พระวาจากับชีวิต ปี C
คำนำ
หนังสือ “พระวาจากับชีวิต ปี C” เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองแผนงานอภิบาล ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ปีคริสตศักราช 2010-2015 ทีว่ า่ “พระศาสนจักร คาทอลิกในประเทศไทยได้กำหนดงานอภิบาลหลักในงานเสริมสร้างศิษย์และพัฒนา ความเชื่อโดยพระวาจา ศีลศักดิ์สิทธิ์ และการอธิษฐานภาวนาดังนี้คือ ให้พระสงฆ์และ สัตบุรุษร่วมกันทำให้วันอาทิตย์เป็นการฉลองวันพระเจ้าอย่างแท้จริง และต่อเนื่องในการ ดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับพิธีบูชา ขอบพระคุณวันอาทิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเทศน์ประกาศพระวาจาและการฉลอง ศีลมหาสนิท”(แผนงานอภิบาลฯ ข้อ 18) หนั ง สื อ “พระวาจากั บ ชี วิ ต ปี C” เล่ ม นี้ ทางศู น ย์ ค ริ ส ตศาสนธรรมฯ ต้ อ ง ขอขอบคุณคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ที่ได้จัดแปลบทเทศน์จากหนังสือ 2 เล่ม คือ The Good News of Luke’s Year ของ Silverster O’flynn และ Pray with the Bible ของ Noel Quesson เพื่อให้สมาชิกของคณะได้ใช้ในการรำพึงกับพระวาจาในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์เช่นเดียวกันสำหรับพระสงฆ์ในการเตรียมเทศน์ รวมทั้ง พี่น้องคริสตชนในการรำพึงกับพระวาจาในทุกๆ สัปดาห์ จึงขออนุญาตนำมาจัดพิมพ์ การรำพึ ง พระวาจาของพระเจ้ า นั้ น ช่ ว ยให้ พ ระวาจาเติ บ โตและบั ง เกิ ด ผล ในตัวเราดังที่พระเยซูเจ้าตรัสว่า “พระอาณาจักรของพระเจ้ายังเปรียบเสมือนคนที่นำ เมล็ดพืชไปหว่านในดิน เขาจะหลับหรือตื่น กลางคืนหรือกลางวันเมล็ดนั้นก็งอกขึ้น และ เติบโตเป็นเช่นนี้ได้อย่างไรเขาไม่รู้” (มาระโก 4:26-27) บาทหลวงเอกรัตน์ หอมประทุม ผู้จัดการแผนกคริสตศาสนธรรมฯ 23 ตุลาคม 2012
สารบัญ
- สัปดาห์ที่หนึ่งเทศกาลเตรียมรับเสด็จ - สัปดาห์ที่สองเทศกาลเตรียมรับเสด็จ - สัปดาห์ที่สามเทศกาลเตรียมรับเสด็จ - สัปดาห์ที่สี่เทศกาลเตรียมรับเสด็จ - สมโภชพระคริสตสมภพ - ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ - สมโภชพระนางมารีย์ พระชนนีพระเป็นเจ้า - สมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์ - ฉลองพระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้าง - สัปดาห์ที่หนึ่งเทศกาลมหาพรต - สัปดาห์ที่สองเทศกาลมหาพรต - สัปดาห์์ที่สามเทศกาลมหาพรต - สัปดาห์ที่สี่เทศกาลมหาพรต - สัปดาห์ที่ห้าเทศกาลมหาพรต - อาทิตย์มหาทรมาน - สมโภชปัสกา พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ - สัปดาห์ที่สองเทศกาลปัสกา - สัปดาห์์ที่สามเทศกาลปัสกา - สัปดาห์ที่สี่เทศกาลปัสกา - สัปดาห์์ที่ห้าเทศกาลปัสกา - สัปดาห์ที่หกเทศกาลปัสกา
หน้า
1-14 15-26 27-39 40-53 54-66 67-79 80-100 101-114 115-127 128-143 144-157 158-170 171-186 187-198 199-217 218-230 231-245 246-262 263-276 277-291 292-305
บทเทศน์ปี C
1
วั นอาทิตย์ที่หนึ่งเทศกาลเตรียมรับเสด็จ ลูกา 21:25-28, 34-36 จะมี เ ครื่ อ งหมายในดวงอาทิ ต ย์ ดวงจั น ทร์ และดวงดาว ต่างๆ ชนชาติต่างๆ บนแผ่นดินจะทนทุกข์ทรมาน ฉงนสนเท่ห์ต่อ เสียงกึกก้องของทะเลที่ปั่นป่วน มนุษย์จะสลบไปเพราะความกลัว และหวั่นใจถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในโลก เพราะสิ่งต่างๆ ในท้องฟ้า จะสั่นสะเทือน หลังจากนั้นประชาชนทั้งหลายจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์ เสด็จมาในก้อนเมฆ ทรงพระอานุภาพและพระสิริรุ่งโรจน์ยิ่งใหญ่ เมื่อเหตุการณ์ทั้งปวงนี้เริ่มเกิดขึ้น ท่านทั้งหลายจงยืนตรง เงยหน้า ขึ้นเถิด เพราะในไม่ช้า ท่านจะได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระแล้ว จงระวังไว้ให้ดี อย่าปล่อยใจของท่านให้หมกมุ่นอยู่ในความ สนุกสนานรื่นเริง ความเมามาย และความกังวลถึงชีวิตนี้ มิฉะนั้น วันนั้นจะมาถึงท่านอย่างฉับพลัน เหมือนบ่วงแร้ว เพราะวันนั้นจะ ลงมาเหนือทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน ท่านทั้งหลายจงตื่นเฝ้าอธิษฐานภาวนาอยู่ตลอดเวลาเถิด เพื่อท่านจะมีกำลังหนีพ้นเหตุการณ์ ทั้งปวงที่จะเกิดขึ้นนี้ไปยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์บุตรแห่งมนุษย์ได้
2
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 1
การเสด็จมาของพระคริสตเจ้า
เทศกาลนี้เป็นช่วงเวลาของการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการ เสด็จมาของพระคริสตเจ้า นี่คือเวลาที่เราย้อนรำลึกถึง วันพระคริสตสมภพครั้งแรก และเตรียมตัวสำหรับการเสด็จมาของพระองค์เป็นครั้งที่ สองเมื่อสิ้นสุดกาลเวลา ขณะที่เทศกาลเตรียมรับเสด็จเคลื่อนเข้าใกล้ วันพระคริสตสมภพ พิธีกรรมจะชักนำเราให้คิดถึงบุคคลต่างๆ เช่น ประกาศกอิสยาห์ ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง พระนางมารีย์ และโยเซฟ ผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องในแผนเตรียมการของพระเจ้า จุดสำคัญของสัปดาห์แรก ของเทศกาลเตรียมรับเสด็จไม่ใช่วันพระคริสตสมภพ แต่เป็นการเสด็จ มาเป็นครั้งสุดท้ายของพระเยซูเจ้าเมื่อสิ้นพิภพ อาจดูแปลกที่เราเริ่มต้นปีด้วยการคิดคำนึงถึงจุดจบของชีวิต แต่ นี่ก็เหมือนกับการตรวจดูแผนที่เพื่อหาจุดหมายปลายทางของเราก่อน จะออกเดินทาง พระวรสารประจำวั น นี้ มี ลั ก ษณะเหมื อ นกั บ ข้ อ เขี ย นประเภท วิวรณ์ ซึ่งหมายถึงการเปิดเผยความลับของพระเจ้า เราไม่รู้แน่ชัดว่า จักรวาล และชีวิตบนโลกนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และเราไม่รู้ด้วยว่าชีวิตบน โลกนี้ จ ะจบลงหรื อ ไม่ หรื อ จบลงอย่ า งไร เมื่ อ เผชิ ญ กั บ ความคิ ด อั น เร้นลับของพระเจ้า ผู้นิพนธ์พระวรสารจึงใช้จินตนาการวาดภาพการ ทำลายล้างทางวัตถุ และความน่าสะพรึงกลัวที่เกิดขึ้นพร้อมกันโดยรอบ บทอ่านกล่าวถึงเครื่องหมายในดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆ และความกลั ว ของประชาชนจนทำอะไรไม่ ถู ก บางที ค นที่ เ คยมี ชี วิ ต ระหว่างช่วงสงคราม หรือบุคคลที่เคยเป็นเหยื่อการละเมิดด้วยความ
บทเทศน์ปี C
3
รุ น แรงจะเข้ า ใจความรู้ สึ ก เหล่ า นี้ เป็ น ไปได้ ที่ ลู ก ากำลั ง คิ ด ถึ ง เรื่ อ งที่ ประชาชนกล่าวขวัญถึงเกี่ยวกับการทำลายกรุงเยรูซาเล็ม และความ พินาศของเมืองปอมเปอี ภายหลังการระเบิดของภูเขาไฟวิสุเวียส สิ่งสำคัญที่สุดในข่าวดีของลูกา คือ สารของเขามองโลกในแง่ดี ความเจ็บปวดหวาดกลัวถูกแทนที่ด้วยความหวัง และสิริรุ่งโรจน์ สำหรับ ผู้มีความเชื่อในศาสนาคริสต์ พระวรสารไม่เน้นเรื่องชีวิตทางกายภาพ ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดลง แต่เน้นเรื่องชีวิตใหม่ที่กำลังจะเริ่มขึ้น ต่างจากภาพยนตร์ที่สร้างจากนิยายวิทยาศาสตร์ ที่พยายามสร้างความตื่นเต้นโดย เสนอภาพการทำลายล้างอย่างรุนแรง และความหวาดกลัวของประชาชน เมื่อเผชิญหน้ากับอำนาจของมนุษย์ต่างดาว การคิดถึงวันสิ้นพิภพอย่างที่เราทราบไม่จำเป็นต้องทำให้เรา หวาดกลัว หรือหดหู่ใจ แต่ควรทำให้เราตระหนักถึงความเป็นจริง ถ้าเรา คิ ด ว่ า จะมี ม นุ ษ ย์ ค นใดที่ ส ามารถมี ชี วิ ต อยู่ บ นโลกนี้ ไ ด้ ต ลอดกาล เราก็กำลังหลอกตนเอง ความเชื่อแบบคริสตชนทำให้เราคาดหมายว่าจุดจบบนโลกนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในที่อื่น เมื่อพระคริสตเจ้าทรงอยู่ข้างเรา ใครจะต่อต้าน เราได้ เราติดต่อพูดคุยกับพระองค์ทุกวัน และภาวนาขอให้เรามีความ เข้มแข็งจนสามารถรักษาความเชื่อของเราให้ตลอดรอดฝั่ง พระองค์ ประทานความมั่นใจแก่เราเพื่อรอคอยวันที่เราจะได้รับการปลดปล่อย เป็นอิสระ เราควรรู้สึกตื่นเต้น และรอคอยด้วยความพิศวงใจมากขึ้นว่า สักวันหนึ่งเราจะได้เห็นพระอานุภาพ และพระสิริรุ่งโรจน์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จงใช้เวลาไตร่ตรองข้อความที่เสนอความหวังอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ จงยืนตรง เงยหน้าขึ้นเถิด ในไม่ช้า ท่านจะได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระแล้ว จงยืนขึ้นด้วยความมั่นใจเบื้องหน้าบุตรแห่งมนุษย์
4
บทเทศน์ปี C
ข้าแต่พระเยซูเจ้า เราวิงวอนขอความเชื่อ ซึ่งจะคงอยู่ และเจริญ เติบโต เราวิงวอนขอความหวังที่ยืนหยัดมั่นคงอยู่ได้ แม้ภายใต้ความ ทุกข์ยาก และการทดลอง เราวิงวอนขอความรักซึ่งจะขับไล่ความกลัวทั้งปวง เชิญเสด็จมาเถิด ข้าแต่พระเยซูเจ้า
บทเทศน์ปี C
5
บทรำพึงที่ 2
การตื่นเฝ้าเตรียมรับเสด็จ
“จงตื่นเฝ้าอธิษฐานภาวนาอยู่ ต ลอดเวลาเถิ ด ” การอธิ ษ ฐาน ภาวนาตลอดเวลาหมายความว่าอะไร หมายถึงการสวดภาวนาตลอด 24 ชั่วโมงหรือ ถ้าการภาวนาที่ดีที่สุดคือการภาวนาตลอดเวลา เราก็ควร เข้าใจว่าการภาวนานั้นเป็นการทำงานของพระเจ้ามากกว่าของเรา การ ภาวนาไม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย งการริ เ ริ่ ม ของเราในการแสดงความสั ม พั น ธ์ ระหว่างเรากับพระเจ้าออกมาเป็นคำพูด ไม่ว่าจะเป็นการวิงวอนขอ การ ขอบพระคุณ การสรรเสริญพระเจ้า การภาวนาเป็นผลมาจากการริเริ่ม ของพระเจ้ามากกว่า และหน้าที่ของเราคือตอบสนองพระองค์ รอคอย พระองค์ด้วยตาที่เฝ้าดูและหูที่คอยฟัง เมื่อเราทำเช่นนั้น เรากำลังภาวนา ด้วยจิตมากกว่าด้วยคำพูด อันที่จริง การภาวนาด้วยคำพูดอาจกลายเป็น ศัตรูของจิตภาวนาได้ ถ้าเราพูดมากเกินไปและไม่ยอมฟัง หรือถ้าการ ภาวนาทำให้เรารู้สึกพึงพอใจเหมือนกับว่าเราได้ทำงานสำเร็จ จนเรา ไม่เคยเข้าถึงระดับลึก คือ ความกระหายหาพระเจ้า การเตรี ย มรั บ เสด็ จ เน้ น การภาวนาที่ เ ป็ น เสมื อ นการรอคอย พระเจ้าอย่างตื่นตัว พระเจ้าผู้เสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ และจะเสด็จมา อีกครั้งหนึ่งในฐานะองค์ตุลาการผู้ปลดปล่อยนี้ เสด็จมาหาเราในชีวิต ประจำวันของเราในหลายๆ ทาง วิญญาณที่ภาวนาด้วยจิตจะรอคอยการ เสด็จมาของพระองค์เสมอ อาจกล่าวได้ว่าทั้งชีวิตของเราก็คือการเตรียมรับเสด็จ การเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ชี้ให้เราเห็นว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นอยู่ตลอดเวลา นั่นคือ พระเจ้ากำลังเสด็จมาหาเรา ดังนั้น เทศกาลเตรียมรับเสด็จจึงเป็นการ
6
บทเทศน์ปี C
ตื่นเฝ้ารอคอยพระเจ้า และรอคอยอยู่กับพระเจ้าในเวลาเดียวกัน เรารอคอยอยูก่ บั พระเจ้า ถ้าเราดำรงชีวติ ด้วยความคิดทีใ่ ส่ใจ และ หัวใจที่สำรวมจิตภาวนา การสำรวมจิตเป็นศิลปะแห่งการมองเห็น และ ได้ยินเครื่องหมาย และเสียงแห่งความรักของพระเจ้าที่เกิดขึ้นตลอด เวลาในชีวิตของเรา บุคคลที่มีความรู้สึกไวเช่นนี้คือนักบุญ ดังคำของ ที. เอส. เอลเลียต ที่ว่า “แต่การเข้าใจจุดที่ตัดขวางระหว่างสิ่งที่อยู่เหนือ กาลเวลาและเวลา เป็นงานของนักบุญ” (The Dry Salvages) สำหรับพวกเราส่วนใหญ่ย่อมมีแต่ “ช่วงเวลาที่เราไม่ได้ใส่ใจ” ถ้าจะใช้ภาพลักษณ์สมัยใหม่มาอธิบาย ก็อาจเปรียบได้ว่า พระเจ้าเปรียบ เสมือนสถานีวิทยุขนาดใหญ่ที่กระจายเสียงมายังเราโดยใช้หลายคลื่น ไม่ว่าท่านอยู่ที่ใด ขณะที่ท่านกำลังอ่านข้อความเหล่านี้ ในอากาศมีคลื่น เสียงมากมายที่กระจายออกมาจากสถานีวิทยุ แต่โชคดีที่เสียงนี้มีความถี่ สูงเกินกว่าประสาทหูของเราจะได้ยินโดยไม่ใช้เครื่องช่วยฟัง แต่ถ้าท่าน เปิดเครือ่ งรับวิทยุและหมุนหน้าปัทม์ ท่านจะได้ยนิ เสียงต่างๆ เต็มไปหมด สถานีของพระเจ้ากระจายเสียงทุกวันโดยใช้ความยาวคลื่นต่างๆ เช่น ผ่านทางประสบการณ์ชีวิตของเรา ผ่านพระคัมภีร์ ธรรมชาติ บุคคล ที่เราพบ สิ่งที่เราได้ยิน สัญลักษณ์ที่เราชื่นชอบ และอื่นๆ แต่เราก็อาจ เลือกวิถีชีวิตที่เราแทบจะไม่เปิดเครื่องรับของเรา น้อยครั้งที่เราพยายาม ปรั บ เครื่ อ งรั บ ของเราให้ ต รงกั บ ความถี่ ข องคลื่ น ที่ พ ระเจ้ า นิ รั น ดร เสด็จมาพบกับเราในวัน และเวลาของเรา ถ้าเราฟังสถานีอื่นๆ ยกเว้น สถานี ข องพระเจ้ า การภาวนาจะไม่ มี วั น เริ่ ม ต้ น ขึ้ น เลยสำหรั บ เรา อย่างน้อยที่สุด เราควรหาพื้นที่ว่างในวันเวลาของเรา และในความคิด จิตใจของเราสำหรับพระเจ้า จากนั้น เราต้องเรียนรู้ว่าคลื่นใดที่เรารับฟัง พระเจ้าได้ชัดเจนที่สุด เราคงสำรวมจิตได้ยาก ถ้าเราปล่อยให้เครื่องรับ ของเราเสียหาย ถ้าปุ่มหมุนหาสถานีของเราหมดความรู้สึกไวและกลาย เป็นด้านชา เพราะใจของเรา “หมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนานรื่นเริง
บทเทศน์ปี C
7
ความเมามาย และความกังวลถึงชีวิตนี้” ความพึงพอใจในกามารมณ์ เหล่านี้จะปิดบังเหวลึกในใจของเรา ที่ซึ่งพระเจ้าเท่านั้นสามารถเติมเต็ม ได้ ประสบการณ์ของนักบุญออกุสตินสอนท่านว่า หัวใจมนุษย์ถูกสร้าง ขึ้นมาเพื่อพระเจ้า และจะไม่มีวันสงบจนกว่าจะได้พักผ่อนในพระองค์ วันอาทิตย์แรกของเทศกาลเตรียมรับเสด็จเชิญชวนเราให้สนใจ กับการเสด็จกลับมาหาเราของพระเจ้า และการกลับไปหาพระเจ้าของเรา เราเกิดมาจากพระหัตถ์ที่สรรค์สร้างของพระเจ้า เราจึงรอคอยท่ามกลาง ความหวังว่าพระองค์จะเสด็จมาในฐานะตุลาการที่จะปลดปล่อยโลก ให้เป็นอิสระ เมื่อการเดินทางของเราเริ่มต้นจากพระองค์ และจะจบลง ที่พระองค์ จึงมีเหตุผลอย่างยิ่งที่ชีวิตของเราระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดจบ ก็ควรเป็นชีวิตที่ใส่ใจในพระองค์ ด้วยการสำรวมจิตเทศกาลเตรียมรับ เสด็จคือการตื่นเฝ้ารอคอยองค์พระผู้เป็นเจ้าในขณะที่เรารอคอยอยู่กับ พระองค์
8
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 3
วันนี้ เราเริ่มต้นปีพิธีกรรมใหม่ หลังจากอ่านพระวรสารตามคำ บอกเล่าของนักบุญมาระโกในปีที่ผ่านมา บัดนี้ นักบุญลูกาจะเป็นผู้เผย ธรรมล้ำลึกของพระเยซูเจ้าแก่เรา เรามองไปข้างหน้าตั้งแต่วันอาทิตย์ที่หนึ่งแล้ว เทศกาลเตรียมรับ เสด็จเป็นเวลาสำหรับ “การเสด็จมา” ของพระคริสตเจ้า พระองค์เสด็จมา ยังเมืองเบธเลเฮม ในวันพระคริสตสมภพ ... พระองค์เสด็จมาในแต่ละ เหตุการณ์ และในศีลศักดิ์สิทธิ์แต่ละประการ ... พระองค์จะเสด็จมาเมื่อ ถึงวาระสุดท้าย... พระเยซูเจ้าตรัสแก่ศิษย์ของพระองค์เกี่ยวกับ “การเสด็จมา” ของ พระองค์ว่า “จะมีเครื่องหมายในดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว ต่างๆ ชนชาติต่างๆ บนแผ่นดินจะทนทุกข์ทรมาน ฉงนสนเท่ห์ต่อ เสียงกึกก้องของทะเลที่ปั่นป่วน” ข้อความนี้เขียนขึ้นในรูปแบบ “วิวรณ์ (apocalyptic style)” นี่ คื อ สำนวนวรรณกรรมที่ ป รากฏขึ้ น ในอิ ส ราเอลเมื่ อ สองพั น ปี ก่ อ น พระเยซูเจ้าทรงบังเกิด และยังใช้กันต่อมาอีกหนึ่งศตวรรษหลังจาก พระองค์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนแล้ว รูปแบบการเขียนพระคัมภีร์ นี้ เ กิ ด ขึ้ น ภายหลั ง ยุ ค ของประกาศก ความหวั ง ทั้ ง ปวงของบรรดา ประกาศกยังไม่กลายเป็นจริง แทนที่ชนชาติอิสราเอลจะเป็นอิสระได้ ปกครองตนเอง กลับต้องยอมเป็นส่วนเล็กๆ ของอาณาจักรยิ่งใหญ่ อาณาจักรแล้วอาณาจักรเล่าราวกับว่าประวัติศาสตร์หลบหนีจากอำนาจ ปกครองของพระเจ้า
บทเทศน์ปี C
9
สำหรับผู้มีความเชื่อ สถานการณ์นี้เป็นเรื่องสะดุด และเป็นการ ทดสอบความเชื่อ ดังนั้น เป้าหมายแรกของขบวนการวิวรณ์ จึงเป็นการ กระตุ้นให้เกิดความหวังครั้งใหม่ โดยประกาศสารของประกาศก แม้แต่ ในเวลาที่พวกเขาล้มเหลว และประกาศให้ดังยิ่งขึ้นอีกว่า “พระเจ้าทรง เป็นเจ้าแห่งประวัติศาสตร์ พระองค์จะทรงเป็นผู้ชี้ขาด” ไม่มีใครรู้ว่า ชัยชนะของพระเจ้าเหนือความชั่วจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ดังนั้น สารนี้ซึ่ง บรรยายด้วยภาษาประเพณีนิยม โดยมีภาพลักษณ์อันยิ่งใหญ่และงดงาม ของจักรวาลเป็นภาพประกอบ ธรรมประเพณีบอกว่า “พื้นที่” สำคัญทั้งสามปั่นป่วน คือ ท้องฟ้า แผ่นดิน และทะเล ความสับสนอลหม่านครอบคลุมจักรวาล – เพื่อ “สร้าง” จักรวาลใหม่ ข้อความนี้อาจเปรียบเทียบได้กับ อิสยาห์ 13:9-10 และ 34:3-4 ซึ่ ง ใช้ ภ าพลั ก ษณ์ ข องภั ย พิ บั ติ เ ดี ย วกั น นี้ บ รรยายการ ล่ ม สลายของบาบิ โ ลน นี่ คื อ ข้ อ พิ สู จ น์ ว่ า เราต้ อ งไม่ ถื อ ว่ า ภาพลั ก ษณ์ เหล่านี้มีความหมายตรงตามตัวอักษร สำนวนว่า “ดวงดาวจะตกจาก ท้องฟ้า” หรือ “ดวงอาทิตย์จะมืดไป” เพียงต้องการบอกความจริงว่า พระเจ้าทรงเป็นนายเหนือสรรพสิ่ง เราไม่ควรลืมว่าประชาชนส่วนใหญ่ ในตะวันออกกลางยุคโบราณถือว่าดวงดาวเป็นสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติ ที่ปกครองโลก และกำหนดโชคชะตาของมนุษย์จากเบื้องบน เราไม่ควร ลืมว่าคนทุกยุคสมัยใช้ประโยชน์อย่างไรจากการผูกดวงและโหราศาสตร์ ถ้าชนชาติต่างๆ นับถือเทพบนท้องฟ้าเหล่านี้ ชาวอิสราเอลก็ประกาศ ในบทวิวรณ์ ของเขาว่า วันหนึ่งเทพเจ้าเหล่านี้จะอันตรธานไปอย่างน่า สะพรึงกลัว ดวงดาวและดวงอาทิตย์จะตกจากฟ้า – ไม่มีเทพเจ้าอื่นใด นอกจากพระเจ้า ลูกาเองก็ไม่ลังเลที่จะใช้ภาษาวิวรณ์นี้ เขาบันทึกว่าได้เกิดสุริยคราสเมื่อพระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน (ลก 23:44) ซึ่งเป็น วิธีหนึ่งที่ย้ำว่า อาศัยเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่กลโกธานี้ การทำงาน
10
บทเทศน์ปี C
ของพระเจ้าในประวัติศาสตร์มนุษยชาติได้สำเร็จไป พระเยซูเจ้าเสด็จมา ในก้อนเมฆ โลกโบราณผ่านพ้นไปแล้ว โลกใหม่กำลังเกิดขึ้น ในตอนเช้า ของวันปัสกา ดวงอาทิตย์ดวงใหม่นี้จะส่องแสงแห่งชัยชนะ และสิริรุ่งโรจน์ของกางเขนอย่างสว่างไสว ความทุกข์ของชนชาติต่างๆ ... มนุษย์จะสลบไปเพราะความกลัว และ หวั่นใจถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในโลก เพราะสิ่งต่างๆ ในท้องฟ้าจะ สั่นสะเทือน ลูกาบรรยายปฏิกิริยาของมนุษย์ต่อเหตุการณ์หรือเครื่องหมาย เหล่านี้ มากกว่าที่มาระโกบรรยายในเรื่องเดียวกัน (ซึ่งเราได้ยินเมื่อสอง สัปดาห์ก่อน) นี่คือเรื่องราวของมนุษย์มากกว่าเรื่องความวิปริตของวัตถุ ธาตุ มนุษย์ในยุคปัจจุบัน และยุคโบราณไม่อยากสนใจ “เวลา” ซึ่งเป็น สัญลักษณ์ของความไม่มั่นคง เราเกลียด “เหตุการณ์ที่เราไม่คาดหมาย และคาดไม่ถึง” สิ่งที่เราไม่รู้จักย่อมน่ากลัวเสมอ ดังนั้น จึงมีการอนุรักษ์ และการยึดมั่นในธรรมประเพณีดั้งเดิมด้วยทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้เกิด “เหตุการณ์” ใดๆ ขึ้นได้ แต่พระคัมภีร์สอนเราหลายครั้งว่า “เหตุการณ์” เป็น “การแสดง พระองค์ของพระเจ้า” อย่างแท้จริง พระเจ้าเสด็จมา พระเจ้าทรงเข้า แทรกแซงช่วยเหลือผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น การทำลายล้างกรุง เยรูซาเล็มและพระวิหาร (ซึ่งอันที่จริง เป็นหัวข้อที่พระเยซูเจ้าตรัสไว้ใน พระวรสารตอนนี)้ เป็นเหตุการณ์ทน่ี า่ กลัว แต่กระนัน้ ก็เป็น “เครือ่ งหมาย” ว่าพระเยซูเจ้า “กำลังจะเสด็จมาในก้อนเมฆ” เทียบได้กับการบอกว่า วันนีจ้ ะมีใครบางคนประกาศปฏิวตั แิ ละทำสงครามศักดิส์ ทิ ธิ์ ซึง่ จะทำลาย วาติ กั น หรื อ อาสนวิ ห ารอั น ยิ่ ง ใหญ่ ที เ ดี ย วทุ ก วั น นี้ มี ป ระกาศกแห่ ง หายนะที่ประกาศเสมอว่าจะเกิดภัยพิบัติเช่นนี้ หรือร้ายแรงกว่านี้ เช่น
บทเทศน์ปี C
11
ภัยนิวเคลียร์ ประชากรล้นโลก มลภาวะที่แผ่ขยายอย่างรวดเร็ว เป็นต้น หลายลัทธิในยุคของเราแสวงหาประโยชน์จากความกลัวตามธรรมชาติ ของมนุษย์ พระเยซูเจ้าทรงเป็นเพียงหนึ่งในประกาศกแห่งหายนะเหล่า นั้น ที่ใช้ความกลัวดึงดูดให้มีผู้ติดตามพระองค์เท่านั้นหรือ ... หลังจากนั้น ประชาชนทั้งหลายจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมาใน ก้อนเมฆ ทรงพระอานุภาพ และพระสิริรุ่งโรจน์ยิ่งใหญ่ แทนที่ จ ะทรงแสวงหาประโยชน์ จ ากความกลั ว พระเยซู เ จ้ า ทรงขจัดความกลัว เหตุการณ์ร้ายแรงเหล่านี้ไม่ใช่ “วาระสุดท้ายของ ทุกสิ่ง” แต่เป็นจุดเริ่มต้นของอีกโลกหนึ่ง เป็นคำประกาศเรื่องการพบกัน พระองค์ทรงเสนอสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความกลัวของมนุษย์ เพราะทรง เสนอภาพอันสดใสของบุตรแห่งมนุษย์ ผู้ส่องแสงด้วยพระสิริรุ่งโรจน์ ของพระเจ้า... เรารู้ว่าพระเยซูเจ้าทรงอ้าง “วิวรณ์ของดาเนียล” (ดนล 7:1314) แต่ทรงเปลี่ยนให้แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง พระอาณาจักรของพระเจ้า ที่ดาเนียลคาดหมาย จะต้องมีชัยชนะเหนือศัตรูของอิสราเอล โดยได้รับ ความช่วยเหลืออันรุนแรง และอย่างอัศจรรย์จากพระเจ้าในประวัติศาสตร์ บุตรแห่งมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ “ประชากรผู้ศักดิ์สิทธิ์ของ พระเจ้ า สู ง สุ ด ” จะเสด็ จ มา “ในก้ อ นเมฆ” พระเยซู เ จ้ า ทรงบอกว่ า พระองค์คือบุตรแห่งมนุษย์ผู้นี้ แต่เมื่อมองครั้งแรก พระองค์ไม่ดูเหมือน เทพจากท้องฟ้าเลย พระองค์ทรงมีสภาพเดียวกับมนุษย์ปกติบนโลกนี้ แต่เมือ่ พระองค์สน้ิ พระชนม์บนไม้กางเขน พระองค์จงึ เสด็จเข้าสู ่ “โลกใหม่” แห่งพระสิริรุ่งโรจน์และพระอานุภาพ ในฐานะพระเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ นี่คือพระสิริรุ่งโรจน์ที่พระองค์ทรงทำนายไว้ระหว่างที่ทรงถูกพิพากษา โดยสภาซันเฮดริน (ลก 22:69) แทนที่จะนำประวัติศาสตร์ไปสู่จุดจบ
12
บทเทศน์ปี C
เหตุการณ์หายนะแห่งการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้าได้กลายเป็นจุด เริ่มต้นแท้จริงของประวัติศาสตร์ใหม่ ... ข้อความพระวรสารนี้เตือนเราว่า เทศกาลเตรียมรับเสด็จเป็น เวลาของ “จุดเริ่มต้นใหม่” เมื่อเหตุการณ์ทั้งปวงนี้เริ่มเกิดขึ้น ท่านทั้งหลายจงยืนตัวตรงเงยหน้า ขึ้นเถิด ... ดังนั้น วิวรณ์จึงเป็นสารแห่งความหวัง เราได้เห็นข้อเปรียบเทียบ สิ่งที่แตกต่างกันสองประการ คือ เหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดว่าเป็นภัยพิบัติ เปรียบเทียบกับการเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้า และความ ตื่นกลัวของผู้ไม่มีความเชื่อ เปรียบเทียบกับผู้มีความเชื่อที่ยืนเชิดหน้า “มนุษย์จะตายเพราะความกลัว – แต่ท่านจะเงยหน้าขึ้น” ... ความ แตกต่างนี้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นอีกในข้อความที่เป็นส่วนหนึ่งของบทนี ้ ซึ่ง เป็นอุปมาเรื่องต้นมะเดื่อที่บอกให้รู้ว่า “ฤดูร้อนใกล้เข้ามาแล้ว” (ลก 21: 29-30) เพราะในไม่ช้าท่านจะได้รับการปลดปล่อย (ไถ่กู้) เป็นอิสระแล้ว ถูกแล้ว เหตุการณ์ทหี่ ลายคนมองว่าเป็น “ความพินาศ” (“จุดจบ” ของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขน “จุดจบ” ของกรุงเยรูซาเล็ม “จุดจบ” ของ มนุษย์แต่ละคนเมื่อเขาตาย “จุดจบ” ของอารยธรรม “จุดจบ” ของโลก ... แท้จริงแล้ว “จุดจบ” ของทุกสิ่งที่ตายได้) สำหรับพระเยซูเจ้า และผู้ มีความเชื่อทั้งหลายที่วางใจในพระวาจาของพระองค์ กลับเป็นจุดเริ่มต้น ของความรอดพ้น สัจธรรมของความเชื่อ คือ ธรรมล้ำลึกปัสกา ... ความตายกลาย เป็นชีวิต ในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ คำว่า “การไถ่กู้” ซึ่งนักบุญเปาโล ใช้บ่อย
บทเทศน์ปี C
13
มาก (1คร 1:30; รม 3:24, 8:23; คส 1:14) ปรากฏเพียงครั้งเดียว ในข้อความนี้ เรารู้ว่าลูกาเป็นศิษย์คนหนึ่งของเปาโล ... คำภาษากรีกว่า apolutrosis ถู ก แปลออกมาเป็ น ภาษาละติ น และภาษาอั ง กฤษว่ า redemtio และ redemption ซึ่ ง ไม่ ต รงกั บ ความหมายนั ก และ ควรแปลว่า “ความช่วยเหลือ (rescue)” มากกว่า เพราะเป็นความหมาย ปกติของคำภาษากรีก ดังนั้น เทศกาลเตรียมรับเสด็จจึงเป็นเวลาที่ความช่วยเหลือใกล้ จะมาถึงเราแล้ว ... “ในไม่ช้า ท่านจะได้รับความช่วยเหลือแล้ว จงยืนตรง เงยหน้าขึ้นเถิด” จงระวังไว้ให้ดี อย่าปล่อยใจของท่านให้หมกมุน่ อยูใ่ นความสนุกสนาน รื่นเริง ความเมามายและความกังวลถึงชีวิตนี้ มิฉะนั้นวันนั้นจะมาถึง ท่านอย่างฉับพลัน หลังจากคำเชิญให้มีความหวังและความวางใจ ก็ตามมาด้วย คำเตือนให้ระวังตัวเสมอ เราไม่ควรปล่อยให้ “การเสด็จมา” ของพระเยซูเจ้าเกิดขึ้นกับเราโดยไม่ได้เตรียมตัว โดยเฉพาะการเสด็จมาเป็นครั้ง สุดท้ายของพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงบอกเราว่า เป็นไปได้ที่ใจของเราจะ “หมกมุ่น” อยู่กับความวิตกกังวล และการดำเนินชีวิต และความห่วงใย มากเกินไปกับทรัพย์ทางโลกที่ไม่ยั่งยืน “ประชาชนทั้งหลาย ท่านตัวหนัก ท่านกินอาหารมากไป จนอ้วน ท่านถูกครอบงำจากทรัพย์มากเกินไป ความมั่นคงมากมายเป็นโซ่ล่าม ท่านไว้ ท่านสนใจกับเรื่องฟุ้งเฟ้อไร้สาระมากเกินไป ความคิด และหัวใจ ของท่าน รกรุงรังด้วยเรื่องโง่เขลามากมาย ท่านตัวหนักเกินไป จงทำตัว ของท่านให้เบา จงสมัครใจ และพร้อมเสมอที่จะเริ่มต้นใหม่” (ชาลส์ ซิงเกอร์)
14
บทเทศน์ปี C
นี่ คื อ โครงการอั น เหมาะสมสำหรั บ เทศกาลเตรี ย มรั บ เสด็ จ เป็นเวลาที่ควรทำตัวให้ “เบาขึ้น” เป็นเวลาที่ “หัวใจเบาสบายมากขึ้น” จงปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระจากความกังวลมากเกินไปว่าท่านจะ ดื่มอะไร จะกินอะไร ดู เ หมื อ นว่ า ข้ อ ความนี้ เ ขี ย นขึ้ น สำหรั บ ยุ ค สมั ย ของเรา และ อารยธรรมนักบริโภคที่กินจนเกินขนาดของเรา ... เหมื อ นบ่ ว งแร้ ว เพราะวั น นั้ น จะลงมาเหนื อ ทุ ก คนที่ อ าศั ย อยู่ บ น แผ่นดิน ท่านทั้งหลายจงตื่นเฝ้าอธิษฐานภาวนาอยู่ตลอดเวลาเถิด เพื่อท่านจะมีกำลังหนีพ้นเหตุการณ์ทั้งปวงที่จะเกิดขึ้นนี้ ไปยืนอยู่ เฉพาะพระพักตร์บุตรแห่งมนุษย์ได้ ข้าพเจ้าต้องไม่ปล่อยให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นโดยข้าพเจ้าไม่รู้ตัว เหมือนบ่วงแร้วที่ดักจับสัตว์ป่า ข้าพเจ้าต้องตื่นตัว และเฝ้าระวังเสมอ การไม่รู้ว่า “การเสด็จมา” นี้จะเกิดขึ้นเมื่อใด ไม่ควรเป็นเหตุให้ เรานิ่งนอนใจอย่างเกียจคร้าน แต่ควรทำให้เรา “ยืนตรง” ตลอดเวลา ในข้อความนี้ พระเยซูเจ้าทรงสอนเราว่าทุกวันเป็นวันแห่งการเสด็จมา ของพระองค์ เมื่อมองในแง่นี้ การภาวนาไม่ใช่วิธีหลบหนีปัญหา หรือความ เกียจคร้าน แต่เป็น “การตื่นเฝ้า” “ยามเอ๋ย ท่านเห็นรุ่งอรุณมาถึงหรือไม่ ท่านเห็นพระคริสตเจ้าเสด็จมาหรือไม่ ท่านกำลังมองหาเครื่องหมายที่ ประกาศตัวพระองค์หรือเปล่า” จงตื่นขึ้นเถิด ... การรับศีลมหาสนิทแต่ละครั้งเป็นการรอคอยวันนั้น “จนกว่า พระองค์จะเสด็จมาอีกครั้งหนึ่ง” เชิญเสด็จมาเถิด พระเยซูเจ้าข้า เทศกาลเตรี ย มรั บ เสด็ จ เป็ น เทศกาลแห่ ง การคาดหวั ง อย่ า ง จริงใจ และด้วยความหวัง ...
บทเทศน์ปี C
ลูกา 3:1-6
15
วั นอาทิตย์ที่สอง เทศกาลเตรียมรับเสด็จ
ในปีที่สิบห้าแห่งรัชกาลพระจัก รพรรดิทิเ บรีอัส ปอนทิอัส ปิ ล าต เป็ น ผู้ ว่ า ราชการแคว้ น ยู เ ดี ย กษั ต ริ ย์ เ ฮโรดทรงเป็ น เจ้ า ปกครองแคว้นกาลิลี ฟิลิป พระอนุชาทรงเป็นเจ้าปกครองแคว้น อิ ทู เ รี ย และตราโคนิ ติ ส ลี ซ าเนี ย เป็ น เจ้ า ปกครองแคว้ น อาบี เ ลน อันนาสและคายาฟาส เป็นหัวหน้าสมณะ พระวาจาของพระเจ้ามาถึง ยอห์ น บุ ต รของเศคาริ ย าห์ ในถิ่ น ทุ ร กั น ดาร เขาจึ ง ไปทั่ ว แม่ น้ ำ จอร์แดน เทศน์สอนเรื่องพิธีล้าง ซึ่งแสดงการเป็นทุกข์กลับใจ เพื่อจะ ได้รับการอภัยบาป ตามที่มีเขียนไว้ในหนังสือบันทึกของประกาศก อิสยาห์ ว่า “คนคนหนึ่งร้องตะโกนในถิ่นทุรกันดารว่า จงเตรียมทางขององค์พระผู้เป็นเจ้า จงทำทางเดินของพระองค์ให้ตรงเถิด หุบเขาทุกแห่งจะถูกถมให้เต็ม ภูเขา และเนินทุกแห่งจะถูกปรับให้ต่ำลง ทางคดเคี้ยวจะกลายเป็นทางตรง ทางขรุขระจะถูกทำให้ราบเรียบ แล้วมนุษย์ทุกคนจะเห็นความรอดพ้นจากพระเจ้า”
16
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 1
ถิ่นทุรกันดาร
ข่าวดีคือพระวาจาของพระเจ้ามาถึงยอห์นในถิ่นทุรกันดาร และ เป็นแรงบันดาลใจให้เขารณรงค์ให้ประชาชนแสดงการเป็นทุกข์กลับใจ เพื่อเตรียมทางขององค์พระผู้เป็นเจ้า นี่เป็นสัปดาห์แรกในสองสัปดาห์ที่ เน้นเรื่องพันธกิจของยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง ลูกา พาเราท่องไปในโลกภูมิศาสตร์ เมืองหลวงของจักรวรรดิคือ กรุงโรม และศูนย์กลางทางศาสนาของโลกของชาวยิวคือกรุงเยรูซาเล็ม แต่จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้เกิดขึ้นห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจเหล่านี้ พระวาจาของพระเจ้ามาถึงยอห์นในถิ่นทุรกันดาร การดำรงชีวิตในถิ่น ทุรกันดารเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ถิ่นทุรกันดารทำให้คิดถึงสัตว์ป่าที่ออก ล่าเหยื่อ ในเวลานั้น ชาวยิวตกอยู่ในถิ่นทุรกันดารทางการเมือง เพราะ ดินแดนของเขาถูกแบ่งออก และให้อยู่ภายใต้ผู้ปกครองหลายคนตามที่ ลูการะบุชื่อ มีถิ่นทุรกันดารทางศาสนา เพราะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับการแต่งตั้งมหาสมณะ ให้คายาฟาสขึ้นรับตำแหน่งแทนอันนาส ผู้เป็นพ่อตาของเขา และมีถิ่นทุรกันดารของประกาศก เพราะหลายปีแล้ว ที่ ช าวยิ ว ไม่ มี ผู้ เ ทศน์ ส อนพระวาจาของพระเจ้ า ที่ ส ามารถสร้ า งแรง บันดาลใจให้ประชาชนมีวิสัยทัศน์ และความหวัง พระวาจาของพระเจ้า มาถึงยอห์นท่ามกลางถิ่นทุรกันดารนี้เอง สำหรับวันนี้ เทศกาลเตรียมรับเสด็จเป็นเทศกาลที่นำเรามาเผชิญ หน้ากับถิ่นทุรกันดารทั้งหลายที่เราต้องพบเจอในชีวิต และมองหาพระวาจาที่มีอำนาจเยียวยาของพระเจ้าในที่นั้นๆ เราจะพบถิ่นทุรกันดารใน เวลาต่อไปนี้
บทเทศน์ปี C
17
- ในยามที่ความพยายามต่างๆ ของเราไม่บังเกิดผล - เมื่อเราไม่มีแม้แต่พลังที่จะพยายาม - เมื่อพายุทรายแห่งความกลัวบดบังแสงสว่างแห่งการช่วยเหลือ ของพระเจ้า - เมื่อภาพลวงตาเต้นเร่าอยู่ในจินตนาการ เพื่อลวงล่อให้เราออก นอกทางแห่งความจริง - เมื่อเงามืดซ่อนตัวหมาป่าที่กำลังตระเวนหาเหยื่อที่ไม่ระวังตัว ขณะที่แรงขับเคลื่อนอย่างตาบอด และแรงกระตุ้น กำลังต่อสู้กับความ ตั้งใจของเรา ถ้าเราไม่เผชิญหน้ากับด้านมืดของชีวิตเราอย่างซื่อสัตย์ เราจะ มองไม่เห็นว่าเราจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากพระผู้ไถ่ บุคคลที่รู้ว่าตนเองต้องการพระผู้ไถ่เท่านั้นที่สามารถเฉลิมฉลอง เทศกาลเตรียมรับเสด็จได้ ถ้าท่านไม่รู้จักความอ่อนแอของตนเอง และ ไม่ตระหนักว่าท่านต้องการความช่วยเหลือเยียวยาจากพระหัตถ์ของ พระเจ้า ท่านจะไม่มีวันเห็นคุณค่าของการเสด็จมาของพระองค์ วิถีของพระเจ้าน่าพิศวงยิ่งนัก วิถีที่เราเห็นได้จากจุดเริ่มต้นของ เรื่องราวการเสด็จมาของพระผู้ไถ่... เมื่อพระวาจาของพระเจ้ามาถึง ยอห์น... ในถิ่นทุรกันดาร ข้าแต่พระเยซูเจ้า เชิญเสด็จมาสู่ถิ่นทุรกันดารของข้าพเจ้าเถิด
18
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 2
การพิจารณามโนธรรมเพื่อเตรียมรับเสด็จ
เมื่ อ ยอห์ น ได้ รั บ พระวาจาของพระเจ้ า เขาเริ่ ม ประกาศให้ ประชาชนรู้ว่าพวกเขาต้องเป็นทุกข์กลับใจเพื่อจะได้รับการอภัยบาป ยอห์นนำผู้ติดตามเขาไปรับพิธีล้างในแม่น้ำจอร์แดน ซึ่งเป็นพิธีเชิง สั ญ ลั ก ษณ์ เขายื ม วาจาของประกาศกที่ เ ตื อ นประชาชนให้ เ ตรี ย มตั ว เดินทางกลับจากดินแดนเนรเทศไปสู่กรุงเยรูซาเล็ม ในการฉลองเทศกาลเตรียมรับเสด็จอย่างเหมาะสม ข้าพเจ้า จำเป็นต้องย้อนกลับไปสู่ทางของพระเจ้า ผ่านทางการสารภาพบาปอย่าง ละเอียดถี่ถ้วน ภาพลักษณ์ที่ประกาศกอิสยาห์บรรยายไว้สามารถเป็น แนวทางในการพิจารณามโนธรรมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีทางที่ข้าพเจ้าต้องทำให้ตรง เมื่อใดที่หัวใจของข้าพเจ้า หันเหไปจากพระเจ้าผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรัก เมื่อใดที่ข้าพเจ้าทำตัว ราวกับว่าพระเนตรของพระเจ้ากำลังมองไปทางอื่น หรือเมื่อใดที่ข้าพเจ้า ยอมให้ความโกรธ หรือความแค้นบดบังมิให้ข้าพเจ้าจำทางแห่งความรัก เมตตาได้ หุ บ เขาที่ จ ะต้ อ งถมให้ เ ต็ ม หมายถึ ง เวลาที่ ข้ า พเจ้ า ไม่ ส ำนึ ก ว่ า พระเจ้ า ประทั บ อยู่ กั บ ข้ า พเจ้ า หรื อ เมื่ อ ข้ า พเจ้ า ไม่ ก ระตื อ รื อ ร้ น ที่ จ ะ ทำงานของพระเจ้า ภูเขาที่จะต้องปรับให้ต่ำลง หมายถึงอุปสรรคที่ข้าพเจ้าคิดไปเอง ว่าไม่อาจเอาชนะได้ เพราะข้าพเจ้าลืมที่จะวางใจในพระเจ้า หรือเนินเขา ที่จะต้องถูกปรับให้ราบอาจหมายถึงความจองหองเมื่อข้าพเจ้าคิดว่า ตนเองเก่งในเรื่องใด และดูถูกผู้อื่น
บทเทศน์ปี C
19
ทางคดเคี้ยวหมายถึงวิธีเตะถ่วงที่ข้าพเจ้าใช้ในการเดินทางของ วิญญาณของข้าพเจ้าไปหาพระเจ้า ... การรีรอ ผัดวันประกันพรุ่ง และ หน่วงเหนี่ยวเวลา ... “ขอเป็นพรุ่งนี้เถิด พระเจ้าข้า” ทางขรุขระที่ต้องทำให้ราบเรียบ หมายถึงบุคลิกภาพที่ยังหยาบ กระด้างของข้าพเจ้า ซึ่งทำให้ผู้อื่นรำคาญใจ หรือทำให้เขาอารมณ์เสีย ความไม่รู้จักกาลเทศะของข้าพเจ้า ความแล้งน้ำใจ ไม่พร้อมจะประนีประนอม และความพยายามครอบงำผู้อื่นด้วยวิธีการที่แนบเนียน ทางขรุขระยังหมายถึงการใช้ลิ้น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ข้าพเจ้าใช้ แสดงเจตนาร้าย หรือเยาะเย้ยถากถางผู้อื่น องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงกำลังรอให้ข้าพเจ้ากลับไปหาพระองค์ ข้าพเจ้าจะเฉลิมฉลองเมื่อข้าพเจ้าได้ยินเสียงพระองค์ตรัสให้อภัยในถิ่น ทุรกันดารของข้าพเจ้า และเมื่อข้าพเจ้าได้เห็นมือที่มีอำนาจรักษาข้าพเจ้า นั้น ยกขึ้นทำเครื่องหมายกางเขนแห่งความรอดพ้นเหนือศีรษะข้าพเจ้า
20
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 3
ในปีที่สิบห้าแห่งรัชกาลพระจักรพรรดิทีเบรีอัส ... ลูกา ต้องการประกาศเรื่องการเทศน์สอนของยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง ซึ่งเป็นการเตรียมทางสำหรับการเทศน์สอนของพระเยซูเจ้า ผู้นิพนธ์พระวรสารกำลังบอกด้วยข้อความเหล่านี้ว่า พระเจ้าทรง เข้าแทรกแซงช่วยเหลือมนุษย์ในประวัติศาสตร์ พระองค์ไม่ได้ทรงทำงาน “นอกโลก” หรือในหมู่เมฆ แต่งานของพระองค์เริ่มต้นอย่างซ่อนเร้น ภายในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก “ประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์” กำลัง เริ่มต้นขึ้นที่ใจกลางของเหตุการณ์ในโลก... เราเชือ่ เหมือนกับลูกาหรือไม่ ว่าพระเจ้าตรัสและทำงานท่ามกลาง เหตุการณ์และสถานการณ์รอบตัวเราในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมในวันนี้ ลูกา ได้บอกไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่าพระเยซูเจ้าทรงบังเกิดมาใน รัชกาลของจักรพรรดิออกัสตัส (ลก 2:1) บัดนี้ เขาบอกเราว่าพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ทรงเริ่มต้นงานอภิบาลของพระองค์ในปีที่ สิบห้าของรัชกาลของทีเบรีอัส คือประมาณ ค.ศ. 28 หรือ 29 เขากำลังยกย่องพระเยซูจ้า ผู้เป็นชาวยิวที่ไม่มีใครรู้จัก ขึ้นมา เทียบกับจักรพรรดิโรมันผู้เกรียงไกร และเป็นผู้ปกครองโลก อาณาจักร ของทีเบรีอัสครอบคลุมตั้งแต่ชายฝั่งทะเลเหนือไปจนถึงขอบทะเลทราย ซาฮาร่า และตั้งแต่ช่องแคบยิบรอลต้า ไปจนถึงชายขอบของทวีปเอเชีย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในปัจจุบันอยู่ท่ามกลางวงล้อมของ 15 รัฐ แต่ใน สมัยนั้นเป็นเสมือนทะเลสาบของโรม (ชาวโรมันเรียกว่า“ทะเลของเรา”) ลูกาต้องการแสดงให้เห็นว่า ข่าวดีที่เริ่มต้นจากกรุงเยรูซาเล็ม
บทเทศน์ปี C
21
จะแผ่ออกไปจนถึงกรุงโรม ดังที่เล่าไว้ในตอนท้ายของหนังสือกิจการ อัครสาวก (28:16-31) แต่ในเวลานี้ เราเห็นอาณาเขตของแผนการ ของพระเจ้า คือ เริ่มต้นจากพระเยซูเจ้าไปถึงทีเบรีอัส ปอนทิอัส ปิลาต เป็นผู้ว่าราชการแคว้นยูเดีย นอกจากพระนางพรหมจารีมารีย์แล้ว ปอนทิอัส ปิลาต เป็นมนุษย์ คนเดียวที่ได้รับการเอ่ยชื่อในบทภาวนาสัญลักษณ์ของอัครสาวก คือ “พระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ปฏิ ส นธิ เ ดชะพระจิ ต บั ง เกิ ด จากพระนางมารี ย์ พรหมจารี รับทรมานในสมัยของปอนทิอัส ปิลาต” ปอนทิอัส ปิลาต เป็นผู้แทนของกรุงโรมประจำกรุงเยรูซาเล็ม ระหว่าง ค.ศ. 26 ถึง 30 เป็นบุคคลที่ผู้ครองแคว้นใกล้เคียง คือ เฮโรด อากริปปา ที่ 1 บรรยายว่าเป็นคน “ไม่ยอมประนีประนอม และไร้ความ ปรานี” เขาถูกโรมสั่งปลดจากตำแหน่งในที่สุด เนื่องจากได้สังหารหมู่ชาว สะมาเรียหลายพันคนที่มาชุมนุมกันบนภูเขาเกรีซิม ฟลาเวียส โยเซฟ และฟิโล ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ของยุคนั้น บรรยายว่าเขาปกครอง แคว้นด้วยการทุจริต สร้างความหวาดกลัว และใช้เจ้าหน้าที่บีบบังคับ ประชาชน กระทำทารุณกรรม และประหารชีวิต ในปัจจุบัน บางครั้งเราคร่ำครวญเรื่อง “ความยากลำบากในยุค ของเรา” พระเยซูเจ้าทรงอยู่ในดินแดนที่ถูกศัตรูยึดครอง และกดขี่อย่าง ไร้ยางอาย กษัตริย์เฮโรด ทรงเป็นเจ้าปกครองแคว้นกาลิลี ฟิลิป พระอนุชาทรง เป็นเจ้าปกครองแคว้นอิทูเรีย และตราโคนิติส ลีซาเนีย เป็นเจ้า ปกครองแคว้นอาบีเลน
22
บทเทศน์ปี C
บุ ค คลเหล่ า นี้ เ ป็ น ผู้ ป กครองหุ่ น เชิ ด ที่ ข ายชาติ อำนาจแท้ อ ยู่ ในมือของโรม ลูกาเน้นบริบททางภูมิศาสตร์ ข่าวดีจะพัฒนาขึ้นในบริเวณนี้ก่อน เขาเอ่ยอย่างเจาะจงถึงสองแคว้นที่เป็นที่อยู่อาศัยของลูกหลานอิสราเอล (ยูเดีย และกาลิลี) และสองแคว้นที่เป็นที่อยู่อาศัยของ “ชนต่างชาติ” (อิทูเรีย ตราโคนิติส และอาบีเลน) ลูกา ผู้เป็นศิษย์ของเปาโล ใช้วิธีนี้ เสนอความคิดทางเทววิทยาในตัวบทพระวรสารของเขาว่า “คำสั่งสอน ของพระเยซูเจ้าไม่ได้สงวนไว้สำหรับประชากรบางกลุ่มเท่านั้น” ข้าพเจ้าปิดกั้นตนเองให้อยู่แต่ภายใน “ย่านคริสตชน” ที่ข้าพเจ้า คุ้นเคยเท่านั้นหรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ดำเนินชีวิตภายใต้ การดลใจของพระวรสารอีกต่อไป อันนาส และคายาฟาส เป็นหัวหน้าสมณะ หลังจากเอ่ยชื่อผู้ปกครองทางการเมืองแล้ว ลูการะบุชื่อของผู้นำ ทางศาสนาที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อศาสนายิวในยุคนั้น พระเยซูเจ้าจะทรง เผชิญหน้ากับบุคคลเหล่านี้ในอีกไม่กี่ปีต่อมา นี่คือบริบททางการเมืองและทางศาสนา ข้อมูลนี้ถูกต้อง และได้ รับการยืนยันจากนักประวัติศาสตร์ ในซีซารียา เรายังเห็นที่นั่งของปิลาต ในโรงมหรสพ เพราะมีคำจารึกสลักบนหินที่เป็นที่นั่งของผู้ว่าราชการที่ ใจกลางของโรงมหรสพ พระวาจาของพระเจ้ามาถึงยอห์น บุคคลที่มีตำแหน่งสูงส่งที่เอ่ยชื่อข้างต้นนี้ ไม่ใช่ผู้สร้างประวัติศาสตร์ตัวจริง เพราะบัดนี้ “โฆษก” หรือ “ประกาศก” ปรากฏตัวขึ้นแล้ว เขาคือยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง ผู้เป็นประกาศกคนสุดท้าย และประจักษ์พยาน คนแรกที่ยืนยันถึงพระเยซูคริสตเจ้า...
บทเทศน์ปี C
23
เป็ น ความจริ ง ว่ า การเปลี่ ย นแปลงต้ อ งเริ่ ม ต้ น จากภายในตั ว มนุษย์ แต่อานุภาพที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่อาจมาจากการ บูชาลัทธิ และผู้มีอำนาจ หรือจากโครงสร้างทางการเมือง (“พระเจ้าทรง คว่ำผู้ทรงอำนาจจากบัลลังก์”) (ลก 1:52) พระวาจาซึ่งมาจาก “ที่อื่น” คือจากพระเจ้า จะสร้างความใหม่ อันแท้จริง ซึ่งจะเปลี่ยนเส้นทางของประวัติศาสตร์ ข้าพเจ้ายอมให้พระวาจาของพระเจ้า “จับใจ” ข้าพเจ้าเหมือนกับ จับใจ ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง หรือไม่ ... ในถิ่นทุรกันดาร บางครั้ง เรารู้สึกราวกับว่าเราอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ในสุญญากาศ เป็นไปได้หรือไม่ที่ความวิเวกอันน่าเบื่อหน่ายนี้เป็นสถานที ่ และเวลาที่ เราอยู่ห่างจากความวุ่นวายของโลกและเสียงอื้ออึง และเราจะสามารถจะ ได้ยินพระวาจาอันลี้ลับได้ บทเพลงภาษาฝรั่งเศสบทหนึ่งกล่าวว่า “ฟังซิ ฟัง อย่าส่งเสียง ใกล้ตัวท่าน ใครบางคนกำลังเดินมาบนถนน ใครบางคนกำลังมาหาท่าน ฟังซิ ฟัง เสียงฝีเท้าขององค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เสด็จมาหาท่าน” ข้ า พเจ้ า เก็ บ ส่ ว นใดในชี วิ ต อั น วุ่ น วายของข้ า พเจ้ า ไว้ ใ ห้ เ ป็ น สถานที่วิเวก เป็น “ถิ่นทุรกันดาร” เขาจึงไปทั่วแม่น้ำจอร์แดน ... พระวาจาของพระเจ้าเป็นบางสิ่งที่เคลื่อนไหว เป็นขบวนการ ยอห์น เป็นนักเทศน์เร่ร่อน และพระเยซูเจ้าก็จะเป็นนักเทศน์เร่ร่อน คนหนึ่งในไม่ช้า ส่วนเราจะเป็นอะไร ยอห์นออกจากถิ่นทุรกันดารอันสงบเงียบของเขา สถานที่ซึ่งเขา ใช้เตรียมตัวด้วยการรับฟังพระวาจา และบัดนี้ เขาก้าวออกไปพบฝูงชน
24
บทเทศน์ปี C
เมื่อจุดประสงค์ของเขาคือการพบประชาชน เขาจึงจงใจเลือกสถานที่ซึ่ง คนจำนวนมากมาชุ ม นุ ม กั น คื อ ชายฝั่ ง แม่ น้ ำ สถานที่ ซึ่ ง ทุ ก คนต้ อ ง เดินทางผ่าน เป็นชุมทางที่มีคนมากมาย คือบนฝั่งหมู่บ้านเบธานี ฝั่งซ้าย ของแม่น้ำจอร์แดน ฝั่งตะวันออกของเมืองเยรีโค (ยน 1:28) ที่นั่น กองทัพอังกฤษได้สร้างสะพานอัลเลนบีขึ้น และเป็นจุดเดียวที่สามารถ ข้ามแม่น้ำได้ หลั ง จากผ่ า นช่ ว งเวลาอั น วิ เ วกแล้ ว ข้ า พเจ้ า กำลั ง มองหาผู้ ที่ ข้าพเจ้าจะติดต่อสื่อสารด้วยหรือไม่ เทศน์สอน (ตะโกน) เรื่องพิธีล้าง (การดำลงสู่) ซึ่งแสดงการเป็น ทุกข์กลับใจ (ความเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง) ... ถูกแล้ว ข้อความที่นักบุญลูกาเขียนเป็นภาษากรีกนี้ ควรแปลว่า “ยอห์นร้องตะโกนให้ดำลงสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง” ไม่มีทางเข้าใจความหมายนี้ผิดเพี้ยนไปได้เลย เราไม่สามารถพบ พระเจ้าโดยบังเอิญ โดยไม่รู้ตัวและไม่สมัครใจ เราต้องเปลี่ยนแปลง ตนเองโดยสิ้นเชิง เราต้องกระโดดไปหาพระองค์ คำว่า baptisma หรือพิธีล้าง ชวนให้ระลึกถึงพิธีอาบน้ำที่สมาชิกชุมชนกุมรานต้องกระทำ ทุกวัน เพื่อชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ปราศจากบาป และกระตุ้นให้วิญญาณ ชำระตนเอง คนในชุมชนนี้จะดำลงไปในสระน้ำ หรือแม่น้ำ “การเป็นทุกข์กลับใจ” ไม่ได้หมายถึงเพียงกิจกรรมของสมอง เท่ า นั้ น แต่ เ ป็ น “ก้ า วหนึ่ ง ” ในชี วิ ต ซึ่ ง เราแสดงออกด้ ว ยการรั บ ศี ล ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อประกาศให้คนทั่วไปรู้ว่า “ฉันต้องการเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่าง สิ้นเชิง ... และฉันแสดงท่าทีต่อหน้าท่าน ซึ่งเป็นเครื่องหมายว่าฉันสำนึก ผิด ... ฉันนำชีวิตเดิมของฉันจุ่มลงในน้ำเพื่อฝังมันให้ตายไว้ใต้น้ำ เพื่อ ชีวิตใหม่จะเกิดขึ้นได้ในตัวฉัน” ถูกแล้ว ศีลล้างบาปเป็นการสมัครใจกด
บทเทศน์ปี C
25
“มนุษย์เก่า” ให้จมน้ำตาย เพื่อว่า “มนุษย์ใหม่” จะเกิดขึ้นมา (รม 6:6, 7:6; อฟ 4:22; คส 3:9, 10) นี่เป็นภาพลักษณ์แท้ของศีลอภัยบาปเช่นกัน ศีลอภัยบาปเป็น “ศีลล้างบาปครั้งที่สอง” ซึ่งเราอาจต้องการ เพื่อจะเฉลิมฉลองเทศกาล พระคริสตสมภพได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น คำว่า “เป็นทุกข์กลับใจ” ที่กล่าวถึงในที่นี้ (metanoia) หมายถึง การหันกลับไปหาพระเจ้าอีกครั้งหนึ่ง ถ้าการกลับใจเป็นเพียงการเปลี่ยน วิถีชีวิตด้านศีลธรรม หรือสังคม ชีวิตคริสตชนของเราก็จะเป็นเพียง “มานุษยนิยม” รูปแบบหนึ่งเท่านั้น และบางทีอาจไม่สมบูรณ์เท่ารูปแบบ อื่นด้วยซ้ำไป สิ่งสำคัญคือเราต้องหันกลับไปหาพระเจ้า ซึ่งต้องมีผลทาง ศีลธรรมและสังคมด้วยอย่างแน่นอน เช่น การต่อสู้กับความเห็นแก่ตัว ความอยุติธรรม ความนิยมในวัตถุ ความเป็นทาสของความสนุกสนาน และเงินทอง ความลามกอนาจาร ความเกียจคร้าน ความอยากมีอำนาจ เหนือผู้อื่น เป็นต้น พิธีล้าง ซึ่งแสดงการเป็นทุกข์กลับใจ เพื่อจะได้รับการอภัยบาป การให้ อ ภั ย เป็ น กิ จ การอั น ยิ่ ง ใหญ่ ข องพระเจ้ า ที่ พ ระองค์ ท รง กระทำ และเสนอให้ แ ก่ ม วลมนุ ษ ย์ แต่ จ ะมี ผ ลเฉพาะเมื่ อ เราเต็ ม ใจ ยอมรับการให้อภัยนั้น ดวงอาทิตย์ไม่เคยหยุดส่องแสง แต่เราสามารถ ปิดม่านหน้าต่างของเราได้ กิจการของพระเจ้าแสดงออกมาผ่านทางพระสงฆ์ ผู้พูด “ใน พระนาม และแทนองค์พระคริสตเจ้า” มนุ ษ ย์ แ สดงความสมั ค รใจออกมาภายนอกด้ ว ยการกระทำ โดยเฉพาะการยอมรับความผิดบกพร่องของตนเอง ไม่ว่าเป็นการกระทำ โดยลำพัง หรือกระทำร่วมกันเป็นชุมชน
26
บทเทศน์ปี C
การรับศีลมหาสนิทแต่ละครั้งทำให้เราติดต่อสัมพันธ์กับพระเยซูเจ้า ในกิจกรรมที่พระองค์ทรง “ถวายพระองค์เองเพื่อให้เราได้รับ การอภัยบาป” กล่าวคือ ในกิจการไถ่กู้มนุษยชาติ ซึ่งพระองค์ทรงแสดง ความนบนอบอย่างสมบูรณ์ต่อพระบิดา เป็นกิจการที่พระองค์ทรง “หัน ไปหาพระเจ้า” อย่างสมบูรณ์ ตามที่มีบันทึกไว้ในหนังสือประกาศกอิสยาห์ว่า “คนคนหนึ่งร้องตะโกนในถิ่นทุรกันดารว่า จงเตรียมทางของ องค์พระผู้เป็นเจ้า จงทำทางเดินของพระองค์ให้ตรงเถิด หุบเขาทุกแห่ง จะถูกถมให้เต็ม ภูเขาและเนินทุกแห่งจะถูกปรับให้ต่ำลง ทางคดเคี้ยว จะกลายเป็นทางตรง ทางขรุขระจะถูกทำให้ราบเรียบ” นี่คือรถไถปรับพื้นที่อันทรงพลัง ในขณะที่เราคิดว่าเราเพียงแต่ กำลัง “สารภาพบาปอย่างลึกซึ้ง” และเป็นการสารภาพบาปที่ไม่ต้องเจ็บ ปวดเลยด้วยซ้ำ แล้วมนุษย์ทุกคนจะเห็นความรอดพ้นจากพระเจ้า นี่คือวิสัยทัศน์ของบุคคลที่มีความคิดเป็นสากล และเป็นลักษณะ เด่นของลูกา ผู้เป็นเพื่อนร่วมงานของนักบุญเปาโล งานของพระเจ้าไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลงโทษมนุษย์ แต่เพื่อช่วย มนุษย์ให้รอดพ้น ปลายทางของประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ ... คือ ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ซึง่ เป็นพืน้ ทีป่ ฏิบตั งิ านของพระเจ้า ... ย่อมไม่ใช่ทางตัน แม้ว่าวันนี้ “เราหว่านด้วยน้ำตา” แต่จะถึงเวลาที่เราเก็บเกี่ยว “ด้วย เสียงเพลง”
บทเทศน์ปี C
27
วั นอาทิตย์ที่สาม เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ลูกา 3:10-18 เมื่อประชาชนถามยอห์นว่า “เราจะต้องทำอะไร” เขาก็ตอบว่า “ใครมีเสือ้ สองตัว จงแบ่งตัวหนึง่ ให้กบั คนทีไ่ ม่มี คนทีม่ อี าหาร ก็จงทำ เช่นเดียวกัน” คนเก็บภาษีมาหายอห์นเพื่อรับพิธีล้างด้วย และถามเขา ว่า “ท่านอาจารย์ พวกเราจะต้องทำสิ่งใด” ยอห์นตอบว่า “ท่านอย่า เรียกเก็บภาษีเกินพิกัด” พวกทหารถามเขาด้วยว่า “แล้วพวกเราเล่า เราจะต้องทำสิง่ ใด” เขาตอบว่า “อย่าขูก่ รรโชก อย่ากล่าวหาเป็นความ เท็จเพื่อเอาเงิน จงพอใจกับค่าจ้างของตน” ขณะนั้น ประชาชนกำลังรอคอย ทุกคนต่างคิดในใจว่า ยอห์น เป็นพระคริสต์หรือ ยอห์นจึงประกาศต่อหน้าทุกคนว่า “ข้าพเจ้าใช้ น้ำทำพิธีล้างให้ท่านทั้งหลาย แต่ผู้ที่ทรงอำนาจยิ่งกว่าข้าพเจ้าจะมา และข้าพเจ้าไม่สมควรแม้แต่จะแก้สายรัดรองเท้าของเขา เขาจะทำ พิธีล้างให้ท่านเดชะพระจิตเจ้าและด้วยไฟ เขากำลังถือพลั่วอยู่แล้ว จะชำระลานนวดข้าวให้สะอาด จะรวบรวมข้าวใส่ยุ้ง ส่วนฟางนั้นจะ เผาทิ้งในไฟที่ไม่รู้ดับ” ยอห์นยังใช้ถ้อยคำอื่นอีกมากตักเตือน และ ประกาศข่าวดีแก่ประชาชน
28
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 1 ผู้ฟังที่ไม่น่าจะฟัง
เทศกาลเตรียมรับเสด็จเป็นเรื่องของพระเจ้าผู้เสด็จมา พระเจ้า ทรงเป็นชีวิต และอำนาจในการเนรมิตสร้างของพระองค์ต้องค้ำจุนเรา มิฉะนั้นเราจะต้องตาย พระเจ้าทรงเป็นแสงสว่าง และแสงสว่างต้อง ส่องสว่าง พระเจ้าทรงเป็นความรัก และเป็นธรรมชาติของความรักที่จะ ยื่นมือออกไปหาผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ใครจะห้ามพระเจ้าไม่ให้เสด็จ มาได้ นี่คือธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับเสรีภาพของเรา เพราะเราทำเช่นนั้นได้ คนทั่วไปเข้าใจผิด เมื่อเขาเชื่อกันว่าเราต้องทำตัวให้สมกับที่จะได้ รับความรักของพระเจ้า ด้วยการพยายามเป็นคนที่สมบูรณ์ครบครัน เรา เข้าใจผิดว่าวันหนึ่งบ้านของเราที่เต็มไปด้วยการทะเลาะเบาะแว้งและ ความหงุดหงิด จะกลายเป็นบ้านที่สงบสุข และเมื่อนั้น บ้านของเราจะเป็น บ้านที่พร้อมจะต้อนรับพระเจ้า เหมือนกับเด็กน้อยคนหนึ่งที่คิดว่าตัวเขา ยังไม่พร้อมจะไปโรงเรียนจนกว่าเขาจะสามารถอ่าน และเขียนได้เหมือน กับพี่ๆ ของเขา เรามักลืมไปว่าเมื่อพระเจ้าเสด็ จ มาหาเราในองค์ พ ระเยซู เ จ้ า พระองค์พอพระทัยจะประสูติในถ้ำและใช้รางหญ้าเลี้ยงสัตว์เป็นอู่นอน พระนางมารี ย์ ท รงทราบว่ า สิ่ ง เดี ย วที่ พ ระนางเสนอให้ พ ระเจ้ า ได้ คื อ ครรภ์ พ รหมจรรย์ แ ห่ ง ความเปล่ า ของพระนาง ถ้ า เรากำลั ง วางแผน สำหรับเทศกาลพระคริสตสมภพ เราจะจัดเตรียมสิ่งต่างๆ ตามพระประสงค์ของพระเจ้า หรือเราจะเลือกสิ่งของที่คุณภาพดีที่สุด คำเทศน์ ส อนของยอห์ น เป็ น ข่ า วดี ส ำหรั บ คนจำนวนมาก ซึ่ ง สถาบันศาสนาในยุคนั้นเลิกคาดหวังให้กลับใจแล้ว พระวาจาของพระเจ้า
บทเทศน์ปี C
29
ที่ ย อห์ น ประกาศ กระตุ้ น จิ ต ใจผู้ ฟั ง ให้ ส มั ค รใจแก้ ไ ขวิ ถี ชี วิ ต อย่ า ง น่าประหลาดใจ หลายคนที่หันมาฟังยอห์น เป็นบุคคลที่ไม่น่าเชื่อว่าจะ ฟังเขา คนเหล่านี้ตื่นเต้นที่เริ่มมองเห็นพระเจ้า ผู้ทรงเอื้อมมาหาเขาที่ กำลั ง จมอยู่ ใ นบาป เราไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งเป็ น คนดี พ ร้ อ มก่ อ นจะมาหา พระองค์ ดังนั้น คนเหล่านี้จึงสมัครใจมาหาพระองค์ ทั้งคนเก็บภาษี และ ทหาร คนเหล่านี้ไม่ใช่คนเคร่งครัดศรัทธาในยุคนั้นเลย พวกเขาเริ่มมี ความรู้สึกคาดหวัง แต่คนที่ชื่นชมตนเองว่าเป็นคนเคร่งศาสนากลับไม่พร้อมจะฟัง คนเหล่านี้ไม่รู้ตัวว่าเขาต้องการพระผู้ไถ่ เขาไม่มี หรือคิดเอาเองว่าไม่มี ความจำเป็นต้องเตรียมตัวรับเสด็จพระเจ้า เรามั ก เข้ า ใจผิ ด ว่ า เราจะพบพระเจ้ า ได้ ใ นดิ น แดนแห่ ง ความ สมบูรณ์ครบครัน เราบอกพระองค์ว่า สักวันหนึ่งลูกคงพร้อมจะพบกับ พระองค์ การเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้า เป็นวิธีการที่ พระเจ้าทรงบอกเราว่าพระองค์ทรงต้องการพบเราตั้งแต่ที่นี่ และเวลานี้ ... ในถ้ำที่ลมหนาวพัดผ่าน และในรางหญ้ากลิ่นเหม็น ... ในบาดแผล ในอดีตของเรา และในความกลัวอนาคตของเรา ... ในบาปและความ ล้มเหลวของเรา ในความเสียใจและอึดอัดใจของเรา พระเจ้าไม่ได้กำลัง รอคอยให้เราเป็นคนดีพร้อม เราคิดว่าเราเป็นใครหรือจึงจะมีวันคู่ควร ต้อนรับพระเจ้าได้ สิ่งเดียวที่พระเจ้าทรงต้องการจากท่านระหว่างเทศกาลเตรียม รับเสด็จ คือ ให้ทา่ นยอมให้พระเจ้าทรงเป็นฝ่ายเสด็จมาหาท่าน ... พระเจ้า แห่งชีวิต พระเจ้าแห่งแสงสว่าง และพระเจ้าแห่งความรัก ... สิ่งที่พระเจ้า ทรงแสวงหา คือ ถ้ำของเรา และรางหญ้าอันว่างเปล่าของเรา ท่ามกลาง ความยากไร้ และความขัดสนในชีวิตของเรา ข้าแต่พระเจ้าแห่งชีวิต เชิญเสด็จมาสู่กิ่งก้านเหี่ยวแห้งในชีวิตที่ ไม่ให้ผลของเรา ที่ซึ่งความพยายามของเราล้มเหลว ที่ซึ่งความกล้าหาญ
30
บทเทศน์ปี C
ของเราถดถอย ที่ซึ่งน้ำเลี้ยงที่ให้พลังงานได้แห้งไปหมดแล้ว เรายากไร้ และเราต้องการพระผู้ไถ่ เชิญเสด็จมาเถิดพระเยซูเจ้า ข้าแต่พระเจ้าแห่งแสงสว่าง เชิญเสด็จมาสู่ก้นบึ้งอันมืดมนที่เรา อาศัยอยู่ร่วมกับความกลัวอันคลุมเครือ และอารมณ์ที่ไม่ยอมเชื่อง เรา ยากไร้ และเราต้องการพระผู้ไถ่ เชิญเสด็จมาเถิดพระเยซูเจ้า ข้าแต่พระเจ้าแห่งความรัก ผู้ทรงปรารถนาจะเข้ามาในหัวใจของ เรา เชิญเสด็จเข้ามาในห้องหัวใจซึ่งยังไม่ได้รับการไถ่กู้ ที่ซึ่งเราปิดกั้น ความรักของพระองค์ ที่ซึ่งเรารู้จักแต่ความริษยา ความใคร่ ความกระวนกระวาย ความจองหอง ความโกรธ และความขมขื่น เรายากไร้ และ เราต้องการพระผู้ไถ่ เชิญเสด็จมาเถิดพระเยซูเจ้า
บทเทศน์ปี C
31
บทรำพึงที่ 2
ใครบางคนกำลังมา
“เราจะต้องทำอะไร” คนบาปทั้งหลายที่มาหายอห์น ได้ค้นพบ พลังใหม่ในชีวิตของเขา และความพร้อมที่จะทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อ ปรับปรุงตนเอง สารของยอห์นสัมผัสส่วนที่เป็นฤดูหนาวในชีวิตของเขา และเผยให้เห็นฤดูใบไม้ผลิ ... “ใครบางคนกำลังมา” และน้ำเลี้ยงที่ให้ พลังเริ่มฉีดพล่านในเส้นเลือดในตัวเขา การเฉลิมฉลองเทศกาลเตรียมรับเสด็จ และเทศกาลพระคริสตสมภพ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการโคจรกลับมาของดวงอาทิตย์ หลังจากที่ได้โคจรออกห่างจากโลกมากที่สุดในฤดูหนาว เมื่อมองจาก โต๊ะทำงานออกไปนอกหน้าต่าง ข้าพเจ้ามองเห็นสวนผักอันมีค่าของเรา ที่กำลังหลับไหลอยู่กลางฤดูหนาว น้ำค้างแข็งทำให้พื้นดินแตกออกกลาย เป็นดินเพาะปลูกชั้นดี ปุ๋ยที่หว่านไว้กำลังคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ฤดู ห นาวทำให้ ดิ น อุ ด มสมบู ร ณ์ เ หมาะแก่ ก ารหว่ า นเมล็ ด พั น ธุ์ ใ นฤดู ใบไม้ ผ ลิ ม ากขึ้ น ข้ า พเจ้ า เรี ย นรู้ ที่ จ ะรั ก การนอนหลั บ ของธรรมชาติ ระหว่างฤดูหนาว ซึ่งให้พลังงานแก่ฤดูใบไม้ผลิ การคิดถึงดอกหญ้าดอก แรกที่ผุดขึ้นมาจากต้นหญ้าทำให้รู้สึกรักการพักผ่อนของธรรมชาติใน ฤดูหนาว นั่นคือการได้เห็นแวบหนึ่งของอนาคตที่เราเรียกว่าความหวัง ใครบางคนกำลังจะมาถึง ใครบางคนที่มีฤทธานุภาพมากกว่า ไฟเป็น ธาตุที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงมากกว่าน้ำที่ยอห์นยืนแช่อยู่ ไฟทำให้ร่างกาย อบอุ่น ส่องสว่างในเวลากลางคืน ละลาย และชำระสิ่งต่างๆ ให้สะอาด บริสุทธิ์ เราใช้ไฟเพื่อต้ม อบ และปรุงอาหาร เราใช้ไฟนำคนทั้งหลาย มาชุมนุมกัน เปลวไฟกระตุ้นจินตนาการของเรา หรือไฟอาจคุกคาม
32
บทเทศน์ปี C
ทำลาย เผาขยะมูลฝอย และเปลือกนอกทีว่ า่ งเปล่าของชีวติ ก็ได้ คำสัง่ สอน ของยอห์นเรื่องชีวิตเป็นส่วนผสมระหว่างความกลัวและความหวัง กลัว เพราะการลงทัณฑ์อันน่าสะพรึงกลัวอาจเกิดขึ้นถ้าประชาชนไม่เปลี่ยน วิถีชีวิต แต่มีความหวังว่ามนุษย์ยังสามารถกลับใจได้ ความกลัวเพียง อย่างเดียวอาจทำให้มนุษย์ไม่อยากริเริ่มสิ่งใหม่ การได้ เ ห็ น แวบหนึ่ ง ของอนาคตนั่ น เองที่ ท ำให้ ป ระชาชนมี กำลังใจจะถามว่า “เราจะต้องทำอะไร” ข้าแต่พระเจ้า ขอให้ข้าพเจ้ารู้จักพระองค์เสมอว่าทรงเป็นผู้ที่ กำลังเสด็จมา ขอให้ข้าพเจ้ารู้ว่าความเดียวดายของข้าพเจ้าเป็นพื้นที่ว่าง ที่จะต้อนรับพระองค์ รู้ว่าความมืดของข้าพเจ้าเป็นการพยายามเพ่งมอง ความกว้างใหญ่ไพศาลของพระองค์ รู้ว่าความเย็นชาของข้าพเจ้าเป็น ความต้องการความอบอุ่นของพระองค์ รู้ว่าความเฉื่อยชาของข้าพเจ้า เป็นการนอนหลับเพื่อเรียกคืนพลังงาน รู้ว่าฤดูหนาวของข้าพเจ้าเป็นฤดู กาลที่เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ก่อนฤดูใบไม้ผลิอันน่าตื่นเต้นจะมาถึง พระเจ้าข้า โปรดทรงใช้ข้าพเจ้าให้เป็นผู้ที่กำลังไปหาผู้อื่น โปรด ทรงทำให้ข้าพเจ้ามีความห่วงใยอาทรต่อผู้ที่ถูกทอดทิ้ง และเข้าใจความ รู้สึกของผู้ที่กำลังเสียใจ โปรดทรงใช้ข้าพเจ้าให้เป็นข่าวดีสำหรับคน ทั้งหลายที่รู้จักแต่ความเศร้าของบาป ให้ข้าพเจ้าเป็นประกายแห่งความ ยินดีสำหรับผู้ที่กำลังตกต่ำ และหดหู่ใจ เท้าของผู้ที่นำข่าวดีเป็นเท้าที่งดงามบนภูเขา พระเจ้าข้า โปรด ประทานเท้าอันงดงามแก่ข้าพเจ้าเทอญ
บทเทศน์ปี C
33
บทรำพึงที่ 3
ประชาชนที่มารับพิธีล้างจากยอห์น ถามเขาว่า “เราจะต้องทำอะไร” เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา บทอ่านพระวรสารบอกเราว่า ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง “เทศน์สอนเรื่องพิธีล้าง ซึ่งแสดงการเป็นทุกข์กลับใจ เพื่อจะ ได้รับการอภัยบาป” ชาวปาเลสไตน์ ในยุคของพระเยซูเจ้าเป็นชาวไร่ ชาวนาซื่อๆ พวกเขาต้องการทำให้พิธีล้างบังเกิดผลในชีวิตของเขา เขาจึง ถามว่า “เราต้องเปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิต เราจะต้องทำอะไร” พวกเราส่วนใหญ่ได้รับศีลล้างบาปเพื่อจะได้รับการอภัยบาป ในขณะที่เรายังเป็นเด็ก และไม่รู้ประสีประสา แต่ตลอดชีวิตที่เราเติบโต เป็นผู้ใหญ่ เราต้องรื้อฟื้น “เครื่องหมาย” ของศีลแห่งการกลับใจนี้ เรา ไม่สามารถรับศีลล้างบาปอีกครั้งหนึ่งได้ แต่เรามีธรรมประเพณีของ พระศาสนจักรที่เรียกกันว่า “ศีลล้างบาปที่สอง” คือศีลอภัยบาป ซึ่งเรา ต้องเตรียมตัวก่อนไปรับ เพื่อเราจะสามารถต้อนรับพระเยซูเจ้าผู้กำลัง เสด็จมาได้ เช่นเดียวกับฝูงชนในปาเลสไตน์ เราไม่สามารถล้างบาปตนเอง ด้วยคำพูด หรือทำแต่พิธีการภายนอก แต่เราต้องถามพระเจ้าอย่าง กล้าหาญเช่นกันว่า “พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องทำอะไรบ้าง จึงจะเป็น คริสตชนแท้ได้” ยอห์น ตอบพวกเขาว่า “ใครมีเสื้อสองตัว จงแบ่งตัวหนึ่งให้กับคนที่ ไม่มี คนที่มีอาหารก็จงทำเช่นเดียวกัน”
คำสั่งสอนของยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง เป็นคำสั่งสอนที่ชัดเจน กระชับ
34
บทเทศน์ปี C
เข้าใจง่าย และมุ่งหมายให้นำไปได้ปฏิบัติทันทีในชีวิตจริง ไม่มีสิ่งใด เกินสติปัญญา หรือลึกลับ ในชีวิตปกติธรรมดาของเรา (เช่น ในการ แต่ ง กาย การกิ น อาหาร) จะต้ อ งมี ก ารแสดงออกถึ ง “การเป็ น ทุ ก ข์ กลับใจ” การเปลี่ยนแปลงจิตใจของเราให้เห็นได้ชัด เพื่ อ จะทดสอบว่ า การประกาศความเชื่ อ ของท่ า นเป็ น การ ประกาศที่จริงใจหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องเปิดหนังสือเล่มใหญ่ๆ เพื่อตรวจสอบความจริงแท้ แต่จงไปดูที่ตู้เสื้อผ้าของท่าน ตู้เย็น ลิ้นชักของท่าน และบัญชีธนาคารของท่าน “จงแบ่งปัน จงให้ครึง่ หนึง่ ทีม่ ”ี พระองค์กำลังร้องขออะไร พระเจ้าข้า ข้อความนี้สะท้อนให้เห็นตัวตนของลูกา ผู้ประกาศ “ข่าวดีแก่คน ยากจน” เขายกตัวอย่างการกระทำของศักเคียส หัวหน้าคนเก็บภาษีแห่ง เมืองเยรีโค ว่า “ข้าพเจ้าจะยกทรัพย์สมบัติครึ่งหนึ่งให้แก่คนจน” (ลก 19:9) ลูกาคนเดียวกันนี้บอกเราว่า พระเยซูเจ้าทรงบอกคนมั่งมีในยุค ของเราให้ “แบ่งปัน” แทนที่จะสนใจแต่พิธีชำระร่างกายตามธรรมเนียม (ลก 11:41) และเขาบรรยายถึงชุมชนคริสตชนตัวอย่างว่า “เขามีทุกสิ่ง เป็นของส่วนรวม” (กจ 2:44; 4:32, 35) เราทำเช่นนี้ได้หรือไม่ คนเก็บภาษีมาหายอห์น เพื่อรับพิธีล้างด้วยและถามเขาว่า “ท่าน อาจารย์ พวกเราจะต้องทำสิ่งใด” ยอห์น ตอบว่า ท่านอย่าเรียกเก็บ ภาษีเกินพิกัด” พวกทหารถามเขาด้วยว่า “แล้วพวกเราเล่า เราจะต้อง ทำสิ่งใด” เขาตอบว่า “อย่าขู่กรรโชก อย่ากล่าวหาเป็นความเท็จเพื่อ เอาเงิน จงพอใจกับค่าจ้างของตน” ในบรรดาประชาชน ลูกากล่าวถึงคนสองประเภทโดยเฉพาะ คือ คนเก็บภาษี และทหาร คนสองกลุ่มนี้เป็นคนที่ถูกเหยียดหยามมากที่สุด ในยุคนั้น เป็นกลุ่มคนที่ “ไม่คู่ควร” จะต้อนรับพระเยซูเจ้า เป็นคน
บทเทศน์ปี C
35
นอกคอก ข้อความนี้ก็เป็นเอกลักษณ์ของพระวรสารของลูกาอีกเช่นกัน พระวรสารของลูกาเสนอภาพพระเยซูเจ้า “กินอาหารในบ้านของคน บาป” (5:27-30) และทำให้คนเคร่งศาสนารู้สึกสะดุด ... พระเยซูเจ้า “พักที่บ้านคนบาป” (19:7) และทำให้คนดีๆ ไม่พอใจ ... พระเยซูเจ้า ตรัสว่าพระองค์ไม่ได้มาเพื่อเรียกคนชอบธรรม (5:32) ลูกาบอกเราว่า “แล้วมนุษย์ทุกคนจะเห็นความรอดพ้นจากพระเจ้า” (ลก 3:6) ถูกแล้ว แม้แต่คนเก็บภาษี และทหาร ... แม้แต่คนบาป ... แม้แต่ตัวข้าพเจ้าเอง ขอบพระทัย พระเจ้าข้า สำหรับความเมตตาของพระองค์ ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง ไม่ได้ขอให้คนเก็บภาษี และทหารเหล่านั้น ซึ่ง เป็นลูกจ้าของกองทัพโรมันที่ยึดครองดินแดน ให้พวกเขาเปลี่ยนอาชีพ เพียงแต่ให้ทำงานของตนตามวิถีทางใหม่ คือ เคารพความยุติธรรม หลีกเลี่ยงการใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด โดยต้องเคารพกฎหมายและ สิทธิของแต่ละบุคคลเสมอ “คำแนะนำการประกอบอาชีพ” เหล่านี้ มุ่งหมายจะแก้ไขบาปที่คนเก็บภาษี และทหารกระทำกันบ่อยๆ ในยุคนั้น คือ ใช้อาชีพบังหน้าเพื่อสร้างความร่ำรวยให้ตนเอง และใช้ตำแหน่ง หน้าที่ในทางที่ผิด ส่วนข้าพเจ้าเล่า บาปอะไรที่ทำกันบ่อยๆ ในอาชีพ และในสถานการณ์ของข้าพเจ้า อะไรคือบาปของพระสงฆ์ บาปของครู บาปของเสมียน บาปของ พยาบาล หรือแพทย์ บาปของข้าราชการ บาปของเจ้าของอุตสาหกรรม บาปของคนงาน บาปของพ่อค้าแม่ค้า บาปของเด็กๆ บาปของบิดามารดา บาปของนักบวช ... สังคมของเราคงเกิดการฟื้นฟูครั้งใหญ่ ถ้าทุกคนที่รับศีลล้างบาป แล้วจะเข้าสู่ “พิธีกรรมแห่งการเป็นทุกข์กลับใจ” อย่างจริงจัง ... ส่วนเรา เล่า เราควรทำอะไร
36
บทเทศน์ปี C
คำบอกเล่าของลูกาอาจหยุดลงเท่านี้ก็ได้ เขาอาจพูดถึงแต่ความ จำเป็นต้องกลับใจเพียงในระดับสังคม และจริยธรรมของมนุษย์เท่านั้น แต่ฝูงชนกำลังรอคอยบางสิ่งบางอย่าง ขณะนั้น ประชาชนกำลังรอคอย ทุกคนต่างคิดในใจว่ายอห์นเป็น พระคริสต์หรือ ณ จุดนี้ ลูกาเปลี่ยนคำศัพท์ที่ใช้ ฝูงชน (ochloi ในภาษากรีก) กลายเป็ น ประชาชน (laos ในภาษากรี ก ) ฝู ง ชนนิ ร นามกลายเป็ น ประชาชนชนที่มีศักดิ์ศรี เมื่อพวกเขาตั้งคำถามใหม่ พวกเขาไม่ได้รอคอย บางสิ่งบางอย่างอีกต่อไป แต่รอคอยใครบางคน ... ความคาดหวังของ พวกเขาเป็ น ความปรารถนาที่ ซ่ อ นอยู่ ลึ ก ๆ ในใจ แต่ เ ขาไม่ รู้ ตั ว หรือไม่กล้าเอ่ยออกมา ในวั น นี้ ก็ เ หมื อ นกั บ ในยุ ค สมั ย นั้ น มี ห ญิ ง ชายจำนวนมากที่ ไม่สนใจว่า “จะเรียกบุคคลที่หัวใจของพวกเขากำลังรอคอยอย่างไร” พระผู้ ไ ถ่ มี อ ยู่ จ ริ ง หรื อ มี พ ระเจ้ า ที่ จ ะช่ ว ยเราให้ ร อดพ้ น หรื อ เรา สามารถพึ่ ง พาพระเมสสิ ย าห์ ผู้ ที่ พ ระเจ้ า ทรงส่ ง มา และสามารถ ปลดปล่อยเราให้หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก และการทดลองทั้งหมดของ เราหรือ ยอห์น จึงประกาศต่อหน้าทุกคนว่า “ข้าพเจ้าใช้น้ำทำพิธีล้างให้ท่าน ทั้ ง หลาย แต่ ผู้ ที่ ท รงอำนาจยิ่ ง กว่ า ข้ า พเจ้ า จะมา และข้ า พเจ้ า ไม่สมควรแม้แต่จะแก้สายรัดรองเท้าของเขา” เห็ น ได้ ชั ด ว่ า ยอห์ น ได้ ยิ น คำถามที่ ป ระชาชนไม่ ส ามารถเอ่ ย ออกมา มิใช่ได้ยินด้วยหู แต่ด้วยพระหรรษทานที่พระเจ้าประทานแก่ ประกาศก ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง อ่านใจประชาชนได้ ข้ า พเจ้ า สามารถได้ ยิ น ความลั บ ที่ ซ่ อ นอยู่ ใ นใจของเพื่ อ น
บทเทศน์ปี C
37
เพื่อนบ้าน และเพื่อนร่วมงานของข้าพเจ้าได้หรือไม่ ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนช่วยข้าพเจ้าให้มองเห็นการประทับอยู่ของพระเจ้าหรือไม่ ยอห์น ได้เชิญให้ประชาชนสำรวจตู้เสื้อผ้า หรือห้องเก็บอาหาร ของพวกเขาแล้ว บัดนี้ เขาเชิญประชาชนให้เปิดหัวใจ และพบกับผู้ที่ จะเสด็จมาหาเขา “ฟังซิ อย่าส่งเสียงดัง ใครบางคนกำลังเดินมาตามถนน ใกล้ตัวท่าน ใครบางคนกำลังมาพบท่าน ฟังซิ ฟังเสียงฝีเท้าขององค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้เสด็จมาหาท่าน” ยอห์ น ไม่ ไ ด้ ม องเห็ น แต่ ตั ว ละครที่ อ ยู่ บ นเวที คื อ ฝู ง ชน คนเก็บภาษี ... เขายังมองเห็นตัวละครเอกที่ยังซ่อนพระองค์อยู่ ... ส่วน เราเล่า เราเห็นพระองค์ด้วยหรือไม่ เขาจะทำพิธีล้างให้ท่าน เดชะพระจิต และด้วยไฟ นี่คือแก่นสารของคำบอกเล่าพระวรสาร คือ การเข้าแทรกแซง ช่ ว ยเหลื อ อั น จำเป็ น ของพระเจ้ า การกลั บ ใจอาจดู เ หมื อ นเป็ น ก้ า ว ธรรมดาที่ค่อนข้างง่าย และยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง เพียงแต่ขอให้เราทำสิ่งที่ เราทำได้ ขอเพียงให้ลองพยายามเท่านั้น ไม่ว่าจะดูเหมือนง่ายเพียงไร แต่สิ่งที่พระเจ้ากำลังร้องขอเป็นสิ่ง ที่แทบจะปฏิบัติไม่ได้ คือ ให้เป็นทุกข์กลับใจ ให้เปลี่ยนวิถีชีวิตของเรา อย่างสิ้นเชิง นี่เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำด้วยกำลังตนเองตามลำพังไม่ได้ แต่ต้อง พึ่งพา “การทำงานของพระเจ้า” ศีลศักดิ์สิทธิ์แต่ละข้อเป็น “การทำงาน ของพระเจ้า” มากกว่าการทำงานของมนุษย์ ยอห์น บรรยายการทำงานของพระเจ้าด้วยสามภาพลักษณ์ คือ การจุ่มตัว ลม ไฟ คำว่า ruah ในภาษาอาราเมอิค และภาษาฮีบรู หมายถึงทั้ง “ลม” และ “จิต” การเล่นคำเช่นนี้ต้องการช่วยให้เราเข้าใจว่า พระจิตของ พระเจ้าจะสั่นคลอนเราเหมือนลมพายุ เหมือนเรากำลังอยู่กลางพายุ เฮอริเคน
38
บทเทศน์ปี C
พระจิตของพระเจ้ายังเป็นเหมือนไฟที่เผามลทินทั้งปวง อันที่จริง เมื่อลูกาบรรยายถึง “พิธีล้างในพระจิตเจ้า” ซึ่งทำให้บรรดาอัครสาวก เปลี่ยนไปในวันเปนเตกอสเต เขาเอ่ยถึง “ลมพัดแรงกล้า” และ “เปลวไฟ ลักษณะเหมือนลิ้น” (กจ 2:2, 3) ขอให้ลองนึกถึงภาพที่ท่านรับศีลอภัยบาป (“ศีลล้างบาปครั้ง ที่สอง”) เพื่อเตรียมตัวสำหรับเทศกาลพระคริสตสมภพ ขอให้ลองคิดว่า ตัวท่านกำลังถูกเผาในมหาสมุทรไฟ ซึ่งกำลังฟื้นฟูท่านขึ้นมาใหม่ การเผาด้วยพระจิตของพระเจ้า! เรามักเปลี่ยน “ลูกระเบิด” แห่ง พระวรสาร ให้กลายเป็นเพียงขนมหวานเคลือบน้ำตาล ซึ่งแตกต่างกัน เป็นอย่างยิ่ง! เขากำลังถือพลั่วอยู่แล้ว จะชำระลานนวดข้าวให้สะอาดจะรวบรวม ข้าวใส่ยุ้ง ส่วนฟางนั้นจะเผาทิ้งในไฟที่ไม่รู้ดับ ในอินเดีย ชาวนาใช้กระด้งสำหรับฝัดข้าว ถูกแล้ว พระเยซูเจ้าเอง เสด็จมาพร้อมกับกระด้งฝัดข้าวในพระหัตถ์ เหมือนผู้พิพากษาเมื่อถึง อวสานกาล เพื่อทำการคัดแยก และชำระล้างเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อชาวนาฝัดข้าวสาลี เขายืนในที่แจ้งกลางลมแรง เขานำทั้งฝุ่น เมล็ดข้าว และเศษฟางใส่ในกระด้ง และโยนทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นไปใน อากาศ ลมจะแยกเมล็ดข้าวที่หนักกว่า และตกลงมาในแนวดิ่ง แยกออก จากเศษฟาง และแกลบ ซึ่งลมจะพัดออกไป เขาจะเก็บข้าวไว้ในยุ้ง และ เผาฟาง และแกลบจนเป็นขี้เถ้า เราจงอย่าหลอกตนเอง เราไม่สามารถหลอกพระเจ้าได้ วันหนึ่ง เราจะเห็นว่าอะไรมีคุณค่าแท้ และ “มีน้ำหนัก” ในชีวิตของเรา และอะไร ที่ไม่มีหัวใจมนุษย์เป็นเมล็ดข้าว หรือเศษฟางที่ไร้ประโยชน์ ขอให้ลม และไฟแห่งพระจิตเจ้าเปลี่ยนข้าพเจ้าให้ซื่อตรงตั้งแต่ บัดนี้เถิด
บทเทศน์ปี C
39
อาศัย “ศีลล้างบาปครั้งที่สอง” ซึ่งเป็นงานแห่งการคืนดีของ พระเจ้า ข้าพเจ้าจะพยายามมองเห็นความจริงเกี่ยวกับตนเอง พยายาม แยกแยะว่าในชีวิตของข้าพเจ้าอะไรคือความเห็นแก่ตัว และอะไรคือ ความรัก อะไรคือการกดขี่ และอะไรคือความยุติธรรม อะไรคือความรัก ที่เจือปนด้วยความเห็นแก่ตัว และอะไรคือความรักบริสุทธิ์ อะไรคือการ รอคอยพระเจ้าอย่างแท้จริง และอะไรคือความเฉยเมยเพราะฝักใฝ่ ในวัตถุอย่างน่าเศร้า ยอห์น ยังใช้ถอ้ ยคำอืน่ อีกมาตักเตือน และประกาศข่าวดีแก่ประชาชน การพิพากษานีไ้ ม่ใช่เหตุการณ์ทโี่ หดร้าย และน่ากลัว แต่เป็นข่าวดี เปล่าเลย พระเจ้าทรงบอกเราว่าความชั่วจะไม่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ ... ความชั่วจะไม่ชนะ กระด้งฝัดข้าวอยู่ในมือของเราแล้ว ขอบพระคุณพระเจ้า
40
บทเทศน์ปี C
วั นอาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ลูกา 1:39-44 หลังจากนั้นไม่นาน พระนางมารีย์ทรงรีบออกเดินทางไปยัง เมืองหนึ่งในแถบภูเขาแคว้นยูเดีย พระนางเสด็จเข้าไปในบ้านของ เศคาริยาห์ และทรงทักทายนางเอลีซาเบธ เมื่อนางเอลีซาเบธได้ยิน คำทักทายของพระนางมารีย์ บุตรในครรภ์ก็ดิ้น นางเอลีซาเบธได้รับ พระจิตเจ้าเต็มเปีย่ ม ร้องเสียงดังว่า “เธอได้รบั พระพรยิง่ กว่าหญิงใดๆ และลูกของเธอก็ได้รับพระพรด้วย ทำไมหนอ พระมารดาขององค์ พระผู้เป็นเจ้าจึงเสด็จมาเยี่ยมข้าพเจ้า เมื่อฉันได้ยินคำทักทายของ เธอ ลู ก ในครรภ์ ข องฉั น ก็ ดิ้ น ด้ ว ยความยิ น ดี เธอเป็ น สุ ข ที่ เ ชื่ อ ว่ า พระวาจาที่พระเจ้าตรัสแก่เธอไว้จะเป็นจริง”
บทเทศน์ปี C
41
บทรำพึงที่ 1
วันอันน่ายินดี
มีธรรมประเพณีโบราณที่บอกเล่าต่อกันมาว่า นักบุญลูกาผู้นิพนธ์ พระวรสาร เป็นจิตรกร ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไร เราก็เห็นได้ว่าเขา มีความสามารถอย่างน่าอัศจรรย์ในการวาดภาพด้วยคำพูด เหตุการณ์ที่ เกี่ยวข้องกับการเกิดของยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง และของพระเยซูเจ้าเป็น เรื่องที่บรรยายให้เห็นแยกกันเป็นสองภาพ ลูกา ชอบเล่าเรื่องการเดินทาง เรื่องราวอันยิ่งใหญ่ที่เขากำลัง บอกเล่าเป็นเรื่องของการเดินทางของพระเจ้าเข้ามาในชีวิตของเรา เพื่อ ทรงพาเราออกจากดินแดนเนรเทศและกลับสู่บ้านในสวรรค์ของเรา เขา บอกเล่าถึงการเดินทางครั้งสำคัญ คือ การเดินทางไปยังเมืองเบธเลเฮม และไปยั ง พระวิ ห ารในกรุ ง เยรู ซ าเล็ ม และในชี วิ ต ของพระเยซู เ จ้ า พระองค์จะเดินทางอย่างเด็ดเดี่ยวไปพบกับชะตากรรมของพระองค์ ในกรุงเยรูซาเล็มด้วย แต่เรื่องในวันนี้เป็นเรื่องการเดินทางของพระนาง มารีย์ พระนางมารีย์ได้รับแจ้งจากทูตสวรรค์ว่านางเอลีซาเบธตั้งครรภ์ แล้ว เราเข้าใจได้โดยง่ายว่าพระนางต้องรู้สึกเห็นใจญาติผู้ชรา ผู้ต้องการ ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากผู้ที่อ่อนวัยกว่า แต่ยังมีเหตุผลจูงใจที่ลึกยิ่งกว่า และเป็นความประสงค์ส่วนตัว ที่ทำให้พระนางมารีย์เร่งรีบเดินทางไปยังเมืองในแถบภูเขา ประสบการณ์ภายในอันลึกล้ำกับพระเจ้า อันเกิดจากการได้รับสารจากทูตสวรรค์ เป็นสิ่งที่พระนางจำเป็นต้องพูดคุยกับมนุษย์อีกคนหนึ่ง บ่อยครั้งที่เราเห็นว่าประสบการณ์ภายในอันลึกล้ำทำให้ทรรศนะ
42
บทเทศน์ปี C
ของบุคคลหนึ่งเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ทำให้รู้สึกว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน ให้เขาออกเดินทาง โลกแห่งประสบการณ์ที่คุ้นเคยอยู่ทุกวันกลายเป็น โลกที่เล็กเกินกว่าจะบรรจุประสบการณ์ภายในนี้ได้ อับราฮัมเป็นบุคคล แรกที่ได้รับการเผยแสดงจากพระเจ้า และเขาก็เดินทางออกจากบ้าน และถิ่นที่อยู่ของบิดาทันที นางเอลีซาเบธเป็นเครื่องหมายที่ทูตสวรรค์มอบให้แก่พระนาง มารีย์ เพื่อแสดงว่าไม่มีสิ่งใดที่พระเจ้าจะทรงกระทำไม่ได้ แต่มิใช่ว่า พระนางมารี ย์ ต้ อ งการพิ สู จ น์ ว่ า เครื่ อ งหมายนี้ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง เปล่ า เลย พระนางเพียงแต่มีความรู้สึกในใจว่าจำเป็นต้องแบ่งปันเรื่องนี้กับใคร บางคนที่จะเข้าใจธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่ที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ พรหมจารีของพระนาง พระนางมารีย์ ย่อมรู้สึกยินดีอย่างยิ่งเมื่อทราบว่า นางเอลีซาเบธได้รับพระพรจากพระจิตเจ้าเช่นกัน ลูกาแสดงอารมณ์ของการพบกันครั้งนี้ออกมาเป็นคำสรรเสริญ การทำงานของพระเจ้าด้วยความยินดี เราพบคำว่า “เป็นสุข” ซึ่งหมายถึง การประทานพรของพระเจ้า ถึงสามครั้งว่า “เธอได้รับพระพรยิ่งกว่าหญิงใดๆ” ข้อความนี้สรรเสริญพระเจ้า ที่ได้ทรงเลือกสรรพระนางมารีย์ “และลูกของเธอก็ได้รับพระพรด้วย” นางเอลีซาเบธสรรเสริญ พระพรประการที่ ส อง เพราะพระหรรษทานที่ พ ระเจ้ า ประทานแก่ พระนางมารีย์จะบังเกิดผลสำหรับเราทุกคนด้วย “เธอเป็นสุขที่เชื่อว่าพระวาจาที่พระเจ้าตรัสแก่เธอไว้จะเป็นจริง” พระพรประการที่สาม คือ พระนางมารีย์ให้ความร่วมมือกับพระเจ้า อย่างเต็มใจและสิ้นเชิง ความยิ่งใหญ่ของพระนางอยู่ที่ความเชื่ออันลึกล้ำ ของพระนาง และความนบนอบจนถึ ง ที่ สุ ด ของพระนาง ต่ อ มา ในพระวรสาร เราจะพบว่าพระเยซูเจ้าทรงยกย่องความเชื่อ และความ นบนอบของพระนางว่า “เป็นบุญของผู้ที่ฟังพระวาจาของพระเจ้า และนำ ไปปฏิบัติ” (ลก 8:21)
บทเทศน์ปี C
43
พระนางมารีย์ได้รับเลือกเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้พระเจ้าสามารถ เดินทางเข้ามาในชีวิตของเรา และโอบอุ้มยกชูเราขึ้นด้วยพระหัตถ์ที่มี อำนาจเยียวยารักษาของพระองค์ นักบุญฟรังซิสสนับสนุนให้เรามีความ ศรัทธาต่อพระนางมารีย์ เพราะพระนางต้อนรับองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรง เดชานุภาพ และประทานพระองค์ให้เป็นพี่ชายของเรา ความสูงส่งแห่ง พระเดชานุ ภ าพของพระเจ้ า เอื้ อ มลงมาหาเราผู้ ย ากไร้ แ ละอ่ อ นแอ ด้วยการเสด็จมาเกิดเป็นมนุษย์ พระบุตรของพระเจ้าทรงกลายเป็นพี่ชาย ของเรา คู่ชีวิตของเรา ผู้รักษาโรคของเรา และพระผู้ไถ่กู้เรา และด้วย การร่วมมืออย่างเต็มใจกับพระเจ้า พระนางมารีย์ทรงเป็นบุคคลสำคัญที่ สุดในเรื่องนี้ นางเอลีซาเบธแยกแยะได้ว่า วันที่พระนางมารีย์เสด็จมาเยี่ยม นางเป็นวันอันเปี่ยมด้วยพระพร แม้แต่ทารกในครรภ์ของนางก็ยังดิ้น ด้วยความยินดี ที่พระเจ้ากำลังเสด็จมาเยี่ยมโลกของเรา และมาเป็นพี่ชาย ของเรา เหตุการณ์ที่พระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบธเป็นเรื่อง น่ายินดีสำหรับเราด้วยเช่นกัน เพราะพระบุตรผู้อยู่ในครรภ์ของพระนาง จะกลายเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า และพระผู้ไถ่ของเรา
44
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 2
ดิ้นด้วยความยินดี “ลูกในครรภ์ของฉันก็ดิ้นด้วยความยินดี”
นักบุญลูการับรู้ได้ถึงความยินดีที่เกิดจากการได้ยินข่าวดี พระพร ของพระเจ้าที่เราได้รับภายในใจจะเอ่อล้นออกมากลายเป็นคำสรรเสริญ คำถวายพระพร และถวายเกียรติแด่พระเจ้า กลายเป็นความปลาบปลื้ม และการเต้นรำอย่างเบิกบานเพื่อเฉลิมฉลอง ความยินดีแท้ในวิญญาณเป็นเครื่องหมายที่ยืนยันได้ดีที่สุดถึง ชีวิตที่พอใจในการประทับอยู่ด้วยความรักของพระเจ้า ในบรรดาผล ทั้งหลายอันเกิดจากการประทับอยู่ของพระจิตเจ้าภายในตัวเรา นักบุญ เปาโลยกให้ความยินดีเป็นผลประการที่สองรองจากความรัก ผลแรกที่ เ กิ ด จากความยิ น ดี คื อ ความปรารถนาจะแบ่ ง ปั น ประสบการณ์กับผู้อื่น แต่การพูดถึงความยินดีโดยไม่กระทำการใดให้ เป็นรูปธรรม ย่อมฟังดูขัดหูสำหรับคนทั้งหลายที่กำลังขาดแคลนปัจจัย พื้นฐานในการดำรงชีวิต หรือบุคคลที่ไม่รู้จักว่าความรักคืออะไร หรือ บุคคลที่ดำเนินชีวิตท่ามกลางความมืดอันเกิดจากความไม่เชื่อ ช่วงเวลา ของการเฉลิมฉลอง เช่น เทศกาลพระคริสตสมภพ เป็นเวลาที่เพิ่มความ เครียดให้แก่คนที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวและรู้สึกหดหู่ เพราะคนเหล่านี้จะ ตระหนักมากยิ่งขึ้นว่าเขากำลังขาดสิ่งใด การแสวงบุญด้วยความยินดี ของคริสตชนในอดีต เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้มีความเชื่อมอบสิ่งดีงามให้แก่ โลกด้วยการรับใช้และดูแลเอาใจใส่ ซึ่งกระทำได้หลายวิธี ผลลัพธ์อัน น่ายินดีของงานอภิบาลเหล่านี้คือ ความยินดีที่ผู้อภิบาลได้แบ่งปันให้แก่ ผู้อื่นนี้ ย้อนกลับมาหาเขาพร้อมกับผลกำไร
บทเทศน์ปี C
45
บุคคลที่แบ่งปันความยินดีของตนจะรู้ได้จากประสบการณ์ว่า เมื่อเขาให้ เขาย่อมได้รับด้วยผลประการที่สองของความยินดี คือ ทำให้ เรามองสิ่งต่างๆ ในมุมมองใหม่ วิ ญ ญาณที่ มี ค วามสุ ข กั บ การอยู่ กั บ พระเจ้าเสมอย่อมมองเห็นความงามของโลก ความยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเปิดตาของเราให้มองเห็นความน่าตื่นเต้นของพระเจ้า ที่เรา มองเห็นได้จากสิ่งที่เราพบเจอทุกวันในชีวิต เรามองเห็นพระสิริรุ่งโรจน์ และธรรมล้ ำ ลึ ก ของพระเจ้ า ได้ ใ นความงามของธรรมชาติ และการ หมุนเวียนของฤดูกาล เรื่องอุปมาที่เข้าใจง่ายของพระเยซูเจ้า เผยให้เห็น ว่าพระองค์ทรงมองเห็นธรรมล้ำลึกของสวรรค์ในสิ่งธรรมดาสามัญของ โลกนี้ ความยินดีเปิดตาของเราให้มองเห็นว่าสิ่งธรรมดาก็มีเอกลักษณ์ เป็นของตน มองเห็นความดีและความกล้าหาญที่ซ่อนอยู่ในตัวมนุษย์ และมองเห็นความอิ่มใจจากการทำงาน เราจะขอบคุณพระเจ้าสำหรับ ความสุขสำราญในชีวิต และความพึงพอใจของประสาทสัมผัส เมื่อเรา มองเห็นภาพความงามอันน่ายินดีนี้ เราจะรู้สึกอยากขอบพระคุณพระเจ้า ผู้ทรงอยู่เบื้องหลังพระพรเหล่านี้ ผลประการที่สามของความยินดี คือ ความยินดีในการเชื่อ การเชื่ อ คื อ ความยิ น ดี กั บ สิ่ ง ที่ เ ราพบเห็ น ซึ่ ง เผยให้ เ รารู้ จั ก พระเจ้า ความยินดีในการเชื่อหมายความว่าเรารู้อยู่แก่ใจว่าพระเจ้าทรง รักโลกมาก จนถึงกับประทานพระบุตรพระองค์เดียวของพระองค์ และ รู้ว่าพระเยซูเจ้าทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ในโลกนี ้ พระองค์ทรงรักเรา จนถึงที่สุด การเชื่อหมายถึงการรู้อยู่แก่ใจถึงความรักที่ช่วยค้ำจุน เยียวยา รักษา และให้อภัยของพระเจ้าในศีลศักดิ์สิทธิ์ การเชื่ อ คื อ การรั บ รู้ ถึ ง ความใกล้ ชิ ด สนิ ท สนมกั บ พระเจ้ า ผู้ประทานพระจิตของพระองค์แก่เรา ความยินดีแท้ดำรงอยู่ในส่วนลึกของวิญญาณ วิญญาณสามารถ รักษาความสงบนิ่งแห่งความยินดีอยู่ได้ แม้ว่าบนผิวหน้าของชีวิตจะมี
46
บทเทศน์ปี C
แต่ความวุ่นวายใจ และมรสุมในยามที่ถูกทดลองจากความทุกข์ยาก ความยินดีแท้จะยืนหยัดอยู่ได้ ในขณะที่ความร่าเริงผิวเผินจะสูญสลาย ไป อันที่จริง บ่อยครั้งที่ความยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเพิ่มทวีขึ้น เมื่อเราประสบกับความทุกข์ยาก เพราะนี่คือกระบวนการชำระวิญญาณ ให้บริสุทธิ์ ความพึงพอใจในตนเองสูญหายไปมากเท่าใด เราก็มีที่ว่าง มากขึ้นเท่านั้น เพื่อให้พระเจ้าทรงเข้ามาและเป็นความยินดีสำหรับเรา “ความเศร้าคว้านเข้าไปในตัวท่านลึกเท่าใด ท่านจะยิ่งมีที่ว่าง รองรับความยินดีมากขึ้นเท่านั้น ถ้วยที่รองรับเหล้าองุ่นของท่านก็คือ ถ้วยที่ถูกเผาในเตาของช่างปั้นมิใช่หรือ พิณที่ปลอบประโลมจิตใจของ ท่านก็คือท่อนไม้ที่ถูกมีดเจาะให้กลวงมิใช่หรือ” (คาลิล ยิบราน, The Prophet) เมื่อนักบุญเปาโลถูกจองจำในคุก เขาเริ่มเข้าใจว่าความยินดีของ เขาเกิดจากความเชื่อ จดหมายถึงชาวฟิลิปปี ยืนยันว่าเขามีความยินดี ท่ามกลางความทุกข์ยาก สาเหตุประการเดียวของความยินดีนี้ คือ ความ เชื่อมั่นว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าประทับอยู่ใกล้เขา “จงชื่นชมในองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าทุกเวลาเถิด ... องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าเสด็จมาใกล้แล้ว” (ฟป 4:4-5) องค์พระผู้เป็นเจ้าเสด็จมาใกล้แล้ว ... นี่คือเหตุผลที่เราควรชื่นชม ยินดีกับเทศกาลเตรียมรับเสด็จ วิญญาณของท่านจงโลดเต้นด้วยความ ยินดี ให้ใบหน้าของท่านประกาศข่าวดีให้โลกรู้เถิด
บทเทศน์ปี C
47
บทรำพึงที่ 3
หลังจากนั้นไม่นาน ... ระหว่างเทศกาลเตรียมรับเสด็จนี้ พระวรสารตามคำบอกเล่าของ นักบุญลูกานำเราเดินทางย้อนเวลากลับไปในอดีต เมื่อวันอาทิตย์แรก พระวรสารขอให้เราเงยหน้าขึ้นเบื้องหน้าพระคริสตเจ้าผู้เสด็จมาใน พระสิริรุ่งโรจน์ในเมฆบนท้องฟ้า ซึ่งหมายถึงพระคริสตเจ้าผู้เสด็จกลับ คืนชีพในวันนี้ และจะเสด็จมาเมื่อถึงกาลอวสาน ... ในวันอาทิตย์ที่สอง และที่สาม นักบุญลูกานำเราย้อนอดีตกลับไปเมื่อสองพันปีก่อน ไปยังวัน เวลาทีย่ อห์น ผูท้ ำพิธลี า้ ง ออกเทศน์สอนเพือ่ เตรียมใจประชาชนให้พร้อม จะรับฟังคำสั่งสอนจากพระเยซูชาวนาซาเร็ธ บัดนี้ ในวันอาทิตย์ที่สี่ของ เทศกาลเตรียมรับเสด็จ เราเดินทางย้อนกลับไปอีกสามสิบปีก่อนหน้านั้น ซึ่งเป็นเวลาที่พระเยซูเจ้ายังเป็นทารกที่ซ่อนอยู่ในครรภ์ของหญิงสาว คนหนึ่งชื่อ มารีย์... เราเองก็มีชีวิตอยู่ใน “กาลเวลา” คือ อยู่ในเวลาหนึ่งของชีวิตเรา และในเวลาหนึ่งของปี สองสามวันก่อนวันพระคริสตสมภพ เราสร้างบรรยากาศเฉลิม ฉลองด้วยการตกแต่งบ้านเรือนของเรา บรรดาร้านค้าแข่งขันกันเสนอ ขายบัตรอวยพรและของขวัญ ... เราเตรียมตัวฉลอง “เทศกาล”... แต่เรา แบ่งเวลาให้วิญญาณของเราได้สัมผัสกับความเงียบและอิสรภาพด้วย หรือไม่ เพื่อเราจะได้อธิษฐานภาวนาร่วมกับพระนางมารีย์ ผู้กำลังจะให้ กำเนิดพระบุตรของพระนาง
48
บทเทศน์ปี C
พระนางมารีย์ทรงรีบออกเดินทางไปยังเมืองหนึ่งในแถบภูเขาแคว้น ยูเดีย ชื่อภาษาฮีบรูของพระนางคือ มีเรียม แปลว่า “เจ้าหญิง” หรือ “นายหญิง” บทอ่านนี้บอกเราว่าพระนาง “รีบออกเดินทาง” ทันทีที่ทูตสวรรค์ แจ้งข่าวแก่พระนาง ปฏิกิริยาอันรวดเร็วเช่นนี้เป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่ง พระวาจาของพระเจ้าส่งพระนางมารีย์ให้ออกเดินทาง “เอลีซาเบธ ญาติของท่าน ทั้งๆ ที่ชราแล้ว ก็ยังตั้งครรภ์บุตรชาย ใครๆ คิดว่า นางเป็นหมัน แต่นางก็ตั้งครรภ์ได้หกเดือนแล้ว” พระนางมารีย์ออก เดินทางทันที ... เราวาดมโนภาพได้ว่าพระนางเต็มเปี่ยมด้วยความ กระตือรือร้นและพลังของคนที่ยังอยู่ในวัยสาว การเร่งรีบของพระนาง เป็นเครื่องหมายของความเชื่อ... พระนางต้องเดินทางด้วยเท้าเป็นระยะทาง 150 กม. – ไม่มรี ถยนต์ หรื อ รถไฟ พระนางเดินทางผ่านกรุง เยรู ซ าเล็ ม หมู่ บ้ า นอายน์ ค าริ ม ตั้งอยู่ที่ชานเมืองของนครศักดิ์สิทธิ์ ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 6 กม. ในปัจจุบัน สถานที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณคณะแพทย์ศาสตร์ในกรุง เยรูซาเล็ม และเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ชื่อ ฮาดัสซา การเดินทางนี้ไม่ได้เป็นเพียงการเปลี่ยนสถานที่ทางภูมิศาสตร์ แต่ เ ป็ น เครื่ อ งหมายอย่ า งหนึ่ ง ด้ ว ย นี่ คื อ จุ ด เริ่ ม ต้ น ของการเดิ น ทาง หลายๆ ครั้ง ที่ลูกาบรรยายไว้ในพระวรสารของเขา โดยมีเจตนาให้มี ความหมายเชิงสัญลักษณ์ กล่าวคือ ถนนเป็นหนึ่งในหลายสถานที่สำหรับ การเผยแสดง และการปฏิบัติพันธกิจ พระวาจาของพระเจ้าลงมาจาก สวรรค์ ไ ปยั ง เมื อ งนาซาเร็ ธ วั น นี้ พระวาจาของพระเจ้ า เดิ น ทางจาก นาซาเร็ธไปยังกรุงเยรูซาเล็ม เหมือนบทโหมโรงสำหรับ “การเสด็จขึ้นไป ยังกรุงเยรูซาเล็ม” เมื่อลูกาบรรยายถึงช่วงสุดท้ายในชีวิตของพระเยซูเจ้า
บทเทศน์ปี C
49
... จากนั้น พระวาจาจะออกจากกรุงเยรูซาเล็ม ไปยังแคว้นสะมาเรีย และ สุดปลายแผ่นดินโลก – พระวาจาเสด็จมาในใจของข้าพเจ้า ขอเพียง ข้าพเจ้าตั้งใจฟัง ความเร่งรีบของพระนางมารีย์เป็นความเร่งรีบของผู้แพร่ธรรม ลูกาเป็นศิษย์ของเปาโล ผู้ที่เขาติดตามในการเดินทางแพร่ธรรมในทวีป ยุโรป (กิจการอัครสาวก) พระนางเสด็ จ เข้ า ไปในบ้ า นของเศคาริ ย าห์ และทรงทั ก ทายนาง เอลีซาเบ็ธ ถนนที่พระวาจาของพระเจ้าใช้เดินทางนั้นเป็นถนนแห่งความ ใกล้ชิดสนิทสนม คือ “ในบ้าน”…“ภายในครอบครัว” ในที่นี้ เป็นความ ใกล้ชิดระหว่างสตรีสองคนที่เป็นญาติกัน นี่คือวิธีถ่ายทอดความเชื่อให้ แก่กันตามปกติ ส่วนเศคาริยาห์ เขาเป็นใบ้ เพราะไม่มีความเชื่อ (ลก 1:20, 1:64) เศคาริยาห์ ผู้น่าสงสาร ระหว่างสามเดือน (ลก 1:56) ที่พระนางมารีย์ พักอยู่กับพวกเขา เขาไม่สามารถเอ่ยคำพูดใดกับสตรีทั้งสองได้เลย สตรี เป็นฝ่ายพูด เพราะสตรีเป็นคนกลุ่มแรกที่มีความเชื่อ พระนางมารีย์ทรงทักทายด้วยภาษาของพระนาง คือ “ชาลอม (Shalom)” แปลว่า “สันติสุข” หรือสวัสดี หกเดือนก่อนหน้านั้น เอลีซาเบธ และเศคาริยาห์ เป็นคู่สมรสชรา ที่ ก ำลั ง เศร้ า ใจ เพราะเขาไม่ มี บุ ต ร (ลก 1:7) พระนางมารี ย์ ท ราบ สถานการณ์นี้ พระนางเสด็จมาแสดงความยินดีกับญาติของพระนาง และ ร่วมยินดีกับนาง เมื่อนางเอลีซาเบธ ได้ยินคำทักทายของพระนางมารีย์บุตรในครรภ์ก็ ดิ้น
50
บทเทศน์ปี C
เต้นด้วยความยินดี หรือถ้าจะแปลความหมายตามตัวอักษรจาก พระวรสารฉบับภาษากรีกก็คอื “ตื่นเต้น (thrilled)” หรือ “ตัวสัน่ สะท้าน (shook)” เปาโลบอกว่าลูกาเป็นแพทย์ (คส 4:14) จึงไม่น่าแปลกใจที่ เขาสนใจรายละเอียดเหล่านี้ สตรีทุกคนที่เป็นมารดาไม่มีวันลืมนาทีที่ บุตรของนางแสดงให้นางรู้ว่าเขามีชีวิต เมื่อบุตรเคลื่อนไหวภายในตัว มารดา นี่เป็นเหตุการณ์ปกติหรือ ... เป็นการมองหาสิ่งอัศจรรย์และ น่าประทับใจที่เชยไปแล้วหรือ ... เปล่าเลย นี่คือถ้อยแถลงความเชื่อทาง เทววิทยาของลูกา ซึ่งเน้น “เครื่องหมาย” อีกอย่างหนึ่ง เด็กแฝด เอซาว และยาโคบ ก็ “ดิ้น” ในครรภ์ของนางเรเบคาห์ ผู้เคยเป็นหมันเช่นกัน (ปฐก 25:22) พระเจ้าทรงทำงานตามแผนการของพระองค์ก่อนมนุษย์ เสมอ เช่นที่เยเรมีย์ ยอมรับว่า “พระเจ้าทรงรู้จักเขาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ มารดาของเขา” (ยรม 1:5) ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง เริ่มปฏิบัติงานของประกาศกทันที ด้วยการ เป็นพยานยืนยันพระเยซูคริสตเจ้า เขาเตือนมารดาให้รู้ว่าเหตุการณ์อัน ยิ่งใหญ่กำลังถูกเตรียมการ ทำไมเราจึงอยากหาเหตุผลมาอธิบายธรรมล้ำลึกเสมอ เราอยาก มองว่านี่คือปรากฏการณ์ปกติทางชีววิทยา นี่คือปรากฏการณ์ทางชีววิทยาก็จริง แต่เป็นธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับการประทับอยู่ของพระเจ้าอีกด้วย พระองค์ทรงเป็นบุคคลแรกที่ทำงานเสมอ นางเอลีซาเบธ ได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยม ในความคิดของลูกา บทบรรยายเรื่องปฐมวัยของพระเยซูเจ้าเป็น การมองไปข้างหน้าถึงปัสกา อันที่จริง นี่คือสัญลักษณ์ของเปนเตกอสเต ... เปนเตกอสเตที่ซ่อนเร้น ... ต่อมาลูกาจะพูดถึงพระจิตองค์เดียวกันนี้ อีกครั้งหนึ่งว่า พระเจ้าจะประทาน “พระจิตเจ้าของเรากับมนุษย์ทุกคน” (กจ 2:17-21, ยอล 3:1-5)
บทเทศน์ปี C
51
เราเห็นได้ว่า ลูกา “อ่าน” ความหมายของการบังเกิดของพระเยซู เ จ้ า เที ย บกั บ การเกิ ด ของพระศาสนจั ก ร แต่ ไ ม่ ไ ด้ ห มายความว่ า เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ลูกาค้นคว้าเรื่องราวทั้งหมดนี้จาก บรรดาศิษย์ของยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง และจากญาติของพระนางมารีย์ ผู้ “ทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ในพระทัย และยังทรงคำนึงถึงอยู่” (ลก 2:19-51) นางร้องเสียงดัง ... คำภาษากรีก (anephonesen) ที่ลูกาใช้ในที่นี้ ปรากฏเพียงใน ข้อความนี้ และในหนังสือพงศาวดารเท่านั้น (1พศด 15:38; 16:4, 5, 42 และ 2พศด 5:13) ซึ่งกล่าวถึง “พิธีกรรมสรรเสริญ” หีบพระบัญญัติ ดังนั้น เราจึงอาจแปลข้อความนี้ได้ด้วยว่า “นางเอลีซาเบธ ร้องเพลง สรรเสริญด้วยเสียงอันดัง” “เธอได้รบั พระพรยิง่ กว่าหญิงใดๆ และลูกของเธอก็ได้รบั พระพรด้วย”
คริสตชนส่วนใหญ่ที่สวดบท “วันทามารีย์” ไม่ทราบว่าเป็นคำ ภาวนาที่ยกจากข้อความนี้ในพระวรสาร นี่คือข้อความที่บอกเล่าต่อกัน มาจากปากของบรรพบุรุษของเรานานหลายศตวรรษ เราจะยอมให้ สูญหายไปจากความทรงจำของเราหรือ เราสวดบทวันทามารีย์ สวด สายประคำบ่อยๆ หรือเปล่า นอกจากนี้ ถ้อยคำเหล่านี้ยังเป็นคำที่ยกมาจากพันธสัญญาเดิม ซึ่งกล่าวถึงสตรีสองคน คือ นางยาเอล และนางยูดิธ (วนฉ 5:25; ยดธ 13:18) สตรีสองคนนี้ได้ช่วยประชากรของตนให้พ้นจากภัยอันใหญ่ หลวง ... นี่เป็นข้อความที่ยกมาอ้างโดยบังเอิญหรือ “เธอได้รับพระพรยิ่งกว่าหญิงใดๆ” เป็นคำสรรเสริญของสตรี คนหนึ่งต่อสตรีอีกคนหนึ่ง ลูกาชอบเน้นย้ำหัวข้อหนึ่งในพระวรสารของ เขา คือ ความลับของแผนการของพระเจ้าได้ถูกเผยให้สตรีรู้เป็นคนแรก
52
บทเทศน์ปี C
“ทำไมหนอ พระมารดาขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้าจึงเสด็จมาเยีย่ มข้าพเจ้า” นี่เป็นอีกข้อความหนึ่งที่ยกมาจากพระคัมภีร์ (2 ซมอ 6:9) ในเวลานั้น กษัตริย์ดาวิดไม่กล้าจะเชื่อว่าหีบพระบัญญัติจะมาเยือนบ้าน ของพระองค์ หีบนี้เป็นสถานที่ประทับของพระเจ้า ดังนั้น พระเยซูเจ้า จึงตรัสว่า (ยน 2:19) พระเจ้าไม่ประสงค์จะพำนักในวัตถุที่ใช้นมัสการ หรือในบ้านที่สร้างจากศิลาอีกต่อไป แต่ใน “พระกายที่มีชีวิตของพระคริสตเจ้า” ท่านผู้กำลังแสวงหาพระผู้ไถ่ จงเปิดตา และมองเห็นเถิด ว่า ทารกน้อยผู้อ่อนแอในครรภ์มารดานี้ แท้จริงแล้วคือ “พระบุตรของ พระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน และความจริง” (ยน 1:15) นี่คือธรรมล้ำลึกของพระเจ้าผู้ซ่อนพระองค์ ... ธรรมล้ำลึกแห่ง ศีลมหาสนิท “เมื่อฉันได้ยินคำทักทายของเธอ ลูกในครรภ์ของฉันก็ดิ้นด้วยความ ยินดี” วลีว่า “ดิ้นด้วยความยินดี” ชวนให้คิดถึงการเต้นรำของกษัตริย์ ดาวิ ด เบื้ อ งหน้ า หี บ พระบั ญ ญั ติ (2ซมอ 6:15-16) คำภาษากรี ก ว่ า agalliasis ซึ่งในที่นี้แปลว่า “ความยินดี” ปรากฏในหนังสือสดุดีเท่านั้น (ถึง 90 ครั้ง) และไม่ใช่คำที่ใช้ในวรรณกรรมคลาสสิกของกรีก คำนี้ หมายถึง ความยินดีที่มนุษย์รู้สึกได้เมื่ออยู่เบื้องหน้าพระเจ้า ความยินดี ที่พระเจ้าประทานให้ต่างจากความรื่นเริงของโลก ลูกามักจะพูดถึงความ ยินดีที่พระจิตเจ้าประทานให้ ประกาศกมาลาคีเคยกล่าวว่า “ท่านจะโลด เต้นเหมือนลูกวัวที่กระโดดออกจากคอก” (มลค 3:20)
เราคริสตชนโลดเต้นด้วยความยินดีหรือไม่
บทเทศน์ปี C
53
“เธอเป็นสุขที่เชื่อว่า พระวาจาของพระเจ้าตรัสแก่เธอไว้จะเป็นจริง”
คำบอกเล่าทั้งหมดนี้ชุ่มโชกด้วยความเชื่อ ดังนั้นจึงต้องตีความ โดยอาศัยความเชื่อเท่านั้น พระนางมารีย์ได้รับการสรรเสริญว่า “เป็นสุข (หรือได้รบั พระพร)” เพราะความเชือ่ ของพระนาง ...เพราะพระนางเชือ่ พระเยซูเจ้าจะทรงยืนยันบุญลาภประการนี้ ... ซึ่งเป็นบุญลาภ ประการแรกของพระวรสาร ... เมื่อมีคนกล่าวยกย่องพระมารดาของ พระองค์ พระองค์ตรัสตอบว่า “คนทั้งหลายที่ฟังพระวาจาของพระเจ้า และปฏิบัติตามย่อมเป็นสุข” (ลก 11:28)
บุญลาภนี้สามารถเป็นของเราได้เช่นกัน
ข้าพเจ้าจัดสรรเวลาอย่างไร เพื่อรำพึงภาวนาตามพระวาจาของ พระเจ้าในชีวิตของข้าพเจ้า ... จากนั้นก็ถึงเวลาเริ่มต้นบทเพลงสรรเสริญของพระนางมารีย์ ว่า “วิญญาณข้าพเจ้าประกาศความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า จิตใจของข้าพเจ้า ชื่นชมยินดีในพระเจ้า พระผู้กอบกู้ข้าพเจ้า”
ความเชื่อ และความยินดีเป็นของคู่กัน ...
54
บทเทศน์ปี C
วั นพระคริสตสมภพ ลูกา 2:1-20 ครั้งนั้น พระจักรพรรดิออกัสตัส ทรงออกพระราชกฤษฎีกาให้ มีการสำรวจสำมะโนประชากรทั่วจักรวรรดิโรมัน การสำรวจสำมะโนประชากรครั้งแรกนี้มีขึ้นเมื่อ คีรินีอัส เป็นผู้ว่าราชการแคว้นซีเรีย ทุกคนต่างไปลงทะเบียนในเมืองของตน โยเซฟออกเดินทางจากเมือง นาซาเร็ธในแคว้นกาลิลีไปยังเมืองของกษัตริย์ดาวิด ชื่อเบธเลเฮม ในแคว้นยูเดีย เพราะโยเซฟสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์กษัตริย์ดาวิด ท่านไปลงทะเบียนพร้อมกับพระนางมารีย์ ซึ่งกำลังทรงพระครรภ์ ขณะที่อยู่ที่นั่น ก็ถึงกำหนดเวลาที่พระนางมารีย์จะมีพระประสูติกาล พระนางประสู ติ พ ระโอรสองค์ แ รก ทรงใช้ ผ้ า พั น พระวรกาย พระกุมารนั้น แล้วทรงวางไว้ในรางหญ้า เนื่องจากไม่มีที่ในห้อง พักแรมเลย ในบริเวณนั้นมีคนเลี้ยงแกะกลุ่มหนึ่งอยู่กลางแจ้ง กำลังเฝ้า ฝูงแกะในยามกลางคืน ทูตสวรรค์องค์หนึ่งของพระเจ้าปรากฏองค์ ต่อหน้าเขา และพระสิริของพระเจ้าก็ส่องแสงรอบตัวเขา คนเลี้ยงแกะ มีความกลัวอย่างยิง่ แต่ทตู สวรรค์กล่าวแก่เขาว่า “อย่ากลัวเลย เพราะ เรานำข่าวดีมาบอกท่านทั้งหลาย เป็นข่าวดีที่จะทำให้ประชาชน
บทเทศน์ปี C
55
ทุกคนยินดีอย่างยิ่ง วันนี้ ในเมืองของกษัตริย์ดาวิด พระผู้ไถ่ประสูติ เพื่อท่านแล้ว พระองค์คือพระคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้า ท่านจะรู้จัก พระองค์ได้จากเครื่องหมายนี้ ท่านจะพบกุมารคนหนึ่งมีผ้าพันกาย นอนอยู่ในรางหญ้า” ทันใดนั้น ทูตสวรรค์อีกจำนวนมากปรากฏมา สมทบกับทูตสวรรค์องค์นั้น ร้องสรรเสริญพระเจ้าว่า
“พระสิริรุ่งโรจน์จงมีแด่พระเจ้าในสวรรค์สูงสุด และบนแผ่นดิน สันติจงมีแก่มนุษย์ที่พระองค์โปรดปราน”
เมื่อบรรดาทูตสวรรค์จากเขากลับสู่สวรรค์แล้ว คนเลี้ยงแกะ เหล่านั้นจึงพูดกันว่า “เราจงไปเมืองเบธเลเฮมกันเถิด จะได้เห็น เหตุการณ์นี้ที่พระเจ้าทรงแจ้งให้เรารู้” เขาจึงรีบไป และพบพระนาง มารีย์ โยเซฟ และพระกุมาร ซึง่ บรรทมอยูใ่ นรางหญ้า เมือ่ คนเลีย้ งแกะ เห็น ก็เล่าเรื่องที่เขาได้ยินมาเกี่ยวกับพระกุมาร ทุกคนที่ได้ยินต่าง ประหลาดใจในเรื่องที่คนเลี้ยงแกะเล่าให้ฟัง ส่วนพระนางมารีย์ทรง เก็ บ เรื่ อ งทั้ ง หมดเหล่ า นี้ ไ ว้ ใ นพระทั ย และยั ง ทรงคำนึ ง ถึ ง อยู่ คนเลี้ยงแกะกลับไปโดยถวายพระพร และสรรเสริญพระเจ้าในเรื่อง ต่างๆ ที่พวกเขาได้ยิน และได้เห็น ตามที่ทูตสวรรค์บอกไว้
56
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 1 การพบกัน
คืนนี้เป็นคืนแห่งการพบกันระหว่างสวรรค์และแผ่นดิน และ ระหว่างพระเจ้าและมนุษยชาติ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และจะไม่เกิดขึ้นอีกเลยนับแต่นั้นมา จักรพรรดิออกัสตัส บุคคลสำคัญ ที่สุดของโลก ได้ออกพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของบุคคล ไม่สำคัญสองคนที่อยู่ในชนบทอันห่างไกลความเจริญ คือ โยเซฟและ มารีย์ กรุงโรมซึ่งเป็นเมืองหลวงของโลกทางการเมือง ถูกเชื่อมโยงเข้ากับ เมืองเล็กๆ ชื่อเบธเลเฮม ซึ่งแปลว่าบ้านขนมปัง (house of bread) เมื่อเวลาผ่านไป โรมจะตระหนักว่าตนมีบุญเพียงไรที่ได้พบกับเบธเลเฮม ในครั้งนั้น ในบริเวณชานเมืองมีคนเลี้ยงแกะกลุ่มหนึ่งกำลังเฝ้าฝูงแกะ อยู่ ก ลางทุ่ ง นา ในศาสนาที่ มี ธ รรมบั ญ ญั ติ ค วบคุ ม สุ ข อนามั ย อย่ า ง เคร่งครัด คนที่อาศัยอยู่ตามทุ่งนาเหล่านี้เป็นบุคคลที่ถูกเหยียดหยาม แต่ความยิ่งใหญ่โอฬารแห่งสวรรค์มาเยี่ยมสู่ทุ่งนาของเขา และพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้าส่องสว่างค่ำคืนของเขา ความกลัวของเขาบรรเทาลง เมื่อได้ยินคำพูดที่นำสันติสุข และความยินดี ความเงียบสงัดยามราตรีถูกทำลายเมื่อทูตสวรรค์จำนวนมาก ขับร้องสรรเสริญพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า และมอบพรแห่งสันติสุข ทูตสวรรค์ชี้ทางให้คนเลี้ยงแกะไปยังเบธเลเฮม เหตุการณ์ชวนให้คิดถึง ดาวิด คนเลี้ยงแกะที่กลายเป็นกษัตริย์ เพราะคนเหล่านี้ได้พบกษัตริย์ ผู้กลายเป็นคนเลี้ยงแกะ บัดนี้ คนเลี้ยงแกะเป็นผู้เบิกตัวพระผู้ตรัสถึง บทบาทของพระองค์ว่า ทรงเป็นคนเลี้ยงแกะที่มาตามหาแกะหลงฝูง
บทเทศน์ปี C
57
เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของรสชาติของเรื่องราวที่ลูกา บอกเล่า เมื่อพระเจ้าเสด็จเข้ามาอยู่ในเรื่องราวของมนุษยชาติ มนุษย์ที่ อยู่ ใ นเหตุ ก ารณ์ นั้ น เป็ น คนยากจนและถู ก รั ง เกี ย จในแวดวงศาสนา เขาเป็นคนต่ำต้อยของโลก ... เป็นคนที่ว่างเปล่าพอจะรับ เงียบพอจะฟัง และใจเปิดกว้างพอจะรู้สึกพิศวง แต่ไม่มีที่สำหรับเขาในห้องพักแรม ซึ่งมีคนมากเกินไป อึกทึกเกินไป และไม่ยอมมองเห็นสิ่งอัศจรรย์บน ท้องฟ้า ลูกาเป็นนักประพันธ์ที่มีพรสวรรค์ในการเข้าถึงความรู้สึกและ ปฏิกิริยาในใจของมนุษย์ ปฏิกิริยาแรกของคนเลี้ยงแกะคือกลัว เราย่อม กลัวที่จะพบกับพระเจ้าเสมอ ถ้าเราคอยคิดแต่ว่าเราต้องเป็นคนดีพอ จึงจะพบพระองค์ได้ ทูตสวรรค์ต้องบอกพวกเขาให้ละทิ้งความกลัว หลังจากนั้น ความน่าพิศวงของค่ำคืนนั้นจึงเริ่มซึมซาบเข้าสู่วิญญาณของ เขา พวกเขาเล่าเรื่องที่เขาได้ยินมา ทุกคนที่ได้ยินต่างประหลาดใจ บุคคล ที่รู้จักความต่ำต้อยของตนเองเท่านั้นที่เปิดใจมองเห็นความน่าพิศวง ของความเป็นจริงที่ยิ่งใหญ่กว่า พระนางมารีย์ ผู้ทรงคิดว่าตนเองต่ำต้อย กว่าใครทั้งหมด ทรงเก็บสิ่งเหล่านี้ไว้ในใจ และคำนึงถึงอยู่ พระนางรู้ว่า พระนางไม่สามารถซึมซับความพิศวงทั้งหมดไว้ได้ในทันทีทันใด แต่ ขณะนั้น คนเลี้ยงแกะเชื่อในบทเพลงของทูตสวรรค์ และตอบสนองต่อ ประสบการณ์ทเ่ี กิดขึน้ ทัง้ หมดด้วยการถวายพระพร และสรรเสริญพระเจ้า คืนนั้นเป็นคืนแห่งการพบกัน เมื่อความยิ่งใหญ่ของสวรรค์มา พบกับทุ่งนาที่มีขอบเขตจำกัดของโลก เมื่อความมั่งคั่งของสวรรค์รุก เข้ามาในความยากจนของถ้ำเลี้ยงสัตว์และรางหญ้า เมื่อเสียงขับร้องของ ทูตสวรรค์เข้ามาแทนที่ความเงียบยามราตรี คืนนั้น เป็นคืนที่นำพาวัน แห่งการถวายพระพร และสรรเสริญพระเจ้ามาให้เรา
58
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 2
ความรักมั่นคง หรือความสงสาร ของพระเจ้า
มิสซาที่สองในวันพระคริสตสมภพ ใช้คำพูดของนักบุญเปาโลใน จดหมายถึงทิตัส ว่า “เมื่อพระเจ้าพระผู้ไถ่ของเราทรงแสดงพระทัยดี และ ความรักต่อมนุษย์ พระองค์ทรงช่วยเราให้รอดพ้น มิใช่เพราะกิจการ ชอบธรรมใดๆ ที่เรากระทำ แต่เพราะความรักมั่นคงของพระองค์” มนุษย์ต้องการพระผู้ไถ่ และผู้เยียวยารักษา แต่มนุษย์ไม่มีวัน มีบุญ หรือสมควรได้รับสิ่งที่เกิดขึ้นในวันพระคริสตสมภพนั้น การเสด็จ มาของพระบุตรพระเจ้าเพื่อมารับสภาพมนุษย์เหมือนเรา เป็นกิจการที่ เกิดจากพระทัยดีและความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์ นักบุญเปาโลกล่าว ถึงความรักมั่นคงเพื่อแสดงว่าพระเจ้าทรงเป็นฝ่ายเริ่มต้นช่วยเหลือเรา เมื่อความรักที่พระองค์ทรงมีต่อเรา บีบบังคับให้พระองค์เป็นฝ่ายเข้ามา หาเรา ความรักมั่นคงหรือความสงสารนี้หมายความว่าพระเจ้าในองค์ พระเยซูเจ้าต้องสวมเนื้อหนังมนุษย์ของเรา ดำเนินชีวิตเหมือนเรา มอง โลกผ่านตาของเรา ทรงสัมผัสกับความรักและความเจ็บปวดเมื่อทรงถูก ปฏิเสธด้วยหัวใจที่เหมือนกับหัวใจของเรา พระองค์จะทรงดำรงชีวิต แบบเดียวกับเรา รูจ้ กั ความชืน่ ชมยินดีเหมือนเรา ร้องไห้เหมือนเรา ทนรับ ความอัปยศ และขอบพระคุณพระเจ้าเมื่อประสบความสำเร็จเหมือนเรา พระองค์จะทรงรู้สึกด้วยอารมณ์เหมือนเรา คิดด้วยความคิดเหมือนเรา กลัวเหมือนเรา และทรงยืนหยัดด้วยความกล้าเหมือนเรา พระองค์ทรงเกิดมาเป็นทารก เติบโตเป็นเด็ก ย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ และตายเหมือนเรามนุษย์ เพราะความรักมั่นคง พระองค์จึงถ่อมพระองค์ ลงมาหาเรา ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใดในชีวิตมนุษย์ของเรา บัดนี้ เรารู้แน่แล้ว
บทเทศน์ปี C
59
ว่าเราไม่มีทางซ่อนตัวจากพระเจ้าได้ แม้ว่าในความโง่เขลาอันเกิดจาก บาป เราอาจคิดว่าเราหนีพระองค์พ้นแล้ว หรือเพราะความมืดมนอันเกิด จากความคิดว่าตนเองสำคัญ เราอาจพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วย ตนเอง หรือเพราะความโกรธซึ่งเกิดจากความจองหอง เราอาจคิดว่า เราได้กบฏต่อพระองค์ พระองค์ทรงเอื้อมลงมาหาเราด้วยความรักมั่นคง ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใดในชีวิตของเรา เพื่อสัมผัสเนื้อหนัง และรักษาโรคเรื้อน ของเรา และยกชูเราขึ้น พระองค์ทรงยกชูเราขึ้นสู่ชีวิตอันสูงส่งเกินความ คาดหมาย หรือบุญกุศลของมนุษย์สามารถบรรลุถึงได้ “ผู้ใดที่ยอมรับ พระองค์ พระองค์จะประทานอำนาจให้ผู้นั้นกลายเป็นบุตรของพระเจ้า” (ยน 1:11) ด้วยความรักมั่นคง พระเจ้าจึงทรงร่วมรับชีวิตมนุษย์ เพื่อให้เรา สามารถร่ ว มรั บ ชี วิ ต พระเจ้ า กั บ พระองค์ บทเพลงพิ ธี ก รรมโบราณ สรรเสริญการแลกเปลี่ยนอันน่าพิศวงนี้ ซึ่งทำให้เรามีส่วนร่วมในพระเทวภาพของพระองค์ ผู้ทรงถ่อมพระองค์ลงมารับสภาพมนุษย์ของเรา สิ่ ง ที่ เ ราต้ อ งการเพื่ อ จะได้ รั บ ความรั ก มั่ น คงของพระเจ้ า ใน เทศกาลพระคริ ส ตสมภพ คื อ ถ้ ำ และรางหญ้ า เราจะมี ถ้ ำ แห่ ง ความว่างเปล่า เมื่อใดที่เรายอมรับว่าเราเป็นคนบาป และมองเห็นว่าเรามี ความต้องการพระผู้ไถ่ ส่วนรางหญ้านั้นมีอยู่ในหัวใจที่กระหายหาการ ประทับอยู่ของพระเจ้า กระหายหาพระประสงค์ของพระองค์ และความ งามของพระองค์ ถ้ ำและรางหญ้ าแห่ง แรกอยู่ ที่ เ มื อ งเบธเลเฮม ซึ่ ง แปลว่ า บ้ า น ขนมปัง ศีลมหาสนิทแต่ละแผ่นคือบ้านขนมปังหลังใหม่ หรือเบธเลเฮม ใหม่ เป็นการพบกับพระเจ้า ผู้ถ่อมพระองค์ลงมาหาเราด้วยความรักมั่น คงของพระองค์ เพื่อยกเราขึ้น
60
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 3
วันพระคริสตสมภพ (มิสซาเช้า) พิธีกรรมทั้งหมดของวันพระคริสตสมภพประกอบด้วยสี่มิสซา ดังนั้น จึงมีบทอ่านพระวรสารสี่ตอน 1. มิสซาเวลาเย็น – บทอ่านเรือ่ งการลำดับพระวงศ์ของพระเยซูเจ้า และการแจ้งข่าวแก่โยเซฟ (มธ 1:1-25) 2. มิสซากลางคืน - บทอ่านเรื่องพระนางมารีย์ และโยเซฟไม่มีที่ พักแรมในเมืองเบธเลเฮม และต้องไปอาศัยในคอกสัตว์ และประสูติ พระเยซูเจ้า คนเลี้ยงแกะได้รับแจ้งข่าวดีที่จะทำให้ประชาชนยินดีเป็น อย่างยิ่ง คือ พระผู้ไถ่ประสูติแล้ว (ลก 2:1-14 – อ่านคำอธิบายได้จาก “พระวรสารประจำวันอาทิตย์สำหรับปี B”) 3. มิสซาเช้า - บทอ่านเรื่องปฏิกิริยาของคนเลี้ยงแกะ พระนาง มารีย์ และคนทั้งหลาย ที่ได้ยิน “ข่าว” อันน่าประหลาดใจ พวกเขาทำให้ “พระวจนาตถ์” เป็นที่รู้จัก และใคร่ครวญเรื่องนี้ (ลก 2:15-20) 4. มิสซาระหว่างวัน - บทอ่านจากบทรำพึงอันยิ่งใหญ่ของนักบุญ ยอห์น เรื่องกำเนิดแห่งนิรันดร (ยน 1:1-18) เมื่อบรรดาทูตสวรรค์จากเขา (คนเลี้ยงแกะ) กลับสู่สวรรค์แล้ว ... ข้าพเจ้าชอบคำบรรยายสั้นๆ ตอนนี้ของนักบุญลูกา ถ้อยคำที่ทำ ให้มองเห็นภาพได้นี้ เตือนเราให้คิดถึงความจริงสำคัญข้อหนึ่งคือ การ ปรากฏตัวของทูตสวรรค์เกิดขึ้นเพียงครู่เดียว ... สวรรค์เปิดออกสำหรับ เราเพียงช่วงเวลาไม่กี่วินาที ผ่าน “รอยฉีกในม่าน” นานเท่ากับช่วงเวลา สายฟ้าฟาด นานเท่ากับ “คำพูด” หนึ่งคำ หรือการสื่อ “สาร” หนึ่งข้อ
บทเทศน์ปี C
61
คำว่าทูตสวรรค์ในภาษากรีก (angelos) แปลว่า “ผู้นำสาร” บางคนที่คิดอย่างหยาบๆ ด้วยหลักเหตุผล บอกเราว่า “ทูต สวรรค์” ไม่มีจริง เมื่อเราพยายามวาดภาพให้ทูตสวรรค์มีร่างกาย และ คาดหมายว่าทูตสวรรค์ตอ้ งมีปกี เราจะมองไม่เห็นเมือ่ ทูตสวรรค์มาเยือน เพราะพระเจ้าทรงส่ง “สาร” มาให้เราทุกวัน และมี “ผูน้ ำสาร” ของพระเจ้า อยู่รอบตัวเราทุกคน บางทีสวรรค์อาจเปิดออกสำหรับเราด้วยเช่นกัน แม้จะเพียงชั่วแวบเดียว ถ้าเราสนใจกับคำแนะนำต่างๆ ที่เราได้รับอยู่ ทุกวัน ถ้าเราไม่คิดถึงทุกสิ่งทุกอย่างเพียงในแง่วัตถุ ท่านคิดว่าท่านปิดกัน้ ตนเองให้อยูภ่ ายในโลกแคบๆ ของท่านหรือไม่ ถ้าท่านต้องการ และอาศัยความเชื่อ โลกของท่านอาจเปิดออกสู่ สิ่งที่ตามองไม่เห็น เรากลายเป็นคนที่ไม่สามารถได้ ยิ น สารที่ สุ นั ข จิ้ ง จอกบอกแก่ เจ้าชายน้อยเกี่ยวกับดอกกุหลาบ ที่แม้แต่รูปลักษณ์ภายนอกก็สวยงาม ว่า “นี่คือความลับของฉัน มันเรียบง่ายที่สุด คือ เรามองเห็นชัดด้วยหัวใจ ของเราเท่านั้น แก่นแท้เป็นสิ่งที่ตามองไม่เห็น เวลาที่เธอยอมเสียไปเพื่อ ดอกกุ ห ลาบ ทำให้ ด อกกุ ห ลาบนั้ น สำคั ญ มากเช่ น นั้ น สำหรั บ เธอ” (Saint-Exupery) คนเลี้ยงแกะเหล่านั้นจึงพูดกันว่า “เราจงไปเมืองเบธเลเฮม กันเถิด จะได้เห็นเหตุการณ์นี้ที่พระเจ้าทรงแจ้งให้เรารู้ ถ้าแปลจากภาษากรีกตามตัวอักษร ข้อความนี้แปลว่า “เราจงไป เมืองเบธเลเฮมกันเถิด จะได้เห็น วาจาที่ได้เกิดขึ้นนี้ ที่พระเจ้าทรงแจ้ง ให้เรารู้” – “ได้เห็นวาจา” เป็นวลีที่น่าแปลกใจใช่ไหม เราจะเข้าใจได้ชัดเจน ถ้าเรารู้ว่า คำว่า rema ในภาษากรีก และ แปลเป็นภาษาฮีบรูว่า Dabar นั้น หมายความได้ทั้ง “วาจา” และ
62
บทเทศน์ปี C
“เรื่อง/สิ่ง” หรือ “เหตุการณ์” ตามแนวคิดของชาวเซมิติก ที่เอ่ยเป็น คำพูดในพระคัมภีร์ คำว่า “วาจา” และ “ความเป็นจริง” เป็นคำที่เชื่อมโยง กันอย่างแยกไม่ออก ไม่มีวาจาใดที่ไม่เป็นความจริง และไม่มีความเป็น จริงใดที่ไม่ใช่วาจา ทุกสิ่งทุกอย่าง “พูดได้” เมื่อเรารู้ว่าจะฟังอย่างไร การ พูดก็คือการลงมือทำ การกระทำคือการสื่อสาร และพระวาจาของพระเจ้า ทำให้สงิ่ ทีต่ รัสนัน้ กลายเป็นความจริง พระเยซูเจ้าทรงเป็น “วาจา” ทีก่ ลาย เป็น “ความเป็นจริง” ถูกแล้ว เราจงไปเมืองเบธเลเฮม กันเถิด ไปดูพระวาจาทีเ่ สด็จมานี้ เราจงไปเมืองเบธเลเฮม กันเถิด ไปดูสิ่งที่เราได้รับแจ้งให้รู้ การตีความเช่นนี้อาจดูเหมือนอิงวิทยาศาสตร์เกินไป อันที่จริง ข้อความเหล่านี้เปิดเผยสิ่งต่างๆ มากมายแก่เรา และไม่ชักนำเราให้หลง ไปจากธรรมล้ำลึกของเหตุการณ์พระคริสตสมภพ “พระวจนาตถ์ทรงรับ ธรรมชาติมนุษย์” ท่านบอกว่าทารกที่นอนอยู่ในอู่นั้นพูดไม่ได้หรือ ลอง ไปดูสิ แล้วจะเห็น ... หรือท่านไม่รู้ว่าจะฟังอย่างไร ... สำหรับเรา การ ประสูติของพระองค์ และสถานการณ์แวดล้อมการประสูตินี้เป็นวาจาที่ จริงแท้ และชัดเจนยิ่งกว่าคำพูด คำนินทา และเสียงจอแจทั้งหลาย จงฟังความเงียบที่บอกเราว่า “พระเจ้าทรงเป็นอย่างนี้ ... พระเจ้า คือ ‘สิ่งนี้’ ที่นอนอยู่ในอู่” เขาจึงรีบไป... เช่นเดียวกับความยินดี “การรีบ” เป็นหนึ่งในเครื่องหมายของ บุคคลที่ค้นพบข่าวดี พวกเขาเร่งรีบ ... พวกเขาวิ่ง (ลก 1:39, 19:5; ยน 20:2; กจ 3:11, 8:30, 12:14) การกลั บ คื น พระชนมชี พ ของพระเยซู เ จ้ า ก็ เ ป็ น สั ญ ญาณให้ เริ่มต้นวิ่งแข่งอย่างแท้จริง ...
บทเทศน์ปี C
63
... และพบพระนางมารีย์ โยเซฟ และพระกุมาร ซึ่งบรรทมอยู่ใน รางหญ้า เขาวิ่ ง ไปพิ สู จ น์ ว่ า สารของทู ต สวรรค์ เ ป็ น ความจริ ง หรื อ ไม่ “พระผูไ้ ถ่ประสูตเิ พือ่ ท่านแล้ว พระองค์คอื พระคริสต์ องค์พระผูเ้ ป็นเจ้า” ทูตสวรรค์ระบุพระยศของพระองค์ถึงสามตำแหน่ง และคนเลี้ยงแกะพบ เพียงคนฐานะยากจนในคอกสัตว์ เขาพบครอบครัวสามัญชนที่ “ฐานะต่ำ กว่ามาตรฐาน” ครอบครัวที่หาที่พักไม่ได้ในหมู่บ้าน ทารกน้อยที่นอนบน ฟางในรางหญ้า ถ้าเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ไม่พูดอะไรกับท่านเลย ก็นับว่าเป็นเรื่อง เศร้า... คำว่าเบธเลเฮมในภาษาฮีบรู แปลว่า “บ้านขนมปัง” นี่คือเหตุ บังเอิญหรือ แต่ถ้าเป็นความจริงที่พระเจ้าประทานพระองค์เองให้เรากิน เสมือนเป็นขนมปังคุณภาพดีชนั้ หนึง่ เล่า ... “นีเ่ ป็นกายของเราทีม่ อบเพือ่ ท่าน จงรับไป และกิน” พระเจ้าทรงเป็นความรัก พระเจ้าทรงเผยแสดงพระองค์ผ่านทาง ภาพลักษณ์ของครอบครัว คนเลี้ยงแกะพบหญิงสาวผู้เป็นมารดา พร้อม กับสามี และทารกแรกเกิดของนาง พระเจ้าทรงยากจน พระเจ้าทรงเผยแสดงพระองค์ผ่านทางภาพลักษณ์ของความขัดสน อู่นอนที่สร้างขึ้นจากไม้เนื้อหยาบนี้ก็ถือว่าเป็น กางเขนแล้ว จากอู่นอนจนถึงไม้กางเขน พระเจ้าทรงเผยแสดงธรรม ล้ำลึกแก่เรา พระเจ้าทรงแสดงว่าพระองค์เป็นพวกเดียวกับคนยากจนขัดสน คนที่ต้องการความช่วยเหลือจากเรา ... ฉันกำลังหิว ฉันกำลังกระหาย ฉันป่วย ฉันอยู่ในคุก ฉันอยากให้มีใครมาเยี่ยม ... วันพระคริสตสมภพ ไม่อาจเป็นเรื่องหวานๆ ที่บอกเล่าท่ามกลาง สภาพแวดล้อมที่สะดวกสบาย...
64
บทเทศน์ปี C
วันพระคริสตสมภพ ไม่อาจเป็นเพียงอาหารมื้อใหญ่ และการ กินดื่มอย่างตะกละ... วันพระคริสตสมภพ ไม่อาจเป็นข้ออ้างที่ทำให้เกิดอาการอาหาร ไม่ย่อย และค่าใช้จ่ายที่ไร้ประโยชน์... ประจักษ์พยานกลุ่มแรกของเหตุการณ์พระคริสตสมภพครั้งแรก ตอบสนองอย่างไร เมื่อคนเลี้ยงแกะเห็น ก็เล่าเรื่องที่เขาได้ยินมาเกี่ยวกับพระกุมาร เราทุกคนมีความเข้าใจฝังลึกว่าคนเลี้ยงแกะนมัสการพระกุมาร ศิลปินยิ่งใหญ่หลายคนวาดภาพชื่อ “การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ” แต่พระวรสารไม่ได้เอ่ยเรื่องนี้เลย แต่บอกว่าคนเลี้ยงแกะ “เทศน์ สอน” พระนางมารีย์ และโยเซฟ เขาบอกเล่าเรื่องที่เขาได้ยินมาเกี่ยวกับ พระกุมาร กล่าวคือ พระองค์ทรงเป็นพระผู้ไถ่ ทรงเป็นพระคริสต์ และ ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า ... คนเลี้ยงแกะทำให้พระวจนาตถ์เป็นที่รู้จัก ... ในประโยคนี้ ลูกาจงใจย้ำคำว่า rema ซึ่งเราทราบแล้วว่ามีความ หมายหลากหลายอย่างไร เราต้องอ่านสองประโยคต่อไปนี้ต่อเนื่องกัน - เราจะได้เห็นวาจาที่เกิดขึ้นนี้ที่พระเจ้าทรงแจ้งให้เรารู้ - เมือ่ คนเลีย้ งแกะเห็น ก็เล่าวาจาทีเ่ ขาได้ยนิ มาเกีย่ วกับพระกุมาร เห็นได้ชัดว่าลูกา เชื่อว่าการฉลองวันพระคริสตสมภพ หมายถึง การรับพระวาจา และประกาศพระวาจานั้น ความเชื่อของคริสตชนจะต้อง ประกาศให้ผู้อื่นรู้ หาไม่แล้วก็จะเป็นเพียงความเชื่อจอมปลอม ... ความ เชื่อจะเป็นความเชื่อจริงแท้ได้ก็ต้องประกาศให้ผู้อื่นรู้ ส่วนท่าน ท่านบอกเล่าพระวาจาที่ท่านได้รับมาให้แก่ผู้อื่นหรือ เปล่า ท่านกำลังพูดถึงข่าวดีอยู่หรือเปล่า
บทเทศน์ปี C
65
ความเชื่อมีอยู่สามลักษณะ 1. ความเชื่อต้องไม่ถูกคิดประดิษฐ์ขึ้น แต่ได้รับผ่านการเผยแสดง กล่าวคือ ความเชื่อเป็นพระพรอย่างหนึ่ง 2. ความเชื่อต้องไม่อยู่นิ่ง เราต้องยอมรับความเชื่อ และนำความ เชื่อไปใช้งาน 3. ความเชื่อต้องไม่เป็นใบ้ เราต้องพูดถึงความเชื่อนั้นออกมา คนเลี้ยงแกะได้ยินสารจากสวรรค์ ... พวกเขาเร่งรีบไปพิสูจน์ ความจริง ... เขาบอกเล่าสารที่เขาได้รับมาว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระผู้ไถ่ ทรงเป็นพระคริสต์ และทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า ท่านก็เช่นกัน ท่านต้องเปิดปาก ประกาศพระวรสาร และขับร้อง สรรเสริญความเชื่อของท่าน แต่ก่อนอื่น ท่านต้องทำให้ชีวิตประจำวันของท่านพูดได้อย่างแท้ จริง ท่านต้องทำให้ชีวิตของท่านเป็น “วาจา” ทุกคนที่ได้ยินต่างประหลาดใจในเรื่องที่คนเลี้ยงแกะเล่าให้ฟัง ลูกาใช้คำว่า “ประหลาดใจ” หลายครั้ง (ลก 4:22, 8:25, 9:43, 11:14-15, 20:26) เราจึงไม่ควรประเมินผลคำนี้ต่ำเกินไป เราเองก็ควร ประหลาดใจเช่นกัน ขอให้ความเชื่อของเราเต็มเปี่ยมด้วยความยินดี องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงทำสิ่งน่าพิศวง จงสรรเสริญพระองค์เถิด ส่วนพระนางมารีย์ ทรงเก็บเรื่องทั้งหมดนี้ไว้ในพระทัย และยังทรง คำนึงถึงอยู่ เราพบคำว่า rema อีกครั้งหนึ่งในประโยคนี้ ซึ่งแปลว่า “เรื่อง” แต่หมายถึง “วาจา-เรื่อง/สิ่ง-เหตุการณ์” เดียวกัน
66
บทเทศน์ปี C
คนเลี้ยงแกะ “ได้รับ” พระวาจาของพระเจ้า พวกเขา “ประกาศ” พระวาจานี้ให้ผู้อื่นรู้ ผู้ที่ได้ยินต่าง “ประหลาดใจ” ส่วนพระนางมารีย์เก็บเรื่องนี้ไว้ในใจ และนำมารำพึงไตร่ตรอง ดังนั้น พระนางจึงเป็นแบบอย่างสำหรับเรา ในวันพระคริสตสมภพนี้ ลูกาชี้ให้เราทุกคนพิจารณาหัวใจของ สตรีผู้เป็นแบบอย่างสำหรับผู้มีความเชื่อ พระนางพยายามเจาะความหมายของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และที่บอกเล่าเรื่องราวของพระเจ้า โดยใช้ สติปัญญา อำเภอใจ และหัวใจ ทั้งตัวตนของพระนาง หรือตามสำนวนที่ เราพูดกันบางครั้งว่า พระนาง “ทบทวนเรื่องราวที่ผ่านมาในชีวิต” พระเจ้าทรงต้องการบอกอะไรแก่ข้าพเจ้าผ่านเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กับข้าพเจ้า ผ่านเหตุการณ์ที่มีความหมายนี้ ผ่านสถานการณ์ที่ข้าพเจ้า คุน้ เคย หรือสถานการณ์ในอาชีพของข้าพเจ้า หรือผ่านสถานการณ์ของโลก คนเลี้ยงแกะกลับไปโดยถวายพระพร และสรรเสริญพระเจ้าในเรื่อง ต่างๆ ที่พวกเขาได้ยิน และได้เห็นตามที่ทูตสวรรค์บอกไว้ ในวันนั้น มีเด็กอื่นๆ มากมายหลายคนที่เกิดมาบนโลกของเรา ทำไมเด็กคนนี้ – พระเยซูผนู้ ี้ – จึงยังสร้างความประทับใจให้แก่คนจำนวน มากตราบจนทุกวันนี้ พระองค์เป็นใคร พระเยซูเจ้าทรงเป็นใครสำหรับท่าน บอกข้าพเจ้าซิว่า ท่านเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้าหรือไม่
บทเทศน์ปี C
67
ค รอบครัวศักดิ์สิทธิ์
(วันอาทิตย์ในอัฐมวารพระคริสตสมภพ)
โยเซฟ พร้อมกับพระมารดาของพระเยซูเจ้า เคยขึ้นไปยังกรุง เยรูซาเล็มในเทศกาลปัสกาทุกปี เมื่อพระองค์มีพระชนมายุสิบสอง พรรษา โยเซฟพร้ อ มกั บ พระมารดาก็ ขึ้ น ไปกรุ ง เยรู ซ าเล็ ม ตาม ธรรมเนียมของเทศกาลนั้น เมื่อวันฉลองสิ้นสุดลง ทุกคนก็เดินทาง กลับ แต่พระเยซูเจ้ายังประทับอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มโดยที่บิดามารดา ไม่รู้ เพราะคิดว่าพระองค์ทรงอยู่ในหมู่ผู้ร่วมเดินทาง เมื่อเดินทาง ไปได้หนึ่งวันแล้ว โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์ตามหาพระองค์ใน หมู่ญาติและคนรู้จัก เมื่อไม่พบจึงกลับไปกรุงเยรูซาเล็มเพื่อตามหา พระองค์ที่นั่น ในวันที่สาม โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์พบพระองค์ใน พระวิหาร ประทับอยู่ในหมู่อาจารย์ ทรงฟังและทรงไต่ถามพวกเขา ทุ ก คนที่ ไ ด้ ฟั ง พระองค์ ต่ า งประหลาดใจในพระปรี ช าที่ ท รงแสดง ในการตอบคำถาม เมื่อโยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์เห็นพระองค์ ก็รู้สึกแปลกใจ พระมารดาจึงตรัสถามพระองค์ว่า “ลูกเอ๋ย ทำไมจึง ทำกับเราเช่นนี้ ดูซิ พ่อกับแม่ต้องกังวลใจตามหาลูก” พระองค์ตรัส ตอบว่า “พ่อกับแม่ตามหาลูกทำไม พ่อแม่ไม่รู้หรือว่าลูกต้องอยู่ใน
68
บทเทศน์ปี C
บ้านของพระบิดาของลูก” โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์ไม่เข้าใจที่ พระองค์ตรัส พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปที่เมืองนาซาเร็ธกับบิดามารดาและ เชื่อฟังท่านทั้งสอง พระมารดาทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ใน พระทัย พระเยซูเจ้าทรงเจริญขึ้นทั้งในพระปรีชาญาณ พระชนมายุ และพระหรรษทานเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้า และต่อหน้ามนุษย์
บทเทศน์ปี C
69
บทรำพึงที่ 1
ซ่อนพระองค์ในครอบครัว พระเยซูเจ้าทรงดำเนินชีวิตซ่อนเร้นของพระองค์ที่นาซาเร็ธเป็น เวลา 30 ปี ก่อนทรงออกไปเทศน์สอนและปฏิบตั ภิ ารกิจต่อหน้าสาธารณชนเป็นเวลาสามปี พระองค์ทรงใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว 10 ปีต่อทุก หนึ่งปีของชีวิตสาธารณะของพระองค์ ท่ามกลางความสงบเงียบของชีวิต ครอบครัว พระองค์คงต้องได้รับการสั่งสอนจากพระเจ้าให้ทรงเห็นความ สำคัญของความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และงานที่เป็นกิจวัตร มือที่จะรักษาโรค และบรรเทาใจ ไม่ได้หยิ่งเกินกว่าจะถอนวัชพืช ในสวน หรือจับสิ่งเซาะร่องไม้ พระบุตรของพระบิดานิรันดรพอพระทัย ให้ทุกคนรู้จักพระองค์ในนามของบุตรชายของโยเซฟและมารีย์ พระวจนาตถ์ ผู้ทรงเป็นภาพลักษณ์อันสมบูรณ์ของพระบิดา จำเป็นต้อง เรียนรู้ความสัมพันธ์ในฐานะบุตร พี่ชายน้องชาย เพื่อนบ้าน และเด็กหนุ่ม คนหนึ่งในละแวกบ้าน เราคงต้องคาดเดาเองว่าพระองค์ทรงเชี่ยวชาญ การเล่ นแบบเด็กท้องถิ่นหรือไม่ พระองค์ มี ง านอดิ เ รกที่ โ ปรดปราน หรือไม่ ครูของพระองค์มองว่าพระองค์เป็นเด็กอย่างไร หรือเคยมีเด็ก หญิงคนใดต้องการเรียกร้องความสนใจจากพระองค์หรือไม่ พระเยซูเจ้า ทรงเจริญขึ้นทั้งในพระปรีชาญาณ พระชนมายุ และทรงมีความสัมพันธ์ อันดีกับพระเจ้า และกับมนุษย์ทั้งหลาย ครอบครัวเป็นโรงเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของพระองค์ วิชา เอกที่พระองค์ทรงเรียนรู้จากโรงเรียนนี้คือมนุษย์ เราเรียนรู้ที่จะให้ผู้อื่น เลี้ยงดู อยู่เพื่อผู้อื่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่น การให้ผู้อื่นเลี้ยงดูหมายถึงการ เรียนรู้ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่น การวางใจผู้อื่นเป็นบทเรียนอันยิ่งใหญ่บท
70
บทเทศน์ปี C
แรกที่เราเรียนรู้ภายในครอบครัว และผู้เรียนที่สอบตกในวิชานี้จะมี ปัญหาทางอารมณ์ขั้นร้ายแรงตลอดชีวิตของเขา การเรียนรู้ที่จะวางใจใน ผู้อื่นทำให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระบิดา ผู้ที่เราต้อง พึ่งพาอาศัยในกิจการสร้างสรรค์อันต่อเนื่องของพระองค์ น่าสังเกตว่าใน บทภาวนาของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงเรียกพระเจ้าว่า “อับบา” ซึ่งเป็น คำที่เด็กใช้เรียกพ่อของตน ภาษาในการภาวนาของพระองค์คงพัฒนา มาจากประสบการณ์การพึ่งพาอาศัย และความวางใจ ที่พระองค์ทรง เรียนรู้ในครอบครัวที่นาซาเร็ธ การอยู่เพื่อผู้อื่น เป็นวิธีที่เราตอบแทนความช่วยเหลือที่ได้รับจาก ผู้อื่น บุคคลที่เคยเป็นผู้รับเมื่อครั้งเป็นเด็ก จะรู้จักแบ่งปัน และรู้จักให้ เมื่อเขาเติบโตขึ้น พระเยซูเจ้าทรงเจริญวัยขึ้นเป็นชายหนุ่มที่มีอุดมการณ์ ในการรับใช้ มากกว่าให้ผู้อื่นรับใช้พระองค์ และพลีชีวิตของพระองค์ เพื่อผู้อื่น พระองค์ทรงกลายเป็นบุคคลที่อยู่เพื่อผู้อื่น ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เราจำเป็นต้องรู้จักทั้งการรับ และการให้ ในเวลาที่ เ หมาะสม การให้ แ ละการรั บ นี้ เ ป็ น วิ ธี ก ารแสดงออกของ พระจิตเจ้า ผู้ทรงเป็นความรักที่ผูกพันระหว่างการให้ของพระบิดา และ การตอบแทนของพระบุตร ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน พลวั ต ของชี วิ ต ครอบครั ว เตรี ย มเราให้ พ ร้ อ มที่ จ ะเข้ า สู่ ชี วิ ต ภายในของพระเจ้า ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่เสมอตลอดนิรันดร การยอมเชื่อฟัง มนุษย์อย่างโยเซฟและพระนางมารีย์ ได้เตรียมพระเยซูเจ้าให้พร้อมที่จะ เชื่อฟังการเรียกร้องครั้งสุดท้ายของพระบิดา
บทเทศน์ปี C
71
บทรำพึงที่ 2
หายไป และได้พบ
คำบอกเล่ า ของลู ก าเรื่ อ งเหตุ ก ารณ์ ใ นกรุ ง เยรู ซ าเล็ ม เมื่ อ พระเยซูเจ้าอายุ 12 ปี เป็นเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างชีวิตในวัยเด็ก เข้ากับชีวิตสาธารณะของพระองค์ และเชื่อมระหว่างการนบนอบเชื่อฟัง ผู้ใหญ่ในครอบครัว และการนบนอบเชื่อฟังพระประสงค์ของพระบิดา ในเวลาต่อมา เมื่อเด็กชายชาวยิวอายุ 12 ปี เขาจะถึงวัย บาร์มิทซวาห์ (bar mitzvah) ซึ่งหมายความว่าเขาได้กลายเป็นบุตรของธรรมบัญญัติอย่าง เต็มตัว ครอบครัวของเขาฉลองเหตุการณ์นี้ด้วยการแสวงบุญไปยังกรุง เยรูซาเล็มในเทศกาลปัสกา ลูกา บอกเล่าเรื่องนี้เป็นหัวข้อย่อยซึ่งเสริม หัวข้อใหญ่ที่เขาจะบอกเล่าต่อไป การปฏิบัติภารกิจในชีวิตสาธารณะของ พระเยซูเจ้าจะกลายเป็นการเดินทางไปยังกรุงเยรูซาเล็ม และพระองค์จะ เสด็จไปถึงที่นั่นระหว่างเทศกาลปัสกาอีกเช่นกัน ในที่นั้น พระองค์จะ พบกับผู้เชี่ยวชาญธรรมบัญญัติ แต่ความประหลาดใจของคนเหล่านี้ต่อ พระองค์ในวัยเด็กจะกลายเป็นการปฏิเสธพระองค์เมื่อคนเหล่านี้พบ พระองค์ในวัยผู้ใหญ่ ในแต่ละเรื่อง พระเยซูเจ้าทรงหายไปเป็นเวลา สามวัน ความยินดีของบิดามารดาของพระองค์เมื่อพบพระองค์ในวันที่ สาม เป็นเสมือนลางบอกเหตุว่าการกลับคืนชีพในวันที่สามของพระองค์ ก็จะเป็นข่าวที่น่าตื่นเต้นยินดีเช่นกัน คำอธิบายของเยซูน้อยว่าพระองค์ ต้องทำธุรกิจของพระบิดา ก็ชี้ให้เห็นความจำเป็นที่พระคริสตเจ้าผู้กลับ คืนชีพทรงบอกให้ศิษย์ที่กำลังเดินทางไปเอมมาอุส ว่า “พระคริสตเจ้า
72
บทเทศน์ปี C
จำเป็นต้องทนทรมานเช่นนี้ เพื่อจะเข้าไปรับพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ มิใช่หรือ” (ลก 24:26) เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 12 พรรษา พระเยซูเจ้าไม่ใช่เด็กแล้ว แต่ก็ยังไม่เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว พระองค์อยู่ในระยะที่หายไปและได้พบ ระยะที่ออกจากวัยหนึ่งและเข้าสู่อีกวัยหนึ่ง ระยะที่ต้องปล่อยวางบางสิ่ง และยอมรับภาระหน้าที่ เหตุการณ์ในพระวิหารทำให้เราเห็นว่าจะต้อง เกิดอะไรต่อไป เราต้องปล่อยวางจากความสัมพันธ์วัยเด็ก ถ้าจะยอมรับ ความรับผิดชอบอย่างผู้ใหญ่คนหนึ่ง ความใกล้ชิดสนิทสนมของคนใน ครอบครัวเดียวกันจะต้องขยายวงออกไปพบกับความแปลกใหม่ของ ชุมชนที่ใหญ่กว่า การเชื่อฟังของบุตรต่อบิดามารดามนุษย์จำเป็นต้อง หลีกทางให้แก่ผู้มีอำนาจมากกว่า คือ พระบิดาสวรรค์ นี่คือคำสั่งสอน ของพระองค์ในเวลาต่อมา คือ มนุษย์ต้องยอมสละชีวิตเพื่อจะได้พบ ชี วิ ต ขนมปั ง จะต้ อ งถู ก บิ ก่ อ นจะแบ่ ง ปั น กั น ได้ และชี วิ ต มนุ ษ ย์ ข อง พระเยซูเจ้าต้องสิ้นสุดลงก่อนที่พระจิตของพระองค์จะกลับคืนชีพ เมื่อทรงมองเห็นอนาคตได้แวบหนึ่งแล้ว พระเยซูเจ้าทรงกลับไป นาซาเร็ธพร้อมครอบครัวของพระองค์ พระองค์ทรงรอคอยเสียงเรียก จากพระเจ้า ทรงเจริญขึน้ ทัง้ ในปรีชาญาณ พระชนมายุ และพระหรรษทาน เฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้า และต่อหน้ามนุษย์
บทเทศน์ปี C
73
บทรำพึงที่ 3
โยเซฟ พร้อมกับพระมารดาของพระเยซูเจ้า เคยขึ้นไปยัง กรุงเยรูซาเล็ม ในเทศกาลปัสกาทุกปี ลูกา บอกเราให้รู้ว่าพระนางมารีย์ และโยเซฟ ดำเนินชีวิตด้วย ความเชื่ออย่างไร ด้วยการระบุว่าท่านทั้งสองเดินทางแสวงบุญ “ทุกปี” พระเยซู เ จ้ า ทรงเจริ ญ วั ย ขึ้ น ท่ า มกลางบรรยากาศที่ ป ระชาชนยึ ด ถื อ ธรรมเนียมปฏิบัติของพันธสัญญาเดิมทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ สังคม และ ศาสนา “ชายทุกคนจะต้องมาต่อหน้าพระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่านปีละ สามครั้ง” (อพย 23:14-17) ประชาชนต้องละทิ้งบ้านของตนปีละสาม ครั้ง อย่างน้อยครั้งละหนึ่งสัปดาห์ และเดินทางมุ่งหน้าไปหาพระเจ้า (เขา เชื่อว่าพระเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม) และขับร้องบท สดุดีระหว่างทางว่า “ข้าพเจ้ายินดี เมื่อได้ยินเขาพูดว่า ‘เราจงไปที่พระนิเวศของพระเจ้ากันเถิด’” (สดด 121) เมื่อพระองค์มีพระชนมายุสิบสองพรรษา โยเซฟ พร้อมกับพระมารดา ก็ขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็ม ตามธรรมเนียมของเทศกาลนั้น ในอิสราเอล เด็กจะเข้าสู่โลกของผู้ใหญ่เมื่ออายุ 12 ปี หลังจาก ได้ศึกษาคำสอนทางศาสนาแล้ว เราจะเป็น “บาร์ มิทสวาห์” หรือ “บุตร แห่ ง ธรรมบั ญ ญั ติ ” ในวั น นั้ น เขาจะถู ก เรี ย กให้ ขึ้ น ไปยั ง แท่ น อ่ า น พระคัมภีร์ในศาลาธรรม และอ่านคัมภีร์โทราห์
74
บทเทศน์ปี C
เมื่อวันฉลองสิ้นสุดลง ทุกคนก็เดินทางกลับ แต่พระเยซูเจ้ายังประทับ อยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มโดยที่บิดามารดาไม่รู้ เพราะคิดว่าพระองค์ทรง อยู่ในหมู่ผู้ร่วมเดินทาง เมื่อเดินทางไปได้หนึ่งวันแล้ว โยเซฟพร้อม กับพระนางมารีย์ตามหาพระองค์ในหมู่ญาติ และคนรู้จัก เหมือนฟ้าผ่าลงมากลางครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ นี่คือช่องว่างระหว่าง วัยระหว่างพระเยซูเจ้าและบิดามารดาของพระองค์หรือ แม้ว่าเราอาจพยายามมองว่านี่เป็นเหตุการณ์เล็กน้อย แต่เราก็อด นึกเปรียบเทียบไม่ได้กับวิกฤติการณ์ภายในครอบครัวในยุคปัจจุบัน เป็น เรื่องบังเอิญหรือที่รายละเอียดหนึ่งเดียวที่เรารับรู้เกี่ยวกับชีวิตซ่อนเร้น นาน 30 ปี ของพระเยซูเจ้ากลายเป็นเรื่องของเด็กที่หนีพ่อแม่ และทำให้ ท่านเดือดร้อน เห็นได้ชัดว่าการกระทำของพระเยซูเจ้าไม่มีเจตนาร้าย ลูกา บอกเล่าเหตุการณ์นี้ด้วยเหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาของวัยรุ่น เลย บิดามารดาที่วิตกกังวลกับพฤติกรรมของบุตรคงรู้สึกเบาใจเมื่อรู้ว่า เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้ แม้แต่กับพระนางมารีย์ และโยเซฟ ในส่วนของพระเยซูผู้อยู่ในวัยรุ่น เราเห็นได้ว่าพระองค์มีเสรีภาพ มาก เพราะกว่าบิดามารดาของพระองค์จะรู้ว่าพระองค์ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม ผู้เดินทาง เวลาก็ผ่านไปแล้วหนึ่งวันเต็มๆ พระองค์จะต้องคุ้นเคยกับการ อยู่กับผู้อื่น และมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้อื่น บิดามารดาของพระองค์ ไม่ได้จับตามองพระองค์ตลอดเวลา ท่านทั้งสองไว้ใจพระองค์ เมื่อไม่พบจึงกลับไปกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อตามหาพระองค์ที่นั่น คำบอกเล่านี้ใช้คำว่า “ตามหา” ถึงสี่ครั้ง ในประโยคนี้เป็นการ ตามหาทางกายภาพ แต่พระคัมภีร์มักใช้คำว่า “แสวงหา – ตามหา” เมื่อ พูดถึงการแสวงหาพระเจ้า ผู้ทรงเป็นแกนกลางแห่งชีวิตของผู้มีความเชื่อ ทุกคน ความเชื่อก็คือ “การตามหา”
บทเทศน์ปี C
75
พระเจ้าทรงเป็นผู้ที่เรา “พบ” อยู่เสมอ แต่แล้วก็ “สูญเสีย” พระองค์ไป เพื่อจะออก “ตามหา” พระองค์อีก พระเจ้าทรงเป็นผู้ที่ ไม่มีใครครอบครองได้ เพราะพระองค์ทรงอยู่เหนือเรา และทรงอยู่ไกล เกินเอื้อม ทรงเป็นผู้ที่ไม่มีใครจับไว้ได้ ทรงไม่อยู่ภายในขอบเขตที่มนุษย์ ต้องการกักขังพระองค์ไว้ พระเจ้าทรงอยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง เราคงจำอุ ป มาอั น ละเมี ย ดละไมและอ่ อ นหวานในบทเพลง ซาโลมอนได้ “ฉันตามหาเขาผู้ที่วิญญาณของฉันรัก ฉันตามหาเขา แต่ ไม่พบเขา” (พซม 3:1-3) ข้าพเจ้าเป็น “ผู้แสวงหาพระเจ้า” หรือไม่ ในวันที่สาม โยเซฟ พร้อมกับพระนางมารีย์ พบพระองค์ ... เห็นได้ชัดว่า ลูกามองเหตุ ก ารณ์ นี้ เ ปรี ย บเที ย บกั บ เหตุ ก ารณ์ ปัสกา มีเครื่องหมายหลายอย่างที่ชี้นำหัวใจของผู้มีความเชื่อไปสู่การเพ่ง พินิจต่อไปนี้ 1. ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ “ขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็มในเทศกาลปัสกา” และวันหนึง่ พระเยซูเจ้าก็จะเสด็จ “ขึน้ ไปยังกรุงเยรูซาเล็ม” (ลก 18:31) 2. การหายตัวไปของพระเยซูเจ้า และเขาพบพระองค์อีกครั้งหนึ่ง สามวันต่อมา ทำให้อดไม่ได้ที่จะคิดถึงเทศกาลปัสกาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พระองค์จะกลับคืนพระชนมชีพ “ในวันที่สาม” 3. ลูกาจะใช้ประโยคว่า “ลูกต้องอยู่ในบ้านของพระบิดาของลูก” บ่อยครั้ง เพื่อแสดงว่าพระเยซูเจ้าทรงนบนอบเชื่อฟังพระบิดาอย่างไร และทรงปฏิบัติตามที่พระคัมภีร์กล่าวไว้อย่างไรระหว่างพระทรมาน (ลก 4:43, 9:22, 17:25, 13:33, 22:37, 24:26, 44) 4. “ความไม่เข้าใจ” มักถูกเชื่อมโยงกับพระทรมาน ประโยคว่า “พวกเขาไม่ เ ข้ า ใจ” ปรากฏขึ้ น หลายครั้ ง เพื่ อ แสดงว่ า บรรดาศิ ษ ย์ ไม่เข้าใจพระวาจาของพระเยซูเจ้า (ลก 9:45, 18:34, 24:25-26)
76
บทเทศน์ปี C
5. เมือ่ เขาพบพระเยซูเจ้า พระองค์ “ประทับอยูใ่ นบ้านของพระบิดา” เปรียบเทียบกับการเสด็จขึ้นสวรรค์ ซึ่งพระเยซูเจ้าจะ “ประทับเบื้องขวา ของพระบิดา” 6. ท้ายที่สุด คำตำหนิว่า “พ่อแม่ตามหาลูกทำไม” ชวนให้คิดถึง พระวาจาที่ทรงตำหนิบรรดาสตรีใจศรัทธาที่มองหาพระศพของพระเยซู เจ้าในพระคูหาว่า “ทำไมท่านมองหาผู้เป็นในหมู่ผู้ตายเล่า” (ลก 24:5) ถ้าเราต้องการพบพระเยซูเจ้า และเข้าใจว่าพระองค์ทรงเป็นใคร เราต้องเดินทางไปกับพระองค์ตามทางแห่งปัสกา ซึ่งเป็นเส้นทางที่นำ พระองค์ ไ ปหาพระบิดา เมื่อพระองค์ ต รั ส ถึ ง ความตายของพระองค์ พระองค์ตรัสว่า “เรากำลังไปเฝ้าพระบิดา” (ยน 13:33, 14:2, 14:28, 16:5, 16:28) ถ้าผู้เป็นบิดามารดาทั้งหลายต้องการค้นพบแง่มุมอันลึกล้ำของ ปัสกา ในเหตุการณ์อันเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในชีวิตครอบครัวของเขาใน ปัจจุบัน เขาไม่จำเป็นต้อง “หลบหนี” จากความเป็นจริงของชีวิต อาจ เป็นไปได้ว่า วันนี้เช่นเดียวกับในยุคของพระนางมารีย์และโยเซฟ ความ เชื่อของผู้เป็นบิดามารดาในธรรมล้ำลึกปัสกา - ซึ่งหมายถึงความเชื่อว่า ชีวิตเกิดขึ้นจากความตาย - จะทำให้เขาเกิดความหวังขึ้นในใจว่า “เขา ไม่ได้สูญเสียบุตรของเขาไปตลอดกาล” วิกฤติการณ์ที่เรากำลังจมอยู่ใน ปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาอันเจ็บปวดของวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ แต่พระเจ้าข้า เรา คาดหมายว่าจะถึงช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์แห่ง “การพบกันอีกครั้งหนึ่ง” ในวันที่สาม โยเซฟ พร้อมกับพระนางมารีย์ พบพระองค์ในพระวิหาร ประทับอยู่ในหมู่อาจารย์ ทรงฟังและทรงไต่ถามพวกเขา ทุกคนที่ได้ ฟังพระองค์ตา่ งประหลาดใจในพระปรีชาทีท่ รงแสดงในการตอบคำถาม ผู้มีความเชื่อในศาสนายูดาย ถือว่าพระวิหารเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประทับของพระเจ้า
บทเทศน์ปี C
77
ข้อความนี้บรรยายภาพของพระเยซูเจ้าว่าเป็นเด็กที่โตเกินวัย ฉลาด และใฝ่รู้ และทรงมีความรู้เรื่องพระคัมภีร์ดีมาก พระองค์ทรงมี คุณสมบัติสองประการที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ คือ พระองค์ทรงรู้จักฟัง และพระองค์ทรงพร้อมจะเรียนรู้ ทรงรู้จักไต่ถาม เมื่ อ โยเซฟ พร้ อ มกั บ พระนางมารี ย์ เห็ น พระองค์ ก็ รู้ สึ ก แปลกใจ พระมารดาจึงตรัสถามพระองค์ว่า “ลูกเอ๋ย ทำไมจึงทำกับเราเช่นนี้ ดูซิ พ่อกับแม่ต้องกังวลใจตามหาลูก” ก่อนหน้านี้ เราเห็นว่าบิดามารดาของพระเยซูเจ้ายอมให้พระองค์ มีเสรีภาพในระดับหนึ่ง บัดนี้ เราเห็นว่าทั้งสองไม่ได้ละทิ้งความรับผิดชอบของตน ท่านทั้งสองไม่ยอมแพ้ และตามหาพระองค์นานสามวัน และบัดนี้ พวกท่านขอคำอธิบาย ด้วยคำพูดที่แสดงความรัก แต่ทว่า เด็ดขาด พระนางมารีย์ทรงเป็นผู้ตั้งคำถาม พระนางต้องทนทรมานใจ อย่างสาหัส เพราะความรักฉันมารดาของพระนาง ก่อนหน้านั้น ลูกา กล่าวถึงพระเยซูเจ้าว่าเป็น “พระกุมาร” (pais ในภาษากรีก) แต่บัดนี้ พระนางมารีย์เรียกพระองค์ว่า “ลูก” (teknon ในภาษากรีก) ซึ่งแสดง ให้เห็นความเจ็บปวดในหัวใจของมารดาคนหนึ่ง วั น ทา พระแม่ ม ารี ย์ ท่ า นผู้ ท รงเข้ า ใจความรู้ สึ ก ของมารดา ทั้งหลายที่ชอกช้ำใจเพราะบุตรของตน โปรดภาวนาเพื่อเราเทอญ พระองค์ตรัสตอบว่า “พ่อกับแม่ตามหาลูกทำไม พ่อแม่ไม่รู้หรือว่าลูก ต้องอยู่ในบ้านของพระบิดาของลูก” นี่คือข้อความแรกที่พระเยซูเจ้าตรัสในพระวรสาร เป็นครั้งแรกที่ เราได้ยินพระองค์ตรัสภายในระยะเวลา 30 ปี ซึ่งนับว่านาน พระเจ้า ไม่พูดเรื่องไร้สาระ
78
บทเทศน์ปี C
แต่ พ ระวาจาแรกของพระเยซู เ จ้ า มุ่ ง หมายจะเผยแก่ เ ราว่ า พระองค์ทรงตระหนักดีว่าพระองค์ทรงเป็นใคร เมื่อพระนางมารีย์เอ่ยถึง “พ่อ” ของพระองค์ พระนางหมายถึง “โยเซฟ” แต่เมื่อพระเยซูเจ้า ตรัสตอบ พระองค์หมายถึงใครบางคนที่พระองค์ทรงเรียกว่า “พระบิดา ของลูก” และพระองค์ทรงรู้สึกว่าพระองค์ “อยู่ในบ้าน” ภายในพระวิหาร อันสง่างามนี้ เมื่อพระองค์ทรงรับพิธีล้าง พระวาจาแรกของพระบิดาคือ “ท่านเป็นบุตรสุดที่รักของเรา” (ลก 3:22) ถูกแล้ว พระเยซูเจ้าทรงหันไปหาพระบิดาเสมอ การเผยแสดงนี้ นำพาเราเข้าสู่ธรรมล้ำลึกแห่งพระตรีเอกภาพ พระเยซูเจ้าทรงเคารพ พระบิดาตั้งแต่พระองค์ยังอยู่ในวัยเยาว์ และคงไม่ผิดถ้าเราจะนึกเห็น ภาพพระองค์ภาวนาด้วยความรักเป็นเวลานาน “ในบ้านของพระบิดา ของพระองค์” เมื่อทรงอายุเพียง 12 ปี พระวรสารบอกเราในเวลาต่อมา ว่าพระเยซูเจ้าทรงภาวนาตลอดทั้งคืน (ลก 6:12) และพระวาจาประโยค สุดท้ายของพระองค์คือ “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพเจ้ามอบจิตของข้าพเจ้าไว้ ในพระหัตถ์ของพระองค์” (ลก 23:46) เราเคยกล่าวถึงคำว่า “ต้อง” (dei ในภาษากรีก) คำที่เป็นภาษา พระคัมภีร์นี้บอกเราบ่อยครั้งว่าพระเยซูเจ้าทรงยึดมั่นในพระประสงค์ ของพระบิดาอย่างไร “บุตรแห่งมนุษย์จำเป็นต้องรับการทรมานอย่าง มาก” (ลก 17:25) “ถ้อยคำในพระคัมภีร์จะต้องเป็นความจริง” (ลก 22:37) “พระคริสตเจ้าจำเป็นต้องทนทรมานเช่นนี้เพื่อจะเข้าไปรับ พระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์” (ลก 24:26) “ทุกสิ่งที่เขียนไว้เกี่ยวกับเรา ... จะต้องเป็นความจริง” (ลก 24:44) นักบุญเปาโล กล่าวถึง “ความ เชื่อฟัง” ของพระเยซูเจ้า ซึ่งช่วยเราให้รอดพ้น (รม 5:19, ฮบ 10:5, ฟป 2:8) นี่คือหนึ่งในเคล็ดลับของบุคลิกภาพของพระเยซูเจ้า ส่วนเราเล่า เรายกให้พระเจ้าสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดในชีวิตของเรา หรือเปล่า “ข้าพเจ้าต้องอยู่ในบ้านของพระบิดาของข้าพเจ้า”
โยเซฟ พร้อมกับพระนางมารีย์ไม่เข้าใจที่พระองค์ตรัส
บทเทศน์ปี C
79
ทั้งสองตามหาพระองค์จนพบ แต่ยังต้องแสวงหาพระองค์ต่อไป เพราะไม่เข้าใจพระองค์ ทั้งสองเข้าใจเหตุการณ์อันน่าพิศวงเมื่อพระองค์ประสูติในเมือง เบธเลเฮมอย่างไร พระนางมารีย์จำได้ไม่ใช่หรือว่าเมื่อทูตสวรรค์แจ้งข่าว ต่อพระนาง เขาบอกว่า “เขาจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ และพระเจ้าสูงสุดจะทรง เรียกเขาเป็นบุตรของพระองค์” เมื่อเรายกให้ชีวิตของพระนางมารีย์เป็นแบบอย่าง เราต้องเข้าใจ ว่าพระนางมารีย์เองก็ต้องแสดงความเชื่อของพระนาง พระนางก็ไม่เคย เห็นพระเจ้า การตอบรับพระประสงค์ของพระเจ้าเมื่อทูตสวรรค์แจ้งข่าว จะสมบูรณ์เพียงเมื่อพระนางตอบรับพระประสงค์ของพระเจ้าในเวลานี้ ท่ามกลางคืนมืดแห่งความเชื่อ โดยปราศจากความเข้าใจ แม้จะได้รับการ เผยแสดงจากทูตสวรรค์ แต่การแสดงความเชื่อก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปที่เมืองนาซาเร็ธกับบิดามารดา และเชื่อฟัง ท่ า นทั้ ง สอง พระมารดาเก็ บ เรื่ อ งทั้ ง หมดเหล่ า นี้ ไ ว้ ใ นพระทั ย พระเยซูเจ้าทรงเจริญขึ้นทั้งในพระปรีชาญาณ พระชนมายุ และพระหรรษทานเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้า และต่อหน้ามนุษย์ “พระนางทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ในพระทัย” วันหนึ่ง หลังจากนั้น แสงสว่างจะฉายส่อง นี่คือความหวัง พระเยซู เ จ้ า ทรงดำเนิ น ชี วิ ต ครอบครั ว ปกติ อี ก 18 ปี ต่ อ มา ท่ามกลางความเงียบของพระเจ้า นี่แสดงให้เห็นคุณค่าของ “กิจวัตร ประจำวัน” ของชีวิต “ปกติ” และของชีวิต “ครอบครัว”
80
บทเทศน์ปี C
ส มโภชพระนางมารีย์ พระชนนีพระเป็นเจ้า ลก 2:16-21 เขาจึงรีบไปและพบพระนางมารีย์ โยเซฟ และพระกุมาร ซึ่ง บรรทมอยู่ในรางหญ้า เมื่อคนเลี้ยงแกะเห็น ก็เล่าเรื่องที่เขาได้ยินมา เกี่ยวกับพระกุมาร ทุกคนที่ได้ยินต่างประหลาดใจในเรื่องที่คนเลี้ยง แกะเล่าให้ฟัง ส่วนพระนางมารีย์ทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ใน พระทัย และยังทรงคำนึงถึงอยู่ คนเลี้ยงแกะกลับไปโดยถวายพระพร และสรรเสริญพระเจ้าในเรื่องต่างๆ ที่พวกเขาได้ยินและได้เห็น ตามที่ ทูตสวรรค์บอกไว้ เมื่อครบกำหนดแปดวัน ถึงเวลาที่พระกุมารจะต้องทรงเข้า สุหนัต เขาถวายพระนามพระองค์ว่าเยซู เป็นพระนามที่ทูตสวรรค์ ให้ไว้ก่อนที่พระองค์จะทรงปฏิสนธิในพระครรรภ์ของพระมารดา
บทเทศน์ปี C
81
บทรำพึงที่ 1
พระชนนีพระเป็นเจ้า มารดา และแบบอย่าง พระนางมารีย์ทรงเป็นมารดาของเรา และทรงเป็นแบบอย่าง สำหรับเราด้วย พระนางแสดงให้เราเห็นว่าเราควรวางใจในพระเจ้า อย่างไร พระสงฆ์องค์หนึ่งจัดการเข้าเงียบ เมื่อใกล้จะจบการเข้าเงียบ หญิงสาวคนหนึ่งยื่นจดหมายฉบับหนึ่งให้เขา เขาใส่จดหมายนั้นไว้ใน กระเป๋ าแล้วก็ลืมเสียสนิท หลังจากการเข้ า เงี ยบ เขาจึ ง พบจดหมาย ฉบับนั้น และเปิดออกอ่าน ข้อความในจดหมายนั้นบอกว่า “ระหว่างแปดเดือนที่ผ่านมานี้ ดิฉันได้เข้ารับการบำบัดจิต โดยที่ มีคนรู้อยู่ไม่กี่คน เมื่อดิฉันเป็นเด็ก ดิฉันเคยประสบกับความกลัวอย่าง สาหัสมาก่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเกลียดชังและการทำร้ายร่างกาย จุดประสงค์หลักของชีวิตดิฉันในเวลานี้ คือ เอาชนะและเปลี่ยนความกลัว นั้น คงไม่จำเป็นต้องเล่ารายละเอียด สาเหตุสำคัญของความกลัวของดิฉัน คือแม่ของดิฉัน มันทำให้ดิฉันเกลียดหญิงทั้งหลายที่เป็นแม่ จนดิฉัน จงใจปฏิเสธความรักของพระนางมารีย์ พระมารดาของพระเยซูเจ้า หลังจากได้ฟงั คุณพ่อพูด ดิฉนั ออกไปเดินข้างนอก และรูส้ กึ ว้าเหว่ ที่สุด ดิฉันวิงวอนขอพระหรรษทานที่จะช่วยให้ดิฉันทลายกำแพงที่กั้น ไม่ให้ดิฉันไว้ใจใคร ดิฉันอยากร้องไห้ แต่ก็ร้องไห้ไม่ได้มานานหลาย เดือนแล้ว คุณพ่อคงเห็นอาคารทรงกลมหลังเล็กที่ตั้งอยู่ใกล้สุสาน ความ
82
บทเทศน์ปี C
อยากรู้อยากเห็นเป็นนิสัยประจำตัวของดิฉัน ดิฉันเดินไปที่นั่น และเปิด ประตูเข้าไป เมื่อมองเข้าไปภายใน ดิฉันกลัวมาก มีรูปปั้นขนาดใหญ่ของ พระนางมารีย์ตั้งอยู่ที่นั่น สัญชาตญาณแรกบอกให้ดิฉันวิ่งหนีด้วยความ โกรธ แต่บางสิ่งบางอย่างดึงดูดดิฉันให้เดินช้าๆ ไปที่แท่นสำหรับคุกเข่า ที่ตั้งอยู่แทบเท้าพระนาง ดิฉันคุกเข่าลง และร้องไห้น้ำตาหยดลงบน ชายเสื้อของพระนาง หลังจากนั้น ดิฉันรู้สึกว่าตนเองสะอาดหมดจด และ กลายเป็นคนใหม่ ดิฉันรู้สึกอยากจะเป็นบุตรที่ไว้วางใจ ที่สำคัญกว่านั้น ดิฉันรู้สึกว่าความรักของมารดาคนหนึ่งได้สัมผัสดิฉัน ทำให้ดิฉันมีความ ปรารถนาอย่างแท้จริงที่จะให้อภัยแม่ของดิฉัน” เรื่ อ งอั น น่ า ประทั บ ใจนี้ เ หมาะสมกั บ วั น ฉลองพระนางมารี ย์ พระชนนีพระเป็นเจ้าในวันนี้ การฉลองนี้เน้นคุณสมบัติสองประการของ พระนางมารีย์ ประการแรก พระนางทรงเป็นมารดาของเรา พระนางไม่ได้เป็น เพียงพระมารดาของพระเยซูเจ้า ผู้มีชีวิตอยู่บนโลกนี้เมื่อ 2,000 ปีก่อน พระนางยังเป็นมารดาของเรา ผู้ยังมีชีวิตอยู่ในวันนี้ด้วย และพระนาง ต้องการให้ความช่วยเหลือฉันมารดาแก่เรา จากที่ประทับของพระนาง ในสวรรค์ ประการที่สอง พระนางมารีย์ทรงเป็นแบบฉบับของเรา พระนาง เป็นบุคคลที่เราสามารถชื่นชมและเลียนแบบได้ ขอให้ลองพิจารณา อุปนิสัยอย่างหนึ่งของพระนาง คือ ความวางใจของพระนางในพระเจ้า เมื่อทูตสวรรค์แจ้งต่อพระนางมารีย์ว่าพระนางจะตั้งครรภ์บุตร ชายคนหนึ่งด้วยอานุภาพของพระจิตเจ้า พระนางรู้ว่าเหตุการณ์นี้อาจ เป็นสาเหตุให้โยเซฟถอนหมั้นพระนาง และเขาก็เกือบจะทำเช่นนั้นจริง แต่พระนางก็ยังวางใจในพระเจ้า และเมื่อคนเลี้ยงแกะเล่าเรื่องที่ได้ยินจากทูตสวรรค์ พระนาง มารียไ์ ม่เข้าใจเรือ่ งทีพ่ วกเขาพูด แต่พระนางก็วางใจในพระเจ้าอีกครัง้ หนึง่
บทเทศน์ปี C
83
ต่อมา เมื่อพระนางมารีย์ และโยเซฟ นำพระกุมารมาถวายที่ พระวิหาร สิเมโอนบอกพระนางมารียว์ า่ “ดาบจะแทงทะลุจติ ใจของท่าน” (ลก 2:35) นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พระนางมารีย์ไม่เข้าใจ แต่พระนางก็วางใจ ในพระเจ้า หลั ง จากนั้ น เมื่ อ พระเยซู เ จ้ า อายุ ไ ด้ 12 ปี พระองค์ ไ ม่ ต าม บิดามารดากลับไปบ้าน แต่รั้งรออยู่ในพระวิหาร เมื่อพระนางมารีย์ถาม เรื่องนี้ พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “พ่อแม่ไม่รู้หรือว่าลูกต้องอยู่ในบ้านของ พระบิดาของลูก” พระนางมารีย์ไม่เข้าใจอีกเช่นกัน แต่พระนางก็วางใจ ในพระเจ้า ดังนั้น ในวันนี้พระนางมารีย์จึงสามารถช่วยเราให้รู้จักไว้วางใจ ในพระเจ้า ขอให้เรานึกถึงเรื่องของหญิงสาวที่มาเข้าเงียบนั้น เธอเคยผ่าน ประสบการณ์ที่น่ากลัวในวัยเด็ก ซึ่งทำลายความสามารถของเธอที่จะ วางใจผู้อื่น เธออยากจะกลับมาไว้วางใจได้อีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ทำไม่ได้ แล้ ว วั น หนึ่ ง โดยเหตุ บั ง เอิ ญ เธอพบตนเองอยู่ แ ทบเท้ า ของ พระนางมารีย์ และตัดสินใจวิงวอนขอความช่วยเหลือจากพระนาง เธอ พูดว่า “ดิฉันวิงวอนขอพระหรรษทานที่จะช่วยให้ดิฉันทลายกำแพงที่กั้น ไม่ให้ดิฉันไว้ใจใคร” พระนางมารีย์ทรงรับฟังคำวิงวอนของเธอ และ หญิงสาวผู้นี้ก็สามารถไว้ใจผู้อื่นได้อีกครั้งหนึ่ง พระนางมารีย์สามารถช่วยเราให้ไว้วางใจได้เหมือนกับที่พระนาง ช่วยเหลือหญิงสาวที่มาเข้าเงียบนั้น เช่น เราอาจเป็นบิดา หรือมารดาที่ กำลั ง ห่ ว งใยบุ ต รชาย หรื อ บุ ต รสาวคนหนึ่ ง บางที บุ ต รของเราอาจ เลิกไปวัด หรือกำลังมีความสัมพันธ์ที่อันตราย และดูเหมือนว่าการภาวนา การแสดงแบบอย่างที่ดี หรือการอธิบายด้วยเหตุผลก็ช่วยอะไรไม่ได้ สิ่งเดียวที่เหลืออยู่คือภาวนา และวางใจ และพระนางมารีย์จะช่วย เราให้ทำเช่นนี้ได้ หรือเราอาจเป็นคนหนุ่มสาวที่กำลังกังวลกับชีวิตในอนาคต เรา
84
บทเทศน์ปี C
ไม่แน่ใจว่าเราต้องการทำอะไร เราไม่แน่ใจว่าพระเจ้าต้องการให้เรา ทำอะไร เราได้พูดคุยกับบิดามารดา และที่ปรึกษาแล้ว เราถึงกับภาวนา ขอคำแนะนำ แต่เราก็ยังมืดแปดด้าน สิ่งเดียวที่เหลืออยู่คือภาวนา และวางใจ และพระนางมารีย์จะช่วย เราให้ทำเช่นนี้ได้ หรือเราอาจกำลังกังวลเรื่องความเชื่อของเรา เรารู้ว่าความเชื่อ ของเราไม่มั่นคง และเรากังวลเรื่องนี้ เราได้ภาวนาขอความช่วยเหลือ จากพระเจ้ า แล้ ว แต่ ดู เ หมื อ นว่ า พระองค์ ไ ม่ ไ ด้ ยิ น คำภาวนาของเรา เราถึงกับเริ่มสงสัยว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ สิ่งเดียวที่เหลืออยู่คือภาวนา และวางใจ และพระนางมารีย์จะช่วย เราให้ทำเช่นนี้ได้ ดังนั้น การฉลองวันนี้จึงเตือนใจเราถึงบางสิ่งบางอย่างที่เราอาจ ลืมไป คือ เตือนเราว่าพระนางมารีย์ทรงเป็นแบบอย่างและเป็นมารดา ของเรา พระนางเป็นผู้ที่เราขอความช่วยเหลือได้ในยามคับขัน พระนาง สามารถช่วยเราได้ และพระนางต้องการช่วยเรา สิ่งเดียวที่เราต้องทำคือ หันไปพึ่งพระนาง ถ้าเรากำลังคิดว่า เราควรกำหนดข้อตั้งใจว่าจะทำอะไรในปีใหม่นี้ คงไม่มีอะไรดีกว่าการแสดงความตั้งใจให้พระนางมารีย์มีบทบาทให้มาก ขึ้นในชีวิตของเรา เราจะสรุปด้วยบทภาวนาที่นักบุญเบอร์นาร์ด เคยภาวนาทุกวัน ต่อพระนางมารีย์ “โปรดระลึกเถิด โอ้พรหมจารีมารีย์ ผู้โอบอ้อมอารี แต่ไหนแต่ไรมา ยังไม่เคยได้ยินเลยว่า ผู้ที่มาพึ่งท่าน มาขอความช่วยเหลือคุ้มครองจากท่าน ถูกท่านทอดทิ้ง ข้าพเจ้าวางใจดังนี้ จึงวิ่งมาหาท่าน
พรหมจารีแห่งพรหมจารีทั้งหลาย ข้าพเจ้าคนบาป คร่ำครวญเฉพาะพักตร์ของท่าน พระมารดาแห่งพระวจนาตถ์ โปรดอย่าเมินเฉยต่อคำวิงวอนของข้าพเจ้า แต่โปรดสดับฟัง และโปรดด้วยเถิด อาแมน.
บทเทศน์ปี C
85
86
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 2
พระชนนีพระเป็นเจ้า ยังแสวงหา พระนางมารีย์เคยทำอะไร เราก็ควรทำอย่างนั้น คือยอมให้พระเยซูเจ้าบังเกิดมาในโลกของเรา ผ่านทางตัวเรา เมื่อหลายปีก่อน มีละครเพลงบรอดเวย์ซึ่งเป็นที่นิยมมากเรื่อง “สตรีแห่งปี” เป็นเรื่องของพิธีกรรายการทอล์กโชว์ทางทีวีคนหนึ่งชื่อ เทส ฮาร์ดิง ในละครนี้ เทสเป็นที่อิจฉาของสตรีชาวอเมริกันทุกคน เธอรู้จัก คนดังทุกคนในยุคนั้น ตั้งแต่ประธานาธิบดีสหรัฐไปจนถึงดารานักร้อง เพลงร็อก ที่สามารถเรียกแฟนเพลงมาฟังเต็มสนามกีฬาได้ เทสจะสัมภาษณ์ และพูดคุยกับคนดังเหล่านี้ในรายการของเธอ เหมือนกับเราพูดคุยกับเพื่อน อาชีพของเทสรุ่งเรืองที่สุดเมื่อเธอได้รับ เลือกให้เป็น “สตรีแห่งปี (Woman of the Year)” ในฉากหนึ่งของ ละคร เทสทิ้งจดหมายไว้ให้เลขานุการของเธอ บอกว่าเธอออกจากสำนั กงานเพื่อไปสัมภาษณ์ผู้นำลัทธิหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมมาก เธอปิดท้าย จดหมายด้วยอารมณ์ขันว่าถ้าเธอไม่กลับมาภายในสามวัน เลขานุการ ของเธอควรไปตามหาเธอทีส่ นามบินที่ ซึง่ เขาจะพบเธอกำลังแจกเอกสาร ประชาสัมพันธ์ศาสนา ละครเวทีบรอดเวย์เรื่องนี้ และฉากขำขันนี้ เป็นคำนำที่เหมาะสม สำหรับการฉลองในวันนี้ วันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่เราถวายเกียรติใน วันนี้ไม่ใช่ “สตรีแห่งปี” หรือ “สตรีแห่งศตวรรษ” แต่เป็น “สตรีแห่ง ประวัติศาสตร์”
บทเทศน์ปี C
87
เราจะพบเหตุผลที่เรายกย่องพระนางมารีย์ให้เป็น “สตรีแห่ง ประวัติศาสตร์” ได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อนในเมืองเล็กๆ ทางใต้แห่งหนึ่ง พระสงฆ์คาทอลิก และนักเทศน์นิกายโปรเตสแตนท์ ประจำเมืองนั้นคิดว่าถ้าจะตั้งฉากเหตุการณ์ประสูติของพระเยซูที่จัตุรัส กลางเมืองได้ก็คงจะดี ดังนัน้ ทัง้ สองจึงจัดทำรายชือ่ นักธุรกิจทีแ่ ต่ละคนจะขอบริจาคเงิน เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการนี้ นักธุรกิจคนหนึ่งในรายชื่อของ พระสงฆ์ เ ป็ น บรรณาธิ ก ารหนั ง สื อ พิ ม พ์ ร ายสั ป ดาห์ ข องเมื อ งนี้ เมื่ อ พระสงฆ์ไปพบบรรณาธิการผู้นี้ และบอกเขาว่า “ลูกหลานของเราคงได้ รับแรงบันดาลใจทีเ่ ห็นเราให้เกียรติพระเยซูเจ้า พระนางมารีย์ และโยเซฟ ที่จัตุรัสกลางเมืองของเรา” บรรณาธิการกล่าวว่า “ผมเห็นด้วย แต่ขอให้ตัดพระนางมารีย์ ออกไปจากฉากนี้ เพราะการให้ความสำคัญกับพระนางมากเช่นนี้ที่จัตุรัส ใจกลางเมืองอาจทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าเรากำลังเข้าข้างนิกายคาทอลิก” พระสงฆ์ตอบว่า “ผมยินดีจะตัดพระนางมารีย์ออกไปจากฉากนี้ ถ้าคุณจะอธิบายให้ลูกหลานของเราเข้าใจได้ว่าพระเยซูเจ้าเกิดมาได้ อย่างไรโดยปราศจากพระนาง” พระนางมารีย์สมควรได้รับตำแหน่ง “สตรีแห่งประวัติศาสตร์” เพราะพระนางทรงให้กำเนิดพระเยซูเจ้า เรายกย่องพระนางเช่นนี้เพราะ พระนางเป็นพระมารดาของพระเยซูเจ้า เราให้เกียรติพระนางมารีย์ เพราะถ้าปราศจากพระนาง พระเยซูเจ้าย่อมไม่สามารถมาบังเกิดในโลก ของเราได้ พระนางทรงเป็นพระมารดาของพระองค์ พระนางทรงเป็น พระมารดาของพระบุตรนิรันดรของพระเจ้า ยังมีเหตุผลข้อที่สองที่ทำให้ละครเวทีบรอดเวย์ เรื่องสตรีแห่งปี เป็นเรื่องที่เกริ่นนำที่เหมาะสมสำหรับวันฉลองในวันนี้ ในบทละครเรื่องนี้ เทส ฮาร์ดิง บอกเลขานุการของเธอว่าถ้าเธอ
88
บทเทศน์ปี C
ไม่กลับมาจากการสัมภาษณ์ภายในสามวันเขาจะพบว่าเธอกำลังแจก เอกสารประชาสัมพันธ์ศาสนาอยู่ที่สนามบิน ที่เป็นคำยอมรับกลายๆ ว่า แม้เธอจะประสบความสำเร็จ แต่เธอยังไม่พบกับความอิ่ม แม้ ว่ า เทสได้ รั บ การประกาศให้ เ ป็ น “สตรี แ ห่ ง ปี ” แต่ เ ธอยั ง แสวงหาบางสิ่ ง บางอย่ า งที่ จ ะช่ ว ยให้ ชี วิ ต ของเธอมี ค วามหมายที่ ลึ ก มากขึ้น เธอยังแสวงหาบางสิ่งบางอย่างนอกจากชื่อเสียงทางโลก และ ทรัพย์สินเงินทอง เธอเหมือนกับ เจอรี่ แครเมอร์ ผู้ได้รับเลือกให้อยู่ในทีมฟุตบอล มืออาชีพถึงสีค่ รัง้ แม้วา่ เขาได้รบั เกียรติมากเช่นนี้ เขาก็ยงั เขียนในหนังสือ ของเขาชื่อ Instant Replay ว่า “ผมสงสัยบ่อยๆ ว่าจุดประสงค์ของ การที่ผมอยู่ในโลกนี้คืออะไร นอกเหนือจากการเล่นเกมโง่ๆ ที่ผมเล่นอยู่ ทุกวันอาทิตย์” เราทุกคนมีอะไรบางอย่างที่คล้ายกับตัวละครชื่อเทส ฮาร์ดิง และ บุคคลที่มีตัวตนจริงๆ อย่างเจอรี่ เครเมอร์ เราเองก็กำลังมองหาอะไรอื่น ที่มากกว่าเกียรติยศที่ไม่จีรังที่เป็นผลพลอยได้จากชื่อเสียงและเงินทอง เราเองกำลังแสวงหาบางสิ่งที่จะทำให้ชีวิตของเรามีความหมายที่ลึกซึ้ง มากขึ้น ชีวิตของพระนางมารีย์มีความหมายลึกซึ้งมากขึ้น เมื่อพระนาง ตกลงยิ น ยอมให้ พ ระเยซู เ จ้ า มาบั ง เกิ ด ในตั ว พระนาง พระนางตอบ ทูตสวรรค์กาเบรียลว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า ขอให้เป็นไปกับ ข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” (ลก 1:38) ถ้อยคำของพระนางมารีย์คือกุญแจที่เปิดเผยความหมายที่ลึก ยิ่งกว่าที่เราทุกคนกำลังแสวงหา ชีวิตของเราจะมีความหมายที่ลึกยิ่งกว่า เพียงเมื่อเราทำอย่างที่พระนางมารีย์ทรงกระทำ คือยินยอมให้พระเยซูเจ้ามาบังเกิดในตัวเรา เมื่ อ เราหั น ทิ ศ ทางชี วิ ต ของเราไปหาพระเจ้ า และยิ น ยอมให้
บทเทศน์ปี C
89
พระเยซูเจ้าบังเกิดในตัวเราเท่านั้น ชีวิตของเราจึงจะมีความหมายที่ลึก ยิ่งขึ้น วันใดที่เราพูดกับพระเจ้าอย่างที่พระนางมารีย์ตรัสว่า “ข้าพเจ้า เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า” วันนั้น เราจะพบความหมายที่ลึกยิ่งกว่าที่เรา กำลังแสวงหา ถ้ า เรากำลั ง อยากรู้ ว่ า จะกำหนดข้ อ ตั้ ง ใจอะไรสำหรั บ ปี ใ หม่ นี้ เราจะไม่ พ บสิ่ ง ใดที่ ดี ก ว่ า การตั้ ง ใจว่ า จะเลี ย นแบบพระนางมารี ย์ พระชนนีพระเป็นเจ้า เพราะชีวิตของเราจะมีความหมายที่ลึกยิ่งขึ้นเพียง เมื่อเราทำอย่างที่พระนางเคยทำ และยอมให้พระเยซูเจ้าบังเกิดในตัว ของเรา ถ้าเราทำเช่นนั้น วันหนึ่ง เราจะสามารถภาวนาได้เหมือนกับที่ พระนางเคยภาวนาว่า : จิตใจข้าพเจ้าชื่นชมยินดีในพระเจ้า ... ตั้งแต่นี้ไปชนทุกสมัยจะกล่าวว่าข้าพเจ้าเป็นสุข พระผู้ทรงสรรพานุภาพทรงกระทำกิจการยิ่งใหญ่สำหรับข้าพเจ้า พระนามของพระองค์ศักดิ์สิทธิ์ ... พระองค์ทรงคว่ำผู้ทรงอำนาจจากบัลลังก์ และทรงยกย่องผู้ต่ำต้อยให้สูงขึ้น พระองค์ประทานสิ่งดีทั้งหลายแก่ผู้อดอยาก ทรงส่งเศรษฐีให้กลับไปมือเปล่า (ลก 1:46-53)
90
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 3
อัฐมวารพระคริสตสมภพ – สมโภชพระนางมารีย์ พระชนนีพระเป็นเจ้า บทอ่านที่ 1 - กันดารวิถี 6:22-27 พระยาเวห์ตรัสสั่งโมเสสให้บอกอาโรมและบรรดาบุตรว่า “ท่าน ทั้ ง หลายจะต้ อ งอวยพรชาวอิ ส ราเอลดั ง นี้ ท่ า นจะต้ อ งกล่ า วว่ า ขอ พระยาห์เวห์ทรงอวยพรท่าน และพิทักษ์รักษาท่าน ขอพระยาห์เวห์ทรง สำแดงพระพักตร์แจ่มใสต่อท่าน และโปรดปรานท่าน ขอพระยาห์เวห์ ทรงผินพระพักตร์มายังท่าน และประทานสันติแก่ท่านด้วยเทอญ สมณะ จะต้องเรียกขานนามของเราให้ลงมาเหนือชาวอิสราเอลเช่นนี้ แล้วเราจะ อวยพรเขาทั้งหลาย” คำอธิบาย หลังจากการอพยพออกจากแผ่นดินอียิปต์ และหลังจาก พระเจ้าทรงกระทำพันธสัญญาบนภูเขาซีนาย กับประชากรเลือกสรรแล้ว พระเจ้าทรงสั่งให้โมเสสแยกชนเผ่าเลวีออกจากชนเผ่าอื่น ให้ชนเผ่าเลวี ทำหน้าที่ถวายเครื่องบูชาและประกอบพิธีกรรมในนามของ และเพื่อ ชนเผ่าอื่นๆ ผู้สืบเชื้อสายโดยตรงจากอาโรน ซึ่งเป็นผู้นำของชนเผ่าเลวี จะเป็นสมณะที่เป็นผู้ทำหน้าที่ถวายเครื่องบูชาและประกอบพิธีกรรม อื่นๆ ส่วนชาวเลวีอื่นๆ ที่เป็นชายจะมีหน้าที่ช่วยเหลือสมณะ พิธีกรรม อย่างหนึ่งของสมณะคือต้องอวยพรประชาชนหลังจากถวายเครื่องบูชา แล้ว และในโอกาสพิเศษอื่นๆ การอวยพรนี้เป็นรางวัลที่ประชาชนปฏิบัติ ตามพันธสัญญา และเป็นประกันว่าพระพรที่ทุกชนชาติจะได้รับผ่านทาง อับราฮัมจะกลายเป็นจริงในวันหนึ่งข้างหน้า
บทเทศน์ปี C
91
คำอวยพรที่พระเจ้าทรงบอกกับโมเสสนี้ บันทึกไว้ในหนังสือ กันดารวิถี ที่นำมาอ่านในพิธีมิสซาวันนี้ พระยาห์เวห์ทรงอวยพรท่านและพิทักษ์รักษาท่าน – การ อวยพรของพระเจ้าหมายถึงสันติสุข และความเจริญรุ่งเรืองบนโลกนี้ และเป็นการรื้อฟื้นความหวังว่าเราจะได้รับพระพรยิ่งใหญ่ในอนาคต ทรงสำแดงพระพักตร์แจ่มใสต่อท่าน – หมายความว่า ขอให้ พระเจ้าทรงเป็นมิตรกับท่าน และโปรดปรานท่าน – ขอให้พระองค์ประทานพระคุณต่างๆ แก่ท่าน ทรงผินพระพักตร์มายังท่าน และประทานสันติแก่ท่าน – ขอให้ ท่านเป็นผู้ที่พระองค์โปรดปรานต่อไป และขอให้พระองค์คุ้มครองท่าน ให้ปลอดภัยจากศัตรูทั้งปวง เพื่อท่านจะดำรงชีวิตท่ามกลางสันติสุข เราจะอวยพรเขา – ข้อความนี้ไม่ได้เป็นเพียงการแสดงความ ปรารถนาของสมณะในนามของประชาชน แต่ พ ระเจ้ า ทรงสั ญ ญาว่ า พระองค์จะประทานให้เมื่อเขาวิงวอนขอพระองค์ตามที่พระองค์ทรงสั่ง คำสั่งสอน ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระเจ้าทรงกระทำต่อประชากรเลือกสรร แห่งพันธสัญญาเดิม การเรียกอับราฮัม การอพยพ พิธีกรรม และ การอวยพรแบบพิเศษนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการของพระเจ้าเพื่อ เตรียมทางสำหรับกิจการอันเป็นพระพรยิ่งใหญ่ที่สุดของพระองค์ที่จะ เกิดขึ้น คือ การเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระคริสตเจ้า พระบุตร ของพระเจ้าจะเสด็จมารับธรรมชาติมนุษย์เพื่อให้เราเป็นหนึ่งเดียวกัน กับพระเจ้า คำสัญญาทั้งปวงของพระเจ้า การดูแลเอาใจใส่ฉันบิดาของ พระเจ้าต่อประชากรเลือกสรร และพระพรต่างๆ ที่พระองค์ประทานแ ก่มนุษย์ตลอดหลายศตวรรษต่อมา ได้กลายเป็นความจริง และบรรลุถึง จุดสูงสุดเมื่อพระคริสตเจ้าเสด็จมาบนโลกมนุษย์
92
บทเทศน์ปี C
และมนุษย์คนเดียวที่ได้รับพระพรต่างๆ ตามคำสัญญาอย่าง สมบูรณ์ก็คือพระนางพรหมจารีมารีย์ เมื่อพระนางตรัสว่า “ขอให้เป็นไป กับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” เพราะในเวลานั้นเอง พระนางก็ทรง ปฏิสนธิพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้าในครรภ์ของพระนาง คำพูด ของทูตสวรรค์กาเบรียลเมื่อมาแจ้งข่าว เป็นหลักฐานยืนยันความจริง ข้อนี้ ทูตสวรรค์ทกั ทายพระนางว่าพระนางเป็น “ผูท้ พ่ี ระเจ้าโปรดปราน” กล่าวคือพระนางเป็นมิตรกับพระเจ้าอย่างแท้จริง พระองค์โปรดปราน พระนาง “ทรงผินพระพักตร์มายังพระนาง” พระองค์ประทับอยู่กับ พระนางเหมือนเป็นเพื่อนสนิท “พระเจ้าสถิตอยู่กับท่าน” และเสริม อีกด้วยว่า “ท่านผู้มีบุญกว่าหญิงใดๆ” เพื่อแสดงว่าไม่เคยมีหญิง (หรือ ชาย) คนใดเคยได้รับพระพรอย่างสมบูรณ์เช่นนี้จากพระเจ้าจนกระทั่ง บัดนี้ พระยศที่พระศาสนจักรถวายแด่พระนาง และเป็นพระยศที่ได้รับ การรับรองจากสภาสังคายนาที่เอเฟซัส (431) ว่า “พระชนนีพระเป็นเจ้า” แสดงความจริงทั้งหมดนี้ พระนางทรงกลายเป็นพระมารดาของพระคริ ส ตเจ้ า ผู้ ท รงเป็ น พระเมสสิ ย าห์ และพระบุ ต รของพระเจ้ า นี่ คื อ เกียรติยศ และศักดิ์ศรีที่ไม่มีมนุษย์คนใดคิดว่าเป็นไปได้ แต่ไม่มีสิ่งใดที่ พระเจ้าจะทรงกระทำไม่ได้ ดังที่พระนางเองได้กล่าวไว้ในบทเพลงสรรเสริญของพระนางว่า “พระผู้ทรงสรรพานุภาพทรงกระทำกิจการยิ่งใหญ่สำหรับข้าพเจ้า” และ เราไม่ควรลืมว่าเมื่อพระองค์ประทานเกียรติแก่พระนางมารีย์ ผู้ทรงเป็น มนุษย์คนหนึ่งเหมือนเรา พระองค์ก็ประทานเกียรติแก่เราทุกคนด้วย อาศัยกิจการแห่งความรัก และการถ่อมพระองค์ลงมาของพระเจ้า ซึ่ง ทำให้พระคริสตเจ้าทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ได้ มนุษยชาติทั้งมวลที่มี พระนางมารีย์เป็นแบบอย่างอันสมบูรณ์ที่สุด ก็ได้รับการยกย่องขึ้นสู่ สถานภาพใหม่ เป็นสภาพเหนือธรรมชาติ กล่าวคือ เราได้กลายเป็น
บทเทศน์ปี C
93
บุตรของพระเจ้า เป็นน้องของพระคริสตเจ้า และเป็นทายาทแห่งสวรรค์ วันนี้ ขอให้เราขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับพระหรรษทานทั้งปวง ที่พระองค์ประทานแก่พระนางมารีย์ ซึ่งเราทุกคนได้รับประโยชน์จาก พระหรรษทานเหล่านี้ด้วย เมื่อพระนางทรงเป็นพระมารดาของพระคริสตเจ้า พระนางก็เป็นมารดาของเราเช่นกัน พระนางจะไม่ลืมเรา พระนางทรงสนใจในสวัสดิภาพแท้ของเรามากกว่ามารดามนุษย์ใดๆ จะ สนใจได้ และพระนางจะทรงช่วยเราระหว่างการเดินทางไปสู่สวรรค์ ถ้า เรามอบตนเองให้พระนางทรงดูแลอย่างมารดา บทอ่านที่สอง - กาลาเทีย 4:4-7 เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ พระเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์ให้ มาบังเกิดจากหญิงผู้หนึ่ง เกิดมาอยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อทรงไถ่ผู้ที่อยู่ ใต้ธรรมบัญญัติ และทำให้เราได้เป็นบุตรบุญธรรม ข้อพิสูจน์ว่าท่าน ทัง้ หลายเป็นบุตรก็คอื พระเจ้าทรงส่งพระจิตของพระบุตรลงมาในดวงใจ ของเรา พระจิตผู้ตรัสด้วยเสียงอันดังว่า “อับบา พ่อจ๋า” ดังนั้น ท่านจึง ไม่เป็นทาสอีกต่อไป แต่เป็นบุตร ถ้าเป็นบุตรก็ย่อมเป็นทายาทตาม พระประสงค์ของพระเจ้า คำอธิบาย – ชาวกาลาเทีย ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในเอเชียน้อย (ส่วนหนึ่ง ของประเทศตุรกีในปัจจุบัน) ได้กลับใจหลังจากฟังคำเทศน์สอนของ นักบุญเปาโล ระหว่างการเดินทางธรรมทูตครั้งที่สองของเปาโล (50-55) ชาวกาลาเที ย ยอมรั บ ความเชื่ อ ของคริ ส ตศาสนาอย่ า งเต็ ม ใจ และ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งมีผู้นิยมลัทธิยิวบางคนเข้ามาก่อ ความวุ่นวายโดยบอกชาวเมืองว่า คำสั่งสอนของเปาโลเป็นคำสอนที่ผิด และธรรมบัญญัติเดิมยังมีผลบังคับอยู่ และคริสตชนต้องยอมรับด้วย เปาโลต่อต้านความคิดนอกรีตนี้โดยเขียนจดหมายจากเมืองเอเฟซัส
94
บทเทศน์ปี C
และอธิ บ ายว่ า การเสด็ จ มาของพระคริ ส ตเจ้ า ทำให้ ธ รรมบั ญ ญั ติ เ ดิ ม สำเร็จไป และไม่มีผลบังคับอีกต่อไป เงามืดถูกขับไล่ให้พ้นไปจากความ เป็นจริงแล้ว คริสตชนเป็นอิสระจากการเป็นทาสของธรรมบัญญัติเดิม เพราะบัดนี้ พวกเขาได้กลายเป็นบุตรของพระเจ้าแล้ว เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ – ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์บน โลกนี้ โดยเฉพาะช่วงเวลาของพันธสัญญาเดิม เป็นช่วงเวลาของคำสัญญา และการเตรียมการ เวลาที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ตั้งแต่นิรันดรกาล เพื่อ ทำให้คำสัญญาเหล่านี้เป็นจริง มาถึงเมื่อ... พระเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์ – นับตัง้ แต่วนั ที่พระคริสต์ ผู้ทรงกลับคืนชีพปรากฏพระองค์แก่เปาโล ตามทางสู่เมืองดามัสกัส (กจ 9:1-19) เปาโลมั่นใจเต็มเปี่ยมว่าพระคริสตเจ้าผู้ทรงดำรงชีพใน ปาเลสไตน์ และสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ทรงเป็นพระบุตรแท้ของ พระเจ้า และยังเป็นพระเมสสิยาห์ที่พระเจ้าทรงสัญญาจะส่งมาด้วย ให้มาบังเกิดจากหญิงผู้หนึ่ง – เปาโลไม่ได้เอ่ยชื่อพระนางมารีย์ เขาไม่สนใจจะกล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่รู้กันแล้วใน กลุ่มคริสตชนใหม่ สิ่งที่เขาเน้นย้ำคือความเป็นจริงของธรรมชาติมนุษย์ ของพระคริสตเจ้า เขาได้กล่าวถึงพระเทวภาพของพระองค์แล้ว และ โดยเฉพาะเขากำลั ง เน้ น ย้ ำ ถึ ง การถ่ อ มพระองค์ ล งมาของพระบุ ต ร พระเจ้า ผู้ทรงยอมมาบังเกิดจากหญิงผู้หนึ่งเหมือนเด็กธรรมดาทั่วไป เกิดมาอยู่ใต้ธรรมบัญญัติ – นี่ก็เป็นความอัปยศอีกประการหนึ่ง พระองค์ทรงเป็นผู้ตั้งธรรมบัญญัติ แต่เพื่อให้เป็นไปตามคำทำนายใน พันธสัญญาเดิม พระองค์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์จากเชื้อสายคนหนึ่ง ของอับราฮัม และกลายเป็นหนึ่งในชนชาติที่ได้รับเลือกสรร เพื่ อทรงไถ่ผู้ที่อยู่ใต้ธรรมบัญ ญั ติ – เนื่องจากคำสัญญานั้น กระทำต่อ “ผู้ที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ” คือประชากรเลือกสรร ดังนั้น พระวรสารแห่งการไถ่กู้จึงถูกเสนอให้คนเหล่านี้ก่อน
บทเทศน์ปี C
95
ทำให้เราได้เป็นบุตรบุญธรรม – ผลลัพธ์จากการเสด็จมาของ พระคริสตเจ้า คือ มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าเป็นชาวยิว หรือคนต่างศาสนา สามารถกลายเป็ น บุ ต รบุ ญ ธรรมของพระเจ้ า ทุ ก คนที่ ย อมรั บ พระคริสตเจ้าจะได้รับการยกชูขึ้นสู่สถานภาพใหม่ ชีวิตเหนือธรรมชาติใหม่ เมื่อเขารับศีลล้างบาป อับบา (พ่อจ๋า) – เมื่อเราเป็นบุตรบุญธรรม เราจึงสามารถเรียก พระเจ้าว่าพระบิดาได้อย่างเต็มปาก เหมือนกับที่พระคริสตเจ้าทรงสอน ศิษย์ของพระองค์ให้เรียกพระเจ้าเช่นนั้น พระจิตของพระบุตร หรือ พระจิตเจ้าที่เราได้รับเมื่อรับศีลล้างบาป ทำให้เราได้รับเอกสิทธิ์นี้ ดังนั้น ท่านจึงไม่เป็นทาสอีกต่อไป แต่เป็นบุตร ถ้าเป็นบุตรก็ ย่อมเป็นทายาทตามพระประสงค์ของพระเจ้า – เอกสิทธิ์อันเป็นผล ตามมาจากการเป็นบุตรนี้ ทำให้เรากลายเป็นทายาทที่สมควรได้รับความ สุขของพระองค์ คือความสุขสวรรค์ – ในฐานะมนุษย์ เราไม่มีวันไขว่คว้า เอกสิทธิ์เช่นนั้นมาได้ด้วยตัวเราเอง แต่การเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ ของพระคริสตเจ้าทำให้เราได้รับเอกสิทธิ์นั้น และนี่คือกิจการอันเกิดจาก ความรักแท้ของพระเจ้า คำสั่ ง สอน – ชาวกาลาเทียเป็นคนต่างศาสนาที่เปาโลเทศน์สอนให้ กลับใจเป็นคริสตชนได้ไม่นาน ชาวกาลาเทียกำลังถูกก่อกวนความเชื่อ โดยกลุ่มผู้นิยมลัทธิยิว ซึ่งหมายถึงชาวยิวที่แสร้งทำตัวเป็นคริสตชน แต่ ไม่ได้เป็นจริง ชาวยิวเหล่านี้บอก คริสตชนใหม่ว่าศาสนาคริสต์ไม่ใช่ ศาสนาใหม่ แต่เป็นเพียงอีกรูปแบบหนึ่งของศาสนายิว ดังนั้น คริสตชน ใหม่เหล่านี้จึงต้องเข้าสุหนัตและยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ ของ ธรรมบัญญัติเดิม ในจดหมายของเปาโล เขาตอบโต้ความเท็จนี้อย่าง รุ น แรง เขาบอกว่ า ศาสนาคริ ส ต์ ไ ม่ ใ ช่ ศ าสนายิ ว ปฏิ รู ป แต่ ม าแทนที่ ศาสนายิว ศาสนายิวเป็นเพียงการเตรียมตัว ส่วนศาสนาคริสต์คือความ
96
บทเทศน์ปี C
สำเร็จสมบูรณ์ตามสัญญา ธรรมบัญญัติเดิมเป็นเพียงเงาของสิ่งที่จะมา ถึง ศาสนาคริสต์คือความเป็นจริง “เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้” ช่วงเวลาของการเตรียมการและคำ สัญญาจึงสิ้นสุดลง มนุษย์ไม่เป็นทาสของธรรมบัญญัติ หรือเป็นทาสของ ศาสนาที่นับถือเทพเจ้าต่างๆ และประเพณีเดิมของตน บัดนี้ พวกเขาเป็น อิสรชน และเป็นมนุษย์ใหม่ เป็นบุตรของพระเจ้า บัดนี้ เขาสามารถ เรียกพระเจ้าว่า “อับบา พ่อจ๋า” ได้อย่างแท้จริง เพราะ “พระเจ้าทรงส่ง พระบุตรของพระองค์ให้มาบังเกิดจากหญิงผู้หนึ่ง” พระบุตรเสด็จมารับ ธรรมชาติมนุษย์แล้ว มนุษย์จึงไม่ได้เป็นเพียงมนุษย์เท่านั้นอีกต่อไป แต่ ได้รับชีวิตใหม่จากศีลล้างบาป บัดนี้ พวกเขาได้มีส่วนร่วมในชีวิตพระเจ้า เพราะพระคริสตเจ้าทรงมาร่วมรับชีวิตมนุษย์กับเขา เราคริสตชนทุกวันนี้เข้าใจเอกสิทธิ์ที่เราได้รับจากการเสด็จมา บังเกิดเป็นมนุษย์ของพระคริสตเจ้าหรือไม่ เราตระหนักอย่างแท้จริง หรือไม่ ว่าศาสนาคริสต์ของเรามีความหมายอย่างไรสำหรับเรา เมื่อเรา สวดว่า “ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์” เราเข้ า ใจบ้ า งไหมว่ า เรากำลั ง พู ด อะไร ถ้ า เราได้ รั บ อนุ ญ าตให้ เ รี ย ก พระเจ้าว่าพระผู้สร้างของเรา ก็ควรเตือนใจเราว่าเราเป็นหนี้พระองค์ มากมายเพียงไร และเราต้องปฏิบัติหน้าที่ของเราอย่างไร แต่การมีสิทธิ เรียกพระองค์ว่าพระบิดา พระบิดาผู้ทรงรักเรามากจนทรงยอมรับเรา เป็นบุตรของพระองค์ และทรงพร้อมจะแบ่งปันความสุขนิรันดรกับเรา นี่คือเอกสิทธิ์อันยิ่งใหญ่จนเราไม่อยากเชื่อ แต่นี่แหละคือผลลัพธ์ของธรรมล้ำลึกอันยิ่งใหญ่ของความรัก ของพระเจ้า คือการเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระคริสตเจ้า ซึ่งเป็น ข้อความเชื่อหลักของศาสนาคริสต์ วันฉลองพระนางมารีย์ พระชนนี พระเป็ นเจ้าในวันนี้ เตือนเราให้คิดถึ งความจริงอั นเป็ นพื้น ฐานของ ความเชื่อข้อนี้ของเรา “พระเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์ให้มาบังเกิด
บทเทศน์ปี C
97
จากหญิงผูห้ นึง่ ” หญิงผูน้ คี้ ือพระนางมารีย์ ผูท้ ี่ เวิรด์ สเวิร์ธ บรรยายว่าเป็น “ข้ออวดอ้างเพียงอย่างเดียวของธรรมชาติเปื้อนมลทินของเรา” ใน บรรดาบุตรหญิงชายทั้งหลายของมนุษย์ พระนางมีความเชื่อมโยงใกล้ชิด ที่สุดกับของขวัญที่พระเจ้าประทานแก่เรา คือการบังเกิดเป็นมนุษย์ของ พระคริสตเจ้า พระนางปฏิสนธิพระคริสตเจ้าในธรรมชาติมนุษย์ในครรภ์ ของพระนาง พระนางทรงอุ้มพระองค์ไว้ในครรภ์เป็นเวลาเก้าเดือน และ ทรงให้กำเนิดพระองค์ในเมืองเบธเลเฮ็ม พระนางให้พระองค์ดื่มนมเมื่อ พระองค์ยังเป็นทารก พระนางดูแล และเลี้ยงดูพระองค์เมื่อทรงเป็น เด็กและวัยรุ่น ท้ายที่สุด พระนางทรงถวายพระองค์บนเนินเขากัลวารีโอ เพื่อเรา และพระบุตรของพระนางนี้เองทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้ามา ตลอดนิรันดร เราคริสตชนได้รับเอกสิทธิ์ให้เป็นบุตรของพระเจ้าผ่านทางการ บั ง เกิ ด เป็ น มนุ ษ ย์ ข องพระคริ ส ตเจ้ า แต่ เ ป็ น เอกสิ ท ธิ์ ที่ ใ หญ่ ยิ่ ง กว่ า มากมายนักสำหรับบุคคลที่ได้รับเลือกให้เป็นพระมารดาของพระเจ้า และเป็นมนุษย์ที่ใกล้ชิดและเป็นที่รักที่สุด เป็นผู้ช่วยเหลืองานในธรรม ล้ำลึกแห่งความรักของพระองค์เพื่อเรา พระเจ้าทรงรักเรา เราไม่สงสัย ข้อนี้เลย พระนางมารีย์ก็รักเราเช่นกัน เพราะเราเป็นน้องของพระบุตร ของพระเจ้า ผู้ที่พระนางรักมากที่สุด พระนางต้องการให้เราได้รับรางวัล จากการบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระคริสตเจ้า ซึ่งเป็นกิจการที่พระนาง แสดงบทบาทสำคัญ รางวัลนั้นคือการมีส่วนร่วมในความสุขของพระเจ้า ตลอดนิรันดร เมื่อถึงเวลาพิพากษาของเรา พระนางจะทรงขอรางวัลนี้ มาประทานแก่เรา ถ้าเราได้พยายามรักและเคารพพระนางในชีวิตของเรา ถ้ า เราสวดบทภาวนาที่ พ ระศาสนจั ก รสอนเราอย่ า งศรั ท ธา ครุ่ น คิ ด บ่อยครั้งว่า “สันตะมารีย์ พระมารดาพระเจ้า โปรดภาวนาเพื่อลูกทั้งหลาย ผู้เป็นคนบาป บัดนี้” เพื่อให้เราสามารถเผชิญหน้ากับยามที่เรา “จะตาย” ได้อย่างมั่นใจ อาแมน
98
บทเทศน์ปี C
พระวรสาร - ลูกา 2:21 เมื่ อ ครบกำหนดแปดวั น ถึ ง เวลาที่ พ ระกุ ม ารจะต้ อ งทรงเข้ า สุหนัต เขาถวายพระนามพระองค์ว่าเยซู เป็นพระนามที่ทูตสวรรค์ให้ไว้ ก่อนที่พระองค์จะทรงปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดา คำอธิบาย - ดูคำอธิบายข้อ 16-20 จากพระวรสารสำหรับมิสซาเช้าวัน พระคริสตสมภพ เมื่อครบกำหนดแปดวัน – การเข้าสุหนัตเป็นเครื่องหมายภาย นอกของพันธสัญญาที่พระเจ้าทรงกระทำกับอับราฮัม และลูกหลานของ เขา (ดู ปฐก 17:12 และ ลนต 12:3) เด็กชายทุกคนต้องเข้าสุหนัต หลั ง จากเกิ ด มาได้ แ ปดวั น เพื่ อ จะเข้ า เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของประชากร เลือกสรร ในพิธีนี้เด็กจะได้รับการตั้งชื่อ เขาถวายพระนามพระองค์ว่าเยซู – เยโฮชูวา (Joshuah) ในภาษาฮีบรู หมายความว่าพระยาเวห์ ทรงช่วยให้รอดพ้น ในพระวรสาร ของมัทธิว ทูตสวรรค์อธิบายความหมายของพระนามนี้แก่โยเซฟ ว่า “เขาจะช่วยประชากรของเขาให้รอดพ้นจากบาป” (มธ 1:21) เป็นพระนามที่ทูตสวรรค์ให้ไว้ ก่อนที่พระองค์จะทรงปฏิสนธิ ในพระครรภ์ของพระมารดา – ทูตสวรรค์กาเบรียล ได้บอกพระนาง มารีย์ว่าบุตรที่พระนางจะให้กำเนิดจะชื่อว่าเยซู และบอกว่าและพระองค์ จะเป็นพระเมสสิยาห์ ผู้ไถ่กู้ประชากร (ลก 1:30-33) คำสั่งสอน – เรื่องของคนเลี้ยงแกะผู้ต่ำต้อยแห่งเบธเลเฮม ที่มาพบ พระเยซูเจ้า “มีผ้าพันกายนอนอยู่ในรางหญ้า” เป็นเหตุการณ์ที่อยู่ใน บทอ่านประจำมิสซาเช้าของวันพระคริสตสมภพและอ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ในวั น นี้ เพราะเรากำลั ง ฉลองความเป็ น พระชนนี พ ระเป็ น เจ้ า ของ พระนางมารีย์ และเป็นการฉลองพระคริสตสมภพอีกครั้งหนึ่ง เป็นการ ฉลองการเสด็ จ มาบั ง เกิ ด เป็ น มนุ ษ ย์ ข องพระผู้ ไ ถ่ ข องเรา แต่ วั น นี้
บทเทศน์ปี C
99
พระศาสนจักรเน้นที่บทบาทของพระนางมารีย์ ในธรรมล้ำลึกแห่งความ รักอันน่าพิศวงของพระเจ้าต่อมนุษย์ คริสตชนบางคนไม่เห็นความสำคั ญ ของบทบาทของพระนาง มารีย์ในการไถ่กู้มนุษยชาติ ทั้งที่พระเจ้าเองทรงเป็นผู้เลือกพระนาง ตั้งแต่นิรันดรกาลให้มารับบทบาทนี้ และผู้ถือสารของพระเจ้าเป็นผู้ ประกาศว่าพระนางทรงเป็น “ผู้ที่พระเจ้าโปรดปราน” พระนางเป็นเพื่อน คนพิเศษของพระเจ้า เพราะ “พระเจ้าสถิตกับพระนาง” คนเลี้ยงแกะ ผู้ต่ำต้อยตามหาพระผู้ไถ่ “ผู้ที่พระเจ้าทรงบอกข่าวดีเรื่องการประสูติของ พระองค์ให้พวกเขารู”้ คนเลีย้ งแกะพบพระนางมารียก์ อ่ น แล้วก็พบโยเซฟ (ผู้มีบทบาทสำคัญมากในแผนการของพระเจ้า รองจากพระนางมารีย์) จากนั้น จึงพบ “พระกุมารซึ่งบรรทมอยู่ในรางหญ้า” เมื่อเราเชื่อคำพูดที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้า ในพระวรสารของ มัทธิว และลูกา ผู้ย้ำถึงความสำคัญของบทบาทของพระนางมารีย์ในการ เสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระคริสตเจ้า และเชื่อในคำสั่งสอนของ พระศาสนจักรคาทอลิกนับแต่นั้นมา เราไม่ต้องกลัวว่าเราจะลดพระเกียรติ และความกตัญญูที่เราควรแสดงต่อพระเจ้า ถ้าเราให้เกียรติ พระนางมารี ย์ ใ นฐานะมารดาของเรา เพราะพระเจ้ า ทรงให้ เ กี ย รติ พระนางก่อน โดยทรงเลือกให้พระนางเป็นพระมารดาของพระบุตรของ พระองค์ นอกจากนี้ สิ่ ง สุ ด ท้ า ยที่ พ ระผู้ ไ ถ่ ข องเราทรงกระทำก่ อ น สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนก็คือทรงตั้งพระมารดาของพระองค์ให้เป็น มารดาของเรา โดยมีนักบุญยอห์นเป็นผู้แทนของเรา เมื่อพระองค์ตรัสว่า “นี่คือแม่ของท่าน” (ยน 19:27) และคงจะถือได้ว่าเราไม่นบนอบต่อ พระคริสตเจ้า ถ้าเราไม่ยอมรับพระนางเป็นมารดาของเรา และจะเป็นการ ไม่นบนอบต่อพระวาจาของพระเจ้าที่เผยแสดงต่อเรา ถ้าเราปฏิเสธความ เป็นพระชนนีพระเป็นเจ้าของพระนาง พระเจ้าทรงเลือกพระนางเป็น พระมารดาของพระเมสสิยาห์ พระผู้ไถ่ ผู้ทรงเป็นพระบุตรของพระองค์
100
บทเทศน์ปี C
พระนางมารีย์ เป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นมนุษย์ที่พระเจ้า ทรงคั ด เลื อ กไว้ ใ ห้ เ ป็ น พระมารดาของธรรมชาติ ม นุ ษ ย์ ข องพระผู้ ไ ถ่ ธรรมชาติมนุษย์ที่พระบุตรของพระองค์ต้องรับไว้เพื่อไถ่กู้ และยกชู มนุษย์ขึ้น พระนางมารีย์ได้รับศักดิ์ศรีนี้ มิใช่เพราะบุญบารมีของพระนาง เกียรติยศนี้เป็นของประทานจากพระเจ้าโดยแท้ พระนางเป็นบุคคลแรก ที่ ต ระหนั ก และประกาศความจริ ง ข้ อ นี้ เมื่ อ พระนางตรั ส ว่ า พระเจ้ า “ทอดพระเนตรผู้รับใช้ต่ำต้อยของพระองค์” (ลก 1:48) เมื่อเราถวาย เกียรติแด่พระนาง แท้จริงแล้วเรากำลังถวายพระเกียรติ และขอบพระคุ ณ พระเจ้ า ที่ ไ ด้ ป ระทานพระพร และเอกสิ ท ธิ์ อั น น่ า พิ ศ วงนี้ แ ก่ บุคคลหนึ่งที่เป็นมนุษย์เหมือนเรา พระเจ้าทรงสามารถส่งพระบุตรของพระองค์มายังโลกนี้ได้ โดย ไม่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากมารดาคนหนึ่งที่เป็นมนุษย์ พระองค์ ทรงสามารถเนรมิตสร้างธรรมชาติมนุษย์โดยตรงให้พระบุตรจุติมาใน วัยฉกรรจ์ได้ แต่พระองค์กลับทรงทำให้พระบุตร “เหมือนกับเราทุก ประการยกเว้นบาป” และในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง พระองค์จึงต้องเกิด จากมารดาที่เป็นมนุษย์ ดังที่นักบุญเปาโลกล่าวว่า “ให้มาบังเกิดจาก หญิ ง ผู้ ห นึ่ ง ” หญิ ง นั้ น คื อ พระนางมารี ย์ ผู้ ท รงเป็ น พรหมจารี เ สมอ พระนางทรงเป็นผู้รับใช้ที่ได้รับเอกสิทธิ์ของพระเจ้า และเมื่อเราให้ เกียรติเอกสิทธิ์นั้น เราก็ให้เกียรติพระเจ้าผู้ทรงถ่อมพระองค์ลงมาหาเรา ด้วยความรัก พระองค์ไม่ทรงคิดว่าการส่งพระบุตรของพระองค์ลงมาให้ เราก็เพียงพอแล้ว แต่ยังทรงกำหนดให้พระบุตรบังเกิดมาจากมนุษย์ที่ อ่อนแอ ผู้ซึ่งพระองค์ประทานพระหรรษทานที่จำเป็นให้มาโดยตลอด ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับการเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของ พระบุตร ขอบพระคุณพระเจ้าที่ได้ประทานบทบาทอันมีเกียรติให้แก่ “หนึ่งในมนุษย์อย่างเรา” ในการแสดงความรักของพระองค์ ขอให้เรามี คุ ณ ค่ า สมควรได้ รั บ พระพรแห่ ง ความรั ก อั น ไร้ ข อบเขตที่ พ ระองค์ ประทานแก่เราเสมอไปเทอญ
บทเทศน์ปี C
101
วั นสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์ มัทธิว 2:1-12 ในรัชสมัยกษัตริย์เฮโรด พระเยซูเจ้าประสูติที่เมืองเบธเลเฮม ในแคว้นยูเดีย โหราจารย์บางท่านจากทิศตะวันออก เดินทางมายัง กรุงเยรูซาเล็ม สืบถามว่า “กษัตริยช์ าวยิวทีเ่ พิง่ ประสูตอิ ยูท่ ใี่ ด พวกเรา ได้ เ ห็ น ดาวประจำพระองค์ ขึ้ น จึ ง พร้ อ มใจกั น มาเพื่ อ นมั ส การ พระองค์” เมื่อกษัตริย์เฮโรดทรงทราบข่าวนี้ พระองค์ทรงวุ่นวาย พระทัย ชาวกรุงเยรูซาเล็มทุกคนต่างก็วุ่นวายใจไปด้วย พระองค์ทรง เรียกประชุมบรรดาหัวหน้าสมณะและธรรมาจารย์ ตรัสถามเขาว่า “พระคริสต์จะประสูตทิ ใี่ ด” เขาจึงทูลตอบว่า “ในเมืองเบธเลเฮม แคว้น ยูเดีย” เพราะประกาศกเขียนไว้ว่า “เมืองเบธเลเฮม ดินแดนยูดาห์ เจ้ามิใช่เล็กที่สุดในบรรดาหัวเมืองแห่งยูดาห์ เพราะผู้นำคนหนึ่งจะ ออกมาจากเจ้า ซึ่งจะเป็นผู้นำอิสราเอลประชากรของเรา” ดังนั้น กษัตริย์เฮโรดทรงเรียกบรรดาโหราจารย์มาเฝ้าเป็น การส่วนพระองค์ ทรงซักถามถึงวันเวลาที่ดาวปรากฏ แล้วทรงใช้ บรรดาโหราจารย์ไปที่เมืองเบธเลเฮม ทรงกำชับว่า “จงไปสืบถาม เรื่องพระกุมารอย่างละเอียด และเมื่อพบพระกุมารแล้ว จงกลับมา บอกให้เรารู้ เราจะได้ไปนมัสการพระองค์ดว้ ย” เมือ่ บรรดาโหราจารย์
102
บทเทศน์ปี C
ได้ฟังพระดำรัสแล้วก็ออกเดินทาง ดาวที่เขาเห็นทางทิศตะวันออก ปรากฏอีกครั้งหนึ่ง นำทางให้ และมาหยุดนิ่งอยู่เหนือสถานที่ประทับ ของพระกุมาร เมื่อเห็นดาวอีกครั้งหนึ่ง บรรดาโหราจารย์มีความ ยินดียิ่งนัก เขาเข้าไปในบ้าน พบพระกุมารกับพระนางมารีย์ พระมารดา จึงคุกเข่าลงนมัสการพระองค์ แล้วเปิดหีบสมบัติ นำทองคำ กำยาน และมดยอบออกมาถวายพระองค์ แต่พระเจ้าทรงเตือนเขา ในความฝันมิให้กลับไปหากษัตริย์เฮโรด เขาจึงกลับไปบ้านเมืองของ ตนโดยทางอื่น
บทเทศน์ปี C
103
บทรำพึงที่ 1
เรื่องจากจินตนาการ มัทธิวเล่าเรื่องโดยใช้จินตนาการอันอุดม ซึ่งขยายมิติของเหตุการณ์พระคริสตสมภพให้กว้างขึ้น มัทธิวคาดหมายให้ผู้อ่านมองให้ไกล เกินรายละเอียดของเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นที่เบธเลเฮม เพื่อให้เข้าใจสาร ที่ต้องการสื่อให้แก่คนทุกยุคสมัยและทุกสถานที่ เขาเชิญชวนเราให้ก้าว ออกไป และเข้าสู่โลกของดวงดาวและโหราศาสตร์ เข้าสู่โลกภายในแห่ง ความทรงจำและความฝัน เขาเผยถึงอดีตของชาวยิวอย่างแยบยล และ เผยถึงอนาคตด้วยคำบอกเล่าเรือ่ งของถวาย ทีม่ คี วามหมายเชิงสัญลักษณ์ ในเรื่องนี้ ความหมายภายในสำคัญกว่ารายละเอียดทางประวัติศาสตร์และโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องภายนอก ไม่มีความจำเป็นต้อง สืบค้นว่าโหราจารย์เหล่านี้เป็นใครจากที่ไหน เพราะพวกเขาเป็นตัวแทน ของมนุษย์ทุกคนที่แสวงหาความจริงของชีวิตอย่างสุจริตใจ และไม่มีความจำเป็นต้องค้นคว้าประวัติทางโหราศาสตร์เพื่อ ยืนยันว่ามีดาวดวงใหญ่ หรือกลุ่มดาว ปรากฏขึ้นจริงหรือไม่ เขาเรียกดาว ที่นำทางเขามาหาพระองค์ว่า “ดาวประจำพระองค์” เพราะเป็นความเชื่อ ของคนส่วนใหญ่ว่า เมื่อใดที่ผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ในอนาคตเกิดมา จะมีดาว ดวงใหม่ปรากฏให้เห็น ดาวนี้หมายถึงแสงสว่างที่พระเจ้าทรงส่งมานำ ทางมนุษย์ทุกคนในการเดินทางแห่งชีวิตของเขา แม้ว่าดาวเป็นแสงสว่าง ที่อยู่ไกล และแสงซีด เมื่อเทียบกับแสงดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ แต่ เป็นสิ่งที่ชี้ทิศทางได้ดียิ่งสำหรับคนเดินเรือ พระเจ้าจะทรงส่งดาวมานำ ทางเราผ่านความมืดยามค่ำคืน และฝ่ามรสุมชีวิตเสมอ
104
บทเทศน์ปี C
แต่ โ หราจารย์ เ หล่ า นี้ พ บว่ า แสงธรรมชาติ น ำทางเขาไปได้ ถึ ง จุดหนึ่งเท่านั้น พวกเขายังต้องพึ่งปรีชาญาณของพระเจ้าที่ซ่อนอยู่ในการ เผยแสดงผ่านประกาศกชาวยิว เพื่อให้พวกเขาสามารถเดินทางไปถึง จุดหมาย แสงสว่างจากการเผยแสดงนี้นำทางเขาไปยังเมืองเบธเลเฮม และทำให้เขามีความหวังมากขึ้นว่าจะพบกับผู้นำ และผู้เลี้ยงแกะคนใหม่ พฤติกรรมของเฮโรด ผู้วุ่นวายพระทัยและวิตกกังวล ชวนให้คิด ถึงเหตุการณ์ในแผ่นดินอียิปต์เมื่อโมเสสเกิดมา มัทธิวต้องการให้ผู้อ่าน พระวรสารของเขาเริ่มมองเห็นเหตุการณ์ที่คล้ายกันในชีวิตของพระเยซูเจ้าและโมเสส ผู้นำชนชาติของเขาออกจากความเป็นทาส และมอบ ธรรมบัญญัติแห่งพันธสัญญาให้แก่ชาวยิว โหราจารย์เดินทางต่อไปจนกระทั่งแสงสว่างนั้นหยุดนิ่งเหนือ สถานที่ประทับของพระกุมาร พวกเขาก้าวเข้าไปในบ้านด้วยความยินดี และคุกเข่าลงนมัสการพระองค์ ในเวลาที่มัทธิวเขียนพระวรสารนี้ ชน ต่างชาติพากันเข้ามาในบ้าน ซึ่งหมายถึงพระศาสนจักร ในขณะที่ชาวยิว ยังอยู่ที่เดิม และไม่ยอมให้แสงสว่างของพระคริสตเจ้านำเขาเดินทาง ต่อไปข้างหน้า โหราจารย์ถวายของขวัญเป็นทองคำ กำยาน และมดยอบ มัทธิว อาจมีเจตนาให้เราเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งของที่โหราจารย์เหล่านี้ต้องใช้ เป็นประจำในอาชีพของเขา เพราะเขาเป็นเหมือนหมอผีในศาสนาที่บูชา ธรรมชาติ แต่บัดนี้ สิ่งของเหล่านี้ถูกนำมาเป็นของขวัญถวายพระกุมารที่ เมืองเบธเลเฮม เพื่อแสดงการคารวะต่อความเป็นเจ้านายของพระองค์ ผู้อธิบายความในพระคัมภีร์มองว่าของถวายเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของ ชะตากรรมในอนาคตของพระเยซูเจ้า ทองคำหมายถึงการเป็นกษัตริย์ กำยานหมายถึงความเป็นสมณะของพระองค์ และมดยอบที่ใช้เจิมหมาย ถึงการสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่กู้มนุษยชาติ พระเจ้าทรงเตือนโหราจารย์เหล่านี้ในความฝันไม่ให้กลับไปหา
บทเทศน์ปี C
105
กษัตริย์เฮโรด แต่ให้เดินทางกลับไปบ้านเมืองของตนโดยทางอื่น บ่อย ครั้ ง ที่ พ ระคั ม ภี ร์ บ อกว่ า พระเจ้ า ทรงแนะนำมนุ ษ ย์ ผ่ า นทางความฝั น เพราะช่วยให้มองสถานการณ์ได้รอบด้าน และทำให้เห็นทางเลือกอื่น นอกจากเรื่องตามคำบอกเล่าของมัทธิวแล้ว พิธีกรรมยังเสนอ บทอ่านอีกสองบทและบทสดุดี ซึ่งร่วมกันประกาศว่านานาชาติมาเฝ้า องค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า แต่ ใ นปั จ จุ บั น เราเห็ น สถานการณ์ ที่ ต รงกั น ข้ า ม ประชาชนกำลังถอยห่างจากบ้านของพระศาสนจักร และน่าแปลกใจที่ คนจำนวนมากหันกลับไปหาสิ่งที่โหราจารย์เหล่านี้ละทิ้งไว้เบื้องหลัง ดวงดาวกลายเป็นเทพเจ้าสำหรับบุคคลที่เชื่อว่ากลุ่มดาวในราศี พฤษภ หรือเมถุน มีอำนาจควบคุมชีวิต และชะตากรรมของเขา ทองคำหมายถึงกระแสวัตถุนิยม ซึ่งสกัดกั้นไม่ให้คนจำนวนมาก มีสัมผัสที่ไวในเรื่องจิตวิญญาณและพระเจ้า กำยาน หมายถึงธูปที่ใช้จุด เพื่อสร้างบรรยากาศที่เหมาะแก่การนั่งสมาธิ สำหรับบางคนที่ชอบความ คลุมเครือของศาสนาตะวันออก มากกว่าความชัดเจนของการเผยแสดง ในศาสนาคริสต์ ส่วนมดยอบที่ใช้ดองศพ หมายถึงลัทธิที่ให้ความสำคัญ กับร่างกายมากเกินไปจนละเลยเสียงเรียกร้องของจิต การพัฒนาความ เชี่ยวชาญในการฝึกสมาธิ และความเคารพร่างกายซึ่งเป็นวิหารของ วิญญาณนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ควรเป็นเป้าหมายในตัวเองจนเข้ามา แทนที่ศาสนา วันสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์เป็นการยอมรับว่าพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า เท่ า นั้ น ทรงเป็ น ผู้ น ำ และผู้ เ ลี้ ย งแกะของชนทุ ก ชาติ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้เสด็จมาจากสวรรค์ ทรงเป็นสมณะนิรันดร และทรงเป็นพระผู้ไถ่ผู้ได้รับเจิม
106
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 2 คำเชิญให้เชื่อ
วันสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อ และแสดงความชื่นชมยินดีที่พระเทวภาพของพระเยซูเจ้าปรากฏให้เห็น อย่างชัดเจนจากเรื่องของโหราจารย์ การรับพิธีล้างที่แม่น้ำจอร์แดน และ ในงานแต่งงานที่หมู่บ้านคานา คนทั้งหลายที่พระเจ้าทรงนำทางให้มองเห็นไกลกว่าที่ตาฝ่าย กายมองเห็น จึงกลายเป็นผู้มีความเชื่อ ความเชื่อเป็นพระพรที่ช่วยให้ มนุษย์เคลื่อนสายตาจากเครื่องหมายภายนอก ไปหาบุคคลที่เครื่องหมายเหล่านี้ชี้ให้เขาเห็น ยอห์นสรุปเรื่องที่คานาว่า “พระองค์ทรงแสดง พระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ และบรรดาศิษย์เชื่อในพระองค์” ในเรื่ อ งของมั ท ธิ ว โหราจารย์ เ ป็ น ตั ว แทนของผู้ มี ค วามเชื่ อ กษัตริย์เฮโรด เป็นตัวแทนของผู้ไม่มีความเชื่อ โหราจารย์สังเกตเห็นดวงดาว และได้ยินคำบอกเล่า เขายอม เดินทางติดตามดวงดาวไปจนถึงสถานที่ซึ่งดาวมาหยุดนิ่ง ในสถานที่นั้น พวกเขาก้าวเข้าไปในบ้าน การเดินทางของเขาเป็นการแสดงออกภาย นอก ว่าเขากำลังเดินทางภายในผ่านทางจินตนาการ ลางสังหรณ์ ความ ทรงจำ และการนำความคิ ด ต่ า งๆ มาปะติ ด ปะต่ อ เข้ า ด้ ว ยกั น การ เดินทางครั้งนี้นำเขามาถึงความเชื่อ และการนมัสการในที่สุด ของถวายของพวกเขามีความหมายเชิงสัญลักษณ์ คำว่า “เชิง สัญลักษณ์” (symbolic) มาจากภาษากรีก หมายถึงการเคลื่อนตัวของ สิ่งต่างๆ มารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน การเคลื่อนตัวในทางตรงกันข้ามคือ diabolic ซึ่งแปลตามตัวอักษรว่าการฉีกสิ่งต่างๆ ออกจากกัน
บทเทศน์ปี C
107
ระบบการศึกษาที่เน้นเรื่องวิทยาศาสตร์ และการทำงานของสมอง ซีกซ้าย สอนมนุษย์ให้ควบคุมสิ่งต่าง ๆ ด้วยการวิเคราะห์และแยกชิ้นส่วน สอนให้แบ่งแยกเพื่อเอาชนะ ถ้าเราเพิกเฉยต่อการทำงานของสมองซีก ขวา ซึ่งมองเห็นสิ่งต่างๆ ในภาพรวมและในความสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อนั้น ระบบการศึกษาจะสอนให้แบ่งแยกและเป็นอันตราย จึงไม่น่าแปลกใจที่ คนจำนวนมากในปัจจุบันไม่ค่อยมีความเชื่อ ไม่น่าแปลกใจที่เราแยก พฤติกรรมทางเพศออกจากความรักที่ซื่อสัตย์ต่อกัน และไม่น่าแปลกใจ ที่มนุษย์ใช้เงินจำนวนมากไปในการต่อต้านศัตรู และสะสมอาวุธที่มี อำนาจทำลายล้าง มากกว่าใช้สง่ เสริมภราดรภาพ และเลีย้ งดูคนอดอยาก ในเรื่องนี้ กษัตริย์เฮโรดเป็นผู้ไม่มีความเชื่อ ไม่มีเครื่องหมายใด สามารถผลักดันให้พระองค์เดินทางไปยังบ้านแห่งความเชื่อหลังนั้นได้ พระองค์ยังรออยู่ที่เดิมในโลกภายนอกที่สนใจแต่ข้อเท็จจริง วันที่ และ สถานที่ที่แน่ชัด พระองค์ไม่ยอมมองไกลกว่าสิ่งใดที่อาจคุกคามตำแหน่ง ของพระองค์ พระองค์วุ่นวายพระทัย แม้แต่ทารกน้อยคนหนึ่งก็ยังเป็น ภัยคุกคามที่พระองค์ต้องกำจัดให้พ้นทางด้วยวิธีการอันโหดร้ายที่สุด จิตใจที่คิดแต่จะแบ่งแยก ไม่สามารถปล่อยมือจากอำนาจควบคุม หรือโอบกอดด้วยความรัก หรือก้มลงคำนับ แต่จะแยกแยะรายละเอียด และฉีกทุกสิ่งทุกอย่างออกจากกัน พรากบุตรจากอกมารดา และนำไปฆ่า การฆ่าเป็นการกระทำที่ร้ายกาจที่สุด การแสดงความเชื่อต้องใช้พลังของสมองในการสร้างจินตนาการ และหยั่งรู้ เพื่อก้าวข้ามรายละเอียดซึ่งประสาทสัมผัสภายนอกรับรู้ได้ ทันที เมื่อนั้น เราจะก้าวข้ามชิ้นส่วนต่างๆ ไปหาองค์รวม ก้าวออกจาก รอยเท้ า ไปหาเจ้ า ของรอยเท้ า นั้ น เรื่ อ งของมั ท ธิ ว เป็ น คำเชิ ญ ให้ เ รา เดินทางติดตามแสงริบหรี่ของดวงดาวที่กำลังขึ้น และปรีชาญาณของ พระคัมภีร์ และก้าวเข้าสู่บ้านแห่งความเชื่อ
108
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 3
ในรัชสมัยกษัตริย์เฮโรด พระเยซูเจ้าประสูติที่เมืองเบธเลเฮม ในแคว้นยูเดีย ข้อความนี้เป็นข้อความเดียวที่นักบุญมัทธิว กล่าวถึงเหตุการณ์ พระคริสตสมภพ และดูเหมือนจะสั้นเกินไป อันที่จริง มัทธิวดูเหมือนแทบไม่สนใจเหตุการณ์นี้ ซึ่งต่างจากลูกา แต่มัทธิวต้องการให้ผู้อ่านรับรู้นัยสำคัญของเหตุการณ์นี้มากที่สุด เขา เปิดเผยนัยสำคัญนี้ในคำบอกเล่าเรื่องของโหราจารย์ และถ้าเราสังเกต จะเห็นว่าคำบอกเล่านี้เหมือนกับเป็นอารัมภบทสำหรับพระวรสารทั้ง ฉบับของมัทธิว โหราจารย์บางท่านจากทิศตะวันออก เดินทางมายังกรุงเยรูซาเล็ม สืบถามว่า “กษัตริย์ชาวยิวที่เพิ่งประสูติอยู่ที่ใด” มัทธิว กล่าวถึงกษัตริย์เฮโรด และกษัตริย์ชาวยิว ราวกับเป็นวาง ส่วนผสมสองอย่างของวัตถุระเบิดไว้ใกล้ๆ กัน คำถามที่ได้ยินหลายครั้งจากคนต่างชาติในถนนแคบๆ ของกรุง เยรูซาเล็ม คงฟังดูเหมือนคำประชดอันโหดร้ายสำหรับชาวยิว เราเข้าใจ ได้ ว่ า มั น คงทำให้ ค นขี้ ร ะแวงอย่ า งกษั ต ริ ย์ เ ฮโรดวุ่ น วายพระทั ย มาก ประวัติศาสตร์บอกเราว่าตลอดชีวิตพระองค์มีแต่ความกลัวว่าจะสูญเสีย อำนาจ พระองค์มองเห็นแต่แผนโค่นล้มพระองค์ พระองค์ประทับอยู่ ในป้อมปราการ และสั่งประหารโอรสสามองค์ มารดาของพระมเหสี และ แม้แต่ตัวพระมเหสีของพระองค์ นั่นคือประวัติศาสตร์
บทเทศน์ปี C
109
แต่มัทธิวต้องการบอกว่า “กษัตริย์ชาวยิว” มีความหมายลึก กว่านั้น เรื่องของอาณาจักรสวรรค์เป็นหัวข้อที่เขาจะกล่าวถึงบ่อยๆ และ มัทธิว ประกาศไว้ตั้งแต่แรกว่าใครคือกษัตริย์ของอาณาจักรนี้ พระวรสารของมัทธิว กล่าวถึงการแย่งชิงมงกุฎราชากันตั้งแต่หน้า แรก ใครกันแน่ที่เป็นกษัตริย์ของชาวยิว เฮโรดผู้ทรงอำนาจ ชอบใช้ ความรุนแรง และพร้อมจะฆ่าคนหรือพระเยซูน้อย ผู้อ่อนแอ และ ไร้อาวุธ ผู้ที่วันหนึ่งจะสิ้นพระชนม์เหมือนเหยื่อผู้บริสุทธิ์คนหนึ่ง ในหน้าสุดท้ายของพระวรสารของเขา มัทธิวจะใช้เทคนิคการ เขียนวรรณกรรมของชาวเซมิติก และระบุตำแหน่ง “กษัตริย์ของชาวยิว” ของพระเยซูเจ้าอีกครั้งหนึ่ง ทหารจะเยาะเย้ยพระองค์ว่า “ข้าแต่กษัตริย์ ของชาวยิว” (มธ 27:29) และเพื่อระบุข้อกล่าวหาที่ทำให้เขาต้องประหาร พระเยซูเจ้า ปิลาตจะติดป้ายไว้เหนือพระเศียรของพระองค์ว่า “นี่คือเยซู กษั ต ริ ย์ ข องชาวยิ ว ” (มธ 27:37) เมื่ อ หั ว หน้ า สมณะ และบรรดา ธรรมาจารย์เห็นเช่นนี้ก็เยาะเย้ยพระองค์เช่นเดียวกันว่า “เขาเป็นกษัตริย์ แห่งอิสราเอล จงลงมาจากไม้กางเขนเดี๋ยวนี้” (มธ 27:42) ในคำบอกเล่าเรื่องโหราจารย์ มัทธิว บอกเราว่า พระเยซูเจ้าทรง เป็นกษัตริย์ผู้ถ่อมพระองค์ตั้งแต่วันที่พระองค์ประสูติมาแล้ว ทรงเป็น เหมือนภาพของ “ผู้รับใช้ผู้รับทรมาน” ที่อิสยาห์บรรยายไว้ ทรงเป็น กษัตริย์ผู้ “เสด็จมาบนหลังลา” ระหว่างช่วงเวลาแห่งชัยชนะสั้นๆ เมื่อ พระองค์เสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ทรงเป็นกษัตริย์ผู้มิได้เสด็จมาเพื่อ “ให้ ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น” (มธ 20:28) และเป็นผู้ที่ขอร้องมิตร สหายของพระองค์มิให้ “ทำตัวเป็นนายเหนือผู้อื่น ... แต่ต้องทำตนเป็น ผู้รับใช้ผู้อื่น” (มธ 20:25-26) พระองค์ ไ ม่ ใ ช่ ก ษั ต ริ ย์ ข องโลกนี้ และอำนาจของพระองค์ ไม่เหมือนอำนาจปกครองของเฮโรด อันที่จริง ความเป็นกษัตริย์ของ
110
บทเทศน์ปี C
พระเยซูเจ้าจะเผยให้เห็นได้ระหว่างพระทรมานของพระองค์เท่านั้น เราเข้าใจความหมายของคำภาวนาที่เราสวดบ่อยๆ หรือไม่ว่า “พระอาณาจักรจงมาถึง” และ “ผู้ทรงจำเริญและครองราชย์ร่วมกับ พระองค์ และพระจิตเจ้า ตลอดนิรันดร” พวกเราได้เห็นดาวประจำพระองค์ทางทิศตะวันออก ข้อความนี้อาจแปลได้ด้วยว่า “เราเห็นดาวประจำพระองค์ขึ้น” ในพิธีกรรมวันนี้ พระศาสนจักรจำคำบอกเล่าเหตุการณ์พระคริสตเจ้าแสดงองค์ มาผสมผสานกับข้อความจากหนังสืออิสยาห์ ซึ่งคัด เลือกมาจากหลายข้อความในพระคัมภีร์ที่ประกาศว่าพระเมสสิยาห์ จะเสด็จมาเหมือน “แสงสว่าง” ว่า “จงลุกขึ้น (อิสราเอล) ฉายแสง เพราะว่าความสว่างของเจ้ามาแล้ว และพระสิริของพระเจ้าขึ้นมาเหนือ เจ้า เพราะว่าดูเถิด ความมืดจะคลุมแผ่นดินโลก แต่พระเจ้าจะทรงขึ้น มาเหนือเจ้า และเขาจะเห็นพระสิริของพระองค์เหนือเจ้า และบรรดา ประชาชาติจะมายังความสว่างของเจ้า และพระราชาทั้งหลายจะมาหา ความสว่างจากการลุกขึ้นของเจ้า” (อสย 60:1-6) ... เราจำคำประกาศ ถึงแสงสว่างของพระเมสสิยาห์ระหว่างเทศกาลเตรียมรับเสด็จ และ ระหว่างมิสซาเที่ยงคืนของเทศกาลพระคริสตสมภพได้ด้วยว่า “ชนชาติที่ เดินในความมืดจะได้เห็นแสงสว่างยิ่งใหญ่ ... ด้วยมีเด็กคนหนึ่งเกิดมา เพื่อเรา” (อสย 9:1-5) คำว่า “ดวงดาว” มีความหมายหลากหลายมาก ดังที่นักบุญเปโตร อธิบายเมื่อเขาพูดถึงความเชื่อว่าเหมือนกับ “ดาวประจำรุ่งที่ปรากฏขึ้น ในจิตใจของท่าน” (2ปต 1:19) ดาวนี้หมายถึงแสงสว่างของพระเจ้า พระหรรษทานของพระเจ้า การทำงานของพระเจ้าในหัวใจ และในจิต วิญญาณของมนุษย์ทุกคน และนำทางทุกคนไปหาพระคริสตเจ้า ถูกแล้ว พระเจ้าทรงมองดูโหราจารย์ “ต่างศาสนา” เหล่านี้ด้วยความรัก ขณะที่
บทเทศน์ปี C
111
พวกเขาเดินทางไปหาพระเยซูเจ้า ในชีวิตของข้าพเจ้าก็มีพระหรรษทานที่นำทางข้าพเจ้าไปสู่การ ค้นพบพระเยซูเจ้าเช่นกัน ข้าพเจ้ามีความกล้าหาญที่จะติดตามไปในทุก ที่ที่พระหรรษทานนี้นำข้าพเจ้าไปหรือไม่ ... แสงสว่างอันนุ่มนวล โปรด นำทางข้าพเจ้าเถิด ... โปรดนำทางข้าพเจ้าให้ก้าวไปข้างหน้าทีละก้าว ... เพียงทีละก้าว ... ไปหาพระองค์เถิด ... จึงพร้อมใจกันมาเพื่อนมัสการพระองค์ เพื่อนมัสการ ถ้าแปลตรงตัวคือ “หมอบกราบ (prostrate)” ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความจงรักภักดี และความเคารพ มัทธิว ย้ำคำนี้ สามครั้งในพระวรสารหน้านี้ ซึ่งเป็นคำที่แสดงทัศนคติลึกๆ ในหัวใจของ โหราจารย์ที่ไม่ใช่ชาวยิว พวกเขามาเพื่อสักการะ ส่วนข้าพเจ้าเล่า ... ในบางครั้ง ข้าพเจ้ากราบไหว้อะไร หรือ กราบไหว้ใคร การคำนับของข้าพเจ้าในเวลาที่พระสงฆ์ยกศีลมหาสนิท ขึ้นระหว่างพิธีบูชามิสซา มีความหมายอย่างไร เมื่อกษัตริย์เฮโรดทรงทราบข่าวนี้ พระองค์ทรงวุ่นวายพระทัย ชาวกรุ งเยรูซาเล็มทุกคนต่างก็วุ่นวายใจไปด้วย พระองค์ทรงเรียกประชุมบ รรดาหัวหน้าสมณะ และธรรมาจารย์ ... ในคำบอกเล่าเรื่องพระคริสตเจ้าแสดงองค์นี้ มัทธิวเสนอให้เรา พินิจสอง “ทัศนคติ” ที่เราพบครั้งแล้วครั้งเล่าในพระวรสารของเขา ทัศนคติหนึ่ง คือ การปฏิเสธของผู้นำทางการเมือง และผู้นำ ศาสนาของชาวยิว คนเหล่านี้ควรเป็นคนกลุ่มแรกที่มองออกว่าพระองค์ คือพระเมสสิยาห์ แต่พวกเขาทำอะไรอยู่ ... พวกเขากลัว พวกเขาวิตก กังวล พวกเขาไม่เคลื่อนไหว อันที่จริง พวกเขาพยายามฆ่าพระเยซูเจ้า ตั้งแต่แรก เราได้ยินพระเยซูเจ้าทรงคร่ำครวญดังๆ อย่างเศร้าพระทัย
112
บทเทศน์ปี C
เกี่ยวกับเยรูซาเล็มว่า “วิบัติจงเกิดแก่ท่าน ธรรมาจารย์ และฟาริสี ... เยรูซาเล็มเอ๋ย เยรูซาเล็ม เจ้าฆ่าประกาศก ... กี่ครั้งกี่หนแล้วที่เราอยาก รวบรวมบุตรของท่าน ... แต่ท่านไม่ต้องการ” (มธ 23:27-37) อีกทัศนคติหนึ่ง คือ การยินดีต้อนรับของโหราจารย์ที่ไม่ใช่ชาวยิว แม้ว่าคนเหล่านี้ไม่ได้ถูกเตรียมตัวเตรียมใจให้ยอมรับพระเมสสิยาห์ แต่ กลับเป็นคนที่แสวงหาและพร้อมจะออกเดินทาง แทนที่เขาจะวิตกกังวล พวกเขารู้สึกยินดีอย่างยิ่ง เราได้ยินพระวรสารฉบับนี้ประกาศในบทสรุป แล้วว่า “จงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา” (มธ 28:19) ระหว่างศตวรรษแรกๆ ข้อความตอนนี้ของพระวรสารอธิบายให้ คริสตชนเชื้อสายยิวเข้าใจแล้วว่าทำไมคริสตชนส่วนใหญ่ในพระศาสนจั ก รจึ ง ไม่ ใ ช่ ค นเชื้ อ สายยิ ว แม้ ว่ า พระเจ้ า ทรงให้ ค ำมั่ น สั ญ ญาอย่ า ง หนักแน่นแก่อิสราเอล มัทธิว แสดงว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระผู้ไถ่ที่ประชาชนรอคอย ผู้เสด็จมาเพื่อมนุษย์ทุกคน และ “อิสราเอลใหม่” ก็ประกอบด้วยคน เหล่านี้ คือ ชาวยิว และชนต่างชาติ ผู้ยอมรับพระเยซูเจ้า มีคำทำนายที่ ประกาศถึงเหตุการณ์นี้คือ กรุงเยรูซาเล็มจะกลายเป็นเมืองหลวงของชน ทุกชาติ “มวลอูฐจะมาห้อมล้อมเจ้า อูฐหนุ่มจากมีเดียน และเอฟาห์ คนเหล่านั้นจะมาจากเชบา เขาจะนำทองคำ และกำยาน และจะประกาศ สรรเสริญพระเจ้า” (อสย 60:6) ชาวอิสราเอลระลึกถึงราชินีแห่งเชบา ผู้ เ สด็ จ มายั ง กรุ ง เยรู ซ าเล็ ม จากดิ น แดนห่ า งไกล เพื่ อ มาพบกษั ต ริ ย์ ซาโลมอน บทสดุดี 71 ที่ใช้ขับร้องระหว่างวันสมโภชพระคริสตเจ้า แสดงองค์ก็กล่าวถึงการต้อนรับชาวโลกว่า “บรรดาพระราชาแห่งเมือง ทารชิช และเกาะทั้งปวงจะนำเครื่องบรรณาการมาถวาย” มัทธิวจะย้ำ เช่นกันว่าคนจำนวนมาก “จะมาจากทิศตะวันออกและตะวันตก และจะนัง่ ร่วมโต๊ะกับอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ ในอาณาจักรสวรรค์” (มธ 8:11) ... เราเห็นได้อีกครั้งหนึ่งว่าพระวรสารถูกประพันธ์ขึ้นในลักษณะใด
บทเทศน์ปี C
113
โหราจารย์เป็นตัวแทนของทุกคนที่เราเรียกว่า “คนต่างศาสนา” (และทุกคนที่ไม่เชื่อ) ในทุกยุคสมัย เราไม่ใช้คำเหล่านี้แสดงความดูถูก เหยียดหยาม เพื่อนหลายคนของเราเชื่อในศาสนาของเขาอย่างจริงใจ พวกเขาดำเนินชีวิตอย่างถูกทำนองคลองธรรม รักความยุติธรรม และ ทำงานรับใช้ผู้อื่น ชีวิตครอบครัวของเขาเป็นแบบอย่างที่ดี และเขาปฏิบัติ งานในสาขาอาชีพได้ดีอย่างน่าพิศวง แต่พวกเขาไม่รู้จักพระเยซูคริสตเจ้า วันสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์เป็นวันฉลองสำหรับมนุษย์ ทุกคนที่ไม่รู้จักพระเยซูเจ้า ทุกคนที่มีความเชื่อที่ต่างจากเรา และเป็น มนุษย์ที่พระเจ้าทรงรัก ประทานความสว่าง และดึงเขาเข้ามาหาพระองค์ โดยอาศัยพระหรรษทานที่เรามองไม่เห็น แต่เราตัดสินพวกเขาอย่างไร ... ประกาศกเขียนไว้ว่า “เมืองเบธเลเฮม ดินแดนยูดาห์ ... ผู้นำคนหนึ่ง จะออกมาจากเจ้า ซึ่งจะเป็นผู้นำอิสราเอล ประชากรของเรา” ท่านอาจถามว่าเหตุใดดวงดาวจึงไม่นำโหราจารย์ตรงไปยังเมือง เบธเลเฮม ใกล้ๆ พระเยซูเจ้า ทำไมจึงต้องเดินทางอ้อมผ่านกรุงเยรูซาเล็ม ผ่าน “ธรรมาจารย์ และหัวหน้าสมณะ” เพราะพระเจ้าทรงซื่อสัตย์ต่อ คำสัญญาของพระองค์ แม้ว่าพระองค์เสนอความรอดพ้นให้แก่มนุษย์ ทุกคน แต่ความรอดพ้นมาถึงโดยมีชาวยิวเป็นคนกลาง (รม 11:11) การเดินทางอ้อมผ่านกรุงเยรูซาเล็ม ยังมีนัยสำคัญอีกประการ หนึ่ง คือ ถ้าเราต้องการพบพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริง เราต้องพึ่งพระวาจา ของพระเจ้า คือ พระคัมภีร์ ส่วนเราเล่า ... เรารำพึงภาวนาตามพระวาจา ตามพระคัมภีร์โดย ไม่เบื่อหน่ายหรือไม่
114
บทเทศน์ปี C
เขาเปิดหีบสมบัติ นำทองคำ กำยาน และมดยอบออกมาถวายพระองค์ ... เขาจึงกลับไปบ้านเมืองของตนโดยทางอื่น การนมัสการพระเจ้าเป็นบทบาทสำคัญของพระศาสนจักร การ นมัสการที่แท้หมายถึงการ “ถวายผลิตผลจากแรงงาน และจากแผ่นดิน แด่พระเจ้า” นี่คือค่านิยมของมนุษย์ในทุกอารยธรรม การพบกั บ พระคริ ส ตเจ้ า จะเปลี่ ย นชี วิ ต ของเรา และเปิ ด อี ก หนทางหนึ่งแก่เรา นี่คือข่าวดีจริงๆ พระเจ้าข้า
บทเทศน์ปี C
115
พ ระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้าง
วันอาทิตย์หลังวันสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์ ลูกา 3:15-16, 21-22 ขณะนั้น ประชาชนกำลังรอคอย ทุกคนต่างคิดในใจว่ายอห์น เป็นพระคริสต์หรือ ยอห์นจึงประกาศต่อหน้าทุกคนว่า “ข้าพเจ้าใช้น้ำ ทำพิธีล้างให้ท่านทั้งหลาย แต่ผู้ที่ทรงอำนาจยิ่งกว่าข้าพเจ้าจะมา และข้าพเจ้าไม่สมควรแม้แต่จะแก้สายรัดรองเท้าของเขา เขาจะทำ พิธีล้างให้ท่านเดชะพระจิตเจ้า และด้วยไฟ” ขณะนั้น ประชาชนทั้งหมดกำลังรับพิธีล้าง พระเยซูเจ้าก็ทรง รับพิธีล้างด้วย และขณะที่ทรงอธิษฐานภาวนาอยู่นั้น ท้องฟ้าก็เปิด ออก และพระจิตเจ้าเสด็จลงมาเหนือพระองค์ มีรูปร่างที่เห็นได้ดุจ นกพิราบ แล้วมีเสียงจากสวรรค์ว่า “ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา เป็นที่ โปรดปรานของเรา”
116
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 1 ชีวิตศีลล้างบาป
คำว่า Baptism (ศีลล้างบาป) มาจากภาษากรีก แปลว่าการ อาบน้ำ หรือชำระตัวให้สะอาด รูปแบบของพิธีกรรมที่ใช้น้ำ เป็นสัญลักษณ์อันชัดเจนของการชะล้างคราบไคลของพฤติกรรมผิดๆ ในอดีต ออกไป เมื่อเราต้องการเข้าสู่สถานะใหม่ของชีวิต ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง เรี ย กร้ อ งให้ ป ระชาชนสำนึ ก ผิ ด ในวิ ถี ชี วิ ต บาปของตน และแสดง เจตจำนงว่าต้องการเปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยการเข้ารับพิธีล้างด้วยน้ำจาก แม่น้ำจอร์แดน น้ำเป็นสัญลักษณ์ที่มีหลายความหมาย เราใช้น้ำล้างสิ่งสกปรก และเป็นสัญลักษณ์ของการชำระล้างความผิดให้หมดไป น้ำเป็นพลังแห่ง ความตาย แต่เป็นพลังแห่งชีวิตด้วยน้ำในอุทกภัยนำความหายนะ และ ความตาย แต่ในแง่ของพลังที่ให้ชีวิต ไม่มีสิ่งมีชีวิตรูปแบบใดที่รอดชีวิต อยู่ได้โดยปราศจากน้ำ พิ ธี ล้ า งด้ ว ยน้ ำ ของยอห์ น กระตุ้ น ให้ เ กิ ด ความคาดหมาย พระเมสสิยาห์ในหมู่ประชาชน แต่ยอห์นรีบบอกให้ประชาชนคอยผู้ที่จะ ตามหลังเขามา ผู้ที่จะทำพิธีล้างมิใช่ด้วยน้ำเท่านั้น แต่ด้วยพระจิตเจ้า และไฟแห่งชีวิตพระเจ้า ต่างจากมัทธิวและมาระโก ลูกาไม่เล่ารายละเอียดของการรับพิธี ล้างของพระเยซูเจ้าจากยอห์น เขาเพียงแต่บอกว่ามีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น และให้ความสนใจมากกว่ากับการแสดงพระองค์ของพระเจ้าซึ่งเกิดขึ้น ในภายหลัง
บทเทศน์ปี C
117
ลูกาบอกเราว่า ขณะนั้น พระเยซูเจ้าทรงกำลังอธิษฐานภาวนา ใน บทภาวนาสำหรับเทศกาลเตรียมรับเสด็จ เราวิงวอนพระเจ้าให้ทรงเปิด ท้องฟ้าและเสด็จมาหาเรา พระเจ้าทรงตอบคำภาวนานี้ ท้องฟ้าเปิดออก และพระเจ้าทรงแสดงพระองค์ว่าประทับอยู่ที่นั่น ในรูปร่างที่เห็นได้ว่า คล้ายนกพิราบ และด้วยเสียงของพระบิดา พระคัมภีร์แสดงความเคารพ เสมอต่อพระเดชานุภาพของพระบิดา ผู้ที่ไม่มีมนุษย์คนใดเคยเห็น หรือ สามารถมองเห็นได้ ลูกา เป็นผู้นิพนธ์พระวรสารที่มักกล่าวถึงพระจิตเจ้า และการ อธิษฐานภาวนา เขาได้บอกเล่าแล้วว่าพระจิตเจ้าเสด็จมาเหนือพระนาง มารีย์ นางเอลีซาเบธ และสิเมโอน ในช่วงต้นของหนังสือกิจการอัครสาวก เขาจะบรรยายภาพเหตุการณ์น่าตื่นเต้น เมื่อพระจิตเจ้าเสด็จลงมาเหนือ บรรดาอัครสาวกในวันเปนเตกอสเต ในทุกกรณีที่กล่าวถึงนี้ มนุษย์ได้รับ อำนาจสวรรค์จากพระเจ้า เมื่อพระจิตเจ้าเสด็จลงมาเหนือพระเยซูเจ้า นั่นคือการประกาศ อัตลักษณ์พระเจ้าของพระองค์ ว่าพระองค์ทรงเป็นพระบุตรสุดที่รักของ พระเจ้า พระบิดา ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง สัญญาว่าพระเยซูเจ้าจะทำพิธีล้างให้ประชาชน ด้วยพระจิตเจ้าและด้วยไฟ เมื่อพันธกิจของพระองค์สิ้นสุดลงแล้ว พระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ ทรงส่งศิษย์ของพระองค์ออกไปสั่งสอนและ ทำพิธีล้างให้แก่นานาชาติ เดชะ พระนามพระบิดา และพระบุตร และ พระจิตเจ้า “เดชะพระนาม (หรือในนามของ)” เป็นสูตรสำเร็จที่ใช้แสดงถึง การประทับอยู่ และฤทธานุภาพของบุคคลที่เอ่ยนามนั้น ในชีวิตใหม่ ซึ่งใช้น้ำแห่งศีลล้างบาปเป็นสัญลักษณ์ บุคคลหนึ่งจะได้รับการยกขึ้นสู่ ความสัมพันธ์ใหม่กับสามพระบุคคลของพระเจ้า ในน้ำแห่งศีลล้างบาป เราเข้าสูค่ วามตายของพระเยซูเจ้าเพือ่ ชำระ
118
บทเทศน์ปี C
ล้างบาปกำเนิด และบาปต่างๆ ที่เราทำก่อนรับศีลล้างบาป นักบุญเปาโล มองว่าการจุ่มตัวลงในน้ำแห่งศีลล้างบาป คือการเข้าสู่คูหาฝังศพพร้อม กับองค์พระผู้เป็นเจ้า จากนั้น เมื่อเราขึ้นจากน้ำ และสวมใส่เสื้อผ้าสีขาว นั่นหมายความว่าเราได้มีส่วนร่วมในชีวิตของพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับ คืนชีพ และก้าวออกมาจากคูหาฝังศพ คำว่าคริสตชนอาจเคยใช้เป็น ฉายาที่เรียกกันเล่นๆ แต่นี่คือชื่อที่ถูกต้องแล้วสำหรับบุคคลที่บัดนี้ได้มี ส่วนร่วมในชีวิตของพระเยซูคริสตเจ้า และเป็นอวัยวะหนึ่งของพระกาย ที่มีชีวิตของพระองค์บนโลกนี้ เมื่ อ พระคริ ส ตเจ้ า ประทานชี วิ ต พระเจ้ า ของพระองค์ แ ก่ เ รา พระองค์ทรงสอนเราให้เรียกพระเจ้าว่าพระบิดา นักบุญเปาโลเขียนว่า พระจิตเจ้าทรงดลใจให้วิญญาณภาวนาเหมือนเด็กที่ภาวนาต่อ “อับบา พ่อจ๋า” พระจิตเจ้าทรงเป็นไฟแห่งชีวิตพระเจ้าในวิญญาณของคริสตชน บุคคลที่สนทนาเป็นประจำทุกวันกับพระจิตเจ้า และร่วมมือกับพระหรรษทาน จะเติบโตขึ้นอย่างพรั่งพร้อมด้วยผลแห่งความรัก ความ ยินดี สันติสุข ความสัมพันธ์อันราบรื่นกับผู้อื่น และความแข็งแกร่งแต่ อ่อนโยนภายใน วันฉลองการเข้าพิธีล้างของพระเยซูเจ้าเป็นโอกาสให้คริสตชน เฉลิมฉลอง ที่เราได้มีส่วนร่วมในชีวิตพระเจ้า อาศัยการรับศีลล้างบาป ของเรา ขอให้เราได้ยินพระบิดาตรัสกับเราในส่วนลึกของหัวใจว่า “ลูกคือ บุตรสุดที่รักของเรา จงยินดีในพระคุณต่างๆ ที่เรามอบให้แก่ลูกเถิด”
บทเทศน์ปี C
119
บทรำพึงที่ 2 ดุจนกพิราบ
มีคำพังเพยที่บอกว่า ภาพวาดบรรยายได้ดีเท่ากับคำพูดนับพัน คำ สัญลักษณ์อย่างหนึ่งเผยให้เห็นความเป็นไปได้มากมาย ซึ่งสมอง ไม่สามารถวิเคราะห์ออกมาได้ แม้ว่าได้พยายามสุดความสามารถแล้ว ก็ตาม นกพิราบเชิญชวนให้สมองสร้างความเชื่อมโยง ให้จดจำ และให้ ชิมรสชาติของบรรยากาศ พระวรสารมักกล่าวถึงนก พระเยซูเจ้าทรงชี้ให้เราเห็นว่าพระเจ้า ทรงเลี้ยงดูนกอย่างไร เมื่อพระองค์ต้องการเตือนเราไม่ให้กังวลกับ วั น พรุ่ ง นี้ ม ากเกิ น ไป ชี วิ ต มี ค่ า มากในสายตาของพระเจ้ า จนกระทั่ ง พระองค์ไม่ทรงมองข้ามนกกระจอกตัวเล็กๆ ที่ขายกันในราคาถูกๆ ในตลาด ในบทสดุ ดี ผู้ แ สวงบุ ญ ที่ เ ดิ น ทางมาถึ ง พระวิ ห ารสั ง เกตเห็ น นกกระจอกและนกนางแอ่น ที่ทำรังตามชายคาของอาคารศักดิ์สิทธิ์นี้ และอยากมีสิทธิพิเศษเหมือนนกเหล่านี้ที่พำนักอยู่ในพระนิเวศของ พระเจ้าได้ตลอดชีวิต มนุษย์ที่เหน็ดเหนื่อยจากความกังวลใจ และการทำงาน รู้สึกอิจฉา อิสรภาพของนก เราอยากหนีไปให้พ้นแรงกดดันต่างๆ และบินเหมือน นกไปยังภูเขาที่มันอาศัยอยู่ นกผู้ยิ่งใหญ่แห่งขุนเขาคือนกอินทรี ลูกนกอินทรีที่กำลังหัดบิน จะต้ อ งบิ น ออกไปจากหน้ า ผาสู ง ชั น ในวั น หนึ่ ง แต่ ปี ก เล็ ก ๆ ของมั น หมดแรงอย่างรวดเร็ว และดูเหมือนว่าลูกนกจะต้องตกลงไปบนก้อนหิน เบื้องล่าง แต่แม่นกที่เฝ้าดูจะโฉบลงมาข้างใต้ และช้อนตัวลูกนกไว้ด้วย
120
บทเทศน์ปี C
ปีกที่แผ่กว้างของมัน พระเจ้าทรงเอาใจใส่เราเช่นนี้ เมื่อดูเหมือนว่า โลกรอบตัวเรากำลังพังทลาย “ดังนกอินทรีที่สอนลูกในรังให้บิน บินร่อน อยู่เหนือลูกน้อยของมัน พระองค์ทรงกางปีกรองรับเขาไว้ ให้เกาะอยู่ บนปีกของพระองค์” (ฉธบ 32:11) นกพิราบที่บินลงมาเหนือพระเยซูเจ้าที่แม่น้ำจอร์แดน ทำให้ คิดถึงภาพของพระจิตของพระเจ้าที่พัดอยู่เหนือน้ำในเรื่องการเนรมิต สร้างโลก นี่คือน้ำแห่งชีวิตใหม่ น้ำท่วมในยุคของโนอาห์นำน้ำแห่งการ ทำลายล้างมาให้มนุษย์ แต่เมื่อมนุษย์กลับคืนดีกับพระเจ้า ทูตผู้แจ้งข่าว ดีคือนกพิราบที่คาบกิ่งมะกอกมาให้ ลูกา บอกเล่าถึงอานุภาพของพระจิตเจ้าว่าเป็นพลังงานที่สนับสนุ น พั น ธกิ จ ของพระเยซู เ จ้ า และงานแพร่ ธ รรมของพระศาสนจั ก ร ในเวลาต่อมา อำนาจเพียงอย่างเดียวสามารถนำไปสู่ความจองหอง และ การใช้อำนาจข่มขู่ ดังนั้น จึงต้องถ่วงดุลด้วยการระลึกถึงนกพิราบ ซึ่ง เป็นทูตผู้อ่อนโยนแห่งสันติภาพ และการคืนดี
“ที่รักของฉันเอ๋ย จงมาเถิด แม่นกพิราบของฉัน ผู้ซ่อนตัวอยู่ในซอกผา ในที่กำบังบนหน้าผา โปรดเผยใบหน้าของเธอ ขอให้ฉันได้ยินเสียงของเธอ เพราะเสียงของเธอไพเราะ และใบหน้าของเธองดงาม” (เพลงซาโลมอน 2:14)
บทเทศน์ปี C
121
บทรำพึงที่ 3 พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา เล่าถึงจุดเริ่มต้นชีวิต สาธารณะของพระเยซูเจ้า เรียงตามลำดับดังนี้ 1. ยอห์น ผู้ทำพิธีล้างเทศน์สอนว่า “จงเป็นทุกข์กลับใจเถิด ... พระองค์กำลังเสด็จมา” (ลก 3:1-18) 2. ยอห์น ผู้ทำพิธีล้างถูกจองจำ (ลก 3:19-20) 3. พระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้าง (ลก 3:21-22) 4. บรรพบุรุษของพระเยซูเจ้า (ลก 3:28-38) 5. พระเยซูเจ้าทรงถูกประจญในถิ่นทุรกันดาร (ลก 4:1-13) 6. พระเยซูเจ้าทรงเริ่มเทศน์สอน โดยเฉพาะที่เมืองนาซาเร็ธ (ลก 4:14-30) เราสังเกตได้อีกครั้งหนึ่งว่าเป้าหมายแรกของลูกา คือ ให้ข้อมูล เกี่ยวกับลำดับเหตุการณ์อันเป็น “ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์” ถ้าเรา มีพระวรสารของลูกาเพียงฉบับเดียว เราจะไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ทำพิธีล้างให้ พระเยซูเจ้า เพราะลูกาบอกเราว่ายอห์นถูกจองจำในคุก ก่อนจะกล่าวถึง การรับพิธีล้างของพระเยซูเจ้า โดยไม่เอ่ยชื่อของยอห์นเลย ทั้งนี้เพราะ ผู้นิพนธ์พระวรสาร (ลูกา รวมถึงคนอื่นๆ) ไม่ได้มองประวัติศาสตร์ใน แง่มุมเดียวกับเรา จุดมุ่งหมายของผู้นิพนธ์พระวรสารไม่ใช่การรายงาน เหตุการณ์ตามลำดับที่เหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้น แต่เพื่อพูดกับจิตสำนึก ของผู้มีความเชื่อมากกว่า สำหรับผู้นิพนธ์พระวรสาร นัยสำคัญของความ จริงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประวัติศาสตร์สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้นิพนธ์ จึงใช้เทคนิควรรณกรรมที่มักใช้กันในพระคัมภีร์ เพื่อเสนอเรื่องราวการ รั บ พิ ธี ล้ า งของพระเยซู เ จ้ า ให้ เ ป็ น ทั้ ง ความจริ ง ที่ ไ ม่ อ าจปฏิ เ สธได้
122
บทเทศน์ปี C
(ดังนั้น จึงเป็นเหตุการณ์ที่บอกเล่าในพระวรสารฉบับอื่นเช่นกัน) และ เป็น “การกระทำเชิงสัญลักษณ์” (ดังนั้น พระวรสารแต่ละฉบับจึงมี จุดเน้นต่างกัน) การตีความข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งไม่ใช่การปฏิเสธข้อเท็จจริงนั้น แต่หมายความว่าเราเชื่อจริงๆ ในทุกมิติ เช่นในกรณีนี้ เรามองเห็น “การตีความ” ของลูกาว่า พระเยซูเจ้าทรงกำลังเริ่มต้นยุคใหม่ ยุคพันธสัญญาเดิมสิ้นสุดลงแล้ว ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง เป็นตัวแทนคนสุดท้าย ของยุคนั้น และเขาหายตัวไปก่อนที่พระเยซูเจ้าจะทรงเริ่มต้นงานของ พระองค์ การตีความประวัติศาสตร์เช่นนี้ เป็นการตีความที่ “แท้จริง” ในระดับของความเชื่อ แต่พระวรสารไม่ห้ามเราให้เรียนรู้จากผู้นิพนธ์คนอื่นว่าในความ เป็นจริง ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง ถูกจองจำหลังจากนั้น นานหลังจากพระเยซูเจ้าทรงเริ่มต้นเทศน์สอน (มก 6:17, มธ 14:3) บทอ่ า นสำหรั บ พิ ธี ก รรมวั น อาทิ ต ย์ นี้ น ำส่ ว นแรกของลำดั บ เหตุการณ์เหล่านี้ (การเทศน์สอนของยอห์น – ลก 3:15-16) และส่วน ที่สาม (การรับพิธีล้างของพระเยซูเจ้า – ลก 3:21-22) มารวมกัน โดย ละเว้นข้อความที่บอกเล่าเรื่องยอห์นถูกจองจำ คำอธิบายข้างต้นจะช่วย ให้เราเข้าใจเหตุผลของการละเว้นนี้ เนื่องจากเราได้อธิบายเรื่องการเทศน์สอนของยอห์นในบทรำพึง สำหรับวันอาทิตย์ที่สามในเทศกาลเตรียมรับเสด็จแล้ว วันนี้ เราจึงจะให้ ความสนใจกับข้อความที่ตรงกับวันฉลองนี้ (3:21-22) ขณะนั้น ประชาชนทั้งหมดกำลังรับพิธีล้าง เราพบวลี “ประชาชนทั้งหมด” เฉพาะในคำบอกเล่าของลูกา ผู้ชอบพูดถึงประชาชนโดยรวม (ลก 1:10, 2:10, 3:21) ลูกาเป็นเสมือน โฆษกของพระเจ้า และเขาย้ำวลีนี้เพื่อให้เข้าใจได้ว่าความรอดพ้นเป็น
บทเทศน์ปี C
123
ของมนุษย์ทุกคน และพันธกิจของพระเยซูเจ้า ซึ่งจะเริ่มขึ้นในไม่ช้า ก็มี จุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ทุกคน วลีนี้ยังชวนให้คิดด้วยว่า จนถึงเวลานั้น พระเยซูเจ้าทรงปฏิบัติตน เหมือนมนุษย์ทุกคน เมื่อพระองค์ปรากฏตัว พระองค์ไม่มีอะไรแตกต่าง จากคนร่วมสมัย หรือจาก “ประชาชนทั้งหมด” พระองค์ทรงเป็นชาวยิว ที่ดี และไม่ทรงทำอะไรเพื่อให้ตนเองโดดเด่น เมื่อประชาชนทั้งหมด มารับพิธีล้าง พระองค์ก็มารับพิธีล้างเช่นกัน คำที่ลูกาชอบใช้นี้มีความหมายพิเศษ เมื่อเราเปรียบเทียบพระวรสารของเขากับพระวรสารของผู้นิพนธ์คนอื่น พระเจ้าข้า ข้าพเจ้ายินดีที่ได้รับรู้การเผยแสดงนี้ ซึ่งข้าพเจ้าได้ รับรู้ผ่านวลีที่พระองค์ทรงดลใจผู้นิพนธ์พระวรสาร ข้าพเจ้าเพ่งพินิจพระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง พระองค์ปฏิบัติตนเหมือนประชาชนทั่วไป ข้าพเจ้านึกถึงภาพของพระเยซูเจ้าผู้รวมอยู่ในฝูงชน เป็นบุคคลนิรนามท่ามกลางชายหญิงจำนวน มากที่ ม าเข้ า แถวรอรั บ พิ ธี ล้ า ง ข้ า พเจ้ า ขอให้ ก ารเผยแสดงนี้ เ ป็ น จุ ด เริ่มต้นของการภาวนาของข้าพเจ้า พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนา ... รายละเอียดนี้ปรากฏแต่ในคำบอกเล่าของลูกาเช่นกัน เขาชอบ เสนอภาพพระเยซูเจ้ากำลังภาวนา (ลก 5:16, 6:12, 9:8, 28:29, 10:21, 11:1, 22:32, 40:46, 23:34, 46) บัดนี้ ข้าพเจ้าจะหยุดครู่หนึ่ง และรำพึงภาวนากับรายละเอียดนี้ ดังนั้น “สิ่งแรกที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำระหว่างชีวิตสาธารณะ ของพระองค์ก็คือภาวนา นี่เป็นงานแรกที่เราเห็นพระองค์ทรงทำในวัย ผู้ใหญ่ ลูกากล่าวถึงการเริ่มต้นพันธกิจของพระองค์เป็นครั้งแรก โดย บอกเราว่า พระองค์อธิษฐานภาวนา และระหว่างการภาวนานี้ พระจิตเจ้า
124
บทเทศน์ปี C
เสด็จลงมาเหนือพระองค์ เมื่อลูกาเล่าเรื่องจุดเริ่มต้นของพระศาสนจักร เขาบอกว่าพระศาสนจักรก็กำลังภาวนาขณะที่ได้รับพระจิตเจ้าองค์เดียว กันนี้ (กจ 1:14, 2:1-11) ถูกแล้ว การอธิษฐานภาวนาทำให้เรามีที่ว่างสำหรับพระจิตเจ้า ให้พระองค์เสด็จมาหาเรา เป็นการสร้างสภาวะที่เหมาะสมที่พระองค์จะ เสด็จมา ในอีกตอนหนึ่งของพระวรสาร ลูกาบอกเราว่าสิ่งดีที่สุดที่เราจะ ขอได้จากพระเจ้าคือพระจิตเจ้า ราวกับว่าพระองค์จะประทานทุกสิ่ง นอกเหนื อ จากนั้ น ให้ ด้ ว ย พระบิ ด าผู้ ส ถิ ต ในสวรรค์ จ ะไม่ ป ระทาน พระจิตเจ้าแก่ผู้ที่ทูลขอพระองค์มากกว่านั้นหรือ” (ลก 11:13) ข้าพเจ้าภาวนาเพื่อจุดประสงค์นี้หรือเปล่า ข้าพเจ้าวิงวอนขอ การหลั่งชโลมของพระจิตเจ้าหรือไม่ ข้าพเจ้าทูลขอ “ศีลล้างบาป เดชะ พระจิตเจ้า” เหมือนกับที่ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง ประกาศไว้หรือไม่ว่า “เขา (พระเยซูเจ้า) จะทำพิธลี า้ งให้ทา่ นเดชะพระจิตเจ้า และด้วยไฟ” (ลก 3:16) อะไรคือสถานที่ภาวนาในชีวิตของข้าพเจ้า เพื่อเลียนแบบพระเยซูเจ้าผู้ทรงรักการภาวนา อะไรคือสถานที่สำหรับภาวนาเพื่อ “ทูลขอ พระจิตเจ้า” ผูท้ พ่ี ระบิดาทรงพร้อมจะประทานให้แก่ “ผูท้ ท่ี ลู ขอพระองค์” พระเยซูเจ้าก็ทรงรับพิธีล้างด้วย บางครั้ง เหตุการณ์นี้ทำให้เราแปลกใจ พระเยซูเจ้านี้หรือที่รับ “พิธีล้างซึ่งแสดงการเป็นทุกข์กลับใจ” (ลก 3:3) พระเยซูเจ้าผู้ปราศจาก บาป จำเป็นต้องรับพิธีล้างหรือ คำตอบอยู่ในพระวรสารฉบับเดียวกันนี้ “เรามาเพื่อจุดไฟในโลก ... เรามีการล้างที่จะต้องรับ และเราเป็นทุกข์กังวลใจอย่างมากจนกว่า การล้างนี้จะสำเร็จ” (ลก 12:49-50) “การล้าง” ของพระเยซูเจ้าก็คือ การสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่กู้มนุษยชาติ ด้วยการล้างนี้ด้วยทัศนคติของ “ผู้ สำนึกผิด” ตลอดชีวิตของพระองค์
บทเทศน์ปี C
125
พระเยซูเจ้าทรงเข้ามาเป็นตัวแทนเราคนบาปทั้งหลาย และทรงวิงวอน พระเจ้าให้ทรงช่วยเหลือ และทำให้พระองค์บริสุทธิ์ พระเยซูเจ้าไม่ได้เสด็จมา “เพื่อตัดสินลงโทษโลก แต่เพื่อโลกจะ ได้รับความรอดพ้น” (ยน 3:17) เมื่อ “พระเยซูเจ้าก็ทรงรับพิธีล้างด้วย” พระองค์จึงไม่ทรงพิพากษาความอ่อนแอของข้าพเจ้าจากเบื้องบน แต่ ทรงทำให้พระองค์เป็นหนึ่งเดียวกับเรา พิธี ล้างของพระเยซูเจ้า คือ ศีลล้างบาปของเราคริสตชน ท้องฟ้าก็เปิดออก และพระจิตเจ้าเสด็จลงมาเหนือพระองค์ มาระโก กล่าวว่าท้องฟ้า “ถูกแหวกออก” (มก 1:10) สำหรับลูกา ท้องฟ้า “เปิดออก” ไม่มีความรุนแรง ซึ่งเป็นลักษณะการเขียนตามปกติ ของวรรณกรรมวิวรณ์ แต่เปิดออกอย่างนุ่มนวล ยุคใหม่เริ่มขึ้นในองค์พระเยซูเจ้า ยุคพันธสัญญาเดิมผ่านพ้น ไปแล้ว ยุคสมัยของยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง ผู้ขู่มนุษยชาติให้เกรงกลัวพระพิโรธของพระเจ้า (“สัญชาติงูร้าย” (ลก 3:7)) ผ่านพ้นไปแล้ว การ สื่อสารแบบใหม่ได้ถูกสถาปนาขึ้นระหว่างสวรรค์และแผ่นดินโลก สวรรค์ ไม่ปิดอีกต่อไป แต่ “เปิดออก” และพระจิตของพระเจ้า ผู้ทรงเป็น “ส่วนหนึ่ง” ของพระเจ้าที่สามารถถ่ายทอดให้แก่เรามนุษย์ได้ ก็ถูก ประทานให้แก่บุรุษที่ชื่อเยซูนี้ ก่อนจะถ่ายเทลงมาอย่างอุดมบริบูรณ์ เหนือทุกคนที่ได้รับ “พิธีล้าง เดชะพระจิตเจ้า” ด้วยเช่นกัน ในทุกวัน เปนเตกอสเต และในการโปรดศีลล้างบาปทุกครั้ง ข้ า พเจ้ า ให้ ค วามสำคั ญ แก่ ศี ล ล้ า งบาปของข้ า พเจ้ า และศี ล ล้างบาปของบุตรของข้าพเจ้าเพียงไร ข้าพเจ้ายกให้พระจิตอยู่ในตำแหน่งใดในชีวิตจิตของข้าพเจ้า ... พระจิตเจ้า ผู้ที่โลกตะวันตกไม่รู้จัก แต่คริสตชนในโลกตะวันออกกำลัง เริ่มนำมาคืนให้เรา
126
บทเทศน์ปี C
พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ที่พระจิตเจ้าประทับอยู่ด้วย (ลก 4:1, 14, 18) มีรูปร่างที่เห็นได้ดุจนกพิราบ “เครื่องหมาย” ที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสนี้ถูกตีความต่างกัน หลายทาง นี่ เ ป็ น การเตื อ นให้ คิ ด ถึ ง นกพิ ร าบที่ ป ระกาศถึ ง โลกใหม่ ภายหลังเหตุการณ์น้ำวินาศหรือ (ปฐก 8:8) นี่คือสัญลักษณ์แห่งความรัก ของพระเจ้าที่กล่าวไว้ในเพลงซาโลมอนหรือ (2:14, 5:2) นี่เป็นสิ่ง เตือนใจให้เราคิดถึงการเนรมิตสร้างโลก เมื่อพระจิตของพระเจ้า “พัด อยู่เหนือน้ำ” หรือ (ปฐก 1:1) การตีความแต่ละทางเหล่านี้สามารถเป็น จุดเริ่มต้นของการภาวนาของเราได้ทั้งสิ้น ถู ก แล้ ว โลกใหม่ ก ำลั ง เกิ ด ขึ้ น ... นี่ คื อ มนุ ษ ยชาติ ที่ พ ระเจ้ า ไม่ต้องการลงโทษอีกต่อไป เพราะพระองค์ทรงรักมนุษย์ด้วยความรัก อันไร้ขอบเขต แล้วมีเสียงจากสวรรค์ว่า ... พระเจ้าตรัสกับพระเยซูเจ้า ... อย่างอ่อนโยน อย่างบิดา และด้วย ความรักยิ่ง ... ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา ในคำบอกเล่าของลูกา พระเจ้าตรัสกับพระเยซูเจ้าในฐานะบุรุษที่ สอง มัทธิว ซึ่งบอกเล่าเหตุการณ์เดียวกันนี้ ใช้บุรุษที่สาม “ผู้นี้เป็นบุตร สุดที่รักของเรา” (มธ 3:17) ข้อความใดในสองข้อความนี้ตรงกับความจริงในประวัติศาสตร์ ทั้งมัทธิว และลูกา ไม่สนใจจะตอบคำถามของคนสมัยใหม่เช่นนี้ อันที่จริง ธรรมประเพณียิ่ งใหญ่ ของชาวยิ วยื น ยั น ว่ า พระเจ้ า หนึ่ ง เดี ย วผู้ นี้ ต รั ส
บทเทศน์ปี C
127
“ด้ ว ยการเปล่ ง เสี ย งครั้ ง เดี ย ว” เสมอ ราชิ (Rachi) อธิ บ ายเรื่ อ ง บัญญัติสิบประการ (Decalogue) ไว้ว่า “พระวาจาสิบคำนี้ เอ่ยออกมา ด้วยพระวาจาเพียงคำเดียว ซึ่งมนุษย์ทำไม่ได้”) พระเจ้าตรัส “คำเดียว” และมนุษย์ได้ยิน “หลายคำ” ซึ่งหมาย ความว่ามนุษย์เข้าใจพระวาจาได้หลายทาง ... วันนี้ เราได้ให้กำเนิดท่าน” ลูกา ตีความพระวาจาคำเดียวนั้น โดยยกข้อความมาจากหนังสือ ประกาศกอิสยาห์ 42:1 และสดุดี 2:7 ข้อความที่ยกมาจากพระคัมภีร์นี้ จะถูกใช้บ่อยครั้งเพื่อแสดง “ความเป็นพระบุตรพระเจ้า” หรือ “การเกิด ใหม่” ของพระเยซูผู้ทรงกลับคืนชีพ จากปากกาของลูกาคนนี้ (กจ 13: 33) และศิษย์อีกคนหนึ่งของเปาโล (ฮบ 1:5, 5:5) ขอให้ เ ราใช้ ก ารภาวนาของเรานำเราเข้ า สู่ ธ รรมล้ ำ ลึ ก ของ พระเยซูเจ้า ผู้ที่พระเจ้าทรงให้กำเนิดในวันนี้ เราไม่ได้หมายถึงกำเนิดใน ครรภ์ของพระนางมารีย์ในวินาทีแห่งการปฏิสนธิ หรือกำเนิดในร่างกาย ทารกที่พันด้วยผ้าในเมืองเบธเลเฮม แต่หมายถึงกำเนิดของพระเยซูเจ้า ขณะที่มีพระชนมายุ 30 พรรษา นี่คือสารที่มนุษย์ยุคปัจจุบันจำเป็นต้องรับรู้อย่างเร่งด่วน สารนี้ บอกเราว่ามนุษย์ไม่ใช่ลูกกำพร้า มนุษย์ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเหตุบังเอิญ แต่เกิดขึ้นในพระเยซูเจ้า บุรุษผู้เกิดจากพระเจ้า ผู้ทรงรักพระองค์ นี่คือความหมายของศีลล้างบาปของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเกิดมาจาก พระเจ้า
128
บทเทศน์ปี C
วั นอาทิตย์ที่หนึ่ง เทศกาลมหาพรต ลูกา 4:1-13 พระเยซูเจ้าทรงได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยม ทรงพระดำเนิน จากแม่น้ำจอร์แดน พระจิตเจ้าทรงนำพระองค์ไปยังถิ่นทุรกันดาร ทรงถูกปีศาจประจญเป็นเวลาสี่สิบวัน ตลอดเวลานั้น พระองค์มิได้ เสวยสิ่งใดเลย ในที่สุด ทรงหิว ปีศาจจึงทูลพระองค์ว่า “ถ้าท่านเป็น บุตรพระเจ้า จงสั่งให้หินก้อนนี้กลายเป็นขนมปังเถิด” พระเยซูเจ้า ตรัสตอบว่า “มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า มนุษย์มิได้ดำรงชีวิตด้วย อาหารเท่านั้น” ปีศาจจึงนำพระองค์ไปยังที่สูงแห่งหนึ่ง แสดงให้พระองค์ ทอดพระเนตรอาณาจักรต่างๆ ของโลกทั้งหมดในคราวเดียว และ ทูลพระองค์ว่า “ข้าพเจ้าจะให้อำนาจและความรุ่งเรืองของอาณาจักร เหล่านี้ทั้งหมดแก่ท่าน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะ ให้ผู้ใดก็ได้ตามความปรารถนา ดังนั้น ถ้าท่านกราบนมัสการข้าพเจ้า ทุกสิ่งจะเป็นของท่าน” พระเยซูเจ้าตรัสตอบปีศาจว่า “มีเขียนไว้ใน พระคัมภีร์ว่า ‘จงกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่าน และรับใช้พระองค์แต่ผู้เดียวเท่านั้น’“ ปี ศ าจนำพระองค์ ไ ปยั ง กรุ ง เยรู ซ าเล็ ม วางพระองค์ ล งที่
บทเทศน์ปี C
129
ยอดพระวิหาร แล้วทูลว่า “ถ้าท่านเป็นบุตรของพระเจ้า จงกระโจน ลงไปเบื้องล่างเถิด เพราะมีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า ‘พระเจ้าจะทรงส่ง ทูตสวรรค์ให้พิทักษ์รักษาท่าน’ และยังมีเขียนอีกว่า ‘ทูตสวรรค์จะ คอยพยุงท่านไว้มิให้เท้ากระทบหิน’ “แต่พระเยซูเจ้าตรัสตอบปีศาจ ว่า “มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า ‘อย่าทดลองพระผู้เป็นเจ้า พระเจ้า ของท่านเลย’” เมื่อปีศาจทดลองพระองค์ทุกวิถีทางแล้ว จึงแยกจากพระองค์ ไป รอจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม
130
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 1
ตัวอย่างเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น มหาพรตเป็ น ช่ ว งเวลา 40 วั น ที่ พ ระจิ ต เจ้ า ทรงนำทางเราให้ พิจารณาตนเองอย่างซื่อตรง พิจารณาจุดอ่อนของเรา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุ ให้เราถูกประจญ และให้เราทำอะไรสักอย่างกับจุดอ่อนนี้ การทดลองของพระเจ้าเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เรามองเห็นเป้าหมาย ของเราอย่างชัดเจนมากขึ้น และทำให้จิตใจของเราเข้มแข็ง ในการทดลองพระเยซูเจ้าในทั้งสามด้านนี้ พระองค์ทรงปฏิเสธ สามรู ป แบบของงานอภิ บ าลซึ่ ง อาจทำให้ เ กิ ด ผลเสี ย ต่ อ พั น ธกิ จ ของ พระองค์ กล่าวคือ พระองค์จะไม่ซื้ออาหารเลี้ยงประชาชน พระองค์จะ ไม่แสวงหาอำนาจด้วยการลดหลักการของพระองค์และร่วมมือกับคนชั่ว และพระองค์จะไม่ทำให้ประชาชนประทับใจด้วยการแสดงอภินิหาร การประจญสามด้ า นนี้ เ ป็ น ประเด็ น ที่ พ ระองค์ จ ะถู ก กล่ า วหา และเป็นความขัดแย้งที่พระองค์จะต้องเผชิญในอนาคต ขณะที่ลูกาเขียน พระวรสาร เขารู้ว่าคริสตชนที่กำลังถูกเบียดเบียนในสมัยของเขากำลัง ถูกดึงเข้าไปสู่ความขัดแย้ง และแรงกดดันเหล่านี้เช่นเดียวกัน ข้อขัดแย้งประการแรกเป็นเรื่องของอาหาร พระวรสารของลูกา มักกล่าวถึงการกินอาหาร และการร่วมงานเลี้ยง กล่าวกันว่าเขามักเสนอ ภาพของพระเยซูเจ้าขณะกำลังร่วมโต๊ะอาหาร กำลังเสด็จไปที่โต๊ะอาหาร หรือกำลังลุกจากโต๊ะอาหาร เราระลึกถึงงานเลี้ยงที่จัดขึ้นต้อนรับบุตร ล้างผลาญที่กลับมาบ้าน งานเลี้ยงที่พระเยซูเจ้าทรงได้รับเชิญไปร่วม หรืออาหารมื้อที่เสวยร่วมกับมาร์ธาและมารีย์ พันธกิจของพระเยซูเจ้า เป็นการคาดหวังถึงงานเลี้ยงครั้งสุดท้ายของพระเมสสิยาห์ มื้ออาหาร
บทเทศน์ปี C
131
เหล่านี้กลายเป็นประเด็นให้พระองค์ถูกกล่าวหาว่าทรงต้อนรับ และ ร่วมโต๊ะอาหารกับคนบาป (ลก 15:3) พระองค์ทรงถูกกล่าวหาว่าเป็น “นักกินนักดื่ม เป็นเพื่อนกับคนเก็บภาษีและคนบาป” (7:34) เมื่อเห็น ได้ชัดว่า พระเยซูเจ้าทรงโปรดการเสวยอาหาร การจำศีลอดอาหารของ พระองค์ก่อนเริ่มปฏิบัติพันธกิจจึงมีนัยสำคัญ ในการจำศีลอดอาหาร พระองค์ ท รงร่ ว มเป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั บ มนุ ษ ย์ ทุ ก วั ย ที่ ไ ม่ มี โ อกาสได้ รั บ ส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรมจากผลิตผลอันอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน ลูการะบุความเชื่อมโยงระหว่างการประจญครั้งแรกนี้ และการ ทดลองที่ พ ระเยซู เ จ้ า จะต้ อ งประสบในภายหลั ง โดยกล่ า วว่ า ปี ศ าจ แยกจากพระองค์ไปเพื่อจะกลับมาอีกเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ซาตาน กลับมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อถึงเทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ และเข้าสิงยูดาส เพื่ อ ประจญให้ เ ขาแยกตั ว ไปจากการกิ น อาหารร่ ว มกั น ฉั น มิ ต รกั บ พระเยซูเจ้า ลู ก าเขี ย นพระวรสารสำหรั บ กลุ่ ม คริ ส ตชนที่ ก ำลั ง เผชิ ญ กั บ ความขัดแย้งในชีวิต เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับพระเยซูเจ้า ขนมปัง (อาหาร) ควรเป็ น การแสดงออกถึ ง การแบ่ ง ปั น ภายในที่ ชุ ม นุ ม ของ คริสตชน แต่บางครั้ง อาหารกลับแสดงให้เห็นการแบ่งแยกระหว่างคนที่ มี และคนที่ ไ ม่ มี นอกจากนี้ ขณะที่ จั ก รวรรดิ โ รมั น เริ่ ม เสื่ อ มอำนาจ กรุงโรมมีนโยบายแจกขนมปัง และจัดแสดงละครสัตว์เพื่อความบันเทิง และหันเหประชาชนไปจากความคิดที่จะก่อความวุ่นวายหรือการกบฏ คำสั่งสอนของคริสตศาสนาท้าทายระบบนี้ ซึ่งดูหมิ่นจิตตารมณ์ของ มนุษย์ กล่าวคือ มนุษย์มิได้ดำรงชีวิตด้วยอาหารเท่านั้น ชีวิตยังต้องการ อะไรที่มากกว่าความบันเทิง การประจญด้านที่สอง แสดงให้เห็นว่าพระเยซูเจ้าทรงปฏิเสธ ความเย้ายวนของอำนาจทางการเมือง และชื่อเสียง พระองค์ทรงปฏิเสธ ความพึ ง พอใจส่ ว นตั ว ซึ่ ง เกิ ด จากการมี อ ำนาจ เพราะพระองค์ ท รง
132
บทเทศน์ปี C
ต้องการนมัสการพระบิดาแต่ผู้เดียว แทนที่จะเป็นฝ่ายให้ผู้อื่นรับใช้ และ สรรเสริญเยินยอ ซึ่งเป็นผลพวงที่ตามมาจากการมีอำนาจ พระองค์ทรง เลือกเป็นฝ่ายรับใช้ เมื่อประชาชนต้องการจะบังคับให้พระองค์เป็น กษัตริย์ พระองค์ทรงหลบหนีไปอย่างรวดเร็ว ต่อมาระหว่างที่พระเยซูเจ้า ทรงถูกพิพากษา พระวาจาของพระองค์ถูกบิดเบือนจนกลายเป็นข้อ กล่าวหาว่าพระองค์ทรงปลุกระดมให้ประชาชนเป็นกบฏ ว่าพระองค์ทรง คัดค้านการเสียภาษี และว่าพระองค์ทรงอ้างตัวเป็นกษัตริย์ ในยุคสมัยที่ลูกาเขียนพระวรสาร ประชาชนมักถูกเบียดเบียน เพราะไม่ยอมนับถือจักรพรรดิเสมือนเป็นเทพเจ้า คริสตชนจึงได้รับพละ กำลังจากคำตอบของพระเยซูเจ้าว่า “จงกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่าน และรับใช้พระองค์แต่ผู้เดียวเท่านั้น” การประจญด้านที่สาม เป็นการท้ า ทายความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง พระเยซูเจ้าและพระบิดา “ถ้าท่านเป็นบุตรของพระเจ้า จงกระโจนลงไป เบื้องล่างเถิด” การประจญนี้จะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระองค์อยู่ต่อ หน้าสภาซันเฮดริน และเขาถามพระองค์ว่า “ถ้าท่านเป็นพระคริสต์ จง บอกเราเถิด” ประชาชนจำนวนมากที่อยู่ในยุคเดียวกับลูกา อาจต้องถูกประหาร ชีวิตถ้าพวกเขาไม่ปฏิเสธความสัมพันธ์กับพระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้า ไม่ทรงเข้าแทรกแซงช่วยเหลือเพื่อไม่ให้เขาถูกคมดาบ หรือทรงดับไฟที่ เผาพวกเขา มนุษย์ที่ไม่มีความเชื่อเท่านั้นที่เรียกร้องเครื่องหมาย ผู้มี ความเชื่อที่เข้มแข็งมั่นคงจะไม่มีวันทดลองพระเจ้า ดังนั้น การทดลองพระเยซูเจ้าจึงแสดงให้เห็นลักษณะของพันธกิจของพระองค์ การประจญเหล่านี้ทำนายล่วงหน้าว่าพระองค์จะทรงถูก กล่าวหาอย่างไรเมื่อทรงถูกนำตัวไปพิพากษา วิธีรับมือกับการประจญ และชัยชนะขององค์พระผู้เป็นเจ้าจะเป็นแนวทาง และเป็นความหวัง สำหรับคริสตชนทุกยุคสมัยในการรับมือกับความขัดแย้งกับผู้ที่ต่อต้าน พวกเขา
บทเทศน์ปี C
133
บทรำพึงที่ 2
หิว ไร้อำนาจ และถูกทดลอง พระเยซูเจ้าทรงอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ทรงหิว พระองค์ทรงเข้าร่วม ในชะตากรรมเดียวกันกับคนทั้งหลายที่ไม่มีอาหารเพียงพอจะประทัง ชีวิต หรือคนที่ต้องดิ้นรนอยู่เสมอเพื่อหาอาหารมาเลี้ยงครอบครัว ความ หิวจะดีได้อย่างไร ความหิวมีประโยชน์ ถ้าสามารถทำให้เราคิดได้ว่าชีวิต มีอะไรมากกว่าการตอบสนองความอยากของตนเอง และเราไม่ได้ดำรง ชีวิตด้วยอาหารเท่านั้น การจำศีลอดอาหารและการรู้จักควบคุมความ อยากของเราสามารถแสดงให้เห็นว่าเราตั้งใจเลือกจิตวิญญาณก่อน ร่างกาย สังคมทุกวันนี้เผชิญกับความเจ็บป่วยหลากหลายรูปแบบ เพราะ มนุษย์ไม่ควบคุมความอยากของตน นโยบายเศรษฐกิจที่เห็นแก่ตัวทำให้ มนุษย์ครึ่งโลกไม่มีอาหารเพียงพอ ในขณะที่อีกครึ่งโลกผลิตอาหารได้ เกินความต้องการ แต่ไม่ยอมแบ่งปัน การปรนเปรอตนเองด้วยบุหรี่ สุรา หรืออาหารไขมันสูงเป็นสาเหตุของหลายโรค และทำให้เราทำลายจิตใจ และร่างกายด้วยยาเสพติด การใช้ชีวิตหมกมุ่นในกามารมณ์ทำลายความ มั่นคงของครอบครัว และบัดนี้ กำลังคุกคามสังคมด้วยโรคที่ร้ายแรง ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ถ้าเราหว่านเมล็ดพันธุ์ท่ามกลางลมแรง เราจะต้องเก็บเกี่ยวท่ามกลางลมพายุ เมื่อใดที่เราปล่อยให้ความอยาก กลายเป็นสัตว์ร้ายที่กดขี่เรา เมื่อนั้น ศักยภาพของจิตมนุษย์ย่อมถูกสกัด กั้น เราต้องฟังคำตอบของพระเยซูเจ้าอีกครั้งหนึ่ง คือ มนุษย์มิได้ดำรง ชีวิตด้วยอาหารเท่านั้น พระเยซู เ จ้ า ทรงต่ อ สู้ กั บ การประจญให้ แ สวงหาอำนาจและ ชื่อเสียง พระองค์ทรงยอมรับความยากไร้เหมือนกับมนุษย์ที่ถูกกดขี่
134
บทเทศน์ปี C
ถู ก แสวงหาประโยชน์ และจากการเป็ น เหยื่ อ สภาพไร้ อ ำนาจจะดี ได้อย่างไร สภาพไร้อำนาจจะมีประโยชน์เมื่อทำให้บุคคลหนึ่งไม่จองหอง หรือถือว่าบางสิ่งเป็นของตนเอง ทั้งที่ควรถวายคืนให้แก่พระเจ้า เมื่อ สภาพไร้อำนาจช่วยบุคคลหนึ่งไม่ให้แสดงความยโส ซึ่งจะกดขี่ผู้อื่น อำนาจเป็นสิ่งที่จัดการอย่างเหมาะสมได้ยาก อำนาจจะกลายเป็นสัตว์ ดุร้ายที่ไม่รู้จักอิ่ม และคอยแต่จะสร้างกำแพงขึ้นป้องกันตนเอง หรือเป็น ฝ่ายโจมตีก่อน เราอยู่ในโลกที่ตั้งงบประมาณสูงมากสำหรับซื้อหาอาวุธ สูงจนไม่สมดุลกับงบประมาณสำหรับการศึกษา และศิลปะ บั ด นี้ ความกระหายอำนาจสามารถเรี ย กใช้ อ าวุ ธ ที่ มี อ ำนาจ ทำลายล้างสูงจนเกินจินตนาการ น้อยครั้งที่มนุษย์จะเข้าใจว่าอำนาจอาจ เป็นความท้าทายให้รับใช้ก็ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอำนาจที่เกิดจากอาวุธ ยุทโธปกรณ์ทเี่ หนือกว่า หรืออำนาจทางการเงิน พระเยซูเจ้าทรงปฏิเสธวิถี แห่งอำนาจ และการปรนเปรอตนเอง พระองค์ทรงเลือกนมัสการพระเจ้า และรับใช้พระองค์แต่ผู้เดียว พระเยซู เ จ้ า ทรงถู ก ท้ า ทายเรื่ อ งอั ต ลั ก ษณ์ ท างศาสนาของ พระองค์ และทรงถูกทดลองว่าพระองค์ทรงเชื่อมั่นในพระบิดาหรือไม่ พระองค์ทรงเข้าร่วมในชะตากรรมของมนุษย์ทุกคน ที่เดินทางมุ่งหน้าสู่ กรุงเยรูซาเล็มของเขาผ่านดินแดนแห่งความเชื่ออันหม่นมัว มากกว่า ภายใต้แสงสว่างอันเกิดจากเครื่องหมายที่เขาได้รับจากพระเจ้า การ ทดสอบความเชื่อ และการท้าทายความวางใจจะดีได้อย่างไร พระเจ้า อาจจำเป็นต้องล้างภาพของพระเจ้า ที่เราสร้างขึ้นมาเองอย่างที่เราอยาก เห็ น เรามั ก อยากเปลี่ ย นขั้ น ตอนดั้ ง เดิ ม ด้ ว ยการสร้ า งพระเจ้ า ขึ้ น มา ตามภาพลักษณ์ของเรา และให้พระองค์เหมือนกับเรา เราจะใช้พระเจ้า แต่ ไ ม่ ย อมให้ พ ระเจ้ า ทรงใช้ เ รา และ “การใช้ พ ระเจ้ า ก็ คื อ การฆ่ า พระองค์” (เอ็คฮาร์ท) เราต้องยอมรับพระเจ้าอย่างที่พระองค์ทรงเป็น มิฉะนั้น ศาสนาย่อมจะผิดเพี้ยนไปตามความปรารถนาของเรา เมื่อนั้น ม
บทเทศน์ปี C
135
นุษย์จึงสามารถทำสงครามและฆ่าฟันได้ในนามของศาสนา รัฐบาลหรือ ธุรกิจที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตอาจใช้ศาสนาเคลือบตนเองให้ดูน่านับถือ ความ คิดว่าศาสนาของตนดีกว่าผู้อื่นเป็นรากฐานของการเหยียดเชื้อชาติ และ ทิฐิ การยึดถือตัวบทกฎหมายอย่างเลือดเย็นย่อมฝังเมตตาจิต และการ ยึดหลักศีลธรรมอย่างบ้าคลั่งก็ทำให้มนุษย์รู้สึกผิด และเสียสติ บางครั้ง แม้แต่การภาวนาก็ถูกสั่งสอนด้วยความเชื่อโชคลางเหมือนครั้งดึกดำบรรพ์ พระเยซูเจ้าทรงปฏิเสธที่จะทดลองพระเจ้า พระองค์ทรงปฏิเสธที่ จะตั้งเงื่อนไขให้พระเจ้าปฏิบัติตาม พระองค์ทรงยอมรับอย่างนอบน้อม ทุกสิ่งที่พระบิดาทรงส่งมาให้พระองค์ พระเยซู เ จ้ า ประทั บ นั่ ง ร่ ว มโต๊ ะ กั บ คนหิ ว ทรงร่ ว มต่ อ สู้ กั บ ผู้ ไร้อำนาจ และทรงเดินตามทางแห่งการทดลองไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ถ้า เราเดินร่วมทางไปกับพระองค์ด้วยพลังอันเกิดจากการควบคุมตนเอง ด้ ว ยความเข้ ม แข็ ง อั น เกิ ด จากการภาวนา และภายใต้ แ สงสว่ า งจาก พระคัมภีร์ เมื่อนั้น เราจะมีส่วนร่วมในชัยชนะของพระองค์
136
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 3 หลังจากรับพิธีล้าง พระเยซูเจ้าทรงได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยม ทรงพระดำเนินจากแม่น้ำจอร์แดน พระจิตเจ้าทรงนำพระองค์ไปยังถิ่น ทุรกันดาร... พระเยซูเจ้าทรงเริ่มต้นวิถีชีวิตใหม่ นี่คือจุดเปลี่ยนในชีวิตของ พระองค์ เมื่อสองสามวันก่อนหน้านั้น พระองค์ทรงเป็นช่างไม้คนหนึ่ง ในหมู่บ้านในเมืองนาซาเร็ธ เมื่อรับพิธีล้าง พระองค์ทรงได้รับมอบ อำนาจให้เป็นประกาศก พระองค์ทรงได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยม ก่อน เริ่มต้นงานอภิบาล พระองค์ทรงรู้สึกว่าจำเป็นต้องปลีกตัวไปแสวงหา ความวิเวกในทะเลทราย พระองค์ทรงต้องการอธิษฐานภาวนา ไตร่ตรอง และเลือกเครื่องมือในการทำงานของพระองค์ มนุษย์เราไม่สามารถทำกิจการสำคัญ หรือเจริญชีวิตจิตแท้ จน ประสบความสำเร็จ เว้นแต่จะสละเวลาเพื่ อ ไตร่ ต รอง อยู่ ต ามลำพั ง ท่ามกลางความเงียบภายในวิญญาณ ระหว่างเทศกาลมหาพรตที่เพิ่งเริ่ม ขึ้ น นี้ ข้ า พเจ้ า จะสละเวลาสั ก สองสามนาที ใ นแต่ ล ะวั น เพื่ อ ทำเช่ น นี้ ได้หรือไม่ หรือสละเวลาสักสิบห้านาทีในแต่ละสัปดาห์ ให้เป็นเวลา สำหรับอธิษฐานภาวนา ไตร่ตรอง เพื่อให้เห็น “ภาพ” ที่ชัดเจนมากขึ้น ข้าพเจ้ามองเห็นพระเยซูเจ้าในมโนภาพ พระองค์กำลังเสด็จออก จากหมู่บ้านและคนในหมู่บ้าน พระองค์เสด็จลึกเข้าไปในทะเลทราย บน เนินเขาที่แห้งแล้ง ไม่มีต้นไม้ ไม่มีน้ำ ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่ พระองค์ ทรงเดินไปเรื่อยๆ... พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะกล้าติดตามพระองค์ไป และสละเวลาสัก เล็กน้อยอยู่ “ในถิ่นทุรกันดาร” หรือไม่
ทรงถูกประจญเป็นเวลาสี่สิบวัน
บทเทศน์ปี C
137
ตามคำบอกเล่าของ ลูกา “การประจญ” พระเยซูเจ้าเกิดขึ้นตลอด ระยะเวลาที่พระองค์ประทับอยู่ในทะเลทราย คือ 40 วัน ช่วงเวลาของการ ภาวนายังเป็นเวลาของ “การทดสอบ” ด้วย คำว่า “ทดสอบ (testing)” เน้นด้านบวกของ “การประจญ” เราทดสอบตนเองว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง เราทดสอบเครื่องจักรเพื่อ ให้รู้คุณค่าแท้จริงของมัน “การประจญ” “การทดสอบ” จะเป็น “การทดลอง” ด้วย ความ รักที่ผ่านการทดสอบมาแล้วจะยั่งยืนอยู่ได้เมื่อพบกับวิกฤติการณ์ เรา เชื่อได้ว่าความรักนี้จะมั่นคง... เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเชิญชวนเราให้วิงวอน พระบิดาว่า “โปรดช่วยข้าพเจ้าไม่ให้แพ้การประจญ แต่โปรดช่วยให้พ้น จากความชั่วร้ายเทอญ” พระองค์ไม่ได้หมายความว่าเราจะรอดพ้นจาก การประจญ แต่ให้เราสามารถชนะมันได้ ขออย่าให้เราล้มลง พ่ายแพ้ และเป็นทาสของความชั่วร้าย พระเยซูเจ้าทรงเรียนรู้ด้วยพระองค์เองว่าการทดสอบนั้นรุนแรง แต่มีประโยชน์ ประสบการณ์นี้จะช่วยให้ความรักของเราเพิ่มพูนขึ้น การ ประจญที่ พ ระองค์ ป ระสบด้ ว ยตนเองแสดงให้ เ ห็ น ว่ า พระองค์ ท รง ซื่อสัตย์ต่อพระบิดามากเพียงไร ตลอดเวลานั้นพระองค์มิได้เสวยสิ่งใดเลย ในที่สุดทรงหิว ข้าพเจ้าเพ่งพินิจภาพนี้ การอดอาหารหมายถึงความทุกข์ทรมาน ... ความหิวทำให้ปวดท้อง เวียนศี ร ษะ บางที อ าจปวดศี ร ษะด้ ว ย... พระองค์ไม่บ่น แต่มีความสงบในใจที่เอาชนะความขาดแคลนฝ่ายกาย เพื่อให้มีแรงกระตุ้นฝ่ายจิตมากขึ้น พระเยซูเจ้าทรงเป็นแบบอย่างของข้าพเจ้าในถิ่นทุรกันดาร
138
บทเทศน์ปี C
การสมัครใจจำศีลอดอาหารเป็นกิจกรรมที่กระทำกันในศาสนา ใหญ่ๆ ส่วนมาก อารยธรรมสมัยใหม่ของเราอาจเป็นอารยธรรมเดียวที่ ปฏิเสธประสบการณ์ทางศาสนานี้มาตลอดประวัติศาสตร์ เราพูดกันว่า “เราต้องมีความสุขกับชีวิต จะทำให้ร่างกายขาดแคลนสิ่งใดไปทำไม” จริงหรือที่ทัศนคติสมัยใหม่นี้ช่วยยกระดับ “คุณภาพชีวิต” เมื่อ มนุษย์คนใด “ปล่อยตัว” ในเรื่องเพศ หรืออาหาร เขามีความเสี่ยงอย่าง ยิ่งที่จะสูญเสียสิ่งที่สำคัญมาก นั่นคือ “ความสามารถควบคุมตนเอง” เขาจะกลายเป็นมนุษย์ไร้กระดูกสันหลัง เป็นคนไม่เข้มแข็ง เป็นทาสของ สั ญ ชาตญาณฝ่ า ยต่ ำ ของตนเอง ในที่ นี้ พระเยซู เ จ้ า แสดงให้ เ ราเห็ น ภาพลักษณ์ของบุคคลทีก่ ล้าหาญ สามารถปฏิเสธตนเองได้ และอดอาหาร ด้วยความสมัครใจ ระหว่างเทศกาลมหาพรตนี้ ข้าพเจ้าจะยอมให้การปฏิเสธตนเอง และพลีกรรม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของข้าพเจ้าหรือไม่ การประจญครั้งแรก ปีศาจจึงทูลพระองค์ว่า “ถ้าท่านเป็นบุตรพระเจ้า จงสั่งให้ก้อน หินนี้กลายเป็นขนมปังเถิด” ชาวอิสราเอลเคยประสบกับการทดสอบด้วย “ความหิว” ใน ทะเลทราย แต่การประจญให้เรา “ตอบสนองความหิวของเรา” เป็น ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน เรารู้จักความอยากของร่างกาย ของเราดี ความอยากนี้เป็นสิ่งที่ดี เพราะพระเจ้าทรงใส่ไว้ในตัวเรา แต่ ความอยากอาจเบี่ยงเบนได้ง่าย และกลายเป็นทรราชที่ไม่รู้จักพอ สังคม บริโภคนิยมรอบตัวเราทำให้ความอยากมีอำนาจมากขึ้น “ซื้อช็อกโกแล็ต นี้ซิ...ซื้อขนมหวานรสอร่อยนี้ซิ...” เมื่อมองโดยรวม คนมากมายเท่าไร นอกตั ว เราที่ บ ริ โ ภคจนเกิ น พอดี ใ นขณะที่ ค นรอบตั ว เราขาดแคลน อาหาร ... นี่คือเวลาที่เราต้องแบ่งปันสิ่งที่เรามีกับผู้อื่น
บทเทศน์ปี C
139
พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า มนุษย์มิได้ดำรง ชีวิตด้วยอาหารเท่านั้น” “มนุษย์” ข้าพเจ้าชอบได้ยินคำนี้จากพระโอษฐ์ของพระองค์ ข้าแต่พระเยซูเจ้า พระองค์ทรงรักมนุษย์อย่างคลั่งไคล้ พระองค์เสด็จมา ประทับท่ามกลางเราเพื่อพัฒนาคุณค่าของตัวมนุษย์ให้ครบทุกมิติ และ วันนี้ พระองค์ทรงย้ำกับเราว่า มนุษย์มิได้ดำรงชีวิตด้วยอาหารเท่านั้น จงอย่ า ปล่ อ ยตั ว ตามสั ญ ชาตญาณฝ่ า ยต่ ำ ของท่ า น ท่ า นไม่ มี อ ะไรทำ มากไปกว่าการกิน ดื่ม สูบบุหรี่หรือ... ท่านไม่มีความจำเป็นด้านอื่น หรือ... ระหว่างเทศกาลมหาพรตนี้ เราจะรู้หรือไม่ว่า เราควรพัฒนาวิธี สังเกตคุณค่าฝ่ายจิตอย่างไร... เราจะสามารถสมัครใจควบคุมกิเลส ตัณหาที่เรียกร้องเรา และเราจะรู้จักปฏิเสธตนเอง เพื่อฟื้นฟูชีวิตของเรา หรือไม่ การประจญครั้งที่สอง ปี ศ าจจึ ง นำพระองค์ ไ ปยั ง ที่ สู ง แห่ ง หนึ่ ง แสดงให้ พ ระองค์ ทอดพระเนตรอาณาจักรต่างๆ ของโลกทั้งหมดในคราวเดียว และทูล พระองค์ว่า “ข้าพเจ้าจะให้อำนาจและความรุ่งเรืองของอาณาจักร เหล่านี้ทั้งหมดแก่ท่าน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะ ให้ผู้ใดก็ได้ตามความปรารถนา ดังนั้น ถ้าท่านกราบนมัสการข้าพเจ้า ทุกสิ่งจะเป็นของท่าน” เห็นได้ชัดว่า ข้อความนี้ไม่ใช่การรายงานเหตุการณ์เหมือนกับ นักข่าวบรรยายสถานการณ์ แต่เป็นแนวคิดทางเทววิทยา ที่สรุปและ สังเคราะห์ “การประจญทุกประเภท” (ดังที่ลูกาบอกไว้ในตอนท้ายของ คำบอกเล่านี)้ ซึง่ พระเยซูเจ้าทรงเผชิญอย่างแท้จริงตลอดชีวติ ของพระองค์
140
บทเทศน์ปี C
ตัวอย่างเช่น เราเห็นได้ว่า “การประจญครั้งที่สอง” หรือการ ประจญของ “อำนาจฝ่ายโลก” เป็นการประจญที่พระเยซูเจ้าต้องเผชิญ อยู่เสมอ พระองค์ทรงต้องปฏิเสธความเย้ายวนใจของ “การเป็นพระเมสสิยาห์ฝ่ายโลก” หลายครั้งหลายหน ตามที่ประชาชนในสมัยนั้นต้อง การให้พระองค์เป็น พวกเขาต้องการให้พระองค์เป็นผู้นำทางการเมือง ต้องการให้พระองค์เป็น “กษัตริย์ของโลกนี้” เหมือนกษัตริย์ดาวิด เพื่อ ยึดอำนาจกลับคืนมาจากกองทัพโรมันที่ยึดครองดินแดนอยู่ในเวลานั้น (ยน 6:15) นับตั้งแต่วันแรกในทะเลทรายนั้น จนถึงลมหายใจสุดท้าย พระเยซูเจ้าทรงปฏิเสธ “ความเป็นกษัตริย์” ประเภทนี้มาโดยตลอด... เพื่อจะเป็น “คนยากจน” และ “ผู้รับใช้” (ยน 13:1-20)... พระเยซูเจ้า สามารถเกิดมาเป็นคนรวยและมีอำนาจได้ แต่พระองค์ทรงเลือกเป็น “คนอ่อนแอ” (1คร 1:27) ทรงเลือกทางที่นำไปสู่กางเขน “อันเป็นข้อ ขัดข้องมิให้ชาวยิวรับไว้ได้ และเป็นเรื่องโง่เขลาสำหรับชาวกรีก”… การประจญให้แสวงหาอำนาจเป็นการประจญสำหรับเราเช่นกัน คือ ประจญให้เราแสดงอำนาจเหนือผู้อื่น และเป็นคนที่ค้ากำไรเกินควร ... พระเยซูเจ้าตรัสตอบปีศาจว่า “มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า ‘จงกราบ นมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่าน และรับใช้พระองค์แต่ ผู้เดียวเท่านั้น’” พระเยซู เ จ้ า ทรงตอบโต้ ก ารโจมตี ข องซาตานสามครั้ ง ด้ ว ย ข้อความจากพระคัมภีร์ (ฉธบ 8:3, 6:3, 6:13) พระเยซูเจ้าทรงกำลัง ประสบกับการประจญ เหมือนกับที่ประชากรของพระองค์เคยประสบใน ทะเลทรายเป็นเวลา 40 ปี คือการประจญเรื่องมานนา (อพย 16)... การประจญเกี่ยวกับรูปเคารพ และลูกโคทองคำ (อพย 32)... และการ ประจญเรื่องอัศจรรย์น้ำจากหิน (อพย 17)…
บทเทศน์ปี C
141
การประจญชาวอิสราเอล ... การประจญพระเยซูเจ้า ... การประจญ มวลมนุษยชาติ... ทั้งหมดนี้เป็นการประจญสำหรับเราด้วย กล่าวคือ ทำ ให้เราไม่มั่นใจในพระเจ้า เพราะพระเจ้าไม่แสดงพระองค์แก่เรา และ ทำให้เราหันไปวางใจใน “สิ่งอื่น” คำตอบของพระเยซูเจ้า คือ ไม่มีสิ่งอื่นใดนอกจากพระเจ้า ข้ า แต่ พ ระเยซู เ จ้ า ข้ า พเจ้ า ต้ อ งการติ ด ตามพระองค์ และ ไม่ต้องการ “กราบนมัสการ” และไว้วางใจในเงินทอง หรือสิ่งบันเทิงใจ ในอำนาจ หรือลัทธิต่างๆ ในความสำเร็จ หรือแฟชั่น ข้าพเจ้าต้องการ กราบนมัสการเบื้องหน้าพระเจ้าเท่านั้น ทรัพย์ฝ่ายโลกไม่ใช่สิ่งเลวร้าย แต่การทำให้ทรัพย์เหล่านี้กลาย เป็นทุกสิ่งทุกอย่างนับว่าเป็นภาพลวงตาที่น่าเศร้า พระเยซูเจ้าผู้เดียว ทรงสามารถปลดปล่อยเราจาก “พระเจ้าเท็จเทียม” ทั้งปวงที่ชักนำให้เรา หลงทาง... การประจญครั้งที่สาม ปีศาจนำพระองค์ไปยังกรุงเยรูซาเล็ม วางพระองค์ลงที่ยอด พระวิหาร แล้วทูลว่า “ถ้าท่านเป็นบุตรของพระเจ้า จงกระโจนลงไป เบื้องล่างเถิด เพราะมีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า ‘พระเจ้าจะทรงสั่ง ทูตสวรรค์ให้พิทักษ์รักษาท่าน’ และยังมีเขียนอีกว่า ‘ทูตสวรรค์จะ คอยพยุงท่านไว้มิให้เท้ากระทบหิน’” (สดด 91:11, 12) นี่คือการประจญอันยิ่งใหญ่และต่อเนื่อง ซึ่งเกิดขึ้นกับพระเยซูเจ้า ตลอดชีวิตของพระองค์ “ทำอัศจรรย์ซิ ... แสดงเครื่องหมายจากสวรรค์ซิ ... แสดงว่าท่านเป็นพระเจ้า ... ท่านมีเครื่องหมายอะไรแสดงให้เรารู้ว่า ท่านมีอำนาจ ... ท่านกระทำเครือ่ งหมายอัศจรรย์ใดเพือ่ พวกเราจะได้เห็น และจะได้เชื่อในท่าน ... จงลงมาจากไม้กางเขนเดี๋ยวนี้” (ลก 11:29, 11:16, 21:7; ยน 2:18, 6:30, 12:37, มธ 27:42, 43)...
142
บทเทศน์ปี C
แม้แต่ในปัจจุบัน เราก็ร้องขอเช่นนี้จากพระเจ้าไม่ใช่หรือ ลูกา จัดให้การประจญในกรุงเยรูซาเล็มอยู่ในลำดับสุดท้าย (ซึ่ง เป็นการประจญ “ครั้งที่สอง” ในพระวรสารของมัทธิว) เพื่อย้ำให้เห็น ลำดับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น เพราะในกรุงเยรูซาเล็ม พระเยซูเจ้าจะต้อง ผ่ า น “การทดสอบ” ที่ รุ น แรงที่ สุ ด นั่ น คื อ การประจญให้ พ ระองค์ ปรารถนาจะหลบหนีความตาย “พระบิดาเจ้าข้า ถ้าพระองค์มีพระประสงค์ โปรดทรงนำถ้วยนี้ไปจากข้าพเจ้าเถิด” (ลก 22:42) พระเยซู เ จ้ า ไม่ ท รงได้ รั บ การ “พิ ทั ก ษ์ รั ก ษา” จากทู ต สวรรค์ ดังนั้น การประจญที่เกิดขึ้นในยามทุกข์ยากเจ็บปวด จึงมีจุดมุ่งหมาย ให้ทรงสูญเสียความวางใจในพระบิดา... พระเยซูเจ้าไม่ทรงได้รับการ พิทักษ์รักษา พระบาทของพระองค์ “เจ็บปวดจากการเหยียบย่ำก้อนหิน ตามทาง” พระองค์ไม่เคยใช้อำนาจพระเจ้าของพระองค์เพื่อหลีกเลี่ยง ความยากลำบากอันเกิดจาก “สภาพมนุษย์ผู้รู้จักตาย” ของพระองค์ พระองค์ไม่ทรงยอมใช้วิธีการที่น่าตื่นเต้นในการปฏิบัติพันธกิจ แต่ทรง ยอมใช้แต่ “เครื่องมือที่ยากไร้”… ด้วยความนบนอบเชื่อฟังพระบิดาโดยสิ้นเชิง และแม้เมื่อทรง รู้สึกว่าพระบิดาทรงทอดทิ้งพระองค์ (มธ 27:46) พระเยซูเจ้าทรงแสดง ให้เห็นได้ดีที่สุดว่าพระองค์ทรงเป็นพระเอกบุตรแน่นอน พระองค์จะ ทรง “รอดพ้นจากความตาย” อาศัยการกลับคืนชีพของพระองค์ แต่ต้อง หลังจากพระองค์ได้แสดงความรัก “จนถึงที่สุด” แล้วเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเราประสบกับการประจญแบบเดียวกัน ก็อย่าได้สงสัย เลย นี่เป็นการประจญที่ร้ายแรงที่สุดในบรรดาการประจญทั้งปวง คือ ประจญให้เรา “ละทิ้งพระเจ้า” เป็นการประจญของบุคคลที่ไม่เชื่อว่ามี พระเจ้า “ถ้า ‘พระเจ้าผู้พระทัยดี’ มีจริง การทดลองเช่นนั้นก็ไม่ควร เกิดขึ้นกับฉัน”
บทเทศน์ปี C
143
แต่พระเยซูเจ้าตรัสตอบปีศาจว่า “มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า ‘อย่า ทดลององค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านเลย’” เราก็ไม่ควร “ทดลองพระเจ้า” เหมือนกัน บางครั้ง เราต้องการให้ พระเจ้าทำตามความต้องการของเรา “ถ้าพระองค์มีตัวตนอยู่จริง ถ้าฉัน เป็นบุตรของพระองค์...พระองค์ต้องรักษาฉันให้หายจากโรคนี้...ขอให้ ฉันหลุดพ้นจากความยากลำบากครั้งนี้...ขอให้ฉันสอบได้ ... ถ้าพระองค์ ไม่ทำตามเงื่อนไขของฉัน ฉันจะไม่สนใจพระองค์อีกต่อไป – ฉันจะถือ ว่าพระองค์ไม่มีตัวตนอยู่จริง ...” เรารู้ดีว่าปัญหาจาก “ความชั่วร้ายในโลก” เป็นสาเหตุของวิกฤติ ด้านจิตวิญญาณส่วนใหญ่ และทำให้หลายคนสูญเสียความเชื่อ ... แต่เรา เชื่อว่าพระเยซูเจ้า “ประทับอยู่กับเรา” พระเยซูเจ้าทรงเป็นบุคคลแรกที่ ชนะการประจญนี้ เมื่อพระองค์ยังจงรักภักดี และซื่อสัตย์ต่อพระบิดา ต่อไป แม้ในขณะที่พระองค์ทรงถูกตอกตะปูตรึงกับไม้กางเขน... เมื่อปีศาจทดลองพระองค์ทุกวิถีทางแล้ว จึงแยกจากพระองค์ไป รอ จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม การประจญที่ บ อกเล่ า ข้ า งต้ น นี้ เ ป็ น เพี ย งจุ ด เริ่ ม ต้ น เท่ า นั้ น พระเยซูเจ้าจะทรงถูกประจญอีก ซาตานดูเหมือนจะนัดหมายว่าจะมา พบพระองค์ในกรุงเยรูซาเล็ม และที่นั่นจะเป็นสถานที่ของการเผชิญหน้า กันอย่างแท้จริง...ระหว่างพระทรมานของพระองค์ (ลก 22:3)…
144
บทเทศน์ปี C
วั นอาทิตย์ที่สอง เทศกาลมหาพรต ลูกา 9:28-36 พระเยซูเจ้าทรงพาเปโตร ยอห์น และยากอบ ขึ้นไปบนภูเขา เพื่ออธิษฐานภาวนา ขณะที่ทรงอธิษฐานภาวนาอยู่นั้น ลักษณะของ พระพักตร์เปลี่ยนไป และฉลองพระองค์มีสีขาวเจิดจ้า ทันใดนั้น บุรุษ สองคน คือ โมเสสและประกาศกเอลียาห์ มาสนทนากับพระองค์ ทั้งสองคนปรากฏมาในสิริรุ่งโรจน์ กล่าวถึงการจากไปของพระองค์ ที่กำลังจะสำเร็จในกรุงเยรูซาเล็ม เปโตรและเพื่อนที่อยู่ด้วยต่างก็ง่วง นอนมาก เมื่อตื่นขึ้นก็เห็นพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ และเห็นบุรุษ ทั้ ง สองคนยื น อยู่ กั บ พระองค์ ขณะที่ บุ รุ ษ ทั้ ง สองคนกำลั ง จะจาก พระเยซูเจ้าไป เปโตรทูลพระองค์ว่า “พระอาจารย์เจ้าข้า ที่นี่สบาย น่าอยูจ่ ริงๆ เราจงสร้างเพิงขึน้ สามหลังเถิด หลังหนึง่ สำหรับพระองค์ หลังหนึ่งสำหรับโมเสส อีกหลังหนึ่งสำหรับประกาศกเอลียาห์” เขา ไม่รู้ว่ากำลังพูดอะไร ขณะที่เขากำลังพูดอยู่นั้น เมฆก้อนหนึ่งลอยมา ปกคลุมเขาไว้ เมื่ออยู่ในเมฆ เขากลัวมาก เสียงหนึ่งดังออกมาจาก เมฆว่า “ท่านผู้นี้เป็นบุตรของเรา ผู้ที่เราได้เลือกสรร จงฟังท่านเถิด” เมื่อสิ้นเสียงนั้นแล้ว ศิษย์ทั้งสามก็เห็นพระเยซูเจ้าเพียงพระองค์เดียว เขาเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ ไม่ได้บอกเรื่องที่เห็นให้ผู้ใดรู้เลยในเวลา นั้น
บทเทศน์ปี C
145
บทรำพึงที่ 1
อยู่กับพระองค์บนภูเขาศักดิ์สิทธิ์
ภูเขาเป็นสถานที่อันน่าพิศวง ทำให้เรามองเห็นทิวทัศน์ ทุกก้าว ที่สูงขึ้นไปทำให้มองเห็นโลกเบื้องล่างได้กว้างไกลมากขึ้น เราเห็นรูปร่าง ของฟาร์มและป่าไม้ เห็นขอบชายฝั่งทะเล เห็นถนน และแม่น้ำที่คดเคี้ยว และเชื่อมต่อสถานที่ต่างๆ ก้อนหินที่สึกกร่อนบอกเราว่ามันตากแดด ตากลมมานานนับพันปี เทือกเขาบอกเรื่องราวที่ผ่านมานับล้านปี สถานที่ กว้างใหญ่ และเวลาอันยาวนานในอดีต เชิญชวนให้เรามองชีวิต และ ทิศทางชีวิตในแง่มุมใหม่ เปโตร ยากอบ และยอห์น เป็นเหมือนคนแคระที่ถูกนำตัวออก มาจากป่าฝนอันมืดครึ้มแห่งชีวิตที่จำเจ และถูกพาขึ้นไปบนภูเขาที่มอง เห็นทิวทัศน์กว้างไกล ความเจิดจ้าของจิตที่เขาไม่คุ้นเคย ทำให้ตาฝ่าย กายของเขาแสบ สำนึกในกาลเวลาของเขาขยายตัวกว้างขึ้น ช่วงเวลานั้น ถูกเชื่อมเข้ากับความรุ่งโรจน์แห่งอดีตในยุคธรรมบัญญัติและประกาศก ซึ่งมีโมเสส และเอลียาห์เป็นตัวแทน เขารับรู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับ อนาคตด้วย เมื่อเขาได้ยินทั้งสองกล่าวถึงการจากไปของพระเยซูเจ้าใน กรุงเยรูซาเล็ม พวกเขาได้รับช่วงเวลาแห่งความสว่างนี้เพื่อให้เขามีกำลัง สำหรับต่อสู้ในวันข้างหน้า ศิษย์ทั้งสามคนนี้คือ เปโตร ยากอบ และ ยอห์น จะอยู่กับพระเยซูเจ้าในเวลาอันมืดมนในสวนเกทเสมนี และสาม คนนี้จะร่วมรับความทุกข์ทรมานของพระศาสนจักรในศตวรรษที่หนึ่ง มากกว่าศิษย์คนอื่นๆ เปโตรจะต้องการพละกำลังที่ได้จากความทรงจำ เพื่อเป็นศิลาค้ำจุนผู้อื่น ยากอบเป็นอัครสาวกคนแรกที่เป็นมรณสักขี
146
บทเทศน์ปี C
และต้องการพละกำลังจากความหวังว่าร่างกายของเขาจะเปลี่ยนสภาพ อย่างรุ่งโรจน์ ยอห์นจะมีชีวิตยืนยาวกว่าศิษย์อื่นๆ และจะเป็นผู้เขียน พระวรสารฉบับที่สี่ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการรำพึงไตร่ตรองอย่าง ล้ำลึกเกี่ยวกับการเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระวจนาตถ์ วันแห่ง แสงสว่างและความมั่นใจนี้ถูกประทานให้แก่ศิษย์ทั้งสามล่วงหน้าเป็น เวลานานหลายปี เพื่อเป็นจุดหนึ่งในความทรงจำที่พวกเขาจะย้อนกลับ ไประลึกถึงได้เสมอ เปโตรต้องการจับและเก็บรักษาช่วงเวลานั้นไว้ใน เพิงนัดพบ แต่เพิงหนึ่ง หรือสามเพิงก็ไม่สามารถเก็บกักการพบกัน ระหว่างพระเจ้าและมนุษยชาติ ซึ่งเกิดขึ้นในองค์พระเยซูเจ้า ความทรงจำ ของคริ ส ตชนเท่ า นั้ น สามารถรั ก ษาช่ ว งเวลานั้ น ไว้ ใ นทุ ก เวลาและทุ ก สถานที่ หนึ่งในผู้เขียนพระคัมภีร์เน้นย้ำถึงความเข้มแข็งของความเชื่อ ที่เกิดจากความทรงจำของเปโตรว่า “เมื่อเราประกาศให้ท่านรู้ถึงพระฤทธานุภาพ และการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของ เรานั้น เรามิได้พูดตามนิยายงมงายที่สร้างขึ้น แต่เราประจักษ์ด้วยตา ตนเองถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ... เราอยู่กับพระองค์บนภูเขาศักดิ์ สิทธิ์นั้น” (2ปต 1:16-18) มหาพรตหมายถึงการเดินทางของชีวิต บางครั้งวันเวลาของเรา เหมื อ นกั บ เราอยู่ กั บ พระเยซู เ จ้ า ในถิ่ น ทุ ร กั น ดารแห่ ง ความขั ด แย้ ง บางครั้ง พระองค์ทรงนำเราขึ้นไปอยู่บนภูเขาแห่งการภาวนา และเข้าสู่ ประสบการณ์แห่งแสงสว่าง ทัศนวิสัย ความกว้างไกล ความเชื่อมโยง และความมั่นใจ เมื่อพระเจ้าประทานช่วงเวลาแห่งความเข้าใจอันลึกล้ำ พระองค์ประทานให้เพื่อเป็นกำลังสำหรับการต่อสู้ในอนาคต วันบนภูเขา เป็นวันเวลาที่เราควรทะนุถนอมไว้ บางคนได้รับกำลังใจมากจากการ บันทึกเรือ่ งราวต่างๆ ซึง่ เป็นพระพรทีเ่ ขาได้รบั มาในชีวติ เมือ่ พระเจ้าทรง เผยแสดงความสว่าง และการประทับอยู่ของพระองค์ เราต้องทำทุกสิ่ง
บทเทศน์ปี C
147
ทุกอย่างที่ทำได้เพื่อน้อมรับช่วงเวลานั้น รับรู้ และเก็บไว้เป็นของเรา เราควรประกาศให้ผู้อื่นทราบเรื่องพระพรของพระเจ้าด้วยการสรรเสริญ และความกตัญญูรู้คุณ เช่นเดียวกับพระนางมารีย์ ผู้เป็นผู้เพ่งพิศภาวนา ผู้ยิ่งใหญ่ เราต้องทะนุถนอมช่วงเวลานั้นไว้ในใจ และไตร่ตรองเรื่องราว และรักษาไว้ในความทรงจำ
148
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 2 ง่วงนอนมาก
เปโตร ยากอบ และยอห์น ผู้น่าสงสาร ทั้งสามคนมีปัญหาเสมอ เมื่อต้องตื่นเฝ้าอยู่กับพระเยซูเจ้า พวกเขา “ง่วงนอนมาก” ขณะที่อยู่ บนภูเขาแห่งแสงสว่าง ต่อมา เมื่อเขาอยู่ที่เชิงเนินเขาอีกลูกหนึ่ง และ พระเยซูเจ้าทรงต้องการมีคนอยู่เป็นเพื่อน พระองค์ทรงพบพวกเขา “หลับอยู่เพราะความโศกเศร้า” พลังงานเป็นสิ่งที่แปลก เราไม่รู้ว่ามันมา จากไหน เราจะเติมพลังได้อย่างไร และมันสูญหายไปได้อย่างไร นี่เป็นข้อ บ่งชี้ถึงสภาพชีวิตภายในของเราได้แน่นอน เมื่อเราพูดว่าใครบางคน กำลัง “ตื่นตัวเต็มที่” เรายอมรับว่าสภาพนี้เกิดจากพลังงานมากกว่า เพราะเขามีสุขภาพแข็งแรง และรู้ว่าความเหน็ดเหนื่อยทางกายไม่ใช่ สาเหตุเดียวของความอ่อนล้า ผู้ฝึกสอนนักฟุตบอลรู้ดีว่าไม่มีอะไรช่วย กระตุ้นกล้ามเนื้อที่เหนื่อยล้าได้ดีเท่ากับแรงจูงใจ ความอ่อนล้าอาจเกิด จากความเหน็ดเหนื่อยทางกาย หรือทางจิตใจ หรือทางอารมณ์ก็ได้ มนุษย์แสดงความกระตือรือร้นออกมาด้วยอาการต่างๆ ที่ต้องใช้ พลังงาน เช่น แสดงความสนใจออกมาทางดวงตา ความสว่างสดใส ของใบหน้า ความแข็งแรงของเสียงพูด และกิริยาท่าทาง และแสดง ความอ่อนล้า และความหดหู่ใจออกมาด้วยความกระวนกระวาย ความ เบื่อหน่าย และความเกียจคร้าน ความหมายดั้งเดิมของความกระตือรือร้น (enthusiasm) คือการอยู่ในพระเจ้า (living-in-God) เมื่อ ปราศจากความกระตือรือร้นจึงหมายถึงการขาดความรู้สึกว่าเรากำลังอยู่ ในพระเจ้า นักประพันธ์หนังสือฝ่ายจิตในยุคกลางวาดภาพของคนบาป ว่า เป็นคนหลังค่อมที่ก้มลงมองเท้าตนเอง และไม่สามารถมองเห็นโลก
บทเทศน์ปี C
149
ของพระเจ้าได้ และเข้าใจว่าการสำนึกผิดก็คือกระบวนการที่มนุษย์ยก สายตาขึ้น ทำให้มองเห็นความจริง ความงาม และความดีของพระเจ้าใน โลกได้กว้างไกลขึ้น ความเกียจคร้านตรงกันข้ามกับความกระตือรือร้น และธรรมประเพณีถือว่าเป็นหนึ่งในบาปต้นเจ็ดประการ เคยมีผู้อธิบาย ความหมายของพระคั ม ภี ร์ บ างคนตี ค วามว่ า บาปกำเนิ ด คื อ ความ เกียจคร้าน โดยให้เหตุผลว่า อาดัมและเอวาไม่ยอมใช้ความสามารถของ ตนในการไตร่ตรองด้วยเหตุผล และยอมให้ปีศาจคิดแทนตน ความจริง ที่ว่ามนุษย์คนหนึ่งยังมีลมหายใจอยู่ไม่ใช่หลักฐานที่พิสูจน์ได้เพียงพอว่า บุคคลนั้นยังมีชีวิต ที.เอส. เอเลียต เขียนบรรยายสตรีแห่งแคนเตอเบอรี ในยุคของเบ็กเก็ต ว่า “มีชีวิต และมีชีวิตเพียงบางส่วน” สตรีเหล่านี้ ดำรงชีวิตไปเรื่อยๆ ผ่านฤดูกาลต่างๆ แต่พยายามหลีกเลี่ยงผลจากความ เป็ น จริ ง และ “ไม่ ป รารถนาให้ เ กิ ด อะไรขึ้ น เลย” พระเยซู เ จ้ า ทรง เผชิญหน้ากับชีวิตตั้งแต่ในถิ่นทุรกันดารที่แห้งแล้งที่สุด จนถึงภูเขา อั น รุ่ ง โรจน์ ที่ สุ ด พระองค์ เ สด็ จ มาเพื่ อ ให้ เ รามี ชี วิ ต และมี ชี วิ ต อย่ า ง บริบูรณ์ พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้าปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนที่สุดบน ใบหน้าของบุคคลที่มีชีวิตอย่างเต็มเปี่ยม “พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า อยู่ในตัวมนุษย์ที่มีชีวิต และชีวิตบริบูรณ์สำหรับมนุษย์อยู่ที่การมองเห็น พระเจ้า” (นักบุญ อิเรนีอัส) แสงสว่างบนใบหน้าของนักบุญเกิดจากการมองเห็นพระเจ้าใน ชีวิต แม้แต่ในสิ่งที่น่าเกลียดในชีวิต คนบาปหลังค่อมตกอยู่ในเงาและ ความมืด ใบหน้าที่แสดงความเบื่อหน่ายและไหล่ลู่ของคนจำนวนมาก ในปัจจุบันเป็นพยานถึงความว่างเปล่าของวัฒนธรรมวัตถุนิยม และมีคน จำนวนมากที่ชอบชีวิตกลางคืนและนอนในเวลากลางวัน จนดูเหมือนว่า พวกเขากลัวแสงสว่าง พลังงานเกิดจากวิสัยทัศน์และเป้าหมาย ความเกียจคร้านและ ความอ่อนล้าเกิดจากการขาดพลังงาน อาจเป็นเพราะพลังงานนั้นรั่วไหล
150
บทเทศน์ปี C
ออกไปเพราะนำไปใช้กับเป้าหมายที่ซ่อนเร้นอื่นๆ หรือไม่สามารถเก็บ พลังงานไว้ได้โดยปราศจากปัจจัยกระตุ้นภายนอก บางครั้ง ความมืด และความหดหู่ในใจ เกิดจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย หรือโรคภัย ไข้เจ็บ หรืออาจเกิดขึ้นเพราะเราใช้อารมณ์มากเกินไปอย่างที่เรียกกันว่า “สภาพหมดไฟ” แต่มีบางครั้งที่ความรู้สึกแห้งแล้งนั้นเกิดขึ้นเพราะ พระเจ้าทรงกำลังทำงานในวิญญาณนั้น ซึ่งในกรณีนี้ ความช่วยเหลือ จากเพื่อนผู้ฉลาดรอบคอบเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด สิ่งสำคัญคือ เราต้อง รู้จักตนเองมากพอจะเข้าใจสถานการณ์ และประสบการณ์ ที่เป็นต้น กำเนิดของพลังงานในตัวเรา และคอยตรวจสอบว่าเมื่อใดที่พลังงานของ เรารั่วไหลจนทำให้เกิดความเฉื่อยชา เกิดความกลัวจนไม่กล้าทำอะไร เกิดความวิตกกังวลไปหมดทุกเรื่อง ขาดความมั่นใจในตนเอง มีแต่ความ หวาดระแวง ขาดสมาธิ และหงุดหงิด มนุษย์สามารถปิดบังอาการเหล่านี้ ด้วยการไม่ยอมลุกจากเตียงนอน ด้วยกิจกรรมที่หันเหความสนใจ หรือ ดื่มสุรา หรือใช้สารเคมีอื่นๆ แต่เมื่อถึงเวลา เขาควรเผชิญหน้ากับสาเหตุ ของปัญหาจะดีกว่า ชาวประมงสามคนที่แข็งแรงมากพอจะพายเรือ และลากอวนได้ ตลอดคื น กลั บ พบว่ า ตนเอง “ง่ ว งนอนมาก” และ “หลั บ อยู่ เ พราะ ความโศกเศร้า” ทั้งที่ไม่ได้ทำงานหนัก บางครั้ง ชีวิตภาวนาของเราต้อง เป็นการพบกับพระเจ้า โดยเปิดใจกับจิตตาธิการที่มีความรู้ ผู้สามารถ ช่วยเราให้เข้าใจว่าความเหนื่อยของเราหมายถึงอะไร
บทเทศน์ปี C
151
บทรำพึงที่ 3
พระเยซูเจ้าทรงพาเปโตร ยอห์น และยากอบ ... บทอ่านวันนี้มาจากพระวรสารของนักบุญลูกา และเริ่มต้นจาก กลางประโยค ท่อนแรกของประโยคกล่าวไว้ว่า “หลังจากพระเยซูเจ้า ตรัสเรื่องนี้ประมาณแปดวัน...” พระวรสารสหทรรศน์ทั้งสามฉบับเน้น ความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์ “พระเยซูเจ้าทรงสำแดงพระองค์” เข้ากับการ “ตรัสเรื่องนี้” (มธ 17:1, มก 9:2, ลก 9:28) มีเพียงไม่กี่ ครั้งที่พระวรสารเชื่อมโยงสองเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูเจ้าโดยเรียง ตามลำดับเหตุการณ์ เปโตร ยากอบ และยอห์น จำพระวาจาที่พระองค์ตรัสในโอกาส นั้นได้อย่างแน่นอน แปดวันก่อนหน้านั้นพวกเขาได้สนทนากับพระองค์ ซึ่งเป็นคำสนทนาที่เขาไม่มีวันลืม และแบ่งเป็นสองตอน ตอนที่หนึ่ง พระเยซูเจ้าทรงถามเขาว่า “ท่านล่ะว่าเราเป็นใคร” เปโตรตอบคำถามนี้ เองโดยประกาศความเชื่อของเขาว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระคริสต์ของ พระเจ้า... หลังจากนั้น พระเยซูเจ้าทรงทำนายถึงการสิ้นพระชนม์ที่ใกล้ จะเกิดขึ้นว่า “บุตรแห่งมนุษย์จะต้องรับทรมานเป็นอันมาก จะถูกปฏิเสธ ไม่ยอมรับ และจะถูกประหารชีวิต แต่จะกลับคืนชีพ” ทั้งหมดนี้คือ พระวาจาที่พวกเขาจำได้ขึ้นใจ เหตุการณ์สำแดงพระองค์นี้เชื่อมโยงกับพระทรมาน และการ กลับคืนชีพของพระองค์... สองสามสัปดาห์ต่อมา พระเยซูเจ้าจะทรงพาเพื่อนทั้งสามคนนี้ ไปกับพระองค์ยังสวนเกทเสมนี (มธ 26:37, มก 14:33)
152
บทเทศน์ปี C
พระพักตร์ที่ศิษย์ทั้งสามเห็นว่าสว่างเจิดจ้าในวันนี้ ในวันนั้น เขาจะเห็น ว่าเต็มไปด้วยพระเสโทที่ตกลงบนพื้นดินประดุจโลหิต (ลก 22:44) ถูก ตบ (ลก 22:64) และถูกถ่มน้ำลาย (มธ 25:67) ก่อนหน้านั้น พระเยซูเจ้าทรงบอกศิษย์ของพระองค์ด้วยว่า เขา ต้อง “แบกกางเขนของตนทุกวันและติดตามพระองค์” (ลก 9:23) พระองค์ ต รั ส ด้ ว ยว่ า “บางท่ า นที่ ยื น อยู่ ที่ นี่ จ ะไม่ ต าย จนกว่ า จะเห็ น พระอาณาจักรของพระเจ้า” (ลก 9:27) การสำแดงพระองค์อย่างรุ่งโรจน์ เป็นภาพลักษณ์ของพระอาณาจักรอันเร้นลับ หมายถึงพระสิริรุ่งโรจน์ ของพระเจ้าที่ผลิบานในตัวมนุษย์ ไม่ใช่หรือ พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะกล้าหวังได้อย่างไรว่าจะได้ชื่นชมความยินดี แห่งปัสกา โดยไม่ผ่านเส้นทางนี้ด้วยตนเองก่อน สัปดาห์ที่สองเริ่มขึ้นแล้ว สำหรับข้าพเจ้า นี่คือเวลา “เดินไปสู่ กางเขน ด้วยใจชื่นชมยินดี” พระทรมาน และการสำแดงพระองค์อย่างรุ่งโรจน์ คือ ธรรม ล้ำลึกหนึ่งเดียวกัน ทรงพาเปโตร ยอห์น และยากอบ ขึ้นไปบนภูเขาเพื่ออธิษฐานภาวนา ศิษย์สามคนนี้โชคดีจริงๆ ... เขาได้ร่วมอธิษฐานภาวนากับพระเยซูเจ้า เขาได้เฝ้าดูพระองค์อธิษฐานภาวนา แต่เราจะเห็นในไม่ช้า จากพฤติกรรมของเขาในเวลานั้น ว่าเขา ไม่ควรได้รับสิทธิพิเศษเช่นนี้เลย เพราะขณะที่พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐาน ภาวนา พวกเขานอนหลับ... แต่พระเยซูเจ้าทรงเป็น “บุรุษผู้รักการภาวนา” อย่างแท้จริง พระองค์ทรงติดต่อสื่อสารกับพระบิดาสวรรค์ของพระองค์เสมอ พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาในช่วงเวลาสำคัญในชีวิตของพระองค์เสมอ (ลก 3:21, 5:16, 6:12, 9:18, 9:28, 10:21, 11:1, 22:32, 22:41-42,
บทเทศน์ปี C
153
23:34, 23:46) ตลอดพระวรสารของนักบุญลูกา เขาบอกเราว่าพระเยซู เ จ้ า มั ก ทรงแสวงหาสถานที่ สั น โดษเพื่ อ สนทนาอย่ า งจริ ง ใจกั บ พระบิดา พระเยซูเจ้าทรงมีความลับอย่างหนึ่ง คือ พระองค์ทรงดำเนิน ชีวิตอย่างใกล้ชิดสนิทสนมกับบุคคลที่พระองค์ทรงเรียกว่า “พระบิดา ของเรา” พระเยซูเจ้าทรงเป็นบุคคลที่หันไปหาพระบิดาเสมอ นี่คือส่วน สำคัญของอัตลักษณ์อันลึกซึ้งที่สุดของพระองค์ “พระบิดา” เป็นคำที่เรา ได้ยินพระองค์ตรัสเป็นครั้งแรกในพระวิหารเมื่อพระองค์อายุ 12 ปี (ลก 2:49) และจะเป็นคำสุดท้ายในชีวิตของพระองค์ เมื่อพระองค์ใกล้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน (ลก 23:46) ข้าพเจ้าจัดสรรเวลาสำหรับอธิษฐานภาวนาในชีวิตของข้าพเจ้า ระหว่างเทศกาลมหาพรตนี้หรือไม่ ขณะที่ทรงอธิษฐานภาวนาอยู่นั้น ลักษณะของพระพักตร์เปลี่ยนไป และฉลองพระองค์มีสีขาวเจิดจ้า ดู เ หมื อ นว่ า ลู ก าหลี ก เลี่ ย งที่ จ ะใช้ ค ำศั พ ท์ เ ดี ย วกั น กั บ มั ท ธิ ว (17:2) และมาระโก (9:2) ที่ใช้คำว่า “จำแลง” (transfiguration) ผู้อ่านพระวรสารของลูกา เคยเป็นคนต่างศาสนาที่คุ้นเคยกับวัฒนธรรม กรีก และอาจคิดว่า “การจำแลงกาย” นี้เหมือนกับการปรากฏตัวของ เทพเจ้ า ในตำนาน แต่ เ ขาใช้ ค ำศั พ ท์ ที่ เ ข้ า ใจง่ า ย กล่ า วคื อ ระหว่ า ง อธิษฐานภาวนา พระพักตร์ของพระเยซูเจ้า “เปลี่ยนไป” อันที่จริง เมื่อ เราเฝ้ า มองชายหรื อ หญิ ง บางคนที่ ก ำลั ง อธิ ษ ฐานภาวนาอย่ า งจริ ง จั ง และกำลังติดต่อกับพระเจ้า เราอาจเห็นว่าใบหน้าของเขาสว่างสดใส เหมือนกับมีแสงส่องอยู่ภายใน เขายังเป็นมนุษย์คนเดิมแน่นอน แต่เรา สามารถเห็นได้ว่าบางสิ่งบางอย่างที่ผิดธรรมดากำลังส่องทะลุตัวเขาออก มาภายนอก “ฉลองพระองค์มีสีขาวเจิดจ้า” เป็นเครื่องหมายของชาวสวรรค์
154
บทเทศน์ปี C
(ดนล 7:9, 10:5-6) และคริสตชนรุ่นแรกใช้คำบรรยายนี้กับพระเยซูเจ้า ผู้ทรงกลับคืนชีพ (วว 1:13, ลก 17:23, 24:4) เสื้อขาวที่ทารกสวมใส่ เมื่อรับศีลล้างบาป เสื้อสีขาวของเจ้าสาวในวันเข้าพิธีสมรส เสื้อที่พระสงฆ์ สวมใส่ประกอบพิธีบูชามิสซา เหล่านี้เป็นเครื่องหมายของปัสกา เป็น เครื่องหมายที่ทำให้บรรดาศิษย์ของพระคริสตเจ้านึกถึงพระสิริรุ่งโรจน์ ของพระองค์ (วว 3:45, 3:18, 4:14, 6:11, 7:9, 7:13) ลูกาให้กำลังใจเรา เมื่อเขาบรรยายว่าพระพักตร์ของพระเยซูเจ้า เปลี่ยนไปเมื่อพระองค์ทรงอธิษฐานภาวนา ในเวลาที่ความทุกข์ยาก ความล้มเหลว และบาปของเราทำให้เราหดหู่ใจ การสวดภาวนาเท่านั้น จะเปลี่ยนสภาพของเราได้ เพราะเมื่อนั้น เราเองก็กำลัง “เปลี่ยนไป” และกลายเป็นภาพในกระจกเงาที่สะท้อนพระสิริรุ่งโรจน์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า (2คร 3:18) บุรุษสองคนคือโมเสส และประกาศกเอลียาห์ มาสนทนากับพระองค์ ทั้งสองคนปรากฏมาในสิริรุ่งโรจน์ กล่าวถึงการจากไปของพระองค์ที่ กำลังจะสำเร็จในกรุงเยรูซาเล็ม ลู ก าเป็ น ผู้ นิ พ นธ์ พ ระวรสารคนเดี ย วที่ เ ปิ ด เผยหั ว ข้ อ ของการ สนทนาระหว่างพระเยซูเจ้า และพยานสำคัญสองคนจากยุคพันธสัญญา เดิม เขากำลังพูดถึงการจากไปของพระองค์ หรือการอพยพ (exodus ในภาษากรีก) เราไม่ตระหนักว่าพระองค์ทรงคิดถึงความตายบนไม้กางเขน บ่อยครั้งเพียงไรตลอดชีวิตของพระองค์ ยอห์นเรียกว่า “การผ่าน หรือ การข้าม” (passage, Pasch) ของพระองค์ (ยน 13:1) ส่วนลูกาใช้คำว่า พระองค์จะถูกยกขึ้น (being carried up) (ลก 9:51, 24:51) พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ถวายตนเองเป็นเครื่องบูชา พระองค์ทรงรู้ว่าทำไม พระองค์จึงเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ และทรงรู้ว่าพระองค์กำลังจะไป
บทเทศน์ปี C
155
ที่ใด พระองค์กำลังจะไปหาพระบิดา “พระองค์เข้าสู่พระสิริรุ่งโรจน์ผ่าน ทางความตาย” และทรงนำมวลมนุษย์ติดตามพระองค์ไปด้วย ธรรมล้ำลึกปัสกาของพระเยซูเจ้าในกรุงเยรูซาเล็ม เป็นเรื่องย่อ ของประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เป็นบทสรุปของชะตากรรมของเรา ไม่ว่า เราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เราก็กำลังเดินบนทางที่นำเราไปหาพระเจ้าผ่าน ทางความตายของเรา เรากำลังอยู่ในสภาพของ “การอพยพ” กล่าวคือ กำลังออกจากความเป็นทาส ไปสู่ดินแดนพันธสัญญา... ในวันพุธรับเถ้า ซึ่งเป็นวันแรกของเทศกาลมหาพรต พระศาสนจักรเตือนให้เราระลึกถึงจุดหมายหลายทางของเรา “มนุษย์เอ๋ย จงระลึก ว่าท่านเป็นฝุ่นดิน และจะกลับเป็นฝุ่นดิน (Remember, man, you are dust, and to dust you will return)” แต่การสำแดงพระองค์ อย่างรุ่งโรจน์เปลี่ยนชะตากรรมของเราให้กลายเป็นความคาดหวังว่าจะ ได้รับสิริรุ่งโรจน์ คือเมื่อเรากลับเป็นฝุ่นดิน เรากำลังข้ามไปหาพระเจ้า ความเชื่อในพระเยซูเจ้าทำให้เรามองโลกในแง่ดี พระองค์ทรง เป็นแสงสว่างสำหรับมนุษย์ และเรากำลังเดินทางมุ่งหน้าไปหาพระเจ้า เปโตร และเพื่ อ นที่ อ ยู่ ด้ ว ยต่ า งก็ ง่ ว งนอนมาก เมื่ อ ตื่ น ขึ้ น ก็ เ ห็ น พระสิ ริ รุ่ ง โรจน์ ข องพระองค์ และเห็ น บุ รุ ษ ทั้ ง สองคนยื น อยู่ กั บ พระองค์ ขณะที่บุรุษทั้งสองคนกำลังจากพระเยซูเจ้าไป เปโตรทูล พระองค์ว่า “พระอาจารย์เจ้าข้า ที่นี่สบายน่าอยู่จริงๆ เราจงสร้างเพิง ขึ้นสามหลังเถิด หลังหนึ่งสำหรับพระองค์ หลังหนึ่งสำหรับโมเสส อีกหลังหนึ่งสำหรับประกาศกอีลียาห์” เขาไม่รู้ว่ากำลังพูดอะไร แม้ในขณะทีอ่ คั รสาวกกำลังเห็นนิมติ อันยิง่ ใหญ่น ้ี เขาก็ยงั ไม่เข้าใจ พวกเขางุนงง ครึ่งหลับครึ่งตื่น และพูดโดยไม่คิด การได้อยู่ใกล้สิ่งฝ่าย สวรรค์ไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นภาษาที่ชัดเจน เมื่อเหตุการณ์ ผ่านพ้นไปแล้ว เมื่อโมเสสและเอลียาห์จากไปแล้ว พวกเขาจึงเริ่มพูด
156
บทเทศน์ปี C
แม้จะพูดไม่รู้เรื่องก็ตาม ในสวนเกทเสมนี ศิษย์สามคนนี้ก็จะนอนหลับ อีกเช่นเดียวกัน... โมเสส และเอลียาห์ เป็นบุรุษแห่งซีนาย (หรือโฮเรบ) “ภูเขา ของพระเจ้า” (อพย 33:13-22, 1พกษ 19:9-14) ทั้งสองคนมีจิตใจ เร่าร้อนหลังจากได้พบกับพระเจ้า ทั้งสองพยายามปลดปล่อยประชาชน ของตนให้หลุดพ้นจากพระเจ้าเท็จเทียม ที่อาจเข้ามาแทนที่พระเจ้า เที่ยงแท้ พระเยซูเจ้าทรงคุ้นเคยกับประกาศกผู้ยิ่งใหญ่ในพระคัมภีร์ ระหว่างเทศกาลมหาพรตนี้ ข้าพเจ้าหาเวลาเปิดพระคัมภีร์ออก อ่านบ้างหรือเปล่า ขณะที่เปโตรกำลังพูดอยู่นั้น เมฆก้อนหนึ่งลอยมาปกคลุมเขาไว้ เมื่อ อยู่ในเมฆ เขากลัวมาก ต่างจากมาระโกและมัทธิว ลูกาเล่าว่าศิษย์ทั้งสามถูกเมฆปกคลุม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กับพระเจ้าเสมอ เมื่อศิษย์เหล่านี้ไม่เข้าใจเลยว่า เหตุการณ์ที่เขาเพิ่งเห็นนี้หมายถึงอะไร พระเจ้าจึงทรงเป็นฝ่ายเริ่มการ เผยแสดงขั้นที่สอง การเข้าไปหาพระเจ้าจำเป็นต้องผ่านหลายขั้นตอน เราสั ง เกตได้ อี ก ครั้ ง หนึ่ ง ว่ า บุ ค คลที่ อ ยู่ กั บ พระเจ้ า จะมี ค วามยำเกรง อันที่จริง ศิษย์ทั้งสามนี้จะไม่สามารถพูดอะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ได้เลย นี่เป็นครั้งหนึ่งที่พวกเขาปิดปากเงียบ คำนิยามตามความเชื่อ และตามหลักเหตุผล ที่เรากำหนดขึ้น สำหรั บ พระเจ้ า ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น เพี ย งคำพู ด ที่ ว่ า งเปล่ า และอาจทำให้ เข้าใจผิด เพราะพระเจ้าทรงอยู่เหนือแนวความคิดใดๆ ถูกแล้ว พระเจ้าข้า เราได้แต่เรียกพระองค์ว่า พระผู้ที่เราไม่มีวัน รู้จัก (The Unknowable) ขอให้เราอยู่ท่ามกลางความเงียบในใจของเรา ขอให้เราก้าวเข้าสู่ “เมฆบางๆ” โลกในเงามืดที่เรามองเห็นไม่เกินสี่หลา และขอให้เรา คลำหาทาง และเดินไปข้างหน้า...
บทเทศน์ปี C
157
เสียงหนึ่งดังออกมาจากเมฆว่า “ท่านผู้นี้เป็นบุตรของเรา ผู้ที่เราได้ เลือกสรร จงฟังท่านเถิด” ในประโยคนี้ มัทธิว และมาระโก ใช้คำว่า “สุดที่รัก” (agapetos ในภาษากรีก) ลูกาเท่านั้นที่ใช้คำว่า “เลือกสรร” (eklelegomenos ในภาษากรีก) นักประวัติศาสตร์คงจะถามว่า “เสียงนี้กล่าวอะไรจริงๆ” ...พระวรสารไม่สนใจความอยากรู้อยากเห็นประเภทนี้... แต่ลูกาใช้คำว่า “เลือกสรร” เพราะมีจุดประสงค์ เขาอ้างหลายข้อความจากหนังสือ อิสยาห์ ซึ่งเป็นคำที่ใช้กับชนชาติอิสราเอล หรือใช้กับบุคคลลึกลับที่เป็น ผู้รับใช้ของพระเจ้า (อสย 42:1, 43:20, 45:4) ลูกาจะใช้คำนี้อีกครั้งหนึ่ง ระหว่างเหตุการณ์ตรึงกางเขน (ลก 23:35) เมื่อเรารับศีลล้างบาป เรากลายเป็นบุคคล “เลือกสรร” ด้วย เช่นกัน การเลือกสรรนีห้ มายความว่าเราถูก “แยกไว้” เพือ่ ให้รบั ใช้ผอู้ นื่ ... พระเจ้าทรงเลือกข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงคาดหวังบางสิ่งบางอย่าง จากข้าพเจ้า... บางสิ่งบางอย่างที่ไม่เหมือนใคร เมื่อสิ้นเสียงนั้นแล้ว ศิษย์ทั้งสามก็เห็นพระเยซูเจ้าเพียงพระองค์เดียว เขาเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ ไม่ได้บอกเรื่องที่เห็นให้ผู้ใดรู้เลยในเวลา นั้น เงียบไว้ดีกว่า... เพราะเวลานั้น พวกเขายังไม่เข้าใจอะไรเลย แต่เขาจะเข้าใจในภายหลัง เมื่อพระเยซูเจ้าจะทรงเป็น “ผู้รับใช้” เป็น “บุคคลเลือกสรร” ในปัสกาของพระองค์... ในการอพยพของ พระองค์
158
บทเทศน์ปี C
วั นอาทิตย์ที่สามเทศกาลมหาพรต ลูกา 13:1-9 ในเวลานั้น คนบางคนเข้ามาทูลพระเยซูเจ้าถึงเรื่องชาวกาลิลี ซึ่ ง ถู ก ปี ล าตสั่ ง ประหารชี วิ ต ในขณะที่ เ ขากำลั ง ถวายเครื่ อ งบู ช า พระองค์จึงตรัสตอบเขาว่า “ท่านคิดว่าชาวกาลิลีเหล่านี้เป็นคนบาป มากกว่าชาวกาลิลีทุกคนหรือ จึงต้องถูกฆ่าเช่นนี้ มิได้ เราบอกท่าน ทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กลับใจเปลี่ยนชีวิต ทุกท่านจะพินาศไปเช่นกัน แล้ ว คนสิ บ แปดคนที่ ถู ก หอสิ โ ลอั ม พั ง ทั บ เสี ย ชี วิ ต เล่ า ท่ า นคิ ด ว่ า คนเหล่านั้นมีความผิดมากกว่าคนอื่นทุกคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเยรูซาเล็มหรือ มิได้ เราบอกท่านทัง้ หลายว่า ถ้าท่านไม่กลับใจเปลีย่ นชีวติ ทุกท่านจะพินาศไปเช่นเดียวกัน” พระเยซู เ จ้ า ตรั ส เป็ น อุ ป มาเรื่ อ งนี้ ว่ า “ชายผู้ ห นึ่ ง ปลู ก ต้ น มะเดื่อเทศต้นหนึ่งในสวนองุ่นของตน เขามองหาผลที่ต้นนั้นแต่ ไม่ พ บ จึ ง พู ด แก่ ค นสวนว่ า ‘ดู ซิ สามปี แ ล้ ว ที่ ฉั น มองหาผลจาก มะเดื่อเทศต้นนี้ แต่ไม่พบ จงโค่นมันเสียเถิด เสียที่เปล่าๆ’ แต่คนสวน ตอบว่า ‘นายครับ ปล่อยมันไว้ปีนี้อีกสักปีหนึ่งเถิด ผมจะพรวนดิน รอบต้น ใส่ปุ๋ย ดูซิว่าปีหน้ามันจะออกผลหรือไม่ ถ้าไม่ออกผล ท่าน จะโค่นทิ้งเสียก็ได้’”
บทเทศน์ปี C
159
บทรำพึงที่ 1
การกลับใจ และความเมตตา เทศกาลมหาพรตยั ง ดำเนิ น ต่ อ ไปพร้ อ มกั บ เชิ ญ ชวนให้ เ รา กลับใจ ปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น และเตือนว่าการดำเนินชีวิตในบาปก็คือ การเดินบนทางที่นำไปสู่ความพินาศ แต่พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมาที่ ให้กำลังใจอย่างอ่อนโยน โดยทรงเปรียบเทียบชีวิตที่ตกในบาปว่าเหมือน กับต้นไม้ที่ไม่ออกผล ซึ่งยังได้รับโอกาสอีกครั้งหนึ่งให้ปรับปรุงตนเอง พระองค์ทรงสัง่ สอนเช่นนีห้ ลังจากเกิดเหตุการณ์นา่ เศร้า ซึง่ ทำให้ ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ บางคนมั่นใจมากว่าความตายของคนเหล่านี้ ซึ่งเกิดขึ้นจากน้ำมือของปิลาต หรือจากเหตุการณ์หอคอยถล่ม แสดงว่า พวกเขาเป็นคนบาปที่พระเจ้าทรงลงโทษ แม้แต่ในปัจจุบันก็ยังมีบุคคล ที่ชอบพิพากษาผู้อื่นเช่นนี้ พระเยซูเจ้าทรงตำหนิเขา และเตือนว่าเขาควรสำรวจมโนธรรม ของตนเองมากกว่า “ถ้าท่านไม่กลับใจเปลี่ยนชีวิต ทุกท่านจะพินาศไป เช่นเดียวกัน” เมื่อเราชี้นิ้วตำหนิผู้อื่น อีกสามนิ้วจะชี้กลับมาที่ตัวเรา พระเจ้ า ผู้ ที่ พ ระเยซู เ จ้ า ทรงเป็ น ตั ว แทนนี้ ไ ม่ ไ ด้ ส นใจแต่ ก าร ลงโทษ เป็ น ความจริ ง ที่ บ าปมี บ ทลงโทษในตั ว เองในหลายๆ ทาง พฤติกรรมที่เป็นบาปทำให้เราเหินห่างจากพระเจ้า ดังนั้น จึงทำลาย สันติสุขและความยินดี ที่เกิดจากความสัมพันธ์ที่เปี่ยมด้วยความรัก ระหว่างเรากับพระเจ้า ในระดับสังคม บาปทำลายความปรองดองใน ความสัมพันธ์ของมนุษย์ ทำให้เกิดความโกรธ ความขมขื่น ความเจ็บปวด อคติ และความรู้สึกด้านลบอื่นๆ อีกมากมาย
160
บทเทศน์ปี C
บาปเป็ น การกระทำที่ มี ผ ลด้ า นลบ จนพระเจ้ า ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ ง ลงโทษบุคคลที่ทำบาป เพราะบาปมีเมล็ดพันธุ์ของการทำลายตนเอง และความทุกข์ฝังอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว แม้แต่บทลงโทษขั้นสุดท้าย หมายถึงการตกนรก ก็ยังเป็นโทษที่คนบาปมอบให้แก่ตนเอง “ทุกคนที่ ทำความชั่วย่อมเกลียดความสว่าง และไม่เข้าใกล้ความสว่าง เกรงว่าการ กระทำของตนจะปรากฏชัดแจ้ง” (ยน 3:20) คนที่ใจกระด้างเพราะความ ชั่วจนไม่ยอมรับความรักของพระเจ้าจะหันหลังให้แสงสว่างตลอดกาล แสงสว่างนำชีวิตมาสู่ดวงตาที่สุขภาพดี แต่ทำให้ดวงตาที่บาดเจ็บรู้สึก แสบตา แสงสว่างของพระเจ้าดึงดูดวิญญาณที่มีคุณธรรมไปสู่ชีวิตที่ ยิ่งใหญ่กว่าเดิม แต่สร้างความเจ็บปวดให้แก่วิญญาณที่กำลังป่วยเพราะ บาป พระเยซูเจ้าทรงแสดงความเมตตาสงสาร เมื่อพระองค์ตรัสเป็น อุปมาที่ให้กำลังใจ หลังจากทรงเตือนประชาชนให้กลับใจ คนสวนในเรื่อง อุ ป มาต้ อ งการให้ โ อกาสต้ น ไม้ ที่ ไ ม่ อ อกผลอี ก ครั้ ง หนึ่ ง คนที่ ช อบ พิพากษาผู้อื่นย่อมต้องการให้โค่นมันทิ้ง กำจัดมันเสียให้จบเรื่อง ไม่มี ความเมตตากรุณา มันได้รับโอกาสแล้ว แต่ไม่ยอมฉวยโอกาสนั้น อุปมาเรื่องนี้เผยว่าพระเจ้าทรงพร้อมจะให้โอกาสอีกครั้งหนึ่ง เสมอ การพรวนดินแสดงถึงความอั ป ยศและความเจ็ บ ปวด ซึ่ ง เป็ น ด้านหนึ่งของการกลับใจ ส่วนปุ๋ยหมายถึงความช่วยเหลือที่เราจะได้รับ เมื่อกระบวนการกลับใจเริ่มต้นขึ้นแล้ว พระเจ้าไม่ทรงคิดแก้แค้น และไม่ทรงสะสมบทลงโทษ เราไม่ควร คิดว่าความทุกข์ทรมาน หรืออุบัติเหตุน่าเศร้าต่างๆ เป็นการลงโทษ จากสวรรค์ พระเจ้าทรงเปี่ยมด้วยความเมตตา พระองค์จึงต้องการเห็น คนบาปกลับมาหาพระองค์มากกว่า และเหมื อ นกั บ คนสวนที่ อ ดทน พระองค์จะทรงช่วยเหลือผู้ที่เป็นทุกข์กลับใจ พระวรสารแสดงให้เห็น ความสมดุลอย่างสมบูรณ์ ระหว่างการเรียกร้องความยุติธรรม และการ
บทเทศน์ปี C
161
วิงวอนขอความเมตตา ... ระหว่างคำเตือน และคำให้กำลังใจ บทสดุดี กล่าวไว้อย่างไพเราะว่า ความเมตตา และความซื่อสัตย์มาบรรจบกัน ความยุติธรรม และสันติภาพสวมกอดกัน ความซื่อสัตย์จะผุดขึ้นมาจากแผ่นดิน และความยุติธรรมมองลงมาจากสวรรค์
162
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 2
ความอดทนของพระคริสตเจ้า พระเยซู เ จ้ า ตรั ส เป็ น อุ ป มาหลายเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ การทำสวน การทำนา และสิ่ ง ต่ า งๆ ที่ เ จริ ญ งอกงาม ประชาชนในอดี ต เป็ น คน เลี้ยงสัตว์เร่ร่อน คนเหล่านี้หากินจากธรรมชาติ ฝูงสัตว์ของเขากินหญ้า แล้วก็ย้ายไปที่อื่น โดยไม่คืนสิ่งใดให้แก่แผ่นดิน คนเหล่านี้เชื่อในพระเจ้า ผู้ ป ระทานทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งแก่ เ ขา ในยุ ค ของพระเยซู เ จ้ า ประชาชน ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง และเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการเลี้ยงสัตว์ไปสู่การ ปลูกพืชและเกษตรกรรม มนุษย์เรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตโดยร่วมมือกับ ธรรมชาติ ซึง่ หมายความว่ามนุษย์ตอ้ งถ่อมตนและอดทน พระเยซูเจ้าทรง เห็นวิธกี ารอันอดทนของพระเจ้าได้จากทุง่ นา และสวนเบือ้ งหน้าพระองค์ ชาวนาเพาะปลูกเมล็ดพันธุแ์ ล้วก็รอ ตลอดคืนและวันขณะทีเ่ ขานอนหลับ และเมื่ อ เขาตื่ น เมล็ ด พั น ธุ์ นั้ น กำลั ง งอกและเจริ ญ เติ บ โต ชาวนาจะ รอคอย สงสั ย และหวั ง ว่ า ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งจะดำเนิ น ไปด้ ว ยดี ชาวนา คนหนึ่งประสบปัญหารุนแรงเมื่อวัชพืชเติบโตขึ้นมาพร้อมต้นข้าวสาลี แต่ เ ขาก็ ร อจนถึ ง เวลาเก็ บ เกี่ ย วเพื่ อ ไม่ ใ ห้ ก ระทบต่ อ รากของต้ น ข้ า ว ความอดทนของพระเจ้าเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุนี้ พระเจ้าจึงโปรดให้ดวง อาทิตย์ส่องสว่าง และฝนตกลงเหนือทั้งคนดีและคนเลว ทั้งคนสุจริตและ คนทุจริตอย่างเท่าเทียมกัน เรื่องของต้นมะเดื่อเทศที่ได้รับโอกาสอีกครั้ง หนึ่งหลังจากได้รับการดูแลอย่างดีมาแล้วถึงสามปี เป็นภาพของการ อภิบาลของพระเยซูเจ้า “จงคิดเถิดว่าความอดกลั้นขององค์พระผู้เป็นเจ้า คือความรอดพ้นของเรา” (2ปต 3:15) ความคิดผิดๆ เกี่ยวกับ
บทเทศน์ปี C
163
ความครบครัน สามารถล่อให้เราติดกับอยู่กับความกังวล และความกลัว โดยไม่จำเป็น บางคนกลัวการสารภาพบาป เพราะรู้ว่าหลังจากสารภาพบาป แล้ ว เขาก็ต้องทำบาปอีกแน่นอน แต่ ใ ครบอกหรื อ ว่ า ความผิ ด พลาด ทุกอย่างจะได้รับการเยียวยาจนหายดีอย่างฉับพลัน ว่าวัชพืชจะถูกถอน ออกจากต้นข้าวในทันทีทันใด วิธีการของพระเยซูเจ้า คือ ปล่อยให้ เจริญเติบโตอย่างอดทน การบู ช าความสมบู ร ณ์ แ บบทำให้ บ างคนไม่ ส ามารถให้ อ ภั ย ตนเองได้ ดูเหมือนคนเหล่านี้จะคิดว่าเขาต้องทำให้พระเจ้าประทับใจกับ ความสำเร็จและความสมบูรณ์ไร้ที่ติ ก่อนที่เขาจะมีค่าพอให้พระองค์รัก เขา แต่ความรักเป็นสิ่งที่ให้เปล่าไม่ใช่หรือ ผู้ที่ได้รับความรักไม่จำเป็น ต้องมีค่าคู่ควรแก่ความรักนั้น หรือทำสิ่งใดให้สมควรได้รับความรัก เราทุกคนต้องเรียนรู้จากการเจริญเติบโตของสิ่งต่างๆ พืชที่งอก จากเมล็ดอย่างรวดเร็วมักอายุสั้น เมล็ดของต้นไม้เนื้อแข็งอาจใช้เวลาถึง สองปีกว่าจะงอกขึ้นจากดิน แต่ต้นไม้โตช้าเหล่านี้สามารถเติบโตเป็นไม้ ใหญ่ และอายุยืนนับร้อยปี การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนมักเป็นกระบวนการที่ช้า และค่อย เป็นค่อยไป ภาพของสวนและทุ่งนาแสดงให้เราเห็นความอดทนของพระเจ้า และนี่คือความคิดที่ช่วยให้เรารอดพ้นได้ ข้อความต่อไปนี้จะช่วยเราเวลารำพึงภาวนา : “พระเจ้าทรงเปี่ยมด้วยความสงสาร และความรัก ทรงกริ้วช้า และทรงเมตตาเหลือล้น” (สดด 102:8)
164
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 3 ในเวลานั้น คนบางคนเข้ามาทูลพระเยซูเจ้า ถึงเรื่องชาวกาลิลี ซึ่งถูก ปิลาตสั่งประหารชีวิตในขณะที่เขากำลังถวายเครื่องบูชา ช่วงเวลาที่พระเยซูเจ้าทรงอยู่บนโลกนี้ไม่ใช่ช่วงเวลาที่สงบสุข การเผชิญหน้ากันในสมัยนัน้ รุนแรงกว่าในยุคของเรา เหตุการณ์ทมี่ คี นมา รายงานพระเยซูเจ้าไม่ใช่เหตุการณ์ที่แปลก เป็นไปได้ที่มีกลุ่มคนรักชาติ ที่ พ ยายามก่ อ การกบฏต่ อ กองทั พ โรมั น ที่ ยึ ด ครองดิ น แดน ระหว่ า ง ประกอบพิธีกรรม ซึ่งเป็นเวลาที่เขากำลังวิงวอนขอความช่วยเหลือจาก พระเจ้าด้วยการถวายเครื่องบูชา คนเหล่านี้ถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่ผู้ได้ รับคำสั่งจากปิลาต เราคงนึกภาพได้ว่าชาวยิวที่จริงใจจะประณามการ ปราบปรามอย่างเหี้ยมโหดนี้ทันที เห็นได้ชัดว่าคนที่บอกเล่าเหตุการณ์นี้ต้องการให้พระเยซูเจ้า เลือกข้าง พระองค์จะประณามปิลาต และเจ้าหน้าที่ของเขา หรือจะ ประณามนักก่อความวุ่นวายอย่างไม่รับผิดชอบเหล่านี้ ผู้ปลุกระดมให้ ประชาชนต่อสู้แม้เมื่อไม่มีความหวัง เราประทับใจเมื่อเห็นได้ว่าพระเยซูเจ้าทรงปฏิเสธอีกครั้งหนึ่งที่ จะเลือกข้างในระดับการเมือง และทางโลก แต่ทรงแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ในระดับศาสนา พระองค์ไม่ทรงเลือกข้าง แต่ตรัสถึง บาป ถึงการกลับใจ ถึงสาเหตุ และการแก้ไขความชั่วร้ายในโลกนี้ พระเจ้าข้า โปรดทรงช่วยเราให้ไตร่ตรองเหตุการณ์ในชีวิตของ เราด้วยความเชื่อในระดับสูงสุดเถิด
บทเทศน์ปี C
165
พระองค์จึงตรัสตอบเขาว่า “ท่านคิดว่าชาวกาลิลีเหล่านี้เป็นคนบาป มากกว่าชาวกาลิลีทุกคนหรือ จึงต้องถูกฆ่าเช่นนี้ มิได้” พระเยซูเจ้าทรงพยายามขจัดอคติ และยกหัวข้อที่ประชาชนชอบ ถกเถียงกัน ประชาชนมักมองว่าความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้ใดเป็นการ ลงโทษ แม้แต่ทุกวันนี้ เราก็ยังตัดสินเช่นเดียวกันนี้ เช่นเมื่อเราพูดว่า “ไม่ยุติธรรมเลย เขาไม่ควรตายตั้งแต่ยังหนุ่มเช่นนี้” หรือ “เขาทำอะไร ผิดต่อพระเจ้าหรือ พระองค์จึงทรงส่งความทุกข์ยากนี้มาให้เขา” พระเยซู เ จ้ า ทรงคิ ด ว่ า ไม่ มี ค วามเชื่ อ มโยงระหว่ า งเหตุ ก ารณ์ ร้าย ๆ ที่เกิดขึ้นกับเรา และบาปของเรา พระองค์จะประกาศในภายหลังว่า “มิใช่ชายคนนี้ หรือบิดามารดาของเขาทำบาป” (ยน 9:2-3) การมองหา ตัวคนผิดเป็นวิธีที่ง่ายเกินไปที่จะทำให้เราสบายใจ โดยถือว่าเราอยู่ข้าง คนที่ชอบธรรม ความรับผิดชอบเป็นของ “ผู้อื่น” เสมอ หรือเป็นของ ผู้มีอำนาจหน้าที่ หรือระบบ หรือสังคม ถ้าท่านไม่กลับใจเปลี่ยนชีวิต ทุกท่านจะพินาศไปเช่นกัน คนที่นำข่าวนี้มาบอก ต้องการให้พิพากษาปิลาต หรือเหยื่อของ เขา แต่พวกเขาเองกลับถูกพิจารณาคดี “ท่านคิดว่าชาวกาลิลีเหล่านี้เป็น คนบาปมากกว่าชาวกาลิลีทุกคนหรือ” นี่ไม่ใช่การถกเถียงกันเรื่องของผู้ อื่น พระเยซูเจ้าทรงส่งเขากลับไปพิจารณาตนเอง “ท่านเองต้องกลับใจ ท่านพร้อมจะประณามการกระทำอันรุนแรงของปิลาต แต่ดูซิว่าท่านเอง มีส่วนร่วมในความรุนแรงเดียวกันนี้อย่างไร” เนื่องจากประวัติศาสตร์พิสูจน์ให้เห็นแล้วหลายครั้ง เราต้องกล้า พู ด เหมื อ นกั บ พระเยซู เ จ้ า ว่ า การเปลี่ ย นโครงสร้ า งเท่ า นั้ น ยั ง ไม่ พ อ (ความอยุติธรรม และความรุนแรง มีอยู่ภายใต้ทุกรัฐบาล) แต่หัวใจ มนุษย์ในโครงสร้างนั้นต่างหากที่ต้องเปลี่ยนแปลง ต้องกลับใจเพื่อให้ โครงสร้างนั้นๆ ดีขึ้น
166
บทเทศน์ปี C
พระเจ้าข้า ลึกๆ ในใจข้าพเจ้าทราบว่านี่คือความจริง ข้าพเจ้า ทำอะไรไม่ได้มากนักที่จะต่อสู้กับความรุนแรงที่กำลังกดขี่ประเทศนั้น ประเทศนี้ หรือโน้มน้าวกระแสความคิดที่เราพบเห็นมากมายในสภาพ แวดล้อมทางสังคม ในโรงเรียน ในอาชีพ หรือในพระศาสนจักรของเรา แต่พื้นที่เดียวที่ข้าพเจ้ามีอำนาจอย่างแท้จริง คือการพยายามทำให้ตัว ข้าพเจ้าเองกลับใจให้ได้ พระเจ้าข้า โปรดทรงช่วยข้าพเจ้าไม่ให้หลีกหนีความรับผิดชอบ นี้ มิใช่หาทางออกด้วยการกล่าวหาผู้อื่น แล้วคนสิบแปดคนที่ถูกหอสิโลอัมพังทับเสียชีวิตเล่า ท่านคิดว่าคน เหล่านั้นมีความผิดมากกว่าคนอื่นทุกคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม หรือ มิได้ บัดนี้ พระเยซูเจ้าทรงกล่าวถึง “ข่าวสำคัญในยุคนั้น” อีกข่าวหนึ่ง อาคารหลังหนึ่งที่ก่อสร้างที่ชานเมืองได้ถล่มลงมา ทำให้หลายครอบครัว เสียชีวิต แม้แต่ทุกวันนี้ เมื่ออุบัติเหตุเช่นนี้เกิดขึ้น เรามักมองหาคนผิด เช่น สถาปนิกไร้ความสามารถ หรือต้องการหากำไรจนมองข้ามความ ปลอดภัย ... หรือเหยื่อไม่รอบคอบ เหยื่อถูกลงโทษจากชะตากรรมบาง อย่าง – เว้นแต่เขาจะโยนความผิดให้พระเจ้า “ถ้าพระเจ้ามีจริง ภัยพิบัติ เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น” พระเยซูเจ้าทรงย้อนกลับมายืนยันความจริงข้อเดิมว่า พระเจ้า ไม่ได้ส่งความทุกข์ทรมานมาให้มนุษย์ และความทุกข์ทรมานไม่ใช่การ ลงโทษ เหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นกั บ เราบ่ อ ยครั้ ง เป็ น เพี ย งผลตาม ธรรมชาติ ข องกฎธรรมชาติ เช่ น แรงโน้ ม ถ่ ว ง ความอ่ อ นแอ ความ ผิดพลาดที่เลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น แทนที่จะสาปแช่งพระเจ้า เราควรจัดการกับ สาเหตุที่เราควบคุมได้มากกว่า พระเยซูเจ้าทรงต่อสู้กับสิ่งชั่วร้าย พระองค์ทรงขอให้เราต่อสู้ เช่นเดียวกัน แต่ก่อนอื่น เราต้องต่อสู้กับความชั่วในตัวของเรา
บทเทศน์ปี C
ถ้าท่านไม่กลับใจเปลี่ยนชีวิต ทุกท่านจะพินาศไปเช่นกัน
167
เช่นเดียวกับประกาศกทั้งหลายในพระคัมภีร์ พระเยซูเจ้าทรงเป็น ผู้เทศน์สอนศาสนา มิใช่อาจารย์สอนจริยธรรม พระองค์ไม่ทรงสอน บทเรียนทางสังคมด้วยซ้ำไป พระวาจาของพระองค์เป็นคำขู่ และน่ากลัว “ท่านทุกคนจะพินาศ ถ้าท่านไม่กลับตัวกลับใจ” พระเยซูเจ้าทรงกำลังคิดในลักษณะเดียวกับความคิดที่พระองค์ เพิ่งจะประณามหรือ (ความทุกข์ทรมาน = การลงโทษ) เปล่าเลย เห็น ได้ชัดว่าพระองค์ไม่ได้กำลังตรัสเรื่องความตายฝ่ายกาย ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ ประท้วงที่ถูกสังหารหมู่ หรือผู้ที่เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุหอคอยถล่ม พระเยซูเจ้าไม่ได้เป็นบ้า หรือไร้เดียงสา พระองค์ทรงทราบดีว่า แม้แต่บุคคลชอบธรรมก็ต้องตาย พระองค์เองกำลังเดินทางไปยังกรุง เยรูซาเล็ม และในที่นั้น พระองค์จะทรงถูกประหารโดยปิลาตคนเดียว กันนี้ แต่พระองค์ทรงเจตนาแยกตัวจากปัญหาทางการเมือง ปัญหาทาง จริยธรรม หรือปัญหาสังคมของมนุษย์ พระเยซูเจ้าทรงเผยแสดงความ จริงทางศาสนาแก่เรา พระองค์ทรงยืนยันว่ามีความตายอีกประเภทหนึ่ง ความพินาศอีกประเภทหนึ่ง และความตายประเภทนี้เป็นความตาย นิรันดร ไม่มีใครนึกถึง “ความตายอีกประเภทหนึ่ง” นั้น แต่พระเยซูเจ้า ตรัสถึงเสมอ “ถ้าท่านไม่เปลี่ยนวิถีชีวิต ทุกท่านจะต้องตาย” ไม่ใช่ความ ตายฝ่ายกาย ซึ่งเราเห็นอยู่ทุกวันรอบตัวเรา แต่เป็นความตายอันเร้นลับ ที่เกิดขึ้นเพราะบาป นี่คือการเผยแสดงอย่างแท้จริง และสำหรับเรา เป็นเรื่องของ ความเชื่อ พระเยซูเจ้าทรงบอกเราว่ามนุษย์ทุกคนเป็นคนบาป และมนุษย์ ทุกคนได้รับโอกาสให้กลับใจเปลี่ยนชีวิต ถูกแล้ว พระเยซูเจ้าทรงส่งเราแต่ละคนกลับไปพิจารณามโนธรรม ของเราเอง ปิลาตนั้นควรพิจารณาตนเองแน่นอน ...
168
บทเทศน์ปี C
ชาวกาลิลีด้วย ... และสถาปนิก หรือช่างก่อสร้างผู้ประมาท ... และคนอื่นๆ ทุกคนที่คิดว่าตนเองจะไม่ถูกพิพากษา รวมทั้งตัวข้าพเจ้าเอง แม้ว่า ในขณะนี้ ข้าพเจ้าอาจกำลังพยายามหลบหนีจากภัยคุกคามที่พระเยซูเจ้า ทรงเปิดเผยแก่ข้าพเจ้า ... กำลังพยายามหลีกเลี่ยงการยอมรับว่าข้าพเจ้า เองจำเป็นต้องกลับใจเช่นกัน เมื่อใดหนอ เราจึงจะตื่นขึ้นจากภาวะขาด จิตสำนึกอย่างน่าเศร้าเช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์บอกว่าลูกาใช้ถ้อยคำที่รุนแรง “ทุกท่านจะ พินาศ” แต่ขอให้สังเกตว่าคำขู่ของพระเยซูเจ้ามีเงื่อนไข คือกระตุ้นให้ เราสำรวจตนเองและกลับใจ พระเจ้าไม่ทรงลงโทษมนุษย์ แต่มนุษย์ ต่างหากทีล่ งโทษตนเองให้ตายตลอดนิรนั ดร “ถ้าท่านไม่กลับใจเปลีย่ นชีวติ ” คำขู่ของพระเยซูเจ้าเป็นคำเตือนด้วยความรักอันเปี่ยมด้วยความ เมตตาของพระเจ้า ผู้ไม่อาจทนดูมนุษย์เดินไปหาความพินาศ พระเจ้า ทรงเสียพระทัยเมือ่ ทรงเห็นมนุษย์พนิ าศ เราขอย้ำว่าพระเยซูเจ้าประทาน คำสั่ ง สอนทางศาสนาแก่ เ รา คื อ คำสั่ ง สอนเรื่ อ งพระเจ้ า ทั้ ง นี้ ไ ม่ ไ ด้ หมายความว่าพระองค์ไม่ทรงสนใจใยดีกับปัญหาของมนุษย์ แต่ทรงวาง พระองค์ในระดับการเผยแสดง กล่าวคือ ทรงประณามสิ่งที่ชั่วร้ายอย่าง แท้จริงสำหรับมนุษย์ พระองค์ทรงเตือนเราว่าพระเจ้าไม่สามารถอยู่ร่วม กับบาปได้ การอยู่ในบาปคือการตัดสินให้ตนเองถูกประหาร ซึ่งน่ากลัว กว่าความตายจากคมดาบของทหารของปิลาต หรือจากก้อนหินที่ถล่ม ลงมาจากหอคอยในกรุงเยรูซาเล็ม เราจะฟังพระองค์ไหม เราจะเชื่อพระองค์ไหม ข้าแต่พระเยซูเจ้า ผู้ที่พระบิดาทรงส่งลงมารักษาเยียวยา และช่วย มนุษย์ทุกคนให้รอดพ้น โปรดทรงเมตตาเราเทอญ พระเจ้าข้า โปรดทรงช่วยเราให้กลับใจระหว่างเทศกาลมหาพรต นี้ด้วยเทอญ
บทเทศน์ปี C
169
พระเยซูเจ้าตรัสเป็นอุปมาเรื่องนี้ว่า “ชายผู้หนึ่งปลูกต้นมะเดื่อเทศ ต้นหนึ่งในสวนองุ่นของตน เขามามองหาผลที่ต้นนั้นแต่ไม่พบ จึงพูด แก่คนสวนว่า ‘ดูซิ สามปีแล้วที่ฉันมองหาผลจากมะเดื่อเทศต้นนี้ แต่ ไม่พบ จงโค่นมันเสียเถิด เสียที่เปล่าๆ’” เรายังรำพึงตามหัวข้อเดิม คือ การพิพากษา การกระทำของมนุษย์ ไม่อาจเป็นกลาง แต่เป็นการกระทำที่ดีหรือเลว การกระทำเหล่านี้ คือ “ผล” คนสมัยใหม่พยายามทำให้เราเชื่อว่าไม่มีอะไรเป็นบาปอีกต่อไป เราไม่ต้องรับผิดชอบการกระทำของเราต่อหน้าพระเจ้า ไม่มีการกระทำ ใดที่ต้องห้าม ไม่มีความผิด ... มนุษย์ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ ตรงกันข้าม พระเยซูเจ้าตรัสว่า “จงโค่นต้นไม้ที่ไม่มีผลทิ้งเสีย” พระเยซูเจ้าทรงประณามไม่เพียงผลที่เน่าเสีย แต่ทรงประณามต้นไม้ที่ ไม่มีผลด้วย แต่คนสวนตอบว่า “นายครับ ปล่อยมันไว้ปีนี้อีกสักปีหนึ่งเถิด ผมจะ พรวนดินรอบต้น ใส่ปุ๋ย ดูซิว่าปีหน้ามันจะออกผลหรือไม่ ถ้าไม่ออกผล ท่านจะโค่นทิ้งเสียก็ได้” คนสวนผู้รัก “สวนองุ่น” ของเขามากนี้ แท้จริงแล้วคือพระเยซูเจ้า ผู้ที่เรารัก พระองค์ไม่ได้เสด็จมาเรียกผู้ชอบธรรม แต่ทรงมาเรียกคนบาป พระองค์ทรงเล่าอุปมาหลายเรื่องในพระวรสารเกี่ยวกับความเมตตาของ พระเจ้า โดยเฉพาะในพระวรสารของนักบุญลูกา (ลก 15) ดังนั้น คำขู่ที่ ออกจากพระโอษฐ์ของพระเจ้าจึงมีจุดประสงค์เดียวคือปลุกเราให้ตื่น พระเจ้าทรงรักคนบาป พระเจ้าทรงรักข้าพเจ้า ความเมตตา และการเรียกร้องให้ทำสิ่งที่ยากเป็นของคู่กัน ความ รักก็เรียกร้องสิ่งที่ยาก
170
บทเทศน์ปี C
เราไม่ควรมองข้าม หรือละเว้นประโยคสุดท้าย “ถ้าไม่ออกผล ท่านจะโค่นทิ้งเสียก็ได้” มหาพรตเป็นเวลาสำหรับรับฟังข้อความที่เด็ดขาดรุนแรงใน พระวรสารอย่างแท้จริง
บทเทศน์ปี C
171
วั นอาทิตย์ที่สี่ เทศกาลมหาพรต ลูกา 15:1-3, 11-32 บรรดาคนเก็บภาษีและคนบาปเข้ามาใกล้เพื่อฟังพระเยซูเจ้า ชาวฟาริสีและธรรมาจารย์ต่างบ่นว่า “คนนี้ต้อนรับคนบาปและกิน อาหารร่วมกับเขา” พระองค์จึงตรัสเรื่องอุปมาให้เขาฟัง “ชายผู้หนึ่งมีบุตรสองคน บุตรคนเล็กพูดกับบิดาว่า ‘พ่อครับ โปรดให้ทรัพย์สมบัติส่วนที่เป็นมรดกแก่ลูกเถิด’ บิดาก็แบ่งทรัพย์ สมบัตใิ ห้แก่ลกู ทัง้ สองคน ต่อมาไม่นาน บุตรคนเล็กรวบรวมทุกสิง่ ทีม่ ี แล้วเดินทางไปยังประเทศห่างไกล ที่นั่นเขาประพฤติเสเพล ผลาญ เงินทองจนหมดสิ้น เมื่อเขาหมดตัว ก็เกิดกันดารอาหารอย่างหนักทั่วแถบนั้น และเขาเริม่ ขัดสน จึงไปรับจ้างอยูก่ บั ชาวเมืองคนหนึง่ คนนัน้ ใช้เขาไป เลี้ยงหมูในทุ่งนา เขาอยากกินฝักถั่วที่หมูกินเพื่อระงับความหิว แต่ ไม่มีใครให้ เขาจึงรู้สำนึกและคิดว่า ‘คนรับใช้ของพ่อฉันมีอาหารกิน อุดมสมบูรณ์ ส่วนฉันอยู่ที่นี่ หิวจะตายอยู่แล้ว ฉันจะกลับไปหาพ่อ พู ด กั บ พ่ อ ว่ า “พ่ อ ครั บ ลู ก ทำบาปผิ ด ต่ อ สวรรค์ แ ละต่ อ พ่ อ ลู ก ไม่ ส มควรได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น ลู ก ของพ่ อ อี ก โปรดนั บ ว่ า ลู ก เป็ น ผู้ รั บ ใช้ คนหนึ่งของพ่อเถิด”’ เขาก็กลับไปหาบิดา
172
บทเทศน์ปี C
ขณะที่เขายังอยู่ไกล บิดามองเห็นเขา รู้สึกสงสาร จึงวิ่งไป สวมกอดและจูบเขา บุตรจึงพูดกับบิดาว่า ‘พ่อครับ ลูกทำบาปผิดต่อ สวรรค์และต่อพ่อ ลูกไม่สมควรได้ชื่อว่าเป็นลูกของพ่ออีก’ แต่บิดา พู ด กั บ ผู้ รั บ ใช้ ว่ า ‘เร็ ว เข้ า จงไปนำเสื้ อ สวยที่ สุ ด มาสวมให้ ลู ก เรา นำแหวนมาสวมนิ้ว นำรองเท้ามาใส่ให้ จงนำลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้ว ไปฆ่า แล้วกินเลี้ยงฉลองกันเถิด เพราะลูกของเราผู้นี้ตายไปแล้ว กลับมีชีวิตอีก หายไปแล้ว ได้พบกันอีก’ แล้วการฉลองก็เริ่มขึ้น ส่วนบุตรคนโตอยู่ในทุ่งนา เมื่อกลับมาใกล้บ้าน ได้ยินเสียง ดนตรีและการร้องรำ จึงเรียกผู้รับใช้คนหนึ่งมาถามว่า ‘เกิดอะไรขึ้น’ ผู้รับใช้บอกเขาว่า ‘น้องชายของท่านกลับมาแล้ว บิดาสั่งให้ฆ่าลูกวัว ที่ขุนอ้วนแล้ว เพราะเขาได้ลูกกลับคืนมาอย่างปลอดภัย’ บุตรคนโต รู้สึกโกรธ ไม่ยอมเข้าไปในบ้าน บิดาจึงออกมาขอร้องให้เข้าไป แต่ เขาตอบบิดาว่า ‘ลูกรับใช้พ่อมานานหลายปีแล้ว ไม่เคยฝ่าฝืนคำสั่ง ของพ่อเลย พ่อก็ไม่เคยให้ลูกแพะแม้แต่ตัวเดียวแก่ลูกเพื่อเลี้ยงฉลอง กับเพื่อนๆ แต่พอลูกคนนี้ของพ่อกลับมา เขาคบหญิงเสเพล ผลาญ ทรัพย์สมบัติของพ่อจนหมด พ่อยังฆ่าลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้วให้เขาด้วย’ บิดาพูดว่า ‘ลูกเอ๋ย ลูกอยู่กับพ่อเสมอมา ทุกสิ่งที่พ่อมีก็เป็น ของลูก แต่จำเป็นต้องเลี้ยงฉลองและชื่นชมยินดี เพราะน้องชายคน นี้ของลูกตายไปแล้ว กลับมีชีวิตอีก หายไปแล้ว ได้พบกันอีก’”
บทเทศน์ปี C
173
บทรำพึงที่ 1
เรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ถ้าต้องทำลายพระคัมภีร์ทั้งฉบับและเหลือไว้เพียงเรื่องเดียว ข้าพเจ้าขอเลือกเก็บรักษาเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของบาป และการให้อภัย อย่างสิ้นเชิงของพระเจ้า นี่คือแก่นแท้ของประวัติศาสตร์ความรอด เรื่องนี้ บอกเล่าสามขั้นตอนของการเดินทางลงสู่ปลักแห่งบาป ตามมาด้วย สามขั้นตอนของการเดินทางกลับมาหาบิดาผู้กำลังรอคอย ขั้นตอนแรกที่นำไปสู่บาป คือ การยกตนให้เป็นศูนย์กลางของ ทุกสิ่งทุกอย่าง “โปรดให้ส่วนที่เป็นสิทธิของฉัน” พินัยกรรมของบิดา และ การมอบมรดกไม่ควรเกิดขึ้นจนกว่าบิดาได้เสียชีวิตแล้ว จึงเท่ากับว่า บุตรคนนี้กำลังพูดกับบิดาว่า “ผมต้องการมรดกเดี๋ยวนี้ ผมต้องการให้ พ่อหลบไปให้พ้นทางของผม” นี่คือจุดเริ่มต้นของบาป เมื่อข้าพเจ้าบอก พระเจ้าว่าบัดนี้ข้าพเจ้าจะทำอย่างที่ตนเองต้องการ ไม่ว่าพระองค์จะ ชอบหรื อ ไม่ ก็ ต าม พระคั ม ภี ร์ บ อกเราตั้ ง แต่ แ รกว่ า นี่ คื อ การประจญ อันดับแรก “นี่คือต้นไม้แห่งการรู้ดีรู้ชั่ว กินผลไม้นั้นแล้วท่านจะเป็น เหมือนพระเจ้า ท่านจะมีเสรีภาพในการกำหนดบทบัญญัติ และหลัก ศีลธรรมของท่านเอง” หลั ง จากได้ ตั้ ง ตนเองขึ้ น เป็ น พระเจ้ า แล้ ว ขั้ น ต่ อ ไป คื อ การ เดินทางออกจากบ้าน และคุณค่าต่างๆ ที่คำว่า “บ้าน” เป็นสัญลักษณ์ “ประเทศห่างไกล... ประพฤติเสเพล... ผลาญเงินทองจนหมดสิ้น...” ข้อความเหล่านี้แสดงให้เห็นความเสื่อมถอยอย่างรวดเร็วของคุณค่า ต่างๆ นับตั้งแต่ก้าวแรกที่เขาออกจากบ้าน
174
บทเทศน์ปี C
ขั้นที่สามของบาป คือ การกันดารอาหาร ความขาดแคลนสันติ ในใจ ขาดความรู้จักพอและความยินดี การสูญเสียความเคารพตนเอง และอุดมการณ์ ทั้งหมดนี้เป็นการลงโทษตนเองซึ่งเกิดจากบาป สำหรับ ชาวยิว การกินอาหารที่หมูกิน หมายถึงการตกต่ำถึงที่สุด จุดเปลีย่ นเกิดขึน้ เมือ่ ชายหนุม่ รูส้ กึ ตัว เขามองย้อนกลับไปในชีวติ และไม่ชอบภาพที่เขาเห็น มนุษย์หลายคนไม่ชอบสภาพชีวิตที่เขามอง เห็น แต่ไม่รู้ว่าจะหันไปทางใด เขาตกอยู่ในความเศร้าที่กัดกินหัวใจ นี่คือ ความเศร้ า ของปี ศ าจ ยิ่ ง มั น กั ด กิ น หั ว ใจมากเท่ า ใด เราจะยิ่ ง ขาด ความมั่นใจเท่านั้น และจะอ่อนไหวมากขึ้นต่อการประจญครั้งต่อไป เป็นโชคดีของคนบาปคนนี้ที่เขาระลึกถึงบ้านของบิดา และความ ใจกว้างที่มีอยู่มากมายที่นั่น การระลึกได้เช่นนี้ทำให้เขารู้ว่าจะต้องก้าวไป ในทิศทางใด ความเศร้าใจเปลี่ยนเป็นการกลับใจ คำว่ากลับใจ (repent) มาจากศัพท์ภาษาละติน re-pensare คือการคิดใหม่ (re-think) ใน การคิดใหม่นี้เขาตัดสินใจจะทำสามอย่าง คือ ฉันจะออกจากที่นี่ ฉันจะ ไปหาพ่อ ฉันจะพูดว่า “ลูกทำบาป ผิดต่อสวรรค์ และต่อพ่อ” การสารภาพบาปอย่างจริงใจเป็นหนึ่งในวิธีดีที่สุดที่ช่วยให้จิตใจ สงบ ในการรักษาด้านจิตเวช สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ยอมรับความจริง เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นกับตนเอง เมื่อเราพูดว่า “ฉันได้ทำบาป” เรายอมรับผิดชอบในความผิดที่ เรากระทำ “ต่อสวรรค์” เผยว่าเราได้ดูหมิ่นพระเจ้า ซึ่งเป็นความผิดที่ อยู่ในบาปทุกข้อ จากนั้น บุตรชายได้ขออภัยที่เขาทำให้บิดาเสียใจ การ สารภาพบาปอย่างจริงใจต้องประกอบด้วยการชดเชยความเสียหาย หรือ ความอยุติธรรมที่เรากระทำต่อผู้อื่นด้วย จากนั้น จุดศูนย์กลางของเรื่องก็เปลี่ยนไปเป็นบิดา นี่คือภาพของ พระเจ้าที่ข้าพเจ้าชอบมากที่สุด บิดาผู้นี้โยนความชอบธรรมและศักดิ์ศรี ของตนทิ้ ง ไปเมื่ อ เขาวิ่ ง ไปหาบุ ต รชาย ดึ ง ตั ว บุ ต รมากอดและพาเขา
บทเทศน์ปี C
175
กลับบ้าน เขาให้บุตรชายสวมเสื้อผ้าที่แสดงว่าเขาเป็นสมาชิกครอบครัว อย่างเต็มตัว ซึ่งไม่ใช่การให้อภัยเพียงบางส่วน หรือมีเงื่อนไข แต่เป็น การยอมรับบุตรชายกลับเข้ามาในครอบครัวอย่างสิน้ เชิง นีเ่ ป็นเหตุการณ์ ที่สมควรเฉลิมฉลอง คนจำนวนมากไม่เห็นความจำเป็นต้องมารับศีลอภัยบาป “ฉันจะ สารภาพบาปโดยตรงกับพระเจ้าไม่ได้หรือ” แน่นอน เราต้องสารภาพ ความผิดของเราต่อพระเจ้าเป็นส่วนตัว จุดประสงค์ของศีลศักดิ์สิทธิ์ นี้คือการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระเยซูคริสตเจ้า ซึ่งบัดนี้มีผลต่อชีวิต ของเรา บิดาคนนี้สามารถรับบุตรชายกลับเข้าบ้านอย่างเงียบๆ ทาง ประตูหลังก็ได้ แต่สำหรับบิดาที่รักบุตรมากเช่นนี้ การทำอย่างนั้นยัง ไม่พอ ความรักของเขาเรียกร้องให้เขาเฉลิมฉลองและชื่นชมยินดี ในศีล อภัยบาป การกลับใจของคนบาปถูกเปลี่ยนให้เป็นความชื่นชมยินดี ของพระศาสนจักร ขณะที่เราเฉลิมฉลองบุญบารมีอันเกิดจากการสิ้น พระชนม์ และการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า ซึ่งมีผลต่อชีวิตของเรา นี่ คื อ เรื่ อ งยิ่ ง ใหญ่ ที่ สุ ด เท่ า ที่ เ คยบอกเล่ า กั น มาอย่ า งแน่ น อน เพราะเรื่องนี้นำเราออกจากปลักแห่งความเศร้าหมอง ไปสู่ขั้นตอนของ การกลับใจ และไปถึงโต๊ะอาหารแห่งความชื่นชมยินดีในที่สุด
176
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 2
“พ่อครับ ลูกทำบาป ผิดต่อสวรรค์ และต่อพ่อ” การกลับมาของบุตรล้างผลาญเริ่มขึ้นเมื่อเขารู้สึกตัว และยอมรับ ในใจว่าเขาได้ทำสิ่งที่โง่เขลาลงไป ขั้นตอนต่อไปคือต้องแก้ไขผลร้ายต่อ สังคมที่เกิดจากการดำเนินชีวิตของเขา ซึ่งหมายความว่าเขาต้องไปหา บิดาและขอโทษ นอกจากนี้ เขารู้สึกว่าเขาสมควรถูกลดฐานะจากการ เป็นบุตร กลายเป็นผู้รับใช้ มิติที่สามของการกลับมาของเขา คือเขา ยอมรับว่าเขาได้ทำบาปผิดต่อสวรรค์ การกลับมาหาบิดาของบุตรผู้นี้เป็น พื้นฐานของศีลอภัยบาป แต่คนจำนวนมากไม่เข้าใจแนวทางปฏิบัติของ ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ และทำให้การสารภาพบาปกลายเป็นพิธีที่ทำกัน เป็นกิจวัตร หลังจากไปสารภาพบาปแล้ว คนเหล่านี้รู้สึกไม่สบายใจ หรือ ถึงกับเกลียดการสารภาพบาป ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ห่างไกลอย่างยิ่ง จากการเฉลิ ม ฉลองการคื น ดี กั น ของคนในครอบครั ว การโปรดศี ล อภัยบาปที่กระทำในรูปแบบที่เหมือนกับการขึ้นศาล ทำให้หลายคนมอง ว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้พิพากษาที่ชอบตำหนิติเตียน เรื่องที่พระเยซูเจ้าทรงเล่านี้ วาดภาพของพระเจ้าว่าทรงเป็นบิดา ที่พร้อมจะให้อย่างใจกว้าง และให้อภัยอย่างใจกว้างมากยิ่งกว่า เพราะ พระองค์ยังให้ต่อไปแก่บุตรผู้ผลาญมรดกจนหมดสิ้น และทำให้พระองค์ เสียชื่อเสียง นโยบายที่เรียกศีลอภัยบาปว่าเป็นศีลแห่งการคืนดี สะท้อน ให้เห็นการเปลี่ยนจุดยืนที่สำคัญ บางครั้งปัญหาในการคืนดีของเราเกิด จากเราไม่ยอมเลิกใช้ศีลศักดิ์สิทธิ์นี้อย่างเด็กๆ หรือไม่คิดว่าศีลศักดิ์สิทธิ์ นี้เป็นมากกว่าพิธีที่ทำเป็นกิจวัตร โดยขาดความจริงใจ และไม่มีความ ท้าทายใหม่ๆ อีกปัญหาหนึ่ง คือ เราไม่สามารถหาพระสงฆ์ที่รู้ว่าควร เฉลิมฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์นี้อย่างถูกต้องเหมาะสมอย่างไร
บทเทศน์ปี C
177
ปัญหาร้ายแรงที่สุดคือความสับสนของคนทั่วไปเกี่ยวกับบาป อะไรคือ “บาปผิดต่อสวรรค์” สำนึกในบาปของเราไม่เฉียบคมเพราะ ได้รับอิทธิพลต่างๆ เช่น คำโฆษณาชวนเชื่อทางโลกที่บอกให้เรานับถือ คุณค่าของการทำงาน และผลผลิต และความบันเทิงในขณะทีค่ วามเชือ่ ใน พระเจ้า (ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น และจุดหมายปลายทางของเรา) ไม่ได้รับความ สนใจสักเท่าไร เพราะคิดว่าไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและอาชีพของ เรา ความบันเทิงที่ขัดต่อศีลธรรมโดยสิ้นเชิง ซึ่งป้อนให้จิตใจของเราผ่าน ทางโทรทัศน์ วิดีทัศน์ นิตยสาร และหนังสือพิมพ์; หลักจิตวิทยาตื้นๆ ที่หาคำอธิบายมาลบล้างความรับผิดชอบ และความรู้สึกผิดของเรา; ความสับสนที่เกิดจากการตีความที่แตกต่างในหมู่นักเทววิทยาเกี่ยวกับ ประเด็นสำคัญทางศีลธรรม; จุดยืนที่เปลี่ยนไปจากขั้วหนึ่งที่มองทุกสิ่ง ทุกอย่างเป็นบาปไปหมด กลายเป็นอีกขั้วหนึ่งที่คิดว่าไม่มีอะไรเป็นบาป; จุดยืนที่เปลี่ยนไปจากการเน้นให้กลัวการลงโทษ กลายเป็นการมอง ความรักของพระเจ้าอย่างขาดสมดุล โดยทำให้คิดว่าเราจะไม่ต้องเผชิญ กับแสงสว่างจากการพิพากษา; ที่สำคัญที่สุด คือ การขาดความสัมพันธ์ กับพระเจ้าผ่านทางการภาวนา และ “การบดบังความคิดเกี่ยวกับความ เป็ น บิ ด าของพระเจ้ า และอิ ท ธิ พ ลของพระองค์ ต่ อ ชี วิ ต มนุ ษ ย์ ” (พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2) ดังนั้น ในขณะที่หลายฝ่ายในโลกพร่ำบอกเราว่าบาปเป็นเรื่อง ล้าสมัย และเป็นความคิดที่เป็นอันตราย พระวรสารกลับเน้นความจำเป็น ต้องพูดว่า “พ่อครับ ลูกได้ทำบาปผิดต่อสวรรค์” ท่านสารภาพอย่าง ถ่อมตน และจริงใจ ว่าท่านได้ทำบาปครั้งสุดท้ายเมื่อใด ท่านสารภาพ อย่างจริงใจเพียงใด การสารภาพนั้นเป็นการยอมรับอย่างถ่อมตนใน ข้อบกพร่องของทัศนคติหนึ่งโดยเฉพาะ หรือเป็นการพูดกว้างๆ ซึ่งท่าน ปิดบังมากกว่าสารภาพ ขณะนี้วิญญาณของท่านอยู่ในประเทศห่างไกล จากความสนิ ท สนมกั บ พระบิ ด าหรื อ ไม่ ถ้ า เป็ น เช่ น นั้ น ก็ ถึ ง เวลา
178
บทเทศน์ปี C
กลับบ้านแล้ว ท่านกำลังปรนเปรอจิตใจของท่านด้วยอาหารหมู่ประเภท ใด ท่านลืมอาหารรสเลิศบนโต๊ะอาหารของพระบิดาของท่านแล้วหรือ “จงลิ้มชิม และดูว่าพระเจ้านั้นประเสริฐ” บ่อยครั้งที่การสารภาพบาปทำได้ง่ายกว่าที่เราคาดไว้ เมื่อบุตร ล้างผลาญเตรียมคำพูดที่เขาวางแผนจะพูดข้อความที่น่าอับอายมาก ว่า “โปรดนับว่าลูกเป็นผู้รับใช้คนหนึ่งของพ่อเถิด” แต่พ่อของเขาต้อนรับ เขาอย่างอบอุ่น และใจกว้างจนเขารู้ทันทีว่า ถ้าเขาเสนอสิ่งใดที่ต่ำกว่า การกลับคืนสู่ครอบครัวอย่างสมบูรณ์ นั่นย่อมเป็นการดูหมิ่นน้ำใจของ บิดา ดังนั้น เขาจึงไม่พูดประโยคที่ขอเป็นผู้รับใช้ การคืนดีเป็นของ ประทานจากพระบิดาสวรรค์ และบุตรที่ยากไร้มากพอที่จะวิงวอนขอ คืนดี ย่อมใกล้ชิดบิดามากกว่าบุตรอีกคนหนึ่ง ผู้ไม่เคยร้องขออะไรเลย เมื่อเรารำพึงไตร่ตรองในใจของเรา เราจะสำนึก และสารภาพผิด ต่อพระเจ้าในใจ เราแสดงความจริงใจต่อผู้อื่นด้วยการเสนอคำขออภัย และท่าทีแห่งการชดเชย ศีลอภัยบาปเป็นช่วงเวลาที่เราเฉลิมฉลองการ กระทำเป็นส่วนตัว และต่อสังคมเช่นนี้ หลังจากที่เราได้รับความรักที่มี แต่ให้ และมีแต่ให้อภัยของพระเจ้า
บทเทศน์ปี C
179
บทรำพึงที่ 3
บรรดาคนเก็บภาษีและคนบาปเข้ามาใกล้เพื่อฟังพระเยซูเจ้า ชาวฟาริสีและธรรมาจารย์ต่างบ่นว่า “คนนี้ต้อนรับคนบาปและกินอาหารร่วมกับเขา” พระองค์จึงตรัสเรื่องอุปมานี้ให้เขาฟัง ข้อความนี้เป็นอารัมภบทสำหรับ “อุปมาสามเรื่องเกี่ยวกับความ เมตตา” คือ เรือ่ งแกะทีพ่ ลัดหลง เรือ่ งเงินเหรียญทีห่ ายไป เรือ่ งบุตรล้างผลาญ พระเยซูเจ้าทรงเล่าสามเรื่องนี้เพื่อแก้ต่างที่พระองค์ทรงคบหาสมาคม กับ “คนบาป” ซึ่งทำให้ชาวฟาริสีไม่พอใจ ข้าพเจ้าจึงเริ่มต้นเพ่งพินิจพระเยซูเจ้าผู้ประทับอยู่ในวงล้อมของ คนบาป ทรงร่วมโต๊ะอาหารกับคนเหล่านี้...โต๊ะอาหารอันเป็นธรรมล้ำลึก เป็นที่ซึ่งคนบาปนั่งร่วมโต๊ะกับพระเยซูเจ้า...พระเจ้าข้า พระองค์ตรัส อะไรกับคนเหล่านี้ จึงได้ดึงดูดใจพวกเขาเช่นนี้...และทำให้ผู้อื่นต่อต้าน อย่างรุนแรง “ชายผู้หนึ่งมีบุตรสองคน ...” เรามักนิสัยเสีย เราจะฟังแต่ภาคแรกของเรื่องอุปมา ซึ่งกล่าวถึง บุตรชายคนเล็ก หรือ “บุตรล้างผลาญ” แต่เห็นได้ชัดว่า “บิดา” เป็น ตัวละครเอกในเรื่องนี้ “ชายผู้หนึ่งมีบุตรสองคน” อันที่จริง เรากำลังจะได้ยินอุปมาเรื่อง “บิดาผู้สุรุ่ยสุร่าย” เป็น ละครที่มีสององก์ เป็นเรื่องราวความขัดแย้งระหว่างบิดาและบุตรทั้งสอง ของเขา และเขารักบุตรทั้งสองนี้มาก และรักเท่าเทียมกัน
180
บทเทศน์ปี C
เราพบเห็นเรื่องราวทำนองนี้ได้ในหลายครอบครัวในปัจจุบัน บิดามารดาทั้งหลาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับท่านเป็นเรื่องจริงของพระเจ้า ดังนั้น จงฟังนิยายรักอันงดงามที่สุด และเห็นภาพอันงดงามที่สุดของ พระเจ้าเถิด องก์ที่หนึ่ง – ทัศนคติของบิดาต่อบุตรชายคนเล็ก บุตรคนเล็กพูดกับบิดาว่า “พ่อครับ โปรดให้ทรัพย์สมบัติส่วนที่เป็น มรดกแก่ลูกเถิด” บิดาก็แบ่งทรัพย์สมบัติให้แก่ลูกทั้งสองคน บุตรชายคนเล็กนีเ้ ป็นคนทีค่ ดิ ถึงแต่ผลกำไร เขาเรียกร้องเงินทอง ...เงินทองจำนวนมาก...เขาคิดถึงแต่ตนเอง เขาได้รับทุกสิ่งทุกอย่างจาก บิดา แต่ไม่ยอมรับความจริงข้อนี้ เขารู้แต่สิ่งเดียว คือ เรียกร้อง บีบบังคับ บิดา และอ้างสิทธิ์ของตน ส่วนบิดามีนิสัยตรงกันข้าม เขาไม่เห็นแก่ตัว รู้จักแบ่งปัน ให้โดย ไม่หวังผลตอบแทน เคารพในเสรีภาพของผู้อื่น และมีแต่ความรัก พระเยซูเจ้าทรงบอกเราว่าพระเจ้าเป็นอย่างไร โดยใช้บิดาผู้นี้เป็น ภาพลักษณ์ เรามองเห็นว่าพระเจ้าก็เป็นเช่นนี้ด้วยหรือไม่ ต่ อ มาไม่ น าน บุ ต รคนเล็ ก รวบรวมทุ ก สิ่ ง ที่ มี แ ล้ ว เดิ น ทางไปยั ง ประเทศห่างไกล ที่นั่นเขาประพฤติเสเพล ผลาญเงินทองจนหมดสิ้น เมื่อเขาหมดตัว ก็เกิดกันดารอาหารอย่างหนักทั่วแถบนั้น และเขาเริ่ม ขัดสน จึงไปรับจ้างอยู่กับชาวเมืองคนหนึ่ง คนนั้นใช้เขาไปเลี้ยงหมู ในทุ่งนา เขาอยากกินฝักถั่วที่หมูกินเพื่อระงับความหิว แต่ไม่มีใครให้ เขาจึงรู้สำนึกและคิดว่า ‘คนรับใช้ของพ่อฉันมีอาหารกินอุดมสมบูรณ์ ส่วนฉันอยู่ที่นี่ หิวจะตายอยู่แล้ว ฉันจะกลับไปหาพ่อ พูดกับพ่อว่า “พ่อครับ ลูกทำบาปผิดต่อสวรรค์และต่อพ่อ ลูกไม่สมควรได้ชื่อว่า เป็นลูกของพ่ออีก โปรดนับว่าลูกเป็นผู้รับใช้คนหนึ่งของพ่อเถิด”’ เขา ก็กลับไปหาบิดา
บทเทศน์ปี C
181
บุ ต รคนเล็ ก นี้ คื อ ภาพลั ก ษณ์ ข องคนบาปได้ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ใน สายตาของชาวฟาริสี ก) บุตรที่กบฏ เรียกร้องอิสรภาพ เขาเป็นภาพลักษณ์แท้ของ บุ ค คลทุ ก ยุ ค สมั ย ที่ ไ ม่ นั บ ถื อ พระเจ้ า ที่ ใ ช้ ส อยทรั พ ยากรที่ พ ระเจ้ า ประทานให้แต่ไม่ยอมรับพระองค์ ที่ต้องการอยู่ห่างจากพระเจ้า ทำตาม อำเภอใจโดยไม่ยับยั้งชั่งใจ “ไม่มีพระเจ้า ไม่มีเจ้านาย” ทัศนคติเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ข) นอกจากนี้ ในสายตาของชาวฟาริสี บุตรชาวอิสราเอลคนนี้ ตกต่ำถึงที่สุด เขาไปรับจ้างทำงานให้คนต่างศาสนา เขาไม่ปฏิบัติตาม ข้อบังคับในวันสับบาโต เขาไม่ยึดถือกฎเกี่ยวกับอาหาร เขาไปเลี้ยงหมู ซึ่งเป็นสัตว์มีมลทิน ต้องห้าม และน่ารังเกียจ ค) แม้แต่ในสายตาของมนุษย์ทั่วไป วิถีชีวิตของเขาก็ผิดศีลธรรม เขาใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย ทำตัวไม่สมกับเป็นมนุษย์ และลดศักดิ์ศรี ตนเองไปสู่ความเป็นสัตว์ อันที่จริง เขาดำเนินชีวิตเหมือนหมูตัวหนึ่ง เขาคิดถึงแต่เงิน อาหาร และเพศ เราแต่งเติมภาพของเขาให้ดูสวยหรูเกินไป เมื่อเราชื่นชม “การ กลับใจ” ของเขา อันที่จริง เขายังเห็นแก่ตัวที่สุดเหมือนเดิม ผลประโยชน์ ส่วนตนกลายเป็นพระเจ้าของเขา เขาคิดแต่จะหาอาหารใส่ท้อง...แม้ว่า คำพูดของเขาจะสวยงาม แต่การกลับบ้านของเขาเป็นผลมาจากการคิด คำนวณอย่างเห็นแก่ตัวแล้ว เขาหวังจะหาที่อยู่อาศัยและอาหาร ท้องของ เขาทำให้เขาเจ็บปวดมากกว่าหัวใจของเขา เขาเป็นเหยื่อของกิเลสตัณหา และเพือ่ นฝูง เขาสูญเสียนิสยั ทีจ่ ะรักผูอ้ น่ื แล้ว เขายังคิดถึงตนเองอยูเ่ สมอ พระเจ้ า ข้ า นี่ คื อ ภาพลั ก ษณ์ ข องข้ า พเจ้ า ด้ ว ยหรื อ ไม่ อนิ จ จา บ่อยครั้งทีเดียวที่ข้าพเจ้าก็มีวิถีชีวิตเช่นเดียวกันนี้
182
บทเทศน์ปี C
ขณะที่เขายังอยู่ไกล บิดามองเห็นเขา รู้สึกสงสาร จึงวิ่งไปสวมกอด และจูบเขา เราต้ อ งสั ง เกตว่ า บุ ต รยั ง ไม่ ไ ด้ เ ปิ ด ปากพู ด ...บิ ด าเป็ น ฝ่ า ยทำ ทุกอย่าง เขาแสดงท่าทีสี่อย่าง คือ เขามองเห็นบุตรแต่ไกล ... เขารู้สึก สงสาร ... เขาวิ่ง ... เขาสวมกอดบุตร การวิ่งอาจเป็นภาพที่สะดุดใจมากที่สุดในอุปมาเรื่องนี้ ไม่ว่าใน ยุคใดหรือสถานที่ใด ไม่มีธรรมเนียมที่ผู้อาวุโสกว่าวิ่งไปหาผู้อ่อนอาวุโส กว่ า โดยเฉพาะเมื่ อ ผู้ อ่ อ นอาวุ โ สได้ ป ฏิ บั ติ ต นไม่ เ หมาะสมต่ อ ผู้ ที่ มี อาวุโสกว่า ถูกแล้ว เราบิดเบือนเรื่องอุปมาของพระเยซูเจ้าโดยสิ้นเชิง เมื่อ เรานำเสนอการกลับมาของบุตรชายว่าเป็นตัวอย่างที่ดขี อง “การกลับใจ” ถ้าพระเยซูเจ้าทรงบรรยายว่าคนบาปคนนี้เป็นทุกข์เสียใจ ชาวฟาริสีคง ไม่สะดุดใจกับคำสั่งสอนของพระองค์ ชาวอิสราเอลมีธรรมประเพณีที่ บอกเล่าต่อกันมานาน และอันที่จริงพระคัมภีร์ทั้งเล่มก็ยืนยันเช่นนั้น ว่าพระเจ้าทรงให้อภัยคนบาปที่กลับใจเสมอ แต่ในที่นี้ บิดาแสดงท่าที มากยิ่งกว่านั้น เขาไม่สนใจแม้แต่น้อยว่าบุตรชายแสดงความสำนึกผิด อย่างแท้จริงหรือไม่ ทันทีที่เห็นบุตรชายเดินมาแต่ไกล เขาก็วิ่งไปหา พระเยซูเจ้าไม่ทรงเน้นพฤติกรรมของบุตรล้างผลาญ หรือการแสดง ความเสียใจ หรือการชดเชยความผิด แต่ทรงเน้นที่ความรักที่ไม่หวังสิ่ง ตอบแทนของบิดา ผู้ให้อภัยบุตรชายของตนตั้งแต่ก่อนที่บุตรจะแสดง ความเสียใจ บิดาคนนี้ให้อภัยโดยไม่มีเงื่อนไข พระเยซูเจ้าทรงบอกเราว่าการเป็น “บุตร” หมายถึงอะไร การ เป็นบุตรไม่ได้หมายถึงการแสดงทัศนคติบางอย่างต่อบิดาหรือมารดา แต่หมายถึงการได้รับความรักจากบิดาหรือมารดา ไม่ว่าบุตรคนนั้น สมควรได้รับความรักหรือไม่ก็ตาม ประกาศกโฮเชยาได้เผยความจริง ข้อนี้มาแล้ว ว่าพระเจ้ายังรักคนรักของพระองค์อย่างซื่อสัตย์ แม้ว่าคนรัก นั้นไม่ซื่อสัตย์ต่อพระองค์ก็ตาม (ฮชย 3:1, 11, 1-9, 14:5-9)
บทเทศน์ปี C
183
ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ทรงรักเราด้วยความรักอันสุรยุ่ สุรา่ ยเหลือเกิน ท่ า นทั้ ง หลายผู้ ป ระกาศตั ว เป็ น ผู้ ที่ ไ ม่ เ ชื่ อ ในพระเจ้ า ...ท่ า น ทั้ ง หลายที่ ด ำเนิ น ชี วิ ต เหมื อ นกั บ คนที่ ไ ม่ เ ชื่ อ ในพระเจ้ า ...คนบาป ทั้งหลายที่หนีไปไกลจากพระเจ้า...พระเยซูเจ้าทรงกำลังบอกท่านว่า “แม้ว่าท่านไม่เชื่อในพระเจ้าและไม่รักพระองค์ แต่พระองค์ไม่เคยหยุด เชื่อในตัวท่าน และไม่เคยหยุดรักท่าน” เราจึงเข้าใจได้ว่าทำไมคนบาปจึงวิ่งตามพระเยซูเจ้า บุตรจึงพูดกับบิดาว่า “พ่อครับ ลูกทำบาปผิดต่อสวรรค์และต่อพ่อ ลูกไม่สมควรได้ชื่อว่าเป็นลูกของพ่ออีก” แต่บิดาพูดกับผู้รับใช้ว่า “เร็วเข้า จงไปนำเสื้อสวยที่สุดมาสวมให้ลูกเรา นำแหวนมาสวมนิ้ว นำรองเท้ามาใส่ให้ จงนำลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้วไปฆ่า แล้วกินเลี้ยงฉลอง กันเถิด” บิดาไม่ยอมให้บุตรพูดจนจบประโยคที่เขาซักซ้อมมาพูด แต่ เขามอบของขวั ญ มากมายให้ แ ก่ ลู ก นี่ คื อ การเลี้ ย งฉลองสมรสอย่ า ง แท้จริง ทั้งเสื้อผ้า แหวน รองเท้า อาหารอร่อย และดนตรี “เพราะลูกของเราผู้นี้ตายไปแล้วกลับมีชีวิตอีก หายไปแล้วได้พบ กันอีก” แล้วการฉลองก็เริ่มขึ้น องก์ที่หนึ่งจบลงด้วยประโยคนี้ ซึ่งบิดาจะกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แต่ จะเปลี่ยนคำว่า “ลูกของเรา” เป็น “น้องชายของลูก” ตายแล้วกลับมีชีวิต ... หายไปแล้วได้พบกันอีก ... พระเยซูเจ้า ทรงหมายถึงความตายประเภทใด นี่คือการเผยแสดงความจริงอันน่าเศร้าที่พระเยซูเจ้าทรงเผย ต่อจิตใจที่ไม่รู้จักคิดของเรา ว่าการอยู่ห่างจากพระเจ้าก็คือการตาย มนุษย์ดำรงอยู่ได้เพียงเมื่อเขาอยู่ในความสัมพันธ์กับพระเจ้าเท่านั้น
184
บทเทศน์ปี C
ความเชื่อเท่านั้นที่ช่วยเราให้มองเห็นความจริง เราอาจคิดว่าเรามีชีวิต ทั้งที่เราตายแล้ว งานเลี้ ย งฉลองของพระเจ้ า ...ความยิ น ดี ข องพระเจ้ า ...การ กลับใจ หมายถึงการเข้าสู่ความยินดีนี้ และนี่คือสิ่งที่บุตรชายคนโต ไม่ยอมทำ องก์ที่สอง : ทัศนคติของบิดาต่อบุตรชายคนโต ส่วนบุตรคนโตอยู่ในทุ่งนา เมื่อกลับมาใกล้บ้าน ได้ยินเสียงดนตรีและ การร้องรำ จึงเรียกผู้รับใช้คนหนึ่งมาถามว่า “เกิดอะไรขึ้น” ผู้รับใช้ บอกเขาว่ า “น้ อ งชายของท่ า นกลั บ มาแล้ ว บิ ด าสั่ ง ให้ ฆ่ า ลู ก วั ว ที่ ขุนอ้วนแล้ว เพราะเขาได้ลูกกลับคืนมาอย่างปลอดภัย” บุตรคนโต รู้สึกโกรธ ไม่ยอมเข้าไปในบ้าน บิดาจึงออกมาขอร้องให้เข้าไป บิดาแสดงความใจดีต่อบุตรคนโตเช่นเดียวกัน เขาออกมาหา และ ขอร้องบุตรชาย พระคั ม ภี ร์ มั ก กล่ า วถึ ง พระพรที่ พ ระเจ้ า ประทานให้ ว่ า เป็ น พระพรที่ให้เปล่าๆ และกล่าวถึงบุตรคนเล็กที่แย่งตำแหน่งของบุตร คนโต (ปฐก 27:36, 1 มคบ 4:26, สภษ 30:23, ฮชย 12:4) ดังนั้น ชาวฟาริสีควรระลึกว่า ยาโคบแย่งตำแหน่งของเอซาว และได้รับมรดก ซึ่งเขาไม่มีสิทธิ์ได้รับอย่างไร ในทำนองเดียวกัน “คนงานที่ทำงานเป็น กลุ่มสุดท้าย” จะแย่งตำแหน่งของ “คนงานกลุ่มแรกในสวนองุ่น” (มธ 20:8) และในทำนองเดียวกัน “พวกที่เป็นกลุ่มสุดท้ายจะกลับกลายเป็น กลุ่มแรก” (ลก 13:30, 1คร 15:18) และ “คนต่างศาสนา” จะเข้า มาแทนที่ “ประชากรเลือกสรร” ความรักของพระเจ้าเป็นความรักที่ให้ เปล่า และประทานให้ตามน้ำพระทัยของพระองค์ (รม 9:30) ทัศนคติเช่นนี้ของพระเจ้าไม่ใช่ความอยุติธรรม พระเจ้าทรงรัก มนุษย์ทุกคน “ท่านอิจฉาริษยาเพราะฉันใจดีหรือ” (มธ 20:15)
บทเทศน์ปี C
185
ข้าแต่พระบิดา ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณสำหรับความรักที่ทรงมี ต่ อ มนุ ษ ย์ ทุ ก คน บ่ อ ยครั้ ง ที่ ข้ า พเจ้ า สงสั ย ว่ า ข้ า พเจ้ า รั ก พระองค์ จ ริ ง หรือไม่ แต่ข้าพเจ้าแน่ใจว่าพระองค์ทรงรักข้าพเจ้า... แต่บุตรคนโตตอบบิดาว่า “ลูกรับใช้พ่อมานานหลายปีแล้ว ไม่เคย ฝ่าฝืนคำสั่งของพ่อเลย พ่อก็ไม่เคยให้ลูกแพะแม้แต่ตัวเดียวแก่ลูก เพื่อเลี้ยงฉลองกับเพื่อนๆ แต่พอลูกคนนี้ของพ่อกลับมา เขาคบหญิง เสเพล ผลาญทรัพย์สมบัติของพ่อจนหมด พ่อยังฆ่าลูกวัวที่ขุนอ้วน แล้วให้เขาด้วย” ด้วยคำพูดเหล่านี้ บุตรคนโตเผยให้เห็นจุดสูงสุดของเรื่องอุปมา นี้ กล่าวคือ เขาไม่ตระหนักว่าพ่อของเขารักเขามากเพียงไร “ลูกเอ๋ย ลูกอยู่ กับพ่อเสมอมา ทุกสิ่งที่พ่อมีก็เป็นของลูก” จากทั้งสององก์ของเรื่องอุปมานี้ เราได้รับเชิญให้เข้ามาอยู่ใน ความรักของพระเจ้า และมาอยู่ในความยินดีของพระองค์ที่ได้ “พบคน บาปที่ ก ลั บ มา”...นี่ คื อ การประกาศถึ ง การกลั บ ใจของชนต่ า งชาติ ต่างศาสนา ผู้จะเข้ามาเป็นประชากรใหม่ของพระเจ้าเป็นจำนวนมาก วันหนึ่ง ลูกาจะเขียนข้อความเหล่านี้ว่าออกจากปากของเปโตร เมื่อเปโตร ได้ เ ห็ น พระหรรษทานที่ พ ระเจ้ า ประทานแก่ น ายร้ อ ยชาวโรมั น ชื่ อ โครเนลี อั ส “ในเมื่ อ พระเจ้ า ประทานพระพรแก่ เ ขาเช่ น เดี ย วกั บ ที่ ประทานแก่เรา ผู้เชื่อในพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าเป็นใคร เล่าที่จะขัดขวางพระเจ้าได้” (กจ 11:17) และอุปมาเรื่องบุตรที่หายไป และได้พบกันอีก จึงจบลงด้วย ประโยคที่ แ สดงความยิ น ดี เ หมื อ นกั บ อุ ป มาสองเรื่ อ งก่ อ นหน้ า นี้ (ซึ่งบอกเล่าในวันอาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา) เรื่องแกะที่พลัดหลง (ลก 15:6) เรื่องเงินเหรียญที่หายไป (ลก 15:9)
186
บทเทศน์ปี C
“จงร่วมยินดีกับฉันเถิด “จงร่วมยินดีกับฉันเถิด ฉันพบแกะตัวที่พลัดหลงนั้นแล้ว” ฉันพบเงินเหรียญที่หายไปแล้ว” บุตรชายคนเล็ก (ลก 15:23) บุตรชายคนโต (ลก 15:31) “กินเลี้ยงฉลองกันเถิด “ต้องเลี้ยงฉลอง และชื่นชมยินดี เพราะลูกของเราผู้นี้ เพราะน้องชายคนนี้ของลูก ตายไปแล้วกลับมีชีวิตอีก ตายไปแล้วกลับมีชีวิตอีก หายไปแล้วได้พบกันอีก” หายไปแล้วได้พบกันอีก” ในประโยคสุดท้ายมีคำเดียวที่เปลี่ยนไปคือคำว่า “ลูก” ถูกแทนที่ ด้วยคำว่า “น้องชาย” พระเจ้าทรงเป็นบิดา นี่คือความจริงแน่นอน พระองค์ทรงรักบุตร ทุกคนของพระองค์ ... แต่มนุษย์จะนับว่าผู้อื่นเป็นพี่น้องด้วยหรือไม่ บุตรชายคนโตจะยอมเชื่อ และ “เข้าสู่ความยินดีของบิดา” หรือไม่ ... เราไม่ทราบ...อุปมาเรื่องนี้จบลงแบบปลายเปิด... เราต้องเป็นผู้เขียนตอนจบของเรื่องนี้เอง...เราต้อง “เข้าสู่งาน เลี้ยงฉลองของพระเจ้า”
บทเทศน์ปี C
ยอห์น 8:1-11
187
วั นอาทิตย์ที่ห้า เทศกาลมหาพรต
พระเยซู เ จ้ า เสด็ จ ไปยั ง ภู เ ขามะกอกเทศ เช้ า ตรู่ วั น รุ่ ง ขึ้ น พระองค์เสด็จไปในพระวิหารอีก ประชาชนเข้ามาห้อมล้อมพระองค์ พระองค์ประทับนั่ง แล้วทรงเริ่มสั่งสอน บรรดาธรรมาจารย์ แ ละชาวฟาริ สี น ำหญิ ง คนหนึ่ ง เข้ า มา หญิงคนนี้ถูกจับขณะล่วงประเวณี เขาให้นางยืนตรงกลาง แล้วทูล ถามพระองค์วา่ “อาจารย์ หญิงคนนีถ้ กู จับขณะล่วงประเวณี ในธรรมบัญญัติ โมเสสสั่งเราให้ทุ่มหินหญิงประเภทนี้จนตาย ส่วนท่านจะว่า อย่างไร” เขาถามพระองค์เช่นนี้ เพื่อทดลองพระองค์ หวังจะหาเหตุ ปรักปรำพระองค์ แต่พระเยซูเจ้าทรงก้มลงเอานิ้วพระหัตถ์ขีดเขียน ที่พื้นดิน เมื่อคนเหล่านั้นยังทูลถามย้ำอยู่อีก พระองค์ทรงเงยพระพักตร์ขึ้น ตรัสว่า “ท่านผู้ใดไม่มีบาป จงเอาหินทุ่มนางเป็นคนแรก เถิด” แล้วทรงก้มลงขีดเขียนบนพื้นดินต่อไป เมื่อคนเหล่านั้นได้ฟัง ดังนี้ก็ค่อยๆ ทยอยออกไปทีละคน เริ่มจากคนอาวุโส จนเหลือแต่ พระเยซูเจ้าตามลำพังกับหญิงคนนัน้ ซึง่ ยังคงยืนอยูท่ เี่ ดิม พระเยซูเจ้า ทรงเงยพระพักตร์ขึ้น ตรัสกับนางว่า “นางเอ๋ย พวกนั้นไปไหนหมด ไม่มีใครลงโทษท่านเลยหรือ” หญิงคนนั้นทูลตอบว่า “ไม่มีใครเลย พระเจ้าข้า” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราก็ไม่ลงโทษท่านด้วย ไปเถิด และ ตั้งแต่นี้ไป อย่าทำบาปอีก”
188
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 1
เยียวยาความรู้สึกในอดีต หั ว ข้ อ ของวั น อาทิ ต ย์ สั ป ดาห์ ก่ อ นเป็ น เรื่ อ งของบาปและการ ให้อภัย และยังเป็นหัวข้อของสัปดาห์นี้ด้วย แม้ว่าเรื่องนี้อยู่ในพระวรสาร ของนักบุญยอห์น แต่ก็เข้ากันได้ดียิ่งกับหัวข้อในพระวรสารของนักบุญ ลูกาสำหรับปีนี้ บทอ่านอื่นๆ ของมิสซาวันนี้กระตุ้นให้มนุษย์ลืมอดีต อิสยาห์ กระตุ้นให้ประชาชนลืมความยากลำบากในดินแดนเนรเทศที่บาบิโลน และให้วางใจในอนาคตที่พระเจ้าทรงเตรียมไว้ให้พวกเขา “อย่าระลึก ถึงอดีต อย่าคิดถึงเรื่องราวครั้งก่อน ดูเถิด เรากำลังกระทำสิ่งใหม่...” นักบุญเปาโลเพ่งสายตาไปที่พระคริสตเยซู จนทุกสิ่งทุกอย่างใน อดีตของเขาเลือนรางกลายเป็นสิ่งไม่สำคัญ “ข้าพเจ้าทำเพียงอย่างเดียว คือลืมสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง มุ่งสู่เบื้องหน้าอย่างสุดกำลัง” แต่การลืมอดีตนั้นทำได้ง่ายนักหรือ โดยเฉพาะสำหรับคนที่เคย ถูกทำร้ายจิตใจ ร่างกาย หรือเคยเป็นเหยื่อของความอยุติธรรมในอดีต เราไม่สามารถสั่งความทรงจำของเราว่าเมื่อใดควรปิดสวิทซ์ ถ้าเราจำ สิ่งใดได้ สิ่งนั้นจะฝังอยู่ในใจเรา เราไม่อาจเลือกได้ว่าจะจำ หรือจะลืม อะไร แต่เราเลือกได้ว่าจะจำอย่างไร เราเลือกได้ว่าจะจำในเชิงลบหรือ เชิงบวก การจำในเชิงลบคือการครุ่นคิดถึงแต่ความอยุติธรรมและความ เจ็บปวด ปลุกความโกรธ ความแค้น ความคิดและความปรารถนาซึ่ง ทำร้ายจิตใจเรา คนที่ทุกข์ทรมานมากที่สุดจากความรู้สึกเหล่านี้ก็คือ คนที่ไม่ยอมปล่อยให้ความทรงจำเหล่านี้เลือนหายไป การจำในเชิงบวก คือการใช้พลังที่มีอำนาจมากกว่า และเหนือกว่าความอยุติธรรมหรือ
บทเทศน์ปี C
189
การประทุษร้ายที่เกิดขึ้นกับตัวเรา พลังที่มีอำนาจเหนือความอยุติธรรม และความคิดด้านลบทั้งปวง คือ ความรัก เรื่องของพระเยซูเจ้า และหญิงคนนี้เป็นเหตุให้เกิดปฏิกิริยาทั้ง ด้านลบและด้านบวก จุดยืนของบรรดาธรรมาจารย์ และชาวฟาริสี ต่อ หญิงผู้นี้มีแต่พลังด้านลบ แต่ผู้ร่วมกระทำผิดประเวณีครั้งนี้อยู่ที่ไหน ทำไมไม่มีใครเอ่ยถึงเขา ทุกคนกล่าวหาหญิงคนนี้ บัดนี้ ทุกคนอ้างธรรมบัญญัติเพื่อจับผิดพระเยซูเจ้า เขาบังคับใช้ตามธรรมบัญญัติต่อผู้ฝ่าฝืน มากกว่าต่อผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ ความชอบธรรมที่ปราศจาก ความเมตตา อาจกลายเป็นการกระทำที่โหดเหี้ยมได้ พระเยซูเจ้าทรงแสดงความชอบธรรมด้วยการช่วยเหลือและ เยี ย วยารั ก ษาผู้ อื่ น พระองค์ ท รงพลิ ก สถานการณ์ ท ำให้ ผู้ ก ล่ า วหา กลายเป็นผู้ถูกกล่าวหาด้วยคำตอบว่า “ท่านผู้ใดไม่มีบาป จงเอาหินทุ่ม นางเป็นคนแรกเถิด” เราอยู่ในยุคที่บาป การละเมิดสิทธิ และความอยุติธรรมที่ซ่อนอยู่ ในอดีต กำลังถูกเปิดโปง การรีดพิษออกมาเป็นสิ่งจำเป็น และทำให้คน จำนวนมากรู้สึกดีขึ้นได้ แต่ผู้เป็นเหยื่อจำเป็นต้องก้าวออกจากอดีต และ ก้าวไปในทิศทางที่ถูกต้อง การอยู่กับความเจ็บปวดในอดีตก็เหมือนกับ การแกะและทิ่มแทงบาดแผล ทำให้แผลนั้นไม่มีวันสมานตัวได้ ทางเลือก ของเราไม่ใช่การลืมอดีต แต่เลือกว่าจะจัดการอย่างไรกับอดีต เราจะจม อยู่กับปฏิกิริยาด้านลบนั้น หรือเราจะก้าวไปสู่การเยียวยาและชีวิตใหม่ พระวรสารตอนนี้ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า พระเจ้ า ทรงสงสารคนบาป อย่างไร พระเยซูเจ้าทรงยินดีคืนชีวิต มากกว่าจะทำลายชีวิต พระองค์ ทรงให้อภัยคนบาปคนนี้ ทรงคลุมความเปลือยเปล่าของนางด้วยศักดิ์ศรี และนำนางกลับคืนสู่อุดมคติที่จะไม่ทำบาปอีกต่อไป องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าทรงทำอัศจรรย์ตา่ งๆ เพือ่ เรา และเรายินดียง่ิ นัก
190
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 2 มือของพวกเขา
“มือคือภูมิทัศน์ของหัวใจ” (คาโรล วอยตีลา) เราสามารถวาด ภาพในจินตนาการได้ว่ามือของคนเหล่านี้กำลังเปิดเผยทัศนคติในใจ ของเขา เราเห็นมือที่กวักเรียกประชาชนออกมาจากทุกประตูบ้าน และ ทุกมุมมืด ให้มาสนับสนุนพวกเขา มืออันโหดร้ายลากตัวหญิงคนนี้มา อย่างไม่ปรานี และผลักนางไปยืนตรงกลาง มือที่สั่นเทาของหญิงนี้ที่ พยายามปิดหน้าด้วยความอับอายและรักษาศักดิ์ศรีที่เหลืออยู่เพียง น้อยนิด “อาจารย์...รับบี” มือของพวกเขาที่แสดงท่าเหมือนกับทนายที่ กำลังอุทธรณ์ต่อศาล แม้ว่าคำอุทธรณ์ของเขาไม่อาจปิดบังความหน้าซื่อ ใจคดของเขาได้ก็ตาม จากนั้น นิ้วที่ปรักปรำก็พุ่งไปทางผู้ถูกกล่าวหา ราวกับลูกศร...“หญิงคนนี้”...ราวกับว่านางไม่มีชื่อ ไม่มีสิทธิจะเป็น บุคคล จากนั้น นิ้วที่ปรักปรำก็ชูขึ้นเบื้องบนและสั่นไปมาเพื่อแสดงความ โกรธของผู้ชอบธรรม... “หญิงผู้ล่วงประเวณี” บัดนี้ นิ้วมือที่ชูขึ้นกลับ กำแน่นเป็นกำปั้น “นางควรถูกทุ่มหินให้ตาย” มือนี้กลายเป็นกรงเล็บที่ ควานหาก้ อ นหิ น บนพื้ น ดิ น มื อ ที่ ก ำก้ อ นหิ น แห่ ง ความโกรธเงื้ อ ขึ้ น รอคอยคำสั่ง “ท่านจะว่าอย่างไร” พระหัตถ์ของพระเยซูเจ้าผ่อนคลาย ไม่ชี้ไปที่ใคร ไม่กำแน่นจน เส้นเลือดโป่งเพราะความโกรธ พระองค์ประทับอยู่ที่โคนเสาในที่ร่ม และ ทรงขีดเขียนบนพื้นดินเหมือนเด็กกำลังเล่น พระองค์ทรงเขียนบาปของพวกเขา หรือกำลังพยายามดึงความ สนใจไปจากความอับอายของหญิงนั้น หรือทรงเพียงขีดเขียนอะไรเล่นๆ
บทเทศน์ปี C
191
พระหั ต ถ์ ที่ ผ่ อ นคลายนั้ น ทำให้ น างเกิ ด ความหวั ง ขึ้ น มาอย่ า ง ไม่คาดฝัน พระหัตถ์นั้นไม่ตัดสินโทษประหาร พระหัตถ์แห่งความสงสาร ขีดเขียนบนฝุ่นดินแห่งการเนรมิตสร้าง ทรงคืนชีวิตให้แก่คนตาย “ไป เถิด และตั้งแต่นี้ไป อย่าทำบาปอีก” กษัตริย์ดาวิดตรัสด้วยปรีชาญาณว่า “ขอให้เราตกอยู่ในพระหัตถ์ ของพระเจ้า เพราะความเมตตาของพระองค์ยิ่งใหญ่ และไม่ตกอยู่ในมือ มนุษย์” (2 ซมอ 24:14) ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้าขอถวายจิตของข้าพเจ้า ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์
192
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 3 พระเยซูเจ้าเสด็จไปยังภูเขามะกอกเทศ เช้าตรู่วันรุ่งขึ้นพระองค์เสด็จ ไปในพระวิหารอีก พระเยซู เ จ้ า มั ก ใช้ เ วลากลางคื น ในสวนเกทเสมนี โดยเฉพาะ ระหว่างสัปดาห์สุดท้ายในชีวิตของพระองค์ เพื่อแสวงหาความสงบ และ อธิษฐานภาวนา ประชาชนเข้ามาห้อมล้อมพระองค์ พระองค์ประทับนั่ง แล้วทรงเริ่ม สั่งสอน บรรดาธรรมาจารย์และชาวฟาริสี นำหญิงคนหนึ่งเข้ามา หญิงคนนี้ถูกจับขณะล่วงประเวณี พระเยซูเจ้าประทับนั่งในลานพระวิหาร ขณะนั้นเป็นเวลาเช้าตรู่ คนจำนวนมากเข้ามาห้อมล้อมพระองค์ เกิดเสียงอึกทึกขึ้น ชาวฟาริสี กลุ่มหนึ่งลากตัวหญิงคนหนึ่งเข้ามา นางพยายามหนี...ฝูงชนหลีกทางให้ และยืนล้อมวงอยู่ “นางถูกจับได้ในบ้านของชายคนหนึ่ง นางไม่ซื่อสัตย์ ต่อสามีของนาง นางสมควรตาย ธรรมบัญญัติกำหนดไว้ชัดเจน” (ฉธบ 22:22-24, ลนต 20:10) ทำไมเขาจึงนำตัวมาแต่ฝ่ายหญิง ในการล่วงประเวณีต้องมีชาย ร่วมอยู่ด้วย และธรรมบัญญัติกำหนดให้ลงโทษฝ่ายชายด้วยวิธีเดียวกัน ด้วย แต่เรารู้ว่าผู้นิพนธ์พระวรสาร และโดยเฉพาะลูกา ซึ่งน่าจะเป็น ผู้เขียนคำบอกเล่านี้มากกว่ายอห์น ได้ย้ำทัศนคติใหม่ของพระเยซูเจ้าต่อ สตรี ซึ่งต่างจากทัศนคติของคนทั่วไปในยุคนั้น กล่าวคือ ในขณะที่สตรี ถูกเหยียดหยาม และเป็นบุคคลตามชายขอบของสังคม พระเยซูเจ้า ทรงกอบกู้ฐานะ และทรงเน้นเรื่องศักดิ์ศรีของสตรีเสมอ
บทเทศน์ปี C
193
เขาให้นางยืนตรงกลาง แล้วทูลถามพระองค์ว่า “อาจารย์ หญิงคนนี้ ถูกจับขณะล่วงประเวณี ในธรรมบัญญัติโมเสส สั่งเราให้ท่มุ หินหญิง ประเภทนี้จนตาย” การล่วงประเวณีเป็นการประพฤติผิดขั้นร้ายแรงซึ่งทุกอารยธรรมประณาม สังคมไม่สามารถหลอกตนเองได้นานโดยไม่ทำลายสังคม นั้นๆ ว่าความประพฤติเช่นนี้ไม่ใช่ปัญหา เราต้องทนดูความชั่ว และ ความอยุติธรรมที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งต้องทนรับไว้อย่างนั้นหรือ ครอบครัว และโดยเฉพาะบรรดาบุ ต ร จะพั ฒ นาตนเองและเติ บ โตขึ้ น โดยไม่ มี บาดแผลในใจได้หรือ เมื่อเขาดำรงชีวิตท่ามกลางความหย่อนยานทาง ศีลธรรม และการประพฤติผิดทางเพศ ส่วนท่านจะว่าอย่างไร ทุกคนรู้ดีว่าพระเยซูเจ้าทรงย้ำเสมอว่าการสมรสจะยกเลิกไม่ได้ เพื่อรักษาความรักให้อยู่รอดจากความไม่แน่นอน (มธ 5:31-32) พระเยซูเจ้าทรงประณามการล่วงประเวณีอย่างชัดเจน โดยทรงยืนยันว่าแม้ แต่การปล่อยให้ใจโอนอ่อนต่อความปรารถนาที่ชั่วร้ายก็เป็นบาปแล้ว “ผู้ใดมองหญิงด้วยความใคร่ ก็ได้ล่วงประเวณีกับนางในใจแล้ว” (มธ 5:28) ความดีของพระเยซูเจ้าไม่ใช่ทัศนคติที่ไม่ยุ่งเรื่องของผู้อื่น เขาถามพระองค์เช่นนี้เพื่อทดลองพระองค์หวังจะหาเหตุปรักปรำ พระองค์ ชาวฟาริสี และธรรมาจารย์ รู้ว่าพระเยซูเจ้าทรงรักผู้ที่พวกเขาถือ ว่าเป็นคนบาป และคนบาปเหล่านี้ก็รักพระองค์ เขาตำหนิพระองค์ที่ คบหาสมาคมกับคนเหล่านี้ “เขากินดื่มกับคนบาป” การพิพากษาหญิง ที่ ถู ก จั บ ขณะล่ ว งประเวณี นี้ เ ป็ น เพี ย งฉากบั ง หน้ า เพื่ อ จะกล่ า วโทษ พระเยซูเจ้า เป็นกับดักที่วางไว้ล่อหลอกพระองค์ ถ้าพระองค์พิพากษาให้
194
บทเทศน์ปี C
ประหารหญิงคนนี้ พระองค์ย่อมทำลายภาพของความรักอันเปี่ยมเมตตา ที่ พ ระองค์ ท รงแสดงต่ อ คนบาป และทำให้ ป ระชาชนนิ ย มชมชอบ พระองค์ ซึ่งเป็นความนิยมที่เกิดจากความรักอันอ่อนโยนและความดี ของพระองค์นนั่ เอง แต่ถา้ พระองค์ไม่ทรงเอาผิดคนบาปผูน้ ี้ พระองค์กจ็ ะ ฝ่าฝืนธรรมบัญญัติ และสมควรถูกประหารเสียเอง เพราะทรงดูหมิ่น พระเจ้า ผู้ทรงประณามบาปข้อนี้ ดังนั้น การพิพากษาหญิงคนนี้จึงเป็นฉากบังหน้าการพิพากษา พระเยซูเจ้า
การพิพากษาบังหน้า หญิงคนหนึ่ง บรรดาธรรมาจารย์ และชาวฟาริสี การล่วงประเวณี ซึ่งควรได้รับโทษ ตามธรรมบัญญัติของโมเสส ประหารชีวิต
จำเลย โจทย์ อาชญากรรม การลงโทษ
ความพิพากษาที่แท้จริง จำเลย พระเยซูเจ้า โจทย์ บรรดาธรรมาจารย์ และชาวฟาริสี อาชญากรรม การดูหมิ่นพระเจ้า การลงโทษ ประหารชีวิต
แต่พระเยซูเจ้าทรงก้มลงเอานิ้วพระหัตถ์ขีดเขียนที่พื้นดิน ความเงียบนี้เป็นการประกาศล่วงหน้า ว่าพระองค์จะไม่ทรงตอบ อะไรเลยเช่นกัน ระหว่างที่พระองค์จะทรงถูกพิพากษาคดีในสภาสูง นี่เป็นปฏิกิริยาที่น่าประหลาดใจที่สุด อันที่จริงพระเยซูเจ้าไม่ทรง แสดงปฏิกิริยาอะไรเลย พระองค์ไม่ตอบ แต่ขีดเขียนพื้นดินเล่นๆ เหมือน กับคนที่ไม่อยากสนใจเหตุการณ์รอบตัว
บทเทศน์ปี C
195
เรามองไม่เห็นเครื่องหมายของความรักอันละเอียดอ่อนของ พระองค์ในทัศนคตินี้หรือ พระองค์ไม่ทรงเงยพระพักตร์ขึ้นมองหญิงคนนี้ เพราะทรงรู้ว่า นางกำลังอับอาย นอกจากนี้ยังเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงว่าพระองค์ ทรงปฏิเสธที่จะเข้าข้างฝ่ายใดในการวิเคราะห์เหตุการณ์แบบมนุษย์ พระองค์ทรงสามารถสอบถามได้แน่นอน ทรงสามารถตั้งคำถามและหา ตัวผู้รับผิดชอบ มีเหตุการณ์ใดที่จะบรรเทาโทษของนางได้หรือไม่ อดีต ของนางช่วยอธิบายความผิดในปัจจุบันของนางได้หรือไม่ สามีของนาง ปฏิ บั ติ ต่ อ นางอย่ า งไร ไม่ ค วรหรื อ ที่ เ ราจะแยกแยะระหว่ า งการล่ ว ง ประเวณีที่ดำเนินอยู่เป็นเวลานานอย่างไร้ยางอายโดยที่ผู้อื่นรับรู้ ซึ่ง ทำร้ายจิตใจและสร้างความอับอายให้แก่คู่สมรสและบุตรของนาง และ การล่วงประเวณีที่กระทำอย่างลับๆ เป็นเวลาไม่นาน และเป็นความ อ่อนแอที่น่าอาย ธรรมบัญญัติที่กำหนดให้ลงโทษคนบาปดังกล่าวถึง ตายนั้ น ไม่อ ยุ ติธ รรมไปหน่ อยหรื อ เราไม่ ค วรรณรงค์ ใ ห้ ย กเลิ ก โทษ ประหารหรือ การตั้ ง คำถามเหล่ า นี้ เ ป็ น เรื่ อ งปกติ ส ำหรั บ มนุ ษ ย์ แ ละสั ง คม แต่พระเยซูเจ้าทรงวางพระองค์ในระดับที่แตกต่างจากเรา และทรงจงใจ ทำเช่นนั้น พระองค์ทรงแสดงท่าทีว่าไม่สนใจเลย พระองค์ทรงขีดเขียน เล่นๆ บนพื้นดิน นี่ไม่ใช่กริยาของบุคคลที่ชอบหนีความจริง และละทิ้ง ความรับผิดชอบของพระองค์หรือ เปล่าเลย เราจะได้เห็นว่าแท้จริงแล้วพระเยซูเจ้าทรงมีบางสิ่งบาง อย่างที่พระองค์ต้องการตรัส เมื่อคนเหล่านี้ยังทูลย้ำอยู่อีก พระองค์ทรงเงยพระพักตร์ขึ้น พวกเขาเป็นฝ่ายตอกย้ำ พระเจ้าข้า พระองค์ทรงนิ่งเงียบอยู่นาน เท่าไร...ข้าพเจ้าวาดภาพในจินตนาการว่าพระองค์ทรงมองพวกเขา
196
บทเทศน์ปี C
ทีละคน ข้าพเจ้าเพ่งพินิจพระเนตรของพระองค์ที่เคลื่อนจากใบหน้า คนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง ขณะที่ทรงเงยพระพักตร์ขึ้น พระองค์ทรงมอง หญิงคนนั้นก่อน แล้วจึงมองผู้กล่าวหา จากนั้นทรงมองฝูงชน ตรัสว่า “ท่านผู้ใดไม่มีบาป จงเอาหินทุ่มนางเป็นคนแรกเถิด” พระเจ้าข้า พระองค์ทรงส่งพวกเขากลับไปพิจารณามโนธรรมของ เขา เช่นเดียวกับที่พระองค์ตรัสถึงชาวกาลิลี ที่เสียชีวิตเพราะคำสั่งของ ปิลาต หรือเพราะหอสิโลอัมถล่มลงมาทับ พระเยซูเจ้าทรงยกข้อถกเถียงนี้ขึ้นสู่ระดับที่สูงกว่า คือ ในระดับที่ พระเจ้าทรงเห็น มนุษย์ทุกคนเป็นคนบาป และทุกคนจำเป็นต้องได้รับ การอภัย (ลก 6:36-38) ประกาศกโฮเชยาเปรียบเทียบชนชาติอิสราเอล ว่าเหมือนกับคู่ สมรสที่พระเจ้าทรงรัก แต่นางคบชู้ ... การละทิ้งพระเจ้าทุกครั้งเหมือน การคบชู้ประเภทหนึ่ง ซึ่งทำให้พระเจ้าผู้ทรงรัก และห่วงใยเรา ต้องเสีย พระทัย แต่พระเจ้ายังทรงรัก และไม่เคยเบื่อหน่ายที่จะให้อภัยคู่สมรสที่ ทรยศต่อพระองค์ หรือมนุษยชาติที่ตกอยู่ในบาป นี่เป็นคำพูดที่แตกต่าง อย่างยิ่งจากคำอภิปรายในศาลสถิตยุติธรรม ไม่ว่าคำอภิปรายเหล่านั้น จะมีประโยชน์สักเท่าไรก็ตาม บาปของข้าพเจ้าทำให้พระเจ้าผู้ทรงรัก และห่วงใยข้าพเจ้า ต้อง เสียพระทัย พระเยซูเจ้าทรงบอกข้าพเจ้าเช่นนี้ นี่คือความจริงที่พระองค์เสด็จ มาเพื่อเปิดเผยแก่เรา แล้วทรงก้มลงขีดเขียนบนพื้นดินต่อไป ครั้งนี้ พระองค์ทรงเงียบอยู่นานเท่าไร พระเจ้าข้า ข้าแต่พระเจ้า ลึกๆ ลงไปในพระทัย พระองค์ทรงเมตตาชาวฟาริสี เช่นเดียวกัน พระองค์ไม่ทรงทุ่มหินเขาเช่นกัน เมื่อทรงถูกตรึงอยู่บนไม้
บทเทศน์ปี C
197
กางเขน พระองค์จะตรัสว่า “พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร” (ลก 23:34) พระทัยของพระเจ้าเปี่ยม ด้วยความเมตตากรุณาเช่นนี้เอง แทนที่จะกระชากหน้ากากของเขาต่อ หน้าสาธารณชน พระองค์ทรงยอมให้เขาถอนตัวออกไปอย่างเงียบๆ “ทีละคน” โดยทรงใช้ความเงียบของพระองค์ ระหว่างความเงียบอันยาวนานนี้ หญิงคนนี้ก็มีเวลาไตร่ตรอง ความผิดของนางเช่นกัน มีความคิดมากมายอยู่ในสมองของนาง นาง อาจไม่เคยตระหนักว่าความผิดของนางร้ายแรงถึงเพียงนี้ แต่ความรักอัน เปี่ยมด้วยความเมตตาของพระเจ้าผู้ไม่ทรงลงโทษนาง เผยให้นางรู้ได้ ทันทีว่าอะไรคือความรักแท้ บัดนี้ นางมองไปที่พระเยซูเจ้า อย่างน้อย พระองค์ ก็ เ ป็ น คนดี ค นหนึ่ ง นางอาจร้ อ งไห้ นางได้ รั บ การอภั ย แล้ ว นางไม่ใช่หญิงคบชู้อีกต่อไป นางได้รับการชำระให้บริสุทธิ์แล้ว เหลือแต่พระเยซูเจ้าตามลำพังกับหญิงคนนั้น ซึ่งยังยืนอยู่ที่เดิม นักบุญออกุสติน บรรยายภาพนี้ว่า “ความน่าสังเวชเผชิญหน้า กับความเมตตา” นี่เป็นภาพน่าประทับใจ ที่ข้าพเจ้าต้องการเพ่งพินิจเป็นเวลานาน ขอบพระคุณพระองค์ พระเยซูเจ้าข้า พระเยซูเจ้าทรงเงยพระพักตร์ขึ้น ตรัสกับนางว่า “นางเอ๋ย พวกนั้น ไปไหนหมด ไม่มีใครลงโทษท่านเลยหรือ” หญิงคนนั้นทูลตอบว่า “ไม่มีใครเลย พระเจ้าข้า” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราก็ไม่ลงโทษท่าน ด้วย ไปเถิด และตั้งแต่นี้ไป อย่าทำบาปอีก” คนบาปอื่นๆ ทุกคน – ทั้งบรรดาธรรมาจารย์ และชาวฟาริสี – ไม่เข้าใจพระเยซูเจ้า และไม่เข้าใจพระเจ้าเลย ถ้าพวกเขายังอยู่ที่นั่นกับ พระเยซูเจ้า พวกเขาก็จะได้รับการอภัยบาปเช่นเดียวกับหญิงคนนี้ เพราะ
198
บทเทศน์ปี C
พระเยซู เ จ้าทรงย้ำหลายครั้งว่า “เราไม่ พิ พ ากษาผู้ ใ ด” (ยน 8:15) พระองค์ “มาเพื่อแสวงหา และเพื่อช่วยเหลือผู้ที่เสียไปให้รอดพ้น” (ลก 19:10) “พระเจ้าทรงส่งพระบุตรมาในโลกนี้ มิใช่เพื่อตัดสินลงโทษโลก แต่เพื่อโลกจะได้รับความรอดพ้น เดชะพระบุตรนั้น” (ยน 3:17) ข้ า แต่ พ ระเจ้ า ข้ า พเจ้ า ก็ เ ช่ น กั น ที่ ก ำลั ง อธิ ษ ฐานภาวนาต่ อ พระองค์อยู่ในเวลานี้ ข้าพเจ้าจำเป็นต้องได้รับการอภัย จำเป็นต้องได้รับ การชำระให้บริสุทธิ์ ข้าพเจ้าอยู่กับพระองค์ เมื่อสิ้นสุดเทศกาลมหาพรต ในสัปดาห์นี้ ข้าพเจ้าจะไปหาพระองค์และรับศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่มองเห็นได้แห่งความรักเมตตาของพระองค์ ข้าพเจ้าต้องการ ได้ยินคำพูดเดียวกันนี้จากผู้แทนของพระองค์ เหมือนกับว่าได้ยินจาก พระโอษฐ์ของพระองค์เองว่า “เราก็ไม่ลงโทษท่านด้วย ไปเถิด และตั้งแต่ นี้ไป อย่าทำบาปอีก” ข้าแต่พระเยซูเจ้า พระอาจารย์ และพีช่ ายของข้าพเจ้า พระองค์ทรง พระทัยดี และทรงมีความสมดุลอย่างน่าพิศวง พระองค์ทรงเข้าใจ และ แสดงพระทัยดีต่อคนบาปอย่างเราจนไร้ขอบเขต ขอบพระคุณพระองค์ พระเจ้าข้า แต่พระองค์ก็ยังไม่ประนีประนอมกับบาป และกับความชั่ว “อย่าทำบาปอีก” พระองค์ไม่เคยกักขังเราให้จมอยู่กับอดีตของ เรา เมื่อเราพบเห็นบุคคลใดที่เราคิดว่า “ช่วยอะไรไม่ได้แล้ว ฉันพยายาม ทุกทางแล้ว ทุกสิง่ ทุกอย่างจบแล้ว” พระองค์จะหยุดต่อหน้าเขาด้วยความ ไว้ใจ พระองค์จะรักด้วยความรักอันอ่อนโยนจนเขาต้านทานพระองค์ ไม่ได้ พระองค์จะทรงมองดูเขาด้วยสายตาใหม่ จนพระองค์สามารถ สร้างหัวใจดวงใหม่ขึ้นในตัวเขา หรือเธอผู้นั้น พระองค์ เ ป็ น ใครกั น พระองค์ จึ ง ทรงรั ก เรามากมายเช่ น นี้ พระองค์ทรงเสียสละพระองค์เอง ทรงยิ่งใหญ่ และทรงใจอ่อนอย่างยิ่ง พระองค์ทรงเป็นความรักที่ไม่มีใครเลียนแบบได้ พระองค์นั้นเอง คือความรัก!
บทเทศน์ปี C
199
วั นอาทิตย์พระทรมาน ลูกา 22:14-23:56 เนื่องจากบทอ่านนี้ยาวมาก ผู้อ่านจึงควรอ่านจากพระคัมภีร์โดยตรง
200
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 1
คำอธิษฐานภาวนาระหว่างพระทรมาน ลู ก าไม่ เ คยยอมให้ เ ราลื ม ว่ า ความทุ ก ข์ ท รมานและการสิ้ น พระชนม์ของพระเยซูเจ้า ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของแผนการอันยิ่งใหญ่ของ พระเจ้า ดังที่พระเยซูเจ้าทรงอธิบายให้ศิษย์ของพระองค์เข้าใจระหว่าง ทางไปยังหมู่บ้านเอมมาอุสว่า “พระคริสตเจ้าจำเป็นต้องทนทรมานเช่น นี้ เพื่อจะเข้าไปรับพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์มิใช่หรือ” (ลก 24:26) เมื่อลูกาบอกเล่าเรื่องพระทรมาน เขาแสดงให้เห็นแผนการของ พระเจ้าภายในเรื่องราวของมนุษย์ ที่ประกอบด้วยการวางแผน การทรยศ ความทุกข์ทรมาน และความตาย เขาเตือนใจผู้อ่านในทุกขั้นตอนของ เรื่ อ งว่ า พระเยซู เ จ้ า ทรงมี ค วามสั ม พั น ธ์ อั น ใกล้ ชิ ด และต่ อ เนื่ อ งกั บ พระบิดา บรรยากาศของคำบอกเล่าเต็มไปด้วยการอธิษฐานภาวนา ตามคำบอกเล่าของลูกา พระทรมานเริ่มต้นตั้งแต่งานเลี้ยงปัสกา ซึ่งทำให้เห็นความหมายด้านพิธีกรรมของเหตุการณ์ทั้งหมดหลังจากนั้น ปัสกาเป็นการระลึกถึงการเดินทางของประชากรของพระเจ้าออกจาก ความเป็นทาสในประเทศอียิปต์ ลูกาใช้คำบอกเล่าหลายบทเพื่อบรรยายการเดินทางของพระเยซูเจ้าไปสู่กรุงเยรูซาเล็มว่า “เวลาที่พระเยซูเจ้าจะต้องทรงจากโลกนี้ ไปใกล้เข้ามาแล้ว” (9:51) เมื่อเวลานั้นมาถึงพระองค์ทรงนั่งลงที่โต๊ะ อาหารพร้อมกับศิษย์ของพระองค์ และตรัสว่า “เราปรารถนาอย่างยิ่งจะ กินปัสกาครั้งนี้ร่วมกับท่านก่อนจะรับทรมาน เราบอกท่านทั้งหลายว่าเรา จะไม่กินปัสกาอีกจนกว่าปัสกานี้จะเป็นความจริงในพระอาณาจักรของ พระเจ้า” (22:14-16)
บทเทศน์ปี C
201
ก่อนจะเริ่มต้นงานเลี้ยงปัสกา หัวหน้าครอบครัวจะเล่าเรื่องการ อพยพ เพื่ออธิบายที่มาที่ไปของงานเลี้ยงนี้ ระหว่างอาหารค่ำมื้อสุดท้าย พระเยซูเจ้าประทานความหมายใหม่ให้แก่งานเลี้ยงปัสกา ด้วยการบิปัง และเสกเหล้าองุ่น ขนมปังคือพระกายของพระองค์ซึ่งพระองค์จะถวาย เป็นเครื่องบูชาเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ และถ้วยเหล้าองุ่นที่ทรงเสกก็ คือพระโลหิต ซึ่งรับรองพันธสัญญาใหม่ ดังนั้น อาหารค่ำมื้อสุดท้ายจึง เป็ น งานเลี้ ย งฉลองปั ส กาใหม่ เราจึ ง ควรมองเหตุ ก ารณ์ พ ระทรมาน ทั้งหมดต่อจากนั้นในบริบทของพันธสัญญาใหม่กับพระเจ้า เรื่องดำเนินต่อไป จากห้องอาหารไปสู่สวนมะกอกเทศ เหตุการณ์ ในสวนมะกอกเทศตามคำบรรยายของลูกา มีการอธิษฐานภาวนาเป็น จุดสำคัญ ลูกาเข้าใจว่าการเข้าตรีทูตของพระองค์เป็นการทดสอบความ เป็นหนึ่งเดียวกันของพระเยซูเจ้ากับพระประสงค์ของพระบิดาระหว่าง การภาวนาในระดับลึกสุด เขาแสดงภาพพระเยซูเจ้าทรงคุกเข่าภาวนา และมิใช่หมอบลงกับพื้นด้วยความเจ็บปวด ไม่มีการเอ่ยถึงความกลัว และความเศร้าใจ การอธิษฐานภาวนาของพระเยซูเจ้ามีแต่ความสงบ และความเข้มแข็ง พระองค์ทรงมอบทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระบิดา ในบททดสอบนี้ พระองค์ทรงพิสูจน์ว่าพระองค์ ทรงเป็นผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระเจ้า การปรากฏกายของทูตสวรรค์มา ถวายพละกำลังแด่พระองค์ เป็นสิ่งยืนยันว่าพระบิดาทรงรับบทพิสูจน์ ความซื่อสัตย์ของพระองค์แล้ว ความซื่อสัตย์อันเป็นผลมาจากการอธิษฐานภาวนาของพระเยซูเจ้า กลายเป็นแบบอย่างสำหรับศิษย์ของพระองค์ พระองค์ทรงเตือน พวกเขาตั้งแต่ต้นและในช่วงท้ายว่า “จงอธิษฐานภาวนาเถิด เพื่อจะไม่ถูก ทดลอง” นี่คือคำวิงวอนประโยคสุดท้ายในบทภาวนาข้าแต่พระบิดา แต่ ตรงกันข้ามกับความเข้มแข็งของพระเยซูเจ้าในการภาวนา ศิษย์ของ พระองค์อ่อนแอ ความทุกข์ของพระองค์มากขึ้นเท่าไร คำภาวนาของ
202
บทเทศน์ปี C
พระองค์ก็ยิ่งมุ่งมั่นมากขึ้นเท่านั้น แม้แต่ในขณะที่พระกายตกอยู่ท่าม กลางความตึงเครียดจนพระเสโทหลั่งออกมาประดุจโลหิต แต่บรรดา ศิษย์หมดแรงไปกับการทดลอง และพวกเขา “หลับอยูเ่ พราะความโศกเศร้า” พระเยซูเจ้าทรงแสดงให้เห็นจิตใจอันสงบระหว่างทรงเผชิญกับ การทดลองต่างๆ พระองค์ทรงมั่นใจในจุดยืนของพระองค์ต่อพระบิดา เพราะพระองค์ไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหาเลย เนื่องจากพระองค์ทรง เป็นผู้บริสุทธิ์ พระองค์จึงตรัสน้อยมากกับบุคคลที่ตัดสินใจไว้ก่อนแล้ว ว่าจะกำจัดพระองค์ และไม่ตรัสอะไรเลยกับเฮโรด ผู้อยากรู้อยากเห็น ปิลาตยอมรับอย่างเปิดเผยว่าเขาไม่พบว่าพระองค์ได้ทำความ ผิดใดๆ หลักฐานที่แสดงว่าปิลาตยอมรับว่าพระองค์เป็นผู้บริสุทธิ์ก็คือ เขาอนุญาตให้ฝังพระศพในคูหาส่วนบุคคล แทนที่จะฝังในสุสานรวมที่ จัดไว้ให้อาชญากรที่ถูกประหารชีวิต ดังนั้น ลูกาจึงแสดงภาพของพระเยซูเจ้าว่าทรงเป็นผู้รับใช้ผู้บริสุทธิ์ของพระเจ้า ผู้ทรงแบกรับความผิด ของผู้อื่น แต่พระเจ้าทรงแก้ต่างให้พระองค์ในที่สุด ลูกาบันทึกบทบาท ของพระเจ้าในกรณีนี้ด้วยเช่นกัน ที่เนินเขากัลวารีโอ ลูกาไม่เอ่ยถึงเสียงร้องอย่างน่าสงสารของ พระเยซูเจ้าเพราะทรงกระหายน้ำ และถูกทอดทิ้ง ข้อความที่พระเยซูเจ้า ตรัสทั้งสามครั้งล้วนเป็นคำภาวนา ในข้อความแรก พระเยซูเจ้าทรง วิงวอนพระบิดาให้ทรงให้อภัยผู้ที่ทำร้ายพระองค์ ความรักของพระองค์ ไม่ลดลงเลย แม้ว่าทรงได้รับความอยุติธรรม ความเจ็บปวด และการ เย้ยหยันจากคนเหล่านี้ หลังจากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์ และโจรกลับใจก็ เต็มไปด้วยจิตตารมณ์การภาวนา ชายคนนี้หันมาพึ่งพระเยซูเจ้าด้วย ความยำเกรงพระเจ้า เขายอมรับความผิดของเขา และในเวลาเดียวกัน ก็ยอมรับว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ เราได้ยินบทภาวนาอันงดงาม และอ่อนโยนจากปากของเขาว่า “ข้าแต่พระเยซูเจ้า โปรดระลึกถึงข้าพเจ้า
บทเทศน์ปี C
203
ด้วยเมื่อพระองค์จะเสด็จสู่พระอาณาจักรของพระองค์” นี่เป็นครั้งแรก ในพระวรสารที่เราได้ยินใครคนหนึ่งเรียกพระเยซูเจ้าด้วยพระนามของ พระองค์ ในสภาพที่ต่างก็กำลังเจ็บปวดทรมานเหมือนกัน ไม่มีความ จำเป็นต้องเรียกพระองค์ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้า หรือพระอาจารย์ แต่นี่คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล ชายคนนี้ได้รับคำสัญญาจากพระเยซูเจ้า ว่าเขาจะได้รับส่วนแบ่งในผลของเหตุการณ์ในวันนั้น “วันนี้ ท่านจะอยู่ กับเราในสวรรค์” ข้ อ ความที่ ส าม เป็ น คำภาวนาของพระเยซู เ จ้ า เมื่ อ ใกล้ สิ้ น พระชนม์ ในคำบอกเล่าของมาระโก และมัทธิว พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ อย่างเจ็บปวด ทรงเปล่งเสียงดังพร้อมกับการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นครั้งสุดท้าย แต่ลูกาบอกเราว่าเสียงร้องนั้นเป็นคำภาวนาด้วยความ ไว้วางใจว่า “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพเจ้ามอบจิตของข้าพเจ้าไว้ในพระหัตถ์ ของพระองค์” ปฏิ กิ ริ ย าของพระเยซู เ จ้ า ต่ อ ความตายคื อ อธิ ษ ฐานภาวนา นายร้อยของกองทัพโรมันถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า และพูดว่า “ชาย คนนี้เป็นผู้ชอบธรรมแน่ทีเดียว” ประชาชนที่มาชุมนุมกันดูเหตุการณ์ก็ ข้อนอกพากันกลับไป ซึ่งเป็นกิริยาของคนทั่วไปเมื่อภาวนาแสดงความ ทุกข์กลับใจ ตลอดเรื่องราวนี้ ลูกายกความคิดของเราขึ้น ให้มองเห็นการ ประทั บ อยู่ ข องพระเจ้ า ในนาที ชี วิ ต ของมนุ ษ ย์ พระเยซู เ จ้ า ทรงเป็ น ผู้บริสุทธิ์ และทรงมั่นใจว่าพระองค์ทรงคิดอย่างไรต่อพระบิดา กล่าวคือ พระองค์ทรงนบนอบเชื่อฟังพระประสงค์ของพระบิดาโดยสิ้นเชิง แม้แต่ ขณะที่กำลังเจ็บปวดทรมานมากที่สุดเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะพึงรับได้ พระองค์ก็ยังคงเต็มเปี่ยมด้วยความรัก ความสงสาร และความเมตตา คำพูดของพระองค์ออกมาจากวิญญาณที่อธิษฐานภาวนาอย่างลึกล้ำ เสมอ เมื่อเห็นแบบฉบับของพระองค์ ประชาชนจึงเริ่มหันหลังให้บาป และกลับใจ
204
บทเทศน์ปี C
ขอให้เรารู้สึกสะเทือนใจและข้อนอกเช่นเดียวกัน และหันไป ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า ขณะที่เราไตร่ตรองเรื่องพระทรมานของ “ชายผู้ชอบธรรม” ผู้นั้น
บทเทศน์ปี C
205
บทรำพึงที่ 2
ท่านอยู่ที่นั่นหรือเปล่า พระวรสารของลูกาเต็มไปด้วยผู้คน เขาเป็นนักประพันธ์ที่ให้ ความสำคัญกับมนุษย์มากกว่าจะเสนอความจริงที่เป็นนามธรรม เขาเป็น นักเทววิทยาผู้ประกาศถึงกิจการอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า ด้วยการบรรยาย การกระทำต่างๆ ของพระเยซูเจ้า และปฏิกิริยาของประชาชน ลูกามีความ รู้ สึ ก ไวเสมอต่ อ ความเคลื่ อ นไหวของความคิ ด และจิ ต ใจมนุ ษ ย์ ในคำบอกเล่าเรื่องพระทรมาน เราจำเป็นต้องพินิจพิเคราะห์คนทั้งหลาย ที่ เ ส้ น ทางชีวิตของเขาพาดผ่าน และเกี่ ย วพั น กั บ การเดิ น ทางไปสู่ ไ ม้ กางเขนของพระเยซูเจ้า การตั้งศีลมหาสนิทเป็นเหตุการณ์สำคัญของพระทรมาน ชาวยิว กินเลี้ยงปัสกาเพื่อรำลึกถึงกิจการของพระเจ้าในการอพยพ และพันธสัญญาที่พระองค์ทรงกระทำกับโมเสสฉันใด ขณะที่ลูกาเขียนพระวรสาร ศีลมหาสนิทก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการที่คริสตชนรำลึกถึงกิจการ ของพระเยซูเจ้าในการช่วยมนุษย์ ใ ห้ ร อดพ้ น และพั น ธสั ญ ญาใหม่ ที่ พระองค์ทรงรับรองด้วยพระโลหิตของพระองค์ฉันนั้น ศีลมหาสนิทเป็นตัวแทนของอุดมคติแห่งความรักอันครบครัน ซึ่งแสดงออกด้วยการพลีชีวิตของพระเยซูเจ้าเพื่อผู้อื่น แต่ลูกาตระหนัก ดีว่า ชีวิตของคริสตชนยังห่างไกลจากอุดมคตินั้น เขาเน้นพฤติกรรมของ อัครสาวกสองคน คือ ยูดาส และเปโตร ซึ่งเป็นตัวแทนของบาปของคน ยุคต่อมา เขาเชื่อมโยงการทรยศของยูดาสเข้ากับการถกเถียงในกลุ่ม ศิษย์ว่าผู้ใดยิ่งใหญ่ที่สุด ความคิดเกี่ยวกับอำนาจ และความสำคัญของ ตนเองเช่นนี้ เป็นการทรยศต่อความคิดของพระเยซูเจ้า ซึ่งไม่ต่างจากการ ทรยศของยูดาส
206
บทเทศน์ปี C
หลังจากนั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่าเปโตรจะปฏิเสธพระองค์ แม้ว่า เปโตรได้รับเลือกเป็นพิเศษ และพระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานอ้อนวอนเพื่อ เขาเป็นพิเศษ แต่เปโตรก็ยังพ่ายแพ้ในการทดสอบ ก่อนจะสำนึกผิดเมื่อ ได้รับพระหรรษทานจากพระเจ้า การทดสอบเปโตรเมื่อเขาเผชิญหน้า กับการต่อต้าน ก็เหมือนกับการทดสอบคริสตชนในเวลาต่อมา เมื่อ พวกเขาต้องอยู่ท่ามกลางบุคคลที่เป็นปฏิปักษ์ คำสั่งสอนก่อนหน้านั้นที่ ให้อัครสาวกเดินทางอย่างเรียบง่ายโดยไม่มีถุงเงิน หรือย่าม ในหมู่ประชาชนที่พร้อมจะช่วยเหลือเกื้อกูลพวกเขา จะต้องเปลี่ยนไปเมื่อศิษย์ ทั้งหลายต้องเผชิญกับความมุ่งร้ายและการเบียดเบียน พระเยซูเจ้าทรง เตือนเขาว่า “ผู้ใดไม่มีดาบก็จงขายเสื้อคลุมเพื่อซื้อดาบเถิด” ซึ่งไม่ได้ หมายความว่าพระองค์ทรงสนับสนุนให้ใช้ความรุนแรง แต่ “การซือ้ ดาบ” เป็นการพูดเปรียบเทียบให้บรรดาศิษย์เตรียมตัวรับมือกับช่วงเวลาที่ ต้องเผชิญหน้ากับศัตรู และการทดสอบ น่าสนใจที่อุดมการณ์แรกเริ่มของคณะฟรังซิสกัน ที่ให้ถือความ ยากจน และการเทศน์สอนโดยไม่ต้องพึ่งความรู้ ก็ยังต้องยอมรับความ เป็นจริง เมื่อนักบวชทั้งหลายเดินทางออกนอกเขตประเทศอิตาลีซึ่ง ประชาชนยินดีต้อนรับช่วยเหลือนักบวชเหล่านี้ เมื่อนั้น ฟรังซิสยอมรับ ว่าการศึกษา หนังสือ และบ้านเป็นสิ่งจำเป็น ลูกาบอกเล่าช่วงเวลาอันงดงามเมื่อพระเจ้าแสดงความเมตตาต่อ เปโตร พระเยซูเจ้าทรงถูกนำตัวออกไปยังลานบ้าน พระองค์ทรงเหลียว มามองเปโตร ไม่จำเป็นต้องใช้คำพูด เปโตรนึกขึ้นได้ เขาระลึกได้ว่า พระเยซูเจ้าทรงทำนายว่าเขาจะปฏิเสธพระองค์...เขาระลึกได้ถึงวันเวลา ที่มีความสุขในอดีต และความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้น...เขาระลึกถึงเช้า วั น นั้ น ที่ ท ะเลสาบ...และวั น นั้ น บนภู เ ขา...เปโตรจึ ง ออกไปข้ า งนอก และร้องไห้อย่างขมขื่น นี่ เ ป็ น หนึ่ ง ในหั ว ข้ อ ที่ ลู ก าชอบกล่ า วถึ ง คื อ ความเมตตาของ
บทเทศน์ปี C
207
พระเจ้า และการกลับใจของมนุษย์ ไม้กางเขนที่สร้างขึ้นในยุคกลางมัก แสดงภาพของไก่ เพื่อเตือนใจมนุษย์มิให้จองหอง และทะนงตน ข้าพเจ้ารู้สึกว่าลูกาแทบไม่มีอะไรเหมือนกับผู้ที่เราเรียกกันว่า คริสตชน “เกิดใหม่” ผู้คิดว่าตนเองได้รับความรอดพ้น และพ้นจาก บาปแล้ว บางคนไม่ยอมสวดบทวันทามารีย์ เพราะในบทภาวนานี้เรา ยอมรับว่าเราเป็นคนบาป และพวกเขาไม่ชอบข้อความว่า “เราลูกหลาน ของเอวา ผู้ถูกเนรเทศ” ในบทวันทาพระราชินี พระศาสนจักรในยุคที่ลูกาเขียนพระวรสาร ก่อตั้งขึ้นบนศิลา คือ เปโตรผู้อ่อนแอและเป็นคนบาป ผู้ถูกทดสอบอย่างหนัก และถูกซาตาน ฝัดเหมือนข้าวสาลี แต่เขาได้รับพละกำลังจากคำอธิษฐานภาวนาของ พระเยซูเจ้า ในฐานะที่เป็นคนบาปคนหนึ่ง ข้าพเจ้าจึงรู้สึกคุ้นเคย และมี ความหวังเมื่ออยู่ในพระศาสนจักรนี้ ระหว่างทางไปยังเนินเขากัลวารีโอ พระเยซูเจ้าทรงได้รับความ ช่วยเหลือจากซีโมน ชาวไซรีน ซึ่งเป็นตัวแทนของศิษย์ทุกคนของพระเยซูเจ้า ผู้ช่วยแบ่งเบาภาระของเพื่อนมนุษย์ที่กำลังต่อสู้กับการแบก กางเขนในชีวิตของตน ประชาชนจำนวนมากติดตามพระองค์ ในจำนวนนี้มีสตรีกลุ่ม หนึ่งที่เห็นใจพระเยซูเจ้า และเข้ามาปลอบโยนพระองค์ พระเยซูเจ้า ตรัสแก่พวกนางว่า “จงร้องไห้สงสารตนเองและลูกๆ เถิด” เพราะการ เดินทางสู่เขากัลวารีโอของพระองค์จะเกิดขึ้นซ้ำอีกในความทุกข์ทรมาน ของคนทุกรุ่นที่ติดตามพระองค์ คริสตชนมองว่าความทุกข์ทรมานของ ตนเป็นการเข้าร่วมในพระทรมานของพระเยซูเจ้า ซีเมโอนเคยทำนายว่า พระเยซูเจ้าจะเป็นเหตุให้คนจำนวนมาก ในอิสราเอลต้องล้มลง หรือลุกขึ้น ปฏิกิริยาของประชาชนบนเนินเขา กัลวารีโอก็ต่างกันอย่างสุดขั้ว โจรสองคนเป็นตัวแทนของแต่ละฝ่าย คนหนึ่ ง ใจกระด้ า งมากขึ้ น เพราะความขมขื่ น และได้ ดู ห มิ่ น พระองค์
208
บทเทศน์ปี C
แต่อีกคนหนึ่งสะเทือนใจกับความบริสุทธิ์ของพระเยซูเจ้า ทำให้เขา หันไปภาวนาต่อพระองค์ นี่เป็นครั้งแรก และครั้งเดียวในพระวรสาร ที่มี ใครเรียกพระองค์ว่า “เยซู” ทั้งนี้เพราะมนุษย์จะได้พบความรอดพ้น เพียงในพระนามของพระเยซูเจ้าเท่านั้น ลูกาบอกเล่าปฏิกิริยาที่ประชาชนแสดงต่อการสิ้นพระชนม์ของ พระเยซูเจ้า นายร้อยชาวโรมันเห็นเหตุการณ์ และประทับใจจนเขาถวาย เกี ย รติ แ ก่ พ ระเจ้ า เพราะเขาเห็ น ได้ แ ล้ ว ว่ า พระเยซู เ จ้ า ทรงเป็ น “ผู้ ชอบธรรม” ลูกาบอกเราว่า ประชาชนพากันกลับไป พร้อมกับข้อนอก ตนเองแสดงความสำนึกผิด คนผิวดำชอบร้องเพลงสวดที่รู้จักกันดี เนื้อร้องเพลงนี้ถามว่า “ท่านอยู่ที่นั่นหรือเปล่าเมื่อเขาตรึงกางเขนองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา” ในคำบอกเล่าเรื่องพระทรมานของลูกา เราพบคนจำนวนมาก และเห็น ปฏิกิริยาที่เขาแสดงต่อเหตุการณ์ในวันนั้น เราได้รับเชิญให้พาตัวเราเข้า ไปอยู่ในเหตุการณ์นี้ และพิจารณาว่าเรายืนอยู่ที่ใด – เราอยู่กับพระเยซูเจ้า หรืออยู่กับเปโตร เราอยู่กับซีโมน ผู้ออกแรงช่วยเหลือพระองค์ หรืออยู่กับกลุ่มสตรีที่ได้แต่สงสารพระองค์ เราอยู่ในกลุ่มคนที่เย้ยหยัน พระองค์ หรืออยู่ในกลุ่มคนที่สำนึกผิด ท่านอยู่ที่นั่นหรือเปล่า เหตุการณ์ พระทรมานนี้กำลังเกิดขึ้นรอบตัวเรา และในตัวเราในวันนี้หรือเปล่า
บทเทศน์ปี C
209
บทรำพึงที่ 3 เมื่อบอกเล่าเรื่องพระทรมาน พระวรสารทั้งสี่ฉบับบอกเล่าลำดับ เหตุ ก ารณ์ ทั่ ว ไปตรงกั น แม้ ว่ า หลายครั้ ง พระวรสารทั้ ง สี่ บ รรยาย เหตุการณ์อื่นๆ ต่างกัน แต่กระนั้น เราควรให้ความสนใจเป็นพิเศษว่า ผู้นิพนธ์แต่ละคนเน้นย้ำเรื่องใดโดยเฉพาะ ลูกาเน้นย้ำจิตใจอันสงบ เยือกเย็นของพระอาจารย์มากกว่าผู้นิพนธ์คนอื่น และเสนอทัศนคติที่ ศิษย์ของพระองค์สามารถเลียนแบบระหว่างการรำพึงภาวนา และใน คำอธิบายต่อไปนี้ เราจะกล่าวถึงสองประเด็นนี้ “เราปรารถนาอย่ า งยิ่ ง จะกิ น ปั ส กาครั้ ง นี้ ร่ ว มกั น ท่ า นก่ อ นจะรั บ ทรมาน เราบอกท่านทั้งหลายว่าเราจะไม่กินปัสกาอีก จนกว่าปัสกานี้ จะเป็นความจริงในพระอาณาจักรของพระเจ้า”...พระองค์ทรงหยิบ ถ้วยขึ้น ทรงขอบพระคุณ...พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ทรงขอบพระคุณ อีกครั้งหนึ่ง...“นี่เป็นกายของเราที่ถูกมอบเพื่อท่านทั้งหลาย...ถ้วย นี้เป็นพันธสัญญาใหม่ในโลหิตของเรา ที่หลั่งเพื่อท่านทั้งหลาย...จง ทำดังนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” นี่คืออาหารมื้อสุดท้ายของพระองค์บนโลกนี้ พระองค์ทรงทราบ เช่นนี้ และทรงบอกให้ศิษย์ทั้งหลายทราบ...แต่เราสังเกตเห็นความสงบ อันลึกล้ำในวิญญาณของพระเยซูเจ้าในคืนวันก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ซึ่งพระองค์ทรงรู้ว่าเวลานั้นกำลังใกล้เข้ามาแล้ว ... พระเยซู เ จ้ า ทรงต้ อ งการรำพึ ง ถึ ง ความตายของพระองค์ ใ น พระทัย ก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้นจริง นี่คือความหมายของการเลี้ยง
210
บทเทศน์ปี C
อำลา และของกิริยาที่เป็นสัญลักษณ์นี้ อาจกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงกำลัง เลียนแบบความตายของพระองค์ล่วงหน้า พระองค์ทรงวางความตายนี้ บนโต๊ะอาหาร – เหมือนขนมปังนี้ และเหล้าองุ่นนี้ ซึ่งพระองค์ทรงเสนอ ให้แก่บุคคลที่พระองค์รัก...“นี่เป็นกายของเราที่ถูกมอบ...นี่เป็นโลหิต ของเราที่หลั่งเพื่อท่าน...” วันพรุ่งนี้ พระโลหิตของพระองค์จะถูกแยก ออกจากพระกายของพระองค์ เหมือนขนมปังที่ถูกแยกออกจากเหล้า องุ่นในเย็นวันนี้... ในเย็นวันนั้น พระเยซูเจ้าทรงระลึกถึงอย่างมีสติและโดยสมัครใจ ถึงความตายที่จะเกิดขึ้นกับพระองค์ในวันรุ่งขึ้น พระองค์ทรงเสนอความ ตายนี้เสมือนว่าเป็นอาหารที่ให้ชีวิตแก่ผู้ที่กินอาหารนั้น พระเยซูเจ้าทรง แสดงความรู้สึกสองอย่างที่แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงควบคุมตนเอง ได้โดยสิ้นเชิง - พระองค์ทรงก้าวเข้าสู่กระบวนการของความตายนี้ด้วยความ สมัครใจ “เราปรารถนาอย่างยิ่ง” - พระองค์ทรงมองเห็นความจริงที่ดูเหมือนขัดแย้งกันในตัว ว่านี่ เป็นโอกาสอันน่ายินดี “ทรงขอบพระคุณ” นี่คือทัศนคติที่เป็นลักษณะ เฉพาะตัวของพระองค์ และพระวรสารย้ำไว้สองครั้ง “ขอบพระคุณ หรือ eucharistia ในภาษากรีก”...“พิธีบูชาขอบพระคุณ” ของเราเป็นเพียง การขยายพิธีการที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำในเย็นวันนั้นให้เนิ่นนานออก ไป “จงทำดังนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด”... วิ ธี ม องความตายเช่ น นี้ มี ป ระโยชน์ ส ำหรั บ เรามาก เพราะใน บรรดาการกระทำทั้งปวงของมนุษย์ ความตายเป็นเหตุให้เกิดปัญหา มากที่สุด การกระทำอื่นๆ ทั้งปวง (การทำงาน การกิน การเล่น การอ่าน หนังสือ การรักผู้อื่น เป็นต้น) อาจมีความหมายในตัวเอง โดยที่พระเจ้า ไม่ต้องเข้าแทรกแซงช่วยเหลือ แต่ “ความตาย” จะไม่มีความหมายเลย เว้นแต่ว่าพระเจ้ามีอยู่จริง...ถ้าปราศจากพระเจ้า ความตายก็คือจุดจบ ของทุกสิ่งทุกอย่าง...
บทเทศน์ปี C
211
บัดนี้ ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง พระเยซูเจ้าทรงเป็นบุคคลที่ “เลือก อยู่ข้างพระเจ้าอย่างแท้จริง” ทรงฝากชีวิตของพระองค์ไว้กับพระเจ้า โดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงทำให้ความตายของพระองค์เป็น เหตุการณ์ที่ “มีน้ำหนัก” มากที่สุด และสำคัญที่สุดในชีวิตของพระองค์ บนโลกนี้ ในเย็นวันนี้ พระองค์ทรงบอกว่าความตายของพระองค์เป็น จุดเริ่มต้นของความเป็นกษัตริย์ของพระเจ้า เป็นจุดเริ่มต้นของพระอาณาจักรของพระเจ้า ในนาทีนั้น อาจกล่าวได้ว่าพระเยซูเจ้าทรงกำลัง ก้าวไปสู่วันที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะสำเร็จไป ในวันนั้นภายใต้การปกครองสูง สุดของพระเจ้า ความชั่ว และความตายจะไม่มีอีกเลย... บัดนี้ เราเข้าใจแล้วว่าสำหรับพระเยซูเจ้า ความตายเพื่อเป็น เครื่องบูชาของพระองค์ไม่ใช่การกระทำที่ว่างเปล่า หรือการกระทำเชิงลบ หรือไร้ความหมาย แต่พระองค์ทรงทำให้ความตายของพระองค์เป็นการ เดินทางไปหาพระบิดา...เรากำลังไปหาพระบิดาของเรา...เรากำลังไป หาบุคคลที่เรารัก... ข้ า แต่ พ ระเยซู เ จ้ า เมื่ อ เวลาของข้ า พเจ้ า มาถึ ง โปรดทรงช่ ว ย ข้าพเจ้าให้ผ่านความตายของข้าพเจ้าด้วยใจสงบเหมือนพระองค์เถิด... “กษัตริย์ของคนต่างชาติย่อมเป็นเจ้านายเหนือผู้อื่น และผู้มีอำนาจ เรียกตนเองว่าเจ้าบุญนายคุณ แต่ท่านทั้งหลายจงอย่าเป็นเช่นนั้น...ผู้ ที่เป็นผู้นำจงเป็นผู้รับใช้...เราอยู่ในหมู่ท่านเหมือนเป็นผู้รับใช้จริงๆ” พระเยซูเจ้าทรงอธิบายความหมายของความตายของพระองค์ ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้น อีกทางหนึ่งว่า พระองค์ทรงเป็นผู้รับใช้ของ มนุษย์ และของพระบิดา...พระองค์ทรงรัก...พระองค์ทรงพลีชีวิตของ พระองค์... เย็นวันนั้น ชายผู้ยากจน 12 คนกำลังนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับพระเยซูเจ้า พวกเขาไม่รู้ตัวว่าพวกเขาคือตัวอ่อนของมนุษยชาติใหม่ การ
212
บทเทศน์ปี C
ผจญภัยครัง้ ใหม่ในประวัตศิ าสตร์กำลังเริม่ ต้น – ระเบียบใหม่ สังคมใหม่ ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงอธิบายว่าเป็นโลกที่ “กลับหัว” พระองค์ตรัสว่าในโลก นี้ ผู้นำมีอำนาจครอบงำผู้อื่น แต่ในหมู่ท่าน ต้องไม่เป็นเช่นนั้น บุคคลที่นั่งร่วมโต๊ะกับพระเยซูเจ้าเป็นคนยากจน และอ่อนแอ แต่คนเหล่านี้จะพลิกสังคมมนุษย์ทั้งมวล พวกเขาจะเริ่มต้นการปฏิวัติ แห่งความรัก ซึ่งกลายเป็นการรับใช้... ทางเดี ย วที่ จ ะทำให้ โ ลกนี้ มี ค วามยุ ติ ธ รรมมากขึ้ น คื อ ต้ อ งมี ทัศนคติใหม่ที่พระเยซูเจ้าทรงแนะนำ กล่าวคือ อย่าทำตัวเป็นนาย แต่จง รับใช้...ตลอดพระทรมาน พระองค์ทรงแสดงออกว่าพระองค์ทรงเป็นต้น แบบของมนุษย์ผู้รัก “อย่างที่พระเจ้าทรงรัก” - รักจนถึงวาระสุดท้าย... ซีโมน ซีโมน จงฟังเถิด ซาตานได้ขอ และพระเจ้าทรงอนุญาตให้ ซาตานทดสอบท่ า นทั้ ง หลายเหมื อ นฝั ด ข้ า วสาลี แต่ เ ราอธิ ษ ฐาน อ้อนวอนเพื่อท่าน ให้ความเชื่อของท่านมั่นคงตลอดไป และเมื่อท่าน กลับใจแล้ว จงช่วยค้ำจุนพี่น้องของท่านเถิด... “เปโตรเอ๋ย เราบอก ท่านว่า วันนีไ้ ก่ยงั ไม่ทนั ขัน ท่านก็จะปฏิเสธว่าไม่รจู้ กั เราถึงสามครัง้ ” พระเยซูเจ้าทรงทำนายว่าเปโตร ผู้เป็นเพื่อนของพระองค์ จะ ปฏิเสธพระองค์ พระองค์ทรงทำนายเช่นนี้เพียงเพื่อจะประณามผู้ร้าย ตัวจริง คือซาตาน ซาตานได้ขออนุญาตทดสอบท่านเหมือนฝัดข้าวสาลี... แต่พระเยซูเจ้าทรงประกาศในเวลาเดียวกันว่าพระองค์จะทรง ได้รับชัยชนะ พระองค์ทรงให้อภัยแล้ว ทรงให้อภัยตั้งแต่ก่อนเปโตร จะทำบาปด้วยซ้ำไป...พระเจ้าทรงให้อภัยบาปของเราแล้วตั้งแต่ต้น... เปโตรได้รับการอภัยตั้งแต่ก่อนที่เขาจะปฏิเสธพระองค์อย่างคนขี้ขลาด “เราอธิษฐานอ้อนวอนเพื่อท่าน...เมื่อท่านกลับใจแล้ว จงช่วยค้ำจุน...”
บทเทศน์ปี C
213
พระเยซูเจ้าเสด็จจากที่นั่นไปยังภูเขามะกอกเทศเช่นเคย บรรดาศิษย์ ตามเสด็จไปด้วย เมื่อเสด็จถึงที่นั่นแล้ว พระองค์ตรัสกับเขาเหล่านั้น ว่า “จงอธิษฐานภาวนาเถิด เพื่อจะไม่ถูกทดลอง” แล้วพระองค์เสด็จ ห่างออกไปจากบรรดาศิษย์ประมาณระยะปาก้อนหิน ทรงคุกเข่าลง อธิษฐานภาวนาว่า “พระบิดาเจ้าข้า ถ้าพระองค์มีพระประสงค์ โปรด ทรงนำถ้วยนี้ไปจากข้าพเจ้าเถิด แต่อย่าให้เป็นไปตามใจข้าพเจ้า ให้ เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์เถิด” ...พระเสโทตกลงบน พื้ น ดิ น ประดุ จ หยดโลหิ ต ...พระองค์ ท รงลุ ก ขึ้ น จากการอธิ ษ ฐาน ภาวนา เสด็ จ ไปพบบรรดาศิ ษ ย์ ซึ่ ง หลั บ อยู่ เ พราะความโศกเศร้ า พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า “นอนหลับทำไม จงลุกขึ้นอธิษฐานภาวนา เถิดเพื่อจะไม่ถูกทดลอง” พระวรสารกล่าวถึงการภาวนาอย่างชัดเจนถึงสี่ครั้ง พระเยซูเจ้า ทรงอธิษฐานภาวนา... และจากการภาวนานี้ พระองค์ทรงได้รับความ มั่นใจที่ทำให้เราเต็มไปด้วยความพิศวง จากการภาวนานี้ พระองค์ทรง ได้รับความสงบที่เกินกว่ามนุษย์คนหนึ่งจะมีได้ ซึ่งพระองค์จะแสดงให้ ทุกคนได้เห็น… ถ้ า ปี นี้ เ ราไตร่ ต รองตามคำบอกเล่ า ของลู ก า สำหรั บ เรา สวน เกทเสมนีจะไม่เต็มไปด้วยความวิตกกังวลเกี่ยวกับความทุกข์ทรมาน ก่อนตาย แต่จะเต็มไปด้วยสันติสุขของมนุษย์คนหนึ่งที่รู้ว่าเวลาที่ตนจะ ต้องตายกำลังใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว แต่ก็รู้ด้วยว่าพระเจ้าทรงรักเขา... การกล่าวถึง “ทูตสวรรค์ที่มาถวายพละกำลัง” (ซึ่งปรากฏแต่ในคำบอก เล่าของลูกา) เป็นภาษาพระคัมภีรท์ บ่ี ง่ บอกว่าโลกของพระเจ้าอยูท่ น่ี น่ั ... ถูกแล้ว พระเจ้าประทับอยู่เคียงข้างข้าพเจ้า ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าเจ็บ ปวดทรมาน...
214
บทเทศน์ปี C
ในบ้านของมหาสมณะ ... หญิงรับใช้คนหนึ่งเห็นเปโตรนั่งข้างกองไฟ จึงจ้องหน้าพูดว่า “คนนี้อยู่กับเขาด้วย” แต่เปโตรปฏิเสธว่า “นางเอ๋ย ข้าพเจ้าไม่รู้จักเขา” ...เปโตรปฏิเสธพระเยซูเจ้าเช่นนี้สามครั้งภายใน หนึ่งชั่วโมง...องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเหลียวมามองเปโตร เปโตรจึง ระลึกถึงพระวาจาขององค์พระผู้เป็นเจ้า...เขาออกไปข้างนอก ร้องไห้ อย่างขมขื่น ลูกาเป็นผู้นิพนธ์พระวรสารเพียงคนเดียวที่กล่าวว่าพระเยซูเจ้า ทรงเหลียวมามองเปโตร...นี่คือพระวรสารอย่างแท้จริง... นี่คือข่าวดีแห่ง ความเมตตา... เมื่อข้าพเจ้าตกในบาป พระเยซูเจ้าไม่ทรงประณามข้าพเจ้า แต่ ทรงมองข้าพเจ้าด้วยความรักอันอ่อนโยน...และมนุษย์ทุกคนที่ยอมรับ การมองนี้ ย่อมได้รับอภัยความผิดทั้งปวงของเขา และ “รอดพ้น” จาก บาปทั้งปวงของเขา... การพิพากษาคดีทางศาสนา การไต่สวนต่อหน้าสภาสูง: “ถ้าท่านเป็นพระคริสต์ จงบอกเราเถิด” – “ตั้งแต่บัดนี้ บุตรแห่งมนุษย์จะประทับ ณ เบื้องขวาพระอานุภาพ ของพระเจ้า” – “ดังนั้น ท่านเป็นบุตรของพระเจ้าใช่ไหม” จากข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ลูการวบรวมได้ เขาเลือกที่จะย้ำพระนามทั้งสามของพระเยซูเจ้า ดังนี้ - “พระคริสตเจ้า (หรือพระเมสสิยาห์)” เป็นพระนามที่กำกวม ชวนให้คิดถึงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งพระเยซูเจ้าคงไม่พอพระทัยเท่าไร นัก - “บุตรแห่งมนุษย์” เป็นพระนามในพระคัมภีร์ ได้มาจากหนังสือ ประกาศกดาเนียล และพระเยซูเจ้าทรงชอบใช้พระนามนี้มากกว่า - “พระบุตรของพระเจ้า” พระเยซูเจ้าจะไม่ทรงอ้างพระนามนี้
บทเทศน์ปี C
215
แต่ทรงยอมรับจากผู้ที่มีความเชื่อในพระองค์ เพราะได้เห็นผลงานของ พระองค์ การกลับคืนชีพของพระองค์จะรับรองความถูกต้องของพระนามสุดท้ายนี้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ...อาศัยความเชื่อ การพิพากษาคดีครั้งนี้ไม่เหมือนกับการพิพากษาที่เราอ่านพบ ในหนังสือพิมพ์ทุกวัน เพราะไม่ได้เห็นเพียงการจับกุมตัว และลงโทษ บุรุษผู้บริสุทธิ์ ที่เกิดในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในแคว้นกาลิลี...นี่คือ “การพิพากษาคดีพระเจ้า” มนุษย์คิดว่าเขาสามารถลงโทษพระเจ้าถึง ตายได้ในวันนี้เช่นเดียวกับเมื่อสองพันปีก่อน แต่พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระองค์จะ “ประทับ ณ เบื้องขวา พระอานุภาพของพระเจ้า” ขอให้ เ ราอย่ า ได้ ดึ ง พระทรมานให้ ล งมาอยู่ ใ นระดั บ เดี ย วกั บ ความคิดประสามนุษย์ของเรา เพราะเดิมพันครั้งนี้ไม่ใช่เดิมพันทาง จิตวิทยา หรือสังคม การพิพากษาคดีตามกฎหมาย การไต่สวนต่อหน้าปิลาต: “ท่านเป็นกษัตริย์ของชาวยิวหรือ” – “ท่าน พูดเองนะ”...“เราไม่พบความผิดข้อใดในคนคนนี้” ในการพิพากษาคดีตามกฎหมายนี้ ลูกาย้ำสามครั้งว่าจำเลยผู้นี้ บริสุทธิ์ ปิลาตกล่าวว่า “ไม่พบความผิดข้อใดในคนคนนี้” (ลก 23:4, 14, 22) ปิลาตเป็นผู้ว่าราชการชาวโรมัน เป็นผู้พิพากษาที่เป็นกลาง เพราะเป็นคนต่างชาติ... เขาไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทาง ศาสนาในหมู่ชาวยิว บ่ อ ยครั้ ง คนในโลกปั จ จุ บั น ที่ ป ราศจากอคติ ก็ ตั ด สิ น เช่ น นี้ พวกเขายกย่องพระเยซูเจ้าว่าเป็นมนุษย์ที่ดีคนหนึ่ง...เป็นผู้บริสุทธิ์ที่ถูก กระทำทารุณกรรม... แต่ศิษย์แท้ของพระองค์จะยอมรับเพียงเท่านี้ไม่ได้
216
บทเทศน์ปี C
ขณะที่บรรดาทหารนำพระองค์ออกไป พวกเขาเกณฑ์ชายคนหนึ่งชื่อ ซีโมน ชาวไซรีน ซึ่งกำลังกลับมาจากชนบท วางไม้กางเขนบนบ่าของ เขาให้แบกตามพระเยซูเจ้า ประชาชนจำนวนมากติดตามพระองค์ไป รวมทั้งสตรีกลุ่มหนึ่งซึ่งข้อนอกคร่ำครวญถึงพระองค์ นี่คือทัศนคติของศิษย์แท้ เมื่ออยู่ต่อหน้าเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ พระเยซูเจ้า ไม่มีใครยังทำตัวเป็นกลางอยู่ได้ หรือเพียงแต่คร่ำครวญ สงสารพระองค์...พระเยซูเจ้าตรัสแก่สตรีที่เดินเคียงข้างพระองค์ขณะ เดินไปสู่ที่ประหารว่า “อย่าร้องไห้สงสารเราเลย” ข้าพเจ้าอยู่ข้างใคร...ข้าพเจ้า “กำลังแบกกางเขน” ร่วมกับพระเยซูเจ้าหรือไม่ ขณะอยู่บนกางเขน พระเยซูเจ้าทรงภาวนาว่า “พระบิดาเจ้าข้า โปรด อภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร” ...พระองค์ ตรัสกับโจรที่ถูกตรึงกางเขนพร้อมพระองค์ว่า “วันนี้ ท่านจะอยู่กับเรา ในสวรรค์” ...ถึงเวลาบ่ายสามโมง พระเยซูเจ้าทรงร้องเสียงดังว่า “พระบิ ด าเจ้ า ข้ า ข้ า พเจ้ า มอบจิ ต ของข้ า พเจ้ า ไว้ ใ นพระหั ต ถ์ ข อง พระองค์” เป็นความตายที่สงบอย่างยิ่ง...ตามคำบอกเล่าของลูกา พระเยซูเจ้าทรงจบชีวิตของพระองค์ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งด้วยการอธิษฐาน ภาวนาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เป็ น การสนทนาอย่ า งสงบและสนิ ท สนมกั บ พระบิดาผู้เปี่ยมด้วยความรัก และพระบิดาผู้ที่พระองค์ทรงรักยิ่ง... พระบิดา ... สวรรค์ ... พระบิดา ... การให้อภัยสำหรับทุกคน แม้แต่คนทั้งหลายที่อ้างว่ามีเหตุผลที่จะ “ฆ่าพระเจ้า” แต่ไม่รู้ว่าตนเอง กำลังทำอะไร ... ความรอดนิรันดรถูกเสนอให้มนุษย์ทุกคน ไม่เว้นแม้แต่ อาชญากร...
บทเทศน์ปี C
217
ชัยชนะของความรัก! ชัยชนะของพระเจ้า!... ความชั่วจะไม่ใช่ผู้ชี้ขาด… ความมั่นใจ! ความยินดี!... นี่คือกางเขน – เครื่องหมายอันน่าหลงใหล และการเผยแสดง สูงสุดของพระเจ้า... ประชาชนที่ ม าชุ ม นุ ม กั น ดู เ หตุ ก ารณ์ นี้ เ มื่ อ เห็ น ว่ า เกิ ด อะไรขึ้ น ก็ ข้อนอก พากันกลับไป
พระทรมานของพระเยซูเจ้าเริ่มบังเกิดผลแล้ว...
218
บทเทศน์ปี C
วั นอาทิตย์ปัสกา ยอห์น 20:1-9 เช้าตรู่วันต้นสัปดาห์ ขณะที่ยังมืด มารีย์ชาวมักดาลา ออกไป ที่พระคูหา ก็เห็นหินถูกเคลื่อนออกไปจากพระคูหาแล้ว นางจึงวิ่ง ไปหาซีโมน เปโตร กับศิษย์อีกคนหนึ่งที่พระเยซูเจ้าทรงรัก บอกว่า “เขานำองค์พระผู้เป็นเจ้าไปจากพระคูหาแล้ว พวกเราไม่รู้ว่าเขานำ พระองค์ไปไว้ที่ไหน” เปโตรกับศิษย์คนนั้นจึงออกไป มุ่งไปยังพระคูหา ทั้งสองคน วิ่งไปด้วยกัน แต่ศิษย์คนนั้นวิ่งเร็วกว่าเปโตร จึงมาถึงพระคูหาก่อน เขาก้มลงมอง เห็นผ้าพันพระศพวางอยู่บนพื้น แต่ไม่ได้เข้าไปข้างใน ซี โ มน เปโตร ซึ่ ง ตามไปติ ด ๆ ก็ ม าถึ ง เข้ า ไปในพระคู ห าและเห็ น ผ้าพันพระศพวางอยู่ที่พื้น รวมทั้งผ้าพันพระเศียร ซึ่งไม่ได้วางอยู่กับ ผ้าพันพระศพ แต่พับแยกวางไว้อีกที่หนึ่ง ศิษย์คนที่มาถึงพระคูหา ก่อนก็เข้าไปข้างในด้วย เขาเห็นและมีความเชื่อ เขาทั้งสองคนยัง ไม่เข้าใจพระคัมภีร์ที่ว่า พระองค์ต้องทรงกลับคืนพระชนมชีพจาก บรรดาผู้ตาย
บทเทศน์ปี C
219
บทรำพึงที่ 1
ความเชื่อในวันปัสกา ในพระคัมภีร์ไม่มีข้อความใดที่บรรยายนาทีที่พระเยซูเจ้ากลับ คืนชีพจริงๆ เรามีแต่คำบอกเล่าว่ามีผู้พบพระคูหาว่างเปล่า และการ แสดงพระองค์ในที่ต่างๆ ของพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ เรื่องราวของ การแสดงพระองค์ดลใจให้รำพึงถึงการประทับอยู่อย่างต่อเนื่องของ พระองค์ในชีวิตของบรรดาศิษย์ของพระองค์ คำบอกเล่าเรื่องพระคูหาว่างเปล่าซึ่งเราอ่านในวันนี้ ดึงเราเข้าไป ร่วมอยู่ในประสบการณ์ของศิษย์ทั้งหลายในเช้าวันปัสกา ที่มีทั้งความ ไม่คาดฝันกับสิ่งที่เขาพบ ความสับสนในใจ ความเร่งรีบ และความตื่นเต้น การตั้งคำถาม จนถึงความเชื่อในที่สุด ยอห์น บอกว่าเวลานั้นเป็นเวลาเช้าตรู่ของวันต้นสัปดาห์ นั่นคือ วันแรกของการสร้างสรรค์ครั้งใหม่ ขณะนั้นยังมืดอยู่ พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นแสงสว่างส่องโลก ทรงถูก ความตายพรากไปจากศิษย์ทงั้ หลาย แสงสว่างแห่งวันเวลาทีเ่ ขาจะได้เห็น และสัมผัสพระกายของพระองค์นั้นผ่านพ้นไปแล้ว หินหนักๆ ที่ถูกกลิ้ง ออกไปจากปากพระคูหาบ่งบอกว่าชีวิตในเนื้อหนังมนุษย์ของพระองค์ สิ้นสุดลงแล้ว จนถึ ง เวลานั้ น คนทั้ ง หลายได้ สั ม ผั ส กั บ พระเยซู เ จ้ า และ เครื่องหมายที่พระองค์ทรงแสดง ซึ่งทำให้เขาได้เห็น และได้ยิน หรือ บางครั้งได้จับต้อง หรือถึงกับลิ้มรส พระเยซูเจ้าประทานเครื่องหมาย ต่างๆ เพื่อช่วยเขาให้ก้าวพ้นเหตุการณ์ทางกายภาพ ไปสู่ความเข้าใจที่ ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ว่าพระองค์ทรงเป็นใคร
220
บทเทศน์ปี C
แต่กระนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นเครื่องหมายเหล่านั้นจะก้าวพ้น ประสบการณ์ทางกายภาพได้ บางคนเห็นและเชื่อ แต่บางคนเห็นเครื่องหมายของพระองค์ แต่ยังใจเย็นชาและไม่เปลี่ยนวิถีชีวิต ในขณะที่บางคน เห็นว่าพระองค์ทรงกระทำสิ่งใดบ้าง แต่กลับวางแผนกำจัดพระองค์ ความเชื่อไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากพระหรรษทาน “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำ เขา ... ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา และเรียนรู้จากพระองค์ก็มาหาเรา” (ยน 6:44-45) เช้าวันปัสกานั้น มารีย์ชาวมักดาลาได้เห็นพระคูหาว่างเปล่า แต่ ไม่ ก ล้ า ทำอะไรมากไปกว่ า พู ด ว่ า “เขานำองค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า ไปจาก พระคู ห าแล้ ว ” เมื่ อ เปโตรได้ เ ห็ น พระคู ห าว่ า งเปล่ า และเห็ น ผ้ า พั น พระศพที่วางอยู่ เขาเป็นเหมือนนักสืบที่รวบรวมข้อมูลโดยไม่รู้ว่าจะ ทำอะไรกับข้อมูลเหล่านี้ ศิษย์ทพ่ี ระเยซูเจ้าทรงรักก้าวพ้นหลักฐานทางวัตถุ เพราะ “เขาเห็น และมีความเชื่อ” ความเชื่อเปิดตาของพวกเขาให้เห็นระเบียบใหม่ของสรรพสิ่ง มีวิธีใหม่ในการเข้าใจชีวิต เหตุการณ์หลังจากนั้นจะทำให้พวกเขาเข้าใจ ว่าสิ่งสร้างใหม่หมายถึงการประทับอยู่ขององค์พระผู้เป็นเจ้าในชุมชน ผู้มีความเชื่อ เมื่อพวกเขามีส่วนร่วมในพระอานุภาพของพระจิตเจ้า เมื่อพระเยซูเจ้าแสดงพระองค์แก่มารีย์ชาวมักดาลา พระองค์ทรง บอกนางไม่ให้ยึดเหนี่ยวอยู่กับพระกายของพระองค์ เพราะระเบียบโลก เก่าได้เปลี่ยนไปแล้ว อันที่จริงพระองค์ทรงเชิญให้โทมัสสัมผัสบาดแผล ของพระองค์ และพระวาจาที่พระองค์ตรัสในโอกาสนั้นเน้นว่า ยุคหลัง จากที่ พ ระองค์ เ สด็ จ กลั บ คื น ชี พ แล้ ว เป็ น ยุ ค แห่ ง พระพรสำหรั บ คนทั้งหลายที่เชื่อ โดยไม่ต้องมีเครื่องหมายทางกายภาพมายืนยัน
บทเทศน์ปี C
221
หินถูกกลิ้งออกไป และพระคูหาว่างเปล่า พระศพไม่อยู่ที่นั่นแล้ว เพราะบัดนี้ พระองค์ประทับอยู่ทุกหนแห่ง พระองค์ไม่ประทับอยู่ให้มองเห็นได้ หรือสัมผัสจับต้องได้ เพราะ พระองค์ประทับอยู่ทั่วไปโดยที่เรามองไม่เห็น ไม่ทรงอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ... แต่พระองค์ประทับอยู่ที่นี่ เวลานี้ คนทั้งหลายที่ถูกชักนำไปหาพระบิดาเห็นได้ว่าพระองค์ประทับ อยู่กับเขา นี่คือพระพรแห่งความเชื่อ องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้กลับคืนชีพ ประทับอยู่กับเราในเวลานี้ และเสมอไป ปั ส กาเป็ น เวลาที่ เ ราเฉลิ ม ฉลองด้ ว ยการภาวนาที่ เ ราได้ รั บ พระพรแห่งความเชื่อ และรื้อฟื้นคำสัญญาที่เรากระทำไว้กับพระเจ้า เมื่อเรารับศีลล้างบาป พิธีกรรมในวันอาทิตย์ปัสกาเปิดโอกาสให้เรา รื้อฟื้นคำมั่นสัญญาของเรา
222
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 2
เปโตร รำลึกถึงเหตุการณ์ คูหานั้นเป็นจุดจบของทุกสิ่งทุกอย่าง ความฝันอันแสนไกล และ อุ ด มการณ์ ยิ่ ง ใหญ่ ทั้ ง หมดของเราถู ก ขั ง อยู่ ใ นนั้ น พร้ อ มกั บ พระกาย ไร้ชวี ติ ของพระเยซูเจ้า ความละอายใจทำให้ขา้ พเจ้าแสร้งทำเป็นกล้าหาญ ออกมาจากเงามืด และช่วยเขาฝังพระศพ พระศพยับเยินอย่างไม่น่าเชื่อ เต็มไปด้วยบาดแผล รอยฟกช้ำ ขาวซีด และอ่อนปวกเปียก จนข้าพเจ้า แทบจะจำพระองค์ไม่ได้ มีบาดแผลที่พระหัตถ์และพระบาท มีรอยแผล ลึกที่สีข้างของพระองค์ บนไหล่และหลังมีรอยบาดลึก หนังแทบจะหลุด ออกมา โลหิตจับตัวแห้งกรังบนพระเกศา และเครา ผสมกับน้ำลาย และฝุ่น พวกเราผู้ ช ายทำหน้ า ที่ ห ามพระศพ พวกผู้ ห ญิ ง ล้ า งทำความ สะอาดพระศพอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน และใช้พันผ้ารอบพระศพ ผ้า นัน้ แลดูสะอาดและมีกลิน่ หอม จนทำให้เรารูส้ กึ ดีขนึ้ บ้าง เราปิดพระเนตร ในที่สุด พระเนตรนั้นเคยมองข้าพเจ้าเพียงแวบเดียว แต่ทำให้ข้าพเจ้า รู้สึกทั้งเสียใจและยินดีพร้อมกัน ข้าพเจ้าทำงานเท่ากับผู้ชายสองคน ทั้งยกและลากก้อนหิน ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องยกก็ได้ แต่เมื่อข้าพเจ้า มีอะไรทำ มันช่วยบรรเทาความละอายใจของข้าพเจ้า และปิดบังความ ขลาดของข้ า พเจ้ า ได้ ก้ อ นหิ น ใหญ่ ที่ ใ ช้ ปิ ด ปากพระคู ห าเป็ น งานชิ้ น สุดท้าย ข้าพเจ้าผลักดันด้วยไหล่ มันกลมเหมือนล้อเกวียน และกลิ้ง เข้าที่อย่างง่ายๆ สะดุดเล็กน้อย แล้วก็ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง มันปิดทางเข้า พระคูหาได้สนิท แต่เปิดหัวใจอันว่างเปล่าของข้าพเจ้า
บทเทศน์ปี C
223
แม้ว่าข้าพเจ้าไม่ได้นอนเลยตลอดสองวัน แต่คืนนั้นข้าพเจ้าก็ นอนไม่หลับ ข้าพเจ้าไม่ยอมอยู่ใกล้ใคร ข้าพเจ้าไม่สมควรได้รับคำ ปลอบโยนจากใคร คูหานั้นเป็นเหมือนฝันร้ายขณะที่ตื่นอยู่ มันมืด และ เย็นชื้น ไม่อาจจินตนาการได้เลยว่าพระเยซูเจ้าประทับอยู่ในนั้น แต่ ข้าพเจ้าได้เห็นพระศพ เห็นบาดแผล และยกร่างไร้ชีวิตนั้น ข้าพเจ้าคง ร้องไห้จนสลบไปจนกระทั่งถึงเวลาเย็นของวันสับบาโต เมื่อข้าพเจ้าตื่น ขึ้นมา พวกผู้หญิงยังดำเนินชีวิตต่อไปตามปกติ และได้เตรียมอาหาร ไว้ให้ พวกเราผู้ชายได้แต่นั่งล้อมวงพูดคุยกัน การมีเพื่อนช่วยบรรเทา ความเจ็บปวดได้บ้าง และเรารื้อฟื้นความทรงจำจากวันที่เรามีความสุข กว่าเราจะเข้านอนก็ดึกแล้ว มารีย์มักดาลามาเคาะประตูปลุกเรา ให้ ตื่ น ข้ า พเจ้ า ใช้ เ วลาครู่ ห นึ่ ง กว่ า จะหายงั ว เงี ย และนางก็ พู ด อะไร ไม่รู้เรื่องเลย “พระศพ! พระคูหา! เขานำพระองค์ไปจากพระคูหาแล้ว พวกเราไม่รู้ว่าเขานำพระองค์ไปไว้ที่ไหน” ตอนแรกข้าพเจ้าคิดว่านาง กำลั ง ละเมอฝั น ร้ า ย แต่ น างแต่ ง กายเรี ย บร้ อ ย และเพิ่ ง กลั บ มาจาก ข้างนอก ในที่สุด คำพูดของนางก็ทะลุเข้ามาในสมอง จากนั้น ยอห์นและข้าพเจ้าก็ออกวิ่งขึ้นไปบนเนินเขา ข้าพเจ้า วิ่งตามคนหนุ่มอย่างเขาไม่ทัน เป็นความจริงที่หินถูกกลิ้งออกไปพ้น ปากพระคูหา ยอห์นมองเข้าไปภายใน แต่ยังยืนอยู่ด้านนอก ข้าพเจ้า วิ่งเข้าไปข้างในทันที พระศพไม่อยู่ที่นั่น ข้าพเจ้าเห็นแต่ผ้าพันพระศพ ข้ า พเจ้ า ตรวจดู ว่ า เป็ น ผ้ า ที่ พ วกผู้ ห ญิ ง ใช้ พั น พระศพจริ ง หรื อ ไม่ ผ้าที่ปิดพระพักตร์วางอยู่แยกกัน สมองของข้าพเจ้าสับสนไปหมด ใครจะ ขโมยพระศพไป แล้วยังยอมลำบากแก้ผ้าที่พันพระศพออกด้วย ผ้าลินิน นี้ราคาแพง ยอห์ น ก้ า วเข้ า มาในพระคู ห า เขาเงี ย บมาก เขากระซิ บ อะไร บางอย่างที่ข้าพเจ้าฟังไม่เข้าใจในตอนแรก “พระองค์กลับคืนชีพแล้ว จำได้ไหม” ข้าพเจ้าแทบสลบเพราะตกใจ “จำลาซารัสได้ไหม ... จำวันนั้น
224
บทเทศน์ปี C
ที่เมืองนาอิน จำลูกสาวของไยรัส จำได้ไหม” ข้าพเจ้าจำได้แน่นอน ข้าพเจ้าจำเช้าวันนั้นที่เราจับปลาจำนวนมากได้ในทะเลสาบ จำวันที่ เราตื่นขึ้นมาบนภูเขา จำเหตุการณ์ที่ทำให้เรางุนงงนับร้อยเหตุการณ์ เราจะลืมลงได้อย่างไร เราต่างหากที่อยู่ในพระคูหา เราต่างหากที่อยู่ในความมืด สิ่งที่ ปิดพระคูหาไม่ใช่ก้อนหิน แต่เป็นเมฆมืดทึบแห่งความสงสารตนเอง เช้าวันนั้น ข้าพเจ้าได้รับบทเรียนที่ข้าพเจ้าจะไม่มีวันลืม คูหาไม่มีหรอก เว้นแต่คูหาที่อยู่ในตัวเรา ไม่มีจุดจบของความหวัง และในพระเยซูเจ้า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความตายอย่างที่เรารู้จักกัน
บทเทศน์ปี C
225
บทรำพึงที่ 3 เช้าตรู่วันต้นสัปดาห์ พระวรสารทั้งสี่ฉบับให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ตรงกันในกรณีนี้ ดังนั้น การกลับคืนชีพของพระคริสตเจ้าจึงเกิดขึ้นในวันหลังจาก วันสับบาโตของเทศกาลปัสกา ของชาวยิว ยอห์น ผู้ชอบใช้สัญลักษณ์ มองว่าวันแรกนี้เป็นสัญลักษณ์ของจุดเริ่มต้นของโลกใหม่ ... การเนรมิต สร้างครั้งใหม่ สัปดาห์แห่งปฐมกาลใหม่ ความทุกข์ทรมาน และความตาย เป็นเหตุผลที่ใช้โจมตีความเชื่อ ว่าพระเจ้ามีจริง พระเจ้าจะทรงสร้างโลกที่มีความทุกข์ทรมานเช่นนี้ขึ้น มาได้อย่างไร เราไม่มีวันตอบคำถามนี้ได้ ถ้าเราไม่ยอมเชื่อว่าพระคริสตเจ้า ทรงกลับคืนชีพ ปิตาจารย์ของพระศาสนจักรในยุคโบราณ และคนทั้ง หลายที่รำพึงไตร่ตรองพระคัมภีร์อย่างลึกซึ้ง คิดว่าพระเจ้าคงไม่ “เนรมิต สร้ า งครั้ ง แรก” (ซึ่ ง รวมถึ ง สภาพที่ ต้ อ งตายในปั จ จุ บั น ของเรา) ถ้ า พระองค์ ไ ม่ ท รงมองเห็ น “การเนรมิ ต สร้ า งครั้ ง ที่ ส อง” นี้ ม าตั้ ง แต่ นิรันดรกาล ซึ่งภายในการเนรมิตสร้างครั้งนี้ “จะไม่มีความตายอีกต่อไป จะไม่มีการคร่ำครวญ การร้องไห้ และความทุกข์อีกต่อไป เพราะโลกเดิม ผ่านพ้นไปแล้ว” (วว 21:4) ขณะที่ยังมืด มารีย์ชาวมักดาลาออกไปที่พระคูหา ผู้นิพนธ์พระวรสารทั้งสี่ฉบับให้ข้อมูลตรงกันในประเด็นนี้ ว่า สตรีเป็นคนกลุ่มแรกที่พบ “เหตุการณ์” นี้ แต่ยอห์น เลือกที่จะเน้นสตรี
226
บทเทศน์ปี C
คนหนึ่ง คือ มารีย์ชาวมักดาลา เขาถึงกับบอกว่าพระเยซูเจ้าทรงแสดง พระองค์ให้นางเห็นเป็นคนแรก (ยน 20:11-18) นางเห็นหินถูกเคลื่อนออกไปจากพระคูหาแล้ว นางจึงวิ่งไปหาซีโมน เปโตร กับศิษย์อีกคนหนึ่งที่พระเยซูเจ้าทรงรัก นาง “วิ่ง” รายละเอียดนี้มีนัยสำคัญ นางยังไม่เห็นพระเยซูเจ้า นางยังไม่เชื่อ นางเพียงแต่ตกใจ และวิ่งไปบอก “ผู้นำที่รับผิดชอบ” เราสังเกตว่าพระวรสารไม่ระบุชื่อของศิษย์คนนี้ เพียงแต่บอกว่า เป็น “ศิษย์ที่พระเยซูเจ้าทรงรัก” ธรรมประเพณียอมรับมาโดยตลอด ว่าศิษย์คนนี้คือยอห์น ผู้เขียนคำบอกเล่านี้นั่นเอง ในบรรดาอัครสาวก 12 คน ยอห์นดูเหมือนได้รับความสนใจจากพระเยซูเจ้ามากเป็นพิเศษ จนมีคนอิจฉา ... รายละเอียดนี้ก็มีความสำคัญเช่นกัน ดังที่เราจะเห็น ต่อไป แต่เราจะพักประเด็นนี้ไว้ก่อนในเวลานี้ นางบอกเขาว่า “เขานำองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าไปจากพระคูหาแล้ว พวกเรา ไม่รู้ว่าเขานำพระองค์ไปไว้ที่ไหน” ในเวลานั้น นางสันนิษฐานได้เพียงประการเดียว คือ มีคนมา ขโมยพระศพ ข้อมูลที่เรามีอยู่นี้ทำให้ไม่อาจเชื่อ “คำอธิบายตามหลักเหตุผล” ที่ บ อกว่ า บรรดาศิ ษ ย์ อ ยากเห็ น พระเยซู เ จ้ า กลั บ คื น ชี พ มากจนเกิ ด ภาพหลอน อันที่จริง ข้อความทั้งหมดบอกเล่าสิ่งที่ตรงกันข้าม เห็ น ได้ ชั ด ว่ า คำบอกเล่ า นี้ เ ขี ย นขึ้ น เพื่ อ ให้ เ ราตระหนั ก ว่ า พระคู ห าอั น ว่ า งเปล่ า ไม่ ส ามารถนำเราไปสู่ ค วามเชื่ อ ได้ แต่ ก ระนั้ น “พระคู ห าว่ า งเปล่ า ” อั น โด่ ง ดั ง นี้ ก ลายเป็ น ความท้ า ทายที่ ท ำให้ ค น จำนวนมากหาคำอธิ บ ายไม่ ไ ด้ ในข้ อ ความหนึ่ ง เดี ย วนี้ ป รากฏคำว่ า “พระคูหา” ถึงเจ็ดครั้ง
บทเทศน์ปี C
227
เปโตร กับศิษย์คนนั้นจึงออกไป มุ่งไปยังพระคูหา ทั้งสองคนวิ่งไป ด้วยกัน แต่ศิษย์คนนั้นวิ่งเร็วกว่าเปโตร จึงมาถึงพระคูหาก่อน ยอห์นจดจำทุกสิ่งทุกอย่างได้ดีมาก เพราะเขาอยู่ในเหตุการณ์นั้น ด้วย แต่ถา้ จะอธิบายว่า เพราะยอห์นหนุม่ กว่าเปโตร เขาจึงวิง่ ได้เร็วกว่า ยังเป็นคำอธิบายที่ไม่เพียงพอ ในกรณีนี้อีกเช่นกันที่ยอห์นมองว่าเป็น สัญลักษณ์ เปโตรสามารถถูกแซงหน้าได้ ศิษย์ที่มีใจร้อนรนกว่าย่อม แซงหน้าเขาได้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่ “คนที่สอง” แซงหน้า “คนแรก” (ยน 13:24; 18:12, 16; 21:20-23) ทำไมยอห์นจึงย้ำความผิดปกตินี้ เขาก้มลงมองเห็นผ้าพันพระศพวางอยู่บนพื้น แต่ไม่ได้เข้าไปข้างใน ซีโมน เปโตร ซึ่งตามไปติดๆ ก็มาถึง เข้าไปในพระคูหา และเห็น ผ้าพันพระศพวางอยู่ที่พื้น รวมทั้งผ้าพันพระเศียร ซึ่งไม่ได้วางอยู่กับ ผ้าพันพระศพ แต่พับแยกวางไว้อีกที่หนึ่ง ข้อความที่ยอห์น ผู้เป็นประจักษ์พยาน บันทึกไว้นี้สามารถแปล ความหมายออกมาได้ดังนี้ “เขาเห็นผ้าพันพระศพ ‘วางกองอยู่’ และผ้า ที่ใช้พันพระเศียรไม่ได้กองรวมกับผ้าพันพระศพ แต่ยังม้วนไว้ และกอง อยู่ที่เดิม” สรุปสั้นๆ ได้ว่าไม่มีมืออื่นมาขยับเขยื้อนผ้าเหล่านี้ พระศพเพียง แต่หายไป และผ้าพันพระศพก็หลุดลงมากองอยู่ในที่เดิม ยอห์นถึงกับ ย้ำว่า “ผ้าพันพระเศียร” (ซึง่ เป็นแถบผ้าทีพ่ นั รอบศีรษะและรอบคางเพือ่ พยุงขากรรไกร ตามธรรมเนียมฝังศพของชาวยิว) ยังม้วนกองอยู่ที่เดิม ศิษย์คนที่มาถึงก่อนก็เข้าไปข้างในด้วย – ผู้นิพนธ์ย้ำรายละเอียดนี้
ดังนั้นรายละเอียดนี้จึงต้องมีนัยสำคัญ
228
บทเทศน์ปี C
เขาเห็น และมีความเชื่อ เปโตรยังไม่เข้าใจ ลูกาบอกเล่าเหตุการณ์ที่เปโตรไปที่พระคูหา ว่า เขาสังเกตเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เขากลับไปและ “ประหลาดใจใน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น” (ลก 24:12) - มารีย์ ชาวมักดาลา ได้ให้คำอธิบายตามความคิดของมนุษย์ คนหนึ่ง ว่า “เขานำพระองค์ไปจากพระคูหาแล้ว” - เปโตร ไม่เข้าใจอะไรเลย - ยอห์น มองเห็นเหตุการณ์ได้ชัดกว่า : “เขาเห็น และมีความเชื่อ” ... เขาเห็นอะไร เขาเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับที่เปโตรเห็น แต่เปโตรไม่รู้จัก ตีความสิ่งที่เขาเห็น ... การมีความเชื่อจำเป็นต้องใช้ดวงตาของหัวใจ คือ ตาแห่งความ รัก บัดนี้ เราจึงเข้าใจได้ว่าทำไมยอห์นจึงกล่าวถึง “ศิษย์ที่พระเยซูเจ้า ทรงรัก” อย่างชัดเจน เพราะความรักนี้เอง ยอห์นจึงวิ่งเร็วกว่า ... ขณะ ที่อยู่ใกล้ฝั่งทะเลสาบอีกเช่นกันที่ศิษย์ที่พระเยซูเจ้าทรงรักจำพระเยซูเจ้า ได้ก่อนใครๆ – ก่อนที่เปโตรจะจำพระองค์ได้ (ยน 21:7)... เราเรียนรู้อีกครั้งหนึ่งว่า ความรักเป็นพลังที่กระตุ้นและส่งเสริม ความเชื่อ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจในพระศาสนจักรไม่มีเอกสิทธิ์ ในประเด็นนี้ ดังนั้น แทนที่จะอิจฉาผู้มีอำนาจในพระศาสนจักร เราทุกคน ได้รับเชิญให้เป็นที่หนึ่งในด้านความรัก นี่คือสิ่งสำคัญกว่าสิ่งอื่นทั้งหมด ... เขาเห็น และมีความเชื่อ นอกจากพระคูหาอันว่างเปล่าแล้ว สภาพและตำแหน่งของผ้า ดูเหมือนจะเป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่งสำหรับยอห์น เมื่อเขาเห็นผ้าพัน พระศพ “กองอยู่” และผ้าพันพระเศียร “พับแยกวางไว้อีกที่หนึ่ง” ยอห์น
บทเทศน์ปี C
229
เข้าใจ (ราวกับด้วยสังหรณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสายฟ้าแลบ) ว่าเป็นไปไม่ได้ที่ มือมนุษย์จะดึงพระศพออกไป พระศพจะต้องหายไปจากภายในผ้าพัน พระศพ ซึ่งยังวางอยู่ในตำแหน่งเดิมของมัน แต่เครือ่ งหมายเดียวกันนีไ้ ม่มคี วามหมายใดๆ เลยสำหรับเปโตร ไม่ มี เ ครื่ อ งหมายใดที่ ส ามารถทำให้ ม นุ ษ ย์ ค นใดมี ค วามเชื่ อ ได้ ไม่มีเครื่องหมายใดที่มีอำนาจมากเช่นนั้น ... เพื่อจะเชื่อ เราต้อง มองให้ไกลกว่าเครื่องหมาย หลังจากนั้นไม่นาน พระเยซูเจ้าเองจะตรัส ข้อความที่ทรงพลังยิ่งกว่าว่า “ผู้ที่เชื่อ แม้ไม่ได้เห็นก็เป็นสุข” (ยน 20: 29) ดังนั้น ยอห์นจึงเป็นศิษย์ตัวอย่าง เขาเป็นศิษย์ผู้มีความเชื่อ โดย ไม่ต้องมองเห็น ความเชื่อมีบางสิ่งบางอย่างเหมือนกับความเป็นจริงที่ลึกล้ำที่สุด ของมนุษย์ กล่าวคือ เราไม่เห็นความรักของบุคคลที่รักเรา เราเห็นแต่ เครื่องหมายของความรักของเขาเท่านั้น แต่เครื่องหมายเหล่านี้เปิดเผย นัยสำคัญให้แก่ผู้ที่รู้จักแปลความหมายของเครื่องหมายเหล่านี้เท่านั้น กิริยาหนึ่งจำเป็นต้องได้รับการตีความ แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะตีความผิด ได้เสมอ “เขาต้องการบอกอะไรแก่ฉัน ฉันควรเข้าใจกิริยานี้อย่างไร”... ด้ ว ยเหตุ นี้ การพบกั น อย่ า งแท้ จ ริ ง ของมนุ ษ ย์ จึ ง สร้ า งความ ประทับใจได้เสมอ เพราะทัง้ สองฝ่ายต้องเปิดเผย และเอาใจใส่กนั และกัน เราทุ ก คนเคยมีประสบการณ์อัน โหดร้ า ย เมื่ อ เราแสดงเครื่ อ งหมาย บางอย่างที่ผู้อื่นเข้าใจผิด เมื่อเราพูดบางคำออกไปที่ผู้อื่นไม่อยากฟัง เมื่อเราแสดงกิริยาบางอย่างที่ผู้อื่นตีความผิดๆ ... สิ่งที่ช่วยให้บุคคลสอง คนมองเห็นนัยสำคัญของสารที่สื่อให้แก่กัน คือ ความรักอันไร้ขอบเขต ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่สามารถเข้าใจเหตุการณ์ “พระคูหาว่างเปล่า” และ “ผ้าพันพระศพที่วางอยู่ในตำแหน่งเดิม” จึงเป็นผูท้ ร่ี กั มากกว่าเท่านัน้ ... เช่นเดียวกับเครื่องหมายแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์
230
บทเทศน์ปี C
เขาทั้งสองคนยังไม่เข้าใจพระคัมภีร์ที่ว่าพระองค์ต้องทรงกลับคืน พระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย ความจริง หรือเหตุการณ์ภายนอก ยังไม่เพียงพอจะช่วยให้เข้าใจได้ แต่สำหรับยอห์น พระคูหาว่างเปล่ากลายเป็นเครื่องหมายที่พูดได้ ตั้งแต่ ก่อนที่เขาจะเห็นพระเยซูเจ้าทรงแสดงพระองค์ ทั้งนี้เพราะยอห์นยอมให้ พระจิ ต เจ้ า แทรกเข้ า ไปในใจของเขา และเปิ ด เผยความหมายของ เครื่องหมายเหล่านี้ ... เมื่อเผชิญหน้ากับความจริงที่เขาเห็น ยอห์นระลึก ถึงข้อความในพระคัมภีร์ที่พระเยซูเจ้าทรงอ้างถึง (ฮชย 6:2; สดด 2:7, 15:8; ยน 2:1) เหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตของเราก็เช่นเดียวกัน เราสามารถเข้าใจ เหตุการณ์เหล่านั้นได้อย่างลึกซึ้งเพียงเมื่อเราไตร่ตรองในพระจิตเจ้า ภายใต้แสงสว่างที่เราได้รับจากการรำพึงตามพระวาจาของพระเจ้าอย่าง สม่ำเสมอ... ความรักทำให้เรามองเห็นความจริง... เราต้องมีความรักก่อนจะมีความเชื่อ...
บทเทศน์ปี C
231
วั นอาทิตย์ที่สอง เทศกาลปัสกา ยอห์น 20:19-31 ค่ำวันนั้นซึ่งเป็นวันต้นสัปดาห์ ประตูห้องที่บรรดาศิษย์กำลัง ชุมนุมกันปิดอยู่ เพราะกลัวชาวยิว พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ามา ทรงยืนอยู่ ตรงกลาง ตรัสกับเขาทัง้ หลายว่า “สันติสขุ จงสถิตอยูก่ บั ท่านทัง้ หลาย เถิด” ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงให้บรรดาศิษย์ดูพระหัตถ์และด้าน ข้างพระวรกาย เมื่อเขาเหล่านั้นเห็นองค์พระผู้เป็นเจ้า ก็มีความยินดี พระองค์ตรัสกับเขาอีกว่า “สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด พระบิดาทรงส่งเรามาฉันใด เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น” ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงเป่าลมเหนือเขาทั้งหลาย ตรัสว่า “จงรับพระจิตเจ้าเถิด ท่านทั้งหลายอภัยบาปของผู้ใดบาปของผู้นั้น ก็ได้รับการอภัย ท่านทั้งหลายไม่อภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ ไม่ได้รับการอภัยด้วย” โทมัส ซึง่ เรียกกันว่า “ฝาแฝด” เป็นคนหนึง่ ในบรรดาอัครสาวก สิบสองคน ไม่ได้อยูก่ บั อัครสาวกคนอืน่ ๆ เมือ่ พระเยซูเจ้าเสด็จมา ศิษย์ คนอื่นบอกเขาว่า “พวกเราเห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแล้ว” แต่เขาตอบว่า “ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้เห็นรอยตะปูที่พระหัตถ์ และไม่ได้เอามือคลำที่ด้าน ข้างพระวรกายของพระองค์ ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อเป็นอันขาด”
232
บทเทศน์ปี C
แปดวันต่อมา บรรดาศิษย์อยู่ด้วยกันในบ้านนั้นอีก โทมัสก็อยู่ กับเขาด้วย ทั้งๆ ที่ประตูปิดอยู่พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ามา ทรงยืนอยู่ ตรงกลาง ตรัสกับเขาทัง้ หลายว่า “สันติสขุ จงสถิตอยูก่ บั ท่านทัง้ หลาย เถิด” แล้วตรัสกับโมทัสว่า “จงเอานิ้วมาที่นี่ และดูมือของเราเถิด จง เอามือมาทีน่ ่ี คลำทีส่ ขี า้ งของเรา อย่าสงสัยอีกต่อไป แต่จงเชือ่ เถิด” โทมัสทูลพระองค์ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และพระเจ้าของ ข้าพเจ้า” พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “ท่านเชื่อเพราะได้เห็นเรา ผู้ที่เชื่อ แม้ไม่ได้เห็น ก็เป็นสุข” พระเยซูเจ้ายังทรงกระทำเครื่องหมายอัศจรรย์อื่นอีกหลาย ประการให้ บ รรดาศิ ษ ย์ เ ห็ น แต่ ไ ม่ ไ ด้ บั น ทึ ก ไว้ ใ นหนั ง สื อ เล่ ม นี้ เรื่องราวเหล่านี้ถูกบันทึกไว้เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่าพระเยซูเจ้า เป็นพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า และเมื่อมีความเชื่อนี้แล้ว ท่านทั้งหลายก็จะมีชีวิตเดชะพระนามของพระองค์
บทเทศน์ปี C
233
บทรำพึงที่ 1
การประทับอยู่ในรูปแบบใหม่ของพระเยซูเจ้า เราจะพบองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพได้ที่ใด บทอ่าน พระวรสารวันนี้เริ่มต้นท่ามกลางความมืด เมื่อไม่มีพระเยซูเจ้าประทับ อยู่กับบรรดาอัครสาวก เขาปิดประตู และความกลัวทำให้อัครสาวกหมด กำลังจะทำอะไร แต่สภาพนี้เปลี่ยนไป เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จมาหาเขาในลักษณะ ใหม่ พระองค์ทรงทักทายด้วยการมอบสันติสุข และความกลัวก็เปลี่ยน เป็นความยินดี พระองค์ทรงให้เขาดูพระหัตถ์ และสีข้าง เพื่อยืนยันว่า พระองค์เป็นใคร จากนั้น พระองค์ประทานพระพรสองประการจากพระเจ้าแก่เขา พระองค์ทรงบัญชาเขาให้สานต่อพันธกิจที่พระองค์ทรงได้รับมอบหมาย มาจากพระบิ ด า กล่ า วคื อ พั น ธกิ จ ในการเอาชนะบาป และให้ อ ภั ย “พระบิดาทางส่งเรามาฉันใด เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น” พระพรประการที่สอง คือ พระองค์เป่าลมประทานพระจิตเจ้าแก่ พวกเขา นับแต่นี้ไป ชุมชนศิษย์พระคริสต์จึงได้เข้าร่วมในพันธกิจของ พระเยซูเจ้า และได้รับพละกำลังจากพระจิตเจ้า ผู้ทรงดลใจพระเยซูเจ้า ในการปฏิบัติพันธกิจของพระองค์ แม้พระเยซูเจ้าไม่ประทับอยู่กับเขา ในรูปลักษณ์มนุษย์ที่มีเนื้อหนัง แต่การประทับอยู่ในลักษณะใหม่นี้เรียก ร้องให้เขามาร่วมปฏิบัติพันธกิจ และร่วมรับพระจิตของพระองค์ วันนัน้ โทมัสไม่อยูท่ น่ี น่ั เราทราบจากเหตุการณ์อน่ื ๆ ในพระวรสาร ว่าเขาเป็นคนที่ระวังตัวมาก โทมัสเป็นคนที่จงรักภักดีอย่างยิ่ง บางทีเขา อาจจงรั ก ภั ก ดี ม ากเกิ น ไป เพราะเขาปฏิ เ สธอย่ า งดื้ อ รั้ น ที่ จ ะยอมรั บ
234
บทเทศน์ปี C
ความเปลี่ยนแปลง เขาไม่ยอมเชื่อเรื่องที่อัครสาวกคนอื่นเล่าให้ฟัง เขา ยังคงแสวงหาพระเยซูเจ้าในรูปแบบเดิม เขาต้องการให้พระองค์ประทับ อยู่ทางกายภาพให้เขาเห็นพระองค์ และสัมผัสพระองค์ได้ โทมัสไม่เข้าใจ ว่าเมื่อพระเยซูเจ้าทรงอยู่ในร่างกายมนุษย์ พระองค์ต้องอยู่เพียงในพื้นที่ เล็กๆ บัดนี้ องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพทรงแบ่งพันธกิจ และ อำนาจของพระองค์ให้แก่กลุ่มคนที่มีความเชื่อ และส่งพวกเขาออกไปใน ทุกสถานที่และทุกยุคสมัย พร้อมกับอำนาจให้อภัยของพระองค์ เพื่อ รักษาโรคของวิญญาณ จิตใจ และร่างกาย โทมัสได้รับคำเชิญชวนจากพระเยซูเจ้าให้เชื่อ และเขาตอบสนอง ด้วยการแสดงความเชื่อในระดับสูงสุดเท่าที่เคยมีใครเอ่ยออกมาใน พระวรสาร “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และพระเจ้าของข้าพเจ้า” จากนั้น องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงอวยพรทุกคนที่เชื่อ แม้ว่าไม่ได้เห็น หลักฐานที่จับต้องได้ บัดนี้ ยอห์น ผู้นิพนธ์พระวรสาร พร้อมจะจบพระวรสารของ เขาแล้ว เขาบอกเราว่าวัตถุประสงค์ที่เขาเขียนพระวรสารฉบับนี้ก็เพื่อ บันทึกเรื่องราวอัศจรรย์ต่างๆ ที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำ เครื่องหมาย เป็นสิ่งชี้ทางให้เราก้าวไปข้างหน้า พระเยซูเจ้าทรงกระทำเครื่องหมาย อัศจรรย์เพื่อชักนำมนุษย์ให้มองให้ไกลกว่าเหตุการณ์ทางกายภาพ และ มองไปให้ถึงความหมายฝ่ายจิตของเครื่องหมายนั้นๆ ความหมายฝ่าย จิตอันสูงส่งคือพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า ใครก็ตามที่มีความเชื่อเช่นนี้แล้วก็จะมีส่วนในชีวิตของพระเยซูเจ้า ดังนั้น เราจะพบองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพได้ที่ไหน ไม่ใช่ในคูหาแห่งความตาย ไม่ใช่ข้างหลังประตูแห่งชีวิตที่ปิดล็อกไว้ เพราะความกลัว ไม่ใช่ในการประทับอยู่ทางกายภาพที่มองเห็นได้และ จับต้องได้ แต่จำกัดขอบเขตอยู่ในบริเวณเล็กๆ ในยุคใหม่ภายหลังการกลับคืนชีพ เราจะพบองค์พระผู้เป็นเจ้า
บทเทศน์ปี C
235
ได้ในพันธกิจของพระศาสนจักร ซึ่งได้รับอำนาจจากพระจิตของพระเจ้า ให้ประกาศเรื่องพระอาณาจักร ให้ขับไล่ปีศาจ และรักษาเยียวยาผู้ที่ ชอกช้ำใจ บทอ่านที่หนึ่งของวันนี้ (กจ 5:11-16) เป็นภาพของกลุ่ม คริสตชนที่เต็มเปี่ยมด้วยพระจิตของพระเจ้า นอกจากนี้ ท่ามกลางความสงบเงียบของการภาวนาเป็นส่วนตัว ผู้มีความเชื่อจะค้นพบว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าประทับอยู่ในหัวใจของเขา ผู้มีความเชื่อจึง “มีชีวิต เดชะพระนามของพระองค์” การพูดว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าได้กลับคืนชีพจากบรรดาผู้ตาย” เป็นเพียงคำบอกเล่าเหตุการณ์หนึ่งในอดีต แต่เราจะแสดงความเชื่อได้ มากกว่าถ้าจะพูดว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงกลับคืนชีพแล้ว” ซึ่งไม่ได้ บอกเล่าเหตุการณ์ในอดีต แต่กล่ า วถึ ง การประทั บ อยู่ อ ย่ า งมี ชี วิ ต ใน ปัจจุบัน องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ ประทับอยู่ในพันธกิจของ พระศาสนจักร และองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงดำรงชีวิตอยู่ในส่วนลึกที่สุด ของหัวใจของทุกคนที่มีชีวิตในพระนามของพระองค์
236
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 2 สัมผัสบาดแผล
โทมัสไม่ใช่บุคคลประเภทที่ชอบแสวงหาเครื่องหมายที่แสดง ความรุ่งเรือง เขาแสวงหาแต่บาดแผล ความคลางแคลงใจของเขาได้รับ การรักษาด้วยบาดแผลของพระเยซูเจ้า ในความคิดของยอห์น ไม้กางเขน ของพระเยซูเจ้าผู้เต็มไปด้วยบาดแผล ไม่อาจแยกออกจากการกลับคืน ชีพของพระองค์เข้าสู่พระสิริรุ่งโรจน์ ในภาพของพระเยซูเจ้าผู้ทรงได้รับ การยกขึน้ จากโลก บางคน เช่นเปาโล ได้รบั การเยีย่ มเยือนจากพระเยซูเจ้า ผู้ทรงกลับคืนชีพในพระสิริรุ่งโรจน์ จนดวงตามนุษย์ไม่อาจทนมองได้ คนอื่นๆ เช่นโทมัส ได้พบพระคริสตเจ้าจากการสัมผัสบาดแผลของ พระองค์ บางคน เช่นคุณแม่เทเรซา ได้ค้นพบพันธกิจของพระคริสตเจ้า ในบาดแผลของคนยากจน ยอห์น วาเนียร์ ค้นพบพันธกิจในบาดแผล ของคนพิการ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง และเฮลเดอร์ คามารา ค้นพบพันธกิจ ในบาดแผลของบุ ค คลที่ ถู ก เลื อ กปฏิ บั ติ และได้ รั บ ความอยุ ติ ธ รรม นักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี ชนะการต่อสู้กับนิสัยสำอางของเขาได้ เมื่อเขา สวมกอดคนโรคเรื้อนคนหนึ่งอย่างอบอุ่น นั่นเป็นวันที่เขาเชื่อฟังพระคริสตเจ้าอย่างจริงจัง และเริ่มค้นพบพันธกิจของตนเอง หลายปีต่อมา เขาบันทึกความรู้สึกในวันนั้นในพินัยกรรมของเขา ว่ า “สิ่ ง ที่ เ มื่ อ ก่ อ นดู เ หมื อ นว่ า ขมขื่ น เปลี่ ย นเป็ น ความหวานชื่ น ของ วิญญาณและร่างกาย” ฟรังซิสคนใหม่เกิดขึ้นมาจากบาดแผลของคน โรคเรื้อน ... เพราะเมื่อเขาสวมกอดคนโรคเรื้อนเสมือนน้องชายคนหนึ่ง เขาก็สวมกอดตนเองซึ่งมีบาดแผล และเมื่อเขาทำเช่นนี้ ชีวิตของเขาจึง สวมกอดพันธกิจจากพระคริสตเจ้า ก้าวแรกของชีวิตจิตเป็นการชำระ
บทเทศน์ปี C
237
ตนเองให้หลุดพ้นจากความสำอาง ความเพ้อฝัน และความกลัวของเขา เราเข้าใจได้ดีว่า ฟรังซิสคงคิดว่าการสัมผัสตัวคนโรคเรื้อนเป็นสิ่งที่ น่าคลื่นเหียนและขมขื่น ฟรังซิส ทอมสัน ถอยหนีด้วยความกลัว เมื่อเขา เห็นว่าองค์ศิลปินสวรรค์ต้องเผาไม้ให้กลายเป็นถ่าน ก่อนที่พระองค์จะ ใช้ มั น วาดภาพได้ “พระองค์ ต้ อ งเผาไม้ ใ ห้ ก ลายเป็ น ถ่ า นก่ อ นหรื อ พระองค์จึงจะใช้มันวาดภาพได้” เราสวมกอดคนโรคเรื้อนในตัวเรา เมื่อเรายอมรับข้อบกพร่อง ของเราในการสารภาพบาปอย่างถ่อมตน และในที่นั่น เราจะพบพระคริสตเจ้าผู้ทรงเปี่ยมด้วยความเมตตา เราสวมกอดคนโรคเรื้อนในตัว พี่น้องชายหญิงของเรา เมื่อเรายอมรับความยากจนและความเจ็บปวด ของเขา และเมือ่ เรายอมรับเขาได้ทั้งทีเ่ ขามีข้อบกพร่องทีท่ ำให้เรารำคาญ ใจ และเมื่อเรายอมรับเขา เขาจะมอบกระแสเรียกของพระคริสตเจ้าให้ แก่เรา เมือ่ เราให้ เราจะได้รบั เช่นในพันธกิจของคุณพ่อดาเมียน ท่ามกลาง คนโรคเรื้อนที่เกาะโมโลไก เมื่อเขาสามารถพูดว่า “พวกเราคนโรคเรื้อน” นั่นเอง พันธกิจของเขาจึงเริ่มประสบผลสำเร็จ พระเจ้าทรงร้องขอให้เรา น้อมรับธรรมล้ำลึกต่างๆ ที่เราไม่เข้าใจ น้อมรับความมืดที่ปกคลุมทัศนวิสัยของเรา ทะเลทรายอันแห้งแล้งที่เราต้องข้ามไป และกางเขนต่างๆ ที่ถ่วงทับเรา ในบาดแผลในชีวิตนี้เองที่เราจะพบกับพระคริสตเจ้าผู้เต็ม ไปด้วยบาดแผล ความเชื่อของเราจะตื่นขึ้นเมื่อเราจำได้ว่าพระผู้เต็มไป ด้วยบาดแผลนี้คือองค์พระผู้เป็นเจ้า ในพระสิริรุ่งโรจน์ เมื่อโทมัสเห็น บาดแผลของพระคริสตเจ้า เขาไม่ได้ถอยหนีเพราะคลื่นเหียน หรือ ปฏิเสธเครื่องหมายที่แสดงความอ่อนแอ แต่เขาถูกดึงดูดให้ประกาศ ความเชื่ออย่างยิ่งใหญ่ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และพระเจ้า ของข้าพเจ้า” การแสวงหาบุรุษผู้เต็มไปด้วยบาดแผลนำเขามาพบพระคริสตเจ้าในพระสิริรุ่งโรจน์ การยอมรับพระเทวภาพของพระคริสตเจ้า ด้วยความเชื่อนี้เป็นจุดสูงสุดของพระวรสารของนักบุญยอห์น แต่ขอ
238
บทเทศน์ปี C
ให้สังเกตว่าการยอมรับนี้เชื่อมโยงอย่างเร้นลับอย่างไรกับการสัมผัส บาดแผลของพระเยซูเจ้า นี่เป็นการยืนยันถ้อยคำของอิสยาห์อย่างน่า อั ศ จรรย์ ใ จว่ า “อาศั ย บาดแผลของพระองค์ เขาได้ รั บ การรั ก ษา” (54:5)
บทเทศน์ปี C
239
บทรำพึงที่ 3 ค่ำวันนั้น ซึ่งเป็นวันต้นสัปดาห์ ... บรรดาศิษย์กำลังชุมนุมกัน ... แปดวันต่อมา บรรดาศิษย์อยู่ด้วยกันในบ้านนั้นอีก ... บทอ่านจากพระวรสารวันนี้บอกเล่าเรื่อง “การแสดงพระองค์” สองครั้ ง ของพระเยซู เ จ้ า หลั ง จากทรงกลั บ คื น ชี พ แต่ ล ะครั้ ง ห่ า งกั น แปดวัน เรามักให้ความสนใจกับการแสดงพระองค์ครั้งที่สองมากกว่า นี่คือการแสดงพระองค์เพื่อโทมัส โดยเฉพาะ เพราะบ่อยครั้งที่เราคิดว่า โทมัสก็เหมือนกับเรา แต่มีประโยชน์อะไรที่จะหาคนที่เหมือนกับเรา “ใครบางคนที่ขี้สงสัย” ใครบางคนที่ไม่ยอมเชื่อง่ายๆ - เพื่อทำให้เรารู้สึก ว่ามีคนอื่นๆ ที่ขาดความเชื่อเหมือนกัน แต่ “การสมรู้ร่วมคิด” ของเรากับโทมัส ไม่ควรขัดขวางมิให้เรา อ่านข้อความให้ครบทั้งบทอ่าน สิ่งแรกที่เราสังเกตเห็น คือ พระเยซูเจ้าทรงแสดงพระองค์ว่า พระองค์ยังมีชีวิตอยู่ใน “วันต้นสัปดาห์” คือวันอาทิตย์ (เป็นเรื่องบังเอิญ หรือ) เรารู้ว่าคริสตชนรุ่นแรกไม่ได้มาชุมนุมกันทุกวัน พวกเขามีกิจวัตร ต้ อ งทำ และไม่ ส ามารถมาชุ ม นุ ม กั น ได้ เ สมอ ... แต่ พ ระเยซู ผู้ ท รง กลับคืนชีพ เสด็จมาระหว่างที่พวกเขามาชุมนุมกันในวันอาทิตย์ ... คงจะ ผิดประเด็นถ้าจะมองว่าความเชื่อเป็นเรื่องส่วนบุคคล เพราะบรรดาศิษย์ ได้พบ และได้สัมผัสกับพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ ระหว่างการพบ กันของชุมชน พวกเขามารวมตัวกัน เป็นหนึง่ เดียวกันใน “พระศาสนจักร” ประตู ห้ อ งที่ บ รรดาศิ ษ ย์ ก ำลั ง ชุ ม นุ ม กั น ปิ ด อยู่ เ พราะกลั ว ชาวยิ ว พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ามา ทรงยืนอยู่ตรงกลาง
240
บทเทศน์ปี C
ช่ ว งเวลาที่ ย อห์ น เขี ย นข้ อ ความเหล่ า นี้ ยั ง เป็ น ช่ ว งเวลาแห่ ง ความหวาดกลัว และการเบียดเบียน ศิษย์ของพระเยซูเจ้าจะมาชุมนุม กันวันหนึ่งในบ้านหลังหนึ่ง และอีกวันหนึ่งเขาจะพบกันในที่อื่น พวกเขา ยินดีต้อนรับกันและกัน ... เขาคิดว่าตนเองเป็นผู้ละทิ้งศาสนาและพวก พ้องของตน ... พวกเขาหวาดกลัว ... เขาปิดประตูขังตนเอง ... แต่ทุกวัน อาทิ ต ย์ พวกเขาจะมารื้ อ ฟื้ น เหตุ ก ารณ์ ใ นวั น อาทิ ต ย์ แ รกนั้ น และ บรรยากาศในห้องชั้นบน พระคริสตเจ้าเสด็จมาอยู่ท่ามกลางศิษย์ของ พระองค์อย่างเร้นลับไม่ว่าเขาจะอยู่ที่เอเฟซัส ในโครินธ์ ในกรุงเยรูซาเล็ม ในกรุงโรม ... ถูกแล้ว ทุกวันอาทิตย์คือปัสกา ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับ คืนชีพ พระองค์ประทับอยู่ในใจกลางชีวิตของเรา และพระองค์ทรงเป็น ผู้ประทานชีวิตแก่เรา เราเชื่อทั้งที่เราไม่เห็นพระองค์ พระเจ้าข้า ในวันนี้ เราเองก็อยากปิดประตูของเราเพราะความ กลัว ... เมื่อพระจิตทรงพัดมา ขอให้กำแพงคุกของเราทะลายลง และเสียง เพลงแห่งความยินดีดังขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเถิด ขอให้เราเปิดประตูต้อนรับ พระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพเถิด ก่อนจะรำพึงไตร่ตรองบทอ่านนี้ต่อไป ขอให้เราถามตนเองว่า พระคริสตเจ้าทรงต้องการปลดปล่อยเราให้พ้นจากสถานการณ์ใดที่ น่ากลัว และอันตราย เพื่อให้เราลุกขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง ... ให้เราลุกขึ้น จากบาปนี้ ปัญหาสุขภาพนี้ การบีบบังคับอันเจ็บปวด และสิ้นหวัง ปัญหา ในครอบครัว หรือในอาชีพของเรา ... “ห้องที่พวกเขากำลังชุมนุมกันนั้นปิดอยู่” พระองค์ตรัสกับเขาทั้งหลายว่า “สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลาย เถิด” ตรัสดังนี้แล้วพระองค์ทรงให้บรรดาศิษย์ดูพระหัตถ์ และด้าน ข้างพระวรกาย เมื่อเขาเหล่านั้นเห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าก็มีความยินดี พระองค์ตรัสกับเขาอีกว่า “สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด”
บทเทศน์ปี C
241
ความยินดีแห่งปัสกา อันเป็นความยินดีแท้ของคริสตชนนั้น ไม่ใช่ ความยินดีที่เกิดขึ้นเองอย่างง่ายๆ ไม่เหมือนกับความยินดีที่เรารู้สึกได้ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปอย่างราบรื่น เมื่อเราสุขภาพดี เมื่อเรารู้สึก เป็นหนุ่มเป็นสาว กระชุ่มกระชวย เมื่อโครงการของเราประสบความ สำเร็จ เมื่อเราเข้ากันได้ดีกับคนในครอบครัว และมิตรสหาย ... ความ ยินดีแห่งการกลับคืนชีพเป็นความยินดีที่เกิดขึ้น “ภายหลัง” หลังจาก ความกลัว นี่คือความยินดีที่เต็มไปด้วยสันติสุข ซึ่งเกิดขึ้นจากสถานการณ์ ที่สิ้นหวัง (ความตายของบุรุษคนหนึ่งที่ถูกตรึงกางเขน) จนกระทั่งไม่มี สิ่งใดสามารถทำลายความยินดีนั้นได้หลังจากนั้น นี่คือความยินดี และ สันติสุข อันเป็นผลมาจากความเชื่อในพระเยซูเจ้า... เช่นเดียวกับในวันนั้น ทุกครั้งที่เรามาชุมนุมกันใน วันอาทิตย์ พระเยซูเจ้าทรงอวยพรให้เรามีสันติสุขผ่านปากของพระสงฆ์ “สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลาย” ... สภาสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 นำธรรมประเพณีโบราณกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง คือ จูบแห่งสันติ คริสตชน ได้รับเชิญให้มอบสันติสุขให้แก่กันและกันในพระนามของพระคริสตเจ้า ด้วยการจับมือกัน กอดกัน กล่าวทักทายกัน ยิ้มให้กันพร้อมกับกล่าวว่า “สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่าน” หรือ “สันติสุขของพระคริสตเจ้า” นี่ ไ ม่ ใ ช่ กิ ริ ย าที่ ก ระทำกั น เป็ น กิ จ วั ต ร แต่ มี ค วามหมายว่ า เรา ต้องการ “เป็นพระคริสต์” สำหรับเพื่อนมนุษย์ของเรา... “ที่ใดที่สองหรือ สามคนมาชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั่นท่ามกลางเขา” ... พระบิดาส่งเรามาฉันใด เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น” ถูกแล้ว พระเยซูเจ้าทรงย้ำกับเราว่า ไม่ว่าข้าพเจ้าจะเป็นบุคคลที่ ยากไร้เพียงไร ข้าพเจ้าก็เป็น “พระเยซูเจ้าที่ถูกส่งไปหาพี่น้องชายหญิง ของข้าพเจ้า” เหมือนกับพระเยซูเจ้าทรงถูกพระบิดาส่งมา... ขอให้เราอย่าอ่านข้อความนี้แบบฉาบฉวย ขอให้เราอย่ารีบร้อน
242
บทเทศน์ปี C
ไปหา “โทมัสผู้ขี้ระแวง” แต่ขอให้เราไตร่ตรอง และภาวนาตามพระวาจา ของพระเยซูเจ้า ขอให้เราเล็งเห็นความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ ทรงมอบหมายแก่เรา นั่นคือพันธกิจที่พระเยซูเจ้าทรงมอบหมายให้แก่ พระศาสนจักร ดังนั้น จึงเท่ากับทรงมอบหมายพันธกิจนี้แก่ข้าพเจ้าด้วย แม้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพันธกิจก็ตาม ข้าพเจ้าถูกส่งมาโดยพระเยซูเจ้า ... เหมือนกับที่พระเยซูเจ้าถูก พระบิดาส่งมา ข้าพเจ้าต้องค้นหาความหมายของคำสองคำนี้ ซึ่งแปล ไม่ตรงตามความหมายภาษากรีก และละติน คำว่า mission (ซึ่งเรา แปลว่าพันธกิจ) หมายถึงการส่งไป (sending) และมาจากศัพท์ภาษา ละตินว่า missio ส่วนคำว่า apostle (ซึ่งเราแปลว่าอัครสาวก) หมายถึง ถูกส่งไป (sent) และมาจากศัพท์ภาษากรีกว่า apostolos… เมื่อข้าพเจ้าพบผู้ใดในสถานที่ทำงาน หรือในภาพแวดล้อมใด ข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ที่นั่นในนามของข้าพเจ้า เพื่อผลประโยชน์ของข้าพเจ้า เอง เพราะข้ า พเจ้ า ถู ก ส่ ง ไปที่ นั่ น โดยพระเยซู เ จ้ า เพื่ อ ให้ ท ำงานใน พระนามของพระองค์ และตามแผนการของพระองค์ เหมื อ นกั บ ที่ พระบิดาทรงส่งพระเยซูเจ้ามาฉันนั้น ข้าพเจ้ามีสารจากพระเยซูเจ้าที่ข้าพเจ้าต้องบอกแก่ท่าน พระองค์ เองเป็นผู้ประทานสารที่ข้าพเจ้ากำลังจะบอกท่านอยู่นี้ ... พระองค์ทรง มีชีวิต ข้าพเจ้าเป็นพระโอษฐ์ของพระองค์ ข้าพเจ้าเป็นพระกายของ พระองค์ที่อยู่ข้างกายท่าน เพื่อเผยให้ท่านเห็นความรักของพระบิดา... ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงเป่าลมเหนือเขาทั้งหลาย ตรัสว่า “จงรับ พระจิตเจ้าเถิด” พระพรแห่งพระจิตเจ้า ... การสร้างสรรค์ครั้งใหม่ ... พระจิตของ พระเยซูเจ้าที่ประทานแก่ศิษย์ของพระองค์ พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ และ “เสด็จขึ้นไปเฝ้าพระบิดา” และ
บทเทศน์ปี C
243
คริสตชนทั้งหลายต้องทำงานแทนพระองค์ พวกเขาต้องนำ “ลมที่ให้ ชีวิต” นี้ติดตัวไป นี่คือพระจิตของพระองค์ คริสตชนต้องสานต่อภารกิจ ของพระองค์ นักบุญเปาโลจะเขียนว่า “ท่านเป็นพระกายของพระคริสตเจ้า ... ท่านเป็นวิหารของพระจิตเจ้า” และพระเยซูเจ้าทรงแสดงให้ เราเห็ น ว่ า พระองค์ ท รงกระทำกิ ริ ย าเดี ย วกั บ พระเจ้ า พระผู้ ส ร้ า งใน หนังสือปฐมกาล 2:7 “เชิญเสด็จมา พระจิตเจ้า พระผู้สร้าง” ตามความคิดของยอห์น เปนเตกอสเตเกิดขึ้นเมื่อตอนค่ำของ วันปัสกา ซึ่งเป็นงานที่พระเยซูเจ้าทรงจำเป็นต้องกระทำหลังจากทรง ชนะความตายแล้ว งานนี้คือการประทานพระจิตเจ้า ผู้ทรงบันดาลให้ พระเยซูเจ้ากลับคืนชีพจากบรรดาผูต้ าย (รม 8:11) ในบทแสดงความเชือ่ ของเรา เรายืนยันเกี่ยวกับพระจิ ต เจ้ า ว่ า “พระองค์ ท รงเป็ น พระเจ้ า พระองค์ประทานชีวิต” พระจิตผู้ที่พระเยซูเจ้าประทานแก่มนุษย์ในค่ำ วันปัสกานั้น เป็นองค์เดียวกันที่ทรงปรากฏพระองค์ในทันทีทันใดต่อ หน้ า สาธารณชนในวั น เปนเตกอสเต เป็ น พระจิ ต องค์ เ ดี ย วกั น ที่ ท รง ปฏิบัติงานชิ้นสำคัญที่สุด เมื่อทรงช่วงชิงพระเยซูเจ้าจากอำนาจของ ความตาย และเปิดเผยว่าพระองค์ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า โดย อาศัยการกลับคืนชีพ “โดยทางพระจิตเจ้าผู้บันดาลความศักดิ์สิทธิ์ ทรง ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระบุตรผู้ทรงอำนาจของพระเจ้า โดยการกลับ คืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย” (รม 1:4) ท่านทั้งหลายอภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ได้รับการอภัย “การให้อภัย” และ “การไม่อภัย” ... “การผูก” และ “การ ปลดปล่อย” นี่คือรูปแบบไวยากรณ์ของภาษาอาราเมอิก คือเขียนคำ สองคำที่มีความหมายตรงกันข้ามไว้ใกล้กัน เพื่อเน้นคำที่มีความหมาย เชิงบวกให้หนักแน่นมากขึ้น ดังนั้น เมื่อพระเยซูเจ้าประทานพระจิต ของพระองค์ พระองค์ได้ประทานอำนาจในการ “ปลดปล่อยมนุษย์จาก
244
บทเทศน์ปี C
ความชั่วที่อยู่ในตัวเขา” ให้แก่ศิษย์ของพระองค์ด้วย นับแต่นั้นมา ศิษย์ ทั้งหลายจึงเป็นผู้นำ “ความเมตตาของพระเจ้า” คือพระเยซูเจ้าเอง ไป มอบให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย คริสตชนได้รับมอบหมายพันธกิจเดียวกันกับ พันธกิจที่พระเยซูเจ้าทรงประกาศไว้ตั้งแต่ทรงเริ่มต้นเทศนาสั่งสอน ในศาลาธรรมที่นาซาเร็ธ ว่า “พระจิตของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ... ประกาศการปลดปล่อยแก่ผถู้ กู จองจำ ... ประกาศปีแห่งความโปรดปราน จากพระเจ้า” (ลก 4:18, 19) ข้ า พเจ้ า เป็ น ผู้ น ำพระจิ ต เจ้ า ไปมอบให้ แ ก่ ผู้ อื่ น หรื อ เปล่ า พระจิตเจ้าผู้ประทานชีวิต และให้อิสรภาพ ... พระจิตเจ้าผู้ทรงรัก และ ให้อภัยในพระนามของพระเยซูเจ้า ... การให้อภัยเป็นพระหรรษทานแห่งปัสกา โทมัส คนหนึ่งในบรรดาอัครสาวกสิบสองคน ไม่ได้อยู่กับอัครสาวก คนอื่นๆ เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จมา ... เขาบอกว่า “ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้เห็น ... ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อเป็นอันขาด” โทมัส เป็นศิษย์ผู้มาทีหลัง เขามาถึงภายหลังงานเลี้ยงฉลองการ กลับมารวมตัวกันครั้งใหม่ โทมั ส ในพระวรสาร เป็ น คนที่ เ ชื่ อ ในสามั ญ สำนึ ก ของตนเอง เท่านั้น ... โทมัสเป็นผู้นิยมความจริงที่สงสัยพระวาจาของพระเยซูเจ้า “พระเจ้าข้า พวกเราไม่ทราบว่าพระองค์จะเสด็จไปที่ใด” (ยน 14:5) เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสถึงการกลับคืนชีพของลาซารัส โทมัส กลับคิดถึง ความตายของเขา (ยน 11:15-16) แปดวันต่อมา ... พระเยซูเจ้าเสด็จมาอีกครั้งหนึ่ง ... “จงเอานิ้วมาที่นี่ และดูมือของเราเถิด ... อย่าสงสัยอีกต่อไป”
บทเทศน์ปี C
245
พระเยซูเจ้าทรงปล่อยให้โทมัสคิดว่าเขาคิดถูกอยู่นานถึงหนึ่ง สัปดาห์ หลังจากนัน้ พระเยซูเจ้าทรงแสดงพระองค์แก่เขา ข้าพเจ้านึกภาพ ในใจว่าพระองค์เสด็จมาพร้อมกับรอยยิ้ม และตรัสกับโทมัสในทำนองว่า “เพื่อนผู้น่าสงสารเอ๋ย ท่านคิดว่าเราตายไปแล้ว และไม่อยู่ที่นี่ เมื่อท่าน แสดงความไม่เชื่อกับเพื่อนๆ ของท่าน ... แต่เราอยู่ที่นี่ตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เราฟังคำสนทนาของท่านอยู่ แม้ว่าท่านมองไม่เห็นเรา ... แต่เราไม่ ‘แสดง’ ตัวเราให้ท่านเห็นในเวลานั้น” พระเจ้าทรงอดทนอย่างยิ่ง ... พระองค์ทรงรอเวลาได้เสมอ... โทมัสทูลพระองค์ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และพระเจ้าของ ข้าพเจ้า” นี่คือเสียงร้องแสดงความเชื่อของชายคนหนึ่ง ซึ่งบัดนี้ไม่จำเป็น ต้อง “สัมผัส” บัดนี้ เขาเข้าใจแล้วว่า แม้พระเยซูเจ้าไม่แสดงพระองค์ให้ เขาเห็น แต่พระองค์ประทับอยู่ที่นั่น พระองค์ประทับอยู่แม้แต่ในเวลาที่ โทมัส แสดงว่าเขาไม่เชื่อ ท่านเชื่อเพราะได้เห็นเรา ผู้ที่เชื่อแม้ไม่ได้เห็น ก็เป็นสุข นี่คือบุญลาภอีกประการหนึ่ง – เป็นบุญลาภประการสุดท้าย... ความเป็นจริงอันสูงส่งที่สุดของพระเจ้า ไม่ใช่สิ่งที่มองเห็นได้ ด้วยตา... ความเชื่อเท่านั้นทำให้เรามองเห็นความจริงเหล่านี้ และนี่คือ ความสุขแท้...
246
บทเทศน์ปี C
ยอห์น 21:1-19
วั นอาทิตย์ที่สาม เทศกาลปัสกา
หลังจากนั้น พระเยซูเจ้าทรงสำแดงพระองค์แก่บรรดาศิษย์ อีกครั้งหนึ่งที่ฝั่งทะเลสาบทีเบเรียส เรื่องราวเป็นดังนี้ ศิษย์บางคน อยู่พร้อมกันที่นั่น คือ ซีโมน เปโตร กับโทมัส ที่เรียกกันว่า “ฝาแฝด” นาธานาเอล ซึ่งมาจากหมู่บ้านคานาในแคว้นกาลิลี บุตรทั้งสองคน ของเศเบดี และศิษย์อีกสองคน ซีโมน เปโตร บอกคนอื่นว่า “ข้าพเจ้า จะไปจับปลา” ศิษย์คนอื่นตอบว่า “พวกเราจะไปกับท่านด้วย” เขา ทั้งหลายออกไปลงเรือ แต่คืนนั้นทั้งคืนเขาจับปลาไม่ได้เลย พอรุ่งสาง พระเยซูเจ้าทรงยืนอยู่บนฝั่ง แต่บรรดาศิษย์ไม่รู้ว่า เป็ น พระเยซู เ จ้ า พระเยซู เ จ้ า ทรงร้ อ งถามว่ า “ลู ก เอ๋ ย มี อ ะไรกิ น บ้างไหม” เขาตอบว่า “ไม่มี” พระองค์จึงตรัสว่า “จงเหวี่ยงแหไปทาง กราบเรือด้านขวาซิ แล้วจะได้ปลา” บรรดาศิษย์จึงเหวี่ยงแหออกไป และดึงขึ้นไม่ไหว เพราะได้ปลาเป็นจำนวนมาก ศิษย์ที่พระเยซูเจ้า ทรงรักกล่าวกับเปโตรว่า “เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้านี่” เมื่อซีโมน เปโตร ได้ยนิ ว่า “เป็นองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า” เขาก็หยิบเสือ้ มาสวม เพราะเขาไม่ได้ สวมเสื้ออยู่ แล้วกระโดดลงไปในทะเล ศิษย์คนอื่นเข้าฝั่งมากับเรือ ลากแหที่ติดปลาเข้ามาด้วย เพราะอยู่ไม่ห่างจากฝั่งนัก ประมาณ หนึ่งร้อยเมตรเท่านั้น
บทเทศน์ปี C
247
เมื่อบรรดาศิษย์ขึ้นจากเรือมาบนฝั่ง ก็เห็นถ่านติดไฟลุกอยู่ มีปลา และขนมปังวางอยู่บนไฟ พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “จงเอา ปลาที่เพิ่งจับได้มาบ้างซิ” ซีโมน เปโตร จึงลงไปในเรือ แล้วลากแหขึ้น ฝั่ง มีปลาตัวใหญ่ติดอยู่เต็ม นับได้หนึ่งร้อยห้าสิบสามตัว แต่ทั้งๆ ที่ ติดปลามากเช่นนั้นแหก็ไม่ขาด พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “มากิน อาหารกันเถิด” ไม่มีศิษย์คนใดกล้าถามว่า “ท่านเป็นใคร” เพราะรู้ ว่าเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเยซูเจ้าทรงเข้ามาหยิบขนมปังแจกให้ เขา แล้วทรงแจกปลาให้เช่นเดียวกัน นี่เป็นครั้งที่สามแล้วที่พระเยซู เ จ้ า ทรงแสดงพระองค์ แ ก่ บ รรดาศิ ษ ย์ ห ลั ง จากที่ ท รงกลั บ คื น พระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย เมื่อบรรดาศิษย์กินเสร็จแล้ว พระเยซูเจ้าตรัสกับซีโมน เปโตร ว่า “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่านรักเรามากกว่าคนเหล่านี้รักเราไหม” เปโตรทูลตอบว่า “ใช่แล้ว พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพเจ้า รักพระองค์” พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “จงเลี้ยงลูกแกะของเราเถิด” พระองค์ตรัสถามเขาอีกเป็นครั้งที่สองว่า “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่าน รักเราไหม” เขาทูลตอบว่า “ใช่แล้ว พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบว่า ข้าพเจ้ารักพระองค์” พระองค์ตรัสกับเขาว่า “จงดูแลลูกแกะของเรา เถิด” พระองค์ตรัสถามเป็นครั้งที่สามว่า “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่าน รักเราไหม” เปโตรรู้สึกเป็นทุกข์ที่พระองค์ตรัสถามตนถึงสามครั้งว่า “ท่านรักเราไหม” เขาทูลตอบว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบทุกสิง่ พระองค์ทรงทราบว่าข้าพเจ้ารักพระองค์” พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “จงเลี้ยงดูแกะของเราเถิด” “เราบอกความจริงกับท่านว่า เมื่อท่านยังหนุ่ม ท่านจะคาด สะเอวด้ ว ยตนเอง และเดิ น ไปไหนตามใจชอบ แต่ เ มื่ อ ท่ า นชรา ท่านจะยื่นมือ แล้วคนอื่นจะคาดสะเอวให้ท่าน พาท่านไปในที่ที่ท่าน ไม่อยากไป”
248
บทเทศน์ปี C
พระเยซูเจ้าตรัสเช่นนี้เพื่อแสดงว่าเปโตรจะถวายพระเกียรติ แด่พระเจ้าโดยตายอย่างไร เมือ่ ตรัสดังนีแ้ ล้ว ทรงเสริมว่า “จงตามเรา มาเถิด”
บทเทศน์ปี C
249
บทรำพึงที่ 1
เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า ฉากเหตุการณ์เปลี่ยนจากห้องที่ปิดและอับในกรุงเยรูซาเล็ม ไป เป็นพื้นที่โล่งข้างทะเลสาบกาลิลี ศิษย์เจ็ดคน (เจ็ดเป็นจำนวนเต็ม) ได้ กลับไปประกอบอาชีพเดิม ราวกับว่าพวกเขายังไม่เข้าใจพันธกิจใหม่ ของตน และพระจิตเจ้าผู้ที่เขาได้รับมา เมื่อพวกเขาทำงานด้วยกำลังของ ตนเอง เขาจับปลาไม่ได้เลย ผู้นิพนธ์พระวรสารบอกว่า “พอรุ่งสาง” เพื่อบอกเราว่านี่คือ วั น ใหม่ ส ำหรั บ มนุ ษ ยชาติ ที่ ไ ด้ รั บ การสร้ า งขึ้ น ใหม่ แต่ ต าของศิ ษ ย์ ทั้งหลายมองเห็นแต่ความมืดยามกลางคืน จนจำไม่ได้ว่าผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่ง นั้นคือพระเยซูเจ้า เมื่อพวกเขาปฏิบัติตามคำแนะนำของพระองค์ว่าควรเหวี่ยงแห ไปทางใด งานของเขาประสบผลสำเร็จ เขาจับปลาได้ถึง 153 ตัว ผู้อธิบาย พระคัมภีร์ใช้จินตนาการตีความหมายของจำนวนนี้ บางคนตีความว่า หมายถึงจำนวนพันธุ์ปลาที่แยกประเภทได้ในยุคนั้น ซึ่งหมายความว่า พระศาสนจั ก รต้ อ งปฏิ บั ติ พั น ธกิ จ ต่ อ ทุ ก ชนชาติ แหไม่ ข าด เป็ น เครื่องหมายของเอกภาพของชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเชือ้ ชาติ และต้องใช้หลายคนลากแหทีม่ ปี ลาจำนวนมากเช่นนัน้ ขึน้ ฝัง่ ผู้ที่จำพระเยซูเจ้าได้คือศิษย์ที่พระองค์ทรงรัก “เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้านี่” ยอห์นชอบแสดงให้เห็นว่าความรักของพระเจ้าต้องยกเราขึ้น ก่อนที่เราจะสามารถเชื่อได้ ศู น ย์ ก ลางของเรื่ อ งเปลี่ ย นเป็ น อาหารที่ บ รรดาศิ ษ ย์ ร่ ว มรั บ ประทานกับองค์พระผู้เป็นเจ้าบนฝั่งทะเลสาบ พระเยซูเจ้าทรงขอปลา
250
บทเทศน์ปี C
บางส่วนที่เขาจับมาได้ ทั้งที่พระองค์ทรงมีทั้งปลาและขนมปังวางย่างไฟ อยู่แล้ว หมายความว่าพันธกิจของพระศาสนจักรจะเป็นงานที่ผสมผสาน กันระหว่างพระหรรษทานของพระเจ้า และความพยายามของมนุษย์ พระเยซูเจ้าทรงหยิบขนมปังแจกให้เขา กิริยานี้เป็นภาพสะท้อน อั น ชั ด เจนของการถวาย และการกิ น อาหารในพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ผู้นิพนธ์พระวรสารเขียนเป็นภาษากรีก และขณะนั้นเขารู้ว่าปลาได้กลาย เป็นรหัสลับในกลุ่มคริสตชนที่กำลังถูกเบียดเบียน เพราะคำว่าปลาใน ภาษากรีกคือ ICHTHUS คำนี้สะกดด้วยอักษรตัวแรกของข้อความว่า พระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า พระผู้ไถ่ (Jesus Christ, Son of God, the Savior) เปโตรเป็นตัวละครเอกในเรื่องนี้ สอดคล้องกับตำแหน่งพิเศษ ของเขาในพันธกิจของคริสตศาสนา เขาออกเรือไปในฐานะกัปตัน และ เป็นผู้ที่ลากแหเข้าฝั่งในที่สุด แต่กองถ่านติดไฟบนฝั่งทะเลสาบนั้นเชื่อมโยงเรื่องนี้เข้ากับการ ปฏิเสธพระเยซูเจ้าของเปโตร เพราะเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อเขาเข้าไป ยืนผิงกองไฟเพื่อคลายหนาว เปโตรปฏิเสธสามครั้งว่าเขาไม่รู้จักพระเยซูเจ้า บัดนี้ ในชีวิตใหม่หลังปัสกา การปฏิเสธของเปโตรได้รับการ บำบัดด้วยการให้เขาย้ำถึงสามครั้งว่าเขารักพระเยซูเจ้ามากกว่าผู้อื่นรัก พระองค์ และพระองค์มอบหมายความรับผิดชอบในฐานะผู้เลี้ยงแกะให้ เขาถึงสามครั้ง พระเยซูเจ้าทรงทำนายอนาคตของเปโตร ชายอารมณ์ร้อนที่ครั้ง หนึ่งเคยชักดาบออกมาฟันคนได้นี้ จะกลายเป็นศิษย์ติดตามพระองค์ อย่างสมบูรณ์แบบ เขาจะสละทุกสิ่งในพระนามของพระเจ้า เขาจะยอม ให้ผู้อื่นจูงเขาไปโดยไม่ขัดขืน และไม่มีความรู้สึกว่าต้องโต้ตอบ เขาจะ แสดงคุณสมบัติของศิษย์อย่างสมบูรณ์ เมื่อเขาพร้อมจะพลีชีพเพื่อถวาย พระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้า เปโตรจะนำทางพระศาสนจักร มิใช่ตามใจ
บทเทศน์ปี C
251
ของเขา แต่โดยติดตามพระเยซูเจ้า ... แม้ต้องเสียชีวิตก็ตาม ดังที่นักบุญ เปาโล บอกว่า “ถ้าเราตายพร้อมกับพระองค์ เราจะมีชีวิตอยู่กับพระองค์” (2 ทธ 2:11) เรื่องราวทั้งหมดนี้สมควรเป็นหัวข้อสำหรับไตร่ตรองว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงกลับคืนชีพ ประทับอยู่ในพันธกิจของพระศาสนจักร ในการบิปังในพิธีบูชาขอบพระคุณ และในตำแหน่งผู้นำของผู้อภิบาล ที่ พระองค์ทรงมอบหมายให้แก่เปโตร ถ้อยคำของศิษย์ที่พระเยซูเจ้าทรงรักเป็นถ้อยคำที่เราใช้ภาวนา ด้วยความเชื่อได้ว่า “เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า” เมื่อใดที่ท่านถดถอยกลับไปสู่วิถีชีวิตเดิม ... เมื่อใดที่ท่านทำงาน อย่างเหน็ดเหนื่อยท่ามกลางความมืดยามค่ำ ... และพบว่าแหของท่าน ว่างเปล่า ... เมื่อนั้น จงเพ่งสายตาฝ่าสายหมอกด้วยความกล้าหาญอันเกิด จากความรู้ว่าพระเจ้าทรงรักท่าน มีใครคนหนึ่งกำลังยืนรอท่านอยู่บนฝั่ง นั่นคือองค์พระผู้เป็นเจ้า
252
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 2
เปโตร ระลึกถึงเหตุการณ์ กองถ่ า นติ ด ไฟบนฝั่ ง ทะเลสาบนั้ น ทำให้ ข้ า พเจ้ า หยุ ด ชะงั ก เมื่อยอห์นบอกว่า “เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้านี่” เรี่ยวแรงที่หายไปก็ไหล กลับเข้ามาในเส้นเลือดในตัวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคว้าเสื้อคลุม กระโดดข้าม กราบเรือและเดินลุยน้ำไปยังฝั่ง แล้วข้าพเจ้าก็เห็นกองไฟนั้น พระองค์ทรงกำลังง่วนอยู่กับการย่างอาหาร และดูเหมือนไม่ทรง สังเกตเห็นความลังเลใจของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงหันกลับไปช่วยพวก หนุ่มๆ ลากแหขึ้นมาบนฝั่ง เราจับปลาได้ 153 ตัว ข้าพเจ้าจำได้ว่านับ จำนวนปลา จากนั้น ข้าพเจ้าก็หมดข้ออ้างที่จะหาอะไรทำ ข้าพเจ้าเกลียด กองไฟนั้น ครั้งนี้ ข้าพเจ้ายอมให้ผู้อื่นเป็นฝ่ายพูด ข้าพเจ้าหลบอยู่เบื้องหลัง และคอยหลบสายพระเนตรของพระองค์ แต่ก็ทำเช่นนั้นไม่ได้ตลอดไป ข้าพเจ้าได้ยินพระองค์ตรัสว่า “ซีโมน” เป็นสัญญาณไม่ดีเลยเมื่อพระองค์ กลับไปเรียกข้าพเจ้าว่าซีโมน เหมือนกับเมื่อคืนที่ซาตานกระทำอย่างที่ มันปรารถนา มันฝัดเราทุกคนเหมือนฝัดข้าวสาลี ข้าพเจ้าเองถูกฝัด อย่างสาหัส กองไฟนั้นจะติดตามหลอกหลอนข้าพเจ้าเสมอ ถ้าข้าพเจ้าไม่เข้าไปใกล้กองไฟนั้นเพื่อผิงไฟคลายหนาว... แต่นั่น เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าไม่มีทางรู้ล่วงหน้า “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่านรักเรา มากกว่าคนเหล่านี้รักเราไหม” ... รักหรือ ... ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเคยเดินบน ผิวน้ำเพียงเพราะอยากอยู่ใกล้พระองค์ แต่บัดนี้ ข้าพเจ้าไม่มั่นใจใน ตนเองเลย รักมากกว่าคนอื่นๆ รักพระองค์หรือ ข้าพเจ้าตอบเลี่ยงๆ ว่า “ใช่แล้ว พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพเจ้ารักพระองค์” พระองค์
บทเทศน์ปี C
253
ตรัสว่า “จงเลี้ยงลูกแกะของเราเถิด” เหมือนกับเช้าวันนั้น หลังจากที่เรา จับปลาได้จำนวนมาก พระองค์ก็ตรัสว่าข้าพเจ้าจะเป็นชาวประมงหา มนุษย์ เพียงแต่ครั้งนี้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า ความหุนหัน พลั น แล่ น ของข้ า พเจ้ า หายไปหมด ข้ า พเจ้ า มองเห็ น ภาพอดี ต ซึ่ ง นำ ข้าพเจ้ามาอยู่ในเวลาปัจจุบันนั้น และภาพในอนาคตก็กำลังเริ่มปรากฏ ให้เห็น และภาพนั้นบาดใจข้าพเจ้า พระองค์ ท รงเค้ น มั น ออกมาจากตั ว ข้ า พเจ้ า ถึ ง สามครั้ ง อย่ า ง เจ็บปวด ข้าพเจ้าไม่เคยรู้ว่าความเสียใจสามารถฝังตัวได้ลึกถึงเพียงนี้ เมื่อวันก่อนนั้นขณะที่เราอยู่บนฝั่งทะเลสาบ ข้าพเจ้าเหมือนอยู่ท่ามกลาง พายุหมุน เหมือนกับว่ากำลังจะตาย เช้าวันนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกเจ็บปวดใจจน ข้าพเจ้ารู้ว่านี่คือความเจ็บปวดของความตาย ไม่มีทางเข้าใจเป็นอื่น ได้เลย ซีโมนกำลังจะตาย ข้าพเจ้ารู้สึกว่าอำนาจควบคุมชีวิตของตนเอง กำลังหลุดลอยไป พระองค์ทรงเข้าควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง “พระเจ้ า ข้ า พระองค์ ท รงทราบทุ ก สิ่ ง พระองค์ ท รงทราบว่ า ข้าพเจ้ารักพระองค์” ข้าพเจ้าไม่มีอะไรเหลืออยู่เป็นของตนเองอีกต่อไป ... ไม่เหลือแม้แต่บาป ความรู้สึกหนักอึ้งในใจสูญหายไปหมด ... โดยรู้ตัว และเต็มใจ ข้าพเจ้ายอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ตรัสด้วยพระเนตร ของพระองค์ ... การให้อภัย ... ชีวิตใหม่ ... ความรับผิดชอบใหม่ ... “จงเลี้ยงดูแกะของเราเถิด” กระดูกที่ตายไปแล้วของข้าพเจ้ากลับมา เชื่อมต่อกันใหม่ภายใต้เนื้อหนังใหม่ เปโตรเกิดขึ้นมาแล้ว ข้าพเจ้าจำได้ว่า ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงภาวนาเพื่อข้าพเจ้า เพื่อให้ ข้าพเจ้าเป็นศิลาค้ำจุนคนอื่นทุกคน หน้าที่นี้ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าภาคภูมิใจ พระองค์เพียงแต่ทรงต้องการมีชีวิตในตัวข้าพเจ้า และค้ำจุนผู้อื่นผ่าน ตัวข้าพเจ้า เพราะเหตุน้ี พระองค์จงึ ทรงเปลีย่ นข้าพเจ้า และชือ่ ของข้าพเจ้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพเจ้าต้องปล่อยวางจากทุกสิ่งทุกอย่าง พระองค์ ทรงบอกว่ามันจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป และว่าข้าพเจ้าจะยื่นมือ แล้วผู้อื่น
254
บทเทศน์ปี C
จะจูงข้าพเจ้าไป ... การเลี้ยงแกะก็คือการนำทาง ก่อนข้าพเจ้าจะนำทาง ผู้อื่นได้ ข้าพเจ้าต้องยอมเป็นผู้ตาม มันต่างจากการจับปลามาก การจับ ปลาต้องใช้แรงกายและความทรหด การดึงลากแหอวนเหมาะสมกับ นิสัยบุ่มบ่ามชอบใช้กำลังของข้าพเจ้าในอดีต แต่ข้าพเจ้าไม่กลัว พระเยซูเจ้าทรงมีชีวิตอยู่ และข้าพเจ้ารู้ว่าข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ตามลำพัง
บทเทศน์ปี C
255
บทรำพึงที่ 3 พระเยซู เ จ้ า ทรงแสดงพระองค์ แ ก่ บ รรดาศิ ษ ย์ อี ก ครั้ ง หนึ่ ง ที่ ฝั่ ง ทะเลสาบทีเบเรียส เรื่องราวเป็นดังนี้ ศิษย์บางคนอยู่พร้อมกันที่นั่น คือ ซีโมน เปโตร โทมัส ที่เรียกกันว่าฝาแฝด นาธานาเอล จากหมู่บ้าน คานาในแคว้นกาลิลี บุตรทั้งสองคนของเศเบดี และศิษย์อีกสองคน ซีโมน เปโตร บอกคนอื่นว่า “ข้าพเจ้าจะไปจับปลา” ศิษย์คนอื่นตอบว่า “พวกเราจะไปกับท่านด้วย” เราต้องยืนยันถึงการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้าขณะที่เราดำเนิน ชีวิตตามปกติ พยานกลุ่มแรกไม่ใช่มนุษย์พิเศษ พวกเขากลับไปประกอบ อาชีพเดิมอีกครั้งหนึ่ง เขาไปจับปลาในทะเลสาบที่เขาคุ้นเคย ... ศิษย์ทั้ง เจ็ดคนที่เคยรู้จักพระเยซูเจ้า ... แต่พระองค์ไม่อยู่กับเขาอีกต่อไปแล้ว เราสังเกตว่าเปโตรเป็นผู้ริเริ่ม และนี่คือสัญลักษณ์สำคัญ เขาทั้งหลายออกไปลงเรือ แต่คืนนั้นทั้งคืนเขาจับปลาไม่ได้เลย การจับปลาในเวลากลางคืนเป็นเรื่องปกติ ... ในพระวรสารของ ยอห์น การบอกรายละเอียดทางประวัติศาสตร์ที่ตรงกับความเป็นจริง เช่นนี้ทำให้เราเห็นเจตจำนงพิเศษ ท่ามกลางความมืดในเวลากลางคืน พวกเขาเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ... เขาจับปลาไม่ได้เลย ... เหตุการณ์ เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งเช่นกันใน “เวลาอันมืดมน” ของครอบครัวเรา ใน อาชีพของเรา หรือในชีวิตทางสังคม หรือชีวิตพระศาสนจักร อะไรคือกลางคืนสำหรับข้าพเจ้า
256
บทเทศน์ปี C
พอรุ่งสาง พระเยซูเจ้าทรงยืนอยู่บนฝั่ง แต่บรรดาศิษย์ไม่รู้ว่าเป็น พระเยซูเจ้า ชายทั้งเจ็ดคนอยู่กลาง “ทะเลที่ไม่ราบเรียบ” รอบกายมีแต่ความ มืด ชาวเซมิติกเชื่อว่า “ทะเล” เป็นสถานที่ที่น่ากลัว เต็มไปด้วยพลังที่ เป็นปฏิปักษ์ และเร้นลับ แต่พระเยซูเจ้าทรงอยู่บน “พื้นอันมั่นคง” ท่ามกลางแสงอรุณ ของวันใหม่ พระวรสารต้องการให้เห็นความแตกต่าง ต้องการให้เห็นว่า นับแต่นั้นเป็นต้นไป พระเยซูเจ้าจะอยู่ “อีกฟากหนึ่ง” พระองค์ทรงข้าม ไปรอเราอยู่ที่อีกฟากหนึ่ง ทรงข้ามไปที่นั่นเพื่อเรา พระองค์ประทับอยู่ที่นั่น ... แต่พวกเขาจำพระองค์ไม่ได้ – พระองค์ทรงอยู่บนฝั่งแห่งนิรันดรกาล วันนี้ เราก็ไม่ต่างจากศิษย์เหล่านี้ ... พระเยซูเจ้าทรงร้องถามว่า “ลูกเอ๋ย มีอะไรกินบ้างไหม” เขาตอบว่า “ไม่มี” พระองค์จึงตรัสว่า “จงเหวี่ยงแหไปทางกราบเรือด้านขวาซิ แล้วจะได้ปลา” บรรดาศิษย์จึงเหวี่ยงแหออกไป และดึงขึ้นไม่ไหว เพราะได้ปลาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพวกเขาผิดหวังจากการจับปลา ในคืนนั้น และกำลังวุ่นวายใจ พระองค์ทรงเป็นฝ่ายเข้ามาช่วยเหลือโดย ที่เขาไม่ได้ร้องขอ ในขณะที่พวกเขาคิดอะไรไม่ออก พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะได้ยินอะไร ถ้าข้าพเจ้าตั้งใจฟังเสียงของ พระองค์ที่ดังมาจาก “อีกฟากหนึ่ง” ศิษย์ทพ่ี ระเยซูเจ้าทรงรักกล่าวกับเปโตรว่า “เป็นองค์พระผูเ้ ป็นเจ้านี”่ เมื่อซีโมน เปโตร ได้ยินว่า “เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า” เขาก็หยิบเสื้อ มาสวม เพราะเขาไม่ได้สวมเสื้ออยู่ แล้วกระโดดลงไปในทะเล
บทเทศน์ปี C
257
เปโตรกระโดดลงน้ำ แล้วว่ายไปอย่างรวดเร็ว เรามองเห็นภาพ ของเปโตรผู้ใจร้อนได้ชัดเจนจากคำบอกเล่านี้ แต่ในเหตุการณ์ที่พระคูหาในกรุงเยรูซาเล็ม ยอห์นวิ่งแซงหน้าเปโตร เพราะเขารัก และเดา สถานการณ์ได้ด้วยสัญชาตญาณ การจำใครบางคนได้จำเป็นต้องมีความ รัก... ความรักเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับความเชื่อด้วยเช่นกัน พระเยซูเจ้าไม่ทรงแสดงให้ศัตรู หรือผู้ต่อต้านพระองค์เห็นว่าพระองค์ยังมี ชีวิตอยู่ พระองค์ไม่ทรงต้องการแตกหัก หรือบีบคั้นใคร ... พระองค์ ไม่ปรารถนาจะแสดงอำนาจเหนือผู้อื่น ไม่ทรงต้องการเอาชนะหรือ จับกุมผู้ใด ... แต่ถ้าท่านแสวงหาพระพักตร์ของพระองค์ด้วยความรัก ร้อนแรง พระองค์จะแสดงพระองค์แก่ท่าน และมาพบท่าน ในหัวใจของ ท่านด้วยความรักอันอ่อนโยน จงแสวงหาพระพักตร์ และการประทับอยู่ของพระองค์เถิด ... ศิษย์คนอื่นเข้าฝั่งมากับเรือ ลากแหที่ติดปลาเข้ามาด้วย เพราะอยู่ ไม่ห่างจากฝั่งนัก ประมาณหนึ่งร้อยเมตรเท่านั้น ข้อความนี้เสนอรายละเอียด ราวกับเป็นลายเซ็นรับรองความจริง ของประจักษ์พยานคนหนึ่ง เมื่อบรรดาศิษย์ขึ้นจากเรือมาบนฝั่งก็เห็นถ่านติดไฟลุกอยู่ มีปลาและ ขนมปังวางอยู่บนไฟ พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “จงเอาปลาที่เพิ่งจับ ได้มาบ้างซิ” นี่ เ ป็ น รายละเอี ย ดที่ น่ า แปลกใจ ดั ง นั้ น จึ ง มี ค วามหมายเชิ ง สัญลักษณ์ พระเยซูเจ้าทรงเตรียมอาหารไว้ให้พวกเขาด้วยพระองค์เอง ... อาหารมื้อนี้ไม่ใช่อาหารที่พวกเขาคาดหมายว่าจะได้รับประทาน
258
บทเทศน์ปี C
คือ อาหารที่หามาด้วยน้ำพักน้ำแรงของพวกเขา แต่เป็นอาหารที่เตรียม ไว้เรียบร้อยแล้ว พวกเขาเพียงแต่เป็นแขกรับเชิญให้ร่วมรับประทาน และให้ เ พิ่ ม เติ ม อาหารมื้ อ นี้ ด้ ว ยผลที่ ไ ด้ จ ากการจั บ ปลาของเขา ซึ่ ง อันที่จริง พระเยซูเจ้าก็เป็นผู้ประทานปลาเหล่านี้ให้เขา ในที่สุดแล้ว พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยงอาหารมื้อนี้ เรารู้ ว่ า มื้ อ อาหารมี ค วามสำคั ญ อย่ า งไรในการแสดงพระองค์ ในเทศกาลปั ส กา เมื่ อ วั น พฤหั ส บดี ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ พระเยซู เ จ้ า ทรงเลี้ ย ง อาหารมิตรสหายของพระองค์ในทำนองเดียวกันนี้ ... และแม้แต่ในวันนี้ พิธีบิปัง และแบ่งปันปังนี้ สำหรับคริสตชนถือว่าเป็นเครื่องหมายพิเศษ ที่แสดงว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพประทับอยู่กับเรา ... ถูกแล้ว พระเยซูเจ้าประทับอยู่ “บนอีกฟากหนึ่ง” อย่างแท้จริง พระองค์ทรง กำลังรอเราอยู่ที่นั่น เพื่อจะแบ่งปันชีวิตใหม่กับเรา งานเลี้ยงแห่งศีล มหาสนิทเป็นสัญลักษณ์ของความสนิทสัมพันธ์ ซีโมน เปโตร จึงลงไปในเรือ แล้วลากแหขึ้นฝั่ง มีปลาใหญ่ติดอยู่เต็ม นับได้หนึ่งร้อยห้าสิบสามตัว แต่ทั้งๆ ที่ติดปลามากเช่นนั้น แหก็ ไม่ขาด หลังจากการใช้สัญชาตญาณรักของยอห์น ผู้เพ่งพิศภาวนา ... บัดนี้ เป็นหน้าที่ของเปโตร ผู้ลงมือปฏิบัติ ... สองบทบาทนี้จะขาดเสีย ไม่ได้ในการก่อสร้างพระศาสนจักร ซึ่งเป็น “แห” ที่ไม่ “ขาด”… ในพระวรสารฉบับนี้ เราพบข้อความเกี่ยวกับ “เสื้อยาวของพระเยซูเจ้าซึ่งปราศจากตะเข็บ และไม่ควรฉีกออกจากกัน” (ยน 19:23-24) เป็นนัยสำคัญว่าพระศาสนจักรจะต้องปราศจากความแตกแยกใดๆ ... พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “มากินอาหารกันเถิด” ไม่มีศิษย์คนใด กล้าถามว่า “ท่านเป็นใคร” เพราะรู้ว่าเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า
บทเทศน์ปี C
259
ข้อความเรียบง่ายนี้พาเราเข้าสู่ธรรมล้ำลึก ... การกลับ คืนชีพได้นำพระเยซูเจ้า – เยซูชาวนาซาเร็ธ ผู้เป็นเพื่อนของพวกเขา เมื่อวันวาน – เข้าสู่สถานภาพชีวิตที่แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ... พระองค์ยังเหมือนเดิม แต่แตกต่างจากเดิม... พระเยซูเจ้าทรงเป็น “พระเจ้าจากพระเจ้า และองค์ความสว่าง จากองค์ความสว่าง” พระเยซูเจ้าทรงเข้ามาหยิบขนมปังแจกให้เขา แล้วทรงแจกปลาให้ เช่นเดียวกัน นี่เป็นครั้งที่สามแล้วที่พระเยซูเจ้าทรงแสดงพระองค์แก่ บรรดาศิษย์หลังจากที่ทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย อาหารมื้อนี้เป็นทั้งอาหารจริงๆ และเป็นอาหารทิพย์ในเวลา เดียวกัน... เราจงระลึกถึงคำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องปังแห่งชีวิต ซึ่งยาว เต็มบทที่ 6 ของพระวรสารของนักบุญยอห์น หลังจากทรงทวี “ขนมปัง บาร์เลย์ห้าก้อนและปลาสองตัว” ที่ได้จากย่ามของเด็กคนหนึ่งบนชายฝั่ง ทะเลสาบทีเบเรียส แห่งเดียวกันนี้ แต่บัดนี้ พระเยซูเจ้าประทับอยู่ “บนอีกฟากหนึ่ง” ในอีกดินแดน หนึ่ง และพระองค์ประทาน “ขนมปังที่ลงมาจากสวรรค์” ... “ขนมปัง ของพระเจ้าคือขนมปังซึ่งลงมาจากสวรรค์ และประทานชีวิตให้แก่โลก” (ยน 6:33) ... “เราเป็นปังทรงชีวิต ... เนื้อของเราเป็นอาหารแท้ ... ผู้ที่ กินปังนี้จะมีชีวิตอยู่ตลอดไป” (ยน 6:51, 55, 58) เราควรระลึ ก ด้ ว ยว่ า ในยุ ค ที่ ย อห์ น บั น ทึ ก คำบอกเล่ า เหล่ า นี้ คริสตชนใช้ปลาเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระเยซูเจ้า เพราะคำภาษากรีก ว่า ichthus ที่แปลว่าปลา เป็นอักษรย่อของคำห้าคำซึ่งนิยามตัวตนของ พระเยซูเจ้า Iesous Christs Theou Uios Soter Jesus Christ of God the Son Saviour
260
บทเทศน์ปี C
เมื่อบรรดาศิษย์กินเสร็จแล้ว พระเยซูเจ้าตรัสกับซีโมน เปโตร ว่า “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่านรักเรามากกว่าคนเหล่านี้รักเราไหม” เปโตรทูลตอบว่า “ใช่แล้ว พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพเจ้า รักพระองค์” พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “จงเลีย้ งลูกแกะของเราเถิด” คำสนทนานี้ก้องกังวานไปทั่วชายหาดถึงสามครั้ง พระเยซูเจ้าทรง เปลี่ยนชาวประมงคนนี้ให้กลายเป็นผู้เลี้ยงแกะ พระเยซูเจ้าทรงถ่ายโอน อำนาจของพระองค์ในฐานะศีรษะ (ผู้นำ) ของพระศาสนจักรให้แก่เปโตร ... เราไม่ ค วรลื ม ว่ า ผู้ เ ลี้ ย งแกะหนึ่ ง เดี ย วคื อ พระเยซู เ จ้ า “เราเป็ น ผู้เลี้ยงแกะที่ดี ... เรายอมสละชีวิตเพื่อแกะของเรา” (ยน 10:1-19) บัดนี้ เมื่อพระเยซูเจ้าไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว บัดนี้ พระองค์ไม่ได้ประทับอยู่ “เหมื อ นกั บ มนุ ษ ย์ ที่ มี เ ลื อ ดเนื้ อ ” บนโลกนี้ อี ก ต่ อ ไป พระองค์ ท รง มอบหมายให้เปโตรรับผิดชอบในการสานต่อพันธกิจของพระองค์ใน โลกนี้ และในประวัติศาสตร์ ... แต่ลูกแกะก็ยังคงเป็นลูกแกะของพระเยซูเจ้า “จงเลี้ยงลูกแกะของเราเถิด”... พระองค์ตรัสถามเป็นครั้งที่สอง และที่สามว่า “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่านรักเราไหม” เปโตรรู้สึกเป็นทุกข์ที่พระองค์ตรัสถามตนถึงสาม ครั้งว่า “ท่านรักเราไหม” เขาทูลตอบว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ทรง ทราบทุกสิ่ง พระองค์ทรงทราบว่าข้าพเจ้ารักพระองค์” พระเยซูเจ้า ตรัสกับเขาว่า “จงเลี้ยงดูแกะของเราเถิด” ความทุกข์ของเปโตร เมื่อได้ยินคำถามเป็นครั้งที่สาม เน้นว่านี่ เป็นการเตือนให้คิดถึงการปฏิเสธพระองค์สามครั้ง ความรักของพระเยซู เ จ้ า สู ง ส่ ง และละเอี ย ดอ่ อ น พระองค์ ไ ม่ ต รั ส ถึ ง บาปของเปโตร เพียงแต่ทรงขอให้เขาประกาศความรักของเขาถึงสามครั้ง ... “ท่านรัก เราไหม”
บทเทศน์ปี C
261
พระเยซูเจ้าทรงกำลังถามคำถามนี้กับข้าพเจ้าในวันนี้ ข้าพเจ้า ได้ยินคำถามของพระองค์ท่ามกลางความเงียบว่า “ท่านรักเราไหม” ข้าพเจ้าตอบพระองค์อย่างไร ... ข้าพเจ้าไม่สามารถตอบพระองค์โดยใช้ คำตอบของผู้อื่นได้ เพราะพระองค์ทรงถามข้าพเจ้า... ถูกแล้ว คนที่เคยทำบาปหนักที่สุด ชายผู้นี้เคยปฏิเสธว่าไม่รู้จัก พระเยซู เ จ้ า ในวั น ที่ พ ระองค์ ถู ก พิ พ ากษา และรั บ พระทรมาน บั ด นี้ พระองค์ทรงรับเขากลับเข้าสู่ความสัมพันธ์รักอันสนิทสนม ความรักจะ เป็นกติกาในการทำงานของพระองค์ การใช้อำนาจปกครองในพระศาสนจักร การอภิบาลในพระศาสนจักร ต้องเป็นการรับใช้ด้วยความรัก เราต้องรัก และรับใช้พระเยซูเจ้า... นี่ คื อ หนึ่ ง ในเหตุ ผ ลอั น เป็ น ธรรมล้ ำ ลึ ก ของการถื อ โสดของ นักบวช... “เราบอกความจริ ง กั บ ท่ า นว่ า เมื่ อ ท่ า นยั ง หนุ่ ม ท่ า นคาดสะเอว ด้วยตนเอง และเดินไปไหนตามใจชอบ แต่เมื่อท่านชรา ท่านจะยื่นมือ แล้วคนอื่นจะคาดสะเอวให้ท่าน พาท่านไปในที่ที่ท่านไม่อยากไป” พระเยซูเจ้าตรัสเช่นนี้เพื่อแสดงว่า เปโตรจะถวายพระเกียรติแด่ พระเจ้าโดยตายอย่างไร เมื่อตรัสดังนี้แล้ว ทรงเสริมว่า “จงตามเรา มาเถิด” พี่น้องทั้งหลาย ขอให้เรารำพึงตามอุปมาสั้นๆ ของพระเยซูเจ้า นี้เถิด อุปมาเปรียบเทียบวัยหนุ่มว่าเป็นเครื่องหมายของอิสรภาพและ กิจกรรม (“เดินไปไหนตามใจชอบ”) และเปรียบวัยชราว่าเป็นเครื่องหมายของข้อจำกัดและความนิ่งเฉย (“คนอื่นจะคาดสะเอวให้ท่าน” ความอ่อนแอของวัยชรา ซึ่งทำให้ไม่สามารถแต่งกายด้วยตนเองได้) ... เมื่อเรายอมรับสภาพที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นเช่นนี้ได้ นี่คือการปฏิบัติตาม และ เลียนแบบ
262
บทเทศน์ปี C
พระเยซูเจ้าผู้ทรงถูกตรึงกางเขน ... เป็นกิจกรรมสูงส่งที่สุดของมนุษย์ ผู้มอบตนเองไว้ในพระหัตถ์ของพระเจ้า นี่คือการแสดงท่าทีแห่งความรัก ... แทนที่จะเป็นสภาพตกต่ำ และเป็นความอัปยศ ทัศนคตินี้กลับจะ ถวายเกียรติแด่พระเจ้า... พระเยซูเจ้าทรงถือว่าความตายเป็นกิจกรรมอันสูงส่งที่สุด ...
บทเทศน์ปี C
263
วั นอาทิตย์ที่สี่ เทศกาลปัสกา ยอห์น 10:27-30 พระเยซูเจ้าตรัสว่า “แกะของเราย่อมฟังเสียงของเรา เรารู้จัก มัน และมันก็ตามเรา เราให้ชีวิตนิรันดรกับแกะเหล่านั้น และมันจะ ไม่พินาศเลยตลอดนิรันดร ไม่มีใครแย่งชิงแกะเหล่านั้นไปจากมือ เราได้ พระบิดาของเราผู้ประทานแกะเหล่านี้ให้เรา ทรงยิ่งใหญ่กว่า ทุกคน และไม่มีใครแย่งชิงไปจากพระหัตถ์ของพระบิดาได้ เรากับ พระบิดาเป็นหนึ่งเดียวกัน”
264
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 1
แกะของเราย่อมฟังเสียงของเรา นั ก ประพั น ธ์ ที่ เ ขี ย นเรื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ แผ่ น ดิ น ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ สดง ความแปลกกับเสียงเรียก และเสียงผิวปากที่คนเลี้ยงแกะใช้เรียกแกะ และแกะก็ตอบสนองต่อเสียงเรียกเหล่านี้เสมอ อาจมีแกะหลายฝูงมาอยู่ รวมกันภายใต้ชายคาเดียวกัน เมื่อถึงเวลาเช้า คนเลี้ยงแกะสามารถแยก ฝูงแกะได้โดยไม่มีปัญหา คนเลี้ยงแกะคนหนึ่งจะส่งเสียงเรียกที่ไม่มีใคร เหมือนของเขา และแกะในฝูงของเขาเท่านั้นจะเดินตามเขาออกไปจาก คอก เมื่อได้ยินเสียงเรียก แกะที่เป็นหัวหน้าฝูงจะเริ่มขยับตัว และตัวอื่นๆ ทั้งหมดจะเดินตามมัน พระเยซูเจ้าตรัสว่า “แกะของเราย่อมฟังเสียง ของเรา เรารู้จักมัน และมันก็ตามเรา” เราต้ อ งถามตนเองเป็ น ครั้ ง คราวว่ า ฉั น ติ ด ตามเสี ย งของใคร ฉันพยายามเลียนแบบมาตรฐานของใคร ในปัจจุบันมีเสียงต่างๆ ตะโกน เรี ย กเราจะแหล่ ง ต่ า งๆ มากมาย ไม่ ว่ า จะเป็ น แรงกดดั น จากคนใน สถานภาพเดียวกัน วัฒนธรรมที่เป็นกระแสนิยม การโฆษณา คำขวัญ ทางการเมือง โลกีย์วิสัย และสิ่งที่เราเรียกว่าเสรีนิยม วิถีทางของศิษย์ พระคริสต์คือติดตามเสียงขององค์พระผู้เป็นเจ้า การดำเนินชีวิตตาม ความเชื่ อ คื อ การตอบสนองเสี ย งเรี ย ก หรื อ กระแสเรี ย ก แท้ ที่ จ ริ ง พระคัมภีร์ทั้งเล่มบอกเล่าเรื่องราวของการเรียก และการตอบสนอง แม้ แต่การเนรมิตสร้างโลกก็อาจเข้าใจได้ว่าพระเจ้าทรงเรียกอาดัม ออกมา จากความว่างเปล่า เมื่อเริ่มต้นเรื่องราวการเผยแสดง อับราฮัมได้ยินเสียงเรียกของ พระเจ้าให้ละทิ้งถิ่นฐานด้วยความวางใจ และเขาก็กลายเป็นบิดาของ
บทเทศน์ปี C
265
ชนชาติต่างๆ โมเสสได้ยินเสียงเรียก เขาเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงและนำ ประชาชนออกไปพบกับอิสรภาพ บ่อยครั้งที่กระแสเรียกส่วนตัวจำเป็น ต้องถูกแสดงออกมาภายนอกด้วยการเดินทาง ซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ ของการเดินทางฝ่ายจิต ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระนางมารีย์ได้รับเรียกจาก พระเจ้า เมื่อทูตสวรรค์แจ้งสารต่อพระนาง พระนางจึงออกเดินทางใน ความเชื่อเพื่อไปเยี่ยมนางเอลีซาเบธ และในชี วิ ต ของพระเยซู เ จ้ า พระองค์ ไ ด้ รั บ กระแสเรี ย กของ พระองค์เมื่อพระจิตเสด็จลงมาเหนือพระองค์ที่แม่น้ำจอร์แดน การ เดินทางของพระองค์เริ่มต้นเมื่อพระจิตเจ้าทรงนำพระองค์เข้าไปใน ถิ่นทุรกันดารก่อน แล้วจึงนำทางพระองค์ไปเทศน์สอนในแคว้นกาลิลี พระเยซูเจ้าทรงเรียกศิษย์ของพระองค์อีกทอดหนึ่ง บางคนพระองค์ทรง เรียกอย่างลึกล้ำมากกว่าผู้อื่น ให้เขาเป็นผู้เลี้ยงดูฝูงแกะของพระองค์ พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพประทานพระจิตของพระองค์ให้แก่ศิษย์ เหล่านี้ และเรียกเขาให้สานต่อพันธกิจของพระองค์ “พระบิดาทรงส่ง เรามาฉันใด เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น” ศิษย์เหล่านี้จะต้องเดินทาง ด้วยเช่นกันเพื่อตอบสนองกระแสเรียกนั้น พระศาสนจักรเป็นชุมชนของผู้มีความเชื่อ ผู้ติดตามเสียงของ องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ พระองค์ดำรงอยู่ต่อไปในความ สัมพันธ์อันใกล้ชิดกับผู้ที่ติดตามพระองค์ พระองค์ทรงรู้จักเขาแต่ละคน และทรงเรี ย กแต่ ล ะคนให้ มี ค วามสั ม พั น ธ์ อั น ใกล้ ชิ ด กั บ พระองค์ หลายคนได้ยินเสียงเรียกลึกๆ ในใจ ที่เรียกเขาให้อุทิศชีวิตแก่พันธกิจ ของพระเยซูเจ้าให้มากขึ้น บางคนได้ยินเสียงเรียกให้ประกาศพระวาจา ของพระองค์ หรือให้ปฏิบัติงานแห่งความเมตตาสงสารของพระองค์ หรือให้รับบุคคลหนึ่งเป็นคู่สมรสและใช้ชีวิตคู่ด้วยความซื่อสัตย์ โดย สะท้ อ นภาพความรั ก ของพระตรี เ อกภาพ ซึ่ ง เป็ น ความรั ก ที่ ไ ม่ มี วั น เปลี่ยนแปลงและสร้างความผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกัน
266
บทเทศน์ปี C
ข้าวที่ต้องเก็บเกี่ยวมีมาก และคนงานมีน้อย เขตวัดมากกว่า ครึ่งหนึ่งในโลกปัจจุบันไม่มีพระสงฆ์ประจำเขตวัด พันธกิจของพระเยซูเจ้าจึงต้องการเสียงอีกหลายเสียง ในขณะที่มนุษย์กำลังหิว คนป่วย ต้องการความรักและการดูแล ความเมตตาสงสารของพระเยซูเจ้ายัง ต้องการหัวใจและมือเพิ่มขึ้นอีกมากเพื่อทำงานเหล่านี้ ในขณะที่บ่อยครั้ง ความซื่อสัตย์ในความรักกลายเป็นสิ่งหายาก โลกต้องการพยานที่ยืนยัน ว่าการสมรสของคริสตชนเป็นแสงสว่างที่ส่องให้เห็นว่า ความวางใจ อย่างปราศจากเงื่อนไขนั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ศิษย์แท้ของพระคริสตเจ้าต้องดำเนินชีวิตโดยรับฟังเสียงของพระเจ้าผู้ทรงเรียกเขา เรา. จำเป็นต้องฝึกตนเองให้ไตร่ตรองกิจวัตรประจำวันของเรา เพื่อให้ทราบ ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงกำลังเรียกเราให้ตอบสนอง และเป็นตัวแทน ของพระองค์ในหน้าที่การงานของเราอย่างไร วันอาทิตย์ฉลองกระแสเรียกเป็นโอกาสให้เราไตร่ตรองว่าเรามีประสบการณ์อย่างไรกับกระแสเรียกขององค์พระผู้เป็นเจ้า และให้เรากระตุ้นเตือนผู้อื่นให้เข้าใจว่าชีวิต ของเขาควรเปิ ด รั บ กระแสเรี ย กขององค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า ผู้ ก ลั บ คื น ชี พ พระคริ ส ตเจ้ า ทรงมี ชี วิ ต และดำรงอยู่ ใ นปั จ จุ บั น ในเสี ย งเรี ย กของ พระองค์ ที่เรียกศิษย์ทั้งหลายที่มีใจกว้าง ให้เขานำทางผู้อื่นไปข้างหน้า ในพระนามของพระองค์
บทเทศน์ปี C
267
บทรำพึงที่ 2
พระเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ ความคิดว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยงแกะได้พัฒนาขึ้นเป็นบทเพลง สดุดี กลายเป็นบทภาวนาที่เป็นที่นิยมแม้แต่ในหมู่ประชากรที่ไม่คุ้นเคย กับชีวิตชนบทเลย “พระเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ ข้าพเจ้าจะไม่ขาด สิ่งใดเลย” ใครเป็นผู้นำของท่าน ท่านเลียนแบบวิถีทางของใคร ท่าน ฟังเสียงของใคร ศิษย์ของพระคริสตเจ้าจะติดตามพระองค์ และฟังเสียง ของพระองค์ เขาจะเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมว่า เมื่อพระองค์ประทับอยู่ข้างกาย เขาจะไม่ขาดปัจจัยที่จำเป็นต่อชีวิต “พระองค์ให้ข้าพเจ้าพักผ่อนในทุ่งหญ้าสดเขียวชอุ่ม” เมื่อแดดเริ่มร้อน คนเลี้ยงแกะจะนำฝูงแกะไปหาที่ร่ม ฝูงแกะจะ พักผ่อนที่นั่นระหว่างช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน และเคี้ยวเอื้องอย่าง สบายใจ ศิษย์พระคริสต์จะแสวงหาความคุ้มครองจากพระเจ้า ผู้ทรงเป็น ร่มเงาสำหรับเขา ให้เขาได้พักผ่อนจากแรงกดดันต่างๆ ในชีวิต เขาต้อง พักผ่อนอยู่กับพระเจ้าทุกวัน และรำพึงตามพระวาจาเหมือนแกะกำลัง เคี้ยวเอื้อง และไตร่ตรองด้วยใจสงบในเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันนั้น “พระองค์ทรงนำข้าพเจ้าไปยังธารน้ำนิ่ง ให้จิตใจที่อ่อนแรงของข้าพเจ้ากลับมีกำลัง” แกะจะมีปัญหาในการดื่มน้ำที่ไหลเชี่ยวจากภูเขา ดังนั้น คนเลี้ยง แกะจึงต้องหาบ่อน้ำนิ่ง หรือขุดขึ้นมาเองเพื่อให้แกะดื่ม ธารน้ำเปรียบ เสมือนกิจกรรมต่างๆ ในชีวิต พระเจ้าประทับอยู่ทุกแห่งหน และใน กิจกรรมของเรา แต่บ่อยครั้ง ชีวิตเร่งรีบจนเราไม่สามารถดื่มการ
268
บทเทศน์ปี C
ประทับอยู่ของพระองค์ได้ เช่นเดียวกับแกะ เราก็จำเป็นต้องมีบ่อน้ำนิ่ง ท่ามกลางความสงบนิ่งของการภาวนา พระองค์จะชุบชูจิตใจที่เหนื่อยล้า ของเรา “พระองค์ทรงนำข้าพเจ้าไปตามทางที่ถูก พระองค์ทรงกระทำ สมดังพระนามของพระองค์” คนเลี้ยงแกะเดินนำหน้าฝูงแกะ แกะก็เดินตามหลังเขา แต่แกะ อาจหลงทางได้ ถ้ามันมัวแต่เดินเล็มหญ้าไปในทิศทางที่ผิด พระคริสตเจ้าผู้ทรงเลี้ยงดูเรา ทรงนำทางเราด้วยพระวาจาและวิถีชีวิตของพระองค์ พระวาจาและกิจการของพระองค์เป็นเครื่องหมายหรือหลักฐานของ ความเชื่ อ พระองค์ ท รงกระทำการสมกั บ พระนามของพระองค์ คื อ ผู้เลี้ยงแกะ เมื่อทรงเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต และเมื่อพระองค์ ทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดา ทางของพระองค์จึงนำเราไปหาพระบิดา “ถ้าข้าพเจ้าเดินอยู่ในหุบเขาอันมืดมิด ข้าพเจ้าจะไม่กลัวอันตราย พระองค์ประทับอยูท่ น่ี น่ั พร้อมกับตะขอ และไม้เท้าของพระองค์ ด้วยสิ่งเหล่านี้พระองค์ทรงบรรเทาใจข้าพเจ้า” นี่คือการแสดงความเชื่ออันเข้มแข็ง พื้นที่เลี้ยงแกะเป็นภูเขาและ เนินเขา ถ้าแกะพลัดตกลงในรอยแยกระหว่างก้อนหิน หรือกระโดดข้าม ช่องแคบบนภูเขาไม่พ้น คนเลี้ยงแกะจะใช้ตะขอดึงแกะขึ้นมา ในเงามืด ของหุ บ เขามี สุ นั ข และสุ นั ข ป่ า ชุ ก ชุ ม ไม้ เ ท้ า ของคนเลี้ ย งแกะจะช่ ว ย ป้ อ งกั น อั น ตรายให้ แ กะ คนเลี้ ย งแกะที่ ดี จ ะพร้ อ มไม่ เ พี ย งแต่ เ สี่ ย ง อันตราย แต่ถึงกับยอมสละชีวิตเพื่อแกะของตน นี่คือภาพลักษณ์ของ ความรักที่เสียสละของพระเยซูเจ้าต่อเรา ไม่ว่าหุบเขาจะมืด สถานการณ์ จะน่าหวาดหวั่น หรือสัตว์ร้ายที่น่ากลัวกำลังออกหากิน ศิษย์แท้ของ พระคริสตเจ้าจะไม่สูญเสียความวางใจในความรัก และการดูแลที่เขาจะ ได้รับจากคนเลี้ยงแกะผู้ซื่อสัตย์
บทเทศน์ปี C
269
“พระองค์ทรงเตรียมงานเลี้ยงสำหรับข้าพเจ้า ต่อหน้าศัตรูของข้าพเจ้า” รางวัลของการเดินฝ่าหุบเขาอันมืดมิดคือทุ่งหญ้าเขียวชอุ่ม ก่อน จะปล่อยให้แกะเล็มหญ้าที่นั่น คนเลี้ยงแกะจะกำจัดพืชและพุ่มไม้มีพิษ ให้หมดไป และโยนพืชเหล่านีไ้ ว้บนก้อนหินให้แห้งตายภายใต้แสงอาทิตย์ ภายใต้สายตาของศัตรู คือพืชที่มีพิษ ฝูงแกะจะกินหญ้าอย่างเอร็ดอร่อย และปลอดภัย งานเลี้ยงของศิษย์พระคริสต์ คือ ศีลมหาสนิท ปังแห่งชีวิต ที่เสริมความเข้มแข็งให้วิญญาณเพื่อต่อสู้กับศัตรูทั้งหลาย “พระองค์ทรงเจิมศีรษะของข้าพเจ้าด้วยน้ำมัน ถ้วยของข้าพเจ้าล้นปรี่” ในเวลาเย็น แกะจะกลับมารวมกับฝูงคนเลี้ยงแกะจะตรวจตรา แกะทีละตัว ถ้าพบรอยขีดข่วนและฟกช้ำ เขาจะรักษาด้วยน้ำมันมะกอก เขาจะกดหัวแกะลงในเหยือกน้ำเย็น ให้น้ำท่วมถึงตาเพื่อบรรเทาความ ระคายเคืองจากฝุ่นละออง “ความดี และความเมตตากรุณาจะติดตามข้าพเจ้า ตลอดทุกวันในชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะพำนักในบ้านของพระเจ้า ตลอดกาลนาน”
270
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 3 เราเป็น ...
เราต้ อ งใส่ ใ จเป็ น พิ เ ศษกั บ คำสองคำนี้ ใ นพระวรสารตามคำ บอกเล่าของนักบุญยอห์น ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงประกาศในหลายโอกาส และด้วยความกล้าอย่างยิ่ง (ยน 4:26, 6:20, 7:29, 8:58, 13:19, 14:20, 17:24, 18:5, 18:6) เรารู้ ว่ า ถ้ อ ยคำเหล่ า นี้ ท ำให้ ร ะลึ ก ถึ ง “อักษรสี่ตัวที่มนุษย์ไม่สามารถเอ่ยออกมาได้” คือ พระนามอันเร้นลับ ที่พระเจ้าทรงเผยแก่โมเสส ด้วยพระองค์เองในทะเลทรายซีนาย YHWH หรือเป็นภาษาเขียนว่ายาห์เวห์ ซึ่งชาวยิวอ่านออกเสียง ว่า adonai หรือองค์พระผู้เป็นเจ้า (Lord) นอกจากข้ อ ความมากมายที่ อ้ า งถึ ง ข้ า งต้ น นี้ พระวรสารของ นักบุญยอห์น ยังใช้คำว่า “เราเป็น (I am)” ถึง 13 ครั้ง ทุกครั้งตามด้วย ข้อความที่ขยายความหมาย “เราเป็นปังแห่งชีวิต” (ยน 6:35, 41, 48, 51) “เราเป็นแสงสว่างส่องโลก” (ยน 8:12, 9:5) “เราเป็นการกลับคืนชีพ และเป็นชีวิต” (ยน 11:25) “เราเป็นเถาองุ่นแท้” (ยน 15:1, 5) “เราเป็นประตูคอกแกะ” (ยน 10:7, 9) “เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี” (ยน 10:11, 14) ตามความคิดเห็นของนักวิชาการพระคัมภีร์ วลีเหล่านี้แสดงถึง ความเป็นพระเจ้าของพระเยซูเจ้า ... ยอห์นเขียนว่า “พระวจนาตถ์ทรง รับธรรมชาติมนุษย์” (1:14)
เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี
บทเทศน์ปี C
271
ในที่นี้ พระเยซูเจ้าไม่ได้ทรงใช้ภาพลักษณ์อันงดงามที่พบเห็นได้ ตามชนบท แต่ทรงยกวลีจากพระคัมภีร์ที่มีความหมายมากที่สุด กษัตริย์ สมัยโบราณทั่วดินแดนตะวันออกกลางเรียกตนเองว่าผู้เลี้ยงแกะผู้ดูแล ชนชาติของตน พระยาห์เวห์เองทรงรับบทบาทนี้เมื่อทรงปลดปล่อยชาว ยิวออกจากอียิปต์ “พระองค์ทรงนำประชากรของพระองค์เหมือนฝูงแกะ และทรงนำทางเขาในถิ่นทุรกันดารเสมือนฝูงแกะ” (สดด 78:52) ... กษัตริย์ดาวิด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำทางการเมืองยุคแรกของอิสราเอล เป็น ผู้เลี้ยงแกะจากเบธเลเฮม (1 ซมอ 17:34-35) กษัตริย์ในอุดมคติที่จะ เสด็ จ มาในอนาคต คื อ พระเมสสิ ย าห์ และดาวิ ด คนใหม่ ได้ รั บ การ บรรยายลักษณะเสมือนว่าเป็นผู้เลี้ยงแกะ “เราจะตั้งผู้เลี้ยงแกะผู้หนึ่งไว้ เหนือเขา คือดาวิด ผู้รับใช้ของเรา และท่านจะเลี้ยงเขาทั้งหลาย ...” (อสค 34:23) ผู้ที่ได้ยินพระวาจาของพระเยซูเจ้า และพระเยซูเจ้าเองกำลังคิด ถึงข้อความเหล่านี้ในพระคัมภีร์ และโดยเฉพาะบทที่ 34 อันโด่งดังของ หนังสือเอเสเคียล ซึ่งบรรยายไว้ยืดยาวเรื่องผู้เลี้ยงแกะชั่วร้าย (หมายถึง กษัตริย์ในยุคนั้น) ที่ไม่ดูแลฝูงแกะของตน ... ก่อนจะบอกว่าพระเจ้าจะ ทรงเข้ามาทำหน้าที่แทน “ดังนั้น พระเจ้าตรัสว่า เราจะตามหาแกะของเรา ด้วยตัวเราเอง และจะตามหามัน ... เราจะช่วยเหลือแกะเหล่านี้ออกมา จากที่ต่างๆ ที่พวกมันอยู่อย่างกระจัดกระจาย ... เราจะเลี้ยงดูพวกมัน ในทุ่งหญ้าอย่างดี ... เราเองจะเป็นผู้เลี้ยงแกะของฝูงแกะของเรา พระเจ้า ตรัสดังนี้ว่า ... เราจะตามหาแกะที่พลัดฝูง” (อสค 34:1-31) ถูกแล้ว พระเยซูเจ้าทรงอ้างว่าพระองค์เองทรงเป็นพระเจ้า ... อันที่จริง ผู้ที่ฟังพระเยซูเจ้าก็ไม่ได้เข้าใจผิด พวกเขารู้ทันทีว่า พระองค์หมายถึงอะไร ... “หลายคนพูดว่า ‘คนนี้ถูกปีศาจสิง กำลังพูด
272
บทเทศน์ปี C
เพ้อเจ้อ ท่านทั้งหลายฟังเขาทำไม’ คนอื่นพูดว่า ‘ท่านเป็นเพียงมนุษย์ แต่ตั้งตนเป็นพระเจ้า’” (ยน 10:20, 33) ด้วยเหตุนี้ เขาจึงหยิบก้อนหิน จะขว้างพระองค์ ... เราควรใช้เวลานานๆ ภาวนาตามภาพลักษณ์ “ผู้เลี้ยงแกะ” นี้ โดยใช้ข้อความในพระคัมภีร์ เช่นสดุดี 23 “พระเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยงดู ข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ ข้าพเจ้าจะไม่ขาดสิ่งใดเลย พระองค์ทรงให้ข้าพเจ้า พักผ่อนในทุ่งหญ้าเขียวชอุ่ม พระองค์ทรงนำข้าพเจ้าไปยังธารน้ำนิ่ง ให้ จิตใจที่อ่อนแรงของข้าพเจ้ากลับมีกำลัง...” ข้าแต่พระเยซูเจ้า พระองค์ทรงนำทางข้าพเจ้า ... ข้าแต่พระเยซูเจ้า พระองค์ทรงคอยดูแลข้าพเจ้า ... ข้าแต่พระเยซูเจ้า พระองค์ทรงรัก ข้าพเจ้า ... นี่ไม่ใช่คำภาวนาด้วยอารมณ์อ่อนไหวที่เราคิดขึ้นมาเอง แต่เรา จะเห็นว่าพระเยซูเจ้าทรงเชิญชวนให้เราภาวนาเช่นนี้ แกะของเราย่อมฟังเสียงของเรา ... เรารู้จักมัน ... และมันก็ตามเรา ... ในปัจจุบัน เรามักมองแกะ หรือฝูงแกะในแง่ลบ เช่น อย่านิ่งเฉย เหมือนแกะซิ! อย่าเอาแต่จับกลุ่มกัน! อันที่จริง ภาพลักษณ์ในพระคัมภีร์มีความหมายตรงกันข้ามโดย สิ้นเชิง คำกริยาสามคำที่พระเยซูเจ้าทรงใช้เป็นคำที่แสดงออกถึงการ กระทำ คือ ฟัง รู้จัก และติดตาม ... การฟัง ... นี่เป็นทัศนคติที่จำเป็นสำหรับความสัมพันธ์ระหว่าง สองบุคคล การรู้จักฟังเป็นเครื่องหมายของความรักแท้ ... บ่อยครั้งที่เรา ไม่ฟังอย่างจริงจัง เราไม่ฟังแม้ขณะที่อยู่กับผู้อื่นเป็นกลุ่ม อยู่รอบโต๊ะ และแม้แต่ระหว่างกิจกรรมที่เราเรียกว่าการเสวนา ... ในพระคัมภีร์
บทเทศน์ปี C
273
ประกาศกทั้งหลายเชิญชวนชาวอิสราเอลเสมอให้ฟัง “อิสราเอลเอ๋ย จงฟัง” (ฉธบ 6:4, อมส 3:11, ยรม 7:2) ... การฟังเป็นจุดเริ่มต้นของ ความเชื่อ นักบุญมัทธิวเสนอภาพของพระเยซูเจ้าในฐานะพระวาจา ซึ่ง พระบิดาตรัสแก่โลก “ท่านผู้นี้เป็นบุตรสุดที่รักของเรา ... จงฟังท่านเถิด” (มธ 17:5) - “การติดตาม” – นี่เป็นอีกทัศนคติหนึ่ง ซึ่งไม่ได้นิ่งเฉยเลย แต่ แสดงออกถึงอิสรภาพในการเคลื่อนไหว และการนำตนเองไปแนบชิดกับ อีกบุคคลหนึ่ง การติดตามหมายถึงการเลียนแบบ ... พระเยซูเจ้าตรัสว่า “จงตามเรามาเถิด” (ยน 1:43) - “การรู้จัก” – ในพระคัมภีร์ คำนี้ไม่ได้หมายถึงการรู้จักด้วย สติปัญญาเท่านั้น ... ความรักต่างหากที่ทำให้เรารู้จักใครบางคนจริงๆ จนถึงจุดที่ไม่มีอะไรปิดบัง คำนี้แสดงถึงความสนิทสนม ความเข้าใจกัน และกัน ความเคารพอย่างลึกซึ้ง ความสนิทสัมพันธ์ของหัวใจ ของจิตใจ และร่างกาย ... ซึง่ เป็นเครือ่ งหมายของความรักในชีวติ สมรส (ปฐก 4:1)... เราให้ชีวิตนิรันดรกับแกะเหล่านั้น และมันจะไม่พินาศเลยตลอด นิรันดร ไม่มีใครแย่งชิงแกะเหล่านั้นไปจากมือเราได้ ถูกแล้ว พระเยซูเจ้าตรัสถึง “จุดหมายปลายทางเดียวกัน” ของ ผู้เลี้ยงแกะ และของแกะ จุดหมายปลายทางของพระองค์ และของ “ผู้ที่ ได้ยินเสียงของพระองค์และติดตามพระองค์” ... พระองค์ทรงกำลังตรัส ถึงการสนิทเป็นหนึ่งเดียวที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้... พระเจ้าข้า เมื่อข้าพเจ้าภาวนา ข้าพเจ้าพยายามวาดมโนภาพ ว่าข้าพเจ้าอยู่ “ในพระหัตถ์” ของพระองค์จริง ๆ ... พระหัตถ์ที่พระองค์ ทรงยื่นออกไปสัมผัสผู้ป่วยเพื่อรักษาโรคของเขา ... พระหัตถ์ที่พระองค์ ทรงยื่นออกไปให้เปโตร เมื่อเขากำลังจมลงในทะเล ... พระหัตถ์ที่ถือปัง แห่งชีวิตเมื่อคืนวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ ... พระหัตถ์ที่พระองค์ทรงเหยียด
274
บทเทศน์ปี C
ออกบนไม้กางเขนบนเขากลโกธา ... พระหัตถ์ที่มีรอยแผลจากตะปูที่ พระองค์ทรงยื่นให้โทมัสดู ... พระหัตถ์ที่พระองค์ทรงจับลูกไว้อย่าง มั่นคง และไม่มีใครแย่งชิงลูกไปจากพระหัตถ์นี้ได้... ขอบพระคุณพระองค์ พระเยซูเจ้าข้า พระบิดาของเรา ผู้ประทานแกะเหล่านี้ให้เรา ทรงยิ่งใหญ่กว่าทุกคน และไม่มีใครแย่งชิงไปจากพระหัตถ์ของพระบิดาได้ ดังนั้น เราจึงถูกจับไว้ใน “สองพระหัตถ์” … เหมือนเด็กเล็กๆ ที่ มือข้างหนึ่งจับมือของพ่อ อีกข้างหนึ่งจับมือของแม่ เขายอมให้พ่อแม่จูง เขาด้วยความรู้สึกอบอุ่นใจ ภาพลักษณ์นี้ช่างงดงามจริงๆ ... พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องการภาวนาต่อพระองค์โดยเริ่มต้นจาก ภาพลักษณ์นี้ ... ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ... พระเยซูเจ้า และพระบิดา ของเรา ... โปรดทรงจับทุกคนที่ข้าพเจ้ารักให้มั่นเถิด... แต่เราก็เดาได้ง่ายๆ ว่าภาพลักษณ์นี้ไม่ได้มีเจตนาให้เรามองเห็น แต่ภาพผู้เลี้ยงแกะผู้อ่อนหวาน และแกะขนฟูที่เรามักเห็นในภาพวาด ... ผู้เลี้ยงแกะในดินแดนตะวันออกกลางเป็นคนเร่ร่อนที่สมบุกสมบัน เป็น นั ก รบประเภทหนึ่ ง ที่ ส ามารถปกป้ อ งฝู ง แกะของเขาจากสั ต ว์ ป่ า สามารถต่อสู้กับหมี หรือสิงโตที่มาขโมยแกะไปจากฝูง (1 ซมอ 7:34-35) ... เมื่อพระองค์ตรัสคำพูดเหล่านี้ พระเยซูเจ้าทรงคิดถึงการต่อสู้อัน น่ า เศร้ า ที่ พ ระองค์ ต้ อ งต่ อ สู้ ร ะหว่ า งพระทรมาน ด้ ว ยเกรงว่ า ศั ต รู จ ะ แย่งชิงแกะของพระองค์ไปจากพระหัตถ์ของพระองค์ ... ตรงกันข้ามกับ คนรับจ้างเลี้ยงแกะ ที่วิ่งหนีเมื่อเผชิญหน้ากับหมาป่า พระเยซูเจ้าทรง ยอมสละชีวิตของพระองค์เพื่อแกะของพระองค์ (ยน 10:2, 15) ... ข้าพเจ้าทำเหมือนพระเยซูเจ้า และร่วมมือกับพระเยซูเจ้าในการ ต่อสู้เพื่อช่วยชีวิตพี่น้องชายหญิงของข้าพเจ้าได้หรือไม่ “ไม่มีใครแย่งชิงไปจากพระหัตถ์ของพระบิดาได้”...
บทเทศน์ปี C
275
“ไม่มีใครแย่งชิงแกะเหล่านั้นไปจากมือเราได้”... พระเจ้าข้า แต่กระนั้น ทำไมจึงมีคนที่ละทิ้งฝูง เราพบเห็นคนที่ ไม่ซื่อสัตย์มากมายรอบตัวเรา ... และคนไม่ซื่อสัตย์ที่เราพบเห็นในชีวิต ของเราเอง... เสรีภาพของเราเป็นธรรมล้ำลึกข้อหนึ่ง ... แต่บัดนี้ เรามั่นใจได้ อย่างหนึ่งว่าพระเจ้าจะไม่มีวันเป็นฝ่ายที่ปล่อยเราไป แต่มนุษย์สามารถ ปล่อยมือจากพระหัตถ์ของพระเจ้าได้ ... ถึงกระนั้น พระเจ้าก็ยังหาทาง ติดต่อกับเราต่อไป “ท่านใดที่มีแกะหนึ่งร้อยตัว ตัวหนึ่งพลัดหลง จะ ไม่ละแกะเก้าสิบเก้าตัวไว้ในถิ่นทุรกันดาร ออกไปตามหาแกะที่พลัดหลง จนพบหรือ” (ลก 15:4) เราได้วาดภาพจอมปลอมของพระเจ้าขึ้นมาอย่างไรบ้าง เมื่อเรา วาดภาพพระองค์ เ ป็ น ผู้ พิ พ ากษาผู้ เ ข้ ม งวดที่ ต้ อ งการแต่ จ ะลงโทษ คนบาป ... เราควรพยายามอย่างหนักที่จะทำบาปให้น้อยลงต่อพระเจ้า ผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรักเช่นนี้... เรากับพระบิดาเป็นหนึ่งเดียวกัน พระเยซูเจ้าทรงบอกว่าพระบิดาทรงมอบแกะเหล่านี้ให้พระองค์ แต่แกะก็ยังอยู่ในพระหัตถ์ของพระบิดาด้วย... ถ้อยคำเหล่านี้นำเราไปสู่ความเร้นลับที่ลึกยิ่ง ขณะที่เราไตร่ตรอง เรื่องพระบุคคลของพระเยซูชาวนาซาเร็ธ ในตัวของมนุษย์แท้คนนี้ ซึ่ง เกิดจากหญิงคนหนึ่งนี้ ในตัวของมนุษย์ผู้เติบโตขึ้น และบัดนี้กำลังจะ หลั่งโลหิต และสิ้นใจ – ในตัวของพระเยซูชาวนาซาเร็ธผู้นี้ – มีพระเจ้า ผู้ประทับอยู่ พระองค์ตรัส และทำงานอยู่ภายในตัวของพระเยซูเจ้า ... พระเยซูเจ้าคือพระเจ้าผู้กำลังเผยแสดงความรักของพระองค์เองต่อ มนุษย์... “เรากับพระบิดาเป็นหนึ่งเดียวกัน” ... สภาสังคายนาทั้งหลาย
276
บทเทศน์ปี C
พยายามอธิบาย และกำหนดแนวความคิดในเรื่องนี้ แต่ไม่มีคำพูดใด สามารถทำให้เราเข้าใจธรรมล้ำลึกของพระบุคคลของพระเยซูเจ้าได้ เลย ... ความจริงทั้งหมดถูกระบุในประโยคนี้ ซึ่งเราต้องรับฟังด้วย ความเชือ่ อย่างลึกซึง้ “เรากับพระบิดาเป็นหนึง่ เดียวกัน ... เรา - เยซู - และ พระเจ้า เป็นหนึ่งเดียวกัน ...” ด้วยเหตุนี้ พระเยซูเจ้าจึงกล้าตรัสว่าพระองค์เป็นผูป้ ระทาน “ชีวติ นิรันดร”... ด้วยเหตุนี้ ในฐานะพระเจ้า พระองค์สามารถตรัสคำว่า “เราเป็น ...” ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงถูกกล่าวหาว่าดูหมิ่นพระเจ้า พระองค์ จึงถูกจับตรึงกางเขน – แต่พระเจ้าทรงรับรองว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า จริง โดยทรงบันดาลให้พระองค์กลับคืนชีพจากบรรดาผู้ตาย...
บทเทศน์ปี C
277
วั นอาทิตย์ที่ห้า เทศกาลปัสกา ยอห์น 13:31-35 เมื่อยูดาสออกไปแล้ว พระเยซูเจ้าตรัสว่า “บัดนี้ บุตรแห่ง มนุษย์ได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ และพระเจ้าทรงได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ใน บุตรแห่งมนุษย์ด้วย ถ้าพระเจ้าทรงได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ในบุตรแห่ง มนุ ษ ย์ พระเจ้ า จะทรงให้ บุ ต รแห่ ง มนุ ษ ย์ ไ ด้ รั บ พระสิ ริ รุ่ ง โรจน์ ใ น พระองค์ด้วย และจะทรงให้บุตรแห่งมนุษย์ได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ใน ทันที ลูกทั้งหลายเอ๋ย เราจะอยู่กับท่านอีกไม่นาน เราให้บทบัญญัติ ใหม่แก่ท่านทั้งหลาย ให้ท่านรักกัน เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่าน ก็จงรักกันอย่างนั้นเถิด ทุกคนจะรู้ว่าท่านเป็นศิษย์ของเรา”
278
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 1 บทบัญญัติใหม่
เราจะพบองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพได้ที่ใด พิธีกรรมทุก วันอาทิตย์ระหว่างเทศกาลปัสกานี้ชักนำให้เราคิดถึงสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งมีองค์พระผู้เป็นเจ้าประทับอยู่ และทรงกำลังทำงานอยู่ท่ามกลางเรา ตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เราไตร่ตรองการประทับอยู่ของพระองค์ใน พันธกิจแห่งการอภัยบาปของพระศาสนจักร ในความเชื่อของผู้ที่ไม่ได้ เห็นแต่ก็ยังเชื่อ ในพันธกิจทั่วโลกของพระศาสนจักร ในพิธีบิปัง ในความ รับผิดชอบงานอภิบาลของเปโตร และในพระสุรเสียงขององค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้เลี้ยงแกะที่เราติดตาม คำตอบสำหรับวันนี้ คือ เราจะพบองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ในชุมชน ถ้าสมาชิกของชุมชนนั้นรักกันด้วยความรักของพระองค์ ยูดาส ลุกออกไปจากโต๊ะอาหารที่มิตรสหายของเขากำลังร่วมใน พิธีบิปังกับพระเยซูเจ้า ยอห์น แสดงให้เห็นความน่ากลัวของการตัดสินใจ ของยู ด าส โดยบอกว่ า ขณะนั้ น เป็ น เวลากลางคื น เมื่ อ ยู ด าสละทิ้ ง แสงสว่างส่องโลก เขากำลังเลือกความมืด กลางคืนเป็นสัญลักษณ์ของ จุดเริ่มต้นของกระบวนการ ซึ่งจะดำเนินไปจนถึงการสิ้นพระชนม์ของ พระเยซูเจ้า แต่พระเยซูเจ้าทรงก้าวเข้าสู่ความมืดของความตายเพียง เพื่อจะเอาชนะมัน ดังนั้น การจากไปของพระเยซูเจ้าแท้จริงแล้วเป็นจุด เริ่มต้นของการกลับมาอย่างรุ่งเรืองของพระองค์ ความเศร้ า จะเข้ า ท่ ว มหั ว ใจของบรรดาศิ ษ ย์ เมื่ อ พวกเขาเริ่ ม ตระหนักว่าพระเยซูเจ้าจะไม่อยู่กับเขาในรูปของมนุษย์ธรรมดาอีกต่อไป พระองค์ ป ลอบใจพวกเขาด้ ว ยถ้ อ ยคำที่ ใ ห้ ก ำลั ง ใจ ทรงบอกเขาว่ า
บทเทศน์ปี C
279
พระองค์จะประทับอยู่กับเขาในลักษณะใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม หลังจาก พระองค์ทรงกลับคืนชีพแล้ว เมื่อพระองค์กลับไปสู่พระสิริรุ่งโรจน์ของ พระบิดา พระองค์จะยกมนุษย์ทั้งหลายขึ้นด้วย พระองค์ทรงสัญญาว่า พวกเขาจะมีชีวิตในระดับที่สูงกว่าเดิม ชีวิตใหม่นี้จะอยู่ภายใต้บทบัญญัติ ใหม่ “ให้ท่านรักกัน เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้น เถิด” ทำไมจึงบอกว่านี่เป็นบทบัญญัติใหม่ พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม ก็สอนให้เรารักเพื่อนมนุษย์เหมือนกันไม่ใช่หรือ ... ความใหม่ที่อยู่ใน พระวาจาของพระเยซูเจ้าคือมาตรฐานของความรัก ... “เรารักท่านอย่างไร ท่ า นก็ จ งรั ก กั น อย่ า งนั้ น ” ... ความรั ก ที่ ย อมสละได้ ทุ ก สิ่ ง แม้ ก ระทั่ ง ยอมรับความตาย ความรักที่ไม่ละเว้นใครเลย ความรักของพระเยซูเจ้า ไม่ได้จำกัดขอบเขตอยู่แต่ในแวดวงเพื่อนบ้านหรือมิตรสหายใกล้ชิด ความรักของพระองค์รวมถึงศัตรู และผู้ที่อาจเคยแสดงความ อยุติธรรม ต่อเราด้วย ความรักของพระองค์ไม่หมดไปเพียงเพราะผู้อื่นทำความผิด แต่ เ ป็ น เหมื อ นแม่ น้ ำ ที่ ไ ม่ ย อมให้ ย าพิ ษ ของผู้ อื่ น มาปนเปื้ อ นได้ ความใหม่อีกประการหนึ่งก็คือ ต้นกำเนิดของความรักนี้คือพระจิตเจ้า ผู้ในไม่ช้าจะเสด็จมาประทับในหัวใจของศิษย์ทั้งหลาย ในฐานะคริสตชนที่รับศีล ล้ า งบาปแล้ ว เราได้ รั บ เรี ย กให้ เ ป็ น อวั ย วะที่ ท ำงานในพระกายของพระคริ ส ตเจ้ า บนโลกนี้ วิ ถี ชี วิ ต ของ คริสตชนยุคแรกเป็นพยานยืนยันอย่างทรงพลังว่าองค์พระผู้เป็นเจ้า ประทับอยู่กับพวกเขา “ดูพวกคริสตชนเหล่านี้เขารักกันซิ” บทอ่านที่หนึ่งในพิธีกรรมวันนี้ กล่าวถึงนิมิตของยอห์น ที่เห็น นครเยรูซาเล็มใหม่ลงมาจากพระเจ้า งดงามราวกับเจ้าสาวที่แต่งตัวรอ เจ้าบ่าว “นี่คือที่พำนักของพระเจ้าในหมู่มนุษย์ พระองค์จะทรงพำนัก อยู่ในหมู่เขา เขาจะเป็นประชากรของพระองค์ และพระองค์จะทรงเป็น พระเจ้าของเขา ทรงเป็น ‘พระเจ้าสถิตกับเขา’ ... ดูซิ เราทำทุกสิ่งขึ้นใหม่” (วว 21:1-5)
280
บทเทศน์ปี C
แม้ว่าคำพรรณนานิมิตเหล่านี้หมายถึงชีวิตบนสวรรค์ภายหลัง ความตาย แต่เราเห็นจุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่นี้ได้ในพระศาสนจักร ที่ซึ่ง คนทั้งหลายผู้เต็มเปี่ยมด้วยพระจิตเจ้าได้ทำให้ความรักของพระเยซูเจ้าปรากฏแก่สายตา และสัมผัสได้ พระเจ้าสถิตอยู่กับคนเหล่านี้อย่าง แท้จริง ในจดหมายฉบับที่หนึ่ง ยอห์นขยายความคิดของเขาว่า “พระเจ้า ทรงเป็นความรัก ผู้ใดดำรงอยู่ในความรัก ย่อมดำรงอยู่ในพระเจ้า” (1 ยน 4:16) เราจะพบองค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า ได้ ที่ ใ ด คำตอบที่ เ ราได้ ยิ น จาก บทอ่านวันนี้ คือ เราจะเห็น และรู้สึกถึงการประทับอยู่ของพระองค์ได้ ถ้าเราเป็นศิษย์ผู้ปฏิบัติตามแบบฉบับความรักอันสมบูรณ์ของพระองค์ พระศาสนจักรคือเจ้าสาวผู้งดงามของพระคริสตเจ้า เจ้าสาวที่พระองค์ ทรงรัก และเป็นผู้ให้กำเนิดความรักในทุกสถานที่ทั่วโลก ผ่านทางบุตร จำนวนมากของพระศาสนจักร ข้าแต่พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ ขอให้พระจิตของพระองค์ รุกเข้ามาในหัวใจของเรา และยกเราขึ้นพ้นข้อจำกัดอันเกิดจากบาปของ เรา ขอให้ความรักของพระองค์เป็นพลังให้กิจกรรมทั้งปวงของเรา เพื่อ เราจะเป็นกระจกสะท้อนความงามแห่งพระพักตร์ของพระองค์ และ พระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดา
บทเทศน์ปี C
281
บทรำพึงที่ 2
เป็นภาพสะท้อนพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ สิ่งสร้างทั้งปวงมีเครื่องหมายของพระผู้สร้างประทับอยู่ในตัว และสามารถนำเราไปพบกับพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า นักบุญเปาโล เขียนในจดหมายถึงชาวโรมว่า “ตั้งแต่เมื่อทรงสร้างโลก คุณลักษณะที่ ไม่อาจแลเห็นได้ของพระเจ้า คือพระอานุภาพนิรันดร และเทวภาพของ พระองค์ ปรากฏอย่างชัดเจนแก่ปญ ั ญามนุษย์ในสิง่ ทีท่ รงสร้าง” (รม 1:20) ในตอนเช้ า ของวั น หนึ่ ง ในเดื อ นเมษายนเช่ น นี้ ข้ า พเจ้ า เห็ น พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้าสะท้อนอยู่ในใบหญ้าชุ่มน้ำค้าง และในสีสัน ของสวนดอกไม้ ทัง้ สีเหลืองของดอกแดฟโฟดิล และสีแดงของดอกทิวลิบ สีม่วงและสีเขียวของพืชพรรณต่างๆ ดอกไม้แต่ละดอกเป็นการแสดงออกของพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า ถัดจากสวนดอกไม้ แม่น้ำบาโรว์ ไหลเอื่อยผ่านพื้นที่ราบของเรา กลับคืนสู่มหาสมุทร โคฮีเลธ นักปราชญ์ในอดีต กล่าวถึงน้ำที่เดินทางกลับคืนสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมันว่า “แม่น้ำทั้งหลายไหลออกสู่ทะเล แต่ ทะเลก็ไม่เคยเต็ม แต่กระนั้น แม่น้ำทั้งหลายก็ยังไหลไปสู่จุดหมายปลาย ทางของมัน” (ปญจ 1:7) น้ำที่มาจากกลางมหาสมุทรต้องเดินทางกลับ สู่มหาสมุทรฉันใด สิ่งสร้างทั้งปวงก็ต้องกลับไปหาพระผู้สร้างของมัน ฉันนั้น สีสันที่น่าตื่นตาตื่นใจ ความละเอียดลออของลวดลาย และความ ซับซ้อนของกลิ่นหอมแต่ละอย่างเกิดขึ้นจากความคิดของพระผู้สร้าง ทั้งสิ้น
282
บทเทศน์ปี C
สิ่งสร้างเหล่านี้รุ่งโรจน์งดงามเพราะมาจากพระเจ้า ผู้ทรงเป็น พระสิริรุ่งโรจน์ ผู้ที่มองดูสิ่งสร้างจะยิ่งเห็นความงามใหม่ๆ เมื่อสิ่งสร้าง นั้นชี้ให้มองไปที่พระเจ้าผู้ทรงสร้างมันขึ้นมา สิ่งสร้างทั้งปวงจึงมีเครื่องหมายของพระผู้สร้างประทับอยู่ในตัว เหมือนกับรอยพระบาทของพระเจ้าที่ประกาศว่าพระองค์เคยเสด็จผ่าน ที่นั่นแล้ว แต่ ม นุ ษ ยชาติ ที่ ไ ด้ รั บ การไถ่ กู้ แ ล้ ว จะต้ อ งเป็ น มากกว่ า รอย พระบาทของพระเจ้า เราได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมในชีวิตของพระบุตร นั ก บุ ญ เปาโลขั บ ร้ อ งสรรเสริ ญ แผนการที่ พ ระเจ้ า ทรงกำหนดไว้ เ พื่ อ เราว่า “ขอถวายพระพรแด่พระเจ้า พระบิดาของพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ... ทรงเลือกสรรเราในพระคริสตเจ้าแล้ว ... พระเจ้าทรง กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วที่จะให้เราเป็นบุตรบุญธรรม ... เพื่อสรรเสริญ พระสิริรุ่งโรจน์แห่งพระหรรษทานของพระองค์” (อฟ 1:3-6) เราได้รับ เรียกให้เป็นเหมือนพระองค์ผู้ทรงเป็น “ภาพลักษณ์ของพระเจ้าที่ตามอง ไม่เห็น” และเป็น “รูปจำลองอันสมบูรณ์ของพระธรรมชาติของพระองค์” ภาพลักษณ์ในที่นี้หมายถึงการเป็นกระจกสะท้อนความงามและพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า แผนการที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้สำหรับยุคปัจจุบัน ก็คือ ให้สะท้อนพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์บนโลก ผ่านทางการดำเนิน ชีวิตของบุคคลที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งความรักของพระคริสตเจ้า ในขณะที่สิ่งสร้างทั้งปวงเป็นรอยพระบาทบนเส้นทางที่พระเจ้าเสด็จผ่าน ไปในโลก “บุตรน้อยๆ” ทั้งหลายผู้เป็นบุตรบุญธรรมของพระเจ้า ก็ได้ รับเรียกให้เป็นกระจกเงาที่มีชีวิตของพระเจ้า ด้วยการเลียนแบบความรัก ของพระเยซูคริสตเจ้า นักบุญยอห์นเขียนไว้วา่ “ไม่มผี ใู้ ดเคยเห็นพระเจ้า แต่ถา้ เรารักกัน พระเจ้าย่อมทรงดำรงอยู่ในเรา และความรักของพระองค์ในเราก็จะ สมบูรณ์” (1 ยน 4:12) ความสงสาร และความรักเอาใจใส่ของพระเจ้า
บทเทศน์ปี C
283
จะแผ่ไปยังมนุษย์ทั้งหลายผ่านทางหัวใจมนุษย์ ผู้อุทิศตนเดินตามทาง ของพระคริสตเจ้า “พระเจ้าทรงเป็นความรัก ผู้ใดดำรงอยู่ในความรัก ย่อมดำรงอยู่ ในพระเจ้า และพระเจ้าย่อมทรงดำรงอยู่ในเขา” (1 ยน 4:16) บทบัญญัติ ใหม่ หรือกระแสเรียกของคนทั้งหลายในชีวิตใหม่หลังปัสกา คือทำให้ ความรักของพระเจ้าสมบูรณ์ “ไม่มีผู้ใดเคยเห็นพระเจ้า แต่ถ้าเรารักกัน พระเจ้าย่อมทรงดำรงอยู่ในเรา และความรักของพระองค์ในเราก็จะ สมบูรณ์” (1 ยน 4:12) กระแสไฟจะหมดพลัง ถ้าวงจรถูกตัดขาดฉันใด พลังจากความ รักของพระเจ้าย่อมถูกตัดขาดจากคนทั้งหลาย เมื่อเราไม่รักเขาฉันนั้น วงจรจะสมบูรณ์ และพลังงานไหลผ่านได้ เมื่อเรานำความรักของพระองค์ ไปมอบให้กันและกัน พระเยซูคริสตเจ้าไม่ได้ทรงพระดำเนินบนถนนหนทางของเรา ในวันนี้ในร่างกายมนุษย์ แต่พลังของความรัก และพระสิริรุ่งโรจน์ของ พระองค์ สามารถเป็นที่รู้จักได้ “อาศัยความรักที่ท่านมีต่อกันและกันนี้”
284
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 3 เมื่อยูดาส ออกไปแล้ว พระเยซูเจ้าตรัสว่า ... เรารู้ สึ ก ได้ ว่ า พระเยซู เ จ้ า ทรงรู้ สึ ก โล่ ง พระทั ย บั ด นี้ พระองค์ สามารถเปิดเผยความลับบางอย่างได้แล้ว – ราวกับว่าเมื่อผู้ทรยศอยู่ที่ นั่น พระองค์ทรงอึดอัด... เมื่อเราครุ่นคิดถึงความรู้สึกโดดเดี่ยวของเรา ปัญหาเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ของเรา หรือมีความรู้สึกติดขัดในใจที่ทำให้เราไม่กล้าพูด ในสิ่งที่ควรพูด ... ขอให้เราคิดถึงพระเยซูเจ้า ผู้เคยมีประสบการณ์กับ สถานการณ์ลำบากใจคล้ายกันระหว่างที่ทรงดำเนินชีวิตอย่างมนุษย์ คนหนึ่งบนโลกนี้ เมื่อเราเป็นทุกข์จากความขัดแย้งกับบุคคลใดหรือคนกลุ่มใด จากการต่อต้านและความเข้าใจผิด ขอให้เราระลึกว่าพระเยซูเจ้าก็ทรง เคยผ่านความทุกข์เช่นนั้นมาก่อน ... คืนนั้น ผู้ที่อยู่กับพระองค์ตกอยู่ใน บรรยากาศที่น่าเศร้าใจ คนหนึ่งในพวกเขาได้ออกจากที่นั่น เพื่อทำการ ทรยศต่อพวกเขา นีค่ อื สุดยอดของความไม่รกั (non-love) เป็นการละทิง้ มิตรสหาย ละทิ้งคนที่เคยใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเพื่อนฝูงมานานเป็นเดือน เป็นปี... พระเยซูเจ้าทรงเข้าใจความยากลำบากของเรา พระองค์ทรงเคย ผ่านสิ่งเหล่านี้มาแล้ว
บทเทศน์ปี C
285
บัดนี้ บุตรแห่งมนุษย์ได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ และพระเจ้าทรงได้รับ พระสิริรุ่งโรจน์ในบุตรแห่งมนุษย์ด้วย ถ้าพระเจ้าทรงได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ในบุตรแห่งมนุษย์ พระเจ้าจะทรงให้บุตรแห่งมนุษย์ได้รับ พระสิริรุ่งโรจน์ในพระองค์ด้วย และจะทรงให้บุตรแห่งมนุษย์ได้รับ พระสิริรุ่งโรจน์ในทันที พระเยซูเจ้าทรงมีพระทัยนิ่งสงบอย่างยิ่ง ท่ามกลางสถานการณ์ อันน่าตื่นเต้นนี้ พระองค์ทรงสงบใจได้อย่างที่มนุษย์ไม่อาจทำได้ ... พระเจ้าข้า โปรดประทานสันติสุขนี้แก่เราด้วยเทอญ ... สันติสุขของพระเยซูเจ้าแสดงออกมาด้วยประโยคที่เริ่มต้นด้วย “บัดนี้” และจบลงด้วย “ทันที” คำกริยาที่ต้นประโยคเป็นปัจจุบันกาล และคำกริยาที่ท้ายประโยคเป็นอนาคตกาล รูปแบบประโยคเช่นนี้เผยให้ เห็นทัศนคติของจิตใจ กล่าวคือ ตั้งแต่บัดนี้แล้ว (ขณะที่พระทรมาน เริ่มต้น และเริ่มต้นด้วยการออกไปของยูดาส) พระเยซูเจ้าทรงคิดถึงการ เสร็จสมบูรณ์ของกระบวนการนี้ ซึ่งจะเกิดขึ้น “ทันที หรือในไม่ช้า” และนั่นคือการกลับคืนชีพ ... ความหวังทำให้เรารอคอยเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น “ข้าพเจ้าคิดว่า ความทุกข์ทรมานในปัจจุบันเปรียบไม่ได้เลยกับพระสิริรุ่งโรจน์ที่จะ ทรงบันดาลให้ปรากฏแก่เรา” (รม 8:18) ... เช่นเดียวกับพระเยซูเจ้า ข้าพเจ้าลิ้มรสความสุขนิรันดรได้ตั้งแต่บัดนี้แล้ว ท่ามกลางความทุกข์ ทรมานในปัจจุบันของข้าพเจ้า ความสุขนิรันดรซึ่งจะกลายเป็นความจริง ได้ในอนาคตเท่านั้น “ทันที” ... บัดนี้ บุตรแห่งมนุษย์ได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ ... และพระเจ้าทรงได้รับ พระสิริรุ่งโรจน์ในบุตรแห่งมนุษย์ด้วย ... เราจะไตร่ตรองมากขึ้นกับข้อเผยแสดงที่น่าประหลาดใจนี้ ซึ่งทำ ให้เราเข้าถึงชีวิตภายในของพระเยซูเจ้า
286
บทเทศน์ปี C
กระบวนการพระทรมานได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อผู้ทรยศออกไปจาก ห้อง ในความคิดของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงได้รับพระสิริรุ่งโรจน์แล้ว นี่คือความจริงข้อหนึ่ง ... เรารู้ สึ ก ว่ า ยากจะเชื่ อ ว่ า ไม้ ก างเขนกลายเป็ น พระสิ ริ รุ่ ง โรจน์ สำหรับพระเยซูเจ้าแล้ว เรามักอยากจะร้องไห้คร่ำครวญด้วยความสงสาร พระองค์ในวันพฤหัสบดี และวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ จนเราลืมความชื่นชม ยินดีของวันอาทิตย์ปัสกาเสียสนิท แต่พระผู้ทรงถูกตรึงกางเขนทรงได้ รับพระสิริรุ่งโรจน์แล้ว และทรงถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้าแล้ว เมื่อใดเราจึงจะเลิกคิดว่ากางเขนเป็นสิ่งที่น่ากลัว ซึ่งเราต้องระงับยับยั้ง ถ้าทำได้ พระเยซูเจ้าทรงมองว่า กางเขนของพระองค์คือพระสิริรุ่งโรจน์ ของพระองค์ “ไม่มีใครมีความรักยิ่งใหญ่กว่า...” (ยน 15:13) ถูกแล้ว ผู้มีความรักแท้ย่อมรู้ได้จากประสบการณ์ ว่าความรักย่อมนำไปสู่การ เสียสละเพื่อความสุขของผู้ที่เขารัก ... ใครที่รักแต่ตัวเอง ไม่มีวันเข้าใจได้ ... ท่านอยากรู้หรือไม่ว่าท่านรักใครบางคนหรือเปล่า ขอให้ถาม ตัวท่านว่าท่านสามารถเสียสละตนเองด้วยความรักเพื่อบุคคลนั้นได้ หรือไม่ ... แต่จงระวัง เสียงเจ้าเล่ห์ของโลกสมัยใหม่จะกระซิบที่ข้างหูของ ท่าน ว่าท่านคิดผิดที่จะเสียสละตนเอง ... ว่าท่านกำลังเป็นเหยื่อ ว่าท่าน ไม่ มี บุ ค ลิ ก ภาพ และบอกว่ า ท่ า นควรคิ ด ถึ ง ตนเองให้ ม ากกว่ า นี้ อี ก สักหน่อย ... ลูกทั้งหลายเอ๋ย เราจะอยู่กับท่านอีกไม่นาน ถ้อยคำเหล่านี้แสดงความรักอันอ่อนโยนเหมือนมารดา นี่เป็น ครั้ ง เดี ย วตลอดพระวรสารทั้ ง ฉบั บ ที่ พ ระเยซู เ จ้ า ทรงใช้ ว ลี ว่ า “ลู ก ทั้งหลายเอ๋ย”... พระเยซูเจ้ากำลังจะจากไป พระองค์ทรงทราบ และทรงบอกให้ พวกเขารู้
บทเทศน์ปี C
287
น่าเสียดายที่บทอ่านนี้ตัดประโยคต่อไปนี้ ซึ่งกล่าวว่า “ท่านจะ แสวงหาเรา แต่เราบอกท่านบัดนี้ เหมือนกับที่เราเคยบอกชาวยิวว่า ที่ที่ เราไปนั้นท่านไปไม่ได้” ชาวโลกร่วมสมัยกังวลเมื่อดูเหมือนว่าพระเจ้า ไม่ประทับอยู่กับเขา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าคืนที่พระองค์ทรงอยู่กับ มิตรสหายของพระองค์นั้น เป็นคืนสุดท้ายของพระองค์ บัดนี้ พระองค์ จะต้องทิ้งเขาไว้ตามลำพัง โดยที่พระองค์ไม่ได้ประทับอยู่ในลักษณะของ มนุษย์ที่เขาจับต้องและมองเห็นได้ เวลานั้นจะเป็นเวลาที่ “ไม่มีพระองค์” แต่พระองค์มีบางสิ่งบางอย่างจะบอกเรา ขอให้เราตั้งใจฟัง ... เราให้บทบัญญัติใหม่แก่ท่านทั้งหลาย ให้ท่านรักกัน พระเยซูเจ้าทรงจากไป แต่พระองค์ทรงประกาศว่าพระองค์จะ ประทับอยูก่ บั เขาในรูปแบบใหม่ “ผูใ้ ดรักเรา ผูน้ นั้ จะปฏิบตั ติ ามวาจาของ เรา พระบิดาของเราจะทรงรักเขา พระบิดาจะเสด็จมาพร้อมกับเรา มาหา เขา จะทรงพำนักอยู่กับเขา” (ยน 14:23) ยอห์นจะแสดงความคิดเห็นว่า “ถ้าเรารักกัน พระเจ้าย่อมทรงดำรงอยู่ในเรา” (1 ยน 4:12) ถูกแล้ว ความรักแท้ก็คือ “การประทับอยู่อย่างแท้จริง” ของ พระเจ้า “ที่ใดมีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั่น ในหมู่พวกเขา” (มธ 18:20) พระเยซูเจ้าจะประทับอยู่ท่ามกลางคน ที่ร่วมใจกันภาวนา “ท่านทำสิ่งใด (ให้อาหาร ให้เสื้อผ้า ไปเยี่ยมเยียน รักษาพยาบาล) ต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา” (มธ 25: 31-46) พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในมนุษย์ทุกคนที่กำลังต้องการความ ช่วยเหลือจากข้าพเจ้า และผู้ที่ข้าพเจ้ารับใช้... ถ้าคำพูดนี้เป็นความจริง ... ก็เป็นความจริงที่ “การตายของ พระเจ้า” – หรือการไม่มีพระเจ้าประทับอยู่ในโลกสมัยใหม่ของเรา – หมายถึงการตายของความรัก เมื่อมนุษย์ไม่มีความรักต่อกันแล้ว ...
288
บทเทศน์ปี C
นี่เป็นข้อควรระวังอีกข้อหนึ่ง เสียงเจ้าเล่ห์ของโลกสมัยใหม่พยายาม ชักนำให้เราหลงทาง เสียงนี้ดังไม่หยุดจากทุกคลื่น ในทุกคำโฆษณา คนทั่วไปพูดถึง และขับร้องถึงแต่ความรัก แต่เป็นความรักประเภทใด กันแน่ ความรักแบบโรแมนติก (Eros) หรือความรักด้วยความเคารพ (Agape) ... เป็นความรักตนเอง หรือความรักต่อผู้อื่น คำว่ารัก (love) ในภาษาอังกฤษ เป็นหนึ่งในคำที่กำกวมที่สุด และลวงให้เข้าใจผิดได้มากที่สุด เมื่อท่านพูดว่า “ฉันรักหมากฝรั่ง (I love chewing gum)” ท่านรักสิ่งที่ท่านกำลังทำลายเพื่อประโยชน์ของ ตัวท่านเองหรือ และเมื่อท่านรักใครบางคน ท่านรักบุคคลนั้นในลักษณะ เดียวกันหรือ คือรักเพื่อตนเอง หรือรักเพื่อตัวเขา ภาษากรีกกำกวม น้อยกว่า เพราะใช้สองคำเพื่อบ่งบอกความเป็นจริงที่ตรงกันข้าม - Eros หมายถึงความรักตนเอง ... ความรักที่มองเห็นผู้อื่นเป็น เหยื่อ จนถึงกับทำลายเขาได้... - Agape หมายถึงความรักผู้อื่นอย่างไม่เห็นแก่ตัว ... ความรักที่ พร้อมจะสละความสุขของตนเองเพื่อความสุขของผู้อื่น... Ad Gentes (ข้อ 12) ของสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 บอกเราว่า ความรักแท้หมายถึง “ความรักเมตตาแบบคริสตชน ซึ่งมีต่อมนุษย์ทุกคน โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ สถานะทางสังคม หรือศาสนา ไม่แสวงหากำไร หรือความกตัญญู” เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้นเถิด ข้อความนี้เปิดโปงความคิดผิดๆ เกี่ยวกับความรักในบทเพลงที่ เราชอบขับร้องกันนัก เราต้องรักกันเหมือนกับที่พระเยซูเจ้าทรงรักเรา นั่นหมายถึง ความพร้อมที่จะก้มตัวลงล้างเท้าให้พี่น้องชายหญิงของเราเสมือนว่าเรา เป็ น ทาสผู้ ต่ ำ ต้ อ ย (ยน 13:14) ซึ่ ง พระองค์ เ พิ่ ง จะกระทำให้ ดู เ ป็ น
บทเทศน์ปี C
289
ตัวอย่าง ... หมายถึง “ยอมสละชีวิตเพื่อผู้ที่เรารัก” (ยน 10:11,15:13) ซึ่งพระเยซูเจ้าจะทรงกระทำในวันรุ่งขึ้นบนไม้กางเขน ... พระเยซูเจ้าตรัสแก่นักบุญแองเจลา แห่งโฟลินโญ ว่า “ความรักที่ เรามีต่อเจ้าไม่ใช่เรื่องล้อเล่น” ... ความรักที่พระเจ้าทรงมีต่อเรา เป็นเหตุ ให้พระองค์ทรงยอมสละพระองค์เองอย่างสิ้นเชิง... ก่อนจะรักผู้อื่นในสภาพที่เขาเป็นอยู่นั้น เราต้องเลิกคิดว่าตัวเอง เป็นศูนย์กลาง เราต้องยอมเสียสละ ... สำหรับพระเจ้า ความรักเช่นนี้นำ พระเยซูเจ้าไปสู่ไม้กางเขน พระเจ้าทรงรักมนุษย์ จนถึงกับทรงรักเขาใน สภาพของสัตว์โลกผู้รู้จักผิดพลาด ทรงยอมให้เขามีเสรีภาพที่จะปฏิเสธ พระองค์ เป็นศัตรูกับพระองค์ และตัดสินประหารชีวิตพระองค์ สำหรับพระเยซูเจ้า ความรักไม่ใช่คำพูดเลื่อนลอยและซ้ำซาก มนุษย์ทุกวันนี้ดูเหมือนจะพูดถึงความรักกันทุกคน แต่กระนั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่าบทบัญญัติของพระองค์เป็นบทบัญญัติ “ใหม่” ถูกแล้ว การรักให้เหมือนกับพระเยซูเจ้าทรงรัก ควรเป็นการรัก อย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน นี่คือหลักจริยธรรมใหม่ ซึ่งเราไม่มีวันรู้ว่า จะนำเราไปที่ใด ... ถ้าท่านมีความรักต่อกัน ทุกคนจะรู้ว่าท่านเป็นศิษย์ของเรา ภายในสามบรรทัด พระเยซูเจ้าตรัสเป็นครั้งที่สามว่า “ให้รักกัน” การตอกย้ำเช่นนี้มีนัยสำคัญ พระเยซูเจ้าทรงเสนอ “เหตุจูงใจ” สาม ประการที่ส่งเสริมกันและกัน เพราะ - นี่คือ “บทบัญญัติ” ของพระเยซูเจ้า - “เราให้บทบัญญัติใหม่ แก่ท่านทั้งหลาย” - นี่คือ “ตัวอย่าง” ของพระเยซูเจ้า - “เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้นเถิด” - นี่คือ “เครื่องหมาย” ของพระเยซูเจ้า - “ทุกคนจะรู้ว่าท่านเป็น ศิษย์ของเรา”
290
บทเทศน์ปี C
ด้วยถ้อยคำเหล่านี้ พระเยซูเจ้าทรงเชิญชวนศิษย์ของพระองค์ให้ เชื่อในความเป็นจริงของพันธกิจของพระองค์ ในเวลาที่พระองค์กำลังจะ จากโลกนี้ไป ... ความรักฉันพี่น้องคือ “สถาบัน” แท้ซึ่งช่วยให้พระคริสตเจ้าประทับอยู่กับเราตลอดไปจนถึง “ยุคสุดท้าย” ที่เริ่มต้นขึ้น ด้วยความตายบนไม้กางเขนของพระองค์... ยอห์นไม่บอกเล่าเหตุการณ์ตั้งศีลมหาสนิท อย่างที่เราคาดหมาย ว่าเขาน่าจะทำ แต่เขาบอกเล่าเรื่องการล้างเท้าให้บรรดาศิษย์ และการ ประทาน “บทบัญญัติใหม่” ที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ราวกับว่า ในความคิด ของยอห์น การแสดงความรักเป็นอนุสรณ์ และเครื่องหมายอันแท้จริง และสามารถบ่งบอกถึงการประทับอยู่อย่างแท้จริงของพระคริสตเจ้าได้ อย่างมีประสิทธิผลเท่าเทียมกับศีลมหาสนิท ยอห์นเสริมถ้อยคำของ ผู้นิพนธ์คนอื่นให้สมบูรณ์ โดยให้ความสำคัญกับเนื้อหาสาระมากกว่า พิธีกรรม ตามคำบอกเล่าของมัทธิว มาระโก และลูกา พระเยซูเจ้าตรัสว่า “นี่คือกายของเราที่มอบให้ และโลหิตของเราที่หลั่งออกมา” และตาม คำบอกเล่าของยอห์น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราล้างเท้าให้ท่าน จงรักกัน และกัน เหมือนกับที่เรารักท่าน” แต่นี้คือการประทับอยู่เดียวกัน และ แท้จริงเหมือนกัน ความคิดนี้ควรเพียงพอจะท้าทายคริสตชนที่ร่วมพิธีบูชามิสซา เครื่องหมายที่ทำให้เรารู้ว่าใครเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าไม่ใช่เพียงการ ไปวัดฟังมิสซา แต่เครือ่ งหมายแท้จริงคือ “ถ้าท่านมีความรักต่อกัน ทุกคน จะรู้ว่าท่านเป็นศิษย์ของเรา”... คนต่างศาสนาจะสังเกตเห็นเครื่องหมายนี้หรือไม่ ... เราจะสงวน เครื่องหมายนี้ไว้แสดงออกเฉพาะเวลาที่คริสตชนมาชุมนุมกันภายใน กำแพงทั้งสี่ด้านของวัดอย่างนั้นหรือ... พระเยซูเจ้าตรัสอย่างแน่นอนถึงเครื่องหมายที่เราต้องแสดงออก ในชีวิตประจำวัน เป็นเครื่องหมายหนึ่งเดียวที่มนุษย์ทุกคนมองเห็น
บทเทศน์ปี C
291
ได้ง่าย การเป็นพยานของคริสตชนจะปรากฏให้เห็นได้ง่าย ถ้าเราเข้าร่วม ในภารกิจอันยิ่งใหญ่ทั้งปวงของโลกสมัยใหม่ กล่าวคือ ภารกิจส่งเสริม ความยุติธรรม สันติภาพ บรรเทาความอดอยาก และส่งเสริมศักดิ์ศรี ของมนุษย์ ศีลมหาสนิทส่งเรากลับออกไปยังถนนในบ้านเมืองของเรา ไปยังสำนักงาน และที่ทำงานของเรา ไปยังโรงเรียน และมหาวิทยาลัย ของเรา ไปยังทุกสถานที่แห่ง “การรับใช้”...
292
บทเทศน์ปี C
วั นอาทิตย์ที่หก เทศกาลปัสกา ยอห์น 14:23-29 พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “ผู้ใดรักเราผู้นั้นจะปฏิบัติตาม วาจาของเรา พระบิดาของเราจะทรงรักเขา พระบิดาจะเสด็จพร้อม กับเรา มาหาเขา จะทรงพำนักอยู่กับเขา ผู้ที่ไม่รักเรา ก็ไม่ปฏิบัติตาม วาจาของเรา วาจาที่ท่านได้ยินนี้ ไม่ใช่วาจาของเรา แต่เป็นของ พระบิดา ผู้ทรงส่งเรามา เราบอกสิ่งเหล่านี้ให้ท่านฟัง ขณะที่เรา ยังอยู่กับท่าน แต่พระผู้ช่วยเหลือ คือพระจิตเจ้า ที่พระบิดาจะทรง ส่งมาในนามของเรานั้น จะทรงสอนท่านทุกสิ่ง และจะทรงให้ท่าน ระลึกถึงทุกสิ่งที่เราเคยบอกท่าน เรามอบสันติสุขไว้ให้ท่านทั้งหลาย เราให้สันติสุขของเรากับท่าน เราให้สันติสุขกับท่านไม่เหมือนที่โลก ให้ ใจของท่านอย่าหวั่นไหว หรือมีความกลัวเลย ท่านได้ยินที่เรา บอกกับท่านแล้วว่า เรากำลังจะไป และเราจะกลับมาหาท่านทั้งหลาย ถ้าท่านรักเรา ท่านคงยินดีที่เรากำลังไปเฝ้าพระบิดา เพราะพระบิดา ทรงยิ่ ง ใหญ่ ก ว่ า เรา และบั ด นี้ เ ราได้ บ อกท่ า นทั้ ง หลายก่ อ นที่ เหตุการณ์จะเกิดขึ้น เพื่อว่าเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว ท่านจะเชื่อ”
บทเทศน์ปี C
293
บทรำพึงที่ 1
เราให้สันติสุขของเรากับท่าน บรรดาศิษย์กำลังมึนงงและสับสน เมื่อพระเยซูเจ้าทรงบอกพวก เขาว่าพระองค์จะต้องจากเขาไปในไม่ช้า ความรักทำให้ยากที่จะปล่อยให้ คนที่เรารักจากเราไป พระเยซูเจ้าอธิบายว่าเขาจำเป็นต้องยอมสูญเสีย การประทั บ อยู่ ท างกายภาพของพระองค์ เพื่ อ ให้ พ ระองค์ ส ามารถ ประทานของขวัญที่ยิ่งใหญ่กว่าแก่เขาได้ พระองค์ทรงสัญญาจะประทาน พระพรอันพิเศษสุดแก่เขาจากพระบิดา พระจิตเจ้า และพระบุตร พระพรของพระบิดา คือ การสัมผัสกับความรักของพระองค์ ภายในวิญญาณ เป็นความสัมพันธ์อันใกล้ชิดสนิทสนมกับพระผู้สร้าง สรรพสิ่ง พระพรของพระจิตเจ้า คือ แสงสว่างแห่งความเชื่อ เพื่อให้เข้าใจ คำสั่งสอนของพระเยซูเจ้า พระพรของพระบุตร คือ Shalom ซึ่งไม่ใช่สันติสุขอย่างที่ได้รับ จากโลก แต่เป็นความเข้มแข็งภายในของพระองค์เองที่ช่วยให้พระองค์ สามารถเผชิญหน้ากับความรู้สึกขัดแย้งจากการจากไป และความเจ็บ ปวดจากกางเขน หลักปรัชญาที่แพร่หลายทั้งในโลกตะวันตก และตะวันออก เสนอ สิ่งที่เลียนแบบสันติสุข ซึ่งก็มีประโยชน์ในแง่หนึ่ง แต่ไม่ใช่สันติสุขแท้ โลกตะวันตกที่นิยมแสวงหาความสุข เสนอสันติสุขที่เหมือนกับ การบรรเทาความหงุดหงิด เสนอให้กินยาระงับความปวด ให้หลบหนี ความเบื่อไปหาความบันเทิง ให้ปลดปล่อยพลังงานที่สะสมอยู่ในตัวออก มา ให้ปลอบประสาทด้วยดนตรีเบาๆ ให้คลายเครียดด้วยสุรา หรือยา
294
บทเทศน์ปี C
ระงับประสาท วิธีเหล่านี้เสนอทางหนี แต่ไม่ทำให้เกิดความเข้มแข็ง ภายในที่แท้จริง การหนีปัญหาอาจทำให้คลายความเจ็บปวดได้ชั่วครู่ ชั่วยาม แต่ไม่อาจรักษาบาดแผลได้ โลกตะวันออกเสนอให้เดินทางเข้าสู่ความสงบภายใน เหมือนกับ เรือดำน้ำที่ดำลึกลงไปในทะเล เพื่อหลบหนีพายุที่กำลังพัดกระหน่ำบน ผิวน้ำแห่งชีวติ โลกตะวันออกสอนว่าต้นเหตุของความเจ็บปวด และความ ทุกข์ คือ ความปรารถนา (กิเลส) ดังนั้น วิธีรักษาความเจ็บปวดจึงต้อง ทำด้วยการควบคุมกิเลสของเรา มีการค้นคว้าเทคนิคต่างๆ ในการผ่อน คลายกล้ามเนื้อ ฝึกวิธีหายใจ และกล่าวคำง่ายๆ ซ้ำๆ กันในใจ เพื่อใช้ เป็นวิธีควบคุมตนเอง เราสามารถใช้ยาระงับความเจ็บปวดของโลกตะวันตกได้อย่าง ถูกกฎหมาย และได้ประโยชน์จากการแสวงหาความสงบภายใน สิ่งสูงสุด ที่ศิษย์ของพระคริสตเจ้าต้องแสวงหา คือสันติสุขในความรักที่พระเจ้า ประทานให้แก่วิญญาณ สันติสุขของพระเยซูเจ้า ที่พระองค์ประทานแก่ ศิษย์ของพระองค์ จะเจริญเติบโตจากความใกล้ชิดกับพระเจ้า ผู้ทรง พำนักอยู่ในตัวเรา คำว่าใกล้ชิดสนิทสนม (intimacy) มาจากรากศัพท์ภาษาละติน ว่ากลัว (fear) ความใกล้ชิดหมายถึงความสัมพันธ์ที่สามารถเผชิญหน้า กับความเสี่ยงและความกลัว ความเจ็บปวดและความทุกข์ยากต่างๆ ที่ ความสัมพันธ์นั้นจะนำมาให้ ความใกล้ชิดสนิทสนมเกิดจากความไว้วางใจอันแรงกล้าระหว่างสองฝ่ายที่ช่วยให้ทั้งสองร่วมกันเผชิญหน้า ทั้ ง ยามสุ ข และยามทุ ก ข์ ไม่ ว่ า จะรวยหรื อ จน ไม่ ว่ า จะเจ็ บ ป่ ว ยหรื อ สุขภาพดี เพราะความใกล้ชิดสนิทสนมกับพระบิดา พระเยซูเจ้าจึงสามารถ ตรัสเรื่องของสันติสุขในคืนที่พระองค์กำลังเผชิญกับความวิตก ความ ผิดหวัง และความกลัว บ่อเกิดของความไว้ใจของพระองค์คือพระองค์
บทเทศน์ปี C
295
ทรงทราบว่าพระองค์กำลังปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระบิดา “อย่าให้ เป็นไปตามใจข้าพเจ้า แต่ให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์เถิด” สันติสุขที่พระองค์ตรัสถึงนี้ไม่ใช้การหลบหนีความเป็นจริงอันเจ็บปวด แต่เป็นความเข้มแข็งที่จะเผชิญหน้ากับกางเขน ทั้งชีวิตของพระองค์คือการสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับพระประสงค์ ของพระบิดา แม้จะมีบางส่วนที่ส่งเสียงครวญครางท่ามกลางพายุแห่ง ความมืดมนและความทุกข์ทรมาน แต่บ้านของพระองค์ยังตั้งอยู่ได้อย่าง มั่ น คงแข็ ง แรง พระประสงค์ ข องพระบิ ด าเป็ น ที่ ตั้ ง ของฐานรากของ พระองค์ ความเข้มแข็งภายใน และสันติสุขของพระองค์ กวีดังเต กล่าว ว่า ความยินดีของบุคคลที่อยู่ในสวรรค์เกิดจากการปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้า คนเหล่านี้บอกเขาว่า “สันติสุขของเราอยู่ในพระประสงค์ของพระองค์” ผู้ นิ พ นธ์ พ ระวรสาร ผู้ บั น ทึ ก คำสั ญ ญาของพระเยซู เ จ้ า ว่ า จะ ประทานสั น ติ สุ ข นี้ รู้ ดี ว่ า บรรดาศิ ษ ย์ จ ะต้ อ งดำเนิ น ชี วิ ต อยู่ กั บ ความ เจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน และการเบียดเบียนจนถึงตายอย่างไรเพื่อ รั ก ษาความเชื่ อ ของพวกเขา และเช่ น เดี ย วกั บ พระอาจารย์ ข องเขา คนเหล่านี้จะพบสันติสุขในความเป็นหนึ่งเดียวอันสนิทสนมกับพระบิดา ... กับพระเจ้า ผู้เสด็จมาพำนักอยู่ในหัวใจของเขา “ใจของท่านอย่าหวั่นไหว หรือมีความกลัวเลย” บางส่วนในชีวิต อาจเจ็บปวด และน่ากลัวในบางครั้ง แต่ชีวิตโดยรวมยังมั่นคง เพราะ พระเจ้าทรงพำนักอยู่ในหัวใจ “พระเจ้าประทับอยู่ภายใน หัวใจย่อมไม่หวั่นไหว” (สดด 45)
296
บทเทศน์ปี C
บทรำพึงที่ 2 ปล่อยวาง
ภายในห้องหนึ่งในย่านคนจนของนครนิวยอร์ก ในคืนหนึ่งของ เดือนสิงหาคมที่อากาศอบอ้าว ชายชราคนหนึ่งนอนหายใจระรวยใกล้ สิ้นใจ แม้แต่เครื่องปรับอากาศที่ส่งเสียงครางเบา ๆ ก็ช่วยอะไรไม่ได้ คนที่ เ ฝ้ า อยู่ ร อบเตี ย งคนหนึ่ ง ได้ พั น สายประคำรอบนิ้ ว มื อ ข้างขวาของเขา มืออีกข้างหนึ่งของเขากำกล่องเงินเล็กๆ แนบไว้กับ หัวใจของเขา คนในครอบครัวของเขารู้ว่าสิ่งมีค่าในกล่องนั้นคือดินหนึ่งกำมือ จากเกาะเล็กๆ ทางตะวันตก ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา เป็นเกาะที่หาพื้นดิน ที่อุดมสมบูรณ์ได้ยาก มีแต่ก้อนหินที่พายุฝนจากมหาสมุทรแอตแลนติก ชะล้างจนเกลี้ยงเกลา เขาเก็บดินกำมือนี้ขึ้นมาในคืนหนึ่งก่อนวันที่เขาจะ เดินทางออกจากเกาะเมื่อ 60 ปีก่อน ตอนแรกเขาใส่ดินนี้ไว้ในถุงกระดาษ สีน้ำตาลที่ยับยู่ยี่ และเปลี่ยนมาใส่ในโถแก้วในเวลาต่อมา จากนั้นเขาได้ นำดินมาเก็บไว้ในกล่องเงินเล็กๆ ใบนี้ในที่สุด กล่องเงินนี้เป็นสิ่งฟุ่มเฟือยชิ้นเดียวในชีวิตที่เขาซื้อหามาได้ เขาเอาชีวิตรอดอยู่ได้ในเมืองนี้ เขาเลี้ ย งดู ค รอบครั ว จนบุ ต รเติ บ โต แต่ ไ ม่ เ คยหาเงิ น ได้ ม ากพอจะ เดินทางกลับไปบ้านเกิด เมื่อเวลาผ่านไปแต่ละปี ดินกำมือนั้นก็ยิ่งมีค่า เพราะมันนำเขากลับไปยังสวนอีเดนในความทรงจำ ... ไปหาลมที่มีกลิ่น เกลือที่พัดอย่างอิสระ เสียงพูดในภาษาพื้นเมือง เสียงร้องของนกนางนวล ที่บินร่อนกลางอากาศ ในช่วงท้ายของชีวิต ครอบครัวของเขาเสนอจะ จ่ายค่าเดินทางให้ แต่เขากลัวที่จะกลับไป กลัวว่าความฝันของเขาจะสลาย
บทเทศน์ปี C
297
เขาค่อยๆ ล่องลอยออกไปไกลจากเสียงสวดภาวนาเบาๆ ... เหมือนกับอยู่ในเรือที่แล่นไปตามทางน้ำใต้ดิน รอบข้างมีแต่ความมืด แต่ เรือกำลังแล่นไปหาสถานที่หนึ่งที่สว่าง และเขาเห็นว่ามีประตูขนาดใหญ่ แต่ประตูอยู่สูงเกินกว่าเขาจะเอื้อมถึง ชายที่เฝ้าประตูเดินออกมา และ ยื่นมือจะฉุดเขาขึ้นไป แต่เขามัวแต่กำดินนั้นไว้ในมือ เรือกระชากไป ข้างหน้า และแล่นต่อไปตามกระแสน้ำ เขามาถึงประตูอีกบานหนึ่ง ครั้งนี้ มีกลุ่มคนที่ดูคล้ายกับบิดา มารดาและเพื่อนบ้านในวัยเด็กของเขาปรากฏตัวให้เห็น และร้องเรียก เขา เขาเอื้อมมือไปหาคนเหล่านั้น แล้วก็หยุดเพื่อตรวจดูว่ากล่องเงิน ยังอยู่เรียบร้อยดีหรือเปล่า แต่แล้ว เขาก็จับมือคนเหล่านั้นไม่ทัน ขณะที่ กระแสน้ำพัดเรือห่างออกไป มาถึงประตูที่สาม ... ที่นี่มีเด็กเล็กๆ คนหนึ่ง เขาตกใจที่เห็นว่าเด็ก อาจได้รับอันตรายจากกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวเบื้องล่าง ดูเหมือนว่าเขา กระโดดเข้าไปสู่อ้อมแขนของเด็กน้อย เขาขึ้นมายืนบนฝั่งได้ ภายใน ประตู เขาพบเกาะหนึ่งที่เหมือนกับเกาะบ้านเกิดของเขามาก แต่สวยงาม กว่าหลายเท่า เมื่อคนทั้งหลายที่เฝ้าอยู่รอบเตียงเห็นกล่องเงินหลุดจาก มือของเขา และดินแห้งๆ ตกลงบนพื้นห้อง ทุกคนรู้ว่าชายชราไปถึงบ้าน ของเขาแล้ว การปล่อยให้พระเยซูเจ้าจากไป เป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวดมาก สำหรับอัครสาวก จนเขาไม่เข้าใจว่าพระองค์กำลังตรัสอะไร เขาต้องการ ยึดเหนี่ยวอยู่กับการพบเห็นพระองค์ สัมผัสตัวพระองค์ได้ทุกวัน “ถ้า ท่านรักเรา ท่านคงยินดีที่เรากำลังไปเฝ้าพระบิดา” ความรักแท้ที่ไม่ เห็นแก่ตัวย่อมรู้ว่าเมื่อใดควรปล่อยมือ ความวางใจในพระเจ้าโดยสิ้นเชิง เรียกร้องให้เรายอมเสี่ยง และปล่อยดินกำมือสุดท้ายให้หลุดไปจากมือ ของเรา
298
บทเทศน์ปี C
ฟรานซิส ทอมสัน เขียนถึงความกลัวที่จะยอมจำนนต่อสุนัขล่าเนื้อแห่ง สวรรค์ว่า “เพราะแม้ข้าพเจ้าจะรู้จักความรักของผู้ที่ติดตามข้าพเจ้า แต่ ข้าพเจ้าก็ยังกลัวมาก ว่าเมื่อได้พระองค์มาแล้ว ข้าพเจ้าจะไม่เหลือสิ่ง อื่นใดอีก” ดินในกำมือของเราอาจมีหลายรูปแบบ เช่น - ความภาคภูมิใจในเกียรติยศ และความสำเร็จของเรา - การยืนกรานเรียกร้องสิทธิของเราอย่างดื้อรั้น - ความสงสารตนเอง โดยอ้างว่าความสนุกสนานของเราที่เป็น บาป เป็นการชดเชยความทุกข์ยากของเรา - ความโกรธที่เก็บกดไว้ โดยไม่ยอมลืมความเจ็บปวดในอดีต ด้วยความเข้าใจอันเฉียบคม นักบุญฟรังซิส บอกว่าความโกรธ เป็นบาปที่ผิดต่อความยากจน เพราะความทรงจำเกี่ยวกับความเจ็บปวด เป็นเหมือนกระเป๋าเงินที่ความเห็นแก่ตัวไม่ยอมวาง “เรากำลังจะไป และ เราจะกลับมาหาท่านทั้งหลาย” ก่อนที่พระองค์จะเสด็จมาหาเราได้ เรา ต้องปล่อยดินในกำมือของเรา มือที่ว่างเปล่าจะเผยให้เห็นหัวใจที่เปิด กว้างที่กำลังรอคอยพระองค์
บทเทศน์ปี C
299
บทรำพึงที่ 3 เรายังรำพึงตาม “คำปราศรัยอำลา” ของพระเยซูเจ้า ที่ประทาน ให้ในคืนวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ ข้อความที่เราอ่านในวันนี้เป็นคำบอกเล่า ของนักบุญยอห์น ว่าเป็นคำตอบของพระเยซูเจ้าต่อคำถามของยูดา ว่า “พระเจ้าข้า ทำไมพระองค์ทรงต้องการแสดงพระองค์แก่พวกเรา แต่ ไม่แสดงพระองค์แก่โลก” ... วรรณกรรมของชาวยิวในยุคของพระเยซูเจ้า แสดงว่าคนร่วมสมัยกับพระองค์คาดหมายว่าพระเมสสิยาห์จะเป็นผู้นำ ทางการเมืองผู้ทรงอำนาจ ผู้จะเอาชนะศัตรูของพระองค์ และบังคับให้ ผู้ต่อต้านพระองค์ก้มลงคำนับพระองค์ ... นี่คือความคาดหวังของอัครสาวกด้วยเช่นกัน ... เราคาดหวังเช่นนี้ด้วยหรือเปล่า ... ผู้ใดรักเรา ผู้นั้นจะปฏิบัติตามวาจาของเรา พระบิดาของเราจะทรง รักเขา พระบิดาจะเสด็จพร้อมกับเรา มาหาเขา จะทรงพำนักอยู่กับเขา ผู้ที่ไม่รักเราก็ไม่ปฏิบัติตามวาจาของเรา พระเจ้าทรงตัดสินพระทัย จะแสดงพระองค์ ด้ ว ยวิ ธี นี้ เ พี ย งวิ ธี เดียว คือ พระองค์จะเสด็จมาพำนักในหัวใจของผู้ที่ยินดีต้อนรับพระองค์ และเชื่อในพระองค์ หรืออีกนัยหนึ่ง มีแต่ผู้ที่รักพระองค์เท่านั้นที่จะรับรู้ ได้ถึงการประทับอยู่ของพระองค์ ... ความรักไม่บีบบังคับ ไม่กดขี่... ในความรักประสามนุษย์ของเรา ถ้าเป็นความรักแท้ เราจะสัมผัส ได้ถึงความใกล้ชิดของผู้ที่เรารัก แม้ว่าบุคคลนั้นไม่ได้อยู่กับเราทาง กายภาพ เพราะบางครั้ง เราอาจพบว่าเรากำลังพูดในใจกับคนที่เรารัก ไม่ว่าจะเป็น เพื่อน บุตร คู่หมั้น คู่สมรส...
300
บทเทศน์ปี C
“การอยู่ของผู้ที่ไม่อยู่” เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นได้กับผู้ที่รัก กันเท่านั้น... แม้แต่ในวันนี้ เราก็ยังโอดครวญว่าพระเจ้า “ไม่อยู่” ว่าพระเจ้า “ทรงเงียบ” ผู้มีความเชื่อจะได้ยินคำท้าทายจากพวกอเทวนิยมเสมอว่า “พระเจ้าของท่านอยู่ที่ไหน” (สดด 42:4) แต่ในปัจจุบัน คำถามนี้เป็น การแสดงการปฏิเสธพระศาสนจักร และชีวิตชุมชนของพระศาสนจักร พระเยซูเจ้าทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดีที่น่ายึดถือเป็นแบบอย่าง ... ไม่มีใครตำหนิพระองค์ แต่เขาเมินเฉยต่อพระองค์ราวกับว่าพระองค์ ไม่มีตัวตน โดยแก้ตัวง่ายๆ ว่า “ฉันเป็นคริสตชนที่ไม่ปฏิบัติศาสนกิจ” ... แต่นี่คือเส้นแบ่งเขตระหว่าง “ศิษย์แท้ของพระเยซูเจ้า” และ มนุษย์อื่นๆ ... แม้ว่าคนเหล่านั้นรู้สึกว่าเข้าใจความทุกข์ยากของชายชาว นาซาเรธที่ชื่อเยซู ... พระเยซูเจ้าทรงกล้าหาญพอจะยืนยันว่า พระองค์ ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เพียงบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต หรื อ เป็ น แบบอย่ า งที่ ดี ส ำหรั บ มนุษย์ และคำสั่งสอนของพระองค์อาจช่วยเราให้นำไปไตร่ตรองได้ เท่านั้น ... แต่พระองค์ทรงกล้ายืนยันว่าพระองค์ยังมีชีวิตอยู่ในวันนี้ พระองค์ยังทำงาน และประทับอยู่กับมนุษย์ในวันนี้ ... อาศัยการกลับ คืนชีพของพระองค์ พระองค์ทรงเข้าสู่โลกของพระเจ้า และทำให้พระองค์ ทรงกลายเป็นคนร่วมสมัยของมนุษย์ทุกคน “พระคริสตเจ้าของคุณอยู่ที่ไหน” ... “เราไม่เคยพบเห็นพระเยซู ของคุณ” ... พระเยซูเจ้าทรงตอบคำถามเหล่านี้เองว่า... ผู้ใดรักเรา เราจะมาพำนักอยู่กับเขา พระคริสตเจ้าทรงยืนยันว่า นับจากเวลานั้นเป็นต้นไป พระองค์จะ ประทับอยู่ในโลกนี้ผ่านทางบุคคลที่รักพระองค์ ... ผ่านทางผู้มีความ เชื่อแท้ ผู้ที่พระองค์ทรงพำนักอยู่ในตัวเขา...
บทเทศน์ปี C
301
เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสเช่นนี้ พระองค์กำลังจะสิ้นพระชนม์ในอีก ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา และพระองค์ทรงทราบความจริงข้อนี้ดี พระองค์ได้ ประกาศแล้วว่าพระองค์ทรงเป็นพระวิหารใหม่ที่จะสร้างขึ้นใหม่ภายใน สามวัน (ยน 2:19-22) ...ในพระวิหารใหม่นี้ ชาวยิวจะสัมผัสกับการ ประทับอยู่อย่างแท้จริงของพระเจ้า ... แต่บัดนี้ พระเยซูเจ้าตรัสมากกว่า นั้นอีก พระองค์ทรงกล้าระบุว่า นับจากเวลาที่พระองค์ออกจากโลกนี้ไป คริ ส ตชนผู้ มี ค วามเชื่ อ จะสั ม ผั ส ได้ ถึ ง การประทั บ อยู่ อ ย่ า งเหนื อ คำ บรรยายนี้ (ในลักษณะที่มองไม่เห็นด้วยตา) ผู้ใดรักเรา ผู้นั้นจะปฏิบัติตามวาจาของเรา ... วาจาที่ท่านได้ยินนี้ไม่ใช่ วาจาของเรา แต่เป็นของพระบิดาผู้ทรงส่งเรามา บุคคลที่มีความรักต่อกันอย่างแท้จริง ย่อมรับฟังกัน สนทนากัน มีคำพูด และมีการสื่อสารกัน ... ไม่มีอะไรทำลายความรักได้มากกว่า “การไม่ฟัง” หรือ “การไม่พูด” พระเยซูเจ้าทรงเปิดเผยแก่เราด้วยพระวาจาเหล่านี้ ว่าอะไรเป็น หัวใจสำหรับชีวิตคริสตชนแท้ สิ่งนั้นคือการรำพึงภาวนาตามพระวาจา ของพระองค์ ซึ่งเป็นเสมือนศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการประทับอยู่ของพระองค์ ... นี่คือความจริง พระเยซูเจ้าไม่ได้ประทับอยู่กับเราในลักษณะที่มี ร่างกายที่เราจับต้องได้ แต่ผู้ที่รักพระองค์จะมีความคิดและพระวาจา ของพระองค์อยู่กับเขาเสมอ ขอให้เราสังเกตว่าพระเยซูเจ้าไม่ได้ตรัสถึง พระวาจาที่เราสัมผัสรับรู้ด้วยสติปัญญาเท่านั้น แต่หมายถึงพระวาจา ที่เราเชื่อฟัง และนำไปปฏิบัติ พระวาจาซึ่งถ้าเรานำไปปฏิบัติในชีวิต จะ ทำให้เรารับรู้ได้ว่าผู้ที่ตรัสพระวาจานั้นประทับอยู่กับเรา ... การประทับ อยู่ ข องพระเยซู เ จ้ า ผู้ ก ลั บ คื น ชี พ และยั ง ทรงพระชนม์ ชี พ อยู่ ใ นวั น นี้ ปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมในชีวิตของศิษย์แท้ของพระองค์ ในทำนองเดียวกับที่พระเยซูชาวนาซาเรธ ทรงเป็น “การประทับ
302
บทเทศน์ปี C
อยู่” และพระวาจาของพระบิดา (“วาจาที่ท่านได้ยินนี้ไม่ใช่วาจาของ เรา”) คริสตชน – และพระศาสนจักร – ก็จะเป็นการประทับอยู่เดียวกัน นี้ให้ชาวโลกมองเห็นด้วย ... นี่เป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่จริงๆ เราบอกสิ่งเหล่านี้ให้ท่านฟัง ขณะที่เรายังอยู่กับท่าน แต่พระผู้ช่วยเหลือคือพระจิตเจ้า ที่พระบิดาจะทรงส่งมาในนามของเรานั้น จะทรง สอนท่านทุกสิ่ง และจะทรงให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่เราเคยบอกท่าน พระวาจาของพระเยซูเจ้าไม่ใช่ “สิ่งหนึ่ง” แต่เป็น “ใครคนหนึ่ง” เมื่อพระเยซูเจ้าทรงจากไป “อีกพระบุคคลหนึ่ง” จะเสด็จมา และรับช่วง หน้าที่เป็นพระวาจาของพระบิดาต่อจากพระองค์ เป็นเสมือนครูจาก สวรรค์ เป็นครูสอนแนวทางชีวิตภายใน ที่พระบิดาทรงส่งมาในพระนาม ของพระเยซูเจ้า พระจิตเจ้าไม่ทรงเพิ่มเติมสิ่งที่พระเยซูเจ้าเคยสั่งสอน เช่นเดียว กับที่พระเยซูเจ้าไม่เพิ่มเติมสิ่งใดให้กับพระวาจาของพระบิดา ทั้งสาม พระบุคคลนี้เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่มี “พระเจ้าสามองค์” ... แต่มี “พระเจ้า องค์เดียว” อิสราเอลบอกเช่นนี้ และอิสลามจะย้ำเช่นนี้ ... แม้จะมีความ แตกต่างด้านภาษา แต่ศาสนาคริสต์ก็ไม่แย้งแก่นแท้ของความเชื่อนี้ พระบิดาทรงเป็นพระเจ้าที่เรามองไม่เห็น พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้า ผู้เคยประทับอยู่บนโลกนี้ เคยตรัส และเคยทำงานเพื่อช่วยมนุษย์ให้ รอดพ้ น พระจิ ต เจ้ า ทรงเป็ น พระเจ้ า ผู้ ท รงสื บ ทอดการประทั บ อยู่ พระวาจา และกิจการของพระเยซูเจ้าและพระบิดาให้ดำเนินต่อไปในจิต วิญญาณของมนุษย์ พระจิตเจ้าที่พระบิดาจะทรงส่งมาในนามของเรา เราใช้ตาแห่งหัวใจของเราเพ่งพินิจภาพวาดพระตรีเอกภาพของ รูเบลฟ ที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์เทรเทียคอฟในกรุงมอสโคว์ มีคน
บทเทศน์ปี C
303
จำนวนมากจากทั่วโลกเดินทางมาชม ภาพนี้แสดงให้เห็นสามบุคคลที่มี ปีกที่สนิทสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดรอบโต๊ะ ทั้งสามเป็นหนึ่งเดียวกัน ภายใน วงกลมอันสมบูรณ์ที่ประกอบขึ้นจากรูปร่างของทั้งสามบุคคล พระบิดา “ผู้ทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง” ประทับอยู่ข้างหลังโต๊ะ ทรง เพ่งมองพระบุตรสุดที่รักของพระองค์ ผู้ประทับอยู่เบื้องขวาของพระองค์ และทรงถ่ายทอดทุกสิ่งทุกอย่างให้พระบุตร ... พระบุตร ในเสื้อคลุม สีแดงสด (ซึ่งโปร่งใสจนทำให้มองเห็นสีฟ้าที่แสดงพระเทวภาพของ พระบิดาได้) ทรงเพ่งมองที่พระจิตเจ้า และทรงถ่ายทอดทุกสิ่งทุกอย่าง ให้พระองค์ ... แต่น่าอัศจรรย์จริงๆ ที่ธรรมล้ำลึกของการถ่ายทอดความ รักของพระตรีเอกภาพไม่ได้หยุดอยู่ที่พระจิตเจ้า เพราะในองค์พระจิต วงกลมนี้เปิดออก และพระจิตเจ้าทรงมองมายังโลก และทรงชี้นิ้วลงมา ที่โลก และถ่ายทอดทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่โลก ... พระตรี เ อกภาพคื อ ความใกล้ ชิ ด สนิ ท สนมนิ รั น ดร ที่ เ กิ ด จาก ความรักระหว่างสามพระบุคคล ผู้ทรงเป็นพระเจ้าหนึ่งเดียวกัน พระบิดา ทรงดำรงอยู่ในพระบุตร และพระบุตรทรงดำรงอยู่ในพระบิดา ในพระจิต องค์เดียวกัน ... และพระเยซูเจ้าเสด็จมาเพื่อนำศิษย์ของพระองค์เข้ามา สู่ “ครอบครัว” นี้ ผ่านทางพระจิตเจ้า พระจิตเจ้าจะทรงสอนท่านทุกสิ่ง และจะทรงให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่ เราเคยบอกท่าน พระเยซูเจ้าทรงบอกว่า พระจิตทรงเป็นผู้ที่จะถ่ายทอดทั้งชีวิต ของพระเจ้าให้แก่มนุษยชาติ โดยทรงดลบันดาลให้มนุษย์ค่อยๆ เข้าใจ พระวาจาของพระเจ้า – พระวาจาซึ่งหมายถึงองค์พระเยซูเจ้าเอง ... พระวาจาของพระบิดา ... พระจิตเจ้าทรงสั่งสอน ... พระจิตเจ้าทรงกระตุ้น ความทรงจำ... แม้ว่าศิษย์ของพระเยซูเจ้าใช้ชีวิตอยู่กับพระองค์นานเป็นเดือน
304
บทเทศน์ปี C
เป็นปี แต่พวกเขาก็ไม่ได้เชือ่ ในพระองค์อย่างจริงจังแม้กระทัง่ ในคืนก่อน ที่พระองค์จะจากเขาไป ยอห์นยอมรับว่าเขาเข้าใจคำสั่งสอนของพระเยซูเจ้าเพียงในภายหลัง (ยน 2:17, 22, 13:6, 19) อาจกล่าวได้ว่า เมื่อพระเยซูเจ้าทรงออกจากโลกนี้ ยังไม่มีอะไรที่สมบูรณ์ ไม่มีอะไรที่ แก้ไขให้ถูกต้องได้ตลอดไป พระจิตเจ้าจะทรงช่วยพระศาสนจักรให้ เข้าใจทีละน้อยในสาระของความเชื่อที่พระองค์ทรงเผยแสดง บางคนตกใจ และบอกว่าพระศาสนจักร “เปลี่ยนไป” แต่เห็น ได้ชัดว่าในความคิดของพระเยซูเจ้า พระศาสนจักรยังต้องเปลี่ยนแปลง อีกมาก – ภายใต้การชี้นำของพระจิตเจ้า “พระจิตจะทรงสอนท่านทุกสิ่ง และจะทรงให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่ง ...” พระวาจาส่วนใหญ่ของพระเยซูเจ้า ได้เผยสาระสำคัญออกมาหลังจากที่พระศาสนจักรได้เก็บรักษาพระวาจาเหล่านั้นไว้ในความทรงจำเป็นเวลานาน และได้รำพึงไตร่ตรอง มานานหลายศตวรรษ ข้อความเชื่อของเราเกิดขึ้น และระบุออกมาเป็น ถ้อยคำที่ชัดเจน หลังจากได้ผ่านกระบวนการไตร่ตรองจนสมบูรณ์ ซึ่ง เป็นกระบวนการทีเ่ กิดขึน้ อย่างช้าๆ และกระบวนการนีย้ งั ดำเนินต่อเนือ่ ง ไป... เราเชื่ อ จริ ง หรื อ ว่ า พระจิ ต เจ้ า ทรงประทั บ อยู่ และทรงทำงาน ในพระศาสนจักร... ทำไมพระจิตเจ้าจึงจะหยุดทำงานตั้งแต่เมื่อศตวรรษที่ห้า หรือ ในศตวรรษที่ 15 หรือในสภาสังคายนาที่นิเซีย หรือในสภาสังคายนาที่ เทรนท์ ... เราเห็นได้ชัดว่าพระจิตเจ้ายังทรงทำงานอยู่จนถึงทุกวันนี้ พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราจะอยู่กับท่านจนถึงสิ้นพิภพ” ... ยังมีอีกหลายสิ่ง หลายอย่างที่พระศาสนจักรยังต้องเข้าใจ ค้นพบ และนำไปปฏิบัติใน ชีวิตจริง... เป็ น ความจริ ง ที่ พ ระศาสนจั ก รต้ อ งพั ฒ นาขึ้ น ตลอดเวลาใน ประวัติศาสตร์ และเป็นความจริงมากยิ่งกว่า ที่เราทุกคนก็ต้องพัฒนาขึ้น ด้วย พระจิตเจ้าทรงมีหลายสิ่งหลายอย่างให้ข้าพเจ้ายังต้องค้นพบ ...
บทเทศน์ปี C
305
ในตัวข้าพเจ้ามีพลังอันน่ากลัวที่ทำให้ข้าพเจ้าหลงลืม ... ดังนั้น เมื่อ ข้าพเจ้าได้รับความสว่างเกี่ยวกับพระวาจาใดจากพระวรสาร ข้าพเจ้าควร นำพระวาจานั้นไปปฏิบัติทันที ... ข้าพเจ้าต้อง “ซื่อสัตย์” ต่อสารนี้โดย ได้รับการดลใจจากพระจิตเจ้า เพื่อว่าข้าพเจ้าจะเข้าถึงธรรมล้ำลึกของ พระเจ้า และเกี่ยวกับมนุษย์ในระดับลึกมากขึ้น เรามอบสันติสุขไว้ให้ท่านทั้งหลาย เราให้สันติสุขของเรากับท่าน เรา ให้สันติสุขกับท่านไม่เหมือนที่โลกให้ ใจของท่านอย่าหวั่นไหว หรือมี ความกลัวเลย ท่านได้ยินที่เราบอกกับท่านแล้วว่า เรากำลังจะไป และ เราจะกลับมาหาท่านทั้งหลาย สันติสขุ หรือ Shalom เป็นคำทักทายตามปกติของชนชาติอสิ ราเอล แต่ข้อความนี้เป็นคำทักทายของพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพใน วันปัสกา สันติสุขนี้มาจากการประทับอยู่ของพระผู้ทรง “ไม่อยู่” แต่ทรง “กลับมา” เสมอสำหรับผู้ที่รักพระองค์ นี่คือสันติสุขที่โลกไม่สามารถมอง เห็นได้ เพราะโลกก็มองไม่เห็นการประทับอยู่ที่บันดาลความบรรเทาใจ นี้ด้วยเช่นกัน...ถ้าท่านรักเรา ท่านคงยินดีที่เรากำลังไปเฝ้าพระบิดา เพราะพระบิดาทรงยิง่ ใหญ่กว่าเรา และบัดนี้ เราได้บอกท่านทัง้ หลายก่อน ที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น เพื่อว่าเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว ท่านจะเชื่อ ระหว่ า งที่ พ ระเยซู เ จ้ า ทรงปฏิ บั ติ พั น ธกิ จ บนโลกนี้ พระองค์ ประทั บ อยู่ ภ ายใต้ ก ฎเกณฑ์ ข องพื้ น ที่ แ ละเวลา ซึ่ ง เป็ น ข้ อ จำกั ด ของ “สภาพมนุษย์” ของเรา พระเยซูเจ้าทรงยอมรับสภาพนี้ว่า “ในฐานะ มนุษย์คนหนึ่ง เราด้อยกว่าพระบิดา” ... เราต้องเข้าใจประโยคนี้ในแง่มุม ที่ถูกต้อง และไม่ถือว่าเป็นข้อความที่ขัดแย้งกับประโยคอื่นๆ ที่ยืนยัน ความเท่ า เที ย มกั น ระหว่ า งพระเยซู เ จ้ า และพระบิ ด าของพระองค์ ในคืนนั้น พวกอัครสาวกเองก็ไม่เข้าใจอะไรเลย... เชิญเสด็จมา พระจิตเจ้าข้า