พระพิธีธรรม

Page 1


พระพิธีธรรม

ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำนวน ๑๒,๐๐๐ เล่ม ผู้จัดพิมพ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ISBN 978-616-543-139-2 ที่ปรึกษา นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา คณะทำงาน ๑. นายจรูญ นราคร รองอธิบดีกรมการศาสนา ๒. นายสุเทพ เกษมพรมณี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ๓. นายพิสิทธิ์ นิรัตติวงศกรณ์ ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ ๔. นางสาวภัคสุจิ์ภรณ์ จิปิภพ เลขานุการกรมการศาสนา ๑๓. นายชวลิต ศิริภิรมย์ ๕. นายปกรณ์ ตันสกุล ๑๔. นายไพโรจน์ หาดแก้ว ๖. นายเอนก ขำทอง ๗. นายปัญญา สละทองตรง ๑๕. นายบุญเกิด มิลินทแพทย์ ๑๖. นายจำลอง ธงไชย ๘. นายพิสิฐ เจริญสุข ๑๗. นายแถลงการณ์ วงษ์สวัสดิ์ ๙. นายสันติ ผลิผล ๑๘. นางสาวสุมาลี ปราชญ์นภารัตน์ ๑๐. นายมานิตย์ โตเมศร์ ๑๙. นายโอสธี ราษฏร์เรือง ๑๑. นายสมชัย เกื้อกูล ๑๒. นายสุวรรณ กลิ่นพงศ์ ๒๐. นางสาวเรณู รัตนชัยเดชา ออกแบบปก/รูปเล่ม นายยงยุทธ สังคนาคินทร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ๗๙ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทรสาร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑ นายโชคดี ออสุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา


คำนำ การสวดพระอภิ ธ รรมเป็ น พิ ธี ก รรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งโดยตรงกั บ

พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย กล่าวคือ เมื่อมีบุคคลใดถึงแก่กรรมผู้เป็นญาติ หรือคนใกล้ชิดจะจัดให้มีการสวดพระอภิธรรมเพื่อบำเพ็ญกุศลให้กับ

ผู้วายชนม์ สำหรับผู้สิ้นชีวิตที่มีฐานันดรศักดิ์ ชั้นยศ หรืออยู่ในหลักเกณฑ์ เที ย บเกี ย รติ ย ศพระราชทานแก่พระศพและศพของสำนั ก พระราชวั ง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษนั้น จะได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุ เ คราะห์ พระราชานุ เ คราะห์ พระอนุ เ คราะห์ ในการสวดพระอภิธรรมศพ พระสงฆ์ที่ทำหน้าที่ในงานดังกล่าวนี้ เรียกว่า “พระพิธีธรรม” ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งเฉพาะพระสงฆ์ใน พระอารามหลวง ปัจจุบันนี้มี ๑๐ พระอาราม ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดราชสิทธาราม วัดระฆังโฆสิตาราม วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดอนงคาราม วัดสระเกศ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดประยุรวงศาวาส กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีภารกิจหน้าที่ในการ รับสนองงานพระราชพิธี พระราชกุศล รัฐพิธี และศาสนพิธีต่าง ๆ เป็นประจำ เมื่อมีผู้วายชนม์ซึ่งได้รับการพระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม กรมการศาสนามี ห น้ า ที่ ใ นการนิ ม นต์ รั บ และส่ ง พระพิ ธี ธ รรมไป ในการสวดพระอภิธรรม เรื่องที่เกี่ยวกับพระพิธีธรรมถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ชาวพุทธควรรู้ถึงความเป็นมา ทำนอง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการนี้ กรมการศาสนา จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ดังกล่าว จัดพิมพ์เป็นหนังสือ “พระพิธีธรรม” ขึ้น


กรมการศาสนา หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า หนั ง สื อ พระพิ ธี ธ รรมนี้ จักก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชน และผู้ที่สนใจอย่างกว้างขวาง สืบไป (นายสด แดงเอียด) อธิบดีกรมการศาสนา


สารบัญ คำนำ บทที่ ๑ การสวดพระอภิธรรม ความเป็นมาของพระพิธีธรรม ความหมายของพระพิธีธรรม บทที่ ๒ ประวัติพระพิธีธรรม ๑๐ พระอาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดราชสิทธาราม วัดระฆังโฆสิตาราม วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดอนงคาราม วัดสระเกศ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดประยุรวงศาวาส การแต่งตั้งพระพิธีธรรม ภารกิจของพระพิธีธรรม บัญชีพระพิธีธรรมสวดจตุรเวท

หน้า ๑ ๔ ๗ ๘ ๘ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๗ ๑๘ ๒๐ ๒๑ ๒๓ ๒๔


สารบัญ (ต่อ) บทที่ ๓ อุปกรณ์ในพิธีสวดพระอภิธรรม ซ่าง พระแท่นเตียงสวด เตียงสวด อาสน์สงฆ์ ตู้พระธรรม คัมภีร์พระอภิธรรม พัดยศพระราชาคณะชั้นสามัญยก พัดยศพระพิธีธรรม บทที่ ๔ บทสวดและทำนองสวด พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พระธรรมใหม่ พระอภิธรรมมัตถสังคหะ ทำนองการสวด บทที่ ๕ โกศบรรดาศักดิ์ บทที่ ๖ หลักเกณฑ์เทียบเกียรติยศ พระราชทานแก่พระศพและศพ บทที่ ๗ การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยราชการต่าง ๆ บรรณานุกรม

หน้า ๒๗ ๒๘ ๒๘ ๓๐ ๓๑ ๓๒ ๓๙ ๓๙ ๔๙ ๕๖ ๙๑ ๙๒ ๑๐๓ ๑๒๘ ๑๓๐


บทที่ ๑

การสวดพระอภิธรรม

การสวดพระอภิ ธ รรมเป็ น พิ ธี ก รรมทางพระพุ ท ธศาสนา

ที่พุทธศาสนิกชนประกอบพิธีกรรมขึ้นเกี่ยวเนื่องกับคนตาย ซึ่งจะกล่าวถึง ความหมาย จุดมุ่งหมายของการสวดพระอภิธรรมดังนี้ ๑. ความหมายของการสวด คำว่ า สวด ๑ พจนานุ ก รม

ได้ให้ความหมายไว้ว่า หากเป็นคำกริยา หมายถึง การว่าเป็นทำนอง

อย่างพระสวดมนต์ เช่น สวดสังคหะ สวดพระอภิธรรม ถ้าเป็นภาษาพูด จะหมายถึ ง การนิ น ทาว่ า ร้ า ย ดุ ด่ า ว่ า กล่ า ว แต่ ใ นที่ นี้ จ ะหมายถึ ง

การสวดของพระสงฆ์ ซึ่งหากนำมาใช้ใน การสวดพระอภิธรรม ก็จะ หมายถึง การนำเอาธรรมในพระอภิธรรมปิฎกมาสวดในงานศพนั่นเอง ๒. จุดมุ่งหมายของการสวดพระอภิธรรม พอสรุปได้ดังนี้ ๑) เป็ น การนำเอาพระอภิ ธ รรมในพระอภิ ธ รรมปิ ฎ ก

มาสวด เพราะคำสอนในพระอภิธรรมนั้น ล้วนเป็นคำสอนเพื่อให้คน

ที่มีชีวิตอยู่ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ๒) เป็นการบำเพ็ญกุศลให้กับผู้เสียชีวิต เพราะเป็นการ ทำบุญอุทิศกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นหน้าที่ของลูกหลานและญาติมิตร ๓) เป็นการสร้างความอบอุ่นใจ และบรรเทาความเศร้าโศก ของญาติพี่น้อง ๔) เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาและจารีตประเพณี

อีกส่วนหนึ่ง ๑

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. ๒๕๔๖. หน้า ๑๑๔๐. พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม


การสวดพระอภิ ธ รรมเป็ น ประเพณี ที่ มี ม าแต่ โ บราณ เมื่ อ มี บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาเสียชีวิตลง ผู้ที่เป็นญาติมิตร และผู้ คุ้ น เคยก็ จ ะจัดให้มีการสวดพระอภิธรรมขึ้ น เพื่ อ เป็ น การสร้ า ง บำเพ็ ญ กุ ศ ลและอุ ทิ ศ ผลบุ ญ นั้ น ไปให้ แ ก่ ผู้ ที่ ล่ ว งลั บ โดยยึ ด ตามนั ย แนวทางที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงปฏิบัติในคราวเสด็จไป เทศนาพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นหลัก ปฏิ บั ติ ซึ่ ง ถื อ กั น ว่ า เป็ น บุ ญ กุ ศ ลอั น ใหญ่ ห ลวง พิ ธี ส วดพระอภิ ธ รรม

จะนิมนต์พระสงฆ์สวด จำนวน ๔ รูป สวดจำนวน ๓ คืน ๕ คืน ๗ คืน

หรือตามแต่กำลังศรัทธาของเจ้าภาพนั้น ๆ ตามประเพณีนิยมสวด ๔ จบ โดยใช้พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เป็นบทสวดมาแต่เดิม ในระยะหลัง ๆ

การสวดพระอภิธรรมได้พัฒนาออกไปมาก มีการนำเอาบทสวดอื่น ๆ

มาใช้สวด เช่น สวดพระอภิธรรมมัตถะสังคหะ สวดพระมาลัย สวดสหัสสนัย สวดแปล เป็นต้น การสวดพระอภิธรรมนี้ มีทั้งงานหลวงและงานราษฎร์ ทั่ว ๆ ไป แต่งานหลวงนั้นมิได้สวด ๔ จบ เช่นงานราษฎร์ทั่วไป จะนิมนต์ พระสงฆ์ ๒ ชุด ผลัดเปลี่ยนเวียนกันสวดไปเรื่อย ๆ ทั้งวันทั้งคืน และ

มีทำนองการสวดที่เป็นพิเศษแตกต่างออกไป พิธีสวดพระอภิธรรมที่จัดว่า เป็นงานหลวงอีกประเภทหนึ่ง ที่พระมหากษัตริย์ทรงรับศพของบุคคล ต่าง ๆ ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ๓-๕-๗ คืน หรือสุดแต่จะทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พิธีดังกล่าวนี้ มีการสวด ๔ จบเหมือนพิธีของราษฎร์ทั่วไป แต่ทำนองสวดเหมือนการสวดในงานหลวง

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม


พระสงฆ์ที่สวดพระอภิธรรมในงานศพต่าง ๆ นั้น สวดในงาน ของราษฎร์ทั่วไป จะใช้พัดที่เรียกว่า พัดรอง ตั้งสวดทั้ง ๔ รูป ทำนอง

การสวดก็เป็นทำนองเรียบ ๆ แต่การสวดในงานศพของหลวง หรือสวด

ในงานพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ และพระอนุเคราะห์ ใช้ พั ด ยศที่ เรี ย กว่ า พั ด พระพิ ธี ธ รรม ทำนองที่ ส วดเป็ น ทำนองหลวง

มี ท ำนองที่ แ ตกต่ า งกั น ไปแต่ ล ะสำนั ก พระสงฆ์ ที่ ท ำหน้ า ที่ ส วด

พระอภิธรรมในงานพระศพ และสวดงานศพในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ และพระอนุเคราะห์ ปัจจุบันนี้เรียกว่า พระพิธีธรรม

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม


ความเป็นมาของพระพิธีธรรม

คำเรี ย กพระสงฆ์ ที่ ส วดพระอภิ ธ รรมว่ า พระพิ ธี ธ รรม นั้ น

เกิดขึ้นในสมัยใดไม่มีบันทึกไว้เป็นหลักฐานที่ชัดเจน หากจะพิจารณา

ตามที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระวินิจฉัยไว้ว่า “หม่ อ มฉั น ได้ ไ ปเห็ น ในหนั ง สื อ พระราชนิ พ นธ์ พิ ธี

๑๒ เดื อ น ของสมเด็ จ พระพุ ท ธเจ้ า หลวง มี ร ายชื่ อ วั ด ที่ ม ี พระพิ ธี ธ รรมมาแต่ เ ดิ ม ๙ วั ด คื อ วั ด ระฆั ง วั ด มหาธาตุ

วัดราชสิทธ วัดพระเชตุพน วัดราชบุรณวัดสระเกษ วัดโมลีโลก

วัดหงส์ วัดอรุณ ล้วนเป็นวัดมีในรัชกาลที่ ๑ ทั้งนั้น ก็เข้าใจได้ว่า พระพิธีธรรมวัดระฆังเป็นหัวหน้า ด้วยเป็นวัดที่สถิตของสมเด็จ พระสังฆราช (ศรี) วัดมหาธาตุอยู่ถัดลงมา ก็ด้วยเป็นที่สถิตของ สมเด็ จ พระวั น รั ต (สุ ข ) พระพิ ธี ธ รรมวั ด สุ ทั ศ น์ เ พิ่ ม ขึ้ น ใหม่ ใ น รั ช กาลที่ ๓ และเลิ ก พระพิ ธี ธ รรมวั ด โมลี โ ลกเปลี่ ย นมาเป็ น

วัดบวรนิเวศเมื่อรัชกาลที่ ๔ จึงมีพระพิธีธรรม ๑๐ สำรับ เช่นเป็นอยู ่ ทุกวันนี้ และพึงเห็นได้ต่อไปว่า พระพิธีธรรมมีขึ้นสำหรับสวด อาฏานาฏิ ย สู ต รในพิ ธี ต รุ ษ ต่ อ กั น ๙ สำรั บ พอรุ่ ง สว่ า งคงจะ หวุดหวิดบ้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้เพิ่ม พระพิ ธี ธ รรมวั ด สุ ทั ศ น์ ขึ้ น อี ก วั ด ๑ ถึ ง รั ช กาลที่ ๔ จะเป็ น แต่

เพิ่ ม พระพิ ธี ธ รรมวั ด บวรนิ เวศขึ้ น ก็ จ ะมากเกิ น การ จึ ง โปรด

ให้เปลี่ยนพระพิธีธรรมวัดโมลีโลกมาเป็นวัดบวรนิเวศ และมิได้

มีการเพิ่มเติมต่อมา”๒ ๒

สาส์นสมเด็จ. ๒๕๐๕. หน้า ๑๗-๑๘. อ้างถึงใน เดชา ศรีคงเมือง. ๒๕๔๘. หน้า ๘๙. พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม


เมื่อพิจารณาตามพระวินิจฉัยนี้จะเห็นได้ว่า ได้มีการแต่งตั้ง พระสงฆ์ปฏิบัติหน้าที่สวดในงานพระราชพิธีมาแต่โบราณกาล ทั้งยังได้มี การเปลี่ยนแปลงพระพิธีธรรมเพื่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานอีกด้วย เช่น การเพิ่มพระพิธีธรรมวัดสุทัศน์ และการเปลี่ยนแปลงพระพิธีธรรม

วัด โมลี โ ลกมาเป็ นวัดบวรนิเวศ เป็นต้น แต่จะเรี ย กพระสงฆ์ ที่ ป ฏิ บั ติ หน้าที่สวดนั้นว่าอย่างไร และเริ่มมีการเรียกว่า พระพิธีธรรม แต่ครั้งใด

ยังไม่ปรากฏชัด อนึ่ ง เริง อรรถวิบูลย์ ได้กล่าวถึงจำนวนพระพิ ธี ธ รรมและ จำนวนสำรับพระพิธีธรรมประจำพระอารามหลวงไว้ดังนี้ “...ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระพิ ธี ธ รรมโปรดตั้ ง ขึ้ น ประจำพระอารามหลวงรวมด้ ว ยกั น

๑๒ พระอาราม พระอารามหนึ่ง ๆ มีจำนวน ๔ รูป เรียกว่า

๑ สำรับ ได้ยินว่าวัดราชสิทธารามเป็นวัดต้นสำหรับจังหวัดธนบุรี ฝั่งพระนคร ได้แก่ วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) เป็นวัดต้น ซึ่งวัดต้น

ทั้งสองวัดนี้ เรียกขานกันในหมู่นักสวดและนักฟังสวดทั่วไปว่า สำรับราชครู อันมีความหมายว่าท่วงทำนองหรือกลเม็ดในการ

ร้องสวดทุกวรรคตอน ได้รักษาของเดิมซึ่งมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา

ไว้ได้ทุกประการ”๓

เริง อรรถวิบูลย์. ๒๕๑๒. หน้า ๔๕. เล่ม ๒. อ้างถึงใน เดชา ศรีคงเมือง. ๒๕๕๘. หน้า ๙๓. พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม


และได้สันนิษฐานในเรื่องชื่อของพระพิธีธรรมไว้ดังนี้ “...ที่ ม าของคำว่ า พระพิ ธี ธ รรมนั้ น เดิ ม มาแต่ ยุ ค ก่ อ น รัชกาลที่ ๔ เขียนโดยตรงด้วยทีเดียวว่า “พระพิธีทำ” ทรงตำหนิว่า การเขี ย นอย่ า งนี้ เ ป็ น การมั ก ง่ า ยและดาดเกิ น ไป ความหมาย

ของคำว่าพระพิธีทำนั้นหมายเอาพระสงฆ์ผู้มีความรู้ ความสามารถ ในอันจะประกอบพิธีการได้โดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างไปจากพระสงฆ์ อื่ น ๆ ทั่ ว ไป ฉะนั้ น คำว่ า “พระพิ ธี ธ รรม” จึ ง เป็ น ตำแหน่ ง

ของสงฆ์...”๔ เมื่ อ พิ จ ารณาตามที่ ไ ด้ อ้ า งถึ ง นี้ จ ะเห็ น ได้ ว่ า ตำแหน่ ง

พระพิธีธรรมเป็นตำแหน่งประจำวัด มิได้เป็นตำแหน่งเฉพาะพระสงฆ์

รูปหนึ่งรูปใด และคำว่า พระพิธีทำ ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า พระพิธีธรรม

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้เปลี่ยนนั้น น่าจะ

มี ม าตั้ ง แต่ ส มั ย รั ช กาลที่ ๑ ที่ ท รงโปรดให้ ตั้ ง พระพิ ธี ธ รรมประจำ

พระอารามต่าง ๆ

เรื่องเดียวกัน. หน้า ๘๗. พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม


ความหมายของพระพิธีธรรม

พระพิธีธรรม หมายถึง พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาที่มีความรู้ ความสามารถในอั น ที่ จ ะประกอบพิ ธี ต่ า ง ๆ ทางพระพุ ท ธศาสนา

โดยเฉพาะเกี่ ย วกั บ การสวดในงานพระราชพิ ธี ต่ า ง ๆ แต่ เ ดิ ม มานั้ น

พระสงฆ์ดังกล่าวปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีต่าง ๆ คือ ๑. ทำหน้ า ที่ ส วดอาฏานาฏิ ย สู ต ร ในการพระราชพิ ธ ี สั ม พั จ ฉรฉิ น ท์ ซึ่ ง ในปั จ จุ บั น พระราชพิ ธี ดั ง กล่ า วได้ ถู ก ยกเลิ ก ไปแล้ ว

คงเหลืออยู่แต่ในงานศาสนพิธีของท้องถิ่นที่เรียกกันว่า สวดภาณยักษ์ ๒. ทำหน้ า ที่ ส วดจตุ ร เวท คื อ การสวดพระปริ ต รที่ ห อ

พระศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๓. ทำหน้าที่สวดพระอภิธรรม ในการศพทั้งที่เป็นงานหลวง ทั้งที่เป็นงานในพระบรมราชานุเคราะห์และงานในพระราชานุเคราะห์ ๔. ทำหน้าที่สวดภาณวารในการพิธีมงคล เช่น การสวดในพิธี พุทธาภิเษก เทวาภิเษก หรือมังคลาภิเษก เป็นต้น ปัจจุบันหากกล่าวถึงพระพิธีธรรม หมายถึง พระสงฆ์ที่สวด

พระอภิ ธ รรมงานศพหลวงและงานศพในพระบรมราชานุ เ คราะห์

พระราชานุ เ คราะห์ พระอนุ เ คราะห์ และสวดจตุ ร เวท เพื่ อ ทำน้ ำ พระพุทธมนต์ เท่านั้น ส่วนพระสงฆ์ที่สวดพระอภิธรรมในงานราษฎร์

ทั่ ว ๆ ไป พระสงฆ์ ที่ ส วดภาณยั ก ษ์ และพระสงฆ์ ที่ ส วดพุ ท ธาภิ เ ษก

ไม่เรียกว่า พระพิธีธรรม แต่พระพิธีธรรมจะไปสวดในงานราษฎร์ต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นก็ได้ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม


บทที่ ๒

ประวัติพระพิธีธรรม ๑๐ พระอาราม พระพิ ธี ธ รรมในอดี ต และในปั จ จุ บั น มี เ ฉพาะแต่ ใ น

พระอารามหลวงเท่านั้น จะเป็นด้วยเหตุที่พระอารามเหล่านั้นตั้งอยู่ใกล้ พระบรมมหาราชวัง สะดวกในการนิมนต์มาสวดในงานของหลวงก็อาจ เป็นได้ เพราะการเดินทางในสมัยก่อนมีความลำบาก อีกประการหนึ่งคือ

พระสงฆ์ ที่ ป ระจำอยู่ ใ นพระอารามหลวงเป็ น ผู้ ร อบรู้ ข นบธรรมเนี ย ม

งานหลวง รู้วิธีการสวด วิธีการประกอบพิธีต่าง ๆ ดี ปัจจุบันนี้ตำแหน่ง พระพิธีธรรมที่ตั้งไว้ประจำพระอารามต่าง ๆ มีจำนวน ๑๐ พระอาราม พระพิธีธรรมประจำพระอารามเหล่านั้น เริ่มมีการแต่งตั้งมาแต่ครั้งใด

ไม่มีหลักฐานปรากฏชัด แต่เนื่องจากวัดต่าง ๆ ที่มีพระพิธีธรรมปรากฏอยู่ ล้วนเป็นวัดที่ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์

ทั้งสิ้น ด้วยเหตุดังกล่าวนี้พอจะสันนิษฐานได้ว่า ตำแหน่งพระพิธีธรรม

ในกรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ นั้ น น่ า จะเริ่ ม มี ขึ้ น ในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และจะมีเพียงบางพระอารามเท่านั้น

ที่ มี ห ลั ก ฐานการเริ่ ม ตั้ ง ปรากฏชั ด เช่ น วั ด สุ ทั ศ นเทพวราราม และ

วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้น ประวัติพระพิธีธรรม ๑๐ พระอาราม มีดังนี้ ๑. พระพิธีธรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตามหลักฐาน ปรากฏตามที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระวินิจฉัยว่า

มีมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ สมเด็จ พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) สิ้นพระชนม์ เมื่ อ วั น ที่ ๗ ธั น วาคม พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๑๖ คณะสงฆ์ วั ด นี้ ไ ด้ จั ด ให้ มี

การบำเพ็ญกุศล จึงได้จัดพระสงฆ์ขึ้นอีก ๕ สำรับ เพื่อผลัดเปลี่ยนกัน

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม


สวดทำนองหลวงถวายจนกระทั่ ง ออกเมรุ พ ระราชทานเพลิ ง ต่ อ มา

ในสมัยพระเดชพระคุณพระวิสุทธาธิบดี (สง่า ปภสฺสโร ป.ธ.๘) ได้แต่งตั้ง พระพิธีธรรมขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีรายนามดังนี้ ๑) พระมหานิพนธ์ เขมโก ป.ธ.๗ (พระศรีสมโพธิ)๕ ๒) พระครูพิพัฒน์บรรณกิจ (สว่าง อคฺควีโร) ๓) พระสม าณโสภโณ ๔) พระเด่นดวง ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๔๙ พระมหานิพนธ์ เขมโก ป.ธ.๗

ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ นามว่า พระศรีสมโพธิ (นิพนธ์ เขมโก ป.ธ.๗) พระเดชพระคุณพระธรรมปัญญาบดี เจ้าอาวาส

รู ป ปั จ จุ บั น จึ ง มี ก ารแต่ ง ตั้ ง พระสงฆ์ ขึ้ น มาแทน คื อ พระมหาวรวุ ฒิ

ชิ ต ธมฺ โ ม ป.ธ.๗ สำหรั บ พระพิ ธี ธ รรมวั ด พระเชตุ พ นวิ ม ลมั ง คลาราม

ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน มีรายนามดังต่อไปนี้ ๑) พระครูสุนทรโฆสิต (สว่าง อคฺควีโร) น.ธ.เอก ๒) พระปลัดสม าณโสภโณ น.ธ.เอก ๓) พระมหาวรวุฒิ ชิตธมฺโม ป.ธ.๗, สส.ม. ๔) พระมหาประจวบ ยุตฺตโยโค ป.ธ.๘ ๕) พระปลัดชินวงษ์ ปิยธโร น.ธ.เอก ๖) พระมหากิตติศักดิ์ โคตมสิสฺโส ป.ธ.๓, น.ธ.เอก ๗) พระมหาวิจิตร นววฑฺฒโน ป.ธ.๓, น.ธ.เอก ๘) พระมหาณัฐสิทธิ์ สุจิตฺโต ป.ธ.๓, น.ธ.เอก ๙) พระมหาชัยวัฒน์ ชยวุฑฺโฒ ป.ธ.๗ ๑๐) พระศรายุ วชิร าโณ น.ธ.เอก ๕

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลักสี่ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม


บทสวดที่พระพิธีธรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามใช้

ในปัจจุบัน เป็นบทที่เรียกว่า พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ หรือพระธรรมใหม่ ในส่วนของทำนองการสวดของพระพิธีธรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ทำนองกะ ทำนองเลื่อน และทำนองลากซุง ๒. พระพิธีธรรมวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สันนิษฐานได้ว่า เป็นพระพิธีธรรมที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แต่หลักฐาน การแต่งตั้งนั้นไม่มีปรากฏแน่ชัด สำหรับพระพิธีธรรมวัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฎิ์ ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน มีรายนามดังต่อไปนี้ ๑) พระครู ส รวุ ฒิ พิ ศิ ษ ฏ์ (เฉลี ย ง จิ ตฺ ต ธมฺ โ ม) ประโยค

๑-๒, น.ธ.เอก ๒) พระครูปลัดเนียม ปภาโต น.ธ.โท ๓) พระครูธรรมธรจรัญ สิทฺธิพโล น.ธ.เอก ๔) พระมหาประสิทธิ์ สิริปญฺโ ป.ธ.๙, พธ.ม. ๕) พระสรัญญู วร าโณ น.ธ.ตรี ๖) พระมหาดนัย เตชธมฺโม ป.ธ.๖, น.ธ.เอก ๗) พระมหาเมธาวุธ ิตาโภ ป.ธ.๔, น.ธ.เอก ๘) พระชานนท์ ชานนฺโท น.ธ.เอก ๙) พระธงชัย กิตฺติปญฺโ น.ธ.เอก ๑๐) พระมหาชลอ ิตาโภ ป.ธ.๔, น.ธ.เอก บทสวดที่ พ ระพิ ธี ธ รรมวั ด มหาธาตุ ยุ ว ราชรั ง สฤษฎิ์ ใช้

ในปัจจุบัน เป็นบทที่เรียกว่า พระธรรมใหม่๖ ในส่วนของทำนองการสวด ของพระพิ ธี ธ รรมวั ด มหาธาตุ ยุ ว ราชรั ง สฤษฎิ์ ที่ ใช้ ใ นปั จ จุ บั น ได้ แ ก่

ทำนองเลื่อน และทำนองลากซุง พระธรรมใหม่ มี ๗ บท คือ อาสวโคจฉกะ สัญโญชนโคจฉกะ คันถโคจฉกะ โอฆโคจฉกะ

โยคโคจฉกะ นีวรณโคจฉกะ และเวทนโคจฉกะ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

10


๓. พระพิธีธรรมวัดราชสิทธาราม จากคำบอกเล่าของพระเถระ ในวัดราชสิทธาราม นั้น เล่าให้ฟังว่า การสวดพระอภิธรรมทำนองหลวง เดิ ม มี ท ำนองอย่ า งไรไม่ ท ราบแน่ ชั ด แต่ ท ำนองที่ ใช้ ส วดในปั จ จุ บั น

เป็ น ทำนองที่ พ ระมงคลเทพมุนีเป็นผู้แต่งทำนองขึ้ น ซึ่ ง อยู่ ใ นรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทำนองที่ แ ต่ ง ขึ้ น มาใหม่ นั้ น

ถู ก ใช้ ใ นการบำเพ็ ญ พระราชกุ ศ ลพระบรมศพพระบาทสมเด็ จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย ซึ่งพระสงฆ์ที่ได้รับการฝึกทำนองสวดจาก พระมงคลเทพมุนี ได้แก่ พระอาจารย์เชื่อม พระ ม.ล.วรรณ พระอาจาย์ชื้น พระอาจารย์ต่วน พระอาจารย์เจริญ พระอาจารย์แถม สำหรับพระพิธีธรรม วัดราชสิทธารามที่ปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน มีรายนามดังต่อไปนี้ ๑) พระครู กั ล ยาณสิ ท ธิ วั ฒ น์ (สมาน กลฺ ย าณธมฺ โ ม)

ผศ., ป.ธ.๔, น.ธ.เอก, พ.ม., พธ.บ., M.Ed. ๒) พระครู สุ น ทรสิ ท ธิ ก าร (สุ ค นธ์ สุ ค นฺ ธ ธโร) ป.ธ.๓, น.ธ.เอก ๓) พระมหามอง อินฺทปญฺโ ป.ธ.๕, น.ธ.เอก, พธ.บ. ๔) พระมหาอภิวัฒน์ อภิวฑฺฒโณ ป.ธ.๔, น.ธ.เอก ๕) พระมหาพรชัย กุสลจิตฺโต ป.ธ.๕, น.ธ.เอก, พธ.บ. ๖) พระครูใบฎีกาจักรกฤษณ์ จกฺกวโร น.ธ.เอก ๗) พระมหาหล่อ านุตฺตโร ป.ธ.๕, น.ธ.เอก ๘) พระมหาโยธิน โชติปญฺโ ป.ธ.๓, น.ธ.เอก ๙) พระอำนาจ ศิริปุญฺโ บทสวดที่ พ ระพิ ธี ธ รรมวั ด ราชสิ ท ธารามใช้ ใ นปั จ จุ บั น

เป็นบทที่เรียกว่า พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ในส่วนของทำนองการสวดของ พระพิธีธรรมวัดราชสิทธารามที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ทำนองกะ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

11


๔. วั ด ระฆั ง โฆสิ ต าราม เป็ น วั ด ที่ มี พ ระพิ ธี ธ รรมมาตั้ ง แต่

ยุ ค ต้ น กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ เช่ น เดี ย วกั บ วั ด พระเชตุ พ นวิ ม ลมั ง คลาราม

และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ซึ่งพระมหาปรีชา ปสนฺโน ป.ธ.๗ ได้เล่า

ให้ฟังว่า พระพิธีธรรมวัดระฆังโฆสิตาราม ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ในอดีต

มีรายนามดังต่อไปนี้ ๑) พระครูโฆสิตสมณคุณ (ผัน ติสฺสโร)๗ ๒) พระครูปลัดพิกุล ิตวิริโย๘ ๓) พระครูโฆสิตปริยัติคุณ (ประจวบ ขนฺติธโร) ป.ธ.๔๙ ๔) พระครูสิริธรรมวิภูษิต (บรรเจิด) ๕) พระมหาทิม วิทิตธมฺโม ๖) พระครูวิมลธรรมธาดา (สวง) ๗) พระครูปลัดสมคิด สิริวฑฺฒโน ๘) พระมหาสมชาย พุทฺธ าโณ ป.ธ.๗๑๐ ๙) พระมหาสมคิด ปิยวณฺโณ ป.ธ.๙

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งพระเทพประสิทธิคุณ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งพระครูโฆสิตสมณคุณ ๙ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งพระราชประสิทธิวิมล ๑๐ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งพระบวรรังษี ๗ ๘

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

12


ส่วนชุดที่ทำหน้าที่ในยุคปัจจุบัน มีรายนามดังต่อไปนี้ ๑) พระมหาปรีชา ปสนฺโน ป.ธ.๗ ๒) พระครูปลัดธีรวัฒน์ (เผชิญ กวิวํโส) ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก ๓) พระครู ธ รรมธรองอาจ ฉนฺ ท ธมฺ โ ม ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก ๔) พะมหาวิเชียร ติกฺขญาโณ ป.ธ.๙ ๕) พระมหาไพโรจน์ รตนเมธี ป.ธ.๘ ๖) พระมหาศิริพงษ์ สิริวํโส ป.ธ.๓, น.ธ.เอก ๗) พระมหาสุพิศ ธมฺมคุตฺโต ป.ธ.๘ สำหรั บ บทสวดที่ พ ระพิ ธี ธ รรมวั ด ระฆั ง โฆสิ ต ารามใช้

ในปัจจุบัน เป็นบทที่เรียกว่า พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พระธรรมใหม่

บทสหั ส สนั ย ในส่ ว นของทำนองการสวดของพระพิ ธี ธ รรมวั ด ระฆั ง

โฆสิตารามที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ทำนองเลื่อน ๕. พระพิธีธรรมวัดจักรวรรดิราชาวาส มีที่มาที่ไปอย่างไรนั้น ไม่มีปรากฏแน่ชัด ซึ่งพระครูพิศาลสุนทรกิจ (สำราญ) เล่าว่า พระพิธีธรรม รุ่นอาจารย์ของท่านมี ๑) พระครูวินัยธรเปลี่ยน ๒) พระแม้น เมธาวโร ๓) พระครูใบฎีกาไสว ๔) พระครูปลัดสาคร

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

13


สำหรับพระพิธีธรรมวัดจักรวรรดิราชาวาส ตามที่ปฏิบัติ หน้าที่ในปัจจุบัน มีรายนามดังต่อไปนี้ ๑) พระครูพิศาลสุนทรกิจ (สำราญ) ป.ธ.๓, น.ธ.เอก ๒) พระมหาพรชัย วร าโณ ป.ธ.๖, น.ธ.เอก ๓) พระครูปลัดเดชา กวิวํโส ป.ธ.๓, น.ธ.เอก, พธ.บ. ๔) พระมหาวีรศักดิ์ ธมฺมธโช ป.ธ.๙, ศษ.บ. ๕) พระมหาพนม ิตเมธี ป.ธ.๔, น.ธ.เอก, พธ.บ. ๖) พระมหาวรวุฒิ วรวิญฺญู ป.ธ.๕, น.ธ.เอก ๗) พระมหาอดิศักดิ์ มหิสฺสโร ป.ธ.๔, น.ธ.เอก ๘) พระมหาศรชัย สุธมฺโม ป.ธ.๗ สำหรั บ บทสวดที่ พ ระพิ ธี ธ รรมวั ด จั ก รวรรดิ ร าชาวาสใช้

ในปัจจุบัน เป็นบทที่เรียกว่า พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พระธรรมใหม่ ในส่วนของทำนองการสวดของพระพิธีธรรมวัดจักรวรรดิ ราชาวาสที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ทำนองกะ และทำนองเลื่อน ๖. พระพิธีธรรมวัดอนงคาราม ซึ่งเป็นพระเถระที่มีพรรษากาลมาก และเป็นพระพิธีธรรมชุดปัจจุบัน คือ พระครูปลัดบุญนาค เขมปญฺโ

เล่าให้ฟังว่า ท่านได้รับการแต่งตั้งให้สวดพระอภิธรรมทำนองหลวงตั้งแต่ พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๐๐ และได้ เ ล่ า ย้ อ นหลั ง ไปว่ า ก่ อ นหน้ า นี้ ใ นสมั ย

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) อดีตเจ้าอาวาส รูปที่ ๕

ได้แต่งตั้งพระฐานานุกรมของท่านเองเป็นพระพิธีธรรม ได้แก่ พระครู ศัพท์สุนทร พระครูอมรโฆสิต (ชลอ) พระครูอรรถโกศล และพระมหาสุพจน์ สุวโจ ส่วนพระพิธีธรรมวัดอนงคาราม ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน

มีรายนามดังต่อไปนี้ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม 14


๑) พระครูปลัดบุญนาค เขมปญฺโ ป.ธ.๔, น.ธ.เอก, ศน.บ. ๒) พระมหาเมืองอินทร์ อาภากโร ป.ธ.๗, พธ.บ. ๓) พระมหาอำนาจ สุภกิจฺโจ ป.ธ.๗ ๔) พระคำพันธ์ ธมฺมวิริโย น.ธ.เอก ๕) พระครูสังฆรักษ์สุวิทย์ สุมงฺคลิโก น.ธ.เอก ๖) พระมหาถนอม ถิรจิตฺโต ป.ธ.๙ ๗) พระมหาอำนวย เมตฺติโก ป.ธ.๖, น.ธ.เอก ๘) พระมหาอุตส่าห์ วิโรจโน ป.ธ.๓, น.ธ.เอก ๙) พระมหาวันชัย ปญฺ าวโร ป.ธ.๔, น.ธ.เอก ๑๐) พระปิยะณัฐ ปภสฺสโร บทสวดที่พระพิธีธรรมวัดอนงคารามใช้ในปัจจุบัน เป็นบท ที่เรียกว่า พระธรรมใหม่ ในส่วนของทำนองการสวดของพระพิธีธรรม วัดอนงคารามที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ทำนองกะ และทำนองเลื่อน ๗. พระพิธีธรรมวัดสระเกศ จากคำบอกเล่าของพระครูธรรมธร

บุ ญ ชู สิ ทฺ ธิ ปุ ญฺ โ หั ว หน้ า พระพิ ธี ธ รรมชุ ด ปั จ จุ บั น ว่ า พระพิ ธี ธ รรม

ในอดีตที่มีพรรษากาลมีเพียงรูปเดียว คือ พระครูวิมลธรรมคุณ (ปลด)

ซึ่งท่านได้เล่าให้ฟังว่าได้รับการแต่งตั้งพร้อมกันกับพระพิธีธรรมอีก ๙ วัด แต่ ไ ม่ ท ราบรายละเอี ย ดว่ า ช่ ว งเวลาใด ต่ อ มาในสมั ย สมเด็ จ

พระอริ ย วงศาคตญาณ สมเด็ จ พระสั ง ฆราช (อยู่ าโณทั ย ) หั ว หน้ า

พระพิธีธรรมจะได้รับการแต่งตั้งชื่อว่า พระครูสรวุฒิพิศาล ซึ่งมีอยู่หลายท่าน เช่น พระครูสรวุฒิพิศาล (จ้อย) พระครูสรวุฒิพิศาล (จำปี) เป็นต้น สำหรับพระพิธีธรรมวัดสระเกศ ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน มีรายนาม ดังต่อไปนี้ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

15


๑) พระครู ธ รรมธรบุ ญ ชู สิ ทฺ ธิ ปุ ญฺ โ ป.ธ.๓, น.ธ.เอก,

พ.ม., พธ.บ., ศศ.ม. ๒) พระมหากิจการ โชติปญฺ​ฺโ ป.ธ.๔, น.ธ.เอก, พธ.บ.,

พธ.ม. ๓) พระมหาฐิติรัชต์ รตนปญฺ​ฺโ น.ธ.เอก ๔) พระมหากฤษณะ กิตฺติปญฺ​ฺโ ป.ธ.๖, น.ธ.เอก ๕) พระมหาเชาวลิต ชุติปญฺ​ฺโ ป.ธ.๖, น.ธ.เอก, พธ.บ. ๖) พระมหาประเสริฐ ปญฺ าวโร ป.ธ.๖, น.ธ.เอก, พธ.บ. ๗) พระมหาชาญณรงค์ ชุติปญฺโ ป.ธ.๗ ๘) พระมหาประสงค์ ณฏฺ ปญฺโ ป.ธ.๕, น.ธ.เอก ๙) พระมหากูลพันธ์ กลฺยาณ าโณ ป.ธ.๔, น.ธ.เอก ๑๐) พระมหาวชิระ าณวชิโร ป.ธ.๖, น.ธ.เอก ๑๑) พระมหาศิริวัฒน์ ภูริปญฺโ ป.ธ.๖, น.ธ.เอก ๑๒) พระพงษ์พันธ์ ปญฺ าวํโส ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก ๑๓) พระมหาศุภชัย สุ าโณ ป.ธ.๖, น.ธ.เอก ๑๔) พระมหาจักรกฤษ จกฺก าโณ ป.ธ.๔, น.ธ.เอก, พธ.บ บทสวดที่พระพิธีธรรมวัดสระเกศใช้ในปัจจุบัน เป็นบทที่ เรียกว่า พระธรรมใหม่ ในส่วนของทำนองการสวดของพระพิธีธรรม

วัดสระเกศที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ทำนองเลื่อน และทำนองสรภัญญะ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม 16


๘. วัดสุทัศนเทพวราราม ได้รับการแต่งตั้งในสมัยพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว รั ช กาลที่ ๔ ได้ ก ล่ า วถึ ง พระพิ ธี ธ รรมไว้ ใ น

การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๗ ค่ำ

เดือน ๑๒ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๓๗ (พ.ศ. ๒๔๑๘) เมื่อเสด็จถึงวัด ทรงรับ ผ้าไตร เสด็จเข้าพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพระรัตนตรัย แล้ ว พระราชทานเที ย นอุ โ บสถปาฏิ โ มกข์ แ ก่ พ ระองค์ เจ้ า โสณบั ณ ฑิ ต

เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ เจ้าหน้าที่ได้กราบทูลจำนวนพระสงฆ์ในอาราม ให้ ท รงทราบไว้ ว่ า พระราชาคณะ ๒ รู ป พระฐานานุ ก รม ๙ รู ป

พระเปรียญ ๓ รูป พระพิธีธรรม ๔ รูป พระอันดับเรียนคันถธุระ ๑๒ รูป พระอันดับเรียนวิปัสสนาธุระ ๓๕ รูป พระอันดับเรียนสวดมนต์ ๘๖ รูป รวมพระสงฆ์ทั้งหมด ๑๕๑ รูป จากนั้นทรงประกอบพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระพิ ธี ธ รรมวั ด สุทัศนเทพวราราม ในอดีตที่พ อสื บ ค้ น ได้ มี ร ายนาม

พระพิธีธรรมดังต่อไปนี้ ๑) พระญาณโพธิ (เข็ม) ๒) พระครูศัพทสุนทร (เติม) ๓) พระครูอมรโฆสิต (จันทร์) ๔) พระครูวินัยธรสุนทร ๕) พระครูสมุห์แสวง ๖) พระครูประทีปกิจจาทร ๗) พระครูพิทักษ์ถิรธรรม ๘) พระครูสุวัฒนประสิทธิ์ ๙) พระมหาสุทัศน์

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

17


๑๐) พระมหาสุธน ๑๑) พระมหาเอราวัณ ๑๒) พระครูพิมนสรญาณ (ณรงค์ เขมาราโม)๑๑ ส่วนพระพิธีธรรมในชุดปัจจุบันมีรายนามดังต่อไปนี้ ๑) พระครู สุ น ทรโชตยานุ วั ต ร (ปราโมทย์ อกฺ ก โชติ ) ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก ๒) พระมหา ดร.กรวิก อหึสโก ป.ธ.๗ ๓) พระครู ป ลั ด สั ม พิ พั ฒ นศี ล าจารย์ (ดุ สิ ต กุ ส ลญฺ ญู ) ป.ธ.๗ ๔) พระมหาคำแสน มงฺคลเสวี ป.ธ.๖, น.ธ.เอก ๕) พระมหาสิงหา สํฆสิริ ป.ธ.๙ ๖) พระมหาอินศวร อคฺคปญฺโญ ป.ธ.๗ ๗) พระมหาประทวน อภโย ป.ธ.๖, น.ธ.เอก สำหรั บ บทสวดที่ พ ระพิ ธี ธ รรมวั ด สุ ทั ศ นเทพวรารามใช้

ในปัจจุบัน เป็นบทที่เรียกว่า พระธรรมใหม่ ในส่วนของทำนองการสวด ของพระพิธีธรรมวัดสุทัศนเทพวรารามที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ทำนอง สรภัญญะ และทำนองกะ ๙. พระพิธีธรรมวัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับการแต่งตั้งขึ้นใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้เปลี่ยน

พระพิธีธรรมวัดโมลีโลกเป็นพระพิธีธรรมวัดบวรนิเวศวิหารแทน ต่อมา

ในสมัยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ

วโรรสเห็นว่าทำนองการสวดพระอภิธรรมของวัดนี้มีการสวดเล่นเสียง ชวนเศร้าสลด จึงเป็นเหตุให้ไม่รับนิมนต์งานพระบรมราชานุเคราะห์

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งพระพุทธมนต์วราจารย์

๑๑

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

18


ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาเมื่อวันพุธ ที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ สมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ได้ สิ้ น พระชนม์ สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี

ซึ่ ง ทรงเสด็ จ พระราชดำเนิ น ในการสวดพระอภิ ธ รรมเป็ น ประจำ

มี พ ระประสงค์ จ ะสดั บ พระพิ ธี ธ รรมวั ด บวรนิ เวศวิ ห าร จึ ง รั บ สั่ ง ให้

เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาอาราธนามาสวด ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระพิ ธี ธ รรมวั ด บวรนิ เ วศวิ ห าร ตามที่ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที ่ ในปัจจุบัน มีรายนามดังต่อไปนี้ ๑) พระมหา ม.ร.ว.นันทวัฒน์ ชยวฑฺฒโน ป.ธ.๓, น.ธ.เอก ๒) พระมหาพิสิฐพงศ์ ปวิสิฏฺโ ป.ธ.๓, น.ธ.เอก ๓) พระมหาจินดา านจินฺโต ป.ธ.๔, น.ธ.เอก ๔) พระเจริญ สุภวุฑฺฒิโก ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก ๕) พระครูธรรมธรจเรพล ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก ๖) พระมหาประเสริฐ ปสิฏฺโ ป.ธ.๔, น.ธ.เอก ๗) พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย ป.ธ.๙ ๘) พระมหาศิลปะ ธมฺมสิปฺโป ป.ธ.๗ ๙) พระเอกพล จิตพโล ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก ๑๐) พระสุชาติ อภิชาโต ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก สำหรั บ บทสวดที่ พ ระพิ ธี ธ รรมวั ด บวรนิ เ วศวิ ห ารใช้

ในปัจจุบัน เป็นบทที่เรียกว่า พระอภิธรรมมัตถสังคหะ๑๒ ซึ่งมี ๙ ปริจเฉท ในส่ ว นของทำนองการสวดของพระพิ ธี ธ รรมวั ด บวรนิ เวศวิ ห ารที่ ใช้

ในปัจจุบัน ได้แก่ ทำนองสรภัญญะ ๑๒

พระอภิธรรมมัตถสังคหะ ประกอบด้วย ๙ ปริจเฉท ได้แก่ จิตตสังคหวิภาค เจตสิกสังคหวิภาค ปกิณณกสังคหวิภาค วิถีสังคหวิภาค วิถีมุตตสังคหวิภาค รูปสังคหวิภาค สมุจจยสังคหวิภาค ปัจจยสังคหวิภาค และกัมมัฏฐานสังคหวิภาค พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

19


๑๐. พระพิ ธี ธ รรมวั ด ประยุ ร วงศาวาส เริ่ ม มี ใ นสมั ย ที่

พระธรรมไตรโลกาจารย์ (อยู่ อุตฺตรภทฺโท) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

รู ป ที่ ๑๑ ระหว่ า ง พ.ศ. ๒๔๕๔-๒๔๗๖ ได้ เ สนอขอแต่ ง ตั้ ง คณะ

พระพิธีธรรมประจำพระอารามนี้ ๑๓ และได้รับฉันทานุมัติจากสมเด็จ

พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให้มีคณะพระพิธีธรรม

ในวัดประยุรวงศาวาส เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ พระพิ ธี ธ รรมวั ด ประยุ ร วงศาวาส พระสุ น ทรวิ ห ารการ (เลื่ อ น อิ น ทรพิ บู ล ย์ ) ซึ่ ง เคยเป็ น พระพิ ธี ธ รรม ได้ เ ล่ า ว่ า ในสมั ย นั้ น

มีพระพิธีธรรมหลายรูป เช่น พระครูปลัดสุพจน์ (หลวงตาแพร เยื่อไม้) พระครูปลัดสุรินทร์ ผลวงศ์ พระปลัดเกษม พระมหาสำรวม อติเมโธ พระสมุห์ถิร ถิรปญฺโ ส่วนพระพิธีธรรมชุดปัจจุบัน พระครูปลัดศีลวัฒน์ ปรกฺกโม ได้เล่าว่า มีรายนามพระพิธีธรรมดังต่อไปนี้ ๑) พระครูปลัดศีลวัฒน์ (ทวีป ปรกฺกโม) ๒) พระมหาบรรจง อาภากโร ป.ธ.๔, น.ธ.เอก ๓) พระครูสมุห์ระวี เขมธมฺโม น.ธ.เอก ๔) พระสมุห์ประยูร อภิปุญฺโญ น.ธ.เอก ๕) พระมหากิตติพล สนฺติพโล สำหรั บ บทสวดที่ พ ระพิ ธี ธ รรมวั ด ประยุ ร วงศาวาสใช้

ในปัจจุบัน เป็นบทที่เรียกว่า พระธรรมใหม่ ในส่วนของทำนองการสวด ของพระพิธีธรรมวัดประยุรวงศาวาสที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ทำนองกะ ๑๓

พระราชปริ ยั ติ ดิ ล ก และคณะ. ประวั ติ วั ด ประยุ ร วงศาวาสวรวิ ห าร ๑๘๐ ปี ๒๕๕๑.

หน้า ๖๑-๖๓. พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

20


การแต่งตั้งพระพิธีธรรม

แม้ว่าตำแหน่งพระพิธีธรรม จะเป็นตำแหน่งประจำพระอาราม ก็ ต าม แต่ ใ นแนวปฏิ บั ติ แ ล้ ว จำเป็ น ต้ อ งแต่ ง ตั้ ง พระสงฆ์ ที่ มี ค วามรู้

ความสามารถ มีความชำนาญในการสวด กับทั้งต้องรู้ระเบียบปฏิบัติ

ในงานหลวง พระสงฆ์ที่จะมีคุณสมบัติดังกล่าวได้ ต้องมีใจชอบ ต้องมีมานะ อดทน ขยันในการฝึกหัดฝึกซ้อม เพื่อว่าในเวลาที่จะต้องไปปฏิบัติพิธีการ พระศพ ศพในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ พระอนุเคราะห์ จะได้ไม่ขัดข้อง การที่พระมหากษัตริย์มิได้โปรดพระราชทานตำแหน่ง พระพิธีธรรมแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง ก็เพื่อสะดวกในการเฟ้นหาพระสงฆ์ ที่มี ค วามสามารถและชำนาญในการพิธี ปัจจุบั น การแต่ ง ตั้ ง พระสงฆ์

เป็นพระพิธีธรรม เป็นอำนาจของเจ้าอาวาสในพระอารามนั้น ที่จะพิจารณา พระสงฆ์ที่มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในการสวด ไปยัง สำนั ก งานพระพุ ท ธศาสนาแห่ ง ชาติ เพื่ อ จั ด สรรนิ ต ยภั ต ถวาย

ในตำแหน่ ง พระพิ ธี ธ รรมประจำพระอาราม พระสงฆ์ ที่ รั บ นิ ต ยภั ต ตำแหน่ ง นี้ มี จ ำนวนพระอารามละ ๔ รู ป และเมื่ อ พระพิ ธี ธ รรม

ที่ได้รับแต่งตั้งย้ายไปอยู่ที่อื่น ลาออกจากตำแหน่ง ลาสิกขา มรณภาพ

เจ้ า อาวาสก็ จ ะพิ จ ารณาคั ด เลื อ กพระสงฆ์ เ ป็ น พระพิ ธี ธ รรมแทนรู ป

ที่ขาดไป

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

21


อนึ่ ง ในพระอารามหนึ่ ง ๆ แม้ จ ะมี พ ระพิ ธี ธ รรมประจำ

พระอารามได้เพียง ๔ รูป แต่ก็มิได้ตัดสิทธิที่พระสงฆ์รูปอื่น ๆ จะฝึกหัด สวดทำนองต่ า ง ๆ ที่ พ ระพิ ธี ธ รรมสวด ทั้ ง นี้ ก็ เ พื่ อ สำหรั บ ทดแทน

พระพิ ธี ธ รรมที่ ข าดไปบ้ า ง เพื่ อ สื บ ทอดวิ ธี ก ารและทำนองสวด

ของแต่ ล ะพระอารามมิ ใ ห้ สู ญ หายไปกั บ กาลเวลา และเพื่ อ ให้ ค งอยู ่ เป็ น มรดกทางวั ฒ นธรรม เป็ น ที่ น่ า ยิ น ดี ว่ า หลายพระอาราม

พระสงฆ์ฝึกหัดสวดทำนองได้คล่องแคล่วมากกว่า ๔ รูปขึ้นไป

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

22


ภารกิจของพระพิธีธรรม

แต่เดิมมาพระพิธีธรรมมีภารกิจหลายประการ เป็นต้นว่า ๑. สวดอาฏานาฏิยปริตร ในการพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (พิธีตรุษ) ที่เรียกว่า สวดอัฏนา หรือสวดภาณยักษ์ พิธีอาพาธพินาศ ๒. สวดภาณวาร คือ การสวดบทพระธรรมที่จัดเป็นหมวดหมู่ เช่น สวดพระปริตร ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน หรือสวดธรรมคาถาในพิธี พุทธาภิเษก เทวาภิเษก มังคลาภิเษก เป็นต้น ๓. สวดพระอภิ ธ รรม ๗ คั ม ภี ร์ ในพิ ธี ก ารศพ เช่ น

สวดประจำยาม คือ การสวดพระอภิธรรมตามธรรมเนียม ซึ่งแต่โบราณ

มีการสวดหนึ่งยาม สองยาม สามยาม สี่ยาม ในพิธีการพระศพ จะสวด ตลอดสี่ยาม จึงเรียกว่าสวดประจำยาม การสวดพระอภิธรรมดังกล่าว ปัจจุบันพัฒนาออกไปเป็นสวดพระอภิธรรมมัตถะสังคหะ ๙ ปริจเฉท สวดสหัสนัย สวดพระมาลัยบ้าง ๔. สวดพระอภิธรรมในเวลาเคลื่อนพระศพ เช่น สวดในการ เชิญพระศพออกจากพระบรมมหาราชวังไปยังพระเมรุท้องสนามหลวง เป็นต้น ๕. สวดพระอภิธรรมหน้าไฟ คือ การสวดพระอภิธรรมในช่วง การพระราชทานเพลิงศพ โดยสวดบนซ่างเมรุ๑๔ สวดที่ซ่างสี่มุมเมรุ๑๕ ๖. สวดจตุ ร เวท คื อ การเจริ ญ พระพุ ท ธมนต์ เจ็ ด ตำนาน

ในวันพระ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ที่หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๑๔ ๑๕

ซ่างเมรุ เช่น เมรุหลวงวัดเทพศิรินทราวาส ซ่ า งสี่ มุ ม เมรุ เช่ น พระเมรุ ม าศซึ่ ง สร้ า งที่ ท้ อ งสนามหลวง และเมรุ ล อยที่ ส ร้ า งใช้ ใ นการ ฌาปนกิจศพต่าง ๆ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

23


บัญชีพระพิธีธรรมสวดจตุรเวท ณ หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ เดือน วันที่

ขึ้น แรม เดือนทาง พระพิธีธรรม (ค่ำ) (ค่ำ) จันทรคติ

มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม

- ๘ - - - ๘ ๑๕ - - ๘ ๑๕ - - ๘ ๑๕ - - ๘ ๑๕ -

อังคาร ที่ ๔ พุธ ที่ ๑๒ พุธ ที่ ๒๓ พฤหัสบดี ที่ ๓๐ พฤหัสบดี ที่ ๓ ศุกร์ ที่ ๑๑ ศุกร์ ที่ ๑๘ เสาร์ ที่ ๒๘ ศุกร์ ที่ ๔ เสาร์ ที่ ๑๒ เสาร์ ที่ ๑๙ อาทิตย์ ที่ ๒๗ อาทิตย์ ที่ ๗ จันทร์ ที่ ๑๑ จันทร์ ที่ ๑๘ อาทิตย์ ที่ ๒๖ จันทร์ ที่ ๒ อังคาร ที่ ๑๐ อังคาร ที่ ๑๗ พุธ ที่ ๒๕

๑๔ - - - ๑๕ - - ๘ ๘ - - ๘ ๑๕ - - ๘ ๑๔ - - ๘

๑ ๒ - - ๒ ๓ ๓ ๓ ๔ ๔ ๔ ๔ ๔ ๕ ๕ ๕ ๕ ๖ ๖ ๖

วัดอนงคาราม วัดอนงคาราม วัดอนงคาราม วัดอนงคาราม วัดมหาธาตุฯ วัดมหาธาตุฯ วัดมหาธาตุฯ วันมาฆบูชา วัดมหาธาตุฯ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดประยุรวงศาวาส วัดประยุรวงศาวาส วัดประยุรวงศาวาส วัดประยุรวงศาวาส วัดราชสิทธาราม วัดราชสิทธาราม วัดราชสิทธาราม วันวิสาขบูชา วัดราชสิทธาราม

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

24

หมายเหตุ


เดือน วันที่

ขึ้น แรม เดือนทาง พระพิธีธรรม (ค่ำ) (ค่ำ) จันทรคติ

มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม

- ๘ ๑๕ - - ๘ ๑๕ - - ๘ ๑๕ - - ๘ ๑๕ - - ๘ ๑๕ - -

พุธ ที่ ๑ พุธ ที่ ๙ พฤหัสบดี ที่ ๑๖ ศุกร์ ที่ ๒๔ พฤหัสบดี ที่ ๓๐ ศุกร์ ที่ ๘ ศุกร์ ที่ ๑๕ เสาร์ ที่ ๒๔ เสาร์ ที่ ๓๐ อาทิตย์ ที่ ๗ อาทิตย์ ที่ ๑๔ จันทร์ ที่ ๒๒ อาทิตย์ ที่ ๒๘ จันทร์ ที่ ๗ จันทร์ ที่ ๑๒ อังคาร ที่ ๒๐ อังคาร ที่ ๒๗ พุธ ที่ ๕ พุธ ที่ ๑๒ พฤหัสบดี ที่ ๒๐ พุธ ที่ ๒๖

๑๕ - - ๘ ๑๔ - - ๘ ๑๕ - - ๘ ๑๔ - - ๘ ๑๕ - - ๘ ๑๔

๖ ๗ ๗ ๗ ๗ ๘ ๘ ๘ ๘ ๙ ๙ ๘ ๙ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๑ ๑๑ ๑๑ ๑๑

วัดพระเชตุพนฯ วัดพระเชตุพนฯ วัดพระเชตุพนฯ วัดพระเชตุพนฯ วัดพระเชตุพนฯ วัดระฆังโฆสิตาราม วัดระฆังโฆสิตาราม วันอาสาฬหบูชา วัดระฆังโฆสิตาราม วัดระฆังโฆสิตาราม วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดสระเกศ วัดสระเกศ วัดสระเกศ วัดสระเกศ วัดอนงคาราม วัดอนงคาราม วันออกพรรษา วัดอนงคาราม วัดอนงคาราม

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

25

หมายเหตุ


เดือน วันที่

ขึ้น แรม เดือนทาง พระพิธีธรรม (ค่ำ) (ค่ำ) จันทรคติ

พฤศจิกายน ธันวาคม

๘ - ๑๒ วัดมหาธาตุฯ ๑๕ - ๑๒ วัดมหาธาตุฯ วันลอยกระทง - ๘ ๑๒ วัดมหาธาตุฯ - ๑๕ ๑๒ วัดมหาธาตุฯ ๘ - ๑ วัดสุทัศนเทพวราราม ๑๕ - ๑ วัดสุทัศนเทพวราราม - ๘ ๑ วัดสุทัศนเทพวราราม - ๑๕ ๑ วัดสุทัศนเทพวราราม

พฤหัสบดี ที่ ๓ พฤหัสบดี ที่ ๑๐ ศุกร์ ที่ ๑๘ ศุกร์ ที่ ๒๕ เสาร์ ที่ ๓ เสาร์ ที่ ๑๐ อาทิตย์ ที่ ๑๘ เสาร์ ที่ ๒๔

หมายเหตุ

ในปั จ จุบันนี้ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉิน ท์ ไ ด้ ถู ก ยกเลิ ก ไปแล้ ว ภารกิ จ ของพระพิ ธี ธ รรม คื อ การสวดพระอภิ ธ รรมในการพระศพ

และการศพในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ พระอนุเคราะห์ การสวดจตุรเวทเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ และสวดในกรณีมีการพระราชพิธี พิเศษ เช่น พิธีเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ เป็นต้น ตามที่ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา ออกฎีกานิมนต์

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

26


บทที่ ๓

อุปกรณ์ในพิธีสวดพระอภิธรรม

การสวดพระอภิ ธ รรมในพิ ธี ก ารพระศพหรื อ พิ ธี ง านศพ

ในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ และพระอนุเคราะห์

จะต้องมีอุปกรณ์ในพิธีโดยเฉพาะ เมื่อได้เห็นอุปกรณ์ในพิธีการก็จะทราบ ได้ทันทีว่าเป็นพิธีสวดพระอภิธรรมงานศพหลวง อุปกรณ์ต่าง ๆ มีดังนี้ ๑) สถานที่นั่งสวด เรียกว่า ซ่าง๑๖ (คดซ่าง คดสร้าง สร้าง ส้าง สำซ่าง) พระแท่นเตียงสวด เตียงสวด อาสน์สงฆ์ ๒) ตู้พระธรรม มี ๔ แบบ คือ ตู้ทองทึบ ตู้ประดับกระจก

ตู้ลายรดน้ำใหญ่ และรดน้ำเล็ก ๓) คัมภีร์พระอภิธรรม ๔) พัดยศพระราชาคณะชั้นสามัญยก ใช้ตั้งติดกับตู้พระอภิธรรม ๕) พัดยศพระพิธีธรรม ๔ ด้าม มีสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน

และสีเขียว ๖) ที่บูชากระบะมุกสำหรับบูชาพระธรรม

๑๖

ซ่ า ง หมายถึ ง สิ่ ง ปลู ก สร้ า งชั่ ว คราวอย่ า งประรำ มี ย กพื้ น อยู่ ข้ า งใน สำหรั บ พระสงฆ์

นั่งสวดพระอภิธรรม ตั้งอยู่ ๔ มุมเมรุ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

27


อุปกรณ์ต่าง ๆ มีระเบียบการใช้และข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันไปดังนี ้ ๑. ซ่าง (สำซ่าง คดซ่าง) พระแท่นเตียงสวด เตียงสวด อาสน์สงฆ์ เป็นสถานที่สำหรับพระพิธีธรรมนั่งสวดพระอภิธรรม ในงาน พระศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จะมีการตั้งพระแท่นเตียงสวด

๒ พระแท่นทางมุขด้านทิศเหนือ ในงานพระเมรุมาศที่ท้องสนามหลวง จะมีที่สำหรับพระพิธีธรรมนั่งสวดพระอภิธรรมที่ด้านมุมของเมรุทั้ง ๔ มุม พระเมรุ เรี ย กว่ า ซ่ า งหรื อ ซ่ า งเมรุ ในงานพระบรมราชานุ เ คราะห์

พระราชานุเคราะห์ พระอนุเคราะห์ที่จัดตามวัดต่าง ๆ จะมีอาสน์สงฆ์ เป็นที่นั่งสวดพระอภิธรรม แต่บางวัดก็มีเตียงสวดหรือมีซ่างด้วย เช่น

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นต้น ๒. ตู้พระธรรม ใช้ในเวลาสวด โดยตั้งไว้ด้านหน้าพระพิธีธรรม ตู้พระธรรมนี้ มีระเบียบการใช้ในงานหลวงต่าง ๆ คือ ๑) งานพระบรมศพและงานพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ชั้นเจ้าฟ้าขึ้นไป ใช้ตู้พระธรรมทองทึบ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

28


๒) งานพระศพพระบรมวงศานุ ว งศ์ ชั้ น พระองค์ เ จ้ า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราช และราชนิกุล ใช้ตู้พระธรรม ประดับกระจก ๓) งานศพสมเด็จพระราชาคณะ และข้าราชการผู้ใหญ่ ระดับรัฐมนตรีขึ้นไป ใช้ตู้พระธรรมลายรดน้ำใหญ่ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

29


๔) งานศพที่อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ และพระอนุเคราะห์ ใช้ตู้พระธรรมลายรดน้ำเล็ก ๓. คัมภีร์พระอภิธรรม แต่เดิมมาจะตั้งคัมภีร์พระอภิธรรม

ไว้บนตู้พระธรรม ในขณะที่สวดสันนิษฐานว่า เพื่อให้พระสงฆ์อ่านในเวลาสวด เพื่ อ ป้ อ งกั น ความผิ ด พลาด ปั จ จุ บั น นี้ มิ ไ ด้ น ำออกวางบนตู้ พ ระธรรม

คงบรรจุอยู่ในตู้พระธรรม และพระพิธีธรรมก็มิได้อ่านคัมภีร์ในขณะสวด แต่ ป ระการใด และในการเชิ ญ ศพเวี ย นเมรุ พระสงฆ์ จ ะนั่ ง เสลี่ ย ง

อ่านคัมภีร์พระอภิธรรม

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

30


๔. พัดยศพระราชาคณะชั้นสามัญยก ใช้ตั้งติดตรงกลางตู้ พระธรรม เรื่องนี้มีที่มาอย่างไรไม่ปรากฏ แต่มีการสันนิษฐานว่าในการ พระศพ ในกรณีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการส่วนพระองค์ พระสงฆ์ต้องถวายอดิเรก และพระสงฆ์ที่จะถวายอดิเรกได้ ต้องเป็น

พระราชาคณะ ต้องใช้พัดยศ เนื่องจากแต่ก่อนพระราชาคณะมีจำนวนน้อย พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

31


เมื่ อ ถึ ง คราวจำเป็ น รี บ ด่ ว น อาจทำให้ ไ ม่ ส ามารถหาพั ด ยศได้ ทั น

จึ ง จั ด พั ด ยศมาตั้ ง เตรี ย มไว้ และเหตุ ที่ ใ ช้ พั ด ยศพระราชาคณะ

ชั้นสามัญยก ซึ่งเป็นพัดยศพระราชาคณะชั้นต้นนี้ เพราะมีธรรมเนียมว่า พระสงฆ์ ที่ มี ส มณศั ก ดิ์ สู ง สามารถใช้ พั ด ยศสมณศั ก ดิ์ ชั้ น ต่ ำ กว่ า ได้

แต่พระสงฆ์จะใช้พัดยศที่สูงกว่าสมณศักดิ์ของตนมิได้ ปัจจุบันพระสมณศักดิ์ มี จ ำนวนมาก การสื่ อ สารตลอดทั้ ง ยานพาหนะสะดวก เมื่ อ เกิ ด

มีกรณีดังกล่าว เจ้าหน้าที่สามารถนิมนต์พระราชาคณะมาได้ทันท่วงที การตั้งพัดยศไว้คงถือตามธรรมเนียมเดิม และถือเป็นเอกลักษณ์งานหลวง อีกประการหนึ่งด้วย ๕. พัดพระพิธีธรรม การสวดในงานพิธีศพต่าง ๆ พระสงฆ์ นิ ย มใช้ พั ด ตั้ ง ตรงหน้ า ในขณะทำการสวด พระพิ ธี ธ รรมมี พั ด

ประจำตำแหน่ ง ที่ เรี ย กว่ า พั ด พระพิ ธี ธ รรม ใช้ ตั้ ง ตรงหน้ า เวลาสวด

พัดพระพิธีธรรมนี้ มีจำนวน ๔ ด้าม ลักษณะเป็นพัดหน้านาง แต่ละด้าม มีสีต่าง ๆ กัน คือ สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว เป็นผ้าแพร

สีพื้นเหมือนกันทั้งสองด้าน ปักไหมทองเป็นลักษณะคล้ายรัศมีจากใจกลางพัด พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

32


ด้ามเป็นไม้ลักษณะตับคาบใบพัดไว้ ตรงกลางทำไม้เป็นแผ่นรูปวงกลมรี แกะตัวอักษรด้วยมุกคำว่า พระพิธีธรรม แล้วฝังลงในเนื้อไม้ ยอดพัด

และส้นพัด เป็นงา (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นวัสดุคล้ายงาแล้ว) พัดพระพิธีธรรมนี้ เมื่อใช้ในขณะสวดจะมีวิธีนั่งสวดและเรียงพัด เป็ น ๒ แบบ ได้ แ ก่ เรี ย งตามลำดั บ ศั ก ดิ์ ข องพั ด ยศ และเรี ย งตามคู่

การเรียงตามลำดับศักดิ์ของพัด คือ สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว

ส่วนการเรียงตามคู่นั้น เริง อรรถวิบูลย์ ได้กล่าวถึงลักษณะพัดพระพิธีธรรม และการใช้ไว้ดังนี้ “...พั ด ยศพระพิ ธี ธ รรม มี ๔ ด้ า ม มี สี ต่ า ง ๆ กั น ดั ง นี้

สีเหลือง สำหรับแม่คู่รูปที่ ๑ สีแดง สำหรับแม่คู่รูปที่ ๒ สีน้ำเงิน เคี ย งแม่ คู่ รู ป ที่ ๑ สี เขี ย ว เคี ย งแม่ คู่ รู ป ที่ ๒ เฉพาะพั ด ยศ

พระพิธีธรรมนี้ ตรงใจกลางพัดยศ ช่างสลักแกะด้วยมุกเป็นอักษรว่า พระพิธีธรรมฝังอยู่”๑๗ การเรี ย งพั ด พระพิ ธี ธ รรมและวิ ธี ก ารนั่ ง สวดตามที่ ก ล่ า วถึ ง

ก็จะเป็นสีน้ำเงิน สีเหลือง สีแดง และสีเขียว เพราะสีเหลืองกับสีแดงเป็นแม่คู่

นั่ ง อยู่ ต รงกลาง ส่ ว นสี น้ ำ เงิ น เป็ น ลู ก คู่ ข องสี เ หลื อ งต้ อ งนั่ ง ด้ า นขวา

ของสีเหลือง สีเขียวเป็นลูกคู่ของสีแดงต้องนั่งด้านซ้ายของสีแดง ส่วนการใช้ พัดพระพิธีธรรมในพิธีการอื่น เช่น สดับปกรณ์ มาติกา บังสุกุล เป็นต้น นิยมนั่งเรียงตามลำดับศักดิ์ของพัดยศ

๑๗

เริง อรรถวิบูลย์. เล่ม ๑, ๒๕๑๒. หน้า ๔๕. อ้างถึงใน พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์. ๒๕๕๑. หน้า ๙๕.

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

33


พระพิธีธรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระพิธีธรรมวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

34


พระพิธีธรรมวัดราชสิทธาราม พระพิธีธรรมวัดระฆังโฆสิตาราม

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

35


พระพิธีธรรมวัดจักรวรรดิราชาวาส พระพิธีธรรมวัดอนงคาราม

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

36


พระพิธีธรรมวัดสระเกศ พระพิธีธรรมวัดสุทัศนเทพวราราม

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

37


พระพิธีธรรมวัดบวรนิเวศวิหาร พระพิธีธรรมวัดประยุรวงศาวาส

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

38


บทที่ ๔

บทสวดและทำนองสวด

บทสวดที่พระพิธีธรรมใช้สวดในการพิธีต่าง ๆ นั้น แบ่งเป็น

๒ ประเภท คือ บทสวดในการพิธีมงคล คือ การสวดจตุรเวท ได้แก่

การสวดพระปริ ต ร ๗ ตำนาน กั บ บทสวดในการพิ ธี อ วมงคล คื อ

การสวดพระอภิ ธ รรม ๗ คั ม ภี ร์ การสวดพระธรรมใหม่ การสวด

พระอภิ ธ รรมมั ต ถะสั ง คหะ และการสวดคาถาธรรมบรรยายแปล

จะแสดงเนื้อหาของบทสวดต่าง ๆ พอเป็นตัวอย่าง ดังนี้

พระอภิธรรม ๗ คัมภีร ์

พระธรรมสังคณี กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา กตเม ธมฺมา กุสลา ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ โสมนสฺสสหคตํ าณสมฺปยุตฺตํ รูปารมฺมณํ วา สทฺทารมฺมณํ วา

ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอกุศล ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากฤต ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศลเป็นไฉน ในสมัยใด กุศลจิตที่เป็นกามาวจร เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเจตสิก ประกอบพร้อมด้วยปัญญาเจตสิก ปรารภอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สิ่งที่มีอยู่ปรากฏอยู่

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

39


คนฺธารมฺมณํ วา ก็หรือว่า เรื่องราวใด ๆ ย่อมเกิดขึ้น รสารมฺมณํ วา โผฏฺ พฺพารมฺมณํ วา ยํ ยํ วา ปนารพฺภ ตสฺมึ สมเย ในสมัยนั้น ผสฺโส โหติ ย่อมมีความกระทบกันและกัน อวิกฺเขโป โหติ ย่อมมีความไม่ฟุ้งซ่าน เย วา ปน ตสฺมึ สมเย ก็หรือว่า ในสมัยนั้น ย่อมมีสภาวะ ที่ไม่มีรูปร่าง อญฺเ ปิ อตฺถิ ปฏิจฺจ (จิตและเจตสิก) ซึ่งอาศัยกันและกัน สมุปฺปนฺนา เกิดขึ้นพร้อมกัน อรูปิโน ธมฺมา แม้เหล่าอื่น เหล่าใด อิเม ธมฺมา กุสลา. สภาวะทั้งหลายเหล่านี้ คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล พระวิภังค์ ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ ๕ คือ รูปกฺขนฺโธ รูปขันธ์ (หมวดแห่งรูป ๒๘) เวทนากฺขนฺโธ เวทนาขันธ์ สญฺ ากฺขนฺโธ สัญญาขันธ์ สงฺขารกฺขนฺโธ สังขารขันธ์ วิญฺ าณกฺขนฺโธ วิญญาณขันธ์

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

40


ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ ยงฺกิญฺจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา หีนํ วา ปณีตํ วา ยํ ทูเร วา สนฺติเก วา ตเทกชฺฌํ อภิสญฺญูหิตฺวา อภิสงฺขิปิตฺวา อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ. พระธาตุกถา สงฺคโห อสงฺคโห สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ

บรรดาขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์เป็นไฉน รูป อย่างใดอย่างหนึ่ง รูปอดีต รูปอนาคต รูปปัจจุบัน รูปภายใน หรือรูปภายนอก รูปหยาบ หรือรูปละเอียด รูปเลว หรือรูปประณีต รูปไกล หรือรูปใกล้ อย่างใด รูปนั้นทรงประมวลย่นย่อเข้ารวมกัน นี้ ตรัสเรียกว่า รูปขันธ์ฯ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ กับธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้ กับธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้ กับธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ กับธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

41


สมฺปโยโค วิปฺปโยโค สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ อสงฺคหิตํ. พระปุคคลบัญญัติ ฉ ปญฺ ตฺติโย ขนฺธปญฺ ตฺติ อายตนปญฺ ตฺติ ธาตุปญฺ ตฺติ สจฺจปญฺ ตฺติ อินฺทฺริยปญฺ ตฺติ ปุคฺคลปญฺ ตฺติ กิตฺตาวตา ปุคฺคลานํ ปุคฺคลปญฺ ตฺติ สมยวิมุตฺโต อสมยวิมุตฺโต

ธรรมะที่ประกอบกับธรรมอื่นได้ ธรรมะที่ไม่ประกอบกับธรรมะอื่น ธรรมะที่ไม่ประกอบกับธรรมอื่น กับธรรมะที่ประกอบกับธรรมอื่นได้ ธรรมะที่ประกอบกับธรรมอื่นได้ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากับธรรมอื่นไม่ได้ กับธรรมะที่ไม่ประกอบกับธรรมอื่น บัญญัติ มี ๖ ประการ บัญญัติว่า ขันธ์ บัญญัติว่า อายตนะ บัญญัติว่า ธาตุ บัญญัติว่า สัจจะ บัญญัติว่า อินทรีย์ บัญญัติว่า บุคคล บุคคลบัญญัติแห่งบุคคลทั้งหลาย มีเท่าไร ท่านผู้หลุดพ้นจากกิเลส โดยบำเพ็ญวิโมกข์ ๘ มาก่อน ท่านผู้หลุดพ้นจากกิเลส โดยไม่บำเพ็ญวิโมกข์ ๘

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

42


กุปฺปธมฺโม อกุปฺปธมฺโม ปริหานธมฺโม อปริหานธมฺโม เจตนาภพฺโพ อนุรกฺขนาภพฺโพ ปุถุชฺชโน โคตฺรภู ภยูปรโต อภยูปรโต ภพฺพาคมโน อภพฺพาคมโน นิยโต

ท่านผู้มีสมาบัติยังกำเริบ เป็นธรรมดา (ปุถุชน) ท่านผู้มีสมาบัติไม่กำเริบ เป็นธรรมดา (อริยบุคคล) ท่านผู้ยังเสื่อมจากสมาบัติ เป็นธรรมดา ท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมาบัติเป็นธรรมดา ท่านผู้ยังต้องใส่ใจถึงสมาบัติเนือง ๆ ท่านผู้ยังต้องรักษาสมาบัติเนือง ๆ ท่านผู้ยังละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสไม่ได้ ท่านผู้ประกอบด้วยธรรมะ ระหว่างชั้นบุคคล ท่านผู้ยังยินดีพอใจอยู่ใกล้สิ่งที่เป็นภัย ท่านผู้ไม่ยินดีพอใจอยู่ใกล้สิ่งที่เป็นภัย ท่านผู้สมควรก้าวลงสู่กุศลธรรม ท่านผู้ไม่สมควรก้าวลงสู่กุศลธรรม ท่านผู้มีคติแน่นอน (คนทำอนันตริยกรรม ๕ พวก นิยตมิจฉาทิฏฐิ และพระอริยบุคคล ๘)

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

43


อนิยโต ปฏิปนฺนโก ผเลฏฺ ิโต อรหา อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน. พระกถาวัตถุ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ อามนฺตา โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ น เหวํ วตฺตพฺเพ อาชานาหิ นิคฺคหํ หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถน

ท่านผู้มีคติยังไม่แน่นอน ท่านกำลังปฏิบัติมรรค ๔ ท่านผู้ดำรงอยู่แล้วในผล ๔ ท่านผู้เป็นพระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อความเป็นพระอรหันต์ฯ ท่านย่อมกำหนดรู้บุคคลได้ โดยอรรถะที่แจ่มแจ้ง และอรรถะที่ยอดเยี่ยม หรือ ถูกแล้ว สภาวะใด มีอรรถะที่แจ่มแจ้ง มีอรรถะที่ยอดเยี่ยม ตามสภาพนั้น ท่านย่อมกำหนดรู้ บุคคลนั้นได้ โดยอรรถะที่แจ่มแจ้ง และอรรถะที่ยอดเยี่ยม ท่านไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ท่านจงรับรู้ถึงการถูกตำหนิ หากท่านย่อมกำหนดรู้บุคคลได้ โดยอรรถะที่แจ่มแจ้ง และอรรถะที่ยอดเยี่ยม ไซร้

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

44


เตน วต เร วตฺตพฺเพ โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ มิจฺฉา. พระยมก เย เกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต กุสลมูลา เย วา ปน กุสลมูลา สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา เย เกจิ กุสลา ธมฺมา

ด้วยเหตุนั้น หนอแล ท่านจะต้องกล่าวว่า สภาวะใด มีอรรถะที่แจ่มแจ้ง มีอรรถะที่ยอดเยี่ยม ตามสภาพนั้น ท่านย่อมกำหนดรู้ บุคคลนั้นได้ โดยอรรถะที่แจ่มแจ้ง และอรรถะที่ยอดเยี่ยม หรือ ข้อนั้น ผิดฯ ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลาย เหล่าใดมีกุศลเป็นมูล ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ทั้งหมดเป็นกุศลธรรม ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล เหล่าใด เหล่าหนึ่ง

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

45


สพฺเพ เต กุสลมูเลน เอกมูลา ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ทั้งหมดมีมูลเดียว คือ กุศลมูล เย วา ปน กุสลมูเลน เอกมูลา ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลาย เหล่าใดมีมูลเดียว คือ กุศลมูล สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา. ธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น ทั้งหมดเป็นกุศลธรรม พระมหาปัฏฐาน เหตุปจฺจโย ธรรมที่เป็นเหตุทำให้เกิด และช่วยสนับสนุน อารมฺมณปจฺจโย ธรรมที่เป็นอารมณ์ และช่วยสนับสนุน อธิปติปจฺจโย ธรรมที่เป็นใหญ่ และช่วยสนับสนุน อนนฺตรปจฺจโย ธรรมที่เกิดขึ้นติดต่อกัน และช่วยสนับสนุน สมนนฺตรปจฺจโย ธรรมที่เกิดขึ้นติดต่อกันระหว่างมิได้ และช่วยสนับสนุน สหชาตปจฺจโย ธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกัน และช่วยสนับสนุน อญฺ มญฺ ปจฺจโย ธรรมที่ช่วยสนับสนุนแก่กันและกัน นิสฺสยปจฺจโย ธรรมที่อาศัยกันและกัน และช่วยสนับสนุน พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

46


อุปนิสฺสยปจฺจโย ปุเรชาตปจฺจโย ปจฺฉาชาตปจฺจโย อาเสวนปจฺจโย กมฺมปจฺจโย วิปากปจฺจโย อาหารปจฺจโย อินฺทฺริยปจฺจโย ฌานปจฺจโย มคฺคปจฺจโย สมฺปยุตฺตปจฺจโย

วิปฺปยุตฺตปจฺจโย

ธรรมที่อาศัยซึ่งกันและกันได้แน่นอน และช่วยสนับสนุน ธรรมที่เกิดก่อน และช่วยสนับสนุนธรรมที่เกิดภายหลัง ธรรมที่เกิดภายหลัง และช่วยสนับสนุนธรรมที่เกิดก่อน ความเคยชินเป็นเครื่องช่วยสนับสนุน การตั้งใจกระทำเป็นเครื่องช่วยสนับสนุน ผลแห่งกุศลกรรมและผลแห่งอกุศลกรรม เป็นเครื่องช่วยสนับสนุน อาหาร ๔ เป็นเครื่องช่วยสนับสนุน อินทรียธรรม ๒๒ เป็นเครื่องช่วยสนับสนุน การเพ่งอารมณ์เป็นเครื่องสนับสนุน ธรรมที่เป็นดุจทางนำไปสู่สุคติ ทุคติ และนิพพาน และเป็นเครื่องช่วยสนับสนุน ธรรมที่ประกอบกันพร้อมด้วยลักษณะ ๔ และช่วยสนับสนุน ธรรมที่ไม่ประกอบกันด้วยลักษณะ ๔ และช่วยสนับสนุน

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

47


อตฺถิปจฺจโย นตฺถิปจฺจโย วิคตปจฺจโย

อวิคตปจฺจโย.

ธรรมที่มีอยู่ ยังไม่ดับไป และช่วยสนับสนุน ธรรมที่ไม่มีอยู่ ดับไปแล้ว และช่วยสนับสนุน ธรรมที่ปราศจากไปแล้ว ดับไปแล้ว และช่วยสนับสนุน ธรรมที่ยังไม่ปราศจากไป ยังไม่ดับไป และช่วยสนับสนุนฯ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

48


พระธรรมใหม่

เหตุโคจฉกะ เหตู ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุ สเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีเหตุ อเหตุกา ธมฺมา ธรรมไม่มีเหตุ เหตุสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ เหตุวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากเหตุ เหตู เจว ธมฺมา สเหตุกา จ ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ สเหตุกา เจว ธมฺมา น จ เหตู ธรรมมีเหตุ แต่ไม่เป็นเหตุ เหตู เจว ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุต เหตุสมฺปยุตฺตา จ ด้วยเหตุ เหตุสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ แต่ไม่เป็นเหตุ น จ เหตุ น เหตุ โข ปน ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเหตุ แต่มีเหตุ สเหตุกาปิ (น เหตู โข ปน ธมฺมา) ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ อเหตุกาปิ จูฬันตรทุกะ สปฺปจฺจยา ธมฺมา ธรรมมีปัจจัย อปฺปจฺจยา ธมฺมา ธรรมไม่มีปัจจัย สงฺขตา ธมฺมา ธรรมเป็นสังขตะ อสงฺขตา ธมฺมา ธรรมเป็นอสังขตะ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

49


สนิทสฺสนา ธมฺมา ธรรมเห็นได้ อนิทสฺสนา ธมฺมา ธรรมที่เห็นไม่ได้ สปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่กระทบได้ อปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่กระทบไม่ได้ รูปิโน ธมฺมา ธรรมมีรูป อรูปิโน ธมฺมา ธรรมไม่มีรูป โลกิยา ธมฺมา ธรรมเป็นโลกิยะ โลกุตฺตรา ธมฺมา ธรรมเป็นโลกุตตระ เกนจิ วิญฺเ ยฺยา ธมฺมา ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้ เกนจิ น วิญฺเ ยฺยา ธมฺมา ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้ อาสวโคจฉกะ อาสวา ธมฺมา ธรรมเป็นอาสวะ โน อาสวา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอาสวะ สาสวา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ อนาสวา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ อาสวสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ อาสววิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ อาสวา เจว ธมฺมา สาสวา จ ธรรมเป็นอาสวะ และเป็นอารมณ์ของอาสวะ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

50


สาสวา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ โน จ อาสวา แต่ไม่เป็นอาสวะ อาสวา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ อาสวสมฺปยุตฺตา จ อาสวสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ โน จ อาสวา แต่ไม่เป็นอาสวะ อาสววิปฺปยุตฺตา โข ธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ ปน ธมฺมา สาสวาปิ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ (อาสววิปฺปยุตฺตา โข ธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ ปน ธมฺมา) อนาสวาปิ และไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญโญชนโคจฉกะ สญฺโ ชนา ธมฺมา ธรรมเป็นสัญโญชน์ โน สญฺโ ชนา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์ สญฺโ ชนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ อสญฺโ ชนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ สญฺโ ชนสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ สญฺโ ชนวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมที่วิปปยุตจากสัญโญชน์ สญฺโ ชนา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นสัญโญชน์ สญฺโ ชนิยา จ และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ สญฺโ ชนา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นสัญโญชน์ สญฺโ ชนสมฺปยุตฺตา และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

51


สญฺโ ชนสมฺปยุตฺตา เจว ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ธมฺมา โน จ สญฺโ ชนา แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ สญฺโ ชนวิปฺปยุตฺตา โข ธรรมที่วิปปยุตจากสัญโญชน์ ปน ธมฺมา สญฺโ ชนิยาปิ แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ (สญฺโ ชนวิปฺปยุตฺตา โข ธรรมที่วิปปยุตจากสัญโญชน์ ปน ธมฺมา) อสญฺโ ชนิยาปิ และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ คันถะโคจฉกะ คนฺถา ธมฺมา ธรรมเป็นคันถะ โน คนฺถา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นคันถะ คนฺถนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ อคนฺถนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ คนฺถสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ คนฺถวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากคันถะ คนฺถา เจว ธมฺมา คนฺถนิยา ธรรมเป็นคันถะ และเป็นอารมณ์ของคันถะ คนฺถนิยา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ โน คนฺถา แต่ไม่เป็นคันถะ คนฺถา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ คนฺถสมฺปยุตฺตา จ คนฺถสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ โน จ คนฺถา แต่ไม่เป็นคันถะ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม 52


คนฺถวิปฺปยุตฺตา โข ธรรมวิปปยุตจากคันถะ ปน ธมฺมา คนฺถนิยาปิ แต่เป็นอารมณ์ของคันถะ (คนฺถวิปฺปยุตฺตา โข ธรรมวิปปยุตจากคันถะ ปน ธมฺมา) อคนฺถนิยาปิ และไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ โอฆโคจฉกะ โอฆา ธมฺมา ธรรมเป็นโอฆะ โน โอฆา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นโอฆะ โอฆนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของโอฆะ อโนฆนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ โอฆสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยโอฆะ โอฆวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ โอฆา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นโอฆะ โอฆนิยา จ และเป็นอารมณ์ของโอฆะ โอฆนิยา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของโอฆะ โน จ โอฆา แต่ไม่เป็นโอฆะ โอฆา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นโอฆะและสัมปยุตด้วยโอฆะ โอฆสมฺปยุตฺตา จ โอฆสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยโอฆะ โน จ โอฆา แต่ไม่เป็นโอฆะ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

53


โอฆวิปฺปยุตฺตา โข ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ ปน ธมฺมา โอฆนิยาปิ แต่เป็นอารมณ์ของโอฆะ (โอฆวิปฺปยุตฺตา โข ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ ปน ธมฺมา) อโนฆนิยาปิ และไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ โยคโคจฉกะ โยคา ธมฺมา ธรรมเป็นโยคะ โน โยคา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นโยคะ โยคนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของโยคะ อโยคนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ โยคสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยโยคะ โยควิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโยคะ โยคา เจว ธมฺมา โยคนิยา จ ธรรมเป็นโยคะ และเป็นอารมณ์ของโยคะ โยคนิยา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของโยคะ โน จ โยคา แต่ไม่เป็นโยคะ โยคา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นโยคะและสัมปยุตด้วยโยคะ โยคสมฺปยุตฺตา จ โยคสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยโยคะ โน จ โยคา แต่ไม่เป็นโยคะ โยควิปฺปยุตฺตา โข ธรรมวิปปยุตจากโยคะ ปน ธมฺมา โยคนิยาปิ แต่เป็นอารมณ์ของโยคะ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

54


(โยควิปฺปยุตฺตา โข ธรรมวิปปยุตจากโยคะ ปน ธมฺมา) อโยคนิยาปิ และไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ นีวรณโคจฉกะ นีวรณา ธมฺมา ธรรมเป็นนิวรณ์ โน นีวรณา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นนิวรณ์ นีวรณิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ อนีวรณิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ นีวรณสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ อนีวรณิยา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ นีวรณา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นนิวรณ์ นีวรณิยา จ และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ นีวรณิยา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ โน จ นีวรณา แต่ไม่เป็นนิวรณ์ นีวรณา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นนิวรณ์ นีวรณสมฺปยุตฺตา จ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ นีวรณสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โน จ นีวรณา แต่ไม่เป็นนิวรณ์ นีวรณวิปฺปยุตฺตา โข ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ ปน ธมฺมา นีวรณิยาปิ แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ (นีวรณวิปฺปยุตฺตา โข ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ ปน ธมฺมา) อนีวรณิยาปิ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

55


พระอภิธรรมมัตถสังคหะ

ประณามคาถา (บทไหว้ครู) นโม ตสฺสารหนฺตสฺส ภควนฺตสฺส สตฺถุโน สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสมยตฺโถ โลกเชฏฺ สฺส ตาทิโน ปริจเฉทที่ ๑ : จิตตสังคหวิภาค ๑ สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลํ สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ อภิวาทิย ภาสิสฺสํ อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ ๒ ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมีติ สพฺพถา

ข้าพเจ้านอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระศาสดา ผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง ผู้เป็นผู้ประเสริฐในโลก ผู้คงที่พระองค์นั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อมอภิวาท ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระคุณ อันชั่งไม่ได้ พร้อมทั้งพระสัทธรรม และหมู่แห่งพระสงฆ์ผู้สูงสุดแล้ว จักกล่าวปกรณ์พระอภิธัมมัตถสังคหะ อรรถแห่งพระอภิธรรม ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ในพระอภิธรรมนั้น โดยปรมัตถ์ทุกประการ มี ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

56


๓ อฏฺ ธา โลภมูลานิ อกุศลจิต มี ๑๒ คือ โทสมูลานิ จ ทฺวิธา โลภมูลจิต ๘ โมหมูลานิ จ เทฺวติ โทสมูลจิต ๒ ทฺวาทสากุสลา สิยุํ และโมหมูลจิต ๒ ๔ สตฺตากุสลปากานิ อเหตุกจิตฺ ๑๘ คือ ปุญฺ ปากานิ อฏฺ ธา อกุศลวิบากจิต ๗ กฺริยาจิตฺตานิ ตีณีติ กุศลวิบากจิต ๘ อฏฺ ารส อเหตุกา กิริยาจิต ๓ ๕ ปาปาเหตุกมุตฺตานิ จิต ๕๙ หรือ ๙๑ บ้าง โสภณานีติ วุจฺจเร ที่พ้นจากอกุศลจิตและอเหตุกจิต เอกูนสฏฺ ี จิตฺตานิ ท่านเรียกว่า โสภณจิต อเถกนวุตีปิ วา ๖ เวทนา าณสงฺขาร ผู้รู้กล่าว กุศลจิต วิบากจิต เภเทน จตุวีสติ และกิริยาจิตฝ่ายสเหตุกกามาวจร สเหตุกามาวจร ได้ ๒๔ โดยความต่าง ปุญฺ ปากกฺริยา มตา แห่งเวทนา ญาณ และสังขาร

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

57


๗ กาเม เตวีสติ ปากานิ ปุญฺ าปุญฺ านิ วีสติ เอกาทส กฺริยา เจติ จตุปญฺ าส สพฺพถาฯ ๘ ปญฺจธา ฌานเภเทน รูปาวจรมานสํ ปุญฺ ปากกฺริยาเภทา ตํ ปญฺจทสธา ภเว ๙ อาลมฺพนปฺปเภเทน จตุธารุปฺปมานสํ ปุญฺ ปากกฺริยาเภทา ปุน ทฺวาทสธา ิตํ ๑๐ จตุมคฺคปฺปเภเทน จตุธา กุสฺลนฺตถา ปากนฺตสฺส ผลตฺตาติ อฏฺ ธานุตฺตรํ มตํ

ในกามภพ กามาวจรจิต มี ๕๔ คือ วิบากจิต มี ๒๓ กุศลจิตกับอกุศลจิต ๒๐ และกิริยา ๑๑ จิต รูปาวจรจิต โดยความต่างแห่งฌาน มี ๕ โดยความต่างแห่งกุศล วิบาก และกิริยา รูปาวจรจิตนั้น มี ๑๕ อรูปาวจรจิต มี ๔ โดยประเภทแห่งอารมณ์ มีอีก ๑๒ โดยความต่างแห่งกุศล วิบากและกิริยา โลกุตตรจิต (อนุตตรจิต) บัณฑิต กล่าวไว้ ๘ คือ กุศลจิต ๔ โดยประเภทแห่งมรรค ๔ และวิบากจิตก็มี ๔ เหมือนกัน เพราะเป็นผลแห่งมรรคนั้น

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

58


๑๑ ทฺวาทสากุสลาเนว กุสลาเนกวีสติ ฉตฺตึเสว วิปากานิ กฺริยาจิตฺตานิ วีสติ ๑๒ จตุปญฺ าสธา กาเม รูเป ปณฺณรสีริเย จิตฺตานิ ทฺวาทสารูเป อฏฺ ธานุตฺตเร ตถา ๑๓ อิตฺถเมกูนนวุติปเภทํ ปน มานสํ เอกวีสสตํ วาถ วิภชนฺติ วิจกฺขณา ๑๔ ฌานงฺคโยคเภเทน กเตฺวเกตนฺตุ ปญฺจธา วุจฺจตานตฺตรํ จิตฺตํ จตฺตาฬีสวิธนฺติ จ

อกุศลจิต มี ๑๒ กุศลจิต มี ๒๑ วิบากจิต มีเพียง ๓๖ กิริยาจิต มี ๒๐ บัณฑิตกล่าวจิตไว้ในกามภพ ๕๔ ในรูปภพ ๑๕ ในอรูปภพ ๑๒ ในอนุตตรจิต ๘ บัณฑิตผู้มีปรีชาเห็นประจักษ์ ย่อมจำแนกจิตออกเป็น ๘๙ บ้าง ๑๒๑ บ้าง ด้วยประการนี้ บัณฑิตกล่าวอนุตตรจิต (โลกุตตรจิต) ออกเป็นอย่างละ ๕ โดยความต่างแห่งการประกอบด้วย องค์ฌาน และกล่าวว่ามี ๔๐

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

59


๑๕ ยถา จ รูปาวจรํ รูปาวจรจิตและอนุตตรจิต (โลกุตตรจิต) คยฺหตานุตฺตรํ ตถา บัณฑิตถือเอาในความต่างแห่งฌาน ป มาทิชฺฌานเภเท มีปฐมฌานเป็นต้นฉันใด อารุปฺปญฺจาปิ ปญฺจเม แม้อรูปฌานท่านก็ถือเอาในฌานที่ ๕ ฉันนั้น ๑๖ เอกาทสวิธํ ตสฺมา เพราะฉะนั้น แต่ละฌานมีปฐมฌาน ป มาทิกมีริตํ บัณฑิตจึงได้กล่าวจิตไว้ ฌานเมเกกมนฺเต ตุ ฌานละ ๑๑ เตวีสติวิธํ ภเว แต่ในฌานที่สุด มี ๒๓ ๑๗ สตฺตตึสวิธํ ปุญฺ ํ อนึ่ง กุศลจิต มี ๓๗ ทฺวิปญฺ าสวิธนฺตถา วิบากจิต มี ๕๒ ปากมิจฺจาหุ จิตฺตานิ ผู้รู้ทั้งหลายได้กล่าวจิตไว้ ๑๒๑ เอกวีสสตมฺพุธา ด้วยประการอย่างนี้ อิจฺจานุรุทฺธรจิเต ในปริจเฉทที่ ๑ ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ อภิธมฺมตฺถสงฺคเห ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้ ป เม ปริจฺเฉทสฺมึ มี ๑๗ คาถา ด้วยประการอย่างนี ้ คาถา สตฺตรสาคตา ปริจเฉทที่ ๑ นี้ จบแล้วโดยย่อ ป โม ปริจฺเฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺ ิโต

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

60


ปริจเฉทที่ ๒ : เจตสิกสังคหวิภาค ๑ เอกุปฺปาทนิโรธา จ ธรรม ๕๒ อย่าง ประกอบกับจิต เอกาลมฺพนวตฺถุกา เกิดดับในที่เดียวกัน เจโตยุตฺตา ทฺวิปญฺ าส มีอารมณ์และวัตถุอันเดียวกัน ธมฺมา เจตสิกา มตา บัณฑิตเรียกว่า เจตสิก ๒ เตรสญฺ สมานา จ ธรรม ๕๒ อย่าง คือ จุทฺทสากุสลา ตถา อัญญสมานา ๑๓ โสภณา ปญฺจวีสาติ อกุศล ๑๔ ทวิปญฺ าส ปวุจฺจเร และโสภณ ๒๕ (ท่านเรียกว่า เจตสิก) ๓ เตสํ จิตฺตาวิยุตฺตานํ ต่อจากนี้ไป ข้าพเจ้าจะกล่าวถึง ยถาโยคมิโต ปรํ การเกิดขึ้นพร้อมกัน แห่งเจตสิก ทั้งหลายเหล่านั้น จิตฺตุปฺปาเทสุ ปจฺเจกํ ที่ไม่แยกกันกับจิต สมฺปโยโค ปวุจฺจติ ตามที่ประกอบได้ในจิตตุปบาททั้งหลาย เฉพาะดวงหนึ่ง ๆ ๔ สตฺต สพฺพตฺถ ยุชฺชนฺติ สัพพสาธารณเจตสิก ๗ ย่อมประกอบ ในจิตตุปบาททั้งปวง ยถาโยคํ ปกิณฺณกา ปกิณณกเจตสิก ย่อมประกอบเข้าในจิต ที่ประกอบตามสมควรแก่การประกอบ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

61


จุทฺทสากุสเลเสฺวว โสภเณเสฺวว โสภณา ๕ ฉสฏฺ ี ปญฺจปญฺญาส เอกาทส จ โสฬส สตฺตติ วีสติ เจว ปกิณฺณกวิวชฺชิตา ๖ ปญฺจปญฺ าส ฉสฏฺ ยฏฺ สตฺตติ ติสตฺตติ เอกปญฺ าส เจกูน- สตฺตติ สปฺปกิณฺณกา ๗ สพฺพาปุญฺเ สุ จตฺตาโร โลภมูเล ตโย กตา โทสมูเลสุ จตฺตาโร สสงฺขาเร ทวยนฺตถา

อกุศลเจตสิก ๑๔ ย่อมประกอบได้ เฉพาะในอกุศลจิต โสภณเจตสิก ย่อมประกอบได้เฉพาะ ในโสภณจิต (กุศลจิต) เท่านั้น ก็จิตตุปบาทเหล่านั้น ที่เว้นจากปกิณณกเจตสิก มี ๖๖, ๕๕, ๑๑, ๑๖, ๗๐ และ ๒๐ และ (จิตตุปบาทเหล่านั้น) ที่มีปกิณณก เจตสิกมี ๕๕ ๖๖ ๗๘ ๗๓ ๕๑ และ ๖๙ วิจิกิจฉาย่อมเป็นไปในวิจิกิจฉาจิตเท่านั้น คือในอกุศลจิตทั้งหมด ท่านทำไว้ ๔ เจตสิก ในโลภมูลจิต ทำไว้ ๓ เจตสิก ในโทสมูลจิต ท่านทำไว้ ๔ เจตสิก

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

62


๘ วิจิกิจฺฉา วิจิกิจฺฉา จิตฺเต จาติ จตุทฺทส ทฺวาทสากุสเลเสฺวว สมฺปยุชฺชนฺติ ปญฺจธา ๙ เอกูนวีสติ ธมฺมา ชายนฺเตกูนสฏฺ ิยํ ตโย โสฬสจิตฺเตสุ อฏฺ วีสติยํ ทวยํ ๑๐ ปญฺ าปกาสิตา สตฺตจตฺตาฬีสวิเธสุปิ สมฺปยุตฺตา จตุเธวํ โสภเณเสฺวว โสภณา ๑๑ อิสฺสามจฺเฉรกุกฺกุจฺจ- วิรติกรุณาทโย นานา กทาจิ มาโน จ

อนึ่ง ในสสังขาริกจิตกระทำไว้ ๒ เจตสิก อกุศลเจตสิก ๑๔ ประกอบลงได้ในกุศลจิต ๑๒ เท่านั้น โดยอาการ ๕ อย่าง ธรรม ๑๙ เกิดในจิต ๕๙ ธรรม ๓ เกิดในจิต ๑๖ ธรรม ๒ เกิดในจิต ๒๘ ปัญญาท่านประกาศไว้ในจิต ๔๗ โสภณเจตสิกประกอบเฉพาะในโสภณจิต เท่านั้น โดยอาการ ๔ อย่าง ด้วยประการอย่างนี้ อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ความตระหนี่) กุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน) วิรัติ (ความงดเว้น) และอัปปมัญญา มีกรุณา (ความสงสาร)

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

63


ถีนมิทฺธํ ตถา สห ๑๒ ยถาวุตฺตานุสาเรน เสสา นิยตภาคิโน สงฺคหญฺจ ปวกฺขามิ เตสนฺทานิ ยถารหํ ๑๓ ฉตฺตึสานุตฺตเร ธมฺมา ปญฺจตึส มหคฺคเต อฏฺ ตึสาปิ ลพฺภนฺติ กามาวจรโสภเณ ๑๔ สตฺตวีสตฺยปุญฺ มฺหิ ทฺวาทสาเหตุเกติ จ ยถาสมฺภวโยเคน ปญฺจธา ตตฺถ สงฺคโห

ในบางคราวเกิดมีต่างกัน และมานะ (ความถือตัว) ก็เกิดในบางคราว อนึ่ง ถีนมิทธะ (ความง่วงเหงาหาวนอน) ก็เกิดร่วมกันในบางคราว เจตสิกธรรมที่เหลือมีการประกอบ แน่นอน โดยทำนองตามที่กล่าวแล้ว ก็บัดนี้ข้าพเจ้าจักกล่าวประมวล (สังคหะ) เจตสิกธรรมเหล่านั้นตามสมควร อนึ่ง มีการสงเคราะห์ในเจตสิกเหล่านั้น ด้วยการประกอบตามสมภพโดย ประการ ๕ คือ ธรรม ๓๖ ได้ในอนุตตรจิต (โลกุตรจิต) ธรรม ๓๕ ย่อมได้ในมหัคคตจิต ธรรมแม้ ๓๘ ย่อมได้ในกามาวจร- โสภณจิต ธรรม ๒๗ ได้ในอกุศลจิต และธรรม ๑๒ ได้ในอเหตุกจิต

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

64


๑๕ ฉตฺตึส ปญฺจตึสาถ ธรรมทั้งหลาย คือ ๓๖ ๓๕ จตุตฺตึส ยถากฺกมํ และ ๓๔ ๓๓ ๓๓ ตามลำดับ เตตฺตึส ทฺวยมิจฺเจวํ ตั้งอยู่ในอนุตตรจิต (โลกุตรจิต) ปญฺจธานุตฺตเร ิตา โดยอาการ ๕ อย่าง ด้วยประการอย่างนี ้ ๑๖ ปญฺจตึส จตุตฺตึส ธรรมทั้งหลาย คือ ๓๕ ๓๔ เตตฺตึสาถ ยถากฺกมํ ๓๓ ๓๒ และ ๓๐ ตามลำดับ ทวตฺตึส เจว ตึสาติ ตั้งอยู่ในมหัคคตจิต ปญฺจธา ว มหคฺคเต โดยอาการเพียง ๕ อย่าง ด้วยประการนี้ ๑๗ อฏฺ ตึส สตฺตตึส ธรรมทั้งหลาย ๓๘ ๓๗ ๓๗ ทวยํ ฉตฺตึสกํ สุเภ ๓๖ มีอยู่ในสุภจิต ปญฺจตึส จตุตฺตึส ธรรม ๓๕ ๓๔ ทวยํ เตตฺตึสกํ กฺริเย ๓๔ ๓๓ มีอยู่ในกริยาจิต ๑๘ เตตฺตึส ปาเก ทวตฺตึส ธรรม ๓๓ มีในวิบากจิต ทวเยกตึสกํ ภเว ธรรม ๓๒ ๓๒ และ ๓๑ สเหตุกามาวจร มีในกุศลจิต วิบากจิต และกิริยาจิต ปุญฺ ปากกฺริยามเน ในฝ่ายสเหตุกามาวจร

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

65


๑๙ น วิชฺชนฺเตตฺถ วิรตี กฺริเยสุ จ มหคฺคเต อนุตฺตเร อปฺปมญฺ า กามปาเก ทฺวยํ ตถา ๒๐ อนุตฺตเร ฌานธมฺมา อปฺปมญฺ า จ มชฺฌิเม วิรตี าณปีติ จ ปริตฺเตสุ วิเสสกา ๒๑ เอกูนวีสฏฺ ารส วีเสกวีส วีสติ พาวีส ปณฺณรสาติ สตฺตธากุสเล ิตา ๒๒ สาธารณา จ จตฺตาโร สมานา จ ทสาปเร จุทฺทเสเต ปวุจฺจนฺติ สพฺพากุสลโยคิโน

ในจิตเหล่านั้น วิรัติทั้งหลาย ไม่มีในกิริยาจิต และมหัคคตจิต อัปปมัญญามีในอนุตตรจิต วิรัติและอัปปมัญญาทั้งสอง มีในกามาวจรจิตและวิบากจิต ฌานธรรมมีแตกต่างออกไปใน อนุตตรจิต อัปปมัญญาและฌานธรรมมีใน มหัคคตจิตชนิดปานกลาง วิรัติ ญาณ ปีติ และอัปปมัญญา มีแปลกออกไปในพวกกามาวจรจิต ธรรมทั้งหลาย คือ ๑๙ ๑๘ ๒๐ ๒๑ ๒๐ ๒๒ ๑๕ ตั้งอยู่ในอกุศลจิต โดยอาการ ๗ อย่าง ธรรม ๑๔ อย่างเหล่านี้ คือ สาธารณเจตสิก ๔ อัญญสมานาเจตสิกอีก ๑๐ ท่านเรียกว่า มีการประกอบในอกุศลจิต ทั้งปวง

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

66


๒๓ ทฺวาทเสกาทส ทส สตฺต จาติ จตุพฺพิโธ อฏฺ ารสาเหตุเกสุ จิตฺตุปฺปาเทสุ สงฺคโห ๒๔ เหตุเกสุ สพฺพตฺถ สตฺต เสสา ยถารหํ อิติ วิตฺถารโต วุตฺตา เตตฺตึสวิธสงฺคหา ๒๕ อิตฺถํ จิตฺตาวิยุตฺตานํ สมฺปโยคญฺจ สงฺคหํ ตฺวา เภทํ ยถาโยคํ จิตฺเตน สมมุทฺทิเส ๒๖ อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถสงฺคเห ทุติเย ปริจฺเฉทสฺมึ คาถาโย ปญฺจวีสติ ทุติโย ปริจฺเฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺ ิโต

ในอเหตุจิตตุปบาทจิต ๑๘ มีการสังเคราะห์ ๔ อย่าง คือ ธรรม ๑๒ ๑๑ ๑๐ และ ๗ ธรรม ๗ ที่เหลือ ประกอบได้ในอเหตุจิตตุปปาททั้งหมด ตามสมควร สังคหะ ๓๓ อย่าง ท่านกล่าวไว้โดยพิสดาร อย่างนี้ นักศึกษาทราบสัมประโยค และสังคหะแห่งเจตสิกที่ไม่แยกกัน กับจิต อย่างนี้แล้ว พึงยกความต่าง แสดงประเภท ให้เสมอกับจิต ตามสมควร แก่อันประกอบฉะนี้แล ในปริจเฉทที่ ๒ ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้ มี ๒๕ คาถา ด้วยประการฉะนี้ ปริจเฉทที่ ๒ นี้ จบแล้วโดยย่อแล

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

67


ปริจเฉทที่ ๓ : ปกิณณกสังคหวิภาค ๑ สมฺปยุตฺตา ยถาโยคํ ธรรม คือ จิตและเจตสิก ๕๓ เตปญฺ าส สภาวโต ประกอบกันตามสมควรแก่การประกอบ จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา โดยสภาพ บัดนี้ ข้าพเจ้าจะนำ การสงเคราะห์ เตสนฺทานิ ยถารหํ ธรรมเหล่านั้นมา ๒ เวทนาเหตุโต กิจฺจ- โดยเวทนา เหตุ กิจ ทวาราลมฺพนวตฺถุโต ทวาร อารมณ์ และวัตถุ จิตฺตุปฺปาทวเสเนว ด้วยอำนาจแห่งจิตตุปบาทนั่นแล ตามสมควร สํคโห นาม นียเต ๓ สุขํ ทุกฺขมุเปกฺขาติ ในเวทนาสังคหะนั้น เวทนา มี ๓ ชนิด ติวิธา ตตฺถ เวทนา คือ สุข ทุกข์ และอุเบกขา โสมนสฺสํ โทมนสฺสํ โดยประเภทมี ๕ อิติ เภเทน ปญฺจธา คือ โสมนัส และโทนัส ๔ สุขเมกตฺถ ทุกฺขญฺจ ในเวทนาเหล่านี้ สุขและทุกข์ตั้งอยู่ ในจิตดวงเดียว โทมนสฺสํ ทวเย ิตํ โทมนัสตั้งอยู่ในจิต ๒ ทฺวาสฏฺ ีสุ โสมนสฺสํ โสมนัสตั้งอยู่ในจิต ๖๒ ปญฺจปญฺ าสเกตรา อุเบกขาตั้งอยู่ในจิต ๕๕

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

68


๕ โลโภ โทโส จ โมโห จ เหตู อกุสลา ตโย อโลภาโทสาโมหา จ กุสลาพฺยากตา ตถา ๖ อเหตุกฏฺ ารเสก เหตุกา เทฺว ทฺวิวีสติ ทุเหตุกา มตา สตฺต จตฺตาฬีส ติเหตุกา ๗ ปฏิสนฺธาทโย นาม กิจฺจเภเทน จุทฺทส ทสธา านเภเทน จิตฺตุปฺปาทา ปกาสิตา ๘ อฏฺ สฏฺ ี ตถา เทฺว จ นวฏฺ เทฺว ยถากฺกมํ เอกทฺวิติจตุปญฺจ- กิจฺจฏฺ านานิ นิทฺทิเส

เหตุที่เป็นอกุศล มี ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ เหตุที่เป็นกุศลและอัพยากฤตก็มี ๓ เหมือนกัน คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ท่านกล่าวจิตที่เป็นอเหตุกไว้ ๑๘ ที่เป็นเอกเหตุกะ ๒ ที่เป็นทุเหตุกะ ๒๒ ที่เป็นติเหตุกะ ๔๗ จิตตุปบาทที่ชื่อว่า ปฏิสนธิ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๑๔ อย่าง โดยความต่าง แห่งกิจ และ ๑๐ อย่าง โดยความต่างแห่งฐาน บัณฑิตพึงแสดงจิตที่มีกิจ ๑ และ ฐาน ๑ ที่มีกิจ ๒ และฐาน ๒ ที่มีกิจ ๓ และ ฐาน ๓ ที่มีกิจ ๔ และฐาน ๔ ที่มีกิจ ๕ และ ฐาน ๕ คือ จิต ๖๘ ๒ ๙ ๘ และ ๒ ตามลำดับ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

69


๙ เอกทฺวาริกจิตฺตานิ ปญฺจ ฉทฺวาริกานิ จ ฉทฺวาริกวิมุตฺตานิ วิมุตฺตานิ จ สพฺพถา ๑๐ ฉตฺตึสติ ตถา ตีณิ เอกตฺตึส ยถากฺกมํ ทสธา นวธา เจติ ปญฺจธา ปริทีปเย ๑๑ ปญฺจวีส ปริตฺตมฺหิ ฉ จิตฺตานิ มหคฺคเต เอกวีสติ โวหาเร อฏฺ นิพฺพานโคจเร ๑๒ วีสานุตฺตรมุตฺตมฺหิ อคฺคมคฺคผลุชฺชิเต ปญฺจ สพฺพตฺถ ฉ เจติ

บัณฑิตพึงแสดงจิตที่เป็นไปในทวาร เดียว ๑ ที่เป็นไปในทวารทั้งห้า ๑ ที่เป็นไป ในทวารทั้งหก ๑ ที่เป็นไปในทวารทั้งหกบางคราว พ้นจากทวาร ๑ ที่พ้นจากทวาร โดยประการทั้งปวง ๑ โดยประการ ๕ อย่าง คือ จิต ๓๖ ๓ ๓๑ ๑๐ และ ๙ ตามลำดับ ในอาลัมพนสังคหะนั้น มีการสงเคราะห์โดยอาการ ๗ อย่าง คือ ในอารมณ์ที่เป็นกามาวจรได้จิต ๒๕ ในอารมณ์ที่เป็นมหัคคหะได้จิต ๖ ในอารมณ์ที่เป็นบัญญัติได้จิต ๒๑ ในอารมณ์คือนิพพานได้จิต ๘ ในอารมณ์ที่พ้นจากโลกุตตระได้จิต ๒๐

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

70


สตฺตธา ตตฺถ สงฺคโห ๑๓ ฉวตฺถุนิสฺสิตา กาเม สตฺต รูเป จตุพฺพิธา ติวตฺถุนิสสิตารุปฺเป ธาเตฺวกานิสฺสิตา มตา ๑๔ เตจตฺตาฬีส นิสฺสาย เทฺวจตฺตาฬีส ชายเร อนิสฺสาย จ นิสฺสาย ปาการุปฺปา อนิสฺสิตา อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถสงฺคเห ตติเย ปริจฺเฉทสฺมึ คาถา โหนฺติ จตุทฺทส ตติโย ปริจฺเฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺ ิโต

ในอารมณ์ทั้งหมด เว้นอรหัตตมรรค อรหัตตผลได้จิต ๕ ในอารมณ์ทุกอย่าง ได้จิต ๖ มโนวิญญาณธาตุ ๗ อาศัยวัตถุหก ท่านกล่าวไว้ในกามภพ มโนวิญญาณธาตุ ๔ อาศัยวัตถุสาม ท่านกล่าวไว้ในรูปภพ มโนวิญญาณ อย่างเดียวไม่อาศัย ท่านกล่าวไว้ ในอรูปภพ จิต ๔๓ อาศัยวัตถุเกิด วิญญาณธาตุ ๔๒ อาศัยวัตถุเกิดบ้าง ไม่อาศัยบ้าง มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอรูปวิบาก ไม่อาศัยวัตถุ เกิดเลย ในปริจเฉทที่ ๓ ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้ มี ๑๔ คาถา ปริจเฉทที่ ๓ นี้ จบลงโดยย่อแล

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

71


ปริจเฉทที่ ๔ : วิถีสังคหวิภาค ๑ จิตฺตุปฺปาทานมิจฺเจวํ กตฺวา สงฺคหมุตฺตรํ ภูมิปุคฺคลเภเทน ปุพฺพาปรนิยามิตํ ๒ ปวตฺติสงฺคหํ นาม ปฏิสนธิปฺปวตฺติยํ ปวกฺขามิ สมาเสน ยถาสมฺภวโต กถํ ๓ วิถีจิตฺตานิ สตฺเตว จิตฺตุปฺปาทา จตุทฺทส จตุปญฺ าส วิตฺถารา ปญฺจทฺวาเร ยถารหํ ๔ วิถีจิตฺตานิ ตีเณว จิตฺตุปฺปาทา ทเสริตา วิตฺถาเรน ปเนตฺเถก- จตฺตาฬีส วิภาวเย

ข้าพเจ้ากระทำการสงเคราะห์ซึ่ง จิตตุปบาท อันยอดยิ่ง ด้วยประการอย่างนี้แล้ว จักกล่าวกถา อันมีชื่อว่า ปวัตติสังคหะ ที่ท่านกำหนดด้วยจิตดวงก่อนและ ดวงหลัง โดยความต่างแห่งภูมิและบุคคล ในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล ตามสมควรแก่ความเป็นไปโดยย่อ ในทวารทั้ง ๕ มีวิถีจิตเพียง ๗ มีจิตตุปบาท ๑๔ โดยพิสดารมี ๕๔ ตามสมควร ในมโนทวารนี้ บัณฑิตกล่าววิถีจิตไว้เพียง ๓ จิตตุปบาทไว้ ๑๐ แต่โดยพิสดารท่านประกาศจิตตุปบาท ไว้ถึง ๔๑

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

72


ทวตฺตึส สุขปุญฺ มฺหา

อัปปนา ๓๒ เกิดจากบุญประกอบด้วย

ความสุข ทวาทโสเปกฺขกา ปรํ อัปปนา ๑๒ เกิดต่อจากอุเบกขา สุขิตกฺริยาโต อฏฺ อัปปนา ๘ เกิดจากกิริยามีความสุข ฉ สมฺโภนติ อุเปกฺขกา อัปปนา ๖ เกิดต่อจากอุเบกขา ๖ ปุถุชฺชนาน เสกฺขานํ อัปปนาของพวกปุถุชนและ กามปุญฺ ติเหตุโต ของพระเสขะเกิดจาก ติเหตุกกามาวจรกุศล ติเหตุกามกฺริยโต ของท่านผู้ปราศจากราคะ วีตราคานมปฺปนา เกิดจากติเหตุกามาวจรกิริยา ๗ กาเม ชวนสตฺตาลมฺ- ในกามภพ พนานํ นิยเม สติ เมื่อมีความนิยมชวนะสัตว์และอารมณ์ วิภูเตติมหนฺเต จ ท่านกล่าวตทาลัมพนะไว้ ตทาลมฺพนมีริตํ แต่ในวิภูตารมณ์และอภิมหันตารมณ์ เท่านั้น ๘ สตฺตกฺขตฺตุํ ปริตฺตานิ กามาวจรชวนะบัณฑิตกล่าวไว้ ๗ ครั้ง มคฺคาภิญฺ า สกึ มตา มรรคชวนะและอภิญญาชวนะ กล่าวไว้ครั้งเดียว อวเสสานิ ลพฺภนฺต ิ แต่ท่านได้ชวนะที่เหลือแม้เป็นอันมาก ชวนานิ พหูนิปิ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

73


๙ อเสกฺขานํ จตุจตฺตา- บัณฑิตแสดงวิถีจิตของพระอเสขะ ไว้ ๔๔ ฬีส เสกฺขานมุทฺทิเส ของพระเสขะแสดงไว้ ๕๖ ฉปฺปญฺ าสาวเสสานํ ของบุคคลที่เหลือแสดงได้ ๕๔ จตุปญฺ าส สมฺภวา ตามสมควรแก่การสมภพ (เกิด) ๑๐ อสีติ วิถีจิตฺตานิ ในกามภพมวิถีจิตได้ ๘๐ กาเม รูเป ยถารหํ ในรูปภพมีวิถีจิตได้ ๖๔ ตามสมควร จตุสฏฺ ี ตถารูเป อนึ่ง ในรูปภพ มีวิจิตได้ ๔๒ เทฺวจตฺตาฬีส ลพฺภเร อิจฺจานุรุทฺธรจิเต ในปริจเฉทที่ ๔ อภิธมฺมตฺถสงฺคเห ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ จตุตฺเถ ปริจฺเฉทสฺมึ ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้ คาถา ทเสว จาคตา มี ๑๐ คาถาเท่านั้น จตุตฺโถ ปริจฺเฉโทยํ ปริจเฉทที่ ๔ นี้ จบลงโดยย่อแล สมาเสเนว นิฏฺ ิโต ปริจเฉทที่ ๕ : วิถีมุตตสังคหวิภาค ๑ วิถีจิตฺตวเสเนวํ สังคหะที่ชื่อว่า ปวัตติสังคหะ ปวตฺติยมุทีริโต ซึ่งข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในปวัตติกาล ปวตฺติสงฺคโห นาม ด้วยอำนาจแห่งวิถีจิตอย่างนั้น สนฺธิยนฺทานิ วุจฺจติ บัดนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวในปฏิสนธิกาล

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

74


๒ ปุถุชฺชนา น ลพฺภนฺติ สุทฺธาวาเสสุ สพฺพถา โสตาปนฺนา จ สกิทา- คามิโน จาปิ ปุคฺคลา ๓ อริยา โนปลพฺภนฺติ อสญฺ าปายภูมิสุ เสสฏฺ าเนสุ ลพฺภนฺต ิ อริยานริยาปิ จ ๔ นวสตญฺเจกวีส- วสฺสานํ โกฏิโย ตถา วสฺสสตสหสฺสานิ สฏฺ ิ จ วสวตฺติส ุ ๕ ปฏิสนฺธิ ภวงฺคญฺจ ตถา จวนมานสํ เอกเมว ตเถเวก- วิสยญฺเจกชาติยํ

พวกปุถุชนก็ด ี พระโสดาบันก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี ย่อมไม่ได้ในชั้นสุทธาวาส แม้โดยประการทั้งปวง พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ได้ในอบายภูมิ และอสัญญาภูมิและผู้ที่ไม่ใช่พระอริยเจ้า และผู้ที่เป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมได้ในฐานะที่เหลือทั้งหลาย ๙๒๑ โกฏิ กับ ๖ ล้านปี เป็นประมาณแห่งอายุ ในพวกเทวดาชั้นวสวัดดี ปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติจิตเป็นอย่างเดียวกันนั่นเอง และมีอารมณ์อย่างเดียวกัน ในชาติหนึ่งเหมือนอย่างนั้นแล

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

75


๖ อสงฺขารํ สสงฺขาร- วิปากานิ น ปจฺจติ สสงฺขารมสงฺขาร- วิปากานีติ เกจิ น ๗ เตสํ ทฺวาทส ปากานิ ทสฏฺ จ ยถากฺกมํ ยถาวุตฺตานุสาเรน ยถาสมฺภวมุทฺทิเส ๘ อิตฺถํ มหคฺคตํ ปุญฺ ํ ยถาภูมิววตฺถิตํ ชเนติ สทิสํ ปากํ ปฏิสนธิปฺปวตฺติยํ ๙ อารุปฺปจุติยา โหนฺต ิ เหฏฺ ิมารุปฺปวชฺชิตา ปรมารุปฺปสนฺธี จ ตถา กาเม ติเหตุกา

พระเถระทั้งหลายบางพวกกล่าวไว้ว่า กรรมที่เป็นอสังขาร ย่อมไม่ให้ผลที่เป็นสสังขาร กรรมที่เป็นสสังขารย่อมไม่ให้วิบาก ที่เป็นอสังขาร ตามมติของอาจารย์ทั้งหลายเหล่านั้น บัณฑิตพึงแสดงวิบาก ๑๒ ๑๐ และ ๘ โดยทำนองตามที่กล่าวแล้ว ตามสมควรแก่การสมภพ มหัคคตกุศลท่านกำหนดไว้ตามภูมิ ย่อมให้วิบากที่เหมือนกัน ในปฏิสนธิกาลและปฏิสนธิกาล ด้วยประการฉะนี้ ก็อรูปปฏิสนธิทั้งหลาย เว้นอรูปชั้นต่ำ ย่อมมีต่อจากอรูปจุติ ส่วนพวกติเหตุกปฏิสนธิย่อมมีใน กามภพ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

76


๑๐ รูปาวจรจุติยา อเหตุรหิตา สิยุํ สพฺพา กามติเหตุมหา กาเมเสฺวว ปเนตรา ๑๑ ปฏิสนฺธิภวงฺควิถิโย จุติ เจห ตถา ภวนฺตเร ปุน สนฺธิ ภวงฺคมิจฺจายํ ปริวตฺตติ จิตฺตสนฺตติ

ปฏิสนธิทั้งหลายเว้นอเหตุกปฏิสนธิ พึงมีต่อจากรูปาวจรจุติ ปฏิสนธิทั้งปวง มีอเหตุกปฏิสนธิ มีต่อจากกามาวจรติเหตุกะ ส่วนปฏิสนธินอกนี้ในกามภพเท่านั้น ความสืบต่อแห่งจิตมีอาทิอย่างนี้ คือ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต วิถีจิต และจุติจิต ย่อมหมุนเวียนไปในภพนี้ฉันใด ปฏิสนธิจิต ภวังคจิตย่อมหมุนเวียนไป ในภพอื่นฉันนั้น ๑๒ ปฏิสงฺขาย ปเนตมทฺธุวํ ก็พวกผู้รู้พิจารณาปฏิสนธิจิตเป็นต้นนี้ ไม่ยั่งยืนถาวร อธิคนฺตฺวา ปทมจฺจุตํ พุธา แล้วได้บรรลุบทอันไม่จุติแปรผัน เป็นผู้ตัดเครื่องผูกมัดคือความมีเยื่อใยเสีย สุสมุจฺฉินฺนสิเนหพนฺธนา ด้วยดี เป็นผู้มีวัตรอันดี สมเมสฺสนฺติ จิราย สุพฺพตา ตลอดกาลนาน จั ก ถึ ง ธรรมอั น สงบ ฉะนี้แล อิจฺจานุรุทฺธรจิเต ในปริจเฉทที่ ๕ อภิธมฺมตฺถสงฺคเห ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปญฺจโม ปริจฺเฉทสฺมึ ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

77


คาถา ทวาทส อาคตา ปญฺจโม ปริจฺเฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺ ิโต ปริจเฉทที่ ๖ : รูปสังคหวิภาค ๑ เอตฺตาวตา วิภตฺตา หิ สปฺปเภทปฺปวตฺติกา จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา รูปนฺทานิ ปวุจฺจติ ๒ สมุทฺเทสา วิภาคา จ สมุฏฺ านา กลาปโต ปวตฺติกกมโต เจติ ปญฺจธา ตตฺถ สงฺคโห ๓ ภูตปฺปสาทวิสยา ภาโว หทยมิจฺจปิ ชีวิตาหารรูเปหิ อฏฺ ารสวิธํ ตถา

มี ๑๒ คาถา ปริจเฉทที่ ๕ นี้ จบลงโดยย่อ

เพราะว่า ธรรมทั้งหลายฝ่ายจิตและ เจตสิก พร้อมทั้งประเภทและประวัติ ข้าพเจ้าได้จำแนกไว้แล้ว ด้วยลำดับ แห่งคำเพียงเท่านี้ บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวถึงรูป ในรูปนั้น มีการรวบรวมโดยอาการ ๕ นัย คือ โดยการแสดงย่อ โดยการจำแนก โดยเหตุเกิด โดยหมวดหมู่ โดยการเกิด ภูตรูป ๔ ปสาทรูป ๕ วิสัยรูป ๔ ภาวรูป ๒ หทัยรูป ๑ กับ ชีวิตรูป อาหารรูป รวมเป็นนิปผันนรูป ๑๘ แม้อย่างนี้

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

78


๔ ปริจฺเฉโท จ วิญฺ ตฺติ และอนิปผันนรูป ๑๐ คือ วิกาโร ลกฺขณนฺติ จ ปริจเฉทรูป ๑ วิญญัตรูป ๒ อนิปฺผนฺนา ทส เจติ วิการรูป ๓ และลักษณะรูป ๔ อฏฺ วีสติวิธมฺภเว รวมเป็น ๒๘ ๕ อิจฺเจวมฏฺ วีสติ- ก็บัณฑิตผู้เห็นประจักษ์ วิธมฺปิ จ วิจกฺขณา ย่อมจำแนกรูปไว้แม้ ๒๘ อย่าง อชฺฌตฺติกาทิเภเทน โดยความต่างแห่งรูป มีอัชฌัตติกรูป วิภชนฺติ ยถารหํ เป็นต้น ตามสมควร ด้วยประการฉะนี้ ๖ อฏฺ ารส ปณฺณรส รูปเกิดแต่กรรม จิต อุตุ อาหารมีตาม เตรส ทฺวาทสาติ จ ลำดับ คือ กัมมชรูป ๑๘ จิตตชรูป ๑๕ กมฺมจิตฺโตตุกาหาร- อุตุชรูป ๑๓ อาหารชรูป ๑๒ ชานิ โหนฺติ ยถากฺกมํ ๗ ชายมานาทิรูปานํ พระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้วว่า สภาวตฺตา ขิ เกวลํ ลักขณรูป ๔ ย่อมไม่เกิดจากสมุฏฐาน ลกฺขณานิ น ชายนฺติ ไหนเลย เพราะความเป็น เกหิจีติ ปกาสิตํ สภาพแห่งรูปทั้งหลายมีรูปที่เกิดอยู่ เป็นต้นอย่างเดียว ๘ กมฺมจิตโตตุกาหาร- กลาป ๒๑ คือ สมุฏฺ านา ยถากฺกมํ มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ๙ กลาป นว ฉ จตุโร เทวติ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ๖ กลาป มีอุตุ กลาปา เอกวีสติ เป็นสมุฏฐาน ๔ กลาป มีอาหารเป็น สมุฏฐาน ๒ กลาป พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

79


๙ กลาปานํ ปริจฺเฉท- ลกฺขณตฺตา วิจกฺขณา น กลาปงฺคมิจฺจาหุ อากาสํ ลกฺขณานิ จ ๑๐ อิจฺเจวํ มตสตฺตานํ ปุนเทว ภวนฺตเร ปฏิสนฺธิมุปาทาย ตถา รูปํ ปวตฺตติ ๑๑ อฏฺ วีสติ กาเมสุ โหนฺติ เตวีส รูปิสุ สตฺตรเสว สญฺ ีนํ อรูเป นตฺถิ กิญฺจิปิ ๑๒ สทฺโท วิกาโร ชรตา มรณญฺโจปปตฺติยํ น ลพฺภนฺติ ปวตฺเต ตุ นกิญฺจิปิ น ลพฺภติ ๑๓ ปทมจฺจุตมจฺจนฺต ํ อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมิติ ภาสนฺติ วานมุตฺตา มเหสโย

บัณฑิตผู้เห็นประจักษ์ ไม่กล่าวอากาศและลักษณะรูปว่า เป็นองค์แห่งกลาป เพราะอากาศ เป็นเครื่องกำหนด และลักษณะรูป เป็นลักษณะของกลาปทั้งหลาย รูปของเหล่าสัตว์ที่ตายแล้ว ย่อมเป็นไปอย่างนั้น ในภพอื่นอีกนั่นแล เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ ด้วยประการดังที่กล่าวมาฉะนี้ ในกามภพ มีรูป ๒๘ ในรูปภพ มีรูป ๑๓ สำหรับพวกอสัญญี สัตว์ มีรูป ๑๗ เท่านั้น ในอรูปภพ แม้รูปอะไรก็ไม่มีเลย สัททรูป วิการรูป ชรตารูป และมรณะย่อมไม่ได้ในเวลาเกิด ส่วนในปวัตติกาล แม้รูปอะไรจะไม่ได้ก็หามิได้ พระมเหสีเจ้าทั้งหลาย ผู้พ้นแล้วจากตัณหาชื่อว่า วานะ ย่อมตรัสเรียกบทที่ไม่มีจุติล่วงเสีย ซึ่งที่สุด อันปัจจัยอะไร ปรุงแต่งไม่ได้ อันยอดเยี่ยมว่า นิพพาน ดังนี้ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

80


๑๔ อิติ จิตฺตํ เจตสิกํ พระตถาคตเจ้าทั้งหลายย่อมประกาศ รูปํ นิพฺพานมิจฺจปิ ปรมัตถธรรมเพียง ๔ ประการ คือ ปรมตฺถํ ปกาเสนฺติ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน จตุธา ว ตถาคตา ด้วยประการฉะนี้ อิจฺจานุรุทฺธรจิเต ในปริจเฉทที่ ๖ อภิธมฺมตฺถสงฺคเห ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ฉฏฺ เม ปริจฺเฉทสฺมึ ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้ คาถาโย จุทฺทสาคตา มี ๑๔ คาถา ด้วยประการฉะนี้ ฉฏฺ โม ปริจฺเฉโทยํ ปริจเฉทที่ ๖ นี้ จบลงโดยย่อ สมาเสเนว นิฏฺ ิโต ปริจเฉทที่ ๗ : สมุจจยสังคหวิภาค ๑ ทฺวาสตฺตติวิธา วุตฺตา บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวสมุจจัย วตฺถุธมฺมา สลกฺขณา แห่งวัตถุธรรมทั้งหลาย ๗๒ อย่าง เตสนฺทานิ ยถาโยคํ พร้อมทั้งลักษณะที่ข้าพเจ้าได้ ปวกฺขามิ สมุจฺจยํ กล่าวไว้แล้ว ตามสมควรแก่การประกอบ ๒ อาสโวฆา จ โยคา จ ปาปสังคหะนี้ ท่านกล่าวไว้ ๙ อย่าง ตโย คนฺถา จ วตฺถุโต คือ อาสวะ โอฆะ โยคะ อุปาทานา ทุเว ธมฺมา คันถะมีอย่างละ ๓ โดยวัตถุธรรม อฏฺ นีวรณา สิยุํ อุปาทานท่านกล่าวไว้ ๒ อย่าง ฉ เฬวานุสยา โหนฺติ นิวรณ์พึงมี ๘ อย่าง อนุสัยมีเพียง ๖ อย่าง พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

81


๓ นว สญฺโ ชนา มตา กิเลสา ทเสติ วุตโตยํ นวธา ปาปสงฺคโห ๔ ฉ เหตู ปญฺจ ฌานงฺคา มคฺคงฺคา นว วตฺถุโต โสฬสินฺทฺริยธมฺมา จ พลธมฺมา นเวริตา จตฺตาโรธิปตี วุตฺตา ๕ ตถาหาราติ สตฺตธา กุสลาทิสมากิณฺโณ วุตฺโต มิสฺสกสงฺคโห ๖ ฉนฺโท จิตฺตมุเปกฺขา จ สทฺธาปสฺสทฺธิปีติโย สมฺมาทิฏฺ ิ จ สงฺกปฺโป วายาโม วิรติตฺตยํ สมฺมาสติ สมาธีติ จุทฺทเสเต สภาวโต สตฺตตึสปฺปเภเทน สตฺตธา ตตฺถ สงฺคโห

สัญโยชน์ท่านกล่าวไว้ ๙ อย่าง กิเลส ๑๐ อย่าง มิสสกสังคหะ ซึ่งเคล้าไปด้วยกุศลธรรม ท่านกล่าวไว้ ๗ อย่าง คือ โดยวัตถุธรรม เหตุท่านกล่าวไว้ ๖ อย่าง องค์ฌานกล่าวไว้ ๕ อย่าง องค์มรรคกล่าวไว้ ๙ อย่าง อินทรียธรรมกล่าวไว้ ๑๖ อย่าง พลธรรมกล่าวไว้ ๙ อย่าง อธิบดีกล่าวไว้ ๔ อย่าง อาหารก็กล่าวไว้ ๔ อย่างเหมือนกัน ธรรมเหล่านี้ มี ๑๔ โดยสภาพ คือ ฉันทะ ๑ จิตตะ ๑ อุเบกขา ๑ ศรัทธา ๑ ปัสสัทธิ ๑ ปีติ ๑ สัมมาทิฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ วิรัติทั้งสาม ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ โดยประเภทแห่งธรรม ๓๗ อย่าง ในโพธิปักขิยธรรมนั้น มีการสงเคราะห์ ๗ อย่าง พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

82


๗ สงฺกปฺปปสฺสทฺธิ จ ปีตุเปกฺขา ธรรม ๙ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะ ๑ ปัสสัทธิ ๑ ฉนฺโท จ จิตฺตํ วิรติตฺตยญฺจ ปีติ ๑ อุเบกขา ๑ ฉันทะ ๑ จิตตะ ๑ นเวก านา วิริยํ นวฏฺ วิรัติทั้งสาม ๑ มีฐานเดียวกัน สตี สมาธี จตุ ปญฺจ ปญฺา วิริยะมีฐาน ๙ สทฺธา ทุ านุตฺตมสตฺตตึส สติมี ๘ ฐาน ธมฺมานเมโส ปวโร วิภาโค สมาธิ มี ๔ ฐาน ปัญญา มี ๕ ฐาน ศรัทธา มี ๒ ฐาน นี้เป็นวิภาค อันประเสริฐแห่งธรรมอันสูงสุด ๓๗ อย่าง ๘ สพฺเพ โลกุตฺตเร โหนฺติ ในโลกุตตรจิตทั้ง ๘ ธรรม ๓๗ อย่าง น วา สงฺกปฺปีติโย มีทั้งหมดก็ม ี โลกิเยปิ ยถาโยคํ ไม่มีสังกัปปะ และปีติก็มี แม้ในโลกิยจิต ฉพฺพิสุทฺธิปฺปวตฺติยํ ก็ มี ไ ด้ ในเวลาวิ สุ ท ธิ ห กเป็ น ไปตาม สมควร ๙ รูปญฺจ เวทนา สญฺ า ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ เสสา เจตสิกา ตถา รูป เวทนา สัญญา วิญฺ าณมิติ ปญฺเจเต เจตสิกที่เหลือ และวิญญาณ ปญฺจกฺขนฺธาติ ภาสิตา ท่านเรียกว่า ขันธ์ ๕

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

83


๑๐ ปญฺจุปาทานขนฺธาติ ตถา เตภูมิกา มตา เภทาภาเวน นิพฺพานํ ขนฺธสงฺคหนิสฺสฏํ ๑๑ ทวาราลมฺพนเภเทน ภวนฺตายตนานิ จ ทวาราลมฺพนตทุปฺปนฺน- ปริยาเยน ธาตุโย ๑๒ ทุกฺขํ เตภูมิกํ วฏฺฏํ ตณฺหา สมุทโย ภเว นิโรโธ นาม นิพฺพานํ มคฺโค โลกุตฺตโร มโต ๑๓ มคฺคยุตฺตา ผลา เจว จตุสจฺจวินิสฺสฏา อิติ ปญฺจปฺปเภเทน ปวุตฺโต สพฺพสงฺคโห อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถสงฺคเห

อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในภูมิ ๓ ท่านเรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ นิพพานพ้นจากการสงเคราะห์ เข้าในขันธ์ เพราะไม่มีการจำแนก โดยความต่างแห่งทวารและอารมณ์ อายตนะ มี ๑๒ และธาตุ มี ๑๘ โดยลำดับแห่งทวารอารมณ์ และวิญญาณที่อาศัยทวารและ อารมณ์นั้นเกิดขึ้น วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า ทุกข์ ตัณหาชื่อว่า เป็นสมุทัย พระนิพพานชื่อว่า นิโรธ โลกุตตรมรรคเรียกว่า มรรค ธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วยมรรค และผลทั้งหลายที่ประกอบด้วยมรรค สัพพสังคหะ ท่านกล่าวไว้โดยประเภท ด้วยประการฉะนี้ ในปริจเฉทที่ ๗ ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

84


สตฺตเม ปริจฺเฉทสฺมึ มี ๑๔ คาถา คาถา จตุทฺทสาคตา ปริจเฉทที่ ๗ นี้ จบลงแล้วโดยย่อ สตฺตโม ปริจฺเฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺ ิโต ปริจเฉทที่ ๘ : ปัจจยสังคหวิภาค ๑ เยสํ สงฺขตธมฺมานํ บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าว เย ธมฺมา ปจฺจยา ยถา วิภาคแห่งธรรมที่เป็นปัจจัย ตํ วิภาคมิเหทานิ แก่สังขตธรรมทั้งหลาย ปวกฺขามิ ยถารหํ โดยอาการที่เป็นได้ ในปริจเฉทที่ ๘ นี้ ตามสมควร ๒ อตีเต เหตโว ปญฺจ ในอดีตกาล มีเหตุอยู่ ๕ อย่าง อิทานิ ผลปญฺจกํ ในปัจจุบันกาล มีผลอยู่ ๕ อย่าง อิทานิ เหตโว ปญฺจ ในปัจจุบันกาล มีเหตุอยู่ ๕ อย่าง อายตึ ผลปญฺจกํ ในอนาคตกาล มีผลอยู่ ๕ อย่าง ๓ เตสเมว จ มูลานํ ก็เพราะธรรมอันเป็นมูลเหล่านั้น นั่นแลดับ นิโรเธน นิรุชฺฌติ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๓ จึงดับ ชรามรณมุจฺฉาย และเพราะอาสวะทั้งหลายเกิด ปีฬิตานมภิณฺหโส อวิชชาย่อมเจริญยิ่ง

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

85


๔ อาสวานํ สมุปฺปาทา อวิชฺชา จ ปวฑฺฒติ วฏฺฏมาวทฺธมิจฺเจวํ เตภูมิกมนาทิกํ ปฏิจฺจสมุปฺปาโทติ ปฏฺ เปสิ มหามุนิ ๕ ฉธา นามนฺตุ นามสฺส ปญฺจธา นามรูปินํ เอกธา ปุน รูปสฺส รูปํ นามสฺส เจกธา ๖ ปญฺ ตฺตินามรูปานิ นามสฺส ทุวิธา ทฺวยํ ทวยสฺส นวธา เจติ ฉพฺพิธา ปจฺจยา กถํ

แก่เหล่าสัตว์ทั้งหลายที่ถูกลมสลบ คือ ชราและมรณะบีบคั้นอยู่เนือง ๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระมหามุน ี ทรงบัญญัติวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ทั้ง ๓ ที่หมุนไปไม่ขาดสาย ไม่มีจุดเริ่มต้นนี้ว่า ปฏิจจสมุปบาท ด้วยประการฉะนี้ ปัจจัยทั้งหลาย มี ๖ อย่าง คือ ส่วนนามเป็นปัจจัยแก่นาม โดยอาการ ๖ อย่าง ๑ เป็นปัจจัยแก่นามและรูป ๕ อย่าง ๑ กลับเป็นปัจจัยแก่รูปอีกอย่างเดียว ๑ และรูปเป็นปัจจัยแก่นามอย่างเดียว ๑ บัญญัตินามและรูปเป็นปัจจัยแก่นาม ๒ อย่าง ๑ นามรูปทั้ง ๒ เป็นปัจจัย แก่นามรูปทั้ง ๒๙ อย่าง ๑

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

86


๗ สหชาตํ ปุเรชาตํ ปจฺฉาชาตญฺจ สพฺพถา กวฬิงฺกาโร อาหาโร รูปชีวิตมิจฺจยํ ๘ อิติ เตกาลิกา ธมฺมา กาลมุตฺตา จ สมฺภวา อชฺฌตฺตญฺจ พหิทฺธา จ สงฺขตาสงฺขตา ตถา ๙ ปญฺ ตฺตินามรูปานํ วเสน ติวิธา ิตา ปจฺจยา นาม ปฏฺ าเน จตุวีสติ สพฺพถา ๑๐ วจีโฆสานุสาเรน โสตวิญฺาณวิถียา ปวตฺตานนฺตรปฺปนฺน มโนทวารสฺส โคจรา

สหชาตปัจจัย ๑ ปุเรชาตปัจจัย ๑ ปัจฉาชาตปัจจัย ๑ กวฬิงการาหาร ๑ รูปชีวิตินทรีย์ ๑ ฉะนี้แลโดยประการทั้งปวง ธรรมทั้งหลาย มีกาล ๓ และพ้นจากกาลเป็นไปในภายใน และภายนอก เป็นสังขตะและเป็นอสังขตะ ฉะนี้ ตั้งอยู่โดยอาการ ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งบัญญัติ นาม ๑ และรูป ๑ ชื่อว่า ปัจจัย ๒๔ ในคัมภีร์ปัฏฐานโดยประการทั้งปวง อรรถทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ แห่งมโนทวาร ซึ่งเกิดขึ้นในลำดับแห่งความเป็นไป แห่งโสตวิญญาณวิถี โดยกระแสเสียงทางวาจา

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

87


๑๑ อตฺถา ยสฺสานุสาเรน วิญฺ ายนฺติ ตโต ปรํ สายํ ปญฺ ตฺติ วิญฺเ ยฺยา โลกสงฺเกตนิมมิตา

พ้นจากการรู้ชื่อนั้น บัณฑิตย่อมรู้ได้โดยกระแสของ การบัญญัติใด บัญญัตินั้นพึงทราบว่าเป็นบัญญัติ หมายความตามข้อสังเกตของชาวโลก ฉะนี้แล ในปริจเฉทที่ ๘ ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้ มี ๑๑ คาถา ด้วยประการฉะนี้ ปริจเฉทที่ ๘ นี้ จบลงแล้วโดยย่อแล

อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถสงฺคเห อฏฺ เม ปริจฺเฉทสฺมึ คาถา เอกาทสาคตา อฏฺ โม ปริจฺเฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺ ิโต ปริจเฉทที่ ๙ : กัมมัฏฐานสังคหวิภาค ๑ สมถวิปสฺสนานํ ต่อจากนี้ไป ภาวนานมิโต ปรํ ข้าพเจ้า (ผู้ชื่อว่า อนุรุทธาจารย์) กมฺมฏฺ านํ ปวกฺขามิติ จักกล่าวกัมมัฏฐานแม้ทั้ง ๒ อย่าง ทุวิธมฺปิ ยถากฺกมํ แห่งภาวนา ๒ คือ สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ๒ อิทฺธิวิธา ทิพฺพโสตํ อภิญญา มี ๕ อย่าง คือ ปรจิตฺตวิชานนา อิทธิวิธิ ทิพโสตะ ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติ ปรจิตตวิชชา ทิพฺพจกฺขูติ ปญฺจธา ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ทิพจักษุ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

88


๓ โอภาโส ปีติ ปสฺสทฺธิ อธิโมกโข จ ปคฺคโห สุขํ าณมุปฏฺ าน- มุเปกฺขา จ นิกนฺติ จ ๔ มคฺคํ ผลญฺจ นิพฺพานํ ปจฺจเวกฺขติ ปณฺฑิโต ปหีเน เกลเส เสเส จ ปจฺจเวกฺขติ วา น วา ๕ ฉพฺพิสุทฺธิกฺกเมเนวํ ภาเวตพฺโพ จตุพฺพิโธ าณทสฺสนวิสุทฺธิ นาม มคฺโค ปวุจฺจติ ๖ ภาเวตพฺพํ ปนิจฺเจวํ ภาวนาทวยมุตฺตมํ ปฏิปตฺติรสสฺสาทํ ปตฺถยนฺเตน สาสเน

วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คือ โอภาส ปีติ ปัสสัทธิ อธิโมกข์ ปัคคหะ สุข ญาณ อุปัฏฐาน อุเบกขา นิกันติ บัณฑิต (พระอริยบุคคล) ย่อมพิจารณา มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละได้แล้ว และกิเลสที่เหลือ พิจารณาก็มี ไม่มีพิจารณาก็มี มรรคทั้ง ๔ ที่พระอริยบุคคลพึงเจริญ ตามลำดับแห่งวิสุทธิหกอย่างนี้ ท่านเรียกว่า ญาณทัสสนวิสุทธิ ก็บุคคลผู้ปรารถนาความยินดี รสแห่งการปฏิบัติในพระศาสนา พึงเจริญภาวนาทั้งสองอย่าง อันยอดเยี่ยม ดังพรรณนา ฉะนี้

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

89


อิจฺจานุรุทฺธรจิเต ในปริจเฉทที่ ๙ อภิธมฺมตฺถสงฺคเห ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ นวเม ปริจฺเฉทสฺมึ ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาไว้ ฉ คาถา สมุทหตา มี ๖ คาถา นวโม ปริจฺเฉโทยํ ปริจเฉทที่ ๙ นี้ จบลงโดยย่อแล สมาเสเนว นิฏฺ ิโต

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

90


ทำนองการสวด

ทำนองการสวดพระอภิธรรมของพระพิธีธรรมนั้น แตกต่าง จากการสวดพระอภิธรรมทั่ว ๆ ไป ในแต่ละพระอารามจะมีทำนอง

เป็ น ของตนเอง มี ก ารฝึ ก หั ด ฝึ ก ฝนฝึ ก ซ้ อ มกั น เพื่ อ ความคล่ อ งแคล่ ว

พร้อมเพรียง และความไพเราะในการสวด ในปัจจุบันนี้ ทำนองที่พระพิธีธรรม สวดบทสวดต่าง ๆ สรุปแล้วมี ๔ ทำนอง คือ ๑) ทำนองกะ แยกเป็น ๒ ลักษณะ คือ กะเปิด เป็นการสวด

ที่เน้นการออกเสียงคำสวดชัดเจน และกะปิด เป็นการสวดที่เน้นการสวด เอื้อนเสียงยาวต่อเนื่องกันตลอดทั้งบท ไม่เน้นความชัดเจนของคำสวด ๒) ทำนองเลื่ อ นหรื อ ทำนองเคลื่ อ น ได้ แ ก่ การสวดที่ ว่ า

คำไม่เน้นความชัดเจนของคำสวด และเอื้อนเสียงทำนองติดต่อกันไป

โดยไม่ให้เสียงขาดตอน ๓) ทำนองลากซุ ง ได้ แ ก่ การสวดที่ ต้ อ งออกเสี ย งหนั ก

ในการว่าคำสวดทุก ๆ ตัวอักษรเอื้อนเสียงทำนองจากหนักแล้วจึงแผ่วลง

ไปหาเบา ๔) ทำนองสรภั ญ ญะ ได้ แ ก่ การสวดที่ ว่ า คำสวดชั ด เจน

และมีการเอื้อนทำนองเสียงสูง-ต่ำไปพร้อมกับคำสวดนั้น ๆ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

91


บทที่ ๕

โกศบรรดาศักดิ์ โกศ ๑๘ หมายถึ ง (น) ที่ ใ ส่ ศ พนั่ ง เป็ น รู ป กลมทรงกระบอก

ฝาครอบมียอด ที่ใส่กระดูกผี มีขนาดต่าง ๆ ฝาครอบมียอด แต่ความหมาย ในที่นี้จะหมายถึง โกศที่สำหรับใส่ศพมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมมียอด

ซึ่งโกศที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ๑) พระโกศทองใหญ่ พระราชทานสำหรับทรงพระบรมศพ ของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้า ๒) พระโกศทองน้ อ ย พระราชทานสำหรั บ ทรงพระศพ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ๓) พระโกศกุ ดั่ น น้ อ ย พระราชทานสำหรั บ ทรงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จพระสังฆราช ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ที่ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ ๔) พระโกศมณฑปน้ อ ย พระราชทานสำหรั บ ทรงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระราชวงศ์ที่เป็นสะใภ้หลวง ซึ่งได้รับพระราชทาน ตราทุติยจุลจอมเกล้า ประธานองคมนตรีและองคมนตรีที่ถึงแก่อนิจกรรม ในขณะดำรงตำแหน่ ง ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ พระราชทานเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์

ปฐมจุลจอมเกล้า ๑๘

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. ๒๕๔๖. หน้า ๑๕๖.

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

92


๕) โกศไม้ สิ บ สอง พระราชทานสำหรั บ ทรงพระศพ

สมเด็จพระราชาคณะ นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภา

ผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานองค์กรต่าง ๆ

ที่ ก ำหนดในรั ฐ ธรรมนู ญ ฯ และรั ฐ มนตรี ที่ ถึ ง แก่ อ สั ญ กรรมในขณะ

ดำรงตำแหน่ง ๖) พระโกศราชนิ กุ ล พระราชทานสำหรั บ ราชนิ กุ ล หรื อ ราชิ นิ กุ ล ที่ ไ ด้ รั บ เครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ ป ระถมาภรณ์ ม งกุ ฎ ไทย

ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ และตราทุติยจุลจอมเกล้า ๗) พระโกศราชวงศ์ พระราชทานสำหรั บ พระวรวงศ์ เ ธอ หม่ อ มเจ้ า ที่ ไ ด้ รั บ พระราชทานเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ ป ระถมาภรณ์

มงกุฎไทยขึ้นไป หรือได้รับพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ๘) โกศแปดเหลี่ ย ม ปั จ จุ บั น ถื อ เป็ น โกศที่ ใ ช้ กั น มาก

จะพระราชทานสำหรับศพพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง (หิรัญบัฏ) ผู้ที่ได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก และผู้ที่ได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ๙) โกศโถ พระราชทานสำหรับศพพระราชาคณะชั้นธรรม

ผู้ที่ ไ ด้ รั บ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ป ระถมาภรณ์ ม งกุ ฎ ไทย ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ และผู้ที่ได้รับพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้า

(ถ้าเป็นราชนิกุลหรือราชินิกุล พระราชทานโกศราชินิกุล) นอกจากนี้ยังมีหีบ เพื่อพระราชทานให้กับผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ ดังนี ้

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

93


๑) หีบทองทึบ พระราชทานสำหรับศพหม่อมเจ้า เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม พระราชาคณะชั้นเทพ ชั้นราช และชั้นสามัญ ๒) หีบกุดั่น พระราชทานสำหรับศพสตรีที่ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า ๓) หี บ เชิ ง ชาย พระราชทานสำหรั บ ศพพระครู สั ญ ญาบั ต ร พระภิ ก ษุ ส ามเณร เปรี ย ญธรรม ๙ ประโยค นายร้ อ ยทหารบก

เรือ อากาศ นายร้อยตำรวจ ข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับ ๓ และผู้ที่ได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เบญจมาภรณ์ช้างเผือก/มงกุฎไทย เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ ๔) หี บ ก้ า นแย่ ง พระราชทานสำหรั บ ศพสมาชิ ก วุ ฒิ ส ภา

และสภาผู้แทนราษฎร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งถึงแก่กรรม ขณะดำรงตำแหน่ ง ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ พระราชทานเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์

จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก/มงกุฎไทย จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก/ มงกุฎไทย ตติยจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นตราสืบตระกูล ตติยานุจุลจอมเกล้า และสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จตุตถจุลจอมเกล้า ๕) หี บ ทองลายสลั ก พระราชทานสำหรั บ ศพบิ ด ามารดา

ของผู้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภา

ผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานองค์กรต่าง ๆ ที่ ก ำหนดในรั ฐ ธรรมนู ญ ฯ รั ฐ มนตรี ที่ ถึ ง แก่ ก รรมในขณะบุ ต ร

ดำรงตำแหน่ ง และผู้ ที่ ไ ด้ รั บ พระราชทานเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์

ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก/มงกุฎไทย ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

94


พระโกศทองใหญ่ ภาพจากตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์, สำนักพระราชวัง, ๒๕๓๙

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

95


พระโกศทองน้อย

พระโกศมณฑป

ภาพจากตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์, สำนักพระราชวัง, ๒๕๓๙

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

96


พระโกศกุดั่นน้อย

พระโกศไม้สิบสอง

ภาพจากตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์, สำนักพระราชวัง, ๒๕๓๙

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

97


พระโกศราชินิกุล

พระโกศราชวงศ์

ภาพจากตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์, สำนักพระราชวัง, ๒๕๓๙

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

98


โกศแปดเหลี่ยม

โกศโถ

ภาพจากตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์, สำนักพระราชวัง, ๒๕๓๙

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

99


หีบกุดั่น ภาพจากตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์, สำนักพระราชวัง, ๒๕๓๙

หีบทองทึบ ภาพจากตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์, สำนักพระราชวัง, ๒๕๓๙

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

100


หีบทองลายสลัก ภาพจากตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์, สำนักพระราชวัง, ๒๕๓๙

หีบก้านแย่ง ภาพจากตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์, สำนักพระราชวัง, ๒๕๓๙

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

101


หีบเชิงชาย ภาพจากตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์, สำนักพระราชวัง, ๒๕๓๙

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

102


บทที่ ๖

หลักเกณฑ์เทียบเกียรติยศพระราชทานแก่พระศพและศพ ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

พระมหากษัตริย์

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ - น้ำหลวง - พระโกศทองใหญ่ มีพระเศวตฉัตร พระราชกุศลเมื่อออก พระเมรุมาศ ๗ ชั้น แขวนเหนือพระโกศ - กระบวนแห่ - เครื่องสูงหักทองขวาง พระราชอิสริยยศ และชุมสายหักทองขวาง - มโหระทึก สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง - ราชรถทรงพระโกศ พระบรมศพจากที่ ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานน้ำสรงพระบรมศพ ประดิษฐานไปยัง (แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์ พระเมรุหลวง - ในการเวียนพระเมรุ สายสะพายจุลจอมเกล้า) ใช้ราชรถรางปืน และประโคมย่ำยามกลางวัน, - พระพิธีธรรม กลางคืน ตลอด ๑๐๐ วัน ยิงปืนใหญ่ขณะสรงน้ำพระบรมศพ สวดพระอภิธรรม จนกว่าจะประดิษฐาน ประจำซ่างพระเมรุ พระบรมศพ - ปี่ กลองชนะ - พระสงฆ์สดับปกรณ์ ประโคมย่ำยาม - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ที่พระเมรุตลอดคืน กลางวัน, กลางคืน - เสด็จพระราชดำเนิน ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล กำหนด ๑๐๐ วัน ที่พระเมรุ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

103


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

- ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน (วันสวดมนต์แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์ สายสะพายมหาจักรี บรมราชวงศ์ หรือสายสะพาย มงกุฎไทย, รุ่งขึ้นเลี้ยงพระ แต่งเครื่องแบบครึ่งยศ ไว้ทุกข์) - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๕๐ วัน (วันสวดมนต์แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์ สายสะพายจุลจอมเกล้า หรือสายสะพายมงกุฎไทย, รุ่งขึ้นเลี้ยงพระ แต่งเครื่องแบบ ครึ่งยศ ไว้ทุกข์) - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๑๐๐ วัน (วันสวดมนต์แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์ สายสะพายจุลจอมเกล้า หรือสายสะพายช้างเผือก, รุ่งขึ้นเลี้ยงพระ แต่งเครื่องแบบ ครึ่งยศ ไว้ทุกข์)

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

104

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- เสด็จขึ้นพระเมรุ ทรงจุดเพลิง พระราชทานฉัตร แขวนสุมพระบรมอัฐิ บนพระเมรุ


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

สมเด็จพระบรมราชินี - น้ำหลวง พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ - พระโกศทองใหญ่ พระราชกุศลเมื่อออก - พระเศวตฉัตร ๗ ชั้น แขวนเหนือ พระเมรุมาศ พระโกศ เครื่องสูงหักทองขวาง - กระบวนแห่ และชุมสายหักทองขวาง พระราชอิสริยยศ - สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ - ราชรถทรงพระโกศ พระบรมศพจากที่ กลองชนะลายทอง ประโคม ประดิษฐานไปยัง เวลาถวายน้ำสรงพระบรมศพ (แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์ พระเมรุหลวง สายสะพายจุลจอมเกล้า) - ในการเวียนพระเมรุ และประโคมย่ำยามกลางวัน, ใช้พระยานมาศ กลางคืน ตลอด ๑๐๐ วัน สามลำคาน - ยิงปืนใหญ่ขณะสรงน้ำพระบรมศพ - พระพิธีธรรม จนกว่าจะประดิษฐานพระบรมศพ สวดพระอภิธรรม - พระสงฆ์สดับปกรณ์ ประจำซ่างพระเมรุ - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม - ปี่ กลองชนะทอง ประโคมย่ำยาม กลางวัน, กลางคืน ที่พระเมรุตลอดคืน กำหนด ๑๐๐ วัน - เสด็จพระราชดำเนิน ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ที่พระเมรุ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

105


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน - เสด็จขึ้นพระเมรุ (วันสวดมนต์แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ทรงจุดเพลิง พระราชทานฉัตร ไว้ทุกข์ สายสะพายมหาจักรี แขวนสุมพระบรมอัฐิ บรมราชวงศ์ หรือสายสะพาย บนพระเมรุ มงกุฎไทย, รุ่งขึ้นเลี้ยงพระ แต่งเครื่องแบบครึ่งยศ ไว้ทุกข์) - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๕๐ วัน (วันสวดมนต์แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์ สายสะพายจุลจอมเกล้า หรือสายสะพายมงกุฎไทย, รุ่งขึ้นเลี้ยงพระ แต่งเครื่องแบบ ครึ่งยศ ไว้ทุกข์) - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๑๐๐ วัน (วันสวดมนต์แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์ สายสะพายจุลจอมเกล้า หรือสายสะพายช้างเผือก, รุ่งขึ้นเลี้ยงพระ แต่งเครื่องแบบ ครึ่งยศ ไว้ทุกข์)

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

106


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

สมเด็จพระบรมราชชนนี - น้ำหลวง สมเด็จพระยุพราช - พระโกศทองใหญ่ สมเด็จพระบรมราชกุมารี - พระเศวตฉัตร ๗ ชั้น แขวนเหนือ พระโกศ เครื่องสูงหักทองขวาง และชุมสายหักทองขวาง - สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะลายทอง ประโคม เวลาถวายน้ำสรงพระบรมศพ (แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์ สายสะพายจุลจอมเกล้า) และประโคมย่ำยามกลางวัน, กลางคืน ตลอด ๑๐๐ วัน - พระสงฆ์สดับปกรณ์ - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม กลางวัน, กลางคืน กำหนด ๑๐๐ วัน

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

107

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลเมื่อออก พระเมรุมาศ - กระบวนแห่ พระราชอิสริยยศ - ราชรถทรงพระโกศ พระบรมศพจากที่ ประดิษฐานไปยัง พระเมรุหลวง - ในการเวียนพระเมรุ ใช้พระยานมาศ สามลำคาน - พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ประจำซ่างพระเมรุ - ปี่ กลองชนะทอง ประโคมย่ำยาม ที่พระเมรุตลอดคืน - เสด็จพระราชดำเนิน ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ที่พระเมรุ


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

สมเด็จเจ้าฟ้า

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน - เสด็จขึ้นพระเมรุ (วันสวดมนต์แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ทรงจุดเพลิง พระราชทานฉัตร ไว้ทุกข์ สายสะพายมหาจักรี บรมราชวงศ์ หรือสายสะพายมงกุฎไทย, แขวนสุมพระบรมอัฐิ บนพระเมรุ รุ่งขึ้นเลี้ยงพระ แต่งเครื่องแบบ ครึ่งยศ ไว้ทุกข์) - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๕๐ วัน (วันสวดมนต์แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์ สายสะพายจุลจอมเกล้า หรือสายสะพายมงกุฎไทย, รุ่งขึ้นเลี้ยงพระ แต่งเครื่องแบบ ครึ่งยศ ไว้ทุกข์) - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๑๐๐ วัน (วันสวดมนต์แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์ สายสะพายจุลจอมเกล้า หรือสายสะพายช้างเผือก, รุ่งขึ้นเลี้ยงพระ แต่งเครื่องแบบ ครึ่งยศ ไว้ทุกข์) พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ - น้ำหลวง - พระโกศทองใหญ่ มีพระเศวตฉัตร พระราชกุศลออกพระเมรุ - กระบวนแห่ ๕ ชั้น แขวนเหนือพระโกศ - ฉัตรเครื่องทองแผ่ลวดตั้งประดับ พระราชอิสริยยศ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

108


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ - ราชรถทรงพระโกศ กลองชนะแดงลายทอง ประโคม พระศพจากที่ เวลารับพระราชทานน้ำสรงพระศพ ประดิษฐานไปยัง และประโคมย่ำยาม ตามกำหนด พระเมรุหลวง - พระสงฆ์สดับปกรณ์ - พระพิธีธรรม - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม สวดพระอภิธรรม กลางวัน, กลางคืน ตามกำหนด ประจำซ่างพระเมรุ ไว้ทุกข์ - กลองชนะแดงลายทอง - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน ประโคมย่ำยาม ๕๐ วัน และ ๑๐๐ วัน - เสด็จพระราชดำเนิน (แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์) ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ที่พระเมรุ - เสด็จขึ้นพระเมรุ ทรงจุดเพลิง พระราชทานฉัตร แขวนสุมพระอัฐิ บนพระเมรุ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ - น้ำหลวง - พระโกศทองน้อย มีฉัตรขาวลายทอง พระราชกุศลออกพระเมรุ - ราชรถเชิญพระโกศ ๕ ชั้น แขวนเหนือพระโกศ พระศพไปยัง - เครื่องสูงทองแผ่ลวด พระเมรุหลวง

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

109


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานน้ำสรงพระศพ และประโคมย่ำยาม ถึง ๒๔ นาฬิกา - พระสงฆ์สดับปกรณ์ - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม กลางวัน, กลางคืน ๑๕ วัน - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน ๕๐ วัน และ ๑๐๐ วัน (แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์)

- กระบวนพระอิสริยยศ แห่พระศพเวียนพระเมรุ - พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ประจำซ่างพระเมรุ - สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานเพลิง และประโคมย่ำยาม ที่พระเมรุจนถึง ๒๔ นาฬิกา - เสด็จพระราชดำเนิน ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ที่พระเมรุ - เสด็จขึ้นพระเมรุ ทรงจุดเพลิง พระราชทานฉัตร ขาวลายทอง ๕ ชั้น แขวนสุมพระอัฐิ บนพระเมรุ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

110


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- น้ำหลวง - พระโกศกุดั่นน้อย มีฉัตรโหมดทอง ๕ ชั้น แขวนเหนือพระโกศ - เครื่องสูงทองแผ่ลวด - สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานน้ำสรงพระศพ - พระสงฆ์สดับปกรณ์ ๑๐ รูป - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม กลางวัน, กลางคืน ๗ วัน - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน (แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์)

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลออกพระเมรุ - รถวอพระประเทียบ เชิญพระโกศพระศพ ไปยังพระเมรุหลวง - กระบวนพระอิสริยยศ แห่พระศพเวียนพระเมรุ - พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ประจำซ่างพระเมรุ - สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานเพลิง - เสด็จพระราชดำเนิน ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ที่พระเมรุ - เสด็จขึ้นพระเมรุ ทรงจุดเพลิง พระราชทานฉัตร โหมดทอง ๕ ชั้น แขวนสุมพระอัฐิ บนพระเมรุ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

111


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระราชวงศ์ ที่เป็นสะใภ้หลวง ซึ่งได้รับพระราชทาน ตราทุติยจุลจอมเกล้า พระวรวงศ์เธอ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- น้ำหลวง - พระโกศมณฑป - เครื่องสูงทองแผ่ลวด - สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานน้ำสรงพระศพ - พระสงฆ์สดับปกรณ์ ๑๐ รูป - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ๗ คืน - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน (แต่งเครื่องแบบปกติขาว ไว้ทุกข์ ถ้าเสด็จพระราชดำเนิน แต่งเครื่องแบบครึ่งยศ ไว้ทุกข์) - น้ำหลวง - พระโกศราชวงศ์ - เครื่องสูงทองแผ่ลวด - สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานน้ำสรงพระศพ

- รถวอพระประเทียบ เชิญพระโกศพระศพ - เครื่องสูงทองแผ่ลวด ๑ สำรับ แห่พระศพ เวียนพระเมรุ - สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาเวียน พระเมรุ และเวลารับ พระราชทานเพลิง - พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ประจำซ่างพระเมรุ - เสด็จพระราชดำเนิน ทรงทอดผ้าไตร - พระสงฆ์สดับปกรณ์ - เสด็จขึ้นพระเมรุ พระราชทานเพลิง - รถวอเชิญพระโกศ พระศพ - เครื่องสูงทองแผ่ลวด ๑ สำรับ แห่พระศพ เวียนพระเมรุ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

112


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

หม่อมเจ้าที่ได้รับ พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ขึ้นไป หรือได้รับ พระราชทานตรา ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ๗ คืน - น้ำหลวง - โกศราชวงศ์ - เครื่องสูงทองแผ่ลวด - แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับพระราชทาน น้ำสรงศพ - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ๓ คืน

- สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาเวียน พระเมรุ และเวลารับ พระราชทานเพลิง - เสด็จพระราชดำเนิน ทรงทอดผ้าไตร - พระสงฆ์สดับปกรณ์ - เสด็จขึ้นพระเมรุ พระราชทานเพลิง - เพลิงหลวง - รถวอเชิญโกศศพ - เครื่องสูงทองแผ่ลวด ๑ สำรับ แห่เวียน พระเมรุ - แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาเวียน พระเมรุ และเวลารับ พระราชทานเพลิง - พระราชทานผ้าไตร ๕ ไตร ทอดถวาย

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

113


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

หม่อมเจ้า

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

- น้ำหลวง - หีบทองทึบ - ฉัตรเบญจา ๔ คัน - ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานน้ำสรงศพ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

114

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- พระสงฆ์สดับปกรณ์ ก่อนพระราชทานเพลิง (ถ้าทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ เสด็จ พระราชดำเนินไป พระราชทานเพลิง เปลี่ยนเป็นทอดผ้าไตร ๑๐ ไตร สดับปกรณ์ บนพลับพลา แล้ว เสด็จพระราชดำเนิน เสด็จขึ้นพระเมรุ พระราชทานเพลิง - เพลิงหลวง - รถวอเชิญหีบศพ - ฉัตรเบญจา ๑๐ แห่เวียนเมรุ - ปี่ กลองชนะ ประโคม เวลาแห่เวียนเมรุ และเวลารับ พระราชทานเพลิง - พระราชทานผ้าไตร ๓ ไตร ทอดถวาย - พระสงฆ์สดับปกรณ์ ก่อนพระราชทานเพลิง


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เจ้าจอมมารดา, เจ้าจอม - น้ำหลวง - หีบทองทึบ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า - น้ำหลวง (เสด็จพระราชดำเนิน สรงน้ำพระศพ แต่งเครื่องแบบ เต็มยศ ไว้ทุกข์) - ไตรแพรทรงพระศพ - พระโกศทองน้อย มีฉัตรตาดเหลือง ๕ ชั้น แขวนเหนือพระโกศ - เครื่องสูงทองแผ่ลวด - สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานน้ำสรงพระศพ และประโคมย่ำยาม ถึง ๒๔ นาฬิกา - พระสงฆ์สดับปกรณ์ - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม กลางวัน, กลางคืน ๑๕ วัน - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน ๕๐ วัน และ ๑๐๐ วัน (แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์)

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

115

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- เพลิงหลวง - รถวอเชิญหีบศพ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลออกพระเมรุ - ราชรถเชิญพระโกศ พระศพจากที่ ประดิษฐานไป พระเมรุหลวง - กระบวนแห่พระอิสริยยศ เชิญพระศพ - พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ประจำซ่างพระเมรุ - สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานเพลิง และประโคมย่ำยาม ถึง ๒๔ นาฬิกา


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

สมเด็จพระสังฆราช

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- น้ำหลวง - ไตรแพรทรงพระศพ - พระโกศกุดั่นน้อย มีฉัตรผ้าขาว ๓ ชั้น แขวนเหนือพระโกศ - เครื่องสูงทองแผ่ลวด - สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานน้ำสรงพระศพ และประโคมย่ำยาม ถึง ๒๔ นาฬิกา

- เสด็จพระราชดำเนิน ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ที่พระเมรุ เทศน์ สดับปกรณ์ - เสด็จขึ้นพระเมรุ ทรงจุดเพลิง พระราชทานฉัตร ตาดเหลือง ๕ ชั้น แขวนสุมพระอัฐิ บนพระเมรุ (แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์) พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลออกพระเมรุ - ราชรถเชิญพระโกศ พระศพจากที่ ประดิษฐานไป พระเมรุหลวง - กระบวนแห่พระอิสริยยศ เชิญพระศพ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

116


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม กลางวัน, กลางคืน ๗ วัน - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน ๕๐ วัน และ ๑๐๐ วัน (แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์)

- สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานเพลิง และประโคมย่ำยาม ถึง ๒๔ นาฬิกา - พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ประจำซ่างพระเมรุ - เสด็จพระราชดำเนิน ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ที่พระเมรุ เทศน์ สดับปกรณ์ - เสด็จขึ้นพระเมรุ

ทรงจุดเพลิง พระราชทานฉัตร ผ้าขาว ๓ ชั้น แขวนสุมพระบรมอัฐิ บนพระเมรุ (แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์)

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

117


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

สมเด็จพระราชาคณะ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- น้ำหลวง - ไตรครองถวายสุกำศพ - โกศไม้สิบสอง - ฉัตรเครื่อง - แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ๑๐ ประโคม เวลารับพระราชทานน้ำสรงศพ - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ๗ คืน - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน

- เพลิงหลวง - รถวอเชิญโกศศพ - ฉัตรเครื่อง ๑๐ แห่เวียนเมรุ - แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ๑๐ ประโคมเวลาเวียนเมรุ และเวลารับ พระราชทานเพลิง - พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ประจำซ่างพระเมรุ - พระราชทานผ้าไตร ๕ ไตร ทอดถวาย - พระสงฆ์บังสุกุลก่อน รับพระราชทานเพลิง (ถ้าเสด็จพระราชดำเนิน ทรงทอดผ้าไตร ๑๐ ไตร บังสุกุลบนพลับพลา แล้วเสด็จขึ้นเมรุ พระราชทานเพลิง แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์)

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

118


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

พระราชาคณะชั้นเจ้า คณะรอง (หิรัญบัฏ) พระราชาคณะชั้นธรรม

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- น้ำหลวง - ไตรครองถวายสุกำศพ - โกศแปดเหลี่ยม - ฉัตรเบญจา - ปี่ กลองชนะ ๑๐ ประโคม เวลารับพระราชทานน้ำสรงศพ - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ๓ คืน - น้ำหลวง - ไตรครองถวายสุกำศพ - โกศโถ - ฉัตรเบญจา - ปี่ กลองชนะ ๑๐ ประโคม เวลารับพระราชทานน้ำสรงศพ

- เพลิงหลวง - รถวอเชิญโกศศพ - ฉัตรเบญจา ๑๐ แห่เวียนเมรุ - ปี่ กลองชนะ ๑๐ ประโคมเวลาเวียนเมรุ และเวลารับ พระราชทานเพลิง - พระราชทานผ้าไตร ๕ ไตร ทอดถวาย - พระสงฆ์บังสุกุลก่อน รับพระราชทานเพลิง (ถ้าเสด็จพระราชดำเนิน ทรงทอดผ้าไตร ๑๐ ไตร บังสุกุลบนพลับพลา แล้วเสด็จขึ้นเมรุ พระราชทานเพลิง) - เพลิงหลวง - รถวอเชิญโกศศพ - ฉัตรเบญจา ๑๐ แห่เวียนเมรุ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

119


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

พระราชาคณะชั้นเทพ - น้ำหลวง ชั้นราช และชั้นสามัญ - หีบทองทึบ พระครูสัญญาบัตร - น้ำหลวง พระภิกษุ สามเณร - หีบเชิงชาย เปรียญธรรม ๙ ประโยค ๑. ผู้สำเร็จราชการ - น้ำหลวง แทนพระองค์ - โกศกุดั่นน้อย ที่ถึงแก่อสัญกรรม - ฉัตรเครื่อง ขณะดำรงตำแหน่ง

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

120

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- ปี่ ฉลองชนะ ๑๐ ประโคมเวลาเวียนเมรุ และเวลารับ พระราชทานเพลิง - พระราชทานผ้าไตร ๕ ไตร ทอดถวาย - พระสงฆ์บังสุกุลก่อน รับพระราชทานเพลิง (ถ้าเสด็จพระราชดำเนิน ทรงทอดผ้าไตร ๑๐ ไตร บังสุกุลบนพลับพลา แล้วเสร็จขึ้นเมรุ พระราชทานเพลิง) - เพลิงหลวง - รถวอเชิญหีบศพ - เพลิงหลวง - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ออกเมรุ - ราชรถเชิญศพจากที่ ประดิษฐานไปยัง พระเมรุหลวง


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

๒. ผู้ที่ได้รับพระราชทาน - แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประโคมเวลารับพระราชทาน นพรัตน์ราชวราภรณ์ น้ำอาบศพ และประโคม ประจำยาม - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ๗ คืน - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน ๕๐ วัน และ ๑๐๐ วัน (แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์) ๑. ประธานองคมนตรี - น้ำหลวง และองคมนตรี - โกศมณฑป ที่ถึงแก่อนิจกรรม - ฉัตรเครื่อง ในขณะดำรงตำแหน่ง - แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ ๒. ผู้ที่ได้รับพระราชทาน กลองชนะ ๑๐ ประโคม เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เวลารับพระราชทานน้ำอาบศพ ปฐมจุลจอมเกล้า - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ๗ คืน

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

121

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- กระบวนอิสริยยศเชิญศพ - พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ประจำซ่างเมรุ - แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานเพลิง - เสด็จพระราชดำเนิน ทรงทอดผ้าไตรบังสุกุล - เสด็จขึ้นเมรุ พระราชทานเพลิง (แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ไว้ทุกข์) - รถวอเชิญโกศศพ - ฉัตรเครื่อง ๑๐ แห่เวียนเมรุ - แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ๑๐ ประโคมเวลาเวียนเมรุ และเวลารับ พระราชทานเพลิง


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

- ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน (แต่งเครื่องแบบปกติขาว ไว้ทุกข์ ถ้าเสด็จพระราชดำเนิน แต่งเครื่องแบบครึ่งยศ ไว้ทุกข์) - น้ำหลวง นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา - โกศไม้สิบสอง (ถ้าเป็นหม่อมหลวง ประธานสภาผู้แทนราษฎร หม่อมราชวงศ์ พระราชทาน ประธานวุฒิสภา โกศมณฑป) ประธานศาลฎีกา - ฉัตรเครื่อง ประธานองค์กรต่าง ๆ - แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญฯ กลองชนะ ๑๐ ประโคม และรัฐมนตรี เวลารับพระราชทานน้ำศพ ที่ถึงแก่อสัญกรรม ในขณะดำรงตำแหน่ง

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

122

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ประจำซ่างเมรุ - เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานผ้าไตร ให้ทายาทเชิญไป ทอดถวาย - พระสงฆ์บังสุกุล ที่โกศศพ - เสด็จขึ้นเมรุ พระราชทานเพลิง (แต่งเครื่องแบบครึ่งยศ ไว้ทุกข์) - รถวอเชิญโกศศพ - ฉัตรเครื่อง ๑๐ แห่เวียนเมรุ - แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ๑๐ ประโคมเวลาเวียนเมรุ และเวลารับ พระราชทานเพลิง


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

- พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ๗ คืน - ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน (แต่งเครื่องแบบปกติขาว ไว้ทุกข์ ถ้าเสด็จพระราชดำเนิน แต่งเครื่องแบบครึ่งยศ ไว้ทุกข์) ๑. ผู้ที่ได้รับพระราชทาน - น้ำหลวง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ - โกศแปดเหลี่ยม ประถมาภรณ์ - ฉัตรเบญจา ช้างเผือก - ปี่ กลองชนะ ๑๐ ประโคม ๒. ผู้ที่ได้รับพระราชทาน เวลารับพระราชทานน้ำอาบศพ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ - พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ทุติยจุลจอมเกล้า ๓ คืน วิเศษ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

123

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ประจำซ่างเมรุ - เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานผ้าไตร ให้ทายาททอดถวาย - พระสงฆ์บังสุกุล ที่โกศศพ - เสด็จขึ้นเมรุ พระราชทานเพลิง (แต่งเครื่องแบบครึ่งยศ ไว้ทุกข์) - เพลิงหลวง - รถวอเชิญโกศศพ - ฉัตรเบญจา ๑๐ แห่เวียนเมรุ - ปี่ กลองชนะ ๑๐ ประโคมเวลาเวียนเมรุ และเวลารับ พระราชทานเพลิง - พระราชทานผ้าไตร ๕ ไตร ทอดถวาย


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

ผู้ที่ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ ผู้ที่ได้รับพระราชทาน ตราทุติยจุลจอมเกล้า

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

- น้ำหลวง - โกศโถ (ถ้าเป็นราชนิกุล หรือ ราชินิกุล พระราชทาน โกศราชินิกุล) - ฉัตรเบญจา - ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานน้ำอาบศพ - น้ำหลวง - โกศโถ (ถ้าเป็นราชนิกุล หรือ ราชินิกุล พระราชทาน โกศราชินิกุล) - ฉัตรเบญจา - ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับ พระราชทานน้ำอาบศพ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

124

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- พระสงฆ์บังสุกุลก่อน รับพระราชทานเพลิง (ถ้าเสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานผ้าไตร ๑๐ ไตร ให้ทายาท เชิญไปทอดถวาย พระสงฆ์บังสุกุลที่โกศศพ แล้วทรงจุดฝักแค พระราชทานเพลิงศพ) - เพลิงหลวง - รถวอเชิญโกศศพ - ฉัตรเบญจา ๑๐ แห่เวียนเมรุ - ปี่ กลองชนะ ประโคม เวลาเวียนเมรุ และเวลา รับพระราชทานเพลิง - เพลิงหลวง - รถวอเชิญโกศศพ - ฉัตรเบญจา ๑๐ แห่เวียนเมรุ - ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาเวียนเมรุ และเวลารับ พระราชทานเพลิง


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

๑. บิดามารดาของ - น้ำหลวง ผู้ดำรงตำแหน่ง - หีบทองลายสลัก องคมนตรี - ฉัตรเบญจา ๔ นายกรัฐมนตรี - ปี่ กลองชนะ ๑๐ ประโคม ประธานรัฐสภา เวลารับพระราชทานน้ำอาบศพ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานองค์กร ต่าง ๆ ที่กำหนด ในรัฐธรรมนูญฯ และรัฐมนตรี ที่ถึงแก่กรรม ในขณะบุตร ดำรงตำแหน่ง ๒. ผู้ที่ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้า วิเศษ

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

125

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- เพลิงหลวง - รถวอเชิญหีบศพ - ฉัตรเบญจา ๑๐ แห่เวียนเมรุ - ปี่ กลองชนะ ๑๐ ประโคมเวลาเวียนเมรุ และเวลารับ พระราชทานเพลิง


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

ผู้ที่ได้รับพระราชทาน - น้ำหลวง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ - หีบทองลายสลัก ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก หรือมงกุฎไทย ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ สตรีที่ได้รับพระราชทาน - น้ำหลวง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ - หีบกุดั่น ตติยจุลจอมเกล้า ๑. สมาชิกวุฒิสภา - น้ำหลวง สภาผู้แทนราษฎร - หีบลายก้านแย่ง (ถ้าเป็นราชนิกุล และผู้ว่าราชการ หรือราชินิกุล พระราชทาน กรุงเทพมหานคร หีบกุดั่น) ซึ่งถึงแก่กรรม ขณะดำรงตำแหน่ง ๒. ผู้ที่ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จัตุรถาภรณ์ ช้างเผือก/มงกุฎไทย จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ ตริตาภรณ์ ช้างเผือก/มงกุฎไทย ตติยดิเรกคุณาภรณ์

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

126

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- เพลิงหลวง - รถวอเชิญหีบศพ - เพลิงหลวง - เพลิงหลวง


ฐานันดรศักดิ์, ชั้นยศ

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต

ตติยจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นตราสืบตระกูล ตติยานุจุลจอมเกล้า และสตรีที่ได้รับ พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จตุตถจุลจอมเกล้า ๑. นายร้อยทหารบก - น้ำหลวง ทหารเรือ - หีบเชิงชาย ทหารอากาศ นายร้อยตำรวจ ข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่ระดับ ๓ ๒. ผู้ที่ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์ ช้างเผือก/มงกุฎไทย เบญจมดิเรกคุณาภรณ์

เครื่องเกียรติยศ ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง

- เพลิงหลวง

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

127


บทที่ ๗

การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยราชการต่าง ๆ ในพิ ธี ก ารสวดพระอภิ ธ รรมของพระพิ ธี ธ รรม จะต้ อ งมี

หน่วยราชการต่าง ๆ มาปฏิบัติงานเพื่อให้พิธีการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สมพระเกี ย รติ ถู ก ต้ อ งตามโบราณราชประเพณี และเพื่ อ อำนวย ความสะดวกต่าง ๆ แก่พระพิธีธรรม หน่วยราชการที่เป็นหลักใหญ่ คือ สำนักพระราชวังและกรมการศาสนา โดยมีภารกิจแบ่งไปตามฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้ สำนักพระราชวัง เมื่ อ กองพระราชพิ ธี สำนั ก พระราชวั ง ได้ รั บ แจ้ ง จากญาติ ผู้เสียชีวิตว่ามีความประสงค์ขอรับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ ให้แก่ผู้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะทำการพิจารณากฎเกณฑ์ ในการขอรับพระราชทาน ซึ่งประกอบไปด้วยเอกสารดังนี้ ๑) สำเนาบั ต รประจำตั ว ประชาชนของผู้ เ สี ย ชี วิ ต /สำเนา บัตรข้าราชการของผู้เสียชีวิต ๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิต ๓) สำเนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ผู้เสียชีวิตได้รับ เมื่ อ เจ้ า หน้ า ที่ ส ำนั ก พระราชวั ง พิ จ ารณาแล้ ว เห็ น ว่ า อยู่ในเกณฑ์การขอพระราชทาน ก็จะพิจารณาให้ตามระเบียบ “หลักเกณฑ์ เที ย บเกี ย รติ ย ศพระราชทานแก่ พ ระศพและศพ” และแจ้ ง เจ้ า หน้ า ที่ ที่เกี่ยวข้องดังนี้ พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

128


๑) ฝ่ า ยศุ ภ รั ต มี ห น้ า ที่ ใ นการจั ด อาสนะ กระโถน ขั น น้ ำ ไปตั้งแต่ถวายพระสงฆ์ เบิกผ้าไตร หรือผ้าสบงถวายพระสวดพระอภิธรรม จากฝ่ า ยพั ส ดุ เบิ ก เงิ น ถวายพระสวดพระอภิ ธ รรมจากกองคลั ง และ ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ เช่น เชิญผ้าไตร หรือผ้าสบง ให้ประธาน ๒) ฝ่ายสนมพลเรือน มีหน้าที่ในการเบิกธูปเทียนเครื่องนมัสการ เครื่ อ งบู ช ากระบะมุ ก เที ย นชนวนจากฝ่ า ยพั ส ดุ และปฏิ บั ติ ร าชการ ตามหน้าที่ เช่น เชิญเทียนชนวน ที่กรวดน้ำ แต่งที่บูชา ๓) ฝ่ายราชูปโภค มีหน้าที่ในการตรวจแต่งภูษาโยงให้เรียบร้อย และปฏิบัติราชการตามหน้าที่ เช่น ลาดภูษาโยง และเก็บภูษาโยง ๔) ฝ่ายมหาดเล็ก มีหน้าที่ในการจัดน้ำร้อน น้ำเย็น ถวายพระสงฆ์ และเลี้ยงแขกทั่วไป กรมการศาสนา เมื่อเจ้าหน้าที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง แจ้งฝ่ายพิธี กองศาสนู ป ถั ม ภ์ ว่ า มี ผู้ ไ ด้ รั บ พระราชทานพระบรมราชานุ เ คราะห์ เจ้าหน้าที่ผู้รับโทรศัพท์ จะทำการจดบันทึกรายละเอียด ตัวอย่างเช่น ผู้ตายชื่อ........................สกุล.........................ตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลา.........................วัด...........................จำนวน.........................วัน น้ำหลวงพระราชทาน เวลา....................................โกศ........................... และนิมนต์พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมตามที่กองพระราชพิธี แจ้งมา จัดเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติราชการ จัดพาหนะรับ-ส่งพระพิธีธรรม และปฏิบัติราชการตามหน้าที่ เช่น จัดตั้งตู้พระอภิธรรมพร้อมพัดยศ จัดเก็บเครื่องไทยธรรม (ถ้ามี) ผ้าไตร หรือผ้าสบง ที่พระพิธีธรรมรับถวาย และพิจารณาแล้ว พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

129


บรรณานุกรม ทองพู ล บุ ณ ยมาลิ ก . พิ ธี ส วดพระอภิ ธ รรม : การศึ ก ษาสั ง เกต. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต : กรุงเทพฯ. ๒๕๔๒. เดชา ศรีคงเมือง. วิทยานิพนธ์เรื่อง การวิเคราะห์ทำนองสวดพระอภิธรรม ในพิธีศพหลวง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. ๒๕๔๘. พระครู กั ล ยาณสิ ท ธิ วั ฒ น์ . พระพิ ธี ธ รรมการสวดทำนองหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๑. พระราชปริ ยั ติ ดิ ล ก. ประวั ติ วั ด ประยุ ร วงศาวาสวรวิ ห าร ๑๘๐ ปี . กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. ๒๕๕๑. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์. ๒๕๔๖. สำนักพระราชวัง. ตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. ๒๕๓๙. . รวมเรื่ อ งและข้ อ ปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ ราชสำนั ก . ฉบั บ พิ ม พ์

ครั้งที่ ๑๘. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์. ๒๕๕๒.

พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม

130



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.