คำ�นำ� หนังสือ “พระวาจากับชีวิต ปี A” เล่มนี้ จัดทำ�ขึ้นเพื่อตอบสนองแผนงานอภิบาล ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ปีคริสตศักราช 2010-2015 ทีว่ า่ “พระศาสนจักร คาทอลิกในประเทศไทยได้กำ�หนดงานอภิบาลหลักในงานเสริมสร้างศิษย์และพัฒนา ความเชื่อโดยพระวาจา ศีลศักดิ์สิทธิ์ และการอธิษฐานภาวนาดังนี้คือ ให้พระสงฆ์และ สัตบุรุษร่วมกันทำ�ให้วันอาทิตย์เป็นการฉลองวันพระเจ้าอย่างแท้จริง และต่อเนื่องในการ ดำ�เนินชีวิต ซึ่งเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่จะต้องให้ความสำ�คัญเป็นอันดับแรกกับพิธีบูชา ขอบพระคุณวันอาทิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเทศน์ประกาศพระวาจาและการฉลอง ศีลมหาสนิท”(แผนงานอภิบาลฯ ข้อ 18) หนั ง สือ “พระวาจากับ ชีวิต ปี A” เล่มนี้ ทางศูนย์ค ริส ตศาสนธรรมฯ ต้อง ขอขอบคุณคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ที่ได้จัดแปลบทเทศน์จากหนังสือ 2 เล่ม คือ Sunday Homilies ของ Mark Link, S.J. และ Pray with the Bible ของ Noel Quesson เพื่อให้สมาชิกของคณะได้ใช้ในการรำ�พึงกับพระวาจาในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งผมเห็ นว่าน่าจะมีประโยชน์เช่นเดียวกันสำ�หรับพระสงฆ์ในการเตรียมเทศน์ รวมทั้งพี่น้องคริสต ชนในการรำ�พึงกับพระวาจาในทุกๆ สัปดาห์ จึงขออนุญาตนำ�มาจัดพิมพ์ การรำ � พึ ง พระวาจาของพระเจ้ า นั้ น ช่ ว ยให้ พ ระวาจาเติ บ โตและบั ง เกิ ด ผล ในตัวเราดังที่พระเยซูเจ้าตรัสว่า “พระอาณาจักรของพระเจ้ายังเปรียบเสมือนคนที่นำ� เมล็ดพืชไปหว่านในดิน เขาจะหลับหรือตื่น กลางคืนหรือกลางวันเมล็ดนั้นก็งอกขึ้น และ เติบโตเป็นเช่นนี้ได้อย่างไรเขาไม่รู้” (มาระโก 4:26-27) บาทหลวงเอกรัตน์ หอมประทุม ผู้จัดการแผนกคริสตศาสนธรรมฯ 20 ตุลาคม 2013
สารบัญ หน้า
• สัปดาห์ที่แปดเทศกาลธรรมดา • สมโภชพระตรีเอกภาพ • สมโภชพระวรกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า • สัปดาห์ที่เก้าเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สิบเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สิบเอ็ดเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สิบสองเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สิบสามเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สิบสี่เทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สิบห้าเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สิบหกเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สิบเจ็ดเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สิบแปดเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สิบเก้าเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่ยี่สิบเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่ยี่สิบเอ็ดเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่ยี่สิบสองเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่ยี่สิบสามเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่ยี่สิบสี่เทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่ยี่สิบห้าเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่ยี่สิบหกเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่ยี่สิบเจ็ดเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่ยี่สิบแปดเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่ยี่สิบเก้าเทศกาลธรรมดา
1-10 11-21 22-33 34-44 45-54 55-65 66-75 76-86 87-98 99-110 111-121 122-133 134-145 146-157 158-169 170-180 181-191 192-202 203-212 213-222 223-232 233-244 245-255 256-267
สารบัญ หน้า
• สัปดาห์ที่สามสิบเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สามสิบเอ็ดเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สามสิบสองเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สามสิบสามเทศกาลธรรมดา • สัปดาห์ที่สามสิบสี่เทศกาลธรรมดา • วันฉลองและสมโภช - วันที่ 19 มีนาคม สมโภขนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารีย์ - วันที่ 25 มีนาคม สมโภชแม่พระรับสาร - วันที่ 24 มิถุนายน สมโภชนักบุญยอห์น บัปติสต์ บังเกิด - วันที่ 29 มิถุนายน สมโภชนักบุญเปโตรและเปาโล - วันที่ 15 สิงหาคม สมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ - วันที่ 1 พฤศจิกายน สมโภชนักบุญทั้งหลาย
268-277 278-287 288-299 300-310 311-322 323-330 331-338 339-349 350-357 358-371 372-383
1
วันอาทิตย์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา อิสยาห์ 49:14-15; 1 โครินธ์ 4:1-5; มัทธิว 6:24-34 บทรำ�พึงที่ 1 ปีกเทวดา จงแสวงหาพระอาณาจักรของพระเจ้าก่อน แล้วพระองค์จะทรงเพิ่มทุกสิ่ง เหล่านี้ให้ อาเธอร์ กอร์ดอน เขียนบทความทีน่ า่ ประทับใจมาก เขาตัง้ ชือ่ เรือ่ ง ว่า “สารจากทะเล” และเป็นเหตุการณ์หนึ่งในชีวิตของเขา คืนหนึ่ง เขามีปัญหาที่หาทางออกไม่ได้ เขาโทรศัพท์ไปหาเพื่อน คนหนึ่ง ชื่อเคน แล้วจึงไปหาเขา หลังจากพูดคุยกับเพื่อนคนนั้นครู่หนึ่ง กอร์ดอนก็มองปัญหาของเขาด้วยมุมมองใหม่ กอร์ดอนรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณเพื่อนของเขา จึงพูดกับเขาว่า “เคน คุณมีจิตใจที่สงบและความคิดสุขุมมาก คุณได้มาจากที่ไหน” เคนคิดอยู่ครู่หนึ่ง ราวกับกำ�ลังต่อรองกับตนเองว่าเขาควรตอบ คำ�ถามนีห้ รือไม่ แล้วเขาก็เปิดลิน้ ชักโต๊ะ หยิบกล่องกระดาษแข็งกล่องหนึง่ ออกมาวางบนโต๊ะ และพูดว่า “ถ้าผมมีคุณสมบัติอย่างที่คุณพูด มันก็มา จากสิ่งที่อยู่ในกล่องนี้” เขาไม่เปิดฝากล่อง แต่เล่าเรื่องต่อไปดังนี้ บทเทศน์ ปี
A
2
“ในยุคทศวรรษที่ 1920 ผมเป็น “หนุ่มน้อยมหัศจรรย์” ของ วอลสตรีท ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมแตะต้องกลายเป็นทอง ผมหาเงินได้อย่าง รวดเร็ว และผมก็ใช้เงินอย่างรวดเร็วเช่นกัน ผมแต่งงานกับภรรยาของผม ไม่ใช่เพราะผมรักเธอ แต่เพราะเธอช่วยให้ผมดูมีหน้ามีตา และในเวลานั้น ผมรักใครไม่เป็น นอกจากรักตนเอง แล้ววอลสตรีทก็ลม่ สลาย จากเศรษฐี ผมกลายเป็นยาจก ผมสูญเสีย เงินออมทั้งหมดในชีวิตในวันเดียว คุณคงเดาปฏิกิริยาของผมได้ไม่ยาก ผมหลบไปอยู่ในกระท่อมชายทะเลตามลำ�พัง แล้วเริ่มดื่มเหล้า หลังจาก ดื่มอย่างหนักได้สามวัน ผมตัดสินใจจะยุติทุกสิ่งทุกอย่าง ผมจะว่ายน้ำ� ออกไปในมหาสมุทรให้ไกลที่สุด แล้วปล่อยตนเองไปตามยถากรรม เช้าวันรุง่ ขึน้ ผมตืน่ ขึน้ และเดินลงไปทีช่ ายหาด วันนัน้ อากาศปัน่ ป่วน เหมาะสมสำ�หรับแผนการของผม ลมพัดแรง และคลื่นลูกใหญ่มาก เมื่อผม เดินไปถึงน้�ำ ทะเลผมก้มลงมองทีพ่ น้ื และเห็นบางสิง่ บนทราย มันเป็นสีขาว แวววาว ผมก้มลงหยิบมันขึ้นมา มันอยู่ในกล่องนี้” เมื่อพูดเช่นนี้แล้ว เคนก็เปิดฝากล่อง ภายในกล่องมีเปลือกหอยที่ บอบบางและสวยมากชิน้ หนึง่ มันบอบบางมากจนบางส่วนของมันดูเหมือน กระดาษเช็ดหน้า เคนบอกว่า “ขณะที่ผมยืนบนชายหาด มือถือเปลือกหอยนี้ ผมไม่เข้าใจว่ามัน รอดจากลมพายุมาได้อย่างไร มันถูกคลื่นซัดมากระแทกหาดทรายโดย ไม่แตกหักได้อย่างไร ทันใดนั้น ผมก็รู้คำ�ตอบ เปลือกหอยรอดมาได้เพราะมันไม่ต่อสู้ กับทะเลและคลื่น มันเพียงแต่ลอยมาตามคลื่น และยอมรับว่านี่คือความ เป็นจริงในชีวิต เปลือกหอยชิ้นนั้นทำ�ให้ผมเข้าใจว่าผมควรดำ�เนินชีวิตอย่างไร แทนที่จะโกรธเมื่อเกิดเรื่องร้ายๆ ขึ้นในชีวิต และแทนที่จะกังวลกับปัญหา ชีวิต ผมควรปล่อยตัวลอยตามมันไป และยอมรับว่านี่คือความเป็นจริง บทเทศน์ ปี
A
3 ในชีวติ เพราะไม่วา่ ผมจะโกรธและกังวลใจอย่างไร ก็ไม่สามารถเปลีย่ นแปลง อะไรได้ เมื่อผมเดินกลับมาจากชายหาด ผมถือเปลือกหอยกลับมาด้วย และผมเก็บมันไว้ตั้งแต่นั้นมา” กอร์ดอนถามว่าเปลือกหอยนี้ชื่ออะไร เคนตอบว่า “ปีกเทวดา” เรื่องนี้มีบทเรียนสอนใจเราสองข้อ เหมือนกับที่พระเยซูเจ้าทรง สอนในพระวรสารวันนี้ ข้อแรก เรื่ อ งนี้ ช่ ว ยให้ เข้ า ใจคำ � สั่ ง สอนของพระเยซู เจ้ า ว่ า เรา ไม่สามารถรับใช้นายสองคนในเวลาเดียวกันได้ เราไม่สามารถรับใช้ทั้ง พระเจ้า และเงินทองพร้อมกันได้ เคนตัดสินใจจะรับใช้เงินทอง ดังนั้น มันจึงกลายเป็นนายของเขา และเขากลายเป็นทาสของมัน มันควบคุมเขาจนเขาไม่มีที่ว่างในหัวใจ เหลือให้สิ่งอื่นใดอีก ข้อสอง เรื่องนี้ช่วยให้เราเข้าใจคำ�สั่งสอนของพระเยซูเจ้า ว่าเรา ไม่ควรกังวลกับเรื่องวัตถุ “ท่านช่างมีความเชื่อน้อยจริง ... อย่ากังวล เพราะพระบิดาของ ท่ า นผู้ ส ถิ ต ในสวรรค์ ท รงทราบแล้ ว ว่ า ท่ า นต้ อ งการทุ ก สิ่ ง เหล่ า นี้ จง แสวงหาพระอาณาจักรของพระเจ้า และความชอบธรรมของพระองค์กอ่ น แล้วพระองค์จะเพิ่มทุกสิ่งเหล่านี้ให้” พระเยซูเจ้าทรงสอนศิษย์ของพระองค์ในเรื่องเดียวกับที่เปลือก หอยนี้สอนเคน เปลือกหอยไม่มีทางต่อสู้กับมหาสมุทรและลมพายุได้ ดังนัน้ มันจึงไม่กงั วล มันไม่โกรธ มันเพียงแต่ยอมรับว่านีค่ อื ความเป็นจริง ในชีวิต เราทุกคนในวัดวันนี้ไม่ใช่เศรษฐีนักเล่นหุ้น และไม่มีใครเป็นทาส เงินเหมือนเคน แต่เราทุกคนพยายามรับใช้นายสองคนไม่มากก็น้อย ซึ่ง เป็นเรื่องปกติ เพราะเราต้องการผลประโยชน์จากทั้งสองด้าน บทเทศน์ ปี
A
4
แต่ในบทอ่านพระวรสารวันนี้ พระเยซูเจ้าตรัสว่าเราไม่สามารถ เป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนายได้ เราไม่ควรหลอกตนเองว่าเราทำ�ได้ นอกจากนี้ คงไม่มีใครในวัดวันนี้ที่สูญเสียเงินออมทั้งหมดในชีวิต ไปในวันเดียวเหมือนกับเคน แต่เราทุกคนเคยพบกับอุปสรรคบางอย่าง ไม่มากก็นอ้ ย และเราทุกคนล้วนเคยกังวลใจ และโกรธ เพราะอุปสรรคเหล่านี้ ในบทอ่านจากพระวรสารวันนี้ พระเยซูเจ้าทรงเตือนเราว่า ความ กังวล และความโกรธไม่สามารถเปลี่ยนอุปสรรคเหล่านี้ได้เลยแม้แต่น้อย แทนที่จะกังวล และโกรธ เราควรยอมรับว่านี่คือความเป็นจริงในชีวิต และเราควรทำ�มากกว่านั้นอีก เราควรตระหนักว่าพระบิดาสวรรค์ ของเราทรงสามารถใช้อุปสรรคเหล่านี้ และเปลี่ยนให้กลายเป็นสิ่งที่มี ประโยชน์สำ�หรับเราได้ พระองค์ทรงสามารถเปลี่ยนสิ่งที่ดูเหมือนเป็น กางเขนให้กลายเป็นพระพรได้ ดังนั้น บทอ่านจากพระวรสารประจำ�วันนี้จึงเสนอบทเรียนสำ�คัญ แก่เรา พระวรสารบอกเราว่าอย่ากังวลเมือ่ เผชิญกับอุปสรรคในชีวติ เพราะ อุปสรรคเหล่านี้เชิญชวนเราให้ยอมรับมันด้วยความวางใจว่า ในระยะยาว พระเจ้ า จะทรงเปลี่ ย นอุ ป สรรคเหล่ า นี้ ใ ห้ ก ลายเป็ น พระพรสำ � หรั บ เรา เหมือนกับที่พระองค์ทรงทำ�เพื่อเคน เราจะสรุปบทรำ�พึงนี้ด้วยบทภาวนาดังนี้ พระเจ้าข้า โปรดทรงช่วยเราไม่ให้กังวลกับอุปสรรคต่างๆ โปรดทรงช่วยเราให้มองอุปสรรคเหล่านีว้ า่ ไม่ใช่ก�ำ แพงขวางกัน้ เรา แต่เป็นแผ่นหินให้เราเหยียบเดินไปหาพระองค์ โปรดทรงช่วยให้เราเห็นว่า แม้เราอาจหลั่งน้ำ�ตาในเวลากลางคืน แต่หัวใจของเราจะเปี่ยมล้นด้วยความยินดีของพระองค์ เมื่อเวลาเช้ามาถึง บทเทศน์ ปี
A
บทรำ�พึงที่ 2 มัทธิว 6:24-34
5
การอ่ า นบทพระวรสารประจำ � วั น นี้ อ ย่ า งผิ ว เผิ น จะเป็ น ความ ผิดพลาดอย่างร้ายแรง เป็นไปได้หรือที่พระเยซูเจ้าทรงประณามเงินทอง หรือทรงสนับสนุนให้เราเกียจคร้าน และดำ�เนินชีวิตอย่างสะเพร่า ... เป็นไปได้หรือที่พระองค์จะบอกหัวหน้าครอบครัวผู้กำ�ลังตกงานว่าเขา ไม่ควรกังวลกับวันพรุ่งนี้ ... เมื่อทรงยกตัวอย่างเรื่อง “นกในอากาศที่ ไม่ต้องทำ�งาน” พระองค์หมายความว่าผู้เป็นบิดามารดาไม่ต้องเตรียม อาหาร หรือกักตุนอาหารไว้รับประทานหรือ ... เราต้องบอกคนจนที่ บางครั้งไม่มีแม้แต่ปัจจัยพื้นฐานในการดำ�รงชีวิตหรือว่าเขาควรรอคอย อัศจรรย์ เพราะพระญาณสอดส่องจะช่วยเขาไม่ให้อดตายได้... ถ้าเป็นเช่นทีก่ ล่าวข้างต้นนีจ้ ริง พระเยซูเจ้าก็ทรงเป็นเพียง “นักฝัน” ที่เทศน์สอนด้วยคำ�พูดไพเราะ โดยไม่คำ�นึงถึงสภาพเศรษฐกิจอันโหดร้าย และไม่สนใจปัญหาร้ายแรงทีเ่ กิดจากการแบ่งปันทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรม... คงต้องมีการเข้าใจผิดบางอย่างแน่นอน พระเจ้าข้า โปรดทรงช่วย เราให้เข้าใจคำ�สั่งสอนของพระองค์ด้วย... ไม่มีใครเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนายได้ เขาจะชังนายคนหนึ่ง และจะ รักนายอีกคนหนึ่ง เขาจะจงรักภักดีต่อนายคนหนึ่ง และจะดูหมิ่นนาย อี กคนหนึ่ ง ท่า นทั้งหลายจะปรนนิบั ติ รั บ ใช้ พ ระเจ้ า และเงิ น ทอง พร้อมกันไม่ได้ “พระเจ้าและเงินทอง (mammon)” ... คำ�ว่า Mammon เป็นภาษา อาราเมอิก ซึง่ มัทธิวยังรักษาไว้ในพระวรสารภาษากรีกของเขา คงเป็นเพราะ พระเยซูเจ้าทรงเอ่ยคำ�นี้ออกมาจริงๆ เพราะภาษาอาราเมอิกเป็นภาษาแม่ ของพระองค์ ... ในภาษานี้ mammon หมายถึงเงินทอง รายได้ กำ�ไร บทเทศน์ ปี
A
6 ความร่ำ�รวย ... เมื่อทรงยกให้ mammon เป็นศัตรูกับพระเจ้า ดูเหมือนว่า พระเยซูเจ้าทรงทำ�ให้เงินทองมีตัวมีตน เป็นเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง ดูเหมือนว่าพระเยซูเจ้าทรงคิดว่าเงินทองเป็นศัตรูของพระเจ้า เป็นการ แสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมของซาตาน “เจ้านายของโลก” ผู้ทำ�ให้มนุษย์ ตกเป็นทาส และพยายามตั้งตนขึ้นเป็นพระเจ้าแทนพระเจ้าเที่ยงแท้... เพื่อให้เข้าใจวิธีคิดของพระเยซูเจ้าอย่างถูกต้อง เราต้องสังเกต สองคำ�ทีส่ �ำ คัญยิง่ กว่า พระองค์ตรัสถึง “นาย” และ “การรับใช้” คำ�ว่า “นาย” แปลมาจาก kurios ซึง่ ตามปกติเป็นคำ�ทีใ่ ช้กบั “พระเจ้า” และคำ�ว่า “รับใช้” แปลมาจาก doulein ซึ่งหมายความว่า “เป็นทาส”... ข้อสังเกตนี้ทำ�ให้คิดได้ว่าพระเยซูเจ้าไม่ได้ทรงต่อต้านเงินทอง เหมือนคนไร้เดียงสา และไม่คำ�นึงถึงความเป็นจริง เมื่อทรงอยู่ที่นาซาเร็ธ พระองค์ทรงทำ�งานหาเลี้ยงชีพ พระองค์ทรงรู้จากประสบการณ์ว่าการ หาเลี้ยงชีพนั้นต้องเหนื่อยยากอย่างไร พระเยซูเจ้าทรงรู้ดีที่สุดว่าเงินเป็น สิ่งจำ�เป็นในการค้าขาย พระองค์ไม่ได้ต่อต้านธนาคาร หรือเหรียญ หรือ ภาษี หรือคนเก็บภาษี ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของพระองค์ และ เรื่องอุปมาของพระองค์ “จงนำ�เงินที่ใช้เสียภาษีมาให้ดูสักเหรียญหนึ่ง” เขาก็นำ�เงินเหรียญมาถวาย ... พระองค์จึงตรัสว่า “ของของซีซาร์ จงคืน ให้ซีซาร์” (มธ 22:19) ในอุปมาเรื่องเงินตะลันต์ พระเยซูเจ้าทรงถึงกับ สนับสนุนให้ผฟู้ งั พระองค์ท�ำ ให้เงินของตนงอกเงย ด้วยการฝากธนาคาร... แต่ในขณะเดียวกัน พระองค์ทรงประณาม “การยอมเป็นทาสของ เงิน” ท่านไม่สามารถรับใช้ mammon ได้! ท่านไม่มีสิทธิเป็นทาสของนาย ที่โหดร้ายนี้ ... “วิบัติจงเกิดกับท่านที่ร่ำ�รวย” (ลก 6:24) ... “ท่านทั้งหลาย จงอย่าสะสมทรัพย์สมบัติบนแผ่นดินนี้เลย ... เพราะทรัพย์สมบัติของท่าน อยู่ที่ใด ใจของท่านก็จะอยู่ที่นั่นด้วย” (มธ 6:19) ... “จงไปขายทุกสิ่งที่มี” (มธ 19:21)... บทเทศน์ ปี
A
7 ถ้อยคำ�เหล่านี้รุนแรง แต่ไม่หลงยุค หรือล้าสมัย การเป็นทาสของ เงินคือมะเร็งร้ายในสังคมของเราจริงๆ สังคมบริโภคนิยมกำ�ลังทำ�ลาย ตนเอง เนื่องจากการแข่งขันกันแสวงหาสถานภาพ ความฟุ่มเฟือย และ สิ่งของเครื่องใช้ ... สมุดบันทึกของนักธุรกิจหลายๆ คนเต็มไปด้วยการ นัดหมายทางธุรกิจ แต่เขาไม่มีเวลาอยู่กับภรรยาและบุตรของเขาอีกแล้ว และเขามีเวลาอยูก่ บั พระเจ้าน้อยยิง่ กว่า ... ทรัพยากรธรรมชาติบนโลกของ เราถูกผลาญจนอาจทำ�ให้มนุษยชาติอยูอ่ ย่างยากลำ�บากในศตวรรษหน้า... เงินเป็นพลังที่น่ากลัวที่รับใช้ความชั่ว เมื่อมันจับใครบางคนเป็น ทาสของมันได้ ... เงินที่ใช้ซื้อรถถังหุ้มเกราะเพียงคันเดียวสามารถซื้อ อาหารเลี้ยงคนนับแสนที่กำ�ลังอดอยากได้ เงินเป็น “คนรับใช้” ที่ยอดเยี่ยม แต่เป็น “นาย” ที่เลว... “ฉะนัน้ เราบอกท่านทัง้ หลายว่า อย่ากังวลถึงชีวติ ของท่านว่าจะกินอะไร อย่ากังวลถึงร่างกายของท่านว่าจะนุ่งห่มอะไร ชีวิตย่อมสำ�คัญกว่า อาหาร และร่างกายสำ�คัญกว่าเครื่องนุ่งห่มไม่ใช่หรือ” พระวรสารตอนนี้ย้ำ�คำ�ว่า “อย่ากังวล” ถึงสี่ครั้ง ความกังวลและ ความห่วงใย เป็นหนึง่ ในวิธกี ารทีม่ นุษย์ตกเป็นทาสทรัพย์สมบัติ คนในโลก ตะวันตกยุคใหม่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนในภูมิภาค อื่นของโลก... ดูเหมือนพระเยซูเจ้าทรงกำ�ลังบอกเราว่า จงเลือกทางดำ�เนินชีวิต ให้ถูกต้อง จงใช้ชีวิตให้ถูกทาง ท่านใช้เวลาหารายได้ สะสมเงินให้มากขึ้น แต่จงหาเวลามีความสุขกับชีวิตเป็นครั้งคราวด้วย ... และพระองค์ทรง เตื อ นเราให้ จั ด ลำ � ดั บ คุ ณ ค่ า ให้ ถู ก ต้ อ ง อาหารและเครื่ อ งนุ่ ง ห่ ม เป็ น สิ่งจำ�เป็น แต่ก็มีไว้เพื่อรับใช้ชีวิตของเรา ... ในสมณสาสน์ฉบับหนึ่งของ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 พระองค์ทรงเตือนให้เราคิดถึงปรีชาญาณ จากพระวรสาร ว่า “ความหมายพื้นฐานของอำ�นาจปกครองของมนุษย์ บทเทศน์ ปี
A
8 เหนือโลกที่มองเห็นได้ ... ประกอบด้วยการให้ความสำ�คัญแก่จริยธรรม เหนือหลักวิชา ให้ความสำ�คัญแก่ตัวบุคคลมากกว่าสิ่งของ และจิตเหนือ สสาร ... สิ่งสำ�คัญคือการพัฒนาตัวบุคคล และไม่ใช่เพียงการทวีจำ�นวน สิ่ ง ของต่ า งๆ ... สิ่ ง สำ � คั ญ กว่ า มิ ใช่ ต้ อ งมี ใ ห้ ม ากกว่ า แต่ ต้ อ งเป็ น ให้ มากกว่า”... “จงดูนกในอากาศเถิด มันมิได้หว่าน มิได้เก็บเกี่ยว มิได้สะสมไว้ใน ยุง้ ฉาง แต่พระบิดาของท่านผูส้ ถิตในสวรรค์ทรงเลีย้ งมัน ท่านทัง้ หลาย มิได้มีค่ามากกว่านกหรือ ท่านใดบ้างที่กังวลแล้วต่ออายุของตนให้ ยาวออกไปอีกสักหนึ่งวันได้ ท่านจะกังวลถึงเครื่องนุ่งห่มทำ�ไม จง พิจารณาดอกไม้ในทุ่งนาเถิด มันเจริญงอกงามขึ้นได้อย่างไร มัน ไม่ท�ำ งาน มันไม่ปน่ั ด้าย แต่เราบอกท่านทัง้ หลายว่า กษัตริยซ์ าโลมอน เมื่อทรงเครื่องอย่างหรูหรา ก็ยังไม่งดงามเท่าดอกไม้นี้ดอกหนึ่ง แม้แต่หญ้าในทุ่งนาซึ่งมีชีวิตอยู่วันนี้ รุ่งขึ้นจะถูกโยนทิ้งในเตาไฟ พระเจ้ายังทรงตกแต่งเช่นนี ้ พระองค์จะไม่สนพระทัยท่านมากกว่านัน้ หรือ ท่านช่างมีความเชื่อน้อยจริง” ภาพลักษณ์เหล่านี้ลืมได้ยาก ... แต่ก็อาจถูกเข้าใจผิดได้ ขอให้เรา อ่านทวนอีกครั้งหนึ่งเถิด ... พระเยซูเจ้าไม่เคยตรัสว่าเราไม่ควรทำ�งาน ... พระเยซูเจ้าไม่เคยสนับสนุนให้คนจนเดินเร่ร่อนขอทาน ... พระเยซูเจ้า ไม่ทรงเห็นชอบกับความประมาทเลินเล่อ หรือความเกียจคร้าน ... บางคน มีทัศนคติแบบ “ไม่เป็นไร” ซึ่งเป็นเหตุให้เขาโยนภาระของตนให้ผู้อื่น แบกแทน ... แต่ถา้ มองในอีกแง่หนึง่ ความกังวลบางอย่างเกิดจากความรัก ของเราต่อผู้อื่น โดยเฉพาะบุคคลที่เราได้รับมอบหมายให้ดูแล พระวรสาร บอกเราว่าความห่วงใย และความกังวลใจเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เราต้องรับมา แบกไว้ เหมือนยกกางเขนขึ้นแบก... บทเทศน์ ปี
A
9 นอกจากนี้ ถ้าพระเยซูเจ้าตรัสว่า “อย่าห่วงเลย จงอยูโ่ ดยไม่ท�ำ อะไร ต่อไปเถิด” นั่นย่อมขัดต่อทุกข้อความที่ปรากฏในพระคัมภีร์ตั้งแต่ต้น บทที่ ห นึ่ ง ของหนั ง สื อ ปฐมกาลสั่ ง เราว่ า “จงปกครองแผ่ น ดิ น ” และ พระเยซูเจ้าทรงยืนยันว่า “คนงานย่อมมีสิทธิได้รับอาหารอยู่แล้ว” (มธ 10:10) และคนที่ไม่ทำ�งานไม่มีสิทธิกินอาหาร ... เรื่องที่เราต้องอ่าน ควบคู่กันคือคำ�ตำ�หนิชายที่ไม่ทำ�ให้เงินหนึ่งตะลันต์ของเขางอกเงยว่า “ส่วนผู้รับใช้ที่ไร้ประโยชน์นี้ จงนำ�ไปทิ้งในที่มืดข้างนอก” (มธ 25:14, 30)... ถ้าเช่นนั้น พระเยซูเจ้าทรงหมายถึงอะไรเมื่อพระองค์ตรัสว่าเรา ไม่ควรกังวลใจ ... พระองค์ตรัสบางอย่างที่สอนใจเราแต่ละคนได้ดีมาก พระองค์ทรงบอกว่าเราควร “ผ่อนคลาย” บ้าง ... ให้เราต่อต้านความเครียด ทีม่ ากเกินไป ... พระองค์ทรงบอกเราให้ท�ำ งาน “เหมือนนกและดอกไม้” ถ้า พิจารณาให้ดี ท่านจะเห็นว่าทั้งนกและดอกไม้ไม่ได้อยู่นิ่งๆ มันมีกลเม็ด ในการดำ�รงชีพ ในการหาอาหาร และที่อยู่อาศัย! เหนืออื่นใด พระเยซูเจ้า ตรัสถึงพระบิดาว่า เราควรวางใจในพระองค์ ... ในสายพระเนตรของ พระบิดา ท่านมีค่ามากกว่าสัตว์โลกทั้งหลาย ซึ่งพระองค์ทรงดูแลด้วย ความรัก และเอาใจใส่... “ดังนั้น อย่ากังวล และกล่าวว่า ‘เราจะกินอะไร หรือดื่มอะไร หรือเราจะ นุ่งห่มอะไร’ เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้คนต่างศาสนาแสวงหา พระบิดา ของท่านผู้สถิตในสวรรค์ทรงทราบแล้วว่าท่านต้องการทุกสิ่งเหล่านี้ จงแสวงหาพระอาณาจั ก รของพระเจ้ า และความชอบธรรมของ พระองค์ก่อน แล้วพระองค์จะทรงเพิ่มทุกสิ่งเหล่านี้ให้” เหตุผลทั้งหมดของพระเยซูเจ้าที่ทรงสอนเราไม่ให้วิตกกังวล มี รากฐานมาจากความมั่นใจ ซึ่งเกิดจากความเชื่อว่าพระบิดาของท่านทรง รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง! ... เมื่อพระองค์ตรัสเรื่องของการภาวนา พระองค์ตรัสว่า บทเทศน์ ปี
A
10 “จงอย่าพูดซ้ำ�เหมือนคนต่างศาสนา ... เพราะพระบิดาของท่านทรงทราบ แล้วว่าท่านต้องการอะไร ก่อนที่ท่านจะขอเสียอีก” (มธ 6:7-8) เมื่อพูดถึงพระเจ้า มนุษย์มีสองแนวคิดที่ตรงกันข้ามกัน แนวคิด หนึ่งคือ พระเจ้าของ “คนต่างศาสนา” ที่เป็นเสมือนผู้วิเศษ และพระเจ้า ผู้เป็นบิดาและทรงรักบุตรทั้งหลายของพระองค์ มนุษย์ที่พระเยซูเจ้า พอพระทัยไม่ใช่คนสะเพร่า แต่ต้องเป็นคนที่ใส่ใจในสิ่งที่ถูกต้อง เขาผู้นั้น หลงรักพระอาณาจักรของพระเจ้า และ “แสวงหาพระอาณาจักรของพระเจ้า” ... การรับใช้ mammon ก็คือการสนใจแต่ตนเอง แต่การรับใช้พระเจ้า หมายถึงการยอมรับใช้ผู้อื่นด้วยความรัก ... พระเยซูเจ้าตรัสว่าการทำ� เช่นนี้ทำ�ให้ท่านไม่เป็นทาส... “เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่ากังวลถึงวันพรุ่งนี้ เพราะวันพรุ่งนี้จะ กังวลสำ�หรับตนเอง แต่ละวันมีความทุกข์พออยู่แล้ว” ข้อความนี้เป็นสุภาษิตที่นิยมพูดกัน พระเยซูเจ้าทรงรู้ว่าพระองค์ กำ�ลังตรัสอะไร นีค่ งเป็นทัศนคติและประสบการณ์ตลอดชีวติ ของพระองค์ เอง ... ถูกแล้ว เราจะนำ�ความกังวลใจของวันพรุ่งนี้มาเพิ่มให้วันนี้ไปทำ�ไม ... ถ้าทำ�เช่นนั้น เราจะใช้ชีวิตในแต่ละวันด้วยความกลัวภัยพิบัติที่อาจ ไม่เกิดขึ้นก็ได้ ... เพียงรับมือกับปัญหาในวันนี้ก็หนักพออยู่แล้ว ... แล้ว คอยดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นในวันพรุ่งนี้... ขอบพระคุณ พระเจ้าข้า...
บทเทศน์ ปี
A