สมิอฺนา10

Page 1

1


2


หิญาบ เพื่อนรัก 3


หน้านี้ มีคนใส่หิญาบ 3 คน

4


หน้านี้ ไม่มีคนใส่หิญาบ

5


(ต่อปัญหาที่ว่าทาไมนิยามหิญาบในปัจจุบันจึง เปลี่ยนไป) เพราะหิญาบที่แปลว่า สิ่งที่จะสกัด กั้ น สิ่ ง ไม่ ดี เ ข้ า ในตั ว เรานั้ น มั น ยั ง ไม่ เ กิ ด ขึ้ น หิญาบในมิติที่มันลึกกว่ าการปกปิดร่างกายใน ความรู้สึกว่าแค่ไม่เห็นเนื้อ กับหิญาบที่ไม่ใช่แค่ ปกปิดรูขุมขน แต่ปิดโอกาสที่ ความไม่ดีจะเข้า มาในตัวเราด้วยนั้น มันค่อนข้างจะห่างมาก คือ หิญาบเนี่ย บางทีมันไม่ใช่เครื่องแต่งกายเพียง อย่างเดียว... สุกรี หลังปูเต๊ะ คณบดีคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อดีตหนึ่งในแกนนานักศึกษา เรียกร้องสิทธิการใส่หิญาบแด่มุสลิมะฮฺ วิทยาลัยครูยะลา

6


ผู้ ห ญิ ง เกื อ บทุ ก คนสวยบาดตา หล่ อ นนุ่ ง กระโปรงยาวกรอมและสีสันขรึมแบบที่เรียกว่า chader หรือ Burqe ในความรู้สึกของคนภาย นอก มองเหมือนการกางกระโจมปกจากไหล่ถึง ดินและค่อนข้างรุงรัง แต่นั้นหมายถึ งความรัก นวล และเงื่อนไขการรักษากิริยาของหล่อนไว้ อย่างแนบเนียน งดงามอย่างภาคภูมิและหวง แหนในเกียรติสตรี ผู้ถือปฏิบัติตามบัญชาแห่ง คัมภีร์เป็นบทบาทสาคัญแห่งชีวิต นักเขียน (ฉายาพญาอินทรีแห่งฟ้าอักษร) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจาปี พ.ศ. 2538 จาก ‚กาพย์ห่อใบตองหมกไฟ ผู้ดแี ละคนจนชาวแคฌมีร‛ี นิตยสารฟ้าเมืองไทย

7


โต๊ะบรรณาธิการ ว่าด้วยความหลัง ตาดีกา หิญาบ ปอเนาะ และมหา’ลัย 10

เส้นทางสู่หลักชัย กดไลค์ให้หิญาบ / มุฏมะอินนะฮฺ 19 หิญาบไทยกับการถอยหลังลงคลอง / ชัรฟุดดีน อามิลี 23 รู้หรือไม่ กับ วันแห่งการปะท้วง / กองบรรณาธิการ 27 เล่า-กล่าว-ความดี / ผู้ใดเล่าจะมีถ้อยคาที่ดีฯ 34 เพราะมัน / อัลมีม 48

เรื่องสั้นสะกิดอีมาน หลุมศพศักดิ์สิทธิ์ / มอกต้า ลูบิส 48 ‘อ่าน’ วาทกรรมแห่งความดี / กระหม่อม 62 สองขีด / ยาเขียว 65 เจ็บ..ไม่จา / หวานเป็นลม ขมเป็นยา 68 หนังสือเล่มนั้น / หลานจุฬา 71

สารบัญ/contents

โต๊ะน้​้าชากับคุณครู สุกรี หลังปูเต๊ะ,กว่ามุสลิมมลายูจะได้หญ ิ าบ 74

คนของพระเจ้า/วิถีผู้นอบน้อม พิการร่างกาย แต่ไม่พิการศรัทธา / นิตยสารดีนทูเดย์ 90 เที่ยวละไมไปเกาะลิบง / เพื่อนชาวประมง 96 หนังสือปลุกคน / ซัยฟุดดีน กุตซู 103 สิ่งที่ทาให้หวั ใจเต้นแรง / อับดุลมาลิก มูเก็ม 114 ชนกุล่มน้อยทีแ่ ปลกหน้า / หะสัน อัลบัศรีย์ 116 เจ้าของ : สหพันธ์องค์กรนิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สอ.มท.) องค์กรสนับสนุน : มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนาสังคม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา บรรณาธิการอานวยการ : กระหม่อม -6 บรรณาธิการบริหาร : หมีมลายู หัวหน้ากองบรรณาธิการ : อิบนุ ซาการีย์ยา กองบรรณาธิการ : หิลาล, 1x10, อหังการดอกไม้, ยาเขียว, เพื่อนชาวประมง, iBnu jAbal, fizen, ปฺอม ปราการ พิสูจน์อักษร : หิบรุลอุมมะฮฺ, ต้นไม้ใต้เมฆ, In-aam Bint Ismail รูปเล่ม : ShababPsu,อบูซัร, หมีมลายู ถ่ายภาพ : ยอมบี้, ญ๋อ การตลาด : แค่ ปีกยุง ชี้แนะตัก8เตือน หรือส่งผลงานและพูดคุยกับเราได้ที่ smiana_hub@hotmail.com / http://smiana.wordpress.com หรือ สานักพิมพ์กระโจมไฟ เลขที่ 51/11 ถ.โคกวัด-ทุ่งรี ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 พิมพ์ที่ : นัตวิดาการพิมพ์ ภาพรองปก : Ikhlasul Amal -- http://www.flickr.com


www.sunnahcyber.com ปกป้องภรรยานบี เชิดชูเศาะหาบะฮฺ

9


โต๊ะบรรณาธิการ 1

ในฐานะที่เกิดมาในสังคมที่แวดล้อมไปด้วยมุสลิมร้อยทั้งร้อย ตั้งแต่เด็กมาแล้ว ตื่น เช้ามาก็ต้องละหมาดศุบหฺ พ่อก็จะยืนคิ้วขมวดถือไม้เรียวเล็กๆในมือซ้าย ส่วนมือขวา ก็ถืออัลกุรอานํุสอัมมา นั่งรอเราที่ตื่นสายวักตู ละหมาดอย่างสะลึมสะลือและสั่น ระริกๆเพราะง่วงนอน เสาร์-อาทิตย์ แทนที่จะได้ติดตามการ์ตูนที่ชื่นชอบกับเสียงพากษ์ ของน้าต๋อย เซมเบ้ ที่วนเวียนอยู่ในหัวตลอดเวลา ก็ต้องสะพายกระเป฼าไปโรงเรียนตาดีกา สนุกสนานกับ เพื่อนๆและเรียนวิชาต่างๆกับเจ๊ะฆู ผู้มีความน่าเกรงขามกับไม้เรียว(อีก แล้ว)เป็น เอกลักษณ์ประจําตัว มันยาวและใหญ่กว่าของพ่อ แต่เอาไว้ตีโต๊ะข่มจิตข่มใจลูกศิษย์ ตัวน้อยเท่านั้น มันเป็นบรรยากาศที่เรายังเป็นเด็กและไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ที่เราจะดู สิ่งบันเทิงเริงใจในทีวีบ้าง บ้างก็โดดเรียน ไปซื้อไก่ย่าง ซื้อลูกข่าง ลูกแก้ว ไปเล่นน้ํา ในปูาท้ายหมู่บ้าน แม้กระทั่งแกล้งเพื่อนผู้หญิงที่ช่วยแม่ขายแบฮุงที่ตาดีกา (หมี่ผัด ใส่กุ้งตัวเล็กๆห่อใบตอง ห่อละ 2 บาท อร่อยมาก!) ผมก็เคยผ่านมาหมดแล้ว แต่อัน หลังสุดนั้นผมทําเป็นแก๊งค์ สิ่งเหล่านี้ยามเป็นเด็กเราไม่รู้หรอกว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ดี อะไรคือนิยามของคําว่า ‘ไม่ดี’ ล่ะ การรังแกผู้คน ขโมยข้าวของ หรือเอาเปรียบผู้ที่ ด้อยกว่านั้น มันเป็นพฤติกรรมที่ผู้ใหญ่ทําให้ดูเป็นตัวอย่างมาแล้วต่างหาก ซึ่งเราไม่รู้ หรอกว่าเรากําลังเลียนแบบพฤติกรรมนั้น ถ้าโรงเรียนตาดีกามีวิชาพฤติกรรมศาสตร์ ก็ว่ า ไปอย่า ง แต่ ทั้ง หมดนั้ นเป็ นธรรมชาติข องวั ย เด็ ก การสร้ างความคุ้น เคย ให้ บรรยากาศอิสลามที่พวกเขาพึงได้รับ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดก่อนที่เขาจะหลุด ออกไป จากหมู่บ้าน เผชิญกับสังคมที่เหลวแหลกและน่ากลัวในวันข้างหน้าเมื่อเขาเติบใหญ่ วันหนึ่งที่สถานีรถไฟยะลา ได้เจอะเจอกับเจ๊ะฆูคนแรกของเราที่ไม่ได้เจอกันนานแล้ว เขาสวมรองเท้าแตะราคาถูก แต่งชุดโต๊ปสีขาว และถือกระเป฼าเดินทางใบเก่าๆข้างตัว ณ ที่นั่น เขาดูเด่นกว่าใครๆ ไม่ใช่เพราะผิวสีคล้ําของเขาที่ขับสีขาวของชุดโต๊ปออกมา ทว่านั้น คือชายคนหนึ่งที่อยู่ในอาภรณ์เครื่องแบบของบรรพชนผู้อ่อนน้อมในอดี ต 10


ท่ามกลางสาธารณชนที่แต่งตัวตามกระแสแฟชั่นอย่างโง่เง่าและอาสาเป็นทาสแห่ง ฟันเฟืองหนึ่ง ในวงจรลัทธิอุตสาหกรรมนิยมอย่างไม่รู้ตัว เขาหยุดทักทายพวกเรา ขณะเท้าข้างหนึ่งอยู่บนบันไดรถไฟ เขาแสดงยศจากเครื่องแต่งกายของเขาด้วยการ ก้มหน้า พูดเบาๆอย่างสุ ภาพนอบน้อม ไม่มีดาวแวววับบนบ่า แต่มีรอยยิ้มใสๆอยู่ ตลอดเวลา มันวับมันวาวกว่าดาวของพวกนายพลพุงย้วยเป็นไหนๆ พวกเราในวัย เด็กประถม ยืนอยู่ที่ชานชะลาและร้องไห้... เมื่อเขาบอกว่าจะไปมักกะฮฺ และอาจจะ ไม่ได้กลับมาอีก

2 ตอนนั้นพวกเราตอบไม่ได้หรอกว่าเขาสอนอะไร สําคัญมากเพียงใดต่อชีวิตพวกเรา ในหัวพวกเรามีแต่ลูกฟุตบอล การ์ดเกมเซนต์ไซย่า ลูกแก้วและลูกข่าง ทว่าพวกเรา นั้นมีสิทธิที่จะร้องไห้เพราะเขา เขาเป็นเจ๊ะฆูหนุ่ม เป็นครูคนเดียวในโรงเรียน ที่สอน เด็กเกือบ 100 คน เขาเป็นชายอายุยี่สิบปลายๆ แต่งตัวชุดโต๊ปสีขาวสะอาดสะอ้าน ตลอดเวลา ผิวคล้ําเหมือนมาจากแอฟริกา แต่ฟันขาวชัดเจนมาแต่ไกล เขาสวมใส่ ชุดโต๊ปเล่นตระกร้อกับพวกเรา เตะบอลกับเรา และนอนตากพัดลมตัวเก่าๆกับพวก เราในมัสญิด เขาสอนเราเอาน้ําละหมาด สอนเราละหมาด จับและดัดแขนจับขาอัน เก้งก้างของพวกเราที่สอนเท่าไรก็ทําเองไม่เป็นสักที ด้วยความตื่นเต้น เพื่อนบางคน ฝึกเป็นอิมาม ละหมาดเกินเราะกะอัตก็มี เขาเป็นคนดุอย่างรู้เวลา และชอบยิ้มให้ พวกเราเสมอ แม้เวลาลงโทษลูกศิ ษย์ เพราะเขาลงโทษด้วยความรั กและห่วงใย เพียงเท่านี้ เราก็มีสิทธิแล้วที่จะร้องไห้เพราะเขา และขออนุญาตบั นทึกชื่อของเขาไว้ ในความทรงจําบนหน้ากระดาษนี้ ‚ ตอนนี้เจ๊ะฆูอยู่ไหนครับ เจ๊ะฆูอาแว... ‚ บรรยากาศและกลิ่นไออิสลาม ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะสร้างมันขึ้นมา สิ่งหนึ่งในวัยตา ดีกาที่แม้วันนี้ก็ไม่เคยจางหายไปไหนเลย ก็คือการคลุมหิญาบของเด็กผู้หญิง หิญาบ ในโรงเรียนตาดีกานั้น เป็นหิญาบทีบ่ านใหญ่ เรียบง่ายทว่างดงาม ไร้การตกแต่งด้วย เฉดสีหรือของประดับแวววาว เด็กๆวิ่งเล่น เล่นโดดยางและใส่ละหมาดได้อย่างปกติ 11


รวดเร็ว โดยไม่จําเป็นต้องมาส่องกระจกปรับองศาและละติจูดผ้าคลุมกว่าจะเสร็จ ออกมาได้อย่างผู้ใหญ่ปัจจุบันวันนี้ผมกลับมาดูพวกเขาอีกครั้ง ที่โรงเรียนตาดีกาท้าย หมู่บ้านซึ่งอยู่ติดกับทุ่งนา พวกเด็กๆยังเหมือนเดิม ไม่มีทีท่าว่าอึดอัดหรือเอียงอาย ด้วยซ้ําที่ต้องใส่อาภรณ์อันมีเกียรตินี้ เสมือนว่าเวลาที่ตาดีกาไม่เคยเดิน ยังไงยังงั้น

3 ผ่านมายี่สิบกว่าปี การแต่งกายของมุสลิมะฮฺมีววิ ัฒนาการอย่างรวดเร็วเป็นปีแสง เรา ได้ พ บเห็ น การใส่ ผ้า คลุ ม ผมรั ด ติ้ ว สี สัน แตะตา พร้ อ มกั บ แว่ น ตาดวงโตประกอบ ใบหน้า เราได้เห็นการใส่ผ้าคลุมผืนใหญ่ทว่ายังจีบมันขึ้นมาและติดเข็มกลัดมันไว้บน หัว เราได้เห็นการใส่ผ้าคลุมบนหัวที่กลัดผมไว้เป็นก้อนข้างบน และสารพัดอีกมาย มายที่ถูกคิดค้นขึ้นผ่านมุสลิมบางคนและเรียกสิ่งนั้นว่าเป็น ‘หิญาบ’ ได้อย่างไม่ สะทกสะท้านหัวใจ ประเทศไทยเราในบางครั้ง วัฒนธรรมหิญาบที่เกิดการผสมผสาน ตัดต่อพันธุกรรมระหว่าง อัลหัก และ บาฏิน (คําพูด อ.ชากีรีน สุมาลี) อย่างดาษดื่ น ในสังคมมุสลิมนั้น คือ สิ่งที่เราควรตระหนกและต้องรีบ แก้ไขมากกว่าการไม่ได้ ใส่ หิญาบในสถานที่บางแห่งซะด้วยซ้ํา และในสังคมมหาวิทยาลัย อันเป็นโลกเสมือน ของความรื่นเริงชั่วขณะของคนที่อยูใ่ นวัยรุ่นนั้น หนุ่มสาวมุสลิมมากมายเข้ามายังที่นี่ พร้อมความใฝูฝันและความทะเยอทะยาน ไฝูฝันว่าเด็กมุสลิมจะนํามาซึ่งความดีงาม และจริยธรรมอันงดงามของศาสนาตนเองสู่ สังคมแห่งนี้ พร้อมประกาศให้ผู้อื่นรู้ว่า ‘คนของอัลลอฮฺ’ ได้มายังที่นี่แล้วนั้น... กลับดับวูบ และจางหายไปแทบไม่เหลือชิ้นดี เมื่อเด็กมุสลิมที่จบจากระบบปอเนาะเสียเอง กลืนกิน คบค้าสมาคมกับสังคมที่ ปะปนชายหญิง ระบบแฟน และความสนุกสนานเฮฮาอันไร้แก่นสารทั้งที่รู้ว่ามันไม่ ถูกไม่ควร อุสตาซจะรู้ไหมว่าพวกเขามาทําอะไรที่นี่ ส่วนเจ๊ะฆูคงไกลไปที่จะรู้แล้ว เพราะความงดงามของอิสลามที่ยังอยู่ในตาดีกาเสมือนเวลาที่นั่นไม่เคยเดินนั้น มัน แตกสลายย่อยยับเป็ นผงถุลี ตั้งแต่เยาวชนมุสลิมเข้าสู่ระบบปอเนาะ(บางแห่ง ที่ ผิดพลาด)แล้วนั่นเอง... 12


ทว่าในความมืดมิดแห่งยุคสมัย แม้ขณะหลับตาลง เราก็ยังเห็ นแสงสว่าง และรู้สึก ได้ว่ามันไม่ใช่สีดํา… เด็กมุสลิมที่มาจากโรงเรียนสามัญล้วนๆกลับเป็นผู้ถือกระโจม ไฟแห่งศรัทธา เดินฟันฝูาพายุสังคมอันแหลกเหลว พวกเขาร้องไห้ขอความช่วยเหลือ จากอัลลอฮฺเมื่ออยู่คนเดียว และยิ้มแย้มเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ อื่น ในอดีต พวกเขาหลาย คนไม่เคยคิดจะใส่หิญาบ แต่บางอย่างก็ทําให้ พวกเขาเปลี่ยนไป พวกเขาพยายาม ศึ ก ษาหาความรู้ ศ าสนาที่ ต นเองไม่ ไ ด้ รั บ ในเยาว์ วั ย พร้ อ มๆกั บ การศึ ก ษาใน มหาวิทยาลัยที่นักศึกษาล้วนมีการแข่งขันสูง ทั้งการนับหน้าถือตาในสายตามนุษย์ อันเป็นเปฺาหมายอันหอมหวานบนโลกดุนยา ปอเนาะในอดีตเป็นสถานที่ที่วิเศษมาก มันสร้างคนและสร้างจิตวิญญาณให้รุ่นปู​ูรุ่น พ่อ และรุ่นแม่เรา แต่ในวันนี้...เราเหลืออะไรแล้วบ้าง แม้แต่อาภรณ์จากสวนสวรรค์ ‛ หิญาบ‛เด็กปอเนาะอย่างเราก็ยังรักษาไม่ได้ มุสลิมีนก็ไม่ให้เกียรติมุสลิมะฮฺ ไม่ ปกปฺองพวกเขาเหมือนในอดีตที่เศาะฮาบะฮฺ นั้น จะไม่ยอมเด็ดขาดหากใครมาดูถูก หิญาบของเศาะหาบียะฮฺ แล้วเราจะเอาอะไรกันแน่ไปตอบอัลลอฮฺในวันกิยามะฮฺ ขอเป็นกําลังใจแด่พี่น้องที่มาจากโรงเรียนสามัญกับความอัศจรรย์ที่พวกท่านสร้าง ขึ้นมา และพี่น้องที่ยังไม่ได้คลุมหิญาบ ขอให้ท่านจงขอทางนํา เพื่อนๆรอบตัวท่าน แม้ไม่ได้พูด แต่เอาใจช่วยอยู่ทุกลมหายใจ แท้จริงอัลลอฮฺ นั้นรักพวกท่านมาก ท้ายสุด ขอให้อัลลอฮฺได้เปิดหัวใจ สําหรับพี่น้องจากรั้วปอเนาะ ผู้เคยเป็นกระโจมไฟ อันเก่าแก่ในอดีต ให้กลับมาส่องแสงสว่างอีกครั้งเถิด… บ.ก.

. 13


‘ตู้จุดหมาย’ ส่งจดหมายของพี่น้อง เรื่องราวที่อยากจะแบ่งปัน จุดประกาย ความคิด ผลักดันสังคมด้วยวิถีอัลอิสลาม / กอง บ.ก.ขอสิทธิ์ ในการตัดเนื้อหาตามความเหมาะสม โดยจะรักษาประเด็นให้ มากที่สุด อินชาอัลลอฮฺ / smiana_hub@hotmail.com

เด็กปอเนาะมาเอง / มุหัมมัด บิน นุฮฺ อัสสลามุอะลัยกุมครับ กลับมาบ้านเกิดคราวนี้ เห็นบรรยากาศเก่าๆของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอีกครั้ง เเต่ฟังแม่พูดแล้ว ท่านกลับบอกว่าเด็กปอเนาะสมัยนี้ไม่เหมือนเดิมเเล้ว ไม่เหมือน สมัย 10-20 ปีก่อนที่แม้การใส่หิญาบยังคลุ มเครือ แต่ก็ยังไม่เลยเถิดก่อความเสื่อม เสียด้านคุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมของเยาวชน มากมายอย่างที่เราได้รับรู้ เช่นในปัจจุบัน ในมหา’ลัยเอง ก็เด็กปอเนาะนี่ละ่ ที่ก่อปัญหาขัดใจพ่อขัดใจเเม่ ไม่ว่า จะเป็ น ไปมี เ เฟนบ้ า งล่ ะ ถอดหิ ญ าบบ้ า งล่ ะ อยากให้ สมิ อฺ น าลงพวกบทความ เกี่ยวกับการฟื้นฟูระบบปอเนาะ ด้วยแนวคิดหัวปฏิรูปเยอะๆ ผมยังมีหวังว่าปอเนาะ จะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งในดินแดนที่ชื่อนูซันตารอนี้ วัสลาม

 พูดถึงเรื่องปอเนาะทีไร ตัวผมอารมณ์ขึ้นทุกที เพราะในความรู้สึก หากขึ้นชื่อว่า ปอเนาะแล้ว มันไม่น่าจะเป็นอย่างที่คุณเล่ามาเลย ผมเองก็คิดเหมือนคุณแหละครับ ว่าเราจะต้องมาพูดคุยกันเรื่องโรงเรียนปอเนาะกันให้มากกว่านี้ บอกได้เลยว่า ความ เป็นไปของสังคมมลายูมุสลิมในประเทศไทยจะเป็นอย่างไรในภายภาคหน้า นั้น เรา สามารถจะคาดเดาได้จากสภาพความเป็นอยู่ของปอเนาะในตอนนี้ เยาวชนมลายูมุสลิมประมาณแปดสิบเปอร์เซ็นต์อยู่ในระบบการศึกษานี้ อาจจะด้วยความเข้าใจของผู้ปกครองที่คิดว่า ถ้าเราส่งลูกหลานไปเรียนปอเนาะก็ เท่ากับลูกเราจะอยู่ในแนวทางศาสนา ซึ่งสิ่งที่เป็นไป ไม่สอดคล้องเลยกับสิ่งที่คิดว่า จะเป็น แต่ถ้าจะบอกว่าปอเนาะไม่มีแง่มุมที่ดีเลยก็คงไม่ถูกซะทีเดียว เพราะถึง 14


อย่า งไรมี ปอเนาะก็ ดีก ว่า ไม่มี เลย ทีนี้ ถ้าเราลองมาวิเ คราะห์ใ นแง่ มุม ของความ ล้มเหลวว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ผมขอแบ่งออกเป็นสองส่วนนะครับ คือจากสาเหตุ ภายนอกและภายใน สาเหตุภายนอกคือนโยบายของภาครัฐ ที่ทําให้ปอเนาะต้อง เปลี่ยนเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา โดยเฉพาะความขลัง และจิตวิญญาณของ ปอเนาะ มันสูญสลายไปพอสมควร อํานาจของเงินตรากลายเป็นสิ่งที่สําคัญ เกิดการ แย่งชิงจํานวนนักเรียนโดยไม่คํานึงถึงความพร้อมของตนเอง ซึ่งสาเหตุนี้ออกจะเป็น เรื่องไกลตัวไป เกินกําลังที่คนเดินดินจะเข้าไปข้องแวะยุ่งเกี่ยวได้ แต่ก็ยังมีแง่มุมดีๆที่ มีนโยบายรัฐให้บังคับใช้ เช่น ทําให้มลายูมุสลิม มีตัวตนมากขึ้นในสังคมไทย สาเหตุ ที่สองคื อสาเหตุจากภายใน พูดง่า ยๆ ก็คื อสาเหตุจากพวกเรา กันเอง เราไม่สามารถที่จะสร้างพวกเรากันเองให้เป็นคนที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร ผู้สอน หรือ นักเรียนเอง (รวมทั้งประเพณี ‘พ่อไปลูกต้องมาแทน’ ในระดับ ของผู้บริหาร ที่หน้ามืดตามัวเลือกเข้ามาทั้งที่บกพร่องเรื่ องแนวคิดศาสนา เราควร ตระหนักว่ายังมีผู้ที่มีความรู้ศาสนา และอยู่ในครรลองของวิถีอิสลามมากมาย แม้ไม่ เกี่ยวข้องทางสายเลือดกับผู้บริหารท่านเดิมก็ตาม ก็ควรเลือกเข้ามา)... ซึ่งผมคิดว่า เหล่านี้น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ที่เราต้องมาคุยกันจริงๆจังๆสักที ว่าทําไม? อย่างไร? กัน แน่ แต่สิ่งที่ผมเองคิดว่าสิ่งสําคัญสุด ก่อนที่เราจะมาคุยกันคือ ความมีสํานึกว่า พวก เรากําลังแบกรับความเป็นไปของสังคมมุสลิม(มลายู) ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นในผู้ที่ เกี่ยวข้องทุกคน ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้บริหาร ผู้สอน หรือนักเรียนเองก็ตาม ผมเองคิดว่า คําถามที่ท่านถามนั้นดีและน่าสนใจยิ่ง ประจวบเหมาะกับกองบรรณาธิการก็เล็งเห็น ความสําคัญของประเด็นนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อินชาอัลลอฮฺ เราจะพยายามนําเรื่อง เหล่านี้มานําเสนอบ่อยๆครับ โหยหาหนังสือดีๆในอดีต / กอเซ็ม ซะการีย์ยา เรียน ท่านบรรณาธิการ ผู้มีเกียรติยิ่ง ณ อัลลอฮฺ (สุบหานะฮุวะตะอาลา) วารสาร หรือนิตยสารดีๆในอดีต อย่างอัดดะอ์วะฮ์ อัลญีฮาด อัลอุมมะฮฺ หายจาก สังคมไปนาน คนอ่านน้อย หมดกาลังใจ ล้มเลิกไป ผลก็คือทิ้งผู้อ่านไว้ข้างหลัง >> 15


>> ปล่อยให้ตกระกําลําบากต่อสู้กับสังคมปัจจุบัน ที่นับวันยิ่งโหดร้าย ทําให้ผู้อ่าน ขาดการชี้นํา ขาดภูมิคุ้มกันทางความรู้ เพือ่ ที่จะต่อกรกับสังคมอันโสมมนี้ คิดแล้วน่า เศร้านัก แต่ไม่นานมานี่ ก็ได้ยินข่าวแว่วมากับสายลมว่ามีชะบ๊าบหลายกลุ่มรวมตัว กันเพื่อทําหนังสือ ขอสารภาพตามตรงเลยว่า รู้สึกดีมากๆเลยครับ ผมจินตนาการ เห็นภาพอนาคตเลยว่า ต่อไปสังคมมุสลิมเราจะเป็นอย่างไร ภาพที่เด็กมัธยมใส่ กางเกงขายาวบนหัว มี ก าปี เยาะฮฺ หรื อนุ่ง กระโปรงยาวคลุม หิ ญาบมิ ดชิด เดิ นไป โรงเรียน ในมือพกนิตยสารพวกนี้ อยู่ในห้องเรียนก็มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันใน เนื้อหาที่อยู่ในนิตยสาร อ่านเรื่องนี้ยัง อ่านเรื่องนั้นยัง เรื่องนั้นดีมากๆเลย แกต้อง อ่านนะ พอสิ้นเดือนก็จะคอยถามไถ่กัน เฮ้ย...เล่มใหม่ออกยังเนี่ย เมื่อไรออกวะ เอ๊... เล่มต่อไปจะนําเสนอเกี่ยวกับอะไร ผมคงไม่ได้ฝันเฟื่องไปใช่ไหม อย่างน้อยก็หวังว่า หนังสือเล่มนี้คงจะไม่เดินซ้ํารอยเก่าเหมือนนิตยสารดีๆในอดีตเคยทําไว้นะครับ ความโปรดปรานจงประสบแด่ทุกคน 16


 สําหรับวารสารที่อยู่ในมือของท่านผู้อ่าน ณ ขณะนี้ เป็นวารสารที่ถูกสร้างขึ้นมา จากความตั้งใจของคนกลุ่มหนึ่ง ที่เชื่อและศรัทธาในความดีงามของการอ่าน อย่างที่ เรารู้ๆกันว่า ‚จงอ่าน‛ เป็นประโยคคําสั่ง และเป็นประโยคแรก ที่อัลลอฮได้ประทาน แก่มนุษยชาติ เราเชื่อว่าการอ่านจะเป็นประตูสู่ปัญญา และนํามาซึ่งความศรัทธา และอย่ า งที่ เ รารู้ อี ก นั้ น แหละครั บ ว่ า ณ ตอนนี้ การอ่ า นในผู้ ที่ สมควรจะเข้ า ใจ ความหมายของการอ่านมากที่สุด(มุสลิม) กลับไม่เป็นอย่างที่ควรจะเป็น เช่น เราไม่ ชอบอ่านหนังสือ หรือชอบอ่าน แต่ชอบอ่านในสิ่งที่ไม่ควรอ่าน หรืออ่านในสิ่งที่ควร อ่านนั่นแหละ แต่อ่านน้อยมาก หนังสือเล่มนี้จึงเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับมีเปฺาหมายสูงสุด คือการทําให้พวก เราสามารถสนองโองการแรกของอัลลอฮ(สุบฯ)มากที่สุด โดยหวังว่าจะเป็น‛วารสาร ควรอ่ า นที่ พ วกเราชอบอ่ า น‛ ส่ ว นวารสารในอดี ต ที่ ท่ า นได้ ตั้ ง ไว้ เ ป็ น คํ า ถามนั้ น ส่วนตัวแล้วคิดว่านั่นคือความสําเร็จของผู้ที่เกี่ยวข้อง เสมือนเป็นนักวิ่งผลัดที่ได้รับไม้ แห่งอิสลามแล้วก็วิ่งมาได้ระยะทางหนึ่งด้วยระยะเวลาหนึ่ง แต่พอถึงจุดหนึ่งพวกเขา ก็ต้องส่งไม้ต่อ จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เขาก็ได้วิ่งแล้ว อินชาอัลลอฮฺ เขาก็จะได้รับ ความดีงามจากการวิ่ง และเขาก็หวังว่า จะมีคนมารับไม้ต่อ และศึกษาข้อผิดพลาด จากการวิ่งในผลัดแรก เพื่อจะได้วิ่งด้วยประสิทธิภาพที่ดีขึ้น อินชาอัลลอฮฺ บาเราะกัลลอฮุฟีกุม, กระหม่อม ผู้ใดได้ยินอัล-กุรอานแต่ไม่เกิดความยาเกรง นึกถึงบาปแต่ไม่รู้สึกน้อยใจ พบ เห็นบทเรียนแต่ไม่คิดไตร่ตรอง เห็นทุกข์ภัยเกิดขึ้นแต่ไม่ปวดร้าว นั่งอยู่ร่วมกับ บรรดาอุ ลามาอ์ แ ต่ไ ม่ เรี ย นรู้ ใช้ ชี วิต อยู่ร่ ว มกั บ นัก ปราชญ์แ ต่ ไม่ เ ข้า ใจ อ่ า น เรื่องราวของบรรดาวีรชนแต่ไร้ความนึกคิดหึกเหิม... เขาผู้นั้นมีค่าเพียงสัตว์โลก ชนิดหนึ่ง ที่มีชีวิตอยู่เพื่อกินและดื่ม แม้นเขาจะเป็นมนุษย์ที่พูดคุยได้ก็ตาม วารสารอัด-ดะอ์วะฮ์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 23 (พ.ศ.2543) 17


เ ส้ น ท า ง สู่ ห ลั ก ชั ย

หิญาบ เพือ่ นรัก 

ลูก : ‚แม่นะ สมมุติลูกโดนไล่ออกครั้งนี้นะแม่ แม่ไม่ต้องเสียใจ หรอก แต่แม่คิดดู ถ้าลูกแต่งกายตามที่เขาสั่งให้แต่ง(ไม่ใส่ หิญาบ) ถ้าลูก ตามเขาแล้ว จบปริญญาตรี แม่แน่ใจหรื อ ว่าอัลลอฮฺจะทรงประทานริซกีให้กับลูก ในเมื่อหนทางของ อัลลอฮฺ ลูกเองก็ยังไม่ช่วยเหลือในหนทางของพระองค์‛ แม่ : ‚ถ้า ลูก ทํา ใจได้ถึ งขนาดนั้น ก็ต กลง แม่ไม่ว่ าอะไรทั้ง นั้ น การกระทําที่ทําอยู่ มันไม่ได้เป็นเรื่องของประเพณี แต่มัน เป็นหลักบัญญัติของศาสนาอิสลาม‛ บันทึกมุสลิมะฮฺ วค.ยะลา (พ.ศ.2531)

18


กดไลค์ ให้ หิญาบ

มุฏมะอินนะฮฺ

ในบรรดาข้ อ แตกต่ า งระหว่ า งชายหญิ ง อั น มี ส ารพั ด สารพั น ข้ อ นอกเหนื อจากการได้สัมผัสความรู้ สึกของการเป็น แม่ค นแล้ว ก็มี หิ ญาบนี่แ หละ ที่ตัวเองคิดว่ามุสลิมะฮฺควรภาคภูมิใจให้สุดซึ้ง และเข้าใจได้อย่างกระหยิ่มหน่อยๆ ถ้าเกิดจะมีมุสลิมีนสักคนบอกว่าอิจฉา เพราะนอกจากมุสลิมะฮฺแล้ว ไม่มีใครรู้หรอ กว่าความรู้สึกขณะที่ได้คลุม หิญาบเดินไปบนท้องถนนอันเกลื่อนไปด้วยเครื่องแต่ง กายที่หดสั้นทั้งขนาดและจํานวนนั้น มันเจ๋งแค่ไหน การได้ไว้เคราของมุสลิมีนก็คง คล้ายๆกัน แต่แน่ล่ะว่าไม่ใช่คนไว้เคราทั้งหมดจะเป็นมุสลิม ในขณะที่คนคลุมหิญาบ ร้อ ยละร้ อยเป็ นมุ สลิม ะฮฺ แบบฟัน ฉั บได้ แถมหิญ าบยัง เป็น สั ญลั ก ษณ์ที่ โดดเด่ น เห็นชัดกว่าการไว้เคราอีกหลายเท่าแน่ะ เราแตกต่าง เราถูกจ้องมอง เรารับรู้เครื่องหมายเควชชั่นมาร์คบนใบหน้า และหัวคิ้วยับย่นของบางคนที่พบเห็น แต่มันรู้สึกดีอธิบายไม่ถูกเมื่อได้คิดว่า เหนือ สายตาของผู้คนและความผิดแผกแตกต่างระหว่างเรากับพวกเขาขึ้นไป มีสายตาของ ผู้หนึ่งจับจ้องอยู่ ผู้ที่ออกแบบเครื่องแต่งกายนี้มาให้เรา เราสนทนากับพระองค์ว่า “นี่ ไงค่ะ ข้าพระองค์ได้แสดงการภักดีต่อพระองค์ผ่านการแต่งกายตามที่พ ระองค์สั่งใช้ แล้ว ” และด้วยสํานึกแบบนี้ เราก็จะพยายามมุ่งไปสู่การบรรลุถึงความหมายอั น ครบถ้วนของหิญาบ นั่นคือไม่ใช่แค่เครื่องแต่งกาย แต่คือทั้งหมดของเครื่องแต่งใจ แต่งกิริยา แต่งการแสดงออก เราล้วนพยายามคลุมหิญาบให้มิดชิดในทั้งหมดของ ความหมายนั้น 19


ในนัยนี้ หิญาบจึงไม่ใช่แค่ผ้าผืนหนึ่ง หรือเพียงเครื่องแต่งกายของมุสลิมะฮฺ เท่าๆกับที่การต่อต้านหิญาบที่ระบาดอยู่ในหลายสังคมก็ไม่ใช่การต่อต้านเครื่องแต่ง กายของมุสลิม แต่คือการต่อต้านความเชื่อ ความศรัทธา และวิถีชีวิตแห่งการ ภักดีของผู้ศรัทธา นั่นคือเหตุผลว่าทาไมมุสลิมถึงยอมไม่ได้และไม่มีวันได้ เมื่อมีการประกาศสงครามกับหิญาบไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ข้ออ้างใด จริงๆแล้วมันไม่มีวิธีคิดบนพื้นฐานของเหตุผลที่ประเทืองปัญญาใดใดมา อธิบายการต่อต้านหิญาบได้อยู่แล้ว ใครๆที่สมองยังทํางานได้ดีแม้ไม่กินโอเมก้าทรี ก็ต้องรู้ว่าข้ออ้างประเภทนักเรียนใส่หิญาบแล้วขัดกับ ศีลธรรมอันดี พยาบาลใส่ หิญาบแล้วไม่ทะมัดทะแมง ครูใส่หิญาบแล้วบังกระดาน และอะไรอีกสารพัดจะสรร หามานั้นมันไร้สาระแค่ไหน ไม่ต้องนับข้ออ้างสําคัญของตะวันตกว่า หิญาบละเมิด สิทธิมนุษยชนอันนํามาซึ่งกฎหมายห้ามคลุม หิญาบซึ่งยิ่งกว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน คือที่สุดแล้ว มันไม่มีเหตุผลอะไรอยู่เบื้องหลังการต่อต้านหิญาบนอกจากหิญาบคือ สัญลักษณ์ของสัจธรรม และพวกเขารังเกียจสัจธรรม ..แค่นั้นเอง จึงเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งแดงแจ๋ว่าทําไมแม่ชี คลุมศีรษะได้ แต่มุสลิมะฮฺ คลุ ม หิ ญ าบไม่ ไ ด้ ไม่ ใ ช่ เ พราะตั ว ผ้ า บนหั ว หรอกที่ ถู ก ต่ อ ต้ า น แต่ เ พราะ อุด มการณ์เ บื้อ งหลัง ผ้า นั้น ต่า งหาก ทว่า อย่ าได้ก ลัว ไป ถึ งอย่า งไรสั จธรรมก็ จะต้องถูกพิทักษ์รักษาไว้ ไม่มีใครทําลายได้ ใครก็ตามในหมู่พวกเราที่กําลังอยู่บน เส้นทางแห่งการพิทักษ์สัจธรรมนี้ ก็ขอให้รู้ว่าที่เรากําลังรักษาคือตัวเราเอง รักษา ตัวเองให้เป็นผู้รอดพ้ นด้วยการยืนหยัดในสิ่งที่เชื่อมั่นแม้ต้องรับมือกับการต่อต้าน หนั กหนาแค่ ไหนหรื อในรู ปแบบใด ถ้า เราถอย สัจ ธรรมก็จ ะยั ง คงอยู่ อั ลลอฮฺ จ ะ พิทักษ์มันไว้ แต่เราเองต่างหากที่จะแย่ เพราะไม่มีใครพิทักษ์เรา ตราบที่เราไม่ พิทักษ์สัจธรรม สําหรับพี่น้องมุสลิมะฮฺที่กําลังทําร้ายหิญาบของตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยการ ปฏิเสธมัน หรือเอามันไปดัดแปลงเข้ากับเครื่องแต่งกายอื่นๆ จนกลายสภาพเป็น เพียงผ้าผืนหนึ่งที่ไม่ใช่หิญาบตามความหมายเต็มของมันอีกต่อไป อยากให้ท่านลอง 20


พิจารณาอีกทีให้ถี่ถ้วน เพราะมันมีวิธีคิดเยอะแยะตาแป฻ะที่จะช่วยให้เราตระหนักใน ความไม่เมคเซนส์ของสิ่งที่เรากําลังกระทําอยู่ เหตุผลสําคัญที่อยู่เบื้องหลังการรังแก หิญาบคงหนีไม่พ้นเรื่องความสวยความงาม แฟชั่น และอะไรเทือกๆนั่น คือเรามอง ว่าหิญาบที่ถูกต้องตามหลักการจริงๆนั้นมันไม่สวย ไม่ทันสมัย จําเป็นต้องเอา ไปสมานฉันท์กับแฟชั่นที่เราเห็นว่ามันสวยและอินเทรนด์สักหน่อยเพื่อการไม่เป็นตัว ประหลาดเกินไป แต่มันเป็นวิธีคิดที่ใช่แล้วหรือจ๊ะ? ส่ ว นตั ว แล้ ว มี ค วามเชื่ อ อย่ า งหนึ่ ง ว่ า ความสวยนั้ น เป็ น เรื่ อ งของแต่ ล ะ สายตา บางคนสวยสําหรับบางคน แต่ไม่เลยสําหรับอีกบางคน ร้ายตรงที่หลายครั้ง สายตาของเราก็ ถู ก ค่ า นิ ย มและอะไรต่ อ มิ อ ะไรอี ก หลายอย่ า งยั ด เยี ย ด มาตรฐานความสวยให้ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ครั้งหนึ่งคนไทยเคยชอบผิวสีออก เหลืองนวล แต่เดี๋ยวนี้ต้องขาวอมชมพูเป็นชมพู่เคลือบสตรอเบอร์รี่เท่านั้นถึงจะน่า ฝันถึง หรือเมื่อก่อนเมื่อแฟชั่นเสื้อผ้าตัวโคร่งๆมาแรง หลายคนก็มองว่าเสื้อตัวยาว ย้วยนั้นช่างแสนจะเก๋ไก๋ ครั้นเมื่อแฟชั่นพลิกกลับสู่ยุคหินและสังคมชนเผ่าที่เสื้อผ้ามี เพียงน้อยชิ้น หลายคนที่ว่านั้นก็กลับมองว่ายิ่งเล็กยิ่งสั้นยิ่งสวย ข้าพเจ้าเคยได้สนทนากับคนต่างศาสนิกบางคนที่สงสัยว่าผู้หญิงมุสลิมไม่ อยากใส่อะไรสวยๆบ้างหรือ โอเค มันมีวิธีตอบทีน่ ่าฟังว่าเราสามารถสวยได้เต็มที่ใน บ้านของเรา แต่ไม่รู้สิ สําหรับตัวเองนะ รู้สึกว่าแบบที่มุสลิมะฮฺใส่กันอยู่นี่แหละอย่าง สวยเลย คือ มันสวยแบบเรีย บร้อ ย มี ค่า ชวนให้ เกีย รติ ในขณะเดีย วกัน ก็ไม่ เคย มองเห็นเลยว่ากางเกงแล๊คกิ้งที่แทบจะตรัสรู้ขนาดขาคนใส่ว่าใหญ่กี่เซนกี่มิลนั้นสวย ตรงไหน จริงๆนะ พยายามมองหาความสวยของมันมาตลอดเวลาที่พบคนสวมใส่ แต่ไม่เคยหาพบไม่ว่าจะเอียงมองในองศาไหน หรือการแต่งหน้าเติมตาสีนู้นสีนี้มันดู ดีตรงไหน เคยบอกกับเพื่อนด้วยซ้ําว่าถ้าแบบนี้เรียกว่าสวย พวกชนเผ่าอะบอริจิน หรือพวกดียแดงที่เอาสีมาแต้มหน้าก็สวยเหมือนกัน สีนวลหน้าแบบที่อัลลอฮฺให้มานี่ แหละสวยเย็นตาที่สุดแล้ว อันนี้พูดจริงๆ นะค่ะ คืออยากจะสื่อให้เห็นว่าจริงๆแล้ว ความสวยมันเป็นเรื่องของแต่ละสายตามอง ฉะนั้นสําหรับมุสลิมะฮฺที่ใช้อิสลามเป็น 21


เครื่องกํา หนดทัศนคติในทุก ๆเรื่องแล้ ว เขาจะไม่รู้สึก ว่าตัวเองต้ องเสีย สละอะไร มากมายเลยกับการคลุมหิญาบ เพราะมันคือเครื่องแต่งกายแบบทีต่ ัวเขารู้สกึ ว่า สวยน่าใส่และทาให้หัวใจเราผูกพันกับผู้สร้าง เราอยากสวยในนิยามของ พระองค์ เมื่อคิดได้ดังนั้นทุกกระแสสังคมที่พั ดเอาเด็กสาวจํานวนมากเตลิดไปนั้น ก็จะไม่สามารถทําอะไรเราได้เลย และมันรู้สึกดีชะมัดกับชัยชนะครั้งนี้ บินัศริลละฮฺ ลองถามตัวเองดูอีกทีดีไหมเอ่ย ว่าที่ใส่ๆอยู่นั้นมันสวยจริงหรือ ใส่แล้วรู้สึก มั่นใจว่าปลอดภัยทั้งในโลกนี้และโลกหน้าหรือเปล่าจ๊ะ ในขณะที่เรารู้สึกอายที่จะ แตกต่างจากคนส่วนมาก เราไม่อายอัลลอฮฺหรือเราแคร์ว่าคนอื่นจะมองเราอย่างไร ทั้งที่คนพวกนั้นไม่เคยให้อะไรเราเลยนอกจากคําชมเลื่อนลอยและบางทีบางหนก็ อาจรวมถึงความคิดสกปรกที่เราไม่อาจและคงไม่อยากหยั่งถึง แต่เราไม่แคร์หรือ ว่าอัลลอฮฺจะมองเราอย่างไร ทั้งที่พระองค์คือผู้ให้ทุกสิ่งกับเรา ให้ลมหายใจและ ร่างกายครบถ้วนสมบูรณ์ ก็ร่างกายที่เราอยากจะฝูาฝืนคําสั่งของพระองค์ด้วยการ เอามันไปอวดแสดงแก่ผู้คนเหมือนสินค้าในตู้โชว์อยู่นี่แหละ และขอโทษจริงๆที่ จะต้องบอกว่า สําหรับบางสายตา มันยิ่งกว่าตลกอีกสําหรับการเอาหิญาบไปอะแด้ป กับเสื้อผ้าแฟชั่น คือมันไปกันไม่ได้จริงๆน่ะค่ะ หิญาบของมุสลิมะฮฺกับชุดรัดติ้ว นอก ไปจากจะผิดหลั กการแล้ วมันยัง จี้เส้นสุ ดๆ เหมือนดูค นใส่มงกุ ฎเจ้าหญิงกับชุ ด ขอทานนั่นแหละ มันไปด้วยกันไม่ได้และไม่มีวัน หิญาบถูกออกแบบมาสาหรับ การแต่งกายที่ไม่ใช่กระแส มันดาเนินมาพันสี่ร้อยกว่าปีแล้ว และยังคงอยู่ เช่นนั้นมาตลอด ไม่เปลี่ยนแปลงไปมาเหมือนกระแสแฟชั่นที่ทาเอาคนวิ่ง ตามเหน็ดเหนื่อยไม่รู้จักหยุดจักหย่อน ฉะนั้น โปรดใส่เลนส์อิสลามให้สายตาของเรา มองโลกและมองเราด้วย มาตรฐานของอิสลาม มาตรฐานที่ไม่มีขึ้นลง คงตัว และสวยงามเสมอ ถ้าเราได้คลุม หิญาบจริงๆ คลุมทั้งภายนอก ภายใน ทั้งทัศนคติ ทั้งความคิด และทั้งหมดของวิถี ชีวิต เราก็จะรักอาภรณ์ผืนนี้สุดใจ เพราะมันไม่ใช่แค่ผ้าผืนหนึ่ง แต่คือการภักดี ต่อผู้หนึ่ง...ผู้เป็นที่รัก รัก และรัก 22


หิญาบไทย กับการถอยหลังลงคลอง ชัรฟุดดีน อามิลี สํานวนในภาษาไทยที่กล่าวกันว่า “ถอยหลังลงคลอง” นั้นโดยปกติแล้วมัก หมายถึงปฏิกิริยาที่เป็นลบหรือปรากฏการณ์ของสังคมมนุษย์ที่มีลักษณะย้อนศร ไปสู่รากเหง้าที่เป็นลบ เช่น การรัฐประหารในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งถือว่า เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่นําพาการเมืองไทยถอยหลังลงคลองไปสู่วังวนการเมืองแบบ เก่า อย่างไรก็ตามนัยนี้ย่อมแตกต่างกับปรากฏการณ์ของสังคมมนุษย์ที่มีลักษณะ ย้อนศรไปสู่รากเหง้ าที่เ ป็น บวก อาทิ สั งคมมุสลิม แห่ งยุค สมั ยกั ลยาณชนสะลั ฟ ที่ชาวมุสลิมพึงมองว่าเป็นสังคมอุดมคติของมวลมนุษย์ คําว่า “ถอยหลังลงคลอง” ที่ผู้เขียนกล่าวถึงนี้โดยกรอบของบทความสั้นๆ ชิ้นนี้ ผู้เขียนกําลังหมายถึงปรากฏการณ์ของสังคม(สตรี)มุสลิมไทยที่แสดงออกถึง การย้อนศรไปสู่รากเหง้าที่เป็นลบของตนเองผ่านการแสดงออกด้วยเครื่องแต่งกาย หิญาบ กล่าวคือ ดัง ที่ผู้เ ขียนได้เ คยเขีย นไปในงานเขียนชิ้น หนึ่ง ของผู้เขี ยนเรื่อ ง หิญาบนั้น ผู้เขียนได้ให้ข้อสรุปไว้ว่า ก่อนเหตุการณ์การประท้วงของนักศึกษามุสลิม ไทย ปี พ.ศ. 2530-2531 ณ วิทยาลัยครูยะลาเพื่อขอสิทธิการคลุมหิญาบในฐานะ พลเมืองใต้รัฐธรรมนูญแห่งเสรีภาพทางศาสนา การสวมหิญาบของผู้คนในขณะนั้น ยังอยู่ในโลกทัศน์ที่ค่อนข้างผิดเพี้ยนไปจากโลกทัศน์ของหลักการอิสลามอยู่ มาก ด้วยเหตุที่ว่า นอกจากหิญาบจะเป็นเพียงเครื่องแต่งกายของคนสูงอายุด้วยรูปแบบ หิญาบที่ไม่ต่างจากผ้าส่าหรีของสตรีอินเดียแล้ว ในหมู่สตรีสาวมุสลิมก็แทบจะไม่มี ใครสวมหิญ าบในมิติข องความเข้าใจที่ถูกต้ องตามบทบัญญัติบังคั บที่กฎหมาย อิสลามกําหนดไว้ พูดอีกนัยหนึ่งแล้วหิญาบเป็นเพียงเครื่องแต่งกายที่ถูกกรอบเกณฑ์ ของวัฒนธรรมพื้นบ้านแบบมลายู-พุทธจํากัดบริบทการสวมใส่ของมั นส่วนมากของ ผู้คนจึงสวมใส่มันในพิธีการทางศาสนาหรือเป็นวัฒนธรรมที่ไร้ซึ่งเปฺาหมายใน >> 23


>> การปกปิดและแสดงออกถึงศีลธรรมอันสูงส่งดังเช่นทุกวันนี้แต่อย่างใด และ การจะสวมใส่มันในฐานะอาภรณ์แห่งชีวิตก็ดูจะกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจยากเต็มทีใน สมัยนั้น จนกระทั่งเมื่อกระแสการฟื้นฟูอิสลามที่ฝังตัวมานานทั้งจากแนวคิดของ กลุ่มอิควานจนกระทั่งการระเบิดขึ้นของการปฏิวัติชีอะฮฺในอิหร่าน หิญาบในฐานะ จิตสํานึกในการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของสตรีแห่งประชาชาติอิสลามจึงถูกกระชาก ขึ้นมาจากโคลนตมที่บดบังตัวมันเองสู่การเป็นอาภรณ์แห่งอัตลักษณ์และเกียรติยศ ตามเจตนารมณ์ของศาสนาอีกครั้ง โดยทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน มองว่ายุคสมัยแห่ง หิญาบในสังคมมุสลิมไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ 1) ยุคสมัยของหิญาบกึ่งวัฒนธรรม นั่นคือตั้งแต่ก่อนช่วงการประท้วงปี พ.ศ. 2530 ที่สตรีสวมใส่มันในฐานะของเครื่องแต่งกายทางวัฒนธรรม 2 ) ยุคสมัยของหิญาบแบบอิสลาม นั่นคือนับเอาหลังเหตุการณ์ประท้วงที่ วิทยาลัยครูยะลาซึ่งนําพาไปสู่การสวมหิญาบตามเจตนารมณ์ทางศาสนา 3) ยุคสมัยของหิญาบแบบเคร่งครัด นั่นคือนับเอาตั้งแต่ การเข้ามาของ แนวคิดญะมาอะฮฺตับลีฆและกลุ่มที่ถูกเรียกกันพล่อยๆว่า “วะฮาบีย์” ซึ่งก็ได้นําเอา ทัศนะการปิดหน้าติดตัวมาด้วยจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามคําถามที่ผู้เขียนตั้งขึ้นมานานแล้วก็คือว่า หลังจากที่ยุคสมัย การปิดหน้าได้เบ่งบาน การเปลี่ยนผ่านของมันจะนําไปสู่รูปแบบใดของหิญาบอีก? แม้หลายคนอาจจะมองว่า หิญาบจะยังคงเปลี่ยนแปลงเป็นวงกลมตามวังวนเดิม ๆ 24


ของมันที่มีขึ้นมีลงอยู่เสมอ ทว่าผู้เขียนกลับเห็นว่ายุคสมัยที่ 4 ที่กําลังดําเนินมาของ หิญาบในสังคมไทยนั้นดูท่าจะกลับไปเข้าสํานวนที่ว่าถอยหลังลงคลองภายใต้คํา จํากัดความว่า “หิญาบแฟชั่น” อย่างไรอย่างนั้น ที่ว่าถอยหลังลงคลองนั้นก็เพราะว่า มันได้นําพาการคลุม หิญาบของสตรีไปสู่สภาวะแบบสมัยแรกที่ผู้คนสวมหิญาบใน ฐานะวัฒนธรรมไม่ใช่ในฐานะอาภรณ์แห่ งศรัทธา ซึ่งเป็นการสะดุดล้มของหิญาบ ไทยที่มีการพัฒนาไปข้างหน้ามาตลอด จะแตกต่างจากยุคสมัยแรกก็ตรงที่ หิญาบ สมัยนี้ ได้กลายมาเป็นเครื่องมือของนายทุนและกลไกทางตลาดทุนนิยมที่เข้ามา ครอบกะโหลกกะลาของผู้ใหญ่มุสลิม หลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่เคยคิดว่าทุนนิยม สามานย์จะเข้ามากวาดต้อนเข้าตลาดได้ ในที่สุดมันก็ทําไปจนได้ เช่น หิญาบได้ถูก นํามาเป็นเสื้อผ้าในการเดินแฟชั่ นแคทวอล์คบนเวที มิหนําซ้ําการขายหิญาบในยุค สมัยของเรานี้ก็ดูจะพิสดารพันลึกตรงที่มีการนําสาวสวยมากหน้าหลายตามาเป็น นางแบบเพื่อขายหิญาบ สตรีบางคนนั้นไซร้สวมใส่หิญาบเพียงเพราะพิจารณาว่าจะ ทําให้พวกนางดูงามจากใบหน้าอันเรียวยาวขึ้นมากกว่าตอนที่ไม่สวมใส่หิญาบ แม้กระทั่งธุรกิจโสโครกอย่างหนังภาพยนตร์ลามกอนาจารก็ดูเหมือนจะ ต้องการเจาะตลาดของเหล่าทุรชนที่นิยมสิ่งแปลกใหม่ ความอุบาทว์การณ์ของสังคม โลกที่เราเห็นจึงปรากฏออกมาดังที่เป็นข่ าวในทีวีอยู่ช่วงหนึ่งว่ามีภาพยนตร์ลามกที่ ถูกถ่ายทําในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ในสภาพที่ยังคงสวมใส่หิญาบขณะถ่ายทําด้วย ซ้ํา! เหล่านี้คือวิบากกรรมทางสังคมของสตรีมุสลิมที่คําว่า “หิญาบ” ได้ถูกตีความ ใหม่ให้เป็นเพียง “ผ้าครอบศีรษะ” ด้วยอํานาจของตลาดทุนนิยมและปรากฏการณ์ ของสังคมที่เปลี่ยนไปดังจะพบเห็นการขายหิญาบในสีสันที่น่าดึงดูดเพศตรงข้ามกัน ตามร้านค้ามุสลิมและสื่อออนไลน์ทั่วประเทศ สิ่งเหล่านี้เป็นดั่งที่คาร์ล มาร์กได้เคย วิเคราะห์ไว้อย่างแจ่มแจ้งว่าระบบนายทุนจะทําให้มนุษย์เสียสมดุลในภาวะของ ความเป็นคนไปสู่ความเป็นสัตว์ทางเศรษฐกิจและผู้เสพสินค้าก็เป็นเพียงสัตว์ในคอก ที่ไร้ปัญญาในการพิจารณา อํานาจของตลาดทุนนิยมที่ ครอบงําความคิดคนผ่าน กระบวนการเสกสรรวัตถุให้ทรงพลังแห่งการดึงดูดหรือที่เรียกว่ากระบวนการทําให้ 25


เป็นแฟชั่นได้ทําให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคในตลาดทุนนิยมเสียสมดุลของ ความเป็นคนไป สัญลักษณ์ของโหนกอูฐ อันเป็นที่ต้องห้ามในหลักการอิสลามก็ ได้ทะลุเข้า ไปเป็นแฟชั่นอยู่บนหิญาบของมุสลิมมากหน้าหลายตา กางเกงยีนขาเดฟรัดติ้วแม้ว่า จะใส่ดูพิลึกมากมายแค่ไหนกับคํานิยามของคําว่าหิญาบจริงๆ แต่เราก็พบเห็นสตรี มุสลิมที่สมองมีปัญญาไว้เรียนหนังสือต่ างสวมใส่มัน ทั้งที่หากเราพิจารณากระแส การเปลี่ยนผ่านของรูปทรงกางเกงนับตั้งแต่สมัย ขาบาน ขาม้า ขากระบอก ขาดิ้กกี้ มาจนถึง ขาเดฟ เราจะพบว่ามันไม่มีความแตกต่างในแก่นแท้ของความเป็นเนื้อผ้า เลย และหากมนุษย์จะชอบมันก็ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องอาศัยเงื่อนไขของกาลเวลามาเป็น ตัวแบ่งกระแสการใส่ของมันเลย แต่ที่เป็นทั้งหมดเช่นนั้นได้ก็เพราะอํานาจของตลาด แฟชั่นที่กําหนดความคิดคนให้ชอบในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงในใจของมนุษย์ก็เท่านั้นเอง ศัตรู ตัว ใหม่ ของสตรีมุ สลิม นัก ทํางานอิสลามจึงไม่ใ ช่สิ่ง อื่น ใดนอกจาก ระบอบทุนนิยมสามานย์ที่ซื้อขายกันในตลาดอย่างไม่เลือกหน้า ซึ่งทั้งหมดแล้วก็ ขึ้นอยู่กับสตรีทั้งหลายเองว่าจะเลือกกําหนดยุคสมัยที่ 4 ของหิญาบไทยด้วยตนเอง หรือปล่อยให้ตลาดทุนและกลไกของธรรมชาติโลกนี้พัดพาพวกเธอ ไปตามอัตตาของ ประชาคม จริงอยู่ที่ว่าบางครั้งเราอาจจะเผชิญหน้ากับปัญหาการกีดกัน หิญาบของ กลุ่มคนใจแคบจากสังคมต่างๆแต่นั่นก็เป็นเพียงปัญหาการละเมิดทางกายภาพที่ สามารถใช้กลไกทางการเมืองและกฎหมายในการแก้ไขได้ แต่ปัญหาการทอดทิ้ง หิญาบที่ถูกต้องนี่สิ ที่เป็นปัญหาทางมโนธรรมที่กําลังแตกสลายเพราะลัทธิบริโภค นิยมซึ่งกําลังบุกรุกทุกครัวเรือนของสังคมมุสลิม เราจะปล่อยให้หญ ิ าบอันเป็นลิขสิทธิ์ของอัลลอฮฺต้องถูกละเมิดด้วย การปลอมแปลงของหิญาบเทียมของชนผู้ฝ่าฝืนซึ่งกาลังแพร่สะพัดในตลาด (มุสลิม)มืดกระนั้นหรือ? ยุคสมัยที่ 4 ของหิญาบจึงขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหว ของสตรีมุสลิมที่จะเป็นตัวกาหนดเข็มทิศแห่งประวัติศาสตร์ด้วยตนเองว่ าจะ เบนไปทางไหน! 26


รู้หรือไม่ กับ วันแห่งการประท้วง กองบรรณาธิการ เรียบเรียง

 โรงเรียนเอกชนมุสลิมนั้น แบ่งได้ 2 ส่วน คือฝูายที่สนับสนุนอย่างไม่ลังเล เช่น โต๊ะครูในปอเนาะดั้งเดิมกับฝูายที่ยังมีทีท่ากล้าๆกลัวๆ กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เช่น ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบสามัญ ทั้งนี้อาจจะเพราะเป็นสถาบันที่จด ทะเบียนตามกฎหมาย รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล อีกทั้งยังอาจสร้างความเข้าใจผิด ได้ว่าตนคิดการกบฏ ทั้งที่มีสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญก็ตาม เพราะในอดีตนั้น สิ่ง ที่หัจญีสุหลง อับดุลกอเดร ถูกกระทําจากตํารวจไทยก็คอยเตือนใจอยู่เสมอ กระนั้นก็ ตาม ในวันแห่งการประท้วง เด็กนักเรียนโรงเรียนสตรีธรรมวิทยามูลนิธิ (ก่อตั้งปี พ.ศ. 2507) ของโต๊ะครู ดร.หัจญีฮารูน สุหลง ก็มิอาจเพิกเฉยต่อเหตุการณ์ที่เริ่มต้นด้วย เสียงตักบีรนี้ได้ โรงเรียนสตรีล้วนที่ตั้งอยู่ใกล้มั สยิดกลางยะลา แห่งนี้ ระดมกําลัง นักเรียนมาละหมาดอิชาอฺอย่างคับคั่ง และบ่อยครั้งก็อยู่กับการชุมนุมจนถึงดึกดื่น จึงสลายตัวกลับไปโรงเรียน  “…ความคิดของคนที่ไม่ได้รับการศึกษา คนป่าเถื่อน คนที่ไม่มีเหตุผลขาดความ ยั้งคิด” เป็นข้อความโจมตีในใบปลิวที่แจกทั่ววิทยาลัยครู ยะลา เมื่อมีกลุ่มนักศึกษา มุสลิมะฮฺเรียกร้องต้องการแต่งกายด้วยหิญาบปกปิดมิดชิด ... ถ้าเช่นนั้น นักศึกษา มหาวิทยาลัยปัจจุบันที่แต่งตัว เช่นโสเภณี คงเป็นผู้ดีมีสกุลกระมั้ง จึงไม่มีใบปลิว เช่นนั้นโจมตีใส่บ้าง!  ห้องแถวริมถนนสิโรรส ย่านตลาดเก่าใกล้มัสยิด กลางยะลา เคยเป็นที่ตั้งของ ห้องสมุด ยมย.ซึ่งเต็มไปด้วยหนังสือแนวคิดอิสลามมากมาย ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ทั้งหมดไม่ได้เป็นนักวิชาการหรือนายทุนรายใหญ่ที่ไหน ทว่าเป็นพ่อค้าคนหนึ่งที่ขาย เครื่องแกงอยู่ในตลาดสด สถานีรถไฟยะลา เสียสละในวิถีศาสนาเป็นผู้ออกค่าเช่า บ้านให้เป็นรายปี 27


Muhammad Rashid Rida / วารสารอัล-มะนาร / ตราสัญลักษณ์ วารสารอัล-ญิฮาด

 ก่อนและหลังการต่อสู้เรียกร้องหิญาบ หนังสือและวารสารแนวคิดอิสลาม เป็น เสมือนสิ่งจําเป็นต่อชีวิต สมาชิกในกลุ่มยุวมุสลิมยะลา(ยมย.)สมัยนั้น จะมีวารสาร อัล-ญิฮาด และวารสารสายสัมพันธ์ให้อ่านไม่ขาดมือ ในความเห็นของมูฮํามัดอายุบ ปาทาน ประธาน ยมย. มองว่าอัล-ญิฮาดนั้นเปรียบเสมือนวารสารอัลมะนาร ของ ขบวนการอิ ควานอั ลมุ สลิ -มู น ที่มีอิ ทธิ พลต่ อการฟื้ นฟู อิสลามทั่วโลก โดยมี ท่า น อิมามหะสัน อัลบันนา รับช่วงบรรณาธิการต่อจาก มุฮัมมัด รอชีด ริฏอ ศิษย์เอกของ มุฮัมมัด อับดุฮฺ ปราชญ์ชาวอียิปต์ที่สืบทอดแนวคิดของ มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ และ อิบนุตัยมียะฮฺ วารสารเหล่านี้เป็นผู้ให้ความคิด สร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดให้ สมาชิก อีกทั้งยังมีหนังสือ อย่าง ‚Milestone‛ ของซัยยิด กุฏุบ และ ‚แด่เยาวชน‛ ของ อิมามหะสัน อัลบันนา ซึ่งมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อเยาวชนยุคนั้น  วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2531 นักศึกษาบางส่วนในวิทยาลัยครู ยะลา แต่งตัวด้วย ‚ชุดไทยเดิม ชุดซิ่ง ชุดลิเก‛ มาเรียน เพื่อต่อต้านการเรียกร้องใส่หิญาบของนักศึกษา มุสลิมะฮฺ สะท้อนให้เห็นว่าแม้แต่นักศึกษาเองก็ยังไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่ สามารถแยกแยะระหว่ างหิญาบ(ซึ่งเป็นเรื่องข้อบังคับศาสนา) และชุดลิเก(ซึ่งเป็น เรื่องวัฒนธรรม ประเพณี)... แม้แต่ปัญญาชนยังมีความบกพร่องและอัตคัดด้าน ความรู้เกี่ยวกับปัญหาแต่เพียงนี้ ประสาอะไรกับความเข้าใจในประเด็นเดียวกันของ ประชาชนทั่วไป ทั้งในอดีตและปัจจุบัน 28


Maulana Abul a’la Al-Maududi / ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

 มู ฮํ ามั ด อายุ บ ปาทาน อดีต ประธานยุว มุ สลิ ม ยะลา (ยมย.) และผู้ สื่อ ข่ า ว หนังสือพิมพ์ทางนํา ในช่วงก่อนและหลังเหตุการณ์หิญาบ วค.ยะลา เคยได้รับการ ทาบทามให้เข้าร่วมขบวนการติดอาวุธที่มุ่งเปฺาในการรื้อฟื้นรัฐปัตตานี อันมีแนวคิด ‚ชาตินิยม‛ เป็นฐาน แต่เขาปฏิเสธเพราะมีภูมิคุ้มกันทางความคิดจากนักคิดมุสลิม อย่าง ซัยยิด อะบุล อะอฺลา อัล- เมาดูดี ทีไ่ ด้เคยวินิจฉัยว่า “การต่อสู้บนพื้นฐานเพื่อ สร้างรัฐที่อิงอยู่กับเชื้อชาติและดินแดน เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักการศาสนา ความผิด ร้ายแรงถึงขั้นตกศาสนา(มุรตัด)”  “เหตุใดมุสลิมที่ชายแดนภาคใต้จึงเพิ่งหันมาคลุมหิญาบ ทั้งๆที่ศาสนาอิสลาม ดารงอยู่มาเนิ่นนานแล้ว ” (มติชนรายวัน 22 กุมภาพันธ์ 2531) นี่เป็นคําถามของ หม่อมน้อง ที่ถามไปในวันนั้น อาจตอบได้ไม่ยากนัก(ดูการพุดคุยกับ ดร.สุกรี) ทว่า เราควรตั้งคําถามแก่ตนเองอยูเ่ สมอแม้แต่ในขณะนี้วา่ “ทาไมมุสลิมปัจจุบันไม่รู้เสียที ว่าหิญาบที่แท้จริงเป็นแบบไหน ทั้งที่กาลังอยู่ในยุคโลกาภิวัตน์โดยแท้ ยุคที่ความรู้ ทุกอย่างล้วนให้เราเข้าถึงได้อย่างง่ายได้ เราไม่รู้หรือเราไม่อยากรู้”  วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2531 การชุมนุมยืดเยื้อ หนังสือพิมพ์ทางนํา บันทึกไว้ว่า กลุ่มผู้ชุมนุมมีจํานวนเริ่มต้นวันแรกราว 3 พันคน และเพิ่มขึ้นในช่วงปลายเป็นหนึ่ง หมื่นแปดพันคน วันที่สี่ของการชุมนุม เกิดเหตุวุ่นวาย เมื่อเจ้าหน้าที่ทหารนายหนึ่ง ขับรถปิกอัพพุ่งเข้าสู่ฝูงชนจนหวิดมีการตะลุมบอน 29


สรยุทธ สกุลนาสันติศาสน์ / Khomeini (La’natullahualai) / Sayyid Qutb

 ท่าทีของนักศึกษาที่เรียกร้องเรื่องหิญาบต่ อกลุ่มชีอะฮฺและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน โดยในการประท้วงหิญาบนั้น นายสรยุทธ สกุลนาสันติศาสน์ หรือหมอดิง อดีตซุนนี ที่ผันตัวเองไปเป็นชีอะฮฺหลังเหตุการณ์ปฏิวัติในอิหร่านโดยโคมัยนี (พ.ศ.2522) ยัง เป็นแกนนําสําคัญเรียกร้องถอนมัสญิดกรือเซะออกจากระเบียบโบราณสถาน (พ.ศ. 2530-2533) หมอดิง ได้ ขอขึ้น เวทีป ราศรั ย ณ มัสยิด กลางยะลา ทว่า ถูก ปฏิ เสธ เช่นเดียวกันกับชายคนหนึ่งจาก อ.รือเสาะ นราธิวาส ที่เป็นคนของขบวนการ BRN ทั้งนี้ก็เพื่อเน้นย้ําว่าการเคลื่อนไหวเรื่องหิญาบนี้ไม่ได้เกี่ยวกับสองกลุ่มนี้แต่อย่างใด  กลุ่มยุวมุสลิมยะลา นําเด็กนักเรียนโรงเรียนรัฐ 3-4 ร้อยคน เข้าค่าย 2 สัปดาห์ที่ ปอเนาะอามัน ยะลา โดยพี่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวที่ร่ําเรียนนอกระบบกับ อุสตาซอับดุลลอฮฺ อินเดีย รูปแบบค่ายที่ไม่เคยมีใครคิดที่จะจัดมาก่อน ลักษณะการ จัดค่ายรวมถึงรูปแบบกิจกรรมต่างๆถูกถอดแบบมาจากการดําเนินงานของกลุ่ม อิควาน อัลมุสลิมูน ในอียิปต์ โดยเฉพาะแนวคิดของอุสตาซซัยยิด กุฏุบ ซึ่งอุสตาซ อับดุลลอฮฺ ยึดมั่นเสมอมา การจัดค่ายลักษณะนี้มีบทบาทสําคัญในการเปลี่ยนวิธี คิดของผู้ปกครองเด็ก ทําให้กระแสการเรียกร้องวิถีอิสลามและเรื่องหิญาบเพิ่มมาก ขึ้นเป็นเงาตามตัว นํามาซึ่งการประท้วงเรียกร้องเรื่องหิญาบด้วยจํานวนคนเป็นหลัก หมื่นในเวลาต่อมา 30


 อุสตาซอับดุลลอฮฺ อินเดีย(อับดุลเลาะ จินารง) คือชื่อของโต๊ะครูท่านหนึ่งที่คน หนุ่มสาวสมัยนั้นเรียกเขาว่า ‚ผู้นําจิตวิญญาณ‛ ด้วยวัยเกือบ 50 ปี ในห้วงเวลานั้น เขาคือผู้กุมบังเหียนแนวคิดอิสลามแก่สานุศิษย์นอกระบบทั้งหลายในยะลา เขาเปิด ปอเนาะอามันที่มลายูบางกอก(โรงเรียนอิสลามประสานวิทย์ ยะลา) เป็นแหล่งบ่ม เพาะแนวคิดอันเข้มข้นและนุ่มลึก จากปากคําศิษย์เอกเล่าขานไว้ว่า “อุสตาซเป็นคน ที่แปลก เก่งมากในเรื่องการอธิบายเปรียบเทียบ เช่น ชาตินิยมกับอิสลาม ฏอฆูตกับ พระเจ้า เป็นคนที่มีวิธีการอธิบายเชือดเฉือนฏอฆูตอย่างเผาพลาญ จนคนจิตอ่อน ทนฟังไม่ได้ บางทีหากเปรียบเทียบว่าอุสตาซอับดุลฮาดี อาวัง ใช้คาอธิบายคาว่า วัตถุนิยม 20 คา ทว่าอุซตาสอับดุลลอฮฺ อาจใช้แค่เพียง 5 คาเท่านั้น ” (อับดุลมาลิก , 2554) อุสตาซอับดุลลอฮฺ จบหลายปริญญาจากสถาบันนัดวะตุลอุลามาอฺ อินเดีย บวกกับเวลาอีก 2 ปี ในการเก็บตัวอยู่ในห้องสมุดที่นั่น และกลับมาประเทศไทยด้วย ตําแหน่งที่ถูกมอบอย่างพล่อยๆว่า ‚คณะใหม่‛ ปัจจุบันในวัยกว่า 70 ปี พักอยู่อย่าง สงบในบ้านพักย่านตลาดเก่า พื้นที่ประวัติศาสตร์ของการประท้วงหิญาบท่ามกลาง กองหนังสือกว่าพันๆเล่มในตู้  “ผมรู้ว่าพวกคุณชอบผม มาร่าเรียนกับผม และเป็นศิษย์ของผม แต่บางคนในนี้ก็ เป็นศิษย์ของชัยฏอนด้วย ผมรู้ว่าพวกคุณกาลังสะกดรอยผม แต่จงรู้ไว้ ขณะที่คุณ ติดตามผม อัลลอฮฺก็ส่งมะลาอิกะฮฺตามคุณด้วย” คําพูดของอุสตาซอับดุลลอฮฺ >> 31


สมชาย นีละไพจิตร / อัศนี พลจันทร (นายผี)

>> ในเวลาที่ถูกทางรัฐ (กอ.รมน.) ส่งคนสะกดรอยตามการเคลื่อนไหวของท่าน โดยจ้างมุสลิมด้วยกันในการเดินเรื่อง… “อุซตาสจะยืนบนแท่นพูด ขณะพูดก็จะมี ช่ ว งหยุ ด และช่ ว งเร้ า ที่ จั บ ใจ ทว่ า ท่ า นเป็ น โต๊ ะ ครู ที่ ส อนด้ ว ยภาษามลายู แ ละ ภาษาไทยควบคู่กันไป เท่าที่จาได้ตอนนั้นพอแกพูดประโยคนั้นเสร็จ แกก็หยุดพูด และหันมายิ้มใส่คนฟังพร้อมทอดสายตาไปทั่ว ทุกคนตกใจกันหมด แกเก่งจิตวิทยา มาก” (อับดุลมาลิก, 2554)  หาก 12 มีนาคม 2547 คือความเศร้าโศกสําหรับเราชาวมุสลิม เมื่อทนายความ คนสําคัญ สมชาย นีละไพจิตร ได้หายสาบสูญไปด้วยน้ํามือของตํารวจไทยเพียง เพราะการต่อสู้ปกปฺองชาวบ้านที่ถูกกลั่นแกล้งแล้ว 1 มีนาคม 2485 ก็นับได้ว่าเป็น วันสําคัญอีก 1 วัน สําหรับผู้ชายคนหนึ่งที่มีใบหน้าละม้ายคล้ายคลึงกับทนาย สมชาย อัศนี พลจันทร หรือ นายผี อดีตอัยการ ทนายความ และมหากวีประชาชน ที่ ถูกส่งตัวมาประจําการที่ปัตตานี(เพราะไปฟฺองร้องลูกชายผู้มีอิทธิพลที่ทําความผิด ) อัศนี ไม่ใช่มุสลิม ทว่าเขาพยายามใช้ชีวิตกับชาวมลายูให้กลมกลืนที่สุดด้วยการฝึก อ่านคัมภีร์อัลกุรอาน ไม่กินหมู แม้กระทั่งพยายามใส่กะปีเยาะฮฺ เขาใช้ชีวิตอย่าง สมถะอยู่อย่างกระเบียดกระเสียร ต้องเหวี่ยงแหหาปลามากินเอง ส่วนที่เหลือก็ยังแผ่ เจือจานเพื่อนบ้านมุสลิม ซื้อไก่มาเลี้ยงและซื้อแพะมาเลี้ยงไว้รีดนม อัศนีสู้คดีความ ให้ชาวมลายูมุสลิมที่กระทําผิดต่อนโยบายสร้างรัฐชาติของจอมพล ป.พิบูลสงคราม 32


ข้อมูลเพิ่มเติม : 1 - http://www.midnightuniv.org/wp-includes/js/tinymce/plugins/ paste/pasteword.htm?ver=327-1235#_ftn2 2 - http://sorrayuth.wordpress.com/author/aidin574/

(ในเรื่องใส่กาปีเยาะฮฺ ใส่ผ้าคลุมในที่สาธารณะ ฯลฯ) ชนะ 50 กว่าคดี ในวันจากลา ชาวไทยมุสลิมหลายคนร้องห่มร้องไห้ด้วยความอาลัย ทว่าด้วยความเกลียดชังเผด็จ การและอํ า นาจรั ฐ บาลที่ ช อบกลั่ น แกล้ ง ประชาชน อั ศ นี ป รากฏชื่ อ อี ก ครั้ ง ในปี พ.ศ.2504 ในนาม ‚สหายไฟ‛ แห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เป็นมันสมอง และผู้ นํ า ระดั บสู ง ของพรรค ยั ง เป็ น อาจารย์ ด้ า นกวี และงานเขี ย นของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล และจิระนันท์ พิตรปรีชา ขณะที่ทั้งสองหนีเข้าปูา อัศนี พลจันทร จากลา โลกนี้ไปอย่างเงียบเหงาท่ามกลางปูาเขาไร้ผู้คนในประเทศลาว ทนายสมชาย และ ทนายอัศนี ไม่ได้อยู่ในโลกนี้อีกต่อไปแล้ว ทว่าระบบแห่งความชั่วช้าสามานย์ของ ตํ า รวจยั ง คงส่ ง กลิ่ น เหม็ น อบอวลตลอดกาล อย่ า งน้ อ ยๆก็ ใ นพื้ น ที่ ๆ ทั้ ง สองเคย ร่วมกันสู้และปกปักษ์รักษาเสมอมา สามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ของไทย  เท่าที่มีการบันทึกไว้ การเรียกร้องใส่หิญาบในที่ราชการหรือโรงเรียน เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2521 ซึ่งครูประถมและมหาวิทยาลัยบางแห่งในกรุงเทพมหานคร ได้เรียกร้อง สิทธินี้ เช่นเดียวกันกับครั้งแรกใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในปี พ.ศ.2528 หมอ ดิง หรือ นายสรยุทธ สกุลนาสันติศาสน์ ได้เรียกร้องสิทธิให้บุตรสาววัย 6 ขวบ ของ ตนสามารถใส่หิญาบในโรงเรียนประถมได้ (สุวัฒน์, 2539 : 8-9)

33


เ ล่ า – ก ล่ า ว – ค ว า ม ดี ตอน : เสียดายที่เธอไม่คลุมหิญาบ หยิบมาเล่าโดย / ผู้ใดเล่าจะมีถอ้ ยคําทีด่ ีเยีย่ มไปกว่าผู้ที่ชักชวนกันไปสู่ความดีงาม

34


นางสาวอัยยาอายุ 22 ปี เริ่มหิญาบมาเกือบสองปีแล้ว แรงบันดาลใจในการคลุมหิญาบคืออะไรคะ ความจริงแล้วตั้งใจจะคลุมหิญาบตั้งแต่เข้ามหา’ลัยแล้วค่ะ ในปีใดปีหนึ่งข้างหน้า แต่ก็นึกไม่ถึงเหมือนกันว่าตัวเองจะเริ่มต้นได้เร็วขนาดนี้ พอได้รู้จักพี่น้องมุสลิม ก็ได้ เข้าใจอะไรมากขึ้น จากเดิมที่มีความตั้งใจอยู่แล้วก็ทําให้มีกําลังใจมากขึ้น คนรอบ ข้างก็ช่วยกันสนับสนุน ทําให้เรามีความมั่นใจมากขึ้น เห็นผิดเห็นถูกมากขึ้น ทั้งๆที่ เพื่อนรอบข้างเป็นต่างศาสนิกหมดเลย มีเหตุการณ์ที่ทาให้เราตัดสินใจคลุมทันทีมั้ย แบบว่ารอช้าไม่ได้แล้วนะ ครั้งหนึ่งเห็นเพื่อนมุสลิมีนแข่งกีฬา (แข่งวิ่ง) ซึ่งพอเขาวิ่งเสร็จเขาก็รีบไปเปลี่ยนจาก กางเกงขาสั้นเป็นขายาว ก่อนที่จะไปรับเหรียญรางวัล ตอนนั้นรู้สึกอายมากเลยค่ะ ตัวเองยังใส่กางเกงขาสั้น เสื้อแขนสั้นอยู่เลย และอีกครั้งคือมีน้องในคณะมาถามว่า พี่เป็นมุสลิมด้วยเหรอ ตอนนั้นรู้สึกแย่มาก ถามตัวเองว่านี่เราเหมือนกับเขาขนาดนี้ เลยเหรอ..เราควรจะทําให้แตกต่างได้แล้ว เพราะความจริงเราต่างกับเขา ทําให้ ตัวเองอยากเป็นมุสลิมะฮฺที่สมบูรณ์มากขึ้น ช่วงเหตุการณ์สําคัญที่ทําให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงคือ ช่วงเราะมะฎอนปี2 เริ่มหัดคลุมหิญาบบ้าง ถอดบ้าง ได้ละหมาด มากขึ้น พอเปิดเทอมก็ตัดสินใจใส่หิญาบในชุดนักศึก ษาทันที ไม่อยากถอดอีกแล้ว อยากคลุมหิญาบแบบถาวรเลย

เจออุปสรรคอะไรบ้างมั้ยคะ เจอค่ะ เพื่อนๆหลายคนก็เข้ามาถามว่าทําไมต้องเปลี่ยนด้วย เราก็กล้าที่จะพูด กล้าที่ จะอธิบายให้เขาฟัง 35


แล้วคนครอบครัวละคะ เกิดอะไรขึ้นบ้าง กับการเปลี่ยนแปลงของเรา ทุกคนในบ้านดี ใจมากเลยค่ะ พ่อเคยพูดเปรยๆว่าอยากให้คลุมหิญาบ แต่ก็ไม่ได้ บังคับอะไร พ่อน้ําตาไหลเลยค่ะ ทุกคนสนับสนุน ซื้อหิญาบมาให้น่ะค่ะ

อยากบอกอะไรกับคนที่ยังไม่คลุมหิญาบบ้างคะ อยากให้ทบทวนว่าเราเป็นใคร เราภักดีต่อใคร สิ่งที่เราทํานั้นถูกต้องหรือยัง มันเป็น อะไรที่ไม่น่าแปลกเลยสําหรับการคลุมหิญาบในปัจจุบัน สังคมไม่ได้ปิดกั้น…แล้วเรา จะปิดกั้นตัวเอง(จากความรักของอัลลอฮฺ)ทําไม ? พี่ชารีฟะห์ นักกฏหมายอายุ 34 ปี(แล้ว)ค่ะ คลุมหิญาบมานานแค่ไหนแล้วคะ คลุมตั้งแต่เด็กแล้วค่ะ คลุมๆถอดๆ คลุมบ้างเป็นบางโอกาส ขึ้นกับสถานที่..ตอนไป เรียนก็ไม่ได้คลุม ตอนนี้คลุมหิญาบแบบที่อัลลอฮฺบอกมาประมาณ1ปีแล้วค่ะ อัลหัม ดุลิลละฮฺ ^^ อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้คลุมหิญาบคะ เมื่อก่อนไม่ได้คลุม เวลาทําอะไรแล้วรู้สึกว่าจิตใจไม่เข้มแข็ง..แต่พอได้ละหมาดอย่าง สมบูรณ์ ได้หิญาบแล้วรู้สึกมั่นใจว่าเราได้อยู่ ใกล้อัลลอฮฺ ได้ทําอิบาดัตต่ออัลลอฮฺ เพิ่มขึ้น ได้เรียนรู้อิสลามเพิ่มมากขึ้น ฝากอะไรถึงหิญาบบ้างคะ การคลุมหิญาบเป็นสิ่งที่มีค่าที่ผู้หญิงมุสลิมได้ทําเป็นอย่างของสตรีทุกคนอยู่แล้ว ผู้ชายก็ค วรมองเห็ นคุณ ค่า ให้ เกี ยรติ และมีค วามรับ ผิด ชอบต่อ หิญาบด้ วย และ 36


ช่ว ยกั นรั ก ษาเกี ย รติ ข องมุ สลิ มะฮฺ ด้ วยเช่ นกั น อยากให้ ผู้ห ญิง มุ สลิม ทุ ก คนคลุ ม หิญาบให้เรียบร้อย เวลาเจออุปสรรคก็ให้คิดถึงอัลลอฮฺ ขอดุอาอ์(ขอพร)ต่ออัลลอฮฺ ขอให้ทรงตอบรับความดีของเรา ทุกวันนี้นี้มีความสุขมาก เราได้คลุมหิญาบแล้ว เรา ไม่ต้องทําผิดต่ออัลลอฮฺแล้ว หิญาบช่วยให้เราไม่ลืมอัลลอฮฺแล้ว

นางสาว wisalt อายุ 21 ปี เริ่มคลุมหิญาบเมื่อเราะมะฎอนปีที่แล้วค่ะ คลุมหิญาบมานานแค่ไหนแล้วคะ คลุมมาตั้งแต่มัธยมต้นแล้วค่ะ ตอนนั้นเรียนปอเนาะ(โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ควบคู่ความรู้สามัญ) พอ ม.ปลาย มาเรียนโรงเรียนรัฐบาล ทําให้ไม่ได้คลุมหิญาบ พอเข้ามหาวิทยาลัยก็ยังไม่ได้คลุม ที่บ้านก็ไม่ได้ว่าอะไร อะไรคือแรงบันดาลใจให้เราอยากกลับมาคลุมหิญาบอีกครั้งคะ ตอนที่ไม่ได้คลุมหิญาบก็จะแต่งกายไม่เรียบร้อย เช่น ไม่ได้นุ่งกางเกงขายาว ตอนนั้น ก็รู้ตัวว่าทําผิด รู้สึกว่ามันไม่ใช่ตัวเรา อะไรคือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง เพื่อนๆชวนไปร่วมกิจกรรมของชมรมบ้าง ไปฟังบรรยายบ้าง ทําให้คิดได้ว่าที่ผ่านมา เราทําถูกต้องหรือเปล่า เดือนเราะมะฎอนที่ผ่านมาก็เลยตัดสินใจคลุมหิญาบ..ตอน นั้นเพื่อนสนิทของตัวเองก็เพิ่งตัดสินใจคลุมหิญาบด้วย ในเมื่อคนอื่นเขาทําได้ เพื่อน เราทําได้ เราก็น่าจะทําได้ เจออุปสรรคอะไรบ้างมั้ยคะ เจอค่ะ เจอคําสบประมาทจากเพื่อนๆบ้างว่าเราจะทําได้มั้ย ก็มีเสียใจบ้าง ก็คิดว่า เพื่อนกันไม่ควรจะพูดแบบนั้น (เห็นมั้ยคะ ว่าความรักแบบพี่น้องจริงใจกว่ากันเยอะ 37


เลย^ ^ ) เวลาเจอปัญหาก็จะเล่าให้แม่ฟัง แม่ก็จะให้กําลังใจ เชื่อมั่นในสิ่งที่เราทํา เราทําดี เดี๋ยวเขาก็จะเห็นเอง อยากบอกอะไรกับคนที่ยังไม่คลุมหิญาบบ้างคะ มีคนอยู่ 2 แบบน่ะค่ะ คือคนที่หลงผิดไปชั่วขณะ กับคนที่ยังไม่เริ่มต้น อยากให้คิด ทบทวนหลังละหมาดทุกครั้งว่าสิ่งที่เราทํานั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้าลมหายใจของเรา หมดลงก่อนที่โอกาสที่จะแก้ไขความผิดพลาด หรือ โอกาสที่เราจะเริ่มต้นจะมาถึง เราจะตอบกับอัลลอฮฺว่าอย่างไร

ครั้งหนึ่งของ... เด็กหญิงใคร่ครวญ ชีวิตก่อนคลุมเป็นอย่างไรบ้างคะ ก็สนุกค่ะ เป็นเด็กที่ชอบทํากิจกรรม ทําทุกอย่าง ตั้งแต่เต้น เป็นเชียร์ นําเชียร์บ้าง แต่ที่บ่อยจนพ่อเคยขอร้องให้หยุด คือ ประกวดร้องเพลง เคยคิดจะหยุดร้องเพลง ตอน ม.ปลาย แต่เพราะเกรงใจคุณครู ตอนนั้นไม่มีใครช่วยโรงเรียน เลยประกวด เรื่อยมา ส่วนหนึ่งคงเพราะไม่มีพื้นฐานศาสนา แถมเรียนโรงเรียนคริสต์ตั้งแต่อนุบาล ถึงประถมหก ตอนนั้นเหมือนจะรู้จักศาสนาคริสต์ยิ่งกว่าอิสลามเสียอีก คลุมหิญาบมานานแค่ไหนแล้วคะ.. คลุมตอนปีหนึ่ง ตอนสอบปลายภาคเทอมหนึ่ง ก่อนคลุมก็คิดหนักเหมือนกัน กลัว ร้อนบ้าง กลัวความยุ่งยากบ้าง แล้วที่กลัวที่สุดคือ คลุมไปแล้วไม่ละหมาด เพราะเรา ไม่อยากดูดีเพียงภายนอก เราวาดหวังว่าอาภรณ์นั้นจะสามารถมีอิทธิ พลในการ 38


เปลี่ยนแปลงชีวิตเราได้ สุดท้ายก็จํานน ดุอาอ์ขอทางนํามาตลอด แต่ตอนนั้นไม่รู้ว่าที่ ทําเรีย กดุอ าอ์ เหมือ นแค่ คิด อยากเปลี่ ยน ให้ อิสลามมีมากกว่าสู ติบั ตรหรือ บัต ร ประชาชน อยากให้เพื่อนรู้ว่าเราเป็นมุสลิมไม่ว่าจะไปไหน อะไรเป็นแรงบันดาลใจสาคัญคะ คิดว่าหลักๆเพราะอัลลอฮฺชอบให้เราเป็นคนช่างคิด คิดว่าเกิดมาทําไม ตายแล้วไป ไหน ทําไมต้องมีเกิดๆ ตายๆ อยู่ตลอดไปไม่ได้เหรอ พอเริ่มหาคําตอบ ก็เริ่มมอง ตัวเองว่าเราเป็นอะไร เรากําลังทําอะไรที่ตัวเองเป็นอยู่บ้างไหม ในเมื่อเราไม่ยินดีจะ เปลี่ยนศาสนาให้ตรงตามวิถีชีวิต ก็มาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ตรงกับศาสนา ไหนๆ ก็ไหนแล้ว ทํามันให้ดีไปเลย คิดได้เช่นนั้นความง่ายดายก็ค่อยๆตามมา ฝากอะไรถึงพี่น้องมุสลิมะฮฺที่ยังไม่คลุมหิญาบบ้างคะ เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนรักตัวเอง แต่ขอให้รู้ไว้ว่าอัลลอฮฺรักเรามากกว่าที่เรารักตัวเองเสีย อีก เพราะพระองค์คือผู้สร้างเรา พระองค์ออกแบบอาภรณ์มาเพื่อพวกเราโดยเฉพาะ ให้สิ่งนั้นทําหน้าที่ปกปฺอง ดูแลคุณค่าของผู้หญิงทุกคน วันนี้เราให้ค่ากับหิญาบแค่ ไหน ทุกวันนี้ยังย้อนถามตัวเองทุกวันนะว่าที่ใส่อยู่ เห็นว่ามันเป็นอาภรณ์ห่มกายใจ หรือแค่เครื่องประดับ ที่ไม่ได้มีหน้าที่อะไร นอกจากเพื่อให้ตนดูดีในสายตามนุษย์ อยากให้ทุกคนกลับมาตระหนักถึงคุณค่าและรักษาศักดิ์ศรี หากถุงเท้าและหิญาบ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของร่างกาย แสดงว่าเรายังบกพร่องในคําสั่งใช้ และห่างไกลกับกลิ่น ไอสวรรค์อยู่มากโข เปลี่ยนแปลงนะค่ ะคนดี เป็นกําลังใจให้ทุกคน ขอฝากพี่น้องที่ อยากเปลี่ยนแปลงตนเองว่า ‚หากคิดจะทําดี จงอย่าคิดนาน‛ นางสาวดอกไม้.. คลุมหิญาบมา 5 ปี แล้วนะ เริ่มต้นคลุมหิญาบได้อย่างไรค่ะ ความจริงแล้วตั้งใจจะคลุมหิญาบตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัยแล้วค่ะ แต่พอสักพักเราก็ ลืมความตั้งใจนั้นไป เป็นคนมีเพื่อนเยอะ ตอนเรียนมัธยมมีเพื่อนต่างศาสนิกทั้งนั้น ประมาณว่าเป็นมีมุสลิมแค่ 2 คนทั้งห้อง ในโรงเรียนมีมุสลิมน้อยมาก เราไม่มีสังคม 39


มุสลิมเลย พอเข้ามหาวิทยาลัยก็ได้เจอพี่น้องมุสลิมเยอะมากๆ เริ่มรู้สึกชอบสังคม แบบนี้ เวลาเห็นคนคลุมหิญาบก็รู้สึกชื่นชม อยากทําให้ได้บ้าง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้ น อย่างไรดี จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงล่ะ เริ่มต้นจากการค้นพบความขัดแย้งกับตัวเอง เดิมทีอยากจะเรียนที่มาเลเซียเพราะจะ ได้คลุมหิญาบ เพราะคนที่โน่นเค้าคลุมกัน เราเองก็จะได้คลุมไปด้วย อยากรู้ อยาก เรียนศาสนาเพิ่มด้วย แต่อัลลอฮฺก็กําหนดให้เรามาเรียนที่นี่ ความตั้ งใจเดิมดับวูบ ถามตัวเองว่า..เอ่อ ในมหาลัยนี่น่ะ เค้าเรียนศาสนากันที่ไหนหรอ? ก็เห็นว่ามีชมรม มุสลิม มีคนใส่หิญาบเดินไปเดินมาเยอะแยะ อยากรู้จักคนพวกนั้นจัง รู้สึกชื่นชม… ตอนนั้นจําได้ว่าเดินไปกรอกใบสมัครเข้าชมรมมุสลิมด้วยตัวเองเลย ไปแบบไม่คลุม หิญาบนี่แหละ (เอ่อ… แล้วไม่อายหรอค่ะ? ) อายค่ะ แต่คิดว่าตัวเองไม่ผิด ก็จะไม่ กลัวอะไร

กังวลมั้ยค่ะกับการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง กังวลค่ะ เพราะตอนนั้นไม่มีเพื่อนสนิทเป็นมุสลิมเลย และในชั้นปีเรา ไม่มีคนคลุม หิญาบ ถ้าจะคลุมก็คงเริ่มต้นเป็นคนแรกและอาจจะเป็นคนเดียว กลั ว กังวล แต่ใจ เดิมก็อยากคลุมอยู่ดี เลยชวนเพื่อนๆในชั้นปีคลุมหิญาบด้วยกัน(ประมาณว่าหาแนว ร่วม)...แต่คําตอบส่วนใหญ่คือเรายังไม่พร้อม..ตอนนั้นก็เริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองทีละ เล็กละน้อย เยอะขึ้น เลิกซื้อเสื้อแขนสั้น ซื้อแต่เสื้อแขนยาวแทน บอกเพื่อนสนิทว่า ต่อไปจะคลุมพยายามละหมาดให้หิญาบนะ บอกที่บ้านด้วยค่ะ จุดเปลี่ยนแปลงสาคัญคืออะไรคะ เริ่มต้นจากการละหมาดค่ะ ตอนเย็นๆชอบไปออกกําลังกาย ไปเต้นแอโรบิค พอออก 40


กําลังกายเสร็จก็จะรีบกลับมาละหมาดมัฆริบ แต่เพื่อนๆจะไปกินข้าวกัน นี่เป็นจุด แรกที่ ทํ า ให้ เ ราเห็ น ว่ า เวลาของคนที่ ไ ม่ ใ ช่ มุ ส ลิ ม กั บ มุ ส ลิ ม นั้ น ต่ า งกั น ตอนนั้ น พยายามละหมาดให้ครบ ทั้งตอนเที่ยง และตอนเย็น ตั้งใจไว้ว่าจะรักษาละหมาด 5 เวลาให้ครบให้ได้ แล้วจะ คลุมหิญาบทันที... คราวนี้เริ่มมีปัญหา เพราะเพื่อนสนิทถามว่า ‚ทําไมแกต้องละหมาดด้วย เมื่อก่อนไม่ เห็นต้องละหมาดก็ยังอยู่ได้เลย‛ จําได้ว่าตอนนั้นเราเสียใจมาก ถึงกับร้องไห้เลย เพราะไม่คิดว่าเพื่อนสนิทของตัวเองจะไม่เข้าใจ ตอนนั้นตอบเพื่อนกลับไปว่า..แกรู้ ได้ยังไงว่าเราไม่ละหมาด เมื่อก่อนตอนเราอยู่บ้านเราก็ละหมาด เราไม่ได้อยู่ด้วยกัน ตลอด 24 ชั่วโมงสักหน่อย... บวกกับช่วงนั้นเป็นเดือนรอมฎอน เราก็ไปละหมาดทั้งๆ ที่ไม่ได้คลุมหิญาบให้เรียบร้อย เห็นได้ชัดเจนเลยว่าเราแตกต่างกับคนอื่น รู้สึกไม่ดี เลยเวลามีคนมอง ทําให้เราตั้งคําถามกับตัวเองว่า ตกลงจะเลือกทางไหน จะเอา ยังไงกับชีวิตดี จะใช้ชีวิตสนุกสนานในมหาวิทยาลัย เเบบวัยรุ่นทั่วไป หรือถึงเวลา แล้วที่เราจะเริ่มต้นกับการเป็นมุสลิมที่ดี ตอนนั้นร้องไห้บ่อยมาก กลัวตาย เพราะยัง ไม่ได้คลุมหิญาบ ถ้าตายพรุ่ง นี้จะตอบอัลลอฮฺว่ายังไง เพราะเรารู้แล้วว่าอัลลอฮฺสั่ง ให้ทํา แต่เราไม่ยอมทํา ขอดุอาอฺกับอัลลอฮฺตลอด ขอให้เราเข้มแข็ง ขอให้เราทําให้ ได้ อย่าเพิ่งให้หนูตายตอนนี้เลย เจออุปสรรคมั้ยคะ แน่นอนหล่ะว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดคําถามจากผู้คนมากมาย...เพื่อนๆ ก็เข้ามาถามว่าทําไมต้องละหมาด ต้องคลุมหิญาบด้วย เมื่อก่อนไม่ทํายังอยู่ได้เลย ตอนนั้นรู้สึกเสียใจมาก เริ่มมั่นใจว่ายังไงเราก็ต้องแตกต่างกับเค้า ในเมื่อเราเป็น มุสลิม ตอนนั้นก็พยายามศึกษาอิสลามเพิ่มเติม ไปฟังบรรยายบ้าง อ่านหนังสือ ศาสนาบ้าง เข้าร่วมกิจกรรมของชมรมมุสลิมบ้าง เมื่อเรามีความรู้และมั่นใจในสิ่งที่ เรารู้ เมื่อนั้นศรัทธาของเราก็จะเข้มแข็งขึ้น ไม่ว่าจะเจออุปสรรคใดๆ ทําความผิดใดๆ ทําความดีใดๆ ก็มั่นใจว่าอัลลอฮฺนั้นอยู่กบั เรา ช่วยเหลือเรา ชีวิตในทุกวันนี้...ตอบคํา เดียวว่า อัลหัมดุลิลลาฮฺ 41


ฝากอะไรถึงพี่น้องมุสลิมะฮฺที่ยังไม่คลุมหิญาบบ้างคะ สวรรค์ของอัลลอฮฺนั้นราคาแพงค่ะ ทุกคน ทุกชีวิตต้องผ่านการทดสอบ วันนี้แค่ต่อสู้ กับตัวเองเท่านั้น เราต้องทําให้ได้ อัลลอฮฺรักคุณน่ะค่ะ ลองไปหาหนังสือศาสนามา อ่ า นเล่ น ๆสั ก เล่ ม จะเจอคํ า ถามที่ ต้ อ งตอบตั ว เองอี ก มากมาย ขออั ลลอฮฺ ท รง ช่วยเหลือน่ะค่ะ พึงระลึกไว้เสมอว่า ความตายนั้นใกล้เข้ามา และการฟื้นคืนชีพหลัง ความตายนั้นคืดความจริง อัลลอฮฺรักคนที่พยายาม สู้ๆน่ะค่ะ คุณแม่มือใหม่ ปิดหน้ามาหลายปีแล้ว วิกฤติของหิญาบคืออะไรคะ เกิดจากความไม่เข้าใจหิญาบและไม่พยายามทําความเข้าใจ ซึ่งปกติแล้วคนที่ยัง คลุมหิญาบไม่เรียบร้อย เวลาเห็นคนที่คลุมหิญาบผืนใหญ่ หรือเห็นคนที่ปิดหน้า.. แน่นอนว่าต้องเกิดคําถามกับตัวเองอยู่แล้ว ว่าหิญาบของเราแตกต่างกับของเค้า อย่างไร หนุ่มสาวสมัยนี้คลุมหิญาบตามความต้องการของตัวเอง แต่ไม่ได้ถูกต้อง ตามที่อัลลอฮฺสั่งใช้ คุณพ่อชานาญการ อยากบอกอะไรกับพี่น้องมุสลิมะฮฺที่ยังไม่คลุมหิญาบบ้างคะ อยากให้คลุมหิญาบทุกคนเลยนะ เมื่อก่อนภรรยาของบังก็ไม่คลุมนะ บังก็บอกให้ เค้าคลุมหิญาบให้เรียบร้อย...รีบคลุมสิ ต่อไปนะ จะรู้สึกได้เลยว่าเราปลอดภัย อบอุ่น สร้างความมั่นใจ ความเข้มแข็งให้กับตัวเอง คลุมหิญาบแล้วอัลลอฮฺจะยิ่งรัก เรามากขึ้นนะ น่าภูมิใจมากเลยนะ กับการได้เป็นที่รักของอัลลอฮฺน่ะ รีบคลุมหิญาบ เลยสิ คนชอบคิดการใหญ่ วันนี้อยากบอกอะไร กับพี่น้องมุสลิมะฮฺคะ 42


อยากบอกกับคนที่อยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง แต่คิดว่าตัวเองยังไม่ดีพอ มีหลายคนที่ คิดจะคลุมหิญาบหรืออยากปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการศาสนามากขึ้น แต่ก็กลั ว ถูกเพื่อนแซวว่า ‚เคร่ง‛ บ้าง ‚เดี๋ยวนี้เขาเปลี่ยนไปแล้ว‛ บ้าง และคําพูดอีกสารพัดที่ จะทําให้เราเสียความมั่นใจและล้มเลิกความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในที่สุด มี หลายคนอาจจะคิดว่าตัวเองยังไม่ดีพอ จึงละอายที่จะคลุมหิญาบผืนใหญ่เพื่อให้ ปกปิดมิดชิดไปจนถึงการคลุมหน้า พี่น้องค่ะ...แผนการของชัยฏอนนี่แนบเนียนและ แยบยลมาก ๆ เลย มันเป็นมารร้ายตัวจริงที่ชอบขัดขวางเราให้กลัวนู่น นี่จนเราไม่ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองและทําให้เรากลัวต่อการทําความดี จงระลึกไว้เสมอว่า ความดีใ หญ่ ๆ ก็ เริ่ มต้ นจากการทํา ดีที ละเล็ กละน้ อ ยนี่ แหละ การคลุ มหิ ญาบที่ ถูกต้องเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสําหรับมุสลิมะฮฺในการเปิดประตูสู่ความดีงามต่าง ๆ อีก เยอะเลย มั น จะช่ ว ยให้ เ รารั ก ษากิ ริ ย ามารยาท การวางตั ว และที่ สํา คั ญ คื อ จิ ต วิญญาณภายในของเราด้วย (อินชาอัลลอฮฺ) พี่สาว – น้องสาว น้องสาว: เธอ...มีเรื่องจะปรึกษาหน่อยสิ พี่สาว: อืมมม...ว่ามา น้องสาว: รู้สึกว่ายังไม่อยากคลุมหิญาบตอนนี้อ่ะ ยังไม่พร้อม พี่สาว: ทําไมเหรอ เห็นบอกพี่ ว่าสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้วจะคลุม ทําไมถึง เปลี่ยนใจล่ะ น้องสาว: ยังไม่อยากคลุมตอนนี้อ่ะ ก็คลุมหิญาบแล้วต้องเรียบร้อย ยังอยากทํา กิจกรรมโน่นนี่ รุ่นพี่ที่คณะเค้าบอกว่าคลุมหิญาบแล้วจะทํากิจกรรมลําบาก แล้วขึ้น แสตนด์เชียร์ก็ไม่ได้ ค่อยคลุมได้มั้ย? เทอมหน้าหรือปีหน้าได้มั้ย? พี่สาว: อืมม...แล้วไม่เสียดายเวลาที่ไม่ได้ละหมาดเหรอ? น้องสาว: ทําไมล่ะ? ทําไมถึงละหมาดไม่ได้? พี่สาว: การใช้ชีวิตในมหาลัยไม่ได้ง่ายอย่างที่เธอคิดหรอก การคลุมหิญาบจะช่วย 43


ดูแลและปกปฺองเธอ หิญาบจะบอกตัวเธอและบอกคนอื่นเองว่าเธอต้องละหมาด ต้องกินอาหารหะลาล เต้นไม่ได้ หรือเธอยังอยากทําความผิดแบบเดิม ผิดซ้ําๆ... บางที โอกาสในการแก้ไขก็อาจช้าไปนะ ใครจะไปรู้กําหนดของลมหายใจ น้องสาว: (ร้องไห้) พี่สาว: พี่บังคับให้เธอคลุมหิญาบไม่ได้หรอก มันเป็นเรื่องของเธอกับอัลลอฮฺ เธอก็รู้ แล้วว่าอัลลอฮฺสั่งให้ผู้หญิงมุสลิมแต่งตัวยังไง แต่พี่ขอพูดได้มั้ย ? ขอพูดในฐานะที่พี่ เป็นพี่สาวของเธอ เธอเป็นน้องสาวที่พี่จะต้องปกครอง พี่มีสิทธิพูดใช่มั้ย? น้องสาว: …อืม พี่สาว: พี่เสียใจนะที่เธอบอกแบบนี้ ผิดหวังด้วย คิดว่าเธอตั้งใจแล้ว ไม่น่าจะเปลี่ยน ใจ คิ ดว่ า เราจะช่ ว ยกั น ...อี ก หลายเรื่ อ งนะที่ เราต้ อ งเริ่ ม ต้ นและจริง จั ง ไม่ ใ ช่ แ ค่ หิญาบหรอกหรือเธอคิดว่าไง เรามีเวลาอีกนานงั้นเหรอ? การคลุมหิญาบเป็นเพียงการเริ่มต้นเล็กๆ แต่เป็นการเริ่มต้นของอะไรอีกหลายๆ อย่าง เดี๋ยวพอเธอคลุมหิญาบแล้วเธอจะเข้าใจเอง เธอเป็นลูกสาว ถ้าเธอไม่คลุม หิญาบนีน่ อกจากตัวเธอเองทําผิดต่ออัลลอฮฺ แล้วยังทําให้พ่อมีความผิดด้วยนะ ถ้า เธอคลุมหิญาบเรียบร้อย อย่างน้อยเธอก็จะได้ภูมิใจว่าตัวเองไม่ได้สร้างความผิด ให้แก่พ่อแม่ ..ลองคิดดูใหม่นะ คิดให้ดีแล้วค่อยมาบอกพี่ น้องสาว: (ร้องไห้) พี่สาว: (ฉันทําให้น้องสาวของตัวเองร้องไห้อีกแล้ว แต่เธอจะรู้มั้ยว่าฉันเองเจ็บปวด และเสียใจยิ่งกว่า เพราะไม่มีใครและผู้ใดจะปกปฺองเธอได้ นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น... ฉันแค่อยากบอกเธอถึงหนทางสู่ความรักของอัลลอฮฺ ก็แค่นั้นุเพราะฉันเองก็เดิน ลําพังไม่ไหวหรอก แค่อยากให้เธอเดินไปด้วยกัน...น้องสาวที่รักของฉัน)

44


นางสาวมะม่วงอายุ 22 ปี หิญาบมาเกือบ 4 ปี แล้วคะ ดูเหมือนว่ากว่าพี่จะได้คลุมหิญาบในทุกวันนี้ เป็นเรื่องยากมากเลยน่ะคะ ใช่เเล้ว การคลุมหิญาบเป็นเรื่องยาก ถึงเเม้ตอนนี้พี่จะคลุมหิญาบเเล้วก็ตาม ตอนปี หนึ่งพี่เคยคิดว่าการคลุมหิญาบเป็นเหมือนโจทย์คณิตศาสตร์ที่ยากเเสนยาก ตอนเริ่มต้นคลุมหิญาบทาอะไรอยู่ ตอนนั้ น นั่ ง อ่ า นวารสารอยู่ ใ นห้ อ งละหมาดคนเดี ย ว แล้ ว ก็ อ่ า นเจออายะฮฺ ห นึ่ ง ที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า “และโลกนี้มิใช่อื่นใดเว้น แต่เป็นการละเล่นและเป็นการ สนุกสนานรื่นเริง และแท้จริงโลกหน้านั้นคือชีวิตที่แท้จริงหากพวกเขารู้ ” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-อันกะบูต: 64) แค่นั้นก็คลุมเลยหรือคะ ก็ไม่ทันทีขนาดนั้นหรอกค่ะ ก็ตอนที่อ่านเจออายะฮฺนี้น่ะ เป็นช่วงสอบของปี1เทอม1 พอดี อ่านแล้วโดนใจ เพราะที่พี่ยังไม่คลุมไปเรียนนั้นด้วยกลัวว่าถ้าคลุมไปเรียนแล้ว คือคลุมจริง คลุมตลอด ถ้าไปเที่ยวทะเลก็จะเล่น น้ําไม่สนุก ถอดหิญาบไม่ได้ ใส่ชุด ว่ายน้ําไม่ได้ มีคอนเสิร์ต งานดนตรี งานรื่นเริงก็ไปไม่ได้ ถ้าไปแล้วคลุมหิญาบอยู่ก็ คงจะแปลกมากสิ(ยิ้ม) งงจังเลยค่ะ พี่พูดเหมือนกับว่าในตอนนั้นพี่พร้อมที่จะคลุมหิญาบแล้วแต่ยงั ไม่คลุม เพราะกลัวจะเที่ยวไม่สนุก น้องเข้าใจถูกแล้วจ๊ะ ตอนเข้ามาปี 1 พี่ก็ไม่เคยคิดว่าพี่จะใส่หิญาบ แต่ทุกงานชมรม ที่มีคนชวน พี่ก็จะไป ถ้าไม่มีใครชวนพี่ก็ไม่ไป บางครั้งที่ไปก็คลุมหิญาบ บางครั้ง ก็ไม่คลุม เวลาที่ไม่คลุมก็จะมีคนมองมาก ตอนนั้นพี่ก็เขินๆ แต่คิดว่ามาแล้วก็ต้อง เข้าไป คงไม่มีใครคิดจะมีปัญหา และผลออกมาก็ดีนะ มีคนเข้ามาทําความรู้จักกับพี่ หลายคน คงประมาณว่าอยากให้พี่คลุมมั้ง และก็ให้ผ้าคลุมผมพี่ ให้หนังสือศาสนา พี่ พี่ก็อ่าน ในตอนแรกอ่านแล้วพี่ก็ไม่รู้สึกอะไรกับข้อความในนั้นนะ แต่คนที่ให้พี่มา มักจะบอกว่าเล่มนั้นดีมาก เล่มนี้ อ่านแล้วซึ้ง พี่เลยอ่านใหม่ ให้รู้สึกอะไรบ้างให้ได้ แต่ที่พี่ได้มาคือความเจ็บที่หัวใจ แน่นหน้าอกไปหมด แต่ก็แป฻ปเดียว เช้าไปเรียน… 45


พี่ก็เป็นผู้หญิงเฉยๆเหมือนเดิม เอ่อพี่คะ...พี่ตอบไม่ค่อยจะตรงคาถามเลยคะ มาอัฟด้วยจ๊ะ เริ่มถึงช่วงที่พี่เป็นโรค(หิญาบ)ลักปิดลักเปิดแล้วกัน คือคลุมเฉพาะ นอกห้องเรียนน่ะ ก่อนจะเริ่มเป็นโรคนี้ ก็บอกเมทว่าเราจะคลุมหัวแล้วนะ กลางคืน ก็เอาผ้าคลุมมาลองใส่ ให้เมทช่วยติดเข็มกลัดบ้าง ช่วยดูให้บ้างว่ าสวยมั้ย และก็ใส่ ในห้อง เมทถามว่าไม่ร้อนหรือ พี่ก็บอกว่าร้อน เลยอยากให้ชิน ช่วงนั้นก็บอกเพื่อน เรียนในกลุ่มด้วย เค้าก็ไม่ได้ว่าอะไร และเพื่อนในกลุ่มก็เห็นว่าเราไปงานชมรมบ่อย สนิทกับพี่ๆมุสลิมหลายคน เค้าก็คงเข้าใจว่าทําไมเราอยากจะคลุม เป็นอย่างนั้นซัก เดือนหนึ่งได้มั้ง ก็เริ่มใส่ออกข้างนอก ไปกินข้าว ไปตลาด ไปห้าง แต่ยังไม่ใส่ไปเรียน ใส่ตอนแรกเขินมาก เจอเพื่อน เพื่อนก็จําไม่ได้อีก แต่พี่คิดว่าถ้าเพื่อนจําไม่ได้มองไม่ เห็น พี่ก็จะทัก เพื่อนจะได้รู้ว่าพี่มีการเปลี่ยนแปลง(ยิ้ม) และเพื่อนก็น่ารักกว่าที่คิด มาก และก็ถามนู่นถามนี่ตามที่สงสัย พี่ก็ตอบจริงจังบ้าง เล่นๆแต่จริงบ้าง แล้วแต่ สถานการณ์หรือคนถามไป พี่ยังตลกตัวเองเลยตอนนั้นไม่รู้คิดได้ยังไงว่าคลุมแล้วจะ สนิทกับเพื่อนน้อยลง คลุมแล้วเพื่อนจะไม่อยากคบ การเรียนจะมีปัญหา แต่ถึงคิด อย่างนั้นพี่ก็ยังคลุมลักปิดลักเปิดต่อไป เพราะไม่อยากมีอาหารแน่นหน้าอก หายใจ อึดอัด เวลาละหมาดหรือขอดุอาอ์อีก ทาไมแน่นหน้าอก หายใจอึดอัดละคะ ก็พี่รู้สึกไม่ดีนี่นา เป็น มุสลิม รู้หลักการศาสนาเรื่องคลุมหิญาบนี้ดี สังคมไม่ได้ห้าม คลุม ในสังคมมีคนคลุมหิญาบอยู่จริงๆแต่พี่ไม่ยอมคลุม ไปมองว่ามีคนไม่คลุมตั้ง เยอะแทน คนในชมรมก็ชอบว่าพี่ด้วย รู้ตัวหรือเปล่าว่าทําให้พี่เจ็บ แต่ถ้าพี่ไม่เจ็บพี่ ก็คงยังไม่คลุม พี่ดีใจมากที่คําตักเตือนทําให้พี่รู้สึกเจ็บ เจ็บแน่นในหัวใจ เพราะมัน คือ สิ่ ง ที่ แ สดงว่ า คํ า ตั ก เตื อนนั้ น ไม่ ได้ เ ข้ า หู ซ้ า ยทะลุ หูข วาและพี่ มี โอกาสสู ง ที่ จ ะ ประสบความสําเร็จในการเปลี่ยนแปลง ตอนที่มั่นใจว่าจะคลุมทาไงบ้างคะ พอพี่ได้อ่านเจออายะฮฺนั้นแล้ว ก็ตั้งใจว่าจะคลุมหิญาบตอนปิดเทอมหรือจะเรียกว่า 46


เริ่มใส่มาเรียนตอนเทอม 2 พอพี่คิดได้ปุ฻ปพี่ก็ไปบอกเพื่อน บอกพี่ บอกที่บ้านถึง ความตั้งใจนี้ทันที บอกทุกคนเท่าที่จะบอกได้ เพราะพี่กลัวว่าถ้าพี่รู้อยู่คนเดียว พี่ก็ จะอ่อนแอและล้มเลิกไปอีก ในตอนนั้นก็มีหลายคนถามพี่ว่าทําไมไม่เริ่มคลุมทันที เลยล่ะ จะได้มั่นใจชัวร์ๆว่าคลุมเป็นปัจจุบันไม่ใช่อนาคต พี่ก็บอกไปว่าพี่ตั้งใจจะ คลุมเทอมหน้า ให้สอบเทอมนี้เสร็จก่อน ก็อีกประมาณสี่ห้าวัน แล้วก่อนหน้านี้ไม่เคยมีคนถามพี่หรือคะ ว่าทาไมไม่คลุม มีจ๊ะ พี่ตอบไปหลายแบบ แต่แบบหนึ่งที่พี่จะหลีกเลี่ยงไม่ตอบเลยก็คือ การตอบว่า ยังไม่พร้อม เพราะมันไม่ใช่คําตอบที่จะยุติการสนทนาได้ แต่มันคือคําตอบที่ใช้สร้าง คําถาม ทําไมไม่พร้อม แล้วจะพร้อมเมื่อไหร่ ไม่พร้อมอย่างไร ยิ่งฟังก็ยิ่งยุ่งยากใจ พี่ ไม่ค่อยชอบคําถามเหล่านี้นักเพราะพี่คิดว่าทุกคนที่คลุมคือทุกคนที่พร้อม เเต่พี่ก็ พยายามที่ จ ะแก้ โ จทย์ ใ ห้ ไ ด้ เพราะพี่ รู้ ว่ า ทุ ก โจทย์ มี คํ า ตอบเสมอ และเราไม่ จําเป็นต้องแก้โจทย์เพียงลําพังคนเดียว เราสามารถขอคําแนะนําหรือปรึกษาจากคน ที่รู้มากกว่า คนที่เชี่ยวชาญกว่าหรือเเม้แต่คนที่อ่อนด้วยกว่าได้ แล้วอัลลอฮฺก็จะช่วย ให้เราแก้โจทย์นั้นได้สําเร็จเเน่นอน อินชาอัลลอฮฺ ... ก็จริงนะคะ เหมือนหลังสอบ อาจารย์ถามว่าข้อสอบเป็นไงบ้าง เเม้เเต่คนที่ได้คะเเนนเต็มก็ยังบอกว่าข้อสอบยาก เเสดงว่าข้อสอบยากไม่ได้แปลว่าต้องทํา ไม่ได้ เเละคนที่ทําได้ก็ต้องอัลหัมดุลิลลาฮฺ จ๊ะ งั้นพี่ขอตัวก่อนนะ อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮฺ

47


โอ้บรรดาพี่น้องมุสลีมะฮฺที่รักของฉัน ชีวิตเดินทางมาก็ไกลมากแล้ว ที่ยังต้องเดินต่อไปนั้นก็ไกลมากพอตัว เธอเก็บเกี่ยวสิ่งใดไปเล่า...ระหว่างการเดินทางนี้ เพื่อนฝูงมากมาย..รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ควาสนุกสนาน ตาแหน่ง หน้าที่การงาน หรือความมั่งคั่ง เธอหลงลืมสิ่งใดไปเล่า..ระหว่างการเดินทางครั้งนี้ ความยาเกรง ความภักดี บทบาทและหน้าที่ของบ่าวผู้ศรัทธา หากโอกาสในการเริ่มต้น หรือ การแก้ไขปรับปรุง ..หมดลง ณ วินาที ณ วันข้างหน้านั้น เธอจะยืนขึ้นตอบคาถาม เบื้องหน้าพระผู้อภิบาลของทุกลมหายใจ เช่นไรกัน? ฉันเองหวังว่าหิญาบจะปกป้องเธอและฉัน ... อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ ขอบคุณข้อมูลทั้งหมดทั้งมวลจาก : - หนังสือพิมพ์ทางนําหลายฉบับ โดยเฉพาะ เมษายน 2531 - www.midnightuniv.org และผู้แบ่งปันเรื่องราวดีๆทุกคน

48


เพราะมัน อัลมีม

 ฉันใส่หิญาบ... เพราะมันทาให้หน้าฉันยาวขึ้นและสว่างขึ้น เพราะมันทาให้ผมฉันไม่ต้องเจอกับฝุ่นละออง เพราะมันทาให้ทที่ างานองค์กรมุสลิมบางที่รับฉันเข้าทางาน เพราะมันทาให้พ่อแม่และญาติๆฉัน ไม่ต้องโดนนินทา เพราะมันเป็นสิ่งที่ใครๆแถวๆบ้านฉันเขาก็ทากัน เพราะมันทาให้มุสลิมีนดีๆ สนใจ เพราะลวดลายของมันทาให้ฉันดูเด่นจรัสขึ้น เพราะมันทาให้ฉันเป็นคนที่ดูเคร่ง ดูเป็นคนอยู่ในศาสนา ...ถ้ามันมีชีวิต มันคงร้องไห้ ที่มนั เปลี่ยนหน้าที่ของตัวเองไม่ได้ ทั้งๆที่ตวั มันเองมีไว้ เพื่อที่จะได้ปกป้องอิสตรีแห่งอัลอิสลามและคงไว้ในความความบริสุทธิ์ เพื่อที่จะได้เป็นเครื่องหมายแห่งอัลอิสลามที่จะประกาศศักดาบนหน้าแผ่นดิน เพื่อที่จะได้คอยเป็นสิ่งที่ควบคุมอารมณ์จิตใจของมุสลิมะฮฺผู้ซงึ่ ใช้มันด้วยความจริงใจ เพื่อที่จะได้ลดการก่อฟิตนะฮฺทั้งจากเธอและเขา เพือ่ ที่จะได้คอยย้าเตือนเธอว่าเธอคือหญิงผูศ้ รัทธาต่อพระองค์ผู้เป็นเจ้าของชีวติ เพื่อที่จะได้เหนีย่ วรั้งเธอจากการทาบาป ณ ทีแ่ จ้งและสะกิดใจเมือ่ คิดจะทาผิด ณ ที่ลับ สุดท้าย เพื่อการแสดงถึงการยอมจานนต่อบัญชาต่างๆ ของผูท้ รงเมตตา ผู้ทรงรู้จักมนุษย์ดียิ่ง ผูท้ รงรู้ว่าอิสตรีต้องทาอย่างไรเพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่น เพราะพระองค์เป็นผู้สร้าง แล้วไยสิ่งที่กาหนดมาให้จะไม่ใช่สิ่งทีด่ ีสุดกับมนุษย์ ทาเพื่ออะไร... สาคัญกว่า ทายังไง ทาตอนไหน ทาได้แค่ไหน แค่เปลี่ยนเนียต ผลที่ได้ก็ต่างกันลิบลับ อย่าลืมว่า... ชัยฏอนมันเฝ้ารอทีเผลอและมันย่อมไม่ยอมที่จะตกนรก โดยไม่ดึงขาของลูกหลานอาดัมลงไปด้วย 49


50


เ รื่ อ ง สั้ น ส ะ กิ ด อี ม า น

มอกต้า ลูบิส เขียน I กันยารัตน์ ปฐมกุลมัย แปล

 ตลอดหนึ่งสัปดาห์เต็ม ทั่วทั้งหมู่บ้านเซ็งแซ่กันด้วยเสียงเล่าลือ ทั้งผู้เฒ่า ผู้แก่ นักปราชญ์ราชบัณฑิต ครูประจําหมู่บ้าน ท่านลูเราะห์(ผู้ใหญ่บ้าน) รวมไปถึง บริวารสานุศิษย์ทั้งชายและหญิง ไม่เว้นกระทั่งลูกเล็กเด็กแดง ต่างโจษจันกันแต่เรื่อง นี้ไม่หยุดไม่หย่อน “อื้อฉาวเหลือเกิน” ฮัจญีอังโกสเอ่ยขึ้น “น่าขายหน้าเหลือทนแล้ว” ลูเราะห์เสริม “มันลบหลู่กันชัดๆ” ฮัจญีอับดุลเลาะห์แกว่งไม้เท้าซึ่งทําจากไม้มะเกลืออยู่ ร่าๆ เครายาวเฟื้อยสีดอกเลาพลอยสั่นด้วยความโกรธจัด น้ําใสๆคลอหน่วยตาฝฺา ฟางทั้งสอง “มันเท่ากับหมิ่นศาสนาของเราด้วย” ฮัจญีอับดุลเลาะห์กระแทกเสียงหนัก “ไอ้พวกนอกศาสนามาบังอาจแอบอ้างเรียกตัวเองว่ามุสลิมรุ่นใหม่ ที่แท้ก็ 51


พวกสันดานปูาเถื่อนไม่ผิดเดรัจฉาน” เฒ่าฮัจญีอับดุลเลาะห์สบถต่อ เงื้อไม่เท้าในมือ ฟาดไปที่โต๊ะดังโครม ลูเราะห์สะดุ้งโหยงอย่างลืมตัว “ผมเห็นต้องหมดอาชีพกันคราวนี้ ” นายปักเคนตงครวญน้ําเสียงละห้อย ด้วยความสิ้นหวัง “หมู่บ้านของเราคงหมดชื่อเสียงไปด้วย” ลูเราะห์กล่าวเสียงเศร้า “คนจากหมู่บ้านอื่นคงเลิกมาที่นี่ พวกเรามีหวังเสียรายได้หมดทางทํามา หากิน” ปักเคนจิล พ่อค้าคนหนึ่งในหมู่บ้านรําพันอีกราย “ฉิบหายวายวอด” ลูเราะห์พร่ําบ่นเล่า จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว “พวกท่านเห็นไหมว่ามันบังอาจเอาต้นไม้ของพวกคริสเตียนมาปลูกรอบ มัสยิดของมัน” ปักเคนจิลถามเสียงสั่นเครือ “ไอ้พวกนอกศาสนาจัญไร” ฮัจญีอังโกสหลุดคําผรุสวาทด้วยความคั่งแค้น “แกรู้ ห รื อ ยั ง ว่ า พวกนั้ น จะย้ า ยหลุ ม ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ จ ากยอดเขาแล้ ว ” เด็ ก ชายอะมัต บุตรของรูเลาะห์ เอ่ยกับอันจาเพื่อนคู่หู “พ่อฉันบอกว่า พวกนั้นมาแจ้งเรียบร้อยแล้ว ว่าจะลงมือเปิดหลุมศักด์สิทธิ์ แล้วขุดเอากองกระดูกของท่านคไย(โต๊ะครู) ฮัจญี เมาลานา อาราเบีย ออกมา” “เรื่องอะไร ทําไมต้องทําอย่างนั้น” อันจาร้องถาม “พ่อฉันบอกว่า พวกนั้นจะสร้างมัสยิดบนยอดเขานั้น ” เด็กชายอะมัตเริ่ม รู้สึกสําคัญตัวเอง เด็กอื่นๆเข้ามาร่วมวงด้วย แม้แต่พวกที่โตเป็นหนุ่มจํานวนไม่น้อย ก็อุตส่าห์เข้ามาฟัง เด็กน้อยยิ่งทะนงตนเป็นกําลัง “พ่อฉันเล่าว่า พวกนั้นได้กว้านซื้อที่ดินบนเขาทั้งสามลูกกับที่ดินผืนใหญ่ เลี ยบแม่ น้ํา พ่ อ บอกว่ า พวกนั้ น กํา ลัง จะสร้ างมั ดรอซะฮ์ สมั ยใหม่ ( โรงเรีย นสอน ศาสนา) ชนิดไม่ได้สอนกันแค่คัมภีร์กุรอ่าน แต่ยังสอนวิชาทันสมัยอะไรต่อมิอะไรอีก” “ที่แกว่าวิชาทันสมัย มันอะไรกันวะ” เสียงหนึ่งถามทะลุกลางปล้อง “ฉันไม่รู้เหมือนกัน ” เด็กน้อยอะมัต สารภาพตามตรง ในใจนึกฉุ นที่โดน คําถามยากๆแบบนี้ 52


“แต่ฉันรู้แน่อย่างหนึ่ง” เจ้าหนูวางมาดกล่าวต่อ “ว่าพวกนั้นต้องการย้าย หลุมศักดิ์สิทธิ์ออกจากยอดเขาให้ได้ พวกนั้นจะสร้างมัสยิดขึ้นแทนที่” “เสี่ยงตายเชียวนะ” เด็กอีกคนว่า “พวกมันมีหวังไม่รอด ขืนดันทุรังทําอีก” “นั่นมันของแน่ พวกมันรูร้ ึเปล่า นั่นเป็นหลุมฝังศพศักดิ์สิทธิ์” อีกเสียงซักต่อ “พวกนั้ น คงไม่ รู้ เ รื่ องราวของคนขาวที่ ทํา ยโสไม่ ยอมก้ ม หั ว เคารพหลุ ม ศักดิ์สิทธิ์ ถึงขนาดคนขาวยกตีนขวาเหยียบบนแท่นหินที่ปักหน้าหลุม ไม่กี่วันหลัง จากนั้น คนขาวมีอันเป็นไปทันตาเห็น” เจ้าหนูอะมัตกล่าว “แล้วเรื่องแก่แฮมซัลที่ทําผิดสาบานต่อหน้าหลุมศักดิ์สิทธิ์ลงท้ายต้องตาย ตามนั้นอีก” อันจาเสริม “ยังอีกปาฏิหาริย์ร้อยแปดของหลุมศักดิ์สิทธิ์ล่ะ”สหายร่วมวงอีกคนว่า “เออ ถูกของเอ็ง แม่ข้าไปบนบานหน้าหลุมเหมือนกัน หลังจากนั้นอาทิตย์ เดียวปู​ูข้าก็ตาย แม่ข้าเลยได้ครองที่นามหาศาลสบายสมใจ” “พวกแกจํานางซีตี เอจาห์ได้ไหม” ชายหนุ่มผู้หนึ่งเอ่ย ‚แม่นั่นอยู่กับพ่อ เฒ่าฮัจญีอังโกสมาเกือบห้าปีดีดัก ยังไม่มีลูกกับเขา ฝูายผัวจะหาเรื่องหย่าขาดแล้ว ดีที่แม่นั่นไหวตัวทัน ไปบนขอลูกกับหลุมศักดิ์สิทธิ์ ไม่ถึงปีเท่านั้น ก็ออกลูกเป็นผู้ชาย ดูท่าทางแข็งแรงเสียด้วย‛ ‚แล้วใครจะไปรู้‛ เจ้าหนูอะมัตกล่าวด้วยมาดสําคัญตนเช่นเดิม ‚ว่าการ ย้ายหลุมแบบนั้น มันจะไม่ชิบหายมาถึงพวกเรา ถึงหมู่บ้านของเราด้วย‛ ถ้อยคําของ ต้นทําเอาทุกคนขนลุกขนพอง แม้แต่เด็กเล็กที่ไม่ประสีประสายังก่นสาปแช่งพวก นอกศาสนาไม่ขาดปาก พวกมันจะเคลื่อนย้ายหลุมศักดิ์สิทธิ์ไปไม่ได้เป็นอันขาด เรา ยอมไม่ได้ สําหรับพวกผู้หญิงในหมู่บ้าน พวกหล่อนต่างร้อนรนกับข่าวลือ แทบไม่เป็น อันกินอันนอน ถ้าหากหลุมศักดิ์สิทธิ์ถูกรื้อจริง ความศักดิ์สิทธิ์จะไม่เสื่อมไปด้วยหรือ แล้วพวกหล่อนจะมีสิ่งใดเป็นที่พึ่งในยามยากเล่า อาทิเช่น ในเวลาจะมัดใจสามีให้ อยู่มือ จะจับหนุ่มเหน้าสักคนให้อยู่หมัด จะปรารถนาคู่ครองร่วมทุกข์สุขสักคน จะขอ 53


ลูกสืบวงศ์ตระกูล จะขอฝนฟฺาให้ตกต้องตามฤดูกาล จะขอให้พืชพันธุ์ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ หรือจะขอให้ปลอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งกายใจ เท่าที่พวกหล่อนจําความได้ หลุมศพศักดิ์สิทธิ์ได้มีอยู่ ณ ที่นั้นมาแต่ไรแล้ว มีผ้ายันต์เหลืองอร่ามคลุม มีตระกูลเคนตงคอยอุปถัมภ์มาตลอดหลายชั่วอายุคน สําหรับพวกเขาและชาวบ้านทั้งหมด หลุมศักดิ์สิทธิ์นั้นคือ สัญลักษณ์แห่งความเป็น อมตะ ไม่ใช่เพียงสัญลักษณ์เลื่อนลอย แต่เป็นที่พึ่งพิงจริงๆ ที่พึ่งพิงในยามทุกข์เทวษ และยามที่ไม่มีสิ่งใดแน่นอนมั่นคง มันได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตเสียแล้ว มั น มี ค วามหมายต่ อ ชี วิ ต ของพวกเขาเหลื อ เกิ น บั น ดาลพร้ อ มทั้ ง ความอุ่ น ใจ พละกําลัง ความหวังเรืองรอง และความใฝูฝันนานัปการ มาขณะนี้ คนแปลกถิ่นได้อุกอาจมาเปิดหลุม ศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขา ยอม ไม่ได้ เป็นตายร้ายดีจะปล่อยให้เหตุการณ์นั้นอุบัติขึ้นไม่ได้เป็นอันขาด 2 ที่บ้านของลูเราะห์ ที่ประชุมผู้อาวุโสประจําหมู่บ้านได้เห็นพ้องต้องกันว่า ทั้งหมดจะต้องร่วมกันต่อต้านแผนการอุบาทว์ของพวกมันให้ถึงที่สุด ตกลงกันว่าจะ ส่งลูเราะห์และฮัจญีอังโกส ผู้อาวุโสที่สุดทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิเป็นตัวแทนไปเจรจา กับคนแปลกหน้า ถึงวันที่กําหนด ลูเราะห์และเฒ่าฮัจญีอังโกสจึงพากันไต่เขานอกตัวหมู่บ้าน ขึ้น ไปพบนายซานุ ซี หนุ่ มฉกรรจ์ วั ย ๓๖ ปี สองผู้เ ฒ่ าเดิ นทางไปถึ งยอดเขาที่ ประดิษฐานหลุมศักดิ์สิทธิ์ เห็นซานุซีกําลังคุมงานปลูกต้นไม้ของพวก คริสเตียนง่วน อยู่จึงแผดเสียงโหวกเหวกแทนคําทักทายออกไป แต่โดยเหตุที่เจ้าของเสียงหายใจ หอบด้วยความเหนื่อยจากการปีนเขา ประกอบกับเสียงกระหึ่มของรถแทรกเตอร์ที่ กําลังโกยดินลงหุบเขาด้านล่าง ซานุซีจึงไม่ทันได้ยิน ชายหนุ่มเงยหน้าขึ้น ดูด้วยอาการสะดุ้งเล็กน้อย ทั นทีที่ได้ยิน เสียงกล่า ว สวัสดีของลูเราะห์กับฮัจญีอังโกสว่า ‚อัสลามุอลัยกุม‛ (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) 54


สองเฒ่าอวุโสยิ้มกริ่มชอบใจ ที่เห็นอาการเลิ่กลั่กของชายหนุ่ม ด้วยต่าง อ่านใจแทงตลอดถึงความรู้สึกผิดของซานุซี ‚เรามาที่นี่ เพื่อเจรจาเรื่องหลุมศักดิ์สิทธิ์ กับคุณ เราเป็นตัวแทนของคนทั้งหมู่บ้าน และเรามาอย่างมิตร‛ ลูเราะห์กล่าวอย่างมี พิธีรีตองพลางปั้นท่าหยิ่งผยอง ซานุซีตัวตรง รีบปัดถูมือกับกางเกงใส่ทํางานสีน้ําเงินแล้วยื่นมือสัมผัสตอบ ‚อลัยกุมุสลาม‛ เขาดัดเสียงขึงขังเลียนแบบอีกฝูาย ‚ผมยินดีที่ท่านอุตส่าห์เดินทาง มาขอเจรจาอย่างมิตร ผมเองปรารถนาใคร่จะได้พบปะชี้แจงเจตจํานงและโครงการ ของทางพวกผมให้ชาวบ้านได้รับทราบโดยถ้วนหน้า โดยเฉพาะแก่ท่านผู้อาวุโสทรง เกียรติเช่น ท่านลูเราะห์ ผู้เป็นที่นับหน้าถือตา และท่านฮัจญีผู้รอบรู้ และพวกผมเอง ก็ปรารถนาสันติ และความร่วมมือจากหมู่บ้านดุจเดียวกัน‛ ชายหนุ่มขอให้ผู้เฒ่าตามเขาไปเรือนพักชั่วคราว อีกด้านหนึ่งของเนินเขา ลูเราะห์และฮัจญีเหลียวกลับไปดูหลุมศักดิ์สิทธิ์ ลักษณะของมันบ่งบอก คุณค่าและราศียิ่งนัก หลุมนั้นสร้างขึ้นด้วยหินสีเทาคล้ําจากท้องแม่น้ํา บัดนี้ เริ่มมี ตะไคร่น้ําจับเขียวเป็นพรืด ยิ่งพิศดูยิ่งขลังน่าเกรงขามและแฝงเร้นอํานาจลึกลับ มากกว่าเดิม เหนือหลุมศพผ้ายันต์สีเหลืองถูกกางขึงกับไม้สลักเสลาอย่างวิจิตร บรรจงปักไว้สี่ทิศ เครื่องเซ่นสักการะ มีไข่ไก่, มาลัยดอกมะลิ, และดอกกระดังงาวาง เกลื่อนกลาด ในขณะที่ธูปในกระถางลุกแดงตลอดเวลา บริเวณใกล้เคียงกัน มีต้น ลั่นทมต้นใหญ่ผูกล่ามด้วยแพะสามตัวอันเป็นของถวายจากฮัจญีมีอันจะกินท่าน หนึ่งจากหมู่บ้านอื่น บางคราลูกไก่เป็นๆจะถูกนํามาเซ่นไหว้ แต่มีชีวิตอยู่หน้าหลุมได้ ไม่ทันข้ามคืน ก็มีอันต้องหายลงหม้อของปักเคนตง หรือโต๊ะครูในหมู่บ้านไม่คนใด คนหนึ่ง คนเหล่านี้สามารถจัดระบบแบ่งสันปันส่วนของบูชาที่มีราคาค่างวดกันอยู่ ดี อย่างเช่นเงินเหรียญ ธนบัตร ผ้าเป็นชิ้น ตลอดจนลูกไก่และแพะเซ่นสารพัด ปักเคนตงจะวางท่านั่งสํารวมข้างหลุมศักดิ์สิทธิ์ ก้มหน้าสวดคัมภีร์กุรอาน ตามภารกิจของผู้อุปถัมภ์สืบต่อจากบรรพบุรุษอย่างเคร่งครัด ภาพตระหง่านงามที่ปรากฏตรงหน้ายิ่งเพิ่มพูนความเด็ดเดี่ยวของผู้อวุโสใน 55


การปกปฺองหลุมศักดิ์สิทธิ์ชนิดไม่คิดชีวิต ทั้งสองถอนใจเฮือกหนึ่ง แล้วจึงลากเท้า ตามซานุซีไปยังเรือนชั่วคราว ภายในนั้น มีโต๊ะเก้าอี้วางโหรงเหรงนับตัวได้ แบบ แปลนแผนผังตัวอาคาร ถนน และต้นไม้วางกางอยู่บนโต๊ะ ซานุซีจัดแจงเก็บโต๊ะตัว หนึ่งให้เข้าที่เข้าทาง ยกเก้าอี้ให้ผู้มาเยือนท่าทางปั้นปึ่งนั่ง ชายหนุ่มทรุดตัวลงนั่งด้วย พลางยื่นบุหรี่ส่งให้ด้วยอาการอ่อนน้อม สองผู้ อาวุโสปฏิเสธแบบผู้ดีออกไป ด้วยไม่สนิทใจที่จะสูบบุหรี่ของคู่ปรับ ทั้งสองปฏิเสธอย่างสุภาพ โดยอ้างเหตุผลว่า ไม่คุ้นเคยกับรสชาติยาสูบใน เมืองเนื่องจากชินกับยาสูบที่ม้วนใบจากเสียแล้ว ‚ในฐานะตัวแทนของสาธุชนชาวจิกูนิง (แปลว่าแม่น้ําเหลือง)‛ ลูเราะห์เริ่ม การเจรจา ‚เรามาที่นี่ เพื่อขอร้องคุณด้วยความจริงใจ ให้ระงับการเคลื่อนย้ายหลุม ศักดิ์สิทธิ์เสียเถิด รังแต่จะรบกวนดวงวิญญาณของท่านโต๊ะญีเมาลานา อาราเบีย เดือดดาลคนทั้งหมู่บ้าน ทั้งตัวคุณเอง และครอบครัวญาติมิตรจะพลอยวิบัตไิ ปตามๆ กัน เราใคร่ขอเตือนไว้‛ ‚ผมทราบดี และขอขอบคุณในคําเตือนด้วยความบริสุทธิ์ใจของท่าน‛ ซานุซีตอบอย่างขึงขัง ‚ท่านจะกรุณาเล่าความเป็นมาของหลุมศักดิ์สิทธิ์ ให้ผมบ้างได้หรือไม่‛ ‚อือม์ อือม์‛ ฮัจญีอังโกสกระแอมตามแบบฉบับของเจ้าตัว ฮัจญีรอบรู้ประวัติเบื้องหลังหลุมศักดิ์สิทธิ์นี้ตลอด แกจะยอมถ่ายถอดให้ เจ้าหนุ่มผู้โอหังดูสักครา ‚เรื่องมันยาว‛ ฮัจญีอังโกสกล่าวอย่างสําคัญตน ‚หลุมนี้อายุเก่าแก่นมนาน เกิ น กว่ า ที่ ใ ครในหมู่ บ้ า นจะบอกได้ ว่ า มี ถิ่ น กํ า เนิ ด มาแต่ ค รั้ ง ใด มั น ต้ อ งนานนั บ ศตวรรษทีเดียวสมัยที่ชาวเกาะชวายังหลงบูชาผีสางเทวดากันอยู่ มีนักบวชท่านหนึ่ง จากดินแดนอาราเบีย นําเอาศาสนาอิสลามาสู่พวกเรา ท่านผู้นี้มีนามว่า โต๊ะญี เมา ลานา อาราเบีย แต่กระนั้น ยังมีผู้ไม่ยอมเชื่อท่าน คอยแต่ท้าพิสูจน์ให้ปรากฏแก่ตา คุณต้องรู้ก่อนว่าครั้งกระโน้น น้ําในแม่น้ํายังใสสะอาด อยู่มาวันหนึ่ง มีชาวบ้านอาจ 56


หาญไปลองดีท่านโต๊ะญีอีก ท่านโต๊ะญีสวดอ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้าให้ดลบันดาลน้ํา ในแม่น้ําเป็นสีเหลือง เล่นเอาใครต่อใครสิ้นพยศไปตามๆกัน คุณคงเห็นว่า น้ําใสๆ กลายเป็นสีเหลืองขุ่นไปทั้งสาย มาจนกระทั่งทุกวันนี้หมู่บ้านของเราเลยได้รับขนาน นามว่า “จิกูนิง” ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านทุกคนจึงเปลี่ยนมานับถืออิสลาม ท่านโต๊ะญียัง ได้สําแดงอภินิหารอีกมากมาย ด้วยบารมีพระผู้เป็นเจ้า ท่านเป็นที่ยกย่องนับถือใน ฐานะผู้เนรมิตสายฝนในยามแล้งและประทานบุตรแก่สามีภรรยาที่เป็นหมัน ท่าน สามารถเดินทางไปกลับนครมักกะฮ์ได้ในเวลาชั่วพริบตา สิงสาราสัตว์ในพงพีมิกล้า กล้ํากรายท่านแม้เพียงเส้ นผม บรรดาอสรพิษและแมลงปูองไม่เคยฉกกัดท่านเลย ท่านคือนักบุญผู้ประเสริฐสุดโดยแท้ วันที่ท่านสิ้นลมปราณท้องฟฺาพลันมืดมิดไร้แสง ตะวันทั้งวัน เขาฝังศพท่านไว้บนยอดเขานี้ หลุมศพของท่านจึงได้เป็นที่สักการบูชา มาจนถึงทุกวันนี้ เราจะสาธยายปาฏิหาริย์ต่างๆ ของหลุมฝังศพให้ฟัง...” ซานูซียกมือห้าม และเผยยิ้มตามมารยาท “ผมรู้สึกเป็นพระคุณอย่างสูงที่ ท่านได้กรุณาเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง แต่ถึงอย่างไร พวกผมก็จําเป็นต้องเคลื่อนย้าย หลุมนี้อยู่ดี พวกผมให้คํามั่นได้เลยว่าจะปฏิบัติตามพิธีทางศาสนาทุกขั้นตอน พวก ผมได้ตระเตรียมสถานที่ใหม่ทําเลดีกว่านี้อีก อยู่ใกล้ตัวหมู่บ้านจะไปมาย่อมสะดวก กว่าถ่อมาถึงยอดเขาเช่นนี้” “แต่นั้นมันเท่ากับหลบหลู่อย่างแรง พระคัมภีร์กุรอ่านได้บัญญัติห้ามขุด หรือ เคลื่ อนย้ายหลุ มศพใดๆ“ ฮัจญี อัง โกสอ้า งข้อ ความภาษาอาหรับ เป็ นวรรคๆ ซานุซีอ้างอิงข้อความภาษาอาหรับมาพิสูจน์คัดค้านกับพ่อเฒ่าฮัจญีและลูเราะห์บ้าง ว่าไม่ปรากฏตอนใดในกุรอ่านจะระบุการห้ามการโยกย้ายหลุมศพ ไม่ว่าจะศักดิ์สิทธิ์ หรือไม่เพียงใดเลย “แต่ข้ายังข้องใจในคําพูดของพ่อหนุ่ม ” ฮัจญีอังโกสกล่าว “ถึงแม้พ่อหนุ่ม จะดูท่าแม่นยําคัมภีร์อัลกุรอ่าน แต่ในสายตาของเราแล้ว พ่อหนุ่มไม่มีคุณสมบัติของ มุสลิมที่เคร่งครัดติดอยู่เลย พ่อหนุ่มยังดันทุรังเอาต้นไม้ของพวกคริสเตียนมาปลูกอีก ด้วย” 57


ซานุซีมีท่าทีขึงขัง “ต้นไม้คริสเตียนเรอะ ไม่ใช่นี้นา มันเป็นต้นสนธรรมดาๆ” “ไม่ ไม่ใช่แน่ แกเรียกของแกเองว่าต้นสนไปคนเดียวเถอะ เนื้อแท้แล้วมัน คือต้นไม้ของพวกคริสเตียน พวกนั้นไม่ได้เอามาปลูกมาประดับหน้าโบสถ์ของมัน เท่านั้น มันยังเอาไปใช้ในพิธีฉลองคริสต์มาสอีก” ซานุซีหายถอนใจเฮือกใหญ่ ลุกขึ้นยืนไปหยิบหนังสือจากโต๊ะข้างเคียงมา พลิกหาหน้า จนพบภาพต้นสนรายล้อมมัสยิดโอ่อ่าหลังหนึ่ง จึงเปิดให้สองผู้เฒ่าดู เต็มตา “นี่ไง ดูเสีย” ซานุซีร้องบอก “รูปมัสยิดในกรุงไคโรยังปลูกต้นสนล้อมรอบ ไม่ใช่ต้นไม้คริสเตียนอะไรอย่างที่ว่า แล้วรูปนี้อีก” ชายหนุ่มพลิกผ่านหลายหน้า “นี้เป็นมัสยิดในกรุงเลบานอน มีต้นสนล้อมเป็นแถวเหมือนกัน ส่วนนี้คือ มัสยิดในอินเดีย ปลูกต้นสนไว้ในสวน แล้วยังรูปนี้ แล้วก็รูปนี้ มันไม่ใช่คริสเตียนนอก ศาสนาที่ไหน มันเป็นต้นสนต่างหาก ท่านคงไม่เที่ยวประณามพวกอียิปต์ อาหรับ อินเดีย ว่าเป็นพวกนอกศาสนาไปหมดนะ เพียงเพราะเหตุผลที่ปลูกต้นสนไว้ในสวน ที่มัสยิด ” เฒ่าฮัจญีนิ่งอึ้งอยู่ครู่หนึ่ง มันยากอยู่ที่คนอย่างแกจะยอมแพ้ แต่แกเองก็ ทําอะไรไม่ได้นอกจากยอมรับว่าหนนี้ยกให้เป็นทีของชายหนุ่มไป “ตกลง เอาอย่างนั้นก็ได้ เอาเป็นว่ามันเป็นต้นสน ทั้งๆที่ข้าเองยังรู้สึกอยู่ ตลอดทุกขณะจิตว่า มันไม่ผิดกับต้นไม้ที่พวกคริสเตียนใช้ฉลองคริสต์มาสของมัน ถ้า เป็นข้า ข้าจะไม่มีวันเอามันมาแปดเปื้อนมัสยิดเด็ดขาด” ฮัจญีอังโกสจ้องหน้าซานุซี เขม็ง ซานุซียิ้มรับ มือปิดหนังสือเสีย “ฟังนะ ท่านฮัจญีผู้รอบรู้ และท่านรูเลาะห์ อันเป็นที่นับถือ พวกผมมาที่นี้ในฐานะมุสลิมที่ดีเช่นเดียวกัน พวกผมต้องสร้างมัดรอ ซะฮ์(โรงเรียน)หลังใหม่ มิได้ไว้สอนวิชาการความรู้สมัยใหม่เพียงอย่างเดียว แต่พวก ผมต้องการให้การศึกษาแผนใหม่แก่ผู้นําทางศาสนาในหมู่บ้านด้วย เขาเหล่านั้นจะ เป็นผู้นําทางศาสนาด้านเดียวไม่เพียงพอเสียแล้ว จะต้องเป็นผู้นําทางสังคมควบคู่ 58


กัน จะนั่งรับทานจากชาวบ้านไปวันๆไม่ได้ จะต้องลุกขึ้นพร้อมช่วยเหลือเอื้อเฟื้อแก่ ชาวบ้ า น ให้ คํ า แนะนํ า ปรึ ก ษาทั้ ง เรื่ อ งศาสนกิ จ การสร้ า งคู ค ลองส่ ง น้ํ า ให้ มี ประสิท ธิ ภาพ การผสมพัน ธุ์ สัต ว์ เ ลี้ย งให้ ได้พั น ธุ์ดี ขึ้ น การสร้ างเล้ าไก่ สร้ างครั ว ปรับปรุงเรื่องอนามัยสาธารณูปโภค การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติรอบตัวให้ คุ้มค่า การจักสานเครื่องใช้ไม้สอยด้วยไม้ไผ่ การปั้นดินเหนียว พวกเขาจําเป็นต้องรู้ วิธี การส่ง เสริ ม งานหั ต ถกรรมพื้ นเมือ งที่ใ กล้จ ะสูญ ไปตามกาลเวลา ดั งเช่ นงาน ช่างทอง ช่างเงิน ช่างตีเหล็ก เราต้องการบ่มเพาะนิสัยชาวบ้านให้ถนอมรักต้นไม้ พืชผักนานาชนิด สิงสาราสัตว์ รวมทั้งปูาเขาลําเนาไพร เราอยากจะบ่มเพาะชาวบ้าน ให้สํานึกว่าสิ่งเหล่านี้ต้องเริ่มจากตัวเขาเองก่อนอื่นใด เพราะพวกเขานี่แหละคือพลัง รากฐานของชาติบ้านเมือง พวกเราเป็นประชาชาติที่ได้รับพรจากสวรรค์ให้ได้อาศัย อยู่ในอุทยานพฤกษชาติอันรื่นรมย์แห่งนี้ เราจะต้องผดุงรักษามรดกอันล้ําค่านี้ไว้ มัน เป็นหน้าที่ของเราชาวมุสลิม เป็นภารกิจของพวกเราต่อพระผู้เป็นเจ้าโดยแท้ ‚พ่อหนุ่มช่างเจรจาเหลือเกิน ปากคอหวานราวกับลิ้นอาบน้ําผึ้งเชียว‛ เฒ่า ฮัจญีอังโกสประชด ‚เราต้องการสร้างมัสยิดที่ตรงนั้นให้ได้ และ…‛ ชายหนุ่มจดจ้องฮัจญีไม่ วาง ‚เราต้องการบูชาเฉพาะพระองค์เพียงหนึ่ง เดียว ไม่ใช่เทวรูปหรือหลุมศักดิ์สิทธิ์ ใดๆ… พระองค์ตรัสไว้ว่า “จงละเว้นการบูชาเดือนหรือตะวัน จงบูชาเพียงเรา พระผู้สร้างโลกเท่านั้น หากเจ้าปรารถนาจะบูชาพระผู้เป็นเจ้า‛ ถูกแย้งกลับด้วยประโยคที่คัดจากคัมภีร์กุรอ่านเข้า เฒ่าฮัจญีอังโกสและ ลูเราะห์ปริปากไม่ออกสักคําเดียว เฒ่าฮัจญีเริ่มรู้สึกตัวว่าหมดหนทางเอาชนะเด็ก หนุ่มผู้รู้มากเสียแล้ว แต่อย่างไรเสียแกจะไม่ยอมละทิฐิสยบหัวให้กับเด็กหนุ่มบ้าดี เดือดคนนี้ง่ายๆ ‚ถ้าเช่นนั้น‛ ฮัจญีตัดบท ‚ข้าก็จนปัญญาที่จะไปขืนใจพ่อหนุ่มให้เลิกแผนการ บ้าๆนั่น ในเมื่อที่ดินทั้งผืนเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อหนุ่ม ได้ซื้อมาด้วยเงินทองตัวเอง ถ้า 59


หากพ่อหนุ่มไม่เห็นแก่ชาวบ้านเขา ใครจะไปบังคับใจพ่อหนุ่มได้ แต่ขออย่างเดียว เวลาจะเคลื่อนย้าย ขอให้ประกอบพิธีบวงสรวงขอขมาลาโทษท่านเมาลานา ให้ ถูกต้องด้วยธรรมเนียม อย่าให้ขาดตกบกพร่อง อย่างน้อยที่สุด ต้องเซ่นด้วยแพะสาม ตัว ต้องสวด… ‛ ‚ครับ ผมเห็นด้วยกับท่านเป็นอย่างยิ่ง ‛ ซานุซีรับคําแข็งขัน ‚ผมใคร่ขอให้ ท่านฮัจญีรับหน้าที่ทําพิธีเลย‛ เฒ่าฮัจญีใช้ความคิดในฉับพลัน หากแกรับคํา สิ่งที่แกจะได้คือศรัทธาความ นับหน้าถือตาจากชาวบ้าน คิดได้ดังนั้น จึงตอบตกลง 3 กว่าลูเราะห์และฮัจญีจะเกลี้ยกล่อมชาวบ้านให้ยินยอมกับการขุดย้ายหลุม ศักดิ์สิทธิ์สําเร็จต้องประสบอุปสรรคนานัปการ พวกหัวรุนแรงกลุ่มหนึ่งถึงกับประกาศ ตัวปกปฺองหลุ มศักดิ์สิทธิ์ด้ว ยกําลังทุกวิถี ทาง เหลือแต่เพียงการกล่าวอ้า งคัมภี ร์ กุรอ่านกับคําสั่งเฉียบขาดของลูเราะห์เท่านั้นที่พอจะบรรเทาเบาบางปฏิกิริยาของ ชาวบ้านส่วนใหญ่ให้สงบลงได้บ้าง ว่ากันตามตัวบทกฎหมายด้วยแล้ว พวกเขาไม่มี สิทธิ์ใดๆ ในหลุมนั้นเลย เนื่องจากมันตั้งอยู่นอกอนาเขตหมู่บ้านโดยสิ้นเชิง ฤกษ์ที่วางไว้มาถึง ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านทยอยกันไต่เขาขึ้นไปร่วมพิธีอย่าง พร้อมเพรียง หลายคนส่อสีหน้าพรั่นพรึงไม่สร่างซา ขณะที่อีกไม่น้อยกลับร้องรําทํา เพลงกันเป็นที่ครึกครื้น โดยเฉพาะในหมู่เด็กหนุ่มสาววัยคะนอง ได้อิ่มหมีพีมันกับ อาหารคาวหวานและเครื่องดื่มอภินันทนาการจากซานุซี เฒ่าฮัจญีเป็นผู้สวดน้ําพิธี คนที่ยืนรอบๆสวดตามรับกัน แพะสามตัวถูกเชือดสังเวย ปักเคนตงปลดผ้ายันต์ออก พับเก็บด้วยมือสั่นระริก ซานุซีลอบถอนหายใจอย่างหนักอก ชายฉกรรจ์ล่ําสันสี่นาย ซึ่งรับหน้าที่ขุดหลุมกลับยืนมือไม้แข็ง ดวงตาเบิกโพลงด้วยความหวาดหวั่นสุดชีวิต ซานุซีตัดสินใจเข้ากู้สถานการณ์ด้วยการลงมือทําเป็นตัวอย่าง หยิบจอบขึ้น พลางสวดภาวนา ”ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงเมตตาเขาหาที่สุดมิได้ ” แล้วจ้วงจอบลงไป ในหลุม ทุกคน ณ ที่นั้นหยุดหายใจ ดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์มันจะแสดงปาฏิหาริย์ 60


ลงทัณฑ์ชายหนุ่มให้ล้มลงแดดิ้นหรือเปล่า ซานุซีโหมแรงตักดินอีกหน ยังไม่มีสิ่งใด บังเกิดขึ้น ชายฉกรรจ์หนึ่งในสี่เกิดกล้าขึ้นและเดินเข้าช่วยซานุซีอีกแรง ในที่สุด สาม คนที่เหลือก็ค่อยคลายความขี้ขลาดตาขาวเป็นปลิดทิ้ง ผู้เข้าร่วมในพิธีหายใจโล่ง ปอดขึ้นมาบ้าง ขุดลึกลงไปลึกลงไประดับสมควรแล้ว แต่ยังมิพบร่องรอยสิ่งใด ‚ขุดลงไปอีก‛ ซานุซีเรียกร้องบอกเพื่อนร่วมงาน ทั้งหมดก้มหน้าขุดลงไป ขุดลงไปแต่ไม่เจอะเจอแม้แต่ซาก และแล้วซานุซีก็บอกให้วางมือ หันไปกล่าวแก่ ชาวบ้าน ‚หลุมนี้ว่างเปล่ามันหาได้ศักดิ์สิทธ์แต่อย่างใด‛ ปักเคนตงหน้าซีดเผือก ฝูงชนพลันตะลึงอ้ําอึ้ง เฒ่าฮัจญีเห็นสบโอกาสออกแสดงบทบ้าง ‚ไม่จริง ไม่เป็นความจริง หลุมนี้ไม่ได้ว่างเปล่า ที่เห็นนี้เป็นปาฏิหาริย์ของ ท่านเมาลานาอาราเบียต่างหาก ดวงวิญญาณท่านคงจะพิโรธโกรธกริ้ว จึงบันดาล ให้สิ่งต่างๆหายวับไป เพื่อมิให้มนุษย์ใจบาปหยาบช้าได้มองเห็น ถึงคราวนี้ เราเห็น จะต้องฆ่ากวางสังเวยท่าน ให้ดวงวิญญาณของท่านไปสู่สุคติ เมื่อปัดเปูาความ หายนะให้พ้นหมู่บ้าน เจ้าจะต้องเป็นคนเซ่นถวาย‛ ฮัจญีชี้ใส่หน้าซานุซี ‚ครับผม‛ ซานุซีตัดสินใจในทันที ‚ท่านฮัจญีให้เหตุผลว่า ดวงวิญญาณ ของท่านเมาลานาได้ดลบันดาลให้ซากที่เหลือสิ้นสูญไป แต่ผมขอยืนยันคําพูดเดิม ว่ามันเป็นหลุมว่างเปล่า มันไม่ได้ศักดิ์สิทธิอะไร ผมยอมรับหน้าที่เซ่นสังเวยกวาง หนึ่งตัว แต่ต้องภายหลังจากวันนี้ไปสองสัปดาห์แล้วเท่านั้น หากมีเภทภัยเกิดกับผม ภายในสองสั ป ดาห์ นั้ น ย่ อ มหมายความว่ า ผมถู ก สวรรค์ ล งทั ณ ฑ์ ที่ บั ง อาจสบ ประมาทสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ถ้าหากผมยังอยู่เป็นปกติสุขเรียบร้อย ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ เรียบร้อยได้แล้วว่า หลุมดินนี้ว่างเปล่า มิได้มีความศักดิ์สิทธิ์แต่เพียงนิด แม้แต่ท่าน เมาลานา ก็มิได้มีตัวตนอยู่จริง‛ สาธุ ช นพากั น ผงะผวาทั น ที ที่ ไ ด้ ยิ น ถ้ อ ยคํ า อุ ก อาจของชายหนุ่ ม ต่ า งนึ ก ประหวั่นครั่นคร้ามอยู่ว่า ชายหนุ่มจะล้มพับลงจมธรณีไปต่อหน้าต่อตา แต่แล้วกลับ มิมีปรากฏเหตุใดๆ ตลอดเวลาสองสั ปดาห์ มิ ตรสหายช่วยกันระวังระไวซานุซีทุ ก 61


ฝีก้าวจะเผลอปล่อยให้หกล้ม แข้งขาแพลงหรือหัก หรือล้มปูวยปวดท้องปวดหัวมิได้ เป็นอันขาด ชาวบ้านทุกคนสะกดใจรอคอยปาฏิหาริย์อย่างจดจ่อ ถึงกําหนดสองสัปดาห์ผ่านพ้นไป ซานุซีจึงส่งรถแทรคเตอร์ลงมือไถเกลี่ย หลุมให้ราบเรียบ งานสร้างมัดรอซะฮ์หลังใหม่ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังแล้ว ณ บัดนี้ หนึ่งอาทิตย์ต่อมา ซานุซีกําลังคุมงานง่วนอยู่ บุตรชายของลูเราะห์ก็วิ่ง หน้าตาตื่นขึ้นมาตามตัวเขา พลางละล่ําละลักแจ้งเรื่องปักเคนตงแขวนคอตาย ชาย หนุ่มรีบกวดตามเด็กน้อยไปทันที ที่หน้าบ้านของปักเคนตง ชาวบ้านเดินเคียงได้มุ่ง คอยท่าอยู่แล้ว ครั้นซานุซีมาถึง ก็เริ่มวิพากษ์วิจารณ์กันขยาดขยาด ซานุซีกระโดด ขึ้นชานจั้มอ้าวไปในเรือน ปักเคนตงนอนอยู่บนแคร่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านรวมทั้งฮัจญีและลูเราะห์อยู่ พร้อมกันที่นั่น ซานูซีคลําชีพจรของปักเคนตง แล้วก้มศีรษะลงแนบอก จึงได้รู้ว่า หัวใจของปักเคนตงยังเต้นอยู่แต่อ่อนกําลังเต็มที “ยังไม่ตาย” ชายหนุ่มหันมาบอก พลางรีบใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ เพียงสี่สิบ ห้านาทีก็ได้ผลทันตา หัวใจของปักเคนตงกลับมาทํางานตามปกติ “โอ้โห” คําอุทานได้อัศจรรย์ใจกระหึ่มขึ้นในห้องนอกบ้าน และกระจายไป ทั่วหมู่บ้าน “ปาฏิหาริย์” เสียงหนึ่งเปล่งด้วยแรงศรัทธาแก่กล้า ชายหนุ่มแปลกหน้าคนนี้มีอํานาจลึกลับชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นได้ อีกคน กล่าวเสียงกระเส่า อีกคนพร่ําพูดแต่ว่าหนุ่มแปลกหน้านี้แหละคือนักบุญผู้วิเศษ โจษจันกัน ปากต่อปาก กระทั่งข่าวร่ําลือกันเซ็งแซ่ ทุกมุมเมือง ส่วนปักเคนตงก็สารภาพกับซานุซี หลักจากก้มลงจูบที่มือของผู้มีพระคุณ ด้วยอาการนอบน้อมเยี้ยงสามัญชนผู้ปฏิบัติต่อนักบุญว่า สาเหตุที่ตนหมายจะฆ่าตัว

62


ตายก็เพราะชีวิตนี้ไร้ความหมายเมื่อได้รู้ความจริงว่าตายหลงฟูมฟักรักษาหลุมดิน ว่างเปล่ามาตลอดชีวิต มันมิได้ศักดิ์สิทธิ์แต่อย่างใด มิหนําซ้ํายังว่างเปล่าอีกด้วย “แม้ แ ต่ เ ด็ ก ไม่ ป ระสี ป ระสามั น ยั ง ซุ บ ซิ บ กั น ว่ า ข้ า เป็ น มนุ ษ ย์ ห ลอกว่ า โคตรเหง้าตระกูลข้าทั้งตระกูลได้ตบตาชาวบ้านที่นี้และที่อื่ นไปทั่ว ใครต่อใครพากัน กล่าวโทษข้าคนเดียว พวกฮัจญีก็เช่นกัน หาว่าข้ามันโง่ดักดาน...” ปักเคนตงสะอื้น ไห้ฮักๆ ขณะซานุซีพยายามปลอบให้กาํ ลังใจ “มันก็เหมือนกับคนที่ยังอยู่นี้แหละ” ซา นุซีว่า “ผู้นําที่ไหนสักคนมาให้คําสัญญาเป็นคุ้งเป็นแคว จนชาวบ้านหลงเป็นจริงเป็น จัง ครั้นชาวบ้านรู้ความจริงเข้า พวกเขาก็หมดศรัทธาผู้นําที่โกหกตอแหล พวกเขาไม่ เห็นต้องฆ่าตัวตายเลย เปรียบไปแล้วก็เช่นเดียวกับหลุมศักดิ์สิทธิ์นี้แหละ เมื่อเรารู้ว่า มันเป็นมายาเราก็เหวี่ยงทิ้งไป ตั้งหน้าแสวงหาสัจธรรมอันใหม่” “ท่านพูดถูก ท่านพูดถูกต้องแล้ว ท่านช่างหลักแหลมเสียนี่กระไร บัดนี้ ท่าน จงเป็นนักบุญผู้วิเศษของเราเถิด” ปักเคนตงกล่าวจบ ทรุดลงจุมพิตมือวานุซีอีกคราที่ สองแล้วถลันไปปูาวประกาศข่าวมงคลทั่วหมู่บ้าน ซานุซีมิอาจต้านทานคลื่นมหาชนชายหญิงทั้งหนุ่มสาวเฒ่าแก่ ต่างกรูกัน ห้อมล้อมขอพรร้อยแปดพันประการให้สมมาดปรารถนา ซานุซีปฏิเสธครั้งแล้วครั้ง เล่าว่าตนหาใช่นักบุญที่ไหน แต่ไม่เป็นผล ทุกคนเชื่อหมดจิตหมดใจว่าด้วยพลัง อํานาจในตัวซานุซี ช่วยปักเคนตงให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้ ขอสัมผัสแค่ปลายนิ้ว หรือน้ํา ที่เหลือก้นถ้วยของซานุซี ก็เพียงพอแล้ว ทั้งหมู่บ้านกลับคืนสันติสุขอีกครา เมื่อได้นักบุญผู้วิเศษคนใหม่มาแทน ลึกลงไปในใจซานุซี ชายหนุ่มต้องต่อสู้กับความรู้สึกขัดแย้งตัวเอง ในเวลา เดียวกัน ก็กลับรู้สึกพันธนาการกับบทบาทใหม่ที่ถูกอุปโลกน์อย่างน่าประหลาด จากเรื่อง The Sacred Grave รวมเรื่องสั้นอินโดนีเซีย “เสียงของประชาชน” เรืองยศ จันทรคีรี บรรณาธิการ

63


‘อ่าน’ วาทกรรมแห่งความดี กระหม่อม

 การอ่าน กลายเป็นวาทกรรมของความดี คนเกือบทุกคนมองว่าการอ่านจะ นํามาซึ่งสิ่งที่ดีงาม หลายประเทศในโลกเป็นประเทศที่มีองค์กรความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ ได้ ใ ห้ เ กี ย รติ ข นานนามว่ า .. เป็ น ประเทศที่ พั ฒ นาแล้ ว นั้ น มั ก จะให้ ความสําคัญยิ่งกับการอ่านของประชาชนในประเทศมาก ตัวอย่างเช่น ในประเทศ สเปน มีวรรณกรรมที่รังสรรค์โดยคนเชื้อชาติสเปน และเป็นที่ยอมรับของนักอ่านทั่ว โลก ชื่อว่า ”ดอนกีโฆเต้” เมื่อไม่นานมานี้ นิยายเรื่องนี้มีวาระครบรอบ 100 ปี ปรากฏว่าได้มีกิจกรรม หนึ่งเกิดขึ้นบนหน้าจอทีวีของประเทศสเปน คือการอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ออกทีวีวัน ละหนึ่งหน้า โดยคนแรกที่เริ่มอ่านหน้าแรกคือ ประธานาธิบดีของประเทศสเปน นี้คือ ประเทศที่ให้ความสําคัญกับการอ่าน มีอีกตัวอย่างหนึ่งของประเทศที่ให้ความสําคัญกับการอ่าน ถ้าผมจําไม่ผิด น่าจะเป็นประเทศอังกฤษ ซึ่งมีช่วงเวลาหนึ่ง ที่การอ่านของคนในชาติลดลงอย่างมี นัยสําคัญ (แต่คงไม่ถึงขนาดประเทศเรา ในตอนนี้) ทางคณะผู้บริหารของประเทศก็ นิ่งนอนใจไม่ได้เพราะกลัวว่า สักวันหนึ่งเขาจะเสียตําแหน่งประเทศที่พัฒนาแล้วไป เลยมีการจัดประชุม วิเคราะห์ วิจัย กระทั่งออกมาเป็นโครงการหนึ่ง ชื่อว่าโครงการ A BOOK A VILLAGE โดยมีการจัดตั้งสถาบันหนึ่งขึ้นมา เป็นสถาบันที่คอยคัดเลือกวรรณกรรม ที่ คิดว่าเป็นประโยชน์กับคนที่ได้อ่าน กระทั่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป โดย เลือกให้ชุมชนละหนึ่งเล่ม คือทุกคนในชุมชนนั้นจะต้องอ่านวรรณกรรมที่ทางภาครัฐ ได้แนะนํามา ปรากฏว่าประชาชนของประเทศเขาก็ให้ความร่วมมือกับโครงการ นี้ด้วยดี (ประชาชนเขาก็คงคิดได้เช่นรัฐบาลว่า การไม่อ่านคือวิกฤติ) ดําเนินโครงการ ไปได้ในระยะหนึ่งก็ปรากฏว่า สถิติการอ่านของคนในประเทศดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ 64


ข้อเขียนข้างต้นเป็นเกร็ดความรู้ที่น่าจะเป็นประโยชน์ ส่วนจะเกี่ยวหรือไม่ เกี่ยวกับข้อเขียนข้างล่างนี้ ฝากพวกเราเอาไปคิดต่อ... ย้ อ นกลั บ มามองบ้ า นเมื อ งของเรา ผมคิ ด ว่ า พวกเราค่ อ นข้ า งให้ ความสํ า คั ญ กั บ การอ่ า นน่ ะ แต่ ว่ า ความเข้ า ใจที่ มี ต่ อ การอ่ า นมั น ตื้ น เขิ น เกิ น ไป ปัจจุบันวัฒนธรรมการไปเรียนอัลกุรอานหลังมัฆริบ ตามบ้านโต๊ะครู ตามมัสยิด ยังคงมีการสืบทอดต่อกันมา แม้จะมีความต่างกันบ้างตรงที่บางพื้นที่ ได้นําระบบการเรียนการสอนแบบ ใหม่เข้ามาแทนการเรียนการสอนอัลกุรอานแบบเดิม นั่นคือ การเรียนอัลกุรอาน แบบกี รออาตี และเราก็หน้ ามืดตามัวเรียกวัฒนธรรมเช่นนี้ ว่ าเป็ น “การเรี ยนอั ล กุรอาน” และเรียกการอ่านอัลกุรอานที่อ่านด้วยท่วงทํานองไพเราะเพราะพริ้งโดยไม่ รู้ความหมายในสิ่งที่อ่านไปว่าเป็น “การอ่านอัลกุรอาน” ผมคงไม่เ ถียงในแง่ของการได้รับผลบุญ แต่ ที่เราต้อ งเอามาขบคิดและ ตระหนักคือ ความหมายของประโยคคําสั่งแรก(อายะฮฺแรก) ที่ถูกประทานลงมายัง ประชาชาติม นุษ ย์ คื อ “สูเ จ้าจงอ่า น” อัน ที่จริ งแล้ ว เราได้เ ข้าใจหรือปฏิบัติ ตาม อายะฮฺดังกล่าวนั้นหรือยัง? หรือว่าเราไม่สนใจ หรืออาจสนใจแต่ไม่พึงปฏิบัติ หรือมี ความสนใจแต่ปฏิบัติได้ไม่ถูกเท่าที่ควรจะถูก อันที่จริงประเด็นนี้ไม่ได้หวาดระแวงอะไรมาก ในแง่ของการปลูกฝังนิสัยรัก การอ่าน โดยเฉพาะให้กับบรรดาเยาวชนมุสลิม แต่สิ่งที่ต้องระวังเอาไว้ให้มากๆ คือ เรากําลังทําให้ความหมายของ “การอ่าน(อัลกุรอาน)” ซึ่งมีความสําคัญต่อชีวิตของ เรามากที่สุด มันหม่นหมองหรือไม่? สิ่งที่พูดไป ผมไม่ได้กล่าวหาลอยๆจากอากาศธาตุ เนื่องจากหลายครั้ง หลายคราที่ มั ก จะได้ ยิ น คํ า พู ด จากบรรดาผู้ ใ หญ่ ห ลายท่ า นว่ า “วิ ช าตั ฟ ซี ร (อรรถาธิบายอัลกุรอาน)นั้นให้บรรดาอุละมาอฺ โต๊ะครู เขาเรียนเถอะ พวกเรานั้น เรียนอ่านให้ถูกให้ดีก่อนดีกว่า” นั้นอาจจะหมายถึงว่า สิ่งที่เราพยายามปลูกฝังแบบ 65


ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย มันได้สร้างผลกระทบในเชิงลบออกมาให้เราได้เห็นกันแล้ว แม้ว่าในปัจจุบันมีบรรดาอุละมาอฺ(ผู้ร)ู้ โต๊ะครู หลายท่านพยายามที่ปรับความเข้าใจ ในเรื่องนี้ แล้วก็ตาม ที่นี้ผมมองว่า สิ่งที่เราพยายามจะปลูกฝังความคิดในเรื่องของการอ่าน ให้กับเยาวชนของเรา ซึ่งผมก็อนุมานเอาเองว่าเพื่อให้เป็นไปตาม ประโยคคําสั่งแรก (อายะฮฺแรก นั่นคือ “สูเจ้าจงอ่าน”) ที่อัลลอฮฺได้ประทานให้กับเรา มันเป็นสิ่งที่ดี แต่ ถ้าเรามัวจ้องแต่จะเน้นเนื้อหาที่เป็นแก่นสาร ไปใส่ในหัวสมองท่าเดียว มันก็ดูเหมือน จะหนักเกินไปสําหรับเขา(ทั้งที่จริงเป็นเรื่องของวิธีการที่เราใช้มากกว่า ที่ทําให้มันดู หนัก) แต่เรื่องที่เราจะต้องเอามาตั้งเป็นปัญหาคือ ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับการ อ่ า น ได้ เ ปลี่ ย นไปในเชิ ง ลึ ก มากน้ อ ยแค่ ไหน? ความหมายของ “อิ ก เราะอฺ ” ใน ความคิดของเรา คืออะไร คือการอ่านออกเสียงโดยไม่รู้ความ หรือคือการอ่านออก เสียงพร้อมรู้ความหมาย หรือคือการอ่านออกเสียงพร้อมเข้าใจความหมาย หรือคือ การอ่านทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างเข้าใจความหมาย ตอนเป็นเด็กเราไม่รู้ไม่เข้าใจ อภัยให้ได้เพราะเราเป็นเด็ก แต่เมื่อเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ไม่รู้ไม่เข้าใจ แล้วจะหวังเพียงการให้อภัย อย่างตอนเป็นเด็กคงเป็นไปไม่ได้ แล้ว เพราะเราคือ ผู้ใหญ่ที่กําลังรอวันตาย สุดท้าย อย่าให้เรา ผู้ที่ถูกขนานนามว่า มนุษย์ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ด้อย พัฒนากว่าคนที่รอการพัฒนา มันจะน่าอาย

66


สองขีด ยาเขียว

 ขาสองข้างที่สั่นเทา ก้าวออกมาจากห้องน้ํา มือคอยเกาะเพดานพร้อมที่ จะล้มลงได้ตลอดเวลา เธอเดินมาจนถึงกลางห้อง กอดเสาแน่นด้วยความรู้สึกร้าวลึก ลงไปและสับสน มือสวยๆของเธอทาบเสาและเล็บที่จิกลงบนเนื้อปูนจนสีล่อนเข้าไป ในเล็บ บ่งบอกถึงความทุกข์ทรมานที่แสนสาหัส น้ําตาหยดแล้วหยดเล่า หล่นลงตรง ปลายเท้าที่ ไร้เรี่ยวแรงคู่นั้น เธอกําสิ่งที่ทําให้เธอฮวบลงไปสู่หลุมแห่งความทุก ข์ ทรมาน กําไว้จนแน่น จนพลาสติ๊กสีขาวที่มีขีดสีชมพูสองขีดหักออกเป็นสองชิ้น 1 เธอยังคงง่วนอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หลังจากได้สัมผัสสิ่งที่เรียกว่า อิน เทอร์เน็ท มาเป็นระยะหนึ่ง มันสนุกดีที่เราได้คุยกับใครๆ หลายคนผ่านจอนี้ การลง มือพิมพ์ข้อความที่อยากจะสื่อมันออกมาจะเป็นสิ่งที่อยู่ในกระแสอันเกินห้ามใจของ วัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นแชตทางคอม ทางมือถือ บีบี อีกสารพั ด “นา” เองก็เป็นหนึ่งใน วัยรุ่น กลุ่มนั้ น เธอคงไม่อาจอยู่ใ นสังคมอย่ างทัด เทียมหากเราไม่รู้จัก แชต ด้ว ย โรงเรียนสอนศาสนาที่เข้มงวดกับการพบเจอกันระหว่างชายหญิง รวมทั้งสังคมที่เธอ อยู่ก็ไม่ชอบที่จ ะเห็น หนุ่ม สาวพูดคุย กันอย่างสนิทสนมเท่าใดนัก แต่แ น่นอน ทั้ ง สังคมและโรงเรียนต่างก็ไม่มีทางเข้ามากล้ํากรายถึงโลกอินเทอร์เน็ตอันสุขสันต์นี้ได้ มีคนมากมายใช้มันอย่างเกิดประโยชน์ แต่ในขณะเดียวกันมันกลับเป็นหายนะของ ชีวิตวัยละอ่อนที่ยังไม่รู้จักความร้ายกาจของโลกใบนี้ นาไม่ได้เป็นหญิงสาวประเภทผู้หญิงยิงเรือ เธอจึงค่อนข้างระวังที่จะพูดคุย กับเพื่อนต่างเพศ และงดที่จะคุยเชิงชู้สาว เธอจึงรอดพ้นสิ่งยั่วยุมาจนถึงมัธยมศึกษา ปีที่ 6 มันเป็นธรรมดาที่เราอยากคุยเรื่องเรียนต่อ ไม่ว่ากับใครก็ตาม หัวอกเดียวกัน ความลําบาก หนักใจ ตกอยู่บนเด็กม.6 ที่ต่างก็มีฝัน เธอเองก็ฝันอยากเรียนสถาปัตย์ เธอคลิกเลือกกลุ่มแชตตามคณะที่อยากเรียนและได้เจอกับฮาฟิส หนุ่มน้อยผู้อยู่ต่าง 67


โรงเรียนที่อยากเดินตามความฝันเหมือนเธอ ความฝันที่เหมือนกัน ความยากของการเข้าสอบ ความหนักใจ ปัญหา การ วางแผนในการเรียน เป็นบทสนทนาหลักที่สองคนใช้คุยกันผ่านโซเชียลเน็ทเวิร์คชื่อ ดัง แต่กระนั้น มันคงไม่ได้มีเพียงคําพูดที่เป็นความรู้สึกของ “เพื่อน” ทว่าทั้งสอง กําลังก้าวสู่ “ความผูกพัน” ที่พันผูกสองหัวใจให้เป็นห่วงเป็นใยกันเรื่อยมา 2 ชีตหนักอึ้ง อยู่บนท่อนแขนของฮาฟิส เขาค่อยๆวางใส่ตระกร้ามอเตอร์ไซค์ ของนาอย่างระมัดระวัง “ลองไปอ่านดูนะ เราไม่ แน่ใจว่าจะครอบคลุมหรือเปล่า มีอะไรให้ช่วยก็ บอกนะ” ฮาฟิสพูดอย่างเป็นห่วงเป็นใย นารู้สึกได้ถึงความรู้สึกดีๆเหล่านั้น นานวันก็นัดติวกัน นานวันก็เจอกันทุกเย็น นานวันก็แวะมาถึงบ้าน และ นานวั น นาก็ ก ล้ า ที่ จ ะเดิ น เข้ า หอฮาฟิ สอย่ า งไม่ ก ลั ว อะไร เมื่ อ เนื้ อ เข้ า ปากเสื อ ชัยฏอนที่ทํางานมากกว่าเวลาที่เซเว่นเปิด และแน่นอน เวลาที่มันเฝฺารอก็มาถึง คง ไม่ต้องบอกว่าเกิดอะไรขึ้น เพื่อนของฮาฟิสที่อยู่หอข้างๆ สี่ห้าคน เงี่ยหูฟังแนบผนัง “ไอฟิสมันเจ๋งว่ะ กูต้องจ่ายมันจิงๆเหรอว่ะ ” ว่าแล้วก็ควักเงินแบงก์พันสาม ใบเป็นค่าที่พนันกันไว้ว่าฮาฟิสจะจีบน้องนาแสนหยิ่งได้หรือไม่ แล้วนาก็ได้รู้จากเพื่อนของเขา ว่าฮาฟิสไม่เคยชอบเธอเลย มันเป็นแค่การ พนัน ตอนนี้ท้องสี่เดือนของเธอใหญ่มากพอที่จะมีคนดูออก ความรู้สึกสูญเสีย ละอาย และเจ็บใจ แข่งกันถาโถมใส่เธออย่างไม่หยุดยั้ง เธอเตาบัตครั้งแล้วครั้งเล่า แต่มันก็ไม่ได้ทําให้ความรู้สึกผิดบาปที่เกาะกินในใจของเธอลดลงได้เลย เด็กน้อยที่ เกิดจากการพนันแค่สามพันบาทกําลังจะลืมตาดูโลกในอีกไม่นาน ความใฝูฝันเรื่อง นิกาหฺ ครอบครัวที่สมบูรณ์แบบที่เธอวาดเอาไว้อย่างสวยงามต้องพังครืน เธอลุกขึ้นจากการละหมาดสุนนะฮฺที่มากมายต่อวันของเธอ เดินตรงมายัง โต๊ะดราฟท์ที่วางไว้ริมหน้าต่าง โต๊ะตัวนั้นยังคงมีกระดาษวาดแบบหนีบอยู่เพื่อรอ วันที่นาสอบติดสถาปัตย์ และสิ่งสุดท้าย ที่เธอเจ็บจุกราวกับมีดที่กรีดลงตั้งแต่ขั้ว 68


หัวใจลงมา นั่นคือ การจับอัลกุรอาน การเป็นมนุษย์ที่ทรยศต่ออัลลอฮฺ มันช่างเป็น สิ่งที่ทําให้เธอปวดร้าวหัวใจมากกว่าสิ่งอื่นใด เธอไม่เคยคิดว่ามันจะเกิดขึ้นกับเธอ และเธอเชื่อเสมอว่าชัยฏอนั้น ไม่มีทางหลอกให้เธอทําเรื่องแบบนั้นได้ แน่ อัลกุรอาน ในมือถูกนํามากอดไว้ตรงหน้าอก พร้อมน้ําตาอีกร้อยพันหยดที่อธิบายความรู้สึกลึก ที่สุดในใจออกมาอย่างตรอมตรม

69


เจ็บ..ไม่จา!! หวานเป็นลม ขมเป็นยา

 เคยลองสังเกตการเปลี่ยนไปของอะไรหลายๆอย่างรอบกายไหม? เช่น สังเกตว่าน้องชายตัวแสบของบ้านเปลี่ยนไปยังไงเมื่อเริ่ มเป็นหนุ่ม สังเกตว่าตัวเอง กินอะไรแล้วท้องเสียทุกครั้งไป สังเกตว่าต้นไม้ที่เราปลูกไว้หน้าบ้านยิ้มทักทายเราอยู่ กี่วัน ก่อนที่จะทําหน้างอก้มหน้าก้มตาลากันไปแบบไม่ทันจะให้สลาม ตลอดจน เรื่องราวใหญ่ๆ อาทิ น้ําท่วมหนักหาดใหญ่ทุกสิบปีนี้ เป็นความบังเอิญหรือเพราะ อะไรกัน แผ่นดินไหวเกิดบ่อยในพื้นที่ไหนของโลกเป็นพิเศษ หรือปัจจุบันนี้เราไม่ต้อง สังเกตกันแล้ว เพราะมันได้เกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้าเช่นเดียวกันกับความเสื่อมโทรม ของสังคมมนุษย์ เคยรู้สึกถึงความตกต่าของสังคมมุสลิมไหม? เมื่อมีอารมณ์แบบนี้เกิดขึ้นที ไรทําเอาพาลหงุดหงิด ออกไปขว้างก้อนหินในทะเลให้สุดแรงเหวี่ยงก็ไม่รู้จะหายไหม ...เรามาลองหายใจเข้ายาวๆ ค่อยๆผ่อนออกช้าๆพร้อมๆกัน แล้วนึกถึงความจริงที่ ถูกสัญญาโดยพระผู้อภิบาลว่า อิสลามจะกลับมารุ่งเรืองแบบสุดขีดอีกครั้ง แบบนี้ ค่อยยิ้มได้ในใจหน่อย แม้ว่าวันนั้นลมหายใจเข้าออกของเราจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม เคยอารมณ์เสียกับกฎเกณฑ์ที่สังคมตั้งขึ้นมาไหม? ใครกันนะมาตั้งกฎ เท่ห์ๆ ว่าอย่าได้ริอาจหยิบยกประเด็นศาสนาและการเมืองมาพูดคุยในวงสนทนาเป็น อันขาด มิเช่นนั้นแล้วอาจเกิดเรื่องบาดหมางคลางใจกับญาติสนิทมิตรสหายแบบไม่ ทันตั้งตัวกันเลยทีเดียว..อ่า คราวนี้นั่งนิ่งๆแล้วคิดให้ดีอีกครั้ง อิสลามบอกเราว่าไง มุสลิมถูกให้กําเนิดมาด้วยเหตุผลอะไร มีหน้าที่อะไร มิใช่เพราะให้เรากําชับกันใน เรื่องความดีงามหรอกหรือ แถมให้เราช่วยเหลือกัน รักกันบนพื้นฐานของความเป็นพี่ น้อง อัลลอฮุอักบัร ระบอบของอัลลอฮฺสุบหานะฮุวะตะอาลา... สวยงาม อบอุ่น และ ปลอดภัยยิ่งนัก และไม่ใช่เพราะระบอบคิลาฟะฮฺหรอกหรือที่พาอิสลามของเราให้แผ่ 70


ขยายออกไป นําความเมตตาของอัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรออกไปให้ทุกชีวิตในโลกนี้ได้ รับรู้ ยังจําเรื่องราวของเศาะหะบะฮฺท่านหนึ่งได้ไหม (ท่านอุมัร บิน อับดุลอะซีซ) ที่ได้ ตระหนักถึงความจริงที่ว่าประชาชนใต้การปกครองของเขาทั้งหมดนี่แหละที่จะลุก ขึ้นมาเป็นคู่กรณีของเขาในวันแห่งการสอบสวน ด้วยเหตุนี้แหละ เขาจึงเป็นผู้นําที่ถูก กล่าวขานจนถึงปัจจุบัน... เอ่อ… คราวนี้รู้ตัวหรือยังว่าเราถูกหลอกแบบไม่รู้ตัวมานัก ต่อนักแล้ว เคยคิดเล่นๆไหม ว่าคนที่คิดทาลายล้างอิสลามนี่มือฉกาจนัก !! ร้ายกว่า สัตว์ประหลาดพ่นไฟในเกาะญี่ปุูนเสียอีก ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวนะ หิญาบของพี่ น้องมุสลิมะฮฺเรานี่ไง เล่นเอาปวดหัวปวดตาไปตามๆกัน เขาว่ากันนะ..ไอ้เจ้าศัตรูมือ ดีมันทําให้พี่น้องมุสลิมะฮฺของเราเลิกคลุมหิญาบไม่ได้ มันก็เลยเปลี่ยนหิญาบซะ!! เอาล่ะ..เริ่มจากแต้มสีฉูดฉาดลงไปเยอะๆหน่อย ลดขนาดผืนผ้าลงอีกหน่อยให้มัน สั้นเต่อจนไม่ปกปิดหน้าอก เพิ่มโบว์ ดอกไม้ คริสตัลวับๆวาวๆ ลูกไม้ฉลุลายบางๆ สายผ้าคาดหน้าผากหลากสี เข้าไปอีกหน่อย ...ในที่สุดหิญาบของอัลลอฮฺก็กลายร่าง อย่างสมบูรณ์!! เกิดเป็นวิกฤติการณ์หิญาบ จากมองแล้วเย็นตาเป็นมองแล้วปวดตา และอาจสะเทือนหัวใจถึงขั้นน้ําตาไหลกันเลยทีเดียว..อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ เกิดอะไรขึ้น หรือพี่น้อง หรือเรายอมให้เขาทําลายทั้งๆที่รู้ตัวกระนั้นหรือ ?? เจ็บปวดหัวใจกันบ้าง ไหม เมื่อพบว่าท้ายที่สุดแล้วเราก็ทําลายหิญาบของอัลลอฮฺด้วยมือของเราเอง ด้วย มื อ ของบ่ า วผู้ ต่ํ า ต้ อ ยผู้ นี้ เ อง... สิ่ ง ที่ ถู ก กํ า ชั บ ให้ ป ระดั บ ประดาให้ ส วยงามคื อ อัลกุรอานมิใช่หรือ และสิ่งที่ถูกกําชับให้ปกปิดด้วยหิญาบคือความสวยงามของผู้ เป็นมุสลิมะฮฺไม่ใช่หรือ ไฉนเราจึงดื้อดึงด้วยการประดับประดาหิญาบให้สวยงาม และเก็บอัลกุรอานไว้มิดชิดซะจนลืมเรื่องราวที่ถูกบอกเล่าในนั้น ? ลองมาทบทวนเรื่องราวของบรรพชนมุสลิมะฮฺให้สะดุ้งหัวใจเล่นกันหน่อย เป็นไร เผื่อว่าหัวใจที่ไร้ความเจ็บปวดของเราจะได้ยําเกรงขึ้นมาบ้าง... ตัวอย่างเช่น ท่านหญิงอาซียะฮฺ บินตฺ มุซาฮิม ผู้เป็นภรรยาของฟิรเอานฺศัตรูตัวฉกาจของอิสลาม กระนั้น การเป็นภรรยาของผู้ปฏิเสธศรัทธาก็มิได้ทําให้นางจํานนต่อความมืดมนนั้น 71


แต่ อ ย่ า งใด นางต่ อ สู้ แ ละมั่ น คงในความศรั ท ธาจนกระทั่ ง ลมหายใจสุ ด ท้ า ย และอัลลอฮฺได้ทรงตอบแทนนางด้วยการสร้างบ้านในสวรรค์ให้แก่นาง ตามคําวิงวอน ของนาง และให้นางได้เห็นมัน ก่อนที่วิญญาณจะออกจากร่าง อั ลลอฮุอักบัร !!... บรรดาผู้ที่ต่อสู้และยืดหยัดในหนทางของพระองค์ย่อมได้รับชัยชนะเสมอ คราวนี้หายใจเข้ายาวๆอีกครั้ง สูดอากาศเข้าไปให้เต็มปอดราวกับว่ามัน เป็นเฮือกสุดท้ายของลมหายใจที่มีอยู่ พี่น้องมุสลิมะฮฺที่รัก หน้าที่และภารกิจของเธอ นั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะเพลิดเพลินไปกับความสวยงามบนหน้ากระจก แต่ด้วยการ เป็นภรรยา ด้วยการเป็นมารดา และด้วยการให้กําเนิดประชาชาติของท่านศาสนฑูต มุฮัมมัด (ศ.ล.) ผู้เป็นที่รักยิ่งของเราต่างหากที่เราพึงตระหนักถึงทุกเฮือกของลม หายใจเข้าออก ลองคิดเล่นๆกับเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นจริงว่า ด้วยบันทึกอันละเอียด ยิบและด้วยการสอบสวนอย่างถี่ถ้วนนั้นจะทําให้เรากลับไปยืนต่อหน้าพระองค์อย่าง ผู้ที่ยินดี หรืออย่างผู้ที่อัปยศ อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ..ไม่ง่ายเลยกับการมีชวี ิตอยู่บนโลกเล็กๆ ใบนี้และไม่ง่ายเลยกับการกลับไปอย่างผู้ ที่เปรมปรีดิ์ด้วยรายละเอียดบนบันทึกข้าง ขวา ลองนับเล่นๆเป็นครั้งสุดท้ายว่ากี่บทเรียนมาแล้วที่ผ่านเลยเราไป และทิ้ง ร่องรอยเอาไว้บนบันทึกข้างซ้ายอย่างผู้ที่ เจ็บ…แล้วไม่จํา!!

72


หนังสือเล่มนั้น หลานจุฬา

 กาลและเวลาที่เราทั้งหลายได้ถูกอุบัติขึ้นมานั้น ย่อมมีเหตุผล ย่อมมี จุดหมาย... นานแล้วสินะที่เราทั้งหลายได้ลืมตามาดูโลก จากวันนั้นถึงวันนี้ ก็หลายปี แล้ว เรื่องราวมากมายที่ผ่านมาเข้ามาในชีวิต บางครั้งมันอาจจดจําไว้ในใจ หรือบาง ทีมันอาจเลือนรางไปบ้าง แต่เมื่อไหร่ที่เราทั้งหลายต่างระลึกถึงสิ่งที่ผ่านมา มันมี บทเรียนที่เราได้เก็บเกี่ยว คอยช่วยเหลือปรับเป็นแนวทางให้เราได้ก้าวเดินต่อไป จะว่าไปแล้วหนังสือที่เราทั้งหลายได้อ่านกัน จะเป็นหนังสือที่เราเรียนอยู่ ทุกวัน หรือหนังสือในสาขาด้านต่างๆที่เราสนใจ อาจมีสาระบ้างไม่มีบ้าง จะมากจะ น้อยแตกต่างกันไป บางเล่มที่เราชอบเราอาจจบไปหลายครั้งหรือเล่มที่ไม่ชอบบางที ก็ไม่อยากแตะมันอีกเลย ซึ่งมันก็เป็นรูปแบบความชอบ ความพอใจของแต่ละคน แต่หนังสือที่ผมจะนําเสนอพวกเรานั้นเป็นสุดยอดของสุดยอดที่สุด เราใน ฐานะผู้ศรัทธาย่อมรู้จักกันดี หนังสือเล่มนั้นได้ถูกแปลเป็นภาษาต่างๆทั่วโลก มุสลิม ทั่วโลกต่างอ่านกัน ต่างนําบทเรียนในคําสอนในหนังสือเล่มนั้นมาใช้ในการดําเนิน ชีวิต หนังสือเล่มนั้นประกอบไปด้วยเรื่องราวต่างๆมากมาย ทุกศาสตร์ ทุกสาขา และที่สําคัญ ในหนังสือเล่มนั้นไม่ปรากฏพบความผิดพลาดเลย เป็นหนังสือที่เป็น คํากล่าวของผู้ที่สร้างทุกสรรพสิ่ง นั้นก็คือ อัลลอฮฺ... หนังสือเล่มนั้นคื อ อัลกรุอาน เป็นหนั งสือเล่ มเดียวในโลกที่ อ่านแล้ ว ได้ผลบุญอย่างมากมาย อ่านแล้วเพียง 1 อักษรได้ถึง 10 ความดี คงไม่มีการลงทุน ลงแรงอ่ านหนัง สือ เล่ม ใดจะได้รับ การตอบแทนไปมากกว่าหนัง สือเล่ม นี้อีก แล้ ว นอกจากนี้อัลกรุอานยังเป็นหลักฐานที่สนับสนุนหรือโต้แย้งเรา ในวันแห่งการตัดสิน ความดีและความชั่วของเราอีกด้วย "คัมภีรอ์ ัลกุรอานจะเป็นหลักฐานสนับสนุนหรือโต้แย้งพวกท่าน" (บันทึกโดยมุสลิม) 73


อัลกรุอ่านยังเป็นตัวช่วยเรา ในวันแห่งการตัดสิน ที่คอยช่วยถ่ายโทษ ในบรรดาความผิดต่างๆของเรา "จงอ่านอัลกุรอาน เพราะในวันแห่งการตัดสิน มันจะเป็นผู้ขอไถ่โทษ ให้แก่ผู้ที่เป็นเพื่อนของมัน " (บันทึกโดยมุสลิม) อัลกรุอานยังทําหน้าที่ในการยกฐานะแก่ผู้ที่อ่านมัน ซึ่งในการยก ฐานะนั้นไม่ได้ตัดสินว่าจะรวย หรือจน หรือมีหน้ามีตาทางสังคมมากน้อยเพียงใด "อัลลอฮฺจะทรงยกฐานะคนบางคนด้วยคัมภีร์นี้และทาให้บางคนตกต่า โดยคัมภีร์นี้" (อัลหะดีษ) ในบรรดาผู้คนมากมายที่อาศัยอยู่บนหน้าแผนดิน สําหรับอัลกรุอาน ยังเป็นสิ่งจําแนกแยกแยะคนดีที่อยู่บนหน้าแผ่นดินนี้ด้วยจากการอ่าน การศึกษา การสอน ในสิ่งต่างๆที่อยู่หนั้งสือเล่มนี้ “คนที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่านคือผู้ที่เรียนและสอนอัลกุรอานแก่คนอื่น " (บันทึกโดยบุคอรีย์) สําหรับผู้ที่อ่านกรุอานด้วยความตั้งใจ จากความพยายามเพื่อให้เสียง จากการอ่านกรุอานเป็นเสียงที่ไพเราะ เขาจะได้อยู่ร่วมกับบรรดาผู้มีเกียรติ นั้นก็คือ บรรดามะลาอิกะฮฺ แต่ถ้าผู้ใดอ่านไม่คล่อง แต่เขาเหล่านั้นมีความพยามที่จะอ่าน มันด้วยความตั้งใจ แน่นอนแล้วการตอบแทนของเขานั้นจะได้ถึง 2 เท่า "ผู้ใดอ่านคัมภีร์อัลกุรอานด้วยความไพเราะ ราบรื่นและถูกต้องจะได้อยู่ กั บ มะลาอิ ก ะฮฺ ผู้ มี เ กี ย รติ แ ละเชื่ อ ฟั ง ส่ ว นผู้ ใ ดอ่ า นด้ ว ยความยากล าบากหรื อ ตะกุกตะกักตลอดทั้งอายะฮฺก็จะได้รับรางวัลเป็นสองเท่า" (บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม) เปฺาหมายของบรรดาผู้ศรัทธานั้น ย่อมต้องการได้รับความเมตตาจาก พระองค์อัลลอฮฺด้วยสวรรค์ของพระองค์ในตําแหน่งบนสวรรค์นั้น วัดได้จากการ อ่านอัล-กรุอานของเรา ว่าเรามีความจดจํามากน้อยเพียงใด

74


"จงอ่านและทาเสียงของท่านให้เพราะเหมือนกับที่ท่านทาเมื่อตอนอยู่ใน โลก เพราะแท้จริงแล้ว ตาแหน่งของท่านในสวรรค์จะอยู่ที่อายะฮฺสุดท้ายที่ท่านอ่าน" (อบูดาวูด/อัตติรมีซยี ์) จากที่ผมได้เขียน ได้นําเสนอมาเป็นตัวหนังสือมาข้างต้น เป็นเพียง ส่วนหนึ่งเท่านั้นสําหรับคุณค่าของอัลกรุอาน คุณค่าของหนังสือเล่มนั้น จําเป็นที่เรา ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นนักอ่านหนังสือตัวยงหรือเป็นคนไม่ชอบอ่าน เราก็มิอาจปฏิเสธ หนังสือเล่มนั้นได้ เรามิอาจจะปล่อยมันวางไว้อยู่บนชั้นหนังสือ ปล่อยให้ฝุูนมาเกาะ โดยที่มันไม่ปรากฏร่องรอยของการได้หยิบมาอ่าน ขอให้หนังสือเล่มนั้นเป็น call to mind (เตือนใจ) ของเรา ให้เป็นเป็นหนังสือเล่มนั้นของผู้ที่ศรัทธาอย่างแท้จริง หมั่นในการอ่าน หมั่นในการนํามาศึกษา ปรับมาใช้ในการดําเนินชีวิตของเรา เพื่อที่ ให้เราทั้งหลายไม่เป็นผู้ขาดทุนในวันแห่งการตอบแทน

75


76


โ ต๊ ะ น้​้า ช า กั บ คุ ณ ค รู เรื่อง : อิบนุ ซาการีย์ยา I ภาพ : ญ๋อ

“ผู้หญิงนั้น ไม่เคยถูกทอดทิ้งในสายตาอิสลาม” บทสนทนา… กว่ามลายูมุสลิมจะได้ใส่หิญาบ

ดร.สุกรี หลังปูเต๊ะ  ปัจจุบันภาพนักศึกษามุสลิมะฮฺที่สวมอาภรณ์หิญาบ เสื้อแขนยาว และ กระโปรงยาวปกปิ ด มิ ด ชิ ด มี ใ ห้ ได้ เ ห็ น อย่ า งหนาตาตามมหาวิ ท ยาลั ย ต่ า งๆทั่ ว ประเทศและกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญเสียแล้ ว อีกทั้งการแต่งกายลักษณะนี้ยัง เป็นที่ยอมรับและถูกยกให้เป็นกฎระเบียบบังคับแก่นักศึกษาที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยทีไ่ ม่ต้องต่อสู้ ไม่ต้องดิ้นรน เพียงเดินไปตามเส้นทางอันขรุขระในครั้งอดีตที่ถูกทํา ให้ราบเรียบไว้แล้ว ณ ปัจจุบัน หากย้อนกลับไปกว่าสองทศวรรษก่อน (ปี พ.ศ.2530-33) เรื่องดังกล่าว กลับถูกกีดกัน หรือแม้กระทั่งขู่เข็นไม่ให้เข้าเรียนหากยังคงยืนกรานจะสวมใส่หิญาบ แต่งกายตามบทบัญญัติของศาสนา หากคิดจะใส่ ก็อาจต้องแลกกับการไม่ได้เข้า เรียน เข้าสอบ ถึงขั้นพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา ทว่าบทบัญญัติจากพระเจ้า มันคือ ศรัทธาที่ไม่อาจเพิกเฉยได้ บรรดาหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งจึงลุกขึ้น ทวงสิทธิที่ควรได้รับ ต่อสู้บนถนนสายนี้ด้วยตัวของพวกเขาเอง หากจะรอให้คนอื่นยื่นมือเข้ามาช่วยเห็นที ไม่ทันการ และแม้ต้องแลกด้วยอนาคตทางการศึกษา ก็หาได้หวั่นเกรงไม่ วั น นี้ เ รามี นั ด พู ด คุ ย กั บ อาจารย์ สุก รี หลั ง ปู เ ต๊ ะ ถึ ง เหตุ ก ารณ์ ป ระท้ ว ง เรียกร้องหิญาบในอดีต เราพบท่านที่มัสญิดหะรอมัยน์ มหาวิทยาลัยอิสลาม ยะลา อากาศอันร้อนระอุในช่วงเมษายน กลับสงบเย็นด้วยบรรยากาศในมัสญิดที่บุรุษไว้ เครานั่งพักผ่อนกันอย่างหนาตา บ้างก็งีบหลับหลังซุฮฺริ อันเป็นกิจจะลักษณะของ บุรุษอาชาไนยที่พึงมีดั่งเช่นศาสนฑูตของเรา พลอยให้นึกถึง ประหนึ่งเราคือคณะทูต 77


เปอร์เซียที่ดั้นด้นมาหาท่านอุมัร(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ)ผู้นอนนิ่งใต้ร่มเงาไม้อย่างสมถะ ในวิถี ไร้วี่แววยศฐาอิสริยาภรณ์ประดับกาย หรือผู้ติดตามให้ขัดตา อาจารย์สุกรี นั่ง สนทนาพาทีกับใครบางคนอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยเป็นกันเอง หลังเสาต้นหนึ่งในหะรอ มัยน์ ไม่บอกคงมิอ าจรู้ได้ว่า เขาคือ คณบดี คณะศิ ลปะศาสตร์และสั งคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ระหว่างรอทีมงานมาสมทบครบทีม อาจารย์สุกรีก็เดินมาหาเราพร้อมกับ รุ่นน้องอีกคน อาจารย์ชากีรีน สุมาลี ทราบมาภายหลังว่า ท่านก็เป็นคนหนึ่งที่เข้า ร่วมในเหตุการณ์ประท้วงดังกล่าวด้วย ทําให้เพิ่มอรรถรสยิ่งขึ้นในการสนทนาครั้ง แรกของเรา เมื่ออาจารย์พร้อม ทีมงานพร้อม ก็ได้เวลาที่จะนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลา กลับไป ณ เหตุการณ์ประท้วงหิญาบ เหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์มุสลิม ในประเทศไทยไปอย่างสิ้นเชิง เราคงไม่ ไ ด้ ห วั ง มากไปใช่ ไหม หากจะคิ ด ไปว่ า หลั ง จากท่ า นอ่ า นบท สัมภาษณ์นี้แล้ว สายตาที่ท่านใช้มองหิญาบ จะเปลี่ยนไป ช่วยเล่าหน่อยครับ อะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทาให้เกิดเหตุการณ์ประท้วงหิญาบ หิญาบใน วค.เนี่ย หรือราชภัฏยะลาในปัจจุบัน ในยุคนั้นซึ่งยังเป็นวิทยาลัย ครูยะลาอยู่ ที่มาที่ไปมัน innocent มากๆ ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรเลย มันเป็น demand and supply ที่ตอบสนองไม่ได้นั่นเอง ถ้าใช้หลักเศรษฐศาสตร์ คือ ถ้ามัน มี demand ก็จะมี supply ระบบเศรษฐกิจจึงจะเดินต่อไปได้ แต่นี่มี demand แต่ supply ไม่มี เลยกลายเป็นประเด็นขึ้นมา นั่นก็คือ นักศึกษามุสลิมะฮฺปีหนึ่งของ วิทยาลัยครูยะลา ในหลายสาขาวิชา ที่จบจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามน่ะ ครับ ตอนนั้นประมาณ1 คน ซึ่งเคยคลุมผมมาก่อน จบชั้นสะนะวีย์(ชั้น8-9-10) พอ มาเรียน วค. แล้วไม่คลุมผม เพื่อนๆมุสลิมะฮฺตอนนั้นเกิดความรู้สึกว่า เอ๊..คงไม่ใช่ แล้ว แต่พวกเขาก็ไม่ได้คิดเรื่องเปลี่ ยนสถาบัน ไม่ได้คิดที่จะไปเอนท์ฯใหม่ เพราะ นักศึกษาส่วนหนึ่งที่มีความประสงค์จะสวมหิญาบ นี่เป็นนักศึกษา “คุรุทายาท” อะไรคือ คุรุทายาท 78


คุ รุ ท ายาท เป็ น โครงการเพื่ อ ที่ จ ะสร้ า งครู รุ่ น ใหม่ ต ามนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการตอนนั้น เขาบอกว่า ต้องการสร้างครูรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนวิธีคิดของ เด็กในโรงเรียน ซึ่งสาขาวิชาชีพครูนั้นเป็นสาขาที่ตอ้ งอาศัยคนที่มีศักยภาพสูง เรียนดี เกรดดีเข้าไปเรียน เมื่อโครงการคุรุทายาทเข้ามา ทางโรงเรียนก็เลยส่งนักเรียนที่ มี เปอร์เซนไทล์สูงสามอันดับแรกของโรงเรียนไปสอบแข่งขันแล้วก็ได้สองคน อีกคน เป็นเพื่อนมุสลิมะฮฺซึ่งจบชั้นสิบน่ะครับ แล้วก็ไปเรียนเอกประถม ซึ่งต้องเปิดผ้าคลุม ก็มีเพื่อนอีกสองคนที่จบชั้นสิบจากโรงเรียนธรรม(ธรรมวิทยามูลนิธิ ) กับโรงเรียน พัฒนาวิทยา เพื่อนสองคนที่จบชั้นสิบโรงเรียนธรรมเนี่ยก็ไปติดประถมวัย ทั้งคู่ก็ต้อง เปิดผ้าคลุมเหมือนกัน ประกอบกับเพื่อนเอกสังคม เอกคณิต เอกต่างๆนี่ รวมๆแล้วก็ มีประมาณสิบสองคนครับ พี่ปีสองร่วมด้วยคนหนึ่ง มีการดาเนินการอย่างไรบ้างครับ ทีมมุสลิ มะฮฺม าคุยกับ ชมรม “ส่ง เสริมคุ ณธรรมอิสลาม” ซึ่ งมีอิบ รอเฮม ณรงค์รักษาเขต เป็นประธาน ผมก็เป็นเลขาฯ เมื่อได้รับข้อเรียกร้องจากมุสลิมะฮฺ เอ๊ะ..ชมรมช่วยวิ่งเต้นเรื่องนี้ได้มั้ย แล้วเราก็มานั่งคุยกัน ชมรมก็ เอ๊ะ..มันเป็นอะมา นะฮฺของเราแล้วนะ จริงๆมันก็ต้องต่อสู้ ก็เลยมีการประชุม ชูรอ(ปรึกษา) สุดท้ายก็ เริ่มไปถามความคิดเห็นของพี่ๆนักกิจกรรม ยมย. (ยุวมุสลิมยะลา) ตอนนั้นมีอยู่สาม แนวทาง หนึ่งก็คือ ใส่เลย ไม่ต้องขออนุญาตใคร เป็นสิทธิของความเป็นไทยอยู่แล้ว ตามมาตราที่ 25 น่ะครับ สอง ขออนุญาตก่อน เขาให้ก็ใส่ เขาไม่ให้ ไม่ต้องใส่ ทางที่ สาม ใส่...พร้อมๆกับขออนุญาตวันนั้นเลย สุดท้าย ตกลงเรียบร้อยเสร็จ เราเลือก ทางที่สาม เพราะ ถ้าหากว่าขออนุญาตแล้วรอให้เขาตอบเนี่ย รับรองได้ว่าให้เพื่อน จบก่อน ไม่ได้สวมแน่ ถ้าหากว่า ใส่เลยโดยที่ไม่ขอ นักศึกษาจะกลายเป็น หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า.. จะมาทันทีเลยนะ ละเมิดอะไรต่างๆ มาเต็มไปหมด ทีนี้จะกันทั้งสอง ด้าน เราก็เลย ใส่มาวันนั้น ยื่นวันนั้นเลย ก็กลายเป็นเรื่องขึ้นมา พอเขาบอกว่า เรา ไม่ได้ขอก่อน เขาไม่อนุญาตอย่างนู้นอย่างนี้ ทางวิทยาลัยก็มีอาการนิดหน่อย ทีนี้ เรื่องมันก็เริ่มที่จะคาราคาซังขึ้น เพื่อนที่ใส่ ไม่ได้เข้าห้องเรียน อาจารย์เชิญออกนอก 79


ห้ อ ง พอวั น ที่ ส องใส่ อี ก อาจารย์ ก็ ไ ม่ ส อน ลองนึ ก ภาพดู ว่ า นั ก ศึ ก ษ าใน ระดับอุดมศึกษาชั้นปีหนึ่งนะครับ โดนอย่างนี้ ก็เลยมีอาการแบบ กลัวเรียนไม่จบ บ้าง กลัวพ่อแม่ว่าบ้าง กลัวพ่อแม่โกรธบ้าง กลัวจะโดนกล่าวหาว่า มาทําเรื่อง การเมืองบ้าง ก็เลยไม่สบายใจ เป็นเหตุให้ จากสิบสองคน ร่วงลงมาเรื่อยๆ เมื่อโดน กดดัน โดนบีบจากผู้บริหาร จากคณาจารย์ จากอาจารย์ที่ปรึกษา เขาใช้ทุกวิธีครับ วิธีในการที่จะบีบ ที่จะกดดัน เพราะฉะนั้น ใครที่ตัดสินใจห้าสิบห้าสิบนี่ไปต่อลําบาก บรรยากาศวันสอบเป็นยังไงบ้างครับ คือบางคนก็จะยอมถอด จะยอมเพื่อสอบ เพราะว่าวันสอบ เป็นวันสุดท้าย ที่จะติดสินใจอนาคตเขาใช่มั้ยครับ วันสอบนี้เป็นวันตัดสิน ว่าเค้าจะจบหรือไม่จบ เขาจะได้เกรดหรือไม่ได้เกรด เพราะว่าเพื่อนบางคน นี่พ่อแม่ยังไม่รู้ก็มี แต่เขามั่นใจ ว่าเขาทําสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้อง เขาก็ทํา... ดีเดย์คือวันสอบ (เสียงเน้นหนักขึ้น) พวกเราที่ เป็นผู้ชายนี่ก็ตื่นเช้าเลยนะ ตื่นเต้นกว่าเพื่อนๆผู้หญิงซะอีกน่ะ ก็..สนุกครับ สนุก ก็ เป็นการต่อสู้อย่างบริสุทธิ์ของนักกิจกรรมชมรมมุสลิม ในสมัยนั้นน่ะครับ ซึ่งไม่มีมือ ที่สาม มือที่สองยังไม่มีเลย มีมือที่หนึ่งนั่นแหละ ก็..ไอ้เรื่องละหมาด ดุอาอฺ อิสติคอ เราะฮฺ ละหมาดฮาญัต ไม่ต้องพูดถึงเลยน่ะครับ ตอนนั้น คึกคัก ที่หอคุยกันแต่เรื่องนี้ เราก็วางกําลัง ดูว่าเพื่อนอยู่ในสาขาอะไร มีห้องสอบห้องไหน ผมไปประจําอยู่ห้อง สอบ สมมติว่า ห้อง 101 ก็จะไปประจําการอยู่ ก่อนที่เพื่อนมุสลิมะฮฺจะมา สมัยนั้น โทรศัพท์ยังไม่มี น่ะครับ เอ่อ..เพื่อนอีกคนหนึ่ง ก็ไปอยู่ตึกนู้น เพื่อนคนนี้ก็ไปดูตึ ก วิทยาศาสตร์ คนนี้ก็ไปอยู่ตึกศึกษาศาสตร์ คนนู้นไปอยู่ตึกสังคม เพราะว่าต้องการ จับอาการ สังเกตตั้งแต่วินาทีที่เพื่อนมุสลิมะฮฺเข้ามา พอเพื่อนมุสลิมะฮฺเข้ามาถึงปั๊ป นี่ อาจารย์บางคนถึงกับพูดว่า เธอ...ไม่มีสิทธิสอบ เธอทําข้อสอบไม่ได้ นอกจากเธอ ว่าจะต้องถอดอย่างเดียว เพราะว่าก่อนหน้านี้ ตอนที่คุยต่อรองน่ะครับ ทางวิทยาลัย เคยเสนอแม้กระทั่งจะให้เราใส่เฉพาะวันศุกร์ เราบอกว่าไม่ได้ เสร็จแล้วมีข้อเสนออีก ข้อหนึ่ง ก็คือ พวกคุณใส่มาจากบ้าน จากหอพัก พอถึงห้องเรียนปั๊ป วิทยาลัยจะตอก ตะปูไว้ ให้เอาเสื้อคลุม เสื้อแขนยาว ผ้าคลุมนี่ไปแขวน เราก็รับไม่ได้ตั้งแต่ต้น พอถึง 80


วันสอบเขาก็มาบอกว่าโอเค ถ้างั้นไม่ให้สอบ พอไม่ให้สอบล่ะครับ เท่านั้นแหละ สาย ก็ส่งไปเรื่อยๆ เสียงตะโกนทางนู้น ทางนี้ ก็รู้แล้วว่าสอบไม่ได้ ข้อแรกพ่อแม่เราก็เสีย ภาษีเหมือนกัน ทําไมเราจะเอาผ้ามาใส่บนหัวเราไม่ได้ ประมาณสักเก้าโมงเช้ารู้ตัว ว่า อาจารย์ทุกห้องไม่ให้เด็กสอบ ตอนแรกอาจารย์บางห้องก็อะลุ่มอล่วย เพราะ อาจารย์ไม่รู้ว่าเราจะมาไม้ไหน เพราะคิดว่าวันสอบนี่ พวกเราต้องยอมแน่ วันสอบนี่ คงเป็นวันที่นักศึกษาต้องทิ้งไพ่แน่ ปรากฏว่าวันสอบนี่ใส่กันพรึบเลยนะครับ พอเข้า สอบไม่ได้ปุ฻บ เราก็เชิญนักศึกษาผู้หญิงทั้งหมดมารวมกันที่มุศ็อลลา วค. ซึ่งสมัยนั้น เล็กๆ แล้วก็นักศึกษาชายก็มารวมกันที่มุศ็อลลาทั้งหมด แล้วนักศึกษาชายละครับ เข้าสอบมั้ยครับ มันเป็นฮิกมะฮฺในช่วงเวลานั้นน่ะ คือพอนักศึกษาชายทราบข่าวว่ามุสลิ มะฮฺสอบไม่ได้นี่ นักศึกษามุสลิมีนส่วนหนึ่ง เอ๊..เราจะเสียเวลาไม่ไปสอบกับเขา ก็ ขาดทุนสิ มันเป็นบททดสอบสําหรับนักศึกษาชายด้วยครับ คือพวกเรา บิสมิลลาฮฺล่ะ ดร.อิบรอเฮม นี่บิสมิลลาฮฺแล้ว คือ หลายคนบิสมิลลาฮฺแล้ว ยังไงฉันก็ไม่สอบ คือจะ ดูเอาวิชาแรก ถ้าเด็กมุสลิมะฮฺสอบได้หมด เรายอมแก้วิชาแรก เรายอมตกวิชาแรก แล้วค่อยไปสอบแก้เอา วิชาสองสามสี่เราสบาย เราเข้าสอบตามปกติ แต่ถ้ามุสลิมะฮฺ สอบไม่ได้วิชาแรกนี่ เราทําใจได้เลย เราจะได้ไม่ต้องสอบกัน ตรงนี้แหละครับเป็น จุดวัดใจของพี่น้องมุสลิมที่อยู่ในสถาบัน ว่า...จากตอนนั้นน่าจะไม่เกินเจ็ดสิ บคนน่ะ ครับทั้งมหา’ลัย หรือไม่มั่นใจแล้ว แต่ที่มาร่วมกับเราแค่สามสิบกว่าคน มุสลิมเข้าไป เรียน ยังไม่เยอะเท่าไหร่ แต่ที่แน่ๆ คือ มาเข้าร่วมกันสามสิบคน สามสิ บ กว่ า สามสิ บ กว่ า นี่ ก็ พะอื ด พะอมสั ก อี ก ประมาณสั ก ครึ่ ง แต่ เนื่ อ งจาก..ประมาณสั ก สิ บ คนครั บ ที่ ไม่ ใ ส่ ชุ ด นั ก ศึ ก ษาตั้ ง แต่ แ รกแล้ ว เป็ น พวก นกหวีด(พวกระดมพล)อ่ะครับ นั่นล่ะครับเริ่มตักบีรครั้งแรก อัลลอฮุอักบัร ครั้งแรก ดังที่มุศ็อลลา แล้วขยับขบวนไปที่หน้า สนอ. (สํานักงานอธิการบดี ) อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร พอตกบ่าย ถ้าผมจําไม่ผิดน่ะครับ เวลาอาจจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง พอ 81


ช่วงบ่ายปรากฎว่า มีม็อบมาหน้า สนอ. ก็เข้าใจว่ามหา’ลัยจัดตั้งขึ้นมา เป็นม็อบ นักศึกษาต่อต้านการเรียกร้องของพวกเรา เราก็อยู่ทางนี้ที่มุศ็อลลา เขาก็อยู่ทางนู้น นี่พวกเขาเป็นเพื่อนเรานะ เป็นเพื่อนที่เรียนด้วยกัน เล่นด้วยกัน เขาก็ด่าตามคําสั่ง ของเขา ตามสคริปที่เขียนมา ใบปลิวไม่ต้องพูดถึงครับ ใบปลิวนี่ นึกภาพเด็กอายุสิบ แปดที่มาจากปอเนาะ แล้วก็ไม่ใช่เรียนรู้จากประสบการณ์ ตั้งแต่ปี 47 จนถึงปัจจุบัน เยาวชนที่นี่ เดี๋ ยวนี้เขาเรียนรู้ เยอะเนาะ มี ใบปลิว มีเหตุก ารณ์ มี ทหาร มีตํารวจ จนกระทั่ ง รู้ สึ ก ธรรมดาไปแล้ ว ก็ มี แต่ เ ด็ ก รุ่ น นั้ น น่ ะ แค่ เ ห็ น ตํ า รวจเข้ า มาดู แ ล สถานการณ์นี่ การกุมอาการของพวกเรานี่ ..ใจสั่น ทําให้เพื่อนสามสิบ สี่สิบคนนี่ ทยอยหายไปทีละคนๆเหมือนกัน สุดท้ายเราก็ไม่ยอมอ่อนข้อ ทางวิทยาลัยพยายาม ส่งอาจารย์มุสลิมมาต่อรอง เราก็ยังรู้สึกไม่ดีจนถึงตอนนี้น่ะครับ พออาจารย์มุสลิม มาต่อรองปั๊ป เราก็คุยกับอาจารย์ว่า ไม่ต้องมาต่อรองอะไร เพราะว่ามันเป็นคําสั่ง ของอัลลอฮฺ เราก็บอกอาจารย์ พอเห็นว่าไม่สําเร็จ อาจารย์ก็หันหลังไป ก็กดดัน พอสมควร หลังจากนั้นเราก็ร้องเรียนไปยัง ศอ.บต ด้วยเหตุผลที่ว่า นักศึกษาเข้า สอบไปไม่ได้นะครับ นักศึกษาเข้าสอบไม่ได้ ขอความเป็นธรรม ช่วงนี้เริ่มมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ช่วงนี้สายการเมืองก็เริ่มเข้ามา เพราะว่าพอเรื่องเริ่มแดงขึ้นๆ ทาง ยมย.ที่ เป็นพี่ๆ ที่เป็นนักกิจกรรมเก่า ซึ่งเป็นศิษย์เก่าของราชภัฏฯ เขาก็มาให้คําปรึกษา ก็จะ ประชุม อยู่ห้องละหมาดของชมรมทุกๆวัน ทุกๆวักตู แล้วเผอิญว่าตอนนั้น มัสญิดโรง เรียนพัฒนาวิทยา ยังไม่มี ข้าราชการส่วนใหญ่จะไปละหมาดที่ชมรมมุสลิม วค. ข้าราชการพละ ข้าราชการ ประมาณแถวๆ ย่านคุรุ นี่นะครับ ก็จะไปละหมาดที่นั่น กัน ก็ไปเจอกัน จะมีร้านอาหารด้วยละหมาดเสร็จก็ไปกินที่ร้าน มันก็เลยกลายเป็น จุดพูดคุยกันบ่อยๆ หลังจากนั้น ข้อสรุปที่ได้เป็นอย่างไรครับ สรุปในจุดนี้ นะครั บ ว่ าการต่อสู้ข องเราตั้ง แต่ต้น จนจบนี่ มั นมีสองสิ่ง ที่ อยากจะนําเสนอก็คือ เรื่องของการประชุมหรือเรียกว่าการชูรอในหมู่นักศึกษานี่ 82


แหละ คือเราไม่ได้ตัดสินใจคนเดียว ทําคนเดียว เราจะประชุมกันตลอด คือผมคิดว่า บะเราะกะฮฺจากการทํางานตรงนี้แหละที่ทําให้มันสําเร็จขึ้นมา คือเปฺาหมายในการ ต่อสู้ครั้งนี้ ก็เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เป็นคําสั่งของอัลลอฮฺ แต่จะเล่าให้น้องๆฟังว่า ความ บริสุทธิ์ใจของทีมนักศึกษาหญิงกับทีมซับพอร์ตที่เป็นผู้ชายเนี่ย มาชาอัลลอฮฺ ความ บริสุทธิ์ใจตรงนี้มันสามารถที่จะทําให้ผู้ใหญ่เริ่มมองเห็นความสําคัญ จนถึงวันนี้ อัลฮัมดุลิลลาฮฺ เราก็เห็นการแพร่กระจายโอกาสในการสวมหิญาบ ส่วนในเรื่องของ คุณภาพของการสวมใส่หิญาบนั้นก็ว่ากันไป (อ.ชากีรีนเสริมว่า) ผมตั้งข้อสังเกตนะ จริงๆตอนนั้นในทีมงานไม่มีเรื่องแฟนอะไรพวกนั้นเลย ประเด็นนี้มีความสําคัญนะ มันเป็นตัวบอกอิคลาศในการทํางาน เป็นปัจจัยต่อความสําเร็จ เพราะหากมีเรื่อง พวกนี้เข้ามา การทํางานก็จะต้องโชว์ออฟ มันเป็นปัจจัยที่สําคัญมาก มันเป็นสิ่งที่ บริสุทธิ์นะ หิญาบ วค.ยะลา ตอนประท้วงผมยังจําได้เลยนะ ตอนนั้นอยู่ ม.6 อัตตัร (โรงเรียนอัตตัรกียะห์ อิสลามียะห์) เหมารถนั่งกันมาจากนราธิวาส แล้วนักศึกษาที่เป็นแกนนานี่ไปไหน หลังจากที่สู้มาด้วยกัน แต่ละคนยุ่งอยู่กับการประท้วงนี่ พอประท้วงเสร็จมันเหมือนกับว่าอัลฮัม ดุลิลลาฮฺ มันโล่งครับ เวลาอ่านหนังสือไม่มี แต่เวลาสอบก็ไปสอบ ปรากฏว่าได้หมด พวกที่ประท้วง พวกที่เป็นทีมของการประท้วงเนี่ย ถ้าไม่เชื่อลองไปถามดู เขามีเวลา อ่านหนังสือเตรียมมั้ย มันได้อ่ะ แล้วก็ได้ในสาขาที่อยากได้ด้วยนะครับ ถึงแม้ว่าบาง คนไปเรียน ม.อ.ปัตตานี สมัยนั้นคิดว่าง่ายเหรอ แล้วก็ไม่มีเวลาอ่านหนังสื อ คือ... อย่างเพื่อน นี่ก็ยุ่งอยู่กับผม ยุ่งอยู่กับพวกเรา เดี๋ยวนู่นนี่ ไม่มีเวลาอ่านเลย ในขณะ เด็กที่จบม.หกแล้วนี่ เขาก็อ่านกันเป็นปีแหละเนาะ หรือคนที่จะไปสอบเอนท์รอบสอง ก็อ่านกันเยอะ แต่ก็ไม่ได้ในสิ่งที่อยากจะได้ แต่พวกนี้ได้หมดเลย พวกที่ประท้วง อะนะ หลังจากประท้วง ก็มีสอบแก้ด้วยนะ แบบว่าโอเคหมด แล้วก็หลังจากที่จบ การศึกษาเนี่ย สามสิบ สี่สิบคนนี่ หางานทําได้ง่ายมาก มีงานทําหมดเลย อีกกลุ่ม หนึ่งก็คือ กลุ่มแปดคนที่เป็นแกนนําไปต่อรองกับ ศอ.บต นี่ ก็อัลฮัมดุลิลาฮฺ ได้รับ โอกาสจากอัลลอฮฺให้มาเป็นผู้ที่ทําหน้าที่ในการเป็นดาอีย์ในการทํางานในสังคม ไม่ 83


ว่าจะเป็น ดร.อิบรอเฮม ผมเอง แล้วก็เพื่อนๆที่อยู่ตามที่อื่น คือเรามองในมิติของหลัก ตรรกศาสตร์น่ะครับ มันไม่น่าจะเป็นไปได้ คนที่สังคมส่วนหนึ่งมองในวันนั้นว่าเป็น คนที่ถอยหลัง แต่ว่าอัลลอฮฺช่วย ในฐานะที่ เป็นอาจารย์สอนจิตวิทยาการเมือง มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ครับ หิญาบมันคือสัญลักษณ์ที่จะเห็นถึงความใจแคบหรือความใจกว้างของ ประเทศไทย เห็ นมุ สลิ มะฮฺค นหนึ่ง คลุ มหิ ญาบเข้า มหาวิ ทยาลั ยเนี่ย นั่ นคื อ การ ตีความว่าประเทศไทยใจกว้างในสายตาของเรา แต่หลายคนอาจมองว่าไม่ใช่ คือ เห็นการถอยหลัง ความคร่ําครึ ความโบราณ ในสถานศึกษาก็ได้ ยุคที่ไทยจะเข้าสู่ ความเป็นอาเซียนปี 2015 นี้ มหา’ลัยใดไม่เปิดโอกาสให้ใส่หิญาบเรียนและรับ ปริญญา มหา’ลัยนั้นควรตกประกัน สมศ.(สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา) เพราะว่ามันจะไปคู่กับ มหา’ลัยในอาเซียนไม่ได้ มหา’ลัยใน อาเซียนนี้เขาไม่คุยเรื่องนี้แล้ว คุณเป็นใครก็แล้วแต่ คุณก็สามารถที่จะคลุมหิญาบได้ คุณเป็นซิกข์คุณก็คลุมไปซิ คุณจะเป็นแม่ชีฝรั่ง คุณก็คลุมไปตามประสาคุณ การ ปรับตัวทั้งระบบในประเทศไทย แล้วเรามาเสียเวลากับเรื่องเหล่านี้ ผ้าคลุมบนหัว ของคนอื่ น แล้ว คุ ณ จะไปยุ่ งทํ า ไม ที่ ใ ดก็แ ล้ ว แต่ ที่ ไม่อ นุ ญ าตหรื อ บัง คั บ ไม่ ใ ห้ ใ ส่ หิญาบ ผมว่าที่นั่นมีปัญหาเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ อันนี้โพสต์ไปก็ได้นะครับ ผม โพสต์ไปแล้วแต่ฟีดแบ็คมันไม่ดีพอเท่าเรื่องหนองจอก หมายถึงโพสต์ลงเฟสบุ๊คหรือครับ ครับ คือเรื่องมุสลิมะฮฺที่ใส่ผ้าคลุมใหญ่ แล้วเดินผ่านเครื่องสแกนที่สุวรรณ ภูมิ ถ้าพวกเราสังเกต แม้ว่าเครื่องไม่ดังเขาก็จะเรียกไปเจอตะบองใหญ่ เช็คอีกที หนึ่ง ยิ่งปิดหน้าก็จะไปใหญ่เลย เพราะผมเคยเห็นเคสที่มันไม่ดัง แต่เมื่อเด็กคนหนึ่ง น่าจะเป็นนักศึกษาบ้านเราทางภาคใต้ แล้วก็ผ่านเครื่องสแกนแล้วมันไม่ดัง แล้วเด็ก คนนั้นถูกเรียกไปเพื่อที่จะตรวจสอบอีกรอบหนึ่ง ผมก็ไปถามหลังจากนั้นว่า ทําไมถึง ตรวจเขา เขาบอกว่านายสั่ง คือจะไปดูว่าเขาเขียนไหมว่าถ้าพวกใส่ผ้าคลุมใหญ่ผ่าน 84


เครื่องสแกนแล้วไม่ดัง ก็ให้ตรวจ คือจะดูว่ามีข้อความนี้ไหม ถ้าไม่มีนั่นคือคุณละเมิด หรือปฏิบัติเกินหน้าที่ นั่นหมายความว่าคุณละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและความมั่นคง ของมนุษย์ แล้วเราจะร้องเรียนไปยังคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ บน พื้นฐานนี้ นิยามของหิญาบที่เปลี่ยนไป เป็นเพียงแค่ผ้าคลุมผม บางทีก็ใส่กางเกงรัด ? ผมพยายามเข้าใจว่ามันเป็นการนําเข้าวั ฒนธรรมการคลุมหิญาบ คือคน บ้านเราเมื่อก่อนมีให้เลือกระหว่างคลุมกับไม่คลุม ถ้าไม่คลุมก็ไม่คลุมเลย คําว่า คลุมถูกตีความว่าคลุมอย่างดีตามหลักการศาสนา แต่ถ้าคนคลุมเขาไปเจอฝนเจอ แดด เจอลม เจออะไรเขาก็คลุมอยู่นั่น แต่ตอนนี้ไม่ ตอนนี้แค่เพื่อนคลุมฉันก็คลุม คือ หลั งจากผมประท้ วงเรื่ องหิญ าบเสร็จ ผมไปเรี ยนต่อ ที่ม าเลเซีย มั นเป็น ช่ว งที่ มาเลเซียกําลังเจอปัญหานี้พอดี กําลังเจอวัฒนธรรมของคนนุ่งกางเกง มุสลิมะฮฺที่นุ่ง กางเกงเริ่มคึกคักมาก มุสลิมะฮฺที่นุ่งกางเกงตั้งแต่เดิมก็มีก็คือมุสลิมะฮฺที่ขึ้นไปเรียน กรุงเทพ เรียนหาดใหญ่ นุ่งกางเกงเหมือนกัน แต่นุ่งกางเกงไม่คลุมผม เมื่อก่อนถ้า ใครนุ่งกางเกงแล้วคลุมผมจะนุ่งกางเกงหลวมๆ ไม่ใช่กางเกงแฟชั่น แต่ถ้านุ่งกางเกง ยีน กางเกงเดฟ แขนสั้น นี่น่ะไม่ได้มาจากกรุงเทพ แฟชั่นนี้ไม่ได้มาจากบนลงล่าง ผมว่ า วั ฒ นธรรมแบบนี้ เ ป็ น วั ฒ นธรรมที่ ถู ก อิ ม พอร์ ต เข้ า มาจากมา เลเซี ย เพราะหิญาบที่แปลว่า สิ่งที่จะสกัดกั้นสิ่งไม่ดีเข้าในตัวเรานั้น มันยังไม่เกิดขึ้น หิญาบ ในมิติที่มันลึกกว่าการปกปิดร่างกายในความรู้สึกว่า แค่ไม่เห็นเนื้อ กับหิญาบที่ไม่ใช่ แค่ปกปิดรูขุมขนแต่ปิดโอกาสที่ความไม่ดีจะเข้ามาในตัวเราด้วยนั้น มันค่อนข้างจะ ห่ า งมาก คื อ หิ ญ าบเนี่ ย บางที มั น ไม่ ใ ช่ เ ครื่ อ งแต่ ง กายเพี ย งอย่ า งเดี ย ว มั น คื อ เครื่องประดับอะไรด้วย ในช่วงเหตุการณ์ประท้วง หม่อมคึกฤทธิ์ ปราโมช เคยถามสังคมมุสลิมไทย ว่า ทาไมถึงได้มาคลุมตอนนี้ ทั้งๆ ที่อิสลามของคุณนั้นมันมีมานานแล้ว ตอบไม่ยากหรอกฮะ ไม่รู้ ไม่กลัว คนที่ไม่รู้เนี่ย บนพื้นฐานวิธีวิจัยนะครับ มองได้ 3 ขั้น คนจะทําอะไรสักอย่าง จะตัดสินใจใส่ผ้าคลุม เกิดจากพัฒนาการ 3 ขั้น 85


86


ขั้นที่ 1 Knowing ฉันรู้ว่าวาญิบไม่วาญิบ หลักการเบื้องต้นนะครับ ถามว่าคนๆนั้นรู้ หรือยัง ถ้าไม่รู้แล้วคลุม ผมก็ว่าไม่บรรลุเปฺาหมายนะ เขาควรจะคลุมเพราะเขารู้ว่า เป็นคําสั่งของอัลลอฮฺ ถ้าเกิดมาแล้วคลุม คนที่ไม่ใช่มุสลิมในโลกนี้คลุมเต็มไปหมด ผมไปอยู่ที่โรมาเนีย แล้วก็ไปที่ออสเตรียจะเห็นคนแก่ๆ วันอาทิตย์เช้าๆคลุมผมแบบ ออโธดอกซ์เหมือนในหนังฝรั่งโบราณเตรียมตัวไปโบสถ์ เพราะเขารู้ว่าศาสนาเขาสั่ง ของเรานั้น สมมติเ ธอมองคนๆนั้น เขาคลุมเพราะเป็น วัฒนธรรม ประเพณี ไม่ใ ช่ เนื้อหาศาสนา มันก็ไม่ใช่เปฺาหมาย ขั้นที่ 2 Act Knowledge คือ ไม่ใช่รู้อย่างเดียว แต่ตระหนักรู้ว่ามันสําคัญมีผลต่อ สังคมยังไง เช่น สมมติถ้า ไม่ใส่คนก็จะเห็นผมเรา จะทําให้ผู้ชายมีความรู้สึก ไม่ ปกปิดเอาเราะฮฺเนี่ย สังคมมุสลิมในยุคก่อน ขั้นที1่ ไม่เกิดขึ้นแล้ว ขั้นที่2ไม่ต้องพูดถึง จึงไม่แปลกที่อาบน้ําในหมู่บ้านเนี่ยเป็นบ่อน้ําบ่อเดียว ผู้หญิงนุ่งกระโจมอก คลุมผม เวลาไปเรียน เวลาทําปูโละ แต่พอเวลาอาบน้ํานุ่งกระโจมอกไป แสดงว่าการรู้ของ พวกเขารู้แค่ขั้นที่1 แต่เขาไม่ act knowledge เขารู้ว่าพระเจ้าสั่งแต่เขาไม่รู้สึกว่าถ้า ไม่ทําแล้วจะเกิดอะไรบ้างต่อตัวเขาเองและสังคม ลองนึกภาพในอดีตว่าเป็นยังไง ผู้ชายผู้หญิงอาบน้ําในบ่อเดียวกัน ผู้หญิงนุ่งกระโจมอก ผู้ชายก็ผ้าขาวม้า สังคม มลายูมุสลิมนะ ฉะนั้นคําถามที่หม่อมถามเนี่ยไม่แปลก นี่คือสังคมที่ยังไม่มีผู้ที่มาให้ ความรู้อย่างครบวงจร ลักษณะที่ไม่มีใครนําไปสู่การปฏิบัติ ขั้นที่3 Participation ขั้นที่อยากมีส่วนร่วมในเรื่องนั้น รู้ล่ะว่าการคลุมหิญาบเป็น อย่างนี้ และรูว้ ่าถ้าทําและไม่ทําจะเกิดอะไร ขั้นที่ 3 เนี่ย ฉันทํา ฉันใส่ (แล้วรู้ว่าต้อง ทําอะไรสักอย่างเพื่อให้คนอื่นคลุมด้วย) สุดยอดแล้ว คนๆนี้ไม่ถอดแล้ว แต่นี่การใส่ ณ วันนี้ ไม่ใช่ขั้นที่ 3 เป็นขั้นรู้แล้ว ก็ถ้าฉันไม่ใส่เนี่ย เขาจะหาว่าฉันไม่ดี ฉันก็ใส่ไว้ แค่นั้น ขั้นที่ 2 ยังไม่เกิดขึ้นเลย ฉะนั้นการใส่ที่ไม่เกิดขึ้น 3 ขั้น มันไม่มีทางที่จะยั่งยืน หรอก เขาจะไปมีส่วนร่วมหรืออยากไปทํานวัตกรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้มั้ย เมื่อเขาไม่ ตระหนักรู้ในขั้นที่ 2 ก่อน ก็จะไม่เกิดขึ้น 87


แล้วที่ ม.อ.ปัตตานีที่อาจารย์จบมาล่ะ (หันไปถามอาจารย์ชากิรีน) (อ.ชากิรีน) เอ่อ...เด็กที่จบมาจากปอเนาะนี่จะถอด ตอนออกจากโรงเรียนนี่ คลุม แต่พอเข้ามหา’ลัยนี่ถอด แต่นักศึกษาที่มาจากโรงเรียนสามัญทั่วไปนะ พวกนี้ จะคลุ ม ผมมองว่ า มั น เป็ น ความล้ ม เหลวของการศึ ก ษาในปอเนาะมากกว่ า นะ เพราะว่า แทนที่จะสอนให้เ ขาเรียนรู้ เรื่องหิญ าบด้วยตนเอง แต่ เราบังคั บ พอเขา ออกมาจากปอเนาะ ก็เหมือนเขาหลุดออกจากคุก...ไม่ได้ปลูกฝัง (อ.สุกรี) ผมมีคําถามเหมือนกันนะ พวกเราไปยุ่งอะไรเรื่องหิญาบ ทําไมไป ยุ่งกับเขา เรื่องของผู้หญิงเนี่ย เหมือนอาจารย์สมัยนั้นหรือเปล่า (หัวเราะทั้งวง) เมื่อก่อนผมเคยถามตัวเองแบบนี้เหมือนกัน ผมจะดูว่าคุณคิดเหมือนคนรุ่น ผมคิดไหม เพราะหนึ่งในจํานวน(มุสลิมะฮฺ)ที่ต่อสู้เป็นแฟนเราหรือเปล่า มันเป็ นการต่ อสู้ คนละแบบ เหมือนอาจารย์ สู้ เพื่อให้ ได้ ใส่ พวกเรานี่ความตั้งใจจริ ง ก็ คื อ ความหมายของหิ ญ าบมั น เปลี่ ย นไปครั บ อาจารย์ โดยเฉพาะใน มหาวิทยาลัยน่ ะครับ ใช้ คาพูดขวานผ่าซากหน่ อยก็คอื มันขัดตาน่ ะครับ 88


มีกี่คนที่คิดเหมือนพวกคุณ (ทุกคนเงียบชั่วขณะ) คนที่มองแล้วขัดตานี้เยอะ แต่ที่ขัดตา แล้วคิดจะทาอะไรสักอย่างนี้น้อย ข้อที1่ เมื่อกี้คือ Knowing เห็นปั๊บคือไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ ก็รู้เท่านั้นแหละ คือเห็นปั๊บแล้วคิดว่ามั นไม่ใช่ (เพราะขัดคําสั่งอัลลอฮฺ ) แต่เห็นปั๊บแล้วอยากมีส่วน ร่วมต้องทําอะไรสักอย่าง(ขั้น3) อย่างที่บอกไปเมื่อกี้ กี่คนที่มองเคสการใส่หิญาบใน ม.อ. แล้วรู้สึกขัดตา อ้อ!ขัดตา แล้วก็จบ ขั้นต่อไปต้องนับ 1 มาทําอะไรสักอย่างที่ผม ถาม เพราะว่างานนี้เนี่ยให้มุสลิมะฮฺทําอย่ างเดี่ยวๆไม่สําเร็จ ถ้ามุสลิมะฮฺทําอย่าง เดียวนี่เชื่อเลย มันเป็นการแก้ตัวต่อสู้เพื่อตัวเอง แต่ถ้าผู้ชายทํา นั่นแหละครับคือ ความประเสริฐจาก image ที่บอกว่า ‚ผู้หญิงนั้นไม่เคยถูกทอดทิ้งในสายตาอิสลาม‛ ผู้หญิงไม่เคยถูกให้เดินทาง… You will never walk alone ผมสนใจอย่างเดียว อันนี่ สมมติฐานเดิมๆนะ กลุ่มคนที่ถูกกดดันและมารวมตัวกัน มันน่าจะทําได้ดีกว่ากลุ่ม คนที่... ก็มันแค่อยากจะทํา แล้วมันมารวมตัวกันทํา (งานศาสนา) แต่พอผมมานั่ง วิเคราะห์สมมติฐานดู เหมือนทฤษฎีของอิบนุคอลดูนนะ ที่บอกว่าเวลาโดนจับเนี่ย ภาวการณ์สํานึกนี้ย่อมคลาย คือเวลาเราไม่มีสํานึกเนี่ยคิดยังไงก็ไม่ออก อิบนุคอ ลดูน จึง บอกว่ า (ในทฤษฎีว งกลมของท่า น) ‚ช่ วงที่ คนตกต่ํา ที่สุด คื อช่ วงที่ค นจะ เข้มแข็งมากที่สุด‛ แต่เมื่อใดที่ถูกตีแตก มันต้องรวมตัวอย่างเดียว เพราะไม่มีอะไรจะ เสียแล้ว มันก็เริ่มจะแข็ง เมื่อถึงจุดสูงสุดปุ฻บ มันก็จะคลาย ตีเมื่อไหร่ก็แตกปุ฻บ คนที่ ถูกกดดันและสู้ เทียบกับคนๆหนึ่งที่ไม่ได้ถูกกดดัน ทว่าเดินเข้ามาด้วยจิตสํานึกนั้น เมื่อก่อนผมมองแบบแรกมันน่าจะยั่งยืนนะ แต่ ณ ขณะนี้ผมว่าไม่ใช่แล้ว ชื่อของ “อุสตาซอับดุลลอฮฺ อินเดีย” ทาไมต้องเป็นท่าน ? อิทธิพลของอุสตาซ(ต่อแนวคิดฟื้นฟูศาสนาของเยาวชนยะลาในสมัยนั้น) น่าจะอยู่ ในกลุ่ม ยมย. (ยุวมุสลิม ยะลา : กลุ่มหนุ่ม สาวบุคคลภายนอกที่ทํางาน ร่วมกับกลุ่มนักศึกษาใน วค.) ท่านไปเรียนอินเดียมา แล้วก็เอาสุนนะฮฺกลับมาสอน ซึ่งเขาจะรู้จักว่าเป็นพวก “คณะใหม่” น่ะ เพราะโต๊ะครูส่วนใหญ่สมัยนั้ นมักจะให้ ความสํ าคั ญแค่อิ บาดะฮฺเ ท่า นั้น น่ าสนใจว่ าลู กศิ ษย์ อุสตาซอั บดุ ลลอฮฺ เป็ นผู้ ที่ 89


อยากจะเห็นความเปลี่ยนแปลง มูฮํามัดอายุบ ปาทาน เนี่ยใช่เลย (อดีตผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ทางนําและประธาน ยมย.) (อ.ชากิรีนเสริม) อาจารย์อนัส แสงอารีย์ อาจารย์อับดุลมาลิก มูเก็ม ลูก ศิษย์อุสตาซ อับดุลลอฮฺ อินเดียทั้งนั้นแหละ อาจารย์อนัส อาจารย์มาลิก เนี่ย เรียน มัธยมฯที่คณะราษฎรบํารุงนะ แล้วไปเรียนนอกเวลากับอุสตาซอับดุลลอฮฺที่ปอเนาะ อามันของเขา (อ.สุกรี)พวกเราต้องเข้าใจนะว่านบีไม่มีแล้ว อธิการ(ดร.อิสมาอีลลุฏฟี)พูด เมื่อเช้านี้ว่า ณ ขณะนี้ “อุมมะฮฺ มุหัมมาดิยะฮฺ” เนี่ย มันหมายถึงคนที่เป็นมุสลิมแล้ว ก็ไม่เป็นมุสลิมด้วย แต่ถ้า “อุมมะฮฺ วาหิดะฮฺ” เนี่ย มันหมายถึงเฉพาะมุสลิมอย่าง เดียว หมายถึงเราต้องพยายามที่จะทําให้มุสลิมเนี่ยรวมเป็นเนื้อก้อนเดียวกัน แต่ถ้า สมมติว่า “อุมมะฮฺ มุหัมมาดิยะฮฺ” นี้ นบีมุหัมมัดไม่ใช่สมบัติเฉพาะของมุสลิมนะ นบี มุหัมมัดเป็นสมบัติของทุกคนที่เกิดหลังท่าน เพราะฉะนั้นถ้าเกิด เพื่อนในห้องเรียน เนี่ย จะมีพุทธหรือคริสต์ที่ไม่เข้าใจอิสลาม ไม่เข้าใจ ไม่รู้จักนบีมุหัมมัด... เราบาปนะ เพราะเขาคือประชาชาติของ มุหัมมัด แต่ไม่รู้จักมุหัมมัด ทํายังไงให้อยู่รวมกันให้ได้ สมัยนบีมุนาฟิก 30 กว่าคน นบียังเอากุรอาน มาอ่านเองตัวเป็น ๆ วันนี้ลงอายะฮฺ พรุ่งนี้บอก สมัยเราจะมีมุนาฟิก 30-40 เปอร์เซน 99 เปอร์เซนต์ก็ยังไม่แปลกเลย คอนเซปต์ที่ผมว่า “อุมมะฮฺ อิสลามียะฮฺ” นี่สําคัญ เมื่อนบีไม่มี แต่อามานะฮฺของนบี ต้องเดินต่อนี่ อัลลอฮฺไม่ได้ซอลิม อัลลอฮฺจะต้องส่งคนขึ้นมา มีมุญัดดีดขึ้นมา โดยมี หลายทฤษฎี อย่าง 100 ปี มี 1 คน หรือที่ไหนแย่มาก ๆ อัลลอฮฺก็จะส่งมา โดยบางที อาจจะเป็นลูกของคนที่ญาฮิลที่สุด ที่สุดก็มาสอนพ่อตัวเอง บางทีก็เป็นลูกของคนที่ดี ที่สุด เช่น สมมติว่าเป็นลูกของนบียะอ์กูบ ก็คือนบียูสุฟ บางทีก็โนเนมมาเลย ดังนั้นเมื่อประยุกต์เข้ากับโลกปัจจุบัน อันนี้ความเห็นผม อย่าไปตีความ อุสตาซอับดุลลอฮฺ อินเดีย ก็มุญัดดีดตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งที่อัลลอฮฺส่งมาเพื่อให้เกิดการ ช่วยเหลือและการคงอยู่ของอิสลาม แต่ถ้าตามทฤษฎี 100 ปี เกิดคนๆหนึ่ง อันนี้อย่า เอาไปขยายความเพิ่มนะ ในพื้นที่เราเนี่ย ชัยคฺดาวูด อัลฟะฏอนีย์ ในอดีต มาเลเซีย 90


อินโดเนเซีย บรูไน ไทยเนี่ย เอ่ยกันชัดเจนว่าท่านคือมุญัดดีด อีก 100 ปีต่อมาก็ตรง กับชัยคฺอะหฺมัด อัลฟะฏอนีย์ ซึ่งหนังสือของท่านได้รับการตีพิมพ์ในอิสตันบูล หัวใจ ของอาณาจักรอิสลามสมัยนั้น ลองนึกภาพว่าฟะฏอนีย์มันแน่ขนาดไหน และถูกอ่าน โดยเด็กรุ่นใหม่ในอินโดเนเซีย ในมักกะฮฺเอง เราต้องมาดูว่าความมุญัดดิจนี้คอื อะไร? ที่สําคัญคือ การเขียน วันนี้เรามีหนังสือของเชคดาวุดให้อ่าน มุญัดดีดเชคอะหมัดยัง มีอยู่ ผมจะบอกว่าอัลลอฮฺจะส่งคนมา แต่เป็นไปได้ว่ายุคเดียวกันอาจมีสองคนก็ได้ แล้วก็ให้อุมมะฮฺเลือกกันเอง นี่คือสิ่งที่ชะบ๊าบรุ่นคุณทั้งหลายต้องคิด ที่สําคัญคือ ความยั่งยืนของสิ่งที่ กําลังทํา ณ ขณะนี้ วันนี้ ไม่แปลกหรอก เพราะทุกคน 4 โมงปุ฻บ ไม่ต้องออกจาก ออฟฟิศ 5โมง ไม่ต้องไปรับลูก ไม่แปลกหรอก 8 โมงเช้ายังไม่ต้องใส่ชุดไปทํางาน หัวใจยังอยู่ตรงนี้อยู่ แต่เมือ่ ใดเมื่ออย่างอื่นมาบังคับตัวคุณ คุณจะยังทําต่อไปอีกไหม ? เหลือไม่กี่คน เราก็ทําได้ไม่ดีนะ เพราะเราคิดว่าคนที่ทําได้ดีกว่าเราอีกเยอะ แต่เขา ไม่ได้ทํา และลอยไปในหมู่เมฆไปแล้ว ถ้าทุกคนวิ่งไล่ตามเงินเดือนที่มันแพงทุกวัน อิสลามอาจยังไม่อยู่ในภาวะตอนนี้ก็ได้

91


ค น ข อ ง พ ร ะ เ จ้ า นิตยสารดีนทูเดย์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 2547

พิการร่างกาย แต่ไม่พิการศรัทธา 

92


‚อยู่ด้วยกันมา 15 ปี ไม่มีลูก พ่อเป็นคนที่มีชื่อเสียงคือเป็นผู้พิพากษา แล้ว พอมีเรา เราก็เกิดมาพิการ พ่อก็ไม่ต้องการอะไรอย่างเรา พยายามที่จะฆ่าเราทิ้ง แม่ ก็เลยพาเราหนีออกมาอยู่อีกอําเภอ ในจังหวัดตาก‛ ผมสะดุ้งโหยงหลังจากได้ยิน คําพูดแรกของน้องพรทิพย์หรือ รออีซะฮฺ อินตะอุ่นวงศ์ เธอพูดถึงสิ่งแรกที่เธอได้ ประสบ หลังจากลืมตาดูโลกจากคนที่เรียกว่าพ่อ ลืมบอกไป วันนี้ผมมีนัดพูดคุยกับ น้องรออีซะฮฺ ในตอนบ่ายๆของวันพุธ เราคุยกันหน้านูรียาห์อพาร์ ทเมนท์ที่น้องเขา พักอยู่ ‚พ่อจะฆ่าทิ้งตั้งแต่เกิด‛ ผมทวนข้อมูลที่ได้รับจากเธออีกครั้งเพื่อแน่ใจ ‚ค่ะ ตอนที่คลอด พ่อแม่ยังไม่รู้ว่ามีลูกพิการ เพราะหมอเขากลัวแม่จะช็อก ก็เลยให้คนอืน่ ไปเลี้ยงก่อน พอได้ 3 เดือน พ่อมาเห็นเรา ก็จะฆ่าทิ้งอย่างเดียว‛ ‚หลังจากนั้นแม่เลี้ยงดูน้องยังไง อยู่ตัวคนเดียวนี่‛ ‚ก็ใช้ชีวิตปกติ แต่ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นมุสลิมน่ะ แม่ค้าพลอยจนสร้างฐานะ ได้ระดับหนึ่ง จนมีโรงสีเป็นของตัวเองแต่หลังจากนั้นก็เกิดไฟไหม้ ทําให้ไม่เหลืออะไร เลย คือทุกอย่างมันไหม้ไปหมด‛ รออีซะฮฺเล่าให้ผมฟังว่า เมื่อทรัพย์สินทุกอย่างถูกไฟไหม้ แม่ของเธอก็มืด แปดด้าน และกรุงเทพฯ คือคําตอบเดียว แม่เลยโบกรถและขอติดรถเขามา ‚ไม่รู้จักเจ้าของรถเลย คือว่าจะไปตายเอาดาบหน้า ไม่มีอะไรติดตัวมาเลย มีเพียงเสื้อผ้าที่ใส่มาเพียงชุดเดียว‛ เธอเล่าให้ฟังพร้อมเหม่อมองไปข้างหน้าอย่าง ระลึกความหลัง ‚ตอนนั้นจําอะไรได้ไหม‛ ผมถามด้วยความสงสัย ‚ตอนนั้นอายุ 7 ขวบเอง จําอะไรไม่ได้ จําได้แค่ขึ้นรถมา คิดว่ าแม่คงพาไป เที่ยว ไม่รู้ว่าจะพาไปไหน พอมาถึงกรุงเทพฯ ก็มาอยู่แถวซอยรามฯ 53 ก่อน จําได้ว่า ตอนนั้นไม่ได้กินข้าวเลย 7 วันเต็มๆ‛ ‚แล้วนอนกันที่ไหน‛ ผมถามแทรกขึ้นมา ‚ก็นอนตามหน้าร้าน หน้าอพาร์ทเมนท์ แล้วตอนนั้นอพาร์ทเมนท์มีรับสมัคร 93


แม่บ้านพอดี แม่ก็เลยได้งานเป็นแม่บ้าน แล้วคนที่อพาร์ทเมนท์เห็นเรายังเด็กอยู่ เลย อยากให้เข้าเรียน จึงขอกับแม่ว่าจะเอาไปอยู่สุโขทัย ก็ไปเข้าอนุบาลที่นั่น‛ ‚แยกกันอยู่กับแม่หรอ‛ ผมเอ่ยถาม ‚ค่ะ แม่ก็อยู่กรุงเทพ ทํางานไป ถัดมาไม่ถึงปีแม่ก็ ออกจากงานแม่บ้านที่ อพาร์ทเมนท์ แล้วไปทํางานที่ร้านขายของคนจีน อยู่ตรงซอยเทคโนโลยีบางกระปิ เพราะเงินดีกว่า แม่เลยตัดสินใจกลับไปรับหนูที่สุโขทัย ตอนนั้นจบอนุบาลพอดี‛ แดดในยามบ่ายเริ่มแรงขึ้นนิดๆ อากาศไม่ร้อนเท่าไรหรอก แต่แดดที่มันไล่ ส่องมานี่ซิ เล่นเอาวงพูดคุยของเราต้องขยับหลบอยู่เรื่อย แต่ ไม่อาจหยุดการพูดคุย ของเรา เพราะเรื่องราวของน้องรออีซะฮฺกําลัง มาใกล้จุดสําคัญ คือการที่เธอและแม่ ได้เข้ารับอิสลาม ‚พอมาอยู่ที่ซอยเทคโน เจ้าของร้านเขาก็ใจดีหาที่เรียนให้ ส่งให้เรียนที่ โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย ก็ได้เข้าเรียน ป.1 ที่นั่น‛ ‚ชีวิตตอนนี้ก็สบายแล้วซิ ‛ ผมเอ่ยเมื่อรู้สึกได้ว่าเรื่องราวชีวิตของเธอเริ่ม คลี่คลาย ‚ไม่หรอกค่ะ‛ รออีซะฮฺเอ่ยแย้งขึ้นมา ‚อยู่ไปได้ประมาณ 1 ปี เช็คของ เจ้าของร้านหาย แล้วมาโทษแม่เรา ซึ่งจริงๆแล้วแม่ไม่เคยเข้าไปในห้องน้ําเขาเลย เขาให้ลูกน้องมาค้นห้องแม่ แล้วก็ไล่เราออกจากบ้าน‛ ‚แล้วแม่ทํายังไงต่อ‛ ผมถามด้วยน้ําเสียงเศร้าซึม ‚แม่ ก็ ไปหาอาจารย์ ที่ โ รงเรี ย น อาจารย์ แ นะนํ า ให้ ม าเช่ า ห้ อ งอยู่ แ ถวๆ โรงเรียน ซึ่งตอนนั้นแม่ก็พอจะมีเงินเก็บอยู่บ้าง แล้วพอดีแม่ก็มาแต่งงานใหม่กับคน มุสลิม เราทั้งคู่ก็เลยเข้ารับอิสลามตั้ งแต่ตอนนั้น‛ รออีซะฮฺตอบคําถาม แล้วบอกต่อ อีกว่า ‚พอหนูขึ้น ป.2 แม่ก็เข้ามาทํางานเป็นภารโรงที่โรงเรียน ส่วนตัวหนูเองก็ เป็นเด็กทุนของทางโรงเรี ยนด้วย แล้ว แม่ก็เลิกกับป฼า ใหม่ คืออยู่กั นได้แค่ปีเดีย ว เพราะตอนที่เขามาแต่งงานกับแม่ เขาบอกว่าไม่มีเมียมาก่อน แต่หลังจากนั้นเมียเขา 94


ก็มาที่บ้าน ก็เลยเลิกกัน ‛พอเลิกกันแล้วแม่หนูทําไง เปลี่ยนศาสนากลับไหม‛ ผมถามด้วยอาการ แอบวิตก ‚แม่และหนูก็ยังเป็นมุสลิมอยู่ คงจะเป็นเพราะชุมชนที่เราอยู่เป็นชุมชน มุสลิมด้วย เขารู้ว่าเราเป็นมุสลิมใหม่ เขาก็คอยช่วยเหลือตลอด‛ เธอตอบอย่างยิ้ม แย้ม ‚แล้วชีวิตหลังจากนั้นของหนูกับแม่ล่ะเป็นยังไงต่อไป ?‛ ‚หลังจากจบประถมที่หัวหมากน้อย เราก็ไม่รู้จะไปเรียนต่อยังไง มู ลนิธิ ศรัทธาชนเพื่อการศึกษาและเด็กกําพร้าก็เลยรับเรื่องไป ซึ่งก็ได้น้านูรียา(แม่ยายของ อ.อัชอารีย์ เรืองปราชญ์) ช่วยส่งเสียให้เรียน เขาถามว่าหนูอยากเรียนอะไร หนูตอบ ว่าอยากเรียนศาสนา เพราะช่วงนั้นความรู้ศาสนายังไม่ค่อยแพร่หลาย แล้วครูผู้หญิง เองก็หายาก ก็เลยอยากจะเป็นครู คิดถึงตัวเราเมื่อก่อนตอนเรียนฟั รฏูอีน อย่างการ อาบน้ํายกหะดัษ เด็กผู้หญิงก็จะไม่กล้าถามครู เพราะครูเป็นผู้ชาย ก็เลยคิดจะเรียน ทางด้านนี้‛ รออีซะฮฺไปเรียนที่โรงเรียนอัลฟุรกอน ส่วนแม่ของเธอก็ย้ายมาอยู่ที่บ้านคุณ นูรียา มาช่วยเลี้ยงเด็กและมาช่วยงานบ้าน รออีซะฮฺเรียนที่ฟุรกอนได้ปีกว่า ก็ย้ายมา ที่โรงเรียนศาสนูปถัมภ์ คลองเคล็ด จนปัจจุบันก็เรียนอยู่ปีสองแล้ว ผมสนทนากับเธอ จนมาถึงคําถามที่ผมกระอักกระอ่วนใจที่จะถาม แต่ก็ ต้องถาม ‚หนูเนี่ย พิการอย่างไรครับ‛ ‚พิการขาขาดสองข้างค่ะ ข้างขวาตั้งแต่หัวเข่าลงไป ส่วนข้างซ้ายตั้งแต่ หน้าแข็งลงไป คือขาสองข้างยาวไม่เท่ากัน แต่ตอนนี้ใส่ขาเทียมอยู่ ได้มาจากศูนย์ ศิรินธร ทางโรงเรียนหัวหมากน้อยไปขอมาให้ตอนอยู่ ป.5 ส่วนก่อนหน้านั้นหนูก็ใส่ รองเท้าแตะเดินกับเข่าไปไหนมาไหนได้ ‛ เธอตอบด้วยอาการปกติ ไม่มีทีท่าลําบาก ใจอะไร 95


‚คิดน้อยใจไหม ที่ต้องตกอยู่ในสภาพแบบนี้ ?‛ ‚ช่วงแรกก็คิ ดน้อ ยใจอยู่บ่อยๆเหมือนกั น คื อคนรอบตัว เราจะคิ ด ว่าคน พิการไม่สามารถทําอะไรได้ แต่หนูว่ามันไม่ใช่ บางครั้งหนูคิดว่า หนูทําได้ดีกว่าคน ปกติซะอีก อย่างเช่นเวลาที่โรงเรียนจะออกค่ายพักแรม เราจะถูกห้าม จะถูกคัดออก เพราะว่าเราเป็นอย่างนี้ กลัวว่าจะไปลําบากคนอื่น‛ ‚แล้วเลิกคิดน้อยใจเมื่อไหร่‛ ‚เคยมี ผู้ ใ หญ่ ค นหนึ่ ง สอนเราว่ า เวลาทํ า อะไรคิ ด อะไร อย่ า มองคนที่ เหนื อ กว่ า เรา ให้ ม องคนที่ด้ อ ยกว่ า และที่ สํา คั ญ คื อ ถ้า เราไม่ สบายใจอะไรก็ ใ ห้ ละหมาด และวิ ง วอนขอต่ อั ลลอฮฺ ทุก ครั้ ง ที่มี ปั ญ หาไม่ สบายใจน้ อ ยใจ เราก็ จ ะ ละหมาดสุนัตและจะขอดุอาอ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะขอได้‛ ‚แล้วเพื่อนๆล่ะ ปฏิบัติตัวยังไงกับหนู ?‛ ‚เพื่อนๆก็ดี เพื่อนในห้องเรียนจะคอยช่วยเหลือ แต่หนูก็จะพยายามบอกว่า อย่าช่วย เพราะไม่งั้นหนูจะติดนิสัย เดี๋ยวจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพื่อนๆก็จะรู้ แต่ ถ้ามันลําบากจริงๆเพื่อนๆก็จะช่วย เวลามีปัญหาก็จะปรึกษาเพื่อนสนิท ซึ่ง ก็จะคอย ให้กําลังใจทุกอย่าง‛ ‚อยากรู้จังว่าชีวิตประจําวัน ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอนทําอะไรบ้าง‛ ‚หนู ตื่น นอนตอนตี่สี่ครึ่ งแล้ว ละหมาดตะฮัจ ํุด ถ้ ามี เวลาก็จ ะทบทวน หนังสือ ทบทวนกุรอาน พอตีห้าก็อาบน้ํา แต่งตัวไปโรงเรียน ตีห้าครึ่งก็ละหมาดศุบหิ กินข้าวแล้วก็ขึ้นรถเมล์ไปโรงเรียน เรียนจนถึงเที่ยง ละหมาดบ่ายแล้วก็กลับ ถึงบ้าน ประมาณบ่ายสอง อาบน้ําแล้วนอน ตื่นมาตอนอัศริ แล้วก็มาช่วยทํางานบ้าน พอ มัฆริบก็จะเข้าไปสอนกุรอานให้ลูก อ.อัชอารีย์ จนอิชาอ์ แล้วก็กลับมาทบทวนการ เรียนแล้วก็เข้านอน‛ ในช่วงปิดเทอม รออีซะฮฺจะไปช่วยงานของมูลนิธิศรัทธาชนฯ เธอบอกว่า ครั้งแรกที่ไป เขาก็ไม่ค่อยให้ทําอะไร เพราะคิดว่าเธอคงทําอะไรไม่ได้ เธอก็จะช่วยใน สิ่งที่ทําได้ เธอยังช่วยงานของกลุ่มอันศอร และสภายุวมุสลิมโลก 96


‚อย่างอันศอรนี่ ช่วยในเรื่องการฝากเงินของสหกรณ์แล้วก็เรื่องบัญชี ส่ว น มูลนิธิศรัทธาชนจะช่วยงานในสํานักงาน และก็ช่วยในกิจกรรมต่างๆแล้วแต่ว่าเขาจะ ให้ทําอะไร‛ ‚ลําบากไหม ตอนช่วยงาน ?‛ ผมถามด้วยความรู้สึกชื่นชมในความขยัน ของเธอ ‚ไม่ค่ ะ รู้ สึก สนุก กับมั น ไม่ได้คิด ว่า มันเป็ นภาระ คิ ดว่า มัน เป็น กิจกรรม อย่างหนึ่งที่เราทําแล้วเรามีความสุข ทําให้เวลามีค่า ได้ทําในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ‛ ในช่วงท้า ยของการสนทนา ผมถามถึงความฝันของเธอ เธอตอบอย่า ง มุ่งมั่นว่า ฝันอยากเป็นครูที่สอนเด็กกําพร้า เด็กด้อยโอกาสและจะทําให้พวกเขามี โอกาส เหมือนกับที่เธอได้รับโอกาสอยู่ตอนนี้ คล้ายกับงานพวกสังคมสังเคราะห์ แล้วก็มาถึงคําถามสุดท้ายของการสนทนาอันอบอุ่น ที่ผมแอบเสียดายที่เวลาผ่านไป รวดเร็วเหลือเกิน ‚ปกติวิงวอนขออะไรต่ออัลลอฮฺ ?‛ “สิ่งแรกเลยขอให้ตัวเองอยู่ในหนทาง อย่าออกนอกลู่นอกทาง อย่า เป็นคนที่โอหังเย่อหยิ่งในตัวเอง อยากเป็นคนที่น้อบน้อมมากที่สุด เพราะสิ่ง ที่เรากลัวที่สุดคือกลัวเป็นคนโอหังลืมตน ลืมว่าตัวเองเป็นใคร เพราะอัลลอฮฺ ไม่ทรงชอบบ่าวของพระองค์ที่โอหัง สองก็จะขอเรื่องเกี่ยวกับการเรียน สามเรื่อง งาน และสุดท้ายก็จะขอให้แม่เรายอมรับอิสลามให้มากที่สุด อยากให้เขาละหมาดให้ ครบ ถื อ ศิ ลอดให้ ค รบ เพราะตอนนี้ แม่ ก็ ยั ง ละหมาดไม่ ค รบ ถื อ บวชไม่ ค รบสั ก เท่าไหร่‛

97


98


วิ ถี ผู้ น้ อ บ น้ อ ม

เที่ยวละไมไปเกาะลิบง เรื่องราว : เพื่อนชาวประมง I ภาพ : Meng_Ameen

 ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา เรานัดแนะกันหนีปืนฉีดน้ํา ไปหลบเหาะอยู่ที่ เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เพื่อไปเยี่ยมบ้านบังอุ้ม รุ่นพี่ผมหนึ่งปีที่สนิทสนมกันมา เนิ่นนาน จะรู้จักกันจริงๆก็ต้องไปเยี่ยมบ้านกันจริงไหม? มันเป็นหนึ่งในเงื่อนไขการ คบเพื่อนที่ยึดถือเป็นคติประจําใจมาตลอด ถ้าไม่ลําบากจริงๆในเรื่องเวลา ผมก็จะ พยายามไปให้ถึง เว้นแต่คุณจะมีเพื่อนเป็นคนชนเผ่ากาโร ที่อาศัยอยู่ในหุบเขาโอโม ทางใต้ ข องประเทศเอธิ โ อเปี ย อย่ า งนั้ น มั น ก็ ลํ า บากเกิ น ไป บั ง อุ้ ม เป็ น คนมี เอกลักษณ์ที่น่าฉงนอยู่อย่างหนึ่ง เป็นคนชอบข้าวของโบร่ําโบราณซึ่งกลายเป็น ลักษณะพิเศษของแก ผมจึงสงสัยว่าความเป็นอยู่สภาพแวดล้อมของสังคมบ้านเกิด ของแกจะเป็นยังไง ถึงได้หล่อหลอมคนประเภทนี้ขึ้นมาได้ หลังจากแกเรียนจบไป ทํางานที่กรุงเทพฯอยู่พักหนึ่งทําให้พวกเราไม่ได้เจอหน้ากันหลายเดือน แต่แกคงทน พิษวัตถุนิยมสามานย์ไม่ไหว กัดฟันดิ้นรนเหงื่อท่วมใจ ในที่สุดเลยสะบักสะบอม สะพายเปฺคู่กายกับรองเท้าหนังหายากยุค 80’ กลับมาปักหลักปักฐานที่ชายคาอัน คุ้นเคยก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากันใหม่ ตอนกลับมาแกบรรยายความทรมานที่ต้องเจอะ เจอให้พวกเราฟังทั้งคืน ทําเอาหูผึ่งกันเลยทีเดียว อย่างเรื่องละหมาดวันศุกร์ ‚เอ่ะ อุ้มนี้ทาไมไปกินข้าวนานจัง นี่ก็เกือบจะบ่ายสองแล้ว ทาไมยังไม่ กลับมาอีก” เพื่อนๆร่วมงานบ่นพึมพํา ‚ก็รถมันติ ด แถมมัสญิดก็อ ยู่ไกลที่ ทางาน จะให้ทิ้ งละหมาดก็ไม่ได้ เดี๋ยวก็ตกศาสนา สิ้นสภาพการเป็นมุสลิมกันพอดี ” บังอุ้มพึมพํากลับไป อณู ศรัทธาเร่าร้อน เราออกเดินทางจากหาดใหญ่ตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้า มีผม บังนีฟ บังอุ้ม 99


บังซัลมาน บังฮับลี และบังลุกมาน เราต้องขอโทษคนที่อยากไป แต่เราไม่ให้ไปอีก หลายคน ด้วยเหตุผลที่ว่าเรือที่เราเช่ามันเล็กเหลือ ถ้าไปกันเยอะๆ แทนที่จะลงเรือ กลับจมเรือแทนก็เป็นได้ จากคําร่ําลือของเพื่อนๆ บอกว่าทะเลและหมู่เกาะที่ ตรัง สวยงามมาก โดยเฉพาะถ้ํามรกต หากว่าได้พักที่บังกะโลสวยๆริมหาดทรายสีขาว มี เม็ดทรายกระทบแสงอาทิตย์ระยิบระยับราวเศษแก้วบดละเอียดสะท้อนแสงกลับมา ให้ตะลึงตรึงตา ตื่นมาหันหน้าเข้าหาไอแดดอุ่นๆยามเช้า มีลมเย็นพักเอื่อยๆ และน้ํา ทะเลใสๆคอยกล่อมเกลาไพเราะเสนาะหู ยิ่งถ้าได้แหวกว่ายโต้เกลียวคลื่นขึ้นมาจิบ น้ํามะพร้าวเย็นๆ ที่มีดอกไม้เสียบไว้ที่หลอด แหะ แหะ ไม่อยู่ในความคิดพวกเราเลย ฝรั่งผมแดงเรียกว่า “เอาท์ดอร์แมน” อย่างพวกเรานั้น เที่ยวทะเลทั้งที ต้องออกทะเล หาปลาท้าคลื่นพิโรธที่โหมกระหน่ําซัดเรือลําน้อยๆ จนน้ําแตกกระจาย เมื่อถึงเมืองตรัง เราก็รีบไปที่ตลาด พร้อมถือกล่องโฟมใบใหญ่ใส่ น้ําแข็ง อัดเข้าไป เอาไว้ใส่เหยื่อกุ้งกันกลิ่นเหม็นเน่าพร้อมกับแบกคันเบ็ดสะพายบนหลัง ประหนึ่งพี่น้องมุญาฮิดีนผู้ห้าวหาญสะพายปืน ออกไปรบราศัตรูผู้จองหองยังไงยังงั้น “ที่เขาขายกุ้งขายปลาอยู่แถวไหนครับ ? ” บังอุ้มถาม “ทาไม จะเอาปลาไปขายหรอ ” แม่ค้าย้อนประโยคคําถามกลับมา ถ้าเป็น วิชาภาษาไทยคงสอบตก “เปล่าครับ จะไปซื้อกุ้งเอาไว้ทาเหยื่อ” บังอุ้มว่า “จะขายปลาได้ไง ยังไม่ได้ไปตกเลยนะ ” เสียงฮับลีบ่นซิกๆข้างหู แม่ค้าก็ บอกที่ให้ หลังจากได้ของตามต้องการก็รีบเดินไปขึ้ นรถตู้ต่ออีกทีเพื่อต่อเรือที่หาด ยาวไปเกาะลิบงเปฺาหมายของเรา เมื่อถึงเกาะก็ต้องขึ้นรถโชเล่ย์หรือรถพ่วงข้างอีก ต่อ กว่าจะถึงบ้านบังอุ้ม บนเกาะไม่ค่อยมีรถ 4 ล้อให้เห็น มีแต่มอเตอร์ไซค์สองล้อ กับสามล้อ คําว่าวัตถุนิยมอาจไม่มีในพจนานุกรมลิบงก็อาจเป็นได้ ก็อย่างว่าน่ะ ใคร มั น จะเอารถกระบะ รถเก๋ ง ซี วิ ค บรรทุ ก เรื อ มาขี่ เ ล่ น ถ้ า หากมี ก็ เ อาไว้ ข นไม้ ข น ยางพารานั้นก็เพียงแต่รถกระบะโตโยต้ารุ่นพ่อเราเมื่อครั้งยังหนุ่ม 100


ไม่รอช้า ตกเย็นวันนั้นเราเริ่มออกเรือกันเลย เราไปเยี่ยมเกาะต่างๆกันก่อน เมื่อแสงอาทิตย์เริ่มเห็นเป็นสีไข่แดงต้มสุก พวกเราก็เริ่มหย่อนสายเบ็ดลงน้ํา ดังตึ้ง !! ไม่เกินห้านาที ปลาก็ติดเบ็ดบังซัลมานเป็น ตามมาด้วยผมแล้วก็ได้กันมาเรื่อยๆคน ละตัวสองตัวจนเห็นแสงนวลจันทร์ชัดเจน สายน้ําเริ่มเปลี่ยนทิศ ปลามันเลยเงียบไป สถานที่เปลี่ยน วิถีชีวิตก็เปลี่ยน การใช้ชีวิตบนเรือลําน้อยยามราตรี กลาง ทะเลลึกอันเวิ้งว้าง “ยืนละหมาดได้ไหม” เสียงฮับลีอีกแล้ว ตะโกนมาจากท้ายเรือ “มึงจะบ้าหรอ เดียวเรือมันโคลงเคลง ตกลงไปในน้าหรอก ” บังอุ้มตอบอัน นี่เป็นภาษาดอกไม้ของคนใต้เขาละ (HA-HA) บัง หมายถึงถ้ า ละหมาดพร้อมกั น เป็นญะมาอะฮฺ ด้วยเหตุผลความยุ่งยากบวกกับความขี้เกียจของมุสลิมเอง จึงทําให้เวลา ออกเรือหาปลาจะไม่ค่อยละหมาดบนเรือกัน ตอนผมเรียน ร.ด.ปีสอง หลังจากครูฝึก จอมเก็บกดให้พวกเราคลุกโคลนจนเป็นที่หน่ําใจแล้ว ก็ให้พวกเราพักเที่ยงได้ เพื่อน ผมส่วนใหญ่ไม่ยอมละหมาดซุฮฺริกัน “ เสื้อมันเปื้อนโคลน” พวกเขาอ้างว่าอย่างนั้น ผมอธิบายว่ามันไม่ได้นาญิสสกปรกอะไร เพียงแต่ดูสะบักสะบอมไปหน่อย เรายังเอา น้ําดินมาล้างคราบน้ําลายสุนัขได้เลย แต่หลายคนก็ยังยืนยันคําตอบเดิม “เดี๋ยวค่อย 101


ไปรวมกับอัสริแล้วกัน” – ทําไมถึงเป็นแบบนี้ไปได้หว่า ก็เรียนศาสนากันมาทั้งนั้น เฮ่อ… การตกปลากลางดึกเป็นงานบันเทิงทรหด เรามีไฟฉายแค่สองอันที่ใช้ได้ดี อันหนึ่งกับที่กําลังจะเสียอีกอันหนึ่ง วิธีใช้คือต้องเขย่าก่อนหลายครั้งกว่าจะออก ฤทธิ์ เหมือนยาชนิดน้ําสําหรับเด็กเลย บางทีสายเบ็ดก็มาพันกันอีก ง่วงก็ง่วงเนื้อตัว ก็เหนอะหนะ เวลาดึงสายเบ็ดมา ยังติดหินโสโครกอีกต่างหาก กว่าจะดึงมาได้ทํา เอาวัยรุ่นอารมณ์เสียหลายครั้ง บางครั้งคุมตัวเองไม่ได้ ตัดสายทิ้งซะเลย... พวกเรา กะจะไม่หลับกัน ช่วยกันตกปลามาเป็นกับข้าว ช่วงที่อยู่บ้านบังอุ้ม แต่ก็มีแค่บังลุก มาน บังซัลมาน และ บังฮานีฟเท่านั้นที่ตกปลาจนถึงตีสามส่วนผมและคนอื่นๆหลับ ไปตั้งแต่เที่ยงคืนแล้ว มาตกกันอีกที่หลังศุบหฺโน้น “เมื่อเห็นทุกอย่างเป็นไปตามการควบคุม เขาก็ทบแหเข้ามาสามชั้นตวัด ชายข้างหนึ่งพาดข้อศอกขวา มือทั้งสองข้างจีบชายแหที่เหลือเป็นลูกฟูถี่ยิบ เขา ตะแคงตัวหันหน้าสู่เป้าหมายข้างหน้า กางข้อศอกออกในระดับเหนือเอวโยกร่างมา ข้างหลังราวกับจะร่ายราขณะที่สายตาจับนิ่งอยู่กับกระเพื่อมน้าซึ่งกาลังไล่ระลอก ตามกันมา ในจังหวะนั้นเอง เครื่องมือหากินอันเปรียบดังอวัยวะพิเศษก็ถูกปล่อย ออกไป…” (จากเรื่องคนหาปลา เสกสรรค์ ประเสริฐกุล) เป็นเรื่องสั้นที่ทําให้ความจําสมัยเด็กผุดมาราวกับภาพถ่ายเพราะสมัยนั้น สิ่งล่อตาล่อใจเด็กๆมีไม่มากเหมือนตอนนี้ เราไม่มีเกมส์ให้เล่น ไม่มีอินเทอร์เนตให้ เปิดยูทูป ก็ได้แต่จับปลาจับสัตว์หรือแมลงมาเล่นกัน ผมเองก็อยู่ในวงการนี้มานาน จึงพบว่าอาชีพคนหาปลาเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยโชค(อันเป็นตักดีรจากอัลลอฮฺ) ต้อง ผูกตัวเองกับปัจจัยธรรมชาติ น้ําขึ้นน้ําลง ลมพายุ ความแปรปรวนของท้องทะเลทํา ให้มีเรื่องชีริกอยู่มากในวงการนี้ เช่น อย่าข้ามขันเบ็ดเดียวปลาจะไม่ติดเบ็ด ต้องเริ่ม จั บ ปลาตั ว ใหญ่ ก่ อ น ถ้ า หากได้ ป ลาเล็ ก ก่ อ นวั น นั้ น ก็ ซ วยไป ถ้ า เป็ น เรื อ ประมง 102


ชายหาด หัวเรือทุกลําจะมีผ้าหลากสีผูกไว้เพื่อกราบไหว้หัวเรือหรือแม่ย่านาง บ้างก็ ผูกไว้เพื่อความสวยงามเท่านั้น เรือเราเคลื่อนออกมาจากเกาะหินปูน เปลี่ยนที่ตกปลาจากที่เดิมไปยังที่ ใหม่ระหว่างทางมีอะไรบางอย่าง รวมตัวกันเป็นกองใหญ่ดูแข็งแกร่งและน่าเกรงขาม ยิ่งนัก พอเรือเข้าไปใกล้ มันกลับเป็นฟองน้ําสีส้มขนาดใหญ่ที่เกาะกลุ่มกันลอยไป ลอยมากลางทะเลที่เวิ้งว้างไร้ซึ่งจุดยืนของตัวเอง เรากลับมาพักที่บ้านบังอุ้ม แต่ ความมึนก็ยังโคลงเคลงอยู่ในหัว แม้จะนอนพักอีท่าไหนก็ยังไม่หาย บังยาเพื่อนบัง อุ้มบอกว่า “มึงเมาเรือแหล้ว เท่าแต่หว่ามึงไม่ราดหรอก (แค่ว่าไม่อาเจียนออกมา)” แกบ่นออกมาอย่ างไม่สบอารมณ์ แต่ผมว่า ผลที่ได้มันคุ้ม ค่า ทําให้เราไม่ต้องซื้ อ กับข้าวไปหลายมื้อ ชีวิตที่ไม่มีรายจ่ายเหมือนบรรพบุรุษเริ่มปรากฏเป็นแสงวูบวาบ อยู่กลายๆ พลบค่ําหลังอิชาอ์ บังอุ้มพาพวกเราไปกินโกปีน้ําชาตามร้านที่มีมากมาย บนเกาะ เพราะคนที่นี้เขากินโกปีเป็นชีวิตจิตใจ ถ้าเป็นตอนเช้าๆมักจะทักทายกันว่า “ กินโกปีแหล่วหม้าย” เมื่อเด็กเสิร์ฟน้ํามา พวกเรารีบคนน้ําในแก้วของใครของมัน ผมคนไปทางซ้ายส่วนคนที่อยู่ตรงข้ามกลับคนไปทางขวา บังอุ้มคนวนไปมาเพื่อให้ น้ําตาลที่ก้นแก้วมันละลาย ผู้คนบนเกาะมีสัมพันธ์ที่ดียิ่งนัก เมือคนเฒ่าคนแก่ปูวย ลงก็จะมาเฝฺาเหมือนงานบุญงานเลี้ยงเล็กๆประมาณ 20-30 คน เต็นท์จะถูกยกขึ้น ผู้คนจะนั่งดื่มโกปี พูดคุยกันถึงสุขภาพของผู้ปูวย บังอุ้มเล่าว่ายายของแกเองก็เคย ล้มปูวย มีคนมาเฝฺากันเป็นเดือน แล้วอาการของยายแก่ก็ดีขึ้นเป็นปกติ เดินเหาะ ไป ไหนมาไหนได้ แล้วก็ล้มปูวยอีก บรรดาญาติมิตรก็แห่กันมาเฝฺาอีก 20-30 คน แล้ว ยายแก่ก็ไม่ฟื้นมาอีกเลย คงรอวันตื่นขึ้นมาอีกครั้งในวันนั้น เช้าวันรุ่งขึ้น เราเดินเที่ยวชมเกาะ ก่อนที่จะเก็บสัมภาระยัดใส่กระเป฼าเปฺไป ขึ้นเรือที่ท่า ระหว่างรอ ผมเห็นเด็กสองคนกําลังตกปลาแก่แดดอยู่ ผมเลยเข้าไปแจม

103


ด้วย เบ็ดที่เด็กใช้อยู่ขึ้นสนิม ผมเลยเอาเบ็ดใหม่ให้ เราสนุกกันซักพักก่อนรีบลา เด็กๆเดินลงเรือไป “ โอ้โห เอ็งเล่าได้สนุกมากๆ วันหลังชวนกูไปด้วย” ยาลีทําท่าฮึดฮัดขณะเอ่ยขึ้น “ แต่เที่ยวอย่างเดียวนะ ไม่ต้องไปตกปลา ฟังแล้วลาบาก กูไม่ชอบ” ไม่ชอบตกปลา แต่ชอบกินปลา เอ็งมันสบายไม่รู้จักความลําบากของผู้อื่น ชีวิตเลยจืดชืดยิ่งกว่าไข่เจียวลืมใส่น้ําปลาซะอีก น่าว่าทําไมเอ็งจึงกินข้าวปลาไม่เคย เกลี้ยงจานเสียที… แชแวพึมพําในใจ “ อืม ไปเที่ยวเมื่อไหร่ แล้วจะบอกเอ็งอีกที” แชแวตอบ แล้วชายสองคนก็ลุกจากเก้าอี้ไม้ตัวเก่า คุณยายแต่งหิญาบเรียบร้อยโต๊ะ ข้างๆหันมายิ้มให้จนเห็นฟันขาวมีน้ําหมากติดเป็นหย่อมๆ ทั้งสองผงะชั่วขณะกับ รอยยิ้มของคนที่ไม่รู้จัก เพราะในเมืองไม่เจอแบบนี้บ่อยนัก หรือคุณยายจะมาจาก เกาะลิบง... ชายสองคนจ่ายค่าชาร้อนกับโรตีเรียบร้อยก็ขี่มอเตอร์ไซค์ไกลออกไปจาก ร้านโกปีมุ่งสู่มหาวิทยาลัยที่เรียนอยู่ในเขตเมือง ทว่าในห้วงคํานึงนึกคิดของเขาทั้ง สองคน ยังอยู่ในดินแดนแห่งทุ่งนา ทะเล สายน้ํา และชนบทที่ผู้คนยังยิ้มแย้มอย่าง จริงใจอยู่เสมอ

104


หนังสือปลุกคน ซัยฟุดดีน กุตูซ พิมพ์ครั้งแรก วารสารโรตีมะตะบะ ฉบับที่ 46 / 2554

 ย้อนไปเกือบ 20 ปีที่แล้ว บรรยากาศศาสนาที่หอมอบอวลไปทั่วทั้งหมู่บ้าน ซึ่งยังทอแสงด้วยรัศมีแห่งอิสลามและบรรดาวัยรุ่นที่ยังไม่รู้จักน้ํากระท่อมนั้น อรุณรุ่ง หลังละหมาดศุบหิที่มัสยิด พ่อผมจะนั่งรออยู่ที่ห้องของท่าน พร้อมกับหนังสือกองโต บนโต๊ะเล็กๆข้างหน้า และอีกเป็นกองในตู้ข้างเคียงติดผนัง ขณะที่รอรีการร่ําเรียนในเช้านั้น ผมจะรอเพื่อนรักอีกคนหนึ่งที่ทุกเช้าเขาจะ ขี่จักรยาน BMX มาที่บ้านและเรียนพร้อมๆกับผม พ่อผมสอนกุรอานครับ และในเช้า วันต่อมาก็เป็นเช่นนี้ แต่เป็นฝูายผมที่จะต้องขี่จักรยานไปที่บ้านเพื่อนแทน ซึ่งพ่อ เพื่อนผมเป็นอุซตาสสอนวิชานะหูให้พวกเรา ทว่าหนังสือกองโตที่วางไว้อยู่ข้างหน้า พ่อและในบ้านของเพื่อนนั้น ไม่แน่ใจนักว่ามันเป็นกุศโลบายหรือจิตวิทยาบางอย่าง หรือไม่ แต่นั้นผมก็มาคิดเอาได้ตอนที่โตแล้วและคิดว่าสติปัญญาคงไม่ได้ด้อยไปกว่า เด็กในโรงเรียนติวเตอร์ที่มีอยู่ดาษดื่นในช่วงเวลานั้น ซึ่งผมไม่เคยได้แตะ ไม่มีเพื่อนที่ ใส่แว่นตาหนาเตอะ สะพายกระเป฼าใบใหญ่ๆ ซึ่งพวกเขาคร่ําเคร่งกับกองหนังสือ เรียน แต่นั้นก็ด้วยการบังคับของระบอบวัตถุนิยมที่กลืนกินพ่อแม่และตัวของพวกเขา อยู่อย่างเงียบเชียบ ทว่าผมมีเพื่อนที่ทุ่งนาและชนบท เราเจอกันทุกครั้งที่มัสยิดในเวลามัฆริบ โดยมิได้นัดหมาย แต่กุรอานนัดพวกเราไว้ พวกเราต้องมาเรียนกุรอานกับคุณตาแก่ๆ คนหนึ่งที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆจากการนั่งสอนพวกเรา เขายิ้มและสอนพวกเรา อย่างเต็มใจ พวกเราเรียนและยิ้มรับเพราะเขาใจดี หลังเรียนเราก็ขี่จักรยานไปซื้อข้าว เหนียวไก่หน้าปากซอยมากินกัน รอรีวักตูอีชาอ์ที่ย่างกรายเข้ามา โดยไม่มีใครคิดจะ กลับบ้าน ที่ทุ่งนาทุกคนมี BMX คนละคัน ผมเลี้ยงไก่ กระต่าย ปลาหางนกยูง แม้แต่ 105


ลูกอ๊อด พวกเราเป็นญะมาอะฮฺ เล็กๆ(ตอนนั้นผมไม่รู้หรอกนะว่ามันแปลว่าอะไร) รวมตัวกัน คลุกโคลนจับปลาดุกในวันหยุด และเล่นว่าววงเดือนในวันฟฺาแจ้งลมพัด เย็นดี สิ่งเหล่านี้เป็นความจริงเมื่อผมยังเยาว์วัยและเป็นความเพ้อฝันขณะลืมตาตื่น ของคนอีกหลายคนในวันนี้ บรรยากาศธรรมชาติ และ กองหนังสือภาษาญาวี รูมี และอาหรับเหล่านั้น เป็นบางสิ่งบางอย่างที่ทําให้เป็นผมในทุกวันนี้ ผมอ่านไม่ออกหรอก แต่ละเล่มก็ไม่มี รูปให้ดูสักรูปเดียวเหมือนสมุดระบายสีที่น่าตื่นตามากกว่าไหนๆ ขณะเดียวกันผมก็ ไม่เคยแม้เพียงจะแตะกองหนังสือเหล่านั้น เมื่อโตขึ้นมา ผมเริ่มรับรู้ถึงสิ่งที่อยู่ในตู้นั้น มันเป็นสมบัติสําคัญของพ่อ พ่อรักมัน และจะนั่งปัดฝุูน แปะสก็อตเทปให้กับมัน เมื่อ มันชํารุดขึ้นมา ผมเริ่มรู้สึกผูกพันกับหนังสือพวกนี้ขึ้นมาเมื่อพ่อเรียกผมมาช่วยแปะ สก็อตเทปอีกแรง เรื่องบางเรื่องมันอาจเริ่มต้นด้วยเหตุผลง่ายๆ ทว่าเปฺาหมายของมัน มีผลของเหตุที่ยิ่งใหญ่เหลือเกิน ในวันที่ผมได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้านโดยที่ไม่มี ผู้ใหญ่คอยคุมนั้น ผมขี่จักรยาน HARO คันเก่า ไปร้านหนังสือ ผมเริ่มสนุกกับหนังสือ การ์ตูนชุดประวัติศาสตร์นบี ที่ทั้งเล่มเป็นรูปวาด และ ‚25 พระศาสดา‛ ที่รูปหายไป เหมือนถูกเอาไปซ่อน แต่เนื้อหาจะละเอียดมากขึ้น ผมมาเอะใจกับหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ ‚เตือนสติผู้หลงลืม‛ 1 ทีม่ ีหน้าปกพื้นๆสีฟฺาแจ๊ด และตัดต่อรูปมัสยิดนะบะวีย์แบบ 1

แปลจากหนังสือ ‘มุคตาซ๊อร’ ผู้เขียนฮัจยีอับดุลเลาะฮฺ บิน อับดุลมุบีน ภาษามาลายู ในปี ฮ.ศ.1306

106


ตั ด ขอบมาทื่ อ ๆแล้ ว แปะไว้ ข้ า งหน้ า เสมื อ นว่ า สี ฟฺ า นั้ น เป็ น ท้ อ งฟฺ า มั น ทื่ อ ๆและ บริสุทธิ์และเป็นศิลปะมาก จนต้องซื้อมาเก็บไว้ให้ได้ ผมมารู้ภายหลังว่าเนื้อหาข้าง ในนั้น มีคุณค่ามากกว่า หน้าปกซะอีก จากวันนั้น เมื่อผมขึ้นเรียนประถมปลาย รสนิยมของผมยังไม่เคยเปลี่ยน ผมเลือกหนังสือที่หน้าปก มันเป็นหนังสืออะไร วันนั้นไม่รู้ได้ แต่หน้าปกมันสวย และน่าตื่นตาตื่นใจ มาก ผมเคยเห็นคนเช่นในรูปบนปกนี้ในทีวี พวกเขาเป็นชาวอัฟกัน คนพูดเป็นโฆษก รัฐบาลอายุ 20 กว่าๆ เท่านั้น แต่งชุดธรรมดาๆมีผ้าโพกหัวและไว้เครายาวลงมา อย่างน่าเกรงขาม บนโต๊ะแถลงข่าวมีน้ําชาแก้วหนึ่งวางไว้ พวกเขาพูดว่าพวกเขา เกลียดรัฐบาลอเมริกา และจะไม่ย อมยกอุส ามะฮฺ บิ น ลาดิน ให้ใครเด็ดขาด ใน ความคิดของผมแล้ว ผมไม่รู้จักพวกเขา ไม่รู้ว่าพวกเขาทํางานอะไร แต่พวกเขาเท่ห์ มาก ผมเลือกซื้อหนังสือเล่มนี้ก็เพราะที่หน้าปกมีรูปของคนที่คล้ายๆพวกเขาอยู่ มัน เป็นหนังสือที่ผมรักมาก และในปี 2011 นี้ ผมอ่านมันเป็นรอบที่ 4 หนังสือเล่มที่ว่านีก้ ็ คือ ‚ขบวนการฟื้นฟูอิสลาม‛ เขียนโดย มัรญัม ญามีละฮฺ นักเขียนอดีตชาวยิวเชื้อ สายเยอรมัน ที่เบื่อหน่ายสังคมอันเน่าเฟะของอเมริกาที่ใครๆยกย่องนักหนา เธอ เขียนจดหมายคุยเรื่องศาสนาโต้ตอบ เมาลานา เมาดูดี อุลามาอ์ใหญ่แห่งปากีสถาน ผู้ก่อตั้งขบวนการญะมาอัต อิสลามีย์ และสุดท้ายเธอก็ได้มาเป็นมันสมองหลักของ ขบวนการฝูายสตรี เขียนหนังสือศาสนาไว้หลายเล่มจนมุสลิมดั้งเดิมยังต้องละอาย นอกจากหน้าปกจะโดดเด่น ด้วยกลุ่มคนที่เหมือนนั่งประชุมกันอยู่ มีเวที เล็กๆ ทั้งบนและล่างมีคนไว้เคราทั้งขาวและดํา ใส่หมวกและสาราบั่น นั่งฟังชายผู้ หนึ่งที่ไว้เครายาวขาวโพลนอยู่บนเวที มันได้ขยายชื่อหนังสือนี้ไว้ ได้อย่างสมบูรณ์ แบบ ‚ขบวนการฟื้นฟูอิสลาม‛ ตอนนั้นผมไม่รู้จักด้วยซ้ําว่า มุหัมมัด บิน อับดุลวะฮฺ ฮาบ, เมาลานา เมาดูดี,หะสัน อัลบันนา คือใคร แต่อ่านแล้วเหมือนเราได้พลังในการ ทํางานศาสนา อยากจะทําอะไรสักอย่าง นานมาแล้วยิ่งเราอ่านประวัติเศาะหาบะฮฺนบี เราก็ยิ่งรู้สึกว่าชีวิตเรานั้น ห่ า งไกลเหลื อ เกิ น ยิ่ ง อ่ า นยิ่ ง ทํ า ให้ เ รามี ค วามรู้ สึก บางอย่ า งขึ้ น มา ครู ข องผมที่ 107


หาดใหญ่สอนว่า ‚ยิ่งเราอ่านประวัติศาสตร์อิสลามมากเท่าไร เราก็จะยิ่งเห็นความ เป็นมุนาฟิกในตัวเรามากขึ้นเท่านั้น‛ เพราะพวกเราเป็นอิสลามเพียงชื่อเท่านั้น พวก เราไม่เคยเสียสละในหนทางศาสนา ทั้งที่มีโอกาส เมื่อเป็นเช่นนั้น ผมเลยอยากจะรู้ ว่าเราจะทํายังไง จะสู้อย่างไรกับโลกดุนยาในปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้มีคําตอบให้กับ ผม ประวั ติ ศ าสตร์ ข องนั ก ฟื้ น ฟู แ ต่ ล ะท่ า น การทํ า งานของพวกเขา ความทุ ก ข์ ความสุข ความเจ็บปวดของพวกเขา มันหลอมให้หัวใจผมยิ่ง กระตือรือร้น อยากรู้ เรื่องราวอิสลามมากยิ่งขึ้น ยิ่งอยากรู้จักท่านนบี ท่านเศาะหาบะฮฺ มากยิ่งขึ้น บรรดา นักต่อสู้ในหนังสือเล่มนี้ ทําให้ผมได้รู้ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผมได้ร่ําเรียนในโรงเรียน เอกชนสอนศาสนามานั้ น ผมไม่ ได้ อ ะไรเลย นอกจากมั น จะเป็ น กํ า แพง เป็ น รั้ ว ควบคุมผมจากกระแสธารวัตถุนิย มที่ไหลแรงอยู่ภายนอกเพียงชั่วคราว เพราะกลับ จากโรงเรียน ผมก็ต้องมาเจอมันบนท้องถนน เจอมันในทีวี หนังสือเล่มนี้วางอยู่ที่ไหน กันแน่ในโรงเรียนปอเนาะเรา บนโต๊ะ ครูใหญ่ ห้องพักอุสตาซ หรือมันไม่เคยอยู่ใน ลิสต์หนังสืออ่านนอกเวลาของหลักสูตรอิสลาม หรือแนวคิด หนังสือประเภทนี้ไม่มี ตั้งแต่ต้นแล้วในระบบปอเนาะ... นักต่อสู้หรือเหล่ามุญาฮิดีนเหล่านี้ทําให้ผมรู้ว่า อิ ส ลามคื อ สิ่ ง ที่ ส มบู ร ณ์ ที่ สุ ด เมื่ อ เราเป็ น มุ ส ลิ ม เราก็ ต้ อ งทํ า ตั ว ให้ เ ป็ น มุ ส ลิ ม แสดงออกถึง ความเป็นมุสลิม ไม่ใช่เรื่ องง่า ยเลยในการทํางาน พวกเขาถู กรังแก จากยิว จากมุสลิมด้วยกันพวกเขาฆ่าและถูกฆ่าเหมือนที่อัลกุรอานได้บอกเราไว้ และ มันยิ่งชัดยิ่งขึ้นเมื่อได้อ่านเรื่องราวของพวกเขา มองย้อนกลับไปหาเหล่าเศาะหาบะฮฺ และมาดูตัวเราเองในวันนี้ “แท้จริงอัลลอฮฺนั้นได้ทรงซื้อแล้วจากบรรดาผู้ศรัทธา ซึ่งชีวิตของพวกเขา และทรัพย์สมบัติของพวกเขา โดยพวกเขาจะได้รับสวนสวรรค์เป็นการตอบแทน พวก เขาจะต่ อ สู้ ใ นทางของอั ลลอฮฺ แ ล้ ว พวกเขาก็ จ ะฆ่ า และถู ก ฆ่ า เป็ น สั ญ ญาของ พระองค์เองอย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์เตาเราะฮฺ อินญีล และอัลกรุอาน และใคร เล่าจะรักษาสัญญาของเขาให้ดียิ่งไปกว่าอัลลอฮฺ ดังนั้น พวกท่านจงชื่นชมยินดีใน การขายของพวกท่านเถิด ซึ่งพวกท่านได้ขายมันไป และนั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง” อัลกุรอาน 9/111 108


คําพูดของพวกเขาล้วนมีอิทธิพลอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ประวัติชีวิตการ ต่ อ สู้ ข องเมาลานา เมาดู ดี ในหนั ง สื อ นี้ เป็ น ตอนยาวที่ มั ร ญั ม ญามี ละฮฺ พร้ อ ม นําเสนออย่างเต็มที่เกี่ยวกับครูของเธอ ในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ.1953 เมาลานา เมา ดูดี ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเนื่องจากท่านไปออกคําตัดสินว่า พวกก็ อดยานี ย์ ซึ่ง อ้ า งว่ า ผู้ นํา ตนเองเป็น ศาสดาคนที่ 26 ในอิน เดี ย นั้ น เป็ น พวกนอก ศาสนา ท่านถูกทางการจับกุม และขณะที่ผู้มีอํานาจในบ้านเมืองเริ่มเล่นเกมขอให้ เมาดูดีขออภัยโทษและก้มกราบสิโรราบนั้น เมาลานากลับประกาศออกไปว่า ‚ ถ้า หากเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าที่จะให้ข้าพเจ้าตายแล้ว ไม่ว่าพวกเขาจะทํา อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็จะไม่สามารถทําให้ข้าพเจ้าบาดเจ็บได้แม้แต่น้อย‛ ความ หนักแน่นนี้ เคยปรากฏมาแล้วในนามของ อิมามอะหฺมัด บิน หันบัล เมื่อครั้งที่ถูก ผู้ปกครองบังคับให้ท่านออกฟัตวาว่ากุรอานไม่ใช่กะลามุลลอฮฺ แต่เป็นเพียงมัคลูก นั้น อิมามอะหฺมัดได้ยืนหยัดต่อสู้และพูดกับลูกศิษย์ที่มาเยี่ยมท่านในคุกมืดและพู ด ว่าท่านมีพฤติกกรมเหมือนบรรดานบีว่า ‚เงียบเลย... ที่จริงแล้ว ฉันไม่เห็นสิ่งใดมากไปกว่าประชาชนกาลังขาย อิสลามของพวกเขา และฉันเห็นบรรดาอุละมาอ์ที่อยู่กับฉันขายความศรัทธาของพวก เขา ดังนั้นฉันจึงถามตัวเองว่า ฉันเป็นใคร? ฉันเป็นอะไร? ฉันจะไปกล่าวอะไร ต่ออัลลอฮฺในวันพรุ่งนี้ เมื่อฉันยืนต่อหน้าพระองค์แล้วพระองค์ถามฉัน ถ้าฉันขาย อิสลามเหมือนคนอื่นๆ ดังนั้น ฉันจึงมองดูไม้ที่เฆี่ยนตีและดาบ แล้วฉันก็เลือกมัน‛ นักคิด นักต่อสู้ 15 ท่าน ในหนังสือเล่มนี้ ได้ตอกย้ําเราถึงภารกิจที่พวกเรา ควรทํา การนิ่งเฉยไม่ใช้สิ่งที่อิสลามสอนสั่ง อิสลามสอนให้เราเคลื่อนไหว และลงมือ ทําอะไรสักอย่างเพื่อช่วยอัลลอฮฺ การช่วยอัลลอฮฺนั้นคือการธํารงรักษาอิสลามในตัว เรา ในเพื่อนๆ และสังคมของเรา เราได้ลงมือทําอะไรบ้างหรือยัง อิสลามไม่ใช่ทฤษฏี ทีป่ ระทับฝุูนอยู่ในตําราเรียนฟัรฎูอีนให้เราท่องจําเฉพาะช่วงวัยหนึ่งเท่านั้น แต่มันคือ ทุกอย่างของเวลาชีวิต วิชาเตาฮีดในโรงเรียนแขกของมุสลิมบางกอกหรือโรงเรียนตา ดีกาของมุสลิมมลายูมันจะต้องถูกใช้ในการตอบคําถามของมะลาอิกะฮฺ มุงกัร กับ 109


นากีร ในหลุมกูโบร์ ผู้ยินดีปรีดาต่อผู้ศรัทธาแต่ดุดันกับมุสลิมที่ละเลยคําสั่งอัลลอฮฺ และเหล่าผู้ปฏิเสธ เราจะมั่นใจได้ยังไง ถ้าเรายังใช้ชีวิตสนุกสนานในดุนยา เรามี อิสลามเพียงแค่ในบัตรประชาชน และกรอกลงไปอย่างผ่านๆในใบสมัครต่างๆของ งานบนดุนยา เราได้ ใส่ผ้าคลุม ผมอย่ างแปลกประหลาดพร้อมกั บการแต่ง กายที่ พิลึกพิลั่น แล้วเราก็เรียกมันว่า หิญาบอย่างนั้นหรือ เรายังได้บอกว่า อัลกุรอานนั้น สํ า คั ญ แต่ เ ราไม่ พ ยายามเข้ า ใจมั น เราอ่ า นอั ล ฟาติ ห ะฮฺ ใ นทุ ก วั ก ตู แต่ เ ราไม่ รู้ ความหมายของมันเมื่อถูกถาม เราบอกว่าเราอยากเข้าสวรรค์ แต่เรากําลังพยายาม หนีออกจากมัน ประวัติศาสตร์แห่งอุมมะฮฺอันยิ่งใหญ่ของเราได้เปิดกุรออกมาด้วยคํา ว่า ‚อิกเราะอ์‛ ผ่านการแต่งตั้งตําแหน่งร่อซูลแด่บุรุษอาชาไนยนามว่ามุ หัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ กาลเวลาผ่านไปสหายของท่านปกปฺอง รักษาศาสนานี้ไว้อย่างเข้มแข็ง อย่างไม่กลัวตายและเกลียดดุนยายิ่งกว่าใดๆ วันนี้พวกเรารักดุนยาและเกลียดความ ตาย แต่เราก็ยังบอกว่าเราเป็นมุสลิม เรารักอัลลอฮฺและรักนบีแล้ว ในวันกียามัต คงน่าละอายไม่น้อย ถ้าผมไม่มีผลงานให้มะลาอิกะฮฺ ได้อ่าน ต่อหน้าผู้คนทั้งหมดที่ทุ่งมะชัร ผมอ่าน ผมรับรู้ชีวิตของนักสู้เหล่านั้น ‚ขบวนการฟื้นฟู อิสลาม‛ อาจเป็นสิ่งที่ยากไปสําหรับคนๆหนึ่งที่ทุกวันนี้ก็ยังทําบาปเล็กบาปน้อยไม่ หยุดหย่อน แต่ผมเตาบัตขออภัยต่อพระองค์ หะดีษในวัยเด็กที่เราได้ยินบ่อยๆว่า โลก ในยุคสุดท้าย มุสลิมจะสู้กับยิว แม้แต่ต้นไม้และก้อนหินที่ยิว มาซ่อนตัวก็จะเรียกเรา ให้มาฆ่ายิวข้างหลังมัน ...‚มาสิ โอ้...อับดุลลอฮฺ พวกมันอยู่หลังข้า‛ ถ้าวันนั้นผมยังมีชีวิตอยู่ ผมจะถูกต้นไม้และก้อนหินเรียกไหม อับดุลลอฮฺ ในวันนั้นไม่ใช่ชื่อคน แต่มันแปลว่า ‚บ่าวของอัลลอฮฺ‛ ผมมั่นใจว่าถ้าผมไม่ทํางาน หรือทําอะไรสักอย่างเพื่ออัลลอฮฺแล้ว ผมก็คงจะไม่ถูกเรียกแน่นอน ยิวคงจะมาฆ่าผม และผมก็คงนอนตายหน้าคว่ําไปอย่างไร้เกียรติ ใดๆ ทั้งที่ร่างกายนั้น ยังครบสามสิบ สอง เมื่อผมอ่อนแอ ผมจึงคิดถึงอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมมีมักตูม เศาะหาบะฮฺตาบอดผู้ นอนตายชะฮีดในสงครามกับเปอร์เซียอันดุเดือดที่สุด ผมคิดถึง เชค มุหัมมัด บิน อับ ดุลวะฮฺฮาบ สุลต่านอับดุลฮามิด ที่ 2 อุมัร มุคตาร สัยยิด กุฎุบ สัยยิด อัลเมาดูดี 110


อิมามหะสัน อัลบันนา เมื่อเป็นเช่นนั้น ผมจึงคิดและตระหนัก ผมไม่ใช่มุนาฟิก ผม เอ่ยว่าอัลลอฮฺคือพระเจ้าของผม ตลอดจนถึงนาทีนี้ ผมจึงหยิบดินสอ และลงมือเขียน อิสลามให้คุณได้อ่าน เผื่อว่าท่านจะได้มาพบอ่านและยินดีปรีดาเดิน ทางร่วมกับผม บนเส้นทางแห่งการทํางานอย่างหนักและการเสียสละนี้ บาเราะกัลลอฮุฟีกุม... “ แท้จริงบรรดาผู้กล่าวว่าอัลลอฮฺคือพระเจ้าของพวกเรา แล้วพวกเขาก็ยืน หยัดตามคากล่าวนั้น มะลาอิกะฮฺจะลงมาหาพวกเขา) โดยกล่าวกับพวกเขาว่า (พวก ท่านอย่าหวาดกลัวและอย่าเศร้าสลดใจ แต่จงต้อนรับข่าวดี คือสวนสวรรค์ซึ่งพวก เจ้าได้ถูกสัญญาไว้ / พวกเราเป็นผู้อารักขาพวกท่านทั้งในการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และ ปรโลก และสาหรับพวกท่านในสวนสวรรค์นั้น จะได้สิ่งที่จิตใจของพวกท่านปรารถนา และสาหรับ พวกท่ านในสวนสวรรค์ นั้นจะได้ในสิ่งที่พ วกท่า นเรีย กร้อง / เป็ นการ ต้อนรับด้วยความเมตตาจากพระผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ ” อัลกุรอาน 41/30-32

หนังสือไฟต์บังคับ! "ไม่มีสุนนี่ ไม่มีชีอะฮ์ มีแต่อิสลาม" โคมัยนีกับคําขวัญปฏิวตั ิอิหร่าน,1979

"ข้าฯไม่ศรัทธาในพระเจ้าที่มอบอํานาจ การปกครองแก่อุสมานและมุอาวิยะฮฺ" โคมัยนีเขียนไว้ใน กัชฟุล อัซร็อร, หน้า 107

อย่และศาสนาของพวกเขา าให้เด็กเลี้ยงแกะ มาเพ่นพ่านอยู่ใกล้ๆคุณ

จงอ่านมันและเล่าสิง่ ที่คุณรู้แก่เด็กๆ

http://SheAh-Part02.4shared.com (541 หน้ายังน้อยไปสําหรับแผนชั่วอันแยบยล และยาวนานนับศตวรรษของลัทธิชีอะฮฺ)

111


‘จงอ่าน’

สอนลูกให้ดี จี.คิงส๎ลี่ย์ วอร์ด เขียน / สมิทธิ์ จิตตานุภาพ แปล / สานักพิมพ์ผีเสื้อ สอนลูกให้ดี หรือ ‚สอนลูกให้รวย‛(ชื่อเก่า) หนังสือเรียนรู้เชิงปรัชญาธุรกิจที่ไม่เคยล้าสมัย ดําเนินเรื่องใน รูปแบบของ ‚จดหมายจากพ่อถึงลูกชาย‛ ตั้งแต่เด็กและค่อยๆเติบโต เรียนจบ ฝึกงาน บรรจุเป็นพนักงาน ระดับล่าง ได้เป็นเป็ นผู้บริหาร และดํารงตําแหน่งประธานบริษัทแทนพ่อ พิมพ์ใ นภาษาญี่ปุูนครั้งแรก มกราคม 2530 ก็พิมพ์ซ้ําถึง 30 ครั้งในหนึ่งปี ในชีวิตของผมมีหนังสืออยู่สองประเภท คือหนังสือที่ ต้อง อ่านกับหนังสือที่อยากอ่าน แต่กับเล่มนี้ มันเป็นทั้งสองประเภทในเล่มเดียว ที่สําคัญคือหนังสือนี้สอนเรา ให้ประสบความสําเร็จในธุรกิจในขณะที่เป็นมนุษย์ ชอบช่วยเหลือคนอื่น ไม่ใช่ในขณะเป็นหุ่นยนต์ จิตใจ เย็นชา มุ่งหวังแต่เพียงเงินทอง หลังจากหนังสือเล่มนี้เลิกใช้ ชื่อว่า 'สอนลูกให้รวย' ปรากฏว่า มีหนังสือ แนวนี้เกิดขึ้นมากมาย ทั้งยังตั้งชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงจนอาจสับสนได้ (ก่อนอ่านดูชื่อผู้เขียนให้ดีนะครับ)

คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก ดักลาส อดัมส์ เขียน / แทนไท ประเสริฐกุล แปล / สานักพิมพ์เพิร์ล พับลิชชิ่ง หนังสือเล่มนี้ จะทําให้คุณ อึ้ง ทึ่ง และฮาในเวลาเดียวกัน ขายไปแล้ว 15 ล้านเล่มทั่วโลก Sci-Fiction เล่ม นี้หลุดโลก(ออกสู่จักรวาล) ฉีกทุกกฎ แหวกทุกขนบ เรื่องราวผจญภัยของหนุ่มหน้าจืดคนหนึ่งที่เสียดสี ความเป็นจริงของชีวิตบนโลกได้อย่างเจ็บแสบ เรื่องนี้เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้ว แต่แนะนําให้อ่าน ฉบับหนังสือให้จบก่อน เพราะถ้าคุณเผลอไปดูหนังก่อน จะทําให้เกิดมลภาวะในจินตนาการได้ครับ

112


เดินสู่อิสรภาพ ประมวล เพ็งจันทร์ เขียน / สานักพิมพ์สุขภาพใจ ‚เดินสู่อิสรภาพ‛ เป็นหนังสือที่ถูกเขียนโดยศาสตราจารย์ ประจําภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เลือกฉลองวันเกิดครบรอบ 51 ปี ของตัวเองด้วยการ เกษียณตัวเองออกจากระบบราชการ แล้วเดินเท้า จากที่ทํางาน คือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลับไปยังบ้านเกิดตัวเอง ณ เกาะสมุย โดยมีเงื่อนไขว่าจะไม่ พกพาเงินสักบาท เพราะผู้เขียนมีความเชื่อในเมตตาธรรมของมนุษย์ แล้วผู้เขียนก็ถ่ายทอดเรื่องราวการ เดินทางของตัวเองผ่านหนังสือเล่มนี้ ส่วนตัวผมรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้ทําให้ผมได้มองเห็นเมตตาธรรมในหมู่ มนุษย์ และอยากเป็นมิตรกับทุกคน และรู้สึกใจเย็นขึ้นมากหลังจากได้เริ่มอ่าน อยากให้ทุกคนได้อ่าน หนังสือเล่มนี้ เผื่อว่าเราจะรักเพื่อนมนุษย์มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

สุนทรียะแห่งความเหงา วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ เขียน,สานักพิมพ์ mars space ไม่ว่าใครบนโลกใบนี้ ล้วนต่างก็เคยประสบอารมณ์ “เหงา”กันแล้วทั้งสิ้น แต่เชื่อไหม ขณะที่ใครต่อใครต่าง พยายามสลัดความเหงาทิ้ง แต่มีใครบางคนพยายามทําความสนิทกับมันอยู่ ใครคนนั้นที่ว่า คือคุณวุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ ผู้เขียน Cyber Being และ การเดินทางใต้เงาตึก ไม่เพียงแต่เขาพยามตีสนิท หากแต่ ยังลงทุนด้วยการ พาตัวเองเข้าไปทดลอง เพื่อให้เข้าใจตนเอง ผู้อื่น และสังคมที่กําลังปูวยเพราะความ เหงา เป็นที่มาของหนังสือที่มีชื่อว่าThe Aesthetics of Loneliness “สุนรียะแห่งความเหงา เทคโนโลยี เปลี่ยนไป แต่ความเหงาในใจไม่เคยเปลี่ยน” มีหลายบทในเล่มที่ผู้เขียนสะท้อนความพยายามเติม เต็มพื้นที่กลวงโบ๋ภายในใจของมนุษย์ด้วยการสื่อสารอันไร้พรหมแดนที่มีมากจนเกินพอดี ผลที่ได้คือเติม เท่าไหร่ก็ไม่มีวันเต็ม นับว่าเป็นเป็นอีกเล่มที่น่าสนใจ เผื่อเราจะเข้าใจสังคมที่เรายืนอยู่มากขึ้น

113


กรณีการฆาตกรรม โต๊ะอีหม่ามสะตอปา การ์เด ศิริวร แก้วกาญจน์ เขียน สานักพิมพ์ผจนภัย นิ ยายขนาดสั้ น ที่ มี กลวิ ธี การนํ าเสนออย่ างน่ าสนใจ นั่ นคื อการเขี ยนแบบรายงานคํ าให้ การของ พยาน การใช้ภาษาไม่เยิ่นเย้อ ไม่มีบรรยายมากนัก เนื้อเรื่องแบ่งตามชื่อตัวละครแต่ละคน ตามคําให้การ ของตัวบุคคลในหลายฝูาย ซึ่งตัวละครแต่ละคนสามารถแบ่งได้ชัดเจนคือ เป็นฝูายชาวบ้าน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้นําในหมู่บ้าน คําให้การของแต่ละคนจะขัดแย้งและหักล้างซึ่งกันและกัน อ่านจบแล้วรู้สึกว่า ในที่สุด แล้วเราก็ไม่รู้เลย ว่าความจริงเกี่ยวกับ กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เดนั้น เป็นอย่างไรกันแน่ สะท้อนความเป็นไปในสามจั งหวัดภาคใต้ได้อย่างดี นั่นคือความเป็นจริงที่ว่า ใครอยู่เบื้องหลังกันแน่ และไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ใครพูดความจริงบ้าง เป็นนวนิยายที่ซับซ้อนและสะท้อนสังคมได้อย่างยอด เยี่ยมครับ กระทั่งกลายเป็นหนังสือที่ถูกจัดให้เป็นหนังสือที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ขนาดนั้น เชียว! (หนังสือที่ทําให้คนฉลาดขึ้นมักถูกสั่งห้ามจากรัฐบาลเสมอ - กองบรรณาธิการ)

เรื่องเล่าร้านหนังสือ สุพัตรา สุขสวัสดิ์ เขียน สานักพิมพ์ GM ‚อยากเปิดร้านหนังสือบ้างจัง‛... นี่คงเป็นความฝันของผู้คนจํานวนไม่น้อยเลยละ แต่ในความเป็นจริงนั้น การเป็นเจ้าของร้านหนังสือมันไม่ง่ายเหมือนในฝันน่ะสิ หนังสือเล่มนี้ จึงได้ถ่ายทอดประสบการณ์จริงจาก การทํางาน ณ ร้านหนังสือในช่วงหนึ่งของนักเขียน ที่มีนามว่า “สุพัตรา” แล้วผูอ้ ่านจะพบว่า “ร้านหนังสือ นั้นมีชีวิตและมีค่ามากกว่าสถานที่วางหนังสือขายเสียอีก”

 114


พี่น้อง เพียง ลมปาก

เรา เมื่อคืนดูบอลไหมนาย เธอๆ ละครเมื่อคืนสนุกเนาะ เขา เมื่อคืนมันมาที่บา้ น แม่กําลังต้มมันเผา อาหารมื้อแรกในรอบสามวัน บ้านเราถูกเผา

แม่เราถูกกระชากผ้าคลุม พ่อถูกมันจับตัวไป พี่สาวถูกมันข่มขืน น้องเรา... ถูกยิงเข้าที่หน้าอก ขณะไปเปิดประตู รอหน่อยนะ พีจ่ ะสมัครเข้าหามาส แล้วพี่จะตามนายไป อาฮัด... น้องรัก 115


สิ่งที่ท้าให้หัวใจเต้นแรง

116


117


ชนกลุ่มน้อยที่แปลกหน้า หะสัน อัล-บัศรีย์

 คนแปลกหน้า... ไม่มีความสุขเมื่ออยู่ท่ามกลางคนสามัญทั่วไป พวกเขาไม่เชื่อในสิ่งที่คนปกติเชื่อ ไม่ตื่นเต้นกับสิ่งที่คนทั่วไปให้ความสาคัญ ไม่นิยมในสิ่งที่คนอื่นให้ค่า เวลาอยู่ร่วมกันท่ามกลางสังคมใหญ่ คนแปลกหน้าจึงมีสถานะไม่ ต่างกับคนกลุ่มน้อย ไม่ได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคนทั่วไปได้ พวกเขาใฝูฝันถึง สิทธิ และเสรีภ าพ แต่ไ ม่ เชื่ อว่าระบอบการปกครองที่ม นุษย์สร้างขึ้นจะ เข้า ถึง จุ ด หมายนั้น บางคนจากพวกเขาเหล่ านั้ นศรัท ธามั่ น ต่อ อํา นาจ บางอย่างแบบไร้เหตุไร้ผล ให้ความสําคัญกับสิ่งที่มองไม่เห็น ด้วยเชื่อมั่น และสัมผัสได้ถึงการมีอยู่จริง กระทัง่ คนปกติตราหน้าว่าเกินไป พวกเขาไม่ได้ตั้งใจทําตัวให้แตกต่างเพียงเพื่อนําเอาความแปลก มาเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว พวกเขาเพียงแต่กระทําในสิ่งที่ตัวเองเชื่อว่า ธรรมดา แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ถูกแยกแยะออกจากกลุ่มชนธรรมดา จริง อยู่ว่าความแปลกเป็นหนึ่ง ในรูปแบบที่จั ดแบ่ง และจํ าแนก ผู้คนออกจากกันแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว แต่... เนื้อหาสาระจะทําหน้าที่คัดสรร และแยกแยะคนแปลกออกจากคนกล้าอีกชั้นหนึ่ง 118


จดจาไว้เถอะเพื่อน... เวลาคนทั่วไปแสดงความนับถือคนกล้า ลึกๆแล้วก็ด้วยเหตุผลที่ว่า ความกล้านั้นมีเนื้อหาสาระทีน่ ่าเคารพ ! ความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่ประวัติศาสตร์ได้ แสดงเห็นว่า หลายครั้งที่เหตุการณ์สาคัญๆเกิดขึ้นเพราะคนกลุ่มน้อย การต่อต้านการ ยึดครองของโซเวียตโดยนักศึกษาฏอลิบานไม่กี่พันคน สู้แบบกองโจรแต่ สามารถขับไล่มหาอานาจ อันเป็นที่มาการล่มสลายของสหภาพโซเวีย ตอย่ า งยั บ เยิ น เกิ ด เป็ น ประเทศเล็ ก ประเทศน้ อ ยอี ก หลายประเทศ ตามมา ชัยคฺ อะหฺมัด ยาสีน บุรุษที่สภาพร่างกายอัมพาตตั้งแต่เอวลงมา ก่อตั้งขบวนการปลดปล่อยฟิลิสฏีน (กลุ่มฮามาส) ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของ ประชาชนและมาตุภูมิของปู่ย่า ซึ่งถูกแย่งชิง ขับไสไล่ส่งจากศัตรูที่ถูก เอ่ ย ในคั ม ภี ร์ ข องพระเจ้ า จนสามารถต่ อ กรกั บ เหล่ า วายร้ า ยอย่ า ง อิสราเอลจนถึงทุกวันนี้ บนเส้นทางแห่งการต่อสู้ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน บนเส้นทางอัน ยาวไกลซึ่งเขาเหล่านั้นหวังจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ณ พระเจ้าของเขา ไม่ใช่คนปกติสามัญ จึงพยายามฟันฝ่าบ่มเพาะก้าวล่วงจากขั้นตอนหนึ่ง มาสู่อีกระดับหนึ่ง เพราะเหล่าคนปกติสามัญนั้นเป็นพวกยึดติดสิ่งเก่าๆ ที่หาประโยชน์มิได้และจมปลักอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่อย่างน่าเบื่อ สุลต่าน มุหัมมัด อัลฟาติหฺ นั้นไม่เคยคิดที่จะเป็นอัศวิน ไม่ใช่ เด็กหนุ่มที่เห็นอนาคต ทว่าเขาเห็นหะดีษนบี คนที่ทาอย่างนั้น คนที่เริ่ม จับดาบ ฝึกขี่ม้าเพื่อการนี้นั้น ก็คือผู้ที่มองเห็น ผู้เชื่อมั่นกับสิ่งที่เป็นไป ไม่ได้ต่างหาก พวกเขาคือบรรดาผู้แปลกหน้าในหมู่ผู้คน ผู้นั้นคือผู้เชื่อมั่นสัตย์ จริง ผู้บุกเบิก หาใช่คนธรรมดาไม่ 119


คนธรรมดานั้น มักรักษาสิ่งเดิมไว้ แสวงหาปัจจัยยังชีพ เพื่อการ ดารงอยู่และภาวนาให้มีกินไปวันๆ แต่ผู้หยั่งเห็นนั้น ดารงอยู่เพื่อเสี่ยง กระโดดข้าม ฝัน ถึงสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ เผื่อว่าฟ้าฤดูร้อนจะเทเม็ด ฝนลงมาบ้าง คนกลุ่ ม น้ อ ยตื่ น เต้ น ยิ น ดี ทุ ก ครั้ ง เมื่ อ พบว่ า บนโลกนี้ ไ ม่ ไ ด้ มี เพียงเขาคนเดียว ตามท้องถนนมีคนประเภทนี้เดินปะปนเฮฮาอยู่ เมื่อ ไม่มีความสุขที่จะอยู่กับคนส่วนใหญ่ บางคนจึงคาดหวังมิตรภาพและ ความอบอุ่นจากชนกลุ่มน้อยด้วยกัน นอกเหนือจากส่วนที่ได้รับมาแล้ว จากเบื้องบน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสมหวัง คนแปลกหน้าไม่มีค วามสุ ขเมื่ออยู่ท่ามกลางคนสามัญทั่วไป พวกเขาไม่ เ ชื่ อ ในสิ่ ง ที่ ค นปกติ เ ชื่ อ ไม่ ตื่ น เต้ น กั บ สิ่ ง ที่ ค นทั่ ว ไปให้ ความสาคัญ ไม่นิยมในสิ่งที่คนอื่นให้ค่า ความจริงมีเศร้ากว่านั้น เพราะความขัดแย้งเล็กๆ ที่เกิดขึ้นกับ คนกลุ่มน้อยด้วยกันเอง ก็โหดร้ายและหดหู่ไม่แพ้ความขัดแย้งของคน ทั่วไป แรงบันดาลใจจาก ‚ชนกลุ่มน้อย‛ ของ อธิคม คุณาวุฒิ อุทิศแด่ ชัยคฺ อุสามะฮฺ บิน ลาดิน เราะหิมาฮุลลอฮฺ

120


121


122


123


124


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.