เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์

Page 1

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

OFFICE OF INDUSTRIAL ECONOMICS

เอกสารเผยแพรอุตสาหกรรมนารู

ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมยานยนต

www.oie.go.th



วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรชี้นำ� การพัฒนาอุตสาหกรรม พันธกิจ/ภารกิจ • จัดท�ำ บูรณาการ ผลักดันนโยบาย แผน ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่า และขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน • จัดท�ำระบบสารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ตัวชีว้ ดั สัญญาณเตือนภัยภาคอุตสาหกรรม ที่ทันสมัย เชื่อถือได้ และเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้บริการเผยแพร่ • สร้างความเข้มแข็งในการเป็นองค์กรแห่งความรู้ด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ค่านิยม จริยธรรมน�ำคน พัฒนาตนเป็นนิจ สร้างมิตรร่วมงาน ปฏิบัติการเชิงรุก


คำ�นำ� สำ�นักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จดั ทำ�เอกสารความรู้ เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจใน อุตสาหกรรมรายสาขาให้แก่ผปู้ ระกอบการภาคอุตสาหกรรมและผูส้ นใจทัว่ ไป ซึง่ นับเป็นบทบาท หน้าที่หลักบทบาทหนึ่งของ สศอ. คือ การเป็นองค์กรแห่งความรู้ด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำ�นักงานฯ หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า เอกสารฉบับนีจ้ ะช่วยให้ผอู้ า่ นเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำ�คัญ และสามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ หากสนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำ�นักงาน เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2202 4274, 0 2202 4284 โทรสาร 0 2644 7023 Website : http://www.oie.go.th/


สารบัญ

หน้า

1 12 21 22

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ 1.สถานภาพ 2.แนวโน้มอุตสาหกรรม 3.ปัญหาและอุปสรรค 4.แนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรม


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์

1. สถานภาพ “อุตสาหกรรมยานยนต์” เป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของ ประเทศไทย ทั้งในด้านมูลค่าเพิ่มในประเทศ การผลิต การส่งออก การลงทุน การจ้างงาน และมีความ เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องจ�ำนวนมาก ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับสากลว่า เป็นฐานการผลิตระดับโลกของรถยนต์ที่มีความเฉพาะ (Global Niche Product) 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ รถปิกอัพ 1 ตัน รถจักรยานยนต์ขนาดเล็กคุณภาพสูง และรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (Eco Car) นอกจากนี้ ผูผ้ ลิตชิน้ ส่วนยานยนต์ไทยสามารถส่งออกไปขายยังตลาดทีเ่ ข้มงวดในเรือ่ งมาตรฐาน สินค้า เช่น ประเทศญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอเมริกาได้ ตัวอย่างชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีศักยภาพในการ ส่งออก ได้แก่ เครือ่ งยนต์เบนซิน เครือ่ งยนต์ดเี ซล ส่วนประกอบของเครือ่ งยนต์ เพลาส่งก�ำลังและข้อเหวีย่ ง ชุดสายไฟรถยนต์ หม้อแบตเตอรี่ ยาง กระจกนิรภัย ไฟรถยนต์ และส่วนประกอบและอุปกรณ์ เช่น กันชน เบรก เข็มขัดนิรภัย กระปุกเกียร์ เป็นต้น

อุตสาหกรรมยานยนต์


โครงสร้างอุตสาหกรรม ประเทศไทยเป็นทีต่ งั้ ของโรงงานประกอบรถยนต์ของผูผ้ ลิตชัน้ น�ำเกือบทุกยีห่ อ้ จากทัว่ โลก โดยมี ผู้ประกอบรถยนต์จ�ำนวน 12 บริษัท ผู้ประกอบรถจักรยานยนต์จ�ำนวน 6 บริษัท และผู้ผลิตชิ้นส่วน ยานยนต์มากกว่า 2,300 ราย โดยในกลุ่มผู้ผลิตระดับ 1st Tier จะเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นน�ำจาก ประเทศญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา หลายราย (ผู้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น เช่น Denso, Aisin Seiki, Toyota Boshoku, Yazaki, Sumitomo, Hitachi, CalsonicKansei, JTEKT เป็นต้น ผู้ผลิตจากสหภาพ ยุโรปและสหรัฐอเมริกา เช่น Robert Bosch, Continental, Johnson Control, Delphi, ZF, TRW, Valeo, BASF, Autoliv, Michelin, 3M เป็นต้น) คิดเป็นแรงงานทั้งหมดในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 525,000 คน

โครงสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย Upstream Industry -เหล็กและ เหล็กกล้า - ปิโตรเคมี - พลาสติก - ไฟฟ้าและ อิเลกทรอนิกส์ - ยาง ฯลฯ

Supporting Industry - Mold & Dies - Compound

รูปที่ 1 โครงสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

2

เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้


ในปี 2555 อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีก�ำลังการผลิต (Capacity) เท่ากับ 2,675,000 คันต่อปี แบ่งเป็นก�ำลังการผลิตรถยนต์นั่ง 1,355,000 คันต่อปี รถปิกอัพ 1 ตัน 1,280,000 คันต่อปี และรถยนต์เพื่อ การพาณิชย์อื่นๆ 40,000 คันต่อปี (ข้อมูลจาก สถาบันยานยนต์ พฤษภาคม 2555) ขั้นตอนการผลิตหรือประกอบรถยนต์ กระบวนการผลิตหรือประกอบรถยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม มีขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน ดังนี้

1) การผลิตตัวถังเป็นการน�ำชิน้ ส่วนทีเ่ ป็นโลหะซึง่ ได้ผา่ นกระบวนการขึน้ รูป (Press Process Line) แล้ว มาเชื่อมประกอบให้เป็นตัวถังรถ การเชื่อมประกอบให้ได้ตัวถังรถจะใช้อุปกรณ์ช่วยในการประกอบที่ เรียกว่า "จิ๊ก" (JIG) ซึ่งเป็นแท่นที่มีส่วนยึดจับชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน หลังจากการเชื่อมประกอบเป็นรูปตัวถัง รถแล้ว จะต้องมีการใส่ชิ้นส่วนอื่นๆ เช่น บังโคลนหน้า ประตู ฝาหน้า จากนั้นจะเป็นการขัดแต่ง เพื่อให้ จุดเชื่อมและรอยต่อต่างๆ มีความเรียบร้อย สวยงาม

อุตสาหกรรมยานยนต์

3


2) การท�ำสีตัวถัง หลังจากที่ได้ตัวถังรถจากการเชื่อมประกอบแล้ว ตัวถังที่เป็นโลหะนั้นจะต้อง น�ำมาพ่นสี ส�ำหรับกระบวนการท�ำสีนั้นค่อนข้างซับซ้อน สามารถสรุปเป็นขั้นตอนหลักๆ ได้ 6 ขั้นตอน ดังนี้ - ขั้นตอนการล้างและเตรียมผิวเหล็ก - ขั้นตอนการชุบสีด้วยกระแสไฟฟ้า หรือ อีดีพี (Electro Deposition Paint) - ขั้นตอนการหยอดกาว - ขั้นตอนการพ่นสีพื้น - ขั้นตอนการขัด - ขั้นตอนการพ่นสีจริง 3) การประกอบรถยนต์ ตัวถังที่ท�ำสีแล้วจะน�ำมาประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่างๆ เช่น เครื่องยนต์ ยาง พวงมาลัย เบาะ ฯลฯ ในส่วนของการประกอบมีกระบวนการหลักๆ ดังนี้ 3.1) การประกอบโครงรถ (แชสซีส์ : Chassis) ส่วนของแชสซีส์ คือ ส่วนที่เป็นฐานของ รถยนต์ (รถยนต์นั่งส่วนของแชสซีส์นั้นจะเชื่อมยึดกับส่วนของตัวถังซึ่งไม่สามารถแยกออกมาได้) เป็นที่ ยึดประกอบของชิ้นส่วนส�ำคัญๆ เช่น เครื่องยนต์ ระบบรองรับน�้ำหนักล้อหน้า ล้อหลัง ระบบบังคับเลี้ยว ระบบขับเคลื่อน เป็นต้น 3.2) การประกอบส่วนของตัวถังหรือหัวเก๋ง ส่วนของตัวถัง หรือหัวเก๋ง หรือในห้องโดยสารนัน้ จะประกอบด้วยอุปกรณ์อ�ำนวยความสะดวก เช่น เบาะ พวงมาลัย อุปกรณ์บังคับเลี้ยว อุปกรณ์ควบคุม การส่งก�ำลัง (เกียร์) เป็นต้น 3.3) การประกอบขั้นตอนสุดท้าย เป็นการประกอบแชสซีส์กับส่วนของตัวถังเข้าด้วยกัน

4

เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้


ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ ในปี 2554 ประเทศไทยมีการผลิตรถยนต์ 1,457,795 คัน โดยจัดเป็นผู้ผลิตอันดับที่ 14 ของโลก ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากอันดับ 12 ในปี 2553 อันมีสาเหตุหลักเนื่องจากได้รับผล กระทบจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในประเทศไทย และเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิทปี่ ระเทศญีป่ นุ่ โดยมี การผลิตรถยนต์นั่ง จ�ำนวน 537,987 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน จ�ำนวน 899,200 คัน และรถยนต์เพื่อการ พาณิชย์อื่นๆ จ�ำนวน 20,608 คัน เป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 733,950 คัน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 50.35 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่งเพื่อ การส่งออก ร้อยละ 74.38 และ 25.62 ตามล�ำดับ ปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2554 มีจ�ำนวน 794,081 คัน โดยมีการจ�ำหน่าย รถยนต์นั่ง จ�ำนวน 360,441 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน จ�ำนวน 327,464 คัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ จ�ำนวน 52,789 คัน และรถยนต์ PPV รวม SUV จ�ำนวน 53,387 คัน

อุตสาหกรรมยานยนต์

5


ตารางที่ 1 การผลิตรถยนต์ 2553 2554 Q1 รถยนต์ 1,645,304 1,457,795 468,978 YOY (%) (64.63) (-11.40) (22.50) QoQ (%) (4.67) รถยนต์นั่ง 554,387 537,987 177,259 YOY (%) (76.87) (-2.96) (56.17) QoQ (%) (9.07) รถยนต์ปกิ อัพ 1 ตัน 1,066,759 899,200 284,991 และอนุพันธ์1 YOY (%) (59.04) (-15.71) (7.90) QoQ (%) (2.57) รถยนต์ เ พื่ อ การ 24,158 20,608 6,728 พาณิชย์อื่นๆ YOY (%) (58.91) (-14.69) (28.87) QoQ (%) (-12.68)

2554

Q2 341,629 (-11.53) (-27.16) 123,215 (-6.21) (-30.49) 214,517

Q3 474,628 (10.83) (38.93) 176,418 (20.03) (43.18) 292,651

Q4 172,560 (-61.49) (-63.64) 61,095 (-62.41) (-65.37) 107,041

2555 Q1 499,560 (6.52) (189.50) 140,425 (-20.78) (129.85) 348,085

(-14.01) (6.29) (-61.47) (22.14) (-24.73) (36.42) (-63.42) (225.19) 3,897 5,559 4,424 11,050 (-26.40) (-6.29) (-42.61) (64.17) (-42.10) (42.65) (-20.42) (149.77)

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หมายเหตุ : 1 เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV

6

เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้


ตารางที่ 2 การจ�ำหน่ายยานยนต์ในประเทศ รถยนต์ YOY (%) QoQ (%) รถยนต์นั่ง YOY (%) QoQ (%) รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน1 YOY (%) QoQ (%) รถยนต์ เ พื่ อ การ พาณิชย์อื่นๆ2 YOY (%) QoQ (%) รถยนต์ PPV (รวม SUV) YOY (%) QoQ (%)

347,314

2554 2554 Q1 Q2 Q3 794,081 238,619 193,393 238,957 (-0.78) (43.06) (1.84) (19.68) (-2.21) (-18.95) (23.56) 360,441 106,206 87,304 108,507 (3.98) (60.32) (0.32) (22.89) (1.08) (-17.80) (24.29) 327,464 102,796 82,351 100,057

(40.11)

(-5.72)

49,995

52,789

(46.16)

(5.59)

56,404

53,387

(53.52)

(-5.35)

2553 800,357 (45.82) 346,644 (50.69)

Q4 123,112 (-49.55) (-48.48) 58,424 (-44.40) (-46.16) 42,260

2555 Q1 278,408 (16.67) (126.14) 101,652 (-4.29) (73.99) 139,490

(32.16) (6.26) (17.29) (-60.40) (35.70) (-3.69) (-19.89) (21.50) (-57.76) (230.08) 14,874 11,811 14,290 11,814 17,127 (38.11) (-3.20) (17.40) (-20.46) (0.15) (-20.59) (20.99) (-17.33) 14,743 11,927 16,103 10,614

(15.15) (44.97) 20,139

(22.85) (-9.40) (16.00) (-38.85) (-15.06) (-19.10) (35.01) (-34.09)

(36.60) (89.74)

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หมายเหตุ : 1 เป็นปริมาณการจ�ำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap 2 เป็นปริมาณการจ�ำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ

อุตสาหกรรมยานยนต์

7


การส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2554 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จ�ำนวน 735,627 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 343,383.92 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่ง 182,000.03 ล้านบาท ประเทศทีเ่ ป็นตลาดส่งออกส�ำคัญของรถยนต์นงั่ ได้แก่ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และ ญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.40, 15.39 และ 7.55 ตามล�ำดับ การส่งออกรถแวนและปิกอัพ มีมูลค่า 134,266.30 ล้านบาท ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกส�ำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และชิลี คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 29.74, 5.73 และ 4.85 ตามล�ำดับ การส่งออก รถบัสและรถบรรทุก มีมลู ค่า 26,608.85 ล้านบาท ประเทศทีเ่ ป็นตลาดส่งออกส�ำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 26.48, 13.00 และ 10.64 ตามล�ำดับ (ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส�ำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์)

8

เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้


ตารางที่ 3 การส่งออกยานยนต์ รถยนต์ (CBU) (คัน) YOY (%) QoQ (%) มูลค่า (ล้านบาท) รถยนต์ YOY (%) QoQ (%) ส่วนประกอบและ อุปกรณ์รถยนต์ (OEM) YOY (%) QoQ (%) เครื่องยนต์ YOY (%) QoQ (%) ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ YOY (%) QoQ (%)

2553 895,855

2554 735,587

2554

Q1 234,407

Q2 166,498

Q3 238,727

Q4 95,955

2555 Q1 220,720

(67.27)

(-17.89)

(8.18) (1.47)

(-17.36) (-28.97)

(-3.22) (43.38)

(-58.44) (-59.79)

(-5.84) (130.02)

404,659.37 343,375.08 102,215.48 74,157.93 122,628.01 (61.00) (-15.14) (0.09) (-20.26) (9.69) (4.59) (-27.45) (65.36) 141,422.74 136,453.31 36,564.52 30,262.00 39,229.63 (40.17)

(-3.51)

21,610.40 26,669.68 (62.90) (23.41) 14,451.09 16,438.75 (15.31) (13.75)

(16.61) (-2.03) 6,961.41 (66.28) (13.89) 3,788.25 (16.71) (2.81)

(-8.85) (-17.24) 5,492.77 (7.56) (-21.10) 4,026.50 (12.01) (6.29)

(-0.80) (29.62) 7,602.11 (22.52) (38.40) 4,083.25 (4.00) (1.41)

44,373.66 102,764.92 (-54.60) (0.54) (-63.81) (131.59) 30,397.16 36,862.68 (-18.56) (-22.51) 6,613.39 (8.19) (-13.01) 4,540.75 (23.23) (11.20)

(0.82) (21.27) 6,881.46 (-1.15) (4.05) 4,654.40 (22.86) (2.50)

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

อุตสาหกรรมยานยนต์

9


ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ การผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2554 มีจ�ำนวน 2,043,039 คัน โดยมี การผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 1,870,293 คัน รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 172,746 คัน ส�ำหรับการจ�ำหน่ายในประเทศในปี 2554 มีจ�ำนวน 2,007,384 คัน แบ่งเป็นการจ�ำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบ ครอบครัว จ�ำนวน 962,888 คัน รถจักรยานยนต์สกูตเตอร์ จ�ำนวน 974,244 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต จ�ำนวน 70,252 คัน การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในปี 2554 มีจ�ำนวน 1,133,002 คัน (เป็นการส่งออก CBU จ�ำนวน 221,164 คัน และ CKD จ�ำนวน 911,838 ชุด) มีมูลค่าการ ส่งออกรถจักรยานยนต์รวม 24,351.91 ล้านบาท ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกส�ำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 27.18, 18.73 และ 10.82 ตามล�ำดับ การน�ำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2554 คิดเป็นมูลค่า 1,301.46 ล้านบาท แหล่งน�ำเข้ารถจักรยานยนต์ที่ส�ำคัญในปี 2554 ได้แก่ เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการน�ำเข้า ร้อยละ 25.96 และ 7.56 ตามล�ำดับ

(ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส�ำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์)

10

เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้


ภาวะอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ในปี 2554 มีมูลค่า 136,450.30 ล้านบาท โดยเป็นการส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 26,669.68 ล้านบาท การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 16,438.75 ล้านบาท ตลาดส่งออกส�ำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.21, 13.46 และ 9.75 ตามล�ำดับ ส�ำหรับการน�ำเข้าส่วนประกอบและ อุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยปี 2554 มีมูลค่า 198,668.85 ล้านบาท แหล่งน�ำเข้าส่วนประกอบและ อุปกรณ์รถยนต์ส�ำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการน�ำเข้าร้อยละ 61.74, 5.61 และ 4.95 ตามล�ำดับ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 2554 มีมลู ค่า 14,263.23 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของประเทศไทย มีมูลค่า 675.90 ล้านบาท ตลาดส่งออกที่ ส�ำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ในปี 2554 ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ คิดเป็น สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.49, 18.37 และ 9.99 ตามล�ำดับ ส�ำหรับการน�ำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในปี 2554 มีมูลค่า 14,985.54 ล้านบาท แหล่งน�ำเข้าส่วนประกอบและ อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ทีส่ �ำคัญ ได้แก่ ญีป่ นุ่ จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการน�ำเข้าร้อยละ 43.93, 15.75 และ 8.00 ตามล�ำดับ

อุตสาหกรรมยานยนต์

11


2. แนวโน้มอุตสาหกรรม แนวโน้มด้านการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ปัญหาความผันผวนของราคาพลังงาน และปัญหาโลกร้อน (Global Warming) ส่งผลให้เส้น ทางการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์โลกมุ่งไปสู่ระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) ซึ่งเป็น เทคโนโลยีใหม่ ที่จะเริ่มมาทดแทนเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ตัวอย่าง ของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เช่น รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Vehicles) รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles) และรถยนต์ไฮบริดแบบเสียบปลั๊ก (Plug-in Hybrid Vehicles) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การพัฒนาไปสูเ่ ทคโนโลยีแบบมอเตอร์ไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์แบบยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึง่ รถยนต์เซลล์ เชื้อเพลิงยังมีข้อจ�ำกัดในเรื่องระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ซึ่งยังไม่สามารถรองรับได้เต็มที่ เพราะสถานีบริการเติมก๊าซไฮโดรเจนต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก โดยเฉพาะในเรือ่ งระบบความปลอดภัย ส่วน รถยนต์ไฟฟ้านัน้ ยังมีขอ้ จ�ำกัดในเรือ่ งประสิทธิภาพการท�ำงานของแบตเตอรี่ และการสร้างระบบโครงสร้าง พื้นฐาน เช่น ระบบไฟฟ้าสามเฟส และสถานีชาร์ตแบตเตอรี่เพื่อรองรับการใช้งาน ในปัจจุบนั ผูผ้ ลิตรถยนต์ซงึ่ เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน และเพื่อลดการปล่อยก๊าซ CO2 จากท่อไอเสียรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน ผู้ผลิตรถยนต์แต่ละค่ายมี

12

เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้


การเลือกใช้เทคโนโลยีทแี่ ตกต่างกันในการผลิตรถยนต์ตามระดับความช�ำนาญและประสบการณ์ทสี่ งั่ สมมา เช่น ผู้ผลิตค่ายยุโรปส่วนใหญ่มุ่งเน้นการพัฒนารถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลที่มีการปรับปรุงด้านประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงานให้ดขี นึ้ ในขณะทีผ่ ผู้ ลิตค่ายญีป่ นุ่ มุง่ สูก่ ารพัฒนารถยนต์ไฮบริด และรถยนต์ทวั่ ไปทีม่ ี ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูงขึ้น ด้วยการน�ำเทคโนโลยีเครื่องยนต์ ระบบส่งก�ำลังสมัยใหม่ พร้อมทั้ง เพิม่ เติมระบบ/อุปกรณ์เสริมเพือ่ การประหยัดพลังงานมาใช้อย่างแพร่หลายยิง่ ขึน้ ได้แก่ ระบบควบคุมการ เปิดปิดวาล์วให้เหมาะสมกับรอบของเครื่องยนต์ หรือระบบหยุดการท�ำงานของเครื่องยนต์ในช่วงรถยนต์ จอดหยุดนิ่ง หรือการพัฒนาตัวถังรถให้มีน�้ำหนักลดลง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีหรือระบบเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นนวัตกรรมใหม่ (Innovation) แต่เป็นสิ่งที่มีการคิดค้นไว้แล้ว แต่ในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ถูกใช้อย่าง แพร่หลาย เนื่องจากยังไม่คุ้มค่าในแง่ของต้นทุนการผลิตเมื่อเปรียบเทียบกับราคาเชื้อเพลิง อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไทยควรมองเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เป็นโอกาส ไม่ใช่อุปสรรคต่อการพัฒนาโดยเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ผู้ผลิตชิ้นส่วนจ�ำเป็นต้อง เร่งพัฒนาเทคโนโลยีให้เท่าทันกับผู้ผลิตรถยนต์เพื่อก้าวไปพร้อมกัน ถ้าผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยไม่เร่งปรับตัวจะ ท�ำให้เกิดความล้าหลัง และไม่ประสบความส�ำเร็จในการท�ำธุรกิจ

อุตสาหกรรมยานยนต์

13


ตารางที่ 4 การน�ำเข้ายานยนต์ หน่วย : ล้านบาท

2554 2555 2553 2554 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 25,278.46 26,307.59 6,624.95 6,525.09 6,674.78 6,482.77 11,218.39 (4.07) (6.35) (1.32) (11.55) (-2.15) (69.34) (0.00) (-1.51) (2.29) (-2.88) (73.05) 20,453.89 24,739.09 6,218.11 4,393.69 5,956.77 8,170.52 7,518.34

รถยนต์นั่ง YOY (%) QoQ (%) รถยนต์โดยสารและ รถบรรทุก YOY (%) (20.95) (63.98) (-6.63) QoQ (%) (9.37) (-29.34) ส่วนประกอบและ 189,094.92 198,668.85 50,657.01 41,666.70 อุปกรณ์ YOY (%) (5.06) (15.96) (-4.53) QoQ (%) (4.23) (-17.75) รถจักรยานยนต์ 612.91 1,301.46 324.83 300.83 YOY (%) (112.34) (239.85) (142.27) QoQ (%) (33.63) (-7.39) ส่วนประกอบและ 14,752.20 14,985.54 4,966.33 2,872.45 อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน YOY (%) (1.58) (43.20) (-14.02) QoQ (%) (25.50) (-42.16)

(-5.01) (43.72) (20.91) (35.58) (37.16) (-7.98) 53,349.25 52,995.89 57,558.75 (0.33) (9.04) (13.62) (28.04) (-0.66) (8.61) 338.58 337.22 671.89 (125.60) (38.73) (106.84) (12.55) (-0.40) (99.24) 3,528.64 3,618.12 4,131.82 (-11.48) (22.84)

(-8.57) (2.54)

(-16.80) (14.20)

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส�ำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

14

เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community ; AEC)

รูปที่ 2 สมาชิก และปีที่เข้าเป็นสมาชิก

อุตสาหกรรมยานยนต์

15


ในปี 2558 อาเซี ย นจะพั ฒ นาไปสู ่ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น (ASEAN Economic Community ; AEC) ท�ำให้เกิดการรวมเป็นตลาดเดียว (Single Market) ทีม่ ผี บู้ ริโภคจ�ำนวนมากขึน้ ในปี 2553 ภูมิภาคอาเซียนมีจ�ำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 590 ล้านคน และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศรวมกัน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อพิจารณาตลาดรถยนต์รวมของอาเซียน พบว่า ในปี 2554 ประเทศใน อาเซียน 5 ประเทศ (ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลปิ ปินส์) มียอดจ�ำหน่ายรถยนต์รวมทัง้ สิน้ 2,581,250 คัน และในปี 2555 มีการคาดการณ์ว่าการผลิตรถยนต์ของอาเซียน 5 ประเทศจะมีปริมาณ 3,742,000 คัน และยอดจ�ำหน่ายมีประมาณ 2,976,500 คัน ที่มา : สถาบันยานยนต์

16

เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้


รูปที่ 3 ปริมาณการผลิตรถยนต์ ปี 2554

รูปที่ 4 ปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์ ปี 2554

อุตสาหกรรมยานยนต์

17


ดังนี้

18

การพัฒนาไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ด้านบวก - การรวมเป็นตลาดเดียว (Single Market) ท�ำให้เกิดตลาดที่มีผู้บริโภคจ�ำนวนมากขึ้น ผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไทยสามารถผลิตสินค้าที่ระดับ Economy of Scale ท�ำให้มีต้นทุนการผลิตถูกลงได้ - เป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งออก (ตลาดอาเซียนเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย) เป็นการ สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กบั อุตสาหกรรมการผลิตชิน้ ส่วนทัง้ OEM, REM และ Accessories ของไทย - การแบ่งงานกันท�ำและการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน ก่อให้เกิด การกระจายการผลิตชิ้นส่วนไปในประเทศที่มีความช�ำนาญและต้นทุนการผลิตต�่ำ ส่งผล ให้ชิ้นส่วนและวัตถุดิบมีคุณภาพสูงขึ้น และมีราคาต�่ำลง - เป็นการสร้างโอกาสการลงทุนเมือ่ ประเทศอาเซียนมีการเคลือ่ นย้ายเงินทุนได้เสรีมากยิง่ ขึน้ - อาเซี ย นจะกลายเป็ น ฐานการผลิ ต ที่ ส�ำคั ญ และผู ้ ป ระกอบการแบรนด์ ใ หญ่ ใ น ตลาดโลกจะให้ความส�ำคัญมากขึ้น นอกจากนี้อาเชียนยังมีความร่วมมือข้อตกลง เอฟทีเอระหว่างอาเซียน 10 ประเทศกับประเทศพันธมิตร 6 ประเทศ (อาเซียน+6) ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ อีกทั้งยังมีประเทศเปรู ที่ก�ำลังอยู่ระหว่างการเจรจา จะท�ำให้ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้นครอบคลุมกว้างมากยิ่งขึ้น ยิ่งจะเป็นผลดีต่อเอเชียและประเทศไทย

เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้


ด้านลบ - สินค้าของประเทศอาเซียนสามารถเข้าสู่ตลาดไทยได้โดยไม่มีภาระภาษี ท�ำให้ผู้ประกอบ การไทยต้องแข่งขันสูงขึ้น - เผชิญกับอุปสรรคการค้าอันเนือ่ งจากมาตรการกีดกันทีไ่ ม่ใช่ภาษี NTB (Non-Tariff Barrier) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม - ในด้านการลงทุน หากประเทศไทยไม่มีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ประสิทธิภาพการผลิต ของแรงงาน และไม่มีการปรับปรุงกฎระเบียบกฎหมายให้มีความทันสมัย อาจท�ำให้เกิด การย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่นๆ ใน ASEAN ที่เหมาะสมกว่า - การเคลือ่ นย้ายแรงงานได้อย่างเสรี อาจท�ำให้เกิดการเคลือ่ นย้ายของแรงงานฝีมอื ของไทย ไปประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า เช่น สิงคโปร์ ส่งผลให้ต้องจ้างแรงงานต่างด้าวจาก ประเทศที่ค่าแรงถูกกว่าเข้ามา อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมตามมา

อุตสาหกรรมยานยนต์

19


อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไทยควรต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการ แข่งขันในระดับภูมภิ าคในหลายเรือ่ ง ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพแรงงาน และการเพิม่ ประสิทธิภาพแรงงาน การลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วย การพัฒนาระบบ Logistics และเรื่องเงินทุนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

รูปที่ 5 Free Trade Agreement ของไทยในปัจจุบัน

20

เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้


แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2555 แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2555 คาดว่าการผลิตจะอยู่ที่ระดับ 2.1 ล้านคัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อตลาดภายในประเทศจ�ำนวน 1.1 ล้านคัน และตลาดส่งออกจ�ำนวน 1 ล้านคัน

3. ปัญหาและอุปสรรค ในปัจจุบนั ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในทุกระดับ ทัง้ แรงงาน ทั่วไป (Unskilled Labor) แรงงานฝีมือ (Skilled Labor) รวมทั้งบุคลากรที่มีทักษะสูงด้านการวิจัยพัฒนา และการออกแบบ นอกจากนี้ แรงงานใหม่ที่เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมขาดทักษะด้านการปฏิบัติงาน จ�ำเป็น ต้องใช้เวลาในการฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติงาน ปัญหาขาดแคลนบุคลากรและการยกระดับบุคลากรจึงเป็นเรื่องส�ำคัญที่ต้องพิจารณาโดย เร่งด่วน เพราะเป็นส่วนสนับสนุนต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งภาคอุตสาหกรรมตั้งเป้าหมายที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรถยนต์ 1 ใน 10 ของโลก

อุตสาหกรรมยานยนต์

21


4. แนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรม เพือ่ รักษาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ภาครัฐได้ก�ำหนดวิสยั ทัศน์ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ “การเป็นฐานการผลิตยานยนต์แห่งเอเชีย สามารถสร้างมูลค่าเพิม่ ในประเทศ โดยมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนที่มีความแข็งแรง” และก�ำหนดนโยบาย “International Car” ซึ่งให้ ความเสรี เท่าเทียม และโปร่งใสแก่นักลงทุนทั้งในประเทศและจากทุกประเทศทั่วโลก ภาครัฐได้สร้างและ รักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงในด้านบรรยากาศทางธุรกิจที่เอื้อต่อการเป็นฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์และ ชิน้ ส่วนยานยนต์ ส�ำหรับนักลงทุนจากทัง้ ในประเทศและจากทุกประเทศทัว่ โลก โดยให้มคี วามพร้อมทัง้ ด้าน โครงสร้างพืน้ ฐาน ทรัพยากรบุคคล และมีฐานอุตสาหกรรมต้นนำ �้ อุตสาหกรรมแม่พมิ พ์ และอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศที่เข้มแข็ง กระทรวงอุตสาหกรรมได้ก�ำหนดกลยุทธ์หลักในการพัฒนาอุตสาหกรรม ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 “การชี้ทิศทางและสร้างโอกาส” เพื่อการวางทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม ยานยนต์ไทยทีช่ ดั เจน เพือ่ รองรับพัฒนาการของเศรษฐกิจสังคมและวิถชี วี ติ ยุคใหม่ และสอดคล้องกับโลกใน ยุคปัจจุบัน และเพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทย ทั้งนี้ โดยอาศัยกลไกของโครงสร้างภาษี การส่งเสริมการลงทุน และโครงการและมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ การด�ำเนินงาน หรือโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์นี้ ประกอบด้วย - การส่งเสริมการเป็นฐานผลิตรถยนต์และชิน้ ส่วน ในผลิตภัณฑ์ทมี่ คี วามเฉพาะ หรือมีระดับ มาตรฐานหรือคุณภาพที่แตกต่าง (Global Niche Products)

22

เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้


- การเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ โดยให้ใช้ผลทดสอบปริมาณ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2 Emission) ของรถยนต์มาเป็นเกณฑ์ในการก�ำหนดอัตราภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ของโลก ซึ่งค�ำนึงถึงการประหยัดพลังงาน สิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพ และด้านความปลอดภัย - การสร้างโอกาสทางการค้าโดยการขยายตลาดต่างประเทศ อันได้แก่ การเจรจา FTA ที่สอดรับกันอย่างมีระบบ กลยุ ท ธ์ ที่ 2 “การพั ฒ นามาตรฐานและการวิ จั ย ” เพื่ อ เป็ น การส่ ง เสริ ม พั ฒ นาการด้ า น ปั ญ ญาให้ กั บ อุ ต สาหกรรมที่ มี ค วามจ�ำเป็ น อย่ า งยิ่ ง ในการสนั บ สนุ น การพั ฒ นาอุ ต สาหกรรมของ ไทย เพราะในอนาคต อุตสาหกรรมไทยจะต้องพัฒนาและแข่งขันได้บนฐานความรู้ การรับจ้างผลิต เพียงอย่างเดียวย่อมไม่ก่อให้เกิดมูลค่าในประเทศมากนัก ในกรณีของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย การสร้างมูลค่าในประเทศ หรือ Value Creation จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาระดับคุณภาพ และการเป็น

อุตสาหกรรมยานยนต์

23


เจ้าของความคิด ซึง่ ต้องอาศัยการพัฒนาศักยภาพด้านการทดสอบ และความสามารถในด้านการออกแบบ และวิศวกรรม การด�ำเนินงานหรือโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์นี้ ประกอบด้วย - การผลักดันโครงการพัฒนาศูนย์ทดสอบยานยนต์ (โครงการภายใต้แผนพัฒนาอุตสาหกรรม ยานยนต์สู่ความยั่งยืน) เพื่อให้มีศูนย์ทดสอบยานยนต์ที่สามารถทดสอบและรับรองผลตามมาตรฐานของ ประเทศ และมาตรฐานสากล ทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของผูบ้ ริโภค และสิง่ แวดล้อม รวมทัง้ เป็นแหล่งพัฒนาการด�ำเนินงานวิจยั และพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมร่วมกับผูป้ ระกอบการในอุตสาหกรรม ที่น�ำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานของประเทศและสากล รวมถึงมาตรฐานของผู้ซื้อ รวมทั้ง การวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนการก�ำหนดมาตรฐานยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศ กลยุทธ์ที่ 3 “การยกระดับบุคลากรและผู้ประกอบการ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านผลิตภาพ เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรจะต้องท�ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อคงไว้ซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ดังนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยจึงจ�ำเป็นต้องมีการยกระดับบุคลากรในทุกแขนง โดยเริ่มตั้งแต่หลักสูตร ระบบการเรียนการสอน รวมถึงการจัดสรร อุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องแล็ป และเครื่องมือทดสอบที่ทันสมัย จนถึงการประเมินระดับฝีมือ การด�ำเนินงานหรือโครงการภายใต้ ยุทธศาสตร์นี้ประกอบด้วย - แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551-2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพซึ่งเป็นรากฐาน

24

เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้


การเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่ยั่งยืน อันน�ำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศและคุณภาพชีวติ ของประชาชน เพือ่ แก้ไขปัญหา ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและภูมคิ มุ้ กันให้กบั ภาคอุตสาหกรรมไทย ให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก และเพื่อผลักดันให้ภาคเอกชน มีบทบาทในการพัฒนาด้วยตนเอง รวมทั้งให้ความส�ำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ - การผลักดันโครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์สคู่ วามยัง่ ยืน (โครงการภายใต้ แผนพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สู่ความยั่งยืน) เพื่อพัฒนาระบบการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรม ยานยนต์ไทยให้มมี าตรฐาน และเพือ่ พัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้มคี วามรูค้ วามสามารถ และ ทักษะในด้านต่างๆ อย่างเพียงพอ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม ยานยนต์ไทย รวมทั้งเพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านทรัพยากรมนุษย์ส�ำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

..............................................................

อุตสาหกรรมยานยนต์

25


ด�ำเนินการโดย : คณะท�ำงานจัดท�ำสื่อประชาสัมพันธ์ ที่ปรึกษา : นายโสภณ ผลประสิทธิ์ นายหทัย อู่ไทย นายพิชัย ตั้งชนะชัยอนันต์ คณะท�ำงาน : นางวารี จันทร์เนตร นางธนพรรณ ไวทยะเสวี นางศุภิดา เสมมีสุข นายศุภชัย วัฒนวิกย์กรรม์ นายบุญอนันต์ เศวตสิทธิ์ นายชาลี ขันศิริ นางสาวสมานลักษณ์ ตัณฑิกุล นางสาวขัตติยา วิสารัตน์ นายศักดิ์ชัย สินโสมนัส นางสาวกุลชลี โหมดพลาย นางสาวสิรินยา ลิม นางสาววรางคณา พงศาปาน


สถานที่ติดต่อ : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

75/6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2202 4274 , 0 2202 4284 โทรสาร 0 2644 7023 Website : www.oie.go.th Facebook : www.facebook.com/oieprnews Twitter : http://twitter.com/oie_news

พิมพ์ที่ บริษัท วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำ�กัด เลขที่ 2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอยจรัญฯ 86/1 แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทร. 0-2880-1876 แฟ็กซ์. 0-2879-1526 www.wswp.co.th


Industrial Intelligence Unit (IIU) คืออะไร? ระบบเครือข่ายข้อมูลเพือ่ การชีน้ �ำและเตือนภัยของภาคอุตสาหกรรม ซึง่ ประกอบไปด้วย 9 ระบบข้อมูล หรือ 9 IIU ได้แก่ อุตสาหกรรมไทยในภาพรวม http://iiu.oie.go.th อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม http://iiu.oie.go.th/Textile/default.aspx อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า http://iiu.oie.go.th/iron/default.aspx อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ http://iiu.oie.go.th/electronics/default.aspx อุตสาหกรรมยานยนต์ http://iiu.oie.go.th/Automotive/default.aspx อุตสาหกรรมอาหาร http://iiu.oie.go.th/food/default.aspx อุตสาหกรรมพลาสติก http://iiu.oie.go.th/ptit/default.aspx ฐานข้อมูลด้านการรับรองมาตรฐานไอเอสโอ http://iiu.oie.go.th/ISO/default.aspx ฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในภูมิภาคอาเซียน http://iiu.oie.go.th/IUasean/default.aspx


สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 75/6 ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท 0 2202 4274, 0 2202 4284 โทรสาร 0 2644 7023

OFFICE OF INDUSTRIAL ECONOMICS 75/6 Rama 6 Rd., Ratchathewee, Bangkok 10400 Telephone 0 2202 4274, 0 2202 4284 Fax 0 2644 7023

www.oie.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.