Year c no 2

Page 1


พระวาจากับชีวิต ปี C



คำนำ

หนังสือ “พระวาจากับชีวิต ปี C” เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองแผนงานอภิบาล ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ปีคริสตศักราช 2010-2015 ที่ว่า “พระศาสนจักร คาทอลิ ก ในประเทศไทยได้ ก ำหนดงานอภิ บ าลหลั ก ในงานเสริ ม สร้ า งศิ ษ ย์ แ ละพั ฒ นา ความเชื่อโดยพระวาจา ศีลศักดิ์สิทธิ์  และการอธิษฐานภาวนาดังนี้คือ ให้พระสงฆ์และ สัตบุรุษร่วมกันทำให้วันอาทิตย์เป็นการฉลองวันพระเจ้าอย่างแท้จริง และต่อเนื่องในการ ดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับพิธีบูชา ขอบพระคุณวันอาทิตย์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเทศน์ประกาศพระวาจาและการฉลอง ศีลมหาสนิท”(แผนงานอภิบาลฯ ข้อ 18) หนั ง สื อ   “พระวาจากั บ ชี วิ ต   ปี   C”  เล่ ม นี้   ทางศู น ย์ ค ริ ส ตศาสนธรรมฯ  ต้ อ ง ขอขอบคุณคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ที่ได้จัดแปลบทเทศน์จากหนังสือ 2 เล่ม คือ The Good News of Luke’s Year ของ Silverster O’flynn และ Pray with the Bible ของ Noel Quesson เพื่อให้สมาชิกของคณะได้ใช้ในการรำพึงกับพระวาจาในแต่ละสัปดาห์  ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์เช่นเดียวกันสำหรับพระสงฆ์ในการเตรียมเทศน์   รวมทั้ง พี่น้องคริสตชนในการรำพึงกับพระวาจาในทุกๆ สัปดาห์ จึงขออนุญาตนำมาจัดพิมพ์ การรำพึ ง พระวาจาของพระเจ้ า นั้ น   ช่ ว ยให้ พ ระวาจาเติ บ โตและบั ง เกิ ด ผล ในตัวเราดังที่พระเยซูเจ้าตรัสว่า “พระอาณาจักรของพระเจ้ายังเปรียบเสมือนคนที่นำ เมล็ดพืชไปหว่านในดิน เขาจะหลับหรือตื่น กลางคืนหรือกลางวันเมล็ดนั้นก็งอกขึ้น และ เติบโตเป็นเช่นนี้ได้อย่างไรเขาไม่รู้” (มาระโก 4:26-27) บาทหลวงเอกรัตน์ หอมประทุม ผู้จัดการแผนกคริสตศาสนธรรมฯ 23 ตุลาคม 2012


สารบัญ

หน้า

- สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ 1-35 - สมโภชพระจิตเจ้า 36-61 - สมโภชพระตรีเอกภาพ 62-74 - สมโภชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า 75-89 - สัปดาห์ที่สอง เทศกาลธรรมดา 90-101 - สัปดาห์ที่สาม เทศกาลธรรมดา 102-116 - สัปดาห์ที่สี่ เทศกาลธรรมดา 117-129 - สัปดาห์ที่ห้า เทศกาลธรรมดา 130-144 - สัปดาห์ที่หก เทศกาลธรรมดา 145-159 - สัปดาห์ที่เจ็ด เทศกาลธรรมดา 160-171 - สัปดาห์ที่แปด เทศกาลธรรมดา 172-183 - สัปดาห์ที่เก้า เทศกาลธรรมดา 184-195 - สัปดาห์ที่สิบ เทศกาลธรรมดา 196-207 - สัปดาห์ที่สิบเอ็ด เทศกาลธรรมดา 208-222 - สัปดาห์ที่สิบสอง เทศกาลธรรมดา 223-235 - สัปดาห์ที่สิบสาม เทศกาลธรรมดา 236-249 - สัปดาห์ที่สิบสี่ เทศกาลธรรมดา 250-262 - สัปดาห์ที่สิบห้า เทศกาลธรรมดา 263-276


บทเทศน์ปี C

1

วั นสมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ ลูกา 24:46-53 พระเยซูเจ้าตรัสแก่บรรดาศิษย์ว่า  “มีเขียนไว้ดังนี้ว่า พระคริ ส ตเจ้ า จะต้ อ งรั บ ทนทรมาน และจะกลั บ คื น พระชนมชี พ จาก บรรดาผู้ตายในวันที่สาม จะต้องประกาศในพระนามของพระองค์ ให้ น านาชาติ ก ลั บ ใจเพื่ อ รั บ อภั ย บาป โดยเริ่ ม จากกรุ ง เยรู ซ าเล็ ม ท่ า นทั้ ง หลายเป็ น พยานถึ ง เรื่ อ งทั้ ง หมดนี้  บั ด นี้  เรากำลั ง จะส่ ง พระผู้ที่พระบิดาทรงสัญญาไว้มาเหนือท่านทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ท่านจงคอยอยู่ในกรุงจนกว่าท่านจะได้รับพระอานุภาพจากเบื้องบน ปกคลุมไว้” พระองค์ทรงนำบรรดาศิษย์ออกไปใกล้หมู่บ้านเบธานี ทรง ยกพระหัตถ์ขึ้นอวยพระพร และขณะที่ทรงอวยพระพรนั้น พระองค์ ทรงแยกไปจากเขา และทรงถูกนำขึ้นสู่สวรรค์ บรรดาศิษย์กราบ นมัสการพระองค์ แล้วกลับไปกรุงเยรูซาเล็มด้วยความยินดียิ่ง เขาอยู่ ในพระวิหารตลอดเวลา ถวายพระพรแด่พระเจ้า


2

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง การนมัสการ ความยินดี และการถวายพระพร ผู้ นิ พ นธ์ พ ระวรสารสหทรรศน์ บ อกเล่ า เรื่ อ งราวการเสด็ จ ขึ้ น สวรรค์แตกต่างกันเล็กน้อยตามมุมมองของตนเอง มัทธิว เน้นคำสัญญา ของพระเยซูเจ้า ว่าพระองค์จะประทับอยู่กับบรรดาศิษย์ตราบจนสิ้น พิภพ สมกับพระนามว่า เอมมานูเอล หรือพระเจ้าสถิตกับเรา ซึ่งเป็น พระนามที่ ทู ต สวรรค์ ป ระกาศแก่ โ ยเซฟเรื่ อ งการปฏิ ส นธิ ข องพระเยซูเจ้าในหน้าแรกของพระวรสารของมัทธิว  ส่วนมาระโกเน้นชัยชนะ ของพระคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ เมื่อเขาบอกว่าพระเจ้าทรง รับพระองค์ขึ้นสู่สวรรค์ให้ประทับ ณ เบื้องขวาของพระเจ้า ในขณะที่ บรรดาศิ ษ ย์ แ ยกย้ า ยกั น ออกไปเทศนาสั่ ง สอนภายใต้ อ ำนาจของ พระองค์ ลูกากล่าวถึงการจากไปของประกาศกเอลียาห์ ผู้ถูกนำตัวขึ้นสู่ สวรรค์บนรถม้าเพลิง แต่จิตของเขาลงมาอยู่กับเอลีชา ผู้เป็นศิษย์ของเขา (เทียบ 2 พกษ 2) เขาบรรยายว่าพระเยซูเจ้าทรงถูกนำขึ้นสวรรค์ และ บรรดาศิษย์นมัสการพระองค์  และพระองค์จะทรงส่งผู้ที่พระบิดาทรง สัญญาไว้มาให้พวกเขา คงไม่มีประโยชน์ที่จะนำรายละเอียดในคำบอกเล่าแต่ละฉบับมา ปะติดปะต่อให้เป็นเรื่องเดียวกัน แม้แต่คำบรรยายในพระวรสาร และใน หนังสือกิจการอัครสาวก ซึ่งเขียนโดยผู้นิพนธ์คนเดียวกัน คือ ลูกา ก็ยัง แตกต่างกัน ผู้ที่พยายามวาดภาพเหตุการณ์คงประสบปัญหาในการชี้ชัด ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันใดและในสถานที่ใด ในหนังสือกิจการอัครสาวก ลูกา บอกว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น 40 วันภายหลังวันปัสกา แต่ใน พระวรสารดูเหมือนว่าเกิดขึ้นในวันปัสกา พระวรสารของลูกา บอกว่า


บทเทศน์ปี C

3

พระเยซู เ จ้ า เสด็ จ ขึ้ น สวรรค์ จ ากสถานที่ แ ห่ ง หนึ่ ง ใกล้ ห มู่ บ้ า นเบธานี แต่ในกิจการอัครสาวก เขาบอกว่าเป็นที่ภูเขามะกอกเทศ ในขณะที่มัทธิว บอกว่าเกิดขึ้นบนภูเขาแห่งหนึ่งในแคว้นกาลิลีอันห่างไกล รายละเอียดที่ ต่ า งกั น นี้ เ ป็ น เพี ย งเปลื อ กหุ้ ม รอบเหตุ ก ารณ์ อั น เร้ น ลั บ นี้  สาระของ เรื่องราวที่ต่างกันนี้คือความจริงทางเทววิทยา ซึ่งผู้นิพนธ์พระวรสาร ทุกคนมีความเห็นตรงกัน ความจริงข้อแรกที่เราฉลองกันในวันนี้  คือ พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปหาพระบิดาในสวรรค์  ยอห์นเรียกเหตุการณ์นี้ ว่า การได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ (glorification) เหตุผลข้อที่สองที่เราเฉลิมฉลองกันก็คือ คำสัญญาว่าบรรดาศิษย์ จะได้รับพระอานุภาพจากเบื้องบน เพื่อให้สามารถเป็นพยานยืนยันถึง องค์พระผู้เป็นเจ้าจนถึงสุดปลายแผ่นดินโลก เหตุผลข้อที่สามของการ เฉลิมฉลองคือความหวังสุดท้ายของเรา กล่าวคือ เราสามารถรอคอยการ เสด็จกลับมาขององค์พระผู้เป็นเจ้า “พระเยซูเจ้าพระองค์นี้ ที่เสด็จขึ้นสู่ สวรรค์ จะเสด็จกลับมาเช่นเดียวกับที่ท่านทั้งหลายเห็นพระองค์ทรงจาก ไปสู่สวรรค์” (กจ 1:11) ลูกาชี้ให้เห็นปฏิกิริยาของศิษย์ทั้งหลาย เขา กราบนมัสการพระเยซูเจ้า เขากลับไปกรุงเยรูซาเล็มด้วยความยินดียิ่ง และเขาอยู่ในพระวิหารตลอดเวลา ถวายพระพรแด่พระเจ้า สิ่งที่ยอห์น เรียกว่าความเชื่อ ลูกาบรรยายว่าเป็นการนมัสการ ความยินดี และการ ถวายพระพร ถ้าตลอดปีพิธีกรรม เรารับฟังคำสั่งสอนของพระเยซูเจ้า รู้สึกพิศวงกับเครื่องหมายอัศจรรย์ที่พระองค์ทรงกระทำ เดินทางผ่าน วันแห่งการทดลองในเทศกาลมหาพรต และร่วมรับความเจ็บปวดกับ พระทรมาน ก็เหมาะสมแล้วที่วันนี้เราจะเฉลิมฉลองชัยชนะของพระเยซูเจ้าด้วยการนมัสการ ความยินดี และสันติสุข เราก้มกราบนมัสการ พระองค์เพราะเรายอมรับว่าพระองค์ทรงได้รับการยกขึ้นสู่พระสิริรุ่งโรจน์ เราชื่นชมยินดีเมื่อคิดว่าพระองค์ทรงเปลี่ยนความตายให้กลาย เป็นรุ่งอรุณแห่งชีวิตใหม่  และพระเจ้าทรงได้รับการถวายพระพรทุกวัน เมื่อเราประกาศเรื่องพระราชกิจอันยิ่งใหญ่ของพระองค์


4

บทเทศน์ปี C

ข้อรำพึงที่สอง เปโตร ระลึกถึงเหตุการณ์ นับตั้งแต่เช้าวันที่เราจับปลาได้หนึ่งร้อยห้าสิบสามตัว  ข้าพเจ้า แทบจะจำตนเองไม่ได้ ข้าพเจ้ามีสันติสุขและความเข้มแข็งภายในอย่าง ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อนบางคนกังวลกับสภาพของข้าพเจ้า  บางครั้ง ข้าพเจ้าเห็นเขาจับตามองข้าพเจ้า และสงสัยว่าข้าพเจ้าจะตะโกนสั่งอะไร หรือระเบิดอารมณ์ออกมาเมือ่ ใด แต่ใจของข้าพเจ้าสงบ และกำลังรอคอย ความฝันอันยิง่ ใหญ่กลับคืนมาอีกครัง้ หนึง่ ปลาหนึง่ ร้อยห้าสิบสามตัว ... ข้าพเจ้ารอคำสั่งจากพระองค์ว่าควรเหวี่ยงแหไปที่ใดอีก พระองค์ ฝากฝังให้ข้าพเจ้าเลี้ยงดูลูกแกะของพระองค์ เลี้ยงดูฝูงแกะของพระองค์ ข้ า พเจ้ า นี่ ห รื อ จะเป็ น ผู้ เ ลี้ ย งแกะ พระองค์ ช่ า งรวยอารมณ์ ขั น จริ ง ๆ ข้าพเจ้าไม่โกรธอีกต่อไปที่พระองค์จากเราไป ฝันร้ายเรื่องคูหาฝังศพ และกองไฟที่ มี ถ่ า นลุ ก แดง ไม่ ต ามมาหลอกหลอนข้ า พเจ้ า อี ก แล้ ว ข้ า พเจ้ า ต้ อ งปล่ อ ยวางความรู้ สึ ก ผิ ด และความละอายใจของข้ า พเจ้ า สันติสุขที่ทำให้รู้สึกว่าตัวเบาสบายเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับข้าพเจ้า ข้ า พเจ้ า พยายามอธิ บ ายความรู้ สึ ก นี้ ใ ห้ ค นอื่ น ฟั ง และพยายามบอก พวกเขาว่าพระองค์จำเป็นต้องตายและต้องจากเราไป แน่นอน ยอห์น เข้าใจเรื่องทั้งหมดก่อนที่ข้าพเจ้าจะเข้าใจ โทมัสก็เข้าใจในแบบของเขา แต่ เ พื่ อ นบางคนยั ง ปะติ ด ปะต่ อ เรื่ อ งราวได้ ช้ า เหลื อ เกิ น  น่ า แปลกที่ ข้าพเจ้าเป็นคนที่อธิบายความหมายแก่คนเหล่านี้อย่างอดทน เราต้อง เป็นพยานจนถึงสุดปลายแผ่นดิน ถ้าเป็นซีโมนคนใจร้อนคนเดิม ข้าพเจ้าคงกระโดดลงเรือลำแรก และเดิ น ทางไปที่ ใ ดก็ ไ ด้ ทั น ที   แต่ จ ะไปได้ ไ กลสั ก เท่ า ไรกั น แต่ นี่ คื อ ชีวิตใหม่ในฐานะเปโตร ข้าพเจ้ารอคอยและอธิษฐานภาวนา เราเคยขอ ให้พระองค์สอนเราอธิษฐานภาวนาก่อนหน้านี้ บัดนี้ มันกำลังเกิดขึ้นจริง


บทเทศน์ปี C

5

เรากำลังสวดภาวนา ถ้าใครต้องการข้อพิสูจน์เกี่ยวกับพระเยซูเจ้าผู้ทรง กลับคืนชีพ นี่คือหลักฐาน ... เปโตร กำลังรอคอยอย่างอดทน ... และ สวดภาวนา ชีวิตใหม่นี้เป็นความจริง ความทรงจำสองเรื่ อ งช่ ว ยให้ พ วกเรารวมตั ว กั น อยู่ ไ ด้   มี ใ คร บางคนเอ่ยชื่อเอลียาห์  พวกเราช่วยกันทบทวนเรื่องของเอลียาห์  ที่ถูก ยกขึ้นสวรรค์ในรถม้าเพลิง แต่จิตพยากรณ์ของเขาลงมาอยู่กับเอลีชา ศิษย์ของเขา เรื่องนั้นช่วยเราให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ทำให้เรามีความหวัง และ ความหวังทำให้เราอดทนได้ นอกจากนี้  เรายังมีแม่มารีย์อยู่กับเรา ท่านมาพร้อมกับยอห์น แต่ข้าพเจ้าคิดว่าถึงอย่างไรท่านก็ต้องมาหาเรา เพราะบัดนี้  เรารู้สึกว่า ท่านเป็นแม่ของเราทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีใครเอ่ยถึงหมู่บ้านคานา แต่ เหตุ ก ารณ์ ใ นงานแต่ ง งานที่ นั่ น ผุ ด ขึ้ น มาในใจของเราเสมอทุ ก ครั้ ง ที่ แม่มารีย์อยู่ใกล้พวกเรา ท่านเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์นั้นเมื่อน้ำถูก เปลี่ ย นเป็ น เหล้ า องุ่ น  การมี ท่ า นอยู่ กั บ เราเตื อ นใจเราว่ า เหตุ ก ารณ์ อย่ า งนั้ น สามารถเกิ ด ขึ้ น อี ก ครั้ ง หนึ่ ง ได้ . ..สามารถเกิ ด ขึ้ น กั บ เราได้ ท่านพูดเสมอว่า “สำหรับพระเจ้า ไม่มีสิ่งใดที่เป็นไปไม่ได้” ดั ง นั้ น  เราจึ ง รอคอย ... และอธิ ษ ฐานภาวนาตลอดเวลาเก้ า วั น ต่ อ มา ข้ า พเจ้ า ได้ สั ม ผั ส กั บ ความสงบเหมื อ นทารกในครรภ์ ข อง มารดาที่รักข้าพเจ้า


6

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 2 บทอ่านที่หนึ่ง : กิจการอัครสาวก 1:1-11 เธโอฟีลัสที่รัก ในหนังสือเล่มแรก ข้าพเจ้าเล่าถึงทุกสิ่งที่พระเยซู เ จ้ า ทรงกระทำและทรงสั่ ง สอน เริ่ ม ตั้ ง แต่ ต้ น  จนกระทั่ ง ถึ ง วั น ที่ พระองค์ทรงได้รับการยกขึ้นสวรรค์ หลังจากที่ทรงแนะนำสั่งสอนบรรดา อั ค รสาวกที่ ท รงเลื อ กสรรโดยทางพระจิ ต เจ้ า  พระเยซู เ จ้ า ทรงแสดง พระองค์ แ ก่ อั ค รสาวกเหล่ า นั้ น และทรงพิ สู จ น์ ด้ ว ยวิ ธี ก ารต่ า งๆ ว่ า หลังจากทรงรับทุกข์ทรมานแล้ว พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ตลอดเวลา สี่สิบวันที่พระองค์ทรงแสดงพระองค์แก่เขาทั้งหลาย ทรงกล่าวถึงพระอาณาจักรของพระเจ้า ขณะที่ทรงร่วมโต๊ะกับเขา พระองค์ทรงกำชับว่า “อย่าออกจากกรุงเยรูซาเล็ม แต่จงคอยรับพระพรที่พระบิดาทรงสัญญา ไว้  ดังที่ท่านได้ยินจากเรา ยอห์นทำพิธีล้างด้วยน้ำ แต่ภายในไม่กี่วัน ท่านจะได้รับพิธีล้างเดชะพระจิตเจ้า” ผู้ ที่ ม าชุ ม นุ ม กั บ พระเยซู เ จ้ า ทู ล ถามพระองค์ ว่ า  พระเจ้ า ข้ า พระองค์จะทรงสถาปนาอาณาจักรอิสราเอลอีกครั้งหนึ่งในเวลานี้หรือ พระองค์ตรัสตอบว่า “ไม่ใช่ธุระของท่านที่จะรู้วันเวลาที่พระบิดาทรง กำหนดไว้โดยอำนาจของพระองค์ แต่พระจิตเจ้าจะเสด็จลงมาเหนือท่าน และท่ า นจะรั บ อานุ ภ าพเพื่ อ จะเป็ น พยานถึ ง เราในกรุ ง เยรู ซ าเล็ ม ทั่วแคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรีย จนถึงสุดปลายแผ่นดิน” เมื่อตรัสดังนี้แล้ว พระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์ต่อหน้าเขาทั้งหลาย เมฆบั ง พระองค์ จ ากสายตาของเขา เขายั ง คงจ้ อ งมองท้ อ งฟ้ า ขณะที่ พระองค์ทรงจากไป ทันใดนั้น มีชายสองคนสวมเสื้อขาวปรากฏกับเขา กล่าวว่า “ชาวกาลิลีเอ๋ย  ท่านทั้งหลายยืนแหงนมองท้องฟ้าอยู่ทำไม


บทเทศน์ปี C

7

พระเยซูเจ้าพระองค์นี้ที่เสด็จสู่สวรรค์จะเสด็จกลับมาเช่นเดียวกับที่ท่าน ทั้งหลายเห็นพระองค์ทรงจากไปสู่สวรรค์” คำอธิบาย : นักบุญลูกา เริ่มต้นหนังสือเล่มที่สองของเขา ซึ่งเรียกว่า หนังสือกิจการอัครสาวก ด้วยการบรรยายสั้นๆ ถึงเหตุการณ์การเสด็จขึ้น สวรรค์ทั้งร่างกายขององค์พระผู้เป็นเจ้า หลังจากทรงสั่งสอนพวกเขาเป็น ครั้งสุดท้ายแล้ว เขาระบุสถานที่ของเหตุการณ์ว่าเป็นภูเขามะกอกเทศ ทั้งในหนังสือนี้ และในพระวรสารของเขา (24:50) ในกิจการอัครสาวก ดูเหมือนลูกาจะบอกเป็นนัยว่าพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์หลังจากที่ ทรงกลับคืนชีพได้  40 วัน แต่ข้อเขียนอื่นๆ ในพันธสัญญาใหม่ทำให้ สันนิษฐานว่าการเสด็จขึ้นสวรรค์เกิดขึ้นทันทีหลังจากการกลับคืนชีพ ซึ่ ง ดู เ หมื อ นว่ า สมเหตุ ส มผล และเป็ น ความเชื่ อ ของพระศาสนจั ก ร ระหว่างสามศตวรรษแรก พระศาสนจักรเฉลิมฉลองการเสด็จขึ้นสวรรค์ ร่วมกับการกลับคืนชีพ จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 4 จึงเริ่มมีการฉลองการ เสด็จขึ้นสวรรค์เป็นพิเศษภายหลังปัสกา 40 วัน (ตามวันที่ลูกาบอก) การเสด็จขึ้นสวรรค์ในพระกายอันรุ่งโรจน์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ไปประทับเบื้องขวาของพระบิดา เป็นทั้งข้อความเชื่อ และความจริงตาม ประวัติศาสตร์ และเวลาที่เกิดเหตุการณ์นี้น่าจะเป็นวันที่พระองค์กลับคืน ชีพแล้ว ช่วงเวลา 40 วัน ที่ลูกากล่าวถึงน่าจะเป็นจำนวนถ้วนๆ ที่ไม่ควร คิดว่าเป็นความจริงตรงตามตัวอักษร สำหรับระยะเวลาที่พระเยซูเจ้า ทรงแสดงพระองค์ในรูปกายของมนุษย์แก่ศิษย์ของพระองค์  การแสดง พระองค์เหล่านี้เกิดขึ้นหลายครั้งภายในระยะเวลาประมาณสองสัปดาห์ (ดู ยน 20:19, 26; 21:1) ในหนังสือเล่มแรก ข้าพเจ้ า เล่ า ถึ ง ทุ ก สิ่ ง ที่ พ ระเยซู เ จ้ า ทรง กระทำ...จนถึงวันที่ - ในพระวรสารของลูกา เขาบรรยายเหตุการณ์ กลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า การแสดงพระองค์แก่ศิษย์สองคนตามทาง ไปยังหมู่บ้านเอมมาอูส การแสดงพระองค์แก่ซีโมน (เปโตร) การแสดง


8

บทเทศน์ปี C

พระองค์แก่อัครสาวกสิบเอ็ดคน และศิษย์บางคน (ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นใน วันที่พระองค์ทรงกลับคืนชีพ) และท้ายที่สุด การเสด็จขึ้นสวรรค์จาก สถานที่หนึ่งใกล้หมู่บ้านเบธานี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูเขามะกอกเทศ พระเยซูเจ้าทรงแสดงพระองค์แก่อัครสาวก – พระคริสตเจ้า ทรงพิสูจน์ว่าพระองค์ทรงกลับคืนชีพแล้ว  “พระองค์ยังทรงพระชนม์ อยู่” โดยทรงแสดงพระองค์แก่บรรดาอัครสาวกหลายครั้งตลอดช่วง เวลาหนึ่ง (ดูคำอธิบายข้างต้นเกี่ยวกับระยะเวลา 40 วัน) ขณะที่ทรงร่วมโต๊ะกับเขา ทรงกำชับไม่ให้เขาออกจากกรุง เยรูซาเล็ม - ศิษย์ทั้งหลายต้องรออยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อรับพระจิตเจ้า ที่พระองค์ทรงสัญญาว่าพระบิดาจะทรงส่งมาให้เขา เมื่อพระองค์เสด็จ กลับไปหาพระบิดาแล้ว (ยน 14:26; 16:6) ท่านจะได้รับพิธีล้างเดชะพระจิตเจ้า - ยอห์นทำพิธีล้างด้วยน้ำ ซึ่งเป็นเครื่องหมายภายนอกของการเปลี่ยนแปลงจิตใจที่เกิดขึ้นภายใน แต่การเสด็จมาของพระจิตเจ้าจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง ทั้งในความคิด และจิตใจของอัครสาวก สถาปนาอาณาจักรอิสราเอลอีกครัง้ หนึง่ - อัครสาวกยังคาดหวัง ว่าพระองค์จะทรงสถาปนาอาณาจักรพระเมสสิยาห์ให้ชาวอิสราเอล หรือ อาจเป็นอาณาจักรที่ปกครองแบบเทวาธิปไตยบนแผ่นดินนี ้ เมื่อพระคริสตเจ้าเสด็จกลับมาอย่างรุ่งโรจน์ เป็ นพยานถึงเรา...จนสุดปลายแผ่ น ดิ น – คำตอบขององค์ พระผู้เป็นเจ้าทำให้คิดว่าพระองค์ทรงเข้าใจว่าศิษย์ทั้งหลายกำลังถามถึง การเสด็จมาเป็นครั้งที่สองของพระองค์ ซึ่งเป็นความลับที่พระเจ้าไม่ทรง เปิดเผยว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ส่วนที่สองของคำตอบ ซึ่งกล่าวถึงกิจกรรม แพร่ ธ รรมของอั ค รสาวกที่ จ ะเริ่ ม จากกรุ ง เยรู ซ าเล็ ม ไปจนสุ ด ปลาย แผ่นดินนั้น บอกเป็นนัยว่า พระอาณาจักรของพระองค์ไม่ได้สถาปนาขึ้น เพื่อชาวอิสราเอลเท่านั้น และการเสด็จมาครั้งที่สองเป็นเหตุการณ์ที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตอันไกล


บทเทศน์ปี C

9

พระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์ต่อหน้าเขาทั้งหลาย – แต่ละครั้งที่ทรง แสดงพระองค์แก่อัครสาวก พระองค์ทรงหายไปทุกครั้ง บางทีอาจเป็น เพราะลูกากำลังบรรยายถึงการแสดงพระองค์เป็นครั้งสุดท้าย เขาจึง บรรยายว่าพระองค์เสด็จขึ้นเบื้องบน เพราะเป็นความเชื่อว่าสวรรค์ ซึ่ง เป็นที่พำนักของพระเจ้านั้น อยู่เหนือท้องฟ้า ท่านยืนแหงนมองท้องฟ้าอยู่ทำไม – ข้อความนี้อาจเป็นการ ตำหนิ ค ริ ส ตชนทั้ ง หลายในยุ ค ที่ ลู ก าเขี ย นหนั ง สื อ เล่ ม นี้   ที่ ไ ด้ แ ต่ รอคอยการเสด็จมาครั้งที่สองของพระคริสตเจ้า อย่างเกียจคร้าน และ ไม่ยอมทำมาหากิน (ดู 2 ธส) พระเยซูเจ้าที่เสด็จขึ้นสู่สวรรค์ – พระอาจารย์  ผู้เป็นที่รักของ พวกเขา จะเสด็จกลับมา (ในวันหนึ่งข้างหน้า) ในฐานะผู้พิพากษามนุษย์ ทุกคน แต่ระหว่างนั้น พวกเขามีงานแพร่ธรรมที่เขาต้องอุทิศชีวิตให้ คำสัง่ สอน – การเสด็จขึน้ สวรรค์ของพระคริสตเจ้าในพระกายอันรุง่ โรจน์ ของพระองค์ เป็นจุดสุดยอด เป็นเครื่องหมาย และตราประทับที่แสดง ว่าพันธกิจเพื่อความรอดพ้นของมนุษย์บนโลกนี้ได้สำเร็จสมบูรณ์แล้ว พระองค์ผู้ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า เป็นพระบุคคลองค์ที่สองใน พระตรีเอกภาพ ทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์  ทรงดำเนินชีวิต และสิ้นพระชนม์บนโลกนี้  เพื่อให้เรามนุษย์สามารถอยู่กับพระเจ้าในสวรรค์ ตลอดนิรันดรได้ ด้วยการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระองค์ทรงทำให้ มนุษย์ผู้เป็นคนบาปได้คืนดีกับพระเจ้าผู้สร้างเขาขึ้นมา ความตายอย่าง มนุษย์คนหนึ่งของพระองค์ทำให้เรามีสิทธิได้รับชีวิตพระเจ้า การกลับ คืนชีพของพระองค์เป็นหลักประกันว่าเราก็จะกลับคืนชีพเช่นเดียวกัน และการเสด็จขึ้นสวรรค์ไปเฝ้าพระบิดาของพระองค์ ก็เป็นการเปิดทาง ให้เราเข้าสู่พระอาณาจักรนิรันดรของพระเจ้า พระคริสตเจ้า พระผู้ไถ่ของเรา เพื่อนสนิทของเรา ผู้ทรงยอมทน รับความทุกข์ยาก ความอัปยศ และท้ายที่สุดทรงยอมรับความตายอัน


10

บทเทศน์ปี C

เจ็บปวดและน่าอับอายบนไม้กางเขนเพื่อเราขณะที่พระองค์อยู่บนโลกนี้ บั ด นี้  พระองค์ ป ระทั บ อยู่ เ บื้ อ งขวาของพระบิ ด าในสวรรค์  พระองค์ ประทั บ อยู่ ที่ นั่ น ในฐานะผู้ แ ทนของเรา และผู้ เ สนอวิ ง วอนเพื่ อ เรา พระองค์เสด็จไปสวรรค์เพื่อเตรียมที่ไว้ให้เรา พระองค์ทรงบอกอัครสาวกของพระองค์  (และทรงบอกเราทุกคนผ่านอัครสาวก) ระหว่าง อาหารค่ำมื้อสุดท้ายว่า “ในบ้านพระบิดาของเรามีที่พำนักมากมาย ... เรา กำลังไปเตรียมที่ให้ท่าน และเมื่อเราไป และเตรียมที่ให้ท่านแล้ว เราจะ กลับมารับท่านไปอยู่กับเราด้วย เพื่อว่าเราอยู่ที่ใด ท่านทั้งหลายจะอยู่ ที่นั่นด้วย” (ยน 14:2-3) การฉลองพระเยซู เ จ้ า เสด็ จ ขึ้ น สวรรค์ นี้ ส ร้ า งความบรรเทาใจ และความยินดีให้แก่ผู้มีความเชื่อแท้ มนุษย์ทุกคนมีความปรารถนาตาม ธรรมชาติ  (และเป็นความปรารถนาเหนือธรรมชาติด้วย เพราะเรามี ความปรารถนานี้ฝังอยู่ในตัวเราตั้งแต่การเนรมิตสร้างโลก) ที่จะมีชีวิต อยู่ต่อไป เพราะความตายเป็นการปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารัก และที่ เรามี แต่เรารูว้ า่ ความตายบนโลกนีร้ อเราทุกคนอยูข่ า้ งหน้า ร่างกายมนุษย์ เป็นร่างกายที่รู้จักตาย คงน่าเศร้าใจ และน่ากลัวสำหรับผู้ที่ไม่เชื่อใน พระเจ้า ถ้าหลุมศพคือจุดจบอันเด็ดขาดของเรา เราคริสตชนรู้ว่าหลุมศพไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นจุดเริ่มต้น และการ ฉลองในวันนี้เป็นการเตือนใจเราให้ระลึกถึงความจริงที่บรรเทาใจนี้ เรา ทุกคนต้องจากโลกนี้ไปสักวันหนึ่งในไม่ช้า แต่สำหรับคริสตชนแท้ ความ คิดเช่นนี้ควรเป็นเหตุให้เราชื่นชมยินดีมากกว่าเศร้าใจ เราออกจาก หุ บ เขาแห่ ง น้ ำ ตานี้ เ พื่ อ ไปพั ก ผ่ อ นตลอดนิ รั น ดร พระคริ ส ตเจ้ า ทรง ช่วงชิงมรดกสวรรค์นี้มาให้เรา พระองค์ทรงสัญญาว่าพระองค์กำลัง เตรียมที่ไว้ให้เราในบ้านของพระองค์ในสวรรค์  และพระองค์ทรงกำลัง ช่วยเหลือเราให้เดินทางไปทีน่ นั่ เรามีอะไรให้กลัวความตายในชีวติ นีห้ รือ ความตายในชีวิตนี้ไม่ใช่ทางเข้าประตูคุก แต่เป็นประตูเข้าสู่ความสุข นิรันดรของเรา


บทอ่านที่สอง : เอเฟซัส 1:17-23

บทเทศน์ปี C

11

ขอพระเจ้าแห่งพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา พระบิดา ผู้ทรงพระสิริรุ่งโรจน์ ประทานพระพรแห่งปรีชาญาณและการเปิดเผยให้ แก่ทา่ นเดชะพระจิตเจ้า เพือ่ ท่านจะได้รซู้ งึ้ ถึงพระองค์ดยี งิ่ ขึน้ ขอพระองค์ โปรดให้ตาแห่งใจของท่านสว่างขึ้น เพื่อจะรู้ว่าพระองค์ทรงเรียกท่านให้ มีความหวังประการใด และความรุ่งเรืองที่บรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์จะได้รับเป็น มรดกนั้ น บริ บู ร ณ์ เ พี ย งไร อี ก ทั้ ง รู้ ด้ ว ยว่ า  พระอานุ ภ าพยิ่ ง ใหญ่ ข อง พระองค์ในตัวเราผู้มีความเชื่อนั้นล้ำเลิศเพียงใด พระอานุภาพและ พละกำลังนี้ พระองค์ทรงแสดงในองค์พระคริสตเจ้า เมื่อทรงบันดาลให้ พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย และให้ประทับ เบื้องขวาของพระองค์ในสวรรค์  เหนือเทพนิกรเจ้า เทพนิกรอำนาจ เทพนิกรฤทธิ์  เทพนิกรนาย และเหนือนามทั้งปวงที่อาจเรียกขานได้ ทั้ ง ในภพนี้ แ ละในภพหน้ า  พระเจ้ า ทรงวางทุ ก สิ่ ง ไว้ ใ ต้ พ ระบาทของ พระคริสตเจ้า และทรงแต่งตั้งพระคริสตเจ้าไว้เหนือสรรพสิ่ง ให้ทรง เป็นศีรษะของพระศาสนจักร ซึ่งเป็นพระวรกายของพระองค์ เป็นความ บริบูรณ์ของพระผู้ทรงอยู่ในทุกสิ่ง และทรงกระทำให้ทุกสิ่งบริบูรณ์ คำอธิบาย – นักบุญเปาโล กำลังวิงวอนขอพระเจ้าให้ประทานพรแก่ คริสตชนชาวเอเฟซัส ให้พวกเขาเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นในความเมตตาและ ความรักของพระเจ้าพระบิดา ผู้ทรงบันดาลให้คนเหล่านี้เป็นอวัยวะของ พระกายของพระคริสตเจ้าในพระศาสนจักร และทรงเรียกเราให้มารับ มรดกสวรรค์ พวกเขาได้เป็นอวัยวะของพระกายทิพย์ ซึ่งมีพระคริสตเจ้า เป็นศีรษะ พระบิดาทรงบันดาลให้พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนชีพจาก บรรดาผู้ตาย และให้ประทับในตำแหน่งสูงสุดในสวรรค์ พระศาสนจักร ขยายตัวขึ้นทุกวันทั้งในด้านจำนวนสมาชิก และพระหรรษทาน จนกระทั่ง ทุกสิ่งจะครบบริบูรณ์ ดังความบริบูรณ์ของพระคริสตเจ้า ผู้ทรงกระทำ


12

บทเทศน์ปี C

ให้ทุกสิ่งดำเนินไปตามแผนการที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ให้โลกจักรวาล ด้วยการกลับคืนชีพ และเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระองค์ (ดู 1:10) พระเจ้าแห่งพระเยซูคริสต์ องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าของเรา – เปาโล กำลังอธิษฐานภาวนาต่อพระตรีเอกภาพต่อพระเจ้าพระบิดาของพระเยซูเจ้า ผู้ที่เขาเรียกว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า” คือเป็นพระเจ้าเช่นเดียวกัน ให้พระองค์ประทานพระจิตแห่งปรีชาญาณให้แก่คริสตชนชาวเอเฟซัส พระองค์ทรงเรียกท่านให้มีความหวัง  – ความหมายแท้ของ ความเชื่อของคริสตศาสนา ซึ่งพวกเขาได้รับมา ความรุ่งเรืองที่บรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์จะได้รับเป็นมรดก – ผู้ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ได้รับเรียกให้เข้าร่วมรับความสุขนิรันดรของพระตรีเอกภาพ พระอานุภาพของพระองค์ล้ำเลิศเพียงใด – สิ่งที่พระเจ้าทรง กระทำเพื่อคนทั้งหลายที่เชื่อในพระคริสตเจ้าคือทรงยกฐานะเขาขึ้นสู่ สถานะเหนือธรรมชาติ ให้เขากลายเป็นบุตรของพระเจ้า พระอานุภาพ ของพระเจ้าเท่านั้นสามารถกระทำเช่นนี้ได้ พระองค์ ท รงแสดงพระอานุ ภ าพ และพละกำลั ง นี้ ใ นองค์ พระคริสตเจ้า – การกลับคืนชีพ และการยกพระคริสตเจ้าขึ้นพร้อมทั้ง ธรรมชาติมนุษย์ของพระองค์ เกิดขึ้นได้เพราะพระอานุภาพของพระเจ้า พระอานุภาพเดียวกันนี้จะยกคริสตชนขึ้น และประทานที่อันทรงเกียรติ ให้พวกเขาด้วยเช่นกัน เหนือเทพนิกรเจ้า เทพนิกรอำนาจ เทพนิกรฤทธิ์ เทพนิกรนาย – พระคริสตเจ้าในธรรมชาติมนุษย์ของพระองค์ ทรงมีอำนาจสูงสุดรอง จากพระเจ้าในสวรรค์ ทรงมีอำนาจเหนือสิ่งสร้างอื่นๆ ทั้งปวง ทรงวางทุกสิ่งไว้ใต้พระบาทของพระคริสตเจ้า – พระบิดาทรง มอบสิ่งสร้างทั้งปวงให้อยู่ภายใต้อำนาจของพระคริสตเจ้าไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งสร้างอื่นๆ ทั้งปวงที่เกิดใหม่พร้อมกับจักรวาลใหม่  ซึ่งเกิดขึ้นเพราะการเสด็จมา บังเกิดเป็นมนุษย์ของพระคริสตเจ้า


บทเทศน์ปี C

13

คำสั่งสอน – นักบุญเปาโลเตือนชาวเอเฟซัสเมื่อสิบเก้าศตวรรษก่อน ให้เขาระลึกถึงความใจกว้าง และความดีของพระเจ้า ผู้ทรงเรียกเขามา เป็นคริสตชน และมีสิทธิได้เข้าร่วมในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้า ซึ่งก็คือพระสิริรุ่งโรจน์นิรันดรของพระเจ้า ถ้อยคำของนักบุญเปาโลนี้ เขียนถึงคริสตชนรุ่นแรก แต่ก็เขียนถึงเราเช่นกัน เพราะเตือนใจเราในยุค ปัจจุบัน เหมือนกับที่เตือนใจคริสตชนเมื่อ ค.ศ. 61 เปาโลภาวนาให้ พระเจ้าทรงส่องสว่างจิตใจของพวกเขา ให้เขาพยายามเข้าใจ และรู้ซึ้งถึง คุณค่าของสิ่งอัศจรรย์ต่างๆ ที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่อเขาผ่านทางการ เสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์  การสิ้นพระชนม์  การกลับคืนชีพ และการ เสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซูคริสตเจ้า พระผู้ไถ่ของเรา มีพวกเราคนใดบ้างที่พูดได้ว่าเรารู้ซึ้ง อย่างที่เราควรรู้ซึ้ง ถึง คุณค่าของสิ่งอัศจรรย์ต่างๆ ที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่อเรา เพราะพระคริสตเจ้าเสด็จมายังโลก เราจึงได้รับอำนาจที่จะไปสวรรค์ เราเป็นเพียง สิ่งสร้าง เราจึงไม่มีอำนาจ และไม่มีสิทธิแม้แต่น้อยที่จะได้รับพระพร พิเศษเช่นนั้น เมื่อเราเป็นสิ่งสร้าง เราจึงมีธรรมชาติที่รู้จักตาย ความตาย บนโลกนี้ ค วรเป็ น จุ ด จบอั น เด็ ด ขาดของเรา แต่ เ พราะพระเจ้ า ผู้ ท รง ความดี  และใจกว้างอย่างปราศจากขอบเขตพระองค์นี้  ทรงต้องการ ยกฐานะของเราขึ้นเป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์  และทรงทำให้เรา สามารถมีส่วนร่วมในชีวิต และความสุขนิรันดรของพระองค์ เกินกว่าที่ ธรรมชาติที่มีข้อจำกัดของเราสามารถรับได้ พระองค์จึงทรงส่งพระบุตร ของพระองค์ลงมายังโลกนี้เพื่อรับธรรมชาติมนุษย์เหมือนเรา นี่คือธรรมล้ำลึกของการเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์  ธรรมล้ำลึก ของความรักของพระเจ้าต่อเรา ความรักที่เราไม่สมควรได้รับเลยแม้ แต่น้อย ในวันนี้  เราระลึกถึงกิจการสุดท้ายแห่งความรักของพระเจ้า พระเจ้าพระบุตรทรงกลับไปหาพระบิดา โดยทรงนำธรรมชาติมนุษย์ ของเราไปด้ ว ย และเป็ น หลั ก ประกั น สำหรั บ เราแต่ ล ะคนว่ า เมื่ อ เรา


14

บทเทศน์ปี C

ออกจากโลกนี้ เราเองก็จะพบกับชีวิตแท้ ชีวิตที่ไม่มีวันสิ้นสุด ในบ้าน ของพระบิดา ร่วมกับพระคริสตเจ้า พี่ชายแท้ของเรา วันนี้ จงยกสายตาของท่านมองไปที่สวรรค์เถิด ในที่นั้น พระคริสตเจ้าประทับอยู่ในวันนี้ ห้อมล้อมด้วยเพื่อนมนุษย์นับล้านๆ คนของ เรา แล้วจงบอกตัวท่านว่า ที่นั่นคือบ้านแท้ของฉัน ที่นั่น ฉันจะอยู่กับ พระเจ้า อยู่กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่กับตนเองในสันติสุข เพื่อนมนุษย์ เป็นล้านๆ คนของฉันไปถึงที่นั่นแล้ว ฉันมีความอ่อนแอไม่ต่างจากที่ พวกเขาเคยมี   ฉั น ได้ รั บ พละกำลั ง และความช่ ว ยเหลื อ เหมื อ นกั บ ที่ พวกเขาเคยได้รับ ทำไมฉันจะไปที่นั่นบ้างไม่ได้  บุคคลเดียวที่สามารถ ยับยั้งฉันไม่ให้ไปถึงบ้านในสวรรค์ก็คือตัวฉันเอง ฉันจะโง่ถึงเพียงนั้น ทีเดียวหรือ ขออย่าให้เป็นเช่นนั้นเลย!

พระวรสาร : ลูกา 24:46-53 พระเยซูเจ้าตรัสแก่บรรดาศิษย์ว่า “มีเขียนไว้ดังนี้ว่า พระคริสตเจ้าจะต้องรับทนทรมาน และจะกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายใน วันที่สาม จะต้องประกาศในพระนามของพระองค์ให้นานาชาติกลับใจ เพื่อรับอภัยบาป โดยเริ่มจากกรุงเยรูซาเล็ม ท่านทั้งหลายเป็นพยานถึง เรื่องทั้งหมดนี้ บัดนี้ เรากำลังจะส่งพระผู้ที่พระบิดาทรงสัญญาไว้มาเหนือ ท่านทั้งหลาย เพราะฉะนั้นท่านจงคอยอยู่ในกรุงจนกว่าท่านจะได้รับ พระอานุภาพจากเบื้องบนปกคลุมไว้” พระองค์ ท รงนำบรรดาศิ ษ ย์ อ อกไปใกล้ ห มู่ บ้ า นเบธานี   ทรง ยกพระหัตถ์ขึ้นอวยพระพร และขณะที่ทรงอวยพระพรนั้น พระองค์ทรง แยกไปจากเขา และทรงถูกนำขึ้นสู่สวรรค์  บรรดาศิษย์กราบนมัสการ พระองค์ แล้วกลับไปกรุงเยรูซาเล็มด้วยความยินดียิ่ง เขาอยู่ในพระวิหาร ตลอดเวลา ถวายพระพรแด่พระเจ้า


บทเทศน์ปี C

15

คำอธิบาย – นักบุญลูกาสรุปพระวรสารของเขาด้วยคำบรรยายการแสดง พระองค์สามครั้งของพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ ครั้งแรก ทรงแสดง พระองค์แก่ศิษย์สองคนระหว่างทางไปยังหมู่บ้านเอมมาอูส  (24:1331) ครั้งที่สองแก่ซีโมนเปโตร (24:34) และครั้งที่สามแก่อัครสาวกและ ศิษย์บางคน (24:36-53) ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นการแสดงพระองค์ครั้ง สุดท้ายตามคำบอกเล่าในพระวรสารของลูกา การแสดงพระองค์ทั้งสาม ครั้งดูเหมือนว่าเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ปัสกา แต่นักบุญยอห์น และนักบุญ ลูกาที่เขียนไว้ในกิจการอัครสาวก บอกไว้ชัดเจนว่าการแสดงพระองค์ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างระยะเวลาอย่างน้อยสองสัปดาห์ (เวลา 40 วัน ที่บอกไว้ในกิจการอัครสาวกเป็นจำนวนถ้วนๆ) ซึ่งไม่ถือว่าเป็น ข้ อ ความที่ ขั ด แย้ ง กั น  เพราะนั ก บุ ญ ลู ก าปิ ด ท้ า ยพระวรสารของเขา ด้วยการบอกเล่าอย่างรวบรัดเรื่องการแสดงพระองค์ของพระคริสตเจ้า ภายหลังการกลับคืนชีพ พระคริสตเจ้าจะต้องรับทนทรมาน และจะกลับคืนพระชนมชีพ – “มี เ ขี ย นไว้ ”  หมายถึ ง มี บั น ทึ ก อยู่ ใ นพระคั ม ภี ร์ พั น ธสั ญ ญาเดิ ม เหตุการณ์เหล่านี้ได้ถูกทำนายไว้แล้ว มีคำทำนายเรื่องการทนทรมาน และชัยชนะ (การกลับคืนชีพ) อย่างชัดเจนในอิสยาห์ เกี่ยวกับผู้รับใช้ ผู้ทนทรมาน (ดู อสย 53; ยนา 2:1; สดด 15:8; อสย 55:3 ซึ่งเปาโลยก มาอ้างในกิจการอัครสาวก 13:34) ในวันที่สาม – ข้อความเดียวในพันธสัญญาเดิมที่อ้างถึงการกลับ คืนชีพ คือ ยนา 2:1 แต่พระคริสตเจ้าเองทรงทำนายว่าพระองค์จะทรง กลับคืนชีพในวันที่สาม (ดู มก 8:31; 9:30; 10:34 และในพระวรสาร ฉบับอื่นที่กล่าวถึงคำทำนายนี้ - ดู ยน 2:19ประกอบด้วย) ประกาศในพระนามของพระองค์ให้นานาชาติกลับใจ – พระศาสนจั ก รที่ พ ระองค์ ท รงสถาปนาขึ้ น โดยมี อั ค รสาวกเป็ น ฐานรากนี้ จะมี อ าณาเขตครอบคลุ ม ทั่ ว โลก อั ค รสาวกจะต้ อ งเทศน์ ส อน “ใน


16

บทเทศน์ปี C

พระนามของพระองค์”  หมายถึงด้ว ยพระอานุ ภ าพ และอำนาจของ พระองค์  ให้ แ ก่ ทุ ก ชนชาติ  ให้ ก ลั บ ใจ คื อ ให้ ม าดำเนิ น ชี วิ ต ใหม่ เ ป็ น คริสตชน ท่านทั้งหลายเป็นพยาน – อัครสาวกเป็นผู้แทนของพระองค์ใน พันธกิจระดับโลกนี้ พระบิดาทรงสัญญาไว้ – พระบิดา และพระบุตร จะทรงส่ง พระจิตเจ้าลงมาเหนือบรรดาอัครสาวก เพื่อให้สานต่องานช่วยกอบกู้ มนุษยชาติ ซึ่งพระคริสตเจ้าได้ทรงเริ่มก่อตั้งขึ้นในพระศาสนจักร และ พระจิตเจ้าจะทรงทำงานต่อไปจนถึงสิ้นพิภพ ท่านจงคอยอยูใ่ นกรุง – อัครสาวกต้องรออยูใ่ นกรุงเยรูซาเล็ม จน กว่าพระจิตเจ้าจะเสด็จลงมาเหนือเขา ให้ทุกคนเห็นในวันเปนเตกอสเต ออกไปใกล้หมู่บ้านเบธานี – เบธานี เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่บน ทางลาดด้านตะวันออกของภูเขามะกอกเทศ พระองค์ทรงแยกจากเขาไป – พระองค์ทรงหายไปจากสายตา ของเขา การลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นเครื่องหมายที่มองเห็นได้ของการเสด็จ ขึ้นสู่สวรรค์  เนื่องจากเป็นความเชื่อของคนทั่วไปว่าที่พำนักของพระเจ้า อยู่เหนือท้องฟ้า ด้วยความยินดียิ่ง – ข้อความนี้ และประโยคสุดท้าย “อยู่ใน พระวิหารตลอดเวลา ถวายพระพรแด่พระเจ้า” หมายถึงช่วงเวลาหลัง จากพระจิตเจ้าเสด็จลงมา ตามที่บรรยายไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก บทที่ 2-9 คำสั่งสอน - สำหรับบุคคลที่ไม่เชื่อในพระเจ้า ความตายของสมาชิก ครอบครัว หรือบุคคลที่เขารัก คงเป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าใจที่สุดในชีวิต ของเขา เขาเป็นฝ่ายที่เชื่อจริงๆ ว่าไม่มีพระเจ้า ไม่มีชีวิตหน้า ดังนั้น ญาติ หรือเพื่อนของเขาจึงจะเน่าเปื่อยกลายเป็นดินในหลุมศพ และไม่มีวัน ได้พบหน้ากันอีก เขาคิดว่าทุกวันที่ผ่านไปนำเขาเข้าไปใกล้มากขึ้นทุกที


บทเทศน์ปี C

17

กับชะตากรรมอันน่าเศร้าเดียวกันนี้ คือความตาย ซึ่งจะเป็นจุดจบของ ความทะเยอทะยาน ความรื่นเริงบันเทิงใจทั้งปวงของเขา เป็นจุดจบของ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเคยเป็น หรือเคยมี ความคิดเช่นนี้คงทำให้ชีวิตเป็น ทุกข์ไม่น้อย ขอบพระคุณพระเจ้าที่เราโชคดีที่ได้รู้ อีกทั้งเหตุผลและความเชื่อ ทำให้ เ ราเชื่ อ ในความจริ ง ว่ า ความตายนั้ น ไม่ ใ ช่ จุ ด จบของมนุ ษ ย์ แท้จริงแล้ว ความตายเป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริง การเสด็จขึ้นสวรรค์ของ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราในธรรมชาติมนุษย์ของพระองค์ที่เราฉลองกัน ในวันนี้ เพื่อขึ้นไปสู่บ้านของพระบิดาของพระองค์ และพระบิดาของเรา เป็นการยืนยัน และหลักประกันข้อความเชื่อข้อนี้ของเรา เราทุกคนจะ กลับคืนชีพจากหลุมศพพร้อมกับร่างกายใหม่อนั รุง่ โรจน์ และขึน้ สูส่ วรรค์ เหมือนกับพระคริสตเจ้า และบนสวรรค์นั้น เราจะเริ่มต้นชีวิตแท้ของเรา ซึ่งมีแต่ความสุขนิรันดร ในขณะที่เป็นความจริงว่า แม้แต่คริตชนที่มีความเชื่อที่เข้มแข็ง ก็ยังถือว่าความตายของบุคคลที่เขารักเป็นเหตุให้รู้สึกโศกเศร้าและหลั่ง น้ำตา นี่ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเรายังเป็นมนุษย์ที่ผูกพันกับโลก แต่ ลึกๆ ในใจ เรายังมั่นใจว่าคนที่เรารักได้เข้าสู่ชีวิตแท้ของเขาแล้ว และ เขาจะรอพบเราอยู่ที่นั่นเมื่อเวลาของเรามาถึง ความมั่นใจนี้เองที่บรรเทา ใจเรา มนุษย์ทุกคนต้องการอยู่กับคนที่เรารักตลอดไป ความตายทำให้ ความต่อเนื่องนี้ขาดลง แต่จะเป็นเช่นนั้นเพียงชั่วคราว การตัดขาดนี้ จำเป็นต้องเกิดขึ้นเพื่อให้ชีวิตใหม่เริ่มต้นขึ้นได้ ความปรารถนาตามธรรมชาติที่จะอยู่กับบุคคลที่เรารักตลอดไป นี้ จะกลายเป็นความจริงได้เพียงในสวรรค์เท่านั้น และความตายบนโลกนี้ คือ ประตูที่เปิดเข้าสู่ชีวิตนิรันดรนั้น วันนี้ จงเงยหน้าขึ้นมองสวรรค์ และเห็นพระคริสตเจ้าเสด็จขึ้น สวรรค์ไปหาพระบิดาของพระองค์ และพระบิดาของเรา แล้วจงพูดว่า


18

บทเทศน์ปี C

ขอบพระคุณพระเจ้าที่ได้ทรงสร้างข้าพเจ้าขึ้นมา และประทานทั้งโอกาส และความมั่นใจแก่ข้าพเจ้าว่า อาศัยการเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของ พระบุตรสุดที่รักของพระองค์  และถ้าข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ของข้าพเจ้า บนโลกนี้ เมื่อความตายมาถึง ความตายจะไม่เป็นศัตรู แต่จะเป็นมิตร ของข้าพเจ้า มิตรผู้จะนำข้าพเจ้าเร่งรีบไปสู่ชีวิตแท้เหนือธรรมชาติ ซึ่ง พระองค์ทรงวางแผน และเตรียมไว้ให้ข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงรัก ข้าพเจ้า มีบันทึกไว้  และมีคำทำนายไว้ว่าพระคริสตเจ้าทรงต้องรับทน ทรมานก่อนจะทรงไปรับพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ได้  ผู้รับใช้ย่อม ไม่เหนือนาย ข้าพเจ้าเองก็ต้องรับทนทรมาน ข้าพเจ้าเองก็ต้องยอมรับ ความทุกข์ยาก และการทดลองต่างๆ ในชีวิตนี้ ถ้าข้าพเจ้าต้องการ และ ข้าพเจ้าก็ต้องการเข้าสู่ชีวิตในสิริรุ่งโรจน์ พระคริสตเจ้าผู้ปราศจากบาป ทรงยอมรับความทุกข์ยากและความเจ็บปวด ความทุกข์ยากส่วนใหญ่ - ถ้าไม่ใช่ทั้งหมด - ของข้าพเจ้าเกิดขึ้นเพราะบาปของข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้าควรดีใจที่มีโอกาสชดใช้ความผิดในอดีตของข้าพเจ้า ด้วยการ ยอมรับกางเขนต่างๆ ที่พระเจ้าทรงส่งมาให้ข้าพเจ้า กางเขนเหล่านี้เป็น เครื่องหมายว่าพระเจ้าทรงสนใจในสวัสดิภาพแท้ของข้าพเจ้า อาศัย พระคริสตเจ้า พระองค์กำลังประทานโอกาสให้ข้าพเจ้าเตรียมพร้อม สำหรั บ วั น พิ พ ากษา สำหรั บ นาที แ ห่ ง ความตายซึ่ ง จะตั ด สิ น อนาคต นิรันดรของข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าสวดภาวนาหนึ่งบทเพื่อให้ประสบความ สำเร็จในชีวิต ข้าพเจ้าควรสวดภาวนาสามบทเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ในความตาย ให้ข้าพเจ้าตายโดยปราศจากบาปและเป็นมิตรกับพระเจ้า


บทเทศน์ปี C

19

บทรำพึงที่ 3 ในประเทศฟิลิปปินส์  เราจัดสมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ ในวันอาทิตย์สัปดาห์ที่เจ็ดของเทศกาลมหาพรต และไม่ใช่วันพฤหัสบดี ก่อนวันอาทิตย์นั้น บทอ่านที่หนึ่ง และที่สองสำหรับทั้งสามปีพิธีกรรม เป็นบทเดียวกัน แตกต่างเฉพาะบทอ่านพระวรสาร ปีนี้เป็นปี C เราจึง อ่านจากพระวรสารของนักบุญลูกา พระคริสตเจ้าทรงถูกยกขึ้นสวรรค์ (ในทั้งสามบทอ่าน) พระบิดา ทรงโปรดให้พระองค์ประทับเบื้องขวา และให้ทรงมีอำนาจเหนือเทพ นิกรทัง้ มวล และทรงแต่งตัง้ พระองค์เป็นศีรษะ (ผูน้ ำ) ของพระศาสนจักร (บทอ่านที่สอง) การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนชีพ (การยกขึ้น) ของ พระคริ ส ตเจ้ า ทำให้ ก ารปฏิ บั ติ พั น ธกิ จ ทั่ ว ไปในโลกเกิ ด ขึ้ น ได้ (พระวรสาร)

บทอ่านพระวรสาร : ลูกา 24:46-53 บทอ่านของวันนี้มาจากข้อความท้ายสุดของพระวรสารฉบับที่ สาม ซึ่งบอกเราเกี่ยวกับคำสั่งสอนสุดท้ายของพระคริสตเจ้าและพระดำรัสอำลาศิษย์ของพระองค์เป็นครั้งสุดท้าย พระคริสตเจ้าทรงแสดง พระองค์แก่ศิษย์ของพระองค์ในวันอาทิตย์ปัสกาในกรุงเยรูซาเล็ม (ลก 24:36-43) ทรงสั่งสอนเขาให้เข้าใจความหมายของชีวิตของพระองค์ โดยเฉพาะการรับทนทรมาน และการสิ้นพระชนม์ (24:44-49) ทรงนำ พวกเขาออกไปใกล้หมู่บ้านเบธานี (กจ 1:12 บอกว่าเป็นภูเขามะกอกเทศ) และทรงถูกนำขึ้นสู่สวรรค์ (24:50-53) พระวรสารของลูกา ทำให้เรารู้สึกว่าเป็นคำสั่งสอนสั้นๆ ดังนั้น


20

บทเทศน์ปี C

พระเยซูเจ้าจึงทรงถูกยกขึ้นสู่สวรรค์ในตอนเย็นของวันอาทิตย์ปัสกานั้น เอง แต่ กจ 1:3 ระบุว่าการสั่งสอนเหล่านี้เกิดขึ้นระหว่างระยะเวลา 40 วัน พระเยซูเจ้าทรงบอกศิษย์ของพระองค์ว่าพระองค์ต้องรับทนทรมาน เพราะเป็นพระประสงค์ของพระบิดา และมีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ (ข้อ 46) นอกจากนี้ พระองค์ยังจำเป็นต้องสิ้นพระชนม์ และกลับคืนชีพ เพื่อ ให้พันธกิจเผยแผ่พระวรสารไปทั่วโลกสามารถเกิดขึ้นได้ บัดนี้ ภายหลัง การกลับคืนชีพ (การยกขึ้น) พระวรสารจึงสามารถ และต้องถูกนำไป เทศน์สอนแก่ชนชาติต่างๆ ให้กลับใจ และได้รับการอภัยบาป โดยเริ่มต้น จากกรุงเยรูซาเล็ม (ข้อ 47) บรรดาศิษย์เป็นพยานถึงการสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนชีพ และการอภัยบาปซึ่งพวกเขาเองได้รับ (เทียบ ลก 22:31 “ซาตานได้ขอทดสอบท่านทั้งหลาย ... แต่เราอธิษฐานอ้อนวอน เพื่อท่าน”, ข้อ 48) ศิษย์ทั้งหลายจะได้รับอำนาจให้เทศน์สอนข่าวดีจาก พระจิตเจ้า (ข้อ 49) พระคริ ส ตเจ้ า ทรงนำบรรดาศิ ษ ย์ อ อกไปใกล้ ห มู่ บ้ า นเบธานี หลังจากทรงสั่งเสียกับพวกเขาและทรงอวยพรเขา เหมือนกับสมณะ อวยพรหลังจากการถวายเครื่องบูชา (ข้อ 50) (บสร 50:20 บอกว่า “เมื่อสมณะประกอบพิธีกรรมที่พระแท่น โดยถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้า แล้ว สมณะจะก้าวลงมา และยกมือขึ้นวางเหนือประชาชนชาวอิสราเอล เขาจะกล่าวคำอวยพรของพระเจ้า”) ขณะที่ทรงอวยพร พระเยซูเจ้าทรง ถูกแยกไปจากเขา แต่ในการอวยพรนั้น พระองค์ทรงประสานพระองค์ เป็นหนึ่งเดียวกับพวกเขา และพระบิดา เขารู้ว่าพระองค์ประทับอยู่กับ พระเจ้า และประทับอยูท่ า่ มกลางพวกเขาในพระพรของพระองค์ (ข้อ 51) บรรดาศิษย์กราบนมัสการ และกลับไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ด้วยความยินดี ยิ่ง (ข้อ 52) พระวรสารฉบับที่สามเริ่มต้นที่พระวิหาร และจบลงใน พระวิหาร บรรดาศิษย์สวดภาวนาในพระวิหารทุกวัน (ข้อ 54) และรอคอย การเสด็จมาของพระจิตเจ้า และเพื่อให้รู้อุดมการณ์ของพันธกิจ


บทเทศน์ปี C

21

บทเทศน์ พระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ – จุดเริ่มต้นของพันธกิจในโลก

การเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระคริสตเจ้าเป็นจุดสูงสุดของชีวิตของ พระองค์ บ นโลกนี้   กล่ า วคื อ  หลั ง จากทรงไถ่ กู้ ม นุ ษ ยชาติ ส ำเร็ จ แล้ ว พระองค์ ท รงกลั บ ไปหาพระบิ ด าผู้ ท รงส่ ง พระองค์ ม ายั ง โลกนี้  ศิ ษ ย์ ทั้ ง หลายจึงกลับเข้ากรุงเยรูซาเล็ ม ด้ ว ยความยิ น ดี ยิ่ ง พระคริ ส ตเจ้ า เสด็จขึ้นสวรรค์แล้ว เราก็จะไปถึงสวรรค์ได้เช่นกัน ถ้าเราเดินตามรอย พระบาทของพระองค์  พระคริสตเจ้าทรงขอให้เราฟังพระจิตเจ้า ผู้จะ สานต่องานที่พระองค์ทรงทิ้งไว้  แต่การกลับคืนชีพและการเสด็จขึ้น สวรรค์ของพระเยซูเจ้า  ยังเป็นจุ ด เริ่ ม ต้ น ของพั น ธกิ จ ในโลกอี ก ด้ ว ย ก่อนพันธกิจนี้จะเริ่มขึ้นได้ต้องใช้เวลา 1. ไม่มีพันธกิจของคริสตศาสนาในโลก ระหว่างที่พระคริสตเจ้าทรงมีชีวิต อยู่บนโลกนี้ 1. พระเยซูเจ้าทรงตำหนิพันธกิจของชาวยิว – ระหว่างช่วงต้น ประวัติศาสตร์ ชาวอิสราเอลไม่มีธรรมทูต กิจกรรมแพร่ธรรมเริ่มต้นขึ้น หลังจากยุคเนรเทศ เมื่อชาวยิวเริ่มแยกย้ายไปอยู่ในที่ต่างๆ ภายหลัง ยุคมัคคาบี  จุดสูงสุดของกิจกรรมแพร่ธรรมนี้เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของ พระเยซูเจ้าและอัครสาวก หลังจากพระวิหารถูกทำลาย (ค.ศ. 70) และ การปล้นสะดมกรุงเยรูซาเล็ม เป็นครั้งที่สองใน ค.ศ. 135 กิจกรรม แพร่ธรรมของชาวยิวจึงเริ่มลดลง อุปสรรคสำคัญที่สุดที่ขัดขวางกิจกรรม แพร่ธรรมของชาวยิวก็คือบทบัญญัติให้ผู้กลับใจต้องเข้าสุหนัต เพื่อเลี่ยง ปัญหานี้จึงเกิดมีกลุ่ม “ผู้ยำเกรงพระเจ้า” หรือ “ผู้เลื่อมใสศาสนายิว” ซึ่งมีความเชื่อมโยงอย่างหลวมๆ กับศาลาธรรม คนเหล่านี้ต้องทำเพียง ยอมรั บ ว่ า มี พ ระเจ้ า หนึ่ ง เดี ย ว และต้ อ งถื อ วั น สั บ บาโต และบั ญ ญั ติ เกี่ยวกับอาหารการกิน แต่ประสบการณ์เผยว่าคนรุ่นต่อมาบ่อยครั้งจะ กลับใจนับถือศาสนายิวอย่างเต็มตัวด้วยการยอมเข้าสุหนัต


22

บทเทศน์ปี C

ข้อความเดียวที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์ว่าพระคริสตเจ้าทรงกล่าว ถึงกิจกรรมแพร่ธรรมของคนร่วมสมัยของพระองค์เป็นคำตำหนิอย่าง รุนแรง “วิบัติจงเกิดแด่ท่าน ธรรมาจารย์ และฟาริสีหน้าซื่อใจคด ท่าน เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล เพื่อทำให้คนเพียงคนเดียวกลับใจ และเมื่อเขา กลับใจแล้ว ท่านก็ทำให้เขาสมควรจะไปนรกมากกว่าท่านสองเท่า” (มธ 23:15) อาจกล่าวได้ว่า พระเยซูเจ้าทรงประณามการกลับใจแต่ภายนอก พระองค์ทรงตำหนิชาวฟาริสี ที่คิดว่าตนเองศรัทธากว่าผู้อื่น และความ คลั่งศาสนาของผู้ที่กลับใจมาถือศาสนายิว พระองค์คงไม่วิพากษ์วิจารณ์ พันธกิจแพร่ธรรมในหมู่คนต่างชาติ แต่น่าแปลกใจที่พระองค์ทรงตำหนิ ผู้ที่กลับใจอย่างรุนแรง 2. พระเยซูเจ้าทรงห้ามศิษย์ของพระองค์ไม่ให้เทศน์สอนแก่ บุคคลที่ไม่ใช่ชาวยิว ระหว่างที่พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ – “อย่า เดินตามทางของคนต่างชาติ อย่าเข้าไปในเมืองของชาวสะมาเรีย แต่จง ไปหาแกะพลัดฝูงของวงศ์วานอิสราเอลก่อน” (มธ 10:5-6) พระคริสตเจ้ า ทรงบอกศิ ษ ย์ ข องพระองค์ เ ช่ น นี้ ใ นคำสั่ ง สอนอั ค รสาวก เราอาจ สันนิษฐานได้ว่าพระองค์ทรงสั่งเช่นเดียวกันนี้ไม่เพียงสำหรับพันธกิจ ครั้งแรกเท่านั้น เป็นความจริงที่มีข้อความต่างๆ ในพระวรสารที่ชวนให้คิดว่ามี การแพร่ ธ รรมให้ แ ก่ ค นต่ า งชาติ ตั้ ง แต่ ก่ อ นพระเยซู เ จ้ า กลั บ คื น ชี พ แต่เป็นเพียงการตีความ และการเขียนเพิ่มเติมของผู้นิพนธ์ภายหลังวัน ปัสกา ดังนั้น เราจึงพบในคำปราศรัยเรื่องอวสานกาล (มก 13) ว่า “แต่ก่อนหน้านั้น ข่าวดีจะต้องได้รับการประกาศให้ชนทุกชาติแล้ว” (มก 13:10) ข้อความนี้อาจพูดถึงวันสิ้นพิภพ ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นก่อนที่พระวรสารจะได้รับการประกาศให้แก่ชนทุกชาติแล้ว แต่ไม่ได้บอกว่าเมื่อใด พระวรสารจึงจะได้รับการประกาศแก่ชนทุกชาติ  ข้อความต่างๆ เช่น


บทเทศน์ปี C

23

“ท่านทั้งหลายเป็นเกลือดองแผ่นดิน” (มธ 5:13) “ท่านทั้งหลายเป็น แสงสว่างส่องโลก” (มธ 5:14) ในบทเทศน์บนภูเขา หรือ “ท่านจะถูก นำตัวไปต่อหน้าผู้ว่าราชการ และเฉพาะพระพักตร์กษัตริย์เพราะเราเป็น เหตุ เพื่อเป็นพยานยืนยันแก่เขา และแก่บรรดาชนต่างชาติต่างศาสนา” (มธ 10:18) เป็นข้อความที่มัทธิวเรียบเรียงขึ้นหลังจากเข้าใจเหตุการณ์ ในวันปัสกานั้นแล้ว เช่นเดียวกับการยกอุปมาเรื่องคนเช่าสวนใน มธ 21: 38-46 “พระอาณาจักรของพระเจ้าจะถูกยกจากท่านทั้งหลายไปมอบให้ แก่ชนชาติอื่น ที่จะทำให้บังเกิดผล” (มธ 21:43) ยุคสมัยของมัทธิว และ พระศาสนจักรของเขา เป็นช่วงเวลาที่พระอาณาจักรถูกยกไปมอบให้แก่ คนต่างชาติ  ในอุปมาเรื่องงานวิวาห์มงคล พระเยซูเจ้าคงหมายถึงคน ต่างชาติเมื่อพระองค์ตรัสว่า “จงไปตามทางแยก พบผู้ใดก็ตามจงเชิญ มาในงานวิวาห์เถิด” (มธ 22:9) แต่ในกรณีนี้อีกเช่นกันที่ไม่ได้บอกว่า เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด 3. พระเยซูเจ้าทรงจำกัดขอบเขตกิจกรรมของพระองค์ให้อยู่ ภายในอิสราเอล – แม้บางครั้งพระองค์ทรงมีข้อยกเว้น แต่ก็เป็นข้อ ยกเว้นจริงๆ พระองค์ทรงรักษาโรคให้บุตรสาวของหญิงชาวซีโรฟีนีเชีย ก็จริง แต่ทรงกระทำหลังจากทรงแสดงความลังเลใจ โดยทรงเรียกคน ต่างชาติว่าสุนัข (แม้จะไม่เอ่ยออกมาตรงๆ  แต่ความหมายก็ชัดเจน) พระองค์ทรงให้เหตุผลว่า “เราถูกส่งมาเพื่อแกะที่พลัดหลงของวงศ์วาน อิสราเอลเท่านั้น” (มธ 15:24) เป็นพระประสงค์ของพระบิดาที่พระองค์ ทรงจำกัดขอบเขตการทำงานอยู่ในแวดวงชาวยิว หลังจากหญิงนี้ยอมรับ พระประสงค์ของพระบิดาแล้วเท่านั้นนางจึงได้รับตามที่ขอ พระเยซูเจ้าทรงรักษาโรคให้บุตรของนายร้อยซึ่งเป็นคนต่างชาติ (มธ 8:5-13) ชาวกาดารา ผู้ถูกปีศาจสิง (มธ 8:28-34) ซึ่งเป็นข้อยกเว้น การกลับใจของหญิงชาวสะมาเรีย และประชาชนจากสะมาเรีย (ยน 4:442) อาจเป็นการนำพันธกิจในยุคของอัครสาวกมารวมอยู่ในยุคของพระ


24

บทเทศน์ปี C

เยซูเจ้า แต่สองสามกรณีที่เรายกเป็นตัวอย่างนี้ก็ทำให้เราอดถามตนเอง ไม่ได้ว่า อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าพระคริสตเจ้าทรงเทศน์สอนให้แก่คนต่างชาติ ระหว่างที่พระองค์ทรงดำรงชีพบนโลกนี้ 2. โดยหลักการ พระคริสตเจ้าทรงสนับสนุนให้แพร่ธรรมแก่คนต่างชาติ 1. พระเยซู เ จ้ า ทรงตั ด ข้ อ ความที่ ส อนให้ แ ก้ แ ค้ น ออกไปจาก ข้อความที่กล่าวถึงการรวบรวมชาวยิว และคนต่างชาติในอวสานกาล เมื่อ พระองค์ทรงเริ่มต้นเทศน์สอนที่เมืองนาซาเร็ธ และทรงบอกว่าคำทำนาย ของ อสย 61:1 ได้กลายเป็นจริงแล้ว พระองค์ทรงตัดข้อความที่บอกว่า พระเจ้าจะทรงแก้แค้นคนต่างชาติ  อสย กล่าวว่า “พระองค์ทรงเจิม ข้าพเจ้าไว้ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการ ปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูก กดขี่ให้เป็นอิสระ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า และวัน แห่งการแก้แค้นของพระเจ้าของเรา” พระเยซูเจ้าทรงตัดข้อความสุดท้าย ออกไปเมื่อทรงอ่านข้อความนี้ที่เมืองนาซาเร็ธ พระองค์ไม่ทรงมีเจตนา จะลงโทษคนต่างชาติอย่างที่ชาวยิวคาดหมาย 2. พระเยซูเจ้าทรงสัญญาว่าคนต่างชาติจะมีส่วนได้รับความรอด พ้น - ชาวยิวเชื่อว่าชาวเมืองโสโดม และโกโมราห์ จะไม่กลับคืนชีพเมื่อ พระคริสตเจ้าเสด็จมาอย่างรุ่งเรือง เราทราบเช่นนี้จากถ้อยคำที่ชัดเจน ของรับบี เอลีเซอร์ เบน ไฮร์คานัส (ประมาณ ค.ศ. 90) แต่พระเยซูเจ้าตรัส ไว้อย่างชัดเจนว่า ชาวเมืองนีนะเวห์ และพระราชินีแห่งเชบา (มธ 12:41) และชาวเมืองไทระ และเมืองไซดอน (มธ 11:22) และชาวเมืองโสดม และ โกโมราห์ (มธ 10:15) จะกลับคืนชีพ พระองค์ถึงกับตรัสว่า ชนชาติ เหล่านี้จะได้รับโทษเบากว่าชาวยิว เพราะคนต่างชาติเหล่านี้คงได้กลับใจ แล้ว แต่ชาวยิวไม่ยอมรับพระคริสตเจ้า (มธ 11:20-24) พระคริสตเจ้า ยังบอกชาวยิวอีกด้วยว่า “คนจำนวนมากจะมาจากทิศตะวันออก และ


บทเทศน์ปี C

25

ตะวันตก และจะนั่งร่วมโต๊ะกับอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ ในอาณาจักร สวรรค์แต่บุตรแห่งอาณาจักร จะถูกขับไล่ออกไปในที่มืดข้างนอก” (มธ 8:11) ทุกชนชาติจะได้พบกับความรอดพ้น 3. พระคริสตเจ้าทรงรวมคนต่างชาติไว้ในกิจการไถ่กู้   และให้ พวกเขาอยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ - พระองค์ทรงเรียกพระองค์เองว่า “บุตรแห่งมนุษย์” ซึ่งมาจาก ดนล 7:13, ผู้ทรงเป็นผู้ปกครองทุกชนชาติ - เมื่อเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม พระคริสตเจ้าไม่ได้ทรง ขี่ม้าศึก แต่ทรงขี่ลาที่ต่ำต้อย ดังนั้น พระองค์จึงทรงเป็นกษัตริย์แห่ง สันติภาพ ผู้จะปกครองทุกชนชาติ ดังที่เศคาริยาห์ ทำนายไว้ (9:9) - พระเยซูเจ้าทรงเป็นโอรสของกษัตริย์ดาวิด  ในฐานะ พระเมสสิยาห์ ดังนั้น พระองค์จึงทรงเป็นโอรสตามสายโลหิตของดาวิด แต่ทรงเป็นองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าผูม้ อี ำนาจเหนือทุกชนชาติดว้ ย (มก 12:3537) - ในฐานะผู้รับใช้ของพระยาห์เวห์ พระคริสตเจ้าทรงเป็น แสงสว่างของนานาชาติ (อสย 42:1, 6; 49:6) ผู้ทำให้นานาชาติตกตะลึง (อสย 52:15) และทรงแบกบาปของคนจำนวนมาก (หมายถึงมนุษย์ ทุกคน) (อสย 53:12) 3. การเทศน์สอนพระวรสารแก่คนทั่วโลกจะเริ่มต้นได้หลังจากพระคริสตเจ้าสิ้นพระชนม์ และกลับคืนชีพแล้วเท่านั้น และหลังจากได้เทศน์ สอนให้แก่ชาวยิวก่อน 1. เมื่อชาวกรีกบางคนมาหาพระเยซูเจ้า เขาไปหาฟิลิปก่อน ฟิลิป จึงไปบอกอันดรูว์ จากนั้นทั้งสองจึงมาทูลพระเยซูเจ้า พระคริสตเจ้าตรัส ตอบว่า “เวลาที่บุตรแห่งมนุษย์จะได้รับพระสิริรุ่งโรจน์มาถึงแล้ว ... ถ้า เมล็ดข้าวไม่ได้ตกลงในดิน และตายไป มันก็จะเป็นเพียงเมล็ดเดียว


26

บทเทศน์ปี C

เท่านั้น แต่ถ้ามันตาย มันก็จะบังเกิดผลมากมาย” (ยน 12:23-24) ซึ่งดู เหมือนเป็นคำตอบที่แปลก แต่หมายความว่า พระคริสตเจ้าต้องสิ้นพระชนม์ก่อน พระวรสารจึงจะถูกเผยแผ่ไปถึงคนต่างชาติได้ วันนี้ เราได้ยินบทอ่านจากพระวรสารว่า “พระคริสตเจ้าจะต้อง รับทนทรมาน และจะกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายในวันที่สาม จะต้องประกาศในพระนามของพระองค์ให้นานาชาติกลับใจเพื่อรับ อภัยบาป โดยเริ่มจากกรุงเยรูซาเล็ม” (ลก 24:46-47) ซึ่งเป็นความคิด เดียวกัน คือ การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนชีพ ทำให้พันธกิจเทศน์ สอนพระวรสารแก่นานาชาติเกิดขึ้นได้ 2. เงื่อนไขข้อที่สองของการประกาศพระวรสารแก่ชาวโลก เป็นสิ่ง ที่เข้าใจได้ยากกว่า เมื่อใดชาวยิวทั้งมวลจึงจะเข้ามารวมอยู่ในพระศาสนจักร ใน ค.ศ. 1986 นี้ พวกเขาก็ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของพระศาสนจั ก ร อั ค รสาวกควรรอนานเพี ย งนั้ น ที เ ดี ย วหรื อ  ก่ อ นจะเทศน์ ส อน พระวรสารให้แก่คนต่างชาติ ก. เมื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงจำกัดขอบเขตงานอภิบาล ของพระองค์ให้อยู่ภายในแวดวงชาวยิว อัครสาวกจึงเริ่มต้นเทศน์สอน ให้แก่ชาวยิวก่อนเช่นเดียวกัน พระคริสตเจ้าทรงเป็น “ผู้รับใช้ของชาว ยิว” (รม 15:8) “เพราะทรงเห็นแก่ความสัตย์จริงของพระเจ้า เพื่อยืนยัน พระสัญญาที่ประทานไว้กับบรรพบุรุษ” (รม 15:7) เปโตร ยากอบ และ ยอห์น ถือว่าตนเองได้รับมอบหมายให้ประกาศพระวรสารแก่ชาวยิว (กท 2:7) ในขณะที่ เ ปาโลคนเดี ย วเท่ า นั้ น ที่ ต้ อ งการแพร่ ธ รรมในหมู่ ค น ต่างชาติ (กท 2:8) ข. ถึงกระนั้น เปาโลก็ไปหาชาวยิว หรือบรรดาผู้ยำเกรง พระเจ้าก่อนทุกครัง้ ทีเ่ ขาเดินทางไปแพร่ธรรม เขาถือว่านีค่ อื พระประสงค์


บทเทศน์ปี C

27

ของพระเจ้า กล่าวคือ จะต้องประกาศพระวรสารแก่ประชากรเลือกสรร ก่อน และเมื่อชาวยิวไม่ยอมรับแล้วเท่านั้น เปาโลจึงไปหาคนต่างชาติ เราอ่านพบว่าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นที่เมืองอันทิโอกในแคว้นปิลิเดีย (กจ 13:45-49) ในเมืองเธสะโลนิกา (กจ 17:5, 10) และในเมืองโครินธ์ (กจ 18:6) 4. พระจิตเจ้าทรงนำทางอัครสาวกในการปฏิบัติพันธกิจเทศน์สอนแก่ นานาชาติ เราได้เห็นแล้วว่า พระศาสนจักรยุคแรกยังรีรอที่จะเทศน์สอน พระวรสารแก่คนต่างชาติ  เวลาผ่านไปนานทีเดียวกว่าพระศาสนจักรจะ กลายเป็นพระศาสนจักรคาทอลิก คือเป็นสากล ในหนังสือเล่มที่สองของ ลูกา ซึ่งเป็นประวัติของพระศาสนจักร เขาบอกเราว่าพระจิตเจ้าทรง สืบสานงานที่พระคริสตเจ้าทรงเริ่มต้นไว้  และทรงนำทางอัครสาวกใน การประกาศพระวรสารให้แก่นานาชาติอย่างไร 1. ในไม่ชา้ บรรดาอัครสาวก และคริสตชนก็ถกู เบียดเบียนจากชาว ยิว เพื่อนร่วมชาติของเขา (กจ 8:1-3) แต่เหตุการณ์นี้กลับกลายเป็นผลดี คริสตชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกรีก จำเป็นต้องหนีออกจากรุงเยรูซาเล็ม และเดินทางไปยังแคว้นสะมาเรีย และไกลถึงอันทิโอก และได้ประกาศ พระวรสารในสถานที่เหล่านั้น (กจ 8:4) 2. แต่อัครสาวกยังอาศัยอยู่ในกรุงเยรูซาเล็มต่อไป (กจ 8:1) พระจิตเจ้าทรงเผยแสดงเป็นพิเศษแก่เปโตรว่า เขาควรรับคนต่างชาติ เข้าสู่พระศาสนจักรโดยไม่ต้องให้เข้าสุหนัต ไม่นานก่อนที่คนต่างชาติ คนแรก คือโครเนลีอัส จะส่งคนไปเชิญเปโตรมาหา เปโตรได้เห็นในนิมิต ว่าเขาไม่ควรถือว่าเนื้อหมูเป็นอาหารที่มีมลทิน ซึ่งหมายความว่าคน ต่างชาติก็เป็นสมาชิกที่ดีของพระศาสนจักรได้เท่ากับชาวยิว นิมิตนี้ทำให้


28

บทเทศน์ปี C

เปโตรกล้าโปรดศีลล้างบาปให้แก่โครเนลีอัส หลังจากที่พระจิตเจ้าได้ ประทานพระพรพิเศษให้แก่โครเนลีอัส และครอบครัวของเขาแล้วตั้งแต่ ก่อนที่เขาได้รับศีลล้างบาป (กจ 10:1-48) 3. พระจิตเจ้าองค์เดียวกันนี้ทรงนำทางอัครสาวกระหว่างการ ประชุมของอัครสาวกในกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับข้อความ เชื่อ ว่าคนต่างชาติไม่จำเป็นต้องเข้าสุหนัต และปฏิบัติตามบทบัญญัติ ของโมเสสก่อนจึงจะรับศีลล้างบาปได้  บัดนี้  พระศาสนจักรเปิดประตู ต้อนรับชนทุกชาติแล้ว และทุกชนชาติมีโอกาสเท่าเทียมกัน 4. เปาโล ผู้เป็นอัครสาวกของคนต่างชาติ   ได้รับการชี้นำจาก พระจิตเจ้ามากที่สุด  จนกระทั่งเขาเดินทางไปถึงเมืองหลวงของโลก ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าพระวรสารได้รับการประกาศจนถึงสุดปลาย แผ่นดินแล้ว กล่าวคือ พระจิตเจ้าทรงคืนสายตาให้แก่เปาโล หลังจาก เขากลับใจก่อนเดินทางถึงเมืองดามัสกัส (กจ 9:17) พระจิตเจ้าทรง บอกคริสตชนในเมืองอันทิโอก ให้แยกบารนาบัส และเปาโล ไว้ปฏิบัติ ภารกิจในการเดินทางธรรมทูตครั้งที่หนึ่ง (13:2) ดังนั้น ทั้งสองคนนี้จึง ถูกส่งไปโดยพระจิตเจ้า (13:4) อัครสาวกทั้งสองเต็มเปี่ยมด้วยความ ยินดี และพระจิตเจ้า เมื่อเขาถูกเบียดเบียนที่อันทิโอก ในแคว้นปิสิเดีย (13:52) พระจิตเจ้าทรงเปลี่ยนแผนการเดินทางของเปาโลในแคว้น อาเซียถึงสองครั้ง ดังนั้น คณะของเปาโลจึงเดินทางไปถึงทวีปยุโรป ในที่สุด (16:6-7) พระจิตเจ้าทรงบอกให้เปาโลไปที่กรุงเยรูซาเล็ม และ ทรงบอกว่าโซ่ตรวน และความยากลำบากกำลังรอเขาอยู่ (20:22, 23; 21:22)


บทเทศน์ปี C

29

บทรำพึงที่ 4 สำหรับเรื่องพระทรมาน และการกลับคืนชีพ รวมถึงการเสด็จขึ้น สวรรค์ของพระเยซูเจ้า เราควรไตร่ตรองคำบอกเล่าต่างๆ ในพระวรสาร ตามเนื้อหาของคำบอกเล่าแต่ละฉบับ โดยไม่พยายามนำมาผสมผสาน เพื่อให้มองเห็นเป็นภาพรวมเดียวกัน ในปีนี้ เราได้ฟังคำบอกเล่าสองฉบับของเหตุการณ์เดียวกัน ซึ่ง บอกเล่าโดยบุคคลเดียวกันคือลูกา ... ลูกาไม่พยายามทำให้คำบอกเล่า สองฉบับของเขาสอดคล้องกัน เหตุผลที่เขาไม่ทำเช่นนั้นก็เพราะเขาเห็น ว่าความแตกต่างนั้นเองเป็นนัยสำคัญ ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าข้อเท็จ จริงทางประวัติศาสตร์ ในพระวรสาร ลูกาบอกว่าพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ในเวลาเย็น ของวันปัสกา และอาจเป็นเวลากลางคืนของวันต้นสัปดาห์นี้ก็เป็นได้ (ลก 24:1, 13, 36, 50) ถ้าเราจำได้ว่าเวลานั้น “ใกล้ค่ำ” (ลก 24:29) แล้ว เมื่อศิษย์จากเอมมาอุส ลงนั่งที่โต๊ะอาหาร และเขาต้องใช้เวลาอีก สองชั่วโมงเพื่อเดินทางกลับไปยังกรุงเยรูซาเล็ม (เทียบ ลก 24:13) และ พระเยซูเจ้าทรงต้องใช้เวลาอธิบายแก่ศษิ ย์ของพระองค์เกีย่ วกับ “ธรรมบัญญัติของโมเสส บรรดาประกาศก และเพลงสดุดี” (ลก 24:44) ... ก่อนที่พระองค์จะทรงนำพวกเขาออกไปใกล้หมู่บ้านเบธานี  ที่ซึ่งพระองค์ทรงถูกนำขึ้นสู่สวรรค์ (ลก 24:50) ... แต่ในหนังสือกิจการอัครสาวก ลูกาคนเดียวกันนี้ บอกเราว่าการเสด็จขึ้นสวรรค์เกิดขึ้นหลังจากเวลาผ่า นไปแล้ว “40 วัน” (กจ 1:3) เราไม่ควรรับฟังคำอธิบายที่เพ้อฝันแบบเด็กๆ เพราะเห็นได้ชัด ว่าระหว่าง “การแสดงพระองค์” หลายครั้ง พระเยซูเจ้าไม่ได้ทรงซ่อน


30

บทเทศน์ปี C

พระองค์อยู่ในสถานที่ลับตาคนในกรุงเยรูซาเล็ม และรอคอยเวลาที่จะ “เสด็ จ ขึ้ น ” ไปหาพระบิ ด าในสวรรค์   ... อั น ที่ จ ริ ง  การกลั บ คื น ชี พ การเสด็จขึ้นสวรรค์ และเปนเตกอสเต เป็นสามด้านของธรรมล้ำลึกหนึ่ง เดียวกัน กล่าวคือ หลังจากทรงกลับคืนชีพ พระเยซูเจ้าทรงเข้าสู่พระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาทันที และประทับ “เบื้องขวาของพระบิดา” ซึ่ง เป็นศัพท์ในการเขียนแบบวิวรณ์ โดยเฉพาะลูกา ที่เน้นย้ำว่าพระเยซูเจ้า ทรง “แยกไปจาก” คนทั้งหลายที่พระองค์ทรงโปรดให้มองเห็นพระองค์ ... พระองค์ทรงหายไปจากสายตาของพวกเขา (ลก 24:31,51) ดังนั้น การเสด็จขึ้นสวรรค์  “ในคืนวันปัสกา” จึงปิดฉากชีวิต มนุษย์ของพระเยซูเจ้าด้วยการยกพระองค์สู่สวรรค์ และนี่คือหน้าสุดท้าย ของพระวรสาร และการเสด็จขึ้นสวรรค์ “ในวันที่สี่สิบ” เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ใหม่ ข องพระเยซู เ จ้ า ที่ อ ยู่ เ หนื อ กฎของพื้ น ที่ แ ละกาลเวลา และนี่ คื อ หน้าแรกของหนังสือกิจการอัครสาวก “จุ ด สิ้ น สุ ด ของยุ ค สมั ย ของพระเยซู ช าวนาซาเร็ ธ ” เป็ น  “จุ ด เริ่มต้นของยุคสมัยของพระศาสนจักร” ... หลังจากนั้น พระองค์ตรัสกับเขาว่า “นี่คือความหมายของถ้อยคำที่ เรากล่าวไว้ขณะที่ยังอยู่กับท่าน ทุกสิ่งที่เขียนไว้เกี่ยวกับเราในธรรมบัญญัตขิ องโมเสส บรรดาประกาศก และเพลงสดุดจี ะต้องเป็นความจริง” แล้วพระองค์ทรงทำให้เขาเกิดปัญญาเข้าใจพระคัมภีร์ ตรัสว่า “มี เขียนไว้ดังนี้ว่า พระคริสตเจ้าจะต้องรับทนทรมาน และจะกลับคืน พระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายในวันที่สาม จะต้องประกาศในพระนาม ของพระองค์ให้นานาชาติกลับใจ เพื่อรับอภัยบาป โดยเริ่มจากกรุง เยรูซาเล็ม...”


บทเทศน์ปี C

31

“ขณะที่เรายังอยู่กับท่าน” พระเยซูเจ้าทรงเตือนเขาเช่นนี้ นี่เป็น เครื่องหมายบอกเราว่าพระองค์ไม่ได้ประทับอยู่บนโลกนี้ในลักษณะเดิม อีกต่อไป ... การเสด็จขึน้ สวรรค์ในเวลาต่อมาจะเน้นย้ำเหตุการณ์ทไี่ ด้เกิด ขึ้นแล้ว ผ่านทางการกลับคืนชีพของพระองค์  นั่นคือ นับแต่เวลานั้น เป็นต้นไป พระองค์จะประทับอยู่ในลักษณะที่แตกต่างจากเดิม เพราะ พระองค์ทรงเข้าสู่ “โลกของพระเจ้า” แล้ว... “การเกิดขึ้นจริง ... ความเข้าใจ ... ในพระคัมภีร์” ความเชื่อเป็น หนทางเดียวที่จะเข้าถึง “โลกของพระเจ้า” ซึ่งพระเยซูเจ้ากำลังประทับอยู่ ในเวลานี้เมื่อพระองค์ “ไม่อยู่กับเราในลักษณะเดิมอีกต่อไปแล้ว” ... พระเยซูเจ้าทรงตำหนิศิษย์สองคนที่กำลังเดินทางไปยังเอมมาอุส ว่าเขา “เขลา และใจของเจ้าช่างเชื่องช้าที่จะเชื่อ ...” (ลก 24:25) “ทุกสิ่งที่เขียนไว้เกี่ยวกับเราในธรรมบัญญัติของโมเสส บรรดา ประกาศก และเพลงสดุดี  ...” หลังจากพระองค์ทรงกลับคืนชีพแล้ว เท่านั้น พระเยซูเจ้าจึงสามารถอธิบายข้อความในพระคัมภีร์แก่บรรดา ศิษย์ได้ “การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนชีพ” ต้องเกิดขึ้นจริงก่อน และเมื่อเราอ่านพระคัมภีร์ซ้ำ เราจึงสามารถเข้าใจข้อความที่ประกาศไว้ ในพระคัมภีร์ ... พระเยซูเจ้าเท่านั้นทรงสามารถทำให้เราเข้าใจข้อความ ต่าง ๆ ในพันธสัญญาเดิมได้ ในชีวิตของเราก็เช่นเดียวกัน เหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นอย่าง กะทันหันทำให้เราเข้าใจเหตุการณ์  และคำพูดที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งเรา ยังเข้าใจได้ไม่ลึกพอ ... “เพลงสดุดี” พระเยซูเจ้าทรงท่องเพลงสดุดีได้ขึ้นใจ และทรงใช้ ข้อความเหล่านี้เป็นบทภาวนาทุกวัน ... ข้าพเจ้าทำเช่นนี้ได้หรือเปล่า ... ข้าพเจ้าสามารถจำข้อความใดได้สักบรรทัดหนึ่ง และใช้เป็นบทภาวนาได้ หรือไม่ โดยเฉพาะข้อความที่ “กล่าวถึงพระเยซูเจ้า”...


32

บทเทศน์ปี C

ทุกสิ่งที่เขียนไว้เกี่ยวกับเรา ... ต้องรับทนทรมาน ... กลับคืนพระชนมชีพ ... รับอภัยบาป ... ให้นานาชาติกลับใจ ... ท่านทั้งหลายเป็นพยาน ถึงเรื่องทั้งหมดนี้ ... ลู ก าย้ ำ ว่ า บรรดาศิ ษ ย์ เ ข้ า ใจ “ทุ ก สิ่ ง ที่ เ ขี ย นไว้ ”  ได้ ใ นที่ สุ ด ในวันปัสกานั้น ... ในทำนองเดียวกัน เราจะเห็น และเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง เกีย่ วกับชีวติ ของเรา ชีวติ ของมนุษย์ทกุ คน ชีวติ ของบุคคลทีเ่ รารูจ้ กั ดีทสี่ ดุ ... เพียงในวันของพระเจ้าเท่านั้น... ถูกแล้ว เหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูเจ้าเป็นสิ่งที่ยากจะเข้าใจได้ ... เมื่อก่อนถึงวันสำคัญนั้น! คนทั่วไปอาจมองว่าพระทรมานของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขนเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เป็นอุบัติเหตุ เป็ น ความล้ ม เหลว และบั ด นี้   บรรดาศิ ษ ย์ ค้ น พบว่ า พระทรมานของ พระองค์ทำให้แผนการอันเร้นลับของพระบิดากลายเป็นจริง “ทุกสิ่งที่ เขียนไว้ ... จะต้องเป็นความจริง”... เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ชะตากรรมที่โหดร้าย และไม่อาจบรรเทาได้ แต่ เป็นแผนการแห่งความรอดพ้น เป็น “การอภัยบาปสำหรับทุกคน” นี่คือ แผนการแห่งความรัก ... แต่จนถึงวันนั้น บรรดาศิษย์ยังไม่ตระหนักเช่นนี้ และบัดนี้ เขาได้กลายเป็น “พยานถึงเรื่องทั้งหมดนี้” ... วันปัสกานี้เป็น วันที่ยาวนานที่สุด เพราะได้ยืดเวลา “วันต้นสัปดาห์” นี้ให้กลายเป็น นิรันดรกาล จะไม่มี “วัน” อื่นอีกแล้ว... บัดนี้ เราเข้าใจแล้วว่าเหตุใดลูกาจึงนำเหตุการณ์ทั้งหมดนี้มา รวมอยู่ในวันเดียว ซึ่งวันนี้ยังดำเนินต่อไปผ่านการเป็นพยานของ พระศาสนจักรมาตลอดหลายศตวรรษ วันนี้เรายังเป็นพยานถึงความ รักของพระเจ้าที่ช่วยเราให้รอดพ้นอีกหรือเปล่า ... พระเยซูเจ้าทรงทำให้ประชาชน “ผู้ปราศจากมลทิน” ทั้งหลาย สะดุดใจ เมื่อทรงเข้าข้างชาวสะมาเรีย ซึ่งเป็นคนตามชายขอบของสังคม


บทเทศน์ปี C

33

ทรงเข้าข้างโสเภณี และคนผิดประเวณี ... ทรงเข้าข้างประชาชนที่ไม่มี ความรู้ ซึ่งเป็นที่เหยียดหยามของชาวฟารีสี และผู้มีความรู้ ... ทรงเข้าข้าง คนเก็บภาษีผู้สมรู้ร่วมคิดกับชาวโรมัน และคนที่คบหาสมาคมกับ “คน ต่างชาติ” ... ทรงเข้าข้างคนยากจนที่สังคมรังเกียจ คนอ่อนแอ คนป่วย คนโรคเรื้อน ... แทนที่จะลงโทษตามธรรมบัญญัติ   พระเยซูเจ้าทรง ประกาศว่าจะให้อภัยอย่างไม่มีข้อยกเว้น และทุกคนในโลกนี้จะได้รับ ความรอดพ้น “เริ่มต้นจากกรุงเยรูซาเล็ม” ถูกแล้ว พระเจ้าทรงเป็นพระบิดาของคนบาปทั้งหลาย พระองค์ ทรงให้อภัยคนบาปทุกคน และมนุษย์ต้องทำเช่นเดียวกัน คือ ต้องให้ อภัยมนุษย์ทุกคน แม้แต่ศัตรูของตน เพราะพระองค์ทรงเทศน์สอนเช่นนี้ พระเยซูเจ้าถึงถูกประณาม และตรึงกางเขน เพราะทรงดูหมิ่นพระเจ้า แต่การกลับคืนชีพของพระองค์ก็เป็นหลักฐานยืนยันว่าพระองค์ทรงเป็น ฝ่ายถูก ... ผูถ้ กู ตรึงกางเขนคนนีย้ งั มีชวี ติ อยู่ ทุกสิง่ ทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงเทศน์ สอน และทรงกระทำ ยังคงดำเนินต่อไป และได้รับการรับรองจากพระเจ้า เอง “ท่านทั้งหลายเป็นพยานถึงเรื่องเหล่านี้”... พระเจ้าข้า พระองค์ทรงขอให้เราพลิกชีวิตของเราจริงๆ เราทำตัวห่างไกลมากเพียงใดจากการเป็นพยานให้ชาวโลกรับรู้ ถึงความรักที่ช่วยให้มนุษย์ทุกคนได้รับความรอดพ้นนี้ บัดนี้ เรากำลังจะส่งพระผู้ที่พระบิดาทรงสัญญาไว้มาเหนือท่านทั้ง หลาย เพราะฉะนั้น ท่านจงคอยอยู่ในกรุงจนกว่าท่านจะได้รับพระอานุภาพจากเบื้องบนปกคลุมไว้ บรรดาศิษย์จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือนี้มาก เราก็จำเป็น ต้องได้รับ “อานุภาพ” ซึ่งไม่ได้อยู่ในตัวเรา แต่มาจากเบื้องบน ... เพราะ บรรดาศิ ษ ย์ จ ะต้ อ งอยู่   และเทศน์ ส อนในโลกที่ ดู เ หมื อ นไม่ มี อ ะไร เปลี่ยนแปลง ความชั่ว ความรุนแรง ความเย็นชา ความตาย เจตนาร้าย


34

บทเทศน์ปี C

ลัทธินอกรีต ความเบี่ยงเบน ความโง่เขลา การกดขี่ทุกรูปแบบ ทั้งหมด นี้ยังดำเนินต่อไป ไม่มีการระบุชื่อในที่นี้ให้แก่ “พระผู้จะประทานความเข้มแข็งนี้” เพราะเช่นเดียวกับพระบิดา “ผู้ที่ไม่มีใครเคยเห็น” และต่างจากพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าที่มนุษย์มองเห็นได้ – พระจิตเจ้า ไม่มีพระพักตร์ ... หรือถ้าจะพูดให้ถูก พระองค์ทรงสวมใส่ใบหน้าของ เราเอง ... นักบุญเปาโลจะบอกว่า “ท่านเป็นพระกายของพระคริสตเจ้า” เมื่อเขาดับเทียนปัสกาในวันฉลองการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซูเจ้า เปลวไฟที่ส่องสว่างทั่วหัวใจของบรรดาศิษย์เมื่อวันเปนเตกอสเตนั้นได้ ถูกจุดขึ้นมาแล้ว ... พระองค์ ท รงนำบรรดาศิ ษ ย์ อ อกไปใกล้ ห มู่ บ้ า นเบธานี   ทรงยก พระหัตถ์ขึ้นอวยพระพร และขณะที่ทรงอวยพระพรนั้น พระองค์ทรง แยกไปจากเขา และทรงถูกนำขึ้นสู่สวรรค์

นี่คือเวลาของ “การแยกจากกัน” ลูกา เป็นคนเดียวที่ใช้คำนี้

เมื่ อเปรียบเทียบกับคำบอกเล่ า เหตุ ก ารณ์ เ ดี ย วกั น ในหนั ง สื อ กิจการอัครสาวก ข้อความนี้ให้รายละเอียดน้อยกว่า ไม่เอ่ยถึง “เมฆ” ไม่มี “ชายสวมเสื้อขาว” ... ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะลูกาไม่ยอมใช้ภาษาวิวรณ์ เพราะเขาใช้ภาษาเหล่านี้ในคำบอกเล่ า ฉบั บ ที่ ส องของเขา แต่ ค วาม เรียบง่ายนี้ทำให้เห็นความสัมพันธ์กับการเผยแสดงเหล่านั้น ... ทุกสิ่งทุกอย่างสงบ และเคร่งขรึม เราติดตามพระเยซูเจ้า “พระองค์ทรงนำบรรดาศิษย์ออกไป” ... “ทรงยกพระหัตถ์ขึ้นอวยพระพร” ... “พระองค์ทรงแยกไปจากเขา และทรงถูกนำขึ้นสู่สวรรค์”... พระเยซูเจ้าไม่เคย “อวยพร” อัครสาวกมาก่อน แต่นี่คือการอำลา ในที่นี้ ลูกาบอกเล่าถึงประเพณีในพระคัมภีร์ บุคคลสำคัญในพระคัมภีร์ อวยพรคนรุ่นต่อไปก่อนจะสิ้นใจ เช่น ยาโคบ (ปฐก 49) โมเสส (ฉธบ


บทเทศน์ปี C

35

33) กษัตริย์ดาวิด (1 พศด 28:29) ... การอวยพรเป็นกิริยาสุดท้ายของ พระเยซูเจ้า เป็นกิริยาที่พระองค์ไม่เคยหยุดกระทำตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ... และพระสงฆ์ทุกองค์ซึ่งเป็นผู้แทนของพระเยซูเจ้า ก็ทำกิริยาเดียวกัน นี้ก่อนจบพิธีมิสซาแต่ละครั้ง โดยยกมือขึ้นอวยพรเราในพระนามของทั้ง สามพระบุคคลในพระตรีเอกภาพ... บรรดาศิษย์กราบนมัสการพระองค์ แล้วกลับไปกรุงเยรูซาเล็มด้วย ความยินดียิ่ง เขาอยู่ในพระวิหารตลอดเวลา ถวายพระพรแด่พระเจ้า บัดนี้ พระเยซูเจ้าทรง “แยกไปจากเขา” ... และเขาไม่เศร้าใจ แต่กลับยินดี ชุมชนศิษย์พระคริสต์กลายเป็นกลุ่มคนที่ “นมัสการ” พระเยซูเจ้า และร่วมกันขับร้องสรรเสริญพระเจ้า ... และทำให้คนทั่วไปรู้สึกได้ว่า พระองค์ประทับอยู่ ด้วยการทำงานรับใช้ผู้ขัดสน พระเยซูเจ้าประทับอยู่ “บนสวรรค์” – ศิษย์ของพระองค์อยู่ “ใน พระวิหาร” ... เป็นความสมมาตรเชิงสัญลักษณ์ ... นี่คือการนมัสการ แบบใหม่...


36

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้า ห้าสิบวันหลังจากวันฉลองขนมปังไร้เชื้อ ชาวยิวเฉลิมฉลอง เทศกาลขอบคุณพระเจ้าสำหรับการเก็บเกี่ยวข้าว ในปฏิทินพิธีกรรม ของศาสนาคริสต์ ในวันที่ห้าสิบนี้ เราฉลองพันธกิจของพระศาสนจักรในการเก็บเกีย่ ววิญญาณ วันนีเ้ ราฉลองวันเกิดของพระศาสนจักร เมือ่ อำนาจจากเบือ้ งบนถูกประทานให้แก่บรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้า ให้เขาสืบทอดงานของพระเยซูคริสตเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น ยอห์น 20:19-23 ค่ำวันนั้น ซึ่งเป็นวันต้นสัปดาห์ ประตูห้องที่บรรดาศิษย์กำลัง ชุมนุมกันปิดอยู่เพราะกลัวชาวยิว พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ามา ทรงยืนอยู่ ตรงกลาง ตรัสกับเขาทัง้ หลายว่า “สันติสขุ จงสถิตอยูก่ บั ท่านทัง้ หลาย เถิด” ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงให้บรรดาศิษย์ดูพระหัตถ์และด้าน ข้างพระวรกาย เมื่อเขาเหล่านั้นเห็นองค์พระผู้เป็นเจ้า ก็มีความยินดี พระองค์ตรัสกับเขาอีกว่า “สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด พระบิดาทรงส่งเรามาฉันใด เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น” ตรัส ดังนี้แล้ว พระองค์ทรงเป่าลมเหนือเขาทั้งหลาย ตรัสว่า “จงรับพระจิตเจ้าเถิด ท่านทั้งหลายอภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ได้รับการ อภัย ท่านทั้งหลายไม่อภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ไม่ได้รับการ อภัยด้วย”


บทเทศน์ปี C

37

บทรำพึงที่ 1 ข่าวดี

พระเจ้าประทานพระจิต พลังงาน และพระพรต่างๆ ของพระเยซูเจ้าให้แก่ผู้ที่เป็นของพระองค์ในความเชื่อ และในศีลล้างบาป

ข้อรำพึงที่หนึ่ง ทรรศนะต่างๆ เกี่ยวกับวันเปนเตกอสเต เราไม่อาจจำกัดเหตุการณ์อัศจรรย์ในวันเปนเตกอสเต หรือการ เสด็จลงมาของพระจิตเจ้า ให้เกิดขึ้นภายในหนึ่งวัน เมื่อบ้านหลังหนึ่งใน กรุงเยรูซาเล็ม ที่ถูกแรงลมพัดจนโยก และมีเปลวไฟลักษณะเหมือนลิ้น ปรากฏให้เห็นในอากาศ บทอ่านทั้งสามบทในพิธีบูชามิสซาวันนี้ขยายความเข้าใจของเรา เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระจิตเจ้า แต่มองจากต่างมุมกัน คำบอกเล่า ของลูกาในหนังสือกิจการอัครสาวกเกี่ยวกับวันเปนเตกอสเต เป็นคำ บอกเล่าที่เราคุ้นเคยมากที่สุด เพราะปฏิทินพิธีกรรมของเราดำเนินตาม ลำดับเหตุการณ์ที่เขาบอกเล่า แต่พระวรสารของยอห์นบอกเราว่าการ ประทานพระจิตเจ้านี้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์วันปัสกา ... ซึ่งเป็นเวลา ค่ำของวันแรกของยุคใหม่  และในบทอ่านที่สองของวันนี้  นักบุญเปาโล บอกชาวโครินธ์ เรื่องพระพรต่างๆ จากพระจิตเจ้าที่ประทานให้แก่ชุมชน เสมือนเป็นส่วนต่างๆ ของร่างกายเดียวกัน แต่มีหน้าที่ต่างกัน พระวรสารกล่าวถึง “การส่งไป” หรือพันธกิจอันยิ่งใหญ่สองครั้ง ครั้งแรก พระเจ้าพระบิดาทรงส่งพระเยซูคริสตเจ้ามา ... “พระบิดาทรง ส่งเรามาฉันใด” จากนั้น พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพก็ทรงส่งศิษย์ของ


38

บทเทศน์ปี C

พระองค์ไป ... “เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น” ในลมหายใจของพระเยซู เ จ้ า ผู้ ท รงกลั บ คื น ชี พ  พวกเขาได้ รั บ พระจิ ต เจ้ า องค์ เ ดี ย วกั น กั บ พระจิตผูท้ รงเคยเป็นอำนาจแห่งการกอบกูใ้ นพันธกิจของพระเยซูเจ้าเอง การเสด็จมาของพระจิตเจ้าเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายพันธกิจ ให้ครอบคลุมทุกชนชาติ ดังนั้น ลูกาจึงจัดให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่าง เทศกาลเก็บเกี่ยวพืชผลในวันที่ 50 เปนเตกอสเต แปลว่าวันที่ 50 สั ญ ลั ก ษณ์ ใ นคำบอกเล่ า ของลู ก าคื อ ลมที่ พั ด แรงกล้ า  และ เปลวไฟลักษณะเหมือนลิ้น ลมแสดงออกถึงความเคลื่อนไหวของพลัง แห่งการสร้างสรรค์ของพระเจ้า ทำให้ระลึกถึงลมหายใจของพระเจ้าที่พัด อยู่เหนือความปั่นป่วนวุ่นวายในประวัติการสร้างโลก ลิ้นเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศคำสั่งสอน ลิ้นนี้เป็นไฟ ซึ่งเป็น สัญลักษณ์ของความรัก และเป็นสิ่งที่ใช้ชำระให้บริสุทธิ์ หรือการพิพากษา สิ่งที่ลูกาต้องการบอกไว้ในองค์ประกอบของเรื่องราวนี้คือการแผ่ขยาย พันธกิจของพระเยซูเจ้า ให้กลายเป็นพันธกิจสากลของพระศาสนจักร ยอห์ น มองการได้ รั บ พระจิ ต เจ้ า ในบริ บ ทของปั ส กา เมื่ อ พระเยซูเจ้าทรงถูกยกขึ้นจากแผ่นดินในการสิ้นพระชนม์ และกลับคืนชีพ ของพระองค์ “และเมื่อเราจะถูกยกขึ้นจากแผ่นดิน เราจะถึงดูดทุกคนเข้ามาหาเรา” (ยน 12:32) พระเยซูเจ้าทรงสัญญาหลายสิ่งหลายอย่างกับทุกคนที่จะได้รับ การยกขึ้นเนื่องจากพระองค์ทรงกลับคืนชีพ พระองค์ทรงสัญญาว่าผู้มี ความเชื่ อ จะค้ น พบลำธารที่ ใ ห้ ชี วิ ต ภายในวิ ญ ญาณของตนเอง ดั ง ที่ พระคัมภีร์กล่าวว่า “ลำธารที่ให้ชีวิตจะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น” และ ผู้นิพนธ์พระวรสารอธิบายว่าพระเยซูเจ้ากำลังตรัสถึง “พระจิตเจ้า ซึ่งผู้ที่ เชื่อในพระองค์จะได้รับ แต่เวลานั้น พระเจ้ามิได้ประทานพระจิตเจ้าให้ เพราะพระเยซูเจ้ายังมิได้รับพระสิริรุ่งโรจน์” (ยน 7:38-39)


บทเทศน์ปี C

39

ต่อมาพระเยซูเจ้าทรงอธิบายว่าการจากไปของพระองค์จะเปิดทาง ให้พระจิตเจ้าเสด็จมา “ถ้าเราไม่ไป พระผู้ช่วยเหลือก็จะไม่เสด็จมาหา ท่าน” (ยน 16:7) ในขณะที่พระเยซูเจ้าทรงดำรงชีพอยู่ในร่างกายมนุษย์ ลมหายใจ ของพระเจ้าต้องถูกกักไว้ในพระกายของพระองค์แต่ผู้เดียว แต่เมื่อ พระกายนี้แตกสลายไปในความตาย และกลับคืนชีพสู่พระสิริรุ่งโรจน์ แล้ว ลมหายใจของพระองค์จึงถูกปลดปล่อยออกมาเพื่อผู้มีความเชื่อ ทัง้ หลาย และดังนัน้ ยอห์นจึงบอกเราว่าในเวลาค่ำของวันแรกของยุคใหม่ นั้น องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้กลับคืนชีพเสด็จมาหาบรรดาศิษย์ ทรงเป่าลม คือพระจิตของพระองค์ เหนือเขาทั้งหลาย และทรงส่งเขาออกไปปฏิบัติ พันธกิจของพระองค์ให้เสร็จสิ้นในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากบาป ผลของการเสด็จมาของพระจิตเจ้ามีมากมาย และบทอ่านทั้งสาม บทของวันนี้แสดงให้เราเห็นความหลากหลายของผลนี้ หัวข้อที่ยอห์นเน้นย้ำคืออำนาจอภัยบาป พระเยซูเจ้าทรงเป็น ลูกแกะของพระเจ้าผู้ทรงยกบาปของโลก และศิษย์ของพระองค์ได้รับ อำนาจให้ยกบาป ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นมนุษย์ออกจากพระเจ้า เป็น ลักษณะเฉพาะตัวของยอห์นที่จะกล่าวถึงสองขั้ว คือ การยอมรับ หรือการ ปฏิเสธสารของพระเยซูเจ้า ผู้ใดยอมรับและเชื่อก็จะได้รับการอภัย ใน ขณะที่ผู้ปฏิเสธที่จะเชื่อจะต้องถูกกักอยู่ในความบาปของตน ในกิจการอัครสาวก ลูกาเน้นย้ำถึงอำนาจของพระจิตเจ้าในการ ประกาศข่าวดี  ในลักษณะที่ชนะอุปสรรคทั้งปวงด้านภาษา และความ แตกต่างของเชื้อชาติ บัดนี้ แม้ว่ามนุษย์พูดภาษาต่างกัน แต่ก็ได้รับข่าว สารเดียวกันจากพระเจ้า ในบทอ่ า นที่ ส องประจำวั น นี้   นั ก บุ ญ เปาโลสอนชาวโคริ น ธ์ ว่ า พระพรมีหลายประการ แต่มีพระจิตเจ้าพระองค์เดียวเสมอไป ไม่ว่าจะ ได้ รั บ พระพรใดก็ควรถือว่าพระพรนั้ น เป็ น รู ป แบบของการรั บ ใช้ ค น ทั้งชุมชน และมิใช่พระคุณเพื่อประโยชน์ส่วนตน


40

บทเทศน์ปี C

ในวันเปาเตกอสเต เราฉลองวันเกิดของพระศาสนจักร พร้อมกับยอห์น เราเฉลิมฉลองที่เรามีส่วนร่วมในการยกพระเยซูเจ้าขึ้น โดยอาศัยพระพรของพระจิตเจ้า เพื่อเอาชนะบาป พร้อมกับลูกา เราเฉลิมฉลองพลวัตของพระจิตเจ้าที่เห็นได้ใน การเทศน์สอนข่าวดี และการแผ่ขยายพระอาณาจักรของพระเจ้าในโลกนี้ พร้อมกับเปาโล เราเฉลิมฉลองความหลากหลายของการรับใช้ ของคนทัง้ ชุมชน และผลอันงดงามของพระจิตเจ้าในชีวติ ของเราแต่ละคน นี่คือวันเกิดของพระศาสนจักร ... นี่คือวันเกิดของเรา

ข้อรำพึงที่สอง ศีลกำลัง ศีลที่ถือว่าเกี่ยวข้องกับวันเปนเตกอสเตมากที่สุดคือศีลกำลัง พระคัมภีร์ให้เวลาผ่านไประยะหนึ่งหลังจากการกลับคืนชีพของพระคริสตเจ้า และก่อนพระจิตเจ้าเสด็จลงมาฉันใด ตามปกติเราก็ให้เวลา ผ่ า นไประยะหนึ่ ง หลั ง จากการรั บ ศี ล ล้ า งบาป ก่ อ นจะรั บ ศี ล กำลั ง ฉันนั้น ศีลล้างบาปทำให้เราตาย และกลับคืนชีพพร้อมกับพระคริสตเจ้า เราตายต่อบาปในน้ำของศีลล้างบาป และเกิดใหม่ในฐานะบุตรของ พระเจ้า และจากศีลกำลัง เราได้รับพระหรรษทานแห่งเปนเตกอสเต ซึ่ง ทำให้เราได้รับพระพรของพระจิตเจ้า เพื่อให้มีพละกำลังปฏิบัติพันธกิจ ของพระศาสนจักร มี ค วามคล้ า ยระหว่ า งศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ทั้ ง สองประการนี้   และการ เสด็ จ มาของพระจิ ต เจ้ า สองครั้ ง  เพื่ อ นำทางชี วิ ต  และพั น ธกิ จ ของ พระเยซูเจ้า ในวันที่ทูตสวรรค์แจ้งสารแก่พระนางมารีย์ พระจิตเจ้าเสด็จ ลงมาเหนือพระนาง และพระอานุภาพของพระเจ้าแผ่เงาปกคลุมพระนาง ขณะที่ชีวิตในเนื้อหนังมนุษย์ของพระเยซูเจ้าเริ่มต้นขึ้น  อีกสามสิบปี หลังจากนั้น ขณะที่พระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นจากแม่น้ำจอร์แดน พระจิตเจ้า


บทเทศน์ปี C

41

เสด็จลงมาเหนือพระองค์ในรูปของนกพิราบ นี่คือตราประทับรับรอง อัตลักษณ์ของพระองค์ว่าทรงเป็นพระบุตรสุดที่รักของพระบิดา และ ถวายพระองค์เพื่อให้ปฏิบัติพันธกิจของพระองค์ นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา พระจิตเจ้าทรงเป็นผู้นำทาง และชักจูงพระเยซูเจ้า ในการโปรดศีลกำลัง ผู้ประกอบพิธีจะเจิมน้ำมันที่หน้าผาก และ ปกมือเหนือศีรษะของผู้รับศีล พร้อมกับกล่าวอัญเชิญพระจิตเจ้า ผลของศีลศักดิ์สิทธ์ประการนี้มีอยู่มากมาย ศีลนี้ประทับตราผู้รับ เพื่อรับรองว่าเขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของพระศาสนจักร เป็นเครื่องหมาย แสดงว่าบุคคลนั้นก้าวเข้าสู่อีกขั้นหนึ่งของการเป็นสมาชิกของพระศาสนจั ก ร และมี ผ ลอย่ า งเด็ ด ขาด ซึ่ ง ทำให้ บุ ค คลนั้ น ไม่ ส ามารถรั บ ศีลกำลังซ้ำอีกได้ เหมือนกับที่เรารับศีลล้างบาป และศีลบรรพชาได้เพียง ครั้งเดียว ศีลศักดิ์สิทธิ์แต่ละประการมอบพระหรรษทานพิเศษให้แก่ผู้รับ พระพรพิเศษของศีลกำลังคือพละกำลังของพระจิตเจ้า ที่จะช่วยให้ผู้รับ สามารถรับใช้ชุมชนคริสตชนได้  รูปแบบแรกของการรับใช้คือการเป็น พยานด้วยการดำเนินชีวิตให้สมกับที่เราเป็นคริสตชน การแสดงความรัก และความเอื้ออาทรด้วยใจกว้าง และการเป็นแสงสว่างในการสั่งสอน และ ความกล้าหาญที่จะเพียรพยายาม ศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ช่วยเพิ่มพูนคุณธรรม แห่งความเชื่อ ความหวัง และความรัก พันธกิจของพระคริสตเจ้า ซึ่งเราได้รับเรียกให้เข้ามามีส่วนร่วมนี้ มีสามด้าน คือ การทำหน้าที่ของสงฆ์ หน้าที่ประกาศพระวาจา และการ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้าบนโลกนี้  เรามีส่วนร่วมในงาน อภิบาลทั้งสามด้านนี้เมื่อเราได้รับเจิมเมื่อเรารับศีลล้างบาป และพัฒนา ขึ้ น เมื่ อ เรารั บ ศี ล กำลั ง  และได้ รั บ การบำรุ ง เลี้ ย งด้ ว ยศี ล มหาสนิ ท (พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2) ทุกครั้งที่เราสวดภาวนาต่อพระบิดาในนามของพระคริสตเจ้า


42

บทเทศน์ปี C

โดยเฉพาะเมื่อเรารับศีลมหาสนิท เรามีส่วนร่วมในสังฆภาพของพระคริสตเจ้า การร่วมพิธีอย่างกระตือรือร้นในพิธีบูชามิสซาไม่ได้เป็นหน้าที่ ของสมณะเท่านั้น “อันที่จริง การเฉลิมฉลองทางพิธีกรรมเป็นกิจการ อันศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่จำกัดว่าเป็นกิจการของสมณะเท่านั้น แต่รวมถึงทุกคน ในที่มาชุมนุมในที่นั้นด้วย ดังนั้น งานซึ่งไม่ใช่หน้าที่เฉพาะของผู้อภิบาล ที่ได้รับศีลบรรพชา จึงควรเป็นงานของฆราวาสด้วยเช่นกัน” (พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2) ระยะหลังนี้ เราพบว่ามีการยอมรับมากขึ้น ว่าศีลกำลังได้มอบพระพรพิเศษของสงฆ์ให้แก่ผู้รับ เพราะมีการยอมให้ ผู้อภิบาลที่เป็นฆราวาสทำหน้าที่อ่านพระวาจา และแจกศีล การมีส่วนร่วมของเราในพันธกิจประกาศพระวาจาของพระคริสตเจ้า เรียกร้องให้เราเป็นพยานยืนยันคุณค่าพระวรสารด้วยวิถีชีวิต ของเรา เราต้องลุกขึ้นและเป็นพยานถึง “ความหวังที่อยู่ในตัวเรา” และ เต็มใจส่งต่อแสงสว่างของพระคริสตเจ้าให้แก่ผู้อื่น การที่เราร่วมรับการเจิมในฐานะกษัตริย์ของพระคริสตเจ้า ไม่ได้ หมายถึงการวางอำนาจกับผู้อื่น แต่เป็นกระแสเรียกให้รับใช้ผู้อื่นตาม จิตตารมณ์ของพระวรสาร เราได้รับเรียกให้เป็นตัวแทนของพระคริสตเจ้าด้วยการเอาใจใส่ดูแลความต้องการของผู้อื่น ผ่านทางเมตตากิจทั้ง ด้านจิตวิญญาณ และร่างกาย เราได้รับเรียกให้ปฏิบัติงานแนวหน้าที่กว้างกว่า ด้วยการบูรณะ และพิทักษ์รักษาพระราชัยของพระเจ้าในกิจการทั้งปวงของโลก ด้วยการ เป็นเกลือและแสงสว่างของพระคริสตเจ้าในบ้านของเรา ในสถานที่ ทำงานของเรา ในงานสังคมของเรา ในรัฐสภาและศาลของเรา ไม่ว่าจะ อยู่ที่ใดในโลก คติพจน์ของเราจะต้องเป็น “ที่นี่ยอมรับการปกครองของ พระเจ้า” ในบางประเทศ ผู้รับศีลกำลังจะมีอายุประมาณ 7 ปี เพราะมอง ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเริ่มต้นการเป็นคริสตชนก่อนจะรับ ศีลมหาสนิท


บทเทศน์ปี C

43

ในประเทศไอร์แลนด์  มักโปรดศีลกำลังให้เด็กเมื่อเรียนจบชั้น ประถม ซึ่งเป็นวัยที่เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่น และเป็นช่วงชีวิตที่เด็กหมกมุ่นกับ ตนเองน้อยลง และเริ่มเข้าสังคมมากขึ้น แต่ กิ จ กรรมทางสั ง คมที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การรั บ ศี ล กำลั ง ใน ปัจจุบันกำลังกลืนสาระสำคัญของศีลศักดิ์สิทธิ์  คนทั่วไปให้ความสนใจ มากเกินไปกับการแต่งตัวให้สวย การเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง และ “เธอ ได้เงินมากเท่าไร” สถานการณ์ปัจจุบันทำให้อดไม่ได้ที่จะคิดหาทางเลือกอื่น จะไม่ดี กว่าหรือถ้าจะเลิกวิธีปฏิบัติในปัจจุบันที่วัดให้เด็กๆ เดินเป็นขบวนเข้ามา รับศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ แต่ให้รับได้เมื่อได้รับการร้องขอ เมื่อใดที่บุคคลหนึ่ง ปรารถนาจะให้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินชีวิตแบบคริสตชน และรับใช้ พระศาสนจักรโดยที่เขาไม่ถูกบังคับ บางทีวัยที่เหมาะสมอาจเป็นช่วง วัยรุ่นตอนปลาย หรือเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ หรือหลังจากนั้น นี่เป็นเพียง ข้อเสนอแนะให้พิจารณาเท่านั้น ศีลกำลังเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งพระหรรษทานอันงดงามเพื่อการ รับใช้พระศาสนจักร แต่ไม่มีใครเห็นคุณค่ามากพอในปัจจุบัน


44

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 2 พระวรสาร : ยอห์น 20:19-23 ค่ำวันนั้น ซึ่งเป็นวันต้นสัปดาห์  ประตูห้องที่บรรดาศิษย์กำลัง ชุมนุมกันปิดอยู่เพราะกลัวชาวยิว พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ามา ทรงยืนอยู่ ตรงกลาง ตรัสกับเขาทั้งหลายว่า “สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลาย เถิด” ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงให้บรรดาศิษย์ดูพระหัตถ์และด้านข้าง พระวรกาย เมื่ อ เขาเหล่ า นั้ น เห็ น องค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า  ก็ มี ค วามยิ น ดี พระองค์ ต รั ส กั บ เขาอี ก ว่ า  “สั น ติ สุ ข จงสถิ ต อยู่ กั บ ท่ า นทั้ ง หลายเถิ ด พระบิดาทรงส่งเรามาฉันใด เราก็สง่ ท่านทัง้ หลายไปฉันนัน้ ” ตรัสดังนีแ้ ล้ว พระองค์ทรงเป่าลมเหนือเขาทั้งหลาย ตรัสว่า “จงรับพระจิตเจ้าเถิด ท่าน ทั้งหลายอภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ได้รับการอภัย ท่านทั้งหลาย ไม่อภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ไม่ได้รับการอภัยด้วย” คำอธิบาย - อ่านคำอธิบายทั้ง 5 ข้อความข้างต้นนี้ได้จากพระวรสารของ นักบุญยอห์น ที่เป็นบทอ่านเดียวกันสำหรับวันอาทิตย์ที่สองเทศกาล ปัสกา ซึ่งเป็นวันสมโภชพระจิตเจ้า เพราะเมื่อพระคริสตเจ้าทรงปรากฏ พระองค์ เ ป็ น ครั้ ง แรกหลั ง จากทรงกลั บ คื น ชี พ  พระองค์ ไ ด้ ป ระทาน พระจิตเจ้าให้แก่บรรดาอัครสาวก การฉลองในวันนี้เป็นการระลึกถึงการ ประทานพระจิตเจ้าองค์เดียวกันนี้ แต่เกิดขึ้นต่อหน้าคนจำนวนมาก คำสั่งสอน – วงจรพิธีกรรมซึ่งในแต่ละปีแสดงให้เราเห็นความเมตตา และความกรุณาของพระเจ้าต่อเรามนุษย์  จบลงในวันนี้ด้วยวันสมโภช พระจิตเจ้าอย่างยิ่งใหญ่  กล่าวคือ การเสด็จมาอย่างสง่าต่อหน้าสาธารณชนของพระจิตเจ้า พระผู้บันดาลความศักดิ์สิทธิ์เหนือพระศาสนจักร


บทเทศน์ปี C

45

ของพระคริสตเจ้า ระหว่างเทศกาลเตรียมรับเสด็จ เราพยายามเตรียมตัว รับการเสด็จมาของพระบุตรของพระเจ้า เพื่อมาพำนักอยู่ท่ามกลางเรา ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง วันพระคริสตสมภพเตือนใจเราให้คิดถึงกิจกรรม แห่งความรักอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าในครั้งนั้น เทศกาลมหาพรตเตรียม ใจเราสำหรับพระทรมานของพระคริสตเจ้าระหว่างสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เมื่ อ พระองค์ ท รงรั บ ทนทรมานเพื่ อ เรา เทศกาลปั ส กาเป็ น วั น ฉลอง ชัยชนะของพระคริสตเจ้าเหนือความตาย เป็นหลักประกันว่าเราจะได้ รับชัยชนะในที่สุด และจะเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ในพระสิริรุ่งโรจน์ นิรันดรของพระองค์  วันสมโภชพระจิตเจ้าเป็นเสมือนมงกุฎของการ ทำงานของพระคริสตเจ้าท่ามกลางเรา พระจิตเจ้าเสด็จมาประทับอยู่กับ พระศาสนจั ก รเพื่ อ นำทาง และช่ ว ยเหลื อ ผู้ น ำพระศาสนจั ก รอย่ า งมี ประสิทธิภาพ ให้พิทักษ์รักษา อธิบาย และเผยแผ่พระวรสารแห่งความ หวังและความรัก ซึ่งพระคริสตเจ้าทรงนำมาประทานแก่โลก พระจิตเจ้า องค์เดียวกันนี้ทรงช่วยเหลือและค้ำจุนสมาชิกแต่ละคนของพระศาสนจักรให้ดำเนินชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์  โดยปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระคริสตเจ้า และช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้ทำเช่นเดียวกัน สรุปได้ว่า วันฉลองประจำปีของพระศาสนจักรที่จัดขึ้นต่อเนื่อง กันนี้เตือนให้เราระลึกถึงความรักอันไร้ขอบเขตของพระตรีเอกภาพต่อ มนุ ษ ย์ ผู้ มี ข้ อ จำกั ด และรู้ จั ก ตาย ในเวลาเดี ย วกั น ก็ แ สดงให้ เ ราเห็ น บทบาทของแต่ละพระบุคคลในพระตรีเอกภาพในแผนการนิรันดร เพื่อ ให้เรามีส่วนร่วมในสันติสุขอันบริบูรณ์  และความสุขอันไม่มีวันจบสิ้นที่ พระองค์ทรงได้รับอยู่ในพระอาณาจักรสวรรค์ พระเจ้ า พระบิ ด าทรงสร้ า งเราขึ้ น มาโดยมี จุ ด ประสงค์   และ แผนการ ที่จะยกฐานะเราขึ้นเป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์  พระเจ้า พระบุตรทรงรับธรรมชาติมนุษย์เพื่อให้เราสามารถร่วมรับพระเทวภาพ ของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นตัวแทนมนุษย์ทุกคน และทรงแสดงความ


46

บทเทศน์ปี C

นบนอบ และความเคารพอย่างสมบูรณ์ต่อพระผู้สร้าง “ถึงกับยอมสิ้น พระชนม์บนไม้กางเขน” เพื่อช่วงชิงฐานะบุตรบุญธรรมมาประทานแก่ เรา พระจิตเจ้าผู้ทรงเป็น “ผลของความรักของพระเจ้า” เสด็จมาจาก พระบิดา และพระบุตร เพื่อทำให้งานบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่เรานั้น สำเร็จสมบูรณ์ ดังนั้น ทั้งสามพระบุคคลในพระตรีเอกภาพได้ร่วมมือกัน ปฏิบัติงานแห่งความรักอันยิ่งใหญ่ไร้ขอบเขต และทรงถ่อมพระองค์ลง มาหาเรามนุษย์  และเปิดทางให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าสู่ความสุขนิรันดรได้ ในอนาคต ขอเพียงข้าพเจ้ามีสามัญสำนึกพอที่จะเข้าใจคุณค่าของกิจการ ที่ พ ระองค์ ท รงกระทำเพื่ อ ข้ า พเจ้ า  และมี ใ จเป็ น ธรรมที่ จ ะตอบแทน พระองค์ด้วยการทำงานเล็กน้อยที่พระองค์ทรงขอให้ข้าพเจ้าทำ ซึ่งง่าย มากเมื่อเทียบกับงานของพระองค์ วันนี้ ขอให้พระจิตเจ้าทรงบันดาลให้ข้าพเจ้าเต็มเปี่ยมด้วยความ กตัญญูสำหรับทุกสิ่งที่พระเจ้าทรงได้กระทำไปเพื่อข้าพเจ้าเถิด


บทเทศน์ปี C

47

บทรำพึงที่ 3 บทอ่านพระวรสาร : ยอห์น 20:19-23 บทอ่านพระวรสารประจำวันนี้ (รวมกับอีกแปดข้อที่เพิ่มเข้ามา) เป็นข้อความเดียวกันกับบทอ่านวันอาทิตย์ปัสกาของปี A และปี B และ แบ่งออกเป็นสามส่วนดังนี้ 1. พระคริสตเจ้าทรงแสดงพระองค์กับบรรดาศิษย์ (ยน 20:1920) พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนชีพแล้ว ในด้านหนึ่งพระกายของพระองค์ ต่างจากพระกายก่อนที่พระองค์สิ้นพระชนม์  (และกลับคืนชีพ) เพราะ พระองค์ทรงเดินผ่านประตูที่ปิดอยู่ได้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง พระองค์ทรงมี ร่างกายจริงๆ และเป็นร่างกายที่สัมผัสจับต้องได้ 2. พันธกิจของอัครสาวก และการประทานพระจิตเจ้า (20:2122) ตลอดระยะเวลาที่พระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอน ยอห์น หลีกเลี่ยงที่จะ เรียกศิษย์ของพระองค์ว่าอัครสาวก (ผู้ที่ถูกส่งไป) ไม่มีคำบอกเล่าว่า พระองค์เคยส่งพวกเขาไป (ต่างจาก มก 6:7 และพระวรสารฉบับอื่น) ในบทภาวนาในฐานะสมณะของพระองค์ (ยน 17:18) พระคริสตเจ้าทรง เอ่ยเป็นครั้งแรกว่าพระองค์ทรงส่งพวกเขาไป และบัดนี้  ในวันปัสกา พระองค์ ท รงส่ ง พวกเขาออกไปจริ ง ๆ เหมื อ นกั บ ที่ พ ระบิ ด าทรงส่ ง พระองค์มา พันธกิจนี้คือการสานต่อพันธกิจของพระบุตร แต่ก่อนที่พวกเขาจะถูกส่งไป เขาต้องถูกสร้างขึ้นใหม่โดยอาศัย ความจริง คืออาศัยพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่เปิดเผยความจริง  และ อาศั ย จิ ต แห่ ง ความจริ ง  คื อ พระจิ ต เจ้ า  พระจิ ต เจ้ า จะต้ อ งทำให้ เ ขา ศักดิ์สิทธิ์  เพื่อว่าเมื่อเขาได้รับการเสกให้ศักดิ์สิทธิ์เหมือนกับที่พระ-


48

บทเทศน์ปี C

เยซูเจ้าทรงเคยได้รับการเสกมาแล้ว พวกเขาจะสามารถถูกส่งไปเหมือน กับที่พระเยซูเจ้าทรงถูกส่งมา (ยน 17:14, 17-19) 3. อำนาจเหนือบาป (ยน 20:23) มธ 28:19-20 ระบุสาระสำคัญ ของพันธกิจของอัครสาวก กล่าวคือ อัครสาวกต้องทำพิธีล้างบาป และ ทำให้มนุษย์ทุกคนมาเป็นศิษย์ของพระองค์; มก 16:15-16 กล่าวถึงการ ประกาศข่าวดี และให้ผู้ที่เชื่อรับศีลล้างบาป; ลก 24:47 บอกว่าหมายถึง การเทศน์สอนให้นานาชาติกลับใจเพื่อรับอภัยบาป ในพระวรสารของ ยอห์น พันธกิจนี้คือการอภัยบาป ข้อความนี้มีสาระตรงกับ มธ 18:18 เราจึงสันนิษฐานได้เหมือนกับบรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักรใน สามศตวรรษแรกว่า ยน 20:23 หมายถึงการอภัยบาปด้วยการโปรดศีล ล้างบาป (ถ้าเช่นนั้น “ผูก และแก้” จึงหมายถึงการยอมรับ หรือไม่ยอม รับอำนาจอภัยบาปของศีลล้างบาป) แต่ก็มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง อย่างแน่นอนว่า อัครสาวกสามารถอภัย หรือไม่อภัยบาปของมนุษย์ได้ (ในการโปรดศีลอภัยบาป เพราะพระเยซูเจ้าได้ประทานพระจิตเจ้า โดย ทรงเป่าลมเหนือเขาทั้งหลายแล้ว)

บทเทศน์ พระจิตเจ้าตามคำบอกเล่าในพระวรสารของนักบุญยอห์น 1. พระเยซูเจ้าทรงสัญญากับศิษย์ของพระองค์ว่าจะส่งพระจิตลง มาหลังจากพระองค์จากพวกเขาไปแล้วเท่านั้น พระองค์จำเป็นต้อง สิ้นพระชนม์ก่อนการเสด็จมาของ “พระผู้ช่วยเหลือ” ความกรุณาของ พระคริสตเจ้า ซึ่งทรงแสดงออกด้วยการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ทำให้ เรามี สิ ท ธิ ไ ด้ รั บ พระจิ ต เจ้ า  นี่ คื อ ความเข้ า ใจอั น ลึ ก ซึ้ ง  และน่ า พิ ศ วง ประการแรกที่ยอห์น มอบให้เรา ก. ยน 7:38 – ในเทศกาลอยู่เพิง ชาวยิวจะภาวนาขอฝนสำหรับ การหว่าน และการเก็บเกี่ยวครั้งต่อไป ทุกสิ่งทุกอย่างจึงขึ้นอยู่กับฝน


บทเทศน์ปี C

49

ดังนั้น ตลอดหนึ่งสัปดาห์  สมณะคนหนึ่ง และชาวเลวีซึ่งเป็นผู้ช่วยใน พิธีกรรม จะลงไปที่สระสิโลอัม และตักน้ำจากสระใส่เหยือกทองคำ จะมี ขบวนแห่นำน้ำกลับมาที่พระวิหารผ่านประตูน้ำ และเป่าแตรสามครั้งเพื่อ เตือนให้ระลึกถึงคำสัญญาว่าพระเจ้าจะประทานพระเมสสิยาห์มาให้ “ท่านจะตักน้ำด้วยความยินดีจากน้ำพุแห่งความรอดพ้น” (อสย 12:3) หลังจากนั้น สมณะจะเทน้ำใส่อ่างสองใบที่พระแท่นบูชา พระเยซูเจ้าทรง ใช้โอกาสนี้ช่วยให้ประชาชนเข้าใจคำสั่งสอนของพระองค์ และตรัสว่า “ผู้ใดกระหาย จงมาหาเราเถิด ผู้ที่เชื่อในเราจงดื่มเถิด ตามที่พระคัมภีร์กล่าวว่า ‘ลำธารที่ให้ชีวิตจะไหลออกมาจาก ภายในผู้นั้น’” ยอห์น อธิบายเพิ่มเติมว่า “พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้หมายถึงพระจิตเจ้า ซึ่งผู้ที่เชื่อในพระองค์จะได้รับ” (7:39) ข. ยน 16:7 – พระจิตเจ้าจะเสด็จมาได้หลังจาก และเนื่องจาก การ สิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้าเท่านั้น พระเยซูเจ้าทรงบอกอัครสาวกใน บทอธิษฐานในฐานะสมณะของพระองค์ด้วยว่า “เราบอกความจริงกับ ท่านทั้งหลายว่า  ที่เราไปนั้นก็เป็นประโยชน์กับท่าน เพราะถ้าเราไม่ไป พระผู้ช่วยเหลือก็จะไม่เสด็จมาหาท่าน แต่ถ้าเราไป เราจะส่งพระองค์มา หาท่าน” ค. ยน 19:33-35 – เราพบว่ า คำสั ญ ญานี้ ส ำเร็ จ เป็ น จริ ง ใน เหตุการณ์ตรึงกางเขน เพื่อไม่ให้มีศพค้างอยู่บนไม้กางเขนในวันสับบาโต ทหารจึงทุบขาของผู้ที่ถูกตรึงกางเขนพร้อมกับพระเยซูเจ้า  แต่เมื่อ มาถึงพระเยซูเจ้า เขาพบว่าไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นเพราะพระเยซูเจ้า สิ้นพระชนม์แล้ว แต่เพื่อให้มั่นใจ “ทหารคนหนึ่งใช้หอกแทงด้านข้าง พระวรกายของพระองค์  โลหิตและน้ำก็ไหลออกมาทันที” เหตุการณ์นี้ ผิ ด ธรรมดามาก จนยอห์ น ต้ อ งขอให้ พ ระเจ้ า เป็ น พยาน ปิ ต าจารย์


50

บทเทศน์ปี C

ส่วนใหญ่ของพระศาสนจักรอธิบายว่า บนไม้กางเขนนั้นเอง พระจิตได้ ถูกประทานแก่เรา โดยเฉพาะพระหรรษทานต่างๆ จากศีลศักดิ์สิทธิ์ คือ ศีลล้างบาป (น้ำ) และศีลมหาสนิท (โลหิต) 2. ยอห์นไม่ใช่นักเทววิทยาผู้ตั้งทฤษฏี และกำหนดคำนิยามต่างๆ ที่ นั ก เทววิ ทยารุ่นหลังกำหนดขึ้นมาระหว่ า งสภาสั ง คายนาหลายครั้ ง ทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล ยอห์นเพียงแต่เสนอเทววิทยาที่บรรยาย ลั ก ษณะ ดั ง นั้ น  เราจึ ง ได้ รู้ บ างสิ่ ง บางอย่ า งเกี่ ย วกั บ พระบุ ค คลของ พระจิตเจ้า ก. พระองค์แตกต่างจากพระบิดา และพระบุตร - พระบิดาทรงเป็นผู้ส่งพระจิตเจ้าลงมา “พระผู้ช่วยเหลือ คือพระจิตเจ้า ที่พระบิดาจะทรงส่งมาในนามของเรานั้น จะทรงสอนท่าน ทุกสิ่ง” (14:26) พระเยซูเจ้าทรงบอกอัครสาวกของพระองค์เช่นนี้ ระหว่างอาหารค่ำมื้อสุดท้าย - พระจิตเจ้าทรงแตกต่างจากพระบิดา เพราะพระองค์ ทรงเนื่องมาจากพระบิดา พระเยซูเจ้าตรัสไว้ในคำปราศรัยเดียวกันว่า “เราจะวอนขอพระบิดา แล้วพระองค์จะประทานผู้ช่วยเหลืออีกองค์หนึ่ง ให้ท่าน” (14:16) ข. ความสัมพันธ์ระหว่างพระจิตเจ้า และพระคริสตเจ้า คล้ายกับ ความสัมพันธ์ระหว่างพระคริสตเจ้า และพระบิดา - พระจิ ต เจ้ า ทรงถู ก ส่ ง มาโดยพระบุ ต ร เหมื อ นกั บ ที่ พระคริ ส ตเจ้ า ทรงถู ก ส่ ง มาโดยพระบิ ด า เราจึ ง อ่ า นพบว่ า  “พระผู้ ช่วยเหลือคือพระจิตเจ้า ที่พระบิดาจะทรงส่งมาในนามของเรานั้น จะทรง สอนท่านทุกสิ่ง” (14:26) “ถ้าเราไป เราจะส่ง (พระผู้ช่วยเหลือ) มาหา ท่าน” (16:7) ซึ่งเป็นจริงเหมือนกับอีกประโยคหนึ่ง “พระบิดาผู้ทรงส่ง เรามา ยังทรงเป็นพยานถึงเราอีกด้วย” (5:37) “พระองค์ทรงส่งข้าพเจ้า มาในโลกฉันใด ข้าพเจ้าก็ส่งเขาเข้าในในโลกฉันนั้น” (17:18)


บทเทศน์ปี C

51

ค. แต่กระนั้นก็ยังมีความแตกต่าง เพราะพระบุตรทรงพึ่งพา พระบิดา - ดังนั้นพระจิตเจ้าทรงมาจากพระบิดาดังที่เราได้เห็น แล้วว่า “พระจิตแห่งความจริง ผู้ทรงเนื่องมาจากพระบิดา” (15:26) - พระบุตรทรงส่งพระจิตเจ้ามาจากพระบิดา “พระจิต แห่งความจริง ... ซึ่งเราจะส่งมาจากพระบิดา” (15:26) - สิง่ ใดทีพ่ ระจิตเจ้าทรงได้รบั จากพระบุตร พระบุตรก็ทรง ได้รับมาจากพระบิดา (16:14) เพราะพระบิดาทรงยิ่งใหญ่กว่าพระบุตร (14:28) ในแง่ทว่ี า่ พระบิดาทรงเป็นต้นกำเนิดนิรนั ดรของพระตรีเอกภาพ 3. มีข้อความที่เข้าใจได้ง่ายกว่านี้ ซึ่งกล่าวถึงกิจกรรมของพระจิตเจ้า กล่าวคือ พระจิตเจ้าทรงมีความหมายอย่างไรสำหรับเรา ก. พระองค์จะทรงดำรงอยูก่ บั บรรดาศิษย์ “เราจะวอนขอพระบิดา แล้วพระองค์จะประทานผู้ช่วยเหลืออีกองค์หนึ่งให้ท่าน เพื่อจะอยู่กับ ท่านตลอดไป” (14:16) พระเยซูเจ้าตรัสเช่นนี้ระหว่างอาหารค่ำมื้อ สุดท้าย พระองค์ทรงหมายถึงการพำนักอยู่ของพระจิตเจ้าในหัวใจมนุษย์ เพราะพระคริสตเจ้าตรัสหลังจากนั้นถึงการพำนักของพระบิดา และ พระบุ ต รในหั ว ใจคนทั้ ง หลายว่ า  “พระบิ ด าจะเสด็ จ มาพร้ อ มกั บ เรา มาหา (ผู้ที่รักพระองค์) จะทรงพำนักอยู่กับเขา” (14:23) อีกนัยหนึ่งคือ เราเป็นพระวิหารของพระจิตเจ้า (1 คร 6:19) ข. พระจิตเจ้าทรงเป็นจิตแห่งความจริง หรือจิตแห่งการเผยแสดง ของพระเจ้า พระคริสตเจ้าทรงเผยแสดงพระบิดาแก่เราฉันใด พระจิตเจ้า ก็ จ ะทรงสืบสานการเผยแสดงของพระคริ ส ตเจ้ า ต่ อ ไปฉั น นั้ น  พระคริสตเจ้าทรงเป็นอะไรสำหรับศิษย์ของพระองค์ พระจิตเจ้าก็จะทรงเป็น เช่นนั้นสำหรับพระศาสนจักร ดังนั้น ในคำปราศรัยอำลา พระคริสตเจ้า จึงทรงสัญญาจะส่งพระจิตเจ้าลงมา “เราจะวอนขอพระบิดา แล้วพระองค์ จะประทาน ... พระจิตแห่งความจริง” (ยน 14:16-17) “เมื่อพระผู้


52

บทเทศน์ปี C

ช่วยเหลือ ซึ่งเราจะส่งมาจากพระบิดาจะเสด็จมา คือพระจิตแห่งความ จริง ... พระองค์จะทรงเป็นพยานให้เรา” (ยน 15:26) “เมื่อพระจิตแห่ง ความจริงเสด็จมา พระองค์จะทรงนำท่านไปสู่ความจริงทั้งมวล” (ยน 16:13) เราทุกคนรู้ว่าการเข้าใจความจริงทำได้ยากเพียงไร แต่การรักษา ความจริงนั้นทำได้ยากยิ่งกว่า บางครั้ง สื่อมวลชนก็ได้รับข้อมูลผิดๆ พระศาสนจั ก รเองก็ เ คยทำสิ่ ง ผิ ด พลาดในประวั ติ ศ าสตร์   และเป็ น พระจิตเจ้าเสมอที่ทรงนำทางพระศาสนจักรให้ค้นพบความจริง และ รักษาความจริงนั้นไว้ ไม่ว่าต้องเผชิญกับการเบียดเบียน และแรงกดดัน รุนแรงเพียงใด ทั้งจากพลังภายในและภายนอกพระศาสนจักร ด้วยเหตุนี้ จึงมีการถกปัญหากันตั้งแต่ในการประชุมของอัครสาวกในกรุงเยรูซาเล็ม แล้วว่าคนต่างศาสนาต้องเข้าสุหนัต และต้องปฏิบัติตามกฎของโมเสส ก่อนที่เขาจะรับศีลล้างบาปหรือไม่  พระจิตเจ้าทรงนำทางที่ประชุมไปสู่ ความจริง และทำให้ที่ประชุมสามารถกล่าวได้ว่า “พระจิตเจ้า และพวกเรา ตกลงที่จะไม่บังคับให้ท่านแบกภาระอื่นอีก นอกจากสิ่งที่จำเป็น” (กจ 15:28) ค. พระจิตเจ้าทรงเป็นพระผู้ช่วยเหลือ (Paraclete) ชื่อนี้มาจาก ภาษากรีก และมีความหมายเหมือนกับศัพท์ภาษาละตินที่ไม่ค่อยใช้กัน คือ ผู้แก้ต่าง (Advocate) (1 ยน 2:1) และแปลว่าผู้ที่ถูกเรียกหา (the one called) เช่น เรียกให้มาช่วยเหลือและบรรเทาใจ มานำทาง และให้คำปรึกษา โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ยุ่งยาก เมื่อเราไม่รู้ว่าเรา ควรพูดอะไร และทำอะไร แม้ว่าพระองค์ทรงเป็นพระผู้ช่วยเหลือของ เรา แต่เราเรียกหาพระองค์จริงหรือ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่เราไม่รู้จัก พระองค์จะต้องตำหนิเราหรือไม่ว่า “ท่านเรียกเราว่าพระผู้ช่วยเหลือ แต่ท่านไม่เคยเรียกหาเรา” คำนี้ปรากฏถึงสี่ครั้งในคำปราศรัยอำลาใน ยน 14:16, 26; 15:26; 16:7 พระเยซูเจ้าตรัสว่าพระจิตเจ้าทรงเป็นผู้ช่วยเหลืออีกองค์หนึ่ง “เราจะวอนขอพระบิดา แล้วพระองค์จะประทานผู้ช่วยเหลืออีกองค์หนึ่ง


บทเทศน์ปี C

53

ให้ท่านเพื่อจะอยู่กับท่านตลอดไป คือพระจิตแห่งความจริง” (ยน 14: 16) ดังนั้น พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระผู้ช่วยเหลือองค์แรก แต่เมื่อพระองค์ ต้องจากไป และสิ้นพระชนม์ พระจิตเจ้าจะมาทำหน้าที่แทนพระองค์ ง. พระจิตเจ้าจะทรงสานต่องานที่พระคริสตเจ้าทรงทิ้งไว้ เนื่อง จากอั ค รสาวกยั ง ขาดวุ ฒิ ภ าวะจนไม่ อ าจเข้ า ใจความจริ ง ทั้ ง หมดได้ พระจิตเจ้าจึงทรงนำทางเขาไปสู่ความจริงทั้งมวล “เรายังมีหลายเรื่องที่ จะบอกท่าน แต่บัดนี้ ท่านยังรับไว้ไม่ได้ เมื่อพระจิตแห่งความจริงเสด็จมา พระองค์จะทรงนำท่านไปสูค่ วามจริงทัง้ มวล” (ยน 16:12-13) แต่นไี่ ม่ใช่ คำสั่งสอนใหม่  แต่เป็นเพียงการสั่งสอนที่ต่อเนื่องจากคำสั่งสอนของ พระคริสตเจ้า “พระองค์จะไม่ตรัสโดยพระองค์เอง แต่จะตรัสทุกสิง่ ทีท่ รง ได้ฟังมา ... พระองค์จะทรงให้เราได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ เพราะพระองค์ จะทรงแจ้งให้ท่านรู้คำสอนที่ทรงได้รับจากเรา” (16:13-14) พระเยซูเจ้า ทรงบอกเพียง “สิ่งเหล่านี้” แต่พระจิตเจ้าจะทรงสอนทุกสิ่งทุกอย่าง “เราบอกสิ่งเหล่านี้ให้ท่านฟัง ขณะที่เรายังอยู่กับท่าน แต่พระผู้ช่วยเหลือ คือพระจิตเจ้าที่พระบิดาจะทรงส่งมาในนามของเรานั้น จะทรงสอนท่าน ทุกสิ่ง” (14:26) แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ใหม่ เพราะพระจิตเจ้า “จะทรงให้ท่าน ระลึกถึงทุกสิ่งที่เราเคยบอกท่าน” (14:26) จ. พระจิตเจ้าจะทรงย้ำ และขยายความสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงเคย สอน พระองค์ “จะทรงสอนท่านทุกสิ่ง และจะทรงให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่ง ที่เราเคยบอกท่าน” (14:26) เมื่อพระคริสตเจ้าทรงได้รับการยกขึ้น ความจริงอันเป็นแก่นแท้ก็ถูกเผยแก่เรา และสิ่งที่ต้องทำในเวลานี้คือ การย้ำ และขยายความ และนำความจริงนี้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ ในยุ ค ของเรา และพระจิ ต เจ้ า ทรงค้ ำ ประกั น ความถู ก ต้ อ งของการ ประยุ ก ต์ ใ ช้ เ ช่ น นี้   พระคั ม ภี ร์ เ ป็ น พระวาจาของพระเจ้ า  และของ พระคริสตเจ้า เป็นขุมทรัพย์สูงค่าอย่างไร้ขอบเขต และเราจะไม่มีวัน อธิบาย และนำไปใช้ในชีวิตได้หมด


54

บทเทศน์ปี C

ฉ. พระจิตเจ้าจะทรงดูแลให้ขุมทรัพย์แห่งการเผยแสดงนี้ได้รับ การพิทักษ์รักษา และรักษาไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลงในแก่นสาร ความคิด นอกรีตเกิดขึ้นได้สองทาง ทางหนึ่งคือพวกนอกรีตเสนอความคิดผิดๆ อีกทางหนึ่งคือพวกเขาตัดความจริงที่เป็นแก่นสาร พวกเขาทำผิดด้วย การตัดทอนความจริง ช. พระจิตเจ้าจะทรงเป็นผู้ช่วยเหลือเราในการรับมือกับโลก เมื่อ เราเป็นผู้มีความเชื่อในพระคริสตเจ้า เราต้องกล้าที่จะทำตัวให้แตกต่าง จากโลก และความแตกต่างนี้ทำให้โลกเกลียดชังเรา โลกต้องการให้ ทุกคนเหมือนกันหมด (1) เมื่อเผชิญหน้ากับการเบียดเบียนเช่นนี้ พระจิตเจ้า จะทรงช่วยเราให้เป็นพยานให้พระคริสตเจ้า “เมื่อพระผู้ช่วยเหลือ ซึ่งเรา จะส่งมาจากพระบิดา จะเสด็จมา ... พระองค์จะทรงเป็นพยานให้เรา ท่าน ทั้งหลายก็จะเป็นพยานให้เราด้วย เพราะท่านอยู่กับเรามาตั้งแต่แรก แล้ว” (15:27) พระคริสตเจ้าตรัสเช่นนี้เกี่ยวกับความเกลียดชังของโลก (2) พระจิตเจ้าจะทรงเปิดเผยแก่ทุกคนที่ไม่เชื่อ ว่าความ ไม่เชื่อของเขาคือบาป พระเยซูเจ้าตรัสว่า “พระองค์จะทรงแสดงให้โลก เห็นความหมายของบาป ... บาปของโลกคือเขาไม่ได้เชื่อในเรา” (16:9) ผู้ที่ไม่เชื่อเรียกความไม่เชื่อของตนด้วยชื่อที่ไพเราะ พระจิตเจ้าจะทรงฉีก หน้ากากของบาปดังกล่าวว่าเป็นความไม่เชื่อ (3) พระจิตเจ้าจะทรงตัดสินลงโทษโลกที่ได้ประหารองค์ พระผู้เป็นเจ้า และยังกำลังประหารพระองค์ตราบจนทุกวันนี้ในตัวผู้มี ความเชื่อหลายๆ คน เมื่อนั้น คนเหล่านั้นจะไม่อาจปฏิเสธความจริงได้ อีกต่อไป พวกเขาได้พยายามประหารพระคริสตเจ้า แต่ในความเป็นจริง พระคริสตเจ้าได้เสด็จไปเฝ้าพระบิดา พวกเขาได้พยายามกำจัดศิษย์ จำนวนมากของพระเยซูเจ้า แต่ในความเป็นจริง เขาทำให้คนเหล่านี้ กลายเป็นมรณสักขี ในความเป็นจริง “ซาตาน เจ้านายแห่งโลกนี้ ถูกตัดสิน ลงโทษแล้ว” (16:11)


บทเทศน์ปี C

55

บทรำพึงที่ 4 ค่ำวันนั้น ซึ่งเป็นวันต้นสัปดาห์... พระวรสารของนักบุญยอห์นบอกเราว่าอัครสาวกได้รับพระจิตเจ้าตั้งแต่ตอนค่ำของวันปัสกานั้นเอง ทันทีหลังจากการกลับคืนชีพของ พระเยซู เ จ้ า  ... และพระศาสนจั ก รก็ ก ำเนิ ด ขึ้ น จากลมหายใจของ พระเยซูเจ้า ถ้าเราเปรียบเทียบคำบอกเล่านี้กับคำบอกเล่าของนักบุญลูกาใน หนังสือกิจการอัครสาวก ดูเหมือนว่าพระเยซูเจ้าจะสำคัญมากกว่าพระจิตเจ้า เรารู้ว่าเราต้องค้นหาความคิดเชิงเทววิทยาอันลึกซึ้งจากพระวรสารของยอห์น ซึ่งบอกเล่าโดยใช้ภาษาสัญลักษณ์ “วันต้นสัปดาห์” เป็นวันแรกของโลกใหม่ วันแห่งการสร้างสรรค์ ครั้งใหม่ นี่คือปฐมกาลครั้งใหม่ พระเจ้าทรงจับมนุษย์ไว้ในพระหัตถ์อีก ครัง้ หนึง่ พระองค์ทรงปัน้ มนุษย์อกี ครัง้ หนึง่ ด้วย “ดินเหนียว” แบบใหม่ นับจากวันนั้นเป็นต้นมา คริสตชนมาชุมนุมกันไม่ได้ขาดใน “วัน ต้นสัปดาห์” ... แม้แต่ในวันนี้ พระศาสนจักรก็เกิดใหม่จากการชุมนุมกัน เป็นระยะนี้... ก่อนที่คริสตชนคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาได้ เขาต้องผ่านวันอาทิตย์ หลายครั้ง ตามจังหวะของ “การเสด็จมา” ของพระเยซูเจ้า ... บัดนี้ เรา ไม่ได้ถูกบังคับอย่างเข้มงวดอีกต่อไปให้ต้องไปฟังมิสซาวันอาทิตย์  แต่ การฟังมิสซาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเหมือนกับที่เราจำเป็นต้องหายใจ และการสูดอากาศใหม่ๆ จำเป็นสำหรับชีวติ เรา และเราต้องทำเช่นนี้ ไม่ใช่ เพียงปีละครั้ง...


56

บทเทศน์ปี C

ประตูห้องที่บรรดาศิษย์กำลังชุมนุมกันปิดอยู่ เพราะกลัวชาวยิว... ความกลัว ... โลกของเราตั้งอยู่บนความกลัวเสมอ... การยับยัง้ อาวุธนิวเคลียร์ทำให้จติ ใจมนุษย์เต็มไปด้วยความกลัว ... ก่อนข้าพเจ้าจะรำพึงต่อไป ข้าพเจ้าต้องมองหาว่าความกลัวใน ชีวิตของข้าพเจ้าคืออะไร ... เพราะสถานที่ของ “การกลับคืนชีพในวัน ปัสกา” ก็คือสถานที่ซึ่งบรรดาศิษย์ขังตนเองอยู่ภายใน ... สถานที่แห่ง ความกลัวของเขา... และพระจิตของพระเจ้าอาจปรากฏพระองค์ในชีวิตของข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าค้นหาในใจได้ว่าที่ใดมีความอ่อนแอ ความเสี่ยง และความ เจ็บปวดอยู่บ้าง... มีสถานการณ์ใดบ้างที่ข้าพเจ้า “ขังตนเอง” ... สถานการณ์ใด บาปใด ความกังวลใด ที่กักขังข้าพเจ้าอยู่... นักบุญเปาโลตระหนักในความเป็นจริงข้อนี้ และเปรียบเทียบกับ ความตายว่า “ดังนั้น ความตายกำลังทำงานอยู่ในเรา ... เราไม่ท้อถอย แม้ว่าร่างกายภายนอกของเรากำลังเสื่อมสลายไป จิตใจของเราที่อยู่ ภายในก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นในแต่ละวัน ความทุกข์ยากลำบากเล็กน้อย ของเราในปัจจุบันนี้กำลังเตรียมเราให้ได้รับสิริร่งุ โรจน์นิรันดรอันยิ่งใหญ่ หาที่เปรียบมิได้” (2 คร 4:12, 16-17) พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ามา ทรงยืนอยู่ตรงกลาง ยอห์ น มี จุ ด ประสงค์ ที่ เ ขาเชื่ อ มโยงเหตุ ก ารณ์ ก ลั บ คื น ชี พ ของ พระเยซูเจ้าเข้ากับการประทานพระจิตเจ้า ในบทแสดงความเชื่อ เรา ประกาศยืนยันว่าพระจิตทรงเป็น “พระเจ้าผู้ประทานชีวิต” บุคคลแรก ที่ได้รับพระพรแห่งชีวิตคือพระเยซูเจ้า การช่วงชิงพระเยซูเจ้าจากอำนาจ ของความตายเป็นผลงานชิ้นเอกของพระจิตของพระเจ้า


บทเทศน์ปี C

57

ในตัวเรา ซึ่งเป็นสิ่งสร้าง – ไม่ใช่พระเจ้า และมีข้อจำกัด – “จิต” และ “กาย” ของเราถูกผูกพันไว้ด้วยกันไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ไม่ว่าจะ มีอำนาจมากเพียงใด จิตในตัวเราก็ต้องผ่านความล้มเหลวขั้นสูงสุด ซึ่ง ทำให้จิตไม่สามารถยึดติดกับกายได้  ดังนั้น การเป็นมนุษย์จึงหมายถึง สภาพที่รู้จักตายด้วย ... แต่เมื่อพระคริสตเจ้าทรงเผชิญหน้ากับโลกที่ ถูกสร้างขึ้น –ดังนั้นจึงเป็นโลกที่รู้จักตาย - พระองค์ไม่ได้มีแต่ทรัพยากร อันจำกัดของจิตมนุษย์เท่านั้น แต่ทรงมีทรัพยากรอันไร้ขีดจำกัด ซึ่งเป็น ทรัพยากรของพระเจ้าเพียงผู้เดียวอีกด้วย ในพระคริสตเจ้ามีพระจิต ซึ่ง ต่างจากจิตมนุษย์โดยสิน้ เชิง เพราะจิตมนุษย์ยอมปล่อยให้ตนเองพ่ายแพ้ ความตาย แต่พระจิตของพระองค์ คือพระจิตเจ้า ผู้ทรงเป็น “พระเจ้า ผู้ประทานชีวิต” ... พระเยซูเจ้าทรงทำลายทุกสิ่งที่ขวางกั้น  การแสดงพระองค์ใน ทันทีทันใดท่ามกลางศิษย์ที่ขังตนเองอยู่ภายในห้อง อันเป็นเครื่องหมาย ว่าไม่มีอุปสรรคใดขัดขวางไม่ให้พระองค์มายืนอยู่ท่ามกลางศิษย์ของ พระองค์ ... เมื่อเช้าวันเดียวกันนั้น พระองค์ทรงได้รับ “ลมหายใจที่ให้ ชีวิต” ซึ่งทำให้พระองค์ทรงเป็น “ร่างกายที่มีพระจิตเจ้าเป็นชีวิต” (1 คร 15:44) พระเจ้าทรงบันดาลให้พระเยซูเจ้า “กลับคืนพระชนมชีพ ... ทรง ได้รับการเทิดทูนให้ประทับเบื้องขวาของพระเจ้า  พระองค์ทรงได้รับ พระจิตเจ้าจากพระบิดาตามพระสัญญา” (กจ 2:33) พระเยซูเจ้าทรง ประทานพระจิตเจ้าแต่มิตรสหายของพระองค์ทันที... การกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้าเป็นผลงานของพระจิตเจ้าอย่าง แท้จริง พระองค์ทรงให้บรรดาศิษย์ดูพระหัตถ์ และด้านข้างพระวรกาย ท่านกำลังมองหาสถานที่แห่งการกลับคืนชีพในวันปัสกาอยู่หรือ ท่านรู้สึกว่ายากที่จะมองเห็นการประทับอยู่ของพระจิตเจ้าหรือ


58

บทเทศน์ปี C

ลองค้นหาในวันนี้เถิด ว่าที่ใดมีแผลเป็น หรือบาดแผล – ในหัวใจ ของท่าน ในชีวิตของท่าน รวมทั้งในชีวิตของโลก หรือในพระศาสนจักร “สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด” ... เมื่อเขาเหล่านั้นเห็นองค์ พระผู้เป็นเจ้าก็มีความยินดี ความกลัวกลายเป็นความยินดี  – ที่เป็นเช่นนี้เพราะเขาได้รับ สันติสุข... “พระบิดาทรงส่งเรามาฉันใด เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น” พวกเขาเคย “ขังตัวอยู่ภายใน” ... บัดนี้ เขา “ถูกส่งไป” การส่งไปปฏิบัติพันธกิจนี้ไม่ได้มองจากมุมขององค์กร แต่เป็น การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ที่วางแผนมาเป็นอย่างดี และพระเยซูเจ้าไม่ได้ ทรงคิดถึงเครื่องมือใดๆ ที่พระศาสนจักรจำเป็นต้องใช้เพื่อเป็น “ธรรมทูต” สิ่งเดียวที่สำคัญสำหรับพระองค์คือจุดเริ่มต้นของพันธกิจนี้ เพราะนี่ คือ “ความผูกพันอันใกล้ชิดที่ทำให้พระเยซูเจ้าทรงเป็นหนึ่งเดียวกับ พระบิดาของพระองค์” ท้ายที่สุดแล้วย่อมมีพันธกิจเพียงหนึ่งเดียว คือ พันธกิจของพระบิดา ซึ่งเป็นพันธกิจของพระเยซูเจ้า  และกลายเป็น พันธกิจของพระศาสนจักร... ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงเป่าลมเหนือเขาทั้งหลาย ... ยอห์ น  ใช้ ศั พ ท์ พ ระคั ม ภี ร์   ซึ่ ง กระตุ้ น ให้ คิ ด ถึ ง สองข้ อ ความ โดยเฉพาะ - การเนรมิตสร้างครั้งแรก “พระเจ้าทรงเป่าลมแห่งชีวิตเข้าใน จมูกของเขา” (ปฐก 2:7) - การเนรมิตสร้างครั้งสุดท้าย “ทรงเป่าลมเหนือผู้ที่ถูกประหาร เหล่านี้ เพื่อให้เขามีชีวิต” (อสค 37:9)


บทเทศน์ปี C

59

มีการเนรมิตสร้าง “ในอดีต” คือ การเกิดครั้งแรกของชีวิต ณ จุด เริ่มต้นของกาลเวลา ... และจะมีการเนรมิตสร้างในอนาคต คือ การกลับ คืนชีพครั้งสุดท้ายในวันสุดท้าย ... แต่ก็มีการเนรมิตสร้างที่เกิดขึ้นจริง ตลอดเวลาด้วย นั่นคือ “ลมหายใจ” ของพระเจ้ากำลังทำงานอยู่จริงๆ ข้าพเจ้าเชื่อในพระจิตเจ้า ผู้ทรงเป็นพระเจ้าผู้ประทานชีวิต ... “ลมแห่งชีวิต” ท่านคิดว่าเป็นความฉลาดปราดเปรื่องหรือไม่ ที่ พระคัมภีร์บรรยายการประทับอยู่ และการทำงานของพระเจ้าในโลก ด้วย สิ่งที่ธรรมดาที่สุดและจำเป็นที่สุด คือ ลมหายใจ ... สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ตัง้ แต่จลุ นิ ทรียไ์ ปจนถึงสัตว์ปา่ ล้วนหายใจก๊าซออกซิเจนทีม่ ไี ว้เพือ่ ทุกชีวติ บนดาวเคราะห์ของเรา – และข้าพเจ้าเองก็หายใจเหมือนสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ... เป็นภาพเหมือนของพระเจ้าหนึ่งเดียว ผู้ทรงทำให้เราทุกคนมีชีวิต ... พระเยซูเจ้าทรงใช้ภาพลักษณ์ของ “ลม” เพื่ออธิบายให้ นิโคเดมัส เข้าใจ ว่า “ลมย่อมพัดไปในที่ลมต้องการ” และให้ชีวิต (ยน 3:6-8) - จงรับ ... ข้าพเจ้าใช้คำนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการภาวนาของข้าพเจ้า มนุษย์ยุคใหม่ไม่ชอบ “การรับ” คนยุคปัจจุบันไม่ยอมพึ่งพา อาศัยกัน นี่คือบาป เป็นการเสแสร้งว่าตนเอง “เหมือนพระเจ้า” ... แต่ อำนาจนี้ไม่ใช่อำนาจที่มนุษย์จะมีได้  มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องพึ่งพา อาศัยสิ่งอื่น - และต้องพึ่งพาอาศัยโดยสิ้นเชิงด้วยซ้ำไป - เพื่อจะมีชีวิต เราต้องได้รับชีวิต... ข้าพเจ้าได้รับชีวิตจากบิดามารดา ... ข้าพเจ้าได้รับชีวิตจากอากาศ ที่ข้าพเจ้าหายใจเข้าไป ... ข้าพเจ้าได้รับชีวิตจากดวงอาทิตย์ซึ่งให้อาหาร แก่ข้าพเจ้า ... ข้าพเจ้าต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งต่างๆ นับพัน คนนับพัน และ สถานการณ์มากมายนับไม่ถ้วน ...


60

บทเทศน์ปี C

“จงรับไปกิน นี่คือกายของเรา” – แต่เราต้อง “รับ” กายนี้ “จงรับพระจิตเจ้าเถิด” – เราต้อง “รับ” พระจิตเจ้านี้... พระเจ้าข้า โปรดประทานพระหรรษทานแก่เรา ให้เรายินดี และ ยอมรับพระพรที่พระองค์ประทานแก่เรา ... ... พระจิตเจ้าเถิด ...

มนุษยชาติต้องยอมรับชุมชนแห่งพระจิตเจ้า (Community of Spirit) ซึ่งดำรงอยู่ระหว่างพระบิดาและพระบุตร พระเจ้ามีหลายพระบุคคล แต่ทรงเป็นพระเจ้าหนึ่งเดียว... เราค้นพบว่า ในพันธกิจของพระศาสนจักร ไม่ได้มีแต่พระบิดา และพระบุตรที่พระองค์ทรงส่งมา แต่มีธรรมล้ำลึกของสามพระบุคคล... สังคายนาวาติกันครั้งที่สอง กล่าวว่า พระศาสนจักรคือการมอบ ความรัก ที่ผูกพันสามพระบุคคลไว้ด้วยกัน ให้แก่มนุษย์… ท่านทั้งหลายอภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ได้รับการอภัย ท่านทั้งหลายไม่อภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ไม่ได้รับการอภัย ด้วย บทบาท และพันธกิจของพระศาสนจักร คือ การประกาศเรื่องการ ให้อภัยบาป และความรอดพ้น! การพัฒนาความคิดของนักบุญยอห์น ในพระคัมภีร์หน้านี้สะดุดใจมาก - ชุมชนมนุษย์ รับรู้ถึงการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้า ผู้ทรงกลับ คืนชีพ... - ประสบการณ์นบ้ี งั เกิดผล คือ ชุมชนนีถ้ กู ส่งไปปฏิบตั พิ นั ธกิจ... - พันธกิจนี้เป็นความจริงได้ด้วยการประทานพระจิตเจ้า... - พั น ธกิ จ นี้ คื อ การส่ ง ต่ อ ความรอดพ้ น  การให้ อ ภั ย  ความ ศักดิ์สิทธิ์...


บทเทศน์ปี C

61

ดังนั้น ภารกิจของพระศาสนจักรจึงเป็น “การปลดปล่อย” เป็น การเสนอความรักอันไร้ขอบเขตของพระเจ้าให้แก่มนุษย์... ข้อความในเชิงลบ (การไม่อภัยบาปของผู้ใด) ไม่ได้หมายความ ว่าพระศาสนจักรสามารถใช้อำนาจตัดสินอย่างเผด็จการ คำถามไม่ได้อยู่ที่ว่า “พระเจ้าจะให้อภัยฉันหรือไม่” – ไม้กางเขน ของพระเยซูเจ้าได้ตอบคำถามข้อนี้แล้ว... แต่ น่ า เสี ย ดายที่ ยั ง มี ค ำถามอี ก ว่ า  “ฉั น จะ ‘รั บ ’ การอภั ย นี้ หรือเปล่า”...


62

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์สมโภชพระตรีเอกภาพ ยอห์น 16:12-15 พระเยซูเจ้าตรัสแก่ศิษย์ของพระองค์ว่า “เรายังมีอีกหลาย เรื่องที่จะบอกท่าน แต่บัดนี้ท่านยังรับไว้ไม่ได้ เมื่อพระจิตแห่งความ จริงเสด็จมา พระองค์จะทรงนำท่านไปสู่ความจริงทั้งมวล พระองค์ จะไม่ตรัสโดยพระองค์เอง แต่จะตรัสทุกสิ่งที่ทรงได้ฟังมา และจะทรง แจ้งให้ท่านรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น พระองค์จะทรงให้เราได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ เพราะพระองค์จะทรงแจ้งให้ท่านรู้คำสอนที่ทรงได้รับ จากเรา ทุกสิ่งที่พระบิดาทรงมีนั้นก็เป็นของเราด้วย ดังนั้น เราจึง บอกว่า พระจิตเจ้าจะทรงแจ้งให้ท่านรู้คำสอนที่ทรงรับจากเรา”


บทเทศน์ปี C

63

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง การภาวนาของคริสตชน พระวรสารประจำวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำปราศรัยของพระเยซูเจ้าระหว่างอาหารค่ำมื้อสุดท้าย เมื่อพระองค์ตรัสว่าพระองค์กำลังจะ เสด็จกลับไปหาพระบิดา การจากไปของพระองค์เป็นการจากกันทาง กายภาพ และจะไม่ทรงทอดทิ้งให้บรรดาศิษย์เป็นกำพร้า แต่จะเป็นจุด เริ่มต้นของการประทับอยู่ของพระเจ้าในรูปแบบใหม่ พระจิตเจ้าจะเสด็จ ลงมาในความคิด และจิตใจของบรรดาศิษย์  ในลักษณะที่อาจเรียกได้ อย่างเหมาะสมที่สุดว่า เป็นการเนรมิตสร้างครั้งใหม่ วั น อาทิ ต ย์ ส มโภชพระตรี เ อกภาพเป็ น โอกาสให้ พิ จ ารณา ขบวนการสำคัญของการภาวนาของคริสตชน โดยเฉพาะพิธีกรรม เรา ไม่สามารถเข้าใจความหมายของพิธีกรรม ถ้าเราไม่เข้าใจขบวนการ หรือ ความเคลื่อนไหว ของชีวิตพระเจ้าภายในตัวเรา พระเยซูเจ้าทรงบรรยาย พันธกิจของพระองค์ว่าเป็นการเดินทางลงมายังโลกของเรา จากนั้นก็ เดินทางกลับไปหาพระบิดา “เรามาจากพระบิดา เข้ามาในโลกนี้ บัดนี้เรา กำลังจะละโลกนี้กลับไปเฝ้าพระบิดาอีก” (ยน 16:28) ไม่มีทางอื่นใดนำ เราไปหาพระบิดาได้นอกจากอาศัยการเดินทางกลับของพระบุตร เราได้ รับเอกสิทธิ์ให้เข้าร่วมในการเดินทางกลับไปนี้ด้วยอำนาจของพระจิตเจ้า ที่พระเจ้าประทานแก่เรา “เมื่อพระจิตแห่งความจริงเสด็จมา พระองค์จะ ทรงนำท่านไปสู่ความจริงทั้งมวล” (ยน 16:13) แก่นของการภาวนาของ คริสตชนคือการมีส่วนร่วมของเราในการเสด็จกลับอย่างรุ่งเรืองไปหา พระบิดา ผ่านทางพระบุตร ด้วยอำนาจของพระจิตเจ้า


64

บทเทศน์ปี C

พิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ เป็ น การระลึ ก ถึ ง พระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ผู้ทรงเป็นพระวาจาของพระเจ้า พระองค์ทรงได้สัมผัสกับความต่ำต้อย ที่สุดของชีวิตมนุษย์จนถึงกับสิ้นพระชนม์อย่างน่าอดสู  พระองค์ได้รับ การยกขึ้นพ้นจากความอัปยศทั้งหมดนี้ และกลับไปหาพระบิดา ระหว่าง พิธบี ชู าขอบพระคุณ ความคิดของเรารับฟังพระวาจาของพระเจ้าในบทอ่าน ต่างๆ หลังจากได้ใคร่ครวญพระวาจาแล้ว เราจึงรวบรวมความต้องการ ของชุมชน และนำเสนอในรูปของคำวิงวอนของสัตบุรุษ ขนมปังและ เหล้าองุ่นถูกเตรียมไว้เป็นของถวาย และเป็นสัญลักษณ์ของการถวาย ชีวิตของเราและสิ่งสร้างทั้งปวงคืนให้พระบิดา หลังจากนั้น เราจึงสวด บทภาวนาก่อนรับศีลมหาสนิททั้งด้วยคำพูดและกิริยาอันสง่า เราระลึก ถึงการเดินทางของพระวาจาลงมายังโลกของเรา และการเสด็จกลับไปหา พระบิดา ตามความหมายของพระคัมภีร์   การระลึกถึงกิจการใดของ พระเจ้าก็คือการทำให้กิจการนั้นเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปัจจุบัน พิธีกรรม ดำเนินมาถึงจุดสุดยอดของความสนิทสัมพันธ์ด้วยการรับศีลมหาสนิท แขนของเราไม่มีวันยาวพอจะเอื้อมไปจนถึงสวรรค์  และเราไม่มี คุณค่าพอจะเสนอหน้าไปอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า แต่พระบุตรทรงเอือ้ มลงมาหาเราด้วยความเมตตา และพระจิตผูท้ รงเป็น ความรัก ที่รวมทุกคนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ก็ทรงยกเราขึ้น ดังนั้น ด้วย ความเข้าใจในคำสั่งสอนของพระบุตร และในอำนาจของพระจิตเจ้า เรา จึ ง กล้ า เอ่ ย คำที่ ข าดไม่ ไ ด้ ใ นบทภาวนาของคริ ส ตชนว่ า “พระบิ ด า” “พระจิตเจ้าทรงเป็นพยานยืนยันร่วมกับจิตของเราว่าเราเป็นบุตรของ พระเจ้า ... ซึ่งทำให้เราร้องออกมาว่า ‘อับบา พ่อจ๋า’” (รม 8:15) คริสตชนภาวนาต่อพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดา เป็นขบวนการที่ เรากระทำในพระนามของพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า และอาศั ย อำนาจของ พระจิตเจ้าที่ประทานแก่เรา ความคิดและจิตใจของเราจึงถูกยกขึ้น และ เข้าร่วมในขบวนการนี้ได้ เราเห็นความบริสุทธิ์ของขบวนการภาวนานี้ได้


บทเทศน์ปี C

65

ในพิธีกรรมที่ระลึกถึงพระเยซูคริสตเจ้า พระสิริรุ่งโรจน์จงมีแด่พระบิดา อาศัยพระบุตร และด้วยอำนาจของพระจิตเจ้า

ข้อรำพึงที่สอง มหาสมุทรแห่งชีวิตของพระเจ้า ข้าพเจ้าชอบคิดว่าพระตรีเอกภาพมีภาพลักษณ์เหมือนมหาสมุทร ความกว้ า งใหญ่ ข องมหาสมุ ท รทำให้ คิ ด ถึ ง ความไร้ ข อบเขต ความ เคลื่อนไหวตลอดเวลาของมหาสมุทรทำให้คิดถึงนิรันดรภาพ ความลึก ของมหาสมุทรเป็นความลึกลับที่น่ากลัว แต่การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทุกส่วนและปล่อยตัวลอยไปตามกระแสคลื่น คือความใกล้ชิดสนิทสนม ทะเลท่ามกลางพายุแสดงให้เห็นอำนาจที่น่ากลัว แต่เมื่อท่านมองมหาสมุทรที่สงบนิ่งยามอาทิตย์อัสดง ท่านจะสัมผัสกับห้วงเวลาที่เงียบที่สุด ในชี วิ ต  อั ศ จรรย์ ข องปรากฏการณ์ น้ ำ ขึ้ น น้ ำ ลงในทะเลแสดงออกถึ ง ขบวนการภายในของพระเจ้า ผู้มีสามพระบุคคลในพระเจ้าองค์เดียวกัน ท้องมหาสมุทรที่ลึก และเร้นลับ เหมือนกับพระบิดา ผู้ทรงเป็น หลักการแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล กระแสน้ำพัดออกมาจากอ้อมอกที่มี ชีวิตนี้ – เหมือนกับพระบุตรทรงเนื่องมาจากพระบิดา - กระแสน้ำพัดมา ถึงชายฝั่งทะเลของเรา เหมือนกับพระบุตรทรงถูกส่งลงมายังโลกให้อยู่ ในสภาพเหมือนเรา  ร่องรอยที่เกิดจากการทำงานและการเล่นบนหาด ทรายของโลกเราถูกลบออกไปหมดทุกครั้งที่น้ำขึ้น งานของพระเยซูเจ้า คือคลื่นแห่งความเมตตาและการให้อภัย ที่ชำระชายหาดแห่งชีวิตให้ บริสุทธิ์ เมื่อพันธกิจสำเร็จลงแล้ว กระแสน้ำก็ลดลงและไหลย้อนกลับสู่ มหาสมุทร เหมือนกับพระบุตรเสด็จกลับไปหาพระบิดาตลอดไปเป็น นิรันดร์ นักวิทยาศาสตร์บอกเราว่าน้ำขึ้นน้ำลงเกิดจากแรงดึงดูดของดวง จันทร์  ขณะที่ลอยวนเวียนอยู่เหนือแหล่งน้ำในโลก แต่ข้าพเจ้าอยาก


66

บทเทศน์ปี C

คิดมากกว่าว่า น้ำที่ไหลเข้าฝั่ง และออกจากฝั่ง เกิดขึ้นภายใต้อำนาจของ พระจิตเจ้า ผูท้ รงลอยวนเวียนอยูเ่ หนือน้ำ และเป็นลมหายใจของพระเจ้า ลมอันอบอุ่นที่พัดเหนือมหาสมุทรทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอ ไอน้ำลอยตัวสูงขึ้น และถูกช้อนไว้ในมือของสายลม และพัดพาไปยัง แผ่นดิน และบนแผ่นดินนั้นมันจะตกลงมาเป็นฝน แต่น้ำทั้งหลายก็ กระหายจะกลับไปหาแหล่งกำเนิดของมัน ทะเลสาบและแม่น้ำของเรา กาน้ำและถ้วยน้ำของเรา ถังเก็บน้ำและอ่างน้ำของเรา กักเก็บน้ำไว้ได้ เพียงชั่วคราวไม่ให้ไหลกลับไปยังบ้านของมัน เพื่อให้เราใช้ประโยชน์ จากน้ำได้นับล้านอย่าง แต่การเดินทางกลับก็ยังดำเนินต่อไป ดังที่ผู้มี ปรีชาญาณสองคนได้บันทึกไว้ว่า “ทุกสิ่งที่มาจากดิน ย่อมกลับไปสู่ดิน สิ่งที่มาจากน้ำย่อมกลับไปสู่ทะเล” (บสร 40:11) “แม่น้ำทุกสายไหลไป สู่ทะเล แต่ทะเลก็ไม่เคยเต็ม และแม่น้ำก็ยังไหลไปสู่จุดหมายของมัน” (ปญจ 1:7) เช่ น เดี ย วกั บ พระเยซู เ จ้ า เสด็ จ กลั บ ไปหาพระบิ ด า ... เช่นเดียวกับน้ำที่ไหลกลับไปหามหาสมุทร ... สิ่งสร้างทุกสิ่งต้องกลับไป หาพระผู้สร้าง สิ่งสร้างทุกสิ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระผู้สร้าง กล่าวคือ เป็น ส่วนหนึ่งของขบวนการที่อยู่เหนืออำนาจควบคุมของมัน ไปสู่ความเป็น จริงอย่างหนึ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า ถ้าท่านมองดูดอกไม้ดอกหนึ่ง และท่านเห็น แต่ดอกไม้นั้น ท่านกำลังมีชีวิตเพียงบางส่วน แต่ถ้าท่านมองดอกไม้ ดอกหนึ่ง และในดอกไม้นั้นท่านเห็นความงามของพระผู้สร้าง เมื่อนั้น ท่ า นกลายเป็ น บุ ค คลที่ ติ ด พั น อยู่ ใ นกระบวนการไหลกลั บ ไปสู่ ค วาม บริบูรณ์ของการมีชีวิต เนื่องจากมนุษย์ได้รับอนุญาตให้มีอำเภอใจ การ กลับไปหาพระผู้สร้างของเราจึงเป็นการตอบสนองด้วยความรักอย่าง เต็มใจ ด้วยเหตุนี้  บัญญัติใหม่สำหรับมนุษยชาติที่ถูกเนรมิตสร้างขึ้น ใหม่นี้ จึงเป็นบัญญัติเรื่องความรัก การเพ่งพินิจเริ่มขึ้นเมื่อเราเริ่มตระหนักว่าเราไม่ได้เป็นเพียง ผู้สังเกตการณ์มหาสมุทรอย่างห่างเหิน ... แต่น้ำที่ให้ชีวิตกำลังไหลเวียน


บทเทศน์ปี C

67

อยู่ในตัวเรา และผ่านตัวเรา พระเยซูเจ้าตรัสถึงการเสด็จมาของสาม พระบุคคล เพื่อมาพำนักในตัวเราว่า “...เราจะมาหาเขา และพำนักอยู่ กับเขา” (ยน 14:23) พระหรรษทานศักดิ์สิทธิกร หมายความว่าพระเจ้า ประทับอยู่ในวิญญาณนั้น ตั้งแต่พระเยซูคริสตเจ้าทรงปฏิบัติพันธกิจของ พระองค์สำเร็จ และพระจิตเจ้าเสด็จมา มนุษยชาติได้ถูกเนรมิตสร้างขึ้น ใหม่ ใ ห้ มี ชี วิ ต ในระดั บ ใหม่   พั น ธกิ จ ของพระเยซู เ จ้ า คื อ น้ ำ ขึ้ น ที่ ช ำระ ชายหาดของเราจนสะอาดเกลี้ยงเกลา และพระจิตเจ้าผู้เสด็จมาในวัน เปนเตกอสเต ก็คือความรักของพระเจ้า ซึ่งดึงดูดเรากลับไปสู่อ้อมอุระ ของพระบิดา ความเคลื่อนไหวของพระเจ้าที่เรามองเห็นได้จากสิ่งสร้าง เหมือน น้ำทะเลไหลขึ้นมาท่วมชายหาด และไหลกลับไปหาแหล่งกำเนิดของมัน บัดนี้ กำลังเกิดขึ้นภายในวิญญาณที่ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์แล้ว ผู้เพ่งพินิจสังเกตถ้อยคำที่ถูกสร้างขึ้น และได้ยินพระวาจาของ พระผู้สร้างก้องกังวานอยู่ภายในวิญญาณ ... เหมือนกับ “ที่ลึกกำลัง ร้องเรียกที่ลึก ในเสียงคำรามของสายน้ำ” (สดด 41) ผู้เพ่งพินิจไม่จำเป็นต้นค้นหาคำพูดเมื่อเขาภาวนาต่อหน้าศีล ศักดิ์สิทธิ์ เขารู้ว่าแผ่นปังนั้นหมายความว่าพระเจ้าทรงเป็นเพื่อนร่วมโต๊ะ อาหารในหัวใจของเรา (กล่าวคือ ทรงเป็นผู้แบ่งปันแผ่นปังนี้ให้แก่เรา) เมื่อผู้เพ่งพินิจอ่านพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ เขาจะได้ยินพระเจ้าตรัสกับเขา จากภายในตัวเขา “ในวันนัน้ ท่านจะรูว้ า่ เราอยูใ่ นพระบิดาของเรา ท่านอยูใ่ นเรา และ เราอยู่ในท่าน” (ยน 14:20)


68

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 2 พระคัมภีรไ์ ม่ได้ระบุคำว่า “พระตรีเอกภาพ” ทีเ่ ป็นนามธรรม และ ไม่ได้ระบุด้วยว่ามี “สามพระบุคคลในพระเจ้าหนึ่งเดียว” เหมือนกับที่ ภาษากรีกจะระบุ ... ธรรมล้ำลึกอันเป็นแก่นของธรรมล้ำลึกของพระเจ้า นี้   ไม่ ไ ด้ ถู ก เผยแสดงผ่ า น “สู ต รสำเร็ จ ” แต่ ผ่ า นทาง “เหตุ ก ารณ์ ” พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมเรียกพระเจ้าว่า  “พระบิดา” มาก่อนแล้ว (ฉธบ 32:6, สดด 67:6, อสย 63:16, ยรม 2:4, 19) และ “บุตร” ของพระองค์คือ “ชนชาติอิสราเอล” (อพย 4:32, ฮชย 11:1) หรือกษัตริย์ ในฐานะบุคคลหนึ่ง (2 ซมอ 7:14, สดด 110:3) หรือผู้ชอบธรรม (ปชญ 2:18, 5:5, 18:13) ... แต่พันธสัญญาเดิมไม่ได้เผยแสดงอย่าง ชัดเจนเรื่องพระตรีเอกภาพในพระเจ้า แต่ผู้นิพนธ์พระคัมภีร์พันธสัญญา ใหม่ใช้คำศัพท์เดียวกันนี้เองเพื่อเปิดเผยความจริงใหม่ๆ  ทั้งปวงใน “เหตุ ก ารณ์ เ กี่ ย วกั บ พระเยซู เ จ้ า ” กล่ า วคื อ  พระองค์ ท รงเผยความ สัมพันธ์ระหว่างพระองค์ และพระบิดา และพระองค์ทรงประกาศว่าจะ ประทานพระจิตเจ้าแก่เรา ... คริสตชนไตร่ตรองอยูน่ านเพือ่ แปลข้อความจริงเหล่านี้ จนกระทัง่ ตัดสินใจได้ว่านี่คือการแสดงความเชื่อข้อแรก โดยใช้แนวความคิดต่างๆ ตามหลักปรัชญากรีก ตั้งแต่สภาสังคายนาที่นิเซีย เมื่อ ค.ศ. 325 จนถึง สภาสังคายนาที่คาลซีดอน เมื่อ ค.ศ. 451... เรายังมีอีกหลายเรื่องที่จะบอกท่าน แต่บัดนี้ ท่านยังรับไว้ไม่ได้ บ่อยครัง้ นีค่ อื ประสบการณ์ของเรามนุษย์ ... แม้แต่กบั คนทีเ่ รารัก เราก็ไม่สามารถสื่อสารทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้ และเราต้องการแบ่งปันกับ


บทเทศน์ปี C

69

เขาได้สำเร็จเสมอไป เช่นเดียวกับพระเยซูเจ้า ในคืนก่อนที่พระองค์จะ สิ้นพระชนม์ พระองค์ก็ไม่สามารถตรัสทุกสิ่งทุกอย่างได้ ... ข้อความนี้ ไม่ได้หมายถึงความยากลำบากในการแสดงออกตามปกติเท่านั้น และสิ่ง ที่พระองค์ทรงต้องการบอกในที่นี้เป็นธรรมล้ำลึกของความเชื่อที่เราต้อง ทำความเข้าใจทีละน้อย ... แม้แต่เพื่อนสนิทที่สุดของพระเยซูเจ้าที่อยู่กับ พระองค์เป็นเวลานานก็ยังไม่ตระหนักว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น และพระองค์ เป็นใคร พวกเขามีความคิดสำเร็จรูปเกี่ยวกับพระเจ้าและพระเมสสิยาห์ ที่พระองค์สัญญาจะส่งมา ... พวกเขาต้องปล่อยวางความคิดเดิม เปลี่ยน ความคิดและเติบโตขึ้นในความเชื่อ ... ไม้กางเขนของพระองค์ และการ กลับคืนชีพของพระองค์เท่านั้น ที่สามารถรื้อโครงสร้างความมั่นใจของ เขาเสียใหม่  เหมือนกับถูกกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างรุนแรง และ ผลักดันให้เขาก้าวไปข้างหน้า ความเชื่อเป็นกระบวนการที่มีพลวัต เป็นชีวิตที่พัฒนาขึ้นเสมอ ... มีความจริงใหม่ๆ เกี่ยวกับพระเจ้าให้เราค้นพบอยู่เสมอ เหมือนกับ การพัฒนาความสัมพันธ์รักกับใครคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคู่หมั้น คู่สมรส เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน ... ในคืนก่อนที่พระเยซูเจ้าจะสิ้นพระชนม์ บรรดาอัครสาวกแทบจะไม่เข้าใจอะไรเลยเกี่ยวกับพระองค์ การผจญภัย อันเจ็บปวดของพวกเขาควรเตือนเราไม่ให้คิดว่าความเชื่อของเราเป็น บางสิ่งที่คงที่ ซึ่งเราได้มาครั้งหนึ่งแล้วจะอยู่กับเราตลอดไป “ฉันมีความ เชื่อ ฉันต้องไม่สูญเสียความเชื่อ”… เช่นเดียวกับอัครสาวกทั้งหลาย ข้าพเจ้าเองกำลังอยู่ที่จุดเริ่มต้น ของการผจญภั ย แห่ ง การค้ น พบเท่ า นั้ น  พระเจ้ า ข้ า  มี อี ก หลายสิ่ ง หลายอย่างที่ข้าพเจ้ายังรับไว้ไม่ได้ในเวลานี้   แต่พระจิตของพระองค์ ต้องการเผยแสดงแก่ข้าพเจ้าไม่ช้าก็เร็ว ... ขอเพียงให้ข้าพเจ้าคอยฟัง เท่านั้น ... โปรดให้จิตของข้าพเจ้าเฝ้ารอพระจิตของพระองค์ ... ขอให้ ข้าพเจ้าอย่าได้ “พึงพอใจ” ราวกับว่าข้าพเจ้ารู้ทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว และ


70

บทเทศน์ปี C

ภาคภูมิใจกับประสบการณ์ความเชื่อเล็กๆ น้อยๆ จนน่าเวทนา ที่ข้าพเจ้า เคยพบพานในชีวิต... แน่ น อน ข้ า พเจ้ า ระลึ ก ถึ ง คนทั้ ง หลายที่ ร่ ว มชี วิ ต กั บ ข้ า พเจ้ า คนเหล่านีก้ อ็ ยูใ่ นสภาพเดียวกัน เขากำลังเดินอยูบ่ น“ทางแห่งความเชือ่ ” ... มีความจริง และทัศนคติอื่นๆ ที่เขายังต้องค้นพบ ... และเขายังไม่สามารถ รับไว้ได้ อย่างที่พระองค์ตรัสไว้ ข้าแต่พระเยซูเจ้า... พระเจ้าข้า โปรดประทานความอดทนของพระองค์  และการ สั่งสอนอย่างไม่ย่อท้อของพระองค์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด... เมื่อพระจิตแห่งความจริงเสด็จมา พระองค์จะทรงนำท่านไปสู่ความ จริงทั้งมวล ข้าพเจ้าหยุดเพื่อไตร่ตรองคำอันไพเราะนี้ คำว่า “นำท่านไป”… ข้าพเจ้านึกถึงภาพคนนำทางบนภูเขาหิมาลัย เขารู้จักทุกเส้นทาง ... เขารัก และพูดคุยกับภูเขาลูกนี้ และต้องการให้ผู้อื่นรักภูเขานี้เหมือน เขา ... เขาเดินนำหน้าขบวน และช่วยทุกคนให้เดินไปข้างหน้า ... แต่เรา ก็รู้ว่าคนนำทางจะไม่เดินแทนเรา เราต้องเดินด้วยตนเอง ถ้าเราหมดแรง และไม่ต้องการปีนเขาต่อไป คนนำทางไม่สามารถบังคับให้เราไปต่อได้ เขาอยู่ที่นั่นเพื่อ “นำ” เราไปเท่านั้น... ข้าแต่พระจิตของพระเจ้า ผู้ทรงเป็นแสงสว่างอันเย็นตา โปรดทรง นำทางข้าพเจ้า มิฉะนั้น ข้าพเจ้าอาจไม่ยอมปีนสูงขึ้นไป ... หนึ่งก้าว ... อีกหนึ่งก้าว ... และอีกหนึ่งก้าว... ระหว่างทาง โปรดให้ข้าพเจ้าพบคนนำทางที่มีความรักฉันพี่น้อง ผู้ได้รับการดลใจจากพระจิตของพระองค์ นี่คือความจริง ความเชื่อ คือ “การขึ้นภูเขาสูง” เป็นการค้น พบธรรมล้ำลึกของพระเจ้า ... ไม่มีใครไปถึงยอดเขานี้ได้ตามลำพัง เราจำเป็นต้องให้ “ใครคนหนึ่ง” นำทาง เราจำเป็นต้องมีครู มีคนนำทาง ที่รู้ความลับทั้งหมด...


บทเทศน์ปี C

71

เป็นเวลานานหลายศตวรรษ สภาสังคายนาพยายามทำความ เข้าใจกับถ้อยคำเหล่านี้ของนักบุญยอห์น ... ในที่สุด พวกเขาก็รับรองว่า พระจิตทรงเป็น “ใครคนหนึ่ง” ... เป็นบุคคลหนึ่ง ... ผู้รู้เรื่องธรรมล้ำลึก ของพระเจ้าในฐานะบุคคล “วงใน” ดังนั้นจึงสามารถนำทางมนุษย์ไปรู้จัก กับธรรมล้ำลึกนี้ได้ ภาพวาดพระตรีเอกภาพฝีมือ รูเบลฟ แสดงภาพของ พระจิตเจ้าว่าทรงเป็นพระบุคคลองค์ที่สาม ที่มีพระพักตร์เหมือนกับ พระพักตร์ของพระบิดา และพระบุตร พระองค์ก้มพระเศียรเหนือทั้งสอง พระองค์ด้วยท่าทีที่แสดงความรัก และทรงทำให้ความเคลื่อนไหวของ “วงกลมอันสมบูรณ์” นี้ครบบริบูรณ์ พระองค์ทรงมองลงมายังโลก ทรง มองมายังมนุษย์ที่กำลังภาวนาเบื้องหน้าภาพนี้ เพื่อเปิดช่องทางและถ่าย ทอดพลวัตของพระเจ้าให้แก่ผู้ที่กำลังภาวนานั้น พลวัตนี้คือความรัก ... แต่จงระวัง! เมื่อเราพูดถึงพระเจ้า “ความจริง” ไม่ได้เป็นเพียง ทัศนคติทางสติปัญญา ไม่ได้เป็นเพียงความรู้เกี่ยวกับบุคคลหนึ่งที่เรา ต้องการจะรัก ... สิ่งแรกที่ต้องทำไม่ใช่การ “เรียนรู้” สังเกต ประเมินผล ส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์  คือ “ศึกษาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์” เหมือนกับเราศึกษาสิ่งของ แต่เป็นระดับที่แตกต่างจากนั้น  กล่าวคือ การรู้จักใครบางคน หมายถึงการเข้าสู่ความสัมพันธ์กับเขาคนนั้น... การประกาศตนว่าเป็น “ผู้มีความเชื่อที่ไม่ปฏิบัติศาสนกิจ” เป็น ประโยคที่รุนแรงมาก ... ถ้าพูดอย่างมีสติหลังจากได้ไตร่ตรองแล้ว ... เพราะความรักที่ไม่มีกิจการจะเป็นอย่างไร ... เราจะมีความสัมพันธ์กับ ใครคนหนึ่งได้อย่างไร ถ้าเขาไม่อยู่ในชีวิตของเรา... ข้าแต่พระจิตแห่งความจริง โปรดทรงนำทางเราไปสู่ความจริง ทั้งมวลเทอญ พระองค์จะไม่ตรัสโดยพระองค์เอง แต่จะตรัสทุกสิ่งที่ทรงได้ฟังมา และจะทรงแจ้งให้ท่านรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น


72

บทเทศน์ปี C

พระวาจานี้ทำให้เรานึกถึง “เสียงสะท้อน” มีความต่อเนื่องอัน สมบูรณ์ระหว่างพระบิดา พระบุตร และพระจิตเจ้า นี่คือเสียงเดียวกันที่ สะท้อนกลับมาให้ได้ยินหลายครั้ง เพียงแต่ในลักษณะที่ต่างกัน พระจิตเจ้าไม่ตรัสอะไรที่ต่างจากพระเยซูเจ้า และพระเยซูเจ้าทรง เป็นความจริงอันเด็ดขาดหนึ่งเดียวเกี่ยวกับพระเจ้า ... สิ่งใดก็ตามที่เคย กล่ า วไว้ เ มื่ อ ก่ อ น – และสิ่ ง ใดที่ อ าจกล่ า วในภายหลั ง  – เกี่ ย วกั บ พระเยซูเจ้า ซึ่งไม่สอดคล้องกับภาพของพระเจ้าที่พระเยซูเจ้าทรงแสดง ให้เราเห็น สิ่งนั้นเป็นความเท็จ – เป็น “พระเจ้าจอมปลอม” และด้วย ความช่วยเหลือจากพระจิตเจ้า เราต้องแก้ไขความคิดผิดๆ ของเรา เกี่ยวกับพระเจ้า “พระเจ้าได้ประทานธรรมบัญญัติผ่านทางโมเสส แต่ พระหรรษทาน และความจริงมาทางพระเยซูคริสตเจ้า” (ยน 1:17) ... “เราเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต” (ยน 14:6)... พระองค์จะทรงให้เราได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ เพราะพระองค์จะทรงแจ้ง ให้ท่านรู้คำสอนที่ทรงได้รับจากเรา เรารูแ้ ล้วว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตรทีส่ มบูรณ์พร้อม ผู้ปฏิบัติ ตามพระประสงค์ของพระบิดาเสมอ พระเยซูเจ้า “ไม่ทำสิ่งใดตามใจ ตนเอง แต่ทำเฉพาะสิ่งที่ได้เห็นพระบิดาทรงกระทำเท่านั้น เพราะสิ่งใด ที่พระบิดาทรงกระทำ พระบุตรก็ย่อมกระทำเช่นเดียวกัน เพราะพระบิดา ทรงรักพระบุตร และทรงแสดงให้พระบุตรเห็นทุกสิ่งที่ทรงกระทำ” (ยน 5:19-20) นี่ คื อ ธรรมล้ ำ ลึ ก ที่ แ สดงความสนิ ท สนมของพระตรี เ อกภาพ กล่าวคือ แต่ละพระบุคคลทรงโปร่งใสอย่างสมบูรณ์จนเรามองเห็นพระบุคคลอื่นผ่านแต่ละพระองค์ได้ ในข้อความนี้ พระเยซูเจ้าทรงเผยแก่เรา ว่าพระจิตเจ้าทรงเข้าร่วมในความโปร่งใสอันสมบูรณ์นี้ ความสัมพันธ์รัก ระหว่างทั้งสามพระบุคคลไม่มีความลับ ไม่มีที่ซ่อน ทุกพระองค์ไม่เก็บ


บทเทศน์ปี C

73

สิ่งใดไว้เป็นของตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างถูกแบ่งปัน ถ่ายทอด และมอบให้ แก่กัน – และทุกสิ่งทุกอย่างก็ถูกรับไว้ด้วยความยินดี ... ภาษามนุษย์ ไม่สามารถบรรยายคุณสมบัติที่ไม่อาจบรรยายได้ของความสัมพันธ์ที่ ทำให้พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็นหนึ่งเดียวกัน นี่คือต้นกำเนิดของความสัมพันธ์ทุกประเภทของมนุษย์... การเผยแสดงพระตรีเอกภาพ เป็นสุดยอดของความรู้ และไม่มี ความรู้ใดสูงกว่านี้อีกแล้ว... พระตรี เ อกภาพไม่ ใ ช่ ป ริ ศ นาอย่ า งหนึ่ ง หรื อ ซุ ป เปอร์ ส มการ คณิตศาสตร์ หรือปัญญาชนชัน้ หัวกะทิ ... แต่เป็นความจริงทีพ่ ระเจ้า “ทรง ปิดบังเรื่องเหล่านี้จากผู้มีปรีชาและรอบรู้  แต่ทรงเปิดเผยแก่บรรดาผู้ ต่ำต้อย” (มธ 11:25) ... เพราะเมื่อเราพูดถึงพระเจ้า เราก็พูดถึงมนุษย์ ด้วย เพราะมนุษย์ “ถูกสร้างขึ้นตามภาพลักษณ์ของพระองค์ และให้ คล้ายคลึงกับพระองค์” ... “ทารกเกิดใหม่ไม่รู้ว่าเขามีครอบครัว แต่ ตั้งแต่สัปดาห์แรกในชีวิต เขาเริ่มรู้สึกได้ลางๆ แล้วว่าเขาได้เข้าไปอยู่ใน ความรักหนึ่ง ... เขารับรู้ได้ว่ารอบตัวเขามีความรักหนึ่งที่อ่อนโยน ที่ ตอบสนองต่อน้ำตาและเสียงร้องงอแงของเขา แต่แรก เขารับรู้ว่าความรัก นี้ “ไม่ชัดเจน” แต่มีอานุภาพและดีต่อเขา เพราะเขาเพียงต้องร้องไห้ ความช่วยเหลือก็มาทันที ... เมื่อเวลาผ่านไป เขาเข้าใจได้ทีละน้อยว่า สิง่ ทีอ่ ยูก่ บั เขานีม้ อี ยูห่ ลายด้าน แต่กย็ งั ไม่หยุดเป็น “หนึง่ เดียวกัน” มีเสียง ที่แหลมสูง และเสียงทุ้มต่ำ ใบหน้าเกลี้ยงเกลา และใบหน้าที่มีหนวดเครา มีมือนุ่มๆ และมือที่แข็งแรง ... มีหลายคนที่ดำเนินชีวิตอยู่รอบตัวเขา และเพื่อเขา แต่เป็นความรักเดียวกัน ...” (Ray-Mermet) นี่ เ ป็ น วิ ถี ท างที่ ม นุ ษ ย์ ธ รรมดาสามั ญ ค้ น พบธรรมล้ ำ ลึ ก ของ ครอบครัวพระเจ้า คือ โดย “การปฏิบัติ” ทุกวัน ด้วยการอยู่ “ภายใน ตนเอง”...


74

บทเทศน์ปี C

ทุกสิ่งที่พระบิดาทรงมีนั้นก็เป็นของเราด้วย ดังนั้น เราจึงบอกว่า พระจิตเจ้าจะทรงแจ้งให้ท่านรู้คำสอนที่ทรงรับจากเรา พระวาจานี้ชวนให้ประหลาดใจ ... ก่อนอื่นเราต้องยอมปล่อยให้ ตนเองรู้สึกทึ่ง... ในคืนก่อนที่เขาจะถูกตัดสินประหารชี วิ ต  โดยผู้ มี อ ำนาจทาง ศาสนาและทางการเมืองของประเทศของเขา ช่างไม้ผู้ต่ำต้อยคนหนึ่งจาก นาซาเร็ธ - มนุษย์ยากจนคนหนึ่งที่มีเลือดเนื้อ - กล้าพูดว่า “ทุกสิ่งที่เป็น ของพระเจ้า ก็เป็นของเราด้วย”... ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกในพระวรสารที่พระเยซูเจ้าตรัสถึงความเป็น หนึ่งเดียวกันระหว่างพระเจ้า และพระองค์เอง ... พระเยซูเจ้าทรงเป็น “พระเจ้าผู้ที่มนุษย์มองเห็นได้” (แม้แต่ ข้อความนี้ก็เป็นเพียงวิธีอธิบายอย่างหนึ่งเท่านั้น เพราะแท้ที่จริง พระเทวภาพ – แม้แต่พระเทวภาพในตัวพระเยซูเจ้า – เป็นสิ่งที่เกินความ สามารถหยั่งรู้ของเรา) และพระจิตเจ้าก็คือพระเยซูเจ้าผู้แสดงพระองค์ หลายครั้งหลายหนภายในหัวใจมนุษย์โดยไม่รู้จบ... พระจิตเจ้าทรงส่งคืนไปให้พระเยซูเจ้า ... และพระเยซูเจ้าทรงส่ง คืนไปให้พระบิดา ผู้ที่เรามองไม่เห็น ... ข้าพเจ้าเพ่งพินิจเอกภาพนี้ และความหลากหลายนี้ – ความสนิท สัมพันธ์ของสามพระบุคคล ผู้แม้จะมี  “หลายพระองค์” แต่ทรงเป็น พระองค์เดียว ... นี่คือต้นแบบของมนุษย์ ... และต้นแบบของทุกโครงการ สำหรับทุกครอบครัว และทุกสังคม... นี่ คื อ  “จุ ด สู ง สุ ด ” ซึ่ ง ยั ง มี บ างส่ ว นที่ เ ราไม่ อ าจ เข้าถึงได้... เราจะยอมให้ พ ระองค์ น ำทางเราไปจนถึ ง ที่ นั่ น หรือไม่... เชิญเสด็จมา พระจิตเจ้าข้า


บทเทศน์ปี C

75

วั นอาทิตย์ สมโภชพระกาย และพระโลหิตของพระคริสตเจ้า ลูกา 9:11-17 พระเยซูเจ้าทรงต้อนรับประชาชนและตรัสสอนเขาเรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้า ทรงรักษาคนที่ต้องการการบำบัดรักษา เมื่อ จวนถึงเวลาเย็น อัครสาวกสิบสองคนมาทูลพระองค์ว่า “ขอพระองค์ ทรงอนุญาตให้ประชาชนกลับไปเถิด เขาจะได้ไปตามหมู่บ้านและ ชนบทโดยรอบ เพือ่ หาทีพ่ กั และอาหาร เพราะขณะนีเ้ ราอยูใ่ นทีเ่ ปลีย่ ว” พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ท่านทั้งหลายจงหาอาหารให้เขากินเถิด” เขา ทูลว่า “เราไม่มีอะไรนอกจากขนมปังห้าก้อนและปลาสองตัวเท่านั้น หรือว่าเราจะไปซื้ออาหารสำหรับคนเหล่านี้ทั้งหมด” ที่นั่นมีผู้ชาย ประมาณห้าพันคน พระองค์จึงตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “จงบอกให้ พวกเขานั่งลงเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณห้าสิบคน” เขาก็ทำตามและ ให้ทุกคนนั่งลง พระเยซูเจ้าทรงรับขนมปังห้าก้อนกับปลาสองตัวนั้น มา ทรงแหงนพระพั ก ตร์ ขึ้ น มองท้ อ งฟ้ า ทรงกล่ า วถวายพระพร ทรงบิขนมปัง ส่งให้บรรดาศิษย์นำไปแจกจ่ายแก่ประชาชน ทุกคน ได้กินจนอิ่ม แล้วยังเก็บเศษที่เหลือได้สิบสองกระบุง


76

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง ลูกา และขนมปัง เรื่องตามคำบอกเล่าของลูกา ซึ่งบรรยายว่าพระเยซูเจ้าทรงเลี้ยง อาหารคนจำนวนมากอย่างไร เป็นการทำนายถึงงานอภิบาลของอัคร สาวกในชุมชนคริสตชน กิริยาของพระเยซูเจ้าเมื่อทรงรับอาหารมา ทรง ถวายพระพร ทรงบิขนมปัง และแจกจ่ายให้ประชาชน จะกลายเป็นกิริยา ในพิธีเสกศีลมหาสนิท พระเยซูเจ้าทรงบอกล่วงหน้าว่างานของอัครสาวก จะเป็นอย่างไร เมื่อพระองค์ตรัสกับเขาว่า “ท่านทั้งหลายจงหาอาหารให้ เขากินเถิด” ขนมปังคงเป็นสัญลักษณ์ของความหวังที่เหมาะสมที่สุดในโลก ที่ ป ระชากรครึ่ ง หนึ่ ง ต้ อ งทนอยู่ ใ นสภาพขาดแคลนอาหาร จึ ง ไม่ น่ า แปลกใจที่พระเยซูเจ้าทรงเลือกใช้ขนมปังเป็นเครื่องหมายแสดงการ ประทับอยู่และความห่วงใยของพระองค์ในโลก แม้ ว่ า แพทย์ ใ นสั ง คมตะวั น ตกมั ก ขอให้ ค นไข้ ล ดการบริ โ ภค อาหารและเครื่องดื่ม แต่ลูกาผู้เป็นแพทย์กลับสนใจเรื่องของอาหารมาก ทุกบทในพระวรสารของเขาเอ่ยถึงอาหาร หรือการกินอาหาร เคยมีผู้ตั้ง ข้อสังเกตว่า ลูกามักเสนอภาพของพระเยซูเจ้าว่ากำลังเสด็จไปที่โต๊ะ อาหาร ประทับนัง่ ทีโ่ ต๊ะอาหาร หรือเพิง่ จะลุกขึน้ จากโต๊ะอาหาร ในหนังสือ “Luke: Artist and Theologian (ลูกา: ศิลปิน และนักเทววิทยา) โรเบิร์ต เจ. คาริส ได้เขียนบทหนึ่งที่น่าประทับใจทีเดียวเกี่ยวกับอาหาร ในบทเพลงสรรเสริญพระเจ้า พระนางมารียส์ รรเสริญการปฏิสนธิ


บทเทศน์ปี C

77

พระเยซู เ จ้ า ว่ า เปรี ย บเสมื อ นพระเจ้ า ทรงประทานสิ่ ง ดี ทั้ ง หลายแก่ ผู้อดอยาก หลังจากนั้น พระเยซูเจ้าทรงประสูติในเมืองเบธเลเฮม ซึ่ง แปลว่าบ้านขนมปัง ที่นอนแรกของพระองค์คือรางหญ้าที่ใช้ใส่อาหารให้ สัตว์กิน ก่อนเริ่มต้นเทศนาสั่งสอน พระเยซูเจ้าทรงจำศีลอดอาหารนาน 40 วัน ด้วยการจำศีล พระองค์ทรงแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับมนุษย์ ผู้หิวโหยในโลกนี้  พระองค์ทรงต้องการพึ่งพาอาศัยพระญาณสอดส่อง ของพระบิดา แทนที่จะยอมเปลี่ยนก้อนหินให้เป็นขนมปัง พระองค์ทรง ตอบโต้การประจญครั้งแรกของปีศาจว่า มนุษย์มิได้ดำรงชีวิตด้วยอาหาร เท่านั้น ดังนั้น พระองค์จึงเห็นคุณค่าของการจำศีลอดอาหาร เมื่อทรง ถือว่าการนำทางของพระจิตเจ้าสำคัญกว่าความต้องการของเนื้อหนัง แต่ในเวลาต่อมา พระเยซูเจ้าทรงตำหนิผู้ที่จำศีลเพียงเพื่อเพราะต้องการ ให้ผู้อื่นยกย่อง พระวรสารกล่าวถึงการเลี้ยงฉลอง เช่น ในบ้านของเลวี และเมื่อ บุตรล้างผลาญกลับมาบ้าน และยังมีการกินอาหารเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ กับมิตรสหาย เช่น กับมารธาและมารีย์ มีการอ้างหลายครั้งถึงการกิน อาหารในวันสับบาโต ซึ่งเป็นวันพักผ่อน เมื่ออยู่ที่โต๊ะอาหาร พระเยซูเจ้าทรงเป็นแขกรับเชิญผู้ประทาน ให้ ม ากกว่ า ที่ พ ระองค์ ไ ด้ รั บ  พระองค์ อ ภั ย บาปให้ แ ก่ ห ญิ ง คนบาป พระองค์ประทานมิตรภาพแก่ศักเคียส และประทานความเชื่อให้แก่ศิษย์ สองคนที่เดินทางกลับไปหมู่บ้านเอมมาอุส หลายครั้งที่พระองค์ทรง สั่งสอนระหว่างมื้ออาหาร พระองค์ทรงชี้ให้เห็นความจองหองอย่าง โง่เขลาของบุคคลที่แย่งชิงที่นั่งอันทรงเกียรติที่โต๊ะอาหาร พระองค์ทรง สอนว่าโต๊ะอาหารของเราควรเป็นเครื่องหมายว่าเราคาดหวังว่าจะได้ เข้าร่วมในงานเลี้ยงของพระเมสสิยาห์ โดยให้คิดถึงคนยากไร้ผู้เป็นที่รัก ของพระเจ้า ขอทานชื่อลาซารัสที่นั่งอยู่หน้าประตูบ้าน เป็นตัวแทนของ คนยากไร้ผู้เป็นที่รักของพระเจ้า


78

บทเทศน์ปี C

พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องเปรียบเทียบว่าพระเจ้าทรงเป็นเหมือน นายผู้ ค าดผ้ า กั น เปื้ อ น และมารั บ ใช้ ผู้ รั บ ใช้ ที่ ซื่ อ สั ต ย์   และระหว่ า ง อาหารค่ำมื้อสุดท้าย พระเยซูเจ้าประทับอยู่ท่ามกลางอัครสาวกเสมือนว่า เป็นผู้รับใช้ พฤติกรรมของพระเยซูเจ้าที่โต๊ะอาหารท้าทายธรรมเนียมของคน เคร่งศาสนา และเป็นเหตุให้พระองค์ถูกประณาม พระองค์ทรงถูกกล่าว หาว่าเป็นนักกินนักดื่ม มีแต่เสียงบ่นว่าพระองค์ “ต้อนรับและกินอาหาร ร่วมกับคนบาป” คาริส สรุปอย่างชวนให้คิดว่าพระเยซูเจ้าทรงถูกตรึง กางเขนก็เพราะธรรมเนียมในการเสวยอาหารของพระองค์ เมื่ อ พระองค์ ท รงสอนศิ ษ ย์ ใ ห้ ภ าวนาซึ่ ง จะเป็ น การแสดง อัตลักษณ์ของคริสตชน คำวิงวอนขอปัจจัยที่จำเป็นในวันนี้คือคำร้อง ขออาหาร และพระเยซูเจ้าทรงจัดการให้การเฉลิมฉลองเพื่อระลึกถึง พระองค์เป็นการฉลองด้วยการกินอาหาร “จงทำดังนี้เพื่อระลึกถึงเรา” ศิษย์สองคนจำพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพได้เมื่อพระองค์บิขนมปัง และเชื่อหรือไม่ว่าพระองค์ทรงถามอัครสาวกที่กำลังตกตะลึงเมื่อทรง สำแดงพระองค์แก่พวกเขาในห้องชั้นบนว่า “ท่านมีอะไรกินบ้าง” การกิ น อาหารยั ง คงเป็ น หั ว ข้ อ หลั ก ต่ อ ไปในหนั ง สื อ กิ จ การ อัครสาวก การบิปังเป็นหนึ่งในพิธีสำคัญของกลุ่มคริสตชนยุคต้น และ เมื่อเปโตรยืนยันฐานะพยานของเขา สิ่งที่เขาอ้างคือ “เราทั้งหลายได้กิน และได้ ดื่ ม ร่ ว มกั บ พระองค์   หลั ง จากที่ ท รงกลั บ คื น พระชนมชี พ จาก บรรดาผู้ตาย” (กจ 10:41) วันที่พระเยซูเจ้าทรงเลี้ยงอาหารคนจำนวนมากในที่เปลี่ยว เป็น เสมือนเรื่องย่อของพันธกิจของพระองค์ พระองค์ทรงต้อนรับฝูงชน แม้ ว่าพวกเขาทำลายแผนการของพระองค์สำหรับวันนั้น เพราะพระองค์ ทรงต้องการอยู่ตามลำพังกับบรรดาอัครสาวก พระองค์ตรัสสอนเขาเรื่อง พระอาณาจักรของพระเจ้า พระองค์ทรงรักษาโรคให้คนที่จำเป็นต้องได้ รับการรักษา และพระองค์ทรงเลี้ยงอาหารเมื่อพวกเขาหิว


บทเทศน์ปี C

79

ขนมปังเป็นเครื่องหมายของความช่วยเหลือที่พระเจ้าประทาน แก่บุตรทั้งหลายของพระองค์ พระองค์ทรงต้อนรับ ประทานความสว่าง รักษาโรค และบำรุงเลี้ยงด้วยอาหาร “เราเริ่มวันของเราด้วยการพยายามมองเห็นพระคริสตเจ้าผ่าน แผ่นปัง และระหว่างวัน เรายังมองเห็นพระองค์ต่อไปภายในร่างกายที่ ยับเยินของคนยากจน” (คุณแม่เทเรซา)

ข้อรำพึงที่สอง การประทับอยู่อย่างแท้จริง เราพู ด ว่ า องค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า ประทั บ อยู่ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ในศี ล มหาสนิท ข้าพเจ้าพบคนจำนวนมากที่สับสนกับสำนวนนี้ ในการใช้ภาษา ทั่วไป เมื่อเราพูดว่าบางสิ่งมีอยู่จริง  เราหมายความว่าสิ่งนั้นมีตัวมีตน ซึ่งตรงกันข้ามกับการมีอยู่ในจินตนาการหรือในนิยาย หรือหมายความว่า สิ่ ง นั้ น เป็ น ของแท้   และไม่ ใ ช่ สิ่ ง ที่ ป ลอมแปลงขึ้ น มาหรื อ หลอกลวง บางคนจึงสงสัยว่า เมื่อเราพูดถึงการประทับอยู่ขององค์พระผู้เป็นเจ้าใน ศี ล มหาสนิ ท  เรากำลั ง บอกเป็ น นั ย หรื อ เปล่ า ว่ า การประทั บ อยู่ ข อง พระองค์ในชุมชนคริสตชน หรือในพระคัมภีร์  หรือในห้วงเวลาที่เรา ภาวนาอย่างสนิทสนม หรือในทางอื่นๆ นั้นเป็นการประทับอยู่ในลักษณะ ที่ด้อยกว่า คำว่า แท้จริง (real) ที่ใช้ในเทววิทยาเกี่ยวกับศีลมหาสนิท เป็น คำที่แปลแบบตรงตัวมาจากภาษาละตินว่า realis ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เป็น วัตถุ “การประทับอยู่อย่างแท้จริง” หมายถึงการประทับอยู่ของพระเจ้า อย่างพิเศษในวัตถุอย่างหนึ่ง หรือในสถานที่หนึ่ง บางทีถ้าแปลว่าการ ประทับอยู่เฉพาะที่ของพระเจ้า (specially located presence of God) น่าจะถูกต้องกว่า เรามีธรรมเนียมมานานที่เชื่อว่าพระเจ้าประทับอยู่เป็นพิเศษใน


80

บทเทศน์ปี C

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์  แม้ว่าพระเจ้าประทับอยู่ทุกแห่งหน และฟ้าสวรรค์ ไม่ใหญ่พอจะรองรับพระองค์ไว้ได้ แต่พระวาจาในพระคัมภีร์ก็บอกเล่า ถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นสถานที่นัดพบพิเศษระหว่าง พระเจ้า และประชากรของพระองค์ โมเสส พบพระเจ้าในพุ่มไม้ที่ลุกเป็นไฟและบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาหีบพระบัญญัติเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เคลื่อนที่ซึ่งบ่งบอกถึงการ ประทั บ อยู่ ข องพระเจ้ า  ผู้ ท รงเข้ า สู่ ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ประชากรของ พระองค์ภายใต้พันธสัญญา เมื่อชนเผ่าเร่ร่อนตั้งถิ่นฐาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คือ กระโจมนัดพบ หลังจากนั้น ก็มีพระวิหาร ซึ่งมีบริเวณที่เรียกว่าสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง (Holy of Holies) พระเจ้าประทับอยู่ในเนื้อหนังของพระเยซูคริสตเจ้าในลักษณะ พิเศษอย่างยิ่ง พระกายของพระเยซูคริสตเจ้าเข้ามาแทนที่พระวิหาร เพราะเป็นสถานทีพ่ เิ ศษทีพ่ ระเจ้าประทับอยู่ ระหว่างอาหารค่ำมือ้ สุดท้าย พระเยซูเจ้าทรงเตรียมการสำหรับเวลาที่จะมาถึง เมื่อร่างกายของพระองค์จะไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว ดังนั้น พระองค์จึงประทานขนมปังและเหล้า องุ่นเสกให้แก่ศิษย์ของพระองค์  “นี่เป็นกายของเราที่ถูกมอบเพื่อท่าน ทั้ ง หลาย จงทำดั ง นี้ เ พื่ อ ระลึ ก ถึ ง เราเถิ ด ” (ลก 22:19) บั ด นี้   ศี ล มหาสนิทจึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์พิเศษที่พระเจ้ามาพบกับประชากร ของพระองค์ พระเจ้าผู้ประทับอยู่ทุกแห่งหนทรงปรับเปลี่ยนการประทับ อยู่ของพระองค์ให้เหมาะสมกับความต้องการของเรา การประทับอยู่ของ องค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า ในแผ่ น ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ต อบสนองความจำเป็ น สาม ประการสำหรับเรา กล่าวคือ เป็นศูนย์กลางของความเชื่อของเรา เป็น จุดรวมของประสาทสัมผัสของเรา และเป็นต้นกำเนิดของอารมณ์ทาง ศาสนาของเรา แผ่นปังศักดิ์สิทธิ์เป็นจุดรวมของความเชื่อทางเทววิทยาของเรา ในการประทับอยู่  และในการทำงานของพระเจ้าในชีวิตของเรา เมื่อ


บทเทศน์ปี C

81

เรากิ น ขนมปั ง ธรรมดา ขนมปั ง นั้ น เปลี่ ย นเป็ น ตั ว เรา แต่ เ มื่ อ เรากิ น แผ่นปังศักดิ์สิทธิ์นี้ เราถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นพระเยซูเจ้า เพราะแผ่นปัง นี้ได้กลายเป็นพระกายของพระองค์แล้ว  ในบทที่  6 ของพระวรสาร ของยอห์ น  คำสั่ ง สอนของพระเยซู เ จ้ า เกี่ ย วกั บ ศี ล มหาสนิ ท เป็ น บท ทดสอบความเชื่อ “เพราะเนื้อของเราเป็นอาหารแท้ และโลหิตของเรา เป็นเครื่องดื่มแท้ ผู้ที่กินเนื้อของเรา และดื่มโลหิตของเราก็ดำรงอยู่ใน เรา และเราก็ดำรงอยู่ในเขา” (ยน 6:55-56) ประชาชนที่ไม่ยอมรับ ความเชื่อนี้ก็เปลี่ยนใจไม่ติดตามพระองค์อีกต่อไป การตั้งศีลมหาสนิทให้สัตบุรุษแสดงความเคารพ เป็นจุดรวม อันทรงพลังอย่างหนึ่งที่ดึงความสนใจจากประสาทสัมผัสของเรา ทำให้ สายตาของเรามี จุ ด เพ่ ง มอง และสายตาเป็ น ประสาทสั ม ผั ส ที่ มี พ ลั ง มากที่ สุ ด  ความคิ ด ของเราเต็ ม ไปด้ ว ยสิ่ ง รบกวนสมาธิ   ดั ง นั้ น เมื่ อ มี ศูนย์รวมความสนใจ เราจึงรวบรวมสมาธิได้ง่ายขึ้น การจัดแสง สี ดอกไม้ และสัญลักษณ์ทางศิลปะอย่างเหมาะสม สามารถช่ ว ยให้ เ รามี ส มาธิ แ น่ ว แน่  อากั ป กิ ริ ย าที่ แ สดงความเคารพ สามารถสยบความรู้สึกของบางคนที่เร่งรีบจนเป็นนิสัย หรือยับยั้งความ เกียจคร้านหรือความสะเพร่าของบางคนได้ กลิ่นหอมของควันกำยานที่ ลอยขึ้นเบื้องสูงสามารถสร้างบรรยากาศให้คิดว่าคำภาวนาของเรากำลัง ลอยขึ้นไปหาพระเจ้า และการแสดงความเคารพของผู้อื่นก็เป็นตัวอย่าง ที่ท้าทาย และสนับสนุนให้เราปฏิบัติตามได้ ศีลมหาสนิทยังเป็นแหล่งกำเนิดของอารมณ์ทางศาสนาของเรา อีกด้วย ศีลมหาสนิทดึงเรากลับไปหาพระเจ้าด้วยการแสดงออกด้วยการ นมัสการ (Adoration) ความรัก (Love) การขอบพระคุณ (Thanksgiving) การวิงวอนขอ (Asking) และการเป็นทุกข์กลับใจ (Repentance) เพื่อช่วยให้เราจดจำได้ อักษรตัวแรกของคำเหล่านี้เมื่อประสม กันจะกลายเป็นคำว่า “พระแท่น” (ALTAR)


82

บทเทศน์ปี C

ใครที่เรากำลังเพ่งมองอยู่?  นั่นคือองค์พระผู้เป็นเจ้า นั่นคือ พระวาจาของพระบิดา ผู้ทรงรับธรรมชาติมนุษย์จากพระนางมารีย์ และ บัดนี้ ทรงกลายเป็นแผ่นปังศักดิ์สิทธิ์สำหรับเรา เราสามารถภาวนาถึง ห้วงเวลาทั้งสามของการประทับอยู่ของพระเจ้าได้ดังนี้ : พระวาจา ทรง รับธรรมชาติมนุษย์ ทรงกลายเป็นปังศักดิ์สิทธิ์


บทเทศน์ปี C

83

บทรำพึงที่ 2 วันนี้ เราเฉลิมฉลองธรรมล้ำลึกของ “พระกาย และพระโลหิต ของพระคริสตเจ้า” ซึ่งเป็นเครื่องหมายอันยิ่งใหญ่ เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์แห่ง ความรักของพระเจ้าต่อมนุษยชาติ... เพือ่ เตือนใจเราให้นกึ ถึงศีลศักดิส์ ทิ ธิอ์ นั ยิง่ ใหญ่ คือ ศีลมหาสนิท ในปีพิธีกรรมนี้พระศาสนจักรได้เลือกประกาศแก่เราด้วยคำบอกเล่า เรื่องอัศจรรย์ทวีขนมปัง การทำเช่นนี้จะไม่ทำให้ค่าของธรรมล้ำลึกข้อนี้ ด้อยลงหรือ ... ถ้าเป็นเช่นนั้นก็คงน่าประหลาดใจมาก ... การคิดด้วย เหตุผลของเรา จะไม่ทำให้เราเข้าใจผิดทั้งการทวีขนมปัง (คิดว่าเน้นเรื่อง วัตถุมากเกินไป) และขนมปังที่พระองค์ประทานให้ระหว่างอาหารค่ำมื้อ สุดท้าย (คิดว่าเน้นเรื่องฝ่ายจิตมากเกินไป) หรือ ... อันที่จริง “ขนมปัง” ในทั้ ง สองกรณี นี้ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั น อย่ า งใกล้ ชิ ด เพราะบอกเราว่ า พระเยซู เ จ้ า ทรงทำให้ ฝู ง ชนอิ่ ม ลู ก าใช้ ค ำศั พ ท์ เ ดี ย วกั น สำหรั บ กรณี อาหารค่ำมื้อสุดท้าย ... แต่เขายังบรรยายด้วยว่าศีลมหาสนิทเป็นเหมือน การร่วมกินอาหารฉันพี่น้อง เป็นเครื่องหมายว่าเราจะรับใช้กันและกัน... เราอาจค้นพบความจริงที่ลึกยิ่งกว่าว่า “ขนมปังของพระเจ้า” ส่ง เรากลับไปหาพี่น้องชายหญิงของเรา กลับไปหาขนมปังของมนุษย์ “ผล จากแผ่ น ดิ น ซึ่ ง ผลิ ต จากมื อ มนุ ษ ย์ ”  เมื่ อ พระเยซู เ จ้ า ทรงยอมมอบ พระกายและพระโลหิต เพราะความรักที่มีต่อเรา พระองค์ทรงเชิญชวน ให้เราทำเช่นเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ พิธีบูชามิสซาของเราจะเป็นช่องทาง “หลบหนี” จากโลกไปได้อย่างไร...


84

บทเทศน์ปี C

พระเยซูเจ้าตรัสสอนประชาชนเรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้า ทรง รักษาคนที่ต้องการการบำบัดรักษา เริม่ ตัง้ แต่ประโยคแรก ลูกาบอกเป็นนัยแก่ผอู้ า่ นทีร่ บั ศีลมหาสนิท ทุกวันอาทิตย์ เขาต้องการให้เราค้นหานัยสำคัญเชิงสัญลักษณ์ในคำบอก เล่าของเขา... เช่นเดียวกับพิธีกรรมในพิธีบูชามิสซา ขนมปัง และเหล้าองุ่นที่ พระเยซูเจ้ากำลังจะเสนอแก่ฝูงชนนี้เริ่มต้นด้วย “วจนพิธีกรรม” เราต้อง อยู่ร่วมในพิธีตั้งแต่ต้น เพื่อจะรับอาหารบำรุงเลี้ยงจากพระเยซูเจ้า ผู้ “ตรัสสอนเรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้า” และรักษาโรคให้ทุกคนที่ ต้องการการบำบัดรักษา... ถูกแล้ว เครื่องหมายของขนมปังซ่อนความหมายเชิงสัญลักษณ์ อันลึกซึ้ง และความหมายนี้ลึกกว่าความเป็นจริงทางวัตถุ ... อาหารที่ พระองค์จะเสนอให้ในไม่ช้านี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความหิว ทางกาย แม้ว่าสามารถบรรเทาได้ก็ตาม เพราะมนุษย์ไม่ได้ดำรงชีวิตด้วย อาหารเท่านั้น ... มนุษย์ไม่ได้หิว และกระหายเฉพาะอาหารฝ่ายโลก... มนุษย์จะแสวงหา และยอมรับพระองค์ผู้จะประทาน “ขนมปังจาก สวรรค์” (ยน 6) แก่เขาหรือไม่ พระเยซูเจ้า “ตรัสสอนเรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้า” ... นี่คือ โลกที่จะปลดปล่อยมนุษย์  เป็นเสียงที่กอบกู้มนุษย์ไว้ไม่ให้เป็นเพียง มนุษย์ ... สารนี้เชื่อมโยงมนุษยชาติเข้ากับพระเจ้า ... มนุษย์เอ๋ย ถ้าเจ้า รู้ว่าความหิวที่แท้ของเจ้าคืออะไร ... ถ้าเพียงเจ้ารู้ว่าเจ้าไม่มีวันอิ่มอย่าง แท้จริงด้วยอาหารที่ด้อยกว่าองค์พระเจ้าเอง ... เจ้าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ มีความสุขอย่างไร้ขีดจำกัด ความสุขของโลกนี้เป็นเพียงภาพลักษณ์อัน เลือนรางของความสุขสวรรค์เท่านั้น ... ดังนั้น จงอย่าพอใจแต่เพียง ขนมเค้ก และไอสกรีม และแกงรสเด็ดเลย... พระเยซูเจ้าทรง “รักษาคนที่ต้องการการบำบัดรักษา” ... นี่เป็น


บทเทศน์ปี C

85

ประโยคที่เผยความจริง ... ลูการู้ว่ามนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องได้รับการ รักษาที่พระเยซูเจ้าสามารถประทานให้ได้  แต่คนจำนวนมากถูกขังอยู่ ภายในโลกใบเล็กๆ ของเขา และแทบไม่รู้ว่าตนเองมีข้อจำกัด มีบาป และอยู่ในสภาพที่รู้จักตาย เขาคิดว่าตนเอง “ไร้โรค และแข็งแรง” แต่ พระเยซูเจ้าไม่ได้มาตามหาคนแข็งแรง หรือคนชอบธรรม แต่ทรงตามหา คนป่วย และคนบาป (ลก 5:31) ความรอดพ้นที่พระเจ้าประทานให้นี้ เปรียบเสมือนอาหารอันเร้นลับที่พระเยซูเจ้า (พระนามภาษาฮีบรูของ พระองค์แปลว่า “พระเจ้าทรงช่วย”) เสนอให้ทุกคนที่ต้องการ... ข้าพเจ้าเป็นหนึ่งใน “คนทั้งหลายที่มีความต้องการ” หรือเปล่า เราตระหนักว่ามีคนอธิบายเหตุการณ์นี้อย่างง่ายๆ และยกเหตุผล มาล้มล้าง ทำให้อัศจรรย์ครั้งนี้กลายเป็นเหตุการณ์ตามธรรมชาติ  ว่า พระเยซูเจ้าทรงหว่านล้อมให้ประชาชนนำเสบียงอาหารที่พวกเขาซ่อนไว้ ออกมา ดังนั้นจึงเป็นการกระตุ้นให้เกิด “การแบ่งปัน” ครั้งใหญ่ คำอธิบายนี้ไม่ใช่เรื่องจริงจัง แต่ก็เปลี่ยนพระวรสารให้กลายเป็น เรื่องชวนฝัน ... แม้ว่าจะเสนอบทเรียนที่ดีเกี่ยวกับความเป็นน้ำหนึ่งใจ เดียวกันก็ตาม ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับพระเจ้าที่จะทวีจำนวนขนมปังห้าก้อนที่มี อยู่ ดังที่นักบุญออกุสตินแสดงความคิดเห็นว่าพระองค์ทรงใช้เมล็ดพันธุ์ เพียงไม่กี่เมล็ด แต่ทรงทำให้ทุ่งนาทั่วโลกเต็มไปด้วยผลิตผลให้เก็บเกี่ยว แต่เราต้องมองให้ลึกกว่านั้น ถ้ามีความรอดพ้นและชีวิตนิรันดรเป็น เดิมพัน เมื่อนั้น พระเจ้าเท่านั้นทรงสามารถประทานของขวัญชิ้นนี้แก่เรา ... มนุษย์เอ๋ย ถ้าเพียงเจ้ารู้ว่าของประทานของพระเจ้าคืออะไร (เทียบ ยน 4:10) หญิงชาวสะมาเรียกระหายน้ำ นางไม่ได้กระหายแต่น้ำในบ่อ แต่กระหายหาคุณค่าทางจิตวิญญาณที่สูงกว่านั้น... ส่วนข้าพเจ้าเล่า ... ข้าพเจ้าหิวหรือเปล่า ... กระหายหรือเปล่า ... และข้าพเจ้าหิวกระหายอะไร


86

บทเทศน์ปี C

เมื่ อ จวนถึ งเวลาเย็น  อัครสาวกสิบ สองคนมาทู ล พระองค์ ว่ า  “ขอ พระองค์ ท รงอนุ ญ าตให้ ป ระชาชนกลั บ ไปเถิ ด  เขาจะได้ ไ ปตาม หมู่บ้านและชนบทโดยรอบ เพื่อหาที่พักและอาหาร เพราะขณะนี้เรา อยู่ในที่เปลี่ยว” ลูกา กำลังบอกเป็นนัยอีกครั้งหนึ่ง ถ้าจะมองหาแต่คำอธิบาย ทางวัตถุ เราก็คงไม่เห็นสาระ ผู้ที่คุ้นเคยกับพระคัมภีร์จะต้องมองเห็นว่า ขนมปังที่แจกจ่ายให้แก่ประชาชน “ในที่เปลี่ยว” นี้เตือนให้ระลึกถึง “มานนา” อันเร้นลับในหนังสืออพยพ ... พระเยซูเจ้าทรงเป็นโมเสส คนใหม่ ทรงเป็น “ผู้ปลดปล่อย” คนใหม่ ผู้ “ช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจาก ดินแดนแห่งความตาย” – จากถิ่นทุรกันดาร ประชาชนเหล่านี้จะไม่ได้รับความรอดพ้น ถ้าเขาตระเวนไปตาม หมูบ่ า้ นและชนบท – แต่เขาจะได้รบั ความรอดพ้นถ้าเขาอยูก่ บั พระเยซูเจ้า ต่อไป บรรดาอัครสาวกสำคัญผิดแล้ว ถ้าเขาพยายามแก้ปัญหาด้วยวิธี การของมนุษย์ ... พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ท่านทั้งหลายจงหาอาหารให้เขากินเถิด” เขา ทูลว่า “เราไม่มีอะไรนอกจากขนมปังห้าก้อน และปลาสองตัวเท่านั้น หรือว่าเราจะไปซื้ออาหารสำหรับคนเหล่านี้ทั้งหมด” ที่นั่นมีผู้ชาย ประมาณห้าพันคน พระองค์จึงตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “จงบอกให้ พวกเขานั่งลงเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณห้าสิบคน” เขาก็ทำตาม และ ให้ทุกคนนั่งลง เราสะดุดใจกับบทบาทที่พระเยซูเจ้าทรงขอให้ศิษย์ของพระองค์ แสดง พระองค์จะเป็นผู้มอบขนมปัง อัครสาวกทั้งสิบสองคนจะเป็นผู้ แจกจ่าย และก่อนอื่น พวกเขาได้รับมอบหมายงานให้จัดระเบียบฝูงชนที่ กระจัดกระจาย ให้แยกเป็นกลุ่มอย่างมีระเบียบ พระเยซูเจ้าทรงทำให้


บทเทศน์ปี C

87

เขาเป็น “ผู้อภิบาล” กล่าวคือ “ผู้รับใช้” และก่อนอื่น พวกเขาเป็น “ผู้รับใช้ของพระเยซูเจ้า” ผู้ที่เขาเชื่อฟัง ลูกาบอกไว้เช่นนี้ คำบอกเล่าที่ ชัดเจนจนมองเห็นภาพได้นี้บรรยายพิธีกรรมมากกว่าที่เราคิด... พระเยซูเจ้าทรงรับขนมปังห้าก้อนกับปลาสองตัวนั้นมา ทรงแหงน พระพักตร์ขึ้นมองท้องฟ้า ทรงกล่าวถวายพระพร ทรงบิขนมปัง ส่งให้ บรรดาศิษย์นำไปแจกจ่ายแก่ประชาชน เห็นได้ชัดว่าพระเยซูเจ้าทรงใช้ถ้อยคำเหล่านี้เตือนให้เราคิดถึง พิธีเสกศีลมหาสนิท พระวรสารของลูกาจะบรรยายกิริยาทั้งสี่นี้ระหว่าง อาหารค่ำมื้อสุดท้าย และการกินอาหารที่เอมมาอูส...

ในที่เปลี่ยว (ลก 9:15) ในห้องชั้นบน (ลก 22:19) ที่เอมมาอูส พระเยซูเจ้าทรงรับขนมปังห้าก่อน พระเยซูเจ้าทรงหยิบขนมปัง พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ทรงกล่าวถวายพระพร ทรงขอบพระคุณ ทรงถวายพระพร ทรงบิขนมปัง ทรงบิขนมปัง ทรงบิขนมปัง ส่งให้ ... ประทานให้ ... และยื่นให้เขา ...


88

บทเทศน์ปี C

ถ้ อ ยคำเหล่ า นี้ ท ำให้ ค ริ ส ตชนตี ค วามได้ อ ย่ า งไม่ มี ข้ อ สงสั ย เกี่ยวกับอัศจรรย์ทวีขนมปัง ซึ่งผู้นิพนธ์พระวรสารบอกเล่าไว้ถึงหกครั้ง คือ มธ 14:13-21 และ 15:32-39, มก 6:30, 44 และ 8:1-10, ลก 9:10-17 และ ยน 6:1-15 ... เมื่อพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้อภิบาล-ผู้รับใช้ของพระเยซูเจ้า กล่าวถ้อยคำเหล่านี้ซ้ำอีกครั้งท่ามกลางเราในชุมชนของเรา และแสดง กิริยาทั้งสี่นี้ของพระเยซูเจ้า เป็นพระองค์เองที่กำลังกระทำกิริยาเหล่านี้ อีกครั้งเพื่อเรา และทรงทำให้พระองค์เองประทับอยู่กับเรา ศีลมหาสนิท ทำให้เราพบในความเชื่อพระคริสต์ผู้ทรงกลับคืนชีพ ผู้ทรงชนะความชั่ว และความตาย ดังนั้น พระองค์จึงทรงเป็นผู้กอบกู้มนุษย์ ขนมปังที่ถูกบิ และประทานให้ นี้   เป็ น เครื่ อ งหมายว่ า  “พระเจ้ า ประทั บ อยู่ กั บ เรา” พระองค์ทรงเลือกที่จะอยู่กับเรา ... ขนมปังนี้คือพระเยซูเจ้าเองที่ถูกมอบ ให้แก่เรา ทรงเป็นบุคคลลึกลับ ดังจะเห็นได้จากสองข้อความก่อน และ หลังอัศจรรย์ครั้งนี้ กษัตริย์เฮโรดแสดงความสงสัยว่า “คนที่เราได้ยิน เรื่องราวทั้งหมดนี้เป็นใครเล่า” (ลก 9:7-9) ... และหลังจากทรงทำ อัศจรรย์ครั้งนี้ได้ไม่นาน พระเยซูเจ้าตรัสถามบรรดาศิษย์ว่า “ท่านล่ะ ว่าเราเป็นใคร” (ลก 9:18-27) ถ้าเรายังไม่ตอบคำถามว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นใคร “เครื่องหมาย แห่งขนมปัง” ก็จะยังเป็นเครื่องหมายที่ฉาบฉวย... ทั้งนี้หมายความว่าคริสตชนสามารถปิดตา และไม่มองความ อดอยากฝ่ายกายของพี่น้องชายหญิงของเขาได้หรือ สภาเยาวชนเทเซ่ ตอบว่าการนมัสการพระเจ้า และการพัฒนาเป็นสองสิ่งที่เชื่อมโยงกัน เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ท่านต้องแบ่งปันอาหารของท่าน ท่านต้องสัญญากับ ตนเองว่าจะเปลี่ยนแปลงสังคม ท่านต้องให้อาหารแก่ผู้หิวโหย ท่านต้อง ทำงานเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ... ท่านต้องทำทั้งหมดนี้ก่อน แต่อย่าลืม นมัสการพระเจ้าด้วย เพื่อจะพบกับองค์พระเยซูเจ้า พระผู้ไถ่ของเรา ถ้าท่านไม่ทำเช่นนี้  ท่านจะทำให้พี่น้องชายหญิงของท่านไม่ได้รับสิ่งที่


บทเทศน์ปี C

89

จำเป็นที่สุดสำหรับเขา ... เขาจำเป็นต้องมีความรู้สึกเต็มอิ่ม ซึ่งพระเจ้า เท่านั้นสามารถประทานให้เขา และจำเป็นมากกว่าความรู้สึกอิ่มท้อง ถ้า ท่านรู้ว่าท่านจะมอบพระองค์ให้พวกเขาอย่างไร... ขนมปังของมนุษย์ (อะไรจะ “ธรรมดา” มากไปกว่าขนมปัง) จะ ต้องกลายเป็นพระกายของพระคริสตเจ้า... เราต้องไม่ทำให้ขนมปังของมนุษย์สูญเปล่า ... เพราะขนมปังนี้ ซ่อนธรรมล้ำลึกประการหนึ่ง ... ทุกคนได้กินจนอิ่ม แล้วยังเก็บเศษที่เหลือได้สิบสองกระบุง ขอถวายพระพรแด่พระองค์ พระเจ้าของสิ่งสร้างทั้งปวง เพราะ พระทัยดีของพระองค์ เราจึงมีขนมปังนี้มาถวาย เป็นผลผลิตจากแผ่นดิน และมือมนุษย์ และจะกลายเป็นปังแห่งชีวิตสำหรับเรา แต่เรารู้ว่าประชาชนในสมัยนั้นไม่เข้าใจ ... เขาต้องการยกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ และขังพระองค์ไว้ภายในบทบาทของพระเมสสิยาห์ ทางการเมือง ... ขังพระองค์ไว้ในมิติมนุษย์ ... แต่พระองค์ไม่ทรงยอมรับ พระองค์ทรงหลบหนีไปอยู่บนภูเขา (ยน 6:15) และให้ศิษย์ของพระองค์ ลงเรือแล่นข้ามไปอีกฝากหนึ่ง (มก 6:52) โปรดประทานอาหารประจำวันแก่เราในวันนี้  – อาหารทั้งสอง ชนิด... วันอาทิตย์สัปดาห์หน้า เราจะเริ่มต้นเข้าสู่ “วันอาทิตย์ เทศกาล ธรรมดา”


90

บทเทศน์ปี C

ยอห์น 2:1-11

วั นอาทิตย์ที่สองเทศกาลธรรมดา

สามวันต่อมา มีงานสมรสที่หมู่บ้านคานาในแคว้นกาลีลี พระมารดาของพระเยซูเจ้าทรงอยู่ในงานนั้น พระเยซูเจ้าทรงได้รับเชิญ พร้อมกับบรรดาศิษย์มาในงานนั้นด้วย เมื่อเหล้าองุ่นหมด พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงมาทูลพระองค์ว่า “เขาไม่มีเหล้าองุ่นแล้ว” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “หญิงเอ๋ย ท่านต้องการสิ่งใด เวลาของเรายัง มาไม่ถึง” พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงกล่าวแก่บรรดาคนรับใช้ว่า “เขาบอกให้ท่านทำอะไร ก็จงทำเถิด” ที่นั่นมีโอ่งหินตั้งอยู่หกใบ แต่ละ ใบจุน้ำได้ประมาณหนึ่งร้อยลิตร พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาคนรับใช้ ว่า “จงตักน้ำใส่โอ่งให้เต็ม” เขาก็ตักน้ำใส่จนเต็มถึงขอบ แล้วพระองค์ ทรงสั่ ง เขาอี ก ว่ า  “จงตั ก ไปให้ ผู้ จั ด งานเลี้ ย งเถิ ด ” เขาก็ ตั ก ไปให้ ผู้จัดงานเลี้ยงได้ชิมน้ำที่เปลี่ยนเป็นเหล้าองุ่นแล้ว  ไม่รู้ว่าเหล้านี้ มาจากไหน แต่ผู้รับใช้ที่ตักน้ำรู้ดี ผู้จัดงานเลี้ยงจึงเรียกเจ้าบ่าวมา พูดว่า “ใครๆ เขานำเหล้าองุ่นอย่างดีมาให้ก่อน เมื่อบรรดาแขกดื่ม มากแล้ว จึงนำเหล้าองุ่นอย่างรองมาให้ แต่ท่านเก็บเหล้าอย่างดีไว้ จนถึงบัดนี้” พระเยซู เ จ้ า ทรงกระทำเครื่ อ งหมายอั ศ จรรย์ ค รั้ ง แรกนี้ ที่ หมู่บ้านคานา แคว้นกาลิลี พระองค์ทรงแสดงพระสิริรุ่งโรจน์ของ พระองค์ และบรรดาศิษย์เชื่อในพระองค์


บทเทศน์ปี C

91

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง งานสมรส “สามวันต่อมา มีงานสมรสที่หมู่บ้านคานาในแคว้นกาลิลี” เรา ไม่ รู้ ชื่ อ ของคู่ ส มรส แต่ นั่ น ไม่ ส ำคั ญ  เพราะงานสมรสแท้ จ ริ ง ที่ ก ำลั ง เฉลิมฉลองกันในวันที่สามนี้ คือการสมรสที่รวมพระเจ้าและมนุษยชาติ ให้เห็นหนึ่งเดียวกันในพระเยซูเจ้า ... นี่คืองานสมรสระหว่างสวรรค์และ แผ่นดิน ก่อนพระเยซูเจ้าเสด็จมา ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าและ ประชากรเลือกสรรของพระองค์ เหมือนการคบหาดูใจกันก่อนสมรส เป็น ช่วงเวลาเตรียมตัว ในเรื่องนี้  โอ่งหินหกใบที่ตั้งอยู่ที่นั่นเป็นสัญลักษณ์ ของระบบศาสนาเก่า น้ำในโอ่งเป็นน้ำสำหรับชำระตามธรรมเนียม ซึ่ง เป็นการเตรียมตัวสำหรับงานเลี้ยง ชาวยิวถือว่าโอ่งหินสะอาดมาก แต่ การบี บ บั ง คั บ มากเกิ น ไปเกี่ ย วกั บ การชำระตามธรรมเนี ย ม ซึ่ ง เป็ น ส่วนหนึ่งของระบบนี้ ทำให้ประชาชนมีหัวใจเหมือนโอ่งเหล่านี้ คือหัวใจ ที่ทำด้วยหิน มีโอ่งตั้งอยู่หกใบ ไม่ถึงเจ็ดใบ ซึ่งเป็นจำนวนของความ สมบูรณ์ บัดนี้ น้ำได้ถูกเปลี่ยนเป็นเหล้าองุ่นแล้ว ซึ่งเป็นการบอกว่าช่วง คบหาดูใจได้มาถึงวันสมรสแล้ว และหัวใจหินจะถูกแทนที่ด้วยหัวใจเนื้อ เหล้าองุ่นชั้นดีที่สุดถูกเก็บไว้จนถึงยุคสุดท้าย อั ศ จรรย์ ที่ ค านาเป็ น เครื่ อ งหมายแรกที่ แ สดงพระสิ ริ รุ่ ง โรจน์ ของพระเยซูเจ้า การเห็นพระสิริรุ่งโรจน์เป็นแวบแรกนี้ดึงดูดใจศิษย์ของ พระองค์ให้เชื่อในพระองค์  พระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์จะเผยแสดง ออกมาอย่างเต็มที่ เวลาของพระองค์จะมาถึง เมื่อพระองค์ทรงถูกยกขึ้น


92

บทเทศน์ปี C

จากพื้นดินบนเขากัลวารีโอ ขณะที่พระองค์เสด็จกลับไปยังบ้านของ พระบิดา เมื่อทรงถูกยกขึ้น พระองค์จะทรงดึงดูดทุกคนมาหาพระองค์ จะ ทรงโอบกอดมนุ ษ ย์ ทุ ก คนเสมื อ นเป็ น เจ้ า สาวของพระองค์   และรั ก พวกเขาจนถึงวาระสุดท้าย เมื่อทรงกลับไปยังบ้านพระบิดาของพระองค์ ในวันที่สาม พระองค์ทรงนำมนุษยชาติกลับบ้านพร้อมกับพระองค์ด้วย ในฐานะเจ้าสาวที่เข้าพิธีสมรสกับพระองค์แล้ว การคบหาดูใจกับประชากรในพันธสัญญาเดิมเป็นการเตรียม พร้อมสำหรับงานสมรสแห่งพันธสัญญาใหม่  ถ้าสัญลักษณ์ของระบบ ศาสนาเก่าคือน้ำที่ใช้ชำระตามธรรมเนียม สัญลักษณ์ของศาสนาใหม่ก็ คือเหล้าองุ่นแห่งงานเลี้ยงฉลอง งานเลี้ยงนี้จัดขึ้นใหม่เสมอในพิธีบูชา มิสซา ซึ่งเป็นการระลึกถึงพระเยซูเจ้า การระลึกถึงก็คือการประกาศว่า กิจการของพระเจ้าไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่ภายในวันหนึ่งที่จะผ่านพ้นไป แต่เกิดขึ้นในเวลาปัจจุบันในนิรันดรกาล ศีลมหาสนิทเป็นความทรงจำ อันมีชีวิตของงานสมรสระหว่างสวรรค์และแผ่นดิน  “ข้าแต่พระบิดา โปรดทรงระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระบุตรของพระองค์ที่พระองค์ ทรงรับทนเพื่อความรอดพ้นของเรา การกลับคืนชีพอย่างรุ่งเรืองของ พระองค์ และการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระองค์...” งานสมรสที่ เ ราเห็ น เป็ น ครั้ ง แรกจากการเปลี่ ย นน้ ำ ให้ เ ป็ น เหล้ า องุ่ น ที่ ห มู่ บ้ า นคานา ได้ ส ำเร็ จ สมบู ร ณ์ บ นเขากั ล วารี โ อ ในการ เดิ น ทางของพระเยซู เ จ้ า จากความตายเข้ า สู่ พ ระสิ ริ รุ่ ง โรจน์ ไ ปหา พระบิดา และเราผู้มาชุมนุมกันในความเชื่อในพิธีศีลมหาสนิท ก็เป็นบุตร ที่เกิดจากการสมรสนั้น “ชายหนุ่มสมรสกับหญิงพรหมจารีฉันใด ผู้ที่สร้างเจ้าขึ้นมาก็จะ สมรสกับเจ้าฉันนั้น และเจ้าบ่าวยินดีในเจ้าสาวของตนฉันใด พระเจ้า ของเจ้าก็จะยินดีในตัวเจ้าฉันนั้น” (อสย 62:5)


ข้อรำพึงที่สอง พระนางมารีย์

บทเทศน์ปี C

93

ในคำบอกเล่าเหตุการณ์ที่คานา และเขากัลวารีโอ พระนางมารีย์ ทรงรับบทบาทคนกลางที่สำคัญอย่างไม่มีใครเหมือน ที่คานา พระวรสาร ไม่เอ่ยชื่อพระนาง แต่เรียกพระนางว่า “พระมารดาของพระเยซูเจ้า” และ พระเยซูเจ้าทรงเรียกพระนางว่า “หญิงเอ๋ย” สมญาทั้งสองนี้แสดงว่า บทบาทของพระนางกว้างขวางมาก คำว่า “พระมารดาของพระเยซูเจ้า” หมายถึงพระนางแน่นอน แต่ก็มีความหมายที่กว้างพอให้เข้าใจได้ว่า พาดพิงถึงประชาชนชาวยิว ซึ่งเป็นชนชาติที่พระเยซูเจ้าทรงบังเกิดมา ตลอดยุคพันธสัญญาเดิมซึ่งไม่สมบูรณ์ และเต็มไปด้วยการรอคอย มา ขมวดรวมกันอยู่ในตัวพระนางมารีย์  พระนางกลายเป็นการแสดงออก ของชนชาติ นี้   ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งถู ก สรุ ป ไว้ ใ นประโยคอั น เรี ย บง่ า ยของ พระนางว่า “เขาไม่มีเหล้าองุ่นแล้ว” ดังนั้นในเรื่องนี้ พระนางมารีย์จึง กลายเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างความไม่สมบูรณ์ของชนชาติยิว และความ สำเร็จสมบูรณ์ในพระคริสตเจ้า พระวรสารของยอห์นเอ่ยถึงพระนางอีกครั้งหนึ่งบนเขากัลวารีโอ คานาและกัลวารีโอ ถูกเชื่อมโยงเข้ า ด้ ว ยกั น  เพราะในสองสถานที่ นี้ พระเยซูเจ้าทรงเรียกพระนางมารีย์วา่ “หญิงเอ๋ย” “หญิงเอ๋ย ท่านต้องการ สิ่ ง ใด เวลาของเรายั ง มาไม่ ถึ ง ” เมื่ อ เวลาของพระองค์ ม าถึ ง บนเขา กัลวารีโอ พระองค์ตรัสกับพระนางว่า “หญิงเอ๋ย นี่คือบุตรของท่าน” ถ้า พระองค์เรียกพระนางว่า “แม่” ในเหตุการณ์ทั้งสองนี้ พระองค์ย่อม กำลังบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ของพระนางกับพระองค์เท่านั้น การเรียก พระนางว่า “หญิงเอ๋ย” นี้ช่วยขยายขอบเขตของความเป็นมารดาของ พระนางให้ ค รอบคลุ ม คนทั้ ง โลก ในฐานะมารดาของมนุ ษ ย์ ทุ ก คน พระนางจึงเป็นเอวาคนใหม่  เอวาคนแรกมีส่วนทำให้มนุษยชาติตกต่ำ


94

บทเทศน์ปี C

ด้วยความไม่นบนอบของนาง แต่พระนางมารีย์ผู้เป็นเอวาคนใหม่  ได้ ตรัสคำที่แสดงความนบนอบว่า “เขาบอกให้ท่านทำอะไรก็จงทำเถิด” และในความเชื่ อ ที่ แ สดงออกด้ ว ยความนบนอบนี้   พระนางจึ ง สวม บทบาทสำคัญในการคืนดีระหว่างพระเจ้าและมนุษยชาติ  ในการสมรส ระหว่ า งสวรรค์ แ ละแผ่ น ดิ น  พระนางเสด็ จ มาร่ ว มงานสมรสบนเขา กัลวารีโอ ในฐานะพระมารดาของเจ้าบ่าว และที่นั่น พระนางทรงกลาย เป็นมารดาของเจ้าสาว คือ มารดาของมนุษยชาติทั้งมวล ที่คานา พระนาง มารีย์แสดงความเห็นอกเห็นใจ และสัญชาตญาณความห่วงใยฉันมารดา เมื่อพระนางรับรู้ว่าเกิดความผิดพลาดบางอย่าง พระนางทรงค้นพบ ต้ น เหตุ ที่ อ าจทำให้ คู่ บ่ า วสาวอั บ อาย และทรงแจ้ ง ความจำเป็ น นี้ ใ ห้ พระบุตรทราบว่า “เขาไม่มีเหล้าองุ่นแล้ว” ในบทบาทของมารดาของ มนุษยชาติ  พระนางทรงรู้สึกไวมากเกี่ยวกับความต้องการ และความ กังวลใจของบุตรของพระนางบนแผ่นดินนี้ เราจึงมั่นใจได้ว่าพระนางจะ เสนอวิงวอนเพื่อสิ่งที่จำเป็นสำหรับเราต่อไป “เขาไม่มีเหล้าองุ่นแล้ว” สันตะมารีย์ พระมารดาแห่งความเมตตากรุณา ช่วยวิงวอนเทอญ


บทเทศน์ปี C

95

บทรำพึงที่ 2 ยอห์น ผู้เป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์ บอกเล่าเรื่อง “งาน สมรสที่หมู่บ้านคานา” และความจริงข้อนี้เป็นหลักประกันว่าเหตุการณ์ นี้เกิดขึ้นจริงเช่นนี้ แต่ยอห์นก็เหมือนกับผู้นิพนธ์พระวรสารคนอื่นๆ เขา ไม่ต้องการเพียงจะบรรยายเรื่องของงานเลี้ยงสมรสในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในสมัยนั้นเท่านั้น เขาได้ไตร่ตรองเหตุการณ์จริงนี้นานถึง 50 หรือ 60 ปี และการไตร่ตรองนี้ทำให้นักเทววิทยาอย่างยอห์น มีข้อคำสอนจะเสนอ ... เราก็เช่นกันที่ต้องพยายามมองให้ลึกกว่าระดับคำบอกเล่า และ พยายามเข้าใจความหมายเชิงสัญลักษณ์ระดับลึกกว่า เหตุการณ์นี้เป็น “เครื่องหมาย” หนึ่ง และมีนัยสำคัญซ่อนอยู่... สามวันต่อมา มีงานสมรสที่หมู่บ้านคานา ในแคว้นกาลิลี ในช่วงเวลาที่ยอห์นเขียนพระวรสารของเขา คำว่า “ในวันที่สาม” สำหรับคริสตชนรุ่นแรกมีความหมายเชิงวิชาการ เพราะเตือนให้คิดถึง “วันแห่งพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเยซูเจ้า” คือวันกลับคืนพระชนมชีพ (มธ 16:21, 17:23, 20:19; ลก 9:22, 18:33, 24:7; กจ 10:40) พระมารดาของพระเยซู เจ้า ทรงอยู่ ใ นงานนั้ น  พระเยซู เ จ้ า ทรงได้ รับเชิญพร้อมกับบรรดาศิษย์มาในงานนั้นด้วย ในพระวรสารของยอห์น เขาเอ่ยถึงพระนางมารีย์ว่าพระมารดา ของพระเยซูเจ้าเพียงสองครั้ง ครั้งหนึ่งเมื่อเริ่มเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้ นที่ ห มู่ บ้านคานานี้   และอีกครั้งหนึ่ ง เมื่ อ พระนางยื น อยู่ ที่ เ ชิ ง กางเขน


96

บทเทศน์ปี C

ในที่อื่นๆ เขาไม่เอ่ยถึงพระนางเช่นนี้เลย เพียงแต่บอกความสัมพันธ์ เท่านั้นว่า “พระมารดาของพระองค์” เมื่อเหล้าองุ่นหมด พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงมาทูลพระองค์ว่า “เขาไม่มีเหล้าองุ่นแล้ว” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “หญิงเอ๋ย ท่านต้องการ สิ่งใด เวลาของเรายังมาไม่ถึง” “เวลาของพระเยซูเจ้า” ก็เป็นวลีที่อ้างถึงปัสกาอีกเช่นกัน (ยน 7:30, 8:20, 13:1, 16:25, 16:32) เวลาพิเศษนี้คือเวลาแห่งพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ “ข้าแต่พระบิดา ถึงเวลาแล้ว โปรดประทานพระสิริรุ่งโรจน์กับพระบุตรของพระองค์เถิด เพื่อพระองค์จะทรงรับพระสิริรุง่ โรจน์จากพระบุตร ... โปรดประทานพระสิรริ งุ่ โรจน์กบั ข้าพเจ้า พระสิร-ิ รุ่งโรจน์ที่ข้าพเจ้าเคยมีร่วมกับพระองค์ตั้งแต่ก่อนสร้างโลก” (ยน 17: 1-5) เวลาแห่งพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเยซูเจ้าเกิดขึ้นเป็นสามระยะ - ไม้กางเขน - เมื่อพระองค์ทรง “ถูกยกขึ้น” ทั้งทางร่างกาย และ เชิงสัญลักษณ์ - การกลับคืนพระชนมชีพ - เมื่อพระองค์ “ถูกยกขึ้น” สู่เบื้อง ขวาพระบิดา - เมื่อพระจิตเจ้าเสด็จมายังผู้มีความเชื่อ ... (ยน 3:14, 8:28, 12:32, 17:11, 13, 7:39) ... ถูกแล้ว ช่างไม้จากนาซาเร็ธผู้นี้ได้รับเชิญไปร่วมงานสมรสใน หมู่บ้านใกล้เคียง และได้แสดงออกทั้งด้วยวาจาและกิริยา ให้เราเห็น บุคลิกภาพที่ซ่อนอยู่ภายในของพระองค์ ... พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า อยู่กับพระองค์ พระองค์ทรงบอกว่า “เวลาของพระองค์” ยังมาไม่ถึง ... แต่จะมาถึง ... เมื่อคู่บ่าวสาวเชิญพระเยซูเจ้ามาในงานสมรส เขากำลัง เชิญพระเจ้า พระผู้สร้างความรัก ... แต่ธรรมล้ำลึกข้อนี้ถูกซ่อนไว้ไม่ให้ เขาเข้าใจ


บทเทศน์ปี C

97

พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงกล่าวแก่บรรดาคนรับใช้ว่า “เขาบอก ให้ท่านทำอะไร ก็จงทำเถิด” ประโยคนี้ดูเหมือนเป็นประโยคธรรมดา แต่นี่คือข้อความที่ยกมา จากพระคัมภีร์ “เมื่อประชาชนที่แผ่นดินอียิปต์เริ่มรู้สึกขาดแคลนอาหาร ก็ร้องขออาหารจากพระเจ้าฟาโรห์ พระองค์รับสั่งแก่ชาวอียิปต์ทั้งปวงว่า ‘จงไปหาโยเซฟเถิด และทำตามที่เขาสั่ง’” (ปฐก 41:55) ฟาโรห์มอง เห็ น ปรี ช าญาณของพระจิ ต ของพระเจ้ า ในตั ว โยเซฟ พระองค์ จึ ง ไม่ออกหน้า แต่เสนอโยเซฟให้เป็นผู้กอบกู้สำหรับประชาชนที่กำลัง อดอยาก บัดนี้พระนางมารีย์ก็ทรงถอยไปอยู่เบื้องหลัง และชี้ให้คนรับ ใช้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นบุคคลสำคัญในที่นี้ “เขาบอกให้ท่านทำอะไร ก็จงทำเถิด” ที่นี่ “ขาด” เหล้าองุ่น และอาจขาดความรักอีกด้วย ใคร จะรู้!... ปัสกาคือการหลบหนีออกจากอียิปต์ และเป็นการปลดปล่อยให้ พ้นจากการเป็นทาสของบาปและความตายอีกด้วย “เหล้าองุ่นที่ขาดไป” เป็นสัญลักษณ์ของความขาดตกบกพร่องในส่วนลึกของตัวเรา มีหลาย สถานการณ์ ใ นชี วิ ต มนุ ษ ย์ ที่  “เราทำอะไรไม่ ไ ด้ เ ลย” ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า ง ดูเหมือนว่าขาดแคลนไปหมด และไม่มีวิธีแก้ปัญหาในระดับของมนุษย์ ... ดังนั้น เราต้องพึ่งใครบางคน ... ใครคนหนึ่งนั้นเป็นผู้เดียวที่ช่วยเราได้ “เขาบอกให้ท่านทำอะไร ก็จงทำเถิด”... ที่นั่นมีโอ่งหินตั้งอยู่หกใบ เพื่อใช้ชำระตามธรรมเนียมของชาวยิว แต่ละใบจุน้ำได้ประมาณหนึ่งร้อยลิตร พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดา คนรับใช้วา่ “จงตักน้ำใส่โอ่งให้เต็ม” เขาก็ตกั น้ำใส่จนเต็มถึงขอบ แล้ว พระองค์ทรงสั่งเขาอีกว่า “จงตักไปให้ผู้จัดงานเลี้ยงเถิด” เขาก็ตักไป ให้ ผู้จัดงานเลี้ยงได้ชิมน้ำที่เปลี่ยนเป็นเหล้าองุ่นแล้ว ไม่รู้ว่าเหล้านี้ มาจากไหน แต่คนรับใช้ที่ตักน้ำรู้ดี


98

บทเทศน์ปี C

รายละเอียดทั้งหมดนี้มีความสำคัญ ... ขอให้เราพิจารณาถ้อยคำ เหล่านี้ให้ลึกเถิด โอ่งหินหกใบ ... คนโบราณมองว่าตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ เลขเจ็ด เป็นจำนวนที่สมบูรณ์ ดังนั้น โอ่งหินหกใบจึงขาดไปหนึ่งใบ และเป็น ภาพลักษณ์ของความไม่สมบูรณ์ของพิธีชำระตนของชาวยิว ... น้ำที่ใช้ สำหรับชำระตามธรรมเนียม ... โอ่งเหล่านี้เป็นเครื่องหมายของระเบียบ ในอดีต และของธรรมเนียมทางศาสนาที่ล้าสมัย ... พระเยซูเจ้าเสด็จ มาเปลี่ยน และนำศาสนายิว ไปสู่ความสมบูรณ์ น้ำจึงกลายเป็นเหล้าองุ่น ... “เขาก็ตกั น้ำใส่จนเต็มขอบ”เป็นเครือ่ งหมายของ“ความฟุม่ เฟือย” และพระคุณต่างๆ อันบริบูรณ์จนล้นปรี่ ที่จะได้รับจากพระเมสสิยาห์ และพระเยซูเจ้าทรงเริ่มต้นยุคนี้ด้วยกิริยาที่ “ฟุ่มเฟือย” อย่างแท้จริง “เหล้าองุ่น” ... เป็นสัญลักษณ์ที่นิยมใช้ในพระคัมภีร์ (วนฉ 9: 13, สดด 104:15 เป็นต้น) ผลองุ่นที่ใช้ทำเหล้าองุ่นเป็นผลผลิตจาก แผ่นดินที่มนุษย์เห็นคุณค่ามากที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะเหล้าองุ่นทำให้รู้สึก ยินดีและมีความสุข “ทำให้หัวใจมนุษย์ปลาบปลื้ม”... เราไม่ควรลืมว่ายอห์นเขียนพระวรสารของเขาประมาณ 50 หรือ 60 ปีหลังจากเกิดเหตุการณ์ที่คานา และนานหลายปีมาแล้วที่คริสตชน มาชุมนุมกันเพื่อกินอาหารและดื่มเหล้าองุ่น ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์เตือนใจ ให้คิดถึงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเจ้าทรงเปลี่ยนเหล้าองุ่นให้กลาย เป็นพระโลหิตของพระองค์  และเป็นงานเลี้ยงครั้งสุดท้ายที่พระเยซูเจ้า ทรงประกาศว่า “เราจะไม่ดื่มน้ำจากผลองุ่นใด จนกว่าจะถึงวันที่เราจะ ดื่มเหล้าองุ่นใหม่ในพระอาณาจักรของพระเจ้า”... ผู้จัดงานเลี้ยงจึงเรียกเจ้าบ่าวมา พูดว่า “ใครๆ เขานำเหล้าองุ่น อย่างดีมาให้ก่อน เมื่อบรรดาแขกดื่มมากแล้วจึงนำเหล้าองุ่นอย่าง รองมาให้ แต่ท่านเก็บเหล้าอย่างดีไว้จนถึงบัดนี้”


บทเทศน์ปี C

99

ความเข้าใจผิดครั้งนี้มีนัยสำคัญ ผู้จัดงานเลี้ยงเข้าใจผิดว่าพระเยซูเจ้าคือเจ้าบ่าว ในข้อความหลังจากนั้น ยอห์นจะระบุอย่างชัดเจนว่า เจ้าบ่าวแท้คือพระเยซูเจ้า (ยน 3:29) นี่คือกุญแจในการตีความ “เครื่อง หมาย” ที่คานา “นี่คือเหล้าองุ่นแห่งพันธสัญญาใหม่” นี่คือข้อความที่เรา ได้ยินบ่อยๆ ในพิธีบูชามิสซาแห่งความรัก ... พันธสัญญาเดิมมีธรรมเนียมอันน่าชื่นชมที่นำเสนอพระเจ้าใน ฐานะคู่ชีวิตของมนุษยชาติ  ในบทอ่านที่หนึ่งของวันอาทิตย์นี้  อิสยาห์ ได้ ป ระกาศอี ก ครั้ ง หนึ่ ง ถึ ง  “การประกาศความรั ก ของพระเจ้ า ” ว่ า ร้อนแรงดังอารมณ์ของคู่รัก “เขาจะไม่ขนานนามเจ้าอีกว่า ‘ถูกทอดทิ้ง’ และเขาจะไม่เรียกแผ่นดินของเจ้าอีกว่า ‘ที่ว่างเปล่า’ แต่เขาจะเรียกเจ้าว่า ‘ความปิติของเราอยู่ในเธอ’ และเรียกแผ่นดินของเจ้าว่า ‘สมรสแล้ว’ ... เพราะชายหนุ่มแต่งงานกับหญิงพรหมจารีฉันใด บุตรชายทั้งหลายของ เจ้าจะแต่งกับเจ้าฉันนั้น และเจ้าบ่าวเปรมปรีดิ์เพราะเจ้าฉันใด พระเจ้า ของเจ้าจะเปรมปรีดิ์เพราะเจ้าฉันนั้น” (อสย 62:1-5, เทียบ ฮชย 2:21, อสค 16:8) พันธสัญญาใหม่ก็ใช้ภาพลักษณ์ของการสมรสนี้เช่นกัน (2 คร 11: 2, อฟ 5:25, วว 21:2, 22:17 เป็นต้น) นอกจากนี้  ท่านสังเกตหรือไม่ว่าไม่มีการเอ่ยถึงเจ้าสาวในงาน สมรสที่คานานี้เลย แปลกใช่ไหม ... แต่งานสมรสนี้ไม่ใช่งานธรรมดา ... ถ้า “เจ้าบ่าว” คือพระเยซูเจ้า “เจ้าสาว” แท้ก็คือสตรีที่พระองค์ทรง เรียกด้วยคำที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ว่า  “หญิงเอ๋ย” คู่ชีวิตของ พระเจ้าคือชาวอิสราเอล ที่กำลังรอคอยพันธสัญญาใหม่ผ่านคำยอมรับ ว่ า “เขาไม่มีเหล้าองุ่นแล้ว” อิส ราเอลนี้   – ประชากรที่ พ ระเจ้ า ทรง หมั้นหมายไว้ในพันธสัญญาใหม่นี้ – จะกลายเป็นพระศาสนจักรในไม่ช้า ... และพระนางมารีย์ทรงเป็นตัวแทนของทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ พระนาง ทรงเป็น “ธิดาของอิสราเอล” และ “ตัวแทนของพระศาสนจักร” ...


100

บทเทศน์ปี C

ถูกแล้ว เจ้าสาวที่ไม่ระบุชื่อของงานสมรสนี้ก็คือพวกเรานั่นเอง พระเจ้า ทรงรักท่าน ... พระเจ้าทรง “สมรส” กับมนุษยชาติในพระเยซูคริสตเจ้า ... ไม่ว่าในยามสุข หรือยามทุกข์ เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ชีวิตสมรสกำลังมาถึงจุดวิกฤติ ดูเหมือน ว่าความรักได้สูญเสียความหมายและทิศทางไปแล้ว มีแต่คนที่สนับสนุน “การอยู่กินแบบเสรี” ให้มนุษย์อยู่กินกันโดยไม่เฉลิมฉลองการสมรส ไม่เฉลิมฉลองความรัก ไม่มีการยอมรับผิดชอบต่อคู่ครอง หรือต่อเด็ก ที่จะเกิดมา ... มี “คู่ครองชั่วคราว” มากมายกี่คู่ที่เริ่มต้นด้วยความหวังว่า ความรักแท้จะเบ่งบาน แต่กลับกลายเป็นชีวิตที่เศร้า น่าเบื่อหน่าย และ จืดชืดเหมือนน้ำเปล่า ... แต่ในบรรยากาศเช่นนั้น แม้แต่คู่ครองที่เอา จริงเอาจังกับชีวิต ก็ยังไม่เว้นที่จะยอมรับว่า “เขาไม่มีเหล้าองุ่นแล้ว” ความรักของเขาถึงจุดจบแล้ว... พระเยซูเจ้าเท่านั้นสามารถประทานเหล้าองุ่นได้  คือประทาน ความรักคืนให้ การดื่มจากถ้วยของพระเยซูเจ้า การดื่ม “เหล้าองุ่น” ของ พระองค์ คือการดื่มจากแหล่งกำเนิดของ “ความรักที่ยอมสละทุกสิ่งทุก อย่าง รักจนถึงที่สุด” (ยน 13:1) นักเทววิทยาถกเถียงกันมานานหลายศตวรรษว่าอะไรยิ่งใหญ่ กว่ากัน ระหว่าง “ชีวิตสมรส” และ “การถือโสด” เราไม่ควรลืมคำศัพท์ ในพระคัมภีร์ที่เรียกพระเจ้าว่า “พระสวามี (husband)” เราควรยอมให้ ความรั ก อั น อ่ อ นโยนของพระเจ้ า แผ่ ซ่ า นทั่ ว ตั ว เรา ... ถ้ า ท่ า นเป็ น ผู้ สมรสแล้ว ความรักของท่านก็เป็น “เครื่องหมาย” หรือ “ศีลศักดิ์สิทธิ์” หรือ “การแสดงออก” ของความรักของพระเจ้า ... ถ้าท่านถือโสด ก็ ไม่ได้หมายความว่าท่านอยู่โดย “ปราศจากความรัก” เพราะท่านสามารถ หมั้นหมายกับความรักอันยิ่งใหญ่ที่สุด ... แต่ท่านใช้ชีวิตสมรสของท่าน อย่างไร ... ท่านใช้ชีวิตโสดของท่านอย่างไร ... พระวรสารไม่ได้เอ่ยถึงการ สถาปนาศีลสมรส แต่จำเป็นด้วยหรือ สำหรับผู้ที่เข้าใจ “เครื่องหมาย” ของคานา ...


บทเทศน์ปี C

101

พระเยซู เ จ้ า ทรงกระทำเครื่ อ งหมายอั ศ จรรย์ ค รั้ ง แรกนี้ ที่ ห มู่ บ้ า น คานา แคว้นกาลิลี พระองค์ทรงแสดงพระสิรริ งุ่ โรจน์ของพระองค์ และ บรรดาศิษย์เชื่อในพระองค์ นอกจากบอกเล่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ยอห์น ยังเสนอการตีความไว้ในคำบอกเล่าของเขาด้วย พระเยซูเจ้าทรงเผย แสดงในอัศจรรย์ครั้งนี้ว่าพระองค์ทรงเป็นใคร และบรรดาศิษย์เริ่มมี ความเชื่อ ... “พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์ ... เราได้เห็นพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ เป็นพระสิริรุ่งโรจน์ที่ทรงรับจากพระบิดา ในฐานะ พระบุตรเพียงพระองค์เดียว” (ยน 1:14)


102

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่สาม เทศกาลธรรมดา ลูกา 1:1-4, 4:14-21 ท่านเธโอฟีลสั ทีเ่ คารพยิง่  คนจำนวนมากได้เรียบเรียงเรือ่ งราว เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับพวกเรา ผู้ที่เป็นพยานรู้เห็นและประกาศ พระวาจามาตั้ ง แต่ แ รกได้ ถ่ า ยทอดเหตุ ก ารณ์ เ หล่ า นี้ ใ ห้ เ รารู้ แ ล้ ว ข้าพเจ้าจึงตกลงใจค้นคว้าเรื่องราวทั้งหมดตั้งแต่ต้นอย่างละเอียด แล้วเรียบเรียงตามลำดับเหตุการณ์อีกครั้งหนึ่ง สำหรับท่านด้วย ท่านเธโอฟีลัสที่เคารพ เพื่อท่านจะได้รู้ว่าคำสอนที่ท่านรับมานั้น เป็นความจริง พระเยซู เ จ้ า เสด็ จ กลั บ ไปแคว้ น กาลิ ลี พ ร้ อ มด้ ว ยพระอานุ ภาพของพระจิตเจ้า กิตติศัพท์ของพระองค์เลื่องลือไปทั่วแว่นแคว้น นั้น พระองค์ทรงสอนตามศาลาธรรมของชาวยิว  และทุกคนต่าง สรรเสริญพระองค์ พระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงเมืองนาซาเร็ธ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงเจริญวัย ในวันสับบาโต พระองค์เสด็จเข้าไปในศาลาธรรม เช่ น เคย ทรงยื น ขึ้ น เพื่ อ ทรงอ่ า นพระคั ม ภี ร์  มี ผู้ ส่ ง ม้ ว นหนั ง สื อ ประกาศกอิสยาห์ให้พระองค์ พระเยซูเจ้าทรงคลี่ม้วนหนังสือออก ทรงพบข้อความที่เขียนไว้ว่า


บทเทศน์ปี C

103

พระจิตของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลดปล่อยแก่ผถู้ กู จองจำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า แล้ ว พระเยซู เ จ้ า ทรงม้ ว นหนั ง สื อ ส่ ง คื น ให้ เ จ้ า หน้ า ที่ แ ละ ประทับนัง่ สายตาของทุกคนทีอ่ ยูใ่ นศาลาธรรมต่างจ้องมองพระองค์ พระองค์จึงทรงเริ่มตรัสว่า “ในวันนี้ ข้อความจากพระคัมภีร์ที่ท่าน ได้ยินกับหูอยู่นี้เป็นความจริงแล้ว”


104

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง อารัมภบทของลูกา พระวรสารประจำวั น นี้ อ าจเรี ย กได้ ว่ า เป็ น “อารั ม ภบท” ใน ข้อความสองตอนที่ยกมาเป็นบทอ่านนี้  เราได้อ่านอารัมภบทของพระวรสาร และอารัมภบทของเรื่องราวการเทศนาสั่งสอนของพระเยซูเจ้า ลู ก าเริ่ ม ต้ น โดยใช้ โ ครงสร้ า งวรรณกรรมแบบกรี ก  เขาเขี ย น ผลงานนี้เพื่อมอบให้เธโอฟีลัส ซึ่งแปลว่าผู้ที่รักพระเจ้า และเป็นชื่อที่ หมายถึงใครก็ได้ ที่เริ่มแสวงหาพระเจ้าด้วยความรักเพราะต้องการรู้จัก พระเจ้าให้มากยิ่งขึ้น เขาบอกจุดประสงค์ที่เขียนเรื่องนี้ว่าเพื่อแสดงให้เห็นว่า คำสอน เกี่ยวกับความรอดพ้นของคริสตชนนั้นมีหลักฐานยืนยันได้อย่างชัดเจน เขาระบุสามขั้นตอนของการเขียนพระวรสารของเขา กล่าวคือ เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น การถ่ายทอดคำสอน และท้ายที่สุดคือความพยายามบันทึกเป็น ลายลักษณ์อักษร พระวรสารทุกฉบับเขียนขึ้นจากความจริง และไม่ใช่ เรื่องที่แต่งขึ้น เป็นเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต คำสั่งสอน และ พันธกิจกอบกู้มนุษยชาติของพระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธ ผู้สิ้นพระชนม์ และ กลับคืนชีพ พระเยซู เ จ้ า ไม่ ไ ด้ ทิ้ ง บั น ทึ ก ใดๆ ไว้   แต่ ศิ ษ ย์ ข องพระองค์ น ำ ประกาศคำสั่งสอนของพระองค์ไปประกาศ พัฒนาการขั้นที่สอง คือ ใช้ คำสั่ ง สอนของพระคริ ส ตเจ้ า อบรมสั่ ง สอนชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น  ลู ก าเขี ย น พระวรสารหลังจากเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นแล้วประมาณ 50 ปี เขาจึง


บทเทศน์ปี C

105

ไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์  แต่เขาใช้ข้อมูลจากคำบอกเล่าของประจักษ์ พยาน และผู้เทศน์สอนพระวาจา มีตำนานหนึ่งเล่าไว้ด้วยว่า หนึ่งในแหล่ง ข้อมูลของลูกา คือพระนางมารีย์ พระมารดาของพระเยซูเจ้า พัฒนาการขั้นที่สาม คือ วิธีการที่ผู้นิพนธ์พระวรสารใช้ข้อมูลที่ เขามี  ลูกาตัดสินใจเขียนเรื่องราวเรียงตามลำดับเหตุการณ์ที่เขาได้ยิน ได้ฟังมา ผู้นิพนธ์พระวรสารทั้งสี่คนอาจเปรียบได้กับพ่อครัวสี่คนที่ตั้งใจ จะอบขนมเค้ก เขาไปหาซื้อส่วนประกอบจากร้านเดียวกัน ร้านนั้นก็คือ ชีวิต และผลงานกอบกู้มนุษยชาติของพระเยซูเจ้า ซึ่งลูกาเรียกว่า “เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น” เราจะได้เค้กสี่ชิ้นที่เหมือนกันจากแหล่งเดียวกัน หรื อ ไม่ น่ า จะเป็ น เช่ น นั้ น เพราะพ่ อ ครั ว แต่ ล ะคนมี วิ ธี ก ารผสมส่ ว น ประกอบต่ า งกั น  และต้ อ งการทำเค้ ก ต่ า งชนิ ด กั น  คนหนึ่ ง ทำเค้ ก คริสต์มาสครบสูตร อีกคนหนึ่งเลือกทำเค้กผลไม้เนื้อฟู อีกคนหนึ่งทำ เป็นขนมเค้กรสหวาน ในทำนองเดียวกัน ผู้นิพนธ์ทั้งสี่คนก็บอกเล่า เรื่องราวของพระเยซูเจ้าในแง่มุมที่ต่างกัน ปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลมากคือ สถานการณ์ของงานอภิบาลในชุมชนคริสตชนที่ผู้นิพนธ์คนนั้นอาศัยอยู่ นอกจากนี้ความสามารถ และบุคลิกส่วนตัวของผู้นิพนธ์ก็ปรากฏให้เห็น ได้ในงานเขียนของพวกเขาด้วย จากงานเขียนของลูกา เราเห็นลักษณะประจำตัวอย่างหนึ่งของเขา คือ เขาให้ความสำคัญกับการภาวนา เขาเน้นย้ำถึงความเมตตาของ พระเจ้า และความเอาใจใส่ของพระเจ้าต่อคนยากจน และคนที่ถูกดูถูก เหยี ย ดหยาม ลู ก ากล่ า วถึ ง การภาวนา และคำสอนเรื่ อ งการภาวนา มากกว่าผู้นิพนธ์คนอื่น พระวรสารของเขาบันทึกคำภาวนาหลายบทที่เรา คุ้นเคย เช่นบทเพลงสรรเสริญของพระนางมารีย์ เศคาริยาห์ และสิเมโอน ที่พระศาสนจักรใช้เป็นบทภาวนาประจำวัน มีบทข้าแต่พระบิดา และ ครึ่งแรกของบทวันทามารีย์ มีธรรมล้ำลึกภาคชื่นชมยินดีห้าข้อสำหรับใช้ รำพึงระหว่างสวดสายประคำ และบทภาวนาสั้นๆ มากมาย เช่น บท ภาวนาของคนเก็บภาษีในพระวิหาร และของโจรกลับใจบนเขากัลวารีโอ


106

บทเทศน์ปี C

ลูกาเป็นผู้นิพนธ์พระวรสารผู้สรรเสริญความเมตตาของพระเจ้า เขาเล่ า เรื่ องของหญิงผู้กลับใจและล้ า งพระบาทของพระเยซู เ จ้ า ด้ ว ย น้ำตาของนาง เรื่องของบุตรล้างผลาญ โจรกลับใจ คนเก็บภาษีผู้ถ่อมตน แต่คำภาวนาแสดงความสำนึกผิดของเขาพุ่งขึ้นไปถึงสวรรค์   ทุกเช้า ข้ า พเจ้ า รู้ สึ ก มี ก ำลั ง ใจเมื่ อ สวดบทถวายพระพรของเศคาริ ย าห์ เ พื่ อ เฉลิมฉลอง “พระเมตตากรุณาของพระเจ้าของเรา พระองค์จะเสด็จมา เยี่ยมเราจากเบื้องบนดังแสงอรุโณทัย” พระเยซูเจ้าทรงประกาศความห่วงใยของพระเจ้าต่อคนยากจน และคนนอกสั ง คม เมื่ อ พระองค์ ท รงเริ่ ม ต้ น พั น ธกิ จ เทศน์ ส อนของ พระองค์ในนาซาเร็ธ นี่คือปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า เพราะ พระองค์ทรงนำข่าวดีมาประกาศแก่คนยากจน ประกาศการปลดปล่อย แก่ผู้ถูกจองจำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด และปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้ เป็นอิสระ พระเอกในเรื่องนี้คือคนโรคเรื้อน คนเลี้ยงแกะ คนเก็บภาษี คนบาปสาธารณะ ชาวสะมาเรีย และคนต่างชาติ ทุกคนเป็นบุคคลที่อยู่ นอกระบบสังคม ลูกาเน้นบทบาทสำคัญที่มอบให้แก่สตรี  โดยเฉพาะ พระนางมารีย์ นางเอลีซาเบธ มารธา และมารีย์ กลุ่มสตรีที่ช่วยเหลือ พระเยซูเจ้าและอัครสาวกในงานเทศนาสั่งสอนของพระองค์ และกลุ่ม สตรีทแ่ี สดงความสงสารพระองค์ระหว่างทางไปสูท่ ป่ี ระหารบนเขากัลวารีโอ หน้าพระวรสารของลูกาเต็มไปด้วยผู้คน เขาไม่เสนอบทเทศน์ ยาวๆ เหมือนมัทธิว หรือคำปราศรัยยาวๆ เหมือนในพระวรสารของ ยอห์น คำสั่งสอนของพระเยซูเจ้าเข้าถึงประชาชนได้ทันที และคำสั่งสอน ส่วนใหญ่ใช้บุคคลเป็นตัวอย่าง เช่นลาซารัสผู้ยากไร้เป็นตัวแทนของ บุญลาภ ในขณะที่ภัยทั้งปวงที่เกิดจากความร่ำรวยมีอยู่ในตัวของเศรษฐี เจ้าของบ้านที่ลาซารัสนั่งอยู่หน้าประตู  เราต้องสนใจคำกริยาที่ลูกาใช้ เสมอ เพราะคำเหล่านี้บอกเราว่าพระเจ้าทรงทำอะไร และประชาชนแสดง ปฏิกิริยาอย่างไรต่อกิจการของพระเยซูเจ้า ตามปกติ  เราจะเห็นว่าคน


บทเทศน์ปี C

107

เหล่านี้ประทับใจจนต้องแสดงความพิศวง และสรรเสริญพระเจ้า ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของลูกา คือ การกล่าวถึงมื้ออาหาร บ่อยครั้ง กล่าวกันว่าในพระวรสารของลูกา พระเยซูเจ้ามักประทับนั่งที่ โต๊ะอาหาร หรือทรงเดินไปที่โต๊ะอาหาร หรือเพิ่งลุกขึ้นจากโต๊ะอาหาร และในหนังสือเล่มที่สองของลูกา คือกิจการอัครสาวก ก็บอกว่าหนึ่งในสี่ ศิลาหัวมุมของชุมชนคริสตชนยุคต้นก็คือพิธีบิปัง ด้วยการเน้นเรื่องการภาวนา ความเมตตา การเอาใจใส่คนยากจน การเทศน์สอนในระดับประชาชน และการเลี้ยงฉลองที่โต๊ะอาหาร ลูกา จึงได้รบั การขนานนามว่าเป็นคาทอลิกคนแรก ผูด้ ำเนินชีวติ แบบคาทอลิก สามารถเข้าใจภาษาที่จริงใจของลูกาได้ง่าย ขณะที่เราร่วมเดินทางไปกับลูกาในปีนี้ ขอให้เราพบประสบการณ์ เหมื อ นกั บ ศิ ษ ย์ ทั้ ง สองบนเส้ น ทางสู่ เ อมมาอู ส เถิ ด  ขอให้ ใ จของเรา เร่าร้อนเป็นไฟ ขณะที่เราทำความรู้จักกับองค์พระผู้เป็นเจ้าในพระวาจา ของพระองค์ ขอให้เราจำพระองค์ได้ในพิธีบิปัง และหลังจากได้รับความ สว่างจากพระวาจาของพระองค์  และได้รับการเลี้ยงดูจากปังศักดิ์สิทธิ์ ของพระองค์แล้ว ขอให้เราเป็นพยานต่อหน้าผู้อื่นอย่างแข็งขันเถิด ข้อรำพึงที่สอง อารัมภบทแนะนำตัวพระเยซูเจ้า ข้อความแรกที่ผู้นิพนธ์พระวรสารแต่ละคนอ้างว่าเป็นพระวาจา ของพระเยซู เ จ้ า  ช่ ว ยให้ เ ราเข้ า ใจได้ ม ากที เ ดี ย วว่ า ผู้ นิ พ นธ์ มี เ จตนา อย่างไร มัทธิว และมาระโกให้พระเยซูเจ้าทรงประกาศว่าพระอาณาจักร อยู่ใกล้แล้ว และทรงเรียกร้องให้ประชาชนกลับใจ และเชื่อข่าวดี ยอห์นให้พระเยซูเจ้าตอบสนองการแสวงหาของมนุษย์ว่า “ท่าน ต้องการสิ่งใด ... มาดูซิ” ส่วนลูกาให้พระเยซูเจ้าอยู่ในศาลาธรรมที่ นาซาเร็ธ และอ่านข้อความจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ ว่า “พระจิต


108

บทเทศน์ปี C

ของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า” เป็นข่าวดีสำหรับคนยากจน และผู้ถูก กดขี่ เป็นปีแห่งความโปรดปรานของพระเจ้า ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาแห่ง พระหรรษทานอันอุดม มีสามหัวข้อที่ถักร้อยเป็นเรื่องราวนี้ คือ การ ทำงานของพระจิตเจ้า ความเอาใจใส่ของพระเจ้าต่อคนยากจน และผู้ถูก กดขี่ และผลกระทบจากอานุภาพของพระเจ้าในวันนี้ ลูกาเป็นผู้นิพนธ์ที่ให้ความสำคัญแก่พระจิตเจ้า ยอห์นเอ่ยถึงคำ สัญญาจะประทานพระจิตเจ้า แต่เรื่องของลูกาบอกเล่าอย่างมีชีวิตชีวา เรือ่ งการทำงานของพระจิตเจ้าในพระเยซูเจ้า และต่อมาในชุมชนคริสตชน ลูกาเล่าว่าพระจิตเจ้าทรงแผ่เงาปกคลุมพระนางมารีย์ ซึ่งบ่งบอกถึงการ ประทับอยู่และพระอานุภาพของพระเจ้า ถ้อยคำถวายพระพรของนาง เอลีซาเบธ และสิเมโอน ถูกเปล่งออกมาเมื่อคนทั้งสองเต็มเปี่ยมด้วย พระจิตเจ้า นับจากเวลาที่พระเยซูเจ้าเป็นผู้ใหญ่ และปรากฏพระองค์ที่ แม่น้ำจอร์แดน พระองค์ทรงเต็มเปี่ยมด้วยพระจิตเจ้า พระจิตเจ้าทรง นำทางพระองค์ และทรงได้รับอำนาจจากพระจิตเจ้า ในภาพนิ มิ ต อั น โด่ ง ดั ง ของเอเสเคี ย ล เขาเห็ น หุ บ เขาที่ มี แ ต่ กระดูกแห้ง แต่เมื่อลมหายใจ หรือพระจิตของพระเจ้า เข้าสู่กระดูก เหล่านั้น ชีวิตใหม่จึงปรากฏขึ้น เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างลับๆ เพราะ มีเสียงดังจากกระดูกที่กระทบกัน ขณะที่กระดูกเชื่อมต่อกัน เส้นเอ็นใหม่ ให้ความแข็งแรง ผิวหนังทำให้งดงาม และลมหายใจของพระเจ้าทำให้ เกิดอัศจรรย์แห่งชีวิต ข่าวดีที่ประกาศภายใต้อำนาจของพระจิตเจ้าที่นาซาเร็ธ เป็น ข่าวดีสำหรับกระดูกแห้งแห่งความยากจนภายใน การถูกจองจำ ความ มืดบอด และการกดขี่ภายใน เราเห็นอาการเหล่านี้ได้รอบตัวเราใน ปัจจุบัน ผู้ให้คำปรึกษาปัญหาชีวิต  และจิตแพทย์  มีคนไข้เข้าคิวยาว รอรับบริการ เมื่อใดที่มีบริการรักษาโรค ไม่ว่าด้วยพิธีทางศาสนาหรือ ทางโลก จะมีคนมารับบริการกันแน่นวัดหรือห้องโถง มนุษย์ไม่ปิดบัง


บทเทศน์ปี C

109

เรื่องราวชีวิตที่สิ้นหวังของตนไว้เป็นความลับอีกต่อไป พระเยซู เ จ้ า ทรงวางม้ ว นหนั ง สื อ  และประกาศว่ า พระจิ ต เจ้ า ประทับอยู่ที่นี่ในวันนี้แล้ว ลูกาใช้คำว่าวันนี้บ่อยครั้งเพื่อบ่งบอกถึงการ ประทับอยู่ของพระเจ้า “วันนี้ พระผู้ไถ่ประสูติเพื่อท่านแล้ว ... วันนี้ เราได้เห็นเรื่องแปลกประหลาด ... วันนี้  ความรอดเข้ามาสู่บ้านนี้แล้ว ... วันนี้  ท่านจะอยู่กับเราบนสวรรค์”  การไตร่ตรองพระวรสารอย่าง สม่ำเสมอจะทำให้เราคุ้นเคยกับสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำในอดีต และช่วย ให้มองเห็นสิ่งที่พระเจ้าทรงกำลังกระทำอยู่ในปัจจุบัน พระเยซู เ จ้ า ทรงสอนประชาชนให้ ผ่ อ นคลายภายใต้ ค วาม โปรดปรานของพระเจ้า และเขาจะพบว่าเขาสามารถปลดโซ่ตรวนที่ พันธนาการเขาอยู่ได้ วันปลดปล่อยจะมาถึงเมื่อท่านค้นพบว่าโซ่ตรวนที่ ล่ามท่านอยู่นั้นไม่ได้มีกุญแจล๊อกไว้ นอกจากมือของท่านเองที่กำโซ่นั้น ไว้ไม่ยอมปล่อย เมื่อท่านค้นพบความรักของพระเจ้าที่รับรู้ได้ในองค์ พระเยซูเจ้า ท่านจะปล่อยมือ และโซ่จะร่วงลงไปเอง พระเยซูเจ้าทรงนำข่าวของพระเจ้ามาแจ้งแก่คนยากจน ข่าวนั้น ประกาศว่าพระเจ้าทรงรักมนุษย์ ทรงห่วงใย สงสาร และพร้อมจะให้อภัย เพราะพระองค์ทรงโปรดปรานเรา ถ้าข้าพเจ้าได้รับสิทธิพิเศษให้ได้ยิน ได้ฟังข่าวของพระเจ้า ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกอยากจะส่งภาพของพระเจ้าผู้ทรง เมตตากรุณานี้ต่อไปให้แก่ผู้อื่น ไม่ใช่ด้วยคำพูด ซึ่งอาจเป็นเพียงการ แสดงความศรัทธาภายนอกแต่ภายในกลวง แต่ด้วยการดำเนินชีวิตเป็น แบบอย่ า ง ข้ า พเจ้ า ต้ อ งถามตนเองเสมอว่ า  วั น นี้   ชี วิ ต ของข้ า พเจ้ า ประกาศข่าวของพระเจ้าให้แก่ผู้อื่นว่าอย่างไร


110

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 2 คนจำนวนมากได้เรียบเรียงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับพวกเรา... ลูกาไม่ใช่บุคคลแรกที่เขียนพระวรสาร มาระโกได้เขียนพระวรสารของเขามาก่อนแล้ว และลูกาก็รู้ความจริงข้อนี้ เขาใช้พระวรสาร ของมาระโกเป็นแหล่งข้อมูล และบางครั้งก็บอกเล่าเหตุการณ์เหมือนกัน แต่ เ ห็ น ได้ ชั ด ว่ า มี ห ลายวิ ธี ที่ จ ะบอกเล่ า หั ว ข้ อ เดี ย วกั น  ลู ก า ไม่วิจารณ์ผู้ที่เขียนพระวรสารก่อนเขา แต่เขาเขียนพระวรสารของตนเอง และเน้นเรื่องที่เขารู้สึกว่าสำคัญสำหรับผู้ที่เขาต้องการให้อ่านพระวรสาร ของเขา ผู้ที่เป็นพยานรู้เห็น และประกาศพระวาจามาตั้งแต่แรก ได้ถ่ายทอด เหตุการณ์เหล่านี้ให้เรารู้แล้ว ... ลูกายอมรับว่าเขาเหมือนกับเรา เพราะเขาไม่เคยพบตัวจริงของ พระเยซูเจ้า เขาเป็นคริสตชนรุ่นที่สอง แต่เขาสอบถาม และต้องการ แบ่งปันข้อมูลที่เขาค้นพบกับเรา เราเรียกข้อมูลเหล่านี้ว่าธรรมประเพณี ... ส่วนข้าพเจ้าเล่า ข้าพเจ้าเป็นข้อหนึ่งของห่วงโซ่ ที่แบ่งปันและ ถ่ายทอดเรื่องราวของพระเยซูเจ้าให้แก่ชนรุ่นต่อไปด้วยหรือไม่ ข้าพเจ้าจึงตกลงใจค้นคว้าเรื่องราวทั้งหมดตั้งแต่ต้นอย่างละเอียด แล้ ว เรี ย บเรี ย งตามลำดั บ เหตุ ก ารณ์ อี ก ครั้ ง หนึ่ ง สำหรั บ ท่ า นด้ ว ย ท่านเธโอฟีลัสที่เคารพ เพื่อท่านจะได้รู้ว่าคำสอนที่ท่านรับมานั้นเป็น ความจริง


บทเทศน์ปี C

111

ลูการะบุเจตนาของเขาอย่างชัดเจน เขาต้องการเสริมความเชื่อ ของผู้อ่านให้เข้มแข็งมากขึ้น พระวรสารนี้ไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้น หรือเป็น ตำนาน แต่เป็นประวัติศาสตร์ ... ลูกาเขียนพระวรสารสำหรับผู้อ่านที่ เป็นคริสตชนใหม่ที่ไม่ใช่ชาวยิว ลูกา (เช่นเดียวกับนักบุญเปาโล อาจารย์ ของเขา) เน้นย้ำบางด้านของชีวิตของพระเยซูเจ้า และอธิบายคร่าวๆ ใน เรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับธรรมเนียมของชาวยิว ผลงาน ของลู ก าได้ รั บ การดลใจจากพระเจ้ า  แต่ ก ารดลใจนี้ ไ ม่ บ ดบั ง ความ สามารถ และคุณสมบัติของผู้นิพนธ์ ... พระวรสารตามคำบอกเล่าของ นักบุญลูกาจึงเป็นพระวรสารต้นฉบับ พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปแคว้นกาลิลี พร้อมด้วยพระอานุภาพของ พระจิตเจ้า กิตติศัพท์ของพระองค์เลื่องลือไปทั่วแว่นแคว้นนั้น พระจิ ต เจ้ า ทรงเป็ น พลั ง ภายในของพระเยซู เ จ้ า  ลู ก าเน้ น ว่ า พระองค์ทรงปฏิสนธิด้วยเดชะพระจิตเจ้า (ลก 1:35) ทรงได้รับอำนาจ จากพระจิตเจ้าเมื่อพระองค์ทรงรับพิธีล้าง (ลก 3:22) ... และพระจิต ทรงนำทางพระองค์ (ลก 4:1, 14, 18) “การสั่งสอนตามศาลาธรรม” หมายถึงการอธิบายข้อความตอน หนึ่งของพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม บางครั้ง เราสงสัยว่าพระเยซูเจ้า ทรงเทศน์ ส อนเรื่ อ งอะไร พระองค์ ท รงแสดงความคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ ข้อความในพระคัมภีร์ ทรงเผยความหมายดั้งเดิมของข้อความนั้น และ ทรงเติมรายละเอียดเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความแม่นยำ หรือความแตกต่าง ของภาษา ... แต่ถึงคำเทศน์สอนของพระองค์เป็นสิ่งใหม่ แต่รากฐาน ของพระวรสารก็อยู่ที่คำสัญญาของพระคัมภีร์ ซึ่งชาวยิวรู้จักกันดีอยู่แล้ว เมื่อสภาสังคายนาให้นำข้อความจากพันธสัญญาเดิมกลับมาใช้เป็นบท อ่ า นที่ ห นึ่ ง ในพิ ธี ก รรมวั น อาทิ ต ย์   สภาสั ง คายนาไม่ ไ ด้ คิ ด ประดิ ษ ฐ์ ธรรมเนียมใหม่ แต่ย้อนกลับไปหาธรรมประเพณีโบราณ ... เพราะสภา สังคายนา เราจึงกลับไปปฏิบัติอย่างที่พระเยซูเจ้าทรงเคยปฏิบัติ...


112

บทเทศน์ปี C

พระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงเมืองนาซาเร็ธ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระองค์ทรง เจริญวัย ในวันสับบาโต พระองค์เสด็จเข้าไปในศาลาธรรมเช่นเคย ทรงยืนขึ้นเพื่ออ่านพระคัมภีร์ มีผู้ส่งม้วนหนังสือประกาศกอิสยาห์ให้ พระองค์ พระเยซูเจ้าทรงคลี่ม้วนหนังสือออก... พระเยซู เ จ้ า ทรงเป็ น พระเมสสิ ย าห์ ข องคนยากจน พระองค์ ไม่พยายามเสนอตัว หรืออวดอ้างตนเอง พระองค์ไม่เสด็จไปเทศน์สอน ในกรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งถือว่าเป็นเมืองของกษัตริย์และมหาสมณะ แต่ทรง เทศน์ ส อนในแคว้นที่ห่างไกลและต่ำ ต้ อ ย “แคว้ น กาลิ ลี  แห่ ง บรรดา ประชาชาติ” (มธ 4:15) ดินแดนของคนต่ำต้อย และยากจน... พระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นทั้งสมณะและพระเมสสิยาห์ ไม่เสด็จไปที่ พระวิหารเพื่อประกอบศาสนกิจและถวายเครื่องบูชา แต่เสด็จเข้าไปใน ศาลาธรรมประจำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นสถานที่เล็กๆ สำหรับอธิษฐานภาวนา และรับฟังพระวาจาของพระเจ้า ทรงเข้าร่วมในพิธีนมัสการซึ่งมีพระคัมภีร์เป็นศูนย์กลาง ... ด้วยวิธีนี้ พระองค์ทรงแสดงว่าหน้าที่แรกของ สมณภาพของพระองค์คือการประกาศพระวาจาของพระเจ้า... แม้ แ ต่ ทุ ก วั น นี้   เราก็ พ บพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ได้ ใ นภาคหนึ่ ง ของ พิธบี ชู าขอบพระคุณทีเ่ ราเรียกว่า “ภาควจนพิธกี รรม” ... มีเพียงครัง้ เดียว ที่พระองค์ทรง “ทำพิธีถวาย” นั่นคือวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ ... แต่ พระองค์ “ตรัส” หลายครั้งหลายหน เพราะนี่คือหน้าที่สมณะของพระองค์  ... นักบุญเปาโลเข้าใจเรื่องนี้ดีมาก และเขาแนะนำตนเองว่าเป็น “ผู้รับใช้ของพระคริสตเยซู ... โดยทำหน้าที่สมณะในการประกาศข่าวดี ของพระเจ้า” (รม 15:16) ม้วนพระคัมภีร์ที่พระเยซูเจ้าทรงรับมาคลี่ออกและอ่านในวันนั้น ... พระคัมภีร์นั้นยังมีอยู่ในวันนี้ ... ข้าพเจ้ามีหนังสือศักดิ์สิทธิ์นี้อยู่กับตัว หรืออยู่ในบ้านหรือเปล่า ... ข้าพเจ้าหาเวลาอ่านหรือเปล่า ... พระคัมภีร์ เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือที่ข้าพเจ้าอ่านทุกวันหรือเปล่า...


บทเทศน์ปี C

113

ทรงพบข้อความทีเ่ ขียนไว้วา่ “พระจิตของพระเจ้าทรงอยูเ่ หนือข้าพเจ้า ...” ด้วยถ้อยคำนี้ พระเยซูเจ้าทรงเผยว่าพันธกิจของพระองค์คือการ ประกาศพระวาจาของพระเจ้า ในภาษาของชาวอิสราเอล ข้อความนี้ หมายความว่า “ข้าพเจ้าเป็นประกาศกคนหนึ่ง ข้าพเจ้าถูกส่งมาโดย พระเจ้า เพื่อให้ข้าพเจ้าพูดในพระนามของพระองค์  ประกาศสารของ พระองค์...” และพระเยซูเจ้าทรงถือว่าพระองค์อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของ ประกาศกผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด คือประกาศกอิสยาห์  ม้วนหนังสือจากชุมชน กุมรานช่วยให้เรารู้ว่า หนังสืออิสยาห์เป็นหนังสือที่ชาวยิวอ่านบ่อยที่สุด ในยุคสมัยของพระเยซูเจ้า หนังสือเก่าแก่ที่สุดในโลกนี้เป็นม้วนหนังสือ ที่ทำจากแผ่นหนัง (พบเมื่อหลายปีก่อนในถ้ำแห่งหนึ่ง และบัดนี้ ถูกเก็บ รั ก ษาไว้ ใ นพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ห นั ง สื อ ในกรุ ง เยรู ซ าเล็ ม ) และจารึ ก หนั ง สื อ ประกาศกอิ ส ยาห์ ทั้ ง เล่ ม ด้ ว ยลายมื อ  ... เป็ น เอกสารที่ ไ ม่ เ หมื อ น วรรณกรรมใดในโลก ม้วนหนังสือนี้ตกทอดมาถึงเราราวกับด้วยเหตุ บังเอิญ ... แต่เป็นเหตุบังเอิญจริงหรือ ... เราพบว่าหนังสืออิสยาห์เป็น ข้อความที่พระเยซูเจ้าทรงใช้เทศน์สอนชนชาติเดียวกับพระองค์เป็น ครั้งแรก เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ ... ขอให้เราระลึกอีกครั้งหนึ่งว่า คำว่า “เจิม” มาจากคำว่า chrisma ในภาษากรีก และผู้ได้รับเจิมจะได้ชื่อว่า christos ซึ่งเป็นตำแหน่งของ พระเยซูคริสตเจ้า ... พระเยซูเจ้าทรงเป็นมนุษย์ที่ดูดซับพระจิตของ พระเจ้าไว้ในตัว เหมือนกับน้ำมันซึมเข้าสู่ร่างกาย ... “ในองค์พระคริสตเจ้านัน้ พระเทวภาพบริบรู ณ์สถิตอยูใ่ นสภาพมนุษย์ทส่ี มั ผัสได้” (คส 2:9)


114

บทเทศน์ปี C

ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ... คำว่า “ประกาศข่าวดี” แปลมาจากคำภาษากรีกว่า euangelisasthai อิ ส ยาห์ เ ขี ย นคำนี้ ซึ่ ง เต็ ม ไปด้ ว ยความหวั ง เพื่ อ ชาวยิ ว ที่ ถู ก เนรเทศไปอยู่ที่เมืองบาบิโลน เพื่อประกาศข่าวดีแห่งการปลดปล่อยให้ แก่คนเหล่านี้ (อสย 52:7, 61:1) แต่ข่าวดีเรื่องการปลดปล่อย และการ บูรณะกรุงเยรูซาเล็ม ไม่ได้ทำให้ชาวยิวทุกคนยินดี เพราะ “คนยากจน” ก็ยังถูกกดขี่ และไม่มีความสุขต่อไป ... เมื่อเวลาผ่านไป คำว่า “คน ยากจน” ในพระคัมภีร์จึงกลายเป็นหมายถึงไม่เพียงประชาชนที่มีฐานะ ต่ำต้อยทางเศรษฐกิจหรือสังคม แต่ยังหมายถึงทัศนคติภายในของคน ที่พบว่าตนเองกำลังขัดสนอย่างรุนแรง และไม่อาจพึ่งพาอาศัยมนุษย์ได้ เขาจึงหันไปขอความคุ้มครองจากพระเจ้า ... ครั้งนี้ ลูกาย้ำเป็นพิเศษว่า พระเจ้าทรงมีความรักที่ลำเอียงเข้าข้าง “คนยากจน” ... สำหรับท่าน ผู้เป็นพี่น้องชายหญิงของข้าพเจ้า ถ้าท่านรู้สึกว่า ตนเองไม่มีความสุขในโลกนี้ พระวาจาของพระเยซูเจ้ากำลังตรัสกับท่าน โดยเฉพาะ ความสุขกำลังรอท่านอยู่ – จนแสวงหามัน และท่านจะพบ กับความสุขในสถานที่ซึ่งพระเจ้าประทับอยู่ และโดยเฉพาะในพระวาจา ของพระองค์... ประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผูถ้ กู กดขีใ่ ห้เป็นอิสระ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจาก พระเจ้า คนทั่วไปจะตีความของข้อความนี้ตามพื้นอารมณ์ของตน ซึ่ง อาจทำให้ มี ค วามหมายสองอย่ า งที่ ต รงกั น ข้ า มกั น  กล่ า วคื อ  การ ปลดปล่อยทางกายภาพ หรือทางการเมือง ของผู้ถูกจองจำ คนตาบอด


บทเทศน์ปี C

115

และผู้กดขี่ ... และการปลดปล่อยด้านจิตวิญญาณ ... หรือบางที พระวาจา ของพระองค์อาจหมายถึงความหมายทั้งสองด้านนี้ก็ได้ ... เห็นได้ชัดว่าพระเยซูเจ้าไม่ได้ทรงเปิดประตูคุกทุกแห่ง ไม่ได้ รักษาคนตาบอด หรือคนป่วยทุกคน ไม่ได้ทรงลบล้างการกดขี่ข่มเหง ทุกรูปแบบให้หมดไปจากโลกของเรา ... ดังนั้น เราจะพูดว่าคำสัญญา ของพระองค์เป็นคำสัญญาที่ว่างเปล่า และเป็นความเท็จหรือ ... คน ยากจนคาดหวังว่าจะได้รับการปลดปล่อยทางวัตถุเป็นสิ่งแรก เป็นไปได้ ที่พวกเราผู้เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้ามีความผิดที่ไม่ทำให้คำประกาศ นี้กลายเป็นความจริง เราทำอะไรบ้างเพื่อปลดปล่อยพี่น้องชายหญิง ของเรา เพื่ อ บรรเทาใจคนเจ็ บ ป่ ว ย คนเหงา คนที่ ไ ม่ มี ใ ครต้ อ งการ คนที่ไม่ได้รับความรัก แต่เป็นความจริงแน่นอนว่าการกดขี่ที่ร้ายที่สุด คือ การเป็นทาส ภายใน ซึ่งบาปของเราผลักดันเราไปสู่ความเป็นทาสนี้ คำที่แปลในที่นี้ว่า “ปลดปล่อย” มาจากคำว่า aphesis ในภาษากรีก ซึ่งหมายถึง “การ ให้อภัย” อีกด้วย (ลก 1:77, 3:3, 24:47, กจ 2:38, 5:31 เป็นต้น) พระเจ้าข้า โปรดทรงปลดปล่อยเรา โปรดประทานอภัยแก่เราเถิด ข้าพเจ้าเองก็เป็นทาส เมื่ อ หั ว ใจของข้ า พเจ้ า เป็ น นั ก โทษของ ความเกลียดชัง ความกระหายอำนาจ ความฟุ่มเฟือย และความสุข สบายทางโลก ... การปลดปล่อยที่พระเยซูเจ้าทรงสัญญานี้   เป็นการ ปลดปล่อยสำหรับข้าพเจ้าด้วย ... แล้วพระเยซูเจ้าทรงม้วนหนังสือส่งคืนให้เจ้าหน้าที่ และประทับนั่ง สายตาของทุกคนที่อยู่ในศาลาธรรมต่างจ้องมองพระองค์ พระองค์ จึงทรงเริ่มตรัสว่า “ในวันนี้ ข้อความจากพระคัมภีร์ที่ท่านได้ยินกับหู อยู่นี้เป็นความจริงแล้ว”


116

บทเทศน์ปี C

ข้อความเหล่านี้เกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าอย่างไรในวันนี้ ในศตวรรษที่ 20 นี้ ... ลูกาย้ำคำอันเร้นลับว่า “วันนี้” ถึงสิบสองครั้งในพระวรสารของ เขา เริ่มตั้งแต่ “วันนี้ พระผู้ไถ่ประสูติเพื่อท่านแล้ว” จนถึง “วันนี้ ท่านจะ อยู่กับเราในสวรรค์” (ลก 2:11, 3:22, 4:21, 5:26, 12:28, 13:33, 19:5, 19:9, 22:34, 22:61, 23:43)


บทเทศน์ปี C

117

วั นอาทิตย์ที่สี่ เทศกาลธรรมดา ลูกา 4:21-30 พระองค์จึงทรงเริ่มตรัสว่า “ในวันนี้ ข้อความจากพระคัมภีร์ ที่ท่านได้ยินกับหูอยู่นี้เป็นความจริงแล้ว” ทุกคนสรรเสริญพระองค์ และต่างประหลาดใจในถ้อยคำน่าฟังที่พระองค์ตรัส เขากล่าวกันว่า “นี่เป็นลูกของโยเซฟมิใช่หรือ” พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า “ท่านคงจะ กล่าวคำพังเพยนี้แก่เราเป็นแน่ว่า ‘หมอเอ๋ย จงรักษาตนเองเถิด สิ่งที่ พวกเราได้ยินว่าเกิดขึ้นที่เมืองคาเปอรนาอุมนั้น  ท่านจงทำที่นี่ใน บ้านเมืองของท่านด้วยเถิด’” แล้วพระองค์ยังทรงเสริมอีกว่า “เรา บอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ไม่มีประกาศกคนใดได้รับการ ต้อนรับอย่างดีในบ้านเมืองของตน เราบอกความจริงอีกว่า ในสมัย ประกาศกเอลียาห์ เมื่อฝนไม่ตกเป็นเวลาสามปีหกเดือน และเกิด ความอดอยากครั้งใหญ่ทั่วแผ่นดิน มีหญิงม่ายหลายคนในอิสราเอล แต่ พ ระเจ้ า มิ ไ ด้ ท รงส่ ง ประกาศกเอลี ย าห์ ไ ปหาหญิ ง ม่ า ยเหล่ า นี้ นอกจากหญิ ง ม่ า ยที่ เ มื อ งศาเรฟั ท ในเขตเมื อ งไซดอน ในสมั ย ประกาศกเอลีชา มีคนโรคเรื้อนหลายคนในอิสราเอล แต่ไม่มีใครได้ รับการรักษาให้หายจากโรค นอกจากนาอามานชาวซีเรียเท่านั้น” เมื่อคนที่อยู่ในศาลาธรรมได้ยินเช่นนี้ ทุกคนโกรธเคืองยิ่งนัก


118

บทเทศน์ปี C

จึงลุกขึ้นขับไล่พระองค์ออกไปจากเมือง นำไปที่หน้าผาของเนินเขา ที่เมืองตั้งอยู่ ตั้งใจจะผลักพระองค์ลงไป แต่พระองค์ทรงดำเนินฝ่า กลุ่มคนเหล่านั้น แล้วเสด็จจากไป


บทเทศน์ปี C

119

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง การทำงาน และปฏิกิริยาต่อการทำงาน ข้อความนี้บรรยายการประกาศข่าวดีของพระเยซูเจ้า และปฏิกิริยาด้านลบที่เพิ่มมากขึ้นในหมู่ประชาชนในบ้านเมืองของพระองค์เอง หลังจากทรงอ่านจากหนังสืออิสยาห์  เกี่ยวกับพระอานุภาพของ พระจิตเจ้าในปีแห่งความโปรดปรานของพระเจ้าแล้ว พระเยซูเจ้าทรงส่ง ม้วนหนังสือคืนให้เจ้าหน้าที่ และประกาศว่า “ในวันนี้ ข้อความจากพระคัมภีร์ที่ท่านได้ยินกับหูอยู่นี้เป็นความจริงแล้ว” พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์เป็น พระวาจาของพระเจ้าที่จารึกบนกระดาษ แต่ไม่มีจุดประสงค์ให้อยู่แต่ใน หน้ากระดาษ เราควรนำพระวาจานี้มาปฏิบัติในชีวิต เช่นเดียวกับเมล็ด พันธุ์พืชที่เก็บไว้ในซอง พระวาจาศักดิ์สิทธิ์จะสูญสิ้นพลังชีวิต ถ้าไม่ถูก หยิ บ ออกมาจากซองและปลู ก ในดิ น  การศึ ก ษาพระคั ม ภี ร์ ท ำให้ เ รา คุ้นเคยกับการทำงานของพระเจ้าในอดีต เพื่อว่าเราจะเห็นการประทับอยู่ และการทำงานของพระเจ้ า ท่ า มกลางสถานการณ์ ปั จ จุ บั น ของเรา พระเจ้าผู้ทรงกระทำการต่างๆ ในอดีตพระองค์นี้ ทรงประทับอยู่ในชีวิต ของเราในวันนี้ ปฏิกิริยาแรกของประชาชนเมื่อได้ยินพระวาจาของพระเยซูเจ้า เป็นปฏิกิริยาในด้านบวก พวกเขาประหลาดใจ และคิดว่าพระวาจาของ พระองค์ น่ า ฟั ง  เต็ ม เปี่ ย มด้ ว ยคุ ณ ความดี ข องพระเจ้ า  แต่ ดู ซิ ว่ า อารมณ์ของประชาชนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วอย่างไร ลูกานำเราเดินทาง ผ่านอารมณ์ต่างๆ เริ่มจากความชื่นชมจากทุกคน เปลี่ยนเป็นความสงสัย


120

บทเทศน์ปี C

กลายเป็นความโกรธ และจบลงด้วยการใช้ความรุนแรง ผู้อ่านต้องใช้จินตนาการของตนเอง เพื่อจะมองเห็นภาพ สังเกต เห็นประชาชนสะกิดกัน หลิวตาให้กนั ได้ยนิ เสียงหายใจฮึดฮัดแสดงความ ไม่พอใจ และเสียงหัวเราะประชด หลังจากแสดงความชื่นชมในตอนแรก ความอิ จ ฉาริ ษ ยาของคนบ้ า นเดี ย วกั น ก็ เ ริ่ ม หว่ า นเมล็ ด แห่ ง ความ คลางแคลงใจ คนแรกพูดเตือนให้ระวัง “นี่เป็นลูกของโยเซฟ มิใช่หรือ” อีกนัยหนึ่งคือ อย่างเพิ่งหลงคารมเขาง่ายๆ คนขี้อิจฉามักปิดบังความไม่เชื่อของเขาไว้ภายใต้คำพูดขำขัน เพื่อหาพรรคพวก แล้วเขาก็ออกมาจากที่ซ่อน เราได้ยินเสียงความอิจฉา ที่ซ่อนอยู่ภายใต้คำพูดชื่นชม “เราได้ยินเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นที่เมือง คาเปอรนาอุม...” เสียงนั้นเปลี่ยนเป็นแข็งกร้าวขึ้นเล็กน้อย “ท่านจงทำ อย่างนั้นที่นี่ในเมืองของท่านด้วยเถิด” เราแทบไม่ต้องใช้จินตนาการ ก็สามารถได้ยินเสียงหัวเราะเยาะจากพวกผู้ชายที่นั่งอยู่ด้านหลัง บัดนี้ เขามีช่องทางแสดงความไม่พอใจออกมาแล้ว เมื่อทรงเห็นอารมณ์ที่เปลี่ยนไป พระเยซูเจ้าจึงตรัสประโยคที่ ไม่ มี วั น ตายว่ า  “ไม่ มี ป ระกาศกคนใดได้ รั บ การต้ อ นรั บ อย่ า งดี ใ น บ้านเมืองของตน” นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่  เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับบุรุษ ศักดิ์สิทธิ์อย่างเอลียาห์  และเอลีชามาแล้วเมื่อหลายปีก่อน ทั้งสองคน ไม่ได้รับการต้อนรับในบ้านเมืองของเขา แต่เขานำพระพรการรักษาโรค ของพระเจ้ามามอบให้แก่คนต่างชาติ ประชาชนคิดว่าพระเยซูเจ้าอวดดีที่นำพระองค์ไปเปรียบเทียบ กับประกาศกผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ และที่เจ็บยิ่งกว่านั้น คือ พระเยซู เ จ้ า ดู เ หมื อ นจะบอกว่ า พระองค์ ก ำลั ง ปฏิ บั ติ พั น ธกิ จ ถึ ง ภายนอก อาณาเขตของอิสราเอล บัดนี้ ประชาชนโกรธจนยับยั้งตนเองไม่ได้ และ เริ่มใช้ความรุนแรง พวกเขาลุกขึ้น และผลักพระองค์ออกไปนอกเมือง การเดินทาง


บทเทศน์ปี C

121

ขึ้นไปบนเนินเขาเป็นการทำนายถึงอีกวันหนึ่ง จะมีฝูงชนที่กำลังโกรธ อี ก กลุ่ ม หนึ่ ง  และเนิ น เขาอี ก ลู ก หนึ่ ง  คำบรรยายการหลบหนี ข อง พระเยซูเจ้าค่อนข้างคลุมเครือ “พระองค์ทรงดำเนินฝ่ากลุ่มคนเหล่านั้น แล้วเสด็จจากไป” ฝูงชนที่กำลังโกรธจะไม่ยอมปล่อยบุคคลที่พวกเขา โกรธให้หลบหนีไปง่ายๆ แน่นอน คำบรรยายของลูกาบอกเป็นนัยถึงอีก วันหนึ่งหลังจากนั้น เมื่อพระเยซูเจ้าจะเสด็จผ่านโลกนี้ และผ่านความ โกรธของชาวโลก และเดินทางกลับไปหาพระบิดา เหตุ ก ารณ์ นี้ ช่ ว ยบรรเทาใจคนทั้ ง หลายที่ ตั้ ง ใจทำกิ จ การดี แต่พบกับความไม่พอใจ ความอิจฉาริษยา และการต่อต้าน พวกเขากำลัง ประสบชะตากรรมเหมือนกับพระเยซูเจ้า ผู้ทรงยืนยันว่าประกาศกมัก ไม่ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากเพื่อนบ้านของตนเอง จากโต๊ะทำงานของ ข้ า พเจ้ า  ข้ า พเจ้ า มองออกไปเห็ น ช่ อ งแคบที่ มี น้ ำ ไหลผ่ า นไปยั ง อ่ า ว ชีพเฮเวิน ในวันที่กระแสน้ำแรงมาก จะเกิดน้ำวนขึ้นที่ข้างฝั่งทั้งสอง และ ทำให้มีกระแสน้ำไหลสวนทาง เป็นพลังที่ช่วยหนุนคนที่แจวเรือสวน กระแสน้ำสายหลัก ในทำนองเดียวกัน กระแสของกิจการดีมักก่อให้เกิด ขบวนการที่มุ่งหน้าไปสู่ทิศทางตรงข้าม ประสบการณ์ที่นาซาเร็ธ เมืองของพระเยซูเจ้า ท้าทายเราให้พินิจ พิจารณาว่าเราแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อความสามารถพิเศษของคนรอบ ตัวเรา เราอิจฉา เรารู้สึกว่าเขาเป็นภัยคุกคาม หรือรู้สึกขาดความมั่นใจ เมื่อเปรียบเทียบเขากับตัวเรา เราปลื้มปีติหรือไม่เมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี  เราสนับสนุนเขาหรือไม่ เราช่วยให้เขาค้นหา และพัฒนาความสามารถพิเศษของเขาหรือเปล่า เรายอมรับประกาศกในหมู่เราด้วยความยินดีหรือเปล่า


122

บทเทศน์ปี C

ข้อรำพึงที่สอง การปฏิเสธพระเยซูเจ้า ... การปฏิเสธพระศาสนจักร เนินเขาทีเ่ ห็นจากระยะไกลจะดูเขียวชอุม่ เสมอ เราอาจใช้ชวี ติ ของ เราให้หมดไปกับการรอคอยสถานการณ์ดีๆ ให้เกิดขึ้นมาเอง เหมือนกับ ผู้หญิงที่รอคอย และแสวงหาชายในอุดมคติ เธอได้พบเขาในที่สุด แต่ เธอก็ค้นพบด้วยว่าเขาเองก็กำลังแสวงหาผู้หญิงในอุดมคติอยู่เหมือน กัน ชาวนาซาเร็ธเริ่มไม่เชื่อถือพระเยซูเจ้า เพราะมองว่าพระองค์เป็น มนุษย์เหมือนกับเขาเกินไป พระองค์เป็นคนข้างบ้าน “คนนี้เป็นลูกของ โยเซฟไม่ใช่หรือ จะให้เราฟังเขาหรือ ฉันจะไปหาเขาถ้าต้องการโต๊ะเก้าอี้ สักชุดหนึ่ง พวกชาวนาชอบฝีมือของเขา มีคำขวัญติดอยู่ที่ประตูบ้านของ เขาไม่ใช่หรือว่า ‘แอกของเราอ่อนนุ่ม และภาระของเราก็เบา’ เขาเป็น ช่างไม้ฝีมือดีแน่นอน แต่เขาเป็นนักเทศน์ได้หรือ เขาเอาความคิดพวกนี้ มาจากไหน ท่านจะยอมฟังคำแอบอ้างไร้สาระของเขาหรือ” ในทำนองเดียวกันก็มีคนไม่น้อยในปัจจุบันที่คิดว่าพระศาสนจักร มีความเป็นปุถุชนมากเกินไป เขายอมรับไม่ได้กับความผิดพลาด หรือ ความอ่ อ นแอในตั ว ของพระสั น ตะปาปา พระสั ง ฆราช พระสงฆ์   ครู ภราดา ภคินี เพื่อนบ้าน หรือใครก็ตามที่ไปวัด บ่อยครั้งเพียงไรเราต้อง ฟังเสียงวิจารณ์ของคนที่รังเกียจตัวอย่างเลวๆ คนเหล่านี้น่าจะช่างสังเกต ตัวอย่างดีๆ สักครั้งหนึ่งก็ยังดี  ดูเหมือนว่าเป็นแฟชั่นที่จะวิจารณ์อดีต ราวกับว่าไม่เคยมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นเลยในพระศาสนจักรก่อนสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ระบบการศึกษาอบรมด้านศาสนาในอดีตอาจสมควร ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ แต่ก็มีชาย และหญิงเก่งๆ จำนวนมากที่เรียนรู้


บทเทศน์ปี C

123

ประสบการณ์จากระบบการศึกษานี้ ในขณะทีเ่ ราอาจตำหนิแนวทางการสัง่ สอนระหว่างหลายศตวรรษ ที่ผ่านมา ว่าสนใจมากเกินไปว่าความศักดิ์สิทธิ์เป็นสมบัติส่วนตัวของ พระศาสนจักร แต่ยุคสมัยเดียวกันนี้เองได้ทำให้พระศาสนจักรขยายงาน แพร่ธรรมออกไปทั่วโลก และมีการเจริญเติบโตของงานอภิบาลด้านการ ดู แ ล การรักษาพยาบาล และการศึ ก ษา ชาวเมื อ งนาซาเร็ ธ มองเห็ น พระเยซูเจ้าเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น ถ้านักวิจารณ์ในปัจจุบัน ต้องการจับผิดพระศาสนจักร เขาไม่จำเป็นต้องค้นหาอะไรมาก แต่โดย ส่วนตัว ข้าพเจ้ายินดีที่พระศาสนจักรเป็นชุมชนที่อ่อนแอและเป็นปุถุชน คนธรรมดาเช่นนี้ ... เพราะทำให้ข้าพเจ้ามีที่ยืนที่เหมาะสมสำหรับตนเอง ในพระศาสนจักรนี้ ถ้าท่านค้นพบพระศาสนจักรที่ดีพร้อมในวันหน้า มโนธรรมของ ท่ า นจะบอกให้ ท่ า นเข้ า ไปร่ ว มเป็ น สมาชิ ก ในพระศาสนจั ก รนั้ น ทั น ที ท่านเพียงต้องจำไว้ข้อหนึ่งว่า เมื่อท่านเข้าไปอยู่ในพระศาสนจักรนั้นแล้ว พระศาสนจักรจะไม่ดีพร้อมอีกต่อไป

บทรำพึงที่ 2 “ในวันนี้ ข้อความจากพระคัมภีร์ที่ท่านได้ยินกับหูอยู่นี้เป็นความจริง แล้ว” นี่คือประโยคสุดท้ายของการเทศน์สอนครั้งแรกของพระเยซูเจ้า ในศาลาธรรมที่นาซาเร็ธ บ้านเมืองของพระองค์เอง และเป็นบทเทศน์ ตามข้อความจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (61:1-2) พระเยซูเจ้าทรง ระบุโครงการทำงานของพระองค์ กล่าวคือ ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ปลดปล่อยผู้ถูกจองจำ ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ และประกาศปีแห่งความ โปรดปรานจากพระเจ้า...


124

บทเทศน์ปี C

พระองค์ทรงต้องการเพียงจะบอกเราว่า “วันนี้ เหตุการณ์ทั้งหมด นี้ได้สำเร็จเป็นจริงแล้ว ... พระองค์ทรงยืนยันกับผู้ที่ฟังพระองค์ด้วย ความประหลาดใจว่าตัวของพระองค์ และกิจการที่พระองค์กระทำนั้น เป็นไปตามความคาดหมายและความหวังของชาวอิสราเอล พระเยซูเจ้า ทรงนำพระวาจาของพระเจ้าจากอดีตที่ผ่านมานาน มาใช้ในสถานการณ์ จริง ... พระองค์ไม่ต้องการให้มนุษย์กักพระเจ้าให้อยู่แต่ในอดีต หรือใน อนาคตอีกต่อไป วันนี้เป็นเวลาของพระเจ้า เป็นเวลาของแผนการที่ พระองค์กำหนดไว้สำหรับข้าพเจ้า และสำหรับท่าน วันนี้ เราเองก็อยากจะส่งพระวรสารย้อนกลับไปในอดีตเมื่อ 20 ศตวรรษก่อนไม่ใช่หรือ ... วันนี้ ใครคือคนยากจน ผู้ถูกจองจำ ผู้ถูกกดขี่ที่อยู่รอบตัวเรา เรามีข่าวดีอะไรจะประกาศแก่คนเหล่านี้หรือเปล่า ... ทุกคนสรรเสริญพระองค์  และต่างประหลาดใจในถ้อยคำน่าฟังที่ พระองค์ตรัส ถู ก แล้ ว  พระเยซู เ จ้ า ทรงเริ่ ม ต้ น เทศน์ ส อนด้ ว ยการรั บ รองว่ า “วันนี้” ถึงเวลาแล้วสำหรับ “ของขวัญที่ให้เปล่าๆ” คือการให้อภัยของ พระเจ้า (การให้อภัยอาจเป็นความหมายที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคำว่า “ปลดปล่อย” ซึ่งในภาษากรีกคือ aphesis พระเยซูเจ้าเสด็จมาเพื่อ ประทาน “สารแห่งพระหรรษทาน ... ของขวัญที่ให้เปล่า” ของขวัญที่ผู้รับ ไม่จำเป็นต้องสมควรได้รับ ... เราสังเกตได้ว่านักบุญเปาโลได้เขียน อธิบายเทววิทยาเกีย่ วกับ “พระหรรษทาน” มาแล้วในจดหมายถึงชาวโรม ในเวลาที่ลูกา ศิษย์ของเขา เขียนพระวรสารฉบับนี้ว่า “ที่ใดบาปทวีขึ้น ที่นั่นพระหรรษทานก็ยิ่งทวีขึ้นมากกว่า” (รม 5:20) ... ลูกาเล่าเรื่อง ต่างจากมาระโก (6:1-6) เขาบอกว่าประชาชนพอใจคำเทศน์สอนนี้ใน ตอนแรก “ทุกคนสรรเสริญพระองค์”  ชาวนาซาเร็ธไม่ได้เลวไปกว่า คนอื่นๆ แต่ทำไมพวกเขาจึงเปลี่ยนใจ และหันมาต่อต้านพระองค์...


เขากล่าวกันว่า “นี่เป็นลูกของโยเซฟ มิใช่หรือ”

บทเทศน์ปี C

125

ลู ก ารู้ ว่ า ถ้ อ ยคำเหล่ า นี้ แ สดงว่ า พวกเขาไม่ รู้ จั ก ชาติ ก ำเนิ ด แท้ ของพระเยซูเจ้า ดังที่เขาเองเพิ่งจะระบุชัดว่า “คนทั่วไปคิดว่าพระองค์ ทรงเป็นบุตรของโยเซฟ” (ลก 3:23) ในเบื้องต้น ประชาชนประทับใจคำสั่งสอนของพระเยซูเจ้า แต่เขา ไม่ยอมรับ “ตัวพระองค์” พวกเขาคิดว่าพระองค์ทรงเป็นมนุษย์ธรรมดา เกินไป ... เพราะถึงอย่างไร “เขาก็เป็นเพียงบุตรของโยเซฟ”... พระศาสนจั ก รยั ง ทำให้ เ กิ ด ความรู้ สึ ก สะดุ ด เช่ น เดี ย วกั น ใน ปัจจุบัน ประชาชนพร้อมจะยอมรับสารที่พระศาสนจักรประกาศ แต่ ไม่ยอมรับความอ่อนแอประสามนุษย์ของพระศาสนจักร สิ่งที่ประชาชน ไม่ยอมรับมีตั้งแต่เรื่องธุรกิจการเงิน การบริหารองค์กรอย่างเผด็จการ การขาดความกระฉั บ กระเฉงเพราะความเก่ า แก่  บาปของบุ ค คลใน พระศาสนจักร เจ้าหน้าที่บางคนที่ไม่รู้จักพิเคราะห์แยกแยะ ความกลัว นวัตกรรม ความขัดแย้งระหว่างคำสั่งสอนและชีวิตจริงของพระศาสนจักร และยังมีข้อบกพร่องอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะพระศาสนจักร “เป็น มนุษย์มากเกินไป” ในฐานะสถาบันหนึ่ง พระศาสนจักรก็เหมือนกับ สมาคมอื่นๆ จิตใจของชาวนาซาเร็ธ ถูกปิดกั้นเพราะพระองค์เป็นเพียง “บุตรของโยเซฟ”... พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า “ท่านคงจะกล่าวคำพังเพยนี้แก่เราเป็นแน่ ว่า ‘หมอเอ๋ย จงรักษาตนเองเถิด สิ่งที่พวกเราได้ยินว่าเกิดขึ้นที่เมือง คาเปอรนาอุมนั้น ท่านจงทำที่นี่ ในบ้านเมืองของท่านด้วยเถิด’” พระเยซูเจ้าไม่พยายามบรรเทาความขัดแย้งที่กำลังเริ่มขึ้น เพราะ พระองค์ทรงต้องการให้พวกเขาตระหนักว่า พวกเขามีจุดยืนที่ไม่ถูกต้อง “จงทำอัศจรรย์ที่นี่ อย่างที่ท่านเคยทำเพื่อช่วยเหลือประชาชนในเมืองอื่น เถิด” นี่คือการประจญอันยิ่งใหญ่ซึ่งประชาชนโยนใส่พระเยซูเจ้าเสมอ


126

บทเทศน์ปี C

ซาตานก็ทำเช่นนี้ (ลก 4:1-4) ... ฝูงชนร้องขอ “เครื่องหมายจากสวรรค์” (ลก 11:16)... หนึ่งในวิธีที่จะทดสอบพระเจ้าก็คือ ร้องขอให้พระองค์ทรงทำ อัศจรรย์ ... เราเองก็มีทัศนคติเหมือนชาวนาซาเร็ธ เราอยากให้พระเจ้า แสดงพระองค์ให้เราเห็นชัดกว่านี้สักหน่อย ... เราต้องการพระเจ้าผู้ช่วย แก้ปัญหาให้เรา ... แต่พระเจ้าไม่ทรงโปรดบทบาทที่เราพยายามยัดเยียด ให้พระองค์ พระองค์ไม่ทรงโปรดสิ่งที่ผิดธรรมชาติ ประหลาดมหัศจรรย์ ... เมื่อทรงรักษาชายคนตาบอด พระองค์ไม่ได้พยายามทำให้เราทึ่ง แต่ ทรงต้องการประทานเครื่องหมายให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงต้องการ รักษาเราทุกคนให้หายจาก “ความมืดบอด” เมื่อทรงรักษาคนอัมพาตที่ นอนบนแคร่  พระองค์ทรงต้องการรักษาโรคอัมพาตของเราซึ่งเกิดจาก บาป พระวรสารบอกเราเช่นนี้ (ลก 5:17-26) “ทำอัศจรรย์ให้พวกเราเห็นที่นี่ด้วยซิ” บางครั้ง เราเองก็คิดว่าเรา “รับใช้” พระเจ้าด้วยวิธีนี้ ทั้งที่ในความ เป็นจริง เรากำลังปฏิเสธพระองค์เมื่อเราพยายามบังคับให้พระองค์ “รับใช้เรา” ... เรายื่นคำขาดกับพระองค์ ... คำขาดที่น่าขัน! มนุษย์ลุกขึ้น ต่อต้านพระเจ้า และสั่งให้พระองค์ทำสิ่งที่มนุษย์คิดว่าจะมีประโยชน์ต่อ ตนเอง ... นี่ เ ป็ น การยั่ ว ยุ   – การลดฐานะของพระเจ้ า ให้ เ ป็ น เพี ย ง “เครื่องจักรสำหรับยามฉุกเฉิน” ที่ช่วยเราให้พ้นจากปัญหาต่างๆ... ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้ารับใช้พระองค์จริงหรือ หรือเพียงแต่ขอให้ พระองค์รับใช้ข้าพเจ้า ... แทนที่จะสวดภาวนาไม่หยุดหย่อนว่า “ขอให้ พระองค์ทำตามความประสงค์ของข้าพเจ้า” ขอให้ข้าพเจ้าพูดจากใจจริง ว่า “พระประสงค์จงสำเร็จไป” ... ด้วยมือของข้าพเจ้า! แล้วพระองค์ยังทรงเสริมอีกว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ไม่มีประกาศกคนใดได้รับการต้อนรับอย่างดีในบ้านเมืองของตน”


บทเทศน์ปี C

127

นี่คือความจริง ประชาชนไม่ค่อยฟังเสียงประกาศกกันนัก ... การเป็นประกาศกแท้เป็นงานที่ยาก เพราะเราต้องเป็น “โฆษก” ของพระเจ้า ในบทอ่านที่หนึ่งประจำวันอาทิตย์นี้ เยเรมีย์พูดในทำนอง เดียวกัน ด้วยคำพูดที่เต็มไปด้วยความรู้สึกเจ็บปวด พระเจ้าไม่ตรัส ถ้อยคำที่น่าฟังเสมอไป  และเป็นเหตุให้ประกาศกหลายคนเสียชีวิต “เยรูซาเล็มเอ๋ย เยรูซาเล็ม เจ้าฆ่าประกาศก” (มธ 23:37) นี่คือหัวข้อ สำคัญในพระวรสารของลูกา (6:23, 11:47, 48, 49, 50, 13:33-34, กจ 7:52) เราต้องเป็นประกาศกในโลกนี้  โลกที่คนส่วนใหญ่ขาดความเชื่อ และนิยมวัตถุ ... ไม่ใช่ด้วยวิธีที่ประหลาดพิสดาร แต่ด้วยการยึดมั่นใน คุณค่าที่พระคริสตเจ้าทรงสั่งสอน ... ด้วยการอยู่ข้างเดียวกับพระเจ้า และด้วยการพูด “แทนพระเจ้า” (คำว่าประกาศก (prophet) มาจาก คำศัพท์ภาษากรีกว่า Pro-phemi แปลว่า “ข้าพเจ้าพูดแทน ...”) เราบอกความจริงอีกว่า ในสมัยประกาศกเอลียาห์ เมื่อฝนไม่ตกเป็น เวลาสามปีหกเดือน และเกิดความอดอยากครั้งใหญ่ทั่วแผ่นดิน มี หญิงม่ายหลายคนในอิสราเอล แต่พระเจ้ามิได้ทรงส่งประกาศกเอลียาห์ไปหาหญิงม่ายเหล่านี้ นอกจากหญิงม่ายที่เมืองศาเรฟัท ในเขต เมืองไซดอน มีแต่ลูกา ผู้เป็นศิษย์ของเปาโล อัครสาวกของชนชาติต่างๆ ที่ ยกข้อความเปรียบเทียบเหล่านี้จากพันธสัญญาเดิม ซึ่งเน้นว่าพระเจ้า ประทานพรให้แก่บุคคลที่ไม่ใช่ชาวยิว ดังนั้น เหตุการณ์ที่นาซาเร็ธ จึง ถูกนำเสนอเสมือนว่าเป็นทฤษฏีทางเทววิทยาบทหนึ่งว่า ความรอดไม่ได้ สงวนไว้สำหรับผูไ้ ด้รบั เอกสิทธิบ์ างคนเท่านัน้ ... พระเจ้าทรงต้องการช่วย มนุษย์ทกุ คนให้รอดพ้น ... พระเจ้าทรงรัก “คนต่างชาติ” พระองค์ไม่ได้รกั แต่ชาวยิว แต่รักคนอื่นๆ ด้วย


128

บทเทศน์ปี C

ไม่มี “แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์”... ไม่มี “ประชากรเลือกสรร”... นี่คือ ภาษาวิวรณ์ที่เรานำมาอ้างในทางที่ผิดเมื่อเราเข้าใจว่าวลีในพระคัมภีร์ เหล่านี้มีความหมายอย่างจำกัด ราวกับว่ามนุษย์อื่นๆ ถูกตัดออกจาก พันธสัญญานี้ ... ไม่มีเส้นแบ่งเขตแดนสำหรับพระเจ้า พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่ เกินขอบเขตส่วนตัวของเรามนุษย์  บุตรของโยเซฟไม่สามารถถูกกักให้ อยู่ภายใน “ค่าย” เล็กๆ ที่ชื่อนาซาเร็ธนี้ได้ ... พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่กว่า พระศาสนจักรของพระองค์ที่ตามองเห็นได้ แม้แต่มนุษย์ที่ไม่ใช่ คริสตชนก็มีสิทธิได้รับพระหรรษทานจากพระองค์... ในสมัยประกาศกเอลีชา มีคนโรคเรื้อนหลายคนในอิสราเอล แต่ไม่มี ใครได้รับการรักษาให้หายจากโรค นอกจากนาอามาน ชาวซีเรีย เท่านั้น ในการเปรียบเทียบระหว่างชาวอิสราเอล และคนต่างชาติ  คน ต่างชาติมักได้เปรียบเสมอ ทุกครั้งที่มีโอกาส พระเยซูเจ้าจะแสดงความ ชื่นชม “คนต่างชาติ” คนที่ไม่ใช่ชาวยิว และชาวสะมาเรียที่ถือว่าเป็นคน นอกรีตเสมอ (ลก 7:9, 23:47, 10:33, 17:16)... แม้จะแปลก แต่ก็เป็นความจริง ว่าศาสนาสามารถทำให้ใจคนแข็ง กระด้างได้ ... ชนชาติอิสราเอลรอคอยพระเมสสิยาห์มานานถึงสองพันปี แต่ ค วามเชื่อของเขาเหือดแห้งไปหมดแล้ ว  ... นี่ เ ป็ น สิ่ ง เตื อ นใจคน ทั้งหลายที่คิดว่าตนเองคุ้นเคยกับ “เรื่องเกี่ยวกับพระเจ้า” ... ผู้ที่คิดว่า ตนเองปลอดภัยเพราะได้รับ “การศึกษาสมกับเป็นคริสตชนที่ดี” หรือ ไปรับศีลศักดิ์สิทธิ์อย่างสม่ำเสมอ เพราะ “คนเก็บภาษี และหญิงโสเภณี จะเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้าก่อนท่าน” (มธ 21:31)... เมื่อคนที่อยู่ในศาลาธรรมได้ยินเช่นนี้  ทุกคนโกรธเคืองยิ่งนัก จึง ลุกขึ้นขับไล่พระองค์ออกไปจากเมือง นำไปที่หน้าผาของเนินเขาที่ เมืองตั้งอยู่ ตั้งใจจะผลักพระองค์ลงไป


บทเทศน์ปี C

129

นี่คือการประกาศถึงชะตากรรมสุดท้ายของพระเยซูเจ้า พระองค์ จะต้องถูกนำตัว “ออกไปจากเมือง” เพื่อประหารชีวิต (ลก 20:15, กจ 7:58) เราคงคิดผิด ถ้าเราคิดว่าตนเองอยู่บนฝั่งที่ปลอดภัย และไม่มี ทัศนคติเหมือนกับคนเมืองเดียวกับพระเยซูเจ้า ... บ่อยครั้งที่เราขับไล่ พระเยซูเจ้า “ออกไปจาก” การตัดสินใจของเรา ... ออกไปจากบ้านของเรา ... ออกไปจากอาชีพของเรา ... ท่านไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเรา ไปเทศน์ สอนที่อื่นเถิด ท่านประกาศก!... แต่พระองค์ทรงดำเนินฝ่ากลุ่มคนเหล่านั้น แล้วเสด็จจากไป การปฏิเสธของข้าพเจ้าไม่สามารถสกัดกั้นพระเจ้าไม่ให้ทำงาน ตามแผนการของพระองค์ ด้วยความช่วยเหลือจากผู้อื่น! แม้ว่าประวัติศาสตร์จะมีทั้งช่วงเจริญรุ่งเรือง และช่วงตกต่ำ และมนุษย์ปฏิเสธพระองค์ แต่พระเยซูเจ้าก็ยังมุ่งหน้าไปตามทางของพระองค์  ... ขอบพระคุณ พระเจ้าข้า!


130

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่ห้า เทศกาลธรรมดา ลูกา 5:1-11 วั น หนึ่ ง พระเยซู เ จ้ า ทรงยื น อยู่ บ นฝั่ ง ทะเลสาบเยเนซาเรท ขณะที่ ป ระชาชนเบี ย ดเสี ย ดรอบพระองค์ เ พื่ อ ฟั ง พระวาจาของ พระเจ้า พระองค์ทอดพระเนตรเห็นเรือสองลำจอดอยู่ริมฝั่ง  ชาว ประมงกำลังซักอวนอยู่นอกเรือ พระองค์จึงเสด็จลงเรือลำหนึ่งซึ่ง เป็นของซีโมน ทรงขอให้เขาถอยเรือออกไปจากฝั่งเล็กน้อย แล้ว ประทับสั่งสอนประชาชนจากเรือนั้น เมื่อตรัสสอนเสร็จแล้ว พระองค์ตรัสแก่ซีโมนว่า “จงแล่นเรือ ออกไปที่ลึกและหย่อนอวนลงจับปลาเถิด” ซีโมนทูลตอบว่า “พระอาจารย์ พวกเราทำงานหนักมาทั้งคืนแล้ว จับปลาไม่ได้เลย แต่เมื่อ พระองค์มีพระดำรัส ข้าพเจ้าก็จะลงอวน” เมื่อทำดังนี้แล้ว พวกเขา จับปลาได้จำนวนมากจนอวนเกือบขาด เขาจึงส่งสัญญาณเรียกเพื่อน ในเรืออีกลำหนึ่งให้มาช่วย พวกนั้นก็มาและนำปลาใส่เรือเต็มทั้ง สองลำจนเรือเกือบจม เมื่ อ ซี โ มน เปโตร เห็ น ดั ง นี้  จึ ง กราบลงที่ พ ระชานุ ข อง พระเยซูเจ้า ทูลว่า “โปรดไปจากข้าพเจ้าเสียเถิด พระเจ้าข้า เพราะ ข้าพเจ้าเป็นคนบาป” เพราะเขาและคนอืน่ ๆ ทีอ่ ยูก่ บั เขาต่างประหลาดใจ


บทเทศน์ปี C

131

มากที่จับปลาได้มากเช่นนั้น ยากอบและยอห์น บุตรของเศเบดี ซึ่ง เป็นผูร้ ว่ มงานกับซีโมน ก็ประหลาดใจเช่นเดียวกัน พระเยซูเจ้าจึงตรัส แก่ซโี มนว่า “อย่ากลัวเลย ตัง้ แต่นไี้ ป ท่านจะเป็นชาวประมงหามนุษย์” เมื่อพวกเขานำเรือกลับถึงฝั่ง แล้วละทิ้งทุกสิ่ง ติดตามพระองค์


132

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง สำนึกในบาป หลังจากได้รับการต้อนรับอย่างไม่เป็นมิตรจากประชาชนในเมือง นาซาเร็ธ พระเยซูเจ้าทรงเริ่มต้นพันธกิจเทศน์สอน และรักษาโรคตาม เมืองและหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเลสาบ พระองค์ทรงได้รับการ ต้อนรับอย่างดี  คนจำนวนมากพากันมาหาพระองค์  ถึงเวลาแล้วที่จะ ต้องเรียกบางคนให้มาเป็นศิษย์ในระดับใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อคนเหล่านี้จะ สานต่องานของพระองค์เมื่อถึงเวลา ลูกามักบอกเล่าเหตุการณ์หนึ่งด้วย การเน้นที่ประสบการณ์อันลึกซึ้งของบุคคลหนึ่ง ในที่นี้ คือ ซีโมน เปโตร พวกเขาออกเรือหาปลามาแล้วตลอดคืนแต่จับปลาไม่ได้เลย แต่เมื่อพระเยซูเจ้าทรงขอร้อง พวกเขาก็หย่อนอวนลงจับปลาอีกครั้ง หนึ่ง และจับปลาได้จำนวนมาก สำหรับซีโมน เปโตร การได้เห็นแวบ หนึ่งของความยิ่งใหญ่ขององค์พระผู้เป็นเจ้า เป็นประสบการณ์ที่เขาแทบ จะรับไม่ไหว และทำให้เราคิดถึงประสบการณ์ของอิสยาห์ ที่ใช้เป็นบท อ่ า นที่ ห นึ่ ง ของวั น อาทิ ต ย์ นี้   อิ ส ยาห์ ไ ด้ สั ม ผั ส กั บ ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ ไ ม่ เหมือนใครของพระเจ้า และสัมผัสนี้ทำให้รู้สึกว่าตนเองเลวทรามและมี มลทิน ปฏิกิริยาของซีโมน เปโตร คือกราบลงที่พระชานุ (เข่า) ของ พระเยซูเจ้า และยอมรับว่าเขาไม่สมควรอยู่ใกล้พระองค์ “โปรดไปจาก ข้าพเจ้าเสียเถิด พระเจ้าข้า เพราะข้าพเจ้าเป็นคนบาป” บาปคือปัญหาสำหรับยุคปัจจุบัน ปัญหาที่ว่านี้คือคนส่วนใหญ่ ไม่ คิ ด ว่ า บาปเป็ น ปั ญ หา พระสงฆ์ ที่ ฟั ง แก้ บ าปจะนึ ก สงสั ย ว่ า มนุ ษ ย์


บทเทศน์ปี C

133

ทุ ก วั น นี้ ไ ม่ ท ำบาปกั น แล้ ว หรื อ  เพราะเขามี บ าปมาสารภาพน้ อ ย เหลือเกิน พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 12 ตรัสไว้ตั้งแต่เมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน ว่าบาปยิ่งใหญ่ที่สุดของยุคเรา คือเราขาดสำนึกในบาป คือ ไม่ว่าอะไรก็ ไม่ถือว่าเป็นบาป ในจิ ต สำนึ ก ระดั บ เปลื อ กนอก เราเข้ า ใจว่ า บาปหมายถึ ง การ ละเมิดพันธะบางอย่างด้วยความคิด วาจา การกระทำ หรือการละเลย พันธะนี้คือบทบัญญัติ เป็นคำสั่งสอนของพระศาสนจักร เป็นคำแนะนำ จากผู้มีอำนาจปกครอง หรือเป็นหน้าที่ตามสถานภาพชีวิตของบุคคล หนึ่ง การละเมิดนี้สามารถระบุชื่อได้ เช่น การกล่าวเท็จ การลักขโมย การไม่ น บนอบ หรื อ ความโกรธ และการละเมิ ด เหล่ า นี้ ส ามารถนั บ จำนวนครั้งได้ อย่างน้อยก็โดยประมาณ กิจการที่นับจำนวนครั้งได้นี้เป็นเหมือนผลแอปเปิลเน่าบนต้น จิตสำนึกระดับที่สองจะมองหารากที่เป็นพิษซึ่งทำให้ผลเน่า ธรรมประเพณีระบุชื่อของรากที่เป็นพิษไว้เจ็ดประการ ซึ่งตามปกติเราเรียกว่า บาปต้น คือ จองหอง ตระหนี่ อุลามก โลภอาหาร อิจฉาริษยา โมโห เกียจคร้าน การทำบาปทุกครั้งสามารถย้อนรอยกลับไปจนถึงรากที่เป็น พิษเหล่านี้ได้อย่างน้อยหนึ่งประการ จิตสำนึกระดับนี้มองว่าบาปเป็น นิสัยบางอย่างที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา และเสริมภูมิต้านทาน แต่ยังมีจิตสำนึกระดับที่ลึกกว่านี้  ซึ่งเกิดจากความตระหนักถึง ความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้า เมื่ออิสยาห์ และเปโตร ได้รับประสบการณ์ส่วนตัวกับพระเจ้า ทั้งสองคนจมอยู่ภายใต้จิตสำนึกว่าตนเองเป็น คนบาป จิตสำนึกที่มีวุฒิภาวะทำให้เรารู้สึกได้ว่าเราเป็นใครเมื่อเรา เผชิญหน้ากับความรักของพระเจ้า เราอ่านเรือ่ งของนักบุญต่างๆ ทีร่ อ้ งไห้ เสียใจกับความเป็นคนบาปของตน แม้ว่านักบุญเหล่านี้ไม่ได้ทำอะไรที่ พวกเราถือว่าเป็นบาป นักบุญฟรังซิสร้องไห้เพราะ “ความรักไม่ได้รับ ความรักตอบ” หลังจากได้มีประสบการณ์อันใกล้ชิดกับพระเจ้าแล้ว การ


134

บทเทศน์ปี C

พูดว่า “ฉันเป็นคนบาป” มีความหมายลึกกว่าการพูดว่า “ฉันได้ทำบาป” จุ ด รวมความสนใจอยู่ที่   “ฉันเป็นใครในการตอบสนองต่ อ พระเจ้ า ” มากกว่าอยู่ที่ “ฉันได้ทำอะไรลงไป” ในอดีตมีคนมายืนรอสารภาพบาปเป็นแถวยาว และแต่ละคนมี รายการบาปที่ระบุเฉพาะมาสารภาพ นั่นเป็นยุคที่ผู้มีอำนาจปกครองมี ความสำคัญต่อชีวิตประชาชนมาก ผู้มีอำนาจปกครองในด้านการเมือง การสั่งสอน การแพทย์ ครอบครัว และพระศาสนจักรเป็นบุคคลที่เรา ไม่เคยคิดจะตั้งคำถาม ในยุคนั้น มนุษย์จึงมีสำนึกในบาปเมื่อเขาไม่ นบนอบต่ออำนาจปกครองสูงสุดของพระเจ้า แต่ยุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว และในวัฒนธรรมปัจจุบันที่มนุษย์ คิดถึงแต่ความต้องการของตนเอง เราไม่เคารพอำนาจปกครองเพราะ ถื อ ว่ า เป็ น การรุ ก ล้ ำ พื้ น ที่ ส่ ว นตั ว  และเสรี ภ าพในการเลื อ กของเรา ประสบการณ์ส่วนตัวและเสรีภาพในการเลือกได้กลายเป็นกรอบสำคัญ ในการตัดสินใจ อำนาจของประสบการณ์เข้ามาแทนที่ประสบการณ์ผู้มี อำนาจปกครอง เมื่อมนุษย์คิดเช่นนี้  จิตสำนึกจะถูกท้าทายได้อย่างไร เราไม่คิด เหมือนในอดีตอีกต่อไปว่าบาปคือการขาดความนบนอบ สำหรับคน จำนวนมากที่กลับไปหาศีลอภัยบาป เขามองว่าเขามีเหตุผลที่จะพิจารณา ชีวิตของตนเอง และยอมรับว่ามีส่วนใดในชีวิตที่เขาจำเป็นต้องได้รับการ ให้อภัย และพระหรรษทานที่มีอำนาจเยียวยารักษาจากพระเจ้า เขารู้สึก ว่ า อยากจะพิ จ ารณามโนธรรมโดยเปรี ย บเที ย บกั บ คุ ณ ธรรมอั น พึ ง ปรารถนา ซึ่งบางทีเขาอาจพบเห็นจากข้อความต่างๆ ในพระคัมภีร์ ปัจจัยสำคัญที่สุดที่บดบังสำนึกในบาปคือความเชื่อที่จืดจางลง ผิวของหินอาจแข็งแกร่ง และน้ำอาจอ่อนนุ่ม แต่น้ำที่หยดลงบนก้อนหิน ทุกวันสามารถทำให้หินกร่อนได้  การรับฟังความคิดแบบโลกีย์นิยม ตลอดเวลา เช่น รายการโทรทัศน์ที่แสดงราวกับว่าพระเจ้าไม่มีส่วน


บทเทศน์ปี C

135

เกี่ยวข้องเลยกับชีวิต ย่อมทำลายความเชื่อของเราทีละน้อย เว้นแต่ว่าเรา จะต่อต้านด้วยการเจริญชีวิตภาวนาอย่างมีวินัย เมื่อซีโมน เปโตร ได้เห็นอำนาจของพระเจ้าในตัวพระเยซูเจ้า เขา เกิดความรู้สึกลึกๆ ในใจว่าเขาอยู่ห่างไกลจากพระเจ้าเพราะบาปของเขา “โปรดไปจากข้าพเจ้าเสียเถิด พระเจ้าข้า เพราะข้าพเจ้าเป็นคนบาป” แต่ความรู้สึกว่าอยู่ห่างจากพระเจ้าเช่นนี้เกิดจากประสบการณ์อันเข้มข้น ของความใกล้ชิดกับพระเจ้า นักวิจารณ์ชอบพูดถากกางเกี่ยวกับความรู้ สึกผิดของชาวคาทอลิก แต่เป็นความจริงที่ความรู้สึกผิดเป็นปฏิกิริยาที่ เหมาะสมแล้วเมื่อเราทำผิด และการปฏิเสธความรู้สึกผิดที่สมเหตุสมผล ย่อมไม่ถูกต้อง สำหรับอิสยาห์ และซีโมน เปโตร ความรู้สึกผิดเป็นส่วน หนึ่งของประสบการณ์ของเขา เมื่อเขาสัมผัสกับความยิ่งใหญ่  ความรัก และความงามของพระเจ้า สำนึกในบาปที่แท้จริงคือด้านที่เป็นเงาของ แสงสว่างของพระเจ้า ซึ่งเราสัมผัสได้ในความเชื่อ

ข้อรำพึงที่สอง เปโตร ระลึกถึงเหตุการณ์ในเช้าวันนั้น วันที่ข้าพเจ้าตัดสินใจติดตามพระเยซูเจ้าเป็นครั้งแรกนั้น เริ่มขึ้น โดยที่ ข้ า พเจ้ า ไม่ ไ ด้ มี ค วามคิ ด เรื่ อ งศาสนาเลย ข้ า พเจ้ า กำลั ง เหนื่ อ ย หลังจากทำงานมาแล้วทั้งคืน และหงุดหงิดที่จับปลาไม่ได้เลย เราต้อง ดึงเศษวัชพืชออกจากอวน และพับอวนเก็บ ข้าพเจ้าไม่มีอารมณ์จะพบ หน้าใครก่อนที่ข้าพเจ้าจะกินอาหารเช้า หลังจากนอนหลับเต็มอิ่มแล้ว ข้าพเจ้าอาจรู้สึกเป็นผู้เป็นคนได้อีกครั้งหนึ่ง ยากอบ และยอห์น รู้จัก ข้าพเจ้าดีพอที่จะอยู่ห่างๆ ส่วนอันดรูว์หรือ ไม่รู้ว่าเขาหายไปไหน ข้าพเจ้า ได้ ยิ น เสี ย งคนพู ด กั น  และเห็ น หลายคนเดิ น ออกมาจากสายหมอก ยามเช้า เขาออกมาทำอะไรกันตั้งแต่เช้าเช่นนี้ นัน่ คือเยซู อาจารย์จากนาซาเร็ธ เพราะเหตุนเี้ อง อันดรูวจ์ งึ หายตัว


136

บทเทศน์ปี C

ไป เขาน่าจะบอกข้าพเจ้าก่อน เยซูคนนี้ ... เขาเป็นคนของพระเจ้าแน่นอน เขารักษาแม่ยายของข้าพเจ้าให้หายจากไข้สูง บัดนี้ เพียงได้เห็นเขาก็ทำ ให้ข้าพเจ้าหงุดหงิดน้อยลงแล้ว ฝูงชนเบียดเสียดกันเข้ามาข้างหน้า แล้ว เขาก็นั่งลงบนหัวเรือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่เขาใช้เรือของ ข้าพเจ้าเป็นเวทีปราศรัย ในตัวเขามีความลุ่มลึก ความสงบ และความ เข้มแข็งภายในที่ดึงดูดใจประชาชน ข้าพเจ้ายังเห็นภาพของเขาติดตา เขานั่งอยู่ที่นั่นอย่างผ่อนคลาย แกว่งเท้าไปมาในน้ำ และพูด ข้าพเจ้า อารมณ์ดีขึ้นทีละน้อย ฝูงชนไม่แสดงท่าทีว่าจะกลับไป จึงดูเหมือนว่าเรา น่าจะถอยเรือออกไปให้ไกลจากฝั่งสักหน่อย แล้วเขาก็บอกให้ข้าพเจ้าหย่อนอวน หลังที่เหนื่อยล้าของข้าพเจ้า ประท้ ว ง ข้ า พเจ้ า รู้ ว่ า ไม่ มี ป ลาสั ก ตั ว เดี ย วในระยะหลายไมล์ เ มื่ อ มี แสงสว่างเช่นนี้ และยังจะต้องพับอวนเก็บอีกครัง้ หนึง่ ... น่าขันทีค่ นหากิน บนบกชอบคิ ด ว่ า เพี ย งเราหย่ อ นอวนลงน้ ำ  มั น ก็ จ ะเต็ ม ไปด้ ว ยปลา ทุกครั้ง “พระอาจารย์ พวกเราทำงานหนักมาทั้งคืนแล้ว ...” แต่เขาก็ เคยมีบุญคุณกับเรามาก และเขายังเป็นแขกบนเรือของข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าจึงเป็นหนี้เขาถึงสองเท่า คือเป็นหนี้บุญคุณ และต้องมีมารยาท ... “แต่เมื่อท่านบอกเช่นนี้ ข้าพเจ้าก็จะลงอวน” ดังนั้น ข้าพเจ้าจึง พยายามแสดงท่าทีกระตือรือร้น  ทัน ใดนั้ น  ทุ่ น ก็ จ มลงอย่ า งรวดเร็ ว ผิวน้ำเต็มไปด้วยสีเงินที่ดิ้นได้ น้ำหนักที่ดึงเชือกทำให้เรือของเราเกือบ ล่ม “ยากอบ...ยอห์น...มานี่เร็วๆ อวนกำลังจะขาด” ข้าพเจ้าหาปลามานานหลายปี แต่บดั นี้ ข้าพเจ้าตืน่ เต้นราวกับเด็กๆ เรือลำหนึ่งเต็มจนถึงขอบเรือ ปลาเต็มเรือสองลำ ไม่น่าเชื่อ เรือเกือบจม เพราะเราอยากนำปลาทั้งหมดกลับไปขึ้นบก เราประคองเรือมาจนถึงฝั่ง โดยไม่เสียปลาไปเลยแม้แต่ตัวเดียว เมื่อเท้าของข้าพเจ้าแตะพื้นดิน นั่ น เอง ข้ า พเจ้ า จึ ง กลั บ มาสู่ ค วามเป็ น จริ ง  ข้ า พเจ้ า กำลั ง ฝั น อยู่ ห รื อ เปล่าเลย ปลากำลังดิ้นอยู่เต็มไปหมด เกิดอะไรขึ้น


บทเทศน์ปี C

137

เขาเป็นใครกัน และข้าพเจ้าเป็นใคร ข้าพเจ้าจับชายเสื้อของเขา ไว้แน่น กลัวที่จะปล่อยเขาไป แต่กลับรู้สึกว่าตนเองอยู่ห่างไกลเขาสัก ล้านไมล์ ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าพูดอะไรออกไปบ้าง รู้สึกพ่ายแพ้ กำลังจะตาย หยุดมีชีวิตอีกต่อไป ... รู้สึกว่าตนเองตัวเล็กเหลือเกิน ยากไร้เหลือเกิน ไร้ ป ระโยชน์ เ หลื อ เกิ น  ข้ า พเจ้ า ผลาญเวลาให้ สู ญ เปล่ า ไปมาก มี ข้ อ บกพร่ อ งมากมาย มี ค วามอ่ อ นแอมากมาย มี แ ต่ บ าป...บาป...บาป รู้สึกว่าตนเองต่ำทรามที่สุด ไม่มีอะไรเหลืออีกเลย ข้าพเจ้าอยู่ห่างไกล จากทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วข้าพเจ้าก็รู้สึกถึงความอบอุ่นอันอ่อนโยนจากมือของเขาที่ ลูบผมข้าพเจ้า ความรู้สึกว่าได้รับการเยียวยาไหลท่วมหัวใจ ให้ทั้งความ กล้าหาญและความสว่าง “อย่ากลัวเลย” เป็นคำพูดที่อ่อนโยน และให้ กำลังใจอย่างยิ่ง ความตายผ่านไปแล้ว ข้าพเจ้ากลายเป็นสิ่งสร้างใหม่ “ตั้งแต่นี้ไป ท่านจะเป็นชาวประมงหามนุษย์” ในวันนั้น ข้าพเจ้าจะทำอะไรได้อีก นอกจากละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง และติดตามเขาไป


138

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 2 พระวรสารหน้านี้เหมือนกับอีกหลายหน้า ที่ดูเหมือนจะเล่าเรื่อง ที่สำคัญเป็นรองในชีวิตของพระเยซูเจ้า อันที่จริง นี่คือหน้าหนึ่งของ คำสอนทางเทววิทยาของพระศาสนจักร วันหนึ่ง พระเยซูเจ้าทรงยืนอยู่บนฝั่งทะเลสาบเยนเนซาเรท ขณะที่ ประชาชนเบียดเสียดรอบพระองค์เพื่อฟังพระวาจาของพระเจ้า ก่อนอื่น ข้าพเจ้าเพ่งพินิจเหตุการณ์ที่บรรยายไว้อย่างชัดเจนนี้ พระเยซู เ จ้ า ประทั บ อยู่ ท่ า มกลางฝู ง ชน ... พระองค์ ต รั ส  ... ประชาชนฟังพระองค์ ... พระองค์ไม่ได้ตรัสโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า แต่ตรัสเรื่องพระวาจาของพระเจ้า... ในฐานะนักเทววิทยา ลูกาเผยแก่เราในข้อความนี้ว่า บทบาทแรก ของพระศาสนจักรคือการเทศน์สอน งานที่พระศาสนจักรกำลังพยายาม ทำอยู่ทุกวันนี้เป็นงานที่พระเยซูเจ้าได้ทรงริเริ่มขึ้น การเทศน์สอนของ พระศาสนจักรเป็นการขยายเวลาการเทศน์สอนของพระเยซูเจ้า และมี เนื้อหาสาระเหมือนกัน พระเจ้าข้า โปรดให้เรามีความรักอันยิง่ ใหญ่ตอ่ พระวาจาของพระองค์ ... ให้เรามีความกระหายอันลึกล้ำที่จะฟังพระวาจาของพระองค์... พระองค์ทอดพระเนตรเห็นเรือสองลำจอดอยู่ริมฝั่ง ชาวประมงกำลัง ซักอวนอยู่นอกเรือ พระองค์จึงเสด็จลงเรือลำหนึ่งซึ่งเป็นของซีโมน ทรงขอให้เขาถอยเรือออกไปจากฝั่งเล็กน้อย แล้วประทับสั่งสอน ประชาชนจากเรือนั้น


บทเทศน์ปี C

139

นี่เป็นภาพเหตุการณ์ที่พบเห็นได้ในชีวิตจริง แต่ก็มีความหมาย เชิงสัญลักษณ์ด้วย เรือนั้นนำพระเยซูเจ้าถอยห่างออกจากฝูงชนเล็กน้อย และภาพนี้เน้นให้เห็นพระเดชานุภาพของพระองค์ ... บัดนี้ พระองค์ ตรัสสอนขณะที่นั่งอยู่ เหมือนกับรับบี หรืออาจารย์ ... และทรงสั่งสอนจาก “เรือของซีโมน”... ลูกาตั้งใจเอ่ยชื่อบางคนที่อยู่ในฝูงชนนี้  คนเหล่านี้จะกลายเป็น “ศิษย์สองคนที่พระองค์ประทานนามว่า ‘อัครสาวก’” (ลก 6:12) และ ในกลุ่มบุคคลนี้ ลูกาชี้ให้เรามองดูซีโมนโดยเฉพาะ เขาเป็นบุคคลสำคัญ ที่ สุ ด ในคำบอกเล่ า นี้   ซึ่ ง เอ่ ย ชื่ อ เขาถึ ง หกครั้ ง ในหน้ า เดี ย ว  ... นี่ คื อ โครงสร้างที่จำเป็นของพระศาสนจักรที่พระเยซูเจ้าทรงต้องการสถาปนา ขึ้น... เราอาจพอใจ หรือรำคาญใจกับโครงสร้างสถาบันของพระศาสนจักร ในประวัติศาสตร์ มีพระสันตะปาปาและพระสังฆราชบางองค์ที่แสดง บทบาททางโลกเหมือนกับผูป้ กครองทัว่ ไปในโลกนี้ แต่ตามหลักเทววิทยา โครงสร้างคณะธรรมทูตของพระศาสนจักรถือกำเนิดมาจากพระเยซูเจ้า ... หน้าที่แรกของผู้อภิบาลในพระศาสนจักรไม่ใช่การเป็นผู้นำ หรือ ผู้ใหญ่ที่มีฐานันดรสูง หรือเป็นผู้จัดการทั่วไป ... แต่เขาเป็นผู้รับใช้ ผู้เป็น ตัวแทนของพระคริสต์ผู้รับใช้  ... สังฆภาพเป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่ง เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูคริสตเจ้า การมีพระสงฆ์อยู่ในกลุ่มศิษย์ พระคริสต์แสดงว่าเราไม่อาจ “ช่วงชิง” พระหรรษทาน หรือพระวาจา ของพระเจ้า แต่เรา “ได้รับ” มาจากผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง ... นี่เป็นความ รับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ เพราะผู้อภิบาลต้อง “นำเสนอ” พระเยซูคริสตเจ้า อีกครั้งหนึ่ง... ในปัจจุบัน มนุษย์มีแนวโน้มที่จะลดคุณค่าของการเทศน์สอนของ พระศาสนจักร โดยทำลายคุณลักษณะที่เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นธรรมล้ำลึก และความศักดิส์ ทิ ธิข์ องการเทศน์สอน ... ทำให้เรามองเห็นแต่ผทู้ ก่ี ำลังพูด


140

บทเทศน์ปี C

และลืมบุคคลที่ผู้พูดนี้เป็นตัวแทน ... สภาสังคายนายืนยันว่า “พระเยซูเจ้าประทับอยู่เสมอในการเฉลิมฉลองพิธีกรรมในตัวผู้อภิบาลของ พระองค์ ... เมื่อมนุษย์คนหนึ่งกำลังอ่านพระคัมภีร์ในวัด พระองค์ทรง เป็นผู้ตรัสข้อความเหล่านั้น  ... เมื่อมนุษย์คนหนึ่งโปรดศีลล้างบาป พระคริสตเจ้าเองทรงกำลังโปรดศีลล้างบาป ... พิธีกรรมเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของพระเยซูเจ้าในฐานะสมณะ และแสดงออกด้วยเครื่องหมายที่ รับรู้ได้ทางประสาทสัมผัส” (พิธีกรรม, 7) ข้าพเจ้าขอภาวนาเพื่อพระสันตะปาปา พระสังฆราช และพระสงฆ์ ให้ท่านเหล่านี้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างดี... “เรือของเปโตร” ลำนีจ้ อดอยูท่ ท่ี า่ เรือเล็กๆ ของเมืองคาเปอรนาอุม ข้าพเจ้าอยากจะคิดว่าเรือลำนี้เป็นเรือเก่าๆ ที่ใช้แผ่นไม้ตอกด้วยตะปู ปิดรอยรั่วทั่วลำ เป็นเรือที่ธรรมดาและยากไร้อย่างยิ่ง แต่กระนั้น พระเยซูเจ้าก็ยังเสด็จขึ้นไปนั่งบนเรือ และเทศน์สอนจากเรือลำนี้ พระเจ้าข้า พระศาสนจักรของพระองค์เป็นเรือที่เร้นลับ เป็นทั้ง เรือมนุษย์ และเรือสวรรค์ในเวลาเดียวกัน เมื่อตรัสสอนเสร็จแล้วแล้ว พระองค์ตรัสแก่ซีโมนว่า “จงแล่นเรือออก ไปที่ลึก และหย่อนอวนลงจับปลาเถิด” “จงแล่นเรือออกไปที่ลึก” (หรือ eis to bathos ในภาษากรีก) ... ชาวซีไมท์เป็นคนหากินบนบก จึงเป็นธรรมดาที่เขาจะมองว่า ทะเลเป็นสถานที่น่ากลัว เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้าย (ปฐก 7:17, สดด 24:2, 74:13-14, โยบ 38:16, ยนา 2:21, วว 9:1-3, 13:1, 20:3) พระดำรั ส ของพระเยซู เ จ้ า สามารถแปลความหมายได้ ดั ง นี้ “เรือของซีโมน พระศาสนจักรของเรา จงแล่นออกไปยังทะเลที่อันตราย ออกไปสู่ภัยต่างๆ ในโลก และออกไปจากความปลอดภัยบนฝั่งเถิด”...


บทเทศน์ปี C

141

พระเจ้าข้า โปรดทรงสอนเราให้รู้จักเสี่ยงด้วยเถิด ... ให้เราวางใจ ในพระองค์ ซีโมน ทูลตอบว่า “พระอาจารย์ พวกเราทำงานหนักมาทั้งคืนแล้ว จับ ปลาไม่ได้เลย แต่เมื่อพระองค์มีพระดำรัส ข้าพเจ้าก็จะลงอวน” พันธกิจของพระศาสนจักรเป็นงานที่หนักเกินกำลังของมนุษย์ ศิษย์แท้ของพระคริสตเจ้าจะฟังพระวาจาของพระเจ้า และตอบรับความ ท้าทายแม้ว่าพระวาจานี้ขอให้เขากระทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในสายตาของ มนุษย์ เมื่อทำดังนี้แล้ว พวกเขาจับปลาได้จำนวนมากจนอวนเกือบขาด เขา จึงส่งสัญญาณเรียกเพื่อนในเรืออีกลำหนึ่งให้มาช่วย พวกนั้นก็มา และ นำปลาใส่เรือเต็มทั้งสองลำ จนเรือเกือบจม ลูกาเน้นความแปลกประหลาดของการจับปลาครั้งนี้  คือ อวน เกือบ “ขาด” พวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ... ปลาเต็มเรือสองลำ เรือทั้งสองลำเกือบจม... ความสำเร็จของพระศาสนจักรเกิดขึ้นจากความเชื่อในพระวาจา ของพระเยซูเจ้า ซีโมนคงจำการจับปลาครั้งนั้นได้ตลอดชีวิต ... เขาคิดว่า ตนเองเชี่ยวชาญในอาชีพประมง แต่พระเยซูเจ้าทรงชี้ให้เขาเห็นข้อจำกัด ของเขาว่า ถ้าปราศจากพระองค์ เขาทำอะไรไม่ได้เลย ... “พวกเราทำงาน หนักมาทั้งคืนแล้ว” บ่อยครั้งที่เราต้องนบนอบเชื่อฟัง สมาชิกอีกคนหนึ่งในเรือของ เราอาจหย่อนอวนลงในที่ ซึ่งถ้าเราต้องตัดสินใจ เราคงไม่เลือกหย่อน อวนลงที่นั่น ... ความรู้สึกล้มเหลว ซึ่งทั้งเจ็บปวดและน่าอับอาย ... แต่ ความล้มเหลวนี้เปิดโอกาสให้เรากำจัดภาพลวงตาทั้งหมดที่ล่อลวงให้ เราพึ่งพาอาศัยคุณค่าของเราเอง ... ถูกแล้ว บางครั้ง พระเจ้าทรงเชิญชวน


142

บทเทศน์ปี C

เราให้เสี่ยงด้วยความเชื่อ ... ให้ปฏิบัติหน้าที่ในอาชีพของเรา ให้รักสามี ของเรา ให้ยอมรับบุตรคนหนึ่ง ให้อดทนกับความทุกข์ยาก ... หรือแม้แต่ อดทนกับการมีชีวิตอย่าง “ไร้ประโยชน์” ในวันหนึ่ง เมื่อดูเหมือนว่าเรา ลงทุนลงแรงโดยไม่ได้รับอะไรเลย ... ในเวลาเช่นนั้น เราต้องวางใจใน พระองค์ และ “แล่นเรือออกไปที่ลึก” เมื่อซีโมน เปโตร เห็นดังนี้ จึงกราบลงที่พระชานุของพระเยซูเจ้า ทูลว่า “โปรดไปจากข้าพเจ้าเสียเถิด พระเจ้าข้า เพราะข้าพเจ้าเป็นคนบาป” เพราะเขา และคนอื่นๆ ที่อยู่กับเขาต่างประหลาดใจมากที่จับปลาได้ มากเช่นนั้น ลูกาเรียกสมญา “เปโตร” ในที่นี้ ทั้งที่พระเยซูเจ้าจะประทาน สมญานี้ให้แก่ซีโมนในภายหลัง (ลก 6:14) ในทำนองเดียวกัน เขาก็เรียก พระเยซูเจ้าว่า “องค์พระผูเ้ ป็นเจ้า (Lord)“ (หรือ kurios ในภาษากรีก ซึง่ เป็นคำที่ใช้เรียกพระเยซูเจ้าหลังจากพระองค์กลับคืนชีพแล้ว (ลก 24:3, 24:34) ... เมื่ออยู่เบื้องหน้าพระเจ้า มนุษย์ย่อมรู้สึกกลัว เป็นความยำเกรง อันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเกิดขึ้นกับบุคคลในทุกศาสนาของโลก “วิบัติแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพินาศแล้ว เพราะข้าพเจ้าเป็นคนที่รมิ ฝีปากไม่สะอาด” ประกาศก อิสยาห์อุทานเช่นนี้ (6:1-8) เมื่อเขาได้ยินเสราฟิมร้องว่า “ศักดิ์สิทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าจอมโยธา ทั้งโลกเต็มไปด้วยพระสิริรุ่งโรจน์ ของพระองค์”... เราจำได้ว่าประชาชนชาวนาซาเร็ธร้องขอเครื่องหมายอัศจรรย์ จากพระเจ้า แต่ศิษย์แท้ของพระคริสตเจ้าย่อมตระหนักในความไร้ค่า ของตนเอง และไม่กล้าร้องขออัศจรรย์ แต่วิงวอนพระเจ้าเหมือนเปโตรว่า “โปรดไปจากข้าพเจ้าเสียเถิด ... เพราะข้าพเจ้าเป็นคนบาป”... หลังจากนั้น เมื่อได้ยินไก่ขัน เปโตรจะค้นพบความหนักหนาของ


บทเทศน์ปี C

143

บาปของเขา และความไร้ค่าของเขามากยิ่งกว่านี้ ... เขาเป็นคนบาป ... ขอให้อย่าได้มีธรรมเนียมบูชาบุคคลในพระศาสนจักรเลย ... พระสันตะปาปาองค์แรก มนุษย์คนแรกที่พระเยซูเจ้าทรงขอให้เป็นผู้แทนพระองค์ เป็น “คนบาป” ... จนถึงเวลานั้น เปโตรเป็นกัปตันเรือที่วางใจในความรู้ และประสบการณ์ของตนเอง แต่การพบกับพระเยซูเจ้าเผยให้เขาเห็น ความต่ำต้อยของตนเอง ... และสำนึกนี้ทำให้เขารู้ตัวว่าเขาไม่มีความ สำคัญอะไรเลย พระเยซูเจ้าทรงเตรียมเขาให้พร้อมจะเป็นผู้นำสูงสุดของ พระศาสนจักรของพระองค์ ... ยอห์น บอกเล่าเหตุการณ์จับปลาอย่าง อัศจรรย์นี้ภายหลังพระเยซูเจ้ากลับคืนชีพ (ยน 21:1-9) และจบลง ด้วยการเตือนให้เปโตร ระลึกถึงการปฏิเสธพระองค์สามครั้งของเขา พระเยซูเจ้าทรงแสดงความมั่นใจในคนบาปคนนี้ด้วยการมอบหมาย พันธกิจให้แก่เขา... ยากอบ และยอห์น บุตรของเศเบดี ซึ่งเป็นผู้ร่วมงานกับซีโมน ก็ ประหลาดใจเช่นเดียวกัน ลูกา รอจนถึงเวลานี้ จึงระบุชอื่ ของคนอืน่ ๆ ราวกับจะเน้นตำแหน่ง พิเศษของเปโตร ด้วยการเอ่ยถึงเขาเป็นคนแรก ก่อนเอ่ยถึงเพื่อนร่วม งานของเขา... ทั้งสามคนนี้ คือ เปโตร ยากอบ และยอห์น จะได้รับสิทธิพิเศษ ในการเป็นประจักษ์พยานของอัศจรรย์ยิ่งใหญ่  คือ การปลุกเด็กหญิง คนหนึ่งให้ฟื้นจากความตาย (ลก 8:51) พวกเขาจะได้อยู่กับพระองค์เมื่อ ทรงสำแดงพระองค์อย่างรุ่งโรจน์บนภูเขา (ลก 9:28) และระหว่างทรง เข้าตรีทูตในสวนมะกอกเทศ (มธ 26:37) คนยุคปัจจุบันดูเหมือนว่าไม่ยำเกรงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป และ อั น ที่ จ ริ ง  ความยำเกรงนี้ ก ำลั ง ถู ก แทนที่ ด้ ว ยความตื่ น ตระหนกกั บ สงครามนิวเคลียร์ และความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคต...


144

บทเทศน์ปี C

พระเยซูเจ้าจึงตรัสแก่ซีโมน ว่า “อย่ากลัวเลย”... ถ้อยคำนี้ทั้งปลอบโยนและให้กำลังใจ ซึ่งในพระคัมภีร์  พระเจ้า และทูตสวรรค์จะกล่าวเช่นนี้กับมนุษย์เสมอ เมื่อมนุษย์ตกตะลึงเมื่ออยู่ เบื้องหน้าพระเจ้า (ลก 1:13, 20, 2:10) ... หลังจากพระเยซูเจ้ากลับ คืนชีพแล้ว พระองค์จะตรัสเช่นนี้ด้วย (มธ 28:10, วว 1:17)... ... ตั้งแต่นี้ไป ท่านจะเป็นชาวประมงหามนุษย์” นี่คือพันธกิจของพระศาสนจักร ... มนุษยชาติกำลังตกเป็นเหยื่อ ของอำนาจน่าสะพรึงกลัวที่พยายามกลืนกินมนุษย์ จงเป็น “ชาวประมง จับมนุษย์” – จงช่วยเขาให้รอดพ้นเถิด... เมือ่ พวกเขานำเรือกลับถึงฝัง่ แล้ว เขาละทิง้ ทุกสิง่ และติดตามพระองค์ อัศจรรย์ที่แท้จริงไม่ใช่การจับปลา ... อัศจรรย์แท้เกิดขึ้นภายใน หัวใจของเขา ในการกลับใจของเขา ในการตัดสินใจยอมเสี่ยงเพื่อติดตาม พระเยซูเจ้า และละทิ้งสิ่งอื่นๆ ทุกสิ่ง...


บทเทศน์ปี C

145

วั นอาทิตย์ที่หก เทศกาลธรรมดา ลูกา 6:17, 20-26 พระเยซูเจ้าเสด็จลงมาจากภูเขาพร้อมกับบรรดาศิษย์ และ ทรงหยุดอยู่ ณ ที่ราบแห่งหนึ่ง ที่นั่นมีศิษย์กลุ่มใหญ่และประชาชน จำนวนมากจากทั่วแคว้นยูเดีย จากกรุงเยรูซาเล็ม จากเมืองไทระ และ จากเมืองไซดอนซึ่งอยู่ริมทะเล มาฟังพระองค์ และรับการรักษาให้ หายจากโรคภัยไข้เจ็บของตน พระองค์ทรงทอดพระเนตรบรรดาศิษย์ ตรัสว่า ท่านทั้งหลายที่ยากจนย่อมเป็นสุข เพราะพระอาณาจักรของ พระเจ้าเป็นของท่าน ท่านที่หิวในเวลานี้ย่อมเป็นสุข เพราะท่านจะอิ่ม ท่านที่ร้องไห้ในเวลานี้ย่อมเป็นสุข เพราะท่านจะหัวเราะ ท่านทั้งหลายเป็นสุข เมื่อคนทั้งหลายเกลียดชังท่าน ผลักไส ท่าน ดูหมิ่นท่าน รังเกียจนามของท่านประหนึ่งนามชั่วร้าย เพราะ ท่านเป็นศิษย์ของบุตรแห่งมนุษย์ จงชื่นชมในวันนั้นเถิด จงโลดเต้น ยินดีเถิด เพราะบำเหน็จรางวัลของท่านนั้นยิ่งใหญ่นักในสวรรค์ บรรดาบรรพบุ รุ ษ ของเขาเหล่ า นั้ น เคยกระทำเช่ น นี้ กั บ บรรดา ประกาศกมาแล้ว


146

บทเทศน์ปี C

วิบตั จิ งเกิดกับท่านทีร่ ำ่ รวย เพราะท่านได้รบั ความเบิกบานใจ แล้ว วิบัติจงเกิดกับท่านที่อิ่มเวลานี้ เพราะท่านจะหิว วิบัติจงเกิดกับท่านที่หัวเราะเวลานี้ เพราะท่านจะเป็นทุกข์ และร้องไห้ วิบัติจงเกิดกับท่าน เมื่อทุกคนกล่าวยกย่องท่าน เพราะบรรดา บรรพบุรษุ ของเขาเหล่านัน้ เคยกระทำเช่นนีก้ บั บรรดาประกาศกเทียม มาแล้ว


บทเทศน์ปี C

147

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง พระพรจากพระเจ้า พระเยซู เ จ้ า ทรงเริ่ ม ต้ น เทศน์ ส อนอุ ด มคติ ข องพระราชั ย ของ พระเจ้าในหัวใจมนุษย์  พระองค์ทรงเริ่มต้นด้วยการท้าทายสมมุติฐาน หลายข้อที่สนับสนุนคุณค่าทางศาสนา และหลักศีลธรรมของศาสนาเดิม มัทธิวเล่าเรื่องบทเทศน์อันยิ่งใหญ่นี้ โดยบรรยายให้เห็นภาพของ พระเยซูเจ้าว่าทรงเป็นอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ในพันธสัญญาใหม่ ดังนั้น เขาจึง บอกเล่าว่าพระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอนบนภูเขา ประทับยืนอย่างทรงอำนาจ เหนือประชาชนทั่วไป ส่วนลูกาต้องการเสนอภาพของพระเยซูเจ้าใน ลักษณะที่อ่อนน้อมถ่อมตนกว่านั้น พระวรสารของลูกาจึงบอกว่าพระเยซูเจ้าเสด็จลงมาจากภูเขา และทรงหยุดอยู่ ณ ที่ราบแห่งหนึ่ง พระองค์ ทรงกำลังทำให้ผู้ฟังทุกคนยืนอยู่ในระดับเดียวกัน ประชาชนมาหาพระองค์  ให้พระองค์รักษาโรค ความเจ็บป่วย ทำลายสันติสุขในใจ เมื่อเรามีความคิดเห็นที่สอดคล้องกลมเกลียวกับ พระเจ้าในทุกสิ่งทุกอย่าง จิตใจของเราจะมีสันติสุข เมื่อใดที่ความกลมเกลียวนี้ถูกทำลาย สันติสุขก็สลายไปด้วย และโรคภัยไข้เจ็บก็จะตามมา เมื่อพระองค์ทรงเริ่มต้นเปิดเผยวิสัยทัศน์ของชีวิตที่สนิทสนม กลมเกลียวกับพระราชัยของพระเจ้า ก่อนอื่น พระองค์ทรงท้าทายแนว ความคิดของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับความหมายของการได้รับพร หรือ ความสุขจากพระเจ้า พระวาจาของพระเยซูเจ้าปฏิวัติแนวความคิด เพราะ พระองค์ทรงพลิกกลับความหมายของคำว่า “เป็นสุข” หรือได้รับพระพร


148

บทเทศน์ปี C

ซึ่ ง เป็ น ความหมายที่ ป ระชาชนยอมรั บ มาแต่ เ ดิ ม  พระคั ม ภี ร์   New Jerusalem ได้กลับมาใช้คำว่า “ได้รับพระพร (blessed)” แทนคำว่า “เป็นสุข (happy)” การได้รับพระพรหมายถึงสถานะที่ได้รับความกรุณา อันเปี่ยมด้วยความรักจากพระเจ้า ในขณะที่ความสุขแสดงถึงสถานะทาง อารมณ์  ซึ่งอาจไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้า เลยก็ได้ ชาวยิ ว ที่ พ ระเยซู เ จ้ า เทศน์ ส อนคิ ด ว่ า เครื่ อ งหมายที่ แ สดงว่ า บุ ค คลหนึ่ ง ได้ รั บ พระพรจากพระเจ้ า คื อ ความเจริ ญ รุ่ ง เรื อ ง อำนาจ เกียรติคุณ และความนิยมชมชอบจากผู้อื่น นี่คือจุดเด่นในวิถีชีวิตของ บุคคลที่เลือกนั่งแถวหน้าในศาลาธรรม หรือที่ประชุม เคยมีผู้เขียนภาพ การ์ ตู น ล้ อ ว่ า ในยุ ค พั น ธสั ญ ญาเดิ ม  ถ้ า คุ ณ ได้ รั บ พระพร  คุ ณ จะรู้ ตั ว เพื่อนบ้านของคุณก็รู้  และผู้จัดการธนาคารของคุณก็รู้  ชาวยิวคงตกใจ เมื่อได้ยินพระเยซูเจ้าตรัสถึงสถานะที่ได้รับพระพรในสายตาของพระเจ้า พระองค์ทรงหมายถึงคนยากจน คนไร้อำนาจ คนที่ทุกข์ระทมใจ หรือ คนที่เป็นเหยื่อของความอยุติธรรม ชาวยิวสืบทอดความคิดเกี่ยวกับพระพรของพระเจ้ามาตั้งแต่ยุค โบราณ ก่อนที่เขาจะมีความเชื่อในชีวิตหลังความตาย เมื่อเขาไม่มีความ รู้เกี่ยวกับรางวัล หรือการลงโทษนิรันดร เขาจึงเข้าใจว่าพระพรของพระเจ้าควรปรากฏให้เห็นตั้งแต่ในชีวิตนี้ จึงจะถือว่าพระเจ้ามีความยุติธรรม สถานะของการเป็นส่วนหนึ่งของพระอาณาจักร หรือพระราชัย ของพระเจ้าที่กล่าวถึงในบุญลาภ หรือความสุขแท้นี้ ใช้คำกริยาปัจจุบัน กาล ... พระอาณาจักรของพระเจ้าเป็นของท่าน ... ส่วนบุญลาภที่บรรเทา ใจล้วนใช้คำกริยาในรูปของอนาคตกาล พระเยซูเจ้าไม่ทรงสัญญาความ เจริญรุ่งเรือง และความสำเร็จในชีวิตนี้   ซึ่งตรงกันข้ามกับคำอ้างของ หลายๆ คนที่เรียกตนเองว่านักเทศน์ผู้ประกาศพระวรสาร เพื่อมิให้มองข้ามพระพรที่คนยากจนได้รับ เมื่อได้ยินคำอธิบาย


บทเทศน์ปี C

149

ความหมายของบุญลาภอย่างผิดๆ พระเยซูเจ้าทรงเตือนคนทั้งหลายที่ กำลังเบิกบานใจอยู่กับความเจริญรุ่งเรืองทางโลก ว่าพวกเขาเสี่ยงที่จะ ให้ความสนใจแต่ตนเอง จนไม่มีที่ว่างเหลือให้พระเจ้า วิบัติจงเกิดกับ ท่านที่ร่ำรวยในเวลานี้ เพราะท่านไม่คิดว่าท่านต้องพึ่งพาพระเจ้า วิบัติจง เกิดกับท่านที่ชีวิตมีแต่เสียงหัวเราะ วิบัติจงเกิดกับท่านที่ชอบพูดถึง ความยิ่งใหญ่ของตนเอง วิบัติจงเกิดกับท่านผู้ติดใจกับความนิยมอัน ฉาบฉวย เพราะจิตใจของท่านห่างไกลจากคุณค่าแท้ของชีวิต ประกาศก ที่ท่านติดตามอยู่นั้นเป็นประกาศกเทียม ในวันอาทิตย์ที่ 26 ของปีนี้ เราจะได้ยินอุปมาเรื่องเศรษฐีและ ลาซารัส เราจะพบคำเตือนทั้งสี่ข้อของพระเยซูเจ้าได้ในตัวของเศรษฐีผู้นี้ ในขณะที่ ค วามทุ ก ข์ ย ากของลาซารั ส  ทำให้ เ ขาเป็ น ตั ว แทนบุ ค คลที่ บุญลาภกล่าวถึง เขาสิ้นไร้ และเศร้าหมองในชีวิตนี้ แต่เขาเป็นผู้ที่จะได้ รับความบรรเทาใจทั้งปวงในชีวิตหน้า นัยสำคัญของเรื่องอุปมานี้คือชื่อ ลาซารัส ซึ่งแปลว่าพระเจ้าทรงมีความสงสาร ผู้ที่ยากจน หิวโหย ทุกข์ระทมใจ และไม่ได้รับความยุติธรรม จะ ได้รับพระพรจากพระเจ้าเป็นพิเศษ แต่ผู้ที่แสวงหาความร่ำรวย และ ความสุขสำราญในชีวิตนี้ย่อมไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะยอมรับพระพร อันประเสริฐสุดของพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงปรับพื้นที่ให้มนุษย์ทุกคน อยู่ในระดับเดียวกัน

ข้อรำพึงที่สอง หาพื้นที่ว่างสำหรับพระเจ้า ศิษย์ : ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าใคร่ครวญคำเทศน์สอนของท่านแล้ว โดยเฉพาะเกี่ยวกับบุญลาภ ข้าพเจ้าชื่นชมอุดมคติของท่านมาก แต่ท่าน ไม่คิดหรือว่า ในกรณีนี้ คำสั่งสอนของท่านยากเกินกว่าสามัญสำนึกจะ รับได้


150

บทเทศน์ปี C

อาจารย์:

ท่านหมายความว่าอะไร

ศิษย์ : ก็เรื่องที่อาจารย์พูดถึงคนยากจน ผู้หิวโหย คนทุกข์ระทม ใจ และเหยื่อความอยุติธรรม ท่านคงไม่ได้หมายความอย่างนั้นจริงๆ เมื่อ ท่านบอกว่าพวกเขาได้รับพระพร ... อย่าบอกนะว่าคนพวกนี้ตื่นขึ้นมา ทุกเช้าอย่างมีความสุขกับสภาพของตนเอง ข้าพเจ้าต้องขอโทษที่พูด เหมือนไม่เคารพอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายของท่าน อาจารย์: เราไม่ โ กรธท่ า นหรอก ท่ า นลองมองในทางกลั บ กั น ซิ ชนชาติที่ร่ำรวยทั้งหลายนั้น ท่านคิดว่าเขาพอใจกับชีวิตแล้วหรือ เขามี ความสุขแล้วหรือ เขาพบกับความหมายของชีวิตที่ทำให้ชีวิตของเขามี เป้าหมายหรือเปล่า เขากำลังฝังจิตใจอยู่ในสิ่งบันเทิงใจ และกลัวที่จะ ตอบคำถามที่ลึกซึ้งหรือเปล่า หรือคิดว่าไม่มีใครควบคุมโลกนี้ได้อีก ต่อไปแล้ว ถ้าเราพูดเช่นนี้ก็เหมือนกับเราไม่เชื่อในพระอานุภาพของ พระบิดาของเรา ศิษย์ : ถูกแล้ว ข้าพเจ้าเห็นด้วยว่าเงินทอง สุรายาเมา และแสงสี สร้างปัญหาในชีวิตมากกว่าให้ความสุข แต่อาจารย์ก็บอกว่าคนยากจน และคนที่ถูกกดขี่เป็นคนที่ได้รับพระพร ข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่าท่านพยายาม บอกอะไร อาจารย์: เราจะเปรียบเทียบอย่างนีก้ แ็ ล้วกันท่านลองนึกถึงภาพงาน เลี้ยงที่มีอาหารอร่อยมากมาย ถ้าคนที่มานั่งที่โต๊ะอาหารเป็นคนที่กำลัง หิว เขาคนนั้นเป็นคนโชคดี จริงไหม แต่น่าสงสารคนที่อิ่มแล้วเพราะเขา กินอาหารขยะมาก่อน ศิษย์ : ชัดเจนดี อาจารย์ ท่านเปรียบเทียบได้เก่งมาก ดังนั้น อาหารขยะเหล่านัน้ ก็คอื วัตถุนยิ ม และกามารมณ์ และเรือ่ งทีต่ นื่ เต้นเร้าใจ “พระองค์ทรงส่งเศรษฐีให้กลับไปมือเปล่า” ข้าพเจ้าเข้าใจส่วนนี้ได้ แต่


บทเทศน์ปี C

151

ยั ง ไม่ เ ข้ า ใจว่ า พระองค์ ป ระทานสิ่ ง ดี ทั้ ง หลายแก่ ผู้ อ ดอยากอย่ า งไร พระองค์ประทานให้เมื่อเราตายไปแล้วเท่านั้นหรือ ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายที่ ได้ยินคำเทศน์สอนศาสนาเหมือนเป็นความฝันลมๆ แล้งๆ ที่เราจะได้รับ เมื่อเราตายไปแล้ว เหมือนกับไม่ยอมรับว่ามนุษย์เรามีปัญหาในชีวิต อาจารย์: รางวัลในสวรรค์เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เราหมายถึง ความสุขบนโลกนี้ และเวลานี้ด้วย ศิษย์ : นั่นแหละที่ข้าพเจ้ากำลังอยากรู้  พวกเขามีความสุขได้ อย่างไรในเวลานี้ เราจะพูดได้อย่างไรว่าความยากจน ความหิว หรือความ อยุติธรรมเหล่านั้นเป็นพระพร อาจารย์: ก็เมือ่ มนุษย์หาพืน้ ทีว่ า่ งให้พระเจ้าเข้ามาอยูใ่ นหัวใจของเขา ได้ไงเล่า พระบิดาของเราต้องการแบ่งปันชีวิต และความรักของพระองค์ กับพวกท่านทุกคน แต่ท่านคิดถึงแต่เรื่องของตนเองจนไม่มีพื้นที่เหลือ ในใจอีกแล้ว เมื่อมือของท่านมีแต่สิ่งไร้สาระเต็มกำมือ พระองค์จึงต้อง เคาะที่ข้อนิ้วของท่าน เพื่อให้ท่านแบมือออก ศิษย์ : ข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจแล้วว่าอาจารย์กำลังพยายามบอกอะไร อาจารย์: คนยากจนเป็นคนที่รู้ว่าตัวตนแท้จริงของเขาเป็นอย่างไร พวกเขาเรียนรู้ที่จะหิวกระหาย และอยากได้ และมีความหวัง สภาพเช่นนี้ แหละที่เปิดทางให้พระเจ้าเข้ามาในหัวใจของเขา คนที่กำลังเสียใจ และ ผิดหวัง กำลังเรียนรู้ว่าวิญญาณจะอิ่มได้เมื่อได้เสพคุณค่านิรันดรเท่านั้น คนที่รู้ว่าการจากไปนั้นเจ็บปวดอย่างไร รู้ว่าการปล่อยวางทำได้ยาก อย่างไร และการตายหมายถึงอะไร คนเหล่านี้เรียนรู้ว่าทุกทางออกก็เป็น ทางเข้าด้วย และทุกความตายเป็นประตูที่เปิดเข้าสู่ชีวิตใหม่  คนที่เคย สัมผัสกับความมืดย่อมเรียนรู้ว่าชีวิตมีอะไรมากกว่าประสบการณ์ตื้นๆ


152

บทเทศน์ปี C

ที่ไม่ยั่งยืน ท่านก็รู้ว่าท่านต้องอยู่ท่ามกลางความมืดก่อน ท่านจึงจะเงย หน้าขึ้นเพ่งมองดวงดาวที่อยู่ไกลๆ ศิษย์ : มันเหมือนกับฟองน้ำใช่ไหม เมื่อมันเปียกน้ำจนชุ่มแล้ว มันก็ดูดซับน้ำอีกไม่ได้ ดังนั้น พระเจ้าจึงต้องบีบฟองน้ำของเรา ก่อนที่เรา จะดูดซับความยิ่งใหญ่ของพระองค์ไว้ได้ อาจารย์: เปรี ย บเที ย บได้ ดี   ครั้ ง นี้ ท่ า นเป็ น ฝ่ า ยยกเรื่ อ งอุ ป มาที่ เหมาะสม แต่เราคิดว่าท่านคงไม่มีวันบรรลุถึงปรีชาญาณนี้ได้ เว้นแต่ว่า ท่านได้ลิ้มรสความยากจนของคำถามของท่านก่อน นี่เป็นข้อพิสูจน์ของ เราว่าคนยากจน คนหิวโหย และคนที่ว่างเปล่านั้นเป็นผู้ได้รับพระพร อย่างแท้จริง ศิษย์ : ขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นแล้วว่าการ ทำตัวให้ว่างเปล่าเพื่อพระเจ้า เป็นก้าวแรกที่นำไปสู่ความสุขแท้


บทเทศน์ปี C

153

บทรำพึงที่ 2 วันนี้ เรารำพึงภาวนาตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา เรื่องความ สุขแท้ เรารู้จัก “ความสุขแท้ตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว” มากกว่า ซึ่งเป็นบทอ่านสำหรับวันฉลองนักบุญทั้งหลาย แต่เมื่อเรามีพระวาจา “หนึ่งเดียว” ของพระเจ้าที่สื่อสารแก่เราผ่านธรรมประเพณี “สอง” สาย ที่ต่างกัน เหมือนกับได้ยินจากสองลำโพง วันนี้เราจึงจะฟังฉบับของลูกา โดยเฉพาะ - ความสุ ข แท้ ต ามคำบอกเล่ า ของนั ก บุ ญ มั ท ธิ ว  (5:1) หรื อ บทเทศน์บนภูเขา ... มีอยูเ่ ก้า หรือแปดข้อ ขึน้ อยูก่ บั วิธนี บั ... และสอนเรือ่ ง “ความยากจนฝ่ายจิต” เรื่องความหิวกระหายความชอบธรรม และการ กลับใจภายใน ... - ความสุ ข แท้ ต ามคำบอกเล่ า ของนั ก บุ ญ ลู ก า (6:20) หรื อ บทเทศน์บนที่ราบ ... ประกอบด้วยความสุขแท้สี่ข้อ และคำสาปแช่งสี่ข้อ และเป็นการพูดกับ “ผู้ยากจนจริงๆ” คือ ผู้ที่ท้องหิว และร่ำไห้จริงๆ พระเยซูเจ้าเสด็จลงมาจากภูเขาพร้อมกับบรรดาศิษย์ และทรงหยุด อยู่ ณ ที่ราบแห่งหนึ่ง ... ที่นั่นมีศิษย์กลุ่มใหญ่ และประชาชนจำนวน มากจากทั่วแคว้นยูเดีย จากกรุงเยรูซาเล็ม จากเมืองไทระ และจาก เมืองไซดอน ซึ่งอยู่ริมทะเล เช่นเดียวกับโมเสส (อพย 19:21) ก่อนจะประทานคำสั่งสอนแก่ เรา พระเยซูเจ้าเสด็จลงมาจากภูเขา ที่ซึ่งพระองค์ทรงพบกับพระเจ้า ลูกา บอกเราว่าพระเยซูเจ้า “ทรงอธิษฐานภาวนาต่อพระเจ้าตลอดทั้งคืน” (ลก 6:12) พระเจ้าอาจทรงมีมุมมองที่ต่างจากเรา เราจึงต้องรู้พระประสงค์ของพระองค์  และด้วยการอธิษฐานภาวนาพระเยซูเจ้าทรงรับเอา


154

บทเทศน์ปี C

ทรรศนะของพระเจ้ามาเป็นของพระองค์เอง การภาวนาของพระองค์ เป็นการสนทนากับพระบิดาสวรรค์ บ่ อ ยครั้ ง ที่ เ รามนุ ษ ย์ คิ ด ว่ า  ความสุ ข หมายถึ ง การมี โ ชคลาภ สุขภาพดี เงินทอง หรือความสำเร็จ ... แต่เราได้ยินจากพระโอษฐ์ของ พระเยซูเจ้าเองว่า อันที่จริง ความสุขเป็นเรื่องของทางเลือกส่วนบุคคล ข้าพเจ้าสามารถมีความสุขได้แม้ว่าข้าพเจ้ายากจน หิวโหย หรือถูกดูหมิ่น ... เป็นความจริงที่ขัดแย้งกันอย่างประหลาดจริงๆ ... ขอให้เรารับฟังพระเยซูเจ้ากันเถิด... พระองค์ทอดพระเนตรบรรดาศิษย์ ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายที่ยากจน ย่อมเป็นสุข” “เป็นสุข” (blessed) มาจากศัพท์ภาษากรีกว่า Makarioi ซึ่ง แปลมาจากภาษาฮีบรู ว่า asherei เป็นคำแรกในบทสดุดี 1 และใช้บ่อยๆ ในพระคัมภีร์ ... คำนี้เป็นพหูพจน์ แสดงออกถึงความยินดีอย่างล้นเหลือ ซึ่งเราอาจแปลได้ว่า “ร่าเริง ยินดี” เมื่อพระเยซูเจ้าทรงประกาศความร่าเริงยินดี และความสุข ให้แก่ ผู้ยากไร้ในโลกนี้ พระองค์ทรงตอบสนองความคาดหวังอย่างไร้ขอบเขต ของเรา ชายและหญิงที่ชุมนุมกันอยู่เบื้องหน้าพระองค์ในวันนั้นเป็น คนป่วยจริงๆ เป็นกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ คนยากจน และหลายคน “ถูก ปีศาจรบกวน” (ลก 6:18) มนุษย์นี้ช่างประหลาดนัก! มนุษย์เสพสิ่งบันเทิงใจ และความสุข สบายทางกายได้อย่างไม่รู้จักอิ่ม และไม่สามารถทนรับความยากแค้น และความเจ็บปวดทางกายได้ แต่กระนั้น เขายังมีความปรารถนาแรงกล้า ในสิ่งที่ไร้ขอบเขต และสิ่งอันสัมบูรณ์ ... เขาแสวงหาความสุขไม่รู้จักหยุด ทำไมมนุษย์จึงแสวงหาเช่นนี้ ถ้ามิใช่เพราะเขาต้องการสิ่งดีอันประเสริฐ สุด


บทเทศน์ปี C

155

ท่านทั้งหลายที่ยากจนย่อมเป็นสุข ... ท่านที่หิวโหยในเวลานี้ ... ท่านที่ ร้องไห้ในเวลานี้ ... ดูเหมือนว่ามัทธิวต้องการให้ข้อความนี้เป็นคำสั่งสอนฝ่ายจิต โดยเขียนว่า “ผู้มีใจยากจน” ข้อความนี้หมายถึงความยากจนโดยสมัครใจหรือ ... เขาหมายถึงการจงใจฝึกตนเองให้ตัดใจจากสิ่งฟุ่มเฟือยและ ทรัพย์ทางวัตถุ  และพยายามดำรงชีพโดยมีทรัพย์ทางวัตถุให้น้อยที่สุด อย่างนั้นหรือ... แต่ลูกาดูเหมือนจะพูดถึงคนที่ยากจนจริงๆ หิวจริงๆ ... คนที่ กำลังทนทุกข์ทรมาน คำว่ า  “ในเวลานี้ ”  มี นั ย สำคั ญ มาก ตามคำบอกเล่ า ของลู ก า สถานการณ์จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ... ท่านที่ร้องไห้ในเวลานี้ ท่านจะ หัวเราะ... เราสามารถอภิปรายได้ไม่มีวันจบสิ้นว่าแท้จริงแล้วพระเยซูเจ้า ตรัสอะไร ... ว่าเป็นฉบับของมัทธิว หรือของลูกา ที่ใกล้เคียงกับพระวาจา จริงๆ ของพระองค์ ... บางที พระเยซูเจ้าอาจประกาศข้อความทั้งสอง ฉบับในวันเดียวกัน หรือในโอกาสต่างกันก็เป็นได้ ถ้าเราพิจารณาพระวรสารแบบองค์รวม ดูเหมือนว่าฉบับของลูกา จะถ่ายทอดสารของพระเยซูเจ้าอย่างชัดเจนกว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็น “พระเมสสิยาห์ของคนยากจน” พระองค์ทรงเลือกเกิดเป็นคนจน พระองค์ทรงดำเนินชีวิตอย่างคนจน พระองค์ไม่มี  “แม้แต่ก้อนหินจะรอง ศีรษะ” พระเยซูเจ้าทรงดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่มีบ้านของตนเอง ให้อยู่อาศัยและพักผ่อน พระองค์จึงสามารถเป็นปากเสียงของคนยากจน และขัดสนได้


156

บทเทศน์ปี C

พระอาณาจักรของพระเจ้าเป็นของท่าน ... ท่านจะอิม่ ... ท่านจะหัวเราะ มนุษย์เราจะยากจน และเป็นสุขในเวลาเดียวกันได้อย่างไร เพราะ พระเยซูเจ้าตรัสว่าพระอาณาจักรของพระเจ้าเป็นของเขา นักบุญเปาโล จะอธิบายว่าพระอาณาจักรของพระเจ้า “ไม่ใช่เรื่องการกินการดื่ม แต่เป็น ความชอบธรรม สันติ และความชื่นชมยินดีในพระจิตเจ้า” (รม 14:17) คนจนวางใจในพระเจ้าเพียงผู้เดียว ในบทอ่านวันนี้  ประกาศกเยเรมีย์ สอนความจริงข้อเดียวกันนี้ แต่ใช้ถอ้ ยคำต่างกันว่า “วิบตั จิ งเกิดแก่มนุษย์ ... ผู้หันหัวใจไปจากพระเจ้า ... มนุษย์ผู้วางใจในพระเจ้าย่อมเป็นสุข” (ยรม 17:5-8) อันตรายยิ่งใหญ่จากความร่ำรวย คือ มันหลอกให้มนุษย์คิดว่า เขาสามารถตอบสนองความอยากนานัปการของเขาได้แล้ว เขาจะคิด ทีละน้อยว่าเขาสามารถวางใจในทรัพย์สินของเขาได้  แทนที่จะวางใจใน พระเจ้าผู้ทรงสร้างทรัพย์สินเหล่านี้ขึ้นมาให้เขาใช้ประโยชน์  นักบุญ เปาโลเตือนทิโมธีเกี่ยวกับความร่ำรวยว่า “คนที่อยากรวยก็ตกเป็นเหยื่อ ของการทดลอง ติดกับดัก และตกลงไปในตัณหาชั่วร้ายโง่เขลามากมาย ซึ่งทำให้มนุษย์จมลงสู่ความพินาศย่อยยับ ความรักเงินตราเป็นรากเหง้า ของความชั่วร้ายทุกประการ” (1 ทธ 6:9-10) ตรงกันข้ามกับคนยากจนที่ไม่อาจหวังพึ่งทรัพย์ทางวัตถุได้ เขา จึงหันไปพึ่งพระเจ้าเสมอ และดำเนินชีวิตโดยพึ่งพาอาศัยพระสรรพานุภาพของพระเจ้า ท่านทั้งหลายเป็นสุข  เมื่อคนทั้งหลายเกลียดชังท่าน ผลักไสท่าน ดูหมิ่นท่าน รังเกียจนามของท่านประหนึ่งนามชั่วร้าย เพราะท่านเป็น ศิษย์ของบุตรแห่งมนุษย์ ใครคือบุคคลสำคัญในข้อความนี้ ใครคือ “บุตรแห่งมนุษย์” คนนี้ ... ซึ่งคนยากจนสามารถอ้างความสัมพันธ์ได้ ... เยซูชาวนาซาเร็ธผู้นี้ช่าง


บทเทศน์ปี C

157

กล้าจริงๆ ทั้งที่เป็นคนจน และยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักในเวลานั้น... เช่นเดียวกับข้อความอื่นๆ ในพระวรสาร ประโยคนี้แสดงว่าความ ยากจนไม่ได้เป็นหลักประกัน “ความสุขของพระเจ้า” โดยอัตโนมัติ เพื่อ จะไขว่คว้าความสุขที่พระเจ้าทรงสัญญานี้มาครอง เราต้องเข้าใจและ ยอมรับการทดลอง ความขัดแย้งและการต่อต้าน เหมือนกับที่พระเยซูเจ้า บุตรแห่งมนุษย์ เคยทำ การดำเนินชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้าคือ ต้นเหตุแท้ของความชื่นชมยินดี... พระเจ้าข้า โปรดทรงเปลี่ยนการทดลองของข้าพเจ้าให้กลายเป็น “ความร่าเริงเบิกบาน” กับพระองค์เถิด... จงชื่นชมในวันนั้นเถิด จงโลดเต้นยินดีเถิด เพราะบำเหน็จรางวัลของ ท่านนั้นยิ่งใหญ่นักในสวรรค์ บรรดาบรรพบุรุษของเขาเหล่านั้นเคย กระทำเช่นนี้กับบรรดาประกาศกมาแล้ว พระเยซูเจ้าไม่ทรงอธิบายปัญหาของความชั่วร้าย และไม่ทรง อธิบายเหตุผลของความทุกข์ทรมาน พระวรสารกล่าวบ่อยครั้งว่าพระองค์ทรงต่อสู้กับความเจ็บปวด พระองค์ทรงรักษาโรค บรรเทาใจ และ ให้อภัย แต่ในกรณีน้ี พระองค์ทรงรับรองด้วยความมัน่ ใจอันสงบ แต่แรงกล้า ว่าความยินดีอันเร้นลับจะเผยตัวออกมาจากความทุกข์ทรมาน “การ เต้นรำด้วยความยินดี” ใครมีหู ก็จงฟังเถิด... เราสังเกตเห็นความเฉียบแหลมของความคิดนี้ นั่นคือ ความยินดี ที่พระองค์ทรงสัญญานี้จะเบ่งบานเต็มที่เพียงในสวรรค์  แต่ความยินดี อาจเริ่มต้นขึ้นได้ ตั้งแต่วันที่เราทนรับความทุกข์ทรมานแล้ว ความเชื่อคือการคาดหวังในสวรรค์  การคาดหวังในชีวิตนิรันดร ...


158

บทเทศน์ปี C

วิบัติจงเกิดกับท่านที่ร่ำรวย เพราะท่านได้รับความเบิกบานใจแล้ว ในที่นี้  ลูการะบุสี่ประโยคที่พระเยซูเจ้าตรัส ซึ่งขนานกับความ สุขแท้สี่ข้อ ดังนั้น บางครั้งจึงถูกเรียกว่า “คำสาปแช่ง” ... แต่เราจะคิด ได้อย่างไรว่ามีคำสาปแช่งอยู่ในหัวใจของพระผู้เสด็จมาช่วยเราให้รอด และไม่ใช่เพือ่ ลงโทษ ... ในพระคัมภีรภ์ าษากรีก เราไม่พบคำสาปแช่ง หรือ การประณาม ... เพียงแต่เป็นการตั้งข้อสังเกตอย่างเศร้าใจว่า “การเป็น คนรวยช่างน่าสงสารจริง” ถูกแล้ว พระเยซูเจ้าทรงแสดงความสงสารคนรวย น่าสงสารที่ หัวใจของเขาไม่ยอมรับคุณค่าแท้จริง! น่าเศร้าใจเมื่อมนุษย์วางใจในสิ่ง ที่เน่าเปื่อยได้... จงระวังตัวไว้เถิด คำเตือนนี้ไม่ได้เตือนผู้อื่น “ข้าพเจ้า” คือ คน รวยนี้ที่พร้อมเสมอที่จะลืมสิ่งจำเป็นในชีวิต วิบัติจงเกิดกับท่านที่อิ่มเวลานี้ เพราะท่านจะหิว วิบตั จิ งเกิดกับท่านทีห่ วั เราะเวลานี้ เพราะท่านจะเป็นทุกข์ และร้องไห้ พระเยซูเจ้าทรงประกาศข้อความที่แสดงสถานการณ์ที่ตรงกัน ข้ามกัน พระคัมภีร์ภาษากรีกเสนอภาพที่ชัดเจนยิ่งกว่า “วิบัติจงเกิดแก่ ท่านที่กินจนเกินกระเพาะ” วิบัติจงเกิดกับท่านเมื่อทุกคนกล่าวยกย่องท่าน เพราะบรรดาบรรพบุรุษของเขาเหล่านั้น เคยกระทำเช่นนั้นกับบรรดาประกาศกเทียม มาแล้ว กระบวนการคิดของพระเยซูเจ้าเหมือนกับความคิดที่แสดงออก ในพระคัมภีร์ หรือของชาวฮีบรู คือ สัมบูรณ์ และระบุสองทางเลือก “ถ้า ไม่เป็นเช่นนี้ ... ก็เป็นเช่นนั้น ...” การใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่นนี้แสดงให้เห็นการต่อสู้กันระหว่างพระเจ้าและเงินทองโดยไม่มีทาง


บทเทศน์ปี C

159

ประนีประนอม “ท่านทั้งหลายจะปรนนิบัติรับใช้พระเจ้า และเงินทอง พร้อมกันไม่ได้” (ลก 16:13) พระนางมารีย์ขับร้องบทเพลงสรรเสริญ พระเจ้าว่า “พระองค์ทรงคว่ำผู้ทรงอำนาจจากบัลลังก์ ... ทรงส่งเศรษฐีให้ กลับไปมือเปล่า ... ทรงยกย่องผู้ต่ำต้อยให้สูงขึ้น  และประทานสิ่งดี ทั้งหลายแก่ผู้อดอยาก”... เรายังจะยอมปล่อยตนเองให้หลงใหลภาพลวงตาอีกหรือ ... หรือ ว่าเราจะติดตามพระเยซูเจ้า “แม้ทรงร่ำรวย พระองค์ก็ยังทรงยอมกลาย เป็นคนยากจน” (2 คร 8:9)... ข้าแต่พระเยซูเจ้า พระองค์คือ “คนยากจน” – ในพระองค์คือ พระสิริรุ่งโรจน์นิรันดร...


160

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่เจ็ด เทศกาลธรรมดา ลูกา 6:27-36 พระเยซูเจ้าตรัสกับศิษย์ของพระองค์ว่า “แต่เรากล่าวกับท่าน ทั้งหลายที่กำลังฟังอยู่ว่า จงรักศัตรู จงทำดีต่อผู้ที่เกลียดชังท่าน จง อวยพรผู้ที่สาปแช่งท่าน จงอธิษฐานภาวนาให้ผู้ที่ทำร้ายท่าน ผู้ใด ตบแก้มท่านข้างหนึ่ง จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาตบด้วย ผู้ใดเอา เสือ้ คลุมของท่านไป จงปล่อยให้เขาเอาเสือ้ ยาวไปด้วย จงให้แก่ทกุ คน ที่ขอท่าน และอย่าทวงของของท่านคืนจากผู้ที่ได้แย่งไป ท่านอยาก ให้เขาทำต่อท่านอย่างไร ก็จงทำต่อเขาอย่างนัน้ เถิด ถ้าท่านรักเฉพาะ ผู้ที่รักท่าน ท่านจะเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าได้อย่างไร คนบาป ก็ยังรักผู้ที่รักเขาด้วย ถ้าท่านทำดีเฉพาะต่อผู้ที่ทำดีต่อท่าน ท่านจะ เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าได้อย่างไร คนบาปก็ยังทำเช่นนั้นด้วย ถ้าท่านให้ยืมเงินโดยหวังจะได้คืน ท่านจะเป็นที่พอพระทัย ของพระเจ้าได้อย่างไร คนบาปก็ให้คนบาปด้วยกันยืม โดยหวังจะได้ เงินคืนจำนวนเท่ากัน แต่ท่านจงรักศัตรู จงทำดีต่อเขา จงให้ยืมโดย ไม่หวังอะไรกลับคืน แล้วบำเหน็จรางวัลของท่านจะใหญ่ยิ่ง ท่านจะ เป็ น บุ ต รของพระผู้ สู ง สุ ด  เพราะพระองค์ ท รงพระกรุ ณ าต่ อ คน อกตัญญู และต่อคนชั่วร้าย


บทเทศน์ปี C

161

จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตา กรุณาเถิด อย่าตัดสินเขา แล้วพระเจ้าจะไม่ทรงตัดสินท่าน อย่ากล่าว โทษเขา แล้วพระเจ้าจะไม่ทรงกล่าวโทษท่าน จงให้อภัยเขา แล้วพระเจ้าจะทรงให้อภัยท่าน จงให้ แล้วพระเจ้าจะประทานแก่ท่าน ท่านจะ ได้รับเต็มสัดเต็มทะนานอัดแน่นจนล้น  เพราะว่าท่านใช้ทะนานใด ตวงให้เขา พระเจ้าก็จะทรงใช้ทะนานนั้นตวงตอบแทนให้ท่านด้วย”


162

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง อาณาจักรแห่งความรัก พระเยซูเจ้าทรงมีความฝันประการหนึ่ง พระองค์ทรงเรียกความ ฝันนี้ว่าพระอาณาจักรของพระเจ้า ในความฝันของพระองค์ พระองค์ทรง มองเห็นโลกที่เป็นเสมือนกระจกเงาบานใหญ่ที่สะท้อนภาพความงาม และความรักของพระเจ้า พระองค์เสด็จมาบอกเล่าความฝันของพระองค์ ให้แก่ประชาชน ผู้ที่มีความคิดคับแคบจนไม่เคยมองเห็นอานุภาพอัน ยิ่งใหญ่ของความรัก เขาไม่เคยมองไกลเกินความเจ็บปวดและความ อยุติธรรม เขาคอยตะโกนเรียกร้องสิทธิของตน ความรักของเขามีอยู่ อย่างจำกัด เพราะความเจ็บปวด หรือการกระทำผิดต่อเขาทุกประการ กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้ความรักของเขาไหลออกมาสู่ผู้อื่น ปัญญาชนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขาได้กำหนดอุดมคติอันสูงส่ง ขึ้นมา เรียกว่ากฎทอง (Golden Rule) คือ อย่าทำต่อผู้อื่นสิ่งใดที่ท่าน ไม่อยากให้ผู้อื่นทำต่อท่าน แต่กฎข้อนี้ยังไม่กว้างพอสำหรับพระเยซูเจ้า ประโยคเชิงลบที่กำหนดว่าเราไม่ควรทำอะไรนั้น จำกัดวิสัยทัศน์ของ พระองค์เกินไป พระองค์ทรงรู้จักความรักของพระบิดาทั้งความกว้าง ความลึก และความอ่อนโยนของความรักนั้น พระองค์ทรงรู้ว่าความรัก เป็นพลัง มิใช่ข้อจำกัด ดังนั้น พระองค์จึงตรัสถึงความรักเสมือนว่าเป็น พลังด้านบวกที่ไม่ควรถูกสกัดกั้นด้วยความเป็นศัตรู และความเกลียดชัง หรือด้วยความไม่สบายใจเนื่องจากวาจา และการกระทำอันไม่สมควร การให้มากกว่าที่ได้รับคือความใจกว้าง ทำให้ท่านมองโลกผ่านดวงตา


บทเทศน์ปี C

163

ของพี่น้องชายหญิงของท่าน เมื่อนั้น ท่านจะเข้าใจความเจ็บปวดของเขา และท่านจะไม่รีบประณาม หรือตัดสินลงโทษผู้ใด ความรักยิ่งใหญ่กว่าความบาดเจ็บ เหมือนกับที่ความดียิ่งใหญ่ กว่าความชั่ว ดังนั้น ความรักจะพบพลังที่จะให้อภัยเสมอ ความรักไม่รอ จนกว่าจะมีเงื่อนไขที่เหมาะสม ความรักไม่พูดว่า “ฉันจะเริ่มรักเมื่อ ... หรือถ้า ...” ความรักเป็นทัศนคติที่สำคัญเกินกว่าจะถูกยับยั้งไว้เพื่อรอ คำตอบจากอีกฝ่ายหนึ่ง ความรักของพระบิดาเป็นความรักที่สร้างสรรค์ ฉันใด ความรักของคริสตชนก็ต้องเป็นฝ่ายเริ่มยื่นมือออกไปให้ผู้อื่น ความฝันของพระเยซูเจ้ามองเห็นโลกที่สะท้อนความรักอันปราศจาก เงื่ อ นไขของพระบิดาให้เป็นที่ประจั ก ษ์ ใ นชี วิ ต ของบุ ต รทั้ ง หลายของ พระองค์บนโลกนี้ พระองค์ทรงเห็นความระแวงถูกกำจัดไป และมรดก แห่งความเกลียดชังถูกละลายหมดไป พระองค์ทรงเห็นความเจ็บปวดใน ชีวิตได้รับการเยียวยาจากความสงสาร และบาดแผลแห่งความเข้าใจผิด ได้รับการเยียวยาจากการให้อภัย พลังที่เปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้กลายเป็น โลกในความฝันของพระองค์ก็คือความรัก พระองค์ทรงดำเนินชีวิตตาม วิสัยทัศน์และพลังนั้น และกฎในชีวิตของพระองค์คือ บทบัญญัติใหม่ คือ จงรักกันและกัน เหมือนที่เรารักท่าน นี่คือสารที่หญิงสาววัย 27 ปี ชื่อเอ็ตตี้ ฮิลซัม จำใส่ใจในเวลาที่เธอ กำลังรอถูกจับกุม และส่งตัวไปยังค่ายกักกันพร้อมกับชาวยิวเพื่อนร่วม ชาติของเธอ เธอบันทึกในสมุดบันทึกเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ว่า “พวกเขาไร้ความปรานี ไม่มีความสงสารเลยแม้แต่น้อย และเรากลับ ยิ่งต้องมีความเมตตามากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเหตุนี้ ดิฉันจึงสวดภาวนา ตั้ ง แต่ เ ช้ า ตรู่ วั น นี้ ”  (An Interruped Life: The Diaries and Letters of Etty Hillesum, 1941-1943, Persephone Books, London)


164

บทเทศน์ปี C

ข้อรำพึงที่สอง เปโตรระลึกถึงเหตุการณ์ ใครๆ ก็รู้ว่าข้าพเจ้ามีปัญหากับอารมณ์ของข้าพเจ้าเสมอ ดังนั้น ท่านคงเดาออกว่าข้าพเจ้ารู้สึกอย่างไรเมื่อพระเยซูเจ้าเริ่มตรัสสอนให้ รักศัตรู  และหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาตบ ข้าพเจ้ายอมรับกฎตาต่อตา ฟันต่อฟัน มาโดยตลอด การแก้แค้นในระดับเท่าเทียมกันเป็นนโยบายที่ ยุติธรรม ปัญหาเดียวของข้าพเจ้า คือ ข้าพเจ้ามักเป็นฝ่ายแก้แค้นก่อน เสมอ พระเยซูเจ้าทรงมีท่าทีสงบและมั่นใจในสิ่งที่พระองค์ตรัสมากจน ข้าพเจ้าคล้อยตามพระวาจาของพระองค์ แม้ว่าวิถีชีวิตของข้าพเจ้าไม่ได้ น่าชื่นชมนัก พระองค์ตรัสถึงวิสัยทัศน์  ซึ่งต่างจากที่ข้าพเจ้าเคยคิดไว้ มาก พระองค์ทรงมองชีวิตในมุมที่แท้จริง และงดงาม ... หรืออย่าง ไร้เดียงสากันแน่? ข้าพเจ้าต้องคิดถึงเหตุการณ์ในความทรงจำที่เกิดขึ้นหลังจาก เวลานั้น ... คิดถึงสูตรสำเร็จที่เราพัฒนาขึ้นภายหลังในกลุ่มคริสตชน พระองค์ทรงหยิบ ทรงถวายพระพร ทรงบิ และทรงประทานให้ นี่คือ กิรยิ าสีอ่ ย่าง ซึง่ เริม่ ต้นจากขนมปัง และปลา พระองค์ทรงทำกิรยิ าเดียวกัน นี้ระหว่างอาหารค่ำมื้อสุดท้ายด้วย เมื่อเวลาผ่านไป เราเริ่มตระหนักว่าพระเจ้าทรงทำกิริยาสี่อย่างนี้ กับประชากรของพระองค์ในเวลานั้น เราถูกเลือก และหยิบขึ้นมา ในเวลา นั้นข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าพร้อมจะก้าวไปถึงขั้นที่สี่แล้ว คือ การให้ ไม่มี เวลาสำหรับขั้นที่สอง และที่สาม แต่ข้าพเจ้าจะมีอะไรไปให้พวกเขา ... มี แต่ซีโมน ... และใครจะต้องการฟังซีโมน ซีโมนมีอำนาจอะไร หลังจาก ผ่านขั้นถวายพระพร และการบิแล้วเท่านั้น ข้าพเจ้าจึงมีบางสิ่งบางอย่าง จะมอบให้แก่ประชาชน ... นั่นคืออำนาจในพระนามของพระเยซูเจ้า เรา เข้าสู่ขั้นของการได้รับพระพร เมื่อเราถูกดึงดูดเข้าสู่วิสัยทัศน์ และคุณค่า ชีวิต ที่พระองค์ทรงยกย่อง


บทเทศน์ปี C

165

ข้าพเจ้าต้องผ่านความผิดหวัง ความล้มเหลว และถูกบิเหมือน ขนมปังหลายครั้ง ก่อนข้าพเจ้าจะสามารถตัดใจจากทุกสิ่งทุกอย่าง และ ยื่นทุกสิ่งทุกอย่างถวายพระองค์ เมื่อนั้น ข้าพเจ้าจึงมีบางสิ่งบางอย่างจะ มอบให้ผู้อื่น ซึ่งอันที่จริง เป็นพระเยซูเจ้าในตัวข้าพเจ้าต่างหากที่มีบางสิ่ง บางอย่างจะประทานให้ จนกระทั่งวันหนึ่ง ข้าพเจ้าสามารถพูดออกมา จากความว่างเปล่าและความบริบูรณ์ในตัวข้าพเจ้า กับคนง่อยคนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าไม่มีเงิน ไม่มีทอง แต่ข้าพเจ้ามีอะไรจะให้ท่าน เดชะพระนาม ของพระเยซูคริสตเจ้า ชาวนาซาเร็ธ จงเดินไปเถิด” ดังนั้น ข้าพเจ้าขอแนะนำท่านเหมือนกับที่เคยเขียนคำแนะนำนี้ ไว้ที่อื่น (เทียบ 1 ปต) ว่า ถ้าพระองค์ทรงขอให้ท่านได้รับความทุกข์ ทรมาน อย่าได้กลัวเลย ถ้าท่านสามารถร่วมรับทรมานกับพระคริสตเจ้า ได้ ก็จงยินดีเถิด เพราะเมื่อพระองค์ทรงสำแดงพระสิริรุ่งโรจน์ ท่านจะ ร่วมรับความชื่นชมยินดีกับพระองค์ได้มากยิ่งกว่า จงจำไว้ว่าไม่มีใคร ทำร้ายท่านได้ ถ้าท่านมุ่งมั่นจะทำแต่สิ่งที่ถูกต้อง จงรักกันและกัน จงมี ความสงสารต่อกัน และเก็บตัวอยู่แต่เบื้องหลัง อย่าตอบโต้ความชั่ว ด้วยความชั่ว อย่าด่าตอบผู้ที่ด่าท่าน แต่ตรงกันข้าม จงอวยพรเขา เพราะ พระเจ้าทรงเรียกท่านมาก็เพื่อให้รับพระพร แล้วท่านจะพบว่าคำอวยพร นั้นย้อนกลับมาหาตัวท่านเองเป็นร้อยเท่าทวีคูณ พระเจ้าจะไม่ทรงยอม ให้ใครชนะพระองค์ได้ในเรื่องความใจกว้าง


166

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 2 แต่เรากล่าวกับท่านทั้งหลายที่กำลังฟังอยู่ว่า จงรักศัตรู จงทำดีต่อผู้ที่ เกลียดชังท่าน จงอวยพรผู้ที่สาปแช่งท่าน จงอธิษฐานภาวนาให้ผู้ที่ ทำร้ายท่าน ทุกสิ่งที่เป็น “ของใหม่” ในพระวรสาร รวมอยู่ในคำสั่งสอนนี้ ซึ่ง พระเยซูเจ้าประทานแก่ผู้ที่ยอมฟังพระองค์  เอกลักษณ์ของหลักจริยธรรมของคริสตศาสนาไม่ได้มีแต่ “ความรัก” เท่านั้น เพราะหลักจริยธรรมทั้งปวงของมนุษย์ก็เรียกร้องให้เรารักเพื่อนมนุษย์ แต่พระองค์ทรง สัง่ สอนให้ “รักศัตรู” ความรักของคริสตชนเป็นความรักสากล ทีไ่ ม่ยกเว้น ใครเลย ... เหมือนกับความรักของพระบิดาสวรรค์ (มธ 5:43-48) คำว่า “ศัตรู” ที่พระเยซูเจ้าทรงใช้นี้ เป็นคำที่แรงมาก และอาจ ทำให้เข้าใจผิดได้ง่าย เราจะได้ยินบางคนพูดว่า “ฉันไม่มีศัตรู” แต่พระเยซูเจ้าทรงใช้เวลาอธิบายโดยทรงยกหลายตัวอย่างทีเดียว ศัตรูของ ข้าพเจ้าหมายถึงผู้ที่เกลียดชังข้าพเจ้า ... ผู้ที่กล่าวร้ายข้าพเจ้า ... ผู้ที่ ใส่ความข้าพเจ้า ... แม้แต่ผู้ที่ข้าพเจ้ารังเกียจ ... ก่อนจะเข้าใจหลักจริยธรรมที่พระวรสารนี้กล่าวถึงอย่างครบถ้วนได้ เราต้องเข้าใจว่า “ศัตรู” หมายถึงใครบ้างในชีวิตจริง... ในระดับบุคคล – พระเยซูเจ้าทรงขอให้ข้าพเจ้ารักผู้ที่วิพากษ์ วิจารณ์ขา้ พเจ้า ... ผูท้ ที่ ำให้ขา้ พเจ้ารำคาญใจ ... ผูท้ ไี่ ม่เห็นพ้องกับข้าพเจ้า ... ผู้ที่แสดงความก้าวร้าวต่อข้าพเจ้า ไม่ว่าทางความคิด การแต่งกาย การ ลงคะแนนเลือกตั้ง เป็นต้น... ในระดับกลุ่มบุคคล หรือสภาพแวดล้อม – พระเยซูเจ้าทรงขอให้ ศิษย์ของพระองค์รักผู้ที่เป็นศัตรูกับกลุ่มของเขาอีกด้วย ... ไม่ว่าจะเป็น


บทเทศน์ปี C

167

ผู้ที่เบียดเบียนพวกเขา ต่อต้านพวกเขา กลุ่มคนและชนชั้นที่คิดต่างจาก เรา... คงจะเกิดวิวัฒนาการของความรักครั้งใหญ่ขึ้นในโลก ถ้าคริสตชน แต่ละคนเริ่มปฏิบัติอย่างที่พระเยซูเจ้าทรงบอกให้เราทำอย่างจริงจัง... ก่อนจะรำพึงภาวนาต่อไป ข้าพเจ้าจะหยุดพักครู่หนึ่งเพื่อนึกถึง ชือ่ และหน้าตาของบุคคลทีพ่ ระวรสารหมายถึง และแสดงความปรารถนา ให้เขาได้รับสิ่งดีๆ ... ข้าพเจ้าจะภาวนาอย่างจริงจังเพื่อให้เขามีสุขภาพดี ทั้งกาย และวิญญาณ... ผู้ใดตบแก้มท่านข้างหนึ่ง จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาตบด้วย ผู้ใด เอาเสื้อคลุมของท่านไป จงปล่อยให้เขาเอาเสื้อยาวไปด้วย จงให้แก่ ทุกคนที่ขอท่าน และอย่าทวงของของท่านคืนจากผู้ที่ได้แย่งไป หลังจากทรงเน้นย้ำทัศนคติภายใน ซึ่งสำคัญที่สุดในความคิดของ พระเยซูเจ้า พระองค์ทรงระบุการกระทำภายนอกที่แสดงทัศนคติเหล่านี้ ออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ... เราต้องแสดงความรักต่อศัตรูด้วยการ กระทำเชิงบวก ... ในที่ นี้   พระเยซู เ จ้ า ไม่ ท รงมี เ จตนาจะกำหนดบทบั ญ ญั ติ ใ หม่ เกี่ยวกับสี่ประเด็น คือ การตบ เสื้อคลุม การขอ หรือการขโมย ... แต่เป็น เพียงตัวอย่างที่อธิบายให้เห็นภาพของวิถีชีวิตแบบใหม่ ตัวอย่างที่ตั้งใจ ให้เห็นความขัดแย้งในตัวเอง และจดจำได้งา่ ย เราไม่อาจแปลความหมาย ประโยคที่เป็นภาษาเซมิติกเหล่านี้ตามตัวอักษรโดยไม่ใช้สามัญสำนึก ราวกับว่าเราจำเป็นต้องหันแก้มซ้ายให้แก่ผู้ที่เพิ่งจะตบแก้มขวาของเรา ... พระเยซูเจ้าทรงแสดงตัวอย่างได้ดีที่สุดว่าคำสั่งสอนของพระองค์ หมายถึงอะไร เมื่อพระองค์ไม่ทรงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้แก่คนรับใช้ของ มหาสมณะทีต่ บพระองค์ และตรัสว่า “ถ้าเราพูดถูก ท่านตบหน้าเราทำไม” (ยน 18:23)


168

บทเทศน์ปี C

นี่คือตัวอย่างที่ระบุในพระคัมภีร์ ... และพระเยซูเจ้าไม่ทรงขอให้ เราทำสิ่งใดที่พระองค์ไม่เคยทำมาก่อน ... ท่านอยากให้เขาทำต่อท่านอย่างไร ก็จงทำต่อเขาอย่างนั้นเถิด นี่คือบทบัญญัติที่เรียกกันว่า “กฎทอง” และเป็นหนึ่งในหลักการ ที่จำเป็นสำหรับหลักจริยธรรมทั้งปวงด้วย ... ในยุคของพระเยซูเจ้า รับบี ฮิลเลล เคยสอนว่า “อะไรที่ท่านไม่ชอบ ก็อย่าทำต่อเพื่อนมนุษย์” และ นักปรัชญาสโตอิก ก็เคยสอนว่า “ท่านไม่ต้องการให้ใครทำอย่างไรต่อ ท่าน ก็จงอย่าทำอย่างนั้นต่อผู้อื่น”... แต่พระเยซูเจ้ากำลังประทานบทบัญญัติเชิงบวก คือ เราต้องทำ ความดีให้มากที่สุดต่อเพื่อนมนุษย์ของเรา – แม้แต่ต่อศัตรูของเรา... ถ้าท่านรักเฉพาะผู้ที่รักท่าน ท่านจะเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าได้ อย่างไร คนบาปก็ยังรักผู้ที่รักเขาด้วย ถ้าท่านทำดีเฉพาะต่อผู้ที่ทำดี ต่อท่าน ท่านจะเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าได้อย่างไร คนบาปก็ยัง ทำเช่นนั้นด้วย ถ้าท่านให้ยืมเงินโดยหวังจะได้คืน ท่านจะเป็นที่พอ พระทัยของพระเจ้าได้อย่างไร คนบาปก็ยังให้คนบาปด้วยกันยืม โดย หวังจะได้เงินคืนจำนวนเท่ากัน แต่ท่านจงรักศัตรู จงทำดีต่อเขา จงให้ ยืมโดยไม่หวังอะไรกลับคืน เราเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า เราเป็นคริสตชน แต่บ่อยครั้ง เราก็ ไม่ได้ดีไปกว่าผู้อื่น ... ทั้งที่เห็นได้ชัดว่า พระเยซูเจ้าทรงขอให้เราปฏิบัติ ตนแตกต่างจากผู้อื่น ... อะไรคือ “ความแตกต่าง” นี้ ... อะไรควรทำให้ คริสตชนต่างจากผู้อื่น ... นั่นคือ จงรักคนที่ไม่รักเรา... พระเยซูเจ้าทรงต้องการให้ความรักของเราแผ่ขยายออกไปนอก ชุมชนธรรมชาติของเรา หมายถึงครอบครัว บุคคลรอบตัวเรา ประเทศ ชาติของเรา ชนชาติเดียวกับเรา ... คนที่คล้ายกันจะมีความเป็นหนึ่งเดียว


บทเทศน์ปี C

169

กันได้ตามธรรมชาติ และตามสัญชาตญาณ แม้แต่คนบาป ผู้กดขี่ที่ชั่วร้าย และเห็ น แก่ ตั ว  ก็ อ าจเห็ น ควรว่ า  “ต้ อ งสามั ค คี กั น ” เพราะเห็ น แก่ ผลประโยชน์ และเพื่อร่วมกันต่อสู้กับผู้ที่ต่อต้านกลุ่มของตน แต่ความรักของคริสตชนเป็นความรักที่ไม่มีเส้นแบ่งเขตแดน ไม่มีอุปสรรค สภาสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 (Ad Gentes ข้อ 12) กล่าวถึง “ความรักเมตตาของคริสตชน” ว่า “ต้องมอบให้แก่ทุกคนอย่างแท้จริง โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ สถานะทางสังคม หรือศาสนา และไม่คาดหวัง ผลประโยชน์ หรือความกตัญญูรู้คุณ” แล้วบำเหน็จรางวัลของท่านจะใหญ่ยง่ิ ท่านจะเป็นบุตรของพระผูส้ งู สุด เพราะพระองค์ทรงพระกรุณาต่อคนอกตัญญู และต่อคนชั่วร้าย พระวาจานี้ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า มนุ ษ ย์ ทั่ ว ไปยั ง อยู่ ห่ า งไกลจาก แผนการของพระเจ้ า เพี ย งใด และจำเป็ น อย่ า งไรที่ พ ระจิ ต ของ พระองค์ (พระจิตแห่งพระอาณาจักรของพระองค์) จะต้องเปลี่ยนแปลง มนุษย์จากภายใน ... มนุษย์ก่อนสมัยของพระเยซูเจ้าตอบโต้ความรุนแรง ด้วยความรุนแรง แม้แต่พระคัมภีร์ก็ยังกำหนดให้เป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ “สงครามศักดิ์สิทธิ์” และกำจัดศัตรูให้หมดสิ้น ให้ “เชือดคอ” ตามหลัก ศาสนาเพื่อปราบศัตรูของพระเจ้า (ฉธบ 7:1-6, 20:10-18, 25:19, ยชว 6:17, กดว 21:2, 1 ซมอ 15:18) ก่อนสมัยของพระเยซูเจ้า มนุษย์ เคยภาวนาให้ศัตรูได้รับภัยพิบัติ แม้แต่ในพระคัมภีร์ (สดด 17:13, 28:4, 69:23-29 เป็นต้น) แต่นับจากสมัยของพระเยซูเจ้า บัดนี้ เราต้อง อธิษฐานภาวนาเพื่อคนเหล่านี้... อุดมคติที่พระเยซูเจ้าทรงเสนอแก่เรานี้ไม่ได้ด้อยไปกว่าอุดมคติ ของพระเจ้าเลย เป็นอุดมคติที่เราต้องพยายามทำให้ได้เสมอ แม้ว่าเรา จะไม่มีวันทำได้อย่างสมบูรณ์เลยก็ตาม นี่คืออุดมคติที่ปราศจากขีดจำกัด ...


170

บทเทศน์ปี C

พระวาจานีน้ า่ แปลกใจ! ผูท้ รี่ กั ศัตรูของตนจะได้รบั บำเหน็จ เขาจะ เป็น “บุตรของพระผู้สูงสุด” และนี่คือนามที่มอบให้พระเยซูเจ้าในการ ประกาศสารต่อพระนางมารีย์ (ลก 1:32) ... “ผู้สร้างสันติ” จะเป็นบุตร ของพระเจ้า (มธ 5:9)... การรักศัตรูเป็นการกระทำที่เกินกำลังมนุษย์ มีแต่พระเจ้าเท่านั้น ที่ทำได้  และพระองค์ก็ทรงทำเช่นนี้ไม่ว่างเว้น พระองค์ทรง “เมตตา กรุณาต่อผู้ที่ไม่รู้จักบุญคุณ และเห็นแก่ตัว” ดังที่พระเยซูเจ้าทรงเปิดเผย แก่เรา... จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณา เถิด อย่าตัดสินเขา แล้วพระเจ้าจะไม่ทรงตัดสินท่าน อย่ากล่าวโทษ เขา แล้วพระเจ้าจะไม่ทรงกล่าวโทษท่าน จงให้อภัยเขา แล้วพระเจ้าจะ ทรงให้อภัยท่าน จงให้ แล้วพระเจ้าจะประทานแก่ท่าน ท่านจะได้รับ เต็ ม สั ด เต็ ม ทะนานอั ด แน่ น จนล้ น เพราะว่ า ท่ า นใช้ ท ะนานใดตวง ให้เขา พระเจ้าก็จะทรงใช้ทะนานนั้นตวงตอบแทนให้ท่านด้วย พระเยซูเจ้าทรงเผยแสดงนิสัยแท้ของพระเจ้าแก่เรา พระองค์คือ ความเมตตา ... พระองค์ทรงเป็นความรักจนถึงที่สุด ... เราไม่อาจย้ำได้ บ่อยครั้งพอว่า พระเจ้าไม่ทรงกล่าวโทษผู้ใด ... พระเจ้าให้อภัยคนบาป ทุกคน... และพระองค์ทรงขอให้เราเลียนแบบพระองค์   พระองค์ถึงกับ บอกเราว่าความหนักเบาของคำพิพากษาตัวเรานั้นขึ้นอยู่กับตัวเราเอง “ท่านใช้ทะนานใดตวงให้เขา พระเจ้าก็จะทรงใช้ทะนานนั้นตวงตอบแทน ให้ทา่ นด้วย ... โปรดประทานอภัยบาปของข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้าให้อภัย แก่ผู้อื่น ...” ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าพระเจ้าทรงยอมรับการกระทำที่ชั่วร้าย การให้อภัยไม่เหมือนกับการยอมรับความชั่วร้าย ไม่มีสิ่งใดที่เหมือนกัน


บทเทศน์ปี C

171

– และจะไม่มีวันเหมือนกัน - ระหว่างพระเจ้า และความอยุติธรรม ทารุณกรรม เจตนาร้าย ความขลาด ความเห็นแก่ตัว ... ผู้ที่กระทำการ เหล่านี้จะไม่อยู่ฝ่ายเดียวกับพระองค์ แต่พระเจ้าไม่ทรงตัดสินและกล่าว โทษ เพราะพระองค์ทรงคาดหวังให้คนเหล่านี้กลับใจ เมื่อเขากล่าวโทษ และทำลายตัวเองด้วยการดื้อรั้นไม่ยอมรับการให้อภัยจากพระองค์  ... พระเจ้าจะทรงหลั่งน้ำตานิรันดร (นี่คือไม้กางเขน) ลงบนผู้ที่ปฏิเสธที่จะ รักพระองค์ ... นรกคือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับพระเจ้า นรกไม่ใช่สิ่งสร้างของ พระเจ้า เพราะพระเจ้าทรงเป็นความเมตตากรุณาเท่านั้น... ท่านเล่า ... ท่านอยู่ข้างเดียวกับพระเจ้าหรือเปล่า...


172

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่แปด เทศกาลธรรมดา ลูกา 6:39-45 พระเยซูเจ้ายังตรัสอุปมาให้เขาเหล่านั้นฟังอีกว่า “คนตาบอด จะนำทางคนตาบอดได้หรือ ทั้งคู่จะตกลงไปในคูมิใช่หรือ ศิษย์ย่อม ไม่อยู่เหนืออาจารย์ แต่ทุกคนที่ได้รับการฝึกฝนอย่างดีแล้ว ก็จะเป็น เหมือนอาจารย์ของตน ทำไมท่านจึงมองดูเศษฟางในดวงตาของ พี่น้อง แต่ไม่สังเกตเห็นท่อนซุงในดวงตาของตนเลย ท่านจะกล่าวแก่ พี่น้องได้อย่างไรว่า ‘พี่น้อง ปล่อยให้ฉันเขี่ยเศษฟางออกจากดวงตา ของท่านเถิด’ ขณะที่ท่านไม่เห็นท่อนซุงในดวงตาของตนเอง ท่าน คนหน้าซื่อใจคดเอ๋ย จงเอาท่อนซุงออกจากดวงตาของท่านก่อนเถิด ท่านจะเห็นชัด แล้วจึงค่อยไปเขี่ยเศษฟางออกจากดวงตาของพี่น้อง ต้นไม้ที่เกิดผลไม่ดีย่อมไม่ใช่ต้นไม้พันธุ์ดี หรือต้นไม้พันธุ์ไม่ดี ย่อมไม่ให้ผลดีเช่นกัน เรารู้จักต้นไม้แต่ละต้นได้จากผลของต้นไม้นั้น เราย่ อ มไม่ เ ก็ บ ผลมะเดื่ อ เทศจากพงหนาม หรื อ เก็ บ ผลองุ่ น จาก กอหนาม คนดีย่อมนำสิ่งที่ดีออกจากขุมทรัพย์ที่ดีในใจของตน ส่วน คนเลวย่อมนำสิ่งที่เลวออกมาจากขุมทรัพย์ที่เลวของตน เพราะปาก ย่อมกล่าวสิ่งที่อัดอั้นอยู่ในใจออกมา”


บทเทศน์ปี C

173

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง สิ่งที่อยู่ในใจ วันนี้  เราได้ยินบทเรียนที่สามจากบทเทศน์บนที่ราบ ก่อนอื่น พระเยซูเจ้าทรงเตรียมใจทุกคนที่ฟังด้วยการตั้งคำถามว่าใครเป็นผู้ได้ รับพระพรจากพระเจ้า คนรวยหรือคนจน จากนั้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พระองค์ทรงยกความรักอันปราศจากเงื่อนไขของพระบิดาให้เป็นแบบ อย่างที่เราควรปฏิบัติตาม สารของพระองค์ในวันนี้ท้าทายความจริงแท้ ภายในใจของเรา “เพราะปากย่อมกล่าวสิ่งที่อัดอั้นอยู่ในใจออกมา” เมื่อหลายปีก่อน เคยมีคนเขียนบทความในหัวข้อว่า พระเยซูเจ้า ทรงเคยแสดงอารมณ์ขันหรือไม่  และอารมณ์ขันสามารถเป็นส่วนหนึ่ง ของพิธีทางศาสนาได้หรือไม่ ตัวอย่างที่เกินความจริง ที่พระเยซูเจ้าทรง ยกขึ้นมาเปรียบเทียบนี้ คงทำให้ผู้ฟังหัวเราะ ใครจะทำหน้าตายอยู่ได้ เมื่อนึกถึงภาพของท่อนซุงทิ่มออกมาจากดวงตาของใครบางคน หรือ ภาพของผลมะเดื่อเทศที่งอกออกมาจากพงหนาม หรือผลองุ่นจากกอ หนาม เราแทบจะได้ยินเสียงเย้าอย่างนิ่มๆ เมื่อพระองค์ตรัสคำว่า “ท่าน คนหน้าซื่อใจคดเอ๋ย” การใช้ อ ารมณ์ ขั น ในการสั่ ง สอนอาจได้ ผ ลมากกว่ า การตำหนิ อย่างเย็นชา และบทเรียนที่พระองค์ทรงสอนในกรณีนี้ก็เป็นบทเรียนที่ สำคัญมาก เป็นคำท้าทายให้เราถามตนเองว่าอะไรซ่อนอยู่ในส่วนลึกสุด ของหัวใจของเรา ในพระวรสารตอนนี้  พระเยซูเจ้าเพิ่งจะตรัสถึงการ แสดงความรักที่ไม่ยอมให้ความเป็นศัตรู  หรือเจตนาร้าย มาทำลายได้


174

บทเทศน์ปี C

บัดนี้ พระองค์ตรัสต่อไปว่าวิธีการที่เราตัดสินผู้อื่น และพูดถึงผู้อื่น จะ เปิดเผยความจริงเกี่ยวกับตัวเรา มากกว่าความจริงในตัวบุคคลที่เรา กำลังพูดถึง บทอ่ า นที่ ห นึ่ ง ที่ ใ ช้ ป ระกอบบทอ่ า นพระวรสารประจำวั น นี้ ก็ เต็มไปด้วยปรีชาญาณ เมื่อร่อนตะแกรง สิ่งสกปรกจะเหลืออยู่ฉันใด ข้อบกพร่องของมนุษย์ก็ปรากฏให้เห็นจากคำพูดของเขา ฉันนั้น เตาเผาทดสอบผลงานของช่างปั้นฉันใด มนุษย์ก็ถูกทดสอบในคำสนทนาของเขาฉันนั้น ถ้ามีสิ่งอื่นซ่อนอยู่ในหัวใจนอกจากความรัก ความขมขื่นจะแสดง ตัวออกมาในคำสนทนา ความอิจฉาริษยาเป็นปฏิกิริยาด้านลบต่อโชค ลาภของผู้ อื่ น  ความอิ จ ฉาริ ษ ยาเป็ น เหมื อ นต้ น ไม้ มี พิ ษ ที่ เ ติ บ โตจาก ต้นกำเนิดที่ดี พลังด้านลบอื่นๆ ที่อาจครอบครองหัวใจก็คือ ความแค้น อคติ ความทรงจำเกี่ยวกับความเจ็บปวดในอดีต ความเกลียดชัง และขาด ความเมตตา สิ่งหนึ่งที่เราต้องพบแน่นอนท่ามกลางสิ่งสกปรกที่สะสมอยู่ใน ตะแกรงก็คือความมืดภายในตัวเรา หรือความรู้สึกที่เก็บกดไว้และฉาย ออกมาให้เห็นได้ภายนอก การฉายภาพเป็นวิธีขยายภาพในฟิล์มแผ่น เล็ก ให้ปรากฏเป็นภาพใหญ่บนจอภาพยนตร์ ท่อนซุงที่ข้าพเจ้าวิพากษ์วิจารณ์ในตัวผู้อื่น อาจเป็นภาพขยายของเศษฟางจากความมืดในตัว ข้าพเจ้าเอง จำไว้เสมอว่า เมื่อเราชี้นิ้วกล่าวโทษผู้อื่น อีกสามนิ้วจะชี้กลับ มาหาตัวเราเอง ... บ่อยครั้ง ระหว่างการประชุม หรือในการสนทนา เรา ต้องใช้ตะแกรงร่อนคำพูด เพื่อจะได้รู้ว่าผู้ที่กำลังพูดอยู่นั้นกำลังตำหนิ ใคร


บทเทศน์ปี C

175

ความขมขื่นในใจเป็นความมืดบอดที่ทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน ตามทาง เอ็ตตี้ ฮิลซัม ผู้ที่เรากล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ก่อน ได้ตั้งข้อสังเกต อย่างชาญฉลาดว่า ทุกอะตอมของความเกลียดชังที่เราเพิ่มลงไปให้โลกนี้ ทำให้โลกน่าอยู่น้อยลง บทเทศน์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นทางเลือก หนึ่งที่เราจะใช้มองชีวิต ตามแผนการเดิมของพระเจ้า พระองค์ทรง ต้องการให้มนุษย์ดำรงชีวิตตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า อุดมคติของ พระเยซูเจ้าท้าทายเราให้ย้อนกลับมาสู่ความรักอันปราศจากเงื่อนไขของ พระบิดา ใครเป็นผู้ครอบครองส่วนลึกสุดของหัวใจ ถ้าพระคริสตเจ้า และ ความรักของพระองค์ เป็นบ่อน้ำที่เราตักน้ำขึ้นมาได้ เมื่อนั้น การตัดสิน และคำสนทนาของเราจะเต็มไปด้วยแสงสว่างของพระองค์  “คนดีย่อม นำสิ่งดีออกจากขุมทรัพย์ที่ดีในใจของตน ส่วนคนเลวย่อมนำสิ่งที่เลว ออกมาจากขุมทรัพย์ที่เลวของตน เพราะปากย่อมกล่าวสิ่งที่อัดอั้นอยู่ใน ใจออกมา”

ข้อรำพึงที่สอง เปโตรระลึกถึงเหตุการณ์ ข้าพเจ้าขอพูดบางสิ่งบางอย่างในแง่ดีเกี่ยวกับตนเองบ้าง ใครๆ ก็รู้ว่าข้าพเจ้าเป็นคนอารมณ์ร้อน และข้าพเจ้าก็ยอมรับ แต่ข้าพเจ้าก็พูด ได้ว่าข้าพเจ้าโกรธง่ายหายเร็ว และข้าพเจ้าไม่เคยเก็บความแค้นไว้ในใจ เป็นเวลานาน พระเยซู เ จ้ า ทรงรู้ ดี ว่ า จะทำให้ ข้ า พเจ้ า อารมณ์ ดี ไ ด้ อ ย่ า งไร พระองค์คงได้เห็นความหงุดหงิด และความโกรธทีส่ ะสมอยูใ่ นตัวข้าพเจ้า หงุ ด หงิ ด เพราะข้ า พเจ้ า อยากจะออกไป และทำอะไรบางอย่ า งเพื่ อ พระองค์ อะไรก็ได้ที่จะพิสูจน์ว่าข้าพเจ้าเหมาะสมกับตำแหน่งอัครสาวก ที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งนี้ แต่ความโกรธค่อยๆ ผุดขึ้นมา ขณะที่ข้าพเจ้าฟัง


176

บทเทศน์ปี C

พระวาจาของพระองค์ที่สอนไม่ให้แก้แค้น ไม่ให้ใช้ความรุนแรง แต่ให้ รักศัตรู พระองค์สอนอะไรที่ทำไม่ได้จริง และห่างไกลความเป็นจริงถึง เพียงนี้ได้อย่างไรกัน พระองค์กำลังอ่านใจข้าพเจ้าราวกับอ่านหนังสือ ข้าพเจ้าได้ยินพระองค์ตรัสว่า “คนตาบอดจะนำทางคนตาบอดได้หรือ” ข้าพเจ้ามองเห็นตนเองในประโยคนี้  ข้าพเจ้าเริ่มผ่อนคลายและ ถึงกับยิ้มกับตนเอง พระองค์เทศน์สอนต่อไปด้วยอารมณ์ขัน  ทุกคน หัวเราะกับภาพบ้าๆ ของคนที่มีท่อนซุงอยู่ในดวงตา เราทุกคนค่อนข้าง เครียดกับคำสั่งสอนตามอุดมคติของพระองค์  เสียงหัวเราะช่วยผ่อน คลายบรรยากาศ พระองค์ตรัสเย้าว่า “ท่านคนหน้าซื่อใจคดเอ๋ย” เราจะ ได้ยินพระองค์ตรัสคำเดียวกันนี้ในภายหลัง แต่ตรัสด้วยน้ำเสียงดุดัน แต่ในเวลานี้พระองค์ตรัสอย่างอ่อนโยนด้วยความเข้าใจ และแทบจะ เหมือนพูดเล่น มันแปลกมากใช่ไหมที่เราสามารถมองเห็นตนเองได้ใน เรื่ อ งเล่ า สั้ นๆ ถ้ามีใครพยายามทำให้ ท่ า นยอมรั บ ความจริ ง  ท่ า นจะ โต้เถียงแก้ตัว แต่เมื่อบอกเล่าเป็นเรื่องอุปมา ... ท่านไม่สามารถโต้เถียง กับเรื่องเล่าได้ ข้าพเจ้าจำเป็นต้องฝึกตนเองให้มีความอดทน ข้าพเจ้ายังห่างไกลจากการเป็นศิษย์ที่ผ่านการฝึกฝนอย่างดีแล้ว กิ่งก้านของข้าพเจ้าจะไม่ออกผลจนกว่าข้าพเจ้าจะงอกรากที่สมบูรณ์ ข้าพเจ้าจดจำวันนั้นได้เสมอ นั่นเป็นวันแรกที่ข้าพเจ้าสัญญากับตนเองว่า ข้าพเจ้าจะอดทนให้มากขึ้น ข้าพเจ้าจะคิดก่อนพูด ข้าพเจ้าจะรั้งรอสักครู่ ก่อนจะกระโจนลงไปทำอะไร ข้าพเจ้ารู้ว่าข้าพเจ้าผิดสัญญาข้อนี้นับล้าน ครั้ง แต่ข้าพเจ้าก็รื้อฟั้นคำสัญญานี้ใหม่หนึ่งล้านกับอีกหนึ่งครั้งแล้ว และตราบใดที่ความตั้งใจจริงของท่านมีจำนวนมากกว่าความล้มเหลว หนึ่งครั้ง ท่านกำลังจะชนะ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้าหวนคิดถึงพระเยซูเจ้า ... รากของ ข้าพเจ้าอยู่ที่พระองค์ ... ข้าพเจ้าไม่ใช่กวี แต่ข้าพเจ้าก็เคยเขียนข้อความ สั้นๆ ที่บรรยายความอดทนของพระเยซูเจ้าจากความทรงจำของข้าพเจ้า


บทเทศน์ปี C

177

พระคริสตเจ้าทรงรับทรมานเพื่อท่าน และประทานแบบฉบับไว้ให้ท่าน ดำเนินตามรอยพระบาท เมื่อเขาดูหมิ่นพระองค์  พระองค์ก็มิได้ทรง โต้ตอบ เมื่อทรงรับทรมาน พระองค์มิได้ทรงข่มขู่จะแก้แค้น แต่ทรง มอบพระองค์ไว้แด่พระผู้ทรงพิพากษาด้วยความเที่ยงธรรม พระองค์ ทรงแบกบาปของเราไว้ในพระวรกายบนไม้กางเขน เพื่อเราจะได้ตาย จากบาป และมี ชี วิ ต อยู่ เ พื่ อ ความชอบธรรม รอยแผลของพระองค์ รักษาท่านให้หาย (1 ปต 2:21-24)


178

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 2 ใน “คำปราศรัย” ของพระเยซูเจ้านี้ ลูกาได้นำประโยคสัน้ ๆ (logia หรือพระดำรัส) เกี่ยวกับทัศนคติของผู้เป็นศิษย์แท้  เมื่อวันอาทิตย์ที่ ผ่านมา เราได้ยินคำบัญชาให้เรารักศัตรู ... หัวข้อสำหรับวันนี้คือทัศนคติ ของเราต่อพี่น้องชายหญิงในชุมชนของเรา พระเยซูเจ้ายังตรัสอุปมาให้เขาเหล่านั้นฟังอีกว่า “คนตาบอดจะนำ ทางคนตาบอดได้หรือ ทั้งคู่จะตกลงไปในคูมิใช่หรือ” อุปมาเรื่องนี้สั้นมาก เหมือนกับสุภาษิต และพระองค์ตรัสในรูป ของคำถาม ... พระเยซูเจ้าไม่ทรงให้คำตอบโดยตรง แต่ทรงกระตุ้น มโนธรรมของเราให้ใช้สมรรถภาพในการคิดด้วยเหตุผล... ในพระวรสารของมัทธิวที่บอกเล่าเหตุการณ์เดียวกันนี้ พระเยซูเจ้าตรัสเป็นคำเตือนให้ระวังชาวฟาริสี ผู้ชอบทำตัวเป็นผู้สั่งสอนประชาชน แต่กลับมืดบอดจนมองไม่เห็นเหตุการณ์อนั ยิง่ ใหญ่เกีย่ วกับพระเยซูเจ้า ผู้ตรัสในนามของพระเจ้า (มธ 15:14, ยน 9:40) แต่ในพระวรสารของลูกา พระองค์ตรัสข้อความนี้กับผู้นำกลุ่มคริสตชน ซึ่งในที่อื่นๆ (ลก 22:26) ลูกา เรียกว่า hegoumenoi หรือ “ผู้นำ (guides)” คำว่า “คนนำทางตาบอด” ที่แสร้งทำเป็นนำทางผู้อื่นนี้  อาจ หมายถึงเราได้ทุกคน เราแต่ละคนมีความรับผิดชอบในบางด้านที่จะต้อง นำทางผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว ในโครงการหนึ่ง ในทีมงาน ใน สมาคม หรือในเมืองหนึ่ง... ความรับผิดชอบของข้าพเจ้าคืออะไร ... ข้าพเจ้าได้รับมอบหมาย ให้รับผิดชอบใคร...


บทเทศน์ปี C

179

ใครต้องพึ่งพาอาศัยข้าพเจ้า ... ข้าพเจ้ามีความสามารถนำทางเขา ได้หรือไม่ ... ข้าพเจ้ามองเห็นได้ชัดเจนว่าอะไรถูกต้องหรือไม่... พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิงวอนพระองค์โปรดประทานพระพรให้การ นำทางของข้าพเจ้ากลายเป็นพระพรสำหรับทุกคนที่พระองค์ทรงมอบ หมายให้ข้าพเจ้าดูแล ... โปรดทรงช่วยเหลือข้าพเจ้าให้นำทางเขาไม่ให้ ตกหลุมพรางและกับดักระหว่างทาง ... โปรดทรงช่วยข้าพเจ้าให้มองเห็น หนทางที่ถูกต้องด้วยเทอญ ศิษย์ย่อมไม่อยู่เหนืออาจารย์ แต่ทุกคนที่ได้รับการฝึกฝนอย่างดีแล้ว ก็จะเป็นเหมือนอาจารย์ของตน นี่เป็นอุปมาอีกเรื่องหนึ่ง อุปมาเรื่องอาจารย์ และศิษย์ ก่อนที่เรา จะมองเห็นอะไรได้ชัดเจน ก่อนจะเป็น “ผู้นำทาง” ที่เก่ง เราต้องได้รับ การศึกษาอบรมจากอาจารย์ที่เก่ง ในแวดวงมหาวิทยาลัย นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพูดถึงบุคคล ที่เขาเรียกด้วยความเคารพอย่างยิ่งว่า “นาย (boss)” นี่คืออาจารย์ที่ แนะนำเขาในการศึกษา และการทำวิทยานิพนธ์ และเป็นผู้ให้คำปรึกษา เมื่อเขาพบกับปัญหายากๆ แต่กระนั้น ทุกวันนี้ เราเห็นการปฏิเสธที่จะเคารพ และยอมรับ “อาจารย์” เราเห็นการยกย่องเชิดชู  “วิธีการที่ไม่ชี้นำ” ทั้งในด้านการ ศึกษา และในการประกอบธุรกิจ วิธีที่กำลังนิยมกันคือการแบ่งปันความ รู้  และการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิธีที่ไม่นิยมคือการบรรยาย และการ เทศน์สอนโดยผู้มีอำนาจสั่งสอน แม้ว่าเราต้องยอมรับว่าทัศนคตินี้มี คุณค่าเชิงบวก เพราะส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการแสวงหา ความรู้  แต่แง่ลบของการไม่ยอมรับอาจารย์นี้ก็คือความจองหอง การ ปฏิเสธที่จะยอมรับความรู้ย่อมนำไปสู่การลดระดับความรู้  เพราะไม่มี ความจริงหรือความรู้ใดที่เราไม่ได้ “รับมา” ในการเผยแสดงนี้ พระเยซู-


180

บทเทศน์ปี C

เจ้าตรัสว่า “ศิษย์ย่อมไม่อยู่เหนืออาจารย์  ... แต่ศิษย์ต้องเรียนรู้จาก อาจารย์” พระเยซูเจ้าทรงแนะนำพระองค์เองว่าเป็น “อาจารย์” ผู้ทรงรู้สิ่ง ที่เราไม่รู้... ความเชื่อเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ความเชื่อ เป็นวิถีชีวิตอย่างหนึ่งมากกว่าเป็นความรู้ ... พระเยซูเจ้าทรงเสนอพระองค์เองเป็น “อาจารย์สอนวิชาชีวิต”... ข้าพเจ้ายอมรับพระองค์หรือเปล่า ... ข้าพเจ้าหิวกระหายอยากรู้ “ข้อมูลสำคัญ” ที่พระองค์ทรงเสนอแก่ข้าพเจ้าหรือเปล่า ... ข้าพเจ้าเป็น ศิษย์แท้คนหนึ่งหรือเปล่า... พระเจ้าข้า โปรดทรงช่วยข้าพเจ้ามิให้พอใจแต่เพียงความรู้เชิง วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพระวรสารเท่านั้น และให้อยากเรียนรู้ว่าข้าพเจ้าจะ ดำเนินชีวิตร่วมกับพระองค์อย่างไรตลอดชีวิตของข้าพเจ้า... ทำไมท่านจึงมองดูเศษฟางในดวงตาของพีน่ อ้ ง แต่ไม่สงั เกตเห็นท่อน ซุงในดวงตาของตนเลย ท่านจะกล่าวแก่พี่น้องได้อย่างไรว่า “พี่น้อง ปล่อยให้ฉันเขี่ยเศษฟางออกจากดวงตาของท่านเถิด” ขณะที่ท่าน ไม่เห็นท่อนซุงในดวงตาของตนเอง เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เราได้ยินพระเยซูเจ้าสอนเราไม่ให้ตัดสิน หรือกล่าวโทษผู้อื่น แต่เมื่อเราอยู่ในตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบ (และ เราแต่ละคนก็มีความรับผิดบางอย่างแน่นอน) เราต้องตัดสิน และแก้ไข ความผิดพลาดของผู้อื่น เราต้องช่วยเหลือผู้อื่น แม้ว่าเราอาจถึงกับต้อง ขัดแย้งกับเขา เมื่อเราพบเห็นสิ่งใดที่ผิด นี่คือหน้าที่ในการตักเตือนกัน ฉันพี่น้อง “ถ้าพี่น้องของท่านทำผิด จงไปตักเตือนเขาตามลำพัง” (มธ 18:15, ลก 17:3) เมื่อใดที่ความผิดนั้นเกี่ยวข้องกับหลักการ ศิษย์ของ พระเยซูเจ้าไม่สามารถวางตัวเป็นกลางอยู่ได้... แต่พระเยซูเจ้าทรงเตือนเราให้ระวังการประจญที่เกิดขึ้นบ่อย


บทเทศน์ปี C

181

ครั้งที่สุด เมื่อเราตักเตือนและต่อสู้กับความชั่วร้าย นั่นคือ เรามักมอง เห็นความชั่วในตัวผู้อื่นว่าร้ายแรงกว่าความเป็นจริง ในขณะที่มองข้าม หรือลดความร้ายแรงของความชั่วในตัวเรา ภาพอุปมาของ “เศษฟาง” และ “ท่อนซุง” เป็นภาพที่ไม่อาจลืมได้ง่ายๆ และการเปรียบเทียบที่ไม่ น่าเป็นไปได้นี้ ทำให้คำสั่งสอนนี้ชัดเจน และเด็ดขาดมากขึ้น พระเจ้าข้า โปรดทรงช่วยเราให้เข้มงวดกับตัวเราก่อนเถิด... โปรดทรงช่วยเราให้มองเห็นด้านดีในตัวเพื่อนมนุษย์  มากกว่า เห็นด้านร้ายของเขา... ท่านคนหน้าซื่อใจคดเอ๋ย จงเอาท่อนซุงออกจากดวงตาของท่านก่อน เถิด ท่านจะเห็นชัด แล้วจึงค่อยไปเขี่ยเศษฟางออกจากดวงตาของ พี่น้อง พระเยซู เ จ้ า ทรงตำหนิ บุ ค คลที่ ข ยายความผิ ด ของพี่ น้ อ ง พระองค์ทรงเรียกเขาว่า “คนหน้าซื่อใจคด” คำนี้มีรากศัพท์มาจากภาษา กรีกและแปลมาจากคำภาษาฮีบรู ว่า hanef แปลว่า “คนที่มีอคติใน การวิ นิ จ ฉั ย  คนที่ ไ ม่ ส ามารถมองเห็ น ความจริ ง  และได้ หั น หลั ง ให้ พระเจ้า” ในพระวรสารของนักบุญลูกา พระเยซูเจ้าทรงใช้คำที่รุนแรงนี้ อีกสองครั้งคือ “คนหน้าซื่อใจคดเอ๋ย ... ทำไมจึงไม่วินิจฉัยเวลาปัจจุบัน นี้เล่า” (ลก 12:56) และ “เจ้าคนหน้าซื่อใจคด เจ้าแต่ละคนมิได้แก้โค หรือลาจากรางหญ้า พาไปกินน้ำในวันสับบาโตดอกหรือ” (ลก 13:15) คำนี้รุนแรงกว่าความหมายของคำที่ใช้ในภาษาอังกฤษ (hypocrite) อุปมาเรื่อง “เศษฟาง และท่อนซุง” ได้กลายเป็นสุภาษิตไปแล้ว เราคงอยากจะพูดว่า “จริงทีเดียว” แต่เรากำลังคิดถึงผู้อื่น ... แต่พระเยซูเจ้าทรงขอให้เราตั้งคำถามกับตนเองว่า เราต้องปฏิรูปตนเองเสียก่อน จึงจะ “เปลี่ยนแปลงสังคม” ได้ ... เราคงเห็นได้อีกครั้งหนึ่งว่าพระเยซูเจ้า ไม่ทรงสนับสนุนให้ “เปลี่ยนโครงสร้าง” ซึ่งอาจไม่ทำให้อะไรเปลี่ยนไป เลย ถ้าหัวใจมนุษย์ยังไม่เปลี่ยน...


182

บทเทศน์ปี C

พระศาสนจักรเองจำเป็นต้องปฏิรูปตนเองไม่มีวันหยุด ก่อนจะ พยายามเปลี่ยนโลก และคริสตชนแต่ละคนต้องเปลี่ยนตนเองโดยสิ้นเชิง ก่อนจะทำให้ผู้อื่นกลับใจ... ก่อนจะกล่าวโทษ และประณามใคร ก่อนจะเสียเวลาวิพากษ์ วิจารณ์ผู้อื่น ... พระเยซูเจ้าทรงเชิญชวนเราให้ร่วมกันค้นหาด้วยความ ถ่อมตน ว่าเราจะปรับปรุงตัวเราให้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง เราควรเริ่มต้นที่ ตัวเราก่อน... ต้นไม้ที่เกิดผลไม่ดี ย่อมไม่ใช่ต้นไม้พันธุ์ดี หรือต้นไม้พันธุ์ไม่ดี ย่อม ไม่ให้ผลดีเช่นกัน เรารู้จักต้นไม้แต่ละต้นได้จากผลของต้นไม้นั้น เรา ย่อมไม่เก็บผลมะเดื่อเทศจากพงหนาม หรือเก็บผลองุ่นจากกอหนาม นี่เป็นอุปมาเรื่องที่สี่ ซึ่งเป็นภาพที่ชัดเจน พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ นิยมความจริง เราตัดสินได้ว่าบุคคลหนึ่งเป็นอย่างไรจากกิจการที่เขาทำ เหมือนรู้จักต้นไม้จากผลของมัน และไม่ใช่จากเจตนาดี  หรือคำพูดที่ น่าฟังของเขา ... มนุษย์สมัยใหม่นับถือกันที่ประสิทธิภาพ พระเยซูเจ้า ก็เช่นกัน ... แต่พระองค์ทรงย้ำว่ากิจการภายนอกควรสอดคล้องกับ กิจการภายใน... ดังนั้น เราจึงรู้ว่าใครเป็นศิษย์แท้ได้จากการกระทำของเขา เรา เห็นได้อีกครั้งหนึ่งว่าการที่ใครบอกว่าตนเองเป็น “ผู้มีความเชื่อ แต่ไม่ ปฏิบัติ” นั้นเป็นเพียงภาพลวงตา และเป็นการแก้ตัวแบบง่ายๆ เรารู้ว่า ต้นไม้ต้นหนึ่งพันธุ์ดีหรือเลวได้จากผลของมัน ... เราจะรู้ได้ว่าต้นไม้นั้น ยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว ... และจากการกระทำของบุคคลหนึ่ง เราจะรู้ ได้ว่าเขาเชื่อ หรือไม่เชื่อ ... หวัง หรือไม่หวัง ... รัก หรือไม่รัก... พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกายังมีข้อความต่อจากนี้ แต่น่าเสียดายที่ข้อความนี้ไม่รวมอยู่ในบทอ่าน “คนดีย่อมนำสิ่งที่ดีออก จากขุมทรัพย์ที่ดีในใจของตน ส่วนคนเลวย่อมนำสิ่งที่เลวออกมาจาก


บทเทศน์ปี C

183

ขุมทรัพย์ที่เลวของตน เพราะปากย่อมกล่าวสิ่งที่อัดอั้นอยู่ในใจออกมา ทำไมท่านจึงเรียกเราว่า ‘ข้าแต่พระเจ้า ข้าแต่พระเจ้า และไม่ปฏิบัติตาม ที่เราบอกเล่า’” ... พระเจ้าข้า โปรดทรงช่วยเราให้ปฏิบัติสิ่งที่เราเชื่อ ... ขอให้พฤติกรรมของข้าพเจ้าเป็นภาพสะท้อนที่แท้จริงของความเชื่อมั่นในฐานะ คริสตชนของข้าพเจ้า


184

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่เก้า เทศกาลธรรมดา ลูกา 7:1-10 เมือ่ พระเยซูเจ้าตรัสพระวาจาทัง้ หมดนีใ้ ห้ประชาชนฟังจบแล้ว พระองค์ เ สด็ จ เข้ า ไปในเมื อ งคาเปอรนาอุ ม ผู้ รั บ ใช้ ข องนายร้ อ ย คนหนึ่งกำลังป่วยใกล้จะตาย นายรักเขามาก เมื่อนายร้อยได้ยินเรื่อง เกี่ยวกับพระเยซูเจ้า จึงส่งผู้อาวุโสบางคนของชาวยิวมาอ้อนวอน พระองค์ให้เสด็จไปช่วยชีวิตของผู้รับใช้ คนเหล่านั้นมาเฝ้าพระเยซูเจ้ า  อ้ อ นวอนรบเร้ า พระองค์ ว่ า  “นายร้ อ ยผู้ นี้ ส มควรที่ ท่ า นจะ ช่วยเหลือ เพราะเขารักชนชาติของเรา และได้สร้างศาลาธรรมให้เรา” พระเยซูเจ้าจึงเสด็จไปกับคนเหล่านั้น เมื่อพระองค์เสด็จมาใกล้จะถึง บ้าน นายร้อยใช้เพื่อนบางคนไปทูลพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าข้า อย่า ลำบากไปเลย ข้าพเจ้าไม่สมควรให้พระองค์เสด็จเข้ามาในบ้านของ ข้ า พเจ้ า  เพราะฉะนั้ น  ข้ า พเจ้ า จึ ง ไม่ อ าจเอื้ อ มที่ จ ะออกมาพบกั บ พระองค์ แต่ขอพระองค์ตรัสเพียงคำเดียว ผู้รับใช้ของข้าพเจ้าก็จะ หายจากโรค ข้าพเจ้าเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา แต่ยังมีทหารอยู่ใต้ บังคับบัญชาด้วย ข้าพเจ้าบอกคนหนึ่งว่า ‘ไป’ เขาก็ไป บอกอีกคน หนึ่งว่า ‘มา’ เขาก็มา ข้าพเจ้าบอกผู้รับใช้ว่า ‘ทำสิ่งนี้’ เขาก็ทำ” เมื่อ พระเยซูเจ้าทรงได้ยินถ้อยคำเหล่านี้ ทรงประหลาดพระทัย ทรงหัน


บทเทศน์ปี C

185

พระพักตร์ไปยังประชาชนที่ติดตามพระองค์ ตรัสว่า “เราบอกท่าน ทั้งหลายว่า เรายังไม่เคยพบใครมีความเชื่อมากเช่นนี้ในอิสราเอล เลย” เมื่อเพื่อนที่ถูกใช้มากลับไปถึงบ้าน ก็พบว่าผู้รับใช้ผู้นั้นหายเป็น ปกติแล้ว


186

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง ความเชื่ออย่างน่าประหลาดใจ พระวรสารของลูกาบอกเล่ามากกว่าเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เกี่ ย วกั บ ชี วิ ต ของพระเยซู เ จ้ า  วิ ธี บ อกเล่ า ของเขามี ลั ก ษณะของการ ประกาศข่าวดี เป็นการประกาศกิจการอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า ดังนั้น เขา จึงกล่าวบ่อยครั้งถึงความประหลาดใจ และความรู้สึกทึ่งของผู้ที่ได้เห็น พระอานุภาพของพระเจ้าในสิ่งที่พระเยซูเจ้าตรัส หรือกระทำ เรื่องของ นายร้อยชาวโรมันนี้เป็นเพียงเหตุการณ์เดียวที่ลูกาบอกว่าพระเยซูเจ้า ทรงเป็นฝ่ายประหลาดใจ พระเยซูเจ้าทรงเรียกสิ่งที่ทำให้พระองค์ประหลาดใจว่าความเชื่อ “เรายังไม่เคยพบใครมีความเชื่อมากเช่นนี้ในอิสราเอลเลย” คำว่าความ เชื่ อ เพี ย งคำเดี ย วครอบคลุ ม ทั ศ นคติ ทั้ ง หมดของนายร้ อ ยคนนี้ ต่ อ พระเจ้า และต่อเพื่อนมนุษย์ และยังเผยด้วยว่าเขามองตนเองอย่างไร เขาแสดงความมั่ น ใจเต็ ม เปี่ ย มเบื้ อ งหน้ า พระเจ้ า เขายกเอา อำนาจปกครองในกองทัพ ซึ่งเป็นโลกที่เขาคุ้นเคย มาเปรียบเทียบกับ พระอานุภาพสูงสุดของพระเจ้า ผู้ที่พระวาจาของพระองค์บันดาลให้ทุก สิ่งเกิดขึ้นได้ สำหรับเพื่อนมนุษย์ เขาแสดงความเอื้ออาทร ความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจความรู้สึก เขาห่วงใยผู้รับใช้ของเขามาก แม้ว่าเขาเป็นทหารในกองทัพที่ยึด ครองดินแดน แต่เห็นได้ชัดว่าเขาเคารพวิถีชีวิตของชาวยิว เพราะเขาได้ สร้างศาลาธรรมให้  และเขายังแสดงความเข้าใจอันละเอียดอ่อน โดย


บทเทศน์ปี C

187

ไม่ทำให้พระเยซูเจ้าต้องลำบากใจที่จะต้องเข้าไปภายในบ้านของคน ต่างชาติซึ่งชาวยิวถือว่ามีมลทิน ทัศนคติอันประเสริฐทั้งต่อพระเจ้าและ เพื่อนมนุษย์เช่นนี้จะพบได้ในตัวของบุคคลที่มองตนเองอย่างถ่อมตน เท่านั้น ถ้อยคำยอมรับความไม่สมควรของตนเองนี้ได้รับการยกย่อง อย่างสูงจากพระศาสนจักร จนถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมขณะที่ผู้ร่วมพิธี มิ ส ซาเตรี ย มตั ว รั บ ศี ล มหาสนิ ท  เราคงไม่ ส ามารถหาบทภาวนาใดที่ เหมาะสมไปกว่าบทภาวนาว่า “พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าไม่สมควร ...” เรา ไม่ได้ต้อนรับองค์พระผู้เป็นเจ้าเพราะเราได้กระทำความดีจนสมควร ได้รับรางวัล ใครบ้างจะมีบุญจนถึงกับได้รับเอกสิทธิ์อันยิ่งใหญ่ในศีล มหาสนิทได้ เราเดินเข้าไปหาโต๊ะอาหารศักดิ์สิทธิ์นี้ในสภาพของคนที่อ่อนแอ เหนื่อยล้า และล้มลุกคลุกคลานระหว่างการเดินทางในชีวิต เพราะความ รัก องค์พระผู้เป็นเจ้าจึงปรารถนาจะเป็นเพื่อนเดินทางของเรา และเพื่อน เดินทางก็หมายถึงบุคคลที่แบ่งปันอาหารของเขาให้เรากิน เพราะความขัดสนของเรา เราจึงมาขอรับอาหารและพละกำลัง ความรู้สึกว่าเราไม่สมควรต้อนรับพระองค์ไม่ได้ทำให้เราต้องการอยู่ ห่างพระองค์ เพราะเรามีความมั่นใจในพระวาจาของพระเยซูเจ้า “โปรด ตรัสเพียงพระวาจาเดียว แล้วจิตใจของข้าพเจ้าก็จะบริสุทธิ์” พิธีบูชา ขอบพระคุ ณ เป็ น การเฉลิ ม ฉลองพระวาจาของพระเจ้ า ที่ เ สด็ จ ลงมา อยู่ในชีวิตของเราเพื่อยกชีวิตของเราให้สูงขึ้น ด้วยการระลึกถึงการสิ้น พระชนม์และการกลับคืนชีพของพระเยซูคริสตเจ้า ใครสามารถได้รับ พระวาจาที่ชุบชู และรักษาเยียวยาวิญญาณเช่นนี้ได้ ... มีแต่คนที่เหมือน กับนายร้อยโรมันคนนี้เท่านั้น ... คนที่มีความมั่นใจเต็มเปี่ยม ประกอบ กับความเอือ้ อาทรอันละเอียดอ่อน และสำนึกอันลึกล้ำถึงความไม่สมควร ของตนเอง คุณสมบัติทั้งหมดนี้รวมกัน ... นั่นคือสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรง เรียกว่าความเชื่อ ... และความเชื่อนี้ทำให้พระองค์ประหลาดใจ


188

บทเทศน์ปี C

ข้อรำพึงที่สอง คนกลาง นายร้อยคนนี้ใช้ผู้อาวุโสชาวยิวบางคนเป็นคนกลางไปขอร้องกับ พระเยซูเจ้า เพราะเขารู้สึกว่าไม่สมควรไปหาพระองค์ด้วยตนเอง และ เพราะเขาเข้าใจดีเรื่องขนบธรรมเนียมของชาวยิวในการติดต่อกับคน ต่างชาติ ในเวลาต่อมา เมื่อพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพทรงส่งศิษย์ของ พระองค์ออกไปปฏิบัติพันธกิจแห่งการคืนดี  นั่นเท่ากับพระองค์ทรง กำลังแต่งตั้งศิษย์เหล่านี้ให้เป็นคนกลางระหว่างพระเจ้าและมนุษยชาติ หนังสือกิจการอัครสาวกยืนยันว่าพระอานุภาพของพระเจ้าทำงานผ่าน ตัวอัครสาวก ประชาชนมาขอให้พวกเขารักษาโรค เหมือนกับที่เคยมาหา พระเยซูเจ้า นับแต่ยุคแรกของพระศาสนจักรคริสต์  เราเคารพนับถือนักบุญ ทั้งหลายผู้เป็นพยานยืนยันความเชื่อ และเราเชื่อในอำนาจของคำภาวนา ของนักบุญเหล่านี้ผู้ภาวนาเพื่อเรา แต่เราต้องเข้าใจเรื่องการเสนอวิงวอน ของนักบุญทั้งหลายให้ถูกต้องด้วย การเสนอวิงวอนหมายถึงการยืนอยู่ ตรงกลางระหว่างพระเจ้า และบุคคลที่กำลังต้องการความช่วยเหลือ และ ไม่ได้หมายความว่าเราขอให้มีตัวแทนมาสวดภาวนาแทนเรา ไม่มีใคร สามารถแทนที่เราในความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้าเมื่อเราสวด ภาวนา อีกทั้งไม่ได้ลดความสำคัญของพระเยซูคริสตเจ้าในฐานะคนกลาง ระหว่างเราและพระบิดา “และพระเจ้ากับมนุษย์ก็มีคนกลางแต่เพียง ผู้เดียว ซึ่งเป็นมนุษย์คนหนึ่ง คือพระคริสตเยซู ผู้ทรงมอบพระองค์เป็น ค่าไถ่สำหรับมนุษย์ทุกคน” (1 ทธ 2:6) กรณีที่นายร้อยผู้นี้ใช้ผู้อาวุโสชาวยิวเป็นผู้เสนอคำวิงวอนของ เขาต่ อ องค์พระผู้เป็นเจ้า ไม่ได้แสดงว่ า เขาไม่ เ ชื่ อ มั่ น ในพระเยซู เ จ้ า ตรงกันข้าม นายร้อยคนนี้เป็นผู้นี้มีความมั่นใจมากที่สุด แต่เขาใช้คนอื่น


บทเทศน์ปี C

189

เป็นคนกลาง เพราะเขาเข้าใจดีถึงความบกพร่องของตนเอง ทั้งความ บกพร่องส่วนตัวและเชื้อชาติ เมื่อเราร้องขอให้พระนางมารีย์ หรือนักบุญทั้งหลายเสนอวิงวอน เพื่อเรา เราไม่ได้กำลังแสดงว่าเราไม่มั่นใจในพระเจ้า หรือเรากำลังพูด ว่าเราไม่สามารถเข้าไปหาพระเจ้าโดยตรงได้ แต่เช่นเดียวกับนายร้อยผู้นี้ การใช้คนกลางสะท้อนให้เห็นความขาดตกบกพร่องของตัวเราเอง เราตระหนักในพระอานุภาพและความรักของพระเจ้า แต่เราก็ มองเห็นความไม่สมควรในตัวเราทีจ่ ะไปอยูต่ อ่ หน้าพระองค์ดว้ ย ทัง้ นี้ เรา ไม่ได้คิดว่า วันหนึ่งเราจะสมควรได้รับความช่วยเหลือด้วยความรักจาก พระเจ้า การใช้คนกลางเป็นเพียงการแสดงออกอีกอย่างหนึ่งว่า เรารู้ตัว ว่าเราไม่มีค่าคู่ควร งานของคนกลางคือนำพระเจ้ามาให้เรา และช่วยเราไปหาพระเจ้า นักบุญทั้งหลายนำพระเจ้ามาให้เราโดยใช้คำสั่งสอนและแรงบันดาลใจ ในชีวิตของพวกเขา เขาเหล่านี้ช่วยเราไปหาพระเจ้า เพราะเขาเป็นพี่น้อง ของเราในสหพันธ์นักบุญ และเขารักและห่วงใยเรา และยังภาวนาต่อไป เพื่ อ เรา การดำเนิ น ชี วิ ต อย่ า งศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องนั ก บุ ญ ทั้ ง หลายเป็ น แรง บันดาลใจสำหรับเรา นักบุญทั้งหลายสอนเราด้วยคำสั่งสอน และมอบ ความคุ้มครองของพระเจ้าแก่เรา ซึ่งเขาได้รับตามคำอธิษฐานภาวนา ของเขา


190

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 2 เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสพระวาจาทั้งหมดนี้ให้ประชาชนฟังจบแล้ว พระองค์เสด็จเข้าไปในเมืองคาเปอรนาอุม ผู้รับใช้ของนายร้อยคนหนึ่ง กำลังป่วยใกล้จะตาย นายรักเขามาก ผู้นิพนธ์พระวรสารสามคน คือ มัทธิว มาระโก และลูกา บอกเล่า เหตุการณ์ที่พระเยซูเจ้าทรงรักษาโรคให้ผู้รับใช้ของนายร้อยในเมือง คาเปอรนาอุม แต่ละคนมีวิธี  “อ่าน” เหตุการณ์นี้ในแบบของตนเอง และเน้นประเด็นที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มคริสตชนที่จะเป็น ผูอ้ า่ นพระวรสารฉบับนัน้ ๆ ในขณะทีเ่ ราถือว่าเรือ่ งทีเ่ ราได้ยนิ นีเ้ ป็นเหตุการณ์ จ ริ ง ที่บอกเล่าสืบต่อกันมา แต่ เ ราควรตี ค วามและประยุ ก ต์ ใ ห้ เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันของเรา เราเองก็อยู่ในโลกที่ไม่ต่างจาก ยุคสมัยของพระเยซูเจ้าหรือของลูกา ผู้มีความเชื่อ และคนนอกศาสนา อยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดในโลกของเรา เมืองคาเปอรนาอุมเป็นเมืองท่า ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ของทะเลสาบทีเบเรียส เป็นเมืองชายแดนและเป็นจุดข้ามแดนของกอง คาราวาน คาเปอรนาอุ ม ที่ ซึ่ ง ซี โ มนเปโตรจอดเรื อ หาปลาของเขานี้ พระเยซูเจ้าทรงเลือกใช้เป็นฐานปฏิบัติการในการเทศน์สอนของพระองค์ (มธ 4:13, 17) เมืองนี้มีด่านภาษี (มก 2:13) และมีกองทหารเล็กๆ ของกองกำลังทีย่ ดึ ครองดินแดนและทหารในกองน่าจะเป็น“ทหารรับจ้าง” (เหมือนกองทัพโรมันทั่วไป) ที่มาจากทั่วอาณาจักร คือชาวกอล เยอรมัน ซีเธียน ซีเรียน เป็นต้น... ลูกา ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของนักบุญเปาโล ได้เห็นแล้วว่าพันธกิจ นี้แผ่ขยายเข้าไปในดินแดนของคนต่างชาติ  เขาเน้นด้วยความยินดีว่า


บทเทศน์ปี C

191

พระเยซูเจ้าทรงมีจิตใจและความคิดที่เปิดกว้าง ตรงกันข้ามกับทัศนคติ ของชาวยิวร่วมสมัยทั่วไป ซึ่งใจแคบมาก ... ในการเทศนาสั่งสอนของ พระองค์ที่นาซาเร็ธ พระเยซูเจ้าทรงประกาศถึง “การเปิดใจ” เช่นนี้เมื่อ พระองค์ทรงเอ่ยถึงอัศจรรย์ที่ประกาศกเอลียาห์  และเอลีชา ได้กระทำ เพื่อช่วยเหลือหญิงม่ายชาวเมืองศาเรฟัท และนาอามาน ชาวซีเรีย (ลก 4: 24-38)... ข้าพเจ้าพอใจกับทัศนคติที่ใจกว้างของพระศาสนจักรในปัจจุบัน หรือเปล่า... เมื่อนายร้อยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า จึงส่งผู้อาวุโสบางคนของ ชาวยิวมาอ้อนวอนพระองค์ให้เสด็จไปช่วยชีวิตของผู้รับใช้ ความเจ็บป่วยเป็นจุดอ่อนของมนุษย์ ... เป็นเครื่องหมายของ สภาวะมนุษย์ ความเจ็บป่วยเป็นสภาพที่เจ็บปวด โดยเฉพาะเมื่อเรารู้ว่า ไม่มีทางรักษาให้หายได้ ผู้รับใช้คนนี้ “ป่วยใกล้จะตาย” ทุกอารยธรรม ถือว่า “สุขภาพ” เป็นทรัพย์อันมีค่าสูงสุด ตรงกันข้ามกับความเจ็บป่วย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนแอ แต่ก็เป็นความจริงที่ “จุดอ่อน” นี้ยัง เป็นสถานการณ์พิเศษที่ทำให้เราได้เห็นความสงสาร และความช่วยเหลือ ฉันพี่น้อง... พระวรสารตอนนี้บอกเราว่าผู้มีความเชื่อไม่จำเป็นต้องเป็นคน ที่ดีกว่าผู้อื่น นายทหาร “ต่างศาสนา” คนนี้ให้บทเรียนที่ดีแก่เราเรื่อง ความเมตตากรุณา เขารักผู้รับใช้ของเขาและต้องการช่วยให้เขารอดตาย นอกจากนี้   ชายคนนี้ ยั ง เคารพความเชื่ อ ของผู้ อื่ น ด้ ว ย เพราะเขา ไม่ต้องการให้พระเยซูเจ้าฝ่าฝืนธรรมเนียมของชาวยิว เขาจึงขอร้อง พระองค์ผ่านผู้แทนที่เป็นชาวยิวสองกลุ่ม ธรรมบัญญัติห้ามชาวยิวไม่ให้เข้าไปในบ้านของคนต่างชาติ หรือ ติดต่อพูดคุยกันโดยตรง เพราะจะถือว่ามีมลทิน เปโตร จะถูกตำหนิเช่น กันหลายปีหลังจากนั้น (กจ 11:3)


192

บทเทศน์ปี C

พระเจ้าข้า โปรดทรงช่วยให้เราไม่เพียงอดทนอดกลั้นต่อบุคคล ที่คิดไม่เหมือนเรา แต่ให้เราเคารพเขาด้วย โปรดทรงช่วยเราให้ยอมรับ คุณค่ามนุษย์ของเขา และให้เราเห็นใจเขาเหมือนนายร้อยคนนี้... คนเหล่านั้นมาเฝ้าพระเยซูเจ้า อ้อนวอนรบเร้าพระองค์ว่า “นายร้อย ผู้นี้สมควรที่ท่านจะช่วยเหลือ เพราะเขารักชนชาติของเรา และได้ สร้างศาลาธรรมให้เรา” นายร้อยผู้นี้อาจเป็นหนึ่งในกลุ่มบุคคลที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า “ผู้ยำเกรงพระเจ้า” คือเป็นคนที่นิยมชมชอบศาสนายิว โดยไม่เข้าเป็นยิว ลูกาเป็นผู้นิพนธ์พระวรสารเพียงคนเดียวที่ระบุว่าชายต่างชาติคนนี้ได้ สร้างศาลาธรรม ในกลุ่มผู้ไม่มีความเชื่อรอบตัวข้าพเจ้า มีใครบ้างที่มีจิตใจอยากรู้ อยากเห็น และอยากรูจ้ กั คำสัง่ สอนในพระวรสารหรือไม่ ... ข้าพเจ้าช่วยให้ การแสวงหาของเขาง่ายขึ้นหรือเปล่า ... หรือข้าพเจ้าทำให้เขาเบื่อหน่าย ... พระเยซูเจ้าจึงเสด็จไปกับคนเหล่านั้น เมื่อพระองค์เสด็จมาใกล้จะถึง บ้าน นายร้อยใช้เพื่อนบางคนไปทูลพระองค์ว่า... เราสังเกตได้จากคำบอกเล่าของนักบุญลูกา ว่าพระเยซูเจ้าไม่ทรง ลังเลใจเลย แต่เสด็จไปพร้อมกับกลุ่มผู้อาวุโส ไปยังบ้าน “ที่มีมลทิน” ของคนต่างชาติคนนี้ ... ตรงกันข้ามกับคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น ที่ พระเยซูเจ้าดูเหมือนทรงตำหนิข้าราชการ (ผู้มาอ้อนวอนพระองค์ด้วย ตนเอง) ที่เขาต้องขอเครื่องหมายอัศจรรย์ก่อนจึงจะเชื่อ (ยน 4:48) “พระเจ้าข้า อย่าลำบากไปเลย ข้าพเจ้าไม่สมควรให้พระองค์เสด็จ เข้ามาในบ้านของข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่อาจเอื้อมที่จะ ออกมาพบกับพระองค์”


บทเทศน์ปี C

193

ต่ อ หน้ า พระเยซู เ จ้ า  นายทหารผู้ นี้ รู้ สึ ก ยำเกรงเหมื อ นกั บ ผู้ ชอบธรรมทุกคนรู้สึกได้เมื่ออยู่เบื้องหน้าพระเจ้า เปโตรก็รู้สึกยำเกรง เช่นนี้มาก่อน (ลก 5:8) และน่าสะดุดใจที่พระศาสนจักรไม่พยายามค้นหา คำพู ด ที่ ดี ก ว่ า นี้ ใ ห้ เ ราสวดภาวนาก่ อ นที่ เ ราจะเข้ า ไปรั บ ศี ล มหาสนิ ท “พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าไม่สมควร...” แต่ขอพระองค์ตรัสเพียงคำเดียว ผู้รับใช้ของข้าพเจ้าก็จะหายจากโรค ข้าพเจ้าเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา แต่ยังมีทหารอยู่ใต้บังคับบัญชาด้วย ข้าพเจ้าบอกคนหนึ่งว่า “ไป” เขาก็ไป บอกอีกคนหนึ่งว่า “มา” เขาก็ มา ข้าพเจ้าบอกผู้รับใช้ว่า “ทำสิ่งนี้” เขาก็ทำ “ขอพระองค์ตรัสเพียงคำเดียว” จากความคุ้นเคยกับระเบียบ วินัยของทหาร นายทหารผู้นี้เข้าใจดีว่า “คำเดียว” ก็มีอานุภาพสามารถ ทำให้เหตุการณ์เป็นไปตามที่คำเดียวนั้นบัญชาได้   เขาเล็งเห็นคำเช่นนี้ อยู่ในตัวพระเยซูเจ้า ซึ่งสามารถทำให้สิ่งที่คำนั้นบัญชาสำเร็จไปได้ เมื่อ ระลึกถึงพระคัมภีร์ เราจะคิดถึงพระวาจาในการเนรมิตสร้างของพระเจ้า ในหนังสือปฐมกาล “พระเจ้าตรัสว่า ‘จงมีความสว่าง’ และความสว่างก็ อุบัติขึ้น” เมื่อคนต่างชาติน้ขี อร้องพระเยซูเจ้าว่าไม่ต้องเสด็จมาถึงบ้านของ เขานั้น เขาเน้นย้ำมากยิ่งขึ้นถึงอำนาจของพระเยซูเจ้าที่เหนือกว่าอำนาจ ของผู้รักษาโรคคนอื่นๆ ซึ่งต้องแสดงกิริยาบางอย่างในการรักษา ดังนั้น คนเหล่านี้จึงต้องมาอยู่กับผู้ที่เขาจะรักษา พระเยซูเจ้าเท่านั้นทรงทำ อั ศ จรรย์ ใ นระยะไกลได้ เ พี ย งด้ ว ยพระวาจาของพระองค์ เ ท่ า นั้ น  ... ประสบการณ์ของเรากับศีลศักดิ์สิทธิ์ก็เตือนใจเราว่าพระเยซูเจ้าประทับ อยู่ห่างไกลสายตาของเราเช่นกัน แต่พระองค์ทรงแสดงพระอานุภาพ ผ่านพระวาจาของพระองค์ได้...


194

บทเทศน์ปี C

เราเชื่อในพระวาจาในรูปของศีลศักดิ์สิทธิ์  ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วย เราให้รอดพ้นหรือไม่... เมื่อพระองค์ทรงได้ยินถ้อยคำเหล่านี้ ทรงประหลาดพระทัย... ข้าพเจ้าพยายามนึกถึงภาพพระพักตร์ของพระเยซูเจ้าในเวลานั้น เช่น รอยยิ้มของพระองค์ ... น้ำเสียงของพระองค์ ภาพของชายคนหนึ่ง ที่กำลังรู้สึกอัศจรรย์ใจ กำลังมีความสุข ชายคนหนึ่งที่รู้สึกชื่นชม... พระวรสารบอกเราเพียงสองครั้งว่าพระเยซูเจ้าทรง “ประหลาด พระทัย” ในทัง้ สองกรณี พระองค์ทรงประหลาดพระทัยกับ “คนต่างชาติ” คนที่ไม่อยู่ในกลุ่มประชากรเลือกสรร ... คนหนึ่งเป็นหญิงชาวคานาอันซึ่ง เป็นคนต่างชาติที่มาจากเมืองไทระและไซดอน (มธ 15:28) ... และนาย ทหารโรมันคนนี้ในเมืองคาเปอรนาอุม (ลก 7:9)... พระเยซูเจ้าทรงยกเลิกเส้นแบ่งเขตแดนทั้งปวง สำหรับพระองค์ ไม่มีใครเป็น “คนต่างด้าว” อีกต่อไป นักบุญเปาโล จะระบุอุดมคติใหม่ นี้ด้วยถ้อยคำที่ชัดเจนว่า “ดังนั้น การเป็นชาวกรีกหรือชาวยิว การเข้า สุหนัตหรือไม่เข้าสุหนัต การเป็นอนารยชนหรือชาวสิเธีย การเป็นทาส หรือเป็นคนอิสระ ไม่สำคัญอีกต่อไป ทีส่ ำคัญก็คอื พระคริสตเจ้าผูท้ รงเป็น ทุกสิ่งในทุกคน” (คส 3:11, กท 3:28, 1 คร 12:13) ... ในโลกยุคปัจจุบัน การสื่ อ สารระหว่ า งประเทศที่ ห่ า งไกลกั น สามารถทำได้ ร วดเร็ ว มาก มนุษย์ได้รับโอกาสใหม่ๆ ให้พบกัน สร้างความสัมพันธ์ฉันพี่น้องกัน ... แต่การติดต่อระหว่างอารยธรรมและวัฒนธรรมต่างๆ ยังไม่ดีพอ เพราะ บ่อยครั้งที่กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกชาตินิยม หรือการเลือกปฏิบัติทาง เชื้อชาติทุกรูปแบบ การเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าหมายถึงการขยายหัวใจของเราให้ กว้างขึ้น... พระเจ้าข้า พระองค์ยงั ต้องทำงานอีกมากในโลกนี้ ... และในตัวเรา ...


บทเทศน์ปี C

195

ทรงหันพระพักตร์ไปยังประชาชนที่ติดตามพระองค์ตรัสว่า “เราบอก ท่านทัง้ หลายว่า เรายังไม่เคยพบใครมีความเชือ่ มากเช่นนีใ้ นอิสราเอล เลย” เมื่อเพื่อนที่ถูกใช้มา กลับไปถึงบ้าน ก็พบว่าผู้รับใช้ผู้นั้นหายเป็น ปกติแล้ว ดู เ หมื อ นว่ า คำบอกเล่ า นี้ ไ ม่ ไ ด้ เ ขี ย นขึ้ น เพื่ อ เล่ า เรื่ อ งการทำ อั ศ จรรย์ เ ท่ า นั้ น  (และได้ ก ล่ า วถึ ง อั ศ จรรย์ ค รั้ ง นี้ เ พี ย งสั้ น ๆ) แต่ จุดประสงค์แรกคือเพื่อย้ำให้เห็นความเชื่อของคนต่างชาติคนนั้น  ... พระเยซูเจ้าทรงยืนยันว่านายทหาร “ต่างชาติ” คนนี้มีความเชื่อมากกว่า ชาวยิว ผู้ปิดกั้นตนเองอยู่ในความมั่นใจของตน จมอยู่ในธรรมเนียม ของตน และต้องการแต่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติตามตัวอักษร ... ใน ทางกลับกัน คนต่างชาตินี้เป็นอิสระ ... เขาเต็มใจ และพร้อมจะต้อนรับ “ความแปลกใหม่” ของพระเยซูเจ้า... ส่วนเราเล่า ... เรายังเต็มใจ และพร้อมที่จะเติบโตในความเชื่อ หรือเปล่า ... เราพร้อมจะก้าวหน้าหรือเปล่า ... หรือเรามีบางสิ่งที่ปิดกั้น เราอยู่  เหมือนกับชาวยิวผู้ศรัทธาหลายคนที่ปิดกั้นตนเองไม่ให้ติดตาม พระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง... พระเจ้าข้า เราเชื่อ ... แต่โปรดทรงทำให้ความเชื่อของเราเพิ่มพูน ขึ้นด้วยเทอญ...


196

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่สิบ เทศกาลธรรมดา ลูกา 7:11-17 พระเยซูเจ้าเสด็จไปที่เมืองหนึ่งชื่อนาอิน  บรรดาศิษย์และ ประชาชนจำนวนมากติดตามพระองค์ไป เมื่อพระองค์เสด็จมาใกล้ ประตูเมืองก็ทรงเห็นคนหามศพออกมา ผู้ตายเป็นบุตรคนเดียวของ มารดาซึ่ งเป็นม่าย ชาวเมืองกลุ่มใหญ่ ม าพร้ อ มกั บ นางด้ ว ย เมื่ อ องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเห็นนางก็ทรงสงสาร และตรัสกับนางว่า “อย่า ร้องไห้ไปเลย” แล้วพระองค์เสด็จเข้าไปใกล้ ทรงแตะแคร่หามศพ คนหามก็หยุด พระองค์จึงตรัสว่า “หนุ่มเอ๋ย เราบอกเจ้าว่า จงลุกขึ้น เถิด” คนตายก็ลุกขึ้นนั่งและเริ่มพูด พระเยซูเจ้าจึงทรงมอบเขาให้แก่ มารดา ทุกคนต่างมีความกลัว และถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า กล่าว ว่า “ประกาศกยิ่งใหญ่ได้เกิดขึ้นในหมู่เรา พระเจ้าได้เสด็จมาเยี่ยม ประชากรของพระองค์” และข่าวเรื่องนี้ก็แพร่ไปทั่วแคว้นยูเดีย และ ทั่วอาณาบริเวณนั้น


บทเทศน์ปี C

197

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง จงลุกขึ้นเถิด พระวรสารเรื่องนี้เป็นเรื่องของความเศร้าโศก และความหวัง เรื่องของความเศร้าโศกของมนุษย์ ซึ่งได้รับความบรรเทาและเปลี่ยนเป็น ความยินดี ด้วยอำนาจของความสงสารของพระเยซูเจ้า ลูกาไม่เคยเบื่อ หน่ายที่จะเล่าเรื่องความสงสารมากมายมหาศาลของพระเจ้าที่ทรงมีต่อ คนยากจน และผู้ที่กำลังระทมทุกข์ การปลุกบุตรชายของหญิงม่ายให้กลับคืนชีพ แสดงให้เห็นว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นนายเหนือชีวิต และความตาย และเตรียมใจผู้อ่าน ให้พร้อมสำหรับเรื่องราวการกลับคืนชีพของพระองค์ พระองค์ ไ ม่ ใ ช่ พ ระเจ้ า ผู้ ห่ า งเหิ น  แต่ ท รงแสดงความผู ก พั น ใกล้ชิดออกมาด้วยความสงสารที่พระองค์มีต่อมารดาผู้กำลังทุกข์ใจ หญิงม่ายคนนี้ไม่เพียงสูญเสียสมาชิกคนเดียวที่เหลืออยู่ในครอบครัว ของนาง เพราะเขาเป็นบุตรชายคนเดียวของนาง แต่บัดนี้นางสิ้นเนื้อประดาตัวด้วย เพราะนางได้สูญเสียสิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน ทั้งหมดของนาง เพราะผู้ชายเท่านั้นมีสิทธิครอบครองได้ แต่พระเยซูเจ้า ทรงรู้สึกสงสารนาง และเมื่อพระองค์ทรงแตะแคร่หามศพ พระองค์กำลังละเมิดบท บัญญัติที่ห้ามไม่ให้สัมผัสกับศพ แต่ความสงสารเป็นคุณธรรมที่อยู่เหนือ ข้อห้ามของบทบัญญัติ ดังนั้น พระองค์จึงตรัสว่า “หนุ่มเอ๋ย เราบอกเจ้าว่า จงลุกขึ้นเถิด”


198

บทเทศน์ปี C

คริสตชนยุคต้นจดจำพระดำรัสสำคัญๆ ของพระเยซูเจ้าได้จน ขึ้นใจ และนำมาไตร่ตรอง และคิดถึงด้วยความรัก พระวาจาของพระเยซูเจ้าเป็นต้นกำเนิดของชีวิต และแรงบันดาลใจได้เสมอ ความเศร้ า เสี ย ใจเป็ น ประสบการณ์ ที่ เ ราทุ ก คนต้ อ งเคย ประสบ แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเราเศร้าใจหัวใจของเราต้องตายไป ด้วย ชาวตะวันออกมีสุภาษิตที่กล่าวว่า เราไม่สามารถห้ามนกแห่งความ เศร้าบินข้ามศีรษะเรา แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้มันเข้ามาสร้างรังใน ผมของเรา เมื่อเราสูญเสียบุคคลที่เรารัก เราจะถูกดึงเข้าไปหาความเศร้า เพราะเมื่อคนที่เรารักจากเราไป ส่วนหนึ่งของหัวใจของเราก็จากไปด้วย เราเศร้าใจทีเ่ ราขาดคนทีเ่ รารักไปชัว่ คราว หรือบางครัง้ เราเสียใจกับความ ล้มเหลว จนกลัวที่จะเริ่มต้นใหม่ หรือเมื่อเราเคยถูกทรยศอย่างเจ็บปวด เราจะไว้ใจใครได้อีกหรือ บางครั้ง ความละอายใจหรือความรู้สึกผิดที่ ฝังลึกนั่นเองที่ดึงเราให้ลงไปสู่กลางคืนที่ไม่มีวันจบสิ้น เมื่อตัวตนภายใน ของเรารู้สึกว่าเราถูกส่งลงไปอยู่ในหลุมศพ เมื่อนั้นเราจำเป็นต้องได้ยิน เสียงขององค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสสั่งอีกครั้งหนึ่งแก่จิตที่ไม่มีวันชราของ เราว่า “โอ้ วิญญาณแห่งวัยเยาว์ เราบอกเจ้าว่า จงลุกขึ้นเถิด” บทสดุดีกล่าวไว้อย่างไพเราะว่า “แม้แต่ความมืดก็ไม่มืดสำหรับ พระองค์ และกลางคืนก็สว่างดังกลางวัน” ถ้าอาณาจักรแห่งความตายอัน มืดมิดไม่ถูกขับไล่ไปด้วยอำนาจปลุกชีวิตของพระเจ้า เมื่อนั้น ส่วนเล็กๆ ที่มืดในชีวิตก็ไม่ถูกขับไล่ไปเช่นกัน พันธกิจของพระเยซูเจ้าคือยกคนที่ ล้มให้ลุกขึ้น คืนความกล้าหาญให้แก่หัวใจที่อ่อนกำลัง และเสนอโอกาส ฟื้นฟูชีวิต ในชีวิตนี้  ไม่มีการล้มครั้งใดที่เด็ดขาดจนเกินอำนาจของพระเยซูเจ้าที่จะทำให้ผู้ที่ล้มลุกขึ้นมาเริ่มต้นใหม่  ไม่มีสภาวะบาปใดที่หนัก จนเกินเอื้อมของพระหัตถ์อันบริสุทธิ์ และเมตตาของพระองค์ และไม่มี คำว่า “หมดหวัง” สำหรับผู้ที่เชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า


บทเทศน์ปี C

199

“เราบอกเจ้าว่า จงลุกขึ้นเถิด” เราควรเก็บรักษาพระวาจาของ พระเยซูเจ้าไว้ในใจ และให้พระวาจานี้ก้องกังวานในความคิดของเรา

ข้อรำพึงที่สอง พระเจ้าได้เสด็จมาเยี่ยมประชากรของพระองค์ สวนดอกไม้เดือนมิถุนายนเต็มไปด้วยชีวิตชีวา หญ้าเขียวชอุ่ม งอกขึ้นมาทันทีที่ถูกตัด ต้นอ่อนของพันธุ์ไม้มีค่างอกขึ้นมาท่ามกลางกอ วัชพืช และต้องดิ้นรนเพื่อให้รอดชีวิตจนกระทั่งข้าพเจ้ามีโอกาสช่วยมัน พื้นดินที่เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนยังโล่งเตียน บัดนี้ถูกปกคลุมด้วยพรมหรู แห่งชีวิต หัวของพืชที่ซ่อนอยู่ในดินเจริญงอกงาม และต้นพืชที่หลับใหล ก็ตื่นขึ้นมา พระผู้สร้างได้เสด็จมาเยือนเราอีกครั้งหนึ่ง และทรงทิ้งรอย พระบาทไว้ในสีเขียว สีแดง สีเหลือง และสีฟ้าในธรรมชาติ การฟื้นตัวใน แต่ละปีของธรรมชาติเตือนข้าพเจ้าให้คิดถึงคำสั่งสอนในพระวรสาร เรื่องชัยชนะเหนือความตาย ที่เมืองนาอิน พระคริสตเจ้าทรงแสดงอำนาจของพระองค์เหนือ ชีวิตและความตายในเหตุการณ์ที่น่ายำเกรง อำนาจเหนือความตายเป็น เครื่องหมายแสดงการประทับอยู่ของพระเจ้า จนลูกาเรียกพระเยซูเจ้าว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า” ที่นี่เป็นครั้งแรก ทั้งที่เป็นพระนามที่ใช้เรียกขาน พระเจ้าเท่านั้น เราจินตนาการได้ไม่ยาก ว่าประชาชนรู้สึกอย่างไร เขาได้เห็นใคร คนหนึ่ ง กลั บ คื น ชี พ จากบรรดาผู้ ต าย คนที่ ต ายแล้ ว นี้ ลุ ก ขึ้ น เดิ น ได้ พระเยซูเจ้าทรงมอบเขาให้แก่มารดาของเขา แต่กระนั้น เราก็คิดได้ เช่นกันว่า วันนั้นมีญาติใกล้ชิดที่โลภมากบางคนหยุดหลั่งน้ำตาทันทีที่ บุตรชายของหญิงม่ายกลับคืนชีพ เพราะเขาได้กลับมาทวงสิทธิในทรัพย์ สินของเขากลับคืนไปแล้ว แต่ปฏิกิริยาของคนทั่วไปคือความกลัว เขามองเห็นการประทับ


200

บทเทศน์ปี C

อยู่ ข องพระเจ้ า ในเหตุ ก ารณ์ นี้ ไ ด้ อ ย่ า งชั ด เจน จนเขาต้ อ งสรรเสริ ญ พระเจ้าว่า “ประกาศกยิ่งใหญ่ได้เกิดขึ้นในหมู่เรา พระเจ้าได้เสด็จมา เยี่ยมประชากรของพระองค์” นักเขียนยุคนั้นกล่าวถึงโลกว่าอยู่ภายใต้การปกครองของปีศาจ “เจ้านายของโลกนี้” แต่เมื่อพระเจ้าเสด็จมาเยี่ยมโลกในองค์พระเยซูคริสตเจ้า อำนาจของพระอาณาจักรของพระเจ้าเริ่มต้นรุกคืบไปทั่วโลก และโจมตีแนวของศัตรูให้ล่าถอยไป ชีวิตถือได้ว่าเป็นสิ่งสร้างของพระเจ้า ในขณะที่ความตายเป็น เสมือนถิ่นที่อยู่ของปีศาจ แต่พระเยซูเจ้าจะเสด็จเข้าไปในบ้านของความ ตาย และจะทรงเอาชนะความชั่วในบ้านของมันเอง เหตุ ก ารณ์ ส ามครั้ ง ที่ พ ระองค์ ท รงปลุ ก คนตายให้ ก ลั บ คื น ชี พ เป็นการประกาศถึงอำนาจและเจตนาของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นนาย เหนือชีวิตและความตาย ... “เราคือการกลับคืนชีพ และชีวิต” ทุกเช้า ในบทเพลงสรรเสริญพระเจ้า พระศาสนจักรเฉลิมฉลอง ที่พระเจ้าเสด็จมาเยี่ยมโลกในองค์พระเยซูคริสตเจ้า “พระองค์เสด็จมา เยี่ยมประชากรของพระองค์ และทรงไถ่กู้เรา”


บทเทศน์ปี C

201

บทรำพึงที่ 2 พระเยซูเจ้าเสด็จไปที่เมืองหนึ่งชื่อนาอิน หมู่บ้านนี้ยังคงอยู่ตราบจนทุกวันนี้ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ที่เชิงภูเขา ทาบอร์ ห่างจากนาซาเร็ธไปหกไมล์ พระเยซูเจ้าทรงเดินทางด้วยเท้า มี ฝูงชนทั้งชายหญิงติดตามพระองค์ เพราะอยากฟังพระวาจาของพระองค์ และอยากเห็นพระองค์ทำอัศจรรย์ บรรดาศิษย์ และประชาชนจำนวนมากติดตามพระองค์ไป เมื่อพระองค์เสด็จมาใกล้ประตูเมืองก็ทรงเห็นคนหามศพออกมา ผู้ตายเป็น บุตรคนเดียวของมารดาซึ่งเป็นม่าย ลูกาได้ชื่อว่าเป็นผู้นิพนธ์พระวรสารของพระนางมารีย์ (และเป็น คนเดียวที่บอกเล่ารายละเอียดมากมายเกี่ยวกับปฐมวัยของพระเยซูเจ้า) เขาอาจได้รับรู้รายละเอียดเหล่านี้มาจากปากของพระนางก็เป็นได้  การ ปลุกชีวิตที่กระทำในหมู่บ้านข้างเคียงคงแพร่มาถึงหูของพระนางมารีย์ ในนาซาเร็ธบ้างแน่นอน ทำให้เราเข้าใจได้วา่ พระนางคงระลึกถึงเหตุการณ์ นี้ หลังจากพระบุตรของพระนางเองกลับคืนชีพ และนำสองสถานการณ์ นี้มาเปรียบเทียบกัน ทั้งสองสถานการณ์เป็นเรื่องของหญิงม่ายคนหนึ่ง ... บุตรคนเดียวของนางเสียชีวิต ... และกลับคืนชีพ ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสารที่ชอบเขียนเรื่องราวของสตรี ไม่เว้นที่จะ บอกเล่ารายละเอียดที่ชวนให้สะเทือนใจเหล่านี้ ในพระคัมภีร์ หญิงม่าย คือ “คนยากจน” ที่พระเจ้าทรงพิทักษ์คุ้มครองเป็นพิเศษ หญิงม่ายคน นี้เป็นตัวแทนของความทุกข์ยากสูงสุดของมนุษย์ นางซวนเซจากเคราะห์


202

บทเทศน์ปี C

กรรมที่เกิดจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของสองบุคคล คนหนึ่งคือ สามี อีกคนหนึ่งคือบุตรของนาง และในสมัยนั้น (และแม้แต่ในปัจจุบัน สถานการณ์ของบุคคลเหล่านี้ก็อาจไม่ดีกว่านี้เท่าไรนัก) สตรีที่ไม่มีสามี หรื อ บุ ต รชายจะเผชิญกับชะตากรรมร้ า ยแรงที่ สุ ด มี เ พี ย งสามี  หรื อ บุตรชายเท่านั้นที่สามารถให้ความคุ้มครองตามกฎหมายแก่หญิงคนหนึ่ง และเลี้ยงดูนางได้... ข้าพเจ้าสนใจกับความทุกข์ยากที่ซ่อนเร้นของเพื่อนมนุษย์หรือ เปล่า ... ข้าพเจ้าสนใจความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาหรือเปล่า... ชาวเมืองกลุ่มใหญ่มาพร้อมกับนางด้วย ในบรรดาผู้ นิ พ นธ์ พ ระวรสาร ลู ก าเล่ า เรื่ อ งได้ เ ก่ ง ที่ สุ ด  เขา สามารถขัดเกลาคำบอกเล่าให้สละสลวย เขาบรรยายให้เราเห็นภาพได้ ชัดเจนเหมือนกับภาพเหตุการณ์ในภาพยนตร์ คนสองกลุ่ม ... สองขบวน เดินมาพบกันที่ประตูเมืองนาอิน ขบวนศพกำลังจะออกจากเมือง ... ขบวนศิษย์ของพระเยซูเจ้ากำลังจะเข้าเมือง... เมื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเห็นนางก็ทรงสงสาร ไม่ใช่เหตุบังเอิญที่ลูกาเรียกพระเยซูเจ้าล่วงหน้าว่า “o Kurios” (องค์พระผู้เป็นเจ้า) ตั้งแต่เวลานั้น เขาต้องการให้เราเห็นแสงสว่างแห่ง ปัสกาส่องลงบนตัวผูต้ ายทีก่ ำลังจะถูกนำไปฝัง คำว่า “องค์พระผูเ้ ป็นเจ้า” นี้เป็นคำที่ใช้เรียกพระยาห์เวห์ ในพระคัมภีร์เซปตัวยินตา (พระคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิมฉบับภาษากรีก ที่แปลไว้ไม่กี่ปีก่อนพระคริสตเจ้า ทรงบังเกิด) และพระศาสนจักรยุคแรกจะนำมาใช้เรียกพระเยซูเจ้าผู้ทรง กลับคืนชีพแล้ว แต่ลูกาชอบใช้คำนี้ตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์วันปัสกา เขา เรียกพระเยซูเจ้าเช่นนี้ถึง 19 ครั้ง ในขณะที่มัทธิว และมาระโก ใช้คำนี้ เพียงคนละหนึ่งครั้ง...


บทเทศน์ปี C

203

ในทำนองเดี ย วกั น  เขาใช้ ค ำว่ า ว่ า  “พระองค์ ท รงสงสาร” (esplanchnisthe) เพราะมีเป้าหมายที่ชัดเจน คำภาษากรีกนี้แปล ตามตัวอักษรว่า “ติดอยู่ในท้อง หรือรู้สึกสงสาร” (caught in the bowels) และเป็นวลีที่ใช้กันบ่อยในพระวรสาร เพื่อแสดงให้เห็นความรัก ของพระเจ้าต่อมนุษย์ ศาสนาสำคัญส่วนมากพัฒนาขึ้นจากความเชื่อว่า พระเจ้าทรงเป็นผู้ “ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อน ทรงสรรพานุภาพ แต่ห่างเหิน” อิสราเอลได้รับการเผยแสดงให้รู้จักพระเจ้าผู้ทรงเป็นเหมือนมารดา ผู้มี “ท้อง/ความสงสาร” (ชาวซีไมท์ ถือว่าท้องเป็นที่ตั้งของความรู้สึก) (อสย 49:15, ฮชย 1:6-7, 2:23) ... และบัดนี้ ในองค์พระเยซูเจ้า เราได้ เห็นพระเจ้าในลักษณะที่เหมือนมนุษย์มากที่สุด ทรงมีพระทัยอ่อนไหว ทรงใกล้ชิดกับมนุษย์ ทรงรู้สึกสะเทือนใจเมื่อเห็นความเดือดร้อน อาจ กล่าวได้ว่าพระเยซูเจ้าคือความสงสารของพระเจ้า... เราไม่ ค วรหาเหตุ ผ ลมาอธิ บ ายความจริ ง เหล่ า นี้   แม้ ว่ า สภา สังคายนาระหว่างสามศตวรรษแรกยึดถือแนวความคิดของปรัชญากรีก ที่ชัดเจนมากกว่า แต่อย่างน้อยก็กล้าหาญพอที่จะไม่ลดคุณค่าของธรรม ล้ำลึกที่เกี่ยวกับพระเยซูเจ้า และได้รับรองโดยไม่กำกวมในบุคลิกภาพ ของพระองค์ ซึ่งมีสองด้านที่ขัดแย้งกัน ในฐานะพระเจ้าและมนุษย์ ... แต่ลูกากล้าเขียนตั้งแต่ครั้งนั้นแล้วว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสงสาร”... พระเจ้าข้า ขอบพระคุณพระองค์ผู้ทรงมีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ เช่นนั้น ทรงพร้อมจะเข้าใจความขัดสนของมนุษย์เช่นนั้น ... บัดนี้ ข้าพเจ้า อยากเพ่งพินิจความเจ็บปวดในพระทัยของพระองค์ ... พระองค์ทรงรู้สึก เช่นเดียวกันนี้ต่อมนุษย์ทุกคนที่เสียชีวิตในทุกสถานที่ในโลก... พระองค์จะทรงทำอะไรใกล้ประตูเมืองในหมู่บ้านเล็กๆ ที่ชื่อ นาอินนี้ พระองค์จะประทาน “เครื่องหมาย” อะไรแก่เรา และตรัสกับนางว่า “อย่าร้องไห้ไปเลย” แล้วพระองค์เสด็จเข้าไปใกล้ ทรงแตะแคร่หามศพ...


204

บทเทศน์ปี C

ข้าพเจ้าคิดถึงมารดาทั้งหลายผู้ต้องร้องไห้เพราะบุตรของตน ... ซึ่งอาจเสียชีวิต หรืออยู่ห่างไกลกัน หรือดื้อรั้น ก่อปัญหา หรือสูญเสีย ความเชื่อ ... ธรรมล้ำลึกของน้ำตาของมารดาเหล่านี้สมควรได้รับความ เคารพ เพราะเป็นภาระที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของความเป็นมนุษย์ของเรา ... พระเยซู เ จ้ า ทรงนำความบรรเทาใจมามอบให้ แ ก่ ทุ ก คนที่ ไ ว้ ใ จใน พระองค์ ผู้ที่ดำเนินชีวิตตามความเชื่อของตนจนถึงที่สุด ... พระเยซูเจ้า ประทับอยู่ใกล้ๆ มารดาทุกคนที่ร้องไห้ และตรัสเบาๆ แก่เขาว่า “อย่า ร้องไห้ไปเลย”... พระเจ้าข้า โปรดทรงเพิ่มพูนความเชื่อของข้าพเจ้าด้วยเถิด... คนหามก็หยุด พระองค์จึงตรัสว่า “หนุ่มเอ๋ย เราบอกเจ้าว่า จงลุกขึ้น เถิด” คำว่า “ลุกขึน้ (arise)” (เป็นคำสัง่ ทีม่ าจากคำกริยาว่า egeirein) เป็นคำที่ใช้พูดถึงการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า (ลก 9:22, 24:6, 34) และการกลับคืนชีพของผูไ้ ด้รบั เลือกสรรเมือ่ สิน้ พิภพ แต่คำกริยาเดียวกัน นี้ยังใช้พูดถึงผลฝ่ายจิตของศีลล้างบาปอีกด้วย “ผู้หลับใหล จงตื่นเถิด จงลุกขึ้นจากบรรดาผู้ตาย และพระคริสตเจ้าจะทรงส่องสว่างเหนือท่าน” (อฟ 5:14) “ท่านทั้งหลายถูกฝังพร้อมกับพระคริสตเจ้า” (คส 2:12) “ถ้าท่านทั้งหลายกลับคืนชีพพร้อมกับพระคริสตเจ้าแล้ว ก็จงใฝ่หาแต่สิ่ง ที่อยู่เบื้องบนเถิด ณ ที่นั้น พระคริสตเจ้าประทับเบื้องขวาของพระเจ้า” (คส 3:1)... การอดี (Garaudy) กล่าวไว้ว่า “สำหรับพระคริสตเจ้า และศิษย์ ของพระองค์ การกลับคืนชีพเป็นวิถีทางใหม่ของการมีชีวิต ... อัศจรรย์ที่ แท้จริง – ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มายืนยัน และพิสูจน์ได้โดย ไม่มีทางโต้แย้ง และแปลกประหลาดผิดธรรมชาติยิ่งกว่าการฝืนกฎทาง ชี ว ภาพ หรื อ มากกว่ า คำบอกเล่ า เรื่ อ งคู ห าฝั ง ศพที่ ว่ า งเปล่ า  หรื อ


บทเทศน์ปี C

205

แผ่นดินไหวที่ตอบสนองต่อเสียงร้องตะโกนด้วยความเจ็บปวดของชาย คนหนึ่ง – อัศจรรย์ที่ว่านี้พบได้ไม่เพียงในตัวของพระคริสตเจ้า แต่ในตัว ศิษย์ทุกคนของพระองค์ ผู้เคยตื่นตระหนกระหว่างคืนก่อนหน้านั้น แต่ กลับเริ่มมีชีวิตใหม่ เป็นชีวิตในพระจิตเจ้า” (Appel aux vivants, หน้า 182)… ถ้ า การกลั บ คื น ชี พ ของพระเยซู เ จ้ า เป็ น เพี ย ง “เวทมนตร์ ” ขบวนการปลดปล่อยทั้งหมดของเราก็ไร้ประโยชน์อย่างน่าเวทนา และ น่าขัน ... การกลับคืนชีพที่แท้จริงเป็นผลงานของพระเจ้า และอยู่เหนือ อำนาจของมนุษย์ ... และดังนั้น เราจึงควรย้ำว่าเราไม่อาจนึกคิดด้วย จินตนาการ และไม่อาจหาเหตุผลมาอธิบายเหตุการณ์นี้อย่างชัดเจนได้ ... แต่เราก็ไม่อาจพูดได้ว่าเหตุการณ์นี้ผิดธรรมชาติ หรือเป็น “การฝืนกฎ ทางชีวภาพ” อย่างน้อยก็ในบางด้าน ทั้งนี้เพราะ “ชีวิตหลังความตาย” เป็นความปรารถนาของทุกชีวิตในธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย รวมถึงพืช และสัตว์ มีสัญชาตญาณอันรุนแรง และไม่ยอมแพ้ ที่จะรักษาชีวิตและ แพร่พันธุ์ต่อไป เพื่อให้เผ่าพันธุ์ของตนอยู่รอดต่อไปได้ ทุกอารยธรรม และศาสนาก็มีความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย ... แม้จะมี บางคนโดยเฉพาะในโลกตะวันตก (และเพียงสมัยหลังๆ นี้เท่านั้น) ที่ดู เหมือนได้สูญเสียความเชื่อมั่นในชีวิตหลังความตายนี้ไป แต่คนเหล่านี้ก็ เป็นคนส่วนน้อยในโลก... ความคิดดั้งเดิมของศาสนาคริสต์มีเหตุมีผลในตัวเอง ความเชื่อ ของคริสตศาสนากล้ายืนยัน - และถือว่าเป็นการเผยแสดงที่ได้รับจาก พระเจ้า – ว่า พร้อมกับพระเยซูเจ้าและในพระเยซูเจ้า พระเจ้าทรงเข้ามา รับสภาพมนุษย์ (ฟป 2:6-11) เพือ่ จะนำเราติดตามพระองค์ไปสูจ่ ดุ หมาย ปลายทางอันไม่รู้จักตายของพระองค์เอง “พระบิดาผู้ทรงชีวิตทรงส่งเรา มา และเรามีชีวิตเพราะพระบิดาฉันใด ผู้ที่กินเนื้อของเราจะมีชีวิตเพราะ เราฉันนั้น” (ยน 6:57) “และเราจะให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย”


206

บทเทศน์ปี C

(ยน 6:40) ... ศีลล้างบาปจึงเป็นการคาดหมายถึงชีวิตนิรันดรนี้ “ดังนั้น เราถูกฝังไว้ในความตายพร้อมกับพระองค์อาศัยศีลล้างบาป เพื่อว่า พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย เดชะพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาฉันใด เราก็จะดำเนินชีวิตแบบใหม่ด้วยฉันนั้น” (รม 6:4)... แต่เรา ... ผู้ได้รับศีลล้างบาปแล้ว ... ได้ดำเนินชีวิตแบบใหม่ จริงหรือ... คนตายก็ลุกขึ้นนั่ง และเริ่มพูด พระเยซูเจ้าจึงทรงมอบให้แก่มารดา ทุกคนต่างมีความกลัว และถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า กล่าวว่า “ประกาศกยิ่ ง ใหญ่ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น ในหมู่ เ รา พระเจ้ า ได้ เ สด็ จ มาเยี่ ย ม ประชากรของพระองค์” และข่าวเรื่องนี้ก็แพร่ไปทั่วแคว้นยูเดีย และ ทั่วอาณาบริเวณนั้น คำว่า “เยี่ยม” มีนัยสำคัญมากที่สุด การเยี่ยมหมายถึงการมาหา เพียงชั่วคราวระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ พระเจ้าไม่ได้ทรงแสดงพระองค์ อย่ า งต่ อ เนื่ อ งในฐานะผู้ พิ ชิ ต ความตายผู้ ท รงอานุ ภ าพ ... ชายหนุ่ ม คนหนึ่งถูกปลุกให้คืนชีพในวันหนึ่งในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในแคว้น กาลิลี แต่ยังมีคนเป็นพันล้านคนที่ได้ตายไป และยังตายต่อไป นับตั้งแต่ กำเนิดของโลก... แต่ ใ นการมาเยี่ ย มเราในลั ก ษณะพิ เ ศษในองค์ พ ระเยซู เ จ้ า นี้ พระเจ้าได้ประทาน “เครื่องหมายแห่งอวสานกาล” แก่เรา เป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นในวันสุดท้าย เมื่อนั้น พระเจ้าจะทรงเป็น “ทุกสิง่ ในทุกสิง่ ” และ “จะทรงเช็ดน้ำตาทุกหยดของเขา จะไม่มคี วามตาย อีกต่อไป จะไม่มีการคร่ำครวญ การร้องไห้ และความทุกข์อีกต่อไป” (วว 21:4) โลกของเราไม่ใช่สิ่งน่าขันไร้สาระ ... โลกไม่ได้ถูกปิดกั้นด้วยข้อ จำกัดของตนเอง ... โลกนี้ไม่ใช่โลกของพระเจ้า ดังนั้น จึงยังไม่สมบูรณ์


บทเทศน์ปี C

207

พร้อมในเวลานี้ แต่ก็ได้รับคำสัญญาว่าจะมีส่วนร่วมใน “พระธรรมชาติ ของพระเจ้า” (2 ปต 1:4)... ข้าพเจ้ามีเดิมพันอันยิ่งใหญ่ในการกลับคืนชีพของชายหนุ่มแห่ง เมืองนาอินผู้นี้ ...


208

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่สิบเอ็ด เทศกาลธรรมดา ลูกา 7:36-8:3 ชาวฟาริสีคนหนึ่งทูลเชิญพระเยซูเจ้าไปเสวยพระกระยาหาร กับเขา พระองค์เสด็จเข้าไปในบ้านของชาวฟาริสีนั้น และประทับที่ โต๊ะ ในเมืองนั้นมีหญิงคนหนึ่งเป็นคนบาป เมื่อนางรู้ว่าพระเยซูเจ้า กำลังประทับร่วมโต๊ะอยู่ในบ้านของชาวฟาริสีผู้นั้น จึงถือขวดหินขาว บรรจุน้ำมันหอมเข้ามาด้วย นางมาอยู่ด้านหลังของพระองค์ใกล้ๆ พระบาท ร้องไห้จนน้ำตาหยดลงเปียกพระบาท นางใช้ผมเช็ดพระบาท จูบพระบาท และใช้น้ำมันหอมชโลมพระบาทนั้น ชาวฟาริสีที่ทูลเชิญพระองค์มาเห็นดังนี้ก็คิดในใจว่า “ถ้าผู้นี้ เป็นประกาศก เขาคงจะรู้ว่าหญิงที่กำลังแตะต้องเขาอยู่นี้เป็นใคร และเป็นคนประเภทไหน นางเป็นคนบาป” พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขา ว่า “ซีโมน เรามีเรื่องจะพูดกับท่าน” เขาตอบว่า “เชิญพูดมาเถิด อาจารย์” พระองค์จึงตรัสว่า “เจ้าหนี้คนหนึ่งมีลูกหนี้อยู่สองคน คน หนึ่งเป็นหนี้อยู่ห้าร้อยเหรียญ อีกคนหนึ่งเป็นหนี้อยู่ห้าสิบเหรียญ ทั้งสองคนไม่มีอะไรจะใช้หนี้ เจ้าหนี้จึงยกหนี้ให้ทั้งหมด ในสองคนนี้ คนไหนจะรักเจ้าหนี้มากกว่ากัน” ซีโมนตอบว่า “ข้าพเจ้าคิดว่าเป็น คนที่ได้รับการยกหนี้ให้มากกว่า” พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขาว่า “ท่าน ตัดสินถูกต้องแล้ว”


บทเทศน์ปี C

209

พระองค์ทรงหันพระพักตร์มาทางหญิงผู้นั้น ตรัสกับซีโมนว่า “ท่านเห็นหญิงผู้นี้ใช่ไหม เราเข้ามาในบ้านของท่าน ท่านไม่ได้เอาน้ำ มาล้างเท้าให้เรา แต่นางได้หลั่งน้ำตารดเท้าของเรา และใช้ผมเช็ด ให้ ท่านไม่ได้จูบคำนับเรา แต่นางจูบเท้าของเราตลอดเวลาตั้งแต่เรา เข้ามา ท่านไม่ได้ใช้น้ำมันเจิมศีรษะให้เรา แต่นางใช้น้ำมันหอมชโลม เท้าของเรา เพราะเหตุนี้ เราบอกท่านว่าบาปมากมายของนางได้รับ การอภัยแล้ว เพราะนางมีความรักมาก ผู้ที่ได้รับการอภัยน้อยก็ย่อม มีความรักน้อย” แล้วพระองค์ตรัสกับนางว่า “บาปของเจ้าได้รับการ อภัยแล้ว” บรรดาผู้ร่วมโต๊ะจึงเริ่มพูดกันว่า “คนนี้เป็นใครจึงทำได้ แม้แต่การอภัยบาป” พระองค์ตรัสกับหญิงนั้นว่า “ความเชื่อของเจ้า ช่วยเจ้าให้รอดพ้นแล้ว จงไปเป็นสุขเถิด” หลังจากนั้น พระเยซูเจ้าเสด็จไปตามเมืองและหมู่บ้านต่างๆ ทรงเทศน์สอน และประกาศข่าวดีถึงพระอาณาจักรของพระเจ้า อัครสาวกสิบสองคนอยู่กับพระองค์ รวมทั้งสตรีบางคนที่พระองค์ ทรงรักษาให้พ้นจากปีศาจร้ายและหายจากโรคภัย เช่น มารีย์ ที่เรียก ว่าชาวมักดาลา ซึ่งปีศาจเจ็ดตนได้ออกไปจากนาง โยอันนา ภรรยา ของคูซา ข้าราชบริพารของกษัตริย์เฮโรด นางสุสันนา และคนอื่นอีก หลายคน หญิงเหล่านี้สละทรัพย์ของตนมาช่วยเหลือพระองค์ และ บรรดาอัครสาวก


210

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง หญิงผู้กลับใจ ถ้าจะมีประเด็นใดที่น่าเสียดายเกี่ยวกับพันธสัญญาใหม่ ประเด็น นั้นก็คือไม่มีผู้นิพนธ์พระวรสารคนใดเป็นสตรี ทำให้เราขาดความเข้าใจ ในเรื่องของพระเยซูคริสตเจ้าจากมุมมองของสตรี  ลูกาเป็นผู้นิพนธ์คน เดียวที่บอกเล่าเรื่องราวในลักษณะที่ใกล้เคียงความรู้สึกของสตรีมาก ที่สุด หลังจากบอกเล่าเรื่องนี้จบลง เขาก็เล่าถึงบทบาทของสตรีหลายคน ที่ช่วยเหลืองานเทศน์สอนของพระเยซูเจ้า บางครั้ง ลูกาบอกเล่าเรื่องของชายคนหนึ่งโดยจับคู่กับเรื่องราว คล้ายกันของหญิงคนหนึ่ง และมักแสดงให้เห็นว่าหญิงนั้นเปิดใจยอมรับ ความเชื่อมากกว่าชาย เช่น เศคาริยาห์ และพระนางมารีย์ ทั้งสองคนได้รับ แจ้งสารจากทูตสวรรค์เหมือนกัน แต่เศคาริยาห์คลางแคลงใจ ตรงกัน ข้ามกับความเชื่อและความนบนอบของพระนางมารีย์ เหตุการณ์สำคัญหลายครั้งในพระวรสารของลูกาเกิดขึ้นที่โต๊ะ อาหาร ในเรื่องนี้ เราได้พบชายที่เป็นเจ้าของบ้าน เขาเป็นชาวฟาริสี เป็น คนที่ห่วงเรื่องการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง และมักเตือนประชาชนให้ ระวังอันตรายจากการเปื้อนมลทิน ... หรืออันตรายจากโอกาสบาป อาจกล่ า วได้ ว่ า เขาเป็ น ตั ว แทนอำนาจในโลกของผู้ ช าย เขามี ความคิดริเริ่ม มีความสามารถจัดการ และมีเงินทองมากพอจะเชิญแขก มาร่ ว มกิ น เลี้ ย งได้   ถื อ เป็ น ธรรมเนี ย มที่ จ ะเชิ ญ แขกพิ เ ศษบางคนมา แบ่งปันความรู้ของเขาให้แก่ผู้ร่วมโต๊ะ ชายคนนี้ชื่อซีโมน น่าสนใจที่


บทเทศน์ปี C

211

พระวรสารบอกชื่อของเขา แต่ไม่บอกชื่อของหญิงในเรื่องนี้   ซีโมนมี อิทธิพลมากพอจะเชิญพระเยซูมาเป็นแขกพิเศษของเขาได้  ซีโมนเป็น คนเคร่งศาสนาที่มีทั้งอำนาจและอิทธิพล แต่เรื่องนี้จะเปิดเผยให้เห็น จุดอ่อนของเขาในภายหลัง หญิงคนหนึ่งเดินเข้ามา นางเป็นหนึ่งในบุคคลนิรนามผู้ต่ำต้อย ของลูกา ซึ่งพระเจ้าทรงรักมาก ที่แย่ยิ่งกว่าการเป็นบุคคลนิรนามก็คือ นางเป็นคนชื่อเสียประจำเมืองนี้  การมีชื่อเสียไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่ต้องมีคนกระจายข่าว ลิ้นของใครที่ทำหน้าที่กระจายข่าว ... ข้าพเจ้า เชื่อว่าเป็นลิ้นของ “คนดีทั้งหลาย” นั่นเอง หญิงคนบาปนี้จำเป็นต้องเปลี่ยนชีวิตของนางเสียใหม่   ... นาง จำเป็นต้องพบกับการคืนดีภายในตนเอง ด้วยพระหรรษทานของพระเจ้า นางจึงพบกับต้นกำเนิดของการคืนดี ... ในองค์พระเยซูเจ้า ผู้เสด็จมา กอบกู้คนบาป เราได้เห็นหญิงคนนี้ไปสารภาพบาป ภาษาของนางประกอบด้วย น้ำตาและการสัมผัส การกระทำของนางคือการจูบ และการเจิมด้วย น้ำมันหอม พระเยซูเจ้าไม่ได้ตรัสถามนางว่า “เธอทำบาปกี่ครั้ง” หรือ “เธอยินดีกับการทำบาปนั้นหรือเปล่า” นางโชคดีที่ไม่ได้มาขอสารภาพบาปหลังจากนั้นหลายศตวรรษ ตะแกรงไม้ ใ นที่ ส ารภาพบาปคงไม่ เ ข้ า ใจน้ ำ ตาของนาง และคงไม่ ตอบสนองความต้องการลึกๆ ในใจของนางที่อยากให้ใครบางคนสัมผัส ตัวนาง พระสงฆ์ทุกคนที่ฟังสารภาพบาปควรมีกระดาษเช็ดหน้าสำรอง ให้คนบาปใช้ซับน้ำตาบ้าง! เรื่องย้อนกลับมาที่ฝ่ายชาย “เขาคิดในใจ” ... การพูดกับตนเอง ในใจเป็นอาการที่แสดงว่าบุคคลนั้นกำลังมีเรื่องโต้แย้งกับตนเองในใจ เป็นการโต้แย้งกับส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราพยายามเก็บกดไว้  เมื่อเรา พยายามปฏิเสธส่วนหนึ่งของความเป็นจริงในชีวิตของเรา กลไกอย่าง


212

บทเทศน์ปี C

หนึ่งที่เราใช้ปกป้องตนเองก็คือใช้กฎบางอย่างเป็นที่กำบัง เพราะกฎนั้น ปกป้องความรู้สึกของเราว่าเราเป็นผู้ชอบธรรม บทบั ญ ญั ติ ก ำหนดไว้ ว่ า  ผู้ เ ป็ น รั บ บี ค วรอยู่ ห่ า งๆ ผู้ ห ญิ ง ในที่ สาธารณะ แต่ที่นี่มีหญิงคนหนึ่งที่ชื่อเสียงไม่ดี และชายที่ชื่อเยซูนี้กำลัง ยอมให้คนบาปคนนี้สัมผัสตัวเขา ดังนั้น ซีโมนจึงกำลังตัดสินและประเมิน ความหนักหนาของความผิดนี้ บัดนี้ สมองของเขากลายเป็นกับดักที่ขัง เขาไว้ภายใน เพราะเขาไม่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ด้วยความ เข้าใจสตรีได้ เขาจะตีฝ่าออกมาจากฉากที่เขาใช้ป้องกันตนเองนี้ได้อย่างไร พระเยซู เ จ้ า ทรงใช้ เ รื่ อ งของลู ก หนี้ ส องคนเพื่ อ เปิ ด ประตู คุ ก ให้ เ ขา พระองค์ทรงเชิญซีโมนให้ก้าวออกมาจากข้างหลังฉากป้องกันตนเอง โดยให้เขาตอบคำถามข้อหนึ่ง ไม่ใช่คำถามเกี่ยวกับหนี้ หรือความถูกต้อง ของพฤติกรรม แต่เกี่ยวกับความรัก “ในสองคนนี้ คนไหนจะรักเจ้าหนี้ มากกว่ากัน” พระเยซูเจ้าทรงมองว่าการพบกันครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องของบาป หรือการติดมลทินจากคนชั่ว แต่ทรงมองว่าเป็นวันที่ความรักถูกปลดปล่อยออกมาจากภายใต้ความรู้ผิดและหนี้ที่กองทับอยู่ หญิงคนนี้คงได้ รับการปลดปล่อยจากภาระที่หนักอึ้งเมื่อนางแสดงความรักอย่างฟุ่มเฟือยเช่นนี้ “นางได้รับการอภัยบาปมากมายของนางแล้ว มิฉะนั้น นาง คงไม่แสดงความรักมากเช่นนี้” ซีโมน ฟาริสีผู้ระวังตัว ได้พยายามปฏิบัติหน้าที่เพื่อแสดงความ รักของเขาต่อพระเจ้า แต่หัวใจของสตรีนิรนามผู้นี้ค้นพบว่า ศาสนาเริ่ม ต้นด้วยการยอมให้พระเจ้ารักเรา ในฐานะชายคนหนึ่งที่ได้รับศีลบรรพชาเป็นพระสงฆ์ในพระศาสนจักร ข้าพเจ้ารู้สึกไม่สบายใจเลยที่คิดว่าตนเองคล้ายกับซีโมนชาว ฟาริสี สิ่งที่ท้าทายข้าพเจ้า คือ พวกเราหลายคนที่ร่วมโต๊ะอาหารบ่อยครั้ง - และอาจถึงกับทุกวัน - กับพระเยซูเจ้า อาจห่างเหินจากพระทัยของ


บทเทศน์ปี C

213

พระองค์เพราะเราตัดสินผู้อื่นอย่างเย็นชา และการยึดถือหลักการอย่าง ไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น พระเยซูเจ้าอาจประทับอยู่ใกล้ชิดหัวใจของบาง คนมากกว่า ทั้งที่เขาเหล่านั้นถูกห้ามไม่ให้มารับพระองค์ที่พระแท่น เช่นเดียวกับหญิงนิรนามคนนี้ คนเหล่านั้นอาจไม่ได้นั่งร่วมโต๊ะอาหารกับ พระองค์ แต่เขารู้จักพระเมตตาของพระองค์ และเขาเข้ามาหาพระองค์ ทางด้านหลัง เพื่อสัมผัสพระองค์ในคำภาวนา บางที ก ารรั ก อย่ า งฟุ่ ม เฟื อ ย แม้ ว่ า ไม่ ไ ด้ ก ระทำอย่ า งถู ก ต้ อ ง เหมาะสมเสมอไป อาจดีกว่าการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม แต่ ปราศจากความรัก แต่ที่ดีที่สุดก็คือการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม ควบคู่กับการรักอย่างฟุ่มเฟือย ข้อรำพึงที่สอง แสงแดดหลังฝน บนภูเขามะกอกเทศ ณ จุดที่มองข้ามหมู่บ้านเคดรอนลงไปยัง บริเวณพระวิหารของกรุงเยรูซาเล็มได้  มีวัดน้อยเล็กๆ หลังหนึ่งชื่อว่า Dominus Flevit เพื่อระลึกถึงน้ำพระเนตรที่พระเยซูเจ้าทรงหลั่งให้แก่ กรุงเยรูซาเล็ม วัดน้อยหลังนี้ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายหยดน้ำตา ที่มุม ทั้งสี่ของหลังคามีโถหินตั้งอยู่มุมละหนึ่งใบ เพื่อระลึกถึงธรรมเนียมที่ สตรีคนหนึ่งจะใช้โถเก็บรักษาน้ำตาของนางไว้เป็นเครื่องหมายอันมีค่า สูงสุดของความรักที่นางมีต่อผู้เป็นที่รัก หญิงคนบาปที่เข้ามาในบ้านของซีโมน ถือขวดหินขาวบรรจุน้ำมัน หอมมาด้วย แต่ของขวัญที่มีค่ามากกว่าที่นางถวายแด่พระเยซูเจ้าก็คือ น้ำตาของนาง นางหลั่งน้ำตาลงบนพระบาทของพระองค์ พระเยซูเจ้า ทรงรับรู้ว่าน้ำตาของนางเป็นวิธีแสดงความศรัทธาและความรักของนาง ได้อย่างยิ่งใหญ่ที่สุด หญิงคนนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นทุกข์ถึงบาป ซึ่งนำไปสู่การเยียวยา


214

บทเทศน์ปี C

ความรู้สึกผิดกับบาปของเราทำให้เราเสียใจ แต่ความเสียใจเป็น ได้ทั้งกระบวนการเยียวยา และอารมณ์ที่ทำลายล้าง นักบุญเปาโลชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างสองวิธีที่เราแสดง ปฏิกิริยาต่อความเจ็บปวดจากคำตักเตือน “ความทุกข์ใจตามพระประสงค์ของพระเจ้าทำให้กลับใจ ทำให้รอดพ้น จึงไม่มีผู้ใดเสียใจ ส่วน ความทุกข์ใจของโลกนำไปสู่ความตาย” (2 คร 7:10) ความเสี ย ใจที่ ท ำลายล้ า งอาจเรี ย กได้ ว่ า ความระทมใจ (remorse) ซึ่งมาจากภาษาละติน ที่แปลว่าการกัดบางสิ่งบางอย่าง ความ ระทมใจกัดกินชีวิตของวิญญาณ บั่นทอนความหวัง ทำลายความมั่นใจ และทำให้คำภาวนาขาดชีวิตชีวา เพราะทำให้เรารู้สึกว่าเป็นคนหน้าไหว้ หลังหลอกเบื้องหน้าพระเจ้า เมื่อเรากัดกร่อนตัวเรามากขึ้น ความรู้สึก ผิดจะยิ่งเพิ่มขึ้น และความกลัวว่าจะผิดพลั้งอีกครั้งหนึ่งทำให้เราไม่มี ความหวังที่จะปรับปรุงตนเอง เหมือนกับนักกีฬาที่เดินเข้าสู่สนามโดย คิดว่าตนเองต้องแพ้ทั้งที่ยังไม่เริ่มแข่งขัน ยูดาสเป็นตัวอย่างของความ ระทมใจอย่างรุนแรง ซึ่งกัดกินตัวตนของเขาจนกลายเป็นการทำลาย ตนเอง ความเสียใจที่นำไปสู่การเยียวยา และการกลับใจ ไม่ทำให้เรา ค้นหาเหตุผลมาแก้ตัว แต่เข้าพึ่งพระเมตตาของพระเจ้า ความเสียใจ เช่นนี้จะได้พบกับสายพระเนตรอันเปี่ยมด้วยความรักของพระคริสตเจ้า เหมือนกับที่เปโตรได้พบหลังจากที่เขาปฏิเสธพระองค์  ความ เสียใจเช่นนี้เรียนรู้ที่จะปลื้มปิติในพระเมตตาอันไร้ขอบเขตของพระเจ้า เหมือนกับที่เปาโลเคยรู้จัก “ที่ใดบาปทวีขึ้น ที่นั่นพระหรรษทานก็ยิ่งทวี ขึ้นมากกว่า” (รม 5:20) การกลับใจคือความเสียใจต่อพระเจ้า เพราะเรากำลังใช้แม้แต่ บาปของเราในทางที่สร้างสรรค์  ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของการเล่นยูโด คือ ใช้แรงจากการโจมตีของคู่ต่อสู้เพื่อล้มเขาเอง เมื่อนำวิธีนี้มาประยุกต์


บทเทศน์ปี C

215

ใช้กับชีวิตจิต หมายความว่าเราต้องใช้ความเป็นคนบาปของเราเพื่อ ส่ ง เสริ มให้ชีวิตจิตของเราเจริญเติ บ โต ลองคิ ด ดู ซิ ว่ า ปี ศ าจจะหั ว เสี ย เพียงใดที่เห็นชัยชนะของมันถูกแย่งชิงไปจากมือของมัน การรับรู้ถึงบาป และความอ่อนแอของเรา เป็นประสบการณ์ ที่สามารถทำลายความจองหองของเราได้มาก และกลายเป็นรากฐาน อันแน่นหนาของความสุภาพถ่อมตน ถ้าเราไม่พบกับความอัปยศบ้าง พวกเราส่วนใหญ่คงจองหองจนสุดจะทนได้   ความเจ็บปวดจากความ ล้มเหลวของเราทำให้เราไม่ค่อยอยากจะขว้างก้อนหินใส่ผู้อื่น ดอกไม้ แห่งความสงสารเจริญงอกงามได้ดีที่สุดจากกองปุ๋ยแห่งโอกาสที่เสียไป จดหมายถึงชาวฮีบรูบอกว่า สมณะทุกคนที่เป็นผู้แทนของมนุษย์ในการ ติดต่อกับพระเจ้าจะต้องมีความเห็นใจ “เขาเห็นใจผู้ที่ไม่รู้ และหลงผิด เพราะเขาก็ถูกความอ่อนแอครอบงำอยู่เช่นกัน” (5:2) ความอ่อนแอ ของเราอาจทำให้เราภาวนามากขึ้น ในขณะที่ความระทมใจทำให้คำ ภาวนาขาดชีวิต และทำให้เราซ่อนตัวจากพระเจ้า การกลับใจจะทำให้เรา พึ่งพาอาศัยพระเจ้ามากขึ้น และชักนำให้เราภาวนามากขึ้น เหนืออื่นใด การยอมรับว่าเราเป็นคนบาปจะทำให้เรารู้จักคุณค่า ของความรักเมตตาของพระเจ้ามากขึ้น หญิงคนบาปนี้รักมากเพราะนาง ได้รับการอภัยมาก บุตรล้างผลาญเริ่มรู้ว่าบิดารักเขามากมายเพียงไรก็ เมื่อเขาต้องลิ้มรสความอับอายจากประสบการณ์ของเขา ผู้มีความเชื่อที่ มีวุฒิภาวะจะใช้ศีลอภัยบาปเป็นโอกาสแสดงความเสียใจ และสรรเสริญ ความเมตตาของพระเจ้า เหมือนกับแสงแดดหลังฝน เมื่อหยดน้ำตาจาก ฟ้าเผยให้เราเห็นสายรุ้งแห่งการให้อภัยของพระเจ้า ที่ส่องสว่างจนทำให้ ตาพร่า พระเยซูเจ้าทรงเห็นได้ว่าหญิงที่เข้ามาในงานเลี้ยงนี้มีความรัก มาก เพราะนางได้รับการอภัยมาก ... นางได้รับการอภัยมากจนนาง หลั่งน้ำตาลงชโลมพระบาท เป็นพระบาทที่งดงาม เพราะนำข่าวดีแห่ง สันติสุขมาให้


216

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 2 ชาวฟาริสี คนหนึ่งทูลเชิญพระเยซูเจ้าไปเสวยพระกระยาหารกับเขา พระองค์เสด็จเข้าไปในบ้านของชาวฟาริสีนั้น และประทับที่โต๊ะ ลูกา เล่าว่ามีชาวฟาริสีเชิญพระเยซูเจ้าไปเสวยพระกระยาหารถึง สามครั้ง (ลก 7:36, 11:37, 14:1) ส่วนมัทธิว และมาระโก เสนอภาพ ว่าชาวฟาริสีเป็นศัตรูของพระเยซูเจ้า คำบอกเล่าของลูกาน่าจะตรงกับ ความจริงทางประวัติศาสตร์มากกว่า พระเยซูเจ้าไม่ทรงตั้งข้อรังเกียจใคร และเมื่อใดที่พระองค์ทรงขัดแย้งกับบางคน ก็มิใช่เพราะทรงดูถูกเขา แต่ เพราะเขาไม่ยอมรับทัศนคติของพระองค์ต่อคนบาป พระเจ้าข้า โปรดทรงช่วยเราให้ประพฤติตนเหมือนพระองค์ โดย ไม่ยอมเป็นนักโทษของคนตระกูลใด หรือแนวความคิดของสำนักใด แต่ ให้ใจของเราเปิดกว้างเสมอ แม้แต่กับบุคคลที่คิดไม่เหมือนเรา หรือมัก ต่อต้านเรา... เป็นความจริงที่การกระทำ และพระวาจาของพระเยซูเจ้า ทำให้ ผู้อื่นไม่พอใจ พระองค์ไม่ได้เป็นอย่างที่คนทั่วไปคาดหมายให้พระองค์ เป็น ... แม้แต่ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง ในข้อความก่อนหน้านี้ (ลก 7:18-35) ก็ยงั สงสัยว่า “ท่านคือผูท้ จี่ ะต้องมา หรือเราต้องรอคอยผูอ้ นื่ อีก”... ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง เป็นประกาศกของพระเจ้า  เขาอาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ห่างไกลตัวเมือง เขาไม่กินอาหารหรือดื่มเหล้า เขาเป็นผู้บำเพ็ญพรตแท้ (ลก 7:33) ... แต่ชายที่ชื่อเยซูนี้อยู่ร่วมกับชาวโลกทั่วไป ตอบรับคำเชิญ ไปกินอาหาร จนถึงกับถูกเรียกว่า “นักกินและนักดื่ม” (ลก 7:34) ... ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง ประกาศว่าพระเจ้าจะทรงพิพากษาคนบาป – แต่ พระเยซูเจ้าทรงเป็น “เพื่อนกับคนเก็บภาษี และคนบาป” (ลก 7:34)


บทเทศน์ปี C

217

ข้าพเจ้าเพ่งพินิจพระเยซูเจ้าระหว่างงานเลี้ยง ขณะประทับที่โต๊ะ อาหาร เสวย และทรงดื่มเหมือนคนอื่นๆ พระเจ้าไม่ทรงต่อต้านชีวิตมนุษย์ พระองค์ประทานชีวิตแก่เรา ... ศิษย์ของพระเยซูเจ้าจึงไม่ควรเป็นบุคคลที่ทำลายความสุขของผู้อื่น ... พระเยซู เ จ้ า ทรงตอบรั บ คำเชิ ญ  คำที่ ใ ช้ ใ นพระวรสารภาษากรี ก  คื อ “พระองค์ทรงเอนพระกายที่โต๊ะอาหาร” ดังนั้นอาหารมื้อนี้จึงเป็นงาน เลี้ยง ซึ่งตามปกติแขกจะเอนกายบนเก้าอี้ยาวตามธรรมเนียม ... พระเยซูเจ้าทรงเป็นคนจน แต่ทรงดำเนินชีวิตท่ามกลางคนรวยโดยไม่ทรง เหยียดหยามผู้ใด... ในเมืองนั้นมีหญิงคนหนึ่งเป็นคนบาป เมื่อนางรู้ว่าพระเยซูเจ้ากำลัง ประทับร่วมโต๊ะอยู่ในบ้านของชาวฟาริสีผู้นั้น จึงถือขวดหินขาวบรรจุ น้ำมันหอมเข้ามาด้วย นางมาอยู่ด้านหลังของพระองค์ใกล้พระบาท ร้องไห้จนน้ำตาหยดลงเปียกพระบาท นางใช้ผมเช็ดพระบาท จูบ พระบาท และใช้น้ำมันหอมชโลมพระบาทนั้น ในดิ น แดนตะวั น ออกกลาง เมื่ อ บ้ า นใดจั ด งานเลี้ ย ง ทุ ก คน สามารถเข้าไปในบ้านหลังนั้นได้  คนในถิ่นที่อากาศอบอุ่นมักใช้น้ำมัน หอมกันอย่างฟุม่ เฟือย การมอบน้ำหอมถือว่าเป็นการแสดงความเอือ้ เฟือ้ ของเจ้าภาพตามปกติ หญิงคนนี้เป็นคนที่ชาวเมืองรู้จักดี  ดูเหมือนว่าทุกคนในเมือง ล่วงรู้พฤติกรรมของนางว่าเป็น “คนบาป” ซึ่งอาจหมายความว่าเป็น โสเภณี นางเคยทำบาปไว้มากมาย แต่บัดนี้ นางรู้สึกเสียใจ และนาง ร้องไห้ต่อหน้าคนทั้งหลาย นางชิงชังตนเอง ... พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่   2 ตรั ส ตอบเยาวชน เมื่ อ พวกเขาถามเกี่ ย วกั บ กามารมณ์ ว่ า “ความหย่อนยานทางศีลธรรมไม่ทำให้ใครมีความสุขได้”... หญิ ง คนบาปนี้ ห มอบอยู่ กั บ พื้ น ใกล้ พ ระบาทของพระเยซู เ จ้ า


218

บทเทศน์ปี C

นางร้องไห้สะอึกสะอื้น นางจูบพระบาทของพระเยซูเจ้า และชโลมน้ำมัน หอมบนพระบาทจนกลิน่ หอมฟุง้ กระจายไปทัว่ ห้อง ... ผูน้ พิ นธ์พระวรสาร เล่าเหตุการณ์ที่มองได้หลายแง่เช่นนี้ทำไม ... เพราะในโอกาสนี้ พระเยซูเจ้าทรงมีคำสั่งสอนสำคัญจะประทานให้... ข้าพเจ้าคิดถึงบาปของตนเอง ... และคิดถึงบาปของคนทั้งโลก ที่กำลังเพิ่มทวีเหมือนน้ำขึ้น ... พระเจ้าข้า พระองค์คงเคยชินกับการเห็น บาปของมนุษย์มาตั้งแต่ครั้งที่พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีน้ำใจอิสระ ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์บนโลกนี้... ชาวฟาริสีที่ทูลเชิญพระองค์มา เห็นดังนี้ก็คิดในใจว่า “ถ้าผู้นี้เป็น ประกาศก เขาคงจะรูว้ า่ หญิงทีก่ ำลังแตะต้องเขาอยูน่ เี้ ป็นใคร และเป็น คนประเภทไหน นางเป็นคนบาป” ธรรมบัญญัติของอิสราเอลกำหนดว่าบุคคลหนึ่งจะทำให้ตนเอง มีมลทิน ถ้าเขาสัมผัสหญิงคนบาป ศพ หรือหมู ฟาริสีผู้นี้ตัดสินทันทีว่า พระเยซูเจ้าไม่ใช่คนของพระเจ้า พระองค์ไม่ใช่ประกาศก เพราะพระองค์ ทรงยอมให้หญิงคนหนึ่งสยายผมออกเช็ดพระบาท การปล่อยผมของ สตรีเป็นการกระทำที่น่าละอายและไม่สมควร ในโลกของชาวยิว และโลก มุสลิมแม้ในปัจจุบัน เมื่อสตรีต้องซ่อนผมไว้ใต้ผ้าคลุม... พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขาว่า “ซีโมน เรามีเรือ่ งจะพูดกับท่าน” เขาตอบ ว่า “เชิญพูดมาเถิด อาจารย์” พระองค์จึงตรัสว่า “เจ้าหนี้คนหนึ่งมี ลูกหนี้อยู่สองคน คนหนึ่งเป็นหนี้อยู่ห้าร้อยเหรียญ อีกคนหนึ่งเป็นหนี้ อยู่ห้าสิบเหรียญ ทั้งสองคนไม่มีอะไรจะใช้หนี้ เจ้าหนี้จึงยกหนี้ให้ ทั้งหมด ในสองคนนี้ คนไหนจะรักเจ้าหนี้มากกว่ากัน” ซีโมน ตอบว่า “ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นคนที่ได้รับการยกหนี้ให้มากกว่า” พระเยซูเจ้าจึง ตรัสกับเขาว่า “ท่านตัดสินถูกแล้ว”


บทเทศน์ปี C

219

เจ้าหนี้มนุษย์มักไม่ทำเช่นนี้   ... แต่พระเจ้าทรงเป็นเช่นนี้   ... พระเยซูเจ้าทรงเป็นประกาศกอย่างแท้จริง เพราะพระองค์แสดงให้มนุษย์ เห็นความรักของพระบิดา ความรักของพระเจ้า... เมื่อใดหนอ เราจึงจะเข้าใจเสียทีว่าพระเจ้าไม่ใช่ผู้ที่พิพากษา แต่ ทรงเป็นผู้ที่ยกหนี้ของเรา ทรงเป็นผู้ให้อภัยบาป ... และพระองค์ทรง เรียกร้องให้เรามีทัศนคติเช่นนี้ด้วย “โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น”... พระองค์ทรงหันพระพักตร์มาทางหญิงผู้นั้น ตรัสกับซีโมน ว่า “ท่าน เห็นหญิงผู้นี้ใช่ไหม เราเข้ามาในบ้านของท่าน ท่านไม่ได้เอาน้ำมาล้าง เท้าให้เรา แต่นางได้หลั่งน้ำตารดเท้าของเรา และใช้ผมเช็ดให้ ท่าน ไม่ได้จูบคำนับเรา แต่นางจูบเท้าของเราตลอดเวลาตั้งแต่เราเข้ามา ท่านไม่ได้ใช้น้ำมันเจิมศีรษะให้เรา แต่นางใช้น้ำมันหอมชโลมเท้า ของเรา” พระเยซู เ จ้ า ตรั ส ถึ ง หญิ ง คนนี้ ด้ ว ยความเคารพ พระองค์ ท รง ยกย่องคุณค่าของนาง และบรรยายการกระทำดีๆ ของนาง นางเคยผ่าน ความทุกข์ทรมานมามากแล้ว... พระเจ้าข้า โปรดทรงช่วยข้าพเจ้าให้มองดูคนบาป และมองดู ตนเองด้วยสายพระเนตรของพระองค์ ซึ่งเต็มไปด้วยความเมตตากรุณา เถิด ... โปรดประทานอำนาจให้แก่คริสตชนในการฟื้นฟูจิตใจคนบาปให้ เขาเห็นคุณค่าของตนเองอีกครั้งหนึ่ง ... ขอให้คำพูด และทัศนคติของ พระศาสนจั ก รของพระองค์ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า พระองค์ ท รงคุ ณ ความดี อย่างไร ... พระเจ้าข้า ขอให้พระสงฆ์ทุกคนของพระองค์เต็มเปี่ยมด้วย คุณความดีของพระองค์  ... ขอให้เขาเหมือนพระองค์  ขอให้เขาเป็น ผู้รับใช้แท้ของศีลอภัยบาปที่เสนอการให้อภัยของพระองค์แก่คนบาป ทุกคน...


220

บทเทศน์ปี C

เพราะเหตุนี้ เราบอกท่านว่า บาปมากมายของนางได้รับการอภัยแล้ว เพราะนางมีความรักมาก ผูท้ ไ่ี ด้รบั การอภัยน้อย ก็ยอ่ มมีความรักน้อย อุปมาเรื่องลูกหนี้สองคน สอนบทเรียนที่ชัดเจน หญิงคนนี้ได้รับ การอภัยมาก เพราะนางแสดงให้เห็นว่านางรักมาก อันที่จริง พระคัมภีร์ย้ำเสมอว่ามนุษย์ที่ทำบาปไม่สมควรได้รับ การอภั ย จากพระเจ้ า  แต่ ด้ ว ยความรั ก ต่ อ มนุ ษ ย์ ทุ ก คน พระเจ้ า จึ ง ประทานอภัยให้แก่เราโดยไม่ต้องการสิ่งตอบแทน... - ความรักเป็นสาเหตุของการให้อภัย เพราะ “บาปของนางได้รับ การอภัยแล้ว เพราะนางมีความรักมาก”... - ความรักอาจเป็นผลของการได้รับอภัยด้วยก็ได้ เพราะ “ผู้ได้รับ การอภัยมากย่อมรักมาก” ความรักนำไปสู่การให้อภัย – นี่คือความจริง... การให้อภัยนำไปสู่ความรัก – นี่คือความจริงยิ่งกว่า... ข้อความตอนนี้ซึ่งเรื่องความเมตตา เป็นหนึ่งในไข่มุกเม็ดงาม ของพระวรสาร ฟาริสีผู้นี้คลางแคลงใจที่หญิงคนนี้แตะต้องพระเยซูเจ้า และไม่ เ ชื่ อ ว่ า พระองค์ มี อ ำนาจของประกาศกที่ จ ะล่ ว งรู้ ค วามลั บ ใน มโนธรรมของผู้อื่น แต่พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เรารู้แน่นอนว่านางเป็นใคร และเพราะเรารู้เช่นนี้  เราจึงยอมให้นางสัมผัสตัวเรา เพราะเรามาเพื่อ เรียกคนบาปให้กลับใจ และไม่ได้มาเรียกคนชอบธรรม” (ลก 5:3132)... พระเจ้าข้า ขอบพระคุณพระองค์สำหรับการเผยแสดงนี้ ... เพราะ เหตุนี้กระมัง พระองค์จึงทรงยอมให้เรามีเสรีภาพที่จะทำบาปได้ ... เพื่อ ว่าวันหนึ่งบาปของเราจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นความรักอันยิ่งใหญ่ เมื่อ เราเข้าใจและยินดีที่ได้รับการอภัยจากพระองค์... นี่เป็นธรรมล้ำลึกข้อหนึ่ง บาปของข้าพเจ้าสามารถกลายเป็น โอกาสให้ข้าพเจ้ารักพระเจ้ามากขึ้น เมื่อใดที่ข้าพเจ้ารับรู้ถึงความเมตตา


บทเทศน์ปี C

221

ของพระเจ้า เมื่อข้าพเจ้าหยั่งรู้ว่าพระเจ้าทรงรักข้าพเจ้ามากเพียงใด ... การให้อภัยคือการแสดงความรักทีย่ ง่ิ ใหญ่ทส่ี ดุ จึงไม่ควรหรือทีจ่ ะยกย่อง ให้เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์  ... พระศาสนจักรยุคปัจจุบันเรียกศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ อย่างเหมาะสมแล้วว่า “ศีลแห่งการคืนดี” ที่จะเรียกว่าศีลแห่งการสำนึก ผิด... ข้าพเจ้าชอบเฉลิมฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้หรือเปล่า... นั ก บุ ญ ออกุ ส ติ น เคยเขี ย นไว้ ว่ า  “การสารภาพบาปจะเป็ น คำ สารภาพบาปอย่างคริสตชน เพียงเมื่อสลักไว้ภายในคำสารภาพด้วยการ สรรเสริญ” การสารภาพบาปของเรา คือ “การสารภาพด้วยความเชื่อ” ใน ความรักที่พระเจ้าทรงมีต่อเรา... แล้วพระองค์ตรัสกับนางว่า “บาปของเจ้าได้รับการอภัยแล้ว” บรรดา ผูร้ ว่ มโต๊ะจึงเริม่ พูดกันว่า “คนนีเ้ ป็นใครจึงทำได้แม้แต่การอภัยบาป” พระองค์ตรัสกับหญิงนั้นว่า “ความเชื่อของเจ้าช่วยเจ้าให้รอดพ้นแล้ว จงไปเป็นสุขเถิด” พระเยซูเจ้าทรงแสดงท่าทีเหมือนกับผูท้ ร่ี ตู้ วั ดีวา่ ได้รบั มอบอำนาจ อภัยบาปจากพระเจ้า ... กิริยาและพระวาจาเช่นนี้เองที่ทำให้แม้แต่ศิษย์ ของพระองค์ก็ยังสงสัยว่า “คนนี้เป็นใครกัน” ... คริสตชนกลุ่มแรกกล้า ตอบคำถามนี้แล้วว่า “พระเยซู คริสตเจ้าทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า”... หลังจากนัน้ พระเยซูเจ้าเสด็จไปตามเมืองและหมูบ่ า้ นต่างๆ ทรงเทศน์ สอน และประกาศข่าวดีถึงพระอาณาจักรของพระเจ้า อัครสาวก สิบสองคนอยู่กับพระองค์ รวมทั้งสตรีบางคนที่พระองค์ทรงรักษาให้ พ้ น จากปี ศ าจร้ า ยและหายจากโรคภั ย  เช่ น มารี ย์   ที่ เ รี ย กว่ า ชาว มักดาลา ซึ่งปีศาจเจ็ดตนได้ออกไปจากนาง โยอันนา ภรรยาของคูซา ข้าราชบริพารของกษัตริย์เฮโรด หลังจากนั้น พระเยซูเจ้าเสด็จไป


222

บทเทศน์ปี C

ตามเมือง และหมู่บ้านต่างๆ ทรงเทศน์สอน และประกาศข่าวดีถึง พระอาณาจั ก รของพระเจ้ า  อั ค รสาวกสิ บ สองคนอยู่ กั บ พระองค์ รวมทั้งสตรีบางคนที่พระองค์ทรงรักษาให้พ้นจากปีศาจร้ายและหาย จากโรคภัย นางสุสันนา และคนอื่นอีกหลายคน หญิงเหล่านี้สละทรัพย์ ของตนมาช่วยเหลือพระองค์ และบรรดาอัครสาวก ลูกามักให้ความสำคัญแก่สตรีเสมอ ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวทาง ปฏิบัติในสังคมและศาสนาในยุคสมัยของเขา รับบี  สมัยนั้นไม่ยอมรับ สตรีเป็นศิษย์ พระเยซูเจ้าทรงเริ่มต้นการปฏิวัติที่แท้จริง – และการปฏิวัตินี้ยัง ไม่เสร็จสมบูรณ์...


บทเทศน์ปี C

223

วั นอาทิตย์ที่สิบสอง เทศกาลธรรมดา ลูกา 9:18-24 วันหนึ่ง พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาอยู่เพียงพระองค์ เดียว บรรดาศิษย์เข้ามาเฝ้า พระองค์จึงตรัสถามเขาว่า “ประชาชนว่า เราเป็นใคร” เขาทูลตอบว่า “บ้างว่าเป็นยอห์นผู้ทำพิธีล้าง บ้างว่า เป็นเอลียาห์ บ้างว่าเป็นประกาศกในอดีตคนหนึ่งซึ่งกลับคืนชีพ” พระเยซูเจ้าตรัสถามเขาว่า “ท่านล่ะว่าเราเป็นใคร” เปโตรทูลตอบว่า “พระองค์คือพระคริสต์ของพระเจ้า” พระองค์จึงทรงกำชับบรรดา ศิษย์มิให้พูดเรื่องนี้แก่ผู้ใด พระองค์ตรัสว่า “บุตรแห่งมนุษย์จะต้องรับทรมานเป็นอันมาก จะถูกบรรดาผู้อาวุโส มหาสมณะและธรรมาจารย์ปฏิเสธไม่ยอมรับ และจะถูกประหารชีวิต แต่จะกลับคืนชีพในวันที่สาม” หลังจากนั้น พระองค์ตรัสกับทุกคนว่า “ถ้าผู้ใดอยากติดตาม เรา ก็จงเลิกคิดถึงตนเอง จงแบกไม้กางเขนของตนทุกวันและติดตาม เรา ผู้ใดใคร่รักษาชีวิต ผู้นั้นจะต้องสูญเสียชีวิต แต่ถ้าผู้ใดเสียชีวิต เพราะเรา ผู้นั้นจะรักษาชีวิตได้”


224

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง อยู่เพียงลำพัง ... อยู่กับผู้อื่น ... และพระเจ้า “พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาอยู่เพียงพระองค์เดียว บรรดา ศิษย์เข้ามาเฝ้า” ลูกาเล่าเรื่องอย่างรวบรัดด้วยประโยคนี้ว่าพระเยซูเจ้า กำลังทำอะไรและทำอย่างไร พระองค์ประทับอยู่ตามลำพังกับความคิด ความรู้สึก และเสียงกระตุ้นในใจของพระองค์ แต่พระองค์ประทับอยู่กับ ศิษย์ของพระองค์ด้วย และอาศัยศิษย์เหล่านี้ พระองค์ทรงรับรู้ความรู้สึก นึกคิดของคนอืน่ ๆ ทีพ่ วกเขาได้พบ และเมือ่ พระองค์ทรงอธิษฐานภาวนา พระองค์จึงประทับอยู่กับพระบิดา ข้อความนี้เหมาะสมจะนำไปไตร่ตรอง ว่า สำหรับพระเยซูเจ้า เวลาอธิษฐานภาวนาหมายถึงเวลาที่พระองค์ ติดต่อกับความคิด และเสียงกระตุน้ ภายใน และติดต่อกับคนรอบตัวด้วย พวกเราหลายคนได้รับการอบรมมาให้คิดว่าความคิด และความ รู้ สึ ก ภายในเป็ น อุ ป สรรคของการสวดภาวนา จึ ง ไม่ น่ า แปลกใจที่ ค น ส่วนใหญ่ยอมรับว่า  สิ่งต่างๆ ที่รบกวนสมาธิกลายเป็นปัญหาในการ ภาวนา ดูเหมือนเรามีแนวโน้มที่จะคิดว่าการภาวนาเป็นประสบการณ์ บางอย่างที่บริสุทธิ์ และตัดขาดจากโลก จากจินตนาการ ความรู้สึก และ เสียงกระตุ้นอันเลือนรางในใจ และคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแสวงหา พระเจ้าในที่ใดที่หนึ่งนอกโลกของเรานี้   แต่การที่พระเจ้าเสด็จมารับ ธรรมชาติมนุษย์เหมือนเราบอกเราว่า เราสามารถพบกับพระองค์ได้ใน สถานการณ์ที่ไม่สมบูรณ์พร้อมในโลกของเรา สิ่งรบกวนสมาธิไม่จำเป็น ต้องเป็นอุปสรรคในการภาวนา เพราะอาจเป็นสิ่งที่บอกเราว่าพระเจ้า


บทเทศน์ปี C

225

ทรงต้องการนำเราไปที่ใด ผู้ขับร้องบทสดุดีพบว่าประสบการณ์ทุกชนิด ของมนุษย์สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการภาวนาได้ ถ้าการภาวนาของเรา ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเสียงกระตุ้น และความรู้สึกของเราเลย ก็เป็นไปได้ ว่านั่นไม่ใช่การภาวนาที่ออกมาจากชีวิตของเรา สถานที่แรกที่เราพบกับ พระเจ้า และรับฟังพระองค์ ก็คอื ในประสบการณ์ในชีวติ แต่ละวันของเรา จินตนาการจะพาเราโบยบินอย่างรวดเร็วไปจากสถานที่ที่เรา ต้ อ งการภาวนา แต่ จ งเคารพจิ น ตนาการของเรา เพราะมั น อาจเป็ น รูปแบบเดียวที่เสียงกระตุ้นลึกๆ ในใจของเราสามารถแสดงตัวออกมาได้ เราคงจำเรื่องต่างๆ ในพระคัมภีร์ เมื่อพระเจ้าทรงใช้ความฝันเพื่อสื่อสาร กับมนุษย์ นักบุญเทเรซาเคยบอกว่าจินตนาการเป็นคนโง่ประจำบ้าน แต่ ตลกหลวงก็เป็นคนเดียวไม่ใช่หรือที่ได้รับอนุญาตให้ละเมิดกฎ และ พิธีรีตองในราชสำนักได้ เมื่อสิ้นสุดวัน ท่านสามารถนั่งอยู่ตามลำพังกับความคิดของท่าน อยู่เบื้องหน้าพระเจ้า วิงวอนขอความสว่างจากพระองค์  และไตร่ตรอง วันที่เพิ่งจะสิ้นสุดลงไปนั้น จากนั้น ถ้ามีความคิดและความรู้สึกบางอย่าง ผุดขึ้นมา จงรับฟังพระเจ้าผู้ประทับอยู่กับท่านมาตลอดทั้งวัน แม้ว่าท่าน ไม่ได้ให้ความสนใจกับพระองค์เลยก็ตาม ลองทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันนั้น และมองเห็นรูปแบบและทิศทางของมัน ไม่ว่าท่านเริ่ม มีความรู้สึกอย่างไร จงอยู่กับความรู้สึกนั้นให้นานพอจะให้เวลาเสียง กระตุ้นลึกๆ ในใจของท่านเผยตัวออกมา เสียงกระตุ้นนั้นเกี่ยวกับความ เจ็บปวด ... หรือความไม่พอใจอันรางเลือน ... ความโกรธ ... ความ เจ็บปวดที่ท่านไม่เคยให้อภัยหรือเปล่า หรือว่าเป็นความกลัวเหตุการณ์ ในอนาคต ... หรือความวิตกกังวลโดยไม่รู้สาเหตุ หรือว่าเป็นความรู้สึก ดีๆ ที่เกิดขึ้นในวันนั้น ... เป็นความสุข ... ความยินดีที่รอคอยจะแสดง ตัวออกมา ... หรือว่าเป็นความรู้สึกเหนื่อย บางทีอาจเป็นความเหนื่อยล้า ที่ไม่ว่าจะนอนหลับนานเท่าใดก็ไม่ช่วยให้หมดไปได้ ... ในการอธิษฐาน


226

บทเทศน์ปี C

ภาวนาของพระเยซู เ จ้ า  ความเจ็ บ ปวดที่ เ กิ ด จากการตรึ ง กางเขนใน อนาคตเริ่ ม ปรากฏขึ้ น ในความรู้ สึ ก ของพระองค์   แต่ ก็ มี ค วามหวั ง ที่ พระองค์ จ ะกลั บ คื น ชี พ ด้ ว ย เราเห็ น ด้ ว ยว่ า การอธิ ษ ฐานภาวนาของ พระองค์รวมไว้ด้วยปฏิกิริยาที่คนอื่นๆ แสดงออกต่อตัวตนของพระองค์ และพันธกิจของพระองค์อีกด้วย ขณะที่ท่านไตร่ตรองเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันนั้น และไม่ว่า จะมีความประทับใจ ความรู้สึก อารมณ์ หรือความคิดใดๆ ผุดขึ้นมา ให้ นำทุกสิ่งเหล่านี้มาตั้งไว้เบื้องหน้าพระตรีเอกภาพ และถวายเกียรติแด่ พระบิ ด าผ่ า นประสบการณ์ ทั้ ง หมดนี้   เพราะนี่ คื อ ส่ ว นหนึ่ ง ของการ เดินทางของท่านในวันนี้เพื่อกลับไปหาพระบิดาของท่าน พระบุตรผู้ เสด็จมารับธรรมชาติมนุษย์ทรงได้สัมผัสกับประสบการณ์ทั้งปวงของ เรามนุษย์  พระองค์ทรงเคยผ่านความเจ็บปวดและความยินดี   ความ วิตกกังวลและความมั่นใจ ความเป็นอริและความรัก ความโกรธและ สันติสุข พระองค์ทรงเป็นขนมปังที่ช่วยเหลือค้ำจุนเราในการเดินทาง ของเรา พระเจ้าประทับอยู่ในตัวเราด้วยการประทานพระจิตเจ้าแก่เรา และพระองค์ตอ้ งมีสว่ นเกีย่ วข้องอย่างแน่นอนกับชีวติ ภายใน ซึง่ แสดงตัว ออกมาผ่านการไตร่ตรองของเรา “ความสุขสบายหอมหวานสำหรับท่าน ที่ทำงานหนัก ความเย็นย่อมน่าอภิรมย์ท่ามกลางความร้อน เหมือนกับ ความบรรเทาท่ามกลางความเศร้า” ระหว่างอธิษฐานภาวนาด้วยการไตร่ตรองประสบการณ์ในวันนี้ ข้าพเจ้าอยู่ตามลำพังกับรสชาติที่หลงเหลืออยู่จากการพบปะกับผู้อื่นใน วันนี้ และอยู่ร่วมกับพระบิดา พระบุตร และพระจิตเจ้า

ข้อรำพึงที่สอง เปโตร ระลึกถึงเหตุการณ์

แคว้นกาลิลีเป็นถิ่นของเรา แต่เหลือเวลาอีกไม่นานที่เราจะอยู่กับ


บทเทศน์ปี C

227

พระเยซูเจ้าที่นั่น แม้ว่าเราไม่รู้ความจริงข้อนี้ในเวลานั้น บรรยากาศรอบ ตัวเรามีแต่ความตื่นเต้นซึ่งข้าพเจ้าพอใจมาก ประชาชนมีความคิดเห็น แตกต่างกันไปเกี่ยวกับตัวพระเยซูเจ้า แต่พวกเขาเห็นพ้องกันในประเด็น หนึ่ง คือ พระอานุภาพของพระเจ้ากำลังมาเยือนโลกนี้ผ่านทางพระองค์ มากเท่ากับ – ไม่ซิ – มากยิ่งกว่า – ในสมัยของเอลียาห์ หรือประกาศก ผู้ยิ่งใหญ่คนใดในอดีต พระองค์ทรงต้องการให้ศิษย์กลุ่มเล็กๆ ของเราอยู่อย่างสงบ เงียบสักสองสามวัน แต่ไม่มีทางหนีให้พ้นฝูงชนได้ พวกเขาเดินทางลงมา จากเมืองต่างๆ บนเนินเขาด้วยความอยากรู้อยากเห็น และตื่นเต้น โดย ไม่วางแผนล่วงหน้าเรื่องอาหาร หรือที่พัก เราคิดว่าเราได้เห็นทุกสิ่ง ทุกอย่างแล้วจนกระทั่งพระเยซูเจ้าทรงเลี้ยงอาหารทุกคน อย่างน้อย 5,000 คน ด้วยขนมปัง 5 ก้อน และปลา 2 ตัวเท่านั้น ชายคนนี้ไม่รู้จัก จนแต้มบ้างเลยหรือ ข้าพเจ้าจดจำความท้าทายในน้ำเสียงของพระองค์ ได้เสมอ เมือ่ พระองค์บอกเราว่า “ท่านทัง้ หลายจงหาอาหารให้เขากินเถิด” ข้าพเจ้ายืนงงพร้อมด้วยมือเปล่าอยู่ที่นั่น ไม่รู้จะหาคำพูดอะไรมาตอบ และหลังจากพระองค์ทรงทวีจำนวนขนมปังและปลาเหล่านั้นแล้ว ยังมี เศษอาหารเหลืออยู่เต็ม 12 ตะกร้า หนึ่งตะกร้าสำหรับเราแต่ละคน และ หนึ่งตะกร้าสำหรับตระกูลหนึ่งของชาวอิสราเอล ข้าพเจ้าตื่นเต้นไม่น้อย เมื่อยอห์นแย้มให้ข้าพเจ้าเห็นนัยสำคัญของเหตุการณ์นี้ เราแต่ละคนได้ รับมอบตะกร้าหนึ่งใบที่เต็มไปด้วยขนมปังที่เกิดจากอัศจรรย์ครั้งนี้ ในที่สุด ประชาชนก็แยกย้ายกันกลับไป และเราได้อยู่กับพระองค์ ตามลำพัง นั่นเป็นหนึ่งในเวลาอันแปลกประหลาดเมื่อความสงบที่เรา ไม่เข้าใจเข้าครอบงำพระองค์   นั่นคือเวลาที่พระองค์อธิษฐานภาวนา พระองค์ประทับอยู่กับเรา แต่เราก็รู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างในใจของ พระองค์ที่เราเข้าไม่ถึง พระองค์ตั้งใจฟังเมื่อเราบอกว่าประชาชนแสดง ปฏิกิริยาอย่างไรต่อพระองค์ จากนั้น พระองค์ก็ถามเราในทันทีทันใดว่า


228

บทเทศน์ปี C

“ท่านล่ะ ว่าเราเป็นใคร” ข้าพเจ้าตอบออกไปก่อนที่ข้าพเจ้าจะรู้ตัวว่าพูด อะไร “พระองค์คือพระคริสต์ของพระเจ้า” ข้าพเจ้ารู้ว่าข้าพเจ้าไม่มีทาง ให้คำตอบที่ถูกต้องไปกว่านี้ได้   พระองค์ทรงเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่เรา ปรารถนาและรอคอย พระองค์ทรงยอมรั บ คำตอบของข้ า พเจ้ า ด้ ว ย ความพอใจ เหมือนกับครูที่ลูกศิษย์ตอบคำถามได้ถูกต้อง แต่ – มีคำว่า “แต่” เสมอทุกครั้งที่พระองค์ทรงมีท่าทีว่ากำลัง อธิษฐานภาวนาอยู่ – พระองค์เริ่มตรัสถึงเรื่องแปลกๆ เกี่ยวกับการถูก ปฏิเสธไม่ยอมรับ และจะถูกประหารชีวิต แต่จะกลับคืนชีพในวันที่สาม ด้วยความไม่รู้ของข้าพเจ้าในเวลานั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ยอมเชื่อว่าจะเกิด เหตุการณ์ร้ายแรงเช่นนั้นขึ้นได้ บัดนี้ หลังจากเวลาผ่านไปนานหลายปี และได้รู้เห็นเหตุการณ์แล้ว ข้าพเจ้าจึงรู้ว่าพระองค์กำลังบอกอะไรกับเรา ในเวลานั้น ด้วยความตื่นเต้นของเรา เรากำลังหวังว่าพระองค์จะนำยุค สมัยอันรุ่งเรืองของกษัตริย์ดาวิดกลับคืนมา แต่เรามองข้ามสิ่งที่สำคัญ ยิ่งกว่านั้นมาก เราไม่อยากคิดถึงเรื่องผู้รับใช้พระเจ้าที่ประกาศกอิสยาห์ กล่าวถึง ที่เป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ก็ยังถูกปฏิเสธ แต่บาดแผลของผู้รับใช้คนนี้ จะรักษาโรคให้คนจำนวนมาก หรือถ้อยคำของเศคาริยาห์  ที่บอกว่า ประชาชนจะมองดูผู้ที่พวกเขาแทงทั้งน้ำตา และพระองค์พูดต่อไปด้วย ว่าวันเวลาของเราจะไม่มแี ต่ความรุง่ เรือง พระองค์ตรัสถึงเรือ่ งทีท่ ำได้ยาก เช่น ความจำเป็นต้องยอมสละประโยชน์ส่วนตน และถึงกับยอมเสียชีวิต เพื่อพระองค์ ข้าพเจ้าไม่สามารถเข้าใจพระวาจาเหล่านี้ในเวลานั้น แต่ ต่อมา เหตุการณ์ต่างๆ ได้เผยให้เราเข้าใจความหมายของพระองค์ เรา ผู้รวบรวมขนมปังที่พระเยซูเจ้าทรงทำอัศจรรย์ทวีจำนวนได้ถึง 12 ตะกร้า ต้องพร้อมจะยอมให้ชีวิตของเราถูกบิออก และมอบให้ผู้อื่นเหมือนกับ ขนมปัง


บทเทศน์ปี C

229

บทรำพึงที่ 2 วันหนึ่ง พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาอยู่เพียงพระองค์เดียว ... พระเยซู เ จ้ า ทรงเริ่ ม ต้ น ภาวนาทุ ก ครั้ ง ที่ ใ กล้ จ ะเกิ ด เหตุ ก ารณ์ สำคัญ หรือมาถึงจุดเปลี่ยนในชีวิตของพระองค์ เช่น เมื่อทรงรับพิธีล้าง ที่แม่น้ำจอร์แดน (ลก 3:21) ... เมื่อประชาชนแสดงความกระตือรือร้น รับฟังคำเทศน์สอนของพระองค์เป็นครั้งแรก (ลก 5:16) ... ก่อนเลือก อัครสาวกสิบสองคน (ลก 6:12) ... ก่อนจะขอให้บรรดาอัครสาวกประกาศ ยืนยันความเชื่อของเขา (ลก 9:18) ... ก่อนจะทรงสำแดงพระองค์อย่าง รุ่งเรือง (ลก 9:28) ... ก่อนจะทรงสอนให้ศิษย์ของพระองค์สวดบทภาวนา “ข้าแต่พระบิดา” (ลก 11:1) ... เมื่อถึงเวลาที่พระองค์ต้องเลือกที่จะ ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระบิดาในสวนเกทเสมนี (ลก 22:41) ... และก่อนสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน (ลก 23:34, 23:46)... ข้าพเจ้าเพ่งพินิจพระเยซูเจ้าขณะทรงอธิษฐานภาวนา ข้าพเจ้า เพ่งพินิจพระพักตร์ ... พระโอษฐ์ ... พระหทัยของพระองค์ ... ช่วงเวลาอธิษฐานภาวนาเหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงใน ชีวิตของพระเยซูเจ้าอย่างแน่นอน ... ถ้าเราคิดว่าการอธิษฐานภาวนาของ พระองค์เป็นเพียงการแสดงแบบอย่างให้เราเห็น  เราก็กำลังลดความ ลึกล้ำของการภาวนาของพระองค์  ... อันที่จริง ทุกครั้งที่พระองค์ทรง อธิษฐานภาวนาเป็นช่วงเวลาที่ตึงเครียดอย่างยิ่ง ถ้าพูดตามประสามนุษย์ พระองค์ทรงวิงวอนขอพระบิดาจริงๆ ให้ทรงช่วยพระองค์ปฏิบัติพันธกิจ แสนยากของพระองค์ให้สำเร็จ ... พระองค์ไม่ได้กำลังแสดงละครให้ ใครดู...


230

บทเทศน์ปี C

เช่นในเหตุการณ์นี้ เรามาถึงจุดสำคัญในชีวิตของพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงเพิ่งจะแสดงเครื่องหมายว่าพระองค์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ ด้วยการทวีจำนวนขนมปังในถิ่นทุรกันดาร (ลก 9:10-17) ประชาชน อยากจะยกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์  แต่พระองค์ไม่ทรงยอมรับบทบาท ทางโลกนี้ (ยน 6:15) ซึ่งทำให้ศิษย์หลายคนตีจากพระองค์ไป ... ดังนั้น พระเยซูเจ้าจึงทรงต้องการหยั่งเสียงอัครสาวกของพระองค์ในระดับลึก มากขึ้น ว่าพวกเขายังจะติดตามพระองค์ต่อไปหรือไม่ ... ไม่มีทางมั่นใจ ได้เลยว่าพวกเขาจะยังติดตามพระองค์ ... ดังนั้น พระเยซูเจ้าจึงทรงอธิษฐานภาวนาเพื่อพวกเขาเหมือนกับที่พระองค์จะทรงอธิษฐานภาวนาเพื่อ เปโตร “ให้ความเชื่อของเขามั่นคงตลอดไป” (ลก 22:32)... ข้ า พเจ้ า กำลั ง ภาวนาขอให้ ค วามเชื่ อ ของข้ า พเจ้ า เข้ ม แข็ ง หรือเปล่า... ข้าพเจ้าภาวนาทุกครั้งที่ข้าพเจ้าต้องตัดสินใจหรือเปล่า... ข้าพเจ้าถือว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นจุดเริ่มต้นให้ข้าพเจ้า สวดภาวนาหรือเปล่า... ข้ า พเจ้ า ภาวนาเพื่ อ คนทั้ ง หลายที่ ข้ า พเจ้ า ต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบ หรือเปล่า... บัดนี้  ข้าพเจ้าจะหยุดรำพึง และใช้เวลานี้อธิษฐานภาวนาเพื่อ คนเหล่านี้ ... ทันที... บรรดาศิษย์เข้ามาเฝ้า พระองค์จึงตรัสถามเขาว่า “ประชาชนว่าเรา เป็นใคร” เขาทูลตอบว่า “บ้างว่าเป็นยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง บ้างว่าเป็น เอลียาห์ บ้างว่าเป็นประกาศกในอดีตคนหนึ่งซึ่งกลับคืนชีพ” หลังจากอธิษฐานภาวนา พระเยซูเจ้าทรงตั้งคำถาม ... ความเชื่อ ของมิ ต รสหายเป็ น สิ่ ง สำคั ญ สำหรั บ พระองค์   แต่ พ ระองค์ ไ ม่ ท รงตั้ ง คำถามที่สำคัญยิ่งนี้ทันที  พระองค์ทรงรู้วิธีการสั่งสอน พระองค์จึงทรง


บทเทศน์ปี C

231

ถามเป็นขั้นตอน ก่อนอื่น พระองค์ทรงถามบางอย่างที่พวกเขาตอบได้ โดยไม่ผูกมัดตนเอง และเป็นคำถามที่ตอบได้ง่าย แต่คำถามข้อแรกนี้ ยังไม่พอ มันง่ายเกินไปทีจ่ ะพูดถึงความคิดเห็นของผูอ้ นื่ เราต้องพูดในสิง่ ที่เราเชื่อ เราต้องเลือกข้างว่าเราจะอยู่กับใคร... การสำรวจความคิดเห็นได้ผลเป็นเอกฉันท์ ประชาชนมีความคิด เห็นตรงกันเต็มร้อยว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ทางศาสนา เป็นประกาศก เป็นผู้พูดแทนพระเจ้า ดังที่ลูกาบอกไว้หลายครั้ง (ลก 4: 18, 19, 26, 27, 7:11, 16, 17, 24:19)... พระเยซูเจ้าทรงเป็นเอลียาห์คนใหม่ ทรงลุกร้อนด้วยไฟของพระเจ้า พระองค์ทรงเป็นโมเสสคนใหม่ ทรงเป็นผู้ปลดปล่อย... พระเยซูเจ้าตรัสถามเขาว่า “ท่านล่ะว่าเราเป็นใคร” การเป็นคริสตชนหมายความว่า เราต้องตอบคำถามที่ท้าทายข้อนี้ เป็นคำตอบจากหัวใจของเราเอง... แต่ห้ามโกง ... เราต้องไม่เพียงแต่ท่องบทแสดงความเชื่อ ... ปาก ของเราอาจพูดว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็น “พระเจ้าจากพระเจ้า ทรงเป็นองค์ ความสว่ า งจากองค์ ค วามสว่ า ง เป็ น ต้ น ”  และอาจถึ ง กั บ ยื น ยั น สิ่ ง ที่ ตรงกันข้ามกับการกระทำของเรา การประกาศยืนยันความเชื่อด้วยวาจา เท่านั้นไม่สามารถพิสูจน์อะไรได้ เพราะคำตอบที่แท้จริงของเราก็คือการ ดำเนินชีวิตทุกวันของเรา... ขอให้พฤติกรรมของข้าพเจ้าประกาศว่า “ข้าพเจ้าเชื่อในพระเยซูเจ้า”... เปโตรทูลตอบว่า... แม้จะมีข้อถกเถียงไม่รู้จบเกี่ยวกับตำแหน่งพระสันตะปาปา และ เกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งนี้ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งทุกคนล้วน


232

บทเทศน์ปี C

เป็นมนุษย์ธรรมดาด้วยกันทัง้ นัน้ ... และแม้พระสันตะปาปาจะมีทงั้ คนรัก และคนชัง ... แต่เราย่อมมองเห็นบทบาทสำคัญของเปโตรได้ในพระวรสาร ... พระสันตะปาปาหลายองค์ในยุคปัจจุบันทรงต้องการอย่างยิ่งที่จะ รื้อฟื้นภาพลักษณ์ของผู้นำฝ่ายจิตโดยแท้นี้ เมือ่ ใดที่เกิดความคลางแคลง ใจ เมื่อใดที่ประชาชนลังเลใจ เมื่อใดที่ความคิดที่ชัดเจนกลับเลือนหาย และดูเหมือนว่าความเชื่อกำลังอ่อนแรงลง ... จะมีเสียงหนึ่งดังขึ้นใน ใจกลางของพระศาสนจักร นั่นคือเสียงของเปโตร ผู้ได้รับมอบหมาย หน้าที่ให้ค้ำจุนความเชื่อให้แก่พี่น้องของเขา (ลก 22:32) ... และพระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภวนาเพื่อเขาด้วย... เมื่อได้ยินคำถามแรก เมื่อพวกเขาเพียงแต่ต้องรายงานความ คิดเห็นของสาธารณชน เราเดาได้เลยว่าบรรดาศิษย์คงแย่งกันรายงานสิ่ง ที่เขาได้ยินมา ... แต่บัดนี้ เมื่อต้องให้คำตอบที่ลึกยิ่งกว่า เขาต้องประกาศ สิ่งที่เขาเองเชื่อ ... เปโตรเป็นผู้ตอบในนามของศิษย์ทั้งกลุ่ม... ข้าพเจ้าภาวนาเพื่อพระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน ... ข้าพเจ้าจะหา เวลาอ่านสาสน์ของพระองค์ และนำมาไตร่ตรอง... เปโตรทูลตอบว่า “พระองค์คือพระคริสต์ของพระเจ้า” แน่นอน คำตอบของเปโตรเจาะลึกกว่าคำตอบของฝูงชน ขอให้ เราเปรียบเทียบ “การประกาศยืนยันความเชื่อ” อันโด่งดังของเปโตรที่ ปรากฏในพระวรสารต่าง ๆ แต่ละชุมชนแสดงออกถึงความเชื่อข้อเดียว กัน แต่ด้วยคำพูดต่างกัน - มัทธิว 16:16 “พระองค์คือพระคริสตเจ้า พระบุตรของ พระเจ้าผู้ทรงชีวิต” - มาระโก 8:29 “พระองค์คือพระคริสตเจ้า” - ลูกา 9:20 “พระองค์คือพระคริสต์ของพระเจ้า” เราไม่มีทางรู้ได้ว่าเปโตรพูดอะไรออกมาจริงๆ ... พระวรสาร ไม่ได้รายงานทุกสิ่งทุกอย่างตรงตามตัวอักษร ลูกาคงรู้สึกว่าจำเป็นต้อง


บทเทศน์ปี C

233

อธิ บ ายให้ ผู้ อ่ า นที่ ไ ม่ ใ ช่ ช าวยิ ว เข้ า ใจความหมายที่ ชั ด เจนของคำว่ า “พระเมสสิยาห์” ด้วยการเติมคำว่า “ของพระเจ้า” และไม่จำเป็นต้อง เตือนความจำว่าคำภาษากรีกว่า Christos ซึ่งแปลว่าผู้ได้รับเจิม ... ผู้ได้ รับเจิมจากพระเจ้า ... เป็นคำทีแ่ ปลมาจากคำภาษาฮีบรูวา่ พระเมสสิยาห์ ดังนั้น เปโตรจึงยอมรับสิ่งที่พระเยซูเจ้าเองทรงประกาศในคำ ปราศรัยครั้งแรกของพระองค์ในศาลาธรรมที่นาซาเร็ธ ว่า “พระจิตของ พระเจ้ า ทรงอยู่ เ หนื อ ข้ า พเจ้ า  เพราะพระองค์ ท รงเจิ ม ข้ า พเจ้ า ไว้ ใ ห้ ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน” (ลก 4:18, อสย 61:1) ... หลังจากอยู่ อย่างใกล้ชิดกันมาได้หนึ่งปีครึ่ง เปโตรแสดงว่าเขาเชื่อในสิ่งที่พระเยซูเจ้า ตรัสถึงพระองค์เอง ... อัตลักษณ์อันลึกล้ำของพระเยซูเจ้าไม่ใช่ความ เป็นจริงที่จะอนุมานได้จากข้อสังเกต ซึ่งเกิดจากการใช้เหตุผลล้วนๆ แต่ เราต้องได้รับมาจาก “การเผยแสดง”... การเจิมของพระจิตเจ้า การที่พระเจ้าเข้ามาประทับอยู่ในตัวพระเยซูเจ้า เป็นเหตุการณ์ที่เรามองไม่เห็นด้วยตา... พระองค์จึงทรงกำชับบรรดาศิษย์มิให้พูดเรื่องนี้แก่ผู้ใด พระองค์ตรัส ว่า “บุตรแห่งมนุษย์จะต้องรับทรมานเป็นอันมาก จะถูกบรรดาผูอ้ าวุโส มหาสมณะ และธรรมาจารย์ปฏิเสธไม่ยอมรับ และจะถูกประหารชีวิต แต่จะกลับคืนชีพในวันที่สาม” และความจริงก็เป็นเช่นนี้  ปัสกา - ซึ่งประกอบด้วยสองด้าน ด้านหนึ่งคือกางเขน อีกด้านหนึ่งคือพระสิริรุ่งโรจน์ – เท่านั้นที่จะทำให้ มนุษย์เข้าใจได้ว่าพระเยซูเจ้าเป็นใคร ระหว่างนี้ บรรดาอัครสาวกได้รับ คำสั่งให้ปิดปากเงียบเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของพระคริสตเจ้า แต่การประกาศเรื่องพระทรมานครั้งนี้คงทำให้อัครสาวกสิบสอง คนผิดหวังมาก ... มัทธิว และมาระโก เล่าเหมือนกันว่าเปโตรถูกตำหนิ ที่เขาไม่เข้าใจ


234

บทเทศน์ปี C

การประกาศถึงการสิน้ พระชนม์ของพระองค์คงเป็นหนึง่ ในเหตุผล ที่พระองค์ทรงอธิษฐานภาวนา – หลังจากทรงเตือนพระองค์เองอีกครั้ง หนึ่ ง ว่ า พระองค์ ท รงต้ อ งรั บ บทบาทของพระเมสสิ ย าห์ ผู้ ท นทรมาน พระองค์ทรงมองเห็นความตายของพระองค์ปรากฏขึ้นมาแต่ไกลแล้ว เพราะพระองค์ ท รงคิ ด ถึ ง เรื่ อ งนี้ อ ย่ า งลึ ก ซึ้ ง ในการอธิ ษ ฐานภาวนา พระเยซูเจ้าจึงตรัสถึงปัสกาของพระองค์ในวันนัน้ หลังจากเปโตรประกาศ ยืนยันความเชื่อของเขา ข้าพเจ้าอยากจะคิดว่าพระเยซูเจ้าทรงเตรียมตัวรับความตายมา แล้วเป็นเวลานาน พระองค์ทรงมองว่าความตายของพระองค์ไม่ได้เกิด จากโรคที่รักษาไม่หาย หรือความเสื่อมของร่างกายเนื่องจากวัยชรา (เหมือนกับพวกเราที่เห็นความตายคืบใกล้เข้ามา) แต่เกิดจากความ เกลียดชังที่สะสมมากขึ้นของ “บรรดาผู้อาวุโส มหาสมณะ และธรรมาจารย์” พระเยซูเจ้าทรงเตรียมตัวรับความตายอย่างไร ... ด้วยการอธิษฐาน ภาวนาต่อพระบิดา เมื่อเป็นเช่นนี้คำว่า “จะต้อง” ที่พระองค์ตรัสจึงมี นัยสำคัญ เพราะไม่ได้หมายถึงความจำเป็นใดๆ หรือเป็นชะตากรรมที่ พระองค์ทรง “ปลงตกแล้ว” ... แต่เป็นความเห็นชอบกับพระประสงค์ ของพระบิดาซึ่งมีจารึกไว้ในพระคัมภีร์... พระองค์ตรัสกับทุกคนว่า “ถ้าผู้ใดอยากติดตามเราก็จงเลิกนึกถึงตน เอง จงแบกไม้กางเขนของตนทุกวัน และติดตามเรา” พระเยซูเจ้าตรัส “กับทุกคน” ... กฎของกางเขนเป็นกฎสำหรับ คนทั้งโลก ไม่ยกเว้นใครเลย ... หลังจากทรงประกาศเรื่องพระทรมาน ของพระองค์แล้ว พระเยซูเจ้าทรงประกาศเรื่องความทุกข์ทรมานของเรา ให้เรารู้ในวันนี้... พระวาจาของพระเยซูเจ้าเป็นถ้อยคำที่รับได้ยาก และเราอาจ ปล่อยให้ผ่านไปง่ายๆ ราวกับว่าไม่เกี่ยวข้องกับเรา


บทเทศน์ปี C

235

เป็นความจริงที่การเทศน์ ส อนในอดี ต มั ก เน้ น เรื่ อ งการรั บ ทน ความทุกข์ทรมานจนทำให้ “การเสียสละ/พลีกรรม” ดูเหมือนมีมนต์ขลัง ดังที่เราพบแม้แต่ในประวัติของนักบุญบางองค์ที่กล่าวไว้ว่า “ต้องการ ทนทุกข์ทรมานให้มากที่สุดในหุบเขาแห่งน้ำตานี้” ... เราต้องไม่ทำสิ่งที่ เกินเลยเช่นนี้ก็จริง แต่เราต้องค้นหาคุณค่าอันลึกล้ำของพระวาจานี้ของ พระเยซูเจ้า ซึ่งเราไม่สามารถลบออกไปจากพระวรสารได้ (และปรากฏ ให้เห็นถึง 6 ครั้งในพระวรสาร) บุคคลที่พูดถึง และแสวงหาแต่ความ สุขสำราญเป็นคนโกหก เป็นพ่อค้าขายภาพลวงตา และเป็นนักโฆษณา ชวนเชื่อให้ทุกคนเห็นแก่ตัว ไม่มีมนุษย์คนใดที่สร้างความสำเร็จในชีวิต ได้โดยไม่ต้องเสียสละอะไรเลย!... คนที่ไม่ยอมเรียนรู้ที่จะลืมตนเองบ้าง จะไม่มีวันเรียนรู้ที่จะรัก... คนทีไ่ ม่ยอมเรียนรูท้ จ่ี ะยอมสละตนเอง จะไม่มวี นั เรียนรูท้ จ่ี ะรัก ... ผู้ใดใคร่รักษาชีวิต ผู้นั้นจะต้องสูญเสียชีวิต แต่ถ้าผู้ใดเสียชีวิตเพราะ เรา ผู้นั้นจะรักษาชีวิตได้ นี่คือความจริงที่ฟังดูเหมือนขัดแย้งในตัวเอง เป็นความจริงที่ในแต่ละวัน เราสามารถแสวงหาตนเอง หรือลืม ตนเองก็ได้ ... เราสามารถรักษาชีวิตของเรา หรือพลีชีวิตของเราก็ได้ ... เราสามารถเลือกที่จะรัก หรือไม่รักก็ได้ ... เราต้องเลือกทางเดินของเราเอง ...


236

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่สิบสาม เทศกาลธรรมดา ลูกา 9:51-62 เวลาที่ พ ระเยซู เ จ้ า จะต้ อ งทรงจากโลกนี้ ไ ปใกล้ เ ข้ า มาแล้ ว พระองค์ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่จะเสด็จไปกรุงเยรูซาเล็ม และทรงส่ง ผู้นำสารไปล่วงหน้า คนเหล่านี้ออกเดินทางและเข้าไปในหมู่บ้าน แห่งหนึ่งของชาวสะมาเรียเพื่อเตรียมรับเสด็จพระองค์ แต่ประชาชน ที่นั่นไม่ยอมรับเสด็จ เพราะพระองค์กำลังเสด็จไปกรุงเยรูซาเล็ม เมื่อ ยากอบและยอห์น ศิษย์ของพระองค์ เห็นดังนี้ก็ทูลพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ทรงพระประสงค์ให้เราเรียกไฟจากฟ้าลงมาเผาผลาญ คนเหล่านี้หรือไม่” พระเยซูเจ้าทรงหันไปตำหนิศิษย์ทั้งสองคน แล้ว ทรงพระดำเนินต่อไปยังหมู่บ้านอื่นพร้อมกับบรรดาศิษย์ ขณะที่พระเยซูเจ้าทรงพระดำเนินตามทางพร้อมกับบรรดา ศิษย์ ชายผู้หนึ่งทูลพระองค์ว่า “ข้าพเจ้าจะติดตามพระองค์ไปทุกแห่ง ทีพ่ ระองค์จะเสด็จ” พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขาว่า “สุนขั จิง้ จอกยังมีโพรง นกในอากาศยังมีรัง แต่บุตรแห่งมนุษย์ไม่มีที่จะวางศีรษะ” พระองค์ตรัสกับอีกคนหนึ่งว่า “จงตามเรามาเถิด” แต่เขาทูล ว่า “ขออนุญาตให้ขา้ พเจ้าไปฝังศพบิดาของข้าพเจ้าเสียก่อน” พระองค์ ตรัสกับเขาว่า “จงปล่อยให้คนตายฝังคนตายของตนเถิด ส่วนท่าน จงไปประกาศพระอาณาจักรของพระเจ้า”


บทเทศน์ปี C

237

อีกคนหนึ่งทูลว่า “พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะตามพระองค์ไป แต่ ขออนุญาตกลับไปร่ำลาคนที่บ้านก่อน” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ผู้ใดที่จับ คันไถแล้วเหลียวดูข้างหลัง ผู้นั้นก็ไม่เหมาะสมกับพระอาณาจักร ของพระเจ้า”


238

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง พระเยซูเจ้า ผู้มีพระทัยแน่วแน่ การเทศน์สอนในแคว้นกาลิลีบรรลุถึงจุดสูงสุด เมื่อเปโตรประกาศยืนยันความเชื่อว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระคริสตเจ้า ในบทอ่านจาก พระวรสารสำหรั บ วั น นี้   เราเริ่ ม ต้ น คำบอกเล่ า ของลู ก าเกี่ ย วกั บ การ เดินทางของพระเยซูเจ้า มุ่งหน้าสู่กรุงเยรูซาเล็ม ลูกาถือว่ากรุงเยรูซาเล็มไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย แต่ยังเป็นจุดหมายปลายทางของพระเยซูเจ้าในแผนการของพระเจ้าอีกด้วย ใกล้จะถึงเวลาที่พระองค์ “จะต้อง ทรงจากโลกนี้ไป” ชาวยิวทุกคนมีความปรารถนาจะเดินทางจาริกแสวง บุญมายังกรุงเยรูซาเล็ม ลูกาใช้คำบอกเล่าเรื่องการเดินทางของพระเยซู ไปสู่กรุงเยรูซาเล็ม  เป็นกรอบสำหรับสั่งสอนวิถีทางจาริกแสวงบุญของ คริสตชน ลูกากล่าวถึงความตั้งใจแน่วแน่ท่แี สดงออกมาทางพระพักตร์ของ พระเยซูเจ้า ขณะที่ทรงเดินทางไปยังเมืองที่จะเป็นจุดจบของพระองค์ พระองค์ทรงส่งผู้นำสารไปล่วงหน้า ซึ่งเป็นการทำนายถึงยุคสมัยใน อนาคตเมื่อพระจิตเจ้าจะทรงบันดาลให้หัวใจของธรรมทูตลุกเป็นไฟ ด้วยความปรารถนาจะเป็นพยานของพระองค์ไปจนถึงสุดปลายแผ่นดิน โลก บทอ่ า นส่ ว นที่ เ หลื อ ในพระวรสารวั น นี้ ส อนเราว่ า ผู้ น ำสารของ พระองค์จะต้องมีความตั้งใจแน่วแน่เหมือนพระเยซูเจ้า พวกเขาถูกต่อต้านในแคว้นสะมาเรีย เหมือนกับที่ธรรมทูตใน อนาคตจะเผชิญกับการต่อต้านและเบียดเบียน ยากอบ และยอห์น นึกถึง


บทเทศน์ปี C

239

การกระทำของเอลียาห์ในอดีต และต้องการเรียกไฟจากฟ้าลงมาเผาผลาญคนเหล่านี้ พระเยซูเจ้าทรงหันไปตำหนิทั้งสองคนนี้เพราะนั่นเป็น ความคิดที่ชั่วร้าย วันหนึ่งจะมีไฟลงมาจากสวรรค์แน่นอน ไม่ใช่ไฟแห่ง การล้างแค้นและทำลาย แต่เป็นลิ้นไฟแห่งความรักของพระเจ้า เป็น ปฐมฤกษ์สำหรับพันธกิจของคริสตศาสนา ขณะที่ ค นกลุ่ ม นี้ เ ดิ น ทางต่ อ ไป มี บุ ค คลต่ า งๆ เข้ า มาในเรื่ อ ง เหมือนตัวละครที่ปรากฏตัวออกมาเพียงช่วงสั้นๆ บุคคลเหล่านี้มีอยู่ สามคน และการพบกับแต่ละคนเป็นบทเรียนที่สอนเราให้เข้าใจเงื่อนไข ของการเดินทาง “สุนัขจิ้งจอกยังมีโพรง นกในอากาศยังมีรัง แต่บุตรแห่งมนุษย์ ไม่มีที่จะวางศีรษะ” ผู้แสวงบุญในคริสตศาสนาเป็นบุคคลในอนาคตกาล ที่ต้องเดินทางไปข้างหน้าไม่มีวันหยุด สิ่งที่เรามีอยู่ในโลกนี้ไม่เที่ยงแท้ วิญญาณของเรากระหายหาธารน้ำนิรันดร และต้องเดินหน้าต่อไปเสมอ “จงปล่ อ ยให้ ค นตายฝั ง คนตายของตนเถิ ด  ส่ ว นท่ า นจงไป ประกาศพระอาณาจักรของพระเจ้า” เป็นข้อความที่ตีความให้สมดุล ได้ยาก แม้ว่าเราควรปฏิบัติหน้าที่ต่อคนในครอบครัว แต่สำหรับผู้ได้รับ เรียกให้ประกาศข่าวเกี่ยวกับพระอาณาจักรของพระเจ้าอาจเป็นงาน ที่เร่งด่วนมากกว่า หน้าที่ต่อครอบครัวสามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทน ได้ เมือ่ คนเหล่านัน้ ไม่ได้รบั พลังอันแรงกล้าจากกระแสเรียกของธรรมทูต ธรรมทูตทุกยุคสมัย นับตั้งแต่อับราฮัมจนถึงยุคสมัยของเรา ได้ละทิ้ง ครอบครัว และบ้านเกิดอย่างกล้าหาญเพราะเห็นแก่ข่าวดี บุคคลที่สามที่พระเยซูเจ้าทรงพบตามทาง ชี้ให้เห็นว่าธรรมทูต ต้องมีจิตใจเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นอยู่กับพันธกิจของตน “ผู้ใดจับคันไถแล้ว เหลียวดูข้างหลัง ผู้นั้นก็ไม่เหมาะสมกับพระอาณาจักรของพระเจ้า” ใน การทำไร่ไถนาในยุคนั้น ผู้ไถต้องใช้มือหนึ่งคอยควบคุมวัวที่ดื้อรั้น และ อีกมือหนึ่งต้องจับคันไถไว้ให้มั่น งานนี้ต้องใช้สมาธิและการประสานงาน


240

บทเทศน์ปี C

ระหว่ า งกล้ า มเนื้ อ  และสายตาเพื่ อ ให้ ร อยไถตรง ชี วิ ต ที่ แ สวงหาสิ่ ง บันเทิงใจ และการทำงานแบบลวกๆ ย่อมไม่เหมาะสมสำหรับพระเจ้า ข้าพเจ้านึกถึงพระพักตร์ที่แสดงความเด็ดเดี่ยวของพระเยซูเจ้า พระเนตรของพระองค์จับจ้องอยู่ที่เนินเขาลูกแรกทางทิศใต้   มีเนินเขา อีกลูกหนึ่งต่อจากนั้น และอีกลูกหนึ่ง จนกระทั่งเห็นกรุงเยรูซาเล็ม นคร บนเนินเขา ได้ในที่สุด “บนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ คือนครของพระองค์ ซึ่งพระเจ้า ทรงถนอมรักษาไว้” (สดด 86) สีหน้าอันเข้มแข็งของพระเยซูเจ้าท้าทายให้ศิษย์ของพระองค์ อุทิศตนทำงานอย่างเต็มที่  เราต้องคิดถึงผลที่จะตามมา และให้ความ สำคัญกับพระเจ้ามากกว่า ในกรณีที่เราต้องเลือกอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง เรื่องของเอลีชาในบทอ่านที่หนึ่งของวันนี้เป็นตัวอย่างที่ดี  เมื่อ เขาละทิ้งวิถีชีวิตของคนไถนา เขาได้ฆ่าโคไถนาของเขา และเอาเนื้อโค นั้นต้มเลี้ยงประชาชน โดยใช้ไม้คันไถเป็นฟืน เขาจะไม่หันหลังกลับไปอีก ผู้แสวงบุญก็ต้องเดินหน้าไปสู่นครอันเป็นจุดหมายปลายทางเช่นนี้ ในยุคกลาง ประชาชนชอบคิดว่าชีวิตคริสตชนก็คือการเดินทาง ไปยังกรุงเยรูซาเล็มในสวรรค์ ข้อเขียนของบุญราศีเฮนรี่ ซูโซ กล่าวถึง แนวทางชีวิตภายในที่ประกอบด้วยการแสวงบุญเช่นนี้   ผู้แสวงบุญจะ เดินทางระหว่างช่วงเวลาหนึ่ง แล้วหยุดพักและทำงานหาเลี้ยงชีพ จากนั้น ก็เก็บข้าวของและออกเดินทางอีกครั้งหนึ่ง สายตาของเขาเพ่งมองอย่าง แน่ ว แน่ ที่ ก รุ ง เยรู ซ าเล็ ม  และหั ว ใจของเขาทบทวนบทภาวนาของผู้ แสวงบุญว่า “ข้าแต่พระเยซูเจ้า ข้าพเจ้าไม่เป็นสิ่งใด ข้าพเจ้าไม่มีสิ่งใด ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาสิ่งใด นอกจากจะอยู่กับพระองค์ในกรุงเยรูซาเล็ม”

ข้อรำพึงที่สอง เปโตร ระลึกถึงเหตุการณ์


บทเทศน์ปี C

241

เราออกเดินทางเยี่ยมเมือง และหมู่บ้านต่างๆ ในแคว้นกาลิลี ใน เวลานั้นพระเยซูเจ้าทรงคิดถึงแต่กรุงเยรูซาเล็ม การจาริกแสวงบุญไปยัง กรุงเยรูซาเล็มเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชนชาติเรา เราทุกคนเคยแสวงบุญ ไปทีน่ น่ั แต่ดเู หมือนพระเยซูเจ้า จะทรงตืน่ เต้นกับการเดินทางครัง้ นีม้ าก เราก็พลอยรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย เพราะเรารู้สึกมั่นใจว่าการเดินทางครั้งนี้ เกี่ยวข้องกับการยึดอาณาจักรของเราคืนมา ข้าพเจ้ารู้ว่าพระองค์ตรัสทำนายไว้หลายครั้งว่าพระองค์จะถูก ปฏิเสธ จะไม่เป็นที่ยอมรับ แต่เราไม่สนใจฟังเพราะเราคิดว่าเป็นวิธีการ ที่จะลดความร้อนรนของเรา เราเดินทางมุ่งหน้าไปทางใต้  แต่เมื่อออก เดินทางแล้ว ดูเหมือนว่าพระองค์ไม่รีบร้อน พระองค์สามารถเดินทาง ไปถึงจุดหมายได้ภายในสัปดาห์เดียวอย่างสบายๆ แต่พระองค์กลับใช้ เส้นทางที่คดเคี้ยว หยุดพักตามโอกาส หยุดเพื่อเทศน์สอน รักษาโรค และบางครั้งถึงกับทรงส่งพวกเราออกไปเทศน์สอน พระองค์ทรงรู้ดีพอๆ กับเราว่าชาวสะมาเรียจะแสดงความเป็นอริ พระองค์ทรงสามารถหลีกเลี่ยงเมืองของชาวสะมาเรีย ได้เหมือนกับคน อื่นๆ จำนวนมาก ที่เลี่ยงไปใช้เส้นทางอีกฟากหนึ่งของแม่น้ำจอร์แดน คนในหมู่บ้านหนึ่งขับไล่เราด้วยไม้และก้อนหิน ท่านคงพอจะเดาได้ว่า ข้าพเจ้าอารมณ์เสียอย่างไร แต่ครั้งนี้ ข้าพเจ้าไม่ใช่คนที่ก่อเรื่อง ยากอบ และยอห์น ชิงก่อเรื่องตัดหน้าข้าพเจ้า เด็กหนุ่มสองคนนี้มักไม่ทำอะไร ครึ่งๆ กลางๆ พวกเขาได้รับอิทธิพลจากแม่ของเขา นางเป็นหญิงที่ ทะเยอทะยาน หนุ่มสองคนนี้คิดว่าตนเองมีอำนาจเทียบเท่ากับเอลียาห์ ในอดีตทีเดียว “พระเจ้าข้า พระองค์ทรงพระประสงค์ให้เราเรียกไฟจาก ฟ้าลงมาเผาผลาญคนเหล่านี้หรือไม่” ข้าพเจ้าแทบไม่เชื่อหูตนเอง เมื่อ ข้าพเจ้าโกรธ ข้าพเจ้าคงใช้ก้อนหินต่อสู้กับก้อนหิน และต่อสู้กับไม้ด้วย ไม้ แต่หนุ่มสองคนนี้คิดว่าตนเองมีอำนาจและสิทธิที่จะเรียกไฟลงมาจาก สวรรค์ พวกเขาไม่ได้ขอให้พระเยซูเจ้าเป็นผู้ทำเช่นนี้ ... แต่เสนอจะทำ


242

บทเทศน์ปี C

เพื่อพระองค์! พระเยซูเจ้าทรงแสดงท่าทีที่สงบระหว่างเกิดวิกฤติการณ์ ได้อย่างน่าแปลกใจ พระองค์ตรัสห้ามยากอบและยอห์นสั้นๆ และทรง บอกเราให้สลัดฝุ่นจากเมืองนี้ออกจากเท้าของเรา และเราก็เดินทางไป ยังจุดหมายต่อไป ในวันหนึ่งข้างหน้า เราจะได้เห็นไฟลงมาจากสวรรค์ ไม่ใช่ไฟเพื่อ ล้างแค้น แต่เป็นลิ้นไฟจากพระจิตเจ้า เป็นไฟแห่งความรัก ความอบอุ่น และแสงสว่าง แต่วันนั้นยังอยู่อีกไกล


บทเทศน์ปี C

243

บทรำพึงที่ 2 ข้ อ ความนี้ ม าจากพระวรสารตามคำบอกเล่ า ของนั ก บุ ญ ลู ก า สำหรับวันอาทิตย์สัปดาห์นี้  และเป็นจุดเริ่มต้นอีกช่วงเวลาหนึ่งในชีวิต ของพระเยซูเจ้า ก่อนหน้านั้น พระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอนเฉพาะในแคว้น กาลิลี สิบบทต่อจากนี้ไปจะเป็นเรื่องราวการเดินทางของพระองค์ “ขึ้น ไปยังกรุงเยรูซาเล็ม” เป็นการเดินทางฝ่ายจิตมากกว่าการเดินทางตาม พื้นที่ทางภูมิศาสตร์จริงๆ (ลก 9:51, 13:22, 17:11) เวลาที่พระเยซูเจ้าจะต้องทรงจากโลกนี้ไปใกล้เข้ามาแล้ว... ข้อความเริ่มต้นบทนี้ขึ้นอย่างเคร่งขรึม พระวรสารภาษากรีกน่า สะดุดใจยิ่งกว่า “เวลาที่พระองค์จะทรงถูกยกขึ้นมาถึงแล้ว...” ความตายของพระเยซูเจ้าซึ่งใกล้เข้ามาแล้วนี้ไม่ได้เกิดขึ้นตาม ชะตากรรม แต่เป็น “การบรรลุผล” เป็นการปรับตัว และ “ขัดเกลา” ครั้งสุดท้ายในชีวิตที่สำเร็จสมบูรณ์แล้ว... นอกจากนี้ ยังเป็นการ “ถูกยกขึ้น” ด้วย ลูกาใช้คำเดียวกันนี้เมื่อ เขาพูดถึงการเสด็จขึน้ สวรรค์ พระเยซูเจ้าจะทรง “ได้รบั การยกขึน้ สวรรค์” (กจ 1:2, 11, 22) ... เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับประกาศกเอลียาห์ (2 พกษ 2:8-11)... ดังนั้น เหตุการณ์ที่ “ใกล้เข้ามา” สำหรับพระเยซูเจ้า – และสำหรับ เราแต่ละคนที่อยู่กับพระองค์  จะเป็นทั้งเหตุการณ์อันเจ็บปวด และน่า ยินดี เพราะนี่คือปัสกาที่มีสองด้าน คือ เป็นทั้งความตาย และการเดินทาง ไปหาพระบิดา...


244

บทเทศน์ปี C

พระองค์ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่จะเสด็จไปกรุงเยรูซาเล็ม “ตั้งพระทัยแน่วแน่” แสดงออกถึงการกระทำบางอย่างที่ต้องใช้ ความกล้าหาญ ... อาจกล่าวได้วา่ พระเยซูเจ้าทรงกัดฟันเริม่ ต้นเดินทางไป ยังเมืองทีพ่ ระองค์จะต้องไปสิน้ พระชนม์  ... น้อยครัง้ ทีพ่ ระวรสารบรรยาย สภาพวิญญาณของพระเยซูเจ้า ดังนั้น จึงเป็นเรื่องแปลกที่เราได้เห็นว่าใน วันนั้น ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง พระองค์ทรงต้องเอาชนะความกลัว และรวบรวมความกล้าหาญทั้งหมดของพระองค์อย่างไร... เราต้องใช้เวลาสักครู่พิจารณาปัญหาที่เราประสบอยู่ในปัจจุบัน ร่วมกับพระเยซูเจ้า ไม่ว่าจะเป็นการสอบตก ความว้าเหว่ในหัวใจ ความ ขัดแย้งในชีวิตสมรส ความไม่มั่นคงของอาชีพ ทางตันที่ดูเหมือนไม่มีทาง ทะลุผ่านไปได้ การป่วยที่รักษาไม่ได้ หรือเมื่อเราเพิ่งจะสูญเสียคนที่เรา รัก เป็นต้น... แทนที่จะปล่อยตัวปล่อยใจไปกับความผิดหวัง ทำไมเราจึงไม่ “ตั้งใจแน่วแน่” พร้อมกับพระเยซูเจ้า ว่าเราจะยืนหยัดต่อไปไม่ว่าจะเกิด อะไรขึ้น เหมือนกับผู้รับใช้พระเจ้า ผู้กล่าวว่า “พระเจ้าทรงช่วยเหลือ ข้าพเจ้า ... ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเชิดหน้าเหมือนหินเหล็กไฟ และข้าพเจ้ารู้ว่า ข้าพเจ้าจะไม่ได้รับความอับอาย” (อสย 50:7)... กรุงเยรูซาเล็มเป็นสถานที่ที่ไม่มีที่ใดเหมือนในโลก มีเนินเขาซึ่ง เป็นที่ตั้งของกางเขน ... มีคูหาฝังศพซึ่งความตายต้องพ่ายแพ้ ... สถานที่ ซึ่งพระเจ้าทรงร้องตะโกนว่าพระองค์กระหาย และทรงยินยอมให้น้ำแห่ง ชีวิตไหลออกจากสีข้างที่ถูกเปิดของพระองค์ ... ชีวิตคริสตชนคือ “การ เดินทางขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม”... ทรงส่งผู้นำสารไปล่วงหน้า  คนเหล่านี้ออกเดินทาง และเข้าไปใน หมู่บ้านแห่งหนึ่งของชาวสะมาเรียเพื่อเตรียมรับเสด็จพระองค์ แต่ ประชาชนที่นั่นไม่ยอมรับเสด็จ เพราะพระองค์กำลังเสด็จไปกรุง เยรูซาเล็ม


บทเทศน์ปี C

245

เรามักพยายามลดความรุนแรงของพระวรสาร ราวกับว่าไม่เคยมี ปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ การเมือง ศาสนา หรือสังคมก่อนยุค สมัยของเรา ชาวยิวผู้เคร่งครัดถือว่าชาวสะมาเรียเป็นพวกที่แยกนิกาย เพราะ พวกเขาได้สร้างวิหารหลังหนึ่งขึ้นมาบนภูเขาเกรีซิม ให้เป็นคู่แข่งของ พระวิหารในกรุงเยรูซาเล็ม ชาวยิวจึงรังเกียจคนเหล่านี้ และชาวสะมาเรีย ก็ตอบโต้ด้วยวิธีเดียวกัน และพยายามทำทุกทางที่จะก่อกวนผู้แสวงบุญ ที่ใช้ทางที่ใกล้ที่สุดจากแคว้นกาลิลีไปยังกรุงเยรูซาเล็ม คือ ตามทางบน ยอดเนินของแคว้นสะมาเรีย... พระเยซู เ จ้ า ทรงมี ชี วิ ต อยู่ ท่ า มกลางบรรยากาศที่ เ ป็ น อริ แ ละ อันตรายเช่นนี้ พระองค์ไม่ทรงเลี่ยงดินแดนที่มีความขัดแย้งทางเชื้อชาติ และประชาชนต่างก็เหยียดหยามกัน อันที่จริง พระองค์ไม่ทรงยอมคล้อย ตามความคิดเห็นของสาธารณชน บ่อยครั้ง ลูกาบอกว่าพระเยซูเจ้าทรง ยกย่องการแสดงเมตตากิจของชาวสะมาเรียผู้ใจดี (ลก 10:30) และการ รู้จักบุญคุณของคนโรคเรื้อนที่ได้รับการรักษาให้หาย (ลก 17:16) พระเยซู เ จ้ า ทรงรั ก มนุ ษ ย์ ทุ ก คน รวมถึ ง คนที่ เ รามั ก จะอยาก สาปแช่ง หรือเหยียดหยาม... เมื่อยากอบ และยอห์น ศิษย์ของพระองค์ เห็นดังนี้ก็ทูลพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ทรงพระประสงค์ให้เราเรียกไฟจากฟ้าลงมาเผา ผลาญคนเหล่านี้หรือไม่” นี่คือวิธีที่ประกาศกเอลียาห์ใช้ลงโทษศัตรูของเขา (2 พกษ 1:10) ยากอบและยอห์น ผู้ได้ชื่อว่า “บุตรของฟ้าร้อง” (มก 3:17) ทำตัวสมกับ สมญาของเขาจริงๆ แต่ทั้งสองคนไม่เข้าใจสารและพันธกิจของพระเยซูเจ้า ... ที่ร้ายกว่านั้น เขามีภาพที่บิดเบี้ยวของพระเจ้าอยู่ในใจ เขาคิดว่า เขากำลังปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้า และมั่นใจว่าเขารู้ความจริง


246

บทเทศน์ปี C

... เป็นไปได้อย่างไรที่พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพจะทรงยอมให้พระเมสสิยาห์ของพระองค์ต้องเผชิญกับการปฏิเสธ และอารมณ์อันผันแปร ของมนุษย์... แม้แต่ในวันนี้  เราเองก็อยากจะวางแผนเหมือนกับ “บุตรของ ฟ้าร้อง” เหล่านี้ คือ ขอให้พระเจ้าทรงเข้ามาแทรกแซง และทำลายศัตรู ของพระองค์ ... แต่เรารู้ดีว่าพระเยซูเจ้าไม่ได้เสด็จมาเพื่อลงโทษคนบาป แต่เพื่อช่วยเขาให้รอดพ้น (ลก 19:10) พระเจ้าไม่ทรงลงโทษ พระองค์ ทรงให้อภัย (ลก 23:34) พระเยซูเจ้าทรงหันไปตำหนิศษิ ย์ทงั้ สองคน แล้วทรงพระดำเนินต่อไป ยังหมู่บ้านอื่นพร้อมกับบรรดาศิษย์ พระเยซูเจ้าทรงแสดงให้เราเห็นภาพลักษณ์แท้จริงของพระเจ้า พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพไม่ทรงเข้าแทรกแซงเหมือนทรราชที่บีบคั้นผู้ อยู่ใต้บังคับ หรือศัตรูให้ยอมแพ้ แต่ทรงรอคอยอย่างถ่อมตน (ราวกับ คนยากไร้คนหนึ่ง) ให้คนบาปกลับใจ ทรงรอคอยเหมือนบิดาหรือมารดา คนหนึ่ง ทรงยอมรับความล่าช้า และรอคอยให้ความจริงค่อยๆ ปรากฏ ขึ้นในหัวใจมนุษย์... และพวกเขาก็ เ ดิ น ทางไปยั ง หมู่ บ้ า นอื่ น  ... ข้ า พเจ้ า เพ่ ง พิ นิ จ พระเยซูเจ้าขณะทรงเดินทางไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง... และข้าพเจ้าก็ไตร่ตรองความไม่อดทนของตนเองต่อบาปของ ข้าพเจ้าเอง ต่อบาปและการปฏิเสธของผู้อื่น ต่อความก้าวหน้าอย่างเชื่อง ช้าของพระศาสนจักร และต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่คอยถ่วงพระศาสนจักร... ขณะที่ พ ระเยซู เ จ้ า ทรงพระดำเนิ น ตามทางพร้ อ มกั บ บรรดาศิ ษ ย์ ชายผู้หนึ่งทูลพระองค์ว่า “ข้าพเจ้าจะติดตามพระองค์ไปทุกแห่งที่ พระองค์จะเสด็จ” พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขาว่า “สุนขั จิง้ จอกยังมีโพรง นกในอากาศยังมีรัง แต่บุตรแห่งมนุษย์ไม่มีที่จะวางศีรษะ”


บทเทศน์ปี C

247

ขณะที่พระเยซูเจ้าไม่ได้รับการต้อนรับตามทางที่เสด็จไปยังกรุง เยรูซาเล็ม มีใครคนหนึ่งเสนอตัวรับใช้พระองค์อย่างใจกว้างและปราศจากเงื่อนไข เราคงคาดหมายว่าพระเยซูเจ้าจะยอมรับข้อเสนอของเขา ทันที  แต่แทนที่จะแสดงความกระตือรือร้นกับกระแสเรียกของบุคคลนี้ พระเยซูเจ้าทรงชี้ให้เขาเห็นความยากลำบากต่างๆ พระองค์ทรงกระทำ ตรงกันข้ามกับนักโฆษณาในยุคของเราที่โฆษณาผลิตภัณฑ์ของตนจนถึง กับปิดบังข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ... พระเยซูเจ้าไม่ทรงพยายาม แสวงหาศิษย์ด้วยวิธีการใดๆ ... ตรงกันข้าม พระองค์ทรงเน้นเรื่องความ ยากลำบากที่ผู้ติดตามพระองค์จะต้องเผชิญกับการขาดความสะดวก สบาย กับความยากไร้ และขาดความมั่นคง ข้อความนี้เผยให้เห็นว่าพระเยซูเจ้าทรงกำลังคิดอะไรขณะทรง เดินทางไปยังกรุงเยรูซาเล็ม พระองค์กำลังเสด็จไปรับชะตากรรมอันน่า เศร้า ผู้ใดติดตามพระองค์ก็ควรคาดหมายว่าจะถูกปฏิเสธเช่นเดียวกัน ... เราอาจรำพึงภาวนากับชีวิตเร่ร่อนไร้ความมั่นคงของพระเยซูเจ้า “คน พเนจร” ที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีอาหารรออยู่ข้างหน้า! ชีวิต มนุษย์จะยากลำบากมากถ้าเขาไม่มีที่พักอาศัย หรือมีที่นอนให้เขานอน หลับพักผ่อน ในบางคืน หลังจากเหนื่อยมาแล้วทั้งวัน สภาพเช่นนี้คง บั่นทอนจิตใจของพระเยซูเจ้ามาก พระองค์ถึงกับตรัสว่าแม้แต่สัตว์ป่า ยังมีที่พักพิงที่ทำให้มันรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย... พระเจ้าข้า  โปรดประทานความกล้าหาญแก่ข้าพเจ้าในยามที่ ข้าพเจ้าเผชิญกับความเหนื่อยล้าทางกาย หรือทางใจ “ข้าพเจ้าจะติดตามพระองค์ไปทุกแห่งที่พระองค์จะเสด็จ” ... ชายคนนี้ ก ล่ า วถ้ อ ยคำนี้ โ ดยไม่ รู้ ว่ า ทางเดิ น ของพระเยซู เ จ้ า กำลั ง นำ พระองค์ไปยังเนินเขากลโกธา – แต่เรารู้... เรารู้ด้วยว่า “อาศัยพระทรมาน และไม้กางเขน เราจะไปถึงสิริรุ่งโรจน์แห่งการกลับคืนชีพได้” ... เยรูซาเล็มเป็นแสงสว่างที่ส่องลงมา บนความทุกข์ยากของเรา...


248

บทเทศน์ปี C

พระองค์ตรัสกับอีกคนหนึ่งว่า “จงตามเรามาเถิด” แต่เขาทูลว่า “ขอ อนุญาตให้ข้าพเจ้าไปฝังศพบิดาของข้าพเจ้าเสียก่อน” พระองค์ตรัส กับเขาว่า “จงปล่อยให้คนตายฝังคนตายของตนเถิด ส่วนท่านจงไป ประกาศพระอาณาจักรของพระเจ้า” นี่เป็นหนึ่งในข้อความที่ระคายหูที่สุดในพระวรสาร ที่ฟังแล้ว น่าตกใจ การฝังศพผู้ที่เรารักถือว่าเป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งกำหนดขึ้น ตามพระบัญญัติ 10 ประการว่า “จงนับถือบิดามารดา”... ประโยคที่ดูเหมือนโหดร้ายของพระเยซูเจ้าทำให้เราตัดสินใจได้ ยาก ว่า - พระเยซูเจ้าทรงเรียกร้องมากเกินไป และไม่ทรงตระหนักว่า กำลังขออะไร... - หรื อ พระเยซู เ จ้ า  ไม่ ท รงตระหนั ก ถึ ง ความเป็ น จริ ง ในชี วิ ต มนุษย์... อันที่จริง พระเยซูเจ้าทรงถึงกับยืนยันว่าใครก็ตามที่ไม่ค้นพบ พระอาณาจักรของพระเจ้าเป็น “คนตาย” คำว่า “คนตาย” นี้เห็นได้ชัดว่ ามีสองความหมายในประโยคเดียว ความหมายแรกเป็นความหมายปกติ หมายถึง “คนที่ตายจากไป” และพระเยซูเจ้าทรงกล้าพูดถึงบุคคลที่ยัง ไม่เคยพบพระองค์ว่าเป็น “คนตาย” ... พระองค์ทรงมองว่าใครก็ตามที่ ไม่สนใจในเรื่องของพระเจ้า บุคคลนั้นไม่มีชีวิต... ถูกแล้ว คำนี้ฟังยาก ... แต่เผยให้เรารู้ว่าศิษย์ของพระเยซูเจ้าจะ ต้องเสียสละอย่างไรบ้าง นี่คือการเผยแสดงของชีวิตแท้หนึ่งเดียว คือชีวิตของพระเจ้า ... ชีวิตของพระอาณาจักรของพระเจ้า... อี ก คนหนึ่ ง ทู ล ว่ า  “พระเจ้ า ข้ า  ข้ า พเจ้ า จะตามพระองค์ ไ ป แต่ ข อ อนุญาตกลับไปร่ำลาคนที่บ้านก่อน” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ผู้ใดที่จับ


บทเทศน์ปี C

249

คันไถแล้วเหลียวดูข้างหลัง ผู้นั้นก็ไม่เหมาะสมกับพระอาณาจักรของ พระเจ้า” พระองค์เป็นใคร พระเจ้าข้า จึงขอให้ศิษย์ของพระองค์ถอนราก ของตนเช่นนี้ แต่กระนั้น พระองค์ก็ทรงขอให้เรารักบิดามารดาของเรา และพระองค์ได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่ า งด้ ว ย การแสดงความรั ก ต่ อ พระนางมารีย์ พระมารดาของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงมอบหมายให้ ยอห์น ศิษย์รักของพระองค์ดูแลพระนาง... แต่ ก ารรั บ ใช้ พ ระอาณาจั ก รของพระเจ้ า เรี ย กร้ อ งให้ เ สี ย สละ ความสุขส่วนตัวในทันทีทันใด “ขออนุญาตให้ข้าพเจ้าไปฝังศพบิดาของ ข้าพเจ้าเสียก่อน” ... “ขออนุญาตกลับไปร่ำลาคนที่บ้านก่อน” ... เหล่านี้ เป็นข้อเรียกร้องที่สมเหตุสมผล คนเหล่านี้เป็นคนจริงจัง และมีเหตุผล เพราะเขาได้วางแผนชีวิตมาแล้วเป็นอย่างดี ... ก่อนอื่น ต้องดูแลเรื่อง ส่วนตัว จากนั้นจึงทำงานให้พระเจ้า ... ฉันเพิ่งจะจบปีการศึกษานี้ และฉัน วางแผนการสำหรับวันหยุดไว้แล้ว เมื่อโรงเรียนเปิด ฉันจะไปพบพระเจ้า อีกครัง้ หนึง่ – ทีหลัง ... ไม่ใช่เวลานี้ ... ทุกวันอาทิตย์ ก่อนอืน่ ฉันขอพักผ่อน จากนัน้ ฉันจะไปฝึกเล่นกีฬา แล้วฉันจะให้เวลาแก่ครอบครัว และเพือ่ นฝูง ... หลังจากนั้น ฉันจึงจะไปฟังมิสซา ... ถ้ายังมีเวลาเหลือ... วันนี้ พระเยซูคริสตเจ้าทรงตั้งคำถามกับตารางเวลาของข้าพเจ้า ... ข้ า พเจ้ า คิ ด ว่ า อะไรสำคั ญ ที่ สุ ด  ... ผิ ว พรรณของข้ า พเจ้ า หรื อ  ... สุขภาพของข้าพเจ้าหรือ ... หรือว่าสิ่งที่จำเป็นที่สุด... นักบุญเปาโลเชิญชวนเราว่า “อย่าเข้าเทียมแอกเป็นทาสอีกเลย” (กท 5:1)...


250

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่สิบสี่ เทศกาลธรรมดา ลูกา 10:1-12, 17-20 องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้งศิษย์อีกเจ็ดสิบสองคน และทรง ส่งเขาล่วงหน้าพระองค์เป็นคูๆ่  ไปทุกตำบลทุกเมืองทีพ่ ระองค์จะเสด็จ พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ข้าวที่จะเกี่ยวมีมาก แต่คนงานมีน้อย จง วอนขอเจ้าของนาให้ส่งคนงานมาเก็บเกี่ยวข้าวของพระองค์เถิด จงไปเถิด เราส่งท่านทั้งหลายไปดุจลูกแกะในฝูงสุนัขป่า อย่านำถุง เงิน ย่าม หรือรองเท้าไปด้วย อย่าเสียเวลาทักทายผู้ใดตามทาง เมื่อ ท่านเข้าบ้านใด จงกล่าวก่อนว่า ‘สันติสุขจงมีแก่บ้านนี้เถิด’ ถ้ามีผู้ สมควรจะรับสันติสุขอยู่ที่นั่น สันติสุขของท่านจะอยู่กับเขา มิฉะนั้น สันติสุขของท่านจะกลับมาอยู่กับท่านอีก จงพักอาศัยในบ้านนั้น กิน และดืม่ ของทีเ่ ขาจะนำมาให้ เพราะว่าคนงานสมควรทีจ่ ะได้รบั ค่าจ้าง ของตน อย่าเข้าบ้านนี้ออกบ้านโน้น เมื่อท่านเข้าไปในเมืองใดและ เขาต้อนรับท่าน จงกินของที่เขาจะนำมาตั้งให้ จงรักษาผู้เจ็บป่วย ในเมืองนั้นและบอกเขาว่า ‘พระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ใกล้ท่าน ทั้งหลายแล้ว’ แต่ถ้าท่านเข้าไปในเมืองใด และเขาไม่ต้อนรับ ก็จง ออกไปกลางลานสาธารณะและกล่าวว่า ‘แม้แต่ฝุ่นจากเมืองของท่าน ที่ ติ ด เท้ า ของเรา เราจะสลั ด ทิ้ ง ไว้ ป รั ก ปรำท่ า น จงรู้ เ ถิ ด ว่ า


บทเทศน์ปี C

251

พระอาณาจักรของพระเจ้าใกล้เข้ามาแล้ว’ เราบอกท่านทั้งหลายว่า ในวันพิพากษา ชาวเมืองโสดมจะรับโทษเบากว่าชาวเมืองนั้น” ศิษย์ทั้งเจ็ดสิบสองคนกลับมาด้วยความชื่นชมยินดี ทูลว่า “พระเจ้าข้า  แม้แต่ปีศาจก็ยังอ่อนน้อมต่อเรา เดชะพระนามของ พระองค์” พระองค์ตรัสตอบว่า “เราเห็นซาตานตกจากฟ้าเหมือน ฟ้าแลบ จงฟังเถิด เราให้อำนาจแก่ท่านที่จะเหยียบงูและแมงป่อง มีอำนาจเหนือกำลังทุกอย่างของศัตรู ไม่มีอะไรจะทำร้ายท่านได้ อย่าชื่นชมยินดีที่ปีศาจอ่อนน้อมต่อท่าน แต่จงชื่นชมยินดีมากกว่าที่ ชื่อของท่านจารึกไว้ในสวรรค์แล้ว”


252

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง วิถีชีวิตของธรรมทูต คำสั่งสอนที่พระเยซูเจ้าประทานแก่ศิษย์ 72 คนนี้เกี่ยวข้องกับวิถี ชีวิตมากกว่าสาระที่พวกเขาต้องเทศน์สอน คริสตชนต้องนำคำสั่งสอน ของพระคริสตเจ้ามาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตก่อนจะนำไปเทศน์ สอน ผู้อื่นจะเห็นคำสั่งสอนของคริสตศาสนาได้จากวิถีชีวิตของคริสตชน พวกศิษย์ถูกส่งออกไปเป็นคู่ๆ เพื่อว่าการแบ่งปันและเกื้อกูลกัน ระหว่างพวกเขา จะเป็นพยานยืนยันถึงความรักเมตตาตั้งแต่ก่อนที่เขาจะ เทศน์สอนเรื่องความรักเมตตา พวกเขาต้องไปพร้อมกับความอ่อนโยน และไร้เดียงสาของลูกแกะ มากกว่าทำตัวลับๆ ล่อๆ และใช้ความรุนแรง เหมือนสุนัขป่า คำทักทายของเขาจะต้องเป็นคำอวยพรให้เกิดสันติสุข ปริมาณข้าวที่จะต้องเก็บเกี่ยวมีมากจนพันธกิจนี้กลายเป็นเรื่องเร่งด่วน และทำให้พวกเขาไม่สามารถเสียเวลาทักทายผูใ้ ดตามทาง และเขาไม่ควร รีรอเมื่อประชาชนในที่ใดไม่ยอมรับเขา เขาควรรีบออกจากที่นั่นและ เดินทางไปยังสถานที่อื่นต่อไป เขาต้องแสดงความวางใจในพระเจ้าก่อนจะกล่าวถึงพระองค์ ดังนั้น เขาต้องเดินทางโดยไม่มีถุงเงิน หรือย่าม หรือรองเท้า และวางใจ อย่างสิ้นเชิงว่าพระเจ้า และคนน้ำใจดีทั้งหลาย จะมอบปัจจัยที่จำเป็นแก่ ชีวิตให้เขา ชีวิตในทุกระดับของเขาควรประกาศถึงพระเจ้า ผู้ทรงตอบสนองความต้องการของเราได้อย่างเพียงพอ ผู้ที่เราสามารถไว้วางใจให้ จัดหาสิง่ จำเป็นสำหรับเรา และผูท้ ม่ี คี วามรักอันแท้จริงและเร่งด่วนต่อเรา


บทเทศน์ปี C

253

บรรดาศิษย์ต้องเป็นตัวแทนนำอำนาจในการเยียวยารักษา และ การคืนดีของพระเจ้าไปมอบแก่ประชาชน อาศัยการอภิบาลของเขา อำนาจแห่งพระอาณาจักรของพระเจ้าจะอยู่ใกล้ประชาชนมาก และ บรรดาศิษย์ก็ได้รับประสบการณ์เช่นนี้จริง ทำให้พวกเขาเดินทางกลับมา ด้วยความชื่นชมยินดีที่ได้เห็นด้วยตาตนเองว่าปีศาจพ่ายแพ้อำนาจของ เขา แต่พระเยซูเจ้าทรงเตือนว่าเขาทำเช่นนีไ้ ด้ไม่ใช่ดว้ ยอำนาจของตนเอง แต่ด้วยอำนาจของพระองค์ผู้ทรงเลือกเขา และส่งเขาออกไป พันธกิจของคริสตชนต้องแสดงออกด้วยการดำเนินชีวิต ก่อนจะ นำไปพูด ต้องอยู่ที่การกระทำก่อนจะนำไปเทศน์สอน พระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 ทรงเขียนไว้ว่า “สำหรับพระศาสนจักร วิธีแรกของการประกาศ พระวรสารก็คือการเป็นพยานด้วยการดำเนินชีวิตคริสตชนแท้  ชีวิตที่ อุทิศให้พระเจ้าในความสนิทสัมพันธ์ที่ไม่มีสิ่งใดทำลายได้  และในเวลา เดียวกันก็อุทิศตนให้แก่เพื่อนมนุษย์ด้วยความกระตือรือร้นอย่างไร้ ขอบเขต” พระองค์ยังตรัสถึงความระแวงของประชาชนในปัจจุบันต่อ คำพูดที่ว่างเปล่าว่า “คนในยุคปัจจุบันสมัครใจรับฟังพยานมากกว่ารับ ฟังครูอาจารย์  และถ้าเขาฟังครูอาจารย์  ก็เป็นเพราะคนเหล่านั้นเป็น พยาน” เราต้องนำคำสั่งสอนมาปฏิบัติในชีวิตจริงก่อนจะนำไปสั่งสอน “สิ่งที่ท่านเป็น ย่อมส่งเสียงดังจนฉันไม่ได้ยินสิ่งที่ท่านพูด”

ข้อรำพึงที่สอง ดุจลูกแกะในฝูงสุนัขป่า ความกล้าหาญที่จะออกไปอยู่กลางฝูงสุนัขป่าเหมือนลูกแกะ จะ เกิดขึ้นจากความเชื่อว่าอำนาจของพระเจ้าอยู่ใกล้เรามากเท่านั้น  เมื่อ ศิษย์ 72 คนถูกส่งออกไปประกาศสันติสุข พวกเขาได้รับคำยืนยันจาก พระเยซูเจ้าว่า “พระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ใกล้ท่านทั้งหลายแล้ว”


254

บทเทศน์ปี C

วีรบุรุษผู้สร้างสันติ เช่น ฟรังซิสแห่งอัสซิซี, คานธี และมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับแรงบันดาลใจ และการค้ำจุนจากความเชื่อของตน ว่า อำนาจของความดีจะชนะเล่ห์กลทั้งหลายของความชั่ว ฟรังซิสไม่คำนึง ถึงอันตรายเลย เมื่อเขาข้ามเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างกองทัพครูเซด และ กองทัพของสุลต่าน เขาเชื่อว่าหนทางที่นำไปสู่ความยุติธรรมไม่มีทางได้ มาด้วยการใช้กำลังที่เหนือกว่า แต่ด้วยการประกาศเรื่องความดี  และ ภราดรภาพ ในช่วงหลังของชีวิต เมื่อเมืองอัสซิซีกำลังแตกแยกเป็นฝัก เป็นฝ่ายเพราะข้อพิพาทระหว่างผู้ว่าราชการและพระสังฆราช ฟรังซิส ไม่เสียเวลาคิดว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด เขากำลังนอนป่วย แต่เขาก็ส่ง ภราดาของเขาออกไปขับร้องถึงความสุขแท้ของบุคคลที่เอาชนะความ ผิดที่ผู้อื่นกระทำแก่ตนด้วยการให้อภัย คานธีได้รับพละกำลัง และวิสัยทัศน์จากบทเทศน์บนภูเขา และ โดยเฉพาะจากคำสอนเรื่องความสุขแท้  เขายังรักษาความเชื่อในพระวรสารข้อนี้อย่างไม่สั่นคลอน แม้เมื่อความชั่วร้ายยังคงแสดงพลังอัน รุนแรงของมันออกมา ทุกคนที่เลือกเดินตามทางแห่งคุณความดีตาม พระวรสาร สามารถคาดหมายได้ว่าเขาจะต้องเผชิญกับปฏิกิริยาจาก ความชั่วร้าย มาร์ ติ น  ลู เ ธอร์   คิ ง  ก็ เ ผชิ ญ กั บ การเลื อ กปฏิ บั ติ   การแสวงหา ประโยชน์  และความทรงจำอันขมขื่น  ความทุกข์ทรมานของเขาเป็น กระบวนการชำระตนเอง และทำให้เขาใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้น  เพราะ พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของวิสัยทัศน์  และความเข้มแข็งของเขา ในบั้นปลายชีวิตดูเหมือนว่าเขาอยู่ในดินแดนแห่งสันติภาพในวิสัยทัศน์ ของเขา มากกว่าอยู่ในสังคมที่น่าเกลียดรอบตัวเขา สันติภาพสามารถสร้างขึ้นได้โดยมีความยุติธรรมเป็นฐานราก เท่านั้น ความอยุติธรรมต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการเลือกปฏิบัติ  การ แสวงหาประโยชน์ และการลิดรอนสิทธิ จะต้องถูกกำจัดให้หมดไปก่อน ที่สันติภาพจะเจริญงอกงามได้


บทเทศน์ปี C

255

หลังจากนั้น การเติบโตของสันติภาพจะต้องพึ่งพาบรรยากาศ ของการให้อภัย และการคืนดี  ดังที่ฟรังซิสรู้ด้วยสัญชาตญาณที่อัสซิซี เราเห็ น ความสุ ข แท้ ข องผู้ ที่ ป ระกาศสั น ติ ภ าพในพระนามของพระคริสตเจ้าได้จากอำนาจในการเยียวยารักษาของเขา เราไม่มีทางคืนดีกับผู้อื่นได้จนกว่าแผลเป็นในความทรงจำจะ เลือนหายไปก่อน ด้วยเหตุนี้ พระเยซูเจ้าจึงได้ประทานอำนาจรักษาผู้ป่วย ให้แก่ศิษย์ทั้ง 72 คน คำพูดเกรี้ยวกราด และการกระทำซึ่งทำลายล้าง ย่อมทิ้งบาดแผลลึกไว้ในใจ โรคภัยไข้เจ็บมากมายในชีวิตก็เกิดจากความ เครียดและความกังวลใจที่เกิดจากบาดแผลภายในเหล่านี้  สิ่งที่มนุษย์ ต้องการคือการรักษาที่ลงลึกจนถึงจิตวิญญาณของเขา การรักษาโรค ภายในนี้เป็นงานของพระจิตเจ้า ผู้ทรงเป็นพละกำลังของพระอาณาจักร พระเยซูเจ้าทรงบอกศิษย์ทั้ง 72 คน ว่าชัยชนะเหนือความชั่วที่เขาได้เห็น กับตานั้นเกิดจากอำนาจสวรรค์ทั้งสิ้น “อย่าชื่นชมยินดีที่ปีศาจอ่อนน้อม ต่อท่าน แต่จงชื่นชมยินดีมากกว่าที่ชื่อของท่านจารึกไว้ในสวรรค์แล้ว” ความแพร่หลายของความชั่ว และการเสนอแต่ข่าวที่ชวนให้หดหู่ใจ ทำให้ คนจำนวนมากหมดหวังที่จะได้เห็นสันติภาพ แต่มีข่าวดีก็คือ อำนาจของ พระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ใกล้แล้ว “พระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ ใกล้ท่านทั้งหลายแล้ว”


256

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 2 ต่อจากนั้น องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้งศิษย์เจ็ดสิบสองคน และทรง ส่งเขาล่วงหน้าพระองค์เป็นคูๆ ่ ไปทุกตำบลทุกเมืองทีพ่ ระองค์จะเสด็จ ลูกาเป็นเพื่อนร่วมงานของเปาโล ผู้ได้ชื่อว่าเป็นอัครสาวกของ คนต่ า งชาติ  และเป็ น ผู้ นิ พ นธ์ พ ระวรสารเพี ย งคนเดี ย วที่ บ อกเล่ า เหตุการณ์นี้ ขณะที่ลูกาเขียนพระวรสารนี้ ได้มีกลุ่มคริสตชนเกิดขึ้นใน เมืองต่างๆ ของชนต่างชาติ  และผู้ก่อตั้งพระศาสนจักรท้องถิ่นเหล่านี้ ไม่ใช่อัครสาวกที่ได้รับมอบหมายอำนาจอย่างเป็นทางการ แต่เป็นชาย หญิงที่ประกาศเรื่องราวของพระเยซูเจ้าให้แก่ประชาชนขณะที่พวกเขา เดินทางค้าขาย (รม 16) ลูกาเน้นว่าการแพร่ธรรมของบรรดาศิษย์ครั้งนี้เกิดขึ้นตามพระบัญชาของพระเยซูเจ้าเอง พระองค์ไม่ได้ส่งแต่อัครสาวกสิบสองคน เท่านั้น (ลก 9:1-6) เขาเล่าโดยใช้ถ้อยคำแทบจะเหมือนกัน ว่าศิษย์ เจ็ดสิบสอง (บางฉบับบอกว่าเจ็ดสิบ) ได้ถูกส่งออกไปปฏิบัติพันธกิจ เดียวกัน และให้รายละเอียดมากกว่าคำบรรยายพันธกิจของอัครสาวก สิบสองคน เราจำเป็ น ต้ อ งย้ ำ เสมอว่ า  พระศาสนจั ก รไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง แต่ พระสันตะปาปาและพระสังฆราช แต่รวมถึง “ประชากรของพระเจ้า” คือ คริสตชนแต่ละคนด้วย ... เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าเชื่อหรือยังว่าพระเยซูเจ้า ทรงกำลังส่ง “ข้าพเจ้า” ออกไปปฏิบัติพันธกิจ ... เชื่อหรือยังว่าข้าพเจ้า ถูกพระองค์ส่งออกไป และดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นทูตที่พระองค์ทรงส่งไป หาคนนั้น หรือคนนี้...


บทเทศน์ปี C

257

ในบรรดาอัครสาวกที่พระองค์ทรงส่งไป อาจมีสตรีบางคนรวมอยู่ ด้วยก็ได้ (ลก 8:1-3)... - ส่งเขาไป “เป็นคู่ ๆ” ... ธรรมบัญญัติกำหนดให้ต้องมีพยาน สองคนจึงจะถือว่าชอบด้วยกฎหมาย (ฉธบ 19:15) ... ธรรมทูตคริสตชน ยุคแรกไม่เคยทำงานตามลำพัง เราเห็นเปาโลทำงานกับบาร์นาบัส ... บารนาบัสทำงานกับมาระโก ... เปาโลทำงานกับสิลาส ... ในชีวิตสมัยใหม่ เรามีโครงการวิทยาศาสตร์ การศึกษา หรือวัฒนธรรม ที่เน้นการทำงาน ร่วมกันเป็นทีม ... ข้าพเจ้าเป็นคนชอบทำงานตามลำพังหรือเปล่า ... ข้าพเจ้าร่วมมือกับผู้อื่นได้หรือไม่... ส่งเขาล่วงหน้าพระองค์ ... ไปทุกตำบลทุกเมืองที่พระองค์จะเสด็จ... งานแพร่ธรรมของเราต้องเป็นงานที่ถ่อมตนมาก เราเพียงแต่ เตรียมการ ... ส่วนงานแท้จริงนั้น พระเยซูเจ้าจะทรงทำเมื่อพระองค์ เสด็จมา ... เราเป็นเพียง “ผู้เบิกทาง”... พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ข้าวที่จะเกี่ยวมีมาก แต่คนงานมีน้อย จง วอนขอเจ้าของนาให้ส่งคนงานมาเก็บเกี่ยวข้าวของพระองค์เถิด” เห็นได้จากพระดำรัสนี้ว่าพระเยซูเจ้าทรงคิดว่าธรรมทูตกลุ่มแรก เจ็ดสิบสองคน (ซึ่งเป็นจำนวนไม่น้อยสำหรับจุดเริ่มต้น) จะไม่เพียงพอ และจำเป็นต้องหาคนงานใหม่ ๆ อยู่เสมอ พระเยซูเจ้าทรงมองการณ์ไกล ... “การเก็บเกี่ยว” เป็นภาพลักษณ์ที่ใช้ในพระคัมภีร์เพื่อกล่าวถึง “กาล อวสาน” คือการเข้าแทรกแซงช่วยเหลืออย่างเด็ดขาดเป็นครั้งสุดท้าย ของพระเจ้า (ยอล 3:13, มธ 13:39, วว 14:15-16) “ยุคสุดท้าย” นี้เริ่มขึ้นแล้วในองค์พระเยซูเจ้า พระเยซูเจ้าทรงมองเห็นความอุดมสมบูรณ์ของ “นาข้าวของพระเจ้า” ซึ่งพระเจ้ายังคงเป็น “เจ้าของนา”... ข้ า พเจ้ า คาดการณ์ ไ ด้ ห รื อ ไม่ ว่ า จะมี ช ายหญิ ง จำนวนมากที่ สมัครใจติดตามพระวรสาร


258

บทเทศน์ปี C

... แต่พระเยซูเจ้าทรงบอกเราว่า “มีคนงานไม่มากพอ” และเมื่อ ยังมีความต้องการเช่นนี้ (ดังนั้นจึงไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะใน ยุคของเรา) พระเยซูเจ้าทรงเสนอว่ามีวิธีแก้ไขทางเดียวคือการภาวนา เห็ น ได้ ชั ด ว่า  พระองค์ทรงมั่นใจว่างานแพร่ ธ รรมไม่ ใ ช่ กิ จ กรรมของ มนุษย์ เหมือนกับการโฆษณาชวนเชื่อ แต่เป็นงานของพระเจ้า ... เป็น พระหรรษทาน... ข้ า พเจ้ า ภาวนาขอให้ มี ค นงานเกี่ ย วข้ า วมากขึ้ น หรื อ เปล่ า – ไม่ใช่เพียงผู้เก็บเกี่ยวที่เป็นฆราวาส แต่ขอให้มีพระสงฆ์ และนักบวช มากขึ้นด้วย... ส่วนข้าพเจ้าเองเล่า ... ข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ทำงานเก็บ เกี่ยวหรือเปล่า... จงไปเถิด เราส่งท่านทั้งหลายไปดุจลูกแกะในฝูงสุนัขป่า จงไป ... นี่คือคำสั่ง ... เรากำลังส่งท่านไป... พระเยซูเจ้าไม่ทรงปิดบังว่างานนี้เป็นงานที่ยาก แต่กระนั้น เรา ก็ยังแปลกใจที่เห็นหลายคนละทิ้งพันธกิจของตน และถึงกับละทิ้งความ เชื่อ เมื่อเขาล้มเหลวในการเผยแผ่คำสั่งสอนในพระวรสาร ... แต่เราได้รับ คำเตื อ นมาแล้ ว  ผู้ มี ค วามเชื่ อ ต้ อ งปฏิ บั ติ ต นเหมื อ นลู ก แกะต่ อ หน้ า สุนัขป่า ... ขอให้เราอย่ามองความหมายของภาพลักษณ์นี้ผิดเพี้ยนไป มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคริสตชนหรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นบุตรที่รักของ พระเจ้า แต่ “แกะฝูงน้อยนี้” ต้องการมีผู้เลี้ยงแกะคอยพิทักษ์คุ้มครอง (ยน 15:18, 10:1-16)... พระเยซูเจ้าทรงเตือนพระศาสนจักรของพระองค์ล่วงหน้าแล้ว ว่ า จะอยู่ ท่ า มกลางอั น ตรายเสมอ ... เราควรรู้ สึ ก แปลกใจเมื่ อ ใดที่ พระศาสนจักรอยู่ท่ามกลางสันติภาพ และความมั่นคง ... ดังนั้น จงวางใจ ในพระองค์เถิด!...


อย่านำถุงเงิน ย่าม หรือรองเท้าไปด้วย...

บทเทศน์ปี C

259

น่ า แปลกใจที่ พ ระเยซู เ จ้ า ไม่ ท รงสั่ ง เกี่ ย วกั บ “ข้ อ ความเชื่ อ ” พระองค์ไม่ได้บอกเขาว่าให้เทศน์สอนอะไรเรื่องความเชื่อ แต่ทรงกำชับ เกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้เทศน์สอน เช่น การแต่งกาย สัมภาระที่นำ ติดตัวไป วิธีติดต่อสื่อสารกับประชาชน ธรรมทูตประกาศพระอาณาจักร ของพระเจ้าได้ดีที่สุดด้วยวิถีชีวิตของเขาเอง... ประการแรก พระเยซูเจ้าตรัสถึงความจำเป็นต้องถือความยากจน เราต้องไม่พงึ่ พาอาศัยเครือ่ งมือของมนุษย์เป็นสิง่ แรก พระเยซูเจ้าไม่ทรง ใช้อำนาจ เงินทอง หรือพิธีการภายนอก ... “แม้ว่าพระองค์ทรงร่ำรวย แต่ทรงยอมรับสภาพคนจน” ... กฎข้อแรกสำหรับพระศาสนจักร คือ ให้ เลียนแบบพระอาจารย์ของตน ... ต้องถือความยากจน... อย่าเสียเวลาทักทายผู้ใดตามทาง... คำสั่ ง นี้ ไ ม่ ไ ด้ ต้ อ งการให้ ศิ ษ ย์ ข องพระองค์ ห ยาบคาย แต่ ใ ห้ หลีกเลี่ยงการเสียเวลา ... ไม่มีเวลาสำหรับทักทายอย่างเยิ่นเย้อ และการ ซุบซิบนินทา ในพระวรสารของลูกา ผู้นำพระวรสารไปประกาศทุกคน ต้องวิ่ง หรือเร่งรีบ เช่น พระนางมารีย์ รีบไปเยี่ยมนางเอลีซาเบธ คน เลี้ยงแกะรีบไปตามหาพระกุมาร ฟิลิปวิ่งตามรถม้าของข้าราชการชาว อียิปต์ (กจ 8:30)... ข้าพเจ้าเร่งรีบด้วยหรือเปล่า... เมื่อท่านเข้าบ้านใดจงกล่าวก่อนว่า “สันติสุขจงมีแก่บ้านนี้เถิด” ถ้ามี ผู้สมควรจะรับสันติสุขอยู่ที่นั่น สันติสุขของท่านจะอยู่กับเขา มิฉะนั้น สันติสุขของท่านจะกลับมาอยู่กับท่านอีก จากนั้น พระเยซูเจ้าทรงแนะนำวิถีชีวิตอย่างหนึ่ง คือ สันติสุขและ ความยินดีอันสงบ การถ่ายทอดสันติสุข และความยินดีให้แก่กัน ... การ


260

บทเทศน์ปี C

สัมผัสกับสันติสุขเพื่อจะส่งต่อไปให้คนรอบข้าง “สันติสุขของท่านจะอยู่ กับเขา” ... พระวรสารหมายถึงการส่งกระแสแห่งความสามัคคีปรองดอง ระหว่างบุคคลอีกด้วย... จงพักอาศัยในบ้านนั้น  กินและดื่มของที่เขาจะนำมาให้  เพราะว่า คนงานสมควรที่จะได้รับค่าจ้างของตน อย่าเข้าบ้านนี้ออกบ้านโน้น เมื่อท่านเข้าไปในเมืองใด และเขาต้อนรับท่าน จงกินของที่เขาจะนำ มาตั้งให้ ปัญหาเรื่องอาหารการกินนี้อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ เมื่อเรารู้ว่าชาวยิวมีกฎเคร่งครัดอย่างไรเกี่ยวกับอาหาร พระวาจาของ พระเยซูเจ้าฟังดูเหมือนเป็นเสียงเรียกร้องให้ปลดปล่อยตนเอง จงกิน อาหารโดยไม่กังวลว่าอาหารนี้บริสุทธิ์ หรือมีมลทิน... พระเยซูเจ้าทรงล้ำสมัยมากในแง่นี้ ท้ายที่สุด พระองค์ทรงขอร้อง ให้เปิดใจยอมรับธรรมเนียมของผูอ้ น่ื  ให้ยอมรับวัฒนธรรมของประชาชน ที่ท่านต้องการประกาศพระวาสารแก่เขา ... คำสั่งสอนนี้จะมีผลกระทบ ต่อคนจำนวนมาก... จงรักษาผู้เจ็บป่วยในเมืองนั้น และบอกเขาว่า “พระอาณาจักรของ พระเจ้าอยู่ใกล้ท่านทั้งหลายแล้ว” พระวรสารนี้สั่งสอนอย่างเป็นรูปธรรม เป็นแนวทางที่ปฏิบัติได้ นี่คือ “ข่าวดี” ในทางปฏิบัติ กล่าวคือ จงทำความดี จงต่อสู้ความชั่ว จงบรรเทาใจ จงรักษาโรค... พระอาณาจักรของพระเจ้า ... แผนการของพระเจ้า ... โครงการ ของพระเจ้า ... เราคาดหมายว่าสิ่งเหล่านี้จะเสร็จสมบูรณ์เมื่อสิ้นพิภพ แต่พระเยซูเจ้าตรัสว่า “พระอาณาจักรอยู่ที่นี่ ... อยู่ใกล้ท่านแล้ว”...


บทเทศน์ปี C

261

ถูกแล้ว พระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ใกล้ตัวท่าน อยู่ในชีวิต ประจำวันของท่าน แต่ท่านก็ยังไม่ตระหนักว่าอยู่ใกล้ท่านเพียงไร... พระอาณาจักรของพระเจ้าคืออะไร ... คือพระเยซูเจ้า ... พระเยซูเจ้าทรงเป็นเมล็ดพันธุ์อันเร้นลับที่พระเจ้าทรงปลูกไว้ในหัวใจของ มนุษย์ ... เมื่อพระเยซูเจ้าประทับอยู่ที่ใด พระเจ้าก็ทรงครองราชย์และ ประทับอยู่ที่นั้นด้วย – ตั้งแต่บัดนี้แล้ว -ในองค์พระเยซูเจ้า ... ข่าวดีมี เนื้อหาสาระที่เรียบง่ายมาก กล่าวคือ จุดมุ่งหมายของพระเจ้าจะได้รับ ชัยชนะ นี่คืออนาคตอันสมบูรณ์ของมนุษย์ ที่เริ่มต้นขึ้นแล้ว... โลกนี้จะไม่ดำรงอยู่ตลอดไป ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติจะ ต้องมาถึงจุดจบ แต่จุดจบนี้ไม่ใช่การสูญสลายไปสู่ความว่างเปล่า แต่ จุดจบนี้คือพระเจ้า เมื่อเราเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า นั่นหมายความว่า เรากำลังคาดหวังว่าเราจะบรรลุถึงความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของเรา และความสำเร็จนี้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เพราะทั้งปฐมเหตุ และจุดหมายปลาย ทางของมนุษย์ก็คือพระเจ้า... พระอาณาจักรของพระเจ้าก็คือการปฏิบัติตามพระประสงค์ของ พระองค์ “พระอาณาจักรจงมาถึง พระประสงค์จงสำเร็จไป” ... พระประสงค์ของพระเจ้า คือ พระองค์ทรงต้องการให้มนุษย์ได้รับแต่สิ่งดี การรักษาโรคภัยไข้เจ็บเป็นเครื่องหมายของพระประสงค์นี้  “จงรักษา ผู้เจ็บป่วย” ... จงรักษาโรคให้มนุษย์ ... พระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ ใกล้ท่านทั้งหลายแล้ว... แต่ถ้าท่านเข้าไปในเมืองใดและเขาไม่ต้อนรับ ก็จงออกไปกลางลาน สาธารณะ และกล่าวว่า “แม้แต่ฝุ่นจากเมืองของท่านที่ติดเท้าของเรา เราจะสลัดทิ้งไว้ปรักปรำท่าน จงรู้เถิดว่า พระอาณาจักรของพระเจ้า ใกล้เข้ามาแล้ว” เราบอกท่านทั้งหลายว่า ในวันพิพากษา ชาวเมือง โสดมจะรับโทษเบากว่าชาวเมืองนั้น”


262

บทเทศน์ปี C

พระเยซูเจ้าทรงคาดหมายว่าศิษย์ของพระองค์จะต้องพบกับ ความล้มเหลวบ้าง และพบประชาชนที่ไม่ยอมเชื่อ ... แต่ก็ยังจำเป็นต้อง ประกาศถึงความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของพระเจ้า (ซึ่งเป็นความสำเร็จ ตามจุ ด มุ่ ง หมายของมนุ ษ ย์ ด้ ว ย) กล่ า วคื อ ไม่ ว่ า ท่ า นจะชอบหรื อ ไม่ พระเจ้าก็จะต้องขึ้นครองราชย์สักวันหนึ่งแน่นอน คือในวันแห่งการ พิพากษา ... แต่ท่านที่ไม่ยอมรับสารนี้เพราะความดื้อรั้น ท่านจะอยู่ภาย นอกความสำเร็จนี้ ซึ่งสามารถเป็นของท่านได้... ศิษย์ทั้งเจ็ดสิบสองคนกลับมาด้วยความชื่นชมยินดี ทูลว่า “พระเจ้าข้า แม้แต่ปีศาจก็ยังอ่อนน้อมต่อเรา เดชะพระนามของพระองค์” พระองค์ตรัสตอบว่า “เราเห็นซาตานตกจากฟ้าเหมือนฟ้าแลบ จงฟังเถิด เราให้อำนาจแก่ท่านที่จะเหยียบงูและแมงป่อง มีอำนาจเหนือกำลัง ทุกอย่างของศัตรู ไม่มีอะไรจะทำร้ายท่านได้ อย่าชื่นชมยินดีที่ปีศาจ อ่อนน้อมต่อท่าน แต่จงชื่นชมยินดีมากกว่าที่ชื่อของท่านจารึกไว้ใน สวรรค์แล้ว” ศิษย์เจ็ดสิบสองคนแรกไม่ได้พบกับความล้มเหลวไปเสียทุกคน งานแพร่ธรรมของเขาประสบผลสำเร็จ  อำนาจของความชั่วถูกขับไล่ ออกไป ... ช่างน่ายินดีอะไรเช่นนี้... พระเยซู เ จ้ า ทรงลดความกระตื อ รื อ ร้ น ในชั ย ชนะของเขา ... ถูกแล้ว พวกท่านได้ทำสิ่งที่น่าพิศวง ... แต่สิ่งสำคัญคือท่านควรขอบพระคุณพระเจ้าในใจของท่าน เพราะสิ่งสำคัญคือการได้อยู่ในอาณาจักร สวรรค์ ... ตั้งแต่ท่านอยู่บนโลกนี้แล้ว...


บทเทศน์ปี C

263

วั นอาทิตย์ที่สิบห้า เทศกาลธรรมดา ลูกา 10:25-37 ขณะนั้ น  นั ก กฎหมายคนหนึ่ ง ยื น ขึ้ น ทู ล ถามเพื่ อ จะจั บ ผิ ด พระองค์ว่า  “พระอาจารย์  ข้าพเจ้าจะต้องทำสิ่งใดเพื่อจะได้ชีวิต นิรันดร” พระองค์ตรัสถามเขาว่า “ในธรรมบัญญัติมีเขียนไว้อย่างไร ท่านอ่านว่าอย่างไร” เขาทูลตอบว่า “ท่านจะต้องรักองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า พระเจ้าของท่าน สุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดกำลัง และสุดสติปัญญา ของท่าน ท่านจะต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” พระองค์ตรัส กับเขาว่า “ท่านตอบถูกแล้ว จงทำเช่นนี้ แล้วจะได้ชีวิต” ชายคนนั้นต้องการแสดงว่าตนถูกต้อง จึงทูลถามพระเยซูเจ้า ว่า “แล้วใครเล่าเป็นเพื่อนมนุษย์ของข้าพเจ้า” พระเยซูเจ้าจึงตรัส ต่อไปว่า “ชายคนหนึ่งกำลังเดินทางจากกรุงเยรูซาเล็มไปยังเมือง เยรีโค เขาถูกโจรปล้น พวกโจรปล้นทุกสิง่ ทุบตีเขาแล้วก็จากไป ทิง้ เขา ไว้อาการสาหัสเกือบสิ้นชีวิต สมณะผู้หนึ่งเดินผ่านมาทางนั้นโดย บั ง เอิ ญ เห็นเขาและเดินผ่านเลยไปอี ก ฟากหนึ่ ง  ชาวเลวี ค นหนึ่ ง ผ่านมาทางนั้น เห็นเขาและเดินผ่านเลยไปอีกฟากหนึ่งเช่นเดียวกัน แต่ชาวสะมาเรียผู้หนึ่งเดินทางผ่านมาใกล้ๆ เห็นเขาก็รู้สึกสงสาร จึง เดินเข้าไปหา เทน้ำมันและเหล้าองุ่นลงบนบาดแผลแล้วพันผ้าให้


264

บทเทศน์ปี C

นำเขาขึ้นหลังสัตว์ของตน พาไปถึงโรงแรมแห่งหนึ่งและช่วยดูแลเขา วั น รุ่ ง ขึ้ น  ชาวสะมาเรี ย ผู้ นั้ น นำเงิ น สองเหรี ย ญออกมามอบให้ เจ้าของโรงแรมไว้ กล่าวว่า ‘ช่วยดูแลเขาด้วย เงินที่ท่านจะจ่ายเกินไป นั้น ฉันจะคืนให้เมื่อกลับมา’ ท่านคิดว่าในสามคนนี้ ใครเป็นเพื่อน มนุษย์ของคนที่ถูกโจรปล้น” เขาทูลตอบว่า “คนที่แสดงความเมตตา ต่อเขา” พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขาว่า “ท่านจงไปและทำเช่นเดียวกัน เถิด”


บทเทศน์ปี C

265

บทรำพึงที่ 1 ข้อรำพึงที่หนึ่ง การแสดงความรักด้วยกิจการ ระหว่ า งการเดิ น ทางไปกรุ ง เยรู ซ าเล็ ม  พระเยซู เ จ้ า ทรงสอน แนวทางการเป็นศิษย์ของพระองค์ ชีวิตจิตเปรียบเสมือนเก้าอี้ที่มีสามขา ขาข้างหนึ่งคือการอธิษฐานภาวนา ขาข้างที่สองคือการศึกษาหาความรู้ เกี่ ย วกั บ ศาสนา และขาข้ า งที่ ส ามคื อ การแสดงความรั ก ด้ ว ยกิ จ การ พระวรสารวันนี้แสดงให้เห็นความรักที่แสดงออกเป็นกิจการ วันอาทิตย์ ในอีกสองสัปดาห์ต่อไปจะกล่าวถึงขาข้างอื่นๆ ของเก้าอี้สามขานี้ ความรั ก เป็ น คำที่ เ ราใช้ กั น อย่ า งพร่ ำ เพรื่ อ และปราศจาก ความหมายที่ชัดเจน ศาสนามีจุดประสงค์เพื่อนำทางเราไปสู่ความรักอัน สมบูรณ์ต่อพระเจ้า และความรักต่อผู้อื่น อุปมาเรื่องชาวสะมาเรียใจดี เป็นตัวอย่างของการกระทำที่เกิดจากความรักแท้  สมณะและชาวเลวี เป็นผู้ที่มีอาชีพปรนนิบัติรับใช้พระเจ้า แต่ทั้งสองคนเดินผ่านเหยื่อที่ ต้องการความช่วยเหลือไปโดยไม่ช่วยเหลือ สันนิษฐานได้ว่าข้ออ้างของ เขาก็คือการสัมผัสกับเลือด หรือศพจะทำให้เขามีมลทิน และไม่เหมาะสม จะประกอบพิธีกรรมในพระวิหาร ความเคร่งครัดศรัทธาจอมปลอมเป็น ข้ออ้างเพื่อหลบเลี่ยงงานได้เสมอ การช่วยเหลือของชาวสะมาเรีย แสดงให้เห็นความรักที่แสดงออก มาเป็นกิจการ เขาเห็น เขารู้สึกสงสาร และเขาทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อ แก้ไขสถานการณ์ ก้าวแรกของความรักอยู่ที่การมองเห็นเพื่อนมนุษย์ อยู่ที่การใส่ใจ


266

บทเทศน์ปี C

ในตัวเขา เราเปิดหน้าต่างแห่งความเย็นชาของเราเมื่อเรามองเห็นและ ได้ยินผู้อื่น เราเริ่มใส่ใจเมื่อเราได้ยินเขาเคาะประตู และร้องขอที่จะเข้า มาในชีวิตของเรา เราเชี่ยวชาญในการสกัดกั้นไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาในชีวิต ของเรา บางคนถูกห้ามเข้าเพราะอคติ หรือการเลือกปฏิบัติ หรือเพราะ เราไม่อยากเสียเวลาไปกับธุระของเขา ดังนั้น เราจึงไม่ฟังเสียงเคาะ ประตูของเขา เราอาจถึงกับใช้กฎเป็นข้ออ้างว่า “นี่ไม่ใช่เวลาจะมาหา ...” หรือเหมือนกับที่โรเบิร์ต ฟรอสท์ กล่าวถึงเพื่อนบ้านในบทกวีของเขา เราอ้างว่ารั้วที่แข็งแรงทำให้เรามีเพื่อนบ้านที่ดี ก้ า วที่ ส องคื อ การตอบเสี ย งเคาะประตู   และเปิ ด ให้ บุ ค คลนั้ น เข้ามาในบ้าน ชาวสะมาเรียผู้นี้ “รู้สึกสงสาร” คนเดินทางที่บาดเจ็บ ชาย สองคนผู้เคร่งครัดศาสนามองเห็นผู้เคราะห์ร้าย แต่ข้ามไปเดินอีกฟาก หนึ่ง ความสงสารหมายถึงการยอมรับความเจ็บปวดของอีกฝ่ายหนึ่ง และ ตอบสนองต่อความเจ็บปวดนั้น เมื่อผู้อื่นเคาะประตูของเรา ความสงสาร จะเปิดประตูให้เขาเข้ามาภายใน และพร้อมจะยื่นมือออกไปหาเขา ไม่ว่า เขากำลังขอให้เราร่วมร้องไห้กับความทุกข์ของเขา หรือร่วมยินดีกับเขา หรือช่วยถมความว่างเปล่าในตัวเขา หรือยอมรับสิ่งที่เขามีอยู่อย่างเต็ม เปี่ยม การใส่ใจอย่างลึกซึ้งในตัวผู้อื่นช่วยให้เราเข้าใจไม่เพียงสิ่งที่เขา พูด แต่ยังเข้าใจสิ่งที่เขาอยากพูด แต่พูดออกมาไม่ได้  เช่นเดียวกับที่ พระเยซูเจ้าไม่เพียงได้ยนิ คำถามว่า “ใครเล่าเป็นเพือ่ นมนุษย์ของข้าพเจ้า” แต่พระองค์ทรงสัมผัสได้ถึงตัวบุคคลที่อยู่เบื้องหลังคำถามนี้  พระองค์ ทรงตอบผู้ถามมากกว่าตอบคำถาม พระองค์ทรงเปิดใจของเขาให้รับฟัง คำตอบ ผ่านทางเรื่องอุปมาที่เสนอแนวทางที่เขาสามารถปฏิบัติได้ ก้าวที่สามของการเป็นเพื่อนมนุษย์ที่ดีคือการทำสิ่งที่สมควรทำ ความรู้สึกย่อมไร้ประโยชน์เมื่อไม่ส่งผลให้เกิดกิจการ เมื่อความสงสาร ของชาวสะมาเรีย มาพบกับความทุกข์ยากของเหยื่อที่ถูกปล้น ผลที่


บทเทศน์ปี C

267

เกิดขึ้นคือ เขาแสดงความใจกว้างด้วยการลืมนึกถึงความสะดวกสบาย ของตนเอง และยื่นมือเข้าช่วยเหลือ ข้ออ้างที่ใช้กันบ่อยที่สุดในชีวิต คือ เรากำลังรอคอยจนกว่าจะมี โอกาสที่ เ หมาะสม นั ก เขี ย นการ์ ตู น ชื่ อ  โรเบิ ร์ ต  ชอร์ ต  ผู้ ใ ห้ ก ำเนิ ด ครอบครัวชาร์ลี บราวน์ ได้เขียนภาพพร้อมกับคำคมว่า “ฉันรักมนุษยชาตินะ ... คนต่างหากที่ฉันทนไม่ได้” ความรักเริ่มต้นจากในบ้าน กับคนที่ เราพบทุกวัน บทอ่านทีห่ นึง่ ของวันนีเ้ ตือนเราว่า “กฎทีข่ า้ พเจ้าเรียกร้องให้ทา่ น ปฏิบัติวันนี้ไม่เกินกำลังของท่าน หรือไกลเกินเอื้อม พระวาจาอยู่ใกล้ท่าน มาก อยู่ในปากของท่าน และในใจของท่านเพื่อให้ท่านยึดถือ บัดนี้ เป็น เวลาเหมาะสมแล้ว วันนี้เป็นวันที่ท่านต้องใส่ใจ ต้องรู้สึก และต้องให้”

ข้อรำพึงที่สอง การใช้เรื่องอุปมา อุปมาเรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอานุภาพของการเล่า เรื่อง “ท่านจะต้องรักเพื่อนมนุษย์ ... แล้วใครเล่าเป็นเพื่อนมนุษย์ของ ข้าพเจ้า” พระเยซูเจ้าทรงสามารถตอบคำถามนีโ้ ดยตรงด้วยประโยคสัน้ ๆ แต่พระองค์ทรงต้องการตอบบุคคลที่ซ่อนตัวอยู่หลังคำถามนั้นมากกว่า คำถามนี้เผยให้เห็นความคิดคับแคบของผู้ถาม พระองค์สามารถตอบ คำถามด้วยการนิยามความหมายของคำว่า “เพื่อนมนุษย์” แต่นั่นไม่ช่วย ให้ตัวผู้ถามได้รับคำตอบ ด้วยการเล่าเรื่อง พระเยซูเจ้าทรงสามารถทำ ให้เขาสะดุ้งจนหลุดพ้นจากความคิดว่าตนเองดีกว่าผู้อื่น ก่อนจะทรง เชิญชวนเขาให้หาวิธีใหม่ๆ ในการปฏิบัติตามหลักศาสนา ในเรื่องเล่าประเภทนี้ พระเอกมักเป็นตัวละครที่สาม “ครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว มีสมณะคนหนึ่ง...และชาวเลวีคนหนึ่ง...และ...” ทุกคนคง คาดหมายว่าตัวละครที่สามจะเป็นฆราวาสชาวยิว แต่เปล่าเลย พวกเขา


268

บทเทศน์ปี C

ได้ยินข้อความที่ไม่คาดหมาย พวกเขาคงไม่เพียงสะดุ้ง แต่ถึงกับช็อก เมื่อตระหนักว่าว่าพระเอกในเรื่องนี้เป็นชาวสะมาเรีย คนครึ่งชาติครึ่ง ศาสนาที่ชาวยิวเหยียดหยาม แม้แต่คนต่างชาติเต็มร้อยยังได้รับความ เคารพนับถือมากกว่าชาวสะมาเรีย พระเยซู เ จ้ า ทรงคาดหมายว่ า  นั ก กฎหมายที่ ช อบใช้ ส ำนวน โวหารคนนี้คงเริ่มคิดหาเหตุผลมาแก้ตัวให้สมณะ และชาวเลวี ว่าพวกเขา รอบคอบแล้วที่หลีกเลี่ยงโอกาสที่อาจสัมผัสกับร่างคนตาย ซึ่งจะทำให้ พวกเขามีมลทิน และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาได้ พระองค์ทรง ทำลายเกราะป้องกันตนเองของเขาด้วยการถามเกี่ยวกับความเมตตา ของเพื่อนมนุษย์ เมื่อนักกฎหมายหลุดพ้นจากความพึงพอใจกับความดี ของตนเองแล้ว บัดนี้ พระเยซูเจ้าจึงสามารถเชิญเขาให้คิดในแง่มุมใหม่ เกี่ยวกับคำถามนี้ “ท่ า นคิ ด ว่ า ในสามคนนี้ ใ ครเป็ น เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ข องคนที่ ถู ก โจรปล้น” บัดนี้ พระองค์ทรงปรับเปลี่ยนรูปแบบของคำถาม โดยทรง เปลี่ยนจากการระบุข้อจำกัดของความรักต่อเพื่อนมนุษย์ ไปสู่การปฏิบัติ ที่แสดงความรัก และนักกฎหมายก็ตอบว่า “คนที่แสดงความเมตตา ต่อเขา” เขายังกลัวที่จะเอ่ยชื่อที่เขารังเกียจ คือ ชาวสะมาเรีย แต่กระนั้น เรื่ อ งอุ ป มานี้ ก็ เ ริ่ ม ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ประเด็ น สำคั ญ  เมื่ อ เขายอมรั บ ว่ า คนกึ่ ง ต่างชาตินี้ แสดงความรักออกมาเป็นการกระทำ ดังนั้น เขาจึงปฏิบัติตาม หลักศาสนามากกว่าคนที่ถือธรรมเนียมศาสนาอย่างเคร่งครัด การใช้ เ รื่ อ งอุ ป มาช่ ว ยให้ พ ระเยซู เ จ้ า สามารถเปิ ด ใจของ นักกฎหมายให้มีแนวความคิดแบบใหม่ ถ้าจะใช้คำศัพท์ของนักวิจัยสมัย ใหม่  พระองค์ทรงกำลังเชิญนักกฎหมายให้เปลี่ยนวิธีคิด  จากการใช้ สมองด้านซ้ายเปลี่ยนเป็นใช้สมองด้านขวา


บทเทศน์ปี C

269

การคิดด้วยสมองด้านซ้ายจะพยายามควบคุมสิ่งต่างๆ ด้วยการ วิเคราะห์และคำจำกัดความ ด้วยการแบ่งแยกเพื่อเอาชนะ นักกฎหมาย ถึงถูกอบรมมาให้แก้ปัญหาโดยใช้สำนวนโวหารย่อมเป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านนี้  ดังนั้น ปฏิกิริยาแรกของเขาจึงเป็นการพยายามหาคำนิยามของ คำว่าเพื่อนมนุษย์  แต่คำนิยามจะมีข้อจำกัดเสมอ เพราะเป็นการระบุ ขอบเขตโดยตัดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับคำนั้นออกไป สมองด้านซ้ายพอใจ กับความหมายที่มีข้อจำกัดนี้เพราะสามารถควบคุมได้  ส่วนสมองด้าน ขวาพยายามค้ น หาความเป็ น ไปได้ ที่ ค ำนั้ น จะเชื่ อ มโยงกั บ ความเป็ น จริงที่กว้างกว่า เมื่อเราเริ่มใช้สมองด้านขวา เราจึงเผชิญกับการสูญเสีย อำนาจควบคุม และทำให้เราตกอยู่ในความเสี่ยง นั ก กฎหมายได้ รั บ เชิ ญ จากพระเยซู เ จ้ า ให้ อ อกจากโลกของ สำนวนโวหาร และให้ค้นพบโลกของความรัก  ซึ่งประกอบด้วยความ เป็นไปได้อันน่าตื่นเต้น เคียงคู่กับข้อเรียกร้อง ความเสี่ยง และจุดอ่อน เมื่อจบการสนทนา นักกฎหมายจึงมาถึงจุดยืนที่พระเยซูเจ้าทรงสามารถ เชิญชวนเขาว่า “ท่านจงไป และทำเช่นเดียวกันเถิด” เรื่องเล่าของพระเยซูเจ้าไม่เคยเป็นเพียงเรื่องเล่า ในแต่ละเรื่องมี คำเชิญให้เราเข้าไปอยู่ในเรื่องนั้น ให้เราหาตำแหน่งของตนเองในเรื่อง นั้น และค้นพบชีวิตของเราอีกครั้งหนึ่ง บางครั้ง การค้นพบก็ทำให้เรา ตกใจ แต่จะมีคำพูดที่เสนอความหวังที่เราจะเจริญเติบโตเสมอ


270

บทเทศน์ปี C

บทรำพึงที่ 2 ขณะนั้น นักกฎหมายคนหนึ่งยืนขึ้นทูลถามเพื่อจะจับผิดพระองค์ว่า “พระอาจารย์ ข้าพเจ้าจะต้องทำสิ่งใดเพื่อจะได้ชีวิตนิรันดร” ในสมัยของพระเยซูเจ้า คำถามนี้ไม่ใช่คำถามง่าย ๆ สำหรับชาวยิว เพราะชาวฟาริสีเชื่อในชีวิตหน้า และการกลับคืนชีพจากบรรดาผู้ตาย – แต่ชาวสะดูสีไม่เชื่อเช่นนี้... มนุษย์รอบตัวเราในปัจจุบันยังมีความคิดต่างกันเกี่ยวกับคำถาม นี้ ซึ่งไม่ใช่คำถามใหม่ ... ไม่ว่าเราจะตอบรับหรือปฏิเสธ ปัญหาเรื่อง ชี วิ ต นิ รั น ดรก็ เ ป็ น หนึ่ ง ในปั ญ หาสำคั ญ ที่ สุ ด ที่ ม นุ ษ ย์ ต้ อ งเผชิ ญ  เป็ น คำถามที่มีเดิมพันสูงสุด ... นักคิดชื่อปาสกาล พยายามตอบคำถามนี้ด้วย “การท้าพนัน” ของเขาซึ่งเรารู้จักดีว่า “พระเจ้ามีจริง หรือไม่มีจริง แต่จะ เลือกอะไรในสองข้อนี้ ... เราไม่สามารถเลือกตอบ หรือเลือกไม่ตอบ คำถามข้อนี้ เพราะนี่คือปัญหาของเรา ถ้าท่านเลือกจะพูดว่า ‘พระเจ้า มีจริง’ แล้วชนะ ท่านจะได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ถ้าท่านแพ้ ท่านก็ไม่มีอะไร จะเสีย ดังนั้น จงวางเดิมพันของท่านกับการที่พระเจ้ามีจริง โดยไม่ลังเลใจ เถิด ... ในการพนันครั้งนี้ ถ้าท่านชนะ ท่านจะได้ชีวิตที่มีความสุขอย่าง ไร้ขอบเขต และไม่มีวันสิ้นสุด – เป็นโอกาสได้กำไรอย่างไร้ขีดจำกัด เทียบกับโอกาสที่ท่านจะแพ้ซึ่งมีอยู่น้อย ... นี่ทำให้ไม่ต้องลังเลใจเลย” (Pensees, 343) “ท่านจะได้รับผลร้ายอะไรหรือ ถ้าท่านพนันว่าพระเจ้ามีจริง ท่าน จะซื่อสัตย์ สุจริตใจ ถ่อมตน สำนึกในบุญคุณ ท่านจะเป็นเพื่อนแท้ผู้จริงใจ แม้จะเป็นความจริงว่าท่านจะไม่ได้ชื่นชมกับความรื่นรมย์  เกียรติยศ


บทเทศน์ปี C

271

ชื่อเสียง หรือความสนุกสนานที่มีพิษ แต่ท่านจะไม่ได้ลิ้มรสความยินดี อื่นๆ หรือ ข้าพเจ้าขอบอกว่า ท่านจะเป็นผู้ชนะในชีวิตนี้ และทุกก้าวที่ ท่านเดินบนเส้นทางนี้  ท่านจะค้นพบความมั่นใจว่าท่านจะได้รับชัยชนะ และค้นพบว่าท่านไม่มีอะไรต้องเสี่ยงเลย จนในที่สุด ท่านจะตระหนักว่า ท่านได้วางเดิมพันในขุมทรัพย์ทแ่ี น่นอน โดยทีท่ า่ นไม่ตอ้ งจ่ายอะไรเลย” ในทุกยุคทุกสมัย และทุกอารยธรรม มนุษย์หวังว่าจะมี “ชีวิตอื่น” พระเยซูเจ้าตรัสเรื่องนี้บ่อยครั้ง พระองค์ถึงกับตรัสว่า “ชีวิตนิรันดร” นี้ เริ่มต้นขึ้นแล้ว ... สำหรับผู้มีความเชื่อ ชีวิตนิรันดรเริ่มขึ้นแล้ว และเขา กำลังดำเนินชีวิตนิรันดรนั้นอยู่ แม้จะยังไม่สมบูรณ์ก็ตาม... แต่สาระของชีวิตนี้คืออะไร และเราต้องทำอะไรเพื่อบรรลุถึงสาระ นี้... นี่คือคำถามของนักกฎหมายคนนี้ ... และเป็นคำถามสำหรับเรา ด้วย พระเยซูเจ้าตรัสถามเขาว่า “ในธรรมบัญญัติเขียนไว้อย่างไร ท่านอ่าน ว่าอย่างไร” เขาทูลตอบว่า “ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้า ของท่าน สุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดกำลัง และสุดสติปัญญาของท่าน ท่านจะต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ท่านตอบถูกแล้ว จงทำเช่นนี้แล้วจะได้ชีวิต” ท่อนแรกที่นักกฎหมายอ้างเป็นข้อความจากบทภาวนาประจำวัน ของชาวยิว คือ Shema มาจากหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 6:5 พระเยซูเจ้าก็ทรงสวดบทภาวนานี้ทุกวัน ... แต่นักกฎหมายเพิ่มข้อความจาก หนังสือเลวีนิติ 19:8 เข้าไปด้วย ดังนั้น เพื่อจะมีชีวิตนิรันดร เราต้องรัก ถูกแล้ว ... รัก! เราพบคำถาม และคำตอบนี้ในพระวรสารสหทรรศน์อีกสองฉบับ ด้วย (มธ 22:34-40, มก 12:28-31) แต่ลูกาไม่แยกออกเป็น “บท


272

บทเทศน์ปี C

บัญญัติแรก” และ “บทบัญญัติที่สอง” ความรักต่อพระเจ้า และความรัก ต่อเพื่อนมนุษย์ไม่อาจแยกออกจากกันได้... นี่เป็นความจริงในชีวิตของข้าพเจ้าด้วยหรือไม่... ชายคนนั้นต้องการแสดงว่าตนถูกต้องจึงทูลถามพระเยซูเจ้าว่า “แล้ว ใครเล่าเป็นเพื่อนมนุษย์ของข้าพเจ้า” จนถึงเวลานั้น คำสั่งสอนของพระเยซูเจ้าไม่ได้ต่างจากธรรมบัญญัติในพันธสัญญาเดิมเลย ... และไม่ต่างจากบทบัญญัติของศาสนา ใหญ่ทั้งหลายด้วย คำสั่งสอนของพระองค์เป็นกฎที่ฝังอยู่ในตัวมนุษย์ ความรักคือบัญญัติข้อแรกของมนุษย์... แต่คำตอบของพระเยซูเจ้าต่อคำถามว่า “แล้วใครเล่าเป็นเพื่อน มนุษย์ของข้าพเจ้า” จะนำเราไปสูค่ วามแปลกใหม่ของพระวรสารทีป่ ฏิวตั ิ ความคิดเดิม นั่นคือ เราต้องรักมนุษย์ทุกคน แม้แต่ศัตรูของเรา... พระเยซูเจ้าจึงตรัสต่อไปว่า “ชายคนหนึ่งกำลังเดินทางจากกรุงเยรูซาเล็ม ไปยังเมืองเยรีโค เขาถูกโจรปล้น พวกโจรปล้นทุกสิ่ง ทุบตีเขา แล้วก็จากไป ทิ้งเขาไว้อาการสาหัสเกือบสิ้นชีวิต สมณะผู้หนึ่งเดิน ผ่านมาทางนั้นโดยบังเอิญ เห็นเขา และเดินผ่านเลยไปอีกฟากหนึ่ง ชาวเลวี คนหนึ่งผ่านมาทางนั้น เห็นเขา และเดินผ่านเลยไปอีกฟาก หนึ่งเช่นเดียวกัน” “สมณะ” คนหนึ่ง และ “ชาวเลวี” คนหนึ่ง! พระเยซูเจ้าไม่ทรง ทำอะไรครึ่งๆ กลางๆ พระองค์ทรงนำคนสองประเภทเข้ามาในเรื่องเล่า นี้ คนสองกลุ่มนี้เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมในพระวิหาร เขาจึงปฏิบัติตาม ธรรมบัญญัติและพิธีกรรมอย่างเคร่งครัด ... พระเยซูเจ้าทรงยกคนสอง ประเภทนี้ขึ้นมาเป็นตัวอย่างเพื่อบอกเราว่า อะไรที่เราไม่ควรทำ ... ชาย สองคนผู้อุทิศตนทำงานนมัสการพระเจ้านี้ปฏิบัติตนอย่างน่ารังเกียจ


บทเทศน์ปี C

273

ถ้าจะพูดกันตามประสามนุษย์ ในปัจจุบัน แม้แต่ศาลยุติธรรมของชนชาติ ที่ไม่ใช่คริสตชนก็ยังประณาม “การไม่ให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ตกอยู่ ในอันตราย” ... แต่เมื่อมองจากมุมของคนเหล่านี้ เขาทำถูกต้องแล้ว ตาม ความคิดและธรรมบัญญัติของชาวยิว พวกเขาคิดว่าเป็นหน้าที่ของเขา ที่จะไม่ “สัมผัสกับเลือด” เพื่อรักษาตนเองให้ปราศจากมลทินเพื่อจะ ประกอบพิธีกรรมในพระวิหารได้ ... เช่นเดียวกับในชีวิตของเราเอง ที่ บางครั้งเราหาข้อแก้ตัวที่จะไม่ช่วยเหลือบุคคลที่กำลังต้องการความ ช่วยเหลือ ... โดยยกข้ออ้างต่างๆ... พระเยซูเจ้าทรงเลือกบุคคลสองประเภทนี้เป็นตัวอย่างเพื่อเน้น ย้ำความจริงอันเป็นแก่นแท้จากพระคัมภีร์ (ฮชย 6:6) ซึ่งพระองค์ทรง อ้างถึงสองครั้งเพื่อแก้ข้อกล่าวหาว่าพระองค์ไม่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ กล่าวคือ บัญญัติว่าด้วยความรักต่อเพื่อนมนุษย์สำคัญกว่า (มธ 9:13, 12:7, 23:23) การตอกย้ำเช่นนี้มีนัยสำคัญ พระเจ้าทรงสนใจว่าเรา แสดงความเมตตากรุณาของเราด้วยการรับใช้พี่น้องชายหญิงที่เราพบ เห็นในชีวิตประจำวันอย่างไร มากกว่าทรงสนใจ “พิธี” นมัสการพระเจ้า และการสวดภาวนาของเรา ... เราไม่ได้รับใช้พระเจ้าในพระวิหาร เว้น แต่ว่าเรารับใช้พระองค์ตามถนนหนทางก่อน... ข้ า พเจ้ า เป็ น คริ ส ตชนที่ ป ฏิ บั ติ ต ามบทบั ญ ญั ติ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง หรือเปล่า ... ข้าพเจ้าทำให้คำว่า “ปฏิบัติตามบทบัญญัติ” นี้มีความหมาย อย่างไร ข้าพเจ้าปฏิบัติความเมตตากรุณา ใส่ใจผู้อื่น รับใช้ผู้อื่นหรือเปล่า ... แต่ชาวสะมาเรียผู้หนึ่งเดินทางผ่านมาใกล้ๆ เห็นเขาก็รู้สึกสงสาร จึง เดินเข้าไปหา เทน้ำมันและเหล้าองุ่นลงบนบาดแผล แล้วพันผ้าให้ นำเขาขึ้นหลังสัตว์ของตน พาไปถึงโรงแรมแห่งหนึ่งและช่วยดูแลเขา


274

บทเทศน์ปี C

วันรุ่งขึ้น ชาวสะมาเรียผู้นั้นนำเงินสองเหรียญออกมามอบให้เจ้าของ โรงแรมไว้ กล่าวว่า “ช่วยดูแลเขาด้วย เงินที่ท่านจะจ่ายเกินไปนั้น ฉันจะคืนให้เมื่อกลับมา” ลูกาเป็นผู้นิพนธ์พระวรสารคนเดียวที่บอกเล่าเรื่องอุปมาอันน่า ประทับใจนี้ ลูกาเป็นผู้นิพนธ์พระวรสารที่มีใจเมตตากรุณา เป็นผู้เขียน พระวรสารสำหรับคนต่างชาติ ... จงตั้งใจอ่านทวน “กิจการดี” หกประการ ที่บรรยายไว้ในข้อความนี้เถิด ... นี่คือพระอาณาจักรของพระเจ้า นี่คือ การนมัสการแบบใหม่ที่เป็นของจริง นี่คือกำเนิดของมนุษย์พันธุ์ใหม่ ผู้จะเปลี่ยนประวัติศาสตร์ให้สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระเจ้า... และชายคนนี้เป็น “ชาวสะมาเรีย” – เป็นชนชาติที่ประพฤติผิด จารีตประเพณี เป็นศัตรูของชาวยิวผู้เคร่งครัดศาสนา เป็นบุคคลที่ต้อง รังเกียจ เพราะพวกเขาไม่ “ปฏิบัติตาม” กฎของศาสนาแท้ เป็นคนมี มลทินที่ไม่เคยย่างเท้าเข้าไปในพระวิหาร เป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเชิญไป กินอาหารร่วมกันไม่ได้ เป็นบุคคลที่ต้องหลีกเลี่ยง ... ถูกแล้ว เขาเป็น หนึ่ ง ในชาวสะมาเรี ย เหล่ า นั้ น ที่ เ มื่ อ ไม่ กี่ วั น ก่ อ น ยากอบ และยอห์ น อยากจะเรียกไฟจากสวรรค์ลงมาเผาผลาญเขา (ลก 9:52-55) ... บุคคล ประเภทนี้เองที่พระเยซูเจ้าทรงยกให้เป็นตัวอย่างของเรา... “เขารู้สึกสงสาร” (Esplanchnisthe)… คำภาษากรีกนี้มาจากคำว่า splanchna ดังนั้น จึงแปลได้ว่า “ติด อยู่ในท้อง (caught in the bowels)” ในภาษาฮีบรู หรือภาษาอาราเมอิก ที่พระเยซูเจ้าทรงใช้ น่าจะเป็นคำว่า rahamim ซึ่งมีความหมายเดียว กันคือ ท้อง ... ครรภ์มารดา ... หัวใจ ... ความอ่อนโยน ... ความดี ... ความเวทนาสงสาร ... ตลอดพันธสัญญาใหม่คำนี้ถูกใช้เพื่อแสดงความรู้ สึกของพระเยซูเจ้าโดยเฉพาะ เมื่อพระองค์ทรงเห็นความเดือดร้อนของ ประชาชน คนป่วย และคนบาปทุกประเภท (มธ 9:36, 14:14, 15:32,


บทเทศน์ปี C

275

20:34; มก 6:34, 8:2; ลก 7:13, 15:20)... บรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักร ผู้คุ้นเคยมากกว่าเรากับ กระบวนการทางความคิดของคนสมัยโบราณ เห็นพ้องกันแทบเป็นเอกฉันท์ว่าอุปมาเรื่องนี้หมายถึงพระเยซูคริสตเจ้าเอง พระวรสาร – แม้แต่ พระวรสารหน้านี้ – ไม่ใช่ตำราสอนศีลธรรม แต่เป็นการประกาศและเผย แสดงความรักของพระเจ้า ชาวสะมาเรียใจดีผู้นี้คือพระเยซูเจ้า ... คน เดินทางที่บาดเจ็บจนเกือบเสียชีวิตก็คือมนุษยชาติที่ตกต่ำเพราะความ ชั่ว ... โรงแรมคือพระศาสนจักร ที่ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงนำมนุษย์เข้าไป พักพิงเพื่อช่วยพวกเขาให้รอดพ้น… พระวรสารตอนนีบ้ อกเราว่า “พระเจ้าทรงทำอะไรบ้างเพือ่ มนุษย์” พระองค์ทรงนำมนุษย์เดินไปข้างหน้าเสมอ ... พระเยซูเจ้าทรงเป็น “ภาพลักษณ์ของพระเจ้าที่เรามองไม่เห็น” ทรงเป็นตัวแทนของความ เวทนาสงสารฉันมารดาของพระเจ้า ... และทัศนคติของเราต่อเพือ่ นมนุษย์ ก็ต้องมีความสงสารที่มาจากพระเจ้า ... พระวรสารไม่ใช่ตำราสอนหลัก ศีลธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่าพระวรสารไม่ระบุกฎเกณฑ์ทางศีลธรรม และเป็นกฎเกณฑ์ที่ลึกกว่า และแรงกว่า “หลักการ” อื่นทั้งปวง... ความรัก ... การยืนเคียงข้างเพื่อนมนุษย์ที่กำลังต้องการความ ช่วยเหลือ ... นี่คือการนมัสการพระเจ้าอย่างแท้จริง ... “ผู้ที่ไม่มีความรักย่อมไม่รู้จักพระเจ้า เพราะพระเจ้าทรงเป็น ความรัก” (1 ยน 4:8) สมณะ หรือชาวเลวีเอ๋ย จงระวังเรื่องการปฏิบัติศาสนกิจของท่าน เถิด ... พระเจ้าไม่ทรงโปรดพิธีรีตอง พระองค์ทรงรอท่านอยู่ข้างนอกนั้น ทรงกำลังเฝ้าดูเมื่อท่านพบกับเพื่อนมนุษย์ เมื่อท่านฟังมิสซาจบแล้ว... “ท่านรักหรือเปล่า ... ท่านรักเราหรือไม่” – มิใช่รักด้วยคำพูด เท่านั้น...


276

บทเทศน์ปี C

“ท่านคิดว่าในสามคนนี้ ใครเป็นเพื่อนมนุษย์ของคนที่ถูกโจรปล้น” เขา ทูลตอบว่า “คนที่แสดงความเมตตาต่อเขา” พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขาว่า “ท่านจงไป และทำเช่นเดียวกันเถิด” พระเยซู เ จ้ า ทรงทำให้ แ นวความคิ ด เกี่ ย วกั บ “เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ” เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง นักกฎหมายถามว่า “ใครเล่าเป็นเพื่อนมนุษย์ของ ข้าพเจ้า” (เขาหมายถึงผู้อื่น) ตามความหมายนี้ ทุกคนเป็นเพื่อนมนุษย์ ของข้าพเจ้า... พระเยซูเจ้าทรงถามว่า  “ท่านแสดงตนเองว่าเป็นเพื่อนมนุษย์ ของใคร” (พระองค์หมายถึงตัวเราเอง) ตามความหมายนี้  เราเป็น เพื่อนมนุษย์ของผู้อื่น... พระเยซูเจ้าทรงหมายความว่า “เพื่อนมนุษย์นี้คือตัวเราเอง เมื่อ เรายื่นมือไปช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความรัก”... เราไม่จำเป็นต้องถามตนเองอีกต่อไปว่า “ใครคือเพื่อนมนุษย์ ของฉัน” แต่ต้องถามว่า “ทำอย่างไรฉันจึงจะแสดงตัวว่าฉันเป็นเพื่อน มนุษย์ของมนุษย์ทุกคน โดยไม่แบ่งแยกใครเลย”... นี่คือการเผยแสดงของพระเจ้า!


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.