รสนิยมดี : ผาหมอนวันนี้ ที่ผ่านมา และทีท่าสู่อนาคต

Page 1

รสนิยมดี ท่ อ ง เ ที่ ย ว C B T ท่ อ ง เ ที่ ย ว วิ ถี ชุ ม ช น

ผาหมอนวันนี้ ที่ผ่านมา และทีท่าสู่อนาคต | เมษายน 2559


ผาหมอนวั น นี ้ ที่ผ่านมา และทีท่าสู่อนาคต

เล่าให้ฟัง...หลังกิจกรรม

ทดลองโปรแกรมท่องเที่ยวของกลุ่มเยาวชน บ้านผาหมอน ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่

01

เรื่อง : อนุวัตร อินทนา ภาพ : Pakaed Inhhouse บรรณาธิการ : สมภพ ยี่จอหอ (รสนิยมดี)


รสนิยมดี 02


เสน่ห์ผาหมอน สำ�หรับผู้ที่หลงใหลในการท่องเที่ยวแบบ สัมผัสวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน “บ้าน ผาหมอน” คงเป็นหนึ่งในชุมชนท่องเที่ยว ทีห่ ลายคนน่าจะนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ ด้วย ชุมชนมีวถิ กี ารดำ�เนินชีวติ ทีเ่ รียบง่ายแต่แฝง ไว้ดว้ ยเสน่หข์ องวัฒนธรรม และภูมปิ ญ ั ญา ท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ประกอบกับชุมชนตั้งอยู่ในพื้นที่บนดอย อินทนนท์ซงึ่ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์ ชุมชนรายล้อมไปด้วย ทัศนียภาพทีส่ วยงามและมีสภาพภูมอิ ากาศ ทีเ่ ย็นสบายตลอดทัง้ ปี ทำ�ให้ชมุ ชนผาหมอน เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่นักท่อง เทีย่ วอยากเข้าไปสัมผัสและเยีย่ มเยียนอยู่ เสมอ

03

นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ในด้านต่างๆ ทีเ่ ป็นต้นทุนสำ�หรับการท่อง เที่ยวของชุมชนแล้ว จุดเด่นของการท่อง เที่ยวโดยชุมชนบ้านผาหมอนอีกประการ หนึง่ คือระบบการบริหารจัดการ และองค์กร ในการดำ�เนินการจัดการท่องเที่ยวที่เข้ม แข็ง คนในชุมชนสามารถดำ�เนินงานบริหาร จัดการการท่องเทีย่ วได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทั่งชุมชนผาหมอนเป็นชุมชนต้นแบบ สำ�หรับการเรียนรู้ระบบการบริหารจัดการ การท่องเที่ยวของหน่วยงาน รวมถึงชุมชน ท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในและต่าง


ประเทศอย่างต่อเนือ่ ง -- แต่กอ่ นทีบ่ า้ นผาหมอน จะสามารถดำ�เนินการจัดการท่องเทีย่ วที่เหมาะ สมดังเช่นที่เห็นในปัจจุบัน คนในชุมชนได้ผ่าน ประสบการณ์การท่องเที่ยวมาแล้วหลากหลาย รูปแบบ ตัง้ แต่การเป็นชุมชนทางผ่านสำ�หรับนัก ท่องเทีย่ วทีเ่ ข้ามาเทีย่ วในพืน้ ทีด่ อยอินทนนท์ ซึง่ เป็นการดำ�เนินการของไกด์จากภายนอกชุมชน โดยทีค่ นในชุมชนไม่มสี ว่ นในการบริหารจัดการ แม้แต่น้อย ต่อมาเมื่อชุมชนเห็นว่าการเป็นชุมชนที่ถูกท่อง เทีย่ วได้สง่ ผลกระทบในด้านลบต่อชุมชน คนใน ชุมชนจึงตัดสินใจลุกขึ้นมาจัดการท่องเที่ยวด้วย ตัวเอง แต่ด้วยในช่วงเวลานั้นชุมชนยังคงขาด ประสบการณ์ในด้านของการบริหารจัดการการ ท่องเที่ยว การดำ�เนินในช่วงแรกจึงเป็นไปใน ลักษณะของการ “ลองผิดลองถูก” ทำ�ให้ชมุ ชน ยังไม่พบรูปแบบของการท่องเที่ยวที่เหมาะสม และต้องล้มเลิกกิจกรรมท่องเที่ยวในช่วงนั้นลง ไป อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ต่างๆ ที่ชุมชน ได้รับได้เปลี่ยนเป็นบทเรียนที่ทำ�ให้ชุมชนได้รับ รูถ้ งึ จุดเด่นและจุดด้อย รวมถึงทำ�ให้คนในชุมชน สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ของการท่องเที่ยว ได้อย่างเป็นระบบมากขึน้ จนกระทัง่ เมือ่ สมาชิก ในชุมชนได้มโี อกาสเข้ามาทำ�งานวิจยั เพือ่ พัฒนาการ ท่องเที่ยวของชุมชน จึงค้นพบรูปแบบการท่อง เที่ยวที่เหมาะสม รวมถึงสามารถพัฒนาองค์กร ชุมชนเพือ่ การบริหารจัดการการท่องเทีย่ วได้ดว้ ย ตนเองสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

รสนิยมดี 04


05


บนเส้นทางท่องเที่ยว CBT เป็นเวลากว่า 12 ปี ตัง้ แต่ชว่ งเริม่ ต้นการ ดำ�เนินงานวิจยั เพือ่ ท้องถิน่ จนกระทัง่ ปัจจุบนั ชุมชนผาหมอนได้ดำ�เนินการจัดการท่อง เทีย่ วโดยมีพนื้ ฐานองค์ความรูจ้ ากงานวิจยั ดังกล่าว ทำ�ให้ชมุ ชนสามารถดำ�เนินการ จัดการท่องเทีย่ วได้อย่างเหมาะสม อย่างไร ก็ตาม การจัดการท่องเทีย่ วโดยชุมชนเป็น กิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับปัจจัยต่างๆ ทัง้ ปัจจัย ภายนอกชุมชน และปัจจัยภายในชุมชน เอง ซึ่งหากชุมชนที่ขาดกระบวนการ พัฒนาการจัดการท่องเที่ยวให้เหมาะสม กับสถานการณ์ทเี่ ปลีย่ นแปลงไปแล้ว การ จัดการการท่องเทีย่ วทีช่ มุ ชนเป็นผูด้ ำ�เนิน การอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อชุมชน โดยที่ชุมชนไม่รู้ตัว เช่นเดียวกันกับชุมชนบ้านผาหมอน ทีเ่ มือ่ กลุม่ ท่องเทีย่ วมีโอกาสทบทวนการดำ�เนิน งาน และประเมินสถานการณ์การจัดการ ท่องเทีย่ วของตนเองแล้ว ทำ�ให้พบว่ากลุม่ ท่องเทีย่ วกำ�ลังประสบกับปัญหาการขาด ผูส้ ืบทอดการบริหารจัดการการท่องเทีย่ ว ของชุมชน ด้วยเหตุนก้ี ลุม่ ท่องเทีย่ วชุมชน และกลุม่ เยาวชนบ้านผาหมอนจึงได้เลือก ใช้กระบวนการวิจยั ในการแก้ไขสถานการณ์

ดังกล่าว โดยได้พัฒนาโครงการวิจัย “การจัดการความรู้เพื่อเรียนรู้ระบบ บริหารจัดการการท่องเที่ยวของกลุ่ม เยาวชนบ้านผาหมอน ดอยอินทนนท์ เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการ จัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน” เพื่อให้ ทีมวิจยั ได้เรียนรูร้ ะบบการบริหารจัดการ การท่องเที่ยวทั้งระบบ รวมถึงศึกษา สถานการณ์การท่องเที่ยวของชุมชน ตัง้ แต่อดีตมาจนถึงปัจจุบนั เพือ่ นำ�องค์ ความรูท้ ไี่ ด้รบั มาใช้ในการพัฒนาระบบ บริหารจัดการการท่องเทีย่ วแบบมีสว่ น ร่วมโดยคนสองรุ่น รวมถึงยังเป็นการ สร้างแนวทางในการถ่ายทอดองค์ความ รู้ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว โดยชุมชนให้แก่เยาวชนบ้านผาหมอน ในอนาคต โดยมีนักวิจัยเป็นกลุ่ม เยาวชนบ้านผาหมอนซึ่งได้รับความ คาดหวังจากคณะกรรมการกลุ่มท่อง เทีย่ วให้เป็นผูส้ บื ทอดการบริหารจัดการ การท่องเทีย่ วของชุมชนเป็นทีมวิจยั หลัก

รสนิยมดี 06


ทดลองงาน ทดลองเที่ยว

หลังจากดำ�เนินงานวิจยั มาแล้วระยะหนึง่ เมือ่ วันที่ 4-5 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา ทีมวิจัย ชุมชนผาหมอนได้จัดกิจกรรม “ทดลองท่อง เที่ยว” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในโครง การวิจัยฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่ม เยาวชนได้ทดลองรับนักท่องเที่ยวจริงโดยใช้ โปรแกรมท่องเทีย่ วทีท่ มี วิจยั ร่วมกันออกแบบ บนพืน้ ฐานของการวิเคราะห์ขอ้ มูลทีไ่ ด้รบั จาก การศึกษาวิจยั โดยกิจกรรมนีไ้ ด้รบั เกียรติจาก นักท่องเทีย่ วซึง่ มาจากหลากหลายสาขาอาชีพ ทั้งนักวิชาการ สื่อมวลชน นักศึกษาสาขา วิชาการท่องเทีย่ ว รวมถึงเจ้าหน้าทีจ่ ากหน่วย งานต่างๆ ซึง่ เป็นหน่วยงานทีด่ ำ�เนินงานพัฒนา ร่วมกับชุมชนผาหมอนมาอย่างยาวนาน 07


กิจกรรมทดลองท่องเที่ยวครั้งนี้ ทีมวิจัยได้ออกแบบโปรแกรม ท่องเที่ยวโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ นักท่องเทีย่ วได้เรียนรูว้ ฒ ั นธรรม ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของชาติพันธุป์ กาเกอะญอชุมชนผาหมอน

ทั้งเจ้าหน้าที่จากอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สถาบันวิจยั และพัฒนาพืน้ ทีส่ งู และ เทศบาลตำ�บลบ้านหลวง เข้าร่วมกิจกรรม การทดลองท่องเที่ยวในครั้งนี้อย่างคับคั่ง กิจกรรมทดลองท่องเที่ยวครั้งนี้ทีมวิจัยได้ ออกแบบโปรแกรมท่องเทีย่ วโดยมีเป้าหมาย เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของชาติพันธุ์ปกาเกอะญอชุมชนผาหมอน โดยเริ่มจากเมื่อ เดินทางมาถึงอำ�เภอจอมทอง นักท่องเทีย่ ว ได้สักการะพระบรมธาตุศรีจอมทอง พระ ธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจอมทอง จาก นั้นนักท่องเที่ยวได้เดินทางจากตัวอำ�เภอ

จอมทองขึน้ สูบ่ ริเวณกิโลเมตรที่ 26 ดอยอินทนนท์ จุดเริม่ ต้นของ เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติเข้าสู่ชุมชนผาหมอน ส่วนกิจกรรม ท่องเที่ยวในชุมชนเริ่มต้นจากการรับฟังบรรยายประวัติความเป็น มาและข้อมูลทั่วไปของบ้านผาหมอน ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะเดิน เที่ยวชมแหล่งเรียนรู้การจักสานและการทอผ้า แหล่งเรียนรู้ทาง วัฒนธรรมและภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ทีส่ มั พันธ์กบั วิถชี วี ติ ของคนในชุมชน มาตั้งแต่อดีต ส่วนกิจกรรมในภาคค่ำ�หลังจากรับประทานอาหาร เย็นนักท่องเทีย่ วได้รบั ชมการแสดงรำ�ดาบและดนตรีเตหน่า เป็นการ ส่งท้ายกิจกรรมท่องเที่ยวในวันแรก ส่วนกิจกรรมท่องเที่ยวในวัน ต่อมาเป็นการเที่ยวชมแหล่งเรียนรู้ด้านวิถีเกษตรของชุมชน ซึ่ง นอกจากการเพาะปลูกข้าวเพือ่ การบริโภคในครัวเรือนแล้ว วิถกี าร ผลิตแบบการเกษตรในชุมชนส่วนใหญ่ได้รบั การส่งเสริมให้ปลูกพืช เศรษฐกิจจากโครงการหลวง ทั้งพืชผักเมืองหนาว และไม้ดอกไม้ ประดับที่มีการหมุนเวียนพันธุ์พืชที่เพาะปลูกไปตามฤดูกาล รสนิยมดี 08


เสียงสะท้อนจากนักท่องเที่ยว จากกิจกรรมท่องเที่ยวข้างต้นทำ�ให้นักท่อง เทีย่ วได้รบั ความรู้ ความเข้าใจเกีย่ วกับบ้าน ผาหมอนอย่างครอบคลุมในทุกมิติซึ่งตรง กับเจตนารมณ์ของชุมชน ทีต่ อ้ งการนำ�เสนอ เรือ่ งราวชุมชนเพือ่ สร้างความเข้าใจให้แก่คน ภายนอกได้รู้จักตัวตนของคนปกาเกอะญอ บ้านผาหมอนจากองค์ความรูท้ มี่ อี ยูใ่ นชุมชน เอง โดยนอกจากองค์ความรู้ของบ้านผาหมอนในแง่มมุ ต่างๆ ทีน่ กั ท่องเทีย่ วได้เรียน รู้จากกิจกรรมท่องเที่ยวแล้ว ดังที่กล่าวมา แล้วว่ากิจกรรมการท่องเทีย่ วในครัง้ นีเ้ ป็นการ ทดลองท่องเที่ยว ในช่วงท้ายของกิจกรรม ทีมวิจัยจึงจัดให้มีช่วงของการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและการรับฟังข้อเสนอแนะจาก นักท่องเทีย่ วทีเ่ ข้าร่วมกิจกรรมในครัง้ นี้ เพือ่ เรียนรู้ตนเองผ่านการสะท้อนมุมมอง และ แง่คิดของนักท่องเที่ยวซึ่งจะได้นำ�มาใช้ใน การปรับปรุง และพัฒนาการทำ�งานด้านการ ท่องเที่ยวของชุมชนต่อไป แม้วา่ ในภาพรวมนักท่องเทีย่ วส่วนใหญ่จะมี ความประทับใจต่อกิจกรรมการทดลองท่อง เทีย่ วในครัง้ นี้ โดยเฉพาะความกระตือรือร้น และความตั้งใจในการทำ�งานของทีมวิจัย รวมถึงมิตรไมตรีของคนในชุมชนทีม่ ตี อ่ แขก ผูม้ าเยือน อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นของ นักท่องเที่ยวบางส่วนยังเป็นข้อเสนอแนะที่ ทำ�ให้ทีมวิจัยทราบถึงข้อบกพร่อง จุดอ่อน 09


จากการดำ�เนินงาน รวมถึงยังได้เสนอข้อคิดสำ�หรับ การพัฒนาการดำ�เนินงานด้านการท่องเที่ยวของ ทีมวิจัยในอนาคต ซึ่งสามารถประมวลได้เป็น ประเด็นต่างๆ ได้แก่ ความคิดเห็นเกีย่ วกับโปรแกรม การท่องเที่ยว เช่น ควรบอกข้อมูลกิจกรรมแก่นัก ท่องเทีย่ วก่อนเริม่ ต้นทำ�กิจกรรม การควบคุมเวลา การดำ�เนินกิจกรรมตลอดทั้งโปรแกรมให้เป็นไป ตามกำ�หนดการ ควรจัดการเวลาในขณะทีน่ กั ท่อง เที่ยวเที่ยวชมแหล่งเรียนรู้จุดต่างๆ ให้เหมาะสม รวมไปถึงในอนาคตกลุม่ ท่องเทีย่ วน่าจะสร้างกิจกรรม

เสริมเพื่อประกอบกับกิจกรรมท่องเที่ยวหลัก และออกแบบโปรแกรมที่หลากหลายเพื่อเป็น ตัวเลือกให้แก่นกั ท่องเทีย่ วได้เลือกกิจกรรมท่อง เทีย่ วทีห่ ลากหลาย ฯลฯ ในด้านทักษะคนทำ�งาน เช่น ควรฝึกทักษะการพูด การนำ�เสนอข้อมูล เพือ่ สือ่ ความหมายรวมถึงควรเรียนรูข้ อ้ มูล องค์ ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมท่องเที่ยวจากนักสื่อ ความหมายทีม่ ปี ระสบการณ์ เพือ่ ให้เกิดความ มั่นใจในการสื่อความหมายแก่นักท่องเที่ยว เป็นต้น

รสนิยมดี 10


...ซึ่งหากชุมชนมีระบบการบริหารจัดการ การท่องเที่ยวที่เข้มแข็ง ย่อมทำ�ให้ชุมชนได้ รับประโยชน์ที่ตามมาจากการท่องเที่ยวใน อีกหลายๆ ด้าน แต่ในทางกลับกันหากชุมชน มีระบบการบริหารจัดการการท่องเทีย่ วทีไ่ ม่ เหมาะสม หรือไม่สามารถดำ�เนินงานบริหาร จัดการการท่องเทีย่ วได้อย่างมีประสิทธิภาพ การท่องเที่ยวย่อมส่งผลกระทบต่อชุมชน อย่างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เช่นกัน...

11


โดยชุมชน และโดยเยาวชน นอกจากความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อ โปรแกรมการท่องเทีย่ ว และทักษะคนทำ�งาน แล้ว ข้อเสนอแนะสำ�คัญอีกประการหนึ่งคือ เรือ่ งระบบการบริหารจัดการการท่องเทีย่ ว และ การบริหารกลุม่ ท่องเทีย่ ว โดยระบบการบริหาร จัดการการท่องเที่ยวถือเป็นหัวใจสำ�คัญของ การท่องเที่ยวโดยชุมชน เนื่องจากเป็นกลไก สำ�คัญในการควบคุมการดำ�เนินงาน ทัง้ งาน เบือ้ งหน้าและเบือ้ งหลังของการท่องเทีย่ ว รวม ถึงยังสัมพันธ์กับโครงสร้างขององค์กรชุมชน อย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้ ซึง่ หากชุมชน มีระบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่เข้ม แข็งย่อมทำ�ให้ชมุ ชนได้รบั ประโยชน์ทตี่ ามมา จากการท่องเที่ยวในอีกหลายๆ ด้าน แต่ใน ทางกลับกันหากชุมชนมีระบบการบริหารจัดการ ท่องเทีย่ วทีไ่ ม่เหมาะสม หรือไม่สามารถดำ�เนิน งานบริหารจัดการการท่องเที่ยวได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การท่องเทีย่ วย่อมส่งผลกระทบ ต่อชุมชนอย่างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เช่นกัน ดังที่ ผศ.ดวงพร อ่อนหวาน นักวิชาการที่

ทำ�งานคลุกคลีกบั ชุมชนต่างๆ มาอย่างยาวนาน ได้เสนอข้อคิดแก่ทีมวิจัยว่าการพัฒนากลุ่ม ท่องเทีย่ วทีม่ กี ลุม่ เยาวชนเป็นผูบ้ ริหารจัดการ ควรคำ�นึงถึงบทบาทของคนทำ�งาน บทบาท ของกลุม่ รวมถึงการกำ�หนดนักท่องเทีย่ วกลุม่ เป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อป้องกันความสับสน ของการดำ�เนินงานระหว่างกลุม่ บริหารจัดการ การท่องเที่ยวเดิม และกลุ่มท่องเที่ยวของ เยาวชนทีอ่ าจซ้ำ�ซ้อนกัน ซึง่ อาจส่งผลให้เกิด ความขัดแย้งในการทำ�งานร่วมกันในอนาคต ได้ นอกจากนัน้ องค์กรการบริหารจัดการการ ท่องเทีย่ วทีพ่ ฒ ั นาขึน้ โดยกลุม่ เยาวชนอาจไม่ จำ�เป็นทีจ่ ะต้องยึดติดกับสมาชิกกลุม่ เยาวชน เท่านัน้ ควรเปิดโอกาสให้คนในชุมชนทีส่ นใจ ได้เข้าร่วมเรียนรูแ้ ละเป็นผูด้ ำ�เนินงานร่วมกัน เพือ่ สร้างการมีสว่ นร่วมให้คนในชุมชนทุกระดับ เป็นผูส้ านต่อการบริหารจัดการกลุม่ ท่องเทีย่ ว ซึ่งจะเป็นการสร้างบุคลากรชุมชนเพื่อการมี ส่วนร่วมในการจัดการท่องเทีย่ วของชุมชนได้ อย่างยั่งยืน

รสนิยมดี 12


13


รสนิยมดี 14


15


รสนิยมดี 16


17


ท่องเที่ยว...ได้ทบทวน การจัดกิจกรรมทดลองท่องเทีย่ วของทีมวิจยั บ้านผาหมอนใน ครัง้ นี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นกิจกรรมทีส่ ร้างการเรียนรูก้ ารบริหาร จัดการการท่องเที่ยวของกลุ่มเยาวชนบ้านผาหมอนเท่านั้น กิจกรรมนี้ยังทำ�ให้เกิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างนักท่องเที่ยวกับคนในชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิดความ เข้าใจตนเอง สามารถวิเคราะห์สถานการณ์การท่องเทีย่ วของ ชุมชนอย่างมีเหตุผล นำ�ไปสูก้ ารแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการ จัดการท่องเทีย่ วอย่างเหมาะสม ซึง่ ไม่เฉพาะแต่กลุม่ ท่องเทีย่ ว หรือชุมชนท่องเที่ยวน้องใหม่เท่านั้น แต่การทบทวน และ ประเมินการดำ�เนินงานของตนเองถือเป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับ ชุมชนท่องเทีย่ วทุกแห่ง เพือ่ ให้ชมุ ชนสามารถจัดการการท่อง เที่ยวที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และกระแสการท่องเที่ยวที่ ถาโถมเข้าสู่ชุมชน พร้อมกับเป็นการสร้างกลไกป้องกันผลก ระทบทีอ่ าจเกิดขึน้ กับชุมชนจากกระแสการท่องเทีย่ วทีผ่ นั ผวน อย่างรวดเร็วในปัจจุบัน.

รสนิยมดี 18



เตรียมพบกับ วารสารออนไลน์

“รสนิยมดี” รายสะดวก เร็วๆ นี้ ที่

FB/cbt.tasteful


รสนิยมดี ท่ อ ง เ ที่ ย ว C B T ท่ อ ง เ ที่ ย ว วิ ถี ชุ ม ช น

[ รสนิยมดี PUBLICRAZY ]


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.