Year c no 3

Page 1


พระวาจากับชีวิต ปี C



คำนำ

หนังสือ “พระวาจากับชีวิต ปี C” เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองแผนงานอภิบาล ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ปีคริสตศักราช 2010-2015 ที่ว่า “พระศาสนจักร คาทอลิ ก ในประเทศไทยได้ ก ำหนดงานอภิ บ าลหลั ก ในงานเสริ ม สร้ า งศิ ษ ย์ แ ละพั ฒ นา ความเชื่อโดยพระวาจา ศีลศักดิ์สิทธิ์  และการอธิษฐานภาวนาดังนี้คือ ให้พระสงฆ์และ สัตบุรุษร่วมกันทำให้วันอาทิตย์เป็นการฉลองวันพระเจ้าอย่างแท้จริง และต่อเนื่องในการ ดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับพิธีบูชา ขอบพระคุณวันอาทิตย์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเทศน์ประกาศพระวาจาและการฉลอง ศีลมหาสนิท”(แผนงานอภิบาลฯ ข้อ 18) หนั ง สื อ   “พระวาจากั บ ชี วิ ต   ปี   C”  เล่ ม นี้   ทางศู น ย์ ค ริ ส ตศาสนธรรมฯ  ต้ อ ง ขอขอบคุณคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ที่ได้จัดแปลบทเทศน์จากหนังสือ 2 เล่ม คือ The Good News of Luke’s Year ของ Silverster O’flynn และ Pray with the Bible ของ Noel Quesson เพื่อให้สมาชิกของคณะได้ใช้ในการรำพึงกับพระวาจาในแต่ละสัปดาห์  ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์เช่นเดียวกันสำหรับพระสงฆ์ในการเตรียมเทศน์   รวมทั้ง พี่น้องคริสตชนในการรำพึงกับพระวาจาในทุกๆ สัปดาห์ จึงขออนุญาตนำมาจัดพิมพ์ การรำพึ ง พระวาจาของพระเจ้ า นั้ น   ช่ ว ยให้ พ ระวาจาเติ บ โตและบั ง เกิ ด ผล ในตัวเราดังที่พระเยซูเจ้าตรัสว่า “พระอาณาจักรของพระเจ้ายังเปรียบเสมือนคนที่นำ เมล็ดพืชไปหว่านในดิน เขาจะหลับหรือตื่น กลางคืนหรือกลางวันเมล็ดนั้นก็งอกขึ้น และ เติบโตเป็นเช่นนี้ได้อย่างไรเขาไม่รู้” (มาระโก 4:26-27) บาทหลวงเอกรัตน์ หอมประทุม ผู้จัดการแผนกคริสตศาสนธรรมฯ 23 ตุลาคม 2012


สารบัญ

- สัปดาห์ที่สิบหก เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่สิบเจ็ด เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่สิบแปด เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่สิบเก้า เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่ยี่สิบ เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่ยี่สิบเอ็ด เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่ยี่สิบสอง เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่ยี่สิบสาม เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่ยี่สิบสี่ เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่ยี่สิบห้า เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่ยี่สิบหก เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่ยี่สิบเจ็ด เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่ยี่สิบแปด เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่ยี่สิบเก้า เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่สามสิบ เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่สามสิบเอ็ด เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่สามสิบสอง เทศกาลธรรมดา - สัปดาห์ที่สามสิบสาม เทศกาลธรรมดา - สมโภชพระเยซูเจ้า กษัตริย์แห่งสากลจักรวาล (สัปดาห์ที่สามสิบสี่ เทศกาลธรรมดา)

หน้า

1-13 14-28 29-41 42-54 55-67 68-79 80-91 92-103 104-117 118-130 313-145 146-158 159-172 173-186 187-199 200-212 213-224 225-239 240-253


บทเทศน์ปี C

1

วั นอาทิตย์ที่สิบหก เทศกาลธรรมดา ลูกา 10:38-42 ขณะที่ พ ระเยซู เ จ้ า ทรงพระดำ � เนิ น พร้ อ มกั บ บรรดาศิ ษ ย์ พระองค์เสด็จเข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง สตรีผู้หนึ่งชื่อมารธารับ เสด็จพระองค์ที่บ้าน นางมีน้องสาวชื่อมารีย์ ซึ่งนั่งอยู่แทบพระบาท ขององค์พระผู้เป็นเจ้า คอยฟังพระวาจาของพระองค์ มารธากำ�ลัง ยุ่งอยู่กับการปรนนิบัติรับใช้ จึงเข้ามาทูลว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ ไม่สนพระทัยหรือที่น้องสาวปล่อยดิฉันคนเดียวให้ปรนนิบัติรับใช้ ขอพระองค์บอกเขาให้มาช่วยดิฉันบ้าง” แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัส ตอบว่า “มารธา มารธา เธอเป็นห่วงและวุ่นวายหลายสิ่งนัก สิ่งที่ จำ�เป็นมีเพียงสิ่งเดียว มารีย์ได้เลือกเอาส่วนที่ดีที่สุดที่จะไม่มีใครเอา ไปจากเขาได้”


2

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่ 1 การฟัง พระเยซูเจ้าทรงเดินทางด้วยพระทัยแน่วแน่ไปยังกรุงเยรูซาเล็ม และนี่คือห้วงเวลาที่พระองค์ทรงได้พักผ่อนในบ้านของมารธาและมารีย์ ในวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวสะมาเรียผู้ใจดีได้แสดงตัวอย่างของ ความรักที่แสดงออกด้วยกิจการ ในวันนี้  การฟังของมารีย์เป็นตัวอย่าง ของการใส่ใจกับองค์พระผู้เป็นเจ้า หรือการเพิ่มความลุ่มลึกให้แก่ความ เชื่อของเราด้วยการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศาสนาของเรา นาฬิกาดิจิตอลเป็นตัวอย่างของจิตใจของมนุษย์ยุคปัจจุบัน มัน ไม่เคยหยุดนิง่ แต่วง่ิ ไล่หว้ งเวลาปัจจุบนั อย่างเร่งรีบให้ทนั ทุกหนึง่ ในร้อย ของวินาที มันเร่งรีบไล่ตามเวลาปัจจุบันที่มันตามไม่เคยทัน จนกระทั่ง ลืมอดีตและอนาคต ไม่ต่างจากจิตใจมนุษย์ทุกวันนี้ที่คลั่งไคล้กับการ แสวงหาประสบการณ์สำ�เร็จรูป แต่ขาดความอดทนและไม่สนใจบริบท ซึ่งเป็นสิ่งจำ�เป็นที่ทำ�ให้เกิดปัญญา เมื่อเก้าสิบปีก่อนยุคดิจิตอล นัก ประพันธ์ชื่อโทมัส ฮาร์ดิง เคยรำ�ลึกอย่างเสียดายถึงยุคสมัยที่นาฬิกาที่มี เพียงเข็มเดียวก็ใช้แบ่งวันเวลาของเราได้เพียงพอแล้ว เขาชอบบรรยาย ถึงถนนเล็กๆ ในชนบทที่ไม่ได้สร้างขึ้นให้มนุษย์เดินทางอย่างรีบร้อน และแสดงความเสียดายสิ่งที่ชีวิตสูญเสียไปเพื่อแลกกับความก้าวหน้า ของสังคม ซึ่งเขาไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งที่ดี ในขณะที่ ที. เอส. เอเลียต ก็รำ�พึง รำ�พันในทำ�นองเดียวกันถึงสิ่งที่เราสูญเสียเพื่อแลกกับความก้าวหน้าไว้ ดังนี้


บทเทศน์ปี C

3

ความคิด และการกระทำ�ที่วนเวียนเป็นวงจรไม่รู้จบ การประดิษฐ์ที่ไม่รู้จบ การทดลองที่ไม่รู้จบ สอนความรู้เรื่องการเคลื่อนที่ แต่ไม่ใช่ความนิ่ง ความรู้เรื่องการพูด แต่ไม่ใช่ความเงียบ สอนความรู้เรื่องวาจา และความไม่รู้เรื่องพระวาจา (Choruses from the Rock) การฟังเป็นสิ่งที่ทำ�ได้ยากเสมอ พระผู้สร้างมองการณ์ไกล จึงทรง คาดหมายได้ล่วงหน้าว่าเราจะประสบปัญหานี้ พระองค์จึงทรงออกแบบ ร่างกายของเราให้มีสองหู  และหนึ่งปาก และปากหนึ่งเดียวนี้ต้องทำ� หน้าที่อื่นๆ อีกหลายอย่าง เพื่อไม่ให้มันมีเวลาว่างเกินไปจนต้องพูด เรื่องไร้สาระ ส่วนหู ไม่ต้องทำ�หน้าที่อื่นใด นอกจากใช้แขวนขาแว่นตา หรือหนีบดินสอเป็นครั้งคราว โลกปัจจุบันที่ไม่เคยหยุดนิ่งกระหน่ำ�เรา ด้วยเสียงต่างๆ ทั้งจากภายนอกและภายใน โลกภายนอกหมุนผ่านเรา ไปอย่างรวดเร็ว เสียงถูกขยายจนเกินระดับที่บรรพบุรุษของเราต้อง ทนฟัง เสียงภายในตัวเรามาจากเสียงอึกทึกของความกดดัน และแรง กระตุ้น จริยธรรมบริโภคนิยมฝึกให้เราเปลี่ยนทุกความปรารถนาให้ กลายเป็นแรงผลักดัน เปลี่ยนความต้องการให้กลายเป็นสิ่งที่จะขาดไม่ ได้ แต่เสียงของพระอาจารย์บอกเราว่า “สิ่งที่จำ�เป็นมีเพียงสิ่งเดียว” สำ�หรับคนจำ�นวนมาก การภาวนาต้องเริ่มต้นด้วยการปลอบ ความคิดให้สงบ และหาพื้นที่ว่างสำ�หรับพระเจ้าในเวลาของเราและ ในความสนใจของเรา ความคิดและจิตใจของคนสมัยใหม่เหมือนกับ สำ�นักงานไปรษณีย์หลังจากการนัดหยุดงาน เมื่อเราจัดการกับสิ่งที่เรา รับเข้ามาในความคิดและจิตใจในวันนี้แล้ว ก็เริ่มมีความทรงจำ�  แรง กดดันที่ระบุชื่อไม่ได้ หรือแผนการที่ชวนให้สับสน ที่ยังค้างคาอยู่ และ เรียกร้องให้เราสนใจ


4

บทเทศน์ปี C

ดังนั้น เราจึงอาจจำ�เป็นต้องเรียนรู้ศิลปะแห่งความเงียบ วิธีหนึ่ง ที่ดีคือเริ่มต้นด้วยการตั้งใจฟังเสียงที่เบากว่า ฟังเสียงที่ดังมาจากระยะ ไกลที่สุด ฟังเสียงของสิ่งต่างๆ ที่ท่านมองไม่เห็น ฟังเสียงลม ... ฟังว่า มันดังเหมือนเสียงถอนใจ หรือเป็นเสียงซู่ซ่า... เป็นเสียงครางเบาๆ หรือพัดแรง หัดเรียนรู้ที่จะยินดีกับเสียงดังเปาะแปะของน้ำ�ฝน ฟังเสียง นกร้องเพลง หรือกู่เรียกกันทุกวัน สังเกตเสียงติ๊กต๊อกของสิ่งต่างๆ และ เสียงขยายตัว หรือหดตัวของท่อน้ำ� เสียงเบาๆ เหล่านี้ช่วยให้เราได้ยินเสียงจังหวะชีวิตภายในตัวเรา ช่วยให้เรารับรู้จังหวะของลมหายใจ ... หายใจเข้า ... กลั้นหายใจ ... และหายใจออก จงเงี่ยหูฟังเสียงเต้นของหัวใจของท่าน หัวใจนี้ทำ�งาน ตลอดเวลาภายในตัวท่านโดยที่ท่านไม่สังเกต มันทำ�งานตลอดคืนที่ ท่านนอนหลับ ... ตลอดเวลาที่ท่านตื่นขึ้นเมื่อเช้านี้และตลอดทั้งวัน ลมหายใจ และการเต้นของหัวใจของท่านสำ�คัญมากกว่าเรื่องหงุดหงิด กังวลใจนานัปการที่เรียกร้องให้ท่านสนใจอยู่ทุกวัน การฝึกทำ�ตัวให้สงบเงียบ และนิ่ง จะปรับสภาพของเราให้พร้อม สำ�หรับสวดภาวนา เมื่อนั้น เราจะสามารถฟังพระเจ้า ผู้ทรงมีวิธีการ ต่างๆ มากมายที่จะตรัสกับเรา สิ่งแรกที่ต้องทำ�คือ “จงสงบนิ่ง” และ จากนั้น “จงรู้ว่าเราคือพระเจ้า”

ข้อรำ�พึงที่สอง ความสามารถเป็นผู้รับ มื้ออาหารที่กล่าวถึงในพระคัมภีร์  บางครั้งกลายเป็นโอกาสให้ เจ้าภาพค้นพบว่าเขาเป็นผู้รับมากกว่าผู้ให้ อับราฮัม และซาราห์ ต้อนรับ คนเดินทางอย่างเอื้อเฟื้อที่ต้นโอ๊กแห่งมัมเร แต่ทั้งสองจดจำ�วันนี้ได้ เพราะของขวัญที่แขกของเขานำ�มามอบให้มากกว่า นั่นคือคำ�สัญญาจาก พระเจ้าว่าเขาจะมีบุตรชายทั้งที่อยู่ในวัยชรา แม่ม่ายที่เมืองศาเรฟัท ผู้


บทเทศน์ปี C

5

แบ่งอาหารกำ�มือสุดท้ายของตนให้แก่เอลียาห์ ก็ได้รับคำ�สัญญาว่า แป้งในหม้อนั้นจะไม่หมด น้ำ�มันในไหนั้นจะไม่ขาด (1 พกษ 17:14) มารธา และมารีย์ ต้อนรับพระเยซูเจ้าในบ้านของตน นี่เป็นอีก ครั้งหนึ่งที่ส่วนที่ดีกว่ากลับเป็นสิ่งที่แขกนำ�มาให้  มารีย์รับฟังถ้อยคำ� ล้�ำ ค่าทีพ่ ระวจนาตถ์ตรัสแก่นาง การปรนนิบตั ริ บั ใช้ของมารธามีประโยชน์ และเป็นบทบาทที่จำ�เป็นที่สุด ตราบใดที่มันไม่กลายเป็นปมจนสร้าง ปัญหา คนทั้งหลายที่มี  “ปมมารธา” เป็นบุคคลที่ไม่สามารถยอมรับ อะไรได้ง่าย นั่นทำ�ให้ชีวิตยากไร้มากขึ้น ถ้าท่านมอบของขวัญแก่เขา อย่างหนึ่ง เขาจะกระวนกระวายใจจนกระทั่งเขาสามารถตอบแทนท่าน ได้ในระดับที่เท่าเทียมกัน และเขามักตอบแทนให้มากยิ่งกว่าด้วย เขาจะ ค้นพบบางสิ่งที่จำ�เป็นสำ�หรับท่าน ซึ่งท่านเองไม่เคยคิดว่าจำ�เป็น! เขา พร้อมจะกล่าวคำ�ยกย่องสรรเสริญ แต่ไม่อยากได้ยินคำ�สรรเสริญจากผู้ อื่น แต่ถ้าเขาไม่ได้ยินคำ�สรรเสริญ เขาจะเสียใจมาก เขาเป็นคนแรกที่จะ ลงมือทำ�งาน แต่เขาจะไม่สบายใจเลยถ้าต้องรอคอยอย่างอดทนให้ใคร ทำ�อะไรให้ เขาเชื่อมั่นว่าเขาไม่มีอะไรต้องเรียนรู้นอกจากความรู้ที่หามา ได้ง่ายๆ และรวดเร็ว เราทั้งหลายที่เป็นนักปฏิบัติที่ยับยั้งตนเองไม่ได้ จะได้รับประโยชน์มากทีเดียว และทำ�ให้ชีวิตมีความสมดุล ถ้าเราจะมี ทัศนคติว่า “ปล่อยให้ผู้อื่นทำ�อะไรเพื่อเราบ้าง” วันสำ�หรับพักผ่อน และเวลาที่เราอยู่อย่างเงียบๆ เป็นสิ่งจำ�เป็น ที่สุด แม้ว่าอาจไม่ใช่ช่วงเวลาที่ง่ายเสมอไป การเล่นอาจกลายเป็นการ ฟื้นฟูตนเองได้อย่างแท้จริง เสนอวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ให้แก่ชีวิต และเพิ่ม กำ�ลังวังชาให้แก่เราได้ เราควรให้ผู้อื่นมีโอกาสรับใช้เรา และเป็นผู้ให้แก่ เรา เราจะรู้สึกดีถ้าเรา “... ออกไปเดินบนถนน โดยไม่มีจุดหมายปลายทาง


6

บทเทศน์ปี C

เดินผ่านทุ่งหญ้า และหมู่บ้าน ... โดยไม่รู้ว่าจะไปไหน หรือไปทำ�ไม” (John Masefield) การปล่อยมือจากการควบคุม และยอมหลงทางบ้างเป็นครัง้ คราว นั้ น มี ป ระโยชน์   เช่ น เดี ย วกั บ การค้ น พบเวลาว่ า ง และรู้ จั ก ทำ � ตั ว เป็ น คนยากไร้  เมื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าเสด็จมาเยือนชีวิตของเรา สิ่งหนึ่งที่ จำ�เป็นในห้วงเวลาอันมีค่านั้นก็คือการรู้ว่าเราจะฟัง และรับของขวัญจาก พระองค์อย่างไร


บทเทศน์ปี C

7

บทรำ�พึงที่ 2 พระเยซูเจ้าทรงพระดำ�เนินพร้อมกับบรรดาศิษย์ พระองค์เสด็จเข้าไป ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เราไม่ควรลืมว่า “หนทาง” ที่เรากำ�ลังเดินตามพระเยซูเจ้านั้นมี ลักษณะอย่างไร หนทางนี้ยังเป็น “ทางขึ้น” ไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ลูกาให้ความ สำ�คัญมากกับการเดินทางครั้งนี้มาก ซึ่งยาวถึงสิบบท (ลก 9:51-19:28) ... ในวันอาทิตย์สัปดาห์ที่สิบสาม เราเห็นพระเยซูเจ้าเริ่มออกเดินทาง ไปยังกรุงเยรูซาเล็ม (ลูกา 9:51) ไม่นานหลังจากที่ศิษย์ของพระองค์ ยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์  ในวันอาทิตย์สัปดาห์ที่สิบสี่ เราเป็นพยานว่าพระเยซูเจ้าทรงส่งศิษย์ 72 คน ออกไปปฏิบัติพันธกิจ (ลูกา 10:1-20) และในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เรากำ�ลังเดินทางไปยังเมือง เยรีโค ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเยรูซาเล็ม 30 กม. และได้ฟังอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียใจดี  (ลก 10:25-37) ... วันนี้  เรามาหยุดพักกันที่หมู่บ้าน นิรนาม ซึง่ อันทีจ่ ริงคือหมูบ่ า้ นเบธานี ทีต่ ง้ั อยูห่ า่ งจากใจกลางเมืองหลวง สามกิโลเมตร ระหว่างทาง พระเยซูเจ้าตรัสสอนหลายสิ่งหลายอย่าง กับเพื่อนๆ ของพระองค์ เพื่อเตรียมเขาให้พร้อมสำ�หรับอนาคต เมื่อ พระองค์จะไม่อยู่กับเขาอีกต่อไป และทำ�ให้เราเห็นความสำ�คัญของ เหตุการณ์และถ้อยคำ�เหล่านี้ ซึ่งเป็นจุดสำ�คัญของการเดินทางขึ้นไปยัง กรุงเยรูซาเล็ม ของพระองค์... วันนี้ เราจะได้เห็นการต้อนรับอันอ่อนโยนด้วยความรัก ก่อนหน้านั้น ชาวสะมาเรียในหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ยินดีต้อนรับ พระเยซูเจ้า แต่ในวันนี้พระองค์ทรงพบกับความเอื้อเฟื้อในบ้านหลัง


8

บทเทศน์ปี C

หนึ่ง เรายินดีที่รับรู้ว่าพระเยซูเจ้าไม่ทรงถูกปฏิเสธเสมอไป และพระองค์ ไม่ต้องเร่ร่อนตลอดเวลาโดยไม่มีที่พักผ่อน และนั่งลงพูดคุยกันอย่างไม่ รีบร้อน เวลาที่พระองค์อยู่กับมิตรสหายไม่ใช่เวลาที่สูญเปล่า บ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนยอดเนินข้างถนนที่เต็มไปด้วยฝุ่น เป็นบ้านที่ พระเยซูเจ้าทรงรู้จักดี ใกล้หน้าต่างไม้ระแนง ต้นแอปเปิลกำ�ลังออกดอก ส่งกลิ่นหอม (เวลานั้นเป็นฤดูใบไม้ผลิ เพราะใกล้ถึงเทศกาลปัสกาแล้ว) พระเยซูเจ้าทรงเคาะประตู ประตูเปิดออก “ชาโลม ดีใจจริงๆ เชิญเข้ามา ข้างในเถิด”... สตรีผู้หนึ่งชื่อมารธา รับเสด็จพระองค์ที่บ้าน นางมีน้องสาวชื่อมารีย์ หญิงสองคนนี้มีพี่ชายชื่อลาซารัส พระวรสารกล่าวถึงบุคคลในครอบครัวนี้สามครั้ง ในเหตุการณ์ท่ี บรรยายจนมองเห็นภาพได้ว่าแต่ละคนมีอุปนิสัยอย่างไร ซึ่งเหมือนเดิม ในแต่ละเหตุการณ์  กล่าวคือ มารธาเป็นคนที่ไม่เคยอยู่นิ่ง และมารีย์ เป็นคนเงียบขรึม นักบุญยอห์น บอกเราสั้นๆ ว่า “พระเยซูเจ้าทรงรัก มารธา กับน้องสาว และลาซารัส” (ยน 11:5) และเมื่อลาซารัสตาย ยอห์น บอกว่าพระเยซูเจ้าทรงร้องไห้ อีกครั้งหนึ่ง ขณะที่พระเยซูเจ้ากำ�ลังเสวย อาหาร มารีย์ก็นั่งอยู่ “แทบพระบาทของพระเยซูเจ้า” (ยน 12:2-3) ถูกแล้ว พระเยซูเจ้าทรงมีมิตรสหาย และมิตรสหายบางคนเป็น สตรี พระองค์เสด็จกลับมาที่บ้านของเขาทุกเย็นตลอดสัปดาห์สุดท้ายใน ชีวิตของพระองค์ (มธ 21:7, 22:6; มก 11:11; ยน 11:14-18, 12:1; ลก 19:29) นี่คือสถานที่หนึ่งซึ่งพระองค์ทรงสัมผัสกับมิตรภาพแท้อัน งดงาม... ในหนังสือวิวรณ์ ยอห์น ใช้ภาพลักษณ์นี้บรรยายว่าชีวิตคริสตชน เป็นอย่างไร “ดูเถิด เรากำ�ลังยืนเคาะประตู  ถ้าผู้ใดได้ยินเสียงของเรา และเปิดประตู เราจะเข้าไปกินอาหารร่วมกับเขา เขาจะกินอาหารร่วมกับ


เรา” (วว 3:20) ...

บทเทศน์ปี C

9

มารีย์นั่งอยู่แทบพระบาทขององค์พระผู้เป็นเจ้า  คอยฟังพระวาจา ของพระองค์ มารธากำ�ลังยุ่งอยู่กับการปรนนิบัติรับใช้... นี่เป็นภาพที่น่าชมมาก เราควรเพ่งพินิจภาพเหตุการณ์นี้เงียบๆ ให้นานเท่าที่เป็นไปได้ ... เช่น ขอให้เราพยายามนึกภาพว่าเราอยู่ในห้อง นั้นด้วย และมองดูกิริยา ความเคลื่อนไหว ฟังเสียง ดมกลิ่น สังเกตสีสัน ต่างๆ ความเงียบ ใบหน้า และสัมผัสหัวใจของทุกคน... พระเยซูเจ้าตรัสกับมารีย์ ผู้นั่งพับเพียบบนพื้นใกล้พระบาทของ พระองค์ ... นางกำ�ลังฟัง ... ทัง้ สองคนกำ�ลังพูดเรือ่ งอะไรกัน ... น้�ำ เสียง ของพระเยซูเจ้าเป็นอย่างไร ... พระองค์กำ�ลังเล่าเรื่องชาวสะมาเรียใจดี ให้นางฟังหรือเปล่า ... พระองค์กำ�ลังสั่งสอนเรื่องความสุขแท้อีกครั้ง หนึ่งหรือเปล่า เพราะนางยังไม่เคยได้ยิน ... พระองค์กำ�ลังตรัสย้ำ�อย่าง ไม่เหน็ดเหนื่อยหรือเปล่าว่าพระองค์ทรงคิดว่าอะไรนำ�ความสุขแท้มาให้ เรา ... โดยส่วนตัวแล้ว ข้าพเจ้าอยากจะคิดว่าพระองค์กำ�ลังตรัสเบาๆ กับมารีย์ เรื่องความลับของการสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนชีพของ พระองค์... พระองค์ทรงเดินทางขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็มเพื่อเป้าหมายนี้ไม่ใช่ หรือ พระองค์ทรงกำ�ลังครุ่นคิดถึงเรื่องนี้ หลายครั้งหลายหนที่พระองค์ ได้พยายามระบายความกังวลใจกับศิษย์ของพระองค์ แต่ดูเหมือนพวก เขาไม่เข้าใจ แต่กับมารีย์ มิตรภาพจะไม่ทำ�ให้นางเข้าใจพระองค์ได้ง่าย กว่าหรือ ... เรารู้ได้จากพระวรสารของมาระโก และมัทธิว ว่าหญิงผู้นี้ เข้าใจดีกว่าผู้อื่นในธรรมล้ำ�ลึกของความตาย การฝังพระศพ และการ กลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า อีกไม่นาน ไม่กี่วันก่อนปัสกา พระเยซูเจ้าจะ เสด็จมาทีเ่ บธานีอกี ครัง้ หนึง่ มาทีบ่ า้ นของมารีย์ และนางจะชโลมพระกาย ของพระองค์ล่วงหน้าด้วยน้ำ�มันหอม...


10

บทเทศน์ปี C

พวกสตรีจะไม่สามารถชโลมพระศพได้ใน “วันต้นสัปดาห์” เมื่อ พวกนางไปที่พระคูหาฝังศพ และพบพระคูหาว่างเปล่า แต่ดูเหมือนว่า มารีย์ได้ทำ�หน้าที่นี้ล่วงหน้าแล้วด้วยความรู้สึกอันละเอียดอ่อน พระเยซู เจ้าทรงยอมรับเองว่า “นางได้ทำ�สิ่งที่นางทำ�ได้แล้ว นางชโลมกายของ เราล่วงหน้าก่อนจะถึงเวลาฝังศพ” (มก 14:8) “ปล่อยให้นางเก็บน้ำ�มัน หอมนี้ไว้สำ�หรับวันฝังศพของเรา ... เราจะไม่อยู่กับท่านตลอดไป” (ยน 12:8) มารธาจึงเข้ามาทูลว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ไม่สนพระทัยหรือที่น้อง สาวปล่อยดิฉันคนเดียวให้ปรนนิบัติรับใช้ ขอพระองค์บอกเขาให้มา ช่วยดิฉันบ้าง” การเข้ามาแทรกของมารธา ทำ�ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง สองพี่น้องนี้  ก่อนที่เราจะฟังคำ�ตอบของพระเยซูเจ้า เราต้องชมเชย มารธา โดยไม่ลดคุณค่าของนาง เราไม่จำ�เป็นต้องเปรียบเทียบมารธากับ มารีย์ มารธาเป็นคนชอบช่วยเหลือ และการรับใช้ของนางเป็นสิ่งที่ขาด ไม่ได้ พระเยซูเจ้าทรงได้รับการถวายเกียรติจากทุกกิจการที่กระทำ�ด้วย ความรัก ซึ่งนางกระทำ�เพื่อรับใช้ผู้อื่น “ท่านให้เรากิน ... ท่านให้เราดื่ม ... เชิญมาเถิด ท่านทั้งหลายที่ได้รับพระพรจากพระบิดาของเรา” (มธ 25:34)... พระเจ้าข้า ข้าพเจ้ายกถวายแด่พระองค์งานบ้านมากมายที่หญิง ทั่วทั้งโลกในทุกอารยธรรมทำ�อยู่ทุกวัน แม้เป็นงานที่ต่ำ�ต้อย แต่ก็กระทำ� ด้วยความรัก... แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสตอบว่า... เราอดสังเกตไม่ได้ว่าลูกาเรียกพระเยซูเจ้าเต็มยศถึงสามครั้งว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า” ซึ่งเป็นคำ�ที่ใช้เรียกพระคริสตเจ้าหลังจากทรงกลับ


บทเทศน์ปี C

11

คืนพระชนมชีพแล้ว ดังนั้น คำ�บอกเล่านี้จึงไม่มีจุดประสงค์ที่จะบรรยาย เหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์เท่านั้น ไม่ว่าจะบรรยายไว้อย่างชัดเจน เท่าไรก็ตาม นี่คือการเผยแสดงอีกครั้งหนึ่ง องค์พระผู้เป็นเจ้าแห่งพระ สิริรุ่งโรจน์กำ�ลังจะตรัส พระวาจาของพระองค์เป็นเรื่องสำ�คัญ และเรา ต้องรับฟังด้วยความเชือ่ คำ�บรรยายทัง้ หมดในเรือ่ งนีป้ ทู างมาสูค่ �ำ สัง่ สอน ต่อไปนี้ “มารธา มารธา เธอเป็นห่วง และวุ่นวายหลายสิ่งนัก” เราอาจคาดหมายว่าพระเยซูเจ้าจะทรงเตือนมารีย์ให้แสดงน้ำ�ใจ ต่อพี่สาวของนางบ้าง บ่อยครั้งที่พระองค์ทรงเตือนมนุษย์ให้รับใช้ และ ให้รกั แต่เห็นได้ชดั ว่าคำ�ตอบของพระองค์ในโอกาสนีอ้ ยูใ่ นระดับทีส่ งู กว่า นั้น พระเยซูเจ้าทรงเห็นว่ามารธากังวล และวุ่นวายมากเกินไป นี่เป็น หัวข้อที่พระองค์มักเทศนาสั่งสอน พระองค์ทรงเคยกล่าวแล้วว่า “ความ กังวล” ในชีวิตนี้อาจบีบรัดพระวาจาที่หว่านลงในหัวใจมนุษย์ได้” (ลก 8:14) พระองค์จะทรงขอร้องอัครสาวกของพระองค์มิให้กังวลเรื่อง อาหารและเสื้อผ้า (ลก 12:22-26) และธรรมทูตของพระองค์ไม่ควร เตรียมหาคำ�แก้ตัวเมื่อถูกกล่าวหาต่อหน้าศาล (ลก 21:14) เพื่อนเอ๋ย อย่าลืมสิ่งสำ�คัญ ... พระเยซูเจ้าตรัสไว้เช่นนี้... พระเยซูเจ้าไม่ได้ทรงตำ�หนิมารธาที่นางปรนนิบัติรับใช้  หรือ ทรงปฏิเสธการต้อนรับอย่างอบอุ่นของนาง แต่ทรงตำ�หนิที่นางตื่นเต้น วุ่นวาย และกังวลมากเกินไป เป็นความจริงที่ความเครียดทำ�ให้เราคิดถึง แต่ตัวเอง... ขอให้ เ รารั บ ฟั ง คำ � เชิ ญ ขององค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า ให้ เ ราชะลอ ความเร็วลงสักหน่อยเถิด เราวิ่ง เรารีบร้อน และวุ่นวายกับสิ่งต่างๆ ตลอดเวลา ... เราต้องมีเวลาผ่อนคลายอย่างจริงจังเพื่อเรียกสติกลับคืน


12

บทเทศน์ปี C

มา เพื่อจะมีชีวิต แทนที่จะเร่งรีบ... เพื่อนเอ๋ย เรายืนยันคำ�เดิม จงอย่าลืมสิ่งที่จำ�เป็น ... พระเยซูเจ้า ตรัสไว้เช่นนี้ สิง่ ทีจ่ �ำ เป็นมีเพียงสิง่ เดียว มารียไ์ ด้เลือกเอาส่วนทีด่ ที ส่ี ดุ ทีจ่ ะไม่มใี คร เอาไปจากเขาได้” อะไรคือ “สิ่งจำ�เป็นหนึ่งเดียว” นี้... นั่นคือสิ่งที่มารีย์กำ�ลังทำ�อยู่ในเวลานั้น  “นั่งอยู่แทบพระบาท ขององค์พระผู้เป็นเจ้า คอยฟังพระวาจาของพระองค์” ... คำ�ยืนยันว่า นี่คือสิ่งเดียวที่จำ�เป็นสำ�หรับมนุษย์  นี่คือการเผยแสดง ซึ่งพระเยซูเจ้า ทรงเปิดเผยในเหตุการณ์นี้  พระวาจาของพระเจ้าควรสำ�คัญสำ�หรับเรา มากกว่าความห่วงใยเรื่องฝ่ายโลก ในโอกาสอื่นเช่นกันที่พระเยซูเจ้าทรง เตือนเราถึงความจำ�เป็นเดียวกันนี้  “มนุษย์มิได้ดำ�รงชีวิตด้วยอาหาร เท่านั้น” (ลก 4:4) “อาหารของเราคือการทำ�ตามพระประสงค์ของพระ ผู้ทรงส่งเรามา” (ยน 4:34)... เพื่อนเอ๋ย อย่าลืมสิ่งที่จำ�เป็น ... พระเยซูเจ้าตรัสไว้เช่นนี้... ดังนั้น พระเยซูเจ้าไม่ได้ทรงลดคุณค่างานรับใช้ของมารธา เมื่อ นางวุ่นวายกับการปรุงอาหาร และเสริฟอาหาร แต่เราจำ�เป็นต้องสละ แม้แต่คุณค่าอันยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์  เพื่อติดตามพระเยซูเจ้า (ลก 5:11, 18:22, 9:62)... ดังนั้น หน้าที่แรกของมนุษย์ และของคริสตชน ก็คือรับฟังพระ วาจาของพระเจ้า พระเยซูเจ้าถึงกับทรงบอกเราว่านี่คือความจำ�เป็น หนึ่งเดียวที่สำ�คัญที่สุด และไม่ใช่ครั้งแรก หรือครั้งสุดท้าย ที่พระเยซู เจ้าทรงยืนยันเช่นนี้ การไม่ฟังพระวาจาก็เหมือนการสร้างบ้านบนทราย (ลก 6:47-49) ความสุขแท้ของพระนางมารีย์ พระมารดาของพระเยซู เจ้า ไม่ใช่การได้รับเลือกให้เป็นพระมารดาของพระเยซูเจ้า แต่เพราะ


บทเทศน์ปี C

13

พระนาง “ฟังพระวาจาของพระเจ้า และปฏิบัติตาม” (ลก 11:27-28) ลูกา ต่างจากผู้นิพนธ์พระวรสารคนอื่นๆ เขาบอกอย่างชัดเจนว่าพระ วาจาของพระเยซูเจ้าก็คือพระวาจาของพระเจ้า (ลก 5:1, 8:11, 21, 11:28) ... เราชอบฟังพระวาจามากเพียงใด... การฟังพระวาจาเป็น “ส่วนที่ดีที่สุด” ในวันของเราหรือเปล่า... อะไรที่เราถือว่าสำ�คัญเป็นอันดับแรกๆ ในชีวิต ... อะไรคือสิ่ง จำ�เป็น...


14

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่สิบเจ็ดเทศกาลธรรมดา ลูกา 11:1-13 วันหนึง่ พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาอยูใ่ นสถานทีแ่ ห่งหนึง่ เมื่อทรงอธิษฐานจบแล้ว ศิษย์คนหนึ่งทูลพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า โปรดสอนเราให้อธิษฐานภาวนาเหมือนกับที่ยอห์นสอนศิษย์ของเขา เถิด” พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า “เมื่อท่านทั้งหลายอธิษฐานภาวนา จงพูดว่า ข้าแต่พระบิดา พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ พระอาณาจักรจงมาถึง โปรดประทานอาหารประจำ�วันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายทุกวัน โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เหมือนข้าพเจ้าทั้งหลายให้อภัยแก่ผู้อื่น โปรดช่วยข้าพเจ้าทั้งหลายไม่ให้แพ้การประจญ” พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์อีกว่า “สมมุติว่าท่านคนหนึ่ง มีเพื่อนและไปพบเพื่อนนั้นตอนเที่ยงคืน กล่าวว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ให้ฉัน ขอยืมขนมปังสักสามก้อนเถิด เพราะเพื่อนของฉันเพิ่งเดินทางมาถึง บ้านของฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้เขากิน’ สมมุติว่า เพื่อนคนนั้นตอบ จากในบ้านว่า ‘อย่ารบกวนฉันเลย ประตูปิดแล้ว ลูก ๆ กับฉันก็เข้า


บทเทศน์ปี C

15

นอนแล้ว ฉันลุกขึ้นให้สิ่งใดท่านไม่ได้หรอก’ เราบอกท่านทั้งหลาย ว่า ถ้าคนนั้นไม่ลุกขึ้นให้ขนมปังเพราะเป็นเพื่อนกัน เขาก็จะลุกขึ้น มาให้สิ่งที่เพื่อนต้องการเพราะถูกรบเร้า เราบอกท่ า นทั้ ง หลายว่ า  จงขอเถิ ด  แล้ ว ท่ า นจะได้ รั บ  จง แสวงหาเถิด แล้วท่านจะพบ จงเคาะประตูเถิด แล้วเขาจะเปิดประตู รับท่าน เพราะคนที่ขอย่อมได้รับ คนที่แสวงหาย่อมพบ คนที่เคาะ ประตูย่อมมีผู้เปิดประตูให้ ท่านที่เป็นพ่อ ถ้าลูกขอปลา จะให้งูแทน ปลาหรือ ถ้าลูกขอไข่ จะให้แมงป่องหรือ แม้แต่ท่านทั้งหลายที่เป็น คนชั่วยังรู้จักให้ของดีๆ แก่ลูก แล้วพระบิดาผู้สถิตในสวรรค์จะไม่ ประทานพระจิตเจ้าแก่ผู้ที่ทูลขอพระองค์มากกว่านั้นหรือ”


16

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง จงภาวนาอย่างนี้ ศิษย์พระคริสต์ต้องแสดงออกด้วยเมตตากิจเหมือนชาวสะมาเรียใจดี  และต้องตั้งใจฟังองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างลึกซึ้ง  เหมือนมารีย์ แห่งเบธานี  ขาข้างที่สามของเก้าอี้สามขาคือการอธิษฐานภาวนา การ เรียกหาพระเจ้า และเคาะประตูร้องขอความช่วยเหลือในสิ่งจำ�เป็นของ โลกนี้ บรรดาศิษย์ประทับใจมากกับการอธิษฐานภาวนาเป็นกิจวัตร ของพระเยซูเจ้า เป็นธรรมเนียมที่ศิษย์จะขอให้อาจารย์สอนศาสนาให้ สอนวิธีภาวนา เพื่อแสดงความเข้าใจในพระเจ้าที่พวกเขาเพิ่งได้รับมา ใหม่ๆ บทเรียนที่พระเยซูเจ้าทรงสอนเป็นช่วงเวลาอันมีค่า เพราะเราได้ มองเห็นพลวัตของความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และพระบิดา เราได้รับ การเผยแสดงในพันธสัญญาใหม่ว่าพระเจ้าทรงเป็นบิดาของเรา นักบุญ เปาโลเขียนไว้ว่าพระจิตเจ้าทรงทำ�งานในตัวผู้ที่รับศีลล้างบาปแล้ว เพื่อ นำ�เราไปสู่การรู้จักพระเจ้า ว่าทรงเป็น “อับบา” หรือบิดา บทข้าแต่พระบิดาไม่ใช่บทภาวนาที่เราท่องจากความจำ�  แต่ควร เป็นการแสดงออกของห้วงเวลาต่างๆ ของความสัมพันธ์ระหว่างเรากับ พระบิดา นีค่ อื บทภาวนาประจำ�ตัวของเราในฐานะศิษย์ของพระคริสตเจ้า ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย – อาศัยการประทานพระ จิตเจ้า เราจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบุตรบุญธรรมของพระเจ้า และมี โอกาสเดินทางร่วมกับพระเยซูคริสตเจ้าเพื่อกลับไปหาพระบิดา เราได้


บทเทศน์ปี C

17

รับการยกขึ้นสู่ความเคลื่อนไหวภายในของพระตรีเอกภาพ ในพระเยซู คริสตเจ้า คำ�ภาวนาของเราได้เข้าร่วมในการเดินทางของพระวจนาตถ์ กลับไปหาผู้ให้กำ�เนิดพระองค์แรก คือพระบิดา ในพระวรสารมีบท ภาวนาของพระเยซูเจ้าประมาณ 20 บท และทุกบทเริ่มต้นด้วยการเรียก พระเจ้าว่าพระบิดา ซึ่งเป็นชื่อที่แสดงถึงความสัมพันธ์  ความใกล้ชิด ความสนิทสนม และความไว้วางใจ แต่ความใกล้ชิดนี้ต้องประกอบด้วย การยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า พระเจ้าทรงใกล้ชิดเราเหมือน บิดาก็จริง แต่ทรงห่างไกลเราเหมือนฟ้าสวรรค์ ดังนั้น การภาวนาจึงนำ� เราไปสู่ความสนิทสนม และยกเราให้สูงขึ้นในเวลาเดียวกัน พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ – เราไม่สามารถเพิ่มเติม สิ่งใดให้แก่พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า แต่ความปรารถนาจะสรรเสริญ พระเจ้าก็เป็นพระพรอย่างหนึ่ง นี่คือคำ�วิงวอนขอให้พระเจ้าทวีความ เชื่อของเรา ขอให้เราได้สัมผัสกับความศักดิ์สิทธิ์  และพระเดชานุภาพ ของพระเจ้า เมื่อนั้น จิตใจของเราจะถูกยกชูขึ้นด้วยการสรรเสริญ และ นมัสการพระองค์  เรายกจิตใจและความคิดขึ้นหาพระเจ้า พระนาม ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องพระเจ้ า แสดงทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งที่ อ ยู่ เ หนื อ กว่ า และสู ง กว่ า การเอ่ยพระนามของพระเจ้าหลายๆ ครั้งอย่างถ่อมตนเป็นการภาวนา สรรเสริญ และนมัสการพระองค์ได้วิธีหนึ่ง การเอ่ยพระนามพระเจ้า หลายครั้งด้วยความรักเป็นการแสดงออกถึงความอบอุ่น และความรู้สึก อ่อนโยน ที่เราได้รู้จักความรักที่พระบิดาทรงมีต่อเรา ผู้เป็นบุตรของ พระองค์ พระอาณาจักรจงมาถึง – ตรงกันข้ามกับคำ�วิงวอนข้อแรกที่ เป็นความเคลื่อนไหวขึ้นสู่เบื้องบน บัดนี้  เราขอให้พระอาณาจักรของ พระเจ้าลงมายังโลกของเรา พระอาณาจักร หรือพระราชัยของพระเจ้า บนโลกนี้ เป็นประเด็นหลักของการเทศน์สอนของพระเยซูเจ้า พระองค์ เสด็จมาขับไล่อาณาจักรของซาตาน บาป และความเห็นแก่ตัว พระวรสาร


18

บทเทศน์ปี C

สหทรรศน์บรรยายภาพของพระเยซูว่าทรงเทศน์สอนข่าวดีเรื่องพระ อาณาจักร และเผยแสดงอำ�นาจของพระเจ้าในโลกนี้ ด้วยการรักษาโรค ให้ประชาชน พระองค์ทรงสถาปนาพระราชัยของพระเจ้าขึ้น แต่ในเรื่อง อุปมาหลายเรื่อง พระองค์ตรัสถึงอุปสรรคที่ขัดขวางการเจริญเติบโตใน วิญญาณ เช่น ดินที่แข็ง ความแห้งแล้ง วัชพืชที่บีบรัดไม่ให้เจริญเติบโต และในอุปมาเรื่องปลาดีที่อยู่รวมกับปลาเน่า การเจริญเติบโตของพระ อาณาจั ก รยั ง ไม่ ส มบู ร ณ์ ค รบถ้ ว น โลกของเรายั ง ไม่ ดำ � เนิ น ชี วิ ต ตาม อุดมคติของบทเทศน์บนภูเขา ดังนั้น คำ�ภาวนาของเราจึงเป็นการแสดง ความปรารถนาอันร้อนรนให้พระจิตเจ้าเสด็จมาเพื่อเปลี่ยนหัวใจหิน ของเรา เพื่อเติมเต็มโลกของเราด้วยความรักของพระเจ้า นี่คือคำ�วิงวอน ขอพระเจ้าให้ทรงเสริมความหวังของเราให้เข้มแข็ง บทภาวนาฉบับของมัทธิวเพิ่มเติมข้อความว่า “พระประสงค์จง สำ�เร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์” หลังจากยกจิตใจของเราขึ้นด้วย การสรรเสริญ และปรารถนาให้พระเจ้าเสด็จมาในโลกของเราแล้ว บัดนี้ ความเคลื่อนไหวของการภาวนาจะเคลื่อนเข้าไปภายใน เข้าสู่ใจกลาง ของหั ว ใจ... รอบนอกของชี วิ ต เรามี กิ จ กรรมมากมาย ทั้ ง เรื่ อ งงาน ครอบครัว บุคคลที่เราติดต่อในสังคม และอื่นๆ บัดนี้ เราวิงวอนขอให้ พระประสงค์ของพระเจ้าเป็นศูนย์กลางอันมั่นคงของกิจกรรมเหล่านี้ ทั้งหมด นี่คือคำ�วิงวอนขอการเพิ่มพูนของความรัก ขอให้ความรักต่อ พระประสงค์ของพระเจ้าเป็นพลังนำ�ทางทุกสิ่งทุกอย่างที่เรากระทำ� คำ�ภาวนาเหล่านี้เป็นความเคลื่อนไหวของความปรารถนาที่ยก ถวายด้วยการนมัสการ ความปรารถนาจะเห็นพระราชัยของพระเจ้า ลงมายั ง โลกนี้   และความรู้ สึ ก โหยหาพระประสงค์ ข องพระเจ้ า ใน จุดศูนย์กลางของความปรารถนาทั้งปวง คำ�วิงวอนต่อจากนี้ จะบอกถึง สิ่งจำ�เป็นสำ�หรับเราทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต


บทเทศน์ปี C

19

คำ�วิงวอนสำ�หรับวันนี้คือ “โปรดประทาน” เราต้องพึ่งพาพระเจ้า ให้ทรงเลี้ยงดูเรา เราจึงเป็นคนยากไร้ขัดสนเมื่ออยู่เบื้องหน้าพระองค์ เรามาหาพระองค์ด้วยมือที่ว่างเปล่า และเอ่ยถึงความขัดสนทั้งหมดของ เราโดยใช้คำ�พูดเดียวคือ “อาหาร” พระบิดาสวรรค์ของเราทรงทราบอยู่ แล้วว่าเราต้องการอะไร การภาวนาไม่ใช่การบอกข้อมูลเพิ่มเติมให้แก่ พระเจ้าว่าใครต้องการอะไร แต่เป็นเราเองที่เปลี่ยนไป เมื่อเราค้นพบ ความถ่อมตนที่จะขอ และความเชื่อลึกๆ ที่จะเพียรพยายามต่อไป คำ�ภาวนาเพื่ออดีตของเราจะเป็นการขออภัยเป็นส่วนใหญ่ - ข้า แต่พระบิดา โปรดทรงอภัยบาปทั้งปวงในอดีตของเราเถิด - และขอให้ เราได้รับการอภัยจากพระองค์  เพื่อเราจะมีความต้องการส่งต่อการให้ อภัยของพระองค์ให้แก่ผู้ที่เคยทำ�ร้ายเรา เหมือนกับหญิงคนนั้น ผู้รัก มาก เพราะนางได้รับการอภัยมาก ทิศทางต่อไปคือมองที่อนาคตของเรา อนาคตเป็นต้นเหตุให้คน จำ�นวนมากวิตกกังวล แต่ศิษย์ของพระคริสตเจ้าต้องภาวนาด้วยความ วางใจว่า “ข้าแต่พระบิดา โปรดทรงนำ�ทางเราให้ผ่านการทดลอง และ วิ ก ฤติ ก ารณ์ ต่ า งๆ อย่ า งปลอดภั ย  โปรดทรงจู ง มื อ เรา นำ � เราฟั น ฝ่ า อันตรายทั้งปวง และเหนืออื่นใด โปรดทรงช่วยเราให้พ้นภัยจากปีศาจ” เคยมีคนถามนักบุญเทเรเซาแห่งอาวีลา ว่าถ้าเขาต้องการเพ่งพิศ ภาวนา เขาควรสวดอย่างไร เธอตอบว่า “สวดบทข้าแต่พระบิดา และใช้ เวลาสวดบทนี้สักหนึ่งชั่วโมง” บทภาวนานี้แสดงให้เห็นความเคลื่อนไหว ในทิศทางต่างๆ ของศิษย์พระคริสต์ไปหาพระเจ้า และไปหาโลก และ เป็นบทภาวนาที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของเรา ซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวกับ พระเยซูเจ้า และเป็นบุตรของพระบิดา


20

บทเทศน์ปี C

ข้อรำ�พึงที่สอง จงขอ ... จงแสวงหา ... จงเคาะประตู ผู้เ ชี่ย วชาญในศิ ล ปะด้ า นใดย่ อ มสามารถทำ � ให้ ศิล ปะด้ า นนั้น ดูเหมือนง่าย เช่นเดียวกับพระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการ อธิ ษ ฐานภาวนา พระองค์ ท รงใช้ คำ � พู ด ธรรมดาสามั ญ ของมนุ ษ ย์ พระองค์ ท รงทำ � ให้ พ ระบิ ด ามี ห น้ า ตาเหมื อ นมนุ ษ ย์   พระองค์ ท รง บรรยายความลุ่มลึกของความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์พระคริสต์กับพระ บิดา ด้วยการบอกเล่าเรื่องของความเอื้อเฟื้อ และความรักเอาใจใส่ของ บิดามารดาอย่างที่เราคุ้นเคย เราสามารถเข้าใจอานุภาพของความจงรัก ภักดีในมิตรภาพของมนุษย์ หรือประสิทธิผลของการรบเร้า หรือความ เอาใจใส่ และความคุ้มครอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรักของบิดาหรือ มารดา พระองค์ทรงบอกว่าพระเจ้าก็ทรงรู้สึกเช่นนี้กับเรา และทรงเพิ่ม น้�ำ หนักด้วยคำ�ว่า “จะไม่ประทาน...มากกว่านัน้ หรือ” เราไม่ได้รบั ทุกสิง่ ทุกอย่างที่เราวิงวอนขอแน่นอน คน 10 คนที่ภาวนาขอให้ได้รับเลือก ให้ทำ�งานในตำ�แหน่งเดียวกัน ย่อมไม่ได้งานนั้นทุกคน ถ้าเราอธิษฐาน ภาวนาขอให้หายจากโรคได้ทุกครั้ง ก็คงไม่มีใครเคยตาย แต่พระเจ้าผู้ทรงเป็นบิดาผู้รักบุตร จะทรงสดับฟังทุกคำ�ภาวนา จุดประสงค์ของการภาวนามิใช่เพราะพระเจ้าจะไม่ประทานสิ่ง ที่เราต้องการ ยกเว้นเราจะเกลี้ยกล่อมพระองค์ หรือบีบบังคับพระองค์ ด้วยการภาวนา บ่อยครั้งที่ภูเขาที่เราต้องเคลื่อนย้ายด้วยการภาวนาด้วย ความเชื่อ ก็คืออุปสรรคในตัวเราเอง ความอัปยศจากการต้องร้องขอ บางสิ่งบางอย่าง จะทลายความต้องการพึ่งพาตนเองมากเกินไปของเรา การวิงวอนขอหลายครั้งหลายหน อาจบังคับให้เราพิจารณาว่าจุด มุ่งหมายของเรานั้นเห็นแก่ตัวเกินไปหรือเปล่า ระหว่างทางที่เราวิงวอน ขอ พระเจ้าจะทรงทดสอบความเห็นแก่ตัวของความเชื่อของเรา ว่าเรา


บทเทศน์ปี C

21

กำ�ลังใช้ศาสนามารับใช้ตัวเรา ... หรือรับใช้พระเจ้า เมื่อข้าพเจ้าภาวนา ว่า “พระประสงค์จงสำ�เร็จไป” บางครั้งประโยคนี้ซ่อนประโยคว่า “ขอ ให้ความประสงค์ของข้าพเจ้าสำ�เร็จไป” หรือเปล่า เมื่อเราต้องเพียรพยายามในการวิงวอนขอ นั่นอาจมีประโยชน์ สำ�หรับตัวเราเอง เรามักไม่เห็นคุณค่าสิ่งที่เราได้มาโดยง่าย และเรามัก ทะนุถนอมสิ่งที่เราต้องทำ�งานหนักเพื่อให้ได้มา คำ�ตอบที่เราได้รับหลัง จากสวดภาวนาเป็นเวลานานจะเป็นสิ่งที่เราเห็นคุณค่ามากกว่าแน่นอน เราต่างหากเป็นฝ่ายที่เปลี่ยนไป ... และยอมรับพระประสงค์ของพระเจ้า มากขึ้น ด้วยการเพียรพยายามวิงวอนขอ แสวงหา และเคาะประตู นักประพันธ์ชาวรัสเซียชื่อ โดสทอฟสกี้  ประทับใจมากที่มีคน จำ�นวนมากที่เชื่อว่าโลกนี้ยังหมุนรอบตัวอยู่ได้ทุกวันทุกคืน ฤดูกาลผลัด เปลี่ยนหมุนเวียนตามปกติ น้ำ�ขึ้นและน้ำ�ลงตามปกติได้ ก็เพราะในทุก นาทีมีใครบางคนในที่ใดที่หนึ่งกำ�ลังยืนอธิษฐานภาวนาอยู่เบื้องหน้า พระเจ้า การเสนอวิงวอนมีความหมายตามตัวอักษรว่าการยืนคั่นกลาง ระหว่างความต้องการของโลก และพระเจ้า เหมือนกับอับราฮัมยืนเบื้อง หน้าพระเจ้า และต่อรองเพื่อประชาชนในเมืองโสดม ไม่มีคำ�อธิษฐานภาวนาใดที่พระเจ้าไม่สดับฟัง หรือไม่ตอบสนอง ข้ า พเจ้ า อาจไม่ ไ ด้ รั บ คำ � ตอบอย่ า งที่ ใ จข้ า พเจ้ า ต้ อ งการเสมอไป แต่ ข้าพเจ้ามั่นใจได้ว่าพระเจ้าทรงรู้ว่าใครที่จำ�เป็นต้องได้รับการตอบสนอง มากที่สุด และคำ�ภาวนาของข้าพเจ้ากำ�ลังช่วยเหลือใครบางคนในบาง สถานที่   ดังนั้น  โลกจึงยังหมุนรอบตัวเองต่อไป ฤดูกาลผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนต่อไป ชีวิตยังดำ�เนินต่อไป เพราะตลอดเวลา ในที่แห่งหนึ่ง มี ใครบางคนกำ�ลังอธิษฐานภาวนา และบางครั้ง ใครคนนั้นคือข้าพเจ้าเอง


22

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 2 วันหนึ่ง พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาอยู่ในสถานที่แห่งหนึ่ง เมื่อ ทรงอธิษฐานจบแล้ว ศิษย์คนหนึ่งทูลพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า โปรด สอนเราให้อธิษฐานภาวนา เหมือนกับที่ยอห์นสอนศิษย์ของเขาเถิด” บรรดาศิษย์รออยู่ใกล้พระองค์  เขาไม่ต้องการรบกวนพระองค์ แต่เฝ้ามองพระองค์ขณะที่ทรงอธิษฐานภาวนา... เราไม่ มี โ อกาสได้ เ ห็ น พระเยซู เ จ้ า ภาวนา แต่ เ ราสามารถใช้ จินตนาการของเราเพ่งพินิจการภาวนาของพระองค์ได้ พระเยซูเจ้าทรง ภาวนาบ่อยๆ และเป็นเวลานานๆ พระองค์ทรงเป็น “อาจารย์สอนการ ภาวนา” ไม่เพียงด้วยการประทานคำ�แนะนำ�  แต่ด้วยการภาวนาเป็น แบบอย่าง ในปั จ จุ บัน มีประชาชนกลับ มาให้ ค วามสนใจกั บ การอธิ ษ ฐาน ภาวนาอีกครั้งหนึ่ง แต่คนในยุคของเราไม่ว่าชายหรือหญิง รู้สึกว่าการ ภาวนาทำ�ได้ยาก เราได้รับอิทธิพลจากเสียงวิจารณ์ของ “ความคิดสมัย ใหม่” ที่พยายามบอกเราว่าการภาวนาเป็นการยอมรับโชคชะตาอย่าง เกียจคร้าน ... อย่าขอให้พระเจ้าทำ�งานแทนคุณ แต่จงพับแขนเสื้อและ ลงมือทำ�งานเอง ... การภาวนาเป็นเครื่องมือของคนโบราณที่ไม่รู้เรื่อง กฎธรรมชาติ ... การภาวนาสร้างความบาดหมาง ... จงเป็นมนุษย์เต็ม ร้อยเถิด ไม่มีพระเจ้า ไม่มีนาย ... เลิกเชื่อถือโชคลางได้แล้ว... “พระเยซูเจ้าข้า  โปรดสอนเราอธิษฐานภาวนาเถิด” โปรดทรง สอนเราว่าการภาวนาของคริสตชนไม่ใช่การภาวนาทั่วๆ ไป แต่เป็นการ สนทนาระหว่างบุตร และพระบิดาสวรรค์ผู้ทรงรักเรามาก เราต้องทำ�ให้การอธิษฐานภาวนาของเรามีเจตนาที่บริสุทธิ์ ...


เราต้องเรียนรู้ที่จะภาวนา...

บทเทศน์ปี C

23

พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า “เมื่อท่านทั้งหลายอธิษฐานภาวนา จงพูด ว่า ข้าแต่พระบิดา... ชาวยิวเรียกพระเจ้าว่า “พระบิดา” มาก่อนแล้ว เช่นเดียวกับ คนในศาสนาอื่นๆ อีกมาก (ฮชย 11:13; ยรม 3:19; อสย 23:16; ปชญ 5:5 เป็นต้น) แต่พระเยซูเจ้าทรงนำ�คำ�ใหม่มาใช้  โดยทรงกล้าเรียกพระเจ้า ว่า “อับบา” หรือ “พ่อจ๋า” เป็นคำ�ที่สนิทสนม และไม่เคยมีใครใช้มา ก่อน เมื่อบรรดาศิษย์ได้เห็นประสบการณ์ของพระเยซูเจ้า พวกเขากล้า ประกาศว่าพระองค์ทรงเป็น “พระบุตรของพระเจ้า” ในลักษณะที่ไม่ เหมือนใคร เมื่อเราสวดบทภาวนาที่พระเยซูเจ้าทรงสอนเรา เสมือนว่า เป็นคำ�พูดของเราเอง เรากล้าคิดเหมือนพระองค์ว่า “เราได้รับความ รั ก จากพระบิ ด าด้ ว ยความรั ก เดี ย วกั น กั บ ที่ พ ระบิ ด าทรงรั ก พระบุ ต ร พระองค์เดียวของพระองค์” (เทียบ ยน 17:22)... พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ... ในพระคัมภีร์ “ชื่อ” คือการแสดงตัวตนของบุคคลนั้น ... “ความ ศักดิ์สิทธิ”์ เป็นสิ่งที่ทำ�ให้พระเจ้าทรงต่างจากเรา เพราะความสูงส่งของ ความรัก และพระอานุภาพของพระองค์... ก่อนจะบอกสิ่งที่เราต้องการเบื้องหน้าพระเจ้า เราต้องภาวนา ขอให้แผนการของพระบิดาสวรรค์สำ�เร็จไปก่อน ... นี่คือคำ�ภาวนาด้วย ความเต็มใจ และไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งไม่ใช่เวทย์มนตร์คาถา และไม่สร้าง ศัตรู... “พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ” อาจแปลได้ว่า โปรดทรง แสดงพระสรรพานุภาพของพระองค์ ซึ่งในเวลาเดียวกัน ก็เป็นความดี


24

บทเทศน์ปี C

งามทั้งปวง และความเป็นบิดา ... โปรดแสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรง เป็นบิดา ทรงเป็น “บิดา” อย่างไร้ขอบเขตและสมบูรณ์ ทรงเป็นบิดาที่ ต่างจากเรามนุษย์ และทรงเป็นบิดามากว่าเราอย่างไร้ขอบเขต ถ้าเราเท ความรักอันน่าพิศวงของบิดาทุกคนและมารดาทุกคนในโลก ลงในหัวใจ ดวงหนึ่ง ความรักทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของความรักของ พระบิดาองค์นี้ “ผู้ทรงเป็นที่มาของครอบครัวทั้งหลาย” (อฟ 3:15) พระอาณาจักรจงมาถึง... คำ�วิงวอนข้อที่สองนี้แทบจะเหมือนกับข้อแรก เรากำ�ลังวิงวอน ให้พระเจ้าทรงครองราชย์ ขอให้พระเจ้าทรงปลุกความรักขึ้นในหัวใจสิ่ง สร้างทั้งปวงของพระองค์ เพราะพระเจ้าทรงเป็นความรัก (1 ยน 4:712) ... ขอให้ความรักเป็นกษัตริย์ ... ขอให้ความรักครองราชย์เถิด... พันธสัญญาเดิมกล่าวถึง “พระอาณาจักรของพระเจ้า” อยู่เสมอ (1 พศด 16:30-33; ทบต 13:1; สดด 22:28, 29, 68:33-36, 98:10, 3:19; อสย 11:1-9, 33:17-24, 52:7-12; ดนล 8:23) ... ในความคิด ของชาวอิสราเอล กษัตริย์บนโลกนี้เป็นเพียง “ผู้แทน” อำ�นาจกษัตริย์ ที่แท้เป็นของพระเจ้าพระองค์เดียว และด้วยการปฏิบัติตามพระบัญญัติ ของพระเจ้า ชาวอิสราเอลทำ�ให้พระเจ้าทรงครองราชย์อย่างแท้จริง... ในสมัยของพระเยซูเจ้า ไม่มีกษัตริย์ปกครองในกรุงเยรูซาเล็ม มานานแล้ว ต่างจากยุคของดาวิดและซาโลมอน เมื่อถูกซ้ำ�เติมด้วยการ ยึดครองแผ่นดินโดยกองทัพต่างชาติ  ประชาชนจึงรอคอยพระเมสสิยาห์ ดังที่เขาแสดงออกในคำ�ภาวนาของชาวยิวว่า “ขอให้พระนามของ พระองค์ได้รับการสักการะในโลก ซึ่งพระนามนี้ได้เนรมิตสร้างขึ้นตาม พระประสงค์  ขอให้พระนามนี้แสดงอำ�นาจกษัตริย์ของพระองค์  และ ทำ�ให้การไถ่กู้ (การปลดปล่อย) บังเกิดขึ้น ขอให้พระเมสสิยาห์เสด็จมา ใกล้”


บทเทศน์ปี C

25

พระเยซูเจ้าทรงประกาศว่าพระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ใกล้แล้ว และอยู่ที่นี่แล้ว และกำ�ลังทำ�งาน ไม่ใช่ในลักษณะที่โดดเด่นสะดุดตา … แต่เหมือนเมล็ดพันธุ์ที่ถูกปลูกไว้อย่างซ่อนเร้นในหัวใจมนุษย์ (มธ 3:2, 4:17, 10:7, 13:24, 31, 36, 50)... ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดว่าเราไม่สามารถใช้ถ้อยคำ�เหล่านี้อธิษฐาน ภาวนา เว้นแต่ว่าเราเองได้พยายามสนับสนุนให้พระอาณาจักรเจริญ เติบโต ด้วยความเชื่อมั่นในอวสานกาล ว่าในวันนั้นแผนการแห่งความ รักของพระบิดาจะสำ�เร็จและบรรลุผล... เราต้องสังเกตว่า ลูกาไม่ได้บันทึกบทภาวนา “ข้าแต่พระบิดา” อย่างที่เราใช้สวดกันในพระศาสนจักร ซึ่งเป็นฉบับที่นำ�มาจากพระวรสารของมัทธิว ทั้งนี้อาจเป็นเพราะลูกาได้ตัดข้อความให้สั้นลง โดย ละเว้นคำ�วิงวอนสองข้อ (“พระประสงค์จงสำ�เร็จไป” ... “โปรดช่วยเรา ให้พ้นจากความชั่วร้าย”) โปรดประทานอาหารประจำ�วันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายทุกวัน... เมื่อเรายอมรับแผนการของพระบิดามาเป็นแผนการของเราเอง แล้ว บัดนี้ เราสามารถบอกสิ่งที่เป็นความปรารถนาของเราได้ พระเยซู เจ้าทรงเสนอไว้สามข้อ คือ อาหาร ... การให้อภัย ... อิสรภาพจากความ ชั่ว... พระวรสารของมั ท ธิ ว กล่ า วว่ า  “โปรดประทานอาหารประจำ � วันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้” แต่กลุ่มคริสตชนของลูกา คงยากจน มาก เขาจึงปรับเปลี่ยนคำ�พูดเล็กน้อยกลายเป็น “โปรดประทานอาหาร ประจำ�วันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายทุกวัน” บทภาวนานี้มักน้อยที่สุด และ ท้าทายความคิดแบบคนรวยของเราอย่างแยบยล... พระเยซูเจ้าตรัสย้ำ�หลายครั้งว่าเราไม่ควรกังวลเกินไปเกี่ยวกับ วันพรุ่งนี้ (ลก 12:23-32; มธ 6:34) ตั้งแต่ครั้งอพยพเมื่อชาวยิวอยู่


26

บทเทศน์ปี C

ในถิ่นทุรกันดาร ประชากรของพระเจ้าก็ไม่ได้รับอนุญาตให้เก็บมานนา เผื่อไว้บริโภคหลายวัน (อพย 16:4) คำ�ภาษากรีก epiousios แปลได้ ว่า “ประจำ�วัน (daily)” (แต่อาจแปลว่า “สิ่งจำ�เป็น (needful)” ได้ ด้วย) และเป็นคำ�ที่ใช้ในข้อความนี้แห่งเดียวในคัมภีร์ทั้งเล่ม และอ้างอิง คำ�ภาษาฮีบรูที่ไม่นิยมใช้กัน ซึ่งเราพบในสุภาษิต 30:8 ว่า “โปรดอย่า ทรงประทานทรัพย์สิน หรือความร่ำ�รวยแก่ข้าพเจ้า แต่โปรดทรงเลี้ยงดู ข้าพเจ้าด้วยอาหารที่จำ�เป็นสำ�หรับข้าพเจ้า”... เป็นบทภาวนาที่สวดภาวนาได้ยาก ในขณะที่เรามีฐานะร่ำ�รวย... แต่เป็นบทภาวนาที่เหมาะสมสำ�หรับคนทั้งหลายทั่วโลกที่หาเช้า กินค่ำ�... คำ�ว่า “เรา หรือข้าพเจ้าทั้งหลาย” ซึ่งเราเอ่ยตามพระเยซูเจ้า ทำ � ให้ เ ราต้ อ งคิ ด ถึ ง มนุ ษ ย์ ช ายหญิ ง ทุ ก คนที่ ข าดแคลนแม้ แ ต่ อ าหาร ประจำ�วัน ... ข้าพเจ้าไม่มีสิทธิสวดบท “ข้าแต่พระบิดา” เพื่อตนเอง เท่านั้น ... โปรดประทานอาหารแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ... และถ้าข้าพเจ้า สวดอย่ า งจริ ง ใจ ข้ า พเจ้ า ย่ อ มรู้ สึ ก ว่ า จำ � เป็ น ต้ อ งแบ่ ง ปั น อาหารของ ข้าพเจ้าให้แก่คนทั้งหลายที่หิวโหย... โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เหมือนข้าพเจ้าทั้งหลายให้ อภัยแก่ผู้อื่น... เมื่อเปรียบเทียบกับฉบับของมัทธิว ลูกาใช้คำ�ว่า “บาป” แทน คำ�ว่า “หนี้” อันที่จริง บาปเป็นอุปสรรคสำ�คัญที่สุดที่ขัดขวางทั้งพระ อาณาจักรของพระเจ้า และการแบ่งปันอาหารฉันพี่น้อง เราต้องให้อภัย “ผู้อื่น” ทุกคน ถ้าเราต้องการได้รับอภัยจากพระเจ้า... การได้ รั บ อภั ย นี้ จำ � เป็ น มากสำ � หรั บ คริ ส ตชน เนื่ อ งจากพระ เยซูเจ้าทรงกล่าวถึงหลายครั้ง (ลก 23:34, 6:36; มธ 11:19, 26:28, 6:14, 18:23-25; มก 11:25; ยก 2:13) จากถ้อยคำ�เหล่านี้ ความ


บทเทศน์ปี C

27

ยินดีที่พระเจ้าทรงรู้สึกได้เมื่อพระองค์ทรงให้อภัยคนบาปจะกลายเป็น มาตรฐานวัดพฤติกรรมของคริสตชน ... เด็กหญิงเล็กๆ คนหนึ่งบอก ครูคำ�สอนของเธอว่า “คริสตชนคือคนที่รู้จักให้อภัย”... ก่อนจะรำ�พึงภาวนาต่อไป ข้าพเจ้าหยุดพักครู่หนึ่ง และไตร่ตรอง ว่า ... ข้าพเจ้าได้ให้อภัยอย่างหมดหัวใจ “ทุกคนที่เป็นหนี้ข้าพเจ้า” หรือ เปล่า นับแต่นี้ไป ขอให้เราอย่าได้พูดอีกเลยว่าบทภาวนานี้เป็นคาถาที่ เห็นแก่ตัว หรือการยอมจำ�นนต่อชะตากรรม หากแต่เป็นคำ�มั่นสัญญา อันยิ่งใหญ่ เรียกร้องมาก และแทบเกินกำ�ลังมนุษย์จะปฏิบัติได้... โปรดช่วยข้าพเจ้าทั้งหลายไม่ให้แพ้การประจญ ผู้อธิบายความหมายของพระคัมภีร์หลายคนคิดว่าการประจญใน ที่นี้ พระเยซูเจ้าทรงหมายถึง “การประจญครั้งใหญ่” คือการประจญให้ สูญเสียความเชื่อและให้ละทิ้งพระเยซูเจ้า การทดลองครั้งใหญ่นี้ทำ�ให้ พระเยซูเจ้าเองทรงเอ่ยออกมาว่า “เมื่อบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมา จะทรง พบความเชื่อในโลกนี้หรือ” (ลก 18:8) ลูกาบันทึกไว้ถึงสองครั้ง เมื่อ เขาบอกเล่าเรื่องพระทรมานในสวนเกทเสมนี (ลก 22:40, 46) ว่าพระ เยซูเจ้าทรงแนะนำ�ให้เพื่อนๆ ของพระองค์ “อธิษฐานภาวนา เพี่อจะไม่ ถูกทดลอง” ถูกแล้ว การประจญครัง้ ใหญ่คอื การประจญให้เราละทิง้ พระเยซูเจ้า แต่การประจญทุกครั้งของเรา ความผิดพลาดบกพร่องแม้แต่เล็กน้อย ของเรา ก็ทำ�ให้เราละทิ้งพระเยซูเจ้าทีละน้อย ... ในอุปมาเรื่องผู้หว่าน พระเยซูเจ้าทรงเตือนเราว่า บางคนมีความเชื่อเพียงชั่วระยะหนึ่ง แต่เมื่อ ถึงเวลาถูกทดลองเขาก็ปฏิเสธพระองค์ (ลก 8:13) ถูกแล้ว เราต้องต่อสู้ กับความชั่วร้ายทุกวันเพื่อช่วงชิงอิสรภาพของเรากลับคืนมา ... และเรา ต้องวิงวอนพระเจ้าอย่างถ่อมตนขอพระหรรษทานที่จะช่วยเราไม่ให้ตก


28

บทเทศน์ปี C

เป็นทาส ถูกตีตรวน และบาดหมางกับพระองค์... พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์อีกว่า “สมมุติว่าท่านคนหนึ่งมีเพื่อน และไปพบเพื่อนนั้นตอนเที่ยงคืน กล่าวว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ให้ฉันขอยืม ขนมปังสักสามก้อนเถิด เพราะเพื่อนของฉันเพิ่งเดินทางมาถึงบ้าน ของฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้เขากิน’ สมมุติว่า เพื่อนคนนั้นตอบจาก ในบ้านว่า ‘อย่ารบกวนฉันเลย ประตูปิดแล้ว ลูกๆ กับฉันก็เข้านอน แล้ว ฉันลุกขึ้นให้สิ่งใดท่านไม่ได้หรอก’ เราบอกท่านทั้งหลายว่า ถ้า คนนั้นไม่ลุกขึ้นให้ขนมปังเพราะเป็นเพื่อนกัน เขาก็จะลุกขึ้นมาให้สิ่ง ที่เพื่อนต้องการเพราะถูกรบเร้า เราบอกท่านทั้งหลายว่า จงขอเถิด แล้วท่านจะได้รับ จงแสวงหาเถิด แล้วท่านจะพบ จงเคาะประตูเถิด แล้วเขาจะเปิดประตูรับท่าน เพราะคนที่ขอย่อมได้รับ คนที่แสวงหา ย่อมพบ คนที่เคาะประตูย่อมมีผู้เปิดประตูให้ ท่านที่เป็นพ่อ ถ้าลูกขอ ปลา จะให้งูแทนปลาหรือ ถ้าลูกขอไข่ จะให้แมงป่องหรือ แม้แต่ท่าน ทั้งหลายที่เป็นคนชั่วยังรู้จักให้ของดีๆ แก่ลูก แล้วพระบิดาผู้สถิตใน สวรรค์จะไม่ประทานพระจิตเจ้าแแก่ผู้ที่ทูลขอพระองค์มากกว่านั้น หรือ” สมบัติล้ำ�ค่าเพียงหนึ่งเดียวที่เราต้องวิงวอนขอจากพระเจ้า คือ พระจิตของพระองค์...


บทเทศน์ปี C

29

วั นอาทิตย์ที่สิบแปด เทศกาลธรรมดา ลูกา 12:13-21 ประชาชนคนหนึง่ ทูลพระเยซูเจ้าว่า “พระอาจารย์ โปรดบอก พี่ชายข้าพเจ้าให้แบ่งมรดกให้ข้าพเจ้าเถิด” พระองค์จึงตรัสกับเขา ว่า “มนุษย์เอ๋ย ใครตั้งเราเป็นผู้พิพากษา หรือเป็นผู้แบ่งมรดกของ ท่าน” แล้วพระองค์ตรัสกับคนเหล่านั้นว่า “จงระวังและรักษาตัวไว้ ให้พ้นจากความโลภทุกชนิด เพราะชีวิตของคนเราไม่ขึ้นกับทรัพย์ สมบัติของเขา แม้ว่าเขาจะมั่งมีมากเพียงใดก็ตาม” พระองค์ ยั ง ตรั ส อุ ป มาเรื่ อ งหนึ่ ง ให้ เ ขาทั้ ง หลายฟั ง อี ก ว่ า “เศรษฐีคนหนึ่งมีที่ดินที่เกิดผลดีอย่างมาก เขาจึงคิดว่า ‘ฉันจะทำ� อย่างไรดี ฉันไม่มีที่พอจะเก็บพืชผลของฉัน’ เขาคิดอีกว่า ‘ฉันจะทำ� อย่างนี้ จะรื้อยุ้งฉางเก่าแล้วสร้างใหม่ให้ใหญ่โตกว่าเดิม จะได้เก็บ ข้าวและสมบัติทั้งหมดไว้ แล้วฉันจะพูดกับตนเองว่า ‘ดีแล้ว เจ้ามี ทรัพย์สมบัติมากมายเก็บไว้ใช้ได้หลายปี จงพักผ่อน กินดื่ม และ สนุกสนานเถิด’ แต่พระเจ้าตรัสกับเขาว่า ‘คนโง่เอ๋ย คืนนี้ เขาจะ เรียกเอาชีวิตเจ้าไป แล้วสิ่งที่เจ้าได้เตรียมไว้จะเป็นของใครเล่า คน ที่ ส ะสมทรั พ ย์ ส มบั ติ ไ ว้ สำ � หรั บ ตนเอง แต่ ไ ม่ เ ป็ น คนมั่ ง มี สำ � หรั บ พระเจ้าก็จะเป็นเช่นนี้’”


30

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง ยืนเคียงข้างคนจน เสียงร้องขอจากชายคนหนึ่งในฝูงชนให้พระเยซูเจ้าช่วยตัดสิน ข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สิน กลายเป็นโอกาสให้พระองค์ทรงสั่งสอน เรื่องวิถีทางในการเป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้า พระเยซูเจ้าไม่เพียงได้ยิน คำ�วิงวอนของชายคนนี้  แต่ยังได้ยินเสียงภายในวิญญาณดวงหนึ่งซึ่ง กังวลมากเกินไปกับทรัพย์สินเงินทอง ความโลภสามารถทำ�ให้วิญญาณ มองไม่เห็นว่าเขาต้องการพระเจ้า นักบุญเปาโลบอกว่าความโลภคือการ บูชาพระเจ้าเท็จเทียม เรื่องของชาวนาผู้ร่ำ�รวยนี้เป็นอุปมาเรื่องเดียวใน พระวรสารที่พระเจ้าเป็นผู้ตรัสเอง และคำ�แรกที่พระองค์ตรัสก็ไม่ใช่คำ� ยกย่องชมเชย พระเจ้าทรงเรียกเศรษฐีผู้นี้ว่า “คนโง่เอ๋ย” เป็นชื่อที่บอก เป็นนัยว่าเขาปฏิเสธพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงร่�ำ รวยอย่างไร้ขอบเขต แต่พระองค์ทรงเลือกเป็น คนจน “เพื่อท่านจะได้ร่ำ�รวยเพราะความยากจนของพระองค์” (2 คร 8:9) พระเยซูเจ้าทรงร่ำ�รวย ... ถ้าเราถือว่าอำ�นาจ และสิ่งที่พระองค์ ครอบครองอยู่เป็นส่วนหนึ่งของความร่ำ�รวย เพราะพระองค์ทรงเป็น ผู้ครอบครองจักรวาล แต่พระองค์ทรงเลือกเกิดเป็นคนจนที่ไร้บ้าน ทรงประสูติภายในที่พักอาศัยของสัตว์เลี้ยง และเมื่อพระองค์เดินทาง พระองค์ไม่มีแม้แต่ก้อนหินที่จะวางพระเศียร พระเยซูเจ้าทรงร่ำ�รวย ... ถ้าเราถือว่าบุคลิกภาพอันสมบูรณ์เป็น ส่วนหนึ่งของความร่ำ�รวย แต่พระองค์ทรงเลือกอยู่กับบุคคลตามชาย


บทเทศน์ปี C

31

ขอบของสังคม และบุคคลที่สังคมรังเกียจ และพระองค์ทรงนำ�สันติสุข มาประทานแก่คนที่เดือดร้อนใจ และคนถูกปีศาจสิง พระเยซูเจ้าทรงร่ำ�รวย ... ถ้าเราถือว่าสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของ ความร่ำ�รวย แต่พระองค์เสด็จมาเหมือนแพทย์ที่รักษาโรคให้คนที่ป่วย และสุขภาพไม่ดี พระเยซูเจ้าทรงร่ำ�รวยปรีชาญาณ และความเข้าใจ แต่พระองค์ ทรงยอมรับสภาพยากไร้อันเกิดจากความเข้าใจผิด และการจงใจตีความ คำ�พูดของพระองค์ผิดๆ พระเยซู เ จ้ า ทรงร่ำ � รวยในด้ า นที่ พ ระองค์ ท รงชื่ น ชมกั บ ชี วิ ต พระองค์ทรงคืนชีวิตให้แก่บางคนที่เสียชีวิต แต่พระองค์ทรงยอมรับ สภาพยากไร้ของความตาย พระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นพระวาจาของพระเจ้า และแม้แต่สวรรค์ ยังไม่กว้างใหญ่พอจะรองรับพระองค์ แต่ทรงเลือกมารับสภาพยากไร้ใน เนื้อหนังมนุษย์ และต่อมาทรงรับสภาพยากไร้ของขนมปังและเหล้าองุ่น ให้เป็นที่รองรับการประทับอยู่ของพระองค์ พระศาสนจักรซึ่งเป็นชุมชนศิษย์ของพระองค์จึงไม่มีทางเลือก อื่น นอกจากเลียนแบบพระอาจารย์ของเราที่จะยืนเคียงข้างคนจน ใน ศตวรรษแรกๆ บรรดาศิษย์มาจากกลุ่มคนยากจน ดังนั้น จึงเป็นพระ ศาสนจักรของคนจน และดังนั้น ผู้เป็นศิษย์พระคริสต์จึงเป็นสมาชิกของ องค์กรที่ไร้อำ�นาจ ที่กฎหมายไม่รับรอง และถูกกดขี่ ในศตวรรษที่สี่ เมื่อพระศาสนจักรปรองดองกับอาณาจักรโรมัน พระศาสนจักรมีอำ�นาจทางการเมือง และสะสมทรัพย์สมบัติเพิ่มขึ้นทีละ น้อยตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าพระศาสนจักร เคยใช้ อำ � นาจในทางที่ ผิ ด หลายครั้ ง  แต่ ก ระนั้ น  พระศาสนจั ก รก็ มี จิตสำ�นึกที่รู้ผิดรู้ชอบเกี่ยวกับคนจน และพระศาสนจักรทุกยุคสมัยได้ เป็นผู้ก่อตั้งกิจการกุศลในการไถ่ตัวเชลย ให้อิสรภาพแก่ทาส ช่วยเหลือ


32

บทเทศน์ปี C

คนโรคเรื้อน ก่อตั้งโรงเรียน และโรงพยาบาล เลี้ยงอาหารคนหิวโหย และปกป้องประชาชนจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ ดังนั้น จึงกลายเป็น พระศาสนจักรเพื่อคนจน ศตวรรษที่ 19 เป็นยุคใหม่สำ�หรับพระศาสนจักรเมื่อต้องสูญเสีย อำ�นาจทางการเมือง แม้ว่าต้องใช้เวลานานกว่าพระศาสนจักรจะปรับตัว ให้คุ้นเคยกับสถานการณ์ใหม่นี้ ในวันนี้ ขณะที่ช่องว่างระหว่างคนรวย และคนจนดูเหมือนว่ากว้างจนไม่อาจเชื่อมต่อกันได้   และตราบใดที่ มนุษย์คิดว่าความไม่เป็นธรรมทางสังคมเป็นเรื่องปกติ  พระศาสนจักร ย่อมไม่สามารถนิ่งเงียบต่อไปได้ การแจกจ่ายสิ่งของเท่านั้นย่อมไม่เพียง พออีกต่อไป พระศาสนจักรกำ�ลังแสดงจุดยืนที่ไม่รอมชอม และกลาย เป็นพระศาสนจักรที่ต่อสู้เคียงข้างคนจน บัดนี้  เราได้ยินเสียงของพระ ศาสนจักรแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินของรัฐบาล ต่างๆ และองค์กรทางการเงินระดับโลก พระเยซูเจ้าทรงร่ำ�รวยในหลายๆ ทาง แต่ทรงเลือกอยู่กับเรา ท่ า มกลางความยากจนขั ด สนของเรา เพื่ อ ให้ เ ราร่ำ � รวยเพราะความ ยากจนของพระองค์ พระศาสนจักรก็ร่ำ�รวยในหลายๆ ทางเช่นเดียวกัน ไม่ว่าในด้านทรัพย์สิน การมีเสียงที่ชาวโลกให้ความเคารพ ประสบการณ์ ด้านการศึกษา ด้านงานอภิบาลดูแลประชาชนที่ดำ�เนินการมายาวนาน และในด้านอื่นๆ อีกมาก ทรัพยากรอันมั่งคั่งนี้ถูกนำ�มาใช้เพื่อประโยชน์ ของคนจน เพื่อกำ�จัดผลร้ายจากความยากจน และรักษาโรคที่เกิดจาก ความอยุติธรรม เมื่อพระศาสนจักรยืนเคียงข้างคนจน เมื่อนั้น พระศาสนจักร กำ�ลังปฏิบัติตามวิถีทางของพระเยซูคริสตเจ้า


ข้อรำ�พึงที่สอง ความร่ำ�รวยของคนจน

บทเทศน์ปี C

33

มีแต่คนจนเท่านั้นที่สามารถเข้าใจพระคัมภีร์อย่างถูกต้อง สวด บทสดุดีอย่างจริงใจ และเฉลิมฉลองศีลมหาสนิทอย่างแท้จริง ในการ ประทับอยู่เพื่อเยียวยาของพระเยซูคริสตเจ้า คำ�สาปแช่งของความจน ถูกยกออกไป และเผยให้เห็นพระพรของความยากจนนั้น ขณะที่ชาติ ร่ำ�รวยสูญเสียศาสนา ชาติที่ยากจนกว่ากลับเผยให้เห็นความมั่งคั่งฝ่าย จิตที่แท้จริง หลายคนที่เริ่มต้น “ให้” แก่คนยากจนกลับตระหนักอย่าง เจียมตน ว่าเขาได้รับมากกว่าที่เขาสามารถมอบให้   ... “ในการให้นั้น เราได้รับ” ประเทศยากจนยังรักษาคุณค่าหลายอย่างที่เราได้สูญเสียไป เช่น ความพอใจในสิ่งที่ตนมี สันติสุขภายใน ความรู้สึกใกล้ชิดพระเจ้า ความเอื้อเฟื้อ ไมตรีจิต การทักทายอย่างสุภาพ และการมีเวลารับฟัง กันและกัน พระเยซูเจ้าทรงประกาศว่าผู้มีใจยากจนเป็นผู้ได้รับพระพร เป็นพิเศษ พระองค์ตรัสว่า “อาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา” ตั้งแต่บัดนี้ และบนโลกนี้แล้ว ทรัพย์อย่างหนึ่งที่เขามีในพระอาณาจักรก็คือเขามี พระคัมภีร์ให้ชื่นชม มีบทสดุดีไว้สวดภาวนา และมีศีลมหาสนิทให้เฉลิม ฉลอง พระคัมภีร์เผยว่าพระเจ้าทรงอยู่ข้างคนจนและผู้ถูกกดขี่ พระเอก ในเรื่องเล่าในพระคัมภีร์เป็นชนชาติเล็กๆ ที่ไม่สำ�คัญ ที่พ่ายแพ้ชนชาติ ใหญ่ครั้งแล้วครั้งเล่า และพระเอกยุคหลังของพระคัมภีร์ก็เป็นประกา ศกผู้ที่ไม่มีใครยอมรับ และถูกประหารชีวิตเหมือนอาชญากรคนหนึ่ง แต่กระนั้น พระเจ้าก็ยังกระทำ�พันธสัญญากับชนชาติที่ถูกโจมตีไม่หยุด นี้ว่า “เราจะเป็นพระเจ้าของเจ้า และเจ้าจะเป็นประชากรของเรา” และ พระเจ้าประทับอยู่ในตัวประกาศกผู้มีบาดแผลเต็มตัวผู้นี้  คนที่ยากจน และไร้อำ�นาจ คนที่เป็นเหยื่อของความอยุติธรรมและความเข้าใจผิด คือ


34

บทเทศน์ปี C

คนที่มีประสบการณ์ใกล้เคียงที่สุดกับวีรบุรุษทั้งหลายในพระคัมภีร์ ผู้มี ใจยากจนเท่านั้นที่เข้าถึงความคิด และหัวใจของพระคัมภีร์ได้ และมีแต่คนยากจนเท่านั้นที่เข้าใจ และรับเอาความมั่งคั่งของ บทสดุดีมาเป็นของตน เมื่อเขาภาวนาว่า “พระเจ้าเท่านั้นเป็นที่พักพิง พระองค์เท่านั้นเป็นศิลา และป้อมปราการของวิญญาณข้าพเจ้า” บุคคล ที่คิดว่าความมั่นคงขึ้นอยู่กับจำ�นวนเงินในบัญชีธนาคารย่อมไม่สามารถ สวดภาวนาได้อย่างจริงใจว่า “พระเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจผู้เลี้ยง แกะ ข้าพเจ้าจะไม่ขัดสนสิ่งใด” นี่คือบทภาวนาที่แสดงความวางใจใน พระเจ้าอย่างไม่มีเงื่อนไข คนที่มือว่างเปล่าเท่านั้นสามารถสวดภาวนา อย่างจริงใจว่า ข้าพเจ้าทูลพระเจ้าว่า พระองค์คือพระเจ้าของข้าพเจ้า ความสุขของข้าพเจ้าขึ้นอยู่กับพระองค์ผู้เดียว ... ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ทรงเป็นส่วนแบ่ง และถ้วยของข้าพเจ้า... พระองค์เองทรงเป็นรางวัลของข้าพเจ้า ศีลมหาสนิทก็เป็นสมบัติของคนจนโดยเฉพาะ ตราบใดที่ยังมี การกระจายความมั่งคั่งอย่างไม่สมดุลเช่นนี้ ตราบใดที่ยังมีคนตายเพราะ ความหิวบนโลกอันอุดมสมบูรณ์ของเรา เราคงต้องตั้งคำ�ถามว่าคนรวย เฉลิมฉลองศีลมหาสนิทอย่างจริงแท้หรือเปล่า ถ้าพระเยซูเจ้าทรงเลือก สัญลักษณ์อื่นที่ไม่ใช่ขนมปังเพื่อให้เราระลึกถึงพระองค์  เราคงไม่ถูก ท้าทายอย่างชัดเจนเช่นนี้ คานธีกล่าวว่า รูปแบบเดียวที่พระเจ้าทรงกล้า ใช้เพื่อเสด็จมาเยือนคนที่กำ�ลังอดอยากก็คือในรูปของขนมปัง ถ้าเรา บิปังในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  แต่ไม่บิปังกับคนหิวโหย และคนที่ต้องการ ความช่ ว ยเหลื อ  เมื่ อ นั้ น  พิ ธี ก รรมของเราก็ เ สี่ ย งที่ จ ะเป็ น เพี ย งการ เสแสร้งที่ข้างในกลวง ผู้มีใจยากจนเท่านั้นสามารถเฉลิมฉลองศีลมหาสนิทโดยไม่มีความรู้สึกผิด


บทเทศน์ปี C

35

บทรำ�พึงที่ 2 ประชาชนคนหนึ่งทูลพระเยซูเจ้าว่า “พระอาจารย์ โปรดบอกพี่ชาย ข้าพเจ้าให้แบ่งมรดกให้ข้าพเจ้าเถิด” นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นจริงเสมอ น่าเสียดายที่ยังมีความขัดแย้งเกิด ขึ้นบ่อยครั้งระหว่างพี่น้อง เมื่อถึงเวลาต้องแบ่งมรดกของบิดามารดา... เพื่อให้เข้าใจคำ�ตอบของพระเยซูเจ้ามากขึ้น เราต้องรู้กฎหมาย ในยุ ค สมั ย ของพระองค์   กฎหมายของชาวยิ ว  (เฉลยธรรมบั ญ ญั ติ ) กำ�หนดว่าบิดาจะมอบสิทธิในอสังหาริมทรัพย์  - หมายถึงที่ดิน และ บ้านเรือน - ทั้งหมดให้แก่บุตรชายคนโต และบุตรชายคนโตนี้จะได้ รับทรัพย์สินอื่นๆ มากกว่าบุตรคนอื่นเป็นสองเท่าอีกด้วย กฎหมายนี้ เหมือนกับกฎหมายของชาวตะวันออกในยุคโบราณ และในอีกหลาย อารยธรรมตลอดประวัติศาสตร์  และมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษามรดกของ ครอบครัวไม่ให้ถูกแบ่งแยก ด้วยการตั้ง “หัวหน้าครอบครัว” ผู้มีสิทธิ พิเศษ นี่คือ “สิทธิของบุตรคนแรก” ... พระเยซูเจ้าทรงเผชิญกับปัญหา จากสถานการณ์เช่นนี้ ดังนั้น เรื่องราวเบื้องหลังของเหตุการณ์นี้ก็คือบุตรชายคนโต ได้รับมรดกทั้งหมด และไม่ยอมแบ่งให้น้องชายแม้แต่ส่วนเล็กๆ ที่เขา สมควรได้รับ รับบีผู้มีชื่อเสียงอาจได้รับการร้องขอบ่อยๆ ให้ตัดสินข้อ พิพาทเกี่ยวกับกฎหมาย แม้แต่ในสังคมชาวยิวในปัจจุบัน... ชายคนนี้ขอร้องพระเยซูเจ้า เพราะพระองค์ทรงมีอิทธิพลด้าน ศีลธรรม ทุกคนที่อยู่ในเหตุการณ์เชื่อมั่นว่าคำ�ตอบนั้นง่ายและชัดเจน พี่ชายควรได้รับคำ �สั่งให้แบ่งมรดก เพราะนี่คือหลักความยุติธรรมที่ เข้าใจได้งา่ ย และดูเหมือนว่าตรงกับคำ�สัง่ สอนในพระวรสารทีพ่ ระเยซูเจ้า


36

บทเทศน์ปี C

ทรงย้ำ�หลายครั้งว่า จงรักกันและกัน... แต่คำ�ตอบของพระเยซูเจ้าทำ�ให้ทุกคนแปลกใจ พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “มนุษย์เอ๋ย ใครตั้งเราเป็นผู้พิพากษา หรือ เป็นผู้แบ่งมรดกของท่าน” คำ�ตอบนี้ฟังดูเหมือนเป็นการปฏิเสธ ดูเหมือนว่าพระองค์ทรง เลี่ยงประเด็น ... แม้เห็นได้ชัดว่ากรณีนี้เป็นเรื่องของความอยุติธรรม แต่ พระเยซูเจ้าไม่ทรงยอมแตะต้อง หรือแสดงท่าทีว่าไม่สนพระทัยเลย! นี่ ไม่ใช่เรื่องสะดุดหรือ การปฏิเสธเช่นนี้ดูเหมือนขัดแย้งกับคำ�สั่งสอนของ พระวรสารทั้งฉบับ เราต้องพยายามเข้าใจความหมายของการปฏิเสธนี้  หลายคน เสนอการตี ค วาม และการตีความของทุก คนอาจเสริ ม กั น และกั น ให้ สมบูรณ์ก็ได้... 1) ตามพระวรสารของลูกา พระเยซูเจ้าทรงกำ�ลังเดินทางขึ้นไป ยังกรุงเยรูซาเล็ม และที่นั่นพระองค์จะสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ดัง นั้น “รับบี” หนุ่มผู้นี้จึงมีเรื่องสำ�คัญมากมายให้คิด สำ�คัญกว่าข้อพิพาท เกี่ยวกับทรัพย์สิน … ถึงอย่างไร ข้อพิพาทเหล่านี้ก็มีทางออกในตัวเอง 2) โดยพื้นอารมณ์ส่วนตัว (และนี่คืออุปนิสัยของชาวตะวันออก) บ่อยครั้ง พระเยซูเจ้าทรงตอบคำ�ถามด้วย “ปริศนา” (mashal) เพื่อ ให้ประชาชนขบคิด หลายครั้งที่เราเห็นว่าพระเยซูเจ้าตรัสเรื่องที่ขัดแย้ง กันในตัวจนถึงกับเกินความจริง บางครั้ง พระองค์ทรงตอบคำ�ถามด้วย คำ�ถาม พระเยซูเจ้าทรงแสดงอุปนิสยั นีม้ าตัง้ แต่ยงั เยาว์ เมือ่ พระองค์อายุ 12 ปี พระองค์ตรัสตอบพระมารดาด้วยข้อความที่เป็นปริศนา คำ�ถาม: “ลู ก เอ๋ ย  ทำ � ไมจึ ง ทำ � กั บ เราเช่ น นี้ ”  คำ � ตอบ : “พ่ อ กั บ แม่ ต ามหาลู ก ทำ�ไม” ... หลายครั้ง พระเยซูเจ้าไม่ทรงตอบคำ�ถามโดยตรง บ่อยครั้ง ที่เราแยกแยะคำ�ตอบได้จากถ้อยคำ�ที่พระเยซูเจ้าทรงใช้ นี่คือเทคนิคที่


บทเทศน์ปี C

37

รู้จักกันดี ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงใช้โต้ตอบปัญญาชนชาวยิว ในเรื่องที่เป็นข้อ ถกเถียง เราเห็นได้จาพระวาจาของพระเยซูเจ้าว่าปัญหานี้แก้ไขได้ด้วย การกำ�จัดความโลภ – หรือความอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น - ให้หมดไป จากหัวใจของเรา ชีวิตของมนุษย์คนหนึ่งไม่สามารถวัดได้จากจำ�นวน ทรัพย์สินของเขา แต่วัดได้จากการตัดใจจากทรัพย์  (“มีใจยากจน”) มนุษย์คนใดที่ตระหนักถึงความจริงข้อนี้จะหาวิธีแก้ปัญหาอย่างสันติได้ ด้วยตนเอง ดังนั้น การแสดงท่าทีที่ดูเหมือนว่าพระองค์ไม่ต้องการเข้า สอดแทรกในปัญหามรดกนี้  จึงไม่ได้หมายความว่าพระเยซูเจ้าไม่ทรง สนใจปัญหานี้  เพราะคำ�บอกเล่าต่อจากนั้นจะเผยว่า ลึกๆ ในพระทัย พระองค์ทรงคิดอย่างไร... 3) อันทีจ่ ริง ดูเหมือนว่าพระเยซูเจ้าเองทรงบอกเป็นนัยถึงเหตุผล ที่พระองค์ไม่ยอมเข้าข้างใคร เมื่อพระองค์ทรงถามว่า “ใครตั้งเราเป็น ผู้พิพากษาหรือ” ... พระองค์ทรงบอกเราว่าปัญหาทางโลก และปัญหา ด้านการเงินเหล่านี้ไม่ใช่บทบาทหรือพันธกิจของพระองค์ ... มนุษย์มัก อยากหาข้อความในพระคัมภีร์มาค้ำ�ประกัน หรือยืนยัน ว่าทางเลือก ทางโลกของเขาถูกต้อง เขาพยายามตีความพระคัมภีร์เข้าข้างตนเอง แต่ พระเยซูเจ้าไม่ทรงยอมถูกลากเข้ามาในสถานการณ์เช่นนั้น คงง่ายเกิน ไปถ้าเราจะโยนความรับผิดชอบของเราให้ผู้อื่น และหาคำ�ตอบแบบ สำ�เร็จรูป ด้วยความคิดเช่นนี้ สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 จึงส่งฆราวาส กลับไปใช้มโนธรรมของตนพิจารณา และใช้ความรู้ความสามารถส่วนตัว ตัดสินปัญหาทางโลก “(ฆราวาส) อาจแสวงหาความเข้าใจ และอาหาร บำ�รุงเลี้ยงจิตวิญญาณจากพระสงฆ์ได้  ขอให้เขาอย่าคิดว่าเจ้าอาวาส ของเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับทุกปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหา ซับซ้อนเพียงใดก็ตาม และหาทางออกที่เป็นรูปธรรมให้เขาได้เสมอ หรื อ ถึ ง กั บ คิ ด ว่ า นั่ น คื อ พั น ธกิ จ ของพระสงฆ์ ”  (Church in the


38

บทเทศน์ปี C

Modern World, 43) … ในกรณีนี้ พระเยซูเจ้าอาจทรงต้องการทำ�เช่น นี้เหมือนกัน พระองค์ทรงส่งปัญหามรดกนี้กลับไปให้ผู้มีอำ�นาจตัดสิน... แล้วพระองค์ตรัสกับคนเหล่านั้นว่า “จงระวัง และรักษาตัวไว้ให้พ้น จากความโลภทุกชนิด เพราะชีวิตของคนเราไม่ขึ้นกับทรัพย์สมบัติ ของเขา แม้ว่าเขาจะมั่งมีมากเพียงใดก็ตาม” ดังนั้น เมื่อพระเยซูเจ้าทรงปฏิเสธจะยุ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทเรื่อง ทรัพย์สิน ไม่ได้หมายความว่าพระองค์ไม่ทรงสนใจกิจการทางโลก พระ เยซูเจ้าทรงเตือนสติให้คิดถึงหลักการสำ�คัญ และบทบาทของพระองค์ อยู่ในระดับนี้ พระศาสนจักรก็เหมือนกับพระเยซูเจ้า คือ ไม่ได้วางตัวเป็นกลาง โดยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่พระศาสนจักรระบุคำ�สั่งสอน หลักการ และ แนวทางสำ�หรับกิจการฝ่ายโลก ส่วนการปฏิบัตินั้น พระศาสนจักรปล่อย ให้เป็นความรับผิดชอบของตุลาการ ผู้พิพากษา และผู้นำ�ฝ่ายพลเรือน หลักการที่พระองค์ทรงเตือนเราในที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของความ รับผิดชอบของพระองค์ ในฐานะผู้นำ�สารของพระเจ้า ดังนั้น เราไม่ควร เข้าใจเป้าหมายผิดๆ ... ความโลภคือความปรารถนาแรงกล้าที่จะสะสมทรัพย์สมบัติ และ ทำ�ให้มนุษย์มองข้ามสิทธิและความจำ�เป็นของเพื่อนมนุษย์  เมื่อบุคคล หนึ่งสนใจแต่จะแสวงหาความร่ำ�รวยทุกวิถีทาง บุคคลนั้นย่อมลืมไปว่า เขามีหน้าที่แบ่งปันความร่ำ�รวยกับบุคคลที่ขัดสน ทั้งที่ความร่ำ�รวยนั้น เป็นพระพรจากพระเจ้า นี่คือหน้าที่ ซึ่งเกิดจากกฎแห่งความรัก... ลูกาเคยกล่าวถึงพระวาจาของพระเจ้าเกี่ยวกับการแบ่งปันว่า “ใครมีเสื้อสองตัว จงแบ่งตัวหนึ่งให้กับคนที่ไม่มี คนที่มีอาหาร ก็จงทำ� เช่นเดียวกัน” (ลก 3:11)


บทเทศน์ปี C

39

“ชีวิตของมนุษย์” เป็นสิ่งสำ�คัญสูงสุด – ไม่ใช่ความร่ำ�รวย ... และชีวิตนี้ไม่ขึ้นอยู่กับความร่ำ�รวย ... พระเยซูเจ้าแสดงอย่างชัดเจนว่า พระองค์ทรงคิดอย่างไรในเรื่องอุปมาที่ฟังดูแทบจะน่าขัน เมื่อพระองค์ ตรัสถึงปัญหาของเศรษฐีที่ดิน... พระองค์ยังตรัสอุปมาเรื่องหนึ่งให้เขาทั้งหลายฟังอีกว่า “เศรษฐีคน หนึ่งมีที่ดินที่เกิดผลดีอย่างมาก เขาจึงคิดว่า ‘ฉันจะทำ�อย่างไรดี ฉัน ไม่มีที่พอจะเก็บพืชผลของฉัน’ เขาคิดอีกว่า ‘ฉันจะทำ�อย่างนี้ จะรื้อ ยุ้งฉางเก่าแล้วสร้างใหม่ให้ใหญ่โตกว่าเดิม จะได้เก็บข้าวและสมบัติ ทั้งหมดไว้ แล้วฉันจะพูดกับตนเองว่า ‘ดีแล้ว เจ้ามีสมบัติมากมาย เก็บไว้ใช้ได้หลายปี จงพักผ่อน กินดื่ม และสนุกสนานเถิด’ เศรษฐีที่ดินคนนี้กำ�ลังท่อง “หลักความเชื่อ” ของวัตถุนิยม กล่าว คือ ความเชื่อว่าทรัพย์ทางโลกอันบริบูรณ์จะนำ�ความสุขมาให้! พระเยซู เจ้าทรงตำ�หนิเขา ทรงชี้ให้เห็นความเห็นแก่ตัวของเขา แต่อย่างน้อยเขา ก็ยอมรับอย่างเปิดเผย “ฉัน ... ฉัน ... ฉันจะทำ�อย่างนี้ ... ฉันจะรื้อ ... ฉันจะสร้าง ... พืชผลของฉัน ... ยุ้งฉางของฉัน ... ข้าวของฉัน ... ตัวฉัน เอง ...” เขาจะใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เขาจะกิน จะดื่ม และสนุกสนาน ... ลูกาใช้คำ�ภาษากรีกคำ�เดียวกันกับที่เขาใช้บรรยายงานเลี้ยงต้อนรับบุตร ล้างผลาญ (ลก 15:23) พระเยซูเจ้าทรงเห็นงานเลี้ยงที่คนทั้งหลายจัด ขึ้นอย่างหรูหรา มีอาหารมากมาย ผลาญเงินทองจำ�นวนมาก และแขกใน งานก็กินดื่มกันเต็มที่ โดยมีคนรับใช้มากมายคอยปรนนิบัติรับใช้... แต่พระเจ้าตรัสกับเขาว่า “คนโง่เอ๋ย คืนนี้ เราจะเรียกเอาชีวิตเจ้าไป แล้วสิ่งที่เจ้าได้เตรียมไว้จะเป็นของใครเล่า”


40

บทเทศน์ปี C

คนโง่... คนไม่รู้จักคิด ... การคาดคะเนของเศรษฐีคนนี้ผิดพลาด โดยชิ้นเชิง ... เขาเข้าใจผิดว่าความบริบูรณ์ของทรัพย์ทางโลกเชื่อมโยง กับความมั่นคงแท้ ... ชีวิตมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความร่ำ�รวยของเขา ... เงินไม่สามารถซื้อเวลาได้... พระคัมภีร์มักเปรียบเทียบคนไม่รู้จักคิด (nabal) กับคนที่ใช้ สามัญสำ�นึก (maskil) เราแสดงว่าเราขาดสติปัญญา เมื่อเราไม่สามารถ แยกแยะคุณค่าแท้  และความหมายแท้ของชีวิตได้  หญิงสาวที่ลืมนำ� น้ำ�มันตะเกียงมาด้วยเพราะไม่คิดว่าต้องรอเจ้าบ่าวเป็นเวลานานในเวลา กลางคืน เป็นหญิง “โง่” (มธ 25:2) คนร่วมสมัยของพระเยซูเจ้าเป็น คน “โง่” เพราะไม่รู้จักอ่าน “เครื่องหมายแห่งกาลเวลา” (ลก 12:56) เศรษฐีคนนี้ “โง่” เพราะเขาคิดถึงแต่ที่ดิน พืชผล ยุ้งฉาง และท้องของ เขา ... นี่คือเหตุผลสำ�คัญที่สุดที่พระเยซูเจ้าทรงปฏิเสธที่จะเกี่ยวข้อง โดยตรงกับกิจการทางโลก พระองค์ทรงยืนยันอย่างจริงจังว่าชีวิตของ มนุษย์ไม่ได้จบลงบนโลกนี้ ... แก่นของคำ�สั่งสอนของพระเยซูเจ้า และ ของพันธกิจประกาศกของพระองค์คือส่วนที่สำ�คัญของชีวิต - และบ่อย ครั้งเป็นส่วนที่ถูกลืม - เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการลงทุนทางวัตถุ  ... พระเยซูเจ้าเองจะสิ้นพระชนม์ในอีกไม่กี่วันหลังจากนั้น และพระองค์ ไม่พอพระทัยความคิดที่จะทำ�ให้มนุษย์คนหนึ่งร่ำ�รวย แม้ว่าชายคนนี้มี สิทธิขอแบ่งมรดก เพราะส่วนแบ่งมรดกของเขาไม่ใช่ “สมบัต”ิ แท้ เราต้องยอมรับอย่างจริงใจว่าวิธีคิดของเราสวนทางกับวิธีคิดของ พระเยซูเจ้า แต่กม็ เี สียงเล็กๆ ภายในตัวเราทีบ่ อกเราว่าพระองค์ทรงคิดถูก และพระองค์ทรงรู้ดีว่าพระองค์กำ�ลังตรัสอะไร... “คนที่สะสมทรัพย์สมบัติไว้สำ�หรับตนเอง แต่ไม่เป็นคนมั่งมีสำ�หรับ พระเจ้า ก็จะเป็นเช่นนี้”


บทเทศน์ปี C

41

ขอให้เราอย่าบิดเบือนวิธีคิดขององค์พระผู้เป็นเจ้า ความร่ำ�รวย ไม่ใช่สิ่งที่เลวด้วยตัวเอง เงินทองเป็นสิ่งที่ดีได้ ถ้าเราไม่ใช้มัน “เพื่อตัว เรา” เท่านั้น (ลก 12:33-34)


42

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่สิบเก้า เทศกาลธรรมดา ลูกา 12:32-48 ฝู ง แกะน้ อ ยๆ เอ๋ ย  อย่ า กลั ว เลย เพราะพระบิ ด าของท่ า น พอพระทัยจะประทานพระอาณาจักรให้แก่ท่าน จงขายทรัพย์สินของท่านและให้ทาน จงหาถุงเงินที่ไม่มีวัน ชำ�รุด จงหาทรัพย์สมบัติที่ไม่วันหมดสิ้นในสวรรค์ ที่นั่นขโมยเข้าไม่ ถึง และแมลงขมวนไม่ทำ�ลาย เพราะทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ใด ใจของท่านก็จะอยู่ที่นั่นด้วย ท่ า นทั้ ง หลายจงคาดสะเอว และจุ ด ตะเกี ย งเตรี ย มพร้ อ ม ไว้ จงเป็นเสมือนผู้รับใช้ที่กำ�ลังคอยนายกลับจากงานสมรส เมื่อ นายมาและเคาะประตู จะได้เปิดรับ ผู้รับใช้เหล่านั้นเป็นสุข ถ้านาย กลับมาพบเขากำ�ลังตื่นเฝ้าอยู่ เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลาย ว่า นายจะคาดสะเอวพาผู้รับใช้เหล่านั้นไปนั่งโต๊ะ และจะรับใช้เขา ด้วย ไม่ว่านายจะมาเวลาสองยามหรือสามยาม ถ้าพบผู้รับใช้กำ�ลัง ทำ�เช่นนี้ ผู้รับใช้เหล่านั้นก็เป็นสุข พึงรู้ไว้เถิด ถ้าเจ้าของบ้านรู้ว่า ขโมยจะมาเวลาใด เขาคงไม่ปล่อยให้ขโมยงัดแงะบ้านของตน ท่าน ทั้งหลายจงเตรียมพร้อมไว้ เพราะบุตรแห่งมนุษย์จะเสด็จมาในเวลา ที่ท่านมิได้คาดหมาย”


บทเทศน์ปี C

43

เปโตรทูลว่า  “ข้า แต่พระเจ้า พระองค์ ตรั ส อุ ป มานี้ สำ � หรั บ พวกเรา หรือสำ�หรับทุกคน” องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า “ใครเล่าเป็น ผู้จัดการที่ซื่อสัตย์และรอบคอบ ซึ่งนายจะแต่งตั้งให้ดูแลผู้รับใช้อื่นๆ เพื่อปันส่วนอาหารให้ตามเวลาที่กำ�หนด ผู้รับใช้คนนั้นเป็นสุข ถ้า นายกลับมาพบเขากำ�ลังทำ�ดังนี้ เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลาย ว่า นายจะแต่งตั้งเขาให้ดูแลทรัพย์สินทั้งหมดของตน แต่ถ้าผู้รับใช้ คนนั้นคิดว่า ‘นายจะมาช้า’ และเริ่มตบตีผู้รับใช้ทั้งชายและหญิง กิน ดื่มจนเมามาย นายของผู้รับใช้คนนั้นจะกลับมาในวันที่เขามิได้คาด หมาย ในเวลาที่เขาไม่รู้ นายจะแยกเขาออกให้ไปอยู่กับพวกคนที่ไม่ ซื่อสัตย์ ผู้รับใช้ที่รู้ใจนายของตน แต่ไม่เตรียมพร้อมและไม่ทำ�ตามใจ นาย จะต้องถูกเฆี่ยนมาก แต่ผู้รับใช้ที่ไม่รู้ใจนาย แม้ทำ�สิ่งที่ควรจะ ถูกเฆี่ยน ก็จะถูกเฆี่ยนน้อย ผู้ใดได้รับฝากไว้มาก ผู้นั้นก็จะถูกทวง กลับไปมากด้วย”


44

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง ตื่นเฝ้าตลอดคืน การเดินทางแห่งความเชื่อเพื่อติดตามพระคริสตเจ้า จะไม่ใช่การ เดินทางภายใต้แสงสว่างจนมองเห็นทางได้ชัดเสมอไป ดังนั้น พระเยซูเจ้า จึงทรงให้กำ�ลังใจศิษย์ของพระองค์ไม่ให้พวกเขาหวาดกลัว โดยทรง เตือนใจเขาว่าพระบิดาทรงสัญญาจะประทานพระอาณาจักรให้แก่พวก เขาแล้ว ถ้าเราปลดปล่อยตนเองให้หลุดพ้นจากความโลภในทรัพย์ทาง โลก เราจะปรารถนาสวรรค์  และหัวใจของเราจะผูกพันกับสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม ตัวอย่างที่ดีของความเชื่อในพระคัมภีร์ คือ อับราฮัม และซาราห์ ซึ่งเราได้ยินเรื่องของเขาทั้งสองในบทอ่านที่สองในวันนี้ (ฮบ 11:8) ด้วย ความวางใจในคำ�สัญญาของพระเจ้า ทั้งสองจึงละทิ้งบ้านเรือน และออก เดินทางไปสู่ดินแดนที่เขาไม่รู้จัก พระเจ้าทรงสัญญาว่าเขาจะได้ครอบครองดินแดน และมีบุตรหลานจำ�นวนมาก แต่เขาต้องทนรออยู่นาน หลายปีอย่างมืดมนเพราะเขาไม่มีบุตรแม้แต่คนเดียว แม้ทุกสิ่งทุกอย่าง ดูเหมือนว่าตรงกันข้ามกับคำ�สัญญา แต่เขาก็ยังมีความหวังที่เกิดจาก ความเชื่อในคำ�สัญญาของพระเจ้า ความเชื่อช่วยให้เขาเดินหน้าต่อไป ผ่านความมืด ไปสู่อนาคตตามพระสัญญา อุปมาในบทอ่านวันนี้เป็นเรื่องของผู้รับใช้ซื่อสัตย์ที่ได้รับรางวัล เพราะเขาเพียรพยายามตื่นเฝ้าท่ามกลางความมืดเวลากลางคืน ระหว่างการอพยพ ประชาชนชาวยิวมีเสาเมฆนำ�ทางเวลากลางวัน และเสาเปลวไฟในเวลากลางคืน การเดินทางแห่งความเชื่อจะได้รับแสง


บทเทศน์ปี C

45

สว่างเพียงพอจากการประทับอยู่ของพระเจ้าเพื่อนำ�ทางเราผ่านกลางคืน ในขณะที่เมฆที่นำ�ทางในเวลากลางวันหมายถึงแผนการอันเร้นลับของ พระเจ้าที่เราต้องยอมรับทั้งที่ไม่เข้าใจ ถ้าเรามองดวงอาทิตย์โดยตรง แสงอาทิตย์จะทำ�ให้ตาของเรามืด ในทำ�นองเดียวกัน แสงสว่างของ พระเจ้าผู้ที่เรามองไม่เห็นก็เจิดจ้าเกินความเข้าใจที่มีขีดจำ�กัดของเรา ดังนั้น จึงกลายเป็นความมืดสำ�หรับเรา บุคคลที่อยู่ท่ามกลางความมืดแห่งความเชื่อจะพบว่าแทบไม่ สามารถรวบรวมสมาธิในการภาวนาได้ หรือไม่สามารถกระตุ้นจิตใจด้วย ข้อคิดหรือภาพลักษณ์ใดๆ เขาไม่ได้รับความบรรเทาใจใดๆ เลย และ ความรู้สึกภายในก็แห้งแล้ง บางครั้ง เขาอาจได้รับแรงกระตุ้นมากมาย ที่ขัดแย้งกันจนทำ�ให้สับสน หรือถูกผลักดันเข้าสู่วังวนของการประจญ โดยเฉพาะการประจญที่นำ�ไปสู่ความสิ้นหวัง ความโกรธ หรือความ ลามก แต่พระเจ้าประทับอยู่ในคืนมืดแห่งความเชื่อ มากเท่ากับประทับ อยู่ในความสว่างของกลางวัน ชีวิตจิตดำ�เนินคู่ขนานไปกับชีวิตที่เราเห็น ในธรรมชาติทางวัตถุ  เวลาทางโลกก็มีกลางคืนมากเท่ากับกลางวัน ตา ของเราจำ�เป็นต้องพักจากแสงสว่าง พืชเจริญงอกงามถ้ามีแสงสว่างและ ความมืดในระดับที่สมดุล ดอกสโนว์ดรอปต้องการแสงน้อยกว่าดอก แดฟโฟดิล ซึ่งก็ต้องการแสงน้อยกว่าดอกทิวลิป พืชบางชนิดต้องการ ความมืดมากกว่าแสงสว่าง เซลล์ของมันต้องการพักผ่อนมากกว่าทำ�งาน โทมัส เมอร์ตัน สังเกตว่าแสงสว่างยามกลางวันช่วยให้เราเห็น สิ่งต่างๆ ในชีวิตรอบตัวเรา แต่เมื่ออยู่ท่ามกลางความมืดในเวลากลาง คืนเท่านั้นเราจึงมองเห็นดวงดาวที่อยู่ห่างไกล ความมืดยืดระยะสายตา ของเรา เราจะพอใจยอมรับความพึงพอใจระดับพื้นๆ ได้โดยง่าย เว้น แต่พระเจ้าจะทรงทำ�ให้เราสะดุ้ง และกระตุ้นให้เราปรารถนาในสิ่งที่เรา อาจไขว่คว้ามาได้แม้จะอยู่ไกลสุดสายตา ถ้าเราเข้าใจพระเจ้าได้อย่าง ถ่องแท้ พระองค์ย่อมไม่ยิ่งใหญ่พอจะตอบสนองความปรารถนานิรันดร


46

บทเทศน์ปี C

ของหัวใจเราได้ ด้วยความเชื่อท่ามกลางแสงสว่าง เราเรียนรู้มากขึ้นว่าพระเจ้า ทรงเป็นอย่างไร และด้วยความเชื่อท่ามกลางความมืด เราเรียนรู้ที่จะ ก้าวไปข้างหน้าในความไม่รู้ นั่นคือเรากำ�ลังเรียนรู้ขีดจำ�กัดของความรู้ ของเรา ในเวลาเช่นนั้น เราจะเรียนรู้มากขึ้นว่าพระเจ้าไม่ทรงเป็นอย่างไร มากกว่าเรียนรู้ว่าพระองค์ทรงเป็นอย่างไร มีผู้บำ�เพ็ญฌานหลายคนได้ เขียนหนังสือเกี่ยวกับความมืด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จำ�เป็นของความเชื่อ ผู้ที่อธิบายเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคนหนึ่ง คือ นักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน ซึ่ง ได้แนะนำ�ไว้ว่า “จงอย่าพึงพอใจแต่เพียงสิ่งที่ท่านเข้าใจเกี่ยวกับพระเจ้า จงบำ�รุงเลี้ยงตัวท่านเองด้วยสิ่งที่ท่านไม่เข้าใจเกี่ยวกับพระเจ้า  อย่าตั้ง ความสุข หรือความยินดีของท่านบนสิ่งที่ท่านได้ยิน หรือรู้สึกเกี่ยวกับ พระองค์ แต่จงตั้งไว้บนสิ่งที่ท่านไม่รู้สึก หรือไม่ได้ยิน ... เราเข้าใจน้อย เท่าไร เรายิ่งเข้าใกล้พระองค์มากขึ้นเท่านั้น” อับราฮัม และซาราห์ ออกเดินทางผ่านดินแดนที่เขาไม่รู้จักด้วย ความเชื่อมั่นในคำ�สัญญาของพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงบอกศิษย์ของ พระองค์ไม่ให้กลัว เพราะพระบิดาพอพระทัยจะประทานพระอาณาจักร ให้แก่พวกเขาแล้ว เมื่อต้องเผชิญกับความมืด พระองค์ทรงบอกให้เรา จุดตะเกียงให้สว่างไว้เสมอ และแต่งตัวเตรียมพร้อมสำ�หรับทำ�งาน เรา จุดตะเกียงของเราไว้ได้ด้วยการพยายามสวดภาวนา เราแต่งตัวเตรียม พร้อมได้เมื่อเราแสดงความรักต่อบุคคลรอบข้างด้วยการรับใช้  ทรัพย์ สมบัติของท่านอยู่ที่ใด หัวใจของท่านก็อยู่ที่นั่น ข้อรำ�พึงที่สอง พระเจ้าผู้ทรงคาดผ้ากันเปื้อน พระเจ้าของข้าพเจ้าทรงคาดผ้ากันเปื้อน! พระเยซูเจ้าทรงวาด ภาพพระเจ้าของข้าพเจ้า โดยทรงพลิกบทบาทมาเป็นนายที่รับใช้บ่าว


บทเทศน์ปี C

47

การกระทำ�ของพระเยซูเจ้าส่งเสียงดังกว่าพระวาจาของพระองค์ เพราะ เมื่ อ พระองค์ ท รงเรี ย กอั ค รสาวกมาชุ ม นุ ม เพื่ อ รั บ ประทานอาหารค่ำ � มื้อสุดท้ายกับพระองค์  พระองค์ทรงเป็นผู้ล้างเท้าให้เขาและรับใช้เขา แผ่ น ปั ง ศี ล มหาสนิ ท ที่ ร อข้ า พเจ้ า อยู่ ใ นวั น นี้ เ ป็ น เครื่ อ งหมายแสดง ว่ า พระองค์ ยั ง ปรารถนาจะรั บ ใช้ ข้ า พเจ้ า  และค้ำ � จุ น ขาที่ อ่ อ นล้ า ของ ข้าพเจ้าให้ก้าวเดินจาริกแสวงบุญต่อไป พระเจ้าของข้าพเจ้าไม่ต้องการ ให้ ข้ า พเจ้ า หวาดกลั ว  หรื อ ทำ � ให้ ข้ า พเจ้ า กลั ว บาปจนไม่ ก ล้ า ทำ � อะไร พระองค์ไม่ใช่ผู้พิพากษาที่กดขี่รังแก ผู้จดจำ�แต่ความผิดพลาดในชีวิต ของข้าพเจ้า และพระองค์ไม่ใช่เจ้านายที่เข้มงวด และตะคอกใส่เมื่อ ข้าพเจ้าทำ�งานไม่เรียบร้อย พระเจ้าของข้าพเจ้าทรงมีทัศนคติที่ดีต่อ ข้าพเจ้า พระองค์พอพระทัยจะประทานพระอาณาจักรแก่ข้าพเจ้า และ ไม่ใช่อะไรที่ด้อยกว่านั้น พระองค์ทรงยินดีเมื่อทรงพบว่าข้าพเจ้าเตรียม ตัวพร้อมสำ�หรับต้อนรับพระองค์ ... และพร้อมจะรับสิ่งที่พระองค์จะ ประทานให้ข้าพเจ้า พระเจ้าผู้ท รงคาดผ้ากัน เปื้อ นของข้ า พเจ้ า  ทรงพลิ กระเบี ยบ แบบแผนที่ชาวโลกถือว่าฉลาด พระองค์ไม่วัดความยิ่งใหญ่ ความร่ำ�รวย หรือยศศักดิ์ ชื่อเสียง หรือเกียรติยศที่เราได้รับ ความยิ่งใหญ่อยู่ที่การรู้ ว่าเราควรรับของประทานจากพระเจ้าอย่างไร และสิ่งใดก็ตามที่เราได้รับ มาเปล่าๆ เราควรมอบให้ผู้อื่นต่อไปอีกทอดหนึ่งด้วยความยินดี เป็นบุญของศิษย์ที่เรียนรู้ที่จะเป็นผู้รับใช้ ... ผู้รับใช้ที่มีใจสุภาพ ถ่อมตนมากพอ จนยอมให้พระเจ้าแสดงความใจกว้าง “เพราะพระบิดา ของท่านพอพระทัยจะประทานพระอาณาจักรให้แก่ท่าน”


48

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 2 “ฝูงแกะน้อย ๆ เอ๋ย อย่ากลัวเลย เพราะพระบิดาของท่านพอพระทัย จะประทานพระอาณาจักรให้แก่ท่าน” ลูกาจงใจบอกว่าพระเยซูเจ้าตรัสเช่นนี้ระหว่าง “การเดินทางขึ้น ไปยังกรุงเยรูซาเล็ม” และเราก็เดินตามพระองค์มาตลอดหลายอาทิตย์ที่ ผ่านมา พระเยซูเจ้าเสด็จไปสู่ความตาย ไปสู่ “การจากไป” ของพระองค์ (ลก 9:51) ในบางครั้ง เราสามารถคาดเดาอนาคตได้โดยไม่จำ�เป็น ต้องเป็นโหร เรารู้ดีว่ากำ�ลังจะเกิดอะไรขึ้น ... พระเยซูเจ้า และเพื่อนๆ ของพระองค์ก็เป็นเช่นนี้ระหว่างสองสามสัปดาห์ก่อนเทศกาลปัสกา พระองค์และศิษย์มองเห็นการเผชิญหน้ากับผู้นำ�ทางศาสนาที่เป็นศัตรู ที่ไม่ยอมอ่อนข้อ ในขณะที่ประชาชนก็ผิดหวังและหมดความสนใจใน ตัวบุคคลที่ไม่ยอมเป็นพระเมสสิยาห์ตามวิถีทางของพวกเขา คือพระเมสสิยาห์ผู้เอาชนะอุปสรรคทั้งปวงได้ สัญญาณทุกอย่างปรากฏชัดเจน ความล้มเหลวใกล้เข้ามาแล้ว ... ความล้มเหลวของแผนการหนึ่ง ความ ล้มเหลวของชีวิตหนึ่ง... แต่กระนั้น ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ พระเยซูเจ้ายังทรงประกาศ ว่า “ฝูงแกะน้อยๆ เอ๋ย อย่ากลัวเลย” ... ศิษย์กลุ่มน้อยนี้ช่างอ่อนแอ ยิ่งนัก พระเยซูเจ้าทรงปลอบโยนเขาด้วยวลีที่เต็มเปี่ยมด้วยความรักว่า “ฝูงแกะน้อย ๆ”... แต่วลีในพระคัมภีร์นี้มีนัยสำ�คัญทางเทววิทยา ภาพลักษณ์ของ ฝูงแกะที่มีผู้เลี้ยงแกะคอยนำ�ทางหมายถึงพระเจ้าผู้ทรงรัก และปกป้อง ประชากรเลือกสรรของพระองค์ (ปฐก 48:15; ยรม 31:10; อสค 34; อสย 40:11, 49:9-10; ฮชย 4:16) “พระเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยงดูข้าพเจ้า


บทเทศน์ปี C

49

ดุจเลี้ยงแกะ ข้าพเจ้าจะไม่ขัดสนสิ่งใด พระองค์ทรงให้ข้าพเจ้านอนลง บนทุ่งหญ้าเขียวสด” (สดด 23)... ดังนั้นเราจึงได้ยินคำ�ยืนยันที่อาจหาญที่สุดจากพระโอษฐ์ของ พระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธ ว่าศิษย์กลุ่มเล็กที่อ่อนแอ และยากไร้  ไม่มี อิทธิพล หรือวัฒนธรรม ปราศจากความคุ้มครอง หรือความกล้าหาญนี้ คือ “อิสราเอลใหม่” ประชากรใหม่ของพระเจ้า ... ฝูงแกะน้อยๆ เอ๋ย อย่ากลัวเลย... วันนี้ พระเยซูเจ้าทรงย้ำ�ประโยคเดียวกันนี้กับข้าพเจ้า ในยามที่ ข้าพเจ้าถูกทดลอง... วันนี้ พระเยซูเจ้าทรงย้ำ�ประโยคเดียวกันนี้กับพระศาสนจักรร่วม สมัย ในยามที่พระศาสนจักรกำ�ลังเผชิญหน้ากับวิกฤติการณ์... ข้าพเจ้าฟัง ... ข้าพเจ้าฟังอีกครั้งหนึ่ง - ให้ประโยคนี้ก้องกังวาน ในหัวใจของข้าพเจ้า... ทำ�ไมเราจึงไม่ควรกลัว ... “เพราะพระบิดาของท่านพอพระทัย จะประทานพระอาณาจัก รให้แ ก่ท่ าน” เมื่ อ ชี วิ ต ของท่ า นเป็ น ชี วิ ต ใน พระเจ้า ชีวิตของท่านจึงมีความหมาย ... แม้จะดูเหมือนว่าท่านกำ�ลัง ล้มเหลว แม้ว่าเพื่อนๆ ตีจากท่านไป ศัตรูกดขี่ข่มเหงท่าน ทุกคนเข้าใจ ท่านผิด ... แม้เมื่อท่านรู้สึกอยากจะพูดว่า “พระเจ้าของข้าพเจ้า พระเจ้า ของข้าพเจ้า ทำ�ไมพระองค์จึงทอดทิ้งข้าพเจ้า”... ทั้งชีวิตของพระเยซูเจ้าเป็นการประกาศว่าพระเจ้าประทานพระ อาณาจักรของพระองค์ให้แก่ “คนยากจน” แก่คนอ่อนแอ ... แม้แต่ นักธุรกิจที่ล้มละลาย แม้แต่คู่สมรสที่หย่าร้าง หรือสามี  หรือภรรยาที่ ถูกทรยศ แม้แต่โสเภณีที่อยู่ในวัยร่วงโรย แม้แต่อาชญากรที่ต้องโทษ ประหาร ... แม้แต่คนบาปที่ปฏิเสธพระอาจารย์ของเขา แม้แต่บุคคลที่ เคยละทิ้งพระองค์ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด–คนเหล่านี้ไม่จำ�เป็นต้องสิ้นหวัง ... พระอาณาจักรของพระเจ้าไม่ใช่สิ่งที่เราไขว่คว้ามาได้ด้วยกำ�ลังของ


50

บทเทศน์ปี C

เราเอง แต่เป็นของขวัญที่พระบิดา “พอพระทัย” จะประทานแก่เรา... จงขายทรัพย์สินของท่านและให้ทาน จงหาถุงเงินที่ไม่มีวันชำ�รุด จง หาทรัพย์สมบัติที่ไม่มีวันหมดสิ้นในสวรรค์ ที่นั่นขโมยเข้าไม่ถึง และ แมลงขมวนไม่ทำ�ลาย เพราะทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ใด ใจของ ท่านก็จะอยู่ที่นั่นด้วย นี่คือบทสรุปของคำ�สั่งสอนทั้งหมดที่เราได้ยินมาข้างต้น ... ขอ ให้เราระลึกถึงเรื่องของเศรษฐีที่ดินในบทอ่านเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้ ใดวางใจในพระเจ้า เขาจะพบว่าสมบัติของโลกนี้มีคุณค่าน้อย ... ถ้าเป็น ความจริงเช่นนั้น เราจงแบ่งปัน เราจงให้ เราจงรัก โดยไม่หวังกำ�ไร และ โดยปราศจากเงื่อนไขเถิด... จงให้หัวใจของท่าน เวลาของท่าน สมบัติของท่าน ... ทุกสิ่งเป็น เพียงความเปล่า ... ไม่มีสิ่งใดจริงแท้ นอกจากความรัก ใจของท่านอยู่ที่ใด ... ท่านรักหรือไม่... ท่านทั้งหลายจงคาดสะเอว และจุดตะเกียงเตรียมพร้อมไว้ จงเป็น เสมือนผู้รับใช้ที่กำ�ลังคอยนายกลับมาจากงานสมรส เมื่อนายมาและ เคาะประตู จะได้เปิดรับ เมื่ อ ตั ด ขาดจากคุ ณ ค่ า และความสำ � เร็ จ ที่ เ ป็ น ภาพลวงตาแล้ ว หัวใจของเราจะพบทรัพย์สมบัตขิ องตน จะขับไล่ความกลัวทัง้ มวลออกไป และมีความสุข ... อะไรคือเคล็ดลับของความยินดีอันสงบเยือกเย็นแต่ จริงแท้ แม้ในสภาวะที่ไม่เอื้ออำ�นวย ... พระเยซูเจ้าทรงแนะนำ�ให้เรา คิดว่าชีวิตของเราเหมือนกับการพบกันด้วยความยินดีของคู่รัก กล่าวคือ เราเตรียมใจของเราสำ�หรับต้อนรับใครบางคนที่เรากำ�ลังรอคอยอย่าง ตื่นเต้น...


บทเทศน์ปี C

51

พระเจ้าเสด็จมา ... พระองค์ทรงเข้ามาใกล้ ... พระองค์ประทับ อยู่ที่นี่แล้ว... พระเยซู เ จ้ า ทรงประกาศว่ า พระองค์ จ ะเสด็ จ กลั บ มาเมื่ อ ถึ ง กาลอวสาน พระองค์จะเสด็จมาในพระสิริรุ่งโรจน์... “มารานาธา” เชิญเสด็จมาพระเจ้าข้า ... สำ�หรับเราแต่ละคน วัน ตายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของเราอาจมองได้ว่าเป็นการพบกันแบบหน้าต่อ หน้ากับบุคคลผู้ที่เรารัก ... ดังนั้น นักบุญเทเรซาแห่งอาวิลา จึงคิดว่า นาทีสุดท้ายของเธอบนโลกนี้คือนาทีที่  “ผ้าคลุมหน้าแห่งการพบกัน อย่างอ่อนโยนขาดสะบั้น” แม้ในเวลานี้ เมื่อเรายังอยู่ใน “ยามกลางคืน” “ภายใต้ผ้าคลุม หน้า” และแม้ว่าทรงซ่อนเร้นพระองค์  แต่พระเจ้าก็เสด็จมาหาเราอยู่ เสมอมิได้ขาด ข้อความในพระวรสารเตือนเราถึง “การเสด็จมา” ของ พระเจ้านับครั้งไม่ถ้วน ... แต่บ่อยครั้งเราไม่พบพระองค์ เพราะเรามัว แต่อยู่ “ที่อื่น” และไม่ได้ “ตื่นเฝ้า”... ผูร้ บั ใช้เหล่านัน้ เป็นสุข ถ้านายกลับมาพบเขากำ�ลังตืน่ เฝ้าอยู่ เราบอก ความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า นายจะคาดสะเอวพาผู้รับใช้เหล่านั้นไป นั่งโต๊ะ และจะรับใช้เขาด้วย ไม่ว่านายจะมาเวลาสองยาม หรือสามยาม ถ้าพบผู้รับใช้กำ�ลังทำ�เช่นนี้ ผู้รับใช้เหล่านั้นก็เป็นสุข นี่คือความสุขแท้  หรือบุญลาภข้อใหม่  ผู้ที่ตื่นตัวเฝ้าระวังย่อม เป็นสุข... หัวใจของเราถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพระเจ้า เราจะสงสัยอีกหรือว่า ทำ�ไมพระเจ้าเท่านั้นทรงสามารถเติมเต็มความปรารถนาทั้งปวงของ หัวใจเราได้... แน่นอน ความรักฝ่ายโลกของเราก็ต้องเป็นความรักที่เข้มข้น เหมือนเป็นสัญลักษณ์แรก และเป็นการทำ�ให้  “ความรักอันยิ่งใหญ่”


52

บทเทศน์ปี C

กลายเป็นจริงบนโลกนี้ สามีต้องรักภรรยา และภรรยาต้องรักสามี เพราะ “ธรรมล้ำ�ลึกประการนี้ยิ่งใหญ่นัก ข้าพเจ้าหมายถึงพระคริสตเจ้ากับ พระศาสนจักร” (อฟ 5:32) ... การสมรสเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ และเป็น เครื่องหมายอย่างหนึ่งว่าพระเจ้าทรงสมรสกับมนุษยชาติในพระเยซู คริสตเจ้า ถ้าเราโชคดีมีคนที่เรารัก และมีคนที่รักเรา ขอให้เรายินดีเถิด และขอให้เราอย่าหยุดแสดงความรักของเรา “ในองค์พระผู้เป็นเจ้า” ... แต่แม้ว่าเรารู้สึกว่าตนเองประสบความล้มเหลว ก็จงใส่ความรักนั้น “ไว้ ในองค์พระผู้เป็นเจ้า” เรา “ได้รับเชิญไปร่วมโต๊ะอาหารกับองค์พระผู้เป็นเจ้า” พระองค์ ทรงต้องการรับใช้เรา และทำ�ให้เราอิ่ม “ดูเถิด เรากำ�ลังยืนเคาะประตู ถ้าผู้ใดได้ยินเสียงของเรา และเปิดประตู เราจะเข้าไปกินอาหารร่วมกับ เขา เขาจะกินอาหารร่วมกับเรา” (วว 3:20)... นั่นไง เสียงเคาะประตู ... เราจงรีบเปิดประตู พระองค์อยู่ที่นั่น แล้ว... พึงรู้ไว้เถิด ถ้าเจ้าของบ้านรู้ว่าขโมยจะมาเวลาใด เขาคงไม่ปล่อยให้ ขโมยงัดแงะบ้านของตน ท่านทั้งหลายจงเตรียมพร้อมไว้ เพราะบุตร แห่งมนุษย์จะเสด็จมาในเวลาที่ท่านมิได้คาดหมาย “ขโมย” เป็นอีกภาพลักษณ์หนึ่งที่พระเยซูเจ้าทรงใช้เป็นตัวอย่าง ... เมื่อพระองค์ตรัสถึงขโมย “งัดแงะเข้ามาในบ้าน” พระองค์ทรงบอก ให้เราเข้าใจว่า “การเสด็จมา” ของพระองค์มีลักษณะที่เหนือความคาด หมาย น่าแปลกใจ และไม่อาจเข้าใจได้ ... พระเยซูเจ้าทรงบอกเราด้วย ว่าเรากำ�ลังตกอยู่ “ในอันตราย” ถ้าเราไม่ตื่นและเฝ้าระวัง เราต้องสลัด ความงัวเงียทิ้งไป นี่คือการรอคอยอันยาวนานในเวลากลางคืน และลม แห่งความเบื่อหน่ายทำ�ท่าว่าจะดับเปลวไฟในหัวใจของเรา... ข้าพเจ้า “ตื่นอยู”่ หรือ “กำ�ลังหลับ”...


บทเทศน์ปี C

53

เปโตรทูลว่า “ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ตรัสอุปมานี้สำ�หรับพวกเรา หรือสำ�หรับทุกคน” องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า “ใครเล่าเป็นผู้จัดการ ที่ซื่อสัตย์และรอบคอบ ซึ่งนายจะแต่งตั้งให้ดูแลผู้รับใช้อื่นๆ เพื่อปัน ส่วนอาหารให้ตามเวลาที่กำ�หนด ผู้รับใช้คนนั้นเป็นสุข ถ้านายกลับ มาพบเขากำ�ลังทำ�ดังนี้ เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า นายจะ แต่งตั้งเขาให้ดูแลทรัพย์สินทั้งหมดของตน” นี่ คื อ อุ ป มาอี ก เรื่ อ งหนึ่ ง ในหั ว ข้ อ เดิ ม  คื อ  “การตื่ น เฝ้ า ” ซึ่ ง พระองค์ตรัสแก่ผู้นำ�ชุมชนคริสตชนโดยเฉพาะ พวกเขาเป็น “ผู้จัดการ” และไม่ใช่ “นาย” ... พวกเขาต้องมีคุณสมบัติสองประการ คือ ความ ซื่อสัตย์ และความห่วงใย ... เขามีบทบาทเพียงอย่างเดียวคือหาอาหาร เลี้ยงดูทุกคน! ... จากข้อความนี้ ข้าพเจ้าจึงต้องภาวนาเพื่อพระสงฆ์... ข้าพเจ้ายังเห็นได้จากอุปมาเรื่องนี้ว่า ผู้นำ�ที่รู้จักรับผิดชอบ ไม่ว่า เป็นผู้นำ�ในสาขาใด ควรมีคุณสมบัติอย่างไร... แต่ถ้าผู้รับใช้คำ�นั้นคิดว่า “นายจะมาช้า” และเริ่มตบตีผู้รับใช้ทั้ง ชายและหญิง กินดื่มจนเมามาย นายของผู้รับใช้คนนั้นจะกลับมาใน วันที่เขามิได้คาดหมาย ในเวลาที่เขาไม่รู้ นายจะแยกเขาออกให้ไป อยู่กับพวกคนที่ไม่ซื่อสัตย์ เช่นเดียวกับอุปมาอื่นอีกสามเรื่องเกี่ยวกับ “การรอคอย” พระ เยซูเจ้าทรงกล่าวถึงความล่าช้า และการเสด็จมาโดยไม่คาดหมาย นาย จะใช้เวลานานกว่าจะกลับมา ... เขามาสาย บางทีเขาอาจไม่มาเลยก็ได้ – บางที “การเสด็จมาของพระเจ้า” เป็นเพียงภาพลวงตา ถ้าเช่นนั้น เรา จงกิน ดื่ม และสนุกสนานกันเถิด ... แม้ว่าเพื่อจะทำ�เช่นนั้น เราต้องกดขี่ และวางอำ�นาจ และปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไม่เป็นธรรมก็ตาม...


54

บทเทศน์ปี C

ขอให้เราสังเกตว่าการประจญที่เกิดขึ้นกับ “ผู้จัดการ” คนนี้อาจ เป็นการประจญที่จะเกิดขึ้นกับเปโตร และบรรดาอัครสาวกด้วยก็ได้... เราได้รับการเตือนแล้ว ศิลปินยุคกลางไม่ลังเลใจเลยที่จะวาดภาพ หรือ แกะสลั ก รู ป ของพระสั น ตะปาปา และพระสั ง ฆราชบนกำ � แพง หรื อ ประตูทางเข้าอาสนวิหาร ให้อยู่รวมกับคนทั้งหลายที่ต้องตกนรกในวัน พิพากษาครั้งสุดท้าย นี่เป็นคำ�เตือนที่น่ากลัวสำ�หรับเรา ... ไม่มีใครมีสิทธิพิเศษเบื้อง หน้าพระเจ้า... ผู้รับใช้ที่รู้ใจนายของตน แต่ไม่เตรียมพร้อม และไม่ทำ�ตามใจนาย จะต้องถูกเฆี่ยนมาก แต่ผู้รับใช้ที่ไม่รู้ใจนาย แม้ทำ�สิ่งที่ควรจะถูก เฆี่ยน ก็จะถูกเฆี่ยนน้อย ผู้ใดได้รับฝากไว้มาก ผู้นั้นก็จะถูกทวงกลับ ไปมากด้วย เรายังอยู่ในหัวข้อเดิมคือ “ความรับผิดชอบ” การพิพากษาจะ ตัดสินตามระดับความรู้ และจิตสำ�นึกของเรา เราอาจต้องรับผิดชอบ เพียงบางส่วน พระเยซูเจ้าตรัสเช่นนี้ด้วยความเข้าใจ... เราเองก็ควรนำ�หลักการนี้มาใช้ และตัดสินผู้อื่นด้วยความกรุณา ... และตัดสินตัวเราเองตามความจริง!...


บทเทศน์ปี C

55

วั นอาทิตย์ที่ยี่สิบ เทศกาลธรรมดา ลูกา 12:49-53 เรามาเพื่อจุดไฟในโลก เราปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้โลกนี้ลุก เป็นไฟ เรามีการล้างที่จะต้องรับ และเราเป็นทุกข์กังวลใจอย่างมาก จนกว่าการล้างนี้จะสำ�เร็จ ท่านคิดว่าเรามาเพื่อนำ�สันติภาพมาสู่โลกหรือ มิได้ เราบอก ท่านทั้งหลายว่า เรานำ�ความแตกแยกมาต่างหาก ตั้งแต่นี้ไป คน ห้าคนในบ้านหนึ่งจะแตกแยกกัน คนสามคนจะแตกแยกกับคนสอง คน และคนสองคนจะแตกแยกกับคนสามคน บิดาจะแตกแยกกับ บุตรชาย และบุตรชายจะแตกแยกกับบิดา มารดาจะแตกแยกกับ บุตรหญิง และบุตรหญิงจะแตกแยกกับมารดา มารดาของสามีจะ แตกแยกกับบุตรสะใภ้ และบุตรสะใภ้จะแตกแยกกับมารดาของสามี


56

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง เวลาแห่งการทดลอง พระเยซูเจ้าไม่ทรงสัญญากับศิษย์ของพระองค์ว่าทางของพวก เขาจะเป็ น ทางอั น สว่ า งสดใสด้ ว ยแสงแดดและดอกไม้   ตรงกั น ข้ า ม พระองค์ทรงเตือนว่าพระองค์จะถูกต่อต้าน และเมื่อถึงเวลา พวกเขาก็ จะถูกต่อต้านเช่นกัน ก่อนหน้านี้ พระองค์ทรงส่งศิษย์ 72 คน ออกไป เยี่ยมและมอบสันติสุขให้แก่ทุกบ้าน พระองค์ทรงปรารถนาให้ทุกคนมี สันติสุข แต่พระองค์ทรงรู้ว่าทุกขบวนการย่อมเผชิญกับการต่อต้าน ทุก กระแสก่อให้เกิดการสวนกระแส ผู้ที่ไม่ยอมรับวิถีทางของพระองค์จะ ต่อต้านอย่างรุนแรง การต่อต้านและความแตกแยกจะเป็นปฏิกิริยาที่ ตอบสนองต่อขบวนการนำ�สันติสุข และความสามัคคีมาให้ ในบทอ่านที่ หนึ่งของวันนี้ คำ�เทศน์สองของประกาศกเยเรมีย์ ทำ�ให้เขาถูกโยนลงไป ในบ่อน้ำ� พระเยซูเจ้าตรัสถึงไฟ และน้ำ� ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของการทดสอบ และการชำ�ระจิตใจให้บริสุทธิ์ ไฟจะแยกแร่บริสุทธิ์ออกจากวัตถุอื่นๆ ใน เตาหลอม และทำ�ให้สิ่งสกปรกแยกตัวลอยเป็นฝ้าเหนือเนื้อแยมบริสุทธิ์ น้ำ�เป็นเครื่องมือชำ�ระล้างสิ่งสกปรก และทำ�ให้สิ่งนั้นสะอาดบริสุทธิ์ คริสตชนที่เป็นผู้อ่านพระวรสารของลูกา รู้ดีว่าการติดตามพระ เยซู เ จ้ า เป็ น งานที่ ย าก และต้ อ งเสี ย สละมาก พวกเขาถู ก เบี ย ดเบี ย น หลายคนต้องเสียใจเพราะคนในครอบครัวปฏิเสธและตัดขาดเขา ไม่มี ทางที่ถูกหรือง่ายในการเป็นคริสตชน


บทเทศน์ปี C

57

การต่อต้านสามารถนำ�ส่วนที่ดีที่สุดออกมาจากตัวมนุษย์ เราจะ เห็นว่าชนกลุ่มน้อยรวมตัวกันเหนียวแน่นอย่างไร ถ้าเขาถูกขอให้ร้อง เพลงในวัด ข้าพเจ้ารับรองว่าท่านจะได้ยินเสียงเขาขับร้อง ระหว่างยุคที่ คอมมิวนิสต์เบียดเบียนพระศาสนจักร พระสงฆ์คนหนึ่งจากโปแลนด์มา เยือนประเทศไอร์แลนด์ และบอกว่า “เราได้เปรียบที่มีศัตรูที่มองเห็นได้ และท่านเสียเปรียบที่มีศัตรูที่ท่านมองไม่เห็นตัว” ในสังคมของเขา แม้ว่า ไม่มีการต่อต้านศาสนาอย่างเป็นทางการ แต่คริสตชนก็ต้องใช้ความกล้า หาญที่จะประกาศยืนยันความเชื่อ และปฏิบัติศาสนกิจ ... แสดงให้ผู้อื่น เห็นว่าเขาไปวัด... กล้าพูดเรื่องการถือความบริสุทธิ์ในความสัมพันธ์ ... สวมใส่สัญลักษณ์ทางศาสนา ... สวดภาวนาในที่สาธารณะ และเข้าร่วม ในองค์กรศาสนา แรงเสียดทานอาจมาจากเพื่อนร่วมงาน มิตรสหาย บุคคลในสังคมเดียวกัน หรือแม้แต่สมาชิกในครอบครัว คนทั่ ว ไปอาจอ้ า งวิ ท ยาศาสตร์   และล้ อ เลี ย นผู้ มี ค วามเชื่ อ ว่ า ไร้เดียงสา หลอกง่าย หรือถูกล้างสมอง เขาอาจอ้างเสรีภาพทางความคิด และดูถูกผู้มีความเชื่อว่ายอมเชื่อทุกสิ่งทุกอย่างในพระคัมภีร์  ... เขา อาจอ้างศาสนสัมพันธ์ และเรียกเราว่าคนหัวโบราณ เพราะเรายึดมั่นใน ความเชื่อที่ไม่เปลี่ยนไปตามกระแสสังคม พระเยซูเจ้าทรงมองเห็นภาพที่ครอบครัวต้องแตกแยกกันเพราะ บางคนต้ อ งการติ ด ตามพระองค์   ความแตกแยกในครอบครั ว ทำ � ให้ นึกถึงระบบการออกเสียงในรัฐสภาประชาธิปไตย เพราะย่อมถึงจุดหนึ่ง ที่เราจำ�เป็นต้องยืนขึ้นและแสดงความคิดเห็นของเรา ฝ่ายค้านที่เข้มแข็ง ทำ�ให้รัฐบาลแสดงส่วนที่ดีที่สุดของตนออกมา ไม่มีสิ่งใดมีประสิทธิภาพ มากกว่าการต่อต้านที่จะทำ�ให้เรากล้าแสดงจุดยืนทางศาสนา พระเยซูเจ้าทรงแสดงอารมณ์เมื่อพระองค์ตรัสถึงการเผชิญหน้า กับไฟ และน้ำ�ในพันธกิจของพระองค์ ชาวไอริชส่วนใหญ่เป็นคาทอลิก ดังนั้น คริสตชนชาวไอริชจึงไม่มีความกระตือรือร้น จนการถือศาสนา


58

บทเทศน์ปี C

กลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ และไร้อารมณ์  คนมาร่วมพิธีกรรม โดยนั่งม้านั่งข้างหลัง และคอยมองนาฬิกา เราเอาพระจิตเจ้าไปซ่อนไว้ ที่ไหน ความคลั่งไคล้และการร้องเพลงเชียร์ข้างสนามฟุตบอลหายไป ไหน การต่อต้านกำ�ลังทำ�ให้ขนาดขององค์กรเล็กลง แต่หวังว่าเรากลาย เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง และทุ่มเทมากขึ้นในระยะยาว ข้อรำ�พึงที่สอง ประสบการณ์ความขัดแย้ง พระเยซูเจ้าทรงมีอารมณ์ความรู้สึกที่ขัดแย้งกันภายใน พระองค์ ทรงรู้สึกว่าอยากส่งไฟเปนเตกอสเตจากสวรรค์ลงมายังโลกมนุษย์เร็วๆ แต่ในเวลาเดียวกัน ก็ทรงรู้สึกลังเลเมื่อคิดถึงเนินกัลวารีโอ ซึ่งดูเหมือน เป็นวังน้ำ�วนแห่งความตายที่พระองค์ต้องกระโจนลงไป ภาพลักษณ์ของ ไฟ และน้ำ� แสดงให้เห็นความรู้สึกภายในของพระองค์ หนังสือบุตรสิรา บอกเราว่า สิ่งที่ตรงกันข้ามสามารถเสริมพลังให้แก่กันอย่างไร “ทุก สิ่งดำ�เนินไปเป็นคู่ที่ตรงกันข้ามกัน และพระองค์ไม่ทรงสร้างสิ่งใดที่ บกพร่อง สิ่งหนึ่งผนึกกำ�ลังกับอีกสิ่งหนึ่ง ...” (บสร 42:24-25) ถ้าสังเกตโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ เราจะเห็นว่าในกลางคืนก็มีจุดเริ่ม ต้นของกลางวัน และกลางวันก็เติบโตกลายเป็นกลางคืน กลางฤดูหนาว ก็มีคำ�สัญญาของฤดูร้อน และถูกเลือกให้เป็นเวลาสำ�หรับพิธีกรรมเฉลิม ฉลองการเสด็จมาของแสงสว่างมายังโลกของเรา และวันกลางฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์เริ่มอับแสง ถูกเลือกให้เป็นวันฉลองนักบุญยอห์น ผู้ทำ�พิธีล้าง ผู้ที่แสงสว่างของเขา กำ�ลังจะหรี่ลง บางครั้ง เราจำ�เป็นต้องเดินไปทางหนึ่งก่อนจะเริ่มรู้สึกว่า มีอีกแรงหนึ่งดึงเราไปในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อเราสัมผัสกับความกลัว เราจึงเข้าใจว่าความกล้าหาญคืออะไร


บทเทศน์ปี C

59

และเมื่อเราอยู่ท่ามกลางความมืดยามค่ำ�เท่านั้น เราจึงมองเห็น แสงของดวงดาวที่อยู่ไกลลิบได้ เราเรียนรู้ว่าทุกก้าวที่เราเดินออกจากสิ่งหนึ่งจะนำ�เราเข้าไปใกล้ อีกสิ่งหนึ่งมากขึ้นอีกก้าวหนึ่ง และทุกครั้งที่เราสัมผัสกับความตายจะ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตในรูปแบบใหม่ ประสบการณ์ที่ตรงกันข้ามไม่เพียงดำ�รงอยู่เคียงคู่กัน แต่สิ่งหนึ่ง ผนึกกำ�ลังกับอีกสิ่งหนึ่ง และดังนั้น ความเศร้าจึงไม่สามารถกำ�จัดความ ยินดีแท้ได้ ความเศร้าสามารถทำ�ให้วิญญาณมีความรู้สึกไวมากขึ้น และ เพิ่มขีดความสามารถของวิญญาณในการรองรับความยินดี เหมือนกับ การพักผ่อนช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเราในการทำ�กิจกรรม และช่วง เวลาที่เราอยู่อย่างสันโดษช่วยให้เราทำ�งานช่วยเหลือชุมชนได้มากขึ้น เราอาจตกใจเมื่อรับรู้ว่า แม้เรารักพระเจ้ามาก แต่ก็มีความขุ่น เคืองและความโกรธพระเจ้าฉีดพล่านอยู่ในตัวเรา หรือขณะที่เราคิดว่า เราวางใจในพระเจ้าโดยสิ้นเชิงแล้ว แต่เราก็อาจรู้สึกผิดหวังอย่างรุนแรง กั บ วิ ธี ก ารที่ พ ระองค์ ท รงปฏิ บั ติ ต่ อ เรา เราจำ � เป็ น ต้ อ งมี ค วามอดทน (และได้รับการชี้นำ�อย่างฉลาด) เพื่อให้รู้จักพิเคราะห์แยกแยะว่าความ ขัดแย้งในใจกำ�ลังเปิดเผยอะไรแก่เรา ทุ ก วั น นี้   เราคาดหมายว่ า จะได้ รั บ คำ � ตอบในทั น ที ทั น ใด จน กระทั่งเราไม่มีความอดทนที่จะรอคอยให้อารมณ์ด้านตรงกันข้ามเข้า มาถ่วงดุล แต่ถ้าเราวิ่งหนีห้วงเวลาแห่งความเหงา เราจะไม่มีวันค้นพบ ความงามของความวิเวกเลย ถ้าเราไม่สามารถอยู่ร่วมกับช่วงเวลาที่เราหดหู่ใจได้  เราย่อม พลาดโอกาสที่ จ ะไตร่ ต รองความจริ ง ในชี วิ ต ให้ ลึ ก ซึ้ ง มากขึ้ น  ถ้ า เรา ยืนกรานว่าต้องได้ทุกอย่างตามใจเรา เมื่อนั้น เราย่อมพลาดโอกาสที่จะ เก็บเกี่ยวประโยชน์จากความคิดของผู้อื่น


60

บทเทศน์ปี C

พระเยซูเจ้าทรงสัม ผัสรับ รู้ความรู้ สึ กตรงกั น ข้ า มกั น  ระหว่ า ง ความกระตือรือร้นและความกลัว ระหว่างความเร่งด่วนและความกังวลใจ  ความรู้สึกด้านหนึ่งอบอุ่นเหมือนไฟ และอีกด้านหนึ่งทำ�ให้สำ�ลักเหมือน น้ำ� ศิษย์ของพระเยซูเจ้าต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับประสบการณ์ที่ขัดแย้ง กันทำ�นองนี้ และอันที่จริง แบบแผนพื้นฐานของชีวิตคริสตชนก็คือการมี ส่วนร่วมในสิ่งที่ตรงกันข้าม คือความตาย และการกลับคืนชีพของพระเยซูคริสตเจ้า ไม่มีใครอธิบายได้ชัดเจนมากกว่านักบุญเปาโล “เราแบกความ ตายของพระเยซูเจ้าไว้ในร่างกายของเราอยู่เสมอ เพื่อว่าชีวิตของพระ เยซูเจ้าจะปรากฏอยู่ในร่างกายของเราด้วย ขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ เรา เสีย่ งกับความตายอยูเ่ สมอเพราะความรักต่อพระเยซูเจ้า เพือ่ ให้ชวี ติ ของ พระเยซูเจ้าปรากฏชัดในธรรมชาติที่ตายได้ของเรา” (2 คร 4:10-11) การอุทิศตนของคริสตชน จะได้รับพลังจากความตึงเครียดที่เกิด ขึ้นระหว่างสองขั้วที่ตรงกันข้ามเช่นนี้


บทเทศน์ปี C

61

บทรำ�พึงที่ 2 วันนี้  เราอ่านพบสามประโยคที่พระเยซูเจ้าตรัสคือ เรื่องของ “ไฟ” ที่พระองค์ทรงกำ�ลังนำ�มาสู่โลกนี้ เรื่องของ “การล้าง” ซึ่งพระองค์ จะได้รับ ... และ “ความแตกแยก” ที่พระองค์ทรงกระตุ้นให้เกิดขึ้น ... สามประโยคนี้  พระองค์คงตรัสไว้ในเวลาต่างกัน  เพราะเราพบได้ใน พระวรสารฉบับอื่น ซึ่งไม่ได้จัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน (มก 10:38; มธ 10:34, 36) แต่ เ มื่ อ ลู ก านำ � มารวมกั น  โดยให้ พ ระเยซู เ จ้ า ตรั ส ระหว่ า ง การเดิ น ทางขึ้ น ไปยั ง กรุ ง เยรู ซ าเล็ ม  เขาเสนอให้ เ ราตี ค วามว่ า การ สิ้นพระชนม์ การกลับคืนชีพ และการประทานพระจิตเจ้า กำ�ลังใกล้จะ เกิดขึ้นแล้ว... เรามาเพื่อจุดไฟในโลก เราต้องไม่ตีความตามตัวอักษร แต่ต้องมองเห็นความหมายเชิง สัญลักษณ์ เพราะเมื่อสองสามสัปดาห์ก่อน พระเยซูเจ้าไม่ทรงเห็นชอบ กับความปรารถนาของศิษย์ของพระองค์ที่จะเรียกไฟจากฟ้าลงมาเผา หมู่บ้านของชาวสะมาเรีย (ลก 9:54-55) ... แต่ในพระคัมภีร์ ไฟเป็น สัญลักษณ์ของอะไร... ไฟเป็นเครื่องหมายของการประทับอยู่ของพระเจ้า โมเสสพบ พระยาห์เวห์ในพุ่มไม้ที่ลุกเป็นไฟในทะเลทราย ... ชาวอิสราเอลได้รับ พระบัญญัติของพระเจ้าท่ามกลางลมพายุที่มีฟ้าแลบและฟ้าร้องบนภูเขา ซีนาย ... ในพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม สมณะถวายเครื่องบูชาด้วยการ เผาด้วยไฟ – ราวกับว่าให้ “ผ่านพระเจ้า” – ก่อนจะคืนกลับมาให้ใช้


62

บทเทศน์ปี C

กินเป็นอาหาร ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความสนิทสัมพันธ์ ... ที่ชัดเจน ยิ่งกว่านั้น คือ ไฟเป็นเครื่องหมายของการพิพากษาของพระเจ้า ซึ่ง เผาผลาญคนชั่ว และชำ�ระผู้ที่ซื่อสัตย์ “จำ�นวนน้อยที่เหลืออยู”่ (ปฐก 19:23-29; ลนต 10:2; อมส 1:4, 7; อสย 66:15-16; อสค 38:22, 39:6) ... ลูกาหยิบยกเรื่อง “การพิพากษาด้วยไฟ” ขึ้นมากล่าวอีกครั้ง หนึ่ง (ลก 3:9-17, 9:54, 17:29)... แต่สำ�หรับลูกา ความหมายแรกของไฟคือ พระจิตของพระเจ้า ผู้เสด็จมาเผาผลาญอัครสาวกในวันเปนเตกอสเต (กจ 2:3, 10) ไฟนี้ เป็นไฟฝ่ายจิตที่ไม่มีวันดับ ส่องสว่างไปทั่วทั้งโลก เป็นการประทับอยู่ อันลุกร้อนของพระผู้กลับคืนชีพ ไฟนี้เผาหัวใจของศิษย์ที่เดินทางไปยัง หมู่บ้านเอมมาอูส เมื่อเขาฟังพระเยซูเจ้าตรัสสอน แม้ว่าในขณะนั้นเขา ยังจำ�พระองค์ไม่ได้ก็ตาม (ลก 24:32, 49; กจ 3:44) เราปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้โลกนี้ลุกเป็นไฟ พระเยซู เ จ้ า ปรารถนาจะประทานพระจิ ต เจ้ า ให้ แ ก่ ช าวโลก พระองค์ตรัสว่านี่คืองานหนึ่งเดียวของพระองค์ “เรามาเพื่อการนี”้ ขอ ให้เรามองว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็น “บุรุษผู้เต็มไปด้วยความปรารถนา” ทรงมีโครงการใหญ่อยู่ในพระทัย ... พระเยซูเจ้าทรงลุกร้อนด้วยความ ปรารถนายิง่ ใหญ่หนึง่ เดียว คือ พระองค์ทรงต้องการฟืน้ ฟูโลกขึน้ มาใหม่ ทั้งโลก... มนุษย์ทกุ วันนีร้ สู้ กึ ผิดหวังกับภาพลวงตาบ่อยครัง้ แต่พระเยซูเจ้า ยังคงเป็นพลังที่ช่วยสร้างความกระตือรือร้นครั้งใหม่ให้หลายๆ คน ... แม้ขณะที่กำ�ลังทำ�งานที่ซ้ำ�ซากจำ�เจ เราสามารถทำ�ให้ “เปลวไฟรักทรง ชีวิต” ลุกโชนขึ้นได้... อนิจจา ในพวกเรามีใครบ้างที่ไม่เคยดับไฟของพระจิตเจ้าในบาง วัน... พระวรสารรบกวนจิตใจของเรา... และอาจนำ�เราไปไกลเกินกว่าที่


บทเทศน์ปี C

63

เราอยากจะไป... ดังนั้น เราจึงดับไฟนั้นเสีย... ไฟจากพระวาจาที่ลุกร้อน และกวนใจเรา... เรามีการล้างที่จะต้องรับ และเราเป็นทุกข์กังวลใจอย่างมาก จนกว่า การล้างนี้จะสำ�เร็จ คำ�ว่า “การล้าง” ในที่นี้ (baptisma ในภาษากรีก) หมายถึง การจุ่มตัวในน้ำ� หรือการอาบน้ำ� ในยุคของลูกา ศีลล้างบาปไม่ได้หมาย ถึงการหยดน้ำ�สองสามหยดลงบนหน้าผากเหมือนกับในพิธีโปรดศีลล้าง บาปในยุคสมัยของเรา แต่เป็นการจุ่มทั้งตัวลงในบ่อน้ำ� ดังนั้น จึงควร แปลประโยคนี้ว่า “เราต้องถูกจุ่มทั้งตัวลงในน้ำ�” ประโยคนี้ก็เป็นภาษาสัญลักษณ์เช่นกัน พระเยซูเจ้าไม่ได้ตรัสถึง พิธีกรรมบางอย่าง พระองค์ทรงคิดถึงพระทรมานของพระองค์ การอาบ พระโลหิต – หรือความเจ็บปวดทรมาน และความตายที่เหมือนน้ำ�ท่วม ซึ่งในไม่ช้าจะกลืนกินพระองค์เหมือนกับคนใกล้จมน้ำ�ที่ถูกคลื่นโยนไป มาในทะเล ... พระเยซูเจ้าทรงเป็นทุกข์กังวลใจกับความคิดนี้ แต่ทรงรู้ ว่าเหตุการณ์นี้ต้องเกิดขึ้น “เราต้อง ...” เป็นคำ�ที่พระองค์ใช้เสมอเมื่อ ตรัสถึงความตายบนไม้กางเขน ซึ่งจะเป็นหนทางให้แผนการของพระเจ้า สำ�เร็จเป็นความจริง และเป็นแผนการที่เรามนุษย์ไม่อาจเข้าใจได้ด้วย หลักเหตุผลของเรา เมื่อลูกานำ�เรื่องของ “การประทานไฟแห่งพระจิตเจ้า” มารวม กับ “การจุ่มตัวในความตาย” เขากำ�ลังเน้นว่าความรอดพ้นของมนุษย์ ทำ�ให้พระเยซูเจ้าต้องทนทรมานอย่างสาหัสเพียงใด... ดังนั้น เราแปลกใจหรือที่ชีวิตคริสตชนของเราเรียกร้องให้เรา ยอมเสียสละบ้าง “เราจงมีมานะวิ่งต่อไปในการแข่งขัน ซึ่งกำ�หนดไว้ สำ�หรับเรา จงเพ่งมองไปยังพระเยซูเจ้า ... ผู้ทรงอดทนต่อการคัดค้าน เช่นนี้ของคนบาป” (ฮบ 12:1-4) สำ�หรับ ลูกา ผู้เป็นศิษย์ของเปาโล


64

บทเทศน์ปี C

ศีลล้างบาปมีความหมายลึกกว่าที่คนร่วมสมัยของเขาคิด “เราทุกคนที่ ได้รับศีลล้างบาปเดชะพระคริสตเยซู ก็ได้รับศีลล้างบาปเข้าร่วมกับการ สิ้นพระชนม์ของพระองค์ด้วย ดังนั้น เราถูกฝังไว้ในความตายพร้อมกับ พระองค์อาศัยศีลล้างบาป เพื่อว่าพระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ จากบรรดาผู้ตาย เดชะพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาฉันใด เราก็จะดำ�เนิน ชีวิตแบบใหม่ด้วยฉันนั้น” (รม 6:3-4)… เราทำ�ให้ศีลล้างบาปด้อยคุณค่าลงหรือเปล่า... เมื่อไตร่ตรองพระทรมานของพระเยซูเจ้า ขอให้เราถามตนเอง ด้วยคำ�ถามของพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ว่า “คริสตชนทั้งหลาย ท่านได้ทำ�อะไรกับศีลล้างบาปของท่าน ... เป็นไปได้อย่างไรที่ชีวิตของ ท่าน ในฐานะคริสตชนชายหรือหญิง แสดงให้เห็นแต่เพียงความเข้าใจ ตื้นๆ ประสามนุษย์ในคำ�ว่า “ผลิบาน (blossoming)” หรือ “บรรลุผล (fulfilment” ... “เรามีการล้างที่จะต้องรับ และเราเป็นทุกข์กังวลใจ อย่างมากจนกว่าการล้างนี้จะสำ�เร็จ”... แต่ชีวิตของคริสตชนที่รับศีลล้างบาปแล้วยังเป็น “การผลิบาน” และ “การบรรลุผล” ด้วย เพราะเรารักจนถึงที่สุดด้วยความรักที่ยอมพลี ทุกสิ่งทุกอย่าง ... ชีวิต “ในพระคริสต์” ทำ�ให้แม้แต่สิ่งที่ดูเหมือนไร้สาระ ก็มีความหมาย กล่าวคือ ไม้กางเขนซึ่งเป็นเครื่องหมายของการกำ�จัด ... การทำ�ลาย ... ความล้มเหลว ... พระเยซูคริสตเจ้าได้ทรงทำ�ให้กลาย เป็นเครื่องหมายเชิงบวกของการบรรลุผล ... ของการเสียสละ ... ของ ประสิทธิผลสูงสุด ... ในทำ�นองเดียวกัน ศีลล้างบาป ซึ่งเป็นเครื่องหมาย ของการฝัง กลายเป็นเครื่องหมายของชีวิตใหม่ ... ความกังวลใจทั้งปวง ที่กำ�ลังท่วมตัวเราอาจกลายเป็น “เสียงเรียก” ความเจ็บปวดของเราจะ เปลี่ยนสภาพไปโดยสิ้นเชิง ถ้าเรารับความเจ็บปวดนั้นไว้ในความสนิท สัมพันธ์กับพระเยซูเจ้า “บัดนี้ ข้าพเจ้ายินดีที่ได้รับทุกข์ทรมานเพื่อท่าน ทั้งหลาย ความทรมานของพระคริสตเจ้ายังขาดสิ่งใด ข้าพเจ้าก็เสริมให้


บทเทศน์ปี C

65

สมบูรณ์ด้วยการทรมานในกายของข้าพเจ้า  เพื่อพระกายของพระองค์ คือพระศาสนจักร” (คส 1:24)... ท่านคิดว่าเรามาเพื่อนำ�สันติภาพมาสู่โลกหรือ มิได้ เราบอกท่านทั้ง หลายว่า เรานำ�ความแตกแยกมาต่างหาก สันติภาพเป็นหนึ่งในพระพรที่ชาวอิสราเอลรอคอยมากที่สุดจาก พระเมสสิยาห์ (อสย 9:5; ศคย 9:10; ลก 2:14) แต่การเทศน์สอน และ การกระทำ�ของพระเยซูเจ้า กลับนำ�ไปสู่ปฏิกิริยาอันรุนแรงจากผู้ต่อต้าน พระองค์ พระเยซูเจ้าทรงเป็นบุคคลที่ทางการต้องการตัว พระองค์ทรง รู้สึกว่าพระองค์ถูกสะกดรอยติดตามจากบุคคลรอบตัว แต่แทนที่จะกลัว และยุติกิจกรรม พระองค์กลับก้าวไปหาความตายด้วยความกล้าหาญ อย่างน่าชมเชย และพระองค์ทรงประกาศแก่มิตรสหายด้วยว่าพวกเขา จะต้องเผชิญกับการต่อต้านเช่นนี้เหมือนกัน ... พระคัมภีร์พันธสัญญา ใหม่บางฉบับ ถึงกับอ้างว่าพระเยซูเจ้าตรัสว่า “ผู้ใดอยู่ใกล้เรา เขาอยู่ ใกล้ไฟ”... เช่นเดียวกับคนร่วมสมัยของพระเยซูเจ้า เราก็ฝันหาสันติภาพ และอยากอยู่ท่ามกลางความปรองดอง ซึ่งทำ�ให้จิตใจของเราได้พักผ่อน ความปรองดองระหว่างชายและหญิง ระหว่างสามีและภรรยา ระหว่าง บิดามารดาและบุตร ระหว่างคนต่างชนชั้น ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ระหว่างมนุษย์และพระเจ้า สันติภาพ หรือ Shalom คือความปรารถนา ที่ชาวยิวใช้ทักทายกัน เป็นความจริงที่สันติภาพ คือ อุดมคติที่รวมไว้ ด้วยทุกสิ่งที่เราปรารถนา... ถ้าเช่นนั้น เหตุใดพระเยซูเจ้าจึงดูเหมือนว่าทรงเทศน์สอนให้ เกิดความแตกแยก... ข้าแต่พระเยซูเจ้า พระองค์ทรงเป็นสันติภาพของโลกนีม้ ใิ ช่หรือ... ทำ�ไมจึงเกิดความแตกแยกไม่ว่าพระองค์จะเสด็จไปที่ใด...


66

บทเทศน์ปี C

อะไรคือไฟที่จะเผาโลกนี้... ถูกแล้ว พระเยซูเจ้าทรงกำ�ลังนำ�สันติสุขมาให้ “สันติสุขแก่มนุษย์ ผู้มีน้ำ�ใจดี” แต่ไม่ใช่สันติสุขที่เกิดขึ้นโดยง่าย ... “เราให้สันติสุขกับท่าน ไม่เหมือนที่โลกให้” (ยน 14:27) มีสันติภาพที่ลวงตา มี “ความปลอดภัย” ที่อันตราย ซึ่งหลอกให้ เราตายใจ ซึ่งเกิดจากการประนีประนอม และซ่อนการกดขี่อย่างรุนแรง นี่คือสิ่งตรงกันข้ามกับสันติสุข ประกาศกหลายคนก่อนยุคพระเยซูเจ้า เคยประณามสันติสุขจอมปลอมเหล่านี้  ซึ่งปราศจากกฎเกณฑ์ทางศีลธรรม หรือศาสนา “ตั้งแต่ประกาศกถึงสมณะ ทุกคนฉ้อฉล เขารักษา แผลให้ประชากรของเราเพียงเล็กน้อย กล่าวว่า ‘สันติสุข สันติสุข’ เมื่อ ไม่มีสันติสุขเลย” (ยรม 8:10-11, 6:13-14, 14:13-16, 23:16-22; อสค 13:8-16; มคา 3:5)... ตั้ ง แต่ นี้ ไ ป คนห้ า คนในบ้ า นหนึ่ ง จะแตกแยกกั น  คนสามคนจะ แตกแยกกับคนสองคน และคนสองคนจะแตกแยกกับคนสามคน บิ ด าจะแตกแยกกั บ บุ ต รชาย และบุ ต รชายจะแตกแยกกั บ บิ ด า มารดาจะแตกแยกกับบุตรหญิง และบุตรหญิงจะแตกแยกกับมารดา มารดาของสามีจะแตกแยกกับบุตรสะใภ้ และบุตรสะใภ้จะแตกแยก กับมารดาของสามี” ด้ ว ยถ้ อ ยคำ � เหล่ า นี้   พระเยซู เ จ้ า ทรงบั ง คั บ คนร่ ว มสมั ย ของ พระองค์ให้ประจันหน้ากับทางเลือกแท้จริง คือเราต้องเลือกข้าง ... เลือกว่าจะอยู่ข้างเดียว หรือคนละข้างกับพระเยซูเจ้า และความเชื่อใน พระอาจารย์จะต้องมาก่อนความผูกพันในครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นความ ผูกพันที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด... ในยุคของลูกา พระศาสนจักรเป็นชนกลุ่มน้อยในโลกของคนต่าง ศาสนา และต้องทนทุกข์กับการแยกตัวระหว่างผู้มีความเชื่อ และผู้ที่


บทเทศน์ปี C

67

ไม่เชื่อ... ในปั จ จุ บั น  เราก็ สั ง เกตเห็ น ได้ ว่ า ถ้ อ ยคำ � ของพระเยซู เ จ้ า เป็ น ความจริงอย่างไร ... “ลูกๆ ของฉันไม่ยอมปฏิบัติศาสนกิจใดๆ เลย ... สองคนนั้นปฏิเสธที่จะแต่งงาน ... เขาไม่ต้องการให้ลูกของเขารับศีลล้าง บาป ... แทบไม่มีครอบครัว คริสตชนใดในโลกตะวันตกที่รอดพ้นจาก ความขัดแย้งที่พระเยซูเจ้าทรงเคยประกาศไว้  ครอบครัวคริสตชนใน ประเทศของเราปลอดภัยจากความขัดแย้งเช่นนี้หรือ – และจะปลอดภัย อีกนานเท่าไร ... ในกรณีเช่นนี้ เรามักอยากกล่าวโทษคนอื่นว่า “ถ้าพระ ศาสนจักรทำ�อย่างนี้ ... ถ้าครูอาจารย์สั่งสอนกันอย่างนี้ ... ถ้าฉันทำ� อย่างนี้ ...” เราคงเข้าใจผิด ถ้าคิดว่านี่เป็นปัญหาใหม่ ... ตั้งแต่ 800 ปี ก่อน สมัยของพระคริสตเจ้า ประกาศกมีคาห์ก็บรรยายถึงการกบฏของบุตร ต่อบิดามารดาว่าเป็นปัญหาใหญ่ในยุคของเขาแล้ว (มคา 7:6) และ วรรณกรรมประเภทวิวรณ์ที่เขียนขึ้นในยุคของพระเยซูเจ้า ก็ถือว่าความ ขัดแย้งประเภทนี้เป็น “ความทุกข์ยากครั้งใหญ่” ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นก่อน ที่มนุษย์จะได้รับความรอดพ้น และเป็นการประกาศถึงการเสด็จมาของ พระเมสสิยาห์... พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าภาวนาเพื่อทุกครอบครัวที่แตกแยก ถ้าความ เชื่อในพระองค์เป็นทางเลือกที่ยากถึงเพียงนี้ โปรดประทานพระจิตของ พระองค์แก่เรา เพื่อให้เรารักษาความเชื่อในพระองค์เถิด... “พระเจ้ า ข้ า  โปรดทรงจุ ด ไฟแห่ ง พระจิ ต ของพระองค์ ขึ้ น ใน ใจกลางของโลกเถิด”...


68

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่ยี่สิบเอ็ด เทศกาลธรรมดา ลูกา 13:22-30 พระเยซูเจ้าเสด็จผ่านเมืองและหมู่บ้าน ทรงสั่งสอนประชาชน และทรงเดินทางมุ่งไปกรุงเยรูซาเล็ม คนคนหนึ่งทูลถามพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า มีคนน้อยคนใช่ไหมที่รอดพ้นได้” พระองค์ตรัสกับเขา ทั้งหลายว่า “จงพยายามเข้าทางประตูแคบ เพราะเราบอกท่านทั้ง หลายว่า หลายคนพยายามจะเข้าไป แต่จะเข้าไม่ได้ เมือ่ เจ้าของบ้านจะลุกขึน้ เพือ่ ปิดประตู ท่านจะยืนอยูข่ า้ งนอก เคาะประตู พูดว่า ‘พระเจ้าข้า เปิดประตูให้พวกเราด้วย’ แต่เขาจะตอบ ว่า ‘เราไม่รวู้ า่ พวกเจ้ามาจากทีใ่ ด’ แล้วท่านก็จะพูดว่า ‘พวกเราได้กิน ได้ดื่มอยู่กับท่าน ท่านได้สอนในลานสาธารณะของเรา’ แต่เจ้าของ บ้านจะตอบว่า ‘เราไม่รู้ว่าพวกเจ้ามาจากที่ใด ไปให้พ้นจากเราเถิด เจ้าทั้งหลายที่กระทำ�การชั่วช้า’ เวลานั้ น  ท่ า นทั้ ง หลายจะร่ำ�ไห้ คร่ำ�ครวญและขบฟั น ด้ ว ย ความขุ่นเคือง เมื่อแลเห็นอับราฮัม อิสอัคและยาโคบ กับบรรดา ประกาศกในพระอาณาจักรของพระเจ้า แต่ท่านทั้งหลายกลับถูกไล่ ออกไปข้างนอก จะมีคนจากทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ มานั่งร่วมโต๊ะในพระอาณาจักรของพระเจ้า


บทเทศน์ปี C

69

ดังนั้น พวกที่เป็นกลุ่มสุดท้ายจะกลับกลายเป็นกลุ่มแรก และ พวกที่เป็นกลุ่มแรกจะกลับกลายเป็นกลุ่มสุดท้าย”


70

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง ประตูแคบ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระองค์กำ�ลังมุ่งหน้าไปในทิศทางใดใน ชีวิตของพระองค์ กรุงเยรูซาเล็มคือจุดหมายปลายทางของพระองค์ แต่ พระองค์ไม่ได้ครุ่นคิดถึงแต่เรื่องนี้จนไม่สนใจสถานที่อื่นๆ ระหว่างการ เดินทาง พระองค์ทรงหาเวลาไปเยี่ยมเยือนเมืองและหมู่บ้านต่างๆ ด้วย พระองค์ทรงมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน แต่ทรงมุ่งหน้าไปสู่จุดหมายนี้อย่าง ไม่กระวนกระวายเพราะถูกบีบคั้น แต่ด้วยความอ่อนโยน เพราะทรง เต็มใจเลือกทำ�เช่นนี้ พระองค์ตรัสถึงความรอดพ้นว่าเหมือนกับการพยายามเข้าทาง ประตูแคบ ภาพลักษณ์ของประตูแคบแสดงว่าผู้ที่ผ่านเข้าไปได้จำ�เป็น ต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน และมีความมุ่งมั่นที่จะเข้าไปทางประตูนี้ หมายความว่าเราต้องรับผิดชอบในการเลือกทิศทางชีวิตของเรา แทนที่ จะปล่อยตัวล่องลอยไปตามกระแสสังคม การถูกเรียกว่าเป็นคนความ คิดแคบดูเหมือนไม่ใช่คำ�ชม เพราะชวนให้คิดถึงคนดื้อรั้นที่ไม่เคยมอง เห็นอะไรดีๆ นอกจากอคติของตนเอง แต่การมีวิสัยทัศน์แคบๆ ก็มีส่วน ดี  เหมือนกับนักแม่นปืนที่รวบรวมสมาธิเพ่งมองที่เป้าโดยปิดตาข้าง หนึ่ง และหรี่ตาอีกข้างหนึ่งเพื่อจำ�กัดขอบเขตการมองเห็นให้แคบลง คน โบราณฉลาดไม่น้อยเลยที่เข้าใจว่าบาปก็คือการพลาดเป้าหมายของชีวิต อาจกล่าวได้ว่าบาปเป็นผลของการที่เราไม่มีความคิดที่แคบพอ เกี่ยวกับ เป้าหมายของเรา


บทเทศน์ปี C

71

เราอยู่ในยุคที่ชื่นชมบุคคลที่มีความคิดเปิดกว้าง และเป็นยุคที่ มนุษย์รู้สึกว่ายากมากที่จะผูกมัดตนเองกับสิ่งใดในชีวิต หรือพูดคำ�ว่า “ตลอดกาล” มีประสบการณ์และทางเลือกมากมาย จนเราต้องการเก็บ โอกาสที่จะเลือกไว้กับตัวเราตลอดไป ปัญหาของการผูกมัดตนเองก็คือ เราจำ�ต้องปิดประตูใส่ทางเลือกอื่นๆ ดั ง นั้ น  การมี ค วามคิ ด เปิ ด กว้ า งจึ ง มี จุ ด อ่ อ น เพราะทำ � ให้ เ รา สู ญ เสี ย พลั ง งานซึ่ ง กระจั ด กระจายไปหลายทิ ศ ทางมากเกิ น ไป นิ สั ย สำ�มะเลเทเมาเป็นผลที่หลบเลี่ยงไม่ได้จากการขาดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน และการผูกมัดตนเอง ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ในยุคของมนุษย์ที่ความคิดเปิดกว้างนี้   เรา ได้ยินเรื่องความเบื่อหน่าย เฉื่อยชา และความหดหู่อยู่เสมอ ต้นเหตุหนึ่ง มาจากมนุษย์ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในชีวิต เมื่อใดที่เรามีจุดมุ่งหมาย เราจะมีพลังอย่างเหลือเฟือ เราจะเห็นว่าคนที่รู้ทิศทางชีวิตของตนจะมี ดวงตาเป็นประกาย และเดินอย่างกระฉับกระเฉง แต่การรู้จุดมุ่งหมายในแต่ละวันก็อาจไม่เพียงพอ เราจำ�เป็นต้อง เข้าใจความหมายของชีวิตหลังจากเราข้ามสะพานแห่งความตาย คน ปัจจุบันยอมรับมากขึ้นว่าคำ�ถามลึกซึ้งที่ผุดขึ้นมาในความคิดของคนใน วัยกลางคนมักเกี่ยวข้องกับความหมายของการเดินทางของชีวิต กล่าว คือ เขามองชีวิตจากมุมของศาสนา การเดินทางตามทิศทางที่เลือก หมายความว่าเราต้องดำ�เนินชีวิต อย่างมีวินัย - เราต้องรู้ว่าอะไรสำ�คัญกว่า - เราต้องรู้ว่าเราจะได้รับความช่วยเหลือจากที่ใดได้ระหว่างทาง - เราต้องมองเห็น และหลีกเลี่ยงจุดอันตราย - เราต้องปลดสัมภาระที่ไม่จำ�เป็นออกจากตัว - เราต้องกำ�จัดสิ่งที่ทำ�ให้เสียพลังงาน และทรัพยากรโดยเปล่า ประโยชน์


72

บทเทศน์ปี C

แต่ ชี วิต ที่มีวินัยไม่จำ�เป็น ต้อ งเข้ม งวดจนไม่ มี เ วลาผ่ อนคลาย และลดความเร็ว ความเข้มงวดเกินไปทำ�ให้การเดินทางมุ่งหน้าสู่ประตู ของพระเจ้าเป็นการเดินทางที่ไม่น่าอภิรมย์  และวิธีนั้นไม่น่าจะถูกต้อง ศาสนาที่ขาดความยินดีเป็นเครื่องหมายของทิฐิ  ซึ่งรู้จักความเกลียด มากกว่าความรัก วิถีทางของพระเยซูเจ้าเป็นต้นแบบให้เราได้  พระองค์ทรงตั้ง พระทัยแน่วแน่ และทรงออกเดินทางไปยังกรุงเยรูซาเล็ม แต่พระองค์ ทรงผ่อนคลายมากพอ และมีเวลาให้กับเมืองและหมู่บ้านตามเส้นทาง ศิษย์พระคริสต์ต้องเพ่งสายตาไปที่ประตูแคบ แต่เมื่อเขากำ�หนดทิศทาง ได้แล้ว เขาสามารถมุ่งหน้าไปในทิศทางนั้นได้อย่างผ่อนคลาย และมี ความสุขกับการเดินทางไปยังประตูของพระเจ้า ข้อรำ�พึงที่สอง ภาพของสวรรค์ ถ้าเราไปถึงประตูแคบนั้นแล้ว อะไรรอเราอยู่ข้างใน สวรรค์เป็น อย่างไร นรกมีอยู่จริงหรือไม่ ถ้ามีจริง นรกเป็นอย่างไร คนส่วนใหญ่ที่ฟังพระเยซูเจ้ามีความเชื่อเหมือนกันในชีวิตหลัง ความตาย เมื่อผู้ชอบธรรมจะได้รับรางวัล และคนชั่วจะได้รับโทษ พระ เยซูเจ้าตรัสกับคนเหล่านี้ถึงชีวิตหลังความตายโดยทรงบรรยายด้วยภาพ ที่เขาคุ้นเคย พระวรสารตอนนี้เสนอสามภาพ คือ งานเลี้ยงฉลอง การพบกับ บรรพบุรุษ และใบหน้าที่แสดงความประหลาดใจ (1) งานเลี้ยงฉลอง... ไม่น่าแปลกใจ เพราะพระวรสารของลูกา มักกล่าวถึงการกินการดื่ม การสังสรรค์กับพระเยซูเจ้าก็ถูกบรรยายโดย ใช้ภาพของการกินและดื่มร่วมกับพระองค์ สวรรค์ในจินตนาการเหมือน กับงานเลี้ยงฉลองอันยิ่งใหญ่  ผู้ที่ไม่สามารถเข้าประตูได้จะรู้สึกเสียใจ


บทเทศน์ปี C

73

และผิดหวังอย่างรุนแรง มีการร้องไห้คร่ำ�ครวญ และขบฟันด้วยความ ขุ่นเคืองตนเอง เมื่อเขายอมรับได้ในที่สุดว่าเขาต้องรับผิดชอบบาปของ เขา และจะโทษใครไม่ได้ ส่วนคนที่ผ่านเข้าประตูได้จะชื่นชมกับทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เขานึกได้เมื่อพูดถึงงานเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมโต๊ะที่ พูดคุยกันอย่างสนุกสนาน การพักผ่อนหย่อนใจ ความพึงพอใจ และ บรรยากาศเฉลิมฉลอง (2) ชาวยิวมีใจผูกพันกับบรรพบุรุษของตนมาก พระเยซูเจ้า ทรงเสนอภาพของความยินดีจากการได้พบกับบรรพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ร่วม ความเชื่อ คือ อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ และประกาศกทั้งหลาย ภาพนี้ เสนอความหวังว่าเราจะพบกับสมาชิกครอบครัวและมิตรสหายที่ตาย จากไป รวมทั้งบรรพบุรุษผู้ถ่ายทอดชีวิต และความเชื่อให้เรามาตลอด หลายศตวรรษ (3) เมื่อพระเจ้าทรงเลือกทีมงานของพระองค์  เราได้รับการ เตือนแล้วว่าอาจมีบางคนไม่ได้รับเลือก พระเจ้าเท่านั้นสามารถอ่าน ใจและแรงจูงใจที่ลึกสุด พระองค์เท่านั้นสามารถวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ที่สุดว่าเราตอบสนองอย่างไรต่อพระหรรษทานที่พระองค์ประทานให้ และสถานการณ์ยากลำ�บากที่เราต้องเอาชนะให้ได้  หลายคนที่ดูเหมือน เป็นคนแรกในการแสดงความศรัทธา และการเป็นส่วนหนึ่งของพระ ศาสนจักร อาจไปอยู่หลังแถวเมื่อความรักเมตตาแท้ถูกเปิดเผย และ ความรักเมตตานี้คือคำ�ถามเดียวในการทดสอบครั้งสุดท้ายนี้  ในขณะ ที่หลายคนที่ดูเหมือนว่าต่ำ�กว่ามาตรฐานภายนอก อาจพบว่ามีหัวใจ ประเสริฐดั่งทองคำ� ดังที่นักบุญออกุสตินกล่าวไว้ว่า มีหลายคนในวัดที่จะไม่อยู่ใน พระอาณาจักร และหลายคนในพระอาณาจักรไม่เป็นสมาชิกของพระ ศาสนจั ก ร ขอให้ เ ราคอยดู รั ศ มี เ หนื อ ศี ร ษะของคนที่ ไ ม่ แ สดงตั ว ว่ า ศรัทธาในชีวิตนี้ และคอยดูคนศรัทธาที่กระดากอายเพราะถูกเปิดเผยว่า เป็นคนลวงโลก


74

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 2 บทอ่านพระวรสารของนักบุญลูกาในวันนี้ มาจากหลายข้อความ ที่นำ�มาปะติดปะต่อให้เป็นเรื่องเดียวกัน - “ประตูแคบ” (ข้อ 24) มาจากบทเทศน์บนภูเขา (มธ 7:13) - “พระเจ้าข้า เปิดประตูให้พวกเราด้วย” (ข้อ 25) เป็นบท สรุปของอุปมาเรื่องหญิงฉลาดและหญิงโง่ (มธ 25:11) - “เราไม่รู้ว่าพวกเจ้ามาจากที่ใด” (ข้อ 27) เป็นส่วนหนึ่งของ คำ�สั่งสอนเรื่องการภาวนา (มธ 7:22) - “จะมีคนจากทิศตะวันออกและทิศตะวันตก” (ข้อ 29) เป็น บทสรุปของเรื่องการรักษาโรคให้ผู้รับใช้ของนายร้อยชาว โรมัน (มธ 8:11) - “พวกที่เป็นกลุ่มสุดท้ ายจะกลับกลายเป็นกลุ่มแรก” (ข้อ 30) เป็นข้อความเดียวกับ มธ 19:30 และ 20:16... ลูกานำ�พระวาจาต่างๆ ที่พระเยซูเจ้าตรัสในหลายโอกาสมาจัด เรียงใหม่เป็นกลุ่ม นี่คือคำ�ตอบเรื่องจำ�นวนผู้ที่รอดพ้น พระเยซูเจ้าทรง ยืนยันความจริงสองข้อที่ดูเหมือนขัดแย้งกัน คือ ประตูเข้าสวรรค์นั้น “แคบ” และคนต่างชาติพากันมาร่วมงานเลี้ยงของพระเมสสิยาห์  ใน ขณะที่ผู้ได้รับเชิญเป็นกลุ่มแรกกลับถูกไล่ออกไปข้างนอก... พระเยซูเจ้าเสด็จผ่านเมือง และหมู่บ้าน ทรงสั่งสอนประชาชน และ ทรงเดินทางมุ่งไปกรุงเยรูซาเล็ม ลูกาย้ำ�อีกครั้งหนึ่งว่า พระเยซูเจ้าทรงกำ�ลังเดินทางไปยังนคร ศักดิ์สิทธิ์ และเรารู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นที่นั่น ... พระเยซูเจ้าทรงเดินทาง


บทเทศน์ปี C

75

พระองค์ไม่ได้ “ตั้งรกราก” พระองค์เดินทางต่อไป ลูกาผู้เป็นเพื่อนร่วม ทางของเปาโล ใช้คำ�นี้ถึง 80 ครั้ง เปาโลก็เป็นนักเดินทาง ชีวิตของคริสต ชนก็เป็นการเดินทาง เป็นการเดินไปข้างหน้า ส่วนข้าพเจ้าเล่า ... ข้าพเจ้าตั้งรกรากอยู่กับที่ ไม่ขยับเขยื้อนไป ไหนหรือเปล่า... ข้าพเจ้าอยากให้พระศาสนจักร “ตั้งรกราก” ไม่ขยับเขยื้อนด้วย หรือเปล่า... วิวัฒนาการของประวัติศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของแผนการของ พระเจ้า “เวลา” เป็นสิ่งสร้างอย่างหนึ่งของพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรง เข้ามาอยู่ในกาลเวลา – พระองค์ไม่ทรงหยุดเวลา “เราอยู่กับท่านวันนี้ จนถึงวันสิ้นพิภพ” คนคนหนึ่งทูลถามพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า มีคนน้อยคนใช่ไหมที่ รอดพ้นได้” นี่คือคำ�ถามที่หลายคนอยากถาม เป็นคำ�ถามของมนุษย์ทุกคนที่ มีใจห่วงใยบุคคลที่เรารัก เราจะมีความสุขในสวรรค์ได้อย่างไร ถ้าคนที่ เรารักไม่อยู่ในสวรรค์ด้วย ... นี่คือคำ�ถามที่สมควรถามอย่างยิ่ง “จงอย่า มาร่วมงานเลี้ยงฉลองของพระอาณาจักรเพียงลำ�พัง จงไป และประกาศ ข่าวดีตามทางของท่าน คำ�สัญญานั้นคือปังที่มอบให้เพื่อนำ�มาแบ่งปัน” ...มนุ ษ ย์ ค นใดที่ ไ ม่ ป รารถนาให้ ม นุ ษ ย์ ทุ ก คนได้ รั บ ความรอดพ้ น มนุษย์คนนั้นย่อมไม่อาจได้รับความรอดพ้น  เพราะเขาไม่ปฏิบัติตาม บทบัญญัติข้อสำ�คัญของพระอาณาจักรของพระเจ้า คือ ความรักต่อ เพื่อนมนุษย์ ... “พระเจ้าพระผู้ไถ่ของเรามีพระประสงค์ให้ทุกคนได้รับ ความรอดพ้น” (1 ทธ 2:4)


76

บทเทศน์ปี C

พระองค์ ต รั ส กั บ เขาทั้ ง หลายว่ า “จงพยายามเข้ า ทางประตู แ คบ เพราะเราบอกท่านทั้งหลายว่าหลายคนพยายามจะเข้าไป แต่จะเข้า ไม่ได้” นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พระเยซูเจ้าไม่ตอบคำ�ถามโดยตรง พระองค์ ไม่ทรงบอกว่าผู้ได้รับเลือกสรรจะมี “มาก” หรือ “น้อย”... ดูเหมือน พระองค์ ไ ม่ ท รงแสดงความสนใจในคำ � ถามทางทฤษฏี นี้ เ ลย เพราะ พระองค์ทรงเชิญชวนผู้ฟังพระองค์ให้คิดถึงความรับผิดชอบของพวก เขา “แทนที่จะอภิปรายปัญหาด้วยสติปัญญา จงเลือกวิถีทางที่เป็นรูป ธรรม ซึ่งนำ�ไปสู่ชีวิตนิรันดร ... สิ่งสำ�คัญคือ – ต้องเข้าไปให้ได้”... ความอยากรู้ จำ � นวนของผู้ ไ ด้ รั บ เลื อ กสรร แสดงให้ เ ห็ น การ แสวงหาความมั่นคง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก ถ้าทุกคนมั่นใจว่าเขาจะเข้าสวรรค์ ได้ เขาจะพยายามไปทำ�ไม และถ้ามีน้อยคนที่เข้าสวรรค์ได้จริง เราจะ ยอมเสียสละหลายสิ่งหลายอย่างไปทำ�ไม... ดังนั้น พระเยซูเจ้าจึงไม่ทรง ให้คำ�ตอบที่ชัดเจน แต่ทรงเสนอให้แต่ละคนตัดสินใจเลือกทางเดินของ ตนเอง และทรงเตือนเขาว่านี่เป็น “เรื่องใหญ่” ... พระเยซูเจ้าไม่ทรง ต้องการ “รับรอง” ให้เรามั่นใจ แต่ทรงต้องการให้เรา “รับผิดชอบ” ดังนั้น พระองค์จึงทรงยกภาพลักษณ์ที่คุ้นเคยสำ�หรับผู้อ่านพระคัมภีร์ นั่นคืออาณาจักรสวรรค์เปรียบเสมือนห้องโถงจัดงานเลี้ยง แต่ทรงเสริม ว่ามีคนจำ�นวนมากวิ่งมาที่ประตู เพราะประตูนี้ “แคบ” คำ�ภาษากรีกที่ แปลว่า “พยายาม (striving)” นี้เป็นคำ�ที่รุนแรง คือ agonizeste ซึ่ง แปลตรงตัวว่า “ต่อสู้เพื่อจะเข้าไป” คำ�ภาษาอังกฤษว่า agony (การเข้า ตรีทูต) ก็มาจากรากศัพท์เดียวกัน การเข้าตรีทูตของเราเป็นการต่อสู้ ครั้งสุดท้ายในชีวิตของเรา เพื่อจะเสนอความรอดพ้นให้แก่มนุษย์ทุกคน พระเยซูเจ้าทรง “ต่อสู”้ ในสวนเกทเสมนี และบนเนินกลโกธา พระองค์ ไม่ทรงแนะนำ�ให้เราทำ�สิ่งที่พระองค์ทรงทำ�มาก่อน พระองค์ประกาศไว้


บทเทศน์ปี C

77

ในพระวรสารตอนหนึ่งว่า “ผู้ที่ใช้ความอดทนและความพยายามเท่านั้น จึงจะเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ได้” (มธ 11:12) ข้าพเจ้า “ต่อสู”้ เพื่อจะเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์หรือเปล่า ... ด้วย นิสัยและสถานภาพในชีวิต ข้าพเจ้าต้องต่อสู้ในด้านใดโดยเฉพาะ เพื่อ จะเอาชนะสภาพและข้อจำ�กัดซึ่งเป็นตัวถ่วงในชีวิตของข้าพเจ้า นักบุญเปาโลบรรยายวิถีชีวิตของคริสตชน โดยใช้คำ�เดียวกันนี้ (agon=ต่อสู้) “ข้าพเจ้ายินดีที่ได้รับความทุกข์ทรมาน ...เพื่อจะได้ ประกาศพระวาจาของพระเจ้ า แก่ ท่ า นอย่ า งสมบู ร ณ์   ... ข้ า พเจ้ า จึ ง ตรากตรำ�ทำ�งาน และต่อสู้ด้วยพลังที่มาจากพระองค์” (คส 1:24-29 เทียบ 1 คร 9:25, คส 4:12, 1 ทธ 4:10) “ข้าพเจ้าต่อสู้มาอย่างดีแล้ว ข้าพเจ้าวิ่งมาถึงเส้นชัยแล้ว ข้าพเจ้ารักษาความเชื่อไว้แล้ว” (2 ทธ 4:7) เราจะคิดได้อย่างไรว่าเราสามารถเข้าสวรรค์ได้โดยไม่ใช้ความพยายาม ราวกับว่า “วิ่งโดยสวมสเก็ต” เปล่าเลย ชีวิตคริสตชนไม่ใช่เก้าอี้โยก แม้ จะเป็นของขวัญที่พระเจ้าประทานให้เปล่าๆ และถึงกับเสนอให้แก่คน บาปด้วย แต่เราต้องยอมรับของขวัญชิ้นนี้ ทำ�ให้เป็นของเรา และทำ�ให้ ตัวเรามีคุณค่าสมจะได้รับด้วย... เมื่อเจ้าของบ้านจะลุกขึ้นเพื่อปิดประตู ท่านจะยืนอยู่ข้างนอกเคาะ ประตู พูดว่า “พระเจ้าข้า เปิดประตูให้พวกเราด้วย” แต่เขาจะตอบ ว่า “เราไม่รู้ว่าพวกเจ้ามาจากที่ใด ... ไปให้พ้นจากเราเถิด เจ้าทั้ง หลายที่กระทำ�การชั่วช้า” ชาวอิสราเอล รู้คุณค่าของพันธสัญญา จึงยอมรับไม่ได้ง่ายๆ ว่า ชนชาติอื่นก็อาจเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้าได้ด้วย รับบีแมร์ เขียน ไว้ว่า “บุคคลหนึ่งจะเป็นบุตรในโลกที่จะมาถึงได้นั้น เขาต้องอาศัยบน แผ่นดินของอิสราเอล ต้องพูดภาษาศักดิ์สิทธิ์ (ฮีบรู) และสวดภาวนา Shama Isarel ทั้งเช้าและค่ำ�” ... ตรงกันข้ามกับพระเยซูเจ้า ผู้ไม่ให้


78

บทเทศน์ปี C

ความสำ�คัญต่อเอกสิทธิ์ของอิสราเอล คนกลุ่มแรกที่พระองค์ทรงเตือน คือคนทั้งหลายที่ “ได้กินได้ดื่ม” กับพระองค์ และคนที่ “ได้ฟังพระองค์ สั่งสอน” ซึ่งบัดนี้หมายถึงเราผู้ร่วมโต๊ะแห่งศีลมหาสนิท หนึ่งชั่วโมงที่ เราอยู่กับพระเยซูเจ้าในวันอาทิตย์ ไม่สามารถชดเชยเวลาอื่นๆ ตลอด สัปดาห์ที่เรา “กระทำ�การชั่วช้า” และอยู่ห่างไกลพระองค์... เวลานัน้ ท่านทัง้ หลายจะร่�ำ ไห้คร่�ำ ครวญ และขบฟันด้วยความขุน่ เคือง เมื่อแลเห็นอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ กับบรรดาประกาศกในพระ อาณาจักรของพระเจ้า แต่ท่านทั้งหลายกลับถูกไล่ออกไปข้างนอก จะมีคนจากทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทิศเหนือและทิศใต้ มานั่ง ร่วมโต๊ะในพระอาณาจักรของพระเจ้า ดังนั้น พวกที่เป็นกลุ่มสุดท้าย จะกลั บ กลายเป็น กลุ่มแรก และพวกที่เ ป็ น กลุ่ ม แรกจะกลั บ กลาย เป็นกลุ่มสุดท้าย” พระวาจานี้อาจทำ�ให้เราคิดถึงชายและหญิงผู้มีความตั้งใจดี แต่ หลังจากได้พยายามต่อสู้เพื่อเข้าสวรรค์แล้ว กลับถูกตัดสิทธิ์ตามคำ� ตัดสินอย่างเผด็จการของเจ้านายผู้ปราศจากความสงสาร นี่คือภาพ เสียดสีล้อเลียนพระเจ้า! พระเจ้าไม่ได้ปราศจากความสงสาร หรือไม่ ยุติธรรม ... อันที่จริง ทุกคนที่ไม่สามารถเข้าไปร่วมงานเลี้ยงฉลองนี้ ต้องโทษตนเองเท่านั้น เพราะแม้แต่ “คนต่างชาติต่างศาสนา” (“กลุ่ม สุดท้ายจะกลายเป็นกลุ่มแรก”) จะมาจากทั่วทุกมุมโลก แม้ว่าเป็นความ จริงที่ประตูนี้แคบ เพราะเดิมพันสูงยิ่ง คือชีวิตนิรันดร แต่พระเจ้าทรง เตรียมการไว้อย่างดี ให้ประตูนี้เปิดรับทุกคนได้ ชะตากรรมอันน่าเศร้า ของอิสราเอลควรปลุกเราให้ตื่นจากหลับใหล เพราะพวกเขาเป็นคน กลุ่มแรกที่ได้รับเชิญ แต่กลับถูกชายหญิงจากทั่วโลกเบียดแซงหน้าไป เราไม่สามารถเข้าสวรรค์เพราะโชคดี หรือเข้าสวรรค์โดยไม่รู้ตัว แต่เรา ต้อง “มีความต้องการ” เข้าสวรรค์ เราต้องต่อสู้เพื่อจะเข้าสวรรค์ เรา


บทเทศน์ปี C

79

ต้องตัดสินใจอยูข่ า้ งพระเยซูเจ้า... ไม่วา่ เราจะเป็นสมาชิกของคนกลุม่ ใด เชื้อชาติใด หรือครอบครัวใด หรือเราได้ปฏิบัติศาสนกิจบางอย่างเป็น ประจำ� สิ่งเหล่านั้นไม่ควรหลอกเราให้มั่นใจผิดๆ ได้ สิ่งเดียวที่เป็นหลัก ประกันคือการอุทิศทั้งตัวตนของเราให้แก่การติดตามพระเยซูเจ้า ... ตลอดทุกนาทีของชีวิต และที่สำ�คัญ ขอให้เราอย่าตัดสินผู้อื่นเลย ... เรารู้ความจริงสอง ข้อ คือ – ในส่วนของพระเจ้า พระองค์ทรงกระทำ�ทุกสิง่ ทุกอย่างแล้วเพือ่ ความรอดพ้นของมนุษย์ทุกคน - ในส่วนของมนุษย์  มนุษย์มีเสรีภาพที่จะปฏิเสธของขวัญจาก พระเจ้า และเพื่อจะใช้เสรีภาพนี้ในทางที่ถูก เราต้องต่อสู้ ... ขณะที่อยู่ บนโลกนี้  เราไม่รู้ว่าเสรีภาพของพี่น้องของเราจะสิ้นสุดลงเมื่อไร การ พบกับพระเจ้าเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งหมายถึงนาทีแห่งความตายนั้น จะ ต้องเป็นนาทีสุดท้ายที่สำ�คัญที่สุด ... ทุกคนที่เข้าใจว่าเดิมพันครั้งนี้ยิ่ง ใหญ่เพียงใด ย่อมอดใดไม่ได้ที่จะเป็น “ผู้ไถ่ก”ู้ ร่วมกับพระเจ้าในหมู่ มนุษย์ “จงอย่ามาร่วมงานเลี้ยงฉลองของพระอาณาจักรตามลำ�พัง จง ไปและประกาศข่าวดีตามทางของท่าน คำ�สัญญานั้นคือปังที่มอบให้เพื่อ นำ�มาแบ่งปัน” ... พระเจ้าทรงกระตุ้นเตือนท่านให้เข้ามาอยู่ในบ้านหนึ่ง เดียวกันนี้ และทรงเรียกท่านมาอยู่ร่วมกันในความรัก... ข้าแต่พระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นความหวังของมนุษย์ โปรดทรง ดลบันดาลให้เราเป็นพยานยืนยันความรอดพ้นที่พระองค์ประทานให้ เทอญ...


80

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่ยี่สิบสอง เทศกาลธรรมดา ลูกา 14:1, 7-14 วันสับบาโตวันหนึ่ง พระเยซูเจ้าเสด็จไปเสวยพระกระยาหาร ทีบ่ า้ นของหัวหน้าชาวฟาริสคี นหนึง่ ผูท้ อ่ี ยูท่ น่ี น่ั ต่างจ้องมองพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงสังเกตเห็นผู้รับเชิญต่างเลือกที่นั่งที่มีเกียรติ จึงตรัส เป็นอุปมากับเขาว่า “เมื่อมีใครเชิญท่านไปในงานมงคลสมรส อย่า ไปนั่งในที่ที่มีเกียรติ เพราะถ้ามีคนสำ�คัญกว่าท่านได้รับเชิญมาด้วย เจ้าภาพที่เชิญท่านและเชิญเขาจะมาบอกท่านว่า ‘จงให้ที่นั่งแก่ผู้นี้ เถิด’ แล้วท่านจะต้องอับอาย ไปนั่งที่สุดท้าย แต่เมื่อท่านได้รับเชิญ จงไปนั่งในที่สุดท้ายเถิด เพื่อเจ้าภาพที่เชิญท่านจะมาบอกท่านว่า ‘เพื่อนเอ๋ย จงไปนั่งในที่ที่ดีกว่านี้เถิด’ แล้วท่านจะได้รับเกียรติต่อ หน้าผู้ร่วมโต๊ะทั้งหลาย เพราะทุกคนที่ยกตนขึ้นจะถูกกดให้ต่ำ�ลง แต่ทุกคนที่ถ่อมตนลงจะได้รับการยกย่องให้สูงขึ้น” พระองค์ตรัสกับผู้ที่เชิญพระองค์ว่า “เมื่อท่านจัดเลี้ยงอาหาร กลางวันหรืออาหารค่ำ� อย่าเชิญมิตรสหาย พี่น้อง หรือเพื่อนบ้านที่ มั่งมี เพราะเขาจะเชิญท่าน และท่านจะได้รับการตอบแทน แต่เมื่อ ท่านจัดงานเลี้ยง จงเชิญคนยากจน คนพิการ คนง่อย คนตาบอด แล้วท่านจะเป็นสุข เพราะคนเหล่านั้นไม่มีสิ่งใดตอบแทนท่านได้ ท่านจะได้รับการตอบแทนจากพระเจ้าเมื่อผู้ชอบธรรมกลับคืนชีวิต


บทเทศน์ปี C

81

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง การสนทนาบนโต๊ะอาหาร โต๊ ะ อาหารจะไม่ ส มบู ร ณ์ ถ้ า ไม่ มี ผู้ มี ค วามรู้ ม านั่ ง ร่ ว มโต๊ ะ ด้ ว ย ร่างกายจะชื่นชมกับรสชาติของอาหารและเหล้าองุ่นได้มากขึ้น ถ้าอาหาร มื้อนั้นได้รับการปรุงแต่งด้วยคำ�สนทนาที่มีรสชาติ  พระศาสนจักรได้ รักษาธรรมเนียมในการจัดโต๊ะอาหารสองประเภทไว้ในพิธีกรรม หนึ่ง คือโต๊ะพระวาจา และอีกหนึ่งคือโต๊ะขนมปัง (ศีลมหาสนิท) อันที่จริง มีคำ�กล่าวว่าพระสงฆ์ผู้บิปังที่พระแท่น โดยไม่บิปังที่แท่นอ่านพระวาจา ถือว่าเป็นพระสงฆ์เพียงครึ่งเดียว ในพระวรสารของลูกา พระเยซูเจ้าไม่เคยอยู่ห่างโต๊ะอาหาร บ่อย ครั้งที่พระองค์ประทานคำ�สั่งสอนที่โต๊ะอาหาร การสนทนาเรื่องเบาๆ และมีรสชาติสามารถเข้าถึงผู้ฟังได้ง่ายกว่าการสั่งสอนอย่างเป็นทางการ การสนทนาบนโต๊ะอาหารต่างจากการเทศน์มาก เราคาดหมายได้ว่าจะ ได้ยินข้อสังเกตที่เฉียบคม คำ�ล้อเลียนด้วยอารมณ์ขัน และการตอบโต้ ด้วยไหวพริบ แต่ก็มีสาระสำ�คัญซ่อนอยู่ ขณะที่พระเยซูเจ้าทรงเชิญชวน ผู้ฟังให้มองเห็นตนเองในพระวาจาที่พระองค์ตรัส พระองค์ มี ส ารที่ ท รงต้ อ งการสื่ อ ให้ แ ก่ แ ขกร่ ว มโต๊ ะ  พระองค์ ทรงเสนอภาพล้อเลียนคนทั้งหลายที่แย่งกันนั่งในตำ�แหน่งที่มีเกียรติ พระองค์ทรงเชิญเราทุกคนให้มองเห็นในภาพนั้นว่าตนเองเป็นเพียง แขกรับเชิญ เพราะเราเป็นผู้ได้รับพระคุณต่างๆ จากพระเจ้า แต่เรา มักลืมว่าทุกสิ่งที่เรามีล้วนเป็นสิ่งที่เราได้รับมา และเมื่อเราคิดว่านั่นคือ เกียรติของเราเอง เราจะยกให้ความคิดของเราเป็นใหญ่ ทำ�ให้เราชอบ


82

บทเทศน์ปี C

ระราน ก้าวร้าว และต่อสู้แย่งชิงสิทธิพิเศษ และความนิยมจากผู้อื่น ผู้รับ เชิญมาในงานเลี้ยงของพระเมสสิยาห์จะต้องไม่ประพฤติตนเช่นนี้ จากนั้น พระเยซูเจ้าทรงมีสารจะสื่อให้แก่เจ้าภาพด้วย กล่าวคือ ผู้ที่จะจ่ายค่าอาหารและความบันเทิงสำ�หรับงานเลี้ยงในวันนั้น ซึ่งฟัง ดูเหมือนกับว่าพระองค์ไม่สุภาพ เมื่ออ่านข้อความตามตัวอักษร “เมื่อ ท่านจัดเลี้ยงอาหารกลางวันหรืออาหารค่ำ� อย่าเชิญมิตรสหาย พี่น้อง หรื อ เพื่ อ นบ้ า นที่ มั่ ง มี   เพราะเขาจะเชิ ญ ท่ า น และท่ า นจะได้ รั บ การ ตอบแทน ...” เราอาจเข้าใจผิด ถ้าอ่านข้อความนี้ตามตัวอักษร เรารู้ว่า พระเยซูเจ้าไม่ทรงปฏิเสธที่จะไปร่วมโต๊ะอาหารกับมิตรสหาย และผู้ที่ รู้จักมักคุ้น เราจะเห็นด้วยว่าพระองค์ตรัสเกินความจริงเพื่อให้เขากลัว จะได้รับคำ�เชิญเป็นการตอบแทน น่าสงสารเจ้าภาพที่คงรู้สึกสับสนถ้า เขากำ�ลังรวบรวมรายชื่อบุคคลที่เขาจะเชิญ และต้องตรวจทานอีกครั้งว่า ไม่มีชื่อใครที่อาจเชิญเขาเพื่อเป็นการตอบแทน สาระสำ�คัญของคำ�สั่งสอนนี้คือการท้าทายให้นึกถึงคนทั้งหลายที่ ไม่มีสิทธิเข้ามานั่งร่วมโต๊ะ ธรรมบัญญัติถึงกับห้ามคนยากจน คนพิการ คนง่อย และคนตาบอด ไม่ให้เข้าร่วมในศาสนกิจ ครูสอนศาสนาจำ�นวน มากเชื่อว่าคนพิการจะไม่ได้เข้าร่วมในงานเลี้ยงของพระเมสสิยาห์ แต่ พระเยซูเจ้าทรงประกาศไว้ตั้งแต่เมื่อทรงเริ่มต้นเทศน์สอนว่าบุคคลที่ สังคมรังเกียจ คือเป้าหมายแรกของพันธกิจของพระองค์ อารมณ์ ขั น ของพระเยซู เ จ้ า ในการสนทนาบนโต๊ ะ อาหารควร เตรี ย มเราให้ พ ร้ อ มสำ � หรั บ อารมณ์ ขั น ของพระเจ้ า ในงานเลี้ ย งครั้ ง สุดท้าย ที่พำ�นักมากมายในบ้านของพระองค์จะเต็มไปด้วยบุคคลที่เรา คาดไม่ถึง เพราะคนกลุ่มสุดท้ายจะกลายเป็นกลุ่มแรก คนถ่อมตนจะได้ รับการยกย่อง คนจนจะได้กินอาหาร และคนพิการจะเต้นรำ�ด้วยความ ยินดี  พระเจ้าผู้ทรงคาดสะเอวเพื่อมารับใช้ที่โต๊ะอาหารจะต้องเต็มไป ด้วยสิ่งที่น่าประหลาดใจ เราคงไม่เอาจริงเอาจังทุกเวลากับพระเจ้า ผู้ทรง


บทเทศน์ปี C

ขอให้เราหยุด และพักผ่อนหนึ่งวัน หลังจากทำ�งานมาตลอดสัปดาห์

83

ข้อรำ�พึงที่สอง ความจองหอง และความสุภาพถ่อมตน บาปต้นเจ็ดประการคือรากที่เป็นพิษของต้นไม้ ซึ่งเป็นต้นกำ�เนิด ของความประพฤติผิดทั้งปวง และบาปประการแรกคือความจองหอง แน่นอนว่าเราสามารถภาคภูมิใจเมื่อมีผู้ยอมรับพรสวรรค์แท้ของเรา แต่ความจองหองหมายถึงการตั้งตนเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่าง ความจองหองทำ�ให้เราตั้งตัวขึ้นต่อต้านผู้อื่น ด้วยการเปรียบเทียบ ดู หมิ่น และตัดสินผู้อื่น ความจองหองทำ�ให้เราตั้งตัวขึ้นเป็นพระเจ้าองค์ เล็กๆ แทนที่พระเจ้าเที่ยงแท้ “ไม่มียารักษาโรคของคนจองหอง เพราะ ความชั่วได้งอกขึ้นมาในตัวเขาแล้ว” (ปญจ 3:28) ความชั่วที่งอกงามจากความจองหองเป็นสิ่งที่ลวงตาได้เสมอ ตรงกันข้ามกับความสุภาพถ่อมตน ซึ่งหมายถึงการยอมรับความจริง และมาจากภาษาละตินว่า humus แปลว่าดิน (earth) ในกลุ่มสามเณรที่กระตือรือร้นตามแบบฉบับของคนหนุ่มที่จะ บรรลุถึงความศักดิ์สิทธิ์ เราได้อภิปรายเรื่องความสภาพถ่อมตน และ การเลื อ กนั่ ง ในตำ � แหน่ ง ที่ ต่ำ � ที่ สุ ด  เราคาดการณ์ ไ ด้ ว่ า ประเด็ น นี้ จ ะ กลายเป็นปัญหาใหญ่  เราจะยังถ่อมตนอยู่ได้อย่างไรถ้าผู้อื่นยอมรับ ว่าคุณธรรมของเราได้พัฒนาขึ้น เราสามารถจองหองกับความถ่อมตน ของเราได้หรือไม่  เราอ่านพบเรื่องของวีรบุรุษในทะเลทรายและนักบุญ ที่ไม่มีใครรู้จัก ดูเหมือนว่าบุคคลเหล่านั้นใช้เวลาทั้งชีวิตตรึงกางเขน ความสามารถพิเศษของตนเอง และมองหาแต่โอกาสที่จะเหยียดหยาม ตนเอง เรามีคู่มือจริยธรรมที่บอกให้เราพูดถึงแต่ความเลวของตนเองใน การสนทนา และบอกให้หลีกทางให้ผู้อื่นเมื่อนั่งโต๊ะอาหารและเมื่อเดิน สวนกัน โชคดีที่เรามีสิ่งที่ช่วยชีวิตเราไว้ เมื่อสติแสดงอำ�นาจเหนือความ


84

บทเทศน์ปี C

ศักดิ์สิทธิ์สัปดาห์ละครั้งเมื่อเราเชียร์ในสนามกีฬา ที่ซึ่งการแสดงออก อย่างสุจริตใจ และความต้องการชัยชนะผุดขึ้นมาให้เห็นได้อีกครั้งหนึ่ง คนจองหองที่ สุ ด บางคนที่ ข้ า พเจ้ า รู้ จั ก จะจองที่ นั่ ง บนโต๊ ะ ที่ ต่ำ�ต้อยที่สุด และอย่าได้มีใครพยายามให้เขาเปลี่ยนที่นั่งเป็นอันขาด ความถ่อมตนไม่ได้หมายความว่าท่านคิดว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น และไม่ ได้หมายความว่าท่านต้องประเมินความสามารถของตนต่ำ�เกินไป ไม่มี สิ่งใดน่ารำ�คาญมากไปกว่าความถ่อมตนจอมปลอม แต่ควรระวังความ หมกมุ่นกับตนเองที่ซ่อนอยู่อย่างแยบยล และดื้อรั้น ภายใต้แผนที่ยอม ให้ผู้อื่นชนะ บ่อยครั้งทีเดียวที่คนทั้งหลายที่ยืนยันเสมอว่าตนเองไม่มี คุณค่า จะโกรธมากถ้าคนอื่นพูดถึงเขาเช่นนั้น ความถ่อมตนคือการยอมรับความจริง คนถ่อมตนแท้ย่อมมอง เห็น และยอมรับความสามารถและข้อดีของตนเอง แต่เขาไม่หยิ่งผยอง เพราะความถ่อมตนจะเห็นว่าพรสวรรค์เหล่านี้มาจากพระเจ้า “ท่านมี อะไรบ้างที่ไม่ได้รับ ถ้าท่านไม่ได้รับแล้ว ท่านจะโอ้อวดประหนึ่งว่าไม่ได้ รับทำ�ไม” (1 คร 4-7) แทนที่จะซ่อนความสามารถพิเศษ ความถ่อมตน จะพึงพอใจที่จะพัฒนาความสามารถที่ได้รับมานี้ และใช้มันเพื่อเฉลิม ฉลองพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า ความถ่อมตนไม่กลัวความล้มเหลวจนไม่กล้าทำ�อะไร เพราะ คนถ่อมตนไม่กังวลเกินไปเกี่ยวกับความสำ�เร็จส่วนตัว พระเจ้าไม่ทรง เรียกร้องให้เราประสบความสำ�เร็จ เพียงแต่ให้เราพยายามจนสุดความ สามารถของเรา ความถ่อมตนยับยั้งตนเองไม่ให้ตัดสินผู้อื่นให้เสื่อมเสีย เพราะถือว่าตนเองเป็นคนดีกว่า “ฉันเองก็คงเป็นเหมือนเขา ถ้าไม่ได้ พระหรรษทานของพระเจ้าช่วยไว้” ประกาศกมีคาห์สอนให้เรากระทำ�การอย่างยุติธรรม รักอย่าง อ่อนโยน และเดินทางร่วมกับพระเจ้าอย่างถ่อมตน “ทุกคนที่ยกตนขึ้น จะถูกกดให้ต่ำ�ลง แต่ทุกคนที่ถ่อมตนลงจะได้รับการยกย่องให้สูงขึ้น”


บทเทศน์ปี C

85

บทรำ�พึงที่ 2 วันสับบาโตวันหนึ่ง พระเยซูเจ้าเสด็จไปเสวยพระกระยาหารที่บ้าน ของหัวหน้าชาวฟาริสี ผู้หนึ่ง... ลูกา ผู้เป็นศิษย์ของเปาโลซึ่งเคยเป็นฟาริสีคนหนึ่ง เขาละลาย ภาพลักษณ์ของพระเยซูเจ้าที่ผู้อื่นมักมองว่าทรงต่อต้านชาวฟาริสี พระ เยซูเจ้าไม่ทรง “ต่อต้าน” ใคร พระองค์ทรงมีเสรีภาพที่จะคบหามนุษย์ ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนเก็บภาษี คนบาป (ลก 7:34) รวมทั้งชาวฟาริสี (ลก 7:36, 11:37, 14:1) ในข้อความนี้ เราเห็นว่าพระองค์ทรงได้รับ เชิญจากหัวหน้าคนหนึ่งของชาวฟาริสี หนึ่งในบุคคลสำ�คัญซึ่งมีบทบาท เป็นผู้นำ�ในกลุ่ม “ผู้ชอบธรรม” – กลุ่มคนที่ต่อต้านพระเยซูเจ้าแทบ เสมอไป ลูกาบอกว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันสับบาโต การกินอาหารใน วันนั้นมีความสำ�คัญเป็นพิเศษ เขากินอาหารมื้อเที่ยงทันทีหลังจากเสร็จ จากการอธิษฐานภาวนาที่ศาลาธรรม ซึ่งเป็นการภาวนาร่วมกันที่ค่อน ข้างยาว อาหารมื้อนี้จึงหรูหรา และรสอร่อยกว่าอาหารมื้ออื่นที่กินกัน ในวันทำ�งาน เนื่องจากชาวยิวมีกฎที่เข้มงวดให้พักผ่อนในวันสับบาโต อาหารทุกจานจึงต้องเตรียมไว้ตั้งแต่วันศุกร์ ซึ่งเป็น “วันเตรียม” (มก 15:42) เพื่อให้ทุกคนไม่ต้องกังวลเรื่องวัตถุ  และเจ้าภาพสามารถใช้ เวลาทั้งหมดต้อนรับญาติมิตร สนทนาและกระชับความสัมพันธ์กับพวก เขา ชาวยิวมักเชิญแขกไปกินอาหารในวันสับบาโต การสนทนาบนโต๊ะ อาหารเป็นโอกาสให้หาความเพลิดเพลิน แต่ก็เป็นโอกาสให้ไตร่ตรอง ด้วย...


86

บทเทศน์ปี C

วั น อาทิ ต ย์ ข องเราได้ สู ญ เสี ย คุ ณ สมบั ติ บ างอย่ า งไปแล้ ว หรื อ เปล่า... พระเยซูเจ้าทรงสังเกตเห็นผู้รับเชิญต่างเลือกที่นั่งที่มีเกียรติ จึงตรัส เป็นอุปมากับเขาว่า “เมื่อมีใครเชิญท่านไปในงานมงคลสมรส อย่า ไปนั่งในที่ที่มีเกียรติ เพราะถ้ามีคนสำ�คัญกว่าท่านได้รับเชิญมาด้วย เจ้าภาพที่เชิญท่าน และเชิญเขา จะมาบอกท่านว่า “จงให้ที่นั่งแก่ผู้นี้ เถิด” แล้วท่านจะต้องอับอาย ไปนั่งที่สุดท้าย” พระเยซู เ จ้ า ทรงสั ง เกต พระองค์ ท รงเห็ น คนทั้ ง หลายใช้ เล่ห์เหลี่ยมวางแผนให้ตนเองได้นั่งในที่ที่มีเกียรติมากกว่า ในปัจจุบัน คนทั่วไปพยายามเรียกร้องความสนใจด้วยวิธีการต่างๆ และไม่ใช่เฉพาะ บนโต๊ะอาหารเท่านั้น เราเห็นคนในทุกสังคมที่แย่งกันเป็นที่หนึ่ง ... ขอ ให้สังเกตว่าคนเราแต่งกายอย่างไร หรือเลือกยี่ห้อรถยนต์อย่างไร สังเกต วิธีที่เขาเลือกหัวข้อ และรูปแบบของการสนทนา – มีวิธีการมากมายที่จะ โอ้อวดตนเอง... แต่พระเยซูเจ้าไม่ได้เล่าเรื่องอุปมานี้  เพียงเพื่อแนะนำ�ให้เรา เคารพธรรมเนียม และฐานันดรทางสังคมบางอย่าง... เช่นเคย พระองค์ตรัสกับเราเรื่องพระเจ้า กล่าวคือ อะไรเป็น เงื่อนไขที่จำ�เป็นเพื่อให้เราได้รับการต้อนรับเข้าสู่พระอาณาจักรของ พระเจ้า... แต่เมื่อท่านได้รับเชิญ จงไปนั่งในที่สุดท้ายเถิด เพื่อเจ้าภาพที่เชิญ ท่านจะมาบอกท่านว่า ‘เพื่อนเอ๋ย จงไปนั่งในที่ที่ดีกว่านี้เถิด’ แล้ว ท่านจะได้รับเกียรติต่อหน้าผู้ร่วมโต๊ะทั้งหลาย ถูกแล้ว การได้รับอนุญาตให้เข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า มีเงื่อนไขว่าเราต้องยอมรับ และยินดีด้วยความถ่อมตน และยอมรับ


บทเทศน์ปี C

87

ตำ�แหน่งต่ำ�สุด โดยให้ผู้อื่นรับตำ�แหน่งสูงกว่า เป็นหน้าที่ของ “เจ้า ภาพ” ที่จะเป็นฝ่ายเชิญเราให้ “ไปนั่งในที่ที่ดีกว่านี้เถิด” ... คนที่คิดว่า ตนเองเป็น “คนสุดท้าย” ย่อมมีความพร้อมมากกว่าคนจองหอง ที่จะ ยอมรับของขวัญได้เปล่าที่เขาคิดว่าตนเองไม่สมควรได้รับ บาปของเรา ทำ�ให้เราสำ�นึกในความต่ำ�ต้อยของเรา คนบาปกลับบ้าน “อย่างผู้ชอบ ธรรม” ในขณะที่บุคคลที่คิดว่าตนเองเป็นผู้ชอบธรรมยังเดินกรีดกราย เบื้องหน้าพระเจ้า และพ่นคำ�พูดเกี่ยวกับ “กิจการดี” ของตน “พระเจ้า ข้า เห็นไหมว่าข้าพเจ้าไม่จำ�เป็นต้องพึ่งพระองค์ ข้าพเจ้าไม่ใช่คนบาป ข้าพเจ้าไม่ใช่ขโมย หรือโจรผู้ร้าย หรือเป็นคนล่วงประเวณี  ข้าพเจ้า ทำ�ความดีมากมาย ข้าพเจ้าจำ�ศีลอดอาหาร และข้าพเจ้าให้ทาน” (ลก 18:9-14)... บาปไม่ใช่อุปสรรคยิ่งใหญ่ที่สุดของความรอดพ้น แต่เป็นความ รู้สึกว่า “ตนเองดีกว่าผู้อื่น” “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า คน เก็บภาษีและหญิงโสเภณีจะเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้าก่อนท่าน” (มธ 21:31) นักบุญเปาโลใช้การเผยแสดงข้อนี้ของพระเยซูเจ้าเพื่อ สั่งสอนว่า ไม่มีใครสามารถอ้างได้ว่าตนเองมีสิทธิได้รับความรอดพ้น นิรันดร เพราะเป็นรางวัลที่เขาสมควรได้รับจากการปฏิบัติตามธรรม บัญญัติ (รม 3:21-31, กท 2:16-21) “จงไปนั่งในที่สุดท้าย” วันนี้พระเยซูเจ้าทรงแนะนำ�เราเช่นนี้ เรา ต้องยอมรับว่าเรา “อ่อนแอ” “ต่ำ�ต้อย” และเป็น “คนสุดท้าย” เบื้อง หน้าพระเจ้า ถ้าเราต้องการพึ่งพาพระองค์โดยสิ้นเชิง และไม่พึ่งพา ตนเอง (ลก 17:10, 18:10-14) เราต้อง “ทำ�ตัวเหมือนเด็กเล็กๆ” เพื่อ จะมีที่พำ�นักในพระอาณาจักรของพระเจ้า (ลก 9:48)... จงไปนั่งในที่สุดท้าย และพระอาจารย์จะทรงเชิญท่านไปนั่งในที่ ที่ดีกว่า!


88

บทเทศน์ปี C

ทุกคนที่ยกตนขึ้นจะถูกกดให้ต่ำ�ลง การยกย่องให้สูงขึ้น”

แต่ทุกคนที่ถ่อมตนลงจะได้รับ

ความจองหองเป็นบาปร้ายแรงที่สุดในสายพระเนตรของพระเจ้า ใครก็ตามที่เชื่อมั่นเต็มที่ว่าเขาสมควรเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า จะไม่สามารถเข้าไปได้ ประสบการณ์ในประวัติศาสตร์ของชาติอิสราเอล แสดงให้เห็นการพลิกกลับคุณค่า และแนวทางปฏิบัติของโลกนี้ เพราะ พระเจ้าทรงเลือกชาวอิสราเอลที่เป็นชาติเล็กที่สุด และอ่อนแอที่สุดใน บรรดาชนชาติทั้งหลายในโลก “พระยาเวห์ พระเจ้าของท่าน ประทาน แผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์นี้ให้ท่านครอบครอง มิใช่เป็นการตอบแทนคุณ งามความดีของท่าน และท่านยังเป็นประชากรที่ดื้อรั้นอีกด้วย” (ฉธบ 9:5-6, 4:37-38; อสค 21:31; สดด 147:6) การถ่ อ มตนลงเป็ น ทั ศ นคติ ที่ โ ลกสมั ย ใหม่ ไ ม่ ย อมรั บ  และ บรรยายทัศนคตินี้ด้วยถ้อยคำ�ที่เหยียดหยาม เช่น เป็นการยอมแพ้ ... ล้มเลิก ... คลาน ... หลีกทาง ... ยอมจำ�นน เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม มนุษย์ยุคนี้นิยมคำ�พูดที่ยกตนให้สูงขึ้น เช่น การพัฒนา ... ผลิบาน ... ส่งเสริม เป็นต้น... ถึงกระนั้น การถ่อมตนจะต้องมีคุณค่ายิ่งใหญ่มาก เพราะพระ เยซูเจ้าทรงกระตุ้นเตือนให้เรารับเอาทัศนคตินี้มาเป็นของตน พระองค์ เองทรงกระทำ�เช่นนี้ในชีวิตของพระองค์ นี่คือทัศนคติของพระเจ้าผู้ทรง ประทับอยู่ท่ามกลางเรา ชาลส์ เดอ ฟูโกลด์ กล่าวว่า “พระองค์ประทับ ในที่สุดท้ายอย่างที่ไม่มีใครสามารถแย่งไปจากพระองค์ได้” นี่คือความ หมายแท้ของการเสด็จมารับธรรมชาติมนุษย์  “แม้ว่าพระองค์ทรงมี ธรรมชาติพระเจ้า  พระองค์ก็มิได้ทรงถือว่าศักดิ์ศรีเสมอพระเจ้านั้น เป็นสมบัติที่จะต้องหวงแหน แต่ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น ทรงรับ สภาพดุจทาส เป็นมนุษย์ดุจเรา ทรงแสดงพระองค์ในธรรมชาติมนุษย์


บทเทศน์ปี C

89

ทรงถ่อมพระองค์จนถึงกับยอมรับแม้แต่ความตาย เป็นความตายบน ไม้กางเขน” (ฟป 2:6-8) พระเยซูเจ้า “ทรงรับตำ�แหน่งสุดท้ายเมื่อ ทรงถูกตรึงกางเขน แต่นั่นไม่ทำ�ให้พระองค์ต่ำ�ทราม หรือด้อยศักดิ์ศรี แต่ อ ย่ า งใด” ตรงกั น ข้ า ม ด้ ว ยการยอมถ่ อ มพระองค์   พระองค์ ท รง แสดงความยิ่งใหญ่สูงสุดของพระองค์ออกมาอย่างเต็มที่ พระองค์ทรง เป็นความรักอันสมบูรณ์ ทรงเป็นบุคคลที่อยู่เพื่อผู้อื่น เป็นบุคคลที่อยู่ เพื่อพระบิดา เมื่อมองในแง่นี้ การกลับคืนชีพอย่างรุ่งเรืองจึงไม่ใช่สิ่งที่ ตรงกันข้ามกับกางเขน การพลีพระองค์เป็นเครื่องบูชานั้นเป็นพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์แล้ว ผู้ที่ถ่อมตนลงจะได้รับการยกย่องให้สูงขึ้น... ถูกแล้ว พระเยซูเจ้าไม่ได้กำ�ลังตรัสเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหาร เราได้รับเชิญให้ไขว่คว้าพระอาณาจักรของพระเจ้ามาให้ได้ด้วยการ เลียนแบบพระเจ้า ผูท้ รงสุขมุ ถ่อมพระองค์ และซ่อนเร้นพระองค์ ... ผูท้ รง ทำ�ให้พระองค์เองเป็นคนสุดท้าย และเป็นผู้รับใช้ทุกคน โดยไม่ได้ทรง สละตำ�แหน่งพระเจ้าของพระองค์เอง นี่คือความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ในทางกลับกัน ความรู้สึกว่าเรา “จำ�เป็น” ต้องอ้างสิทธิของเราแม้ว่า อาจทำ�ให้ผู้อื่นเดือดร้อน ต้องใช้กำ�ลัง หรือการล่อลวงเพื่อครอบงำ�ผู้อื่น  ต้องเบียดเสียดเพื่อไปอยู่ในแถวหน้าสุด – ทั้งหมดนี้เป็นสัญชาตญาณ ของสั ต ว์ ที่ ต้ อ งการเป็ น ผู้ แ ข็ ง แรงกว่ า  และเผยให้ เ ห็ น ความอ่ อ นแอ ที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา “บาปกำ�เนิด ” ของเราคือต้องการเป็น “เหมือน พระเจ้ า ” - เหมื อ นกั บ พระเจ้ า เท็ จ เที ย มนี้   ที่ เ รายกให้ เ ป็ น ต้ น แบบ ของสัญชาตญาณของเราที่ต้องการปกครองผู้อื่น... ระหว่างอาหารค่ำ�มื้อสุดท้าย แขกรับเชิญของพระเยซูเจ้ายังไม่ เข้าใจทัศนคตินี้ “บรรดาศิษย์ยังโต้เถียงกันว่า ในกลุ่มของตน ผู้ใดควร ได้รับการยกย่องว่ายิ่งใหญ่ที่สุด พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขาว่า  ‘กษัตริย์ ของคนต่างชาติย่อมเป็นเจ้านายเหนือผู้อื่น ... แต่ท่านทั้งหลายจงอย่า เป็นเช่นนั้น ท่านที่เป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดจงทำ�ตนเป็นผู้น้อยที่สุด ผู้ที่เป็น


90

บทเทศน์ปี C

ผู้นำ� จงเป็นผู้รับใช้ ... เราอยู่ในหมู่ท่านเหมือนเป็นผู้รับใช้จริง ๆ’ ” (ลก 22:24-27) พระองค์ตรัสกับผู้ที่เชิญพระองค์ว่า “เมื่อท่านจัดเลี้ยงอาหารกลาง วัน หรืออาหารค่ำ� อย่าเชิญมิตรสหาย พี่น้อง หรือเพื่อนบ้านที่มั่งมี เพราะเขาจะเชิญท่าน และท่านจะได้รับการตอบแทน” นี่เป็นอุปมาเรื่องที่สองในหัวข้อเดียวกัน คือเรื่องโต๊ะอาหาร แต่ เรื่องนี้เชิญชวนเราไม่ให้คิดถึงแต่ผลประโยชน์  ท่านต้องให้  และรับใช้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน “ถ้าท่านรักเฉพาะผู้ที่รักท่าน ท่านจะเป็นที่พอ พระทัยของพระเจ้าได้อย่างไร ... แต่ท่านจงรักศัตรู จงทำ�ดีต่อเขา จงให้ ยืมโดยไม่หวังอะไรกลับคืน” (ลก 6:32-35)... แต่เมื่อท่านจัดงานเลี้ยง จงเชิญคนยากจน คนพิการ คนง่อย คน ตาบอด แล้วท่านจะเป็นสุข เพราะคนเหล่านั้นไม่มีสิ่งใดตอบแทน ท่านได้ นี่ เ ป็ น ข้ อ คำ � สอนอี ก ข้ อ หนึ่ ง ที่ ส วนกระแสความคิ ด ของโลก ถ้อยคำ�เหล่านี้เป็นการปฏิวัติความคิดอย่างแท้จริง เพราะเราต้องระลึก ว่าคนประเภทต่างๆ ที่พระเยซูเจ้าทรงเอ่ยถึงนี้ ถือว่าเป็นบุคคลที่สังคม รังเกียจ มีข้อห้ามโบราณไม่ให้บุคคลทุพพลภาพเข้าร่วมในพิธีกรรม ในพระวิหาร (2 ซมอ 5:8; ลนต 21:18) ในยุคของพระเยซูเจ้า “กฎ คุมราน” กำ�หนดว่า “ห้ามบุคคลที่มีมลทินเข้ามาในที่ชุมนุมของพระเจ้า ทุกคนที่มีข้อบกพร่องทางกายที่มองเห็นได้ - ตาบอด พิการที่มือ หรือ เท้า เป็นง่อย หูหนวก หรือเป็นใบ้ - ไม่อาจเข้ามานั่งร่วมกับบุคคลที่ มีชื่อเสียง” ... แต่พระเยซูเจ้าทรงบอกเราว่าคนที่ถูกเหยียดหยาม และ พิการเหล่านั้นคือกลุ่มคนที่จะได้รับพระพรจากพระเจ้า และจะได้รับ เชิญให้มาร่วมโต๊ะอาหารของพระองค์ (ลก 14:21)


บทเทศน์ปี C

91

ไม่ว่าท่านกำ�ลังป่วย กำ�ลังทนทุกข์ทรมาน ฐานะยากจน ถูกดูถูก ดูแคลน ... ท่านเป็นที่รักของพระเจ้า! คนบาป คนที่ละอายใจ คนน่าเวทนา คนชั่วช้า ... ท่านเป็นที่รัก ของพระเจ้า! หัวใจของพระเจ้าของเรายิ่งใหญ่กว่าหัวใจของเราจริงๆ... แม้แต่ความอ่อนแอของพระคริสตเจ้าก็ยังเข้มแข็งกว่าความเข้ม แข็งของเรา... สิ่งที่มนุษย์ถือว่าเป็นเรื่องไร้สาระกลับกลายเป็นปรีชาญาณของ พระอาณาจักร ... ผู้ที่ถ่อมตนย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้ครอบครอง แผ่นดิน... ท่านจะเป็นสุข เพราะคนเหล่านั้นไม่มีสิ่งใดตอบแทนท่านได้ ท่านจะ ได้รับการตอบแทนจากพระเจ้า เมื่อผู้ชอบธรรมกลับคืนชีพ การเอ่ยถึงการกลับคืนชีพในวันสุดท้ายแสดงว่า “การสนทนาบน โต๊ะอาหาร” ของพระเยซูเจ้าครั้งนี้ไม่ใช่คำ�แนะนำ�ทั่วไปเกี่ยวกับ “การ เชิญแขก” แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรปฏิบัติตามคำ�แนะนำ�นี้อย่าง เป็นรูปธรรม ... อันที่จริง พระวาจาของพระเยซูเจ้ามีจุดมุ่งหมายที่การ เลี้ยงอาหารสามประเภท: - ประเภทแรกคือการเลี้ยงอาหารของมนุษย์ ... เราปฏิบัติอย่าง ที่พระเยซูเจ้าทรงบอกเราหรือเปล่า - ประเภทที่สองคือการเลี้ยงอาหารในพิธีกรรมศีลมหาสนิท ... เป็นพิธีกรรมที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมารับได้อย่างเท่าเทียมกัน - ประเภทที่สามคืองานเลี้ยงเมื่อถึงอวสานกาล ... พระเจ้าทรง เห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าว่าคนบาปจะได้รับรางวัล เมื่อเขาทำ�ตามเงื่อนไข ที่มีอยู่เพียงข้อเดียว คือ เขาเองต้องเริ่มต้นรักผู้อื่นเหมือนกับที่พระเจ้า ทรงรัก โดยไม่คาดหมายสิ่งตอบแทน...


92

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่ยี่สิบสาม เทศกาลธรรมดา ลูกา 14:25-33 ประชาชนจำ�นวนมากกำ�ลังเดินไปกับพระเยซูเจ้า พระองค์ ทรงหันพระพักตร์มาตรัสกับเขาทั้งหลายว่า “ถ้าผู้ใดติดตามเราโดย ไม่รักเรามากกว่าบิดามารดา ภรรยา บุตร พี่น้องชายหญิง และ แม้กระทั่งชีวิตของตนเอง ผู้นั้นเป็นศิษย์ของเราไม่ได้ ผู้ใดไม่แบก กางเขนของตนและติ ด ตามเรา ผู้ นั้ น เป็ น ศิ ษ ย์ ข องเราไม่ ไ ด้ เ ช่ น เดียวกัน” “ท่านที่ต้องการสร้างหอคอย จะไม่คำ�นวณค่าใช้จ่ายก่อน หรือว่ามีเงินพอสร้างให้เสร็จหรือไม่  มิฉะนั้นเมื่อวางรากฐานไป แล้ว แต่สร้างไม่เสร็จ ทุกคนที่เห็นจะหัวเราะเยาะเขา พูดว่า ‘คน นี้เริ่มก่อสร้าง แต่ทำ�ให้สำ�เร็จไม่ได้’ หรือกษัตริย์ที่ทรงยกทัพไปทำ� สงครามกับกษัตริย์อีกองค์หนึ่ง จะไม่ทรงคำ�นวณก่อนหรือว่า ถ้า ใช้กำ�ลังพลหนึ่งหมื่นคน จะเผชิญกับศัตรูที่มีกำ�ลังพลสองหมื่นคน ได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งยังอยู่ห่างไกล พระองค์จะได้ ทรงส่งทูตไปเจรจาขอสันติภาพ ดังนั้นทุกท่านที่ไม่ยอมสละทุกสิ่งที่ ตนมีอยู่ก็เป็นศิษย์ของเราไม่ได้”


บทเทศน์ปี C

93

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง การตอบสนองแบบไม่เต็มใจย่อมไม่เพียงพอ ลูกาเสนอภาพว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้มีความเมตตา ทรงเข้าใจ ความรู้สึกของผู้อื่น และอ่อนโยน แต่เมื่อพูดถึงทรัพย์สมบัติ ไม่ว่าเป็น สมบัติทางอารมณ์  หรือวัตถุ  พระองค์ทรงเข้มงวดมาก พระองค์ทรง ยืนยันให้เราเลือกพระคริสตเจ้าก่อนความผูกพันอื่นใด บางส่วนของพระวรสารประจำ�วันนี้อาจทำ�ให้เรามีปัญหาในการ ตีความ การไม่รักครอบครัวของเราเองหมายความว่าอะไร ศิษย์ของ พระเยซูเจ้าต้องสละเงินทองจนเหรียญสุดท้ายหรือ เราต้องปฏิบัติตาม คำ�ตักเตือนเหล่านี้ตามตัวอักษรเลยหรือ หรือว่าเราควรเข้าใจว่านี่คือ ศิลปะการเทศน์สอนที่เสนอทางเลือกง่ายๆ ให้แก่ผู้ฟัง โดยผู้เทศน์สอน ไม่ลังเลที่ใช้วิธีพูดเกินความจริง กฎข้อแรกในการตีความพระคัมภีร์ คือ ให้เปรียบเทียบข้อความ นั้นกับส่วนอื่นๆ ของพระคัมภีร์ มีหลายข้อความที่พระคัมภีร์สอนเราให้ รักผู้อื่น แม้แต่รักศัตรู  จนเราไม่อาจตีความข้อความนี้ว่าให้เราเกลียด ครอบครั ว ของเรา แต่ ห มายความว่ า เราต้ อ งเลื อ กกระแสเรี ย กของ พระคริสตเจ้าเป็นอันดับแรกก่อนความรักต่อครอบครัว หากว่าความรัก ต่อครอบครัวขัดขวางไม่ให้เราปฏิบัติตามหลักการของคริสตศาสนา สำ�หรับประเด็นที่ให้สละทุกสิ่งทุกอย่าง และสมัครใจถือความ ยากจน พระเยซูเจ้าทรงเรียกร้องเช่นนี้จากบุคคลหนึ่งคือเศรษฐีหนุ่ม แต่ เ ราก็ เ ห็ น ด้ ว ยว่ า พระเยซู เ จ้ า ทรงยอมรั บ ความเอื้ อ เฟื้ อ จากมิ ต ร สหาย และเจ้าของบ้านที่ร่ำ�รวยบางคน โดยที่ไม่ทรงเรียกร้องให้เขาขาย


94

บทเทศน์ปี C

ทรัพย์สินทั้งหมดที่เขามี พระองค์ถึงกับปกป้องการกระทำ�อันฟุ่มเฟือย ของมารีย์แห่งเบธานี เมื่อนางใช้น้ำ�มันหอมเจิมพระบาทของพระองค์ ประเด็นที่พระเยซูเจ้ากำ�ลังบอกเราก็คือ การติดตามพระองค์ อาจยากลำ�บากและต้องเสียสละ ศิษย์พระคริสต์ต้องยกให้พระประสงค์ ของพระเจ้าสำ�คัญเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด ศิษย์พระคริสต์ต้องพร้อมจะ สละทรัพย์สมบัติใดๆ ความผูกพันกับครอบครัว ความสัมพันธ์ส่วนตัว ความทะเยอทะยาน หรืออาชีพ ถ้าสิ่งเหล่านี้สวนทางกับวิถีทางของพระ คริสตเจ้า บทสดุดีบอกว่า “ข้าพเจ้าไม่รักคนที่ไม่ให้จนหมดหัวใจ ความรัก ของข้าพเจ้าอุทิศให้บทบัญญัติของพระองค์” คนจำ�นวนมากพากันมาหาพระเยซูเจ้า พวกเขามาเพราะอยากรู้ อยากเห็น มาขอความช่วยเหลือ มาเพราะต้องการใช้พระองค์เป็นเครื่อง มือทางการเมือง และด้วยเหตุผลอื่นๆ อีกมาก ถึงเวลาแล้วที่พระองค์ ต้องบอกเขาตามตรงว่า การติดตามพระองค์นั้นยากลำ�บาก และต้อง เสียสละ จะต้องไม่มีการสละแบบครึ่งๆ กลางๆ เหมือนหอคอยที่สร้าง ไม่เสร็จ หรือการทำ�สงครามด้วยกำ�ลังพลเพียงครึ่งกองทัพ เหมือนเรื่อง ตลกสมัยก่อนเกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่เปิดประตูข้ามทางรถไฟเพียงหนึ่ง บาน เพราะเขามีความคาดหวังเพียงครึ่งเดียวว่ารถไฟจะมา ข้ อ เรี ย กร้ อ งที่ ย าก ซึ่ ง เป็ น ด้ า นหนึ่ ง ของศาสนาคริ ส ต์ นี้   สวน กระแสวัฒนธรรมที่ผ่อนปรนของยุคปัจจุบันที่เรียกร้องให้มนุษย์ตอบ สนองความปรารถนา หรือความรู้สึกทุกอย่างของตน จิตวิทยาสมัยใหม่ สอนให้มนุษย์ถือว่าการตอบสนองความปรารถนาของตนเองเป็นสิ่ง สำ�คัญสูงสุด และสอนให้ระแวงว่าการปฏิเสธตนเองโดยสมัครใจเป็น อาการป่วยอย่างหนึ่ง มนุษย์สมัยใหม่ไม่ค่อยเข้าใจผู้ที่เลือกชีวิตฝ่ายจิต ก่อนเลือกชีวิตฝ่ายกาย เราไม่ยอมรับคำ�สั่งของผู้มีอำ�นาจหน้าที่เพราะ ถือว่าเป็นความพยายามรุกรานสิทธิส่วนตัวของเรา เพราะเหตุนี้ เราจึง


บทเทศน์ปี C

95

ละเลยกฎเกณฑ์ และหลักการกันง่ายๆ ในวันที่ข้าพเจ้ากำ�ลังเขียนบท รำ�พึงอยู่นี้  ข้าพเจ้าได้ยินข่าวทางวิทยุเกี่ยวกับพระสงฆ์คนหนึ่งที่เพิ่งจะ แต่งงาน และต้องการประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณให้สัตบุรุษ เสียงของ ประชาชนที่ผู้สื่อข่าวรายงานเสนอประโยคฉลาดๆ เช่น “เขาเป็นบุรุษผู้ ยิ่งใหญ่ เขาควรได้รับอนุญาตให้ทำ�อย่างที่เขาต้องการทำ�” ความคิดของคนยุคนี้มักคล้อยตามเสียงคนหมู่มาก เขาพยายาม บอกเราว่าจำ�นวนมากเป็นเครื่องหมายของความยิ่งใหญ่  เราตัดสินว่า ดนตรีดีหรือไม่จากความนิยม และบอกว่าหนังสือที่ติดอันดับหนังสือ ขายดีต้องเป็นวรรณกรรมชั้นยอด เราควรระลึกว่าพระวรสารบอกเล่า ถึงการตัดสินใจครั้งหนึ่งที่กระทำ�ตามจำ�นวนผู้ออกเสียง นั่นคือวันที่บา รับบาสได้รับการปล่อยตัว และพระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน กล่อง คะแนนเสียงในวันนี้มีอิทธิพลมากกว่าหลักศีลธรรมที่ปราศจากอคติ แต่ เรื่องของความจริง หรือหลักศีลธรรมนั้นสำ�คัญเกินกว่าจะตัดสินโดยการ สำ�รวจความคิดเห็น พระเยซู เ จ้ า ทรงเตื อ นผู้ ที่ ต้ อ งการติ ด ตามพระองค์ ว่ า  ก่ อ นที่ เขาจะเรียกตนเองว่าศิษย์พระคริสต์  เขาควรนั่งลง และคำ�นวณความ ยากลำ�บากในการปฏิบัติตามหลักการของคริสตศาสนา บางครั้ง ความ นบนอบ และความซื่อสัตย์ก็ทำ�ร้ายความรู้สึกส่วนตัว ความสัมพันธ์ หรือ อาชีพการงาน ศิษย์แท้ของพระคริสตเจ้าต้องเลือกพระประสงค์ของ พระเจ้า หรือหลักการของคริสตศาสนาก่อนเสมอ ในหนังสือวิวรณ์ มีข้อความที่ประณามคนที่พยายามเพียงครึ่งๆ กลางๆ ว่า “เรารู้จักกิจการของท่าน รู้ว่าท่านไม่เย็นไม่ร้อน ท่านจะเย็น หรือร้อนไปเลยก็จะดีกว่า แต่ท่านมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะท่านอุ่นๆ ไม่ เย็นไม่ร้อน เรากำ�ลังจะคายท่านออกจากปากของเรา” (วว 3:15-16)


96

บทเทศน์ปี C

ข้อรำ�พึงที่สอง การสละ “ฉันอยากติดตามพระเยซูเจ้า ฉันจะต้องสละอะไรมากไหม” ประชาชนจำ�นวนมากกำ�ลังเดินทางตามพระเยซูเจ้า พวกเขามา จากทุ่งนาและหมู่บ้าน มาหาพระองค์เพราะเหตุจูงใจต่างๆ กัน พวกเขา อยากเห็นด้วยตาตนเองบุคคลที่ผู้อื่นกล่าวขวัญถึง พวกเขาตื่นเต้นกับ เครื่ องหมายอั ศจรรย์  ความขัดแย้งที่เกิดขึ้ น อย่ า งรุ น แรงในเวลานั้ น ดึงดูดพวกเขามาหาพระองค์ บางคนมาแสวงหาปรีชาญาณและทางออก สำ�หรับปัญหา บางคนหวังว่าจะได้รับการรักษาโรค และบางคนมาพร้อม กับความฝันทางการเมือง แต่พระเยซูเจ้าผู้ทรงอ่านใจเขาได้ไม่ทรงหลง ไปกับขนาดของฝูงชน พระองค์ตรัสกับเขาอย่างตรงไปตรงมาว่าการเดิน ตามทางของพระองค์นั้นยากลำ�บากอย่างไร คนจำ�นวนมากในปัจจุบันแสดงความนิยมชมชอบในตัวพระเยซู เจ้าที่พระองค์ทรงมีความสงสาร และทรงพร้อมจะช่วยเหลือประชาชน ทรงความยุติธรรม และซื่อสัตย์สุจริต แต่หลายคนดูเหมือนไม่สังเกตว่า พระองค์ทรงมีความมุ่งมั่นโดยไม่ประนีประนอม และพระองค์ทรงเรียก ร้องการเสียสละจากคนที่เชื่อฟังพระองค์ แม้แต่สิ่งดีๆ ในชีวิตก็ต้องยอมสละถ้าสิ่งดีเหล่านั้นขัดขวางสิ่ง ที่ดียิ่งกว่า ชัยชนะในการสอบ ในการแข่งขันกีฬา และความสำ�เร็จ ทุก อย่างได้มาด้วยการเสียสละบางสิ่งบางอย่าง เราต้องสมัครใจตัดความ สัมพันธ์อันมีค่ากับคนในครอบครัว ถ้าความสัมพันธ์เหล่านี้ขัดขวาง การเดินทางแสวงบุญของเรา ชีวิตของนักบุญฟรังซิส แห่งอัสซิซี เป็น ตัวอย่างที่ชัดเจนว่าบิดาหรือมารดาสามารถเป็นอุปสรรคไม่ให้คนเรา ติ ด ตามกระแสเรี ย กของพระคริ ส ตเจ้ า ได้   บิ ด าของเขาบี บ บั ง คั บ จน ฟรังซิส ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากประกาศอิสรภาพจากสิทธิใดๆ ที่บิดา


บทเทศน์ปี C

97

สามารถอ้างสิทธิในตัวเขาได้ “ตราบจนเวลานี้ข้าพเจ้าเรียกปีเตอร์ เบอร์ นาโดเน ว่าบิดาของข้าพเจ้า แต่บัดนี้ ข้าพเจ้าสามารถเรียกได้เต็มปากว่า ‘ข้าแต่พระบิดาของเราในสวรรค์’ ” การเป็นศิษย์พระคริสต์นั้นยากเย็นจนพระศาสนจักรยุคต้นเริ่ม เรียกวิถีทางนี้ว่าเป็นการแบกกางเขนเพื่อติดตามพระเยซูเจ้า และเขารู้ ดีว่ากางเขนหมายถึงอะไร เขาต้องมีความกล้าหาญ และความมุ่งมั่นซึ่ง เกิดจากความวางใจอย่างตาบอดในพระเจ้า เราไม่สามารถไว้ใจความเข้าใจ และความรู้สึกของเรา เพราะ ด้วยความอ่อนแอ เราจึงอาจหลงผิดได้ หนังสือปรีชาญาณบอกเรา (ใน บทอ่านที่หนึ่งประจำ�วันนี้) ว่า “การคิดด้วยเหตุผลของมนุษย์ที่รู้จักตาย หาความแน่นอนไม่ได้ และเจตนาของเราก็ไม่มั่นคง เพราะร่างกายที่รู้จัก เน่าเปื่อยนี้กดขี่วิญญาณ และกระโจมดินเหนียวนี้ถ่วงจิตใจที่สับสน” จิตใจเต็มไปด้วยความคิดหมกมุน่ มากมายจนเราต้องตัดใจ เพือ่ ให้จติ ใจ เรามีที่ว่างสำ�หรับพระเจ้า เราต้องตัดใจจากการครอบครองทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของ สมบัติทางอารมณ์ หรือแม้แต่สมบัติฝ่ายจิต ซึ่งจะลดความสามารถของ เราที่จะพูดว่า “พระเจ้าทรงเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของข้าพเจ้า ในพระองค์ เท่านั้นหัวใจของข้าพเจ้าจึงได้พักผ่อน” บางคนที่ เ ดิ น ไปกั บ พระเยซู เ จ้ า ตลอดเส้ น ทางได้ บั น ทึ ก ประสบการณ์ของเขาไว้อย่างลึกซึ้ง เขาสรุปว่าทางนี้เป็นทางที่ต้องสละ... “ไม่น้อยกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง” (ที.เอส.เอเลียต: Little Gidding)


98

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 2 ประชาชนจำ�นวนมากกำ�ลังเดินไปกับพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงหัน พระพักตร์มาตรัสกับเขาทั้งหลายว่า เรายังอยู่ระหว่างการเดินทางขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ลูกานำ�ราย ละเอียดจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มารวมไว้ภายใต้หัวข้อเดียวกัน ข้ อ ความตอนนี้ ไ ม่ ใ ช่ ร ายงานข่ า วเหมื อ นกั บ ที่ เ ราอ่ า นจาก หนังสือพิมพ์  แต่เป็นประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของพระเยซูคริสตเจ้า สำ�หรับคนทุกยุคสมัย ประชาชนจำ�นวนมากที่เดินตามพระเยซูเจ้าในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงชาวปาเลสไตน์สองสามร้อยคนในยุคนั้นเท่านั้น แต่หมาย ถึงชายหญิงจำ�นวนมหาศาลผู้เริ่มต้นการเดินทางของตนเองไปพร้อม กับพระเยซูเจ้าตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา ดังนั้น พระเยซูเจ้าทรงหัน พระพักตร์มาตรัสกับเราในวันนี้ และทรงถามเราสองสามข้อ ... “ท่าน ประกาศตัวเป็นศิษย์ของเรา แต่ท่านรู้จริงหรือว่าการเป็นศิษย์ของเรา หมายถึงอะไร ... ท่านรู้หรือไม่ว่าการติดตามเราจะนำ�ท่านไปที่ใด”... “ถ้าผู้ใดติดตามเราโดยไม่รักเรามากกว่าบิดามารดา บุตร พี่น้องชาย หญิง และแม้กระทั่งชีวิตของตนเอง ผู้นั้นเป็นศิษย์ของเราไม่ได้” ข้ อ เรี ย กร้ อ งแรกของพระเยซู เ จ้ า น่ า ตกใจ และเป็ น ข้ อ พิ สู จ น์ อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเรายังต้องการข้อพิสูจน์ ว่าเยซูชาวนาซาเร็ธผู้นี้ รู้ตัวดี ว่าตนเองเป็นบุคคลพิเศษที่ไม่เหมือนใคร ... คำ�ที่ใช้ในภาษาฮีบรูคือ “เกลียด” ซึ่งแปลว่า “รักน้อยกว่า” แต่พระเยซูเจ้าเป็นใครกัน (ถ้า พระองค์ไม่ใช่คนเสียสติ) จึงกล้าขอให้มนุษย์ทุกคนตัดใจจากความรัก ต่างๆ และหันมารักพระองค์ผู้เดียว ... เพลงภาษาฝรั่งเศสบทหนึ่งกล่าว


บทเทศน์ปี C

99

ว่า... ใครบ้างเข้าใจภาษาของดวงดาว ใครบ้างคาดเดาเสียงดนตรีของวิญญาณ ใครจะมีหัวใจที่หลุดพ้นมากพอ จนอยากเลือกพระอาจารย์มากกว่าผู้อื่น และย่ำ�เท้าตามหลัง พระองค์ ผู้ทรงเป็นพระวาจาแห่งชีวิต... หัวใจที่ละเอียดอ่อนอย่างยิ่งเท่านั้นสามารถเข้าใจพระเยซูเจ้า... พระเยซูเจ้าทรงเป็นประกาศกผู้เทศน์สอนให้รัก และมิใช่ให้ เกลียดอย่างแน่นอน พระวาจาของพระองค์ไม่ได้หมายความว่าเราต้อง ตัดความสัมพันธ์กับครอบครัวของเรา พระองค์ไม่ได้เสนอเหตุผลให้ เราเห็นแก่ตัว ตรงกันข้าม พระองค์ทรงเรียกเราให้ตัดใจจากตนเอง ประเด็นสำ�คัญคือเราเลือกพระเยซูเจ้าแทนที่จะเลือกชีวิตของเราหรือ เปล่า ... ดังนั้น พระองค์จึงไม่ได้เชิญชวนเราให้ตัดความสัมพันธ์อัน ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของมนุษย์อย่างเห็นแก่ตัว (ความรักของบุตรต่อบิดา มารดา ความรักระหว่างสามีภรรยา และความรักต่อพี่น้อง) แต่ทรงเชิญ ชวนเราแต่ละคนให้ยินยอมให้ความรักอันสมบูรณ์ของพระเจ้าแทรกเข้า มาในความรักฉันมนุษย์เหล่านี้ และทำ�ให้ความรักเหล่านี้มีชีวิต แต่ก็ยัง มีความจำ�เป็นต้อง “ละทิ้งบ้านเรือน ภรรยา พี่น้อง บิดามารดา หรือบุตร เพราะเห็นแก่พระอาณาจักรของพระเจ้า” (ลก 18:29) พระเยซูเจ้าเอง ทรงตัดใจจากครอบครัวของพระองค์ก่อนจะทรงเรียกร้องให้เราทำ�เช่น เดียวกัน เมื่อพระองค์ทรงอุทิศเวลาเดินทางเทศน์สอนข่าวดี (ลก 8:1921, 11:27-28) ผู้ใดไม่แบกกางเขนของตน และติดตามเรา ผู้นั้นเป็นศิษย์ของเราไม่ ได้เช่นเดียวกัน


100

บทเทศน์ปี C

คำ�ว่า “แบกกางเขน” และ “ติดตามเรา” จึงไม่ได้หมายถึงการ ละทิ้ง แต่หมายถึงความรัก... ผู้ใดพบพระเยซูเจ้าแล้ว ย่อมค้นพบคุณค่าที่ทำ�ให้เขามีความสุข ได้ในทุกสถานการณ์ ความเจ็บปวดทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตสามารถ กลายเป็ น ความสนิ ท สั ม พั น ธ์ ที่ เ กิ ด จากความรั ก  ทุ ก คนที่ กำ � ลั ง แบก กางเขน กำ�ลังเดินตามพระเยซูเจ้า ผู้ทรงแบกกางเขนมาก่อนใคร ... ขณะที่เราล้มลุกคลุกคลานภายใต้การทดลองต่างๆ ของเรา ขอเพียงให้ เราคิดว่าพระเยซูเจ้าประทับอยู่กับเราอย่างใกล้ชิด ทรงเดิน และล้มลุก คลุกคลานไปพร้อมกับเราตามทางแห่งกางเขน ไปสู่ความยินดีอันยิ่ง ใหญ่แห่งการกลับคืนชีพ! ... ซีโมนชาวไซรีน ผู้แบกกางเขน “ตามหลัง พระเยซูเจ้า” คือภาพลักษณ์ของศิษย์แท้ของพระองค์ นี่คือเคล็ดลับของ ความสุขที่ไม่มีสิ่งใดสามารถทำ�ลายได้... พระเจ้าข้า เป็นบุญของมนุษย์ผู้มองไกลกว่าสิ่งที่ตามองเห็นได้ เพื่อจะเห็นพระพักตร์ของพระองค์... ท่านที่ต้องการสร้างหอคอยจะไม่คำ�นวณค่าใช้จ่ายก่อนหรือว่ามีเงิน พอสร้างให้เสร็จหรือไม่ มิฉะนั้น เมื่อวางรากฐานไปแล้ว แต่สร้างไม่ สำ�เร็จ ทุกคนที่เห็นจะหัวเราะเยาะเขา พูดว่า “คนนี้เริ่มก่อสร้าง แต่ ทำ�ให้สำ�เร็จไม่ได้” อุปมาเรื่องหน้าที่ในการ “คำ�นวณค่าใช้จ่าย” นี้พบได้ในพระ วรสารของลูกาเท่านั้น และเน้นย้ำ�ความยากลำ�บากที่เราต้องสัญญาว่า จะยอมรั บเมื่ อเราตัดสิน ใจติดตามพระเยซู เ จ้ า  นี่ คื อการผจญภั ย อั น ยาวนานและน่าตื่นเต้น – และเราต้องไปจนถึงจุดหมายให้ได้ พระเยซูเจ้าไม่เคยพยายามโฆษณาพระองค์เองหรืออุดมการณ์ ของพระองค์   ด้ ว ยการกระตุ้ น ให้ ผู้ ติ ด ตามพระองค์ คิ ด ถึ ง แต่ ค วาม สำ�เร็จ แทนที่จะปิดบังอันตรายในการผจญภัยนี้  พระองค์กลับเน้นย้ำ�


บทเทศน์ปี C

101

ถึงอันตรายเหล่านี้ราวกับว่าทรงต้องการดับความกระตือรือร้นที่เกิดขึ้น เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ... เพราะการเลิกล้มกลางคันจะร้ายแรงกว่าการไม่ เคยเริ่มต้นเลย ข้อความนี้ควรกระตุ้นเตือนเราให้ไตร่ตรองอย่างจริงจังว่าการ ละทิ้งความเชื่อนั้นเป็นเรื่องใหญ่เพียงไร การหยุดติดตามพระเยซูเจ้า หลังจากได้เริ่มต้นติดตามพระองค์แล้ว เป็นความผิดที่หนักกว่าการไม่ เคยรู้จักพระองค์เลย ... การประกาศยืนยันความเชื่อของเราเป็นความ รับผิดชอบยิ่งใหญ่ ดังนั้น ก่อนจะตกปากรับคำ� เราควรนั่งลงและใช้เวลา ไตร่ตรอง หรือกษัตริย์ที่ทรงยกทัพไปทำ�สงครามกับกษัตริย์อีกองค์หนึ่ง จะไม่ ทรงคำ�นวณก่อนหรือว่าถ้าใช้กำ�ลังพลหนึ่งหมื่นคน จะเผชิญกับศัตรู ที่มีกำ�ลังพลสองหมื่นคนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งยังอยู่ ห่างไกล พระองค์จะได้ทรงส่งทูตไปเจรจาขอสันติภาพ อุปมาสองเรื่องคือ “การสร้างหอคอย” และ “การทำ�สงคราม” เป็ น ข้ อ ความที่ พ ระเยซู เ จ้ า ตรั ส ระหว่ า งการเดิ น ทางขึ้ น ไปยั ง กรุ ง เยรูซาเล็ม ซึ่งลูกานำ�มารวมกันโดยมีจุดประสงค์ในใจ คำ�บอกเล่าสอง เรื่องนี้มีความหมายเหมือนกัน วิธีบอกเล่า และการย้ำ�ซ้ำ�สองครั้งทำ�ให้ จดจำ�ได้ง่าย พระเยซูเจ้าทรงสอนบทเรียนหนึ่งซ้ำ�สองครั้ง ด้วยเกรงว่า เราจะลืมว่าชีวิตคริสตชนคือ “การสร้าง” และ “การต่อสู้” เป็นสอง กิจการที่มีความเสี่ยง และต้องไตร่ตรองและพากเพียร บางครั้ง ข้าพเจ้าปฏิบัติตามข้อเรียกร้องข้อนี้ของพระเยซูเจ้าได้ หรือไม่  ข้าพเจ้าสละเวลาไตร่ตรองชีวิตและคำ�มั่นสัญญาของข้าพเจ้า หรือเปล่า ... เรารู้ว่าจะจัดทำ�งบดุลอย่างไร จะคิดคำ�นวณ และวางแผน กิจการทางโลกของเราอย่างไร แต่เราเคยหยุดพักเป็นครั้งคราว ไม่ว่า ตามลำ�พังหรือร่วมกับผู้อื่น และพิเคราะห์แยกแยะว่าโครงการฝ่ายโลก


102

บทเทศน์ปี C

ของเราสอดคล้องกับจิตตารมณ์ของพระวรสารของพระคริสตเจ้าหรือไม่ ... นี่คือจุดมุ่งหมายของ “การทบทวนชีวิต” กล่าวคือ เพื่อให้มองเห็น วินิจฉัย ดำ�เนินการ และภาวนา ... หลังจากได้ศึกษาพระวรสารแล้ว ถ้าไม่เช่นนั้น เราจะดำ�รงชีวิตอย่างฉาบฉวย และทุกสิ่งทุกอย่างก็ ฉาบฉวยไปหมด สมาธิภาวนาเป็นเคล็ดลับที่ช่วยให้ชีวิตของเรามีความ ลุ่มลึก และประสิทธิผลอย่างแท้จริง... พระเจ้าข้า บุคคลที่พระจิตของพระองค์พำ�นักอยู่ในใจของเขา ย่อมยินดีที่ได้รู้เคล็ดลับของพระบิดา... ระหว่ า งเวลาไม่ ถึ ง สามปี ที่ พ ระเยซู เ จ้ า ทรงเทศนาสั่ ง สอน พระองค์ทรงทำ�งานมากกว่า “นักปฏิบัต”ิ ทุกคนในโลกนี้ วันหนึ่ง คุณแม่ยังสาวที่ต้องทำ�งานหนักคนหนึ่งบอกข้าพเจ้าว่า “ในวันที่ดิฉันมีงานต้องทำ�มากที่สุด ดิฉันรู้สึกมากยิ่งขึ้นว่าจำ�เป็นต้อง หยุด และนั่งลงสัก 10 นาที เพื่อทำ�สมาธิภาวนา – และดิฉันก็ได้เวลา เพิ่มขึ้น” ดังนั้น ทุกท่านที่ไม่ยอมสละทุกสิ่งที่ตนมีอยู่ก็เป็นศิษย์ของเราไม่ได้ ภายในข้อความไม่กี่บรรทัด พระเยซูเจ้าตรัสหัวข้อเดิมอีกเป็น ครั้งที่สาม “... เป็นศิษย์ของเราไม่ได้” สำ�หรับลูกา ประโยคนี้เป็นบทสรุปของอุปมาสองเรื่องนั้น เพราะ เหตุนี้  เราจึงต้อง “นั่งลง” เราไม่สามารถติดตามพระเยซูเจ้าด้วยการ เลือกทางออกที่ง่าย ถ้าท่านไม่พร้อมจะเดินทางไปจนถึงปลายทาง ก็ อย่าเริ่มต้นเลยจะดีกว่า เราต้องปฏิเสธความต้องการของตนเองในความ สัมพันธ์กับผู้อื่น เราต้องปฏิเสธความอยากต่างๆ ในชีวิตของเรา ... สมบัติของเรา – เพราะเห็นแก่ความรัก ... เพื่อเราจะเลือกวิถีทางของ พระเยซูเจ้ามากกว่าวิถีทางอื่นๆ...


บทเทศน์ปี C

103

คำ � เชิ ญ ชวนให้ ตั ด ใจแบบถึ ง แก่ น เช่ น นี้ ไ ม่ ใ ช่   “คำ � แนะนำ � ” ที่ พระองค์ประทานแก่คริสตชนชั้นหัวกะทิ หรือนักพรต หรือภคินี (อย่าง ที่เคยมีคนเข้าใจ) เพราะพระเยซูเจ้าตรัสว่านี่คือเงื่อนไขสำ�หรับคริสตชนแท้ ... เราต้องทำ�เช่นนี้เพื่อจะเป็นศิษย์พระคริสต์ “ท่านทั้งหลายจะ ปรนนิบัติรับใช้พระเจ้า และเงินทองพร้อมกันไม่ได้” (ลก 16:13) แทนที่จะคิดว่าพระเยซูเจ้าทรงเรียกร้องมากเกินไป เราควรสละ เวลาและไตร่ตรองว่าพระวาจานี้ช่วยปลดปล่อย และทำ�ให้เรามีความสุข และรู้สึกอิ่มอย่างไร “องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราแม้ทรงร่ำ�รวย พระองค์ก็ ยังทรงยอมกลายเป็นคนยากจน เพราะเห็นแก่ท่าน เพื่อท่านจะได้ร่ำ�รวย เพราะความยากจนของพระองค์” (2 คร 8:9) แต่เพื่อจะเข้าใจได้ หัวใจ ของเราต้องเต็มเปี่ยมด้วยพระเจ้าก่อน... เราจะพยายามสะสมทรัพย์สมบัติต่อไปหรือเปล่า หรือว่าเรา จะค้นหาและคิดค้นอีกวิธีหนึ่งที่จะดำ�รงชีพอย่างมีความสุข คืออยู่กับ มิตรภาพ การแบ่งปัน และความเรียบง่าย... ระหว่ า งทรงเดิ น ทางไปเยื อ นสถานที่ ต่ า งๆ ทั่ ว โลก ครั้ ง หนึ่ ง พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ตรัสแก่เยาวชนว่า “สังคมบริโภคนิยม ไม่สามารถนำ�ความสุขมาให้มนุษย์ได้” เยาวชนเห็นด้วยและปรบมือ... แต่ พ วกเขานำ � ข้ อ สรุ ป นี้ ไ ปปฏิ บั ติ อ ย่ า งไรเมื่ อ เขาเดิ น ซื้ อ ของ ในการ ดำ�เนินชีวิต ในการใช้เงินของเขา – เพื่อจะเป็นอิสระมากขึ้น และเพื่อจะ “ติดตามพระเยซูเจ้า” ... เพื่อจะเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้น ข้าแต่พระเยซูเจ้า พระองค์ทรงเป็นคนยากจน แต่ในพระองค์ เราพบพระสิริรุ่งโรจน์นิรันดรของพระเจ้า...


104

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่ยี่สิบสี่ เทศกาลธรรมดา ลูกา 15:1-32 บรรดาคนเก็บภาษีและคนบาปเข้ามาใกล้เพื่อฟังพระเยซูเจ้า ชาวฟาริสีและธรรมาจารย์ต่างบ่นว่า “คนนี้ต้อนรับคนบาปและกิน อาหารร่วมกับเขา” พระองค์จึงตรัสเรื่องอุปมานี้ให้เขาฟัง “ท่านใดที่มีแกะหนึ่งร้อยตัว ตัวหนึ่งพลัดหลง จะไม่ละแกะ เก้าสิบเก้าตัวไว้ในถิ่นทุรกันดาร ออกไปตามหาแกะที่พลัดหลงจน พบหรือ เมื่อพบแล้ว เขาจะยกมันใส่บ่าด้วยความยินดี กลับบ้าน เรียกมิตรสหายและเพื่อนบ้านมาพูดว่า ‘จงร่วมยินดีกับฉันเถิด ฉัน พบแกะตัวที่พลัดหลงนั้นแล้ว’ เราบอกท่านทั้งหลายว่าในสวรรค์จะ มีความยินดีเช่นนี้เพราะคนบาปคนหนึ่งกลับใจ มากกว่าความยินดี เพราะคนชอบธรรมเก้าสิบเก้าคนที่ไม่ต้องการกลับใจใหม่” “หญิงคนใดที่มีเงินสิบเหรียญแล้วทำ�หายไปหนึ่งเหรียญ จะ ไม่จุดตะเกียง กวาดบ้าน ค้นหาอย่างถี่ถ้วนจนกว่าจะพบหรือ เมื่อ พบแล้ว นางจะเรียกมิตรสหายและเพื่อนบ้านมา พูดว่า ‘จงร่วมยินดี กับฉันเถิด ฉันพบเงินเหรียญที่หายไปแล้ว’ เราบอกท่านทั้งหลายว่า ทูตสวรรค์ของพระเจ้าจะมีความยินดีเช่นเดียวกัน เมื่อคนบาปคน หนึ่งกลับใจ”


บทเทศน์ปี C

105

“พระองค์ยังตรัสอีกว่า ‘ชายผู้หนึ่งมีบุตรสองคน บุตรคนเล็ก พูดกับบิดาว่า ‘พ่อครับ โปรดให้ทรัพย์สมบัติส่วนที่เป็นมรดกแก่ลูก เถิด’ บิดาก็แบ่งทรัพย์สมบัติให้แก่ลูกทั้งสองคน ต่อมาไม่นาน บุตร คนเล็กรวบรวมทุกสิ่งที่มี แล้วเดินทางไปยังประเทศห่างไกล ที่นั่น เขาประพฤติเสเพล ผลาญเงินทองจนหมดสิ้น เมื่อเขาหมดตัว ก็เกิดกันดารอาหารอย่างหนักทั่วแถบนั้น และเขาเริ่มขัดสนจึงไปรับจ้างอยู่กับชาวเมืองคนหนึ่ง คนนั้นใช้เขา ไปเลี้ยงหมูในทุ่งนา เขาอยากกินฝักถั่วที่หมูกินเพื่อระงับความหิว แต่ไม่มีใครให้ เขาจึ ง รู้ สำ � นึ ก และคิ ด ว่ า  ‘คนรั บ ใช้ ข องพ่ อ ฉั น มี อ าหารกิ น อุ ด ม สมบูรณ์ ส่วนฉันอยู่ที่นี่ หิวจะตายอยู่แล้ว ฉันจะกลับไปหาพ่อ พูด กับพ่อว่า ‘พ่อครับ ลูกทำ�บาปผิดต่อสวรรค์และต่อพ่อ ลูกไม่สมควร ได้ชื่อว่าเป็นลูกของพ่ออีก โปรดนับว่าลูกเป็นผู้รับใช้คนหนึ่งของพ่อ เถิด’’ เขาก็กลับไปหาบิดา ขณะที่เขายังอยู่ไกล บิดามองเห็นเขา รู้สึกสงสาร จึงวิ่งไป สวมกอดและจูบเขา บุตรจึงพูดกับบิดาว่า ‘พ่อครับ ลูกทำ�บาปผิด ต่อสวรรค์และต่อพ่อ ลูกไม่สมควรได้ชื่อว่าเป็นลูกของพ่ออีก’ แต่ บิดาพูดกับผู้รับใช้ว่า ‘เร็วเข้า จงไปนำ�เสื้อสวยที่สุดมาสวมให้ลูกเรา นำ�แหวนมาสวมนิ้ว นำ�รองเท้ามาใส่ให้ จงนำ�ลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้วไป ฆ่า แล้วกินเลี้ยงฉลองกันเถิด เพราะลูกของเราผู้นี้ตายไปแล้ว กลับ มีชีวิตอีก หายไปแล้ว ได้พบกันอีก’ แล้วการฉลองก็เริ่มขึ้น ส่วนบุตรคนโตอยู่ในทุ่งนา เมื่อกลับมาใกล้บ้าน ได้ยินเสียง ดนตรีและการร้องรำ� จึงเรียกผู้รับใช้คนหนึ่งมาถามว่า ‘เกิดอะไร ขึ้น’ ผู้รับใช้บอกเขาว่า ‘น้องชายของท่านกลับมาแล้ว บิดาสั่งให้ ฆ่าลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้ว เพราะเขาได้ลูกกลับคืนมาอย่างปลอดภัย’ บุตรคนโตรู้สึกโกรธ ไม่ยอมเข้าไปในบ้าน บิดาจึงออกมาขอร้องให้


106

บทเทศน์ปี C

เข้าไป แต่เขาตอบบิดาว่า ‘ลูกรับใช้พ่อมานานหลายปีแล้ว ไม่เคย ฝ่าฝืนคำ�สั่งของพ่อเลย พ่อก็ไม่เคยให้ลูกแพะแม้แต่ตัวเดียวแก่ลูก เพื่อเลี้ยงฉลองกับเพื่อนๆ แต่พอลูกคนนี้ของพ่อกลับมา เขาคบหญิง เสเพล ผลาญทรัพย์สมบัติของพ่อจนหมด พ่อยังฆ่าลูกวัวที่ขุนอ้วน แล้วให้เขาด้วย’ บิดาพูดว่า ‘ลูกเอ๋ย ลูกอยู่กับพ่อเสมอมา ทุกสิ่งที่พ่อมีก็เป็น ของลูก แต่จำ�เป็นต้องเลี้ยงฉลองและชื่นชมยินดี เพราะน้องชายคน นี้ของลูกตายไปแล้ว กลับมีชีวิตอีก หายไปแล้ว ได้พบกันอีก’”


บทเทศน์ปี C

107

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง พระองค์ทรงต้อนรับคนบาป เมื่อสัปดาห์ก่อน เราระบุกฎข้อแรกของการศึกษาพระคัมภีร์ว่า ต้องอ่านข้อความหนึ่ง โดยเปรียบเทียบกับข้อความอื่นๆ ทั้งหมดของ พระคัมภีร์ ในสัปดาห์นี้ เราจะกล่าวถึงกฎข้อที่สอง คือ เพื่อจะเข้าใจ ข้อความใดอย่างถ่องแท้ เราต้องพิจารณาสถานการณ์ และสิ่งที่ผู้เขียน ต้องการสั่งสอนเป็นส่วนประกอบด้วย ชาวยิวเป็นประชากรเลือกสรร ของพระเจ้าตั้งแต่ก่อนจะมีใครบันทึกพันธสัญญาเดิมแม้แต่คำ�เดียว ฉันใด พระศาสนจักรก็เกิดขึ้นก่อนที่จะมีใครเขียนพระคัมภีร์ภาคพันธ สั ญ ญาใหม่ แ ม้ แ ต่ คำ � เดี ย วฉั น นั้ น  พระคั ม ภี ร์ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของพระ ศาสนจักร พันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นโดยสมาชิกของพระศาสนจักร ผู้ ได้รับอิทธิพลจาก และเขียนขึ้นเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ของงาน อภิบาลในยุคสมัยของเขา ลูกาประสบปัญหาในงานอภิบาล ซึ่งเกิดจากการยอมรับการกลับ ใจของคริสตชนผู้เคยหลงผิด และต้องการกลับมาร่วมในกลุ่มคริสตชน แน่นอนว่าต้องมีคนที่ไม่ยินดีต้อนรับผู้หลงผิดเหล่านี้ให้กลับมาร่วมโต๊ะ อาหาร แม้ว่าการบิปังเป็นพิธีกรรมที่แสดงออกถึงเอกภาพของสมาชิก ผู้เขียนจดหมายถึงชาวฮีบรูคงไม่ยินดีต้อนรับผู้หลงผิดเหล่านี้กลับมา เป็นแน่ “ผู้ที่เคยได้รับแสงสว่าง ได้ลิ้มรสพระพรจากสวรรค์ ได้รับพระ จิตเจ้า ได้สัมผัสความดีงามแห่งพระวาจาของพระเจ้า และอานุภาพของ โลกหน้าครั้งหนึ่งแล้ว หากยังคงกระทำ�ผิดอีก ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเป็น ทุกข์กลับใจใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพราะเขาเหล่านั้นกำ�ลังตรึงพระบุตรของ


108

บทเทศน์ปี C

พระเจ้าบนไม้กางเขน และประจานพระองค์อีกครั้งหนึ่ง” (ฮบ 6:4-6) เพื่อตอบคำ�ถามของบุคคลที่ไม่ยอมรับคนบาปกลับใจ ลูกาจึง เล่าเหตุการณ์ที่คนบาปแสวงหาพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงต้อนรับพวก เขาให้มาร่วมโต๊ะอาหาร แต่ผู้ชอบธรรมทั้งหลายกลับบ่นว่าพระองค์ ใน เหตุการณ์นี้ ลูกาจับอุปมาสามเรื่องของพระเยซูเจ้ามารวมกลุ่มกัน แต่ละ เรื่องกล่าวถึงบางสิ่งบางอย่างที่สูญหายไป แล้วจึงหาพบ และการพบนั้น เป็นโอกาสให้เฉลิมฉลอง เราสังเกตเห็นจิตใจอันละเอียดอ่อนของลูกา เมื่อเขาเสริมเรื่อง ราวจากโลกของคนเลี้ยงแกะ ซึ่งเป็นโลกของผู้ชาย ด้วยเรื่องอุปมาเกี่ยว กับหญิงคนหนึ่ง เรื่องที่สามมักใช้ชื่อเรื่องว่าลูกล้างผลาญ หรือบางครั้ง ก็เรียกว่าเรื่องของบิดาผู้ใจดี แต่อันที่จริงน่าจะเรียกว่าเรื่องของพี่ชายที่ ไม่รู้จักให้อภัยมากกว่า เนื่องจากบริบทของเรื่องคือคำ�ตอบของพระเยซู เจ้าสำ�หรับคนที่บ่นว่าพระองค์ทรงต้อนรับคนบาป ขอให้สังเกตนิสัยด้านลบของตัวละครนี้ เขาย้ำ�แต่คำ�ว่า “ไม่เคย” เขาโกรธ เขาพูดกับบิดาอย่างห้วนๆ เมื่อพูดถึงน้องชาย เขาไม่เรียกว่า “น้อง” แต่เรียกอย่างเหยียดหยามว่า “ลูกคนนี้ของพ่อ” ข้าพเจ้าเชื่อว่า ลูกากำ�ลังสะท้อนทัศนคติไม่ประนีประนอม และความโกรธเคือง ที่เขา พบเห็นในการชุมนุมของกลุ่มคริสตชน พลังด้านลบนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับกิริยาของผู้เลี้ยงแกะที่ออก ตามหาแกะที่พลัดหลง กิริยาของหญิงผู้ค้นหาเหรียญที่หายไปทุกซอก ทุกมุม และกิริยาของบิดาที่วิ่งไปหาบุตรที่กลับมา และสวมกอดบุตรไว้ ในอ้อมแขน ทั้งสามคนนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นคนที่มีความรักที่พร้อมจะ แสดงออกอย่างฟุ่มเฟือย ในโลกของความเป็นจริง คนเลี้ยงแกะจะไม่ ละทิ้งแกะ 99 ตัวไว้ในพื้นที่อันตรายเพื่อออกตามหาแกะเพียงตัวเดียว และเมื่อหญิงคนนี้ได้เลี้ยงฉลองกับเพื่อนบ้านที่นางเรียกมาแล้ว นางคง ใช้จ่ายเงินไปมากกว่ามูลค่าของเหรียญนั้น และบิดาของบุตรเกเรคงจะ


บทเทศน์ปี C

109

ต้อนรับบุตรอย่างเงียบๆ โดยให้เขาเข้าบ้านทางประตูหลัง แต่หัวใจที่ เปี่ยมด้วยความเมตตาของเขาอยากประกาศให้ทุกคนรู้และเลี้ยงฉลอง เพราะเรามองเห็นภาพนี้ได้ในใจ เราจึงบอกว่า แม้ว่าการสารภาพผิด เงียบๆ กับพระเจ้าเป็นเรื่องดีมาก แต่พระศาสนจักรสะท้อนให้เห็น ความคิดของพระคริสตเจ้าในการเรียกเราให้เฉลิมฉลองการสารภาพผิด นี้ในศีลศักดิ์สิทธิ์ ลูกาตอบคำ�ถามอภิบาลเกี่ยวกับการยอมรับคนบาปกลับใจให้มา ร่วมโต๊ะอาหาร โดยบอกเราอย่างชัดเจนว่าพระเยซูเจ้าจะทรงทำ�อย่างไร ในกรณีเช่นนี้  พระองค์  “ต้อนรับคนบาป และกินอาหารร่วมกับเขา” เหมือนกับที่เปาโลเขียนบอกทิโมธี ในบทอ่านที่สองของวันนี้ว่า “ต่อไป นี้เป็นถ้อยคำ�ที่น่าเชื่อถือ และน่าที่ทุกคนจะยอมรับ คือ พระคริสตเจ้า เสด็จมาในโลก เพื่อช่วยคนบาปให้รอดพ้น” ความท้าทายสำ�หรับเรา คือ เราต้องต้อนรับบุคคลที่เคยทำ�ร้ายเรา หรื อทำ � ผิ ด ต่อ เรา กลับ มาสู่โต๊ะอาหารแห่ ง ความรั กของเรา ข้ า พเจ้ า พร้อมหรือไม่ที่จะเริ่มทำ�บางสิ่งบางอย่างที่จะออกตามหาคนหลงทาง ที่ จะค้นหาอย่างถี่ถ้วนเพื่อคืนดี  ข้าพเจ้าปล่อยให้หัวใจของข้าพเจ้าแข็ง กระด้างเพราะความแค้นหรือเปล่า ข้าพเจ้าจมปลักอยู่กับถ้อยคำ�ปฏิเสธ หรือเปล่า ถ้อยคำ�เช่น ฉันไม่ให้โอกาสอีกแล้ว ... ฉันไม่มีวันยอมให้เกิด เหตุการณ์เช่นนี้ในบ้านของฉัน ... ข้ามศพฉันไปก่อนเถิด ... ข้าพเจ้า ยอมรับคำ�ขอโทษหรือเปล่า ข้าพเจ้าทำ�ให้ผู้อื่นกล่าวคำ�ขอโทษได้ง่าย ขึ้ น หรื อ เปล่ า  พระเยซู เ จ้ า จะทรงทำ � อย่ า งไรในสถานการณ์ เ ดี ย วกั น แบบฉบับของพระองค์เป็นสิ่งที่เราต้องเลียนแบบ น่าเสียดายที่ในพระ ศาสนจักรของเรามีคนมากเกินไปที่ชอบพูดคำ�ว่า “ไม่มีวัน”


110

บทเทศน์ปี C

ข้อรำ�พึงที่สอง คนเดียวก็สำ�คัญ แม้ แ ต่ ห นึ่ ง คนก็ สำ � คั ญ สำ � หรั บ พระเจ้ า  พระเจ้ า ทรงรั ก มนุ ษ ย์ แต่ละคนอย่างเข้มข้น คนเลี้ยงแกะที่มีแกะหนึ่งร้อยตัวรู้สึกกังวลเมื่อ แกะหนึ่งตัวหายไป หญิงคนหนึ่งที่มีเหรียญอยู่ 10 เหรียญ ค้นหาอย่าง ถี่ถ้วนเมื่อเหรียญหนึ่งหายไป ชายคนหนึ่งที่มีบุตรสองคนสูญเสียบุตร คนหนึ่งให้แก่ความคึกคะนองของคนวัยหนุ่ม เขาป้องตาสำ�รวจเส้นขอบ ฟ้ามองหาใบหน้าหนึ่งเดียวนั้น คนเดินทางหลายคนผ่านไปและแวะ ทักทายพูดคุยกับเขา แต่หัวใจของเขากำ�ลังรอคอยคนเพียงคนเดียว คนเดียวก็สำ�คัญสำ�หรับพระเจ้า “เราได้สลักชื่อเจ้าบนฝ่ามือของ เรา” ชื่อหนึ่งก็มีค่าสำ�หรับพระเจ้า “เราได้เรียกเจ้าด้วยชื่อ เจ้าเป็นของ เรา” ช่างแตกต่างจากกฎของป่าในสังคมยุคปัจจุบัน รัฐบาลวางแผน สำ � หรั บ คนเป็ น ล้ า น แต่ พ ร้ อ มจะเหยี ย บย่ำ � คนหนึ่ ง คน บริ ษั ท ข้ า ม ชาติ ข นาดใหญ่ จั ด การคนเป็ น พั น ๆ โดยไม่ ม องว่ า คนเหล่ า นั้ น เป็ น ปัจเจกบุคคล ในโลกของการแข่งขันอันโหดร้าย ความสงสารถูกมอง ว่าเป็นความอ่อนแอ และประโยชน์เพียงอย่างเดียวของความสงสารคือ ใช้ปกปิดความผิด กฎของพระเยซูเจ้าชี้ให้มองคนตัวเล็กๆ “ท่านทำ� อย่างไรต่อพี่น้องผู้ต่ำ�ต้อยของเรา ท่านก็ทำ�เช่นนั้นต่อเรา” การพิพากษา จะขึ้นอยู่กับทัศนคติของเราต่อผู้ที่ต่ำ�ต้อยที่สุด พระเยซูเจ้าทรงสัญญา จะประทานพระอาณาจักรที่พระองค์ทรงช่วงชิงมาได้บนเนินเขากัลวารีโอ ให้แก่คนต่ำ�ต้อยหนึ่งคนเช่นนี้ และเขาคนนั้นเป็นโจร ในบทสนทนา แบบตัวต่อตัวที่เกิดขึ้นที่นั่น ผู้ร้ายกลับใจคนนี้เป็นบุคคลแรกในพระวรสารที่เรียกองค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยพระนามของพระองค์ คือ พระเยซู


บทเทศน์ปี C

111

บทเรียนแรกที่ได้รับจากบทอ่านนี้ คือ ข้าพเจ้าเป็นบุคคลสำ�คัญ ในสายพระเนตรของพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงห่วงใยคนบาปแม้แต่หนึ่ง คน ถึงกับว่าการกลับคืนมาของคนบาปหนึ่งคนนี้เป็นโอกาสให้เลี้ยง ฉลองกันในสวรรค์ทีเดียว ถ้าข้าพเจ้าเป็นคนบาปเพียงคนเดียวในโลก พระเยซูเจ้าคงทำ�ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ทรงทำ�ได้เพื่อคนบาปหนึ่งคน นั้น ... เพื่อข้าพเจ้า ... ข้าพเจ้าสำ�คัญถึงเพียงนี้สำ�หรับพระเจ้า แต่ก็มี คนจำ�นวนมากที่ไม่อยากสนิทสนมกับพระเจ้า และต้องการแสดงความ เคารพพระองค์อยู่ห่าง ๆ แต่ พ ระองค์ ท รงรั ก ข้ า พเจ้ า  พระองค์ ท รงต้ อ งการได้ ยิ น เสี ย ง ภาวนาของข้าพเจ้า เสียงเต้นของหัวใจข้าพเจ้า ลองคิดดูซิ พระเจ้าทรง ต้องการข้าพเจ้า! บทเรียนที่สอง คือ สิ่งใดที่ข้าพเจ้าได้รับมาจากพระเจ้า ข้าพเจ้า ต้องส่งต่อให้ผู้อื่น ความรักเมตตาเริ่มต้นจากในบ้าน การพูดถึงปัญหา ในประเทศอื่น และประชาชนในประเทศห่างไกล เป็นเรื่องที่ทำ�ได้อย่าง ปลอดภัยและไม่เหนื่อยแรง แต่ข้าพเจ้าทำ�อย่างไรกับผู้ที่ข้าพเจ้าควร ขอโทษ ... คนที่ข้าพเจ้าเคยวิพากษ์วิจารณ์ – คนที่ข้าพเจ้าผลักไสให้พ้น จากความรักของข้าพเจ้า บุคคลนั้นมีค่าในสายพระเนตรของพระเจ้า ถ้า ข้าพเจ้าอ้างว่าข้าพเจ้าเชื่อในพระเจ้าอย่างจริงจัง ข้าพเจ้าต้องพยายามมี ส่วนร่วมในความรักพิเศษที่พระเจ้าทรงมีต่อมนุษย์แต่ละคนด้วย พี่น้องทั้งหลาย ท่านทุกคนเป็นบุคคลสำ�คัญสำ�หรับพระเจ้า


112

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 2 วันนี้เราได้ยินบทอ่าน “ฉบับยาว” ของพระวรสาร ซึ่งลูกาได้นำ� อุปมาสามเรื่องที่เรารู้จักดี มารวมไว้ในบทที่ 15 คือเรื่องแกะที่พลัดหลง เงินเหรียญที่หายไป และบุตรชายที่หายไปและกลับคืนมา... อุปมาทั้งสามเรื่องนี้สรุปลงที่เรื่องที่สาม ธรรมประเพณีเรียก เรื่องนี้ว่า “บุตรล้างผลาญ” แต่เนื่องจากเราได้นำ�มารำ�พึงแล้วตั้งแต่วัน อาทิตย์ที่สี่ของเทศกาลมหาพรต เราจึงจะไตร่ตรองเฉพาะอุปมาสอง เรื่องแรกในที่นี้ บรรดาคนเก็บภาษี และคนบาปเข้ามาใกล้เพื่อฟังพระเยซูเจ้า ชาว ฟาริ สี แ ละธรรมาจารย์ ต่ า งบ่ น ว่ า “คนนี้ ต้ อ นรั บ คนบาป และกิ น อาหารร่วมกับเขา” นี่เป็นหนึ่งในคำ�นิยามบุคลิกภาพของพระเยซูเจ้า “คนที่ต้อนรับ คนบาป” ... และยังเผยให้เราเห็นด้วยว่าพระเจ้าเป็นใคร เพราะ “ผู้ที่ เห็นเรา ก็เห็นพระบิดาด้วย” (ยน 14:9) ธรรมาจารย์ และฟาริสี เป็นคนดีมาก และน่ายกย่อง พวกเขา สะดุดใจจริงๆ ที่พระเยซูเจ้าทรงคบหาสมาคมกับคนทุกประเภท ... แต่ เราเองก็อาจพลาดข่าวดี ถ้าเราไม่ตระหนักว่าพระองค์ทรงประกาศพระว รสารแก่เราด้วยเช่นกัน ... เราสมองทึบเกินไปจนกล้าพูดหรือว่า “ฉันไม่ เคยทำ�อะไรผิด ฉันเป็นคนดี ฉันไม่มีบาป”... ในบทอ่านที่สองของวันอาทิตย์นี้  นักบุญเปาโลบอกเราอีกครั้ง หนึ่งว่า “พระคริสตเยซูเสด็จมาในโลกเพื่อช่วยคนบาปให้รอดพ้น และ ข้าพเจ้าเป็นคนแรกในบรรดาคนบาปเหล่านี้” (1 ทธ 1:15) มิสซาวัน


บทเทศน์ปี C

113

อาทิตย์ของเราเต็มเปี่ยมด้วยความเป็นจริงของ “การรอดพ้น” และ “บาปที่ได้รับการอภัย” ... เราเข้าใจความหมายของถ้อยคำ�เหล่านี้จริง หรือ ... เราเป็น “ฟาริสียุคใหม่” ที่มองเห็นแต่บาปในตัวผู้อื่นหรือ เปล่า... ก่อนจะรำ�พึงต่อไป ข้าพเจ้าต้องจารึกในมโนธรรมของข้าพเจ้า ว่า ข้าพเจ้าเป็นคนบาปคนหนึ่ง และระลึกถึงความผิดพลาดมากมายที่ ข้าพเจ้ากระทำ�ไปในแต่ละวัน... พระองค์จึงตรัสเรื่องอุปมานี้ให้เขาฟัง “ท่านใดที่มีแกะหนึ่งร้อยตัว ตัวหนึ่งพลัดหลง จะไม่ละแกะเก้าสิบเก้าตัวไว้ในถิ่นทุรกันดาร ออก ไปตามหาแกะที่พลัดหลงจนพบหรือ” พระเยซูเจ้าทรงตั้งคำ�ถาม พระองค์ทรงขอให้ผู้ฟังขบคิดจาก ประสบการณ์ของเขา “ท่านทั้งหลายคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ถ้าเป็นท่าน ท่านจะทำ�อย่างไร” ... ในความเป็นจริง ไม่มีคนเลี้ยงแกะคนใดยอมเสีย แกะของตนไปแม้แต่ตัวเดียว แต่จะพยายามตามหามันจนกว่าจะพบ... นักปรัชญาคิดว่าพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าที่ “ถาวร” ทรงเป็นจุด เริ่มต้นที่คงที่และไม่เปลี่ยนแปลง ... แต่พระเยซูเจ้าทรงเสนอภาพของ พระเจ้าผู้ทรงตระเวนไปทั่วแถบชนบทเพื่อตามหาสิ่งที่พระองค์สูญเสีย ไป ... พระองค์ทรงเชิญชวนเราให้นึกถึงภาพของคนเลี้ยงแกะบนเนิน เขาในแคว้นกาลิลี  ที่วิ่งเท้าเปล่าอย่างรวดเร็วบนพื้นที่เต็มไปด้วยก้อน หิน เพื่อตามหาแกะที่เร่ร่อนออกไปไกลจากฝูง เราคงเดาได้ว่าเด็กหนุ่ม เหล่านี้มีความมุ่งมั่นไม่ท้อถอยอย่างไร เมื่อเขา “ออกไปตามหาแกะที่ พลัดหลงจนพบ” พระเจ้าก็ทรงทำ�เช่นเดียวกันนี้... ไม่มีมนุษย์คนใดที่พระเจ้าทรงทอดทิ้ง ไม่มีมนุษย์คนใดที่ “หลง ทาง” อย่างถาวร เพราะมีใครบางคนที่รักเขากำ�ลังตามหาเขาไม่หยุด ... พระเจ้าไม่พอพระทัยเพียงจะรอคอยให้คนบาปกลับมาหาพระองค์ แต่


114

บทเทศน์ปี C

พระองค์จะออกตามหาเขา... เราต้องเพ่งพินิจอย่างเนิ่นนานกับภาพของพระเจ้าที่พระเยซูเจ้า ทรงเผยแก่เรานี้  คนที่มีความรักย่อมมีวิธีคำ�นวณที่แตกต่างจากผู้อื่น สำ�หรับเขา “หนึ่ง” อาจมีค่าเท่ากับ “เก้าสิบเก้า” ... สำ�หรับพระเจ้า ชายหรือหญิงแต่ละคนมีคุณค่าไม่เหมือนใครอื่น คุณค่าของแต่ละคน สูงเกินกว่าจะประมาณได้ ... แกะตัวที่พลัดหลงนี้เป็นสิ่งเดียวที่คนเลี้ยง แกะคิดถึง เป็นเรื่องเดียวที่เขาห่วงใย ... และพระเจ้าก็ทรงเป็นเช่นนั้น พระองค์ยังรักผู้ที่ทอดทิ้งพระองค์ ... พระองค์ยังรักคนที่ไม่รักพระองค์ ... พระองค์ทรงเป็นทุกข์เป็นร้อนเพราะแกะหนึ่งตัวของพระองค์กำ�ลัง ตกอยู่ในอันตราย... บางครั้ง ข้าพเจ้าก็เป็นแกะที่ “พลัดหลง” ตัวนี้ไม่ใช่หรือ ... และ บางทีรอบตัวข้าพเจ้าก็มีชายคนนี้ หรือหญิงคนนั้น ที่เป็นแกะพลัดหลง ... แต่ไม่มีใครถูกทอดทิ้ง พระเจ้าทรงกำ�ลังออกตามหาเขาคนนั้น ... ทรงตามหาแต่ละคน... เมื่อพบแล้ว เขาจะยกมันใส่บ่าด้วยความยินดี... นี่คือภาพลักษณ์อันน่ายินดี เป็นหนึ่งในภาพลักษณ์ที่พระเยซูเจ้า ทรงเสนอต่อเราตั้งแต่ศตวรรษต้นๆ ... ภาพลักษณ์ของคนเลี้ยงแกะ ผู้มีความสุข ใบหน้ายิ้มแย้ม และแบกลูกแกะไว้บนบ่า ... เราควรใช้ทั้ง จินตนาการ และหัวใจเพ่งพินิจ “ภาพ” นี้ของพระเจ้า... รายละเอียดของ “แกะบนบ่า” เป็นคำ�บรรยายอันละเอียดอ่อน และเต็มไปด้วยความหมายของพระเยซูเจ้า เมื่อสัตว์ตัวหนึ่งพลัดหลง จากฝูงเป็นเวลาหลายชั่วโมง หรือหลายวัน มันจะหมอบอยู่กับพื้นเพราะ หมดแรง และจำ�เป็นต้องมีคนอุ้ม – แกะตัวหนักไม่น้อยเลย โดยเฉพาะ เมื่อคนเลี้ยงแกะเองก็วิ่งตากแดดตามหามันบนเนินเขาที่เต็มไปด้วย หินมานานหลายชั่วโมง ... เขาเองก็ต้องเหนื่อยเหมือนกัน ... แต่พระ


บทเทศน์ปี C

115

เยซูเจ้าทรงบอกเราว่าเขาเต็มไปด้วยความยินดี ลืมความเหนื่อยล้าของ ตนเอง และยกแกะตัวนั้นขึ้นแบกบนบ่า... นี่คือภาพของพระเจ้าที่พระเยซูเจ้าทรงบรรยายให้เราเห็น... อั น ที่ จ ริ ง  นี่ ไ ม่ ใ ช่ ภ าพลั ก ษณ์ ใ หม่   พระคั ม ภี ร์ เ สนอภาพของ พระเจ้ า ว่ า เป็ น  “ผู้ เ ลี้ ย งแกะ” มาโดยตลอด (อสย 40:11, 49:10 เป็นต้น) คริสตชนทุกคนควรท่องบทสดุดี 23 บ่อยๆ ว่า “พระเจ้าทรง เป็นผู้เลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ ข้าพเจ้าจะไม่ขัดสนสิ่งใด”... เขากลับมาบ้าน เรียกมิตรสหายและเพื่อนบ้านมา พูดว่า “จงร่วม ยินดีกับฉันเถิด ฉันพบแกะตัวที่พลัดหลงนั้นแล้ว” คนเลี้ยงแกะยินดีจนไม่อาจเก็บความยินดีนั้นไว้เงียบๆ คนเดียว ... พระเจ้าตรัสว่า “จงร่วมยินดีกับฉันเถิด” ... บัดนี้ พระเจ้าทรงเป็น บุคคลที่กำ�ลังตื่นเต้นยินดีนี้ ... ต่างจากธรรมาจารย์ และชาวฟาริสีที่ เอาแต่บ่นจริงๆ ... เราบอกท่านทั้งหลายว่า ในสวรรค์จะมีความยินดีเช่นนี้เพราะคนบาป คนหนึ่งกลับใจมากกว่าความยินดีเพราะคนชอบธรรมเก้าสิบเก้าคน ที่ไม่ต้องการกลับใจใหม่” พระเจ้ า ทรงยิ น ดี เ มื่ อ พระองค์ ใ ห้ อ ภั ย คนบาป พระเจ้ า ทรงมี ความสุขเมื่อทรงช่วยเราให้รอดพ้น เพราะพระเจ้าไม่สามารถลงโทษใคร ได้ ... ในสวรรค์มีแต่ความยินดีทุกครั้งที่คนบาปคนหนึ่งกลับใจ ... ทุก ครั้งที่ความชั่วถอยห่างออกไปจากโลกแม้เพียงเล็กน้อย... หญิ ง คนใดที่ มี เ งิ น สิ บ เหรี ย ญแล้ ว ทำ � หายไปหนึ่ ง เหรี ย ญ จะไม่ จุ ด ตะเกียง กวาดบ้าน ค้นหาอย่างถี่ถ้วนจนกว่าจะพบหรือ


116

บทเทศน์ปี C

ลูกาผู้ใส่ใจกับสตรีเสมอ เป็นผู้นิพนธ์พระวรสารเพียงคนเดียว ที่บอกเล่าอุปมาที่มีสตรีเป็นตัวละครเอกนี้  ซึ่งเป็นเรื่องที่สอนบทเรียน เดียวกัน แต่ใช้ภาพลักษณ์ต่างกัน นี่ไม่ได้เป็นเพียงอีกตัวอย่างหนึ่งที่ เพิ่มขึ้นมา แต่พระเยซูเจ้าทรงย้ำ�เตือน ราวกับจะบอกเราว่าสิ่งที่พระองค์ เพิ่งจะเผยแสดงนี้ไม่ได้เกินความจริง ไม่ใช่ความผิดพลาดโดยเจตนา พระองค์ทรงยืนยันอีกครั้งหนึ่งถึงความรักอันน่าตื่นตะลึงของพระเจ้า... เมื่อพบแล้ว นางจะเรียกมิตรสหายและเพื่อนบ้านมา พูดว่า “จงร่วม ยินดีกับฉันเถิด ฉันพบเงินเหรียญที่หายไปแล้ว” นี่เป็นความยินดีแบบซื่อๆ ในหมู่คนที่ต่ำ�ต้อย และเป็นข้อสังเกต ที่เป็นรูปธรรม หญิงคนนี้เป็นคนจน นางไม่ได้เป็นเจ้าของ “แกะหนึ่ง ร้อยตัว” นางมีเพียง “เงินสิบเหรียญ” แต่ละเหรียญมีค่าเท่ากับค่าแรง หนึ่งวันของคนงานในสวน (มธ 20:2) แม้ว่าเหรียญที่นางหาพบมีค่า น้อยมาก แต่นางก็ต้องการให้ผู้อื่นร่วมยินดีกับนางด้วย... พระเจ้าทรงเป็นเช่นนี้ ... เราอาจยังไม่เข้าใจดีพอว่าความยินดีนี้ หลั่งไหลออกมาจากพระหทัยของพระเจ้าอย่างไร ความยินดีนี้กระจาย อยู่ทั่วไปในพระวรสารเหมือนเป็น “ข่าวดี” และไหลท่วม “มนุษยชาติผู้ ได้รับความรอดพ้น” ทุกคน... เราบอกท่านทั้งหลายว่า ทูตสวรรค์ของพระเจ้าจะมีความยินดีเช่น เดียวกัน เมื่อคนบาปคนหนึ่งกลับใจ ภาพลักษณ์นี้งดงามมาก เราไม่ควรใช้จินตนาการมากเกินไป จน ทำ�ให้มองเห็นแต่ภาพทางวัตถุเท่านั้น สวรรค์กำ�ลังอยู่ในอารมณ์ชื่นชมยินดี  ความยินดีของพระเจ้า มากมายจนกลายเป็นความยินดีของทูตสวรรค์ ... ความยินดี และการ เฉลิ ม ฉลองทั้ ง หมดนี้ เ กิ ด ขึ้ น เพราะการกลั บ ใจของคนบาปเพี ย งคน


บทเทศน์ปี C

117

เดียว! ความคิดอย่างคริสตชน ซึ่งเป็นเงาสะท้อนของความคิดของพระ เยซูเจ้า ต้องแยกแยะรายละเอียดอันซับซ้อน เรารู้ดีว่าประโยคนี้ไม่ได้ หมายความว่าเราควรประนีประนอมกับ “บาป” พระเยซูเจ้าไม่เคยตรัส ว่าบาปไม่ใช่เรื่องร้ายแรง ตรงกันข้าม พระองค์ทรงประณามความชั่ว ด้วยถ้อยคำ�รุนแรงเช่นเดียวกับประกาศกทุกคนเคยประณาม พระเยซู เจ้าทรงเรียกร้องให้มนุษย์กลับใจและใช้โทษบาป (มก 1:15) แม้แต่ เรื่องอุปมาที่เราเพิ่งจะได้ยิน นอกจากเป็นคำ�สั่งสอนเรื่องความรักของ พระเจ้าแล้ว ยังเป็นคำ�สั่งสอนเรื่องความจำ�เป็นที่คนบาปต้องกลับใจ ด้วย... แต่ สิ่ ง ที่ พ ระเยซู เ จ้ า ทรงเผยแสดงแก่ เ รา คื อ พระเจ้ า ทรงเป็ น ฝ่ายเริ่มต้นตามหาผู้ที่หลงทาง “ความรักอยู่ที่ว่าพระเจ้าทรงรักเรา ... พระองค์ทรงรักเราก่อน” (1 ยน 4:10, 19) เราจะยอมให้พระองค์รักเราหรือไม่ ... เราจะทำ�ให้พระองค์ยินดี หรือเปล่า ... เพื่อว่าเราจะเข้าร่วมในความยินดีของพระองค์... หลังจากนี้ ขอให้อ่านคำ�อธิบายอุปมาเรื่อง “บุตรล้างผลาญ” อีก ครั้งหนึ่ง


118

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่ยี่สิบห้า เทศกาลธรรมดา ลูกา 16:1-13 พระเยซู เ จ้ า ตรั ส กั บ บรรดาศิ ษ ย์ อี ก ว่ า  “เศรษฐี ผู้ ห นึ่ ง มี ผู้ จัดการดูแลผลประโยชน์คนหนึ่ง มีผู้มาฟ้องว่าผู้จัดการคนนี้ผลาญ ทรัพย์สินของนาย เศรษฐีจึงเรียกผู้จัดการมาถามว่า ‘เรื่องที่เรา ได้ยนิ เกีย่ วกับเจ้าเป็นอย่างไร จงทำ�บัญชีรายงานการจัดการของเจ้า เพราะเจ้าจะไม่ได้เป็นผู้จัดการอีกต่อไป’ ผู้จัดการจึงคิดว่า ‘ฉันจะทำ� อย่างไร นายจะไล่ฉันออกจากหน้าที่ผู้จัดการแล้ว จะไปขุดดินก็ทำ� ไม่ไหว จะไปขอทานก็อายเขา ฉันรู้แล้วว่าจะทำ�อย่างไร เพื่อว่าเมื่อ ฉันถูกไล่ออกจากหน้าที่ผู้จัดการแล้วจะมีคนรับฉันไว้ในบ้านของเขา’ เขาจึ ง เรี ย กลู ก หนี้ ข องนายเข้ า มาที ล ะคน ถามคนแรกว่ า ‘ท่ า นเป็ น หนี้ น ายข้ า พเจ้ า เท่ า ไร’ ลู ก หนี้ ต อบว่ า  ‘เป็ น หนี้ น้ำ�มั น มะกอกหนึ่งร้อยถัง’ ผู้จัดการจึงบอกว่า ‘นำ�ใบสัญญาของท่านมา นั่งลงเร็วๆ เขียนแก้เป็นห้าสิบถัง’ แล้วเขาถามลูกหนี้อีกคนหนึ่งว่า ‘แล้วท่านล่ะ เป็นหนี้อยู่เท่าไร’ เขาตอบว่า ‘เป็นหนี้ข้าวสาลีหนึ่ง ร้อยกระสอบ’ ผู้จัดการจึงบอกว่า ‘เอาใบสัญญาของท่านมาแล้ว เขียนแก้เป็นแปดสิบกระสอบ’


บทเทศน์ปี C

119

นายนึกชมผู้จัดการทุจริตคนนั้นว่าเขาทำ�อย่างเฉลียวฉลาด ทั้งนี้ก็เพราะบุตรของโลกนี้มีความเฉลียวฉลาดในการติดต่อกับคน ประเภทเดียวกัน มากกว่าบุตรของความสว่าง ดังนั้น เราบอกท่านทั้งหลายว่า จงใช้เงินทองของโลกอธรรม นี้เพื่อสร้างมิตรให้ตนเอง เพื่อว่าเมื่อเงินทองนั้นหมดสิ้นแล้ว ท่าน จะได้รับการต้อนรับสู่ที่พำ�นักนิรันดร ผู้ที่ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็กน้อย ก็ จะซื่อสัตย์ในเรื่องใหญ่ด้วย ผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็กน้อย ก็จะไม่ ซื่อสัตย์ในเรื่องใหญ่ด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าท่านไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องเงิน ทองของโลกอธรรมแล้ว ผู้ใดจะวางใจมอบสมบัติแท้จริงให้ท่านดูแล เล่า ถ้าท่านไม่ซื่อสัตย์ในการดูแลทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ผู้ใดจะให้ ทรัพย์สมบัติของท่านแก่ท่าน ไม่มีผู้ใดเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนายได้ เขาจะชังนายคนหนึ่ง และจะรักนายอีกคนหนึ่ง เขาจะจงรักภักดีต่อนายคนหนึ่ง และจะดู หมิ่นนายอีกคนหนึ่ง ท่านทั้งหลายจะปรนนิบัติรับใช้พระเจ้าและเงิน ทองพร้อมกันไม่ได้”


120

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง ทาส หรือผู้จัดการ เงินเป็นผู้รับใช้ที่ดี และทำ�ประโยชน์ได้มากมาย แต่เงินจะเป็น นายที่โหดร้าย ถ้าเรายอมให้มันควบคุมชีวิตของเรา พระเยซูเจ้าไม่เคยแสดงความปรารถนาใดๆ ที่จะเป็นผู้ครอบ ครองทรัพย์สิน หลังจากทรงสละความอบอุ่นมั่นคงของบ้านที่นาซาเร็ธ พระองค์ไม่มีแม้แต่ที่จะวางพระเศียร พระองค์ทรงต้องพึ่งความใจกว้าง ของผู้อื่นที่จะแบ่งปันสิ่งที่พระบิดาประทานให้กับพระองค์ พระองค์ไม่ ทรงประณามคนรวยเพียงเพราะเขารวย ในบรรดาศิษย์ของพระองค์ มีบุคคลฐานะดี  เช่นนิโคเดมัส และโยเซฟชาวอริเมเธีย รวมอยู่ด้วย และพระองค์ทรงตอบรับคำ�เชิญจากบุคคลที่ร่ำ�รวยพอจะจัดงานเลี้ยง แต่ พ ระองค์ ต รั ส ถึ ง หน้ า ที่ สำ � คั ญ ของคนรวยในการใช้ ท รั พ ย์ ข องตน ช่วยเหลือคนจน และพระองค์ทรงเตือนว่าความร่ำ�รวยอาจกลายเป็น อุ ป สรรคขั ด ขวางความร่ำ � รวยฝ่ า ยจิ ต ได้ โ ดยง่ า ย พระองค์ ท รงตั้ ง ข้ อ สังเกตว่ามนุษย์จะสูญเสียอิสรภาพ และอุดมการณ์ของตนอย่างรวดเร็ว เมื่อเขาเริ่มสะสมทรัพย์สินเงินทอง ดังนั้น พระองค์จึงอธิบายว่าเงินเป็น สิ่ง “อธรรม” เพราะมันสามารถทำ�ลายชีวิตได้ ธรรมประเพณีบอกว่ามีบาปต้นเจ็ดประการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน ว่าเป็นนิสัยที่อ่อนแอ และเป็นต้นเหตุของความชั่วภายในตัวเรา บาป ต้นข้อที่สองรองจากความจองหอง คือความโลภ ความโลภเป็นความ ปรารถนาอันเกิดจากแรงกระตุ้นให้ต้องการครอบครองทรัพย์มากขึ้น ยิ่งเราปล่อยให้แรงกระตุ้นนี้เพิ่มขึ้นโดยไม่ระงับยับยั้ง เรายิ่งตกเป็นทาส


บทเทศน์ปี C

121

มากขึ้น แรงกระตุ้นนี้ไม่รู้จักความหมายของคำ�ว่าพอ มันเหมือนกับสัตว์ ประหลาดที่ยิ่งกินก็ยิ่งหิว ผู้ครอบครองจะยิ่งตกเป็นทาสของทรัพย์ที่ เขาครอบครอง ด้วยเหตุนี้ พระเยซูเจ้าจึงทรงบอกว่าเงินทองจะทำ�ให้ผู้ ครอบครองมันตกเป็นทาสของมัน แต่กระนั้น เงินทองก็ยังสามารถทำ�ประโยชน์ได้มากมาย “จงใช้ เงินทองของโลกอธรรมนี้เพื่อสร้างมิตรให้ตนเอง เพื่อว่า ... ท่านจะได้ รับการต้อนรับสู่ที่พำ�นักนิรันดร” พระเยซูเจ้าทรงมองว่าเราทุกคนเป็นพี่น้องกันในโลกที่มีพระ บิดาองค์เดียวกัน เมื่อมองในแง่นี้ การเป็นเจ้าของจึงเป็นการจัดการสิ่ง สร้างของพระเจ้าด้วยความรักฉันพี่น้อง และผู้จัดการทรัพย์สินที่ซื่อสัตย์ ในเรื่องเล็กน้อยจะได้เลื่อนตำ�แหน่งให้รับผิดชอบสิ่งที่สำ�คัญกว่า ผู้จัดการที่ดูแลทรัพย์ของพระเจ้าจะต้องรายงานต่อพระเจ้าว่า เขาใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆ อย่างไร “สิ่งใดที่ท่านกระทำ�ต่อพี่น้องผู้ ต่ำ�ต้อยของเรา ...” คนจนกลายเป็นยามเฝ้าประตูสวรรค์สำ�หรับผู้ที่ แบ่งปันทรัพย์ของตนแก่พวกเขา เป็นผู้ต้อนรับเขาเข้าสู่ที่พำ�นักนิรันดร แต่ “สิ่งที่ท่านละเลยไม่กระทำ�ต่อพี่น้องผู้ต่ำ�ต้อยของเรา...” ในกรณีนี้ คนจนจะยืนขึ้นประณามคนรวยที่ปรนเปรอตนเอง ประกาศกอาโมส (บทอ่านที่หนึ่ง) เตือนคนรวยว่าพระเจ้ากำ�ลัง จดบันทึก “เราจะไม่ลืมแม้แต่สิ่งเดียวที่ท่านกระทำ�” เมื่อพระเจ้าทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างในที่สุด มีอะไรบ้าง ที่เราสามารถเรียกได้ว่าทรัพย์สินส่วนตัว เราได้รับความสามารถพิเศษ หรือทรัพย์ทางวัตถุทุกชิ้นที่เราครอบครองอยู่พร้อมกับความรับผิดชอบ กฎหมายปกป้ อ งสิ ท ธิ ข องผู้ เ ป็ น เจ้ า ของอย่ า งรอบคอบ แต่ ก ลั บ มอง ข้ามประเด็นความรับผิดชอบในการแบ่งปันพระพรต่างๆ ที่ได้รับจาก พระเจ้ากับผู้อื่น ข่าวของความอดอยาก หรือโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นใน ประเทศ ที่เราได้ยินเป็นครั้งคราวอาจทิ่มแทงมโนธรรมของเรา แต่เรา


122

บทเทศน์ปี C

พอใจกับตัวเองจนกระทั่งเพียงการแสดงความใจกว้างเล็กๆ น้อยๆ ก็ ดั บ เสี ย งมโนธรรมของเราได้ แ ล้ ว  เราแสดงจิ ต สำ � นึ ก ด้ า นสั ง คมและ การเมืองน้อยมากเพื่อแก้ไขช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ขอบเขต และผลกระทบของความยากจนในวันนี้เป็นเสียงกล่าวโทษที่เราไม่สนใจ คำ�สั่งสอนขององค์พระผู้เป็นเจ้า ชุมชนคริสตชนยุคต้นเข้าใจดีว่าผู้ที่ร่วมในพิธีบิปัง มีหน้าที่แบ่ง ปันให้แก่สมาชิกที่ยากจน ด้วยการกระจายความร่ำ�รวยของตน มีอะไร บ้างที่เราครอบครองอยู่ที่ไม่ได้มาจากพระผู้สร้างผู้ทรงเป็นพระบิดาของ ทุกคน พระพรทุกอย่างที่ได้รับจากพระผู้สร้างมาพร้อมกับความรับผิด ชอบในการใช้ประโยชน์ และแบ่งปันกับผู้อื่น ข้อรำ�พึงที่สอง พระพรต่าง ๆ ที่พบข้างทาง พระเจ้าทรงประดับเส้นทางการเดินทางผ่านโลกนี้ด้วยหลายสิ่ง หลายอย่างที่ให้ความรื่นรมย์ และสะดวกสบาย ด้วยสิ่งสร้างอันงดงาม น่าพิศวงอันหลากหลาย ด้วยของขวัญต่างๆ ให้เราลิ้มรส และชื่นชม แต่ ย่อมเป็นความผิดพลาดถ้าเราจะชื่นชมกับพระพรเหล่านี้จนไม่เดินทาง ต่อไปให้ถึงพระเจ้าผู้ประทานสิ่งเหล่านี้แก่เรา ผลอย่างหนึ่งของบาปคือ ทำ�ให้เราสายตาสั้น เราลืมเป้าหมายของชีวิตที่อยู่ไกลออกไป และเป็น จุดหมายปลายทางของเรา และหันมาจมอยู่กับความรื่นรมย์ข้างทาง แต่ ความงามของสิ่งเหล่านี้ไม่ยั่งยืน ในไม่ช้าเปลวไฟของมันจะกลายเป็น เถ้าถ่าน และเมื่อเสพมากเกินไป รสชาติของมันจะเปลี่ยนเป็นเปรี้ยว ความเศร้าของฤดูใบไม้ร่วงสามารถเป็นบทเรียนที่ธรรมชาติสอนเรา บัดนี้ สีสนั อันสดใสของต้นฤดูใบไม้ผลิกลายเป็นความทรงจำ�อันเลือนราง แสงสว่างของกลางวันลดความจ้าลง และกลางคืนมาถึงเร็วขึ้น สิ่งที่เหลือ อยู่คือต้นไม้  และพุ่มไม้ที่ใบเปลี่ยนสีใกล้ตาย เมื่อชีวิตของเราล่วงเลย


บทเทศน์ปี C

123

เข้าสู่ช่วงฤดูใบไม้ร่วง เราจะสัมผัสกับความหงุดหงิดที่สิ่งที่เราคาดหวัง ไว้ไม่กลายเป็นจริง และต้องเผชิญหน้ากับความรู้สึกว่างเปล่าเพราะไม่มี อะไรเหลือให้คาดหวังอีกต่อไป และความไม่จีรังของทุกสิ่งทุกอย่างเป็น บทเรียนที่ธรรมชาติสอนเราให้ตั้งวิสัยทัศน์  และความหวังของเราไว้ที่ คุณค่าที่ห่างไกลกว่า และยั่งยืนมากกว่า ถ้าเราติดใจอยู่กับความพึงพอใจทางวัตถุ  และกามารมณ์  เราก็ เหมือนกับเด็กๆ ที่เก็บลูกเบอรี่ที่ขึ้นอยู่ริมทางมากินมากเกินไปจนป่วย หรือเดินชมดอกไม้ตามทางจนหลงทาง หรือเผลอเล่นจนมืดค่ำ� และหา ทางกลับบ้านไม่ได้ ความผิดพลาดของบาปคือการผูกใจอยู่กับพระพรของพระเจ้า จนละเลยพระผู้ประทานสิ่งเหล่านี้ เคล็ดลับของนักบุญคือ เขารู้ว่าควร ใช้พระพรเหล่านี้อย่างไร เพื่อพาตนเองกลับไปหาพระเจ้าผู้ประทาน พระพรเหล่านี้ ไม่มีใครบรรยายได้เหมาะสมชัดเจนกว่านักบุญออกุสติน “ข้าพเจ้ารักพระองค์สายเกินไป โอ้ ความงามที่เก่าเสมอและใหม่เสมอ ... ข้าพเจ้าแสวงหาพระองค์ภายนอก และในความอัปลักษณ์ของข้าพเจ้า ได้พบกับสิ่งน่ารักทั้งปวงที่พระองค์ทรงสร้าง พระองค์อยู่กับข้าพเจ้า แต่ ข้าพเจ้าไม่ได้อยู่กับพระองค์  และสิ่งเหล่านั้นดึงข้าพเจ้าออกห่างจาก พระองค์ แต่กระนั้น ถ้าสิ่งเหล่านั้นไม่ได้อยู่กับพระองค์ มันก็จะไม่มีตัว ตนอยู่เลย” (Confession, Book 10) นั ก บุ ญ ฟรั ง ซิ ส  แห่ ง อั ส ซิ ซี   เป็ น ผู้ ที่ เ ผยให้ เ ห็ น ว่ า ด้ ว ยการไม่ ครอบครองสิ่งใดเลย เราจึงสามารถชื่นชมกับทุกสิ่งทุกอย่างได้ น้อยคน ที่พยายามมากเท่ากับฟรังซิส ที่จะไม่ยอมให้สิ่งของครอบครองตัวเขา แต่ก็ไม่มีใครที่มีความสนิทสัมพันธ์ฉันพี่น้องกับสิ่งสร้างได้ลึกล้ำ�เท่ากับ ฟรังซิส ผู้เขียนชีวประวัติของเขาบรรยายว่า ฟรังซิสมอบทุกสิ่งคืนให้ พระเจ้ า  เขาสรรเสริ ญ องค์ ศิ ล ปิ น สำ � หรั บ งานศิ ล ปะทุ ก ชิ้ น  ไม่ ว่ า เขา พบพานสิ่งใดในสิ่งต่างๆ เขาคิดถึงพระผู้สร้างสิ่งนั้น ... เขามองเห็น


124

บทเทศน์ปี C

ความงามในสิ่งที่สวยงาม ทุกสิ่งล้วนดีงามสำ�หรับเขา เขาใช้ทุกสิ่งทำ�เป็น บันใดที่เขาใช้ปีนขึ้นไปยังบัลลังก์ของพระเจ้า” (2 Celano, 165) ผู้ที่มองเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่พระเจ้าประทานให้เพื่อประดับ เส้นทางของการเดินทางของเราได้มากที่สุด คือ ผู้ที่ไม่ต้องการครอบ ครองสิ่งเหล่านี้ด้วยความโลภ แต่ส่งสิ่งเหล่านั้นคืนให้พระผู้สร้างด้วย ความกตัญญูรู้คุณ และการสรรเสริญ เราจะติดใจอยู่กับพระพรเล็ก น้อยไปทำ�ไม เมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงการลิ้มลองล่วงหน้ารสชาติของ พระเจ้าผู้ประทานสิ่งเหล่านั้นแก่เรา


บทเทศน์ปี C

125

บทรำ�พึงที่ 2 พระเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์อีกว่า ... อุปมาเรื่อง “ผู้จัดการทุจริต” เป็นหนึ่งในเรื่องที่เราพบในพระ วรสารที่เป็นที่สะดุด ซึ่งสัตบุรุษฟังแล้วยิ้ม และรอว่าพระสงฆ์จะอธิบาย บทเรียนเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์ครั้งนี้อย่างไร แต่เรื่องนี้เป็นอุปมา กล่าวคือเป็น “ปริศนาธรรม” ... ไม่ใช่ว่า ทุกรายละเอียดเป็นบทเรียนสอนใจได้ และคำ�สั่งสอนก็ไม่ได้ระบุออกมา ด้วยถ้อยคำ�ที่มีเหตุมีผล หรือเข้าใจง่าย ... พระเยซูเจ้าทรงทำ�ตัวง่ายๆ เหมือนกับนักเล่านิทานทั่วไปที่ขยิบตาบอกผู้ฟังให้ฟังด้วยสามัญสำ �นึก “จงแสดงให้เห็นว่าพวกท่านฉลาดมากน้อยอย่างไร จงทำ�ความเข้าใจกับ คำ�สั่งสอนที่ซ่อนอยู่ในเรื่องนี้ สิ่งที่เราจะบอกท่านอาจฟังดูน่าตกใจ แต่ เราจำ�เป็นต้องพูด” เศรษฐีผู้หนึ่งมีผู้จัดการดูแลผลประโยชน์คนหนึ่ง มีผู้มาฟ้องว่าผู้ จัดการคนนี้ผลาญทรัพย์สินของนาย ผู้จัดการที่ผลาญเงินทอง! อุปมาทั้งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการดูแล ผลประโยชน์  ตามกฎหมายโรมัน เช่นเดียวกับความคิดของคนทั่วไป ทรัพย์สินก็คือ “สิทธิของเราที่จะใช้สิ่งที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา ไม่ว่า จะใช้มันในทางที่ถูกหรือผิดก็ตาม” ... เมื่อมันเป็นของฉัน ฉันจะทำ� อย่างไรกับมันก็ย่อมได้ ... แต่คริสตชนต้องไม่มองทรัพย์สินส่วนตัวใน แง่นี้ เพราะเราไม่ใช่เจ้าของแท้ แต่เป็นเพียง “ผู้ดูแลทรัพย์สิน” ดูแลสิ่ง ที่ยังเป็นของมนุษย์ทุกคนต่อไป คำ�สั่งสอนนี้มาจากพระเยซูเจ้าโดยตรง (และไม่ได้มาจากลัทธิคอมมิวนิสต์) ซึ่งสภาสังคายนาได้ย้ำ�อีกครั้งเมื่อ


126

บทเทศน์ปี C

ไม่นานมานี้ “พระเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้โลกนี้ และทุกสิ่งที่อยู่ในโลก นี้ ดำ�รงอยู่เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ทุกคน และทุกชนชาติ” (Church in the Modern World, 69) เศรษฐีจึงเรียกผู้จัดการมาถามว่า “เรื่องที่เราได้ยินเกี่ยวกับเจ้าเป็น อย่างไร จงทำ�บัญชีรายงานการจัดการของเจ้า เพราะเจ้าจะไม่ได้เป็น ผู้จัดการอีกต่อไป” ทรัพย์สมบัติของข้าพเจ้า คุณสมบัติ และสติปัญญาของข้าพเจ้า ความมั่งคั่งด้านศีลธรรม หรือจิตวิญญาณ และสมรรถภาพด้านอารมณ์ ของข้าพเจ้า ล้วนถูกมอบหมายให้ข้าพเจ้าดูแลทั้งสิ้น และข้าพเจ้าจะต้อง รายงานการใช้สมบัติเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์   ข้าพเจ้าไม่มีสิทธิผลาญ พระพรที่พระเจ้าทรงมอบหมายแก่ข้าพเจ้าให้สูญเปล่า เพราะสมบัติ เหล่ า นี้ ยั ง คงเป็ น ของพระองค์   พระเจ้ า ไม่ พ อพระทั ย ความสู ญ เปล่ า เพราะเป็นการสบประมาทคนทั้งหลายที่ขัดสนสิ่งเหล่านี้... ผู้จัดการจึงคิดว่า “ฉันจะทำ�อย่างไร นายจะไล่ฉันออกจากหน้าที่ผู้ จัดการแล้วจะไปขุดดินก็ทำ�ไม่ไหว จะไปขอทานก็อายเขา ฉันรู้แล้ว ว่าจะทำ�อย่างไร เพื่อว่าเมื่อฉันถูกไล่ออกจากหน้าที่ผู้จัดการแล้วจะมี คนรับฉันไว้ในบ้านของเขา” การพูดกับตนเองเช่นนี้แสดงว่าผู้จัดการรู้ตัวว่ากำ�ลังมีปัญหา เขาต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว พรุ่งนี้ก็อาจสายเกินไป เขาอาจถูกไล่ ออกภายในหนึ่งหรือสองชั่วโมง เขาต้องทำ�อะไรบางอย่างโดยเร็ว ... ความเร่งรีบนี้ทำ�ให้คิดถึง “ความเร่งด่วน ของอวสานกาล” ความจำ�เป็น เร่งด่วนที่จะไขว่คว้าหาสมบัตินิรันดร ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงพยายามสอนให้ คนร่วมสมัยคิดถึง ... ขอให้เราฉวยโอกาสเมื่อยังมีเวลา มิฉะนั้น “เราจะ ไม่มีเวลาแม้แต่จะหันกลับ” เหมือนกับเรายอมรับว่าเราไม่ได้มุ่งหน้าไป


บทเทศน์ปี C

127

หาเป้าหมายแท้ของเรา เราจำ�เป็นต้อง “หันกลับ” ต้องกลับใจอย่างเร่ง ด่วน เขาจึงเรียกลูกหนี้ของนายเข้ามาทีละคน ถามคนแรกว่า “ท่านเป็น หนี้นายข้าพเจ้าเท่าไร” ลูกหนี้ตอบว่า “เป็นหนี้น้ำ�มันมะกอกหนึ่งร้อย ถัง” ผู้จัดการจึงบอกว่า “นำ�ใบสัญญาของท่านมา นั่งลงเร็วๆ เขียน แก้เป็นห้าสิบถัง” แล้วเขาถามลูกหนี้อีกคนหนึ่งว่า “แล้วท่านล่ะ เป็น หนี้อยู่เท่าไร” เขาตอบว่า “เป็นหนี้ข้าวสาลีหนึ่งร้อยกระสอบ” ผู้ จัดการจึงบอกว่า “เอาใบสัญญาของท่านมา แล้วเขียนแก้เป็นแปด สิบกระสอบ” การฉ้อโกงครั้งนี้ฉลาดเพราะเหตุผลสามประการ ผู้จัดการไม่ ต้องเสียอะไรเลย ... เขาไม่ทิ้งร่องรอยให้สืบค้น ... ปลอดภัยจากการค้น พบในภายหลัง ... มนุษย์ไม่เปลี่ยนนิสัยเลยตั้งแต่สมัยของพระเยซูเจ้า… หนี้สองประเภทนี้ คือน้ำ�มันและข้าวสาลี เป็นผลิตผลที่ซื้อขาย กันทั่วไปในดินแดนปาเลสไตน์  น้ำ�มันร้อยถังเทียบเท่ากับน้ำ�มัน 365 ลิตร ข้าวสาลีหนึ่งร้อยกระสอบเทียบเท่ากับ 364 ควินทัล ... ผู้เชี่ยวชาญ บอกเราว่า “ส่วนลด” ในสองกรณีนี้มีค่าเท่ากับค่าแรงเฉลี่ย 500 วัน เรา สามารถคำ�นวณจำ�นวนเงินที่ผู้จัดการฉ้อโกงเทียบเป็นมูลค่าปัจจุบันได้ เมื่อได้ฟังถึงตอนนี้ ผู้ฟังคงคาดหมายว่าจะได้ยินคำ�ประณามจาก พระเยซูเจ้า แต่ขอให้เราฟังว่าพระองค์ตรัสอะไรต่อไป... นายนึกชมผู้จัดการทุจริตคนนั้นว่าเขาทำ�อย่างเฉลียวฉลาด ทั้งนี้ ก็ เ พราะบุ ต รของโลกนี้ มี ค วามเฉลี ย วฉลาดในการติ ด ต่ อ กั บ คน ประเภทเดียวกันมากกว่าบุตรของความสว่าง เราคงแปลกใจที่พระเยซูเจ้าทรงแสดงความยินดีกับผู้จัดการ ทุจริตคนนี้ แต่เราจะเข้าใจเมื่อได้ยินพระองค์อธิบาย


128

บทเทศน์ปี C

แต่ก่อนอื่น เราต้องบอกว่าพระเยซูเจ้าไม่ทรงเห็นชอบกับการ ฉ้อโกงของผู้จัดการทุจริตคนนี้  เพราะพระองค์ทรงคิดว่าชายคนนี้เป็น ส่วนหนึ่งของโลกแห่ง “ความมืด” ซึ่งมีซาตานเป็น “เจ้านาย” (ยน 12:31) และเป็ น โลกที่   “บุ ต รแห่ ง ความสว่ า ง” ไม่ ค วรยุ่ ง เกี่ ย วด้ ว ย (1 ธส 5:4-5) ดังนั้น เราบอกท่านทั้งหลายว่า จงใช้เงินทองของโลกอธรรมนี้เพื่อ สร้างมิตรให้ตนเอง เพื่อว่าเมื่อเงินทองนั้นหมดสิ้นแล้ว ท่านจะได้รับ การต้อนรับสู่ที่พำ�นักนิรันดร เพื่อสร้างมิตร ... เพื่อสร้างมิตรภาพ ... นี่คือเหตุผลที่พระองค์ ทรงชมเชย... ประโยคนี้คือแก่นของเรื่องอุปมา พระเยซูเจ้าทรงเปิดเผยสาร ที่พระองค์ทรงต้องการสื่อ กล่าวคือ ให้ใช้ความร่ำ�รวยในทางที่ถูกเพื่อ สร้างมิตรภาพ และใส่ความรักในความสัมพันธ์ของเรา นี่เป็นแนวคิด ที่ปฏิวัติความคิดเรื่องเงินทอง เราต้องใช้เงินเป็นเครื่องมือในการแบ่ง ปันและสร้างมิตรภาพ ... เงินทองไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายในตัวเอง เพราะมัน นำ�ความยินดีมาให้ผู้อื่นได้  รวมทั้งบุคคลที่ช่วยกระจายความยินดีผ่าน ทางเงินทองที่เขาให้  พระวรสารของลูกาย้ำ�มากกว่าพระวรสารฉบับอื่น ว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็น “พระเมสสิยาห์ของคนจน” อาณาจักรสวรรค์ เป็นของคนยากจนเหล่านี้ และคนรวยจะเข้าสู่สวรรค์ได้โดยอาศัยความ คุ้มครอง และการแนะนำ�ของคนจนที่พวกเขาเป็นมิตรด้วย ท่านใช้เงินทองของท่านอย่างไร... คำ�ถามนี้น่ากลัวหรือ... เปล่าเลย แต่เป็น “ข่าวดี” สำ�หรับคนรวย ซึ่งบัดนี้รู้แล้วว่าเขาสามารถได้รับความรอดพ้น และเข้าสู่  “ที่พำ�นัก นิรันดร” ได้เมื่อ “เงินทองนั้นหมดสิ้นแล้ว”


บทเทศน์ปี C

129

ผู้ ที่ ซื่ อ สั ต ย์ ใ นเรื่ อ งเล็ ก น้ อ ยก็ จ ะซื่ อ สั ต ย์ ใ นเรื่ อ งใหญ่ ด้ ว ย ผู้ ที่ ไ ม่ ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็กน้อย ก็จะไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องใหญ่ด้วย ในบทสรุปของคำ�บอกเล่านี้ เราพบหลายข้อความที่เผยให้เห็นว่า พระเยซูเจ้าทรงคิดอย่างไรเรื่องเงินทอง ก่อนอื่น พระองค์ทรงถือว่าเงินเป็นเรื่อง “เล็กน้อย” เมื่อเทียบ กับเรื่อง “ใหญ่” ซึ่งหมายถึงอาณาจักรนิรันดร ... ข้าพเจ้ายอมรับความ คิดเห็นนี้ด้วยหรือเปล่า... ถ้าท่านไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องเงินทองของโลกอธรรมแล้ว ผู้ใดจะวางใจ มอบสมบัติแท้จริงให้ท่านดูแลเล่า คำ�ยืนยันข้อที่สอง – พระเยซูเจ้าทรงบอกเราว่าเงินทองเป็นของ “โลกอธรรม” มันล่อลวง และเป็นกับดักที่ให้ความรู้สึกมั่นคงจอมปลอม เราไม่ควรตั้งความหวังไว้กับเงินทอง (1 ทธ 6:17) ในพระวรสารหน้านี้ ปรากฏคำ�ว่าทุจริต และอธรรม หลายครั้ง ซึ่งแปลมาจากภาษากรีกคำ� เดียวกัน เราแต่ละคนได้รับเชิญให้พิจารณามโนธรรมของตนเอง และ ถามตนเองว่าเรามีทัศนคติอย่างไรต่อทรัพย์สมบัติ เรามีทัศนคติที่ทุจริต หรืออธรรมหรือเปล่า เงินเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก และสามารถใช้เป็นเครื่องมือผูก มิตรกับผู้อื่นได้ แต่ก็อาจเป็นพลังของความชั่วได้เช่นเดียวกัน... ถ้าท่านไม่ซื่อสัตย์ในการดูแลทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ผู้ใดจะให้ทรัพย์ สมบัติของท่านแก่ท่าน คำ�ยืนยันข้อที่สามนี้ทันสมัยมาก พระเยซูเจ้าทรงประณามไว้ก่อน หน้าคาร์ล มาร์กซ์ เป็นเวลานาน ว่าเงินทองสร้างความบาดหมางในหมู่


130

บทเทศน์ปี C

มนุษย์ และไม่ใช่ทรัพย์สมบัติแท้ ทรัพย์สมบัติไม่ทำ�ให้มนุษย์เป็นคนดี หรือฉลาด หรือมีความสุข เราพบคุณค่าแท้ได้จากที่อื่น เงินทองทำ�ให้ เราเหินห่างจากเพื่อนมนุษย์ ถ้าเรายอมให้มันเป็นเจ้าของตัวเรา... ไม่มีผู้ใดเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนายได้ เขาจะชังคนหนึ่ง และจะรัก นายอีกคนหนึ่ง เขาจะจงรักภักดีต่อนายคนหนึ่ง และจะดูหมิ่นนาย อี ก คนหนึ่ ง  ท่ า นทั้ ง หลายจะปรนนิ บั ติ รั บ ใช้ พ ระเจ้ า และเงิ น ทอง พร้อมกันไม่ได้ ท่านเป็นนักโทษของเงินทองหรือเปล่า ... “ธุรกิจของท่าน” ล่าม ท่าน พันธนาการท่านเป็นนักโทษหรือเปล่า... พระเยซูเจ้าทรงบอกเราว่าไม่มีทางประนีประนอมได้เลย เราต้อง เลือกพระเจ้า ... หรือเลือกเงินทอง ขอให้เรายอมรับเถิดว่าเราอยากรับใช้นายทั้งสองสับเปลี่ยนกัน เราอยากรับใช้ “พระเจ้าของวันอาทิตย์” เพราะเห็นแก่ความรอดพ้น ของวิญญาณของเรา ... และอยากรับใช้ “พระเจ้าแห่งธุรกิจ” พระเจ้า ของกระเป๋าเงิน และผลกำ�ไร ระหว่างอีกหกวันของสัปดาห์... ในประโยคต่อไป ลูกาบอกเราว่า “ชาวฟาริสีที่รักเงินทองได้ยิน ถ้อยคำ�ทั้งหมดนี้ จึงหัวเราะเยาะพระองค์” ... เราหัวเราะเยาะด้วยหรือ เปล่า...


บทเทศน์ปี C

131

วั นอาทิตย์ที่ยี่สิบหก เทศกาลธรรมดา ลูกา 16:19-31 พระเยซู เ จ้ า ตรั ส แก่ ช าวฟาริ สี ว่ า  “เศรษฐี ผู้ ห นึ่ ง แต่ ง กาย หรู ห ราด้ ว ยเสื้ อ ผ้ า เนื้ อ ดี ร าคาแพง จั ด งานเลี้ ย งใหญ่ ทุ ก วั น  คน ยากจนผู้หนึ่ง ชื่อลาซารัส นอนอยู่ที่ประดูบ้านของเศรษฐีผู้นั้น เขา มีบาดแผลเต็มตัว อยากจะกินเศษอาหารที่ตกจากโต๊ะของเศรษฐี มี แต่สุนัขมาเลียแผลของเขา วันหนึ่ง คนยากจนผู้นี้ตาย ทูตสวรรค์ นำ�เขาไปอยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม เศรษฐีคนนั้นก็ตายเช่นเดียวกัน และถูกฝังไว้ เศรษฐีซึ่งกำ�ลังถูกทรมานอยู่ในแดนผู้ตาย แหงนหน้า ขึ้นมองเห็นอับราฮัมแต่ไกล และเห็นลาซารัสอยู่ในอ้อมอก จึงร้อง ตะโกนว่า ‘ท่านพ่ออับราฮัม จงสงสารลูกด้วย กรุณาส่งลาซารัสให้ ใช้ปลายนิ้วจุ่มน้ำ�มาแตะลิ้นให้ลูกสดชื่นขึ้นบ้าง เพราะลูกกำ�ลังทุกข์ ทรมานอย่างสาหัสในเปลวไฟนี้’ แต่อับราฮัมตอบว่า ‘ลูกเอ๋ย จงจำ� ไว้ว่า เมื่อยังมีชีวิต ลูกได้รับแต่สิ่งดี ๆ ส่วนลาซารัสได้รับแต่สิ่งเลว ๆ บัดนี้เขาได้รับการบรรเทาใจที่นี่ ส่วนลูกต้องรับทรมาน ยิ่งกว่า นั้น ยังมีเหวใหญ่ขวางอยู่ระหว่างเราทั้งสอง จนใครที่ต้องการจะ ข้ามจากที่นี่ไปหาลูก ก็ข้ามไปไม่ได้ และผู้ที่ต้องการจะข้ามจากด้าน โน้นมาหาเรา ก็ข้ามมาไม่ได้ด้วย’


132

บทเทศน์ปี C

เศรษฐีจึงพูดว่า ‘ท่านพ่อ ลูกอ้อนวอนให้ท่านส่งลาซารัสไป ยังบ้านบิดาของลูก เพราะลูกยังมีพี่น้องอีกห้าคน ขอให้ลาซารัส เตือนเขาอย่าให้มายังสถานที่ทรมานแห่งนี้เลย อับราฮัมตอบว่า ‘พี่ น้องของลูกมีโมเสสและบรรดาประกาศกอยู่แล้ว ให้เขาเชื่อฟังท่าน เหล่านั้นเถิด’ แต่เศรษฐีพูดว่า ‘มิใช่เช่นนั้น ท่านพ่ออับราฮัม ถ้า ใครคนหนึ่งจากบรรดาผู้ตายไปหาเขา เขาจึงจะกลับใจ’ อับราฮัม ตอบว่า ‘ถ้าเขาไม่เชื่อฟังโมเสสและบรรดาประกาศก แม้ใครที่กลับ คืนชีวิตจากบรรดาผู้ตายเตือนเขา เขาก็จะไม่เชื่อ’”


บทเทศน์ปี C

133

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง สารที่รบกวนจิตใจ ในบทอ่านที่หนึ่ง ประกาศกอาโมส และลูกา ร่วมกันโจมตีความ นิ่งนอนใจ และนิสัยรักความสนุกสบายว่า “วิบัติจงเกิดแก่คนที่ซ่อน ตัวอยู่ในความสุขสบายในศิโยน และคนที่รู้สึกปลอดภัยบนภูเขาแห่ง สะมาเรีย” เคยมีผู้ประมาณการว่าทุกวันนี้มีเด็กสี่หมื่นคนเสียชีวิตเพราะ ขาดสารอาหาร ซึ่ ง หมายความว่ า มี เ ด็ ก ตายหนึ่ ง คนทุ ก สองวิ น าที เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในโลกที่สื่อสารถึงกันได้ทั่วโลกด้วยอินเตอร์เน็ต ทุก ชาติถือว่าการชิงเหรียญโอลิมปิก หรือเวิร์ลคัพ สำ�คัญกว่าเทคโนโลยี ในการผลิตอาหาร หรือการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ถ้าเราเฉลิมฉลอง พิธีบิปังในวัด แต่ไม่ทำ�อะไรเลยเพื่อเลี้ยงดูพระคริสตเจ้าในตัวบุคคลที่ หิวโหย พิธีกรรมของเราก็เป็นความหน้าซื่อใจคดระดับสูงสุด เพราะเรา ได้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแสวงหาสิ่งบรรเทาใจจากศาสนา ในขณะ ที่ไม่สนใจสิ่งที่ศาสนาท้าทายให้เราปฏิบัติ มีศาสนาคริสต์บางนิกายที่สอนให้เชื่อว่าการได้รับความรอดพ้น จากพระเยซูคริสตเจ้าเป็นเรื่องส่วนบุคคล และไม่สอนเรื่องพันธะต่อ สังคมเลย นักธุรกิจผู้ร่ำ�รวยจอดรถคันหรูไว้นอกโรงแรมใหญ่ และเข้าไป ร่วมกินอาหารเช้าที่ทางศาสนจักรของตนจัดขึ้น และเป็นพยานยืนยันว่า เขาเจริญรุ่งเรืองขึ้นนับตั้งแต่เขามอบชีวิตของเขาให้พระเยซูเจ้า นักกีฬา ที่มีชื่อเสียง และร่ำ�รวยหลายคนอ้างว่าเขาพบพระเยซูเจ้าแล้วก็ประสบ ความสำ � เร็ จ  และเขาพบความสำ � เร็ จ มากขึ้ น ไปอี ก  เมื่ อ เขารั บ มื อ กั บ


134

บทเทศน์ปี C

ความเครียดได้ด้วยการมอบชีวิตของเขาให้พระเยซูเจ้า ข้าพเจ้าอยากจะ คิดว่าการมอบตนเองเช่นนี้จะรวมถึงการบริจาครายได้มหาศาลของเขา ให้แก่พระคริสตเจ้าในตัวคนยากจนด้วย แต่ข้าพเจ้าก็ไม่มั่นใจ เมื่อศักเคียสกลับใจหลังจากเขาสัญญาว่าจะแบ่งปันทรัพย์ของ เขาให้คนจนแล้วเท่านั้น พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่าความรอดพ้นได้เข้ามาสู่ บ้านของเขาแล้ว แนวความคิดที่ขาดความสมบูรณ์เกี่ยวกับความรอดพ้น กำ�ลังถูกใช้ซักฟอกมโนธรรมเพื่อทำ�ให้คนรวยไม่รู้สึกผิด ลูกาเป็นผู้นิพนธ์พระวรสารที่มักพูดถึงความเมตตากรุณา แต่ เขาก็เป็นผู้นิพนธ์ที่เตือนเรื่องความรับผิดชอบที่มาพร้อมกับเงินทอง ด้วย “เงินทองของโลกอธรรม” (16:11) พระเยซูเจ้าทรงกล่าวถึงหลัก การทางสังคมในบทเทศน์อันยิ่งใหญ่ที่เริ่มต้นด้วยเรื่องของความสุขแท้ พระเยซูเจ้าทรงคัดค้านความคิดของชาวยิวที่ถือว่าพระพรในชีวิตอยู่ที่ ความเจริญรุ่งเรือง อำ�นาจ เกียรติภูมิ และความนิยมชมชอบจากผู้อื่น พระองค์ทรงพลิกคุณค่าเหล่านี้ด้วยการประกาศว่า ในสายพระเนตรของ พระเจ้า ความสุขแท้เป็นของคนยากจน คนหิวโหย คนที่เป็นทุกข์เดือด ร้อนใจ และเหยื่อของความอยุติธรรม ในเรื่ อ งอุ ป มาที่ เ ราได้ ยิ น วั น นี้   เศรษฐี ค นนี้ ไ ด้ ชื่ น ชมทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่างที่เป็นความสุขจอมปลอม ความร่ำ�รวย งานเลี้ยง ความสำ�เร็จ และ การเป็นจุดเด่นในสายตาของผู้อื่น พระองค์ไม่ได้บอกว่าเขาสะสมทรัพย์ สมบัติมาด้วยวิธีทุจริต บาปของเขาอยู่ที่เขาละเลยสิ่งที่เขาควรทำ� บาป ละเลยนีเ้ ป็นบาปทีเ่ รามองข้ามได้งา่ ย ความรักเมตตาเป็นกิจการในเชิงรุก เป็นการมองผู้อื่นมากกว่ามองตนเอง การเป็นฝ่ายริเริ่ม การแสดงท่าที และกระทำ�สิ่งที่สามารถทำ�ได้ ตรงกันข้ามกับเศรษฐี  ลาซารัสเป็นตัวแทนของบุญลาภ หรือ ความสุขแท้ เขายากไร้ รอคอยเศษอาหาร ไม่ได้รับการรักษาโรคอย่าง เหมาะสม และเป็นเหยื่อของการละเลยและความอยุติธรรมทางสังคม


บทเทศน์ปี C

135

แต่ พ ระเจ้ า ทรงได้ ยิ น เสี ย งคร่ำ � ครวญของคนยากจน ดั ง นั้ น  ในสาย พระเนตรของพระเจ้า เขาจึงเป็นผู้ได้รับพระพร คือมีความสุขแท้ ไม่ใช่ ชายเศรษฐี น่าสังเกตว่าลาซารัสเป็นตัวละครเพียงคนเดียวในเรื่องอุปมา ในพระวรสารที่พระเยซูเจ้าทรงระบุชื่อ ชื่อของเขาแปลว่า “พระเจ้าทรงมี ความเวทนาสงสาร” มีช่องว่างกว้างใหญ่กั้นกลางระหว่างเศรษฐีและลาซารัส เราเดา ได้ว่าพระเจ้าทรงอยู่ฝ่ายใด น่าเสียดายที่เราเห็นคนรวยที่ปรนเปรอ ตนเอง ฟอกตนเองด้วยความเคารพนับถือจากคนในสังคม ที่แย่ยิ่งกว่า นั้นก็คือ ศาสนาถูกใช้เป็นเครื่องมือฟอกตัว การเป็นส่วนหนึ่งของพระ ศาสนจักรอาจทำ�ให้บางคนคิดว่าเขาอยู่ข้างเดียวกับพระเจ้า แต่ลาซารัส ทุกคนที่รออยู่หน้าประตูบ้านเป็นความท้าทายให้เราระลึกว่าพระเจ้า ประทับอยู่ที่ใด ... พระองค์ทรงอยู่ข้างคนจน บทสดุดีตอบรับในวันนี้เป็นบทสรรเสริญพระเจ้า ผู้ประทานพร แก่คนทั้งหลายที่ถูกกดขี่ หิวโหย ถูกจองจำ� หรือพิการในด้านใด ๆ “จง สรรเสริญพระเจ้า ผู้ทรงยกชูคนจน” ข้อรำ�พึงที่สอง นายเงินล้าน และนายพระเจ้าช่วย นายเงินล้าน – คนทั่วไปเรียกผมว่านายเงินล้าน ... และผมค่อนข้างจะ ชอบชื่อนี้ พ่อของผมช่วยพวกเราให้เริ่มต้นชีวิตอย่างดีได้ แต่พวกเราก็ ต้องทำ�งานหนักกว่าจะมายืนในจุดปัจจุบันนี้ได้ ผม และน้องชายทั้งห้า คน ทำ�งานหนักก่อนเราจะเข้มแข็งพอจะแยกย้ายกันไปก่อตั้งอาณาจักร ส่วนตัวของเรา เราใช้เงินต่อเงิน แต่คุณทำ�อย่างนี้ได้เฉพาะเมื่อคุณมี สมองที่เฉลียวฉลาดพอจะรู้ว่าจะใช้เงินต่อเงินอย่างไร บางครั้ง คุณต้อง เหี้ยม แต่เราทำ�ไปเพื่อป้องกันตนเองทั้งนั้น เพราะความอยู่รอดของเรา ขึ้นอยู่กับหลักการว่า คนอ่อนแอที่สุดต้องหลบไป ผมไม่รู้สึกผิด เพราะ


136

บทเทศน์ปี C

ผมไม่เคยใช้วิธีบีบบังคับใคร หรือละเมิดหลักจริยธรรมทางธุรกิจที่คน ทั่วไปยอมรับ เพราะวิธีนั้นจะทำ�ให้คุณพบปัญหาเสมอ ผมจึงไม่ยอมเสีย เวลากับมัน เพื่อนๆ บอกว่าผมโหด แต่ผมถือว่านั่นเป็นคำ�ชม ผมรู้ตัว ว่าผมโชคดีกว่าคนส่วนใหญ่ ผมไม่อายที่จะแสดงว่าผมศรัทธาในศาสนา และผมยอมรับว่าเป็นพระพรของพระเจ้าที่ผมโชคดีและมีไหวพริบ ผม แสดงความกตัญญูต่อพระเจ้าอย่างเปิดเผย และผมจ่ายเงินให้พระสงฆ์ อย่างงาม ใคร ๆ ก็รู้ว่าผมพร้อมจะบริจาคถ้ามีเป้าหมายที่ดี ความใจอ่อนแบบนี้แหละที่เพื่อน ๆ ของผมมักมองไม่เห็น ขอให้ ดู ข อทานที่ น อนอยู่ ห น้ า ประตู บ้ า นของผมทั้ ง วั น เป็ น ตัวอย่าง ดูเหมือนเขาจะชื่อ “พระเจ้าช่วย” สภาพของเขาไม่น่าดูเลย แต่ ผมก็ยอมให้เขานัง่ ทีน่ น่ั มานานหลายปีแล้ว ร่างกายเขาส่งกลิน่ เหม็นไปทัว่ และดึงดูดสุนัขแถวนี้ สุนัขที่คอยหาเศษอาหารเหมือนกับเขา ผมไม่รู้ว่าเขาทำ�ผิดอะไรต่อพระเจ้า เขาจึงต้องมีชะตากรรมเช่น นี้ และไม่ใช่ธุระของผมที่จะสอบถาม ผมมีใจเป็นธรรมพอ และนั่นเป็น เรื่องส่วนตัวของเขา เขาสามารถกินอาหารที่เรากินเหลือ ซึ่งคนรับใช้เอา ไปให้เขาทุกวันตามคำ�สั่งของผม ผมยอมให้เขานั่งที่หน้าประตูบ้านเสมอ เพราะเขาขาพิการ และ ช่วยตัวเองไม่ค่อยได้ ขอทานอื่นๆ ส่วนใหญ่ต้องโทษตนเอง พวกเขา ขี้เกียจ และไม่คิดถึงอนาคต นี่เป็นหัวข้อที่ผมเคยยกขึ้นมาคุยกับเพื่อนๆ บนโต๊ะอาหาร ... คุณสามารถขายสมบัติทุกชิ้นที่คุณมีอยู่  และบริจาคเงินทุกสตางค์ให้ คนจนก็ได้ และคุณรู้ไหม พวกเขาจะกลับมาขอคุณอีกอาทิตย์หน้าเพราะ ไม่มีเงินเหลือสักแดงเดียว คนพวกนี้ใช้เงินไม่เป็น เวลานี้   ผมไม่ ทำ � งานหนั ก เหมื อ นเมื่ อ ก่ อ นแล้ ว  นี่ เ ป็ น เวลา หาความสุขกับสิ่งดีๆ ในชีวิต มนุษย์เราต้องพักผ่อนบ้าง ผมทำ�ให้หลาย คนมีงานทำ� ผมจ้างพ่อครัว คนรับใช้ ช่างตัดเสื้อ และคนที่รับจ้างสร้าง


บทเทศน์ปี C

137

ความบันเทิง คนเหล่านี้จะบอกคุณว่าผมจ่ายพวกเขาอย่างงาม คนเดียว ที่ผมจ่ายเงินให้ แต่ผมไม่ชอบ ก็คือหมอโง่ๆ คนนั้นที่ต้องการให้ผม งดทำ�อย่างนั้น และลดอาหารอย่างนี้ ผมเห็นโลกมามากพอจะรู้ว่าจะมี ความสุขกับชีวิตอย่างไรโดยไม่ต้องได้ยินเสียงบ่นของเขา ผมไม่ยอมฟัง คนโง่หรอก นายพระเจ้าช่วย – ดูเหมือนว่าไม่มีใครจำ�ชื่อจริงของผมได้แล้วในเวลา นี้  นั่นเป็นความลับของผม และเมื่อมันเป็นสิ่งเดียวที่เรียกได้ว่าเป็น สมบัติของผม ผมจึงจะยึดมันไว้กับตัว ทุกคนเรียกผมว่า “นายพระเจ้า ช่วย” มานานหลายปีแล้ว แต่บางที เมื่อเด็กๆ ต้องการล้อเลียนผม เขา ก็เรียกชื่อที่แย่กว่านี้ ผมจำ�พ่อของผมได้เพียงรางๆ ... ถ้าผมจะเรียกชายคนนั้นได้ ว่าพ่อ เขาเป็นคนขี้เมา และชอบข่มขู่แม่และพวกเราทุกคน ผมจำ�อะไร ไม่ได้หลังจากเกิดอุบัติเหตุครั้งนั้น แม่ของผมไม่เคยพูดถึงเรื่องในอดีต ผมรู้แต่ว่าพ่อยกโต๊ะขึ้นทุ่ม และมันกระแทกผมไปติดข้างฝา ทำ�ให้ผม ขาพิการอย่างนี้ วันนั้น เป็นวันที่เขาทิ้งพวกเราไป และเราไม่เคยพบเห็น เขาอีกเลย แต่เราก็ไม่ต้องการพบเห็นเขาหรอก แม้ผมจะพิการ แต่ผมควรหาเลี้ยงชีพได้ ถ้ามีใครให้โอกาสสัก ครั้ง ผมรู้ว่าผมสติปัญญาดี เพราะผมอ่านออกเขียนได้ แม้ว่าผมไม่เคย ไปโรงเรียน ไม่มีใครยอมให้ผมเข้าเรียน และสภาพของผมก็ไม่เรียบร้อย พอจะเข้าวัดได้ แต่ผมยังโชคดีกว่าบางคน ผมมีอาหารพอประทังชีวิตจากเศษ อาหารที่ได้รับจากบ้านของนายเงินล้าน พวกคนรับใช้มีใจเมตตา และ นายเงินล้านเองก็ไม่เคยไล่ผม ผมรู้ว่าคนดีๆ คงรังเกียจที่จะกินขนมปังที่เขาใช้กวาดจานและ เช็ดนิ้วมือมาแล้ว แต่มันก็ยังเป็นขนมปังชั้นดี และขอทานอย่างผมไม่มี สิทธิจู้จี้


138

บทเทศน์ปี C

แผลเปื่อยตามตัวของผมก็เหมือนกัน ผมไม่มีเงินซื้อยาจากร้าน ขายยา แต่สุนัขก็เป็นสัตว์ที่เป็นมิตร ลิ้นของมันช่วยบรรเทาความเจ็บ ปวดจากบาดแผล และใครๆ ก็บอกว่าน้ำ�ลายของมันรักษาแผลได้ แต่ ผมยังไม่โชคดีถึงขนาดนั้น แต่ผมอยู่อย่างมีความหวัง อันที่จริง ชีวิตของ ผมเต็มไปด้วยความหวัง ผมอ่านพระคัมภีร์  และเรื่องราวในนั้นทำ�ให้ จิตใจของผมสงบและเข้มแข็ง คุณอาจไม่เชื่อ แต่ผมรู้สึกว่าพระเจ้าทรง อยู่ข้างเดียวกับผม ผมว่าผมเปลี่ยนไปมากระยะหลังนี้ เมื่อก่อนจิตใจ ของผมไม่เคยสงบเท่านี้ ครั้งหนึ่ง ผมเคยโกรธมากกับสถานการณ์ทั้งหมดนี้  ผมโกรธ ระบบสังคม โกรธพ่อของผม โกรธทุกคน และโกรธพระเจ้ามากที่สุด ผม เคยคิดวางแผนแก้แค้น ผมจะวางเพลิงบ้านของนายเงินล้าน ระหว่าง งานเลี้ยงสักครั้งหนึ่งของเขา และเผาทุกคนให้ตาย มันบ้าใช่ไหม เพราะ มันไม่ใช่ความผิดของเขา แต่นั่นมันนานมาแล้ว และความโกรธของผมก็หมดไปนานแล้ว ผมเริ่มรู้ตัวว่าบุคคลเดียวที่ผมโกรธจริง ๆ ก็คือตัวผมเอง ผมค่อย ๆ พูด ให้ตนเองคลายความโกรธ เมื่อเวลาผ่านไป ผมช่วยเหลือตนเองได้น้อย ลง ผมรู้ว่าผมจะต้องยากจนไปตลอดชีวิต แต่น่าแปลกที่ผมมีสันติสุข และพอใจในสิ่งที่ผมมี ลึกๆ ในใจ ผมไม่มีความคิดชั่วต่อนายเงินล้าน เลยแม้แต่น้อย เขาไม่ใช่คนเลวที่สุด อันที่จริง ผมไม่อิจฉาเขาเลย ผม มองว่าเขาเองก็ดูเหมือนไม่ค่อยมีความสุขนัก ผมคิดว่าเขาจัดงานเลี้ยง เหล่านี้ขึ้นมาเพราะต้องการหลบหนีจากความคิดของเขาเอง ดูเขาอ้วนฉุ และสุขภาพไม่ดี ผมรู้ตัวว่าผมคงอยู่ที่หน้าประตูบ้านของเขาต่อไปอีกไม่ นาน ผมคิดว่าเขาเองก็คงอยู่อีกไม่นานเหมือนกัน ผมสงสัยว่าเราจะพบกันอีกไหมในชีวิตหน้า เพราะมีช่องว่าง กว้างใหญ่ขวางกั้นอยู่ระหว่างเราสองคน


บทเทศน์ปี C

139

บทรำ�พึงที่ 2 พระเยซู เ จ้ า ตรั ส เรื่ อ งอุ ป มาว่ า เศรษฐี ผู้ ห นึ่ ง แต่ ง กายหรู ห ราด้ ว ย เสื้อผ้าเนื้อดีราคาแพง จัดงานเลี้ยงใหญ่ทุกวัน... พระเยซูเจ้าทรงสังเกตเห็นสถานการณ์เช่นนี้ ... มีความไม่เสมอภาคในสังคมมาตั้งแต่ยุคสมัยของพระองค์ บางคนรวยเกินไป และบาง คนก็ยากจนเกินไป... คนยากจนผู้หนึ่งชื่อลาซารัส นอนอยู่ที่ประตูบ้านของเศรษฐีผู้นั้น เขา มีบาดแผลเต็มตัว... ขอให้สังเกตว่าพระองค์ไม่ทรงระบุชื่อของเศรษฐี  บางทีเราอาจ มองเห็นตนเองในตัวของเขา ... ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง ... แต่ชายผู้ยากไร้คนนี้มีชื่อ เขาชื่อลาซารัส เขาเป็นคนสำ�คัญใน สายพระเนตรของพระเจ้าตั้งแต่เวลานั้นแล้ว นี่เป็นครั้งเดียวที่บุคคลใน เรื่องอุปมาได้รับชื่อ และชื่อนี้มีความหมายมาก El’azar ในภาษาฮีบรู แปลว่า “พระเจ้าทรงช่วยเหลือ” เราคงเดาได้แล้วว่าเศรษฐีคนนี้ถูกตำ�หนิเรื่องอะไร เขาวางใจ ในความร่ำ�รวยของตน ในสมบัติฝ่ายโลก ตรงกันข้าม พระเยซูเจ้าทรง ชมเชยคนยากจนผู้นี้ เพราะเมื่อเขาไม่มีทรัพย์ทางโลกเลย เขาจึงพึ่งพา อาศัยแต่พระเจ้าให้ทรงช่วยเหลือเขา ลาซารัส อยากจะกินเศษอาหารที่ตกจากโต๊ะของเศรษฐี มีแต่สุนัขมา เลียแผลของเขา


140

บทเทศน์ปี C

เราจงอย่าลืมว่าคำ�บรรยายนี้มาจากพระเยซูเจ้าเอง ภายในบ้าน มีอาหารอย่างเหลือเฟือและมีความสะดวกสบายทุกอย่าง ภายนอกบ้าน ที่ธรณีประตู มีแต่ความยากไร้ ระหว่างสภาพทั้งสองนี้มีประตูคั่นกลาง เหมือนกับ “เหว” ที่แยกคนรวยออกจากคนจน นี่คือสองโลกที่ดำ�รงอยู่ คู่ขนานกัน เศรษฐีขังตัวอยู่แต่ในโลกของเขา ซึ่งไม่ปล่อยให้เขาก้าวพ้น ประตูบ้านของตนเอง ความรวยปิดกั้นคนรวยไม่ให้  “มองเห็น” ผู้อื่น ... เศรษฐีที่ พระเยซูเจ้าตรัสถึงนี้ดูเหมือนว่ามองไม่เห็นชายคนที่นอนอยู่นอกบ้าน ที่ หน้าประตู ทั้งตัวมีแต่บาดแผล เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 1980 ที่เมืองเซาเปาโล (บราซิล) พระสั น ตะปาปายอห์ น  ปอล ที่   2 ทรงเปรี ย บเที ย บเรื่ อ งอุ ป มานี้ กั บ โลก สมัยใหม่ว่า “คลื่นผู้อพยพย้ายถิ่นอยู่กันอย่างเบียดเสียดในห้องพัก โกโรโกโส ที่ซึ่งหลายคนสูญสิ้นความหวัง และจบชีวิตอย่างน่าเวทนา เด็ก เยาวชน วัยรุ่น ไม่มีพื้นที่ให้พัฒนาพลังงานทางกายภาพ และจิตวิญญาณ อย่างเต็มที่ บ่อยครั้งต้องถูกขังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นภัยต่อสุขภาพ หรือถูกทิ้งไว้ตามถนนท่ามกลางการจราจร และอาคารที่ก่อสร้างด้วย ปูน... ใกล้กับเขตที่ผู้คนอยู่ท่ามกลางสิ่งอำ�นวยความสะดวกสมัยใหม่ ยังมีคนอื่นๆ ที่ขาดแม้แต่สิ่งจำ�เป็นขั้นพื้นฐาน ... บ่อยครั้งที่การพัฒนา กลายเป็นอุปมาเรื่องเศรษฐีและลาซารัสฉบับมโหฬาร ความฟุ่มเฟือยที่ อยู่เคียงข้างกับความขัดสน เพิ่มความรู้สึกอึดอัดคับข้องใจให้แก่ผู้ด้อย โอกาส...” พระเยซูเจ้าเคยตรัสไว้เช่นนี้มาก่อนแล้ว เราสามารถใช้คำ�พูด เดียวกันนี้บรรยายสถานการณ์ในเมืองใหญ่หลายๆ เมืองของเราได้จริง หรือไม่... ข้าพเจ้ารู้สึกอย่างไรกับคำ�บรรยายเหล่านี้...


บทเทศน์ปี C

141

วันหนึ่ง คนยากจนผู้นี้ตาย ทูตสวรรค์นำ�เขาไปอยู่ในอ้อมอกของ อับราฮัม เศรษฐีคนนั้นก็ตายเช่นเดียวกัน และถูกฝังไว้ เศรษฐีซึ่งกำ�ลังถูก ทรมานอยู่ในแดนผู้ตาย... สถานการณ์พลิกผันไปโดยสิ้นเชิง - คนยากจนเคยลิ้มรสนรกบนดิน เพราะสภาพของเขาคือนรก อย่างแท้จริง ... แต่บัดนี้ เขามีความสุข - เศรษฐีเคยเสพทุกสิ่งทุกอย่างจนอิ่ม ... และบัดนี้  เขาไม่มี ความสุขเลย เราเห็นได้ว่าพระวรสารไม่ได้บอกว่าคนจนนี้เป็นคนดี หรือบอก ว่าเศรษฐีเป็นคนชั่ว เพียงแต่บอกว่าคนหนึ่ง “ยากจน” และอีกคนหนึ่ง “รวย” ... เศรษฐีไม่ได้ถูกกล่าวหาว่าเคยคดโกงลาซารัส ในการซื้อขาย ใดๆ หรือเคยโกงค่าจ้าง หรือเคยทำ�ร้าย หรือแสวงหาประโยชน์จากเขา ... เขาเพียงแต่ “มองไม่เห็นลาซารัส” เขาปล่อยให้เกิดเหวลึกมาขวาง กั้นระหว่างเขา และคนจนคนนี้ ทั้งสองคนอยู่ห่างไกลกันมาก... (เศรษฐี) แหงนหน้าขึ้นมองเห็นอับราฮัมแต่ไกล และเห็นลาซารัส อยู่ในอ้อมกอด จึงร้องตะโกนว่า “ท่านพ่ออับราฮัม จงสงสารลูกด้วย กรุณาส่งลาซารัสให้ใช้ปลายนิ้วจุ่มน้ำ�มาแตะลิ้นให้ลูกสดชื่นขึ้นบ้าง เพราะลูกกำ�ลังทุกข์ทรมานอย่างสาหัสในเปลวไฟนี้” เราไม่ควรคิดว่านี่คือคำ�บรรยายสภาพที่แท้จริงของโลกหน้า พระ เยซูเจ้าทรงบรรยายตามวิธีคิดของคนร่วมสมัยของพระองค์ พระองค์ไม่ สามารถอธิบายเป็นอย่างอื่นได้ถ้าพระองค์ต้องการให้ประชาชนเข้าใจ ชาวยิวยุคนั้นเชื่อว่าโลกหน้าเป็นเหมือน “ที่พำ�นักของบรรดาผู้ตาย” (Sheol) ที่กว้างใหญ่ ที่มีร่างกาย นิ้ว ไฟ น้ำ� – ที่ซึ่งคนในนรกมองเห็น


142

บทเทศน์ปี C

คนในสวรรค์ได้ไกลๆ และมีเหวลึกขวางกั้นอยู่... ภาพลักษณ์ในคำ�บรรยายนี้แสดงให้เห็นสถานการณ์ที่พลิกกลับ บัดนี้ เศรษฐีต้องพึ่งพาคนจน... แต่อับราฮัมตอบว่า “ลูกเอ๋ย จงจำ�ไว้ว่า เมื่อยังมีชีวิต ลูกได้รับแต่สิ่ง ดีๆ ส่วนลาซารัสได้รับแต่สิ่งเลวๆ บัดนี้ เขาได้รับการบรรเทาใจที่นี่ ส่วนลูกต้องรับทรมาน ยิ่งกว่านั้น ยังมีเหวใหญ่ขวางอยู่ระหว่างเรา ทั้งสองจนใครที่ต้องการจะข้ามจากที่นี่ไปหาลูก ก็ข้ามไปไม่ได้ และ ผู้ที่ต้องการจะข้ามจากด้านโน้นมาหาเรา ก็ข้ามมาไม่ได้ด้วย” พระเยซู เ จ้ า ทรงใช้ คำ � พู ด ของอั บ ราฮั ม ยื น ยั น  “เอกสิ ท ธิ์ ข อง คนจน” อีกครั้งหนึ่ง จำ�บทเพลงสรรเสริญของพระนางมารีย์ได้ไหม “พระองค์ประทานสิ่งดีทั้งหลายแก่ผู้อดอยาก ทรงส่งเศรษฐีให้กลับไป มือเปล่า” (ลก 1:53) ... จำ�คำ�ปราศรัยของพระเยซูเจ้าที่นาซาเร็ธได้ หรือไม่  “พระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน” (ลก 4:18) ... จำ�บทเทศน์เรื่องความสุขแท้ และคำ�สาปแช่งได้หรือไม่ “ท่านทั้งหลายที่ยากจนย่อมเป็นสุข ... วิบัติจงเกิดกับท่านที่ร่ำ�รวย” (ลก 6:20, 24) ... จำ�คำ�เตือนถึงอันตรายของความร่ำ�รวยทรัพย์ทางโลกได้ ไหม (ลก 12:15-21, 16:9-11) ... พระเยซูเจ้าทรงเห็นว่ามีภัยร้ายแรงสองประการที่ติดมากับความ ร่ำ�รวย 1) ความร่ำ�รวยทำ�ให้เราปิดหัวใจต่อพระเจ้า – คนรวยพอใจกับ ความรื่นรมย์ทางโลก และมักลืมชีวิตนิรันดร ซึ่งเป็นสิ่งสำ�คัญที่สุด 2) ความร่ำ�รวยทำ�ให้เราปิดหัวใจต่อผู้อื่น – คนรวยมองไม่เห็น คนจนที่นอนอยู่หน้าประตูบ้านของตนอีกต่อไป... “นรก” ดูเหมือนว่าเป็นเพียงความต่อเนื่องของสภาพนี้เท่านั้น สภาพที่ อ ยู่ ห่ า งไกลจากพระเจ้ า เหมื อ นบนโลกนี้   ห่ า งไกลจากผู้ อื่ น


บทเทศน์ปี C

143

เหมื อ นบนโลกนี้   ... เราสั ง เกตเห็ น อี ก ครั้ ง หนึ่ ง ว่ า  ในความเป็ น จริ ง มนุษย์เป็นฝ่าย “พิพากษาตนเองตั้งแต่ในชีวิตนี้แล้ว” ... การลงโทษที่ น่ากลัวก็คือระยะห่างที่เศรษฐีคนนี้สร้างขึ้นระหว่างตัวเขาและพระเจ้า และระหว่างตัวเขาและเพื่อนมนุษย์  เพราะพระอาณาจักรของพระเจ้า คือความสนิทสัมพันธ์ที่เกิดจากความรัก เศรษฐีผู้นี้ตัดสินลงโทษตนเอง “ประตูบ้าน” ของเขาซึ่งแยกสองโลกออกจากกันได้กลายเป็น “เหว ใหญ่”... ข้าพเจ้าเชื่อหรือไม่ว่าข้าพเจ้ากำ�ลัง “สร้าง” สวรรค์ของข้าพเจ้า หรือนรกของข้าพเจ้า ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าเปิดหัวใจให้พระเจ้าและผู้อื่น หรือทุกครั้งที่ข้าพเจ้าขังตนเองไว้ภายในความเห็นแก่ตัวของข้าพเจ้า ... โลกนี้เป็นสถานที่ฝึกตนเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ในสวรรค์ หรือในนรก... มนุษย์คนใดที่ไม่สามารถรักใครได้ในโลกนี้  เป็นผู้ขีดฆ่าชื่อของ ตนเองออกจากรายชื่อผู้ได้รับเชิญไปใน “งานเลี้ยงของพระเจ้า” ซึ่งมีแต่ คนยากจนเท่านั้นที่เข้าไปได้ หมายถึงคนที่ “เปิดหัวใจให้ผู้อื่น” ... พระ เยซูเจ้าทรงเผยให้เรารู้จักพฤติกรรมและตัวตนของพระเจ้า  ว่าพระเจ้า ทรงเป็นความรักสากล ... ความรักต่อคนทั้งโลก ... ทรงเป็นบิดาผู้ฆ่า ลูกวัวที่ขุนจนอ้วน และจัดงานเลี้ยงใหญ่เพื่อต้อนรับบุตรที่หนีออกจาก บ้าน ... นี่คือพระเจ้า ... ส่วนเศรษฐีคนนี้พร้อมกับเพื่อนของเขาเผยว่า เขาต้องการชื่นชมกับสมบัติทางโลก ... สองภาพลักษณ์นี้ต่างกันโดยสิ้น เชิง... เศรษฐีจึงพูดว่า “ท่านพ่อ ลูกอ้อนวอนให้ท่านส่งลาซารัสไปยังบ้าน บิดาของลูก เพราะลูกยังมีพี่น้องอีกห้าคน ขอให้ลาซารัสเตือนเขา อย่าให้มายังสถานที่ทรมานแห่งนี้เลย” เพียงประโยคนี้ก็พิสูจน์ได้แล้ว ถ้าเราต้องการข้อพิสูจน์ ว่าภาพลักษณ์ตา่ งๆ ในเรือ่ งอุปมานี้ ไม่ใช่ค�ำ บรรยายสภาพทีแ่ ท้จริงของโลกหน้า


144

บทเทศน์ปี C

เพราะถ้าพระเจ้าทรงเห็นเจตนาดีแม้เพียงนิดเดียวในตัวมนุษย์คนใด เขาคนนั้นจะไม่ถูกลงโทษอีกต่อไป ความรักของพระเจ้าเป็นความรักอัน ไร้ขอบเขต ... แต่ในเรื่องอุปมานี้ เราได้เห็นเทคนิคการเล่าเรื่องที่จะนำ� ไปสู่คำ�ตอบที่ตามมา อับราฮัมตอบว่า “พี่น้องของลูกมีโมเสสและบรรดาประกาศกอยู่แล้ว ให้เขาเชื่อฟังท่านเหล่านั้นเถิด” แต่เศรษฐีพูดว่า “มิใช่เช่นนั้น ท่าน พ่ออับราฮัม ถ้าใครคนหนึ่งจากบรรดาผู้ตายไปหาเขา เขาจึงจะกลับ ใจ” นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ “การเรียกร้องเครื่องหมายอัศจรรย์” ... ทำ�อัศจรรย์ซิ แล้วเราจะเชื่อ ... ลงมาจากไม้กางเขนซิ ถ้าท่านเป็น พระบุตรของพระเจ้า... จงกระโจนลงไปจากยอดพระวิหารซิ... คริสตชน บางคนในปัจจุบันยังให้ความสนใจกับอัศจรรย์และการประจักษ์ต่างๆ แต่พระเยซูเจ้าทรงปฏิเสธการเรียกร้องให้แสดงเครื่องหมายที่น่าตื่นเต้น (ลก 11:16-29; มก 8:11-12; มธ 12:38, 16:1)... อับราฮัมตอบว่า “ถ้าเขาไม่เชื่อฟังโมเสสและบรรดาประกาศก แม้ ใครที่กลับคืนชีวิตจากบรรดาผู้ตายเตือนเขา เขาก็จะไม่เชื่อ” อันทีจ่ ริง แทนทีช่ าวฟาริสี และหัวหน้าสมณะจะเชือ่ ในพระเยซูเจ้า เมื่อพระองค์ทรงทำ�ให้ลาซารัส พี่ชายของมารธา และมารีย์แห่งเบธานี กลับคืนชีพ พวกเขากลับเร่งตัดสินใจกำ�จัดพระองค์ (ยน 11:45-53) วิถีทางแท้ที่นำ�ไปสู่ความเชื่อไม่ใช่อัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็นอัศจรรย์ ที่น่าตื่นตาตื่นใจเท่าใดก็ตาม แต่เป็นการถ่อมตนรับฟังพระวาจาของ พระเจ้า (“โมเสสและบรรดาประกาศก”) ... และการให้ความสนใจ อย่างถ่อมตนต่อความต้องการของพี่น้องของเรา (พี่น้องที่กำ�ลังเป็น ทุกข์เดือดร้อนอยู่รอบตัวเรา)...


บทเทศน์ปี C

145

ดูเหมือนพระเยซูเจ้าทรงกำ�ลังบอกเราว่าชะตากรรมของคนรวย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีกแล้ว เพราะความเห็นแก่ตัว ความเลินเล่อ การไม่ปฏิบัติตามคำ�สั่งสอนทางศาสนา การไม่ยอมเปิดหัวใจ พฤติกรรม เหล่ านี้ ทำ � ให้พวกเขา “ไม่สามารถอ่า นเครื่ องหมายของพระเจ้ า ได้ ” ความตายเตือนเขาได้เป็นครั้งคราวว่าความด้านชาฝ่ายจิตทำ �ให้เขาตก อยู่ในภาวะเสี่ยงและไม่ปลอดภัย และทรัพย์สมบัติของเขาจะไม่สามารถ คุ้มครองเขาได้ตลอดไป แต่ไม่มีประโยชน์ เพราะความรวยที่ทำ�ให้เขา มืดบอดต่อความขัดสนของผู้อื่น ก็ทำ�ให้เขามองไม่เห็นความเสี่ยงของ ตนเองเช่นกัน เขาคิดถึงแต่ตนเอง ... และกักขังตนเองอยู่ภายในทรัพย์ สมบัติของตน... พระเจ้าไม่ทรงทำ�ตัวเหมือนโจร พระองค์ไม่ทรงบีบบังคับให้ใคร รักพระองค์... เราจะสรุปการรำ�พึงตามพระวรสารวันนี้ด้วยการถามตนเองว่า ... ใครเป็นคนรวย ... ใครเป็นคนจน... เดิมพันครั้งนี้สูงยิ่ง และสำ�คัญมากจนเราไม่ควรด่วนตัดสินว่า อุปมาเรื่องนี้หมายถึงผู้อื่น และบอกว่า “ไม่ใช่ฉันหรอก เพราะฉันไม่ใช่ เศรษฐีบ่อน้ำ�มัน”... จงสำ�รวจหัวใจของท่านอย่างถี่ถ้วน ... ท่านเปิดหัวใจให้พระเจ้า หรือเปล่า ... ท่านเปิดหัวใจให้ผู้อื่นหรือเปล่า ... ท่านยากจนหรือเปล่า...


146

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่ยี่สิบเจ็ด เทศกาลธรรมดา ลูกา 17:5-10 บรรดาอัครสาวกทูลองค์พระผู้เป็นเจ้าว่า “โปรดเพิ่มความ เชื่อให้พวกเราเถิด” องค์พระผู้เป็นเจ้าจึงตรัสว่า “ถ้าท่านมีความเชื่อ เท่าเมล็ดมัสตาร์ด และพูดกับต้นหม่อนต้นนี้ว่า ‘จงถอนรากแล้วไป ขึ้นอยู่ในทะเลเถิด’ ต้นหม่อนต้นนั้นก็จะเชื่อฟังท่าน” “ท่านผู้ใดที่มีคนรับใช้ออกไปไถนา หรือไปเลี้ยงแกะ เมื่อคน รับใช้กลับจากทุ่งนา ผู้นั้นจะพูดกับคนรับใช้หรือว่า ‘เร็วเข้า มานั่ง โต๊ะเถิด’ แต่จะพูดมิใช่หรือว่า ‘จงเตรียมอาหารมาให้ฉันเถิด จงคาด สะเอวคอยรับใช้ฉันขณะที่ฉันกินและดื่ม หลังจากนั้น เจ้าจึงกินและ ดื่ม’ นายย่อมไม่ขอบใจผู้รับใช้ที่ปฏิบัติตามคำ�สั่งมิใช่หรือ ท่านทั้ง หลายก็เช่นเดียวกัน เมื่อท่านได้ทำ�ตามคำ�สั่งทุกประการแล้ว จงพูด ว่า ‘ฉันเป็นผู้รับใช้ที่ไร้ประโยชน์ เพราะฉันทำ�ตามหน้าที่ที่ต้องทำ� เท่านั้น’”


บทเทศน์ปี C

147

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง ความซื่อสัตย์ ในวันอาทิตย์นี้ และอีกสามสัปดาห์ต่อจากนี้ไป พระวรสารจะ กล่าวถึงความเชื่อ และการแสดงความเชื่อออกมาในการภาวนา เบื้อง หลังของบทอ่านวันนี้คือคำ�สั่งสอนของพระเยซูเจ้าให้เราให้อภัยผู้อื่น ครั้งแล้วครั้งเล่า ตราบใดที่เขากลับมาหาเราและพูดว่า “ฉันเสียใจ” เห็น ได้ชัดว่าเป็นคำ�สั่งสอนที่ปฏิบัติตามได้ยาก บรรดาอัครสาวกจึงขอพระเยซูเจ้าว่า “โปรดเพิ่มความเชื่อให้พวกเราเถิด” ทั้งหมดนี้เป็นการนำ� เราไปสู่ความเข้าใจว่า สิ่งสำ�คัญไม่ใช่ความเชื่อเพราะได้เห็นเครื่องหมาย ที่ น่ า ตื่ น เต้ น  แต่ เ ป็ น ความเชื่ อ ที่ ต้ อ งบำ � รุ ง เลี้ ย งให้ มี อ ยู่ ต่ อ ไปขณะที่ เราปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อั น น่ า เบื่ อ หน่ า ย ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งบั ง เอิ ญ ที่ เ ราเรี ย กความ พากเพียรในความเชื่อเช่นนั้นว่าความซื่อสัตย์ เมล็ดมัสตาร์ดมีขนาดเล็กมากจนสามารถเป่าให้ปลิวได้ แต่ในที่ อื่นของพระวรสาร เราอ่านพบว่าเมล็ดมัสตาร์ดสามารถเติบโตขึ้นเป็นไม้ พุ่มขนาดใหญ่ และเป็นที่อยู่อาศัยของนกได้ พระวรสารตอนนี้ต้องการ ให้เรารู้จักให้อภัยอย่างต่อเนื่อง ความเชื่อเท่านั้นสามารถช่วยเราให้ทำ� สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในความสัมพันธ์ของมนุษย์ ความเชื่อเพียงเล็กน้อยจะ เติบโตขึ้นเหมือนเมล็ดพืชเล็กๆ ถ้าเราพยายามให้อภัยบุคคลที่ทำ�ผิด ต่อเรา การให้อภัยจะถอนรากของแนวโน้มด้านลบ การปลูกต้นไม้ใน ทะเลเป็นภาพลักษณ์ของสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และในบริบทนี้หมายถึงการ ถอนรากอุปสรรคที่ขัดขวางการให้อภัย แต่ประโยคนี้ไม่ได้ต้องการให้ เราทำ�สิ่งที่อันตรายโดยอ้างความเชื่อ


148

บทเทศน์ปี C

ความท้าทายในชีวิตจะสร้างบรรยากาศให้ความเชื่อเติบโตและ เข้ ม แข็ ง  สิ่ ง สำ � คั ญ คื อ ความเชื่ อ ที่ เ พี ย รพยายาม เราจะมี ค วามเชื่ อ ที่ เข้มแข้งได้เมื่อเราเผชิญหน้ากับความท้าทาย เหมือนกับนักกีฬาที่เพิ่ม ศักยภาพให้ตนเองโดยขยายความอดทนของเขา เมื่อเราเพียรพยายาม ต่อสู้กับอุปสรรค หรือความท้าทาย เราจะได้ชื่อว่าเป็นคนซื่อสัตย์ แบบฉบับของความซื่อสัตย์ คือ ผู้รับใช้ที่ถ่อมตนและรู้จักหน้าที่ ของตน อุปมาเรื่องนี้ทำ�ให้เห็นภาพของการทำ�งานอันเป็นกิจวัตรที่น่า เบื่อหน่าย ผู้รับใช้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนโดยไม่คาดหวังว่าจะ ได้รับรางวัล หรือคำ�ชมเชย นอกจากการเลี้ยงดูตามปกติ ผู้รับใช้คนนี้ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ การเป็นคนซื่อสัตย์หมายถึงการเพียรพยายามเดินไปตามทาง ของเราต่อไป โดยเฉพาะในเวลาที่ทำ�เช่นนั้นได้ยาก และไม่มีใครแสดง ท่าทีว่าชื่นชมการทำ�งานของเรา บทอ่านที่หนึ่งจากหนังสือประกาศกฮะบากุ ก เชื่ อ มโยงกั บ คำ � สั่ ง สอนให้ เ พี ย รพยายามในความเชื่ อ  เขา เขียนหนังสือเล่มนี้ระหว่างช่วงเวลาที่ประชาชนถูกกดขี่  พบกับความ อยุติธรรม ความโหดเหี้ยม และความรุนแรง ท่านประกาศกประกาศ เรื่องนิมิต หรือสารที่ได้รับจากพระเจ้าท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ แต่ เขาเตือนผู้อ่านให้อดทนและเพียรพยายาม “แม้นิมิตนี้จะล่าช้าไปบ้าง ก็ จงคอยสักระยะหนึ่ง นิมิตนี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนโดยไม่ชักช้า ดูซิ ผู้มี จิตใจไม่ซื่อตรงก็จะล้มลง แต่ผู้ชอบธรรมจะมีชีวิตเพราะความซื่อสัตย์” “พระพรของพระเจ้าไม่ใช่พระจิตแห่งความขลาด แต่เป็นพระ จิตแห่งพลัง และความรัก และการควบคุมตนเอง” (บทอ่านที่สอง) ภายใต้พระอานุภาพของพระจิตเจ้า สิ่งที่มนุษย์ดูเหมือนจะทำ�ไม่ได้จะ เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ภายใต้แสงสว่างแห่งพระอานุภาพและความรัก ของพระเจ้า อุปสรรคที่ขัดขวางการให้อภัยจะถูกถอนราก ความแข็ง กระด้ างของหั วใจที่ดูเหมือ นไม่มีอ ะไรแทงทะลุ ไ ด้   จะละลายภายใต้


บทเทศน์ปี C

149

ความอบอุ่นจากความรักของพระเจ้า ถ้าเราเพียรพยายามต่อไปและ มอบปัญหาต่างๆ ไว้กับพระหรรษทานของพระเจ้า เพียรพยายามในการ สวดภาวนาขอให้พระประสงค์ของพระเจ้า – มิใช่ความประสงค์ของเรา - สำ�เร็จไป พระประสงค์ของพระเจ้าจะนำ�ไปสู่ความรัก และฟื้นฟูชีวิต เสมอ ข้อรำ�พึงที่สอง โต๊ะที่ว่างเปล่า ในบรรดาโต๊ะอาหารที่ลูกากล่าวถึงในพระวรสาร ไม่มีโต๊ะใดที่ ว่างเปล่าเท่ากับโต๊ะนี้ เกษตรกรในเรื่องอุปมานี้เป็นชาวนาเล็กๆ คนหนึ่ง ที่มีผู้รับใช้เพียงคนเดียวที่ต้องทำ�งานทั้งในทุ่งนาและรับใช้ที่โต๊ะอาหาร เราหวังว่าเมื่อเขากลับจากไถนา และก่อนจะมารับใช้ที่โต๊ะอาหาร เขา คงหาเวลาล้างมือก่อน เรื่องนี้ไม่แสดงถึงความอบอุ่น หรือเอาใจใส่ของ แม่บ้าน มีแต่ความว่างเปล่าไร้ชีวิตชีวาของบ้านชายโสด บ้านหลังนี้คง ดูสดใสขึ้นถ้าจะทาสีใหม่และติดม่าน อาหารไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น เพียง ช่วยให้อิ่มท้องเท่านั่น ไม่มีการพูดคุย นอกจากการเติมอาหารเข้าไปใน ท้องที่ว่างเปล่า แต่ละฝ่ายรู้ฐานะของตน และไม่ละเมิดขอบเขต ผู้เป็น นายไม่แสดงว่าสำ�นึกในบุญคุณของผู้รับใช้  และผู้รับใช้ก็ไม่คาดหวัง คำ�ขอบใจจากนาย ทั้งสองทำ�หน้าที่ของตน อีกวันหนึ่งผ่านไป และชีวิตก็ ดำ�เนินต่อไป ไม่มีเรื่องตื่นเต้น มีแต่เหตุการณ์ปกติที่น่าเบื่อ โต๊ะอาหารของลูกาเป็นภาพวาดของชีวิต โต๊ะตัวหนึ่งมีเนื้อรส อร่อยตั้งอยู่ที่ใจกลางงานเลี้ยงฉลองการคืนดีของคนในครอบครัว อีก โต๊ะหนึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางคนจองหองทั้งหลายที่แย่งกันนั่งในที่ที่มีเกียรติ เราเห็นโต๊ะที่มีคนมาชุมนุมผ่อนคลายอารมณ์ในวันสับบาโต เพราะพระ ผู้สร้างโลกทรงพักผ่อนจากการทำ�งานในวันที่เจ็ด


150

บทเทศน์ปี C

และมีอีกภาพหนึ่งที่มีหญิงคนบาปนั่งคุกเข่าร้องไห้ด้วยความ กตัญญูรู้คุณ ในขณะที่สายตาอันเย็นชาของบุคคลที่นั่งที่หัวโต๊ะมองนาง อย่างเหยียดหยาม บางครั้ง คำ�สนทนาอันเฉียบคมช่วยให้อาหารบนโต๊ะ มีรสชาติมากขึ้น บางครั้ง ก็มีบรรยากาศที่เคร่งขรึมขณะที่ใครคนหนึ่ง นั่งฟัง เหมือนกับมารีย์แห่งเบธานี นี่คือโต๊ะอาหารที่ใช้ประโยชน์ได้จริง โดยปราศจากสิ่งเติมแต่งด้วยการเฉลิมฉลอง หรือความสนุกสนานเพื่อ ช่วยผ่อนคลาย หรือเติมแต่งด้วยคำ�สนทนา ชีวิตภาวนานำ�เรามานั่งที่โต๊ะอาหารทุกตัวของนักบุญลูกา เรา อาจสวดภาวนาเป็นเวลานานที่โต๊ะอันน่าเบื่อหน่ายปราศจากสิ่งเติมแต่ง นี้ เราปฏิบัติทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนเคย แต่ไม่มีความตื่นเต้น ไม่มีความ สว่างภายใน และไม่ได้รับคำ�ตอบ เราสวดบทสดุดีบทเดิม พูดตามคำ�พูด เดิมในพิธีมิสซา และสวดสายประคำ�เหมือนเดิม หน้าที่ที่จำ�เป็นที่สุดของ ชีวิตเป็นหน้าที่ที่เราต้องปฏิบัติอย่างซ้ำ�ซาก ไม่ว่าจะเป็นการหายใจ การ กินอาหาร ซักล้าง นอนหลับ ทำ�งาน ... และสวดภาวนา บนโต๊ะอาหารที่ปราศจากสิ่งแต่งเติมนี้  เราเรียนรู้ที่จะมองเห็น แสงสว่างในความซ้ำ�ซากจำ�เจ ในการปฏิบัติศาสนกิจเป็นกิจวัตร และ ในใบหน้าเดิมๆ และอาชีพเดิม การทำ�สิ่งที่เป็นกิจวัตรไม่จำ�เป็นต้องน่า เบื่อหน่าย แต่สามารถนำ�ไปสู่ความสงบ และทำ�ให้เข้าใจพระเจ้าได้ลึกซึ้ง มากขึ้นในสิ่งธรรมดาสามัญ การอยู่กับคนกลุ่มเดิมไม่จำ�เป็นต้องนำ�ไปสู่ ความเย็นชา แต่ควรท้าทายข้าพเจ้าให้ยอมรับผู้อื่นได้ทั้งจุดแข็ง และจุด อ่อนของเขา เมื่อพบทางตันในการภาวนา หรือมาถึงคืนมืดในวิญญาณ ไม่ได้หมายความว่านั่นเป็นความตายของการภาวนาในตัวข้าพเจ้า แต่ ควรเป็นความตายต่อตนเองในการภาวนา ในบทอ่านที่หนึ่งของวันนี้ ประกาศกฮาบากุก แนะนำ�ว่า “แม้นิมิตนี้จะล่าช้าไปบ้าง ก็จงคอยสัก ระยะหนึ่ง นิมิตนี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนโดยไม่ชักช้า  ดูซิ  ผู้มีจิตใจไม่ ซื่อตรงก็จะล้มลง แต่ผู้ชอบธรรมจะมีชีวิตเพราะความซื่อสัตย์”


บทเทศน์ปี C

151

ความซื่อสัตย์โดยปราศจากสิ่งเติมแต่งนี้ไม่มีอะไรหรูหรา เรา เพียรพยายามต่อไปอย่างเงียบๆ และซื่อสัตย์  เพราะเรารู้ด้วยความ มั่นใจว่าพระเจ้าทรงซื่อสัตย์  และนั่นก็เพียงพอแล้ว พระเจ้าทรงเอื้อม พระหัตถ์มาหาข้าพเจ้าทั้ง 365 วันในแต่ละปีด้วยความรักอันซื่อสัตย์ไม่ ผันแปรของพระองค์  อย่างน้อยที่สุด ข้าพเจ้าก็ควรตอบสนองพระเจ้า ด้วยการภาวนาทั้ง 365 วันในแต่ละปี  “ฉันเป็นผู้รับใช้ที่ไร้ประโยชน์ เพราะฉันทำ�ตามหน้าที่ที่ต้องทำ�เท่านั้น”


152

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 2 บรรดาอัครสาวกทูลองค์พระผู้เป็นเจ้าว่า ... นักบุญลูกายังกำ�ลังบอกเล่าเรื่องการเดินทางครั้งสุดท้ายที่สำ�คัญ ที่สุดของพระเยซูเจ้าไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ลูกาเรียกพระองค์อย่างสง่า เช่นนี้เพื่อเปิดตัวคำ�สั่งสอนของพระเยซูเจ้าต่อไปนี้ หลังจากตรัสกับชาว ฟาริสี (ลก 16:1-31) และกับบรรดาศิษย์ (ลก 17:1-4) บัดนี้ พระ เยซูเจ้าหันมาตรัสกับอัครสาวก พระวรสารฉบับอื่นเรียกศิษย์ 12 คนนี้ ว่าอัครสาวกเพียงครั้งเดียว แต่ลูกาใช้คำ�นี้ถึง 6 ครั้งในพระวรสารของ เขา และ 28 ครั้งในหนังสือกิจการอัครสาวก สำ�หรับเขา มีแต่ 12 คน นี้เท่านั้นที่มีสิทธิใช้ชื่อนี้ เพราะเขาเป็นพยานอย่างเป็นทางการถึงข่าวดี ของพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพจนถึงสุดปลายแผ่นดิน Apostloi ใน ภาษากรีกแปลว่า “ถูกส่งไป”... การเป็นอัครสาวกในชีวิตประจำ�วันเป็นพันธกิจที่ต้องรับผิดชอบ มาก ไม่มีใครสามารถมอบบทบาทนี้ให้กับตนเองได้ ในพระศาสนจักร ของคริสตชนรุ่นแรก ผู้มีความเชื่อรับรู้ได้ถึงเอกสิทธิ์ที่ไม่อาจมอบหมาย ให้ใครได้ของอัครสาวก 12 คน เพราะพวกเขาได้รับมอบหมายพันธกิจ มาจากพระเยซูเจ้าโดยตรง และพระองค์ทรงส่งเขาออกไปด้วยพระองค์ เอง พระองค์ทรงเลือกเขา และทรงส่งเขาไป – พวกเขาเป็นพยานของ พระองค์ พวกเขาได้ยินคำ�สั่งสอนของพระองค์ และสามารถถ่ายทอด ให้แก่ผู้อื่นได้อย่างที่เขาได้ยินมาจากพระองค์ ... เขาได้เห็นกิริยาท่าทาง ของพระองค์ และสามารถทำ�แบบเดียวกันได้ - กิริยาเหล่านั้นจะยังคง เป็นของพระองค์ต่อไป ... ที่สำ�คัญที่สุด คือ พวกเขาเคยเห็นว่าพระองค์


บทเทศน์ปี C

153

ทรงมีชีวิตหลังจากทรงกลับคืนชีพแล้ว และห้ามตนเองไม่ได้ที่จะป่าว ประกาศข่าวดีนี้จนถึงสุดปลายแผ่นดิน (กจ 1:21-22, 1:8)... พระศาสนจักรในปัจจุบันขอให้คริสตชนทุกคนเป็น “อัครสาวก” แต่คุณสมบัติของอัครสาวกแท้ยังคงเหมือนเดิม คือ “ฉันก็ถูกส่งไป” โดยพระเยซูเจ้าเอง ให้ไปเป็นพยานยืนยันถึงตัวตนของพระองค์ ความ คิดของพระองค์ พระวาจาของพระองค์ กิริยาของพระองค์ ความรอดพ้น ที่พระองค์ประทานให้ ความรักของพระองค์... บรรดาอัครสาวกทูลองค์พระผู้เป็นเจ้าว่า  “โปรดเพิ่มความเชื่อให้ พวกเราเถิด” มัทธิว และมาระโก เรียกพระเยซูเจ้าว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า” เพียงหนึ่งครั้งระหว่างที่พระองค์ยังมีชีวิต แต่ลูกาใช้คำ�นี้เรียกพระองค์ ถึง 19 ครั้งในพระวรสารของเขา คำ�นี้ไม่ใช่คำ�ที่จะใช้เมื่อไรก็ได้ เพราะ หมายถึงพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพเสมอไป นอกจากนี้ คำ�ทูลขอของอัครสาวกก็พิเศษเช่นกัน ครั้งนี้เป็นครั้ง เดียวที่เราเห็นเพื่อนๆ ของพระเยซูเจ้าทูลขอพระองค์เสมือนว่าพระองค์ ทรงเป็นพระเจ้า ... ด้วยความคาดหวังบางอย่าง พวกเขาเรียกพระคริสต เจ้าแห่งปัสกาผู้ทรงพระสิริรุ่งโรจน์ ผู้ที่เขาค้นพบภายหลังว่าทรงมีความ ผูกพันลึกล้ำ�กับพระเจ้า เราควรระลึกว่าพระเยซูเจ้าทรงกำ�ลังขึ้นไปยัง กรุงเยรูซาเล็ม เหตุการณ์สุดท้ายใกล้จะเกิดขึ้นแล้ว... “โปรดเพิ่มความเชื่อให้พวกเราเถิด” การเป็นอัครสาวกไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของมนุษย์เท่านั้น การเป็นพยานถึงการกลับคืนชีพของพระคริสตเจ้าไม่ได้เป็นผลมาจาก หลักฐานที่มีเหตุมีผล ซึ่งบังคับให้เขาต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งใน ประวัติศาสตร์


154

บทเทศน์ปี C

ความเชื่อเท่านั้นที่เปิดความคิด และหัวใจมนุษย์ให้ยอมรับความ เป็นจริงของพระเจ้า ซึ่งอยู่เหนือความเข้าใจของมนุษย์  เหนือเหตุผล และเหนือกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ และความเชื่อเป็นพระพรของพระเจ้า “โปรดเพิ่มความเชื่อให้ พวกเราเถิด” ใครบ้าง นอกจากพระเจ้า สามารถเปลี่ยนแปลงอัครสาวก หลัง จากเขาวิ่งหนีและปฏิเสธพระองค์อย่างน่าละอายแล้ว จะมีใครนอกจาก พระเจ้าที่เปลี่ยนพวกเขาให้กลายเป็น “พยานผู้กล้าหาญ” จนถึงกับยอม พลีชีวิตเป็นมรณสักขี ... เปล่าเลย ความเชื่อไม่ใช่หลักฐาน ไม่ใช่การ ชนะใจมนุษย์ ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างสติปัญญาและอำ�เภอใจ แต่เป็นการ ยอมรับพระพร การยอมรับพระหรรษทานประการหนึ่งอย่างถ่อมตน ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์ไม่ต้องทำ�อะไรเลย การยอมรับด้วยความ ยินดีเป็นทัศนคติที่ต้องออกแรง ... ท่านไม่ใช่แสงสว่าง แต่ถ้าท่านปิด ม่านหน้าต่าง แสงอาทิตย์ก็ไม่สามารถส่องเข้ามาในบ้านของท่านได้ ... ความเชื่อก็เหมือนกับแสงอาทิตย์ เป็นพระพรที่พระเจ้าเสนอให้มนุษย์ ทุกคนไม่มีวันหยุด ... แต่มนุษย์ต้องเปิดใจยอมรับ ความเชื่อ หรือ “พระพร” ซึ่งพระเจ้าประทานให้เปล่าๆ นี้ ต้อง มีผู้ร้องขอ การภาวนาเป็นเสมือนหน้าต่าง ... เราต้องเปิดตัวเรายอมรับ พระพรจากพระเจ้า... “ข้าแต่พระเจ้า โปรดประทานความเชื่อแก่ข้าพเจ้าเถิด... พระเจ้า ข้า โปรดเพิ่มความเชื่อให้ข้าพเจ้าเถิด”... องค์พระผู้เป็นเจ้าจึงตรัสว่า “ถ้าท่านมีความเชื่อเท่าเมล็ดมัสตาร์ด และพูดกับต้นหม่อนต้นนี้ว่า ‘จงถอนรากแล้วไปขึ้นอยู่ในทะเลเถิด’ ต้นหม่อนต้นนั้นก็จะเชื่อฟังท่าน”


บทเทศน์ปี C

155

นี่คือภาพลักษณ์ของชาวปาเลสไตน์ที่ลืมได้ยาก และเหมาะสม กับวิธีสอนด้วยข้อความที่ขัดแย้งในตัว ... “เมล็ดมัสตาร์ดเป็นเมล็ดที่ เล็กกว่าเมล็ดทั้งปวง” (มก 4:31) ส่วนต้นหม่อนเป็นต้นไม้ที่รับบีชาว ยิวบอกว่าถอนรากได้ยากที่สุด เห็นได้ว่าพระเยซูเจ้าไม่ได้ทรงเชิญชวน เราให้ร้องขอเครื่องหมายอัศจรรย์ เพราะพระองค์เองไม่เคยถอนรากต้น หม่อน และนำ�ไปปลูกในทะเล และหลายครั้ง พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะ ทำ�อัศจรรย์ที่ผู้อื่นร้องขอ แต่อาศัยภาพลักษณ์นี้ พระองค์ทรงบอกเราว่า ความเชื่อเปิดใจเราให้รับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ... ให้เราเปิดใจรับพระเจ้า ความเชื่อเพียงน้อยนิดมีพลังมากกว่าความพยายามทั้งหมดของ มนุษย์ เพราะความเชื่อเป็นการเข้าร่วมในพลังสร้างสรรค์ของพระเจ้าเอง อั น ที่ จ ริ ง หลั ง จากวั น ปั ส กานั้ น  ความเชื่ อ ของบรรดาอั ค รสาวกมี ประสิทธิภาพมากมายเกินกว่าความสามารถประสามนุษย์ของเขา พวก เขาเป็นคนธรรมดาที่ไม่มีอิทธิพล ไม่มีอำ�นาจ ไม่มีเงิน ไม่มีองค์กร ไม่มี หนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์มาสนับสนุน ไม่มีความช่วยเหลือจากมนุษย์ คนใดเลย แต่พวกเขาสามารถเปลี่ยนทิศทางของประวัติศาสตร์ได้ ความ จริงในประวัติศาสตร์ และคำ�สั่งสอนของพระเยซูเจ้าในวันนี้ เชิญชวนเรา ให้ปฏิเสธ “เครื่องมือของอำ�นาจ” และไม่ต้องพึ่งพาอาศัย “วิธีการ” ที่ ยุ่งยากซับซ้อน และการวางแผนอย่างดีในการแพร่ธรรม แต่ให้พึ่งพา ความเชื่อของเราเท่านั้น และเราจะเปิดใจรับความเชื่อนี้ได้ผ่านการ ภาวนา... “ดูซิ หญิงพรหมจารีมีบุตร มนุษย์คนหนึ่งเกิดมาจากพระเจ้า สวรรค์อยู่ท่ามกลางพวกเรา ประชาชนไม่อยู่ตามลำ�พังอีกต่อไป ... เพียง มีความเชื่อเล็กน้อย และท่านจะเห็นต้นไม้ขึ้นอยู่ในทะเล ขอทานกลาย เป็นกษัตริย์ ผู้มีอำ�นาจถูกโค่น และสมบัติถูกนำ�มาแบ่งปันกัน ... ดูซิ น้ำ�เปลี่ยนเป็นเหล้าองุ่น เหล้าองุ่นเปลี่ยนเป็นโลหิต ขนมปังทวีจำ�นวน ประชาชนไม่หิวอีกต่อไป ... เพียงมีความเชื่อเล็กน้อย และท่านจะเห็น


156

บทเทศน์ปี C

ต้นไม้ขึ้นอยู่ในทะเล ทะเลทรายปกคลุมด้วยดอกไม้ พืชพันธุ์งอกงาม และเก็บเกี่ยวได้ในฤดูหนาว ยุ้งฉางเต็มจนล้นด้วยเมล็ดข้าว”... เพียงมีความเชื่อเล็กน้อย เล็กเท่าเมล็ดมัสตาร์ด และเราจะเห็น ผู้ที่สิ้นหวังกลับมีความหวังอีกครั้งหนึ่ง เห็นคนบาปลุกขึ้น เห็นทางตัน เปิดออก เห็นสงครามยุติ และความรักเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง ... ถูกแล้ว เราจะเห็นต้นไม้ในทะเล และภูเขาเคลื่อนที่ ภูเขาแห่งความกลัว ความ เห็นแก่ตัว ความขลาด ... วิกฤติในโลก วิกฤติในพระศาสนจักร วิกฤติ ในครอบครัว วิกฤติในโรงเรียน วิกฤติทางเศรษฐกิจ ... เพียงมีความเชื่อ เล็กน้อย... ความตายได้รับชัยชนะ ไม้กางเขนว่างเปล่า ... แต่คูหาฝังพระ ศพก็ว่างเปล่า และเปิดอยู่ ... และพระองค์ทรงมีชีวิต ประทับยืนอยู่ที่อีก ฟากหนึ่งของทะเล ... และ “ต้นไม้ก็โลดเต้นด้วยความยินดี” (สดุดี 95) “ท่านผู้ใดที่มีคนรับใช้ออกไปไถนา หรือไปเลี้ยงแกะ เมื่อคนรับใช้ กลับจากทุ่งนา ผู้นั้นจะพูดกับคนรับใช้หรือว่า ‘เร็วเข้า มานั่งโต๊ะเถิด’ แต่จะพูดมิใช่หรือว่า ‘จงเตรียมอาหารมาให้ฉันเถิด จงคาดสะเอว คอยรับใช้ฉัน ขณะที่ฉันกินและดื่ม หลังจากนั้น เจ้าจึงกินและดื่ม’” เราคงรู้สึกสะดุดใจกับความหยาบกระด้างเช่นนี้ ในยุคของพระ เยซูเจ้า สภาพของทาสในปาเลสไตน์คงไม่รุนแรงเท่ากับในโลกกรีกโรมัน แต่ก็เป็นสภาพที่ทาสต้องพึ่งพาอาศัยนายของตนอย่างสิ้นเชิง จน เราไม่อยากเชื่อว่ามีสถานการณ์เช่นนี้อยู่ทั่วไป ทาสเป็นสมบัติของนาย ที่ ไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง หรือกล่าวคำ�ขอบคุณทาส... เราไม่ อ าจยกเอาคำ�พูดของพระเยซู เ จ้ า เป็ น เหตุ ผลสนั บสนุ น ทัศนคติต่อต้านสังคมซึ่งเรายังพบเห็นบ่อยๆ อยู่ทุกวันนี้ เราพบหลาย ข้อความในพระวรสารที่เรียกร้องให้เรารักกัน แบ่งปัน และเคารพผู้ อื่น...


นายย่อมไม่ขอบใจผู้รับใช้ที่ปฏิบัติตามคำ�สั่งมิใช่หรือ

บทเทศน์ปี C

157

แน่นอน พระเจ้าข้า นายควรขอบใจ และพระองค์ก็ทรงทราบดี แต่ ด้ ว ยภาพลั ก ษณ์ ที่ ขั ด แย้ ง ในตั ว เอง และไม่ น่ า จะทนได้ นี้ พระองค์คงต้องการสอนความจริงสำ�คัญบางอย่างแก่เรา ท่านทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เมื่อท่านได้ทำ�ตามคำ�สั่งทุกประการแล้ว ... นี่คือเป้าหมายของคำ�สั่งสอนของพระองค์ พระองค์ไม่ได้สอนบท เรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคม แต่เป็นความสัมพันธ์กับพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงหันไปหาพระเจ้าตลอดเวลา พระองค์ทรงทำ�ลาย ความทะเยอทะยานอันโง่เขลาของเรา พระองค์ทรงทำ�ให้ทุกคนเข้าใจ ฐานะของตนเอง ไม่มีประโยชน์ที่เราจะหลอกตัวเอง พระเจ้าทรงเป็นทุก สิ่งทุกอย่าง ข้าพเจ้าเป็นแต่ความเปล่าเบื้องหน้าพระองค์ วันนี้  เราต้องตั้งใจฟังความจริงอันชัดเจนนี้  พระเจ้าทรงเป็น “นาย” ... เป็นภาพลักษณ์ที่เข้มงวด แต่จริงแท้  ซึ่งเราไม่ควรนำ�มา เปรียบเทียบกับภาพลักษณ์อื่นๆ เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสถึงพระเจ้าว่าเป็น “พระบิดา” เป็น “คู่ชีวิต” แม้แต่เป็น “ผู้รับใช้” ... “เราบอกความจริง แก่ท่านทั้งหลายว่า นายจะคาดสะเอวพาผู้รับใช้เหล่านั้นไปนั่งโต๊ะและจะ รับใช้เขาด้วย” (ลก 12:37) เราต้องยอมรับภาพลักษณ์ที่ดูเหมือนขัด แย้งกันในตัวเหล่านี้... พระเจ้าข้า ข้าพเจ้ายอมรับที่จะอยู่ต่อหน้าพระองค์เหมือนคนรับ ใช้ผู้ต่ำ�ต้อยคนหนึ่งที่ตั้งใจทำ�งานทุกอย่างที่พระองค์จะทรงสั่งข้าพเจ้า ... เหมือนพระนางมารีย์ เหมือนนักบุญหลายท่าน ข้าพเจ้าจะทำ�ตัวเป็น “คนรับใช้” ที่รับใช้พระเจ้าก่อนอื่นทั้งหมด ... “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของ พระเจ้า” อย่างที่พระนางมารีย์ เคยตรัสไว้...


158

บทเทศน์ปี C

จงพูดว่า “ฉันเป็นผู้รับใช้ที่ไร้ประโยชน์ เพราะฉันทำ�ตามหน้าที่ที่ต้อง ทำ�เท่านั้น” ก่อนจะทรงขอให้เราทำ�เช่นนี้ พระเยซูเจ้าทรงปฏิบัติเป็นตัวอย่าง มาแล้ ว  “แม้ว่ าพระองค์ทรงมีธ รรมชาติพระเจ้ า  พระองค์ก็มิได้ทรง ถือว่าศักดิ์ศรีเสมอพระเจ้านั้นเป็นสมบัติที่จะต้องหวงแหน แต่ทรงสละ พระองค์จนหมดสิ้น ทรงรับสภาพดุจทาส ... ทรงถ่อมพระองค์จนถึงกับ ทรงยอมรับแม้ความตาย เป็นความตายบนไม้กางเขน” (ฟป 2:5)... ชาวฟาริสีเชื่อว่าตนเองสมควรได้สวรรค์เป็นรางวัล เพราะความ ดีที่เขาทำ�  แต่พระเจ้าทรงคิดต่างจากเรา พระองค์ไม่ต้องตอบแทนเรา และไม่มีใครมีอำ�นาจเหนือพระองค์  ... ถ้าเราเชื่อว่าเรามีอำ�นาจใดๆ เหนือพระเจ้า เรากำ�ลังบูชาตัวเราเอง... ทัศนคติเดียวที่ถูกต้องเบื้องหน้าพระเจ้า คือ การรับใช้พระองค์ โดยไม่คำ�นึงถึงผลตอบแทน โดยไม่คิดถึงผลประโยชน์ การเป็นผู้รับใช้ เหมือนพระเยซูเจ้าไม่ใช่ความอัปยศ การรับใช้คือการครองราชย์... เรา ควรทำ�สิ่งที่เราควรทำ� และปล่อยให้ผลลัพธ์อยู่ในพระหัตถ์ของพระเจ้า ...


บทเทศน์ปี C

159

วั นอาทิตย์ที่ยี่สิบแปด เทศกาลธรรมดา ลูกา 17:11-19 ขณะที่ พ ระเยซู เ จ้ า เสด็ จ ไปยั ง กรุ ง เยรู ซ าเล็ ม นั้ น  พระองค์ เสด็จผ่านแคว้นสะมาเรียและกาลิลี เมื่อเสด็จเข้าไปในหมู่บ้านแห่ง หนึ่ ง  คนโรคเรื้ อ นสิ บ คนเข้ า มาเฝ้ า พระองค์  ยื น อยู่ ห่ า งพระองค์ ร้องตะโกนว่า “พระเยซู พระอาจารย์ โปรดสงสารพวกเราเถิด” พระองค์ ท อดพระเนตรเห็ น จึ ง ตรั ส กั บ เขาว่ า  “จงไปแสดงตนแก่ บรรดาสมณะเถิด” ขณะที่เขากำ�ลังไป เขาก็หายจากโรค คนหนึ่งใน สิบคนนี้ เมื่อพบว่าตนหายจากโรคแล้ว ก็กลับมาพลางร้องตะโกน สรรเสริญพระเจ้า ซบหน้าลงแทบพระบาท ขอบพระคุณพระองค์ เขาผู้นี้เป็นชาวสะมาเรีย พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า “ทั้งสิบคนหายจาก โรคมิใช่หรือ อีกเก้าคนอยู่ที่ใดเล่า ไม่มีใครกลับมาถวายพระเกียรติ แด่พระเจ้า นอกจากคนต่างชาติคนนี้หรือ” แล้วพระองค์ตรัสกับเขา ว่า “จงลุกขึ้น ไปเถิด ความเชื่อของท่านทำ�ให้ท่านรอดพ้นแล้ว”


160

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง ความกตัญญู ลูกาเป็นผู้นิพนธ์พระวรสารที่ให้ความสำ�คัญกับการภาวนามาก วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่สองในสี่สัปดาห์ที่พระวรสารกล่าวถึงบางแง่มุมของ การภาวนา เรื่องของคนโรคเรื้อนสิบคนสอนบทเรียนอันมีค่าเกี่ยวกับ การวิงวอนขอ และการขอบพระคุณพระเจ้า “พระเยซู พระอาจารย์ โปรดสงสารพวกเราเถิด” คนโรคเรื้อน ที่วิงวอนขอความช่วยเหลือเหล่านี้ไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดราวกับว่าองค์ พระผู้เป็นเจ้าไม่ทรงทราบความทุกข์ร้อนของเขา พวกเขาเพียงแต่เปิด เผยว่าพวกเขาต้องการความสงสารจากพระองค์  จุดประสงค์ของการ วิงวอนไม่ใช่เพื่อบอกสิ่งที่พระเจ้าไม่ทรงทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ของ เรา การวิงวอนเป็นวิธีการหนึ่งที่เรายอมรับความยากไร้ของเรา และ ทำ�ให้เรารู้สึกได้ลึกซึ้งมากขึ้นว่าเราต้องพึ่งพระเจ้า ลูกา บรรยายภาพ ให้เราเห็นขบวนการซ้อนของพระพรจากการภาวนาในตัวคนโรคเรื้อน ที่ ก ลั บ มาขอบพระคุ ณ  ขบวนการแรกคื อ พระพรที่ พ ระเจ้ า ประทาน ลงมาให้เรา เมื่อชายคนนี้กำ�ลังเดินไป เขาก็พบว่าตนเองหายจากโรค แล้ว ข้อความนี้แสดงให้เห็นความปิติยินดีจากการค้นพบความรักของ พระเจ้าที่มีอำ�นาจเยียวยารักษาซึ่งหลั่งลงมา ขบวนการที่ ส องของพระพรคื อ การกลั บ ไปหาพระเจ้ า  ลู ก า บอกเราว่าชายคนนี้หันกลับมาระหว่างทาง พลางร้องตะโกนสรรเสริญ พระเจ้า และเมื่อเขามาหาพระเยซูเจ้า เขาหมอบลงแทบพระบาทเพื่อ ขอบพระคุณพระองค์


บทเทศน์ปี C

161

มีความแตกต่างหรือไม่ระหว่างการสรรเสริญ และการขอบคุณ บางครั้ง เราเห็นเด็กเล็กๆ คนหนึ่งที่ได้รับของขวัญรีบวิ่งไปหาผู้ให้ทันที และตอบแทนเขาด้วยการกอดและจูบ เขาชื่นชมยินดีในตัวผู้ให้มากกว่า ในของขวัญ แต่เด็กที่โตกว่า บางทีอาจเป็นเพราะเขาบังคับตนเองได้ มากกว่ า  และไม่ แ สดงออกตามสั ญ ชาตญาณเหมื อ นเด็ ก เล็ ก  จึ ง มั ก ขอบคุณพอเป็นพิธี จากนั้นก็สนใจแต่การเปิดห่อของขวัญ การสรรเสริญ เป็นการตอบสนองต่อผู้ให้ของขวัญ ในขณะที่การขอบคุณเป็นการตอบ สนองต่อของขวัญมากกว่า ข้าพเจ้าคิดว่าลูกาบรรยายเหตุการณ์ที่ชายโรคเรื้อนรู้ตัวว่าเขา หายจากโรคไว้ดีมาก การเดินไปตามถนน หมายถึงการเดินทางในชีวิต ของเรา ชายคนนี้พบว่าตนเองหายจากโรค การพบเห็นพระพรต่างๆ ที่ พระเจ้าประทานให้ในชีวิตของเราคือกุญแจที่กระตุ้นให้เราสรรเสริญ พระองค์ ถ้าชายคนนี้ไม่เคยเป็นโรคเรื้อน เขาคงไม่รู้คุณค่าของสภาพที่ ไร้โรคภัยไข้เจ็บ และเมื่อเขาเป็นชาวสะมาเรีย ซึ่งถือว่าเป็นคนต่างชาติ คงทำ�ให้ความยินดีและความกตัญญูของเขาเพิ่มขึ้นอีก ความคุ้นเคยมัก ทำ�ให้เราเห็นคุณค่าน้อยลง พรสวรรค์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเราน่า จะเป็นพรสวรรค์ที่เรายังมองไม่เห็น เพราะเราคิดว่าเป็นเรื่องปกติ โดย เฉพาะคนทั้งหลายที่เราพบเห็นทุกวัน จนเรามองข้ามความสำ�คัญของ เขา คนที่เคยป่วยหนักจนแทบเอาชีวิตไม่รอดจะบอกเราว่าบัดนี้เขาเห็น คุณค่าของอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นทุกวัน เมื่อเขาตื่นนอน และสามารถลุกขึ้น จากเตียงได้ บางคนพบว่าการบันทึกเรื่องราวในชีวิตประจำ�วันช่วยได้มาก ข้าพเจ้าขอเสนอว่าสิ่งสำ�คัญที่สุดที่เราควรบันทึกคือพระพรต่างๆ ที่เรา ได้รับจากพระเจ้าในชีวิต การมองเห็นและยอมรับว่าสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นใน ชีวิตของเราเป็นพระพรจากพระเจ้า จะเป็นแหล่งกำ�เนิดของความสว่าง และพลังงานในชีวิต ที่ดียิ่งกว่าการทบทวนและการวิเคราะห์ความรู้สึก


162

บทเทศน์ปี C

และเหตุจูงใจ นอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอเสนอว่าก่อนไปรับศีลอภัยบาป เรา ควรระลึกถึงพระพรต่างๆ ที่เราได้รับจากพระเจ้าในชีวิต ก่อนจะไป สารภาพความบกพร่องต่างๆ ของเรา วิธีนี้จะช่วยให้เราสร้างบรรยากาศ ที่เหมาะสมสำ�หรับการสารภาพบาป ปั จ จั ย หนึ่ ง ที่ ทำ � ให้ เ ราพิ ศ วงใจ และกตั ญ ญู รู้ คุ ณ  คื อ  ความ ตระหนักว่าเราไม่ได้ทำ�อะไรที่เหมาะสมจะได้รับพระพรนั้นๆ เลย คำ�ว่า กตัญญู (gratitude) มาจากศัพท์ภาษาละติน (gratis) ที่แปลว่าของ ขวัญที่ได้มาเปล่าๆ หนึ่งในบรรดาผลอันยิ่งใหญ่ของคุณธรรมแห่งการ มีใจยากจน ก็คือสำ�นึกในคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่เราได้มาเปล่าๆ ไม่มี ใครแสดงออกถึงผลของคุณธรรมข้อนี้ได้ชัดเจนกว่านักบุญฟรังซิส แห่ง อัสซีซี  ชายผู้ยากจนและต่ำ�ต้อย ซึ่งบางครั้งเขาชื่นชมยินดีกับสิ่งสร้าง ต่างๆ ของพระเจ้าจนแทบมึนเมา ผู้เขียนประวัติของเขามักย้ำ�ว่า ยิ่งเขา ชื่นชมยินดีกับความงามของโลกมากเท่าไร เขาก็ยิ่งกระหายที่จะกลับ ไปหาพระเจ้าผู้ทรงเป็นต้นกำ�เนิดของความงามเหล่านั้นมากเท่านั้น ใน ผลงานศิลปะทุกชิ้นในธรรมชาติ เขาเห็นองค์ศิลปิน และคำ�ภาวนาของ เขาเต็มไปด้วยคำ�สรรเสริญพระเจ้า ขบวนการไหลกลับไปหาต้นกำ�เนิดของพระพรเหล่านี้ดึงจิตใจ ของเราไปหาพระตรีเอกภาพ พระบุตรทรงเป็นพระวจนาตถ์  ผู้ทรง แสดงให้เห็นความบริบูรณ์ของพระบิดาเสมอ พระองค์ “ทรงเป็นภาพ ลักษณ์ของพระเจ้าที่เรามองไม่เห็น” (คส 1:15) “ทรงเป็นรังสีแห่งพระ สิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า ทรงเป็นภาพลักษณ์ที่สมบูรณ์ขององค์พระเจ้า” (ฮบ 1:3) พระบุตรทรงได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดา และทรง สะท้อนพระสิริรุ่งโรจน์นั้นกลับไปหาพระบิดา อันเป็นการสรรเสริญ พระองค์อย่างไม่มีวันสิ้นสุด ทุ ก คนที่ เ ข้ า ร่ ว มในพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ได้ รั บ เอกสิ ท ธิ์ อั น น่ า ยำ� เกรงให้ มี ส่ วนร่วมในการบูชาพระเจ้าเช่ น นี้   อาศั ย การเสด็ จ มารั บ


บทเทศน์ปี C

163

ธรรมชาติ ม นุ ษ ย์   พระบุ ต รทรงโอบอุ้ ม ทุ ก คนที่ ย อมรั บ พระองค์ ด้ ว ย ความเชื่อ และอาศัยการสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนชีพของพระองค์ พระองค์ทรงยกทุกคนขึ้นด้วยการสรรเสริญพระบิดาอย่างสมบูรณ์ไม่มีที่ติ ความหมายของพิธีบูชาขอบพระคุณก็คือการถวายการสรรเสริญและ ขอบพระคุณแด่พระเจ้า ผ่านทางพระเยซูเจ้า พร้อมกับพระองค์ และ ในพระองค์ และหลังจากเราได้ถวายการสรรเสริญในบทภาวนาก่อนรับ ศีลมหาสนิทแล้ว เราจะได้รับพระหรรษทานยิ่งขึ้นไปอีกด้วยการรับองค์ พระผูเ้ ป็นเจ้าให้มาเป็นปังแห่งชีวติ ของเรา สมดังวลีทว่ี า่ “พระหรรษทาน เพื่อตอบแทนพระหรรษทาน” “อี ก เก้ า คนอยู่ ที่ ใ ดเล่ า ” ขอให้ เ ราอย่ า ชี้ มื อ ไปที่ ผู้ อื่ น  แต่ ใ ห้ พิจารณาชีวิตของเราเองสำ�หรับพรสวรรค์อื่นอีกเก้าประการที่พระเจ้า ประทานให้แก่เรา แต่เรายังไม่ค้นพบ ... ขอให้ลองจับปากกา และเขียน รายการพระคุณอีกเก้าประการที่ท่านยังไม่เห็นคุณค่าเพียงพอดูเถิด การค้นพบ และการกลับไป ทำ�ให้เรามีหัวใจที่เปี่ยมด้วยความ กตัญญูรู้คุณ และความกตัญญูรู้คุณก็เป็นหัวใจของการภาวนา ข้อรำ�พึงที่สอง อีกเก้าคน “อีกเก้าคนอยู่ที่ใดเล่า” น้ำ�เสียงของพระเยซูเจ้าดูจะผิดหวังอยู่ ไม่น้อย บางทีทั้งเก้าคนนี้อาจกำ�ลังสรรเสริญพระเจ้าตามแบบฉบับของ ตนเองอยู่ก็ได้ แต่เขาก็ควรขอบพระคุณพระเยซูเจ้าด้วย เพราะพระองค์ ทรงเป็นคนกลางที่รักษาโรคให้เขา บางทีเขาอาจมีข้อแก้ตัวที่มีเหตุผลก็ เป็นได้ เรื่องนี้เปิดโอกาสให้เราลองวาดมโนภาพได้ว่าเขาไปทำ�อะไรที่ใด บ้าง อาวี และเบน เป็นชาวยิว และเขาปฏิบัติตามคำ�สั่งของพระเยซู เจ้าให้ไปแสดงตนแก่บรรดาสมณะ เขาจำ�เป็นต้องได้รับการรับรองว่า


164

บทเทศน์ปี C

ปราศจากมลทินก่อนจะกลับคืนสู่สังคมได้  และหนทางจากชายแดน แคว้นสะมาเรียและกาลิลี ไปถึงกรุงเยรูซาเล็ม ก็ยาวไกล นอกจากนี้ เมื่อ เขาสะอาดปราศจากมลทินแล้ว เขาก็ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับพวกสะมาเรีย เหล่านั้นอีก เขาควรลืมสิ่งที่เขาทำ�ไปเพราะสถานการณ์บีบบังคับจะดี กว่า ดังนั้น เมื่อเขาต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางศาสนา เขาจึงไม่กลับไป หาพระเยซูเจ้า โคลปัส ก็เป็นชาวยิว แต่เขารู้สึกว่ายังไม่จำ�เป็นต้องรีบไปแสดง ตัวกับสมณะ สิ่งแรกที่เขาควรทำ�คือไปหาครอบครัวที่เขาต้องตัดใจแยก ตัวออกไป เขาเดินทางไปอยู่ในแคว้นสะมาเรีย ที่ซึ่งไม่มีใครรู้จัก เพื่อไม่ ให้ครอบครัวของเขาต้องอับอาย ทุกวันที่อยู่ห่างจากครอบครัวเป็นวันที่ ยาวนานมาก เขาจึงรีบเดินทางกลับบ้าน ส่วนเดมัส เขาแทบคลั่งเพราะความตื่นเต้น เขาวิ่งไปกระโดดไป ลงนอนกลิ้งเกลือกบนพื้นดิน และร้องตะโกนเหมือนคนบ้า เขาไม่สนใจ ว่าใครจะคิดอย่างไร บัดนี้เขาไม่มีมลทินแล้ว แต่เอลิมมีปัญหา เอลิมเป็นคนที่มีปัญหาบางอย่างเสมอ เขาไม่ ได้เต็มใจนัก เมื่อเขาเข้าร่วมกับคนอื่นๆ ตะโกนเรียกท่านประกาศก บัดนี้ เขาเห็นแล้วว่าตนเองหายจากโรค แต่เขาก็ยังคิดว่าเป็นจินตนาการ ของเขาเอง และมันจะหายไปในไม่ช้า ยิ่งเขาเห็นเดมัสกระโดดโลดเต้น เอลิมก็ยิ่งไม่มั่นใจ ชะตาชีวิตต้องเล่นตลกกับเขาอีกครั้งหนึ่งเป็นแน่ เขา จึงเดินจากไปตามลำ�พังพร้อมกับคิดในใจว่า พรุ่งนี้เขาก็คงกลับมาเป็น โรคเดิมอีก อีกสองคนคือเฟเบล และเกเรด ถามกันและกันว่าทั้งหมดนี้เป็น ความฝันหรือเปล่า เขาต้องการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง เขาจึงเดินทางไป ยังเมืองที่ใกล้ที่สุด เขาเดินทางอย่างระมัดระวัง และกลัวตลอดเวลาว่า จะได้ยินเสียงร้องที่เขากลัวมากว่า “มีมลทิน มีมลทิน” แต่ไม่มีเสียงร้อง เช่นนี้ให้ได้ยิน แต่เขาก็รู้สึกว่าทุกสายตาหันมามองเขา มองทะลุท่าทีที่ดู


บทเทศน์ปี C

165

เหมือนไม่ทุกข์ร้อนของเขา แต่ก็ไม่ได้ยินเสียงร้องใดๆ ทั้งสองมีความ กล้ามากขึ้น เขาเดินเข้าไปในตลาดที่มีคนพลุกพล่าน เขาถูกเบียด ถูก ผลัก – มันเป็นความรู้สึกที่ดีอะไรเช่นนี้  เขารู้สึกเจ็บเมื่อมีใครบางคน เหยียบเท้าของเขาซึ่งกลับมีความรู้สึกอีกครั้งหนึ่ง คนเหล่านี้รู้หรือไม่ว่า ความเจ็บปวดสามารถหอมหวานเช่นนี้ได้ เขาจับต้องความแข็งกระด้าง ของเครื่องใช้ และลูบคลำ�ความอ่อนนุ่มของผ้า และรู้สึกถึงน้ำ�หนักของ สิ่งต่างๆ ไม่มีเสียงตะโกนเตือนภัย มีแต่เสียงของพ่อค้าที่ถามว่า “ชอบ ไหมครับท่าน” ใช่ซิ เขาชอบมาก และมีเฮโนค และอิตาม ที่บอกว่าเขาต้องกลับไปหาพระเยซูเจ้า แน่นอน ... แต่ยังไม่ใช่เวลานี้ เขาต้องเลี้ยงฉลองกันก่อน ใครจะตำ�หนิ เขาได้ เขาถูกห้ามไม่ให้เข้าพักในโรงแรมใดๆ มานานหลายปี เขาอยาก ลิ้มรสเครื่องดื่มซึ่งสำ�หรับเขาเป็นเหมือนภาพลวงตากลางทะเลทรายมา นานหลายปี ขอดื่มอะไรสักหน่อยเถิดแล้วเขาจะไป ท่านประกาศกต้อง เข้าใจแน่ พระเยซูเจ้าทรงเข้าใจดี แต่พระองค์ก็อดเศร้าพระทัยไม่ได้ และ ทรงผิดหวังด้วย ข้อแก้ตัวเหล่านั้นดูเหมือนมีเหตุผล แต่ข้อแก้ตัวก็ฟังดู มีเหตุผลด้วยกันทั้งนั้น คนหนึ่งในสิบคนกลับมาหาพระองค์ เพียงร้อย ละสิบ จำ�นวนคนที่กลับมาขอบพระคุณพระองค์มีเพียงเท่านี้จริงหรือ การแสดงความกตัญญู  และแสดงว่าเราเห็นคุณค่าของพระพร จากพระเจ้า ย่อมไม่สูญเปล่าแน่นอน มาร์ค ทเวน บอกว่าคำ�ชมเพียงคำ� เดียวทำ�ให้เราอิ่มไปหนึ่งเดือน บางคนอาจต้องดำ�รงชีวิตโดยไม่ได้ยินคำ� ขอบคุณนานกว่านี้ แม้จะมีบางคนที่คำ�ชมอาจทำ�ให้เขาเหลิง แต่ก็มีคน จำ�นวนมากที่ความงามกำ�ลังร่วงโรยไปเพราะไม่เคยได้ยินคำ�ชมเชย “อีก เก้าคนอยู่ที่ใดเล่า”


166

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 2 ขณะที่พระเยซูเจ้าเสด็จไปยังกรุงเยรูซาเล็มนั้น... ลูกาเตือนเราอีกครั้งหนึ่งว่าอะไรรอพระเยซูเจ้าอยู่ข้างหน้า นี่คือ สัปดาห์ท้ายๆ ในชีวิตของพระองค์บนโลกนี้... ก่อนอื่น ข้าพเจ้าต้องใช้เวลาไตร่ตรองถ้อยคำ�เหล่านี้ พระเยซูเจ้า กำ � ลั ง เดิ น ทางไปยั ง กรุ ง เยรู ซ าเล็ ม  ข้ า พเจ้ า พยายามวาดภาพใน จินตนาการ และพยายามคิดว่าพระเยซูเจ้าทรงกำ�ลังคิดถึงอะไร ขณะที่ พระองค์ทรงเดินอยู่บนถนนที่นำ�ไปสู่กรุงเยรูซาเล็ม จุดหมายของการ เดินทางครั้งสุดท้ายของพระองค์... พระองค์เสด็จผ่านแคว้นสะมาเรีย และกาลิลี ลูกาเน้นย้ำ�ความจริงว่าพระเยซูเจ้าทรงเลือกเดินทางผ่านแคว้น สะมาเรีย พระองค์ไม่ทรงเหยียดเชื้อชาติเหมือนคนร่วมสมัย พระองค์ ไม่ ท รงลั ง เลใจที่ จ ะเดิ น ทางผ่ า นแคว้ น นี้   ซึ่ ง เป็ น อาณาเขตต้ อ งห้ า ม สำ�หรับประชาชนในกรุงเยรูซาเล็ม “ชาวยิวไม่ติดต่อกับชาวสะมาเรีย” (ยน 4:9) เมื่ อ อาณาจั ก รเหนื อ ล่ ม สลาย และหลั ง จากชาวอิ ส ราเอลถู ก เนรเทศในปีที่ 721 ก่อนคริสตกาล ชาวอัสสิเรีย ซึ่งเป็นผู้ชนะ ได้นำ�ทาส มาจากแคว้นอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยคนต่างชาติต่างศาสนา ... ผู้นำ�ทาง ศาสนาในกรุงเยรูซาเล็ม จึงถือว่าชาวสะมาเรียเป็นคนนอกรีต... ความใจกว้างของพระเยซูเจ้าควรท้าทายเรา ... เรายังมีความ รังเกียจคนบางกลุ่ม บางเชื้อชาติ หรือบางชนชั้นอยู่หรือเปล่า...


บทเทศน์ปี C

167

ความสนใจที่ลูกาแสดงต่อสะมาเรียมีนัยสำ�คัญ ในแคว้นนี้ “พันธ กิจเผยแผ่พระวรสาร” เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกนอกแคว้นยูเดีย และเป็น ปฐมบทที่นำ�ไปสู่การแผ่ขยายอย่างกว้างขวางของพระศาสนจักร เข้าไป ในดินแดนของคนที่ไม่ใช่ชาวยิว... คริสตชนวันนี้ไม่ควรเดินตามทางใดนอกจากทางที่พระเยซูเจ้า ทรงเดินนำ�เราไปก่อน... ข้าพเจ้าหลีกเลี่ยง “แคว้นสะมาเรีย” แห่งยุคปัจจุบันหรือเปล่า... เมื่อเสด็จเข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง คนโรคเรื้อนสิบคนเข้ามาเฝ้า พระองค์... ในแคว้นที่ถูกสาปแห่งนี้ ... มีบุคคลที่ถูกสาปแช่งมากที่สุดมาหา พระองค์ ... ข้าพเจ้าต้องพยายามวาดภาพเหตุการณ์นี้ในใจด้วย ตาม ความคิดในพระคัมภีร์ (ลนต 13, 14) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจทุกชนิด ถูกเรียกว่า “โรคเรื้อน” ซึ่งอาจไม่ใช่โรคเรื้อนอย่างที่ทางแพทย์วินิจฉัย กันในปัจจุบัน นอกจากนี้ พระคัมภีรม์ องว่าโรคเรือ้ นเป็นการลงโทษของพระเจ้า เป็นภาพลักษณ์ของ “บาป” ที่ทำ�ให้มนุษย์กลายเป็นบุคคลอัปลักษณ์... แต่พระเยซูเจ้าไม่ทรงกลัว พระองค์คือความรักอันอ่อนโยนของ พระเจ้า ผูเ้ สด็จมาหาผูย้ ากไร้ทส่ี ดุ ... ผูถ้ กู ทอดทิง้ ... แม้แต่ทกุ วันนี้ บาป ของข้าพเจ้า แม้แต่บาปที่หนักที่สุด ... ก็ไม่ทำ�ให้พระองค์ทรงรังเกียจ ข้าพเจ้า... พระเยซู เ จ้ า เสด็ จ มาเพื่ อ จุ ด ประสงค์ นี้   ... เพื่ อ ช่ ว ยมนุ ษ ย์ ใ ห้ รอดพ้น ... เพื่อรักษาโรค...


168

บทเทศน์ปี C

เขายืนอยู่ห่างพระองค์ ร้องตะโกนว่า... ในจินตนาการ ข้าพเจ้าได้ยินเสียงร้องตะโกนออกมาจากปากของ ชาย 10 คน... นี่ คื อธรรมเนียมของเขา และเป็น หน้ า ที่ ข องเขาด้ ว ย เขาต้ อง ตะโกนบอกทันทีที่เห็นใครเข้ามาใกล้ กฎของโมเสส ค่อนข้างโหดร้ายใน ประเด็นนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคนี้แพร่กระจาย ... “ผู้ใดเป็นโรคผิวหนัง ติดต่อได้ ต้องสวมเสื้อผ้าขาด ไม่โพกศีรษะ และปิดหน้าส่วนล่าง ร้อง ตะโกนว่า ‘มีมลทิน มีมลทิน’ ”(ลนต 13:45) ... ไม่ต้องบอกก็รู้ได้ว่า พวกเขาเป็น “บุคคลต้องห้าม” เขาถูกห้ามอยู่ร่วมกับประชาชนทั่วไป และห้ามเข้าไปในสถานที่ประกอบศาสนกิจ... คนเหล่านี้เป็นผู้ยากไร้ที่สุดในบรรดาผู้ยากไร้ทั้งหลาย... “พระเยซู พระอาจารย์ โปรดสงสารพวกเราเถิด” พวกเขาเรียกพระนามของพระองค์  ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น น้อยครั้งมากในพระวรสาร ในภาษาอาราเมอิก คำ�ว่า Jeshouah แปลว่า “พระเจ้าทรง ช่วย”... ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจารีตตะวันออกจึงมีบทภาวนาชื่อว่า “บท ภาวนาต่อพระเยซูเจ้า” ซึ่งเรียกขานพระนาม และวิงวอนขอว่า “พระเยซู เจ้าข้า โปรดทรงเมตตาเทอญ ... พระเยซูเจ้าข้า โปรดทรงเมตตาเทอญ ... พระเยซูเจ้าข้า โปรดทรงเมตตาเทอญ...” เราก็ ส วดภาวนาเช่ น นี้ บ่ อ ยครั้ ง ระหว่ า งพิ ธี มิ ส ซาว่ า  “ข้ า แต่ พระเจ้า โปรดทรงเมตตาเทอญ”...


บทเทศน์ปี C

169

พระองค์ทอดพระเนตรเห็น จึงตรัสกับเขาว่า “จงไปแสดงตนแก่ บรรดาสมณะเถิด” นี่เป็นกฎอีกข้อหนึ่งเช่นกัน (ลนต 14:2) สมณะเท่านั้นมีสิทธิ รับรองว่าบุคคลหนึง่ หายจากโรคเรือ้ นแล้ว ดังนัน้ คนโรคเรือ้ นทัง้ 10 คน จึงเข้าใจได้ว่าคำ�สั่งของพระเยซูเจ้าเป็นคำ�สัญญาว่าพวกเขาจะหายจาก โรค แต่เราอาจสะดุดใจที่ดูเหมือนพระเยซูเจ้าทรงไม่มีความปรานี แทนที่จะทรงรักษาเขาให้หายในทันทีทันใด พระองค์กลับทรงขอให้ บุคคลน่าสงสารเหล่านี้เดินกลับไป เราเห็นพวกเขาเดินจากไปทั้งที่ยัง เป็นโรคเรื้อน... เหตุ ก ารณ์ เ กิ ด ขึ้ น เสมื อ นว่ า พระเยซู เ จ้ า ทรงต้ อ งการทดสอบ ความเชื่อของพวกเขา ซึ่งทำ�ให้เรานึกถึงประกาศกเอลีชา ที่ทดสอบ ความเชื่อของนาอามาน ชาวซีเรีย เมื่อเอลีชาขอให้เขาทำ�บางสิ่งบาง อย่าง ... แต่กลับทำ�ให้ชาวซีเรียผู้นี้โกรธ... บ่ อ ยครั้ ง  ความเชื่ อ ก็ เ ป็ น บททดสอบสำ � หรั บ เราเช่ น กั น  เป็ น เหมือนการเดินทางในเวลากลางคืนโดยที่เรามองไม่เห็น และไม่เข้าใจ อะไรเลย เราต้องมีความมั่นใจ และวางใจในพระวาจาของพระเยซูเจ้า ... เราวิงวอนขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า และพระองค์ทรงสัญญาจะ ประทานแก่เรา ... สักวันหนึ่ง ... และเราต้องเดินต่อไปตามทางของเรา โดยมีแต่คำ�สัญญาของพระองค์เท่านั้น... ขณะที่เขากำ�ลังไป เขาก็หายจากโรค นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่อัศจรรย์เกิดขึ้นอย่างลับๆ ห่างไกลจากพระ เยซูเจ้า องค์ประกอบที่น่าตื่นตาตื่นใจของเหตุการณ์ ... ซึ่งพวกเรานิยม ชมชอบกันเหลือเกิน ... กลับถูกปิดบังไว้...


170

บทเทศน์ปี C

เราได้เห็นความหมายเชิงศาสนาของการรักษาโรคครั้งนี้ ... คำ� วิ ง วอนของชายที่ ป่ ว ยเหล่ า นี้ เ ป็ น คำ � ภาวนาในรู ป แบบของพิ ธี ก รรม “โปรดสงสารพวกเราเถิด” และพระเยซูเจ้าทรงบอกให้เขาไป “แสดง ตนแก่บรรดาสมณะ” ... พระวรสารเชิญชวนให้อ่าน “เครื่องหมาย” ใน การรักษาที่มีลักษณะพิเศษนี้... พระเยซูเจ้าทรงสามารถรักษาข้าพเจ้าได้เหมือนกัน พระองค์ สามารถช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้นได้เหมือนกัน ... ขอให้เราอย่าวิงวอนขอ พระองค์แต่พระพรทางวัตถุเลย... “อาศัยพระกายและพระโลหิตของพระองค์ ข้าแต่พระเยซู พระคริสตเจ้า โปรดทรงรักษาหัวใจของมนุษย์ทุกวันนี้เทอญ” คนหนึ่งในสิบคนนี้ เมื่อพบว่าตนหายจากโรคแล้ว ก็กลับมาพลาง ร้องตะโกนสรรเสริญพระเจ้า ซบหน้าลงแทบพระบาทขอบพระคุณ พระองค์ “การสรรเสริญพระเจ้า”...ร้องตะโกนสรรเสริญ และถวายเกียรติ แด่พระเจ้า ... เขาซบหน้าลง เขาหมอบลงบนพื้น ... ตามปกติชาวยิว จะยืนอธิษฐานภาวนา แต่บางครั้ง เมื่อชาวยิวรู้สึกยำ�เกรงเพราะเขาอยู่ เบื้องหน้าพระเจ้า หรือกำ�ลังเป็นทุกข์ใจ เขาจะหมอบลงกับพื้น ... เป็น เครื่องหมายว่าเขายอมจำ�นนโดยสิ้นเชิง ... หรือกำ�ลังเป็นทุกข์มาก ในพระคัมภีร์ มนุษย์จะหมอบลงกับพื้นเบื้องหน้าพระเจ้าเท่านั้น ในกรณีนี้ คนโรคเรื้อน “ซบหน้าลงแทบพระบาท” พระเยซูเจ้าทรงมี ส่วนร่วมในพระสิริรุ่งโรจน์ และพระอานุภาพอันไร้ขอบเขตของพระเจ้า นี่คือธรรมล้ำ�ลึกที่ซ่อนอยู่ภายใต้ธรรมชาติมนุษย์ของพระองค์ “ขอบพระคุณพระองค์” หรือภาษากรีกเรียกว่า euchariston... แม้แต่ภาษากรีกสมัยใหม่ก็ยังใช้คำ�ว่า eucharisto เมื่อพูดว่า ขอบคุณ คงน่าเสียดายถ้าเราลืมความหมายแท้จริงของถ้อยคำ�ที่เรา


บทเทศน์ปี C

171

ใช้ในพิธีกรรม ... มีใครบ้างในพวกเราที่คิดว่า เมื่อเราบอกว่า “ฉัน จะไปพิธีมิสซา” อันที่จริงเรากำ�ลังพูดว่า “ฉันกำ�ลังจะไปขอบพระคุณ พระเจ้า” ... เหนืออื่นใด พิธีบูชามิสซาเป็นพิธีกรรมที่พระศาสนจักร “ขอบพระคุณ” พระเยซูเจ้าอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อพระองค์ “เสด็จจากโลก นี้ไปเฝ้าพระบิดา” “พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ... ทรงหยิบถ้วยเหล้า องุ่น ... ทรงขอบพระคุณ ตรัสว่า “นี่คือกายของเรา ... นี่เป็นโลหิตของ เรา ... ที่ถูกมอบเพื่อท่านทั้งหลาย” อาหารทุกมื้อของชาวยิว โดยเฉพาะ งานเลี้ยงปัสกา ต้องเริ่มต้นด้วย berakha คือการขอบพระคุณ หรือ ถวายพร พระเยซูเจ้าทรงได้รับการอบรมมาให้มีความศรัทธาต่อพระเจ้า เหมือนชนชาติเดียวกับพระองค์ พระองค์ทรงขอบพระคุณพระเจ้าเสมอ สำ�หรับความรักอันอ่อนโยนของพระองค์  สำ�หรับความดีของพระองค์ ที่ได้ทรงสร้างโลกอันกว้างใหญ่และสวยงามนี้ และทำ�ให้เราได้รับสิ่งดีๆ มากมาย (โดยเฉพาะอาหารที่จำ�เป็นเพื่อให้เราดำ�รงชีพอยู่ได้ กล่าวคือ ขนมปังและเหล้าองุ่น อาหารและเครื่องดื่ม) ซึ่งปลดปล่อยเรา และช่วย ให้เรารอดพ้น... เราต้องยอมรับว่าเราไม่รู้ว่าเราควรขอบพระคุณพระเจ้าอย่างไร เรากล่าวคำ�ว่า “ขอบคุณ” อย่างสุภาพในหลากหลายโอกาสด้วยความ เคยชินและแทบไม่รู้ตัว ทั้งที่โต๊ะอาหาร ในร้านค้า และบนถนนหนทาง ... โดยไม่สร้างความสัมพันธ์ใดๆ กับบุคคลที่เราพบเลย ... ตามปกติ เมือ่ เรากล่าวคำ�ว่า “ขอบคุณ” เราควรมองตาบุคคลทีท่ �ำ ให้เรามีความสุข ... คนโรคเรื้อนที่น่าสงสารนี้อยู่ห่างไกลจากพระเยซูเจ้าเมื่อเขาได้ รับพระพรอันยิ่งใหญ่  คือการรักษาโรคของเขา ด้วยความรู้สึกพิศวงนี้ เขาต้องการเห็นพระพักตร์ของพระเยซูเจ้าอีกครั้งหนึ่ง เขาเดินกลับมา หาพระองค์ ... เพื่อมาพูดว่า “ขอบคุณ” กับพระองค์! ข้าพเจ้าพยายาม จินตนาการว่าเขาแสดงท่าทางอย่างไร น้ำ�เสียงของเขาเป็นอย่างไร และ


172

บทเทศน์ปี C

ความปิติยินดีบนใบหน้าของเขา... เขาผู้นี้เป็นชาวสะมาเรีย ถูกแล้ว เขาเป็นคนต่างถิ่น เป็นคนนอกรีต เป็นคนที่ถูกเหยียด หยามที่สุดในบรรดาคนโรคเรื้อนทั้งสิบคน... แต่เขาเป็นคนเดียวที่แสดง กิริยาที่เป็นธรรมชาติที่สุดสำ�หรับมนุษย์ พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า “ทั้งสิบคนหายจากโรคมิใช่หรือ อีกเก้าคนอยู่ ที่ใดเล่า ไม่มีใครกลับมาถวายพระเกียรติแด่พระเจ้านอกจากคนต่าง ชาติคนนี้หรือ” อั ศ จรรย์ ค รั้ ง นี้ ถื อ ว่ า เป็ น ความล้ ม เหลวสำ � หรั บ พระเยซู เ จ้ า ... เพราะไม่ ไ ด้ บั ง เกิ ด ผลอย่ า งที่ พ ระองค์ ท รงมี สิ ท ธิ์ จ ะคาดหวั ง  เพราะ สำ�หรับชายเก้าในสิบคน อัศจรรย์ครั้งนี้ไม่นำ�ไปสู่ความเชื่อ ซึ่งเป็นสิ่ง เดียวที่สำ�คัญสำ�หรับพระเยซูเจ้า ... และทำ�ให้พระองค์ทรงเศร้าพระทัย มาก ... สิ่งที่ทำ�ให้คริสตชนแตกต่างจากผู้มีความเชื่ออื่นๆ อย่างแท้จริง ไม่ได้อยู่ที่เขาภาวนา หรือเขาวิงวอนขอพระพร และคำ�วิงวอนของเขาได้ รับการตอบสนอง ... แต่อยู่ที่เขา “ขอบพระคุณพระเจ้า” ผ่านพระเยซู คริสตเจ้า เราต้องผ่านความเชื่อขั้นแรกซึ่งได้แต่เรียกร้อง ... ไปสู่ความ เชื่อในขั้นที่ผลิบาน ซึ่งทำ�ให้เราหันไปหาและเผชิญหน้ากับพระเจ้าอย่าง แท้จริง ... เพื่อขอบพระคุณ และสรรเสริญพระองค์


บทเทศน์ปี C

173

วั นอาทิตย์ที่ยี่สิบเก้า เทศกาลธรรมดา ลูกา 18:1-8 พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมาเรื่องหนึ่งแก่บรรดาศิษย์ เพื่อ สอนว่าจำ�เป็นต้องอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอโดยไม่ท้อถอย พระองค์ ตรัสว่า “ผู้พิพากษาคนหนึ่งอยู่ในเมืองหนึ่ง เขาไม่ยำ�เกรงพระเจ้า และไม่เกรงใจมนุษย์ผู้ใด หญิงม่ายคนหนึ่งอยู่ในเมืองนั้นด้วย นาง มาพบเขาครั้งแล้วครั้งเล่า พูดว่า “กรุณาให้ความยุติธรรมแก่ดิฉัน สู้กับคู่ความเถิด” ผู้พิพากษาผู้นั้นไม่ยอมทำ�ตามที่นางขอร้อง จน เวลาผ่านไประยะหนึ่ง จึงคิดว่า “แม้ว่าฉันไม่ยำ�เกรงพระเจ้าและไม่ เกรงใจมนุษย์ผู้ใด แต่เพราะหญิงม่ายผู้นี้มาทำ�ให้ฉันรำ�คาญ ฉันจึง จะให้นางได้รับความยุติธรรม เพื่อมิให้นางรบเร้าฉันอยู่ตลอดเวลา” องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าตรัสว่า “จงฟังคำ�ทีผ่ พู้ พิ ากษาอธรรมคนนัน้ พูดซิ แล้วพระเจ้าจะไม่ประทานความยุติธรรมแก่ผู้เลือกสรรที่ร้อง หาพระองค์ทั้งวันทั้งคืนดอกหรือ พระองค์จะไม่ทรงช่วยเขาทันที หรือ เราบอกท่านทั้งหลายว่าพระองค์จะประทานความยุติธรรมแก่ เขาโดยเร็ว แต่เมื่อบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมาจะทรงพบความเชื่อใน โลกนี้หรือ”


174

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง การภาวนาโดยไม่ท้อถอย หั ว ข้ อ หลั ก ของบทอ่ า นในวั น นี้ ต้ อ งการบอกว่ า การภาวนาไม่ ได้เป็นเพียงการวิ่งเร็วในระยะสั้นๆ แต่ต้องใช้ความอดทนและความ พากเพียร เห็นได้จากเรื่องของโมเสสในบทอ่านที่หนึ่ง ตราบใดที่เขายัง ยกมือค้างไว้ได้ กองทัพของเขาก็ได้รับชัยชนะในการต่อสู้ แต่ทันทีที่แขน ของเขาตก กองทัพศัตรูก็เริ่มเป็นฝ่ายรุก อุ ป มาเรื่ อ งหญิ ง ม่ า ยผู้ ร บเร้ า นี้ เ ป็ น อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง ที่ บ อกว่ า เรา จะได้รับความเมตตากรุณาจากพระเจ้ามากกว่าจากมนุษย์ทั่วไป ถ้าผู้ พิพากษาที่ไร้ความยุติธรรมและใจดำ� ยังทนการรบเร้าของหญิงม่ายผู้นี้ ไม่ได้ พระเจ้าผู้ทรงเต็มเปี่ยมด้วยความรักและความเอื้ออาทร ย่อมต้อง สดับฟังและสงสารผู้ที่ร้องหาพระองค์ ปัจจัยหนึ่งที่อาจเป็นอุปสรรคคือ เรามีความพากเพียรมากน้อยเพียงไร ดังนั้น พระองค์จึงทรงตั้งคำ�ถาม ตบท้ายว่า “แต่เมื่อบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมา จะทรงพบความเชื่อในโลกนี้ หรือ” บางที ลูกาอาจต้องการให้เรื่องนี้เตือนใจกลุ่มคริสตชนในยุคของ เขา เพราะบางคนกำ�ลังละทิ้งความเชื่อเมื่อถูกเบียดเบียนข่มเหงจากผู้ พิพากษาที่ขาดความยุติธรรม การรอคอยอย่างอดทนไม่ใช่คุณธรรมที่ปฏิบัติได้ง่าย สำ�หรับ คนในสังคมเทคโนโลยีที่ทำ�ให้เราคาดหวังจะได้รับคำ�ตอบอย่างทันใจ เราคุ้นเคยกับกาแฟหรือซุปสำ�เร็จรูป น้ำ�ที่ไหลออกจากก๊อกน้ำ� ความ ร้อนและแสงสว่างที่เพียงกดสวิทช์ก็เปิดได้ทันที ดนตรีที่มีให้เลือกตาม รสนิยม หรือยาที่บรรเทาความเจ็บปวดได้อย่างรวดเร็ว


บทเทศน์ปี C

175

เรารู้สึกประทับใจกับความอดทนโดยไม่บ่นของประชาชนในโลก ที่สาม คนเหล่านี้ไม่คุ้นเคยกับการได้รับคำ�ตอบในทันทีทันใด และการมี อาหารให้ซื้อหาได้ตามความต้องการเสมอ พระเจ้าทรงปล่อยให้เราลิ้มรสความล่าช้าก่อนที่คำ�วิงวอนของเรา จะได้รับการตอบสนอง และทำ�ให้เราได้รับความยุติธรรม ความล่าช้านี้ จะต้องมีเหตุผลซึ่งเกิดจากความรักและความเอาใจใส่ของพระเจ้า เมื่อ เราสังเกตแบบแผนการเจริญเติบโตในธรรมชาติ และในความสัมพันธ์ ต่างๆ เราอาจคาดเดาได้ไม่ยาก ว่าเหตุผลของพระองค์คืออะไร การเจริญเติบโตเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา พระเยซูเจ้าทรง เล่าอุปมาหลายเรื่องเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของสิ่งต่างๆ พืชที่จะมีอายุ ยืนมักโตช้า ต้นโอ๊คซึ่งอายุยืนนับร้อยปีต้องใช้เวลาถึงสองปีเต็มก่อน ที่ต้นอ่อนจะงอกออกมาจากผลของมัน ช่างก่อสร้างที่สร้างหอประชุม ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในเมืองออกซ์ฟอร์ด ใช้ไม้โอ๊คเป็นคานค้ำ�หลังคา เขาจึงปลูกต้นโอ๊คไว้ใกล้ๆ เพราะคาดหมายว่าคานนี้จะทนทานนานถึง หกศตวรรษ และเมื่อต้นไม้โตเต็มที่ก็จะมีไม้ให้ใช้เปลี่ยนคานได้ พืชที่ งอกจากพื้นดินเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากปลูก จะอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือน ธรรมชาติสอนเราให้รู้จักรอคอย เพราะการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนต้อง ใช้เวลาเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง ประสบการณ์ชีวิตของเราแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ต่าง ๆ จะ มั่นคงยั่งยืนได้ถ้าเคยผ่านการทดสอบจากความยากลำ�บาก คนกลุ่มหนึ่ง ที่เคยผ่านความทุกข์ยากมาด้วยกัน จะมีความสัมพันธ์ที่ลึกกว่ากลุ่มคนที่ รู้จักกันเพียงผิวเผิน เราต้องไม่คิดว่าความพากเพียรในการภาวนาเป็นความพยายาม จะเปลี่ยนใจพระเจ้า ราวกับว่าพระองค์ไม่ทรงต้องการให้เราได้รับสิ่งดีๆ อยู่แล้ว แต่เราเองต่างหากที่ต้องเปลี่ยนโดยมีความเชื่อที่ปราศจากความ เห็นแก่ตัว และมีความสัมพันธ์อันลึกล้ำ�มากขึ้นกับพระเจ้า


176

บทเทศน์ปี C

การรอคอยพระเจ้าทำ�ให้มีเวลาที่จำ�เป็นเพื่อเราจะรู้จักพึ่งพา พระองค์มากขึ้น เราได้รับเรียกให้เติบโตขึ้นอย่างสงบและอดทน เพื่อ ดับความวิตกกังวลซึ่งจะทำ�ให้จิตใจของเราวุ่นวาย ขณะที่ความเชื่อของ เราเจริญเติบโตและเพิ่มความลุ่มลึก ความวางใจอย่างไม่ท้อถอยใน พระเจ้าจะเข้ามาแทนที่ความวิตกกังวลของเราที่ร้องบอกพระเจ้าว่า “ขอ ให้ความประสงค์ของข้าพเจ้าสำ�เร็จไป ... โดยเร็วที่สุดเท่าที่พระองค์จะ ประทานให้ได้” องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสอนเราให้สวดภาวนาว่า “พระประสงค์จง สำ�เร็จไป” ซึ่งไม่ใช่ประโยคที่บ่งบอกว่าเราปลงตกแล้วอย่างหดหู่ แต่บ่ง บอกว่าเรากำ�ลังมอบทุกสิ่งทุกอย่างด้วยใจสงบและมั่นใจให้พระเจ้าทรง ดูแล เพราะเราวางใจว่าพระประสงค์ของพระเจ้าย่อมดีที่สุดสำ�หรับเรา เมื่อเราไปเยี่ยมสักการสถานใดที่มีผู้วิงวอนขอและได้รับพระ หรรษทานมากมายนั้น คำ�ตอบที่น่าประทับใจมากที่สุดสำ�หรับคำ�ภาวนา คือความรู้สึกยอมรับด้วยความยินดีลึกๆ ในใจ ว่าความรักของพระเจ้า อยู่ใกล้เรามาก แม้ว่าการรักษาโรคยังอยู่ห่างไกลก็ตาม ความสงบนี้มีอยู่ในพระวาจาขององค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ตรัสแก่ เดมจูเลียนแห่งนอริช ผู้บำ�เพ็ญฌานในศตวรรษที่ 14 ว่า “เราจะทำ�ให้ ทุกสิ่งเป็นไปด้วยดี เราต้องทำ�ให้ทุกสิ่งเป็นไปด้วยดี เราอาจทำ�ให้ทุกสิ่ง เป็นไปด้วยดี  และเราสามารถทำ�ให้ทุกสิ่งเป็นไปด้วยดี  และเจ้าจะเห็น ด้วยตนเองว่าทุกสิง่ จะต้องเป็นไปด้วยดี” (A Shewing of God’s Love, XV) ความพากเพียรในการภาวนา คือ ความมั่นใจที่จะรอคอยตั้งแต่ วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์จนกระทั่งถึงวันอาทิตย์ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างถูกจัดการให้ เป็นไปด้วยดี ไม่ว่าการรอคอยนั้นจะยาวนานเท่าไรก็ตาม วันที่คั่นกลาง อยู่คือวันสับบาโต วันแห่งการพักผ่อนและความสงบ ระยะเวลาอาจดู เหมือนยาวนานสำ�หรับเรา แต่สำ�หรับพระเจ้า หนึ่งพันปีก็ไม่ต่างจาก


บทเทศน์ปี C

177

หนึ่งวัน ความพากเพียรในการภาวนานำ�เราให้รู้จักคิดอย่างที่พระเจ้า ทรงคิด ข้อรำ�พึงที่สอง ขอทานเบื้องหน้าพระเจ้า แขนที่ ห นั ก อึ้ ง ของโมเสสถู ก ยกชู ขึ้ น สู่ ท้ อ งฟ้ า  โดยมี ก้ อ นหิ น และเพื่อนๆ ของเขาช่วยค้ำ�ยันไว้  โมเสสเป็นภาพของบุคคลที่รู้จาก ประสบการณ์ว่าเขาต้องพึ่งพระเจ้าและผู้อื่นมากเพียงไร เขาได้อธิษฐาน ภาวนาเป็นเวลานาน เพราะบัดนี้ เขาไม่หลอกตนเองว่าเขาพึ่งตนเองได้ และเขาได้ยอมรับสภาพที่ต้องพึ่งพระเจ้าแล้ว โมเสสรู้ว่าเขาเป็นเพียง ขอทานคนหนึ่ง การภาวนาด้วยความเชื่อแบบเด็กๆ จะต้องการคำ�ตอบแบบ เร่งด่วน จะต่อรองกับพระเจ้าเพื่อพยายามโน้มน้าวให้พระองค์มอง สถานการณ์จากมุมมองของเรา ดังนั้นจึงมักทำ�ให้เราขาดความเชื่อมั่น การภาวนาด้วยความเชื่อแบบวัยรุ่น จะเหมือนกับการหลอกล่อ เพื่อนที่มีฐานะเท่าเทียมกัน เนื่องจากความเชื่อของวัยรุ่นมีข้อจำ�กัด คือ มีแนวโน้มที่จะปฏิเสธสิ่งที่เขาไม่เคยประสบ หรือพิสูจน์ด้วยตนเอง การ ภาวนาแบบนี้จึงไม่ยอมรับสิ่งที่เป็นธรรมล้ำ�ลึก และไม่อดทนกับความ ล่าช้าของพระเจ้า แต่เมื่อความเชื่อของเราเจริญเติบโตขึ้นเต็มที่ เราจะ ตระหนักว่าความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้าไม่ใช่ความสัมพันธ์ของ บุคคลที่ฐานะเท่าเทียมกัน เราต้องเรียนรู้ว่าเรายังอยู่ห่างจากพระเจ้า แม้ว่าพระเจ้าประทับอยู่ใกล้เรามากจนเกินจินตนาการ แต่ก็อาจกล่าวว่า พระองค์ประทับอยู่ห่างไกลสุดประมาณ พระเจ้าทรงเป็นมากกว่าเพื่อน ข้างบ้านที่เราสามารถเรียกใช้ทุกครั้งที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือ ต้องการเพื่อน เราจะรู้ตัวมากขึ้นทีละน้อยว่าเราไม่เท่าเทียมกับพระเจ้า เมื่อเราเริ่มมองเห็นความบกพร่องในตัวเรามากขึ้น ความรู้นี้ช่วยลบ


178

บทเทศน์ปี C

ภาพลวงตาในชีวิต ... ภาพลวงตาที่ทำ�ให้เราคิดว่าเราไม่ต้องพึ่งใคร เรา ยังต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น เราเป็นขอทานเบื้องหน้าพระเจ้า หญิงม่ายผู้ รบเร้าคนนี้รู้ตัวว่านางเป็นเพียงขอทานคนหนึ่ง และนี่คือจุดแข็งของนาง ขอทานในโลกตะวันออกจะรบเร้าไม่เลิก เพราะเขามีพื้นฐาน ความเชื่อว่าเขามีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครอง และมีสิทธิ์ได้รับการแบ่งปัน ในพระพรต่างๆ ที่พระเจ้าประทานแก่โลก ผู้จัดการผลประโยชน์ที่เจ้า เล่ห์ในอุปมาอีกเรื่องหนึ่งกระทำ�การโดยทุจริตเพราะเขาอายที่จะขอ เขา อายที่จะใช้สิทธิ์ของเขาที่จะขอ การรู้ตัวว่าเราต้องพึ่งพาอาศัยพระเจ้า มากเพียงไรไม่ใช่เหตุผลให้เรารู้สึกละอายใจ แต่ควรทำ�ให้เรารู้สึกโล่งใจ เพราะภาระหนักจากการต้องทำ�ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวเราเอง บัดนี้ได้ หลุดพ้นจากบ่าของเราแล้ว เราควรโล่งใจที่รู้ว่าเราสามารถพึ่งพระเจ้าได้ ... และรู้ว่าเราต้องพึ่งพระองค์! จำ�เรื่องของซีโมน เปโตร ได้หรือไม่  ในวันที่เขาจับปลาได้เป็น จำ�นวนมากนั้น เขาได้ค้นพบพระอานุภาพของพระเยซูเจ้า และรับรู้ว่าตัว เขาอยู่ห่างพระองค์มากเพียงไร เขาพูดว่า “โปรดไปจากข้าพเจ้าเสียเถิด พระเจ้าข้า เพราะข้าพเจ้าเป็นคนบาป” (ลก 5:8) จำ�เปาโลได้หรือไม่ เขา เป็นคนที่มุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว และเฉลียวฉลาด แต่รู้สึกอับอายที่ไม่สามารถ ต่อกรกับความอ่อนแอในตัวเองที่เขาเรียกว่า “หนามทิ่มแทงเนื้อหนัง ของข้าพเจ้า” เปาโลวิงวอนพระเจ้าให้เขาหลุดพ้นจากความอ่อนแอนี้ และด้วยการยอมรับความอ่อนแอของเขา เปาโลจึงพบว่าตนเองมีที่ว่าง ให้พระเจ้าทรงแสดงพระอานุภาพของพระองค์ในตัวเขาได้ “พระหรรษ ทานของเราเพียงพอสำ�หรับท่าน เพราะพระอานุภาพแสดงออกเต็มที่ เมื่อมนุษย์มีความอ่อนแอ” (2 คร 12:9) จำ�นายร้อยที่รู้ตัวว่าเขาไม่ สมควรต้อนรับพระเยซูเจ้าเข้ามาในบ้านของเขาได้หรือไม่ อาศัยความ ตระหนักในบาปของตน ในความอ่อนแอ และสภาพอันไม่เหมาะสมของ ตน สามบุคคลนี้จึงก้าวหน้าในความเชื่อ เราอาจได้รับคำ�ตอบจากการ


บทเทศน์ปี C

179

ภาวนา เมื่อเราตระหนักถึงความห่างไกลระหว่างเรากับพระเจ้า ความ อ่อนแอและการพึ่งพาตนเองไม่ได้ และความไม่สมควรของตัวเรา เมื่อ นั้น เราจะปลื้มปิติกับความจริงที่ว่าเราเป็นขอทานคนหนึ่งเบื้องหน้า พระองค์


180

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 2 พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมาเรื่องหนึ่งแก่บรรดาศิษย์ เพื่อสอนว่า จำ�เป็นต้องอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอโดยไม่ท้อถอย เหตุการณ์นี้แสดงว่าเราไม่ใช่คนกลุ่มแรกที่รู้สึกว่าการภาวนา ทำ�ได้ยาก ศิษย์กลุ่มแรกก็รู้สึก “ท้อถอย” เหมือนกัน และพระเยซูเจ้า ทรงจำ�เป็นต้องให้กำ�ลังใจพวกเขา เราอาจเริ่มต้นภาวนาด้วยใจกว้าง และตัดสินใจว่าจะอุทิศเวลา ช่วงหนึ่งทุกวันให้แก่การภาวนา เราอาจถึงกับซื้อรูปพระ และติดตั้งไว้ใน ที่พิเศษในบ้านของเราเพื่อเตือนใจให้เราสวดภาวนา เราพยายามอย่าง จริงใจที่จะภาวนาได้หลายวัน หรืออาจเป็นหลายสัปดาห์  แต่ก็ไม่เกิด อะไรขึ้นเลย เราได้พบแต่ความเงียบของพระเจ้า ... มีสิ่งต่าง ๆ คอย รบกวนสมาธิระหว่างการรำ�พึงภาวนาของเรา แล้วเราก็หยุดภาวนา... พระเจ้าข้า พระองค์ทรงบอกเราว่า “ท่านต้องอธิษฐานภาวนาอยู่ เสมอโดยไม่ท้อถอย” ... เรายินดีอย่างยิ่งที่รู้ว่าพระองค์ทรงเข้าใจความ ยากลำ�บากของเรา... เรามีเหตุผลมากมายที่จะไม่สวดภาวนา ศตวรรษที่ 20 เป็นยุค ที่มนุษย์เรียกร้องผลลัพธ์และผลิตผลในทันทีทันใด วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ทำ�ให้เราเชื่อว่ามนุษย์สามารถทำ�ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ... และ ทำ�ได้ในทันทีทันใดด้วย ... เราเร่ง และรีบ กระแสบริโภคนิยม และ ความปรารถนาผลกำ�ไรมากๆ กระตุ้นเราให้เร่งรีบจนไม่มีเวลาจะหยุด ... ยกเว้นเมื่อเกิดหัวใจวาย “คุณก็รู้ ฉันต้องทั้งเรียน ทั้งทำ�งาน มีหน้า ที่ต่างๆ ต้องทำ� และต้องการเวลาพักผ่อนด้วย ... ฉันไม่มีเวลาเหลือ สำ�หรับสวดภาวนา” ... “เวลาเช้าวันอาทิตย์เป็นเวลาเดียวที่ฉันสามารถ


บทเทศน์ปี C

181

พักผ่อนได้ คุณคงเข้าใจว่าทำ�ไมฉันจึงไม่ไปฟังมิสซา”... “ท่านต้องอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอโดยไม่ท้อถอย” นอกจากนี้   การภาวนายั ง เปล่ า ประโยชน์ ด้ ว ย “คุ ณ เห็ น ได้ ว่ า พระเจ้าไม่ทรงฟังคำ�ภาวนาของเรา ทั่วโลกยังมีแต่ความอยุติธรรม ... เราต้องต่อสู้กับมันอย่างเป็นรูปธรรม ดีกว่าเสียเวลาวิงวอนขอให้พระ อาณาจักรของพระเจ้ามาถึง ... เพราะดูเหมือนว่าพระอาณาจักรนี้ไม่มี ทางมาถึงได้ ...” เราต้องภาวนา “อยู่เสมอ และอย่างต่อเนื่อง” เราต้องภาวนา “โดยไม่ท้อถอย ... ต้องภาวนาต่อไปด้วยความ กล้าหาญ และพากเพียร”... คำ�พูดเหล่านี้ออกมาจากปลายปากกาของนักบุญเปาโลเสมอ และเปาโลก็เป็นอาจารย์ของลูกา (2 ทส 1:11, คส 1:3, ฟม 4, รม 1:10, 2 ธส 3:13, 2 คร 4:1-16, กท 6:4, อฟ 3:13) “ผู้พิพากษาคนหนึ่งอยู่ในเมืองหนึ่ง เขาไม่ยำ�เกรงพระเจ้า และไม่ เกรงใจมนุษย์ผู้ใด หญิงม่ายคนหนึ่งอยู่ในเมืองนั้นด้วย นางมาพบ เขาครั้งแล้วครั้งเล่า พูดว่า “กรุณาให้ความยุติธรรมแก่ดิฉันสู้กับคู่ ความเถิด” ผู้พิพากษาผู้นั้นไม่ยอมทำ�ตามที่นางขอร้อง จนเวลาผ่าน ไประยะหนึ่ง ...” นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พระเยซูเจ้าทรงเลือกตัวอย่างที่เลวที่สุดเท่า ที่จะหามาได้ เพื่อให้เราเข้าใจดีขึ้นว่าพระองค์ทรงต้องการสอนอะไร ใน ยุคที่พระเยซูเจ้าทรงดำ�รงชีพอยู่ในปาเลสไตน์  เมืองเล็กๆ เมืองหนึ่ง จะมีผู้พิพากษาทำ�หน้าที่เพียงคนเดียวโดยไม่มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงคอย ควบคุม ... ดังนั้น เขาจึงยืดเวลาคดีความได้ตามใจชอบ และผู้พิพากษา คนนี้ไม่ยำ�เกรงทั้งพระเจ้า และปีศาจ และยังเหยียดหยามมนุษย์ทุกคน ด้วย...


182

บทเทศน์ปี C

เมื่อเปรียบเทียบกัน “หญิงม่าย” คือตัวอย่างของคนจนที่ไม่มีทั้ง อำ�นาจและผู้เลี้ยงดู แต่กลับต้องมาต่อสู้คดีกับคนรวย ... หญิงม่ายเป็น หญิงที่ไร้ที่พึ่งด้านกฎหมาย ไม่มีสามีคอยปกป้องคุ้มครอง... เวลาผ่านไประยะหนึ่ง เขาจึงคิดว่า “แม้ว่าฉันไม่ยำ�เกรงพระเจ้า และไม่เกรงใจมนุษย์ผู้ใด แต่เพราะหญิงม่ายผู้นี้มาทำ�ให้ฉันรำ�คาญ ฉันจึงจะให้นางได้รับความยุติธรรม เพื่อมิให้นางรบเร้าฉันอยู่ตลอด เวลา” ถ้อยคำ�เพียงไม่กี่คำ�นี้เผยแสดงภาพของชายที่เห็นแก่ตัวและ เหยียดหยามผู้อื่นนี้ได้อย่างชัดเจน ถ้าเขาให้ความยุติธรรม และทำ�ความ ดีบางอย่าง ก็อย่าเข้าใจผิดว่าเขาทำ�ไปเพราะเป็นคนดี  เพียงแต่ว่าผล ประโยชน์ของผู้อื่นบังเอิญตรงกับผลประโยชน์ของเขา ... ในทุกกรณี เขาจะกระทำ�การเพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้น ... พระเยซูเจ้าทรงวาด ภาพให้ชายคนนี้เลวที่สุด เพื่อให้เราเข้าใจเหตุผลของพระองค์ เพราะ ทุกคนย่อมเห็นได้ว่าคนเลวคนนี้จะรับฟังหญิงที่เขาเหยียดหยามเพราะ สาเหตุเดียวคือ นางทำ�ให้เขารำ�คาญ... องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า “จงฟังคำ�ที่ผู้พิพากษาอธรรมคนนั้นพูดซิ แล้ ว พระเจ้ า จะไม่ ป ระทานความยุ ติ ธ รรมแก่ ผู้ เ ลื อ กสรรที่ ร้ อ งหา พระองค์ทั้งวันทั้งคืนดอกหรือ” อุปมาเรื่องนี้เป็นเรื่องของบุคคลที่อยู่ในสภาพตรงกันข้ามกัน และบทเรียนในเรื่องนี้ก็ตรงกันข้ามกับตัวอย่างที่ยกมา ผู้พิพากษาอธรรม และไม่มีความยุติธรรม ไร้มโนธรรม และหาความดีไม่ได้ เขาปฏิเสธเป็นเวลานานที่จะ “ให้ความยุติธรรม” ในที่สุด เพราะความเห็นแก่ตัว เขาจึงยอมให้ความยุติธรรมแก่


บทเทศน์ปี C

183

หญิงม่ายผู้ยากจน ผู้ที่ไม่มีความหมายอะไรเลยสำ�หรับเขา ... เพียงเพื่อ ให้นางหยุดทำ�ให้เขารำ�คาญใจ... ดังนั้น จึงไม่มีข้อสงสัยเลยว่าพระเจ้า ผู้ทรงความดี และความอ่อนโยนอย่างไร้ขอบเขต จะประทานความยุติธรรมโดยเร็ว ให้แก่ผู้เลือกสรรที่พระองค์ทรงรัก และผู้ที่เรียกหาพระองค์... ถ้ า มนุ ษ ย์ ที่ มี จิ ต ใจมุ่ ง ร้ า ยและไร้ ย างอายคนหนึ่ ง ยั ง รั บ ฟั ง คำ � วิงวอนในที่สุด พระเจ้าผู้ทรงใส่พระทัยในทุกข์สุขของเรา จะไม่รับฟังคำ� วิงวอนของคนยากไร้มากยิ่งกว่าหรือ... พระองค์จะไม่ประทานความยุติธรรมแก่ผู้เลือกสรรของพระองค์หรือ พระเยซูเจ้าทรงย้ำ�คำ�ว่า “ให้ความยุติธรรม” หลายครั้งภายใน ไม่กี่บรรทัด ... โดยอาชีพ ผู้พิพากษามีหน้าที่ให้ความยุติธรรม – และ ความยุติธรรมก็เป็นหนึ่งในคุณค่าสูงสุดของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกับ “สิทธิ มนุษยชน” ที่เรารู้จักกันดี “มนุษย์ทุกคนเกิดมาโดยมีเสรีภาพ และมี ศักดิ์ศรี และมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ทุกคนเท่าเทียมกันตามกฎหมาย คดี ของทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรมและเปิดเผย โดยศาล ที่เป็นเอกเทศและปราศจากอคติ” (Universal Declaration of the Rights of Man: December 10, 1948) ความเชื่อคริสตชนของเรากำ�หนดให้เรามีหน้าที่ต้องปกป้องและ ส่งเสริมความยุติธรรม คำ�ภาวนาของเราจะเป็นคำ�ภาวนาแท้ได้เพียงเมื่อ เราแสวงหาความยุติธรรม และถ้าเรา “ไม่ให้ความยุติธรรม” ... พระเยซู เจ้าทรงรับรองว่าพระเจ้าจะประทานให้เอง... พระองค์จะไม่ทรงช่วยเขาทันทีหรือ เราบอกท่านทั้งหลายว่า พระองค์ จะประทานความยุติธรรมแก่เขาโดยเร็ว


184

บทเทศน์ปี C

พระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอนเรื่องนี้ขณะที่พระองค์กำ�ลัง “เดินทาง ขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม” ในเวลาที่พระองค์ทรงทราบดีว่าพระองค์กำ�ลัง เดินเข้าไปสู่การตัดสินอย่างอยุติธรรมโดยผู้พิพากษาอธรรม ... ลูกากล้า อ้างพระวาจาของพระเยซูเจ้าว่า “พระองค์จะประทานความยุติธรรมแก่ ผู้เลือกสรรของพระองค์ ... พระเจ้าทรงสดับฟังคำ�วิงวอนของเขาทันที โดยไม่รอช้า” เมื่อเราตัดพ้อว่าพระเจ้าไม่ทรงสดับฟังคำ�วิงวอนของเรา เมื่อ เราพูดว่าความอยุติธรรมยังครองโลกต่อไป ... พระองค์ทรงเชิญชวน ให้เราชำ�ระความคิดของเราเกี่ยวกับชัยชนะของความยุติธรรมหรือเปล่า พระอานุภาพ และชัยชนะของพระเจ้าจะปรากฏให้เห็นด้วยวิธีการที่ต่าง จากที่เราคาดหมาย เรามักพอใจแนวความคิดที่มองการณ์สั้นๆ ประสา มนุษย์ มากกว่าแนวความคิดของพระเจ้า บ่อยครั้งที่คำ�ภาวนาของเรา เหมือนกับคำ�ขาดที่เรายื่นให้พระเจ้า ให้พระองค์เชื่อฟังเรา พระเจ้า ไม่ใช่เครือ่ งขายสินค้าอัตโนมัติ ทีเ่ ราหย่อนเหรียญลงไปในช่องแล้วกดปุม่ เราก็จะได้ช็อกโกแลตมาอย่างที่เราต้องการ เพราะนั่นคือพระเจ้าจอมปลอม! เมือ่ เรารูส้ กึ ว่าพระเจ้าไม่ทรงได้ยนิ คำ�ภาวนาของเรา เราได้รบั เชิญ ให้เข้าสู่ความสนิทสัมพันธ์กับพระเยซูเจ้า ... ผู้ที่พระเจ้าทรงสดับฟัง คำ�ภาวนาของพระองค์ ... แต่ในอีกแง่หนึ่ง ... “โปรดทรงนำ�ถ้วยนี้ไป จากข้าพเจ้าเถิด” ... ถ้วยแห่งความเจ็บปวดทรมานไม่ได้จากพระองค์ ไปไกล แต่ผ่านทางความตาย พระเยซูเจ้าทรงเสด็จเข้าสู่ความยินดีแห่ง การกลับคืนชีพ แต่กระนั้น ประสบการณ์ก็สอนเราว่าสิ่งที่เราขอจากพระเจ้าอาจ ไม่ใช่สิ่งดีที่สุดสำ�หรับเราเสมอไป เราไม่มีทางล่วงรู้ความคิดของพระเจ้า เราจะเป็นอย่างไรถ้าความปรารถนาแบบเด็กๆ ของเราทุกประการกลาย เป็นความจริง...


บทเทศน์ปี C

185

เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เหมือนพืชทุกประเภท เราจำ�เป็น ต้องผ่านฤดูกาลต่างๆ ต้องได้รับแสงแดดและน้ำ�ฝนสลับกันไป ต้อง ผ่านฤดูหนาวและฤดูร้อน และแม้แต่ลมพายุ เพื่อจะเจริญเติบโตจาก เมล็ดพันธุ์ไปสู่ช่วงออกดอกและออกผล เมล็ดพันธุ์จะเป็นอย่างไรถ้ามัน ไม่ยอมผ่านการทดสอบใดๆ ระหว่างการเจริญเติบโต และเรียกร้องให้ เก็บเกี่ยวมันหลังจากถูกหว่านได้เพียงวันเดียว... พระเยซู เ จ้ า ทรงรู้ จั ก พระบิ ด า และพระองค์ ท รงบอกเราให้ มี ความมั่นใจ “เราบอกท่านทั้งหลายว่าพระเจ้าจะประทานความยุติธรรม แก่ผู้เลือกสรรที่ร้องหาพระองค์ทั้งวันทั้งคืน”... แต่เมื่อบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมา จะทรงพบความเชื่อในโลกนี้หรือ แทนที่ จ ะพบกั บ ผู้ มี ค วามเชื่ อ ที่ วิ ง วอนต่ อ ความดี ข องพระเจ้ า พระเยซูเจ้าทรงพบกับผู้ไม่มีความเชื่อที่ไม่ภาวนา ไม่ว่าจะเป็นกลางวัน หรือกลางคืน ประโยคนี้แสดงความปวดร้าว... จะมีวันหนึ่งหรือ ที่มนุษย์ จะไม่ถามอีกต่อไปว่าพระเจ้าสดับฟังคำ�ภาวนาของเขาหรือไม่ และที่เขา ไม่ถามก็เพราะเขาไม่ภาวนาอีกต่อไปแล้ว... ความปวดร้าวของพระเยซูเจ้า ... ความปวดร้าวของพระเจ้า ... ผู้ไม่สามารถทำ�ให้ประชากรเลือกสรรของพระองค์เชื่อในพระองค์ได้ แม้แต่ขณะที่พระองค์กำ�ลังใกล้จะสิ้นพระชนม์ ... นี่คือธรรมล้ำ�ลึกของ เสรีภาพของมนุษย์ – มนุษย์สามารถปฏิเสธที่จะเชื่อ และภาวนาได้ เรารั บ รู้ ไ ด้ ใ นทั น ใดว่ า พระเยซู เ จ้ า ทรงมี ค วามรู้ สึ ก เป็ น ทุ ก ข์ พระองค์ทรงกังวลมากที่มนุษย์ไม่ยอมรับพันธกิจและคำ�สั่งสอนของ พระองค์ แม้แต่ผู้ได้รับเลือกสรรก็ถูกคุกคามจากการละทิ้งความเชื่อ ทาง เลือกที่เราเลือกเมื่อรับศีลล้างบาปไม่ใช่กรมธรรม์ประกันภัย การอยู่ ร่วมกันในชุมชนพระศาสนจักรเพียงไม่กี่ปีไม่ทำ�ให้เรามั่นใจได้ว่าเราจะ


186

บทเทศน์ปี C

ไม่กลายเป็นผู้ไม่มีความเชื่อ ... เรามั่นใจได้ว่าพระเจ้าจะไม่ทอดทิ้งเรา – แต่เราจะไม่ทอดทิ้งพระองค์หรือ ... เราต้องตอบคำ�ถามที่น่ากลัว ... “ฉันจะยังมีความเชื่ออยู่หรือเปล่าในวันพรุ่งนี้ และในวันที่ฉันตาย ใน วันที่พระเยซูเจ้าจะเสด็จมาหาฉัน” ... หรือว่าฉันจะเป็นคริสตชนแต่ชื่อ และไม่ปฏิบัติหน้าที่ของฉัน หลังจากทรงย้ำ�กับเราหลายครั้งว่าพระเจ้าทรงพระทัยดี  และ สดับฟังคำ�วิงวอนของเราเสมอ พระเยซูเจ้าทรงเผยว่าความผิดหวังของ เราเกิดจากอะไร กล่าวคือ เราขาดความเชื่อ ... พระองค์ตรัสเตือนเช่นนี้ หลายครั้งหลายหนในพระวรสาร (ลก 4:18, 26, 7:9, 21, 23, 50, 8:5, 15, 9:41, 10:21, 24, 11:29, 32 เป็นต้น) ในปัจจุบนั เราพูดกันบ่อยๆ เรือ่ ง “วิกฤติความเชือ่ ” พระเยซูเจ้า ตรัสถึงเรื่องนี้มาก่อนแล้ว ... การประจญให้ละทิ้งความเชื่อ หรือการ ประจญให้เราไม่ดำ�เนินชีวิตตามความเชื่อ ไม่ใช่การประจญใหม่ที่เกิด ขึ้นในยุคของเราเท่านั้น ข้าพเจ้าจะทำ�อะไรตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อบำ�รุงเลี้ยงความเชื่อ ของข้าพเจ้า ... บำ�รุงเลี้ยงคำ�มั่นสัญญาที่ข้าพเจ้าให้ไว้ต่อพระเยซูเจ้า... ข้าพเจ้าสวดภาวนาหรือเปล่า...


บทเทศน์ปี C

187

วั นอาทิตย์ที่สามสิบ เทศกาลธรรมดา ลูกา 18:9-14 พระเยซูเจ้าตรัสเล่าเรื่องอุปมานี้ให้บางคนที่ภูมิใจว่าตนเป็น ผู้ชอบธรรม และดูหมิ่นผู้อื่น ฟังว่า “มีชายสองคนขึ้นไปอธิษฐาน ภาวนาในพระวิหาร คนหนึ่งเป็นชาวฟาริสี อีกคนหนึ่งเป็นคนเก็บ ภาษี ชาวฟาริสีอธิษฐานภาวนาในใจว่า ‘ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้า ขอบพระคุ ณ พระองค์ ที่ ข้ า พเจ้ า ไม่ เ ป็ น เหมื อ นมนุ ษ ย์ ค นอื่ น ที่ เ ป็ น ขโมย อยุ ติ ธ รรม ล่ ว งประเวณี  หรื อ เหมื อ นคนเก็ บ ภาษี ค นนี้ ข้าพเจ้าจำ�ศีลอดอาหารสัปดาห์ละสองวัน และถวายหนึ่งในสิบของ รายได้ทั้งหมดของข้าพเจ้า’ ส่วนคนเก็บภาษียืนอยู่ห่างออกไป ไม่ กล้าแม้แต่จะเงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้า ได้แต่ข้อนอก พูดว่า “ข้าแต่ พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด’ เราบอก ท่านทั้งหลายว่า คนเก็บภาษีกลับไปบ้าน ได้รับความชอบธรรม แต่ ชาวฟาริสีไม่ได้รับ เพราะว่าผู้ใดที่ยกตนขึ้นจะถูกกดให้ต่ำ�ลง ผู้ใดที่ ถ่อมตนลงจะได้รับการยกย่องให้สูงขึ้น”


188

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง หัวใจที่ถ่อมตน และสำ�นึกผิด อุปมาเรื่องชายสองคนในพระวิหาร เสนอคำ�สั่งสอนข้อที่ 4 เกี่ยว กับการภาวนา กล่าวคือ ความจองหองเป็นอุปสรรคสำ�หรับการภาวนาแท้ ในขณะที่ความสำ�นึกผิดอย่างถ่อมตนกลายเป็นคำ�ภาวนาที่พุ่งตรงไปถึง พระหทัยของพระเจ้า เรื่องนี้ตั้งใจสอนผู้ที่ภูมิใจในคุณธรรมของตน และ ดูถูกคนอื่นๆ คำ�พูดโอ้อวดของคนจองหองเป็นรูปแบบหนึ่งของการบูชา ตนเอง ในขณะที่คำ�ภาวนาของคนถ่อมตนแทงทะลุเมฆ ธรรมประเพณีของคริสตชนถือว่าชาวฟาริสีมีชื่อเสียงไม่ดี  และ เสนอภาพของฟาริสีว่าเป็นคนหน้าซื่อใจคด และยึดถือธรรมบัญญัติ ตามตัวอักษร ชื่อของเขาแปลว่า “ผู้แยกตัว (The Separated)” ซึ่ง เกิดจากความต้องการรักษามรดกทางศาสนาของชาวยิวไม่ให้ปนเปื้อน วัฒนธรรมของชาวกรีก ซึ่งถูกยัดเยียดให้พวกเขา พวกเขาเชื่อว่าพระ บัญญัติของพระเจ้าครอบคลุมทุกด้านของชีวิต ดังนั้น ถ้าต้องการเป็น ผู้ ที่ ส มบู ร ณ์ ค รบครั น  เขาจึ ง ต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามรายละเอี ย ดทุ ก ข้ อ อย่ า ง เคร่งครัด บางคนเหมือนกับชายในเรื่องอุปมานี้ ซึ่งไม่เพียงปฏิบัติตาม บทบัญญัติ  แต่ยังเพิ่มเติมข้อใหม่เข้าไปด้วย เขาจำ�ศีลอดอาหารมาก ขึ้นเป็นพิเศษ และถวายหนึ่งในสิบของรายได้ เพราะไม่พอใจแต่เพียง การถวายส่วนที่หักออกจากผลผลิตของตน ซึ่งเป็นข้อกำ�หนดของธรรม บัญญัติ ความบกพร่องของเขาไม่ได้อยู่ที่ความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติ ตามธรรมบัญญัติ แต่อยู่ที่ความภาคภูมิใจที่เขาได้ทำ�เช่นนั้น และทำ�ให้


บทเทศน์ปี C

189

เขาคิดว่าเขามีสิทธิ์ตัดสินผู้อื่น ที่ดูเหมือนเลวกว่าเมื่อเทียบกับตัวเขา เรื่องนี้บอกรายละเอียดข้อหนึ่งที่มีนัยสำ�คัญ ชายคนนี้กำ�ลังอธิษฐาน ภาวนากับตนเอง คำ�พูดของเขาดูเหมือนว่าเป็นคำ�พูดกับพระเจ้า แต่ใน ความเป็นจริง กลับวนเวียนอยู่ในเมฆหมอกแห่งการหลอกตนเอง ตรง กันข้ามกับคำ�ภาวนาของคนเก็บภาษี  ซึ่งแทงทะลุเมฆ และพุ่งตรงไป หาความเวทนาสงสารของพระเจ้า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณา ต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด” พระเยซูเจ้าทรงรับรองกับเราว่าเขากลับไป บ้านโดยได้รับความชอบธรรม ความเรียบง่ายของบทภาวนาของคนเก็บภาษีเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะตัดข้อความที่ซับซ้อนออกไปจนหมด เมื่อเขาตระหนักรู้ว่าเขา กำ�ลังพบกับพระเจ้า โดยพื้นฐานแล้วการภาวนาเป็นกิจกรรมที่เรียบง่าย มาก เพราะเกี่ยวข้องแต่กับพระเจ้าและตัวเรา และการพบกันที่เกิดขึ้น ระหว่างพระเจ้ากับตัวเรา แก่นของการภาวนาอยู่ที่ความสนใจที่เรามอบ ให้กับพระเจ้าผู้ประทับอยู่กับเราในเวลานั้น บางครั้ง เราอาจตระหนัก ถึงพระสิรริ งุ่ โรจน์ของพระเจ้า ซึง่ นำ�วิญญาณไปสูก่ ารสรรเสริญ บางครัง้ วิ ญ ญาณจะถู ก ชั ก นำ � เข้ า สู่ ค วามสนิ ท สนมซึ่ ง เกิ ด จากการตระหนั ก ใน ความรักของพระเจ้า แต่ก็มีบางครั้งที่ประสบการณ์ที่วิญญาณได้สัมผัส กับพระเจ้า ทำ�ให้บุคคลนั้นรู้ตัวในส่วนลึกของวิญญาณว่าตนเองเป็นคน บาปและไม่คู่ควร นี่คือความรู้สึกของคนเก็บภาษีในพระวิหาร “ข้าแต่ พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด” พระนามของ พระเจ้าไม่จำ�เป็นต้องได้รับการปรุงแต่งด้วยคำ�พูดหรูหราใดๆ นี่คือการ ติดต่อโดยตรงกับพระเจ้า และคำ�วิงวอนขอพระเมตตาของเขาก็เรียบง่าย ไม่ซับซ้อนเลย สิ่งเดียวที่เขาพูดถึงตัวเองได้ก็คือ เขาเป็นคนบาป ประสบการณ์ของเขาคล้ายกับของซีโมนเปโตร หลังจากอัศจรรย์ การจับปลาจำ�นวนมาก เมื่อเปโตรรับรู้ในทันใดว่ามีช่องว่างอันกว้างใหญ่ คั่นอยู่ระหว่างตัวเขาและความศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า “โปรดไปจาก


190

บทเทศน์ปี C

ข้าพเจ้าเสียเถิด พระเจ้าข้า เพราะข้าพเจ้าเป็นคนบาป” ฟรังซิส แห่งอัสซิซี เป็นอีกคนหนึ่งที่อธิษฐานภาวนาด้วยความ สำ�นึกผิดอย่างถ่อมตน เขาสามารถภาวนานานนับชั่วโมงด้วยบทภาวนา ที่เรียบง่ายว่า “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพเจ้า พระองค์เป็นใคร และข้าพเจ้า เป็นใคร” ต่างจากนักบุญฟรังซิส นักบุญออกุสตินเป็นบุคคลที่ชอบใช้คำ� บรรยาย และได้ขยายความหมายของความไม่เหมาะสมคู่ควรของคน บาปคนหนึ่งในบทรำ�พึงของเขา ซึ่งเริ่มต้นว่า ข้าแต่พระเยซูเจ้า ขอทรงโปรดให้ข้าพเจ้ารู้จักตนเอง ให้ข้าพเจ้า รู้จักพระองค์ และไม่ปรารถนาสิ่งใดนอกจากพระองค์ผู้เดียว ขอทรงโปรดให้ข้าพเจ้าชังตนเอง และรักพระองค์ และทำ�ทุกสิ่งเพื่อพระองค์ ผู้ ใ ดยกตนขึ้ น จะถู ก กดให้ ต่ำ � ลง แต่ ผู้ ใ ดถ่ อ มตนลงต่ อ หน้ า พระเจ้า จะได้รับยกย่องให้สูงขึ้น คำ�ภาวนาของคนบาปผู้ถ่อมตนแทง ทะลุเมฆ พระเมตตาของพระเจ้าซึ่งมีอำ�นาจเยียวยาได้หลั่งลงมาบนตัว เขา และเขากลับบ้านโดยได้รับความชอบธรรมจากพระเจ้า ข้าแต่พระเจ้า พระองค์จะไม่ทรงผลักไสหัวใจที่สำ�นึกผิดเลย ข้อรำ�พึงที่สอง เรื่องที่น่าตกใจ ขณะที่ทรงเล่าเรื่องอุปมานี้  พระเยซูเจ้าคงจะเหมือนนักแสดง คนหนึ่งที่ใช้น้ำ�เสียงต่างกันตามความเหมาะสม และมีท่าทางประกอบ อุปมาเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พลิกสถานการณ์  เมื่อพระองค์ทรงยกค่านิยม หรือความประพฤติอย่างหนึ่ง ที่คนทั่วไปยกย่องว่าดี และทรงชี้ให้เห็น ความบกพร่อง เรื่องประเภทนี้จำ�เป็นต้องทำ�ให้ผู้ฟังตกใจ จนพวกเขา


บทเทศน์ปี C

191

ฉีกม่านแห่งความคุ้นเคยออก และมองเห็นความจริงที่ซ่อนอยู่ข้างหลัง ม่านนัน้ เราจะเข้าใจคุณค่าของเรือ่ งนีไ้ ด้มากขึน้ ถ้าเราตระหนักว่าเรือ่ งนี้ คงสัน่ คลอนความรูส้ กึ ของชาวฟาริสผี เู้ คร่งครัด เมือ่ เขาได้ยนิ พระเยซูเจ้า เสนอว่าคนเก็บภาษีที่เป็นคนบาป กลับเป็นผู้ชอบธรรมมากกว่าพวกเขา ในสายพระเนตรของพระเจ้า เรื่องนี้เตือนใจมนุษย์ได้ทุกยุคสมัย เครื่องหมายที่เผยให้เห็น การหลอกตนเอง และศาสนาเทียม ยังมีอยู่ทุกวันนี้เหมือนกับในสมัย ของพระเยซูเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือวิธีการที่ชาวฟาริสีคนนี้ภาวนาเหมือน กับพูดกับตนเอง การพูดกับตนเองเป็นอาการของความกดดัน ในใจ ของเขามีเจ้านายตัวเล็กๆ ที่คอยสั่งโน่นสั่งนี่ และขอคำ�อธิบายไม่ว่าเขา จะทำ�อะไร ฟาริสีคนนี้ถูกกดดันให้จำ�ศีลอดอาหารเป็นพิเศษ ทำ�กิจการ กุศลเป็นพิเศษ เพื่อให้เจ้านายผู้นี้เลิกกวนใจเขา เมื่อใดที่ท่านเห็นผู้ใด ต้องการทำ�งานให้สมบูรณ์แบบจนเกินกำ�ลังมนุษย์ธรรมดา ลองมองหา สิ่งที่เขาเก็บกดไว้หรือไม่ยอมรับ เมื่อใดที่บทบัญญัติปกติยังไม่เพียงพอ จนต้องคิดค้นหน้าที่พิเศษขึ้นมาให้ทำ� เมื่อนั้น ท่านกำ�ลังพบใครบางคน ที่ต้องการเป็นผู้ไถ่กู้ของตนเอง เขาคนนั้นกำ�ลังพยายามใช้ความครบ ครันของตนเองแลกกับพระคุณของพระเจ้า คนศักดิ์สิทธิ์แท้สนใจกับ บทบัญญัติน้อยมาก แต่ให้ความสนใจมากที่สุดกับจิตวิญญาณ ความ ศรัทธาที่มากเกินควรมักเป็นความพยายามดิ้นให้หลุดจากสิ่งที่เขาควร ทำ� เพราะความรักเมตตา ความจริง และความยุตธิ รรมเรียกร้องให้เขาทำ� ฟาริสีคนนี้ดีเกินกว่าจะเป็นมนุษย์จริงๆ เจคเกล และไฮด์ เป็น เรื่องที่ตรงกับความเป็นจริงที่สุดนับตั้งแต่มีการเขียนนิยายขึ้นมา ในตัว เราแต่ละคนมีบุคลิกภาพที่ตรงกันข้ามกันซ่อนอยู่ ถ้าเราไม่เคยรู้ว่าด้าน มืดของเราสามารถทำ�อะไรได้บ้าง จงระวังตัว! เพราะผู้ที่คิดว่าตนเอง เป็นเทวดาจะตัวสั่นเหมือนปีศาจอย่างรวดเร็ว


192

บทเทศน์ปี C

ในยุคหลังๆ นี้ หลายคนเข้ารับการอบรมเพื่อช่วยให้เข้าใจตนเอง มากขึ้น คนเหล่านี้ค้นพบว่าสิ่งที่เขาทำ�ได้ดีอาจเป็นกับดักที่ทำ�ลายตัวเขา ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านสนใจเรื่องกีฬา ท่านคงสังเกตแล้วว่าชายที่ มีกล้ามเป็นมัดเหล่านั้นมีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ หรือม้าพันธุ์ดีจะมี โอกาสติดโรคมากกว่าม้าที่สมบุกสมบัน ชาวฟาริสีคนนี้ปฏิบัติศาสนกิจภายนอกอย่างเคร่งครัด แต่นั่น กลายเป็นกับดักที่คอยจับตัวเขา เขาเคร่งครัดมากจนคิดไปว่าเขาทำ�เช่น นี้ได้ด้วยตนเอง แทนที่จะคิดว่าเป็นพระหรรษทานของพระเจ้า เขาจึง พร้อมจะพ่ายแพ้การประจญให้เป็นคนจองหอง เขารู้สึกว่าตนเองดีกว่า มนุษย์ทุกคน ที่ร้ายกว่านั้น เขารู้สึกว่าตนเองมีสิทธิ์ตัดสินคนบาปผู้น่า สงสารที่ยืนอยู่ข้างหลังเขา ถ้ า คุ ณ ธรรมของชาวฟาริ สี ก ลายเป็ น กั บ ดั ก สำ � หรั บ เขา ความ สำ�นึกผิดของคนบาปก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาพบกับพระเจ้าผ่าน ทางการภาวนาอย่างถ่อมตน ดังทีเ่ ช็กสเปียร์ กล่าวว่า “ความเคราะห์รา้ ย มีประโยชน์ที่มีรสหอมหวาน” พระเจ้าทรงสามารถทำ�ให้ความเป็นคน บาปของเรากลายเป็นประโยชน์ได้  พระเจ้าทรงสามารถเขียนเส้นตรง ทับเส้นที่บิดเบี้ยวได้ พระองค์ทรงสามารถใช้ความอ่อนแอ และความ ผิดพลาดของเรา ทำ�ลายความจองหองของเรา ทลายภาพลวงตาของเรา และกะเทาะเปลือกของการภาวนาแต่ปาก สำ�นึกว่าเราเป็นคนบาปจะ ทำ�ให้เราไม่รีบตัดสินผู้อื่น และจะช่วยพัฒนาจิตใจของเราให้รู้จักเห็นใจ ผู้อื่นมากขึ้น เรื่องอุปมาที่พระเจ้าทรงเล่านี้ต้องการทำ�ให้เราสะดุ้ง ให้เราหลุด พ้นจากความรู้สึกพึงพอใจกับตนเอง และพลิกระเบียบแบบแผนที่เรา คิดว่าถูกต้อง ในบรรดาความจองหองรูปแบบต่างๆ ที่เราอาจตกเป็น เหยื่อได้นั้น ความคิดว่าตนเองเคร่งครัดศรัทธาในศาสนามากกว่าผู้อื่น ถือว่าเป็นรูปแบบของความจองหองที่น่ารังเกียจที่สุด


บทเทศน์ปี C

193

บทรำ�พึงที่ 2 พระเยซูเจ้าตรัสเล่าเรื่องอุปมานี้ให้บางคนที่ภูมิใจว่าตนเป็นผู้ชอบธรรม... พระเยซูเจ้าทรงโปรดที่จะสั่งสอนด้วย “เรื่องอุปมา” คือใช้ภาพ เปรียบเทียบ เราพบเรือ่ งอุปมาประมาณ 50 เรือ่ งในพระวรสาร ลูกาเล่าไว้ 40 เรื่อง และ 15 เรื่องเป็นเรื่องที่มีอยู่แต่ในพระวรสารของลูกาเท่านั้น อุปมาเรื่อง “ชาวฟาริสี และคนเก็บภาษี” เป็นหนึ่งในเรื่องที่ ปรากฏในพระวรสารของลูกาเท่านั้น ลู กาบอกตั้ งแต่แ รกว่าเรื่อ งนี้ต้ อ งการสื่ อ สารถึ ง ใคร กล่ า วคื อ บุคคล “ที่ภูมิใจว่าตนเป็นผู้ชอบธรรม” เมื่อมองอย่างผิวเผิน ดูเหมือน ว่าความภูมิใจนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผิด การเป็นผู้ชอบธรรมเป็นอุดมคติที่ดีมาก มนุษย์ทุกคนที่สมจะได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ควรต้องการเป็นผู้ชอบธรรม... คำ � ว่ า  “ความชอบธรรม” ในภาษาพระคั ม ภี ร์ มี ค วามหมาย มากกว่า “ความยุตธิ รรม” มากกว่า “การให้เท่าทีแ่ ต่ละคนสมควรได้รบั ” ... อันที่จริง ในพระคัมภีร์ “การเป็นผู้ชอบธรรม” มีความหมายไม่ต่าง จาก “เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ”์ ... คือเป็นผู้มีคุณธรรมในทุกด้าน ผู้ชอบธรรมจะดำ�เนินชีวิตอย่างสอดคล้องกับพระประสงค์ของ พระเจ้า ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่สูงส่งอย่างแท้จริง ประกอบด้วยความจริงใจ ความซื่อตรง พฤติกรรมที่ถูกต้อง ความศักดิ์สิทธิ์ ความครบครัน ... เราพร้อมเกินไปที่จะประณามชาวฟาริสี ราวกับว่าเขาทุกคนเป็น “คน หน้าซื่อใจคดจิตใจสกปรก” อันที่จริง คนหน้าซื่อใจคดในหมู่ชาวฟาริสี น่าจะมีสัดส่วนน้อยกว่าคนหน้าซื่อใจคดในมนุษย์กลุ่มใด ๆ ชาวฟาริสี สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มบุคคลที่ต่อต้านอย่างจริงใจ และกล้าหาญต่อการ


194

บทเทศน์ปี C

เบียดเบียนของอันทิโอคัส เอปิฟานัส และในสมัยของพระเยซูเจ้า ชาว ฟาริสีก็ยังคงเป็นกลุ่มคนที่บริสุทธิ์ และมีคุณธรรม ที่เคร่งครัดศรัทธา และอุทิศทั้งชีวิตให้พระเจ้า – พวกเขาเป็นต้นแบบของความศรัทธา การ ศึกษาธรรมบัญญัติ และได้รับการยกย่องและเป็นที่รักใคร่ของประชาชน ทั่วไป พวกเขาจึงมีอิทธิพลต่อคนเหล่านี้มาก “ความชอบธรรม” ตาม ความหมายในพระคัมภีร์ หมายความรวมถึง “ความยำ�เกรงพระเจ้า” คือมโนธรรมอันละเอียดอ่อนที่ไม่สามารถทำ�ให้พระเจ้าทรงขุ่นเคือง พระทัยแม้แต่ในเรื่องเล็กน้อย แม้ว่าจะทำ�ได้ยากเย็นเพียงไรก็ตาม ... และ “ความรักต่อเพื่อนมนุษย์” กล่าวคือ ความตั้งใจมั่นว่าจะไม่ทำ�สิ่ง ใดที่เป็นการทำ�ร้ายผู้อื่น... เมื่อเราอ่านเรื่องอุปมานี้ซึ่งต้องการพูดกับ “บางคนที่ภูมิใจว่าตน เป็นผู้ชอบธรรม” เราไม่ควรลืมความจริงข้อนี้... ขอให้เราระลึกด้วยว่าเคยมีผู้เรียกพระเยซูเจ้าว่า “ผู้ชอบธรรม” (ลก 23:47; มธ 27:9) หลายคนที่เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่พระวรสารเอ่ยถึง ก็ได้ชื่อว่าเป็น “ผู้ชอบธรรม” (ลก 1:6, 2:25, 23:50; กจ 10:22)... ดังนั้น จึงต้องถามว่า อะไรคือการประจญอันแยบยลต่อ “ผู้ชอบ ธรรม”... และในทางกลับกัน อะไรคือโอกาสอันแยบยลของคนบาป หรือผู้ ที่ขาดความชอบธรรม... ... บางคนที่ภูมิใจว่าตนเป็นผู้ชอบธรรม และดูหมิ่นผู้อื่น นี่คือด้านหนึ่งของชีวิตของพวกเขาที่ขาดความชอบธรรม การ ดูหมิ่นผู้อื่นไม่ใช่พฤติกรรมที่ดี... เราเห็นได้ง่ายๆ ว่าทำ�ไมพระเยซูเจ้าจึง ไม่สามารถเห็นด้วยกับจิตใจที่ดูหมิ่นผู้อื่น เพราะพระหทัยของพระองค์ เองนั้นอ่อนโยนและเปี่ยมด้วยความเมตตา ... พระเจ้าไม่ทรงดูหมิ่น เหยียดหยามใคร ยิ่งมนุษย์คนหนึ่งบกพร่อง หลงผิด ป่วย อัปลักษณ์ พระเจ้าก็ยิ่งรักเขา ยิ่งมนุษย์คนหนึ่งน่ารังเกียจ เขาก็ยิ่งต้องการความ


บทเทศน์ปี C

195

รักแบบให้เปล่า พระเจ้าแท้ที่พระเยซูเจ้าทรงเปิดเผยให้เรารู้จักทรงเป็น พระเจ้าของคนพเนจร คนนอกคอก คนที่ถูกประณาม คนตามชายขอบ ของสังคม คนที่ไม่มีใครรัก และคนที่ถูกทอดทิ้ง ... แกะที่พลัดหลงอยู่ ในพุ่มหนามจะดึงดูดความสนใจของคนเลี้ยงแกะผู้เปี่ยมด้วยความรัก ทันที... “ดูหมิ่น” หรือ ... คนเลี้ยงแกะจะดูหมิ่นแกะตัวใดของตนได้ หรือ... เป็นประสบการณ์จริงของคนทั่วไปว่าลูกที่พิการ แทนที่จะถูก ดูหมิ่น กลับจะได้รับความรักจากมารดา หรือบิดามากว่าลูกที่สุขภาพ สมบูรณ์ ทำ�ไมเราจึงแปลกใจเล่า นี่คือปฏิกิริยาตามธรรมชาติไม่ใช่หรือ ... เป็นความจริงที่ดูเหมือนขัดแย้งกันในตัวว่าความรักที่ให้เปล่าและ บริสุทธิ์ที่สุดจะเอื้อมไปหาผู้ที่ต้องการความรักเช่นนี้มากที่สุด และแม้ว่า บางครั้งบุคคลนั้นไม่สามารถรักตอบได้เลยก็ตาม... พระเจ้าทรงเป็นเช่นนี้ พระองค์ทรงเป็นความรักที่ไม่คำ�นึงถึง ผลประโยชน์ และไม่คาดหวังจะได้รับความรักตอบ ... พระเจ้าทรงเป็น ความรักอันสมบูรณ์... มีชายสองคนขึ้นไปอธิษฐานภาวนาในพระวิหาร คนหนึ่งเป็นชาว ฟาริสี อีกคนหนึ่งเป็นคนเก็บภาษี เช่นเดียวกับเรื่องเล่าของโลกตะวันออก คำ�บรรยายนี้เกินจริงจน แทบจะกลายเป็นเรื่องตลก พระเยซูเจ้าทรงเป็นนักเล่าเรื่องที่เฉลียวฉลาด เมื่อฟังเรื่องอุปมานี้ครั้งหนึ่งแล้ว ผู้ฟังจะไม่มีวันลืม... พระเยซูเจ้าทรงนำ�เสนอตัวละครสองคนที่มีลักษณะตรงกันข้าม กันโดยสิ้นเชิง... ชาวฟาริสี เป็นคนศรัทธา และเป็นผู้ชอบธรรมจนไร้ที่ติ


196

บทเทศน์ปี C

ส่วนคนเก็บภาษีก็เป็นสัญลักษณ์ของคนบาป และความเสื่อม ศีลธรรม คนเหล่านี้ได้รับมอบหมายให้เก็บภาษี  แต่เขาขูดรีดเงินจาก ประชาชนให้ ม ากที่ สุ ด เท่ า ที่ จ ะทำ � ได้   และยั ก ยอกเงิ น จำ � นวนมากไว้ เอง คนเหล่านี้คือ “คนรวยสกปรก” ที่ไม่มีใครนิยม และทุกคนดูหมิ่น นอกจากนี้  เนื่องจากอาชีพของเขาทำ�ให้เขาต้องเกี่ยวข้องกับเงินโรมัน เขาจึงทำ�สิ่งที่ชาวยิวถือว่าทุราจารต่อพระเจ้าอยู่ทั้งวัน เพราะบนเหรียญ เงินเหล่านั้นมีรูปของจักรพรรดิ (คนต่างชาติที่ยึดครองแผ่นดินของพวก เขา) พร้อมระบุยศศักดิเ์ สมอพระเจ้า (นีค่ อื การบูชารูปเคารพ) ... ชาวยิว ทั่วไปถือว่าคนเก็บภาษีอยู่ในจำ�พวกเดียวกับคนชั่ว คนต่างศาสนา และ โสเภณี (มธ 5:46-47, 18:17) ชาวฟาริ สี ยื น อธิ ษ ฐานภาวนาในใจว่ า  “ข้ า แต่ พ ระเจ้ า  ข้ า พเจ้ า ขอบพระคุ ณ พระองค์ ที่ ข้ า พเจ้ า ไม่ เ ป็ น เหมื อ นมนุ ษ ย์ ค นอื่ น ที่ เ ป็ น ขโมย อยุติธรรม ล่วงประเวณี หรือเหมือนคนเก็บภาษีคนนี้ ข้าพเจ้า จำ�ศีลอดอาหารสัปดาห์ละสองวัน และถวายหนึ่งในสิบของรายได้ ทั้งหมดของข้าพเจ้า” ดังนั้น ชายคนนี้จึงซื่อสัตย์สุจริต และใจกว้าง เราไม่มีเหตุผล ใดๆ ที่จะสงสัยว่าเขากำ�ลังกล่าวเท็จ เขาทำ�อย่างที่เขาพูดจริงๆ ... ธรรม บัญญัติกำ�หนดให้จำ�ศีลอดอาหารเพียงหนึ่งวัน คือในวันฉลอง Yom Kippur แต่คนศรัทธาทั้งหลายสมัครใจจำ�ศีลอดอาหารเพื่อใช้โทษบาป ถึงสัปดาห์ละสองครั้ง ธรรมบัญญัติกำ�หนดให้เกษตรกรบริจาคหนึ่ง ในสิบของพืชผลที่เก็บเกี่ยวได้ให้แก่คนยากจน และให้พระวิหาร แต่ มโนธรรมอันละเอียดอ่อนของฟาริสี ทำ�ให้เขาสมัครใจจ่ายหนึ่งในสิบ ของทุกสิ่งที่เขาซื้อมา ซึ่งเป็นการบริจาคเป็นครั้งที่สอง (มธ 23:23)... นอกจากนี้ คำ�ภาวนาของชาวฟาริสีเป็นคำ�ภาวนาที่บริสุทธิ์ เขาไม่ วิงวอนขอสิ่งใดเลย ... เขาเพียงแต่ขอบพระคุณพระเจ้า บทภาวนาของ


บทเทศน์ปี C

197

เขาเป็นการบูชาขอบพระคุณ... ถูกแล้ว เราต้องชมเชยบุรุษ “ผู้ชอบธรรม” คนนี้ ถ้ามีมนุษย์ ชายหญิงที่ดำ�เนินชีวิตแบบนี้มากขึ้น สังคมจะน่าอยู่กว่านี้ จะไม่มีการ ลักขโมย ไม่มีความอยุติธรรม ไม่มีการคบชู้ผิดประเวณี... ประชาชนยอม แบ่งปันสิ่งของของตนกับผู้อื่นเพราะคิดว่าทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน ... คนเหล่านี้คือคนที่ภาวนาด้วยคำ�สรรเสริญ และขอบพระคุณพระเจ้า... เราคงจะบิดเบือนความหมายของเรื่องอุปมานี้ ถ้าเราคิดว่าบุรุษ “ผู้ชอบธรรม” นี้เป็นคนหน้าซื่อใจคดที่ซ่อนพฤติกรรมของเขาอย่าง มิดชิด... แต่ถ้าพระเยซูเจ้าไม่ทรงประณามว่าเขาเป็น “คนหน้าซื่อใจคด” พระองค์ทรงประณามเขาในเรื่องใด อะไรคือลัทธิฟาริสี... เมื่อมองผาดๆ เราก็เห็นได้แล้วว่าชายคนนี้จองหอง และภูมิใจ ในตนเองมากเพียงไร เราสังเกตเห็นว่าเขาดูถูกผู้อื่น ซึ่งเขาเรียกทุก คนว่าคนบาป แต่ในปัจจุบัน เราไม่อาจเรียกคนกลุ่มใดว่า “ฟาริส”ี ได้ อีกต่อไป ไม่มีใครอยากถูกเรียกว่าฟาริสี แต่ไม่ได้เป็นข้อพิสูจน์ว่าคน ประเภทนี้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ในสังคมสมัยใหม่ เรายังพบ “คนเก็บ ภาษี และคนบาป” ที่ภูมิใจในตนเองอยู่ไม่ใช่หรือ คนเหล่านี้แสดง พฤติกรรมที่ขัดต่อศีลธรรมโดยไม่ละอายใจ เขาคุยโวที่เขาตีตนออกห่าง จากพระศาสนจักร และดูถูกคนที่มีอุดมคติ หรือพยายามปรับปรุงตัว ให้ดีขึ้น ... เขาภูมิใจในตนเองจนเขาดูหมิ่นชนชั้นแรงงาน เขามั่นใจว่า เขารู้ดีเกี่ยวกับสัจธรรม เขาจึงประณามบุคคลที่เขาเรียกว่า “พวกเอียงซ้าย” หรือ “พวกก่อปฏิกิริยา” ... เปล่าเลย ลัทธิฟาริสียังไม่ตาย คน เหล่านี้สวดภาวนาว่า “ข้าแต่พระเจ้า  ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระองค์ที่ ข้าพเจ้าไม่เป็นเหมือนนายจ้างที่กดค่าแรงคนงาน... หรือเหมือนกับผู้นำ� สหภาพแรงงานที่มีความคิดสุดโต่ง ... หรือเหมือนกับเด็กหนุ่มคนนี้ที่ มีพฤติกรรมเสื่อมทรามไปเสียทุกด้าน ... หรือเหมือนหญิงชราที่ดื้อรั้น


198

บทเทศน์ปี C

คนนั้น ... หรือเหมือนผู้ชายใจหยาบคนนั้น... พระเจ้าข้า โปรดทรงปลดปล่อยเราให้พ้นจากลัทธิฟาริสี ที่ซ่อน ตัวอย่างแยบยลเหล่านี้เถิด... พระเจ้าข้า โปรดทรงช่วยข้าพเจ้าไม่ให้คิดว่าพระวรสารนี้กำ�ลัง กล่าวถึงผู้อื่น แต่ขอให้ข้าพเจ้าตระหนักว่าข้าพเจ้าภูมิใจในตนเองมาก เพียงไร และข้าพเจ้าดูหมิ่นผู้อื่นในหลายๆ ทางอย่างไร ... ถ้าข้าพเจ้า สังเกตอย่างละเอียดถีถ่ ว้ น ข้าพเจ้าจะเห็นว่าผูอ้ น่ื มีความสามารถมากกว่า ข้าพเจ้าในด้านต่าง ๆ มากมาย... ส่วนคนเก็บภาษียืนอยู่ห่างออกไป ไม่กล้าแม้แต่จะเงยหน้าขึ้นมอง ท้องฟ้า ได้แต่ข้อนอกพูดว่า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อ ข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด” ตรงกันข้าม คนเก็บภาษีไม่ตัดสินผู้อื่น แต่ตัดสินตนเอง เขารู้ตัว ว่าเป็นคนบาป ... เมื่ออยู่เบื้องหน้าพระเจ้า... เราสังเกตได้ว่าเขาไม่ได้จาระไนบาปของเขา เขาไม่ได้ “สารภาพ บาป” เขาเพียงรู้สึกว่าน้ำ�หนักของบาปของเขากดตัวเขาให้ต่ำ�ต้อย และ เขาก็ทูลพระเจ้าเช่นนี้ ... เขาไม่ได้พึ่งพากำ�ลังของตนเอง หรือบุญกุศล ของตนเอง ... เรานึกภาพได้ว่าเขาพยายามหลายครั้งหลายหนที่จะ ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น แต่เขาก็กลับไปอยู่ในสภาพเดิมทุกครั้ง... ถ้าเรามองเห็นตนเองใน “ตัวฟาริสี คนนี้” เราย่อมมองเห็น ตนเองในตัวคนบาปผู้น่าสงสารคนนี้เช่นกัน ... คนบาปผู้ไม่เคยดำ�เนิน ชีวิตตามอุดมคติของเขาได้สำ�เร็จ ผู้ต้องต่อสู้ตลอดเวลากับนิสัยชั่วของ เขา และอาจถึงกับอยากจะรู้สึกสิ้นหวัง... แต่เราสามารถสวดบทภาวนานี้ซ้ำ�ๆ ไม่หยุดได้ว่า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด”...


บทเทศน์ปี C

199

เราบอกท่านทั้งหลายว่าคนเก็บภาษีกลับไปบ้าน ได้รับความชอบ ธรรม แต่ชาวฟาริสีไม่ได้รับ เพราะผู้ใดที่ยกตนขึ้นจะถูกกดให้ต่ำ�ลง ผู้ใดที่ถ่อมตนลงจะได้รับการยกย่องให้สูงขึ้น” ประชาชนที่ กำ � ลั ง ฟั ง พระเยซู เ จ้ า คงรู้ สึ ก เหมื อ นถู ก ฟ้ า ผ่ า เมื่ อ ได้ยินประโยคนี้ แต่พระเยซูเจ้าไม่ทรงอธิบาย ... พระองค์ทรงปล่อยให้ เราคิดได้เองว่าพระเจ้าไม่ทรงเป็นเหมือนอย่างที่เราเชื่อว่าพระองค์ทรง เป็น... พระเจ้าทรงเป็นความรัก พระเจ้าทรงเป็นผู้ประทานพระพรแบบ ให้เปล่า พระเจ้า “ทรงเป็นทุกข์” ร่วมกับคนบาปที่เป็นทุกข์เพราะเขา เป็นคนบาป พระเจ้าทรงปรารถนาจะให้อภัย... แต่ไม่มีใครเติมน้ำ�ลงในถ้วยที่เต็มแล้วได้ ชายผู้ชอบธรรม หรือ ควรเรียกว่าผู้ที่คิดว่าตนเองเป็นผู้ชอบธรรมนี้  จะไม่ต้องการความช่วย เหลือจากพระเจ้าในที่สุด ... เพราะเขาอยู่ได้ด้วยตนเองแล้ว... บทเรียนจากเรื่องอุปมานี้อยู่การเปลี่ยนคำ�ว่า “ผู้ชอบธรรม” ที่ ใช้ตอนต้นเรื่องให้เป็น “ได้รับความชอบธรรม” นี่คือลีลาการเขียน วรรณกรรมเซมิติก... ท้ายที่สุดแล้ว มนุษย์ไม่สามารถเป็นผู้ชอบธรรมได้ด้วยตนเอง แต่ต้อง “ได้รับความชอบธรรม” ระหว่างที่เขาพยายามดำ�เนินชีวิตอย่าง ชอบธรรม... ข้าแต่พระบิดา ความชอบธรรมนี้ก็คือความยินดีที่ได้รับการอภัย จากพระองค์... การพิพากษาของพระองค์เป็นพระหรรษทาน– เป็นของประทาน ที่ได้มาเปล่าๆ – สำ�หรับบุคคลที่ไม่กล้าเงยหน้าขึ้นมองพระองค์ แต่ หัวใจของเขาวิงวอนพระองค์...


200

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์ที่สามสิบเอ็ด เทศกาลธรรมดา ลูกา 19:1-10 พระเยซูเจ้าเสด็จเข้าเมืองเยรีโคและกำ�ลังจะเสด็จผ่านเมือง นั้น ชายคนหนึ่งชื่อศักเคียส เป็นหัวหน้าคนเก็บภาษี เป็นคนมั่งมี เขาพยายามมองดูว่าใครคือพระเยซูเจ้า แต่ก็มองไม่เห็นเพราะมีคน มาก และเพราะเขาเป็นคนร่างเตี้ย เขาจึงวิ่งนำ�หน้าไปปีนขึ้นต้น มะเดื่อเทศเพื่อให้เห็นพระเยซูเจ้า เพราะพระองค์กำ�ลังจะเสด็จผ่าน ไปทางนั้น เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงที่นั่น ทรงเงยพระพักตร์ขึ้น ทอดพระเนตร ตรัสกับเขาว่า “ศักเคียส รีบลงมาเถิด เพราะเราจะ ไปพักที่บ้านท่านวันนี้” เขารีบลงมาต้อนรับพระองค์ด้วยความยินดี ทุกคนที่เห็นต่างบ่นว่า “เขาไปพักที่บ้านคนบาป” ศักเคียสยืนขึ้นทูล พระเยซูเจ้าว่า “พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะยกทรัพย์สมบัติครึ่งหนึ่งให้ แก่คนจน และถ้าข้าพเจ้าโกงสิ่งใดของใครมา ข้าพเจ้าจะคืนให้เขาสี่ เท่า” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “วันนี้ ความรอดพ้นมาสู่บ้านนี้แล้ว เพราะ คนนี้เป็นบุตรของอับราฮัมด้วย บุตรแห่งมนุษย์มาเพื่อแสวงหา และ เพื่อช่วยผู้ที่เสียไปให้รอดพ้น”


บทเทศน์ปี C

201

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง การเดินทางภายใน เยรีโคเป็นเมืองที่ร่ำ�รวย ตั้งอยู่กลางโอเอซิสอันเขียวชอุ่มและ อุ ด มสมบู ร ณ์   ระหว่ า งแม่ น้ำ � จอร์ แ ดนและถิ่ น ทุ ร กั น ดารอั น แห้ ง แล้ ง ศักเคียสเปรียบได้กับตัวแทนของเมืองนี้  เขาเป็นหัวหน้าคนเก็บภาษี เขาจึงต้องรวยมาก เพราะมีธุรกิจมากมายให้เรียกเก็บภาษีได้ในเมือง นี้  แม้ว่าจะร่ำ�รวยมาก แต่วิญญาณของเขากลับแห้งแล้งเหมือนกับถิ่น ทุรกันดาร แต่กระนั้น ก็มีบางสิ่งบางอย่างที่กำ�ลังทำ�งานอยู่ในตัวเขา และเปิดเผยให้เขาเห็นความยากจนภายใน ลูกาบอกเล่าอย่างเฉียบคม ถึงความเคลื่อนไหวภายในเหล่านี้โดยใช้คำ�สนทนาของเขา ก่ อ นอื่ น  เราได้ เ ห็ น ความพยายามของศั ก เคี ย ส มี บ างสิ่ ง บาง อย่างขับเคลื่อนเขา ซึ่งน่าจะเป็นความว่างเปล่าภายในวิญญาณของเขา เขาเป็นคนร่างเตี้ย และมองไม่เห็นพระเยซูเจ้าเพราะมีคนมาก บางที ประโยคนี้อาจบรรยายมากกว่าสภาพร่างกายของเขา เขายังขาดความ เคารพตนเองด้วย เพราะความคิดเห็นของคนทั่วไปต่อคนเก็บภาษีทำ�ให้ เขาไม่มีความหวังมากนักว่าจะได้รับความกรุณาจากพระเจ้า ด้วยความ ต้องการจะเห็นพระเยซูเจ้า เขาจึงไม่คิดถึงอะไรเลย และกล้าทำ�สิ่งที่ไม่ สมเกียรติสำ�หรับบุคคลที่มีตำ�แหน่งสำ�คัญอย่างเขา เขาวิ่งนำ�หน้าฝูงชน และปีนขึน้ ต้นไม้เพือ่ ให้สามารถมองเห็นพระเยซูเจ้าผ่านใบไม้ เราสังเกต เห็นการพยายามของเขาได้อีกครั้งหนึ่ง ศักเคียสได้กระทำ�สิง่ ทีเ่ ขาต้องทำ�แล้ว บัดนี้ ถึงคราวทีพ่ ระเยซูเจ้า ต้องกระทำ�บ้าง คนบาปคนนี้รู้ตัวแล้วว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ และ


202

บทเทศน์ปี C

ได้แสดงความปรารถนาจะทำ�อะไรสักอย่าง แล้วก็มาถึงนาทีแห่งพระ หรรษทานที่เขาไม่คาดหมายว่าจะได้รับ เป็น “จุดที่สิ่งที่ไร้กาลเวลาตัด ผ่านกาลเวลา” (ที.เอส. เอเลียต) นี่เป็นหนึ่งในช่วงเวลาพิเศษที่พระเยซูเจ้าทรงมองใครบางคน พระองค์ทรงเสนอคำ�เชิญซึ่งไม่มีใครปฏิเสธได้ “ศักเคียส ลงมาจากที่ซ่อนบนต้นไม้เถิด จงเปิดประตูบ้านให้เรา เข้าไป เราจะต้องนั่งร่วมโต๊ะอาหารของท่านในคืนนี”้ เวลาหลายปีแห่งการหลอกตนเอง และการซ่อนตัวโดยไม่จำ�เป็น เบื้องหลังสิ่งกีดขวางต่างๆ สามารถละลายหายไปหมดภายในหนึ่งนาที แห่งพระหรรษทาน คนบาปมักคิดว่าจะต้องเกิดปัญหายุ่งยากมากมาย ถ้าเขาต้องกลับใจ แต่ “จุดตัดผ่าน” ของพระเจ้ามักไม่ยากเย็น แต่อ่อนโยนเสมอ “ดังนั้น พระองค์จะทรงดัดนิสัยผู้ทำ�ความผิดทีละเล็กทีละน้อย พระองค์ จะทรงตักเตือนและเตือนใจว่าเขาได้ทำ�บาปอย่างไร เพื่อว่าเขาจะยับยั้ง ใจจากความชั่ว และวางใจในพระองค์ พระเจ้าข้า” (ปชญ 12:2 ในบท อ่านที่หนึ่งของวันนี้) วิธีการของพระเยซูเจ้าแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าไม่ ทรงบีบบังคับคนบาป แต่ทรงเชิญชวน หลังจากพระเยซูเจ้าตรัสเชิญชวน ก็ถึงคราวที่ศักเคียสต้องตอบสนอง เขารีบลงจากต้นไม้ และต้อนรับพระเยซูเจ้าด้วยความยินดี แต่ การกลับใจก็ยังต้องพิสูจน์ตนเองด้วยการทดสอบ มีคนที่ตั้งข้อรังเกียจ หลายคนอยู่ที่นั่น และพร้อมจะคัดค้าน และร้องทุกข์  แต่ศักเคียสมี ความหนักแน่น เขา “ยืนขึ้น” การทดสอบเพียงแต่ทำ�ให้ความตั้งใจของ เขามั่นคงมากขึ้น และชัดเจนขึ้น เพื่อจะมีชีวิตใหม่ในพระอาณาจักรซึ่ง เขาเห็นได้ในตัวพระเยซูเจ้า เขาจำ�เป็นต้องเสียสละหลายสิ่งหลายอย่าง แต่ความตั้งใจของเขาหนักแน่นพอจะรับมือได้ เขาสัญญาทันทีว่าจะยก ทรัพย์สมบัติครึ่งหนึ่งให้แก่คนยากจน และสำ�หรับผู้ใดที่เขาเคยฉ้อโกง


บทเทศน์ปี C

203

เขาจะชดเชยให้เกินจำ�นวนที่กฎหมายกำ�หนดให้ชดเชย ศั ก เคี ย สเดิ น ทางออกจากทะเลทรายในวิ ญ ญาณ ออกมาสู่ โอเอซิสแห่งชีวิตใหม่   และบ่อน้ำ�พุแห่งความตั้งใจจริง  และด้วยพระ หรรษทานของพระเจ้า ก้าวแรกของการเดินทางแห่งการกลับใจนั้นใช้ เวลาเพียงสั้น ๆ เมื่อเขาตอบรับด้วยความยินดีต่อสายพระเนตรที่แสดง ความอ่อนโยนและสงสารของพระเยซูเจ้า นี่คือวันแห่งความรอดพ้น... “เพราะบุ ต รแห่ ง มนุ ษ ย์ ม าเพื่ อ แสวงหา และเพื่ อ ช่ ว ยผู้ ที่ เ สี ย ไปให้ รอดพ้น” ข้อรำ�พึงที่สอง คำ�ให้การเป็นพยานของศักเคียส ข้าพเจ้าชี่อศักเคียส ถ้าชื่อนี้ทำ�ให้คิดถึงความสำ�เร็จ ข้าพเจ้าก็ไม่ ว่าอะไร เพราะข้าพเจ้าต้องการให้คนรู้จักข้าพเจ้าในแง่ของความสำ�เร็จ มานานหลายปี แต่ในวันนี้ความสำ�เร็จไม่สำ�คัญอะไรนัก ตั้งแต่ข้าพเจ้า พบพระเยซูเจ้า ถ้าท่านเกิดมาจน ความต้องการประสบความสำ�เร็จอาจ กลายเป็นทรราชที่คอยกดขี่อยู่ภายในตัวท่านได้ ท่านต้องดึงตนเองออก มาจากสลัม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าตัวท่าน และลูกหลานที่สืบทอดนามของ ท่าน จะไม่ต้องกลับไปสู่สภาพเดิมของท่านอีก ท่านไม่มีทางเลือกมาก นักในการหาเงิน หรือหางาน และเมื่อท่านเป็นคนเล็กๆ ในชีวิต ท่าน จะกลายเป็นคนก้าวร้าวที่อยากให้ผู้อื่นมองเห็นท่าน พวกเขาอาจตำ�หนิ ที่ท่านทำ�งานให้พวกโรมัน แต่ต้องมีคนเก็บภาษีไม่ใช่หรือ มิฉะนั้นก็จะ ไม่มีถนน ไม่มีทางส่งน้ำ� ไม่มีกองทัพที่จะรักษากฎหมายและความสงบ เรียบร้อย เมื่อท่านเป็นคนจน ท่านไม่สามารถอยู่กับอดีต อดีตไม่ทำ�ให้ ท่านมีขนมปังบนโต๊ะอาหาร และถ้าข้าพเจ้าไม่ทำ�งานนี้ ก็ต้องมีผู้อื่นรับ ทำ� ข้าพเจ้าทำ�งานหนัก ... หนักมาก ... แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา เมื่อท่านมี พลังขับเคลื่อนจากภายในตัวท่าน ข้าพเจ้าทำ�ความรู้จักกับคนใหญ่คนโต


204

บทเทศน์ปี C

และพยายามรักษาความสัมพันธ์กับบุคคลเหล่านี้ เพราะคนเหล่านี้เป็นผู้ แต่งตั้งข้าพเจ้า เขาจะไม่แต่งตั้งท่านเป็นหัวหน้า ถ้าท่านไม่แสดงให้เขา เห็นว่าท่านสามารถปกครองและจัดการบุคคลใต้บังคับบัญชาได้ พวก โรมันรู้ว่าเขาต้องทำ�อะไรบ้าง และนั่นเป็นข้อดีของพวกเขา เขาเคารพ คนที่ทำ�งานหนัก และเขามองเห็น และยอมรับความสามารถของคน ชนชาติ ข องเราติ ด พั น อยู่ กั บ อดี ต  และสนใจแต่ ว่ า ครอบครั ว ของท่านเป็นใครมาจากไหน ข้าพเจ้าอยู่ในตำ�แหน่งที่สามารถทำ�รายได้ อย่างงาม และข้าพเจ้าก็ฉวยโอกาสนี้ เงินไม่ใช่สิ่งสำ�คัญเพียงอย่างเดียว ข้าพเจ้าไม่เคยนับถือเงินทองเป็นพระเจ้า ซึ่งอาจฟังดูแปลก แต่ข้าพเจ้า สนใจว่าเงินทองสามารถทำ�อะไรได้บ้าง ข้าพเจ้ากว้านซื้อทรัพย์สิน และ ใช้ เงิ นทองอย่ างฟุ่ม เฟือ ย ข้าพเจ้าต้อ งการสิ่ ง ที่ ดี ที่ สุ ด  และแสดงให้ ทุกคนเห็นว่าข้าพเจ้าเป็นคนเด่นที่สุด ข้าพเจ้าสนุกกับการทำ�ให้ผู้คน กระดากใจด้วยการให้ของขวัญราคาแพง แต่ผ้าไหมแพรพรรณในโลก ไม่สามารถปิดบังหัวใจที่โดดเดี่ยวได้  อีกทั้งมิตรภาพที่สร้างขึ้นเพราะ ความจำ�เป็น และคำ�สรรเสริญเยินยอกันและกัน ก็ไม่ช่วยให้ข้าพเจ้ามี ใครที่ข้าพเจ้าไว้วางใจได้จริง ไม่มีใครที่จะมาแบ่งเบาความเจ็บปวดใน วิญญาณของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ากลายเป็นคนอารมณ์ขุ่นหมองและโดด เดี่ยว ข้าพเจ้าเริ่มดื่มเหล้าจนเมามาย สถานการณ์นี้จำ�ต้องยุติเสียที แล้ว พระเยซูเจ้าก็เสด็จมา ข้าพเจ้าเคยได้ยินเรื่องของพระองค์จากเพื่อนๆของเลวี บางคน ประทับใจในตัวพระองค์มาก บางคนคิดว่าพระองค์ค่อนข้างเป็นคน บูชาอุดมการณ์ที่ไม่มีพิษมีภัย เขาว่ากันว่าพระองค์ไม่ประนีประนอมกับ คนรวย ... พวกกวี ศิลปิน นักฝัน คนเหล่านี้ไม่ยอมรับความเป็นจริง แต่ ข้าพเจ้ารู้จากประสบการณ์ว่าถ้ามีผู้สนับสนุนที่มือเติบ พวกเขาก็เปลี่ยน ความคิดในไม่ช้า มันง่ายที่จะสาปแช่งสิ่งที่ท่านไม่มี ข้าพเจ้าแปลกใจที่ได้ยินเรื่องของเลวี  การนิยมชมชอบนักเทศน์


บทเทศน์ปี C

205

คนหนึ่งก็ดีอยู่  แต่ต้องถึงกับติดตามเป็นศิษย์ของเขาทีเดียวหรือ เลวี เป็นคนเก็บภาษีที่เก่ง เขาทำ�งานอย่างมีหลักเกณฑ์  เราชอบวิธีที่เขา ทำ�บัญชี และเขาสามารถจัดงานเลี้ยงอย่างฟุ่มเฟือยไม่ต่างจากคนเก็บ ภาษีอื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์ เพราะทำ�ให้รู้จักคนอย่างกว้างขวาง เรามีทาง ก้าวหน้าได้ไกล แต่เลวีกลับส่งสมุดบัญชีคืนให้เรา และติดตามนักเทศน์ คนนั้นไป เขาจัดงานเลี้ยงใหญ่แล้วก็จากไป ความคิดนี้เข้ามาวนเวียนใน สมองของข้าพเจ้า อย่างน้อยข้าพเจ้าขอให้ได้เห็นหน้าของนักเทศน์คนนี้ สักครั้ง เมื่อมองย้อนกลับไป ข้าพเจ้าอดขำ�ตนเองไม่ได้ คนที่มีตำ�แหน่ง มีหน้ามีตาอย่างข้าพเจ้ากลับปีนขึ้นไปซ่อนตัวบนต้นไม้  มันแปลกมาก เพราะข้าพเจ้ามักกังวลว่าจะถูกผู้อื่นนินทาเสมอ พระเยซูเจ้าทรงหยุดเดิน และฝูงชนก็หยุดด้วย หัวใจข้าพเจ้า แทบหยุดเต้น ข้าพเจ้าไม่กล้าหายใจ แต่พระองค์ทรงเงยพระพักตร์ขึ้น และข้าพเจ้ามองเห็นความอ่อนโยนในพระเนตรคู่นั้น ข้าพเจ้าไม่กลัวอีก ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้ารู้ได้ทันทีว่าพระองค์เข้าใจข้าพเจ้า สิ่งที่พระองค์ตรัส หลังจากนั้น ... ข้าพเจ้าแทบไม่เชื่อหูว่าจะได้ยิน “ศักเคียส” ข้าพเจ้ามา สงสัยในภายหลังว่าพระองค์ทรงรู้จักชื่อข้าพเจ้าได้อย่างไร “ศักเคียส รีบ ลงมาเถิด เพราะเราจะไปพักที่บ้านท่านวันนี้” นั่นคือความยินดีล้วนๆ ... ความยินดี และแสงสว่าง ... ความ ยินดี และการต้อนรับ ... ข้าพเจ้าไม่เคยรู้สึกอะไรที่ลึกล้ำ�เช่นนี้ ความ รู้สึกว่ามีใครบางคนที่เข้าใจท่านจากภายใน ที่ห่วงใยท่านมากพอจะยื่น มือมาหาท่าน ที่สามารถรักท่านราวกับว่าท่านเป็นมนุษย์คนเดียวที่มีชีวิต อยู่บนโลกนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกเช่นนั้น บัดนี้ ทุกสิ่งกลายเป็นเหมือนขยะ ขยะ สำ�หรับข้าพเจ้า แต่ไม่ใช่ขยะสำ�หรับผู้ที่ขัดสน การแบ่งปันทรัพย์สินให้ แก่คนจนก็กลายเป็นความยินดีใหม่ๆ ได้อีกอย่างหนึ่ง คนทั่วไปพูดว่าข้าพเจ้าเป็นบ้า แต่ความรักมีสิทธิ์จะบ้าได้บ้าง ไม่ใช่หรือ และไม่ว่าเขาจะพูดอะไรก็ไม่สำ�คัญสำ�หรับข้าพเจ้าอีกแล้ว


206

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 2 พระเยซูเจ้าเสด็จเข้าเมืองเยรีโค และกำ�ลังจะเสด็จผ่านเมืองนั้น เยรีโค เป็น “สัตว์ประหลาด” ทางภูมิศาสตร์ เป็นเมืองที่ต่ำ�ที่สุด ในโลก คือ 250 เมตรต่ำ�กว่าระดับน้ำ�ทะเล เมื่อมนุษย์ดำ�รงชีพอยู่ใน ระดับนั้น เขาจะ “ขั้นสู่ที่สูง” ทันทีที่เขาตัดสินใจจะออกจากเมืองที่เขา อาศัยอยู่ ... ศักเคียสจะเริ่มต้นจากจุดที่ต่ำ�มากจริง ๆ... เยรีโค เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของมนุษยชาติยุคโบราณ เพราะเป็น หนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดบนโลกนี้ มีซากปรักหักพังที่นักวิทยาศาสตร์ ประเมินว่ามีอายุถึง 8,000 ปีก่อนคริสตกาล เมื่ออับราฮัมเดินทางผ่าน เมืองนี้ เมืองนี้ก็อายุได้หกพันปีแล้ว ... ศักเคียสเหมือนกับมนุษย์ในทุก ยุคสมัย... เยรีโค เป็นเมืองสุดท้ายที่ผู้แสวงบุญสามารถหยุดพักระหว่าง ทางไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ในวันนั้นสำ�หรับพระเยซูเจ้ายังมีทางสูงชันที่ พระองค์ต้องเดินไปข้างหน้า เนินเขาหัวกะโหลก (ภาษีฮีบรูเรียกว่า กลโกธา) ตั้งอยู่ที่นั่น ใกล้ประตูเอเฟรม ห่างจากที่นั่นประมาณ 20 กม. และสูงกว่าเมืองเยรีโคมากกว่าหนึ่งพันเมตร “พระเยซูเจ้ากำ�ลังจะเสด็จผ่านเยรีโค” ... นี่คือช่วงสุดท้ายของ การเดินทางครั้งสุดท้ายของพระองค์! พระเยซูเจ้าทรงทราบดีว่าพระองค์จะทรงพบกับอะไรบ้างในกรุง เยรูซาเล็ม วันนี้ หรืออาจเป็นวันก่อนหน้านั้น พระองค์ทรงเรียกเพื่อนๆ ของพระองค์มาหา และบอกเขาว่ากำ�ลังจะเกิดอะไรขึ้น “บัดนี้ พวกเรา กำ�ลังขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม และทุกสิ่งที่บรรดาประกาศกได้เขียนไว้ เกี่ยวกับบุตรแห่งมนุษย์จะเป็นความจริง บุตรแห่งมนุษย์จะถูกมอบแก่


บทเทศน์ปี C

207

บรรดาคนต่างศาสนา จะถูกสบประมาทเยาะเย้ย ถูกทำ�ทารุณ และถูกถ่ม น้ำ�ลายรด เขาเหล่านั้นจะโบยตีพระองค์ และฆ่าพระองค์เสีย แต่ในวัน ที่สาม พระองค์จะทรงกลับคืนพระชนมชีพ” (ลก 18:31-34) แต่ลูกา บอกเราว่า ศิษย์ทั้งสิบสองคนไม่เข้าใจว่าพระองค์หมายถึงอะไร ... พระ เยซูเจ้าเท่านั้นที่ทรงมองเห็นเหตุการณ์ภายหน้าอย่างชัดเจน ... ทรงอยู่ กับความคิดของพระองค์ตามลำ�พัง ชายคนหนึ่งชื่อศักเคียส... นี่เป็นคำ�ประชดประชันหรือ ... ในภาษาฮีบรู คำ�ว่า Zakkay แปล ว่า “บริสุทธิ”์ ... “ผู้ชอบธรรม” ... คนบาปสาธารณะที่ชื่อ “บริสุทธิ”์ นี้ ทำ�ให้เรานึกถึงคนหยาบช้าที่มีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า “คนไร้เดียงสาผู้อ่อนหวาน”... แต่ขอให้รอจนถึงตอนจบของเรื่องนี้ก่อนเถิด... เขาอาจจะเหมาะสมกับชื่อของเขาในที่สุดก็ได้ ... ใครจะรู้... ศักเคียส เป็นหัวหน้าคนเก็บภาษี เป็นคนมั่งมี ศั ก เคี ย ส เป็ น บุ ค คลที่ ช าวฟาริ สี ถื อ ว่ า เป็ น คนบาปโดยอาชี พ เป็นคนน่ารังเกียจ และเป็นที่ชิงชังของคนทั้งปวง ... เขารับใช้กองกำ�ลังที่ยึดครองแผ่นดิน ... เขาเป็นมิตรกับจักรพรรดิ ... เป็นคนที่ แสวงหาประโยชน์ และกดขี่คนจน ... หัวหน้าคนเก็บภาษีสกปรกคน นี้ทำ�กำ�ไรมหาศาลด้วยการทำ�ให้คนจนถึงกับอดอยาก และใช้เงินทอง อย่างฟุ่มเฟือยในคฤหาสน์ที่สะดวกสบายที่สุดในเมือง ... พระเยซูเจ้า ตรัสไว้เมื่อไม่นานมานี้ว่า “อูฐจะรอดรูเข็มยังง่ายกว่าคนมั่งมีเข้าสู่พระ อาณาจักรของพระเจ้า” (ลก 18:25)... ศักเคียส เป็นชายที่ควรหลีกเลี่ยงเหมือนโรคระบาด เขาเป็นคน บาปที่ไม่มีทางกลับใจ ... เป็นคนชั่วที่ไม่มีใครควรเยี่ยมเยียน ... อันที่


208

บทเทศน์ปี C

จริง ประชาชนที่เดินผ่านบ้านเขาจะเบือนหน้าหนี และถ่มน้ำ�ลายลงบน พื้น... เขาพยายามมองดูว่าใครคือพระเยซูเจ้า แต่ก็มองไม่เห็นเพราะมีคน มาก และเพราะเขาเป็นคนร่างเตี้ย เขาจึงวิ่งนำ�หน้าไป ปีนขึ้นต้น มะเดื่อเทศ เพื่อให้เห็นพระเยซูเจ้า เพราะพระองค์กำ�ลังจะเสด็จผ่าน ไปทางนั้น คำ�บรรยายทั้งหมดนี้เป็นสัญลักษณ์ ศักเคียสเป็นคนร่างเตี้ย เตี้ย จนเขามองไม่เห็นพระคริสตเจ้า ... ฝูงชนที่ไม่เป็นมิตร หมายถึง ความ คิดเห็นของคนทั่วไปที่เขาต้องข้ามผ่านไป เพื่อไปให้ถึงและเห็นพระคริสตเจ้า ... ต้องปีนต้นไม้ (ไม้กางเขนก็คือต้นไม้ เป็นต้นไม้ที่สร้าง ความประหลาดใจ) เพื่อจะเห็นพระเยซูเจ้า... แต่ความหมายเชิงสัญลักษณ์เหล่านี้ไม่ได้บิดเบือนความจริงทาง ประวัติศาสตร์ที่ระบุอย่างละเอียดนี้ ความทรงจำ�เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ไม่ น่าเชื่อ – การกลับใจของ “หัวหน้าคนเก็บภาษี” – คงติดตรึงอยู่ในใจ ของชาวเมืองเยรีโคในสมัยของลูกา ... นอกจากนี้ รายละเอียดทั้งหมด ยังดูเหมือนเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้จริง... พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนตาบอดที่ทางเข้าเมือง (ลก 18:3542) คำ�เล่าลือถึงการรักษาครั้งนี้คงแพร่กระจายราวกับไฟไหม้ป่า ไม่น่า แปลกใจที่ศักเคียสรู้สึกว่าอยากเห็นหน้าชายที่ชื่อเยซูคนนี้ ... นอกจากนี้ เขายังถูกเหยียดหยามจากฝูงชนจนเขาอยากปีนขึ้นไปชะโงกดูบนต้นไม้ มากกว่า บางทีอาจมีสายตาของทุกคนที่นั่นจับจ้องอย่างเย้ยหยัน เขา ไม่สนใจจะรักษาศักดิ์ศรีของตนในฐานะหัวหน้าเจ้าหน้าที่การคลังของ อาณาจักรโรมัน... ข้าพเจ้าพยายามวาดภาพในจิตนาการ ว่าอะไรดลใจให้ศักเคียส กล้าเผชิญกับเสียงเย้ยหยัน เขาม้วนชายเสื้อคลุมของเขา ซึ่งอาจเป็น


บทเทศน์ปี C

209

เสื้อคลุมแบบชนชั้นกลางของสังคมยิว หรืออาจเป็นเสื้อแบบชาวโรมัน – และปีนขึ้นต้นมะเดื่อเทศเหมือนเด็กคนหนึ่ง เขาทำ�เช่นนี้เพราะอยาก รู้อยากเห็น หรือเพราะมีแรงดึงดูดอันเร้นลับ หรือความไม่สบายใจกับ วิถีชีวิตของตนเอง ... เขาใช้ชีวิตนับเหรียญ และรังควานคนทั้งเมือง ประชาชนหลบหน้าเขา และเราก็รู้ว่าทำ�ไม เขาตามรังควานคนเหล่านี้ โดยอ้างกฎหมาย ซึ่งเป็นกฎหมายของศัตรู ... แต่บัดนี้ เขาได้ยินว่าพระ เยซูเจ้ากำ�ลังเสด็จผ่านมา และพระองค์ทรงเป็นมิตรกับบุคคลที่ไม่มีใคร รักลง ... ดังนั้น เพื่อจะได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้า ชายคนนี้จึงกล้าปีน ต้นไม้ในวันหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิของปาเลสไตน์... เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงที่นั่น ทรงเงยพระพักตร์ขึ้นทอดพระเนตร และตรัสกับเขา... เห็ นได้ชัดว่าศัก เคียสเป็น ฝ่ายมองก่ อน ด้ ว ยสายตาที่ ลุ กร้ อน ด้วยความปรารถนาจะเห็นพระเยซูเจ้า แต่คงจะไม่เกิดอะไรขึ้นถ้าพระ เยซูเจ้าไม่ทรงเงยพระพักตร์ และทรงมองดูชายท่าทางแปลกๆ บนต้น มะเดื่อเทศ ... ข้าพเจ้าเพ่งพินิจเหตุการณ์นี้ครู่หนึ่ง พระเยซูเจ้า และ ศักเคียส กำ�ลังมองกันและกัน... เราคิดว่าเรากำ�ลังแสวงหาพระเจ้า แต่ในความเป็นจริง พระเจ้า ทรงแสวงหาเราก่อน–ทรงแสวงหาเรามาตลอดนิรันดรกาล พระเยซูเจ้า คงมีความสุขมากในวันนั้น อีกไม่กี่ไมล์ก็จะถึงกรุงเยรูซาเล็ม อีกไม่กี่วัน ก็จะถึงพระทรมานที่พระองค์ต้องยกถวายเพื่อความรอดพ้นของมวล มนุษย์ ... และในฐานะพระผู้ไถ่กู้ พระองค์กำ�ลังจะจับปลาตัวหนึ่งที่ใหญ่ ที่สุด! ความโดดเดี่ยวและการถูกทอดทิ้งบนไม้กางเขน ความเจ็บปวด ทรมานทั้งหมดที่พระองค์จะต้องรับทน พระหัตถ์และพระบาทที่ต้อง ถูกฉีกออกจากกัน ... ทั้งหมดนี้ พระองค์ทรงมั่นใจว่าจะไม่สูญเปล่า ... ด้วยการขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม พระองค์กำ�ลังช่วยโลกให้รอดพ้น – และ


210

บทเทศน์ปี C

ศักเคียส คือผลแรกที่พระองค์ทรงเด็ดจากต้นไม้นั้น... เพื่อนคนบาปทั้งหลาย จงกล้ามองพระเยซูเจ้าเถิด พระองค์ทรง กำ�ลังมองท่านด้วยความรักอันอ่อนโยนของพระบิดา... เพื่อนคนบาปทั้งหลาย จงจ้องมองพระเนตรของพระผู้ทรงรัก ท่านเถิด และค้นพบว่าพระองค์ทรงให้อภัยท่าน... “ศักเคียส รีบลงมาเถิด เพราะเราจะไปพักที่บ้านท่านวันนี้” พระเยซูเจ้าทรงเป็นฝ่ายริเริ่มด้วยคำ�พูดเหล่านี้ ศักเคียสคิดว่า เขากำ�ลังมองหาพระเยซูเจ้า แต่ความจริง พระเยซูเจ้าทรงกำ�ลังมองหา เขา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นราวกับว่าพระเยซูเจ้าทรงวางแผนไว้  พระองค์ ทรงรู้จักเขา... และทรงเรียกเขาด้วยชื่อของเขา... พระเยซูเจ้าทรงเชิญ พระองค์เองไปเป็นแขกของเขา ทรงเลือกบ้านของเขาในบรรดาบ้าน อื่นๆ ทุกหลัง ... พระองค์ทรงเลือกบุคคลที่ต่ำ�ต้อยที่สุด คนที่ถูกดูหมิ่น มากที่สุด... นี่คือวิธีการของพระเยซูเจ้าในการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ อื่น เพื่อจะประทานพระหรรษทานของพระองค์แก่คนเหล่านั้น เจ้าชาย ยอมกลายเป็นขอทานเพื่อจะให้ โดยไม่ทำ�ร้ายจิตใจผู้รับ ... พระเยซูเจ้า ทรงแสดงตนเหมือนเป็นนักเทศน์เร่ร่อนที่กำ�ลังร้องขออาหาร และที่พัก สำ�หรับคืนนั้น ... และพระองค์ทรงแสดงความคุ้นเคยอย่างยิ่ง “ศักเคียส รีบลงมาเถิด” ราวกับกำ�ลังตรัสว่า “ศักเคียส เร็ว ๆ เข้า เรากำ�ลังหิว” ... พระองค์ทรงใช้วิธีเดียวกันนี้เมื่อทรงขอน้ำ�ดื่มจากหญิงชาวสะมาเรีย ที่ ใกล้บ่อน้ำ� ... เหมือนกับที่ทรงยอมให้หญิงคนบาปชโลมน้ำ�มันหอมให้ พระองค์ในบ้านของซีโมน ชาวฟาริสี... เขารีบลงมาต้อนรับพระองค์ด้วยความยินดี

ความรีบร้อนของเขาที่ลงมาจากต้นไม้ สอดคล้องกับความเร่งรีบ


บทเทศน์ปี C

211

ของพระเยซูเจ้า ความยินดีเป็นเครื่องหมายของการพบกับพระเยซูเจ้า ความ ยินดีแพร่กระจายเป็นทาง เริ่มตั้งแต่บทสรรเสริญของพระนางมารีย์ ผ่านความยินดีของคนเลี้ยงแกะในเบธเลเฮม ไปจนถึงความยินดีของ ศิษย์ที่เดินทางไปยังเอมมาอุส... และท่านเล่า เพื่อนคนบาปของข้าพเจ้า ท่านยินดีที่ได้สบตากับ พระเยซูเจ้าหรือไม่... ทุกคนที่เห็นต่างบ่นว่า “เขาไปพักที่บ้านคนบาป” พระเยซูเจ้าทรงขอให้ศิษย์ของพระองค์อย่าทำ�ตัวเป็นที่สะดุด (ลก 17:1-3) แต่บางครั้ง พระองค์เองกลับไม่ลังเลใจเลยที่จะทำ�ตัวเป็น ที่สะดุด ด้วยทัศนคติของพระองค์ที่แตกต่างอย่างยิ่งจากความคิดของ คนทั่วไปในยุคของพระองค์ – และโดยเฉพาะด้วยการแสดงน้ำ�พระทัยดี ต่อคนบาป อย่างที่ไม่มีใครเคยทำ�มาก่อน ... พระเยซูเจ้าทรงเป็น “พระ ผู้ไถ่ก”ู้ จนถึงกับทำ�ให้ผู้อื่นตกใจ ... พระองค์ทรงให้อภัย จนถึงกับทำ�ให้ ผู้ชอบธรรมทั้งหลายสะดุดใจ... ศักเคียสยืนขึ้นทูลพระเยซูเจ้าว่า “พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะยกทรัพย์ สมบั ติ ค รึ่ ง หนึ่ ง ให้ แ ก่ ค นจน และถ้ า ข้ า พเจ้ า โกงสิ่ ง ใดของใครมา ข้าพเจ้าจะคืนให้เขาสี่เท่า” นักบุญอัมโบรสกล่าวขณะเทศน์สอนในเมืองมิลานว่า “การเป็น คนรวยไม่ใช่บาป แต่บาปอยู่ที่การใช้ความร่ำ�รวยของตนในทางที่ผิด” แต่ตลอดพระวรสารของนักบุญลูกา ดูเหมือนจะบอกว่าการใช้ทรัพย์ สมบัติทางโลกอย่างเหมาะสมเพียงวิธีเดียว คือ ต้องกำ�จัดให้หมดไป ต้องแบ่งปันให้แก่คนจน และบริจาคเป็นทาน! “จงขายทรัพย์สินของ ท่าน และให้ทาน” (ลก 12:33) “จงใช้เงินทองของโลกอธรรมนี้เพื่อ


212

บทเทศน์ปี C

สร้างมิตรให้ตนเอง” (ลก 16:9)... ศักเคียสพ่ายแพ้ต่อความรักที่ไม่เห็นแก่ตัวที่พระเยซูเจ้าทรง แสดงต่อเขา บัดนี้ เขาต้องการมอบความยินดีแบบเดียวกันนี้ให้แก่ผู้อื่น อีกทอดหนึ่ง ... ศักเคียสไม่มีความสุขกับเงินทองที่เขาสะสมไว้ แต่บัดนี้ เมื่อเขามีความยินดี เขาต้องการแจกจ่ายความยินดีนี้... พระเยซูเจ้าตรัสว่า “วันนี้ ความรอดพ้นมาสู่บ้านนี้แล้ว เพราะคนนี้ เป็นบุตรของอับราฮัม ด้วยบุตรแห่งมนุษย์มาเพื่อแสวงหา และเพื่อ ช่วยผู้ที่เสียไปให้รอดพ้น” พระเยซูเจ้าทรงพูดคุยอย่างเปิดใจกับศักเคียส ทั้งสองพูดคุย อะไรกัน ... ทั้งสองกิน และดื่มด้วยกัน อยู่ต่อหน้ากัน... สำ�หรับทุกศาสนา รวมถึงศาสนาของชาวยิว พระเจ้าทรงเป็น ผู้มีชีวิตที่ยิ่งใหญ่  และพระวิหารของพระองค์กระตุ้นให้ประชาชนรู้สึก ยำ � เกรง ในองค์ พ ระเยซู เ จ้ า  พระเจ้ า เสด็ จ ออกมาจากที่ ป ระทั บ ของ พระองค์ และเสด็จไปพำ�นักในบ้านของคนบาป ... และนับแต่วันนั้น เป็นต้นมา วัดทั้งหลาย – แม้แต่อาสนวิหารอันโอฬาร – ก็เป็นเพียงบ้าน อันต่ำ�ต้อยของศักเคียส – ที่ซึ่งทั้งนักบุญ และคนบาปมาชุมนุมกันฉันพี่ น้องเพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า... พระศาสนจักรไม่ได้มีไว้สำ�หรับนักบุญ แต่เพื่อ “ช่วยผู้ที่เสียไป ให้รอดพ้น”... บัดนี้ ศักเคียส เป็นบุคคลที่เหมาะสมกับชื่อของเขาแล้ว – “ผู้ บริสุทธิ”์ ... ผู้ที่ได้รับกาชำ�ระจนบริสุทธิ์แล้ว!


บทเทศน์ปี C

213

วั นอาทิตย์ที่สามสิบสอง เทศกาลธรรมดา ลูกา 20:27-38 ชาวสะดูสีบางคนมาพบพระเยซูเจ้า คนเหล่านี้สอนว่าไม่มี การกลับคืนชีพ เขาทูลถามพระองค์ว่า “พระอาจารย์ โมเสสเขียน สั่งไว้ว่า ถ้าพี่ชายตาย มีภรรยาแต่ไม่มีบุตร ก็ให้น้องชายของเขารับ หญิงนั้นมาเป็นภรรยา เพื่อจะได้สืบสกุลของพี่ชาย มีพี่น้องเจ็ดคน คนแรกมีภรรยาแล้วก็ตายโดยไม่มีบุตร คนที่สอง คนที่สามรับนาง เป็นภรรยาและตายโดยไม่มีบุตร เป็นเช่นนี้ทั้งเจ็ดคน ในที่สุด หญิง คนนั้นก็ตายด้วย ดังนี้ เมื่อมนุษย์จะกลับคืนชีพ หญิงคนนั้นจะเป็น ภรรยาของใคร เพราะทั้งเจ็ดคนต่างได้นางเป็นภรรยา” พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “คนของโลกนี้แต่งงานเป็นสามี ภรรยากัน แต่คนที่จะบรรลุถึงโลกหน้าและจะกลับคืนชีพจากบรรดา ผู้ตายนั้น จะไม่แต่งงานเป็นสามีภรรยากันอีก เพราะเขาจะไม่ตาย อีกต่อไป เขาจะเป็นเหมือนทูตสวรรค์ และจะเป็นบุตรของพระเจ้า เพราะเขาจะกลับคืนชีพ โมเสสยืนยันแล้วว่าผู้ตายจะกลับคืนชีพใน ข้อความเรื่องพุ่มไม้ เมื่อพูดถึงองค์พระผู้เป็นเจ้าว่า เป็นพระเจ้าของ อับราฮัม พระเจ้าของอิสอัค และพระเจ้าของยาโคบ พระองค์มิใช่ พระเจ้าของผู้ตาย แต่เป็นพระเจ้าของผู้เป็น เพราะทุกคนมีชีวิตอยู่ เพื่อพระองค์”


214

บทเทศน์ปี C

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง จุดจบของการเดินทาง บรรยากาศมืดครึ้มในเดือนพฤศจิกายนในซีกโลกเหนือเหมาะ สมที่จะเพ่งพินิจจุดจบของชีวิต นี่คือจุดจบของการเดินทางของพระเยซู เจ้าเช่นกัน หลังจากการเดินทางอันยาวนาน พระองค์เสด็จมาถึงกรุง เยรูซาเล็มในที่สุด พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับอย่างไม่เป็นมิตร ผู้มี อำ�นาจหลายฝ่ายตั้งคำ�ถามเพื่อจับผิดพระองค์ครั้งแล้วครั้งเล่า ครั้งนี้เป็นคราวของชาวสะดูสี ซึ่งเป็นคนกลุ่มเล็กของเมือง แต่ ฐานะร่ำ�รวยมาก ในด้านความเชื่อ คนเหล่านี้เป็นพวกอนุรักษ์นิยมที่ไม่ ยอมรับความคิดใดๆ ที่พัฒนาขึ้นจากพระคัมภีร์ห้าเล่มที่อ้างว่าเขียน โดยโมเสส คือพระคัมภีร์โตราห์ พวกเขาไม่ยอมรับข้อความเชื่อที่พัฒนา ขึ้นในภายหลังเกี่ยวกับทูตสวรรค์ และชีวิตหลังความตาย พวกเขาวางกับดักเพื่อจับผิดพระเยซูเจ้าด้วยเรื่องของพี่น้องเจ็ด คนที่แต่งงานกับหญิงคนเดียวกัน เหตุผลสนับสนุนกรณีที่เขายกมาถาม นี้เป็นกฎที่ให้น้องชายแต่งงานกับภรรยาม่ายของพี่ชาย เพราะต้องการ หาทายาทให้แก่ชายที่ตายไปโดยไม่มีบุตร โดยให้ถือเป็นหน้าที่ของน้อง ชายคนถัดมาที่จะรับภรรยาของพี่ชายมาเป็นภรรยาของตน พวกเขาคิด ว่ากรณีตัวอย่างของเขาจะทำ�ให้สมมุติฐานเรื่องชีวิตหลังความตายฟังดู ไร้สาระ เราได้ยินความมั่นใจในน้ำ�เสียงเมื่อเขาบอกว่า “โมเสสเขียนสั่ง ไว้” พระเยซูเจ้าทรงตอบว่าบทบัญญัติ เ กี่ ย วกั บ การแต่ ง งานจะไม่ จำ�เป็นอีกต่อไปสำ�หรับผู้ที่กลับคืนชีพแล้ว เพราะไม่มีความจำ�เป็นให้


บทเทศน์ปี C

215

มนุษย์ต้องสืบทอดเผ่าพันธุ์อีกต่อไป ผู้ที่กลับคืนชีพจะ “เป็นเหมือน ทูตสวรรค์” และ “จะเป็นบุตรของพระเจ้า” ยิ่งกว่านั้น พระเยซูเจ้าทรง ล้มล้างเหตุผลที่สนับสนุนข้ออ้างของพวกเขาด้วยการอ้างถึงโมเสสเช่น กัน “ถ้าท่านอ้างโมเสสได้ เราก็อ้างได้เช่นกัน” โมเสสแสดงความเชื่อ ในชีวิตหลังความตายด้วยการเรียกขานพระเจ้าว่า พระเจ้าของอับราฮัม พระเจ้าของอิสอัค และพระเจ้าของยาโคบ ซึ่งตายมานานแล้วในเวลานั้น เพราะพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าของผู้เป็น เราจึงมีชีวิตอยู่เพื่อพระองค์ พระเจ้าไม่ได้ทรงสร้างเราขึ้นมาเพื่อให้ดับสูญไป ชาวสะดูสี  เป็นคนกลุ่มน้อยที่เชื่อเช่นนี้  คนส่วนใหญ่ที่ฟังพระ เยซู เ จ้ า เทศน์ ส อนยอมรั บ แล้ ว ว่ า มี ชี วิ ต หลั ง ความตาย บทที่ ส ามของ หนังสือปรีชาญาณแสดงความเชื่อข้อนี้อย่างชัดเจนด้วยถ้อยคำ�ที่ปลอบ ประโลมใจผู้มีคุณธรรม และตักเตือนผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนาว่า “แต่วิญญาณที่มีคุณธรรมจะอยู่ในพระหัตถ์ของพระเจ้า ไม่มีความทุกข์ ทรมานใดจะแตะต้องเขาได้ ... ผู้ที่ซื่อสัตย์จะอยู่กับพระองค์ในความรัก ... แต่ผู้ที่ไม่นับถือพระเจ้าจะถูกลงโทษเพราะเหตุผลที่เขาอ้างเพื่อจะ เพิกเฉยต่อผู้มีคุณธรรม และละทิ้งองค์พระผู้เป็นเจ้า” ในพระวรสารสหทรรศน์  คำ�สั่งสอนของพระเยซูเจ้าเสนอภาพ ลักษณ์ว่าสวรรค์เป็นเสมือนบ้านที่น่าอยู่ และเสนอภาพที่น่าสะพรึงกลัว ของนรก ภาพลักษณ์ที่พบบ่อยครั้งที่สุดคืองานเลี้ยงอันยิ่งใหญ่เหมือน งานเลี้ ย งฉลองสมรส หรื อ การฉลองชั ย ชนะ บางครั้ ง คำ � สั่ ง สอนของ พระองค์เน้นย้ำ�ว่าสวรรค์เป็นรางวัลสำ�หรับความซื่อสัตย์  หรือสำ�หรับ การใช้ความสามารถของเราให้เกิดประโยชน์ มีสองภาพลักษณ์ที่น่าพึงพอใจสำ�หรับชาวยิวที่ผูกพันกับเชื้อ ชาติของตน นั่นคือการได้กลับไปอยู่กับบรรพบุรุษ และการกลับคืนสู่ สวนสวรรค์ที่มนุษย์เคยสูญเสียไป พระองค์ทรงเสนอภาพของคนจนชื่อ ลาซารัส ว่าเขาถูกนำ�ไปอยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม และบนเขากัลวารีโอ


216

บทเทศน์ปี C

พระองค์ทรงสัญญากับผู้ร้ายกลับใจว่าเขาจะได้อยู่กับพระองค์ในสวน สวรรค์ในวันเดียวกันนั้น นรกเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับภาพอันอบอุ่นของสวรรค์ นรกหมาย ถึงการถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไปร่วมในงานเลี้ยง หรือการถูกโยนออกไปให้ อยู่ในที่มืดและหนาวเย็น ที่จะมีแต่การร้องไห้คร่ำ�ครวญและขบฟันด้วย ความขุ่นเคือง ภาพลักษณ์ที่น่ากลัวที่สุดคือภาพของไฟที่ผู้เทศน์สอน ศิลปิน และนักประพันธ์นำ�ไปขยายความ นรกคือกองขยะของชีวิตและ ความสามารถที่ไม่ใช้ให้เกิดประโยชน์ “ที่นั่นหนอนไม่รู้ตาย ไฟไม่รู้ดับ” (มก 9:47) ตรงกันข้ามกับภาพลักษณ์ของบ้านอันอบอุ่นที่เสนอในพระวรสารสหทรรศน์ ยอห์น ผู้นิพนธ์พระวรสาร ใช้ภาษาปรัชญาอธิบายความ หมายของชีวิต กล่าวคือ ผู้มีความเชื่อจะเข้าสู่ความบริบูรณ์ของชีวิต ชีวิต นิรันดรหมายถึงการรู้จักพระบิดา และพระเยซูคริสตเจ้า ผู้ที่พระบิดา ทรงส่งมา การรู้จักพระเยซูคริสตเจ้า คือ การตระหนักว่าทุกสิ่งได้ถูกเนรมิต สร้างขึ้นใหม่อาศัยการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์  ชีวิตไม่ได้สิ้น สุดลงเมื่อเราตาย แต่เปลี่ยนไปด้วยอานุภาพของการกลับคืนพระชนม ชีพของพระคริสตเจ้า พระองค์ทรงทำ�ให้ความตายหมดพิษสง จุดจบ ของการเดินทางหมายถึงการกลับถึงบ้าน การบรรลุถึงความสมบูรณ์ของ กระแสเรียกของเรา “ด้วยการสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงทำ�ลายความ ตายของเรา ด้วยการกลับคืนพระชนมชีพ พระองค์ทรงคืนชีวิตให้แก่เรา ข้าแต่พระเยซูเจ้า เชิญเสด็จมาในพระสิริรุ่งโรจน์เทอญ”


บทเทศน์ปี C

217

ข้อรำ�พึงที่สอง บุตรของการกลับคืนชีพ เช้าวันนี้ ซึ่งอยู่ในเดือนพฤศจิกายน เป็นเช้าที่สงบเงียบ ไม่มี แม้แต่เสียงลมพัด แม้ว่าไม่มีลม แต่ใบไม้สีเหลืองก็ยังหลุดออกจาก กิ่งก้าน และลอยอย่างอ้อยอิ่งลงสู่พื้นดิน ก่อนหน้านี้เพียงครึ่งปี ใบไม้ เหล่านี้เป็นสีเขียวสด และทำ�ให้หัวใจของเราเบิกบานด้วยความยินดีกับ ฤดูใบไม้ผลิ ตลอดสัปดาห์นี้เราจะออกไปข้างนอกพร้อมกับคราดและ รถเข็น เพื่อเก็บกวาดใบไม้เหล่านี้ และนำ�มาโปรยในสวน ให้ย่อยสลาย กลายเป็นปุ๋ยบำ�รุงดิน เตรียมพร้อมสำ�หรับปลูกผักในปีต่อไป ขณะที่ร่างกายกำ�ลังง่วนอยู่กับงานบ้านเหล่านี้ ความคิดของเรา ก็เข้าใจได้ว่า ผู้ที่ไม่เคยได้รับความสว่างจากการเผยแสดงย่อมจะแปล ความหมายของคำ�สั่งสอนเรื่องความเป็นอมตะของเรา ให้กลายเป็น ทฤษฏีของการเกิดใหม่ แต่พระวาจาที่เผยแสดงสอนเราว่า เราจะไม่กลับมาเกิดใหม่บน โลกนี้ แต่เราจะถูกเรียกให้มุ่งหน้าไปสู่ชีวิตในรูปแบบที่สูงกว่า “เป็น เหมือนทูตสวรรค์ ... บุตรของการกลับคืนชีพ ... เป็นบุตรของพระเจ้า” นักบุญยอห์นขยายความหมายของกระแสเรียกให้เป็นบุตรของ พระเจ้า แม้ว่าเขาไม่พยายามบรรยายสภาพของเราในอนาคต นอกจาก บอกว่าเราจะเป็นเหมือนภาพสะท้อนของพระเจ้า ผู้ที่เราจะมองเห็นได้ ในเวลานั้น “ท่านที่รักทั้งหลาย บัดนี้ เราเป็นบุตรของพระเจ้าแล้ว แต่เรา จะเป็นอย่างไรในอนาคตนั้นยังไม่ปรากฏชัดแจ้ง เราตระหนักดีว่าเมื่อ พระองค์ปรากฏ เราจะเป็นเหมือนพระองค์ เพราะเราจะได้เห็นพระองค์ อย่างที่พระองค์ทรงเป็น” (1 ยน 3:2)


218

บทเทศน์ปี C

นั ก บุ ญ เปาโลต้ อ งตอบคำ � ถามว่ า  “คนตายจะกลั บ คื น ชี พ ได้ อย่างไร เขาจะกลับมีร่างกายแบบใด” เขาแสดงความคิดว่าเมล็ดพืชที่หว่านลงในดินต่างจากต้นไม้ที่ งอกขึ้นมาอย่างไร ชีวิตบนโลกนี้ก็ต่างจากสภาพหลังการกลับคืนชีพ อย่างนั้น เขาอธิบายว่าสภาพหลังกลับคืนชีพมีรูปแบบที่สูงกว่าในสี่ด้าน “สิ่งที่หว่านลงไปนั้นเน่าเปื่อย แต่สิ่งที่กลับคืนชีพนั้นไม่เน่าเปื่อยอีก สิ่ง ที่หว่านลงไปนั้นไม่มีเกียรติ แต่สิ่งที่กลับคืนชีพนั้นมีความรุ่งเรือง สิ่งที่ หว่านลงไปนั้นอ่อนแอ แต่สิ่งที่กลับคืนชีพนั้นมีอานุภาพ สิ่งที่หว่านลง ไปเป็นร่างกายตามธรรมชาติ แต่สิ่งที่กลับคืนชีพเป็นร่างกายที่มีพระจิต เจ้าเป็นชีวิต” (1 คร 15:42-44) คุณสมบัติสุดท้ายที่เหนือกว่าก็คือการ มีส่วนร่วมในชีวิตพระเจ้า เมื่อเราได้รับพระจิตเจ้ามาเป็นชีวิตของเรา ดัง นั้น ชีวิตหน้าจึงสูงส่งกว่าชีวิตตามธรรมชาติของเราบนโลกนี้ ความตาย ซึ่งเป็นจุดจบของการเดินทางอย่างหนึ่ง เป็นจุดเริ่ม ต้นของการเดินทางอีกอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับที่กรุงเยรูซาเล็มเป็นจุดจบ ของการเดินทางของพระเยซูเจ้าบนโลกนี้ แต่จะเป็นสถานที่ซึ่งพระองค์ เสด็จกลับไปหาพระบิดา ความตายเป็นเพียงประตูเดียวที่นำ�ไปสู่ชีวิตในรูปแบบที่สูงกว่า ความตายเป็นก้าวอันยิ่งใหญ่ที่นำ�ไปสู่ความบริบูรณ์ของชีวิตใน พระจิตเจ้า เป็นชีวิตที่ไม่เน่าเปื่อย มีแต่ความรุ่งเรือง และอานุภาพ ชีวิตเปลี่ยนไป มิใช่สิ้นสุด ชีวิตเปลี่ยนไปกลายเป็นชีวิตใหม่ และ ในชีวิตใหม่นี้ เราจะ “เป็นเหมือนทูตสวรรค์ ... เป็นบุตรของการกลับ คืนชีพ ... เป็นบุตรของพระเจ้า”


บทเทศน์ปี C

219

บทรำ�พึงที่ 2 ชาวสะดูสีบางคนมาพบพระเยซูเจ้า คนเหล่านี้สอนว่าไม่มีการกลับ คืนชีพ เขาทูลถามพระองค์ว่า... ความตายเป็นปัญหาที่หนักที่สุด หลีกเลี่ยงไม่ได้มากที่สุด และ เป็นคำ�ถามที่มนุษย์ทุกคนต้องถามตนเอง การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่าง กะทันหัน อุบัติเหตุบนท้องถนนหรือจากการทำ�งาน ทำ�ให้เราตั้งคำ�ถาม เสมอว่ามีอะไรรออยู่ “หลังความตาย” หรือเปล่า ... ทุกอารยธรรมที่ ยิ่งใหญ่ยืนยันว่ามี “ชีวิตหลังความตาย” สำ�หรับมนุษย์ มีการประกอบ “พิธีกรรมสำ�หรับผู้ตาย” และคิดว่า “บรรพบุรุษ” ยังมีอิทธิพลต่อชีวิต ลูกหลานของตน... วันนี้ เราพบบางคนที่สงสัยในประเด็นนี้ เป็นความสงสัยที่เราพบ ตั้งแต่ในยุคของพระวรสาร แม้แต่กลุ่มคนที่เคร่งครัดในศาสนาอย่างชาว สะดูสีก็ยังไม่เชื่อเรื่องการกลับคืนชีพ ความเชื่อแบบอนุรักษ์นิยมของเขา ทำ�ให้เขาเชื่อมั่นว่าพระคัมภีร์ภาคปัญจบรรพเท่านั้นที่เป็นการเผยแสดง จากพระเจ้า... พระวรสารสหทรรศน์ทั้งสามฉบับบอกเล่าเหตุการณ์นี้ในบริบท เดียวกัน คือ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงสุดท้ายในชีวิตของพระ เยซูเจ้าบนโลกนี้ ... เราสะเทือนใจเมื่อตระหนักว่าพระเยซูเจ้าทรงมอง เห็นภาพ “หลังความตาย” ของพระองค์แล้ว เหตุการณ์นี้ไม่ใช่การโต้ อภิปรายทางทฤษฏี แต่เป็นคำ�ตอบของพระองค์ต่อคำ�ถามว่า “พระเยซู ท่านเชื่อว่าจะเกิดอะไรกับตัวท่านเอง เมื่อท่านกำ�ลังจะตายในไม่ช้า”...


220

บทเทศน์ปี C

“พระอาจารย์ โมเสสเขียนสั่งไว้ว่า ถ้าพี่ชายตาย มีภรรยาแต่ไม่มี บุตร ก็ให้น้องชายของเขารับหญิงนั้นมาเป็นภรรยา เพื่อจะได้สืบสกุล ของพี่ชาย… นี่เป็นความจริง ความต้องการเอาตัวรอดอย่างแรงกล้าที่ฝังอยู่ใน ตัวมนุษย์ทุกคน เป็นเหตุให้อารยธรรมของชาวฮิทไทต์ อัสซีเรีย และชาว ยิว กำ�หนดธรรมเนียมที่ให้น้องชายแต่งงานกับภรรยาม่ายของพี่ชาย ถ้า พี่ชายตายโดยไม่มีบุตร ซึ่งเกิดจากความเชื่อว่าชีวิตมนุษย์จะได้รับการ สืบทอดอย่างแท้จริงในตัวบุตรของเขาเท่านั้น ดังนั้น พี่ชายที่ตายไปจึง ต้องมีบุตรหลานให้ได้ ไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม ... และบุตรที่เกิดจากการ แต่งงานดังกล่าวจะเป็นบุตรของพี่ชายที่ตายไปแล้วนั้นตามกฎหมาย... มีพี่น้องเจ็ดคน คนแรกมีภรรยาแล้วก็ตายโดยไม่มีบุตร คนที่สอง คน ที่สามรับนางเป็นภรรยา และตายโดยไม่มีบุตร เป็นเช่นนี้ทั้งเจ็ดคน ในที่สุดหญิงคนนั้นก็ตายด้วย ดังนี้ เมื่อมนุษย์จะกลับคืนชีพ หญิงคน นั้นจะเป็นภรรยาของใคร เพราะทั้งเจ็ดคนต่างได้นางเป็นภรรยา” เพื่อเย้ยหยันความเชื่อในการกลับคืนชีพ ชาวสะดูสีถามพระเยซู เจ้าด้วยคำ�ถามที่แยบยลที่พวกรับบีชอบนำ�มาอภิปรายกันในกลุ่มของ ตน ... กรณีของการกระทำ�ตามมโนธรรมเช่นนี้อาจดูเหมือนโง่เขลาใน สายตาของเรา แต่แสดงให้เราเห็นว่ามนุษย์เราอยากรู้อยากเห็นมาก เพียงไรเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย เราเองก็เคยไร้เดียงสาจนถึงกับคิด หลายครั้งหลายหนไม่ใช่หรือว่าชีวิตหลังความตายเป็นเพียงการยืดเวลา ให้เรามีชีวิตในรูปแบบเดียวกับชีวิตบนโลกนี้ให้เนิ่นนานออกไป พระเยซูเจ้าจะทรงตอบอย่างไร...


บทเทศน์ปี C

221

พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “คนของโลกนี้แต่งงานเป็นสามีภรรยากัน แต่คนที่จะบรรลุถึงโลกหน้า และจะกลับคืนชีพจากบรรดาผู้ตายนั้น จะไม่แต่งงานเป็นสามีภรรยากันอีก เพราะเขาจะไม่ตายอีกต่อไป... ก่อนอื่น พระเยซูเจ้าทรงรับรองว่ามีความแตกต่างโดยสิ้นเชิง ระหว่าง “โลกนี”้ และ “โลกหน้า” ซึ่งเป็นการดำ�รงอยู่ที่พระองค์ไม่มี ข้อสงสัยเลย และพระองค์ทรงยืนยันอย่างชัดเจนว่าผู้ที่เข้าสู่โลกนั้นได้ ต้องผ่านการตัดสินว่าคู่ควรกับโลกนั้นแล้วเท่านั้น ดังนั้น เราจึงได้รับรู้ สัจธรรมข้อแรกที่ชัดเจนที่สุดว่า มนุษย์ไม่สามารถเข้าสู่ชีวิตนิรันดรได้ โดยบังเอิญ แต่ต้องผ่านการตัดสินว่าคู่ควรกับชีวิตนิรันดรนั้น ... โลก หน้าไม่ใช่ดินแดนรกร้าง หรืออาคารสาธารณะที่อนุญาตให้ทุกคนเข้าไป ได้ แต่มี “การสอบเข้า” บางอย่าง เหมือนกับการสอบเพื่อชิงตำ�แหน่ง งานดีๆ หรืองานที่มีความรับผิดชอบสูง ... และเห็นได้ชัดด้วยว่าการ สอบเข้าโลกหน้า ก็คือ วิถีทางดำ�เนินชีวิตของเราในโลกนี้... เราได้ยินคำ�เตือนในประเด็นสำ�คัญนี้แล้ว... เขาจะเป็นเหมือนทูตสวรรค์... เราต้องเข้าใจคำ�ยืนยันประการที่สองของพระเยซูเจ้าให้ถูกต้อง ... พระองค์ทรงบอกเราว่าเราต้องเลิกพยายามวาดจินตนาการเกี่ยวกับ ชี วิ ต หน้ า ... การเปรี ย บเที ย บผู้ ไ ด้ รั บ เลื อ กสรรว่ า เหมื อ นกั บ  “ทู ต สวรรค์” หมายความว่า “ชีวิตหลังความตาย” เป็นสิ่งที่เกินความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ หรือสติปัญญา เราไม่อาจวาดภาพชีวิตหน้าตามรูปแบบ ของชีวิตของเราบนโลกนี้ เราไม่สามารถวาดจินตนาการสภาพของโลก หน้า เหมือนกับที่เราไม่สามารถวาดจินตนาการว่าทูตสวรรค์มีรูปร่าง หน้าตาอย่างไร ... การสงสัยว่าคนตายไปแล้วยังมีกิจกรรมทางเพศ อี ก ต่ อ ไปหรื อ ไม่   ย่ อ มเป็ น ความคิ ด ที่ โ ง่ เ ขลาไม่ ต่ า งจากการสงสั ย ว่ า


222

บทเทศน์ปี C

ทูตสวรรค์เป็นบุคคลเพศใด! ผู้ได้รับเลือกสรรจะไม่เป็นชาย หรือเป็นหญิง ชีวิตของเขาเป็น ชีวิตที่ต่างจากของเราอย่างสิ้นเชิง ... พระเยซูเจ้าทรงตอบชาวสะดูสี ผู้ เชื่อแต่เรื่องของสสาร (materialist) ว่าไม่มีความจำ�เป็นที่มนุษย์ต้อง แพร่พันธุ์ เพราะผู้ได้รับเลือกสรรจะไม่ตายอีกต่อไป... บางคนอาจสงสัยว่าทำ�ไมพระเจ้าไม่อธิบายให้ชัดเจนกว่านี้ว่า ชีวิตในโลกหน้าเป็นอย่างไร ทั้งที่เป็นชีวิตที่สำ�คัญที่สุด ... พระองค์ไม่ ทรงอธิบายแก่เรา เพราะเราไม่เคยลิ้มรสประสบการณ์ของโลกหน้าเลย ท่านจะอธิบายอย่างไรให้ทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาว่าชีวิตข้างหน้า ของเขาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าเขาเข้าใจภาษาที่ท่านพูด คำ�พูดของท่านก็ไร้ ความหมายสำ�หรับเขา ตราบใดที่เขาไม่เคยสัมผัสกับโลกของเราเลย เขา จะสามารถค้นพบโลกหลังจากเขา “เข้ามาสู่โลก” แล้วเท่านั้น ... ผีเสื้อ เป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากหนอนผีเสื้อที่มันเคยเป็น ลำ�ต้น สีเขียวของข้าวสาลีแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากเมล็ดข้าวสาลี หญิงชราวัย 90 ปีแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากเด็กหญิงตัวเล็กเมื่อเธอเริ่มต้นชีวิต ... แต่ใน ทุกกรณีเหล่านี้ มีทั้งความต่อเนื่องและความแตกต่างโดยสิ้นเชิงในเวลา เดียวกัน ... หนอนผีเสื้อต้องคลานบนดินและไม่อาจอยู่ห่างจากพื้นดิน แล้ววันหนึ่งมันก็นอนหลับในรังที่เป็นเหมือนโลงศพของมัน จากนั้น วันหนึ่งมันก็กระโดดออกมาจากรังนั้นในรูปร่างของผีเสื้อที่มีปีกและ บินร่อนไปมาบนท้องฟ้าได้ ถ้าหนอนผีเสือ้ รูว้ า่ ร่างของมันจะเปลีย่ นแปลง ไปอย่างไร มันคงอยากจะ “กลายเป็นสิ่งที่วันหนึ่งมันจะต้องเป็น” อย่าง สุดหัวใจ ... นี่คือภาพลักษณ์ของการกลับคืนชีพที่รอเราอยู่ในอนาคต เขาจะเป็นบุตรของพระเจ้า เพราะเขาจะกลับคืนชีพ... นี่คือการเผยแสดงข้อที่สามของพระเยซูเจ้าเกี่ยวกับญาติมิตรผู้ ล่วงลับของเรา กล่าวคือ คนเหล่านี้อยู่ท่ามกลางความใกล้ชิดสนิทสนม


บทเทศน์ปี C

223

กับพระบิดา ดูเหมือนพระเยซูเจ้ากำ�ลังบอกเราว่า “ชีวิตหน้างดงามยิ่ง กว่าที่ท่านสามารถจินตนาการได้ ท่านจะมีชีวิตเหมือนกับเป็นบุตรของ พระเจ้าจริง ๆ ... และขอให้เชื่อเถิด เรารู้ว่าการเป็นบุตรของพระเจ้าน่า ชื่นชมยินดีอย่างไร” ... นี่คือหัวข้อที่นักบุญเปาโลชอบกล่าวถึง “พระเจ้า ทรงกำ�หนดไว้ล่วงหน้าแล้วที่จะให้เราเป็นบุตรบุญธรรม เดชะพระเยซูคริสตเจ้า ตามพระประสงค์ที่พอพระทัย” (อฟ 1:5)... เราพัฒนาความคิดมาไกลมากจากคำ�ถามโง่ๆ ของชาวสะดูสี เรา มาถึงแก่นของความเชื่อแท้แล้ว “ความทุกข์ทรมานในปัจจุบันเปรียบ ไม่ได้เลยกับพระสิริรุ่งโรจน์ที่จะทรงบันดาลให้ปรากฏแก่เรา เพราะ สรรพสิ่งต่าง ๆ กำ�ลังรอคอยอย่างกระวนกระวาย เพื่อพระเจ้าจะได้ทรง บันดาลให้บรรดาบุตรของพระองค์ปรากฏในพระสิริรุ่งโรจน์... สรรพสิ่ง ยังมีความหวังว่าจะได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาสของความเสื่อม สลาย เพื่อไปรับอิสรภาพอันรุ่งเรืองของบรรดาบุตรของพระเจ้า” (รม 8:18-21) เราไม่อาจวาดจินตนาการเกี่ยวกับโลกหน้าได้  เพราะแตกต่าง จากชีวิตของเราบนโลกนี้  ชีวิตหน้าคือการเข้าร่วมในชีวิตของพระเจ้า ซึ่งต่างจากชีวิตของเราโดยสิ้นเชิง ... เช่นเดียวกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็น “ของพระเจ้า” เราไม่มีทางคิดถึงความเป็นจริงเหล่านั้นด้วยเหตุผลได้ เพราะเป็นสิ่งที่เหนือสติปัญญาของเรา ... เรามีทางเลือกเดียว คือ ต้อง เชื่อ หรือไม่เชื่อ ... แต่เมื่อเรายอมรับว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้าแล้ว ก็ไม่มีสิ่งใดเป็นปัญหา โมเสสยืนยันแล้วว่าผู้ตายจะกลับคืนชีพในข้อความเรื่องพุ่มไม้ เมื่อ พูดถึงองค์พระผู้เป็นเจ้าว่าทรงเป็นพระเจ้าของอับราฮัม พระเจ้าของ อิสอัค และพระเจ้าของยาโคบ พระองค์มิใช่พระเจ้าของผู้ตาย แต่ เป็นพระเจ้าของผู้เป็น เพราะทุกคนมีชีวิตอยู่เพื่อพระองค์”


224

บทเทศน์ปี C

พระเยซูเจ้าทรงยืนยันอย่างชัดเจนว่าผูต้ ายจะกลับคืนชีพ แต่ไม่ใช่ กลับคืนสู่ชีวิตที่เหมือนกับชีวิตบนโลกนี้อย่างที่บางคนเชื่อ ความมั่นใจ ของพระเยซูเจ้าเกิดจากความจริงสำ�คัญสองข้อในความเชื่อของเรา 1) ความรักของพระเจ้า ผู้ทรงรักเราจนกระทั่งภายหลังความ ตาย อับราฮัม  อิสอัค  และยาโคบไม่ใช่คนตายในสายพระเนตรของ พระเจ้า แต่ทุกคนยังมีชีวิต พันธสัญญาที่พระเจ้าทรงกระทำ�กับมนุษย์ เป็นหนึ่งในสัญชาตญาณหยั่งรู้อันลึกซึ้งที่สุดของพระคัมภีร์ “พระองค์ ไม่ทรงละทิ้งวิญญาณข้าพเจ้าไว้ในดินแดนผู้ตาย หรือให้ผู้ที่พระองค์รัก ต้องเห็นทางเข้าของดินแดนนั้น” (สดด 16:10) ... ถ้าบุคคลที่พระเจ้า ทรงสร้าง และทรงรัก เช่น อับราฮัม อิสอัค หรือนักบุญโยอัน หรือนัก บุญฟรังซิส เซเวียร์ จะต้องถูกทำ�ลายไปในที่สุด ความรักของพระเจ้าก็ คงจบลงด้วยความล้มเหลว การพูดถึง “พระเจ้าของผู้ตาย” ก็จะเหมือน กับการพูดถึง “โล่ของผู้ตาย” เพราะถ้ามนุษย์คนหนึ่งตายไปแล้ว โล่ของ เขาก็ไม่มีประโยชน์ เพราะมันปกป้องเขาไม่ได้... 2) แต่ในคำ�บอกเล่าของลูกา พระเยซูเจ้าทรงเสริมด้วยเหตุผลข้อ ที่สองที่ทำ�ให้เรามีชีวิตหลังความตาย นั่นคือความรักของเราต่อพระเจ้า “ทุกคนมีชีวิตอยู่เพื่อพระองค์” ราวกับจะพูดว่า “ข้าแต่พระเจ้า เรารัก พระองค์มากเกินกว่าจะไม่รักพระองค์ต่อไป หลังจากชีวิตนี้จบลงแล้ว” ... นี่คือประสบการณ์ของมรณสักขี เขายอมเสี่ยง “ที่จะพลีชีวิตเพราะ ความรักต่อพระเจ้า” จนถึงกับยอมตาย เพื่อจะมีชีวิตนิรันดรในความรัก ของพระองค์... นี่คือธรรมล้ำ�ลึกปัสกา เราต้อง “ผ่าน” ความตายเพื่อจะได้ “รัก” จนถึงที่สุด... ดั ง นั้ น  ความเชื่ อ ในโลกหน้ า ของคริ ส ตชนจึ ง ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย ง ตำ�นาน หรือความเพ้อฝันของเด็กๆ ความเชื่อในการกลับคืนชีพไม่ได้ เป็นเพียงข้อความเชื่อปลีกย่อยที่จะเลือกเชื่อหรือไม่ก็ได้ แต่เป็นความ เชื่อในองค์พระเจ้าเอง...


บทเทศน์ปี C

225

วั นอาทิตย์ที่สามสิบสาม เทศกาลธรรมดา ลูกา 21:5-19 ขณะนั้นบางคนให้ข้อสังเกตว่า พระวิหารมีหินและของถวาย ตกแต่งอย่างงดงาม พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า “สักวันหนึ่ง ทุกสิ่งที่ ท่านเห็นอยู่นี้ จะไม่มีก้อนหินเหลือซ้อนกันอยู่เลย” เขาจึงทูลถาม พระองค์ ว่ า  “พระอาจารย์  เหตุ ก ารณ์ นี้ จ ะเกิ ด ขึ้ น เมื่ อ ไร และมี เครื่องหมายใดบอกว่าเหตุการณ์นี้กำ�ลังจะเกิดขึ้น” พระองค์ตรัสตอบว่า “จงระวังอย่าให้ผู้ใดหลอกลวงท่านได้ หลายคนจะอ้างนามของเรา พูดว่า ‘ฉันเป็นพระคริสต์’ และ ‘เวลา กำ�หนดมาถึงแล้ว’ อย่าตามเขาไป เมื่อท่านทั้งหลายได้ยินข่าวลือ เรื่องสงครามและการปฏิวัติ จงอย่าตกใจ เหตุการณ์เหล่านี้จำ�เป็น ต้องเกิดขึ้นก่อน แต่ยังไม่ถึงวาระสุดท้าย” แล้วพระองค์ตรัสกับเขา ว่า “ชาติหนึ่งจะลุกขึ้นต่อสู้กับอีกชาติหนึ่ง อาณาจักรหนึ่งจะลุกขึ้น ต่อสู้กับอีกอาณาจักรหนึ่ง แผ่นดินไหว โรคระบาดและความอดอยาก อย่างใหญ่หลวงจะเกิดขึ้นหลายแห่ง จะมีเหตุการณ์น่าสะพรึงกลัว และเครื่องหมายยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นในท้องฟ้า แต่ก่อนที่เหตุการณ์ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้น เขาจะจับกุมท่าน จะ เบียดเบียนท่าน จะนำ�ท่านไปไต่สวนในศาลาธรรม และจะจองจำ�


226

บทเทศน์ปี C

ท่ า นในคุก เขาจะนำ � ท่ า นไปยื น ต่ อ หน้ า กษั ต ริ ย์ แ ละผู้ ว่ า ราชการ เพราะนามของเรา จงตัดสินใจว่าท่านจะไม่หาคำ�แก้ตัวไว้ก่อน เรา จะให้คำ�พูดและปรีชาญาณแก่ท่าน ซึ่งศัตรูของท่านจะต้านทานหรือ โต้แย้งไม่ได้ บิดามารดา พี่น้อง ญาติ และมิตรสหายจะทรยศต่อ ท่าน บางท่านจะต้องถูกประหารชีวิตด้วย ท่านทั้งหลายจะเป็นที่ เกลียดชังของทุกคนเพราะนามของเรา แต่เส้นผมบนศีรษะของท่าน จะไม่เสียไปแม้แต่เส้นเดียว ด้วยการยืนหยัดมั่นคงท่านจะรักษาชีวิต ของท่านไว้ได้”


บทเทศน์ปี C

227

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง ปัญหา และความเป็นไปได้ เดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนที่หม่นมัวในซีกโลกเหนือ และช่วง กลางวันก็สั้น และเป็นบรรยากาศที่เหมาะสมสำ�หรับบทอ่านพระวรสาร วันนี้ เราเห็นได้ว่าข้อความนี้พัฒนาความคิดขึ้นเป็นสามขั้นตอน ขั้นตอนแรก เป็นคำ�สั่งสอนว่าวัตถุท้ังปวงจะต้องเสื่อมสลายไป พระวิหารในกรุงเยรูซาเล็มเป็นสิ่งปลูกสร้างที่น่าประทับใจมากที่สุด ไม่ ว่าจะตัดสินตามมาตรฐานใด เราเดาได้ไม่ยากว่าศิษย์ของพระเยซูเจ้า ซึ่ง เป็นคนชนบทจากแคว้นกาลิลี  คงรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับอาคารอันหรูหรา นี้  พวกเขาประทับใจกับขนาดอันใหญ่โตของตัวอาคารพร้อมด้วยลาน ต่ า งๆ โดยเฉพาะก้ อ นหิ น ขนาดใหญ่   คนงานทั้ ง หลายคงสงสั ย ว่ า ผู้ ก่อสร้างนำ�หินเหล่านี้มาตั้งซ้อนกันได้อย่างไร พวกเขาจึงคิดว่าอาหาร หลังนี้จะยั่งยืนอยู่หลายยุคสมัย แต่พระเยซูเจ้าตรัสเตือนพวกเขาว่าจะ ไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อถึงยุคที่ลูกาเขียนพระวรสารฉบับนี้ ผู้อ่านก็รู้แล้วว่า หลังจากกรุงเยรูซาเล็มถูกล้อม กองทัพโรมันได้ล้างแค้นด้วยการทำ�ลาย ก้อนหินที่ใช้ก่อสร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ สารที่พระเยซูเจ้าทรงต้องการ สื่อถึงเราในที่นี้คือทุกสิ่งบนโลกนี้ล้วนมีวันหมดอายุ ขั้นตอนที่สอง กล่าวถึงความตื่นตระหนกเมื่อได้ยินข่าวเกี่ยวกับ พระวิหารที่ดูเหมือนว่าไม่มีทางถูกทำ�ลายได้ “พระอาจารย์ เหตุการณ์ นี้จะเกิดขึ้นเมื่อไร และมีเครื่องหมายใดบอกว่าเหตุการณ์นี้กำ�ลังจะเกิด ขึ้น” ในอีกเหตุการณ์หนึ่ง พระเยซูเจ้าทรงถูกถามว่ากาลอวสานของโลก จะเกิดขึ้นเมื่อใด พระองค์ทรงตอบว่าในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง พระองค์ไม่


228

บทเทศน์ปี C

ทรงทราบ และแม้แต่ทูตสวรรค์ก็ไม่รู้วันเวลา แต่โลกของเราก็มักมีผู้นำ� ลัทธิ และบุคคลที่ตั้งตนเป็นประกาศก ผู้ไม่ลังเลใจเลยที่จะตีความว่าภัย พิบัติทางธรรมชาติเป็นการลงโทษของพระเจ้า และทำ�นายอย่างมั่นใจว่า วันนั้นวันนี้จะเป็นวันสิ้นพิภพ ขณะที่ข้าพเจ้าเขียนต้นฉบับเดิมของหนังสือเล่มนี้เมื่อ 12 ปีก่อน ข้าพเจ้าบอกไว้ว่า เราสามารถคาดหมายได้ว่าจะมีผู้ตั้งตนเป็นประกาศก หลายคนที่อ้างข้อความในหนังสือวิวรณ์ในเวลาที่ใกล้จะเข้าสหัสวรรษ ใหม่ ความเชื่อในลัทธิสหัสวรรษนิยม ซึ่งแบ่งการทำ�งานของพระเจ้าออก เป็นช่วง ช่วงละหนึ่งพันปี เป็นความเชื่อที่กลุ่มคนที่ยึดถือพระคัมภีร์เป็น สรณะชอบอ้างข้อความจากพระคัมภีร์โดยไม่คำ�นึงถึงบริบท และนำ�มา ประยุกต์เข้ากับเหตุการณ์ร่วมสมัย ขณะที่ข้าพเจ้ากำ�ลังเขียนอยู่นี้ได้ล่วง เข้าศตวรรษใหม่ได้สามเดือนแล้ว ข้าพเจ้ายอมรับว่าแม้จะมีคนที่เตือน เรื่องวันสิ้นโลก แต่ก็มีจำ�นวนน้อยกว่าที่ข้าพเจ้าคาดคิด บางทีคนเหล่า นี้อาจถูกเบียดออกไปจากข่าวโดยประกาศกที่ทำ�นายเรื่องความโกลาหล ทางเทคโนโลยี ซึ่งคาดหมายว่าจะมีปัญหากับคอมพิวเตอร์อย่างที่ไม่อาจ ควบคุมได้ คนที่หวาดกลัวจริง ๆ ที่ข้าพเจ้าพบ นอกจากสาวกของผู้เห็น นิมิตที่ไม่น่าเชื่อถือแล้ว ก็มีบุคคลที่ชอบดูภาพยนตร์เรื่อง Star Wars และ X Files ที่กลัวการรุกรานจากมนุษย์ต่างดาว และพลังของความชั่ว ขั้นตอนที่สามของบทอ่านนี้เป็นคำ�พูดให้กำ�ลังใจด้วยความมั่นใจ สำ�หรับวันแห่งความทุกข์ยากที่รอคอยบรรดาศิษย์อยู่ข้างหน้า เราต้อง เตือนตนเองอีกครั้งหนึ่งว่า คนทั้งหลายที่ลูกาต้องการให้อ่านพระวรสาร ของเขา ได้รู้จากประสบการณ์ของตนเองแล้วว่าเขาต้องประสบความ ทุกข์ยากเพียงใดเมื่อเขาเลือกติดตามพระเยซูเจ้า หลายคนถูกขับไล่ออก จากชุมชนชาวยิว ในขณะที่ชาวโรมันยังถือว่าเขาเป็นสาวกของนิกายหนึ่ง ของศาสนายิว และเบียดเบียนเขา บางคนต้องทนรับชะตากรรมอันโหด ร้ายเมื่อเขาถูกตัดขาดจากญาติพี่น้องเพราะความเชื่อของเขา


บทเทศน์ปี C

229

แม้แต่ในยุคของเรา เราก็ยังเห็นคนในครอบครัวเดียวกันเย้ย หยันการปฏิบัติศาสนกิจ การเบียดเบียนเกิดขึ้นในรูปของอคติต่อพระ ศาสนจักร การเสนอข่าวอย่างมีใจเอนเอียง และการหยิบยกเรื่องใน อดีตเฉพาะบางเรื่องมาพูด พระเยซูเจ้าทรงเสนอคำ�ตอบที่ดีเลิศสำ�หรับ ยุคแห่งความทุกข์ยากว่า “นี่จะเป็นโอกาสให้ท่านเป็นพยานถึงเรา” พระองค์ทรงสัญญากับศิษย์ของพระองค์ว่าพระองค์จะประทับอยู่กับ เขา จะประทานอำ�นาจ คำ�พูด และปรีชาญาณของพระองค์แก่เขา เมื่อ พระองค์ประทับอยู่กับเรา ปัญหาของเราจะกลายเป็นความเป็นไปได้ เพราะเมื่ออยู่กับพระองค์ ทุกสิ่งล้วนเป็นไปได้ หน้าที่ของเราคือต้องยืน หยัดมั่นคงด้วยความหวัง “ด้วยการยืนหยัดมั่นคง ท่านจะรักษาชีวิตของ ท่านไว้ได้” และพละกำ�ลังที่จะยืนหยัดมั่นคงนี้จะเป็นพยานยืนยันได้ดี ที่สุดว่าเราได้รับความช่วยเหลือจากพระเจ้า ปั จ จั ย ทางสั ง คมที่ ช วนให้ รู้ สึ ก หดหู่   เช่ น  การใช้ ย าเสพติ ด อาชญากรรมอันรุนแรง การฆ่าตัวตาย และความไม่มั่นคงของสถาบัน ครอบครัว สร้างความวิตกกังวลให้แก่ประกาศกที่ทำ�นายถึงวันสิ้นโลก แต่พระคริสตเจ้าทรงสอนเราให้เป็นทุกข์กลับใจ ให้ยืนหยัดในความเชื่อ และให้ เ ชื่ อ ว่ า พระเจ้ า ทรงควบคุ ม สถานการณ์ อ ยู่   และทรงรั ก โลกที่ พระองค์สร้างขึ้น จูเลียนแห่งนอริช ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาที่เกิดกาฬโรคระบาด ได้รับสารจากพระเจ้าที่แสดงความรักฉันมารดาต่อโลก เธอจะภาวนา ด้วยความเชื่อว่า “พระเจ้าทรงเป็นพระผู้สร้างของฉัน ทรงเป็นคู่รักของ ฉัน และผู้พิทักษ์รักษาของฉัน”


230

บทเทศน์ปี C

ข้อรำ�พึงที่สอง เราจะให้ ... แก่ท่าน หนึ่งในพระพรเจ็ดประการของพระจิตเจ้าคือพละกำ�ลัง เมื่อใดที่ แหล่งกำ�เนิดตามธรรมชาติของความกล้าหาญของเราเหือดหายไปหมด เมื่ อนั้ น เราจะเห็น แหล่งกำ�เนิดของพละกำ � ลั ง ใหม่ ที่ ยิ่ ง ใหญ่ กว่ า การ ทดลองของเรา พละกำ�ลังนี้มาจากพระเจ้า เป็นพระพรแห่งพละกำ�ลัง ของพระจิตเจ้า พระเยซูเจ้าไม่ทรงนำ�ศิษย์ของพระองค์ออกไปจากสถานภาพ ชี วิ ต ที่ ห ลุ ด พ้ น จากบาปและความอยุ ติ ธ รรม ความทุ ก ข์ ย ากและการ ทรยศของโลก แต่ด้วยความอดทนในความเชื่อ พวกเขาจะเรียนรู้ว่าการ ประทับอยู่ และพระอานุภาพของพระจิตเจ้า ทำ�งานอย่างไรภายในความ ทุกข์ทรมานเหล่านั้น ศิ ษ ย์ ข องพระเยซู เ จ้ า รู้ ด้ ว ยประสบการณ์ ข องตนเองว่ า การ เบียดเบียนทำ�ให้พวกเขามีโอกาสเป็นพยาน ความรู้ความสามารถตาม ธรรมชาติของเขาไม่ได้ช่วยให้เขามีคารมคมคายและความกล้าหาญ แต่ สิ่งเหล่านี้เป็นพระพรที่พระเจ้าประทานให้เป็นพิเศษ คำ�สัญญาขององค์ พระผู้เป็นเจ้าเท่ากับพระองค์บอกเขาว่า “เราจะให้คำ�พูด และปรีชาญาณ แก่ท่าน ซึ่งศัตรูของท่านจะต้านทาน หรือโต้แย้งไม่ได้” การเป็นพยานยืนยันความเชื่อโดยบุคคลที่ถูกเบียดเบียน สำ�คัญ ต่อพระศาสนจักรยุคต้นมาก จนผู้ที่เป็นพยานด้วยการหลั่งโลหิตที่เรา เรียกว่ามรณสักขีเหล่านี้ ได้รับการเคารพยกย่องว่าเป็นคริสตชนสมบูรณ์ แบบ เรื่องราวของมรณสักขีหลายคนแสดงว่าพระศาสนจักรยอมรับ ว่าความกล้าหาญและคารมคมคายของพวกเขาเป็นพระพรพิเศษจาก พระเจ้า


บทเทศน์ปี C

231

นอกจากนี้ เรามองเห็นพระพรแห่งพละกำ�ลังของพระจิตเจ้าได้ เช่นกันในความอดทนที่ผิดธรรมดาของบุคคลที่กำ�ลังพบประสบการณ์ อันเจ็บปวดทรมานในชีวิต เช่น การเจ็บป่วย การสูญเสียบุคคลที่เรารัก ความพิการอย่างหนัก หรือความล้มเหลวของโครงการสำ�คัญในชีวิต ประสบการณ์ของบางคนในค่ายกักกันของนาซีทำ�ให้เขากลาย เป็นคนศักดิส์ ทิ ธิ์ และบางคนได้รบั แต่งตัง้ เป็นนักบุญ วิกเตอร์ แฟรงเคิล ตั้งข้อสังเกตว่าความเจ็บปวดที่ได้รับในค่ายเอาซ์วิช เป็นเสมือนลมที่พัด เปลวไฟอ่อน ๆ แห่งความเชื่อให้ดับสนิท แต่กลับพัดเปลวไฟที่แรงกล้า กว่า ให้กลายเป็นกองไฟที่ลุกโชน พระพรของพระจิ ต เจ้ า จะปรากฏเด่ น ชั ด มากในสภาวะที่ เ ป็ น ปฏิปักษ์ เพราะแสดงให้เห็นว่าสิ่งใดก็ตามที่ทำ�ได้สำ�เร็จนั้นไม่อาจสำ�เร็จ ลงได้โดยปราศจากความช่วยเหลือจากพระเจ้า เราอดไม่ ไ ด้ ที่ จ ะคิ ด ถึ ง ความเข้ า ใจทางเทววิ ท ยาของนั ก บุ ญ เปาโล เกี่ยวกับประสบการณ์ความอ่อนแอของตัวเขาเอง เขาวิงวอนขอ พระเจ้าหลายครั้งหลายหนให้พ้นจาก “หนามที่ทิ่มแทงเนื้อหนัง” ของ เขา ซึ่งทำ�ให้เขารู้สึกอับอาย คำ�ตอบที่เขาได้รับไม่ใช่ความช่วยเหลือให้ หลุดพ้นจากปัญหานี้ แต่เป็นคำ�รับรองว่าพระเจ้าจะทรงช่วยเหลือค้ำ�จุน เขา “พระหรรษทานของเราเพียงพอสำ�หรับท่าน เพราะพระอานุภาพ แสดงออกเต็มที่เมื่อมนุษย์มีความอ่อนแอ” เมื่อได้รับความเข้มแข็งจาก พระเจ้าแล้ว เขาจึงสามารถกล่าวต่อไปว่า “ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเต็มใจที่จะ โอ้อวดเรื่องความอ่อนแอ เพื่อให้พระอานุภาพของพระคริสตเจ้าพำ�นัก อยู่ในข้าพเจ้า ฉะนั้น เพราะความรักต่อพระคริสตเจ้า ข้าพเจ้าจึงพอใจ ความอ่อนแอต่างๆ เมื่อถูกสบประมาท เมื่อมีความคับแค้น เมื่อถูก ข่มเหง และอับจน เพราะข้าพเจ้าอ่อนแอเมื่อใด ข้าพเจ้าก็ย่อมเข้มแข็ง เมื่อนั้น” (2 คร 12:7)


232

บทเทศน์ปี C

นี่คือผลของพระพรแห่งพละกำ�ลัง และเหตุการณ์ร้ายๆ จึงแสดง ให้เห็นพระอานุภาพของพระเจ้าได้เด่นชัดมากขึ้น นี่คือผลที่เกิดขึ้นจริง ตามคำ�สัญญาขององค์พระผู้เป็นเจ้า เมื่อพระองค์ตรัสว่า “เราจะให้ ... แก่ท่าน”


บทเทศน์ปี C

233

บทรำ�พึงที่ 2 เมื่อปีพิธีกรรมใกล้จะจบลง (แต่เทศกาลเตรียมรับเสด็จ และปี พิธีกรรมใหม่จะเริ่มขึ้นต่อจากนั้นทันที) พระศาสนจักรเชิญชวนเราให้ รำ�พึงในเรื่องของ “กาลเวลา” ... โดยไตร่ตรองเรื่อง “อวสานกาล” ... เพราะถือว่าเป็นนัยสำ�คัญที่พระเยซูเจ้าทรงสรุปคำ�สั่งสอนของพระองค์ ด้วย “คำ�ปราศรัยเกี่ยวกับอวสานกาล” เมื่อพระองค์ใกล้จะจบชีวิตของ พระองค์บนโลกนี้ ... ในพระวรสารของมัทธิว และมาระโก คำ�ประกาศ เรื่องความพินาศของพระวิหารถูกนำ�มาเรียงร้อยเข้าเป็นเรื่องเดียวกัน กับคำ�ประกาศเรื่องอวสานกาล ... แต่ลูกาแยกสองเรื่องนี้ออกจากกัน อย่างชัดเจน... ขณะนั้น (ศิษย์) บางคนให้ข้อสังเกตว่าพระวิหารมีหิน และของถวาย ตกแต่งอย่างงดงาม... ในยุคของพระเยซูเจ้า พระวิหารของกรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นสิ่ง อัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลก ยังมีสภาพใหม่เอี่ยม กษัตริย์เฮโรดเริ่มต้น สร้างพระวิหารนี้ในปีที่ 19 ก่อนคริสตกาล หินอ่อน ทองคำ� พรมแขวน ไม้สลักใต้ชายคา เป็นที่ชื่นชมของผู้แสวงบุญทุกคน ... มีคำ�พูดว่า “ผู้ใด ไม่เคยเห็นกรุงเยรูซาเล็มท่ามกลางความโอ่อ่าอลังการ ผู้นั้นไม่เคยรู้จัก ความยินดี ... ผู้ใดไม่เคยเห็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้นั้นไม่เคยเห็นเมืองที่ งดงามอย่างแท้จริง”... ศิษย์ของพระเยซูเจ้าก็อัศจรรย์ใจไม่ต่างจากคนอื่น ๆ... พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า “สักวันหนึ่งทุกสิ่งที่ท่านเห็นอยู่นี้จะไม่มีก้อน หินเหลือซ้อนกันอยู่เลย”


234

บทเทศน์ปี C

บรรดาผู้แสวงบุญไปยังกรุงโรมจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ถ้าพระสันตะปาปาจะทรงประกาศต่อหน้าฝูงชนที่มาชุมนุมกันที่จัตุรัสวิหาร นักบุญเปโตรว่า “จงมองหลังคาโค้งฝีมือไมเคิลแองเจโลนี้ มองดูเสา ระเบียงฝีมือแบร์นินีนี้  และมองดูสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ของนคร วาติกันนี้ ... จะไม่เหลือก้อนหินแม้แต่ก้อนเดียวตั้งอยู่เลย ... ทุกสิ่งทุก อย่างจะถูกทำ�ลายหมด ...” เราเดาได้ ไ ม่ ย ากว่ า คำ � ทำ � นายของพระเยซู เ จ้ า ทำ � ให้ ทุ ก คน ประหลาดใจ และตกใจอย่างไร และนี่คือข้อหาหนึ่งในการพิจารณาคดี ต่อหน้าสภาซันเฮดริน และทำ�ให้พระเยซูเจ้าถูกตัดสินประหารชีวิต (มธ 26:61)... ถูกแล้ว แทนที่จะทรงชื่นชมความงามของพระวิหารร่วมกับศิษย์ ของพระองค์ ... แทนที่จะทรงเชื่อมั่นในความมั่นคงจอมปลอม เหมือน มนุษย์ส่วนใหญ่ที่คิดเสมอว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างจะคงอยู่เหมือนเดิม” พระ เยซูเจ้ากลับทรงประกาศว่าสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ล้วนไม่จีรังยั่งยืน แม้แต่ผล งานที่งดงามที่สุดของมนุษย์ ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกทำ�ลาย... วันหนึ่ง แม้แต่ “กาลเวลา” ก็จะถึงเวลาสิ้นสุด... ข้าพเจ้าใช้เวลาครู่หนึ่งรำ�พึงกับความอ่อนแอของตัวข้าพเจ้า ... กับความสั้นของชีวิต ความไม่ยั่งยืนของความงาม ... ของทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสิ่งที่มีจุดจบย่อมมี “อายุสั้น” เราต้องรู้ว่าควรเผชิญหน้ากับความเป็น จริงของ “จุดจบ” อย่างไร ... เผชิญหน้าอย่างไรกับความเสื่อมสลายของ สิ่งสร้างทุกอย่างที่ดำ�เนินไปอย่างต่อเนื่องและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ... และรู้ ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งปวงกำ�ลังเดินไปสู่ความตายของตนช้าๆ แต่ไม่มีทางหลบ เลี่ยง... เขาจึงทูลถามพระองค์ว่า “พระอาจารย์ เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อไร และมีเครื่องหมายใดบอกว่าเหตุการณ์นี้กำ�ลังจะเกิดขึ้น”...


นี่คือคำ�ถามที่เราถามกันอยู่เสมอ ... เมื่อไร... เราอยากรู้มากว่า “วันไหน”... เราคิดว่าถ้าเรารู้วันเวลาก็จะเป็นประโยชน์...

บทเทศน์ปี C

235

พระองค์ตรัสว่า “จงระวังอย่าให้ผู้ใดหลอกลวงท่านได้ หลายคนจะ อ้างนามของเรา พูดว่า ‘ฉันเป็นพระคริสต์’ และ ‘เวลากำ�หนดมาถึง แล้ว’ อย่าตามเขาไป” ทฤษฏีทั้งปวงของ “ลัทธิ” ต่าง ๆ ที่ทำ�นายวันที่พระคริสตเจ้าจะ เสด็จมาเป็นครั้งที่สอง ล้วนถูกล้มล้างด้วยพระวาจานี้ เราต้องดำ�เนินชีวิตในแต่ละวันโดยไม่รู้ “เวลา”... พระเยซูเจ้าไม่ท รงกังวลเลยเกี่ ย วกั บวั น เวลา ... ตรงกั น ข้ า ม พระองค์ทรงห่วงใยเพียงสิ่งเดียว คือ ให้ศิษย์ของพระองค์เป็นอิสระ จากความกลัวกาลอวสาน ซึ่งเป็นความกลัวที่ตามหลอกหลอนมนุษย์อยู่ เสมอ และทำ�ให้เขาโผเข้าสู่อ้อมแขนของ “ผู้ไถ่ก”ู้ จอมปลอมที่พูดว่า “ฉันคือผู้ไถ่ก”ู้ ... “ฉันมีทางออกทางเดียวสำ�หรับทุกปัญหาของท่าน” ... “ลงคะแนนเลือกฉันซิ ฉันคือคนที่พระเจ้าส่งมาให้ท่าน” ... มีพระ เมสสิยาห์เทียม และประกาศกเทียมผุดขึ้นมาทุกแห่งหน จากฝั่งซ้าย และฝั่งขวา จากทิศตะวันออกและทิศตะวันตก จากทิศเหนือและทิศใต้ ... พวกเขาสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์ และทำ�ให้มนุษย์ทุกคน มีความสุขตลอดไป ... เวลาจะหยุดนิ่ง ทุกสิ่งจะไม่เสื่อมสลายอีกต่อไป มนุษย์จะเป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดไป สรุปสั้นๆ ว่า นี่คือสวนสวรรค์บน แผ่นดิน ไม่มีวันที่ ไม่มีการกดขี่ ทุกคนจะได้รับบริการฟรีๆ ได้รับเงิน เดือนปีละ 12 เดือนโดยไม่ต้องทำ�งาน... นี่คือคำ�สัญญาของนักการเมือง ... ความฝันเดิมๆ ที่เป็นไปไม่ได้ ...


236

บทเทศน์ปี C

“จงระวังอย่าให้ผู้ใดหลอกลวงท่านได้”... “จงอย่าหลงเชื่อผู้ที่แอบอ้าง” ... ในยุคของลูกา ผู้ที่แอบอ้างจะ พูดเรื่องของศาสนา เขาใช้คำ�พูดเดียวกันกับที่พระเยซูเจ้าทรงใช้เมื่อ ทรงเริ่มต้นเทศนาสั่งสอน “เราเป็น” (มก 6:50; ยน 8:24, 28, 58) ... “พระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ใกล้ท่านแล้ว” (ลก 10:11; มธ 3:2, 4:17, 10:7)... “เมื่อท่านทั้งหลายได้ยินข่าวลือเรื่องสงครามและการปฏิวัติ จงอย่า ตกใจ เหตุ การณ์เ หล่านี้จำ�เป็น ต้องเกิดขึ้ น ก่ อ น แต่ ยัง ไม่ ถึ ง วาระ สุดท้าย” แล้วพระองค์ตรัสกับเขาว่า “ชาติหนึ่งจะลุกขึ้นต่อสู้กับอีก ชาติหนึ่ง อาณาจักรหนึ่งจะลุกขึ้นต่อสู้กับอีกอาณาจักรหนึ่ง แผ่นดิน ไหว โรคระบาด และความอดอยากอย่างใหญ่หลวงจะเกิดขึ้นหลาย แห่ง จะมีเหตุการณ์น่าสะพรึงกลัว และเครื่องหมายยิ่งใหญ่จะเกิด ขึ้นในท้องฟ้า” หลังจากทรงเตือนเราให้ระวังประกาศกปลอมแล้ว พระเยซูเจ้า ทรงแสดงความห่วงใยประการที่สองว่าเราไม่ควรยอมแพ้ความกลัว ไม่ ว่าจะเป็นความกลัวภัยสงคราม การปฏิวัติ ความขัดแย้ง แผ่นดินไหว โรคระบาด ... เหตุการณ์น่ากลัวใดๆ ... สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เครื่องหมายของ “วาระสุดท้าย” และไม่ใช่สาเหตุให้เราต้องกลัว พระเยซูเจ้าทรงยอมรับความเป็นจริง “เหตุการณ์เหล่านี้จำ�เป็น ต้องเกิดขึ้น” ... และอันที่จริงก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่หยุด ... เรา ควรพยายามทำ�ใจให้สงบ... ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ และในจักรวาล ที่พระเยซูเจ้า ตรัสถึงนี้ เป็นส่วนหนึ่งของศัพท์ที่พบได้ในวรรณกรรมประเภทวิวรณ์ วรรณกรรมประเภทนี้เกิดขึ้นในประเทศอิสราเอล ในเวลาที่ดูเหมือนว่า คำ�สัญญาอันยิ่งใหญ่ของบรรดาประกาศกกลายเป็นเรื่องน่าผิดหวัง ...


บทเทศน์ปี C

237

ความสุขที่ประกาศกทั้งหลายประกาศไว้ก็ไม่เกิดขึ้น ประชากรเลือกสรร ถูกกดขี่จากชนชาติที่ไม่ใช่ชนชาติอื่น ถือว่าเป็นการทดสอบความเชื่อ ของประชาชนอย่างแท้จริง พวกเขาควรเชื่อในพระเจ้าต่อไปอีกหรือ... จากนั้น หลังจากยุคประกาศก ก็มีผู้เขียนวรรณกรรมประเภท วิวรณ์เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ คนเหล่านี้ประกาศแก่นของความเชื่ออีก ครั้งหนึ่งว่า “พระเจ้าทรงเป็นเจ้านายของประวัติศาสตร์” แต่เราต้อง รู้จักอดทน ... สารวิวรณ์เหล่านี้เปิดเผยเหตุการณ์ในอนาคต อนาคตนี้ เป็นเรื่องของพระเจ้า และอนาคตเดียวที่จะมีประโยชน์สำ�หรับมนุษย์ ก็ คืออนาคตในพระเจ้า วันหนึ่ง – วันของพระเจ้า – ประวัติศาสตร์มนุษยชาติจะบรรลุ ถึงความสมบูรณ์ อนาคตอันแน่นอนนี้ช่วยให้เราพากเพียรอดทนต่อไป ในเวลาปัจจุบัน แม้ว่าเราอยู่ท่ามกลางความวุ่นวาย และภัยพิบัติ... เพื่อนเอ๋ย ไม่ว่า “ภัยพิบัต”ิ ของท่าน ซึ่งพระเยซูเจ้ากำ�ลังเตือน ท่านอยู่นี้ จะเป็นอะไร “จงอย่าตกใจ” ... พระองค์ทรงสัญญากับท่าน เช่นเดียวกัน  ว่าท่านจะพบกับความสุขในอนาคตอันน่าพิศวง ขอให้ ความคาดหมายและความหวังนี้ส่องสว่างแก่ “วันนี”้ ของท่านเถิด... สำ�หรับโลกสมัยใหม่ อะไรคือ “ภัยพิบัติส่วนรวม” ของท่าน ซึ่ง พระเยซูเจ้าทรงบอกท่านว่า “จงอย่าตกใจ”... สารวิ ว รณ์ ทั้ ง หลายยั ง เป็ น เครื่ อ งหมายของความหวั ง อี ก ด้ ว ย พระเจ้าตรัสว่า “จงเชื่อในเรา” ... แม้เมื่อดวงดาวตกจากท้องฟ้า แม้เมื่อ เหตุการณ์ไม่เป็นไปตามคำ�ทำ�นายของประกาศก แม้เมื่อทุกสิ่งทุกอย่าง ล้มเหลวในสายตาของมนุษย์ ... ยังมีความหวังสำ�หรับอนาคต ... ถูก แล้ว แม้เมื่อความตายมาถึง ก็ยังมีความหวังอันสมบูรณ์ ... เราไม่พึ่งพิง กำ�ลังของมนุษย์ แต่พึ่งพิงพระเจ้า...


238

บทเทศน์ปี C

แต่ ก่ อ นที่ เ หตุ ก ารณ์ ทั้ ง หมดนี้ จ ะเกิ ด ขึ้ น  เขาจะจั บ กุ ม ท่ า น จะ เบียดเบียนท่าน จะนำ�ท่านไปไต่สวนในศาลาธรรม และจะจองจำ� ท่านในคุก เขาจะนำ�ท่านไปยืนต่อหน้ากษัตริย์และผู้ว่าราชการเพราะ นามของเรา และนี่จะเป็นโอกาสให้ท่านเป็นพยานถึงเรา นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พระเยซูเจ้าทรงทำ�ให้เราตระหนักว่าพระองค์ ทรงกลัวเพียงสิ่งเดียว คือ กลัวว่าศิษย์ของพระองค์จะสูญเสียความ เชื่อ... พระเยซูเจ้าทรงประกาศว่าศิษย์ของพระองค์จะถูกเบียดเบียน ตั้งแต่ก่อนกรุงเยรูซาเล็มจะถูกทำ�ลาย ดังนั้น การเบียดเบียนจึงจะเกิด ขึ้นในเวลาอีกไม่นาน ... และขณะที่ลูกาเขียนพระวรสารของเขา การ เบียดเบียนเหล่านี้ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ลูกาบอกเล่าในหนังสือกิจการอัคร สาวก ว่า “ขณะที่เปโตร และยอห์น กำ�ลังปราศรัยกับประชาชนอยู่นั้น บรรดาสมณะพร้อมกับนายทหารรักษาพระวิหาร และบรรดาชาวสะดูสไี ด้ เข้ามาพบ ... เขาจับกุมเปโตร และยอห์น จองจำ�ไว้จนถึงวันรุ่งขึ้น” (กจ 4:1-3, 5:18, 8:3, 12:4) ... การเบียดเบียนเกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ ของพระศาสนจักร ... แม้แต่ในวันนี้... พระเยซู เ จ้ า ไม่ ไ ด้ ต รั ส อ้ อ มค้ อ มเลย พระองค์ ท รงเห็ น ว่ า การ เบียดเบียน ซึ่งเป็นการทดสอบความเชื่อ แทนที่จะน่ากลัว กลับจะเป็น โอกาสสำ�คัญ – โอกาสให้เรา “เป็นพยาน” ต่อหน้าผู้เบียดเบียน (ตาม การตีความทางหนึ่ง) ... หรือเป็นโอกาสให้เราสะสมบุญกุศล ซึ่งจะ “เป็นพยาน” ให้เราต่อหน้าพระเจ้า (ตามการตีความอีกทางหนึ่ง)... ข้าพเจ้ามีความวางใจอย่างสมบูรณ์เช่นนี้หรือเปล่า... ความเชื่ อ ของข้ า พเจ้ า ทำ � ให้ ข้ า พเจ้ า มั่ น ใจจริ ง หรื อ ไม่ ว่ า เมื่ อ พระเจ้าทรงอยู่ข้างข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะสามารถเก็บเกี่ยวผลกำ�ไรแม้แต่ จากการทดลองที่เจ็บปวดที่สุด และดูเหมือนว่าอันตรายที่สุด...


บทเทศน์ปี C

239

จงตั ด สิ น ใจว่ า ท่ า นจะไม่ ห าคำ � แก้ ตั ว ไว้ ก่ อ น เราจะให้ คำ � พู ด  และ ปรีชาญาณแก่ท่าน ซึ่งศัตรูของท่านจะต้านทาน หรือโต้แย้งไม่ได้ บิดามารดา พี่น้อง ญาติ และมิตรสหายจะทรยศต่อท่าน บางท่านจะ ต้องถูกประหารชีวิตด้วย ท่านทั้งหลายจะเป็นที่เกลียดชังของทุกคน เพราะนามของเรา แต่เส้นผมบนศีรษะของท่านจะไม่เสียไปแม้แต่ เส้นเดียว ด้วยการยืนหยัดมั่นคง ท่านจะรักษาชีวิตของท่านไว้ได้” เราต้องความหวัง ... ความอดทน ... ความยินดี ... ไม่ว่าจะเกิด อะไรขึ้นก็ตาม... นี่คือคำ�สั่งสอนของพระเจ้า เป็นความจริงที่เราไม่สามารถพิสูจน์ ได้ด้วยเหตุผล แต่เราต้องเชื่อ... คำ� สั่งสอนนี้ไม่ต้องการให้เราเข้าใจความหมายตามตัว อั กษร เพราะคริสตชนจำ�นวนมากต้องถูกตัดศีรษะ ... ความเชื่อไม่ทำ�ให้เรา รอดพ้นจากความตาย หรือจากความเจ็บปวดทรมาน ... แต่ความเชื่อให้ ชีวิตแก่เรา... พระเจ้าข้า โปรดทรงทวีความเชื่อของเราด้วยเถิด...


240

บทเทศน์ปี C

วั นอาทิตย์สุดท้าย เทศกาลธรรมดา

สมโภชพระเยซูเจ้า กษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ลูกา 23:35-43 ประชาชนยืนดูอยู่ที่นั่น ส่วนบรรดาผู้นำ�เยาะเย้ยพระองค์ ว่า “เขาช่วยคนอื่นให้รอดพ้นได้ ก็ให้เขาช่วยตนเองซิ ถ้าเขาเป็น พระคริสต์ผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกสรร” แม้แต่บรรดาทหารก็เยาะเย้ย พระองค์ด้วย เขานำ�เหล้าองุ่นเปรี้ยวเข้ามาถวาย พลางกล่าวว่า “ถ้าท่านเป็นกษัตริย์ของชาวยิว ก็จงช่วยตนเองให้รอดพ้นซิ” มีคำ� เขียนไว้เหนือพระองค์ว่า “ผู้นี้คือกษัตริย์ของชาวยิว” ผู้ร้ายคนหนึ่งที่ถูกตรึงบนไม้กางเขน พูดดูหมิ่นพระองค์ว่า “แกเป็นพระคริสต์ไม่ใช่หรือ จงช่วยตนเอง และช่วยเราให้รอดพ้น ด้วยซิ” แต่อีกคนหนึ่งดุเขา กล่าวว่า “แกไม่เกรงกลัวพระเจ้าหรือ ที่มารับโทษเดียวกัน สำ�หรับพวกเราก็ยุติธรรมแล้ว เพราะเรารับโทษ สมกับการกระทำ�ของเรา แต่ท่านผู้นี้มิได้ทำ�ผิดเลย” แล้วเขาทูลว่า “ข้าแต่พระเยซู โปรดระลึกถึงข้าพเจ้าด้วยเมื่อพระองค์จะเสด็จสู่พระ อาณาจักรของพระองค์” พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริง กับท่านว่า วันนี้ ท่านจะอยู่กับเราในสวรรค์”


บทเทศน์ปี C

241

บทรำ�พึงที่ 1 ข้อรำ�พึงที่หนึ่ง กษัตริย์แห่งสากลจักรวาล เมื่อถึงจุดจบของการเดินทางของพระองค์  เขาเขียนข้อความ เหนือพระเศียรของพระองค์ว่า “เยซูชาวนาซาเร็ธ กษัตริย์ของชาวยิว” นี่เป็นเล่ห์กลทางการเมืองอันชาญฉลาด เป็นวิธีกลบเสียงท้าทายของ พระองค์ นี่ไง เยซูชาวนาซาเร็ธ กษัตริย์ของชาวยิว! มีใครบ้างที่เชื่อข้อกล่าวหานี้  มีคนที่สติสมประกอบคนใดบ้าง ที่คิดจริงๆ ว่าพระองค์ทรงเป็นภัยคุกคามต่อซีซาร์  หรือต่อความสงบ เรียบร้อยของบ้านเมือง แต่แท้จริงแล้ว พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ เพียง แต่ไม่ใช่กษัตริย์ตามความคิดของชาวโลกเท่านั้น พระเยซู เ จ้ า ทรงเป็ น กษั ต ริ ย์ ผู้ ป ฏิ บั ติ ต นต่ า งจากกษั ต ริ ย์ บ น โลกนี้   พระองค์ ไ ม่ ป ระทั บ นั่ ง บนบั ล ลั ง ก์ ที่ ย กสู ง เพื่ อ แสดงถึ ง อำ � นาจ ของพระองค์ แต่ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขน ทรงอ่อนแอเกินกว่าจะช่วย พระองค์เองให้รอดพ้นจากความตาย พระองค์ไม่ทรงสวมมงกุฎเพชร เพื่อแสดงชัยชนะและความมั่งคั่ง แต่ทรงสวมมงกุฎหนาม พระองค์ทรง อยู่ในสภาพที่น่ากลัว ปราศจากทั้งความงามและพระเดชานุภาพ ทรง ถูกมนุษย์ดูหมิ่นและปฏิเสธ พระองค์ไม่มีกองทัพจะคอยปฏิบัติตามคำ� บัญชาของพระองค์ และไม่มีคนรับใช้คอยปรนนิบัติ แต่พระองค์เสด็จ มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น และพลีชีวิตของพระองค์เป็นค่าไถ่ให้คนจำ�นวนมาก กษัตริย์ของโลกแยกตัวออกจากสามัญชน และไม่มีใครคาดหมายให้ กษัตริย์คลุกคลีกับประชาชนเสมือนเป็นคนฐานะเท่าเทียมกัน แต่พระ เยซูเจ้าเสด็จมาหาประชาชนของพระองค์  ทรงดำ�รงชีพท่ามกลางเขา


242

บทเทศน์ปี C

และบัดนี้ พระองค์กำ�ลังจะสิ้นพระชนม์โดยถูกตรึงกางเขนอยู่ตรงกลาง ระหว่างคนที่ต่ำ�ต้อยที่สุด คืออาชญากรที่ถูกประหารชีวิต งานไถ่กู้ของพระองค์เป็นงานช่วยเหลือคนนับล้าน แต่ขณะนี้ พระองค์ทรงต้องการช่วยเหลือคนๆ หนึ่งโดยเฉพาะ คนนั้นคือผู้ร้ายที่ กลับใจ และได้รับคำ�สัญญาว่าเขาจะได้เข้าสู่สวรรค์ในวันนั้น กษัตริย์ของโลกนี้แสดงความรักในอำ�นาจ แต่ความเป็นกษัตริย์ ของพระเยซูเจ้าตั้งอยู่บนอำ�นาจอันยิ่งใหญ่ของความรัก และเอกลักษณ์ ของพระอาณาจักรของพระองค์ คือ ความยุติธรรม สันติสุข และความ ยินดีในพระจิตเจ้า เราจำ�เป็นต้องคิดในแง่มุมของพระเจ้า เพื่อจะเข้าใจว่าบุคคลที่ ถูกเย้ยหยันว่าเป็นกษัตริย์ของชาวยิวนั้น แท้จริงแล้วเป็นกษัตริย์แห่ง สากลจักรวาล ความอ่อนแอที่เรามองเห็นในตัวของชายที่กำ�ลังจะสิ้นใจ นี้ แท้จริงแล้วคืออำ�นาจของพระเจ้าที่ให้ชีวิตใหม่แก่โลก ความเขลาของ ชายจากชนบทคนหนึ่งที่ถูกทำ�ร้ายโดยชาวเมืองที่สมคบกันนั้น แท้จริง แล้วคือปรีชาญาณของพระเจ้า ซึ่งมองข้ามการคบคิดวางแผนในวันนั้น ด้วยสายตาที่มองเห็นนิรันดรกาล การถวายเกียรติแด่พระเยซูเจ้าในฐานะที่ทรงเป็นกษัตริย์ ไม่ได้ หมายถึงการโบกธงและโห่ร้องเรียกพระนามของพระองค์ แต่หมายถึง การตั้งใจว่าจะส่งเสริมให้โลกนี้เป็นโลกแห่งความยุติธรรมสำ�หรับมนุษย์ ทุกคน เป็นโลกที่ปราศจากการครอบงำ �จากอำ�นาจและความรุนแรง เป็นโลกที่กระจายทรัพยากรให้มนุษย์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นโลก ที่มนุษย์ทุกคนมีโอกาสเติบโตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ ในสังคมที่ยุติธรรมเช่นนี้เท่านั้นที่เราสามารถเขียนคำ�ขวัญได้ว่า “ที่นี่ ยอมรับการปกครองของพระเจ้า” ผลแรกของความยุติธรรมคือบรรยากาศของความปรองดอง ซึ่ง ช่วยให้สันติภาพเจริญงอกงามได้ สันติระหว่างประชาชน สันติกับสภาพ


บทเทศน์ปี C

243

แวดล้อม สันติภายในชีวิต และสันติกับพระเจ้า เมื่อสันติสุขเจริญงอกงาม มนุษย์จะมีใบหน้าสดใสด้วยความ ยินดี และความยินดีก็เป็นนิมิตหมายของสวรรค์ เมื่อถึงจุดจบของการเดินทางของพระองค์  เขาเขียนข้อความ เหนือพระเศียรของพระองค์ว่า “เยซูชาวนาซาเร็ธ กษัตริย์ของชาวยิว” เราได้รับเรียกให้ทำ�ให้เส้นทางชีวิตของเรา เป็นการจารึกคำ�ว่า “ความยุติธรรม สันติสุข และความยินดี” ไปทั่วทุกสถานที่ในโลก เมื่อ เราทำ�ได้เช่นนั้น เราจึงสามารถพูดได้อย่างจริงใจว่า “เยซูชาวนาซาเร็ธ กษัตริย์แห่งสากลจักรวาล” ข้อรำ�พึงที่สอง บทภาวนาของพระอาณาจักร เราจะไตร่ตรองบทภาวนาข้าแต่พระบิดา เพราะเป็นบทภาวนา แห่งพระอาณาจักร พระเยซูเจ้าเสด็จมาสถาปนาพระอาณาจักร หรือ พระราชัยของพระเจ้าบนโลกนี้ เพื่อจุดประสงค์นี้ พระองค์ทรงสั่งสอน ประชาชน ขั บ ไล่ ปี ศ าจ และรั ก ษาโรคทั้ ง ในวิ ญ ญาณและร่ า งกายให้ ประชาชน เมื่อบรรดาศิษย์ขอให้พระองค์สอนบทภาวนาแก่เขา ซึ่งจะ เป็นเอกลักษณ์ของเขา พระองค์ทรงสอนให้เขาสวดบทข้าแต่พระบิดา มิใช่เพื่อให้เราสวดเหมือนท่องขึ้นใจ แต่ให้เป็นต้นแบบว่าบทภาวนา ของเราควรบ่งบอกอะไรบ้าง เราได้ไตร่ตรองบทภาวนานี้เมื่อวันอาทิตย์ที่สิบเจ็ด แต่บัดนี้ เรา จะไตร่ตรองในรูปแบบที่เป็นบทภาวนาของพระอาณาจักร สองคำ�ที่เป็นกุญแจสำ�คัญในบทภาวนานี้คือคำ�ว่า “พระบิดา” และ “พระอาณาจักร” ตำ�แหน่ง “พระบิดา” เป็นคำ�ที่แสดงออกได้ ชัดเจนกว่าคำ�อื่นใดถึงความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับเรา ซึ่งเป็นความ สั ม พั น ธ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ผ่ า นพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า  ในส่ ว นของพระเจ้ า  ความ


244

บทเทศน์ปี C

สั ม พั น ธ์ นี้ เ กิ ด ขึ้ น จากความรั ก ของพระองค์   ซึ่ ง เนรมิ ต สร้ า งเรา ทรง ต้องการเรา และเลี้ยงดูเรา ในส่วนของเรา เรายอมรับด้วยความกตัญญู รู้คุณว่าพระเจ้าทรงทำ�อะไรบ้างเพื่อเรา และดำ�เนินชีวิตต่อไปด้วยความ มั่นใจเต็มเปี่ยมว่าพระองค์จะทรงรัก และดูแลเราต่อไป พระเจ้าทรงใกล้ชิดเราเหมือนบิดา ทรงสนิทกับเราเหมือนเลือด และยีนส์ที่เป็นชีวิตของเรา ซึ่งเราได้รับมาจากบิดามารดาของเราในโลก นี้ แต่กระนั้น พระเจ้าก็ทรงเป็นธรรมล้ำ�ลึกที่เหนือความรู้ความเข้าใจ ของเรา ทรงไร้ขอบเขต และทรงอยู่เหนือธรรมชาติ ดังนั้น เราจึงภาวนา ว่า “ข้าแต่พระบิดา ... พระองค์สถิตในสวรรค์” พระเจ้าทรงอยู่ใกล้เรา เพราะทรงเป็นบิดาของเรา แต่ทรงอยู่ห่างไกลถึงสวรรค์ เราต้องยกจิตใจ ของเราขึ้นเหนือสิ่งต่างๆ ในชีวิตนี้ หัวใจของเราจะต้องพองโตในพระ สิริรุ่งโรจน์แห่งพระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ ... “พระนามพระองค์จง เป็นที่สักการะ” คำ�สำ�คัญคำ�ที่สองคือ “พระอาณาจักร” ถ้าคำ�ว่า “พระบิดา” แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าและพระเยซูเจ้า “พระอาณาจักร” ก็แสดงถึงการทำ�งานของพระเยซูเจ้า เมื่อพระองค์ทรงเริ่มต้นพันธกิจ ของพระองค์  พระองค์ทรงประกาศว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อสถาปนา พระราชัย หรือพระอาณาจักรของพระเจ้าบนโลกนี้  เพื่อจุดประสงค์ นี้ พระองค์จึงทรงสั่งสอนพระชาชน ทรงขับไล่ปีศาจ และทรงรักษาโรค ทางร่างกายและวิญญาณให้ประชาชน ศิษย์ของพระองค์จะต้องเป็น ประชากรของพระอาณาจักร แทนที่จะเป็นสาวกของค่านิยมทางโลก เช่นเดียวกับที่พระเจ้าทรงอยู่ทั้งใกล้และไกล พระอาณาจักรก็อยู่ ที่นี่ตั้งแต่เวลานี้แล้ว แต่จะสมบูรณ์ครบครันในอนาคตอันไกล พระเยซู เจ้าทรงสถาปนาพระอาณาจักรเหมือนกับทรงปลูกเมล็ดพืช และด้วย อำ�นาจของพระจิตเจ้า เมล็ดพืชนี้ก็มีชีวิต และเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แต่ เรายังไม่เห็นพระอาณาจักรนี้เติบโตอย่างสมบูรณ์เพราะความน่าชังของ


บทเทศน์ปี C

245

บาปที่เราเห็นอยู่ทุกวัน วิญญาณของเราจึงทอดถอนใจเป็นคำ�ภาวนาว่า “มาเถิด ... พระอาณาจักรจงมาถึง” สื่อมวลชนชอบเสนอข่าวที่น่าตื่นเต้น และให้ความสนใจกับความ ชั่ว เรื่องดีงามที่เกิดขึ้นจะได้รับการเผยแพร่น้อยมาก มีคนจำ�นวนมาก เกินไปที่ไม่รู้ว่ามีสิ่งดีงามอยู่มากมายรอบตัวเรา คนเหล่านี้ไม่ได้สัมผัส กับลมหายใจของพระจิตเจ้า และไม่เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต ประชากรของพระอาณาจั ก รย่ อ มปลาบปลื้ ม กั บ ทุ ก สิ่ ง ที่ เ ขา พบเห็นในพระอาณาจักรอยู่ทุกวัน แต่กระนั้น เขาก็รับรู้ด้วยความเสียใจ ว่ามีความชั่วอยู่มากมายในโลก พวกเขาต้องการและกระหายจะให้เมล็ด พันธุ์แห่งความดีงอกงามขึ้นโดยเร็ว ... เขาอยากให้ความสมบูรณ์ของ ความยุติธรรม สันติสุข และความยินดี เร่งเดินทางมายังโลกของเราจาก อนาคตอันไกล บทภาวนาของเขาจึงเป็นเสียงทอดถอนใจ และคำ�เชิญ ว่า “เชิญเสด็จมา พระเยซูเจ้าข้า ... เชิญเสด็จมา ข้าแต่พระจิต ผู้ทรง บันดาลการเจริญเติบโต ... เชิญเสด็จมาเถิด ขอให้พระอาณาจักรของ พระองค์มาถึงเถิด” ข้อความที่เหลือของบทข้าแต่พระบิดาเป็นการขยายความของคำ� ภาวนานี้ “พระประสงค์จงสำ�เร็จไป” เป็นคำ�วิงวอนให้พระอาณาจักรนี้ มาถึงในใจของเรา ความยุติธรรมทางสังคม สันติสุข และความดีจะต้อง เกิดขึ้นก่อนในหัวใจ และในวิญญาณของมนุษย์ สันติภาพของโลกต้อง เริ่มต้นด้วยสันติสุขในวิญญาณ ความยุติธรรมทางสังคมต้องเริ่มต้นจาก การเป็นทุกข์กลับใจของมนุษย์แต่ละคน การกลับใจของโลกต้องเริ่มต้น ขึ้นในชีวิตของข้าพเจ้าเอง หลังจากนั้น เราจึงระบุความฝันอันยิ่งใหญ่สองประการที่เป็น ความหวังของโลก คือ ขออาหารสำ�หรับทุกคนในวันนี้ และการให้อภัย อย่างสมบูรณ์


246

บทเทศน์ปี C

เราภาวนาด้วยความวางใจอย่างสิ้นเชิงในพระบิดาผู้ทรงสอดส่อง ดูแลเรา และทรงทราบดีอยู่แล้วว่าอะไรจำ�เป็นสำ�หรับเรา คำ�วิงวอนของ เราต้องไม่ใช่การแสวงหาประโยชน์ให้ตนเอง แต่ต้องแสดงให้เห็นความ ห่วงใยด้วยความรักของเราต่อประชากรทุกคนของพระเจ้า งานเลี้ยงของ พระเมสสิยาห์เป็นหนึ่งในภาพลักษณ์ของสวรรค์ที่พระวรสารมักยกเป็น ตัวอย่าง ในบทภาวนาของเรา เราแสดงความปรารถนาอันแรงกล้าว่าขอ ให้ความบริบูรณ์แห่งสวรรค์รีบกลับมายังโลกของเรา และขอให้มนุษย์ ทุกคนในวันนี้มีอาหาร และทรัพยากรไว้ใช้สอยอย่างเพียงพอ เราภาวนาให้เหตุการณ์ตา่ งๆ ในอดีต ซึง่ ทำ�ให้มนุษย์แตกแยกกัน และดึงหัวใจของเราให้แยกออกจากกัน ขอให้มนุษย์สมานรอยร้าวด้วย การคืนดีกันอย่างสมบูรณ์  กุญแจของการสมานแผลนี้คือการให้อภัย การให้อภัยคือความรักของพระเจ้าผู้พร้อมจะประทานทุกสิ่งทุกอย่างแก่ เราต่อไป แม้ว่าเราเคยปฏิเสธพระองค์มาก่อนก็ตาม ขอให้เราเลียนแบบ การให้อภัยของพระเจ้า และความรักอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ เพื่อจะให้ อภัยทุกคนที่เคยทำ�ร้ายเรา คำ�วิงวอนประการสุดท้ายเป็นการวิงวอนขอให้เราพากเพียรเดิน ตามวิถีทางของพระอาณาจักร ปีศาจจะต้องประจญ และวางอุปสรรค ไว้ ต ามทางนี้ แ น่ น อน เรายอมรั บ อย่ า งเจี ย มตนว่ า เราต้ อ งการความ คุ้มครองของพระเจ้าให้ทรงนำ�ทางเรา และช่วยเราให้รอดพ้นเสมอ พระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ทรงเป็ น กษั ต ริ ย์ ข องเรา พระอาณาจั ก รที่ พระองค์สถาปนาขึ้นนี้เป็นชีวิตของเรา เราดำ�เนินชีวิตท่ามกลางการต่อสู้ กับความบกพร่องมากมายของเรา เราหวังว่าจะได้เห็นสวนสวรรค์ที่พระ เยซูเจ้าทรงสัญญาจะประทานให้แก่ผู้ร้ายกลับใจคนนี้ การเดินทางจาริก แสวงบุญไปสู่ความครบครันแห่งสวรรค์  มาขมวดรวมอยู่ในคำ�ภาวนา เดียวกันว่า “ข้าแต่พระบิดา ขอให้พระอาณาจักรของพระองค์จงมาถึง”


บทเทศน์ปี C

247

บทรำ�พึงที่ 2 การสมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล เป็นการฉลอง ที่เริ่มจัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เพราะเราจัดฉลองเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1925 ทุกยุคสมัยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพิธีกรรม อันที่จริง การ เฉลิมฉลองความเป็นกษัตริย์ของพระเยซูเจ้าก็คือวันสมโภชพระเยซูเจ้า เสด็จขึ้นสวรรค์ แต่ในวันอาทิตย์สัปดาห์สุดท้ายของปีพิธีกรรมนี้ เราเพ่ง พินิจ “พระอาณาจักรของพระเจ้า” ซึ่งก่อตั้งเป็นรูปเป็นร่างขึ้นทีละน้อย มาตั้งแต่ศตวรรษแรก ๆ และจะกลายเป็นความจริงอย่างสมบูรณ์เมื่อถึง กาลอวสาน... ในการเฉลิมฉลองพระคริสตเจ้ากษัตริย์ของเรา พระศาสนจักร เชิญชวนเราให้เพ่งพินิจจุดเริ่มต้นของพระอาณาจักรนี้ บัลลังก์ของพระ เยซูเจ้าคือไม้กางเขน ... มงกุฎของพระองค์คือหนามที่ถูกถักร้อยเข้า ด้วยกัน ซึ่งทิ่มแทงพระเศียรจนพระโลหิตไหลลงมาอาบพระพักตร์ ... คำ�รับรองที่มอบหมายอำ�นาจให้พระองค์คือแผ่นไม้ที่ตอกติดกางเขน เหนือพระเศียร และเป็นข้อกล่าวหาทีท่ �ำ ให้พระองค์ทรงถูกประหารชีวติ “ผู้นี้คือกษัตริย์ของชาวยิว” ... พยานสองคน – หรือข้าราชบริพาร สองคนของพระองค์ – คือ อาชญากรสองคนที่ถูกประหารชีวิตพร้อม พระองค์... นี่คือความขัดแย้งในตัวเองของพระวรสาร ... พระเยซูเจ้านี่หรือ คือกษัตริย์ ... ถูกต้อง ... แต่ไม่ใช่กษัตริย์อย่างที่เข้าใจกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ ที่สนับสนุนพระองค์ และต้องการยกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ หรือศัตรูผู้ กระหายเลือดของพระองค์ ... แต่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ กษัตริย์แห่ง ความรัก ตามแผนการของพระเจ้า...


248

บทเทศน์ปี C

เมื่อมาถึงสถานที่ที่เรียกว่าเนินหัวกะโหลก บรรดาทหารตรึงพระองค์ ที่นั่นพร้อมกับผู้ร้ายสองคน คนหนึ่งอยู่ข้างขวา และอีกคนหนึ่งอยู่ ข้างซ้าย พระเยซูเจ้าตรัสว่า “พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิดแก่ เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำ�ลังทำ�อะไร” ทหารนำ�เสื้อผ้าของพระองค์ ไปจับสลากแบ่งกัน ประชาชนยืนดูอยู่ที่นั่น นี่คือจุดสูงสุดของพระวรสาร หลังจากผ่าน “ภูเขาแห่งบทเทศน์ เรื่องความสุขแท้” ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงประกาศคำ�สั่งสอนของพระองค์ เป็นครั้งแรก ... หลังจาก “ภูเขาทาบอร์” ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงสำ�แดง พระองค์อย่างรุ่งโรจน์ และทรงได้รับการรับรองว่า “ท่านผู้นี้เป็นบุตร ของเรา ผู้ที่เราได้เลือกสรร จงฟังท่านเถิด” ... นี่คือ “ยอดภูเขา” ที่ สามของพระวรสาร ... เนินเขาลูกนี้ตั้งอยู่ใกล้กรุงเยรูซาเล็ม ใกล้ประตู เอเฟรม ในเหมืองหินโบราณ ช่างสลักหินเหลือหินส่วนที่แข็งเกินไป ทิ้งไว้เป็นก้อนสูงประมาณ 5 เมตร ทุกคนเรียกหินก้อนนี้ว่ากลโกธา (แปลว่า หัวกะโหลก) ตามรูปร่างของมัน มีตำ�นานโบราณเล่าว่านี่คือ กะโหลกของอาดัม ที่ฝังอยู่ที่นั่นตลอดนิรันดร... ดังนั้น จุดสูงสุดของ พระวรสารจึงเกิดขึ้นในสถานที่อันแห้งแล้งและน่ากลัว เนินหินเล็กๆ นี้ สูงกว่าพื้นที่โดยรอบมากพอจะถูกใช้เป็นตะแลงแกงประหารนักโทษคดี อุกฉกรรจ์ ข้างถนนที่มีคนสัญจรไปมาตลอดเวลา ดังนั้น ทุกคนจึงมอง เห็นอาชญากรที่ถูกประหารได้ง่าย และเป็นวิธีหนึ่งในการป้องปราม อาชญากรรม... อันที่จริง มีฝูงชนอยู่ที่นั่น ... พวกเขามองดู ... พวกเขาต้องการ เห็น... คำ�ที่ลูกาใช้ในประโยคนี้มีนัยสำ�คัญ ลูกาไม่ใช้คำ�ภาษากรีกที่แปล ว่า “ฝูงชน” แต่ใช้คำ�ว่า laos (ซึ่งเป็นที่มาของศัพท์ภาษาอังกฤษว่า laity หรือฆราวาส) แปลว่า “ประชาชน (the people)” และเป็นคำ�ที่


บทเทศน์ปี C

249

มักใช้เรียก “ประชากรของพระเจ้า” ... เขาใช้คำ�เดียวกันนี้บรรยายว่า “ประชาชนทุกคนกำ�ลังตั้งใจฟังพระองค์” เมื่อพระเยซูเจ้าทรงสั่งสอน ในพระวิหาร (ลก 19:47, 48) ในขณะที่ “บรรดาหัวหน้าสมณะ ธรรมาจารย์ และหัวหน้าประชาชนหาวิธีกำ�จัดพระองค์” (ลก 19:47) ... ลูกาชี้ ให้เห็นบ่อยครั้งว่า “ประชาชน” เข้าข้างพระเยซูเจ้า ต่างจากบรรดาผู้นำ� (ลก 20:1, 20:45, 21:38)... “ประชาชนยื น ดู อ ยู่ ที่ นั่ น ” ราวกั บ ตกตะลึ ง กั บ สถานการณ์ ที่ พลิกผัน ... ความเงียบของฝูงชนทำ�ให้รู้สึกประทับใจได้บ้างไหม ... ชาวอิสราเอลผู้มีน้ำ�ใจดีเหล่านี้พูดอะไรไม่ออก พวกเขาคาดหมายว่า พระเมสสิยาห์จะเป็นกษัตริย์องค์หนึ่ง เป็นกษัตริย์ดาวิดองค์ใหม่ ใน ประวัติศาสตร์ของชนชาติของเขา มีช่วงเวลาไม่นานนักที่เขามีกษัตริย์ ปกครอง และมีกษัตริย์เพียงไม่กี่องค์ที่มีความสามารถเหมือนดาวิด และซาโลมอน แต่ ช่ ว งเวลาเหล่ า นั้ น เป็ น ยุ ค อั น ยิ่ ง ใหญ่ ข องชนชาติ อิสราเอล ชาวยิวรอคอยพระเมสสิยาห์มานานหลายศตวรรษ เขาคาด หวังให้พระองค์เป็นกษัตริย์ที่จะเอาชนะศัตรูของพวกเขา และเป็น “ผู้ ปฏิบัติงานแทนพระเจ้า” อย่างแท้จริง พวกเขาคิดว่าพระเยซูเจ้าจะทรง สถาปนาอาณาจักรอิสราเอลขึ้นมาใหม่ ... เขาพยายามยกพระองค์ขึ้น เป็นกษัตริย์ แต่พระองค์กลับหลบหนีไป (ยน 6:15; ลก 19:38)... และบัดนี้ พระเยซูเจ้าอยู่ที่นี่แล้ว ... ทรงถูกประหารชีวิตที่นี่ “ประชาชนยืนดูอยู่ที่นั่น”... ผู้นำ�เยาะเย้ยพระองค์ว่า “เขาช่วยคนอื่นให้รอดพ้นได้ ก็ให้เขาช่วย ตนเองซิ ถ้าเขาเป็นพระคริสต์ผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกสรร” ต่างจากประชาชนทั่วไปที่ยืนดูอยู่เงียบๆ ด้วยความสงสัยและ เจ็บปวด และคงผิดหวังด้วย ... “ผู้นำ�” กลับหัวเราะเยาะและท้าทาย ... เขาท้าทายให้พระเยซูเจ้าทรงแสดง “อำ�นาจกษัตริย์ของพระเมสสิยาห์


250

บทเทศน์ปี C

ของพระองค์... “ผู้ได้รับเจิมจากพระเจ้า” เป็นตำ�แหน่งที่มอบให้แก่กษัตริย์ของ อิสราเอล กษัตริย์จะได้รับการ “เสกให้ศักดิ์สิทธิ”์ ด้วยน้ำ�มันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งทำ�ให้พระองค์เป็น “พระคริสต์” (จากคำ�ว่า Christos ในภาษากรีก ซึ่งแปลมาจากคำ�ว่า Messiah ในภาษาฮีบรู) ... ถ้าพระเยซูเจ้าทรงเป็น พระคริสตเจ้า ถ้าพระองค์ทรงเป็น “ผู้ได้รับเลือกสรร” (เป็นคำ�ที่ยืมมา จากอิสยาห์ 42:1) ถ้าพระองค์ทรงเป็นพระผู้ไถ่กู้โลก ... ก็ให้พระองค์ ช่วยตนเองก่อนซิ... คำ�ประชดของผู้ที่เย้ยหยัน สะท้อนเสียงล่อลวงของปีศาจในถิ่น ทุรกันดาร เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเริ่มต้นชีวิตสาธารณะของพระองค์ (ลก 4:3) ... เช่นเดียวกับคำ�ตำ�หนิจากชาวเมืองนาซาเร็ธ “หมอเอ๋ย จงรักษา ตนเองก่อนเถิด” (ลก 4:23)... ในปัจจุบัน ผู้ที่ยั่วยุพระเจ้าไม่ได้กล่าวยั่วยุออกมาดัง ๆ แต่เขา ตั้งคำ�ถาม – และเป็นความเข้าใจที่ผิด – ที่ไม่เคยต่างจากเดิม “ขอให้ พระเจ้าแสดงตัวออกมาซิ” ให้เราเห็นพระองค์ ถ้าพระองค์มีตัวตนอยู่ จริง ให้พระองค์แสดงตัวให้เราเห็นซิ” ... และคำ�ตอบของพระเจ้ายัง คงเหมือนกับคำ�ตอบของพระเยซูเจ้า ... พระองค์ทรงเงียบ ... พระองค์ ไม่ ท รงแทรกแซงกิ จ การในระดั บ โลก ซึ่ ง พระองค์ ท รงปล่ อ ยให้ เ ป็ น อิสระโดยสิ้นเชิง ... พระองค์ไม่ทรงชี้แจงเหตุผลเพื่อปกป้องตนเอง ... พระองค์ทรงยอมให้มนุษย์กล่าวหาว่าพระองค์อ่อนแอ และถึงกับไม่ ยอมรับว่าพระเจ้ามีจริง ... พระเยซูเจ้าทรงกระทำ�เช่นเดียวกับพระเจ้า พระองค์ไม่ทรงยอมแพ้ต่อการประจญให้ “กระทำ�การเพื่อประโยชน์ ของพระองค์เอง” ... ให้ทรงใช้อำ�นาจของพระองค์เพื่อประโยชน์ของ พระองค์เอง...


บทเทศน์ปี C

251

แม้แต่บรรดาทหารก็เยาะเย้ยพระองค์ด้วย เขานำ�เหล้าองุ่นเปรี้ยว เข้ามาถวายพลางกล่าวว่า “ถ้าท่านเป็นกษัตริย์ของชาวยิว ก็จงช่วย ตนเองให้รอดพ้นซิ” ทหารโรมัน ซึ่งเป็นคนต่างชาติในกองทัพที่ยึดครองดินแดนของ ชาวยิว ใช้คำ�ว่า “กษัตริย”์ ที่เขาเห็นว่าเขียนไว้เหนือพระเศียรของพระ เยซูเจ้า ... นี่คือคำ�เย้ยหยันระดับสูงสุด เขาเรียกนักโทษประหารที่ถูก ตรึงบนไม้กางเขน และกำ�ลังจะสิ้นใจอยู่นี้ว่า “กษัตริย”์ ... มีคำ�เขียนไว้เหนือพระองค์ว่า “ผู้นี้คือกษัตริย์ของชาวยิว” ในพิธีแต่งตั้งกษัตริย์  ต้องมีสมณะผู้กระทำ�การในพระนามของ พระเจ้าเป็นผู้มอบตำ�แหน่งให้แก่กษัตริย์ ดังที่เราเห็นจากบทสดุดี 110 ว่า “ศักดิ์ศรีของกษัตริย์เป็นของท่านตั้งแต่วันที่ท่านเกิดมา บนภูเขา ศักดิ์สิทธิ์ ท่านเป็นกษัตริย์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ตั้งแต่รุ่งอรุณของวันแรกที่ ท่านเกิดมา” ที่นี่  เหนือบัลลังก์แห่งไม้กางเขน ข้อความนี้ใช้แทนคำ�รับรอง ที่สอดคล้องกับพระสุรเสียงของพระบิดา ผู้ทรงรับรองพระบุตรของ พระองค์เหนือแม่น้ำ�จอร์แดน ในวันที่พระองค์ทรงรับพิธีล้างว่า “ท่าน เป็นบุตรที่รักของเรา เป็นที่โปรดปรานของเรา” (ลก 3:22) ในพระวรสารของลู ก า ข้ อ ความบนไม้ ก างเขนนี้ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น คำ � ประณาม เป็นความจริงที่พระเยซูเจ้าทรงแนะนำ�พระองค์เองว่าทรงเป็น กษัตริย์ แต่ทรงเป็นกษัตริย์ที่ “อาณาจักรของเรามิได้มาจากโลกนี”้ (ยน 18:36) ระหว่างที่ทรงเทศน์สอนประชาชน พระองค์ทรงระวังมาก และ ทรงหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้ใดอาจตีความว่าพันธกิจของพระองค์เป็นกิจการ ทางการเมือง แต่กระนั้น พระอาณาจักรของพระองค์ก็ถูกสร้างขึ้น “บน โลกนี”้ แต่ไม่เป็นคู่แข่งของ “อาณาจักรทางโลก หรือระบบการเมือง”


252

บทเทศน์ปี C

ไม้กางเขนนี้ บัลลังก์นี้ และตำ�แหน่งนี้ทำ�ลายความหวังทั้งปวงของชาว อิสราเอลที่อยากมีพระเมสสิยาห์เป็นกษัตริย์ปกครองชาติอิสราเอล ผู้ร้ายคนหนึ่งที่ถูกตรึงบนไม้กางเขนพูดดูหมิ่นพระองค์ว่า “แกเป็น พระคริสต์ไม่ใช่หรือ จงช่วยตนเอง และช่วยเราให้รอดพ้นด้วยซิ” คำ�บอกเล่าของลูกาค่อยๆ เพิ่มความรุนแรง และความเครียด อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ประชาชน “ยืนดู” ผู้นำ� “เยาะเย้ย” ทหารก็ “เยาะ เย้ย” บัดนี้ ผู้ร้ายคนนี้ถึงกับ “ดูหมิ่น” พระองค์... ธรรมบัญญัติของโมเสสกำ�หนดให้ต้องมี “พยานสองคน” เพื่อ ให้การกระทำ�ใดๆ มีผลตามกฎหมาย ดังนั้น พยานในเหตุการณ์ที่พระ คริสตเจ้าทรงสำ�แดงพระองค์อย่างรุ่งโรจน์  จึงเป็นสองบุคคลสำ�คัญใน พันธสัญญาเดิม คือ โมเสส และเอลียาห์ (ลก 9:28-36) พยานที่ยืนยัน การกลับคืนพระชนมชีพ คือ ศิษย์สองคนที่กำ�ลังเดินทางไปยังเอมมาอุส (ลก 24:18) หลังจากที่พยานลึกลับสองคนปรากฏตัวที่พระคูหาที่ว่าง เปล่า (ลก 24:4) ... บัดนี้ พยานสองคนที่ยืนยันถึงการก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ บนเนินกลโกธานี้ คือ อาชญากรสองคน! กษัตริย์อย่างพระเยซูเจ้าทรงถูกเย้ยหยันจนถึงวาระสุดท้าย! พระเยซูเจ้า กษัตริย์แห่งวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ถูก ทำ�ร้ายอย่างสาหัส จนประชาชนลังเลใจที่จะแสดงตนเป็นพวกเดียวกับ พระองค์ ทรงถูกเย้ยหยัน ถูกเปลื้องพระภูษา มีแต่คราบของน้ำ�ลายที่เขา ถ่มใส่ และบาดแผลที่อาบด้วยพระโลหิตทั่วพระกาย ขนาบข้างด้วยโจร สองคน... แต่อีกคนหนึ่งดุเขา กล่าวว่า “แกไม่เกรงกลัวพระเจ้าหรือที่มารับ โทษเดียวกัน สำ�หรับพวกเราก็ยุติธรรมแล้ว เพราะเรารับโทษสมกับ การกระทำ�ของเรา แต่ท่านผู้นี้มิได้ทำ�ผิดเลย”


บทเทศน์ปี C

253

ท่ามกลางเสียงเย้ยหยันจากทุกคน มีเสียงเบาๆ เสียงหนึ่งที่กล้า พูด พระนางมารีย์ ผู้ยืนอยู่ที่เชิงกางเขน คงได้ยิน และบอกเล่าแก่ลูกา ซึ่งเป็นผู้นิพนธ์คนเดียวที่บอกเล่าเรื่องนี้ และลูกา ซึ่งเป็นผู้นิพนธ์พระ วรสารที่ประกาศความเมตตาของพระเจ้าและเห็นใจคนยากจน คงรู้สึก ปลาบปลื้มเป็นพิเศษเมื่อได้ยินเรื่องนี้... การจูบครั้งสุดท้ายด้วยความเชื่อและความรัก เป็นความเชื่อและ ความรักของผู้ร้ายคนหนึ่งที่สำ�นึกผิด... พระอาณาจักรของพระคริสตเจ้า... พระอาณาจักรของพระเจ้า... เปิดประตูต้อนรับ “ผู้กลับใจ” เท่านั้น การใช้อำ�นาจกษัตริย์ของพระ คริสตเจ้าเหนือมนุษย์ทั้งปวง ซึ่งรวมถึงศัตรูของพระองค์ด้วย คือการ เสนอการให้ อ ภั ย แก่ พ วกเขา (ลก 23:24,43) และเป็ น การให้ อ ภั ย อย่างปราศจากข้อจำ�กัด ... เพื่อจะเข้าสู่พระอาณาจักร การเป็น “ผู้ชอบ ธรรม” ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก แต่คนบาปสามารถเข้าประตูนี้ได้โดยมี เงื่อนไขหนึ่งข้อ กล่าวคือ เขาต้องยอมรับการให้อภัยที่พระเจ้าทรงเสนอ แก่เขาอยู่เสมอ... คนบาปคนแรกที่ได้สัมผัสกับการคืนดีที่พระเจ้าทรงเสนอแก่คน ทั้งโลกก็คือ “โจร” คนหนึ่งที่สามารถยอมรับความผิดของตนเอง และ ในเวลาเดียวกันเขาก็ประกาศความบริสุทธิ์ของพระเยซูเจ้า... แล้วเขาทูลว่า “ข้าแต่พระเยซู โปรดระลึกถึงข้าพเจ้าด้วย เมือ่ พระองค์ จะเสด็จสู่พระอาณาจักรของพระองค์” พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “เรา บอกความจริงกับท่านว่า วันนี้ ท่านจะอยู่กับเราในสวรรค์” พระเยซูเจ้าทรงเป็น “อาดัมคนใหม่” อย่างแท้จริง พระองค์ ทรงช่วยให้มนุษยชาติกลับคืนสู่สวนสวรรค์ที่สูญเสียไป “การรับโทษ เดียวกัน” กับพระเยซูเจ้า คือ การตายนี้ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการอยู่ “กับพระเยซูเจ้า”...


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.