HAPPINESS เรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ

Page 1

1


จัดท�ำโดย

ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 99 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 0-2343-1500 โทรสาร 0-2343-1501 www.thaihealth.or.th, www.thaihealthcenter.org WISH เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ ชุด HAPPINESS บรรณาธิการ : ทวีศักดิ์ อุชุคตานนท์ สัมภาษณ์และเรียบเรียง : เพ็ญนภา อุตตะมัง ปก, รูปเล่มและภาพประกอบ : ไตรรงค์ ประสิทธิผล พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2555 พิมพ์ที่ : บริษัท แปลนพริ้นท์ติ้ง จ�ำกัด ( มหาชน) ด�ำเนินการผลิตโดย

ส�ำนักพิมพ์บ้านภายใน

บริษัทบ้านภายใน จ�ำกัด 123/1182 หมู่ 3 ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์ / โทรสาร : 0-2750-7384, 08-1402-0103 e-mail : suwanna.chok@gmail.com “ทัศนะความคิดเห็นจากบทสัมภาษณ์ซึ่งปรากฏในหนังสือนี้ ไม่จ�ำเป็นที่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ต้องเห็นด้วยเสมอไป”

2


ค�ำน�ำ ตลอด  10  ปที ผี่ า่ นมากับความ มุง่ มัน่ ของส� ำ นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การสร้ า ง เสริมสุขภาพ(สสส.) ในการจุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน  เชื่อมประสานภาคีเครือข่าย  เพื่อ ให้ “ทุ ก คนบนผื น แผ่ น ดิ น ไทยมี ขี ด ความ สามารถ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อสุขภาวะ” อย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มา ของการจัดตั้ง  “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ”  ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่ เรียนรู้การสร้างสุขภาวะอย่างครบวงจร  ผ่านการสร้างสรรค์กิจกรรม นิทรรศการ และการบริการข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ เป็นต้น โดย สสส. หวังว่าพื้นที่เรียนรู้สุขภาวะแห่งนี้ จะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ ประชาชนที่เข้ามาเยี่ยมชม  เกิดการเรียนรู้  เปิดประสบการณ์  และ ความตั้งใจที่จะริเริ่มสร้างสุขภาวะและสิ่งดี ๆ ให้แก่สังคมต่อไป “WISH เรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ” เป็นชุดหนังสือ ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะมีความตั้งใจจัดท�ำขึ้น  เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่าน สามารถเข้ามาเรียนรู้มุมมองแนวคิด  ประสบการณ์ชีวิต  ตลอดจน เคล็ดลับการเอาชนะต่ออุปสรรคปัญหาของผู้คนที่น่าสนใจถึง  100 คน  ซึ่งล้วนเป็นบุคคลที่ได้มีส่วนร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่  โดย มีการเรียบเรียงเป็น 4 เล่มตามชื่อหนังสือ คือ W – Wisdom, I – Inspiration, S – Sharing และ H – Health & Happiness ด้วยหวัง ว่าเรื่องราวชีวิตอันมีคุณค่าของท่านทั้งหลายเหล่านี้ จะเป็นตัวอย่าง และบทเรียนที่จุดประกายความหวังและพลังใจให้ผู้อ่านได้ลุกขึ้นมา เปลี่ยนแปลงและสร้างสุขภาวะองค์รวมทั้ง 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม และปัญญา เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของตนเองและสังคมไทย

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.

3


จาก...บรรณาธิการ ชีวิตของมนุษย์เรา  หลายครั้งอาจมีอุปสรรค  และอาจต้อง พานพบกับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ของชีวิตอีกด้วยแต่การก้าวเดินผ่าน ความยากล�ำบากก็เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของคนเรา  หากการ จะเดินต่อไปได้ในสภาวะที่ยากล�ำบากก็คือ การก้าวเดินอย่างมีความ หวัง เรื่ อ งเล่ า แห่ ง ความหวั ง และพลั ง ใจ รวมเรื่ อ งราวของ บุคคลชั้นน�ำในวงการต่างๆ  ที่เราน�ำเสนอมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ การสร้างความสุขให้แก่ประชาชนคนไทย  เพื่อให้คนไทยมีชีวิตอย่าง มีหวังและมีพลัง  แม้ว่า...ในชีวิตจริงที่ประสบ  สังคมของเราก็ยังมี วิกฤตการณ์ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และธรรมชาติที่เป็นภัย พิบัติ ดังนั้นการเรียนรู้บทเรียนจากปัจเจกชนอิสระทั้ง  100  ท่าน จึงอาจเป็นแรงใจที่ส�ำคัญ  และอาจมีใครสักคนหนึ่งที่จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้คุณลุกขึ้นมาท�ำสิ่งที่แตกต่างให้แก่สังคมของ เราด้วย

4


เรื่องราวที่ล้มเหลวของใครบาง คนอาจเป็นบทเรียนสอนใจให้แก่คุณ เรื่องราวแห่งความส�ำเร็จของ อี ก คนก็ อ าจเป็ น พลั ง ใจให้ คุ ณ มี แ รง อยากสร้างความส�ำเร็จเช่นนี้บ้าง มีหลายคนที่อ่านหนังสือชุดนี้ แล้วบอกว่า “พอได้อ่านเรื่องราวของคนดีๆ มากมายเช่นนี้ ท�ำให้รู้สึกมีความหวังต่อ สังคมไทยมากขึ้น” เราก็หวังเช่นกันว่าคุณจะรู้สึก เช่นนี้บ้าง

ทวีศักดิ์ อุชุคตานนท์ บรรณาธิการอ�ำนวยการ โครงการเรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ

5


ส า ร บั ญ มาโนช พุฒตาล

9

วลัยกร สมรรถกร

20

กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์

30

พิทยากร ลีลาภัทร์

40

ไสยาสน์ เสมาเงิน 50

วรรธนา วีรยวรรธน

58

ล้วนชาย ว่องวานิช

70

ภาณุ มณีวัฒนกุล

78

เพชรี พรหมช่วย

86

พล ตันฑเสถียร

94

ปานใจ เภตรา

102

จงกลณี สถิรอัศวนันท์

110

6


สิริพันธุ์ สุนทรวิจิตร

118

อธิกร ศรียาสวิน

124

อนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี

132

ปวิตรา  เกษมเนตร

140

นคร ลิมปคุปตถาวร

148

นพ.สุริยเดว ทรีปาตี

154

เมตตา สุดสวาท

162

ศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์

168

รชต ธรรมรัตน์

174

ชีวิน โกสิยพงษ์

180

วรางคณา กาญจนชูศักดิ์ และ รชต จรรยาภัค

186

สุภา ใยเมือง

192

สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ

200

7


8


มาโนช พุฒตาล

ใช้ชีวิตด้วยความเข้าใจ จะพบ  “ความสุข”  ที่ชัดเจนมากขึ้น

มาโนช พุฒตาล นักร้อง นักดนตรี เคยเป็นนักจัดรายการ ดนตรีเพลงสากลทางโทรทัศน์ และท�ำนิตยสารเกี่ยวกับดนตรี ปัจจุบัน เป็นนักจัดรายการวิทยุที่มีแฟนรายการติดตามผลงานอย่างเหนียว แน่นคนหนึ่ง  กว่าจะกลายเป็นที่ยอมรับกับแฟนรายการอย่างในทุก วันนี้ เรามาลองกรอเทปย้อนกลับไปท�ำความรู้จักมาโนช พุฒตาลกัน สักนิด

9


มาโนชเป็ น เด็ ก ชายที่ เ กิ ด ในครอบครั ว มุ ส ลิ ม ที่ ชุ ม ชนหั ว แหลม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีชื่อว่า ฮะซัน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เล่น “ซัน” เป็นบุตรคนสุดท้องของนายเฉลียวและนางอ�ำไพ พุฒตาล มาโนชเป็นน้องชายของด�ำรง พุฒตาล และขนิษฐา พุฒตาล

10


มาโนชชอบเล่นดนตรีและฟังเพลงมาตั้งแต่เด็ก เมื่อจบชั้น มัธยม 8 ที่อยุธยา เขาได้รับทุนเอเอฟเอสไปเรียนที่มลรัฐวิสคอนซิน   สหรั ฐ อเมริ ก าเป็ น เวลาหนึ่ ง ปี   เมื่ อ กลั บ มาจึ ง เข้ า ศึ ก ษาต่ อ ที่ ค ณะ นิเทศศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ภาควิชาวิทยุ-โทรทัศน์ ขณะเรียนที่คณะนิเทศศาสตร์  จุฬาฯ  ตั้งวงดนตรีกับเพื่อน เล่นเพลงแนวร็อก วง CANNED CAN มาโนชมีโอกาสได้ช่วยงานพี่ ชายและพี่สาว ซึ่งจัดรายการโทรทัศน์ทางช่อง 5  และช่อง 9 หลาย รายการ เช่น ‘อาทิตย์ยิ้ม’ ‘พระจันทร์แย้ม’ ‘ครอบครัวบันเทิง’ ‘สุขสันต์ วันเสาร์’ มีหน้าที่เขียนบทรายการและเริ่มจัดรายการของตัวเอง เมื่อ พ.ศ. 2525 เป็นโปรเจ็กต์เพื่อจบการศึกษาในชั้นปีที่ 4 ชื่อ ‘เที่ยงวัน อาทิตย์’

11


รายการเที่ยงวันอาทิตย์ของมาโนช  เป็นรายการเพลงสากล ความยาวครึ่งชั่วโมง เป็นรายการแรกๆ ที่น�ำมิวสิกวิดีโอ มาเปิดใน รายการ รายการเที่ยงวันอาทิตย์จัดอยู่สองปีจึงถูกย้ายเวลาไปอยู่วัน อื่น จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ‘บันเทิงคดี’ เมื่อ พ.ศ. 2527 และย้ายไปช่อง 11 เมื่อ พ.ศ. 2533 ผู้ที่ตั้งชื่อรายการให้คือ ดนู ฮันตระกูล ต่อมามาโนช ได้ก่อตั้งบริษัทชื่อ ‘ไมล์สโตน’ ท�ำรายการโทรทัศน์ทางช่อง 3 ชื่อ ‘เกม เปิดโลก’ และรายการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมชื่อ ‘2534 โลกนี้ของใคร’  ท�ำนิตยสารเกี่ยวกับดนตรีสากล ชื่อ ‘บันเทิงคดี’ เมื่อ พ.ศ. 2532 จัด จ�ำหน่ายผลงานให้กับ ‘ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์’ ‘มาลีฮวนน่า’ ‘โกรว์อิ้งเพน’ ‘พาราณสี ออร์เคสตรา’ และผลิตผลงานออกมาจ�ำนวนหนึ่ง เมื่อปี 2550 มาโนชจัดรายการวิทยุเป็นประจ�ำทุกวันจันทร์ศุกร์ เวลา 8.00-11.00 น. ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 มีค�ำพูดเปิด และปิดรายการที่เป็นเอกลักษณ์ คือ “สวัสดีครับ ผม มาโนช พุฒตาล บุตรของนายเฉลียว กับนางอ�ำไพ” และ “ถ้าไม่ตายไปเสียก่อน พรุ่งนี้ กลับมาเจอกันครับ” ปัจจุบัน มาโนชจัดรายการวิทยุอยู่ที่ 96.5 คลื่นความคิด ใน ช่วง ‘คนกรุงเก่าเล่าเรื่อง’ ทุกวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี 23.30-00.30 น. และที่วิทยุไทย เพื่อเด็กและครอบครัว FM 105 MHz รายการ I Jude (ไอ้จู๊ด) ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 22.00 - 24.00 น.

12


เห็นมาโนชท�ำอะไรมาเยอะอย่างนี้ เขามีความสุขกับอะไร

“ความสุขของผมก็คือการมีปัจจัยสี่ มีอาหาร มีเครื่องดื่มตาม อัตภาพ มีครอบครัวที่ได้ใช้ชีวิตปกติทั่วไป มีเมีย มีลูก มีญาติพี่น้อง ที่ได้คอยดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ก็ชีวิตปกติธรรมดานี่แหละครับ ความสุขส�ำหรับผม เพราะผมคิดว่าการที่เรามีครอบครัวที่พอดี เข้าใจ เรา มีปัจจัยสี่  มีอาหารการกินที่เหมาะสม รวมทั้งอาชีพการงานที่ผม ได้ท�ำตรงนี้ก็เป็นความสุขด้วย  เพราะเราได้เล่าเรื่องเพลง  เล่าเรื่อง การผจญภัย หรือการใช้ชีวิตที่ผมได้ประสบพบมา แล้วคนที่เขารับ สารจากเรา เขาได้เอาไปคิดต่อ เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้เขาอยากท�ำ นั่นโน่นนี่ขึ้นมา มันก็ท�ำให้ผมรู้สึกมีความสุข

13


“อย่างเรื่องการขี่จักรยาน  ผมจะพูดออกอากาศเสมอ ว่าการ ขี่จักรยานนั้นช่วยแก้ปัญหาได้เกือบทุกอย่าง  ทั้งเรื่องการจราจร  ลด โลกร้อน  แก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ฯลฯ  และยังส่งเสริมให้คนขี่ จักรยานมีสุขภาพดีอีกด้วย  ทีนี้ก็มีแฟนประจ�ำรายการวิทยุผมคน นึงมาเล่าให้ฟังว่า  พอพี่พูดเรื่องขี่จักรยาน  ทุกวันนี้ผมขี่จักรยานทุก วัน ชีวิตผมช้าลง ได้เห็นวิวทิวทัศน์ ซึมซับบรรยากาศธรรมชาติ สิ่ง แวดล้อมข้างทาง หรือเรื่องเปลที่ผูกต้นไม้นอนเล่น ผมก็พูดในรายการ ว่า ไม่ใช่เรื่องยากที่ใครสักคนจะเป็นเจ้าของเปลสักปาก แค่จ่าย 600 บาท คุณก็ได้นอนเอกเขนกมีความสุขรื่นรมย์กับชีวิต ก็มีแฟนรายการ โทร.มาอีก พี่ซันผมซื้อแล้วนะ มันได้อย่างที่พี่ว่าเลย” ไม่มีความรู้สึกปีติใดจะท�ำให้มนุษย์สามัญในโลกใบนี้รู้สึกถึง ความสุขและคุณค่าในตัวเองมากไปกว่าการที่ได้ท�ำอะไรที่สร้างแรง กระเพื่อมเล็กๆ ในสังคม และงานที่มาโนชท�ำก็สร้างแรงกระเพื่อมบาง อย่างให้ผู้คนมากมาย “ผมรู้สึกดีใจนะ  แล้วอีกอย่างสิ่งที่ผมท�ำมันเป็นสิ่งที่ส่งผล กระทบเชื่อมถึงกันหมด ยกตัวอย่างเรื่องการขี่จักรยาน สมมุติว่าคน กรุงเทพขี่จักรยานแค่ร้อยคันมันก็ยังไม่เห็นผลอะไรนัก  แต่ถ้าผมขี่ แล้วผมก็พูดออกอากาศเรื่อยๆ  ว่า  เออ…การขี่จักรยานมันดีอย่าง โน้นอย่างนี้นะ จ�ำนวนคนก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น อากาศทั่วกรุงเทพก็ดีขึ้น สุขภาพแข็งแรง  คุณภาพชีวิตคนก็ดีขึ้น  ซึ่งมันก็ท�ำให้ส่วนรวมได้ ประโยชน์และส่งผลดีต่อตัวเรากลับคืนมา”

14


นึกสงสัยว่า  แล้วรู้ได้ยังไงว่าเรื่องที่มาโนชเลือกหยิบจับมา เล่านั้น จะท�ำให้คนฟังมีความสุขไปด้วย “อันดับแรกเราก็ต้องมีความสุขร่วมด้วยก่อน  คือเหมือนกับ ว่าถ้าคุณชอบอะไรสักอย่าง แล้วคุณอยากพูดให้คนอื่นได้เข้าใจในสิ่ง ที่คุณสนใจ  คุณก็จะเล่าอธิบายได้ตามสามัญส�ำนึกของคุณเองโดย อัตโนมัติ อย่างผมจัดรายการวิทยุ ผมก็จะจดหัวเรื่องที่จะเล่าว่าจะพูด จะเล่าเรื่องอะไรตรงไหนก่อน แต่ว่าไม่ใช่สคริปต์นะ เป็นแค่หัวเรื่อง เพราะเรื่องที่เล่ามันเป็นเรื่องที่มาจากประสบการณ์ชีวิตเราหมดเลย มีหลายครั้งนะที่ผมเล่านอกเรื่องออกทะเลออกอ่าว วกไม่กลับ...ไหล ยาวไปเลยก็มีเหมือนกัน” แล้วคนอย่างมาโนชนั้น  มีวิธีการจัดการช่วงเวลาในชีวิตที่ ไม่มีความสุขอย่างไร “หลักๆ ผมจะพยายามจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะเรา ไม่กลัวปัญหา สมมุติเราขัดใจกับลูก ผมแนะน�ำลูกว่าควรท�ำแบบนี้ อย่างนี้ แต่ปรากฏว่าลูกไม่เห็นด้วย ก็ขัดใจแล้ว แบบนี้เราหงุดหงิด อึดอัด แต่ไม่ได้แปลว่าผมระงับยับยั้งความหงุดหงิด อึดอัด ด้วยการ บอกตัวเราเองว่าสงบๆ นะ แต่ผมจะจัดการพูดกับลูกแล้วก็ให้ลูกมา ชี้แจง ถกเถียงอธิบายกันให้ชัดเจนเลยว่ามันเป็นอะไรยังไง เพื่อให้ได้ ค�ำตอบที่ทั้งผมและเขาเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน พอเข้าใจตรงกันก็จบ แบบนี้ถึงเรียกว่าเคลียร์”

15


“แต่โดยหลักๆ  แล้ว  ผมไม่ได้จัดการกับความทุกข์  แต่ผม จะจัดการกับปัญหา  เพราะถ้าเกิดเราจัดการความทุกข์มันก็อาจไม่ พบวิธีการแก้ปัญหา  ไม่ใช่ว่าต้องไปนั่งสมาธิท�ำจิตให้ว่างและบอก บังคับจิตตนเองว่า อ้อ…โลกนี้มันเป็นแบบนี้นะ คือวิธีนี้ผมว่ามันเป็น วิธีจัดการเพียงเพื่อให้เรารู้สึกสบายใจ แต่ว่านัยยะความขัดแย้ง ปม ปัญหาที่เราทั้งคู่มีปากเสียงมันก็ยังอยู่  ฉะนั้นก็ควรจะแก้ไขตรงจุดดี กว่า” การที่มาโนชมีวิธีการคิดแบบนี้  เขามองว่ามีหลายสิ่งหลาย อย่างหลอมรวมให้เป็นดังที่เห็น “มันคงเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมกันครับ  ก็มาจากการ ที่เราเกิดจากพ่อแม่ แล้วเขาเลี้ยงเรามาแบบนี้ แบบนั้น มาจากการ สั่งสอนของครูอาจารย์ มาจากเพื่อนที่เราคบค้า มาจากการอ่าน การ มองเห็น การสังเกตจากประสบการณ์ชีวิตตามหลักไมล์ที่เพิ่มขึ้นด้วย หลายอย่าง  คือทุกคนก็ผ่านพบและมีสิ่งเหล่านี้เหมือนผมนั่นแหละ

16


เพียงแต่ผลลัพธ์ที่จะเกิดกับชีวิตแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน  อยู่ที่ว่า จะออกมาและเป็นไปในรูปแบบไหน  วันนี้เราจะท�ำอะไรให้ชีวิตเรามี ความสุข  เพราะผมเองท�ำทุกอย่างไปตามวัฏจักรธรรมชาติชีวิตครับ คนอื่นๆ เลยอาจจะมองว่ามีความสุข เพราะคนส่วนใหญ่จะเห็นภาพ แต่ตอนที่ผมออกทีวี ออกรายการวิทยุ บอกเล่าเรื่องราวท่องเที่ยว การ ใช้ชีวิตสนุกเฮฮา ผมไม่ได้เล่าเรื่องทุกข์ของชีวิต หรือวิบากกรรมตอนที่ เราก�ำลังประสบชะตากรรม คราวเคราะห์ แต่ไม่ได้แปลว่าผมไม่มีนะ เพราะผมก็เป็นมนุษย์ปกติที่ใช้ชีวิตไปตามทางที่เป็นอยู่ ตรงนี้แหละที่ จะเรียกว่าเป็นความสุขตามแบบฉบับของผม” อ่ า นมาจนถึ ง บรรทั ด นี้ ก็ ท� ำ ให้ เ ข้ า ใจตั ว ตนของผู ้ ช ายชื่ อ ‘มาโนช พุฒตาล’ มากยิ่งขึ้นไปอีก พร้อมกับได้มองเห็นถึงความสุขใน งานต่างๆ ที่เขาเลือกท�ำ ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าเรื่องราวของเขาจะสร้างแรง กระเพื่อมบางอย่างให้ผู้คนมากมายในสังคมต่อไป และท�ำให้มนุษย์ เหล่านั้นได้เข้าใจถึงแก่นแกนของสิ่งที่เรียกกันว่า ‘ความสุข’ อย่าง ชัดเจนมากขึ้น

17


ผมไม่ได้จัดการกับความทุกข์  แต่ผม จะจัดการกับปัญหา เพราะถ้าเกิดเราจัดการ ความทุกข์มันก็อาจไม่พบวิธีการแก้ปัญหา

18


19


วลัยกร สมรรถกร “ความสุขเกิดขึ้นได้ เมื่อใช้ชีวิตช้าลง”

“รู ้ สึ ก ว่ า โลกนี้ มั น ช่ า ง สวยงามจั ง เลย  ชี วิ ต เป็ น สิ่ ง สวยงาม  ฉะนั้ น เราก็ ค วรจะ รั ก ษาทะนุ ถ นอมเอาไว้   คื อ แค่ เราตื่ น เช้ า มาแล้ ว ยั ง สามารถ ลุ ก -นั่ ง -เดิ น เหิ น ไปไหนมาไหน ได้ปกติ  เราว่าแค่นี้ก็มีความสุข มากเลย คือมันเป็นเรื่องธรรมดา ที่คนทั่วไปมักจะมองข้าม  แต่จะ บอกว่าเมื่อก่อน  มัวไปทุกข์ร้อน เรื่ อ งนั้ น เรื่ อ งนี้   แต่ พ อเจอคราว เคราะห์ตรงนั้น  และผ่านมันมา ได้ ก็รู ้ สึ ก ว่ า … เออเนอะ  คนเรา แค่มีชีวิตอยู่ แล้วได้ท�ำกิจวัตร ประจ�ำวันโดยไม่ต้องพึ่งพาใคร มาก แค่นี้ก็มีความสุขแล้วนะ”

20


หลายคนอาจไม่คุ้นกับชื่อวลัยกร สมรรถกร สักเท่าไร แต่ ถ้าเอ่ยถึงนามกรของเธอ ‘ต้องการ’ หลายคนอาจจะร้องอ๋อขึ้นมาใน ทันใด ย้ อ นไปท� ำ ความรู ้ จั ก เธอสั ก นิ ด   กว่ า จะมี ชื่ อ เป็ น นั ก วาดภาพประกอบอย่ า งทุ ก วั น นี้   ‘ต้ อ งการ’  เรี ย นจบจากคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์  ภาควิชาตกแต่งภายใน  สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ท�ำงานเป็น interior designer อยู่พักใหญ่ก็รู้สึกว่าไม่เหมาะกับอุปนิสัย  เลยหลีกออกมาเป็น  art consultant ซึ่งยังเกี่ยวกับงานตกแต่งภายในอยู่  แต่เหมาะกับตัวเอง มากขึ้น และแล้วเมื่อรู้ว่าจะมีเทศกาลหนังสือท�ำมือขึ้นมา  งานครั้ง นั้นเองท�ำให้เกิดเส้นทางใหม่ๆ ขึ้นในชีวิต เพราะหลังจากนั้นก็ได้งาน วาดภาพอีกมากมายจนกลายเป็นนักวาดภาพประกอบเต็มตัว  และ เธอก็รู้สึกมีความสุขมากขึ้นทุกที ในที่สุดเมื่อท�ำงานต่อเนื่องออกมาเรื่อยๆ  ก็มีโอกาสไปเป็น อาจารย์พิเศษที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รวมทั้ง ความสุขที่เธอท�ำก็ออกดอกออกผลเป็นพ็อกเก็ตบุ๊กของตัวเองหลาย เล่มด้วยกัน อาทิ going places, ความสุขของมะลิ ฯลฯ นอกเหนือ จากนั้นก็มีงานเขียนบวกภาพประกอบในนิตยสารอีกหลายต่อหลาย เล่มด้วย เหมือนชีวิตของผู้หญิงคนนี้จะเต็มไปด้วยความสุขในการได้ ท�ำในสิ่งที่เธอรัก แต่มนุษย์ทุกคนก็หนีลิขิตของท้องฟ้าไม่พ้น ซึ่งกลาย เป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญในชีวิตเธอ

21


“ย้อนไปประมาณ 4 ปีที่แล้ว ตอนนั้นไปผ่าตัดไฝที่มือขวา หลังจากตรวจเสร็จแล้วก็พบว่าไฝนั้นเป็นเนื้อร้าย  คุณหมอก็แนะน�ำ ว่าต้องเข้ารับการผ่าตัดในทันที  เพื่อเช็คว่าเซลล์มะเร็งนี้มันลามไป ตรงส่วนไหนของร่างกายบ้าง ตอนนั้นเราก็ถูกผ่าที่ข้อมือ ผ่าที่รักแร้ เพื่อเอาต่อมน�้ำเหลืองมาตรวจสอบ  แล้วก็ผ่าต้นขาเพื่อเอาเนื้อมาปะ จุดที่เป็นท�ำการผ่าตัดไป และพอเช็คทุกอย่างครบปรากฏว่าเชื้อไม่ได้ ลุกลาม ถือว่าเราก็ยังโชคดี “แต่ตอนนั้นก็จิตตกนะ  หลังการผ่าตัดต้องนอนพักฟื้นอยู่ บ้านเดือนหนึ่งเต็มๆ แบบลุกไปไหนไม่ได้ เราก็ยิ่งฟุ้งซ่านเลย ขนาด ถามตัวเองว่าฉันไปท�ำกรรมอะไรมาเหรอ  ท�ำไมชีวิตฉันถึงเป็นแบบ นี้  แล้วต่อไปจะเป็นยังไง  แต่ก็อยู่ในห้วงเวลาตรงนั้นไม่นานเพราะ ว่ามีเพื่อนพี่แนะน�ำให้ไปเข้าคอร์สธรรมชาติบ�ำบัดของคุณหมอชาว อินเดียดูสิ เผื่อสภาพจิตใจรวมทั้งร่างกายจะดีขึ้น

22


“ตลอดเวลาก่อนที่จะเข้าคอร์สธรรมชาติบ�ำบัด  รู้สึกเหมือน เราก�ำลังทบทวนตัวเอง เพราะเราต้องนอนเฉยๆ อ่านหนังสือไปเรื่อยๆ ก็เกิดอาการจิตตกอย่างที่บอก แต่พอผ่านวิกฤตตรงนั้นมาได้ เราว่า ชีวิตช่วงนั้นมันสอนอะไรเราได้เยอะเหมือนกัน ได้รู้สึกว่าชีวิตนี้ โลกนี้ มันยังมีสิ่งสวยงามให้เราเก็บเกี่ยวตักตวงความสุขอยู่นะ และเราเอง ก็อยากมีชีวิตอยู่ดีกินดี พอได้เข้าคอร์สธรรมชาติบ�ำบัด ต้องทานผล ไม้อยู่ 9 เดือน เพราะวิธีนี้เป็นแบบเดียวกับที่มหาตมะคานธีใช้ท�ำการ ดีท็อกซ์ล้างพิษในร่างกาย ตามที่หมออินเดียแนะน�ำ คือคนอื่นที่รู้ว่า เราท�ำแบบนี้ เขาก็แปลกใจว่าท�ำได้ยังไง (หัวเราะ) แต่ว่าเราท�ำได้ ไม่รู้สึกฝืนอะไรด้วย เพราะอยากให้สุขภาพกลับมาดีเร็วๆ”

23


หลั ง จากที่ ไ ด้ ล องเข้ า คอร์ ส นั้ น ดู   เพี ย งอาทิ ต ย์ เ ดี ย ว  เธอก็ รู ้ สึ ก ว่ า คอร์ ส บ� ำ บั ด นี้ เ ปลี่ ย นชี วิ ต เธอได้   จากที่ เ มื่ อ ก่ อ น เคยคิ ด ว่ า การรั ก ษาอาการเจ็ บ ป่ ว ยของคนเรา  คงจะมี เ พี ย ง แพทย์ แ ผนปั จ จุ บั น อย่ า งเดี ย ว  ไม่ นึ ก ว่ า จะมี แ พทย์ ท างเลื อ ก แบบอื่ น ๆ อี ก   ซึ่ ง พอได้ เ รี ย นรู ้ ต รงนี้   เธอก็ รู ้ สึ กว่า เหมาะกับตัว เอง “ปกติเป็นคนที่เวลาทานอาหารก็ไม่ค่อยใส่ใจอะไรนัก ชอบ ทานของมัน ของทอด ทานเค้ก มีดื่มแอลกอฮอล์ด้วยบ้าง แต่ไม่สูบ บุหรี่ ซึ่งหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ด้านสุขภาพตอนนั้น ก็เปลี่ยนบริบท ให้เราต้องทานผักผลไม้อย่างเดียว มันก็ยากส�ำหรับเรานะ...ยากมาก “แต่ ก� ำ ลั ง ใจที่ ดี ที่ สุ ด ของเราก็ คื อ คุ ณ แม่   ที่ ท ่ า นค่ อ นข้ า ง เปิดใจกว้าง  เพราะตอนที่ต้องไปเข้าคอร์สธรรมชาติบ�ำบัดแล้วหมอ อินเดียแนะน�ำให้ทานผลไม้สดเพียงอย่างเดียว  น�้ำหนักก็ลดลงเยอะ มาก แต่คุณแม่ก็ปล่อยให้ท�ำและตัดสินใจเอง คือท่านเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ เราท�ำ ณ ตอนนั้นเป็นสิ่งที่ดี แค่นี้ส�ำหรับเราเองก็ถือว่าเป็นก�ำลังใจที่ ดีที่สุดเลย” ยิ่งมานั่งนึกทบทวนถึงช่วงเวลานั้นโดยเฉพาะช่วงที่ท�ำการ พักฟื้นแผลหลังผ่าตัด แม้จะมีห้วงเวลาที่ท�ำให้จิตตกไปบ้าง แต่ก็เธอ ก็ยังรู้สึกถึงสิ่งดีๆ บางอย่าง

24


“รู้สึกว่าโลกนี้มันช่างสวยงามจังเลย  ชีวิตเป็นสิ่งสวยงาม ฉะนั้นเราก็ควรจะรักษาทะนุถนอมเอาไว้  คือแค่เราตื่นเช้ามาแล้วยัง สามารถลุก-นั่ง-เดิน-เหินไปไหนมาไหนได้ปกติ  เราว่าแค่นี้ก็มีความ สุขมากเลย คือมันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนทั่วไปมักจะมองข้าม แต่จะ บอกว่าเมื่อก่อน มัวไปทุกข์ร้อนเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่พอเจอคราวเคราะห์ ตรงนั้น  และผ่านมันมาได้ก็รู้สึกว่า…เออนะ  คนเราแค่มีชีวิตอยู่ แล้ว ได้ท�ำกิจวัตรประจ�ำวันโดยไม่ต้องพึ่งพาใครมาก  แค่นี้ก็มีความสุข แล้วนะ” หลังจากที่ท�ำการเข้าคอร์สธรรมชาติบ�ำบัดแล้วเธอรู้สึกดี และมีสุขภาพที่ดีขึ้น  ‘ต้องการ’  จึงเริ่มท�ำการศึกษาข้อมูลในการใช้ ชีวิตมากขึ้น “เราอยากมีบ้านอยู่ในที่ท่ีมีอากาศดี  ปลอดมลพิษ  มีพื้นที่ ให้เราปลูกผักกินเอง เลยบอกคุณแม่ว่าขายบ้านที่กรุงเทพฯ แล้วย้าย ไปอยู่  อ�ำเภอปากช่องมั้ย  เพราะว่างานเราเองก็ไม่ได้ท�ำประจ�ำ  ส่วน ใหญ่เป็นฟรีแลนซ์  ซึ่งตอนนั้นเราก็ตัดสินใจเด็ดขาดเลย  เพราะอยาก ไปใช้ชีวิตเป็นคนต่างจังหวัดมากกว่า และอีกอย่างที่ปากช่อง แค่ขับ รถ 2 ชั่วโมงก็ถึงกรุงเทพฯ แล้ว เราเลยคิดว่าคงไม่กระทบกับงานที่ท�ำ มากมายอะไร

25


“พอได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด เราก็ค้นพบความสุข อย่างการ ได้ตื่นเช้าออกมาเดินอาบแดด  เดินดูแปลงผักที่เราปลูกไว้  ได้เห็น ต้นไม้ ดอกไม้ที่เราปลูกกับมือมันออกดอกออกผล แค่นี้ก็มีความสุข แล้ว พอตกเย็นก็เดินรดน�้ำต้นไม้ รดน�้ำผักในแปลง พรวนดิน สิ่งที่ท�ำ ทุกวันนี้ ถ้ายังใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเทพฯ คงท�ำไม่ได้แน่ๆ เพราะว่าเนื้อที่มัน จ�ำกัด อยู่ที่ปากช่องแค่รดน�้ำก็หมดไป 1 ชั่วโมง แต่ก็เป็นสิ่งที่ท�ำแล้วมี ความสุขจริงๆ “นอกจากเรื่ อ งการด� ำ รงชี วิ ต แล้ ว   งานวาดภาพที่ เ รารั ก ก็ อ ยากจะใช้ ค วามรู ้   ทั ก ษะต่ า งๆ  ที่ เ รามี ม าโปรโมตวิ ถี ชี วิ ต แบบ ธรรมชาติให้ได้มากที่สุด  และจะท�ำไปเรื่อยๆ  เพราะยังไงเรื่องพวก นี้ต้องใช้ระยะเวลา  เพราะขนาดเรื่องสโลว์ฟู้ดที่เขียนก็มีองค์ความ รู้  หลักวิชาใหม่ๆ  ให้ใช้ศึกษาเพิ่มเติมตลอดด้วยเหมือนกัน  เพราะ มีความเชื่อว่าแนวทางอาหารสโลว์ฟู้ด ผักออร์แกนิกส์ และเกษตร อินทรีย์ มันดีต่อคนทั้งโลกเลย คือถ้าชีวิตเราไม่เกิดวิกฤตสุขภาพตอน นั้น ก็คงใช้ชีวิตเพลิดเพลินไปวันๆ ต่างจากตอนนี้ที่มีเป้าหมายชีวิต ชัดเจนและใส่ใจสิ่งต่างๆ รอบตัวขึ้น”

26


ส�ำหรับคนที่เกิดวิกฤตในชีวิต ไม่ว่าเรื่องอะไรก็แล้วแต่ เธอมี ค�ำแนะน�ำที่อยากบอกต่อ “ก็อยากให้ก�ำลังใจว่า ถ้าเจอวิกฤต ตอนแรกให้ตั้งสติ และ นิ่งสงบก่อนเลย คืออย่าไปตื่นตูมกับปัญหาหรือหาทางแก้ไขทันที แต่ ให้อยู่นิ่งๆ ทั้งกายและใจ อย่าตีโพยตีพาย เพราะความนิ่งนั้นจะท�ำให้ ค่อยๆ คิดหาทางไปได้ว่าเราจะท�ำยังไงต่อ” “คือจากประสบการณ์ตัวเองในหลายๆ เรื่องเลยนะ เราคิดว่า ถ้าจิตใจเราตั้งมั่นอยู่ในความสงบ ส่วนใหญ่ขั้นต่อไปมันจะดีของมัน เอง แล้วก็อย่าเพิ่งไปทดท้อเสียใจ หรือใจเสียกับเหตุการณ์นั้นๆ มาก เพราะยังไงชีวิตมันก็ต้องก้าวข้ามผ่านพ้นไปได้แน่นอน คิดซะว่านี่เป็น บททดสอบ แล้วพอมันผ่านไปแล้วชีวิตของเราจะดีขึ้นได้เอง”

“ฟ้าหลังฝนสวยงามเสมอ”

ค�ำพูดที่ใครไม่รู้บัญญัติขึ้นมาบนโลกนี้ และเชื่อว่าเป็นค�ำพูด ที่จริงแท้และแน่นอนที่สุด เมื่อได้ใช้เวลาสั้นๆ กับผู้หญิงที่ผ่านวิกฤต ทางร่างกายมา  แต่ก็กลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขจนน่าอิจฉาได้ อย่างในทุกวันนี้

27


ฟ้าหลังฝนสวยงามเสมอ

28


29


ครูลิลลี่-กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ ครูภาษาไทย   ผู้สอนการใช้ชีวิต

“ตั้งแต่ตื่นยันหลับ ต้อง ยอมรั บ ความจริ ง ให้ ไ ด้   อย่ า หลีกหนีความทุกข์  เพราะทุกข์สุ ข สองสิ่ ง นี้ มั น มาคู ่ กั น   คื อ คุณจะเลือกใช้ชีวิตเฉพาะด้าน ความสุ ข มั น ก็ ไ ม่ ไ ด้   ถู ก ไหม? ตัวครูเคยคิดนะว่า  เออ…เรามี พร้อมทุกอย่าง แต่ท�ำไมยังรู้สึก ทุ ก ข์ อ ยู ่ น ะ  ทั้ ง ๆ ที่ มั น น่ า จะมี ความสุขมากกว่านี้  จริงๆ  แล้ว ความสุข และทุกข์มันเป็นเรื่อง ธรรมชาติ  ซึ่ ง เราหนี ไ ม่ พ ้ น อยู ่ แล้ ว  ฉะนั้ น เราจึ ง ต้ อ งยอมรั บ ความจริง ยอมรับที่ต้องอยู่กับ สิ่งเหล่านี้ให้ได้”

30


กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ หรือที่รู้จักกันดีในนาม ‘ครูลิลลี่’ ปัจจุบัน เป็นครูสอนวิชาภาษาไทยที่สถาบันกวดวิชาพีนัคเคิล เป็นอาจารย์ พิ เ ศษของมู ล นิ ธิ ก ารศึ ก ษาทางไกลผ่ า นดาวเที ย ม  โรงเรี ย นไกล กังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเป็นอาจารย์พิเศษให้กับอีกหลาย โรงเรียนด้วยกัน นอกจากนั้น ‘ครูลิลลี่’ ก็ยังเป็นพิธีกร และนักเขียน ที่มุ่งมั่นเขียนหนังสือเกี่ยวกับภาษาไทยออกมาหลายต่อหลายเล่ม

เล่าย้อนกลับไปวัยเยาว์  ‘ครูลิลลี่’  อยากเป็นอะไร “ตอนเด็ ก ๆ  ฝั น อยากเป็ น หมอ  แต่ พ อโตขึ้ น ความคิ ด ก็ เ ปลี่ ย น  เพราะครู ไ ม่ ไ ด้ เ รี ย นสายวิ ท ย์   ก็ คิ ด ว่ า อาจเป็ น นั ก ข่ า ว หรื อ ท� ำ งานสายบั น เทิ ง อยู ่ เ บื้ อ งหลั ง   แต่ พ อได้ ท� ำ จริ ง ๆ  แล้ ว มั น ก็ ไ ม่ ใ ช่ ตั ว เราอี ก   ที นี้ พ อมี โ อกาสได้ ไ ปยื น สอนหนั ง สื อ แล้ ว รู ้ สึ ก เหมื อ นพลั ง มั น ออกมาจากข้ า งใน  คื อ รู ้ สึ ก มี ค วามสุ ข จาก การเป็ น ครู   ซึ่ ง ทุ ก วั น นี้ ค วามรู ้ สึ ก ก็ ยั ง ไม่ เ ปลี่ ย นนะ  เพราะครู ยั ง เป็ น อาชี พ ที่ เ รารั ก และชอบอยู ่   ยั ง ท� ำ แล้ ว มี ค วามสุ ข ได้ ทุ ก วั น ” ไม่มอี ะไรซับซ้อนนัก เพียงแค่การได้ยนื อยูต่ อ่ หน้าเด็กๆ แล้วมี คนเคารพ มีคนเชื่อฟัง ยกมือไหว้ และศรัทธาในตัวเขา เสน่ห์ของอาชีพ มันอยู่ตรงนี้ ที่ท�ำให้เขายิ่งรู้สึกหลงใหล มีไฟอยากสอนหนังสือทุกวัน “มีอยู่สองสิ่ง  ที่ท�ำให้เรารู้สึกว่ายังไม่อยากลงจากอาชีพนี้ คือ เด็กๆ เขารู้สึกว่า ‘รักภาษาไทยเพราะเรา’ และ ‘สอบคัดเลือก เข้ า มหาวิ ท ยาลั ย ได้ เ พราะเรา’  สองค� ำ นี้ มั น ก้ อ งอยู ่ ใ นหั ว   และ เหมือนเป็นน�้ำทิพย์หล่อเลี้ยงจิตใจเราทุกวันเลย  คือหมวดอารมณ์ เหนื่อย ท้อ เบื่อ หรือรู้สึกวุ่นวายมันก็มีทุกอาชีพแหละ แต่พอเรา ได้ฟัง ได้อ่าน สิ่งเหล่านี้ที่ลูกศิษย์เขียนให้ก็ดีใจ ถึงเหนื่อยแค่ไหน เราก็ ค งต้ อ งสอนหนั ง สื อ ต่ อ ไปจนกว่ า สั ง ขารจะไม่ เ ที่ ย งแหละ”

31


นอกจากเรื่ อ งบทบาทของการเป็ น ครู - ลู ก ศิ ษ ย์ แ ล้ ว เหตุการณ์ที่สร้างความประทับใจให้เขายังมีอีกหลายเรื่องด้วยกัน “การได้ ไ ปถวายงานสอนหนั ง สื อ ที่ โ รงเรี ย นไกลกั ง วล  ที่ เป็ น การสอนผ่ า นทางดาวเที ย ม  ครู รู ้ สึ ก ว่ า พระองค์ ท ่ า นทรงมี พระราชหฤทั ย เปิ ด กว้ า งมาก  คื อ เราน่ ะ เป็ น แบบนี้   แต่ พ ระองค์ ยั ง รั บ ได้   ท่ า นไม่ ค� ำ นึ ง ว่ า ครู จ ะเป็ น ใครมาจากไหน  แต่ ห น้ า ที่ หลั ก ของครู คื อ การสอนหนั ง สื อ เพื่ อ ให้ เ ด็ ก ๆ  ได้ ค วามรู ้   พระองค์ มองแค่ นี้   แล้ ว ทุ ก วั น นี้ คุ ณ ครู ก็ ยั ง ได้ ถ วายงานอยู ่   ก็ รู ้ สึ ก ว่ า ท่ า นเป็ น พระผู ้ ยิ่ ง ใหญ่ จ ริ ง ๆ  พระราชหฤทั ย ของพระองค์ คื อ ทรงมี พ ระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ กั บ เราที่ เ ป็ น คนตั ว เล็ ก ๆ  คนนึ ง

32


“แต่ ถ ้ า ถามว่ า รู ้ สึ ก เกร็ ง ไหม  ก็ เ กร็ ง นะ  กั ง วลมากเพราะ รู้สึกว่าจะท�ำยังไงดี  แล้วยิ่งมาทราบว่าพระองค์ท่านทอดพระเนตร อยู ่ ด ้ ว ย   โอ๊ ย !  ตอนนั้ น ก็ ตื่ น ตระหนกตกใจ  แล้ ว เราเองก็ พู ด ผิ ด ถู ก สอนวกวนไปมาๆ  กว่ า จะตั้ ง สติ ไ ด้ ก็ ผ ่ า นไปครึ่ ง ชั่ ว โมง  รู ้ สึ ก ว่ า เป็ น ประสบการณ์ ค รั้ ง หนึ่ ง ในชี วิ ต เลย  คื อ ถ้ า เราสอนปกติ ก็ จ ะมี ป ล่ อ ยมุ ข   แซวๆ  ฮาๆ  อะไรไป  แต่ วั น นั้ น เรี ย บร้ อ ยมาก   เพราะจริงๆ  เราจะไม่ชอบอะไรที่เป็นงานเป็นทางการ  ชอบพูดกับ ชาวบ้ า น  แต่ วั น นั้ น เราเกร็ ง   ไม่ ไ ด้ พู ด ค� ำ ราชาศั พ ท์ น ะคะ  แต่ ว ่ า สอนแบบเกร็งๆ  แต่ก็ดีค่ะถือเป็นครั้งหนึ่งในชีวิตของการเป็นครู” หัวใจหลักของคุณครูในการสอนหนังสือทุกวันนี้ “สิ่ ง ส� ำ คั ญ คื อ ต้ อ งให้ เ ด็ ก มี ค วามสุ ข   คื อ ทุ ก ครั้ ง ที่ เ รา สอน  เราน่ะมีความสุข  แต่เราจะท�ำยังไงให้เด็กที่มาเรียนเขารู้สึก มีความสุขเหมือนเรา เพราะฉะนั้น สีหน้า สายตา น�้ำเสียง  ต้อง บ่งบอกเลยว่ามาจากข้างในของเรา  คือหลักการสอนของครูลิลลี่ จะไม่ ค ่ อ ยได้ เ ตรี ย มความรู ้ วิ ช าการมากหรอก  เพราะว่ า อยู ่ ใ นหั ว อยู่แล้ว  แต่เพียงว่าคุณสร้างอารมณ์  และสร้างความสุขในชั่วโมง นั้นให้ได้ อย่างเวลาหงุดหงิด อารมณ์เสียมา เซ็ง หรือเบื่อ บางทีก็ ต้องสะกดอารมณ์เอาไว้  แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องหลอกตัว เองนะ  ต้องรู้ตัวเองว่าเราก�ำลังท�ำอะไรอยู่  เดี๋ยวต้องสอนหนังสือ นะ  เดี๋ ย วไปเจอเด็ ก นั ก เรี ย นนะ  เราก็ ต ้ อ งบิ ล ด์ อ ารมณ์   ดู ซิ เ ด็ ก ๆ อุ ต ส่ า ห์ ตั้ ง ใจมาเรี ย น  บางคนถ่ อ มาเรี ย นข้ า มน�้ ำ ข้ า มจั ง หวั ด มา เรียนด้วย  คือองค์ต้องลง  ถ้าองค์ไม่ลงก็ไม่ใช่ครูส�ำหรับสอนหนังสือ

33


“และต่อให้เราเหนื่อยแค่ไหน รอยยิ้มของเด็กๆ คือรางวัล ของเรา  ก่ อ นอื่ น ต้ อ งลองยิ ง มุ ข ใส่ เ ด็ ก ๆ  แล้ ว เขาเข้ า ใจมั้ ย   สนใจ มั่งมั้ย ถ้าเด็กชอบ เด็กหัวเราะ โอเค! เครื่องเราติดแล้ว เหมือน เป็ น การเช็ ค ความพร้ อ มของเด็ ก และเราด้ ว ยว่ า จะจู น กั น ติ ด มั้ ย เข้ า ถึ ง กั น ได้ ห รื อ เปล่ า   การสอนหนั ง สื อ ก็ จ ะราบรื่ น ไปได้ ด ้ ว ยดี ” แม้ ว ่ า เด็ ก สมั ย นี้ ต ้ อ งใช้ ค ะแนนมาล่ อ อยู ่ บ ้ า ง   แต่ เ ท่ า ที่ คุ ณ ครู เ ห็ น พบว่ า เด็ ก ในรุ ่ น ปั จ จุ บั น   จะมี ค วามสนใจวิ ช าภาษา ไทยก็ ต ่ อ เมื่ อ พวกเขาจะต้ อ งน� ำ ไปใช้ ใ นการสอบคั ด เลื อ กเข้ า มหาวิทยาลัย  หรือเรียนไปเพื่อสอบให้ได้เกรด  4  เด็กที่รักภาษาไทย แบบจริงๆ  จังๆ  ก็มีอยู่  แต่เปอร์เซ็นต์ก็ยังน้อยเมื่อน�ำมาเทียบกัน “ยกตัวอย่างคนในสมัยก่อน สิ่งเร้าหรือสื่อต่างๆ ที่จะเข้าถึง ชีวิตประจ�ำวันของผู้คนก็มีจ�ำกัด อาทิเช่น ทีวี วิทยุ หรืออินเตอร์เน็ต ฉะนั้นสิ่งที่ช่วยสร้างความบันเทิงในจิตใจ  ก็มีเฉพาะหนังสือ  การ อ่านหนังสือ ท่องบทกลอน อ่านวรรณคดี มันเลยเป็นเหตุให้คนยุค ก่อนรักภาษาไทยด้วยความผูกพัน แต่ปัจจุบัน คุณครูมองว่าเด็กๆ ไม่ท�ำลายภาษาไทยก็โอเคแล้วนะ  คือแค่ให้รักษา  และเห็นความ ส�ำคัญของภาษาไทยแค่นี้ก็พอแล้ว  เพราะภาษาไทยของเรา  คือ สิ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์และความเป็นไทยของคนในชาติ  แล้วก็ อยากให้คนรุ่นใหม่ได้รู้สึกภูมิใจในรากเหง้าภาษาไทยของเราเอง  ที่ ไม่ต้องยืมภาษาของใครเขามาใช้  แต่ครูเองก็มีความเข้าใจว่าสัก วั น ภาษาก็ ต ้ อ งมี บ างส่ ว นที่ เ ปลี่ ย นแปลงตามยุ ค สมั ย เหมื อ นกั น ”

34


อะไรคือสิ่งที่คุณครูยึดเป็น หมุดหมายของการสอนหนังสือใน ทุ กวันนี้ “สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ค รู จ ะปลู ก ฝั ง อยู่เสมอ คือการสอนให้เด็กๆ ทุก คนรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รัก แผ่ น ดิ น   รั ก สั ง คม  คื อ เราไม่ ใ ช่ แค่ ป ลู ก ฝั ง ความรู ้ ใ ห้ เ ด็ ก อย่ า ง เดี ย ว  แต่ ยั ง ต้ อ งสอนให้ เ ขาเป็ น คนดี ด ้ ว ย  เพราะคุ ณ ครู เ ชื่ อ ว่ า เด็ ก บางส่ ว นเขาเชื่ อ มั่ น ในตั ว เรา ฉะนั้ น เราก็ ต ้ อ งรู ้ จั ก สอนในสิ่ ง ที่ เป็ น ประโยชน์   เพราะเขาจะเป็ น ผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า  คืออนาคต ในการดูแลบ้านเมืองนั้นอยู่ที่พวก เด็กๆ แล้ว ฉะนั้นคุณครูจึงต้อง อัดฉีดวิตามิน เสริมฮอร์โมนทาง ความคิดให้พวกเขาตลอดว่า พวก คุณน่ะต้องชาตินิยมนะ เอาง่ายๆ อย่างศิลปินดาราเกาหลีน่ะ  คุณ ก็ อ ย่ า ไปอะไรมากนัก   ของไทยๆ เราเองนั้ น ก็ ไ ม่ ใ ช่ ไ ม่ มี ดี น ะ  ถึ ง ของไทยจะยั ง ไม่ เ ที ย บเท่ า ระดั บ สากล  แต่ คุ ณ ครู ก็ อ ยากให้ พ วก เขาได้รู้สึกภูมิใจในสิ่งที่เรามีอยู่”

35


ทุกวันนี้คุณครูลิลลี่สอนภาษาไทย  ภาษาประจ�ำชาติของเรา อยู่ที่โรงเรียนพีนัคเคิลของคุณครูเอง  นอกเหนือจากนั้นก็เป็นวิทยากร รับเชิญทั่วไป  และที่หลายคนไม่รู้คือคุณครูได้ไปช่วยโครงการต่างๆ ตามต่างจังหวัดด้วย “บางที เ ขาก็ อ ยากพบเราตั ว เป็ น ๆ  บ้ า ง  เพราะเคยเห็ น แต่ ใ นที วี   ในเทปวี ดิ ทั ศ น์   เด็ ก ๆ  ก็ อ าจจะเบื่ อ   แต่ ก ารไปสอน ตรงนี้   ก็ ไ ด้ อ ย่ า งเสี ย อย่ า ง  และบางที ก็ ต ้ อ งเสี่ ย งด้ ว ย  คื อ แม้ ไ ม่ เสี่ยงลูกกระสุน หรือเสี่ยงตาย แต่ก็เสี่ยงอุบัติเหตุ แต่ทั้งหมดทั้ง มวลเหนื อ สิ่ ง อื่ น ใด  ครู รู ้ สึ ก ดี ทุ ก ครั้ ง ที่ ไ ปต่ า งถิ่ น   เพราะช่ ว ยเปิ ด ประสบการณ์และความรู้สึกดีๆ  ให้เรามากกว่าการสอนในที่ที่เรา คุ้นชิน  เวลาไปสอนต่างจังหวัดจะท�ำให้เรารู้สึกภูมิใจตัวเอง  และ รู ้ สึ ก ว่ า เราเองมี ค ่ า ในสายตาของเด็ ก ๆ  ต่ า งจั ง หวั ด อยู ่   และจุ ด นี้ เ องที่ ท� ำ ให้ คุ ณ ครู เ ข้ า ใจความหมายว่ า   ‘ค่ า ของคน’  อยู ่ ต รงนี้ “ยกตั ว อย่ า งเด็ ก ๆ  ที่ ส ามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้   พอ เขารู ้ ว ่ า ครู ลิ ล ลี่ จ ะมา  แล้ ว เขาก็ ไ ม่ มี ค ่ า รถจะมาเรี ย น  ต้ อ งถึ ง ขนาดไปขอยื ม เงิ น เพื่ อ นเพื่ อ ที่ จ ะมาเรี ย นในตั ว จั ง หวั ด ที่ เ ราสอน หนั ง สื อ    แล้ ว พอหมดชั่ ว โมงเขาก็ ต ้ อ งรี บ กลั บ เพื่ อ ให้ ทั น ขึ้ น รถ โดยสารกลั บ บ้ า น  เพราะถ้ า กลั บ เย็ น มากๆ  รถจะหมด  หรื อ อาจถู ก ท� ำ ร้ า ย  ถู ก ซุ ่ ม ยิ ง   อั น ตราย   สิ่ ง นี้ เ องที่ ท� ำ ให้ เ ราเห็ น ความพยายามของเขาว่ า นั่ ง รถครึ่ ง ค่ อ นวั น ข้ า มจั ง หวั ด มาไกล มาก  เพื่ อ ที่ จ ะมาเรี ย นหนั ง สื อ กั บ เรา  มาพบเรา  สิ่ ง นี้ จึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ เตื อ นใจคุ ณ ครู ด ้ ว ยนะ  ว่ า เราต้ อ งท� ำ หน้ า ที่ ข องตั ว เองให้ ดี ที่ สุ ด ”

36


แล้ววิธีสร้างความสุขให้ตัวเอง  ครูลิลลี่มีวิธีจัดการอย่างไร “ตั้งแต่ตื่นยันหลับ  ต้องยอมรับความจริงให้ได้  อย่าหลีก หนีความทุกข์  เพราะทุกข์-สุขสองสิ่งนี้มันมาคู่กัน  คือคุณจะเลือก ใช้ชีวิตเฉพาะด้านความสุขมันก็ไม่ได้ถูกไหม?  คือตัวครูเคยคิดนะ ว่า  เออ…เรามีพร้อมทุกอย่างนะ  แต่ท�ำไมยังรู้สึกทุกข์อยู่นะ ทั้งๆ ที่ มันน่าจะมีความสุขมากกว่านี้  จริงๆ  แล้วความสุข–ทุกข์  มันเป็น เรื่องธรรมชาติซึ่งเราหนีไม่พ้นอยู่แล้ว  ฉะนั้นเราจึงต้องยอมรับความ จริง  ยอมรับที่ต้องอยู่กับสิ่งเหล่านี้ให้ได้..................................... “บางอย่างเราต้องอาศัยความสุขจากบุคคล  สิ่งของ  วัตถุ สถานที่ คือถ้าเราอยู่กับสิ่งนี้เรามีความสุข ถ้าได้อยู่กับคนนี้เรารู้สึกมี ความสุข นั่นคือการอาศัยปัจจัยภายนอกเยอะ งั้นลองอยู่คนเดียว อยู่ กับตัวเองซิวา่ ท�ำได้ไหม เพราะครูคดิ ว่าเวลาเรามีความสุขควรเกิดจาก ตัวเราเอง ไม่ใช่ไปโหยหาคนอื่นๆ  ต้องการเพื่อนฝูง เพราะพวกเขาก็ ไม่ได้จะอยู่กับเราตลอดเวลา คือใจของเราต้องมั่นคง หนักแน่นเข้าไว้”

37


คุณครูลิลลี่เล่าต่อว่า สิ่งนี้นี่เองคือหลักที่ท�ำให้มนุษย์ค้นพบ ความสุขแท้จริง “จริ ง ๆ  ก็ แ ล้ ว แต่ ค นมากกว่ า   ซึ่ ง ส� ำ หรั บ ครู   ครู คิ ด แบบนี้ นะ  ความสุขนั้นไม่ได้เกิดจากการกางต�ำรา  อ่านหนังสือหรือไปอ้าง ทฤษฎีจากนักจิตวิทยาคนไหน  แต่ความสุขมันควรมาจากตัวเอง เรา ทดลองแล้ว ปฏิบัติแล้ว รู้สึกดี รู้สึกเหมาะ ใครจะมารู้และเข้าใจตัว เราได้ดีเท่าเราล่ะ  คุณครูไม่เคยยึดแนวทางความสุขตามต�ำรานัก จิตวิทยา  นักปรัชญาคนไหนอยู่แล้ว  เพราะหมุดหมายความสุขของ เราจริงๆ มันควรจะมาจากที่เราลิขิตเองมากกว่า”.............................. ตลอดบทสนทนานี้   จิ ต วิ ญ ญาณของการเป็น ครู-ภาพแม่ พิมพ์ของชาติปรากฏชัดในตัวของคุณครูผู้รวยอารมณ์ขันท่านนี้อย่าง ชัดเจน  และเชื่อมั่นว่าลูกศิษย์ของคุณครูลิลลี่ทุกคนจะสัมผัสได้ถึง ความสุ ข จ� ำ นวนมหาศาลที่ เ ธอมี ต ่ อ อาชี พ -คุ ณ ครู ส อนภาษาไทย ภาษาประจ�ำชาติอันเป็นที่รักของคนไทยทุกคน และที่มีมากกว่าการ เรียนการสอนนั้น คุณครูลิลลี่ได้สอนวิชา ‘ชีวิต’ ให้กับพวกเขาด้วย

38


ความสุขนั้นไม่ได้เกิดจากการกางต�ำรา อ่านหนังสือ  หรือไปอ้างทฤษฎีจากนัก จิตวิทยาคนไหน แต่ความสุขมันควรมา จากตัวเอง เราทดลองแล้ว ปฏิบัติแล้ว รู้สึกดี รู้สึกเหมาะ ใครจะมารู้และเข้าใจ ตัวเราได้ดีเท่าเราล่ะ

39


พิทยากร ลีลาภัทร์ ธนาคารแห่งนี้ชื่อ...ความสุข “จริงๆ  ความสุขมันคือ ความรู้สึกของการยินดีนะ  ทีนี้ ความยิ น ดี ส� ำ หรั บ ผมเนี่ ย   มั น จะมากจะน้ อ ยก็ จ ะขึ้ น อยู ่ กั บ ความพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ใน สิ่งที่มันอยู่รอบๆ ตัวเรา

ประโยคข้างต้นเป็นวรรคตอนหนึ่งในหนังสือชื่อ  ‘วิตามิน แห่งความสุข’ เขียนโดยพิทยากร ลีลาภัทร์ นักเขียนที่ถ่ายทอดเรื่อง ราวเกี่ยวกับความสุข-ทุกข์ออกมาเป็นหนังสือขายดีจ�ำนวน  4 เล่ม ด้วยกัน (ธนาคารความสุข สาขา 1-3 และวิตามินแห่งความสุข) นอกจากนั้นเขายังสวมหมวกเป็นดีเจประจ�ำคลื่นวิทยุ  ที่มีลีลาการ จัดรายการเฉพาะตัว  เป็นนักเขียนบล็อกแนวธรรมะ  นักการตลาด มืออาชีพ  และเป็นคุณพ่อแสนอบอุ่นของลูกชาย-หญิงสองคนด้วย

40


เห็นอย่างนี้แล้วในหมู่มวลของสิ่งที่สร้างความรื่นรมย์ในชีวิต ของชายหนุ่มผู้นี้  ท�ำให้เรานึกตั้งค�ำถามว่า เขามีจุดเริ่มต้นเกี่ยวกับ การใช้ชีวิตอย่างในทุกวันนี้อย่างไร “เล่ า ย้ อ นกลั บ ไปตั้ ง แต่ ส มั ย เรี ย นผมอยากท� ำ งานหลาย อย่ า ง  จวบจนโตมาก็ ม าพบว่ า อาชี พ คอลั ม นิ ส ต์ ก็ เ ป็ น อย่ า งนึ ง ที่ อ ยากท� ำ  คื อ ตอนนั้ น คิ ด แค่ อ ยากเป็ น คอลั ม นิ ส ต์   ไม่ ไ ด้ อ ยาก เป็ น นั ก เขี ย นอาชี พ   แต่ ด ้ ว ยความที่ เ ราไม่ มี ป ระสบการณ์   ก็ ไ ม่ รู ้ จะเริ่ ม ต้ น ยั ง ไง  จนเว็ บ บล็ อ กเกิ ด ขึ้ น ในอิ น เตอร์ เ น็ ต   ซึ่ ง เป็ น พื้ น ที่ สาธารณะที่ ใ ครอยากเขี ย นอะไรก็ ไ ด้   ผมก็ เ ลยไปเริ่ ม ต้ น ในนั้ น ”

41


เป็ น เวลาประมาณ  5–7  ปี ผ ่ า นมาแล้ ว   ที่ พิ ท ยากร มุ ่ ง มั่ น เขี ย นเรื่ อ งราวที่ เ น้ น การให้ ก� ำ ลั ง ใจคนทั่ ว ไป เพราะ อยากให้ ค นอ่ า น  ‘feel good’ เวลาที่ อ ่ า นตั ว หนั ง สื อ ของเขา “โดยปกติ ผ มเป็ น คนตลกฝื ด อยู ่ แ ล้ ว  แต่ ว ่ า ก็ ไ ม่ ไ ด้ พยายามท�ำให้มันตลกนะ  แต่เวลาเขียนหนังสือหรือบล็อก  ภาษา มั น พาไปเอง  คื อ เราจะเป็ น คนที่ ม องอะไรในมุ ม ข� ำ ๆ  หาแง่ มุ ม ดี ๆ   ในเรื่ อ งทั่ ว ไป  แล้ ว หยิ บ จั บ มาน� ำ เสนอ  เพราะส่ ว นตั ว ผม คิ ด ว่ า เวลาที่ เ ขี ย นอะไรที่ มี ส าระ  มั น ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งเครี ย ด  แล้ ว ก็ อี ก อย่ า งผมชอบดู ร ายการตลกครั บ   สิ่ ง นี้ ช ่ ว ยได้ ม ากเลย” ตอนนี้ พิ ท ยากรได้ เ ป็ น คอลั ม นิ ส ต์ ใ นนิ ต ยสารสมความ ตั้งใจ  และยังคงเขียนบล็อกอย่างสม�่ำเสมอ  โดยเนื้อหาหลักใหญ่ ใจความของคอลัมน์ของเขาคือเรื่องของ  “ความสุข”......................... “พอดีเจ้าของส�ำนักพิมพ์หนึ่ง  ซึ่งผมได้มีโอกาสรู้จักตอนที่ไป ปฏิบัติธรรมด้วยกัน  เขาบอกว่าได้อ่านเรื่องที่ผมเขียนแล้วรู้สึกชอบ น่าสนใจ มีประโยชน์ ซึ่งจริงๆ ของผมก็ไม่ได้ดีกว่าหนังสือธรรมะแจก ฟรีหรอกครับ  เพียงแต่เรามองว่าคนอ่านหนังสือเรากับธรรมะแจกฟรี กลุ่มเป้าหมายมันต่างกัน  หนังสือธรรมะแจกฟรีก็เป็นของคนกลุ่มที่ ไปวัด รู้จักอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นคนทั่วไปที่ไม่ได้เข้าวัดเลย แล้วถ้าเขา จะอ่านจะท�ำไง ก็ต้องซื้อ ทีนี้ผมก็มองช่องว่างตรงนี้ว่า หนังสือธรรมะ ที่มีเนื้อหาไม่ซับซ้อน ชัดเจน เข้าใจง่าย อ่านง่าย มีไม่เยอะนะ อีก อย่างผมมองว่ายังมีคนอีกเยอะที่เขาอยากอ่านหนังสือธรรมะที่พูด เรื่องปรัชญาชีวิตให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่านั้นด้วย แต่ว่าที่ใช้ภาษาง่ายๆ เนี่ย มันยังขาดจุดนี้อยู่ ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของหนังสือเล่มแรก ชื่อธนาคารความสุข  ซึ่งแก้ไขขึ้นใหม่ทั้งหมดจากในบล็อกที่เขียน

42


“ตอนนั้นผมรู้สึกดีมากๆ ครับ ไม่รู้ท�ำไม อาจเพราะคนช่วย เยอะด้วย และตอนนี้พิมพ์ครั้งที่ 5 แล้ว แต่ผมคิดเสมอว่าเราไม่มีต้นทุน อะไร เพราะเราเริ่มต้นจากการไม่มีคนรู้จักเลย คือทุกวันนี้ถ้ามีหนังสือ ผมอยู่บนแผง  คนอ่านก็ไม่รู้หรอกว่าผมเป็นใคร  มาจากไหน  เป็น ดาราหรือว่ายังไง  แค่หนังสือเราพิมพ์มาสามพันสี่พันเล่มแล้วขาย หมดนี่ ผมก็มีความสุขแล้วนะ ดีใจมาก ส่วนเล่มสองเล่มสามนี่ก็พิมพ์ ไปสองครั้ง คืออาจยังไม่ดังเท่าเล่มแรก หรือเปล่าอันนี้ผมก็ไม่แน่ใจ ส่วนเล่มสี่ตอนนี้ก็เพิ่งวางจ�ำหน่าย คงต้องรอดูผลครับ”..................... หลายคนอาจสงสัยว่าต้นทุนของเรื่องแต่ละเรื่องในงานเขียน ของเขามีที่มาจากไหนกัน “ก็หลายอย่างเลยนะ แต่หลักๆ คือเรื่องวิธีคิด คือวิธีคิดของ ผมนี่เป็นแบบพุทธ พุทธโดยตรงเลย ไม่ได้มีเรื่องไสยศาสตร์ เรื่อง พราหมณ์ หรือพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมๆ แล้วมันเป็นวิธีคิดที่มา จากครูอาจารย์หลายท่านนะครับ แต่หลักๆ คือการที่ผมได้เรียนกับ หลวงพ่อปราโมทย์ครับ  ท่านเป็นแบบอย่างเรื่องการสอน  การบอก ธรรมะให้คน  แต่ลูกศิษย์ท่านส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของมนุษย์เงิน เดือน ขี้สงสัย และชอบการตั้งค�ำถามตลอดเวลา ฉะนั้นในหนังสือผม จึงเป็นที่มาว่าท�ำไมถึงพูดเรื่องยากๆ ให้เป็นเรื่องง่ายได้ คือด้วยความ ที่เราเห็นต้นแบบมาแล้วว่าอาจารย์ ท่านมีวิธีคิด วิธีสอนยังไง งาน เขียนของผมก็ได้รับอิทธิพลจากตรงนั้นมาเยอะ แต่บอกก่อนว่าผมยัง ไม่ได้บวชเรียน แต่ว่าก็ศึกษาธรรมะมานานพอสมควร ราวๆ สิบกว่าปี ได้”

43


“ถ้าเทียบกับรุ่นผมแล้ว  ผมมองว่าคนรุ่นใหม่ปัจจุบันเริ่ม สนใจพระพุทธศาสนามากขึ้นนะ  เยอะกว่ารุ่นผมมากเลย  ผมจ�ำได้ว่า สมัยรุ่นผมตอนเรียนมหา’ลัย  จะไปซื้อหนังสือท่านอาจารย์พุทธทาส เนี่ย อายนะ ไม่กล้าถือ ไม่กล้าซื้อ ค่านิยมคนรุ่นผมมองว่าเรื่องพวก นี้มันเหมาะส�ำหรับคนแก่สูงอายุ คนไปวัดก็มีแต่คนแก่ อกหัก หรือว่า ท�ำธุรกิจเจ๊ง ล้มละลาย คือเป็นคนที่ผิดหวังกับชีวิตจนต้องหาเครื่อง ยึดเหนี่ยวจิตใจประมาณนั้น  ถ้าซื้อหนังสือธรรมะไปอ่านที่มหา’ลัยก็ ต้องหานิตยสารอะไรมาหุ้ม มาบังปกไว้ด้วย แต่สมัยนี้ไม่เลย ผมกลับ รู้สึกว่าคนเริ่มเปิดใจมากขึ้น แต่ก็ได้ยินคนพูดอยู่บ้างว่า คนที่ศึกษา ธรรมะก็อาจเป็นคนสร้างภาพ เรียนตามกระแส เรียนเพื่อให้รู้สึกว่า เราเป็นคนดี ได้ท�ำอะไรไว้บ้างในเรื่องธรรมะ แต่ผมว่ามันก็ยังดีกว่า การไปอวดในเรื่องอธรรม คือมันค่อยๆ เป็นระดับขั้นขึ้นไป แรกๆ เริ่ม จากพื้นฐานก่อน แล้วพอยิ่งเรียนรู้มากขึ้นแล้ว เขาก็จะเข้าใจเองว่า จริงๆ แล้วธรรมะคือการสอนอะไรให้เรามากมาย “เรื่องของความสุขก็เป็นหนึ่งในนั้น  จริงๆ  ความสุขมันคือ ความรู้สึกของการยินดีนะ  ทีนี้ความยินดีส�ำหรับผม  มันจะมากจะ น้อยก็จะขึ้นอยู่กับความพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี  ในสิ่งที่มันอยู่รอบๆ ตัวเรา อย่างสมมุติเราเป็นมนุษย์เงินเดือน ท�ำงานได้เงินเท่านี้ อย่าง คนเงินเดือนหนึ่งหมื่น  แต่ชีวิตเขาไม่ได้สร้างภาระ  หรือเงื่อนไขให้ ชีวิตตัวเองเยอะว่าเขาจะต้องรวย  เขาก็อาจจะมีความสุขมากกว่า คนที่ มี เ งิ น เดื อ นหนึ่ ง แสนก็ ไ ด้   คื อ มี แ ค่ ห นึ่ ง หมื่ น แต่ พ อใจกั บ สิ่ ง ที่

44


ตั ว เองมี   กั บ คนที่ มี ห นึ่ ง แสนแต่ ใ จกระหายว่ า ต้ อ งมี นั่ น นี่   หรื อ ท� ำ อย่างไรที่ฉันต้องได้ห้าแสน  ซึ่งถ้ามองอย่างเป็นรูปธรรม  คนได้เงิน เดือนหนึ่งแสน ชีวิตน่าจะมีความสุข แต่ที่จริงคนเงินเดือนหนึ่งหมื่น น่ะมีความสุขเยอะกว่านะ  ฉะนั้นนิยามความสุขของผม  คือความ ยินดีพอใจ  ถ้าเมื่อไหร่เรายินดีพอใจปุ๊บ...ความสุขมันจะตามมา” ทุกวันนี้คุณมีความสุขอยู่กับอะไรบ้าง “ผมว่ า ทุ ก อย่ า งนะ  คื อ มั น ก็ ดี ห มดแหละ  แม้ แ ต่ สิ่ ง ที่ ไม่ ดี ที่ ม าเกิ ด ขึ้ น กั บ เรา  ผมมองว่ า มั น เป็ น เรื่ อ งกรรมเก่ า   คื อ เรา อาจจะไปท� ำ อะไรแบบนี้ ไ ว้ ใ นชาติ ที่ แ ล้ ว   คื อ หลั ก พระพุ ท ธเจ้ า สอนไว้ น ะครั บ   ว่ า คนเราถ้ า ปลู ก ข้ า วมั น ก็ ไ ด้ ข ้ า ว  ปลู ก กล้ ว ย ก็ ไ ด้ ก ล้ ว ย  ปลู ก อะไรก็ ไ ด้ อ ย่ า งนั้ น   ฉะนั้ น ไม่ ว ่ า ผลลั พ ธ์ จ ะ ได้อะไรมันก็มาจากการกระท�ำ  หรือกรรมที่เราเคยท�ำไว้ ..

45


“แล้วทีนี้ถ้าเรายอมรับมัน ไม่ปฏิเสธมัน มันก็เป็นเรื่องปกติที่ จะเกิดขึ้นจากเหตุและปัจจัย  และเดี๋ยวมันก็จะหายไปตามเหตุและ ปัจจัยด้วย คือถ้าเราหัดวางเฉยหรือยึดหลักอุเบกขาซะ สิ่งนั้นก็จะ ท�ำให้เราเกิดปัญญา  ซึ่งปัญญาก็มาจากสิ่งที่เราเคยได้ศึกษา  แล้ว เราก็จะเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ  ทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้นมาเดี๋ยวมันก็ดับสูญไป คือถ้าไม่ตะเกียกตะกายผลักไสมันไป เราก็ไม่เหนื่อย แล้วไอ้ความไม่ เหนื่อยนี่แหละคือความสุขความสบายใจอย่างหนึ่งเลย”................... เวลามีคนเขียนอีเมล์เข้ามาปรึกษา  พอจะตอบได้ไหมว่า คนในสังคมปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นทุกข์กับเรื่องอะไร.......................... “ตอบได้ทันทีว่าเป็นเรื่องความรักนี่แหละครับ  เยอะมาก! หรืออาจจะเพราะคนอ่านเรายังอยู่ในวัยที่ก�ำลังแสวงหา  แล้วก็คน ยุคนี้อาจจะมีศีลน้อยลง  คือเหมือนจะเป็นคนรักตัวเองแต่ก็ไม่ได้รัก ตัวเองจริงหรอก ออกแนวเห็นแก่ตัวเยอะขึ้น คือผมคิดว่าอะไรที่เขา คิดว่าเป็นความสุข  เขาก็จะวิ่งไปหาสิ่งนั้นโดยที่ไม่สนใจหรอกว่าสิ่ง นั้นมันจะเบียดเบียนคนอื่นมั้ย  ไม่แคร์หรอกว่ามันท�ำให้คนอื่นเสียใจ หรือเปล่า  ก็เลยเป็นวงจรต่อเนื่องกันมา  อย่างบางคนพอเริ่มเจอเรื่อง แย่ๆ เยอะๆ  เขาก็เริ่มออกอาการโรคจิต  อย่างบางคนตั้งก�ำแพงชีวิต เยอะ  หรือตั้งเงื่อนไขความรักเยอะ  พอคนเข้ามาก็เลยยากขึ้น  ผม สังเกตว่ามันเป็นวงจรวนเวียนแบบนีต้ ลอด  มนั ก็ทำ� ให้ผมคิดว่า จริงๆ   คนเรามันทุกข์เยอะแค่เรื่องไม่กี่เรื่องหรอก แต่มันกึ่งๆ นะ อย่างพอ คนนี้ไปท�ำคนนั้น คนนั้นก็ท�ำคนโน้น คนโน้นก็ท�ำคนนี้ แล้ววันหนึ่งก็ กลับมาที่ตัวเอง ก็ตอบปัญหาแนวๆ นี้บ่อยเลยครับ  คือพระพุทธเจ้า บอกว่ากิเลสคนเนี่ยไม่ใช่ของใหม่เลย ของเก่าเรื่องเดิมๆ ทั้งนั้น ผ่าน มากี่ปีๆ มันก็มีเรื่องอยู่แค่นี้แหละ รัก โลภ โกรธ หลง 4 อย่างนี้เอง ที่ท�ำให้คนทุกข์ได้ทุกยุคทุกสมัย”...............................................

46


แนวทางการพ้นทุกข์ที่คนในโลกปัจจุบันก�ำลังเผชิญอยู่นั้น พิทยากรแนะมุมมองทิ้งท้ายไว้ว่า “มรดกที่พระพุทธเจ้าทิ้งไว้  โดยเฉพาะเรื่องของธรรมะ  จะ ท�ำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง  โดยที่เราสามารถประยุกต์เอามา แก้ไขเรื่องกิเลสที่น�ำมาซึ่งความทุกข์ในชีวิตได้ เวลาที่มีคนมาปรึกษา ผม พอได้รับค�ำแนะน�ำ แล้วเขาผ่านช่วงเวลาเป็นทุกข์ไปได้ ผมก็รู้สึก ยินดีกับเขา ดีใจที่เราได้ท�ำหน้าที่ส่งต่อสิ่งที่เราได้ใช้ประโยชน์จากการ ศึกษาพระพุทธศาสนามา มรดกที่พระพุทธเจ้าท่านทิ้งไว้ก็เหมือนกับ เทียนเล่มหนึ่ง ที่เราไปจุดต่อๆ กัน มันก็ช่วยท�ำให้โลกเห็นแสงสว่าง มากขึ้น ยิ่งคนเข้าใจธรรมะเยอะขึ้น  สังคมก็จะสุขสงบมากขึ้น เพราะ ตอนนี้คนเป็นทุกข์เยอะ ถ้าสิ่งไหนที่เราสามารถชี้แนะได้ ช่วยเหลือ แล้วเขามีความสุขในชีวิตได้ ผมก็ดีใจที่ได้ท�ำหน้าที่นั้น”

47


คนเราถ้าปลูกข้าวมันก็ได้ ข้าว ปลูกกล้วยก็ได้กล้วย ปลูกอะไรก็ได้อย่างนั้น ฉะนั้นไม่ว่าผลลัพธ์จะได้อะไร มันก็มาจากการกระท�ำ หรือ กรรมที่เราเคยท�ำไว้

48


49


ไสยาสน์ เสมาเงิน ความสุข...สร้างได้

“ความสุขของผมในช่วง นี้คือสิ่งที่ได้ท�ำให้กับสังคม  อย่าง ได้ไปบรรยายตามมหาวิทยาลัย หรื อ ได้ ท� ำ สุ ข าลอยน�้ ำ ในช่ ว ง น�้ ำ ท่ ว มก็ เ ป็ น ความสุ ข   เพราะ อะไรรู ้ มั้ ย   เพราะเขาได้ เ อาไป ใช้ แล้วค�ำว่า ‘สุขา’ เหมือนการ ได้ปล่อยทุกข์ แล้วเราเองก็ไม่ได้ ท�ำให้กับคนส่วนน้อย  เราท�ำให้ คนส่ ว นใหญ่   อั น นี้ คื อ ความสุ ข ของผม ลองคิดดูตอนที่เราอยาก เข้าห้องน�้ำแล้วไม่ได้เข้าน่ะ  มัน ทรมานไหม คือความสุขน่ะหาซื้อ ไม่ได้  แค่คุณท�ำความดี  คุณไม่ สร้างความเดือดร้อนให้กบั สังคม   แค่นี้มีความสุขแล้ว”

50


ชายผมสีดอกเลาชื่อ  ไสยาสน์  เสมาเงิน  คนนี้  เติบโตจาก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดินทางเข้ามายังเมืองหลวงเพื่อมาร�่ำเรียน ในสาขา ‘ช่างไม้ก่อสร้าง’ ก่อนเดินทางศึกษาและสั่งสมประสบการณ์ งานช่ า งไม้ ทั่ ว ประเทศไทย  และได้ รั บ โอกาสไปศึ ก ษางานไม้ ใ น ประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา พม่า และมาเลเซีย หลังจาก นั้นก็ออกเดินทางไกลสู่โลกกว้าง  ไปยังประเทศแถบตะวันออกกลาง เพื่ อ สั่ ง สมประสบการณ์ เ พิ่ ม เติ ม   จนน� ำ มาสร้ า งสรรค์ เ ป็ น ผลงาน ไม้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในนาม ‘Saiyart’s Collection’ และผล งานสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์นี้  ส่งผลให้เขาได้รับเกียรติยกย่อง เป็นศิลปินศิลปาธรกิตติคุณ  สาขาออกแบบเชิงสร้างสรรค์  ประจ�ำ ปี  2551  และยังเป็นเจ้าของฉายา  ‘กูรูไม้’  คนหนึ่งในเมืองไทย......... ตลอดหลายปีหลังจากที่ได้รับรางวัล อาจารย์ไสยาสน์ได้เดิน สายบรรยายเพื่อส่งต่อประสบการณ์ความรู้ที่เขามีให้กับนักศึกษา ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ  ทั่วประเทศ  และสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากนั้น เขายังคงมุ่งมั่นท�ำในสิ่งที่เรียกมันว่า  ‘ความสุข’  อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

51


“ความสุขของผมในช่วงนี้คือสิ่งที่ได้ท�ำให้กับสังคม  อย่างได้ ไปบรรยายตามมหาวิทยาลัย  หรือได้ท�ำสุขาลอยน�้ำในช่วงน�้ำท่วมก็ เป็นความสุข เพราะอะไรรู้มั้ย เพราะเขาได้เอาไปใช้ แล้วค�ำว่าสุขา เหมือนการได้ปล่อยทุกข์ แล้วเราเองก็ไม่ได้ท�ำให้กับคนส่วนน้อย เรา ท�ำให้คนส่วนใหญ่ อันนี้คือความสุขของผม ลองคิดดูตอนที่เราอยาก เข้าห้องน�้ำแล้วไม่ได้เข้าน่ะ  มันทรมานไหม  ความสุขน่ะหาซื้อไม่ ได้ แค่คุณท�ำความดี คุณไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับสังคม แค่นี้มี ความสุขแล้ว แล้วเรื่องสุขาลอยน�้ำนี่ ผมก็บอกแล้วว่า ผมท�ำแค่สิบชิ้น เท่านี้นะ แล้วเลิก ไม่ใช่เลิกไม่ท�ำ แต่เลิกเพื่อให้คนอื่นๆ เอาไปเรียนรู้ ศึกษา พัฒนาต่อยอด อย่างตามมหาวิทยาลัยต่างๆ  ใครอยากได้เอา ไปเลย  แล้วหยิบยึดเป็นหลักวิชาการได้เลย.................................. “อย่างเรื่องสุขาลอยน�้ำของผม  ข่าวทีวีก็ออกนะ  แต่ออก นิดเดียว  แต่ก็ช่างเถอะ  เพราะว่าผมมีความสุขแล้ว...  โคตรมีความ สุ ข เลย  อย่ า งเวลาไปบรรยายตามมหา’ลั ย ผมก็ จ ะไม่ พู ด ในสิ่ ง ที่ อาจารย์เขาสอน  แต่ผมจะสอนในสิ่งที่แตกต่างและสามารถน�ำไป ใช้ท�ำได้จริง  คือหลักวิชาความรู้ในมหา’ลัยน่ะ  คุณเรียนเถอะ  เรียน ให้จบ ต้องเชื่อด้วย แต่สุดท้ายคุณต้องมาคิดเอง หาสไตล์งานที่เป็น เอกลักษณ์ของคุณให้เจอ  ถึงจะประสบความส�ำเร็จ  ไม่งั้นคุณก็เป็น   nobody  ไม่ขึ้นเป็น  somebody  สักที............................................. “สิ่งเหล่านี้มันเป็นสัญชาตญาณของผมก็ว่าได้  แล้วผมก็เป็น ศิลปิน อันนีค้ อื คนอืน่ เขายกย่องนะ ไม่ใช่ผมยกย่องตัวเอง ทีต่ อ้ งท�ำงาน เพื่อคอยรับใช้สังคม  รับใช้คนหมู่มาก ซึ่งคนส่วนใหญ่จะบอกว่าศิลปิน เนี่ยท�ำงานเพื่อตอบสนองตัวเอง ก็เท่ากับว่าคุณก็ขายตนเอง ท�ำเพื่อ ตัวเอง แต่ผมคิดว่าศิลปินจริงๆ เนี่ยควรจะท�ำงานเพื่อสนองตอบคน หมู่มาก  สนองตอบคนที่เขารักคุณ คนที่ชื่นชอบผลงานของคุณ........

52


“พู ด ง่ า ยๆ ว่ า ศิ ล ปิ น คื อ ผู ้ รั บ ใช้   รั บ ใช้ ร าชวงศ์   รั บ ใช้ ชุมชน  รับใช้สังคม  ฯลฯ  พูดรวมๆ คือศิลปินต้องรู้จักท�ำประโยชน์ ให้สังคม  แล้วบางอย่างอาจจะท�ำให้สังคมเจ็บปวด  ทรมานบ้าง   คุ ณ ก็ ต ้ อ งยอมรั บ ความจริ ง   คื อ สั ง คมไทยส่ ว นใหญ่ ยั ง ไม่ ย อมรั บ ความจริง  เห็นแต่สิ่งจอมปลอม  ยิ่งปัจจุบันนี้มันหยั่งรากฝังลึกจน เราแทบจะเปลี่ยนความคิดอะไรใครไม่ได้เลย”.........................

อย่างน�้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา  ท�ำให้อาจารย์ไสยาสน์พบว่า เมืองไทยเรานั้นมีด้วยกัน  5  น�้ำ  คือน�้ำฝนที่ตกตามธรรมชาติ  น�้ำ เหนือไหลบ่า  น�้ำทะเลหนุน  น�้ำลายของพวกคนที่ชอบพูดอะไรไปเรื่อย จนสับสนวุ่นวายแต่หาประโยชน์ไม่เจอ  และสุดท้ายก็คือน�้ำใจ  ซึ่ง การเกิดน�้ำท่วมครั้งนี้ท�ำให้ได้เห็นน�้ำใจจากคนไทยด้วยกันเองที่ช่วย เหลือเกื้อกูล  ได้เห็นธรรมชาติของคนบางกลุ่มที่จ้องจะเอาเปรียบคน อื่น  เอาประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม  ได้เห็นทุกอย่างเลย.......... อาจารย์ไสยาสน์ยังบอกอีกว่าคนไทยประหลาดกว่าคนทั่ว โลก  “ถ้าเราเห็นคนท�ำความดีแล้วเราท�ำดีตามเขา  ก็โอเคนะ  แต่เรา ดันไปอิจฉา ไม่ก็ตัวเองเดือดร้อนแต่คนอื่นไม่ อ้าว บ้านกูน�้ำท่วม  มึง ไม่ท่วม  งั้นกูทุบคันดินซะมึงจะได้ซวยแบบกูมั่ง..........................

53


“อย่างเรื่องกระสอบทรายกับปูนคอนกรีตที่ต้องทุบทิ้ง  เรา จะหาวิธีการจัดการยังไง แก้ยังไง ถ้าทิ้งจะทิ้งที่ไหน แล้วทรายไหล ลงท่อระบายน�้ำ  ท่อตัน  เราก็แย่กันอีก  คือคนคิดแต่ว่าจะผันน�้ำไป ทางไหนวะที่จะท�ำให้ตัวกู  บ้านกู  เสียหายน้อยสุด  แต่ไม่มีคนที่คิดถึง สังคมส่วนรวม  บ้านเรามันมีแต่คนคอยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  แต่ ไม่มีใครคอยแก้ปัญหาในระยะยาวเลย.................................... “และที่ส�ำคัญคนไทยลืมง่าย แต่ผมมองอย่างนี้นะ อย่าง ในปีนี้น�้ำขึ้นสูงมากเท่าไร ก็ขีดเส้นแดงไว้ เพราะสิ่งนี้จะเป็นเมมโมรี่ เป็นการเตือนความจ�ำได้ดีที่สุดว่าบ้านเราน�้ำท่วมประมาณนี้  แล้ว เราจะหาวิธีแก้ปัญหายังไง จะยกพื้นขึ้นสูงระดับไหนจึงจะปลอดภัย ไม่ใช่ท่วมแล้ว ก็แล้วกันปล่อยมันไปเราต้องหาวิธีในการจัดการ จะ ให้ผมไปขีดให้ทุกบ้านก็ไม่ใช่ไง ที่ท�ำแบบนี้ เพราะคนไทยเป็นคนที่ลืม ง่าย แทนที่เฮ้ย! ปีนี้บ้านเราโดนน�้ำท่วมหนัก ก็เครียดอยู่พักนึง ทีนี้พอ น�้ำลด ก็ใช้ชีวิตปกติ ไม่มีการแก้ไข ไม่เก็บข้อมูลอ้างอิงเพื่อเป็นข้อมูล ส�ำหรับแก้ปัญหาระยะยาว  พอปีหน้าน�้ำท่วมอีกที  ผู้คนในสังคมก็ กลับมาอยูใ่ นโหมดเครียดต่อ  คอื สามัญส�ำนึกคนไทยเป็นแบบนีจ้ ริงๆ   “หลั ง จากเกิ ด น�้ ำ ท่ ว มมา  ข่ า วที วี ทุ ก วั น นี้ ผ มเลยไม่ ค ่ อ ยดู นะ  คือน�ำเสนอแต่ด้านที่คนเดือดร้อน   เรื่องที่เป็นด้านดีๆ  ดันไม่ ค่ อ ยออกอากาศ  คื อ เราอย่ า ไปมองอะไรเลวร้ า ยมาก  พระพุ ท ธ เจ้าท่านตรัสเลยว่า  ปฏิรูปะเทสะวาโสจะ  คืออยู่ในที่ถิ่นฐาน  หรือ ประเทศอันสมควร  คือจะร้อนจะหนาวยังไงกูก็อยู่ได้  น�้ำท่วมไฟดับ เราก็ต้องอยู่กับมันได้ ไม่งั้นบ้าตาย คือทุกอย่างต้องมีสติ ต้องอยู่ อย่างมีสติ ทุกคนรู้ ทราบ แต่เข้าใจไม่เข้าใจอีกเรื่องนะ”

54 54


ทุกวันนี้หลักในการท�ำงานของอาจารย์ไสยาสน์คือ หนึ่ง-ท�ำ แล้วต้องดี สอง-ท�ำแล้วได้ประโยชน์ ไม่ใช่ท�ำเพื่อหวังโฆษณาสร้าง กระแสให้ตัวเอง “การท�ำงานทุกวันนี้ผมก็พยายามใช้สมองคิด  สมองผมก็จะ ได้ไม่เสื่อมเพราะผมคิดทุกวัน ฝึกใช้ความคิดตลอด เราต้องคิดถึงส่วน รวมก่อน รู้จักสร้างความดี คือในชีวิตนอกจากจะไม่ท�ำให้ใครเดือด ร้อนแล้วยังต้องรู้จักสร้างความดีด้วย ถ้ามีแรงพอจะท�ำเรื่องดีๆ ได้ก็ ต้องท�ำ  เพราะเราไม่รู้อนาคตข้างหน้าจะเป็นไง  จู่ๆ  พรุ่งนี้ผมอาจจะ ถูกรถชนตายก็ได้ ฉะนั้นวันนี้ถ้าเรายังมีโอกาสก็ต้องหมั่นรู้จักท�ำอะไร ให้สังคม  และท�ำมันอย่างมีความสุขด้วยนะ  เผื่อปุบปับตายไปจะได้ ไม่เสียชาติเกิด” สิ่ ง ที่ อ บอวลอยู ่ ใ นมวลอากาศปริ ม าณมหาศาลระหว่ า ง บทสนทนานี้ คงช่วยยืนยันได้ดีว่า ‘ความสุข’ นั้นเป็นสิ่งที่เราทุกคน สามารถสร้างขึ้นเองได้ ไม่ใช่เรื่องยากเลย

55


ลองคิดดูตอนที่เรา อยากเข้าห้องน�้ำแล้วไม่ ได้เข้า มันทรมานไหม คือความสุขหาซื้อไม่ได้ แค่คุณท�ำความดี คุณไม่ สร้างความเดือดร้อนให้กับ สังคม แค่นี้มีความสุขแล้ว

56


57


วรรธนา วีรย

วรรธน

“ท่วงท�ำนองที่แท้จริง    ของบทเพลงที่ชื่อ ‘ความสุข’ ”

ทุ ก ๆ คนล้ ว นมี เ พลงโปรดในชี วิ ต  เมื่ อ ได้ ยิ น เสี ย งเพลงที่ ตนเองชอบลอยตามลมมาจากไหนสั กแห่ง “เธอเห็นท้องฟ้านั้นไหม เห็นเงาของเมฆหรือเปล่า ทะเลสีครามที่ทอดยาว เห็นความรักของฉัน บ้างไหม” เชื่อว่าหลายคนคงเคยฮัมเพลงนี้ แต่ก็มีน้อยคนนักที่รู้ว่าผู้ แต่งเป็นใคร วรรธนา วีรยวรรธน คือผู้เขียนบทเพลงข้างต้นขึ้น ปัจจุบัน เธอเป็นนักแต่งเพลง  นักร้อง  นักเขียน  นักเดินทาง  พิธีกรรายการ ทีวี  และคุณแม่ลูกสองของเด็กหญิงเนปาล และเด็กชายทิเบตด้วย

58


เชื่อว่าวรรธนาเป็นภาพจ�ำของหญิงสาววัย 28-35 ปี  หลายต่อ หลายคนที่มีไฟฝันในการเดินทางไกล  มีความสุขกับการใช้ชีวิต  มุ่งมั่น ปรารถนาที่จะเป็นคุณแม่ที่น่ารักและมีครอบครัวในความหมายที่แสน อบอุ่น “ตั้งแต่เด็กมาแล้วเรารู้ตัวเองว่าไม่อยากเป็นอะไร  และรู้ ว่ า อยากเป็ น   อยากท� ำ อะไร  เพราะฉะนั้ น จึง ไม่เสีย เวลาไปกับสิ่ง ที ่ไม่อยากท�ำเลย  รู้สึกว่าตัวเราไม่ต้องเรียนหนังสือ  หรือไม่จ�ำเป็น ต้ อ งอยู ่ ใ นระบบการศึ ก ษาร้ อ ยเปอร์ เ ซ็ น ต์ ก็ ไ ด้   เหมื อ นกั บ ว่ า สิ่ ง ที่ เราอยากรู้มันต้องไปหาประสบการณ์เอาเองจากข้างนอกมากกว่า ด้ ว ยสภาพการศึ ก ษา  ณ  ตอนนั้ น ที่ เ ราอยู ่ มั น ไม่ ไ ด้ ก ว้ า งหรื อ เป็ น สากลเท่ า กั บ สั ง คมยุ ค ปั จ จุ บั น นี้ . ........................................... “ตอนนั้นเรารู้ตัวว่าอยากเป็นนักดนตรี ก็มุ่งเรียนเฉพาะด้าน ดนตรีอย่างเดียว ไม่อยากรู้สูตรพวกวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ หรือเลข ด้วย เพราะรู้สึกว่ามันไม่มีประโยชน์อะไรกับชีวิตเลย ตอนนั้นคิดว่า ถ้ารู้สูตรพวกนี้แล้วฉันจะเอาไปใช้ยังไงล่ะ  ก็ฉันไม่ได้อยากเป็นนัก วิทยาศาสตร์ แต่ฉันอยากเป็นนักดนตรีนี่ แล้วมันจะมีประโยชน์อะไร ที่ฉันต้องไปเรียนวิชาพวกนั้นเพื่อจะได้เกรดเฉลี่ยดีๆ  ตามเพื่อนเขาจึง ตัดสินใจเดินออกมาจากระบบการศึกษา  หันมาทุ่มเทให้กับการเรียน ดนตรีอย่างเดียว ซึ่ง ณ ตอนนั้นก็เป็นเรื่องยากอยู่ แล้วเราเป็นผู้หญิง ด้วย  แต่ก็ตัดสินใจอย่างจริงจังแล้ว  ก็เลยไปบอกคุณพ่อคุณแม่

59


“ตอนนั้นไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเลย  คิดแค่ว่าเราอยู่กับอะไร ทั้งวันได้โดยไม่รู้สึกทุกข์ทรมาน  แล้วก็มีความกระตือรือร้นที่จะท�ำ สิ่งๆ  นั้นให้มันดียิ่งๆ  ขึ้นไป  และสิ่งที่ว่าก็คือเรื่องดนตรี  ตอนนั้นจึง โฟกัสชีวิตแค่ขอให้เราได้ท�ำในสิ่งที่รักก่อน และเราจะท�ำมันได้ดี ส่วน ผลลัพธ์ที่ได้มันจะตอบแทนเรากลับมายังไงไม่รู้ เพราะไม่ได้คาดหวัง แล้วทีนี้ผลที่ตามมาจากการที่ได้เรียนดนตรีมาตลอดคือ  การได้เป็น ครูสอนวิชาดนตรีให้กับเด็กๆ เป็นคุณครูเร็วมาก ซึ่งพอเราได้ท�ำหน้าที่ ตรงนั้นปุ๊บ ก็เริ่มรู้สึกว่าสิ่งที่เราเรียนรู้มาตลอด มันท�ำให้เราได้ทักษะ นอกเหนือจากนี้เพิ่มเติมด้วย คือการแต่งเพลง ทั้งๆ ที่ไม่เคยเรียนแต่ง เพลงมาเลย” เพราะกระบวนการเรียนและการท�ำงานที่มีความเกี่ยวข้อง กับดนตรี เครื่องดนตรี และตัวโน้ตต่างๆ จึงมีส่วนในการช่วยบ่มเพาะ ประสบการณ์ความคิด แง่มุมต่างๆ ท�ำให้เธอมีความเข้าใจงานด้านนี้ เป็นพิเศษ “เราสามารถท�ำตรงนี้ได้ รวมทั้งเรื่องการร้องเพลงด้วย ขนาด ว่าตอนนั้นก็ไม่ใช่คนฟังเพลงอะไรมากมาย แต่หลักๆ เพลงที่พี่ฟังจะ เป็นอัลบั้มของวงเฉลียง  เพราะว่าเฉลียงเป็นวงที่ไม่เอาเรื่องที่คนอื่น พูดมาเล่า มาพูด ก็เลยรู้สึกว่าวงนี้แตกต่างจากวงอื่นๆ ท�ำให้รู้สึกชอบ มาก หลังจากนั้นก็สังเกตว่าเราเริ่มมีเนื้อร้อง ท�ำนอง ค�ำเพลงต่างๆ ผุด ขึ้นในหัวอยู่เรื่อยๆ คือมาแบบหยุดไม่ได้เลย ปล่อยไหลๆ ตลอดเวลา ตอนนั้นก็คิดต่อว่าเราจะท�ำยังไงกับสิ่งพวกนี้ดีล่ะ ก็เลยเริ่มเขียนเก็บ ไว้ ซึ่งเพลงแรกที่เขียนก็คือเพลง ‘เธอเห็นท้องฟ้านั้นไหม’ จ�ำได้ว่าเนื้อ ร้องของเพลงนี้มันมาเองโดยที่เราไม่ได้ล�ำดับ  หรือก�ำหนดอะไรเลย แต่ตอนนั้นแค่รู้สึกว่าเราอยากแต่งเพลงไทยที่ขึ้นต้นเนื้อร้องด้วยค�ำ

60


พูดแบบนี้ เพราะยุคนั้นเพลงท�ำนองนี้ในตลาดไม่มีเลย ซึ่งในเวลาหลัง จากนั้นเนื้อเพลงต่างๆ ก็เริ่มทยอยผุดขึ้นในหัวอยู่เรื่อย เราก็อยากรู้ว่า สิ่งต่างๆ พวกนี้มันใช้ได้ไหม   เลยลองเอาเพลงพวกนี้ไปขายดู”........... ถึงแม้เครดิตจริงๆ ของเพลงนี้ต้องยกให้กับวงทีโบน เพราะผู้ เขียนรู้สึกว่าวงทีโบน  เป็นคนท�ำให้เพลงๆ  นี้มีคุณค่ามากขึ้น ดูมีความ ขลัง  ทรงพลังมากเท่าที่เพลงเพลง หนึ่งจะถ่ายทอดออกมาได้ “ถึงเราจะเป็นคนแต่งเพลงนี้ก็ตาม แต่รู้สึกว่าตอนวงทีโบน ร้องเพลงนี้มันดูมีพลังมากกว่า คือถ้าเป็นคนอื่นหรือตัวเราร้อง ความ ขลังก็อาจเทียบชั้นอย่างวงทีโบนท�ำไว้ไม่ได้” หลั ง จากที่ เ พลงนี้ ก ลายเป็ น ที่ ย อมรั บ ของแฟนเพลงมาก ขึ้ น เรื่ อ ยๆผู ้ ห ญิ ง คนนี้ ก็ มี แ รงกระตุ ้ น ให้ ท� ำ ตรงนี้ แ ละนั่ น ก็ ท� ำ ให้ เธอค้นพบว่าสิ่งนี้เป็นอาชีพในฝันของเธอ................................ “กระบวนความคิดของนักแต่งเพลง  ส่วนใหญ่มักจะมาจาก การอ่านหนังสือ การดูหนัง ฟังเพลง การเขียน ซึ่งเราเองก็มีตรงนี้ปนเป ผสมอยู่ด้วย ซึ่งเราได้พบเจอแต่เรื่องดีๆ เรื่องที่เป็นความสุขของชีวิต   เป็นความสุขที่เกิดจากการที่เราได้ค้นพบสิ่งที่ใช่  และได้ท�ำในสิ่งที่ ชอบ  คือเหมือนเราเอาเรื่องเพ้อฝันของตัวเองมาบอกเล่า  เรียงร้อย เป็นบทเพลง  แล้วเราก็เอาเพลงเหล่านั้นไปขาย  พอขายได้เงินปุ๊บ เรา ก็น�ำเงินที่ได้มาใช้ดูหนัง ฟังเพลง ท�ำในสิ่งที่เราอยากท�ำ เพื่อที่เราจะ ได้เล่าเรื่อง แต่งเพลงดีๆ ออกมาอีก สิ่งเหล่านี้เป็นผลจากการที่เรารู้ตัว เองว่าสิ่งไหนที่เราท�ำและอยู่กับมัน  แล้วสิ่งนั้นให้ความสุขตอบแทน แก่เรากลับมา ซึ่งพอท�ำไปนานๆ ก็ค้นพบว่าเรามีเคมีตรงกันระหว่าง ความชอบของเรากับศาสตร์ทางดนตรีนี้จริงๆ”............................

61


นอกจากงานเพลงวรรธนายั ง ท� ำ รายการที วี ร ายการเล็ ก ๆ รายการหนึ่ง  ออนแอร์ทางช่องไทยพีบีเอส  ทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็น รายการท่องเที่ยวชื่อ  ‘รอยเท้า  ความฝัน  ผู้คน  ดนตรี’  อยู่ด้วย........ “เราอยากถ่ า ยทอดแบบสารคดี อี ก รู ป แบบหนึ่ ง   คื อ เวลา เราไปเที่ยว หลายๆ คนก็จะมีความชอบตามสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะ  ซึ่งเราก็พยายามน�ำเสนออีกรูปหนึ่ง  คือเราจะเสพทุกอย่าง ที่มันเป็นศิลปะ วัฒนธรรม การแสดง ดนตรี ฯลฯ ก็เลยเป็นรายการ ท่องเที่ยวที่เราไม่ได้เน้นในย่านช้อปปิ้ง  ย่านหรูหรา  ย่านสถานที่ ตามภูเขา น�้ำตก หรือป้ายชื่อสถานที่นั้นๆ แต่จะเป็นการพาไปดูใน สิ่งที่เราสนใจ  และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนดู” ................

62


หลายคนยังไม่รู้ว่าการท�ำสารคดีและการเดินทางเป็นสิ่ง ที่ ว รรธนาชอบที่ สุ ด   แต่ ที่ เ ธอพยายามท� ำ สิ่ ง อื่ น ๆ  ก็ เ พื่ อ ต้ อ งการ จะสนับสนุนตัวเองในจุดนี้ ---------------------------------------- “อย่างในเฟซบุ๊ก  เราก็จะเขียนสถานะว่า  อยากเป็นนักแต่ง เพลงเพื่อจะได้เป็นนักท่องเที่ยว  คือบางอย่างมันเหมือนเราต้องหา เงินเพื่อเลี้ยงชีพด้วย  หาปัจจัยมาสนับสนุนในสิ่งที่เราต้องการท�ำ ด้วย  เพราะใจจริงตั้งเป้าหมายของชีวิตว่าอยากท่องเที่ยวไปตาม สถานที่ต่างๆ  ในระยะยาว  คือเราจะเป็นคนที่รู้สึกว่าการไปเที่ยวที่ใช้ ระยะเวลาแค่  5-10  วัน  มันไม่ค่อยได้อารมณ์  และความรู้สึกเหมือน อย่างที่เราไปอยู่อาศัย  หรือใช้ชีวิต” ------------------------------- ส�ำหรับแฟนเพลง  ภาพของการเป็นนักร้องหญิงที่ยืนอยู่ใน จุดที่แสงสว่างที่สุดบนเวทีกว้าง  ความจริงการเป็นนักร้องมันไม่ใช่สิ่ง ที่เธอปรารถนานัก  เพราะเหตุผลหลายๆ  อย่างด้วยกัน ------------- “เป็นต้นว่าวิถีชีวิตของเรายังไม่ค่อยได้  ในแง่ของนิสัยส่วน ตัว เป็นคนไม่ชอบแต่งหน้า ไม่ชอบแต่งตัว แต่งองค์ทรงเครื่อง หรือ เสริมสวยแบบที่ผู้หญิงท�ำกัน  ซึ่งที่จริงบทบาทนักร้องอาจไม่จ�ำเป็น ต้องใช้อะไรตรงนี้เลย  แต่ว่าด้วยสภาพสังคมก�ำหนด  มันเลยต้องปรุง แต่ง  จริงๆ  เราชอบท�ำงานเบื้องหลังมากกว่าการอยู่เบื้องหน้า เพราะ รู้สึกว่ามันเป็นจุดที่เราไม่ถนัด ท�ำได้ไม่ค่อยดี อึดอัดบ้างอะไรบ้าง ส่วนงานทางด้านขีดเขียนนี่ คือเราโตมากับยุคที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ต รายการเคเบิ้ลทีวี ไม่มีการรีรันฉายซ�้ำ เพราะฉะนั้นรายการทีวีที่ชอบ ก็จะฉายแค่ครั้งเดียวแล้วจบ  หายไปเลย  แล้วเราก็ต้องรอดูตอนใหม่ ในช่วงระยะสัปดาห์ต่อสัปดาห์  แต่ทีนี้ช่วงเวลาที่ต้องรอดูรายการทีวี ครัง้ หน้า เราก็อยากระบายความในใจ ความรูส้ กึ ต่างๆ ออกมา  จงึ เลือก ใช้วิธีการจดบันทึก เพื่อบอกเล่าเรื่องราวในอดีต  และความประทับใจ ต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิตของเราเอง”...............................................

63


ความสุขในชีวิตทุกวันนี้ของคุณคืออะไร ค�ำถามแสนสามัญ แต่ความสุขส�ำหรับคนแต่ละคน มักมีค�ำตอบแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง    “ความสุขคือเราต้องรู้ตัวเองก่อนว่าตัวเรามีความโชคดีแค่ ไหน และเราต้องรู้จักสร้างความสุขให้ตัวเองก่อน เช่น การมีลูกที่แข็ง แรงทั้งสองคน  ทั้งสุขภาพกายและใจ  ทั้งคู่เป็นเด็กที่มีมารยาทรู้จัก กาลเทศะ มีปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่พวกเขาพึงมี ต่อมาคือเรามีคู่ชีวิต ที่ดีมากๆ  เพราะเขาท�ำหน้าที่บทบาทหัวหน้าครอบครัวได้เป็นอย่างดี เอาใจใส่ครอบครัว แค่นี้ก็มีความสุขแล้ว รู้สึกว่าเราโชคดีจังที่ชีวิตมี พร้อมตรงจุดนี้ แล้วเราก็จะพยายามประคับประคองครอบครัวให้เป็น แบบนี้ด้วยทุกวัน  ให้มีความสุขอย่างที่เป็นอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ  ------ “แล้วความโชคดีเรื่องต่อมา  คือเรื่องหน้าที่การงาน  คือเรา ไม่ได้เป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงอะไรมาก  ท�ำให้ชีวิตส่วนตัวของเรายัง สามารถคงความเป็นตัวเองได้อยู่ คือถ้าเป็นศิลปินที่โด่งดังมากๆ คง อึดอัด เพราะท�ำอะไรก็มีคนคอยจับจ้องการกระท�ำ พฤติกรรมของเขา ตลอดเวลา แต่ขณะเดียวกัน เวลาเรามีงานเพลงใหม่ๆ ก็ยังได้รับแรง เชียร์ แรงสนับสนุนจากแฟนคลับและนักข่าวด้วย โดยเราก็ยังเป็น ตัวของตัวเองได้อยู่ ซึ่งแค่นี้ก็นับว่าเพียงพออย่างที่เราต้องการแล้ว” ดู ชี วิ ต โรยด้ ว ยกลี บ กุ ห ลาบ  มี แ ต่ เ รื่ อ งที่ น� ำ มาซึ่ ง ความสุ ข แต่ส�ำหรับผู้หญิงที่ยึดหมุดหมายในอาชีพนักแต่งเพลงคนนี้  บอก ว่าชีวิตเธอไม่ได้มีแต่ด้านของความสุขเพียงอย่างเดียว “หลักๆ  จะใช้วิธีฝึกตัวเองตลอดคือ  เราต้องไม่รู้สึกยึดติด กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาก  ทั้งเรื่องความสุขและทุกข์  ประมาณว่าฝึก ปลดล็อกจิตใจไม่ให้โอนเอียง  ถ่ายน�้ำหนักไปหาด้านใดด้านหนึ่ง ของชี วิ ต มากเกิ น   ให้ มั น อยู ่ ใ นระดั บ ที่ ส มดุ ล กั น   เพราะคิ ด ว่ า ทุ ก อย่างที่เกิดขึ้นกับเรา อาจมีแค่ครั้งเดียว ฉะนั้นเมื่อเราได้โอกาสนั้น

64


มาแล้วก็ต้องดูแลมันให้ดี  พยายามท�ำให้ดีให้สุดความสามารถไป เลย  ส่วนผลลัพธ์จะเป็นยังไงก็ไม่ต้องไปใส่ใจอะไรมากนัก  เพราะ มันเป็นเรื่องของอนาคตที่เราไม่รู้แน่ๆ  แต่ถ้าเราคิดว่าท�ำกับมันเต็ม ที่แล้ว  เราก็จะเข้าใจเรื่องเหล่านี้”............................................. ทุกวันนี้โครงสร้างทางสังคม จริยธรรม ศีลธรรม ค่านิยมต่างๆ านี้ก�ำลังหลอกลวงจิตใจคนส่วนใหญ่ให้มีความสุขน้อยลง.......... เหล่ “ในแง่ที่ว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจความหมายของค�ำว่า ความสุขพื้นฐานคืออะไร  แต่เขาไปตีความหมายของความสุขพื้น ฐานว่าต้องมีบ้าน  มีรถ  ซึ่งตรงนี้มันไม่ใช่ค�ำตอบของความหมายค�ำ ว่าความสุขพื้นฐานที่แท้จริง  พอไม่เข้าใจปั๊บ  ระบบความคิดรวมทั้ง ชีวิตมันก็ไม่ปกติสุข  แต่ลึกๆ เชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนจะคิดได้เองเมื่อ ผ่านคุณวุฒิและวัยวุฒิที่เหมาะสม  เพราะตรงนี้มันจะเป็นสิ่งที่ท�ำให้ เราได้คิดทบทวนชีวิต  พิจารณาเลือกสิ่งที่ใช่ สิ่งที่เหมาะกับเรา และ เป็นความสุขที่เหมาะสม  กับนิยามชีวิตของแต่ละคนว่ามีความชอบ ที่แท้จริงเป็นแบบไหนยังไง”.......................................................... ในบทบาทของคุณแม่ลูกสอง  เธอจัดการชีวิตครอบครัวของ เธออย่างไร  และสิ่งใดน่าจะน�ำมาเป็นแบบอย่าง “ด้ ว ยวิ ธี คิ ด ของเรา  ก็ พ ยายามพาเขาไปเห็ น สถานที่ ต่างๆ  เพราะเราไม่เชื่อว่าการเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวจะท�ำให้ เด็กเป็นคนมีความคิดกว้างไกล  บางอย่างควรจะให้เขาได้สัมผัส ประสบการณ์ จ ริ ง ร่ ว มด้ ว ย  คื อ การเรี ย นรู ้ เ ราว่ า มั น เกิ ด ขึ้ น จาก นอกห้องเรียน  เกิดขึ้นจากนอกระบบ  เกิดขึ้นจากการที่เขาได้เห็น เยอะ  รู ้ เ ยอะ  รู ้ สึ ก เยอะ  แล้ ว ตรงนี้ มั น จะช่ ว ยส่ ง เสริ ม   สนั บ สนุ น ทั ก ษะในด้ า นอื่ น ๆ  จริ ง ๆ  เราเองก็ ไ ม่ รู ้ ห รอกว่ า สิ่ ง ที่ ท� ำ กั บ เขาจะ

65


ให้ ผ ลลั พ ธ์ อ อกมาอย่ า งไรแต่ เ ชื่ อ ว่ า วั น หนึ่ ง เขาก็ จ ะกลายเป็ น คน ที่ โ ตทางความคิ ด   สามารถยื น หยั ด เติ บ โตผจญกั บ โลกกว้ า งได้ โดยที่ เ ราไม่ ต ้ อ งคอยเป็ น ห่ ว ง............................................... “โชคดีที่เรากับแฟน   มีวิธีคิดเรื่องระบบการศึกษาคล้ายๆกัน   เรามีวิธีคิดเรื่องความสุขของมนุษย์ในที่สุดที่คล้ายกัน  คือเป้าหมาย ของเราที่ตั้งเป้าคืออยากให้ลูกของเราสามารถอยู่บนโลกนี้อย่างรู้สติ   ได้เข้าใจว่าตัวเขาเป็นใคร  และอยากท�ำอะไรกับชีวิตของเขา  สองคือ เขาสามารถประเมินศักยภาพตัวเองได้ว่าอยากเป็นอะไร  ชอบไม่ชอบ สิ่งไหน  และสามเขาจะด�ำเนินชีวิตในสิ่งที่เขาชอบได้อย่างไร เพราะ หากลูกของเราไม่มีตรงนี้ ชีวิตเขาจะเข้าสู่วังวนอ่างน�้ำเหมือนเด็กคน อื่นๆ ประมาณว่าเรียนจบมหาวิทยาลัย สมัครงาน ท�ำงานมีเงินเดือน สักพักเริ่มเป็นหนี้บัตรเครดิต  แล้วก็ท�ำงานปลดหนี้บัตรเครดิต ซึ่งงาน ที่ท�ำก็ไม่ได้เป็นอะไรที่ชอบเลยสักนิด แต่ท�ำเพราะต้องหาเงินมาปลด หนี้บัตรเครดิต  ฉะนั้นเรากับแฟนจึงพยายามมองหาหลักการศึกษาที่ จะดึงศักยภาพในสิ่งที่ลูกชอบ สิ่งที่ลูกสนใจออกมา เพื่อที่เขาจะได้รู้ จุดยืนของตัวเองในชีวิตว่าต้องการอะไร และมุ่งมั่นอยากท�ำอะไรกับ ชีวิตตัวเขาเอง ซึ่งการตอบรับของลูก  อย่างหนึ่งที่สัมผัสได้คือรู้สึกว่า เขาด�ำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข  เป็นเด็กที่มีกระบวนการทางความ คิดค่อนข้างสนุกดี  มีความกล้าทั้งเรื่องความคิดเห็น  และค�ำพูด  มี กระบวนการใช้ภาษาที่ดีมาก รูปประโยคดีมากด้วย มีความสนใจใน เรื่องรอบตัวค่อนข้างสูง.................................................................. “อย่างในวันว่างเราก็จะหากิจกรรมไปปลูกต้นไม้  หรือไม่ ก็วาดรูปบ้าง  ประดิษฐ์ของเล่นโน่นนี่นั่น   หัดท�ำกับข้าวด้วยกัน  ทั้ง แฟน  ตัวเราเอง  แล้วก็ลูกชายลูกสาว  ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ช่วยสาน

66


สัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อ แม่ ลูก ในครอบครัว อีกอย่างบ้านเราจะเที่ยว เยอะ ไปไหนมาไหนกันเยอะ คือไม่เคยรู้สึกว่าห่างกัน อย่างเวลาอยู่ บ้านในห้องนั่งเล่น  แต่ละคนก็อยู่ตรงมุมโปรด  ท�ำอะไรที่ชอบ  ต่าง คนต่างท�ำ  แต่เราทุกคนก็อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข  และยังได้ แบ่งปันเรื่องที่แต่ละคนสนใจให้แก่กันด้วย  อย่างครั้งหนึ่งลูกชาย บ้ า พั บ จรวดมาก  แล้ ว ตอนนั้ น คนทั้ ง บ้ า นก็ จ ะมานั่ ง พั บ จรวดด้ ว ย กันเพื่อดูว่ารูปแบบจรวดอันไหนที่จะท�ำให้อยู่ในอากาศได้ดี  บินได้ นาน  ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เราและครอบครัวรู้สึกสนุก  แล้วสัมพันธภาพ ระหว่างครอบครัวก็อบอุ่นแน่นแฟ้นขึ้นด้วย  ช่องว่างอะไรก็ลดลง เพราะเราได้อยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด”........................................... หลังจากที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้  ผู้หญิงชื่อวรรธนา วีรยวรรธน อาจจะท�ำให้คุณได้รู้จักเธอมากกว่าบทบาทในเบื้องหน้า ส�ำหรับหมวก ของการเป็นแม่ และงานที่เธอท�ำอยู่ คงพอจะมีส่วนช่วยให้ได้ท�ำความ เข้าใจกับท่วงท�ำนองที่แท้จริงของ ‘ความสุข’  ในการใช้ชีวิตได้อย่าง ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

67


คิดแค่ว่าเราอยู่กับอะไรทั้งวันได้ โดย ไม่รู้สึกทุกข์ทรมาน แล้วก็มีความ กระตือรือร้นที่จะท�ำสิ่งๆ นั้นให้มันดี ยิ่งๆ ขึ้นไป

68


69


ล้วนชาย ว่องวานิช

ล้างพิษ ‘ความทุกข์’ เพื่อให้ค้นพบ ‘ความสุข’ ที่แท้

“มั น ไม่ มี อ ะไรเลยนะ ที่ จ ะท� ำ ความสุ ข ให้ เ รามากไป กว่า การที่เราเห็นคนๆ  หนึ่งเดิน พ้นจากห้วงเหวแห่งความทุกข์ ได้  เหมือนที่เราเคยเดินออกมา เพราะคนที่ เ คยเจอทุ ก ข์ ห นั ก ๆ เท่ า นั้ น แหละครั บ   ที่ จ ะเข้ า ใจ คนอื่นว่าเวลาทุกข์  เขาทุกข์ยัง ไง  ดังนั้นเวลาเราไปช่วยคนให้ เขาเปลี่ยนแปลงชีวิตได้ มันเป็น ความสุ ข ที่ ไ ม่ มี อ ะไรเที ย บได้ จริงๆ  ความสุขจากการท�ำธุรกิจ เพราะเราได้ ตั ง ค์ ห รื อ ผลก� ำ ไร มันก็เทียบไม่ได้เลยกับความสุข ที่เราได้ช่วยเหลือคน เพราะถ้า เขาช่วยเหลือตัวเองได้  แล้วเกิด แรงบั น ดาลใจเหมื อ นเรา  อี ก หน่อยเขาจะได้ไปช่วยคนอื่นได้ อีก”

70


ถ้าไม่เคยผ่านประสบการณ์รอดตายจากโรคหัวใจเต้นผิด จังหวะ  โรคตับอักเสบเฉียบพลัน  และเคยประสบปัญหาทางธุรกิจ นับพันล้านบาท  ชายชื่อ ล้วนชาย  ว่องวานิช  ทายาทรุ่นที่  4  ของ ห้ า งขายยาอั ง กฤษตรางู   คงไม่ ไ ด้ ก ้ า วข้ า มความทุก ข์เ หล่า นั้น มา ตั้ ง หลั ก   และยื น มองโลกใบนี้ ด ้ ว ยสายตาแบบนี้ . ..................... “ชีวิตผมผ่านประสบการณ์ชีวิตหนักๆ  มาหลายเรื่องครับ แต่ทุกครั้งก็กลับมาตั้งหลักชีวิตตัวเองได้  ผมมองว่าด้วยวิชาความรู้ หลายๆ ส่วน ทั้งจากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และจากที่ครูอาจารย์อบรม สั่งสอน คือแรงบันดาลใจที่มาท�ำให้ผมคิดได้ว่าคนเรามีทุกข์ แต่ทุกข์ ที่มีมันก็สามารถเกิดและดับไปได้ ก็เลยเกิดแรงบันดาลใจให้ผมอยาก ท�ำอะไรทีเ่ ป็นประโยชน์ ซึง่ เป็นประโยชน์ตอ่ สังคม ต่อบรรพบุรษุ เพือ่ ให้ สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง  และใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงปฏิบัติ.”....... ล้วนชายเล่าต่อว่า  งานที่ท�ำอยู่ในทุกวันนี้อยู่ที่การบริหาร จัดการเรื่องเวลา  หลักๆ  เขามักจะแบ่งเวลาออกเป็นส่วนๆ................ “อย่างตอนเช้าถ้าตื่นมามีเวลาเยอะ ผมก็จะท�ำกิจกรรมเรื่อง กาย–ใจ แต่ถ้ามีเวลาน้อยก็ท�ำเท่าที่เวลามี ส่วนกลางวันผมก็ท�ำงาน ตามหน้าที่รับผิดชอบ กระทั่งกลางคืนเป็นช่วงที่เราพักผ่อน ผมก็จะ อ่านหนังสือหาความรู้ กระทั่งพอเริ่มเคลิ้มๆ จะง่วง ผมก็จะออกก�ำลัง อะไรสักเล็กน้อย แล้วก็ฝึกจิตด้วยการล้างพิษทางอารมณ์ ซึ่งผมท�ำ อยู่ประจ�ำทุกวัน”

71


‘การล้ า งพิ ษ ทางอารมณ์ ’  เป็ น เหมื อ นตั ว ปลดล็ อ คจาก ชี วิ ต ที่ เ คยเป็ น ทุ ก ข์ . ......................................................... “มันเป็นเรื่องบังเอิญนะส�ำหรับผม  เพราะว่าสิบกว่าปีที่ผม พยายามหาความรู้เรื่องการพัฒนากายใจพวกนี้  ก็ได้พบครูอาจารย์ มากมาย ซึ่งบอกได้เลยว่าดีเยี่ยม สุดยอดมากๆ และมีส่วนช่วยในการ พัฒนากายใจผมหลายอย่าง ทั้งเรื่องการกินที่ถูกต้อง ความรู้เรื่องธาตุ ทั้งสี่ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานชีวิตที่ท�ำให้เรารู้ตัวเราเองว่าควร ปฏิบัติตนอย่างไร ใช้ชีวิตแบบไหนจึงจะเหมาะสม รวมทั้งเรื่องกายจิต สัมพันธ์ อย่างกิจกรรมโยคะ ไทเก๊ก การเดินลมปราณ ซึง่ เป็นสิง่ ทีม่ ปี ระโยชน์มากๆ เลยในการฟื้นฟู และการบ�ำบัดสุขภาพ...........................

72


“อี ก กิ จ กรรมที่ ผ มคิ ด ว่ า เป็ น มงคลแก่ชีวิตมากๆ  ถ้า ใครมี โอกาสได้ฝึกก็คือ  การฝึกสมาธิและวิปัสสนากรรมฐาน  ซึ่งผมเองก็ ฝึกมาตั้งแต่เด็กๆ  แต่พอมาช่วงหลังตอนที่ผมบวช  ได้ไปจารึกบุญที่ เชียงใหม่ ก็ได้ไปพบครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งชื่อพ่อครูบัญชา  ตั้งวงษ์ ไชย ท่านเดินทางมาจากจังหวัดอุบลราชธานี  กไ็ ด้มโี อกาสศึกษาวิชา ล้างพิษทางอารมณ์ (Emotion Detoxification) จากท่าน และมีโอกาส ได้คุยกับท่านเยอะมากในเรื่องหลักการและเหตุผลของการฝึกตรงนี้” จากนั้ น ล้ ว นชายก็ ตั้ ง ใจฝึ ก มาเรื่ อ ยๆ  จนพบว่ า ชี วิ ต ของ เขานั้ น มี ก ารเปลี่ ย นแปลงจริ ง ๆ  คื อ ระหว่ า งที่ ท� ำ การฝึ ก ท� ำ ให้ เ ขา ได้เห็นถึงสภาพกลไกของจิตใต้ส�ำนึก  ที่ตกค้างสะสมอารมณ์พิษ ร้ า ยอยู ่ ใ นตั ว เอง  ซึ่ ง ตรงนี้ แ หละที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด ปั ญ หาด้ า นกายภาพ รวมทั้งจิตใจของเขาด้วย...................................................... “ทีนี้พอเราฝึกอย่างจริงจัง  และจัดการขจัดพิษที่คั่งค้างใน จิตใต้ส�ำนึกทั้งหมดแล้ว  เชื่อมั้ยครับว่าสภาพพื้นฐานของอารมณ์ เราเปลี่ ย นแปลงเลย  อย่ า งเดิ ม ที่ เ คยเป็ น คนขี้ โ มโห  หงุ ด หงิ ด   ก็ เริ่มหาย  กลายเป็นความโปร่งเบาสบาย  เลิกน้อยใจ  เลิกฟุ้งซ่าน ยอมรับเหตุการณ์ต่างๆ  ง่ายขึ้น  ฉะนั้นสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง ก็ดีขึ้น  ความเครียดไม่มี  ทีนี้เรื่องกายภาพก็ดีตามมา  ภูมิต้านทาน โรคสู ง ขึ้ น   พวกโรคประจ� ำ ตั ว ที่ เ คยมี อ ยู ่ เ ดี๋ ย วนี้ ก็ น ้ อ ยลงๆ  เวลา เดียวกัน  การที่เราปฏิบัติธรรมที่เราท�ำอยู่  มันก็พัฒนาก้าวหน้าจาก เดิมเยอะด้วยเหมือนกัน”...........................................................

73


ล้ ว นชายมองว่ า การแก้ ป ั ญ หาชี วิ ต ส� ำ หรั บ เขานั้ น   ต้ อ ง เริ่มต้นด้วยการแก้ไขปัญหาของอารมณ์ก่อน  เมื่อแก้ปัญหาเรื่อง อารมณ์ได้แล้ว  กายภาพก็จะดีตามมา  ซึ่งก็จะส่งผลให้จิตวิญญาณ ของมนุ ษ ย์ ทุ ก คนมี ค วามเข้ ม แข็ ง เติ บ โตตามไปด้ ว ย  มี ห ลายคน ที่ เ คยเข้ า รั บ การฝึ ก วิ ช าล้ า งพิ ษ ทางอารมณ์ ต ามแบบอย่ า งของ เขา  ผลการฝึกก็เป็นไปในทิศทางที่ดี....................................... “หลายคนที่เคยฝึกล้างพิษทางอารมณ์แล้ว  เขากลับมาช่วย กิจกรรมตรงนี้ เพราะว่าได้เห็นผลลัพธ์ เห็นดีเห็นงามจากการปฏิบัติ ตรงนี้ เพราะคุณภาพชีวิตของพวกเขาล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปใน ทิศทางที่ดีขึ้น อย่างคนที่ติดยา ชีวิตเขาก็เปลี่ยนนะ สติสัมปชัญญะ ก็ดีขึ้น ปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว ญาติพี่น้องก็ดีขึ้น ชีวิตมีความสุขขึ้น รวมทั้งสามารถกระจายเผื่อแผ่ความสุขเหล่านี้ไปสู่คนรอบข้างได้ด้วย เพราะตลอดหลายปีที่เขาประสบปัญหาเรื่องของอารมณ์  เรื่องที่เขา ต้องกินยาบ�ำบัดอาการป่วย  นั้นท�ำให้สัมพันธภาพทุกอย่างเสียหาย มีแต่ความทุกข์ เพราะว่าเขาไม่รู้จะหาวิธีรักษาอย่างไรนอกจากพึ่งยา กล่อมประสาท แต่เขาก็สามารถกลับมาสร้างปาฏิหาริย์ตรงนี้ได้ ชีวิต เปลี่ยนแปลงได้ หลังผ่านการฝึกล้างพิษทางอารมณ์นี่เอง”

74


เวลาเจอคนที่ ฝ ึ ก ล้ า งพิ ษ ทางอารมณ์ แ ล้ ว ก้ า วข้ า มความ ทุกข์มาได้เช่นคุณ  คุณรู้สึกอย่างไร............................................. “มันไม่มีอะไรเลยนะที่จะท�ำความสุขให้เรามากไปกว่า  การ ที่เราเห็นคนคนหนึ่งเดินพ้นจากห้วงเหวแห่งความทุกข์ได้เหมือนที่ เราเคยเดินออกมา  เพราะคนที่เคยเจอทุกข์หนักๆ เท่านั้นแหละครับ ที่จะเข้าใจคนอื่นว่าเวลาทุกข์ เขาทุกข์ยังไง ดังนั้นเวลาเราไปช่วยคน ที่เขาเปลี่ยนแปลงชีวิตได้  มันเป็นความสุขที่ไม่มีอะไรเทียบได้จริงๆ ความสุขจากการท�ำธุรกิจเพราะเราได้ตังค์หรือผลก�ำไร  มันเทียบไม่ ได้เลยกับความสุขที่เราได้ช่วยเหลือคน  เพราะถ้าเขาช่วยเหลือตัวเอง ได้  แล้วเกิดแรงบันดาลใจเหมือนเรา  อีกหน่อยเขาจะได้ไปช่วยคน อื่นได้อีก”.....................................................................................

75


ถ้าอยากให้ไล่เรียงความสุขของคุณทุกวันนี้มีอะไรบ้าง?

“ผมชอบตั้งเป้าหมายตัวเองไว้ว่าอยากจะพัฒนาตัวเองใน เรื่องของกาย อารมณ์ และจิตวิญญาณ ไปให้ขึ้นสู่จุดสูงสุดเท่าที่ชีวิต เราจะท�ำได้ ซึ่งตอนนี้ก็เดินทางมาได้ด้วยดีตามล�ำดับ ก็เป็นสิ่งที่ท�ำให้ เราดีใจ ภูมิใจ และที่ส�ำคัญคือเราสามารถน�ำองค์ความรู้ที่ได้มาเผย แพร่ให้เป็นรูปธรรม สามารถเขียนออกมาเป็นหนังสือได้ สามารถจัด กิจกรรมช่วยเหลือคนอื่นได้ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นความสุขมหาศาลที่เข้ามา สู่ชีวิตเราได้ รวมทั้งในเวลาเดียวกันเรายังสามารถน�ำหลักคิดดังกล่าว ไปใช้ในการท�ำงาน ด้านการท�ำธุรกิจ ได้เลี้ยงตัวเอง ครอบครัว และช่วย เหลือคนอื่นๆ ได้ ก็ถือว่าชีวิตช่วงนี้ก้าวผ่านมาได้ดีกว่าช่วงสิบปีที่แล้ว ซึ่งชีวิตเคยดิ่งลงเหวลึกมาก แต่ตอนนี้เราออกมาได้แถมยังฉุดคนอื่น ขึ้นจากหุบเหวได้อีก นี่แหละครับที่เป็นความสุขในชีวิตของผม”.......... ทั้งหมดทั้งมวลแล้ว  ล้วนชายเอ่ยขอบคุณ  ‘ความทุกข์’   ที่มอบสิ่งดีๆ  ให้ชีวิต  เพราะความทุกข์ส�ำหรับเขา  คือตัวผลัก ดันที่ท�ำให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งงดงามที่เรียก ว่า  ‘ความสุขที่แท้’  ให้กับคนอื่น  และรวมทั้งโลกใบนี้.................

76


77


ภาณุ มณีวัฒนกุล จงแสวงหาความสุข ในปริมาณที่พอดี นั ก เขี ย นหนุ ่ ม ลู ก ครึ่ ง อิ น เดี ย   แขกจาม  ที่ ค ลุ ก คลี อ ยู ่ ในวงการหนั ง สื อ   หนั ง สื อ พิ ม พ์ มายาวนาน  นอกจากนั้ น ยั ง เพลิ ด เพลิ น กั บ การกดชั ต เตอร์ บั น ทึ ก ภาพประทั บ ใจระหว่ า ง การเดิ น ทาง  วั น หนึ่ ง เขาตั ด สิ น ใจหั น เหตั ว เองไปเป็ น บาร์ เทนเดอร์ บ นเกาะภู เ ก็ ต อยู ่ ช่ ว งระยะเวลาหนึ่ ง   หลั ง จาก นั้ น เขาก็ ยั ง ใช้ ชี วิ ต ด้ ว ยการ เดิ น ทาง  สลั บ กั บ การเป็ น นั ก เล่ า เรื่ อ ง  และยั ง คงบ่ ม เพาะ ความสุ ข จากการบั น ทึ ก ภาพ ระหว่างทางที่เขาพานพบอย่าง สม�่ ำ เสมอ..........................

78


จวบจนทุกวันนี้  ภาณุเปิดร้านหนังสือเล็กๆ  ชื่อ  Rhythm & Book อยู่ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยตั้งคอนเส็ปต์ของร้านตัว เองไว้อย่างมีเอกลักษณ์ว่า  ‘ขายของรักที่ไม่หวง’............................. “เพราะของทุกชิ้นในร้านทั้งหมดผมรักทั้งนั้น  แต่ที่เอามา ขายก็เพราะอยากแบ่งปันให้คนอื่นๆ  บ้าง  ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือ เพราะผมเองก็เป็นนักอ่าน  นักเขียนคนหนึ่ง  ส่วนมากต้องใช้อ้างอิง ด้วย  อีกอย่างหนังสือผมไม่ใช่อ่านแล้วทิ้ง  ไม่เอาใจใส่นะ  คือก่อน หน้าที่จะเปิดร้านนี้ ผมก็เอาหนังสือไปบริจาคห้องสมุดอยู่หลายที่แล้ว ทีนี้มันมีประสบการณ์ที่แย่ๆ  ส�ำหรับเราคือ  เจ้าหน้าที่ห้องสมุดบาง คนเอาหนังสือที่ผมบริจาคไปขาย  หรือหนังสือที่ผมบริจาคน่ะมันไม่มี คนอ่าน  ก็เลยคิดว่าไม่เอาดีกว่า  จึงตัดสินใจเปิดร้านขายดีกว่า  แต่ ว่าไม่ได้ขายแพงอะไรมากนัก  เพราะผมอยากให้คนอ่านหนังสือจริงๆ   เขาได้ใช้ประโยชน์จากตรงนี้  แล้วก็ขายพวกรูปถ่ายและโปสการ์ดที่ คนอื่นๆ เอามาฝากขายด้วย ของเราเองก็มี และก็มีซีดีเพลงที่เราเคย ฟังๆ มาวางขายด้วย”................................. พอขึ้นชื่อว่าเป็นของรัก  ใครๆ  ก็มักอยากเก็บมันไว้ชื่นชม เพี ย งล� ำ พั ง   มากกว่ า จะน� ำ มาให้ ค นอื่ น ร่ ว มชื่ น ชมด้ ว ย   แต่ ภ าณุ ไม่ได้คิดแบบนั้น...................................................................... “มันเป็นวิธีคิดของผมที่อยากท�ำให้มันแตกต่าง  กับบางคน เข้ามาที่ร้านผมแล้วเห็นหนังสือในร้านก็พูดท�ำนองว่า  โห…หนังสือ มีแค่นี้เอง  ที่บ้านมีเยอะกว่านี้อีก  ผมก็ตอบเขาว่าดีครับอ่านหนังสือ

79


กันเยอะๆ  เพราะทุกวันนี้ผมว่าคนอ่านหนังสือน้อยนะ กับบางคนผม รู้สึกว่าที่บ้านเขามีหนังสือเยอะ ไม่ได้แปลว่าเขาเป็นหนอนหนังสือ หรือคนใฝ่รู้ แต่มีเพื่อประดับบ้าน ไว้ตั้งโชว์ ถ้าแบบนี้ผมรู้สึกสูญเปล่า เสียเปล่า คืออะไรก็ตาม ถ้ามีเราต้องเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่าง มีดถ้ามีเราต้องเอามาใช้หั่น ใช้ตัด แปรงสีฟันซื้อมาก็ไว้ใช้แปรงฟัน ไม่ใช่ว่ามีเยอะ แต่ไม่ได้ใช้สิ่งที่มีให้เกิดประโยชน์เลย”....................... ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ  ส�ำหรับบางคนการเปิดร้านหนังสือ ล้ ว นมี ค วามคาดหวั ง ในเรื่ อ งของรายได้   แต่ ผู ้ ช ายคนนี้ บ อกว่ า ไม่ ไ ด้ ค าดหวั ง เลย  และไม่ ไ ด้ คิ ด ว่ า การเปิ ด ร้ า นขายของรัก ขนาด เล็ ก ๆ  แบบนี้ จ ะได้ อ ะไร  เขาคิ ด เพี ย งแต่ ว ่ า ของบางอย่ า งที่ มี ใ น ชีวิต  ถ้าได้กระจายไปให้คนอื่นๆ  บ้างก็คงดี................................ “ผมไม่ได้คิดว่าจะต้องได้พบอะไรที่พิเศษ หรือเรื่องมหัศจรรย์ ในชีวิต พูดง่ายๆ ว่าไม่มีจุดประสงค์อื่นนอกจากความอยากเปิดร้าน แล้วขายของที่เรามีแค่นี้จบ! ส่วนจะมีคนหรือไม่ ไม่เคยคิด แต่พอเรา เปิดร้านปุ๊บ  มันกลับให้อะไรหลายอย่างตอบแทนกลับมาเยอะแยะ มากมาย อีกอย่างท�ำเลร้านผมก็ไม่ได้อยู่ติดถนนด้วย คือผมเลือก ตรงนีเ้ พราะค่าเช่ามันถูก   อย่างทีบ่ อกว่าไม่ได้คาดหวังในแง่ธรุ กิจเลย   แต่มันได้แง่มุมในเรื่องของการใช้ชีวิต

80


“ผมมีความสุขกับการเลือกที่จะใช้ชีวิตท�ำสิ่งๆ นี้ด้วย คือชีวิต เป็นเรื่องเรียบง่าย  แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยก็ต้องเรียนรู้กันไป”............... สิ่งแสนสามัญส�ำหรับมนุษย์ทุกคนคือเรื่องทุกข์ เรื่องสุขต่าง วนเวียนมาท�ำความรู้จัก  ทักทายและสอนบทเรียนให้แก่มนุษย์ทุกคน ส�ำหรับภาณุแล้วหลังจากที่เปิดร้านแห่งนี้ก็ท�ำให้เขาได้ค้นพบบางสิ่ง บางอย่างเช่นกัน “ก็ มี เ รื่ อ งสนุ ก คละเคล้ า กั น ไป  อย่ า งบางคนก็ม าเล่า เรื่อง ของเขาให้ผมฟัง คือเขาอาจจะแค่อยากระบายความทุกข์ ความคับ ข้องใจให้ฟังแค่นั้น ผมก็ฟังๆ ไม่ต้องเสนอแนะหรือหาทางออกให้เขา หรอก หรือกับลูกค้าต่างชาติก็มีแปลกๆ มา อย่างเช่นมีฝรั่งคนหนึ่ง ขี่จักรยานผ่านหน้าร้านผมแล้วสักพักเขาก็จอดจักรยาน  เดินเข้ามา ที่ร้าน เหงื่อโชกเลยนะ เขามาจับมือผมแล้วบอกว่า ขอแสดงความ ยินดีด้วย ผมก็ตอบไปว่า ขอบคุณมากครับ แต่ว่าคุณยินดีเรื่องอะไร? ฝรั่งคนนั้นก็ตอบกลับมาว่า  คุณรู้เปล่าว่าคุณได้ท�ำในสิ่งที่ผมอยาก ท�ำอยู่มากๆ เลย แล้วสักพักเขาก็มองหน้าผมพูดต่อ แต่มันก็ไม่ง่าย ใช่ไหม ผมก็ตอบกลับ ใช่  มันไม่ง่าย แต่มันสนุกตรงที่ได้ท�ำนี่แหละ! แล้วเขาก็เดินดูโน่นนี่รอบร้าน ก่อนกลับเขาบอกผมว่าท�ำต่อไปนะ  ถ้า ว่างเขาจะแวะมา  แต่แล้วหลังจากครั้งนั้นเขาก็ไม่เคยกลับมาเลย”

81


ส�ำหรับบางคน  การได้รู้จักหรือพานพบมนุษย์สามัญด้วยกัน ดูคล้ายเป็นเรื่องแสนธรรมดา  แต่ส�ำหรับผู้ชายคนนี้เขาไม่คิดเช่นนั้น “ส�ำหรับผมมันเป็นเรื่องที่ประทับใจนะ  อยากเล่าย้อนกลับ ไปเมื่อก่อนตอนผมอยู่ภูเก็ต  ท�ำงานเป็นบาร์เทนเดอร์ที่โรงแรมแห่ง หนึ่ง แล้วผมก็เปิดเพลงขายเครื่องดื่มท�ำโน่นนี่นั่นอะไรไปเรื่อย ทีนี้มี ฝรั่งคนหนึ่งมายืนตรงข้างบาร์ที่ผมท�ำงาน ผ่านไปสักครึ่งชั่วโมง ฝรั่ง คนนั้นก็เดินมาหาผม แล้วก็ควักตังค์ให้ 20 บาท ผมก็ถามว่าค่าอะไร ฝรั่งบอกเพลงร้านคุณเพราะดี แล้วเขาก็เดินออกไปเลย คือแค่นี้ ก็ เป็นเรื่องที่ผมรู้สึกประทับใจมากเลยนะ คือความสุขน่ะมันไม่ต้องว่า จะต้องเป็นเรื่องราวใหญ่โต  หรือเหตุการณ์ส�ำคัญในชีวิตอะไรมากนัก หรอก  แค่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อะไรก็ได้ แต่ว่ามันรู้สึกกระเพื่อมอยู่ใน

82


หัวใจ ท�ำให้เราสัมผัสได้ว่าเลือดก�ำลังสูบฉีด พลุ่งพล่าน เพิ่มพลังชีวิต คือผมเชื่อเรื่องพวกนี้นะ แค่ท�ำชีวิต ปรุงชีวิตให้สุขนิยม ซึ่งผมคิดว่า มันคือกุญแจส�ำคัญในการแสวงหาความสุขส�ำหรับผมแล้ว” เห็นภาณุมาเปิดร้านขายของรักแต่ไม่หวงจริงจังแบบนี้  ก็ ท�ำให้เกิดค�ำถามต่อว่า  เขายังคงเขียนหนังสืออยู่หรือไม่................. “ผมหยุ ด เขี ย นมาปี นึ ง แล้ ว ครั บ   แต่ ว ่ า ตอนนี้ ก� ำ ลั ง เริ่ ม จะ เขียนหนังสือเล่มใหม่แล้ว  แน่นอนว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับหัวหิน  แล้ว ก็มีอีกเรื่องที่อยากจะเขียนก็เป็นเรื่องของผู้คนที่แวะเวียนมาที่ร้าน หนังสือของผม  คืออย่างบางคนก็ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทางความคิดกับผมสองสามชั่วโมง  บางคนก็เข้ามาอ่านหนังสือแบบ จริงๆ  จังๆ  คือช่วงเวลาที่ผมได้มันมากกว่าร้านหนังสือน่ะครับ  ก็เลย อยากบันทึกเรื่องราวต่างๆ เก็บไว้” ก่ อ นหน้ า นี้ ภ าณุ ใ ช้ ชี วิ ต และหายใจอยู ่ ที่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ หลายปีก่อนจะเปลี่ยนที่ทางมาตั้งรกรากล่าสุดที่หัวหิน..................... “ผมเป็นคนอยู่ไม่ติดที่ครับ  แล้วการที่มาอยู่หัวหินนี่  พูดให้ ดูกระแดะคือหัวหินน่ะเลือกผมให้อยู่ที่นี่นะ  เพราะหัวหินเป็นสถาน ที่ที่ผมพออยู่ได้  มีความเป็นเมืองน้อย  ค่อนข้างจะเป็นธรรมชาติ พอสมควร  และก็ เ รื่ อ งอาหาร  ผู ้ ค น  ระยะทางห่ า งจากกรุ ง เทพฯ ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ  ก็เอื้ออ�ำนวยพอสมควร  อีกอย่างแม่ผมยังอยู่ กรุงเทพฯ อยู่หัวหินก็สามารถกลับไปเยี่ยมแม่ได้อยู่”

83


ทุ ก วั น นี้   อะไรที่ เ ป็ น ความสุ ข ส� ำ หรั บ คุณ   และการใช้ชีวิต ของคุณ.............................................................................. “ส�ำหรับผมนะ ความสุข ความสวยงามมันอยู่รอบตัวเรา ตลอดเวลา  แต่ประเด็นหลักคือ  เราน่ะจัดระบบระเบียบความคิด ยังไงมากกว่า อย่างผมอ่านหนังสือเล่มนึงจบปุ๊บ แล้วก็ขังตัวเองไม่ อยากเจอใครเลยผมก็มีความสุข  หรือผมได้กินข้าวแกงร้านที่คุ้นลิ้น ถูกรส ผมก็มีความสุข ชีวิตคนเราน่ะ มันซับซ้อนอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้อง คิดลึกซับซ้อนหรือแสวงหาความสุขใหญ่โตอะไรให้สูญเสียพลังอีกดี กว่า เพราะชีวิตที่แสวงหาเป้าหมายโดยไม่รู้จักชื่นชมความสวยงาม ระหว่างทางที่เดินอยู่ ผมว่ามันน่าเศร้านะ และที่ส�ำคัญอย่าพยายาม ไปสร้างความสุขให้คนอื่นเขา  สร้างความสุขให้ตัวเองพอ”................ ภาณุมองว่าชีวิตคนเรานั้นแสนสั้น  เขาจึงพยายามแสวงหา ความสุขในปริมาณที่พอเหมาะพอดีส�ำหรับตัวเขาเอง..................... “ผมว่ า มั น เป็ น เรื่ อ งเฉพาะตั ว บุ ค คลนะ  สไตล์ ใ ครสไตล์ มั น   แต่ โ อเคล่ ะ   ถ้ า ชี วิ ต คุ ณ คื อ การสร้ า งความสุ ข ให้ ค นอื่ น   แล้ ว คนที่เขาได้รับความสุขตรงนี้จากคุณเขามีความสุขด้วยก็ดีไป  แต่ คุณต้องรู้สึกสุขใจจริงๆ นะ(เน้นเสียง)  ไม่ใช่ปรุงแต่งจิตใจหลอก ตัวเองว่าแฮปปี้มีความสุขเต็มประดา แต่ลึกๆ  แล้วเป็นทุกข์มาก คื อ   ผมเชื่ อ นะว่ า คนที่ เ ป็ น แบบที่ ผ มบอกน่ ะ มี เ ยอะ  แล้ ว ผมก็ เ ชื่ อ อีกว่าคนที่เป็นแบบผมนี่ก็มีไม่น้อยด้วยเหมือนกัน  คืออะไรก็ตาม ที่ เ ป็ น แรงผลั ก ดั น ให้ ม นุ ษ ย์ ท� ำ สิ่ ง สิ่ ง หนึ่ ง ที่ เ กิ ด ความสบายใจ  อิ่ ม

84


เอมชี วิ ต   นี่ มั น เป็ น เรื่ อ งมหั ศ จรรย์ ม ากนะ  แต่ ตั ว ผมเอง  อะไรที่ มั น ผลั ก ดั น ให้ ชี วิ ต ผมท� ำตรงนี้ ด ้ ว ย  ผมว่ า นี่ แ หละคื อ ค�ำ ถามที่ น ่ า สนใจ  เพราะอะไรรู ้ มั้ ย ครั บ   เพราะบางที สิ่ ง ที่ เ ราท� ำบางครั้ ง มั น ก็ ไม่ มี ค� ำ ตอบ  หรื อ อาจมี ค�ำ ตอบแต่ มั น ก็ เ ชื่ อมโยงไปสู่ค�ำถามอื่น ๆ เยอแยะมากมาย  เช่ น   มั น จะมี ป ระโยชน์ ไ หม?  มั น จะมี ค วามสุ ข ยั ง ไง?   ซึ่ ง เป็ น เรื่ อ งรกรุ ง รั ง กั บ ชี วิ ต เยอะเกิ น   ผมคิ ด อย่ า งนั้ น นะ” ส�ำหรับภาณุเอง ความสุข ความสวยงามในชีวิตนั้น มีอยู่รอบ ตัวเขาตลอดเวลา เพียงแต่ความพอดีของเขา และคนแต่ละคนนั้นมี ปริมาณไม่เท่ากัน… เท่านั้นเอง

ความสุขน่ะมันไม่ต้องว่าจะต้องเป็น เรื่ อ งราวใหญ่ โ ต  หรื อ เหตุ ก ารณ์ ส� ำ คั ญ ในชี วิ ต อะไรมากนั ก หรอก  แค่ เ รื่ อ งเล็ ก ๆ น้อยๆ อะไรก็ได้ แต่ว่ามันรู้สึกกระเพื่อมอยู่ ในหัวใจ

85


เพชรี พรหมช่วย พิธีกรและผู้ประกาศข่าว

“รู้จักปัญหา รู้จักความสุข” “เรามีความสุขกับทุกเรื่อง ที่เจอ แต่ไม่ใช่ว่าสิ่งที่เราเจอทุกวัน นี้มันจะสุขสมหวังทุกอย่างนะ มัน ก็มีปัญหา มีความผิดหวังสารพัด แต่ถ้าคนเราอยากเรียนรู้ที่จะอยู่ กับสิ่งต่างๆ  แล้ว มันก็จะมีความ สุขขึ้น   เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งใน การพัฒนาและเพื่อช่วยยกระดับ จิ ต ใจของเรา เพราะถ้ า ชี วิ ต ไม่ มี ปัญหา  ไม่มีอุปสรรค  ไม่มีความ สุขหรือไม่มีความชอบแล้ว  เราก็ คงไม่มีทางรู้หรอกว่าชีวิตมันเป็น แบบนี้”

86


เพชรี  พรหมช่วย  คือโปรดิวเซอร์  และผู้ประกาศสาวคนสวย จากรายการ  ‘โต๊ะข่าวบันเทิง’ ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง  3   ที่หลายคนรู้จักและคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี  แต่สิ่งที่หลาย คนยังไม่รู้  นั่นคือการที่เธอมีหนทางแสวงหาความสุขในการใช้ชีวิต ได้อย่างน่าสนใจ  และควรน�ำไปเป็นหนึ่งในตัวอย่างของหนทางเดิน ไปสู่การแสวงหาความสุขในการใช้ชีวิตอย่างแท้จริง..................... เล่าย้อนกลับไปท�ำความรู้จักเธอกันสักหน่อย  ในวัยเด็กเธอ สารภาพว่าไม่เคยคิดจะเป็นนักข่าวมาก่อน  คิดเพียงว่าอยากท�ำงาน อะไรที่สบายๆ เท่านั้น แม้จะเป็นเด็กที่ยังไม่มีเป้าหมายความสนใจ อะไรที่ชัดเจน แต่เธอรู้ว่าตัวเองเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก.............. “จ�ำได้ว่าตอนเรียนมัธยม  ทุกเช้าหลังเคารพธงชาติ  เราก็ มีหน้าที่เล่าเรื่องย่อ  อัพเดทนิยายแต่ละเรื่องให้เพื่อนๆ  ฟังทุกวัน  วน เวียนแบบนี้เรื่อยๆ  แล้วพอท�ำบ่อยๆ  มันก็เหมือนฝึกทักษะการอ่าน ข่าวให้เราไปโดยไม่รู้ตัว”................................................................. เมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัย  อาจารย์หลายท่านก็วิเคราะห์ ว่าบุคลิกของเธอ  น่าจะท�ำงานด้านข่าว  เพราะดูคล่องแคล่ว  พูดจา ไพเราะ  เสี ย งดั ง ฟั ง ชั ด ดี . ....................................................

87


นั่ น คื อ จุ ด เริ่ ม ต้ น ที่ ท� ำ ให้ เ พชรี ไ ด้ เ ริ่ ม ต้ น ทํ า งานที่ บ ริ ษั ท แปซิฟิค  ซึ่งในช่วงเวลานั้น  บริษัทนี้มีชื่อเสียงมากในเรื่องของการน�ำ เสนอข่าว  แล้วที่บริษัทแห่งนี้เองที่ท�ำให้ได้พบกับ  ‘ดร.สมเกียรติ  อ่อนวิมล’  ซึ่งเป็นครูคนแรกที่สอนงานด้านการเป็นพิธีกร  และการ ทําข่าวให้แก่เธอ....................................................................... “พอได้รู้จักอาจารย์ฯ  ได้เห็นบรรยากาศการท�ำงานข่าวจริงๆ  ก็รู้เลยว่า  นี่แหละงานที่ฉันอยากท�ำ  ทีนี้เราก็อยากท�ำงานสายข่าว แล้ว แต่กบ็ อกอาจารย์ฯ ตรงๆ ว่า ช่วงตลอดเวลาสามเดือนทดลองงาน   ถ้าไม่ผ่านอาจารย์ก็พิจารณาตามสมควรนะคะ  แต่หนูพร้อมที่จะ เรียนรู้การท�ำงานด้านนี้อย่างเต็มที่”................................................

88


หลังจากนั้นตลอดเวลาสามเดือน  ของการเริ่มต้นอาชีพนัก ข่าว  ส�ำหรับเธอเป็นการท�ำงานหนักพอสมควร  เธอคอยสังเกตนัก ข่าวรุ่นพี่  ว่าวันหนึ่งๆ  เขาท�ำอะไรบ้าง  อ่านหนังสือพิมพ์กี่ฉบับ  ฝึก จับประเด็น  ฝึกตั้งค�ำถามอย่างไรกันบ้าง.................................... ซึ่ ง การเริ่ ม ต้ น ท� ำ งานในวั น นั้ น   ก็ มี ผ ลต่ อ การท� ำ งานและ การใช้ ชี วิ ต ในทุ ก วั น นี้   หลั ง จากที่ วิ ท วั ส   สุ น ทรวิ เ นตรเห็ น แววว่ า พัชรีน่าจะเหมาะกับต�ำแหน่งผู้ประกาศข่าวบันเทิง............................ “ตอนนั้นมีนักข่าวบันเทิงคนเดียวคือ คุณอ้อย-ศศิธร ลิ้มศรี มณี ก็อยากให้เราไปสับเปลี่ยน แต่หากี่คนๆ ก็ยังไม่ผ่าน ทีนี้อาจารย์ สมเกียรติก็บอกให้เราลองท�ำรายการเล็กๆ  ก่อน  ในเวลานั้นแม้จะ กดดันมาก แต่พี่ๆ ทีมงานทุกคนก็ให้ก�ำลังใจว่าเราท�ำได้ คือด้วยพื้น ฐานเราเองเป็นเด็กต่างจังหวัด  เลยค่อนข้างเจียมเนื้อเจียมตัว  ชื่อ เสียงอะไรนี่เราเองก็ไม่ได้ต้องการนักหนา  แต่รู้อย่างนึงว่าพ่อเราจะ มีความภาคภูมิใจที่ เห็นเราได้ออกทีวี เป็นนักข่าว เป็นหน้าเป็นตา ให้ครอบครัว เราก็เลยคิดอยากท�ำหน้าที่ตรงให้ดีที่สุด ถึงแม้ระหว่าง ที่ท�ำงานจะมีทั้งคนชมและต�ำหนิเรา แต่ก็อาศัยยึดหลัก The show must go on ไว้จนถึงทุกวันนี้” จากวั น นั้ น จนวั น นี้ เ ป็ น ระยะทาง  20  กว่ า ปี   ที่ เ ธอยั ง คง สนุกสนานกับการท�ำงานอยู่ทุกวัน

89


“ไม่เคยคิดเหมือนกันว่าเราจะท�ำได้ยาวนานขนาดนี้  คงเป็น เพราะสิ่งที่ยึดเป็นหลักในการท�ำงาน  นั่นคืออยากท�ำให้ที่บ้านภูมิใจ   ซึ่งมันก็คงเป็นแรงผลักดันให้มีพลังท�ำงานตรงนี้ได้  ยิ่งตอนนี้ได้เป็น โปรดิวเซอร์ในรายการโต๊ะข่าวบันเทิงของเราเอง  สามารถก�ำหนด ทิศทางของรายการให้เป็นไปตามอย่างที่เราต้องการได้  ตอนนี้แหละ ที่ยิ่งสนุกและมีความสุขเพราะได้น�ำสาระที่เป็นประโยชน์มาน�ำเสนอ   คือคนส่วนมากมักจะบอกว่าข่าวบันเทิงไม่ค่อยมีสาระ  แต่คนส่วน ใหญ่จะรู้เรื่องบันเทิงหมด  ฉะนั้นเราเองซึ่งท�ำงานข่าวบันเทิงมานาน   เติบโตในสายข่าวบันเทิง  เราก็รู้สึกว่าอยากจะน�ำเสนอแง่มุมดีๆ  ของ ดาราออกมาให้มากที่สุด”........................ เรื่องอ่านหนังสือก็เหมือนกัน  เธออยากแนะน�ำหนังสือดีๆ  ให้ คนที่ติดตามรายการได้สัมผัสถึงสิ่งที่เธอเคยพานพบ  แต่ถ้าใครมา ถามว่าเธอมีหนังสือเล่มโปรดเป็นเล่มไหน  เธอยืนยันว่าตอบยากมาก   เพราะเมื่อก่อน  เธออาจเป็นคนเลือกอ่านหนังสือ  แต่ทุกวันนี้หนังสือ นั้นเลือกเธอ “ตอนนี้ เ วลาเราก� ำ ลั ง จะหาค� ำ ตอบอะไรสั ก เรื่ อ ง  จู ่ ๆ   ก็ มี หนังสือเล่มหนึ่งวางอยู่ข้างหน้าให้เราหยิบอ่าน  พอเราได้อ่านก็รู้สึกว่า หนังสือเล่มนี้นี่เอง  มันช่วยไขข้อข้องใจให้เราได้  คือเราคิดว่าหนังสือ ดีๆ  นั้นควรจะเข้ามาในช่วงเวลาที่เหมาะกับชีวิตเราด้วย

90


“ส่วนหนังสือที่เราชอบเป็นพิเศษคือ  เรื่องมหาภารตะ  พอเรา ได้อ่านเล่มนี้จบปุ๊บ  เรารู้สึกไม่อยากอ่านหนังสือเล่มไหนอีกเลยนะ   เป็นแบบนี้ประมาณสองอาทิตย์ได้  เพราะว่าประทับใจและไม่อยาก ให้ความรู้สึกจากหนังสือเล่มอื่นๆ  มาแทนที่หนังสือเรื่องมหาภารตะ เล่มนี้” นอกจากเรื่องงานและการอ่านหนังสือแล้ว  ทุกวันนี้เพชรี ยังคงมีความสุขกับหลายๆ  อย่าง............................................. “เรามีความสุขกับทุกเรื่องที่เจอ  ไม่ใช่ว่าสิ่งที่เราเจอทุกวันนี้ มันจะสุขสมหวังนะ มันก็มีปัญหา คนเราเมื่อเรียนรู้ที่จะอยู่กับสิ่งต่างๆ แล้ว  มันก็มีความสุข  เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและเพื่อ ช่วยยกระดับจิตใจของเรา เพราะถ้าชีวิตไม่มีปัญหา อุปสรรค ความสุข หรือความชอบแล้ว  เราก็คงไม่มีทางรู้หรอกว่าชีวิตมันเป็นแบบนี้ ....... “หลักคิดแบบนี้ มันจะได้มาจากการปฏิบัตินะ คือย้อนกลับไป เมื่อสิบปีก่อน เราได้ไปปฏิบัติธรรม แล้วสังเกตว่าท�ำไมสามีเราเปลี่ยน ไป  จากที่เคยเป็นคนเฮฮา  แล้วท�ำไมกลายเป็นคนมีศีลมีธรรมมาก ขึ้น ท�ำไมเขาเปลี่ยนไป ก็มารู้ว่าสามีไปปฏิบัติธรรม เราก็ลองไปดูบ้าง เป็นเวลาสิบวันซึ่งเวลานั้นก็ท�ำให้เราค่อยๆ เริ่มตกผลึกทางความคิด เริ่มเข้าใจชีวิต เข้าใจแก่นสัจธรรม เข้าใจอะไรหลายอย่าง แล้วก็ค่อยๆ มาฝึกตัวเอง  กลายเป็นคนอยู่ในศีลในธรรมมากขึ้น...................

91


หลั ง จากนั้ น เธอก็ ค ้ น พบความดี ง ามในชี วิ ต ในหลายๆ   เรื่องด้วยกัน    .......................................................................... “เราว่ า ชี วิ ต คนเรามั น นั บ หนึ่ ง ใหม่ ไ ด้ ต ลอด  แต่ ค นไม่ ค่ อ ยรู ้ กัน มากกว่ า   การให้ ก�ำ ลั ง ใจใคร  เราจะไปบอกให้ทุก คนไม่ ได้ ห รอกเพราะถ้ า ตั ว เขาไม่ รู ้ วิ ธี ก ารให้ ก� ำ ลั ง ใจตั ว เอง  มั น ก็ เ ปล่ า ประโยชน์   คื อ ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งเป็ น อนิ จ จั ง   คนเราน่ ะ เสี ย อะไรทุ ก อย่างเสียได้  แต่เราอย่าเสียสมดุลของจิตใจเราเด็ดขาด        ............ “อย่างคนป่วยบางคนสังเกตไหมว่าท�ำไมเขาอยู่ได้นาน  ทั้ง ที่เขาก�ำลังจะตายด้วยซ�้ำ  แต่ที่เขายังอยู่ได้ก็เพราะเขาไม่ได้สูญเสีย ก�ำลังใจไปเลย  เพราะฉะนั้นตัวเราต้องรู้จักเป็นก�ำลังใจให้ตัวเองก่อน เลย  รู้จักฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่น  เพราะเวลาภัยมาเราก็สามารถตั้งสติ ใช้ชีวิตอยู่กับภัยต่างๆ ได้ “สังเกตสิ  อย่างเรื่องน�้ำท่วมที่ผ่านมา  บางคนทั้งบ้านและ รถจมน�้ำ แต่เขาปลงได้ ไม่ตื่นตกใจ เพราะคนเหล่านี้ฝึกจิตใจมาดี ฉะนั้นเราต้องรู้จักบอกกับตัวเองเสมอว่า  ชีวิตมันเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา แล้วก็ต้องฝึกหัดตั้งสติ รักษาจิตใจของเราให้มั่นคง ฝึกจิตใจให้ แข็งแกร่ง ก็คงไม่มีอะไรมาสั่นคลอนชีวิตของเราได้อย่างแน่นอน”    ....

92


ระหว่างทางที่ฝึกฝนสติของตนเองมาเรื่อยๆ  นี้  เพชรีก็ยังพบ ข้อด้อยของตัวเองที่เป็นคนใจร้อนอยู่  ท�ำให้เธอคิดว่าจะสร้างสมดุล ในชีวิตของตนเองได้อย่างไร  จวบจนวันหนึ่งค้นพบว่าสมดุลที่ตาม หาคือ  เมื่อใจเธอเปิดกว้าง  ก็จะยอมรับในทุกๆ  เรื่องได้      .......... “อย่ า ไปคิ ด ว่ า มั น ยากไม่ ย าก  แค่ คิ ด ว่ า เราอยากเรี ย นรู ้    ปัญหาต่างๆ  ก็จะจบ  ยกตัวอย่าง  เวลาว่างๆ  เราก็มักจะคว้าไหม พรมขึ้ น มาถั ก เป็ น ผ้ า พั น คอ  เพราะมี ค วามเชื่ อ ว่ า จะช่ ว ยในเรื่ อ ง ของการพัฒนาและฝึกจิตใจของตนเองได้อีกทางหนึ่ง     ............ “หลายคนมองว่ามันยาก  แต่เมื่อเราไม่เป็นอยู่แล้ว  แค่เรา คิดจะเรียนรู้  พอเราท�ำออกมาได้  หลายคนก็ถามว่าท�ำได้อย่างไร ยากอย่างนี้ เก่งนะที่ท�ำได้ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย อยากรู้เราก็ถาม เขา  อย่าไปปิดกั้นตัวเอง  ทุกสิ่งทุกอย่างต้องลองท�ำดู  แม้จะยาก แค่ไหนก็ตาม  ถ้าปิดกั้นทุกสิ่งทุกอย่างก็จบ  รวมทั้งเรื่องความคิด สร้ า งสรรค์ ใ นตั ว เองด้ ว ย  พยายามท� ำ ตั ว เป็ น แก้ ว เปล่ า พร้ อ มจะ เติมน�้ำลงไปตลอดเวลา  อย่าไปคิดว่าตัวเองเต็มแล้วพร้อมแล้ว  ซึ่ง ถ้ า คิ ด แบบนี้ ไ ด้   จะท� ำ ให้ ตั ว เองค้ น พบสิ่ ง ใหม่ ๆ   และค้ น พบสิ่ ง ที่ เรียกกันว่าความสุขอย่างแท้จริงได้ในที่สุด”          ........................

คนเราน่ ะเสียอะไรทุกอย่างเสียได้ แต่เราอย่า เสียสมดุลของจิตใจเราเด็ดขาด

93


พล ตนั ฑเสถยี ร ความสุขร้อนๆ ที่ตกตะกอนจากห้องครัว “ผมเป็นคนมีความสุขอยู่ ตลอดเวลา  แม้แต่ช่วงเวลาที่แย่ๆ ก็ตาม  ความสุขส�ำหรับผมคิดว่า มันเป็นความรู้สึกที่เราเลือกได้ คือ เราเลื อ กที่ จ ะสุ ข หรื อ ทุ ก ข์ ไ ด้ อ ยู ่ แล้ว  อย่างบางคนอาจให้คุณค่า ความทุกข์-สุขทางด้านวัตถุ  หรือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชีวิต  แต่ผม เชื่ อ ว่ า ความสุ ข มั น เกิ ด ขึ้ น ได้ ทุ ก ขณะ  อยู ่ ที่ ตั ว เราเอง  แล้ ว ท� ำ ไม ถึงบอกว่าตัวเองมีความสุขตลอด เวลา  เพราะผมไม่รู้ว่าจะมีความ ทุกข์ไปท�ำไม”

94


เวลาได้กลิ่นหอมๆ  โชยมาจากห้องครัวบ้านไหน  ก็ชวนให้ เราอยากก้าวเข้าไปฝากท้องไว้ที่บ้านหลังนั้น  เช่นกัน  ถ้าใครมีโอกาส ได้กลิ่น  และถ้ามีโอกาสได้ชิมอาหารรสมือของ พล  ตันฑเสถียร คนนี้   ก็เชื่อว่ายากที่จะยอมก้าวเท้าออกจากห้องครัวของเขาไปได้ ส�ำหรับผู้ชายคนนี้ แฟนหนังแฟนละครหลายคนอาจรู้จักเขา ในมาดนักแสดงหนุ่มมากฝีมือ  แต่เชื่อว่าอีกหลายคนยังไม่รู้ว่าผู้ชาย คนเดียวกันนี้   ฝีมือการท�ำอาหารของเขาก็ไม่เป็นรองใครเหมือนกัน บ่ า ยวั น หนึ่ ง   พล  ตั น ฑเสถี ย ร  ในมาดสบายๆ  วางผ้ า กั น เปื้อนไว้ข้างๆ  ตัว  แล้วมานั่งอัพเดตชีวิตของเขาด้วยรอยยิ้ม “ทุกวันนี้ผมไม่ได้เป็นนักแสดงอาชีพ เพราะค�ำว่า ‘อาชีพ’ มัน หมายถึงหาเลี้ยงตัวเองได้โดยสม�่ำเสมอ แต่ผมอาจจะค่อยๆ เปลี่ยน บทบาทจากอาชี พ นั ก แสดงมาเป็ น   ‘คนท� ำ อาหาร’  เพราะสภาพ แวดล้อมผมมันเต็มไปด้วยอาหาร  แต่ก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นเชฟนะ เพราะเนื้องานเองก็ไม่ได้ท�ำอาหารที่อยู่หน้าเตาประจ�ำครัวเลยซะที เดียว แต่ว่างานหลักๆ ที่รับผิดชอบจะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับ อาหารเสียส่วนใหญ่ ตอนนี้บทบาทด้านการแสดงก็เลยเป็นงานรองๆ ลงมา ประมาณว่าถ้ามีเวลาแล้วเราสะดวกใจจะท�ำ  ก็ตัดสินใจท�ำ”    แน่นอนว่าถ้าไม่มีงานแสดง เรียกว่าเวลา 7 วันในชีวิตทุกวัน นี้ พลใช้จ่ายเวลาไปกับการเรียนรู้ด้านการท�ำอาหารอย่างเดียวก็ว่าได้

95


“งานหลั ก ๆ  ของผมตอนนี้ คื อ ท� ำ ร้ า นอาหารชื่ อ  Spring & Summer ซึ่งเป็นร้านอาหารและเป็นครัวกลาง เพื่อผลิตอาหาร จากที่แห่งนี้แล้วส่งไปข้างนอก  หรือบางทีก็รับท�ำ  catering บ้าง นอกนั้ น ก็ จ ะมี   work  shop  (เรี ย นท� ำ อาหาร)  หรื อ  cooking demonstration  (ท� ำ อาหารโชว์ ต ามที่ ต ่ า งๆ) แล้ ว ก็ มี ท� ำ อาหาร ในรายการพลพรรคนั ก ปรุ ง   ท� ำ เว็ บ ไซต์   www.pholfoodmafia. com  แล้วก็มีเขียนงานให้กับกูรู   ‘Truelife’ เป็นเว็บคอนเทนต์ราย สัปดาห์   คอลัมน์ ‘My Cooking School’ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคนิค สอนวิธีการท�ำอาหาร  แล้วก็มีเขียนให้นิตยสารแพรวเป็นคอลัมน์ ประจ�ำรายปักษ์(เว้นปักษ์)  ซึ่งก็ท�ำมาห้าปีได้แล้ว  และก็เป็น brand ambassador ให้เลอ กอร์ดอง เบลอ ดุสิต ด้วยครับ” ....... ... กว่ า จะมี ชี วิ ต ที่ ค ลุ ก คลี กั บ การท� ำ อาหารอย่ า งทุ ก วั น นี้    อาหารจานแรกที่ เ กิ ด จากรสมื อ ของเขานั้ น เป็ น แบบไหน       ...... “ย้อนกลับไปสมัยเด็กๆ เลย  จ�ำได้ว่าเมนูแรกเป็นผัดบะหมี่ ส�ำเร็จรูป แล้วผมก็ใส่เนื้อสัตว์ลงไป สิ่งนี้ก็เป็นความตื่นเต้นส�ำหรับเรา แล้ว จากท�ำบะหมี่เพียงห่อเดียว กลายเป็นว่าเราต้องท�ำประมาณสิบ ห่อ ลวกบะหมี่สิบห่อ ท�ำให้เพื่อนๆ กินนั้นก็ตื่นเต้นส�ำหรับผมเหมือน กัน แรกๆ รสชาติคงออกมาไม่ดีเท่าไร เพราะเรายังไม่รู้วิธีท�ำอาหารที่ ถูกต้อง แต่ก็ยังดีที่ได้ลองถูกลองผิดในตอนนั้น ทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่แต่ น้อยลง หมายความว่า สิ่งที่เราเคยลองผิดลองถูกมาแล้วเราเคยศึกษา มา พอมาท�ำอีกทีเราก็จะไม่ผิดในสิ่งนั้นอีก พอเรามีประสบการณ์เป็น มืออาชีพแล้ว ก็จะเข้าใจหลักการ ทราบพื้นฐานอะไรแล้ว ก็จะต้องมี

96


การฝึกฝนๆ ท�ำซ�้ำๆ อยู่เรื่อยๆ เพื่อให้เกิดเป็นทักษะที่เรียกว่า ความ ช�ำนาญงาน คือจะบอกว่า สิ่งที่ท�ำอยู่ทุกคนสามารถท�ำได้หมดเพราะ ผมเองก็เป็นคนปกติ  ไม่ได้มีพรสวรรค์หรือว่าเก่งขั้นเทพมาจากไหน แต่เพราะผมผ่านการท�ำซ�้ำๆ มาเยอะ แรกๆ ก็อาจจะช้า แต่พอได้ท�ำ ทุกวันๆ มันก็เร็วขึ้นตามล�ำดับ”           ................................................           ท�ำอาหารมาได้พักใหญ่ๆ  แล้ว  คุณมองว่าเสน่ห์ของสิ่งนี้อยู่ ตรงไหน  “ผมมองว่ า การท� ำ อาหารมั น เป็ น ศิ ล ปะ  แล้ ว เราชอบ ศิ ล ปะอยู ่ แ ล้ ว   อย่ า งงานแสดงที่ เ ราท� ำ ทุ ก อย่ า งมั น ก็ เ ป็ น ศิ ล ปะ แขนงหนึ่ ง   อาหารก็ เ ป็ น   เพราะมั น เป็ น รู ป แบบหนึ่ ง ของการใช้ ชี วิ ต   ที่ ผ สมผสานเรื่ อ งของวั ฒ นธรรม  และการกิ น อยู ่   เพราะผม ชอบความเป็นอยู่ที่ดี  แต่ความหมายของสิ่งนี้ส�ำหรับผมไม่ได้แปล ว่าใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย  แต่ความเป็นอยู่ที่ดีของผมหมายถึงดีต่อ สุขภาพ  ดีต่อสิ่งแวดล้อม  และดีต่อคนรอบข้าง         ................... “อย่างเวลาที่เราซื้อข้าวที่ดีมาไว้ที่บ้านแล้วเราหุงข้าวกิน  คน ที่บ้านเราก็ได้กินข้าวที่ดีร่วมกัน  คือผมเป็นคนที่รู้จักเลือกสิ่งที่ดีที่สุด ให้กับตัวเอง  แล้วก็รู้สึกว่าอาหารมันเป็นเรื่องที่มากกว่าปากท้อง   แต่มันเป็นสิ่งที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตเราได้ทางหนึ่ง  อย่าง การท�ำอาหารที่ดีมันก็ช่วยยกระดับชีวิตเราด้วย  เช่น  อาหารจะต้อง สร้างความบันเทิงได้  อย่างวันหนึ่งอยากเซอร์ไพรส์คนรักด้วยการ ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมให้  เทียบกับผู้ชายคนหนึ่ง  จัดการลงมือท�ำ

97


เค้กด้วยตัวเองให้แฟน  คุณค่า ทางจิ ต ใจมั น อาจจะมากกว่ า กระเป๋าแบรนด์เนมใบนั้นด้วย ซ�้ำ  คือตรงนี้แหละที่จะบอกว่า เราสามารถน� ำ การท� ำ อาหาร มายกระดับความเป็นอยู่  และ คุณภาพชีวิตของเราได้  และอีก หนึ่งเหตุผลอาหารสามารถเป็น ยาได้ บ�ำรุงร่างกายได้ เยียวยา จิตใจคนเราด้วยก็ได้” สิ่ ง เหล่ า นี้ เ องที่ บ ่ ม เพาะท� ำ ให้ พ ล ตั ณ ฑเสถี ย รที่ เราเห็นในปัจจุบันดูเป็นคนที่มี ความสุ๊ขมีความสุข    .............. “ผมเป็นคนมีความสุข อยู่ตลอดเวลา แม้แต่ช่วงเวลาที่ แย่ๆ ก็ตาม คือความสุขส�ำหรับ ผมคิ ด ว่ า มั น เป็ น ความรู ้ สึ ก ที่ เราเลือกได้ คือเราเลือกที่จะสุข หรือทุกข์ได้อยู่แล้ว อย่างบาง คนอาจให้คุณค่าความทุกข์-สุข ทางด้ า นวั ต ถุ   หรื อ เหตุ ก ารณ์ ที่เกิดขึ้นกับชีวิต  แต่ผมเชื่อว่า

98


ความสุขมันเกิดขึ้นได้ทุกขณะ อยู่ที่ตัวเราเอง แล้วท�ำไมถึงบอกว่าตัว เองมีความสุขตลอดเวลา  เพราะว่าผมไม่รู้จะมีความทุกข์ไปท�ำไม”.... ปัญหาเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็หนีไม่พ้น  ผู้ชายคนนี้ก็เหมือนกัน  “ทุก ครั้งเวลามีปัญหาผมจะถอยหลังหนึ่งก้าว เพราะมีความรู้สึกว่าถ้าเรา มีปัญหา แล้วเราไปตกใจกับมัน เรานั่นแหละที่จะมีปัญหากับเรื่อง เหล่านั้นด้วย คือผมรู้สึกตลอดเวลานะครับว่าทุกปัญหามันมีทางออก   แต่คนส่วนมากจะชอบตื่นตระหนกกับปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ  แต่ เราก็ยอมรับว่าปัญหาบางปัญหามันใช้เวลาแก้ไขค่อนข้างมาก  บาง ปัญหาใช้เวลาน้อย แต่ทุกอย่างที่เกิดขึ้นต้องจบ แต่จะจบแบบไหน จบ แบบฉลาดหรือจบแบบไม่ฉลาด  แล้วถ้าถามผมว่าเวลามีความรู้สึก โกรธ เสียใจ เยอะๆ ณ ปัจจุบันต้องบอกว่าน้อยมาก แทบจะไม่มี คือพอ เวลาเกิดอารมณ์นั้นปุ๊บ  ผมจะเรียกสติมาปั๊บเลย แล้วตั้งค�ำถามกับ ตัวเองว่า  เราจะมานั่งเสียใจท�ำไม?  เรื่องแค่นี้เอง    ........................ “อย่างเวลาที่เราเจอเรื่องแย่ๆ  หรืออะไรที่คนทั่วไปมองว่า แย่ อย่างของหาย โดนขโมย น�้ำท่วม เรื่องพวกนี้จะท�ำให้เราเป็นทุกข์ แน่นอน เพราะเป็นเรื่องการสูญเสีย แต่เมื่อเสียมันไป ท�ำไมเราต้อง เสียใจกับมันด้วยล่ะ ก็ควรจะเข้าใจเรื่องการสูญเสีย และเราต้องคิด ว่าเราหาใหม่ได้  แก้ไขได้  แล้วเราก็จะมีความสุขเอง เพราะฉะนั้นใคร จะมาท�ำร้ายอะไรเราไม่ได้  เพราะคนที่ท�ำร้ายเราได้ก็คือตัวเราเอง แล้วสังเกตอย่างหนึ่งนะว่า เมื่อเราทุกข์ หัวใจเราก็จะยิ่งทุกข์  แต่เมื่อ เรามีความสุขมันก็จะมีแต่ความสุขวิง่ เข้ามาหาเราอยูต่ ลอดเวลาด้วย   ฉะนั้นทุกวันนี้ผมถึงเป็นคนที่มีความสุขตลอดเวลา ขนาดผมท�ำงาน

99


ตลอดเจ็ดวันนะ แต่เพราะโชคดีตรงที่ผมเลือกท�ำงานในด้านที่รู้สึกว่า มีความสุข แล้วไม่เคยรู้สึกว่างานที่เราท�ำอยู่เป็นภาระเลย เพราะเรา รู้สึกสนุกกับมัน ขนาดนั่งพักผ่อนอยู่เฉยๆ  ผมก็ยังอ่านหนังสืออาหาร   ดูทีวีรายการอาหารไปด้วย”               ........................................ ตลอดเวลาที่พูดคุย ในครัวของเขายังคงอบอวลไปด้วยกลิ่น หอมๆ  ของอาหารที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และประสบการณ์ ที่เขาสั่งสม แต่เครื่องปรุงที่เป็นหัวใจหลัก และถูกผสมผสานอยู่ใน อาหารภายใต้รสมือของพล ตันฑเสถียรคนนี้ หลายคนเรียกเป็นเสียง เดียวกันว่ามันคือ ‘ความสุข’ เครื่องปรุงที่ไม่มีที่มาซับซ้อน   แต่เมื่อใส่ ไว้ในอาหารคราใด...ก็อร่อยเมื่อนั้น

100


บางคนอาจให้คุณค่า ความทุกข์-สุขทางด้านวัตถุ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชีวิต แต่ผมเชื่อว่าความสุข มันเกิดขึ้นได้ทุกขณะ

101


ปานใจ เภตรา ‘สุข’ ที่เกิดจากการได้แบ่งปัน

“การเปิดร้านก็ท�ำให้ได้ค้น พบตัวเองว่าเราชอบอะไร อย่างแรก มั น เป็ น ความสุ ข ที่ เ ราได้ ท� ำ ในสิ่ ง ที่ ชอบก่อน คือร้านเล็กๆ ที่ท�ำทุกวันนี้ ก็เป็นสิ่งที่ชอบ คือมันก็ไม่ได้ท�ำก�ำไร อะไรเยอะหรอก  ท� ำ ขนมอบเล็ ก ๆ น้อยๆ แต่ได้ดูแลบริการลูกค้าด้วย อีกทั้งประโยชน์ที่ได้จากการท�ำห้อง สมุด มันมีส่วนช่วยท�ำให้คนเกิดแรง บั น ดาลใจ  ท� ำ ให้ ลู ก ค้ า อยากอ่ า น หนังสือเพิ่มมากขึ้น  เป็นสถานที่ปลูก ฝังการอ่านไปในตัวด้วย”

102


ปานใจ เภตรา เจ้าของร้านคนสวย  ผู้ก่อตั้งคาเฟ่น่ารักชื่อ ไล-บรา-รี่   แห่งนี้  กล่าวทักทายอย่างเป็นกันเองกับลูกค้าผู้มาเยือน…คนแล้วคนเล่า

เสน่ห์ของที่นี่ ที่มีมากกว่ากาแฟหอมๆ  อาหารอร่อยๆ ที่หลากหลาย ก็ คือหนังสือและนิตยสารจ�ำนวนไม่น้อยที่วางเรียงรายอยู่บนชั้นหนังสือ ราวกับ ที่นี่เป็นห้องสมุด-อาณาจักรแห่งการอ่านของผู้ที่ตกหลุมรักในถ้อยค�ำก็ว่าได้ “จุ ด เริ่ ม ต้ น ของร้ า นนี้   เกิ ด จากที่ เ มื่ อ ก่ อ นเราเป็ น พนั ก งานบริ ษั ท ธรรมดานี่แหละ แต่ว่ามีความฝันอยากท�ำร้านหนังสือน่ารักๆ เล็กๆ ก็ตระเวน หาที่ หาท�ำเล โดยมีคอนเส็ปต์ว่า อยากให้เป็นห้องสมุดของบ้านเรา ที่เพื่อนๆ สามารถมานั่งอ่านหนังสือ หรือมานั่งคุยกันได้               ....................................

103


“ร้านนี้เปิดช่วงปี  พ.ศ.2550  ทีนี้พอเราท�ำร้านไปได้สักพัก ก็เริ่มมีส่วนต่อขยาย  คือมีขนมเข้ามาขาย  มีเครื่องดื่ม  มีกาแฟเพิ่ม เข้ามา  เหมือนเราเปิดบ้านให้เพื่อนๆ  ได้เข้ามาใช้ชีวิต  ได้เข้ามาอ่าน หนังสือที่เราชอบ  แล้วชื่อร้าน  เราก็ใช้ ‘ไล-บรา-รี่’ ทับศัพท์เป็นภาษา ไทยด้วย เพราะเรารู้สึกว่าภาษาไทยเองมันก็มีเสน่ห์ในตัวไม่แพ้ภาษา อื่นเลย” ร้าน ‘ไล-บรา-รี่’ ก่อตั้งเป็นสาขาแรกที่ถนนพระราม  9  โดย มีออฟฟิศของแฟนคุณปานใจอยู่ข้างบนด้วย จากนั้นประมาณ  3-4 ปี ก็เปิดสาขาที่ 2 ย่านสุขุมวิท 24 ขึ้น ..................................... ตลอดเวลาหลายปี นั้ น   ปานใจได้ เ รี ย นรู ้ อ ะไรมากมาย    โดยสิ่งส�ำคัญคือเธอท�ำแล้วมี  ‘ความสุข’ ........................... “การเปิดร้านก็ท�ำให้ได้ค้นพบตัวเองว่าเราชอบอะไร  อย่าง แรกมั น เป็ น ความสุ ข ที่ เ ราได้ ท� ำ ในสิ่ ง ที่ ช อบก่ อ น ร้ า นเล็ ก ๆ  ที่ ท� ำ ทุ ก วั น นี้ ก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ช อบ ก็ ไ ม่ ไ ด้ ท� ำ ก� ำ ไรอะไรเยอะหรอก  ท� ำ ขนม อบเล็ ก ๆ  น้ อ ยๆ  แต่ ไ ด้ ดูแ ล  บริ ก ารลู ก ค้ า ด้ ว ย  อีก ทั้ง ประโยชน์ที่ ได้ จ ากการท� ำ ห้ อ งสมุ ด   มั น มี ส ่ ว นช่ ว ยท� ำ ให้ ค นเกิ ด แรงบั น ดาล ใจ  ท� ำ ให้ ลู ก ค้ า อยากอ่ า นหนั ง สื อ เพิ่ ม มากขึ้ น    เป็ น สถานที่ ปลูกฝังการอ่านไปในตัวด้วย ...................................

104


“เรียกว่าเป็นความตั้งใจตั้งแต่ตอนแรกที่ท�ำ  เราไม่ได้ตั้ง เป้า  หรือคาดหวังอะไรไว้ว่าจะต้องเดินไปในทิศทางไหน  อะไรบ้าง แต่เราคิดแค่ว่าท�ำให้ดีก็พอ  ท�ำให้คนพูดถึงเราในแง่ที่ดี  ให้คนชอบ เวลามาที่ร้านแล้วเขาแฮปปี้มีความสุข  ก็โอเคนะ  อย่างบางคนเขาก็ อาจจะเร่งๆ  ให้มีขยายสาขา  แต่ของเราทั้ง 2 สาขาที่ท�ำ ก็เพราะว่า อยากแบ่งปันเรื่องราวดีๆ แบ่งปันหนังสือที่เรามีให้คนอื่นๆ  ได้อ่าน  ก็ แค่นั้นเพราะเราไม่ได้วางกรอบตัวเองเป็นนักธุรกิจ  แต่เราอยากท�ำ ตามความฝันของเรา” .............................................................. ในแง่การเรียนรู้ ปานใจมีความเข้าใจเรื่องของการ service มากยิ่งขึ้น เข้าใจเรื่องใจเขาใจเรา เพราะเมื่อก่อนที่เธอเป็นลูกค้า ก็ สนใจในแง่มุมมองลูกค้า  แต่ตอนนี้เมื่อเธอเป็นแม่ค้าเสียเองก็เข้าใจ การบริการมากขึ้น “สิ่งไหนที่เราเคยชอบไม่ชอบ ก็ต้องรู้จักเอามาปรับใช้ อย่าง วันนี้ถ้าสมมุติได้กลับไปเป็นลูกค้าร้านไหนอีก  เราก็จะท�ำตัวให้เป็น ลูกค้าที่ดีขึ้น อย่างเมื่อก่อนเวลาเราไม่ชอบอะไร ก็จะโวยวาย แต่พอ เราได้ท�ำตรงนี้ปุ๊บ มันก็ท�ำให้เราได้เข้าใจชีวิตมากขึ้นด้วย เพราะถ้ามี ใครมาโวยวายใส่เรา เราก็อยากให้เขาพูดดีๆ กับเรา ซึ่งที่จริงก็ได้อะไร จากตรงนี้เยอะ เพียงแต่ว่าบริบทเรื่องนี้จะชัดเจนที่สุด”

105


ความสุ ข ของการท� ำ ร้ า นนี้ คื อ อะไร      ..................

“ถ้าเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ก็คือเรื่องการแบ่งปัน ด้วยความที่ บ้านมีหนังสือเยอะ เต็มตู้เลย ได้มาก็เก็บ วางเรียงกัน เป็นพ็อกเก็ต บุ๊กบ้าง นิตยสารบ้าง ส่วนมากจะเป็นของแฟนเรา ซึ่งเขาหวงมาก(เน้น เสียง) ใครไปท�ำหนังสือเขายับ งอ บิด นี่ ไม่ได้เลย แล้วแฟนจะเป็นคน อ่านเร็ว และเก็บเรียงเป็นระเบียบ แล้วก็จะมีพวกหนังสือออกแบบ เพราะแฟนเป็นสถาปนิก และกราฟฟิกดีไซเนอร์ด้วย ก็มีหนังสือหลาก หลาย และมีเกี่ยวกับเรื่องการถ่ายรูปซึ่งเป็นงานอดิเรกของเขา แล้ว หนังสือเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีราคาแพง แล้วก็หายากด้วย”          ...........

106


จุดเปลี่ยนหนึ่งซึ่งท�ำให้เธอมีความสุขจากสิ่งที่เธอเลือกท�ำ

“พอมาท�ำร้านนี้ ก็มีเพื่อนคนหนึ่งเคยพูดท�ำนองว่า “หนังสือ ที่มีน่ะ จะเก็บวางโชว์ไว้ในตู้เฉยๆ ท�ำไม สู้เอามาให้คนอื่นอ่านสัก 10 คน โอเคว่าสภาพมันอาจมีเยินมียับไปบ้าง แต่ว่ามันก็ได้ประโยชน์ ดีกว่ามั้ย” ซึ่งท�ำให้เราคิดว่า หนังสือที่มีๆ อยู่นี่ เราเอามาแบ่งปันให้ คนอื่นบ้างดีกว่า เพราะคนทุกวันนี้อ่านหนังสือน้อยลงๆ ซึ่งตรงนี้เป็น เหมือนรากฐานทางการศึกษานะ  เพราะเราเชื่อว่าการอ่านจะมีส่วน ช่วยพัฒนาศักยภาพคน  พัฒนาความคิด  เราเห็นอะไรดีๆ ก็อยากให้ คนอื่นๆ ได้สิ่งเหล่านี้บ้าง ก็จากค�ำพูดตรงนี้แหละที่มีส่วนท�ำให้เกิด ธุรกิจนี้  ตอนนี้ที่บ้านเลยไม่ค่อยมีหนังสือเก็บไว้เยอะแยะแบบเมื่อ ก่อนแล้ว โอเคว่าหนังสือบางส่วนที่น�ำมาไว้ที่ร้านอาจจะมีเยินบ้าง ก็ ไม่เป็นไร”

107


อย่างที่บอกว่าเป็นคนที่รักหนังสือมาก  คุณขจัดความรู้สึก หวงแหนที่เคยมีได้อย่างไร “ก็ นั่ ง คุ ย กั บ แฟน  ว่ า เราน่ า จะน� ำ หนั ง สื อ ที่ มี ม าแชร์ ใ ห้ คนอื่นๆ บ้างดีมั้ย  แล้วแฟนเราก็เห็นด้วย  ก็ท�ำซะเลย  ร้านแห่งนี้ จึ ง เป็ น   ‘ไล-บรา-รี่ ’   ที่ มี ห นั ง สื อ ที่ เ ราชอบเท่ า นั้ น   จนพอตอนหลั ง ก็ มี พ รรคพวกหรื อ ลู ก ค้ า ที่ ส นิ ท ๆ  เอาหนั ง สื อ แนวๆ  ที่ เ ราชอบมา บริจาคให้บ้าง  เพราะเขาเองก็อยากแบ่งปันสิ่งดีๆ  ให้คนอื่นๆ  ได้ อ่านด้วย  ซึ่งเรารู้สึกดีนะคะ  พอมีคนบอกว่าอยากบริจาคให้ร้าน ปุ ๊ บ   เราก็ ขั บ รถไปเอาหนั ง สื อ เลย  แล้ ว คนที่ ใ ห้ เ ขาก็ แ ฮปปี ้ ต รงที่ หนั ง สื อ ของเขามั น ได้ ท� ำ ประโยชน์ ใ ห้ ค นอื่ น ต่ อ ไปอี ก ” ............ ตลอดการสนทนาของเราที่คาเฟ่น่ารักชื่อ ‘ไล-บรา-รี่’ แห่งนี้ นอกจากจะเป็นสวรรค์ของนักชิมแล้ว การแบ่งปันทางตัวหนังสือ ก็น�ำ มาซึ่ง ‘ความสุข’ ให้กับผู้มาเยือน คนแล้วคนเล่าอย่างไม่รู้ตัวเหมือน กัน

108


หนังสือที่มีๆ อยู่  เราเอามาแบ่งปัน ให้คนอื่นบ้างดีกว่า เพราะคนทุก วันนี้อ่านหนังสือน้อยลงๆ ซึ่งตรง นี้เป็นเหมือนรากฐานทางการศึกษา เพราะเราเชื่อว่าการอ่านจะมีส่วนช่วย พัฒนาศักยภาพคน พัฒนาความคิด เพราะเราเห็นอะไรดีๆ ก็อยากให้คน อื่นๆ ได้สิ่งเหล่านี้ด้วยบ้าง

109


จงกลณี สถิรอศั วนนั ท ์ “ออกเดินทางเพื่อ ให้รู้ว่าชีวิตยังสวยงาม” “มีค�ำพูดของผู้ใหญ่ท่าน หนึ่งที่นับถือ เขาบอกเราว่า “ชีวิต คนเราเนี่ ย มั น มี ทั้ ง สุ ข และทุ ก ข์ ผสมกันไป บางครั้งเราเลือกไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่คุณต้องเจอ ฉะนั้น คุ ณ ต้ อ งหาสวรรค์ ใ นนรกให้ เจอ” เมื่อชีวิตเราเจอแต่เรื่องทุกข์ ร้อน ก็ต้องรู้จักพลิกวิกฤตให้เป็น โอกาส ชีวิตมันยังมีความหวัง มี ความสุข มีแสงสว่างเหมือนกับ ท้องฟ้าที่มืดมิด เหมือนฝนก�ำลัง จะตก  เต็ ม ไปด้ ว ยเมฆฝนเยอะ แยะไปหมด แต่ถ้าสังเกตดีๆ ใน เมฆฝนนี้ จ ะมี ล� ำ แสงทะลุ ล งมา เหมือนกัน ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ จะมีบางอย่างที่ท�ำให้เราผ่านพ้น ไปได้”

110


จะมีเหตุผลอันใดเล่า  ที่ท�ำให้ผู้หญิงลุกออกจากเตียงนอน อันแสนอบอุ่น แล้วตัดสินใจออกเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วทุก มุมโลก ติ๊ก-จงกลณี สถิรอัศวนันท์ ผู้ผลิตและด�ำเนินรายการ ‘ผจญ ภัยไร้พรมแดน’  สารคดีท่องเที่ยวคุณภาพอีกรายการหนึ่งของเมือง ไทย การที่เธอได้เดินทางไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อน�ำเสนอชีวิตผู้คน สถานที่ ประเพณี วัฒนธรรม คงจะมีเหตุผลเพียงพอที่จะช่วยอธิบาย เรื่องราวข้างต้น รายการ ‘ผจญภัยไร้พรมแดน’ เป็นรายการที่น�ำเสนอการท่อง เที่ยวแนวผจญภัย เรื่องของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของ ชาวเมือง  และชนท้องถิ่นในแต่ละประเทศ ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยว ใหม่ๆ และอื่นๆ อีกมาก ในช่วงเริ่มต้นมีพิธีกรน�ำเสนอโดย ‘คุณวีระ นุตยกุล’ จนได้รับความนิยมจากผู้ชมทางบ้านเป็นจ�ำนวนมาก หลัง จากที่คุณวีระได้เสียชีวิตลงเมื่อเดือนมกราคม  พ.ศ.  2546  คุณติ๊กจงกลณี สถิรอัศวนันท์ ในฐานะคนเบื้องหลัง ‘ผจญภัยไร้พรมแดน’ มาตั้งแต่ต้นได้ขึ้นมาเป็นพิธีกรแทนคุณวีระ   ซึ่งยังคงได้รับความนิยม จากผู้ชมทางบ้าน   และประสบความส�ำเร็จมาอย่างต่อเนื่องจนถึง ปัจจุบัน        ................................................................................. ความเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นจะท�ำให้ผู้หญิงขี้อายคนหนึ่ง ที่เคยเป็นเบื้องหลังมาตลอด  ต้องก้าวเท้ามาเป็นคนท�ำงานอยู่เบื้อง หน้า แน่นอนว่ามีความกดดันหลายๆ อย่างเกิดขึ้นในชีวิตของเธอ

111


“มันคงเป็นเรื่องของความรับผิดชอบค่ะ  คือมันยากล�ำบาก มาก ด้วยความที่เราเป็นลูกคนโต  สิ่งที่พ่อแม่ปลูกฝังแต่เด็กคือเรื่อง ความรับผิดชอบ ถ้าพ่อเป็นอะไรไป เราก็ต้องสามารถดูแลน้อง ดูแล แม่ได้ อะไรที่มันมีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ก็แน่นอนว่าเราอาจจะ อ่อนแอ ท�ำอะไรไม่ถูก แต่ความรับผิดชอบก็ต้องมาก่อน “ส่วนเรื่องความอ่อนแอ คืออ่อนแอทางความคิด เพราะเรา คิดเองไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะคิดนอกกรอบยังไง เราจะกล้าเปลี่ยนแปลง กับสิ่งที่เป็นอยู่มั้ย เรื่องต่อมาคือความรับผิดชอบ เราจะท�ำยังไงกับสิ่ง ที่มีอยู่ แล้วถ้าปรับเปลี่ยนไปแล้ว รายการจะด�ำเนินต่อไปได้ไหม จะ บริหารจัดการยังไงกับพนักงาน และอุปกรณ์ที่มีตรงนี้ รวมทั้งจิปาถะ เยอแยะ สุดท้ายงานเหมือนเป็นกรอบบังคับให้เราต้องท�ำตรงนี้ต่อ” แต่ถ้าใครมาเอ่ยถามว่าเธออยู่เบื้องหน้าแล้วทุกข์ทรมาน ไหม  เธอก็ตอบได้เต็มปากเต็มค�ำว่าไม่  แต่ก็มีหลายเรื่องที่เป็นกังวล ซึ่งเธอตัดสินใจจะแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยตัวเอง นับหนึ่งในการเรียน รู้ที่จะพึ่งพาตัวเองอย่างแท้จริง พร้อมมองว่าทุกปัญหาที่วิ่งเข้ามาหา มันมาเดี๋ยวมันก็ไป ปัญหาไหนแก้ได้ก็แก้ แก้ไม่ได้ก็ช่างมัน ท�ำใจให้ สงบ จนทุกวันนี้เธอก็ปรับชีวิตให้อยู่แบบนี้ได้ “ปรับมาประมาณห้าปีแล้ว ตอนนี้ก็เริ่มชิน เริ่มปล่อยวาง เริ่ม ท�ำชีวิตให้มีความสุขตรงจุดนี้ได้  คือชะตาฟ้าอาจลิขิตมาให้เราเป็น แบบนี้ แล้วเราก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันอย่างมีความสุข”

112


ความสุขไม่ได้เดินทางมาง่ายนักส�ำหรับผู้หญิงคนนี้  เธอ อาศัยการเดินทางและการจัดสรรเวลาในชีวิต  เธอคิดว่าจะท�ำยังไง ก็ได้ไม่ให้เหลือเวลาเยอะ เพราะเวลาจะช่วยบ�ำบัดตัวเธอเอง “เราก็ท�ำงาน เหนื่อย นอนพัก จบ แล้วยิ่งได้เดินทางมากขึ้น เราก็ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง เข้าใจชีวิต เข้าใจสัจธรรมมากขึ้น โลก นี้มีเรื่องให้เรียนรู้อีกเยอะ แล้วท�ำไมเราต้องมานั่งเกลียดชีวิตอยู่ คือ ทุกอย่างที่เกิดกับเรามันมีแต่เรื่องดีๆ ทั้งนั้น แล้วโอกาสที่คนอื่นจะได้ ท�ำแบบเรามันก็น้อยมากด้วย ฉะนั้นเราเองควรรู้จักเปิดใจรับเพื่อให้ ชีวิตมีความสุขจะดีกว่า”

113


ทุกวันนี้ความสุขของการใช้ชีวิตคืออะไร

“มารู้ตัวทีหลังว่าเราเป็นคนที่ชอบเห็นอะไรที่แปลกใหม่ ไม่ ซ�้ำซากจ�ำเจ  ท�ำอะไรก็ได้ที่ได้ออกไปจากออฟฟิศ  เราจะรู้สึกว่ามัน เป็นความสุขที่สุดเลย ไม่ชอบอยู่กับที่  เรารู้สึกอึดอัด ให้อยู่แบบนั้น อยู่ไม่ได้ตายแน่ๆ ฉะนั้นจะต้องออกไปข้างนอกเพื่อจะได้เห็นคน เห็น วิว เห็นชีวิต อะไรก็ได้ที่ท�ำให้เราได้เห็นการเคลื่อนไหว ให้รู้สึกว่าชีวิต ยังมีเรื่องสวยงามเยอะแยะ “มีค�ำพูดของผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่นับถือ เขาบอกเราว่า “ชีวิต คนเรานี่มันมีทั้งสุขและทุกข์ผสมกันไป บางครั้งเราเลือกไม่ได้ มันเป็น สิ่งที่คุณต้องเจอ ฉะนั้นคุณต้องหาสวรรค์ในนรกให้เจอ” เมื่อชีวิตเรา เจอแต่เรื่องทุกข์ร้อน ก็ต้องรู้จักพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ชีวิตมันยังมี ความหวัง มีความสุข มีแสงสว่าง  เหมือนกับท้องฟ้าที่มืดมิด เหมือน ฝนก�ำลังจะตก เต็มไปด้วยเมฆฝนเยอะแยะไปหมด แต่ถ้าสังเกตดีๆ ในเมฆฝนนี้จะมีล�ำแสงทะลุลงมาเหมือนกัน ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็จะ มีบางอย่างที่ท�ำให้เราผ่านพ้นไปได้” ย้ อ นกลั บ ไปอี ก สาเหตุ ห นึ่ ง   อาจด้ ว ยพื้ น ฐานที่ ถู ก เลี้ ย ง แบบ ‘คุณหนู’ มาตลอด  แต่ช่วงวัยรุ่นเธอได้ไปเที่ยว  ก็ท�ำให้ได้เปิด ประสบการณ์มุมมองใหม่ๆ “แล้วจนกระทั่งทุกวันนี้มันกลายเป็นอาชีพ ซึ่งเราเองก็ไม่ชิน หรอก แต่รู้สึกว่าการไปเมืองนอกมันสนุก เพราะยังไม่ได้คิดเอง ตัดสิน ใจเอง  แต่พอวันนึงเราต้องคิดเองแล้ว ยากก็จริง แต่สิ่งที่ท�ำมันช่วยให้ เราเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แบบไม่รู้ตัว เพราะมันค่อยๆ ตกผลึกความ คิด สั่งสมมาเรื่อยๆ ตามไมล์การเดินทางนับสิบปี ท�ำให้เรารู้ว่าตัวเอง มีศักยภาพยังไงบ้าง พอถึงหน้างานปุ๊บ...เราจึงท�ำได้เลย”

114


คงปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้หญิงทุกคน  อยากนอนในเตียงอุ่นๆ   ที่ บ้านมากกว่าการเดินทางผจญภัยระหกระเหินไปในโลกกว้าง แต่ด้วย หลักไมล์เดินทางหลายพันไมล์ที่เดินมา จงกลณีเลือกค�ำตอบของเธอ เป็นเรื่องของการเดินทางอยู่ดี

“เราวางแผนอยากไปเที่ ย วรอบโลก  อยากเกษีย ณตัว เอง (ยิ้ม) แต่มันเลิกไม่ได้ เพราะยังมีความรับผิดชอบอยู่ ถ้าท�ำได้ก็จะท�ำ ต่อไปเรื่อยๆ อย่างน้อยๆ เราก็ยังเป็นต้นแบบให้ใครอีกหลายคนที่เขา มีใจรักและฝันอยากท�ำงานอย่างที่เราท�ำขณะนี้” เธอยืนยันว่ายังไงก็จะมุ่งมั่นท�ำงานสารคดีที่เธอรับผิดชอบ ต่อไป และด้วยความเชื่อว่าทีมงานทุกคนก็ท�ำด้วยความรัก ที่จะผลิต สารคดีคุณภาพออกมาสร้างความสุขให้กับผู้ชมที่น่ารักของเธอ

115


116


ชีวิตคนเราเนี่ย มันมีทั้งสุขและทุกข์ผสมกันไป บางครั้งเราเลือกไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่คุณต้องเจอ ฉะนั้นคุณต้องหาสวรรค์ในนรกให้เจอ

117


สิริพันธุ์ สุนทรวิจิตร ‘ความสุ ข ’ คื อ มุ ม มองชี วิ ต ที่ แสนเรียบง่าย

ห ญิ ง ส า ว ที่ ม อ ง โ ล ก ในแง่งาม  ผ่านตัวหนังสือที่เธอ เขียน ผ่านเรื่องที่เธอเล่า ผ่าน การใช้ ชี วิ ต ที่ เ ธอเลื อ ก  หากได้ มีบทสนทนากับเธอไม่ว่าจะสั้น หรื อ ยาว  ก็ จ ะค้ น พบมุ ม สวยๆ ในโลกใบที่ เ ธอเหยี ย บยื น อยู ่ สิริพันธุ์  สุนทรวิจิตร  คือผู้หญิงผู้นั้น  หลายคนรู้จักเธอผ่านตัว หนังสือทั้ง 3 เล่ม ‘บันทึกถึงเธอเบียทริซ’ ‘กล้องส่องทางใจ’  และ  ‘เขา ปลูกบทกวีบนกลีบดอกไม้’  หนังสือทั้ง  3  เล่มล้วนให้มุมมองบวก แก่คนอ่านแทบทั้งสิ้น  ปัจจุบันเธอท�ำงานอยู่ในบริษัทเอกชนแห่ง หนึ่ง  แต่ก็ยังหาเวลาเขียนหนังสือ  เขียนคอลัมน์ลงตามหนังสือพิมพ์ และบล็ อ กของเธออยู ่ อ ย่ า งสม�่ ำ เสมอ     ..............................

118


สิริพันธุ์รู้ตัวเองว่าตกหลุมรักในถ้อยค�ำตั้งแต่เธอเขียน  กอ เอ๋ยกอไก่ได้  แล้วก็มุ่งตรงเรียนทางสายอักษรศาสตร์มาโดยตลอด   ... “ตอนเด็ ก ๆ  จ� ำ ได้ ว ่ า ชอบวิ ช าภาษาไทยนะ  ชอบมาก ด้วย  อย่างเวลามีการบ้าน  ก็จะเก็บการบ้านวิชาภาษาไทยเอาไว้ ท�ำทีหลัง  หรือเอากลับไปที่บ้านตลอด  แต่ตรงกันข้ามการบ้านวิชา เลข  จะท�ำที่โรงเรียนให้เสร็จก่อน  เพราะว่าเราไม่ชอบ  อะไรที่ไม่ ชอบก็จะท�ำก่อนเลย  แล้วเราเองเป็นคนชอบอ่านด้วย               ........... “แต่ถามว่าตอนเด็กใฝ่ฝันจะท�ำอาชีพอะไร ฝันอยากเป็นครู นะ เพราะรู้สึกว่าการที่เรารู้อะไรแล้วได้ถ่ายทอดให้คนอื่นๆ รู้ด้วยมันดี จังเลย แต่ว่าชีวิตมันก็ไม่ได้เป็นไปตามนั้น หรือนึกย้อนกลับไปว่าฝัน อยากท�ำร้านอาหารเพราะรู้สึกว่าเวลาอยู่ในครัวแล้วเรารู้สึกอบอุ่น แต่สุดท้ายการได้ท�ำกับข้าวให้คนที่เรารัก อย่างครอบครัว เราก็รู้สึกว่า บางครั้งความฝันมันไม่จ�ำเป็นต้องเป็นไปตามนั้น แต่อย่างน้อยเรามี จุดที่ประทับอยู่ในใจก็พอ” คิ ด ว่ า ชี วิ ต ทุ ก วั น นี้ มี อิ ท ธิ พ ลมาจากอะไร  สิ ริ พั น ธุ ์ อ มยิ้ ม พร้อมตอบว่า  “พ่อและแม่มีส่วนมากๆ ค่ะ  คือพ่อเหมือนเป็นวิศวกร สร้ า งสมองวางระบบแนวคิ ด ให้   ส่ ว นแม่ จ ะเป็ น ผู ้ ส ร้ า งอารมณ์ ความรู้สึกทางจิตใจให้  ทั้งสองท่านคอยเป็นแรงบันดาลใจให้เรา ก้าวเดินบนเส้นทางอาชีพนี้  แม่จะเป็นคนจิตใจดีมาก  แล้วตัวเรา เองก็ซึมซับจุดนี้มาด้วย  แม่จะพูดเสมอว่าไม่มีอะไรเลวร้ายหรอก ลูก  สิ่งไหนที่เกิดแล้วย่อมดีเสมอนะ  ส่วนพ่อก็จะปลูกฝังให้เรามี ความชอบเขียนตั้งแต่เด็ก  อย่างเวลาไปทัศนศึกษาที่ไหน  พ่อก็จะ

119


บอกให้ เ ราเขี ย นบั น ทึ ก ประจ� ำ วั น ว่ า ไปท� ำ อะไรมาบ้ า งแล้ ว ให้ เ ขา อ่ า น  พ่ อ เราไม่ เ คยต้ อ งการของฝากอะไรเลยนะ  แต่ ข อให้ เ ขี ย น บันทึกให้เขาอ่านเท่านั้น        ..................................................... “พอเวลาผ่านไป   เราหยิบไดอารี่พวกนั้นมาอ่านนะ  ก็ข�ำ พร้อมกับที่ถามตัวเองว่าเราเขียนอะไรเนี่ย เช่นขนมอร่อยจัง (หัวเราะ) แต่สิ่งพวกนี้มันก็เป็นอะไรที่ปลูกฝังเราจนติดตัวมาทุกวันนี้ อย่างเวลา เดินทางไปไหน สิ่งที่เป็นความทรงจ�ำจากเหตุการณ์นั้นๆ มันจะติดตา ตรึงใจเราเมื่อเราได้เขียนหรือถ่ายทอดมันออกมาเป็นตัวหนังสือ” เหมือนความสุขจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเธอเสมอ เธอนิยามค�ำ ว่าความสุขในรูปแบบของเธอไว้อย่างไร        ................................... “ความสุขของคนเราบรรทัดฐานมันไม่เหมือนกันนะ อย่าง ของเราความสุขจะเป็นสิ่งที่เรียบง่ายมากๆ  คือบางคนอาจตั้งเป้าชีวิต เขาว่าความสุขของเขาจะต้องมีเงินกี่ล้าน  จะต้องเป็น  CEO องค์กร ใหญ่โตมโหฬาร  แต่เรามองว่าความสุขของมนุษย์มันไม่ใช่เรื่องวัตถุ สิ่งของหรอก  เป็นเรื่องจิตใจข้างในมากกว่า  อย่างเราวางแผนชีวิต เอาไว้ว่า  อยากดูแลพ่อให้ดี  เพราะว่าพ่ออายุมากแล้ว  แล้วก็ใช้ ชีวิตให้มีความสุขตามอัตภาพ ท�ำงานได้ มีเงินใช้ตามฐานะ  และท�ำ ทุกวันให้มีความสุข  ซึ่งมันท�ำได้ง่ายมาก  เพราะความสุขก็เหมือน ออกซิเจนในอากาศนะ  เราสูดหายใจเราก็ได้ออกซิเจนเข้าไป  ส�ำหรับ ความสุขของเราก็นิยามประมาณนี้”            ------------------------------

120


“เท่าที่ผ่านมาเราเห็นบาง คน ความสุ ข ของเขาได้ ม าด้ ว ย ความล� า บาก ต้ อ งออกเดิ น ทาง ไกลๆ หรื อ ว่ า ใช้ ค วามพยายาม ทุ ่ ม สุ ด ตั ว แต่ บ างครั้ ง ความสุ ข มั น ง่ า ยกว่ า ที่ เ ราคิ ด มากเลย ยก ตั ว อย่ า งนะคะ ที่ บ ้ า นเรา พ่ อ จะ ปลู ก ต้ น ไม้ เ อง ซึ่ ง เขาตั้ ง ใจท� า ให้ มั น เป็ น ป่ า แต่ สิ่ ง ที่ พิ เ ศษไปกว่ า นั้นคือ ต้นไม้ที่พ่อปลูกจะเป็นต้น ไม้ที่แม่ชอบทั้งหมดเลย คือแม่จะ ชอบต้นไม้ที่เป็นชื่อไทย อย่างมะลิ ต้นปีบ ดอกพุด จ�าปี ฯลฯ แล้ว เราจะเป็นคนที่สองในบ้านที่เห็นดอกไม้บานในบ้านเสมอ เพราะว่า ทุกครั้งที่ดอกไม้ในสวนเริ่มผลิบาน เราก็จะเห็นพ่อเอาดอกไม้พวก นั้นมาจัดช่อ แล้ววางไว้ข้างๆ กรอบรูปแม่ที่บ้านตลอด ลืมบอกไป คุณแม่เราเสียแล้วนะ” ........................................................ ในโลกนี้ จ ะมี สั ก กี่ ค นที่ เ ล่ า เรื่ อ งนี้ ด ้ ว ยรอยยิ้ ม สิ ริ พั น ธุ ์ เป็ น ผู ้ ห ญิ ง คนนั้ น เอง และเธอยั ง ส่ ง ต่ อ เรื่ อ งราวความสุ ข จากสิ่ ง ที่เธอประสบพบเจอไปถึงผู้คนอีกมากมาย ........................... “จากเรื่องราวของพ่อกับแม่ ก็รู้สึกว่ามันเป็นความรักที่งด งามมากๆ ลองนึกภาพตามนะ อย่างดอกปีบดอกเล็กนิดเดียว แต่ พ่อเดินไปเก็บดอกปีบเล็กๆ พวกนั้นทีละดอก ทีละดอก รอบๆ บ้าน

121


แล้วเอามารวมๆ กัน วางบนกรอบรูปแม่ โห! เรารู้สึกว่าความรักที่ พ่อมีให้กับแม่มันเหมือนบทกวีจังเลย  ท�ำให้คิดว่าเวลาที่เรารักใคร สักคน  บางทีเราไม่ต้องบอกรักกันพร�่ำเพรื่อก็ได้  แต่สิ่งที่เราให้มันจะ สะท้อนและแสดงออกถึงความรู้สึกทางใจออกมาแล้ว และพ่อก็ท�ำ แบบนี้มาตลอดสิบปีที่ผ่านมา  ท�ำให้เราเข้าใจเลยนะว่าสิ่งที่พ่อท�ำ แบบนี้มันคือความรักที่แท้จริง  จริงแท้เลย”    .............................. แต่ ค วามทุ ก ข์ ก็ เ ป็ น สิ่ ง สามั ญ มากส� ำ หรั บ มนุ ษ ย์ ทุ ก คน ส�ำหรับผู้หญิงคนนี้เธอผ่านห้วงเหวของความทุกข์ต่างๆ มาได้อย่างไร “ช่วงจุดเปลี่ยนในชีวิตส�ำคัญของเราคือตอนที่แม่เสีย  ตอน นั้นคิดแค่ว่าแม่จะต้องอยู่กับเราตลอด  คือเราไม่เคยสัมผัสกับความ สูญเสีย แต่พอเกิดเหตุการณ์นั้นปุ๊บ มันเหมือนกับโดนระเบิดเลยนะ ช่วงชีวิตตอนนั้นส�ำหรับเรา แม่คือทุกอย่างในชีวิต แต่ว่าเรากลับรู้สึก ไม่มีใครเลย เหมือนเราก�ำลังตกลงไปในบ่อน�้ำลึกมากๆ  แล้วไม่รู้ว่า เราจะไปโผล่พ้นน�้ำ โผล่พ้นห้วงแห่งความทุกข์เหล่านี้ได้จากตรงไหน แต่พอเวลาผ่านไปสักพัก ได้เข้าใจชีวิต เข้าใจธรรมชาติของการมีชีวิต มากขึ้น  ก็จะเหมือนว่าเราก�ำลังโผล่พ้นน�้ำ มองเห็นชายฝั่ง มองเห็น อะไรที่เป็นความหวัง…เหมือนกับว่าถ้าชีวิตเราไม่เคยสัมผัสความมืด แล้วเราจะรู้มั้ยว่าแสงสว่างมันเป็นอย่างไร” เท่าที่บทสนทนาจะท�ำหน้าที่จนจบสิ้น สิริพันธุ์ยังคงมุ่งมั่นที่ จะส่งต่อวรรคตอนแห่งความสุขในรูปแบบของเธอ  ผ่านบทสนทนา ชั้นเยี่ยม ผ่านเรื่องราวต่างๆ ที่เธอพานพบ และผ่านตัวหนังสือที่ใช้ มองโลกด้วยมุมบวกของเธออยู่ทุกวัน

122


ความสุขของมนุษย์มัน ไม่ใช่เรื่องวัตถุสิ่งของหรอก เป็นเรื่องจิตใจข้างใน

123


อธิกร ศรียาสวิน รู้จักแบ่งปัน ‘ความสุข’ ในปริมาณที่พอดี จะมี สั ก กี่ ค นที่ ไ ด้ ท� ำ ใน สิ่ ง ที่ รั ก มากมายเช่ น ผู ้ ช ายคนนี้ เป็นต้นว่าเขาเป็นหนึ่งในสมาชิก ของวงดนตรีชื่อ Basket Band ท�ำหน้าที่เขียนเพลง และเป็นนัก ร้องท่อนแร๊พ เป็นมือเพอร์คัสชั่น เป็นนักเขียน เป็นพิธีกร เป็นนัก โฆษณา เป็นนักเดินทาง และเป็น อื่นๆ อีกมากมาย แต่ ใ นบรรดาหลายสิ่ ง อย่างที่เขาเลือกท�ำนั้น ‘การเดิน ทาง’ ก็ เ ป็ น หนึ่ ง ในหนทางแห่ ง ความสุขที่เขาค้นพบ และหลงใน มนต์เสน่ห์ของมันอย่างถอนตัว ไม่ขึ้น

124


‘อรินธรณ์’ เป็นนามปากกาของชายหนุ่มชื่อ ‘อธิกร ศรียาสวิน’ ผู้ชาย คนนี้เขาเข้าวงการนักเขียนด้วยการเป็นสมาชิกหนึ่งในส�ำนักศิษย์สะดือที่  ศุ บุญเลี้ยง เป็นเจ้าส�ำนัก จนวันหนึ่งนักเขียนตัวเล็กอย่างเขาก็ได้อวดฝีมือใน สิ่งที่เขาหลงใหลในหน้า 14 ของ หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันอาทิตย์ ที่ซึ่งอุดม ไปด้วยงานเขียนของนักเขียนชาวไปยาลใหญ่ อันได้แก่ประภาส ชลศรานนท์ ศุ บุญเลี้ยง เพลงดาบแม่น�้ำร้อยสาย ‘ปราย พันแสง บินหลา สันกาลาคีรี และบัวไร            ...................................................................................... วั น เวลายั ง คงด� ำ เนิ น ต่ อ ไป  อธิ ก รในวั น นี้ ไ ด้ ท� ำ งานมาแล้ ว หลาก หลายตามที่กล่าวข้างต้น  ปัจจุบันเขาเป็นหนุ่มรูปร่างสูงใหญ่ท่ีมีนิสัยน่ารัก เฮฮา และมักจะมาพร้อมเสียงหัวเราะแสนสดใสอยู่เสมอ “หลักการใช้ชีวิตในทุกวันนี้อย่างง่ายๆ  ของผมคือ  ผมจะถามตัวเอง ง่ายๆ ก่อนครับว่าสิ่งที่ท�ำอยู่เราสนุกกับมันมั้ย อย่างถ้าผมเขียนหนังสือ ผม ก็จะลองอ่านเรื่องที่เขียน  แล้วก็ถามตัวผมเองว่าเนื้อหาที่เราเขียนนั้นอ่าน แล้วสนุกมั้ย เพราะผมเชื่อว่าสิ่งที่เราท�ำมันส่งต่อไปยังคนอื่นได้ มันสามารถ ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ไปสู่คนฟัง คนอ่านได้ แต่ว่าไม่เฉพาะงาน หนังสืออย่างเดียวครับ งานดนตรีด้วย เขียนเนื้อเพลงด้วย   เพราะผมเชื่อใน พลานุภาพของสิ่งที่เราเป็น “รวมทั้งในเชิงความคิดสร้างสรรค์  ผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นอาวุธ ส�ำคัญที่สุด  โดยเฉพาะสิ่งที่เราเชื่อมันสามารถถ่ายทอดผ่านกระบวนการ ต่างๆ  เพราะถ้าเราท�ำสิ่งนั้นด้วยความแฮปปี้ มันก็คล้ายๆ  ว่าความสุขมัน ออสโมซิส (กระบวนการถ่ายเทของเหลวทางวิทยาศาสตร์)  ค่อยๆ  ซึมลึก ผ่านลงไปในผลงานของเรา พอเสร็จปุ๊บ แล้วเราส่งต่อให้กับแฟนเพลง แฟน หนังสือ ทีนี้ผลงานพวกนั้นก็จะมีส่วนในการกระจายพลานุภาพแห่งความสุข   ที่ผมมีในงานไปสู่คนอ่าน คนฟังด้วย”

125


อะไร

คุ ณ คิ ด ว่ า ความสุ ข ในการใช้ ชี วิ ต ของคุ ณ มั น เกิ ด ขึ้ น จาก

“ส่ ว นมากจะมาจากการเดิ น ทางครั บ   เพราะปกติ ผ มเดิ น ทางบ่อย ท่องเที่ยวไปโน่นนี่นั่น เพื่อเขียนหนังสือหาเรื่องมาเล่าให้ คนอ่านได้รู้ แล้ววันหนึ่งผมได้รู้จักเพื่อนชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ทิเบต คือ ตอนนั้นผมไปทิเบตแล้วป่วยหนักเลย เพราะว่าความกดอากาศมันต�่ำ ร่างกายเรายังไม่ชินกับอากาศ  ปรับสภาพไม่ทัน  พอลงจากเครื่องบิน ปุ๊บผมป่วยเลย นอนซมจมที่นอนไม่มีแรงลุกไปท�ำอะไรเลย ซึ่งตอน นั้นท�ำให้เราเข้าใจสัจธรรมอย่างนึงเลยว่า ไอ้การป่วยไข้ในดินแดนที่ เราไม่รู้จักใคร มันน่ากลัวมากนะ โคตรว้าเหว่เลย” “แล้วผมก็นอนป่วยอยู่สี่วันนะ แต่ประมาณวันที่สองที่นอน ก็ มีคนญี่ปุ่นคนหนึ่งที่นอนพักอยู่เตียงข้างๆ ผมแวะเข้ามาถามไถ่อาการ ประมาณว่า เฮ้ย เป็นไรเปล่า ไม่สบายใช่ไหม ผมก็หันไปบอกเขา ว่า ผมป่วย ปวดหัวมากเลย คลื่นไส้ แล้วก็อยากอาเจียนด้วย ก็บอกลอยๆ ไปงั้นแหละ ไม่ได้อะไร แต่สักพักคนญี่ปุ่นคนนั้นก็เดินไปซื้อข้าวมาให้

126


และก็เอายาสมุนไพรมาให้ผม บอกให้กินข้าวกินยาซะ เสร็จแล้วเขา ก็ไปท�ำธุระอะไรของเขาต่อ คือเขาเอาของมาให้ผมปุ๊บ แล้วก็หายไป ปั๊บ ไม่ได้มานั่งเฝ้าห่วงใยอะไรผมหรอก ซึ่งทีแรกผมงงนะ เฮ้ย! มันท�ำ แบบนี้ท�ำไมวะ? แล้วเขาก็ท�ำแบบนี้อยู่ประมาณสองวัน ซื้อข้าว เอา ยามาให้ผมอย่างนี้ จนพอผมหายป่วยปุ๊บ ผมก็ถามเขาตรงๆ ว่า เฮ้ย! ยูท�ำแบบนี้มีจุดประสงค์อะไรหรือเปล่า เขาก็ตอบผมกลับว่าที่ท�ำไม่ ได้อะไรเลย แต่เพราะเห็นสภาพผมแล้วรู้สึกสงสาร ก็เลยช่วยๆ กันไป เพราะสิ่งที่ท�ำมันไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงอะไรนัก เพราะยังไงเขาเองก็ ต้องกินข้าว ก็ซื้อข้าวไปเผื่อ ส่วนยาที่ให้ก็มีอยู่แล้ว ก็เผื่อไว้ แบ่งๆ กันไป “ผมฟังแล้วรู้สึกดีนะ  เพราะที่จริงเขาก็ไม่ได้ต้องการจะท�ำ ดีอะไรกับผมมากหรอก  แต่เขาแค่พยายามท�ำสิ่งเหล่านี้ให้มันเป็น กิจวัตรประจ�ำวัน เป็นปกติวิสัยแค่นั้นเอง ผมเลยมาคิดว่า เออ…ไอ้ การท�ำสิ่งดีๆ หรือการให้คนอื่นนี่ มันไม่ต้องท�ำสิ่งที่ยิ่งใหญ่หรือต้องมุ่ง มั่นอะไรมากเลย แค่เราท�ำสิ่งสิ่งนั้นให้มันเป็นปกติธรรมดา ท�ำให้เป็น ส่วนหนึ่งของชีวิต ท�ำให้เป็นธรรมชาติไป” สิ่งเล็กๆ  แต่ทว่าดูยิ่งใหญ่นี้  อธิกรได้น�ำหลักการดังกล่าว ไปใช้กับคนอื่น  อย่างเช่นเวลาใครมีความทุกข์  เขาก็มักจะถามไถ่ สารทุกข์สุกดิบสักหน่อย  ด้วยความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องการการ ดูแลที่พอเหมาะ ต้องการความห่วงใยที่มีช่องว่าง มีระยะห่างในการ เชื่อมสัมพันธ์ที่เหมาะสม ทั้งคนในครอบครัว เพื่อนฝูงและคนที่เรารัก

127


“ผมมองว่าการดูแลเขา  หรือเอาใจใส่มากไป  เขาจะไม่โต ทางความคิด ผมเลยมองถึงความพอดีๆ ในการจัดการสิ่งต่างๆ ที่ เกิดขึ้น ทุกวันนี้ผมก็ยังติดต่อกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นคนนั้นอยู่นะ และผม เชื่อว่าเพื่อนชาวญี่ปุ่นคนนี้ก็ยังคงท�ำความดี  คอยหยิบยื่นน�้ำใจและ มิตรไมตรีให้กับคนอื่นๆ  ในระดับที่พอเหมาะเช่นเคย  รวมทั้งยังคง เชื่อมสัมพันธภาพของคนต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่สามารถรักษาสมดุล ชีวิตของเขาและคนอื่นๆ เอาไว้ได้ดีด้วย และยิ่งได้รู้จักกันมากเข้า ก็ พบว่าชีวิตเพื่อนชาวญี่ปุ่นคนนี้เรียบง่ายมาก  คือวิธีการใช้ชีวิตเขาก็ เหมือนกับวิธีการดูแลคนอื่น วิธีส่งต่อความสุขให้คนอื่นๆ คือรู้จักใช้ ชีวิตและส่งต่อความสุขในแบบฉบับที่พอดีๆ” การพบกันของคนคนหนึ่งได้เปลี่ยนชีวิต และวิธีคิดของใคร คนหนึ่งไปอย่างสิ้นเชิง “ผมเชื่อว่าการส่งต่อความสุขในระดับที่พอดี มันเป็นเรื่อง ส�ำคัญที่เราจะประคับประคองสัมพันธภาพของคนรอบข้างให้คงอยู่ ใครที่เขามีความสุขในตัวมากพอแล้ว เราก็ไม่ต้องไปเติมเต็มอะไร เยอะนัก แบ่งๆ ไปให้คนอื่นบ้าง

128


“บางคนบอกความสุขของเขาคือการท�ำบุญสะสมบุญเยอะๆ เพื่อชาติหน้าจะได้ขึ้นสวรรค์  ผมก็ชวนเพื่อนคนนี้ไปดูภูเขาด้วยกัน พาไปดูภูเขา ชมนกชมไม้ ดูธรรมชาติป่าเขาเขียวครึ้ม แสนจะสงบ สบายใจ เพื่อนคนนั้นกลับบอกเราว่าท�ำบุญรู้สึกดีกว่า ผมก็บอกตัว เองว่าไม่เป็นไร แค่เราแนะน�ำทางเลือกหนทางรูปแบบอื่นๆ ให้เขาแค่ นั้น เพราะวิธีการแสวงหาความสุขน่ะมีเยอะแยะมากมาย แต่ถ้าใคร จะยึดปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เฉพาะแนวทางเดียวก็ไม่เป็นไร” ดูวิธีการจัดการกับความสุขของคุณเป็นเรื่องง่ายแสนง่าย แล้วในขณะที่คุณประสบพบเจอเข้ากับความทุกข์ คุณมีวิธีการจัดการ สิ่งเหล่านั้นอย่างไร “ผมก็จะถามตัวเองก่อนเสมอว่า  ท�ำแล้วจะทุกข์มั้ย  ถ้าท�ำ แล้วมันทุกข์ก็จะไม่ท�ำ  แต่ถ้าหากว่าต้องท�ำ  ไม่ท�ำไม่ได้  เราก็จะหา วิธีท�ำที่ท�ำให้เกิดความทุกข์กับเราน้อยที่สุด คือเรียนรู้ที่จะสนุกกับสิ่ง นั้น อย่างลูกค้าให้งานเรามาท�ำ ซึ่งเรารู้สึกว่าเกินความสามารถ แต่ จะปฏิเสธก็ไม่ได้อีก  เพราะว่าเป็นลูกค้าเก่าที่เราก็มีสัมพันธภาพที่ดี กับเขาอยู่ด้วย ก็จะพยายามบอกตัวเองว่างานยากแบบนี้นั้นจะท�ำให้ เราได้เรียนรู้ชีวิตอีกขั้น คือพยายามหาแง่มุมเล็กๆ เพื่อจรรโลงหล่อ เลี้ยงไม่ให้จิตใจเราแย่กับความยากของเนื้องาน  คือผมจะมีวิธีคิด อย่าง ‘เวลาเกลือหล่นไปในแก้วน�้ำ ทุกคนจะมองว่าเกลือเป็นปัญหา เพราะท�ำให้น�้ำในแก้วมันเค็ม ถึงแม้เราจะแยกเกลือออกจากน�้ำไม่ได้ แต่เราสามารถเติมน�้ำในแก้วเพื่อให้เกลือมันเจือจางลงได้’ วิธีคิดนี้ก็ เหมือนการจัดการเรื่องความทุกข์–สุขในชีวิตเราเลยนะ แต่อยู่ที่เราจะ หยิบมันมาประยุกต์ใช้กับชีวิตหรือเปล่าเท่านั้น”

129


ที่มีวิธีคิดอย่างนี้ คุณคิดว่ามันล้วนเกิดขึ้นจากอะไร “ผมว่ามันรวมๆ  กันนะ  โชคดีอย่างหนึ่งที่ชีวิตผมได้เรียนรู้ การท�ำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งมันก็ท�ำให้ผมได้เจอผู้คน มากมายหลายวงการ ทั้งนักเขียน นักโฆษณา นักแต่งเพลง ซึ่งใน แต่ละแวดวงมันก็จะมีความแตกต่างกันออกไป  สังเกตดูว่าวงการที่ ผมเล่าข้างต้นล้วนเป็นงานทางด้านศิลปะหมด แต่วิธีคิด แนวทางใน การท�ำงาน  หรือแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานแต่ละแวดวง กลับมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง   ฉะนั้นสิ่งที่จะมากระทบตัวเรา รวมทั้งการรับรู้ของคนในแต่ละแวดวงมันก็จะมีความแตกต่างกัน ออกไปด้วย งานแต่ละอย่างมันเลยหลอมรวมกันมาให้ผมมีวิธีการคิด หรือการท�ำงานอย่างในทุกวันนี้นั่นเองครับ”

130


เวลาเกลือหล่นไปในแก้วน�้ำ ทุกคนจะ มองว่าเกลือเป็นปัญหาเพราะท�ำให้น�้ำใน แก้วมันเค็ม  ถึงแม้เราจะแยกเกลือออกจาก น�้ำไม่ได้  แต่เราสามารถเติมน�้ำในแก้วเพื่อ ให้เกลือมันเจือจางลงได้

131


อนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี ศิลปะ+การบ�ำบัด=ความสุข แรงบันดาลใจที่ท�ำให้ ผู้ชายคนหนึ่งเดินทางไปศึกษา ต่ อ ด้ า นศิ ล ปะบ� ำ บั ด   คื อ การ ได้สอนวาดรูปให้กับเด็กๆ  ใน โรงเรียนสอนศิลปะช่วงวันหยุด สุ ด สั ป ดาห์   บวกกั บ ภาพเด็ ก หญิ ง วั ย อนุ บ าลหน้ า ตาน่ า รั ก เธอมาเรียนวาดรูประหว่างการ พั ก ฟื ้ น หลั ง ผ่ า ตั ด สมอง  ภาพ ดังกล่าวนั้นในมือของหญิงสาว ตั ว น้ อ ยอุ ้ ม ตุ๊ก ตาหมี  และบน ศีรษะของเธอมีหมวกไหมพรม สีหวานอยู่ด้วย ภาพนี้ เ องที่ ท� ำ ให้ ผู ้ ช ายชื่ อ   อนุ พั น ธุ ์   พฤกษ์ พั น ธ์ ข จี   ผู ้ ที่ ตระหนั ก รู ้ ว ่ า ศิ ล ปะนั้ น ดี ส� ำ หรั บ เด็ ก ทุ ก คนอยู ่ แ ล้ ว    ฉุ ก คิ ด ว่ า แล้ ว ส� ำ หรั บ เด็ ก ที่ ป ่ ว ยหรื อ มี อ าการไม่ ส บายล่ ะ   เขานึ ก ตั้ ง ค� ำ ถามต่ อ ไปว่ า จะท� ำ อย่ า งไรกั บ เด็ ก กลุ ่ ม นี้   จะเล่ า นิ ท านให้ ฟ ั ง   หรื อ ร่ ว ม เล่ น กั บ เด็ ก ๆ  ซึ่ ง เด็ ก ๆ  ก็ ค งมี ค วามสุ ข อย่ า งแน่ น อน  แต่ อ นุ พั น ธุ ์ กลั บ คิ ด ต่ อ ว่ า มั น น่ า จะมี อ ะไรที่ ม ากกว่ า นั้ น   นั่ น จึ ง เป็ น จุ ด เปลี่ ย น ส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ เ ขาเดิ น ทางไปศึ ก ษาต่ อ ทางด้ า นศิ ล ปะบ� ำ บั ด ใน แนวทางมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) ที่สถาบันศิลปะบ�ำบัด   Therapeutikum  am  Kraherwald  ประเทศเยอรมนี

132


“ตอนที่ผมไปเรียนอยู่นั้น ก็ได้เรียนรู้ว่าเมืองนี้ให้ความส�ำคัญ เรื่องศิลปะกับการศึกษาค่อนข้างมากครับ  ซึ่งตอนนั้นผมเรียนด้าน Fine Art ่ แต่ข้างๆ โรงเรียนที่ผมอยู่ มีโรงเรียนเด็กพิการตั้งอยู่ด้วย ใน เวลาเช้าผมมักจะเห็นคุณครูขับรถพานักเรียนพิการขึ้นเขาทุกวัน เพื่อ ให้เด็กๆ ไปสูดอากาศบริสุทธิ์ ผมเคยเข้าไปดูในโรงเรียนนั้นก็เห็นว่า เขาน�ำศิลปะเข้ามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนด้วย  ซึ่งส่วนตัว ผมรู้สึกว่าตรงนี้เป็นสิ่งที่ดี  ช่วยให้เด็กที่เป็นคนพิเศษเกิดความสนุก เกิดความเป็นกันเอง ไม่รู้สึกน้อยเนื้อต�่ำใจมองตัวเองด้อยค่า ทีนี้ผม ก็มานั่งคิดต่อว่า  ถ้าเราจะหยิบยกตรงนี้มาปรับใช้ในเมืองไทยมันจะ ช่วยอะไรได้ไหมนะ “แล้วอีกจุดหนึ่งที่ท�ำให้ผมสนใจงานด้านศิลปะบ�ำบัดมาก ยิ่งขึ้น ก็เพราะว่าได้ทุนจากรัฐบาลเยอรมนี คือผมไปสมัครสอบชิงทุน ของเขา แล้วทางเขาก็สนใจในตัวผม เพียงแต่ว่าโดยปกติแล้วทุนนี้จะ ให้เฉพาะคนที่เชี่ยวชาญด้านภาษาเยอรมัน แต่พอถึงคิวผมสัมภาษณ์ ผมก็เลยเล่าว่าผมมีความตั้งใจจะท�ำอะไรยังไง  และนั่นจึงกลายเป็น จุดเริ่มต้น ผมเชื่อว่าทุกอย่างมันมีที่มาและที่ไปตลอดเวลา จากเดิมที่ ผมมีความตั้งใจว่าในปั้นปลายชีวิตจะท�ำงานศิลปะเพียงอย่างเดียว ก็ กลายเป็นว่าเราได้แบ่งปันเรื่องศาสตร์ของเรื่องศิลปะไปสู่คนอื่นๆ ได้ ด้วย” การได้ท�ำงานและศึกษาด้านศิลปะบ�ำบัดอย่างลงลึกมากขึ้น เรื่อยๆ นี้ ท�ำให้ผู้ชายคนนี้ได้ค้นพบอีกสิ่งหนึ่งที่เรียกกันว่า ‘ความสุข’

133


“ผมคิดว่าความสุขของคนเรามันมีหลายระดับนะครับ ส่วน ความสุ ข ที่ ผ มได้ จ ากการท�ำตรงนี้ มั น ก็ อ ยู ่ ใ นระดั บ ที่ พึ ง พอใจมาก อย่างตอนที่ผมเริ่มเป็นนักศิลปะในช่วงแรกๆ มันยากนะ คิดว่าเราจะ แสดงศักยภาพให้คนที่มาเรียนกับเราเขาสนุก  และเข้าใจประเด็นที่ เราก�ำลังจะสื่อสารกับเขาหรือเปล่า  หรือบริบทของการเป็นนักบ�ำบัด ผมก็ต้องพยายามเรียนรู้  ศึกษาจากความต้องการของคนไข้แต่ละ ราย  เพื่อจะได้หาวิธีการบ�ำบัดที่เหมาะสมทั้งกับตัวเขาและผมด้วย คือแฮปปี้ทั้งสองฝ่าย  เพราะอย่างน้อยที่เขามาให้เรารักษาก็เพราะ เขารู้ว่าตัวเขาป่วย ซึ่งถ้าผมสามารถรักษาเขาได้ มันก็ท�ำให้ผมรู้สึกมี ความสุข เหมือนว่าเราช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ให้ เขาเองก็มีชีวิตที่ มีความสุขด้วย” อนุพันธุ์มองต่อไปอีกว่า  สิ่งที่เขาท�ำอยู่นั้น มันเป็นวิชาชีพที่ ไม่ได้มีเฉพาะด้านหอมหวานเพียงอย่างเดียว “มั น ก็ มี ด ้ า นที่ ย ากให้ เ ราต้ อ งข้ า มผ่ า นให้ ไ ด้ ด ้ ว ย  ทั้ ง สอง บทบาทไม่ว่าจะเป็นครูสอนศิลปะ หรือการเป็นนักศิลปะบ�ำบัด งาน ทั้งคู่นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตคนอื่นร่วมด้วย  อย่างคนที่มาเรียน ศิลปะกับผมก็เพราะว่าเขาเชื่อมั่นว่าผมสามารถสอนในสิ่งที่เขาสนใจ ได้ หรือด้านการบ�ำบัดคนไข้ที่เข้ารับการรักษาก็มา เพราะเขาเชื่อว่า ผมสามารถพาตัวเขาไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดียิ่งกว่า  ผมก็ต้องมั่นใจใน เรื่องความรู้และศักยภาพในวิชาชีพของผมว่าท�ำได้ด้วยเช่นกัน ฉะนั้น ความสุขของผมเกี่ยวกับสิ่งที่ท�ำตรงนี้ คือการพยายามศึกษาหาความ รู้  เพิ่มพูนทักษะในสิ่งที่เรายังไม่เชี่ยวชาญ  ยังมีความสุขและสนุกกับ การที่จะพัฒนาศักยภาพของตัวเอง  เพื่อให้เก่งและแกร่งยิ่งขึ้นอยู่ทุก วัน”

134


แล้วหลักในการท�ำงานอย่างมีความสุขของคุณล่ะ “อย่างแรก  ผมมองว่าก่อนที่คุณจะไปสร้างความสุขให้ใคร ก็ตาม สิ่งแรกคือคุณต้องสร้างความสุขให้ตัวคุณเองก่อน ซึ่งผมย�้ำ เลยครับว่าเป็นสิ่งส�ำคัญมาก (เน้นเสียง) อย่างผมเองก็ตอกย�้ำกับตัว เองตรงจุดนี้ด้วยว่าความรู้สึกของเราในการท�ำตรงนี้ยังโอเคนะ แฮปปี้ นะ  เพราะว่าการที่เราจะไปสอนศิลปะหรือบ�ำบัดคนไข้  อันดับแรก สภาพจิตใจเราต้องพร้อมก่อน มีความสุขกับตัวเองก่อน เพราะถ้าคุณ เกิดความทุกข์หรือจิตใจคุณขุ่นข้องหมองใจ มันก็จะโยงไปสู่งานที่ท�ำ ทั้งหมด “อีกอย่างผมว่าศิลปะมันเป็นสิ่งที่ท�ำให้ชีวิตคนเรามีชีวิตชีวา นะ คุณลองนึกดูว่าถ้าโลกนี้ขาดสีสัน หรือขาดศิลปะแล้วมันจะเป็นยัง ไง หดหู่นะ  มันอาจจะมีแค่ความมืดและความสว่างแค่นั้น แล้วที่ผม จะบอกอีกคือว่าจริงๆ แล้ว art มันอยู่ในชีวิตมนุษย์ทุกคน และอยู่ใน ทุกเมื่อเชื่อวันอยู่แล้ว แต่คนส่วนมากจะมองว่า art เป็นแค่วิชาหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วงานด้านศิลปะมันไม่ใช่เฉพาะเรื่องการวาดรูป การปั้น แต่มันคือทุกสิ่งที่เราจะปลูกแต่ง สื่อสาร หรือหยิบจับเอามาประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน  อย่างศิลปะการพูดภายในบ้านหรือครอบครัว อันนี้ก็เป็นศิลปะนะครับ คือมันจะดีกว่ามั้ยถ้าสมาชิกในบ้านทุกคนรู้ วิธีการพูดคุยที่จะเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน รู้จักถนอมน�้ำใจ เพื่อรักษาสัมพันธภาพสมาชิกในบ้านเพื่อไม่ให้เกิดความแบ่งแยก เหินห่าง ซึ่งถ้าเทียบกับบ้านอีกหลังซึ่งไม่มีศิลปะการพูดนี้เลย ความ งดงาม ความมีชีวิตชีวา หรือความสุขระหว่างสองบ้านนี้มันก็ต่างกัน แล้ว”

135


จากประสบการณ์การท�ำงานตลอดหลายปีหลังจากที่เขา ท� ำ งาน  เขาเคยเป็ น ผู ้ อ� ำ นวยการโครงการ ‘โลกของฉัน ..สีสัน ของ คนตัวเล็ก’ ในนามมูลนิธิเด็กและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2545 –2547 จัดท�ำโครงการศิลปะเพื่อพัฒนาด้านใน (Art for Inner Development)  ในปี  พ.ศ. 2549  เขาได้เข้าร่วมในโครงการศิลปะบ�ำ บัดส�ำหรับผู้ต้องขังในคุก  โครงการศิลปะบ�ำบัดให้กับเด็กที่ถูกล่วงล ะเมิด ท�ำงานศิลปะในคอนเส็​็ปต์เสียงเรียกจากฤดูกาล : The Voice of Seasons ปัจจุบัน  เขาเป็นผู้อ�ำนวยการสถาบันศิลปะบ�ำบัดใน แนวมนุษย-ปรัชญา (Therapeutikum) ผู้อ�ำนวยการโครงการ Art Therapy for Victims of Trafficking in Human Being, Supported by UNODC Development and Society Fund เป็นวิทยากรพิเศษ ในโครงการศิลปะเพื่อพัฒนาดุลยภาพชีวิต (Contemplative Art) เป็น นักศิลปะบ�ำบัดที่โรงพยาบาลมนารมย์  โรงพยาบาลสมิติเวช  และ  ที่ มีรัก คลินิก

136


งานทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเป็นสิ่งที่เขาท�ำด้วยความสุข ความ สุขในงานศิลปะที่เขารัก และความสุขเหล่านั้นได้ส่งต่อไปสู่คนอื่นได้ อีกจากศาสตร์ของการท�ำศิลปะบ�ำบัดที่เขาเชื่อ “ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับการท�ำงานในบทบาทตรงนี้ครับ และอีกอย่างผมเองก็อยากให้ตัวเรามีศักยภาพเทียบเท่ากับบรมครูที่ ท�ำงานด้านวิชาชีพที่ผมเป็นอยู่ อย่างงานศิลปะผมเองก็ต้องการก้าว ไปสู่ความเป็นมืออาชีพเหมือนอาจารย์ที่เขาคลุกคลีตรงนี้มานานๆ อยากมีความนิ่ง ความสงบ มีความมั่นคงทางจิตใจ เชี่ยวชาญด้าน ศิลปะ ไปพร้อมๆ กับการพัฒนางานทางด้านศิลปะบ�ำบัดไปพร้อมกัน ด้วย”

137


138


ก่อนที่คุณจะไป สร้างความสุขให้ใครก็ตาม   สิ่งแรกคือคุณต้องสร้างความ สุขให้ตัวคุณเองก่อน ซึ่งผมย�้ำ เลยครับว่าเป็นสิ่งส�ำคัญมาก

139


ปวิตรา เกษมเนตร สูตรอร่อยของ ‘ความสุข’

เล็ก-ปวิตรา เกษมเนตร ผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งที่เคยมีความ สุขกับการใช้ชีวิตอย่างคนเมือง ท�ำงานให้กับนิตยสารหลายเล่ม อาทิ พลอยแกมเพชร ลิปส์ ลุกซ์ และเป็นบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ลิปส์ แต่ เมื่อวัยมากขึ้น เธอจึงตัดสินใจออกจากงานประจ�ำ แล้วจะไปใช้ชีวิต เนิบช้าอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และท�ำร้านขนมเค้กน่ารักๆ เป็นของเธอ เอง ชื่อ Sweet a Bit แต่ใครจะรู้ว่ากว่าจะได้ท�ำอะไรที่เรียกว่าความ สุขที่แท้จริงในชีวิต ผู้หญิงคนนี้ผ่านจุดเปลี่ยนอะไรมาบ้าง

140


“ชี วิ ต ที่ ก รุ ง เทพ  เราท� ำ งานเกี่ ย วกั บ การท� ำ หนั ง สื อ และ นิตยสารหลายต่อหลายเล่ม กินและนอนไม่เป็นเวลาส่วนหนึ่ง แล้ว ด้วยความที่ต้องท�ำงานร่วมกับคนหมู่มากด้วย พอสะสมจนเป็นเวลา นานเข้าโรคเครียดก็ถามหา ร่างกายและหัวใจอ่อนแรง เงินทองที่หา มาได้ ก็ต้องน�ำไปรักษาตัว” จุดนั้นเป็นสาเหตุให้เธอต้องเข้าไปพบหมอจิตเวชอยู่ 2-3 ปี หมอวินิจฉัยว่าเธอเป็นโรคแพนิค (Panic) อธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายๆ คือเป็นโรคที่เกิดจากความเครียด ซึ่งคุณหมอก็บอกว่ายาที่กิน ก็เป็น แค่ช่วยพยุงเท่านั้น แต่เธอต้องแข็งแรงด้วยตัวของเธอเอง “ช่วงอายุ 36-37 ก็เกิดปัญหาแล้ว ตื่นเช้ามาตี 4 มันหัวหมุน บ้านหมุนติ้วๆ จนกระทั่งกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ร่างกายก็เลยอ่อนล้า กลายเป็นว่าเราไม่มีแรงที่จะลุกขึ้นมาท�ำอะไร อันนั้นคือจิตป่วย พอ จิตป่วยปั๊บ กายก็เลยเป็นไปด้วย ที่เป็นอย่างนี้เพราะกินไม่ดี อยู่ก็ผิด เวลาก็ผิด ไม่ได้เติมอะไรให้กับตัวเองเลย เพราะท�ำงานด้านนี้มันใช้ อารมณ์เยอะมากนะ คิดเยอะ เอาจริงเอาจังมาก ทีนี้พอเราตัดความ คิดในหัวไม่ได้  เครียดอะไรนิดหน่อยมันก็ป่วย  แล้วเรื่องแรงบันดาล ใจมันส�ำคัญมากส�ำหรับการท�ำงานของเรา  และมันเกิดขึ้นยากมาก ถ้าใช้ชีวิตซ�้ำเดิม  ต้องตื่นเวลาเดิมทุกวัน  ท�ำงานเดิมทุกวัน  เราไม่ อยากเป็นแบบนั้น”

141


ตลอดเวลาการท� ำ งาน ของเธอ  เธอค้ น พบว่ า ทุ ก คนน่ า จะมีจุดพลิกของตนเอง ตอนที่ตื่น มาในตอนเช้าวันหนึ่ง แล้วพบว่า ตั ว เธอเองเป็ น โรคเครี ย ด  ถึ ง กั บ ต้องมานั่งถามตัวเองว่า  เธอก�ำลัง อ่อนแอทางด้านร่างกายและจิตใจ อยู ่ ห รื อ เปล่ า   หลั ง จากนั้ น เธอจึ ง พยายามหาข้อมูลต่างๆ เพื่อให้มี ชีวิตต่อไป  โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายา โดยเน้นเรื่องกินอย่างถูกต้อง  อยู่ อย่างถูกต้อง  และพยายามค้นหา วิธีที่จะใช้ชีวิตทั้งกายและใจอย่าง มีความสุขขึ้น “เมื่ อ ก่ อ นแค่ ขั บ รถ  เรา ต้องท�ำอะไรหลายอย่าง ขับรถด้วย คุยโทรศัพท์ด้วย อ่านงานด้วย จ่าย งานด้วย จวบจนเราพบหลัก Slow Life นั่นคือการนิ่ง การมีสมาธิ มี สติกับตัวเอง โดยรู้ว่าเราก�ำลังจะ ท�ำอะไร คิดให้ลึกมากขึ้น  เพื่อจะมี การกลั่นกรองในชีวิตมากขึ้นท�ำให้ เรามีความเข้มแข็งขึ้นตามล�ำดับ แล้ ว เราก็ ม องโลกในแง่ บวกมาก ขึ้นเรื่อยๆ

142


“ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนมากคือ เมื่อก่อนเป็นคน ใจร้อนมาก ขี้หงุดหงิด ตื่นตูมง่าย พอได้ลองมาใช้ชีวิตแบบ  Slow Life ก็คิดบวกขึ้นโดยอัตโนมัติ จากที่โกรธใครเป็นเดือน ก็ลดทอนเป็นวัน แล้วก็เหลือเป็นชั่วโมง  จนตอนนี้ไม่โกรธเลย  แล้วก็คิดได้ว่าสิ่งที่เกิด ขึ้นแล้วมันจะดีเสมอ  พอคิดแบบนี้ก็ดีต่อสภาพจิตใจของเรา “แล้วก่อนหน้านั้นเราเคยไปยืนอยู่ใจกลางกรุงเทพ เห็นห้าง สรรพสินค้าใหญ่โต  คิดกับตัวเองว่าเราจะท�ำงานหาเงินจากอีกตึก หนึ่ง เพื่อไปใช้จ่ายเงินกับอีกตึกหนึ่งเพื่ออะไรกัน เมืองใหญ่เมืองนี้ ท�ำไมเราถึงเหงามากขนาดนี้ เราไม่เห็นจ�ำเป็นต้องใช้ ต้องเดินเข้าไป ในตึกสูงเหล่านี้เลย เพราะฉะนั้นการย้ายไปใช้ชีวิตที่จังหวัดเชียงใหม่ เมืองน่ารัก  ผู้คนก็ไม่ซับซ้อน  อีกเหตุผลหนึ่งคือเชียงใหม่ใหญ่เป็น อันดับสองรองจากกรุงเทพ  ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงจึงไม่น่ายากเกิน ไปส�ำหรับการทดลองใช้ชีวิตคนเดียวจริงๆ  และน่าจะเป็นความสุขใน ชีวิตเราจริงๆ ด้วย” ท�ำไมต้องเชียงใหม่หลายคนนึกสงสัย… “เราเรียนจบคณะวิจิตรศิลป์  ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  แต่ เพราะเป็นคนกรุงเทพ  ท�ำให้หลังจากเรียนจบก็ต้องกลับไปใช้ชีวิต ในกรุงเทพฯ และตลอดเวลา 20 กว่าปีที่ท�ำงานก็มีภาพจ�ำของเมือง เชียงใหม่ตลอดเวลา” นอกเหนือจากนั้น  เธอก็ค้นพบอีกว่าไม่ได้ชอบที่จะลุกขึ้น มาบริหารคนอะไรมากมาย อยากท�ำงานอะไรเล็กๆ อยากเป็นผู้หญิง ที่ก้าวสู่วัยทองอย่างไม่ไร้สาระ  มีความแข็งแรงทั้งทางจิตใจและ ร่างกาย หลังจากนั้นก็ปลูกบ้านในพื้นที่ที่ดูแลได้ ท�ำเค้กอร่อยๆ วันละ 4-5 ก้อนให้ไหว

143


“เราชอบทานขนมเค้กมาตั้งแต่ไหนแต่ไร  แล้วที่บ้านก็ท�ำมา ตั้งแต่เราเด็กๆ ก็เคยคิดเล่นๆ กับตัวเองว่าอยากจะมีบ้านหลังเล็กๆ สี ขาว แล้วก็ลุกขึ้นมาท�ำเค้กโฮมเมดแบบที่ลดน�้ำตาล ลดครีมออกไป เพื่อจะเป็นเค้กที่มีประโยชน์กับคนในครอบครัว และลูกค้าทุกคน” ความสุขของชีวิตช่วงหลังของเธอ  คือการได้เปิดร้านเค้ก เล็กๆ ที่เชียงใหม่นี้เอง เธอสนุกกับการท�ำเค้กได้ทุกวัน ลูกค้าก็แวะ เวียนมาแล้วมาอีก และสิ่งที่น่าชื่นใจมากกว่าเรื่องรายได้นั้น คือเค้ก ในจานที่เธอเสิร์ฟลูกค้าคนแล้วคนเล่าหมดเกลี้ยง เธอก็ชื่นใจมาก ใน เมื่อชีวิตคือการท�ำงาน และงานนี้เองก็ช่วยให้เธอเติบโต ได้มีชีวิตที่คุ้ม ค่าและมีความสุขทุกวัน “การอ่านหนังสือหลายๆ  เล่มช่วยในการขัดเกลาตัวเองได้ มาก โดยเฉพาะเรื่องที่เราสนใจ คือเรื่องการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย มัน ท�ำให้เราค้นพบสิ่งที่เราต้องการที่แท้จริง เราเอานามบัตรที่มีต�ำแหน่ง หน้าที่การงานออกไป เสื้อผ้าที่สวมใส่ก็มีเฉพาะที่จ�ำเป็น ทุกวันนี้ใช้ ชีวิตอย่างเรียบง่ายมาก ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จ�ำเป็น ชีวิตไม่ต้องเร่ง รีบอะไรทั้งสิ้น  เราจะอยู่ได้แบบที่อิ่มในความเรียบง่ายอย่างแท้จริง ได้ทานอาหารดีๆ กินอิ่ม นอนหลับ  แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว” โลกทุกวันนี้มันดุมากขึ้น คนเราที่อยู่ในวังวนตรงนี้ก็มีมากขึ้น ด้วย แล้วแต่ว่าใครจะค้นพบทางออก ทางสว่างของตนเองก่อนกัน ผู้ หญิงเก่งคนนี้แนะน�ำแนวทาง  ว่าทางสว่างที่ทุกคนจะพบคือธรรมะ อาจจะหมายถึงธรรมชาติ ที่ทุกคนจะมีไว้เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจของเรา แล้วทุกคนก็จะพบทางออกที่เป็นของตนเองได้ในที่สุด

144


145


การอ่านหนังสือหลายๆ  เล่มช่วยใน การขัดเกลาตัวเองได้มาก โดยเฉพาะเรื่อง ที่เราสนใจ โดยเฉพาะเรื่องการใช้ชีวิตอย่าง เรียบง่าย มันท�ำให้เราค้นพบสิ่งที่เราต้องการ ที่แท้จริง เราเอานามบัตรที่มีต�ำแหน่งหน้าที่ การงานออกไป เสื้อผ้าที่สวมใส่ก็มีเฉพาะที่ จ�ำเป็น ทุกวันนี้ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายมาก ไม่ ต้องมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จ�ำเป็น ชีวิตไม่ต้องเร่ง รีบอะไรทั้งสิ้น เราจะอยู่ได้แบบที่อิ่มในความ เรียบง่ายอย่างแท้จริง ได้ทานอาหารดีๆ กิน อิ่ม นอนหลับแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว

146


147


สร้างสรรค์โลกง่ายๆ ด้วยการปลูกต้นไม้ด้วยมือตนเอง

นคร ลิมปคุปตถาวร

“มีชีวิต  เราก็มีชีวิตเหมือนต้นไม้ เราต้องการอาหาร สภาพ แวดล้อมที่ดี การดูแลเอาใจใส่ สิ่งเหล่านี้ต้นไม้ก็ต้องการเช่นกัน ถ้าเรา ปลูกต้นไม้หนึ่งต้น แล้วต้นไม้เจริญงอกงามได้ นั่นหมายถึงว่าตัวเรา พร้อมที่จะดูแลคนรอบข้างได้ เพราะมีจิตใจที่นิ่งมีสมาธิ มีความมานะ มี การเอาใจใส่ มีความรู้ และมีจิตอันเป็นกุศล เพราะการปลูกต้นไม้ให้กับ โลกใบนี้มันเป็นการสร้างบุญอย่างหนึ่ง” จ� ำ ได้ ไ หมว่ า คุ ณ ปลู ก ต้ น ไม้ ค รั้ ง สุ ด ท้ า ยเมื่ อ ไหร่ ?   ปั จ จุ บั น การปลูกต้นไม้กลายเป็นเรื่องไกลตัวคนเมืองมากขึ้นทุกที  ด้วยเหตุผล ด้านที่อยู่อาศัย  การใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์คนเมืองที่เกี่ยวพันกับต้นไม้ ใบหญ้าน้อยลง ผักสวนครัวไม่ได้อยู่ในสวนครัวหลังบ้านอีกต่อไป และ เมื่อเราห่างไกลธรรมชาติ  และการปลูกต้นไม้กลายเป็นอุตสาหกรรม ผลกระทบกับชีวิตและธรรมชาติก็ตามมาอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ และนั่น จึงเป็นสาเหตุท�ำให้ นคร ลิมปคุปตถาวร เลือกที่จะทดลองปลูกต้นไม้ เพื่อโลกใบนี้ ปลูกเพื่อเพิ่มความสะอาดให้กับโลก และปลูกเพื่อสร้างจิต

148


อันเป็นสมาธิภายในใจตนเอง โดยเขาเริ่มต้นง่ายๆ จากการปลูกผักกิน เองภายในบ้าน จนได้รับฉายาเจ้าชายผัก และโครงการเล็กๆ ของเขาก็ เติบโตเป็น ’โครงการสวนผักคนเมือง’ ซึ่งมีคนให้ความสนใจมากในโลก จริงและโลกออนไลน์ “ฉายาเจ้าชายผักเกิดในโลกออนไลน์ครับ เพราะผมเข้าไปแลก เปลี่ยนความรู้เรื่องการปลูกผักสวนครัวในเว็บบอร์ด thaigreenmarket. com อยู่บ่อยๆ จนใครๆ ก็รู้จักผมในชื่อนี้” นครบอกเล่าเรื่องราวของฉายาตัวเองอย่างไม่ได้ใส่ใจนัก แต่ เรื่องที่เขาจะสนใจมากที่สุดตอนนี้คือต้นไม้ที่อยู่ตรงหน้า ตอนเด็กๆ คุณครูที่โรงเรียนสอนผมปลูกต้นไม้ ช่วงนั้นผมรู้สึก ว่าการปลูกต้นไม้ให้ประโยชน์หลายอย่างส�ำหรับผม  ทั้งประโยชน์ทาง กายคือมีทักษะทางร่างกายที่ดีขึ้นรู้จักสังเกต และทักษะทางใจ คือการ ท�ำให้เป็นคนรู้จักอดทน  มีสมาธิในการใช้ชีวิต  และประกายแห่งการ เรียนรู้เล็กๆ ครั้งนั้น มันส่งผลให้ผมอยากจะเรียนทางด้านเกษตร พอ เรียนด้านนี้มากขึ้นก็ท�ำให้ผมเข้าใจการปลูกพืชมากขึ้น  จากแต่ก่อนที่ ผมเข้าใจว่าปลูกต้นไม้ต้องใส่ปุ๋ยเม็ดๆ  ที่ซื้อมาจากร้านขายปุ๋ยเท่านั้น แต่พอเราโตขึ้นได้เรียนรู้วิธีท�ำการเกษตรมากขึ้น  เราก็พบว่าการปลูก ต้นไม้โดยใช้ปุ๋ยเคมีไม่ใช่ทางเลือกที่ดี เพราะมันท�ำลายดิน และมีสาร พิษตกค้างในปริมาณมาก  และนั่นเป็นแรงบันดาลใจที่ท�ำให้ผมอยาก เรี ย นรู ้ เ รื่ อ งการเกษตรมากขึ้นจึง สอบเข้าเรียนในคณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

149


ริเริ่มด้วยตนเอง “ระหว่างเรียนผมก็ลองปลูกผักกินใบโดยใช้กระถางเล็กๆ  ใน หอผัก อยากกินอะไรก็ปลูก ใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ ผักมันก็งามดี ไม่ต่างกับ ที่ซื้อในตลาด หลังจากนั้นก็ลองมาปลูกในแปลงสาธิตของมหาวิทยาลัย แล้วก็เริ่มเอาไปปลูกในบ้าน ผักที่ปลูกตอนนั้นก็จะเป็นผักสวนครัว และ ผักกินใบทั้งหมด เพราะเราใช้ประโยชน์ได้จริงๆ แต่ที่ท�ำให้ผมรู้สึกว่า จะ ต้องจริงจังกับการปลูกผักกินเอง ก็ตอนได้เดินทางไปฝึกงานที่ประเทศ ออสเตรีย ได้เห็นไอเดีย “ซิตี้ฟาร์ม” ที่หลายประเทศหันมารณรงค์ให้ คนปลูกผักสวนครัวไว้กินเองในบ้าน คนในเมืองได้เรียนรู้วิถีการบริโภค แบบพึ่งตนเอง เหลือจากบริโภคแล้วจึงรวมกลุ่มกันเอาไปขายในตลาด นัดหรือขายให้ร้านอาหารในท้องถิ่น  ท�ำให้เราเห็นความส�ำคัญของ ความมั่นคงทางด้านอาหาร  ท�ำอย่างไรในครัวเรือนจะสามารถผลิต อาหารกินเองได้” “อยากขยายความว่า City farm เกิดจากแนวคิดที่อยากเปลี่ยน วิถีการเกษตรสมัยใหม่ที่เป็นการเกษตรเชิงเดี่ยวที่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม ให้เป็นการปลูกพืชผักในท้องถิ่นเพื่อบริโภคกันเอง แหล่งที่มาของอาหาร จะอยู่ในรัศมีบ้านเรือนของผู้บริโภค เพื่อจะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงาน ในการขนส่ง โดยนายอังเดร วิลจอน (Andre Viljoen) สถาปนิกชาว อังกฤษ ได้เสนอความคิดเรื่องฟาร์มในเมือง (city farm) ที่เขาได้ไปพบ ในประเทศคิวบา ที่มีการปลูกพืชผักตามพื้นที่สาธารณะในเมือง เช่น ริม ถนน ข้างตลาด ริมแหล่งน�้ำล�ำคลองที่ไหลผ่าน วิธีการนี้นอกจากจะลด ค่าใช้จ่ายในกระบวนการขนส่งอาหารแล้ว  ยังช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ กับระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม ยังช่วยสร้างความมีชีวิตชีวาความรู้สึกสดชื่น ของคนในเมือง  และที่ส�ำคัญได้สร้างความรู้สึกการเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการผลิตอาหารปลอดภัย

150


หลังจากนั้นนครก็เลยริเริ่มโครงการ “สวนผักคนเมือง” ขึ้น โดย ใช้ที่ดินร้างข้างๆ  บ้าน  พื้นที่ประมาณสามสิบตารางเมตรเป็นแปลงผัก สาธิต โดยปลูกผักสวนครัวหลายชนิดที่กินได้ แบบไม่พึ่งสารเคมี และ ยังจัดคอร์สเรียนรู้เรื่องการปลูกผักให้กับคนที่สนใจ “ปัญหาของคนเมืองในปัจจุบัน  คือทัศนคติที่ชอบคิดกันว่า ปลูกผักไม่เป็น ท�ำไม่ได้ มือแข็ง ยุ่งยาก ซื้อเอาดีกว่าไหม ทัศนคติเหล่า นี้แก้ได้ ถ้าบอกให้เขาเข้าใจว่าผักที่บริโภคกันอยู่มีสารพิษมากแค่ไหน และไม่ใช่แค่มีผลกระทบแค่ตัวมนุษย์ระยะสั้นเท่านั้น  แต่มันจะมีผล กระทบระยะยาวต่อภาคเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร  เพราะยา ฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีเป็นตัวท�ำลายดิน  ความสมบูรณ์ของธาตุอาหาร ในดินจะหายไป ระบบนิเวศเสียหาย ถ้าย้อนกลับไปในอดีตแล้วจะพบ ว่าการปลูกพืชแบบใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงเพิ่งมาเริ่มใช้กันจริงจังหลัง สงครามโลกครั้งที่สอง เพราะสารเคมีในปุ๋ยก็เป็นสารประกอบระเบิดที่ เหลือจากการใช้ในสงคราม นักวิทยาศาสตร์บังเอิญไปพบว่ามันท�ำให้ ต้นไม้งอกงามดี ก็เลยเอามาใช้ในการท�ำเกษตร เกษตรกรเมื่อเห็นว่าใช้ ปุ๋ยแล้วผลผลิตดีก็ใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อที่จะได้ผลผลิตเยอะๆ  ใช้ มากขึ้นดินก็เสีย พื้นที่เพาะปลูกก็ลดลงและในที่สุด ซึ่งมันก็จะเกิดผล กระทบต่อมนุษย์โดยตรงทั้งในแง่สุขภาพ และความมั่นคงทางอาหาร” “หลายคนที่มาคุยกับผมเพราะเขาก็คิดเรื่องนี้เหมือนกัน  แต่ อาจจะมีข้อจ�ำกัดเรื่องพื้นที่ในการเพาะปลูก  เราเลยท�ำโครงการสวน ผักคนเมืองขึ้น เพื่อให้ความรู้เรื่องการปลูกผักง่ายๆ ในบ้านจัดสรรหรือ คอนโด  โดยไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะ  ซึ่งผมเคยเรียนรู้ด้วยตัวเองมาก่อน หลายคนมาเรียนรู้กับผมแล้วลองไปท�ำดูก็สามารถท�ำได้  เขาก็มีก�ำลัง ใจจะเผยแพร่ข้อมูลนี้ให้กับคนอื่นต่อไป เรื่องนี้ผมว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี”

151


ปลู ก ผั ก ไม่ ใ ช่ แ ค่ ก ารปลู ก ต้ น ไม้ เ ท่ า นั้ น   แต่ มั น แฝงไปด้ ว ย ปรัชญาการใช้ชีวิต “ต้ น ไม้ มี ชี วิ ต   เราก็ มี ชี วิ ต เหมื อ นต้ น ไม้   เราต้ อ งการอาหาร สภาพแวดล้อมที่ดี การดูแลเอาใจใส่ สิ่งเหล่านี้ต้นไม้ก็ต้องการเช่นกัน ถ้าเราปลูกต้นไม้หนึ่งต้น แล้วต้นไม้เจริญงอกงามได้ นั่นหมายถึงว่า ตัวเราพร้อมที่จะดูแลคนรอบข้างได้ เพราะมีจิตใจที่นิ่งมีสมาธิ มีความ มานะ มีการเอาใจใส่ มีความรู้ และมีจิตอันเป็นกุศล เพราะการปลูก ต้นไม้ให้กับโลกใบนี้มันเป็นการสร้างบุญอย่างหนึ่ง และน่าจะเป็นบุญ ที่ยิ่งใหญ่ เพราะต้นไม้ให้ประโยชน์มาก ทางตรงก็สามารถเก็บผลกิน ได้ ทางอ้อมคือต้นไม้จะปล่อยก๊าชออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับมนุษย์  เราปลูกต้นไม้ก็เหมือนช่วยเหลือเพื่อน มนุษย์โดยไม่ต้องป่าวประกาศเลยว่าตัวเองเป็นคนดี “ส�ำหรับใครที่อยากจะเริ่มท�ำบุญด้วยการปลูกต้นไม้ ผม แนะน�ำให้ลองเริ่มจากปลูกผักอย่างที่ผมท�ำ  เพราะการปลูกผักเป็น เหมือนการท�ำสมาธิอย่างหนึ่ง เพราะหัวใจหลักๆ ของการปลูกผักให้ งอกงามได้ คือการใส่ใจ ดูแลดินให้ดี รดน�้ำเช้าเย็น พรวนดินบ้างให้ อากาศถ่ายเทได้สะดวก อยากกินผักอะไร ก็จดรายการผักที่ชอบเอาไว้ แล้วปลูกผักชนิดนั้น ไม่ต้องถึงขั้นปลูกกินแบบไม่ต้องซื้อเลย แค่ปลูกผัก ที่อยากกินอย่างนั้นก็พอ อย่าไปคิดว่าพื้นที่เราไม่พอปลูกเพราะแม้แต่ อยู่ห้องแถว หอพัก อพาร์ตเมนต์ หรือคอนโดขนาดไม่กี่ตารางเมตร ถ้า อยากปลูกผักกินเองก็ท�ำได้และไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด ใครที่คิดว่าตัวเอง ปลูกต้นไม้ไม่เป็นก็เริ่มปลูกได้ แถมยังเป็นการรักษาสุขภาพง่ายๆ ที่เริ่ม ต้นได้เองอีกด้วย”

152


ปั จ จุ บั น คุ ณ นคร  มี ค นมาขอค� ำ ปรึ ก ษาเรื่ อ งการท� ำ เกษตร อินทรีย์และปลูกผักอยู่ทุกวัน ซึ่งเป็นการขยายจากกลุ่มเล็กๆ ในเว็บไซต์ มาเป็นกลุ่มคนที่สนใจอย่างจริงจัง สิ่งที่เขาอยากเห็นในอนาคตคือการ รวมกลุ่มกันในชุมชนเพื่อพึ่งตนเองในด้านอาหาร เพราะในไม่ช้าเราจะ ต้องเจอกับปัญหาเรื่องทรัพยากรอาหารแน่นอน “คนเยอะขึ้น สารพิษในอาหารเยอะขึ้น พื้นที่เพาะปลูกน้อย ลง  คือเรื่องที่เราต้องเจอในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า  แต่ถ้าชุมชนเริ่มผลิต อาหารเองได้  ไม่ต้องพึ่งพาจากการผลิตอาหารจากภาคอุตสาหกรรม ปัญหานี้จะลดลงหรืออย่างน้อยคนในชุมชนก็สามารถเอาตัวรอดได้จาก วิกฤตการณ์ด้านอาหาร อาจจะเหนื่อยหน่อย วิถีชีวิตอาจจะเปลี่ยนไป บ้าง แต่สุดท้ายสิ่งที่เราได้จริงๆ คือเราจะไม่เจ็บป่วยหรือตายจากสาร พิษ หรือถ้าวิกฤติการณ์ทางอาหารเกิดขึ้นจริงๆ ในอนาคต เราก็ไม่อด ตายอย่างน่าเวทนา”

153


นพ.สุริยเดว ทรีปาตี (หมอเดว) ท�ำหน้าที่ทุกๆอย่างของตนเองให้ดีที่สุด

การเดิ น ทางของความ สุ ข ส� ำ หรั บ บางคนใช้ เ วลาแสน ยาวนาน  โดยเฉพาะความสุขที่มี ผลพวงมาจากการเคี่ ย วกร�ำ ชี วิ ต ของตนเองมาอย่างหนักหนาและ เครียดพอสมควร

เหมือนกับการเดินทางของชีวิตคุณหมอรอยยิ้มใจดีท่านนี้ ถ้าให้ไล่เรียงงานที่เขาท�ำอยู่คงเล่า 3 วันไม่จบ แต่ถ้าเลือกงานหลักๆ ในทุกวันนี้ นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี (หมอเดว) เป็น ผอ.สถาบันแห่ง ชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งไม่ได้ ดูแค่ในส่วนบริหารเพียงอย่างเดียว ยังคงท�ำงานวิจัย สอนนักศึกษา ปริญญาโทหลักสูตรพัฒนาการมนุษย์ และนอกจากนั้นคุณหมอยังรับ ต�ำแหน่งผู้จัดการแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สสส. ด้วย

154


“ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาผมท�ำงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนด้วย พลังบวก โดยเฉพาะค�ำว่าต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทย ถึงจะไม่ใช่ เรื่องใหม่ แต่ผมก็พยายามคิดและจัดการชีวิตเด็กอย่างเป็นระบบ มากขึ้น แล้วทุกภาคส่วนก็สามารถมีส่วนร่วมด้วยได้ รวมทั้งกิจกรรม ที่เกิดขึ้นนอกจากเรื่องทักษะชีวิตแล้ว ยังสามารถสร้างจิตส�ำนึกให้ตัว เด็กได้ด้วย รวมทั้งกิจกรรมสร้างสรรค์ก็ต้องมีมิเตอร์ในการชี้วัด เพื่อ หาปัญหาของชุมชน และเวลาที่ปฏิบัติการไปแล้ว มันมีทิศทางดีมาก น้อยอย่างไร” ปั ญหาที่ คุ ณ หมอพบคื อ ขณะนี้ เ ด็ ก ก�ำลัง ขาดแบบอย่า งที่ ดีของสังคม  เพราะเห็นแต่ภาพความขัดแย้ง  การใช้อารมณ์ในการ แก้ปัญหา ทั้งในและนอกจอ ซึ่งหากเด็กขาดต้นทุนที่ดี และเห็นแต่ การแสดงออกที่ไม่เหมาะสม  จะท�ำให้สังคมเกิดเด็กสายพันธุ์ใหม่ มี ปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ การใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เมื่อ ให้ความส�ำคัญว่าสื่อรุนแรงมีผลต่อเด็ก การรับข่าวและสถานการณ์ การเมืองก็ท�ำให้เกิดความรุนแรงได้เช่นเดียวกัน ซึ่งผู้ปกครองจ�ำเป็น ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด “ดังนั้นในสถานการณ์เช่นนี้  คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็กๆ อย่างใกล้ชิด และอธิบายให้พวกเขาเข้าใจว่าประชาธิปไตยที่แท้จริง นั้นคือการยอมรับความแตกต่างทางความคิด  พูดคุยกันด้วยเหตุผล และข้อเท็จจริง ไม่ใช้ความรุนแรง หากตัวคุณพ่อคุณแม่เองเครียดกับ สถานการณ์การเมืองมากก็ควรหาทางผ่อนคลายบ้าง  ก่อนที่จะแสดง อาการอารมณ์อยู่เหนือเหตุผลให้เด็กๆ เห็นเป็นแบบอย่าง

155


อธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้น  ค�ำว่า ‘ต้นทุนชีวิต’ ที่คุณหมอพูด ถึงนี้ มาจากค�ำว่า Life’s Assets หมายถึง ต้นทุนขั้นพื้นฐานที่มีผลต่อ การพัฒนาทางด้านจิตใจ สังคม สติปัญญาให้คนๆ หนึ่งสามารถด�ำรง ชีพอยู่ในสังคมได้อย่างเข้มแข็ง โดยต้นทุนชีวิตนี้เป็นปัจจัยสร้าง  หรือเป็นปัจจัยเชิงบวกทาง ด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม ที่จะหล่อหลอมให้เด็กคนหนึ่งเจริญเติบโต และด�ำรงชีพอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี แล้ว ‘ต้นทุนชีวิต’ มาจากไหน? ล่ะ หลายคนนึกสงสัยต่อ “จริงๆ  เราทุกคนเกิดมามีต้นทุนชีวิตในระดับหนึ่งแล้ว  ทั้ง ต้นทุนภายในและต้นทุนภายนอก  ต้นทุนนี้จะเพิ่มขึ้นตามการเลี้ยง ดูของพ่อแม่ สิ่งแวดล้อมที่ดี และความใกล้ชิดกับธรรมชาติ แต่โลก ยุคเทคโนโลยีในปัจจุบัน  ท�ำให้ชีวิตผู้คนมีความเป็นวัตถุนิยม  ห่าง ไกลธรรมชาติมากขึ้น ต้องแย่งกันอยู่ แย่งกันกิน แย่งกันเรียน แย่ง กันท�ำมาหากิน  พ่อแม่จ�ำนวนไม่น้อยพลอยเลี้ยงลูกแบบเครื่องจักร เครื่องยนต์ ขาดความเข้าใจในพัฒนาการ มีความคาดหวังเกินความ เป็นจริงจนเกิดความเครียด”

156


ในสังคมสมัยนี้ เด็กๆ คร�่ำเคร่งกับ การเรียน  ผู้ใหญ่คร�่ำเคร่งกับการท�ำงาน หาเงิ น   การวั ด คุ ณ ค่ า จึ ง แตกต่ า งจาก อดีต  คุณค่าที่จ�ำเป็นต่อการมีชีวิตที่ดีถูก บั่นทอนโดยไม่รู้ตัว  เด็กคนไหนโชคดีเกิด มาท่ามกลางครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่ อบอุ่น มีความเข้าอกเข้าใจกัน ต้นทุนชีวิตก็ จะพัฒนาเพิ่มพูนเป็นทุนที่เข้มแข็ง เด็กคน ไหนโชคไม่ดี  เกิดมาท่ามกลางความขัดสน ด้อยโอกาส  เติบโตในสังคม สิ่งแวดล้อมที่ ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้สิ่งที่ดี  ต้นทุนชีวิตก็จะ ค่อยๆ  ถูกบั่นทอน ลดลงไปเรื่อยๆ ต้ น ทุ น ชี วิ ต ไม่ ใ ช่ ข องใหม่   แต่ เ ป็ น ของที่ มี ม าแต่ เ ดิ ม แล้ ว สมัยก่อนสังคมไทยเป็นครอบครัวขยาย มีชุมชนที่เข้มแข็ง มีความ สมานฉันท์ อยู่กันด้วยความรัก มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน รู้จักการแบ่ง ปัน การให้ การท�ำกิจกรรมร่วมกัน นี่คือต้นทุนชีวิตแบบไทยๆ ที่ดีที่เรา มีอยู่แล้ว คุณหมอยังอธิบายต่อว่า “จวบจนเมื่อช่วงสิบปีเศษที่ผ่านมา สังคมไทยเปลี่ยนไปด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและความ เป็นสังคมเมือง  ที่รุกคืบเข้ามาอย่างรวดเร็ว  ครอบครัวในปัจจุบันเริ่ม อ่อนแอ  ชุมชนขาดความเข้มแข็ง กิจกรรมระหว่างเพื่อนฝูง เด็ก เยาวชนค่อยๆ ลดน้อยลง การเรียนรู้นอกโรงเรียนในรูปแบบต่างๆ ของเด็ก เยาวชนก็พลอยน้อยลงไปด้วย  ต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนใน ปัจจุบันจึงอ่อนแอลงไปในหลายๆ ด้านอย่างน่าตกใจ”

157


นอกจากนั้นยังมีอีกหลายๆ เรื่องที่คุณหมอลุกมาเคลื่อนไหว เพราะต้องท�ำงานบนความกดดันที่สูงมาก เป็นความตึงเครียดตลอด การท�ำงานยิ่งกว่าเรื่องใดๆ  แม้จะมีบ้างที่ต้องท�ำงานอยู่บนความ ท้อแท้ พบพานกับอุปสรรคมากมาย และท้าทายสิ่งต่างๆ พอสมควร ทุกสิ่งไม่ได้ง่ายเลย การออกมาซ่อมสังคมเป็นงานยุ่งยาก เหนื่อย และท�ำให้คุณหมอถอดใจอยู่บ่อยๆ “เวลาที่ท้อแท้ เมื่อก่อนตอนที่แม่คุณหมอยังมีชีวิตอยู่ หมอ จะมีแม่เป็นคนชาร์จแบตให้ชีวิตหมอลุกขึ้นมาสู้ได้อย่างเต็มที่ทุกครั้ง แต่พอแม่จากไป เป็นความเศร้าที่สุดในชีวิต หมอก็มีภรรยาผู้เป็นที่รัก มาทดแทน  และท�ำให้มีพลังในการท�ำงานทุกวันนี้  หมอมีภรรยาที่ แสนวิเศษ  ถ้าหมอไม่ได้พลังใจจากภรรยาคนนี้หมอคงถอดใจไปนาน แล้ว คงเพราะบ้านเราไม่ค่อยเห็นคุณค่าของคนที่ลุกขึ้นมาท�ำอะไร เพื่อสังคมสักเท่าไหร่  หมอเชื่อว่าไม่ได้มีแค่หมอหรอก  มันยังมีคนที่ ลุกขึ้นมาท�ำอะไรเพื่อสังคมอีกเยอะ  ที่เขาอยากได้ก�ำลังและพลังใจ ในการลุกขึ้นมาท�ำอะไรเพื่อสังคม “อย่างมีครั้งหนึ่งคนไข้ที่หมอดูแลในโรงพยาบาลเด็ก  แม่ คนนึงพาลูกมา ลูกของเธออาเจียนตลอดเวลา ถ่ายไม่ออก มีปัญหา สุขภาพมากมาย ฟันผุหมดปาก แต่แม่มีอาการแรงกว่าลูกเยอะ จน หมอต้องเอ่ยถามคุณแม่ว่าเธอเป็นอย่างไร  คุณแม่ก็บอกหมอว่าถ้า ลูกของเธอป่วยอีกครั้งจะโดนนายจ้างไล่ออก รวมทั้งเมื่อเช้าเพิ่งโดน สามีด่าว่าเลี้ยงลูกอย่างไรลูกถึงป่วยตลอด  และลูกน้อยก็ร้องไห้อยู่ ตลอดเวลา  ซึ่งแม่แบกความเครียดอย่างที่สุดในทุกๆ เรื่อง โดยสาเหตุ ของเรื่องนี้มาจากน�้ำอัดลมและขนมถุงที่เด็กๆ ชอบกินนั่นเอง”

158


โปรเจ็กต์เครือข่ายไม่กินหวาน ที่ร่วมมือกันระหว่างกุมาร แพทย์  และนักวิชาการ  จึงเกิดขึ้นด้วยความคิดว่าจะช่วยเด็กและ ครอบครัวอีกหลายครอบครัวที่ประสบปัญหาคล้ายๆ กัน “ความสุขในการใช้ชีวิตในทุกวันนี้ ที่แม่ปลูกฝังไว้ในตัวหมอ เดวคนนี้ คือรู้ว่าหมอจะท�ำหน้าที่ในทุกๆ  หน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ตราบใดที่มีชีวิตอยู่  แต่หมอจะมีหลักธรรมในการลดความตึงเครียด ของตนเอง  ไม่ ใ ห้ มี ค วามกดดั น มากจนเกิ น ไป  ก็ คื อ มี ห ลั ก ธรรม อุเบกขา ในการน�ำทางชีวิตด้วย ถ้าเราท�ำหน้าของเราอย่างเต็มที่ที่สุด ณ วันนี้แล้ว หากโลกจะหมุนไป หรืออะไรจะวินาศสันตะโร ก็ปล่อย มันเถิด  เพราะมันเกินความสามารถของเราแล้ว  ไม่จ�ำเป็นที่เราต้อง เป็นทุกข์กับมันด้วย เราแค่หนึ่งชีวิต เราท�ำได้ดีที่สุดเพียงแค่นี้แหละ” แล้ว...”

“เพี ย งแค่ นี้ ก็ เ รี ย กว่ า เป็ น ความสุ ข ในชี วิ ต ของหมอ

159


ณ วันนี้แล้ว หากโลกจะหมุนไป หรือ อะไรจะวิ น าศสั น ตะโร  ก็ ป ล่ อ ยมั น เถิ ด    เพราะมันเกินความสามารถของเราแล้ว  ไม่ จ�ำเป็นที่เราต้องเป็นทุกข์กับมันด้วย  เราแค่ หนึ่งชีวิต  เราท�ำได้ดีที่สุดเพียงแค่นี้

160


161


เมตตา สุดสวาท ความสุขบนพื้นฐาน ของความเรียบง่าย ผู ้ บ ริ ห า ร ผ ลิ ต ภั ณ ฑ ์ Propaganda  ให้ ป ระสบความ ส�ำเร็จอย่างที่เห็นในปัจจุบัน  วัน นี้ เ ธอหั น หลั ง ให้ กั บ ความส� ำ เร็ จ นั้น  และละทิ้งเม็ดเงินจ�ำนวนมาก เพื่อเดินทางเข้าสู่ห้วงเวลาของการ ท� ำ งานศิ ล ปะอย่ า งจริ ง จั ง   และ นั่นคือที่มาของบทสัมภาษณ์แห่ง ความสุขที่แท้จริงนี้ รอยยิ้มของผู้หญิงผู้ฝังรากศิลปะลงไว้ในหัวใจนาม  เมตตา สุดสวาท  มาพร้อมรอยยิ้ม  และเชื้อเชิญเราก้าวเท้าเข้าสู่พื้นที่ของ โรงเรียนสองภาษาวิถีพุทธปัญญาเด่นซึ่งตั้งอยู่ที่ตอนใต้ของจังหวัด เชียงใหม่ เมตตาเล่าถึงข้อมูลของโรงเรียนแห่งนี้ให้เราฟังอย่างคร่าวๆ ว่ า   “ปรั ช ญาของโรงเรี ย นมี พื้ น ฐานมาจากหลั ก ศาสนาพุ ท ธร่ ว ม กับหลักสูตรสมัยใหม่  ซึ่งมีผลท�ำให้เกิดการศึกษาแบบบูรณาการ เป้าประสงค์ของเราก็คือ นักเรียนซึ่งจบชั้นประถมปีที่ 6 จะมีความ สามารถที่ดีที่จะสร้างความยั่งยืน  เป็นต้นว่ารู้จักวิธีที่จะปลูกข้าว

162


ซ่อมแซมเสื้อผ้า มีทักษะเกี่ยวกับเครื่องมือขั้นพื้นฐาน มีความรับผิด ชอบต่อสังคม  และมีความสามารถในการอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ในระดับที่เท่าเทียมกันกับนานาชาติ  ทางโรงเรียน แสดงให้ เ ห็ น วิ ธี เ ช่ น นี้ จ ากการตระหนั ก ถึ ง สิ่ ง แวดล้ อ ม  รวมถึ ง วิ ธี ปฏิ บั ติ เ พื่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มที่ ยั่ ง ยื น ในชี วิ ต ประจ� ำ วั น ทุ ก วั น   โรงเรี ย นนี้ ตั้งอยู่ในสวนผลไม้ที่สวยงาม  ในบรรยากาศซึ่งเอื้ออ�ำนวยต่อความ เข้าใจอย่างถ่องแท้และมีสติ” มองไปยังอาคารเรียน โรงเรียนแห่งนี้สร้างขึ้นมาจากดินและ ไม้ไผ่ที่ได้ผ่านกระบวนการบ�ำบัดเพื่อให้คงทนต่อองค์ประกอบต่างๆ นอกจากนั้นยังมีบริเวณส�ำหรับปลูกผักและข้าวไร้สารเคมีในพื้นที่ ของโรงเรียน และท้ายที่สุดการใช้ระบบบ�ำบัดน�้ำเสียซึ่งไม่เป็นผลเสีย ต่อสิ่งแวดล้อม ที่แห่งนี้สินะ ที่ท�ำให้อดีตผู้บริหารผลิตภัณฑ์ Propaganda คนนี้ ยินดีที่จะใช้จ่ายวันคืนในชีวิตของเธอต่อจากนี้ไว้ที่นี้ “ตอนเราท�ำ Propaganda มาจากบริษัทเล็กๆ พอมันใหญ่ องค์กรใหญ่ขึ้น ความรับผิดชอบเยอะขึ้น มันก็ต้องท�ำให้ดียิ่งๆ ขึ้น ต้องอาศัยความเป็นมืออาชีพมากขึ้นในแง่การบริหาร ถ้าท�ำให้ดีเรา ต้องไปเรียนต่อเรื่องบริหาร หรือมาร์เก็ตติ้ง แต่เราไม่มีแรงบันดาลใจ ที่อยากเรียน ทุกวันนี้เราก็ไม่รู้สึกว่าเกิดมาเพื่อท�ำธุรกิจ ยิ่งเรียนจะยิ่ง เฉา ถ้าเราจะท�ำให้ดีต่อไปเราต้องพัฒนาตัวเองในด้านนั้น เราไม่ควร หยุดตัวเองและบริษัท เมื่อเราเลือกไม่พัฒนาก็ออกมาเลยดีกว่า”

163


ใ น เ มื่ อ ตั ด สิ น ใ จ แ ล ้ ว เมตตาเกษี ย ณตั ว เองก่ อ นเวลา ออกจากงานประจ�ำ  เธอเลือกมุ่ง หน้าสู่การเรียนและฝึกฝนศิลปะ   จากหมวกที่เคยสวมเป็นผู้บริหาร กลับกลายเป็นนักเรียนศิลปะ “เริ่ ม เรี ย นวาดเส้ น ก่ อ น เพราะมั น เป็ น พื้ น ฐานของงาน ศิลปะแขนงต่างๆ ตั้งใจเรียนด้าน นี้   แม้ จ ะต้ อ งใช้ เ วลาปรั บ ตั ว พอ สมควร แต่เพราะการท�ำธุรกิจค่อน ข้างเครียดมาก่อน เรากดดันหลาย อย่ า ง  พอมาท� ำ งานศิ ล ปะแล้ ว รู ้ สึ ก ว่ า สบายใจขึ้ น   ถึ ง แม้ ฐ านะ ทางสังคม เงินทองก็ไม่มีมากมาย เหมือนเมื่อก่อน  แต่ก็บอกตัวเอง ว่าเราต้องอยู่ให้ได้  และใช้ความ เข้าใจเป็นหลัก “พอออกจากงานก็ เ ริ่ ม กินมังสวิรัติด้วย ตอนแรกเกิดจาก ความสงสารมากกว่า  คิดเพียงว่า ตลอดการใช้ ชี วิ ต ของเราไม่ ค วร เบียดเบียนชีวิตของใคร  หลังจาก

164


นั้นทุกอย่างก็จะง่ายขึ้น เพราะเราเป็นคนง่ายๆ ด้วย การเปลี่ยนแปลง จึงไม่ใช่เรื่องน่ากังวลจนเกินไป” ประจวบเหมาะที่น้องสาวของเมตตา  ก่อร่างสร้างโรงเรียน แห่ ง นี้ ขึ้ น   เลยชวนเธอมาปั ้ น พระพุ ท ธรู ป ให้ โ รงเรี ย นแห่ ง นี้   จาก นักเรียนศิลปะที่เรียนเพียงเริ่มต้นก็หวั่นใจพอสมควร “แม้จะมาเรียนศิลปะเอาตอนอายุ  40  แต่เพราะมีความเชื่อ มั่นในตัวเองว่าเราจะท�ำได้และเรียนรู้ได้แน่ๆ  แล้วก็จะท�ำแบบไม่มอง หน้ามองหลังด้วย ดีใจที่ได้ตัดสินใจท�ำ เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตข้าง หน้าจะเป็นอย่างไร “เรามาท�ำงานทุกวัน  เพราะห้องเรียนที่นี่จะมีภาพวาดเกี่ยว กั บ แมลงฝี มื อ เรา  วาดท่ ามกลางเด็ กๆ  นี่ แ หละ”  เมตตายิ้ม กว้า ง สะท้อนความสุขที่เธอมีในทุกขณะอย่างชัดเจน “ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีความสุขทุกๆ วันอยู่แล้ว เพราะได้ พบกับความสงบ ความนิ่ง แล้วก็ได้ท�ำในสิ่งที่เราเลือกได้และท�ำได้ ดี มีชีวิตที่เรียบง่าย  ได้ท�ำอะไรที่พอดีๆ ไม่มีความรู้สึกว่าอยากมีนั่น อยากได้นี่เลย “พอชีวิตสงบ  แล้วได้มีโอกาสหยิบหนังสือพระมาอ่าน  ทุก ครั้งที่รู้สึกว่าชีวิตติดขัดในเรื่องของความคิด  เราจะน�ำหลักพระพุทธ ศาสนามาใช้กับชีวิตในช่วงนั้น  สังเกตสิ  หนังสือทุกเล่มจะมุ่งสู่จุด หมายเดียวกัน  นั่นคือเรื่องของการปล่อยวาง”

165


เคยนั่งนึกถึงความทุกข์ในชีวิตที่ผ่านมา  ภาพของความสุข ภาพหนึ่งปรากฏชัดเจนในห้วงความคิด “ย้อนกลับไปสมัยก่อน  ตอนที่ท�ำงานประจ�ำ  เคยแอบมอง พนักงานฝ่ายสต็อกสินค้า เขาก็ท�ำงานด้วยรายได้ไม่เยอะนัก ทุกเย็น พอเลิกงานเราเห็นเขาเดินจูงมือกันกลับบ้าน พวกเขาแวะซื้อเงาะด้วย มือนึงเขามีถุงเงาะ อีกมือนึงเขาเดินจูงมือกัน ดูเขามีความสุขมากเลย แค่นี้ก็พอแล้วส�ำหรับคนที่ตั้งใจท�ำงานมาตลอดทั้งวัน พอเลิกงานเขา เดินแกว่งถุงเงาะนั้น  เราก็คิดภาพตามว่าพอถึงบ้านเขาก็คงช่วยกัน ปอกเงาะให้คนในครอบครัวกิน วันนึงแค่นี้ก็มีความสุขแล้ว ตรงข้าม กับเราเสียอีกที่มีความสุขไม่ได้ครึ่งหนึ่งของเขาเลย” “หลังจากนั้นก็เลยตัดสินใจออกจากงาน  มาวาดรูป  ทาน มังสวิรัติ มีเงินน้อยๆ แล้วก็มีความตั้งใจว่าจะมีความสุขอย่างน้องๆ ที่ เราเห็นให้ได้ เพราะชีวิตมันไม่มีอะไรมากเลย แค่นี้ก็มีความสุขแล้ว” เมตตาเล่ามาถึงตอนนี้ด้วยรอยยิ้มกว้าง

166


ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีความสุขทุกๆ วัน อยู่แล้ว เพราะได้พบกับความสงบ ความนิ่ง แล้ว ก็ได้ท�ำในสิ่งที่เราเลือกได้และท�ำได้ดี มีชีวิตที่ เรียบง่ายได้ท�ำอะไรที่พอดีๆ ไม่มีความรู้สึกว่า อยากมีนั่น อยากได้นี่เลย

167


ศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์

‘ความสุข’ ที่มีมากขึ้น เมื่อสังคมดีขึ้น ศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์  ปัจจุบันเกษียณ แล้ว  ในอดีตเป็นประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย   แต่ ก็ ป ลี ก เวลาไปเป็ น กรรมการของสภาวิ ช าชี พ วิศวกรด้วย รวมทั้งเป็นกรรมการของ  สสส. เป็น อนุกรรมการของ  2  ส�ำนักใน สสส.  มีการประชุม และท�ำงานกันอยู่อย่างต่อเนื่อง  นอกจากนั้นก็ยัง เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานชมรมจักรยานเพื่อ สุขภาพไทยด้วย ตั้งแต่วัยเด็กมาแล้ว  ศ.ดร.ธงชัย มีความ สนใจใคร่รู้เรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร รอบๆ  ตัวเอง  มากกว่าเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน และนั่นจึงเป็นที่มาของงาน และความสนใจในทุก วันนี้ ปั จ จุ บั น ศ.ดร. ธงชั ย   ได้ มี ส ่ ว นในการ ผลักดันนโยบายสาธารณะด้วยการเดิน  และการ ใช้ จั ก รยานในชี วิ ต ประจ� ำ วั น   นอกจากจะเป็ น ที่ ปรึกษาทั่วไปแล้ว  ยังได้ร่วมท�ำงานวิจัยตามที่ตน ถนัด

168


“ตลอดระยะเวลากว่ า   20  ปี   ที่ ร ่ ว มรณรงค์  และผลัก ดัน นโยบายเกี่ยวกับจักรยานมาอย่างต่อเนื่อง  จากเดิมที่ไม่เคยมีที่จอด จักรยานสาธารณะอยู่ให้เห็น  ก็เริ่มมีที่จอดจักรยานกระจายอยู่มาก ขึ้น มีทางจักรยานตามท้องถนนมากขึ้นกว่าเดิม และมีจ�ำนวนคนขี่ จักรยานทั้งในกรุงเทพฯ  และต่างจังหวัดก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  จนน่า ดีใจ” สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ดู จ ะเปลี่ ย นแปลงไปไม่ ม ากนั ก ส� ำ หรั บ สั ง คม จักรยานในเมืองไทยก็คือ ทัศนคติต่อ ‘จักรยาน’ ของทั้งหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปด้วย “ผมมองว่าถ้าทุกๆ ภาคส่วน เข้าใจหัวใจของจักรยานอย่าง แท้จริง กระบวนการออกแบบและก่อสร้างอย่างทางจักรยาน คงจะ ค�ำนึงถึงการใช้งานจักรยานบนท้องถนนจริงๆ มากกว่าที่เป็นอยู่ หรือ มีมาตรการสนับสนุนทางจักรยานที่สร้างขึ้นมาให้ใช้งานได้อย่าง แท้จริง “อย่ า งตอนนี้ ผ มเห็ น เด็ ก ไทย  หั น มาให้ ค วามสนใจเรื่ อ ง จักรยานกันมากขึ้น  ผมก็หวังว่ามันจะไม่ได้เป็นเพียงกระแสผ่านมา ผ่านไป ยิ่งถ้ามีมากขึ้นก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่จะได้มีคนตื่นตัวที่จะรักษา สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น  มันได้ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาพเมือง สิ่งแวดล้อมในเมืองมันดีขึ้น   หลายคนที่ขี่จักรยานไม่ได้คิดถึงมิตินี้ คิดแต่ว่าตัวเองจะได้ประโยชน์อะไร  แต่การขี่จักรยานมันส่งผลให้สิ่ง แวดล้อมเมืองดีขึ้นแน่ๆ

169


“รวมทั้ ง เรื่ อ งค่ า ใช้ จ ่ า ย ของส่ ว นบุ ค คล  มั น เห็ น ผลจริ ง ๆ เราสามารถลดค่าใช้จ่ายในระดับ บุ ค คลได้   และถ้ า เรานั บ รวมคน เยอะๆ  ก็ เ ป็ น การลดค่ า ใช้ จ ่ า ย ของสังคม ของเมือง ของประเทศ ได้   ในสมั ย ก่ อ น  เรารู ้ แ ค่ ว ่ า มั น ไม่ปล่อยมลพิษและลดค่าใช้จ่ายได้  แต่ปัจจุบันมันมีเรื่องคาร์บอน เครดิต เรื่องโลกร้อนขึ้นมา  การไม่ปล่อยมลพิษจึงเชื่อมโยงไปถึงการ ลดค่าใช้จ่ายได้ด้วย จริงๆ แล้วประโยชน์มันมีหลายมิติ ตั้งแต่เรื่อง เล็กๆ ไปเรื่องใหญ่ๆ” ปัญหาที่พบในทุกวันนี้ คือมีทางจักรยานในกรุงเทพฯ มาก ขึ้นแล้ว แต่คนส่วนใหญ่กลับยังไม่มาขี่กัน เหตุผลอาจมาจากที่ทาง จักรยานไปสร้างบนเส้นทางใหญ่ๆ จุดส�ำคัญๆ ซึ่งยังไม่ใช่จุดที่คน ทั่วไปใช้งานจริง จึงยังไม่เกิดผลตอบสนองอย่างเต็มที่ หน้าที่ที่ควรท�ำในตอนนี้ คือให้คนที่รักการขี่จักรยานมาช่วย ในการผลักดันนโยบาย ด้วยหวังว่าจะท�ำให้รัฐบาลหันกลับมาเห็น ความส�ำคัญ สร้างมาตรการต่างๆ ขึ้นมา รวมไปถึงดูแลรักษาทาง จักรยานที่มีอยู่แล้วให้สามารถใช้งานได้จริง

170


“เรื่องสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน ผมถามว่าสูบบุหรี่ไม่ดี คนทั่วไป รู้ไหม ก็รู้ แต่หลายคนก็ยังสูบอยู่ กินเหล้าไม่ดี ไม่มีประโยชน์ บางคน ก็ยังกินอยู่ การทิ้งขยะไม่ดี หลายคนก็ยังทิ้งอยู่  มันคือเรื่องเดียวกัน คนที่รู้และตระหนักและเข้าใจจนถึงขั้นเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นแค่คน ส่วนหนึ่งของสังคมนะ  มันเป็นทุกเรื่อง  ดังนั้นถ้าเราจะให้คนทั้งสังคม มาเปลี่ยนพฤติกรรมในทันทีทันใดคงจะล�ำบาก  การแก้ปัญหาสิ่ง แวดล้อมก็เช่นกัน  ต้องค่อยๆ แก้กันไป” น่าจะเรียกว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่มีคนให้ความสนใจ และ ตระหนั ก ถึ ง เรื่ อ งปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ มกั น มากขึ้ น กว่ า สมั ย ก่ อ น  แต่ ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก็ทับถมมากขึ้นด้วย อัตราการเติบโตของ ความสนใจไม่ทันกับอัตราการเติบโตของปัญหา  มีช่องว่าง  และยัง ต้องการวิธีแก้ไขกันไป “ทุกวันนี้ความสุขในชีวิตของผม  คือมีครอบครัวที่เข้าใจการ ท�ำงานของผมซึ่งใช้เวลาเยอะ  ความสุขอีกอย่าง  คือได้มีโอกาสท�ำ อะไรให้คนอื่น ดูเป็นเรื่องธรรมดาทั่วๆ ไป แต่ครั้งหนึ่งเมื่อย้อนกลับ ไปประมาณเกือบ 20 ปีก่อน ผมน�ำจักรยานเก่ามาซ่อมแล้วน�ำไปให้ เด็กที่ต่างจังหวัด เด็กที่มีฐานะค่อนข้างจนมากนะ แล้วก็ให้ไปเลย ไม่ ได้ให้ยืมนะให้เลย แล้วเขาจะได้เป็นเจ้าของด้วย หลังจากนั้นเราก็พา เด็กๆ ไปขี่จักรยานกัน ตอนที่ขี่ไปด้วยกัน ผมก็สังเกตเห็นดวงตาของ เด็กที่ได้เป็นเจ้าของจักรยาน  ซึ่งในชีวิตเขาไม่เคยคิดว่าจะมีจักรยาน เป็นของตนเอง สิ่งนี้แหละที่ผมว่ามันยิ่งใหญ่มากส�ำหรับผม จริงๆ แล้วความสุขของคนคนหนึ่ง มันเกิดขึ้นง่ายมาก เราสามารถท�ำให้เขา ได้ และแน่นอนผลกระทบที่ตามมานั้นคือสิ่งแวดล้อมก็ดี สังคมก็อยู่ อย่างมีความสุขมากขึ้น

171


“หรืออย่างบางทีผมจัดสัมมนาวิชาการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที ไร หลายปีก่อนไม่ค่อยมีคนสนใจมากนัก แต่ตอนนี้มีมากขึ้น ซึ่งการ จะชวนคนให้มาสนใจนั้นก็ยาก  และไม่มีงบประมาณอะไรจากทาง ภาครัฐ ท�ำทุกครั้งเหนื่อยทุกครั้ง แต่ก็ยังท�ำอยู่ดี เพราะเรารู้ว่าการน�ำนักวิชาการมาแชร์เรื่องสิ่งแวดล้อมกัน นั้นมันจะช่วยให้สังคมดีขึ้น จนมีคนเคยบอกผมว่าท�ำตรงนี้เหมือนเอา หัวโขกก�ำแพงน่ะ  เวลาโขกมันจะเจ็บเชียวล่ะ  แต่เวลาเลิกโขกแล้วมัน จะมีความสุข ศ.ดร. ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ทิ้งท้ายเล่าด้วยรอยยิ้ม

172


ผมก็สังเกตเห็นดวงตาของเด็กที่ได้ เป็นเจ้าของจักรยาน ซึ่งในชีวิตเขาไม่เคยคิด ว่าจะมีจักรยานเป็นของตนเอง สิ่งนี้แหละที่ ผมว่ามันยิ่งใหญ่มากส�ำหรับผม จริงๆ แล้ว ความสุขของคนๆ นึง มันเกิดขึ้นง่ายมาก เรา สามารถท�ำให้เขาได้ และแน่นอนผลกระทบ ที่ตามมานั้นสิ่งแวดล้อมก็ดี สังคมก็อยู่อย่าง มีความสุขมากขึ้น

173


รชต ธรรมรัตน์

ความสุขของการเป็น “กามเทพแผลงศรรัก”

คนที่ ‘ใช่’ เมื่อไหร่จะมา? ค�ำถามนี้มีเขาคนนี้เท่านั้นที่รู้ รชต  ธรรมรัตน์  หรือ ‘คุณ บอล’ กรรมการผู ้ จั ด การ บริ ษั ท   โกลบอล อี-คอมมูนิตี้ จ�ำกัด เจ้าของ แบรนด์  ‘I Like Date’ ‘บริษัทจัดหา คู ่ ’  หรื อ ที่ ทุ ก คนรู ้ จั ก ในนาม ‘Dr. Date’ บุรุษสื่อรักของเมืองไทยคนนี้ รู้ดีที่สุด ตลอด 8 ปีที่ผ่านมาเขาพา I Like Date น�ำทางคนโสดหลายหมื่น คู่ได้เป็นคู่ชีวิตกัน โดยธุรกิจนี้เปิดมาตั้งแต่ ปี 2548 เป็นธุรกิจต่อเนื่องมา จากธุรกิจสปากว่า 38 แห่งอีกทีหนึ่ง ซึ่งสังเกตเห็นว่าลูกค้าที่มาใช้บริการ ส่วนใหญ่มักเป็นผู้หญิง และอีกธุรกิจหนึ่งที่ท�ำอยู่ด้วยเช่นกัน คือ ธุรกิจ รถเช่าซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย  และทั้งสองกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคน โสด บ่ อ ยครั้ ง ที่ ไ ด้ ยิ น ลู ก ค้ า ทั้ ง สองกลุ ่ ม พู ด คุ ย กั น ถึ ง เรื่ อ งเพศตรง ข้าม  และตรงนี้เองที่เข้ามาจุดประกายความคิดว่า  อยากเป็นกามเทพ ตัวน้อยๆ  คอยแผลงศรให้กับหนุ่ม-สาวโสดเหล่านี้สมความปรารถนา

174


ประกอบกับในปัจจุบันสังคมออนไลน์ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มปริมาณขึ้นด้วย  จากจุดนี้เองที่ สะท้อนภาพชัดเจนว่า ปริมาณของคนที่ต้องการหาคู่ยังมีอยู่สูงอย่าง ต่อเนื่อง และนี่คือโอกาสทองของธุรกิจหาคู่รัก! I Like Date หรือจะเรียกว่าบริษัทจัดหาคู่นี้ เป็นที่นิยมมาก ในประเทศเกาหลี และประเทศญี่ปุ่น หนุ่มสาวต่างแห่แหนกันเข้ามา ใช้บริการมากจนถือเป็นเรื่องปกติ อีกทั้งธุรกิจดังกล่าวยังไม่เคยมีใน ประเทศไทยมาก่อน และธุรกิจ I Like Date เป็นเสมือน ‘พ่อสื่อ-แม่ สื่อ’ ภายใต้กฎกติกา และเกณฑ์มาตรฐานที่เชื่อถือได้ “จุดขายส�ำคัญที่ I Like Date มีคือเน้นเรื่องการสัมภาษณ์ ลูกค้าเองทุกคน เพราะจะได้เช็คข้อมูลส่วนตัว หน้าที่การงาน บุคลิก นิสัย ความต้องการของคู่ที่อยากจะเจอ และที่ส�ำคัญต้องดูว่าลูกค้า โสดอยู่จริงหรือไม่  เพื่อความสบายใจของกลุ่มลูกค้าของเรา “เราจะปฏิเสธการสมัครผ่านอินเตอร์เน็ต และระบบ Dating Online ทั้งหลายเพราะจะไม่มีทางรู้ว่าสิ่งที่เขาบอกผ่านอินเตอร์เน็ต มันเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เราจึงอยากเช็คข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดให้ลูกค้า” หลังจากได้รับการติดต่อเป็นที่เรียบร้อย ทีมงาน I Like Date จะด�ำเนินการนัดหมายเพื่อท�ำการสัมภาษณ์เก็บประวัติส่วนตัวโดย การสอบถามรายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ ความสนใจว่ า เขาหรื อ เธอเป็ น อย่างไร สไตล์แบบไหนที่อยากพบและอยากจะท�ำความรู้จักด้วยมาก เป็นพิเศษ รวมถึงการใช้ชีวิตส่วนตัว และไลฟ์สไตล์ต่างๆ

175


“จากนั้ น เมื่ อ ท� ำ การเก็ บ ข้ อ มู ล เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ทางทีมงานจะกลับ มาดูข้อมูลของสมาชิกที่คิดว่ามีรสนิยม ต้องกัน  เหมาะสมกันมากที่สุด เพื่อที่จะ ท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น คนกลางในการน� ำ เสนอ อธิ บ ายความเป็ น ตั ว ตนให้ ทั้ ง สองฝ่ า ย ได้ รั บ ทราบข้ อ มู ล เบื้ อ งต้ น ของกั น และ กั น   หากทั้ ง สองฝ่ า ยพึ ง พอใจกั บ ข้ อ มู ล และตกลงใจที่ จ ะนั ด พบกั น   ทางที ม งาน I Like Date จะเป็นฝ่ายประสาน งาน จัดหาสถานที่ให้ทั้งสองได้โคจรมาพบกัน เมื่อสรุปสถานที่ วัน และเวลาให้ทั้งสองฝ่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทีมงานจะคอนเฟิร์มไปที่ ลูกค้าอีกครั้งก่อนการนัดหมาย 3 ชั่วโมง” วิธีหาคู่แบบนัดดูตัวนี้ เป็นเรื่องใหม่ส�ำหรับสังคมไทย ฉะนั้น อาจจะมีอาการขัดๆ เขินๆ กันอยู่บ้าง แต่ที่ส�ำคัญสิ่งที่ทั้งสองฝ่าย ต้องท�ำต่อไปนั่นก็คือ การเป็นตัวของตัวเอง และเป็นกันเองกับคู่เดท ในการแนะน�ำตัวสนทนากับอีกฝ่ายอาจใช้เวลาในระหว่างมื้ออาหาร หรือในระหว่างกิจกรรมที่ทีมงานจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อที่จะท�ำการศึกษา กันและกันให้มากที่สุด “ผู้ชายมักจะชอบสเป็ก ขาว สวย หมวย อึ๋ม นิสัยดี ไม่ขี้งอน ผมก็มักจะบอกเขาว่านี่มันนางฟ้าดีๆ นี่เอง หรือผู้หญิงก็ต้องการสเป็ก ผู้ชายขาวตี๋ หล่อ รวย มีฐานะ เหมือนกับการขอเทพบุตรให้มาจุติบน โลกมนุษย์  ผมมักจะบอกคนพวกนี้ว่าผมไม่ใช่พระเจ้าที่จะตามหา คนในฝันแบบนี้มาให้ได้ ต้องมองจากความเป็นจริงให้มากที่สุด”

176


เสน่ห์ของงานนี้คืออะไร “เสน่ห์ของงานคือท�ำให้ความรักมันเกิดขึ้น แล้วเราก็มีความ สุข คนเราต้องการความรัก ความอบอุ่น และการสร้างครอบครัว ซึ่ง เราคือจุดเริ่มต้นให้เขา  ความสุขของงานในทุกวันนี้คือเรื่องความ รักล้วนๆ  ที่เราเห็นจากลูกค้า  แล้วเราน�ำความรักจากคนหลายๆ  คู่ มาหาทางในการแก้ไขปัญหา  ท�ำแล้วไม่มีเบื่อเพราะปัญหาของคน แต่ละคู่ก็ไม่เหมือนกัน แล้วมุมมองในเรื่องความรักของเราก็กว้างขึ้น ไปพร้อมกันด้วย” “ผมมีความเชื่อว่า  ยังมีกิจกรรมเกี่ยวกับความรักมากมายที่ อยากท�ำ  เป็นอาชีพที่ท�ำแล้วผมยิ่งมีความสุข  เพราะนอกเหนือจาก เรื่องเงินแล้ว เรายังได้เพื่อนใหม่ ได้เห็นคู่รักหลายคู่ค้นพบคนที่ ‘ใช่’ จริงๆ”

177


เสน่ห์ของงานคือท�ำให้ความรักมันเกิดขึ้น แล้วเรา ก็มีความสุข คนเราต้องการความรัก  ความอบอุ่น และการ สร้างครอบครัว  ซึ่งเราคือจุดเริ่มต้นให้เขา  แล้วความสุขของ งานในทุกวันนี้  คือเรื่องความรักล้วนๆ ที่เราเห็นจากลูกค้า แล้วเราน�ำความรักจากคนหลายๆ คู่มาหาทางในการแก้ไข ปัญหา  ท�ำแล้วก็ไม่มีเบื่อเพราะปัญหาของคนแต่ละคู่ก็ไม่ เหมือนกัน  แล้วมุมมองในเรื่องความรักของเราก็กว้างขึ้นไป พร้อมกันด้วย

178


179


ชีวิน โกสิยพงษ์ ยิ่งให้ความสุขแก่ใคร ก็จะได้ความสุขตอบแทน หากใครไม่รู้จักนักแต่ง เพลง นักร้อง และโปรดิวเซอร์ ผลิตเพลงแนว R&B ที่ชื่อ ชีวิน โกสิยพงษ์  หรือที่หลายคนเรียก บอย โกสิยพงษ์ คนนี้ถึงขั้นเชย สุดๆ และถ้าให้อธิบายเพิ่ม อดีต เขาเคยเป็นหนึ่งในผู้บริหารของ ค่ายเพลงเบเกอรี่มิวสิค มีผลงาน แต่งเพลงหลายชุด  และปัจจุบัน เป็ น ผู ้ บ ริ ห ารค่ า ยเพลงเลิ ฟ อี ส ค่ายเพลงที่ตอบได้อย่างแน่นอน ว่า ‘รัก’ คืออะไร กว่ า จะมาเป็ น เจ้ า พ่ อ เพลงรั ก อย่ า งในทุ ก วั น นี้   บอย ได้ เ ริ่ ม เรี ย นเปีย โนตั้ง แต่อายุ  4 ขวบ และเริ่มแต่งเพลงประกอบ การ์ ตู น ที่ เ ขี ย นขึ้ น เองตั้ ง แต่ อ ยู ่ ชั้ น ประถมปี ที่   6  หลั ง จากนั้ น ก็ ศึ ก ษาชั้ น มั ธ ยมฯ จากโรงเรี ย น

180


เซนต์ดอมินิก และไปศึกษาต่อด้านการแต่งเพลง และธุรกิจเพลง ที่มหาวิทยาลัย UCLA (University of California at Los Angeles) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อจบการศึกษา บอยได้เริ่มท�ำงานเป็นนักแต่งเพลงอิสระที่ ท�ำงานให้ทั้งศิลปินเพลง และเพลงประกอบโฆษณา จนกระทั่งได้ร่วม งานกับ สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ และได้ก่อตั้งบริษัท เบเกอรี่ มิวสิค ขึ้นในปี พ.ศ. 2537 ร่วมกับ สุกี้-กมล สุโกศล แคลปป์ สมเกียรติ อริยชัยพาณิชย์ และ สาลินี ปันยารชุน โดย บอยมีหน้าที่หลักในด้านแต่ง เพลงและท�ำดนตรี บริ ษั ท เบเกอรี่ มิ ว สิ ค เติ บ โตเรื่ อ ยมาจนกระทั่ ง ประสบ ปั ญ หาทางการเงิ น จนต้ อ งเข้ า ร่ ว มกิ จ การกั บ บริ ษั ท บี เ อ็ ม จี มิ ว สิ ค (ประเทศไทย) และภายหลังในปี พ.ศ. 2547 บริษัทแม่ของบีเอ็มจีใน ต่างประเทศได้ควบรวมกิจการกับบริษัทโซนีมิวสิค  ส่งผลให้บริษัท เบเกอรี่มิวสิคที่เข้าร่วมกิจการกับบริษัทบีเอ็มจีมิวสิค(ประเทศไทย) ต้องเข้าร่วมกับบริษัทโซนีมิวสิค (ประเทศไทย) ไปโดยปริยาย และ เบเกอรี่มิวสิค ต้องกลายเป็นค่ายเพลงย่อยของโซนี่มิวสิค ผู้บริหาร ของเบเกอรี่มิวสิค รวมถึงบอยเองจึงลาออกจากเบเกอรี่มิวสิค ต่อมา บอยและสุกี้ ได้ร่วมก่อตั้งค่ายเพลงใหม่ขึ้นมาภายใต้ชื่อเลิฟอีส “ตลอดเวลาที่ท�ำงานตรงนี้ ผมมักจะมีความสุขเสมอ เวลา ที่ได้เห็นว่าคนฟังมีความสุขกับการได้ฟังเพลงของเรา  หรือมีความ สุขที่ได้เห็นน้องๆ ที่ท�ำงานด้วยกันมาประสบความส�ำเร็จ และเราได้ มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในความส�ำเร็จของพวกเขา...เพียงเท่านี้ผมก็มี ความสุขมากแล้ว” บอยเล่าถึงสิ่งที่เขาก�ำลังคลุกคลีอยู่ทุกวัน

181


ส่วนในเรื่องการท�ำงานเพลงของเขาเอง  เขามีความสุขกับ เพลงไหน “ถ้าถามว่าเพลงอะไรน�ำมาซึ่งความสุขให้แก่ผมบ้าง  ก็ต้อง ตอบว่าแล้วแต่ช่วงเวลามากกว่า  อย่างเวลาที่เราทุกข์มากๆ  เพลง ของพระเจ้าจะให้ความสุขกับเราได้มาก ถ้าเป็นช่วงเทศกาล เพลง คริสต์มาสก็ให้ความสุขกับเราได้เช่นกัน”

แม้บอยจะนับถือศาสนาคริสต์ เป็นคาทอลิคตั้งแต่เด็ก   แต่ก็ มาจริงจังกับการนับถือพระเจ้าในช่วงหลังอายุ 35 ปีแล้ว “การได้พบพระเจ้าท�ำให้ผมมีหลักในการด�ำเนินชีวิต  รวม ทั้งธุรกิจและการท�ำงานต่างๆ มากขึ้น ผมเปรียบให้เห็นว่าชีวิตคนเรา เหมือนต้นองุ่นน่ะ พอไม่มีไม้ไผ่มันก็จะเลื้อยลงดินไม่มีผล แต่ถ้าเรามี หลัก องุ่นพวงนั้นจะเลื้อยอยู่บนไม้รวกและผลิดอกออกผลได้ “ตอนที่ผมพบกับพระเจ้าแรกๆ ผมรู้สึกตีบตันมาก ในเรื่อง ของการท�ำเพลง  ตันในที่นี้คือเราไม่ได้แต่งเพลงด้วยหัวใจเรา หรือ

182


สมองของเรา  แล้วตอนนั้นก็ท�ำต�ำแหน่งบริหารด้วย  เลยมีหลายเรื่อง ที่ต้องจัดการ ก็ท�ำให้ผมรู้สึกว่าไม่สามารถแต่งเพลงออกมาจากหัวใจ ได้เลย” และการมีคนมาเรียกเขาว่า  ‘เจ้าพ่อเพลงรัก’  ส�ำหรับบอย แล้วความเครียดนี้ก็มีสะสมโดยที่เขาไม่รู้ตัว “ตอนนั้นผมจ�ำได้ว่า รู้สึกกดดันและไม่ได้ชอบเอาซะเลย แต่ เราอยากยึดต�ำแหน่งที่คนยกย่องเราไว้  ยิ่งประสบความส�ำเร็จมาก ผมยิ่งเศร้า  มันเพิ่มพูนความกังวลให้แก่ผม  เพราะเรารู้ตัวเองดีว่า เราไม่ได้เก่งขนาดนั้น สักวันมันก็ต้องมีตกลง จวบจนวันที่ได้พบกับ พระเจ้า พระเจ้าท่านบอกว่าทุกสิ่งไม่ใช่ของเรา ไม่มีอะไรที่เป็นของ เราเลย แค่เราท�ำให้ดีที่สุดก็พอแล้ว ผมก็รู้สึกว่าจิตใจสบายขึ้น” สิ่งที่พระเจ้าท่านเน้นคือเรื่องอะไร “รักพระเจ้าให้สุดหัวใจ  และรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเรา เอง เรียกว่าเป็นมหาบัญชาในการฝึกฝนตัวเอง ในการรักคนที่เราไม่ รักให้ได้  และชีวิตคนเรานั้นจะถูกขัดเกลาด้วยปัญหาโน้นปัญหานี้ เหมือนกระดาษทรายนั่นเอง “หน้าที่ของเราทุกวันนี้คือท�ำทุกอย่างให้ดีที่สุดก่อน ถ้ามันไม่ ได้จริงๆ ก็ปล่อยไปตามลิขิตของพระเจ้าแล้ว พระเจ้าท่านจะย�้ำเรื่อง เราปลูกสิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น ถ้าเราปลูกความรัก เราก็จะได้เก็บเกี่ยว ความรัก  ถ้าเราคิดว่าเป้าหมายของเราอยากจะเก็บเกี่ยวอะไร เราก็ ต้องเริ่มปลูกตั้งแต่วันนี้ อย่างต้นไม้นั่นแหละ มันต้องใช้เวลาเติบโต เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวแล้วเราจะชื่นใจ

183


“ผมมองเรื่องการส่งต่อความสุขเหมือนอยู่ในสระว่ายน�้ำน่ะ ถ้าเราผลักน�้ำออกไปจากตัวเรา เสมือนการส่งความสุขออกไป สังเกต สิว่ามวลน�้ำที่เข้ามาจะมีมากกว่าที่เราผลักออกไปเสียอีก  แต่ถ้าเรา กอบน�้ำเข้ามาหาตัวเราเอง  มวลน�้ำหรือความสุขก็จะออกจากเราไป อย่างรวดเร็วเช่นกัน เปรียบให้เห็นภาพคือ ยิ่งเราให้ความสุขแก่ใคร เราก็จะได้รับความสุขตอบแทน  แต่ถ้าเราอยากเก็บความสุขไว้คน เดียว มันก็จะออกไปจากเราอย่างรวดเร็ว” ทุกวันนี้ความสุขของชีวิตผมคือการที่ครอบครัวอยู่พร้อมหน้า พร้อมตา ลูกๆ มีร่างกายและหัวใจที่แข็งแรง ผมได้ท�ำงานที่รัก ได้ ชื่นชมน้องๆ  ในค่ายที่ประสบความส�ำเร็จ  แค่นี้ผมก็มีความสุขแล้ว ครับ”

184


ยิ่ ง เราให้ ค วามสุ ข แก่ ใ คร  เราก็ จ ะได้ รั บ ความสุขตอบแทน แต่ ถ้าเราอยากเก็บความ สุขไว้คนเดียว  มันก็จะ ออกไปจากเราอย่ า ง รวดเร็ว

185


วรางคณา กาญจนชูศักดิ์ และ รชต จรรยาภัค

ความสุขจากการตกหลุมรักในสิ่งเล็กๆ ในชั่วโมงที่สังคมบีบรัดท�ำให้ทุกอย่างในชีวิตต้องแข่งขันกัน อยู่ตลอดเวลา  การท�ำธุรกิจอะไรสักอย่างจ�ำเป็นต้องอาศัยแนวคิด ‘คิดแล้วต้องรีบท�ำเลย’ นี้สอดคล้องไปด้วย แหม่ม - วรางคณา กาญจนชูศักดิ์ และบิน - รชต จรรยาภัค 2 หนุ่มสาวหุ้นส่วนโรงเรียนสอนท�ำอาหารเด็กชื่อ a little something ย�้ ำ อี ก ครั้ ง เรื่ อ งแนวความคิ ด นี้    เพราะเมื่ อ เธอและเขาเดิ น ทางไป ประเทศญี่ปุ่นแล้วเจออุปกรณ์ท�ำครัวของเด็กๆ  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้ จริง ไม่ใช่เป็นแค่ของเล่น นั่นจึงท�ำให้เกิดแรงบันดาลใจส�ำคัญในการ เริ่มต้นท�ำธุรกิจนี้

186


บวกกับที่เขาและเธออาศัยความรู้ความช�ำนาญที่แตกต่าง กันมาเป็นส่วนผสมที่สุดแสนลงตัว  ทั้งเรื่องงานด้านการออกแบบ ของ ‘บิน จรรยาภัค’ และพื้นฐานทางวิชาบริหารธุรกิจของ ‘แหม่ม วรางคณา’ แม้จะท�ำอาหารไม่เป็น แต่ก็ยังเลือกท�ำธุรกิจด้านนี้ หลัง จากมองเห็นช่องว่างทางการตลาดในประเทศไทยที่ยังไม่มีใครคิดท�ำ ธุรกิจประเภทนี้อย่างจริงจัง “เราสะดุดตากับอุปกรณ์ท�ำครัวส�ำหรับเด็ก  ก็พบว่าธุรกิจ นี้น่าจะช่วยให้เด็กไทยได้ฝึกทักษะด้านการท�ำครัว  เพราะไม่เพียง แต่เด็กจะได้รับความเพลิดเพลินแล้ว ยังได้ใช้จินตนาการ ความคิด สร้างสรรค์ รวมถึงการฝึกค�ำนวณจากการชั่งตวงวัตถุดิบไปในตัวด้วย “บวกกับที่รู้สึกว่าในวัยเด็กคนส่วนใหญ่ต้องผ่านการเล่นขาย ของ เล่นท�ำอาหารมาบ้าง ไม่ว่าจะเด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิง โดยหยิบ จับของใกล้ตัวมาท�ำ เราก็เลยปิ๊งไอเดียนี้ขึ้นมา  คิดว่าถ้าเด็กๆ เขาท�ำ เองด้วย แล้วกินจริงๆ ได้ด้วยก็น่าจะดี” ‘คิดอะไรต้องรีบท�ำเลย’  เขาและเธอใช้แนวความคิดนี้มา ตลอด เมื่อเชื่อในสิ่งที่ตัวเองเลือกท�ำ ก็ไม่ควรรอช้า บวกกับที่ทั้งสอง เป็นคนชอบเด็กมากๆ ทั้งคู่ จึงเริ่มต้นหาทีมงาน หาคุณครูที่จบจาก เลอ กอร์ดอง เบลอ มาช่วยสอนเด็กๆ หาโภชนาการมาช่วยคิดเมนู อาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กจริงๆ จุดมุ่งหมายของโรงเรียนแห่งนี้คืออยากให้เด็กๆ  เรียนรู้สิ่ง ต่างๆ ผ่านการท�ำอาหาร ซึ่งผลตอบรับก็เป็นไปได้ด้วยดี เด็กๆ มี พัฒนาการมากขึ้น ได้รู้จักการเข้าสังคม เสริมสร้างไอคิวและอีคิว มี ความคิดสร้างสรรค์ที่ดี รวมทั้งการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษที่

187


ช่วยท�ำให้ a little something โดดเด่น และกลายเป็นที่ยอมรับอย่างรวดเร็ว “เป็นความตั้งใจแต่แรกที่เรา คิดจะสอนเป็นภาษาอังกฤษ  เพราะ เชื่อว่าเด็กจะได้เรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษา อั ง กฤษไปในตั ว   โดยไม่ ต ้ อ งอาศั ย การท่องจ�ำ  ในขณะที่เด็กได้ลงมือท�ำ อาหารเอง  สิ่ ง ที่ ไ ม่ ช อบรั บ ประทาน ก็ จ ะรั บ ประทานเองโดยไม่ ต ้ อ งให้ ผู ้ ปกครองบังคับ เช่น ผัก ผลไม้ ที่เด็ก บางคนไม่เคยรับประทาน  โดยเมื่อท�ำ เสร็ จ ก็ น� ำ ไปอวดให้ ผู ้ ป กครองได้ รั บ ประทานกันในครอบครัว” ในต่างประเทศธุรกิจโรงเรียน สอนท� ำ อาหารเด็ ก นั้ น มี อ ยู ่ จ� ำ นวน มาก แต่ในเมืองไทยยังไม่มี ตรงนี้ จึงกลายเป็นช่องทางที่ท�ำให้ a little something กลายเป็นที่ยอมรับแม้จะ ใช้เงินลงทุนสูง แต่เพราะความตั้งใจ จะเริ่มต้นท�ำธุรกิจกันอย่างเล็กๆ แบบ เพื่อนร่วมหุ้นกับเพื่อน ตลอดสามปีที่ ผ่านมาโรงเรียนจึงค่อยๆ ขยับขยายใน ทิศทางที่ดีขึ้นอย่างช้าๆ เมื่อโรงเรียน กลายเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น

188


เขาทั้งสองก็ตั้งใจว่าจะขยับขยายต่อไปในอนาคต เห็นได้จากที่เขาทั้ง คู่เพิ่งเปิด a little something ย่านถนนราชพฤกษ์เมื่อไม่นานมานี้ ส่วนแผนธุรกิจนอกเหนือจากนี้ สองหนุ่มสาวเล่าว่าที่ผ่านมา มีหลายคนที่สนใจและต้องการจะขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ซึ่ง เขาและเธอมองว่าก็ต้องดูกันต่อไป “ตลอดเวลาสามปีเราทั้งคู่ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง  และ นิสัยของพวกเราก็ใจดี และมองคนในด้านบวกเสมอ ให้เต็มร้อยทุก ครั้ง ดูแลทุกคนดี ตลอดระยะเวลาที่เปิดโรงเรียนมาก็ท�ำให้เราได้เรียน รู้ที่จะแข็งแรงขึ้น” แต่เหนือสิ่งอื่นใด พัฒนาการของเด็กๆ ที่มาเรียนท�ำให้สอง หนุ่มสาวรู้สึกถึงคุณค่าในสิ่งที่พวกเขาก�ำลังท�ำอยู่ “เราเคยเจอเด็กที่สมาธิสั้น เกเรมาก วิ่งไปวิ่งมา  ชอบมุดโต๊ะ ชอบท�ำอะไรเร็วๆ แต่พอได้เรียนไปสักพัก เขาเริ่มสนุกกับการได้ท�ำ ก็ นิ่งขึ้น  บวกกับเด็กก็มีความสนใจและได้มีสมาธิมากขึ้น  เขาก็จะมี พัฒนาการในทิศทางที่ดีขึ้น หรือในกรณีเด็กที่เป็นลูกคนเดียวมาเรียน การมาเรียนที่นี่จะท�ำให้เข้าใจเรื่องการเข้าสังคม  การเสียสละให้รุ่น น้องก่อน รวมถึงได้รู้จักการรอคอยและการแบ่งปันไปพร้อมกันด้วย”

189


ก่ อ นที่ บ ทสนทนาจะจบลง  หากถามว่ า เขาและเธอมี ความสุขหรือไม่ อย่างไร

เรามีความสุขที่ได้ท�ำในสิ่งที่เราชอบ  มี ความสุขทุกครั้งเวลาที่มีคนเข้ามาคุยเรื่อง โรงเรียนของเรา  แต่ก็ยอมรับว่ามีช่วงท้อนะ   ว่าโรงเรียนจะเป็นอย่างไรต่อไป  แต่เราก็จะ หายท้อเสมอ   เมื่อเจอพ่อแม่ที่น่ารักๆ  มาคุย กับเรา  มันกลายเป็นพี่เป็นน้องกันไป  แล้ว เราก็รักเด็กด้วย อยากเจอเด็กๆ  ทุกวัน  ซึ่ง เรามองข้ามเรื่องรายได้ไปเลยนะเพราะเรามี ความสุขที่ได้ท�ำตรงนี้จริงๆ

190


191


สุภา ใยเมือง

ปลูก ‘ความสุข’ ไว้ในหัวใจมนุษย์ทุกคน

ในบ่ายวันที่ร้อนอบอ้าวของ ฤดูร้อน สุภา ใยเมือง ผู้อ�ำนวยการ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) ยื น ยิ้ ม ต้ อ นรั บ ทุ ก คนด้ ว ยความเป็ น มิ ต รที่ มู ล นิ ธิ เ กษตรกรรมยั่ ง ยื น ย่ า น ถนนงามวงศ์วาน ก่ อ นจะเริ่ ม ท� ำ ความรู ้ จั ก ผู ้ หญิงคนนี้  ไปรู้จักมูลนิธิที่เธอท�ำงาน อยู่เป็นข้อมูลก่อนดีกว่า มู ล นิ ธิเ กษตรกรรมฯ  เริ่ ม ต้ น มาจากการท�ำ ‘เครือข่า ยเกษตร ทางเลือก’ เผยแพร่ความความรู้แก่เกษตรกร การลดใช้สารเคมี โดยเน้น ท�ำงานหลักในสองด้านคือ การจัดท�ำฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช และความ มั่งคงทางอาหารของคนไทย โดยเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ท�ำงานด้าน วิชาการ บูรณาการความรู้ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน โดยเอาชุมชนเป็นตัวตั้ง น�ำไปสู่การพึ่งพาตนเอง และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนและชุมชน

192


“เราเริ่มจดทะเบียนมูลนิธิฯ และก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยช่วงแรกมูลนิธิมีภารกิจหลักในการบริหารจัดการโครงการน�ำร่อง เพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย  ซึ่งเป็นโครงการ ต้นแบบการผลักดันให้มีการน�ำนโยบายที่ก�ำหนดไว้ในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาปฏิบัติจริง  โครงการน�ำร่อง   มีเป้า หมายเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและการ จัดการทรัพยากรชายฝั่งที่เหมาะสม  อันจะน�ำมาสู่การพึ่งตนเองได้ ของเกษตรกรและชุมชนในด้านเศรษฐกิจ อาหาร ที่ดินท�ำกิน และ สิ่งแวดล้อม  ตลอดจนความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในการพัฒนา เกษตรกรรมยั่งยืนและการจัดการทรัพยากรต่อไป” การท� ำ งานของเธอคื อ การได้ ร ่ ว มคิ ด ค้ น แนวทางการแก้ ปัญหาของเกษตรกร  และกลุ่มองค์กรชุมชนด้วยระบบเกษตรกรรม ยั่งยืน  พร้อมกับการพัฒนารูปแบบและแนวคิดในการสร้างการพึ่ง ตนเองของครอบครัวและชุมชนบนฐานนิเวศวัฒนธรรมที่แตกต่าง หลากหลาย  และด�ำเนินไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม โลกและสั ง คมไทย  ภายใต้ ก ระแสโลกาภิ วั ต น์   ผสมผสานความ เปลี่ ย นแปลงของโลกทั้ ง ด้ า นการพั ฒ นาเทคโนโลยี ชี ว ภาพ  และ แนวคิดในทางเศรษฐกิจ  ท�ำให้งานเกษตรกรรมยั่งยืนยิ่งทวีความ ส�ำคัญตามล�ำดับ

193


ในส่วนของการด�ำเนินงานที่สุภาก�ำลังทุ่มเทอย่างแข็งขัน “ขณะนี้ก็มีโครงการสวนผักคนเมือง ที่ส่งเสริมและสนับสนุน ให้คนเมืองปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ  ทั้งลดค่าใช้จ่าย  สร้าง สุขภาพที่ดี  เชื่อมความสัมพันธ์ของครอบครัว  และยังเป็นการเพิ่ม พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองอีกด้วย  โดยได้รับการตอบรับจากคนเมือง เป็นอย่างดี ตอนนี้มีศูนย์อบรมเจ็ดแห่งแล้ว กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพ และปริมณฑล นอกจากนี้ยังมีการจัดประกวดสวนผักในบ้านฉัน ซึ่ง เป็นการยกระดับความรู้ และแนวคิดการปลูกผักสวนครัวคนเมืองให้ เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น”

194


ทุกวันนี้การท�ำงานของมูลนิธิฯ  เน้นยึดฐานการพัฒนางาน เกษตรกรรมยั่ ง ยื น ในประเทศไทย  ในขณะเดีย วกัน ก็ต้องการการ พัฒนาและยกระดับทั้งด้านความรู้  และการยอมรับจากสาธารณชน และนโยบาย “ความรู้ที่จะได้รับการพัฒนา  ประยุกต์ใช้นั้นก็ควรด�ำเนินไป เพื่อสร้างพลังของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาของ ตนเองและสังคม ในขณะที่การยอมรับจากผู้บริโภค และสาธารณชน รวมทั้งระดับนโยบาย  จะช่วยยกระดับให้เกษตรกรรมยั่งยืนมีสถานะ ไม่เพียงเป็นระบบเกษตรกรรมส�ำหรับเกษตรกรและชุมชน  แต่เชื่อม โยงสู่ระบบอาหารที่จะช่วยสร้างความมั่นคงและอธิปไตยทางอาหาร ส�ำหรับประชาชนในประเทศอีกด้วย” บทเรียนจากโครงการฯ ได้สร้างการพึ่งตนเองให้กับเกษตรกร สมาชิกสามารถพึ่งตนเองในด้านต่างๆ ได้มากขึ้น อาทิ การมีพืชผล หลากหลายชนิดบริโภคในครัวเรือนซึ่งช่วยลดรายจ่ายค่าอาหารได้ มากขึ้น การลดละเลิกการใช้สารเคมีการเกษตร เป็นต้น ขณะเดียวกัน เกษตรกรก็ได้พัฒนาแนวคิดและความรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ใน รูปแบบต่างๆ อาทิ การวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วม การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน ซึ่งโครงการพยายามพัฒนารูปแบบและกระบวนการ เรียนรู้เหล่านี้ให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของ แต่ละพื้นที่เป็นส�ำคัญ

195


“เนื่องจากเราเป็นองค์กรเล็กๆ  เราก็ไม่ได้มีบุคลากรมาก นอกจากท�ำงาน เรายังหารายได้ให้กับองค์กรเราด้วย สิ่งที่เราอยาก ให้เกิดขึ้นก็อาจจะยังไม่บรรลุผล  ทีมงานก็ต้องคิดอะไรที่มันเป็นจริง มากขึ้น ซึ่งปัญหามันถูกแก้ไปเรื่อยๆ แหละ เพียงแต่มันต้องใช้เวลา อยู่เหมือนกัน “ยิ่งท�ำงานก็พบว่าสังคมเรานั้นมีก้อนความคิดอยู่ไม่กี่ชุด การท�ำงานก็คือการต่อสู้  และให้การท�ำงานของเรามีประโยชน์ต่อ ทุกๆ คนมากที่สุด ทั้งเรื่องวิธีคิด เรื่องโครงสร้าง เรื่องนโยบาย เรื่อง ของชาวบ้าน และทุกคนในสังคม เราท�ำความเข้าใจกับมันได้ เห็นถึง ความส�ำเร็จและล้มเหลวมาเยอะ ก็เรียกว่าเป็นบทเรียนที่เราสามารถ จะวิเคราะห์ออกมาได้” ระหว่ า งบทสนทนา  พี่ สุ ภ า  พี่ ใ หญ่ ข องน้ อ งๆ  มู ล นิ ธิ เกษตรกรรมยั่งยืนคนนี้  ยิ้มน้อยๆ  เมื่อพูดถึงเรื่องการท�ำงานแสน ยาวนานของเธอ

196


แล้วความสุขล่ะ ความสุขในชีวิตของเธอมาจากสิ่งใด “ความสุขมักจะมาจากสิ่งที่ท�ำให้ไม่มีความสุข  ส�ำหรับเรา ความสุขคือการมีชีวิตที่ไม่ต้องรีบเร่งมาก  มีเวลาคิดเยอะๆ  มีความ สุขกับการได้เรียนรู้ ได้อ่านหนังสือ เราพอใจกับชีวิตแบบนี้ ไม่ต้อง ขวนขวายหาเงินมากมาย  แค่ด�ำรงชีวิตได้  และไม่ต้องคาดหวังกับ อนาคตของตัวเองมากนัก แค่นี้ก็มีความสุข รวมทั้งการมีชีวิตกับการ ท�ำงานได้อย่างมีความสุขด้วย “จริงๆ แค่เขียนรายงานการศึกษาในเรื่องต่างๆ ที่ท�ำเสร็จ ก็มี ความสุขแล้วนะ” (หัวเราะ) ตลอดบทสนทนาของเรา  นึ ก อยู ่ ใ นใจว่ า ยั ง มี ค นตั ว เล็ ก ๆ มากมาย  ที่มุ่งมั่นท�ำงานหนัก  และอยากเปลี่ยนแปลงสังคมไปใน ทิศทางที่ดีขึ้นอยู่ทุกวัน เหมือนกับที่ผู้หญิงชื่อ สุภา ใยเมือง คนนี้ย�้ำ ทิ้งท้ายไว้อย่างหนักแน่น

197


ความสุขคือการมีชีวิตที่ไม่ ต้องรีบเร่งมาก มีเวลาคิดเยอะๆ  มี ความสุขกับการได้เรียนรู้ ได้อ่าน หนังสือ เราพอใจกับชีวิตแบบนี้

198


199


สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ

การรู้จักให้ “ความสุข” คือการได้รับอย่างไม่มีวันสิ้นสุด

หลังจากได้ศึกษาข้อมูลของชายผิวคล�้ำ ดวงตาเด็ดเดี่ยวคน หนึ่ง จึงได้ทราบว่าพ่อของเขาซึ่งเป็นครูบ้านนอกและชื่นชอบการอ่าน ได้แรงบันดาลใจจากงานวรรณกรรมจนน�ำมาตั้งชื่อให้ผู้ชายคนนี้ว่า ‘เช็ค’ ซึ่งมาจาก ‘William Shakespeare’ นั่นเอง เหมือนพ่อจะรู้ว่าลูกชายที่ชื่อ เช็ค-สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ คนนี้ จะหลงใหลในการอ่านการเขียนทางวรรณกรรมยิ่งนัก ซึ่งทั้งหมดล้วน เป็นคลังความรู้  น�ำมาซึ่งงานที่เขาเลือกท�ำ และบทบาทพิธีกรรายการ ‘คน  ค้น  ฅน’  แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าผู้ชายคนสวมหมวกนี้เป็นเจ้าของ บริษัททีวีบูรพาที่ผลิตรายการดี ๆ อย่าง  ‘คน ค้น ฅน’ ‘กบนอกกะลา’ ‘กระบี่มือหนึ่ง’ ‘แผ่นดินเดียวกัน บ้านฉันบ้านเธอ’ อีกด้วย

200


อย่างไร

ถามว่าทุกวันนี้สุทธิพงษ์จัดสรรปันส่วนชีวิต  และการท�ำงาน

“ผมดูแลในด้านธุรกิจบ้าง ท�ำงานพิธีกรควบคู่กันไป มีเขียน หนังสือนิดหน่อย  แล้วก็ท�ำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว  ส่วนใหญ่ก็วน เวียนอยู่เท่านี้  จริงๆ  ผมไม่เคยแบ่งสัดส่วนของการใช้ชีวิตหรือการ ท�ำงานอย่างชัดเจนเลย ผมไม่เคยแบ่งปริมณฑลของการใช้ชีวิตแบบ นั้นเลยนะ ส่วนใหญ่ผมจะแบ่งวิธีการใช้ชีวิตตามเหตุปัจจัย ทุกวันมี การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทุกสิ่งมีการตั้งอยู่ ดับไป ตามความ เป็นจริง ผมก็ปรับสภาพจิตของเราให้อยู่กับความเป็นจริงแบบนี้ ถึง งานมันจะดึกมันก็ดึก วันนึงจะเช้ามันก็ต้องเช้า มีงานก็ท�ำ ถ้าหาก ต้องเลือกหลายอย่างที่ต้องท�ำในเวลาเดียวกัน  ก็ต้องพิจารณาจาก เงื่อนไขและจัดการมัน  และที่ส�ำคัญงานที่ผมท�ำนั้นก็ไม่ได้น�ำมาซึ่ง ความทุกข์อะไร” กรอเทปกลับไปวัยเด็ก เคยคิดไหมว่าจะมีชีวิตอย่างทุกวันนี้ “ผมเคยคุยเรื่องความฝันในวัยเด็กกับลูกบ่อยๆ  ผมเห็นว่า ลูกถนัดและสนใจอะไร ผมก็มองเห็นและส่งเสริมลูกเสมอ แตกต่าง กับผมถ้าย้อนกลับไปเมื่อตอนเด็ก ด้วยบริบทต่างๆ ทั้งผู้ใหญ่และตัว เราเองก็ไม่ได้ถูกจูงไปในทิศทางใด ผมก็วิ่งเล่นสนุกสนานเฮฮาอยู่ใน สวนในคลอง ด้วยฐานะทางบ้านก็ไม่ได้ดีอะไร พ่อและแม่ก็ท�ำงาน แค่ท่านท�ำมาหากินก็หมดวันแล้ว  การมานั่งพินิจพิจารณาก็ไม่ค่อย มีหรอก  มีแต่ให้ผมช่วยท�ำงาน ไปหาบน�้ำ ไปขุดดิน ไปเก็บขยะ การ สั่งสมต้นทุนชีวิตในวัยเด็กของผม จึงไม่ถูกพัฒนาไปในเรื่องที่ตนเอง สนใจนัก แต่กลับถูกปลูกฝังในเรื่องความรับผิดชอบ ท�ำงานหนักได้ อดทนไม่กลัวความล�ำบาก ไปในทิศทางนั้นมากกว่า”

201


ส่วนตอนเรียนมหาวิทยาลัย เป็นช่วงที่เขาสารภาพว่ามีชีวิต สะเปะสะปะที่สุดแล้ว มีชีวิตไปวันๆ สนุกกับเพื่อน  ไม่ได้รู้ว่าวิชาที่ เรียนจะเอาไปท�ำอะไร มีความสุขกับวิชาชีวิตมากกว่า “ตอนนั้นผมท�ำกิจกรรม  ออกค่าย  ท�ำละครเวที  ทั้งดีและ เลวครบหมด (ยิ้ม) แล้วก็มาเป็นทุกข์ตอนเรียนจบแล้วเริ่มท�ำงาน คือ เพื่อนฝูงก็ท�ำงานกันหมด ผ่านไปปีสองปีเพื่อนก็ขับรถมาโชว์กัน บาง คนซื้อบ้านได้ บางคนสร้างครอบครัวแล้ว ส่วนผมเองก็ยังต๊อกต๋อยอยู่ ข้างถนน ไม่ได้ท�ำอะไรเป็นหลักเป็นแหล่ง พ่อแม่ก็เริ่มบ่นเรา ผมเริ่ม มีความกดดัน ตอนนั้นผมก็เริ่มถามตัวเองว่าเราจะท�ำอะไรได้บ้าง จะ กลับไปบ้านเกิดที่ชุมพร แล้วดูว่าเราจะท�ำอะไรได้ ก็ไม่มี มันมืดมน ไปหมด ไม่รู้ว่าตัวเองจะท�ำอะไรได้เลย ตอนนั้นวิชาชีพของผมมันไม่มี เลย พี่น้องคนอื่นๆ เขาเลือกเรียนสายวิชาชีพกัน ผมจบด้านศึกษา ศาสตร์มา จะให้ไปเป็นครูมันก็ไม่ใช่ไง ตอนนั้นก็เริ่มไปขายของมือ สองบ้าง แต่มันก็เหมือนอยู่ไปวันๆ เท่านั้น”

202


ประจวบเหมาะว่าช่วงนั้นเช็คได้ไปอ่านข่าวพบว่าที่สหมงคล ฟิล์มเปิดโรงเรียนสอนการแสดง  เพราะมีความสนใจจึงตัดสินใจลอง เรียนดู  แล้วสิ่งนี้ก็คือจุดเปลี่ยนส�ำคัญในชีวิตที่ได้เห็นการท�ำงาน ละคร หนัง รวมทั้งรายการโทรทัศน์ “ตอนนั้นก็มีทั้งชอบและชังงานในด้านนี้นะ  แต่ก็ท�ำให้เห็น การท� ำ งานในวงการนี้ ม ากขึ้ น   แล้ ว ก็ ไ ม่ ไ ด้ ถู ก พั ฒ นาไปในด้ า นที่ เจาะลึกอย่างแท้จริง ได้เรียนรู้เปลือกๆ ทั้งนั้น จวบจนได้มีโอกาสท�ำ รายการ เพราะมีเพื่อนชวนมาท�ำงานที่บริษัทเจเอสแอล ในส่วนของ ครีเอทีฟรายการ  ผมก็ได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น  ถึงแม้จะพบอุปสรรค ปัญหาอยู่บ้าง  บังเอิญว่าได้ท�ำตรงนี้อยู่นานก็ท�ำให้ซึมซับการท�ำงาน แต่สุดท้ายแล้วทั้งหมดทั้งมวลผมก็พบว่าการงานมันจะเป็นอะไรก็ได้ แต่มันต้องเป็นสิ่งที่เรารัก เราชอบ เราเชื่อมัน เราพึงพอใจมัน งาน สามารถหาปัจจัยสี่ให้แก่เราได้ รวมทั้งงานที่เราท�ำมันจะตอบแทนเรา ในเชิงอุดมคติ  และให้คุณค่าต่อการที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ด้วย ได้มี โอกาสในการช่วยเหลือสังคม เหมือนการออกค่ายในวัยเด็กนั่นแหละ แต่เปลี่ยนเป็นค่ายที่มีขนาดกว้างขึ้น”

203


ตอนที่เริ่มท�ำงานด้านนี้  เขาไม่รู้หรอกว่าวันข้างหน้ามันจะ เป็นอย่างไร  ผลตอบรับจะเป็นอย่างไร  เขาพยากรณ์ล่วงหน้าไม่ได้ รู้แต่ว่างานที่ท�ำมันเป็นการท�ำอย่างเต็มที่แล้ว  และผลตอบรับจาก สังคมจากผู้ชมนั้นเป็นเรื่องการตัดสินชะตากรรมของผู้อื่นแล้ว สิ่งที่จะ ท�ำได้ก็คือการท�ำงานโดยรับเอาค�ำวิพากษ์วิจารณ์และเสียงสะท้อน มาท�ำให้เกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการท�ำงานของตัวเขาเอง “ผมเรียนรู้จากทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต  เมื่อก่อนผมตั้งค�ำถาม กับตัวเองเยอะมาก สุดท้ายแล้วชีวิตคนเราก็ต้องการหาเป้าหมายสัก อย่างในชีวิต เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่เราท�ำมันถูกหรือไม่ถูก หรือการยึด เอาบุคคลใดสักคนมาเป็นฮีโร่ เป็นแบบอย่างของเรา มันไม่ใช่ ผมมา พบว่าเราจะพบความจริงของธรรมชาติ ของจักรวาลบนโลกนี้ในสิ่งที่ พระพุทธเจ้าค้นพบ เพราะฉะนั้นเวลานี้ท�ำให้ผมได้เข้าใจแล้วว่า หลัก ที่เราควรจะยึดมันคืออะไรมากกว่า เปรียบเหมือนดวงไฟที่ส่องให้เรา เห็นแสงสว่างในชีวิตเราอย่างไรอย่างนั้น” “ตลอดการท�ำงานมาหลายสิบปีนี้  เรื่องความสุขก็มีเกิดขึ้น กับชีวิตเราเยอะมาก  แต่เหตุการณ์ที่อยากจะเล่าเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่ นานมานี้ นั่นคือสถานการณ์ในมหาวิกฤตอุทกภัยที่ผ่านมานี้เอง คือ ในช่วงน�้ำท่วมนี้ เป็นช่วงที่บริษัททีวีบูรพา และตัวผม รวมทั้งน้องๆ ทีม งานคนอื่นๆ อยู่ในสภาพที่คิดว่าไม่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ นั่นคือ การเริ่มต้นคิดถึงแต่ตัวเองและเรื่องของการเอาตัวรอด  ซึ่งไม่ใช่เรื่อง ที่ผิดนะ ผมก็เริ่มที่จะสะสมเสบียงตุนอาหาร ตุนน�้ำ ตุนปลากระป๋อง ตุนทุกอย่าง ผมรู้สึกว่านี่คือสิ่งหนึ่งที่ท�ำให้เกิดวิกฤต”

204


“แล้วสถานการณ์น�้ำท่วมก็โอบล้อมเข้ามา  ผมมองเห็นว่าสิ่ง ที่เราตุนไว้ทั้งข้าว ทั้งอาหารแห้ง มีไข่ไก่ มีน�้ำเปล่า แว้บนึงรู้สึกอุ่นใจ   ถึงน�้ำจะท่วมเป็นเดือนเราก็จะสามารถจัดสรรของที่มีให้ทีมงานทุก คนด�ำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ผมเอง ผมไม่รู้สึกมีความสุขกับการมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้เลย  แล้วการที่เราอยู่ในโลกของความหวาดกลัวและการเอา ตัวรอดเหล่านี้ ไม่ได้น�ำมาซึ่งความปลอดภัยที่แท้จริงเลย ยิ่งนั่งดูข่าว เห็นคนนั้นไปช่วยคนนี้ ผมก็พบว่าเราไม่สามารถปล่อยให้เห็นแก่ตัว แบบนี้ต่อไปอีก” “ดูจากการท�ำงานที่ผ่านมาเราก็ท�ำเพื่อคนอื่นมาโดยตลอด เราอาจจะช่วยเหลือคนจ�ำนวนร้อยกว่าคนอยู่  แต่ยังมีคนเป็นหมื่น เป็นแสนที่เป็นทุกข์และเดือดร้อนกว่าเราอีกเยอะ  ผมไม่สามารถอยู่ แบบนี้ต่อไปได้อีก จึงตัดสินใจว่าเราต้องเป็นผู้ให้ในทันที” “ผมและทีมงานทุกคนก็รวบรวมของที่มี  แล้วก็ร่วมกับแฟน รายการไปบริจาค  แต่ก็ยังรู้สึกว่าเป็นการให้ที่ยังไม่เต็มที่นัก  ก็เลย เรียกทีมงานมาคุยว่าเราตั้งบริษัทของเราเป็นศูนย์บริจาคและช่วย เหลือผู้ประสบภัยกัน การให้คือการได้ เมื่อคิดจะให้ก็จะได้รับอย่าง ไม่มีวันสิ้นสุด ซึ่งเราลืมคิดไป เชื่อไหมพอข่าวถูกประชาสัมพันธ์ออก ไป ข้าวสาร ปลากระป๋อง น�้ำเปล่า  และมาม่า ก็ถูกส่งมาให้แบบกิน ห้าสิบปีก็ไม่มีวันหมด บางสิ่งบางอย่างมันสอนเรา ในการท�ำเป็นการ ท�ำบนเป้าหมายที่จะช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่คนให้มากที่สุด  โดยน�ำ หลักค�ำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ในเรื่องของการจัดการ”

205


สุทธิพงษ์ท�ำแบบนี้อยู่นับเดือน  มีคนเป็นร้อยคนมาที่ศูนย์ บริจาค ช่วยกันคนละไม้ละมือ ทั้งแพ็กของ ท�ำกับข้าว “เราทุกคนมองว่าเราคิดถูกที่ตัดสินใจช่วย  ทั้งยังได้เห็นการ ท�ำงานของน้องๆ ทุกคน ได้ออกไปช่วยเหลือกัน บางคนไม่ได้กินไม่ ได้นอน แต่สิ่งที่มันได้คือความสุขจากการได้ช่วยเหลือคนอื่น ความ สุขนี้ในทางพระพุทธศาสนาคือ  อริยทรัพย์เป็นสิ่งที่ติดตัวเราไปไม่มี วันหมด และมีความสุขจากการให้โดยไม่หวังผล และท�ำให้หลายคน มองข้ามความเห็นแก่ตัว  ไปท�ำให้คนอื่นมีความสุขจากการได้เป็นผู้ ให้อย่างแท้จริง  และช่วยผู้คนได้ในจ�ำนวนมากมายมหาศาล” สิ่งนี้เกิดขึ้นในวันที่เขารู้สึกถึงความเห็นแก่ตัวของตัวเอง และ มุ่งเอาตัวรอด แต่แท้จริงแล้วเราต้องช่วยให้คนอื่นรอดด้วย จึงเรียกว่า เป็นการรอดอย่างแท้จริง เป็นความสุข และไม่ใช่ความสุขที่เกิดขึ้นกับ ตนเองตามล�ำพัง “คนส่วนใหญ่รักสุขเกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น  อะไรที่ท�ำให้ ทุกข์เราก็จะท�ำให้มันหายไปแล้วน�ำแต่ความสุขเข้ามา  มนุษย์โดย ส่วนมากไม่ได้แก้ความทุกข์ที่ต้นเหตุ ไม่ได้ท�ำให้จิตใจรู้เท่าทันความ ทุกข์  สามารถปล่อยวางและมุ่งหาความสุขที่ยั่งยืน  กลับหาวิธีหนี กลบมันไว้บ้างล่ะ  สิ่งที่ได้คือความสุขที่จอมปลอม  ต่อให้ไปดูหนัง เรื่องไหน  ดื่มเหล้าดีแค่ไหน  มันก็เป็นแค่การสนองกิเลสการรับรู้ทาง สัญชาตญาณของเราแค่เปลือกเท่านั้นเอง”

206


เขามองว่าความสุขเหล่านี้เหมือนยาเสพติด “เคยได้เท่านี้ เราก็อยากมีมากขึ้น เหมือนรถน่ะเคยขับกระบะ ก็ว่าโก้แล้ว เดี๋ยวนี้ไม่ได้   มีบีเอ็มซีรีส์ 5 เราก็อยากขับซีรีส์ 7 ผมเคย ผ่านจุดเหล่านี้มาแล้วและก็พบว่ามันไม่ใช่ ผมเคยเพิ่มดีกรีชีวิตแบบนี้  มันเป็นการดิ้นรนไขว่คว้า และสร้างความทุกข์เพื่อมาสนองหู ตา จมูก กาย และใจ พอเกิดสิ่งเหล่านี้ก็จะท�ำให้เรารู้จักฝึกตนเอง แค่อ่านแค่ ท่องไม่พอ  เราต้องฝึกจิตใจเราให้เป็นแบบนั้นด้วย” เท่ า ที่ บ ทสนทนาจะท� ำ หน้ า ที่ ส ่ ง ต่ อ ความสุ ข   และวิ ธี คิ ด ของเขาออกมาได้ทั้งหมด  ผู้ชายที่มุ่งมั่นท�ำงานอย่างไม่รู้จักความ เหน็ดเหนื่อยคนนี้  มีความสุขจากการ ‘ได้ให้’ และ ‘ได้รับ’ เสมอเพราะ รสชาติของความสุขที่แท้จริงนั้น...ส�ำหรับเขาแล้วมีกลิ่นหอมหวานชื่น ใจดีเหลือเกิน

207


มนุ ษ ย์ โ ดยส่ ว นมากไม่ ไ ด้ แ ก้ ความทุ ก ข์ ที่ ต ้ น เหตุ   ไม่ ไ ด้ ท� ำ ให้ จิตใจรู้เท่าทันความทุกข์  สามารถ ปล่ อ ยวางและมุ ่ ง หาความสุ ข ที่ ยั่งยืน กลับหาวิธีหนี กลบมันไว้บ้าง ล่ะ สิ่งที่ได้คือความสุขที่จอมปลอม ต่อให้ไปดูหนังเรื่องไหน  ดื่มเหล้าดี แค่ไหน  มันก็เป็นแค่การสนองกิเลส การรับรู้ทางสัญชาตญาณของเรา แค่เปลือกเท่านั้นเอง

208


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.