ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ผู้จัดพิมพ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ISBN 978-974-9536-79-7 ที่ปรึกษา ๑. นายสด แดงเอียด ๒. นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ๓. นายเอนก ขำทอง ๔. นายพิสิทธิ์ นิรัตติวงศกรณ์ ๕. นางสาวภัคสุจิ์ภรณ์ จิปิภพ
อธิบดีกรมการศาสนา รองอธิบดีกรมการศาสนา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ เลขานุการกรมการศาสนา
ผู้รวบรวมและเรียบเรียง
๑. นางศิริกาญจนา อิศรางกูร ณ อยุธยา ๒. นายชุมพล อนุกานนท์ ๓. นางธิติกาญจน์ ศรีธนสุนีย์ ๔. นายสมคิด ไพบูลย์ ๕. นายประชา เชาวน์วิวัฒนาพร
นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ
ออกแบบปกและรูปเล่ม พิมพ์ท ี่
นายยงยุทธ สังคนาคินทร์
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ๗๙ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทรสาร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑ นายโชคดี ออสุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา พ.ศ. ๒๕๕๓
คำนำ
สารบัญ หน้า
คำนำ
โครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
๑
การจัดโครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์
๖
คำกล่าวรายงานของผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์
๑๒
คำกล่าวเปิดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ โดยอธิบดีกรมการศาสนา
๑๔
การจัดกิจกรรมกลุ่ม
๑๙
การบรรยายและตอบข้อซักถามทางศาสนา โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา
๒๗
การเสวนาของเยาวชน เรื่องความหลากหลายในเป้าหมายเดียวกัน
โดยผู้แทนเยาวชนแต่ละศาสนา
๔๒
คำกล่าวปิดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ นางศิริกาญจนา อิศรางกูร ณ อยุธยา
๕๔
ผลการประเมินค่ายเยาวชนสมานฉันท์
๕๕
ภาคผนวก กำหนดการการจัดค่ายเยาวชนสมานฉันท์
๖๖
โครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
สืบเนื่องจากการที่ได้มีการจัดประชุมสัมมนาผู้นำศาสนิกชนของประเทศไทยขึ้น
เมื่อวันที่ ๒๔-๒๕ กันยายน ๒๕๔๗ ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี
โดยที่ประชุมได้พร้อมใจกันจัดทำ “ปฏิญญาพัทยาว่าด้วยการรวมพลัง ศาสนิกสัมพันธ์”
ซึ่งในปฏิญญาดังกล่าว ได้กำหนดให้องค์การศาสนาทั้ง ๕ ศาสนาที่ทางราชการรับรอง อันได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ ร่วมใจกัน
ส่งเสริมให้ศาสนิกชนนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมุ่งเน้นให้ศาสนิกชน
นำศาสนธรรมที่ตนเคารพนับถือมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน ให้เป็นคนดี
มีคุณธรรม รวมทั้งให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเผยแพร่หลักธรรมของแต่ละศาสนาเพื่อเป็น บทเรี ย นระหว่ า งกั น ให้ เ หมาะสมกั บ สั ง คม เพศ อายุ ข องกลุ่ ม เยาวชน ซึ่ ง เป็ น กำลั ง สำคั ญ
ของประเทศชาติ รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป เพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชน และขจัดข้อขัดแย้งระหว่างศาสนิกชนต่างศาสนา พร้อมทั้งจรรโลงและเสริมสร้างความเข้มแข็งร่วมกัน
และให้มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสังคมสันติภาพโดยทุกศาสนาที่ปราศจากข้อขัดแย้งร่วมกัน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางในการดำเนินงานตาม “ปฏิญญาพัทยา” กรมการศาสนา
พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาความรุนแรงและความไม่สงบขึ้น ภายในประเทศส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการไม่เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความไม่เข้าใจ
ในความแตกต่ า งหลากหลายเชื้ อ ชาติ ศาสนา ภาษา วั ฒ นธรรม และความเสมอภาค
ของคนในสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งการรณรงค์ ส่งเสริมให้มีการนำมิติทางศาสนา ซึ่งมี ส่ ว นสำคั ญ ต่ อ การจรรโลงและส่ ง เสริ ม สั น ติ ภ าพและความมั่ น คงของประเทศมากล่ อ มเกลา
ปลุกจิตสำนึกและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่เยาวชน ในเรื่องของการให้ประชาชนเคารพในศักดิ์ศรี
ของความเป็ น มนุ ษ ย์ การยอมรั บ ในความแตกต่ า งหลากหลายทางเชื้ อ ชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และความเสมอภาค ซึ่งสามารถกำหนดขั้นตอนในการดำเนินการได้ ๓ ขั้นตอน คือ ๑. การสร้างปัญญา โดยการนำหลักธรรมทางศาสนามากล่อมเกลาให้เด็ก เยาวชน มี ค วามรู้ ความเข้ า ใจในหลั ก ธรรมทางศาสนา เป็ น คนดี มี คุ ณ ธรรม มี ค วามสมานฉั น ท์
เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งสามารถดำเนินการโดยวิธีการดังนี้
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
๑.๑ สร้างความรู้ โดยการศึกษาวิจัยและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักธรรม
คำสอนที่มีความสอดคล้องกับการยุติความรุนแรง การเบียดเบียนซึ่งกันและกัน การละความโลภ ความโกรธ ความหลง ความริ ษ ยา อาฆาตพยาบาท เพื่ อ ให้ เ กิ ด สั น ติ สุ ข แก่ เ พื่ อ นมนุ ษ ย์
ซึ่งศาสนิกชนควรนำมาปฏิบัติ รวมถึงข้อห้ามที่ก่อให้เกิดความขัดข้องใจหรือขัดแย้งที่ศาสนิกชน
ไม่ควรนำไปประพฤติปฏิบัติ โดยองค์ความรู้ดังกล่าว จะผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้ง ๕ ศาสนา ๑.๒ รณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมทางศาสนาที่ส่งเสริม ความสมานฉันท์ ธรรมเนียม ข้อปฏิบัติ พิธีกรรม ความเชื่อ และข้อห้ามของแต่ละศาสนา
ซึ่งบางครั้งเป็นเรื่องที่รู้กันอยู่ แต่ในหมู่ศาสนิกชนของศาสนานั้น ๆ เมื่อคนเราอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
ขนาดใหญ่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และศึกษา ธรรมเนียม ข้อปฏิบัติ และข้อกำหนดของ แต่ละศาสนา เพื่อมิให้เกิดการดูถูกดูแคลนหรือข้อสงสัยต่อการปฏิบัติของคนอีกศาสนาหนึ่ง
หรือปฏิบัติตนที่ไปประพฤติละเมิดข้อห้ามของศาสนาอื่น จนอาจกลายเป็นการกระทบกระทั่งกัน โดยมิได้ตั้งใจ ซึ่งการดำเนินการรณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจดังกล่าว จำเป็นต้องใช้สื่อและวิธีการ
ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่น การอบรม “ค่ายเยาวชนสมานฉันท์” การผลิตวีดิทัศน์ หลักธรรมทางศาสนาที่สร้างความสมานฉันท์ไปยังองค์กรเครือข่ายต่าง ๆ
การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมประชาพิจารณ์ในเรื่องของการสร้างความสมานฉันท์ ยกย่อง
เชิดชูเกียรติ หรือสร้างผู้นำต้นแบบ หรือชุมชนต้นแบบ ที่ส่งเสริมความสมานฉันท์แก่คนในชาติ หรือในสังคม และจัดทำองค์ความรู้ หรือสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนเผยแพร่ไปยังกลุ่ม นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในสาระสำคัญและคุณค่า ของความสมานฉันท์ เป็นต้น ๒. การสร้างจิตสำนึกการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การยอมรับความแตกต่าง
หลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และความเสมอภาค เป็นขั้นตอนที่จะทำให้เกิด ความตระหนั ก และมองเห็ น คุ ณ ค่ า สาระ ความสำคั ญ ความจำเป็ น คุ ณ ประโยชน์ ข องการ “สมานฉันท์” ได้อย่างชัดเจน ๓. การนำไปประพฤติปฏิบัติ เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้คนไทยและสังคมไทย จะได้ร่วมมือกันในทุกภาคส่วนร่วมกันปลูกฝังและสร้างค่านิยม “ความสมานฉันท์” อย่างจริงจัง รู้และเข้าใจในคุณค่า สาระ คุณประโยชน์ เกิดความพึงพอใจ มีความสุข และเต็มใจที่จะเป็นกำลัง สำคั ญ ในการปลู ก ฝั ง และเสริ ม สร้ า งความสมานฉั น ท์ แ ละเป็ น ผู้ น ำในการประพฤติ ป ฏิ บั ติ
ที่แสดงออกถึงความสมานฉันท์ จนเป็นวิถีชีวิตประจำวัน
กรอบแนวคิดในการปลูกฝังและสร้างเสริมความสมานฉันท์
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
การสร้างจิตสำนึก ในความสมานฉันท์ - การเคารพในศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ - การยอมรับในความ
แตกต่างหลากหลาย
ของเชื้อชาติ ศาสนา
ภาษา วัฒนธรรม - ความเสมอภาค
กลุ่มแกนนำ - กลุ่มเด็ก เยาวชน
สมานฉันท์ - หน่วยงาน
ภาครัฐ/
ภาคเอกชน/
องค์กรอิสระ - องค์กรทางศาสนา
เด็ก เยาวชน ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ/ ภาคเอกชน/องค์กรอิสระ และองค์กรเครือข่ายทางศาสนา นำหลักธรรมทางศาสนาและ หลักการสร้างความสมานฉันท์
ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และเผยแพร่ไปยังทุกภาคส่วน ของสังคมอย่างเข้มแข็ง
การสร้างปัญญา - การนำหลักธรรมทาง
ศาสนามากล่อมเกลา ให้เด็ก เยาวชน ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ
ในหลักธรรมทางศาสนา เป็นคนดีของสังคม
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ในปีงบประมาณ ๒๕๔๘ จึงได้จัดทำโครงการ “ค่ายเยาวชนสมานฉันท์” ขึ้น
โดยนำแนวคิดและปรัชญาในเรื่องของการยุติความรุนแรง การสร้างความสมานฉันท์หลักการ
มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและหลักการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนา
ให้มีความรู้คู่คุณธรรมจริยธรรมแก่เด็ก เยาวชน ประชาชน มุ่งเน้น ส่งเสริมให้เยาวชนไทย
เกิดการเรียนรู้ในเรื่องของความสมานฉันท์และรักชาติในทางที่ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งยอมรับใน
ความแตกต่างหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และมีคุณธรรมจริยธรรมที่เอื้ออาทรต่อผู้อื่น
มาเป็นแกนหลักในการดำเนินกิจกรรม ในส่วนกลางได้จัดโครงการนำร่อง ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๘ ณ สถาบันวิชาการ ทศท จังหวัดนนทบุรี และในส่วนภูมิภาคจัดขึ้น ระหว่างวันที่ ๑-๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๘ จำนวน ๓๒ จังหวัด ๑. จังหวัดกระบี่ ๒. จังหวัดกาญจนบุรี ๓. จังหวัดขอนแก่น ๔. จังหวัดฉะเชิงเทรา ๕. จังหวัดชลบุรี ๖. จังหวัดชุมพร ๗. จังหวัดเชียงราย ๘. จังหวัดเชียงใหม่ ๙. จังหวัดตรัง ๑๐. จังหวัดตราด ๑๑. จังหวัดตาก ๑๒. จังหวัดนครนายก ๑๓. จังหวัดนครศรีธรรมราช ๑๔. จังหวัดนนทบุรี ๑๕. จังหวัดนราธิวาส ๑๖. จังหวัดปทุมธานี ๑๗. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๑๘. จังหวัดปัตตานี ๑๙. จังหวัดพังงา ๒๐. จังหวัดพัทลุง ๒๑. จังหวัดเพชรบุรี ๒๒. จังหวัดภูเก็ต ๒๓. จังหวัดยะลา ๒๔. จังหวัดระนอง ๒๕. จังหวัดระยอง ๒๖. จังหวัดลพบุรี ๒๗. จังหวัดสงขลา ๒๘. จังหวัดสตูล ๒๙. จังหวัดสมุทรปราการ ๓๐. จังหวัดสระบุรี ๓๑. จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๓๒. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การจั ด โครงการค่ า ยเยาวชนสมานฉั น ท์ นั้ น ได้ จั ด ติ ด ต่ อ กั น มาเป็ น ประจำทุ ก ปี
ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๘-๒๕๕๒ โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้ ๑. เพื่อให้เยาวชนเกิดจิตสำนึกในเรื่องความสมานฉันท์ ได้แก่ เคารพในศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ การยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และความเสมอภาค
กรมการศาสนา กระทรวงวั ฒ นธรรม ร่ ว มกั บ ผู้ น ำองค์ ก ารศาสนา ๕ ศาสนา
ทีท่ างราชการให้การรับรอง ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
และศาสนาซิกข์ ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ประสานความแตกต่างนั้นให้เป็นหนึ่งเดียวกันบนพื้นฐานของสังคมไทยที่มีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข โดยจัดโครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ณ อุทยานการเรียนรู้ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ตำบลปง อำเภอบางละมุ ง จั ง หวั ด ชลบุ รี โดยเนื้ อ หาหลั ก สู ต รในการจั ด กิ จ กรรมมุ่ ง เน้ น ให้ เ ยาวชน
ได้ แ สดงศั ก ยภาพของตนเอง รวมทั้ ง แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ป ระสบการณ์ ที่ ไ ด้ รั บ การฝึ ก อบรม
และเรียนรู้ในการปรับปรุงตัวเองในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ มีผู้เข้าร่วม
โครงการในครั้งนี้ จำนวน ๒๑๔ คน
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมในปีงบประมาณ ๒๕๕๒
๒. เพื่อปลูกฝังให้เยาวชน เกิดความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรมทางศาสนา สามารถ นำหลักธรรมทางศาสนาไปประพฤติปฏิบัติ สร้างความเข้มแข็งทางคุณธรรมและจริยธรรมแก่ เยาวชนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรม ๓. เพื่ อ ให้ เ ยาวชนเต็ ม ใจที่ จ ะเป็ น กำลั ง สำคั ญ ในการเผยแพร่ แ ละสร้ า งความ สมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างเข้มแข็ง รวมทั้งนำไปประพฤติปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิตประจำวัน ๔. เพื่อระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนของสังคมไทยให้มาร่วมมือกันรวมพลัง เสริมสร้างสันติสุขความสงบสุข ความสมานฉันท์ให้กลับคืนสู่ประเทศไทยพร้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับกรอบความคิดในการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนสมานฉันท์ มีลำดับขั้นตอน ของการจัดกิจกรรมประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน คือ ๑. การสร้างความคุ้นเคย เป็นการจัดกิจกรรมสันทนาการ ๒. การค้ น หาตนเอง เป็ น การมองภาพปั ญ หาของตนและสั ง คมภายใต้ ก รอบ วั ฒ นธรรม ศาสนา โดยรู ป แบบจะเป็ น การเสวนา การอภิ ป ราย การระดมความคิ ด เห็ น
การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ๓. การแสดงออกของเยาวชน ให้เยาวชนได้แสดงความคิดเห็น แสดงศักยภาพ ของตน ตามหลักจริยธรรมคุณธรรม หรือแสดงออกผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ๔. การรวมพลั ง ของเยาวชน ใช้ สั ญ ลั ก ษณ์ เ ป็ น สื่ อ ในการแสดงออกของการ
รวมพลังของเยาวชน เช่น การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีหรือการนำสัญลักษณ์ทางศาสนา
มาสร้างพลังในการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
การจัดโครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ณ อุทยานการเรียนรู้ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ตำบลปง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรม ๑. การประชุมเตรียมงาน
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
กรมการศาสนาได้เชิญผู้แทนองค์การศาสนา ๕ ศาสนา ร่วมประชุมหารือกำหนด สถานที่ รูปแบบ หลักสูตร เนื้อหารายละเอียดในการจัดกิจกรรมอบรมค่ายเยาวชนสมานฉันท์
เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ณ ห้องประชุมกรมการศาสนา ชั้น ๑๕ กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการดำเนินการจัดทำค่ายเยาวชนสมานฉันท์ โดยมีนายปกรณ์ ตันสกุล รองอธิ บ ดี ก รมการศาสนา เป็ น ประธานการประชุ ม ผลการประชุ ม ได้ ก ำหนดให้ จั ด อบรม
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ณ อุทยานการเรียนรู้ วิทยาลัย นวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ตำบลปง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
โดยเนื้อหาหลักสูตรในการจัดกิจกรรมจะมุ่งเน้นให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพของตนเอง รวมทั้ง แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ป ระสบการณ์ ที่ ไ ด้ รั บ จากการฝึ ก อบรมและเรี ย นรู้ ก ารปรั บ ตั ว เองในการ
อยู่ร่วมกับผู้อื่น เพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์
๒. การจัดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ คณะครู เยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกจากองค์การศาสนา ๕ ศาสนา เข้าค่ายเยาวชน สมานฉั น ท์ พร้ อ มกั น ที่ ห อประชุ ม เล็ ก ศู น ย์ วั ฒ นธรรมแห่ ง ประเทศไทย กรุ ง เทพมหานคร
เพื่อออกเดินทางไปพัทยา จังหวัดชลบุรี สถานที่จัดอบรมค่ายเยาวชนสมานฉันท์
๓. การลงทะเบียน กรมการศาสนาได้กำหนดให้เยาวชนที่เข้ารับการเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์เดินทาง มาลงทะเบียนเข้ารับการอบรมในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ณ บริเวณชั้นล่างหอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ในการนี้มีเยาวชนมาเข้าร่วมรับการอบรม จำนวน ๒๑๔ คน
๔. การแถลงข่าว นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา พร้อมด้วยผู้แทนศาสนาทั้ง ๕ ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ ได้ร่วมกัน แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเรื่องการจัดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ อธิบดีกรมการศาสนาได้กล่าวถึง วั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละเป้ า หมายของการจั ด ค่ า ยเยาวชนสมานฉั น ท์ ว่ า การจั ด เข้ า ค่ า ยเยาวชน
สมานฉันท์นี้ กรมการศาสนาได้ดำเนินการจัดมาเป็นปีที่ ๕ แล้ว และก็คงจะจัดกิจกรรมเช่นนี้
ต่อไป เพราะเรื่องที่เกี่ยวกับเยาวชนเป็นเรื่องที่สำคัญของประเทศ เยาวชนในวันนี้จะเป็นผู้ใหญ่
ที่ต้องดูแลบ้านเมืองในวันข้างหน้า เพราะฉะนั้นการจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้าก็จะต้องเป็น
ผู้ใหญ่ที่ดี อยากจะขอให้เยาวชนทุกคนที่ไปเข้าค่ายฯ ให้ตั้งใจที่จะมอบความรักซึ่งกันและกัน ศาสนาทุกศาสนามีความแตกต่างกัน เพราะศาสดาคนละองค์ แต่ละพระศาสดาทุกพระองค์
มีสิ่งที่พึงประสงค์เดียวกันคือให้ทุกคนทำความดี ให้ทุกคนรักกัน ให้ทุกคนมีความเอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้ทุกคนรักตนเอง รักครอบครัว รักพ่อ รักแม่ รักครู อาจารย์ รักบ้านเมือง รักแผ่นดิน รักประเทศ รักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และรักทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกัน และให้ทุกคนมีความสามัคคีกัน
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
จากนั้ น ผู้ แ ทนแต่ ล ะศาสนาได้ ก ล่ า วอวยพรแก่ เ ยาวชนที่ เ ดิ น ทางไปเข้ า ค่ า ยฯ
ตามลำดับดังนี้
๑. ผู้แทนองค์การศาสนาพุทธ พันเอก (พิเศษ) ไชยนาจ ญาติฉิมพลี นมัสการพระคุณเจ้า ท่านอธิบดีกรมการศาสนา ท่านวิทยากร ท่านพี่น้องลูกหลาน
ที่รักทุกคน ขอแสดงความยินดีกับพวกเราทุกคนที่มีโอกาสมาร่วมเข้ารับการอบรมค่ายเยาวชน สมานฉันท์ ในวันนี้องค์กรพุทธเราก็มีพี่เลี้ยงไปร่วมหลายคน หนึ่งในหลายคนนั้นก็เป็นทหาร
ที่อยู่กับผม ลูกหลานอย่าตกใจที่เห็นทหารไปด้วย ทหารที่ส่งไปประเภทใช้ปากแทนปืนทั้งนั้น
ขอแสดงความยินดีอีกครั้งหนึ่ง ที่ผมคิด ๆ ท่านอธิบดีกรมการศาสนาพูดหมดแล้ว อธิบดีพูด
ก็เป็นความชัดเจน ค่ายเยาวชนสมานฉันท์จริง ๆ แล้วเราทั้งสมานฉันท์ ทั้งรักกันมานานและ
ก็รักกันอย่างต่อเนื่อง แต่ค่ายที่เกิดขึ้นนี้ ทางกรมการศาสนาในฐานะที่พวกเรานั้นเป็นองค์กร เครือข่ายก็สนับสนุนอยากให้มีการมาอยู่ร่วมกัน คิดร่วมกัน ทานอาหารร่วมกัน แลกเปลี่ยน
ความคิดความเห็นทางศาสนาต่อกันและกัน มันจะผูกพันกัน สามัคคีก็เกิดขึ้น สามัคคีเป็นยากัน ส่วนสมานฉันท์นั้นเป็นยาแก้ เวลาเกิดไม่สามัคคีก็เรียกร้องหาสมานฉันท์ แต่ของเราไม่เรียกร้อง เพราะของเรารักสามัคคี เข้ามาอยู่ด้วยกันก็ปรับสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดความพอดี อะไรที่เกินพอดี
เราก็เอาออก อะไรที่ไม่พอดีก็นำเข้าปรับให้พอดี มีผู้เขียนไว้น่าฟังมากจึงนำมาถ่ายทอดให้ฟัง
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
แคบนักมักคับขยับยาก สูงนักมักแพ้ลมบน
กว้างมากมักไม่มีอะไรจะใส่สม ต่ำนักมักจมลงบาดาล
ขอให้ลูกหลานทุกคน ท่านวิทยากร พี่เลี้ยง มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ใน
๓ วันต่อไปนี้ มีสุขภาพจิตใจที่เบิกบาน นำความผูกพันความสามัคคีระหว่างพี่น้องร่วมศาสนา ต่างศาสนา แต่เราร่วมแผ่นดินเดียวกัน สร้างความรักความผูกพันให้แนบแน่น และสุขภาพ พลานามัยสมบรูณ์กลับมา ขอบพระคุณครับ ๒. ผู้แทนองค์การศาสนาอิสลาม นายอรุณ วันแอเลาะ ขอบพระคุณท่านอธิบดีกรมการศาสนาที่ให้โอกาสแก่พวกเราทุกคนได้มากล่าว แก่เยาวชนในพิธีการส่งเยาวชนไปค่ายเยาวชนสนานฉันท์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่น่าปลื้มใจ การเข้าค่าย ผมอยากจะเกริ่นกล่าวสักนิดว่า ท่านศาสดาของอิสลามกล่าวว่า เคยเดินทางกับเขาหรือเปล่า การรู้จักผูกพัน จะต้องร่วมเดินทางไปด้วยกัน และเมื่อเดินทางกลับ ก็จะบอกได้ว่า ได้มีโอกาสเดินทางกับครูคนนั้นคนนี้ ผมคิดว่าจะไปช่วยเหลือเขาในการเดินทาง แต่กลับกลายเป็นว่า ตลอดระยะเวลาที่ไป เขาช่วยเหลือผมตลอดเลย สนับสนุนกันในเรื่องที่ดี
เป็นคำสอนของทุกศาสนา ไม่ว่าจะเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาของศาสนาใด ๆ ยืนยันได้ว่าพระองค์สอนเรื่องนี้ทั้งนั้น ช่วยเหลือกันในเรื่องดี ๆ อย่าช่วยเหลือกันในเรื่องร้าย ๆ แค่นั้นแหละครับ ความรู้สึกยินดีหรือสมานฉันท์ก็เกิดขึ้น ผมจะนำภาพที่เกิดขึ้นในวันนี้ ตรงนี้ ไปคุย
ไปพูดต่อ ในฐานะที่มีโอกาสได้เดินทางไปพูดในหลายที่แต่อย่างไรก็ตาม ก็ขอให้ทุกท่านทุกคน
มี สุ ข ภาพพลานามั ย ที่ ดี โอกาสนี้ ข อให้ เ ป็ น โอกาสแห่ ง โอกาส ก็ ข อให้ วั ต ถุ ป ระสงค์ ทุ ก อย่ า ง
ทุกประการ จงสัมฤทธิ์ผลโดยเป็นประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ บ้านเมือง และเป็นสะพาน
สำหรับการที่เราจะต้องเป็นผู้ใหญ่ที่จะดูแลบ้านเมืองต่อไป
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
๓. ผู้แทนองค์การศาสนาคริสต์ ศาสตราจารย์ยุทธศักดิ์ สิริกุล กราบเรียนท่านอธิบดีกรมการศาสนาและผู้แทนศาสนาทุกท่าน พี่เลี้ยงและ
นักศึกษา นักเรียน เยาวชนที่เข้าร่วมค่าย นี่คือภาพที่ดีที่เราจะอยู่ร่วมกัน ในวัจนะของพระเจ้า
บอกว่าการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป็นการดีและน่าชื่นใจสักเท่าใด ผมขอเล่าให้ฟังเรื่องหนึ่ง
มีชายหนุ่มคนหนึ่งตกงาน หางานที่ไหนก็หาไม่ได้ หาไปเรื่อย ๆ จนไปเจองานหนึ่ง ให้ไปทำงาน ในสวนสัตว์ สวนสัตว์ต้องการคนทำงานสำคัญมากเลย ชายหนุ่ม : ให้ผมทำงานอะไรครับ ผู้ดูแลสวนสัตว์ : คืออย่างนี้ ลิงแสนรู้ของเรามันตาย อยากจะให้นายสวม บทบาทเป็นลิง เพราะว่าวันเด็ก เด็กมาจะมาเยี่ยมที่สวนสัตว์เยอะ ชายหนุ่ม : ผมไม่ใช่ลิง ผู้ดูแลสวนสัตว์ : ไม่เป็นไร ๆ เดี๋ยวสอนให้ แล้วก็เอาชุดลิงมาสวมให้และก็สอนวิธีที่จะทำตัวเป็นลิง ชายหนุ่มคนนี้ก็เห็นว่า เงินเดือนมันก็ดีก็เลยรับบทบาทเป็นลิงแสนรู้ เขาก็ฝึกสอนให้จนวันเด็ก เด็กนักเรียนก็เข้าไป
ในสวนสัตว์ ชายหนุ่มคนนี้กส็ วมบทบาทเป็นลิงโหนเถาวัลย์โหนต้นไม้นี้ ไปต้นไม้นู้น แล้วก็ลงมา เล่นกับเด็ก เด็ก ๆ ก็ดีใจ เอาของมาให้เอากล้วยมาให้กินก็ต้องกิน เพราะว่าผู้จัดการก็ดูเรื่อย ตรวจดูสวนสัตว์ตลอดเวลา ลิงก็กินกล้วยทั้งวันเลย เด็กเอาถั่วมาให้ก็กินถั่ว กินไปเรื่อย หนังตาก็ เริ่มหย่อน แล้วก็โหนเถาวัลย์ไปอีกเกิดหลับในก็เลยตกไป ตุ๊บ! ก็ตกใจใหญ่ เห็นสิงโตอยู่ข้างหน้า ก็ลืมไปว่าตัวเองสวมบทบาทเป็นลิงก็เลยตะโกนว่า ช่วยด้วย สิงโตกระโดดตะครุบลิง แล้วเอามือ ปิดปากบอกว่าเงียบ ๆ เดี๋ยวก็ตกงานกันหมดหรอก บางครั้งเราอยู่ในสังคมเราไม่รู้หรอกอันไหนตัวจริงตัวปลอม เยาวชนเราอาจจะ มี ค วามแตกต่ า งกั น เมื่ อ เรามาอยู่ ด้ ว ยกั น ให้ เ ราถอดความเป็ น นั ก ศาสนาหรื อ อะไรต่ า ง ๆ
ความแตกต่างจากพวกนั้นไป เพื่อเราจะได้อยู่ด้วยกัน เขาบอกว่า Unity ความเป็นน้ำหนึ่ง
10
ใจเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นเหมือนกัน ก็เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้ เราอาจจะมีความเชื่อ
ความศรัทธาที่แตกต่างกัน แต่เราสามารถที่จะอยู่ด้วยกันอย่างสมานฉันท์ อย่างสนุกสนานได้
ชีวิตของเยาวชน Life คำว่า Life เมื่อเรามาอยู่ด้วยกันแล้ว L มาจากคำว่ า Learning เราต้ อ งใช้ เ วลาที่ จ ะเรี ย นรู้ เราเป็ น นั ก ศึ ก ษา
เป็นวัยเรียนรู้ เราต้องฟังจากวิทยากร เราเรียนรู้จากเพื่อน ๆ ต่างสถาบัน ต่างพื้นที่ คำว่า I มาจากคำว่า Interactive หมายถึงว่า การใช้เวลาที่จะสื่อสารทำงาน
ด้วยกัน บางคนนั้นอาจจะไม่มีเพื่อน เราก็ไปเป็นเพื่อนเขา เราก็ไปคุยด้วย F มาจากคำว่ า Fun สนุ ก สนาน วั ย พวกเราเป็ น วั ย ที่ ส นุ ก สนานเชื่ อ มั่ น ว่ า
การจัดงานในครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะให้เราไปสนุกสนาน ให้เราใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ทำกิจกรรม
อย่ า งสนุ ก สนาน ความสนุ ก สนานจะทำให้ เ รามี ค วามผู ก พั น กั บ เพื่ อ นต่ า งสถาบั น และก็ จ ะ
กลายเป็นเพื่อนที่สนิทชิดชอบกัน สุ ด ท้ า ยก็ คื อ ตั ว E ว่ อ งไว มี พ ลั ง เยอะมาก Energy จะต้ อ งผสานพลั ง กั น
เพราะฉะนั้ น ประเทศชาติ ต้ อ งการมากคื อ คนหนุ่ ม สาวรวมพลั ง กั น ที่ จ ะทำความดี กั บ ชุ ม ชน ทำความดีกับสังคม เรียนรู้ที่จะผสานพลังที่จะทำความดีด้วยกัน เพราะฉะนั้นใช้ชีวิต L I F E อย่างเต็มที่เลย ขอพระเจ้าอวยพร ทุกท่านครับ
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
๔. ผู้แทนองค์การศาสนาซิกข์ นายสุเทพ สุริยาอัมฤทธิ์ กราบเรียนพระคุณเจ้า ท่านอธิบดีกรมการศาสนา ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน และ เยาวชนที่รักทั้งหลาย เราก็ได้ฟังบทความของท่านผู้ทรงเกียรติหลายท่าน กระผมจะขอแนะนำ เพียงนิดเดียว โอกาสที่เราได้มาร่วมกันนี้เป็นโอกาสที่หายาก อาจจะเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็น
ครั้งเดียวในชีวิต เพราะว่าระยะเวลาของชีวิต ไม่ทราบว่ามันจะยาวนานหรือจะมีโอกาสมาเจอกันอีก
หรือไม่ เพราะฉะนั้นจงใช้เวลานี้ให้เป็นประโยชน์ ที่เราได้มีโอกาสมาร่วมกัน คือการบริหารเวลา เป็นนิยามของชาติไทยว่า การเอาเวลาที่เรามีอยู่ในโลกมนุษย์นี้จำกัดมาด้วยผลแห่งกรรมของเรา เพราะฉะนั้ น ก็ อ ยากจะใคร่ แ นะนำว่ า การได้ ไ ปร่ ว มสมานฉั น ท์ ค รั้ ง นี้ ผมนึ ก ถึ ง พุ ท ธสุ ภ าษิ ต
ที่ว่า สุ จิ ปุ ลิ คนจะเป็นบัณฑิตได้ก็ต่อเมื่อ ฟัง ประการแรก จงตั้งใจฟังแล้วคิดว่าสิ่งนั้น
เป็นลักษณะใด ฟัง คิด แล้วถาม หลังจากนั้นถามว่าเรามีที่ไม่เข้าใจประการใด หรือต้องการ
จะสอบถามเพิ่มเติม แล้วสุดท้ายเขียน สุ จิ ปุ ลิ ฟัง คิด ถาม เขียน ไม่มีใครจะเป็นบัณฑิตได้
ถ้ า ไม่ มี ทั้ ง ๔ ประการนี้ เพราะฉะนั้ น ในการเข้ า อบรมในครั้ ง นี้ พยายามบริ ห ารเวลาให้ ดี
แล้วสอบถาม ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เพราะเป็นโอกาสที่ดีที่สุดสำคัญยิ่งของชีวิตเราทุกคน เยาวชน
เปรียบเหมือนผ้าที่สะอาดและบริสุทธิ์ สามารถย้อม หรือจะพิมพ์ หรือจะประทับ เพราะฉะนั้น
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
๕. พิธีเปิดโครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธานในการเปิดโครงการ
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์ โดยมีนายพิสิฐ เจริญสุข ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ เป็นผู้กล่าว รายงาน และมีผู้นำองค์การศาสนา ๕ ศาสนา ข้าราชการกรมการศาสนา ผู้แทนเยาวชน และ
พี่เลี้ยงเข้าร่วมในพิธีเปิดโครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ในครั้งนี้อย่างพร้อมเพรียง
11
มันเป็นหน้าที่ของเราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องพยายามมอบสิ่งที่ดี แล้วเด็ก ๆ ก็ต้องพยายามเลือก
เอาแต่สิ่งที่ดีงาม เพราะฉะนั้นโอกาสดีมาก พยายามสอบถามแต่ละศาสนาแล้วเก็บบันทึกไว้ใน
ผืนผ้านั้น แล้วไปใช้ในชีวิตในอนาคตเพราะพระศาสดาของซิกข์ก็บอกไว้ว่า ไม่มีศัตรู ไม่มีผู้แปลกหน้า เพราะมนุษย์ล้วนแต่เป็นมิตรสหายของข้าพเจ้า เพราะฉะนั้นจงนึกถึงอยู่เสมอว่ามวลมนุษย์เป็นมิตรสหายของเรา แล้วเราเกิดมาในแผ่นดินไทย รับประทานน้ำจากแผ่นดินแม่ ข้าวจากนาแผ่นดินไทย เพราะฉะนั้นจงนึกอยู่เสมอว่าเราจะต้อง ตอบแทนคุ ณ แผ่ น ดิ น แม่ อย่ า ไปทำลาย เราจะต้ อ งมี ห น้ า ที่ อ ยู่ ต อบแทนพระคุ ณ มารดาคื อ
แผ่นดินแม่ของเรา จากนั้นเยาวชนผู้เข้าค่ายฯ ได้ออกเดินทางไปยังอุทยานการเรียนรู้ วิทยาลัย
นวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดชลบุรี
คำกล่าวรายงาน ของผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ (นายพิสิฐ เจริญสุข) ในการเปิดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ณ อุทยานการเรียนรู้ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดชลบุรี
12 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
กราบเรียนท่านอธิบดีที่เคารพเป็นอย่างสูง กระผมนายพิสิฐ เจริญสุข ผู้อำนวยการ กองศาสนูปถัมภ์ ในนามของคณะกรรมการของการจัดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ทุกท่าน รู้สึก
เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านอธิบดีกรมการศาสนาได้เห็นความสำคัญและเสียสละเวลาอันมีค่ายิ่ง
ของท่านมาเป็นประธานเปิดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ในวันนี้ ค่ายเยาวชนสมานฉันท์เป็นกิจกรรมที่จัดโดยกรมการศาสนาร่วมกับองค์การศาสนา ทั้ง ๕ ศาสนา คือ องค์การศาสนาพุทธ องค์การศาสนาอิสลาม องค์การศาสนาคริสต์ องค์การ ศาสนาพราหมณ์ - ฮิ น ดู และองค์ ก ารศาสนาซิ ก ข์ ซึ่ ง เป็ น ศาสนาที่ เ ผยแพร่ อ ยู่ ใ นสั ง คมไทย
มาอย่างยาวนานและทางราชการให้การรับรอง เพื่อให้เยาวชนทั้ง ๕ ศาสนาที่ผ่านการคัดเลือก จากองค์การศาสนาต่าง ๆ ว่าเป็นเยาวชนแกนนำ จำนวน ๒๕๐ คน ให้มาเข้าค่ายเรียนรู้ในเรื่อง หลักธรรมพิธีกรรมทางศาสนาของแต่ละศาสนา ในการจัดกิจกรรมของค่ายเยาวชนสมานฉันท์ องค์ ก ารศาสนาแต่ ล ะองค์ ก ารศาสนาได้ ม อบหมายให้ ผู้ เ ชี่ ย วชาญทางศาสนามาเป็ น พิ ธี ก ร
ให้ ค วามรู้ แ ละตอบข้ อ ซั ก ถามแก่ เ ยาวชนโดยตรง นอกจากนั้ น เยาวชนยั ง ได้ มี โ อกาส
ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันและทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตทางศาสนา
ที่มีความแตกต่างระหว่างกัน อันจะเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคี และความสมานฉันท์
ให้เกิดขึ้นในหมู่เยาวชน ค่ายเยาวชนสมานฉันท์กำหนดจัดขึ้น ๓ วัน ๒ คืน นับตั้งแต่วันที่ ๑๒ จนถึงวันที่
๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ณ อุทยานการเรียนรู้ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์พัทยา จังหวัดชลบุรี และคาดหวังว่า เมื่อเยาวชนได้ผ่านการเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ครั้งนี้แล้ว จะเป็นกำลังสำคัญการเสริมสร้างสมานฉันท์ ให้เกิดขึ้นแก่สังคมต่อไป
การจัดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหลายฝ่าย กระผมขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่อนุเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ทั้งองค์การศาสนาและสถานศึกษา
ที่ ไ ด้ ร่ ว มกั น คั ด เลื อ กส่ ง เยาวชนเป็ น ตั ว แทนเข้ า ค่ า ยฯ ในครั้ ง นี้ รวมไปถึ ง ทางมหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ที่ได้กรุณาเอื้อเฟื้อสถานที่ในการจัดค่ายฯ บัดนี้เยาวชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้พร้อมกัน ณ สถานที่แห่งนี้แล้ว กระผม
ขออนุญาตกราบเรียนเชิญท่านอธิบดีกรมการศาสนา ท่านสด แดงเอียด ได้กล่าวเปิดค่ายเยาวชน
สมานฉันท์ และให้โอวาทแก่เยาวชนเพื่อเป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันในค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ต่อไป บัดนี้สมควรแก่เวลา ขอกราบขอบพระคุณอย่างยิ่งครับผม
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
13
คำกล่าวเปิดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ โดย อธิบดีกรมการศาสนา (นายสด แดงเอียด)
14 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ท่านผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ ท่าน ดร.พิสิฐ เจริญสุข ท่านผู้แทนองค์การศาสนาทุก ๆ ท่าน ท่านผู้อาวุโส คณะครู อาจารย์ ท่านวิทยากร พี่เลี้ยง ท่านผู้มีเกียรติ นักเรียน เยาวชนที่รักทุกคน ผมดีใจที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ในวันนี้ ณ สถานที่
แห่ ง นี้ ผมคิ ด ว่ า ทุ ก คน ทุ ก ท่ า นคงทราบดี อ ยู่ เ รื่ อ งของชาติ บ้ า นเมื อ งเราที่ มี ม าแต่ อ ดี ต กาล ประเทศเราเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีศาสนาต่าง ๆ อยู่ร่วมรวมกันโดยไม่มีปัญหาเรื่องศาสนา แล้ ว ก็ บ รรพชน บรรพบุ รุ ษ ได้ อ ยู่ ร่ ว มกั น อย่ า งสั น ติ สุ ข โชคดี ที่ ป ระเทศไทยมี ท รั พ ยากรที่ มี
ความหลากหลาย มีภูเขา มีสภาพป่า แผ่นดิน น้ำ มีทะเล มีเกาะแก่ง สายธาร มีที่สูง ที่ต่ำ ที่ดอน ที่ลึก ห้วยหนอง คลอง บึง มีทุกอย่าง แล้วอดีตบรรพชนก็อยู่กันด้วยสันติสุข เพราะทุกคน
ที่นับถือศาสนาล้วนสามารถดำรงชีพด้วยอาศัยทรัพยากรทำมาหากินได้ จะค้าขาย ชาวประมง
จะทำไร่ก็ได้ เพราะว่าทรัพยากรสมบรูณ์ ที่สำคัญไม่มีความขัดแย้ง เข่นฆ่า แย่งชิงทรัพยากร
กันเลย ในประวัติศาสตร์ แต่ในช่วงหลังแม้ความขัดแย้ง แย่งชิงจะไม่มี แต่ทรัพยากรได้เสื่อมโทรม
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
15
เป็ น อย่ า งมาก นี่ คื อ ประเด็ น ที่ อ ยากมาเรี ย นให้ เ ยาวชน นั ก เรี ย นได้ พึ ง รั บ ฟั ง ในอนาคต
ไม่แน่ถ้าทรัพยากรต่าง ๆ ในประเทศถูกทำให้เสื่อมถอยถูกทำลายก็จะทำให้เกิดความทุกข์ยาก ในการที่จะอยู่กินของผู้คน อาจจะเป็นส่วนหนึ่งแห่งความขัดแย้ง แย่งชิง และต่อไปแม้แต่น้ำ
ที่จะกินในแม่น้ำลำคลองก็จะหายาก นี่คือข้อเท็จจริงที่อยากจะฝากให้เยาวชนไว้คิดในวันหน้า
แต่นั่นเป็นเพียงความคิด คำนึง ห่วงใย แต่ก็เชื่อว่าความขัดแย้ง แย่งชิงคงไม่มี ในโอกาสที่กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีโครงการจัดค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ซึ่งมุ่งเน้นที่นักเรียน เยาวชน ไม่สามารถมุ่งไปได้ทั้งหมดทั่วราชอาณาจักร แต่ก็สามารถที่จะกล่าวว่า
ผู้แทนที่นักเรียนทั้งหลายที่มาในห้องประชุมนี้ ก็ถือว่าท่านเป็นผู้แทนของเยาวชนของศาสนา
ที่ เ ป็ น ผลิ ต ผลของบรรพชน พ่ อ แม่ ปู่ ย่ า ตายาย เพราะฉะนั้ น ผมก็ อ ยากจะฝากข้ อ คิ ด
เป็นเบื้องต้นว่า สิ่งหนึ่งที่จะสามารถทำให้เรามีความรัก ความสามัคคีกลมเกลียวกันได้ ก็คือ
การที่ต้องหาโอกาสหาทางมาอยู่ร่วมกันซักระยะหนึ่ง ๓ วันอาจจะน้อยไป ซัก ๕ วัน ๗ วัน หรือ ๑ ปี ในโอกาสนี้คงมีได้แค่ ๓ วัน ขอให้เราถือว่าอยู่กัน ๓ วัน เสมือนเราอยู่กัน ๓ ปี เวลา
ความจริงก็ไม่ใช่เครื่องหมายอะไรนักหนา เพราะเวลามันผ่านไปเป็นปกติ เวลาไม่เคยคอยใคร
ไม่เคยรอ ไม่เคยโกงใคร ในเรื่องปกติ และถ้าเรานั้นคิดว่า ๓ วัน เป็นเวลาก็ต้องทำให้มันมีค่า
บางคนบอกว่าเท่ากับ ๓๐ ปี วันหนึ่งเท่ากับ ๓ อาทิตย์ ๒ สัปดาห์เท่ากับ ๓ เดือน เท่ากับ ๓ ปี เท่ากับ ๓๐ ปี ก็แล้วแต่คิด ที่ผมพูดอย่างนี้ก็เพื่อจะบอกนักเรียน เยาวชนว่า ๓ วันที่ท่านทั้งหลายมาร่วมกัน
เข้าค่ายฯ จงทำให้เป็นประโยชน์สูงสุด จงหาโอกาส ๓ วันนี้เป็นพิเศษ และเมื่อท่านมาพบกัน
รวมกัน โชคดีของท่านก็คือ มีวิทยากร มีครูพี่เลี้ยง ที่จะร่วมสร้างความรัก ความสามัคคี รับรู้ซึ่งกัน
และกัน ไม่ใช่แค่ตัวแทนเยาวชนมาอยู่ด้วยกันเท่านั้น แต่การมาอยู่ร่วมกันก็มีเกณฑ์ มีกติกา
มีเวลา มีตาราง ซึ่งเป็นการวางแผนที่ดี เพราะฉะนั้นครู วิทยากรที่จะให้คำแนะนำที่จะเป็น
ผู้เปิดทางให้ท่านทั้งหลายได้แสดงความสามารถในเรื่องกิจกรรม ในเรื่องนันทนาการก็ดี ฉะนั้น
เมื่อมาพร้อมกันแล้ว ท่านก็จงถือโอกาสใช้เวลา ๓ วัน ให้เป็นประโยชน์ ที่ ส ำคั ญ อี ก ข้ อ หนึ่ ง ที่ อ ยากจะย้ ำ ต้ อ งคิ ด เสมอว่ า เราเป็ น ผู้ แ ทนของเยาวชน
ในศาสนาของเรา เราเป็นผู้แทนพุทธก็เป็นผู้แทนของพุทธทั้งประเทศ ฝ่ายคริสต์ก็คือผู้แทน คริสต์ทั้งประเทศ อิสลามก็แทนทั้งประเทศ แทนทั้ง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย และก็แม้แต่ ศาสนาอื่นที่ไม่ได้มา ซึ่งเขาติดภาระก็ถือว่าเราทั้ง ๓ ศาสนา ก็จงร่วมเป็นผู้แทนของศาสนา พรามหณ์-ฮินดู แล้วก็ศาสนาซิกข์ ประเด็นก็คือ เราเป็นผู้แทน เราไม่ใช่ ส.ส. ไม่ใช่ผู้แทนปวงชน
ที่เขาพูดกันในสภา แต่เราเป็นผู้แทนของเด็กของเพื่อนเราทั่วราชอาณาจักร จะต้องทำข้อนี้ให้
เกิดขึ้นก่อน ต่างก็คิดได้เวลา ๓ วันเป็นสำคัญของเรา เรามาในฐานะเป็นผู้แทนของปวงเยาวชน
16 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ในศาสนาต่าง ๆ ทั่วประเทศในแผ่นดิน ๒ ข้อนี้ ถ้าเราตัดสินใจมั่นคงแล้ว ผมเชื่อว่าการที่เรามา เข้าค่ายฯ ก็จะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล ที่อยากจะฝากเป็นพิเศษอีกก็คือ เมื่อเยาวชนทั้งหลาย ที่มาเข้าค่ายฯ แล้ว ผมอยากจะพูดในสิ่งธรรมดาแต่ว่ามันเป็นประเด็นที่เน้นคือ ประเด็นที่ ๑ ที่มากัน ๓ วันนี้ อยู่กัน ๓ วัน ต้องรู้จักกันจริง เพราะฉะนั้นต้องหาวิธี จะทำไงให้รู้จักกันจริง การที่จะรู้จักกันจริงก็คือ การที่จะต้องใช้ปากคุย ต้องพยายามทำความ
รู้จักกันให้เกิดขึ้นให้ได้ แล้วที่สำคัญต้องแยกออกจากกลุ่มของตัวเอง วิธีการที่จะรู้จักกันจริง
คือต้องปลีกตนเองออกจากพวก ภายใน ๓ วันนี้ ออกไปหาเพื่อนใหม่ ไปคุยกัน มันจะได้เกิด
การรู้จักนี่คือสำคัญ และถ้าทำได้นี้ก็จะดีมาก ประเด็นที่ ๒ ที่อยากจะฝากไว้ก็คือ ต้องร่วมกันรับรู้เรื่องต่าง ๆ ของแต่ละศาสนา
ที่ยกขึ้นมาพูด ยกขึ้นมาคุย ที่วิทยากรยกขึ้นมาแนะนำสั่งสอนต้องร่วมกันรับรู้ คำว่าร่วมกันรับรู้
ก็หมายความว่า ต้องตั้งใจฟังของศาสนาอื่นที่วิทยากรพูด ที่ผมพูดอย่างนี้ก็เพราะว่าเวลามีจำกัด ส่วนข้อมูลเอกสาร ฝ่ายผู้จัดคงเตรียมไว้ให้ส่วนหนึ่งแต่เรามารับรู้กันในที่ประชุมนี้ หรือรับรู้กัน
ในห้องไหน ที่แยกกันไปทำกิจกรรม ประเด็นที่ ๓ ต้องร่วมใจกันทำกิจกรรมอย่างจริงจัง ทุ่มใจทำกันให้สุดเหวี่ยงเลย อินในกิจกรรม มีกิจกรรมอะไรไม่อาย ไม่เขิน ทำด้วยความจริงใจมันจะมีพลัง มันจะทำให้เรา
มีพลังในการที่จะอยู่ร่วมกัน เพราะผมเชื่อว่ามีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ขอให้ทุกคนทำกิจกรรม ไม่เคอะเขิน เหวี่ยงให้สุดเหวี่ยง การที่จะทำกิจกรรมได้อย่างนี้มันจะทำให้มีความร่วมใจในการทำ สนุกสนานเพลิดเพลินใจ อีกข้อหนึ่ง ต้องคิดอยู่เสมอว่าที่เรามากัน เรามาหามิตรแท้ ทุกคนมีเพื่อน ทุกคน
มีเพื่อนที่โรงเรียน มีเพื่อนในศาสนิกของเรา แต่วันนี้ซึ่งเรามาหามิตรแท้ ซึ่งหาใหม่ ถ้าหากว่า
ได้มิตรแท้ ความเป็นมิตรจะยั่งยืนสถาพรไปวันหน้า ที่ผมพูดว่ามิตรแท้ หมายความว่าเจอกันที่ไหน
เจอกันอย่างไร โตขึ้น อายุมากขนาดไหน ก็ยังรู้จักมักคุ้นเป็นกัลยาณมิตรที่ดี ต้องคิดถึงตรงนั้นด้วย
ไม่ใช่มารู้จักกันระยะหนึ่ง พอนานเข้าหลังจากเลิกค่ายฯ ก็ห่างเหิน ผมอยากให้กระชับแน่น จนกว่าเราจะตายจากกัน แต่ผมเชื่อว่าถ้าเราคิดลักษณะนี้แล้ว การเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ของทุกคน ของผู้แทนทุกศาสนาที่มาร่วมกันในเวลาจำกัด ก็จะเกิดประโยชน์มหาศาล จะเป็นการ สร้างความรัก ความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว ความร่วมรับรู้ กลมเกลียว เกิดความสมานฉันท์
ที่ดีมาก มีความสุข เมื่อจบไปก็จะมีความสุขยิ่ง ๆ ขึ้น และสิ่งหนึ่งที่เชื่อว่าฝ่ายผู้จัดต้องทำก็คือ ทะเบียนรุ่น มีรูปภาพ มีเป็นหนังสือเก็บไว้ ใครอยู่โรงเรียนไหน ชื่อเล่นชื่ออะไร สิ่งเหล่านั้น
จะเป็นประวัติศาสตร์ ทุกคนเวลาโตขึ้นจะมีลูก มีหลาน ในวันหน้าหลักฐานเหล่านี้เก็บไว้มันก็จะ เป็นความรู้สึกที่ดี ๆ ของเราว่าครั้งหนึ่งที่เราเคยเป็นเยาวชนในแผ่นดินไทยนี้ แล้วมาเข้าค่าย
เยาวชนสมานฉันท์ที่นี่ จัดขึ้นระหว่างวันที่เท่านั้นถึงวันที่เท่านั้น เรามีวิทยากรศาสนาพูดเรื่องนั้น เรื่องนี้ เราได้มาทำกิจกรรมได้รับความสนุกเพลินเพลิน ได้ความรู้ ได้อยู่ร่วมกัน ก็จะเป็น
รอยประทับใจและพยานต่าง ๆ อ้างอิง คิดว่าเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลที่ผมจะฝากไว้ เป้าหมาย ที่แท้จริงของการเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ก็คือการให้เยาวชนรู้จักกัน รักกัน แล้วก็รักกันอย่างยั่งยืน
และก็ร่วมกันคิด ร่วมกันทำสิ่งที่มีประโยชน์ เพื่อที่จะได้ร่วมกันคิดร่วมกันทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อ สังคมประเทศในวันหน้าในอนาคต ผมก็ขอฝากข้อคิดเห็นไว้เท่านี้ บัดนี้ได้เวลาพอสมควรแล้ว ผมขออัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกคนนับถือได้โปรด บันดาลประทานพรให้เยาวชนที่มาเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ และท่านผู้มีส่วนร่วมทุกท่านในวันนี้ จงมีกำลังกายกำลังใจที่ดี จงมีแต่ความสุขในการที่อยู่ร่วมกัน เดินทางปลอดภัย ไปที่ไหนจงมีแต่ ความสุ ข สวั ส ดิ์ ไปที่ ไ หนก็ มี แ ต่ ค นรั ก คนชอบ ผมขอเปิ ด ค่ า ยเยาวชนสมานฉั น ท์ ปี ๒๕๕๒
ที่กรมการศาสนาร่วมกับองค์กรผู้แทนศาสนาต่าง ๆ ได้ร่วมกันจัดขึ้น
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
17
การอธิษฐานจิตภาวนาของเยาวชนแต่ละศาสนาก่อนการทำพิธีเปิดค่ายเยาวชนสมานฉันท์
18 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ในช่วงเช้าพี่เลี้ยงแต่ละศาสนานำเยาวชนปฏิบัติศาสนกิจ
การจัดกิจกรรมกลุ่ม
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
19
จุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความสมานฉันท์ ปรองดอง เอื้อเฟื้อ ต่ อ กั น การจั ด กิ จ กรรมให้ เ ยาวชนทุ ก ศาสนาได้ เ ข้ า กลุ่ ม ด้ ว ยกิ จ กรรม
ลมเพลมพั ด จั ด กลุ่ ม ออกเป็ น ๑๐ กลุ่ ม ให้ ร วมกั น ทำกิ จ กรรมด้ ว ย
ความสมานฉันท์ ในแต่ละกลุ่ม เยาวชนตั้งชื่อกลุ่ม ทำโลโก้ สัญลักษณ์ประจำกลุ่ม ร่วมกันเสนอความคิดว่าการมาเข้าค่ายฯ ได้ประโยชน์อะไร เพื่อสร้างกิจกรรม
ความคุ้นเคยกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม แต่ละกลุ่มดำเนินการดังนี้ ๑. เขียนรายชื่อสมาชิกกลุ่ม ๒. ตั้งชื่อกลุ่ม ๓. แต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มและรองหัวหน้ากลุ่ม ๔. กำหนดคำขวัญประจำกลุ่ม ๕. กำหนดสัญลักษณ์ประจำกลุ่ม ๖. ระบุประโยชน์ของการเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ๗. กำหนดท่าทางพร้อมเพลงประจำกลุ่ม
รายชื่อกลุ่ม จำนวน ๑๐ กลุ่ม ประกอบด้วย
20 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
๑. กลุ่มเดอะวัน ๒. กลุ่มมายเฟรนด์ ๓. กลุ่มอะไร ๔. กลุ่มแรงเว่อร์ ๕. กลุ่มตัวจี๊ด ๖. กลุ่มแอบจี๊ด ๗. กลุ่มเจริญ ๘. กลุ่มนะจ๊ะ ๙. กลุ่มเปรี๊ยวเปรี้ยว ๑๐. กลุ่มโนเนม เ มื่ อ ตั้ ง ชื่ อ ก ลุ่ ม เ รี ย บ ร้ อ ย
ได้ ม อบหมายให้ ก ลุ่ ม ทุ ก กลุ่ ม รายงาน
ผลงานกลุ่ม กลุ่มละ ๓ นาที โดยให้สมาชิก ทุกคนมีส่วนร่วมในการรายงานพร้อมท่าทาง ประกอบเพลง การรายงานได้ ใ ช้ วิ ธี
การจับฉลากเรียงตามลำดับได้ดังนี้
ลำดับที่ ๑ กลุ่มเปรี๊ยวเปรี้ยว คติพจน์
โดดเด่ น ได้ ใ จ โดนใจ
เปรี๊ยวเปรี้ยว ประโยชน์ ๑. มี ค วามสามั ค คี ได้ รั บ
มิ ต รภาพ และได้ รั บ
ค ว า ม รู้ จ า ก เ พื่ อ น
ต่างโรงเรียน ๒. ไ ด้ รู้ จั ก กิ จ ก ร ร ม ข อ ง
ศาสนาอื่น สัญลักษณ์ มะนาวและน้ำผึ้ง เพลงประจำกลุ่ม เพลงป๊ะ ปิ๊ โป๊ะ
ลำดับที่ ๒ กลุ่มนะจ๊ะ คติพจน์
กี่ ศ าสนาไม่ ส ำคั ญ ถ้ า รั ก ความสมานฉั น ท์ เรารั ก กั น เข้าใจกัน เท่านั้นพอ ประโยชน์ ๑. ไ ด้ รู้ จั ก เ พื่ อ น ใ ห ม่
และการอยู่ร่วมกัน ๒. เป็ น การปลู ก ฝั ง ความ
สามัคคี และได้แลกเปลี่ยน
วัฒนธรรมระหว่างศาสนา สัญลักษณ์ เด็ก ๕ คนจับมือกัน หมายถึง ตัวแทนของเราทั้ง ๕ ศาสนา จับมือกัน เพลงประจำกลุ่ม เพลงรั ก ๆ เธอไม่ มี ห มด
รักเธอไม่มีหมด นะจ๊ะ
ประโยชน์
ศาสนาไหนก็จี๊ดได้ เพราะเรา คือคนไทยเหมือนกัน ๑. ได้รู้จักเพื่อนต่างศาสนา
มีมิตรภาพที่ดีต่อกัน ๒. ได้ รู้ ถึ ง สั ญ ลั ก ษณ์ ข อง
ทั้ง ๕ ศาสนา ๓. ได้ รั บ ความรู้ เ กี่ ย วกั บ
การปฏิบัติตนของศาสนิก ๔. ได้ รู้ จั ก วิ ท ยากรที่ แ สนดี
และน่ารัก ๕. ฝึกให้มีความกล้าคิดกล้าทำ ๖. รู้ จั ก การให้ เ กี ย รติ ซึ่ ง กั น
และกัน
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
คติพจน์
21
ลำดับที่ ๓ กลุ่มแอบจี๊ด
๗. ฝึกความอดทนและรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น สัญลักษณ์ ยิ้ม เพลงประจำกลุ่ม เพลงเรือน้อยขายถั่ว
ลำดับที่ ๔ กลุ่มเดอะวัน
22
คติพจน์ ประโยชน์ สัญลักษณ์
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
หนึ่งใจเดียวกัน มีเธอและฉัน ร่วมกันสมานฉันท์เอย ๑. ได้รับความรู้จากเพื่อนต่างศาสนา ๒. ได้รับความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนา ๓. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ๔. สามารถเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน ๕. เป็นการเสริมสร้างความสามัคคี ๖. เป็นการฝึกสมองและการระดมความคิด ๗. ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิด ๘. ฝึกความอดทนและการรู้จักหน้าที่ของตน ๙. ทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดี ภาพของ ๕ ศาสนามาอยู่ร่วมกัน หมายถึง การที่ทั้ง ๕ ศาสนาไม่มีการแบ่งแยกกัน การรวมใจเป็นหนึ่งเดียวกัน เพลงประจำกลุ่ม เพลงเดอะวัน น่ารัก
ลำดับที่ ๕ กลุ่มมายเฟรนด์ คติพจน์ ต่างคน ต่างศาสนา แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ประโยชน์ ๑. ได้รู้จักเพื่อน และเสริมสร้างความสามัคคี ๒. ได้เรียนรู้ทัศนคติของศาสนาอื่น ๓. ได้เรียนรู้พิธีกรรมของศาสนาอื่น ๔. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างศาสนา และมีความสมานฉันท์ ๕. มีการยอมรับข้อบกพร่องของบุคคลอื่น สัญลักษณ์ จับมือกัน หมายถึง ทุกศาสนาก็เหมือนนิ้วทั้ง ๕ นิ้วมารวมกัน ถ้าขาดนิ้วใดนิ้วหนึ่ง ความสมานสามัคคีคงไม่สมบรูณ์แบบ เพลงประจำกลุ่ม เพลงอุลตร้าแมนเป็นตุ๊ด
ลำดับที่ ๖ กลุ่มอะไร คติพจน์ ประโยชน์
อยู่ด้วยกันฉันท์พี่น้อง ต้องปรองดอง สมานฉันท์ ๑. ได้แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่างเพื่อนต่างศาสนา และนำข้อคิดมาประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวัน ๒. ได้แลกเปลี่ยนความสามารถระหว่างบุคคล ๓. ได้ ท ราบถึ ง วิ ถี ชี วิ ต และความเป็ น อยู่ ข องเพื่ อ นต่ า งศาสนา และมี ก าร
ปรับตัว ให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ๔. เสริมสร้างความสามัคคีระหว่างเพื่อนต่างศาสนาและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ต่อกัน ๕. ได้มีเพื่อนเพิ่มมากขึ้น สัญลักษณ์ ? เพลงประจำกลุ่ม เพลงโรตี
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
23
ลำดับที่ ๗ กลุ่มตัวจี๊ด คติพจน์
24 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
พุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ ซิกข์ ก็เป็นมิตรสมานฉันท์ เราจงคิดร่วมกัน ร่วมสร้างสรรค์ ทำความดี ประโยชน์ ๑. เพิ่มประสบการณ์ของชีวิต ๒. ได้รับมิตรภาพจากเพื่อนต่างศาสนา ๓. รู้จักความร่วมมือและความอดทน ๔. การกล้าแสดงออก ๕. ฝึกการตรงต่อเวลา ๖. ได้เรียนรู้วัฒนธรรมต่างศาสนา สัญลักษณ์ มือ หมายถึง มือ ๒ ข้างคือประชาชนหรือคนทุกคนในประเทศไทยที่นับถือ
๕ ศาสนา เพลงประจำกลุ่ม เพลงตัวจี๊ด สู้ ๆ
ลำดับที่ ๘ กลุ่มแรงเว่อร์ คติพจน์ เราล้วนแตกต่าง แต่เราไม่แตกแยก ประโยชน์ ๑. ได้รับมิตรภาพไร้พรมแดน ๒. ได้รู้จักกฎปฏิบัติของศาสนาอื่น ๓. ได้มีการปรับตัวในการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนต่างศาสนา ๔. เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะและแบ่งปันน้ำใจ สัญลักษณ์ วงกลมศาสนาพุทธอยู่ตรงกลาง และอีก ๔ ศาสนาอยู่รอบ ๆ เพลงประจำกลุ่ม เพลงตุ่มใส่น้ำ
ลำดับที่ ๙ กลุ่มโนเนม คติพจน์
คติพจน์
พราหมณ์ พุทธ คริสต์ อิสลาม เราไม่ชอบสงคราม เจริญ เจริญ ประโยชน์ ๑. ได้แลกเปลี่ยนความคิด
มีการยอมรับความคิด
ของผู้อื่น ๒. มีทัศนคติที่ดีกับเพื่อน
ศาสนาอื่น ๓. รู้จักการผู้แทนองค์การศาสนาอิสลาม รับตัวในการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนศาสนาอื่น สัญลักษณ์ ดวงดาว ๕ แฉก เพลงประจำกลุ่ม -
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ลำดับที่ ๑๐ กลุ่มเจริญ
25
ถึ ง ไร้ ชื่ อ ไร้ น าม มาต่ า งถิ่ น ต่ า งสถาบั น แต่ ม าเพื่ อ ความหวั ง ที่ จ ะสร้ า ง
ความสามัคคี ประโยชน์ ๑. ได้มีเพื่อนเพิ่มมากขึ้น ๒. ได้ทราบหลักธรรมของศาสนาอื่น ๓. ได้ทราบประเพณี วัฒนธรรม และพิธีกรรมของศาสนาอื่น ๔. สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ๕. เผยแพร่ความรู้กับบุคคลอื่นต่อไป สัญลักษณ์ ทุกศาสนาอยู่ในมือ เพลงประจำกลุ่ม -
การจัดกิจกรรมสร้างความสามัคคี
26 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์ เยาวชนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมตามฐานที่จัดไว้ ซึ่งกิจกรรมที่จัดเยาวชนจะต้องใช้ความสามัคคี ร่วมแรง ร่วมใจ เสียสละ ของสมาชิกภายในกลุ่มจึงจะทำภารกิจที่ได้รับหมายหมายให้สำเร็จได้
ดร.พิสิฐ เจริญสุข ผู้ดำเนินการอภิปราย ขอแนะนำวิทยากรท่านแรกผู้แทนองค์การศาสนาอิสลาม ท่านเป็นอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักจุฬาราชมนตรี กรรมการฝ่ายการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย กรรมการบริหารสมาคมคุรุสัมพันธ์ กรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ
เป็นประธานสมาพันธ์เครือข่ายสื่อมุสลิมไทย กรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล สำนักงานกิจการ
แห่งประเทศไทย ปัจจุบันเป็นหัวหน้าฝ่ายอิสลามศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี
อาจารย์สมยศ หวังอับดุลเลาะ ท่านต่อไปมียศพันเอก ตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการอนุศาสนาจารย์ กองเสมียนตรา คุณวุฒิ ท่านจบเปรียญธรรม ๙ ประโยค หน้าที่การงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพกษัตรี เป็นตุลาการ
ศาลทหาร ปัจจุบันเป็นกรรมการบริหารเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย พันเอกต่อพรต เจนการ ครับ
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา
27
การบรรยายและตอบข้อซักถามทางศาสนา
28 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ถัดท่านไปวิทยากรศาสนาคริสต์ การศึกษาท่านจบปริญญาตรีคณะศาสนศาสตร์ สาขาเทววิ ท ยา วิ ท ยาลั ย แสงธรรม ปั จ จุ บั น ท่ า นดำรงตำแหน่ ง คริ ส ตสั ม พั น ธ์ สั ง ฆมณฑล นครราชสี ม า เป็ น กรรมการบริ ห ารศาสนสั ม พั น ธ์ ร ะดั บ ชาติ ใ นสภาสั ง ฆราชคาทอลิ ก
แห่งประเทศไทย บาทหลวงเกรียงไกร ยิ่งยง วิ ท ยากรของศาสนาพราหมณ์ - ฮิ น ดู ท่ า นจบปริ ญ ญาโทการศึ ก ษาบั ณ ฑิ ต
จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และจากมหาวิทยาลัยปูนา ประเทศอินเดีย ท่าน มีประสบการณ์การสอน ๓๗ ปี ท่านอาจารย์กมเลศ กุมารี เมื่อเยาวชนได้รู้จักวิทยากร ให้คิด ซักถาม ขอให้เยาวชนใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ในช่วงเวลานี้ มีผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ความรู้กับเยาวชนทุกคน ถ้ามีข้อสงสัยก็โปรดเตรียมคำถามไว้ ขออย่างเดียว คำถามนั้นให้เป็นไปเพื่อการสร้างสรรค์ อย่าถามเพื่อการแตกแยก คำถามนั้น
มี ห ลายลั ก ษณะ ถามเพื่ อ อยากจะรู้ อ ยากจะทราบอย่ า งหนึ่ ง ถามเพื่ อ จะไล่ ใ ห้ จ นอย่ า งหนึ่ ง
ถามเพื่อจะตอกย้ำ แก้แค้นอย่างหนึ่ง ถามเพื่อสร้างสรรค์และอยากจะหาความรู้จริง ๆ ถามเพื่อ จะยอกย้อน เพื่อให้เกิดการหน้าแตกต่าง ๆ เหล่านี้ บนเวทีนี้ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง เราจะมาหา จุดร่วมที่เราอยู่ในสังคมไทย โดยมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก
องค์เดียวกัน มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เยาวชนจึงมีหน้าที่ฟัง จด และถามในข้อที่
สงสัย ทำไมในแจกั น หนึ่ ง ที่ ส วยงามจึ ง มี ด อกไม้ ห ลากสี ถ้ ว ยเบญจรงค์ จึ ง มี ๕ สี
เป็นถ้วยสีเดียว ราคาไม่แพง ถ้าเป็นเบญจรงค์จะมีราคาแพง เราที่มาอยู่รวมกันในที่นี้เหมือน
ถ้วยเบญจรงค์ที่มีความสง่างาม ในสมาคมแห่งนี้ มันไม่ง่ายนักที่เราจะมาอยู่ร่วมกันและเข้าใจกัน ในเวลาอันรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในสมาคมแห่งนี้ เยาวชนจึงต้องทำความรู้จัก และสร้าง ความคุ้นเคยกันให้ได้ เพื่อมิตรสัมพันธ์ที่ดีของกันและกัน ผมขอเรียนเชิญวิทยากรศาสนาอิสลาม ที่จะให้ความรู้แก่เยาวชนก่อนครับ
วิทยากรศาสนาอิสลาม นายสมยศ หวังอับดุลเลาะ
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
29
ขอแสดงความคาราวะแด่ผู้แทนข้าราชการกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ท่านผู้ดำเนินการอภิปราย ท่านวิทยากรผู้แทนทั้ง ๕ ศาสนา วิทยากร ครูพี่เลี้ยง ท่านผู้มีเกียรติ และนักเรียน เยาวชนทั้ง ๕ ศาสนา กระผมรู้สึกดีใจนะครับที่ได้มาร่วมกับโครงการค่ายเยาวชน สมานฉันท์ จริง ๆ ผมเป็นหนึ่งในคณะทำงานที่ได้ร่วมกันเขียนหลักสูตร ตั้งแต่ครั้งแรก ปีที่ ๑
ปีที่ ๒ ก็ได้มาร่วมกิจกรรม ๒-๓ ปีที่ผ่านมาก็ไม่ได้มา ปีนี้ได้มีโอกาสมาร่วมขอแสดงความยินดี กับกรมการศาสนา และผู้แทนศาสนาทั้ง ๕ ศาสนาด้วยนะครับ ผมเข้ามาก็มีแต่ความอบอุ่น
เห็ น หน้ า ผู้ อ าวุ โ ส ผู้ แ ทนศาสนาแต่ ล ะศาสนา ล้ ว นแต่ เ ป็ น คนที่ มี ค วามคุ้ น เคยกั น ศาสนา
ทุกศาสนามีจุดที่เหมือนกันอยู่อย่าง คือ สอนให้คนเป็นคนดี ถูกต้องไหมครับ เมื่ อ สั ก ครู่ นี้ ท่ า นผู้ ด ำเนิ น รายการบอกแล้ ว นะครั บ ว่ า คราวนี้ เ รามาอยู่ ร่ ว มกั น
เปรียบเสมือนแจกัน หรือเบญจรงค์ที่มีความหลากหลาย เพราะฉะนั้นการที่เรามาอยู่ร่วมกัน
ในที่ เ ดี ย วกั น หลายศาสนาถื อ ว่ า เป็ น ความสวยงาม เป็ น ความสมานฉั น ท์ เมื่ อ ทุ ก คนเกิ ด
ในประเทศไทย ไม่ว่าส่วนไหนของในประเทศไทย ก็ถือว่าเป็นคนไทยด้วยกัน คนไทยถือว่า
เป็นคนที่โชคดีที่สุดในโลก โชคดีตรงที่เรามีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระประมุข
พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ให้ความอุปถัมภ์ทุกศาสนาที่มีอยู่ในประเทศไทย แต่ว่าสิ่งที่ผมจะนำเสนอ
ในตอนนี้เพื่อเป็นการปูความเข้าใจ แล้วก็เปิดโอกาสให้พวกเธอทั้งหลายได้ถามเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม อยากจะปูพื้นฐานว่าหลักการของศาสนาอิสลามกว้าง ๆ แบ่งเป็น ๓ ส่วน ส่วนที่ ๑ เขาเรียกว่า หลักความเชื่อ ศรัทธาที่จะต้องมีความศรัทธาต่ออัลเลาะห์
เป็นพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งมีองค์ประกอบอยู่ ๖ ประการด้วยกัน แต่ว่าจะไม่ขออธิบายในที่นี้เพราะว่า เวลามีจำกัด ส่วนที่ ๒ เขาเรียกว่า หลักปฏิบัติ เรื่องของอิสลามเป็นหลักปฏิบัติ ส่วนที่ ๓ เขาเรียกเป็นเรื่องของหลักจริยธรรม มี ๓ ส่วนหลัก ๆ
30 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
หลักความเชื่อ ไม่สามารถที่จะเห็นได้เป็นรูปธรรม เพราะว่า ความเชื่ออยู่ข้างใน ภายใน เรื่องของความศรัทธาอยู่ในใจ เมื่อมีความเชื่อเราก็จะต้องนำไปสู่การปฏิบัติเราเชื่อ
ในคำสั่งจากพระผู้เป็นเจ้า เชื่อคำสั่งสอนของศาสดา เชื่อในหลักการของอิสลาม ซึ่งนำไปสู่
หลักปฏิบัติ ๕ ประการ ซึ่งหลักของศาสนาพุทธก็มศี ีล ๕ ธรรม ๕ สิ่งที่จะต้องละเว้นในศาสนา พุทธ อิสลามก็มีข้อกำหนด บัญญัติชัดเจนเรียกว่าหลักปฏิบัติ ๕ ประการ ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับชาวมุสลิม ต้องถือปฏิบัติ จะอยู่ตรงไหน มุสลิมเขาจะแสดงความเป็นมุสลิม จะสังเกต มุ ส ลิ ม ได้ ว่ า จะอยู่ ที่ ไ หนก็ ต้ อ งมี ก ารละหมาด มี ก ารปฏิ บั ติ ศ าสนกิ จ นี้ เ รี ย กว่ า หลั ก ปฏิ บั ติ
๕ ประการ อีกหลักหนึ่งเรียกว่าหลักปฏิบัติจริยธรรมและคุณธรรม เรียกว่า หลักเอียะห์ซาน
ตรงนี้ก็มีความสำคัญ มนุษย์เรา คนเราหากไม่มีจริยธรรมคุณธรรม แน่นอนที่สุดความมีคุณค่า
ในความเป็นมนุษย์จะไม่มีครับ ซึ่งจะไม่แปลกไปจากสัตว์เดรัจฉานทั่ว ๆ ไป ถ้าหากมนุษย์ขาด
ซึ่ ง จริ ย ธรรมคุ ณ ธรรม เพราะฉะนั้ น อยากจะสรุ ป ตรงนี้ น ะครั บ หลั ก ที่ จ ะสามารถสั ม ผั ส ได้
๕ ประการ ก็คือ ประการที่ ๑ หลักปฏิบัติ มุสลิมทุกคนจะต้องปฏิญาณตน นี่คือหลักเอียะห์ซาน ประการที่ ๑ ปฏิญาณตนว่า พระผู้เป็นเจ้าคือ อัลเลาะฮฺ และศาสดาคือ มูฮัมมัด นี่คือหลักปฏิบัติ ประการที่ ๑ ประการที่ ๒ คือ จะต้องละหมาดวันละ ๕ เวลา ผู้ที่ได้ละหมาด ๕ เวลา สามารถ
ที่จะยับยั้งความชั่วที่จะเกิดขึ้น มุสลิมที่เคร่งครัดในหลักการของศาสนา ไม่มีโอกาสที่จะทำชั่วเลยครับ
เพราะว่าวันหนึ่งต้องบริหารจัดการเรื่องของเวลา เพราะฉะนั้นการละหมาดสอนให้คนทุกคน
ได้รู้จักการบริหารเวลา ไม่มีโอกาสได้ไปทำชั่ว สอนตั้งแต่เล็กให้รู้จักการบริหารเวลา และยังได้
มีการบริหารร่างกายไปด้วย การละหมาดมีการยืน มีการยกมือเห็นไหมครับ มีการก้มโค้ง
มีการกราบอิริยาบถต่าง ๆ ที่ได้ขับเคลื่อน นับตั้งแต่ก่อนแสงอรุณขึ้นก็จะเริ่มละหมาดกันแล้ว
แต่หลัก ๆ ประโยชน์ของการละหมาด สามารถ
ที่จะยับยั้งมนุษย์ไปสู่การกระทำความชั่ว อันนี้คือ หลักสำคัญของการละหมาด อันนี้เป็นประโยชน์ ส่วนบุคคลแต่ละคน ประการที่ ๓ คื อ การบริ จ าคทาน เป็นการบังคับคนที่มีทรัพย์สิน ถึงกำหนดต้องมี การบริ จ าค ไม่ ว่ า จะเป็ น เงิ น เป็ น ทอง ปศุ สั ต ว์
และพืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ เกษตรกรที่ทำไร่ ทำนา
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
31
ถึงเวลาเขาต้องบริจาคทาน เป็นการบังคับให้ออกด้วย อันนี้มีผลทางด้านสังคม เพราะฉะนั้นจะพบว่า
อิสลามไม่มีคนจน เพราะ ๑ อิสลามห้ามดอกเบี้ย คนที่เขาจนอยู่แล้วจะไปปล่อยเงินกู้แล้วไปกิน ดอกเบี้ย อิสลามห้าม ในขณะเดียวกันอิสลามบังคับคนมีเงินมีทองจะต้องแจกจ่ายให้กับคนยาก คนจนทั้ง ๘ ประเภทด้วยซ้ำไป รายละเอียดแต่ละเรื่องน่าสนใจครับ การละหมาดเป็นความผูกพัน
กับพระผู้เป็นเจ้า เมื่อมีการละหมาดจะต้องละเว้นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของโลก เรียกว่า ความผูกพันระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า อันที่ ๒ เกี่ยวข้องกับสังคม เป็นการช่วยเหลือสังคม คนยากคนจนก็จะหมดไปในสังคม เพราะคนรวยบริจาคทาน เป็นข้อบังคับ ประการที่ ๔ ต้องถือศีลอด ในรอบปีหนึ่ง ๑ เดือน ในเดือนรอมฎอน อิสลาม
เขานับเดือนจันทรคติ มี ๒๙ กับ ๓๐ วัน ไม่มี ๓๑ หรือ ๒๘ วัน การถือศีลอดมีประโยชน์อย่างไร ๑. ทำให้มีความผูกพันระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า ๒. สอนให้มีการอดทนเวลาหิว ประโยชน์ ทางสุขภาพก็ดี มีการวิจัยแล้วว่า การถือศีลอดของชาวมุสลิมนี้ น้ำตาลในเส้นเลือด คอเลสเตอรอล
ไตรกลีเซอไรด์จะลดไป ในช่วงของเดือนรอมฎอน ได้มีการทำวิจัยโดยการเจาะเลือดในช่วง
การถือศีลอด ปรากฏว่าลดลงมา ในด้านเศรษฐกิจ การถือศีลอดไม่เพียงแต่อดอาหาร งดเว้น เรื่องของบุหรี่การสูบ การเสพ การกิน การดื่มทั้งหมด งดเว้นวาจาที่ไม่ดีไม่งามต่าง ๆ คำหยาบคาย ในด้ า นวาจาก็ ต้ อ งอดด้ ว ย เพราะฉะนั้ น ในเชิ ง ของเศรษฐกิ จ คนเคยสู บ บุ ห รี่ วั น ละ ๑ ซอง
ถึงเดือนแห่งการถือศีลอด เหลือ ๒-๓ มวน ดูดได้เฉพาะเวลากลางคืน บางคนเลิกบุหรี่ได้เพราะ เดือนรอมฎอน นี่เหตุผลคุณค่าของการถือศีลอด นี่ผมยกตัวอย่างเท่านั้น เหลืออีก ๑ ประการ ผมตั้งประเด็นไว้เฉย ๆ ไม่มีรายละเอียด ส่วนรายละเอียดผมจะเปิดโอกาสให้พวกเธอได้ถาม เรื่ อ งอาหารฮาลาล อาหารฮาลาลเป็ น ยั ง ไง หน้ า ตามั น เป็ น ยั ง ไง เคยได้ ยิ น อาหารฮาลาล
เดี๋ยวจะถามก็ได้ ประการที่ ๕ เคยเห็ น คนเดิ น ทางไปประกอบพิ ธี ฮั จ ย์ ไ หมครั บ ใครเคยได้ ยิ น
การประกอบพิธีฮัจย์ ต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ไปมหานครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย พี่น้องทั่วโลกต้องไปที่เดียวกัน เพราะฉะนั้นการสมานฉันท์ของชาวมุสลิมไม่ว่าจะชนชาติไหน
ผิวไหน มีบัญญัติเหมือนกันหมดครับ มีความเท่าเทียมจะต้องอดทน เขาแย่งกันไปทำความดี
หรือเปล่าครับ เคยได้ยินว่าเขาเหยียบกันตายไหม ทุกคนต้องมีความอดทน มีความเสียสละ
ได้ประโยชน์หลายอย่าง เพราะฉะนั้นหลัก ๕ ประการของอิสลาม ครอบคลุมหมดเลย นี่หลักปฏิบัติ เมื่อมุสลิมปฏิบัติหลัก ๕ ประการนี้ จะทำให้วิถีการดำเนินชีวิตนี้สอดคล้องกับธรรมชาติที่สุด
แล้วส่วนเรื่องข้อบัญญัติห้ามอะไรต่าง ๆ มีอีกมากมายเลย เช่น ห้ามดื่มสุรา ห้ามนู่นห้ามนี่
เยอะแยะเลย ไว้ให้พวกเราได้ถามกัน ดูเหมือนเวลาจะหมดแล้ว จริง ๆ มีเรื่องที่จะคุยกัน
เยอะแยะเลย แต่ว่ามีข้อจำกัดด้วยเวลาไว้รอบ ๒ ค่อยคุยกันต่อ สำหรับรอบนี้ก็ขอบคุณครับ
วิทยากรศาสนาพุทธ พันเอกต่อพรต เจนการ
32 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ก่อนอื่นขอถามปัญหาเป็นอันดับแรกก่อน มีคนไหนที่ไม่เคยดู
ภาพยนตร์ หรื อ ดู ห นั ง เปาบุ้ น จิ้ น ไหมครั บ คนที่ ไ ม่ เ คยดู
มี ไ หม เปาบุ้ น จิ้ น จะถามปั ญ หาจะถามปั ญ หาลู ก ๆ
หลาน ๆ ว่า ก่อนที่เปาบุ้นจิ้นจะสั่งตัดศีรษะของนักโทษ เขาจะมีคำสั่งหรือคำพูดอยู่ประโยคหนึ่งว่า เจ้าต้องการ ให้ข้าช่วยเหลืออะไรบอกมา ถ้านักโทษคนนั้นต้องการ อะไร เปาบุ้ น จิ้ น ก็ จ ะไปทำตามคนนั้ น มี นั ก โทษอยู่
คนหนึ่ง เปาบุ้นจิ้นถามว่าก่อนที่ข้าจะสั่งตัดศีรษะของเจ้า เจ้ า จะขอร้ อ งให้ ข้ า ทำอะไร นั ก โทษคนนั้ น ก็ บ อกว่ า
ท่านอย่าคืนคำนะ ถ้าข้าขอไปแล้วท่านต้องให้ตามที่ข้าขอ
เปาบุ้ น จิ้ น ก็ ต กลง นั ก โทษคนนั้ น ขอว่ า ขอให้ ท่ า นปล่ อ ยตั ว ข้าพเจ้าไป ถ้าน้อง ๆ เป็นเปาบุ้นจิ้นจะทำอย่างไร ปล่อยไหม ตอบคือปล่อยตัวไป แต่เอาศีรษะไว้ คำถามต่อไป วันที่ ๘ ที่ผ่านมาเป็นวันวิสาขบูชา ถามว่า เป็นวันสำคัญของโลก อยากทราบว่า ได้รับการประกาศตั้งแต่เมื่อไร เยาวชน ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ นายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์ ตอนที่ท่านเป็นนายกใหม่ มีคนบอกว่าประเทศ สิงคโปร์ต้องซื้อน้ำจากมาเลเซีย ลีกวนยูตอบว่าไม่กลัวเรื่องไม่มีทรัพยากร แต่กลัวมันสมองของ ประชาชนจะเล็ก สมองของเยาวชนจะลีบ การไม่มีกิจกรรมสมองก็จะลีบ เหมือนกล้ามจะใหญ่ เพราะออกกำลั ง กาย มั น สมองก็ ส ามารถสร้ า งให้ ใ หญ่ ขึ้ น สิ ง คโปร์ แ ผ่ น ดิ น เท่ า เกาะภู เ ก็ ต
แต่ ส ามารถระดมมั น สมองคนมาทำงานให้ ไ ด้ คนที่ จ บเศรษฐศาสตร์ ท ำงานในประเทศไทย
ได้เดือนละแสน เขาจ้างไปทำงานได้เดือนละแปดแสน แต่ทำงานให้เขาได้เดือนละแปดร้อยล้าน มันสมองถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมันสมองของใครที่ถือว่ามาทำให้ประเทศไทยเจริญขึ้นได้ ไม่ใช่
ของพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู ซิกข์ แต่เป็นมันสมองของทุกศาสนา ถ้ายังแยกออกเป็น ของคนนั้นคนนี้ ไม่มีทางที่จะให้ประเทศเดินหน้า ไต้หวัน เกาหลีก็เหมือนกัน เขาจะนำสมอง
ของคนทุกศาสนามารวมกัน
ดร.พิสิฐ เจริญสุข
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
33
เยาวชนได้ เ รี ย นรู้ ห ลั ก การของศาสนา อิสลามแล้ว ขอสรุปหลักสำคัญสั้น ๆ ของศาสนาพุทธ เพื่อให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน หลักศาสนา พุทธจะมีหลักสำคัญสั้นคือ ไตรสิกขา ประกอบด้วย
ศีลสิกขา จิตสิกขาหรือสมาธิสิกขา และปัญญาสิกขา เรียกว่าไตรสิกขา ศี ล คื อ อะไร คื อ การรั ก ษากาย วาจา
ให้สงบเรียบร้อยในสังคม คนเราติดคุกเสียเงินมากมาย
มหาศาล คนที่ ส ำรวมกายวาจา โอกาสที่ จ ะติ ด คุ ก
เสียเงิน เสียทอง ถูกหมิ่นประมาทต่าง ๆ จะน้อยลง
ส่วนศีล ๕ จะมีอะไรบ้าง ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามลักทรัพย์ ห้ า มประพฤติ ผิ ด ในกาม ห้ า มดื่ ม สุ ร ายาเมาต่ า ง ๆ
ก็ไปศึกษาว่าศีล ๕ ที่เป็นพื้นฐานของมนุษย์มีอะไร หลักสำคัญอันดับแรกคือ มนุษย์ต้องมีศีลเพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน อันที่ ๒ คือ สมาธิ จิตใจต้องมั่นคง ไม่วอกแวก ต้องมีจิตใจมั่นคงต่อหลักคำสอน การปฏิบัติ อันดับสุดท้ายคือ เรื่องปัญญา ต้องคิดค้นให้รอบครอบ ทำไปอย่างมีเหตุมีผล สิ่งนั้น
เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ เรื่องของปัญญาเป็นเรื่องที่ลุ่มลึก และมีความละเอียดอ่อนมาก
ปัญญาในการเลี้ยงชีพ ปัญญาในการปฏิบัติตน ปัญญาในการแก้ปัญหาให้กับสังคมอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เยาวชนทุกคนต้องมีสติปัญญา อยู่กับพ่อแม่ต้องมีสติปัญญา อยู่โรงเรียนต้องมีปัญญา
อยู่ในสังคมต้องมีปัญญา ต่อให้มีความรู้เท่าไร อย่างที่เรียกว่าความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
เพราะเราไม่มีปัญญาในการแก้ปัญหาชีวิต สั้น ๆ นะครับ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหลักคำสอน
ของพระพุ ท ธศาสนาและย่ อ ให้ สั้ น อี ก ก็ คื อ ๑. ไม่ ใ ห้ ท ำชั่ ว ทั้ ง ปวง ไม่ ว่ า ทางกาย ทางวาจา
ทางใจ ไม่ให้กระทำชั่ว ๒. กระทำแต่คุณงามความดี ทั้งกาย วาจา และ ๓. ใจ ต้องมีจิตใจ
ที่บริสุทธิ์ไม่ใช่แอบแฝง วาระซ่อนเร้น ต่อไปขอกราบเรียนเชิญบาทหลวงเกรียงไกร ยิ่งยง กราบเรียนเชิญครับ
วิทยากรศาสนาคริสต์ บาทหลวงเกรียงไกร ยิ่งยง
34 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
เมื่อคืนนอนไม่หลับ เพราะวันนี้จะได้พบปะนักเรียนที่น่ารัก ผมเปรียบพวกเรา
เป็นเพชรเม็ดงาม ที่องค์การศาสนาคัดเลือกเพชรนั้นมา เพชรนั้นมีค่าอยู่ในตัวอยู่แล้ว แต่ว่าเพชร เม็ดนั้นกำลังถูกคัดเลือกนำมาเข้าเครื่องเจียระไน เครื่องเจียระไนตัวนี้เป็นค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ที่ จั ด โดยกรมการศาสนา กระทรวงวั ฒ นธรรม เพชรจะสวยงามก็ ต่ อ เมื่ อ เพชรเม็ ด นั้ น ยอม
ให้เครื่องเจียระไนนั้นขัดเกลา อยากเชิญชวนให้สิ่งที่วิทยากรได้พูดไปนั้นเป็นเครื่องเจียระไน
ผมเชื่อว่าเมื่อเรากลับออกไปจากค่ายฯ ชีวิตของเราก็จะมีประโยชน์ ผมก็ขอเล่าเรื่อง มีบริษัทหนึ่งประกาศให้คนสมัครงาน ก็มีคนเป็นร้อยมาสมัคร
มีข้อสอบอยู่ข้อหนึ่ง ข้อสอบข้อนี้ถามดังนี้ ในคืนหนึ่งที่ฝนตกหนัก มีชายคนหนึ่งขับรถสปอร์ต รถคันนี้นั่งได้ ๒ คนเท่านั้น เขาก็ขับไป และไปเจอคน ๓ คนที่ป้ายรถเมล์ ซึ่งต้องการที่จะ
กลับบ้าน ต้องการรับความช่วยเหลือ คนแรก เป็นคนแก่ ต้องการที่จะไปหาหมอใกล้จะตายแล้ว ถ้าคนแก่คนนี้ไม่ได้
ไปหาหมอเขาก็จะตาย คนที่ ๒ เป็นหมอ หมอคนนี้ครั้งหนึ่งเคยช่วยชีวิตชายคนนี้ไว้ คนที่ ๓ เป็นผู้หญิงที่เขารัก และในอนาคตก็มีโครงการว่าจะแต่งงานด้วย คำถาม
มีว่า รถคันนี้นั่งได้ ๒ คนเท่านั้น ผู้ชายคนนี้จะเลือกช่วยใคร คนแก่ หมอ หรือว่าคนที่เขารัก
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
35
ส่ ว นใหญ่ ก็ ต อบว่ า ช่ ว ยคนแก่ เพราะว่ า ช่ ว ยคนแก่ เ ขาได้ ช่ ว ยชี วิ ต คน ตอบว่ า
ช่วยหมอเพราะเขาอยากจะตอบแทนพระคุณผู้ที่เคยช่วยเหลือเขาไว้ คนที่ตอบว่าช่วยคนรัก
เราก็อยากเลือกสิ่งที่ดีที่สุด แต่ว่าบริษัทเลือกคนเข้าทำงาน เขาเลือกคนที่ตอบคือคำตอบดังนี้
เขาก็จะให้คุณหมอขับรถพาคนแก่ไปที่โรงพยาบาล แล้วเขาก็อยู่ที่ป้ายรถเมล์กับผู้หญิงที่เขารัก ผมเชื่อว่าขณะที่พวกเราอยู่ตรงนี้ อยากจะเชิญชวนให้พวกเราได้เปิดใจของเรา เรามีคำตอบ
ที่ตายตัวอยู่แล้ว อยากให้พวกเราเข้าใจวิธีการของศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์-อินดู ซิกข์ ว่าแต่ละศาสนามีความดีอะไร มีความเด่นอะไร แล้วเราก็นำสิ่งนั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ในการดำเนินชีวิตของเรา ขอพูดถึงหลักการและแนวทางของศาสนาคริสต์เล็กน้อย ไม้กางเขนประกอบไปด้วย
ไม้ ๒ ชิ้น ที่มาประกบกัน ถ้าเป็นไม้ชิ้นเดียวจะเรียกว่ากางเขนไหมครับ ไม่ใช่ หลักการง่าย ๆ ของศาสนาคริสต์ คือ คำสอนที่องค์พระเยซูคริสต์เจ้าทรงสอน สิ่งที่สำคัญก็คือ มีอยู่ ๒ ข้อนั่นก็คือ
ประการแรก รักพระเป็นเจ้า สุดจิต สุดใจ และประการที่ ๒ รักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง
นั่นก็หมายความว่านักเรียนเห็นไหม ไม้กางเขนในแนวตั้งตรงนั่นก็คือ มิติการที่เราจะต้องรัก
องค์พระเยซูคริสต์เจ้า องค์พระศาสดาของเราที่เรานับถือ เรามีความเชื่อ ความไว้ใจ และ
ความรักในพระองค์ และเช่นเดียวกัน เมื่อเรามีความเชื่อ ความรัก ความไว้ใจในองค์พระบิดาเจ้า องค์พระเยซูคริสต์เจ้าแล้ว ในมิติขนาบข้างนั่นก็คือ เราจะต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง
นี่เป็นบทบัญญัติที่องค์พระเยซูคริสต์เจ้าให้แก่พวกเราชาวคริสต์ไว้ ก็อยากจะฝากสิ่งนี้กับพวกเราไว้
ผมจะมีโอกาสได้พูดคุยกันต่อไป แต่ว่าหลักการในการทำการเสวนาระหว่างศาสนา อยากจะพูด
อยากจะบอกกับพวกเราตรงนี้ ซึ่งผมคิดว่าสิ่งนี้มันมีประโยชน์ หลักการในการทำเสวนาระหว่าง ศาสนาเราคิดว่าถ้าเราทำได้ดังนี้ มันจะเป็นประโยชน์สำหรับเรานั่นก็คือ ยืนหยัดในความเชื่อ และรอบรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาของตน เปิ ด ใจกว้ า งสู่ ก ารเรี ย นรู้ เ กี่ ย วกั บ ประสบการณ์ ค วามเชื่ อ และศาสนาของผู้ อื่ น แสวงหาความจริงไปพร้อม ๆ กัน มีสำนึกถึงความร่วมมือกัน บังเกิดผลทำให้ความเชื่อและชีวิตของตนเข้มข้นยิ่งขึ้น ขอพระเป็นเจ้าได้อวยพระพรทุกคน
36 วิทยากรศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อาจารย์กมเลศ กุมารี ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
โอม...โอม...โอม... สวัสดีค่ะนักเรียน ก่อนอื่นขอชื่นชมกรมการศาสนาที่มีความ มุมานะที่พยายามสร้างธรรมะขั้นพื้นฐานให้นักเรียน นักเรียนอยู่ด้วยกันตรงนี้ช่วยให้นักเรียน
มีความสามัคคี มีความกลมเกลียว มีวินัย สร้างเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เข้ามาตรงนี้หมดเลย
เรื่ อ งที่ ๒ อยากชมนั ก เรี ย น นั ก เรี ย นทราบไหมว่ า พวกเราที่ นั่ ง ตรงนี้ เ ก่ ง แต่ พู ด และก็ พู ด
คนที่เก่งคือนักเรียน เพราะต้องทนฟังเรื่องถึง ๕ ศาสนา สงสัยหัวปั่นหมด คนนั้นก็พูดเรื่องนี้ คนนี้
ก็พูดเรื่องนั้น แต่นักเรียนเป็นคนที่โชคดีมากที่ได้มีโอกาสเริ่มต้นตั้งแต่วัยยังน้อย ๆ มีโอกาส ขัดเกลา เพราะว่าความรู้ ความรัก ความสุข ยิ่งแบ่งปัน ยิ่งเพิ่มพูน นักเรียนทราบไหมว่าที่เอ่ยคำว่าโอม รวมมาจากคำว่า อะ อุ มะ มีพระเจ้า ๓ องค์ เป็นตัวแทนขององค์พระปรมาตมัน คือชีวิต คือความสงบของจิตใจ คือความบริสุทธิ์ คือแสงสว่าง
ที่ทำให้เกิดปัญญา เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นพระเจ้า ๓ องค์ ที่พระองค์สร้างขึ้นมาคือ พระพรหม เป็นผู้สร้างโลก สร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกทั้งหมด พระวิษณุช่วยรักษาปกป้อง สร้างคุณธรรม ความดี และในที่ สุ ด พระศิ ว ะเป็ น ผู้ ท ำลายให้ เ กิ ด ความสมดุ ล ให้ เ กิ ด ความสะอาดบริ สุ ท ธิ์
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
37
พระเจ้า ๓ องค์ แบ่งหน้าที่ชัดเจน และทุกคนก็ไม่ก้าวก่ายกัน ตรงนี้ท่านสอนเราด้วยนะ เมื่อเรา มีหน้าที่อันไหนทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด อย่าไปก้าวก่ายเรื่องของคนอื่น เราดูตัวเราเอง นักเรียน เชื่อไหมคะว่าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูพูดอะไรอย่างหนึ่งว่า ทุกครั้งที่เราบอกว่าเธอนี่เป็นอย่างนั้น เธอนี่เป็นอย่างนี้ ว่าเขาทุกอย่าง นั่นคือสะท้อนจิตใจของตัวเราเองว่าเราเป็นแบบนั้นทั้งหมด เพราะต่อไปเวลาที่จะว่าใคร ให้คิดดี ๆ ว่าสิ่งที่เราพูดนั่นคือ ตัวเรา อันที่ ๒ เวลาคนที่เป็นผู้สร้างทั้งหมด เขาเรียกเป็นคุณสมบัติที่เราเรียกว่า โระโชะกุน
เป็นผู้สร้าง คนที่สร้างคุณงามความดีให้โลกอยู่ได้ เราเรียกว่าเป็น สัตวะกุน และคนที่เป็น
ผู้ทำลายเราเรียกว่า โตะโมะกุน ทั้ง ๓ กุนนะ อยู่ในตัวเราด้วย เขาบอกโลกของเราเกิดจากดิน
น้ำ ลม ไฟ อากาศ ตัวของเราทั้งหมดก็คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ทางโลกบอกว่าเราอยู่ในโลก เราอยู่ในจักรวาล แต่ทางธรรมเขาบอกว่าจักรวาลทั้งหมดอยู่ในตัวของเรา นักเรียนรู้ไหมในตัวเรา มีสิ่งมีชีวิตเป็นแสน ๆ เป็นล้าน ๆ ตัวอยู่ในตัวเรา ที่เป็นเซลล์ และร่างกายของเราอวัยวะนี่
๖ สัปดาห์ มันจะสร้างเซลล์ใหม่หมด และในตัวเราทั้งหมดหนึ่งปี เซลล์จะเปลี่ยนโดยสิ้นเชิงเลย เพราะฉะนั้นที่พระเจ้าบอกว่าเป็นผู้สร้าง เป็นผู้รักษา เป็นผู้ทำลาย แปลว่าไรคะ ให้เห็นว่า
โลกทั้งหมด ไม่มีอะไรจริงจัง ไม่มีใครอมตะนิรันดร์กาลทุกอย่างมันเกิด มันอยู่ แล้วมันก็ต้องดับ ในตัวเราก็เหมือนกัน เซลล์มันเกิดอยู่แล้วก็ดับ และเซลล์ก็จะสร้างใหม่หมด คำถามเกิดขึ้นว่า
ถ้ า เซลล์ ส ร้ า งใหม่ ห มดทั้ ง ตั ว ทำไมคนที่ เ ป็ น มะเร็ ง ก็ ยั ง เป็ น มะเร็ ง คนที่ เ ป็ น ไมเกรนก็ ยั ง
เป็นไมเกรน ถ้าอยากรู้เดี๋ยวเราค่อยคุยกัน อันที่ ๒ อยากจะบอกว่า ๓ กุนนะที่พูด ความดี ผู้สร้าง ผู้ทำลาย เรื่องความดีต้องใหญ่ที่สุด อยู่ได้มากที่สุดโลกถึงจะอยู่ได้ แต่ปัจจุบันเราฟังแต่ข่าวคราว เรื่องไม่ดีทั้งนั้น แล้วทำไมโลกยังอยู่ได้ นี่คือการเสนอของพวกสื่อ จริง ๆ แล้วความดียังเหนือสิ่ง ทั้งหมด โลกถึงอยู่ได้ เมื่อไหร่ ๓ อย่างนี้ มาเจอพร้อม ๆ กัน สร้าง อยู่ แล้วก็ดับ เกิดพร้อมกันปุ๊บ
โลกจะจบสิ้ น จะเหลื อ แต่ น้ ำ ท่ ว มโลก เราเจอใช่ ไ หมคะบางเมื อ งที่ จ มอยู่ ใ ต้ น้ ำ มั น ก็ แ ปลว่ า
เรื่องของพวกนี้มันเกิดแล้วเกิดอีก อันนี้คือเรื่องที่ ๑ อยากจะให้เห็นคำว่าฮินดูนี้เป็นยังไง มีคำ ๓ คำ ในฮินดูว่า บาชะ บูชะ บูชัน
ทั้ง ๓ คำ ตรงกับคำไทยทั้งหมดเลย บาชะ คือ ภาษา คนฮินดูก็พูดภาษาฮินดี เป็นภาษาราชการ ของประเทศอินเดียด้วย บูชะ คือ ภูษา คือเครื่องแต่งกาย ผู้หญิงก็ต้องนุ่งส่าหรี ๖ หลา แต่ละเมือง
วิธีการนุ่งต่างกัน บูชัน คือ โภชนาการ คนบอกว่าถ้าเห็นคนฮินดูต้องกินโรตี กินถั่ว เหมือน
เห็นคนไทยต้องนึกถึงน้ำพริกปลาทู เมื่อนึกถึงอิสลามบอกว่าต้องไปฮัจย์ ฮินดูก็เหมือนกัน
เขาบอกว่าคนฮินดูเกิดมาชาติหนึ่งต้องไปสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ๔ แห่ง คนที่กำหนดท่านชื่อสังการาจะ อายุ ๓๒ ปี แต่ท่านสร้างเรื่องนี้ยิ่งใหญ่มาก ว่า ๔ ทิศของประเทศอินเดีย ซึ่งมาจากองค์พระปรมาตมัน
38 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
องค์ เ ดี ย ว พระวิ ษ ณุ พระนารายณ์ พระศิ ว ะ แต่ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า พระปรมาตมั น ๑ รู ป แต่ มี ก าร
เชื่อนับถือใหญ่โตมาก ถ้าไปทางเหนือการกิน การอยู่ก็แตกต่างสิ้นเชิง สมมุติคนใต้ ไปทางเหนือ จะได้มีโอกาสศึกษาวัฒนธรรมของเขา และได้เห็นว่าพระเป็นเจ้ายิ่งใหญ่จริง ๆ ท่านอยู่องค์เดียว ท่านสร้างได้เยอะแยะมาก อันที่ ๓ นึกถึงฮินดูเรื่องของคัมภีร์ที่ใช้ นึกถึงคือ พระเวท ท่านว่าเป็นคำที่พวกโยคี ที่บำเพ็ญตบะเยอะ ๆ เขาได้ยินคำพวกนี้ แล้วเขาก็ได้ถ่ายทอดเป็นภาษาต่อ ๆ กัน แล้วมัน
ยากมาก เขาบอกว่าคนที่จะอ่านพระเวทรู้เรื่อง ต้องรู้ศาสตร์ถึง ๖ แขนง ถึงจะอ่านพระเวทรู้เรื่อง เพราะฉะนั้ น จึ ง เกิ ด คั ม ภี ร์ เรี ย กว่ า อุ ป นิ ษั ท เขาจะพู ด ความหมายของพระเวทว่ า เป็ น ยั ง ไง
ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่ปรากฏว่าแม้กระทั่งทำอย่างนั้นแล้ว เขาก็บอกอ่านไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ
ท่ า นฤๅษี ว ยาตเกิ ด ความเป็ น ห่ ว งว่ า สิ่ ง เหล่ า นี้ มั น จะสู ญ หายไป ก็ เ ลยเกิ ด คั ม ภี ร์ ปุ ร าณะขึ้ น
ปุราณะซึ่งท่านทำทั้ง ๑๘ เล่ม ทั้งปุราณะและอุปปุราณะ เป็นเรื่องที่เล่าเรื่องต่าง ๆ ซึ่งสนุกสนาน มีนิทานประกอบ มีเรื่องจริง ทำให้สิ่งเหล่านี้ ที่เรามารู้จักกันในเรื่องของ คัมภีร์รามเกียรติ์
มหาภารตยุทธ์ที่เรารู้จัก นี้คือสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะถ้าเรารู้ตรงนี้ ๓ อย่าง เรื่องบาชะ บูชะ บูชัน
เรื่องคัมภีร์ เรื่องของการแต่งกายอะไรพวกนี้ ก็เท่ากับว่าเราได้รู้แล้วว่าฮินดูเบื้องต้นเป็นแค่ไหน ส่วนเรื่องต่อไปที่เป็นหลักธรรมอยากจะแนะนำ คือความรักที่ไม่มีเงื่อนไข ปัจจุบัน มนุษย์เรา ทำอะไรก็ต้องมีข้อตอบแทน นักเรียนรู้ไหมว่าสมัยก่อนที่พำนักที่เขาเรียกว่า วัด
สมัยก่อนเราเรียกว่า อาศรม เป็นที่อยู่ของพระ คำว่าอาศรม คือ คนที่ไปวัดจะถือแต่ของไปให้
จะไปช่วยปัดกวาดวัด ช่วยเหลือวัดทุกอย่าง ท่านโยคีหรือว่าฤๅษี ก็เลยกำหนดชีวิตเราทั้งชีวิต
ให้เป็นอาศรม โดยแบ่งชีวิตออกเป็น ๔ ส่วน คือ วัยพรหมจรรย์ ๒๕ ปี ตรงนี้คือความรักที่ทำเพื่อ
ครู-อาจารย์ ทำเพื่อพ่อแม่ ทำเพื่อสถาบันการศึกษา ต่อมาวัยที่สำคัญที่สุดคือ วัยตั้งแต่ ๒๕ ปี
ถึง ๕๐ ปี เป็นวัยที่เราแข็งแรงที่สุด ตรงนี้เขาเลยกำหนดเป็นยัญญะ ๕ ยัญญะขึ้น ที่ทำเพื่อคนอื่น ขอฝากไว้แค่นี้ก่อนค่ะ ถ้าสนใจให้ถามในช่วงถามตอบ
ผอ.พิสิฐ เจริญสุข
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
39
ทุ ก ศาสนานั้ น สอนให้ ม วลมนุ ษ ยชาติ เ ป็ น
คนดี แล้วทุกศาสนาผ่านการพิสูจน์มาเป็นร้อยเป็นพันปี หากเป็นของไม่ดีจริงก็ถูกมนุษย์นี่แหละทำลาย และก็ทิ้งไป ไม่ ส ามารถที่ อ นุ ช นคนรุ่ น หลั ง ได้ รั บ และประพฤติ ป ฏิ บั ติ
มาถึ ง ปั จ จุ บั น นี้ ไม่ ว่ า ศาสนาพุ ท ธสองพั น กว่ า ปี ศาสนา พราหมณ์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ มีอายุที่ยาวนาน ผ่านการพิสูจน์ของมนุษยชาติ หนูต้องทำตัวเป็นน้ำ เมื่อสักครู่คุณพ่อเกรียงไกร
พู ด ว่ า เราต้ อ งสงวนจุ ด ยื น แสวงหาจุ ด ร่ ว ม น้ ำ นี้ จ ะมี ลักษณะอย่างไร น้ำมีลักษณะของความเที่ยงธรรม ไม่ว่า
จะเอี ย งแก้ ว ไปทางไหนน้ ำ จะรั ก ษาความเที่ ย งธรรมตลอดเวลา นี่ คื อ จุ ด ยื น ของน้ ำ ไม่ เ อี ย ง
ไปตามแก้ว ฉะนั้นหนูนับถือศาสนาใดให้เที่ยงตรง มั่นคง อย่าเอียงไปตามภาชนะ ๒ น้ ำ ไม่ เ ปลี่ ย นรสชาติ น้ ำ เค็ ม น้ ำ หวานนั้ น เป็ น น้ ำ ที่ เ ปลี่ ย นรสชาติ แต่ น้ ำ
ที่แท้จริงเป็นรสจืด ต้องมีความเที่ยงตรงในหลักคำสอนของศาสนาที่เรานับถือ ที่สำคัญไปกว่านั้น น้ำจะเป็นตัวเชื่อมสมานไมตรีกับวัสดุอื่น ๆ ได้อย่างแนบสนิท ยกตัวอย่างเรามีหิน ทราย ปูนมากอง
ถ้าไม่ใส่น้ำลงไปกวนรวมกัน รับรองว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไม่สามารถมารวมกันได้ หินก็คงเป็นหิน ทรายก็คงเป็นทราย ปูนก็คงเป็นปูน เทน้ำลงไปแล้วกวนให้เข้ากันดี ก็จะกลายเป็นกำแพงบ้าน กำแพงเมืองที่หนาแน่นมาก เพราะเกิดจากน้ำที่ทำปฏิสัมพันธ์ให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นให้เข้าด้วยกัน เช่นเดียวกัน หนู ๆ ทั้งหลายมีความเที่ยงตรง มั่นคงในหลักศาสนาแต่ในขณะ เดียวกัน ก็มีหน้าที่เชื่อมสัมพันธ์ของเยาวชนในชาติให้ได้ นี่และคือจุดหมายของการเสวนา
ของการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในวันนี้ ต่อไปขอให้เยาวชนตั้งคำถามในประเด็นที่อยากจะรู้ เชิญครับ ถามในเรื่องใดก็ได้ ของศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาคริสต์ เยาวชน หนูสนใจศาสนาพราหมณ์แต่เป็นวรรณคดีมากกว่า ในรามเกียรติ์มีเรื่อง อยากมีลูกและไปกินข้าวทิพย์ เรื่องนี้เป็นจริงไหมคะ อาจารย์ ก มเลศ ที่ ห นู พู ด เราเรี ย กว่ า โซลาซั น สกา ๑๖ ซั น สกา ตั้ ง แต่ คิ ด ว่ า
อยากจะมีบุตร เขาจะมีพิธีกรรม เมื่อท้องได้ ๓ เดือนก็มีพิธีกรรม เมื่อได้ ๖ เดือนก็มีพิธีกรรม
40 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
เกิดออกมาแล้วก็มีพิธีกรรม ที่หนูพูดเป็น ๑ ใน ๑๖ ซันสกา คำว่าทิพย์ตรงนี้หมายความว่าอะไร ก็ตามที่เราทำเป็นพิธีการ มีการปลุกเสก มีการใช้มนตรา เราก็ถือว่าเป็นสิ่งทิพย์แล้ว แต่ทั้งหมด เป็น ๑๖ ซันสกา หมายความว่า แม้แต่เกิดมาแล้ว สมัยนี้ก็มีแนะแนว แต่สมัยก่อนพอเด็กเริ่ม คลานได้เขาก็จะเอาของเล่นทุกประเภท ทุกอาชีพมาวางไว้ และให้เด็กคลานไปจับว่าเขาเลือก อะไร และเขาจะทำทุก ๓ เดือน ๖ เดือน เด็กมีความสนใจอะไร และก็สนับสนุนตามนั้น ทั้งหมด มี ๑๖ ซันสกา ตั้งแต่เกิดจนตาย เยาวชน อีกคำถามคือว่า เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หนูทราบแค่ว่า มีพระศิวะ นอกจากพระศิวะ มีเทพเจ้าองค์ไหนอีก อาจารย์กมเลศ เมื่อสักครู่เราพูดว่าปรมาตมัน คือไม่มีตัวตน เมื่อต้องการสร้าง โลกเราบอกมี ๓ องค์ มีพระวิษณุ หรือที่เราเรียกว่า พระนารายณ์ พระพรหมที่เรารู้จักกัน เพราะ พระพรหมแพร่หลายที่สุดในเมืองไทย ที่อินเดียจะมีแค่วัดเดียวที่เป็นพระพรหม และสุดท้ายคือ พระศิวะที่หนูรู้จัก แต่พระวิษณุที่เป็นพระนารายณ์ได้มีการอวตาร แบ่งภาค ทุกครั้งที่มีปัญหาขึ้น พระองค์จะอวตารลงมา อย่างพระรามในรามเกียรติ์ เป็นอวตารปางที่ ๗ พระกฤษณะเป็นอวตาร ปางที่ ๘ มาด้ ว ยจุ ด มุ่ ง หมายอย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง นอกจากนั้ น มี เ ทพ เทพี ทั้ ง หลายพระอุ ม าเทวี
พระแม่สุรัสวดี อย่างนี้เป็นต้น ถ้าหนูสนใจให้มาที่เทพมณเฑียร เรามีเทวรูปทั้งหมดเลยให้เข้า
มาชมได้ และก็ให้คำแนะนำได้ นางสาวนรินทร ศาสนเสาวภาคย์ เป็นคริสต์คาทอลิกค่ะ อยากถามอิสลามว่า ทำไมมุสลิมผู้ชายจึงมีภรรยาได้ถึง ๔ คนค่ะ อาจารย์สมยศ ขอบคุณสำหรับคำถาม คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิต ไม่ว่าจะไป ที่ไหนก็มักจะมีประเด็นคำถามว่าอิสลามมีภรรยาได้ตั้ง ๔ คน แต่จริง ๆ อิสลามมีความรู้สึกว่า อิ ส ลามมี ภ รรยาได้ แ ค่ ๔ คนเอง คนละความหมายนะครั บ ทำไมเป็ น อย่ า งนั้ น เดี๋ ย วนี้
จากการสำรวจ เชื่อหรือไม่ว่ากลุ่มวัยรุ่นกว่าจะได้แต่งงานเขามีภรรยากี่คน เคยได้ยินคำว่าแอ่นอก พกถุงยางไหม คำคำนี้จะไม่มีในอิสลาม อิสลามจะห้ามละเมิดทางเพศ ไม่ว่าจะไปใช้ถุงยางหรือไม่
ก็ตาม การที่อิสลามกำหนดให้มีภรรยาได้ไม่เกิน ๔ คน นักเรียนว่ามีเหตุผลไหม สิ่งใดที่เป็น
คำสั่ ง ของอิ ส ลามล้ ว นแล้ ว แต่ มี เ หตุ ผ ล แต่ บ างครั้ ง มนุ ษ ย์ มี ค วามรู้ สึ ก เห็ น แก่ ตั ว แม้ ก ระทั่ ง
มุสลิมเองที่เป็นสตรี เขายังมีความรู้สึกว่าคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้าไม่เป็นธรรมเลย เขาบอกว่า
จะยอมเสียทองเท่าหัว แต่ไม่ยอมเสียผัวให้กับใคร นี่ภรรยาเป็นคนพูดเองจริง หลักของอิสลาม
ที่ยอมให้มีภรรยาได้ ๔ คน มีเหตุผลครับ ประการที่ ๑ ภรรยาคนที่ ๑ ไม่สามารถให้บุตรได้ ผู้ชายอยากจะมีลูกแต่ภรรยา
เป็นหมัน
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
41
ประการที่ ๒ ภรรยาบางคนมีโรค ไม่สามารถจะให้ความสุขแก่สามีได้ เพราะฉะนั้น เรื่องความสุขทางครอบครัวเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนมีสิทธิ์จะหาความสุขได้ในกรอบของ
หลักการ เพราะฉะนั้นภรรยาบางคนไม่สามารถจะให้ความสุขได้ ประการที่ ๓ เนื่องจากประชากรหญิงมากกว่าชาย ๑๐ ต่อ ๑ ผู้หญิงเหลือไหม เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องจัดหมู่บ้านคานทองนิเวศน์ให้ผู้หญิงเหล่านั้น ผู้ชายเสียชีวิตมากกว่า
ผู้หญิง อุบัติเหตุบนท้องถนน ทะเลาะวิวาทกัน มีการลักขโมยติดคุกกันตลอดชีวิต ประหารชีวิต ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย สาวแก่จะเก็บไว้ที่ไหน ฉะนั้นอิสลาม พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างในความเชื่อของอิสลาม พระผู้เป็นเจ้าทราบ แล้วว่าผู้หญิงยังไงก็มีมาก จึงกำหนดให้มีได้ไม่เกิน ๔ คน แต่มีบัญญัติห้ามว่าถ้าไปละเมิดสตรี
ที่ไม่ได้แต่งงาน ตามหลักการของศาสนามีโทษถึงประหารชีวิต ในเมื่ออนุญาตให้มีได้ไม่เกิน ๔ คน
ยังไปละเมิดผิดประเวณี กฎหมายอิสลามถึงขั้นประหารชีวิต สำหรับบุคคลที่เคยผ่านการสมรส แล้วนี่คือหลักการของอิสลาม เพราะฉะนั้นการที่กำหนดให้มีกติกาเหมือนกัน ตอนแรกบอกว่า กำหนดให้มีได้ไม่เกิน ๔ คน บอกว่าดี ใครก็อยากจะเป็นอิสลาม แต่พอมาดูกฎหมายการลงโทษเรื่อง
การผิดประเวณีว่าถึงขั้นประหารชีวิต ตอนนี้อยากเป็นไหม การไปลิ้ม ไปลอง ไปทดสอบ ทดลอง
อยู่กันก่อนไม่ได้ทั้งสิ้น แม้แต่การสัมผัส จับไม้ จับมืออิสลามก็ห้าม สังเกตว่ามุสลิมจึงมีบัญญัติ ให้คลุมศีรษะ อวัยวะ ปิดทั้งหมด ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ สตรีอิสลามที่ปิดร่างกายมิดชิด มีข่าว ในหน้าหนังสือพิมพ์ไหมว่าสตรีที่คลุมปิดร่างกายมิดชิดถูกข่มขืน มีไหม ไม่มีเพราะอะไร เพราะ อิสลามมีระบบป้องกันมิให้ละเมิดทางเพศ จับมือถือแขนก็ไม่ได้ การมองเพศตรงข้ามยังมี
บัญญัติว่าให้มองได้เฉพาะใบหน้าและฝ่ามือเท่านั้น ฉะนั้นวิธีการป้องกันของอิสลาม จึงไม่เกิด ปัญหาสังคมในเรื่องการข่มขืน เพราะอิสลามมีบัญญัติห้าม ฉะนั้นการฆ่าข่มขืนสตรี จึงไม่เกิดขึ้น สำหรับชาวมุสลิมที่ปกปิดร่างกาย ผมติดตามข่าวมาโดยตลอด สตรีที่เขาแต่งการเรียบร้อย
ไม่มีเรื่องการข่มขืน นั้นปัญหาที่เกิดขึ้นคือคนที่ใส่สายเดี่ยว ฉะนั้นอิสลามจึงบัญญัติและอนุญาต ให้มีภรรยาได้ไม่เกิน ๔ คน เนื่องจากมีความจำเป็นในคัมภีร์บัญญัติไว้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องให้ ความเป็นธรรม เลือกที่รัก มักที่ชังไม่ได้ ค่าใช้จ่ายต้องจ่าย มีลูก มีบุตรกี่คนก็ต้องจ่ายเท่ากัน ภรรยาก็ต้องมีการให้ความสุข ต้องมีการเปลี่ยนเวรกัน วันนี้บ้านที่ ๑ วันนี้บ้านที่ ๒ สลับกันไป เยาวชน แล้วถ้าผู้ชายเสียชีวิตแล้ว จะสามารถมีใหม่ได้ไหมค่ะ อาจารย์ ส มยศ มี ไ ด้ ค รั บ มี ไ ด้ แต่ เ ขามี ช่ ว งระยะเวลาการเสี ย เขาเรี ย กฮิ ด่ ะ
ระยะเวลาการมีสามีคนที่ ๑ กับคนที่ ๒ เนื่องจากเขาต้องการแยกว่าอาจจะมีบุตร
42
การเสวนาของเยาวชน เรื่องความหลากหลาย ในเป้าหมายเดียวกัน โดยผู้แทนเยาวชนแต่ละศาสนา
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ผู้แทนเยาวชนศาสนาพุทธ นางสาวธีรดา ชลศิริ นายอัมรินทร์ สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้แทนเยาวชนศาสนาคริสต์ นางสาว ชลธิชา พิทักษ์คณารักษ์ นายสยาม ร่วมสมุทร ผู้แทนเยาวชนศาสนาอิสลาม นายวิเชียร แก้วเกษ นางสาวปัทมา พูนทรัพย์ ดำเนินรายการโดย นายสุรพล บุญประสงค์ ผู้ดำเนินรายการ เรามาจากหลายศาสนา อยากถามว่าการมาเข้าในโครงการได้ให้ ประโยชน์กับพวกเราอย่างไร นางสาวปัทมา พูนทรัพย์ ผู้แทนเยาวชนศาสนาอิสลาม การที่เราได้มาอยู่ร่วมกัน ทำให้เราที่มีศาสนาที่แตกต่างกันได้มาประสานกัน ได้เห็นแต่ละศาสนาที่มีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน
แต่เราสามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่มีปัญหาอะไร
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
43
นายวิเชียร แก้วเกษ ผู้แทนเยาวชนศาสนาอิสลาม คำว่าเพื่อนไม่มีการจำกัด
ไม่ว่าจะศาสนาใด ก็สามารถคบกันเป็นเพื่อนได้ ถึงแม้เราจะอยู่ศาสนาพุทธ ไม่จำเป็นว่าพุทธจะคบ
แต่พุทธ คริสต์ต้องคบกับคริสต์ อิสลามคบแต่กับอิสลาม ไม่จำกัดศาสนาไหน ไม่ว่าจะรวย
ไม่ว่าจะจน พวกเราก็สามารถเป็นเพื่อนกันได้ นางสาวธีรดา ชลศิริ ผู้แทนเยาวชนศาสนาพุทธ การมาเข้าค่ายฯ ตอนแรกก็ไม่รู้ว่า
จะทำไรบ้าง แต่เนื่องจาก ไม่เคยเข้าค่ายแบบนี้มาก่อน คือเอาทุกศาสนามารวมกัน เคยเข้าค่าย
แต่ศาสนาพุทธ ไปปฏิบัติธรรม แต่พอมาแล้วก็รู้สึกว่าค่ายนี้มีความหลากหลายไม่น่าเบื่อ เพื่อน ๆ ที่มาทุกคนก็มีความสุข ทุกคนก็ได้รับความรู้และได้เพื่อนไปหลายคน ข้อเสนอแนะคือ กิจกรรม บางกิจกรรมบางคนยังไม่ได้มีส่วนร่วม แต่โดยรวมแล้วค่ายนี้เป็นค่ายที่สนุก เพราะได้เพื่อนต่าง ศาสนา ต่างโรงเรียน นายอัมรินทร์ สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้แทนเยาวชนศาสนาพุทธ สวัสดีอาจารย์
และเพื่อน ๆ ทุกคน ผมเป็นตัวแทนของเยาวชนพุทธ ผมรู้สึกประทับใจในค่ายนี้มาก ๆ ผมเชื่อว่า
ทุ ก คนก็ มี ค วามประทั บ ใจเช่ น นี้ เ หมื อ นกั น เพื่ อ นทุ ก คนลองคิ ด ว่ า ค่ า ยเยาวชนสมานฉั น ท์
๕ ศาสนา คำว่ า ๕ ไม่ มี ใ นที่ นี้ เ ลย เพราะทุ ก คนรวมเป็ น ๑ สร้ า งสรรค์ ค วามคิ ด และ
แสดงความสามารถ สร้างผลงานในทุก ๆ กิจกรรมที่ผ่านมา และได้มิตรภาพจากเพื่อนทุก ๆ ศาสนา
ไม่ว่าจะเป็นอิสลาม คริสต์ หรือเพื่อนพุทธด้วยกัน อย่างเพื่อน ๆ ชาวมุสลิม ผมรู้สึกว่าอบอุ่นมาก เพราะเขาสอนให้ผมพูดคำทักทายและสอนหลาย ๆ อย่าง นางสาวชลธิชา พิทักษ์คณารักษ์ ผู้แทนเยาวชนศาสนาคริสต์ ค่ายนี้ช่วยเน้นย้ำว่า
การที่เราแตกต่างทางศาสนาหรือต่างความเชื่อ มันไม่เป็นปัจจัยที่ทำให้เราต้องแตกแยกกัน สรุป แล้วก็คือว่าเราทุกคนรักกัน ศาสนาไม่ทำให้เราทะเลาะกัน นายสยาม ร่วมสมุทร ผู้แทนเยาวชนศาสนาคริสต์ ประโยชน์ที่ได้รับจากค่ายนี้ ผมคิดว่าการที่เราได้มาอยู่ร่วมกัน ได้ศึกษาในแนวปฏิบัติและได้รับรู้ถึงความคิดของเพื่อน ๆ ต่ า งศาสนา เราก็ ส ามารถที่ จ ะนำความคิ ด ตรงนั้ น หรื อ แนวคำสอนต่ า ง ๆ เลื อ กมาใช้ ไ ด้
44 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ไม่ได้หมายความว่าเราจะเปลี่ยนศาสนา แต่หมายความว่าเรานำจุดที่น่านำมาใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างเรื่องความรัก ความเสียสละต่าง ๆ เรื่องคำสอนต่าง ๆ แนวทางปฏิบัติ เรื่องความอดทน
ดึงจุดมุ่งหมายการทำกิจกรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา เยาวชนคนอื่น ๆ มาร่วมแสดง
ความคิดเห็น เยาวชน กราบสวัสดีอาจารย์และเพื่อน ๆ รู้สึกดีใจที่ได้มาพูดคุยแสดงความรู้สึก กั บ ทุ ก คน รู้ สึ ก เสี ย ใจที่ จ ะต้ อ งจากค่ า ยนี้ ไ ป รู้ สึ ก มี ค วามสุ ข มากที่ ไ ด้ ม าอยู่ ค่ า ยนี้ ทั้ ง การทำ
กิจกรรม การเข้าฐาน กระทั่งเข้านอนเลยก็มีความสุข พูดถึงข้อเสียของค่ายนี้ก็ไม่มีเลย เพราะว่า เราอยู่ด้วยกันเหมือนพี่น้องเราก็เข้าใจกัน อยากให้เพื่อน ๆ ทุกคนจำหนูไว้ จำในฐานะนักเรียน คนหนึ่ง และเพื่อนคนหนึ่ง และก็จำทุก ๆ คนไว้ว่าเราเคยมาใช้ชีวิตร่วมกันที่ค่ายนี้ เยาวชน กราบสวัสดีคณาจารย์และเพื่อนทุกคน สิ่งที่ประทับใจก็คือ การทำงานเป็น ทีมเวิร์ค ถ้าเราทุกคนทำงานเป็นทีมเวิร์ค มีความสามัคคี ถึงแม้เราจะอยู่ต่างศาสนาแต่ถ้าทุกคน
มี ค วามสามั ค คี นั่ น จะทำให้ เ กิ ด พลั ง นะครั บ ข้ อ คิ ด เห็ น อี ก หนึ่ ง ข้ อ การเสวนาแลกเปลี่ ย น
ความคิดเห็น ทำไมตัวแทนที่อยู่บนเวทีพูดน้อยจัง อยากให้ตัวแทนพูดมากกว่านี้ครับ เยาวชน สวัสดีคณะวิทยากรทุกท่าน และเพื่อน ๆ ทุกคน สำหรับความประทับใจ
ตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว เพราะว่าเคยมีรุ่นพี่มาเข้าค่ายฯ แล้วก็ลงวารสารโรงเรียน พอได้อ่านแล้วก็รู้สึก อยากมา เพราะต้ อ งการเห็ น เพื่ อ นต่ า งศาสนา ต่ า ง สถาบั น มาเรี ย นรู้ และรู้ จั ก กั น ค่ ะ ความประทั บ ใจ
มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมิตรภาพ ความรู้ หรือแม้กระทั่ง
ความสามัคคี มันสามารถทำให้ดิฉันมีความสุข และ
ก็เก็บเอาไว้ไปแต่งเติม และก็เติมสีให้กับโลกของดิฉัน อย่ า งสวยงามค่ ะ ส่ ว นข้ อ เสี ย ก็ ค งไม่ มี อ ะไร เพราะ
ทุกคนมีความรัก ความสามัคคีกันมาก ส่วนข้อเสนอแนะ
ก็คงจะเป็นช่วงเวลาในการจัดค่ายฯ เพราะว่าบางโรงเรียน
หรื อ สถาบั น ได้ มี ก ารเปิ ด สอนหรื อ เปิ ด เรี ย นแล้ ว
ก็ อ ยากจะให้ มี ก ารร่ น ระยะเวลามาเพื่ อ ความสะดวก
ของแต่ละคนค่ะ เยาวชน กราบเรียนท่านอาจารย์ที่เคารพและเพื่อน ๆ ทุกคน ความรู้สึกที่มาค่ายนี้ ถ้าพรรณนาวันนี้ก็ไม่หมด เป็นความรู้สึกที่ดีจนเหลือล้นจริง ๆ ณ โอกาสนี้ ผมก็อยากจะขอโทษ กับบางคนที่ผมทำไม่ดีอะไรไปบ้าง และขอบคุณทุกท่านที่แฮปปี้เบิร์ดเดย์ให้ผม เอาเป็นว่า
เรื่องดี ๆ ในค่ายนี้ประทับใจและซาบซึ้งมาก ทุกคนเป็นเพื่อนที่ดีและทุกศาสนาสามารถอยู่
ผู้แทนศาสนาอิสลาม สวัสดีพี่น้องทั้ง ๕ ศาสนา ผมเป็นตัวแทนของ ศาสนาอิสลาม ในความรู้สึกที่ผมได้มาเข้าค่ายในครั้งนี้เป็นการ Five in One เรามารวม ๕ ศาสนา ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ขอให้ ทุกคนจงเก็บความรู้สึกดี ๆ ครั้งนี้ไว้ ให้นาน ๆ ครับ นายธนน เพชรจำนง ความประทับใจคือ ได้มา อยู่ในค่ายนี้คือ เพื่อนต่างศาสนาเป็นคนที่พูดเพราะมากและ ชอบช่วยเหลือผม และอยากให้เพิ่มเวลาการอยู่ค่ายอีก ๒-๓ วัน จะได้มีเวลาอยู่ร่วมกันมากขึ้น
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
นายนรินรทร ผู้แทนศาสนาคริสต์ ความประทับใจที่มีก็คือ ทำให้เราได้รู้การดำเนินชีวิตของแต่ละศาสนาที่แตกต่าง
กันไป ทำให้รู้จักการดำเนินชีวิตของชาวอิสลามมากขึ้น อยู่โรงเรียนคริสต์ไม่เคยได้สัมผัสกับ
ชาวอิสลามและพุทธ อยากให้เพื่อนสามัคคีกันและรักใคร่กันตลอดไป
45
ร่วมกันได้ในสังคมเดียวกัน ผมขอฝากไว้นะครับว่า ขอให้รักกัน ขอให้สามัคคีกันอย่างนี้ ทุกคน เป็นคนไทยด้วยกัน รักกันมาก ๆ สามัคคีกันเพื่อพ่อหลวง เยาวชน สวัสดีทุกคนนะค่ะ บอกตรง ๆ ว่าที่มาก็เพราะว่าเพื่อน ๆ ชวนกันมาก็เลย อยากมากับเพื่อนก็เลยมาเข้าค่ายนี้ แต่พอมาแล้วก็รู้ตั้งแต่แรกแล้วว่าเป็นค่าย ๕ ศาสนา มันนึกภาพ
ไม่ออกค่ะว่าเป็นยังไง จนกระทั่งมาถึงที่นี่ ก็ได้เห็นแต่ละศาสนา ก็คิดว่าเป็นโอกาสที่มีน้อยครั้ง คือว่า มันเป็นการยากที่จะเอาแต่ละศาสนามารวมกันและจัดค่ายฯ ร่วมกัน และที่นี่ก็เป็นค่ายแรก สำหรับหนูที่ได้มาร่วมกิจกรรมแบบนี้ ก็รู้สึกประทับใจกับเพื่อน ๆ ขอบคุณนะค่ะที่จัดกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ให้กับพวกเรา หนูจะจำมันไว้ เยาวชน กราบเรียนคณะวิทยากร คณะครู และเพื่อนที่น่ารักทุกคน สำหรับดิฉัน ความรู้สึกความประทับใจที่อยากจะบอกก็คือ ประทับใจเพื่อน ๆ ทุกคน ในการทำกิจกรรม
สิ่งหนึ่งที่อยากจะแสดงความคิดเห็นก็คือ ควรที่จะช่วยกันออกความคิดเห็นกัน ไม่ใช่ว่าจะมีแค่ คนใดคนหนึ่งเท่านั้น เพราะว่าในงานกลุ่มส่วนมากมักจะเป็นแบบนี้ ซึ่งก็อยากให้ทุกคนปรับปรุง ในส่วนนี้ ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่จะออกความคิดเห็นตลอดหรือทำกิจกรรมก็เป็นคนเดิมตลอด ข้อเสียที่อยากให้ปรับปรุงก็คือ แมลงวันเยอะมากเลยค่ะ ในห้องพักก็มีแบบแมลงเม่าเข้าไป
มีคางคก มีตุ๊กแก การที่เรามาค่ายนี้ก็เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำความรู้จัก ศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับศาสนพิธีของแต่ละศาสนา ฉะนั้นก็จะเก็บภาพความทรงจำดี ๆ เหล่านี้ไว้
และก็จะนำความรู้ไปขยายผลต่อไปในอนาคตค่ะ
46 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
เยาวชน สวั ส ดี ค่ ะ ความประทั บ ใจ
ที่ได้มาอยู่ในค่ายนี้ ขอขอบคุณที่มาจัดค่ายในครั้งนี้ ทำให้ทุกคนต่างที่มาได้มาอยู่รวมกัน ถึงแม้จะเป็นเวลา ที่สั้น ๆ แต่ก็มีความสุข ต่างศาสนาเราได้มาเรียนรู้กัน และเป็นครั้งแรกที่ได้มา ทุกคนน่ารักมาก มีความเป็น กันเอง เยาวชน สวัสดีทุกคน ความรู้สึกก่อนมา ค่ายฯ ก็คือ ทั้งโรงเรียนผมมา ๒ คน ตอนแรกผมคิดว่า
๕ ศาสนา สงสั ย ตี กั น ตายเลย แบบถ้ า เกิ ด มี โ ต้ ว าที
ขึ้นมาจะเป็นไงก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน แต่พอได้มาแล้วก็รู้ว่า แม้จะต่างความคิดกันแต่ก็อยู่ได้ น่าเสียดายที่ ๒ ศาสนา
ไม่ได้มาเพราะว่าเป็นช่วงสอบของเขา ผมก็อยากจะให้จัดช่วงประมาณเมษายน มันจะได้มาครบกัน ๕ ศาสนา เราจะได้มีเพื่อนครบ ๕ ศาสนา ขอบคุณครับ นายปั ณ ณ์ ผู้ แ ทนศาสนาคริ ส ต์ มี ข้ อ เสนอแนะนะครั บ เรื่ อ งการใช้ เ วลา
ในการตอบปัญหาของวิทยากร ๕ ศาสนา ก็ใช้เวลายาวนาน วัยรุ่นเบื่อเร็วก็เลยง่วง การได้มาอยู่ ร่วมกัน ๕ ศาสนา ก็ทำให้ได้คิดอะไรหลาย ๆ อย่าง ทำให้ได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน ทำให้
หลาย ๆ คนได้เพื่อนใหม่ รู้จักกันมากขึ้น ในกลุ่มก็ช่วยกันมากขึ้น ร่วมมือ ร่วมใจ สามัคคี
บางคนอาจจะไม่ได้ช่วยเพื่อน แต่ก็ออกความคิดเห็นอย่างดี ขอบคุณที่มีค่ายนี้ ขอบคุณสำหรับ การอยู่ร่วมกัน ขอบคุณครับ เยาวชน ขอกราบสวัสดีเพื่อน ๆ พี่ ๆ ทุกคน ผมดีใจมากที่ได้มาเข้าค่ายศาสนาที่นี่ ผมไม่เคยเข้าค่าย ๕ ศาสนามาก่อนเลยนะครับ ครั้งนี้ครั้งแรก และถ้าครั้งหน้ามีอีกผมก็จะมาเป็น ครั้งที่ ๒ นะครับ ขอบคุณครับ เยาวชน กราบสวัสดีทุกท่าน ค่ายนี้เป็นค่ายแรกที่ได้มา ก็รู้สึกประทับใจมาก ถึงแม้ จะเป็นเวลาเพียงแค่ ๓ วัน แต่ก็ทำให้รู้จักเพื่อนมากขึ้น ถึงแม้บางคนอาจจะเป็นมากกว่าเพื่อน ก็ตาม ประทับใจค่ะ ชอบเพื่อนมาก ขอบคุณค่ะ อาจารย์ดนัย อากาศสุภา อยากจะโยนคำถามไปถึงน้อง ๆ บนเวที เราได้มาจากความหลากหลายของศาสนา เราได้มาอยู่หลอมรวมกันที่นี้ และเราเชื่อว่าท่านเป็นเพชรเม็ดงามที่ได้ขัดเกลาแล้ว ในฐานะที่
ท่านได้รับความรู้ ได้รับความรู้สึกดี ๆ จากค่ายเยาวชนสมานฉันท์ที่นี่แล้ว ท่านกำลังจะกลับไปสู่
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
นางสาวธีรดา ชลศิริ ผู้แทนเยาวชนศาสนาพุทธ ที่ โ รงเรี ย น SBAC ของพวกเรานะค่ ะ เป็ น โรงเรี ย นที่ ค่ อ นข้ า งจะมี ข นาดใหญ่
แต่โรงเรียนมีพื้นที่เล็กนิดหนึ่ง โรงเรียนเรามีนักเรียนประมาณ ๔,๐๐๐ ถึงเกือบ ๕,๐๐๐ คน
มีหลายศาสนาเกือบครบ ๕ ศาสนา ส่วนมากก็เป็นพุทธและอิสลามจะเยอะหน่อย มาจากหลาย ๆ ที่
หลาย ๆ ฐานะด้วยกันที่มารวมอยู่ที่นี่ แต่ว่าในโรงเรียนของเรา เมื่อใส่สูทและอยู่ในโรงเรียน เดียวกันแล้ว ทุกคนเป็นเลือดน้ำเงิน-ขาวหมด ทุกคนรู้จักกันหมด ทุกคนเป็นเพื่อนกันหมด ความรู้และสิ่งที่ได้ในวันนี้จะนำไปใช้ในการที่พวกเราจะไม่พูดเหยียดหยามหรือว่าดูหมิ่นศาสนา ซึ่งกันและกัน จะอยู่ด้วยความเคารพกฎของศาสนาแต่ละศาสนา เพราะว่าบางทีอาจจะยังไม่รู้ว่า ข้อห้ามหรือกฎของแต่ละศาสนามันเป็นยังไง ความรู้ที่ได้จากที่นี่ก็ช่วยได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเคารพ ศาสนาของเพื่อน ๆ แต่ละคนที่เรานับถือ หลักธรรมก็นำมาแลกเปลี่ยนกัน นำมาคุยกัน นำไปใช้ เพื่อไม่ให้เราไปกระทำความชั่วต่าง ๆ และก็ต้องปฏิบัติตามแนวทางศาสนาตัวเองให้ดีที่สุด
47
ชุมชนของท่าน และในชุมชนของท่านก็มีความหลากหลายของผู้คน ทั้งชนชั้น ทั้งฐานะอะไรก็แล้วแต่ รวมทั้งศาสนาด้วย ท่านจะนำเอาความรู้ในเรื่องของความหลากหลายที่เราได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ทำให้เกิดความสมานฉันท์ในชุมชนของท่านอย่างไรได้บ้าง ในแต่ละจุดองค์กรศาสนาที่ท่าน
สังกัดอยู่ ขอช่วยนำเสนอตรงนี้ ขอบคุณครับ
อย่างศาสนาพุทธก็ต้องรักษาศีล สำรวมกาย วาจา ใจ ทำแต่ความดีไม่ทำความชั่วทั้งปวง ขอให้ เพื่อน ๆ ทุกคน ศาสนาพุทธ และศาสนาอื่น ๆ จงปฏิบัติตัวตามหลักธรรมตามแนวปฏิบัติของ แต่ละศาสนาให้เคร่งครัด ขอให้ทุกคนจงประสบแต่ความสุขค่ะ
48 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
นายวิเชียร แก้วเกษ ผู้แทนเยาวชนศาสนาอิสลาม ก่อนอื่นผมขอกล่าวคำว่าสวัสดีแก่ครู อาจารย์ และเพื่อนทุกคน สำหรับผมการที่ได้ มาอยู่ในค่ายฯ แห่งนี้นะครับ ผมมีความรู้สึกดีใจและปลื้มใจเป็นอย่างมาก เพราะก่อนที่ผมจะมา ผมกลัวเหลือเกิน กลัวจะไม่สนุกสนานอย่างที่ผมคิด เพราะว่าเขาได้เอา ๕ ศาสนา มารวมอยู่
ในที่แห่งเดียวกัน แต่มันกับไม่เป็นอย่างที่ผมคิดครับ มันเป็นการเข้าค่ายที่สนุกสนานมากจริง ๆ
สมกั บ หั ว ข้ อ ที่ ว่ า ค่ า ยเยาวชนสมานฉั น ท์ เพราะไม่ ว่ า เราจะทำกิ จ กรรมอะไรร่ ว มกั น ไม่ ว่ า
จะเป็นการแสดงละคร หรือไม่ว่าจะเป็นการเล่นฐานเมื่อวานนี้ ทุกคนให้ความสำคัญและสามัคคีกัน
ดีมากครับ อย่างผมมาวันแรก มีเพื่อน ๆ ต่างศาสนาบอกว่า ทำไมอิสลาม มุสลิม น่ากลัวจัง
ผมก็ไม่รู้ว่าน่ากลัวแบบไหน หน้าตา หรือว่าชื่อศาสนาที่ดูน่ากลัว แต่ความจริงแล้วมุสลิมไม่น่ากลัว
อย่างที่คิดครับ ถึงแม้ว่าหน้าตาจะโหด แต่จิตใจงดงาม จิตใจดีครับ สำหรับผม ผมไม่ค่อยจะมี เพื่ อ นต่ า งศาสนาสั ก เท่ า ไหร่ เพราะว่ า ผมเรี ย นเรื่ อ งของศาสนาอยู่ ที่ โ รงเรี ย นมู ฮั ม บาดี ย ะห์
ซึ่งเรียนเกี่ยวกับเรื่องศาสนาอิสลามอย่างเดียวเลย คือ การมาเข้าค่ายผมก็จะเอากลับไปคิดว่า ศาสนาอื่นไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ หรือศาสนาคริสต์ หรือศาสนาอิสลาม ทุกคนก็จิตใจงดงาม เหมือนกัน ต่อไปนี้ผมจะไม่ปิดกั้นตัวเองว่าจะคบแต่เพื่อนศาสนาอิสลามอย่างเดียว ผมจะเปิดใจ ให้กว้าง โดยการรับเพื่อนศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ด้วย ขอบคุณครับ
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
49
นายสยาม ร่วมสมุทร ผู้แทนเยาวชนศาสนาคริสต์ อย่างผมเองก็จบจากโรงเรียนคริสต์เหมือนกัน ตอนนี้เรียนมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ได้ เจอเพื่อนต่างศาสนาเยอะ ถ้าโรงเรียนเก่าก็จะได้เจอเพื่อน ๆ ศาสนาพุทธกับศาสนาคริสต์เยอะ อย่างศาสนาอิสลามก็ไม่ได้เจอ ก็ไม่ได้รู้ว่าทำไมเขาต้องใส่โสร่ง ว่าทำไมการแต่งกายเขาต้องเป็น แบบนี้ ทำไมเขาต้องมีพิธีกรรมอย่างนี้ แต่เมื่อมาค่ายนี้ก็ได้สัมผัสตรง ๆ ได้รู้จัก ได้เข้าใจมากขึ้น ว่าพิธีกรรมเป็นยังไงเพราะอะไรถึงต้องทำอย่างนี้ แล้วก็ทำให้มีความกล้าที่จะเข้าไปพูดคุยกับ เพื่อน ๆ ชาวอิสลามมากขึ้น แต่ก่อนก็ไม่ค่อยได้เจอ ไม่กล้าที่จะเข้าไปคุย แต่การที่ได้มาอยู่ร่วมกัน ต้ อ งทำกิ จ กรรมร่ ว มกั น หลายอย่ า ง ก็ ท ำให้ เ ราได้ เ ข้ า หาได้ พุ ด คุ ย กั น มากขึ้ น เพราะฉะนั้ น
เวลาผมกลับไป เมื่อเจอเพื่อนที่เป็นอิสลาม ไม่ว่าเพื่อนศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ เราก็จะพูดคุย กับเขาว่า เราอาจจะเป็นสื่อกลางให้เขาแต่ละศาสนา เพราะว่าเราได้ผ่านตรงนี้มาแล้ว เราได้ร่วม กิจกรรมกันมา ๒ วันแล้ว ทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น รู้จักพูดคุยมากขึ้น เราก็อาจจะเป็น
สื่อกลางของเพื่อน ๆ ที่ไม่ได้มาร่วมค่ายของเรา ให้รู้จักการได้พุดคุยกับเพื่อนต่างศาสนามากขึ้น ทำให้เขาได้เข้าใจเช่นเดียวกับเราที่ได้มาค่ายนี้ และได้เข้าใจตรงกันว่า แม้จะต่างศาสนากัน
แต่ว่าเราก็อยู่ร่วมกันได้
50 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
นายนพดล พี่เลี้ยงเยาวชน
ศาสนาคริสต์จากแบ๊บติสต์ ผมเพิ่งได้มาร่วมค่ายนี้เป็น ครั้งแรกและได้ดูแลน้อง ๆ สิ่งที่ประทับใจ
จริ ง ๆ ก็ คื อ เห็ น น้ อ ง ๆ เป็ น น้ ำ หนึ่ ง
ใจเดี ย วกั น เราเห็ น แล้ ว นะว่ า ผู้ ใ หญ่ ใ น บ้ า นเมื อ งไม่ เ ป็ น แบบอย่ า งสั ก เท่ า ไหร่
แต่ว่าเราจะเริ่มต้นที่ Generation ของเรา คือเราจะเริ่มต้นสมานฉันท์เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน นี่เป็นสิ่งที่ผมประทับใจมาก แล้วจะนำไปเล่า ต่อในสถานที่ที่ผมทำงานอยู่และก็สอนอยู่ นี่คือความประทับใจ สิ่งหนึ่งที่ประทับใจก็คือทีมงาน ของอาจารย์ปัญญา ขอบคุณมากนะครับสำหรับการนำเกม นำน้อง ๆ สำหรับความสนุกสนาน นี่เป็น
ความสำเร็จที่จะนำเยาวชน ๕ ศาสนา สามารถที่จะเข้ากันได้อย่างดี และก็ขอชื่นชม ขอบคุณครับ ครู พี่ เ ลี้ ย ง ก่ อ นอื่ น ขอ สวั ส ดี ส ำหรั บ นั ก เรี ย นทุ ก คนและท่ า น ผู้ใหญ่ทุกท่าน ความรู้สึกที่ได้มาร่วมค่าย เยาวชนครั้งแรกเลย ความปลื้มใจที่สุด
ก็ คื อ ฐาน เมื่ อ วานที่ เ ห็ น เด็ ก เดิ น มา
เด็กพุทธกับมุสลิมจับมือกัน กอดคอกัน ซึ่ ง มั น เป็ น ภาพที่ ป ระทั บ ใจที่ สุ ด และ
ก็ ไ ม่ เ คยเห็ น เราคงจำวั น แรกที่ ไ ด้ เ จอ
ที่ศูนย์วัฒนธรรม ครั้งแรกเลยที่เด็ก ๆ เจอกัน เข้าห้องน้ำ ครูสังเกตดูนะคะว่า ต่างคนต่างก็มองว่า
นี่ศาสนาอะไร แต่ภาพที่เห็นหลังจากอยู่ด้วยกัน ๑ วันแล้ว เด็กเดินกอดคอกัน หัวเราะกัน
มีความรู้สึกว่าคนเป็นครูที่ทำกิจกรรมอันนี้ขึ้นมา มันมีความสุขค่ะ มีความสุขในใจลึก ๆ ว่า ที่มองเห็น
สิ่ ง ที่ เ ราทุ่ ม เททำกั น ทั้ ง หมดมั น บรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ ครู ก็ ข อภู มิ ใ จกั บ นั ก เรี ย นทุ ก คน ดี ใ จ
กับนักเรียนทุกคนที่ได้มีโอกาส และอยากจะให้สัมพันธ์ภาพอันดีอันนี้ ต่อกันไปยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ในอนาคต เราเจอกันที่ไหน ทักทายกัน ทุกอย่าง เรายังคงจำความรู้สึกดี ๆ ด้วยกันต่อไป
ครูขอขอบคุณมากค่ะ ครูพี่เลี้ยง สวัสดีนักเรียนทุกคน และอาจารย์ทุกท่าน รู้สึกยินดีที่อีกครั้งหนึ่งที่ได้มา ร่วมค่ายฯ ในครั้งนี้ เพราะว่าทุก ๆ ครั้งที่มีการจัดค่ายสมานฉันท์ ตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงครั้งนี้
ครั้งนี้คือครั้งที่ ๕ แล้ว องค์กรยุวชนไทยเพื่อพระคริสต์ก็มีโอกาสได้มาร่วมค่ายทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา
น้อง ๆ ที่มาร่วมค่ายนี้ก็คือ เขาได้มีความ สัมพันธ์กัน หลังจากกลับจากค่ายนี้ก็ยังคง ต่อเนื่อง ต่อไปเรื่อย ๆ และก็เป็นเพื่อนต่อมา
ตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงค่ายครั้งนี้ รุ่นพี่ก่อน ๆ ที่เขาเคยมา เขาก็เคยเป็นพี่น้องกัน ก็อยาก ให้น้อง ๆ ทุกคน ถึงแม้ว่าค่ายฯ จะจบลง
ในวันนี้ แต่อยากให้ทุก ๆ คน ยังเชื่อมความ สัมพันธ์ ยังคงเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ถึงแม้เรา จะต่างศาสนา แต่เราก็เป็นเพื่อนกันได้นะคะ ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ร่วมกันทำกิจกรรม นี้ขึ้น ขอบคุณค่ะ
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
51
อาจารย์จาก SBAC ขอสวัสดีวิทยากร ครูพี่เลี้ยง ทุกท่าน นักเรียนที่น่ารักทุกคน ตอนแรก
ก็ เ ป็ น ห่ ว งลู ก ศิ ษ ย์ ข องอาจารย์ ม าก
ว่ า เป็ น ยั ง ไง แต่ พ อได้ ม าอยู่ ร่ ว มกั น
ทั้ง ๓ ศาสนา แต่ก็น่าเสียดายที่ ๒ ศาสนา
ไม่ ไ ด้ ม าด้ ว ย รู้ สึ ก ประทั บ ใจมาก
มีมิตรไมตรี มีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว To Be Number one เป็นหนึ่งได้นะครับ โดยที่พวกเราทุกคนรักและสามัคคี อาจารย์ประทับใจมาก ๆ ครับ อาจารย์พี่เลี้ยง สวัสดีท่านเจ้าหน้าที่ของกรมการศาสนา ท่านวิทยากร ท่านพิธีกร และคุณครู ตลอดจนลูก ๆ ที่น่ารักทุกคน ซึ่งจะเป็นต้นกล้าที่จะก่อร่างสร้างสัมพันธ์เยาวชน สมานฉันท์ ซึ่งจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในภายภาคหน้า สำหรับครูก็จะมีเรื่องหนึ่ง ก่อนอื่นขออยากฝาก ถึงกรมการศาสนา ในเรื่องของการจัดที่พักของผู้หญิง ดูแล้วจากสถานที่แห่งนี้ มันจะอยู่ติด
ชั้นล่าง ถ้ามันมีเหตุอะไรขึ้นมามันจะเกิดความเสียหายกับเพศสตรีได้ง่าย จึงอยากจะให้ปรับเปลี่ยน
บางอย่าง หรือจะให้เจ้าหน้าที่ของกรมการศาสนาพักอยู่ข้างล่าง แล้วนักเรียนหญิงอยู่ชั้นที่ ๒
ชั้นที่ ๓ นี่คือเรื่องของความปลอดภัย ถึงแม้ทางสถานที่แห่งนี้จะมีเจ้าหน้าที่ เขาก็จะดูแลเฉพาะ
52
อาคารสถานที่หรือผู้ที่แปลกปลอมมา และเขาก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะขอความร่วมมือจากพวกเรา เพราะ ว่าเด็กของเรา เด็กก็คือเด็ก ต่างที่ต่างทาง บางคนก็ยังปรับตัวกับสถานที่ไม่ได้ ความอยากรู้
ความอยากเห็นมันก็มีอยู่ ความอยากจะลงไปเล่นว่ายน้ำอย่างนี้ มันเป็นที่ล่อตา ล่อใจ หลายอย่างเลย
และเวลาพวกเราอบรมก็อยู่แค่ห้องอบรม ออกไปก็ห้องรับประทานอาหาร ใจก็อยากจะออกไป
ที่เรียกว่า ไปสำรวจ ไปตรวจสอบ ไม่ใช่เฉพาะเด็กอย่างเดียว ครูก็เหมือนกัน ฉะนั้นก็ขอให้ว่า เรื่องของความปลอดภัย อีกอย่างหนึ่ง เด็กเจ็บไข้ได้ป่วย ณ ตรงจุดนี้ของเรา ทางโรงพยาบาล เท่าที่ทราบมาไกล เป็นไปได้ไหมคะว่า ทางกรมการศาสนามีเจ้าหน้าที่พยาบาลหรือแพทย์
มาอยู่ในกลุ่มหรือเป็นหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมาในวันที่มีการอบรม ณ ตรงจุดนี้ เพราะเด็กของเรานั้น ไม่ทราบว่าจะเจ็บไข้ได้ป่วยเมื่อไหร่ ยิ่งเด็กผู้หญิงแล้วจะมีทั้งในวันเบา ๆ ของแต่ละเดือนที่มา
ปุบปั๊บ บางคนก็จะปวดท้องบ้าง อาหารการกินก็เช่นเดียวกัน อันนี้ขอฝากไว้ด้วย ลูก ๆ ก็เช่น เดียวกัน ลูกน่ารักมากเลย การที่ลูกได้มีการแสดงออก การที่เราได้มารวมพลังกัน นั่นเป็นจุดหนึ่ง ที่ผู้ใหญ่มองเห็นศักยภาพ และมองเห็นว่าอนาคตของประเทศชาติไทยเรานั้น รุ่งเรืองเจริญแน่ เราเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ว่าศาสนาใด ครูขอชื่นชมและก็ฝากขอบคุณท่านเจ้าของสถานที่นี้ด้วย
โดยเฉพาะผู้ที่กำกับแสง ไฟ เสียง สีนี้นะคะ ขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่นี่ทุกคน รวมทั้งบริกร แม่บ้าน เช่นเดียวกันนะคะ
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
53
อาจารย์อมร ขอสวัสดีวิทยากรและนักเรียนที่น่ารักทุกท่าน นักเรียนอาจจะได้เห็นครูเดินถ่ายภาพ นักเรียนรู้ไหมว่าการที่ครูได้มีโอกาสมาตรงจุดนี้ ครูอยากจะบอกว่า สิ่งที่นักเรียนทุกคนได้มา
เราเป็ น ตั ว แทนของศาสนานั้ น ๆ สิ่ ง ที่ ส ำคั ญ ที่ สุ ด ก็ คื อ โอกาสที่ เ ราได้ รั บ อี ก หลายร้ อ ยหรื อ
อีกหลายพันคนนะครับ ๆ ไม่ได้มีโอกาสอย่างนี้ สิ่งที่ครูทำได้และอยากกลับไปบอกก็คือภาพ
และเสียงต่าง ๆ ที่นักเรียนได้ร่วมกันทำกิจกรรมตรงนี้ ครูไม่สามารถที่จะเล่ารายละเอียดทั้งหมดได้
สิ่ ง ที่ ท ำทุ ก ครั้ ง ในการเดิ น ทาง ก็ คื อ เครื่ อ งมื อ พวกนี้ ที่ จ ะสามารถนำกลั บ ไปเล่ า กั บ ผู้ ค นอี ก
หลายหมื่น หลายแสนคนนะครับ ได้สัมผัสกับสิ่งที่เราได้มีโอกาสอันยิ่งใหญ่นี้ เพราะฉะนั้นขอให้ เราได้ภาคภูมิใจว่าในชีวิตหนึ่งได้เข้ามาได้รับโอกาสตรงนี้ แล้วเราต้องขอบคุณประเทศชาติ ขอบคุณสังคมของเราด้วยการนำสิ่งเหล่านี้ออกไปเผยแพร่ออกไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม
ขึ้นมา ครูดีใจที่ครูได้มีโอกาสมาสัมผัส สิ่งที่ครูเองกลัวที่สุดก็คือ กลัวว่ามาอยู่ตรงนี้แล้วจะได้ยิน สิ่งที่ครูมีความรู้สึกว่ามันบริสุทธิ์ แล้วสิ่งเหล่านั้นมันจะแสดงออกไปในทางที่ไม่ดี แต่ปรากฏว่า
ครูไม่พบเลย ประทับใจที่สุด นักเรียนต่างโรงเรียนเจอครูยกมือไหว้ นักเรียนครับบางครั้งครูเอง ก็รู้สึกน้อยใจเหมือนกันว่า สอนที่โรงเรียน นักเรียนวิ่งกันเจอครูที่บันได เจอครูชนครูแทบจะ
ตกบันได แต่มาตรงนี้ นักเรียนที่ครูไม่ได้สอน เขาขอบคุณครู เขาทักทายครูด้วยสิ่งที่ดีงาม นักเรียนที่มากับครู จำสิ่งเหล่านี้ไว้จากเพื่อน ๆ ในสิ่งที่ดี ๆ เรานำกลับไปทำที่โรงเรียนเรา
นำกลับไปเผยแพร่ สิ่งเหล่านี้มันประทับตาและก็ตรึงใจพวกเราทุก ๆ คน
คำกล่าวปิดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ นางศิริกาญจนา อิศรางกูร ณ อยุธยา
54 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
กราบเรี ย นท่ า นรองอธิ บ ดี ก รมการศาสนา ท่ า นรองปกรณ์ ตั น สกุ ล ดิ ฉั น
นางศิริกาญจนา อิศรางกูร ณ อยุธยา ในนามคณะกรรมการจัดค่ายฯ ขอขอบพระคุณท่าน
รองอธิบดีกรมการศาสนา ที่ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีปิดค่ายฯ และมอบเกียรติบัตร
แก่เยาวชนและพี่เลี้ยง ที่เข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ในวันนี้ ค่ายเยาวชนสมานฉันท์ จัดตั้งแต่วันที่ ๑๒-๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ มีจุดประสงค์ ให้เยาวชนศาสนาต่าง ๆ ได้มาเรียนรู้ในหลักธรรม พิธีกรรมของศาสนาต่าง ๆ เพื่อเป็นการ
เสริ ม สร้ า งความรั ก ความสามั ค คี ให้ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คมไทย โดยหลั ก สู ต รการจั ด ค่ า ยฯ ได้ มี
ผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละศาสนามาให้ความรู้ มีการจัดกิจกรรมให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
มีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีสมานฉันท์ระหว่างเยาวชนที่มาจากที่ต่าง ๆ มีการ จัดนิทรรศการเรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการอุปถัมภ์ศาสนา ซึ่งตลอดระยะเวลา
๓ วัน ๒ คืน เยาวชนให้ความสนใจ รับฟัง และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความกระตือรือร้น การร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ และการนำเสนอของการประชุมกลุ่ม ได้แสดงออกให้เห็นถึง
ความเข้าใจในเรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสมานฉันท์ สมดังเจตนารมณ์ของโครงการ
ทุกประการ บัดนี้ การดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนสมานฉันท์ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ทุกประการ ดิฉันขอเรียนเชิญท่านรองอธิบดีกรมการศาสนา ท่านรองปกรณ์ ตันสกุล ได้โปรด มอบเกียรติบัตรแก่เยาวชนครูพี่เลี้ยง ที่เข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ จำนวน ๒๑๔ คน และปิดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ต่อไป ขอกราบเรียนเชิญค่ะ
ผลการประเมินค่ายเยาวชนสมานฉันท์ การจัดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ เป็นความร่วมมือระหว่างกรมการศาสนาและองค์การ
ศาสนาต่าง ๆ ที่จัดให้เยาวชนต่างศาสนาได้มาเข้าค่ายอยู่ร่วมกัน ๓ วัน ๒ คืน ทำกิจกรรม
เพื่ อ สร้ า งความรั ก ความสามั ค คี ร ะหว่ า งเยาวชน และเรี ย นรู้ ทั้ ง จากวิ ท ยากรผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ
ทางศาสนาและแลกเปลี่ยนจากเพื่อนเยาวชน ซึ่งในปี ๒๕๕๒ ได้จัดระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ณ อุ ท ยานการเรี ย นรู้ วิ ท ยาลั ย นวั ต กรรม มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ศู น ย์ พั ท ยา
จั ง หวั ด ชลบุ รี จากจำนวนผู้ เ ข้ า ค่ า ยเยาวชนสมานฉั น ท์ ๒๑๔ คน มี ผู้ ต อบแบบสอบถาม
ทั้งสิ้น ๒๐๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๔.๘๕
55 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
วัตถุประสงค์การประเมิน ๑. ประเมินความคิดเห็นของเยาวชนต่อความพึงพอใจการจัดการด้านสถานที่ ๒. ประเมิ น ความคิ ด เห็ น ของเยาวชนต่ อ ระดั บ ความรู้ / แนวคิ ด /แนวปฏิ บั ติ ประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมงาน ๓. ประเมินความคิดเห็นของเยาวชนต่อระดับประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมงาน ในแต่ละกิจกรรม ๔. ประเมินความคิดเห็นของเยาวชนต่อประโยชน์ของการจัดกิจกรรม ๕. ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรม การประเมินครั้งนี้ แสดงค่าสถิติด้วยค่าร้อยละและค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็น
ของแต่ละกิจกรรม โดยคำนวณดังนี้ 5 สูตร ค่าเฉลี่ยความคิดเห็น (x) = ∑ fi xi i = 1
เมื่อ
x fi xi N
คือค่าเฉลี่ยความคิดเห็น คือจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มที่มีความคิดเห็นระดับ xi คือคะแนนความคิดเห็นระดับที่ i (x1 = 1, x2 = 2, x3 = 3, x4 = 4, x5 = 5) คือจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
N
เกณฑ์การให้คะแนนและการแปลผล
เกณฑ์การให้คะแนน
คะแนน
ระดับความรู้/ความเห็น/แนวคิดแนวปฏิบัติ
๕ ๔ ๓ ๒ ๑
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
56
เกณฑ์การแปลผลคะแนน
ค่าเฉลี่ย (x)
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
๔.๒๐-๕.๐๐ ๓.๔๐-๔.๑๙ ๒.๖๐-๓.๓๙ ๑.๘๐-๒.๕๙ ๑.๐๐-๑.๗๙
ระดับความรู้/ความเข้าใจ/ระดับประโยชน์/ ระดับความเห็น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
ตารางที่ ๑ เพศผู้ตอบแบบสอบถาม
เพศ
จำนวน
ร้อยละ
ชาย
๙๐
๔๔.๓๓
หญิง
๑๑๓
๕๕.๖๗
รวม
๒๐๓
๑๐๐
ตารางที่ ๑ แสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย ร้อยละ ๔๔.๓๓
เพศหญิง ร้อยละ ๕๕.๖๗
อายุ
จำนวน
ร้อยละ
น้อยกว่า ๑๕ ปี
๒๓
๑๑.๓๓
๑๕-๑๖ ปี
๙๙
๔๘.๗๗
๑๗-๑๘ ปี
๕๗
๒๘.๐๘
๑๙-๒๐ ปี
๗
๓.๔๕
มากกว่า ๒๐ ปี
๑๗
๘.๓๗
รวม
๒๐๓
๑๐๐
ตารางที่ ๒ แสดงอายุ ข องผู้ ต อบแบบสอบถาม ซึ่ ง พบว่ า ผู้ ต อบแบบสอบถาม
กลุ่มอายุระหว่าง ๑๕-๑๖ ปี มีมากที่สุดคือ ร้อยละ ๔๘.๗๗ กลุ่มอายุที่มีจำนวนรองมาคือ
๑๗-๑๘ ปี ร้อยละ ๒๘.๐๘ และน้อยกว่า ๑๕ ปี ร้อยละ ๑๑.๓๓ มากกว่า ๒๐ ปี ร้อยละ ๘.๓๗ ช่วงอายุ ๑๙-๒๐ ปี มีร้อยละ ๓.๔๕ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กลุ่มเป้าการจัดค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เยาวชนมาเข้าค่ายฯ
57 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ตารางที่ ๒ อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม
58
ตารางที่ ๓ ระดับการศึกษาของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม
การศึกษา
จำนวน
ร้อยละ
มัธยมศึกษาตอนต้น
๑๗
๘.๓๗
มัธยมศึกษาตอนปลาย
๑๐๕
๕๑.๗๒
อาชีวศึกษา
๔๙
๒๔.๑๔
ปริญญาตรี
๑๘
๘.๘๗
อื่น ๆ
๑๔
๖.๙๐
รวม
๒๐๓
๑๐๐
ตารางที่ ๓ แสดงวุฒิการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ ๕๑.๗๒ รองลงมามีวุฒิการศึกษา อาชีวศึกษา ร้อยละ ๒๔.๑๔
ตารางที่ ๔ ศาสนาของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ศาสนา
จำนวน
ร้อยละ
ศาสนาพุทธ
๑๐๘
๕๓.๒๐
ศาสนาอิสลาม
๕๑
๒๕.๑๒
ศาสนาคริสต์
๔๔
๒๑.๖๘
ศาสนาฮินดู
-
-
ศาสนาซิกข์
-
-
รวม
๒๐๓
๑๐๐
ตารางที่ ๔ ผู้เข้าร่วมงานรวมพลังทางศาสนา เสริมสร้างความสมานฉันท์มาจาก
ทั้ง ๕ ศาสนา จากแบบสอบถาม จำนวนผู้ตอบมากแยกตามศาสนา มีศาสนาพุทธ ร้อยละ ๕๓.๒๐ ศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๒๕.๑๒ ศาสนาคริสต์ ร้อยละ ๒๑.๖๘ ศาสนาฮินดูและศาสนาซิกข์
ไม่ได้เข้าร่วม
ตารางที่ ๕ แสดงความพึงพอใจในด้านสถานที่
มากที่สุด มาก รายการ จำนวน จำนวน (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ระดับความพึงพอใจ ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ค่าเฉลี่ย จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
๑. สถานที่ในการนัดหมายขึ้นรถ ๕๘ ๘๖ ๕๖ ๑ ๒ ๓.๙๗ ในการเดินทางไปค่ายฯ มีสะดวก (๒๘.๕๗) (๔๒.๓๖) (๒๗.๕๙) (๐.๔๙) (๐.๙๙) มาก
ต่อการเดินทางมา ๒. สถานที่จัดค่ายฯ ไม่ห่างไกลจาก ๕๗ ๙๒ ๕๑ ๑ ๒ ๓.๙๙
กรุงเทพฯ ไม่เสียเวลาเดินทาง (๒๘.๐๗) (๔๕.๓๒) (๒๕.๑๒) (๐.๕๐) (๐.๙๙) มาก
เกินไป ๑๕๒ ๔๗ ๔ - - (๗๔.๘๘) (๒๓.๑๕) (๑.๙๗)
๔.๗๒
มากที่สุด
๔. สถานที่จัดค่ายฯ มีบริเวณ กว้างขวาง เหมาะกับการทำ กิจกรรมต่าง ๆ
๑๓๒ ๕๗ ๑๔ - - (๖๕.๐๒) (๒๘.๐๘) (๖.๐๙)
๔.๕๘
มากที่สุด
๕. เวที ห้องประชุมของสถานที่ จัดค่ายฯ มีขนาดเหมาะสม จำนวนของเยาวชนไม่ใหญ่
หรือเล็กเกินไป
๗๘ ๘๙ ๓๒ ๓ ๑ ๔.๑๘
(๓๘.๔๒) (๔๓.๘๔) (๑๕.๗๖) (๑.๔๘) (๐.๕๐) มาก
๖. เครื่องเสียงและสื่อต่าง ๆ ของ ๘๐ ๘๒ ๓๗ ๒ ๒ ๔.๑๖
หอประชุมสามารถรับชมรับฟังได้ดี (๓๙.๔๐) (๔๐.๔๐) (๑๘.๒๒) (๐.๙๙) (๐.๙๙) มาก ๑๐๖ ๗๐ ๒๒ ๓ - ๔.๓๒
(๕๒.๒๑) (๓๔.๔๘) (๑๐.๘๔) (๑.๔๘) (๐.๙๙) มากที่สุด
๘. สถานที่จัดค่ายฯ มีห้องน้ำบริการ ๑๐๔ ๗๔ ๒๔ ๑ - เพียงพอกับปริมาณผู้ใช้ (๕๑.๒๓) (๓๖.๔๕) (๑๑.๘๒) (๐.๕๐) รวม
๔.๓๘
มากที่สุด
๗๖๗ ๕๙๗ ๒๔๐ ๑๑ ๙ ๔.๒๙
(๔๗.๒๓) (๓๖.๗๖) (๑๔.๗๘) (๐.๖๘) (๐.๕๕) มากที่สุด
๗. สถานที่รับประทานอาหารมีที่นั่ง และอาหารเพียงพอกับเยาวชน
59 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
๓. สถานที่จัดค่ายฯ มีที่พัก สะดวกสบาย
60 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ตารางที่ ๕ เป็นการสอบถามเรื่องความพึงพอใจด้านสถานที่ ซึ่งมี ๒ สถานที่ คือ
ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นที่แถลงข่าวและนัดผู้ที่จะไปค่ายเยาวชนสมานฉันท์มาขึ้นรถ
และที่วิทยาลัยนวัตกรรม จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นสถานที่จัดค่ายฯ จากการตอบแบบสอบถามพบว่ า การใช้ ศู น ย์ วั ฒ นธรรมแห่ ง ประเทศไทยเป็ น
จุดนัดหมายขึ้นรถที่จะเดินทางไปค่ายฯ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจระดับคะแนนเฉลี่ย ๓.๙๗ ซึ่งแปลผลว่า มีความพึงพอใจระดับมาก ส่วนวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา ที่เป็นสถานที่จัดค่ายฯ สอบถามความพึงพอใจ เป็น ๗ ข้อ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความให้มีความพึงพอใจในสถานที่จัดค่ายฯ ๔ ข้อ
อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับดังนี้ ๑. สถานที่จัดค่ายฯ มีที่พักสะดวกสบาย คะแนนเฉลี่ย ๔.๗๒ ๒. สถานที่จัดค่ายฯ มีบริเวณกว้างขวาง เหมาะกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ คะแนน เฉลี่ย ๔.๕๘ ๓. สถานที่จัดค่ายฯ มีห้องน้ำบริการเพียงพอกับปริมาณผู้ใช้ คะแนนเฉลี่ย ๔.๓๘ ๔. สถานที่รับประทานอาหารมีที่นั่งและอาหารเพียงพอกับเยาวชน คะแนนเฉลี่ย ๔.๓๒ อีก ๔ ข้อ มีระดับความพึงพอใจในระดับมาก เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยได้ คือ ๑. เวที ห้องประชุมของสถานที่จัดค่ายฯ มีขนาดเหมาะสม จำนวนของเยาวชน
ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป คะแนนเฉลี่ย ๔.๑๘ ๒. เครื่องเสียงและสื่อต่าง ๆ ของหอประชุมสามารถรับชมรับฟังได้ดี คะแนน เฉลี่ย ๔.๑๖ ๓. สถานที่จัดค่ายฯ ไม่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ ไม่เสียเวลาเดินทางเกินไป คะแนน เฉลี่ย ๓.๙๙ ๔. สถานที่ในการนัดหมายขึ้นรถในการเดินทางไปค่ายฯ มีสะดวกต่อการเดินทางมา คะแนนเฉลี่ย ๓.๙๗ เมื่อรวมทุกข้อในเรื่องสถานที่ในการจัดค่ายฯ มีคะแนนเฉลี่ย ๔.๒๙ ซึ่งแปลว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจเรื่องสถานที่จัดค่ายฯ ระดับมากที่สุด
ตารางที่ ๖ ระดับความรู้/ความเข้าใจ/ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมที่จัด
ความรู้/ความเข้าใจ/ประโยชน์ที่ได้รับ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ค่าเฉลี่ย รายการ จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน การแปล (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) ผล ๓.๙๗
มาก
๒. การบรรยายพิเศษโดย ๕๔ ๑๐๓ ๔๒ ๔ - อธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธาน (๒๖.๖๐) (๕๐.๗๔) (๒๐.๖๙) (๑.๙๗) ในพิธีเปิดค่ายฯ
๔.๐๑
มาก
๓. กิจกรรมสร้างความคุ้นเคย/ กิจกรรมสันทนาการ
๗๘ ๘๐ ๒๗ ๑๕ ๓ ๔.๐๕
(๓๘.๔๒) (๓๙.๔๑) (๑๓.๓๐) (๗.๓๙) (๑.๔๘) มาก
๔. กิจกรรมสร้างสรรค์ของ เยาวชนตามกลุ่ม
๗๖ ๘๗ ๓๑ ๙ - (๓๗.๔๔) (๔๒.๘๖) (๑๕.๒๗) (๔.๔๓)
๕. การปฏิบัติศาสนกิจในภาคเช้า
๗๔ ๙๒ ๓๒ ๔ ๑ ๔.๑๕
(๓๖.๔๕) (๔๕.๓๒) (๑๕.๗๖) (๑.๙๗) (๐.๕๐) มาก ๔.๑๕
มาก
๗. กิจกรรมฐานการเรียนรู้
๘๓ ๘๗ ๒๕ ๘ - (๔๐.๘๙) (๔๒.๘๖) (๑๒.๓๑) (๓.๙๗)
๘. การแสดงของเยาวชน ตามกลุ่มศาสนา
๗๙ ๘๒ ๓๒ ๗ ๓ ๔.๑๑
(๓๘.๙๒) (๔๐.๓๙) (๑๕.๗๖) (๓.๔๕) (๑.๔๘) มาก
๙. การอภิปรายความหลากหลาย ๖๓ ๙๒ ๔๑ ๗ - ในเป้าหมายเดียวกันของตัวแทน (๓๑.๐๓) (๔๕.๓๒) (๒๐.๒๐) (๓.๔๕) เยาวชนแต่ละศาสนา
๔.๒๐
มากที่สุด
๔.๐๓
มาก
๑๐. นิทรรศการสมเด็จพระบาทพระเจ้าอยู่หัว ๙๔ ๗๕ ๓๑ ๒ ๑ ๔.๒๗
กับการอุปถัมภ์ศาสนาต่าง ๆ (๔๖.๓๐) (๓๖.๙๔) (๑๕.๒๗) (๐.๙๙) (๐.๕๐) มากที่สุด รวม
61
๗๑๗ ๙๐๔ ๓๓๙ ๖๒ ๘ ๔.๑๑
(๓๕.๓๒) (๔๔.๕๓) (๑๖.๗๐) (๓.๐๕) (๐.๔๐) มาก
๖. การบรรยายและตอบข้อซักถาม ๗๖ ๘๗ ๓๕ ๕ - ของผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา (๓๗.๔๔) (๔๒.๘๖) (๑๗.๒๔) (๒.๔๖)
๔.๑๓
มาก
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
๑. พิธีเปิดและอธิษฐานจิตภาวนา ๔๐ ๑๑๙ ๔๓ ๑ - ของเยาวชนศาสนาต่าง ๆ (๑๙.๗๐) (๕๘.๖๒) (๒๑.๑๘) (๐.๕๐)
62 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ในการจัดค่ายฯ มีกิจกรรมต่าง ๆ โดยที่แบบสอบถามได้แบ่งไว้ ๑๐ หัวข้อ ซึ่งใน ตารางที่ ๖ ได้สอบถามในเรื่องความรู้/ความเข้าใจ/ประโยชน์ที่ได้รับแต่ละหัวข้อกิจกรรมที่จัด ซึ่ ง พบว่ า ผู้ ต อบแบบสอบถามเห็ น ว่ า ได้ รั บ ความรู้ / ความเข้ า ใจ/ประโยชน์ ระดั บ มากที่ สุ ด
๒ หัวข้อ คือ ๑. นิทรรศการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการอุปถัมภ์ศาสนาต่าง ๆ คะแนน เฉลี่ย ๔.๒๗ ๒. กิจกรรมฐานการเรียนรู้ คะแนนเฉลี่ย ๔.๒๐ ส่ ว นหั ว ข้ อ กิ จ กรรมอื่ น ๆ อี ก ๘ หั ว ข้ อ มี ร ะดั บ คะแนนเฉลี่ ย ในระดั บ มาก
เรียงตามลำดับคะแนนได้ คือ ๑. การบรรยายและตอบข้อซักถามของผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา คะแนนเฉลี่ย ๔.๑๕ ๒. การปฏิบัติศาสนกิจในภาคเช้า คะแนนเฉลี่ย ๔.๑๕ ๓. กิจกรรมสร้างสรรค์ของเยาวชนตามกลุ่ม คะแนนเฉลี่ย ๔.๑๓ ๔. การแสดงของเยาวชนตามกลุ่มศาสนา คะแนนเฉลี่ย ๔.๑๑ ๕. กิจกรรมสร้างความคุ้นเคย/กิจกรรมสันทนาการ คะแนนเฉลี่ย ๔.๐๕ ๖. การอภิปรายความหลากหลายในเป้าหมายเดียวกันของตัวแทนเยาวชนแต่ละ ศาสนา คะแนนเฉลี่ย ๔.๐๓ ๗. การบรรยายพิเศษโดยอธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธานในพิธีเปิดค่ายฯ คะแนนเฉลี่ย ๔.๐๑ ๘. พิธีเปิดและอธิษฐานจิตภาวนาของเยาวชนศาสนาต่าง ๆ คะแนนเฉลี่ย ๓.๙๗ เมื่ อ รวมในทุ ก หั ว ข้ อ จะมี ค ะแนนเฉลี่ ย ที่ ผู้ ต อบแบบสอบถามรั บ รู้ / เข้ า ใจ/ ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ๔.๑๑ ซึ่งแปลว่าผู้ตอบแบบสอบถามรับรู้ /เข้าใจ/
ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดในระดับมาก
ตารางที่ ๗ ความคิดเห็นต่อประโยชน์ในการเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ระดับความคิดเห็น ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ค่าเฉลี่ย จำนวน จำนวน จำนวน การแปล (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) ผล
๑. โครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ๑๐๔ ๘๔ ๑๔ ๑ - เป็นโครงการที่มีประโยชน์ ทำให้ (๕๑.๒๓) (๔๑.๓๗) (๖.๙๐) (๐.๕๐) ได้รู้จักข้อปฏิบัติของศาสนาอื่น
มากขึ้น รู้จักเพื่อนต่างศาสนามากขึ้น
๔.๔๓
มากที่สุด
๒. เมื่อได้เข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์แล้ว ๑๑๔ ๗๗ ๑๒ - - ทำให้เข้าใจศาสนาอื่นมากขึ้น (๕๖.๑๖) (๓๗.๙๓) (๕.๙๑) เกิดทัศนคติในการอยู่ร่วมกัน
อย่างสมานฉันท์มากขึ้น
๔.๕๐
มากที่สุด
๓. กิจกรรมที่จัดเป็นประโยชน์ สร้างความรู้สึกในการปฏิบัติ ต่อศาสนิกชนในศาสนาอื่น
อย่างถูกต้อง
๔.๔๒
มากที่สุด
๑๐๑ ๘๗ ๑๕ - - (๔๙.๗๕) (๔๒.๘๖) (๗.๓๙)
๔. ความรู้ ความเข้าใจที่ได้จาก ๑๐๑ ๗๗ ๒๔ - การเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ครั้งนี้ (๔๙.๗๕) (๓๗.๙๓) (๑๑.๘๒) สามารถนำไปปรับใช้ใน
ชีวิตประจำวันได้
๑ ๔.๓๕
(๐.๕๐) มากที่สุด
๕. โครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ เป็นโครงการที่มีประโยชน์ สมควรจัดเป็นประจำทุกปี
๑๓๒ ๕๖ ๑๓ ๑ ๑ ๔.๕๖
(๖๕.๐๒) (๒๗.๕๘) (๖.๔๐) (๐.๕๐) (๐.๕๐) มากที่สุด
รวม
๕๕๒ ๓๘๑ ๗๘ ๒ ๒ ๔.๔๕
(๕๔.๓๘) (๓๗.๕๔) (๗.๖๘) (๐.๒๐) (๐.๒๐) มากที่สุด
63 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
มากที่สุด มาก รายการ จำนวน จำนวน (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ตารางที่ ๗ เป็นการแสดงประโยชน์ที่ได้จากการเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ซึ่งตั้ง ความเห็นไว้ ๕ ข้อ ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนทุกข้อในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับ ความเห็นได้ คือ ๑. โครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ เป็นโครงการที่มีประโยชน์ สมควรจัดเป็น ประจำทุกปี คะแนนเฉลี่ย ๔.๕๖ ๒. เมื่ อ ได้ เ ข้ า ค่ า ยเยาวชนสมานฉั น ท์ แ ล้ ว ทำให้ เ ข้ า ใจศาสนาอื่ น มากขึ้ น
เกิดทัศนคติในการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์มากขึ้น คะแนนเฉลี่ย ๔.๕๐ ๓. โครงการค่ า ยเยาวชนสมานฉั น ท์ เป็ น โครงการที่ มี ป ระโยชน์ ทำให้ ไ ด้ รู้ จั ก
ข้อปฏิบัติของศาสนาอื่นมากขึ้น รู้จักเพื่อนต่างศาสนามากขึ้น คะแนนเฉลี่ย ๔.๔๓ ๔.กิ จ กรรมที่ จั ด เป็ น ประโยชน์ สร้ า งความรู้ สึ ก ในการปฏิ บั ติ ต่ อ ศาสนิ ก ชน
ในศาสนาอื่นอย่างถูกต้อง คะแนนเฉลี่ย ๔.๔๒ ๕. ความรู้ ความเข้าใจที่ได้จากการเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ครั้งนี้ สามารถนำไป ปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ คะแนนเฉลี่ย ๔.๓๕
64 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
ข้อดี ๑. ทำให้ได้รู้จักเพื่อนใหม่จากศาสนาต่าง ๆ ทำให้เราเข้าใจซึ่งกันและกัน และ
ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละคน ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ๒. ทำให้เราทุกคนได้มีความรักสามัคคี ผูกพันกันโดยไม่แบ่งแยกศาสนา ฝึกให้ เรามีความอดทน รู้จักการอยู่ร่วมกัน และรู้จักที่จะปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ โดยไม่มองคนที่ ภายนอก เรารู้จักการอยู่ด้วยกันอย่างมิตรภาพที่แท้จริง ๓. ได้รู้จักวัฒนธรรมของศาสนาอื่น ได้ดูการแสดงของแต่ละศาสนา รู้จักพิธีกรรม ของศาสนาทุกศาสนา ทำให้เราได้ความรู้เพิ่มเติม ทราบถึงหลักคำสอนของแต่ละศาสนาว่า
เป็นอย่างไร แต่ทุกศาสนาก็มีหลักสอนเหมือนกันว่าให้ทุกคนเป็นคนดีและปฏิบัติตนดี ๔. สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการนำความรู้หลากหลายที่ได้จากการ ร่วมโครงการทั้งหลักคำสอน และความรู้ด้านภาษาของแต่ละศาสนามาใช้ได้ ๕. ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้สึกและแลกเปลี่ยนความรู้กัน สามารถนำไปปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตได้
ข้อเสีย ๑. แมลงในที่พัก ในห้องพักมีแมลงต่าง ๆ มาก ทำให้นอนไม่สะดวก เพราะฉะนั้น ควรจะมียาไล่แมลงก่อนให้พักผ่อน ๒. อยากเพิ่มวันเข้าค่ายฯ มากขึ้น เพราะจะได้มีเวลาแลกเปลี่ยนความคิดและ
การกระทำต่าง ๆ ให้กับเพื่อนแต่ละศาสนามากกว่านี ้ ๓. อาหาร ควรจัดให้เหมาะสมมากกว่านี้ โดยการจัดให้เพียงพอต่อจำนวนคน รวมถึงโต๊ะอาหารควรมีเพิ่มมากกว่านี้ ๔. เน้นกิจกรรมในการทำกิจกรรม ควรทุ่มเทเวลาให้กิจกรรมมากกว่าการพูด
เปิดพิธี ปิดพิธี เพื่อให้ผู้ที่มาได้รับความรู้ไปมากที่สุด ๕. กฎระเบียบ ควรเข้มงวดเรื่องกฎระเบียบให้มาก เพื่อให้นักเรียนสนใจในการ ร่วมกิจกรรม รู้จักหน้าที่ มีความรับผิดชอบมากขึ้นกว่านีี้
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
65
ภาคผนวก กำหนดการการจัดค่ายเยาวชนสมานฉันท์
66 ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
วันอังคารที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๘.๐๐ น. พี่ เ ลี้ ย งและเยาวชนพบกั น ตามกลุ่ ม ศาสนาที่ ห อประชุ ม เล็ ก
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เวลา ๐๘.๓๐ น. ผู้แทนองค์การศาสนา (พุทธ อิสลาม คริสต์ ซิกข์) กล่าวอวยพร แก่เยาวชนที่จะเดินทางไปเข้าค่ายเยาวชนสมานฉันท์ เวลา ๐๙.๐๐ น. อธิบดีกรมการศาสนาแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน เวลา ๐๙.๓๐ น. ขบวนรถที่ จ ะเดิ น ทางไปค่ า ยฯ ออกเดิ น ทางจากศู น ย์ วั ฒ นธรรม
แห่งประเทศไทย เวลา ๑๑.๓๐ น. เดิ น ทางถึ ง อุ ท ยานการเรี ย นรู้ วิ ท ยาลั ย นวั ต กรรมอุ ด มศึ ก ษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา เยาวชนเข้าที่พัก พี่เลี้ยง
นำทะเบียนเยาวชนแต่ละศาสนามารับกระเป๋าเอกสาร เวลา ๑๒.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน อิสลามใช้ห้องยูงทอง นอกนั้นใช้ห้องสายชล เวลา ๑๓.๓๐ น. เยาวชนเข้ า ห้ อ งประชุ ม พิ ธี ก รแนะนำระเบี ย บการอยู่ ค่ า ยฯ แนะนำคณะทำงาน ซักซ้อมพิธีการเปิด เวลา ๑๔.๐๐ น. พิธีเปิดค่ายเยาวชนสมานฉันท์ ผู้แทนเยาวชน ๕ ศาสนา อธิษฐานจิตภาวนา ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์กล่าวรายงานการจัดค่ายฯ อธิบดีกรมการศาสนากล่าวเปิดค่ายฯ และบรรยายพิเศษ เวลา ๑๖.๐๐ น. กิจกรรมสร้างความคุ้นเคย เวลา ๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็น เวลา ๑๙.๐๐ น. กิจกรรมสร้างสรรค์ของเยาวชน เวลา ๒๑.๐๐ น. พักผ่อน
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์
67
วันพุธที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๖.๓๐ น. เยาวชนปฏิบัติศาสนพิธีตามศาสนา พุทธใช้ห้องถาวร–อุษา อิสลามใช้ห้องวิจัย คริสต์ใช้ห้องเคียงโดม ๑-๒ ซิกข์ใช้ห้องสันติ เวลา ๐๗.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า เวลา ๐๘.๓๐ น. กิจกรรมสันทนาการ เวลา ๐๙.๐๐ น. การบรรยายและตอบข้อซักถามทางศาสนา โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา - ศาสนาพุทธ พันเอกต่อพรต เจนการ - ศาสนาอิสลาม นายสมยศ หวังอับดุลเลาะ - ศาสนาคริสต์ บาทหลวงเกรียงไกร ยิ่งยง - ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นางสาวกมเลศ กุมารี ผอ.พิสิฐ เจริญสุข ผู้ดำเนินรายการ เวลา ๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน เวลา ๑๓.๐๐ น. สันทนาการ เวลา ๑๓.๓๐ น. กิจกรรมฐานการเรียนรู้ โดยนายปัญญา หวังพิทักษ์ และคณะ เวลา ๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็น เวลา ๑๙.๐๐ น. การแสดงโดยเยาวชนตามกลุ่มศาสนา เวลา ๒๑.๐๐ น. พักผ่อน
68
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๖.๓๐ น. เยาวชนปฏิบัติศาสนพิธีตามศาสนา (แยกไปตามห้องที่กำหนด) เวลา ๐๘.๓๐ น. ผู้แทนเยาวชนทั้ง ๕ ศาสนา เสวนาสรุปการเรียนรู้ หัวข้อ “ความหลากหลายในเป้าหมายเดียวกัน” (Unity in the Diversity) นายสุรพล บุญประสงค์ ดำเนินรายการ เยาวชนในห้องประชุมร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เวลา ๑๑.๐๐ น. พิธีปิดและมอบเกียรติบัตร เวลา ๑๒.๓๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน เวลา ๑๓.๓๐ น. เดินทางกลับกรุงเทพมหานคร หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม อาหารว่าง เวลา ๑๐.๓๐ น. และ ๑๔.๓๐ น.
ค่ายเยาวชนสมานฉันท์