พื้นที่แบ่งปันความรู้ สู่ระบบสุขภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืน
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555
“ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.”
บทเรียนและข้อเสนอ
www.hsri.or.th
บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร
ส
นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วัสดีครับท่านผู้อ่าน... มาพบกับจุลสาร HSRI Forum “พื้นที่แบ่งปันความรู้ สู่ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม
และยั่งยืน” กันเป็นประจำทุกเดือน ฉบับที่ท่านถืออยู่ในมือเล่มนี้ เป็นฉบับตี พิมพ์ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม 2555 ที่ทางกองบรรณาธิการได้เกาะกระแสข่าวสารงาน วิจัยของ สวรส. และแวดวงระบบสุขภาพ มาให้คุณผู้อ่านได้ติดตามกันเช่นเคย โดยความ เคลื่ อ นไหวเมื่ อ ช่ ว งเดื อ นมิ ถุ น ายนที่ ผ่ า นมาทาง สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคน ด้านสุขภาพ (สวค.) ได้ร่วมกันจัดประชุมวิชาการ ‘สรุปบทเรียนและทิศทางในอนาคตการ ถ่ายโอนสถานีอนามัย’ ขึ้นมา โดยมีผ้ทู ่เี กี่ยวข้องจากหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จากพื้นที่ต่างๆ เข้าร่วมกว่า 100 คน สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่ได้ติดตามเรื่องการถ่ายโอนสถานีอนามัยมาก่อน จึงขออธิบายความ เป็นมาของเรื่องนี้ให้เข้าใจกันอย่างง่ายๆ ว่า การถ่ายโอนสถานีอนามัยเป็นการดำเนินการตาม หลักคิดการกระจายอำนาจของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี 2540 และปี 2550 มี บทบัญญัติสำคัญประการหนึ่งก็คือ ให้ ‘รัฐกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นพึ่ง ตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง’ จากนั้นต่อมาในปี 2542 จึงมี ‘พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น’ ออกมา เพื่ อ กำหนดอำนาจหน้ า ที่ ก ารให้ บ ริ ก ารสาธารณะและการ
จัดสรรสัดส่วนภาษีอากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อนำไปใช้บริหารท้องถิ่น ต่อไป โดย ‘บริการสาธารณะ’ ที่จะให้ท้องถิ่นบริหารจัดการแทนส่วนกลางนั้น มีความหมาย ที่กว้างขวาง ไม่จำเพาะเจาะจงแต่บริการด้านสุขภาพหรือการถ่ายโอนสถานีอนามัยเท่านั้น แต่ ยังรวมไปถึงบริการอื่นๆ ด้วย เช่น การศึกษา สาธารณูปโภค ความปลอดภัย ฯลฯ ยกเว้น กิจการทหาร ศาลยุติธรรม และอัยการ ทั้งนี้ การกระจายอำนาจด้านสุขภาพไปสู่ท้องถิ่น จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดขึ้นได้ใน เร็ววัน เพราะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์และโครงสร้างทางอำนาจ ฉะนั้นในระหว่าง นี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนวิธีคิด ทบทวนและปรับปรุงวิธี ปฏิบัติให้สอดคล้องกับยุคและสถานการณ์ ตลอดจนให้เวลากับการเตรียมความพร้อมและ
การทำความเข้าใจกับสิ่งใหม่สิ่งนี้ สวรส. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ได้ติดตามและประเมินผลการถ่ายโอนสถานีอนามัยมา อย่างต่อเนือ่ ง จึงได้รว่ มกับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องจัดประชุมสรุปบทเรียนและทิศทางในอนาคตการ ถ่ายโอนสถานีอนามัย 28 แห่ง ขึ้น เพื่อนำประสบการณ์ท้ังด้านบวกและด้านลบมาแลกเปลี่ยน เรียนรู้กัน ซึ่งเวทีนี้มีข้อเสนอแนะต่อทิศทางในอนาคตอย่างไรนั้น พลิกอ่านได้จากรายงาน พิเศษในฉบับ นอกจากนี้ HSRI Forum ยังมีเนื้อหาสาระอื่นๆ ที่น่าสนใจ โดยฉบับนี้หยิบผลงานวิจัย R2R ดีเด่น ภายใต้หัวข้อ ‘การเปรียบเทียบความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง และต้นทุน ระหว่ า งการดู ด เสมหะด้ ว ยระบบเปิ ด กั บ ระบบปิ ด ในหอผู้ ป่ ว ยหนั ก โรงพยาบาลเสนา’
มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งเป็นผลงานจากการประกวดในงานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่ งานวิจัย ครั้งที่ 5 ประจำปี 2555 ภายใต้แนวคิด ‘วิถี R2R : เรียบง่าย คุณภาพ ครบวงจร’ ต่อกันด้วยต้นกล้าต้นแบบการแปลงแนวคิดการถ่ายโอนสู่การปฏิบัติ ของสถานีอนามัยตำบล หาดทนง อ.เมื อ ง จ.อุ ทั ย ธานี กั บ ปฏิ บั ติ ก ารเชิ ง รุ ก งานสุ ข ภาพ และการเตรี ย มแผน “เอาอยู่” รับมือน้ำท่วม และอีกหลายเรื่อง ขอเชิญท่านผู้อ่านติดตามได้ในฉบับนี้
แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า...สวัสดีครับ !!
02
HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
สารบัญ
CONTENT 03 08 10 12
รายงานพิเศษ
“ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
ต้นกล้าความรู้ สู่ต้นแบบสุขภาพ
เทศบาล “หาดทนง” ปฏิบัติการเชิงรุกงานสุขภาพ เตรียมแผน “เอาอยู่” รับมือน้ำท่วม
เส้นทางสู่สุขภาพ ที่เป็นธรรมและยั่งยืน
มติสมัชชาสุขภาพ กับกระบวนการ ประเมินที่ไม่ใช่แค่ “มติ” แต่มุ่ง “สู่การปฏิบัติ”
แกะกล่องงานวิจัย
งานวิจัยรับใช้งานประจำ : ตัวอย่างจาก รพ.เสนา
เกาะกระแส
14
สสพ. จัด Workshop แนวคิดและ เครื่องมือ ICF • คศน. จัดสัมมนา การจัดการองค์กรยุคใหม่ • ฯลฯ
จุลสาร HSRI Forum
จัดทำโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ที่ปรึกษา นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ทพ.จเร วิชาไทย ภก.สรชัย จำเนียรดำรงการ ภญ.หญิงพรพิศ ศิลขวุธท์ นพ.บุญชัย กิจสนาโยธิน ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ นพ.คณิตสรณ์ สัมฤทธิ์เดชขจร บรรณาธิการ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข กองบรรณาธิการ นิธิภา อุดมสาลี ฐิติมา นวชินกุล ศุภฑิต สนธินุช ณัฐกานต์ ธรรมเวช
ร า ย ง า น พิ เ ศ ษ
“ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.”
บทเรียนและข้อเสนอ แกะรอย “ถ่ายโอนสถานีอนามัย” สู่ท้องถิ่น
แ
เป็ น เรื่ อ งที่ ดี ไ ม่ น้ อ ยหากจะได้ มี ก ารทบทวนบทเรี ย นทั้ ง ด้านบวกและด้านลบของสถานีอนามัย 39 แห่ง ที่ผ่านการ ม้ ว่ า รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทยปี 2540 และ ปี 2550 จะมี บ ทบั ญ ญั ต ิ ถ่ายโอนมาสู่ อปท. ก่อนจะมีการก้าวเดินกันต่อไป เพราะยัง เกี่ ย วกั บ การกระจายอำนาจการปกครองจากส่ ว นกลางสู่ ส่ ว นภู มิ ภ าค รวมทั้ ง มี มีเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยที่ถ่ายโอนไปแล้วหลายต่อหลายคน พระราชบั ญ ญั ติ ก ำหนดแผนและขั้ น ตอนการกระจายอำนาจแล้ ว แต่ รู ป ธรรม ตัดพ้อเปรียบเทียบตัวเองทำนองว่า “เป็นลูกสาวที่ถูกพ่อแม่ ความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจยังปรากฏให้เห็นได้น้อยมาก โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ ทอดทิ้ ง เพราะหลั ง จากแต่ ง งานออกไปแล้ ว ชี วิ ต ไม่ มี
โครงการนำร่องถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในปี 2550 ความสุข” ขณะเดียวกัน สถานีอนามัยหลายแห่งก็ทำงาน เป็นรูปแบบหนึ่งของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพลงไปสู่ท้องถิ่นจริงๆ โดยเริ่มต้นในสมัย ร่วมกับ อบต.ได้อย่างราบรื่น แม้จะมีปัญหาอยู่บ้างแต่ก็แก้ไข รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งมี นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข เป็นผู้ที่มีบทบาท ได้ โดยเน้นผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ผลักดันนโยบายดังกล่าว งานนี้ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ซึ่ ง ได้ ในระยะเริ่มต้นของการถ่ายโอนสถานีอนามัย มีจำนวนเพียง 28 แห่งเท่านั้น ต่อมาในปี ติดตามประเมินผลและถอดบทเรียนการถ่ายโอนสถานีอนามัย
2554-2555 มี ส ถานี อ นามั ย ที่ ผ่ า นการประเมิ น และได้ ถ่ า ยโอนเพิ่ ม ขึ้ น อี ก 11 แห่ ง เมื่ อ ดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2552 ได้ร่วมกับ สำนักงานหลักประกัน รวมกันทั้งหมดแล้วก็ได้เพียง 39 แห่ง จากสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานวิจัยและพัฒนา (รพ.สต.) ที่มีอยู่ทั้งหมด 9,762 แห่งทั่วประเทศ กำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) จัดประชุม ‘สรุปบทเรียนและ ทิศทางในอนาคตการถ่ายโอนสถานีอนามัย’ ขึ้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี โดยมี
ผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กว่า 100 คน เริ่ ม จากผลการศึ ก ษา ‘การประเมิ น ผลท้ อ งถิ่ น กั บ
การพั ฒ นาระบบสุ ข ภาพในบริ บ ทการกระจายอำนาจ : การสังเคราะห์บทเรียน และข้อเสนอเชิงนโยบาย’ โดย รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย
มหิดล ได้ฉายภาพรวมสถานการณ์และความสำเร็จที่แตกต่าง หลากหลายของสถานีอนามัยถ่าย โอนทัง้ 28 แห่งว่า แม้วา่ หลายแห่ง จะยังคงมีปัญหาการบริหารเดิมๆ แต่ ส่ ว นใหญ่ ก้ า วรุ ด ไปข้ า งหน้ า การปรั บ ตั ว ได้ ทั้ ง ฝ่ า ยเจ้ า หน้ า ที่
และผู้บริหารท้องถิ่นเริ่มชัดเจนขึ้น ภาพความสำเร็จตามอุดมคติ คือ สามารถตอบโจทย์สุขภาพของท้องถิ่นที่ตรงจุด โดยในการ ทำงานของ สอ. จำนวน 12 แห่ง จาก 28 แห่ง สามารถมี แพทย์ ใ ห้ บ ริ ก ารประจำ เปิ ด คลิ นิ ก นอกเวลา ขยายบริ ก าร ด้านทันตสุขภาพ มีบริการนวดแผนไทย และกายภาพบำบัด HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
03
บางแห่งมีโครงการเชิงรุก เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในพื้นที่ โดยสามารถดำเนินบทบาททั้ง 3 ด้าน คือ การรักษาพยาบาล การส่งเสริมป้องกัน และการควบคุมโรคในชุมชน ได้อย่าง เต็มที่ ขณะที่ สอ. จำนวน 16 แห่ง ลักษณะงาน ไม่ต่างจากบทบาทสถานีอนามัยทั่วไปจากก่อน และหลังถ่ายโอน คือ มีการทำงานรักษาในสถานีอนามัยและงานเชิงรุกกับกลุ่มเป้าหมาย แต่ที่ เพิ่มเติมเข้ามา คือ การทำงานตามนโยบายของท้องถิ่นที่ต้องร่วมกับส่วนงานอื่นๆ ของ อบต. ในอีกด้าน ยังมีปัญหาและอุปสรรคของสถานีอนามัยถ่ายโอนที่หลายส่วนยังคงเผชิญอยู่ โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้การถ่ายโอนในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมาไม่ราบรื่น คือ การส่งสัญญาณเชิง นโยบายที่ไม่ชัดเจนจากระดับบน ทำให้เกิดผลเชิงคัดค้านของผู้บริหารระดับจังหวัดและอำเภอ ที่ชัดเจนที่สุดคือ การตัดขาดหรือลดการสนับสนุนทางวิชาการ และงบประมาณของ CUP ใน หลายพื้ น ที่ ขณะที่ ปั ญ หาในด้ า นกำลั ง คน คื อ ยั ง ไม่ มี บุ ค ลากรเข้ า มาตามอั ต ราที่ ร ะบุ ไ ว้ จำนวน 59 ตำแหน่ง ส่วนใหญ่ คือ ทันตาภิบาล และเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ซึ่งจะ ต้องเร่งบรรจุอัตรากำลังที่วางไว้ให้เต็มโดยผ่านการคัดเลือกที่เป็นธรรม เป็นต้น งานวิจัยนี้พบว่า ความกระท่อนกระแท่นของสถานีอนามัยถ่ายโอนในหลายพื้นที่มิใช่ปัญหา เฉพาะคน หรือเฉพาะพื้นที่ แต่เกี่ยวกับบริบทเชิงโครงสร้างทั้งสิ้น ทางออกในเรื่องนี้นอกเหนือ จากการเรียกร้องความชัดเจนเชิงนโยบายแล้ว การระดมสรรพกำลังเพื่อช่วยให้สถานีอนามัย ถ่ายโอนในภาพรวมสามารถก้าวผ่านอุปสรรคสู่ความสำเร็จได้ เช่น การเร่งบรรจุอัตราที่ว่างให้ เต็มโดยเร็ว การสร้างระบบและกลไกแก้ปัญหาการบริหารที่ค้างคา ฯลฯ นับเป็นยุทธศาสตร์
ที่สำคัญ ที่จะทำให้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะสถานบริการอื่นๆ ที่พร้อมจะถ่ายโอน เกิดความมั่นใจ และกล้าที่จะตัดสินใจถ่ายโอนได้เร็วและมากขึ้น ย่างก้าวการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ หลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 รัฐธรรมนูญที่ถือกันว่าเป็นฉบับที่ก้าวหน้าที่สุดได้คลอด ออกมาในเดือนตุลาคมปีนั้น โดยมีบทบัญญัติให้กระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น • ปี 2542 ‘พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่ อปท.’ ได้บัญญัติขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี 2540 (สาระสำคัญ คือ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะ และการจัดสรร สัดส่วนภาษีอากรของ อปท. มีความหมายที่กว้างขวาง ถึง การศึกษา ความปลอดภัย สาธารณสุข ฯลฯ) และนำไปสู่แผนการกระจายอำนาจให้ อปท. พ.ศ.2543 และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอน การกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2545 • ในส่วนของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพนั้น แผนปฏิบัติการฯ พ.ศ.2545 กำหนดให้มีกลไก คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ขึ้นมาเพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานีบริการสุขภาพ โดยมี การแต่งตั้ง กสพ.ขึ้นมาในปีนั้น แต่การดำเนินการในช่วงต่อไปหยุดชะงัก เพราะรัฐบาลในขณะนั้นมี
นโยบายเร่งด่วนในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค • แม้ว่าจะยังไม่มีการถ่ายโอนสถานบริการสุขภาพ แต่กระทรวงสาธารณสุขก็เริ่มมีการถ่ายโอน ภารกิจบางอย่างให้แก่ อปท.ไป ในช่วงปี 2544-2545 เช่น กรมอนามัยได้สนับสนุน อปท.เรื่อง
การแก้ไขปัญหาเด็กน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ การพัฒนาแหล่งน้ำสะอาด อนามัยแม่และเด็ก เป็นต้น • ในปี 2549 รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้แต่งตั้งให้ นพ.มงคล ณ สงขลา ดำรงตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข ทำให้การกระจายอำนาจของกระทรวงสาธารณสุขมีทิศทางชัดเจนขึ้น มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการกำหนดกลไก กระบวนการ หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินความพร้อม อปท.เพื่อ รองรับการถ่ายโอน โดยมี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธาน • ในเดือนพฤศจิกายน 2550 มี อปท. ที่ผ่านการประเมินผลการถ่ายโอนรอบแรกจำนวน
18 แห่ง (22 สถานีอนามัย และในปี 2551 เพิ่มเป็น 28 สถานีอนามัย) • หลังจากมีรฐั บาลใหม่จากการเลือกตัง้ โดยพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 หมออนามั ย จากทั่ ว ประเทศหลายพั น คนได้ ร วมตั ว กั น เข้ า พบนายไชยา สะสมทรั พ ย์
รมว.สาธารณสุข โดยยื่นข้อเรียกร้องให้มีการประเมินผลและศึกษาวิจัยสถานีอนามัยที่ถ่ายโอนไปแล้ว ก่อนที่จะมีการการถ่ายโอนสถานีอนามัยในรอบต่อไป ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ชะลอการถ่ายโอน ออกไปก่อน • ในปี 2554 มีสถานีอนามัยที่ผ่านการประเมินและได้ถ่ายโอนเพิ่มขึ้นอีก 11 แห่ง
04
HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
กระจายอำนาจ : ชุมชนท้องถิ่นต้อง เข้มแข็ง
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ
ผู้ ท ร ง คุ ณ วุ ฒิ จ า ก ก ร ะ ท ร ว ง สาธารณสุข กล่าวถึงทิศทางและ อนาคตการถ่ายโอนสถานีอนามัย ให้แก่ อปท.ว่า การกระจายอำนาจ เป็นทิศทางของโลก ไม่ว่าจะเป็น ในประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งบาง แห่งก็ประสบผลสำเร็จ แต่บางแห่งก็ล้มเหลว เช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต้องกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและมีการถ่ายโอน สถานี อ นามั ย เพราะกองทุ น การเงิ น ระหว่ า งประเทศ (IMF) บังคับ แต่มีปัญหาเพราะขาดทุน ท้องถิ่นไม่มีเงินจ่าย
มองต่างมุมการถ่ายโอนอนามัย
นพ.ศุ ภ กิ จ ศิ ริ ลั ก ษณ์ นายแพทย์ ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ สำนั ก วิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงปัญหาใน
ส่วนประเทศทีป่ ระสบความสำเร็จ เช่น อิตาลีทางตอนเหนือ เพราะมีองค์กรชาวบ้านและนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมากมาย รวมกลุ่ ม เพื่ อ ต่ อ สู้ แ ละมี ส่ ว นร่ ว มกั บ การพั ฒ นาชุ ม ชนอย่ า ง จริงจัง สอดคล้องกับงานวิจัยปี 1980 ที่พบว่า การกระจาย อำนาจที่สำคัญ คือ ชุมชนและสังคมท้องถิ่นต้องเข้มแข็งก่อน สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญปี 2540 มีบทบัญญัติ ให้มีการกระจายอำนาจ ซึ่งมีที่มาจากวิกฤตเศรษฐกิจในปีนั้น และปัญหานักการเมืองคอร์รัปชั่น จึงต้องทำตาม IMF เช่น กั น โดยประเทศไทยมีแผนการกระจายอำนาจไปสู่ ท้อ งถิ่น แต่ไม่ได้ทำตามนั้น คือ บังคับก็ทำ ไม่บังคับก็ไม่ทำ ซึ่งหาก จะให้เกิดผลดี ชุมชนท้องถิ่นและ อปท.จะต้องทำงานร่วมกัน เพราะชุมชนมีทรัพยากรมาก เช่น มีทุน บางแห่งมีกลุ่มออม ทรัพย์มีเงินรวมกันมากกว่า 20 ล้านบาท มีภูมิปัญญา พระ ครู หมอ ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้ “ในหลายๆ พื้นที่ที่ไม่มีการถ่ายโอนสถานีอนามัย แต่ อบต.ก็สามารถทำงานร่วมกับ รพ.สต. ได้อย่างสอดคล้อง กัน เป็นมิตรกัน ไม่ตอ้ งกลัวว่าจะเป็นลูกน้องของนักการเมือง ท้องถิ่น ซึ่งหากทำได้แบบนี้ คือสร้างกัลยาณมิตรระหว่าง รพ.สต. อบต. และชุมชน ก็ไม่จำเป็นต้องถ่ายโอนฯ ก็ได้”
นพ.สุวิทย์กล่าว
การถ่ายโอนสถานีอนามัยว่า จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ปัญหา ในพื้นที่เกิดจากเจตคติของผู้บริหารบางแห่งที่ไม่เกื้อหนุนการถ่าย โอน กฎระเบียบต่างๆ ยังไม่ลงตัว เช่น ระเบียบเรื่องการเงิน เรื่องตำแหน่ง รูปแบบการ ทำงานที่แตกต่างกันระหว่างสถานีอนามัยกับนักการเมืองท้องถิ่นทำให้การทำงานไม่ราบรื่น ความเข้าใจงานด้านสาธารณสุขของผู้บริหารท้องถิ่น อัตรากำลังคนลดลง ส่งผลให้งานบริการ
ไม่ครอบคลุมและกระทบต่อคุณภาพของบริการ บางแห่งถ่ายโอนบุคลากรไปไม่ครบ ในขณะที่ ท้องถิ่นก็หาคนมาทำงานทดแทนไม่ได้ ทำให้มีคนทำงานน้อย ส่วนปัญหาเชิงโครงสร้างหรือระบบ เช่น รอยต่อระหว่างระบบบริการสุขภาพ คือกระทรวง สาธารณสุขออกแบบบริการแบบเขตหรือภาค หากตัดกลุ่มปฐมภูมิออกไปจะทำให้มีรอยต่อ ของระบบ การจั ด การในภาวะฉุ ก เฉิ น หากกระทรวงสาธารณสุ ข ไม่ ส ามารถสั่ ง การได้
การสนับสนุนอาจเข้าไม่ถึง หรือระบบข้อมูลสุขภาพ ท้องถิ่นจะต้องส่งข้อมูลไปยังส่วนกลาง
เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ภาพรวมของประเทศได้ แต่ที่ผ่านมาท้องถิ่นยังไม่ได้ส่งข้อมูล และ ประเด็นความเป็นธรรม เพราะท้องถิ่นหรือ อบต.แต่ละแห่งมีทรัพยากรไม่เท่ากัน บางแห่งมี ขนาดเล็ก งบประมาณน้อย ทำให้เกิดความแตกต่าง ส่วนทางออกนั้น นพ.ศุภกิจ เสนอความเห็นว่า ต้องคำนึงถึงระบบบริการที่พึงประสงค์ โดยการมีส่วนร่วมตัดสินใจของชาวบ้าน ชุมชน และท้องถิ่นจะต้องมานั่งคุยกัน หาทางออก ร่วมกัน และหารูปแบบในการถ่ายโอนที่เหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น
“ผมทำงานมาหลายรัฐบาลแล้ว แต่ยังไม่เห็นรัฐบาลใดจะสนับสนุนการกระจายอำนาจ ซึ่งทิศทางในอนาคตเรื่องการถ่ายโอนยังไม่ง่ายนัก แต่ขอให้ปล่อยไปตามธรรมชาติ คือที่ ใดพร้อมจะไป ที่ใดพร้อมจะรับ ก็ควรปล่อยไป ซึ่งผมก็จะพยายามประสานหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป” นพ.ศุภกิจ กล่าวสรุป ทางด้าน นายปิยะ คังกัน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
กล่าวว่า การถ่ายโอนสถานีอนามัยในช่วงแรกเกิดปัญหาหลายเรื่อง เช่น ขาดการประสานงาน ขาดความเข้าใจกัน ระบบงาน ระบบ เงินที่ไม่มีระเบียบรองรับทำให้เจ้าหน้าที่สับสน ไม่กล้าดำเนินการ เช่ น เรื่ อ งเงิ น บำรุ ง แต่ ปั ญ หาที่ ส ำคั ญ คื อ การกล้ า ตั ด สิ น ใจของ
ผู้บริหาร
“สิ่งที่กังวลคือความกลัวต่างหาก คือกลัวว่า อบต.จะบริหารไม่ได้ เพราะไม่มีงบประมาณ และกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่สามารถอุดหนุนเงินได้ แต่เมื่อถ่ายโอนไปแล้ว กรมส่งเสริม การปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ก็ ส ามารถของบจากสำนั ก งบประมาณมาอุ ด หนุ น อบต.
และสถานี อ นามั ย ที่ โ อนไปแล้ ว ก็ ไ ด้ เ ช่ น กั น โดยในปี 2555 นี้ จ ะสนั บ สนุ น อปท.แห่ ง ละ
2 ล้านบาท และปีต่อๆ ไปปีละ 1 ล้านบาท” นายปิยะ กล่าว
ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่ยังกังวล เช่น เรื่องอัตรากำลังคนที่ยังไม่ครบนั้น ในปีนี้กรมส่งเสริมฯ จะทำการสำรวจข้ อ มู ล ตำแหน่ ง ที่ ยั ง ขาดและคาดว่ า ปลายปี นี้ จ ะเปิ ด สอบตำแหน่ ง ที่ ข าดได้ ส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อีก 11 แห่งที่กำลังจะถ่ายโอนไปยัง อปท. ในปีน้จี ะดำเนินการโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ส่วนเรื่องงบประมาณ เงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ ต่างๆ การโอนย้าย สิทธิ กบข. ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง เพราะยังได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เหมือนเดิม ดังนั้นข้าราชการที่ถ่ายโอนจึงไม่ต้องกังวลเพราะเป็นสิทธิติดตัว นอกจากนี้ ข้าราชการที่ถ่ายโอนไป อปท. แล้วก็จะมีโอกาสเปิดกว้างในหน้าที่การงาน มากกว่าเดิม เช่น คนที่เรียนต่อทางด้านรัฐศาสตร์หรือนิติศาสตร์ อาจจะไปทำงานด้านบริหาร ได้ เช่น เป็นนิติกรหรือปลัด อบต. แต่ทาง อบต. ก็ต้องหาคนทดแทนด้วย HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
05
“ทางออกในเรื่องนี้ คือ ความชัดเจนเชิงนโยบาย และการระดมสรรพกำลัง เพื่อช่วยให้สถานีอนามัยถ่ายโอน ในภาพรวมสามารถ ก้าวผ่านอุปสรรค สู่ความสำเร็จได้ เช่น การเร่งบรรจุอัตราที่ว่างให้เต็มโดยเร็ว การสร้างระบบและกลไกแก้ปัญหาการบริหารที่ค้างคา ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจ และกล้าที่จะตัดสินใจถ่ายโอนมากขึ้น รวมถึงการจัดการระเบียบบุคคล การเงิน สร้างคู่มืออ้างอิงให้ชัดเจน เพื่อลดปัญหาการตีความที่แตกต่างกันของผู้ปฏิบัติระดับต่างๆ อันเป็นที่มาของความล่าช้า การเสียโอกาส และความไม่เป็นธรรม”
ประสบการณ์และแนวคิดจากท้องถิ่น
นางสุ ชี ล า พลไสย์ รั ก ษาการผู้ อ ำนวยการ
รพ.สต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี กล่าวว่า สถานีอนามัยเขาสมอคอนผ่านเกณฑ์ประเมินการ ถ่ายโอนในปี 2553 ตั้งแต่ยังไม่ได้มีการยกฐานะ เป็น รพ.สต. และเพิ่งจะถ่ายโอนในเดือนกุมภาพันธ์
ที่ ผ่ า นมานี้ ในช่ ว งน้ ำ ท่ ว มใหญ่ ใ นปี 2554
ที่ผ่านมานั้น มีความคิดว่าสถานีอนามัยจะต้องทำงานร่วมกับ อบต.ให้ได้ ซึ่ง ที่ผ่านมาก็ไม่มีปัญหา เพราะสามารถทำงานร่วมกับ อบต.ได้เป็นอย่างดี “ตลอด 60 วันช่วงน้ำท่วมนั้น เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยต้องทำงานอย่าง หนัก เราต้องลงเรือไปเยี่ยมบ้าน ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ทำงานแบบไม่มี วันหยุด เวลาขอความช่วยเหลือไปยัง อบต. ก็ได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่าง ดี ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่สถานีอนามัยต้องการ ดังนั้นแม้ว่าจะมี การเปลี่ยนขั้วการเมืองในท้องถิ่น เราก็ไม่กลัว เพราะเราทำงานกับชาวบ้าน ช่วยเหลือชาวบ้าน ไม่ได้สนับสนุนการเมืองฝ่ายใด เราจะนำพา รพ.สต. ไป ให้ดี เพื่อเป็นแบบอย่างให้ รพ.สต.อื่นๆ อยากจะถ่ายโอนบ้าง” นางสุชีลา กล่าว ทพญ.วิไลลักษณ์ ทิวากรกฎ โรงพยาบาล อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ได้นำเสนองานวิจัยเรื่อง
‘ความพึงพอใจและผลกระทบภายหลังการถ่าย โอน กรณี ส ถานี อ นามั ย สมุ ท รสงคราม’ โดย
นายวุ ฒิ ไ กร ดวงพิ กุ ล นายกองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลฝายแก้ ว
อ.ภูเพียง จ.น่าน 1 ใน อปท. จาก 11 แห่ง ที่จะรับการถ่ายโอนใหม่ในปีนี้ กล่าวว่า อบต.ฝายแก้ว รับโอนสถานีอนามัยในเขต อบต. มาทั้งหมด 3 แห่ง โดยมีแนวคิดว่า อปท. ควรอยู่ใกล้ชิดประชาชน และต้องมีความเข้มแข็ง สำหรับการบริหาร รพ.สต.ที่ถ่ายโอนมานั้น อบต.ฝายแก้ว จะสนับสนุนให้ มี ก ารทำงานเชิ ง รุ ก เน้ น ลงทำงานกั บ ชุ ม ชน แต่ ยั ง ขาดแคลนบุ ค ลากร คื อ ทันตแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด และแพทย์แผนไทย ซึ่ง อบต.จะขอ บุคคลากรไปยังกระทรวงสาธารณสุขและกรมส่งเสริมการปกครองฯ แต่หาก ไม่ได้ก็อาจจะจ้างเอง แต่ก็ต้องดูว่าจะผิดระเบียบหรือไม่ นอกจากนี้ก็จะส่ง เจ้าหน้าที่ อบต. 2 คนไปช่วยทำงานด้านบัญชีให้ รพ.สต. เพื่ อ แก้ ปั ญ หาการขาดกำลั ง คน และ สนับสนุนเรื่องการเปลี่ยนสายงาน หากเจ้าหน้าที่ รพ.สต. คนใดอยากมาทำงานด้านบริหาร “นอกจากนี้เรายังมีแผนงานให้ชาวบ้านเข้า มามี ส่ ว นร่ ว ม ด้ ว ยการแต่ ง ตั้ ง ผู้ ที่ มี ค วามรู้ มี ภู มิ ปั ญ ญา มาเป็ น ที่ ป รึ ก ษาของ อบต.ด้ า น สาธารณสุข และมีแผนที่จะพัฒนา อสม.ให้มีความรู้เพิ่มขึ้น ด้วยการฝึก อบรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน และลดภาระของ รพ.สต.” นายก อบต.ฝายแก้ว กล่าว
พบว่า “บุคลากรของสถานีอนามัยมีความพอใจ ต่อระบบการบริหารจัดการของ อบต. ที่เร็วกว่า ระบบของสาธารณสุขจังหวัดมาก เช่น เมื่อทำเรื่องขออุปกรณ์การติดต่อสื่อสารก็ จะได้ รั บ การสนั บ สนุ น จาก อบต. และได้ รั บ เงิ น โบนั ส มากกว่ า สาธารณสุ ข นอกจากนั้น อสม. ก็มีเอกภาพในการทำงานมากขึ้น เพราะแต่เดิม อสม.จะ ทำงานขึ้นกับสถานีอนามัยแต่ละแห่ง แต่เมื่อถ่ายโอนแล้วก็จะขึ้นอยู่กับ อบต. เพียงแห่งเดียว ทำให้การทำงานสะดวกรวดเร็วขึ้น” ส่วนที่ไม่พึงพอใจ เช่น ไม่สามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลได้ คำสั่งจาก อบต.บางครั้งมีความล่าช้า ไม่ชัดเจน ไม่ได้รับการสนับสนุนจาก บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่เดิมเพราะถือว่าถ่ายโอนไปแล้ว ฯลฯ ส่วนบุคลากร ของ อบต.ไม่พึงพอใจในประเด็นภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น เช่น งานด้านเอกสาร โบนัสที่ลดลงเพราะมีเจ้าหน้าที่อนามัยมาเป็นตัวหาร ฯลฯ “อีกด้านของผลสำรวจพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจ เพราะมีบริการ ทั น ตกรรมเพิ่ ม ขึ้ น ประชาชนไม่ ต้ อ งเสี ย เวลาและประหยั ด ค่ า เดิ น ทาง”
ทพญ.วิไลลักษณ์ กล่าว
06
HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
สรุปบทเรียนและข้อเสนอแนะ
กำหนดนโยบายชัดเจนให้ CUP มีหน้าที่สนับสนุนทรัพยากร ความรู้ ฯลฯ แก่สถานบริการที่ ถ่ายโอน 3. การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุขสังกัด อปท. : เนื่องจากที่ผ่านมา บุคลากรสาธารณสุขที่ถ่ายโอนมาไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพจากกระทรวงสาธารณสุขมากนัก เนื่ อ งจากอยู่ ค นละสั ง กั ด และยั ง ต้ อ งเรี ย นรู้ ง านของท้ อ งถิ่ น มากขึ้ น ที่ ป ระชุ ม มี ข้ อ เสนอว่ า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะมีแผนพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขอย่างเป็นระบบ และต้องวิเคราะห์ว่า ควรจะต้องมีความรู้เพิ่มเติมในเรื่องใดบ้าง เนื่องจากงานในสถานีอนามัยของท้องถิ่นมีขอบเขต ที่กว้างกว่างานสถานีอนามัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
การประชุม ‘สรุปบทเรียนและทิศทางในอนาคตการถ่าย โอนสถานีอนามัย’ ในครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและประสบการณ์ทห่ี ลากหลาย ซึง่ สรุปเป็นประเด็น ต่างๆ ได้ดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อมรองรับการถ่ายโอน : การ ถ่ายโอนในช่วงที่ผ่านมานั้น การเตรียมความพร้อมยังไม่เป็น ระบบ ขาดการสนับสนุนจากส่วนกลาง ระดับจังหวัด และ อำเภอ หมอและเจ้าหน้าที่อนามัยที่ถ่ายโอนไปยังรู้สึกโดดเดี่ยว ที่ประชุมเสนอว่า ควรจัดทำคู่มือการถ่ายโอนที่มีความละเอียด ก้าวต่อไปของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ เพี ย งพอ และให้ ห น่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งจั ด อบรมหรื อ ชี้ แ จง
ให้ เ จ้ า หน้ า ที่ ทุ ก ฝ่ า ยเกิ ด ความเข้ า ใจตรงกั น เช่ น ระเบี ย บ
นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบ ต่ า งๆ การบริ ห ารบุ ค คล ระเบี ย บการเงิ น การคลั ง ฯลฯ สาธารณสุข (สวรส.) กล่าวสรุปว่า การกระจายอำนาจไม่ใช่การ รวมทั้งเสนอให้จัดตั้งเครือข่ายในระดับพื้นที่เพื่อเป็นช่องทางใน ถ่ายโอน แต่เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ จากเดิมที่เคยรวมศูนย์อยู่ที่ การปรึกษาหารือ ส่วนกลางก็เปลี่ยนมาให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการบริหารจัดการ ซึ่ง 2. ปั ญ หาอุ ป สรรค และระบบสนั บ สนุ น ที่ เ อื้ อ ต่ อ การ ในช่ ว งต้ น ของการถ่ า ยโอนสถานี อ นามั ย ถื อ ว่ า เป็ น การเรี ย นรู้ ถ่ายโอน : ที่ผ่านมาปัญหาที่เห็นชัดเจน เช่น การขาดแคลน ถ่ายทอดประสบการณ์ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข ส่วนกระบวนการ กำลังคน ระเบียบงานบริหารบุคคล ระเบียบเงินบำรุง การบริหาร ทำงานต่อไปยังมีอีกหลายประเด็นที่จะต้องดำเนินการ อาทิ จัดการของโรงพยาบาลแม่ข่าย (CUP) ซึ่งที่ผ่านมา ผู้บริหาร 1. ต้องปรับความเข้าใจเรื่องการกระจายอำนาจ เพราะการกระจายอำนาจคือให้พื้นที่ ของ CUP บางแห่งไม่ให้ความสำคัญหรือไม่ให้การสนับสนุน บริหารจัดการและตัดสินใจเองได้ บนพื้นฐานทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งแต่ละพื้นที่อาจไม่เท่ากัน แก่สถานีอนามัยที่ถ่ายโอนไปแล้ว ที่ประชุมเสนอว่า ควรมี เช่น อบต.ใดที่มีเศรษฐกิจดีกว่าอาจจ่ายค่าตอบแทนให้บุคคลากรได้มากกว่า การโอนย้ายกำลังคนให้มีความพร้อมก่อนการถ่ายโอน ให้มี 2. เมื่อกระจายอำนาจไปแล้วก็ยังต้องมีความรับผิดชอบในการรายงานผลการปฏิบัติงาน การจ้างงานระบบพิเศษสำหรับคนในพื้นที่ และ สปสช.สาขา เพราะท้องถิ่นก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ แต่บางส่วนยังไม่เข้าใจบทบาทของตัวเอง ซึ่งอาจเป็น จังหวัด สสจ. และ CUP ควรทำความเข้าใจเรื่องการจัดสรร เพราะทัศนคติระหว่างหน่วยงานมีการแบ่งแยกเป็น ‘พวกเขา-พวกเรา’ ต้องเปลี่ยนทัศนคติ งบประมาณค่าหัวให้แก่สถานีอนามัยหรือ รพ.สต. และต้อง ตรงนี้ให้ถูกต้อง 3. ต้องมีการปรับปรุงระบบ ระเบียบ เช่น ระเบียบการจ้างบุคลากร จากเดิมที่ใช้คำว่า ‘ลูกจ้างประจำ-ลูกจ้างชั่วคราว’ ก็อาจเปลี่ยนเป็น ‘ข้าราชการเงินเดือนจากเงินบำรุง’ หรือ ‘ข้าราชการเงินเดือนจากเงินบริจาค’ ซึ่ ง ก็ เ ป็ น ข้ า ราชการเหมื อ นกั น ดั ง นั้ น เงิ น เดื อ นและ สถานะการจ้ า งจึ ง ต้ อ งดึ ง ดู ด ใจเหมื อ นกั บ เป็ น ข้ า ราชการ ส่ ว นระเบี ย บใดที่ ยั ง ไม่ ชั ด เจน
หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เช่ น กรมส่ ง เสริ ม การปกครองฯ ต้ อ งปรั บ ปรุ ง ทำให้ ชั ด เจน หรื อ ให้
ผู้บริหารท้องถิ่นใช้ดุลพินิจพิจารณาได้ โดยเชิญ สตง. มาช่วยกันทำระเบียบการบริหารการเงิน แล้วทำเป็นคู่มือออกมาเพื่อให้สถานีอนามัยหรือ รพ.สต.นำไปใช้ ฯลฯ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ กล่าวในตอนท้ายว่า เจ้าหน้าที่อนามัยหรือหมออนามัยถ่ายโอนจะต้องมี การรวมกลุ่มกันให้เหนียวแน่น ใช้ Social media เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกัน ปรึกษา หารือกัน “ในฐานะผู้บุกเบิก ถือว่ามีความกล้าหาญ คนที่ก้าวออกมาก่อนจะอยู่รอดก่อน” นี่คือประสบการณ์และบทเรียนของสถานีอนามัยถ่ายโอนรุ่นแรกทั้ง 28 แห่งทั่วประเทศ
ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคขวากหนามอยู่บ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับสถานีอนามัยที่กำลัง จะถ่ายโอนในช่วงต่อไปได้ศึกษาเรียนรู้ขณะเดียวกันหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับ กระทรวงลงมาจนถึงท้องถิ่นก็ต้องช่วยกันขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการถ่ายโอน และช่วย กันสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ถ่ายโอนเพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มกำลัง ตามศักยภาพที่มีอยู่ เพราะท้ า ยที่ สุ ด แล้ ว เป้ า หมายของการถ่ า ยโอนก็ คื อ การบริ ก ารสุ ข ภาพที่ ยึ ด ผล ประโยชน์สูงสุดของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นเป็นที่ตั้งนั่นเอง..!!
HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
07
ต้ น ก ล้ า ค ว า ม รู้ สู่ ต้ น แ บ บ สุ ข ภ า พ
“เทศบาลหาดทนง” ปฏิบัติการเชิงรุกงานสุขภาพ เตรียมแผน “เอาอยู่” รับมือน้ำท่วม
ส
ถานีอนามัยตำบลหาดทนง อ.เมือง จ.อุทัยธานี เป็น 1 ใน 22 สถานีอนามัยถ่ายโอนสู่ท้องถิ่น รุ่นบุกเบิกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ถึงวันนี้
เป็นระยะเวลาเกือบ 5 ปีเต็มแล้ว ที่สถานีอนามัยแห่งนี้ได้ย้ายสังกัดมาอยู่ในการบริหารจัดการของ “เทศบาลตำบลหาดทนง” แม้ว่าในช่วงแรกของ
การถ่ายโอนจะมีปัญหาและอุปสรรคไม่ต่างไปจากสถานีอนามัยถ่ายโอนอื่นๆ แต่จนถึงวันนี้สถานีอนามัยตำบลหาดทนง ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ท้องถิ่นก็สามารถบริหารจัดการและดูแลสุขภาพของประชาชนได้เป็นอย่างดี หากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายม้วน เขียวอุบล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหาดทนง เล่าว่า ก่อนการถ่ายโอนในปี 2550 “หาดทนง” ยังมีฐานะเป็น อบต. (ก่อนยกระดับเป็นเทศบาลตำบลในปี 2551) ตนซึ่งเป็นนายก อบต. ได้ทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อสอบถามความคิดเห็นของ ประชาชนในตำบลว่าอยากจะรับโอนสถานีอนามัยมาให้ อบต. หรือไม่ เพราะหากให้ อบต.ดูแล อบต.ก็สามารถตั้งงบประมาณและ มีอำนาจบริหารจัดการสถานีอนามัยได้โดยตรง และจะมีหมอมาตรวจสุขภาพและบริการประชาชนถึงในหมู่บ้านด้วย ไม่ต้องเสีย เวลาและค่าเดินทางไปหาหมอที่จังหวัด ที่ต้องใช้เวลาทั้งวัน “เมื่อได้รับคำตอบจากประชาชนมากกว่า 90% ว่าต้องการให้ อบต. มาดูแลสถานีอนามัย อบต. จึงทำเรื่องไปตามขั้นตอนเพื่อขอถ่ายโอนสถานีอนามัย ซึ่งหลังจากที่ผ่านการถ่ายโอนแล้ว สถานี อ นามั ย ตำบลหาดทนง ก็ เ ปลี่ ย นจากหน้ า มื อ เป็ น หลั ง มื อ มี ง บประมาณจาก หน่วยงานต่างๆ เข้ามาสนับสนุน เทศบาลก็สามารถบริหารสถานีอนามัยได้”
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ได้หมายถึงตัวอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใหม่ของสถานีอนามัยเท่านั้น แต่นายกฯ ม้วนหมายถึง ‘บริการเชิงรุก’ ที่เข้าไปหาประชาชน โดยเทศบาลตำบลหาดทนง ได้ทำ บันทึกข้อตกลง (MOU) กับโรงพยาบาลอุทัยธานี เพื่อให้จัดส่งทีมแพทย์มาตรวจรักษาและ บริการประชาชนในตำบลเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งจะมีแพทย์ 1 คน พยาบาล 3 คน เภสัชกร 1 คน และผู้ช่วย 1 คน ซึ่งมีชาวบ้านมารอรับบริการมากกว่า 100 คน
เปิดใจผู้นำ “หาดทนง” กับแผนงานด้านสุขภาพระยะยาว
“ก่อนจะพัฒนาด้านอื่นๆ เราก็ต้องพัฒนาสุขภาพของประชาชนก่อน เพราะหากประชาชน เจ็บป่วย มีแต่โรคภัยไข้เจ็บ เราจะพัฒนาอะไรก็ไม่สำเร็จ ดังนั้นเราต้องดูแลพี่น้องประชาชนให้มี สุขภาพอนามัยแข็งแรงก่อน เพราะทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นต้นทุนที่สำคัญ หากประชาชนมีสุขภาพ กายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะเป็นพลังช่วยพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้” นายม้วน เขียวอุบล นายกเทศบาลตำบลหาดทนง กล่าว ปัจจุบัน “นายม้วน เขียวอุบล” อายุ 58 ปี ถือเป็นตัวอย่างของผู้บริหารท้องถิ่นที่มีวิสัยทัศน์ แม้ว่าจะเรียบจบเพียงแค่ชั้น ป.7 แต่มีความใฝ่รู้ และพยายามเรียนต่อ กศน. จนจบชั้นมัธยม ปลาย จากนั้นจึงเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จนจบปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์
เมื่อปี 2552 ที่ผ่านมาเขาเคยเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และเป็นแกนนำในการพัฒนาชุมชนมาตลอด ผลงานสำคัญ เช่น การรับถ่ายโอนสถานีอนามัยมาอยู่กับเทศบาล ซึ่งเป็นผลงานที่เขาเชื่อมั่นว่า เทศบาลและชุมชนสามารถบริหารจัดการเรื่องสุขภาพของชุมชนได้ด้วยตัวเอง
08
HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
เมื่อบริการแพทย์เคลื่อนที่ได้รับความนิยมจากชาวบ้าน (เพราะไม่ต้องเสีย เวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงพยาบาลในตัวจังหวัด ขณะเดียวกันก็ เป็นการลดภาระความแออัดของโรงพยาบาลได้ด้วย) ในเวลาต่อมาเทศบาลฯ จึงได้ขยายบริการเป็นเดือนละ 2 ครั้ง คือในวันอังคารเว้นอังคาร โดยทาง เทศบาลฯ ใช้งบประมาณเพื่อจ่ายเป็นค่าทำงานนอกเวลาให้แก่ทีมแพทย์ประมาณ ปีละ 140,000 บาท นอกจากนี้ หากชาวบ้านเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทางเทศบาลฯ
ก็จะมีรถยนต์นำผู้ป่วยไปส่งที่โรงพยาบาลเครือข่ายด้วย จึงไม่ลำบากเหมือน ก่อนการถ่ายโอน นายพงษ์พันธ์ เตมียนันท์ รักษาการหัวหน้ากองสาธารณสุขเทศบาลตำบล หาดทนง เล่าว่า ในช่วงแรกของการถ่ายโอนก็มีปัญหาเช่นเดียวกับสถานีอนามัย อื่นๆ เช่น ปัญหาเรื่องสวัสดิการต่างๆ ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน และ กฎระเบียบที่ยังไม่ชัดเจน ทำให้ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ อยากย้ายโอนมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการประสานงานกับทางสาธารณสุข จังหวัดในเรื่องการทำตัวชี้วัดและมาตรฐานการให้บริการของสถานีอนามัย อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทางนายกเทศมนตรีฯ ได้นำปัญหา ไปพู ด คุ ย แบบ ‘เปิ ด อก’ กั บ หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งเพื่ อ หาทางแก้ ไ ข เช่ น สาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลแม่ข่าย (CUP) ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือด้วย ดี มี ก ารส่ ง เจ้ า หน้ า ที่ ม าเป็ น พี่ เ ลี้ ย งคอยให้ ค ำแนะนำเมื่ อ เกิ ด ปั ญ หาต่ า งๆ ทำให้การทำงานของสถานีอนามัยตำบลหาดทนงในระยะต่อมาดำเนินไปได้ดี ไม่มีปัญหาเรื่องอคติหรือการตัดความสนับสนุนช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เหมือนกับสถานีอนามัยถ่ายโอนในบางจังหวัด ปั จ จุ บั น สถานี อ นามั ย ตำบลหาดทนง มี เ จ้ า หน้ า ที่ ส าธารณสุ ข 2 คน และมีลูกจ้าง 6 คน (ใช้งบเทศบาลจัดจ้าง) ทำหน้าที่ด้านธุรการ บันทึกข้อมูล ฝ่ายการเงินและบัญชี และกำลังเปิดรับโอนพยาบาลวิชาชีพ ทันตาภิบาล และเจ้ า หน้ า ที่ ส าธารณสุ ข ชุ ม ชนตำแหน่ ง ละ 1 คน คาดว่ า จะเปิ ด บริ ก าร ด้านทันตภิบาลแก่ประชาชนได้ภายในปีงบประมาณ 2556 นี้
โดยทางสถานี อ นามั ย ได้ รั บ งบประมาณสนั บ สนุ น จากกรมส่ ง เสริ ม การ ปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 2 ล้านบาท โดยงบส่วนหนึ่งก็จะนำมาใช้ในการ สร้างห้องตรวจโรค ทันตาภิบาล นวดแผนไทย ฯลฯ ที่พร้อมเปิดบริการในปีนี้ เช่นกัน ขณะเดียวกันเทศบาลฯ ก็ได้จัดสรรงบประมาณในการซื้อรถพยาบาล ฉุกเฉินเพื่อส่งต่อผู้ป่วย มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมเรื่องการกู้ชีพเพื่อมาประจำการ รถพยาบาล ไม่ เ พี ย งแต่ ก ารเพิ่มเจ้าหน้าที่และเพิ่มการบริการประชาชนเท่ า นั้ น ทาง เทศบาลฯ และสถานีอนามัยตำบลหาดทนงยังได้เตรี ย มความพร้ อ มในการ รับมือกับปัญหาน้ำท่วม โดยนำประสบการณ์จากปีท่ีผ่านมามาปรับใช้ เนื่องจาก ตลอดช่ ว งหลายปี ที่ ผ่ า นมานี้ ต ำบลหาดทนงและพื้ น ที่ ใ กล้ เ คี ย ง ซึ่ ง ตั้ ง อยู่
ริมแม่น้ำเจ้าพระยามักจะถูกน้ำท่วมเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือน กันยายน - ตุลาคม ทำให้ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินในตำบลไม่สามารถ เดินทางไปหาหมอที่โรงพยาบาลได้เนื่องจากถนนถูกตัดขาด ต้องใช้เรือเป็น พาหนะเพียงอย่างเดียว
โรคหัวใจ และโรคจิตเวช ว่ามีก่รี าย แล้วประสานไปทางโรงพยาบาลเครือข่าย เพื่อขอรับยามาให้ผู้ป่วยรักษาตัวในช่วงน้ำท่วม ส่วนผู้ป่วยฉุกเฉินเราก็มี เรือยนต์เตรียมพร้อมรับส่งตลอด 24 ชั่วโมง” นายพงษ์พันธ์ กล่าว
สำหรั บ แผนในการช่ ว ยเหลื อ ผู้ ป่ ว ยช่ ว งน้ ำ ท่ ว มในปี นี้ นายพงษ์ พั น ธ์
กล่ า วว่ า จากการสำรวจพบว่ า มี ผู้ ป่ ว ยด้ ว ยโรคต่ า งๆ ในตำบลรวมทั้ ง หมด
320 คน หลังจากได้ข้อมูลมาแล้ว ก็จะจัดทำเป็นธงสัญลักษณ์ขึ้นมา แบ่งเป็น สีตา่ งๆ มี 7 สี แล้วนำธงไปติดทีห่ น้าบ้าน เช่น บ้านใดมีคนป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตก็จะใช้ธงสีแดง คนพิการใช้ธงสีเหลือง ผู้ป่วยจิตเวช
ธงสีส้ม ผู้สูงอายุธงสีม่วง คนตั้งครรภ์ธงสีน้ำเงิน โดยในปีนี้ ทางเทศบาลฯ
ได้ฝึกซ้อมแผนเผชิญภัยน้ำท่วมไปแล้ว เช่น การขนย้ายและช่วยเหลือผู้ป่วย และสำรวจข้อมูลคนป่วย คนพิการ ผู้สูงอายุ เพื่อวางแผนในการช่วยเหลือ ฉุกเฉินแล้ว หากเกิดน้ำท่วม ทีมช่วยเหลือซึ่งประกอบไปด้วย อสม. เจ้าหน้าที่สถานี อนามั ย อาสาสมั ค รป้ อ งกั น ภั ย ฝ่ า ยพลเรื อ น (อปพร.) ก็ จ ะออกไปให้ ค วาม ช่วยเหลือได้ตรงเป้าหมาย หรือหากผู้ป่วยรายใดต้องการอพยพออกนอกพื้นที่ ทีมช่วยเหลือก็จะช่วยขนย้ายผู้ป่วย แต่หากไม่อยากอพยพก็จะนำยา อาหาร และถุงยังชีพไปช่วยเหลือถึงบ้านโดยเรือยนต์จำนวน 8 ลำ ซึ่งก็ยังไม่พอเพียง และยังขาดแคลนเรือยนต์เร็วสำหรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม คาดว่า เทศบาลจะจัดซื้อเพิ่มเติมในปี 2556 นี่คือตัวอย่างการถ่ายโอนสถานีอนามัยมาให้ท้องถิ่นบริหารจัดการและ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ แม้ว่าความมุ่งมั่นและ วิสัยทัศน์ของผู้บริหารท้องถิ่นจะเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยนำพาให้สถานีอนามัย ถ่ายโอนเดินไปได้ แต่หากขาดการสนับสนุนและความช่วยเหลืออย่างจริงจังจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่แล้ว การกระจายถ่ายโอน สถานีอนามัยก็น่าจะเป็นได้เพียงนโยบายในจินตนาการเท่านั้นเอง !!
“ช่ ว งวิ ก ฤตน้ ำ ท่ ว มเมื่ อ ปี ที่ ผ่ า นมา เราตั้ ง ศู น ย์ พั ก พิ ง ชั่ ว คราวขึ้ น มา
แล้วส่ง อสม. ไปสำรวจข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน
HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
09
เ ส้ น ท า ง สู่ สุ ข ภ า พ ที่ เ ป็ น ธ ร ร ม แ ล ะ ยั่ ง ยื น
มติสมัชชาสุขภาพ กับกระบวนการประเมิน ที่มุ่งสู่การปฏิบัติ
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จึงสนับสนุนให้ มีการจัดทำรายงานเบื้องต้น ‘การประเมินกระบวนการนำมติ สมั ช ชาสุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ไ ปสู่ ก ารปฏิ บั ติ : ความก้ า วหน้ า และเกณฑ์ ก ารคั ด เลื อ กมติ เ พื่ อ การประเมิ น เชิ ง นโยบาย’ โดย ทพญ.เพ็ญแข ลาภยิง่ (ระยะเวลาศึกษา ธันวาคม 2554 -
ส
“ มัชชาสุขภาพแห่งชาติ” เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมของสังคมไทย ซึ่งเป็นกระบวนการ
พัฒนา “นโยบายสาธารณะ” เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม
ตาม พ.ร.บ.สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ พ.ศ.2550 ที่ ก ำหนดให้ ค ณะกรรมการสุ ข ภาพ
แห่ ง ชาติ (คสช.) จั ด การประชุ ม สมั ช ชาสุ ข ภาพแห่ ง ชาติ อ ย่ า งน้ อ ยปี ล ะ 1 ครั้ ง โดยมี
คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) เป็นผู้จัด โดยประเด็นที่จะนำเสนอเข้าสู่วาระการประชุมสมัชชาฯ จะมาจากข้อเสนอของภาคีเครือข่าย
ทั่วประเทศ ประกอบด้วย เครือข่ายพื้นที่ (76 จังหวัด) ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มวิชาชีพ/ วิชาการ องค์กรภาคเอกชน และเครือข่ายภาคประชาสังคม จากนั้น คจ.สช. จะพิจารณา คัดเลือกประเด็นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น โดยประเด็นที่ได้รับการคัดเลือกแล้วจะจัดให้มี การทำงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาข้อเสนอรายประเด็น แล้วส่งกลับไปให้ภาคีเครือข่ายให้ความ เห็นเพิ่มเติม เพื่อจัดเป็นระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติต่อไป ทั้งนี้ การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้ดำเนินการมาแล้วรวม 4 ครั้ง (ครั้งที่ 1 เริ่มใน
ปี 2551) จนได้มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ รวม 40 มติ (แบ่งเป็นในปี 2551 จำนวน 14 มติ,
ปี 2552 จำนวน 11 มติ, ปี 2553 จำนวน 9 มติ และ ปี 2554 จำนวน 6 มติ) อย่างไรก็ตาม บางมติได้นำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมบ้างแล้ว แต่บางมติก็ยังไม่มีความก้าวหน้า หรือมี อุปสรรคต่างๆ อันเนื่องมาจากสาเหตุและปัจจัยต่างๆ
10
HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
เมษายน 2555) ซึ่งเป็น 1 ในแผนงานธรรมาภิบาล แนวคิดของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อประเมินกระบวนการ นำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1-3 (รวม 34 มติ) ไปสู่ การปฏิบัติระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการสำรวจความก้าวหน้าในการ ดำเนินการตามมติฯ และพยายามพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือก มติเพื่อการประเมินเชิงนโยบายสำหรับการประเมินในระยะที่ 2 รายงานการศึกษาเบื้องต้นฉบับนี้ ระบุว่า นับตั้งแต่มีการ จัดประชุมฯ ครั้งที่ 1 ในเดือนธันวาคม 2551 จนถึงครั้งที่ 3 ในปี 2553 สามารถจำแนกประเด็นได้ 5 กลุ่ม คือ 1. ระบบ บริการสุขภาพ 2. ระบบบริการสังคม 3. การจัดการปัจจัย คุกคามสุขภาวะ เพื่อการควบคุม ปกป้องสุขภาวะ และการ จั ดการสภาพแวดล้ อม 4. การสร้ างเสริ มความเข้ ม แข็ งของ บุคคล ครอบครัว และชุมชน และ 5.การจัดการเชิงโครงสร้าง (เช่น ร่วมฝ่าวิกฤตความไม่เป็นธรรมนำสังคมสู่สุขภาวะ) มติสมัชชาสุขภาพทั้งหมดนี้ มีระบบผลักดันให้เกิดผลใน การนำไปปฏิบัติผ่าน 5 ช่องทาง คือ 1. เสนอมติผ่าน คสช. เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้
ความเห็ น ชอบและมอบหมายหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง
พิจารณาดำเนินการ 2. ทำงานร่วมกับองค์กรภาคีผู้เสนอมติเชิงนโยบายและที่มี
พันธกิจตามมติโดยตรง 3. ทำงานด้วยกระบวนการเฉพาะสำหรับมติที่ไม่มีเจ้าภาพ
ชัดเจน หรือที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานองค์กรภาคี
เครือข่าย 4. ประสานกั บ กระบวนการสมั ช ชาสุ ข ภาพเฉพาะพื้ น ที่
หน่วยงานระดับจังหวัด และ อปท. 5. สร้างการรับรู้และความเข้าใจของสาธารณะ โดยหวังให้
เข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มตามมติ ซึ่ ง อาจเป็ น การดำเนิ น งาน
หรือติดตามการทำงานขององค์กรหรือหน่วยงานอื่น
นอกจากนี้ เพื่อสร้างหลักประกันให้นำมติไปสู่ การปฏิบัติ เดือนตุลาคม 2552 คสช. ได้แต่งตั้ง ‘คณะกรรมการขั บ เคลื่ อ นและติ ด ตามการดำเนิ น งานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ’ หรือ ‘คมส.’ เพื่อให้ทำหน้าที่สนับสนุน ผลักดัน ติดตามผลการ ดำเนินงานตามมติ และรายงานต่อสมัชชาสุขภาพ แห่งชาติ และ คสช. เป็นระยะ
“จากระบบการขับเคลื่อนและติดตามที่กล่าว แล้ว จะเห็นได้ว่าตัวมติไม่ใช่เป้าหมายสุดท้ายใน ความหมายของกระบวนนโยบายสาธารณะ แต่ คาดหวังว่าจะผ่านการเห็นชอบจาก ครม. และมี การนำไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ กระบวนการนโยบาย และจำเป็นต้องมีกลไกใน การบริหารจัดการให้เกิดการปฏิบัติที่บรรลุตาม เป้าประสงค์” รายงานการศึกษาระบุ ตัวอย่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่มีความ ก้าวหน้าและนำไปสู่การปฏิบัติ เช่น มติการเข้าถึง ยาถ้วนหน้าของประชากรไทย (สมัชชาฯ ครั้งที่ 1)
นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ, มาตรการทำให้สังคม ไทยไร้แร่ใยหิน ฯลฯ มติเหล่านี้ เมื่อ ครม.มีความ เห็นชอบจะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไป ปฏิบัติต่อไป โดยปั จ จั ย ที่ เ อื้ อ ต่ อ การดำเนิ น การตามมติ รายงานการศึกษาตั้งสมมติฐานเบื้องต้นเอาไว้ อาทิ
การมี แ ผนยุ ท ธศาสตร์ เ ป็ น รู ป ธรรมสมบู ร ณ์
มีเครือข่ายดำเนินงานอยู่แล้วเป็นทุนเดิม มีหน่วย งานราชการรั บ ผิ ด ชอบ มี ก ลไกเดี่ ย วระดั บ ชาติ รับผิดชอบโดยตรง ส่วนมติฯ ที่ไม่มีสถาบันหรือ ความก้าวหน้า คือ หลังจาก ครม. ให้ความเห็น หน่วยงานสาธารณสุขรับผิดชอบโดยตรง จะเป็น ชอบแล้ว ได้มอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาระบบ ภารกิจของ คสช. ขับเคลื่อนโดย คสช. และ สช.
รายงานการศึกษาระบุด้วยว่า การนำมติสมัชชา สุขภาพไปปฏิบตั มิ ปี ญั หาอุปสรรค 3 ลักษณะ คือ 1. ตัว มติไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ใน 2 ด้าน คือ เนื้อหาของ มติเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ และมีปัญหาในการ กำหนดกลไกรับผิดชอบ 2. ไม่มีการขับเคลื่อน และ
3. ไม่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินการ ส่วนกรอบการพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกมติฯ เข้าสู่การประเมินเชิงนโยบาย ประกอบด้วย นิยาม
เงื่อนไข ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรคของการ แปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ ความเหมาะสมในการ ทำเป็นกฎหมาย ดังนี้
1. เป็นแผนงาน/โครงการทีพ ่ ยายามแก้ปญ ั หา ยาแห่งชาติ เป็นกลไกจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ พร้อมกันนี้ รายงานได้ตั้งสมมติฐานด้วยว่า “มติ” ที่มีความสำคัญหรือรุนแรง ที่ ร ะบบงานปกติ ไ ม่
ยุทธศาสตร์การเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทย และติดตามผลการปฏิบตั งิ าน ต่อมาในเดือนมิถนุ ายน 2552 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) แต่งตั้ง คณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบตั กิ ารรองรับยุทธศาสตร์ การเข้ า ถึ ง ยาฯ และเสนอแผนต่ อ คณะกรรมการ พัฒนาระบบยาแห่งชาติ ฯลฯ ส่วนมติอ่นื ๆ ที่มีความก้าวหน้า เช่น การส่งเสริม ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่างผู้ป่วยและญาติกับบุคลากร ทางการแพทย์ , ยุ ติ ก ารส่ ง เสริ ม การขายยาที่ ข าด จริยธรรม เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและ สุขภาพของผู้ป่วย, การพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกให้เป็น ระบบบริการสุขภาพหลักคูก่ บั แผนปัจจุบนั , ยุทธศาสตร์
ที่ยังไม่มีแผนยุทธศาสตร์ เป็นเรื่องใหม่ หรือเรื่องที่ ยังไม่มีเครือข่ายดำเนินงาน ไม่มีหน่วยงานราชการ/ กลไกรับผิดชอบโดยตรง จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ มติไม่มีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญ สำหรั บ มติ ที่ ยั ง ไม่ มี ร ายงานความคื บ หน้ า
เช่น การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิเพื่อการเข้าถึง บริการสุขภาพที่มีคุณภาพของประชาชน มาตรการ ในการควบคุ ม ปั จ จั ย เสี่ ย งต่ อ สุ ข ภาพด้ า นยาสู บ นโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ความ เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ การแก้ ปั ญ หาวั ย รุ่ น ไทยกั บ การตั้ ง ครรภ์ ไ ม่ พ ร้ อ ม การจัดการขยะอันตรายจากชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน ฯลฯ
ลำดับตัวอย่างความก้าวหน้าของมติ นโยบายความเสมอภาคในการเข้ าถึงและได้รับบริการสาธารณสุขที่จำเป็น
• คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบในหลักการให้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็น เวลานาน หรื อ เกิ ด ในไทยแต่ ยั ง พิ สู จ น์ สั ญ ชาติ ไ ม่ ไ ด้ ใ ห้ มี ห ลั ก ประกั น สุ ข ภาพ โดยให้ เ สนอเรื่ อ งเข้ า สู่ ครม.
เพื่อขออนุมัติในหลักการและงบเหมาจ่ายรายหัว ตั้งแต่ปีงบ 2552 • สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT) ทำหนังสือชื่นชมและขอขอบคุณ สปสช. • ครม.อนุมัติให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข กับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ตั้งแต่ 1 เม.ย. 53
ให้ สปสช. ดำเนินการและอนุมัติตั้ง “กองทุนให้บริการด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ” โดยจัดงบปี 2553 ให้แก่หน่วยบริการ สำหรับ 457,409 คน เป็นเงิน 472.8ล้านบาท • สสส. จัดตั้งกลไกทำงานผลักดันนโนบายรัฐตามมติ ครม. เมื่อ 23 มี.ค.53
สามารถจัดการกับปัญหานี้ได้หรือเป็นปัญหาใหม่ มี ทฤษฎีวทิ ยาการรองรับ ความสมบูรณ์ของเนือ้ หาสาระ ของตัวบทนโยบาย รวมถึงหน่วยงาน องค์กร ภาคี เครือข่ายให้การยอมรับ ที่สำคัญคือมาตรการที่ระบุ สามารถลด ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่ต้องการได้ อย่างคุ้มค่า 2. การมีหน่วยงานองค์กรเป็นเจ้าของ รับผิดชอบในการบริหารจัดการ งบประมาณไม่เป็น อุปสรรคเหนือความรับผิดชอบ และ 3. ความยาก
ง่ายของการปฏิบัติตามนโยบายที่ขึ้นอยู่กับการ ความยากง่ายในการใช้ความรู้ เทคโนโลยี รวมทั้ง
ระยะเวลาของตัวนโยบายก็เป็นข้อจำกัดในการปฏิบัติ นอกจากนี้ ต้องเป็นนโยบายทีม่ รี ะดับการเปลีย่ นแปลง มุ่งหวังส่งผลในวงกว้าง เช่น เสริมสร้างความเข้มแข็ง ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน รวมถึงกลุ่มที่ทำงาน เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพ บริการสังคม ทั้ ง หมดนี้ เป็ น การสรุ ป รายงานการศึ ก ษา เบื้องต้น ‘การประเมินกระบวนการนำมติสมัชชา สุขภาพแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ’ เพื่อเป็นแนวทาง ในการศึกษา ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนานโยบาย สาธารณะด้านสุขภาพให้มีผลในทางปฏิบัติท่ีตอบ โจทย์ ค วามต้ อ งการจากเวที “สมั ช ชาสุ ข ภาพ” ให้เป็นจริงในทางปฏิบัติ รวมถึงยังเป็นแนวทาง ในการกำหนด “มติ” ที่จะเตรียมผลักดันกันต่อ ไปในการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5 ของปีนี้
HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
11
แ ก ะ ก ล่ อ ง ง า น ว ิจ ัย
งานวิจัยรับใช้ งานประจำ ตัวอย่างจาก รพ.เสนา
ผ
ลการประกวดรางวัล R2R (Routine to Research) ดีเด่น แลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอดดีขึ้น แต่การดูดเสมหะในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาล จากการประชุ ม แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ จ ากงานประจำสู่ ง านวิ จั ย เสนายังใช้ ‘ระบบเปิด’ คือ ต้องถอดเครื่องช่วยหายใจออก แล้วสอดสายดูด ครั้งที่ 5 ประจำปี 2555 ภายใต้แนวคิด ‘วิถี R2R : เรียบง่าย เสมหะเข้าไป จากนั้นจึงบีบถุงลมที่ปลายสายเพื่อดูดเอาเสมหะออกมา “วิธีดูดเสมหะแบบนี้ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะพร่องออกซิเจนใน คุณภาพ ครบวงจร’ จัดโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและภาคีเครือข่าย R2R คลอดออกมาแล้ว จากผลงานที่ส่งเข้าประกวด 549 เรื่องจากทั่วประเทศ เลือดได้ ซึ่งจะส่งผลให้ระบบการทำงานของศูนย์ควบคุมการหายใจ อย่าง โดยในปีนี้คณะกรรมการได้คัดเลือกผลงานวิจัยดีเด่นทั้งหมดจำนวน 36 ผลงาน กล้ามเนื้อหายใจทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้ก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ งานบริการระดับปฐมภูมิ 11 รางวัล, งานบริการ ต่ า งๆ ลดลง ดั ง นั้ น อวั ย วะที่ มี ผ ลก่ อ นคื อ สมองเพราะทนต่ อ การขาด ระดับทุติยภูมิ 9 รางวัล, งานบริการระดับตติยภูมิ 4 รางวัล และงานสนับสนุน ออกซิเจนได้น้อย รวมถึงอาจมีการแพร่กระจายเชื้อสู่บุคลากรได้ ทั้งนี้ จากประสบการณ์ที่ได้ไปฝึกอบรมที่โรงพยาบาลรามาฯ ทำให้ได้รับความรู้ บริการและบริหาร 12 รางวัล ฉบับนี้ขอแนะนำ 1 ในผลงาน R2R ดีเด่น ประเภทงานสนับสนุนบริการ เรื่ อ งการดู ด เสมหะแบบระบบปิ ด ซึ่ ง ไม่ ต้ อ งถอดเครื่ อ งช่ ว ยหายใจของ
และบริหาร ที่ใช้หัวข้อว่า ‘การเปรียบเทียบความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ผู้ป่วยออก จึงมีความคิดที่จะทำวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลต่างของวิธีการ แดง และต้นทุนระหว่างการดูดเสมหะด้วยระบบเปิดกับระบบปิดในหอผู้ป่วย ดูดเสมหะของทั้ง 2 ระบบ” น.ส.พรเพ็ญ กล่าวถึงที่มาของงานวิจัย R2R ชิ้นนี้ การดูดเสมหะผู้ป่วยแบบระบบปิด จะใช้สายดูดเสมหะที่มีข้อต่อเข้ากับ หนัก โรงพยาบาลเสนา’ โดย น.ส.พรเพ็ญ แสงสายฟ้า นางอัญชลี สิงห์โต เครื่องช่วยหายใจ จึงไม่ต้องถอดเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยออก ถือว่าเป็นวิธี และนางนงลักษณ์ อิงคมณี การดูดเสมหะแบบใหม่ที่ยังไม่แพร่หลายมากนักในเมืองไทย ซึ่งการดูดเสมหะ น.ส.พรเพ็ญ แสงสายฟ้า พยาบาลวิชาชีพ แบบนี้จะลดโอกาสภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ ชำนาญการ โรงพยาบาลเสนา อ.เสนา จ.พระนคร ในระบบทางเดินหายใจจากวิธีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องและลดภาระของผู้ปฏิบัติ ศรีอยุธยา ซึ่งเป็นนักวิจัยหลัก เล่าถึงความเป็นมา งาน รวมทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม ของโครงการวิจัยชิ้นนี้ว่า จากประสบการณ์ในการ สำหรับขั้นตอนของการวิจัย น.ส.พรเพ็ญ อธิบายว่า “เริ่มต้นจากการสืบค้น ทำงานในหอผู้ป่วยหนัก พบว่า ผู้ป่วยวิกฤตส่วน ใหญ่ที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวจะได้รับการรักษาด้วยการใส่ท่อหลอดลมคอ ข้อมูลงานวิจัยที่เคยทำมาก่อนทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ เมื่อได้ข้อมูลมา ควบคู่กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ และจะมีการดูแลผู้ป่วยด้วยการดูดเสมหะ แล้วจึงวางแผนและประชุมทีมงานวิจัยว่าเราจะวิจัยอย่างไร อธิบายให้ทีมงาน เพื่อให้ทางเดินหายใจของผู้ป่วยโล่ง ป้องกันการติดเชื้อที่ปอดและช่วยให้การ เข้าใจการเก็บตัวอย่าง และการบันทึกข้อมูล จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการวิจัย”
12
HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยชิ้นนี้ มีจำนวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างผู้ ป่วยที่ได้รับการดูดเสมหะด้วยระบบเปิดจำนวน 15 ราย และระบบปิดจำนวน 15 ราย ใช้ระยะเวลาวิจัยประมาณ 7 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 จนถึงเดือนมกราคม 2555 โดยคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่าง คือ 1. มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ทั้งเพศหญิงและชาย 2. เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อหลอดลมและ ใช้เครื่องช่วยหายใจไม่ต่ำกว่า 24 ชั่วโมง 3. ผู้ป่วย/เจ้าของไข้ (กรณีผู้ป่วยไม่รู้ สึกตัว) สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิธีดูดเสมหะแบบระบบปิดจะมีค่าความอิ่มตัว ของออกซิเจนในเลือดแดงสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ดูดเสมหะแบบระบบเปิดอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.5) ซึ่งหมายถึงว่า ผู้ป่วยจะมีโอกาสพร่องออกซิเจน
แกะกล่องบทคัดย่อ
• การวิจยั ในหัวข้อ “การเปรียบเทียบความอิม่ ตัวของออกซิเจน
ในเลื อ ดแดงและต้ น ทุ น ระหว่ า งการดู ด เสมหะด้ ว ยระบบเปิ ด กั บ ระบบปิด ในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลเสนา” มาจากการที่ผู้ป่วย
ที่เข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยหนัก มากกว่าร้อยละ 90 เป็นผู้ป่วย วิ ก ฤตที่ มี ปั ญ หาการหายใจล้ ม เหลวได้ รั บ การรั ก ษาด้ ว ยการใส่ ท่ อ หลอดลมและใช้เครื่องช่วยหายใจ การดูแลให้ทางเดินหายใจโล่งโดย การดูดเสมหะจึงเป็นกิจกรรมการพยาบาลที่สำคัญ เพื่อป้องกันการ ติดเชื้อที่ปอดและช่วยให้การแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอดดีขึ้น จึงได้พัฒนา แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการดูดเสมหะที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกัน การติดเชื้อและไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจนในเม็ดเลือดแดง • โดยศึกษาเปรียบเทียบค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด แดงและต้นทุนของการดูดเสมหะในระบบปิดและระบบเปิด เพื่อช่วย ส่งเสริมให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจนขณะดูดเสมหะ และช่วย ลดค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม • ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างในเพศชายและหญิงเท่ากัน ร้อยละ 50/50 มีอายุตั้งแต่ 25 - 88 ปี ส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.30 มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี โดยการวินิจฉัยโรคพบเป็นโรคปอด อั ก เสบ (Pneumonia) มากที่ สุ ด 7 ราย คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 23.34
รองลงมาพบเป็ น โรคถุ ง ลมโป่ ง พอง 6 ราย คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 20.00
โดยส่วนใหญ่ ร้อยละ 70 มีโรคร่วมเกือบทั้งหมดและใส่ท่อช่วยหายใจ ชนิด Endotracheal tube ถึงร้อยละ 90 ทั้งนี้ โดยสรุปกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.33 มีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน ในเลือดแดงอยู่ระหว่าง 96-100% และพบว่าการดูดเสมหะแบบระบบ ปิดใช้ต้นทุนต่ำกว่า 87.81 บาทต่อรายต่อวัน • ส่วนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ ได้นำวิธี การดู ด เสมหะระบบปิ ด ไปใช้ ใ นการดู แ ลผู้ ป่ ว ยเพื่ อ ลดภาวะพร่ อ ง ออกซิเจนหลังดูดเสมหะ ช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจ ได้สำเร็จมากขึ้น และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูดเสมหะได้ด้วย สำหรับประวัติส่วนตัวของ น.ส.พรเพ็ญ นั้น เกิดปี พ.ศ. 2522 ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ จนจบชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายที่ ร.ร.รั ต นโกสิ น ทร์ ส มโภช บางเขน จากนั้ น ศึ ก ษาต่ อ
ที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จ.ชัยนาท เมื่อเรียนจบในปี 2545 จึงเข้าทำงานที่โรงพยาบาลเสนาจนถึงปัจจุบัน
ในเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าวิธีดูดเสมหะแบบเปิด และจะช่วยทำให้ผู้ป่วยหย่า เครื่องช่วยหายใจได้สำเร็จมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูดเสมหะ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ดูดเสมหะแบบระบบเปิดจะต้องใช้ผู้ช่วยในการดูดเสมหะจำนวน 2 คน และต้องดูดเสมหะทุกๆ 2 ชั่วโมง หากจะดูดเสมหะครั้งต่อไปต้องใช้สายดูด ใหม่ ซึ่งการดูดเสมหะแบบนี้ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยวันละ 207.50 บาท/ราย แต่ หากใช้ระบบปิด จะใช้ผู้ช่วยดูดเสมหะเพียง 1 คน และสายดูดสามารถใช้งานได้ นานประมาณ 5-7 วันจึงเปลี่ยนใหม่ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยวันละ 119.75 บาท/ราย หรือมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเกือบ 90 บาท/ราย/วัน
ผลการวิจัยของพรเพ็ญและคณะในครั้งนี้ อยู่ระหว่างการนำเสนอเพื่อให้
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเสนาอนุมัติก่อนที่จะนำวิธีการดูดเสมหะแบบปิดไป ใช้กับผู้ป่วยต่อไป ถือเป็นงานวิจัยจากงานประจำที่ตรงตามแนวคิด ‘วิถี R2R : เรียบง่าย คุณภาพ ครบวงจร’ โดยเป็นงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นมาจากงาน ประจำโดยไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกิดประโยชน์และใช้ได้จริง และเมื่อทำงานวิจัย ขึ้นมาแล้วก็ไม่ถูกทิ้งไว้บนหิ้งเหมือนเช่นในอดีตอีกต่อไป ก่อนจากกัน น.ส.พรเพ็ญ กล่าวทิ้งท้ายว่า งานวิจัยจากงานประจำถือว่า เป็ น เรื่ อ งที่ ดี เพราะช่ ว ยให้ มี ก ารพั ฒ นางานประจำให้ มี คุ ณ ภาพมากขึ้ น และที่สำคัญก็คือ มีประโยชน์ต่อคนไข้ทั้งในเรื่องการรักษาพยาบาล และ การลดค่าใช้จ่าย
HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
13
เกาะกระแส สวรส.
กิจกรรมและความเคลื่อนไหว ประจำเดือนมิถุนายน 2555
สสพ. จัด Workshop แนวคิดและเครื่องมือ ICF
เมือ่ วันที่ 11-12 มิถนุ ายน 2555 สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 3 นครสววรค์ จัดอบรม เชิงปฏิบตั กิ ารเรือ่ ง “แนวคิด และเครือ่ งมือ ICF เพือ่ ปฏิบตั กิ ารสร้างเสริมสุขภาพ คนพิการในชุมชน สปสช.เขต 3 นครสวรรค์” โดยจัดขึ้น ณ ห้วยป่าปกรีสอร์ท อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ผู้เข้าร่วมอบรมส่วนใหญ่เป็นผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ คนพิการและงานให้บริการฟื้นฟู จากพื้นที่เขตความรับผิดชอบของ สปสช. เขต 3 (นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร อุทัยธานี และชัยนาท) จำนวน 38 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบถึงแนวคิดเครื่องมือ ICF
(International Classification of Functioning, Disability and Health) สามารถใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกัน และการ อบรมในครั้งนี้ยังได้ใช้กระบวนการ Workshop ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่ สสพ. ได้ อ อกแบบไว้ อาทิ กิ จ กรรม Quick Think กิ จ กรรม ความพิการใน
ความทรงจำ กิจกรรม What can I Do & How can I do it? กับการ เปิดรับประสบการณ์ในรูปแบบใหม่ เป็นต้น พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำนวยการ สสพ. กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก ได้มีการสนับสนุนให้มีการใช้กรอบคิดและรหัส ICF มากว่าสิบปีแล้ว ในประเทศ ไทย สสพ. ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ม.มหาสารคาม ศึกษาวิจัยการนำ กรอบคิดและรหัส ICF มาใช้ในการพัฒนาแบบสอบถามเพื่อใช้สำรวจข้อมูล คนพิการ นำร่องแห่งแรกที่ จ.นครพนม ต่อมาได้ขยายแนวคิดนี้สู่หน่วยงาน นโยบายระดับเขต/จังหวัด/ท้องถิ่น อีกหลายแห่ง ผอ.สสพ. ย้ำว่า “เครื่องมือ ICF เป็นการสำรวจชีวิตจริง ไม่ใช่การทำงาน วิจัย โดยเน้นศึกษาที่ความต้องการของผู้พิการ ทั้งนี้ สสพ. มีความพร้อม และยินดีเปิดรับเครือข่ายการทำงานจากทุกภาคส่วน ภายใต้เป้าหมายการ ร่วมกันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในชุมชนให้ยั่งยืน”
14
คศน. จัดสัมมนา การจัดการองค์กรยุคใหม่
ระหว่างวันที่ 18-21 มิถุนายนที่ผ่านมา เครือข่ายร่วมพัฒนาศักยภาพ ผู้นำการสร้างสุขภาวะแนวใหม่ (คศน.) ได้จัดสัมมนา ‘Special Module: Modern Management’ หรือ ‘การจัดการองค์กรยุคใหม่’ ที่โรงแรม
มิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้นำ คศน. และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนา กว่า 70 คน การจัดสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้การบริหาร จัดการองค์กรยุคใหม่ เนื้อหาของการสัมมนาประกอบด้วย การจัดการตนเอง ของผู้บริหาร การบริหารเวลา การวิเคราะห์หาเหตุและผล การจัดการด้าน การตลาด เศรษฐศาสตร์ การบัญชีบริหาร การบริหารบุคคล การทำธุรกิจ เพื่อสังคม ฯลฯ โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ และนักบริหารจาก องค์กรภาคธุรกิจ เช่น บริษัทซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นวิทยากร นอกจากนี้ ยังมีเวทีร่วมแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนเรื่องปัญหาสารตะกั่วใน ลำห้วยคลิตี้ ซึ่งผู้นำ คศน. ได้ลงไปทำกิจกรรมในพื้นที่ และในวันสุดท้าย ของการสัมมนา ผู้นำ คศน. ทั้งรุ่น 1 และรุ่น 2 กว่า 30 คน ได้พบปะพูดคุย กับ ศ.นพ.ประเวศ วะสี เกี่ยวกับความก้าวหน้าของโครงการ คศน. ด้วย โครงการเครื อ ข่ า ยร่ ว มพั ฒ นาศั ก ยภาพผู้ น ำการสร้ า งสุ ข ภาวะแนวใหม่
(คศน.) ถือกำเนิดขึ้นภายหลังการเสียชีวิตของ ‘นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์’ ในช่วงต้นปี 2551 ทำให้กัลยาณมิตรที่เคยทำงานร่วมกันในการพัฒนาระบบ สุขภาพไทยมายาวนานตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมกันพัฒนาผู้นำและ เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ คศน. มีโครงสร้างการทำงานแบบเครือข่าย มีภาคีการทำงานที่หลากหลาย ประกอบไปด้ ว ยกระทรวง หน่ ว ยงานของรั ฐ องค์ ก รอิ ส ระต่ า งๆ รวม 16 องค์กร เช่น กระทรวงสาธารณสุข สวรส. สปสช. สช. สสส. มูลนิธิแพทย์ ชนบท สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. ฯลฯ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อ คศน. ได้ที่ www.wasi.or.th
HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
เปิดโครงการ “Books share” หนังสือดี...มีไว้แบ่งปัน”
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2555 ห้องสมุด 100 ปี เสม พริ้งพวงแก้ว จัด งานเสวนาและเปิดตัวโครงการ “Books Share : หนังสือดีมีไว้แบ่งปัน”
ณ ห้องสมุด 100 ปี เสม พริ้งพวงแก้ว อาคารสุขภาพแห่งชาติ เปิดงาน โดย นพ.อุกฤษฏ์ มิลินทางกูร ประธานคณะกรรมการพัฒนา ห้องสมุดฯ พร้อมด้วยการเสวนาในหัวข้อ “อ่านอย่างไร ? : อ่านสนุก อ่าน เข้าใจ อ่านแล้วจำ อ่านแล้วนำไปปฏิบัติ” โดย นพ.ดาวฤกษ์ สินธุวณิชย์ นำเสนอในหั ว ข้ อ “ทำอย่ า งไรให้ ก ารอ่ า นเป็ น สิ่ ง ที่ อ ยู่ ใ นชี วิ ต ประจำวั น ”
และ “วิธีการอ่าน การจับใจความ การเล่าเรื่อง” จากนั้นเป็นการเล่าเรื่องหนังสือ (แนะนำหนังสือดีที่นำมาแบ่งปันกันอ่าน) โดย คุณวิสิฐ อัศวขจรสกุล คุณกฤษณะ ภานุวาส โดยมีคุณจักรกฤช พงษ์ทอง (บรรณารักษ์) เป็นผู้ดำเนินการเสวนา พร้อมกันนี้ ยังได้มีการเปิดตัวโครงการ
“Books share : หนังสือดี...มีไว้แบ่งปัน” เป็นกิจกรรมดี-ดี...เพื่อคนรักหนังสือ โดยให้ผู้ที่สนใจร่วมกิจกรรมนำหนังสือในดวงใจ ไม่จำกัดจำนวน มาร่วม แบ่งปัน พร้อมเขียนคำนิยมแนะนำหนังสือ เพื่อให้ผู้ที่สนใจหยิบยืมไปอ่านที่ บ้านได้ ซึ่งจะจัดระหว่างเดือนมิถุนายนยาวไปถึงธันวาคม 2555 นี้
ปฏิบัติการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555 คณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษ กำลังคนด้านสุขภาพ โดยมี นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผอ.สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข (สวรส.) เลขานุการคณะทำงานฯ จัดประชุมพิจารณาแผน
ปฏิบตั กิ ารยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 25502559 ที่ห้องประชุมสานใจ 1 อาคารสุขภาพแห่งชาติ หลังจากที่ได้มีการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ไปแล้วเมื่อวันที่ 21-22 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยมี ดร.ศันสนา สิริตาม และ อ.วีระ กีรติเกรียงไกร พร้อมองค์กรต่างๆ ในฝ่ายนโยบายระดับ ชาติ จังหวัด ตำบล และ อปท. ฝ่ายวิชาการจากองค์กรวิชาชีพ สมาคม ชมรมวิชาชีพ สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย ร่วมประชุม 52 คน โดยการประชุมในครั้งนี้ ได้นำเสนอผลการจัดการประชุมในครั้งที่ผ่านมา ที่เน้นในการแก้ไขปัญหา “การขาดกลไกการผลักดันเชิงนโยบายและขาด ความต่ อ เนื่ อ ง” รวมถึ ง การแก้ ปั ญ หา “การขาดการเชื่ อ มโยงระหว่ า งการ วางแผนกำลังคนและการผลิต” และ “การกระจายกำลังคนที่ไม่เป็นธรรม” ที่จะต้องมีการส่งเสริม และพัฒนากลไกระดับเขตพื้นที่ในการจัดการกำลังคน ด้านสุขภาพต่อไป
กีฬาสานสัมพันธ์หน่วยงานรัฐ พ.ร.บ.เฉพาะ ครั้งที่ 1
จัดเต็ม จัดใหญ่ !! กับการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์หน่วยงานของรัฐที่ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ 15 หน่วยงาน ครั้งที่ 1 ที่สนามกีฬา กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยมี นพ.อุกฤษฏ์
มิลินทางกูร รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี เปิดท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสนุกสนานและความสมัครสมานสามัคคี ของเหล่าเจ้าหน้าที่บุคลากร โดยในครั้งนี้ 4 หน่วยงานด้านสุขภาพร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน มี ตั ว แทนจาก 15 หน่ ว ยงานเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมทั้ ง หมดประมาณ 600 คน
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 4 สี คือ สีชมพู (เจ้าภาพ) ได้แก่ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงาน คณะกรรมการสุ ข ภาพแห่ ง ชาติ (สช.) สถาบั น การแพทย์ ฉุ ก เฉิ น แห่ ง ชาติ
(สพฉ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สีฟ้า ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่ง ชาติ (สวทน.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) สีเขียว ได้แก่ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา (คส.) สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) และ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานกิจการยุติธรรม สีส้ม ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานกองทุน หมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และย่อม (สสว.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีกิจกรรมประกวดกองเชียร์ การแข่งขันแบดมินตัน แชร์บอลผสม ปาลูกโป่งและชู๊ดลูกแชร์บอล การแข่งขันกีฬามหาสนุก 5 ชนิด ได้แก่ ฮูลาฮูป เดินวิ่ง 4 ขา เกมส์วิบาก เหยียบลูกโป่ง และชักเย่อ เป็นต้น
สำหรับในปีหน้า สวทช. สวทน. สสวท. และ มว. ได้รับเกียรติให้เป็น เจ้าภาพจัดงานในครั้งต่อไป
ที่ ป ระชุ ม ยั ง ได้ มี ก ารติ ด ตามความก้ า วหน้ า ของการจั ด ทำข้ อ เสนอการ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ชนบท การติดตาม WHO Global Code นอกจากนี้ ยังได้รับทราบความก้าวหน้าการรองรับข้อตกลงการยอมรับร่วม
(MRA) ของบุ ค ลากรสาธารณสุ ข ภายใต้ ก รอบการค้ า บริ ก ารของอาเซี ย น
รวมถึ ง การพั ฒ นาศู น ย์ ค วามเป็ น เลิ ศ ทางการแพทย์ ศู น ย์ ค วามเชี่ ย วชาญ พิเศษ และ Medical Hub อีกด้วย
HSRI Forum : “ถ่ายโอนสถานีอนามัย สู่ อปท.” บทเรียนและข้อเสนอ
15
แบ่งปันความรู้โดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
สามารถดาวน์โหลดจุลสาร HSRI Forum ได้ที่ www.hsri.or.th สอบถามเพิ่มเติม หน่วยสื่อสารความรู้และขับเคลื่อนสังคม โทร 0-2832-9245 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ซ.สาธารณสุข 6 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0-2832-9200 โทรสาร 0-2832-9201 www.hsri.or.th