอมันเมา เริ่มโวยวาย เริ่มที่จะฟูมฟายหนักเข้าเท่านั้นแหละ สายตาของความเป็นห่วงมันกลับกลายเป็นสมเพชอย่างหนัก มันทำ�ให้ผมเรียนรู้ว่า ถึงผมจะไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง แต่ผมก็พอรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ผิด ไม่ใช่ผิดเพราะกินเหล้าแต่ผิดเพราะไม่มีสติ ผิดที่แสดงออกผิด ๆ แก้ปัญหาผิด ๆ แต่ถึงอย่างไรการไม่เข้าเรียนก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี ถึงจะมีมุมดี ๆ แต่ก็ยังคงมีมุมแย่ ๆ ที่ทุกคนพอจะคิดออกอยู่แล้ว การโดดเรียนของผมมันทำ�ให้ผมลำ�บากขึ้น มากตอนใกล้วันที่จะสอบ การอ่านหนังสือโดยลืมกินข้าว อ่านข้ามวันข้ามคืนนี่เป็นเรื่องปกติ และด้วยความกลัวที่จะสอบตกทำ�ให้ความเครียดถาโถมเป็น คลื่นสึนามิ กระแทกเข้าเต็มหน้าพร้อมด้วยคำ�เยาะเย้ยที่ด่าผมเนื่องผมไม่ได้เข้าไปเรียน อย่างน้อยมันทำ�ให้ผมรู้ว่าบางทีผมก็น่าที่จะเข้าเรียน สำ�หรับน้องใหม่ที่กำ�ลังจะเข้ามาในรั้วมหาวิทยาลัย ขอให้เลือกตามที่พวกคุณสบายใจและมีความสุขกับมันในทุก ๆด้าน อย่าไปคิดตามคนอื่นไม่ว่าเลือกที่จะ เข้าเรียนหรือโดดเรียน ขอให้คิดเสมอว่า คุณต้องเรียนรู้ไม่ว่าจะอยู่ในห้องเรียนหรือไม่ก็ตาม สำ�หรับคนที่อยู่มาในมหาวิทยาลัยมาสักพักแล้ว ขอให้พวกคุณชั่งใจให้ดีว่าอยากจะเลือกแบบไหน อาจจะลองทั้งสองแบบก็ได้ไม่ว่ากัน โดดเรียนดูซักครั้ง
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 19 -
Alcohol101
วัฒนธรรมในเรื่องเหล้า
ธีรภัทร รื่นศิริ
วัฒนธรรมในเรื่องเหล้า
“เรื่องเล่าเป็นได้ทั้งจริงเท็จ แต่เรี่องนี้เป็นเรื่องเท็จ” สาเหตุที่ต้องเล่าเรื่องเท็จเพราะชีวิตจริงนั้นซับซ้อนวุ่นวายเกินกว่าที่ใครจะ สรุปต้นเรื่องท้ายเรื่องได้ว่าประเด็นของมันคืออะไร แต่เพราะชีวิตจริงของ ใคร ๆ ต่างก็น่ามึนเมาอยู่แล้ว ใครเล่าจะอยากดื่มด่ำ�กับความมึนเมาของ ผู้อื่น ดูอย่างเวลาคนดังเขียนหนังสือเล่าชีวิตเป็นตัวอย่าง อ่านกี่เล่มแม้จะ เจอแต่ชีวิตที่ไร้กลีบกุหลาบแต่ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยคติชวนคิดสอนใจเสมอ ก็จะจ้างโกสต์ไรท์เตอร์ทั้งที แม้ไม่ใส่สีแต่ก็ต้องจัดองค์ประกอบศิลป์มา หลอกให้เราหลงเชื่อว่าชีวิตเราหาแก่นสารไม่ได้ ต้องเรียนรู้วิธีมองชีวิตจาก พวกเขา ไหน ๆ พูดถึงโกสต์ไรท์เตอร์ เหตุการณ์ทั้งหมดในบทความ นี้ถูกกุว่าเกิดขึ้นในวันเดียวนั่นคือวันฮาโลวีน แน่นอนว่าการเล่าที่ว่านี้ เหลวไหลทั้งเพ เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่ใครจะเรียนรู้ได้ภายในหนึ่งวันหรือหนึ่ง คืนแต่ต้องใช้เวลาแรมเดือนแรมปี ขอย้ำ�อีกครั้งว่าบทความนี้ขาดแคลน ความจริงยิ่งกว่าการดำ�รงอยู่ของภูตผี
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 20 -
Alcohol101
วัฒนธรรมในเรื่องเหล้า
ธีรภัทร รื่นศิริ
ภาพประกอบ : Panisa J. facebook page : Panisaj
- 21 -
small but matter l issue 02
Alcohol101
วัฒนธรรมในเรื่องเหล้า
เด็กหนุ่มผู้ชอบจิบชาเหลือบไปมองประตูผับซึ่งส่งเสียงเบา ๆ เขากำ�ลังรอคอยเธอด้วยความหวาดกลัวใช่ หวาดกลัว เขาเหลือบลงมอง หนังสือบนโต๊ะอย่างขำ�ขัน หนังสือที่ชื่อ ความกระวนกระวายและการฆ่า ตัวตาย เขาชอบความประจวบเหมาะเช่นนี้ มันคล้ายจะเป็นสัญญาณที่บ่ง บอกว่าชีวิตมีความหมายและเหตุผลเขาไม่เชื่อว่าชีวิตมีความหมายใดนอก เหนือไปจากความหมายที่เรามอบให้มัน โชคดีที่เขาเชื่อว่าความประจวบ เหมาะที่ว่านี้ก็ไม่มีตัวตนอยู่ก่อนที่เราจะมองเห็นมัน เมื่อคิดถึงตรงนี้ เขาก็ เปิดหนังสือหน้าที่คั่นไว้ก่อนจะอ่านอย่างขำ�ขัน เด็ ก หนุ่ ม อาจจะเป็ น เด็ ก เนิ ร์ ด แต่ ไ ม่ ใ ช่ เ ด็ ก เนิ ร์ ด เพราะอ่ า น หนังสือในผับ ผับของอังกฤษแทบจะไม่ต่างจากร้านกาแฟในไทยที่ผู้คน ทุ ก เพศทุ ก วั ย ตั้ ง แต่ เ ด็ ก เล็ ก ไปจนถึ ง ผู้ สู ง อายุ ม าชุ ม นุ ม เพื่ อ ทำ � กิ จ กรรม ต่าง ๆ หนึ่งในกิจกรรมที่ว่าคือการอ่านหนังสือ คำ�ว่าผับนี้เดิมทีก็มาจาก public house ไม่ใช่ที่ที่คนไปเมาเหล้าแต่อย่างใดตรงกันข้าม การเมาเหล้า ในผับเป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนแอไม่รู้จักกาลเทศะด้วยซ้ำ� เด็กหนุ่มจึง อับอายอย่างยิ่งเมื่อต้องเห็นสายตาดูถูกที่กำ�ลังรุมจับจ้องเพื่อนร่วมชาติของ เขา หนุ่มสาวชาวไทยกลุ่มหนึ่งคงระลึกถึงบ้านเกิดเมืองนอนมาก เกินไปจนหลงลืมคำ�เตือนของบาร์เทนเดอร์เมื่อสิบนาทีก่อนว่าให้เบาเสียง ลงหน่อย เหล่าหนุ่มสาวชาวไทยคงเห็นว่างานปาร์ตี้วันฮาโลวีนนี้เงียบเชียบ เกินไปหน่อยจึงเริ่มร้องเพลงพี่เบิร์ดด้วยอาการโฮมซิค เด็กหนุ่มแทบจะคลุ้มคลั่งด้วยความอับอาย แต่เมื่อบรรดา แฟลตเมทของเขาเดินเข้ามาในผับความอับอายก็ยิ่งทวีคูณจนแทบแทรก แผ่นดินหนี เขาเห็นเธอมองคนไทยกลุ่มนั้นอย่างครุ่นคิดก่อนจะหันมา หาเขา นั่นทำ�ให้เขารีบผุดลุกพร้อมพูดแทรกสอบถามเพื่อน ๆ ว่ามีใคร ต้องการดื่มอะไรบ้าง เขาจดจำ�รายชื่อเครื่องดื่มอย่างรวดเร็วก่อนจะเดิน ตรงดิ่งไปหาบาร์เทนเดอร์ เธอเป็นนักภาษาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญภาษาพูดแต่น่าเสียดายที่ เธอดูจะไม่เข้าใจภาษากายสักเท่าไหร่ เธอจึงอาสาช่วยเด็กหนุ่ม เธอเดิน ตามเขามาก่อนจะถามเขาด้วยประโยคที่ทำ�ให้เด็กหนุ่มก้มหน้ารับด้วย ความอับอาย “นั่นคนไทยใช่ไหม?” เด็กหนุ่มพยักหน้าก่อนจะดื่มมะนาวโซดาที่เหลือในมือ “มะนาวโซดามัน ย้อมใจไม่ได้หรอกนะ” เธอหยอกอย่าง ขำ�ขันเมื่อเห็นเด็กหนุ่มที่ปกติดูจะรอบรู้สารพัด มีประสบการณ์แปลก ประหลาดเต็มไปหมด แต่กลับไม่เคยลิ้มรสเหล้าแม้สักหยดเดียว
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
ธีรภัทร รื่นศิริ
เธอไม่รู้ว่าเขาไม่ได้กำ�ลังย้อมใจให้ทนอาย แต่กำ�ลังรวบรวม ความกล้าที่จะเข้าไปห้ามปรามเพื่อนร่วมชาติที่เคยเรียนแต่บัดนี้ลืมสุภาษิต “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” ไปหมดแล้วสุภาษิตนี้น่าสนใจในบริบท ของเด็กหนุ่ม เพราะคนตาดีย่อมมองว่าตาหลิ่วไม่ดี ในขณะที่คนตาหลิ่วไม่ เห็นว่าการตาหลิ่วไม่ดีตรงไหน คนไทยเห็นว่าการดื่มเหล้านั้นไม่ดี ส่วนฝรั่ง ตะวันตกไม่เห็นว่าการดื่มเหล้าไม่ดีตรงไหน อย่างไรก็ตาม พิจารณาจาก สายตาของเด็กหนุ่ม กลุ่มเพื่อนร่วมชาตินิรนามของเขาคงไม่ได้แค่หลิ่วตา ตาม แต่อาจจะดื่มมากจนทำ�ตาบอดเพื่อเข้าเมืองตาหลิ่วเสียแล้วแน่นอนว่า เขาเองก็ตระหนักในความปากว่าตาขยิบของตน ปากบอกให้คนอื่นปรับตัว แต่ตัวเองไม่ยอมปรับอะไรเลย ตัวเองไม่ยอมแตะต้องแอลกอฮอล์ที่น่ากลัว แม้แต่น้อย ภาพชายผิวทองแดงไม่ใส่เสื้อผ้ากำ�ลังทำ�ตัวทุเรศซ้อนทับกับ ภาพคนหนุ่มสาวผิวขาวเหลืองตรงหน้าอย่างพอดิบพอดีในสายตาของเด็ก หนุ่ม เด็กหนุ่มรวบรวมความกล้าและถ้อยคำ�ได้เรียบร้อย เขาผุดลุก ขึ้นเพื่อจะได้เข้าไปหยุดยั้งพฤติกรรมน่ารังเกียจตรงหน้า แต่แล้วอีวา เพื่อน สาวชาวเช็กของเขาก็เปิดประตูผับเข้ามา “คู่เดต (date) นายมาแล้ว” เธอกระซิบบอกเขาอย่างขำ�ขัน ก่อนจะถือถาดเครื่องดื่มกลับไปยังโต๊ะเด็กหนุ่มพยายามจะพูดแก้แต่เธอก็ เดินจากไปแล้ว เขาได้แต่พูดเบา ๆ กับตัวเองว่า “เดท (death) ของผมนะหรือ?” “คิดว่าจะโดนเบี้ยวแล้วซะอีก” อีวากอดทักทายผม ผมกอด กลับอย่างเงอะงะตามประสาคนไทยที่เพิ่งไปเมืองนอกได้ไม่นาน “ดื่มอะไรดี?” เธอถาม “มันต้องมีบางอย่างสิที่นายอยากลองดื่ม เบียร์? วิสกี้? ไวน์? ตกลงกันแล้วไงว่าคืนนี้นายต้องเสียบริสุทธิ์ 555” “ไม่มีจริง ๆ” ผมตอบกลับไป “จริง ๆ นะ ผมไม่ได้เครียดขนาดนั้น...อีกอย่าง...” “รู้แล้ว ๆ” เธอปัด “เบียร์? ฉันเป็นคนเช็ก ฉันรู้เรื่องเบียร์” เธอสั่งเบียร์ให้พวกเรา คนละแก้ว “คนเช็กดื่มเบียร์เยอะเหรอครับ?” “อืม เยอะที่สุดในโลก” เธอตอบ “ฮะ? ผมคิดว่าคนเยอรมันซะอีก” “ไม่ใช่ คนเช็กดื่มเยอะกว่า” เราหันไปขอบคุณบาร์เทนเดอร์ “ราคาเบียร์ที่นั่นก็ถูกกว่านี้เยอะ ถูกกว่านำ�้เปล่าซะอีก...อยาก ไปเที่ยวไหมล่ะ? ไว้จะพาเที่ยว เราเคยเป็นไกด์มาก่อน” “เหรอครับ? แล้วทำ�ไมมาเรียนรัฐศาสตร์ล่ะ?”
- 22 -
Alcohol101
วัฒนธรรมในเรื่องเหล้า
“แปลกเหรอ?” “อาจจะแปลกในสายตาคนไทยครับ แต่ผมเริ่มพบว่าสายตาคน ไทยเองนี่แหละที่อาจจะแปลก” “ยังไงเหรอ?” เธอถามพลางจิบเบียร์และยักคิ้วให้ผมลองชิม เบียร์แก้วแรกในชีวิตดู “เหมือนสายตาและวิธีคิดของเราจะถูกฝึกให้มองทุกอย่างเพียง ด้านเดียว มองชีวิตเส้นทางเดียวเหมือนเราจะถูกฝึกให้คิดว่าชีวิตที่ดีคือ ชีวิตที่เข้าใจง่าย เรื่องที่ควรคิดคือเรื่องที่มีคำ�ตอบแน่นอนตายตัวเพียงคำ� ตอบเดียว ชีวิตแบบอื่น โจทย์แบบอื่น ไม่ใช่เรื่องที่เราควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว” “แต่โจทย์ในชีวิตมันไม่ได้ง่ายแบบนั้นนะ” เธอท้วง “ใช่ครับ ดูอย่างชีวิตอีวา ไกด์ในสายตาคนไทยควรจะเรียน ภาษาหรือประวัติศาสตร์ ใช่ครับ ไกด์ เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่อีวา ครา โครว่าจะเรียนหนังสือหากไม่ใช่เพื่อหวังขึ้นเงินเดือน ไม่มีเหตุผลอะไร ที่...” เด็กหนุ่มมองไปยังโต๊ะของเพื่อนร่วมชาติที่บัดนี้ถูกตะเพิดจากร้านไป เรียบร้อย “ไม่มีเหตุผลอะไรที่คนเราจะดื่มเหล้าหากไม่เมา” “คนไทยดื่มเหล้าเพื่อเมาเหรอ?” เธองุนงงกับวัตถุประสงค์อัน แปลกประหลาดนี้ “ทำ�ไมถึงอยากเมากันล่ะ? อยากให้คนมองว่าเป็นคนคออ่อน ปกติอยู่ในศีลในธรรมหรือ?” เด็กหนุ่มหัวเราะ หัวเราะอย่างงุนงงแต่ก็รู้สึกกระจ่างแจ้ง หากไม่มีคำ�ถามอันแปลกประหลาดชวนงุนงงของอีวา เขาคงไม่เห็นว่า วัฒนธรรมของตนพิลึกพิลั่นในสายตาคนอื่นขนาดไหน อีวาเห็นเขาไม่ตอบ จึงถามเพิ่มว่า “คำ�ว่าเมาของเราตรงกันหรือเปล่า? เทียบกับกลุ่มคนที่ส่งเสียง โหวกเหวกเมื่อครู่เป็นไง?” เด็กหนุ่มได้แต่หัวเราะก่อนจะเฉลยให้เธอทราบว่าแท้ที่จริงแล้ว คนเหล่านั้นคือคนไทย เขารู้สึกเจ็บปวดไม่น้อยเมื่อสีหน้าเธอแสดงอาการ ดูถูกคนไทยทั้งชาติจากพฤติกรรมนั้น แน่นอนว่าเธอไม่ยอมให้ตนคิด เช่นนั้นวัฒนธรรมร่วมสมัยของตะวันตกปฏิเสธที่จะตัดสินคนทั้งชาติจาก พฤติกรรมของใครบางคนแต่หากวัฒนธรรมนั้นได้ผลจริงเราก็คงไม่นินทา ว่าร้ายคนจีนทั้งประเทศจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเพียงหยิบมือเดียว แต่ละรัฐก็คงไม่ต้องพยายามสร้างภาพลักษณ์ผ่านตัวแทนเพียงคนสองคน มนุษย์เราไม่ได้เปิดใจกว้างให้โอกาสคนอื่นมากขนาดนั้น
ธีรภัทร รื่นศิริ
“ผมขอแก้ต่างให้เพื่อนร่วมชาติหน่อย ผมเองรังเกียจพฤติกรรม ของพวกเขา แต่ผมก็เข้าใจนะ สำ�หรับพวกเขา ผับต้องเสียงดัง ต้องเมา เหล้า คิดให้ต่าง มองให้ต่าง ยากจริง ๆ ผมขอเล่าเรื่องตอนผมไปกิน อาหารกับที่ภาควิชาให้ฟังหน่อยแล้วกัน” “อืม” “พวกเราไปกินอาหารอิตาลีกันครับ หกในสิบคนเป็นมังสวิรัติ” ผมพยักหน้ายืนยันว่าหกในสิบจริง ๆ “ตอนแรกผมก็ไม่ได้คิดอะไรมากจนกระทั่งผมพบว่าทั้งหก คนดื่มไวน์ ดื่มไวน์แล้วทำ�ไมใช่ไหมครับ? ในวัฒนธรรมของอีวา การ กินมังสวิรัติและการดื่มแอลกอฮอล์เป็นทางเลือกของคน บางคนอาจจะ ยกมังสวิรัติเป็นความสำ�เร็จทางจริยธรรม แต่นั่นก็เป็นความเห็นของคน ส่วนน้อย ในประเทศของผม ในวัฒนธรรมของผม การกินมังสวิรัติเป็น ความสำ�เร็จทางจริยธรรมครับ...แต่...การดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สิ การไม่ดื่ม แอลกอฮอล์เป็นหน้าที่ทางจริยธรรมของมนุษย์คนหนึ่ง!” อีวาตาเบิกโพลง เธอทำ�ท่าครุ่นคิดอยู่พักใหญ่ในขณะที่เด็ก หนุ่มลองจิบเบียร์เป็นครั้งแรกในชีวิต ในที่สุดเธอก็ลองถามว่า “นายคิดว่าวัฒนธรรมนายถูกต้องไหม?” เธอถามด้วยความ ลำ�บากใจตามประสาคนตะวันตกที่ได้รับการสั่งสอนว่าตราบใดที่คุณไม่ได้ มาจากประเทศมุสลิมหัวรุนแรง วัฒนธรรมของคุณมีคุณค่าคู่ควรแก่การ เคารพเสมอ ไม่มีผิดไม่มีถูก “ผิดครับ” ผมตอบฟันธงอย่างมั่นใจ “แต่ไม่ได้ผิดเพราะการห้ามคนดื่มเหล้านะครับ มันผิดเพราะมันมั่นใจเสีย เหลือเกินว่าจริยธรรมคุณธรรมของตนเองนั้นถูกต้อง มั่นใจพอที่จะกดขี่คน ที่เห็นต่างให้เขามองว่าตนเองเป็นคนชั่ว มั่นใจว่าการมองโลกแบบอื่นล้วน ผิดพลาดคลาดเคลื่อน มีเพียงตัวเองที่มีสิทธิ์กำ�หนดและพิพากษาความดี ความงามความจริงในโลกนี้ มันชวนให้ผมนึกถึงจอห์น ล็อค นักปรัชญา ชื่อดังชาวอังกฤษ เขาเล่าให้ฟังว่าเขาเขียนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ สำ�รวจวิจัยศักยภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ เพราะวันหนึ่งเขานั่งดูเพื่อน ๆ ของเขาถกเถียงกันแทบเป็นแทบตาย ต่างฝ่ายต่างนึกรังเกียจเดียดฉันท์อีก ฝ่ายในเรื่องที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ แต่ทุกคนต่างคิดว่าคนที่เห็นต่างจากตัวเอง เป็นคนประหลาด เป็นบ้า ประเทศของผมโชคร้ายยิ่งกว่าเพื่อนของจอห์น ล็อค เพราะมีคนเพียงกลุ่มเดียวที่สามารถประกาศว่าใครบ้างประหลาด ใครบ้างบ้า แน่ละครับ ในประเทศด้อยพัฒนาที่การเข้าใจเครื่องยนต์ได้รับ ความสำ�คัญจนการเข้าใจคนถูกละเลย คนที่ไม่เหมือนจักรกลก็ต้องเป็นตัว ประหลาดไปโดยปริยาย”
- 23 -
small but matter l issue 02
โรงงานผลิตบัณฑิต
วิศว์ ปัญญา
โรงงาน ผลิต บัณฑิต เวลาทำ�งานกับสิ่งมีชีวิตนั้น สิ่งที่เราทำ�ได้คือใส่อาหารที่ถูก ต้อง สร้างสภาวะที่เหมาะสม แล้วจากนั้นก็....สวดภาวนา บทเรียนที่สำ�คัญในตอนทำ�วิทยานิพนธ์ปริญญาตรีที่ยังจำ�ได้ถึงทุกวันนี้จากรุ่นพี่ใน lab เดียวกันคือ “เวลา ทำ�งานกับสิ่งมีชีวิตนั้น สิ่งที่เราทำ�ได้คือใส่อาหารที่ถูกต้อง สร้างสภาวะที่เหมาะสม แล้วจากนั้นก็....สวด ภาวนา” เพราะเราไม่สามารถบังคับให้แบคทีเรียทำ�ตามที่เราทุกอย่างได้ เพราะแบคทีเรียมีชีวิตของมันเอง บทเรียนนี้ได้รับการพิสูจน์หลายครั้ง เพราะทั้งที่ทำ�ทุกอย่าง (ที่เข้าใจว่า) เหมือนกัน แต่บางการทดลองก็ ล้มเหลวอย่างไม่ทราบสาเหตุ หลังจากกลับมาสอนหนังสือไปได้สักพักหนึ่ง ปัญหาเดียวกันก็ตามมาหลอกหลอน ทั้งที่สอนเหมือนกันแต่ ทำ�ไมนักศึกษาห้อง/ รุ่นหนึ่งรู้เรื่อง แต่อีกห้อง/ รุ่นหนึ่งกลับไม่เข้าใจ เราลืมไปว่านักศึกษาก็เป็นคนที่มีชีวิต แต่ละคนมีภูมิหลังที่แตกต่างกันออกไป แต่เมื่อทุกคนมานั่งเรียนในวิชาเดียวกันตามตารางสอน อาจารย์ที่ ถูกบังคับมาว่าจะต้องสอนเนื้อหาอะไรบ้างตามแผนการสอน สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การเรียนที่เป็นเหมือนระบบ สายพานที่เริ่มเช้าวันจันทร์มา ตารางสอนก็กำ�หนดว่าคิวแรกใส่แคลคูลัสลงไปก่อน จากนั้นก็ภาษาอังกฤษ ฯลฯ ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเย็นวันศุกร์ หลังจากหยุดสองวัน ก็วนกลับมาเริ่มวงจรเดิมอีก
การศึกษาแบบนี้คล้ายกับระบบสายพาน (assembly line) ในโรงงานประกอบหุ่นยนต์ที่ส่งนักศึกษามาตาม สายพาน ถึงคิวแรกอาจารย์ก็ใส่ข้อมูลแคลคูลัสลงไป อาจารย์ที่ยืนถัดมาก็ใส่ข้อมูลวิชาภาษาอังกฤษลงไป จบ ปลายสายพานตอนเย็นวันศุกร์ วนจนครบภาคการศึกษาก็ มีฝ่ายQCมาตรวจดูว่ามีเนื้อหาครบไหม ถ้าไม่ครบก็reject (แจก F) หรือส่งกลับไปปรับปรุงใหม่ (สอบซ่อม) คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 24 -
โรงงานผลิตบัณฑิต
การวัดประเมินคุณภาพ บัณฑิตจำ�เป็นต้องกำ�หนดจาก สิ่งที่บัณฑิตทำ�ได้ ไม่ใช่กำ�หนด จากสิ่งที่บัณฑิตได้ทำ�
วิศว์ ปัญญา ระบบนี้น่าจะเริ่มมาจากแนวคิดของ อดัมส์ สมิธว่าด้วยการแบ่งการทำ�งาน (Division of labor) ที่เชื่อว่าประสิทธิภาพ ของการผลิตนั้น เกิดจากการแบ่งงานออกเป็นงานย่อย ๆ และให้คนงานทำ�ซ้ำ� ๆ ในงานย่อย ๆ นั้น เช่น ถ้าคนงาน ขันน็อตก็ขันน็อตไปทุกวัน ก็จะขันน็อตเก่งเอง คนแรกที่นำ�ระบบนี้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือ เฮนรี่ ฟอร์ดใน การผลิตรถยนต์ฟอร์ด โมเดล T อันโด่งดังที่ประสบความสำ�เร็จในการใช้ระบบสายพานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลด ต้นทุนการผลิต ตามแนวคิด mass production ที่ว่าต้นทุนคงที่ต่อผลิตภัณฑ์จะลดลงตามปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น ในทำ�นองเดียวกัน ถ้าสอนนักเรียนทุกคนเหมือน ๆ กัน สอนหน้าชั้นที่มีนักเรียนสิบคนหรือห้าสิบคน ค่าจ้างครูของ โรงเรียนหรือเวลาในการเตรียมการสอนของครูก็ไม่ต่างกัน ในศตวรรษที่ 19 และ 20 ความต้องการคนงานและเสมียนเพื่อทำ�งานที่ไม่ซับซ้อนจำ�นวนมาก เป็นปัจจัยหนึ่งในการ สร้างระบบการศึกษานี้ขึ้น แนวคิดเดียวกันถูกนำ�มาใช้เมื่อความต้องการวิศวกรและบุคลากรสาขาอื่น ๆ เพิ่มมาก ขึ้นระหว่างสงครามเย็นในช่วงการแข่งขันทางอวกาศ (space race) ระบบการศึกษาแบบ mass production นี้ มี ประสิทธิภาพในการตอบโจทย์ตลาดแรงงาน การวัดประเมินผลก็ทำ�ได้ง่าย เพียงแต่แค่ตรวจสอบว่าใส่ข้อมูลอะไรลง ไปในหัวนักศึกษาบ้าง จะเห็นได้จากการที่หลายสมาคมวิชาชีพที่ให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามหลักสูตรที่สมาคม รับรองหรือให้ใบอนุญาตตามสิ่งที่นักศึกษาได้ทำ�หรือได้เรียนมาตลอดสี่ปี แต่ไม่มีการสอบวัดความรู้ความสามารถของ นักศึกษา หรือการประกันคุณภาพการศึกษาที่สนใจว่าสอนครบชั่วโมง/ เนื้อหาตามที่เขียนไว้ในหลักสูตรมากกว่าการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นในระหว่างชั่วโมง
ในส่วนของนักศึกษาเอง ก็ควร เปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการ ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย จาก มีเป้าหมายเพื่อให้ ได้เกรดดีๆ ได้รับปริญญา มาเป็นความรู้ ประสบการณ์ และทักษะที่จะได้ เก็บเกี่ยว เรียนรู้ภายในเวลาที่ ศึกษาอยู่
อย่างไรก็ตาม เมื่อโลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์และเศรษฐกิจดิจิตัลในศตวรรษที่ 21 การศึกษาเพื่อผลิตแรงงานตามความ ต้องการของอุตสาหกรรมในลักษณะนี้ เริ่มจะไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับพลวัตของเทคโนโลยีและสังคม รวมทั้ง ความต้องการที่หลากหลายของนักศึกษาที่เริ่มจะเข้าสู่ยุค mass customization ได้ การศึกษาที่มุ่งเน้นการให้ความ รู้ (ข้อมูล?) เฉพาะด้านแก่นักศึกษาที่เคยประสบความสำ�เร็จในศตวรรษที่ผ่านมา เริ่มไม่สามารถใช้ได้ในยุคที่ความรู้ เริ่มมีวันหมดอายุ (expired date) สิ่งที่เรียนรู้มาจากมหาวิทยาลัยอาจจะเริ่มใช้ไม่ได้หลังจากสำ�เร็จการศึกษาไปแล้ว นิตยสาร Forbes คาดการณ์ว่าจะมีหลายอาชีพจะสูญหายไปในอีกสิบปีข้างหน้า[1] บางอาชีพ เช่น ชาวนา ที่มีมากว่า หมื่นปี เราเริ่มไม่อาจแน่ใจได้ว่าอาชีพที่นักศึกษาคาดว่าจะทำ�ตอนเริ่มเข้าเรียนปีหนึ่งจะยังคงมีอยู่สี่ปีให้หลังเมื่อสำ�เร็จการ ศึกษา แนวคิดของการศึกษาในการที่จะตอบโจทย์ทั้งความเป็นปัจเจกของนักศึกษาและพลวัตของโลกในศตวรรษที่ 21 จึงจำ�เป็นต้องปรับเปลี่ยนอย่างมาก เพราะความรู้ที่ได้นักศึกษาได้รับในช่วงที่เรียนอยู่อาจจะหมดอายุก่อนที่จะมีโอกาส นำ�ไปใช้ในการทำ�งานได้ การวัดประเมินคุณภาพบัณฑิตจึงจำ�เป็นต้องกำ�หนดจากสิ่งที่บัณฑิตทำ�ได้ เช่น ทักษะและ ความรู้ที่จำ�เป็น ไม่ใช่กำ�หนดจากสิ่งที่บัณฑิตได้ทำ� ความสามารถในการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ ทักษะการสื่อสาร การค้นหาข้อมูล ฯลฯ เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่จำ�เป็นต่อการประกอบชีพและดำ�รงชีวิตในยุคที่ข้อมูลเกือบทุกอย่างอยู่เพียง แค่ปลายนิ้วกด รัฐควรปรับเปลี่ยนให้การประเมินคุณภาพสถานศึกษาและการอุดหนุนงบประมาณ โดยใช้คุณภาพ ของกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งหมายถึงคุณภาพที่เพิ่มขึ้นจากการศึกษาในมหาวิทยาลัย เพื่อลดความได้เปรียบ ของบางมหาวิทยาลัยที่ admission ได้นักศึกษาคุณภาพดี ทำ�ให้การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพง่ายกว่ามหาวิทยาลัยอื่น งบประมาณอุดหนุนที่รัฐให้ตามหัวนักศึกษาในแผนการรับนักศึกษาดังเช่นปัจจุบันนั้นก็ควรให้ตามคุณภาพหลักสูตร และ/หรือไม่สนับสนุนการผลิตบัณฑิตในหลักสูตรที่ไม่มีคุณภาพ เพื่อเป็นการลดความสิ้นเปลืองการใช้งบประมาณ ของรัฐและลดความสูญเปล่าทางเวลาและโอกาสของนักศึกษา ในส่วนของมหาวิทยาลัยเองก็จำ�เป็นต้องปรับปรุง ให้นักศึกษามีโอกาสและอิสระในการเลือกเรียนสิ่งที่สนใจและเหมาะสมกับแต่ละคน การประเมินผลการศึกษาด้วย ข้อสอบปลายภาคเพื่อทดสอบความรู้ (ความจำ�?) (Summative Assessment) ก็อาจจะจำ�เป็นต้องลดสัดส่วนลง ไป ประเมินกระบวนการเรียนรู้ (Formative Assessment) ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ถาม-ตอบในห้อง การทำ�งาน กลุ่ม หรือโครงงาน เป็นต้น แนวคิดเช่นนี้ อาจจะใหม่ในประเทศไทย แต่ในต่างประเทศ นักศึกษาสามารถจบวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นวิชาเอก โดยมี ดนตรีเป็นวิชารองได้ ในส่วนของนักศึกษาเอง ก็ควรเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย จากมีเป้า หมายเพื่อให้ได้เกรดดี ๆ ได้รับปริญญา มาเป็นความรู้ ประสบการณ์ และทักษะที่จะได้เก็บเกี่ยว เรียนรู้ภายในเวลา ที่ศึกษาอยู่ ประเด็นเหล่านี้น่าจะเป็นที่ได้รับการถกเถียงกันในการปฏิรูปการศึกษามากกว่าการถกเถียงรูปแบบการ บริหารโดยที่พยายามตั้งกระทรวงอุดมศึกษาขึ้นมาใหม่หลังจากที่ยุบทบวงมหาวิทยาลัยไปแล้วแบบ deja vu อีกครั้ง (1) http://www.forbes.com/pictures/lmj45ighg/top-20-disappearing-jobs/
ภาพประกอบ : koobta facebook page : koobta
- 25 -
small but matter l issue 02
OBSERVER
เราต้องทำ�อะไรสักอย่างไหม
พีรณัฐ ทวีชลพิสิฐ
เราต้องทำ�อะไรสักอย่างไหม? รูปประกอบโดย: ธนัท ลัพธวรรณ์ fb page: CloudStory
ไม่นานมานี้มีร้านสเต็กเปิดใหม่แถวมหา’ลัย เพื่อนสาวของข้าพเจ้าผู้ชอบลองร้านอาหารเปิดใหม่ ไม่รอช้าที่จะไปลองชิม เพื่อนรีวิวสั้น ๆ ไว้ว่ารสชาติ ธรรมดา ๆ จนไม่มีอะไรให้น่าจดจำ� ส่วนมันบดเป็นสิ่ง ที่ตราตรึงมากข้าพเจ้าสงสัยว่ามันอร่อยขนาดนั้นเชียว หรือ คำ�ตอบที่ได้คือ “เปล่า ไม่ได้อร่อยอะไรหรอก จำ� ได้แค่ว่ามันเย็นชืดคนแบบไหนชอบกินมันบดเย็น ๆ เพื่อนกล่าว หลายสัปดาห์ผ่านไป ขณะที่กำ�ลังระดมสมอง กับเพื่อน ๆ ว่าเย็นนี้จะกินอะไรดี มีเพื่อนเสนอชื่อร้าน สเต็กร้านนั้น เพื่อนสาวผู้ที่ไปลองมาแล้วรีบสกัดโดย การเล่าเรื่องมันบดชืด ๆ ให้ฟัง แต่พวกเราคิดว่าช่วง ที่เพื่อนไปลองเป็นช่วงเปิดใหม่ อาจจะมีอะไรขลุกขลัก ไม่ลงตัว พวกเราควรจะให้โอกาสร้านแก้ตัวโดยกลับไป ลองอีกครั้ง ตัดภาพมาเมื่อแต่ละคนพบว่ามันบดในจานตัว เองล้วนเย็นชืด เพื่อนสาวหันมามองแรงพร้อมขยับปาก ว่า “กูเตือนมึงแล้ว!” หลั ง จากที่ จ่ า ยเงิ น และออกจากร้ า นมาแล้ ว มันบดเย็นชืดยังคงตกเป็นประเด็นในวงสนทนา เพื่อน ๆ บอกว่าจะไม่กลับมากินอีกแล้วเพราะร้านไม่ควรจะ เสิร์ฟมันบดเย็น ๆ ก็ถูกของพวกเขา ณ ตอนนั้นข้าพเจ้าเพิ่งจะสังเกตว่า ตั้งแต่ที่ มันบดเย็นเป็นประเด็น ยังไม่มีใครในกลุ่มพวกเราได้ บอกทางร้านหรือขอเปลี่ยนมันบดเลย พวกเราได้แต่บ่น กันเอง เราควรบอกทางร้านไหม
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
อาจารย์พิเศษท่านหนึ่งบ่นกับข้าพเจ้าเรื่อง กฎหอสมุดของมหา’ลัยที่’จารย์เพิ่งจะทราบ ’จารย์ เล่าให้ฟังว่าวันนั้นไม่สามารถเข้าใช้บริการหอสมุดได้ เนื่องจากหอสมุดมีกฎงดให้บริการผู้ที่สวมกางเกงขา สั้น ’จารย์ใส่กางเกงที่ชายยาวประมาณเข่า ’จารย์ไม่ สามารถผ่านเข้าไปได้ ในเวลานั้นเองนักศึกษาที่เดิน สวนออกมานุ่งกระโปรงที่สั้นเลยเข่าขึ้นไป กางเกงเข้าไม่ได้ กระโปรงเข้าได้ เพราะกฎ ไม่ได้ห้ามกระโปรง ห้ามแต่กางเกง ทั้งข้าพเจ้าและอาจารย์ไม่เข้าใจ เจตนารมณ์ ของกฎคืออะไร ข้าพเจ้าเอาเรื่องนี้ไปนั่งคุยกับเพื่อน มีเพื่อน คนหนึ่ ง เล่ า ให้ ฟั ง ว่ า เคยเข้ า หอสมุ ด ไม่ ไ ด้ เ พราะว่ า ใส่กางเกงขายาว...ที่ยาวไม่พอ กางเกงตัวนั้นมีชาย กางเกงที่ลอยเหนือตาตุ่มนิดหน่อย รปภ. ไม่อนุญาต ให้เข้าข้าพเจ้าไม่เข้าใจจริง ๆ ว่าเพราะอะไร เราจะอยู่กันอย่างนี้จริง ๆ หรอ
-26 -
OBSERVER
เราต้องทำ�อะไรสักอย่างไหม
ใกล้จะเปิดเทอมอีกครั้ง ข้าพเจ้านั่งอ่าน หนังสือกันเพื่อนอีกสามคนอยู่ในหอสมุด บรรยากาศ เงียบสงบอย่างที่หอสมุดควรจะเป็น แต่ความสงบอยู่ กับพวกเราเพียงไม่นานก็ถูกพรากไปโดยกลุ่มนักเรียน ชุดมัธยมที่กรูกันเข้ามาและมีพี่เสื้อช็อปคอยกำ�กับดูแล เดาจากรู ป การณ์ แ ล้ ว น่ า จะเป็ น กิ จ กรรมปฐมนิ เ ทศ นักศึกษาของสักคณะ วัยรุ่นที่เพิ่งเจอเพื่อนใหม่และ สภาพแวดล้อมใหม่ ถ้าจะส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวก็ไม่ใช่เรื่อง แปลก ความตื่นเต้นอาจจะทำ�ให้พวกเขาลืมไปว่าอยู่ใน หอสมุดต้องพยายามไม่ส่งเสียงดัง จริง ๆ บริเวณที่เกิดเหตุสามารถใช้เสียงได้ เสียงแบบคนปกติคุยกัน ไม่ใช่เสียงเจี๊ยวจ๊าว ไม่ใช่เสียง ดังเราหันไปบ่นกับเพื่อนเรื่องเด็กเสียงดัง พวกเราสรุป กันว่าบ่นกันเองฟังกันเองแค่นี้ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ควรจะต้องมีการเตือนสติกันหน่อย ข้าพเจ้าตัดสินใจลุกขึ้นเดินไปเลียบ ๆ เคียง ๆ บริเวณที่กลุ่มปฐมนิเทศน์นั่งกันอยู่ ข้าพเจ้าเดิน เข้าไปหาพี่ใส่เสื้อช็อป (จริง ๆ ก็คงรุ่นเดียวกัน) เปิด การสนทนาด้วยคำ�ถามว่ามีกิจกรรมอะไรกัน เป็นไป ตามที่คาดไว้คือเป็นกิจกรรมแนะนำ�หอสมุดของภาค วิชาหนึ่ง ข้าพเจ้าจึงสวนกลับไปว่างั้นสิ่งแรกที่ต้อง แนะนำ�เลยคืออยู่ในหอสมุดให้หลีกเลี่ยงการใช้เสียง โดยไม่จำ�เป็น ยังไงก็ช่วยเงียบ ๆ กันด้วย พร้อมกับยิ้ม ให้หนึ่งครั้งและเดินจากออกมาโดยไม่รีรอคำ�ตอบใด ๆ เสียงเจี๊ยวจ๊าวหายไปราวกับมีใครหมุนปุ่มลด เสียงไปจนสุด วันนั้นข้าพเจ้าเรียนรู้ (จากการลงมือทำ�) อย่างหนึ่งว่า การบ่น การพูดจะช่วยแพร่กระจาย ความคิดของเราออกไป คนที่ฟังอาจจะแค่ “เออ เออ เรื่อง’มึง” หรือ “คือกูต้องรู้ไหม” อยู่ในใจ บางคนอาจ จะนำ�ไปคิดต่อ บางคนอาจจะมองหาหนทางแก้ไข ปัญหาอาจจะถูกแก้หรือไม่ถูกแก้ก็ได้ แต่ถ้าลองมองหาว่า “เราพอจะทำ�อะไรได้ บ้าง” เอาเท่าที่คนตัวเล็ก ๆ อย่างพวกเราพอจะทำ�ได้ ปัญหาที่ใหญ่ซับซ้อนอาจจะคลายลงไปเปลาะหนึ่งก็ เป็นได้
พีรณัฐ ทวีชลพิสิฐ
ข้าพเจ้ากลับไปที่ร้านเดินสเต็กร้านเดิม มันบดยังเย็น เช่นเดิม แต่ที่ไม่เหมือนเดิมคือข้าพเจ้าบอกไปว่าไม่ชอบมันบด เย็น ๆ ช่วยเอาไปอุ่นให้หน่อย มันกลับมาแบบร้อน ๆ ไม่รู้ว่า เสียงของคนตัวเล็กจะทำ�ให้มันบดเสิร์ฟแบบร้อนทุกจาน หรือ ว่าร้อนแค่จานนี้จานเดียว คงต้องกลับมาลองใหม่คราวหลัง แต่ถ้าพูดหลายครั้งแล้วไม่เปลี่ยนแปลง คงจะต้องเลิกรากันไป ข้ า พเล่ า เรื่ องกางเกงขาสั้ นให้ เ พื่ อนที่ เ รี ยนที่อื่น ฟัง เพื่อนนั่งคิดสักครู่แล้วเสนอว่า ลองให้ผู้ชายใส่กระโปรงเข้าไป เป็นอารยะขัดขืนที่น่าทดลอง ลองให้ภายใต้กระโปรงมีกางเกง ขาสั้นอยู่ อยากจะรู้นักว่าจะผ่านไปได้หรือไม่ จริงๆ แล้วข้าพเจ้าเคยถามทั้ง รปภ. และบรรณารักษ์ เรื่องกางเกงขาสั้น ทำ�ไมขาสั้นจึงเข้าไม่ได้ ? คำ�ตอบที่ได้มา คือ “มันเป็นกฎ” เมื่อได้ยินเช่นนั้นเราจึงไม่ถามต่อ เพราะ ชัดเจนอยู่แล้วว่าพวกเขาแค่ทำ�ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สุดท้ายคงต้องกลับมาตั้งคำ�ถาม (ทั้งตัวเราและผู้ กำ�หนดนโยบาย) ว่าทำ�ไมการแต่งกายจึงส่งผลต่อการให้ บริการ ไม่อยากให้มีสะพานลอย รถไม่หยุดทางม้าลาย การ จองโต๊ะแบบไม่เกรงใจใคร รถในย่านชุมชน(มหา’ลัย) ขับเร็ว อยากดูสารคดีแต่โรงหนังไม่นำ�มาฉาย ไม่น่าจะมีแค่เราคนเดียวที่คิดแบบนั้น กระแสตอบรับต่อ documentary club(1) เป็นสิ่งที่ พิสูจน์ว่ามีคนกลุ่มหนึ่ง (และเป็นจำ�นวนไม่น้อย) อยากดูหนัง สารคดี ถ้าไม่มี documentary club การดูสารคดีต่างประเทศ ในไทยคงจะลำ�บากกว่านี้ บางที ปัญหาใหญ่ ๆ อาจจะเริ่มแก้ด้วยการมองหา คนที่คิดเหมือนกันแล้วช่วยกันถามว่า..
เราพอจะทำ�อะไรได้บ้าง
1
Documentary Club เป็นโครงการพาหนังสารคดีคุณภาพจากทั่วโลกมาให้คนไทยได้ดู เริ่มต้นจากการระดม ทุนผ่าน taejai.com เมื่อราวหนึ่งปีที่แล้ว (2014) หนังสารคดีจาก Documentary Club เขย่าความเชื่อเดิมที่ว่า หนังสารคดีขายไม่ได้ในไทยหลายริกเตอร์ เมื่อ AMY (2015) คนดูล้นหลามจนอยู่ในโรง SF เซ็นทรัลเวิลด์ได้ถึง 6 สัปดาห์ ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Facebook Page: Documentary Club - 27 -
small but matter l issue 02
แบบหัดอ่านสำ�หรับเด็ก
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
แก่ขวบ
- 30 -
รีบชิดขวา...ช้าชิดซ้าย
หนูอยากเป็นอะไร
- 31 -
แก่ขวบ
small but matter l issue 02
Economic Today: เศรษฐกิจวันนี้
ศิริวิมล วิสุทธิ์ศักดิ์ชัย
เมื่อการส่งออกถึงจุดอิ่มตัว จะทำ�อย่างไร? ใกล้เข้ามาทุกทีกับการเปิด AEC ที่ต่อจากนี้ไปสภาพการ ทำ�งานในอนาคตจะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องแข่งขันกับคน มากถึง 600 ล้านคน เมื่อหันกลับมามองดูตัวเลขเศรษฐกิจ โลกในปีนี้ ก็ต้องยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่า เศรษฐกิจโลก มีการชะลอตัวอย่างแท้จริง ประเทศผู้นำ�เข้าสำ�คัญของโลก อย่างรัสเซีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และบราซิล ก็มีแนวโน้มนำ� เข้าสินค้าลดลง ทำ�ให้ท่านสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายก รัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ มองเห็นถึงแนวคิดที่ว่า เศรษฐกิจ โลกกำ�ลังเข้าสู่ยุคที่การส่งออกถึงจุดอิ่มตัว (New Normal) และต้องสร้างนักรบรุ่นใหม่ทางเศรษฐกิจ โดยกำ�หนดให้มี หลักสูตร ASEAN Executive Program ซึ่งอาศัยความร่วมมือ ทั้ง 5E ที่พูดถึงนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า กระแสโลกในปัจจุบัน กับสถาบันการศึกษา 1 มหาวิทยาลัย ต่อ 1 ประเทศ เพื่อ มีความนิยมในการทานอาหารคุณภาพสูง และทานอาหารเพื่อ สุขภาพ มีความต้องการที่จะศึกษาต่อในระดับสูงมากขึ้น และ สร้างเครือข่ายนักธุรกิจในอาเซียน ยังแสดงหาความบันเทิงไม่ว่าจะเป็นในรูปคอนเสิร์ต การแสดง ตลก เกมส์ รวมถึงความต้องการพักผ่อนตามสถานที่ท่องเที่ยว เห็นได้ว่า สิ่งที่กำ�ลังจะเกิดนับจากนี้เป็นทั้งโอกาสและความ ที่ยังคงความสวยงานตามธรรมชาติ ท้ายที่สุดก็มีความต้องการ ท้าทายสำ�หรับนักศึกษารุ่นใหม่ที่เพิ่งสำ�เร็จการศึกษา หรือ ใช้พลังงานที่มีราคาต่อหน่วยลดลง กำ�ลังจะสำ�เร็จการศึกษา จึงอยากจะเสนอไอเดียทางธุรกิจที่ ยังคงมาแรง และสามารถทำ�ให้รุ่งได้ ภายใต้ชื่อว่า 5E เมื่อเห็นโอกาสเช่นนี้แล้ว นักรบทางเศรษฐกิจหน้าใหม่ คงจะมี ทางเลือกในการลงไปลุยได้ 2 แบบ แบบแรก คือ ลงไปลุยตรง 5E ที่พูดถึงนี้ ได้แก่ ๆ คือ สร้างธุรกิจนั้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาใหม่ และแบบที่ 1. Eating สอง คือ การลงไปลุยทางอ้อม โดยการลงทุนตามเทรนด์ที่ยังคง สามารถเติบโตได้ในอนาคต 2. Energy 3. Education 4. Entertainment 5. Environment
เรื่อง : ศิริวิมล วิสุทธิ์ศักดิ์ชัย fb page: Economic Today รูปประกอบโดย : ธนัท ลัพธวรรณ์ fb page : CloudStory
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 32 -
ในวันเช่นนี้
พีริยา
- 33 -
small but matter l issue 02
small interview
วสันต์ เสตสิทธิ์ (โต้ง) กลุ่มเผยแพร่กฏหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)
ภาพนักศึกษานั่งคุกเข่าตากฝนกันไม่ให้ตำ�รวจเข้าไป ทำ�ร้ายผู้ชุมนุมที่ประท้วงคัดค้านเหมืองแร่ทองคำ�ใน จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2556 นักศึกษาเหล่านั้น คือนักศึกษากลุ่มดาวดิน หรือ กลุ่มเผยแพร่กฏหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
ผู้ให้สัมภาษณ์ : วสันต์ เสตสิทธิ์ (โต้ง) นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ม.ขอนแก่น ชั้นปีที่ 6 กลุ่มดาวดิน หรือ กลุ่มเผยแพร่กฏหมาย สิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม ผู้สัมภาษณ์ : กชกร ความเจริญ เรียบเรียง : I_was_impressed_by_kindness ศิลปกรรม : ปาณิศา เจิมหรรษา ขอขอบคุณผู้เอื้อเฟื้อภาพถ่าย : พิชิต ชัยสิทธิ์, เริงฤทธิ์ คงเมือง, จามร ศรเพชรนรินทร์ (ตามลำ�ดับภาพ)
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 34 -
สัมภาษณ์ : กชกร ความเจริญ
เรียบเรียง : I_was_impressed_by_kindness
เดือนพฤศจิกายน 2557 ดาวดิน ถูกพูดถึงอีกครั้ง หลังสมาชิก กลุ่ม 5 คน แสดงสัญลักษณ์ชู 3 นิ้ว คัดค้านการ รัฐประหาร ต่อหน้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะลงพื้นที่ จ.ขอนแก่น ขณะที่นักศึกษากลุ่มดาวดินเห็นว่าการรัฐประหารกับปัญหาที่ ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการแย่งชิง ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน พวกเขาออกมารวมตัวทำ�กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์อีกครั้ง ด้วย การชูป้าย ไม่เอารัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ในโอกาสครบรอบ 1 ปีการรัฐประหาร เป็นเหตุให้นักศึกษา 7 คน ถูกจับและดำ�เนินคดีฐานชุมนุมทางการเมือง ฝ่าฝืน คำ�สั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 3/2558 ซึ่งออกตามอำ�นาจ รัฐธรรมนูญชั่วคราวมาตรา 44 หลายคนตั้งคำ�ถามว่า ทำ�ไมเขาถึงกล้าออกมาขยับ ในวันที่เพียงเปิดปากก็เสมือนมีความผิด
ภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ทำ�ให้หลาย ๆ คนเริ่มมอง กลุ่มดาวดินเปลี่ยนไป จากนักศึกษาที่จับมือเคียงข้างชาวบ้าน ด้วยต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่เคยได้รับคำ�ชื่นชมจากสังคมอย่าง กว้างขวาง กลายเป็นพวกกลุ่มนักศึกษาหัวรุนแรงที่ ต่อต้าน การรัฐประหาร (ข้อมูลจาก ILAW)
หากประเด็นการเคล่อนไหวทางสังคมเปรียบเทียบได้ด้วยเฉด สี งานของกลุ่มดาวดินคงจะเรียกว่าร้อนแรงแดงแจ๋ (ไม่เกี่ยว กับสีเสื้อ-เมื่อไหร่กันที่เรารู้สึกไม่ผลักไสก็ใฝ่หาเมื่อพูดถึงสิ่ง ธรรมดาสามัญเช่นสี) หลายคนตั้งคำ�ถามว่า ทำ�ไมเขาถึงกล้า ออกมาขยับ ในวันที่เพียงเปิดปากก็เสมือนจะมีความผิด แต่ สิ่งที่ small สงสัยมากกว่านั้นคือ พวกเขาเป็นคนอย่างไรกัน กินเหล้าบ่อยไหม ชอบดูหนังแนวไหน พวกที่ถูกคนเรียกว่าหัวรุนแรงแบบนี้ วัน ๆ เขาทำ�อะไรกัน? วันนี้ small พาผู้อ่านมารู้จักกับหนึ่งในนักศึกษากลุ่มดาวดิน “โต้ง-ดาวดิน” ผู้ที่เป็นแนวร่วมการเคลื่อนไหวมาตลอด ร่วม ตากฝนที่เหมืองแร่เมืองเลย ร่วมชู 3 นิ้ว และร่วมติดคุก วัน นั้นเราไม่ใช้เวลาไปกับประเด็นหน้างานเหล่านั้นมากนัก ราย ละเอียดการเคลื่อนไหวของกลุ่มดาวดินหาอ่านจากเว็บไซต์ได้ ไม่ยาก (โปรดใช้วิจารณญาณในการ เลือกอ่าน) แม้สำ�นึก ว่าหน้ากระดาษมีจำ�กัด เรากลับเลือกที่จะพูดคุยสบาย ๆ และปล่อยให้บทสนทนาเคลื่อนไป เราควานหาความธรรมดา สามัญ ความเป็นคน ๆ หนึ่งที่ต่างจากทุกคนไม่มากไปว่าทุก คนต่างไปจากกันและกัน คน ธรรมดาคนนั้นเพียงแค่เชื่อใน บางสิ่ง ไม่ต่างจากที่ทุกคนล้วนเชื่อในบางอย่างและลงมือทำ� มัน เสียงเพลงจากกีตาร์โปร่งและเครื่องขยายเสียงลอยแว่วมาเป็น ระยะ เราสองคนนั่งโต๊ะม้าหินอ่อนใต้ต้นไม้ ลมวันนั้น พัดโชย เย็นสบาย โปรแกรมบันทึกเสียงบนสมาร์ทโฟนก็เริ่มทำ�งาน...
- 35 -
small but matter l issue 02
small interview
วสันต์ เสตสิทธิ์ (โต้ง) กลุ่มเผยแพร่กฏหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)
อะไรบ้างคือจุดเปลี่ยนในชีวิต จนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดาวดิน จุดเปลี่ยนแรก มีคนยืมเงินแม่ แล้วแม่แกก็โดนเขาหลอก เราเลยรู้สึกว่าแม่ถูก รังแกนะ เราต้องเรียนกฎหมายนะ เพื่ออย่างน้อยให้มันทันคน อยากเรียนให้แม่ ด้วย จุดเปลี่ยนสอง ตอนเราเรียนในห้องเรียน เวลาเจอคำ�ศัพท์ยาก ๆ ที่อาจารย์พูด ที่อาจารย์สอน เช่น ภาษากฎหมาย เราก็ตั้งคำ�ถามกับตัวเองว่า ถ้ามันยากแบบ นี้แล้วเราจะไปบอกชาวบ้านให้เขาเข้าใจได้ยังไง เราก็เลยไปศึกษาเพิ่มจากหนังสือ จากการเรียนรู้จากข้างนอก การเข้าดาวดิน การเป็นการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง จริง ๆ เป็นคนชอบทำ�กิจกรรมอยู่แล้ว ตั้งแต่ ม.ปลาย มามหา’ลัยก็เข้าร่วมกิจกรรมหมดเลยนะ พอปีหนึ่ง เทอมสองกิจกรรม เริ่มน้อย ก็ได้รู้จักกับพี่ ๆ ดาวดินนี่แหละ พี่เขาเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงด้วย เลยถาม ว่า เข้าดาวดินต้องทำ�ยังไง ตอนนั้นก็เดินเข้าไปเฉย ๆ นี่แหละ แล้วพอได้ ลงพื้นที่ ช่วงนั้นมันเป็นเรื่องเหมืองทอง เกี่ยวกับ พ.ร.บ.แร่ ที่ถูกแก้ไขให้เอื้อ ผลประโยชน์กับนายทุน นี่ก็เป็นอีกจุดเปลี่ยนหนึ่งที่ทำ�ให้รู้สึกว่าทำ�ไมห้องเรียน มันไม่บอกเรื่องพวกนี้ กฎหมายที่มันไม่เป็นธรรมมันก็มีนะ ทำ�ไมเขาถึงไม่สอน เรื่องความอยุติธรรม ถ้าเราไม่เข้าใจมันเราจะไปรักษามันได้ยังไง เวลาอาจารย์ สอนมันเหมือนเป็นการสอนให้เราออกไปทำ�งานหาเงินมากกว่า การที่จะทำ�เพื่อ อุดมการณ์ของ นิติศาสตร์ ก็เลยเลือกที่จะเข้ามาทำ�กับดาวดินแบบจริงจังตั้งแต่ นั้นมา
ลำ�บากตอนน้ี่มันไม่ใช่ว่าเกิดมาแล้วลำ�บากเลย มันลำ�บากเพราะว่า ดาวดินหาเงินอย่างไร เรามีทุนก้อนชื่อทุนโกมลฯ เขามีกระบวนการ มีเครื่องมือให้ แต่ถ้ารายจ่าย ๆ อื่นที่เป็นอีเวนต์เราก็อาศัย เปิดหมวก ประชาสัมพันธ์ หาคน ทำ�ทุกอย่าง จนกว่าจะพอออกมาเป็นค่ายได้ วิธีหาพื้นที่ทำ�กิจกรรม มันก็จะมีพี่ ๆ NGO ที่ทำ�ชุดข้อมูลไว้ เราก็จะรู้จักพี่ ๆ เครือ NGO อีสาน เยอะ เราก็อาศัยข้อมูลจากเขาบ้าง บางทีก็ฟังจากข่าวเอานะ เช่น ข่าวโรงไฟฟ้า ที่ชัยภูมิ ที่ชาวบ้านไปยื่นหนังสือ 5,000 คน เราก็คุยกับพี่ ๆ ว่าต้องทำ�อะไร สักอย่างแล้วหล่ะ เราก็ตั้งทีมที่จะไปศึกษาเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อจะไปเปิดพื้นที่การ เรียนรู้ พื้นที่การทำ�งานใหม่ให้ กับชาวบ้าน ไปให้ความรู้เขา บางแหล่งกิจกรรม เช่นเหมืองแร่เมืองเลย พี่ ๆ ดาวดินเข้าไปศึกษาและเรียนรู้ร่วมกับชาวบ้านมา ตั้งแต่แรกเลย ความสัมพันธ์เนี่ยไม่ต้องพูดถึง
เราได้อยู่กับเพื่อนที่ทำ�กิจกรรมมาด้วยกัน ผ่านอะไรมา คล้าย ๆ กัน แต่ว่าแต่ละคนก็มีความคิดและ แนวทางเป็น ของตัวเองเหมือนกันนะ แต่เรามีจุดร่วมอะไรบางอย่างที่ ทำ�ให้เราอยู่ด้วยกัน ก็คือการเปลี่ยนแปลง สังคม คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 36 -
สัมภาษณ์ : กชกร ความเจริญ
เรียบเรียง : I_was_impressed_by_kindness
จุดเริ่มต้นและดาวดินในทุกวันนี้
ตอนนี้ชีวิตทำ�อะไรบ้าง
ดาวดินเริ่มจากการก่อตั้งของคน 11 คน ตอนนี้ดาวดิน 15 ปีแล้ว บางคนมา จากกรุงเทพฯ แล้วก็พูดว่า พี่หนูมาเรียนที่นี่เพราะอยากเข้าดาวดิน น้องมัธยม บางคนก็แอดเฟรนด์มาหาเรารู้จักเราเพราะดาวดิน บางคนรู้จักดาวดิน เพราะ ข่าว แล้วเขาก็สนใจ แต่ก่อนดาวดินไม่ใช่แบบนี้นะ สมาชิกดาวดินจะแบบตัว ใหญ่ ไว้หนวดไว้เครา ใส่แว่น ดำ�อ่ะ ผมยาวกลางหลัง ใส่เสื้อทหาร ตอนแรก นะ ก็นึกว่านักกฎหมายต้องใส่สูท ผูกไทด์ เนี้ยบอะ แต่พอมาเจอพี่ ๆ พวกนี้ ภายนอกเขาไม่น่าเชื่อถือแต่พอได้คุยกับเขา แม่งเก่งกว่าเราอีกอะ รู้เยอะกว่า เราอีกอะ มีอะไรเราก็ปรึกษา ได้ทุกเรื่องเลยอะ และพี่เขาก็ยังใส่ใจแม้เรื่องเล็ก น้อย บางคนเป็นลูกผู้ดีด้วย เขาอยู่ในกรอบมาตลอด แล้วก็เพิ่งมา ค้นพบตัวเอง ว่าที่ผ่านมาสังคมมันหลอกเราตลอดมา ภาพภูเขาที่เมืองเลยที่สวย ๆ ที่จริงมี เหมือง พอเห็นด้วยตามัน ก็เหมือนถูกสลัดตัวตนจริง ๆ ออกมา
ถ้ามีเรียนก็จะไปเรียน มีนัดกับอาจารย์หรือมีนัดทำ�งานกับเพื่อนก็ไปทำ� พอ กลับมาถ้ามีวงเหล้าในบ้านดาวดินก็จะแวะ ถ้าวันหยุดก็ตื่นสายหน่อย กินข้าว แล้วก็กดโทรศัพท์เช็กข่าว นอนแช่น้ำ�อ่านข่าวไปเรื่อย ๆ บางทีก็ไปหา ร้านนั่ง กินกาแฟ อ่านหนังสือ หนังสือที่ชอบอ่านก็แนวนวนิยาย เอาให้ทั้งบันเทิงและ มีสาระด้วย ถ้าเป็นหนังสือ วิชาการหน่อยก็จะชอบอ่านของคณะมนุษย์ศาสตร์ มันมีวิชาแปลก ๆ เยอะ เช่น ประวัติศาสตร์ลาว อารยธรรมโลก แล้วอาจารย์ เขาก็จะชอบแนะนำ�อะไรแปลก ๆ ให้ไปศึกษา เราก็ชอบไปตามดู ตามอ่าน ตั้งแต่ปีห้าขึ้นมาเนี่ยก็จะ ชอบไปนั่งเรียนที่คณะอื่นมากกว่า พี่ว่าชีวิตพี่ก็ไม่ต่างกับคนทั่วไปในคณะนะ จะรู้สึกต่างหน่อยก็ตอนเวลาเรา ลงพื้นที่ แล้วก็พวกเรื่องที่เราคุย กันในวงเหล้า เราก็จะคุยกันเรื่องมีสาระบ้าง ถ้าไม่มีเรื่องคุยกันนะก็อาจจะไร้สาระหน่อย ความรักเป็นไง? บางครั้ง ถ้ามีงาน ก็จะมาเก็บตกแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องงานกันบ้าง บางทีก็เรื่องชีวิต เราก็ ช่วยกันปลอบใจกันให้กำ�ลัง ใจกัน นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่ประทับใจดาวดินด้วย
สังคมในดาวดินเป็นยังไง แต่ละคนก็มีบ้าน มีหอนะ แต่เราก็ชอบมาอยู่กันที่บ้านดาวดินนี่แหละ ส่วนหนึ่ง ที่ดาวดินอยู่ได้ก็เพราะเรามีบ้าน ทุกอย่างมันอยู่นี่หมด บ้านนี้เราก็เช่าเขาแหละ และก็ติดค่าเช่าเขาสี่ห้าเดือนเขาก็ไม่ไล่นะ แถมยังค้างเขามา เรื่อย ๆ ด้วย อยู่ ที่นี่เราได้อยู่กับเพื่อนที่ทำ�กิจกรรมมาด้วยกัน ผ่านอะไรมาคล้าย ๆ กัน แต่ว่า แต่ละคนก็มีความคิดและ แนวทางเป็นของตัวเองเหมือนกันนะ แต่เรามีจุดร่วม อะไรบางอย่างที่ทำ�ให้เราอยู่ด้วยกัน ก็คือการเปลี่ยนแปลงสังคม
เออ.. แล้วเพลงที่เค้าเล่นกันในวงเหล้ามันก็เป็นเพลงสไตล์เพื่อชีวิต มันเข้าถึง คนได้ง่ายดีนะ เอาปัญหาของสังคมมาถ่ายทอดให้คนฟัง เราก็พยายามทำ�ทุก อย่างแหละที่เป็นการ เคลื่อนไหวไปสู่สิ่งที่เราฝัน บางทีเราก็ตั้งคำ�ถามกับหนัง ที่ดู เช่น คิดว่าประเทศไทยต้องการ BATMAN ไหม คุยกัน แบบนี้มันก็แปลกดี
มันมีคนที่สบาย มันมีคนที่ ไม่สนใจคนอื่น คอยแต่จะเอาเปรียบคนอื่น การแสดงออกที่ผ่านมาส่งผลกระทบอะไรบ้าง
คิดจะทำ�อะไรต่อไปในอนาคต หรือมีเป้าหมายอะไรในชีวิตที่คิดอยากจะทำ� ไหม
เวลามีคนมาสัมภาษณ์เนี่ย เราก็เปิดใจไปหมดเลยนะ บางทีก็เหมือนจะร้องไห้ ออกมากับเขา เช่น เขาถามว่าทำ�ไมถึงออกมาทำ�อย่างนี้ ก็บอกเขาไปว่าเพราะ ว่าครอบครัวเราเนี่ย มันฐานะยากจน พอเราได้มีโอกาสได้เข้ามาเรียน มีโอกาส ได้เรียนรู้อะไรที่เราไม่รู้อย่างเช่นกฎหมาย สิทธิเสรีภาพของเรา พอได้รู้แล้ว มันรู้สึกว่าที่ผ่านมา ครอบครัวของเรา ที่ลำ�บากตอนนี้มันไม่ใช่ว่าเกิดมาแล้ว ลำ�บากเลย มันลำ�บากเพราะว่ามันมีคนที่สบาย มันมีคนที่ไม่สนใจคนอื่น คอย แต่จะเอาเปรียบคนอื่น นั่นแหละก็เลยทำ�ให้ทำ�อะไรแบบนี้
ตอนนี้จริงจังกับเรื่องการเรียนเป็นหลัก มันเป็นอะไรที่ท้าทายตัวเองมาก การ เรียนกับการทำ�กิจกรรมไปพร้อม ๆ กัน มันก็มีพี่หลายคนที่เขาจัดการได้ จบ สี่ปีตามกำ�หนด แต่ว่าเราเนี่ยมันจัดการไม่ได้ มันก็ต้องทำ�ความเข้าใจกับ ครอบครัวเราด้วย ซึ่งเขาก็ไม่เข้าใจ บางที่เขาโทรมาตอนเราลงพื้นที่ เราก็บอก เขาว่าเรียนอยู่ ก็เรียนจริง ๆ เรียนกับชาวบ้าน นั่นแหละ หลังจากนี้ก็คงต้อง จริงจังกับเรื่องเรียนละ 6 ปีละนะ มันยาวมันนานเกินไปแล้ว ชอบเขียนบทกวีรึเปล่า เห็นมีบทกวีออกมา
มันเจ็บปวดมากเลยนะตอนที่แม่ไปเยี่ยมที่เรือนจำ� ตอนแรกก็คิดว่าเราจะบอก แม่ดีไหม สุดท้ายก็บอกแกว่าอยากให้แกมาเยี่ยมนะ พอแกมา แกก็ร้องไห้ พอเจอกันเราก็ไม่รู้จะพูดอะไรกัน พูดไปก็ร้องไห้ไป เราก็บอกแก ว่าที่เราทำ� ไปน่ะ ทำ�แบบนี้ ไม่ได้ทำ�เพื่อตัวเองนะ ไม่ต้องเสียใจ หนูทำ�เพื่อแม่ด้วย แต่ ว่าก็ขอโทษเขาแหละที่ผ่าน มาไม่ได้บอก คือถ้าบอกมันก็คงจะดีกว่านี้ เขาก็จะ ได้เข้าใจและไม่ต้องเป็นห่วง แต่สุดท้ายแกก็ไม่เข้าใจนะ ไม่รู้ว่า เราทำ�ไปทำ�ไม ทำ�เพื่ออะไรทำ� ปกติก็เลยจะบอกแกไปแค่ว่าเราไปลงพื้นที่นะ ไปหาชาวบ้าน แม่ก็จะถามว่ามีครูไปด้วยไหม พอเราบอกว่าไม่ แกก็จะงอนละ เริ่มโกรธละ
ไม่ได้ชอบหรอก ช่วงนั้นมันอ่านเยอะเฉย ๆ เหมือนเราเอาอะไรเข้ามาเยอะแล้ว ต้องระบายไง หาที่ยืนให้ตัวเองในดาวดินด้วยแหละ จริง ๆ ไม่ได้รู้สึกอยากทำ� มันหรอก แค่ช่วงนั้นทำ�มันไปตามอารมณ์ รู้สึกอยากเขียนก็เขียน พอเขียนออก มาดี พี่ ๆ เขาก็ช่วยกันดันใหญ่เลย เราก็เลยจำ�เป็นต้องแบกรับภารกิจ ก็เลยตั้ง เป้าเหมือนกันว่าเราต้อง มีหนังสือสักเล่มในชีวิตนี้ให้ได้ แต่ตอนนี้ไม่ได้เขียนละ เขียนบันทึกประจำ�วันมากกว่า
……. เพราะว่ารักฉันถึงเสียใจ เพราะว่ารักฉันถึงยิ้มได้ เพราะความรักมอบให้และเอาไปทุก ๆ อย่าง ขอให้ความรักอยู่กับ ขอให้ความรักอยู่กับคุณ …….. (เพลงยินดีของพี่บอย Imagine แว่วเข้ามาในวงสนทนา)
เขียนให้ small สักบทได้ ไหม ได้สิ ถ้าเป็น small ได้เลย ถ้ารุ่งเรืองหน่อยเดี๋ยวจะขอเข้าร่วมด้วย (หัวเราะ)
- 37 -
small but matter l issue 02
ออกจากห้องสี่เหลี่ยม
บ้าน
ที่
“ผมไม่ได้กลับบ้านมาสิบกว่าปีแล้ว ตั้งแต่ทะเลาะกับพ่อ” คำ�บอกเล่าจากปากของชายวัยกลางคน ผิวคล้ำ� สีหน้าหมอง หม่น แววตาหมองเศร้า ตอบคำ�ถามของฉันเกี่ยวกับความเป็น มาที่ทำ�ให้เขาตัดสินใจมา “ใช้ชีวิต” เป็น “คนไร้บ้าน” ที่สนาม หญ้าสาธารณะอันกว้างใหญ่ไพศาลกลางเมืองกรุง ที่ถูกเรียกว่า สนามหลวง คืนนั้นพระจันทร์ส่องสว่าง ส่องให้เห็นผู้คนมากมายที่นี่ ลมพัด โกรก เด็ก ๆ พากันเล่นว่าวอย่างสนุกสนาน มองไปรอบตัว มีผู้คนทุกเพศทุกวัย เป็นคืนวันที่ 11 สิงหาคม ใกล้วันแม่แห่ง ชาติเข้าไปทุกที มองไปไกลๆ เห็นพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จ พระบรมราชินีนาถตั้งอยู่อย่างเด่นชัด อีกฟากมีการฉายหนัง กลางแปลงที่มีชาวบ้านมาชมอย่างล้นหลาม พ่อค้าแม่ค้าขาย เสื่อที่ทำ�จากกล่องนมตะโกนขายของไปมา
“รู้จักศูนย์คนไร้บ้านไหม” “อยู่
บ้าน
ฉันกับเพื่อน ๆ ไม่ได้มาเพื่อท่องเที่ยว แต่ต้องการคำ�ตอบบาง อย่าง จึงใช้วิธี “เดินกาแฟ” โดยในมือสองข้างมีอุปกรณ์สำ�คัญ มาด้วย นั่นคือแก้วกาแฟกระดาษ ยาสามัญประจำ�บ้าน กาแฟ สำ�เร็จรูปแบบซอง และกระติกน้ำ�ร้อนไฟฟ้าที่มีน้ำ�เดือดบรรจุ อยู่เต็มกระติก ต่างคนต่างแยกย้ายกันเก็บข้อมูล โดยมีน้าผู้ชาย คนหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นคนไร้บ้านมาก่อน รูปร่างสูง ผอมกะหร่อง หน้าตอบ ใส่ชุดเก่า ๆ และมาจาก “ศูนย์คนไร้บ้านสุวิทย์ วัด หนู” ช่วยพูดคุยกับคนไร้บ้านเพื่อเปิดทางให้พวกเรา เขาบอก ว่าผู้คนที่นี่ส่วนใหญ่เป็นคนไร้บ้านทั้งนั้น เขารู้จักและเคยพูดคุย ด้วยหลายคน น้าพาฉันไปหาชายวัยกลางคนคนหนึ่ง ผมสั้น ผิวคล้ำ� ดู สะอาดสะอ้าน น้าบอกว่าคนนี้เป็นคนไร้บ้าน ฉันดูไม่ออกเลย ลุงคนนั้นบอกว่าเขาเพิ่งอาบน้ำ�มา นานๆ จะอาบสักทีหนึ่ง เขา พูดยิ้ม ๆ ฉันเทกาแฟในซองใส่แก้ว ใส่น้ำ�ร้อน คนแล้วยื่นให้เขาพร้อม ยา ลุงรับไว้แล้วขอบคุณฉัน น้าแนะนำ�ว่าฉันเป็นนักศึกษา มา ศึกษาเรื่องคนไร้บ้าน ลุงเปิดโอกาสให้ฉันซักถาม เมื่อเรานั่งขัด สมาธิบนเสื่อของลุงแล้ว ฉันก็เริ่มสัมภาษณ์ถึงที่มาของลุงคนนี้ “ผมไม่ได้กลับบ้านมาสิบกว่าปีแล้ว ตั้งแต่ทะเลาะกับพ่อ ตอน เป็นวัยรุ่นผมเคยขโมยเงินพ่อ แล้วพ่อก็แจ้งตำ�รวจจับผม ผม ติดคุกอยู่หลายปี พอออกจากคุก ผมก็ไม่กลับบ้านอีก ผมโกรธ พ่อ นาน ๆ ทีจะโทรไป ผมก็คุยแต่กับแม่” น้ำ�เสียงและสีหน้าเขาเต็มไปด้วยความคับแค้นใจ แววตาเศร้า ระคนเจ็บปวดมองไปยังสนามกว้าง เมื่อฉันถามเขาว่ามีญาติสนิทหรือที่พึ่งอื่นไหม เขาบอกว่านาน ๆ จะไปบ้านพี่สาวสักทีหนึ่ง แต่ก็ไม่บ่อยนัก เมื่อได้ฟังเรื่องราว ของเขา ฉันก็รู้สึกเจ็บปวดไปด้วย ทำ�ให้นึกถึงเนื้อเพลงที่ว่า
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 38 -
เหมือน ก็ต้องไปนอนนอกรั้ว บางทีก็ถูกเจ้าของ ล่าสุดที่ออกข่าว แต่ก็ไม่มีใคร กลายเป็นคนไร้บ้าน
เหมือน
ฉันถามน้าคนหนึ่ง ตรงไหน”
ที่
ไม่มี
โดย เก้า ชีวิต “บ้านที่มี บางทีก็เหมือนไม่มี มันคือนรกดี ๆ บางทีฉันก็ปวด ร้าว” ฉันและเพื่อน ๆ ได้สอบถามคนไร้บ้านหลายคนที่นั่น มีทั้งผู้ หญิง ผู้ชายและเพศที่สาม รวมกันประมาณห้าหกคน เป็นวัย กลางคน เมื่อถามถึงการใช้ชีวิตในที่สาธารณะ พวกเขาก็เล่าให้ ฟังว่าเมื่อก่อนสามารถนอนค้างที่สนามหลวงได้ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ ได้แล้ว เขาจะปิดไม่ให้คนเข้าตอนประมาณสามสี่ทุ่ม ก็ต้องไป นอนนอกรั้วหรือไม่ก็บ้านคนอื่นแทน บางทีก็ถูกเจ้าของบ้านไล่ ถูกเด็กปาหินใส่ ล่าสุดที่ออกข่าวก็มีคนโดนเผาทั้งเป็น แต่ก็ไม่มี ใครเอาผิดคนร้ายตัวจริง กลายเป็นคนไร้บ้านที่ต้องเป็นแพะรับ บาป “ตอนเช้า ๆ ประมาณตีสี่ คนไร้บ้านจะมาแถวนี้เพื่อรอคนมา ว่าจ้าง ไปเป็นกรรมกรก่อสร้างบ้าง รับจ้างเป็นตัวประกอบหนัง บ้าง ตามแต่จะจ้าง แต่ไม่ใช่งานประจำ� หาเช้ากินค่ำ�” น้าคน หนึ่งเล่าให้ฟัง น้าอีกคนหนึ่งยื่นกระดาษใบหนึ่งให้ฉันกับเพื่อนดู พวกเขามักจะ พกกระดาษใบหนึ่งที่บอกว่าวัดไหน วันไหนจะมีโรงทาน เพื่อจะ ได้ไปขอข้าวสาร แบบนี้มีไม่บ่อยนัก และต้องต่อแถวยาวม้ากก กกก เขาเน้นเสียง “รู้จักศูนย์คนไร้บ้านไหม” ฉันถามน้าคนหนึ่ง “อยู่ตรงไหน” “อยู่ใกล้ ๆ รถไฟ ชื่อศูนย์คนไร้บ้านสุวิทย์ วัดหนู อยู่กันเป็น ครอบครัว ส่งเสริมอาชีพ ช่วยเหลือกัน” ฉันแนะนำ�สถานที่ซึ่ง เพิ่งไปดูมา
ไม่มี หรือไม่ก็บ้านคนอื่นแทน บ้านไล่ ถูกเด็กปาหินใส่ ก็มีคนโดนเผาทั้งเป็น เอาผิดคนร้ายตัวจริง ที่ต้องเป็นแพะรับบาป
“อ๋อ รู้จักกับคนที่นั่น แต่ยังไม่พร้อมจะย้ายเข้าไป” เขาพูดด้วย สายตามีความหวังมากขึ้น พวกพี่ ๆ จากศูนย์คนไร้บ้านเรียกฉันกับเพื่อน ๆ ไปช่วยแจก อาหารที่ขนมาบนรถกระบะ ทั้งข้าวและหม้อน้ำ�แกงหม้อยักษ์ รวมถึงเครื่องปรุง คนไร้บ้านมาต่อแถวยาวเหยียดเพื่อรับอาหาร รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวจีนสองคนด้วย ฉันยื่นถ้วยข้าวส่งต่อให้คนไร้บ้านหลายคน ต่างขอบคุณพวกเรา อย่างจริงใจ และนำ�ไปกินอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งข้าวหมด เหลือเพียงน้ำ�แกงก้นหม้อ พี่คนหนึ่ง ประกาศว่า “ข้าวหมดแล้วค่า เนื้อหมดแล้ว เหลือแต่น้ำ�แกง” “ขอแค่น้ำ�ก็ยังดี” ลุงคนหนึ่งกล่าวด้วยสายตาอ้อนวอน ฉันยื่นถ้วยสุดท้ายให้ เขายิ้ม และค่อย ๆ รับถ้วยน้ำ�แกงที่ไม่มี แม้แต่เนื้อหรือผักไปด้วยความปลื้มปริ่ม - 39 -
small but matter l issue 02
INTRO TO LOGIC
สิ่งที่เป็นกับสิ่งที่ควร
พีริยา
สิ่งที่เป็นกับสิ่งที่ควร
หลั ง จากที่ ไ ด้ รู้ จั ก กั บ หลั ก การแรกไป เรียบร้อยแล้ว และรู้แล้วว่ามีหลักการแรกประเภทที่ อิงกับ ข้อเท็จจริง (ฝ่ายวิทย์) และประเภทที่อิงกับ ทฤษฎีความคิดความเชื่อ รสนิยม (ฝ่ายศิลป์) หลายคนจะรู้สึกขึ้นมาว่า อ้าว ถ้าการอิงกับข้อเท็จ จริงแบบวิทย์เท่านั้น ที่มันถูก แบบถูกต้องสุดๆ แล้ว อย่างงั้นเราจะใช้ลอจิคกับฝ่ายศิลป์ทำ�ไม ในเมื่อวิชา ฝ่ายนี้เอาเข้าจริงๆ ยังไงก็ไม่มีอะไรถูกหรือผิดสักกะ อย่าง ที่ยิ่งไปกว่านั้น ทำ�ไมเราไม่พยายามใช้ หลักการแรกที่อิงข้อเท็จจริง มาเป็นตัวตั้งตัดสินทุกๆ ศาสตร์มันเสียเลย เพื่อจะได้มั่นใจว่าสมเหตุสมผล สาธุชนทุกท่าน เราขอแนะนำ�ให้ท่านรู้จัก กับตรระวิบัติชนิดหนึ่ง ชื่อว่าปัญหาเรื่อง ‘สิ่งที่เป็นกับ สิ่งที่ควร’ (Is-ought Problem) นี่เป็นข้อบกพร่องทาง ลอจิคอันใหญ่และสำ�คัญมาก มันเกิดจากเวลาที่คน เราพยายามแก้ความสับสนในชีวิต ด้วยการใช้ลอจิค ดึงเรื่องเชิงสังคมไปผูกกับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ หรือนำ�หลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนข้อเส นอว่าอะไรบางอย่างดีหรือชั่ว ลองคิดตาม ดูเผิน ๆ การช่วยกัน สนับสนุนของสองศาสตร์ก็ดูเหมือนจะบูรณาการสาย วิทย์กับศิลป์เข้าด้วยกันดี แต่มันมีปัญหายังไงล่ะ ‘สิ่งที่เป็น’ ในที่นี้คือข้อเท็จจริง ความจริง ที่มันเป็นอยู่ ธรรมชาติ จับต้องพิสูจน์ได้ ส่วน ‘สิ่งที่ควร’ คือการตัดสินของมนุษย์ต่อข้อเท็จจริง เหล่านั้น การบอกว่าควร แปลว่าเป็นเรื่องหน้าที่ ศีล ธรรม กฎหมาย ไม่ใช่อะไรที่อยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว รอเราไปค้นพบอะไรแบบนั้น
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
แบบนี้เป็นเหตุผลได้จริง หรือ ทุกอย่างที่เป็น ธรรมชาติ เท่ากับเป็นสิ่งที่ ควรทำ�จริงๆหรือ
แต่เป็นของที่มนุษย์เราตั้งขึ้นมาเองเลยต่างหาก ดัง นั้นจะเห็นว่าสองสิ่งนี้เป็นคนละอย่าง แต่ปรากฏว่ามีหลายสำ�นักคิดทีเดียวใน โลกเรา ที่โยงว่าสองสิ่งนี้น่าจะเป็นสิ่งเดียวกัน หรือ อย่างน้อยก็อ้างเหตุผลต่อการกระทำ�สักอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุผลว่า ‘เพราะเป็นธรรมชาติ’ แล้วก็ได้รับ การยอมรับกว้างขวาง เพราะใครจะไปเถียงข้อเท็จ จริงได้ล่ะ อีกอย่างหนึ่ง การทำ�ตามธรรมชาติก็ดูไม่ เห็นจะเสียหายอะไร การฝืนธรรมชาติต่างหากที่เรา มักจะรู้สึกว่าแปลก ปกติแล้ว เราจึงไม่รู้สึกเท่าไรว่า เรื่องนี้เป็นตรรกะวิบัติ แต่ลองอ่านตัวอย่างการใช้เหตุผลนี้ดู ‘คนเกิดมาตามหลักชีววิทยามีสองเพศ ได้แก่ชาย และหญิง แต่ละเพศมีอวัยวะมีใช้สืบเผ่าพันธุ์ตาม ธรรมชาติด้วยการมีเพศสัมพันธ์กัน ดังนั้น ความรัก ร่วมเพศจึงผิดธรรมชาติ และผิดศีลธรรม จะเห็นได้ว่านี่เป็นการจับแพะชนแกะ คือผูกระหว่างข้อเท็จจริง (ทางชีววิทยาคนมีสอง เพศเอาไว้สืบเผ่าพันธุ์) กับศีลธรรมหรือสิ่งที่ควรจะ ทำ�
- 40 -
(คนจึงต้องใช้อวัยวะที่มีเพื่อสืบเผ่าพันธุ์ถึงเหมาะสม) ซึ่ง...ดังที่บอกไปแล้วเมื่อกี้ สองสิ่งนี้มันไม่เห็นเกี่ยว กันตรงไหนเลย หากว่าอ้างแบบนี้ เอาแบบเอ็กซ์ตรีม หน่อย ก็จะแปลว่า คู่รักชายหญิงทุกคู่จะต้องอยาก มีเพศสัมพันธ์เพื่อมี ลูก (เพราะอวัยวะเพศมีจุด ประสงค์ไว้สืบเผ่าพันธุ์) ไม่งั้นก็จะผิดศีลธรรม เพราะ ทำ�ผิดธรรมชาติอยู่ นอกจากนี้แล้ว บรรดาคนโสดทั้งหลาย ไม่ว่าเพศอะไร ก็ผิดศีลธรรมเช่นเดียวกัน เพราะมี อวัยวะเพศมาแต่เกิด ไม่ยอมใช้ตามจุดประสงค์ วัยเจริญพันธุ์ก็ต้องผสมพันธุ์สิ การอยู่เป็นโสดนี่ผิด ธรรมชาติมาก ฟังดูตลก แต่เชื่อไหม มีสำ�นักคิดใหญ่ๆ ในโลกที่ใช้ลอจิคนี้มาจนปัจจุบันนะ เช่น ศาสนา พราหมณ์ฮินดู ถึงวัยเจริญพันธุ์ต้อง แต่งงาน (ที่เรียก ว่า วัยคฤหัสถ์) ที่สำ�คัญ มีขุมนรกสำ�หรับคนโสดด้วย เพราะทำ�ผิดวิถี ธรรมชาติ (ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับศีล ธรรมสำ�หรับพวกเขา) ศาสนาตระกูลอับราฮัม คือยิว คริสต์ อิสลาม ก็คิดแบบนี้เหมือนกัน โดยแนวเพี ย วริ ตั น ดั้ ง เดิ ม จึ ง ห้ า มคุ ม กำ � เนิ ด (เพราะเพศสั ม พั น ธ์ ทุ ก ครั้ ง มี จุ ด ประสงค์ ที่ สมควรตามธรรมชาติ คือ มีลูก – ธรรมชาติที่ว่า นี้พระเจ้าสร้าง) เซ็กส์ไม่ใช่เพื่อความสุขของชีวิต แต่งงาน ผูกพันลันล้าฟินเว่อร์อะไรทั้งสิ้น จุดประสงค์ ของเซ็กส์มาจากสัญชาตญานเพื่อสืบเผ่าพันธุ์เท่านั้น คุมกำ�เนิดฝืนธรรมชาติทำ�ไม อืม แบบนี้เป็นเหตุผลได้จริงหรือ ทุกอย่างที่เป็นธรรมชาติ เท่ากับเป็น สิ่งที่ ควรทำ� จริง ๆ หรือ
INTRO TO LOGIC
‘สิ่งที่เป็นกับสิ่งที่ควร’ นี่เป็นข้อบกพร่องทาง ลอจิคอันใหญ่และ สำ�คัญมาก มันเกิดจากเวลาที่คนเรา พยายามแก้ความสับสน ในชีวิต ด้วยการใช้ ลอจิคดึงเรื่องเชิงสังคม ไปผูกกับข้อเท็จจริงทาง วิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งที่เป็นและสิ่งที่ควรนี้ เป็นปัญหา ใหญ่ในสมัยที่ชาร์ลส์ ดาร์วิน สามารถหาข้อ สนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการเป็นที่น่าเชื่อถือ ทฤษฎี ดังอย่างที่เรารู้ๆกันก็คือ สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวได้ก็จะ อยู่รอด (The survival of the fittest) ใครแข็งแรง ฉลาด เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมก็ได้อยู่ ใคร อ่อนแอ โง่ เดี๋ยวก็ตายไปเอง เป็นการคัดพันธุ์ตาม ธรรมชาติ นี่ก็อาจจะเป็นวิถีของธรรมชาติ จริง ๆ นั่นแหละ แต่เราควรเห็นดีเห็นงามกับวิถีนี้หรือไม่... คนป่วย คนพิการ เด็กออทิสติก บุคคลเหล่านี้จะ ยืนอยู่ตรงไหน สังคมมนุษย์เราควรเป็นเหมือนฝูงวัวไบ ซันที่พอวัวตัวไหนเกิดมาป่วย แคระแกร็น เดินช้า ตามไม่ทัน ฝูงก็ทิ้งไปซะเลย อย่างนั้นหรือเปล่า
สิ่งที่เป็นกับสิ่งที่ควร
นอกจากนั้นเราจะตัดสินได้อย่างไร ว่า ใครที่สมควรอยู่รอดบ้าง เพราะในความเป็นจริง สังคมมนุษย์ห่างไกลจากสภาพไบซันมานานแสนนาน แล้ว เราไม่ได้วัดระดับความสมควรจะอยู่รอดด้วย กำ�ลัง (อันที่จริงถ้าวัดด้วยกำ�ลัง เราก็คงยังอยู่ทุ่งเห มือนไบซันนั่นแหละ) แต่จะบอกว่า เราวัดด้วยความ ฉลาดหรือทักษะอะไรที่มีประโยชน์กับเผ่าพันธุ์มนุษย์ จะใช่รึเปล่านะ... ถ้าอย่างนั้นชวนคิดเล่น ๆ เด็กออทิ สติกถือว่าฉลาดไหม ในเมื่ อ เด็ ก กลุ่ ม นี้ พิ เ ศษและอาจมี พรสวรรค์ในบางศาสตร์ศิลป์มากกว่าคนทั่วไป บาง คนไอคิวสูงผิดปกติ แต่อาจจะไม่สามารถเข้าใจมุข ตลกใดๆ แบบนี้เราจะหามาตรฐานยังไงดี จะต้อง กำ�หนดกันเลยไหม ว่าคนเราต้องมีไอคิวเท่าไร หรือ เข้าใจมุขตลกแค่ไหน ถึงตรงตามธรรมชาติ สมควร อยู่รอด พูดมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่ามีเรื่องสำ�คัญ อย่างหนึ่งก็คือ แค่การนิยามว่าอะไรเป็นธรรมชาติ หรือไม่เป็นธรรมชาติ นี่ก็มีปัญหาในตัวมันเองแล้ว... เรามีข้อมูลข้อเท็จจริงอยู่เพียบ แต่บางครั้งยากที่จะ บอกว่าอะไรตรงธรรมชาติหรือผิดธรรมชาติ เราตอบ ลำ�บากว่า คนต้องมีไอคิวเท่าไร ต้องมีรสนิยมทาง เพศอย่างไร ต้องมีร่างกายแบบไหนถึงจะเรียกว่าไม่ พิการ เราตอบไม่ได้ชัดเจนด้วยซ้ำ�ว่า ทำ�ไมเรามัก รู้สึกว่าคนสายตาสั้นไม่จัดเป็นคนพิการ (เออถามจริง ชาวแว่นทั้งหลายรู้สึกว่าตัวเองพิการไหม มันต่างกับ อวัยวะบกพร่องแบบอื่นยังไง คนใส่แว่นเหมือนคนใส่ ขาเทียมไหม ถ้ามีเวลาอยากฝากให้ลองคิดดูดี ๆ )
- 41 -
พีริยา
หรื อ เพราะคนสายตาสั้ น มี เ ยอะจนกลายเป็ น ประชากรปกติ นี่มาตรฐานมันวัดกันที่จำ�นวนหรือ หรือว่า ธรรมชาติที่แท้จริงคือความแตก ต่างหลากหลาย ไม่มีหนึ่งมาตรฐาน ไม่เป็นบล็อกๆ จากโรงงานอุตสาหกรรมแบบมนุษย์สร้าง แต่เป็น เสือโคร่งที่ไม่เคยมีลายเหมือนกันเป๊ะแม้แต่ตัวเดียว ตัวเล็กตัวใหญ่บ้าง เผือกบ้าง พิการบ้าง ล้วนกำ�เนิด มาจากธรรมชาติหมดทุกอย่าง การอ้างว่ามีอะไร เป็นหรือไม่เป็นธรรมชาติจึงใช้ไม่ได้ตั้งแต่แรก อย่าง นี้รึเปล่าก็ไม่แน่นัก ความเป็นธรรมชาติที่ อ้าง ๆ กันอาจจะเป็นแค่ความเห็นของเสียงข้างมาก ครูบา อาจารย์ชื่อดัง หรือสถาบันที่มีอำ�นาจในสังคมก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นแค่ความเห็นก็ยิ่งเป็นเหตุผลที่มีน้ำ�หนัก น้อยลงไปอีก สรุปแล้ว การพยายามผูกเรื่องมาตรฐาน ความถูกผิด หรือการตัดสินคุณค่าอะไรก็ตาม มา เข้ากับข้อเท็จจริงทาง วิทยาศาสตร์ (ที่อาจจะโดน คนจับมานิยามเองด้วย) จึงค่อนข้างบ้าและน่ากลัว ทีเดียว ที่บ้าก็เพราะสองสิ่งนี้ไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกัน ส่วนที่น่ากลัวก็เพราะคนเราใช้ตรรกะวิบัตินี้กันแพร่ หลายสุด ๆ และมันลวงให้ฟังแล้วคล้อยตามว่ามัน มีน้ำ�หนักมาก ทั้งนี้ ไม่ได้กำ�ลังบอกว่าเราตัดขาด สองอย่างนี้เลยถึงจะดีนะ เพราะชีวิตที่เรื่องศีลธรรม ไม่เกี่ยวกับความเป็นจริงเลยก็คงประหลาดเกินไป หน่อย มันเกี่ยวข้องกันแน่นอนแหละ เพียงแต่ไม่ ได้สามารถรับรองให้เหตุผลซึ่งกันและกันในแง่ที่ว่า อะไรธรรมชาติเท่ากับมันดีงาม
small but matter l issue 02
ฟุ้ง
คุ้ม
นภัส ชัยลภากุล
ภาพประกอบ : tullaparin “ถ้าเป็นไปได้กูอยากเรียนหลาย ๆ คณะเลยวะ” นิสิตที่กำ�ลังก้มหน้าก้มตาอ่านหนังสือ เงยหน้าขึ้นมาส่งสีหน้าสงสัย
“กูเบื่อวะ ขี้เกียจอ่านหนังสือ ขี้เกียจเรียนวิชาพวกนี้ ทำ�ไมตอนนั้น ไม่ตัดสินใจซิ่ว ๆ ไปวะกู” ผมตอบมันไป
“มึงหมายถึง พอเรียนจบแล้วมึงจะไปเรียน ปริญญาตรี อีกหลาย ๆ คณะ หรอ”
“ไอ้ห่า มึงก็บ่นอย่างนี้ตลอดช่วงสอบ มึงทนมาได้ขนาดนี้ ทนอีกนิด เดียวก็จะเรียนจบละ”
“เปล่าๆ กูหมายถึงแบบถ้าย้อนเวลากลับไปได้กูอยากจะไปไล่เรียนมันทุก คณะเลย”
“เออ กูรู้แหละหน่า” เพื่อนผมที่อยู่ตรงหน้า วางปากกา จ้องมาที่ผม ผมที่กำ�ลังจะนั่ง เหม่อต่อจากสิบนาทีซักครู่นี้
“คนอะไรมันจะรักการเรียนได้ขนาดนี้วะ” มันปรบมือให้พร้อมทำ�หน้ากวนตีน
“กูขอเดาว่าที่มึงบอกว่าอยากย้อนกลับไปเรียนหลาย ๆ คณะ มัน มาจากสาเหตุนี้ใช่ป่ะ?”
“ก็เหี้ยละ กูจะได้รู้จักสาว ๆ ให้เยอะต่างหากละ” “ก็ส่วนหนึ่ง กูกำ�ลังรู้สึกว่าที่ผ่านมาในช่วงชีวิตมหาวิทยาลัย กูยังใช้ มันไม่ค่อยคุ้มเลย ถ้ากูได้ลองย้อนกลับไปใช้ชีวิตหลายๆแบบ มันก็ อาจจะดี”
“แหม่ ถ้าอย่างนั้นมึงเข้าไปทำ�ความรู้จักเค้าเองเลยไม่ง่ายกว่าหรอ น้องที่ นั่งอยู่ตรงโต๊ะติดหน้าต่างตรงนั้นเป็นไง น่ารักดีนะ” “น่ารักพ่อมึงสิ เค้ามากับแฟน มึงจะให้กูเข้าไปโดนแฟนเค้ากระทืบหรอ” เพื่อนผมหัวเราะ แล้วก็กลับไปอ่านหนังสือเตรียมสอบต่อ ทิ้งให้ผมนั่งเหม่อ กับจินตนาการที่จะสามรถกลับไปเรียนได้หลาย ๆ คณะ สิบนาทีผ่านไป ผมก็ยังจินตนาการไม่จบ และยังไม่มีท่าทีว่าจะอ่านหนังสือ ต่อ “ไม่อ่านหนังสือหรอวะ มึงไม่เข้าใจตรงไหนเปล่า ลองถามกูได้นะ วิชานี้กู เก่งอยู่พอตัว” มันทักขัดจังหวะผม
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 42 -
“งั้นนิสิตจงอธิบาย และยกตัวอย่างมาประกอบ การใช้ชีวิตไม่คุ้ม ของมึงมา ข้อนี้กูมีคะแนนให้สิบคะแนน” ผมตลกกับความพยายามทำ�ตัวเป็นข้อสอบของมัน แต่ในหัวก็ลอง นึกไล่ ๆ ดู “ข้อที่หนึ่ง กูว่าคณะเรามันเรียนหนักเกินไป วัน ๆ ก็ต้องอ่าน หนังสือไม่เห็นจะได้ไปเที่ยว ได้ทำ�ตัวเหมือนที่จินตนาการไว้ก่อนที่ จะเข้ามาใช้ชีวิตในรั้วมหาลัยฯ เลย ทั้งหมดเลยทำ�ให้กูว่ายังใช้ชีวิต ไม่คุ้ม” ผมตอบคำ�ถามมันไป
ฟุ้ง
คุ้ม
นภัส ชัยลภากุล “ช่าย มึงมีไทม์แมชชีนให้กูยืมไหมละ ถ้ากูสามารถย้อนกลับไปได้ กูอาจมีความสุขมากกว่านี้”
“กูชวนแล้วมึงไปมั้ยละ มึงเองอะที่กี่ครั้ง ๆ ก็ชอบบอกว่าไม่ไป อ่าน หนังสือสอบไม่ทัน พอมาอ่านก็นั่งโง่ไม่ยอมอ่าน แล้วพอสอบเสร็จก็บอกว่า เหนื่อยขอนอนพักอยู่บ้านไม่ไปอีก ไอ้ห่า”
“ไม่มี แต่กูมีอะไรจะบอกมึง”
มันตอบผมกลับแทบจะทันที “เออ ก็จริงวะ” ผมรับอย่างงง ๆ รู้สึกเหมือนตัวเองกำ�ลังโดนด่า
“อะไรวะ” “มันไม่แปลกเลยที่มึงจะบอกว่ามึงจะใช้ชีวิตตอนนี้ไม่คุ้ม มันไม่แปลก เลยที่มึงจะรู้สึกว่าชีวิตตอนนี้ของมึงไม่มีความสุข มันไม่แปลกที่มึง รู้สึกจัดการกับสิ่งรอบตัวได้อย่างยากลำ�บาก มึงอาจจะตัดสินใจหรือ ทำ�อะไรหลายๆอย่างพลาดไป เพราะในช่วงเวลาปัจจุบันนี้มันเป็นช่วง เวลาที่ยากที่สุดของมึงแล้ว”
“คำ�ตอบข้อแรกของมึง มันเกิดจาก lifestyle ของมึงเองแล้วแหละ คือชีวิต มึงไม่ใช่แบบนั้นแต่มึงดันไปนิยามว่าชีวิตที่คุ้มในมหาลัยฯ มันต้องไปปาร์ตี้ กินเหล้า เมาแฮ้งก์ เที่ยวให้คุ้ม มันก็ไม่แปลก ที่มึงจะรู้สึกไม่คุ้ม” “ตอบยาวสัส มีแบบรวบรัดเข้าใจง่ายกว่านี้ปะวะ” ผมพยายามกวนตีนมัน
“ยังไงวะ กูว่าปัญหาของผู้ใหญ่มันน่าจะแก้ยากกว่ากูนะ” ผมไม่เข้าใจ ในสิ่งที่มันพูด
“งั้นเดี๋ยว อ่านหนังสือเสร็จแล้วไปกินเบียร์กัน” เพื่อนผมสรุปให้ “อ่านเสร็จก็เหนื่อยแล้ว กลับบ้าน ๆ ”
“ก็เหมือนปัญหาของเด็กสามขวบที่อยากได้ของเล่นอะ คือในสายตา ของมึงมันคงดูเป็นเรื่องตลก มึงสามารถแก้ปัญหาได้ได้ง่ายๆ อาจ ทำ�งานพิเศษแล้วก็เอาเงินไปซื้อ แต่สำ�หรับเด็กแม่งโคตรยากเลยนะ คือถ้าพ่อแม่ บอกว่าไม่ว่าไม่ซื้อให้ก็คือจบ แล้วก็ไม่รู้จะแก้ปัญหายัง ไงดี”
“สัสเอ้ย!” คราวนี้มันผมโดนมันด่าจริง ๆ “แต่กูยังมีอีกข้อ มึงสนใจจะฟังไหม” “ว่ามา เร็ว ๆ ละ กูอยากอ่านหนังสือต่อแล้ว” มันกอดอก พยายามแกล้งทำ�หน้าจริงจังใส่
“แล้วไงต่อ”
“แล้วทำ�ไมตอนนั้นมึงไม่ซิ่วไป”
“ก็โชคดีที่มึงยังสามารถโตเป็นผู้ใหญ่ได้ไง มึงยังมีโอกาสจะเรียนรู้ที่ จะปัญหา มึงรู้ว่าที่เป็นอยู่มึงไม่ชอบมึงก็หาทางแก้ได้ หาทางเปลี่ยน ได้ ตอนนี้มันอาจจะเป็นโอกาสที่ดีด้วยซ้ำ�เพราะอย่างน้อยการที่มึง อยู่ในสภาพแบบนี้มันก็ทำ�ให้มึงรู้สึกว่าต่อไปต้องจริงจังกับการใช้ชีวิต มากกว่าเดิม”
“กูไม่กล้า”
“เพื่อนกูแม่งเทห์”
“เชี่ย ไอ้ลูกตุ้ด!” คราวนี้มันไม่ด่าผม แต่ด่าบุพการีผมแทน
“แน่นอน แล้วสรุปมึงจะไปกินเบียร์หลังอ่านเสร็จป่ะ”
น่าแปลกใจที่ทั้งหมดไม่ได้เกิดจากใครเลย แต่มันเกิดจากตัวเองทั้งนั้น ผม หยิบหนังสือตรงหน้าขึ้นมาตั้งใจที่จะอ่าน ผมต้องทำ�ความเข้าใจกับตัวเอง ว่าต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองได้เลือกไปแล้ว
“ไม่อ่ะ”
“รู้ใช่ป่ะว่ากูไม่ชอบที่ต้องเรียนคณะนี้ แต่ก็ดันทุรังเรียนมาไกล จนทำ�ให้รู้สึกไม่คุ้ม เพราเวลาที่เสียไปทั้งหมดเหมือนต้องเสียไปกับการ เรียนอะไรไม่รู้ที่กูไม่ชอบเลย”
“สัส!”
“มึงไม่ค่อยมีความสุขกับปัจจุบันตอนนี้สินะ?” อยู่ดี ๆ ก็กลายเป็นเพื่อน ของผมที่เข้ามาขัดจังหวะอ่านหนังสือของผม
- 43 -
small but matter l issue 02
ความสุขอยู่ที่ ไหน ?
I _was_impressed_ by_kindness. ความสุขอยู่ที่ ไหน ? บางทีเราก็สงสัย นี่เรา…มีความสุขกับสิ่งที่เราทำ�อยู่จริง ๆ รึเปล่านะ ? เพราะความสุขมันไม่มีถูกหรือผิด เพราะความสุขมันถูกนิยามแตกต่างกันไปในแต่ละคน เพราะฉะนั้นเราก็เลยไม่รู้ ว่าสิ่งที่เราคิดว่ามันคือความสุขเนี่ย...มันจริงไหม ? ความสุขของบางคน คือ การสู้ทน ดิ้นรน แก่งแย่งชิงดี เพื่อจะเด่นดัง มีชื่อเสียง มีคนนับหน้าถือตาและชื่นชม ในขณะที่บางคนมีความสุขแค่ ได้ตื่นมาล้างหน้าแปรงฟันในตอนเช้า ก็มันสกปรกมาแล้วทั้งคืน...ไม่เห็นแปลก และกับบางคนแค่ได้ทำ�ในสิ่งที่ตัวเองรัก แม้จะไม่เด่นดังแต่ก็รู้ว่าทำ�ไปเพื่ออะไร ไม่สนว่าใครจะมองมันยังไงด้วยซ้ำ� ความสุขแบบแรก ... เราเรียกมันว่าความสุขแบบพุ่งทะยาน ชีวิตนี้หลายคนก็คงอยากไปให้ถึงที่สุด...จริงไหม? มันจะฟินนะ ถ้าเราพยายามและทุ่มเทอย่างหนัก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ ได้ภูมิใจกับมัน ความสุขแบบที่สอง ... เราเรียกมันว่าความสุขแบบง่าย เพราะมันไม่มีเงื่อนไขอะไรที่จะสุข ความสุขแบบนี้มันก็ดีของมันนะ เมื่อเราไม่รู้วันพรุ่งนี้ เราก็ควรจะมีความสุขให้มากที่สุดในทุก ๆ วันสิ...จริงไหม? ความสุขแบบที่สาม ... เราเรียกมันว่าความสุขจากข้างใน เพราะมันปรากฎอยู่ที่ในใจ เราอ่ะเชื่อนะ…ว่าความสุขแบบนี้ มันทำ�ให้เราทำ�สิ่งดี ๆ ให้กับคนอื่นได้โดยไม่หวังอะไรตอบแทนได้ ทุกอย่างที่เราพูดมา เราก็แค่จำ�กัดความมันไปตามความรู้สึก ไม่มีถูกหรือผิด เราก็แค่อยากบอกว่า แต่ละช่วงจังหวะของชีวิต เราสามารถมีความสุขในมุมที่ต่างออกไป ในแบบที่เรารู้สึกว่ามันใช่มากกว่า...ได้เสมอ สำ�หรับตัวเราจะยังค้นหาและเรียนรู้กับความสุข ในมุมที่แตกต่างต่อไป...สนุกดีนะ แล้วคุณล่ะ ?
- 44 -
พินิจฟิล์ม film review
Dead Poet Society
Dead Poet Society
เมื่อระบบการศึกษากลายเป็นกรงกักขัง
ภาพประกอบ : อัญชิสา ติระชูศักดิ์ facebook page : 2an. instagram : an.2an
ประเภท Drama กำ�กับโดย Peter Weir ฉายปี 1989 Rotten Tomatoes 85%
เกศสุดา ลำ�ใย
“คนเราจะพัฒนาขึ้นได้ด้วยการศึกษา” “การศึกษาช่วยให้เราได้เห็นโลกกว้าง” “การศึกษาเป็นอำ�นาจอันยิ่งใหญ่ที่สามารถเปลี่ยนโลกได้” ฯลฯ คำ�พูดเหล่านี้ล้วนแสดงถึงประโยชน์ของ “การศึกษา” มนุษย์เราจึงขวนขวาย สิ่งนี้ให้มาอยู่ในการครอบครองของตน และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาก็คือ “ระบบการศึกษา” ที่จะเข้ามาจัดการให้เราได้รับการศึกษาอย่าง(เกือบ)ทั่วถึงและมีคุณภาพที่สุด ถ้าระบบที่ ใช้ดีก็ดีไป แต่ถ้าระบบนั้นไม่ดีแทนที่การศึกษาจะพาเราไปสู่โลกกว้าง กลับกลายเป็นกรง ขังเราไม่ให้เห็นโลกอันกว้างใหญ่แทน เหมือนกับระบบการศึกษาที่เราเห็นในเรื่อง Dead Poet Society “เกียรติ วินัย ประเพณี ความเป็นเลิศ” คือหลัก 4 ประการที่คนในโรงเรียน Welton Academy ยึดปฏิบัติกันอย่าง ยาวนาน เพื่อคง “ชื่อเสียงอันดีงาม” ของโรงเรียนไว้ให้คงอยู่ต่อ ซึ่งชื่อเสียงอันดีงามตาม นิยามของโรงเรียนนี้หมายถึงการที่เด็กโรงเรียนนี้มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการสามารถ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยดี ๆ ได้เป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้เองโรงเรียนนี้จึงกลายเป็น โรงเรียนอันดับต้น ๆ ที่พ่อแม่จะพยายามทำ�ทุกวิถีทางให้ลูกตัวเองได้เข้าเรียน นอกจากสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนที่มีกฎระเบียบอันเข้มงวด เข้มข้นใน เชิงวิชาการ (ที่ส่วนใหญ่ได้จากตำ�ราตรง ๆ ) และความสัมพันธ์ระหว่างครูกับลูกศิษย์ที่ไม่ ต่างอะไรจากนายทหารกับลูกน้องแล้ว ตัวหนังยังสะท้อนค่านิยมของสังคมในเรื่องที่มอง คุณค่าของเด็กมาจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยดี ๆ เพียงเท่านั้น เห็นได้จากครอบครัว ของ Neil Perry ที่อยากให้ลูกเรียนต่อคณะแพทย์เพียงอย่างเดียว ตัวเลือกนอกเหนือจาก นี้ถูกมองว่าไม่ดีต่ออนาคตของเขาและชื่อเสียงของครอบครัว ทั้ง ๆ ที่ตัว Neil Perry มี ความสนใจในด้านศิลป์พวกงานเขียนกับงานแสดงมากกว่าจะด้านการแพทย์ จนกระทั่งได้มีครูคนใหม่อย่าง John Keating เข้ามาในโรงเรียน กรอบของ โรงเรียนนี้ก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไป คุณครู Keating สอนวิชาของเขาโดยไม่ให้เด็กยึดติดกับสิ่งที่หนังสือเรียนเขียน ไว้ และพาเด็กออกไปทำ�กิจกรรมข้างนอกแทนที่จะเรียนอยู่แค่ในห้องเรียน เขาแนะนำ�ให้ นักเรียนของเขาลองใช้ชีวิตออกจากกรอบแบบที่เป็นอยู่ เช่น เล่าเรื่องกลุ่ม Dead Poet Society ให้ฟังเพื่อให้พวกเขารู้ว่าชีวิตนักเรียนสมัยก่อน หรือการให้กำ�ลังใจพวกเขาให้ได้ ทำ�ในสิ่งที่อยากทำ� จนเด็กนักเรียนของเขารู้สึกสนุกกับการเรียนการสอนที่ไม่ตีกรอบเด็ก จนเกินไป ตั้งแต่นั้นมาพวกเขาก็ได้เปลี่ยนแปลงอะไรหลายอย่าง เริ่มกล้าที่จะคิด กล้า ที่จะทำ� กล้าที่จะตามหาตัวตนของตัวเอง รวมทั้งกล้าที่จะสู้กับระบบที่ขังพวกเขาไว้ จากเด็กที่มีแววตาเบื่อหน่ายกับการต้องใช้ชีวิตเรียนไปวัน ๆ บนเส้นทางที่คนอื่นขีดไว้ ให้ กลายเป็นเด็กที่มีแววตาเปล่งประกายเมื่อได้ทำ�ในสิ่งที่ตัวเองชอบจริง ๆ พวกเขาเริ่ม อยากจะบินออกไปสู่ภายนอกกรง พอดูจบแล้วเราอาจจะคิดได้ว่าต่อให้ระบบมันจะเป็นกรงขังที่แข็งแรงสักแค่ ไหน แต่ถ้ามีกลุ่มคนเล็ก ๆ ช่วยกันแสดงพลังเพียงน้อยนิด พลังนั้นก็สามารถสั่นคลอน กรงขังได้เช่นกัน ...แล้วคุณล่ะ ถ้าเป็นแบบพวกเขา อยากจะบินออกจากกรงขัง เหล่านี้แบบนี้บ้างหรือเปล่า หรือจะอยู่ในกรงนี้ต่อไปจนลืมวิธี การบินและบินไม่ ได้อีกต่อไป?
ความยาว 128 นาที เขียนบทโดย Tom Schulman IMDB 8.0/10
- 45 -
small but matter l issue 02
Try To Listen
น่าน เนิบ เนิบ / ผ่าน
ปภาวัฒน์ ปานบำ�รุง
มาถึงเดือนพฤศจิกายนกันแล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงปลายฝนต้นหนาว ช่วงหน้าหนาวนี้หลายคนก็วางแผนจะไปเที่ยวภาคเหนือกัน หลายคนก็นึกถึงจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ฯลฯ แต่หลายคนคงลืมนึกไปว่ายังมีอีกจังหวัดหนึ่งที่น่าไปเที่ยวก็คือ จังหวัดน่าน เสน่ห์ที่เด่นชัดของจังหวัดน่านนี้เฉกเช่น วิถีชีวิตแบบเนิบช้า ที่ดูจะขัดแย้งกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบัน แต่วิถีชีวิตแบบเนิบช้ากลับทำ�ให้ตัวเราเองได้มีเวลาทบทวนตัวเองภายใน และกลับมาเรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองกำ�ลังทำ� ดั่งเช่นในเพลง “น่าน เนิบ เนิบ” เพลงนี้
เพลง น่าน เนิบ เนิบ วงนั่งเล่น จะรีบไปไหน ยิ่งเร็ว ยิ่งแรง ยิ่งดู ยิ่งร้อนรน จะแข่งไปไหน ยังมีดอกไม้ให้เราได้ชื่นชม ปล่อยมันไปเนิบ เนิบ อยู่นิ่ง นิ่ง นาน นาน ให้หมอกควันมันพ้นผ่าน พรุ่งนี้ก็ยังไม่สาย ค่อย ค่อย คิด ค่อย ค่อย ค้น ค่อย ค่อย คุยกับภูเขา คิดไม่ออก ก็คิดเข้า เดี๋ยวก็คงเข้าใจ
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 46 -
Try To Listen
น่าน เนิบ เนิบ / ผ่าน
ปภาวัฒน์ ปานบำ�รุง
เพลง ผ่าน วง Slot Machine ไม่ว่าเจอสิ่งใด เนิ่นนานไปก็แปรเปลี่ยน สักวัน เคยวิ่งตามความฝัน แต่บางครั้งก็ต้องหยุด แค่นั้น เมื่อก่อนเคยรัก เคยผูกพัน แต่มาวันนี้มันเป็นเพียง คนเคยได้รู้จักกัน วันนี้มีสุขใจ แต่ต่อไปสักวันคง วุ่นวาย หากความทุกข์ทนจางหาย อาจมองเห็นความสุข อีกครั้ง จึงทำ�ให้ฉัน ได้เข้าใจ ทุกสิ่งเปลี่ยนผันสักเท่าไร ฉันจะก้าวเดินต่อไป อย่าลืมเรื่องราวที่ผ่านที่เคยได้เจ็บช้ำ� ยังมีเรื่องราวที่ดีที่เคยได้จดจำ� เก็บคืนและวันที่ผ่านที่เคยได้ปวดร้าว ยังมีเรื่องราวที่ดีที่รอให้จดจำ�
ภาพประกอบ : อัญชิสา ติระชูศักดิ์ facebook page : 2an. instagram : an.2an
คนเรานั้น มีการเรียนรู้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เราได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวด้วยการแสดง พฤติกรรมต่างๆ กับ สถานการณ์ที่ตนประสบอยู่ และที่สำ�คัญคือ ได้เรียนรู้ว่าชีวิตไม่มี ความแน่นอน ทุกสิ่งทุกอย่างมีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา “ความรู้ไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน โลกที่หมุนเวียนสอนเราได้เสมอ” และก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านไป ดั่งเช่นในเพลง “ผ่าน” เพลงนี้
- 47 -
small but matter l issue 02
GIGO
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
Garbage In, Garbage Out
- 48 -
จุดสามจุด/ ปาณิศา เจิมหรรษา
นิตยสารที่ท่านถืออยู่นี้ กลุ่มคนตัวเล็ก ๆ ร่วมกันทำ�ขึ้น มีทีมงานส่วนใหญ่เป็นนิสิตนักศึกษา ถึงแม้ไม่แสวงหากำ�ไรและค่าตอบแทน แต่เราพบว่าเงินเป็นสิ่งจำ�เป็น เพื่อจะเผยแพร่สิ่งเราเห็นว่ามีความหมายออกไป หากท่านอ่านแล้วชอบพอ สนับสนุนเราได้ที่ เลขที่บัญชี 002-1-41626-6 กชกร ความเจริญ ธนาคาร กสิกรไทย สาขา สยามพารากอน เงินทุกบาท ใช้เป็นต้นทุนพิมพ์เล่มต่อไป :)
ขมขัน
ข่าวดี
ปาณิศา เจิมหรรษา
เรายินดีด้วย ที่จะแจ้งให้คุณทราบว่า . . .
ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ทุกอย่างปกติดี โลกนี้สวยงาม ไม่ต้องสนใจอะไรหรอก ไม่ต้องคิดอะไรหรอก เพราะว่าทุกอย่างนั้นดีแล้ว ส่วน อื่นๆ ล้วนใส่ร้ายหลอกเล่น ไม่มีผู้อพยพที่ถูกปฏิบัติ อย่างเลวร้าย ไม่มีคนเรือที่ถูกโยนลงทะเล ไม่มีป่าที่ถูก ตัดเพื่อความเจริญทางเศรษฐกิจ ไม่มีการอุ้มฆ่า ไม่มีอภิ สิทธิชน ไม่มีโฆษณาชวนเชื่อ ไม่มีคนตายในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ไม่มีผู้ชุมนุมที่ถูกยิงทิ้ง ไม่มีพระชวนให้ คนเผามัสยิด ไม่มีความกลัวของการเดินข้ามถนน ไม่มี การข่มขืนที่จับตัวคนร้ายไม่ได้ ไม่มีการเหยียดเพศที่ถูก ทำ�ให้เป็นเรื่องปกติ ไม่มีการลดค่าของมนุษย์ที่ถูกทำ�ให้ เป็นเรื่องตลก ไม่มีการแขวนคอแล้วฟาดเก้าอี้ ไม่มี ความเท็จในหนังสือเรียน ไม่มีเรื่องไหนที่พูดถึงไม่ได้ ไม่ ต้องกลัวถ้ามีความคิดหรืออยากแสดงความคิด ไม่ต้อง กลัวถ้าอยากเรียกร้องความเป็นธรรม ไม่ต้องมีอิสระก็ได้ ขอแค่มีเงินมากพอ ไม่ต้องสนใจคนบางคนก็ได้ขอแค่ฉัน สุขสบายพอ การเอาเปรียบถูกต้องแล้วเพราะฉันทำ�ได้ ความยุติธรรมเรียกร้องไม่ได้เพราะคุณไม่มีค่า ไม่ต้อง คิดมากก็ได้เพราะว่ามีคนดีกว่า มีคนฉลาดกว่าคอยดูแล ประเทศชาติสงบสุขเพราะทุกคนคิดเหมือนกัน ประเทศ นี้ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก มีแต่ความดี ความงาม และ ความจริง พวกเราบางคนเท่านั้นที่รู้ถูกผิดดีชั่วที่แท้จริง ส่วนคนอื่นๆถ้าไม่โง่ไปก็เลว ถ้าไม่รับเงินมาก็ไม่รักชาติ ถ้าไม่เห็นด้วยก็ออกไปจากประเทศนี้เสียสิ เพราะฉันรู้ดี ที่สุดว่าคุณควรจะคิดและทำ�ตัวอย่างไร
คำ�ถาม l วิถีชีวิต l การเรียน
- 50 -
กวีทีละบท
facebook page : นาฬิกาควัน
กำ�มือแน่นขนาดนั้น ดอกไม้ที่ถือมา มิชอกช้ำ�หมดหรือ ? ..จอกจันทร์นิทรา..
หากเธอชอบแสงสว่าง ก็จงอย่าตะโกนถามหามัน ทั้ง ๆ ที่หลับตา... _นาฬิกาควัน_
- 51 -
small but matter l issue 02