ปี่พาทย์มอญรำ

Page 1

ปี่พาทย์มอญรำ� โครงการการจัดการสารสนเทศ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษา เพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน ส�ำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๕๘ http://library.stou.ac.th

ปี่พาทย์มอญรำ�

จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย


คณะกรรมการโครงการการจัดการสารสนเทศ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านนนทบุรีศึกษา เพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน ส�ำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ตราสัญลักษณ์

งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ อักษรพระนามาภิไธย ส.ธ. ภายในกรอบสุพรรณเบญจเพชรรัตน์ อักษร ส สีม่วงชาดแก่ อักษร ธ สีขาว บนพื้นสีม่วงครามอ่อน เป็นสีวันพระราชสมภพ ดวงเพชรรัตน์ ๕ ดวง หมายถึง ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบ อักษรพระนามาภิไธย ส.ธ. อย่ภู ายใต้พระชฎาพระกลีบปักพระยีก่ า่ ทอง ไม่ประกอบพระกรรเจียกจร เบื้องหลังพระชฎามีพระบวรเศวตฉัตร (พระสัตตปฎลเศวตฉัตร) คือ ฉัตรขาว ๗ ชั้น แต่ละชั้นมีระบายขลิบทองแผ่นลวด ๓ ชั้น ชั้นล่างสุดห้อยอุบะจำ�ปาทองเป็นเครื่อง ประกอบพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมราชกุมารี ทั้งสองข้างกรอบพระนามาภิไธย มีรูปเทพยดา พระกรหนึ่งประคองเชิญพระบวรเศวตฉัตร พระกรหนึ่งกระชับเถาบัวทองไว้ ขัดพระขรรค์ ทรง เศวตพัสตราภรณ์ เขียนทอง เทพยดาข้างเลข ๖ (ด้านซ้าย) ทรงพระชฎาเดินหน ปักพระยี่ก่า ดอกไม้ทอง ทัดพระกรรเจียกจร และเทพยดาข้างเลข ๐ (ด้านขวา) ทรงพระชฎามหากฐิน (พระชฎา ห้ายอด) ปักพระยี่ก่าดอกไม้ทอง ทัดพระกรรเจียกจร หมายถึง เทพยดาทรงมาบริรักษ์ เฉลิมฉลอง ในมหามงคลกาลนี้ ให้ทรงเจริญพระสิริสวัสดิ์ พูนพิพัฒน์พระเกียรติยศยิ่ง พ้น สิ่งสรรพทุกข์ โรคันตรายทั้งปวง อนึ่ง เถาบัวทอง หมายถึง ทรงเนานิเวศน์ นามว่า “สระปทุม” ใต้กรอบ พระนามาภิไธย มีเลขมหามงคล ๖๐ ว่าทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐​พรรษา บนพื้นสีหงสบาท (ส้มอ่อน หรือสีเท้าหงส์) เป็นสีวันพฤหัสบดี ในคัมภีร์พระไสยศาสตร์ว่าเป็นมงคลอายุของวันพระราชสมภพ ถัดลงมามีเชิงลายถมสีหงชาด (ชมพู) เขียนอักษรไทยย่อสีทองว่า “ฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ” และ “๒ ​เมษายน ๒๕๕๘” บนห้องลายพื้นสีขาวถัดลงมา สะท้อนถึงทรงเชี่ยวชาญด้านอักษรโบราณ และการโบราณคดีทั้งปวงด้วย

๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖.

นางวรนุช สุนทรวินิต นางนันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์ นางสาวพรทิพย์ สุวันทารัตน์ นายชัยวัฒน์ น่าชม นางสาวจุฑารัตน์ นกแก้ว นางสาวเครือทิพย์ เจียรณัย

๑. ๒. ๓. ๔.

คณะทำ�งานกลุ่มพัฒนาเนื้อหาสารสนเทศท้องถิ่นนนทบุรีศึกษา นางวรนุช สุนทรวินิต ประธานคณะทำ�งาน นายชัยวัฒน์ น่าชม คณะทำ�งาน นางกัลยาณี ศุภดิษฐ์ คณะทำ�งาน นางวรรเพ็ญ สิตไทย คณะทำ�งานและเลขานุการ

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ

ข้อมูลการพิมพ์ เนื้อใน กระดาษอาร์ตด้าน ๑๒๐ แกรม ปก กระดาษอาร์ตการ์ด ๒๖๐ แกรม เย็บกี่ ปกอ่อน เคลือบพลาสติกด้าน Spot UV มัน รูปเล่ม พิสูจน์อักษร พิมพ์ที่

แพร ธนวีรกานต์ นิธิมา มุกดามณี บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) ๓๗๖ ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐ โทร. ๐-๒๔๒๒-๙๐๐๐, ๐-๒๘๘๒-๑๐๑๐ โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๗๔๒, ๐-๒๔๓๔-๑๓๘๕ E-mail : aprint@amarin.co.th Homepage : http://www.amarin.com


ตราสัญลักษณ์

งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘


ปี่พาทย์มอญร�ำ พิศาล บุญผูก จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย โครงการการจัดการสารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษา เพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน ส�ำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กันยายน ๒๕๕๘ จ�ำนวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ISBN 978-616-16-0905-4 URL : http://library.stou.ac.th ข้อมูลบัตรรายการ พิศาล บุญผูก. ปี่พาทย์มอญร�ำ/พิศาล บุญผูก.-- นนทบุรี : ส�ำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๘. ๑. เครื่องดนตรีมอญ. ๒. เพลงมอญ. ๓. นาฏศิลป์มอญ. ๔. ปี่พาทย์. (๑) ชื่อเรื่อง. ML525 784 ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. วิภา เจริญภัณฑารักษ์ บรรณาธิการ นางวรนุช สุนทรวินติ

รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักบรรณสารสนเทศ

กองบรรณาธิการและคณะผู้จัดท�ำหนังสือ นางวรนุช สุนทรวินิต นางวรรเพ็ญ สิตไทย นายชัยวัฒน์ น่าชม นางกัลยาณี ศุภดิษฐ์

ประธานคณะท�ำงาน คณะท�ำงาน คณะท�ำงาน คณะท�ำงาน

พิมพ์ที่

บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) ๓๗๖ ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐ โทร. ๐-๒๔๒๒-๙๐๐๐, ๐-๒๘๘๒-๑๐๑๐ โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๗๔๒, ๐-๒๔๓๔-๑๓๘๕ E-mail : aprint@amarin.co.th Homepage : http://www.amarin.com


ปี่พาทย์มอญร�ำ พิศาล บุญผูก

วรนุช สุนทรวินิต บรรณาธิการ จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย โครงการการจัดการสารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษา เพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน ส�ำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๕๘


ค�ำนิยมท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๒ เมษายน ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้จัดท�ำหนังสือ “ปี่พาทย์มอญร�ำ” นี้ขึ้น เพื่อร่วมฉลองพระเดชพระคุณ โดยได้ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมด้านการดนตรี ขับร้อง และนาฏกรรมในวิถีชีวิตของชาวมอญท้องถิ่นนนทบุรี ทีม่ คี วามเชือ่ มโยงไปยังชาวมอญในท้องถิน่ อืน่ ๆ ซึง่ บรรพชนล้วนเข้ามาพึง่ พระบรมโพธิสมภารในพระราชอาณาจักรไทย และได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากบูรพกษัตริย์อย่างสืบเนื่องมาโดยตลอดทุกช่วงประวัติศาสตร์ของ ชาติไทย ซึ่งการประมวลข้อมูลที่กล่าวมาแล้วนี้ ย่อมยังประโยชน์ในการสืบค้นต่อองค์ความรู้ไว้มิให้สูญหาย กอปรกับหนังสือเล่มนีจ้ ะเผยแพร่ตอ่ ไปอย่างกว้างขวาง ในการเรียนการสอนของโรงเรียน และสถาบันการศึกษา ระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งห้องสมุดต่างๆ เพื่อนักเรียน นักศึกษาและประชาชนผู้สนใจ จะได้อ่านศึกษาหาความรู้ ด้วยตนเอง จึงนับได้ว่าร่วมฉลองพระกรุณาธิคุณสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานด้านอนุรักษ์ ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติไทยอีกโสดหนึ่งด้วย

(ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ) ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘


ค�ำน�ำอธิการบดี ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ เป็นปีมหามงคลที่ทางราชการได้เชิญชวนให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนปวงชนชาวไทยได้ร่วมกันแสดงความจงรักภักดี โดยร่วมกันจัดโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ โดยที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นสถาบันอุดมศึกษาทางไกลที่มุ่งการผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคม ตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่ให้โอกาสทางการศึกษาและการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต น�ำไปสู่สังคม แห่งการเรียนรู้และสังคมฐานความรู้อย่างกว้างขวางตอบสนองเป้าหมายยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๐) และเป้าหมายยุทธศาสตร์ของชาติที่ว่า “คนไทยทุกกลุ่ม ทุกวัยได้รับการศึกษา ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนตลอดชีวิต มีศักยภาพในการด�ำรงชีวิต ประกอบอาชีพ และเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศในการเป็นศูนย์กลางการศึกษา ฝึกอบรม การวิจัยและพัฒนา ในระดับภูมิภาค รวมทั้งสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้” มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช จึ ง ได้ ถื อ เป็ น มงคลโอกาสที่ จ ะได้ แ สดงความส� ำ นึ ก ในพระกรุ ณ าธิ คุ ณ อเนกอนันต์แห่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยและปวงชนชาวไทย มาโดยตลอด จึงได้เห็นชอบให้ส�ำนักบรรณสารสนเทศจัดท�ำหนังสือ “ปี่พาทย์มอญร�ำ” ขึ้นในการด�ำเนินโครงการ พัฒนาและเผยแพร่สารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นนนทบุรีศึกษา เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ที่ได้รับอนุมัติให้ด�ำเนินการในส่วนส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ล�ำดับที่ ๑.๒๗ และเผยแพร่หนังสือนี้ ไปยั ง สถาบั น การศึ ก ษาและห้ อ งสมุ ด ต่ า งๆ เพื่ อ เป็ น การขยายโอกาสในการเรี ย นรู ้ ต ลอดชี วิ ต ด้ ว ยตนเองส� ำ หรั บ ผู้รักการศึกษาและการอ่าน ขอขอบพระคุณท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ส�ำนักราชเลขาธิการ ที่ได้กรุณาให้ค�ำนิยม ลงตีพิมพ์ในหนังสือนี้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชถือเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ขอขอบคุณผู้บริหารและบุคลากรส�ำนักบรรณสารสนเทศทุกท่าน ที่ได้ทุ่มเทก�ำลังกายก�ำลังใจในการจัดท�ำ หนังสือนี้เป็นผลส�ำเร็จเรียบร้อย ท�ำให้มหาวิทยาลัยมีผลผลิตโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ อันส่งอานิสงส์ต่อการเผยแพร่ความรู้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้นเป็นบริการวิชาการแก่สังคมที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ให้เป็นสังคมแห่ง การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยอีกทางหนึ่งอันเป็นปณิธานของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชนี้สืบไป

(รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กรกฎาคม ๒๕๕๘


ค�ำน�ำในการจัดท�ำหนังสือ โดยที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ส�ำนักบรรณสารสนเทศในฐานะ หน่วยงานด้านห้องสมุดของมหาวิทยาลัย ได้รเิ ริม่ โครงการการจัดการสารสนเทศจากภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ด้านนนทบุรศี กึ ษา เพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชนเพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับสารสนเทศท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นจังหวัด นนทบุรีที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ในรูปแบบที่สะดวกในการศึกษาค้นคว้า เรื่องราวของศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ในวิถีชีวิตผู้คนจึงเป็นภาพสะท้อนให้เห็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชุมชนเป็นอย่างดี ในโอกาสที่ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ เป็นปีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ ๕ รอบ ส�ำนักบรรณสารสนเทศ จึงได้ด�ำเนินโครงการพัฒนาและเผยแพร่สารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นนนทบุรีศึกษา เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ โดยศึกษาค้นคว้า และจัดท�ำหนังสือ “ปี่พาทย์มอญร�ำ” ขึ้นเพื่อร่วมฉลองที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม อันเป็นมรดกของชาติ อีกทั้งพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ มาจัดพิมพ์ไว้ในหนังสือด้วย แม้จดุ เริม่ ต้นของการศึกษาค้นคว้าจะเกิดจากเรือ่ งราวของท้องถิน่ ทีถ่ อื เอาอาณาเขตปกครองพืน้ ทีจ่ งั หวัดนนทบุรี เป็นปฐม แต่ด้วยเรื่องราวของศิลปะและวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวิถีชีวิต ประเพณี มิได้แบ่งแยกตัดขาดจากการแบ่ง พื้นที่อย่างเช่นอาณาเขตทางการปกครอง ดังนั้นเนื้อหาในหนังสือปี่พาทย์มอญร�ำ จึงได้ร้อยเรียงให้เข้าใจถึงเรื่องราว ของการดนตรีปี่พาทย์มอญ นาฏกรรมมอญ ซึ่งเป็นศิลปะและวัฒนธรรมของชนชาติมอญ ที่บรรพชนมอญได้เข้ามาพึ่ง พระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย ได้อยู่อาศัยเป็นอาณาประชาราษฎร์ในพระราชอาณาจักรไทยสืบต่อกันมา จนเป็นส่วนหนึ่งของมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย หนังสือปี่พาทย์มอญร�ำนี้ แบ่งเนื้อหาออกเป็นบท ดังนี้ ปฐมบทแห่งหนังสือปี่พาทย์มอญร�ำ (๑) บทน�ำ ดนตรีมอญ ศิลปวัฒนธรรมมอญมรดกของชนชาติที่ เกิดขึน้ จากภูมปิ ญ ั ญาของบรรพชนมอญ (๒) เครือ่ งดนตรีมอญ (๓) เพลงปีพ ่ าทย์มอญ (๔) การขับล�ำน�ำของมอญ (๕) นาฏลีลาระบ�ำร�ำฟ้อนของมอญ (๖) มอญร�ำนาฏกรรมประจ�ำชาติมอญ (๗) แม่บทมอญร�ำ ผ่านแม่ครูผถู้ า่ ยทอด แห่งบ้านเกาะเกร็ด (๘) เกียรติภูมิวัฒนธรรมมอญด้านดนตรีการขับร้องฟ้อนร�ำ (๙) บทสรุป เนือ้ หาสาระและภาพประกอบทีน่ ำ� มาเรียบเรียงในหนังสือนี้ มีทมี่ าจาก ๓ ส่วน คือ (๑) ความรูแ้ ละประสบการณ์ ที่สั่งสมเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวมอญในชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนนทบุรี และในชุมชนท้องถิ่นมอญแห่งอื่นๆ ที่ผู้เขียนได้คลุกคลี เรียนรู้แต่เยาว์วัยและช่วงชีวิตการท�ำงาน (๒) การศึกษาค้นคว้าเอกสารหลักฐานจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และ (๓) การลง พื้นที่ส�ำรวจ พบปะบุคคล หาข้อมูล บันทึกภาพพิธีการ พิธีกรรม เหตุการณ์ และแหล่งความรู้โดยผู้เขียนและคณะท�ำงาน ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้เนือ้ หาหนังสือมีความสมบูรณ์ทสี่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เรือ่ งราวแต่กาลก่อน ทีน่ บั วันจะถูกลืมเลือน เพราะการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมสมัยใหม่ จึงหวังว่าหนังสือนี้จะเป็นหลักฐานอ้างอิงสื่อกลางในการถ่ายทอด ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหนึ่งของบรรพชนมอญในท้องถิ่นต่างๆ ให้ยั่งยืนสืบไป การจัดท�ำหนังสือนี้ได้รับความกรุณาอย่างดียิ่งจากท่านอาจารย์พิศาล บุญผูก ผู้เขียนหนังสือ ซึ่งมีความเพียร พยายามเสียสละและอุทิศตนอย่างยิ่งในการรวบรวมสั่งสมความรู้จากบรรพชนและศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และน�ำคณะ ผู้จัดท�ำหนังสือออกส�ำรวจ และเก็บข้อมูลในพื้นที่ จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงด้วยความซาบซึ้งยากที่จะ บรรยายได้ ส�ำนักบรรณสารสนเทศ ยินดีและภาคภูมใิ จเป็นอย่างยิง่ ทีไ่ ด้มผี ลงานสารสนเทศภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ นนทบุรศี กึ ษา ด้านศิลปวัฒนธรรมอันเป็นส่วนส�ำคัญในการอนุรกั ษ์ทำ� นุบำ� รุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ อย่างเป็นระบบทัง้ ในรูปแบบ หนังสือฉบับพิมพ์ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางเป็นบริการวิชาการแก่สังคม ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชสืบไป

ส�ำนักบรรณสารสนเทศ กรกฎาคม ๒๕๕๘


ค�ำน�ำผู้เขียน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งอยู่ในจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นแหล่งรวมของบรรดานักดนตรี นักขับร้อง นักฟ้อนร�ำของมอญทีม่ มี าอย่างยาวนานต่อเนือ่ งกันมาเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ วัฒนธรรมดนตรีการขับร้องและฟ้อนร�ำ ของมอญได้แพร่หลายสู่พระราชอาณาจักรไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ปรมาจารย์ทางดนตรี ของมอญและไทยหลายท่านทีม่ คี ณ ุ ปู การต่อวงการดนตรี นาฏกรรมร�ำร้องของมอญได้สบื สานอนุรกั ษ์มรดกวัฒนธรรมอันล�ำ้ ค่านี้ ให้คงอยูถ่ งึ ยุคโลกาภิวตั น์และแพร่หลายไปในชุมชนไทยและชุมชนมอญในจังหวัดต่างๆ ในพระราชอาณาจักรไทยในปัจจุบนั นี้ เนื่องจากดนตรีนาฏกรรมร�ำร้องของมอญที่มีการรวบรวมเป็นเอกสารเพื่อการเผยแพร่นั้นมีไม่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประวัติความเป็นมาของดนตรีปี่พาทย์มอญ ทะแยมอญ มอญร�ำ และเพลงมอญที่มีชื่อเป็นภาษามอญเหล่านี้จะรู้อยู่ใน วงจ�ำกัด ยิ่งนานวันเข้า ครูผู้อาวุโสทางดนตรีนาฏกรรมร�ำร้องของมอญค่อยๆ หมดไป สมบัติอันล�้ำค่านี้จึงควรแก่การอนุรักษ์ไว้ ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติต่อไปด้วยการรวบรวมสาระต่างๆ ของดนตรีนาฏกรรมร� ำร้องของมอญเป็นหนังสือ “ปี่พาทย์มอญร�ำ” เล่มนี้ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องราวที่เริ่มจากแหล่งศิลปวัฒนธรรมการดนตรี ขับร้องฟ้อนร�ำของมอญ ที่ปรากฏหลักฐานในพื้นที่เกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และได้ขยายเนื้อหาไปยังชุมชนพื้นที่ต่างๆ ที่มี ประวัตศิ าสตร์ชมุ ชนท้องถิน่ ด้านศิลปวัฒนธรรมมอญร่วมกัน โดยครอบคลุมประวัตคิ วามเป็นมาทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับบุคคลส�ำคัญ ที่เป็นต้นก�ำเนิดเรื่องราวการดนตรี ขับร้องฟ้อนร�ำมอญของบ้านเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช เครื่องดนตรีมอญ ทั้งดีด สี ตี เป่า เพลงปี่พาทย์มอญ การขับล�ำน�ำของมอญ นาฏลีลาระบ�ำร�ำฟ้อน ของมอญ มอญร�ำนาฏกรรมประจ�ำชาติมอญที่อยู่ในวิถีชีวิต ประเพณี พิธีการ และพิธีกรรมชุมชนมอญ รวมทั้งแม่บทมอญร�ำ จากแม่ครูมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ แห่งบ้านเกาะเกร็ดผู้สืบทอดนาฏศิลป์มอญร�ำจากบรรพชนให้อนุชนผู้สนใจรุ่นแล้วรุ่นเล่า และ เกียรติภมู วิ ฒ ั นธรรมมอญด้านดนตรีการขับร้องฟ้อนร�ำทีช่ าวไทยเชือ้ สายมอญได้มโี อกาสแสดงความกตัญญูกตเวทิตาคุณส�ำนึกใน พระมหากรุณาธิคณ ุ ทีม่ ตี อ่ สถาบันพระมหากษัตริยข์ องชาติไทย การรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อการจัดท�ำหนังสือนี้ ส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลที่บรรดาครูผู้ทรงคุณวุฒิทางดนตรีนาฏกรรม ขับร้องฟ้อนร�ำของมอญและไทยที่กรุณาถ่ายทอดให้เป็นความรู้ที่มีคุณค่ายิ่ง ขอขอบพระคุณครูบุญทิว ศิลปดุริยางค์ ครูทรัพย์ หะหวัง ครูแหยม รนขาว ครูชั้น นมศาสตร์ ครูมงคล พงษ์เจริญ ครูเลื่อน สุนทรวาทิน ครูสุดจิตต์ ดุรยิ ประณีต ร.ต.ท.แปลก เปีย่ มเจียก ย่าปริก ชาวเรือหัก ครูมะลิ วงศ์จำ� นงค์ ครูชนั้ สอนส�ำแดง ครูสดุ ใจ แก่นใน ครูประคอง เวชพันธ์ ผู้ใหญ่บุญธรรม ชองขันปอน ครูจ�ำเรียน แจงสว่าง ครูกัลยา ปุงบางกระดี่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี ม.ล.สุรักษ์ สวัสดิกุล ดร.ปันละ นายมองโต ผู้ให้ความรู้และข้อมูลจนน�ำมาใช้ในการเรียบเรียงหนังสือนี้ได้ ขอขอบพระคุณทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ขอขอบคุณท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ที่เห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมทางดนตรีนาฏกรรมการขับร้องฟ้อนร�ำของมอญได้ให้มีการจัดพิมพ์หนังสือนี้ ขอขอบคุณ นางวรนุช สุนทรวินิต ผู้อ�ำนวยการส�ำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ได้ร่วมศึกษาค้นคว้าเรื่องของ ดนตรีนาฏกรรมการขับร้องของมอญ และเป็นบรรณาธิการตรวจเพิ่มเติมแก้ไขและจัดท�ำรูปเล่มจนท�ำให้หนังสือนี้เป็นรูปเล่ม และสมบูรณ์ ขอขอบคุณนางวรรเพ็ญ สิตไทย และนางสุนันท์ เพ็งมณี ที่กรุณาจัดท�ำต้นฉบับด้วยความเหนื่อยยากและ เอาใจใส่ด้วยดีตลอดมา ขอขอบคุณนายชัยวัฒน์ น่าชม และนางกัลยาณี ศุภดิษฐ์ ที่ได้ร่วมศึกษาและค้นคว้าเรื่องแม่บท มอญร�ำ ผ่านแม่ครูผู้ถ่ายทอดแห่งบ้านเกาะเกร็ดและกรุณาให้น�ำข้อมูลการศึกษาค้นคว้าที่มีคุณค่ายิ่งน�ำมาใช้ประกอบ การเรียบเรียงในสาระส�ำคัญของหนังสือนี้ท�ำให้เกิดความสมบูรณ์ของเรื่องนาฏกรรมมอญร�ำได้อย่างดียิ่ง บ้านกวานอาม่าน ๑๙ หมู่ ๗ ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

พิศาล บุญผูก กรกฎาคม ๒๕๕๘


สารบัญ ค�ำนิยมท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ (๔) ค�ำน�ำอธิการบดี (๕) ค�ำน�ำในการจัดท�ำหนังสือ (๖) ค�ำน�ำผู้เขียน (๗) ปฐมบทแห่งหนังสือปีพ ่ าทย์มอญร�ำ ๑ l ปีพ่ าทย์มอญร�ำ นาฏกรรมล�ำ้ ค่าถิน่ นนท์ ๑ l พระยาพิไชยบุรนิ ทรา บุคคลส�ำคัญ ในวงการปีพ่ าทย์มอญ เจ้าของวงปีพ่ าทย์มอญเก่าแก่แห่งบ้านเกาะเกร็ด เมืองนนทบุรี ๓ l ปีพ่ าทย์มอญ มอญร�ำบ้านปากเกร็ด ครั้งแผ่นดินพระปิยมหาราช ๔ l พระยาพิไชยบุรินทรา ผู้มีคุณูปการต่อวงการดนตรีปี่พาทย์มอญ ๖ l พระยาพิไชยบุรินทรา ผู้ให้ก�ำเนิดบรรดานักดนตรีปี่พาทย์มอญชั้นครูในย่านนนทบุรี ปทุมธานีและพระประแดง ๗ l ศิษย์พระยาพิไชยบุรินทรา ขยายแหล่งปี่พาทย์มอญสู่ใจกลางนครหลวง ๘ l ศิษย์พระยาพิไชยบุรินทราต่างพากันตั้งวงปี่พาทย์มอญ ๑๐ l เพลงมอญ มีความไพเราะจับใจ ท�ำให้เกิดวงมโหรีของพระทวีธนาการที่บ้านเกาะเกร็ด ๑๑ l ศิษย์วงมโหรีคุณพระทวี รวมกลุ่ม เพลงเจ้าขาว คณะละครร้องพัฒนามาเป็นคณะร�ำวงดาวส�ำราญ ๑๒ l วงมโหรีเครือ่ งสายบางบัวทองแหล่งรวมพลคนรักดนตรี มีเพลงมอญมาก ๑๓ l วงปี่พาทย์มอญในจังหวัดนนทบุรี ๑๔   บทน� ำ ๑๗ l ศิลปวัฒนธรรมมอญที่คนมอญน�ำติดตัวมาได้ แม้ต้องหนีภัยมาอยู่ในราชอาณาจักรสยาม ๑๙ l ดนตรี ม อญ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมมอญมรดกของชนชาติ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากภู มิ ป ั ญ ญาของบรรพชนมอญ ๒๐ l ดุ ริ ย ดนตรี ม อญ สัญลักษณ์ของความมีอารยธรรมมานานกว่าพันปี ๒๓ l มหรสพมอญในราชส�ำนักส�ำหรับพระราชพิธีที่มีในประวัติศาสตร์ ชนชาติมอญ ๒๕ l เครื่องดนตรีมอญหลากหลายประเภทและการฟ้อนร�ำลีลานานาท่วงท่าที่ปรากฏในวรรณกรรมที่ส�ำคัญ ของมอญ ๒๙ l ความวิบัติการดนตรีนาฏศิลป์การขับร้องของมอญเมื่อมอญต้องเสียเมือง ๓๒ l ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ ระบ�ำร�ำฟ้อนมอญในพระราชอาณาจักรไทย ๓๕   เครื่องดนตรีมอญ ๓๙ l เครื่องดีด ๓๙ l เครื่องสี ๔๑ l เครื่องตี ๔๒ l เครื่องเป่า ๕๑ l การประสมวงดนตรีมอญ แต่ละประเภท ๕๒ l วงปี่พาทย์มอญ ๕๓ l วงเครื่องสายมอญ ๗๕ l การก�ำหนดต�ำแหน่งเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายมอญ ๘๔ l บทบาทและหน้าที่ของเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายมอญ ๘๔ l การประสมวงเครื่องสายมอญ ๘๕ l ระเบียบ ในการด�ำเนินจังหวะของการบรรเลง ๘๖ l เครือ่ งสายมอญใช้บรรเลงประกอบการขับร้องและการบรรเลงทีไ่ ม่มกี ารขับร้อง ๘๖   เพลงปี่พาทย์มอญ ๘๙ l เพลงมอญมีตะโพนมอญท�ำหน้าที่ควบคุมจังหวะ ๙๑ l ระเบียบในการบรรเลงปี่พาทย์มอญ ๙๒ l วิธีการบรรเลงปี่พาทย์มอญ ๙๓ l กาละและเทศะในการบรรเลงปี่พาทย์มอญ ๙๔ l เพลงปี่พาทย์มอญที่บรรเลง ในพิธีกรรมทางศาสนาและพิธกี รรมอื่นๆ ๙๗ l เพลงบรรเลงที่เป็นเพลงประโคม ๙๘ l เพลงบรรเลงที่ไม่ใช่เพลงประโคม ๑๐๒ l เพลงปี่พาทย์มอญประกอบการแสดงนาฏศิลป์มอญร�ำ ๑๐๓ l คีตลักษณ์ของเพลงชอป้าตของวงปี่พาทย์มอญชุมชนมอญ บางแห่ง ๑๐๔ l เพลงปี่พาทย์มอญที่ใช้ประกอบการละเล่น ๑๐๗ l เพลงปี่พาทย์มอญบรรเลงในงานศพ ๑๐๗ l เพลงมอญ ที่ใช้บรรเลงทั่วไปเพื่อความบันเทิง ๑๑๑ l บทบาทของปี่พาทย์มอญที่มีต่อวงการดนตรีไทยและสังคมไทย ๑๑๓ l การน�ำ ปี่พาทย์มอญไปใช้ในงานหลวงของไทยมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ๑๑๕ l ปี่พาทย์มอญประโคมในพระราชพิธีครั้งส�ำคัญของ พระมหากษัตริยไ์ ทย ๑๑๖ l ดนตรีปพ่ี าทย์มอญทีเ่ ข้าไปมีบทบาทในพระราชพิธขี องไทย ๑๑๖ l ปีพ่ าทย์มอญผ้สู ร้างมิตใิ หม่ใน วงการปี่พาทย์นาฏศิลป์ไทย ๑๒๔ l ปี่พาทย์มอญช่วยขยายเวทีกลุ่มดนตรีไทยและปี่พาทย์มอญในสังคมไทยยุคโลกาภิวัฒน์ ๑๒๗ l เรือ่ งของมอญและเพลงมอญในรูปแบบของละครพันทางและการสวดคฤหัสถ์ของไทย ๑๒๘ l วงปีพ่ าทย์มอญธรรมดา พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์มอญวงพิเศษ ๑๒๘

๒ ๓


๔  การขับล�ำน�ำของมอญ ๑๓๑

ลักษณะส�ำคัญของเพลงขับร้องของมอญ ๑๓๒ l การขับล�ำน�ำที่ไม่มีดนตรีบรรเลงและ ไม่มีการร่ายร�ำประกอบ ๑๓๒ l การขับล�ำน�ำที่มีดนตรีบรรเลงประกอบการขับล�ำน�ำแต่ไม่มีการร่ายร�ำ ๑๔๖ l การขับล�ำน�ำ ที่มีดนตรีบรรเลงและการร่ายร�ำประกอบ ๑๕๒ l ทะแยมอญ การร้องร�ำท�ำเพลงของมอญ ๑๕๒ l เพลงมอญที่ปรากฏอยู่ ในต�ำนานมโหรีมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ๑๗๖ l เพลงมอญที่บรรเลงในวงปี่พาทย์ วงมโหรีที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ๑๗๘ l เพลงไทยส� ำ เนี ย งมอญ ๑๘๐ l จากเพลงมอญมาเป็ น กลอนร้ อ งด้ น เพลงลิ เ กดั ง ๑๙๕ l สมั ย อยุ ธ ยามี เ พลงมอญ ประกอบการแสดงละครมอญ - เพลงมอญทะแยพระสีน วลลา ๑๙๖ l เพลงส�ำเนียงมอญที่เ ป็นเพลงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๙๗ l เพลงขนมหวาน เนื้อเพลงพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๒๐๐ l เพลงเด็ก ๒๐๑ l

๕  นาฏลีลาระบ�ำร�ำฟ้อนของมอญ ๒๐๕

ระบ�ำร�ำฟ้อนนาฏกรรมมอญ ๒๐๖ l การฟ้อนร�ำของมอญที่สามารถสืบทอด เป็นสัญลักษณ์ชนชาติมอญจนถึงปัจจุบัน ๒๐๖ l ประเภทการฟ้อนร�ำของมอญ ๒๐๘ l ร�ำเจ้า ๒๑๑ l ร�ำสามถาด ๒๑๕ l ร�ำผี ๒๑๗ l ร�ำอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์ ๒๑๙ l ร�ำรับพระสู่ทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ ๒๒๑ l การร�ำอาวุธ ๒๒๒ l การร�ำมวย ๒๒๔ l ร�ำกลองยาว ๒๒๔ l

๖  มอญร�ำนาฏกรรมประจ�ำชาติมอญ ๒๒๗

ความหมายของค�ำว่ามอญร�ำ ๒๒๗ l คุณลักษณะของมอญร�ำ การแสดง ความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเคารพผู้ทรงคุณธรรม ๒๓๐ l ผู้ร�ำ ร�ำด้วยความเคารพศรัทธาและได้บุญ ๒๓๐ l ก�ำเนิด มอญร�ำ ๒๓๑ l มอญร�ำถือก�ำเนิดเมื่อเกิดเพลงประโคมเพลงย�่ำเที่ยง ๒๓๒ l มอญร�ำก�ำเนิดในราชส�ำนักมอญเมื่อ ๕๐๐ กว่าปี มาแล้ว ๒๓๓ l มอญร�ำในสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงยุคปัจจุบัน ๒๓๓ l มอญร�ำคงอยู่เคียงคู่กับพิธีกรรมมอญและศรัทธา ของคนมอญ ๒๓๔ l การพัฒนาท่าร�ำของมอญร�ำ ๒๓๔ l บทบาทและหน้าที่ของมอญร�ำเป็นการร�ำในพิธีกรรม ๒๓๖ l มอญร�ำเป็นการแสดงออกของจิตศรัทธา ๒๓๘ l มอญร�ำจัดขึ้นในพระราชพิธีมงคลครั้งส�ำคัญของไทย ๒๓๙ l มอญร�ำ กับการร�ำฟ้อนของล้านนาไทย ๒๔๔ l มอญร�ำที่จัดขึ้นในงานพระบรมศพและพระศพ ๒๔๔ l มอญร�ำในโอกาสส�ำคัญในสมัย รัชกาลปัจจุบัน ๒๔๗ l มอญร�ำเป็นการฟ้อนร�ำของสตรี ๒๔๙ l มอญร�ำเป็นการร�ำในพิธีและเพื่อดูเล่นงามๆ ๒๔๙ l มอญร�ำ เป็นระบ�ำ ร�ำเป็นหมู่ดูสวยงาม ๒๕๐ l ดนตรีประกอบการร�ำมอญร�ำ ๒๕๑ l เครื่องแต่งกายของผู้ร�ำ ๒๕๕ l เพลงมอญร�ำ ๒๕๕ l เพลงมอญร�ำของชุมชนมอญเกาะเกร็ด มี ๑๘ เพลง ๒๕๗ l เพลงโหมโรงเริ่มบรรเลงก่อนการร�ำเพื่อแสดงความ เคารพ ๒๖๐ l เพลงมอญร�ำไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีร�ำผี ๒๖๑ l บ้านลัดเกร็ด หมู่บ้านมอญร�ำในต�ำบลเกาะเกร็ด ๒๖๑ l นักฟ้อนมอญร�ำส่วนใหญ่เป็นคนบ้านลัดเกร็ด ๒๖๒ l ครูสอนมอญร�ำบ้านโต้ หมู่ที่ ๖ ต�ำบลเกาะเกร็ด ๒๖๒ l มอญร�ำ ในชุมชนมอญในประเทศไทย ๒๖๓ l ศิลปะมอญร�ำในปัจจุบัน ๒๖๔ l

๗  แม่บทมอญร�ำ ผ่านแม่ครูผู้ถ่ายทอดแห่งบ้านเกาะเกร็ด ๒๖๙

l

๘  เกียรติภูมิวัฒนธรรมมอญด้านดนตรีการขับร้องฟ้อนร�ำ ๓๒๗

l

ชื่อท่าร�ำมอญและชื่อเพลงที่ใช้ประกอบการร�ำมอญ ๒๗๐ l กราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ๒๗๑ l ท่าเริ่มต้นและท่าจบของการร�ำมอญ ๒๗๒ l ท่วงท่าและลีลาในการร�ำมอญ แต่ละเพลง ๒๗๔ l นางมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ ผู้สืบทอดลมหายใจของมอญร�ำ ๓๑๙ l ท�ำความรู้จักกับแม่ครู ๓๒๐ l การเรียน ร�ำมอญของนางมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ ๓๒๑ l การสอนร�ำมอญร�ำของแม่ครูมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ ๓๒๓ ทอดพระเนตรมอญร�ำผี ปากลัด ภาพยนตร์ทรงถ่าย ฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ๓๒๗ l ปี่พาทย์มอญร�ำถวายการต้อนรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ๓๒๘ l พิธีเจริญพระปริตรมอญท�ำน�้ำพระพุทธมนต์ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๓๒๙ l พิธท ี ำ� ขวัญเมือง ๓๓๑ l พิธบี ำ� เพ็ญกุศลอุทศิ ถวาย ๓๓๒ l บทบาทในการส่งเสริมการท่องเทีย่ วอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรมของชาติ ๓๓๘

๙  บทสรุป ๓๔๓

บรรณานุกรม แหล่งข้อมูลสัมภาษณ์บุคคล ประวัติสังเขปผู้เขียน

๓๕๐ ๓๕๔ ๓๕๖


สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้คนมอญมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านปากเกร็ด เมืองนนทบุรี ให้ปี่พาทย์มอญร�ำ มโหรีมอญ หุ่นมอญ ร่วมประโคม และแสดงในพระราชพิธีสมโภชพระแก้วมรกตที่กรุงธนบุรี


ปฐมบทแห่งหนังสือปี่พาทย์มอญร�ำ ปี่พาทย์มอญร�ำ นาฏกรรมล�ำ้ ค่าถิ่นนนท์ บ้ า นปากเกร็ ด เมื อ งนนทบุ รี แหล่ ง รวมของนั ก ดนตรี แ ละนาฏศิ ล ป์ ม อญตั้ ง แต่ อดีตกาลสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ วงปี่พาทย์มอญและมอญร�ำที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยานั้น คงต้องถึงแก่ความวิบัติ เมื่ อ กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาถู ก พม่ า เข้ า ยึ ด ครองเผาท� ำ ลาย เมื่ อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ครั้ น ถึ ง รั ช สมั ย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ใน พ.ศ. ๒๓๒๓ โปรดเกล้าฯ ให้ปี่พาทย์มอญ มอญร�ำ มโหรีมอญ (ทะแยมอญ) ร่วมประโคมและแสดงในพระราชพิธีอัญเชิญพระแก้วมรกต จากพระต�ำหนักบางธรณี เมืองนนทบุรี ไปประดิษฐานที่พระราชวังธนบุรี จากนั้น โปรดเกล้าฯ ให้วงปี่พาทย์มอญ มอญร�ำ มโหรีมอญ (ทะแยมอญ) และหุ่นมอญ ร่วมประโคมและแสดงในพระราชพิธสี มโภชพระแก้วมรกตทีก่ รุงธนบุรี เป็นเวลานานถึง ๒ เดือน ๑๒ วัน นักดนตรี นักฟ้อนมอญร�ำ ตลอดจนนักแสดง นักขับร้องทะแยมอญและหุ่นมอญ ที่ร่วมแสดงในพระราชพิธีอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระราชพิธีสมโภชพระแก้วมรกตนั้น คงต้ อ งเป็ น คนมอญบ้ า นปากเกร็ ด เมื อ งนนทบุ รี เพราะเป็ น คนในพื้ น ที่ ที่ จั ด งาน มี ค วามสะดวกและรวดเร็ ว ในการรวมตั ว ของนั ก ดนตรี แ ละนั ก แสดงจากบ้ า นปากเกร็ ด เมืองนนทบุรีที่จะมาร่วมแสดงมากกว่าที่จะมาจากชุมชนมอญอื่นๆ ที่อยู่ไกลจากสถานที่ จัดงาน ประกอบกับในช่วงเวลาหลังจากกรุงศรีอยุธยาล่มสลายนั้น ชุมชนมอญกรุงศรีอยุธยา สามโคก (ปทุ ม ธานี ) ล่ ม สลายไปหมดด้ ว ย คงมี แ ต่ ชุ ม ชนมอญบ้ า นปากเกร็ ด ที่ มี พญาเจ่ ง ๑ เป็ น หัวหน้าที่พ าครอบครัวมอญ ๓,๐๐๐ คนเข้า มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ๑ พญาเจ่ง เป็นเชื้อพระวงศ์พระมหากษัตริย์มอญ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าพระยามหาโยธา จักรีมอญ ต้นสกุล คชเสนี ที่มา: สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วีรกรรมของพระมหากษัตริยไ์ ทย ๙ พระองค์. (๒๕๕๘, ๙ กรกฎาคม). สืบค้นจาก http://student.nu.ac.th/katai-cs.nu/king Maharaj/maharaj-of-siam/


2

ปี่พาทย์มอญรำ�

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้มาอยู่ที่บ้านปากเกร็ด เมืองนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๗ หลังจากนั้นเพียง ๖ ปี ใน พ.ศ. ๒๓๒๓ มีพระราชพิธีครั้งส�ำคัญของไทยในการ อัญเชิญพระแก้วมรกตและสมโภชพระแก้วมรกต ดนตรีปี่พาทย์มอญ ทะแยมอญและ หุ ่ น มอญของนั ก ดนตรี นั ก ขั บ ร้ อ งฟ้ อ นร� ำ จากบ้ า นมอญปากเกร็ ด เมื อ งนนทบุ รี จึ ง ได้ มีโอกาสไปร่วมงานพระราชพิธีครั้งส�ำคัญของไทยดังกล่าว ชุมชนมอญบ้านปากเกร็ด เมืองนนทบุรี เมื่ อ สมั ย ธนบุ รี เ ป็ น ชุ ม ชนมอญขนาดใหญ่ และเป็นที่รวมของนักดนตรี นักฟ้อนร�ำและนัก ขั บ ร้ อ งไปร่ ว มแสดงในงานพระราชพิ ธี ส� ำ คั ญ ครั้งนี้ด้วย ต่อมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๘ ได้ เ กิ ด ชุ ม ชนมอญขึ้ น อี ก ครั้ ง ที่ เ มื อ ง สามโคก ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นชุมชนมอญตั้งแต่สมัย อยุธยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลั ย โปรดเกล้ า ฯ พระราชทานนามเมื อ ง ปทุมธานี (จังหวัดปทุมธานี) และเกิดชุมชนมอญ ที่ เ มื อ งนครเขื่ อ นขั น ธ์ (พระประแดง) จั ง หวั ด สมุทรปราการ และสมุทรสาครในเวลาต่อมา ส่ ว นวงปี ่ พ าทย์ ม อญเมื อ งแม่ ก ลอง (สมุทรสงคราม) เมืองราชบุรี (บ้านโป่ง โพธาราม) และลพบุรีซึ่งมีวงปี่พาทย์มอญมาแต่เดิม และไม่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากการเสี ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยานั้ น ก็ ยั ง คงมี ว งปี ่ พ าทย์ ม อญอยู ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี่พาทย์มอญที่ต้องมีในพิธีร�ำผี

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง อุโบสถวัดเกาะหงษ์ อ�ำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ แสดงให้เห็นศิลปวัฒนธรรม การดนตรีปี่พาทย์มอญ มีมาแต่โบราณ


ปี่พาทย์มอญรำ�

3

พระยาพิไชยบุรินทรา บุคคลส�ำคัญในวงการปี่พาทย์มอญ เจ้าของวงปี่พาทย์มอญเก่าแก่แห่งบ้านเกาะเกร็ด เมืองนนทบุรี

พระยาพิไชยบุรินทรา บุคคลส�ำคัญแห่งวงการปี่พาทย์มอญบ้านเกาะเกร็ด เมืองนนทบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระยาพิไชยบุรินทรา เป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ซึ่งมีทั้งวงปี่พาทย์มอญและวงปี่พาทย์ ไทย อยู ่ ที่ บ ้ า นเกาะเกร็ ด อ� ำ เภอปากเกร็ ด จั ง หวั ด นนทบุ รี ชาวบ้ า นเรี ย กกั น ทั่ ว ไปว่ า วงปี ่ พ าทย์ พ ระยาพิ ไ ชย หรื อ ปี ่ พ าทย์ เ จ้ า คุ ณ พิ ไ ชย วงปี ่ พ าทย์ พ ระยาพิ ไ ชยเป็ น วงปี ่ พ าทย์ ม อญที่ มี ชื่ อ เสี ย งมากวงหนึ่ ง ในจั ง หวั ด นนทบุ รี พระยาพิ ไ ชยบุ ริ น ทราได้ น� ำ วงปี่พาทย์ไปร่วมประโคมสมโภชพระเจดีย์บรมบรรพต วัดสระเกศ ในพระราชพิ ธี บ รรจุ พ ระบรมสารี ริ ก ธาตุ พ ระเจดี ย ์ บ รมบรรพต วั ด สระเกศ เมื่ อ พ.ศ. ๒๔๒๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการประโคม ปี่พาทย์ วงปี่พาทย์พระยาพิไชยบุรินทราได้ร่วมประโคมในพระราชพิธีครั้งนี้ด้วย ดังปรากฏ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ นัมเบอร์ ๓๐๑ วันอาทิตย์ เดือน ๑๒ แรม ๑๒ ค�่ำ ปีฉลู นพศก ๑๒๓๙ แผ่นที่ ๓๘ หน้า ๓๖๖ ดังนี้


4

ปี่พาทย์มอญรำ�

“ณ วันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรมสิบสี่ค�่ำ ปีฉลูนพศก ศักราช ๑๒๓๙.....พระยาอภัย รณฤทธ สั่งให้ต�ำรวจรองงานปลูกพลับพลายกส�ำหรับจะได้ป ระทั บ ทรงทอดพระเนตร บรมบรรพต.....เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา หาละครพระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้า สิงหนาทราชดุรงคฤทธิ์มาเล่น.....พิณพาทย์เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธ�ำรงค์วง ๑ พิณพาทย์ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์วง ๑ พิณพาทย์พระยามหามนตรีศรีองครักษ์วง ๑ พิณพาทย์พระยา สีหราชรองเมืองวง ๑ พิณพาทย์พระยาพิไชยบุรินทราวง ๑ พิณพาทย์เจ้าหมื่นสรรเพชรภักดี วง ๑ รวม ๖ วง.....โปรดให้เจ้าพนักงานแจกเงินพิณพาทย์ของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธ�ำรงค์ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนโกษา พระยามหามนตรีศรีองครักษ์ พระยาอินทราธิบดีสีหราช รองเมือง พระยาพิไชยบุรินทรา เจ้าหมื่นสรรเพชรภักดี ทรงพระกรุณาพระราชทานเงินตรา พวกพิณพาทย์คนละสลึงทั่วทุกๆ คน.....”

ปี่พาทย์มอญ มอญร�ำบ้านปากเกร็ดครั้งแผ่นดินพระปิยมหาราช พระบาทสมเด็จ พระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดปากอ่าวที่ เกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๗ - ๒๔๒๗ พระราชทานนาม วัดปรมัยยิกาวาส แทนชื่อวัดปากอ่าว ในงานฉลองวัดปรมัยยิกาวาสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ นั้น โปรดเกล้าฯ ให้ปี่พาทย์มอญ และมอญร�ำบ้านเกาะเกร็ดของพระยาพิไชยบุรินทราได้มีโอกาสร่วมงานฉลองครั้งนี้ด้วย เพราะท่านเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ เป็นคนในพื้นที่ และเคยสนองรับใช้เบื้องพระยุคลบาท จั ด วงปี ่ พ าทย์ ใ นพระราชพิ ธี บ รรจุ พ ระบรมสารี ริ ก ธาตุ ที่ บ รมบรรพต วั ด สระเกศ เมื่ อ พ.ศ. ๒๔๒๐ มาแล้ว ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๗ - ๒๔๒๗ ที่วัดปรมัยยิกาวาสมีงานพระราชพิธี หลายครั้ง เช่น พระราชพิธีวางศิลาฤกษ์ พระราชพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถ พระราชทาน พระกฐิ น และพระราชพิ ธี ฉ ลองวั ด เป็ น ต้ น ปี ่ พ าทย์ ม อญของพระยาพิ ไ ชยบุ ริ น ทรา บ้านเกาะเกร็ด เคยท�ำหน้าที่ต้อนรับในฐานะเจ้าบ้าน แม้การจัดงานพระราชพิธีที่วัดสระเกศ ยังไปถวายการรับใช้ได้ ดังนัน้ เมือ่ โปรดเกล้าฯ จัดพระราชพิธที บี่ า้ นเกาะเกร็ด วงปีพ่ าทย์มอญ ของพระยาพิไชยบุรินทราจึงได้มีโอกาสถวายการรับใช้ในครั้งนี้ด้วย ในงานพระราชพิ ธี ถ วายพระเพลิ ง พระบรมศพพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ณ พระเมรุ ม าศท้ อ งสนามหลวง เมื่ อ พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็ จ พระ มงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว โปรดเกล้ า ฯ ให้ ว งปี ่ พ าทย์ ม อญจากอ� ำ เภอปากเกร็ ด จั ง หวั ด นนทบุ รี ไปประโคมในพระราชพิ ธี ถ วายพระเพลิ ง พระบรมศพครั้ ง นี้ ด ้ ว ย ดั ง ปรากฏ ในเอกสารรั ช กาลที่ ๖ ของกระทรวงนครบาล เล่ ม ๗ หมวดพระราชพิ ธี เ รื่ อ งขอเงิ น ค่าพิณพาทย์มอญในคราวงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ๒๔ เมษายน


ปี่พาทย์มอญรำ�

5

พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ของส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ น ๑๗๓ เลขที่ ๓๖ ดังนี้ ศาลาว่าการนครบาล วันที่ ๑๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๐ เรียนมายังพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร ปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง ด้วยเมืองประทุมธานี และเมืองนนทบุรี มีบอกมาว่า ตามหมายกระทรวงวังให้จัด พิณพาทย์มอญประโคมในงานพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ที่พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท และที่พระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวงนั้น ได้ทดรองเงินค่าพาหนะต่างๆ คือ “เมืองประทุมธานี สิ้นเงิน ๑๖๗ บาท ๘๔ สตางค์ เมืองนนทบุรี ๑๔๖ บาท รวม ๒ เมือง เป็นเงิน ๓๑๓ บาท ๘๔ สตางค์..... ส�ำหรับวงปี่พาทย์มอญจากเมืองนนทบุรีที่ได้ไปประโคมในพระราชพิธีครั้งนี้ เป็น พิณพาทย์มอญจากอ�ำเภอปากเกร็ด ดังปรากฏตามเอกสารของจังหวัดนนทบุรี ถึงเสนาบดี กระทรวงนครบาล ดังนี้ ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี แผนกมหาดไทย วันที่ ๑๖ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๑ นครบาลจังหวัดนนทบุรี กราบเรียน มหาอ�ำมาตย์เอกท่านเจ้าพระยายมราช ฯพณฯ เสนาบดีกระทรวงนครบาล ด้ ว ยตามใบบอกที่ ๑๖๓/๑๐๖๔ ลงวั น ที่ ๑๑ มิ ถุ น ายน พ.ศ. นี้ ขอได้ โ ปรด เรี ย กเงิ น ค่ า พิ ณ พาทย์ ๑๔๖ บาท จากหม่ อ มเจ้ า ขจรศุ ภ สวั ส ดิ์ เพื่ อ ได้ จ ่ า ยให้ แ ก่ พวกพิณพาทย์ บั ด นี้ น ายอ� ำ เภอปากเกร็ ด รายงานเตื อ นมาขอรั บ เงิ น รายนี้   จึ ง ได้ มี ใ บบอก กราบเรียนมา.....


6

ปี่พาทย์มอญรำ�

จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงว่าปี่พาทย์มอญจากอ�ำเภอปากเกร็ดได้ไปร่วม ประโคมในพระราชพิธีครั้งส�ำคัญ คือ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว นอกจากนั้ น ยั ง แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ปี ่ พ าทย์ ม อญที่ มี ชื่ อ เสี ย ง และมีอายุเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรีน่าจะเป็นวงปี่พาทย์มอญที่อ�ำเภอปากเกร็ด วงปี่พาทย์มอญบ้านปากเกร็ดที่มีชื่อเสียงและเป็นแหล่งรวมของนักดนตรีปี่พาทย์ มอญชั้นครูในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คงมีแต่วงปี่พาทย์มอญของพระยาพิไชยบุรินทราวงเดียวเท่านั้น จากค�ำบอกเล่าของครูดนตรีในวงปี่พาทย์มอญของพระยาพิไชยบุรินทรา ได้แก่ ครูทรัพย์ หะหวัง ครูแหยม รนขาว ครูบุญทิว ศิลปดุริยางค์ และครูเทียบ ศิริวรรณ ที่ได้เล่าถึง ประวั ติ พ ระยาพิ ไ ชยบุ ริ น ทรา และวงปี ่ พ าทย์ ม อญของพระยาพิ ไ ชยบุ ริ น ทรา ว่ า เป็ น วง ปี่พาทย์มอญที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นที่รวมของบรรดานักดนตรีปี่พาทย์มอญชั้นครูหลายคน เครื่องดนตรีมีทั้งวงปี่พาทย์มอญและวงปี่พาทย์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงปี่พาทย์มอญของ พระยาพิไชยบุรินทรานั้น ได้ไปบรรเลงในงานของเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ บ่ อ ยๆ เพราะท่ า นเป็ น ข้ า ราชการชั้ น ผู ้ ใ หญ่ มี เ จ้ า นายและขุ น นางชั้ น ผู ้ ใ หญ่ รู ้ จั ก มาก เมื่อมีงานพระบรมศพหรือพระศพ หรืองานพระเมรุท้องสนามหลวง วงปี่พาทย์มอญของ พระยาพิ ไ ชยบุ ริ น ทราต้ อ งไปบรรเลงประโคมในงานดั ง กล่ า ว และครั้ ง ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด คื อ การได้ ติ ด ตามนั ก ดนตรี ป ี ่ พ าทย์ ม อญรุ ่ น ผู ้ ใ หญ่ ที่ ไ ปบรรเลงปี ่ พ าทย์ ม อญประโคมใน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

พระยาพิไชยบุรินทราผู้มีคุณูปการต่อวงการดนตรีปี่พาทย์มอญ คฤหาสน์หลังใหญ่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยาที่เกาะเกร็ดของพระยาพิไชยบุรินทรา ทุกๆ วัน จะมีสรรพส�ำเนียงเสียงดนตรีที่บรรดาศิษย์พระยาพิไชยบุรินทราบรรเลง ทั้งในลักษณะของ การฝึกหัด การต่อเพลง และการซ้อมทบทวนเพลง บรรดาครูผู้ช�ำนาญการจะช่วยฝึกสอน แทนท่านเจ้าคุณพิไชยบุรินทรา เนื่องจากท่านต้องไปรับราชการที่พระนคร พระยาพิไชยบุรินทราหรือเจ้าคุณพิไชยที่ชาวบ้านเรียก เป็นคนมอญบ้านเกาะเกร็ด รับราชการเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย บ้านพักอยู่ชุมชนมอญบางล�ำภู ตรอกไก่แจ้ ใกล้วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร ชื่อของท่านคือ “นวม” เป็นต้นตระกูล “ไตลังคะ” สมรสกับคุณหญิงปริก บ้านเรือนของท่านทีบ่ า้ นเกาะเกร็ด นนทบุรี นอกจากเป็นสถานทีต่ งั้ วงปีพ่ าทย์มอญแล้ว ยังมีโรงงานเครือ่ งปัน้ ดินเผาเพือ่ ให้บรรดานักดนตรีปพ่ี าทย์ได้มกี จิ กรรม มีรายได้นอกเหนือจาก


ปี่พาทย์มอญรำ�

7

การแสดงดนตรี ปี่พ าทย์ ท่านต้อ งดูแ ลความเป็นอยู่ของศิษย์ที่มาฝึกเรียนปี่พาทย์และ พักกินนอนอยู่กับท่าน จึงต้องสร้างรายได้เสริมแก่ผู้คนในความดูแลด้วย เมื่อพระยาพิไชยบุรินทราถึงแก่อสัญกรรม ครูบุญทิว ศิลปดุริยางค์ และครูแหยม รนขาว ซึ่งเป็นศิษย์ของพระยาพิไชยบุรินทราได้ขอซื้อเครื่องดนตรีปี่พาทย์จากทายาทของ พระยาพิ ไ ชยบุ ริ น ทรา และได้ ไ ปตั้ ง วงปี ่ พ าทย์ ข องตนเอง นอกจากนั้ น บรรดาศิ ษ ย์ ข อง ท่านเจ้าคุณได้ไปตั้งวงปี่พาทย์มอญเพิ่มขึ้น ท�ำให้อ�ำเภอปากเกร็ดมีวงปี่พาทย์มอญมากถึง ๑๑ วง

พระยาพิไชยบุรินทราผู้ให้กำ� เนิดบรรดานักดนตรีปี่พาทย์มอญชั้นครู ในย่านนนทบุรี ปทุมธานี และพระประแดง วงปีพ่ าทย์มอญพระยาพิไชยบุรนิ ทรา เป็นแหล่งรวมของบรรดานักดนตรีปพ่ี าทย์มอญ ชั้นครูมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วงปี่พาทย์ของท่านตั้งอยู่ที่ บ้านเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นย่านชุมชนมอญแหล่งใหญ่และ เป็นชุมชนที่มีครูปี่พาทย์มอญที่เชี่ยวชาญอยู่หลายคน พระยาพิไชยบุรินทราได้รวบรวม นักดนตรีมอญชั้นครูเหล่านั้นมาอยู่ในวงปี่พาทย์มอญของท่าน และมีการถ่ายทอดความรู้ ความช�ำนาญการทางดนตรีปี่พาทย์มอญให้นักดนตรีปี่พาทย์มอญรุ่นต่อๆ มาอีกหลายรุ่น วงปี ่ พ าทย์ ม อญพระยาพิ ไ ชยบุ ริ น ทราจึ ง เป็ น เสมื อ นโรงเรี ย นสอนดนตรี ป ี ่ พ าทย์ ม อญ ท่านสร้างบ้านหลังใหญ่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยาที่หมู่ที่ ๗ ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี บ้านของท่านได้ใช้เป็นที่พักของนักดนตรีที่มาฝึกเรียนและมาจากหมู่บ้าน ที่อยู่ห่างไกล เช่น จากปทุมธานีและพระประแดง เป็นต้น นั ก ดนตรี ว งปี ่ พ าทย์ ม อญพระยาพิ ไ ชยบุ ริ น ทรารุ ่ น แรกๆ ที่ ท ราบชื่ อ และมี ฝ ี มื อ ช�ำนาญการชั้นครู ได้แก่ ครูสืบ หะหวัง และครูจ�ำปา กลิ่นชั้น มีดังนี้

ศิษย์ชั้นครูในวงปี่พาทย์มอญพระยาพิไชยบุรินทรารุ่นต่อๆ มา เท่าที่รวบรวมชื่อได้ - ครูทรัพย์ หะหวัง (บุตรชายครูสืบ หะหวัง) - ครูเย็น เต้ะอ้วน - ครูแหยม รนขาว - ครูบุญทิว ศิลปดุริยางค์ - ครูเยื้อน ธรรมิกานนท์ - ครูเทียบ ศิริวรรณ - ครูสุดใจ หะหวัง (บุตรชายครูสืบ หะหวัง และเป็นน้องครูทรัพย์ หะหวัง) - ครูถม ปี่เพราะ - ครูยี่สุ่น นมศาสตร์ - ครูแนม โห้เฉื่อย - ครูสมบัติ จิตบรรเทา


8

ปี่พาทย์มอญรำ�

ครูบุญทิว ศิลปดุริยางค์

ครูทรัพย์ หะหวัง ถ่ายเมื่อ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๒

- ครูวงค์ เอี่ยมแทน - ครูเนื่อง มีน้อย - ครูโหน่ง มีผูก - ครูแปลก คงปิ่น - หลวงปู่ต่วน - ครูทรวง (ไม่ทราบนามสกุล) - ครูข�ำ (ไม่ทราบนามสกุล)

ศิษย์พระยาพิไชยบุรินทรา ขยายแหล่งปี่พาทย์มอญสู่ใจกลางนครหลวง ในช่วงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชกาลพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นช่วงเวลา ที่ นิ ย มน� ำ ปีพ่ าทย์ ม อญไปบรรเลงในงานศพกั น มาก โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง งานพระศพ พระบรมวงศานุวงศ์ ศพขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์และผู้มีฐานะที่จัดงานศพที่กรุงเทพฯ ธนบุรี และจังหวัดใกล้เคียง เช่น นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เป็นต้น งานศพบุคคลส�ำคัญ ดังกล่าวมักนิยมให้มีปี่พาทย์มอญ ดังนั้น วงปี่พาทย์ไทยที่มีชื่อทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัด ใกล้เคียงต่างสร้างเครื่องปี่พาทย์มอญเพื่อใช้บรรเลงในงานศพ วงปี่พาทย์ไทยที่มีเครื่องปี่พาทย์มอญจึงต้องเรียนเพลงมอญจากนักดนตรีมอญใน วงปี่พาทย์มอญด้วย เพราะนักดนตรีในวงปี่พาทย์ไทยที่มีเครื่องปี่พาทย์มอญนั้นยังไม่มี ความช�ำนาญในการบรรเลงเพลงมอญ จึงยังคงต้องใช้วงปีพ่ าทย์มอญของคนมอญมาบรรเลง เช่น งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่ อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ต้ อ งใช้ ว งปี ่ พ าทย์ ม อญจากอ� ำ เภอปากเกร็ ด จั ง หวั ด นนทบุ รี และ จากจังหวัดปทุมธานีบรรเลงประโคมในงานพระราชพิธีครั้งนี้


ปี่พาทย์มอญรำ�

9

วงปี่พาทย์ของครูศุข ดุริยประณีต หรือวงปี่พาทย์บ้านบางล�ำภู เป็นวงปี่พาทย์ไทย ที่ มี ชื่ อ เสี ย งมากวงหนึ่ ง และเป็ น วงปี ่ พ าทย์ ไ ทยที่ ไ ด้ ส ร้ า งเครื่ อ งปี ่ พ าทย์ ม อญ ครู ศุ ข ดุริยประณีต มีความเคารพนับถือพระยาพิไชยบุรินทรา และมีบ้านอยู่บางล�ำภูถิ่นเดียวกันกับ บ้านพักพระยาพิไชยบุรินทรา ทั้งสองท่านมีบ้านอยู่คนละฝั่งคลองบางล�ำภูใกล้ปากคลอง ความสั ม พั น ธ์ ข องวงปี ่ พ าทย์ ทั้ ง สองคณะนี้ จึ ง มี อ ยู ่ ม าก การแลกเปลี่ ยนวิ ช าเพลงซึ่ ง กั น และกั น จึ ง เกิ ด ขึ้ น นั ก ดนตรี จ ากวงปี ่ พ าทย์ ดุ ริ ย ประณี ต ได้ ไ ปเรี ย นเพลงมอญจาก วงปี่พาทย์มอญพระยาพิไชยบุรินทรา ในขณะเดียวกันนักดนตรีมอญจากวงปี่พาทย์มอญ พระยาพิไชยบุรินทรา ได้มาเรียนเพลงไทยจากนักดนตรีไทยในวงปี่พาทย์ดุริยประณีต ครูจ�ำปา กลิ่นชั้น และครูสืบ หะหวัง ครูดนตรีอาวุโสของวงปี่พาทย์มอญพระยา พิไชยบุรินทรา ครูทั้งสองคนสามารถเล่นดนตรีในวงปี่พาทย์มอญได้ดีทุกชิ้น และสามารถ บรรเลงเพลงมอญได้ ม าก ได้ ร ่ ว มกั น กั บ ครู ด นตรี ป ี ่ พ าทย์ ม อญคนอื่ น ๆ ได้ ถ ่ า ยทอด เพลงมอญให้แก่นักดนตรีปี่พาทย์วงดุริยประณีตไว้จ�ำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเพลงประโคม เพลงประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตลอดจนเพลงมอญร�ำ เพลงประกอบพิธีร�ำเจ้า พิธีร�ำสามถาด และพิ ธีร� ำ ผี รวมทั้ง เพลงอื่นๆ ที่บรรเลงเพื่อ ความรื่นรมย์ ครูจ�ำปา กลิ่นชั้น และครูสืบ หะหวัง นับว่าเป็นครูอาวุโสที่สุดในวงปี่พาทย์มอญพระยาพิไชยบุรินทรา และมีวัยสูงกว่า ครูศุข ดุริยประณีต ครู บุ ญ ทิ ว   ศิ ล ปดุ ริ ย างค์   ครู ป ี ่ พ าทย์ ม อญผู ้ เ ชี่ ย วชาญเพลงมอญ  ศิ ษ ย์ พ ระยา พิไชยบุรินทราและศิษย์ครูจ�ำปา ครูสืบ และมีอายุน้อยกว่าครูศุข ดุริยประณีต ครูบุญทิว มีความช�ำนาญเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งฆ้องมอญ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ตะโพนมอญ และสามารถน�ำขวดแก้วที่ใส่น�้ำไว้ในขวดหลายใบมาแขวนเป็นราว เคาะที่ขวดให้มีเสียง เมื่อเทียบกับเสียงระนาดเอกแล้วสามารถบรรเลงเป็นเพลงเช่นเดียวกับ การบรรเลงด้วยระนาดได้ นอกจากนั้นครูบุญทิวยังมีความสามารถในการอ่านและบันทึก เขี ย นโน้ ต สากลได้ ครู บุ ญ ทิ ว จึ ง ได้ บั น ทึ ก เพลงมอญด้ ว ยโน้ ต สากลไว้ จ� ำ นวนหนึ่ ง และ แต่งเพลงมอญขึ้นใหม่บางเพลงด้วย ครู บุ ญ ทิ ว ศิ ล ปดุ ริ ย างค์ เป็ น ครู ป ี ่ พ าทย์ ม อญวงพระยาพิ ไ ชยบุ ริ น ทราที่ มี ค วาม สั ม พั น ธ์ กั บ นั ก ดนตรี ป ี ่ พ าทย์ ว งบ้ า นบางล� ำ ภู ม าตั้ ง แต่ พ ระยาพิ ไ ชยบุ ริ น ทรายั ง มี ชี วิ ต เมื่อพระยาพิไชยบุรินทราถึงแก่อสัญกรรม ครูบุญทิวได้ซื้อเครื่องปี่พาทย์มอญจากทายาท ของพระยาพิ ไ ชยบุ ริ น ทรา มาตั้ ง วงปี ่ พ าทย์ ม อญของตนเองชื่ อ วงปี ่ พ าทย์ ศิ ล ปดุ ริ ย างค์ เมื่อครูจ�ำปาและครูสืบได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ครูบุญทิวจึงเป็นครูถ่ายทอดเพลงมอญ ให้วงปี่พาทย์ดุริยประณีตสืบต่อจากครูรุ่นอาวุโสที่ล่วงลับไปแล้ว


10

ปี่พาทย์มอญรำ�

ครูบุญทิว ศิลปดุริยางค์ จึงเป็นครูปี่พาทย์มอญที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นับถือ ของนักดนตรีปี่พาทย์วงดุริยประณีต รวมถึงวงปี่พาทย์ดุริยพันธ์ของครูเหนี่ยว ดุริยพันธ์ และคณะลิ เ กมี ชื่ อ ระดั บ ประเทศของครู ฉ ลาด เค้ า มู ล คดี บรรดาทายาทของครู ศุ ข ดุริยประณีตจะให้ความเคารพนับถือครูบุญทิว ศิลปดุริยางค์มาก และเรียกครูบุญทิวว่า “อาทิว” เป็นการนับญาติกันนอกเหนือจากความเป็นครูและศิษย์ วงปี่พาทย์ดุริยประณีตได้รับการถ่ายทอดเพลงมอญไว้มาก รวมทั้งมอญร�ำจากครู ปี่พาทย์มอญและครูมอญร�ำบ้านปากเกร็ด ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ศิลปินแห่งชาติ (ไพโรจน์ บุญผูก, ๒๕๓๘, น.๑๘๐) กล่าวว่า “นักดนตรีรุ่นก่อนสมัยพ่อแม่นั้นเขารู้จักกันหมด แต่บ้านเราเป็นบ้านที่ขวนขวายใฝ่หา ความรู้ก็เลยไปที่ปากเกร็ด เรียนเพลงกับครูปี่พาทย์มอญหลายคน ที่โน่นได้เพลงมาเยอะ จนกระทั่งพี่ชายของครูเอง (นายชื้น ดุริยประณีต) ก็ไปแต่งกับคนมอญที่ปากเกร็ดเป็น ช่างฟ้อนมอญร�ำด้วย ชื่อมณเฑียร ตอนหลังพี่มณเฑียรยังพาครูมอญร�ำชื่อยายปริก ร่างเล็กๆ ผิวคล�้ำ มาช่วยสอนมอญร�ำให้แก่ลูกหลานบ้านดุริยประณีต ครูเองก็ร�ำได้ พวกเราร�ำได้กัน ทุกคนจนกล่าวได้ว่าทั้งปี่พาทย์มอญและมอญร�ำบ้านดุริยประณีตได้รับการถ่ายทอดไว้ พอสมควร” การรับถ่ายทอดเพลงมอญของวงปี่พาทย์ดุริยประณีตจากครูปี่พาทย์มอญปากเกร็ด เป็ น การรั บ ถ่ า ยทอดเพื่ อ การอนุ รั ก ษ์ เ พลงมอญให้ ถู ก ต้ อ งตามทางของเพลงมอญที่ เ ป็ น แบบฉบั บ ของปี ่ พ าทย์ ม อญจริ ง ๆ นั ก ดนตรี ป ี ่ พ าทย์ ว งดุ ริ ย ประณี ต ที่ ไ ด้ รั บ การถ่ า ยทอด เพลงมอญและจดจ� ำ เพลงมอญได้ ม ากที่ ค วรกล่ า วถึ ง   ได้ แ ก่   ม.ล.สุ รั ก ษ์ สวั ส ดิ กุ ล เพลงมอญจากวงปี่พาทย์มอญทั้งที่ปากเกร็ด ปทุมธานี และพระประแดง ได้รับการถ่ายทอด รวบรวมไว้ในความทรงจ�ำของนักดนตรีปี่พาทย์ผู้นี้ไว้มาก

ศิษย์พระยาพิไชยบุรินทราต่างพากันตั้งวงปี่พาทย์มอญ เมื่ อ พระยาพิ ไ ชยบุ ริ น ทราถึ ง แก่ อ สั ญ กรรม ทายาทของท่ า นไม่ ไ ด้ รั บ ช่ ว งการ ด�ำเนินการวงปี่พาทย์ เครื่องปี่พาทย์มอญส่วนหนึ่งได้บริจาคให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ส่วนที่เหลือบรรดาศิษย์ของท่านได้ขอซื้อและไปตั้งวงปี่พาทย์มอญขึ้น ดังนี้ ๑. วงปี่พาทย์มอญศิลปดุริยางค์ของครูบุญทิว ศิลปดุริยางค์ ๒. วงปี่พาทย์มอญครูแหยม รนขาว ๓. วงปี่พาทย์มอญครูแปลก คงปิ่น


ปี่พาทย์มอญรำ�

11

๔. วงปี่พาทย์มอญครูแนม โห้เฉื่อย ๕. วงปี่พาทย์มอญครูสุดใจ หะหวัง ๖. วงปี่พาทย์มอญครูยี่สุ่น นมศาสตร์ ๗. วงปี่พาทย์มอญครูถม ปี่เพราะ

ปี่พาทย์มอญ เกาะเกร็ด บรรเลงในงานศพหลวงปู่แถม ชื่นพันธ์ุ วัดปรมัยยิกาวาส เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๕)

เพลงมอญมีความไพเราะจับใจ ท�ำให้เกิดวงมโหรีของพระทวีธนาการที่บ้านเกาะเกร็ด ในช่วงเวลาที่วงปี่พาทย์ม อญพระยาพิไ ชยบุรินทราก�ำ ลังมีชื่อเสียง มีส�ำนักอยู่ที่ บ้านอ้อมเกร็ด หมู่ที่ ๗ ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ทางด้านลัดเกร็ด เกาะเกร็ ด ได้ เ กิ ด วงมโหรี เ ครื่ อ งสายของพระทวี ธ นาการ นั ก ดนตรี ใ นวงมโหรี ว งนี้ เป็นคนไทยเชื้อสายมอญที่อยู่ในหมู่ที่ ๑ ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระทวีธนาการ เดิมชื่อทองสุก ต้นสกุล กลันตรานนท์ ด�ำรงต�ำแหน่งข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงการคลัง) วงมโหรี ของพระทวีธนาการชาวบ้านจะเรียกว่า วงมโหรีคุณพระทวี


12

ปี่พาทย์มอญรำ�

ในยุคที่มีวงปี่พาทย์มอญพระยาพิไชยบุรินทราและวงมโหรีพระทวีธนาการ นักดนตรี ในชุมชนเกาะเกร็ดแบ่งประเภทได้อย่างชัดเจนตามสภาพของการตั้งบ้านเรือนของนักดนตรี นั้นว่า ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้วงปี่พาทย์หรือใกล้วงมโหรี กล่าวคือนักดนตรีในหมู่ที่ ๑ ต�ำบล เกาะเกร็ดทุกคนเล่นเครื่องสายในวงมโหรีของพระทวีธนากร ส่วนนักดนตรีในหมู่ที่ ๖ และ หมู่ที่ ๗ ต�ำบลเกาะเกร็ดทุกคน เล่นดนตรีในวงปี่พาทย์พระยาพิไชยบุรินทรา

ศิษย์วงมโหรีคุณพระทวี รวมกลุ่มเพลงเจ้าขาว คณะละครร้อง พัฒนามาเป็นคณะร�ำวงดาวส�ำราญ

ละครร้อง “คณะเหรียญทองบรรเทิง” เป็นชาวเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

บรรดานักดนตรีและนักขับร้องในวงมโหรีของพระทวีธนาการ ซึ่งมีทั้งชายและหญิง ได้รวมกันเป็นกลุ่มเพลงเจ้าขาว กิจกรรมของกลุ่มคือการรวมกันขับร้องเพลงเจ้าขาว พายเรือ บอกบุญทอดกฐินทอดผ้าป่าตามประเพณีของมอญปากเกร็ด คณะศิษย์ของพระทวีธนาการที่มีทักษะในการขับร้องและบรรเลงดนตรี ได้พัฒนา กิจกรรมในกลุ่มของตน นอกจากคณะเพลงเจ้าขาวแล้ว ในเวลาต่อมาได้รวมตัวกันจัดตั้ง คณะละครร้องที่ชื่อ คณะเหรียญทองบรรเทิง ในช่วงเวลาสงครามโลกครั้งที่สอง คณะศิษย์ พระทวีธนาการได้รวมกันจัดตั้งคณะร�ำวงในชื่อ คณะดาวส�ำราญ


ปี่พาทย์มอญรำ�

13

วงมโหรีเครื่องสายวงบางบัวทองแหล่งรวมพลคนรักดนตรี มีเพลงมอญมาก คุณประสาท สุขุม บุตรเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ได้จัดตั้งวงมโหรีเครื่องสาย วงบางบัวทอง อยู่ที่โรงเรียนบางบัวทอง ปากคลองบางบัวทอง อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัด นนทบุ รี วงบางบั ว ทองเป็ น แหล่ ง รวมนั ก ดนตรี นั ก ขั บ ร้ อ งชั้ น ครู ห ลายท่ า น อาทิ ครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และ เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ ครูดนตรี ขั บ ร้ อ งจากล้ า นนามาอยู ่ ใ นวงบางบั ว ทองด้ ว ย วงบางบั ว ทองเป็ น แหล่ ง รวมเพลงไทย ส�ำเนียงมอญ ซึ่งเป็นผลงานของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ไว้มาก และ อยู ่ ใ นย่ า นเดี ย วกั บ วงปี ่ พ าทย์ ม อญพระยาพิ ไ ชยบุ ริ น ทรา และวงมโหรี พ ระทวี ธ นาการ วงปี่พาทย์และวงมโหรีดังกล่าวทั้งสามคณะจึงมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเป็น อย่างดี

วงดนตรีบางบัวทองถ่ายร่วมกับขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์ุ) ที่มา: อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๑ กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน). น.๑๓๔


14

ปี่พาทย์มอญรำ�

วงปี่พาทย์มอญในจังหวัดนนทบุรี จังหวัดนนทบุรีมีวงปี่พาทย์มอญกระจายอยู่ในชุมชนต่างๆ ทั้งในชุมชนไทยและ ชุมชนมอญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอ�ำเภอปากเกร็ดซึ่งมีชุมชนมอญมาก จึงมีวงปี่พาทย์มอญ มากกว่าอ�ำเภออื่นๆ ในจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และปัจจุบันมีบางวงเลิกไปแล้ว ส่วนวงปี่พาทย์มอญ ในอ�ำเภอปากเกร็ดที่ยังด�ำเนินการอยู่ เช่น วงครูแนม โห้เฉื่อย วงครูแหยม รนขาว (ปัจจุบันเป็นวงครูสมจิตร รนขาว) วงผู้ใหญ่อรัญ รนขาว บุตรครูแหยม รนขาว วงครูแปลก คงปิ่น วงสุดใจศิลป์ ของครูสุดใจ หะหวัง วงเจิมศิลป์ บ้านกรอบทอง วงครูจำ� นงค์ ยังประภา วงครูนติ ย์ วงวัดอินทาราม วงโรงเรียนโพธินมิ ติ พิทยาคม วงโรงเรียน สวนกุหลาบนนทบุรี วงโรงเรียนปากเกร็ด (ทายาทของครูบุญทิว ศิลปดุริยางค์ ได้บริจาค เครื่องปี่พาทย์มอญของครูบุญทิว ศิลปดุริยางค์ ให้แก่โรงเรียนปากเกร็ด) วงสถานสงเคราะห์ บ้านปากเกร็ด เป็นต้น วงปี ่ พ าทย์ ม อญในอ� ำ เภออื่ น ๆ จั ง หวั ด นนทบุ รี นอกจากอ� ำ เภอปากเกร็ ด เช่ น วงครูเฉลิม บัวทัง่ ศิลปินแห่งชาติ อย่ใู นอ�ำเภอเมือง วงครูสกล แก้วเพ็ญกาศ อ�ำเภอบางใหญ่ วงครูทะเม็น นุชน้อย วงโชคสิทธิชัยศิลป์ อ�ำเภอบางกรวย วงครูแถม อ�ำเภอบางบัวทอง วงครูสุบิน สิงหรา ณ อยุธยา อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น

วงปี่พาทย์มอญ คณะสมจิตร รนขาว แสดงที่วัดไผ่ล้อม ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๕๐)


ปี่พาทย์มอญรำ�

15

วงปี่พาทย์มอญ คณะสุดใจศิลป์ ต�ำบลบางตะไนย์ อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี แสดงในงานสัมมนาวิชาการ “พระอาจารย์อะเฟาะ เทพกวีศรีชาวมอญ” จัดโดยศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ สปาฟา) วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์


แผ่นดินสุวรรณภูมิตั้งแต่ครั้งพุทธกาล


๑ บทน�ำ ชนชาติ ม อญมี ค วามเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งมาแต่ ต ้ น พุ ท ธกาล กลุ ่ ม คนมอญได้ ก ระจาย ตั้งเป็นนครรัฐครอบคลุมพื้นที่แผ่นดินสุวรรณภูมิมาตั้งแต่ต้นพุทธกาล มีเมืองสุธรรมวดี หรื อ เมื อ งสะเทิ ม เป็ น อาณาจั ก รมอญที่ รุ ่ ง เรื อ งมาก ตั้ ง อยู ่ ท างทิ ศ เหนื อ อ่ า วเบงกอล ต่อเนื่องมาบริเวณปากน�้ำแม่น�้ำอิรวดี วัฒนธรรมมอญจากสะเทิมได้แผ่ขยายไปตามแนว อ่าวมะตะบันไปในบริเวณลุ่มน�้ำสาละวิน ลุ่มน�้ำสะโตง ต่อเนื่องอ่าวเมาะตะมะไปทางใต้ ที่ทวาย ตะนาวศรีและมะริด ส่วนทางด้านตะวันออกของเมืองสุธรรมวดีหรือเมืองสะเทิม มีอาณาจักรทวารวดีที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมมอญมาตั้งแต่ต้นพุทธกาลเช่นกัน วัฒนธรรมมอญทวารวดีและสุธรรมวดีมีความเจริญสูงสุดในช่วงตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ ๑๑ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ตามหลักฐานบันทึกของพระภิกษุอี้จึงและพระภิกษุเฮียนจ๊ง เมื่อ พ.ศ. ๑๑๕๐ ว่า มีอาณาจักรใหญ่แห่งหนึ่ง คือ โถโลโปตี (To-Lo-Po-Ti) ตั้งอยู่ระหว่าง เมืองศรีเกษตรและมืองอิสานปุระ ชื่อเมืองโถโลโปตี ที่กล่าวถึงนี้คือชื่อของทวารวดี ซึ่งเป็น อาณาจักรมอญโบราณด้านตะวันออกของสุวรรณภูมิ อาณาจักรทวารวดีมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอู่ทอง และเมืองนครชัยศรี (นครปฐม) มีนครรัฐกระจายอยู่ตามลุ่มแม่น�้ำท่าจีน - แม่กลอง ทางด้านลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ป่าสัก - ลพบุรี มีเมืองลพบุรีหรือเมืองละโว้หรือลวะปุระเป็นเมืองส�ำคัญ ในบริเวณภาคเหนือ ในพื้นที่ล�ำน�้ำปิง มีเมืองหริภุญชัย ล�ำพูน เป็นเมืองส�ำคัญของอาณาจักรมอญในยุคนั้น อาณาจักรมอญทวารวดีและสุธรรมวดีของมอญ เป็นอาณาจักรแรกที่ได้รับวัฒนธรรม อิ น เดี ย เข้ า มาตั้ ง แต่ ก ่ อ นพุ ท ธกาล เมื่ อ พระพุ ท ธศาสนาได้ เ ผยแพร่ สู ่ ดิ น แดนสุ ว รรณภู มิ มอญเป็นชาติแรกในสุวรรณภูมิที่นับถือพระพุทธศาสนาและได้รับอารยธรรมของอินเดีย ดังนั้นศิลปวัฒนธรรมและแบบแผนการปกครองของอินเดียจึงเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรมอญ ก่ อ นที่ จ ะถ่ า ยทอดให้ แ ก่ ช นชาติ อื่ น ๆ ในเอเชี ย อาคเนย์ คื อ ไทย พม่ า ลาว กั ม พู ช า ศาสตราจารย์ ย อร์ ช เซเดย์ นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ช าวฝรั่ ง เศสได้ ก ล่ า วยื น ยั น ในเรื่ อ งนี้ ว ่ า


18

ปี่พาทย์มอญรำ�

“มอญคือประตูผ่านของวัฒนธรรมต่างๆ สู่เอเชีย” ดร. ปันละ นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง ของมอญได้กล่าวว่า “มอญคือผู้ส่งต่อศิลปวัฒนธรรมอินเดียสู่ชาติต่างๆ ในแผ่นดิน สุวรรณภูมิ” อาณาจั ก รทวารวดี แ ละอาณาจั ก รสุ ธ รรมวดี ไ ด้ รั บ อิ ท ธิ พ ลของพุ ท ธศาสนา และ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมตลอดจนแบบแผนการปกครองบ้ า นเมื อ งจากอิ น เดี ย ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ท�ำให้เกิดเป็นอารยธรรมทวารวดีและสุธรรมวดีที่มีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นด้านพระพุทธศาสนา ภาษา อักษรศาสตร์ วรรณกรรมและการดนตรี ต่อมาได้แผ่อิทธิพลความเจริญไปสู่ภูมิภาค ต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วั ฒ นธรรมมอญ ทวารวดี แ ละสุ ธ รรมวดี ห รื อ สะเทิ ม ที่ มี ค วามเจริ ญ อยู ่ ใ นดิ น แดน สุวรรณภูมิ ได้ประสบกับภัยสงคราม เมื่อกองทัพพม่าเมืองพุกามได้ยกกองทัพมายึดเมือง สุธรรมวดี และการล่มสลายของอาณาจักรทวารวดี เมื่อ พ.ศ. ๑๖๐๐ หลังจากนั้นชาวมอญ พยายามต่อสู้กอบกู้เอกราชได้เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๐ มีพระเจ้าฟ้ารั่วหรือมะกะโทได้เป็นกษัตริย์ ครอบครองเมืองเมาะตะมะ ต่อมาได้ตงั้ เมืองหงสาวดีเป็นราชธานีของมอญ มีพระมหากษัตริย์ มอญที่ทรงพระปรีชาสามารถหลายพระองค์ทรงครองกรุงหงสาวดี เช่น พระเจ้าราชาธิราช พระเจ้าธรรมเจดีย์มหาปิฎกธร เป็นต้น พระเจ้าราชาธิราชทรงรวบรวมเมืองมอญต่างๆ ที่เป็น นครรัฐรวมเข้าเป็นราชอาณาจักรเดียวกันเป็นครั้งแรก พ.ศ. ๒๐๘๒ พม่ า ได้ เ ข้ า ท� ำ ลายเมื อ งหงสาวดี แ ละยึ ด เมื อ งมอญไว้ ใ นอ� ำ นาจ ย้ายเมืองหลวงของพม่ามาอยู่ที่กรุงหงสาวดี พ.ศ. ๒๒๘๓ มอญสามารถกอบกู้เอกราชจากพม่าได้ สถาปนากรุงหงสาวดีเป็น ราชธานี ข องมอญ แต่ จ ากนั้ น อี ก ๑๗ ปี พม่ า ได้ เ ข้ า ยึ ด กรุ ง หงสาวดี แ ละฆ่ า คนมอญ จ�ำนวนมาก รวมทั้งท�ำลายเผาผลาญบ้านเมืองมอญเสียจนหมดสิ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ จากประวัติศาสตร์ของชนชาติมอญที่ต้องเผชิญกับภัยสงครามมาอย่างยาวนาน หลายร้อยปี ท�ำให้มีชาวมอญจ�ำนวนมากหนีภัยสงครามหนีการกดขี่ข่มเหงของพม่าเข้ามา พึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย การอพยพครั้งส�ำคัญ มีดังนี้ สมัยอยุธยา จ�ำนวน ๖ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๑๒๗ ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระยาเกียรติ และพระยาราม น�ำคนมอญ ๑๐,๐๐๐ คนเศษ ตามมาพร้อมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๑๓๖ และครั้งที่ ๓  พ.ศ. ๒๑๓๘ ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๒๐๓ ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


ปี่พาทย์มอญรำ�

19

ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๒๙๘ - ๒๒๙๙ และครั้งที่ ๖  พ.ศ. ๒๓๐๑ ในสมัยรัชกาลสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยธนบุรี จ�ำนวน ๑ ครั้ง คือ พ.ศ. ๒๓๑๗ ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมัยรัตนโกสินทร์ จ�ำนวน ๒ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๕๘ ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๖๗ ในสมั ย รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรี่ยะ) ชักชวนให้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เนื่องจากมอญต้องเผชิญกับศึกสงครามอย่างหนักหนาสาหัสมาเป็นเวลายาวนาน ดั ง กล่ า วมาข้ า งต้ น ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งของมอญที่ มี ม าแต่ ก าลก่ อ นอั น ยาวนานมานั้ น ต้องประสบกับความวิบัติ เมื่อราชอาณาจักรมอญล่มสลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปกครอง การพระศาสนา ภาษาและอักษรศาสตร์ หนังสือวรรณกรรมต่างๆ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม ด้านดนตรี นาฏศิลป์ การร้องร�ำท�ำเพลงต่างๆ มีผลกระทบจากสงครามความไม่สงบของ บ้ า นเมื อ งด้ ว ย การที่ มี ค นมอญจ� ำ นวนมากได้ ห ลบหนี ภั ย สงครามเข้ า มาพึ่ ง พระบรม โพธิสมภารในพระราชอาณาจักรไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี ต่อเนื่องกันมาจนถึง สมัยรัตนโกสินทร์ดังกล่าว จึงปรากฏว่ามีคนมอญจ�ำนวนมากกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ต่อเนื่องลงมาที่ภาคกลางจนถึงภาคใต้ และทางด้าน ตะวันตกของประเทศไทยที่มีเขตแดนติดต่อกับพม่า

ศิลปวัฒนธรรมมอญที่คนมอญน�ำติดตัวมาได้ แม้ต้องหนีภัยมาอยู่ในราชอาณาจักรสยาม “มนุษย์เป็นผูส้ ร้างวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นสิง่ ทีม่ นุษย์รบั รู้ มนุษย์เคลือ่ นย้ายไป ณ ที่ใดก็ตาม วัฒนธรรมของมนุษย์ผู้นั้นหรือกลุ่มมนุษย์นั้นย่อมน�ำติดตัวไปด้วย” (ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์, ๒๕๕๒, น.๒๕) เรื่องของการร้องร�ำท�ำเพลง นาฏดุริยางค์ การละเล่น ต่างๆ ของมอญซึ่งเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของคนมอญย่อมอยู่ในครรลองของทฤษฎี มานุ ษ ยวั ฒ นธรรมสั ม พั น ธ์ ดั ง กล่ า วมาข้ า งต้ น นี้ เ ช่ น กั น กล่ า วคื อ ดนตรี การร้ อ งร� ำ ท� ำ เพลง การละเล่ น ต่ า งๆ ของมอญจึ ง อยู ่ คู ่ กั บ ชาวมอญ ไม่ ว ่ า คนมอญจะเคลื่ อ นย้ า ย ไปอยู่ที่ใด หรือด้วยเหตุผลความจ�ำเป็นประการใด แม้ในภาวะสงครามที่บ้านเมืองของมอญ ถู ก พม่ า ข้ า ศึ ก บุ ก เข้ า ยึ ด บ้ า นเมื อ ง คนมอญจ� ำ นวนมากต้ อ งหลบภั ย มาอยู ่ ใ นพระราช


20

ปี่พาทย์มอญรำ�

อาณาจั ก รไทย คนมอญเหล่ า นั้ น ได้ น� ำ ดนตรี การร้ อ งร� ำ ท� ำ เพลง และศิ ล ปวั ฒ นธรรม ด้านอืน่ ๆ เช่น ภาษา ศาสนา ความเชือ่ ประเพณีพธิ กี รรมต่างๆ เข้ามาด้วย แม้มอญต้องเสียเอกราช เสียดินแดนให้แก่พม่าตั้งแต่เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๖ แต่ ศิลปวัฒนธรรมของมอญกลับได้รับการยอมรับในราชส�ำนักพม่าในขณะนั้น อีกทั้งคนมอญ ยังคงรักษาศิลปวัฒนธรรมของตนไว้ได้อย่างเหนียวแน่นสืบต่อเนื่องมา ถึงแม้มอญจะได้ ตั้งตัวเป็นเอกราชในเวลาต่อมาในช่วงเวลาสั้นๆ และพระมหากษัตริย์มอญในช่วงเวลา ดังกล่าวได้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมมอญให้เจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาไม่นานเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี แต่มอญต้องประสบกับความวิบัติ ต้องเสียเมืองให้แก่พม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน การอพยพเข้ า มาพึ่ ง พระบรมโพธิ ส มภารในพระราชอาณาจั ก รไทยแต่ ล ะครั้ ง มีคนมอญที่เป็นชนชั้นสูง พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ตลอดจนนักดนตรี นักฟ้อนร�ำเข้ามา อยู่ในพระราชอาณาจักรไทย พร้อมทั้งน�ำเครื่องดนตรีมอญติดตัวเข้ามาด้วย โดยเฉพาะ อย่างยิง่ การอพยพของคนมอญเข้ามาพึง่ พระบรมโพธิสมภารในสมัยธนบุรแี ละต้นรัตนโกสินทร์ สมเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราช พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย และ พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว โปรดเกล้ า ฯ ให้ บ รรดาคนมอญที่ อ พยพมานั้ น ได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่บ้านปากเกร็ด เมืองนนทบุรี เมืองปทุมธานี และเมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) คนมอญที่อพยพมาอยู่ที่บ้านปากเกร็ด เมืองนนทบุรีและที่เมืองปทุมธานีในช่วง เวลาดั ง กล่ า วข้ า งต้ น นั้ น มี นั ก ดนตรี ม อญและนั ก ขั บ ร้ อ งฟ้ อ นร� ำ ของมอญอพยพมาอยู ่ ที่บ้านปากเกร็ด เมืองนนทบุรี และที่บ้านบางปรอก บ้านบางโพธิ์เหนือ เมืองปทุมธานี ในเวลาต่อมาได้เกิดแหล่งดนตรีมอญที่มีชื่อเสียงที่พระประแดง สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงครามด้วย ดังนั้นในจังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และพระประแดง จังหวัด สมุทรปราการจึงเป็นแหล่งรวมปรมาจารย์ทางดนตรีมอญและทางขับร้องฟ้อนร�ำของมอญ ที่มีชื่อเสียงสืบต่อมาตั้งแต่สมัยธนบุรีจนถึงปัจจุบันนี้

ดนตรีมอญ ศิลปวัฒนธรรมมอญมรดกของชนชาติ ที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของบรรพชนมอญ ในบรรดาศิลปวัฒนธรรมมอญที่มีอยู่มากมาย ที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของชนชาติมอญ และเป็นสิ่งชี้วัดความเจริญ ความมีอารยธรรมชั้นสูงและมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ของชนชาติมอญอย่างหนึ่ง คือ ศิลปวัฒนธรรมด้านการดนตรี นาฏศิลป์และการขับร้อง หรือการร้องร�ำท�ำเพลงของมอญอันเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนชาติมอญที่มีคุณค่า


ปี่พาทย์มอญรำ�

21

ศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรี นาฏศิลป์และการขับร้องของมอญ มี ๔ ประเภท คือ ๑. การดนตรี ๒. การฟ้อนร�ำ ๓. การขับร้อง ๔. การแสดงมหรสพ ศิลปวัฒนธรรมด้านการแสดงของมอญทั้ง ๔ ประเภทดังกล่าวเป็นงานสร้างสรรค์ ที่มีคุณค่าของบรรพชนมอญ เป็นศิลปะที่แสดงถึงความคิด ค่านิยม ความรู้สึกและสุนทรีย์ ทางอารมณ์ อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น การแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง อั ต ลั ก ษณ์ ข องสั ง คมและวั ฒ นธรรมของ ชนชาติมอญ อันกล่าวได้ว่าเป็นอัตลักษณ์รามัญหรือความเป็นมอญอย่างแท้จริง นอกจาก เรื่องของภาษาและศิลปวัฒนธรรมด้านอื่นๆ ของมอญ ศิลปวัฒนธรรมทางด้านการดนตรีของมอญที่ส�ำคัญ ได้แก่ ปี่พาทย์มอญ เครื่องสาย มอญ เพลงบรรเลงในวงปี่พาทย์มอญและเพลงบรรเลงในวงเครื่องสายมอญ ศิลปวัฒนธรรมทางด้านการฟ้อนร�ำ ได้แก่ มอญร�ำ ร�ำอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์ ร�ำรับพระสู่ทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ เป็นต้น

การร�ำอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์ งานศพพระที่วัดไผ่ล้อม ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๔)


22

ปี่พาทย์มอญรำ�

การฟ้อนร�ำ การขับร้อง และการบรรเลงดนตรีเครื่องสายของมอญ หมู่บ้านยองตอง เมืองเมาะละแหม่ง รัฐมอญ

ศิลปวัฒนธรรมทางด้านการขับร้อง เช่น การขับร้องเพลงทะแยมอญ การขับร้อง เพลงบอกบุญ การขับขานท�ำขวัญในพิธีโกนจุก พิธีบวชนาค พิธีแต่งงาน เป็นต้น เป็นต้น

ศิลปวัฒนธรรมทางด้านการแสดงมหรสพ เช่น การแสดงละคร การแสดงหุ่นมอญ ศิลปวัฒนธรรมทางด้านการแสดงของมอญทั้ง ๔ ด้านนี้ ได้น�ำไปใช้ใน ๓ ลักษณะ คือ

๑. ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ปี่พาทย์มอญได้ใช้บรรเลงเป็นสื่อประสานระหว่าง มนุษย์กับสิ่งที่มนุษย์ให้ความเคารพนับถือ ซึ่งมีทั้งที่เป็นมนุษย์และสิ่งที่เชื่อว่าสามารถ ติ ด ต่ อ สิ่ ง ที่ ม องไม่ เ ห็ น โดยผ่ า นพิ ธี ก รรมที่ มี ก ารบรรเลงดนตรี หรื อ การฟ้ อ นร� ำ หรื อ การขับขานล�ำน�ำหรือขับร้อง การบรรเลงปี่พาทย์มอญหรือเครื่องสายมอญตลอดจนการขับร้องฟ้อนร�ำในพิธีกรรม ของมอญ มี ๒ โอกาส คือ - พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น งานฉลองวัด งานฉลองพระเจดีย์ งานบวชนาค งานโกนจุก งานศพ พิธีอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์ พิธีรับพระสู่ทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ เป็นต้น - พิ ธี ก รรมที่ ไ ม่ ใ ช่ พิ ธี ก รรมทางพระพุ ท ธศาสนา เช่ น พิ ธี ร� ำ เจ้ า พิ ธี ร� ำ สามถาด พิธีร�ำผี เป็นต้น ๒. ใช้แสดงเพื่อความรื่นเริงบันเทิง เช่น การแสดงทะแยมอญในงานแต่งงาน ในเทศกาลสงกรานต์ การแสดงหุ่นมอญ เป็นต้น


ปี่พาทย์มอญรำ�

พิธีร�ำเจ้า บ้านกวานโต้ เกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

23

พิธีร�ำผี บ้านบางกระดี่ แขวงแสมด�ำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

๓. ใช้เพื่อกิจกรรมสังคมที่ไม่ ใช่เพื่อใช้ในพิธีกรรมหรือเพื่อความบันเทิง เช่น การขับร้องเพลงบอกบุญ เพลงเจ้าขาว เพลงบอกบุญในเทศกาลสงกรานต์ มอญเรียกว่า แป้กโฟนดาจก์ การอ่านท�ำนองเสนาะ เป็นต้น

ดุริยดนตรีมอญ สัญลักษณ์ของความมีอารยธรรมมานานกว่าพันปี ภาพปูนปั้นนางทั้ง ๕ ที่ประดับฐานเจดีย์ที่เมืองโบราณคูบัว อ�ำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรีเป็นรูปปูนปั้นนักดนตรีและนักร้องหญิงทั้งหมดรวม ๕ คน นักโบราณคดี ได้ศึกษาและวิจัยจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นศิลปะสมัยทวารวดี อาณาจักรโบราณของมอญ ที่ผู้คนพูดภาษามอญและใช้อักษรมอญซึ่งมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕ - ๑๖ ภาพปูนปั้นนางทั้ง ๕ นี้แสดงให้เห็นความเป็นชนชาติที่มีอารยธรรมชั้นสูงของมอญ ที่มีมาแต่โบราณกว่าพันปีมาแล้ว ซึ่งนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางด้านดนตรีที่เก่าแก่ที่สุด ในขณะนี้ นางทั้ง ๕ นั่งพับเพียบเรียบร้อยแบบชาววัง แต่งกายดีมีผ้าสไบพาดคล้องบ่าตาม ประเพณีมอญ ไว้ผมยาวแต่เกล้าไว้สวย เป็นผมทรงสูงสวมต่างหู เครือ่ งดนตรีทปี่ รากฏในภาพปูนปัน้ นีม้ นี กั ดนตรี ๔ นาง แต่ละนางบรรเลงเครือ่ งดนตรี คนละชนิด รวมเป็น ๔ ชนิด คือ ๑. พิณ ๕ สาย ๒. เพียะ หรือ พิณน�้ำเต้า ๓. ฉิ่ง และ ๔. กรับ ส่วนอีก ๑ นางเป็นนักขับร้อง นั่งเท้าแขนอย่างเรียบร้อย


24

ปี่พาทย์มอญรำ�

ภาพปูนปั้นนางทั้ง ๕ ที่ประดับฐานเจดีย์ที่เมืองโบราณคูบัว อ�ำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ศิลปะสมัยทวารวดี อาณาจักรโบราณของมอญ

จากภาพปู น ปั ้ น นี้ จ ะเห็ น รู ป แบบการประสมวงของวงดนตรี ม อญที่ มี ค วามเจริ ญ มีแบบแผนที่ดีมาตั้งแต่สมัยทวารวดีเป็นเวลายาวนานกว่าพันปีมาแล้ว ภาพปูนปั้นนักดนตรี ทั้ง ๕ นี้ ได้แสดงให้เห็นสภาพสังคมมอญในขณะนั้น มีประเพณีการขับกล่อมบรรเลงดนตรี ในราชส� ำ นั ก ส� ำ หรั บ พระมหากษั ต ริ ย ์ ห รื อ ขุ น นาง ซึ่ ง เป็ น ผู ้ น� ำ หรื อ เป็ น บุ ค คลชั้ น สู ง ที่ ใ ช้ เครื่องดนตรีประเภทใดบ้าง และผู้บรรเลงเป็นสตรีท�ำหน้าที่ขับกล่อม การสูญเสียบ้านเมืองให้แก่พม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ ท�ำให้ศิลปวัฒนธรรมมอญต้อง เสื่อมทรามลงไปอย่างมากมาย ถึงแม้ว่ามอญยังคงรักษาศิลปวัฒนธรรมไว้ได้หลายอย่าง แต่ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมในส่ ว นที่ สู ญ หายลื ม เลื อ นไปนั้ น มี ม ากมายนั ก โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง เรื่องดนตรีนาฏศิลป์การเล่นมหรสพต่างๆ ของมอญ ในปัจจุบันมีเหลืออยู่น้อยมาก และ


ปี่พาทย์มอญรำ�

25

ที่ เ หลื อ อยู ่ ใ นขณะนี้ ยั ง คงมี อ ยู ่ ใ นหมู ่ ค นมอญที่ อ ยู ่ ใ นประเทศไทย หรื อ คนไทยที่ ส นใจ การดนตรีปี่พาทย์มอญ ความรู้เกี่ยวกับดนตรีนาฏศิลป์มอญและผู้รู้เรื่องราวของการขับร้อง ฟ้ อ นร� ำ การแสดงดนตรี ป ี ่ พ าทย์ ม อญหรื อ การแสดงมหรสพมอญจึ ง มี จ� ำ นวนไม่ ม าก ในปั จ จุ บั น นี้ แ ม้ ใ นชุ ม ชนมอญที่ อ ยู ่ ใ นพม่ า ก็ พ บว่ า นาฏศิ ล ป์ ด นตรี แ ละการละเล่ น ต่ า งๆ ของมอญที่มีมาแต่ดั้งเดิมนั้นหลายอย่างได้สูญหายไป การขับร้องฟ้อนร�ำ ดนตรี นาฏศิลป์และมหรสพต่างๆ ของมอญเจริญรุ่งเรืองได้ เพราะมีสถาบันกษัตริย์และขุนนางเป็นผู้อุปถัมภ์เช่นเดียวกับของไทย ที่บรรดานาฏศิลป์ และดนตรีได้รับอุปการะจากผู้ครองแผ่นดิน ผู้มีทรัพย์หรือผู้มีอ�ำนาจวาสนาในสมัยนั้น ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ต้องท�ำ ต้องมีเพื่อบ้านเมืองและเพื่อแสดงสถานะทางสังคม เมื่อมอญ ต้ อ งเสี ย บ้ า นเมื อ งแก่ พ ม่ า จึ ง ท� ำ ให้ ข าดผู ้ อุ ป ถั ม ภ์ บรรดาศิ ล ปิ น และผู ้ รู ้ ท างดนตรี แ ละ การมหรสพต่ า งๆ ต้ อ งเลิ ก และต้ อ งหลบหนี ภั ย เพราะบ้ า นเมื อ งเป็ น กลี ยุ ค การขั บ ร้ อ ง ฟ้อนร�ำ ดนตรี นาฏศิลป์ต่างๆ ที่ถือว่าเป็นเกียรติเป็นศักดิ์ศรีของบ้านเมืองต้องถูกท�ำลาย ลงสิ้น ศิลปินส่วนหนึ่งได้ถูกกวาดต้อนไปรับใช้อยู่ในพม่าดังเช่นศิลปินชาวกรุงศรีอยุธยา ที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันจึงมีโขนและละครโยเดีย (อยุธยา) ในพม่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงกล่าวว่า “ธรรมดาของ ที่เป็นอย่างดีอันมีในประเทศ แม้จนในการเล่น เช่น โขน ละคร ยังมีอยู่ที่ราชธานี เมื่อเสียกรุงแก่พม่าข้าศึก ตัวละครและบทละครครั้งกรุงเก่า จึงเป็นอันตรายสูญเสีย เป็นอันมาก” นาฏศิลป์ ดนตรี การละเล่นของมอญก็อยูใ่ นสภาพเช่นทีท่ รงกล่าวไว้เช่นนัน้ ด้วย

มหรสพมอญในราชส�ำนักส�ำหรับพระราชพิธี ที่มีในประวัติศาสตร์ชนชาติมอญ มอญเมื่ อ ครั้ ง ยั ง มี พ ระมหากษั ต ริ ย ์ แ ละมี พ ระราชอาณาจั ก รมอญ ปรากฏว่ า ในพระราชพิ ธี ส� ำ คั ญ ๆ ของมอญได้ มี ก ารจั ด ให้ มี ม หรสพสมโภชด้ ว ย ดั ง ปรากฏใน ประวัติศาสตร์มอญและวรรณกรรมมอญ เช่น พระราชพงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราชและ ในจารึกกัลยาณี ดังนี้ พระราชพงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราชฉบับหอสมุดแห่งชาติ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้แปลจากต้นฉบับภาษามอญ ได้กล่าวถึงการแสดงมหรสพของมอญที่ได้แสดง ในงานพระราชพิธีส�ำคัญหลายครั้ง เช่น พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าช้างเผือกซึ่งสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๙๓๕ พระราชพงศาวดารเรื่ อ งราชาธิ ร าช ได้ ก ล่ า วถึ ง การแสดงมหรสพในพิ ธี ถ วายพระเพลิ ง พระบรมศพ (กรมศิลปากร, ๒๕๑๒, น.๒๑๘) ดังนี้


26

ปี่พาทย์มอญรำ�

“.....ครั้นได้มหุติวารฤกษ์ ก็ให้เชิญพระบรมศพขึ้นสู่ยานมาศราชรถตั้งขบวนแห่แหน ไปยังพระเมรุ ณ ต�ำบลเนินเขา พระองค์เสด็จพร้อมด้วยพระญาติวงศาที่ทูลละอองธุลี พระบาท ผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงน�ำพระบรมศพไปสถิตประทับพระเมรุมาศแล้ว จึงให้มีการ มหรสพสมโภชเจ็ดวันเจ็ดคืน...ถวายพระเพลิงปลงพระบรมศพเสร็จแล้ว พระยาน้อยจึงตรัส สั่งให้แจงพระรูปเชิญพระอัฐิใส่ในโกศทองขนาดน้อยแห่เข้าไปไว้ ณ พระรัตนมหาปราสาท ให้มีมหรสพสมโภชอีกสามวันสามคืน.....” พระราชพิ ธี ถ วายพระเพลิ ง พระบรมศพพระเจ้ า ราชาธิ ร าช ซึ่ ง สวรรคตเมื่ อ พ.ศ. ๑๙๗๑ มีมหรสพสมโภชปรากฏตามพระราชพงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราช (กรมศิลปากร, ๒๕๑๒, น.๕๖๙) ที่ว่า “.....ครั้นกระท�ำการทั้งปวงเสร็จแล้วพระเจ้าสุโทธรรมราชาธิราช พระราชโอรสของ พระเจ้าราชาธิราชก็ให้จัดขบวนแห่แหนเชิญพระศพขึ้นยังสุวรรณเบญจาที่ตั้ง และให้มี การมหรสพสมโภชเจ็ดวันเจ็ดคืน.....” เมื่ อ เสร็ จ พระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระเจ้าราชาธิราชแล้ว พระเจ้า สุโทธรรมราชาธิราชพระราชโอรสผู้ได้ครองกรุงหงสาวดีต่อจากพระราชบิดาได้ก่อพระเจดีย์สูง ๑๐ วา ใกล้พระเจดีย์มุเตา เมืองหงสาวดี เพื่อบรรจุพระบรมอัฐิพระเจ้าราชาธิราช โปรดให้ มีการฉลองสมโภชพระเจดีย์ มีการแสดงมหรสพครั้งนี้ด้วย ดังปรากฏใน พระราชพงศาวดาร มอญเรื่องราชาธิราช (กรมศิลปากร, ๒๕๑๒, น.๕๗๐) นี้ว่า “.....ครั้นจัดการเสร็จแล้วก็ให้สมโภช พระเจดีย์ซึ่งบรรจุพระอัฐิอีกเจ็ดวันเจ็ดคืน กรุงหงสาวดีก็เป็นสุข” นอกจากพระราชพงศาวดารมอญ เรื่ อ งราชาธิ ร าชที่ ก ล่ า วถึ ง การจั ด มหรสพ ในพระราชพิธีส�ำคัญของพระมหากษัตริย์ มอญแล้ว การจัดมหรสพในพระราชพิธีของ พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย ์ ม อ ญ ยั ง ป ร า ก ฏ ใ น ศิ ล าจารึ ก ของพ ร ะ เ จ ้ า ธ ร ร ม เ จ ดี ย ์ มหาปิ ฎ กธรพระมหากษั ต ริ ย ์ ม อญ กรุงหงสาวดีที่ชื่อว่า “จารึกกัลยาณี” หนังสือ “จารึกกัลยาณี” พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗


ปี่พาทย์มอญรำ�

ศิลาจารึกกัลยาณี ที่พระเจ้าธรรมเจดีย์มหาปิฎกธร พระมหากษัตริย์มอญทรงสร้างขึ้น ณ โบสถ์กัลยาณี เมืองหงสาวดี (กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘)

27


28

ปี่พาทย์มอญรำ�

การจัดแสดงมหรสพของมอญที่จัดขึ้นในพระราชพิธีของกษัตริย์ที่ปรากฏอยู่ในจารึก กัลยาณี ซึ่งพระเจ้าธรรมเจดีย์มหาปิฎกธรพระมหากษัตริย์มอญครองกรุงหงสาวดีระหว่าง พ.ศ. ๒๐๑๕ - ๒๐๓๕ โปรดให้จารึกเรื่องพระสงฆ์มอญไปอุปสมบทที่กัลยาณีสีมา ประเทศ ศรี ลั ง กา เมื่ อ คณะพระสงฆ์ เ หล่ า นั้ น เดิ น ทางกลั บ ถึ ง รามั ญ ประเทศ พระเจ้ า ธรรมเจดี ย ์ มหาปิฎกธรเสด็จไปรับและได้เสด็จไปทรงนมัสการพระเกศธาตุที่เมืองเละเกิ้ง (พระเจดีย์ ชเวดากอง) ในการเสด็ จ ครั้ ง นี้ โ ปรดให้ มี ม หรสพสมโภชปรากฏในจารึ ก กั ล ยาณี (จารึ ก กัลยาณี, ๒๔๖๗, น.๑๓๖) ดังนี้ “.....ตโต รามาธิบดีมหาราชาในกาลนั้นพระเจ้ารามาธิบดีมหาราชจึงมีรับสั่งให้เล่น การมหรสพใหญ่ ๓ วัน แล้วจึงให้ยกพื้นขึ้นที่ลานพระเจดีย์ เพื่อพระราชประสงค์จะบูชา พระเกศธาตุกับระฆังใบใหญ่.....” เมื่อคณะสงฆ์เดินทางถึงกรุงหงสาวดีแล้วโปรดให้จัดขบวนแห่ มีการประโคมดนตรี เพื่อรับพระสงฆ์คณะนั้นดังมีความ (จารึกกัลยาณี, ๒๔๖๗, น.๑๓๗) ดังนี้ “.....จึงให้เจ้าพนักงานตกแต่งเรือเป็นอันมากให้งดงาม แล้วส่งชนทั้งหลายมีอ�ำมาตย์ เป็นประธานพร้อมด้วย ธงชาย ธงประฏากและชาวประโคมดนตรีทั้งปวง ให้ไปรับพระเถระ ทั้งหลายแห่มาขึ้นพระรัตนมณเฑียร.....” เมื่ อ พระเจ้ า ธรรมเจดี ย ์ ม หาปิ ฎ กธรทรงรั บ รองพระเถระที่ พ ระรั ต นมณเฑี ย รแล้ ว เมื่อพระเถระลากลับโปรดให้จัดขบวนแห่พร้อมประโคมดนตรีไปส่งยังอารามของพระเถระอีก ดังปรากฎในจารึก (จารึกกัลยาณี, ๒๔๖๗, น.๑๓๘) ดังนี้ “.....จึงมีรับสั่งบังคับให้อ�ำมาตย์ทั้งหลายให้ไปด้วยพระเถระ ๑๑ องค์ คนละองค์ๆ พร้อมด้วยเครือ่ งแห่ธงชาย ธงประฏากและเครือ่ งประโคมเป็นอันมากแห่ไปส่งวิหารแห่งตน.....” จากจารึกกัลยาณีดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าในครั้งรัชสมัยพระเจ้า ธรรมเจดีย์มหาปิฎกธร มอญมีการแสดงมหรสพที่เป็นพระราชพิธีและมีดนตรีของหลวงที่ ใช้ประโคมในพระราชพิธีด้วย การแสดงมหรสพของหลวงถึง ๓ วัน รวมทั้งการใช้ดนตรีประโคม “เป็นอันมาก” นั้น คงเป็นการแสดงมหรสพที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการบูชาพระเกศธาตุเจดีย์ซึ่งพระเจ้าธรรมเจดีย์ มหาปิฎกธรมีพระราชศรัทธาได้ถวายทองค�ำมีน�้ำหนักถึง ๔ เท่าน�้ำหนักพระองค์เพื่อเป็น ทองหุ้มองค์พระเกศธาตุเจดีย์ อีกทั้งเป็นการจัดมหรสพฉลองรับคณะสงฆ์มอญที่เดินทาง กลับมาจากศรีลังกาถึงกรุงหงสาวดีด้วย


ปี่พาทย์มอญรำ�

29

เครื่องดนตรีมอญหลากหลายประเภทและการฟ้อนร�ำลีลา นานาท่วงท่าที่ปรากฏในวรรณกรรมที่ส�ำคัญของมอญ วรรณกรรมมอญที่ มี ชื่ อ เสี ย งและมี ค วามส� ำ คั ญ ทางประวั ติ ศ าสตร์ ข องมอญมา แต่โบราณหลายเรื่อง มีการกล่าวถึงเครื่องดนตรีมอญที่มีหลากหลายประเภท การบรรเลง เป็นท่วงท�ำนองเพลงของเครื่องดนตรีแต่ละอย่าง ตลอดจนการขับล�ำน�ำร�ำฟ้อน นาฏลีลาของ บรรดานาฏศิลปินที่ร่ายร�ำด้วยท่วงท่าและลีลาที่อ่อนช้อยสวยงาม สนุกสนาน มีปรากฏอยู่ ในวรรณกรรมมีชื่อของมอญดังกล่าว อาทิ วรรณกรรมมอญเรื่องพระเจ้าอัสสะ (เลิ้ตซะเมินอัสสะ) วรรณกรรมเรื่องนี้แต่งขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๖ เป็นเรื่องต�ำนานการสร้างกรุงหงสาวดีราชธานีที่มีความส�ำคัญของมอญ เมื่อครั้งที่จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าอัสสะ พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ของมอญ ทรงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นครองกรุงหงสาวดีเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๑๕๐ ๑๒๐๐ วรรณกรรมมอญเรื่ อ งพระเจ้ า อั ส สะ ได้ ก ล่ า วถึ ง เครื่ อ งดนตรี ม อญที่ ใ ช้ บ รรเลง ประโคมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าอัสสะ เป็นการบรรเลงปัญจดุริยพาทย์และ การฟ้อนร�ำนาฏกรรมทั้งเก้า เครื่ อ งดนตรี ป ระเภทเครื่ อ งดี ด เครื่ อ งสี เครื่ อ งตี และเครื่ อ งเป่ า รวมกั น ทั้ ง สิ้ น มีมากถึง ๒๐ ชนิด เครื่องดีด ได้แก่ จะเข้ พิณ เครื่องสี ได้แก่ ซอ

ภาพจิตรกรรมในวัดพระธาตุ บ้านกะมาวัก เมืองเมาะละแหม่ง ในรัฐมอญ แสดงให้เห็นถึงการเล่นพิณ (กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘)


30

ปี่พาทย์มอญรำ�

ภาพจ�ำหลักไม้ในวัดเกาะนัต บ้านเกาะโต้ เมืองเมาะละแหม่ง ในรัฐมอญ แสดงให้เห็นถึงเครื่องดนตรีมอญชนิดต่างๆ (กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘)


ปี่พาทย์มอญรำ�

31

เครื่องตี ได้แก่ กลอง ฆ้อง ฆ้องมอญ โหม่ง ฉาบ ฉาบใหญ่ ฉิ่ง ตะโพน กรับ โทน ทับ ร�ำมะนา เครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ย แตร แตรงอน ขลุ่ยผิว ปี่ เฉพาะกลองที่น�ำมาตีในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าอัสสะมีมากถึง ๑๒ ชนิด กลองทั้ง ๑๒ ชนิดนี้มีรูปร่าง มีเสียงและชื่อเรียกแตกต่างกันไป แต่มีกลองของชาติอื่นๆ ด้วย ได้แก่ กลองศรีลังกา กลองจีน การฟ้อนร�ำที่กล่าวไว้ในวรรณกรรมมอญเรื่องพระเจ้าอัสสะ ได้กล่าวถึงการร่ายร�ำ ระบ�ำร�ำฟ้อน ๙ ประเภท ได้แก่ ๑. การฟ้อนร�ำบูชาองค์อัมรินทรา ๒. การร�ำระบ�ำเสน่หา ๓. การแสดงร�ำวีรชัย ๔. การฟ้อนปลุกใจให้กล้าหาญ ๕. การร�ำตลกขบขัน ๖. การร�ำอาวุธ ๗. การร�ำกริช ๘. การฟ้อนร�ำเข้าสู้ศัตรูด้วยอุบาย ๙. การฟ้อนร�ำกระบวนยาตรา

วรรณกรรมมอญ เรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ (จยาจก์จิ๊ห์นู่ฟอว์) วรรณกรรมเรื่องนี้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ นายทอเมี่ยะเงื้อว นักปราชญ์มอญ ที่ มี ผ ลงานทางวรรณกรรมมอญยอดเยี่ ย มเป็ น ผู้ ป ระพั น ธ์ ว รรณกรรมเรื่ อ งนี้ ได้ ก ล่ า วถึ ง เครื่ อ งดนตรี ที่ เ หล่ า เทพยดานางฟ้ า น� ำ มาประโคมบรรเลงส่ ง เสด็ จ พระบรมศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับสู่มนุษย์โลกหลังจากเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาที่ดาวดึงส์ เทวโลก เครื่องดนตรีมอญที่ได้น�ำมากล่าวไว้ในวรรณกรรมเรื่องนี้ มีเครื่องดนตรีมากถึง ๓๐ ชนิด เช่น ซอ จะเข้ พิณ ปี่ สังข์ ขลุ่ย แตร ฆ้อง ระนาด แตรงอน ฉิ่ง ฉาบ และกลอง ประเภทต่างๆ นอกจากนั้นวรรณกรรมเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ยังได้กล่าวถึงเพลงที่ บรรเลงจากเครื่องดนตรีแต่ละชนิดว่ามีส�ำเนียงและท�ำนองอย่างใดบ้าง


32

ปี่พาทย์มอญรำ�

วรรณกรรมมอญเรื่องพญาทะละราชา (เลิ่ตเพี่ยะเยี่ยะเที่ยะเรี่ยะ) แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๕ ได้กล่าวถึงเครื่องดนตรีมอญยุคหลังก่อนกรุงหงสาวดีจะตกเป็นของพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ มีเครื่องดนตรีมอญ ๓๐ ชนิด ในจ�ำนวนนี้มีกลองต่างๆ ๑๔ ชนิด นอกนั้น เป็นเครื่องดนตรีมอญอื่นๆ อีก ๑๖ ชนิด ได้แก่ สังข์ ขลุ่ย ปี่ แตร พิณ จะเข้ โหม่ง ฉิ่ง ฉาบ กรับ ฆ้องมอญ ระนาดเหล็ก ระนาดไม้ ระนาดไม้ไผ่ โกร่ง ปี่เสียงแหลม จากวรรณกรรมมอญทั้ ง ๓ เรื่ อ ง ดั ง กล่ า ว จะเห็ น ได้ ว ่ า เครื่ อ งดนตรี ม อญมี ม าก หลายชนิ ด เครื่ อ งดนตรี เ หล่ า นั้ น ได้ เ คยเป็ น เครื่ อ งดนตรี ที่ ใ ช้ ป ระโคมหรื อ บรรเลงใน พระราชส�ำนักมอญ ที่ใช้ในพระราชพิธีที่ส�ำคัญของพระมหากษัตริย์มอญมาก่อน

ความวิบัติการดนตรีนาฏศิลป์การขับร้องของมอญ เมื่อมอญต้องเสียเมือง เมื่ อ มอญเสี ย เมื อ งแก่ พ ม่ า บรรดาศิ ล ปิ น และเครื่ อ งดนตรี ม อญถู ก น� ำ ไปสนอง ความต้องการของพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกละครและผู้ฟ้อนร�ำรวมทั้งดนตรีปี่พาทย์ ดนตรีประเภทต่างๆ และการแสดงละครระบ�ำร�ำฟ้อนของมอญจึงสูญหายไปอย่างมาก โดยเฉพาะคราวเสียกรุงหงสาวดีเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ นั้น บรรดาศิลปินนักดนตรีนอกจาก ถู ก จั บ ต้ อ นไปอยู ่ กั บ พม่ า แล้ ว อะลองพญากษั ต ริ ย ์ พ ม่ า ยั ง มี ค� ำ สั่ ง ห้ า มคนมอญแสดง สัญลักษณ์ความเป็นมอญ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงศิลปวัฒนธรรมหรือสัญลักษณ์อย่างใด ถ้าผู้ใดขัดขืนจะต้องถูกก�ำจัด ศิลปินนักดนตรีมอญจ�ำนวนมากจึงต้องหลบหนีไปอยู่ในป่า หรื อ ลี้ ภั ย เข้ า มาพึ่ ง พระบรมโพธิ ส มภารในพระราชอาณาจั ก รไทย ศิ ล ปวั ฒ นธรรมด้ า น การแสดงละคร การเล่นมหรสพตลอดถึงดนตรีและบทละครต่างๆ จึงสูญไปอย่างมากมาย

ภาพหุ่นไม้แกะสลัก แสดงท่าร่ายร�ำในพิพิธภัณฑ์มอญ เมืองเมาะละแหม่ง รัฐมอญ


ปี่พาทย์มอญรำ�

33

ภาพหุ่นไม้แกะสลักแสดงท่าร่ายร�ำในพิพิธภัณฑ์มอญ เมืองเมาะละแหม่ง รัฐมอญ แสดงให้เห็นว่าดนตรีนาฏกรรมการขับล�ำน�ำระบ�ำร�ำฟ้อนของมอญมีมานานแล้ว (พ.ศ. ๒๕๔๖)

จากเหตุการณ์สงครามพม่าเข้ายึดบ้านเมืองของมอญดังกล่าว เป็นเหตุท�ำให้คนมอญ จ�ำนวนมากหลบหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในพระราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่สมัย อยุ ธ ยาต่ อ เนื่ อ งกั น มาจนถึ ง สมั ย ต้ น รั ต นโกสิ น ทร์ ในบรรดาผู ้ อ พยพดั ง กล่ า วส่ ว นหนึ่ ง มีนักดนตรีและศิลปิน นักฟ้อนร�ำด้วย บุคคลเหล่านี้เมื่อได้เข้ามาอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย ได้สืบ สานและถ่ ายทอดความรู้ด ้านดนตรีและการฟ้อนร� ำขับร้องของมอญสืบต่อกันมา ดั ง ปรากฏมี ว งปี ่ พ าทย์ ม อญ ทะแยมอญอยู ่ ใ นชุ ม ชนมอญต่ า งๆ ของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้ การแสดงละครของมอญสูญสิ้นอย่างสิ้นเชิงไม่ว่าจะเป็นบทละคร เพลงขับร้อง และดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละคร


34

ปี่พาทย์มอญรำ�

หุ่นมอญ พิพิธภัณฑ์วัดคงคาราม ต�ำบลคลองตาคต อ�ำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘)

การแสดงหุ ่ น มอญปรากฏมี ขึ้ น สมั ย ธนบุ รี เมื่ อ ครั้ ง อั ญ เชิ ญ พระแก้ ว มรกตจาก พระต�ำหนักบางธรณี เมืองนนทบุรี (ปัจจุบันอยู่ที่ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จั ง หวั ด นนทบุ รี ) ไปประดิ ษ ฐานที่ วั ด แจ้ ง (วั ด อรุ ณ ราชวราราม) สมเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้มีหุ่นมอญสมโภชพระแก้ว มรกต ดังปรากฏตามหมาย รับสั่งเรื่อง โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์เสด็จ ขึ้นไปรับพระแก้วมรกตที่ท่าเจ้าสนุก จังหวัดสระบุรี ลงมาฉลองสมโภชที่พระต�ำหนัก บางธรณี จังหวัดนนทบุรี จากนั้นโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่ พระราชวังกรุงธนบุรี ในการสมโภชพระแก้วมรกตครั้งนี้ปรากฏว่ามีการแสดงหุ่นมอญตาม หมายรับสั่งที่กล่าวถึงการแสดงและค่าใช้จ่ายการแสดงในหนังสือเรื่อง ตากสินมหาราช ราชสดุดี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ​ บริเวณ พระบรมราชานุสาวรียส์ มเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และบริเวณถนนลาดหญ้า วันที่ ๒๗ - ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ หน้า ๙๕ ที่ว่า “.....หว่างระทา โขน ๒ โรง ร�ำหญิง ๒ โรง งิ้ว ๑ โรง หุ่นมอญ ๑ โรง หนังกลางวัน ๑ โรง หุ่นลาว ๒ โรง (รวม) ๙ โรงๆ ละ ๒ บาท วันละ ๔ ต�ำลึง ๒ บาท (รวม) ๗ วัน เป็นเงิน ๑ ชั่ง ๑๑ ต�ำลึง ๒ บาท.....” การแสดงหุ ่ น มอญที่ มี ก ารแสดงเป็ น เวลานานถึ ง ๗ วั น นั้ น ได้ จิ น ตนาการว่ า คงแสดงเป็ น เรื่ อ งๆ เพราะมี ห ลายเรื่ อ งหรื อ เป็ น ตอนๆ เพื่ อ มิ ใ ห้ ซ�้ ำ ซากน่ า เบื่ อ แก่ ผู ้ ช ม แต่ก็สุดที่จะให้เห็นภาพจริงในขณะนี้ได้ เพราะหุ่นมอญในปัจจุบันนี้ได้หายไปจากสังคมมอญ หุ่นมอญจึงเป็นเรื่องที่ควรจะได้มีการศึกษาค้นหากันให้เป็นที่ประจักษ์ ตั ว หุ ่ น มอญส่ ว นหนึ่ ง ยั ง ปรากฏมี อ ยู ่ ที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วั ด คงคาราม ต� ำ บลคลองตาคต อ�ำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี แต่ผู้ที่รู้และแสดงหุ่นมอญได้นั้นไม่มีแล้ว คงมีแต่ค�ำบอกเล่า ว่าในชุมชนมอญวัดคงคารามนี้เคยมีผู้รู้ผู้เล่นหุ่นมอญได้


ปี่พาทย์มอญรำ�

35

ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ระบ�ำร�ำฟ้อนมอญในพระราชอาณาจักรไทย การดนตรีขับ ร้อ งฟ้อ นร�ำของมอญที่มีอ ยู่ในประเทศไทยเท่า ที่สืบค้นหาหลักฐาน ทางราชการได้ ป รากฏว่ า มี ม าตั้ ง แต่ ส มั ย อยุ ธ ยาแล้ ว (แต่ ก ่ อ นสมั ย อยุ ธ ยานั้ น ยั ง สื บ หา หลักฐานอยู่)

สมัยอยุธยา ปี ่ พ าทย์ ม อญและมอญร� ำ เป็ น การแสดงที่ ค นมอญในสมั ย อยุ ธ ยาได้ แ สดงอย่ า ง แพร่หลาย ไม่เพียงแต่เฉพาะในสังคมชุมชนมอญเท่านั้น แต่ปี่พาทย์มอญและมอญร�ำ ได้ รั บ การต้ อ นรั บ อย่ า งดี ใ นสั ง คมไทย โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ปี ่ พ าทย์ ม อญและมอญร� ำ ได้เข้าไปมีบทบาทในพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยอยุธยาด้วย ดังปรากฏว่า เมื่ อ พ.ศ. ๒๓๐๑ สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว บรมโกศเสด็ จ สวรรคต มอญร� ำ ได้ น� ำ ไปจั ด ใน พระราชพิธีบ�ำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพครั้งนี้ด้วย ดังปรากฏในหนังสือเรื่องพระเมรุมาศ พระเมรุ แ ละเมรุ ส มั ย รั ต นโกสิ น ทร์ พลเรื อ ตรี ส มภพ ภิ ร มย์ ศิ ล ปิ น แห่ ง ชาติ ร าชบั ณ ฑิ ต ได้กล่าวถึงเรื่องมอญร�ำในพระราชพิธีบ�ำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศ (สมภพ ภิรมย์, ๒๕๓๙, น.๖๒) ดังนี้ “.....เมื่อจุลศักราชได้ ๑๑๒๐ ปีขาลสัมฤทธิศก วันพุธ เดือน ๖ แรม ๕ ค�่ำ พระบรมราชา (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) สวรรคตแล้ว พระอุทุมพรราชาได้ว่าราชการกรุงทั้งปวง จึงคิดอ่านกันกับพระเชษฐาธิราชที่จะแต่งการพระบรมศพสมเด็จพระบิดาพระบรมโกศ..... แล้ ว เชิ ญ พระโกศนั้ น ขึ้ น บนเตี ย งหุ ้ ม ทอง.....แล้ ว จึ ง ตั้ ง โรงงานการมหรสพทั้ ง ปวง ให้ มี โขน หนัง ละคร หุ่นและมอญร�ำ ระบ�ำเทพทอง ทั้งกุลาคุลาตีไม้ สารพัดมีงานการเล่นต่างๆ นานา.....” การแสดงมอญร� ำ ต้ อ งมี ป ี ่ พ าทย์ ม อญบรรเลงประกอบการร� ำ ด้ ว ย ดั ง นั้ น การที่ มี ม อญร� ำ ไปจั ด ในงานพระบรมศพสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว บรมโกศนี้ แสดงให้ เ ห็ น ได้ เ ป็ น อย่างดีว่า ๑. ปี่พาทย์มอญและมอญร�ำมีอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยามาแล้ว ๒. ปี่พาทย์มอญและมอญร�ำได้รับการยกย่องในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน พระราชส�ำนัก ในหมู่เจ้านายและข้าราชการของกรุงศรีอยุธยา ปี่พาทย์มอญและมอญร�ำ จึงได้มีโอกาสไปแสดงในพระราชพิธีที่ส�ำคัญของพระมหากษัตริย์ไทย ศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีและการขับร้องฟ้อนร�ำของมอญ คงมีบทบาทอยูใ่ นสังคมไทย อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์


36

ปี่พาทย์มอญรำ�

สมัยธนบุรี สมัยธนบุรีเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ พระแก้วมรกตด้วยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจากพระต�ำหนักบางธรณี บ้าน บางธรณี เมื อ งนนทบุ รี มาประดิ ษ ฐานที่ พ ระราชวั ง กรุ ง ธนบุ รี พระราชพิ ธี อั ญ เชิ ญ พระแก้วมรกตด้วยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จากพระต�ำหนักบางธรณีถึงพระราชวัง กรุงธนบุรี ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งนี้ โปรดเกล้าฯ ให้มีมอญร�ำและมโหรี ปี่พาทย์มอญแสดงและประโคมบรรเลงมาในเรือขบวนแห่นี้ จากนั้นเมื่อได้อัญเชิญ พระแก้ ว มรกตมาประดิ ษ ฐานที่ พ ระราชวั ง กรุ ง ธนบุ รี แ ล้ ว โปรดเกล้ า ฯ ให้ มี ก ารสมโภช พระแก้ ว มรกตอี ก เป็ น เวลา ๒ เดื อ น ๑๒ วั น ในช่ ว งเวลาสมโภชโปรดเกล้ า ฯ ให้ มี ปี่พาทย์มอญ มอญร�ำ ทะแยมอญและหุ่นมอญแสดงในพระราชพิธีครั้งนี้ด้วย มีพระยา รามัญวงศ์เป็นหัวหน้ากองอาสามอญเป็นผู้รับผิดชอบ

สมัยรัตนโกสินทร์ ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ปี่พาทย์มอญ มอญร�ำ ยิ่งมีบทบาทส�ำคัญในสังคมไทย มากยิ่งขึ้น พระราชพิธีครั้งส� ำคัญตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีปี่พาทย์มอญ มอญร�ำ แสดงในพระราชพิธีครั้งส�ำคัญ เช่น รั ช กาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้า ฯ ให้แสดง มอญร�ำในพระราชพิธีสมโภชวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แสดงมอญร�ำในงาน พระราชพิธีสมโภชวัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๐ นอกจากปี่พาทย์มอญและมอญร�ำที่เป็นศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติ มอญแล้ว เพลงมอญเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่า มีความไพเราะเมื่อน�ำไป บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญหรือในวงเครื่องสายมอญ เพลงมอญจึงมีแพร่หลายอยู่ในวงมโหรี ปี ่ พ าทย์ ข องไทย ตั้ ง แต่ ส มั ย อยุ ธ ยาตลอดมาจนถึ ง สมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ จึ ง มี เ พลงมอญ จ�ำนวนมากที่นักดนตรีไทยได้น�ำเพลงมอญมาบรรเลงในวงมโหรีปี่พาทย์ของไทยในลักษณะ ที่ น� ำ เพลงมอญมาบรรเลงแบบเต็ ม ตามแบบมอญแท้ ๆ และในลั ก ษณะที่ น� ำเพลงมอญ มาแต่งเติมตัดขยายเป็นเพลงไทยส�ำเนียงมอญ ปราชญ์ทางดนตรีไทยได้รวบรวมรายชื่อ เพลงมอญและเพลงไทยส� ำ เนี ย งมอญในประเทศไทย ปรากฏว่ า เพลงมอญดั ง กล่ า วนี้ มีไม่น้อยกว่า ๒๐๐ เพลง ซึ่งถือว่าเป็นเพลงของต่างชนชาติที่นักดนตรีไทยน�ำมาบรรเลง


ปี่พาทย์มอญรำ�

37

ในวงปี่พาทย์วงมโหรีไทยมากที่สุด มากกว่าเพลงของชนชาติอื่นๆ ที่มีอยู่ในวงการดนตรี ปี่พาทย์วงมโหรีของไทย ดนตรีปี่พาทย์มอญและเครื่องสายมอญ มีบทบาททางพิธีกรรมของมอญอย่างมาก มีการประโคมปี่พาทย์มอญในงานบุญ ที่เป็นพิธีกรรมทางศาสนาและบรรเลงปี่พาทย์มอญ ในพิธีร�ำเจ้า พิธีร�ำผี เป็นต้น การขับล�ำน�ำในพิธีท�ำขวัญงานมงคลในโอกาสต่างๆ ในชีวิตของ คนมอญ ตลอดจนการสวดการเทศน์ของพระสงฆ์มอญ ล้วนมีความเป็นดนตรีอยู่ในตัว ด้วยการสวดท�ำนองเรียบๆ ระคนด้วยเสียงสูงเสียงต�่ำน้อยๆ ท�ำให้จิตเกิดสมาธิ ดนตรีนาฏกรรมการขับล�ำน�ำระบ�ำร�ำฟ้อนของมอญที่มีมานานนับพันปี ด้วยคุณค่า ที่มีไม่เฉพาะแต่คนมอญเท่านั้น แต่ศิลปวัฒนธรรมด้านนี้มีส่วนส�ำคัญในการสร้างสุนทรีย์ ให้แก่จิตของชนทั้งหลาย ไม่ได้จ�ำกัดขอบเขตของชนชาติ ศิลปวัฒนธรรมมอญด้านดนตรี นาฏศิ ล ป์ การร้ อ งร� ำ ท� ำ เพลงของมอญจึ ง อยู ่ ไ ด้ ใ นสั ง คมไทยในปั จ จุ บั น อย่ า งสนิ ท สนม เพลงมอญจ�ำนวนมากถูกน�ำไปขับร้องในวงปี่พาทย์วงมโหรีและวงเครื่องสายไทย รวมทั้ง เพลงลูกทุ่งของไทยด้วย ศิ ล ปิ น และนั ก ดนตรี ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ข องมอญได้ ส ร้ า งสรรค์ ผ ลงานที่ สุ น ทรี ย ์ มี คุ ณ ค่ า ประดับไว้ในวงการดุริยางคศิลป์ของมวลมนุษย์ การร้องร�ำท�ำเพลงของมอญเป็นศิลปะ ที่ แ สดงให้ ป ระจั ก ษ์ ใ นความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งทางวั ฒ นธรรมของชนชาติ ม อญได้ อ ย่ า งดี ยิ่ ง นอกจากนั้นการปรากฏของดนตรีมอญได้แสดงความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของกลุ่มชนอื่นๆ ดังจะเห็นได้จากการที่ปี่พาทย์มอญเป็นที่นิยมยอมรับของสังคมไทยชั้นสูง ทั้งงานหลวง และงานราษฎร์ การแสดงลิเกของไทยในปัจ จุบัน วงป้า ตและการขับซอ การฟ้อนของ ล้านนาในภาคเหนือของไทยดูจะเป็นพี่น้องตระกูลเดียวกับการร้องร�ำท�ำเพลงของมอญ ในวงทะแยมอญ ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นผลจากความสุนทรีย์และคุณค่าของศิลปะ และ ภูมิปัญญาของบรรดานักร้องร�ำท�ำเพลง ศิลปิน ครูอาจารย์ทางดนตรีนาฏศิลป์มอญร่วมกับ ครูอาจารย์ดนตรีของไทย ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานให้เกิดความสุนทรีย์และความรื่นรมย์งดงาม บนพื้นพิภพ


ฆ้องมอญ


๒ เครื่องดนตรีมอญ ชนชาติมอญได้ประดิษฐ์เครื่องดนตรี ใช้เล่นกันในหมู่ชาวมอญสืบต่อกันมานานแล้ว ตั้งแต่การใช้วัสดุที่อยู่ตามธรรมชาติที่เรียกกันว่าตีเกราะเคาะไม้ให้เป็นจังหวะมีเสียงต่างๆ และมีการพัฒนาต่อเนื่องกันมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการรับพระพุทธศาสนามาเป็น ศาสนาประจ� ำ ชาติ ม อญ อารยธรรมของอิ น เดี ย ได้ มี บ ทบาทต่ อ วิ ถี ชี วิ ต และสั ง คมของ ชนชาติมอญในหลายด้าน เช่น อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ กฎหมายคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ รวมทั้งดนตรีและนาฏศิลป์ด้วย ในด้านดนตรีชาวมอญได้แลกเปลี่ยนความคิดและประดิษฐ์ เครื่องดนตรีต่างๆ เพิ่มขึ้นโดยอาศัยหลักและรูปแบบจากอินเดียและพัฒนาเครื่องดนตรีต่างๆ ให้ มีรู ป สวยงามและมีเสียงไพเราะขึ้นตามรสนิยมของชนชาติมอญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ของมอญทุกชิ้น เช่น ฆ้องมอญ กลอง ตะโพน เป็นต้น มอญเรียกเครื่องดนตรีเหล่านี้ว่า “ป้าต” ทั้งหมด ค�ำว่า “ป้าต” มอญเรียกตามภาษาสันสกฤต ของอินเดียว่า “วาทย” หรือ “พาทย” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ แสดงความหมายของพาทย ดังนี้ พาทย (กลอน) ค�ำนาม เครื่องประโคม (ภาษาสันสกฤต วาทย) ตามหลักเกณฑ์ ภาษามอญที่น�ำค�ำภาษาสันสกฤตและบาลีมาใช้ในภาษามอญ ตัวอักษร พ จะออกเสี ยง เป็นตัวอักษร ป ดังนั้น พาทยจึงออกเสียงมอญว่า “ป้าต” เครื่องดนตรีของมอญแบ่งออกได้เป็น ๔ กลุ่ม คือ ๑. เครื่องดีด ๒. เครื่องสี ๓. เครื่องตี ๔. เครื่องเป่า

เครื่องดีด เครือ่ งดีด คือ เครือ่ งดนตรีทใี่ ช้สายขึงให้ตงึ เวลาเล่นใช้ดดี สายให้เกิดเสียง เครือ่ งดนตรี ที่เป็นเครื่องดีดของมอญในปัจจุบัน ได้แก่ จะเข้ ส่วนกระจับปี่และพิณที่เป็นเครื่องดนตรี


40

ปี่พาทย์มอญรำ�

มอญประเภทเครื่องดีดที่ใช้เล่นกันมาแต่โบราณสมัยทวารวดีตามที่ปรากฏในลายปูนปั้น สมัยทวารวดีบา้ นคูบวั จังหวัดราชบุรนี นั้ ไม่มกี ารน�ำมาใช้ในวงดนตรีมอญมานานแล้ว ปัจจุบนั มีแต่จะเข้เท่านั้นที่เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดที่ใช้บรรเลงอยู่ในวงดนตรีมอญที่เรียกว่า “ทะแยมอญ” หรือวงเครื่องสายมอญ จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีของมอญที่เรียกว่า “จยาม” ซึ่งแปลว่าจระเข้ เพราะจะเข้ ของมอญท�ำเป็นรูปจระเข้ทั้งตัว แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นหัว ล�ำตัว ขา และหาง มี น มส� ำ หรั บ ท� ำ ท� ำ นอง ๑๒ อั น เป็ น เครื่ อ งดี ด ที่ ว างราบไปกั บ พื้ น ตรงส่ ว นล� ำ ตั ว มี ส าย ๓ สาย มีเสียงไพเราะและน่าฟังมาก เสียงจะเข้มอญมีเสียงทุ้มนุ่มนวลไม่ก้องกังวานใส อย่ า งจะเข้ ไ ทย การดี ด จะเข้ ข องนั ก ดนตรี ที่ เ ชี่ ยวชาญสามารถท� ำให้เ กิด วิ ธีการดีด จะเข้ มากมายหลายแบบ เกิ ด ความไพเราะและเกิ ด ทางของเพลงมากมายตามทั ก ษะของ ผู้บรรเลง การบรรเลงจะเข้ของมอญจะใช้บรรเลงประสมในวงเครื่องสายมอญที่เรียกว่า “ทะแยมอญ” บรรเลงในลั ก ษณะด� ำ เนิ น ท� ำ นองเพลงพร้ อ มกั บ ซอมอญและขลุ ่ ย ไม่ มี การบรรเลงเดี่ยว

จะเข้มอญในศูนย์วัฒนธรรมมอญ เมืองเมาะละแหม่ง

สายของจะเข้มอญใช้สายไหมมาฟั่นเป็นเกลียวให้แน่นจนเป็นเส้นเชือกน�ำมาขึง เป็นสายจะเข้ ปัจจุบันใช้สายเอ็นซึ่งมีจ�ำหน่ายตามร้านขายเครื่องดนตรีทั่วไป แต่สายไหม แบบเก่ามีคุณภาพดีกว่า จะเข้ ไ ด้ ม าเป็ น เครื่ อ งดนตรี ไ ทย เมื่ อ มี ก ารน� ำ จะเข้ ม าใช้ บ รรเลงประสมวง เครื่องสายไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จะเข้ไทยมีลักษณะต่างจากจะเข้มอญเพราะไม่ท�ำเป็นตัวจระเข้ การบรรเลงจะเข้เพลงไทย นิยมบรรเลงเดี่ยวจะเข้ เป็นการอวดฝีมือนักดนตรี เช่น เดี่ยวเพลงจระเข้หางยาว เพลง ลาวแพนและเพลงสุดสงวน เป็นต้น ซึง เป็นเครื่องดนตรีประเภท “เครื่องดีด” ปัจจุบันซึงเป็นเครื่องดนตรีของล้านนา อาจารย์มณี พยอมยงค์ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของซึงกับอาจารย์เจอรี่ ดิกส์ ชาวอเมริกัน


ปี่พาทย์มอญรำ�

41

ซึ่งมาท�ำการค้นคว้าเรื่องดนตรีของล้านนาไทย ให้เหตุผลว่าล้านนาไทยได้ดนตรีชนิดนี้ มาจากมอญ (เม็ง) ซึ่งเคยเป็นใหญ่ในแถบล้านนาไทยนี้มาก่อน ปั จ จุ บั น วงปี ่ พ าทย์ ม อญบริ เ วณชายแดนไทยด้ า นสั ง ขละบุ รี จั ง หวั ด กาญจนบุ รี ของไทยและเมืองเมาะละแหม่งของรัฐมอญ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ มีนักดนตรี มอญน�ำซึงมาร่วมบรรเลงด้วย

เครื่องสี เครื่ อ งสี ของมอญมี ซ อมอญส� ำ หรั บ ใช้ บ รรเลงประสมวงเครื่ อ งสายมอญหรื อ วงทะแยมอญ ซอมอญเรียกว่า “โกร้” กล่องเสียงของซอมอญมีรูปร่างคล้ายไวโอลิน แต่ ด้านบนที่เป็นโขนมีรูปทรงกระบอกปากบานน้อยๆ แกะสลักเป็นรูปต่างๆ อย่างสวยงาม เช่น รูปดอกพิกุล ลายเครือเถา รูปเทวดา รูปหงส์ เป็นต้น สายซอมอญมี ๓ สาย คันชัก แยกออกจากตัวซอเช่นเดียวกับซอสามสายของไทย สายคันชักท�ำจากหางม้าเมื่อสีจึงมี เสียงไพเราะ ใช้เทคนิคการสีที่สลับซับซ้อนและต้องปรับตัวซออยู่ตลอดเวลาระหว่างการสี เพื่อให้คันชักสัมผัสกับสายซอเพื่อให้เกิดเสียงต่างๆ ตามท�ำนองของเพลงที่บรรเลง เสียง แต่ละสายห่างเป็นคู่ห้า การบรรเลงส่วนใหญ่จะใช้สายที่หนึ่งและสายที่สอง การสีซอมอญ ผู้สีซอจะตั้งซอที่พื้นด้านหน้าของผู้สีเช่นเดียวกับการสีซอสามสายของไทย

ซอมอญในพิพิธภัณฑ์มอญเมืองเมาะละแหม่ง


42

ปี่พาทย์มอญรำ�

เครื่องตี เครื่องดนตรีมอญที่เป็นเครื่องตีมี ๓ ประเภท ดังนี้ ๑. เครื่องตีที่ท�ำด้วยโลหะ ได้แก่ ฆ้องมอญและโหม่ง ฆ้องมอญ มอญเรียกว่า “ป้าตกาง” เป็นฆ้องวงที่ตั้งวงฆ้องโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง ไม่วางราบเหมือนฆ้องวงไทย ตัวร้านของฆ้องมอญท�ำด้วยไม้มักประดิษฐ์ตกแต่งกันอย่าง สวยงาม แกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ทาสีหรือปิดทองประดับกระจกแลดูสวยงามมาก ฆ้องมอญโบราณที่ตั้งแสดงอยู่ที่ศูนย์วัฒนธรรมมอญเมืองเมาะละแหม่งในรัฐมอญ แกะสลัก เป็นรูปเทวดายืนอยู่ที่หัวโค้งของฆ้องมอญทั้งสองด้าน ต่อมามีการแกะสลักหัวโค้งของ ฆ้องมอญทางด้านซ้ายของผู้บรรเลงเป็นรูปกินนรเรียกว่า “หน้าพระ” และทางหัวโค้งด้านขวา ของผู้บรรเลงเป็นรูปพู่ปลายหางของกินนร ตรงกลางโค้งแกะเป็นลายต่างๆ อย่างสวยงาม มี เ ท้ า รองตรงกลางโค้ ง อย่ า งเท้ า ของระนาดเอก มี ฆ ้ อ งมอญจ� ำ นวนน้ อ ยมากที่ ตั ว ร้ า น ของฆ้องไม่ได้แกะสลักเพียงแต่ทาสีพองาม ซึ่งมีอยู่ตามชุมชนมอญที่อยู่ใกล้ๆ ชายแดน ไทยและพม่า ฆ้องมอญของวงปี่พาทย์มอญสุดใจศิลป์ ต� ำบลบางตะไนย์ อ�ำเภอปากเกร็ด จั ง หวั ด นนทบุ รี มีอ ยู่โค้ง หนึ่ง มีอ ายุเก่าแก่ที่หัวโค้งทั้งสองด้านแกะสลักเป็นรูปเทวดายืน วงปี่พาทย์สุดใจศิลป์ได้ตั้งฆ้องมอญดังกล่าวนี้ไว้เป็นประธานของเครื่ อ งปี ่ พ าทย์ ทั้ ง หมด เพื่อเป็นที่เคารพบูชา

ฆ้องมอญในพิพิธภัณฑ์มอญ เมืองเมาะละแหม่ง


ปี่พาทย์มอญรำ�

43

ฆ้องมอญในสมาคมมอญ เมืองย่างกุ้ง

ลูกฆ้องมอญท�ำด้วยทองเหลือง

ลูกฆ้องมอญหล่อด้วยทองเหลืองเป็นทรงกระบอกรูปฉัตร มีปุ่มอยู่กลางคล้ายกับ ลูกฆ้องของไทย ฆ้องมอญมีลูกฆ้อง ๑๕ ลูก (ฆ้องไทยวงใหญ่มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก) เจาะรู ลูกฆ้องทางขอบฉัตรลูกละ ๔ รู ใช้เชือกหนังร้อยผูกกับเรือนฆ้องให้ปุ่มลูกฆ้องอยู่ด้านนอก ผู ก เรี ย งล� ำ ดั บ จากลู ก ต้ น ไปหาลู ก ยอดตั้ ง แต่ ใ หญ่ ไ ปหาเล็ ก เรี ย งตามล� ำ ดั บ เสี ย งตั้ ง แต่ ต�่ำไปหาสูง ลูกต้นวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๔ เซนติเมตร อยู่ทางด้านซ้ายมือของผู้ตี ลู กยอดวั ด เส้ น ผ่ าศูนย์กลางประมาณ ๑๒ เซนติเ มตร อยู่ทางขวามือของผู้ตี ตีด้วยไม้ ตีฆ้องของมอญเป็นท่อนไม้กลมยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ เซนติ เ มตร ด้ า นที่ ใ ช้ ตี พั น ด้ ว ยผ้ า หนาประมาณ ๒ - ๓ มิ ล ลิ เ มตร ยาวประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ส่วนด้านที่จับนั้นยาวประมาณ ๑๐ เซนติเมตร เครื่องดนตรีประเภทฆ้องของมอญโบราณ นอกจากฆ้องมอญที่ใช้บรรเลงในวง ปี่พาทย์มอญที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ มีฆ้องมอญอีก ๒ ชนิด คือ ฆ้องราว น�ำฆ้องมาแขวนบนราวเรียงตามขนาดของฆ้อง


44

ปี่พาทย์มอญรำ�

ร้านฆ้องกระแตโบราณ หัวโค้งแกะสลักเป็นรูปเทวดายืน คณะสุดใจศิลป์ ปัจจุบันตั้งไว้เป็นที่เคารพบูชา (มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘)

ฆ้องกระแต ร้านฆ้องโค้งงอขึ้นเหมือนฆ้องมอญ แต่ปลายสั้นกว่า ลูกฆ้องมีเพียง ๑๑ ลูก น้อยกว่าฆ้องมอญที่มี ๑๕ ลูก โหม่ง หรือ ฆ้องโหม่ง มอญเรียกว่า “มอง” เป็นเครื่องตีที่ท�ำด้วยโลหะรูปร่าง คล้ายฉาบ คือ มีปุ่มกลมอยู่ตรงกลาง มีฐานแผ่จากปุ่มกลมตรงกลางโดยรอบ โหม่งมีส่วนที่ แตกต่างจากฉาบคือตรงขอบหักมุมออกเป็นขอบคนละด้านที่เป็นปุ่มที่โป่งออกมาหล่อโลหะ และมีความหนามากกว่าฉาบ รูปแบบของฆ้องจึงคล้ายฉัตร ที่ขอบฉัตรเจาะรู ๒ รูไว้ร้อย เส้ น เชื อ กหรื อ เส้ น หนั ง ส� ำ หรั บ ห้ อ ยฆ้ อ งโหม่ ง ไม้ ตี ท� ำ ด้ ว ยไม้ ตรงหั ว ไม้ ตี ท� ำ เป็ น ตุ ้ ม พันผ้าห่อหุ้มและถักหรือรัดด้วยเชือกให้แน่น ใช้ตีตรงปุ่มกลางของฆ้องโหม่ง โหม่งหรือฆ้องโหม่งในวงปี่พาทย์มอญมี ๓ ลูก มีขนาดลดหลั่นกัน ขนาดใหญ่ ๑ ลูก ขนาดกลาง ๑ ลูกและขนาดเล็ก ๑ ลูก ขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔๕ เซนติ เ มตร ขนาดกลางมี เ ส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลางประมาณ ๔๐ เซนติ เ มตร ขนาดเล็ ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร โหม่งทั้งสามแขวนอยู่ที่กระจังโหม่งที่แกะสลัก ลงรักปิดทองและประดับกระจกอย่างสวยงาม โหม่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทก�ำกับจังหวะ ในการบรรเลงปี่พาทย์มอญ ระดับเสียงของโหม่งแต่ละใบจะแตกต่างกันเมื่อตีตามล�ำดับ ของขนาดโหม่งจากขนาดเล็ก กลางและใหญ่แล้ว จะได้เสียงดังเป็น โม้ง โมง โหม่ง


ปี่พาทย์มอญรำ�

ฆ้องโหม่ง

45

โหม่งพร้อมกระจังโหม่ง

โหม่งและกระจังโหม่งที่แกะสลักลงรักปิดทองไว้อย่างสวยงามนั้น เมื่อน� ำมาตั้ง ประสมวงปี ่ พ าทย์ ม อญจะตั้ ง ไว้ ด ้ า นหน้ า ทางขวาของวง จึ ง เป็ น เอกลั ก ษณ์ แ ละจุ ด เด่ น ของวงปี่พาทย์มอญเช่นเดียวกับฆ้องมอญ ท�ำให้วงปี่พาทย์มอญมีความอลังการสวยงาม อย่างยิ่ง ฉาบใหญ่ มอญเรียกว่า ชานโน้ ก เป็นเครื่องดนตรีที่มีหน้าที่ควบคุมจังหวะ ในวงปี ่ พ าทย์ ม อญ วิ ธี ก ารตี ฉ าบใหญ่ ใ นวงปี ่ พ าทย์ ม อญมี ลั ก ษณะเฉพาะ กล่ า วคื อ การตี ก� ำ กั บ จั ง หวะฉาบใหญ่ แ ทนที่ จ ะลงที่ จั ง หวะตก แต่ ก ลั บ ไปย�้ ำ หรื อ เน้ น เสี ย งหนั ก ลงที่จังหวะยกตรงกับจังหวะเสียง “ฉิ่ง....” ของฉิ่งและจะเบาเสียงลงตรงที่เสียง “ฉับ” ฉาบเล็ ก มอญเรียกว่า ชานโด้ ด ตีหลอกล้อไปกับการประกอบจังหวะของ เครื่องดนตรีประกอบจังหวะอื่นๆ เช่น ฉิ่ง และกลอง ฉิ่ง มอญเรียกว่า คะเด มีหน้าที่ควบคุมจังหวะแสดงจังหวะหนักเบาด้วย ท�ำให้ เกิดจังหวะเพลง


46

ปี่พาทย์มอญรำ�

๒. เครื่องตีที่ท�ำด้วยไม้ ได้แก่ ระนาด ตะขาบ กรับ โกร่ง ระนาด มอญเรียกว่า “ป้าตตะลา หรือ ป้าตกะลา” ภาษามอญ ป้าต แปลว่า เครื่องดนตรี กะลา หรือตะลา แปลว่า กล่อง หีบหรือราง เนื่องจากรูปร่างของรางระนาด ที่ ท� ำ เป็ น รู ป กล่ อ งหรื อ หี บ มอญจึ ง เรี ย กเครื่ อ งดนตรี นี้ ว ่ า ป้ า ตตะลา หรื อ ป้ า ตกะลา พม่ า ได้ น� ำ ระนาดของมอญไปใช้ แ ละเรี ย กระนาดมอญส� ำ เนี ย งพม่ า ซึ่ ง เพี้ ย นไปจาก ภาษามอญว่า “ป้าตจยา” รางระนาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายล�ำเรือเพื่อให้อุ้มเสียง ทางหัว และท้ า ยโค้ ง ขึ้ น น้ อ ยๆ ไม่ โ ค้ ง มากอย่ า งฆ้ อ งมอญ มี แ ผ่ น ไม้ ป ิ ด หั ว และท้ า ยรางระนาด เรียกว่า โขน ลูกระนาดท�ำด้วยไม้ไผ่บงหรือไผ่ตง หรือแก่นไม้ เช่น ไม้ชิงชัน ไม้มะหาด เป็นต้น แต่ที่นิยมเป็นไม้ไผ่บงที่มอญเรียกว่า “ป้าตกะลาตุ้น” เพราะว่ามีเสียงไพเราะดี ระนาดมีเท้ารองรางตรงส่วนโค้งตอนกลางมีเท้าเดียว ป้าตกะลาหรือระนาดเป็นเครื่องดนตรีของมอญมาแต่เดิม อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้กล่าวถึงที่มาของระนาดในหนังสือสารัตถะดนตรีไทย (สารัตถะดนตรีไทย, ๒๕๒๘, น.๕๕) ดังนี้ “ที่ นี้ ม าถึ ง สมั ย อยุ ธ ยานั บ ว่ า มี ร ะนาดขึ้ น แต่ ก ารที่ มี ร ะนาดขึ้ น นี้ เ ราก็ จ ะต้ อ ง หาเหตุ ผ ลดู ก ่ อ นว่ า เกิ ด ระนาดขึ้ น ได้ อ ย่ า งไร เมื อ งอยุ ธ ยานี้ ต ามประวั ติ ศ าสตร์ โ ดยมาก เชื่ อ ถื อ กั น ว่ า สื บ เนื่ อ งมาจากอู ่ ท องและสื บ เนื่ อ งมาจากทวารวดี ด ้ ว ย ทวารวดี นั้ น นักประวัติศาสตร์ก็กล่าวว่าชาวเมืองพูดภาษามอญมีวัฒนธรรมอย่างมอญโดยมาก มอญนั้น เครื่องดนตรีเขามีระนาดอยู่ ไทยอาจจะได้ระนาดมาตั้งแต่สมัยอู่ทองและมาอยู่อยุธยา ยังไม่ได้รวมกับสุโขทัยก็ได้ ครั้นเมื่อสุโขทัยมาขึ้นอยู่กับอยุธยาวงปี่พาทย์ได้สัมพันธ์กัน เข้าใจว่าในตอนนี้เองที่ท�ำให้ปี่พาทย์สมัยอยุธยาเกิดมีระนาดขึ้นเป็นเครื่องตีอย่างที่เรา ปฏิบัติกันอยู่ในสมัยนี้” ตะขาบ มอญเรียกว่า “ฮะด้าบ” ท�ำด้วยไม้ไผ่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๘ - ๑๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๙๐ เซนติเมตร ผ่ากลางจากด้านบนลงมาประมาณ ๗๐ เซนติเมตร เป็นไม้ไผ่สองซีกอยู่ด้านบน ด้านล่างเป็นกระบอกกลม ใช้ตีก� ำกับจังหวะ คล้ายกรับ คนตีจับซีกไม้มือละซีก จับแยกซีกไม้ทั้งสองแยกจากกันแล้วตีให้ซีกไม้ทั้งสอง กระทบกันให้มีเสียง ตรงที่มือจับถากซีกไม้ไผ่แต่ละซีกให้เว้าพอที่ใช้ฝ่ามือจับได้สะดวก ในขณะแยกไม้ทงั้ สองซีกและตีให้กระทบกัน ฮะด้าบหรือตะขาบใช้ตปี ระกอบวงปีพ่ าทย์มอญ เฉพาะในพิธีร�ำผีมอญเท่านั้น


ปี่พาทย์มอญรำ�

47

ตะขาบ หรือฮะด้าบ ในพิธีร�ำผีหมู่บ้านปอง รัฐมอญ (พ.ศ. ๒๕๔๗)

โกร่ง มอญเรียกว่า “คะด้าบกลึ่น” เป็นเครื่องตีท�ำด้วยไม้ไผ่ทั้งล�ำมีความยาว ประมาณ ๑ - ๒ วา หรื อ ยาวมากกว่ า นี้ ปาดเป็ น รู ย าวตามปล้ อ งไม้ ไ ผ่ ทั้ ง สองด้ า น เว้นตรงข้อเพื่อให้เกิดเสียงก้องเมื่อตี เวลาตีวางล�ำไม้ไผ่ราบไปกับพื้นมีไม้ท่อนวางขวาง หนุนหัวและท้ายล�ำไม้ไผ่ให้สูงจากพื้นเพื่อให้เกิดเสียงก้องเมื่อตี ถ้าล�ำไม้ไผ่ยาวต้องเสริม ไม้ท่อนหนุนกลางล� ำไม้ไผ่เพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้ล� ำไม้ไผ่แตะกับพื้นเมื่อมีการตี ไม้ตีท� ำด้วย ท่อนไม้ขนาดพอก�ำได้ ความยาวของไม้ตีประมาณ ๕๐ - ๖๐ เซนติเมตร โกร่งใช้ตีประกอบจังหวะ ใช้คนตีมากกว่าหนึ่งคนในการบรรเลงวงปี่พาทย์มอญ ประกอบการร�ำที่เรียกว่ามอญร�ำในบางโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร�ำในงานบ�ำเพ็ญกุศล ที่วัด ชาวบ้านจะขอมีส่วนร่วมการท�ำบุญด้วยการน�ำไม้ไผ่ล�ำยาวมาวางที่ด้านหน้าหรือ ด้านหลังของวงปีพ่ าทย์มอญ ชาวบ้านจะนัง่ เรียงเป็นแถวตามความยาวของล�ำไม้ไผ่พร้อมกับ ตีล�ำไม้ไผ่เป็นจังหวะ ขณะที่มือตีล�ำไม้ไผ่เป็นจังหวะนั้นปากก็ร้องเป็นจังหวะไปด้วย ดังนี้ เสียงร้อง เสียงตีไม้

------------------โย้น

โย้น-------------ขวับ--------------

เสียงการให้จังหวะจึงเป็นดังนี้ -------------------โย้น

โย้น---------------------

ขวับ--------------


48

ปี่พาทย์มอญรำ�

กรับ มอญเรียกว่า คะร้าบ ท�ำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกยาวประมาณ ๔๕ เซนติเมตร ๒ อัน ใช้ตีกระทบกันให้เกิดเสียง ใช้ในวงปี่พาทย์มอญในพิธีร�ำผี ใช้ตีก�ำกับจังหวะ ๓. เครื่องตีที่ท�ำด้วยหนัง ได้แก่ ตะโพนมอญ เปิงมาง กลอง ตะโพนมอญ มอญเรียกว่า “ฮะเปิ้น” หรือ “ถะเปิ้น” ตัวตะโพนหรือหุ่นท�ำด้วย ไม้ (ไม้สักหรือไม้ขนุนนิยมท�ำกันมากกว่าไม้อื่นๆ) ตัดตามขวางแล้วเจาะกลางให้กลวง เป็นหุ่น ขุดแต่งให้เป็นรูปทรงกระบอกกลึงคว้านข้างในจนเป็นโพรง ตรงกลางไม่ป่องมาก แต่หน้าทั้งสองไม่เท่ากัน มีหน้าใหญ่ด้านหนึ่งและหน้าเล็กอีกด้านหนึ่ง ขึ้นหน้าทั้งสองข้าง ด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียงที่เรียกว่า หนั ง เรี ย ด หน้าใหญ่ เส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลางประมาณ ๔๒ เซนติ เ มตร หน้ า เล็ ก กว้ า งประมาณ ๓๕ เซนติ เ มตร หน้ า ใหญ่ เ รี ย กว่ า หน้ า เท่ ง มอญเรี ย ก “เมิ้ ก โน้ ก ” มี เ สี ย งต�่ ำ หน้ า เล็ ก เรี ย กว่ า หน้าทึง มอญเรียกว่า “เมิ้กโด้ด” มีเสียงสูง ตั ว ตะโพนยาวประมาณ ๗๐ เซนติ เ มตร ตรงรอบขอบหนังขึ้นหน้าถักด้วยไส้ละมาน เป็ น หนั ง ตี เ กลี ย วเส้ น เล็ ก ๆ จากนั้ น จึ ง เอา หนังเรียดร้อยในช่องของไส้ละมานทัง้ สองหน้า โยงไปให้แน่นและเรียงชิดติดกันจนไม่เห็น เนื้อไม้ของหุ่นตะโพน ด้านบนตรงขอบหนัง ทั้ ง สองหน้ า ท� ำ เป็ น หู หิ้ ว มี ข ารองท� ำ ด้ ว ยไม้ ตะโพนมอญใช้ บ รรเลงในวงปี่พ าทย์ม อญ เป็ น เครื่ อ งดนตรี ที่ ท� ำ หน้ า ที่ ก� ำ กั บ จั ง หวะ หน้ า ทั บ ต่ า งๆ ในการบรรเลงเพลงมอญ มี เ สี ย งทุ ้ ม และลึ ก กว่ า เสี ย งตะโพนไทย ขนาดของตะโพนมอญมี ข นาดใหญ่ ก ว่ า ตะโพนไทย ตะโพนมอญเป็ น เครื่ อ งดนตรี ที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด เสี ย งต่ า งๆ แตกต่ า งกั น มากที่ สุ ด เช่นเดียวกับตะโพนไทย นักดนตรีได้ก�ำหนดเสียงตะโพนมอญไว้มากถึง ๑๒ เสียง เสียง ต่างๆ ดังกล่าวเกิดจากการใช้มือทั้งสองข้างตามอาการของมือที่ตีบนหน้าตะโพนทั้งสอง หน้าที่แตกต่างกันไป มือซ้ายตีที่หน้าใหญ่หรือหน้าเท่งที่มีเสียงต�่ำ ส่วนมือขวาตีที่หน้าเล็ก หรือหน้าทึงที่มีเสียงสูง


ปี่พาทย์มอญรำ�

49

เปิ ง มาง มอญเรียกว่า “ปุ ง ตั ง ” เป็นกลองสองหน้าใช้มือตี รูปทรงกระบอก ยาวป่ อ งกลางนิ ด หน่ อ ย หุ ่ น กลองท� ำ ด้ ว ยไม้ หน้ า ทั้ ง สองมี ข นาดเกื อ บเท่ า กั น ขึ้ น หนั ง ทั้ ง สองหน้ า ใช้ เ อ็ น ขึ ง ดึ ง หน้ า ทั้ ง สองให้ ตึ ง สายที่ ขึ ง นี้ เ รี ย กว่ า หนั ง เรี ย ด ร้ อ ยจากหนั ง ไส้ละมานเรียงกันถี่ๆ จนไม่เห็นหุ่นกลอง เปิงมางบางลูกมีรัดอกเหมือนรัดอกตะโพน เปิงมางท�ำหน้าที่เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ใช้ตีประกอบจังหวะในการ ขับร้องบรรเลงในวงเครื่องสายมอญที่เรียกว่าวงทะแยมอญ และประกอบจังหวะการบรรเลง ปี่พาทย์มอญบางเพลงที่มีจังหวะหน้าทับมอญ ไทยได้น�ำปุงตังของมอญมาใช้และเรียกเพี้ยนไปว่าเปิงมาง นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้กล่าวถึงการใช้เปิงมางในการประโคมดนตรีของไทย (ธนิต อยู่โพธิ์, ๒๕๒๐, น.๕๖) ดังนี้ “นั ก ดนตรี ไ ทยได้ น� ำ เอาเปิ ง มางมาใช้ แ ละสร้ า งขึ้ น มี ข นาดหน้ า ข้ า งหนึ่ ง กว้ า ง ประมาณ ๑๗ เซนติเมตร ต้องติดข้าวสุกบดผสมขี้เถ้าเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ ส่วนอีก หน้าหนึ่งกว้างประมาณ ๑๖ เซนติเมตร ไม่ต้องติดข้าวสุกผสมขี้เถ้า ท�ำตัวกลองให้ยาวกว่า ที่ใช้ในวงปี่พาทย์มอญ คือยาวประมาณ ๔๕ เซนติเมตร มีห่วงหนังผูกโยงสายส�ำหรับ คล้องคอใช้เดินตีก็ได้ เช่น ใช้ตีน�ำกลองชนะในขบวนเสด็จพยุหยาตรา หรือตีประโคมประจ�ำ พระบรมศพ พระศพเจ้านาย คนตีเปิงมางน�ำกลองชนะนี้เรียกว่า “จ่ากลอง” คู่กับคนเป่าปี่ ซึ่งเรียกกันว่า “จ่าปี่” .....”

กลองชนะในขบวนเสด็จพยุหยาตราในจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดอัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม (มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘)


50

ปี่พาทย์มอญรำ�

วงปี ่ พ าทย์ ม อญได้ น� ำ เปิ ง มาง จ�ำนวน ๗ ลูกมาแขวนเรียงตามล�ำดับ เสียง เรียกว่า เปิงมางคอก เปิ ง มางคอกที่ ใ ช้ บ รรเลงในวง ปี่พาทย์มอญในรัฐมอญมีจ�ำนวนเปิงมาง ถึง ๑๐ ลูก มอญเรียกว่า “ป้าตโกนเจ๊าะห์” ป้าต แปลว่า เครื่องดนตรี โกน แปลว่า ลูก เจ๊าะห์ แปลว่า สิบ ป้าตโกนเจ๊าะห์ จึ ง หมายถึ ง เครื่ อ งดนตรี สิ บ ลู ก หรื อ เปิ ง มางคอกสิ บ ลู ก เปิ ง มางคอกนี้ สามารถตีดำ� เนินเป็นท�ำนองได้นอกเหนือ จากการตีก�ำกับจังหวะเพลง เสียงที่เกิดจากเปิงมางหลายใบ แม้ไม่ใช่เป็นการตีด�ำเนินท�ำนอง แต่เมื่อท�ำให้เกิด เสียงสูงๆ ต�่ำๆ ประสมคลุกเคล้ากับเสียงเครื่องดนตรีอื่นๆ ที่ด�ำเนินท�ำนองแล้ว ท�ำให้เกิด จังหวะและความไพเราะของเพลง ท�ำให้เพลงที่บรรเลงเช่นนี้มีอรรถรสน่าฟังยิ่งขึ้น เปิ ง มางใช้ ป ระสมในการบรรเลงปี ่ พ าทย์ ม อญ มี ห น้ า ที่ ป ระกอบจั ง หวะหน้ า ทั บ ตีขัดสอดประสานควบคู่กับตะโพนมอญ ด้วยท่วงท�ำนองและเสียงของเปิงมางทั้ง ๗ ลูก ที่มีความเลื่อนไหลสอดประสานและทั้งล้อทั้งขัดกับเสียงทุ้มลึกของตะโพนมอญ ประกอบกับ ท่าทางและลีลาของผู้ตีเปิงมางที่ตีอย่างมีชีวิตชีวา จะยิ่งช่วยเสริมให้เกิดเสียงทุ้มลึกของ ตะโพนมอญและเสียงประสานสอดสลับประกอบท�ำนองของเปิงมาง ท�ำให้การบรรเลง เพลงมอญมีความไพเราะน่าฟังยิ่งนัก อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสนใจให้เกิดขึ้นกับ ผู้ได้รับฟังการบรรเลงปี่พาทย์มอญมากยิ่งขึ้น ต่อมานักดนตรีของมอญได้น�ำเปิงมางของมอญไปปรับปรุงโดยใช้เปิงมาง ๑๖ ลูก พม่าได้น�ำเปิงมางคอกของมอญไปใช้แต่ท�ำคอกเตี้ยกว่าของมอญซึ่งคล้ายกับฆ้องวงไทย นายธนิ ต อยู ่ โ พธิ์ อดี ต อธิ บ ดี ก รมศิ ล ปากร ได้ ก ล่ า วถึ ง เปิ ง มางพม่ า ในหนั ง สื อ ประวั ติ เครื่องดนตรีไทย (ธนิต อยู่โพธิ์, ๒๕๒๐, น.๕๖) ดังนี้ “เครื่องตีแบบเปิงมางคอกในวงปี่พาทย์ของพม่าก็มีแต่คอกเตี้ยกว่าและมี ๑๖ ลูก ท�ำเป็นกลองวงอย่างฆ้องวงของเราเรียงตัง้ แต่ขนาดใหญ่ลงไปถึงเล็กใช้บรรเลงเป็นท�ำนองได้”


ปี่พาทย์มอญรำ�

51

ราวของเปิงมางมีการแกะสลักลวดลายและปิดทองลงรักประดับกระจกอย่าง สวยงาม เมื่อน�ำมาประสมวงปี่พาทย์มอญ จะตั้งอยู่ทางด้านหน้าซ้ายมือของวงปี่พาทย์มอญ ความสวยงามของราวเปิงมางจะท�ำให้วงปี่พาทย์มอญมีความสวยงามอลังการมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากความไพเราะของการบรรเลงของวงปี่พาทย์มอญ

เครื่องเป่า เครื่องดนตรีมอญที่เป็นเครื่องเป่า มีดังนี้ ขลุ ่ ย มอญ มอญเรี ย กว่ า “อะโล้ ด ” ท� ำ จากไม้ ไ ผ่ เ หมื อ นขลุ ่ ย ไทย เป็ น ไม้ ร วก ปล้องยาวไว้ข้อทางปลายแต่ข้อต้องเจาะให้ทะลุ ด้านหน้าเจาะรูกลมเรียงเป็นแถวในแนว เดียวกันจ�ำนวน ๗ รู ใช้นิ้วปิดเปิดรูทั้ง ๗ นี้ เพื่อปรับเปลี่ยนให้มีเสียงต่างๆ ขณะเป่า ตรงต้น ของขลุ ่ ย เป็ น ที่ เ ป่ า ท� ำ ไม้ อุ ด เต็ ม ปล้ อ ง แต่ ป ากด้ า นล่ า งให้ มี ช ่ อ งส� ำ หรั บ เป่ า ให้ ล มเข้ า ไม้อุดนี้เรียกว่า “ดาก” ผู้เป่าขลุ่ยต้องใช้ริมฝีปากอมที่มุมล่างตรงช่องนั้นแล้วเปิดริมฝีปาก ให้ลมเป่าเข้าไปในเลาจะท�ำให้เกิดเป็นเสียง ด้านหลังใต้ดากเจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ปากขอบล่างเป็นทางเฉียงเรียก รูปากนกแก้ว ใต้รูปากนกแก้วเจาะรูอีกรูหนึ่งเรียกว่า รูนิ้วค�้ำ เวลาเป่าต้องเอานิ้วหัวแม่มือค�้ำปิดที่รูนี้ตรงด้านขวา เหนือรูนิ้วค�้ำด้านหลังและ เหนือรูบนของ ๗ รู ด้านหน้าเจาะรูอีก ๑ รูเรียกว่า รูเยื่อ เพราะเวลาเป่าขลุ่ยจะใช้เยื่อไม้ไผ่ ปิดที่รูนี้ ปัจจุบันใช้กระดาษบางๆ ปิดแทนเยื่อไม้ไผ่ ตรงปลายเลาของขลุ่ยเจาะรูร้อยเชือก ส�ำหรับแขวนเก็บขลุ่ยหรือคล้องมือถือ ระดับเสียงของขลุ่ยมอญต�่ำกว่าขลุ่ยเพียงออประมาณ ๓ เสียง เยื่อไม้ไผ่บางๆ ที่ปิด ที่ รู ท� ำ ให้ เ สี ย งขลุ ่ ย มี เ สี ย งพร่ า ๆ เสี ย งขลุ ่ ย มอญเมื่ อ เที ย บกั บ ระดั บ เสี ย งของดนตรี ไ ทย จะตรงกั บ ทางเพี ย งออล่ า ง ซึ่ ง ระดั บ เสี ย งต�่ ำ กว่ า ขลุ ่ ย ไทย ขลุ ่ ย มอญใช้ บ รรเลงในวง เครื่องสายมอญประกอบการขับร้องเพลงทะแยมอญ ปี่มอญ มอญเรียกว่า “คะนัว” หรือ “เป” ปี่มอญมีขนาดใหญ่ท�ำเป็น ๒ ส่วนเหมือน ปี่ชวา คือเป็นส่วนเลาปี่ส่วนหนึ่งและเป็นส่วนล�ำโพงอีกส่วนหนึ่ง ส่วนที่เป็นเลาปี่ท�ำด้วย ไม้จริง เช่น ไม้ชิงชันหรือไม้สัก กลึงให้กลมยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ตรงส่วนบน ที่เป็นหัวของเลาปี่ส�ำหรับเป่านั้นกลึงเป็นลูกแก้วคั่นส�ำหรับเสียบก�ำพวด ก�ำพวดมีความยาว ประมาณ ๘ - ๙ เซนติเมตร มีแผ่นกะบังลมส�ำหรับกันริมฝีปากผู้เป่า ต่อจากรูที่เสียบ ก� ำ พวดประมาณ ๖ เซนติ เ มตร กลึ ง เป็ น ลู ก แก้ ว คั่ น อี ก ๑ ลู ก ตั ว เลาปี ่ ด ้ า นหน้ า เจาะรู เรียงนิ้ว ๗ รูเรียงกันส�ำหรับท�ำล�ำน�ำ ด้านหลังของเลาปี่เจาะรูนิ้วค�้ำอีก ๑ รู ส่วนล�ำโพง ท� ำ ด้ ว ยทองเหลื อ งยาวประมาณ ๒๗ เซนติ เ มตร ส่ ว นบนของล� ำ โพงตรงที่ ส วมเข้ า กั บ


52

ปี่พาทย์มอญรำ�

เลาปี ่ ท� ำ เป็ น ลู ก แก้ ว ช่ อ งปากล� ำ โพงกว้ า ง ประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ถ้ารวมทั้งใบบานที่ กางออกจากปากล� ำ โพงโดยรอบด้ ว ยรวม เส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลางประมาณ ๒๒ เซนติ เ มตร เลาปี่กับล�ำโพงจะสวมเข้าด้วยกันอย่างหลวมๆ หลุดออกจากกันได้ง่าย จึงต้องมีเชือกผูกล�ำโพง ท่ อ นบนโยงมาผู ก ไว้ กั บ เลาปี ่ ต อนบนเหนื อ ลู ก แก้ ว ด้ ว ยวิ ธี ผู ก เชื อ กที่ เ รี ย กว่ า เงื่ อ น สั น ปลาช่ อ น ล� ำ โพงขนาดใหญ่ ข องปี ่ ม อญ ช่ ว ยท� ำ ให้ เ สี ย งปี ่ ม อญมี ค วามกั ง วาน มี เ สี ย ง ทุ้มและนุ่มนวล หน้ า ที่ ข องปี ่ ม อญเมื่ อ บรรเลงในวง ปีพ่ าทย์มอญ คือการท�ำล�ำน�ำด�ำเนินท�ำนองเพลง ด้วยเสียงที่ทุ้มนุ่มนวลชวนฟัง

การประสมวงดนตรีมอญแต่ละประเภท เครื่ อ งดนตรี ม อญแต่ ล ะชนิ ด มี เ สี ย งที่ แ ตกต่ า งกั น และเสี ย งของเครื่ อ งดนตรี แต่ละอย่างมีการกระตุ้นทางอารมณ์ต่อผู้ฟังต่างกัน เช่น เสียงฆ้องมอญ เสียงปี่มอญ เป็นต้น ต่างมีคุณภาพทางเสียงดนตรีไม่เหมือนกัน ทางภาษาดนตรีเรียกว่ามีสี (Tone Colour) ที่ต่างกัน การฟังเพลงด้วยดนตรีเพียงชิ้นเดียวย่อมเกิดอารมณ์อย่างหนึ่ง แต่เมื่อได้ฟังเพลง ที่บรรเลงด้วยดนตรีหลายชิ้นต่างชนิดกันก็ยิ่งเพิ่มความรู้สึกที่แปลกใหม่แตกต่างกันออกไป ทั้งในด้านคุณภาพของเสียงและความไพเราะของการประสานเสียง นักดนตรีมอญจึงมี การน�ำเครื่องดนตรีชนิดต่างกันมาบรรเลงร่วมกันในลักษณะการประสมวงมาแต่โบราณกาล การประสมวงคือ การที่นักดนตรีน�ำเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งที่เป็นเครื่องดนตรี ที่ เ ป็ น ประเภทด� ำ เนิ น ท� ำ นอง เช่ น ฆ้ อ ง ระนาด ปี ่ ซอ จะเข้ และเครื่ อ งดนตรี ป ระเภท ก�ำกับจังหวะ เช่น ตะโพน กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง มาบรรเลงรวมกันอย่างมีหลักเกณฑ์ ที่ ดี เพื่ อ ให้ เ ครื่ อ งดนตรี แ ต่ ล ะชนิ ด ที่ น� ำ มาบรรเลงรวมกั น นั้ น ได้ ท� ำ หน้ า ที่ ข องตนอย่ า ง กลมกลืนและสมบูรณ์ ไม่มีการก้าวก่ายขัดแย้งแทรกแซงกัน การน�ำเครื่องดนตรีประเภท ต่างๆ มาประสมวงจึงเป็นเรื่องส�ำคัญที่นักดนตรีจะต้องใช้ความละเอียดพิถีพิถันอย่างมาก เพื่อให้เกิดความสุนทรีย์ทางโสตสัมผัสของผู้ฟังและคุณค่าของเพลง


ปี่พาทย์มอญรำ�

53

ภาพลายปู น ปั ้ น นั ก ดนตรี ม อญ ๕ คน ที่ ป รากฏอยู ่ ที่ โ บราณสถานสมั ย ทวารวดี ที่ บ ้ า นคู บั ว จั ง หวั ด ราชบุ รี เป็ น หลั ก ฐานส� ำ คั ญ ที่ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า นั ก ดนตรี ม อญรู ้ จั ก น� ำ เครื่ อ งดนตรี ต ่ า งชนิ ด มาบรรเลงร่ ว มกั น เป็ น วงดนตรี นั้ น มี ม านานนั บ พั น ปี ม าแล้ ว เครื่ อ งดนตรี ที่ น� ำ มาบรรเลงประสมกั น ต้ อ งจั ด ให้ มี ร ะดั บ เสี ย งที่ พ อเหมาะกลมกลื น กั น ทั้งด้านกระแสเสียงและความดัง นักดนตรีมอญโบราณได้ใช้ความรู้ความสามารถที่ดียิ่ง จนสามารถน�ำเครื่องดนตรีต่างชนิดมารวมบรรเลงในวงเดียวกันจนเกิดเป็นวงปี่พาทย์มอญ วงมโหรีมอญ และวงเครื่องสายมอญต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ด้วยระยะเวลาอันยาวนานของพัฒนาการทางดนตรีของมอญ รูปแบบการประสม วงดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา แม้ในปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญและวงเครื่องสาย มอญมี ก ารเปลี่ ย นแปลงไปจากเดิม แม้จ ะมีการน�ำเครื่องดนตรีไทยเข้าไปประสมในวง ปี่พาทย์มอญและวงเครื่องสายมอญ แต่เครื่องดนตรีส่วนใหญ่ยังคงเป็นเครื่องดนตรีมอญ ดั้งเดิม ผลจากการน�ำเครือ่ งดนตรีของมอญมาร่วมบรรเลงตามความเหมาะสมของเครือ่ งดนตรี แต่ละชนิด ทั้งเครื่อง ดีด สี ตีและเป่า จึงเกิดการประสมวงดนตรีมอญ ๒ ประเภท ได้แก่ วงปี่พาทย์มอญ และวงเครื่องสายมอญ

วงปี่พาทย์มอญ จากวาทย - พาทยของอินเดียเป็นป้าตในภาษามอญ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ค�ำว่า ป้าต ในภาษามอญ เป็นค�ำเรียกเครื่องดนตรีมอญ ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตของอินเดีย คือ วาทย หรือ พาทย แต่มอญออกเสียง ตัว ว หรือ พ ของภาษาสันสกฤตเป็น ป มอญจึงเรียกเครื่องดนตรีประเภทหนึ่งว่า ป้าต (ป้ า ตของมอญได้ แ พร่ ห ลายไปสู ่ พ ม่ า และล้ า นนา วงปี ่ พ าทย์ ข องเชี ย งใหม่ จึ ง เรี ย กว่ า วงป้าตตามส�ำเนียงมอญ) วงปี ่ พ าทย์ ม อญประกอบด้ ว ยเครื่ อ งดนตรี ป ระเภท เครื่ อ งตี และเครื่ อ งเป่ า มอญเรียกรวมทั้งวงปี่พาทย์ว่า วงป้าต เครื่องดนตรีที่น�ำมาผสมวงปี่พาทย์มอญจึงใช้ค�ำว่า ป้าต น�ำหน้าชื่อ ดังนี้ ป้าตกาง คือ ฆ้องมอญ เรียกตามลักษณะที่มีรูปโค้ง เป็นเครื่องตี ป้าตกะลา คือ ระนาดที่มีรูปร่างเป็นกล่องหรือหีบ เป็นเครื่องตี


54

ปี่พาทย์มอญรำ�

วงปี่พาทย์มอญ คณะสมจิตร รนขาว เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี บรรเลงที่วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๕๕๐)

ป้าตนาม คือ เครื่องหนัง ได้แก่ ตะโพนมอญและเปิงมาง เป็นเครื่องตีที่ใช้หนัง มาขึ้นหน้าของตะโพนมอญและเปิงมาง มอญเรียกหนังว่า นาม จึงรวมเรียกว่า ป้าตนาม ป้าตจยา หมายถึง ปี่มอญที่ต้องใช้ลมเป่า มอญเรียกลมว่า จยา ส�ำหรับฆ้องมอญและระนาด นักดนตรีมอญได้ก�ำหนดการเรียกเครื่องดนตรีดังกล่าวนี้ ตามวัสดุที่ใช้ท�ำเป็นลูกฆ้องหรือลูกระนาด ดังนี้ ป้าตปะซัว หมายถึง เครื่องดนตรีที่บางส่วนท�ำจากโลหะ มอญเรียกโลหะว่า ปะซัว ได้แก่ ฆ้องมอญที่ลูกฆ้องท�ำจากโลหะ ป้าตกะลาปะซัว หมายถึง ระนาดที่ผืนระนาดท�ำด้วยโลหะ ป้าตกะลาตุ้น หมายถึง ระนาดที่ผืนระนาดท�ำด้วยไม้ไผ่ มอญเรียกไม้ไผ่ว่า ตุ้น ป้าตกะลาชุ หมายถึง ระนาดที่ผืนระนาดท�ำด้วยไม้ มอญเรียกไม้ว่า ชุ

บทบาทและหน้าที่ของเครื่องดนตรีมอญในวงปี่พาทย์มอญ เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์มอญ มีทั้งประเภทด�ำเนินท�ำนองเพลงและประเภทประกอบ จังหวะ เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นจะมีบทบาทหน้าที่เฉพาะตัว แต่เมื่อน�ำมาบรรเลงร่วมกัน แล้วก่อให้เกิดการประสานเสียงสอดคล้องกลมกลืน คลอเคล้า สอดแทรกเป็นส�ำเนียง ไพเราะ นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ของครูอาจารย์ดนตรีมอญแต่โบราณ


ปี่พาทย์มอญรำ�

ดังนี้

55

เครื่องดนตรีแต่ละอย่างในวงปี่พาทย์มอญและวงเครื่องสายมอญมีหน้าที่และบทบาท

๑. ฆ้ อ งมอญวงใหญ่ ถือว่าเป็นประธานของวงปี่พาทย์มอญด้วยการท�ำหน้าที่ ส�ำคัญซึ่งถือว่าเป็นหลักของวงปี่พาทย์มอญ คือ ท�ำหน้าที่ด�ำเนินท�ำนองหลักของเพลงมอญ และเป็นประธานของวงในการขึ้นต้นเพลง ฆ้องมอญวงใหญ่มีลูกฆ้องจ�ำนวน ๑๕ ลูก (ต่างกับฆ้องไทยวงใหญ่มี ๑๖ ลูก) ระดับเสียงของฆ้องมอญวงใหญ่มีลักษณะพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์ส�ำคัญ คือ การก�ำหนดให้ บันไดเสียงของฆ้องมอญวงใหญ่มีหลุมในช่องบันไดเสียงย่านต�่ำ ซึ่งหมายถึงระดับเสียง ของลูกฆ้องมอญที่หายไป ๒ แห่งในระดับเสียงต�่ำ เมื่อเขียนเป็นตัวโน้ตเสียงฆ้องมอญ วงใหญ่เทียบ โด เร มี จากลูกทั่ง (ลูกต้น) ซึ่งมีเสียงต�่ำถึงลูกยอด เสียงสูงสุดปรากฏ ดังนี้

ลูกที่ ๑ ลูกที่ ๓ ลูกที่ ๕ ลูกที่ ๗ ลูกที่ ๙ ลูกที่ ๑๑ ลูกที่ ๑๓ ลูกที่ ๑๕

เสียง เสียง เสียง เสียง เสียง เสียง เสียง เสียง

ซอล โด มี ลา โด มี ซอล ซี

ลูกที่ ๒ ลูกที่ ๔ ลูกที่ ๖ ลูกที่ ๘ ลูกที่ ๑๐ ลูกที่ ๑๒ ลูกที่ ๑๔

ฆ้องมอญวงใหญ่ มีลูกฆ้อง ๑๕ ลูก

เสียง เสียง เสียง เสียง เสียง เสียง เสียง

ลา เร ซอล ซี เร ฟา ลา


56

ปี่พาทย์มอญรำ�

บันไดเสียงของฆ้องมอญวงใหญ่เมือ่ ดูจากโน้ตทีใ่ ช้แทนเสียงของฆ้องมอญวงใหญ่ ปรากฏว่าลูกฆ้องมอญวงใหญ่ในช่วงบันไดเสียงย่านต�่ำหรือคู่แปดล่าง มีทั้งเสียงเรียงกัน ตามล�ำดับและมีการข้ามเสียง กล่าวคือมีการข้ามเสียงระหว่างลูกที่ ๒ ถึงลูก ๓ และลูกที่ ๕ ถึงลูก ๖ ส่วนใหญ่ช่วงบันไดเสียงย่านสูงหรือช่วงคู่แปดบน ปรากฏว่ามีเสียงเรียงล�ำดับกัน ไปจนถึงเสียงสุดท้าย ไม่มีการข้ามเสียงซึ่งเขียนแผนภูมิไล่เสียงได้ ดังนี้ ล�ำดับลูกฆ้อง ๑ เสียง

๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕

ซ ลx ด ร

มxซ ล ท ด

เครื่องหมาย x คือ หลุมเสียง ซึ่งเป็นจุดที่ตัวโน้ตหายไปคือเสียงทีและเสียงฟานั้น ถื อ ว่ า เป็ น หลุ ม เสี ย ง เป็ น ข้ อ ก� ำ หนดหรื อ เงื่ อ นไขที่ นั ก ดนตรี ป ี ่ พ าทย์ ม อญจะต้ อ งใช้ ความสามารถเป็นพิเศษในการผูกมือบรรเลงฆ้องมอญวงใหญ่ มิให้ตกหลุมเสียง ซึ่งเป็น เอกลั ก ษณ์ ห รื อ ลั ก ษณะพิ เ ศษของวิ ช าการตี ฆ ้ อ งมอญวงใหญ่ ซึ่ ง ต่ า งจากการตี ฆ ้ อ งวง ของไทยเพราะฆ้ อ งวงของไทยไม่ มี ห ลุ ม เสี ย ง มี เ สี ย งเรี ย งล� ำ ดั บ ตามบั น ไดเสี ย งตั้ ง แต่ ลูกทั่งตลอดจนไปจนถึงลูกยอดทั้ง ๑๖ เสียง ด้วยเหตุดังกล่าว จึงท�ำให้ลักษณะการใช้มือ ในการบรรเลงฆ้องมอญวงใหญ่มีลักษณะเฉพาะตัว เช่นเดียวกับเสียงของฆ้องมอญวงใหญ่ ที่มีเสียงหนอดโหน่งหนึบหนับแทรกอยู่ในจังหวะการใช้มือของผู้บรรเลง การใช้มอื ของผูบ้ รรเลงฆ้องมอญวงใหญ่ จึงต้องค�ำนึงถึงท�ำนองหลักของเพลงมอญ ที่มีการบังคับท�ำนองให้มีส�ำเนียงหรือส�ำนวนเพลงเป็นเพลงมอญ และระบบการจัดเสียง บันไดเสียงของลูกฆ้องมอญในลักษณะที่มีหลุมเสียง ซึ่งท�ำให้ส�ำนวนเพลงของเพลงมอญ มีลักษณะเฉพาะเป็นส�ำเนียงมอญ ลักษณะเช่นนี้จึงท�ำให้ท�ำนองของฆ้องมอญวงใหญ่ มี ลั ก ษณะเฉพาะตนในการบรรเลงเพลงมอญ ผู ้ บ รรเลงฆ้ อ งมอญที่ มี ค วามสามารถ ในการใช้มือและมีความรู้ชัดในส�ำนวนเพลงมอญอย่างดีนั้น จะประจักษ์ได้ที่การด�ำเนิน ท� ำ นองของฆ้ อ งมอญวงใหญ่ อั น เป็ น การตอกย�้ ำ ให้ เ ห็ น ความส� ำคั ญ ของบทบาทและ หน้าที่ส�ำคัญของฆ้องมอญวงใหญ่ในฐานะประธานของวงปี่พาทย์มอญที่ว่า เสน่ห์ของ เพลงมอญปรากฏอยู่ในลีลาการด�ำเนินท�ำนองของฆ้องมอญวงใหญ่ บทบาทของฆ้ อ งมอญวงใหญ่ ใ นวงปี ่ พ าทย์ ที่ มี ลั ก ษณะพิ เ ศษทั้ ง รู ป ลั ก ษณ์ ที่ สวยงามและเสียงที่มีความไพเราะนุ่มนวลชวนฟังเช่นนี้ ฆ้องมอญวงใหญ่จึงเป็นทั้งประธาน ในการขึ้ น ต้ น เพลงและการด� ำเนิ น ท� ำนองเพลง การบรรเลงปี ่ พ าทย์ ม อญเกื อ บทุ กเพลง ต้องบรรเลงฆ้องมอญขึ้นต้นเพลง ส่วนเพลงที่ไม่ใช้ฆ้องมอญขึ้นต้นเพลงจะใช้ตะโพนมอญ ขึ้นต้นเพลง


ปี่พาทย์มอญรำ�

57

ฆ้องมอญในรัฐมอญ มีการจัดบันไดเสียงในลักษณะเดียวกันกับฆ้องมอญวงใหญ่ ในประเทศไทย กล่าวคือมีหลุมเสียงหรือกระโดดข้ามเสียงเช่นเดียวกัน ๒. ฆ้องมอญวงเล็ก แต่เดิมฆ้องมอญที่ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญมีฆ้องมอญเพียง ๑ โค้ง ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โบราณาจารย์ทางดุริยางค์ได้ประดิษฐ์ ฆ้องวงเล็กมีขนาดย่อมกว่าฆ้องวงใหญ่เล็กน้อย วงปี่พาทย์มอญได้ประดิษฐ์ฆ้องมอญวงเล็ก ขึ้นมาด้วย แต่มีขนาดย่อมกว่าฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้ อ งมอญวงเล็ ก มี ๑๖ ลู ก ต่ า งจากฆ้ อ งมอญวงใหญ่ แต่ ก ารเที ย บเสี ย ง เป็นแบบอย่างฆ้องวงของไทย คือเทียบเสียงเรียงล�ำดับกัน ไม่มีหลุมเสียงเช่นฆ้องมอญ วงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็กใช้ประสมในวงปีพ่ าทย์มอญเครือ่ งคูแ่ ละวงปีพ่ าทย์มอญเครือ่ งใหญ่

ฆ้องมอญวงเล็ก มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก

๓. ตะโพนมอญ มอญเรียกว่า “ถะเปิ้น” หรือ “ฮะเปิ้น” เป็นเครื่องดนตรีประเภท ก�ำกับจังหวะท�ำหน้าที่ควบคุมจังหวะหน้าทับในวงในปี่พาทย์มอญ เป็นเครื่องตีป ระเภท เครื่องหนังตามแบบประเภทเครื่องดนตรีของมอญ วิธีบรรเลงตะโพนมอญ หน้าตะโพนมอญหน้าเล็กมอญเรียกว่า “เมิ้กโด้ด” ซึ่ง มีเสียงสูงจะอยู่ทางขวามือของผู้บรรเลง ส่วนหน้าใหญ่มอญเรียกว่า “เมิ้กโน้ก” ซึ่งมีเสียงต�่ำ จะอยู่ทางซ้ายมือของผู้บรรเลง เวลาใช้ต้องบดข้าวสุกกับขี้เถ้าน�ำมาปิดที่หน้าทั้งสอง เพื่อถ่วง


58

ปี่พาทย์มอญรำ�

ตะโพนมอญ

ให้เกิดเสียงทุ้มและกังวาน อันเป็นเอกลักษณ์ของเสียงตะโพนมอญ ผู้บรรเลงจะใช้มือทั้งสอง ตีลงไปที่หน้าของตะโพนมอญทั้งสองข้างเพื่อให้เกิดเสียงตามต้องการโดยไม่ใช้ไม้ตี นักดนตรี ทั่วไปเรียก ดังนี้ หน้าตะโพนมอญหน้าใหญ่ เรียกว่า หน้าเท่ง มอญเรียก เมิ้กโน้ก หน้าตะโพนมอญหน้าเล็ก เรียกว่า หน้าทึง มอญเรียก เมิ้กโด้ด บทบาทของตะโพนมอญที่ ส� ำ คั ญ คื อ เป็ น ผู ้ ก� ำ กั บ จั ง หวะ และควบคุ ม จั ง หวะ หน้ า ทั บ ในการบรรเลงของวงปี ่ พ าทย์ ม อญ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การบรรเลงเพลงในการ ร�ำมอญร�ำ ตะโพนมอญมีบทบาทส�ำคัญอย่างยิ่งในการฟ้อนร�ำมอญร�ำ ผู้ร�ำจะร่ายร�ำด้วยลีลา ที่อ่อนช้อยสวยงามให้สัมพันธ์สอดคล้องกับท่วงท�ำนองของเพลงที่วงปี่พาทย์มอญบรรเลง ด�ำเนินท�ำนองเพลงแต่ละเพลง ตะโพนมอญจะท�ำหน้าที่ก�ำกับจังหวะของเพลงที่บรรเลง ประกอบการร�ำและก�ำกับจังหวะของการร่ายร�ำด้วย ผู้ร�ำต้องยึดจังหวะของตะโพนมอญ อย่ า งถู ก ต้ อ งแม่ น ย� ำ เพื่ อ การปรั บ เปลี่ ย นท่ ว งท่ า ของมื อ ในขณะร่ า ยร� ำ ให้ ส อดคล้ อ ง ด�ำเนินไปตามท�ำนองเพลง การจบลงของการร่ายร�ำแต่ละเพลง เสียงของตะโพนมอญ จะเป็นผูบ้ อกให้ผรู้ ำ� รูเ้ มือ่ ถึงเวลาจบเพลง การฟ้อนร�ำของมอญร�ำด�ำเนินไปโดยมีตะโพนมอญ เป็ น หลั ก ในการก� ำ กั บ จั ง หวะของเพลง และจั ง หวะท่ ว งท่ า ลี ล าการร่ า ยร� ำ เช่ น นี้ จึ ง เรี ย ก มอญร� ำ เป็ น ภาษามอญว่ า “ปั ว ฮะเปิ ้ น ” ซึ่ ง หมายถึ ง นาฏกรรมประกอบการบรรเลง ตะโพนมอญ หรือ “เล่ะห์ฮะเปิ้น” แปลว่า ร่ายร�ำตามจังหวะตะโพนมอญ เสียงทุ้มกังวานของตะโพนมอญ เมื่อประสมกับเสียงของฆ้องมอญ ระนาดและ ปี่มอญ ท�ำให้การบรรเลงวงปี่พาทย์มอญมีเสียงกระหึ่มกังวานและนุ่มนวลไพเราะน่าฟัง


ปี่พาทย์มอญรำ�

59

๔. ปี่มอญ มอญเรียกว่า คะนัว เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ล�ำโพงของ ปี่มอญช่วยท�ำให้เสียงปี่มอญมีความกังวานขึ้น และท�ำให้มีเสียงทุ้มและนุ่มนวล ระบบ การใช้นิ้วและระบบเสียงของปี่มอญมีลักษณะเช่นเดียวกับขลุ่ยเพียงออ ดังนั้นการบรรเลง ปี่มอญจึงบรรเลงในระดับเสียงเพียงออ ซึ่งเป็นระดับเสียงที่ใช้ส�ำหรับวงปี่พาทย์มอญ หน้ า ที่ ข องปี ่ ม อญเมื่ อ บรรเลงในวงปี ่ พ าทย์ ม อญคื อ ท� ำ ล� ำ น� ำ และเก็ บ ตาม ท�ำนองเพลงหรือด�ำเนินท�ำนองเพลงด้วยเสียงที่ทุ้มและนุ่มนวล

ปี่มอญ

๕. เปิงมาง เป็นเครื่องดนตรีเครื่องตีประเภทเครื่องหนัง ท� ำหน้าที่ควบคุมจังหวะ หน้าทับควบคู่กับตะโพนมอญ เปิงมางเป็นค�ำที่มาจากภาษามอญ ที่ใช้เรียกกลองสองหน้า ว่า ปุงตัง ไทยได้รับมาจากมอญเรียกเพี้ยนไปว่า เปิงมาง นักดนตรีมอญได้น�ำปุงตังหรือ เปิ ง มางหลายลู ก มาแขวนเรี ย งตามล� ำ ดั บ เสี ย งเรี ย งไว้ เ ป็ น ราวล้ อ มคนตี มอญเรี ย ก เครื่องดนตรีนี้ว่า ป้าตว่าง ป้าต หมายถึง เครื่องดนตรี ว่าง หมายถึง ราวที่แขวนเปิงมาง ล้อมคนตีที่ไทยเรียกว่า คอก เปิงมาง ๑ ชุด ประกอบด้วยเปิงมางจ�ำนวน ๗ ลูก แขวนไว้ เรียงกันตามล�ำดับเสียงดนตรีทั้ง ๗ เสียง ขนาดของเปิงมางเรียงกันตามขนาดจากใหญ่ ไปเล็ก เรื่องของเปิงมางเป็นที่รับรู้ในบรรดาครูอาจารย์ดนตรีของไทยทั่วไปว่า แต่เดิม วงปี่พาทย์มอญใช้เปิงมางเพียง ๑ ลูก ใช้ตีจังหวะประกอบหน้าทับควบคู่ไปกับตะโพนมอญ ต่อมาได้มีการปรับปรุงพัฒนาให้เพิ่มจ�ำนวนเปิงมางเป็น ๗ ลูก น�ำเปิงมางทัง้ ๗ ลูก มาแขวน เรียงล�ำดับตามบันไดเสียง แต่เนื่องจากเครื่องดนตรีมอญที่เรียกว่า ป้าตโกนเจ๊าะห์ หรือ เปิ งมางลู ก สิ บ นั้ น ได้มีการน�ำเปิง มางมากถึง ๑๐ ลูกมาแขวนในคอกคล้ายเปิงมางคอก ที่มีอยู่ในประเทศไทย จนถึงปัจจุบันนี้วงปี่พาทย์มอญในรัฐมอญยังคงใช้เปิงมางลูกสิบอยู่ จึงเป็นข้อสงสัยว่าวงปี่พาทย์มอญแต่เดิมนั้นมีเปิงมางคอกหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามการบรรเลงปี่พาทย์มอญที่ใช้ในพิธีร� ำเจ้า และพิธีร�ำผี ซึ่งเป็น พิธีกรรมของชาวบ้านมีการใช้เปิงมางเพียงลูกเดียวไม่มีเปิงมางคอก การบรรเลงเปิงมางคอก


60

ปี่พาทย์มอญรำ�

เปิงมางคอกด้านใน

มีการตีเปลี่ยนลูกสลับกันไป ให้เหมาะกับท�ำนองเพลงประกอบจังหวะหน้าทับควบคู่กับ ตะโพนมอญ พร้อมทั้งสอดแทรกการบรรเลงให้มีความวิจิตรพิสดารมากขึ้น มีลีลาสนุกสนาน คึกคักมีชีวิตชีวามากกว่าการบรรเลงเครื่องดนตรีอื่นๆ ๖. ระนาดเอก เป็ น เครื่ อ งดนตรี ป ระเภทด� ำ เนิ น ท� ำ นองเป็ น เครื่ อ งตี หน้ า ที่ ข อง ระนาดเอกในวงปี่พาทย์มอญคือท�ำหน้าที่ด�ำเนินท�ำนองเพลงควบคุมคู่กับฆ้องมอญวงใหญ่ การด�ำเนินท�ำนองของระนาดเอกจะต้องเกี่ยวก้อยเกาะติดไปกับท�ำนองฆ้องมอญวงใหญ่

ระนาดเอก


ปี่พาทย์มอญรำ�

61

๗. โหม่ง ๓ ลูก เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประสมวงปี่พาทย์มอญมีหน้าที่ก�ำกับจังหวะ แขวนไว้ ที่ ก ระจั ง โหม่ ง มี ข นาดลดหลั่ น กั น และมี เ สี ย งแตกต่ า งกั น เมื่ อ ตี ใ ห้ เ กิ ด เสี ย ง ตามล�ำดับลูกจะเกิดเสียง โม้ง โมง โหม่ง เป็นเสียงประกอบและก�ำกับจังหวะและท�ำนอง ของเพลง อาจารย์มนตรี ตราโมท (๒๕๓๕, น.๙) อธิบายเรื่องของโหม่ง ๓ ลูกไว้ ดังนี้ “เครื่ อ งประกอบจั ง หวะ คื อ ฉิ่ ง ฉาบ และโหม่ ง เหมื อ นของไทย แต่ โ หม่ ง นั้ น ภายหลังฝ่ายรามัญได้เพิ่มขึ้นเป็น ๓ ลูก มีเสียงสูงต�่ำ ๓ เสียง คล้ายฆ้องระเบ็งของไทย” เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์มอญและวงปี่พาทย์ไทยมีความคล้ายคลึงกัน อาจารย์ มนตรี ตราโมท ได้ ก ล่ า วในหนั ง สื อ พระราชทานเพลิ ง ศพนายโชติ ดุ ริ ย ประณี ต เรื่ อ ง ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์ไทย ปี่พาทย์ชวา ดังนี้ “เครื่องปี่พาทย์มอญละม้ายคล้ายคลึงกับของไทยอย่างที่สุด ของไทยมีปี่ของมอญ ก็มี แต่รูปร่างไม่เหมือนกัน ของไทยมีระนาด มอญก็มี ของไทยมีฆ้องวง มอญก็มี แต่ รูปร่างต่างกัน ไทยมีตะโพน มอญก็มี ไทยมีกลองทัด มอญมีเปิงมางคอก ไทยมีฉิ่ง ฉาบ โหม่ง มอญก็มี จึงเห็นได้ว่ามอญกับไทยนี้ช่างมีจิตใจในทางศิลปะใกล้เคียงกันที่สุด”

ภาพจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดอัมพวันเจติยาราม แสดงให้เห็นเครื่องดนตรีปี่พาทย์ไทย (มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘)


62

ปี่พาทย์มอญรำ�

การประสมวงปี่พาทย์มอญ อาจารย์ ม นตรี ตราโมท อธิ บ ายถึ ง ลั ก ษณะของปี ่ พ าทย์ ม อญโดยกล่ า วถึ ง เครื่องดนตรีมอญและการประสมวงไว้ในหนังสือศิลปวัฒนธรรมไทยว่า “วงปีพ ่ าทย์มอญนีเ้ ป็นเครือ่ งดนตรีประจ�ำชาติรามัญอย่างหนึง่ วงปีพ ่ าทย์มอญ ที่แท้นั้นมีเครื่องบรรเลงเทียบได้กับเครื่องห้าของไทยเท่านั้น” คือ ๑. ปี่มอญ รูปร่างคล้ายปี่ชวาแต่ใหญ่กว่าและมีล�ำโพงท�ำด้วยทองเหลือง ๒. ระนาดเอก รูปร่างเหมือนของไทย ๓. ฆ้องมอญ ลักษณะของวงโค้งขึ้นทั้งสองข้าง ตัวร้านฆ้องแกะสลักลวดลายปิดทอง ประดั บ กระจกงดงาม ทางด้ า นซ้ า ย (ของคนตี ) มั ก แกะเป็ น รู ป กิ น นรจั บ นาค เรี ย กว่ า หน้าพระ ๔. ตะโพนมอญ รูปร่างคล้ายตะโพนไทยแต่ใหญ่กว่า ๕. เปิงมางคอก มีหลายลูก (โดยมากมี ๗ ลูก) เทียบเสียงสูงต�่ำเรียงล�ำดับแขวนกับ คอกเป็นวงล้อมตัวผู้ตี และมีเครื่องประกอบจังหวะคือ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง เหมือนของไทย สมัยหลังๆ นี้ โหม่งมักจะเพิ่มเป็น ๓ ลูก มีเสียงสูงต�่ำเป็น ๓ เสียง วงปี่พาทย์ของมอญ แต่เดิมมีอยู่เท่านี้ แม้เวลานี้เมืองมอญในประเทศพม่า วงปี่พาทย์ของมอญก็มีเครื่องบรรเลง อยู่เพียงเท่านี้ไม่เปลี่ยนแปลง วงปี่พาทย์มอญในประเทศไทย ครูอาจารย์ทางดนตรีของไทยและมอญได้ก�ำหนด รู ป แบบการประสมวงปี ่ พ าทย์ ม อญให้ มี ลั ก ษณะเช่ น เดี ย วกั บ วงปี ่ พ าทย์ ข องไทยเป็ น ๓ ลักษณะ ดังนี้ ๑. ปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ๑ โค้ง ระนาดเอก ๑ ราง ปี่มอญ ๑ เลา ตะโพนมอญ ๑ ลูก เปิงมางคอก ๑ ชุด วงปี ่ พ าทย์ ม อญที่ เ ข้ า มาในประเทศไทยในช่ ว งต้ น ๆ นั้ น เป็ น การประสมวง ที่ เ รี ย กว่ า ปี ่ พ าทย์ ม อญเครื่ อ งห้ า ลั ก ษณะการประสมของวงปี ่ พ าทย์ ม อญเครื่ อ งห้ า ดังกล่าวนี้ ที่กล่าวว่ามีลักษณะคล้ายการประสมวงของวงปี่พาทย์ไทยเครื่องห้านั้น หมายถึง วงปี่พาทย์ไทยเครื่องห้าอย่างหนักที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน และกลองทัด


ปี่พาทย์มอญรำ�

63

เครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก ฉิ่ง กรับ โหม่ง ไม่ได้ก�ำหนด ตายตัวว่าต้องมีเครื่องประกอบจังหวะอะไรบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของขนาดวง ปี่พาทย์และโอกาสที่บรรเลงเป็นส�ำคัญ ๒. ปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ๑ โค้ง ระนาดเอก ๑ ราง ระนาดทุ้ม ๑ ราง ฆ้องมอญวงเล็ก ๑ โค้ง ปี่มอญ ๑ เลา ตะโพนมอญ ๑ ลูก เปิงมางคอก ๑ ชุด

เพิ่มตามแบบแผนการประสม วงของวงปี่พาทย์ไทย

เครื่ อ งประกอบจั ง หวะโหม่ ง ๓ ใบ (เพิ่ ม ขึ้ น จากเครื่ อ งประกอบจั ง หวะที่ มี ในปี่พาทย์มอญเครื่องห้า) การประสมวงปี ่ พ าทย์ เ ครื่ อ งคู ่ ข องไทยที่ เ กิ ด ขึ้ น ในรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั วงปีพ่ าทย์มอญได้มกี ารปรับปรุงให้เพิม่ ระนาดทุม้ และฆ้องมอญวงเล็ก เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับวงปี่พาทย์เครื่องคู่ของไทย

การประสมวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่


64

ปี่พาทย์มอญรำ�

๓. วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ๑ โค้ง ระนาดเอก ๑ ราง ระนาดเอกเหล็ก ๑ ราง เพิม่ ตามแบบแผนการประสมวงของวงปีพ่ าทย์ไทย ระนาดทุ้ม ๑ ราง ระนาดทุ้มเหล็ก ๑ ราง เพิม่ ตามแบบแผนการประสมวงของวงปีพ่ าทย์ไทย ฆ้องมอญวงเล็ก ๑ โค้ง ปี่มอญ ๑ เลา ตะโพนมอญ ๑ ลูก เปิงมางคอก ๑ ชุด โหม่ง ๓ ใบ ๑ ชุด เครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก กรับ เช่นเดียวกับที่ใช้ในวง ปี่พาทย์เครื่องห้าและปี่พาทย์เครื่องคู่ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วงปี่พาทย์ไทยได้น�ำระนาดเอก เหล็ ก และระนาดทุ ้ ม เหล็ ก มาประสมในวงปี ่ พ าทย์ ไ ทย เรี ย กว่ า ปี ่ พ าทย์ เ ครื่ อ งใหญ่ วงปี่พาทย์มอญได้น�ำระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กมาประสมในวงปี่พาทย์มอญด้วย เรียกว่า วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่

การจัดตำ�แหน่งเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์มอญ วงปี่พาทย์มอญที่ครูดนตรีมอญได้น�ำเครื่องดนตรีมอญต่างชนิดน�ำมารวมประสมวง ปี่พาทย์มอญนั้น เพื่อให้เกิดความสุนทรีย์ทั้งทางสายตาอันเกิดจากความงามของเครื่องดนตรี วงปี่พาทย์มอญ และเพื่อให้เกิดความไพเราะของเสียงดนตรีอันเป็นการสร้างความสุนทรีย์ ทางโสตประสาทของผู้ฟัง ครูดนตรีมอญจึงได้ก�ำหนดแบบแผนการจัดวงดนตรีไว้อย่าง เหมาะสม เป็นแบบแผนที่ถือปฏิบัติในหมู่นักดนตรีวงปี่พาทย์มอญมาจนถึงทุกวันนี้


ปี่พาทย์มอญรำ�

ตะโพนมอญ ระนาดเอก

ฉาบใหญ่

ปี่มอญ ฆ้องมอญวงใหญ่

เปิงมางคอก

(ด้านหน้า) การจัดวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า

กรับ

ตะโพนมอญ

โหม่ง ๓ ใบ

ฉาบใหญ่

ระนาดเอก

ฉิ่ง

ระนาดทุ้ม

ปี่มอญ ฆ้องมอญวงใหญ่

ฆ้องมอญวงเล็ก

(ด้านหน้า) การจัดวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่

เปิงมางคอก

65


66

ปี่พาทย์มอญรำ�

กรับ

ฉิ่ง

ฉาบใหญ่

ฉาบเล็ก

ตะโพนมอญ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม

โหม่ง ๓ ใบ

ระนาดทุ้มเหล็ก

ปี่มอญ

ฆ้องมอญวงใหญ่

ฆ้องมอญวงเล็ก

เปิงมางคอก

(ด้านหน้า) การจัดวงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่

การประสมวงและแบบแผนการจัดต�ำแหน่งที่ตั้งของเครื่องดนตรีของวงปี่พาทย์มอญ มี แ บบแผนต่ า งจากการจั ด ต� ำ แหน่ ง ที่ ตั้ ง ของเครื่ อ งดนตรี ใ นวงปี ่ พ าทย์ ไ ทย กล่ า วคื อ ในวงปี่พาทย์มอญก�ำหนดให้ฆ้องมอญตั้งอยู่ด้านหน้าของวงปี่พาทย์ ส่วนวงปี่พาทย์ไทย ก�ำหนดที่ตั้งของฆ้องวงต้องอยู่ที่ด้านหลังของวง ไม่ว่าจะเป็นวงปี่พาทย์พิธี ปี่พาทย์นางหงส์ หรือปี่พาทย์เสภา การที่ก�ำหนดที่ตั้งของฆ้องมอญให้ตั้งอยู่ในต�ำแหน่งด้านหน้าของวงปี่พาทย์มอญนั้น เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และแสดงถึงภูมิปัญญาของผู้ทรงความรู้ทางดนตรีที่ได้ สร้างสรรค์ให้เกิดเป็นแบบแผนที่ดีงามเช่นนั้นด้วยเหตุผลที่ส�ำคัญเหล่านี้ คือ ๑. ฆ้องมอญนักดนตรีมอญถือว่าเป็นอาจารย์ใหญ่ที่มอญเรียกว่า “อาปาโน้ก” เป็น เครื่องดนตรีที่นักดนตรีต้องเคารพ เป็นตัวแทนของความศักดิ์สิทธิ์และถือเป็นเอกลักษณ์ของ วงปี่พาทย์มอญ


ปี่พาทย์มอญรำ�

67

๒. ฆ้ อ งมอญมี ห น้ า ที่ แ ละบทบาทในการขึ้ น ต้ น ประโยคของเพลง เพลงมอญ เกือบทั้งหมดเมื่อเริ่มบรรเลง ฆ้องมอญจะขึ้นต้นน�ำก่อนเครื่องดนตรีอื่นๆ ในวง ๓. เพื่อความสวยงาม เนื่องจากฆ้องมอญมีความสวยงามทั้งลักษณะรูปร่างของ ร้ า นฆ้ อ งที่ โ ค้ ง งามและประดั บ ด้ ว ยลวดลายแกะสลั ก ปิ ด ทองประดั บ กระจก เมื่ อ ตั้ ง อยู ่ ด้ า นหน้ า ของวงปี ่ พ าทย์ ม อญ ขนาบทางด้ า นซ้ า ยและด้ า นขวาของฆ้ อ งมอญด้ ว ย กระจังโหม่ง และเปิงมางคอกที่แกะสลักปิดทองประดับกระจกสวยงามเช่นกัน ฆ้องมอญ ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของวงปี่พาทย์มอญจึงยิ่งดูสวยงามมากยิ่งขึ้น จากเหตุ ผ ลดั ง กล่ า วข้ า งต้ น นี้ นั ก ดนตรี ม อญจึ ง ได้ ก� ำ หนดแบบแผนการก� ำ หนด ต� ำ แหน่ ง ที่ ตั้ ง ของฆ้ อ งมอญให้ ตั้ ง อยู ่ ที่ ด ้ า นหน้ า ของวงปี ่ พ าทย์ ม อญ ไม่ ว ่ า จะเป็ น วง ปี่พาทย์มอญเครื่องห้า วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่หรือวงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ ลักษณะ การประสมวงและการจั ด ต� ำ แหน่ ง ที่ ตั้ ง ของเครื่ อ งดนตรี ใ นวงปี ่ พ าทย์ ม อญด้ ว ยการให้ ฆ้ อ งมอญตั้ ง อยู ่ ด ้ า นหน้ า ของวงปี ่ พ าทย์ ม อญเช่ น นี้ ได้ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ แ ละเป็ น จุ ด เด่ น ของวงปี ่ พ าทย์ ม อญ ซึ่ ง นอกจากจะสร้ า งสรรค์ คุ ณ ภาพของเสี ย งเพื่ อ สนองตอบต่ อ อารมณ์สุนทรีย์ทางสัททารมณ์แล้ว ยังก่อให้เกิดความอลังการ ความงดงามทางทัศนศิลป์ อย่างยิ่งใหญ่และอลังการของเครื่องดนตรีมอญในวงปี่พาทย์มอญด้วย การก� ำ หนดต� ำ แหน่ ง ที่ ตั้ ง ของฆ้ อ งมอญ กระจั ง โหม่ ง และเปิ ง มางคอก ให้ ตั้ ง อยู ่ ด้านหน้าของวงปี่พาทย์มอญดังกล่าวนี้ จึงเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นของวงปี่พาทย์มอญและ เป็ น การแสดงให้ ผู ้ พ บเห็ น วงดนตรี ป ี ่ พ าทย์ ม อญที่ มี ลั ก ษณะดั ง กล่ า วรู ้ ไ ด้ ทั น ที ว ่ า นี่ คื อ วงปี่พาทย์มอญ ต� ำ แหน่ ง ที่ ตั้ ง ของตะโพนมอญได้ มี ก ารปรั บ ปรุ ง ต� ำ แหน่ ง ที่ ตั้ ง กั น ในเวลาต่ อ มา ด้วยการให้ตะโพนมอญตั้งอยู่ด้านหลังของเปิงมางคอก ย้ายจากด้านขวาของวงมาตั้งอยู่ ทางด้ า นซ้ า ยด้ า นหลั ง เปิ ง มางคอก เหตุ ผ ลที่ นั ก ดนตรี ใ นปั จ จุ บั น มี ก ารก� ำ หนดต� ำ แหน่ ง ที่ตั้งของตะโพนมอญ ต่างจากนักดนตรีในอดีตที่ได้ก�ำหนดแบบแผนไว้นั้น โดยคิดปรับปรุง พัฒนาขึ้นใหม่ด้วยเหตุผลที่ว่า ๑. เสียงด้านขวาของตะโพนมอญหน้าใหญ่ซึ่งมีเสียงเท่งนั้น ถือว่าเป็นเสียงส�ำคัญ ในการบรรเลงเพลงมอญ เมื่อย้ายต�ำแหน่งที่ตั้งของตะโพนมอญมาอยู่ทางด้านซ้ายของ วงปี่พาทย์มอญ จะท�ำให้นักดนตรีที่ก�ำลังร่วมบรรเลงอยู่ในวงปี่พาทย์มอญนั้นจะได้ยินเสียง “เท่ง” ซึ่งถือว่าเป็นเสียงที่ส�ำคัญในการบรรเลงเพลงมอญดังกล่าวนั้นชัดเจนขึ้น


68

ปี่พาทย์มอญรำ�

๒. เครื่องดนตรีก�ำกับจังหวะในวงปี่พาทย์มอญคือ ตะโพนมอญและเปิงมางคอก เมื่ อ ย้ า ยตะโพนมอญมาอยู ่ ด ้ า นหลั ง เปิ ง มางคอก จะท� ำ ให้ เ กิ ด การประสานเสี ย งของ ตะโพนมอญและเปิงมางคอก มีการสอดประสานกันยิ่งขึ้นและจะท�ำให้การบรรเลงเพลง มีความไพเราะมากขึ้น

การประสมวงปี่พาทย์มอญลักษณะพิเศษในพิธีกรรมของมอญ การประสมวงปีพ่ าทย์มอญดังกล่าวมาแล้วนัน้ เป็นการประสมวงปีพ่ าทย์มอญอนุโลม ตามแบบการประสมวงปี่พาทย์ไทย แต่การประสมวงปี่พาทย์มอญส�ำหรับใช้ในพิธีกรรม ของมอญ ได้ แ ก่ พิ ธี ร� ำ เจ้ า พิ ธี ร� ำ สามถาด และพิ ธี ร� ำ ผี การประสมวงปี ่ พ าทย์ ม อญ ในพิธีกรรมดังกล่าวนี้จะมีการประสมวงเฉพาะของแต่ละพิธีกรรมกล่าวคือ พิธีร�ำเจ้า เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์อย่างน้อยที่สุดประกอบด้วย ฆ้องมอญ ๑ โค้ง ระนาดเอก ๑ ราง ตะโพนมอญ ๑ ลูก ปี่มอญ ๑ เลา เครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉาบ กรับ ถ้าจะใช้เครื่องดนตรีมากกว่านี้ เช่น ใช้ปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ก็ไม่เป็นการผิด พิธีร�ำสามถาด เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์มอญคล้ายกับการประสมวงปี่พาทย์มอญ ในพิธีร�ำเจ้า แต่ส่วนมากในพิธีร�ำสามถาดมักจะมีเครื่องดนตรีมากกว่าพิธีร�ำเจ้า เนื่องจาก การจัดพิธีร�ำสามถาดมักจัดพร้อมหรือเป็นส่วนหนึ่งในพิธีที่ต้องใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่หรือ วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่อยู่แล้ว เช่น ในการประกอบพิธียกยอดปราสาทหรือการจัดงาน ฌาปนกิจศพ เป็นต้น พิ ธี ร� ำ ผี ปี ่ พ าทย์ ม อญที่ ใ ช้ ใ นพิ ธี ร� ำ ผี ส ่ ว นใหญ่ จ ะประกอบด้ ว ยเครื่ อ งดนตรี ที่ ใ ช้ ในพิธีร� ำเจ้าและพิธีร� ำสามถาด เว้นแต่พิธีร� ำผีบางตระกูลที่ก� ำหนดให้ใช้ตะโพนมอญคู่ ในกรณีนี้มีการใช้ฆ้องมอญคู่ด้วย เครื่องประกอบจังหวะที่จะต้องมีทุกครั้งที่จัดพิธีร�ำผีคือ ไม้ตะขาบ ที่ท�ำจากล�ำไม้ไผ่ผ่าซีก ๒ ซีก เวลาตีใช้มือจับมือละซีก ตีให้กระทบกันเป็นจังหวะ ปี ่ พ าทย์ ม อญที่ ใ ช้ ใ นพิ ธี ร� ำ เจ้ า ร� ำ สามถาดและร� ำ ผี ไ ม่ มี เ ปิ ง มางคอกและโหม่ ง มาประสมในวงปี่พาทย์ การใช้เครื่องดนตรีปี่พาทย์มอญบรรเลงในพิธีร�ำเจ้า ร�ำสามถาด และร�ำผีดังกล่าวนี้ การก�ำหนดว่าจะต้องใช้เครื่องดนตรีอะไรบ้างนั้น นอกจากเป็นข้อก�ำหนด ของการร�ำผีของบางตระกูลที่ก�ำหนดว่าจะต้องมีตะโพนมอญคู่ ฆ้องมอญคู่แล้ว นอกนั้น เห็ น จะไม่ ไ ด้ ก� ำ หนดชั ด เจนเช่ น นั้ น อย่ า งน้ อ ยมี ฆ ้ อ งมอญ ๑ โค้ ง ระนาดเอก ๑ ราง


ปี่พาทย์มอญรำ�

69

ตะโพนมอญ ๑ ลูก ปี่มอญ ๑ เลา (จะมีหรือไม่มีก็ได้) การใช้เครื่องดนตรีปี่พาทย์ในพิธี ดังกล่าวนี้คงต้องค�ำนึงถึงสถานที่ที่จัดงานพิธีนั้นด้วย เมื่อสถานที่จัดพิธีมีพื้นที่น้อย จึงต้องใช้ เครื่องดนตรีเท่าที่จะน�ำมาตั้งบรรเลงได้ในบริเวณที่จัดพิธีนั้นๆ ยกเว้นแต่พิธีร�ำผีที่มีข้อก�ำหนด พิเศษดังกล่าวข้างต้นนี้

ปี่พาทย์มอญในพิธีร�ำผี

ปี่พาทย์มอญในพิธีร�ำผี


70

ปี่พาทย์มอญรำ�

วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้าในพิธีร�ำเจ้า

การประสมวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ในพิธีร�ำสามถาด งานยกยอดปราสาทงานศพพระ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ สุเอ็ด คชเสนี ผู้ร�ำ (พ.ศ. ๒๕๔๐)


ปี่พาทย์มอญรำ�

71

วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ได้ใช้ประโคมในพิธีรำ�สามถาด วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ได้ไปประโคมที่หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรม มหาราชวัง ๒ ครัง้ ในโอกาสทีช่ าวไทยเชือ้ สายมอญได้รว่ มบ�ำเพ็ญกุศลอุทศิ ถวายพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ และบ�ำเพ็ญกุศล อุ ทิ ศ ถวายพระศพสมเด็ จ พระเจ้ า พี่ น างเธอ เจ้ า ฟ้ า กั ล ยาณิ วั ฒ นา กรมหลวงนราธิ ว าส ราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ การจัดงานทั้งสองครั้งนี้ ได้มีการประโคมปี่พาทย์มอญและประโคมในพิธีร�ำสามถาด ตามแบบประเพณีมอญที่บริเวณลานพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ปี่พาทย์มอญที่บรรเลงประกอบพิธีร�ำสามถาดทั้งสองครั้งนี้ใช้วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่

การประสมวงพิเศษของวงปี่พาทย์มอญ เนื่องจากความสวยงามของฆ้องมอญ เมื่อน�ำมาประสมวงในวงปี่พาทย์มอญ ท�ำให้ วงปี ่ พาทย์ ม อญมี ค วามอลั ง การอย่ างมากนั้ น จึ ง มี ผู้ นิยมน� ำ ฆ้ อ งมอญมากกว่า ๒ โค้ ง มาประสมในวงปี่พาทย์มอญ บางครั้งใช้ฆ้องมอญถึง ๑๐ โค้ง เช่น ที่วัดเขมาภิรตาราม อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ชุมชนที่อยู่ใกล้วัดเขมาภิรตารามนิยมจัดงานที่วัดนี้ ด้วยวงปี่พาทย์มอญ และวงปี่พาทย์มอญนั้นต้องมีฆ้องมอญไม่น้อยกว่า ๑๐ โค้ง หรือ ต้องมากกว่านั้นจึงจะถือว่าเป็นงานที่มีเกียรติ นอกจากการเพิ่มฆ้องมอญให้มีจ�ำนวนมากขึ้น วงปี่พาทย์มอญได้มีการปรับปรุง พัฒนาเพื่อให้วงปี่พาทย์มอญมีความสวยงามและดูยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้นไปอีก จึงเกิดการประสม วงปี่พาทย์มอญวงพิเศษ มีการน� ำเปิงมางคอกและตะโพนมอญมาประสมในวงเพิ่มขึ้น โดยการตั้งเปิงมางคอกด้านหน้าของวงปี่พาทย์มอญเพิ่มขึ้นอีก ๑ ชุด รวมเป็นเปิงมางคอก ๒ ชุ ด ตั้ ง อยู ่ ท างด้ า นขวาและด้ า นซ้ า ยของวงในแถวหน้ า แนวเดี ย วกั บ ฆ้ อ งมอญ และ มีตะโพนมอญเพิ่มอีก ๑ ลูก รวมเป็นตะโพนมอญ ๒ ลูก ตั้งอยู่ด้านหลังของเปิงมางคอก ที่ตั้งอยู่ทางด้านขวาและด้านซ้ายของวงปี่พาทย์ด้านละ ๑ ลูก ปัจจุบันการประสมวงของวงปี่พาทย์มอญได้มีการปรับปรุงตามความนิยมของสังคม มากยิ่งขึ้นแม้กระทั่งคณะลิเกที่มีชื่อเสียงหลายคณะ ต่างน�ำวงปี่พาทย์มอญมาใช้บรรเลง ประกอบการแสดงลิเกแทนวงปี่พาทย์ไทย เครื่องดนตรีมอญที่น�ำมาประสมวงปี่พาทย์ของ ลิเกไทยประกอบด้วยฆ้องมอญที่สวยงามหลายโค้ง รวมทั้งเปิงมางคอกด้วย มีมากกว่า ๑ ชุด การก�ำหนดที่ตั้งของเครื่องดนตรีจะตั้งเรียงเป็นแถวแบบหน้ากระดานมีฆ้องมอญ หลายโค้ ง เรี ย งเป็ น แถว หั ว แถวและท้ า ยแถวเป็ น ที่ ตั้ ง ของเปิ ง มางคอกและตะโพน บางคณะน�ำกระจังโหม่ง ๓ ใบมาตั้งประสมวงด้วย ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสวยงาม


72

ปี่พาทย์มอญรำ�

ของเครื่องดนตรีอย่างเต็มที่ การก�ำหนดที่ตั้งของเครื่องดนตรีแต่ละประเภทจึงมีแบบแผน ที่แตกต่างจากเดิมที่เคยปฏิบัติมาแต่โบราณ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของการประสมวง และการก�ำหนดต�ำแหน่งที่ตั้งของเครื่องดนตรีมอญในวงปี่พาทย์มอญในปัจจุบัน การจั ด งานเฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ และจัดงานมหกรรมปี่พาทย์มอญ ปทุมธานี ฉลอง ๒๐๐ ปี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่จังหวัด ปทุมธานี มีการบรรเลงปี่พาทย์มอญวงพิเศษ ซึ่งประกอบด้วยฆ้องมอญ ๖๐​โค้ง

งานมหกรรมปี่พาทย์มอญปทุมธานี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ วันศุกร์ที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘


ปี่พาทย์มอญรำ�

73

ฆ้องมอญและตะโพนมอญเครื่องดนตรีปี่พาทย์มอญที่สำ�คัญ และเป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์และการเคารพบูชา วงปี่พาทย์มอญประกอบด้วยเครื่องดนตรีมอญหลายอย่าง แต่เครื่องดนตรีมอญ ที่นักดนตรีมอญให้ความส�ำคัญและให้ความเคารพและเป็นสัญลักษณ์ของครูอาจารย์คือ ฆ้องมอญและตะโพนมอญ ฆ้องมอญ นักดนตรีมอญมีความเชื่อว่าฆ้องมอญมีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์ ของครูอาจารย์ ต้องแสดงความเคารพบูชา มอญเรียกว่า อาปาโน้ก ต้องบูชาด้วยผ้าขาวที่ หน้าพระของฆ้องมอญ

การบูชาครูอาปาโน้กด้วยการน�ำผ้าขาวมาผูกที่องค์เทวดาหน้าพระของฆ้องมอญ (พ.ศ. ๒๕๕๓)

ฆ้องมอญวงใหญ่นับถือว่าเป็นประธานหรืออาปาโน้ก และการบรรเลงปี่พาทย์มอญ ส่วนใหญ่เกือบทุกเพลงฆ้องมอญจะเริ่มบรรเลงน�ำก่อน (ยกเว้นเพลงประจ�ำวัดและเพลง ประจ�ำบ้านที่ใช้ตะโพนมอญน�ำและเพลงย�่ำค�่ำที่ใช้โหม่งน�ำ) ฆ้องมอญเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ที่ท�ำด้วยโลหะผสมต้องใช้เทคโนโลยี ชั้นสูงในการถลุงและหล่อโลหะผสมเพื่อให้ได้ฆ้องที่มีเสียงไพเราะ นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญา ชัน้ สูงของคนมอญรุน่ ก่อนทีค่ ดิ ท�ำฆ้องมาใช้ในวงปีพ่ าทย์มอญและให้ความส�ำคัญแก่ฆอ้ งมอญ ยกไว้ให้เป็นเครื่องดนตรีที่มีความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับเครื่องดนตรีที่ ท�ำ ด้ ว ยสั ม ฤทธิ์ อื่ น ๆ เช่น กลองมโหระทึก เป็นต้น สุ จิ ต ต์ วงษ์ เ ทศ ได้ ใ ห้ ค� ำ อธิ บ ายในเรื่ อ งของเครื่ อ งมื อ ตระกู ล สั ม ฤทธิ์ ที่ ไ ด้ เ ป็ น เครื่องดนตรีที่มีความศักดิ์สิทธิ์ (สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๓๒, น.๑๒๓) ดังนี้


74

ปี่พาทย์มอญรำ�

“เรื่องนี้อธิบายได้ว่า เมื่อหลายพันปีมาแล้วโลหะเป็นของหายาก ยิ่งเป็นโลหะผสม ยิ่งยุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีกหลายเท่า เพราะต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อหลอมโลหะผสม ระหว่ า งทองแดงและแร่ ธ าตุ อื่ น ๆ เช่ น ดี บุ ก หรื อ ตะกั่ ว เข้ า ด้ ว ยกั น จึ ง จะเป็ น สั ม ฤทธิ์ ซึ่ ง สามัญชนทั่วไปในสมัยนั้นย่อมไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของเทคโนโลยีดังกล่าวได้ ดังนั้น เครื่องมือตระกูลฆ้องในยุคแรกๆ จึงเป็นของชั้นสูงศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนทั่วไปไม่มีไว้ ในครอบครองเป็นสมบัติส่วนตัว แต่จะเป็นสมบัติส่วนรวมของเผ่าพันธุ์ ที่หัวหน้าเผ่าหรือ กษัตริย์เท่านั้นจะมีได้ ดังกรณีมโหระทึกเป็นสมบัติและเป็นสัญลักษณ์ของหัวหน้าเผ่าพันธุ์ เท่านัน้ ต่อมาจึงยกย่องเครือ่ งมือตระกูลฆ้องว่าเป็นของชัน้ สูงส�ำหรับอุทศิ ถวายสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ.์ ....” พัฒนาการของฆ้องมอญที่มีการประดิษฐ์ร้านฆ้องอย่างสวยงามและแกะสลักเป็น รูปเทพที่ร้านของฆ้องมอญด้วย ประดิษฐกรรมที่งดงามนี้จึงเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ ความอลังการ ของฆ้องมอญมากยิ่งขึ้น ตะโพนมอญ มอญเรียกว่า “ฮะเปิ้น” ตะโพนมอญเป็นสัญลักษณ์ของครูอาจารย์ หรือ อาปาโน้ก เช่นกัน นักดนตรีมอญจะให้ความเคารพบูชาตะโพนมอญ ใช้ผ้าขาวติดที่ ตะโพนมอญเพื่อบูชาครูอาจารย์เช่นเดียวกับฆ้องมอญ

ตะโพนมอญที่มีผ้าขาวพาดเพื่อบูชาครู (พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘)


ปี่พาทย์มอญรำ�

เครื่องบูชาครูก่อนบรรเลงปี่พาทย์มอญ ประกอบด้วยมะพร้าวที่มีหางหนู กล้วยน�้ำว้า ดอกไม้ธูปเทียน (พ.ศ. ๒๕๕๓)

75

การบูชาอาปาโน้กของวงปี่พาทย์มอญ ก่อนเริ่มบรรเลง (พ.ศ. ๒๕๕๓)

พิธีบูชาครู การบอกเชิญอาปาโน้กในวงปี่พาทย์มอญ ด้วยความเชื่อถือและเป็นการแสดงความเคารพบูชาอาปาโน้กของวงปี่พาทย์มอญ ก่อนน�ำเครื่องปี่พาทย์มอญไปบรรเลง คนมอญจึงมีพิธีกรรมเพื่อแสดงความเคารพและ บูชาครูอาจารย์ที่นับถือคืออาปาโน้ก เจ้าของวงปี่พาทย์มอญต้องท�ำการบูชาอาปาโน้ก ทุ ก ครั้ ง ก่ อ นที่ จ ะมี ก ารบรรเลงปี ่ พ าทย์ ม อญ เจ้ า ภาพงานหรื อ ผู ้ ที่ ม าบอกให้ น� ำ เครื่ อ ง ปี่พาทย์มอญไปบรรเลงในงานทั้งที่เป็นงานมงคลหรือพิธีร�ำผีหรืองานศพ จะต้องน�ำดอกไม้ หมากพลูไปบอกกล่าวเชิญอาปาโน้กก่อนด้วยเช่นกัน การตั้ ง วงปี่พ าทย์ม อญตามธรรมเนียมของมอญในเมืองมอญ แต่เ ดิมมาต้องน�ำ ฆ้องมอญหรืออาปาโน้กไปตั้งอยู่ด้านหน้าเป็นประธานของวงปี่พาทย์มอญและตะโพนมอญ ตั้งอยู่ด้านขวามือของวง ส่วนการตั้งวงปี่พาทย์มอญในเมืองไทย ปัจจุบันยังคงตั้งฆ้องมอญ ไว้ ด ้ า นหน้ า เป็ น ประธานของวง แต่ ต ะโพนมอญจะตั้ ง อยู ่ ด ้ า นข้ า งทางขวาของวงและ อยู่ ห ลั ง ปี ่ ม อญในวงปี ่ พ าทย์ ม อญเครื่ อ งห้ า หลั ง โหม่ ง ในวงปี ่ พ าทย์ ม อญเครื่ อ งคู ่ แ ละ หลังระนาดเอกเหล็กในวงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่

วงเครื่องสายมอญ วงดนตรี ม อญ นอกจากวงปี ่ พ าทย์ ม อญที่ ใ ช้ ป ระโคมในพิ ธี ก รรมและการแสดง มอญร� ำ แล้ ว ยั ง มีวงเครื่อ งสายมอญซึ่ง คนมอญใช้บรรเลงในพิธีกรรม บรรเลงประกอบ การขับร้องเพลงทะแยมอญหรือบรรเลงเพื่อการรื่นเริงในโอกาสจัดงานหรือในเทศกาลต่างๆ


76

ปี่พาทย์มอญรำ�

ลุงกัลยา ปุงบางกระดี่ วงเครื่องสายมอญ บ้านบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๕๕๑)

วงเครื่องสายมอญประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีซอ มอญเรียกว่า โกร้ จะเข้ มอญ เรียกว่า จยาม และขลุ่ย กลอง ฉิ่ง เรื่องชื่อของวงดนตรีเครื่องสายมอญนี้น�ำเอาชื่อของ ซอ (โกร้ ) และจะเข้ (จยาม) มาเป็ น ชื่ อ ของวงเครื่ อ งสายประเภทนี้ ว ่ า “วงโกร้ จ ยาม” ท�ำนองเดียวกับวงเครื่องสายไทยที่เรียกวงดนตรีที่มีซอ มีจะเข้ เรียกว่าวงเครื่องสาย แม้จะมี เครื่องดนตรีอื่นๆ มาประสม เช่น มีขลุ่ย กลอง ขิม ฉิ่ง โทน แต่เรียกว่า วงเครื่องสาย วงเครื่องสายมอญประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๔ ประเภท คือ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตีและเครื่องเป่า รวม ๕ ชิ้น คือ ๑. โกร้ (ซอมอญ) เครื่องสี ๒. จยาม (จะเข้มอญ) เครื่องดีด ๓. อะโล้ด (ขลุ่ยมอญ) เครื่องเป่า ๔. ปุงตัง (กลอง) เครื่องตี ๕. คะเด (ฉิ่ง) เครื่องตี โกร้ (ซอมอญ) ซอมอญเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี มีรูปร่างคล้ายไวโอลิน มี ๓ สาย เกิดเสียงได้ ด้วยการใช้คันชักสี


ปี่พาทย์มอญรำ�

77

โกร้ (ซอมอญ)

จยาม (จะเข้มอญ)

อะโล้ด (ขลุ่ยมอญ)

คะเด (ฉิ่ง)

ปุงตัง (กลอง)

ซอมอญ มีส่วนประกอบที่ส�ำคัญ ดังนี้ โขนซอ มอญเรี ย กว่ า “ดั้ บ โกร้ ” ส่ ว นบนสุ ด ของซอมอญเป็ น โขนซอ ท� ำ ด้ ว ย ไม้ขุดเป็นรูปกระบอกกลวง สูงประมาณ ๒๔ เซนติเมตร ด้านบนของโขนแกะสลักอย่าง สวยงามวิจิตรบรรจงเป็นลายดอกไม้หรือรูปสัตว์ต่างๆ เช่น หงส์ เทวดา พญานาค หนุมาน ลายดอกพิกุล ลายประจ�ำยาม เป็นต้น ด้านบนปากเผยออกกว้างประมาณ ๑๒ เซนติเมตร ด้ า นล่ า งสอบลง โขนซอทาสี ห รื อ ลงรั ก ปิ ด ทองประดั บ กระจกสี ส วยงาม เมื่ อ ถู ก แสงไฟ จะเกิดประกายระยิบระยับยิ่งดูสวยงามยิ่งขึ้น ด้านหน้าของโขนจากด้านล่างสุดเจาะเป็น ช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามความยาวของโขน ยาวประมาณ ๑๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร บริเวณโขนตอนล่างตรงช่องสี่เหลี่ยมนี้เป็นที่สอดลูกบิดทั้งสามและสายซอ ทั้ง ๓ เส้น เหนือช่องสี่เหลี่ยมที่สอดลูกบิดมีการแกะสลักไม้เป็นซุ้มจรน�ำล้อมช่องลูกบิด


78

ปี่พาทย์มอญรำ�

คอซอ มอญเรี ย กว่ า “เก้ า ะห์ โ กร้ ” ต่ อ จากโขนใต้ ช ่ อ งสอดลู ก บิ ด เป็ น ท่ อ นไม้ ท่อนเดียวกับโขน สูงประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ส่วนนี้เรียกว่า “คอซอ” เป็นส่วนเชื่อมโขน ของซอมอญกับกล่องเสียงหรือตัวซอ คอซอเป็นที่ส�ำหรับมือจับขณะบรรเลงซอมอญ กล่องเสียง หรือ ตัวซอ มอญเรียกว่า “เบอะโกร้” มีรูปร่างเหมือนกล่องเสียง ของไวโอลิน ท�ำด้วยไม้เนื้ออ่อน ๒ ชิ้น ด้านข้างระหว่างแผ่นไม้ทั้งสองใช้ใบลานปิดรอบ ทั้งด้านบนด้านล่าง และด้านข้างทั้งสองด้าน ขาส�ำหรับวางซอ หรือ ขาซอ มอญเรียกว่า “จ้างโกร้” เป็นส่วนล่างสุดของ ซอมอญ ท�ำด้วยไม้สูงประมาณ ๑๐ เซนติเมตร กลึงหรือแต่งให้สวยงาม เป็นส่วนที่ต่อจาก กล่องเสียง ลูกบิด มอญเรียกว่า “เมี้ยะอะวัว” มีจ�ำนวน ๓ อัน สอดอยู่ในช่องลูกบิดเหนือ คอซอ (มือจับ) อยู่ที่ด้านขวามือของผู้บรรเลง ๑ อัน และอีก ๒ อัน อยู่ทางด้านซ้ายมือ ของผู ้ บ รรเลง ลู ก บิ ด แต่ ล ะอั น ยาวประมาณ ๑๐ เซนติ เ มตร ส� ำ หรั บ ขั น สายให้ ตึ ง หรื อ หย่อนตามต้องการ สายเอ็นที่ร้อยจากลูกบิดจะไปผูกกับห่วงเชือกที่ผูกอยู่กับขาซอ อุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องมีประกอบการสีซอมอญ ได้แก่ หย่อง เวลาจะบรรเลงซอมอญ นอกจากจะต้องขึ้นสายให้ได้ที่แล้วจะต้องมีหย่อง มอญเรียกว่า “สะมาโกร้” ท�ำด้วยไม้ส�ำหรับหนุนสายซอตรงหน้ากล่องเสียงให้สายซอลอยพ้น ออกมาจากกล่องเสียงจึงจะสีซอมอญให้เกิดเสียงได้ คันชัก มอญเรียกว่า “ฮะนุ” ท�ำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้ประดู่ ด้านบน ท� ำ ปลายงอนแลงาม โคนตรง มื อ ถื อ ตรง ยาวประมาณ ๔๐ เซนติ เ มตร สายคั น ชั ก ใช้ขนหางม้า ปัจจุบันใช้สายไนลอน คั น ชั ก ของซอมอญจะแยกออกมาจากตั ว ซอ เช่ น เดี ย วกั บ คั น ชั ก ซอสามสาย ของไทย สายซอมอญแต่เดิมใช้เส้นไหมฟั่นท�ำกันเอง ปัจจุบันใช้สายไนลอนที่มีจ�ำหน่าย ตามร้านจ�ำหน่ายเครื่องดนตรีไทย ขนาดความยาวของซอมอญจากโขนซอถึ ง ขาส� ำ หรั บ วางซอประมาณ ๘๐ เซนติเมตร เสียงซอมอญมีเสียงทุ้ม นุ่มนวลอ่อนหวาน สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ต่างๆ ได้ดี นักดนตรีมอญจะสร้างซอมอญเอง โดยใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้โมก ไม้แค ท�ำเป็น ตัวซอ ไม้ท�ำซอต้องเป็นไม้ที่แห้งสนิทจริงๆ เมื่อน�ำมาท�ำซอจะไม่หดตัวและจะท�ำให้ซอ มีเสียงดี ซอมอญท�ำหน้าที่เป็นผู้ด�ำเนินท�ำนองในการบรรเลงเพลงต่างๆ


ปี่พาทย์มอญรำ�

79

การบรรเลงซอมอญ ซอมอญเป็นซอที่มี ๓ สาย การบรรเลง ส่ ว นใหญ่ จ ะใช้ ๒ สาย คื อ สายที่ ๑ และ สายที่ ๒ สายที่ ๓ มีการใช้เมื่อมีการประสาน เสี ย งหรื อ ควบเสี ย งท� ำ ให้ เ กิ ด เสี ย งไพเราะ ยิ่งขึ้น ในการบรรเลงซอมอญผู้บรรเลงนั่งบน พื้น วางซอในลักษณะตั้งบนพื้นด้านหน้าของ ผูบ้ รรเลง เมือ่ ต้องการสีสายใดจะหันหน้าซอให้ สายนั้นเข้าหาคันชัก ผู้บรรเลงซอมอญมีวิธีการบรรเลงด้วย กลวิธีการต่างๆ เช่น การพรมนิ้ว การควบเสียง การลั ก คั น ชั ก การประสานเสี ย ง เป็ น ต้ น นอกจากนั้ น การบรรเลงซอมอญสามารถ ท�ำเสียงยาวได้ จึงท�ำให้เกิดเสียงอ่อนหวานและ เพิ่มความไพเราะได้เป็นอย่างดียิ่ง ซอมอญจ�ำนวนหนึ่งที่มีอายุมากกว่า หนึ่ ง ร้ อ ยปี ที่ ร วบรวมไว้ ที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ม อญ เมืองเมาะละแหม่ง ในรัฐมอญ สาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมาร์ มีรูปร่างสวยงามและ มีลักษณะเหมือนกับซอมอญที่นักดนตรีมอญ ในประเทศไทยและในรัฐมอญใช้บรรเลงอยู่ใน วงเครื่องสายมอญในปัจจุบัน ประวัติความเป็นมาของซอมอญเป็นเรื่องที่น่าศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนที่เป็นกล่องเสียงของซอมอญมีรูปร่างที่ละม้ายคล้ายคลึงกับไวโอลินของชาวตะวันตก แต่ไม่เหมือนไวโอลินในส่วนที่เป็นองค์ประกอบอื่นๆ ของซอมอญดังนี้ ๑. ความแตกต่างที่ส�ำคัญระหว่างซอมอญและไวโอลิน คือ ซอมอญไม่มีคันซอ ส่ ว นบนสุ ด หรื อ โขนของซอมอญที่ เ รี ย กว่ า ดั้ บ โกร้ ท� ำ เป็ น ทรงกระบอกกลวง ปากผาย แต่ไวโอลินไม่มีโขนซอ ๒. ด้านข้างระหว่างแผ่นไม้ที่ประกอบเป็นกล่องเสียงของซอมอญ หรือเป็นตัวของ ซอมอญใช้ใบลานปิดรอบทุกด้าน แล้วทาสีให้มีสีเหมือนกับตัวซอ ส่วนมากนิยมทาสีด�ำ


80

ปี่พาทย์มอญรำ�

๓. ซอมอญมี เ ดื อ ยหรื อ ขาส� ำ หรั บ วางซอ มอญเรี ย กว่ า จ้ า งโกร้ การสี ซ อมอญ ต้องตั้งซอบนพื้นเช่นเดียวกับการสีซอสามสายของไทย ด้านล่างของซอจึงต้องมีขาส�ำหรับ วางซอให้ตั้งกับพื้นขณะสีซอ แต่ไวโอลินไม่มีขาซอ ๔. การสีซอมอญ ผู้สีซอต้องวางซอที่พื้นแบบเดียวกับการสีซอสามสายของไทย ต่างกับการสีไวโอลิน จยาม (จะเข้มอญ) จะเข้เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด เ มื่ อ ดี ด ที่ ส า ย จ ะ ท� ำ ใ ห ้ เ กิ ด เ สี ย ง จ ะ เ ข ้ ในภาษามอญเรี ย กว่ า “จยาม” แปลว่ า จระเข้ เพราะจะเข้ของมอญท�ำเป็นรูปจระเข้ ประกอบด้ ว ย ๓ ส่ ว น คื อ ส่ ว นที่ ห นึ่ ง เป็ น หั ว จระเข้ ส่ ว นที่ ส องเป็ น ล� ำ ตั ว และขา และ ส่ ว นที่ ส ามเป็ น หางจระเข้ ส่ ว นที่ เ ป็ น ล� ำ ตั ว เป็ น ส่ ว นที่ เ ป็ น กล่ อ งเสี ย งของจะเข้ มี ส าย ส� ำ หรั บ ดี ด ให้ เ กิ ด เสี ย งอยู ่ ที่ ก ล่ อ งเสี ย ง จะเข้ มอญส่ ว นใหญ่ จ ะท� ำ ชิ้ น ส่ ว นทั้ ง สาม คื อ ส่ ว นหั ว ส่ ว นล� ำ ตั ว และส่ ว นหางแยกจากกั น ทั้ ง นี้ เ พื่ อ สะดวกในการต้ อ งยกไปในที่ ต ่ า งๆ เพราะจะเข้มอญมีขนาดใหญ่มาก จ ะ เ ข ้ เ ป ็ น เ ค รื่ อ ง ด น ต รี ข อ ง ม อ ญ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรง ราชานุ ภ าพ ทรงกล่ า วถึ ง จะเข้ ที่ เ ป็ น เครื่ อ ง ดนตรีของมอญ และได้มาเล่นกันแพร่หลาย ในไทยตั้ ง แต่ ส มั ย อยุ ธ ยาตอนต้ น ซึ่ ง นั บ เป็ น เวลานานกว่า ๔๐๐ ปีมาแล้วว่า “.....จะเข้คงจะเล่นกันเป็นสามัญมาแล้วตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ในแผ่นดิน ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในแผ่นดินของพระองค์นี้ทรงมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับ รามัญประเทศมากกว่าแผ่นดินก่อนๆ...”


ปี่พาทย์มอญรำ�

81

การท�ำจะเข้มอญท�ำยากกว่าจะเข้ของไทย เนื่องจากจะเข้มอญต้องท�ำให้มีรูปทรง เหมือนจระเข้ดงั กล่าวแล้วนัน้ ปัจจุบนั นักดนตรีในวงเครือ่ งสายมอญน�ำจะเข้ไทยมาใช้บรรเลง ในวงเครื่องสายมอญ เพราะไม่สามารถท�ำจะเข้มอญแบบมอญแท้ได้ แต่นักดนตรีมอญ ในรั ฐ มอญยั ง คงใช้ จ ะเข้ ม อญที่ ท� ำ เป็ น ตั ว จระเข้ ทั้ ง ตั ว ใช้ บ รรเลงในวงเครื่ อ งสายมอญ อยู่ทั่วไปเพราะมีผู้ท�ำจะเข้แบบมอญอยู่มาก นอกจากนั้นจะเข้ของมอญพม่าได้น�ำไปบรรเลง ในวงดนตรีของพม่าด้วย จะเข้มอญมี ๓ สาย ท�ำจากสายไหม น�ำมาฟั่นเป็นเกลียวให้แน่นคล้ายเส้นเชือก แล้วน� ำมาขึงที่กล่อ งเสียงของจะเข้ส� ำหรับ ดีดให้เกิดเสียง มีนมส� ำหรับรองรับสายจะเข้ จ�ำนวน ๑๒ อัน การบรรเลงจะตั้งจะเข้มอญวางราบกับพื้น ผู้บรรเลงนั่งขวางกับตัวจะเข้ อะโล้ด (ขลุ่ยมอญ) ขลุ่ยมอญเป็นเครื่องดนตรีประเภทใช้ลมเป่า ใช้บรรเลงเฉพาะในวงเครื่องสายมอญ ในปัจจุบันขลุ่ยจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีความไพเราะมาก ด้วยเหตุผลที่ว่าขลุ่ยมีเสียง นุ่มนวลอ่อนหวาน ถ้าเป่าขลุ่ยในยามดึกสงัด ในความสงบ เงียบวิเวกยามราตรีด้วยแล้ว ยิ่งท�ำให้ขลุ่ยมีความไพเราะเสนาะโสตยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ นอกจากนั้นขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรี ที่ ห าได้ ง ่ า ย พกติ ด ตั ว น� ำ ไปไหนมาไหนได้ ส ะดวกสบายไม่ เ ป็ น ภาระหรื อ เกะกะ อี ก ทั้ ง การเป่าขลุ่ยไม่ได้ถูกจ�ำกัดเหมือนเครื่องดนตรีบางชิ้น ขลุ่ยเป่าได้ในอิริยาบถต่างๆ ของ ร่างกาย ไม่ว่าจะอยู่ในท่านั่ง ยืน เดินหรือนอน ก็สามารถเป่าขลุ่ยได้ทั้งนั้น

วงเครื่องสายมอญ บ้านยองตอง เมืองเมาะละแหม่ง รัฐมอญ (พ.ศ. ๒๕๔๖)


82

ปี่พาทย์มอญรำ�

ขลุ่ยมอญท�ำจากไม้ไผ่รวกชนิดหนึ่งซึ่งมีความแห้งจริงๆ ดากของขลุ่ยต้องท�ำด้วย ไม้สักทองหรือไม้สักหินเท่านั้น ไม้สักขี้ควายไม่น�ำมาใช้ท�ำดาก ขลุ่ยมีรูกลวงตลอดเลาขลุ่ย ด้านหลังเจาะรูกลมเรียงตามความยาวของเลาขลุ่ย จ�ำนวน ๗ รู เมื่อเป่าขลุ่ยลมจะระบาย ให้ อ ากาศออกจากเลาขลุ ่ ย ตามรู ท� ำ ให้ เ กิ ด เสี ย ง ๗ เสี ย ง แต่ ส ามารถเป่ า ขลุ ่ ย ได้ มากกว่ า ๗ เสี ย ง อี ก ด้ า นหนึ่ ง เจาะรู ป ากนกแก้ ว รู นิ้ ว ค�้ ำ รู เ ยื่ อ รู ร ้ อ ยเชื อ ก เสี ย งของ ขลุ่ยมอญจะมีระดับเสียงต�่ำกว่าขลุ่ยเพียงออของไทย เมื่อน�ำเยื่อไม้ไผ่บางๆ ปิดที่รูเยื่อ จะท�ำให้เสียงของขลุ่ยมอญมีเสียงดังพร่าๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเสียงขลุ่ยมอญ ระดับเสียง ของขลุ่ยมอญเมื่อเทียบกับเสียงของดนตรีไทยจะตรงกับระดับเสียงทางเพียงออล่างของ ขลุ่ยเพียงออ (ขลุ่ยไทยที่ระดับเสียงต�่ำ เรียกว่า ขลุ่ยเพียงออ ถ้ามีระดับเสียงสูงเรียกว่า ขลุ่ยหลีบ) กลวิธีการบรรเลงขลุ่ยมอญนี้คล้ายกับการบรรเลงขลุ่ยไทย เช่น มีการพรมนิ้วด้วย การปิด เปิดนิ้วถี่ๆ ในท่วงท�ำนองที่มีเสียงยาวหรือเป็นท่วงท�ำนองที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ หรือการทอนเสียงจากเสียงสูงลงมาเสียงต�่ำ หรือจากเสียงต�่ำไปเสียงสูง ท�ำให้เกิดเสียงหวาน เพื่อเน้นจุดเด่นของท�ำนอง ปุงตัง (กลอง) กลองมอญเป็ น กลองสองหน้ า ขนาดเล็ ก ตั ว กลองยาวประมาณ ๓๐ เซนติ เ มตร กว้างประมาณ ๑๐ เซนติเมตร หน้าใหญ่มีเสียงทุ้ม หน้าเล็กมีเสียงแหลม การบรรเลงใช้ตี หน้าเดียว


ปี่พาทย์มอญรำ�

83

คะเด (ฉิ่ง) ฉิ่งมอญมีลักษณะเหมือนฉิ่งของไทย เป็นเครื่องดนตรีชิ้นเดียวในวงเครื่องสายมอญ ที่ท�ำจากโลหะ ฉิ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี

วงเครื่องสายมอญ บ้านบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๕๕๑)


84

ปี่พาทย์มอญรำ�

การก�ำหนดต�ำแหน่งเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายมอญ การจั ด วงเครื่ อ งสายมอญไม่ มี แ บบแผนเหมื อ นดั ง เช่ น การจั ด วงปี ่ พ าทย์ ม อญ แต่ส่วนใหญ่จะตั้งจะเข้มอญและซอมอญอยู่ด้านหน้า ขลุ่ยมอญ กลอง และฉิ่งอยู่ด้านหลัง ปั จ จุ บั น วงเครื่ อ งสายมอญนอกจากจะประกอบด้ ว ยเครื่ อ งดนตรี ๕ ชิ้ น คื อ จะเข้มอญ ซอมอญ ขลุ่ยมอญ ฉิ่งและกลองแล้ว ยังมีการน�ำเครื่องดนตรีอื่นๆ เช่น ซอด้วง ฉาบเล็ก กรับ มาประสมวงด้วย ต�ำแหน่งที่ตั้งของเครื่องดนตรีที่น�ำมาเพิ่มก็ไม่ได้ก�ำหนด ต�ำแหน่งที่แน่นอน

บทบาทและหน้าที่ของเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายมอญ เครื่องดนตรีมอญแต่ละชิ้นที่น�ำมาประสมวงเครื่องสายมอญ ต่างมีบทบาทและหน้าที่ ต่างๆ ดังนี้ ๑. จะเข้มอญ ท�ำเป็นรูปจระเข้ทั้งตัวถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของวงเครื่องสายมอญ จะเข้ จ ะท� ำ หน้ า ที่เป็นหลักของวง โดยด�ำเนินท�ำนองหลักของเพลงและท�ำหน้า ที่ในการ ขึ้นต้นเพลงพร้อมกับซอมอญ ๒. ซอมอญ ลักษณะของซอมอญที่สวยงามและเป็นศิลปะของมอญถือได้ว่าเป็น เอกลักษณ์ของเครื่องสายมอญเช่นเดียวกับจะเข้มอญ การด�ำเนินท�ำนองหลักของเพลงและ พร้อมกับการท�ำหน้าที่ในการขึ้นต้นเพลง เป็นบทบาทและหน้าที่ของซอมอญ การบรรเลง ซอมอญสามารถท�ำเสียงยาวเสียงอ่อนหวานได้ ซอมอญจึงมีบทบาทและหน้าที่ในการด�ำเนิน ท�ำนองหลักของเพลงได้อย่างเต็มที่ ๓. ขลุ่ยมอญ บทบาทและหน้าที่ของขลุ่ยมอญคือการด�ำเนินท�ำนองเพลงให้สอด ประสานกลมกลืนไปกับเสียงบรรเลงของซอมอญและจะเข้มอญ หน้าที่ส�ำคัญของขลุ่ยมอญในวงเครื่องสายมอญอีกอย่างหนึ่งคือ การเป็นหลัก ในการเทียบเสียงของซอมอญและจะเข้มอญ เพราะเสียงขลุ่ยเป็นเสียงคงที่ ดังนั้นทุกครั้ง ก่อนการบรรเลงซอมอญและจะเข้มอญจึงต้องมีการเทียบเสียงของจะเข้มอญและซอมอญ ให้มีเสียงตรงกันกับเสียงขลุ่ย เมื่อเทียบเสียงของจะเข้มอญ ซอมอญและขลุ่ยมอญตรงกัน แล้ว จึงเป็นการพร้อมที่จะบรรเลงเพลงร่วมกันได้ ๔. กลองมอญ บทบาทและหน้าที่ของกลองมอญหรือปุงตัง คือท�ำหน้าที่ประกอบ จังหวะของเพลง โดยปกติใช้ตีหน้าเดียวคือหน้าใหญ่ โดยตั้งหน้าใหญ่ขึ้นใช้ตีก�ำกับจังหวะ เพลงมอญที่มีจังหวะหน้าทับมอญในการบรรเลงเพลงเครื่องสายมอญ หรือในการบรรเลง เพลงทะแยมอญ เช่น เพลงเจิกมั่ว โป้ดเซ เป็นต้น


ปี่พาทย์มอญรำ�

85

การตี ปุ ง ตั ง หรื อ กลองมอญนั้ น ผู ้ ตี ก ลองต้ อ งฟั ง เสี ย งเครื่ อ งดนตรี อื่ น ๆ ด้ ว ย ถ้ า เครื่ อ งดนตรี อื่ น ๆ เช่ น ซอมอญหรื อ จะเข้ ม อญ ขลุ ่ ย ใช้ เ สี ย งสู ง ผู ้ ตี ก ลองมอญต้ อ ง ตี ก ลองมอญหน้ าเล็ ก เพื่ อ ให้ เ กิ ด เสี ย งสู ง ถ้ าเครื่ อ งดนตรี อื่ นใช้เ สี ยงทุ ้ม ต�่ ำ ต้อ งตี กลองที่ หน้าใหญ่ การประสานเสียงจะกลมกลืนสัมพันธ์ดีและมีความไพเราะน่าฟัง จังหวะปุงตัง หรือกลองมอญนี้ใช้ประกอบจังหวะหน้าทับเพลงมอญ ตามส�ำเนียงเพลงมอญ ดังนี้ /– ชะ – ปุง / – ปุง / – ปุง / – ชะ – ปุง /– ปุง/ – ปุง – ปุง / ๕. ฉิ่ง บทบาทหน้าที่ของฉิ่ง คือ ท�ำหน้าที่ก�ำกับจังหวะของเพลงมอญ โดยปกติ จังหวะของเพลงมอญจะเป็นจังหวะปานกลางและเร็ว เมื่อเทียบกับจังหวะของเพลงไทย ได้แก่ จังหวะของเพลงอัตราสองชั้นและอัตราชั้นเดียวของเพลงไทย ดังนี้ /– ฉิ่ง – ฉับ / – ฉิ่ง – ฉับ / / ฉิง่ – ฉับ / – ฉิ่ง – ฉับ /

การประสมวงเครื่องสายมอญ เครื่องดนตรีที่ส�ำคัญที่น�ำมาประสมวงเครื่องสายมอญ เป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาท และหน้าที่หลักอยู่ ๒ ประการ คือ ๑. เครื่องดนตรีในกลุ่มด�ำเนินท�ำนอง ได้แก่ ซอมอญ จะเข้มอญและขลุ่ยมอญ เครื่ อ งดนตรี ทั้ ง ๓ ชิ้ น ดั ง กล่ า วแม้ จ ะเป็ น เครื่ อ งด� ำ เนิ น ท� ำ นองเพลง แต่ เ ครื่ อ งดนตรี แต่ ล ะชิ้ น จะแบ่ ง หน้ า ที่ กั น ออกไป เป็ น การด� ำ เนิ น ท� ำ นองที่ มี ท ่ ว งท� ำ นองต่ า งๆ กั น จะเข้มอญจะบรรเลงด�ำเนินท�ำนองไปข้างหน้าเป็นท�ำนองหลัก ขลุ่ยมอญด�ำเนินท�ำนองไป ให้สอดคล้องเคล้าคลอกับเสียงของซอมอญและจะเข้มอญ ส่วนซอมอญด�ำเนินท�ำนอง เกี่ยวก้อยเกาะติดไปกับเสียงของจะเข้มอญ การแปรท�ำนองของแต่ละเครื่องดนตรียังคง ยึดหลักวิธีด�ำเนินท�ำนองให้มีความใกล้เคียงกันมากที่สุดกับท�ำนองของจะเข้มอญ ๒. เครื่องดนตรีในกลุ่มควบคุมจังหวะหรือประกอบจังหวะ เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ในวง เครื่องสายมอญ ได้แก่ ปุงตังหรือกลอง และฉิ่ง ต่อมามีการน�ำซอด้วง กรับมาผสมในวงเครื่องสายมอญ เครื่องดนตรีที่น� ำมาผสม ในวงเครื่องสายมอญดังกล่าวจะต้องปรับเสียงให้นุ่มลง ลดความจ้าของเสียงซอด้วงลง เพื่อให้เกิดการประสานเสียงที่ดีในการบรรเลงวงเครื่องสายมอญ


86

ปี่พาทย์มอญรำ�

ระเบียบในการด�ำเนินจังหวะของการบรรเลง การด�ำเนินจังหวะของการบรรเลงในวงเครื่องสายมอญ มีขนาดหรือก� ำลังความเร็ว ของจังหวะปานกลางค่อนข้างช้า ทั้งนี้เพราะเพลงมอญนิยมบรรเลงด้วยเสียงที่นุ่มนวลและ ไม่บรรเลงเร็วจนเกินไป ทั้งนี้เพราะ ๑. ลั ก ษณะท่ ว งท� ำ นองของเพลงมอญให้ อ ารมณ์ ที่ นุ ่ ม นวล ส� ำ นวนของเพลง ใช้ เ สี ย งยาว การบรรเลงค่ อ นข้ า งช้ า จะท� ำ ให้ เ กิ ด การประสานกลมกลื น สอดคล้ อ งกั บ ท่วงท�ำนองของเพลง จะท�ำให้อารมณ์ของเพลงมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ๒. ลักษณะของเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายมอญ คือ ซอมอญและ ขลุ ่ ย มี ลั ก ษณะเสี ย งยาว เมื่ อ มี แ นวในการบรรเลงช้ า จะท� ำ ให้ ซ อมอญและขลุ ่ ย แสดง เอกลักษณ์ของเครื่องดนตรีทั้งสองได้อย่างเต็มที่ จะก่อให้เกิดความสมบูรณ์ของการบรรเลง ทั้งให้อารมณ์และความรู้สึกที่ประสานกลมกลืนกับท่วงท�ำนองของเพลงมอญอย่างดียิ่ง

เครื่องสายมอญใช้บรรเลงประกอบการขับร้อง และการบรรเลงที่ไม่มีการขับร้อง เครื่ อ งสายมอญหรื อ วงโกร้ จ ยามของมอญ โดยทั่ ว ไปแล้ ว จะใช้ บ รรเลงประกอบ การขั บ ร้ อ งเพลงมอญที่ เ รี ย กว่ า ทะแยมอญ วิ ธี ก ารบรรเลงเครื่ อ งสายมอญประกอบ การขั บ ร้ อ งทะแยมอญดั ง กล่ า ว มี ค วามแตกต่ า งกั บ วิ ธี ก ารบรรเลงเครื่ อ งสายไทยในวง เครื่องสายไทย หรือวงปี่พาทย์ไทยที่บรรเลงประกอบการขับร้อง กล่าวคือ การบรรเลง วงเครื่องสายมอญประกอบการขับร้อง เป็นการบรรเลงคลอไปกับการขับร้องของนักร้อง คล้ า ยกั บ รู ป แบบของการบรรเลงเคล้ า ของดนตรี ไ ทยจั ง หวะท� ำ นองและระดั บ เสี ย งของ เครื่องดนตรีและของนักร้องจะต้องประสานสอดคล้องกลมกลืนกันตลอดในแต่ละเพลง ที่ มี ก ารขั บ ร้ อ งและบรรเลงดนตรี ลั ก ษณะดั ง กล่ า วนี้ แ ตกต่ า งกั บ การบรรเลงดนตรี ประกอบการขั บ ร้อ งของวงดนตรีป ี่พ าทย์ วงเครื่องสาย การบรรเลงดนตรีไทยประกอบ การขับร้องเพลงไทยผู้ร้องจะร้องน�ำก่อน เมื่อจบแต่ละตอนดนตรีจึงบรรเลงรับที่เรียกว่า “ร้องส่ง” แต่ในบางกรณีมีการบรรเลงวงเครื่องสายมอญล้วนๆ ไม่มีการขับร้องเพลงทะแยมอญ ก็ ท� ำ ได้ เช่ น ในกรณี ที่ มี ก ารท� ำ บุ ญ เลี้ ย งพระ มี ก ารบรรเลงเครื่ อ งสายมอญในระหว่ า ง พระฉั น ภั ต ตาหาร ซึ่ ง ใช้ เ วลาไม่ ม ากหรื อ การบรรเลงเครื่ อ งสายมอญในพิ ธี ร� ำ เจ้ า ใน บางหมู่บ้านมอญ เนื่องจากขั้นตอนของพิธีกรรมในพิธีร�ำเจ้ามีไม่มากจึงบรรเลงเฉพาะดนตรี จะเหมาะสมแก่การด�ำเนินการตามขั้นตอนของพิธีกรรมและช่วงเวลาที่ประกอบพิธีกรรม ในแต่ละขั้นตอน


ปี่พาทย์มอญรำ�

87

นอกจากนั้นวงเครื่องสายมอญได้น�ำไปบรรเลงโดยมีการขับร้องหรือไม่มีการขับร้อง ประกอบก็ ไ ด้ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในการบรรเลงเครื่ อ งสายมอญในวงสะบ้ า มอญหรื อ ในโอกาสสันทนาการ

การบรรเลงเครื่องสายมอญในวงสะบ้ามอญ งานสงกรานต์ บ้านบางกระดี่ แขวงแสมด�ำ กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๕๓๕)

การบรรเลงเครื่องสายมอญ ในงานส่งเสริมวัฒนธรรมมอญ และการท่องเที่ยว บ้านเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๔๐)


ครูทรัพย์ หะหวัง ปรมาจารย์ด้านดนตรีปี่พาทย์มอญ แสดงดนตรีปี่พาทย์มอญในงานเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมมอญ จัดโดยสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับวัดปรมัยยิกาวาส ในสมัยพระครูปัญญารัตน์ (มาลัย ปุปผทาโม) เป็นเจ้าอาวาส วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๒


๓ เพลงปี่พาทย์มอญ การประพันธ์เพลงมอญ คงยึดหลักการประพันธ์เพลงด้วยการประดิษฐ์ทำ� นองเพลงขึน้ เป็นทางฆ้องมอญวงใหญ่ก่อน หลักการนี้ครูอาจารย์ดนตรีมอญได้ยึดถือกันมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะถือว่ามือฆ้องหรือท�ำนองของฆ้องมอญวงใหญ่เป็นท�ำนองหลัก ในการบรรเลงเพลงของวงปี ่ พ าทย์ ม อญ นั ก ดนตรี ที่ บ รรเลงเครื่ อ งดนตรี อื่ น ๆ ต้ อ งน� ำ ท�ำนองหลักนี้ไปประดิษฐ์ และก�ำหนดเป็นทางด�ำเนินท�ำนองให้เหมาะสมกับเครื่องดนตรี แต่ละชิ้นให้ถูกต้องตามแบบแผนของทฤษฎีดุริยางคศาสตร์ เมื่อไปบรรเลงรวมกันแล้ว ได้ อ รรถรสทางดนตรีที่ดี กล่าวคือ มีค วามไพเราะสอดคล้องสัมพันธ์กับท�ำนองหลักของ ฆ้องมอญวงใหญ่ ส�ำหรับรูปแบบของเพลงมอญในวงปี่พาทย์มอญสามารถจ�ำแนกได้ ดังนี้ ๑. เพลงมอญประเภทด� ำ เนิ น ท� ำ นอง เพลงมอญประเภทนี้ คื อ เพลงมอญ ที่ ผู ้ แ ต่ ง เพลงได้ ป ระดิ ษ ฐ์ ท� ำ นองเพลงที่ เ ป็ น ทางฆ้ อ งมอญวงใหญ่ ขึ้ น ก่ อ นเพื่ อ ให้ เ ป็ น ท�ำนองหลัก จากนั้นผู้บรรเลงเครื่องดนตรีอื่นๆ จะน�ำท�ำนองหลักนี้ไปประดิษฐ์เป็นทาง ด� ำ เนิ น ท� ำ นองของเครื่ อ งดนตรี อื่ น ๆ แต่ ล ะอย่ า งให้ มี ท ่ ว งท� ำ นองให้ เ หมาะสมตาม ลักษณะเฉพาะของเครื่องดนตรีนั้นๆ เมื่อน�ำมาบรรเลงรวมกันแล้วสามารถบรรเลงร่วมกัน ได้อย่างถูกต้อง มีความไพเราะสอดคล้อง ประสานสัมพันธ์กันตามท�ำนองของมือฆ้อง หรือ ท�ำนองหลักของฆ้องมอญวงใหญ่ เพลงมอญที่จัดอยู่ในลักษณะเพลงมอญประเภทด�ำเนินท�ำนอง ได้แก่ เพลงเร็ว มอญทั่ ว ไปซึ่ ง อยู ่ ใ นอั ต ราชั้ น เดี ย ว ส่ ว นเพลงสองชั้ น นั้ น ปรากฏอยู ่ ใ นเพลงประจ� ำ วั ด ประจ�ำบ้าน เพลงเชิญ เพลงชุดย�่ำค�่ำ และย�่ำเที่ยง เป็นต้น


90

ปี่พาทย์มอญรำ�

๒. เพลงมอญประเภทบังคับทาง* เพลงมอญที่อยู่ในประเภทเพลงบังคับทางนี้ เป็ น เพลงที่ ด� ำ เนิ น ท� ำ นองเพลงไปโดยเสี ย งยาวๆ ช้ า ๆ ที่ เ รี ย กทางเช่ น นี้ ว ่ า “ทางกรอ” เนื่องจากการท�ำเสียงยาวๆ นั้น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีย่อมท�ำเสียงยาวไม่ได้ ต้องตีถี่ๆ สองมือสลับกัน แต่ไม่ได้ตีอยู่ที่เสียงเดียวกัน เพลงมอญประเภทบังคับทาง ได้แก่ เพลงมอญที่มีอัตราเร็วปานกลางที่เรียกว่า เพลงอัตราสองชั้นทั่วไป และไม่ใช่เพลงประเภทเพลงด�ำเนินท�ำนองของมอญที่ใช้บรรเลง เป็ น การประโคมตามข้อ ๑ แต่เป็นเพลงมอญที่ใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิง เพลงมอญ ประเภทบังคับทางนี้ด�ำเนินด้วยท�ำนองเสียงยาว มีเสียงนุ่มนวลให้ความรู้สึกที่อ่อนโยน ไม่เกรี้ยวกราดร้อนรน เพลงมอญในลักษณะที่เป็นเพลงประเภทบังคับทางนี้ มีลักษณะ ใกล้เคียงกับเพลงบังคับทางหรือเพลงทางกรอของไทย ต่อมามีการปรับปรุงและประดิษฐ์ เพลงมอญประเภทเพลงบังคับทางนี้อย่างกว้างขวางเพราะมีผู้นิยมน�ำเพลงมอญไปบรรเลง และแต่งขยายเป็นเพลงสามชั้นและชั้นเดียวกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่สมัยรัชกาล พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ถึ ง สมั ย รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้าอยู่หัว มีโบราณาจารย์ผู้ทรงความรู้ทางดนตรีหลายท่านได้ประพันธ์เพลงมอญประเภท บังคับทางนี้ไว้จ�ำนวนมาก หลวงประดิ ษ ฐไพเราะ (ศร ศิ ล ปบรรเลง) ปรมาจารย์ ท างดนตรี ไ ทยเป็ น ผู ้ ที่ ได้ ป ระพั น ธ์ เ พลงมอญประเภทบั ง คั บ ทางไว้ จ� ำ นวนมาก หลวงประดิ ษ ฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้มีความคุ้นเคยกับครูสุ่ม ดนตรีเจริญ มอญปทุมธานี ปรมาจารย์ทางดนตรี ของมอญ ครูสุ่มได้ถ่ายทอดเพลงมอญให้แก่หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ไว้มาก เพลงมอญประเภทบังคับทางที่มีความไพเราะจ�ำนวนมากจึงเป็นที่นิยมชมชอบของผู้คน ทั่วไปตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบันนี้และส่วนใหญ่เป็นผลงานของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ที่แต่งขยายและย่อเป็นเพลงเถา

* ทาง อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความของทางในหนังสือดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการ หน้า ๖๓ ดังนี้ ๑. หมายถึง วิธีด�ำเนินท�ำนองของเพลง เช่น ทางเดี่ยวและทางหมู่ หรือ เพลงนี้เป็นทางของครู ก ครู ข อะไรท�ำนองนี้ ๒. หมายถึง วิธีด�ำเนินท�ำนองของเครื่องดนตรีเฉพาะอย่าง เช่น ทางระนาด ทางซอ เป็นต้น ๓. หมายถึง ระดับของเขตบันไดเสียง (Key) เช่น ทางเพียงออ ทางใน ทางกลาง หรือทางชะวา เป็นต้น


ปี่พาทย์มอญรำ�

91

เพลงประเภทลู ก ล้ อ ลู ก ขั ด ส�ำหรับเพลงมอญไม่มีเพลงประเภทลูกล้อและ ลู กขั ด เนื่ อ งจากเพลงมอญมีจัง หวะช้าจึง ไม่เหมาะที่จะใช้บรรเลงให้มีลูกล้อหรือลูกขัด เช่ น เดี ย วกั บ การบรรเลงเดี่ ย วด้ ว ยการบรรเลงเครื่ อ งดนตรี เ ป็ น รายชิ้ น ไม่ นิ ย มบรรเลง เพลงมอญทั่วไป ยกเว้นเพลงย�่ำค�่ำที่เริ่มบรรเลงด้วยโหม่ง นิยมเดี่ยวเปิงมางและเครื่องดนตรี อื่นๆ ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานคึกคัก ส่วนเพลงมอญอื่นๆ จะไม่มีการบรรเลง ลูกล้อลูกขัด และบรรเลงเดี่ยว การประพันธ์เพลงมอญทีบ่ รรดาโบราณาจารย์ทางดนตรีของมอญได้กำ� หนดรูปแบบ ไว้แล้วน�ำมาประกอบเข้าเป็นเพลงหนึ่งๆ นั้นมีองค์ประกอบหลายประการ เช่น ท�ำนอง ส�ำเนียง จังหวะหน้าทับ เป็นต้น แต่สาระส�ำคัญที่สุดที่โบราณาจารย์ทางดนตรีของมอญ ได้ใช้เป็นองค์ประกอบส�ำคัญของการประพันธ์เพลงมอญ คือ ท�ำนองและจังหวะของเพลง เพลงมอญทั่วไปจึงมีท�ำนองและจังหวะที่ดี ท�ำให้เป็นเพลงที่มีความไพเราะน่าฟัง

เพลงมอญมีตะโพนมอญท�ำหน้าที่ควบคุมจังหวะ ตะโพนมอญนอกจากจะท�ำหน้าที่เป็นผู้ประกอบจังหวะก�ำกับท�ำนองเพลงโดยเฉพาะ แล้ว ตะโพนมอญยังมีหน้าที่ส�ำคัญอีกประการหนึ่งคือ ท�ำหน้าที่บอกสัดส่วนและประโยค ของเพลงด้วย เพลงมอญทีบ่ รรเลงในวงปีพ่ าทย์มอญทีเ่ ป็นเพลงประเภทด�ำเนินท�ำนองเพลงประเภทนี้ มีตะโพนมอญเป็นผู้ท�ำหน้าที่ควบคุมก�ำกับจังหวะท�ำนองเพลงและก�ำหนดสัดส่วนรวมทั้ง ประโยคของเพลง การประพันธ์เพลงมอญจึงต้องค�ำนึงถึงจังหวะหน้าทับของตะโพนมอญ เป็นส�ำคัญ เพลงมอญที่มีหน้าทับตะโพนมอญควบคุมก�ำกับจังหวะท�ำนองเพลงมี ดังนี้ ๑. เพลงมอญที่มีหน้าทับตะโพนมอญควบคุมจังหวะโดยเฉพาะ ได้แก่ เพลง ส�ำหรับบรรเลงประโคม ซึ่งมีหน้าทับตะโพนมอญก�ำหนดสัดส่วนประโยคของเพลงและ ควบคุ ม ก� ำ กั บ จั ง หวะไว้ โ ดยเฉพาะ เช่ น เพลงประจ� ำ วั ด เพลงประจ� ำ บ้ า น เพลงย�่ ำ รุ ่ ง เพลงย�่ำเที่ยง (เพลงมอญร�ำ) เพลงย�่ำค�่ำ เป็นต้น ๒. เพลงมอญที่ มี ห น้ า ทั บ ตะโพนมอญลั ก ษณะพิ เ ศษ เป็ น เพลงที่ มี ห น้ า ทั บ ตะโพนมอญที่ไม่ได้ก�ำหนดตายตัวโดยเฉพาะ เพลงประเภทนี้ ได้แก่ เพลงมอญที่มีการ ปรับปรุงขึ้นในเวลาต่อมา เช่น เพลงยกศพ วิธีบรรเลงตะโพนมอญในเพลงดังกล่าวในหมวดนี้ ไม่ได้กำ� หนดจังหวะหน้าทับของตะโพนมอญเป็นการตายตัว แต่ให้มคี วามสอดคล้องกลมกลืน กับท�ำนองเพลงให้มากที่สุด


92

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงมอญบางเพลงที่มีหน้าทับตะโพนมอญลักษณะพิเศษ ได้แก่ เพลงมอญ ที่ มี ก ารปรั บ ปรุ ง ให้ มี ท� ำ นองรุ ก เร้ า สนุ ก สนาน เช่ น เพลงกระต่ า ยเต้ น เพลงสองกุ ม าร เพลงมะลิวัลย์ เป็นต้น ๓. เพลงเร็วมอญ เป็นเพลงมอญชั้นเดียวที่ไม่ได้ก�ำหนดจังหวะของตะโพนมอญ เป็ น การตายตั ว ผู้บรรเลงตะโพนมอญสามารถใช้จังหวะของตะโพนมอญให้สอดคล้อง กับท�ำนองและจังหวะของเพลงให้มีความกลมกลืนและสอดคล้องกันมากที่สุด ๔. เพลงมอญที่มีการใช้หน้าทับตะโพนมอญ ที่เรียกว่า หน้าทับมอญ เพลง หมวดนี้เป็นเพลงมอญที่ใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิงไม่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม เป็นเพลงในอัตรา สองชั้น

ระเบียบในการบรรเลงปี่พาทย์มอญ การบรรเลงปี่พาทย์มอญ โบราณาจารย์ทางดนตรีของมอญได้ก�ำหนดแบบแผน เป็นระเบียบในการบรรเลงปี่พาทย์มอญไว้อย่างชัดเจน ดังนี้ ๑. การขึ้นต้นเพลง การขึ้นต้นเพลงปี่พาทย์มอญครูอาจารย์ดนตรีมอญได้ก�ำหนด เป็นแบบแผนแต่โบราณ คือ ๑.๑ ขึ้นต้นด้วยตะโพนมอญ เพลงมอญที่ใช้ประกอบพิธีกรรมหรือเพลงที่ใช้ ประโคม ได้แก่ เพลงประจ�ำวัด เพลงประจ�ำบ้าน ต้องขึ้นต้นเพลงด้วยเครื่องดนตรีก�ำกับ จังหวะหน้าทับคือตะโพนมอญ ๑.๒ ขึ้นต้นเพลงด้วยฆ้องมอญวงใหญ่ ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงมอญสองชั้น และ เพลงเร็วมอญ ๒. การลงจบเพลง การลงจบเพลงปี่พาทย์มอญแต่โบราณนั้นจะไม่ทอดลงจบเพลง อย่างการลงจบเพลงแบบของไทย เพลงปี่พาทย์มอญมีรูปแบบการลงจบเพลง ดังนี้ ๒.๑ การลงจบเพลงเร็วมอญ มีการบรรเลงลงจบ ดังนี้ – ม ร ด - ม ร ด - ม ร ด - บรรเลงให้กระชั้นขึ้นเรื่อยๆ และ ลงจบด้วยเสียงสุดท้ายคือเสียงโด ท�ำนองลงจบเพลงดังกล่าวใช้ในการบรรเลงลงจบเพลงเร็วมอญทั่วไป เช่น การลงจบเพลงชอป้าต ก่อนที่จะบรรเลงต่อด้วยเพลงมอญร�ำในเพลงชุดย�่ำเที่ยงและในการ ร�ำมอญร�ำ เป็นต้น


ปี่พาทย์มอญรำ�

93

๒.๒ ท�ำนองลงจบของเพลงประจ�ำวัดและเพลงประจ�ำบ้าน

ท�ำนองลงจบของเพลงประจ�ำวัด - - - - - ร - - - ม - - - ซ - - - ล ท�ำนองลงจบของเพลงประจ�ำบ้าน - - - - ซ - - - ล - - - ด - - - ร

วิธีการบรรเลงปี่พาทย์มอญ การบรรเลงปี่พาทย์มอญเพื่อให้เกิดความไพเราะน่าฟังนั้น ผู้บรรเลงต้องค�ำนึงถึง สาระส�ำคัญประการหนึ่งคือแนวในการบรรเลง “แนว หมายถึง ขนาดหรือก�ำลังความช้าเร็ว ของการด�ำเนินจังหวะ ที่พูดกันว่ามีแนวดีก็คือ ในขณะที่บรรเลงหรือขับร้องได้รักษาขนาด หรือความช้าเร็วของจังหวะไว้โดยเรียบร้อย สม�่ำเสมอและเหมาะสมกับท�ำนองเพลงนั้นๆ เพลงใด ตรงไหน ควรช้าเร็วเพียงใดก็ต้องปฏิบัติอย่างนั้น” (มนตรี ตราโมท, ๒๕๐๗, น.๒๒) เพราะฉะนั้นแนวในการบรรเลงในที่นี้จึงหมายถึงการใช้ความเร็วในการบรรเลงของ วงปี่พาทย์นั้นเอง การใช้แนวหรือความเร็วในการบรรเลงของวงปี่พาทย์มอญนั้นจัดอยู่ ในกลุ่มความเร็วน้อย แนวในการบรรเลงค่อนข้างช้า ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกลมกลืนกับ ท�ำนองเพลงที่มีความนุ่มนวล ไม่นิยมบรรเลงเร็วเหมือนปี่พาทย์ประเภทอื่นๆ เนื่องจาก ๑. ลักษณะท่วงท�ำนองของเพลงมอญให้อารมณ์นุ่มนวล ส�ำนวนเพลงใช้เสียงยาว มี ลั ก ษณะคล้ า ยกับ เพลงประเภทบัง คับทางหรือเพลงกรอ ดังนั้น แนวในการบรรเลงจึง ค่อนข้างช้า เพื่อให้สอดคล้องกลมกลืนกับท่วงท�ำนองของเพลง ซึ่งจะท�ำให้ความไพเราะและ อารมณ์ของเพลงมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ๒. ลักษณะมือฆ้องของมอญที่ระบบเสียงของฆ้องมอญ มีหลุมเสียงอันเป็นจุดเด่น ของการผู ก ส� ำ นวนเพลงของเพลงมอญ การบรรเลงมื อ ฆ้ อ งของมอญท� ำ ให้ แ ต่ ล ะวรรค แต่ละประโยคของเพลงใช้เสียงยาว ดังนั้น การบรรเลงช้าจะท�ำให้ท�ำนองหลักของฆ้องมอญ มีความโดดเด่น และกลมกลืนสอดคล้องกับแนวที่ใช้ในการบรรเลงคือแนวที่ค่อนข้างช้า ๓. ลั ก ษณะของเสียงที่เกิด จากเครื่อ งดนตรีในวงปี่พาทย์มอญที่มีเ สียงยาว เช่น ตะโพนมอญ ปี่มอญ เป็นต้น ซึ่งมีเสียงยาวและกังวาน อันเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องดนตรี ที่ใช้แนวในการบรรเลงช้า การใช้แนวในการบรรเลงช้าจะท�ำให้การบรรเลงมีความสมบูรณ์ ให้อารมณ์และความรู้สึกกลมกลืนไปกับท่วงท�ำนองของเพลงมอญ ดั ง นั้ น แนวในการบรรเลงปี ่ พ าทย์ ม อญที่ ดี คื อ การบรรเลงในแนวหรื อ ขนาดของ การด�ำเนินจังหวะช้าอยู่ในกลุ่มใช้ความเร็วน้อย ทั้งนี้เพื่อความกลมกลืนและสอดคล้องกับ ลักษณะของท่วงท�ำนองเพลงมอญและเครื่องดนตรีมอญในวงเป็นส�ำคัญ


ปี่พาทย์มอญรำ�

94

การด� ำ เนิ น ท� ำ นองของเครื่ อ งดนตรี ดนตรี ม อญยึ ด หลั ก การประพั น ธ์ เ พลง ด้วยการประดิษฐ์ท�ำนองเพลงขึ้นเป็นฆ้องมอญก่อน อันเป็นท�ำนองหลักของการบรรเลง จากนั้นเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ น�ำท�ำนองหลักนั้นไปประดิษฐ์ท�ำนองที่เรียกว่า แปรท� ำ นอง อันเป็นการสร้างวิธีด�ำเนินท�ำนองส�ำหรับใช้เฉพาะเครื่องดนตรีของตน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเพลง ประเภทด�ำเนินท�ำนองหรือกลุ่มเพลงประเภทบังคับทาง ต้องด�ำเนินไปตามหลักและทฤษฎี ทางดุริยางคศิลป์ และยึดหลักวิธีการด�ำเนินท�ำนองให้มีความใกล้เคียงกับมือฆ้องให้มาก ที่สุดเพราะฆ้องมอญเป็นเครื่องดนตรีหลักของวงปี่พาทย์มอญ การลงจบเพลง ในช่วงเวลาต่อมาเมื่อมีการนิยมน� ำเพลงมอญมาปรับปรุง หรือ ประดิ ษ ฐ์ ท างขึ้ น ใหม่ ท� ำ นองลงจบเกิ ด มี ลั ก ษณะคล้ า ย “ทอดลงจบ” ของการบรรเลง เพลงไทยคือการลดจังหวะให้ช้าลง ซึ่งใช้กับการบรรเลงก่อนที่จะจบท่อนหรือจบเพลง ดังนี้ ๑. ใช้ท�ำนองลงจบตามแบบของเพลงประจ�ำวัดหรือเพลงประจ�ำบ้าน คือ

- - - - ร - - - ม - - - ซ - - - ล หรือ - - - ซ - - - ล - - - ด - - - ร

๒. ทอดลงจบลักษณะพิเศษเฉพาะเพลง ---ด

๓. ทอดลงจบโดยอนุโลมตามแบบการลงจบของเพลงไทย คือ ซ – ล - ซ – ม - - - ร แต่การลงจบแบบเพลงมอญโบราณยังคงมีอยู่

กาละและเทศะในการบรรเลงปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ ได้ทุกโอกาส ทั้งที่เป็นงานมงคล งานพิธีกรรม ต่างๆ รวมถึงงานศพ ปี่พาทย์มอญในอดีตที่เคยเป็นเครื่องดนตรีประจ�ำราชส�ำนักมอญนั้น บทบาทของปี่พาทย์มอญย่อมมีอย่างกว้างขวางมาก ในปัจจุบันบทบาทของปี่พาทย์มอญ ยั ง คงมี อ ยู ่ ใ นสั งคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชุม ชนมอญทั้งในประเทศไทยและในรัฐมอญ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ครูอาจารย์ดนตรีมอญได้ประพันธ์เพลงมอญไว้จ�ำนวนมาก เพื่อใช้บรรเลงในวาระต่างๆ และได้ก�ำหนดเป็นแบบแผนไว้อย่างดียิ่ง บรรดานักดนตรี ปัจจุบันได้สืบทอดเพลงมอญและแบบแผนการบรรเลงเพลงในวงปี่พาทย์มอญดังกล่าวไว้ได้ ประกอบด้วย เพลงบรรเลงในพิธีกรรม เพลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์มอญ - มอญร�ำ เพลงประกอบการละเล่น เพลงบรรเลงในงานศพ และเพลงบรรเลงทั่วไปเพื่อความบันเทิง


ปี่พาทย์มอญรำ�

95

ปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ ดังนี้ ๑. บรรเลงในพิธีกรรม การบรรเลงปี่พาทย์มอญในพิธีกรรมของมอญมีดังนี้ พิ ธี บ� ำ เพ็ ญ กุ ศ ลทางพระพุ ท ธศาสนา ถื อ ว่ า เป็ น มงคลพิ ธี เช่ น งานฉลอง พระพุทธรูป ฉลองพระเจดีย์ ฉลองพระไตรปิฎก ฉลองวัด เป็นต้น ปี่พาทย์มอญมีบทบาท ในการเฉลิมฉลองในโอกาสส�ำคัญดังกล่าวนี้ด้วย พิธีกรรมอื่นๆ ของมอญ ที่ต้องมีการบรรเลงปี่พาทย์มอญประกอบการด�ำเนิน พิธีกรรมด้วย เช่น พิธีร�ำเจ้า พิธีร�ำผี พิธีร�ำสามถาด เป็นต้น พิธีร�ำเจ้า มอญเรียกว่า เล่ะห์เปียะจุ้ห์ พิธีร�ำผี มอญเรียกว่า ยู่กะนา หรือ เล่ะห์กะโล้ก พิธีร�ำสามถาด มอญเรียกว่า เล่ะห์กะนาย หรือ เล่ะห์ตะละทาน

การบรรเลงปี่พาทย์มอญประกอบมอญร�ำ (พ.ศ. ๒๕๕๓)

๒. บรรเลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์มอญ - มอญร�ำ มอญร� ำ เป็ น การร� ำ เพื่ อ แสดงความเคารพบู ช าสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ หรื อ แสดงความ เคารพต่อบุคคลส�ำคัญ เช่น พระมหากษัตริย์ พระสงฆ์ และบุคคลที่เป็นที่เคารพนับถือ มอญร�ำจึงแสดงได้ในงานมงคล งานฉลองในโอกาสต่างๆ และร�ำเคารพในงานศพของ


96

ปี่พาทย์มอญรำ�

ผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการร�ำมอญร�ำนี้บางเพลงได้น�ำไป ใช้บรรเลงในพิธีร�ำผี แท้ที่จริงในพิธีร�ำผีได้มีการน�ำเพลงมอญร�ำไปบรรเลงเพียง ๑ - ๒ เพลง เท่ า นั้ น และไม่ ไ ด้ เ ป็ น ส่ ว นใดในขั้ น ตอนของพิ ธี ร� ำ ผี ที่ บั ง คั บ ต้ อ งบรรเลงเพลงมอญร� ำ จะไม่น�ำเพลงมอญร�ำไปบรรเลงก็ได้ จึงมีการเข้าใจผิดว่าเพลงมอญร�ำเป็นส่วนหนึ่งของ เพลงร�ำผี แต่ความจริงการร�ำมอญร�ำและการร�ำผีไม่ได้เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด และมอญร�ำ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีร�ำผี ๓. บรรเลงประกอบการละเล่น ปี ่ พ าทย์ ม อญที่ ใ ช้ บ รรเลงประกอบการละเล่ น หรื อ การแสดงของมอญที่ มี อ ยู ่ ในปัจจุบันคือ เพลงประกอบการร�ำอาวุธที่เรียกว่า เพลงร�ำมวยมอญ ที่ใช้ปี่พาทย์มอญ บรรเลงประกอบการร�ำมวยมอญและการร�ำอาวุธ

ปี่พาทย์มอญในพิธีร�ำเจ้า พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

๔. บรรเลงในงานศพ ปีพ่ าทย์มอญได้นำ� ไปใช้บรรเลงประโคมในงานศพตามก�ำหนดเวลาและขัน้ ตอนของ พิธีทางศาสนา และพิธีการจัดงานศพและการฌาปนกิจศพตามประเพณีมอญ ๕. บรรเลงในงานทั่วไปเพื่อความบันเทิง เป็นเพลงที่มีมาแต่โบราณ และปรับปรุงประดิษฐ์ทางขึ้นใหม่ มีการน�ำไปประกอบ การแสดงละครด้วย


ปี่พาทย์มอญรำ�

97

เพลงปี่พาทย์มอญที่บรรเลงในพิธีกรรมทางศาสนาและพิธีกรรมอื่นๆ เพลงปี่พาทย์มอญที่บรรเลงในพิธีกรรมทางศาสนาและพิธีกรรมอื่นๆ ทั้งหมดทุกเพลง เมื่อน�ำมาจัดเป็นหมวดหมู่ของลักษณะการบรรเลงปี่พาทย์มอญจะอยู่ในประเภทเพลงที่ เรียกว่า เพลงประโคม และเพลงอื่นๆ ที่ไม่ใช่เพลงประโคม เพลงประโคม หรือ เพลงใหญ่ มอญเรียกว่า แกว้กโน้ก เพลงประเภทนี้เป็นเพลง กลุ่มใหญ่และเป็นเพลงที่ก�ำหนดไว้เป็นระเบียบ หรือเป็นแบบแผนใช้บรรเลงโดยเฉพาะ ในพิ ธี ก รรมต่ า งๆ ทั้ ง พิ ธี ก รรมทางศาสนา และพิ ธี ก รรมอื่ น ๆ เช่ น พิ ธี ร� ำ เจ้ า พิ ธี ร� ำ ผี พิธีร�ำสามถาด ตลอดถึงงานศพ เช่น เพลงประจ�ำวัด เพลงประจ�ำบ้าน เพลงเชิญ เป็นต้น นอกจากนั้นเพลงปี่พาทย์มอญที่ใช้ส�ำหรับประโคมนี้ยังมีการก�ำหนดให้บรรเลงประโคม ตามช่ ว งเวลาอี ก ด้วย เช่น เพลงย�่ำรุ่ง เพลงย�่ำเที่ยง (เพลงมอญร�ำ) เพลงย�่ำค�่ำ เพลง พระฉันมอญ เพลงส�ำหรับประโคมส่วนใหญ่เป็นเพลงในอัตราสองชั้น ที่มีจังหวะค่อนข้างช้า เพลงใหญ่จะบรรเลงต่อจากเพลงประจ�ำวัด และเพลงประจ�ำบ้านเสมอ หน้าทับของ ตะโพนมอญในเพลงใหญ่จะมีจังหวะต่างกันบ้างในบางเพลง เช่น หน้าทับของการบรรเลง เพลงในบันไดเสียงของเพลงประจ�ำวัด ตะโพนมอญจะตีครั้งหนึ่งต่อเมื่อครบจังหวะกรับ ๑๖ จังหวะ ส่วนหน้าทับของการบรรเลงเพลงในบันไดเสียงของเพลงประจ�ำบ้าน ตะโพนมอญ จะตีหนึ่งครั้งต่อเมื่อครบจังหวะกรับ ๒๔ จังหวะ เพลงใหญ่จ�ำนวนมากได้สูญหายไปคงมีเพลงใหญ่จ�ำนวนไม่มากที่ยังมีการบรรเลงอยู่ ในปัจจุบนั นี้ ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ นายแพทย์สเุ อ็ด คชเสนี ได้รวบรวมรายชือ่ เพลงใหญ่ไว้ ดังนี้ ๑. เพลงประจ�ำบ้านทางตรง ๓. เพลงประจ�ำวัดทางตรง ๕. เพลงเจิ้นหางไหม้ ๗. เพลงหะเก๊าะโท่มเมี่ยะ ๙. เพลงพระจันทร์ครึ่งซีก ๑๑. เพลงด๊าดซอน (น�้ำเงิน) ๑๓. เพลงเต้ะโด้ดกละบี ๑๕. เพลงฉิ่ง ๑๗. เพลงสี่บท

๒. เพลงประจ�ำบ้านทางกลาง ๔. เพลงประจ�ำวัดทางกลาง ๖. เพลงแป๊ะมังพลู ๘. เพลงไม่ทราบชื่อมีท�ำนองคล้ายเพลงที่ ๗ ๑๐. เพลงด๊าดทอ (น�้ำทอง) ๑๒. เพลงผ๊อกเซโร้ด ๑๔. เพลงช็อกกะลา ๑๖. เพลงหะโกเกรียง


98

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงอื่ น ๆ ที่ ไ ม่ ใ ช่ เ พลงประโคมหรื อ เพลงเล็ ก มอญเรี ย กว่ า แกว้ ก โด้ ด เพลงกลุ่มนี้เป็นเพลงที่บรรเลงในพิธีกรรมทางศาสนา หรือพิธีกรรมอื่นๆ เช่น พิธีร�ำเจ้า พิธีร�ำสามถาด พิธีร�ำผี เพลงในกลุ่มนี้มีทั้งเพลงจังหวะสองชั้นที่ค่อนข้างช้า และเพลงเร็ว ที่เรียกว่าเพลงเร็วมอญ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงชั้นเดียวที่บรรเลงในพิธีสงฆ์ที่บรรเลง เช่น เพลงรับพระ เพลงจุดเทียน และเพลงเร็วที่บรรเลงในพิธีร�ำผี พิธีร�ำเจ้า และพิธีร�ำสามถาด เช่น เพลงร�ำดาบ เพลงร�ำใบไม้ เพลงคล้องช้าง เป็นต้น หน้าทับตะโพนมอญของเพลงเล็กมีจงั หวะคล้ายจังหวะเพลงสองชัน้ ของไทย เพลงเล็ก ดังกล่าวนี้จะใช้หน้าทับตะโพนมอญ จังหวะพิเศษเฉพาะแต่ละเพลง เพลงเล็กมีจ�ำนวนมาก ปัจจุบันยังมีผู้บรรเลงได้อยู่ ได้แก่ เพลงที่ใช้บรรเลงตาม ขั้นตอนต่างๆ ของการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพลงร�ำเจ้า ร�ำสามถาด ร�ำผี

เพลงบรรเลงที่เป็นเพลงประโคม เพลงหมวดนี้มีทั้งเพลงบรรเลงประโคมตามขั้นตอนของพิธีการศาสนาและพิธีอื่นๆ ๑. เพลงทีบ่ รรเลงประโคมในพิธที างศาสนา เพลงปีพ่ าทย์มอญทีใ่ ช้บรรเลงประโคม ในพิ ธีเ ป็ น เพลงหมวดใหญ่ มี จ� ำนวนหลายเพลง รวมเรียกว่า เพลงใหญ่ มอญเรียกว่า แกว้ ก โน้ ก เป็ น เพลงอั ต ราสองชั้ น มี จั ง หวะค่ อ นข้ า งช้ า เพลงส� ำ หรั บ ประโคมในพิ ธี ท าง พุทธศาสนา มีดังนี้ เพลงเชิ ญ มอญเรี ย กว่ า เพลงเลี่ ย ะโล่ ง ตะระห์ เรี ย กสั้ น ๆ ว่ า เพลงตะระ มีความหมายว่าเป็นการป่าวร้องเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ได้ทราบว่าจะมีการบ�ำเพ็ญกุศลหรือ จัดงานพิธี ใกล้เคียงกับภาษาไทยว่าอัญเชิญหรือเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพลงเชิญนี้เป็นเพลง ที่ใช้บรรเลงเมื่อเริ่มพิธีส�ำคัญคล้ายเพลงสาธุการของไทย เพลงตะระของมอญโบราณมี ๒ ทาง คือ เพลงตะระโน้ก หรือ เพลงเชิญใหญ่ และ ตะระโด้ด หรือ เพลงเชิญเล็ก ในพิ ธี ร� ำ เจ้ า พิ ธี ร� ำ ผี พิ ธี ร� ำ สามถาดจะต้ อ งบรรเลงเพลงเชิ ญ เป็ น เพลงแรกเมื่ อ เริ่ ม พิ ธี ในพิธีร�ำเจ้าและพิธีร�ำผีขณะที่ขบวนแห่ไปเชิญเจ้าที่ศาลเจ้าสู่สถานที่ร�ำเจ้าหรือขบวนแห่ เชิญเครื่องบูชาบรรพบุรุษจากบนเรือนมาสู่โรงพิธีร�ำผี ปี่พาทย์มอญจะต้องบรรเลงประโคม ด้ ว ยเพลงเชิ ญ นี้ เ สี ย ก่ อ นจนกว่ า จะเสร็ จ การเชิ ญ บางครั้ ง ต้ อ งประโคมด้ ว ยเพลงเชิ ญ นี้ นานเป็นชั่วโมง เพลงเชิญเป็นการประโคมเพื่อบอกกล่าวแก่เทพยดาอารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพ บูชาในชุมชนมอญ แต่เดิมนั้นใช้ประโคมทั้งในงานมงคลและงานอวมงคลที่จัดขึ้นทั้งที่บ้าน


ปี่พาทย์มอญรำ�

99

และที่วัด ปัจจุบันไม่มีการบรรเลงเพลงนี้ในพิธีท�ำบุญ คงมีในพิธีร�ำเจ้า ร�ำสามถาดและ พิธีร�ำผีเท่านั้น หรือในงานศพบางแห่งที่มีการบรรเลงเพลงนี้ด้วย เพลงประจ�ำวัด มอญเรียกว่า โก้กเปิงฮะมาว หมายถึง การเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็น มิ่งขวัญในวัดหรือบอกกล่าวเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้บรรเลงประโคมในการจัดงานที่วัดและ บรรเลงประโคมสอดแทรกไปได้ในช่วงเวลาต่างๆ ที่ว่างเว้นจากพิธีกรรม เพลงประจ�ำวัด คนมอญจะใช้ บ รรเลงได้ เ ฉพาะที่ วั ด เท่ า นั้ น เพราะเพลงประจ� ำ วั ด ใช้ บ รรเลงประโคม แด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อประโคมถวายสักการะแด่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และตะละทานซึ่ ง เป็ น เจ้ า ที่ ป กปั ก รั ก ษาวั ด วั ด มอญทุ ก วั ด ต้ อ งมี ตะละทาน การจัดงานใดๆ ในวัดมอญไม่ว่าจะเป็นงานมงคล เช่น งานบวชนาค หรืองานศพ ต้ อ งท� ำ พิ ธี บ อกกล่ า วน� ำ เครื่ อ งบู ช ามาบู ช าตะละทานทุ ก ครั้ ง เพลงประจ� ำ วั ด จึ ง ถู ก ห้ า ม ไม่ ใ ห้ ไ ปบรรเลงที่ บ ้ า น นอกจากนั้ น คนมอญมี ค วามเชื่ อ ถื อ เคร่ ง ครั ด ที่ ว ่ า สิ่ ง ใดที่ เ ป็ น ของวัดจะไม่น�ำมาไว้ที่บ้าน เพลงประจ�ำวัดซึ่งถือว่าเป็นของวัด มอญจึงห้ามไม่ให้น�ำไป บรรเลงที่บ้าน วัดสโมสร (วัดหม่อมแซ่ม) ต�ำบลไทรใหญ่ อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ยังถือ คติความเชื่อเช่นนี้อย่างเคร่งครัด ปี่พาทย์มอญที่มาบรรเลงที่วัดนี้ต้องบรรเลงเพลงประจ�ำวัด เพลงเชิญและเพลงมอญบางเพลงที่หน้าศาลตะละทานของวัด ก่อนที่จะบรรเลงในพิธี เพลงประจ� ำ บ้ า น มอญเรี ย กว่ า โร่ ว โรต หมายถึ ง ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง เพลง ประจ�ำบ้านเป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประโคมขณะบ�ำเพ็ญกุศลที่บ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลและ ความเจริญรุ่งเรือง ช่วงเวลาประโคมขึ้นกับโอกาสที่ว่างจากพิธีกรรมอื่นๆ เช่นเดียวกับ เพลงประจ�ำวัด คนมอญแต่เดิมมาได้ใช้เพลงประจ�ำบ้านประโคมในการบ�ำเพ็ญกุศลได้ ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล เพลงประจ� ำ บ้ า นใช้ บ รรเลงประโคมในงานบ� ำ เพ็ ญ กุ ศ ลที่ วั ด ได้ ซึ่ ง ต่ า งกั บ เพลง ประจ�ำวัดที่คนมอญใช้บรรเลงประโคมได้เฉพาะที่วัดห้ามมิให้ไปใช้บรรเลงที่บ้าน โครงสร้างของท�ำนองเพลงประจ�ำวัดและเพลงประจ�ำบ้าน มีลักษณะคล้ายกันจนดู เหมือนเป็นเพลงเดียวกัน แต่เพลงทั้งสองนี้แตกต่างกันคือ ๑) บันไดเสียง บันไดเสียงของเพลงประจ�ำวัด ด ร ม x ซ ล x บันไดเสียงของเพลงประจ�ำบ้าน ฟ ซ ล x ด ร x


100

ปี่พาทย์มอญรำ�

๒) หน้าทับตะโพนมอญ เพลงประจ�ำบ้านใช้หน้าทับประจ�ำบ้านมีความยาวเป็นสองเท่าของหน้าทับของ เพลงประจ�ำวัดที่เรียกว่า หน้าทับประจ�ำวัด ๓) เนื่ อ งจากฆ้ อ งมอญมี ห ลุ ม เสี ย ง มื อ ฆ้ อ งที่ บ รรเลงเพลงเดี ย วกั น แต่ ค นละ บันไดเสียง จึงเหมือนกับบรรเลงคนละเพลง โบราณาจารย์ทางดนตรีของมอญได้ประพันธ์เพลงประจ�ำวัดและเพลงประจ�ำบ้านไว้ ๒ ทาง คือ เพลงประจ�ำวัดทางตรง และเพลงประจ�ำวัดทางกลาง การบรรเลงปี่พาทย์มอญในงานมงคลและงานศพ จะต้องบรรเลงเพลงประจ�ำวัด หรือเพลงประจ�ำบ้าน เพื่อเป็นการประโคมในพิธีกรรมหรือในงาน ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ถ้าเป็นการบรรเลงที่วัดใช้เพลงประจ�ำวัดและเพลงประจ�ำบ้าน แต่เพลงประจ�ำวัดห้ามมิให้ ไปบรรเลงที่บ้าน เพราะคนมอญถือว่าเป็นเพลงที่บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัด  คนมอญ ให้ความส�ำคัญแก่วัดมาก เพลงประจ�ำวัดจึงถูกก�ำหนดให้ใช้บรรเลงเฉพาะที่วัดเท่านั้น ส่วนเพลงประจ�ำบ้านใช้บรรเลงที่วัดได้ เพลงประจ�ำทั้ง ๔ เพลงนี้เป็นเพลงหลักที่ใช้บรรเลงในการท�ำบุญที่วัดหรือที่บ้าน แล้ ว แต่ ก รณี เมื่ อบรรเลงเพลงหลักดัง กล่าวนี้แล้ว จึงบรรเลงเพลงใหญ่ซึ่งเป็นเพลงใน อัตราสองชั้นหรือเพลงเร็วในอัตราชั้นเดียวของมอญต่อเนื่องกันไป เช่น เพลงเจิ้นหางไหม้ เพลงหะโกเกรียง เพลงช็อกกะลา เป็นต้น เพลงย�่ำรุ่ง มอญเรียกว่า เพลงจยาจก์ซายจะร่าย หมายถึง ความเป็นสิริมงคล ใช้บรรเลงเป็นการประโคมในเวลาก่อนรุ่งอรุณทั้งที่บ้านและที่วัด เพลงย�ำ่ เทีย่ ง มอญเรียกว่า เพลงซอยกรอย หมายถึง การให้ความเคารพ เนือ่ งจาก ช่วงเวลากลางวันนั้นมีกิจกรรมทางศาสนามาก เช่น การท�ำบุญเลี้ยงพระ การมีพระธรรม เทศนา การเจริญพระพุทธมนต์ เป็นต้น จึงประโคมเพลงย�่ำเที่ยงในเวลาศักดิ์สิทธิ์นี้ เพลง ย�่ำเที่ยงจะบรรเลงเมื่อเสร็จสิ้นการถวายภัตตาหารเพลแล้ว เพลงย�่ำเที่ยงน�ำเพลงมอญร�ำทั้ง ๑๒ เพลงมาบรรเลงเป็นการประโคมโดยไม่มีการร�ำ เพลงย�่ำค�่ำ มอญเรียกว่า เพลงจ้ะรอยเปี้ยะปอน หมายถึง ผลบุญ หรือ การเสวยสุข ทั้งนี้ตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มท�ำการกุศล เมื่อสิ้นวันแล้วถือว่าได้รับผลบุญนั้นแล้ว การประโคมเพลงย�่ำค�่ำ เป็นเพลงที่มีบรรยากาศชวนให้คึกคัก หลังจากเหน็ดเหนื่อย กั บ การจั ด งานมาตลอดทั้ ง วั น เพลงย�่ ำ ค�่ ำ มี ก ารบรรเลงเดี่ ย วเครื่ อ งดนตรี เช่ น เปิ ง มาง


ปี่พาทย์มอญรำ�

101

(ตามปกติเพลงปี่พาทย์มอญไม่มีการบรรเลงเดี่ยว) และมีการน�ำเพลงมอญอื่นๆ ที่เป็นเพลง ในอัตราสองชั้นมาบรรเลงต่อจากเพลงย�่ำค�่ำด้วยเหมือนเป็นเพลงเรื่องของไทย เพลงถวายเครื่องบูชา มอญเรียกว่า ถะบะตะละ เพลงนี้ใช้บรรเลงประโคมขณะ ท�ำการบูชาพระพุทธรูป หรือพระธาตุเจดีย์มอญ หรือ ถวายเครื่องเซ่นไหว้ในพิธีร�ำเจ้า พิธีร�ำผี เพลงนี้ไม่มีผู้บรรเลงกันแล้วในพิธีบูชาพระพุทธรูปหรือพระธาตุเจดีย์ คงมีอยู่บ้างในพิธีร�ำเจ้า และร�ำผีมอญเรียกว่า ปะละ ก็มี เพลงพระฉัน เป็นเพลงชุด มอญเรียกรวมว่า ต้านโว้ต หมายถึง การบ�ำเพ็ญทาน บารมี เพลงพระฉั น บรรเลงประโคมในขณะพระฉั น ภั ต ตาหาร มี ๒ หมวด คื อ เพลง พระฉันเช้าและเพลงพระฉันเพล เพลงชุดพระฉันประกอบด้วยเพลงต่างๆ ดังนี้ เพลงพระฉันเช้า เช่น เพลงหะเก๊าะโท่มเมี่ยะ เพลงกอตตอมปะเรียง เพลงปรออากาต้าน

• • •

เพลงพระฉันเพล เช่น เพลงด๊าดทอ เพลงด๊าดซอน เพลงหะเก๊าะโท่มเมี่ยะ

• • •

• เพลงต๊อยปอน • เพลงด๊าดทอ เพลงด๊าดซอน • ฯลฯ • เพลงหะโกเกรียง • เพลงปรออากาต้าน • เพลงต๊อยปอน

เพลงย�่ำเที่ยงจะบรรเลงต่อจากเพลงพระฉันเพลจบแล้ว เพลงบรรเลงประโคมดังกล่าวนี้เป็นเพลงมอญในอัตราสองชั้น นักดนตรีมอญเรียกว่า เพลงใหญ่ เมื่อบรรเลงเพลงดังกล่าวข้างต้นจบแล้ว ถ้าพระยังฉันไม่เสร็จ มีการน�ำเพลงอื่น มาบรรเลงได้พอเหมาะแก่กาลเวลา ๒. เพลงที่บรรเลงประโคมในพิธีกรรมอื่นๆ นอกจากพิธีกรรมทางพุทธศาสนาแล้ว ยังมีพิธีกรรมอื่นๆ ได้แก่ พิธีร�ำเจ้า พิธีร�ำสามถาด และพิธีร�ำผี ซึ่งต้องใช้ปี่พาทย์มอญและ เพลงมอญบรรเลงในพิธีกรรมดังกล่าวนี้ด้วย พิ ธี ร� ำ ผี เป็นพิธีที่ใ ช้เวลามากตลอดทั้ง วันตั้งแต่เ ช้าถึงเย็น เพลงที่ใช้บรรเลงใน พิธีร�ำผีจึงมีมาก ปี่พาทย์ต้องบรรเลงตลอดเวลาตามขั้นตอนของพิธีกรรม เพลงที่บรรเลง มีทงั้ เพลงประโคมซึง่ เป็นเพลงใหญ่และเพลงเร็วมอญหรือเพลงเล็กที่บรรเลงตามขั้นตอนต่างๆ ของพิธีกรรม


102

ปี่พาทย์มอญรำ�

พิธีร�ำเจ้า ขั้นตอนของพิธีกรรมมีน้อยกว่าพิธีร�ำผี ใช้เวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง พิ ธี ร� ำ สามถาด เป็ น การร� ำ เพื่ อ การบวงสรวงสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ ช้ เ วลาน้ อ ยประมาณ ๒ ชั่ ว โมง ในพิ ธี ร� ำ เจ้ า และพิ ธี ร� ำ สามถาดได้ น� ำ เพลงส่ ว นหนึ่ ง ในพิ ธี ร� ำ ผี ม าบรรเลงตาม ขั้นตอนของพิธีกรรม เพลงที่ใช้บรรเลงในพิธีร�ำเจ้า พิธีร�ำสามถาดและพิธีร�ำผี มีทั้งที่เป็นเพลงประโคมและ เพลงอื่นๆ ที่ไม่ใช่เพลงประโคม เพลงบรรเลงที่ เ ป็ น เพลงประโคมในพิ ธี ร� ำ เจ้ า ร� ำ สามถาดและร� ำ ผี ได้แก่ เพลงใหญ่ของมอญ เป็นเพลงอัตราสองชั้น ได้แก่ - เพลงเชิญ มอญเรียกว่า เลี่ยะโล่งตะระห์ - เพลงถวายเครื่องเซ่นไหว้ มอญเรียกว่า ถะบะตะละ หรือ ปะละ

เพลงบรรเลงที่ไม่ใช่เพลงประโคม เพลงที่ใช้บรรเลงในพิธีทางศาสนา ที่ไม่ใช่เพลงประโคม ได้แก่ เพลงที่ใช้งาน ท�ำบุญเลีย้ งพระและการแสดงพระธรรมเทศนา ในงานท�ำบุญเลีย้ งพระมีการบรรเลงเพลงมอญ ทั้งที่เป็นเพลงใหญ่และเพลงเร็วมอญ คือ - เพลงรับพระ มอญเรียกว่า โว้ตเลี่ยะจยาจก์ เป็นเพลงเร็วมอญอัตราชั้นเดียว - เพลงจุดเทียน มอญเรียกว่า เดนปะนานสะดาว หรือ ปาวเจี่ยะจยาจก์ เป็น เพลงเร็วมอญอัตราชั้นเดียว - เพลงส่งพระ มอญเรียกว่า เลี่ยะเว่อ เป็นเพลงเร็วมอญ อัตราชั้นเดียว ใช้บรรเลง เป็นการส่งพระเมื่อพระสงฆ์ลากลับ เพลงบรรเลงที่ ไ ม่ ใ ช่ เ พลงประโคม เพลงหมวดนี้ มี ทั้ ง เพลงที่ ใ ช้ บ รรเลงในพิ ธี ท าง ศาสนาและในพิธีกรรมอื่นๆ เช่น พิธีร�ำเจ้า พิธีร�ำสามถาด และพิธีร�ำผี ส่วนมากเป็นเพลงเร็ว มอญ ที่เรียกว่า เพลงเล็ก มอญเรียกว่า แกว้กโด้ด เพลงเล็กที่ไม่ใช่เพลงประโคมที่ใช้บรรเลงตามขั้นตอนประกอบพิธีร�ำเจ้า ร�ำสามถาด และร�ำผี เป็นเพลงเร็วมอญ เช่น เพลง ดังต่อไปนี้ ๑. เพลงร�ำดาบ มอญเรียกว่า เล่ะห์แซ่ง ๒. เพลงร�ำใบไม้ มอญเรียกว่า เล่ะห์อะนะชุ


ปี่พาทย์มอญรำ�

103

๓. เพลงหาบกล้วย มอญเรียกว่า เล่ะห์ฮะเลี่ยงปร้าต ๔. เพลงถ่อเรือ มอญเรียกว่า จ้อดเกลิ้ง ๕. เพลงชนไก่ มอญเรียกว่า เจ้อจาญก์ ๖. เพลงทุ่มมะพร้าว มอญเรียกว่า เจิ้มซอตเปรี้ยะ ๗. เพลงคล้องช้าง มอญเรียกว่า ภะเนี้ยกเจิน ๘. เพลงร�ำมวย มอญเรียกว่า เอนแลกปรอย ๙. เพลงร�ำหอก มอญเรียกว่า เล่ะห์นุ้ห์ ๑๐. เพลงร�ำดั้ง มอญเรียกว่า เล่ะห์ฮะเติ้ง ๑๑. เพลงร�ำกระสวย มอญเรียกว่า เล่ะห์โล่น เพลงบรรเลงในพิธีร�ำผีมีการน�ำเพลงเร็วมอญบางเพลงมาบรรเลงด้วย

เพลงปี่พาทย์มอญประกอบการแสดงนาฏศิลป์มอญร�ำ เพลงมอญที่ ใ ช้ ป ระกอบการแสดงนาฏศิ ล ป์ ข องมอญในปั จ จุ บั น คงเหลื อ แต่ เพลงบรรเลงประกอบการร�ำมอญร�ำสิบสองเพลงเท่านั้น เพลงบรรเลงประกอบการฟ้ อ นร� ำ มอญร� ำ มอญเรี ย กว่ า ปั ว ฮะเปิ ้ น หรื อ เล่ะห์ฮะเปิ้น เพลงบรรเลงประกอบการฟ้อนร�ำเป็นเพลงที่มีจังหวะค่อนข้างช้า เป็นเพลง จังหวะสองชั้นมีมาแต่โบราณ ใช้บรรเลงเป็นเพลงประโคมเวลากลางวัน เรียกว่า เพลง ย�่ำเที่ยง ประกอบด้วยเพลงต่างๆ ๑๓ เพลง เพลงแรกเป็นเพลงบรรเลงน�ำขึ้นก่อนการแสดง ท่ า ฟ้ อ นร� ำ เรี ย กว่ า เพลงชอป้ า ต จากนั้ น จึ ง บรรเลงเพลงเพื่ อ ประกอบการร� ำ มอญร� ำ ตามล�ำดับการร�ำ ถ้าเป็นการประโคมเพลงย�่ำเที่ยง มักเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เพลงมอญร�ำ แต่ไม่มีการร�ำ มอญร�ำเป็นการร�ำเพื่อแสดงความเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแสดงความเคารพ ต่อบุคคลส�ำคัญ เช่น พระมหากษัตริย์ พระสงฆ์ และบุคคลที่เป็นที่เคารพนับถือ มอญร�ำ จึ ง แสดงได้ ใ นงานมงคล งานฉลองในโอกาสต่ า งๆ และร� ำ เคารพในงานศพของผู ้ ใ หญ่ ที่เป็นที่เคารพนับถือ แต่ไม่น�ำมอญร�ำไปร�ำในพิธีร�ำผี ในพิธีร�ำผีไม่มีขั้นตอนใดที่ก�ำหนด ให้ต้องน�ำเพลงมอญร�ำไปบรรเลง แต่ที่มีการน�ำเพลงมอญร�ำไปบรรเลงกันบ้างก็มีเพียง ๑ - ๒ เพลงเท่ า นั้ น และไม่ ไ ด้ เ ป็ น ส่ ว นใดในขั้ น ตอนของพิ ธี ร� ำ ผี ที่ บั ง คั บ ต้ อ งบรรเลง เพลงมอญร�ำ จะไม่น�ำเพลงมอญร�ำไปบรรเลงก็ได้ จึงมีการเข้าใจผิดว่าเพลงมอญร�ำเป็น ส่วนหนึ่งของเพลงร�ำผี แต่ความจริงการร�ำมอญและการร�ำผีไม่ได้เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด และมอญร�ำก็ไม่ได้เป็นขั้นตอนใดของพิธีร�ำผี


104

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงมอญร�ำมีรวมทั้งสิ้น ๑๒ เพลง เป็นเพลงอัตราสองชั้น แต่ละเพลงมีตะโพนมอญ เป็ น ผู ้ ก� ำ กั บ จั ง หวะและก� ำ หนดหน้ า ทั บ ตะโพนมอญ ก� ำ หนดสั ด ส่ ว นและประโยคของ แต่ละเพลงเป็นการเฉพาะของเพลงมอญร�ำทั้ง ๑๒ เพลง และเมื่อรวมเพลงชอป้าตหรือ เพลงโหมโรงอีก ๑ เพลง จึงรวมเป็น ๑๓ เพลง เพลง ชอป้าต บรรเลงเป็นเพลงโหมโรงน�ำขึ้นก่อนการร�ำ จากนั้นบรรเลงเพลงที่ ๑ ถึงเพลงที่ ๑๒ ซึ่งมีชื่อเพลงดังนี้ เพลงที่ ๑ ชื่อเพลง ย้ากจ้างฮะเปิ้น เพลงที่ ๒ ชื่อเพลง ทะบ๊ะชาน เพลงที่ ๓ ชื่อเพลง ดอมทอ เพลงที่ ๔ ชื่อเพลง ขะวัวตัวห์ เพลงที่ ๕ ชื่อเพลง ขะวัวคะนอม เพลงที่ ๖ ชื่อเพลง ดังโรต เพลงที่ ๗ ชื่อเพลง กะยาน เพลงที่ ๘ ชื่อเพลง ฮะว่าย เพลงที่ ๙ ชื่อเพลง แม่งปล่ายฮะเล่ห์ เพลงที่ ๑๐ ชื่อเพลง ป้ากเมี่ยะ เพลงที่ ๑๑ ชื่อเพลง โน่นทอ เพลงที่ ๑๒ ชื่อเพลง ตะละจะร่าย

คีตลักษณ์ของเพลงชอป้าตของวงปี่พาทย์มอญชุมชนมอญบางแห่ง เพลงชอป้าต ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงน�ำก่อนร�ำมอญร�ำนั้น เมื่อน�ำคีตลักษณ์ของเพลง ที่บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญในชุมชนมอญปากเกร็ด ชุมชนมอญปทุมธานี และชุมชนมอญ พระประแดง จะมีคีตลักษณ์ของเพลง ดังนี้

โน้ตเพลงชอป้าตทางปากเกร็ด นนทบุรี ทางปากเกร็ด (ผู้บอกท�ำนองคือ ม.ล.สุรักษ์ สวัสดิกุลและนายบุญปลูก พิสมัยรัตน์) ท่อน 1 ----ล -ซ ล ซ

มม -ร -ด ม ร ด

----

-ล -ซ ล ซ

มม -ร -ด ม ร ด


ปี่พาทย์มอญรำ�

105

----

-ล ล ซ

ดล ซลทด ---ซม ด

-ล ล ซ

ดล

-ซ-ด ร ด

-ร -ม ร ม

-ซ -ม -ร -ด ซ ม ร ด

-ร -ม ร ม

-ซ -ม ซ ม

ท่อน 2 -ด–ร ด ร

-ม -ซ -ม -ล -ซ -ม -ล -ซ -ม -ร ม ซ ม ล ซ ม ล ซ ม ร

-ซ -ม -ร -ด ซ ม ร ด

l

ม–ร ม ร

-ด -ล -ซ -ล -ด -ร ด ล ซ ล ด ร

-ซ -ม -ร -ด ซ ม ร ด

l

-ล ซ ซ

l

ท่อน 3 -ม–ซ ซ -ม–ร ม ร

-ล ซ ซ

-ล ซ ซ

-ซ -ด ร ด

-ซ -ด -ร -ม ร ด ร ม

-ซ - -ล ซ ม ม ซ

-ด -ล -ซ -ล -ด -ร ด ม ร ม ด ร

-ซร ร

ซลทด ซม ด -ร -ด ร ด

-ซด ด

-ด -ม -ซ -ม -ร -ด -ซ -ด ซ ม ซ ม ร ด

l

l

l l l

เพลงชอป้าตทางปทุมธานี เสนาะ)

ทางปทุมธานี (ผู้บอกท�ำนองคือ นายมงคล พงษ์เจริญ หลานชายของครูเจิ้น ดนตรี

ท่อน 1 ----ล -ซ ล ซ ----

-ฟ ม -ร -ด ม ร ด

-ด -ล --ซล -ด -ร ด ม ร ม ด ร

----

-ล -ซ ล ซ

-ฟ ม -ร -ด ม ร ด

-ซ -ด -ร - ม -ซ -ม -ร -ด ร ด ร ม ซ ม ร ด

l l


ปี่พาทย์มอญรำ�

106

ท่อน 2 -ด -ร ซล ----

-ม -ซ -ม -ล -ซ -ม -ล -ซ -ฟ ม -ซ -ม -ร -ด ท ซ ท ล ซ ม ล ซ ม ซ ม ร ด

l

-ด -ล --ซล -ด -ร ด ม ร ม ด ร

-ซ -ด -ร - ม -ซ -ม -ร -ด ร ด ร ม ซ ม ร ด

l

-ล ซ ซ

l

ท่อน 3 -ม ซ -ล ซ ซ ซ ----

-ล ซ ซ

-ซ ม ม

-ด -ล --ซล -ด -ร ด ม ร ม ด ร

-ซร ร

-ล ซ ซ

-ซด ด

-ซ -ด -ร - ม -ซ -ม -ร -ด ร ด ร ม ซ ม ร ด

l

l

l l l

เพลงชอป้าตทางปากลัด สมุทรปราการ ทางปากลัด (ผู้บอกท�ำนองคือ นายวิเชียร นาวาดิษฐ์ ลูกศิษย์ครูเอี่ยม) ท่อน 1 ----ล -ซ ล ซ

ฟ ม ม

-ร -ด ร ด

----

-ล -ซ ล ซ

ฟ ม -ร -ด ม ร ด -ด - ซ -ล -ด ด ร ม ด

----

-ซ -ล ร ม

-ด - ซ -ล -ด ---ด ร ม ด

-ซ -ล ร ม

ซ -ด ร ด

-ร -ม ร ม

-ซ -ม ซ ม

-ร - ม -ซ -ม ร ม ซ ม

-ซ -ซ

-ล -ซ ฟ ม ล ซ ม

-ร -ด ร ด

-ซ -ด ร ด

-ร -ด ร ด

ท่อน 2 ----ซ

-ล -ซ -ม- ร ล ซ ม ร

-ซ - ม -ร -ด ซ ม ร ด

l l


ปี่พาทย์มอญรำ�

ม–ร ม ร

107

-ด -ล -ซ -ล -ด -ร ด ม ร ม ด ร

-ซ -ด -ร– ม -ซ - ม -ร -ด ร ด ร ม ซ ม ร ด

l

ร ม -ซ– ล -ซ - ม -ร -ด -ด ซ ล ซ ม ร ด

l

---ด

-ด -ด -ซ -ด -ร-ม ร ด ร ม

-ม–ร ม ร

-ด -ล -ซ -ล -ด -ร ด ม ร ม ด ร

-ซ -ด -ร– ม -ซ - ม -ร -ด ร ด ร ม ซ ม ร ด

l

l

ท่อน 3 l

l

ที่มา : ณรงค์ฤทธิ์ คงปิน่ . (๒๕๓๙). การศึกษาวัฒนธรรมดนตรีของปีพ ่ าทย์มอญ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. น.๑๒๐ - ๑๒๓.

เพลงปี่พาทย์มอญที่ใช้บรรเลงประกอบการละเล่น นอกจากมอญร�ำ ร�ำเจ้า ร�ำผี ร�ำสามถาด ที่ต้องใช้ปี่พาทย์มอญบรรเลงประกอบ การร�ำแล้ว เพลงปี่พาทย์มอญยังได้น�ำไปใช้ประกอบการแสดงร�ำมวยมอญด้วย เพลง ร�ำมวยมอญเป็นเพลงเร็วมอญในอัตราชั้นเดียวและเป็นเพลงชุด ปัจจุบันผู้ที่บรรเลงเพลง ร�ำมวยมอญได้มีไม่มากเช่นเดียวกับเพลงพระฉันมอญที่วงปี่พาทย์มอญต่างๆ ในปัจจุบัน ไม่น�ำมาบรรเลง แต่ใช้เพลงไทยส�ำเนียงมอญประเภทเพลงเถาต่างๆ มาบรรเลงประกอบ การขับร้องขณะพระฉันภัตตาหารแทน เพลงร� ำ มวยมอญ มอญเรี ย กว่ า เอนแลกปรอย ในพิ ธี ร� ำ ผี ม อญมี ก ารน� ำ เพลง ร�ำมวยมอญไปบรรเลงประกอบพิธีร�ำผีตอนชนไก่หรือคล้องช้างด้วย เพลงเอนแลกปรอย แต่เดิมเป็นเพลงหนึ่งในชุดเพลงร�ำอาวุธของมอญ

เพลงปี่พาทย์มอญบรรเลงในงานศพ การจัดงานศพของมอญแต่โบราณแตกต่างจากการจัดงานศพของไทย โดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง ในเวลากลางคื น งานศพมอญแต่ เ ดิ ม มาไม่ มี พิ ธี ส วดพระอภิ ธ รรม แต่ มี การสวดมนต์ไหว้พระแบบสวดท�ำวัตรค�่ำ ชาวบ้านจะมารวมกันสวดมนต์ไหว้พระที่บ้านงาน หรื อ ที่ วั ด แล้ ว แต่ ก รณี เมื่ อ เสร็ จ การสวดมนต์ ไ หว้ พ ระแล้ ว จะมี เ ทศน์ ห รื อ การอ่ า น หนั ง สื อ ธรรมะให้ ผู ้ ม าร่ ว มงานได้ ฟ ั ง ธรรมะ ระหว่ า งตั้ ง ศพมี ก ารท� ำ บุ ญ ถวายภั ต ตาหาร พระสงฆ์เวลาเช้าทุกวัน วันฌาปนกิจเวลาเช้ามีการถวายภัตตาหารพระสงฆ์


ปี่พาทย์มอญรำ�

108

การประโคมปี่พาทย์มอญ ในงานศพพระวัดบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร

- เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา - เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์ - เวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น. ท�ำพิธีฌาปนกิจ เพลงมอญที่ใช้บรรเลงในงานศพ มีดังนี้ เพลงประโคม ได้แก่ เพลงประจ�ำบ้านหรือเพลงประจ�ำวัดในกรณีที่บรรเลงที่วัด และเพลงประโคมตามเวลา คือ เพลงย�่ำรุ่ง เพลงย�่ำเที่ยง เพลงย�่ำค�่ำ เพลงเชิญที่มอญ เรียกว่า เพลงเลี่ยะโล่งตะระห์ บรรเลงประโคมด้วย เพลงบรรเลงตามขั้นตอนพิธีสงฆ์ ได้แก่ เพลงบรรเลงเมื่อพระขึ้นเทศน์ และ การถวายภัตตาหาร มีการบรรเลงเพลงเร็วมอญตามขั้นตอนของพิธีกรรม ได้แก่ เพลงต่างๆ ดังนี้

เพลงรับพระ เพลงไหว้พระ (จุดเทียน) เพลงพระขึ้นเทศน์ เพลงชุดพระฉัน เพลงส่งพระ

มอญเรียกว่า มอญเรียกว่า มอญเรียกว่า มอญเรียกว่า มอญเรียกว่า

โว้ตเลี่ยะจยาจก์ ปาวเจี่ยะจยาจก์ โว้ตโธ่ ต้านโว้ต เลี่ยะเว่อ

เพลงทั้งหมดที่น�ำมาบรรเลงในงานศพนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นเพลงที่ปี่พาทย์มอญ ใช้บรรเลงในงานบ�ำเพ็ญกุศลทั่วไปนั่นเองได้น�ำมาใช้ในงานศพด้วย


ปี่พาทย์มอญรำ�

109

เพลงที่บรรเลงในงานศพโดยเฉพาะ เพลงมอญเก่าที่ใช้บรรเลงในงานศพ ที่นิยมน�ำมาบรรเลงทั้งในชุมชนมอญ รัฐมอญในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์และ ในประเทศไทย เช่น ๑) เพลงเชิญ มอญเรียกว่า เลี่ยะโล่งตะระห์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า ตะระ หรือ เพลงเชิ ญ ในความหมายของวงปี ่ พ าทย์ ม อญในประเทศไทย เป็ น เพลงที่ เ ริ่ ม ประโคม เป็นเพลงแรกในงานเป็นการบอกกล่าวอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่นั้น ถ้าบรรเลงที่วัด เป็นการอัญเชิญบอกกล่าว ตะละทาน เทวดาอารักษ์ เจ้าที่วัด ถ้าบรรเลงที่บ้านเป็นการ อัญเชิญเปี้ยะจุ๊ เทวดาอารักษ์ เจ้าพ่อประจ�ำหมู่บ้าน และเป็นการแสดงความเคารพศพด้วย เพลงเชิญนี้ตามประเพณีของมอญใช้บรรเลงในงานบ�ำเพ็ญกุศลที่เป็นการท�ำบุญ ทั่วไปด้วย ในพิธีร�ำเจ้า ร�ำสามถาด และพิธีร�ำผีบรรเลงเพลงเชิญนี้เช่นกัน ปั จ จุ บั น วงปี ่ พ าทย์ บ รรเลงเพลงนี้ ใ นงานศพที่ เ ป็ น ศพเพิ่ ง เสี ย ชี วิ ต และมี ก าร ตั้ ง ศพบ� ำเพ็ ญกุ ศ ล ที่เรียกว่า ศพสด แต่ถ้าเป็นการบรรเลงในงานศพที่มีการบรรจุหรือ เก็บไว้ แล้วต่อจากนั้นมีการเชิญศพมาบ�ำเพ็ญกุศล ขณะเคลื่อนศพจากที่บรรจุศพมาตั้ง บ�ำเพ็ญกุศล ปี่พาทย์มอญจะบรรเลงเพลงยกศพเป็นเพลงแรก จากนั้นจึงบรรเลงเพลงตะระ หรือเพลงเชิญในล�ำดับต่อไป ๒) เพลงยกศพ มอญเรียกว่า เพลงซ้าดย้าต หมายถึง การฉีกผ้า ซ้าด แปลว่า ฉีก ย้าต แปลว่า ผ้า เป็นเพลงที่ให้มรณานุสติ ชีวิตคนเหมือนผืนผ้าที่เมื่อถึงวันหนึ่งต้องถูก ฉีกออกจากกัน เป็นทุกข์ที่ต้องตายและพลัดพรากจากคนที่เคยอยู่ร่วมกัน ต้องพลัดพราก จากทรั พ ย์ สิ น สิ่ ง ของที่ เ คยมี ผู ้ อ ยู ่ ก็ ต ้ อ งพลั ด พรากจากผู ้ จ ากไปนี้ เ ป็ น กฎธรรมดาของ ชีวิตมนุษย์ทุกคนมิควรยึดถือเพราะชีวิตเป็นของชั่วคราวต้องแตกดับ (ฉีกขาด) ไปในที่สุด เพลงยกศพนีใ้ ช้บรรเลงใน ๒ วาระของการเคลือ่ นศพจากที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ดังนี้ การเคลื่อนศพจากสุสานบรรจุศพสู่ศาลาบ�ำเพ็ญกุศล ดังนั้น ถ้าเป็นศพที่เพิ่ง เสียชีวิต และน�ำมาตั้งบ�ำเพ็ญกุศลไม่ได้มีการบรรจุหรือเก็บไว้ก่อน ไม่ต้องมีการประโคม เพลงนี้ แต่ ป ระโคมเพลงตะระหรื อ เพลงเชิ ญ เป็ น เพลงแรก ประโคมเพลงยกศพ เมื่ อ เคลื่อนศพจากที่บ�ำเพ็ญกุศลไปยังเมรุประชุมเพลิง เพลงยกศพนี้เป็นเพลงที่อยู่ในอัตรา สองชั้น ๓) เพลงปลงกั ม มั ฏ ฐาน มอญเรียกว่า จิ้ ก อมมะทาน เป็นเพลงที่ประโคม ตอนน�ำศพจากบ้านไปวัดและต่อด้วยเพลงยกศพ เพลงปลงกัมมัฏฐานใช้บรรเลงประโคม เวลาว่างในพิธีกรรมด้วย


110

ปี่พาทย์มอญรำ�

๔) เพลงตาวะเติ น หมายถึ ง การไปไหว้ พ ระจุ ฬ ามณี ที่ ด าวดึ ง ส์ เ ทวโลก ใช้ประโคมเวลาหลังจากถวายภัตตาหารเช้าหรือเพล และหลังจากพระสงฆ์แสดงพระธรรม เทศนาจบแล้ว และประโคมอีกครั้งหลังจากบรรเลงเพลงประจ�ำบ้านขณะประชุมเพลิง ๕) เพลงด้ า ตปรอย เพลงนี้ ใ ช้ ป ระโคมต่ อ จากเพลงตาวะเติ น และขณะ ประชุมเพลิง ๖) เพลงต๊ ะ เถี่ ย ะตา ชื่อเพลงมาจากค�ำบาลีว่า ตถตา ซึ่งมีความหมายว่า เป็ น เช่ น นี้ เ อง ไม่เป็นอย่างอื่น ปราชญ์มอญโบราณที่มีความรู้ทางธรรมะและค� ำสอน ที่เป็นสัจธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้ประพันธ์เพลงนี้เพื่อเป็นมรณานุสติที่ว่าใดๆ ในโลก ล้วนอนิจจังทุกชีวติ ย่อมไปสูค่ วามตาย ไม่มสี งิ่ ใดให้ยดึ ถือเป็นเรา เป็นของเราได้ แม้รา่ งกายนี้ ต้องเน่าเปื่อยแตกดับไปแน่ๆ ควรที่จะพัฒนาจิตให้พ้นจากทุกข์นี้ให้ได้ เพลงนี้ใช้บรรเลง ประโคมต่อจากเพลงประจ�ำวัดหรือเพลงประจ�ำบ้าน กันแล้ว

ปัจจุบันเพลงอันดับที่ ๓) ๔) ๕) และ ๖) หาผู้บรรเลงได้ยาก ไม่มีการบรรเลง

งานศพในปัจจุบัน วงปี่พาทย์มอญส่วนใหญ่บรรเลงเพลงตามแบบแผน หรือ ระเบี ย บการบรรเลง อนุ โ ลมตามประเพณี ก ารจั ด งานศพของไทย นอกจากนั้ น งานศพ ของมอญได้อนุโลมตามแบบธรรมเนียมไทย เช่น มีการสวดพระอภิธรรมในเวลากลางคืน มี พิ ธี เ ผาหลอก เผาจริ ง เพลงที่ ใ ช้ ป ระโคมและบรรเลงตามขั้ น ตอนต่ า งๆ ของพิ ธี ก รรม ในงานศพจึงมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับขั้นตอนพิธีกรรมตามแบบไทยเป็นส่วนใหญ่ แต่คงใช้ปี่พาทย์มอญและเพลงมอญที่เป็นเพลงมอญแท้และเพลงมอญที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มารวมบรรเลงได้อย่างสนิทสนม

เพลงมอญตัวแทนคำ�สอนศาสนา ความตายเป็ น ความทุ ก ข์ แ ละเป็ น สั จ ธรรมที่ ทุ ก ชี วิ ต จะต้ อ งประสบ ค� ำ สอนของ พระพุทธศาสนาจึงสอนให้รู้เท่าทันและหาทางดับทุกข์นี้ให้ได้ คนมอญที่เข้าใจหลักค�ำสอน ของพระพุทธเจ้าจึงได้ใช้โอกาสส�ำคัญในชีวิตของผู้คนที่ถึงแก่ความตายนี้เป็นคติสอนธรรมะ ในรูปแบบของประเพณีพิธีกรรม รวมทั้งดนตรีปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงประโคมในพิ ธี ศ พของ คนมอญ คนมอญเมื่อถึงแก่ความตายห้ามน�ำโลงศพขึ้นบ้าน การจัดศพต้องตั้งศพบนเตียง ทีแ่ ต่งไว้ ขนาดและสิง่ ของทีน่ ำ� มาท�ำเตียงเป็นปริศนาธรรม โดยแปลงค�ำสอนของพระพุทธเจ้า


ปี่พาทย์มอญรำ�

111

ที่ เ ป็ น นามธรรมมาเป็ น รู ป ธรรม เป็ น ส่ ว นประกอบของเตี ย งที่ ใ ช้ ตั้ ง ศพ เพื่ อ สอนผู ้ ที่ ม า ในงานศพได้รู้ถึงหลักค�ำสอนของพระพุทธเจ้าได้ดียิ่งขึ้น เพลงมอญที่ ใ ช้ ป ระโคมในพิ ธี ศ พคนมอญ มี ส ่ ว นที่ เ ป็ น ตั ว แทนค� ำ สอนของ พระพุทธเจ้าได้เป็นอย่างดี เช่น เพลงซ้าดย้าต หรือ เพลงยกศพ เพลงปลงกัมมัฏฐาน เพลงตาวะเติน เพลงต๊ะเถี่ยะตา เพลงด้าตปรอย เป็นต้น และมีอีกหลายเพลงสูญหายไป แม้เพลงที่กล่าวชื่อมานี้ นอกจากเพลงยกศพแล้ว ขณะนี้หาผู้บรรเลงได้ยากมากไม่ว่า จะเป็นมอญในรัฐมอญ หรือมอญในประเทศไทย

เพลงมอญที่ใช้บรรเลงทั่วไปเพื่อความบันเทิง เพลงหมวดนี้ ใ ช้ บ รรเลงในเวลาต่ า งๆ ที่ ไ ม่ เ กี่ ย วกั บ พิ ธี ก รรม เป็ น เพลงมอญที่ มี ม าแต่ โ บราณ และเป็ น เพลงมอญที่ อ าจารย์ ท างดนตรี ป ั จ จุ บั น ได้ ป รั บ ปรุ ง ประดิ ษ ฐ์ ทางขึ้นใหม่ เพลงมอญเดิมของเก่านั้นมีทั้งเพลงสองชั้นและเพลงเร็วมอญ เพลงหมวดนี้เป็นเพลงหมวดใหญ่ที่มีการปรับปรุงและพัฒนากันอย่างกว้างขวาง และได้ น� ำ ไปบรรเลงทั้ ง ในวงปี ่ พ าทย์ ม อญ วงปี ่ พ าทย์ ไ ทย วงเครื่ อ งสายและวงมโหรี ของไทย นอกจากนั้นเพลงมอญหมวดนี้ยังน�ำไปใช้บรรเลงประกอบการแสดงละคร เช่น ละครพันทาง และมีการแต่งบทร้องประกอบการขับร้องในวงปีพ่ าทย์ วงเครือ่ งสายวงมโหรีดว้ ย

เพลงเร็วมอญ เพลงเร็วมอญเป็นเพลงมอญในอัตราชั้นเดียว มอญเรียกว่า เพลงเล็ก เพลงเร็วมอญ มี ม าก และได้ น� ำ ไปใช้ บ รรเลงประกอบในพิ ธี ก รรมทางศาสนา พิ ธี ร� ำ เจ้ า พิ ธี ร� ำ ผี แ ละ พิธีร�ำสามถาด ชื่ อ เพลงเร็ ว มอญที่ มี จ� ำ นวนมากนั้ น แต่ ส ามารถรวบรวมได้ แ ละบอกชื่ อ เพลงได้ มี จ� ำ นวนไม่ ม าก ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น เพลงที่ ใ ช้ ใ นพิ ธี ร� ำ ผี พิ ธี ร� ำ เจ้ า และพิ ธี ร� ำ สามถาดและ บางเพลงพิธีท�ำบุญ เพลงเร็วที่ใช้บรรเลงในพิธีร�ำผี ได้แก่ ๑. เพลงร�ำดาบ มอญเรียกว่า ๒. เพลงร�ำใบไม้ มอญเรียกว่า ๓. เพลงร�ำกระสวย มอญเรียกว่า ๔. เพลงร�ำหอก มอญเรียกว่า

เพลงเล่ะห์แซ่ง เพลงเล่ะห์อะนะชุ เพลงเล่ะห์โล่น เพลงเล่ะห์นุ้ห์


112

ปี่พาทย์มอญรำ�

๕. เพลงร�ำดั้ง ๖. เพลงชนไก่ ๗. เพลงคล้องช้าง ๘. เพลงทุ่มมะพร้าว ๙. เพลงถ่อเรือ

มอญเรียกว่า มอญเรียกว่า มอญเรียกว่า มอญเรียกว่า มอญเรียกว่า ฯลฯ

เพลงเร็วที่ใช้บรรเลงในงานท�ำบุญ ได้แก่ ๑. เพลงรับพระ มอญเรียกว่า ๒. เพลงไหว้พระ มอญเรียกว่า ๓. เพลงพระขึ้นเทศน์ มอญเรียกว่า ๔. เพลงรับเทศน์ มอญเรียกว่า ๕. เพลงส่งพระ มอญเรียกว่า

เพลงเล่ะห์ฮะเติ้ง เพลงเจ้อจาญก์ เพลงภะเนี้ยกเจิน เพลงเจิ้มซอตเปรี้ยะ เพลงจ๊อดเกลิ้ง

เพลงโว้ตเลี่ยะจยาจก์ เพลงจยาจก์ซอย เพลงโว้ตโธ่ เพลงเมี้ยะเนิตกาเซีย เพลงเลี่ยะเว่อ

เพลงเร็วจุดเทียนสันนิษฐานว่ามีการน�ำเพลงเร็วมอญมาใช้บรรเลงประกอบ ขณะมี การจุดเทียนบูชาพระในพิธีทางมอญ ตามธรรมเนียมมอญแต่เดิมมีแต่ไหว้พระ เพลงที่ใช้ประโคมและบรรเลงในพิธีร�ำเจ้า ได้น�ำเพลงในพิธีร�ำผีมาใช้คือ ๑. เพลงเชิญ มอญเรียกว่า เพลงเลี่ยะโล่งตะระห์ ๒. เพลงถวายเครื่องเซ่น มอญเรียกว่า เพลงถะบะตะละ ๓. เพลงร�ำดาบ มอญเรียกว่า เพลงเล่ะห์แซ่ง ๔. เพลงร�ำใบไม้ มอญเรียกว่า เพลงเล่ะห์อะนะชุ ๕. เพลงทุ่มมะพร้าว มอญเรียกว่า เพลงเจิ้มซอตเปรี้ยะ ๖. เพลงชนไก่ มอญเรียกว่า เพลงเจ้อจาญก์ เพลงที่ใช้ประโคมและบรรเลงในพิธีร�ำสามถาด ได้น�ำเพลงในพิธีร�ำผีมาใช้คือ ๑. เพลงเชิญ มอญเรียกว่า เพลงเลี่ยะโล่งตะระห์ ๒. เพลงถวายเครื่องเซ่น มอญเรียกว่า เพลงถะบะตะละ ๓. เพลงร�ำดาบ มอญเรียกว่า เพลงเล่ะห์แซ่ง ๔. เพลงร�ำใบไม้ มอญเรียกว่า เพลงเล่ะห์อะนะชุ ๕. เพลงร�ำกระสวย มอญเรียกว่า เล่ะห์โล่น


ปี่พาทย์มอญรำ�

113

บทบาทของปี่พาทย์มอญที่มีต่อวงการดนตรีไทยและสังคมไทย ปี ่ พาทย์ มอญได้เข้ามามีบ ทบาทในสัง คมไทยมานาน จนในปัจจุบันนี้สังคมไทย ได้รับปี่พาทย์มอญเป็นวัฒนธรรมทางดนตรีของไทยไปอย่างสนิทสนม มีเพียงแต่ชื่อมอญ เท่านั้นที่ยังคงแสดงนัยอยู่ว่าเป็นปี่พาทย์ของมอญ วงปี่พาทย์มอญที่มีบทบาทในสังคมไทย และได้ถ่ายทอดแพร่หลายในสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยามาจนถึงปัจจุบันนี้แบ่งออกได้เป็น ๔ ยุค คือ ยุ ค ที่ ๑ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจากรัช สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาจนถึงสมัย พระเจ้าเอกทัต ช่วงเวลาดังกล่าวนี้เป็นช่วงเวลาที่คนมอญจ�ำนวนมากได้อพยพหลบภัยจาก การรุ ก รานแย่ ง ชิ ง บ้ า นเมื อ งมอญของพม่ า คนมอญที่ อ พยพมาพึ่ ง พระบรมโพธิ ส มภาร ในพระราชอาณาจักรไทยได้นำ� เครือ่ งดนตรีปพ่ี าทย์มอญเข้ามาด้วย นอกจากนัน้ นักดนตรีมอญ ได้ ม าสร้ า งเครื่ อ งดนตรี ม อญขึ้ น มาใหม่ ใ นประเทศไทย และได้ เ ล่ น กั น ในชุ ม ชนมอญ จนเป็นทีย่ อมรับของสังคมไทยยุคนัน้ ทีน่ ำ� ปีพ่ าทย์มอญไปบรรเลงทัง้ งานหลวงและงานราษฎร์ ทั้งงานที่เป็นงานมงคลและในงานศพ เช่น งานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมัยอยุธยาที่มีมอญร�ำ ซึ่งต้องมีปี่พาทย์มอญบรรเลงประกอบการร�ำด้วย ในสมั ย อยุ ธ ยาเพลงมอญได้ รั บ ความนิ ย มจากสั ง คมไทยอย่ า งมาก จึ ง ปรากฏ เพลงมอญและเพลงไทยส� ำ เนี ย งมอญอยู ่ ใ นต� ำ นานมโหรี แ ละปี ่ พ าทย์ ไ ทยมาตั้ ง แต่ สมัยอยุธยา เช่น เพลงหงส์บิน หงส์ฟ้อน มุโล่ง ฉิ่งหรรษา เป็นต้น นอกจากนั้น มีเพลง ที่สืบเนื่องจากวรรณกรรมมอญที่มีชื่อพระสีนวนลาปรากฏอยู่ในบทมโหรีเรื่องกากี บทที่ ๒๔ ร้องมอญทะแยพระสีนวนลา* ยุ ค ที่ ๒ ช่ วงเวลาสมั ย ธนบุ รี ถึ ง ช่ วงเวลาสมั ยต้นรัต นโกสิ นทร์ ช่ ว งเวลานี้ถึ ง แม้ บ้านเมืองไทยยังไม่ปกติ เพิ่งเริ่มเข้าสู่ยุคฟื้นฟูบ้านเมืองหลังจากการรุกรานของพม่า แต่ ช่วงเวลานี้มีพระราชพิธีส�ำคัญๆ เช่น พระราชพิธีสมโภชพระแก้วมรกต ในรัชสมัยสมเด็จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราช พระราชพิ ธี ฉ ลองวั ด พระเชตุ พ นวิ ม ลมั ง คลาราม ในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชพิธีฉลองวัดสุทัศนเทพวราราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีครั้งส�ำคัญดังกล่าวนี้โปรดเกล้าฯ ให้มีปี่พาทย์มอญ มอญร�ำ ไปร่วมในโอกาสส�ำคัญนี้ด้วย

* พระสีนวนลาเป็นวรรณกรรมที่มีชื่อของมอญแต่โบราณ มอญเรียกวรรณกรรมเรื่องนี้ว่า เจ้าชายสีนนลา (อ่าน สี - นน - ลา) และเจ้าหญิงจอมปราสาท ปัจจุบันสะกดเป็นพระสีนวลลา


114

ปี่พาทย์มอญรำ�

ยุคที่ ๓ เป็นช่วงเวลาที่ปี่พาทย์มอญได้เข้ามามีบทบาทในการประโคมในพระราชพิธี ถวายพระเพลิ ง พระบรมศพสมเด็ จ พระเทพศิ ริ น ทรา บรมราชิ นี ในพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทบาทของปี่พาทย์มอญในระยะนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ส�ำคัญ เพราะเป็ น การเริ่ ม กระแสความนิ ย มที่ มี ก ารน� ำ ปี ่ พ าทย์ ม อญไปบรรเลงในงานศพอย่ า ง แพร่หลายในสังคมไทยทั้งงานหลวงและงานราษฎร์ จากนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้เกิดเป็น ประเพณีนิยมว่าถ้าเป็นงานพระเมรุต้องมีปี่พาทย์มอญประโคมที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และที่พระเมรุ ส� ำหรับงานราษฎร์นิยมกันว่าต้องมีปี่พาทย์มอญประโคมในงานศพด้วย จึงจะถือว่าเป็นงานที่มีเกียรติ จนเกิดเป็นความเชื่อของสังคมไทยที่ว่าปี่พาทย์มอญใช้เฉพาะ ในงานศพเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น ปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงได้ทั้งใน งานมงคลและงานศพ การบรรเลงในงานใดขึ้นอยู่กับเพลงที่ใช้บรรเลง ซึ่งมีทั้งเพลง ที่บรรเลงในงานมงคลและเพลงที่บรรเลงในงานศพ ยุ ค ที่ ๔ เป็ น ยุ ค ของการพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง และประดิ ษ ฐ์ เ พลงไทยส� ำ เนี ย งมอญ จนเกิ ด เป็ น วั ฒ นธรรมดนตรี ไ ทยครั้ ง ส� ำ คั ญ มี ป รมาจารย์ ด นตรี ไ ทยหลายท่ า น เช่ น พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) อาจารย์ ม นตรี ตราโมท ที่ ไ ด้ ป ระดิ ษ ฐ์ เ พลงไทยส� ำ เนี ย งมอญที่ ไ พเราะจ� ำ นวนมาก โดยเฉพาะหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ปรมาจารย์ทางดนตรีไทยเป็นผู้หนึ่ง ที่ ไ ด้ ป รั บ ปรุ ง เรี ย บเรี ย งเพลงส� ำ เนี ย งมอญขึ้ น โดยน� ำ เพลงมอญแท้ ๆ มาประดิ ษ ฐ์ เ ป็ น เพลงไทยส� ำ เนี ย งมอญเพื่ อ ใช้ บ รรเลงในการฟั ง และน� ำ เพลงมอญแท้ ม าประโคม หรื อ บรรเลงในงานศพอย่างแพร่หลายมากทีส่ ดุ คนหนึง่ จนเป็นทีน่ ยิ มอย่างแพร่หลายในสังคมไทย

พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)

หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

อาจารย์มนตรี ตราโมท


ปี่พาทย์มอญรำ�

115

เนื่องจากความนิยมน�ำปี่พาทย์มอญไปบรรเลงในงานศพ วงปี่พาทย์มอญคณะต่างๆ จึงเกิดความคิดน�ำเพลงมอญต่างๆ มาบรรเลงในงานจนท�ำให้เกิดการประชันการบรรเลง เพื่อแสดงความรู้ความสามารถของวงปี่พาทย์ ท�ำให้วงการปี่พาทย์มอญและนักดนตรี ทั้งไทยและมอญมีการประพันธ์เพลงที่มีความไพเราะขึ้นมากมาย ตลอดจนก�ำหนดแบบแผน หรือระเบียบในการบรรเลงเพลงมอญที่ใช้ในการจัดงานให้เป็นระบบขึ้นโดยยึดแบบแผน การจัดงานศพของไทยเป็นหลัก และน�ำเพลงปี่พาทย์มอญที่ใช้ในงานมงคล และงานศพ ของมอญมาใช้บรรเลงได้อย่างเหมาะสมจนเป็นระเบียบแบบแผนทุกวันนี้ นอกจากนั้นเพลงมอญ ปี่พาทย์มอญยังได้น�ำไปใช้ในพิธีกรรมอื่นๆ และการแสดง ดนตรี ป ี่พาทย์ นาฏศิล ป์การละเล่นของไทย เช่น โขน ละคร ระบ� ำ มีการน� ำเพลงมอญ ไปขับร้องประกอบการแสดงและได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะการแสดงละครพันทาง เรื่องราชาธิราช รวมทั้งการขับร้องเพลงไทยส�ำเนียงมอญ และการสวดคฤหัสถ์ เป็นต้น เพลงมอญที่แต่งขึ้นในยุคที่ ๔ นี้ ถ้ามีการรวบรวมกันแล้วคงจะมีจ�ำนวนมากมาย เพราะเพลงมอญเหล่ า นี้ มี ก ารประพั น ธ์ การถ่ า ยทอดกั น มาหลากหลายส� ำ นวนและ หลากหลายส�ำนัก

การน�ำปี่พาทย์มอญไปใช้ในงานหลวงของไทยมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เอกสารส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยที่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าปี่พาทย์มอญ ได้น�ำไปใช้ในพระราชพิธีของหลวงมานานตั้งแต่สมัยอยุธยามาแล้ว กล่าวคือมีมอญร�ำ ในงานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๑ จากหนังสือค�ำให้การ ชาวกรุงเก่า ค�ำให้การขุนหลวงหาวัดและพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ อักษรนิติ หอสมุดแห่งชาติ ที่กล่าวว่า “งานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อจุลศักราช ๑๑๒๐ ปีขาลสัมฤทธิศ์ ก วันพุธ เดือน ๖ แรม ๕ ค�ำ่ พระบรมราชา (สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ) สวรรคต .... แล้วจึงให้ ประโคมฆ้อง กลองแตรสังข์และมโหรีพิณพาทย์อยู่ทุกเวลา …. แล้วจึงตั้งโรงงานการเล่น มหรสพทั้งปวง ให้มีโขน หนัง ละคร หุ่น และมอญร�ำ ระบ�ำเทพทอง ทั้งโมงครุ่ม กุลาคุลาตีไม้ สารพัดที่งานการเล่นต่างๆ นานา ....” งานพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ดังกล่าวข้างต้นนี้ ทางราชการก�ำหนดให้มี มอญร� ำ นั้ น ย่ อ มเป็ น การแสดงให้ เ ห็ น ว่ า ต้ อ งมี ป ี ่ พ าทย์ ม อญด้ ว ย เพราะปี ่ พ าทย์ ม อญ ต้องใช้บรรเลงประกอบการร่ายร�ำ ทัง้ มอญร�ำและปีพ่ าทย์มอญได้มอี ยูใ่ นพระราชอาณาจักรไทย


116

ปี่พาทย์มอญรำ�

มาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วและเป็นที่นิยมของคนไทย อีกทั้งมีบทบาทในสังคมชั้นสูงของ ไทยด้วย จึงได้เป็นนาฏศิลป์และดนตรีที่น�ำไปจัดในพระราชพิธีส�ำคัญของไทยมาแต่โบราณ การมีมอญร�ำในพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่ามีปี่พาทย์มอญในพระราชอาณาจักรไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา และปี่พาทย์มอญมีส่วนร่วมในการบรรเลงประกอบมอญร�ำสมโภชในพระราชพิธีส�ำคัญ ของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วเช่นกัน

ปี่พาทย์มอญประโคมในพระราชพิธีครั้งส�ำคัญของพระมหากษัตริย์ไทย ปี่พาทย์มอญนอกจากได้น�ำไปบรรเลงประกอบการเล่นมหรสพ เช่น มอญร�ำแล้ว ปี่พาทย์มอญยังได้น�ำไปใช้ประโคมในพระราชพิธีครั้งส�ำคัญของไทยมาแล้วหลายครั้ง เท่าที่ มี ห ลั ก ฐานสื บ ค้ น ได้ ถึ ง บทบาทและหน้ า ที่ ข องปี ่ พ าทย์ ม อญที่ บ รรเลงประโคมเฉพาะ ในพระราชพิธีเป็นเอกเทศ ซึ่งต่างจากการบรรเลงประกอบการแสดงมหรสพคือ ใช้บรรเลง ประโคมในพระราชพิธีสมโภชพระแก้วมรกต เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๓ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช ดังปรากฏในหนังสือพระราชวิจารณ์ เรื่องจดหมายเหตุความทรงจ�ำของ กรมหลวงนรินทรเทวี พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนี้ “ .... ในระยะที่ว่างนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิณพาทย์ไทย พิณพาทย์รามัญ และมโหรีไทย .... ผลัดกันสมโภช ๒ เดือน กับ ๑๒ วัน .... พระราชทานเบีย้ เลีย้ งผูท้ มี่ าเล่นนัน้ .... พระยารามัญวงศ์ มโหรีมอญ คนเพลง ชาย ๒ หญิง ๔ พิณพาทย์ ๙ ....” จากหนังสือพระราชวิจารณ์ดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่าปี่พาทย์มอญนั้น ใช้บรรเลงในงานมงคลได้อย่างแน่นอน เพราะในพระราชพิธีที่ส�ำคัญคือพระราชพิธีสมโภช พระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร พระพุ ท ธรู ป ส� ำ คั ญ มี ค วามศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เป็ น พระพุ ท ธรู ป คู่บ้านคู่เมืองของไทย โปรดเกล้าฯ ให้ปี่พาทย์มอญประโคมถวายเป็นพุทธบูชา

ดนตรีปี่พาทย์มอญที่เข้าไปมีบทบาทในพระราชพิธีของไทย เมื่อพิจารณารายชื่อเพลงใน “ประชุมบทมโหรี” ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ปรากฏว่ามีเพลงมอญอยู่มากถึง ๔๘ เพลง ดังที่ปรากฏอยู่ ในหนังสือประชุมบทมโหรีดังกล่าว ย่อมแสดงว่าดนตรีปี่พาทย์ของมอญเข้าไปมีบทบาท ในสังคมไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว และมีบทบาทในสังคมไทยต่อเนื่องมาถึงสมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ ก ารเข้ าไปมีบ ทบาทในสัง คมไทยของดนตรีปี่พาทย์มอญดังกล่า ว มีสิ่งที่ควร วิเคราะห์ว่าเป็นการเข้าไปมีบทบาทในฐานะการละเล่นเป็นมหรสพหรือเป็นการประโคม


ปี่พาทย์มอญรำ�

117

ในพิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระราชพิธีสมโภชพระแก้วมรกตในสมัยธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๓ นั้น ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ปี่พาทย์มอญได้น�ำไปประโคมสมโภชพระแก้วมรกตด้วย ดังปรากฏตามหมายรับสัง่ ทีว่ า่ “ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พณ ิ พาทย์ไทย พิณพาทย์รามัญ.....ผลัดเปลีย่ นกันสมโภช ๒ เดือน กับ ๑๒ วัน.....” ในสมัยรัตนโกสินทร์ ปี่พาทย์มอญได้มีบทบาทในพระราชพิธีตั้งแต่รัชกาลพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้นมา ทั้งงานสมโภชพระอารามและงาน พระบรมศพเพราะมี ม อญร� ำ การบรรเลงปี ่ พ าทย์ ค งไม่ ไ ด้ มี เ ฉพาะบรรเลงเพลงมอญร� ำ เท่านั้น เพราะมอญร�ำไม่ได้เป็นเพียงการละเล่น แต่มอญร�ำเป็นการร�ำเพื่อถวายความเคารพ ปี ่ พ าทย์ ม อญต้ อ งบรรเลงเพลงอื่ น ๆ นอกจากเพลงมอญร� ำ เพื่ อ เป็ น การประโคมถวาย ความเคารพด้วย

พระเมรุมาศงานพระบรมศพ พระนางเจ้าร�ำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๔) ที่มา: สมภพ ภิรมย์. (๒๕๓๙). พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุสมัยรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. น.๓๐๔.


118

ปี่พาทย์มอญรำ�

การประโคมปี่พาทย์มอญในงานพระราชพิธีพระบรมศพ การน�ำปี่พาทย์มอญไปประโคมในงานพระบรมศพสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๔ นั้น เป็นการประโคมอย่างมีแบบแผน มีการประโคมที่หน้าพระที่นั่งดุสิต มหาปราสาท ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมศพและประโคมสี่มุมพระเมรุมาศ การน�ำ ปี ่ พ าทย์ ม อญไปประโคมในพระราชพิ ธี ดั ง กล่ า วนี้ มี ห ลั ก ฐานชั ด เจน แต่ ก ารจั ด งาน พระบรมศพหรือพระศพก่อนหน้านั้นไม่ปรากฏหลักฐาน แต่อย่างไรก็ตามมีการน�ำมอญร�ำ ไปร่วมงานพระบรมศพและงานพระศพหลายครั้งตั้งแต่สมัยอยุธยา แม้งานพระบรมศพ สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ทรงมีเชื้อ สายมอญเช่นเดียวกับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี่พาทย์มอญน่าที่จะได้เข้าไปมีส่วนในพระราชพิธีพระบรมศพ สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ อย่างน้อยในการแสดงมอญร�ำ ซึ่งต้องมีปี่พาทย์มอญและ มีการประโคมถวายพระเกียรติด้วย

ความนิยมนำ�ปี่พาทย์มอญมาใช้ในงานศพ ในปัจจุบันปี่พาทย์มอญถูกน�ำมาใช้ในงานศพอย่างแพร่หลายจนมีผู้เข้าใจผิดว่า ปี ่ พ าทย์ ม อญใช้ เ ฉพาะในงานศพเท่ า นั้ น ความนิ ย มน� ำ ปี ่ พ าทย์ ม อญมาใช้ ใ นงานศพ พอจะสื บ หาที่ ม าได้ จ ากจดหมายโต้ ต อบระหว่ า งสมเด็ จ พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ เจ้ า ฟ้ า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ในหนังสือสาส์นสมเด็จ ดังนี้ กราบทูล สมเด็จกรมพระยาด�ำรงทราบฝ่าพระบาท ได้รับใบด�ำบอกว่าจะเผาศพ หม่อมเซงจ่าย บุนนาค ที่วัดอนงคาราม วันที่ ๓ กรกฎาคม พอไปถึงเขาให้ที่นั่งพักที่ศาลาการเปรียญ ขึ้นไปก็เห็น ปี ่ พ าทย์ ม อญตั้ ง อยู ่ นึ ก ถามตั ว เองว่ า ท� ำ ไมงานศพจึ ง ต้ อ งประโคม ด้วยปี่พาทย์มอญ นึกไปก็นึกได้เป็นชั้นๆ แต่ก่อนใช้กลองมลายูหลายใบ ประโคม เรียกกันว่า “นางหงส์” ดูเป็นชื่อเครื่องประโคม แต่เห็นจะไม่ใช่ ที่จะเป็นชื่อเพลงที่ประโคม....แต่ที่เปลี่ยนเป็นปี่พาทย์มอญนั้นนึกไม่ออก ไม่ ว ่ า ที่ ไ หนสุ ด แต่ ว ่ า เป็ น งานศพแล้ ว ก็ ใ ช้ ป ี ่ พ าทย์ ม อญกั น ทั้ ง นั้ น คิ ด ดู ก็ไม่เห็นหลักฐานอะไร นอกจากเป็น “แฟชั่น” เท่านั้นเอง

นริศ ๘ กรกฎาคม ๒๔๘๓


ปี่พาทย์มอญรำ�

119

สมเด็ จ พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระยาด� ำ รงราชานุ ภ าพทรงแสดงความเห็ น ในเรื่องการใช้ปี่พาทย์มอญประโคมในงานศพ กราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ดังนี้ ทูลสมเด็จกรมพระนริศฯ เรื่องที่ชอบใช้ปี่พาทย์มอญในงานศพนั้น หม่อมฉันเคยได้ยินสมเด็จ พระพุทธเจ้าหลวงตรัสเล่าว่า ปี ่ พ าทย์ ม อญท� ำ ในงานหลวงครั้ ง แรก เมื่ อ งานพระศพสมเด็ จ พระเทพศิรินทราบรมราชินี ด้วยทูลกระหม่อมทรงพระราชด�ำริว่า สมเด็จ พระเทพศิรินทราฯ ทรงเป็นเชื้อมอญ แต่จะเป็นทางไหนหม่อมฉันไม่ทราบ เคยได้ยินแต่ชื่อพระญาติคน ๑ เรียกว่า “ท้าวทรงกันดาล ทองมอญ” ว่า เพราะเป็ น มอญ พระองค์ ท ่ า นคงจะทราบดี ก ว่ า คงเป็ น เพราะเหตุ นั้ น งานพระศพพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดให้มีปี่พาทย์มอญเพิ่มขึ้น โดยเป็นเชื้อสายของสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ คนภายนอกอาจจะเอาอย่างงานพระศพหลวงไปเพิ่ม หรือไปหาเฉพาะ ปี่พาทย์มอญมาท�ำในงานศพโดยไม่รู้เหตุเดิม แล้วท�ำตามกันต่อมา จนเลย เข้าใจว่างานศพต้องมีปี่พาทย์มอญจึงจะเป็นศพผู้ดีเหมือนกับเผาศพ ชอบจุด พลุญี่ปุ่นกันแพร่หลายอยู่คราวหนึ่ง อั น ที่ จ ริ ง ปี ่ พ าทย์ ม อญ มอญเขาก็ ใ ช้ ทั้ ง ในงานมงคลและงานศพ เหมือนกับปี่พาทย์ไทย ....”

ด�ำรงราชานุภาพ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๘๓

การใช้ ป ี ่ พ าทย์ ม อญในงานศพดั ง กล่ า วข้ า งต้ น นี้ ห มายถึ ง การน� ำ ปี ่ พ าทย์ ม อญ ไปบรรเลงประโคมในงานศพโดยเฉพาะ ไม่ได้เป็นการน�ำปี่พาทย์มอญไปบรรเลงในการ แสดงมหรสพ หรือการละเล่นใดๆ ในการจัดงานศพ


120

ปี่พาทย์มอญรำ�

ปี่พาทย์มอญประโคมในงานพระเมรุ นอกจากการน� ำ ปี ่ พ าทย์ ม อญมาใช้ ป ระโคมเฉพาะในงานพระราชพิ ธี ส มโภช พระแก้ ว มรกตในสมั ย ธนบุ รี แ ล้ ว เนื่ อ งด้ ว ยปรากฏมี ห ลั ก ฐานส� ำ คั ญ แสดงว่ า มี ก ารน� ำ ปี ่ พ าทย์ ม อญมาบรรเลงเป็ น การเอกเทศเพื่ อ ประโคมในงานพระบรมศพ พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการประโคมปี่พาทย์มอญในงานพระบรมศพ สมเด็ จ พระเทพศิ ริ น ทราบรมราชิ นี ดั ง ปรากฏในหนั ง สื อ ที่ ส มเด็ จ พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทูลตอบสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา นุ วั ด ติ ว งศ์ ในหนั ง สื อ สาสน์ ส มเด็ จ ที่ ท รงกล่ า วว่ า “เรื่ อ งที่ ช อบใช้ ป ี ่ พ าทย์ ม อญใน งานศพนั้น หม่อมฉันเคยได้ยินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ตรัสเล่าว่า วงปี่พาทย์มอญ ท�ำในงานหลวงครั้งแรกเมื่องานพระบรมศพสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี”

งานพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ (ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ประเทศไทยนับปีพุทธศักราชขึ้นปีใหม่ วันที่ ๑๓ เมษายน เดือนมีนาคมจึงเป็นเดือนสุดท้ายของปี) ที่มา: สมภพ ภิรมย์. (๒๕๓๙). พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุสมัยรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. น.๓๐๘ - ๓๑๑.


ปี่พาทย์มอญรำ�

121

การประโคมปี่พาทย์มอญในงานพระเมรุพระบรมศพหรือพระศพนี้ อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้อธิบายไว้ว่า “เพราะฉะนั้นในงานพระเมรุนี้ทางมหาดไทยหรือผู้เป็นใหญ่ ฝ่ายรามัญ จึงเกณฑ์ปี่พาทย์ของรามัญให้มาตั้งประโคม ๔ ทิศของพระเมรุ และ บรรเลงเป็ น ระยะๆ ไปเช่ น เดี ย วกั บ มหรสพที่ แ สดงอยู ่ ภ ายนอก” หลั ง จากงาน พระบรมศพสมเด็จ พระเทพศิรินทราบรมราชินี ที่โปรดเกล้าฯ ให้ปี่พาทย์มอญประโคม ในงานพระเมรุแล้ว ได้เป็นพระราชประเพณีที่โปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งปี่พาทย์มอญทั้ง ๔ ทิศของพระเมรุ และประโคมปี่พาทย์มอญที่พระเมรุในงานพระบรมศพหรืองานพระศพ ในเวลาต่อมา


122

ปี่พาทย์มอญรำ�

วงปี่พาทย์มอญ “สี่มุมเมือง” ที่เข้าร่วมประโคมงานพระศพ ครู สุ ด จิ ต ต์ ดุ ริ ย ประณี ต ศิล ปินแห่ง ชาติและเจ้า ของวงปี่พาทย์บ้า นบางล�ำพู ได้กล่าวถึงเรื่องประเพณีประโคมปี่พาทย์มอญในงานพระเมรุไว้ ดังนี้ “แต่ก่อนนั้น เมื่อมีงานพระศพ งานพระเมรุเจ้านายละก้อ พวกเรา มีพ่อและคนในบ้าน จะได้ รั บ มอบหมายให้ แ จวเรื อ ไปปากเกร็ ด จนถึ ง เมื อ งปทุ ม เพื่ อ ไปบอกให้ พ วกปี ่ พ าทย์ มาประโคมในงาน พวกพระประแดงก็ต้องไปบอกเขาเหมือนกันเพราะเขาก็มีปี่พาทย์มอญ” จากค�ำบอกเล่าของครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็นการแสดงให้เห็น ได้ว่า วงปี่พาทย์มอญมีอยู่ในชุมชนมอญหลายแห่ง เช่น ชุมชนมอญจังหวัดนนทบุรี จังหวัด ปทุมธานี และพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นต้น อีกทัง้ วงปีพ่ าทย์ทมี่ อี ยูใ่ นชุมชนมอญ เหล่านั้น ต้องมีฝีมือการบรรเลงอยู่ในระดับที่ดี จึงได้รับการพิจารณาให้ไปร่วมพระราชพิธีที่ ส�ำคัญเช่นนี้ได้ จากเอกสารที่ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กล่าวถึงวงปี่พาทย์มอญจากจังหวัด ปทุมธานี ทีไ่ ด้มโี อกาสไปประโคมในงานพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนี้

ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ที่มา: อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนางสุดจิตต์ ดุรยิ ประณีต อนันตกุล ณ ฌาปนสถานกรมต�ำรวจ วัดตรีทศเทพวรวิหาร วันอาทิตย์ที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖. กรุงเทพฯ: มูลนิธิดุริยประณีต. หน้าปกใน.


ปี่พาทย์มอญรำ�

123

ศาลากลางเมืองปทุมธานี วันที่ ๒๒ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๓๐

ข้าหลวงรักษาการเมืองปทุมธานี ขอประทานกราบเรียน ท่านเจ้าพระยา ยมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาลทราบ ด้วยโปรดมีท้องตราที่ ๙๒๗/๑๒๓๖๖ ลงวันที่ ๒ มีนาคม ศก ๑๒๙ มีบัญชาการสั่งว่าให้ข้าพเจ้าจัดหาพิณพาทย์มอญ ไปประโคมในงานถวาย พระเพลิ ง พระบรมศพพระพุ ท ธเจ้ า หลวงนั้ น ครั้ น เมื่ อ วั น ที่ ๑๔ มี น าคม ศก ๑๒๙ ข้าพเจ้าได้นำ� พิณพาทย์มอญเครือ่ งใหญ่ ๑๕ คน ไปประโคมในงาน พระบรมศพ ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แลที่พระเมรุมาศท้องสนามหลวง ถึงวันที่ ๑๗ รวม ๔ วัน ข้าพเจ้าได้จ่ายเงินทดรองของเมือง สิ้นไปแล้วเป็นเงิน ๑๖๗ บาท ๘๔ สตางค์ ดังมีรายละเอียดแจ้งอยู่ในบาญชีที่ได้ส่งกราบเรียน มาด้วยแล้ว..... เอกสารฉบับนี้แสดงถึงทางราชการให้ปี่พาทย์มอญ จากจังหวัดปทุมธานีเป็นวง ปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ที่มีผู้บรรเลงถึง ๑๕ คน ไปประโคมในงานพระบรมศพพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เอกสารส�ำคัญอีกฉบับหนึ่งได้กล่าวถึงเจ้าของวงปี่พาทย์มอญของจังหวัดปทุมธานี ท�ำให้เราได้ทราบถึงครูปี่พาทย์มอญที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งด้วย ดังปรากฏอยู่ในเอกสารของ ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ดังนี้

ศาลากลางเมืองปทุมธานี วันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖

ปลัดรักษาราชการเมืองปทุมธานี เรียนมายังท่านพระบรรสารประสิทธิ์ เลขานุการกระทรวงนครบาล ด้วยตามหนังสือที่ ๓/๗๐ ลงวันที่ ๑ เดือนนีว้ า่ เงินค่าพิณพาทย์มอญ เมือ่ ครัง้ ประโคมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เงิน ๑๖๗ บาท ๘๔ สตางค์ ได้จ่ายไปแล้ว..... ข้ า พเจ้ า ได้ เ รี ย กใบส� ำ คั ญ รั บ เงิ น จากนายเจิ้ น เจ้ า ของพิ ณ พาทย์ ส่งมายังท่านพร้อมกับหนังสือนี้ด้วยแล้ว.....


124

ปี่พาทย์มอญรำ�

ข้อมูลจากเอกสารส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เรื่องขอรับเงินค่าพิณพาทย์มอญ ในคราวงานพระบรมศพพระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเจ้ า หลวงดั ง กล่ า วนี้ แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ปี่พาทย์มอญที่ใช้ประโคมในงานพระบรมศพนั้น ได้ใช้ประโคม ดังนี้ ๑. พระที่ นั่ ง ดุ สิ ต มหาปราสาทอั น เป็ น สถานที่ ป ระดิ ษ ฐานพระบรมศพ ก่ อ นที่ จ ะ อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐานที่พระเมรุมาศท้องสนามหลวง มีการบ�ำเพ็ญพระราชกุศล ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการประโคมปี่พาทย์มอญที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ด้วย ๒. พระเมรุ ม าศ เมื่ อ อั ญ เชิ ญ พระบรมศพไปที่ พ ระเมรุ ม าศแล้ ว มี ก ารบ� ำ เพ็ ญ พระราชกุศลทีพ่ ระเมรุมาศ ปีพ่ าทย์มอญประโคมที่ ๔ ทิศของพระเมรุมาศ

ธรรมเนียมการใช้ปี่พาทย์มอญในพระราชพิธีออกพระเมรุสืบต่อมาถึงปัจจุบัน การน� ำ ปี ่ พ าทย์ ม อญมาประโคมในงานออกพระเมรุ จึ ง เป็ น ประเพณี ที่ ถื อ ปฏิ บั ติ สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ปี่พาทย์มอญที่น�ำมาประโคมนั้น เป็นวงปี่พาทย์ของกรมศิลปากร แทนวงปี่พาทย์ของราษฎรดังเช่นแต่ก่อน พระราชพิธีออกพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา วงปี่พาทย์พาทยโกศลได้มาประโคมด้วยวงปี่พาทย์มอญ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕

จากประเพณีหลวงมาสู่ประเพณีราษฎร์ ผลจากการที่ ป ี ่ พ าทย์ ม อญได้ น� ำ ไปใช้ ใ นพระราชพิ ธี ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น เกี ย รติ ข องงาน ประกอบกับเมื่อน�ำปี่พาทย์มอญที่มีความสวยงามไปตั้งในงานท�ำให้การจัดงานดู “อลังการ” ขึ้ น และเป็ น งานที่ มี เ กี ย รติ เ ป็ น งาน “ศพผู ้ ดี ” จึ ง ท� ำ ให้ มี ผู ้ นิ ย มน� ำ ปี ่ พ าทย์ ม อญไปใช้ ในงานศพอย่ า งแพร่ ห ลายยิ่ ง ขึ้ น ทั้ ง ในพิ ธี ห ลวงและพิ ธี ร าษฎร์ ดั ง ที่ ส มเด็ จ ฯ เจ้ า ฟ้ า กรมพระยานริศรานุวดั ติวงศ์ ทรงกล่าว “ไม่วา่ ทีไ่ หนสุดแต่เป็นงานศพแล้ว ก็ใช้ ปพ ่ี าทย์มอญ ทั้งนั้น คิดดูก็ไม่เห็นหลักฐานอะไร นอกจากเป็น “แฟชั่น” เท่านั้นเอง” และสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวว่า “ .... จนเลยเข้าใจว่างานศพจะต้องมีปพ ่ี าทย์มอญ จึงจะเป็นศพผู้ดี”

ปี่พาทย์มอญ ผู้สร้างมิติใหม่ในวงการปี่พาทย์นาฏศิลป์ไทย เนื่ อ งจากบทบาทของปี ่ พ าทย์ ม อญที่ มี อ ยู ่ ใ นสั ง คมไทยปั จ จุ บั น มี สู ง มาก อี ก ทั้ ง ปี่พาทย์มอญได้น�ำไปใช้ในการแสดงอื่นๆ ได้อย่างกว้างขวางขึ้นมาก ค่านิยมเดิมที่ว่า ปี่พาทย์มอญใช้เฉพาะในงานศพเท่านั้น ในปัจจุบันนี้ก�ำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อีกครัง้ หนึง่ ของปีพ่ าทย์มอญ และเพลงมอญ ปีพ่ าทย์มอญในปัจจุบนั จึงถูกน�ำไปบรรเลงเพลง


ปี่พาทย์มอญรำ�

125

ของวงปี่พาทย์ไทยอย่างแพร่หลาย เช่น การบรรเลงเพลงตับ เพลงเถา เพลงออกภาษา เป็นต้น นอกจากความสวยงามของปี่พาทย์มอญแล้ว การบรรเลงเครื่องดนตรีมอญบางชิ้น สามารถสร้างความสนใจให้แก่ผู้ฟังได้มากกว่าการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง เครื่ อ งประกอบจั ง หวะของปี ่ พ าทย์ ม อญ เช่ น ตะโพนมอญ และ เปิงมางคอกที่สามารถบรรเลงได้ในจังหวะที่สนุกสนานออกรสชาติของเพลงได้อย่างเต็มที่ เมื่อน�ำปี่พาทย์มอญมาบรรเลงประกอบการขับร้องเพลงลูกทุ่งหรือเพลงสตริง

ระนาดหงสา เวทีลอยฟ้า ความตระการตาของปี่พาทย์มอญ ผลจากการที่ปี่พาทย์มอญได้รับความนิยมจากสังคมไทยอย่างกว้างขวาง และไม่ได้ มีการถือสาแบบเดิมทีถ่ อื กันว่า ปีพ่ าทย์มอญใช้เฉพาะงานศพเท่านัน้ แต่บดั นีค้ า่ นิยมของสังคม ได้เปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความนิยมของคณะลิเกที่ต่างพากันใช้ปี่พาทย์มอญอย่าง แพร่หลาย โดยไม่ได้ยึดความเชื่อเดิมๆ ที่ว่าปี่พาทย์มอญใช้ในงานศพ แต่คณะลิเกได้น�ำ ปี่พาทย์มอญมาบรรเลงและประกอบเป็นฉากลิเก ด้วยการน�ำวงปี่พาทย์มอญที่งามอลังการ ไปตั้ ง หน้ า ฉากลิ เ ก เพื่ อ สร้ า งความประทั บ ใจแก่ ผู ้ ช มได้ เ พลิ ด เพลิ น ไปกั บ ความงดงาม ตระการตาของเครื่องดนตรีปี่พาทย์มอญและเคลิบเคลิ้มกับความไพเราะ รุกเร้า สนุกสนาน ของการบรรเลง ยิ่งกว่านั้นเมื่อบรรเลงเพลงสนุกสนานเร้าใจ จะมีการเร่งไฟกะพริบไปตาม จังหวะของเพลงด้วย

ปี่พาทย์มอญเป็นการยกระดับฐานะลิเกให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น คณะลิ เ ก ต่ า งลงทุ น สร้ า งเวที ข นาดใหญ่ แ ละยกพื้ น สู ง มากที่ เ รี ย กว่ า เวที ล อยฟ้ า ให้ ป ี ่ พ าทย์ ม อญตั้ ง อยู ่ บ นเวที สู ง หน้ า ฉาก ความงดงามของปี ่ พ าทย์ ม อญท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น ฉากลิเกไปพร้อมกับการบรรเลงด้วย การตั้งเครื่องดนตรีจะตั้งเรียงเป็นหน้ากระดานตาม ความยาวของเวที ความงามของวงปี่พาทย์มอญที่มีสีทองสุกอร่าม และประดับกระจกสี สวยงามเมื่อมีแสงไฟสาดส่องยิ่งท� ำให้เกิดภาพที่งดงามอลังการยิ่งนัก ฉากลิเกแบบเก่า ที่ มี รู ป ท้ อ งพระโรงหรื อ รู ป ป่ า เขาดู จ ะไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี แ ล้ ว เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ ภาพ เครื่องปี่พาทย์มอญที่งามตระการตาเช่นนี้ก็ดูจะเกินค่าเทียบกันไม่ได้ แต่มีเพียงฉากธรรมดา ไม่ต้องเขียนภาพ มีป้ายชื่อคณะลิเก และมีปี่พาทย์มอญอันงดงามลอยเด่นอยู่เพียงแค่นี้ ท�ำให้เกิดภาพที่งดงามเหลือที่จะพรรณนาได้ ท�ำให้ภาพนักแสดงลิเกที่อยู่หน้าฉากเป็นภาพ นักแสดงที่งดงามยิ่งขึ้น นอกจากนั้นเสียงที่ไพเราะและมีเสน่ห์ของปี่พาทย์มอญที่น�ำมาบรรเลงสอดรับกับ เสี ย งร้ อ งของผู ้ แ สดงลิ เ ก ยิ่ ง สร้ า งความรู ้ สึ ก เคลิ บ เคลิ้ ม ตามเนื้ อ เรื่ อ งของลิ เ กให้ เ กิ ด กั บ ผู้ชมมากยิ่งขึ้น เสียงตะโพนมอญและเปิงมางจากวงปี่พาทย์มอญที่รุกเร้าสนุกสนานนั้น ท�ำให้อารมณ์ของผูช้ มพลอยสนุกสนาน รืน่ เริง รุกเร้าไปด้วยอย่างไม่รตู้ วั


126

ปี่พาทย์มอญรำ�

ปี่พาทย์มอญที่บรรเลงในการแสดงลิเก (เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘)

คณะปี่พาทย์มอญเองได้มีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบของเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ ให้สวยงามแปลกตายิ่งขึ้น มีการดัดแปลงรูปร่างของรางระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเหล็ก อย่างเดิมน�ำมาแต่งให้มีลักษณะคล้ายฆ้องมอญ ที่เรียกว่าระนาดหงสา โดยแปลงโขน สองข้างเป็นหน้ากินนร หน้าเทวดา หน้าหนุมาน หางหงส์ โค้งงอนสวยงามรับกับฆ้องมอญ ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของวง นอกจากนั้นมีการน�ำหางนกยูง และธงชาติมาประดับสองข้างของโขนฆ้องมอญ และเครื่องดนตรีอื่นๆ บางวงมีการน�ำไฟกะพริบมาติดให้สวยงามยิ่งขึ้นด้วย

ระนาดหงสาประดับไฟกะพริบ วงปี่พาทย์มอญ คณะ ส.บรรเลงศิลป์ จังหวัดนนทบุรี


ปี่พาทย์มอญรำ�

127

วงปี่พาทย์มอญคณะสุดใจศิลป์ จังหวัดนนทบุรี มีการประดับหางนกยูงและธงชาติที่ฆ้องมอญในบางครั้งของการแสดง (พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘) โขนฆ้องมอญแกะสลักเป็นรูปเทวดา มีความสวยงาม

ปี่พาทย์มอญช่วยขยายเวทีกลุ่มดนตรีไทยและปี่พาทย์มอญ ในสังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์ ผลจากการนิ ย มใช้ ป ี ่ พ าทย์ ม อญของคณะลิ เ กต่ า งๆ นอกจากท� ำ ให้ ภ าพของ ปี่พาทย์มอญเปลี่ยนไปจากงานศพสู่ภาคบันเทิงแล้ว ยังท�ำให้มีการน�ำเพลงยอดนิยมของ วัยรุ่นสมัยใหม่ไปบรรเลงกันอย่างสนุกสนานในวงปี่พาทย์มอญของคณะลิเกต่างๆ ด้วย พระเอกนางเอกลิเกและผู้แสดงประกอบอื่นๆ ได้น�ำเพลงของสุนทราภรณ์ พรภิรมย์ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ธงไชย แมคอินไตย์ คาราบาว เพลงดังค่ายต่างๆ ไปขับร้อง มีปี่พาทย์มอญ บรรเลงประกอบ เพลงเหล่านี้ถูกน�ำมาขับร้องกันอย่างแพร่หลาย เบียดแทรกบทบาทของ เพลงรานิเกลิง สัญลักษณ์เพลงลิเกดังของครูดอกดินอย่างน่าใจหาย ปรากฏการณ์ของ ปี่พาทย์มอญในปัจจุบันนี้เป็นการเอื้อประโยชน์แก่นักดนตรีที่จะได้แสดงความสามารถ และเปิดโอกาสให้ปี่พาทย์มอญได้แสดงบทบาทที่แท้จริงหลังจากที่ถูกบิดเบือนให้ไปอยู่ใน มุ ม อั บ เสี ย นาน มาบั ด นี้ ป ี ่ พ าทย์ ม อญได้ รั บ การยอมรั บ และตั้ ง ผงาด โดดเด่ น เป็ น สง่ า พร้อมกับสร้างความหรรษาแก่ผู้คนอย่างแพร่หลายในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคม ของคนรุ่นใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์นี้


128

ปี่พาทย์มอญรำ�

เรื่องของมอญและเพลงมอญในรูปแบบของละครพันทาง และการสวดคฤหัสถ์ของไทย ผลจากการสั ง สรรค์ แ ลกเปลี่ ย นทางวั ฒ นธรรมระหว่ า งชนชาติ ไ ทยและมอญ ส่งผลให้ศิลปะการแสดง การร้องร�ำท�ำเพลงและวรรณกรรมมอญมีอิทธิพลในการแสดง มหรสพหรือการละเล่นหลายอย่างของไทย นอกเหนือจากการเกิดเพลงไทยส�ำเนียงมอญ หรื อ เพลงออกภาษาในวงการดนตรี ป ี ่ พ าทย์ ข องไทยแล้ ว การแสดงละครพั น ทางและ การสวดคฤหั ส ถ์ เ ป็ น มหรสพและการละเล่ น ของไทย ที่ มี อิ ท ธิ พ ลของเพลงมอญและ วรรณกรรมของมอญ ปรากฏอยู่ในการแสดงทั้งละครพันทางและการสวดคฤหัสถ์ ละครพันทางเรื่องราชาธิราช ละครพันทางเมื่อแรกมีขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธ�ำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เป็นผู้เริ่ม ให้มีการแสดงละครพันทาง เป็นการแสดงละครที่ต่างจากแบบเดิมด้วยการน�ำวรรณกรรม ของชาติ ต ่ า งๆ เช่ น พงศาวดารมอญเรื่ อ งราชาธิ ร าช พงศาวดารจี น เรื่ อ งสามก๊ ก น� ำ มา แสดงเป็นละครในลักษณะที่เรียกว่า ออกภาษา ละครพันทางเรื่องราชาธิราชจึงเกิดขึ้น ในวงการมหรสพของไทย เพลงมอญ เพลงไทยส�ำเนียงมอญจ�ำนวนมาก ปี่พาทย์มอญ และการฟ้ อ นร� ำ ของมอญได้ น� ำ มาใช้ ใ นการแสดงละครพั น ทางเรื่ อ ง ราชาธิ ร าชกั น อย่างแพร่หลาย ต่ อ มามี ผู ้ ตั้ ง คณะละครพั น ทางขึ้ น อี ก หลายคณะ กรมศิ ล ปากรได้ อ นุ รั ก ษ์ ล ะคร พันทางนี้ไว้ ได้ก�ำหนดให้มีทั้งการเรียน การสอนและการแสดง ละครพั น ทางเรื่ อ งราชาธิ ร าชเป็ น มหรสพที่ มี ผู ้ นิ ย มมาก กรมศิ ล ปากรได้ น� ำ มา เป็นการแสดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนสมิงนครอินทร์เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงอังวะ และตอน สมิงพระรามอาสา มีการน�ำเพลงมอญจ�ำนวนมากมาใช้บรรเลงประกอบการแสดง สวดคฤหัสถ์ เป็นการสวดของชาวบ้านในงานศพ เมื่อพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม จบแล้ ว ชาวบ้ า น ๔ คน จะสวดคฤหั ส ถ์ ถื อ ตาลปั ต รเลี ย นแบบพระสงฆ์ บทสวดเป็ น ท�ำนองเพลงภาษาต่างๆ ที่เรียกว่า ออกภาษา มีบทขับร้องและมีท�ำนองเพลงมอญที่นิยม ร้ อ งสวดกั น อย่ า งแพร่ ห ลายมากคื อ มะโดดหนี เ มี ย เป็ น การขั บ ร้ อ งเชิ ง ตลก กล่ า วถึ ง มะโดดจะหนีเมียไปบวช นอกจากนั้นเป็นการขับร้องในท�ำนองภาษาอื่นๆ อีก เช่น จีน ญวน แขก ลาว เป็นต้น

วงปี่พาทย์มอญธรรมดาพัฒนาเป็นวงปี่พาทย์มอญวงพิเศษ วัฒนธรรมปี่พาทย์มอญในสังคมไทย ปัจจุบันเป็นที่นิยมกว้างขวางมากในทุกภูมิภาค มีการหาวงปี่พาทย์มอญไปบรรเลงกันแทบทุกจังหวัด และแทบทุกงานตั้งแต่งานศพหลวง ไปถึงงานศพชาวบ้าน


ปี่พาทย์มอญรำ�

129

ในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยความนิยมในการน�ำวงปี่พาทย์มอญไปบรรเลงในงานศพ เพื่อเป็นเกียรติ เป็นหน้าตาของเจ้าภาพงาน และเป็นเครื่องประดับของภาพงานมากกว่า เรื่ อ งของเสี ย งดนตรี ใ นพิ ธี ก รรม เจ้ า ภาพบางงานอาจก� ำ หนดให้ ประสมวงแบบพิเศษ ขึ้ น อี ก คื อ เพิ่ ม เติ ม ฆ้ อ งมอญให้ มี จ� ำ นวนมากขึ้ น จนมี ศั พ ท์ เ ฉพาะในเวลาหางานของ ปี่พาทย์มอญว่างานนี้งานนั้นจะเอาเครื่องกี่โค้ง โค้ง ในที่นี้หมายถึงจ�ำนวนของฆ้องมอญ หากเจ้าภาพต้องการให้ลักษณะของงาน ดูยิ่งใหญ่ ก็จะสั่งให้หาฆ้องมอญมาบรรเลงทีละมากๆ บางทีถึงขนาดสั่งมาบรรเลงเป็น สิบๆ โค้ง มองไปในวงปี่พาทย์แลเห็นฆ้องมอญวางเรียงรายกันเต็มไปหมดแลดูสวยงามมาก ความอลังการของเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์มอญที่มีความสวยงามทั้งรูปทรงของ เครื่ อ งดนตรี แ ต่ ล ะชิ้ น และการตกแต่ ง เครื่ อ งดนตรี ที่ ส วยงามระยิ บ ระยั บ ด้ ว ยสี ท อง ประดับกระจกแวววาวแลอร่ามงามตายิ่งนัก จึงเกิดค่านิยมพิเศษเพิ่มขึ้นนอกเหนือจาก ความไพเราะเสนาะโสตของเพลงมอญ ด้วยการประสมวงปี่พาทย์เป็นวงพิเศษดังกล่าว ข้างต้นนี้ บางงานเจ้าภาพให้มีการเพิ่มฆ้องมอญมากกว่าสิบโค้งก็มี จ�ำนวนฆ้องมอญ มีจ�ำนวนมากเท่าใด ย่อมเป็นเครื่องแสดงความยิ่งใหญ่ของงานนั้นเพิ่มยิ่งขึ้น นอกจาก เพิ่ ม ฆ้ อ งมอญมากขึ้ น แล้ ว ยั ง ให้ มี เ ปิ ง มางคอก ๒ คอก และตะโพนมอญ ๒ ลู ก โดย ตั้ ง ต� ำ แหน่ ง ทางด้ า นขวาและด้ า นซ้ า ยของวงปี ่ พ าทย์ และเรี ย กกั น เป็ น สามั ญ ในหมู ่ วงปี่พาทย์มอญว่า เปิงมาง หัว - ท้าย การใช้ปี่พาทย์มอญประโคมในงานศพจึงเป็นค่านิยมของสังคมไทยที่มีมานานและ สื บ ต่ อ มาจนถึ ง ปั จ จุ บั น ปี ่ พ าทย์ ม อญได้ เ ป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ห รื อ เครื่ อ งแสดงฐานะของงาน และของเจ้าภาพผู้จัดงาน อีกทั้งแสดงถึงเกียรติยศของผู้ตายด้วย ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ วงปี่พาทย์ต่างๆ จึงสร้างเครื่องปี่พาทย์มอญไว้ประจ�ำวงของตน เพื่อไว้ท�ำหน้าที่บริการ สังคมไทยทีน่ ยิ มน�ำปีพ่ าทย์มอญไปใช้บรรเลงในงาน วงปีพ่ าทย์ไทยในปัจจุบนั นีก้ ลับมีบทบาท ในสังคมไทยน้อยกว่าวงปี่พาทย์มอญ

ปี่พาทย์มอญประสมวงพิเศษประโคมในงานศพพระที่วัดบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร


การขับร้องเพลงพร้อมการร่ายร�ำพิธีอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์ งานศพพระธรรมเมธาภรณ์ (สนิท สุภาจาโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทน์กะพ้อ จังหวัดปทุมธานี และอดีตเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี (ธรรมยุติ) วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


๔ การขับล�ำน�ำของมอญ การขับล�ำน�ำเป็นการเปล่งเสียงให้เกิดถ้อยค�ำให้มีเสียงที่เป็นท�ำนอง มีระดับเสียง สูงต�่ำและจังหวะต่างๆ มีการเน้นถ้อยค�ำเป็นหลักของท�ำนอง การขับล�ำน�ำที่คนมอญได้ประดิษฐ์คิดค�ำร้องให้มีท่วงท�ำนองลีลา จังหวะ ระดับ เสียงสูงต�่ำ หนักเบาต่างๆ ตลอดจนการแต่งเนื้อร้องแสดงซึ่งความหมายของการขับร้อง ของมอญมี ม าแต่ โ บราณ คนมอญได้ สื บ ทอดการขั บ ร้ อ งที่ มี ม าแต่ โ บราณดั ง กล่ า วนั้ น ด้ วยการท่ อ งจ� ำ ปากต่อ ปาก สืบต่อ กันมานานหลายชั่วอายุคน บทเพลงที่น�ำมาขับร้อง มั ก จะเกิ ด จากอารมณ์ ค วามรู ้ สึ ก ของผู ้ ขั บ ร้ อ งที่ มี ต ่ อ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ห รื อ ต่ อ ผู ้ ค นที่ รั บ ฟั ง อยู ่ การขั บ ร้ อ งนั บ เป็ น การแสดงภู มิ ป ั ญ ญาของผู ้ ขั บ ร้ อ ง ที่ มี ป ฏิ ภ าณไหวพริ บ ในการ ขับร้องเพลงโต้ตอบกันตามลักษณะของเพลงปฏิพากย์ นอกเหนือจากบทขับร้องที่จดจ�ำ กันมา การขับร้องเพลงต่างๆ ของคนมอญได้น�ำไปสู่ความเข้าใจถึงความหมาย บทบาทและ หน้าที่ของบทขับร้องที่มีต่อสังคมคนมอญด้วย การขับล�ำน�ำหรือการขับร้องของมอญ ต้องเปล่งเสียงค�ำขับร้องที่เรียกว่า “ค�ำกลอน” ลั ก ษณะค� ำ กลอนของมอญมี ทั้ ง ถ้ อ ยค� ำ ที่ มี ท ่ ว งท� ำ นองที่ เ รี ย บง่ า ยมี ท ่ ว งท� ำ นองเสรี ฟั ง เข้าใจง่ายไม่เน้นการสัมผัสไป จนถึงถ้อยค�ำที่มีแบบแผนของฉันทลักษณ์และท่วงท�ำนองที่ ไพเราะลึกซึ้ง เมื่อกล่าวถึงการขับล�ำน�ำขับร้องที่มีแบบแผนของมอญนอกจากจะมีระดับเสียง สูงต�ำ่ แบบเสียงของท�ำนอง ดนตรี แ ล้ ว ค� ำ กลอนหรื อ ถ้อยค�ำที่น�ำมาขับร้องนั้น มี ก า ร เ น ้ น สั ม ผั ส ค� ำ คล้ อ งจองตามแบบแผน ฉันทลักษณ์ด้วย


132

ปี่พาทย์มอญรำ�

การขับล�ำน�ำของมอญที่มีถ้อยค�ำเป็นค�ำกลอนหรือค�ำร้อยกรองตามแบบแผนของ ฉันทลักษณ์มอญ ปรากฏอยู่ในค�ำขับร้องเพลงทะแยมอญ ค�ำท�ำขวัญต่างๆ เช่น ค�ำท�ำขวัญ พิธีโกนจุก ค�ำท�ำขวัญพิธีบวชนาค ค�ำท�ำขวัญพิธีแต่งงาน บทเทศน์มหาชาติ ค�ำขับร้องเพลง อัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์ เพลงรับพระสู่ทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ เป็นต้น ส่วนค�ำขับร้องหรือขับล�ำน�ำที่ไม่ยึดถือสัมผัสคล้องจองของถ้อยค�ำ แต่ถือจังหวะ ถ้ อ ยค� ำ และระดั บ เสี ย งสู ง ต�่ ำ เป็ น หลั ก เช่ น เพลงกล่ อ มเด็ ก ของมอญ การขั บ ล� ำ น� ำ มอญร้องไห้ เป็นต้น

ลักษณะส�ำคัญของเพลงขับร้องของมอญ เพลงขับร้องของมอญมีอยู่หลายประเภท และเพลงขับร้องของมอญมีอยู่ตามชุมชน มอญต่างๆ แตกต่างกันไปบ้างหรือเหมือนกัน คล้ายๆ กันบ้าง เช่นเดียวกับ เพลงพื้นเมือง ของไทย ครูประเวช กุมุท ศิลปินแห่งชาติ (ประเวช กุมุท, ๒๕๕๓, น.๒๘) ได้กล่าวถึงเรื่อง เพลงพื้นเมือง ดังนี้ “ไม่ว่าประเทศใด บ้านเมืองใด มักจะมีเพลงประจ�ำท้องถิ่นไว้ส�ำหรับร้องกันในโอกาส รื่นเริง เพื่อเป็นการร่วมประสานสามัคคี และเพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์ของท้องถิ่นบ้านเมือง นั้นๆ เพลงที่ใช้ร้องประจ�ำมักจะเป็นเพลงที่แพร่หลายในหมู่ชนชาติที่อยู่ร่วมกัน จึงได้ชื่อว่า เพลงพื้นเมือง ซึ่งย่อมจะต้องมีลักษณะท่วงท�ำนองผิดแผกต่างกันไปตามภาษาที่ใช้พูดกัน ในแต่ละท้องถิ่น” การขับล�ำน�ำหรือขับร้องของคนมอญ มี ๓ ประเภท คือ ๑) การขับล�ำน�ำที่ไม่มี ดนตรี บ รรเลงและไม่ มี ก ารร่ า ยร� ำ ประกอบ ๒) การขั บ ล� ำ น� ำ ที่ มี ด นตรี บ รรเลงประกอบ การขับล�ำน�ำแต่ไม่มีการร่ายร�ำ และ ๓) การขับล�ำน�ำที่มีดนตรีบรรเลงและมีการร่ายร�ำ ประกอบ

การขับล�ำน�ำที่ไม่มีดนตรีบรรเลงและไม่มีการร่ายร�ำประกอบ การขับล�ำน�ำหรือขับขานในพิธกี รรมต่างๆ ของมอญทีเ่ ป็นการขับล�ำน�ำไม่มกี ารบรรเลง ดนตรีและไม่มีการร่ายร�ำประกอบการขับขาน ได้แก่ การขับขานของพระสงฆ์มอญในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา พิธีกรรมทาง พระพุ ท ธศาสนา ส่ ว นมากมั ก จะมี ก ารสวดสาธยายธรรมของพระสงฆ์ เช่ น การเจริ ญ พระพุทธมนต์ การแสดงพระธรรมเทศนา การสวดญัตติในพิธีอุปสมบท เป็นต้น การสวดและ


ปี่พาทย์มอญรำ�

133

พระสงฆ์สวดธรรมกถามอญ พระสงฆ์ราชาคณะ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์มอญ งานบ�ำเพ็ญกุศลถวายพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๗

การแสดงพระธรรมเทศนาของพระสงฆ์มอญ จะมีท�ำนองสวดและท�ำนองเทศน์ที่มีจังหวะ ระดับเสียงสูงต�่ำที่ชวนฟัง แต่เป็นบทขับขานที่ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีเฉพาะในพิธีกรรม เท่านั้น ไม่น�ำมาขับร้องกันเล่นๆ การสวดของพระสงฆ์มอญ การเจริญพระพุทธมนต์หรือการสวดในพิธีกรรมต่างๆ ของพระสงฆ์มอญมีท่วงท�ำนอง ที่ช้าและมีจังหวะ พระสงฆ์ผู้เป็นประธานจะน�ำสวดในแต่ละบทหรือในแต่ละตอน จากนั้น พระสงฆ์รูปอื่นๆ สวดต่อพร้อมกันในลักษณะของการประสานเสียงพร้อมๆ กันเช่นนี้จนจบพิธี ท�ำนองและจังหวะการสวดของพระสงฆ์ในชุมชนมอญต่างๆ อาจจะแตกต่างกันบ้าง แต่ไม่มากนัก เช่น การสวดมนต์ของพระสงฆ์วัดปรมัยยิกาวาส ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และการสวดมนต์ของพระสงฆ์วัดสโมสร ต�ำบลไทรใหญ่ อ�ำเภอ ไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี มีความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่พระสงฆ์ทั้งสองวัดเมื่อสวดร่วมกัน การสวดสามารถด�ำเนินไปด้วยกันได้ การสวดของพระสงฆ์มอญในพิธีที่ส�ำคัญ หรือในวาระต่างๆ ในการปฏิบัติศาสนกิจ เช่น สวดมนต์ท�ำวัตรเช้า สวดมนต์ท�ำวัตรเย็น สวดพระปริตรเจ็ดต�ำนาน สวดพระปริตร สิบสองต�ำนาน สวดจตุตถกรรมวาจา (สวดญัตติ) ในพิธีอุปสมบท สวดในพิธีกรานกฐิน สวดในพิธีถอนสีมา สวดในพิธีผูกพัทธสีมา สวดพระอภิธรรม สวดมาติกา สวดบังสุกุล และสวดปาติโมกข์ เป็นต้น


134

ปี่พาทย์มอญรำ�

พระสงฆ์มอญเจริญพระพุทธมนต์ ในงานประเพณีท�ำบุญกลางบ้านประจ�ำปี หลังวันสงกรานต์บ้านกวานโต้ เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๕๒)

ส� ำ หรั บ การสวด มนต์ ท� ำ วั ต รเช้ า และ ท� ำ วั ต รเย็ น นอกจาก พระภิ ก ษุ ส ามเณรเป็ น ผู้สวดแล้วชาวบ้าน ช า ย ห ญิ ง จ ะ ส ว ด เช่ น เดี ย วกั บ พระภิ ก ษุ สามเณร ในเวลาสวดมนต์ ท� ำ วั ต รเช้ า หรื อ ท� ำ วั ต รเย็ น ที่ บ ้ า นหรื อ ที่ วั ด การสวดของ ชาวบ้านใช้ท�ำนองและจังหวะเช่นเดียวกับพระภิกษุสามเณรสวด หลั ก การของการสวดมนต์ของมอญให้มีท�ำนอง เพื่อช่ว ยท�ำให้ผู้สวดมีจิตตั้งมั่น เป็นสมาธิได้ดีขึ้น เช่นเดียวกับการสวดท�ำนองสรภัญญะของไทย การเทศน์ของพระสงฆ์มอญ การแสดงพระธรรมเทศนาของพระสงฆ์มอญ มีการเทศน์ด้วยการใช้ระดับเสียงสูงต�่ำ หรือการเทศน์ด้วยจังหวะเสียงที่ต่างๆ กันในบางช่วงบางตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่ เป็นสาระส�ำคัญ แต่จังหวะหรือท�ำนองนี้ต่างกับจังหวะหรือท�ำนองของการสวด ท�ำนองเทศน์ ในส่วนที่เป็นสาระส�ำคัญและการเอื้อนเสียงจะใช้จังหวะสูงต�่ำหรือลากเสียงให้ชวนฟังยิ่งขึ้น ท�ำนองเทศน์จะเริม่ ตัง้ แต่การกล่าวแสดงความนอบน้อมต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นจึงกล่าวคาถาหัวข้อของเรื่องที่เทศน์ตามด้วยการบอกศักราช* เมื่อบอกศักราชแล้ว จึงด�ำเนินเรื่องของบทเทศนาจนจบ

* บอกศักราชเป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์แต่โบราณมา เมื่อเริ่มแสดงธรรมหรือการสวดมนต์ท�ำวัตร ต้องมีการสวดบอกศักราชว่าในวันที่แสดงธรรมหรือวันที่สวดมนต์ท�ำวัตรนั้นตรงกับวันเดือนปีอะไร พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วเป็นจ�ำนวนปีเดือนวันเท่าใด สมัยก่อนไม่มีปฏิทินจึงต้อง มีวิธีบอกศักราช ปัจจุบันไม่มีการบอกศักราชกันแล้วเพราะมีปฏิทินอยู่ทั่วไป


ปี่พาทย์มอญรำ�

135

ท�ำนองเทศน์ของพระสงฆ์มอญมีหลายท�ำนอง อาทิ ท�ำนองหงส์บิน ท�ำนอง น�้ำไหล และท�ำนองผึ้งเคล้าเกสร ท� ำ นองหงส์ บิ น เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการออกเสี ย งเอื้ อ นยาวในแต่ ล ะค� ำ ด� ำ เนิ น ไป ประมาณ ๓ - ๕ ค�ำ ด้วยระดับเสียงค่อยๆ สูงขึ้นเหมือนดังหงส์ก�ำลังค่อยๆ บินขึ้นสู่ท้องฟ้า จากนั้นลดระดับเสียงลงเป็นเสียงเรียบๆ ด�ำเนินไปช้าๆ เมื่อจะจบใช้ระดับเสียงสูงและเอื้อน เสียงยาวและลดระดับเสียงในแต่ละค�ำจนจบข้อความตอนนั้น ท�ำนองน�้ำไหล การเทศน์ท�ำนองนี้จะมีการใช้ระดับเสียงและจังหวะที่มีการเอื้อน ยาวสลับกับจังหวะสั้นเร็วบางช่วง โดยเฉพาะในตอนที่เป็นสาระส�ำคัญที่ต้องเน้นย�้ำ ท�ำนองผึ้งเคล้าเกสร การเทศน์ท�ำนองนี้มีการใช้ระดับเสียงและจังหวะไม่เอื้อน ยาว ด�ำเนินการเทศน์ไปเรื่อยๆ แต่จะเอื้อนสั้นๆ และเน้นเป็นช่วงๆ โดยเฉพาะเมื่อตอนเป็น ค�ำถามหรือการตั้งข้อปุจฉา เมื่อเป็นค�ำตอบหรือวิสัชนาหรือข้อขยายความจะเทศน์ด้วย เสียงเอื้อนยาวเหมือนผึ้งก�ำลังเคล้าดูดน�้ำหวานจากดอกไม้

พระสงฆ์มอญแสดงธรรมเทศนาวัดศิริมงคล มหาชัย อ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร (พ.ศ. ๒๕๒๖)


136

ปี่พาทย์มอญรำ�

พระสงฆ์มอญที่มีชื่อเสียงได้รับการยกย่องเป็นพระธรรมกถึก ที่แสดงพระธรรมเทศนา ที่ดีทั้งสาระเนื้อหาของค�ำเทศนาและท�ำนองเทศน์มอญที่ไพเราะมีหลายรูป เช่น พระคุณวงศ์ (สน) วัดปรมัยยิกาวาส อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระคุณวงศ์ (จู) วัดปรมัยยิกาวาส อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระครูวิเชียรมุนี (ชื่น) วัดฉิมพลีสุทธาวาส อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระครูนิโรธมุนี (กลับ) วัดต�ำหนักเหนือ อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระครูโน่น วัดปรมัยยิกาวาส อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระอุดมญาณมุนี วัดเสาธงทอง อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระสุเมธาจารย์ (วร) วัดปรมัยยิกาวาส อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระใบฎีกาจ�ำปี โกณฑัญโญ วัดโปรดเกษ อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระรามัญมุนี (สุด ญาณรังสี) วัดบางหลวง อ�ำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พระรามัญมุนี (มะลิ) วัดบางหลวง อ�ำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พระครูอุตตโมรุวงศ์ธาดา วัดส�ำแล อ�ำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พระอธิการบุนนาค วัดศาลาแดงเหนือ อ�ำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พระอาจารย์สาลี่ วัดสองพี่น้อง อ�ำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พระครูสิทธิเดชะ (เสน่ห์) วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร พระครูธรรมวิธานปรีชา (ส�ำเภา) วัดแค อ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พระครูสาครคุณสาร (ทา) วัดเกาะ อ�ำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พระครูวิมลภัทธาจารย์ (จิตร) วัดบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร การศึกษาและการถ่ายทอดวิธีการเทศน์ แต่ เ ดิ มมาวัด มอญเป็นแหล่ง ศึกษาภาษามอญ พระสงฆ์ผู้มีความรู้ทางการอ่าน การเขียนภาษามอญจะเปิดสอนศิษย์วัดให้เรียนภาษามอญ เมื่อศิษย์โตขึ้นได้บวชเป็น สามเณรหรื อ พระภิ ก ษุ ส ามารถอ่ า นเขี ย นภาษามอญได้ ถ้ า ภิ ก ษุ ส ามเณรองค์ ใ ดสนใจ การเทศน์ จะไปฝากตัวเป็นศิษย์กับพระผู้ใหญ่ที่มีความรู้ความสามารถในการแสดงธรรม แบบมอญที่มีท�ำนองที่น่าฟัง พร้อมกับศึกษาเนื้อหาหรืออรรถของธรรมให้มีความรู้ลึกซึ้ง มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นสาระส�ำคัญของหัวข้อธรรมที่ใช้แสดงธรรม การเทศน์มอญ ผู้แสดงธรรม จึ ง ต้ อ งมี ค วามรู ้ ค วามสามารถในการแสดงสาระของพระธรรมและการใช้ ท� ำ นองเทศน์ ของมอญด้วย


ปี่พาทย์มอญรำ�

137

การเทศน์มหาชาติหรือเทศน์พระเวสสันดรชาดกภาษามอญ การเทศน์มอญที่ได้รับความนิยมมากและพระผู้เทศน์ต้องมีความรู้ความสามารถ จึงจะเทศน์ได้ไพเราะ ได้แก่ การเทศน์มหาชาติหรือเทศน์พระเวสสันดรชาดก พระสงฆ์ ที่สามารถเทศน์มหาชาติได้ดีนั้นจะต้องผ่านการฝึกซ้อมวิธีเทศน์มาอย่างดี โดยเฉพาะเทศน์ กัณฑ์มัทรี กัณฑ์ชูชกและกัณฑ์กุมาร การสวดและการเทศน์ ข องพระมอญ โดยปกติ แ ล้ ว ไม่ มี ก ารบรรเลงดนตรี ม อญ ประกอบการสวดหรือการเทศน์โดยตรง แต่ที่มีการน�ำดนตรีมอญไปบรรเลงเมื่อมีพิธีสวด หรื อ มี ก ารแสดงพระธรรมเทศนานั้ น การบรรเลงดนตรี ดั ง กล่ า วเป็ น เพี ย งการประโคม ประกอบพิธีเท่านั้น ไม่ได้เป็นการบรรเลงเจาะจงส�ำหรับการสวดหรือการเทศน์แต่ประการใด การขั บ ร้ อ งของชาวบ้ า นมอญทั่ ว ไป การขั บ ร้ อ งของชาวบ้ า นมอญเป็ น การ เปล่ ง เสี ย งและถ้ อ ยค� ำ เป็ น ค� ำ กลอน โดยเน้ น ถ้ อ ยค� ำ ที่ มี เ นื้ อ หาและมี ค วามคล้ อ งจอง เป็นหลักน�ำท�ำนอง มีความยาวไม่แน่นอน บทบาทและหน้าที่ตลอดจนความหมายของบท ขับร้องมีความสัมพันธ์กับสังคมของคนมอญอย่างแนบแน่นตลอดมาเป็นเวลายาวนาน ความสั ม พั น ธ์ ดั ง กล่ า วนี้ มี ๒ ประการ คื อ การขั บ ร้ อ งที่ สั ม พั น ธ์ กั บ สิ่ ง เหนื อ ธรรมชาติ และการขับร้องที่สัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน

การขับร้องที่สัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ พิธีกรรมต่างๆ ของมอญที่มีอยู่มากมายที่เกี่ยวกับชีวิตและความสุขทุกข์ของผู้คน จึงนิยมมีการ “สวด” หรือการขับล�ำน�ำท�ำขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลหรือปัดเป่าความ ทุกข์ยากให้หายไป พิธีดังกล่าวนี้ ได้แก่ พิธีท�ำขวัญโกนผมไฟ พิธีท�ำขวัญโกนจุก พิธีท�ำขวัญ บวชนาค พิธีท�ำขวัญแต่งงาน เป็นต้น ผู้ท� ำหน้าที่เป็นผู้สวดหรือผู้ท� ำขวัญต้องสวดเป็น ค�ำสวดท�ำนองเสนาะ บทสวดต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับพิธีนั้นๆ มีถ้อยค�ำเป็นค�ำกลอน ผู้สวด ต้องเอื้อนเอ่ยภาษาที่มีท�ำนองอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาอ�ำนวยพร

พิธีท�ำขวัญนาคมอญ

พิธีท�ำขวัญโกนจุกมอญ


138

ปี่พาทย์มอญรำ�

ค�ำท�ำขวัญงานมงคลของมอญ พิธีท�ำขวัญเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิตของคนมอญในชุมชน อันเกี่ยวเนื่องกับชีวิต ตั้ ง แต่ เ กิ ด จนตาย เช่ น พิ ธี บ วช พิ ธี แ ต่ ง งาน การรั ก ษาเมื่ อ มี ก ารเจ็ บ ป่ ว ยหรื อ พิ ธี ที่ เกี่ยวกับอาชีพการท�ำมาหากินของชาวบ้าน เช่น พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีท�ำบุญเมื่อน�ำข้าว เข้ายุ้งฉาง เป็นต้น ในช่วงชีวิตของคนมอญคนหนึ่งๆ ตามจารีตนิยมของคนมอญได้ก�ำหนดไว้ว่า เมื่อมี วาระการเปลี่ยนผ่านถึงวาระส�ำคัญของชีวิต ในช่วงชีวิตของผู้ชายควรมีงานมงคลท�ำขวัญ แก่ชีวิตของตนเอง ๓ ครั้ง คือ ๑) ท�ำขวัญพิธีโกนจุกในวัยเด็ก ๒) ท�ำขวัญพิธีบวช และ ๓) ท�ำขวัญพิธีแต่งงาน ส่วนผู้หญิงควรมีงานมงคลท�ำขวัญแก่ชีวิตของตนเอง ๒ ครั้ง คือ ๑) ท�ำขวัญพิธีโกนจุกในวัยเด็ก ๒) ท�ำขวัญพิธีแต่งงาน การท� ำ ขวั ญ ในงานมงคลของมอญ ๓ พิ ธี คื อ พิ ธี ท� ำ ขวั ญ โกนจุ ก มอญเรี ย กว่ า “บ้ะฮะมะจออาโป” พิธีท�ำขวัญงานบวช มอญเรียกว่า “บ้ะฮะมะปายัง” และพิธีท�ำขวัญ งานแต่งงาน มอญเรียกว่า “บ้ ะ ฮะมะทอปตอย” การท�ำขวัญในงานมงคลทั้ง ๓ พิธีนี้ การกล่าวค�ำท�ำขวัญถือว่าเป็นขั้นตอนที่ส�ำคัญของพิธี ค�ำท�ำขวัญเป็นภาษามอญแต่งเป็น ค�ำร้อยกรองที่มีรูปแบบถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของมอญ ค�ำท�ำขวัญทั้ง ๓ พิธี ประกอบด้วย ๕ ส่วน ดังนี้ คือ ส่วนที่ ๑ ส่วนที่ ๒ ส่วนที่ ๓ ส่วนที่ ๔ ส่วนที่ ๕

ค�ำกล่าวนมัสการพระรัตนตรัย ค�ำชุมนุมเทวดา ค�ำพรรณนาคุณบิดามารดา ครูอาจารย์ ค�ำเชิญขวัญ ค�ำอวยพร

พิธีท�ำขวัญนาคมอญ นายไพโรจน์ บุญผูก

พิธีท�ำขวัญแต่งงานมอญ


ปี่พาทย์มอญรำ�

139

บทท�ำขวัญมีลีลาการขับขานที่สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา ในพระรัตนตรัย ส�ำนึกในคุณของพ่อแม่ครูอาจารย์ และเข้าใจในบาปบุญคุณโทษ เป็นการให้ ปัญญาแก่ผฟู้ งั เป็นอย่างดี ให้สติแก่ผรู้ บั ขวัญในโอกาสทีเ่ ป็นช่วงเวลาทีเ่ ป็นหัวเลีย้ วหัวต่อหรือ ช่วงเวลาส�ำคัญของชีวิต การขับล�ำน�ำมอญร้องไห้ มอญเรียกว่า “เยี่ยะแวมโม่น” การขับล�ำน�ำมอญร้องไห้ เป็นการขับร้องพรรณนาคุณงามความดีหรือพระคุณของผู้วายชนม์ เพื่อแสดงความกตัญญู ความจงรักภักดีและความอาลัยรักต่อผู้เสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นบุคคลส�ำคัญ เป็น ปูชนียบุคคลหรือเป็นผู้อาวุโสทรงคุณวุฒิ วัยวุฒิ เช่น พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ บิดามารดา ครูอาจารย์ เป็นต้น เมื่อบุคคลที่เคารพนับถือ ได้ถึงแก่มรณกรรม ตามประเพณีมอญนิยมให้มีการขับกล่อมที่เรียกว่า “มอญร้ อ งไห้ ” ในขณะจัดพิธีศพด้วย การขับล�ำน�ำมอญร้องไห้เป็นประเพณีเก่าที่ยังมีอยู่ในชุมชนมอญ หลายแห่ง

มอญร้องไห้ในพิธีบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ วันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ที่ชาวไทยเชื้อสายมอญได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดขึ้น ณ เบื้องหน้าพระบรมโกศ บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง


140

ปี่พาทย์มอญรำ�


ปี่พาทย์มอญรำ�

141

บทมอญร้องไห้ที่ชาวไทยเชื้อสายมอญบ�ำเพ็ญกุศลถวายพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ที่มา : อนุสรณ์มอญร�ำลึก. พิมพ์แจกเป็นธรรมบรรณาการ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๗. น.๕๕ - ๕๖.


142

ปี่พาทย์มอญรำ�

ท่วงท�ำนองหรือลีลาการขับล�ำน�ำเป็นการด�ำเนินท�ำนองง่ายๆ ด้วยการขับร้องเป็น ค�ำกลอนที่ไม่ได้เน้นเรื่องของฉันทลักษณ์หรือลักษณะสัมผัสค�ำคล้องจองมากนัก แต่เป็น การแสดงความหนักเบาของถ้อยค�ำประกอบการแสดงความอาลัยและการร�ำลึกถึงพระคุณของ ผู้วายชนม์ บทขับล�ำน�ำมอญร้องไห้จึงไม่ได้ก�ำหนดรูปแบบตายตัวของค�ำกลอนแม้เป็นค�ำ ร้อยแก้วก็มีได้ แต่ขณะที่ร้องพรรณนานั้นจะกล่าวด้วยท่วงท�ำนองที่ด�ำเนินไปอย่างมีจังหวะ และลีลาการใช้น�้ำเสียงที่ท�ำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกโศกเศร้าเสียดาย รู้สึกระลึกถึงคุณงาม ความดีของผูต้ าย เป็นต้น ขณะขับร้องมอญร้องไห้จะไม่มกี ารบรรเลงดนตรีใดๆ ประกอบ การขับร้อง ต้องอยู่ในบรรยากาศที่สงบเงียบและไม่มีการร้องไห้ฟูมฟาย ผู้ร้องต้อง มีอาการสงบส�ำรวมกิริยาท่าทาง การทอดสายตา การวางสีหน้าและการใช้น�้ำเสียง ต้องอยู่ในลักษณะอาการโศกเศร้า แต่ในกรณีทผี่ รู้ อ้ งมอญร้องไห้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนทีต่ อ้ งประสบกับความ สูญเสียที่เกิดขึ้นและเกิดมีการร้องไห้ฟูมฟายขึ้นมาพร้อมกันนั้นด้วย เช่น ต้องสูญเสียบิดา มารดา เป็นต้น กรณีเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นได้และไม่เป็นเรื่องที่ผิดแต่ประการใด การขับล�ำน�ำมอญร้องไห้ จะกระท�ำในช่วงเวลาดังนี้ คือ ๑. ขณะบ�ำเพ็ญกุศลศพทีบ่ า้ นในเวลากลางคืนหลังพระสวดพระอภิธรรมจบแล้ว และ เวลาใกล้รงุ่ ๒. ขณะน�ำศพออกจากบ้านจะไปบ�ำเพ็ญกุศลที่วัด ๓. ขณะท�ำการฌาปนกิจศพ ผู้ขับล�ำน�ำมอญร้องไห้เป็นสตรี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกในครอบครัวหรือญาติพี่น้องของ ผู้วายชนม์ หรือผู้มีความเคารพนับถือผู้วายชนม์ เช่น เป็นศิษย์ของผู้วายชนม์ เป็นต้น ไม่มี การว่าจ้าง การทีล่ กู หลานมาร้องพรรณนาร�ำลึกถึงผูว้ ายชนม์นนั้ คนมอญถือว่าเป็นการแสดง ความเคารพบูชา และเป็นหน้าที่ของลูกหลานที่พึงกระท�ำต่อผู้วายชนม์

บทมอญร้องไห้ งานพระศพพลโทหม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑


ปี่พาทย์มอญรำ�

143


144

ปี่พาทย์มอญรำ�

มอญร้องไห้ในงานบ�ำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

การขับล�ำน�ำมอญร้องไห้ในงานศพพระ เมื่อพระสงฆ์ถึงแก่มรณภาพ สตรีมอญจะถือว่าเป็นการได้ท�ำบุญที่ได้ขับล�ำน�ำมอญ ร้ อ งไห้ พรรณนาความดี ข องพระสงฆ์ ผู ้ ม รณภาพ ค� ำ ร้ อ งนิ ย มน� ำ พระพุ ท ธประวั ติ ต อน พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานมาเป็นถ้อยค�ำประกอบการ ขับร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งค�ำร�ำพันของพระอานนท์ที่กล่าวถึงความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของ ชาวโลก เมื่อพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นดวงประทีป เป็นที่พึ่งของมนุษย์และ เทวดาทั้งหลายเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น ถือว่าเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของชาวโลกและ ของบรรดามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย การขับล�ำน�ำมอญร้องไห้ในงานศพพระสงฆ์ของชาวมอญที่มีประวัติสืบเนื่องมาจาก เหตุ ก ารณ์ ใ นพุ ท ธประวัติ เมื่อ ครั้ง ที่พ ระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ ปริ นิ พ พาน พระนางมั ล ลิ ก าผู ้ ท รงเลื่ อ มใสศรั ท ธาในพระบรมศาสดาเป็ น อย่ า งยิ่ ง ทรงโศกเศร้าโทมนัสเป็นที่สุดเมื่อทรงทราบการเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระบรมศาสดา พระนางมั ล ลิ ก าทรงกั น แสงและกล่ า วพรรณนาสรรเสริ ญ พระคุ ณ พระบรมศาสดา พร้ อ มกั บ ทรงกล่ า วพรรณนาถึ ง ความสู ญ เสี ย ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ข องชาวโลกที่ ต ้ อ งสู ญ เสี ย ที่ พึ่ ง อั น ประเสริ ฐ การพรรณนาการสู ญ เสี ย พระบรมศาสดาพระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ของ พระนางมัลลิกาครั้งนี้คนมอญเรียกว่า “เกี้ยะเนิ้ยะจยาจก์มัลลิกาเยี่ยมเฟ้ยะจยาจก์กรอย”


ปี่พาทย์มอญรำ�

145

(ซ้าย) ป้าภูมิ พลอยรัตน์ (ขวา) ป้าส้มหงิม ณ นคร สองพี่น้องแห่งบ้านมอญ บ้านเสากระโดง ต�ำบลขนอนหลวง อ�ำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ขับล�ำน�ำมอญร้องไห้ ในงานศพพระธรรมเมธาภรณ์ (สนิท สุภาจาโร) วัดจันทน์กะพ้อ จังหวัดปทุมธานี ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

แปลว่ า “พระนางมั ล ลิ ก ากั น แสงเมื่ อ พระบรมศาสดาเสด็ จ ดั บ ขั น ธปริ นิ พ พาน” คนมอญจึงถือว่าเป็นการได้ท�ำบุญถ้าได้มาขับล�ำน�ำมอญร้องไห้ในงานศพพระสงฆ์มอญ การขับล�ำน�ำมอญร้องไห้ในงานศพพระสงฆ์ มักจะท�ำในเวลาดึกสงัดระหว่างเวลา ๒๓.๐๐ ๒๔.๐๐ น. และเวลาประชุมเพลิง ค�ำขับล�ำน�ำมอญร้องไห้ นอกจากจะพรรณนาถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบรม ศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและความสูญเสียของชาวโลก เมื่อขับล�ำน�ำพระพุทธเจ้าเสด็จ ดับขันธปรินิพพานหรือค�ำร้องที่พรรณนาคุณความดีของผู้วายชนม์แล้ว ผู้ขับล�ำน�ำสามารถ จดจ� ำ หรื อ มี ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ พระธรรมค� ำ สอนของพระบรมศาสดาในเรื่ อ งของความตาย ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่จีรัง ความไม่มั่นคง ความแตกสลายของชีวิต ความ ไม่ใช่ตัวตนของบุคคล ไม่ควรยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเราดังนี้ เป็นต้น ผู้ขับล�ำน�ำมอญร้องไห้ สามารถพรรณนาถึงสัจธรรมนี้เป็นการแสดงมรณานุสติให้ผู้ที่รับฟังได้บุญกุศลในโอกาสนี้ รวมทั้งการพรรณนาคุณความดีของพระสงฆ์ผู้มรณภาพ ความโศกเศร้าของศิษย์ที่ต้อง สูญเสียครูอาจารย์ผู้มีพระคุณที่ศิษย์เคารพบูชาด้วย การขับล�ำน�ำมอญร้องไห้ในความเชื่อของคนมอญ ถือว่าเป็นจารีตหรือขนบประเพณี ที่ ดี ที่ลูกหลานหรือศิษย์ควรปฏิบัติเพื่อร�ำลึกถึงคุณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การขั บ ล� ำ น� ำ มอญร้องไห้จึงไม่มีการว่าจ้างหรือไหว้วานกัน นอกจากนั้น การขับล�ำน�ำมอญร้องไห้ ต้องการให้เกิดความร้สู กึ ร�ำลึกถึงผ้ทู ลี่ ว่ งลับไปอย่างแท้จริงต้องอย่ใู นบรรยากาศทีส่ งบ ไม่มีเสียงดนตรีมารบกวน ผู้ที่ไม่เข้าใจในคติความเชื่อที่มาของจารีตหรือประเพณี จึงได้ น�ำดนตรีและบทร้องมอญร้องไห้ที่เป็นการแสดงและเรียกว่า “เพลงมอญร้องไห้” น�ำมา ขับร้องในงานศพซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่ประเพณีที่ถูกต้อง


146

ปี่พาทย์มอญรำ�

การขับร้องที่สัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน การขับร้องของมอญที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ไม่มีดนตรีและ การร่ า ยร� ำ ประกอบการขั บ ร้ อ ง มี อ ยู ่ ใ นชุ ม ชนมอญทั่ ว ไป การขั บ ร้ อ งดั ง กล่ า วนี้ ได้ แ ก่ การขับร้องเพลงกล่อมเด็ก การขับร้องเพลงส�ำหรับเด็ก การอ่านหรือขับล�ำน�ำท�ำนองเสนาะ เป็นต้น การขับร้องเพลงกล่อมเด็กและการร้องเพลงส�ำหรับเด็ก เป็นการขับร้องที่สร้างความ สัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก หรือระหว่างเด็กต่อเด็ก ส่วนการอ่านหรือขับล�ำน�ำท�ำนองเสนาะของมอญ เป็นกิจกรรมส�ำคัญทีเ่ ป็นการถ่ายทอด สาระส�ำคัญของคุณธรรมจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระธรรมค�ำสอนของพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า การจัดงานต่างๆ ของผู้คนในชุมชนมอญ เช่น งานบวชนาค งานศพ จะมีผู้ที่มีความ สามารถในการอ่านหรือการเล่าเรื่องนิทานชาดก นิทานพื้นบ้านหรือค�ำสอนทางธรรมะต่างๆ ที่ เป็นค�ำกลอนด้วยท�ำนองน่าฟัง ผู้ที่มาร่วมงานจะได้รับความรู้และความเพลิดเพลินในท�ำนอง การอ่านหรือการกล่าวท�ำนองเสนาะของมอญ อันเป็นการขับล�ำน�ำที่สร้างความสัมพันธ์ของ ผู้คนในชุมชนในสังคม

การขับล�ำน�ำที่มีดนตรีบรรเลงประกอบการขับล�ำน�ำแต่ไม่มกี ารร่ายร�ำ การขับล�ำน�ำหรือขับร้องของมอญที่มีดนตรีบรรเลงประกอบการขับล�ำน�ำแต่ไม่มี การร่ายร�ำ ได้แก่ การขับร้องเพลงเจ้าขาว เพลงร�ำพาข้าวสาร เพลงอวยพรเทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น เพลงเจ้าขาว เพลงบอกบุญของมอญนนทบุรี ในฤดูน�้ำหลากใกล้เทศกาลทอดกฐิน ชาวมอญปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีจะเตรียม การท�ำบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่ากันอย่างคึกคัก ผู้คนในชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนุ่มๆ สาวๆ จะนั ด หมายพบกั น เพื่ อ ซั ก ซ้ อ มขั บ ร้ อ งเพลงบอกบุ ญ ที่ เ รี ย กว่ า เพลงเจ้ า ขาว เพื่ อ จะได้ ไปบอกบุญชาวบ้านในชุมชนอื่นๆ ได้ร่วมท�ำบุญด้วยกัน เพลงเจ้าขาวเป็นเพลงที่ชาวมอญบ้านเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ใช้ขับร้องบอกบุญเชิญชวนให้คนมาท�ำบุญร่วมกันในเทศกาลทอดกฐิน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ ระดับน�้ำในแม่น�้ำล�ำคลองเอ่อล้นตลิ่ง ชาวบ้านจะออกบอกบุญทางเรือด้วยการพายเรือ ส�ำปั้นจ้างหรือเรือมาดขนาดใหญ่ จุคนได้ประมาณ ๑๐ คน พายไปตามหมู่บ้านต่างๆ ริมคลองริมแม่น�้ำ พร้อมกับร้องเพลงบอกบุญ เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมท�ำบุญด้วยกัน ช่วงเวลาออกเรือไปบอกบุญ เริ่มแต่ยามเย็นตะวันเริ่มลับขอบฟ้าจนถึงเวลาเกือบเที่ยงคืน


ปี่พาทย์มอญรำ�

147

เมื่อใกล้เทศกาลทอดกฐินในเวลาเย็น ชาวบ้านทั้งชายและหญิงจะรวมกลุ่มกันลงเรือ ภายในเรือจะมีกระบุงส�ำหรับใส่ข้าวสาร ที่หัวเรือจะมีตะเกียงหรือโคมจุดไว้เพื่อให้แสงสว่าง กลางล� ำ เรื อ มี เ ครื่ อ งดนตรี เ พื่ อ ใช้ บ รรเลงประกอบเวลาขั บ ร้ อ งเพลงเจ้ า ขาว คนที่ อ ยู ่ ใ น เรื อ เจ้ า ขาวจะพายไปตามล� ำ น�้ ำ พร้ อ มกั บ ขั บ ร้ อ งเพลงเจ้ า ขาว เป็ น การเชิ ญ ชวนให้ ผู ้ ที่ มีบ้านเรือนอยู่ริมน�้ำได้รู้ว่า ขณะนี้มีเรือเจ้าขาวมาบอกบุญเชิญชวนให้ร่วมท�ำบุญด้วยกัน เมื่ อ ถึ ง บ้ า นใดจะจอดเรื อ พร้ อ มกั บ ร้ อ งเพลงเจ้ า ขาว เมื่ อ เจ้ า ของบ้ า นได้ ท� ำ บุ ญ จะร้ อ ง อนุโมทนาให้พร จากนั้นจะพายเรือไปบอกบุญบ้านอื่นๆ ต่อไป ผู้ท�ำบุญจะบริจาคข้าวสาร น�้ำตาล กล้วย อ้อย มะพร้าว หรือเงิน เป็นต้น ผู้มาบอกบุญจะรวบรวมสิ่งของและเงิน ที่มีผู้บริจาคนั้นรวมไปทอดกฐินหรือทอดผ้าป่าตามที่ก�ำหนดต่อไป การบอกบุญเช่นนี้เป็นประเพณีโบราณของชุมชนมอญที่ปฏิบัติกันมานาน ตั้งแต่ เมื่อครั้งที่อยู่ในเมืองมอญ แม้เมื่อเข้ามาอยู่ในประเทศไทยคนมอญยังคงรักษาประเพณี การบอกบุญเช่นนี้สืบต่อกันมานานกว่า ๒๐๐ ปี การบอกบุญในลักษณะนี้มอญเรียกว่า “ฮะเลี่ยงเฮ้า” แปลว่า การเรี่ยไรข้าวหรือร�ำพา ข้าวสาร ผู้บริจาคนอกจากจะน�ำข้าวสารมาท�ำบุญแล้ว ยังมีการบริจาคเงินและสิ่งของ อื่นๆ ด้วย เช่น มะพร้าว กล้วย อ้อย น�้ำตาล เป็นต้น สิ่งของที่ได้รับบริจาควัดจะน�ำไป ท�ำอาหารเลี้ยงพระเลี้ยงผู้คนที่มาร่วมท�ำบุญในวันทอดกฐิน

ชาวบ้านเกาะเกร็ด สาธิตการร้องเพลงเจ้าขาว ในงานแสดงแสงเสียงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่วัดปรมัยยิกาวาส เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี


148

ปี่พาทย์มอญรำ�

เป็นสิ่งที่แน่นอนว่าเพลงบอกบุญนี้แต่เดิมต้องร้องเป็นภาษามอญ เพราะคนมอญ ที่เข้ามาอยู่ในพระราชอาณาจักรไทยครั้งนั้นยังพูดภาษาไทยไม่ได้ และคงไปบอกบุญเฉพาะ ในชุมชนมอญด้วยกันเท่านั้น ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๗ - ๒๔๒๗ ทรงมีพระราชศรัทธา โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าวที่เกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระราชทานนามว่า “วัดปรมัยยิกาวาส” แทนชื่อวัดปากอ่าวด้วย ในระหว่าง ปฏิสงั ขรณ์วดั ได้เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศลพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ หลายครั้ง หม่อมเจ้าขาว* พระโอรสพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ได้เสด็จ มาที่เกาะเกร็ดนี้ด้วย หม่อมเจ้าขาวทรงเห็นประเพณีการบอกบุญของคนมอญเกาะเกร็ด เป็นประเพณีที่ดีงามจึงควรไปบอกบุญในชุมชนไทยด้วย พระองค์จึงทรงพระนิพนธ์เนื้อร้อง เป็นภาษาไทยให้คนมอญเกาะเกร็ด ได้ขับร้องกันโดยใช้ท�ำนองเพลงมอญ บทนิพนธ์ค�ำร้อง ที่หม่อมเจ้าขาวทรงแต่งนั้น จะขึ้นน�ำด้วยค�ำร้องที่ว่า “เจ้าขาว ราวละลอก” และตามด้วย ค�ำว่า “หอม (แต่) ดอก ดอกเจ้าเอ๋ย.................” เพลงบอกบุญนี้จึงเรียกกันในเวลาต่อมา ว่า เพลงเจ้าขาว และคงเรียกกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ คนมอญที่เกาะเกร็ดและที่ต�ำบลอื่นๆ ในอ�ำเภอปากเกร็ด เช่น ต�ำบลบางตะไนย์ ต� ำ บลคลองพระอุ ด ม จึ ง ได้ น� ำ เพลงเจ้ า ขาวไปเป็ น เพลงบอกบุ ญ กั น อย่ า งแพร่ ห ลายใน เวลาต่ อ มา การบอกบุ ญ ได้ ไ ปที่ ห มู ่ บ ้ า นไทยด้ ว ย เช่ น ที่ ค ลองอ้ อ ม บ้ า นบางรั ก น้ อ ย บ้านบางกระสอ บ้านไทรม้า อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี บ้านบางรักใหญ่ อ�ำเภอ บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ทางด้านเหนือได้บอกบุญไปถึงอ�ำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เพลงเจ้าขาวจึงมีเนื้อร้องเป็นภาษาไทย แต่ยังคงเป็นเพลงที่มีท�ำนองขับร้องเป็น ส�ำเนียงของเพลงมอญ เพลงเจ้าขาวมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ เป็นเพลงสั้นๆ มีเนื้อร้อง ที่ เ ป็ น ค� ำ กลอนง่ า ยๆ สั ม ผั ส กั น และมี ค วามหมายที่ ดี ผู ้ ร ้ อ งต้ อ งใช้ ป ฏิ ภ าณหาเนื้ อ ร้ อ ง มาขับร้องตามรูปแบบของค�ำกลอนที่หม่อมเจ้าขาวทรงนิพนธ์เป็นแบบไว้ ส่วนเพลงบอกบุญ ที่เป็นเพลงมอญแท้นั้น เนื้อร้องและท�ำนองเป็นเพลงทะแยมอญที่คนมอญนิยมขับร้องกัน อยู่มาแต่แรกแล้ว เนื่องจากการขับร้องบอกบุญนี้ใช้เวลานานหลายชั่วโมง บางครั้งผู้ขับร้อง ที่ มี ค วามสามารถขั บ ร้ อ งเพลงมอญอื่ น ๆ หรื อ เพลงไทยส� ำ เนี ย งมอญที่ นิ ย มขั บ ร้ อ งใน * หม่อมเจ้าขาว ทรงเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และทรงเป็น พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วชั รินทร์ พ.ศ. ๒๔๓๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าขาวเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์


ปี่พาทย์มอญรำ�

149

วงปี ่ พ าทย์ ห รื อ วงเครื่ อ งสายจะขั บ ร้ อ งเพลงดั ง กล่ า วนั้ น ด้ ว ย แต่ เ นื้ อ ร้ อ งแต่ ง ขึ้ น เอง เพื่อใช้ในการบอกบุญนี้โดยเฉพาะ เช่น ใช้ท�ำนองเพลงมอญดูดาวหรือเพลงราตรีประดับดาว สองชั้น เพลงมอญร�ำดาบ เพลงมอญอ้อยอิ่ง เป็นต้น เพลงบอกบุ ญ นี้ ค นมอญที่ มี ภู มิ ล� ำ เนาในท้ อ งถิ่ น ที่ อ� ำ เภอปากเกร็ ด ได้ ป ฏิ บั ติ เ ป็ น ประเพณี ม าช้ า นานแล้ ว ประเพณี นี้ มี เ ฉพาะในหมู ่ ช าวไทยเชื้ อ สายมอญเท่ า นั้ น ในหมู ่ คนไทยแม้อยู่ใกล้เคียงกันก็หามีประเพณีเช่นนี้ไม่ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบเป็นเครื่องดนตรีมอญซึ่งมี ซอ จะเข้ ขลุ่ย ฉิ่งและ กลอง (เปิงมาง) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นทะแยมอญ ภายหลังมีระนาดผสมด้วยเพื่อ เพิม่ ความไพเราะและเพิม่ ระดับเสียงของเพลงให้กงั วานก้องท้องน�ำ้ และสามารถได้ยนิ แต่ไกลๆ การร้องเพลงเจ้าขาวจะเริม่ ร้องมาบอกบุญ เมือ่ เจ้าบ้านได้บริจาคสิง่ ของร่วมท�ำบุญแล้ว จะร้องให้พรแก่ผู้บริจาคก่อนที่จะไปบอกบุญยังบ้านอื่นต่อไป การนิพนธ์ของพระองค์เจ้า วัชรีวงศ์นั้นเป็นแนวในการร้องเท่านั้น ผู้ร้องจะใช้ปฏิภาณแต่งเนื้อร้องขึ้นได้เองตามแนวที่ พระองค์ทรงวางไว้ให้ พ่ อ เพลงหรื อ แม่ เ พลงเป็ น ผู ้ ร ้ อ งน� ำ ขึ้ น ก่ อ น เมื่ อ จบแต่ ล ะบทลู ก คู ่ ทั้ ง หมดในเรื อ จะร้องรับพร้อมๆ กัน ด้วยการขึ้นต้นร้องรับด้วยค� ำว่า “เอ่ ล า เจ้ า เอย” แล้วร้องทวน ค�ำร้องของพ่อเพลงหรือแม่เพลงอีกครั้ง จากนั้นพ่อเพลงหรือแม่เพลงจะร้องขึ้นบทใหม่ และร้องเช่นนี้ตลอดไปพร้อมกับมีดนตรีบรรเลงคลอค�ำร้องนั้นตลอดเวลาทั้งขณะที่พ่อเพลง แม่เพลง และลูกคู่ร้องรับเช่นเดียวกับการบรรเลงดนตรีในการร้องทะแยมอญ เพลงเจ้าขาวจะร้องขึ้นต้นด้วยค�ำว่า “เจ้าขาว ราวละลอก หอม (แต่) ดอก ดอก เจ้าเอ๋ย....” ทุกครั้งไป ผู้ร้องจะคิดชื่อดอกไม้ใดๆ ก็ได้แล้วร้องต่อให้สัมผัสกันพร้อมกับ มีความหมายตามประสงค์ด้วย ตรงนี้เองที่ผู้ร้องจะต้องใช้ปฏิภาณคิดแต่งขึ้นเอง เมื่อร้องจบ บทลูกคู่จะรับไปร้องทวนอีกดังตัวอย่างนี้ ตัวอย่างเนื้อร้องเพลงเจ้าขาว พ่อเพลง, แม่เพลง....ร้องน�ำ... เจ้ า ขาว ราวละลอก หอม (แต่ ) ดอก ดอกเจ้ า เอ๋ ย จ�ำปี ขอเชิญแม่คุณท�ำบุญกฐินสามัคคี ลูกคู่...............ร้องรับ............ เอ่ลา เจ้าเอย เจ้าขาว ราวละลอก หอม (แต่) ดอก ดอกเจ้าเอ๋ย จ�ำปี ขอเชิญแม่คุณ ท�ำบุญกฐินสามัคคี เอ่ลา เจ้าเอย ร้องน�ำ.................................. เ จ้ า ขาว ราวละลอก หอม (แต่ ) ดอก ดอกเจ้ า เอ๋ ย มณฑาลูกมาบอกบุญ เชิญแม่คุณช่วยสร้างศาลา


150

ปี่พาทย์มอญรำ�

รับ....................................... เอ่ลา เจ้าเอย เจ้าขาว ราวละลอก หอม (แต่) ดอก ดอกเจ้าเอ๋ยมณฑา ลูกมาบอกบุญ เชิญแม่คุณช่วย สร้างศาลา เอ่ลา เจ้าเอย ร้องน�ำ................................. เจ้ า ขาว ราวละลอก หอม (แต่ ) ดอก ดอกเจ้ า เอ๋ ย ราชาวดี บุญแม่มากหลายลูกพายมาส่งถึงที่ รับ....................................... เอ่ลา เจ้าเอย เจ้าขาว ราวละลอก หอม (แต่) ดอก ดอกเจ้าเอ๋ย ราชาวดี บุญแม่มากหลายลูกพายมาส่ง ถึงที่ เอ่ลา เจ้าเอย ร้องน�ำ.................................. เ จ้ า ขาว ราวละลอก หอม (แต่ ) ดอก ดอกเจ้ า เอ๋ ย อัญชัน เชิญสร้างกุศลครั้งนี้ เพิ่มบารมีมหาทาน รับ....................................... เอ่ลา เจ้าเอย เจ้าขาว ราวละลอก หอม (แต่) ดอก ดอกเจ้ า เอ๋ ย อั ญ ชั น เชิ ญ สร้ า งกุ ศ ลครั้ ง นี้ เพิ่ ม บารมี มหาทาน เอ่ลา เจ้าเอย ร้องน�ำ................................. เจ้ า ขาว ราวละลอก หอม (แต่ ) ดอก ดอกเจ้ า เอ๋ ย กั ล ปพฤกษ์ บุ ญ กฐิ น นี้ ยิ่ ง ใหญ่ ล่ อ งลอยมาให้ ท ่ า น ในยามดึก รับ...................................... เอ่ลา เจ้าเอย เจ้าขาว ราวละลอก หอม (แต่) ดอก ดอกเจ้าเอ๋ยกัลปพฤกษ์ บุญกฐินนี้ยิ่งใหญ่ ล่องลอยมา ให้ท่านในยามดึก เอ่ลา เจ้าเอย ร้องน�ำ................................. เจ้ า ขาว ราวละลอก หอม (แต่ ) ดอก ดอกเจ้ า เอ๋ ย รสสุคนธ์ ขอให้ท่านมั่งมีเป็นเศรษฐีเมืองนนท์ รับ....................................... เอ่ลา เจ้าเอย เจ้าขาว ราวละลอก หอม (แต่) ดอก ดอกเจ้ า เอ๋ ย รสสุ ค นธ์ ขอให้ ท ่ า นมั่ ง มี เ ป็ น เศรษฐี เมืองนนท์ เอ่ลา เจ้าเอย ร้องน�ำ.................................. เ จ้ า ขาว ราวละลอก หอม (แต่ ) ดอก ดอกเจ้ า เอ๋ ย ชัยพฤกษ์ ผลบุญที่ท่านสร้าง ขอให้ท่านมั่งคั่งสมดัง ใจนึก รับ....................................... เอ่ลา เจ้าเอย เจ้าขาว ราวละลอก หอม (แต่) ดอก ดอกเจ้าเอ๋ย ชัยพฤกษ์ ผลบุญที่ท่านสร้างขอให้ท่าน มั่งคั่งสมดังใจนึก เอ่ลา เจ้าเอย


ปี่พาทย์มอญรำ�

151

พ่อเพลงแม่เพลงจะใช้ปฏิภาณร้อยกรองค�ำร้องเช่นนี้ตลอดเวลาที่ร้อง ส่วนเพลง ที่ใช้ภาษามอญเป็นเนื้อร้องนั้น จะเป็นเพลงมอญแท้ทั้งค�ำร้องและท�ำนอง พ่อเพลงแม่เพลงที่ใช้เพลงส�ำเนียงมอญอื่นๆ มาร้องโดยใช้เนื้อร้องแบบไทย เช่น ใช้ ท� ำ นองเพลงราตรี ป ระดั บ ดาวสองชั้ น เพลงมอญดู ด าว ดั ง กล่ า วแล้ ว นั้ น ต้ อ งยึ ด ความหมายของเพลงเป็นไปในท�ำนองเดียวกัน คือเชิญชวนท�ำบุญและอ�ำนวยพรให้แก่ ผู้ร่วมท�ำบุญ ในยามดึกของฤดูน�้ำหลากที่ระดับน�้ำเอ่อล้นตลิ่ง และในบรรยากาศสงบเงียบของ ท้ อ งน�้ ำ เมื่ อ ได้ ยิ น เสี ย งเพลงที่ ก ้ อ งท้ อ งน�้ ำ มาแต่ ไ กล ชาวบ้ า นที่ ไ ด้ ส ดั บ เสี ย งนี้ แ ล้ ว จะ กระวีกระวาดจัดเตรียมสิ่งของเงินทองเพื่อร่วมท�ำบุญอย่างศรัทธาและเคลิ้มไปกับเสียง กังวานของเพลงบอกบุญเช่นนี้เป็นเวลานาน ตั้งแต่เริ่มได้ยินเสียงร้องมาแต่ไกลเชิญท�ำบุญ จนกระทัง่ เรือบอกบุญมารับบริจาคและค่อยๆ หายลับคุง้ น�ำ้ ไปอย่างช้าๆ ท่ามกลางบรรยากาศ อันเงียบสงบในยามดึกและในความปีติสุขของผู้ได้ร่วมบริจาคทั้งหลาย ชุมชนมอญจังหวัดปทุมธานีมีประเพณีขับร้องเพลงบอกบุญเช่นกัน แต่เรียกเพลง บอกบุญว่า เพลงร�ำพาข้าวสาร

การขับร้องอวยพรและขอพรในเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลสงกรานต์มอญเป็นช่วงเวลาที่ชาวมอญได้ร่วมกันประกอบพิธีกรรมตาม ประเพณีมอญต่างๆ อย่างยิ่งใหญ่เป็นประจ�ำทุกปี และถือว่าเป็นการเฉลิมฉลองการขึ้น ศั ก ราชใหม่ ด ้ ว ย ในโอกาสที่ ส� ำ คั ญ นี้ นั ก ดนตรี เ ครื่ อ งสายมอญและนั ก ร้ อ งทะแยมอญ จะร่วมกันจัดพิธีขอพร และรดน�้ำผู้อาวุโสในชุมชนด้วยการขับร้องอวยพร มอญเรียกว่า แป้กโฟนดาจก์

นักดนตรีและนักร้องบ้านบางกระดี่ แขวงแสมด�ำ กรุงเทพมหานคร เดินไปขับร้องให้พร และขอพรตามบ้านต่างๆ ในชุมชน ในเทศกาลสงกรานต์ (พ.ศ. ๒๕๕๐)


152

ปี่พาทย์มอญรำ�

แป้กโฟนดาจก์จะจัดขึ้นในช่วงท้ายหลังจากท�ำบุญวันสงกรานต์ (วันท�ำบุญสงกรานต์ ของมอญ คือวันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายน บางชุมชนท�ำบุญ ๑๓ - ๑๘ เมษายน) เมื่อถึงวัน ขับร้องอวยพร คณะนักดนตรีเครื่องสายมอญและนักร้องทะแยมอญจะเดินไปขับร้องให้พร ในโอกาสขึ้ น ศั ก ราชใหม่ ต ามบ้ า นต่ า งๆ ในชุ ม ชน เมื่ อ คณะนั ก ร้ อ ง นั ก ดนตรี ไ ปที่ บ ้ า น เจ้าของบ้านจะให้การต้อนรับ มีอาหาร น�้ำดื่มมารับรอง ผู้ขับร้องและนักดนตรีจะร่วมกัน ขับร้องอวยพรเจ้าของบ้าน และรดน�้ำขอพรจากผู้อาวุโสในบ้านนั้นด้วย เพลงขับร้องในโอกาสนี้ เป็นเพลงทะแยมอญที่กล่าวอัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในชุมชนมาอวยชัยให้พรผู้อยู่ในบ้านนั้นประสบแต่ความสุขความเจริญ อย่าให้มีทุกข์โศกโรคภัยเบียดเบียน มีอายุมั่นขวัญยืนตลอดไป ถ้ามีนักร้องชายและหญิง หรือขับร้องมากกว่าหนึ่งคน การขับร้องจะไม่เป็นการขับร้องโต้ตอบกันแบบเพลงทะแยมอญ แต่จะเป็นการขับร้องทีละคนให้พรต่อเนื่องกันไป

การขับล�ำน�ำที่มีดนตรีบรรเลงและมีการร่ายร�ำประกอบ การขับล�ำน�ำหรือขับร้องของมอญทีม่ ดี นตรีบรรเลงและมีการร่ายร�ำพร้อมกับการขับร้อง เพลงนั้น ในปัจจุบันนี้คงมีการเล่นเพลงของมอญที่มีมาแต่โบราณ ได้แก่ ทะแยมอญ และ การขับร้องเพลงประกอบพิธอี ญ ั เชิญพระส่สู รวงสวรรค์ และการขับร้องเพลงรับพระส่ทู พิ ยวิมาน บนสรวงสวรรค์

ทะแยมอญ การร้องร�ำท�ำเพลงของมอญ ทะแย เป็นค�ำไทยมาจากภาษามอญที่เรียกการขับร้องเพลง ภาษามอญเรียกว่า ทะเย่ะห์ แปลว่า การขับร้อง หรือ การร้องเพลง เมื่อเป็นการขับร้องของมอญ จึงเรียกว่า ทะแยมอญ หรือ ทะเย่ะห์โม่น ทะแยมอญ เป็นการขับร้องเพลงปฏิพากย์ของมอญที่มีการบรรเลงเครื่องสายมอญ คลอไปกับการขับร้อง พร้อมกับการร่ายร�ำของพ่อเพลงแม่เพลงขณะที่ขับร้องเพลงด้วย ทะแยมอญจึงเป็นการรวมศิลปะของการขับร้อง การร่ายร�ำและการท�ำเพลงของวงเครือ่ งสายมอญ มาเล่นพร้อมกัน ค�ำเรียกในภาษามอญ ค�ำว่า ทะเย่ะห์ ซึ่งเป็นค�ำกิริยา แปลว่า การขับร้อง มักใช้ เป็นทางการในการเขียน หรือเป็นภาษาหนังสือ แต่ชาวบ้านมอญมักเรียกทะแยมอญว่า แกว้กโม่น (แกว้ก แปลว่า เพลง โม่น แปลว่า มอญ แกว้กโม่น แปลว่า เพลงมอญ) หรือ เมื่อมีการแสดงเพลงมอญ มอญเรียก ปัวแกว้ก (ปัว แปลว่า การแสดงหรือมหรสพ แกว้ก แปลว่า เพลง ปัวแกว้ก แปลว่า การเล่นเพลงหรือการแสดงมหรสพที่มีการขับร้องเพลง)


ปี่พาทย์มอญรำ�

153

ทะแยมอญเป็นการเล่นหรือการแสดงที่มีพื้นฐานมาจากความประสงค์ที่จะสร้าง บรรยากาศสันทนาการและสร้างระบบคุณธรรมและจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งค�ำสั่งสอน ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีของมอญด้วยการใช้ ทะแยมอญเป็นสื่อในการน�ำเสนอหลักค�ำสอนของพุทธศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีมอญ สู่ผู้ชมการแสดงทะแยมอญ พร้อมกับได้ให้ความรื่นเริงบันเทิงใจควบคู่กับการได้ปัญญา ความรู้ด้วย ทะแยมอญเป็ น การเล่ น เพลงพื้ น บ้ า นของมอญที่ มี ม าแต่ โ บราณ ตั้ ง แต่ เ มื่ อ ครั้ ง คนมอญยั ง มี ป ระเทศมอญ เมื่ อ คนมอญอพยพหลบภั ย สงครามจากการเข้ า ยึ ด ครอง แผ่นดินมอญจากการรุกรานของพม่า คนมอญที่อพยพหลบภัยมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ในพระราชอาณาจักรไทยได้น�ำการเล่นทะแยมอญเข้ามาในประเทศไทยด้วย การแสดง ทะแยมอญได้รับการตอบรับจากสังคมไทยด้วยดี นับเป็นเวลานานกว่าสามร้อยปีมาแล้ว ทะแยมอญจึ งมี โ อกาสได้ แ สดงในพระราชพิ ธี ที่ส� ำคัญของไทยมาแต่เ มื่อแรกที่ค นมอญ เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

ทะแยมอญร่วมแสดงในพระราชพิธีสมโภชพระแก้วมรกตสมัยธนบุรี หลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏตามหมายรับสั่งของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์เสด็จขึ้นไปอัญเชิญ พระแก้วมรกต จากท่าเจ้าสนุก จังหวัดสระบุรี และอัญเชิญมาฉลองสมโภชที่พระต�ำหนัก บางธรณี จังหวัดนนทบุรี และที่กรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๓ โปรดเกล้าฯ ให้มีทะแยมอญ ร่วมแสดงในการฉลองสมโภชพระแก้วมรกต ดังนี้ “.....ในระยะที่ว่างนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิณพาทย์ไทย พิณพาทย์รามัญ และมโหรีไทย มโหรีแขก ฝรั่ง มโหรีจีน ญวน เขมร ผลัดเปลี่ยนกันสมโภช ๒ เดือน กับ ๑๒ วัน .....พระราชทานเบี้ยเลี้ยงผู้ที่มาเล่นนั้น ..... พระยารามัญวงศ์ มโหรีมอญคนเพลง ชาย ๒ หญิง ๔ พิณพาทย์ ๙ ..... หมื่นเสนาะภูบาล .....พิณพาทย์ไทย ๕ รามัญ .....” จากหมายรับสั่งนี้ได้กล่าวถึงการแสดงดนตรีของมอญ ๒ ประเภท คือ พิณพาทย์ รามัญและมโหรีมอญ ส�ำหรับพิณพาทย์รามัญ คือ ปี่พาทย์มอญ ส่วนมโหรีมอญที่มีคนเพลง เป็ น นั ก ร้ อ งชาย ๒ หญิ ง ๔ นั้ น หมายถึ ง การแสดงทะแยมอญ เพราะมี ก ารกล่ า วถึ ง วงดนตรีมอญที่เรียกว่า มโหรีมอญ และมีนักร้องชายหญิงด้วย การแสดงทะแยมอญได้เป็นมหรสพที่อยู่ในพระราชพิธีของไทยมานานกว่าสองร้อยปี มาแล้ว และอยู่ในสังคมไทยในระดับชาวบ้านมานานแล้วเช่นกัน ดังปรากฏในวรรณคดีไทย


154

ปี่พาทย์มอญรำ�

เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนท�ำขวัญพลายงามที่มีการน�ำทะแยมอญมาร้องรับขวัญพลายงาม ที่ว่า แล้วพวกมอญซ้อนซอเสียงอ้อแอ้ ออระน่ายพลายงามพ่อทรามเชย ให้อยู่ดีกินดีมีเมียสาว มั่วบามาขวัญจงบันเทิง

ร้องทะแยย่องกะเหนาะย่ายเตาะเหย ขวัญเอ๋ยกกกะเรียง เกรียงเกลิง เยี่ยงกะราวกนตะละเลิงเคลิ่ง จะเปิงยีอิกะปิปอน

ร้องรำ�ทำ�เพลง องค์ประกอบของทะแยมอญ องค์ประกอบที่ส�ำคัญของทะแยมอญ เป็นการรวมศิลปะของการขับร้อง การร่ายร�ำ และการบรรเลงดนตรีประกอบการขับร้อง ทะแยมอญจึงเป็นการรวมศิลปะทั้งสาม คือ ศิลปะในการขับร้อง ศิลปะการร่ายร�ำ และศิลปะการบรรเลงดนตรี แต่ความส�ำคัญของ ศิลปะทางด้านการขับร้องถือว่ามีความส�ำคัญมากที่สุด การบรรเลงดนตรีประกอบการขับร้อง มีความส�ำคัญรองลงมา ส่วนการร่ายร�ำมีความส�ำคัญในการเสริมให้การขับร้องมีชีวิตชีวา ยิ่งขึ้น กล่าวอีกนัยที่ว่าทะแยมอญมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ ดนตรี ภาษา และท่าทาง แต่เมื่อท่าทาง (ท่าร�ำ) ไม่ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญ คงมีเรื่องของภาษาคือ ค�ำร้อง และดนตรีในลักษณะของการเล่นเพลง หรือเพลงพื้นบ้านของมอญที่มีการขับร้องโต้ตอบ และประคารมกั น ด้ ว ยท่ ว งท� ำ นองของภาษาที่ เ ป็ น ค� ำ กลอนเป็ น ท� ำ นองร้ อ งคลอไปกั บ การบรรเลงดนตรี

บทร้องเพลงทะแยมอญ เป็นคำ�กลอนที่มีระดับเสียง ทำ�นองและคำ�สัมผัส คล้องจองตามแบบของฉันทลักษณ์มอญ การขับร้องเพลงทะแยมอญ ค�ำร้องเป็นค�ำกลอน เมื่อเปล่งค�ำร้องเป็นเสียงร้องจะมี ระดับหรือจังหวะ และค�ำหนักเบาครุลหุของเสียงร่วมกับลักษณะค�ำคล้องจองหรือค�ำสัมผัสด้วย จึงท�ำให้ค�ำร้องของทะแยมอญมีความไพเราะ ค�ำกลอนของมอญมีหลักการประพันธ์เป็นแบบแผนของฉันทลักษณ์มอญ มีหลาย ประเภท ค� ำ กลอนที่ นิ ย มน� ำ มาเป็ น บทขั บ ร้ อ งเพลงทะแยมอญเป็ น ค� ำ กลอน ที่ เ รี ย กว่ า กลอนสี่ มอญเรียกว่า เวียะเกิณ เป็นค�ำกลอนทีเ่ น้นการสัมผัสนอกและสัมผัสในเช่นเดียวกับ กลอนสุภาพหรือกลอนแปดของไทย กลอนสี่เป็นค�ำกลอนที่นักประพันธ์มอญนิยมแต่งกัน มากที่สุด และเป็นบทกลอนที่น�ำมาเป็นแบบในการขับร้องเพลงทะแยมอญด้วย


ปี่พาทย์มอญรำ�

155

คุณลักษณะที่ดีของการขับร้องเพลงทะแยมอญ การขับร้องเพลงทะแยมอญที่ดีนั้น ผู้ขับร้องต้องค�ำนึงถึงหลักการขับร้องเพลงที่ดีและ ถูกต้อง ๔ ประการ คือ เสียง จังหวะ ท�ำนองและถ้อยค�ำ หลักการขับร้องเพลงดังกล่าวนี้ ครูอาจารย์ทางดนตรีของมอญได้ยึดถือปฏิบัติและฝึกฝนกันมาอย่างต่อเนื่องจริงจัง เพลง ทะแยมอญจึงมีผู้ขับร้องได้อย่างดีและมีอยู่สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักของการขับร้องเพลงของมอญ ๔ อย่างนี้ ตรงกับหลักการขับร้องเพลงที่อาจารย์ มนตรี ตราโมท (๒๕๕๒, น.๑๘๑ - ๑๘๓) ปรมาจารย์ดนตรี ศิลปินแห่งชาติได้กล่าวถึง หลักการขับร้องเพลงที่ดี ๔ ประการ ดังนี้ “.....เสียง ผู้ที่จะร้องเพลงได้ดีจะต้องมีเสียงแจ่มใสไม่แหบเครือ มีเสียงกังวานไพเราะ มีเขตเสียงกว้างขวาง หมายถึง จะร้องเสียงสูงก็ขึ้นสูงได้ไม่แหบหรือสั่นเครือ จะร้องเสียงต�่ำ ก็ลงต�่ำได้มากไม่อ้อแอ้ เสียงดังว่ามานี้ธรรมชาติเป็นผู้สร้างสรรค์มาให้แต่ละคนเท่านั้น แต่ การฝึ ก ฝนก็ ช ่ ว ยเพิ่ ม เติ ม ให้ สิ่ ง ที่ เ ป็ น ธรรมชาติ ดีขึ้นอีกไม่น้อยเหมือ นกัน..... เสียงที่ร ้อ ง จะต้องชัดเจน สูงต�่ำตรงกับเสียงดนตรีที่ต้องการ ทุกๆ เสียงจะร้องเพลงนานเพียงไร ก็รักษา ระดับเสียงนั้นไว้โดยไม่ลดต�่ำลงหรือเพี้ยนสูงขึ้น มีก�ำลังเสียงสม�่ำเสมอ..... จังหวะ จะต้องรู้ว่าเพลงใดต้องการก�ำลัง ความช้าเร็วของจังหวะเพียงใด เพราะ เพลงบางเพลงผู้แต่งได้ประดิษฐ์การร้องไว้ส�ำหรับร้องหรือบรรเลงช้าๆ ก็มี บางเพลงแต่งไว้ ส�ำหรับจังหวะเร็วก็มีและบางเพลงก็ต้องการจังหวะปานกลางก็มี การที่จะด�ำเนินจังหวะช้า เพียงไรจึงจะเหมาะสมกับท�ำนองเพลงนี้แหละเป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก และเมื่อได้ร้องด�ำเนินก�ำลัง จังหวะไปถูกต้องแล้ว ยังจะต้องสามารถรักษาจังหวะนั้นไว้ให้คงที่โดยสม�่ำเสมอ ไม่ถอยหลัง ให้ ช ้ า ลงหรื อ รุ ก ให้ เ ร็ ว ขึ้ น นอกจากท� ำ นองเพลงจะต้ อ งการเช่ น นั้ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ ของการ ร้องเพลงไทยอีกอย่างหนึ่งก็คือต้องไม่ให้คร่อมจังหวะ ที่ว่าคร่อมจังหวะนี้หมายถึงจังหวะ หน้าทับ (จังหวะของเครื่องหนังตีประกอบจังหวะซึ่งเคยกล่าวมาแล้ว)..... ท�ำนอง ต้องรู้จักด�ำเนินท�ำนองให้สละสลวยทั้งที่จะขึ้นจะลง ไม่ว่าจะเป็นตอนเอื้อน มีเสียงเปล่าหรือมีถ้อยค�ำ ต้องให้อ่อนช้อยไม่หลบขึ้นหลบลงวูบวาบ ทั้งต้องรักษาท�ำนอง เนือ้ เพลงไว้ให้ครบถ้วนถูกต้องไม่ขาดไม่เกิน ความดีของการร้องเพลงอยูท่ ที่ ำ� นองนีเ้ ป็นส่วนมาก เพราะการร้องเพลงไทยนั้นลีลาและเม็ดพรายที่จะสอดใส่ให้เกิดความไพเราะ ผู้ร้องมีสิทธิ์ ที่จะสอดแทรกได้ตามความพอใจ ถ้าใส่เม็ดพรายเสียจนระยิบระยับดาษดื่นไปก็ไม่งดงาม แต่ถ้าปล่อยให้ดาษไปไม่มีเหลี่ยมคูเสียเลยก็รู้สึกทื่อเกินไป ความรู้จักพอดีนี้เป็นของส�ำคัญ อย่างยิ่ง.....


156

ปี่พาทย์มอญรำ�

ถ้อยค�ำ ย่อมส�ำคัญอยู่ที่ความชัดเจน บทร้องซึ่งเป็นค�ำประพันธ์นั้นย่อมมีใจความ อยูต่ ลอด เมือ่ ร้องออกมาแล้วก็จะต้องให้ผฟู้ งั เข้าใจ เนือ้ ความนัน้ ออกว่ามีถอ้ ยค�ำว่ากระไร..... สิ่งส�ำคัญของการร้องในเรื่องถ้อยค�ำก็คือ ความชัดเจนทุกๆ พยางค์ แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง ในเมื่อร้องเพลงที่เป็นส�ำเนียงต่างภาษา หรือเพลงที่ต้องการท�ำนองมากกว่าถ้อยค�ำจึงจะ ยอมให้ถ้อยค�ำเพี้ยนไปจากค�ำพูดสามัญได้บ้าง มิฉะนั้นจะหมดความไพเราะของเพลง ไปเหมือนกัน อีกประการหนึ่งคือการรักษาบทกวีไว้ให้ถูกลักษณะ จะเป็นกาพย์ เป็นกลอน เป็นโคลง เป็นฉันท์ ก็ต้องร้องแบ่งวรรคตอนให้เป็นไปตามบทกวีนั้น.....”

ทำ�นองเพลงทะแยมอญ การแสดงทะแยมอญแต่เดิมส่วนมากแสดงในเวลากลางคืน เริ่มแสดงตั้งแต่เวลา ประมาณ ๒๑.๐๐ น. จนถึงเวลาเกือบรุ่งสว่าง เพลงที่ใช้บรรเลงจึงมีหลายท�ำนอง มีชื่อเป็น ภาษามอญ ดังนี้ ๑. เจิ้กมั่ว หรือ เซโน้ก ๓. ซากกราย (กวางเดิน) ๕. หะเกงัว (เที่ยงคืน) ๗. ปล้ายจาว (ใกล้รุ่ง หนุ่มลากลับ)

๒. โป้ดเซ่ หรือ เซโด้ต ๔. อะโล่นอะเซีย (ถึงเวลากระซิบ) ๖. แก้มเจิน (ช้างเดิน)

การขั บ ร้ อ งเพลงทะแยมอญจะเริ่ ม จาก ๒ เพลงแรก คื อ เจิ้ ก มั่ ว และโป้ ด เซ่ ทัง้ ๒ เพลงนีจ้ ะเป็นเพลงทีน่ ำ� ไปใช้รอ้ งในช่วงตอนอืน่ ๆ ได้ดว้ ย จากนัน้ จึงร้องเพลงซากกราย และอะโล่นอะเซีย จนถึงเวลาประมาณเที่ยงคืนจึงเริ่มเพลงหะเกงัว และตามด้วยเพลง แก้มเจิน และปล้ายจาว ตามล�ำดับ ผู้ที่ฟังเพลงทะแยมอญและเข้าใจเพลงทะแยมอญ เมื่อได้ยินท�ำนองเพลงจะรู้ได้ทันทีว่าการร้องทะแยมอญได้ด�ำเนินถึงขั้นตอนใดและถึงเวลา เท่าใดแล้ว เพลงเจิ้กมั่วและโป้ดเซ่ เป็นเพลงที่พ่อเพลงแม่เพลงร้องโต้ตอบกันในช่วงเวลาเริ่มต้น เพลงดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นท�ำนองของเพลงที่นักดนตรีบรรเลงตามท�ำนองของเพลง ส่วนพ่อเพลงแม่เพลงต้องขับร้องด้วยการแต่งค�ำร้องหรือเนือ้ ร้องด้วยปฏิภาณของตนเอง และ ร้องคลอไปตามท�ำนองเพลงที่นักดนตรีบรรเลงให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน ปัจจุบันท�ำนองเพลงทะแยมอญมีการขับร้องไม่ครบทุกเพลงดังเช่นแต่ก่อน เนื่องจาก เวลาในการขับร้องมีน้อยลงและผู้ที่ขับร้องหรือบรรเลงดนตรีจ�ำเพลงเก่าๆ ไม่ได้ ไม่มีการ บันทึกไว้ ปัจจุบันจึงมีเพียงเพลงเจิ้กมั่วและเพลงโป้ดเซ่เท่านั้นที่ยังคงมีผู้ร้องผู้เล่นได้อยู่ จึงเป็นที่น่าเสียดายที่เพลงอีกจ�ำนวนหนึ่งก�ำลังจะสูญหายไปจากวงการเพลงทะแยมอญ


ปี่พาทย์มอญรำ�

157

แบบแผนของเพลงทะแยมอญ เพลงทะแยมอญที่พ่อเพลงแม่เพลงขับร้องโต้ตอบกันมีแบบแผนที่ถือปฏิบัติในการ ขับร้องกันในลักษณะของเพลงปฏิพากย์หรือร้องกลอนสด เพลงเจิก้ มัว่ หรือ เซโน้ก เป็นเพลงทีฝ่ า่ ยพ่อเพลงร้องเพือ่ ตัง้ กระทูถ้ ามให้ฝา่ ยแม่เพลง ฮะอาว (แก้กระทู้ถาม) แม่เพลงฝ่ายหญิงที่ต้องตอบกระทู้หรือตอบค�ำถามของพ่อเพลงเรียก เป็นภาษามอญ ว่า หนิเปรี่ย ฮะอาว (แม่เพลงผู้ตอบกระทู้) เพลงโป้ดเซ่ หรือ เซโด้ต เป็นเพลงที่แม่เพลงตั้งกระทู้ถามพ่อเพลง ให้พ่อเพลง ตอบกระทู้ มอญเรียกว่า ฮะอาว พ่อเพลงฝ่ายที่ต้องตอบกระทู้ของฝ่ายหญิงเรียกเป็นภาษา มอญว่า หนิเกราะห์ฮะอาว (พ่อเพลง ผู้ตอบกระทู้) ส่วนเพลงอื่นๆ คือเพลงซากกราย อะโล่นอะเซีย หะเกงัว แก้มเจิน และปล้ายจาว จะขับร้องตามท�ำนองเพลงนั้นๆ ด้วยเนื้อร้องที่ประพันธ์ขึ้นด้วยปฏิภาณในรูปแบบของเพลง ปฏิพากย์ ส่วนบทร้องขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะน�ำเสนอแก่ผู้ชมว่าเป็นเรื่องอะไร ก็แต่งบทร้อง ตามเรื่องที่จะน�ำเสนอนั้น เช่น บทเกี้ยวของหนุ่มสาว บทอานิสงส์การท�ำบุญ หรือเล่าเรื่อง ต่างๆ เช่น เรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นต้น

สาระของบทร้องในโอกาสที่แสดง เนื้อหาสาระของบทร้องทะแยมอญส่วนใหญ่ มีสาระดังนี้ ๑. สาระที่เกี่ยวกับโอกาสที่แสดง ซึ่งได้แก่เรื่อง เช่น - พุทธประวัติ - เวสสันดรชาดก - อานิสงส์การบวช - อานิสงส์การท�ำบุญเทศกาลสงกรานต์ - อานิสงส์การทอดกฐิน - อานิสงส์การฌาปนกิจศพพระ - อานิสงส์การจัดงานศพบิดามารดา - อานิสงส์การสร้างโบสถ์ - อานิสงส์การสร้างศาลา ฯลฯ สาระของบทร้ อ งทะแยมอญจึ ง ขึ้ น อยู ่ กั บ โอกาสที่ แ สดง เช่ น ถ้ า ไปแสดงในงาน บวชนาคเนื้อร้องจะกล่าวถึงอานิสงส์ของการบวช หรือไปแสดงในงานฉลองกฐิน เนื้อร้อง จะกล่าวถึงอานิสงส์การท�ำบุญกฐิน เป็นต้น ๒. บทร้องที่เป็นการเล่าเรื่อง เช่น ขับร้องเรื่องพระเวสสันดรชาดก โดยเน้นตอนที่ เป็นหลัก เช่น ตอนพระเวสสันดรจะเสด็จไปอยู่ป่าหิมพานต์ หรือ ตอนชูชกขอสองกุมาร ตอนนางมัทรีตามหาสองกุมาร เป็นต้น


158

ปี่พาทย์มอญรำ�

ขับร้องเล่าเรื่องวรรณคดี เช่น เรื่องขุนช้างขุนแผน มอญเรียกว่า คุณเพนคุณชาน ขับร้องเล่าเรื่องประวัติศาสตร์มอญ เช่น ประวัติเมืองหงสาวดี ประวัติพระเกศธาตุจยาจก์ เลี้ยะเกิ้งของมอญ (พระเกศธาตุชเวดากอง) เป็นต้น ๓. บทร้องการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว บทร้องส่วนนี้มักเป็นการขับร้องที่เป็นการ ประคารมระหว่างนักร้องฝ่ายชายและนักร้องฝ่ายหญิง ทั้งสองฝ่ายจะขับร้องโต้ตอบกันด้วย บทเพลงที่มีคารมคมคาย กระแนะกระแหนกันอย่างเต็มที่ แต่ไม่ใช้ค�ำพูดหยาบโลน ผู้ชมจะมี ส่วนร่วมด้วยอย่างเต็มที่

การร้อง “สร้อย” เอกลักษณ์ของเพลงทะแยมอญ ค�ำร้องทะแยมอญนอกจากจะขับร้องเนื้อร้องตามบทเพลงแล้ว เมื่อร้องจบตอนท้าย ของบทแรก นักร้องไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงจะร้องค�ำร้องที่เรียกว่า สร้อยเพลง ต่อท้าย ของบทแรกนั้น ลักษณะการร้องสร้อยเพลงเช่นนี้ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของเพลงทะแยมอญ พ่อเพลงจะร้องว่า หมินะ หมิเอย หรือ เต่ะนะ เต่ะเอย แปลว่า เธอนะ เธอเอ๋ย หรือ น้องนะ น้องเอ๋ย แม่เพลงจะร้องว่า น่ายเอย น่ายนะ หรือ เกาเอย เกานะ แปลว่า นายเอ๋ย นายนะ หรือ พี่เอ๋ย พี่นะ ส่วน ค�ำว่า “เอย” ที่อยู่ท้ายค�ำร้องบทสุดท้ายของฝ่ายร้องแก้กระทู้ถาม (ฮะอาว) นั้น เป็นการแสดงว่าจบตอน

เพลงทะแยมอญที่รับอิทธิพลจากเพลงไทย ปัจจุบันเพลงทะแยมอญได้น�ำเพลงไทยไปประยุกต์ เช่น ๑. น�ำเพลงไทยส�ำเนียงมอญบางเพลงมาประยุกต์ ด้วยการร้องส่วนที่เรียกว่า “ดอก” เหมือนเช่นการร้องเพลงพระอาทิตย์ชิงดวงของไทยด้วยการร้องเป็นภาษาไทยปนมอญ เช่น ดอกสลิด ดอกจ�ำปี เป็นต้น ๒. น�ำท�ำนองเพลงลูกทุ่งไทย ไปร้องด้วยเนื้อร้องเป็นภาษามอญ

รูปแบบและลีลาการขับร้อง การขับร้องทะแยมอญ มีลักษณะเป็นการขับร้องไปพร้อมกันกับการบรรเลงดนตรี คลอไปกับท�ำนองของดนตรี ยืดท�ำนองเพลงจากการบรรเลงของเครื่องดนตรี วงเครื่องสาย


ปี่พาทย์มอญรำ�

159

มอญที่บรรเลงท�ำนองเป็นหลัก และบรรเลงไปเรื่อยๆ พ่อเพลงแม่เพลงจะขับร้องสอดแทรก เป็นระยะๆ ให้สอดคล้องกับจังหวะและท�ำนองของดนตรี เสียงร้องกับเสียงดนตรีต้องอยู่ บันไดเสียงเดียวกันและเสียงตกเดียวกัน

รูปแบบของบทร้อง บทร้องทะแยมอญเป็นค�ำกลอนของมอญที่เรียกเป็นภาษามอญว่า เวี้ยะเกิ้น ซึ่ง เป็นฉันทลักษณ์ ค�ำกลอนที่มีสัมผัสโดยปกติ ๑ ค�ำกลอนจะประกอบด้วยถ้อยค�ำ ๔ บรรทัด แต่เนื่องจากค�ำร้องทะแยมอญเป็นเพลงปฏิพากย์ จึงมีการรวมค�ำหรือเพิ่มค�ำบ้างเพื่อให้การ ขับร้องด�ำเนินไปได้กับจังหวะและท�ำนองของเพลง ผู้ขับร้องจะแบ่งเป็นฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ทั้งสองฝ่ายจะร้องโต้ตอบกันด้วยกลอนสด ตามแบบของเพลงปฏิพากย์ พ่อเพลงแม่เพลงทีม่ คี วามช�ำนาญนอกจากจะสามารถขับร้องถูกต้องตามบทร้องกลอนที่ ไพเราะ มีการเล่นค�ำ การเอื้อน การเพิ่มเติมพยางค์ให้เกิดค�ำร้องที่สละสลวยให้เข้ากับจังหวะ ของดนตรีได้อย่างดี และเพิ่มความมีชีวิตชีวาในบทขับร้องอย่างวิเศษยิ่ง

พ่อเพลงแม่เพลงผู้มีบทบาทสำ�คัญในการแสดงทะแยมอญ เนื่องจากการขับร้องเป็นหัวใจส�ำคัญส�ำหรับการแสดงทะแยมอญ พ่อเพลงและ แม่เพลงจึงมีบทบาทส�ำคัญทีจ่ ะท�ำให้การแสดงทะแยมอญนัน้ ประสบผลและเป็นทีช่ นื่ ชอบของ ผู้ชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีปฏิภาณร้องโต้ตอบกันแบบเพลงปฏิพากย์ด้วยชั้นเชิงและ ไหวพริบทางภาษาที่มีเนื้อหาสาระความลึกซึ้ง ความคมคายและความไพเราะทางภาษา พ่อเพลง มอญเรียก สะมาแกวกนิ้กระ แม่เพลง มอญเรียก สะมาแกวกนิ้เปร่ย

พ่อเพลงแม่เพลงวงทะแยมอญ คณะหงส์ฟ้ารามัญ บ้านบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๕๕๑)


160

ปี่พาทย์มอญรำ�

พ่อเพลงและแม่เพลงต้องมีคุณลักษณะที่ส�ำคัญ เช่น ๑. มีบุคลิก และน�้ำเสียงเหมาะสมดี ๒. มีปฏิภาณไหวพริบในการใช้ภาษามอญได้ดีทั้งการขับร้องและการร้องโต้ตอบ ๓. มีความจ�ำดี สามารถจดจ�ำบทร้องและเนื้อหาสาระส�ำคัญของเรื่องที่จะถ่ายทอด เป็นค�ำร้อง

โอกาสในการแสดงทะแยมอญ การแสดงทะแยมอญจั ด ให้ มี ขึ้ น ได้ ๔ ลั ก ษณะ คื อ ๑) การแสดงเป็ น มหรสพ ๒) การแสดงในการประกอบพิธีกรรม ๓) กิจกรรมเพื่อสันทนาการ และ ๔) กิจกรรม ส�ำหรับการท่องเที่ยว ๑. การแสดงเป็นมหรสพที่จัดขึ้นในโอกาสต่างๆ เช่น แสดงในงานฉลองกฐิน งานบวชนาค งานท� ำ บุ ญ ขึ้ น บ้ า นใหม่ งานท� ำ บุ ญ ในโอกาสต่ า งๆ งานศพ งานท� ำ บุ ญ เทศน์มหาชาติ เป็นต้น การแสดงในลักษณะนี้ส่วนใหญ่เป็นการแสดงในเวลากลางคืน เป็นมหรสพที่จัดขึ้นในโอกาสจัดงานนั้น ๆ แต่เดิมการแสดงทะแยมอญในโอกาสดังกล่าวนี้จะแสดงเกือบตลอดคืน กล่าวคือ เริ่ ม แสดงตั้ ง แต่ ป ระมาณ ๒๑.๐๐ น. จนถึ ง เวลาใกล้ รุ ่ ง ปั จ จุ บั น ใช้ เ วลาแสดงน้ อ ยลง เริ่มแสดง เวลาประมาณ ๒๐.๓๐ น. จนถึงเวลาประมาณ ๒๔.๐๐ น.

ทะแยมอญในงานเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมมอญ จัดโดยสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ และวัดปรมัยยิกาวาส วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ในสมัยพระครูปัญญารัตน์ (มาลัย ปุปผทาโม) เป็นเจ้าอาวาส


ปี่พาทย์มอญรำ�

การบรรเลงดนตรีประกอบการขับร้องทะแยมอญ

พ่อเพลงแม่เพลงวงทะแยมอญ คณะหงส์ฟ้ารามัญ บ้านบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร

161


162

ปี่พาทย์มอญรำ�

๒. การแสดงในการประกอบพิ ธี ก รรม การประกอบพิ ธี ก รรมของชุ ม ชนมอญ บางแห่งต้องมีทะแยมอญเป็นส่วนประกอบของพิธกี รรมด้วย เช่น พิธรี ำ� เจ้า พิธที ำ� บุญหมูบ่ า้ น เป็นต้น ในพิธีร�ำเจ้าของบางหมู่บ้าน เช่น ศาลหลวงตาโจ้ก วัดไทรน้อย อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี เจ้าพ่อบางกระดี่ เจ้าแม่หัวละหาร ที่ชุมชนมอญบ้านบางกระดี่ แขวงแสมด�ำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เจ้าพ่อช้างพัน อ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และเจ้าแม่เบิกไพร บ้านคงคาราม อ�ำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ชุมชนดังกล่าวนี้เมื่อจัด พิธีร�ำเจ้าต้องมีทะแยมอญประกอบในพิธีร�ำเจ้าด้วย

ทะแยมอญในพิธีร�ำเจ้าที่หน้าศาลหลวงตาโจ้ก วัดไทรน้อย อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

ทะแยมอญในงานฌาปนกิจศพ


ปี่พาทย์มอญรำ�

163

๓. กิจกรรมเพือ่ สันทนาการ โอกาสทีท่ ะแยมอญจะถูกน�ำไปเป็นกิจกรรมสันทนาการ ของผู้คนในชุมชน ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาเทศกาล เช่น สงกรานต์ ออกพรรษา เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีกิจกรรมต่างๆ หลายอย่างภายใน ชุมชนมอญ และใช้เวลาหลายวันในการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ ทะแยมอญได้น�ำไปใช้ เป็นกิจกรรมส�ำคัญในการสร้างบรรยากาศรื่นเริงสนุกสนาน เพลิดเพลิน และการสังสรรค์ ของผู้คนในชุมชนร่วมกับกิจกรรมอื่นๆ เช่น การเล่นสะบ้า การแห่สงกรานต์ เป็นต้น

ทะแยมอญที่เป็นกิจกรรมสันทนาการที่ช่วงสงกรานต์ ที่บ้านมอญบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร

๔. กิ จ กรรมส� ำ หรั บ การท่ อ งเที่ ย ว ปัจจุบันชุมชนมอญหลายแห่งได้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยว และบางชุมชนก�ำลังส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทะแยมอญเป็นการแสดงที่ได้ น�ำเสนอให้แก่นักท่องเที่ยวได้ชมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้

การแสดงทะแยมอญในงานส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๔๐)


164

ปี่พาทย์มอญรำ�

เครื่องดนตรีประกอบการขับร้องทะแยมอญ การขับร้องทะแยมอญ ต้องมีการบรรเลงดนตรีประกอบการขับร้องของพ่อเพลง แม่ เ พลงด้ ว ย เครื่ อ งดนตรี ที่ ใ ช้ บ รรเลงในการประกอบการขั บ ร้ อ งเพลงทะแยมอญคื อ วงเครื่องสายมอญ ไม่มีการน�ำปี่พาทย์มอญมาบรรเลงประกอบการขับร้องเพลงทะแยมอญ เพราะปี่พาทย์มอญมีเสียงดัง เมื่อน� ำมาบรรเลงคลอไปกับการขับร้อง เสียงของปี่พาทย์ จะกลบเสียงขับร้อง การน�ำเครื่องดนตรีมอญประเภทเครื่องสายซึ่งมีเสียงเบาและเมื่อบรรเลง คลอพร้ อ มการขั บ ร้ อ งจะมี ร ะดั บ เสี ย งที่ พ อเหมาะกั บ เสี ย งขั บ ร้ อ งของพ่ อ เพลงแม่ เ พลง จึงดีกว่าการใช้ปี่พาทย์มอญ การขับร้องทะแยมอญ เป็นการขับร้องคลอไปกับเสียงของดนตรี จังหวะท�ำนองและ ระดับเสียงของเครือ่ งดนตรีและเสียงขับร้องต้องประสานกัน จึงจะท�ำให้การขับร้องทะแยมอญ ด�ำเนินไปได้อย่างดี การใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายของมอญจึงเหมาะสมกว่าการใช้ ปี่พาทย์มอญ ดังกล่าวนี้เป็นการแสดงให้เห็นความแตกต่างของการขับร้องทะแยมอญกับ การขับร้องเพลงไทยเดิม เพลงไทยสามารถขับร้องในวงปี่พาทย์ หรือวงเครื่องสาย วงมโหรีได้ เพราะการขับร้องเพลงไทยไม่มีการร้องคลอไปกับการบรรเลงดนตรี แต่เป็นการขับร้องก่อน เมื่อผู้ขับร้องได้ขับร้องจบแต่ละตอน เครื่องดนตรีจึงบรรเลงรับในแต่ละตอน ดังนั้น เสียงของ เครื่องดนตรีจึงไม่ไปกลบเสียงขับร้อง

เครื่องสายมอญบรรเลงประกอบการขับร้องทะแยมอญ เครื่องสายมอญที่ใช้บรรเลงประกอบการขับร้องทะแยมอญประกอบด้วย เครื่องดนตรี มอญดังนี้ คือ

เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการขับร้องทะแยมอญ


ปี่พาทย์มอญรำ�

165

ซอมอญ (มอญเรียก โกร้) จะเข้มอญ (มอญเรียก จยาม) ขลุ่ย (มอญเรียก อะโล้ด) กลอง (มอญเรียก ปุงตัง) ฉิ่ง (มอญเรียก คะเด) ต่อมามีการน�ำเครื่องดนตรีของไทยบางชิ้นน�ำไปผสมวงเครื่องสายมอญ เช่น ซอด้วง ฉาบเล็ก กรับ เป็นต้น เครือ่ งดนตรีวงเครือ่ งสายมอญทีท่ ำ� หน้าทีด่ ำ� เนินท�ำนองเพลง ได้แก่ ซอมอญ จะเข้มอญ และขลุ่ย เครื่องดนตรีวงเครื่องสายมอญที่ท�ำหน้าที่ประกอบจังหวะ ได้แก่ กลองและฉิ่ง

องค์ประกอบบางประการของการแสดงทะแยมอญ นอกจากบทร้องและการบรรเลงดนตรีในการแสดงทะแยมอญที่ผู้แสดงทะแยมอญคือ พ่อเพลงแม่เพลง และนักดนตรีเครื่องสายมอญ ปฏิบัติกันโดยทั่วไป นอกจากบทร้องและ การบรรเลงดนตรี คือ พิธีไหว้ครูก่อนการแสดง การแต่งกายของผู้แสดง สถานที่และอุปกรณ์ประกอบการแสดง ลีลาท่าร่ายร�ำ สาระส�ำคัญดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นสาระส�ำคัญของการแสดงทะแยมอญในกรณีที่ ไม่ได้เป็นการเล่นในลักษณะกิจกรรมสันทนาการที่เป็นการสร้างบรรยากาศสนุกสนานภายใน ชุ ม ชนหรื อ เฉพาะกลุ ่ ม บุ ค คล แต่ เ ป็ น การแสดงทะแยมอญในลั ก ษณะเป็ น ทางการหรื อ เป็นงานเป็นการ ซึง่ จะต้องค�ำนึงถึงสาระส�ำคัญดังกล่าวข้างต้นนี้ เพือ่ ให้การแสดงทะแยมอญ มีคุณค่าทั้งทางด้านศิลปะและทางด้านวัฒนธรรม

พิธีไหว้ครูก่อนการแสดงทะแยมอญ พิ ธี ไ หว้ ค รู ถื อ ว่ า เป็ น พิ ธี ส� ำ คั ญ ที่ นั ก ดนตรี เ ครื่ อ งสายมอญ และพ่ อ เพลงแม่ เ พลง ทะแยมอญต้องกระท�ำก่อนการแสดงทุกครั้ง ผู้ด�ำเนินพิธีไหว้ครูเป็นชาย ซึ่งต้องผ่านพิธีมงคล ในชีวิตตามธรรมเนียมมอญมาแล้ว คือ พิธีโกนจุก พิธีบวช ถ้าแต่งงานแล้วต้องผ่านพิธี แต่งงานด้วย นอกจากนั้นจะต้องเป็นผู้ตั้งมั่นในศีล เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป เครื่องพิธีที่ใช้บูชาครูแบบมอญประกอบด้วย ๑. กล้วยน�้ำว้า ๑ หวี ๒. มะพร้าว (ที่มีหางหนู) ๑ ลูก ๓. หมากพลู บุหรี่ ๑ ชุด ๔. ธูป ๓ ดอก ๕. เทียน ๑ เล่ม ๖. ดอกไม้ ๑ ก�ำ


166

ปี่พาทย์มอญรำ�

เครื่องพิธีไหว้ครูก่อนการแสดงทะแยมอญ แบบมอญและแบบไทย

เครื่องบูชาครูทั้งหมดวางรวมในภาชนะ เช่น ถาด อ่าง หรือ กะละมัง ปัจจุบันเครื่องบูชาครูจัดตามแบบไทย ได้แก่ ๑. ดอกไม้ก�ำหรือพวงมาลัย ๒. ธูป ๓ ดอก ๓. เทียน ๑ เล่ม ๔. เงินก�ำนล ๖ บาท ๕. น�้ำใส่ขันหรือแก้ว ส�ำหรับท�ำน�้ำมนต์ (ใช้ประพรมเครื่องดนตรี และผู้แสดงดื่ม เพื่อเป็นสิริมงคล) ค�ำบูชาครูเริ่มด้วยการกล่าวถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครู อาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่ที่มาแสดง ขอความเป็นสิริมงคลให้เกิดแก่ผู้แสดงทุกคน

การแต่งกายของผู้แสดงทะแยมอญ การแต่งกายของพ่อเพลงแม่เพลง และนักดนตรี เครือ่ งสายมอญ ในกรณีทไี่ ปแสดงในงานมักนิยมแต่งกาย แบบมอญ ดังนี้ ผูแ้ สดงฝ่ายหญิง เครือ่ งแต่งกายของผูแ้ สดงฝ่ายหญิง ประกอบด้วย ผ้านุ่ง เสื้อ ผ้าสไบ ผ้านุ่ง  เป็นผ้าซิ่นยาวกรอมเท้าหรือข้อเท้า เป็น ผ้าพืน้ หรือมีลายแบบมอญ วิธกี ารนุง่ จะนุง่ แบบป้ายด้านข้าง แต่จะป้ายด้านขวาหรือด้านซ้ายก็ได้ เสือ้ เป็นเสือ้ แขนกระบอก เข้ารูปรัดเอว ปล่อยชายเสือ้ ด้านนอก เครื่องแต่งกายผู้แสดงทะแยมอญ ฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย


ปี่พาทย์มอญรำ�

167

การคล้องผ้าสไบของผู้แสดงฝ่ายหญิงแบบคล้องไหล่ซ้ายให้ชายสไบห้อยแนบล�ำตัวด้านหน้าและด้านหลัง

ผ้าสไบ การคล้องผ้าสไบจะคล้อง ๓ แบบ ดังนี้ คือ - คล้องให้ชายผ้าสไบห้อยด้านหน้าของล�ำตัวทั้ง ๒ ชาย - คล้องไหล่ซ้ายให้ชายสไบห้อยแนบล�ำตัวด้านหน้าและด้านหลัง - คล้องสไบแบบสะพายเฉียงทางไหล่ซ้าย

ไหล่

ไหล่

ทรงผม นิยมแต่งผมเกล้ามวยแบบมอญ มีดอกไม้ทัดที่มวยผมพองาม ผู้แสดงฝ่ายชาย เครื่องแต่งกายของฝ่ายชายประกอบด้วย เสื้อ ผ้าโสร่ง ผ้าคล้อง เสื้อ เป็นเสื้อลายแขนสั้นคอกลม ผ้านุ่ง เป็นผ้าโสร่งลายหรือผ้าพื้นเป็นผ้าโจง แต่นุ่งลอยชายทับชายเสื้อ ผ้าคล้องไหล่ การพาดผ้าคล้องคอด้านหน้า ปล่อยชายไปด้านหลังทั้งสองข้างของ

การแต่งหน้า นิยมใช้หวีแตะที่แป้งดินสอพองละลายน�้ำจนข้น น�ำมาแตะตาม ใบหน้าพองาม


168

ปี่พาทย์มอญรำ�

การคล้องผ้าสไบแบบสะพายเฉียง ของผู้แสดงฝ่ายหญิง

ผู้แสดงฝ่ายชายใช้ผ้าคล้องไหล่ปล่อยชายไป ด้านหลังทั้งสองข้าง และแตะแป้งที่ใบหน้าพองาม

การคล้องผ้าสไบแบบห้อยด้านหน้าของล�ำตัวทั้งสองชาย ของผู้แสดงฝ่ายหญิง


ปี่พาทย์มอญรำ�

169

สถานที่และอุปกรณ์ประกอบการแสดง สถานที่แสดงทะแยมอญไม่ได้ก�ำหนดว่าจะต้องจัดขึ้นเป็นเฉพาะ ซึ่งต่างกับการแสดง ละคร ลิ เ ก หรื อ โขน การแสดงทะแยมอญสามารถจั ด ได้ ใ นศาลา ห้ อ งประชุ ม ลานวั ด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะและสภาพของงาน อุปกรณ์ประกอบการแสดงมีไม่มาก จึงไม่เป็น การยุ่งยากในการจัดหาสถานที่แสดง ปัจจุบันการแสดงทะแยมอญของบางชุมชนมีการสร้างฉาก ซึ่งเหมาะแก่การแสดง บนเวที พร้อมมีเครื่องเสียงประกอบการแสดงด้วย เช่นเดียวกับการแสดงทะแยมอญเพื่อ การท่องเที่ยวที่เป็นการแสดงบนเวทีในรูปแบบการแสดงสลับกับการแสดงอื่นๆ

ลีลาท่าร่ายรำ� ส่วนประกอบในการขับร้องเพลงทะแยมอญ ทะแยมอญสาระส�ำคัญอยู่ที่ค�ำร้องที่มีสาระไพเราะลึกซึ้ง คมคาย และท่วงท�ำนอง ที่ไพเราะของเสียงดนตรีที่บรรเลงคลอไปกับการขับร้อง ลีลาท่าร่ายร�ำ เป็นส่วนเสริมให้ การขับร้องทะแยมอญมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น ท่าร�ำของพ่อเพลงแม่เพลงไม่ได้ก�ำหนดเป็นแบบแผน ดังเช่นการแสดงนาฏศิลป์ ไม่มีการร�ำตามบทหรือตามเรื่อง แต่ร่ายร�ำให้พองาม ทั้งพ่อเพลง และแม่เพลงร่ายร�ำตามแบบมอญ มีการย่อตัวและโยกเอียงตัวพร้อมกับการร่ายร�ำพองาม การร่ายร�ำของพ่อเพลงและแม่เพลง ประกอบการขับร้องนั้น ไม่ได้เป็นองค์ประกอบ หลักของทะแยมอญ องค์ประกอบหลักที่ส�ำคัญที่สุดของทะแยมอญคือ การขับร้องและ

การร�ำป้อของผู้แสดงฝ่ายชาย เมื่อร้องบทเกี้ยวพาราสีในการแสดงทะแยมอญ


170

ปี่พาทย์มอญรำ�

การบรรเลงดนตรี แต่การร่ายร�ำของพ่อเพลงแม่เพลงประกอบการร�ำจะช่วยท�ำให้การแสดง ทะแยมอญดูมีชีวิตชีวาและมีความเคลื่อนไหว แต่การร่ายร�ำดังกล่าวไม่ได้เป็นนาฏศิลป์ ที่ต้องมีแบบมีแผน หรือมีบทที่จะต้องร�ำตามบท ผู้ร�ำจะร่ายร�ำอย่างสุภาพพองาม พ่อเพลง มีท่าร�ำเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเมื่อมีการขับร้อง ท�ำนองเกี้ยวพาราสี พ่อเพลงจะร�ำแบบร�ำป้อ ตามแบบเจ้าชู้ไก่แจ้

บ่อนสะบ้าสนามฝึกของพ่อเพลงแม่เพลงรุ่นใหม่ ผู้ขับร้องเพลงทะแยมอญต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาและบทกลอนของมอญ เป็นอย่างดี นอกจากนั้นจะต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างมากพร้อมที่จะแสดงต่อหน้า ชุมชนได้ นักร้องทะแยมอญจึงใช้สถานทีเ่ ล่นสะบ้ามอญเป็นสนามฝึกเพือ่ เรียนรูแ้ ละฝึกแสดง เป็ น นั ก ร้ อ ง ในเทศกาลสงกรานต์ ชุ ม ชนมอญนิ ย มจั ด สถานที่ ภ ายในชุ ม ชนเป็ น ที่ เ ล่ น สะบ้ามอญ เพื่อเป็นการชุมนุมและพักผ่อนรื่นเริงของผู้คนในชุมชน การแสดงทะแยมอญ เป็นกิจกรรมสันทนาการอย่างหนึ่งที่จัดขึ้นที่บ่อนสะบ้า บรรดานักร้องเพลงทะแยมอญและ นักดนตรีเครื่องสายมอญจะไปรวมเล่นกันเป็นเวลานานเป็นเดือน จึงเป็นโอกาสดีที่นักร้อง รุ่นใหม่หรือผู้สนใจจะไปหาความรู้ความช�ำนาญทางเพลงและทางดนตรีได้ ผู้ที่เป็นแล้วจะได้ ไปเพิ่มประสบการณ์และความช�ำนาญได้ดียิ่งขึ้น

การกล่อมสะบ้า


ปี่พาทย์มอญรำ�

171

บทบาทของทะแยมอญกับสังคมและวัฒนธรรมมอญ การเล่นทะแยมอญมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมของมอญ หลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์กับศาสนา ความเชื่อ ภาษา ศิลปะ ค�ำสอน และ สันทนาการ ศาสนา ค�ำร้องของเพลงทะแยมอญส่วนใหญ่ได้น�ำค�ำสอนของพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นสาระน�ำเสนอในบทร้องของทะแยมอญ เช่น พุทธประวัติ พระเวสสันดร ชาดก ตลอดจนอานิสงส์หรือผลบุญที่ได้บวช ได้จัดงานศพพระ งานศพบิดามารดา การท�ำบุญ เทศกาลสงกรานต์ การเป็นผู้มั่นคงในศีลในธรรม ความเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นต้น ความเชื่ อ ชุมชนมอญส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ ควบคู่กับ ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา เช่น เชื่อในเรื่องของครูอาจารย์ของพ่อเพลงแม่เพลงและ ของนักดนตรีที่ต้องแสดงความเคารพ และไม่กระท�ำการใดที่เป็นการผิดครูหรือไม่เคารพ ครูอาจารย์ ภาษา ผู้ขับร้องเพลงทะแยมอญที่ดีต้องมีความรู้ทางภาษามอญอย่างลึกซึ้ง จึงจะ สามารถขับร้องเพลงทะแยมอญได้ดี ทะแยมอญจึงมีส่วนส�ำคัญในการอนุรักษ์ภาษามอญได้ เป็นอย่างดี ศิลปะ ทางด้านดนตรีและการแสดงเพลงมอญตลอดจนการขับร้องซึ่งเป็นศิลปะ ของมอญได้มสี บื ต่อมาจนถึงปัจจุบนั ทะแยมอญมีสว่ นส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ศลิ ปะดังกล่าวนีส้ บื ทอด ต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ ค� ำ สอน ค�ำสอนต่างๆ จ�ำนวนมากของพุทธศาสนา ได้ถูกน�ำมาใช้อบรมสั่งสอน ชาวบ้านโดยผ่านทะแยมอญ ถือได้วา่ เป็นกลยุทธ์ทแี่ ยบยลในการสืบทอดและเผยแพร่คำ� สอน ของพุทธศาสนาสู่ประชาชนได้เป็นอย่างดียิ่ง สันทนาการ เป็นการสร้างความบันเทิงแก่สังคม การแสดงทะแยมอญที่สังคมมอญ ยอมรับและเป็นมหรสพที่สร้างความรื่นเริงได้ในชุมชนมอญ และสามารถน� ำไปแสดงได้ ทั้งในงานที่เป็นมงคลและอวมงคล เช่น งานบวชนาค งานท�ำบุญขึ้นบ้านใหม่ และงานศพ รวมทั้งในงานรื่นเริงของชุมชน เช่น งานเทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น

การสังสรรค์ทางวัฒนธรรมด้านการร้องรำ�ทำ�เพลง ทะแยมอญมีสาระเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงการสังสรรค์ การเชื่อมสัมพันธ์กันระหว่าง ศิลปวัฒนธรรมทางการร้องร�ำท�ำเพลงของผู้คนในอุษาคเนย์นี้ได้ ศิลปะการขับร้องของไทย


172

ปี่พาทย์มอญรำ�

ได้เข้าไปมีบทบาทในการขับร้องเพลงทะแยมอญมาก แม้เรื่องราวในวรรณคดีไทยเรื่อง ขุนช้างขุนแผนได้เป็นเรื่องคุณเพนคุณชาน ในความรับรู้ของศิลปินมอญอย่างสนิทสนม ในขณะเดียวกันเพลงไทยส�ำเนียงมอญจ�ำนวนมากที่ได้รับอิทธิพลจากเพลงมอญ เพลงทะแยมอญได้มาบรรเลงเป็นเพลงไทยส�ำเนียงมอญด้วยซอด้วง ซออู้ ของไทยอย่าง ไพเราะเพราะพริ้งดุจญาติสนิท เหล่านี้ล้วนเป็นการแสดงให้เห็นถึงการไม่มีพรมแดนของ ศิลปวัฒนธรรมของผู้คนในภูมิภาคสุวรรณภูมินี้ได้เป็นอย่างดี

ทะแยมอญพี่น้องร่วมอุทรเดียวกันกับการขับซอของล้านนา และเจรียงมโหรีของเขมร การขับร้องเพลงทะแยมอญของมอญ มีลักษณะแบบแผนการขับร้องและการบรรเลง ดนตรีที่มีความละม้ายคล้ายกันกับการขับซอของล้านนา และการขับร้องเพลงเจรียงเพลง มโหรีเขมรของชาวไทยอีสานใต้ที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ กล่าวคือเป็นเพลงที่ ขับร้องแบบเพลงปฏิพากย์และมีดนตรีบรรเลงคลอการขับร้องตลอดเวลาที่ขับร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับซอที่เรียกว่า ซอตั้งเชียงใหม่ ซึ่งเป็นท�ำนองการขับซอที่มี ความไพเราะมากจนได้รับยกย่องว่าเป็นสุดยอดของซอล้านนา ท�ำนองของซอตั้งเชียงใหม่ มีลกั ษณะพิเศษคือมีคำ� สร้อย ค�ำสร้อยนีม้ ลี กั ษณะเหมือนกันคือการขึน้ ต้นบทร้องด้วยสร้อยค�ำ สร้อยค�ำขึ้นต้นของบทร้องเพลงทะแยมอญ แยกเป็นค�ำร้องของชายและหญิง ดังนี้ สร้อยค�ำขึน้ ต้นบทร้องชาย เต่ะเอย เต่ะนะ หรือ หมิเอย หมินะ แปลว่า น้องเอ๋ย น้องนะ หรือ เธอเอ๋ย เธอนะ สร้อยค�ำขึ้นต้นบทร้องหญิง น่ายเอย น่ายนะ หรือ เกาเอย เกานะ แปลว่า นายเอย นายนะ หรือ พี่เอ๋ย พี่นะ สร้ อ ยค� ำ ขึ้ น ต้ น ของบทร้ อ งช่ า งซอ เพลงซอตั้ ง เชี ย งใหม่ เป็ น ค� ำ ร้ อ งขึ้ น ต้ น ของ ช่างซอชายและช่างซอหญิง ดังนี้ สร้อยค�ำขึ้นต้นบทร้องชาย ขึ้นต้นซอด้วยค�ำว่า หลอนหรือตัว หรือ เจ้าเฮย หรือ น้องแก้ว สร้อยค�ำขึ้นต้นบทร้องหญิง ขึ้นต้นซอด้วยค�ำว่า พี่อ้าย นอกจากนั้นมีค�ำว่า นายมอญ ได้น�ำมาใช้ทั้งชายและหญิง ท้ายค�ำซอมักจะจบด้วยข้อความ นี้แลนอ น้องแลนอ (ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์, ๒๕๓๘, น.๑๔๘)


ปี่พาทย์มอญรำ�

173

การขับร้องเพลงประกอบพิธีอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์ ในงานพิธฌ ี าปนกิจศพพระสงฆ์มอญ ตามประเพณีมอญมีการจัดพิธอี ญ ั เชิญพระสงฆ์ ซึ่งถึงแก่มรณภาพนั้นสู่สรวงสวรรค์ มีการอัญเชิญศพพระสงฆ์บนปราสาท ชาวบ้านจะมา ร่วมกันแห่ปราสาท การแห่ปราสาทนี้มีทั้งการขับร้องและการร่ายร�ำ ชาย ๓๒ คนที่ร่วมกัน แบกปราสาทนั้น สมมุติว่าเป็นเทพบุตร หญิงประมาณ ๓๐ คน สมมุติว่าเป็นเทพธิดา ทั้งเทพบุตรและเทพธิดาร่วมกันร่ายร�ำและขับร้องเพลงอย่างพร้อมเพรียงกัน พร้อมกับ มีการบรรเลงประโคมดนตรีมอญประกอบการขับร้องการร่ายร�ำ เพลงที่ขับร้องจะเป็นเพลงที่พรรณนาถึงคุณพระพุทธ คุณพระธรรมและคุณพระสงฆ์ เป็นรัตนะที่ประเสริฐ เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเทวดาและมนุษย์ กล่าวถึงคุณของพระสงฆ์ ผู้มรณภาพในฐานะที่เป็นที่พึ่งของชาวบ้าน เป็นครูอาจารย์ของศิษย์ ขับร้องอัญเชิญพระสงฆ์ ผู้มรณภาพสู่สรวงสวรรค์ เพื่อได้เป็นที่พึ่งของเทวดาพรหมทั้งหลาย

การขับร้องเพลงในพิธีอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์ งานศพพระวัดไผ่ล้อม เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๔)


174

ปี่พาทย์มอญรำ�

การขับร้องฟ้อนร�ำในพิธีอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์ ผู้ขับร้องและฟ้อนร�ำต้องกระท�ำการบูชาสักการะก่อนการขับร้องฟ้อนร�ำ (พ.ศ. ๒๕๕๐)


ปี่พาทย์มอญรำ�

175

การขับร้องเพลงและประโคมดนตรีมอญประกอบการร�ำ ในพิธีอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์ วัดจันทน์กะพ้อ จังหวัดปทุมธานี (พ.ศ. ๒๕๕๐)

การขับร้องเพลงรับพระสู่ทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ ในขณะทีม่ กี ารฌาปนกิจศพพระสงฆ์มอญ มีการร่ายร�ำขับร้องเพลงประกอบการประโคม ดนตรีมอญ เพื่อเป็นการรับพระสู่ทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ ผู้ร่ายร�ำขับร้องที่แต่งกายเป็น เทพบุตรเทพธิดา จะขับร้องต้อนรับพระสงฆ์ผู้มรณภาพนั้นสู่วิมานทองบนสรวงสวรรค์

การขับร้องเพลงในขณะที่จะท�ำการฌาปนกิจศพพระสงฆ์ เพื่อรับพระสู่ทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ที่เมืองเมียวดี (พ.ศ. ๒๕๓๕)


176

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงมอญที่ปรากฏอยู่ในต�ำนานมโหรีมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพลงที่ใช้ขับร้องและบรรเลงดนตรีในวงมโหรีของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และ มีการบรรเลงต่อเนื่องกันมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ที่กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ ส�ำหรับพระนคร ได้รวบรวมและจัดพิมพ์เป็นหนังสือ “ประชุมบทมโหรี” พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ เพลงต่ า งๆ ที่ ป รากฏอยู ่ ใ นหนั ง สื อ ประชุ ม บทมโหรี นี้ มี ทั้ ง สิ้ น ๑๙๗ เพลง ในจ�ำนวนเพลงทั้งหมด ๑๙๗ เพลงนี้ มีเพลงมอญมากถึง ๔๘ เพลง ซึ่งถือว่าเป็นเพลง ต่างชาติกลุ่มใหญ่ที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับเพลงส�ำเนียงแขก จีน ลาว หนังสือประชุมบทมโหรี ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด จัดพิมพ์เนือ่ งในโอกาสพระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชมหาราช เจริ ญ พระชนมพรรษา ๖ รอบ พ.ศ. ๒๕๔๒ หน้า ๑๘ - ๒๑ ระบุไว้ว่าเพลงมอญที่ขับร้องและบรรเลงในวงมโหรีทั้ง ๔๘ เพลง อยู่ในชุด เพลงมอญนอกเรื่อง ดังนี้


ปี่พาทย์มอญรำ�

177


178

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงมอญทั้ ง ๔๘ เพลงดั ง กล่ า วข้ า งต้ น นี้ เ ป็ น ชื่ อ ของเพลงมอญที่ ขั บ ร้ อ งและ บรรเลงเฉพาะในวงมโหรีแบบโบราณที่มีเครื่องดนตรีหลักคือ ซอสามสาย กระจับปี่ โทน กรั บ พวง และมี ก ารขั บ ร้ อ งล� ำ น� ำ ซึ่ ง ไม่ ไ ด้ ก ล่ า วถึ ง เพลงที่ ใ ช้ บ รรเลงวงเครื่ อ งสายและ วงปี่พาทย์

เพลงมอญที่บรรเลงในวงปี่พาทย์ วงมโหรีที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา หนังสือสารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัตแิ ละบทร้องเพลงเถา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้กล่าวถึงกลุ่มเพลงสองชั้นที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาที่เป็นเพลงมอญเก่า ทั้งที่มีชื่อมอญ และไม่เรียกชื่อมอญแต่เป็นเพลงมอญ เช่น เพลงนารายณ์ แ ปลงรู ป เป็นเพลงอัตราสองชั้นของเก่าประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ม าแต่ ส มั ย อยุ ธ ยา เป็ น เพลงไทยส� ำ เนี ย งมอญส� ำ นวนเก่ า ซึ่ ง รวมอยู ่ ใ นเพลงช้ า เรื่ อ ง มอญแปลง เพลงมอญร�ำดาบ เป็นเพลงอัตราสองชั้นของเก่าส�ำเนียงมอญ แพร่หลายมาแต่ สมัยอยุธยา เพลงสุรินทราหู เป็นเพลงอัตราสองชั้นของเก่าส�ำเนียงมอญ เป็นที่แพร่หลายมา ตั้งแต่สมัยอยุธยาเช่นกัน นอกจากนั้ น ในหนั ง สื อ สารานุ ก รมเพลงไทยของณรงค์ ชั ย ปิ ฎ กรั ช ต์ ได้ ร วบรวม เพลงไทยส�ำเนียงมอญไว้ทั้งเพลงเถาและเพลงตับ มีมากถึง ๑๖๐ เพลง ซึ่งถือว่าเป็นเพลง ส�ำเนียงภาษากลุ่มใหญ่ที่สุดในเพลงไทยส�ำเนียงภาษา เพลงมอญทีบ่ รรเลงในวงปีพ่ าทย์และมีมาแต่สมัยอยุธยามาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็ น กลุ ่ ม เพลงอี ก หมวดหนึ่ ง ที่ ส มเด็ จ พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระยาด� ำ รงราชานุ ภ าพ ทรงกล่าวไว้ในสาสน์สมเด็จ ฉบับลงวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ทรงรวบรวมบทเพลง พิณพาทย์ไว้ส่วนหนึ่ง บทเพลงดังกล่าวนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี อดีตนายกสมาคมไทยรามัญได้กล่าวไว้ในบทความเรือ่ ง วัฒนธรรมประเพณีมอญ ในวารสาร เมืองโบราณ ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๓ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๒๗ ดังนี้ “.....ผู้เขียน (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี) ได้พยายามสืบเสาะและ ค้นคว้าเรื่องนี้มานาน ยังไม่พบหลักฐานการบันทึกเรื่องราวของเพลงมอญ โดยเฉพาะเพลงที่ บรรเลงด้วยพิณพาทย์มอญ จนกระทัง่ เมือ่ ไม่กปี่ มี านีไ้ ด้อา่ นพบข้อความในหนังสือสาสน์สมเด็จ เป็นจดหมายที่สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพเขียนถวายสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา


ปี่พาทย์มอญรำ�

179

นริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๖๑ ในสาสน์นั้นได้ทรงแสดงบัญชีเพลงปี่พาทย์ ซึ่งเป็นของเล่นกันในครั้งกรุงเก่า.....ผู้เขียน (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี) ได้พิจารณาดูแล้วสามารถให้ความเห็นได้ทันทีว่าเป็นหมวดของเพลงพิณพาทย์มอญอย่าง ไม่ต้องสงสัย เพราะชื่อของเพลงหลายเพลงที่ปรากฏอยู่ในบัญชีตรงกับเพลงมอญทีใ่ ช้กนั อยู่ ในปัจจุบัน ได้แก่เพลง “เชิญต่างไม้” (ปัจจุบันมอญเรียกว่า “เจิ้นหางไหม้” เพลง “แประมัง พลูทะแย (ปัจจุบันมอญเรียกว่า “แป๊ะมังพลู”) เพลง “กชาสี่บท” (ปัจจุบันมอญเรียกว่า “สี่บท”) เพลง “ฉิ่งหงษา” (ปัจจุบันมอญเรียกว่า “ฉิ่ง” เฉยๆ).....” บทเพลงพิณพาทย์ที่เป็นเพลงมอญ ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรง ราชานุภาพทรงรวบรวมไว้มีดังนี้ (เสถียร ดวงจันทร์ทิพย์, ๒๕๕๒, น.๔๑) ๑. เก็บสมอป่า ๓. ลูกกุ้งฝอยเต้น ๕. ภู่ห้อยหูช้าง ๗. กรองทอง ๙. แประมังพลูทะแย ๑๑. พโรง ๑๓. ดาวทอง ๑๕. ดาวทองแดง ๑๗. ตะละมะรุ

๒. ระลอกกระทบฝั่ง ๔. เชิญต่างไม้ ๖. ลูกสาวพญาปรอนครวญถึงผัว ๘. กระต่ายก้านหอย ๑๐. กชาสี่บท ๑๒. ดาวเงิน ๑๔. ดาวนาก ๑๖. ฉิ่งหงษา

ในบรรดาเพลงพิณพาทย์ ดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นเพลงมอญเก่าอยู่หลายเพลง เช่น เพลงเชิญต่างไม้ (มอญเรียก เจิ้นหางไหม้) เพลงแประมังพลูทะแย เพลงกชาสี่บท เพลง ฉิ่งหงษา เพลงตะละมะรุ เป็นต้น นอกจากนั้นเรื่องของเพลงมโหรีที่ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมบทมโหรีดังกล่าวนี้ ยังมีเพลงมอญที่เป็นเพลงที่เรียกว่า เพลงเรื่ อ ง ในเพลงต้นเรื่องพระนเรศวร เพลงแรก ที่ชื่อว่า เพลงนเรศวรชนช้าง เพลงนี้เป็นเพลงที่มีส�ำเนียงมอญอย่างชัดเจน อาจารย์มนตรี ตราโมท ปรมาจารย์ทางดนตรีไทยได้บรรยายในรายการ อธิบายดนตรีไทย เรื่องเพลงไทย ส�ำเนียงมอญ ทางสถานีวิทยุศึกษา เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้กล่าวยืนยัน ถึงความเป็นเพลงมอญของเพลงมโหรีที่ปรากฏชื่อเพลงอยู่ในหนังสือประชุมบทมโหรี แม้ไม่มี ชื่อน�ำว่ามอญ แต่เป็นเพลงมอญ ดังนี้


180

ปี่พาทย์มอญรำ�

“.....เพลงไทยบางเพลงแม้มไิ ด้ชอื่ ว่ามอญ แต่กม็ สี ำ� เนียงมอญปนอยูเ่ หมือนกับเพลงมอญ จริงๆ เช่น เพลงนเรศวรชนช้าง..... แม้เพลงบางเพลง ซึ่งมีส�ำเนียงมอญและเป็นมอญจริงๆ ก็ไม่ต้องออกชื่อว่ามอญ เช่น เพลงพญาล�ำพอง เป็นต้น เพลงนี้แต่เดิม เรียกว่า มอญ พญาล�ำพอง.....อีกเพลงหนึ่ง ซึ่งเป็นเพลงมอญแท้ๆ แต่ก็เรียกชื่อไม่ต้องมีค�ำว่า มอญ เหมือนกัน คือ เพลงพญาแปร.....” เพลงต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในประชุมบทมโหรีของหอพระสมุดวชิรญาณ และบทเพลง พิณพาทย์ของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ดังกล่าวข้างต้นนี้ย่อมเป็นการแสดง ให้เห็นว่าวัฒนธรรมทางดนตรี คีตศิลป์ของมอญนั้นรุ่งเรืองและเฟื่องฟูอยู่ในสังคมมอญ มานานก่อนสมัยอยุธยามาแล้ว เมื่อมีคนมอญมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารครั้งใหญ่ตั้งแต่ รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นต้นมา ท�ำให้ดนตรีปี่พาทย์ของมอญได้มาเฟื่องฟู ในประเทศไทยมานานอย่างน้อยตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นต้นมา

เพลงไทยส�ำเนียงมอญ

ดนตรีเป็นอาหารที่บ�ำรุงบ�ำเรอความสุนทรีย์ทางอารมณ์ของมนุษย์โดยไม่ได้จ�ำกัด หรือแบ่งแยกไว้ว่าเป็นของชนชาติใดชนชาติหนึ่งโดยเฉพาะ เหมือนดังเช่นความสวยสด งดงาม ความรื่นรมย์ของธรรมชาติ ย่อมเป็นที่เบิกบานส� ำราญใจของมนุษย์ทั่วไปไม่ได้ จ�ำกัดหรือเจาะจงว่าเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เพลงมอญและดนตรีปี่พาทย์มอญก็ เช่นเดียวกันทีไ่ ด้เป็นสิง่ บ�ำรุงบ�ำเรอสร้างความรืน่ เริงบันเทิงอารมณ์ของผูค้ นมากมาย ทัง้ ทีเ่ ป็น คนมอญ และคนชาติอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทย ความใกล้ชิดเกี่ยวเนื่องกันระหว่าง ชาวไทยและชาวมอญมีมาตั้งแต่โบราณนานมาแล้ว คนมอญจ�ำนวนมากที่ได้เข้ามาพึ่ง พระบรมโพธิ ส มภารในพระราชอาณาจั ก รไทยตั้ ง แต่ ส มั ย อยุ ธ ยาจนถึ ง สมั ย ธนบุ รี และ สมัยรัตนโกสินทร์ ได้น�ำเครื่องดนตรีมอญ เพลงมอญ และนาฏศิลป์การแสดงของมอญมา ในพระราชอาณาจั ก รไทย ด้ ว ยเหตุ นี้ จึ ง ก่ อ ให้ เ กิ ด แรงบั น ดาลใจแก่ นั ก ดนตรี ไ ทยและ นั ก ประพั น ธ์ เ พลงไทยให้ ไ ด้ รั บ การถ่ า ยทอดเรี ย นรู ้ เ พลงมอญ ทั้ ง การบรรเลงดนตรี แ ละ การขับร้องเพลงจากนักดนตรีมอญ ยิ่งกว่านั้นนักดนตรีไทยได้รังสรรค์เพลงไทยส�ำเนียงมอญ ขึ้ น เป็ น จ� ำ นวนมาก ด้ ว ยการผสมผสานปรั บ เปลี่ ย นเพลงมอญและดนตรี ป ี ่ พ าทย์ ม อญ ที่ได้รับถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากชาวมอญเป็นเวลานานมาแล้ว จนเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ของสังคมไทย ที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมทางดนตรีและการขับร้องร่ายร� ำของชาวมอญ จึงเกิดเพลงไทยส�ำเนียงมอญในประเทศไทย และเป็นมรดกของวัฒนธรรมที่ส�ำคัญของไทย ในปัจจุบัน


ปี่พาทย์มอญรำ�

181

เพลงไทยสำ�เนียงมอญ มรดกเพลงมอญที่ปรากฏอยู่ในเพลงไทย ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ ถ าวร สิ ก ขโกศล ได้ ก ล่ า วถึ ง เพลงไทยส� ำเนี ย งมอญในการ อภิปรายทางวิชาการประกอบการบรรเลงเพลงตับมอญกละ จัดโดยสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปัจจุบนั มหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) และหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ดังนี้ “ดนตรีไทยนั้นเลียนเสียงส�ำเนียงชาติต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับชาติไทย เรามีเพลง ส�ำเนียงจีน ส�ำเนียงเขมร ส�ำเนียงแขก ส�ำเนียงฝรั่ง ส�ำเนียงมอญ แต่ในส�ำเนียงเพลงต่างชาติ ทั้งหมด กลุ่มใหญ่ที่สุดมีเพลงมากที่สุด คือ กลุ่มเพลงส�ำเนียงมอญ มีอยู่ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ในมโหรีเก่าก็มีหมวดส�ำเนียงมอญแล้ว ขณะที่หมวดเพลงจีนยังมีอยู่เพียงเล็กน้อย หมวด เพลงเขมร เพลงฝรั่ง ยังไม่ค่อยปรากฏ เพลงมอญเป็นหมวดใหญ่ตั้งแต่สมัยอยุธยาและ ในสมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากเพลงส�ำเนียงมอญแล้วเรายังยกปีพ่ าทย์มอญทั้งวงมาเล่น อันนี้ แสดงถึงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด” ในการบรรเลงเพลงไทยนั้ น เพลงมอญได้ เ ข้ า มามี อิ ท ธิ พ ลในการบรรเลงและ การประพันธ์เพลงไทยยิ่งนัก ด้วยเหตุที่เพลงมอญมีลีลา ท�ำนองและส�ำเนียงที่มีความไพเราะ โดดเด่นในเอกลักษณ์ของตัวเอง เพลงไทยแต่โบราณส่วนใหญ่จงึ มีเพลงส�ำเนียงมอญมากมาย อาทิ เ ช่ น เพลงมอญร� ำ ดาบ เพลงมอญอ้ อ ยอิ่ ง เพลงมอญชมจั น ทร์ เพลงมอญดู ด าว เพลงมอญกละ เพลงมอญแปลง เพลงสมิงทองมอญ เพลงมอญร้องไห้ เพลงกราวร�ำมอญ เพลงลงสรงมอญ เพลงมอญท่าอิฐ เพลงทะแยหงสา เพลงมอญบางนางเกร็ง และเพลงมอญ จับช้าง เป็นต้น “นอกจากนี้ยังมีเพลงมอญที่ใช้ผสมผสานกับเพลงส�ำเนียงอื่น เช่น เพลงแขกมอญ เพลงแขกมอญบางช้าง เพลงแขกมอญบางขุนพรม และยังมีอีกหลายเพลงที่มีส�ำเนียงลีลา ท่วงท�ำนองของการบรรเลงและขับร้องเป็นเพลงมอญแต่มิได้ใช้ชื่อมอญ เช่น เพลงพราหมณ์ ดีดน�้ำเต้าหรือพราหมณ์เข้าโบสถ์ และเพลงยาดเล้ เป็นต้น บางเพลงถึงกับขับร้องเป็นภาษามอญโดยตรง ซึ่งผู้ขับร้องหลายท่านยังไม่ทราบ ค�ำแปลจากภาษามอญเป็นไทยด้วยซ�้ำ เช่น เพลงแขกมอญ ซึ่งถือเป็นเพลงชั้นสูงมาก เพลงหนึ่งด้วย.....” (ไพโรจน์ บุญผูก, ๒๕๓๘, น.๑๖๓)


182

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงไทยสำ�เนียงมอญที่บทขับร้องเป็นภาษามอญแท้ บรรดาเพลงส�ำเนียงภาษาที่ปรมาจารย์ทางดนตรีไทยน�ำมาบรรเลงขับร้อง หรือน�ำมา ปรับปรุงจนเกิดเป็นเพลงส�ำเนียงภาษาขึ้นมา และเป็นที่ยอมรับว่าในบรรดาเพลงส�ำเนียง ภาษานั้น เพลงมอญเป็นเพลงหมวดใหญ่ที่สุดที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพลงส�ำเนียงมอญดังกล่าวได้รับความนิยมในสังคมไทยเป็นอย่างมาก ถึงกับมีการ แต่งบทขับร้องเป็นภาษามอญ ซึ่งมีทั้งเพลงเถาและเพลงตับที่ใช้บรรเลงกันอย่างแพร่หลาย ทั้ ง ในวงปี ่ พาทย์ มโหรีแ ละวงเครื่อ งสาย เช่น เพลงแขกมอญ เพลงมอญยาดเล้ เพลง ตั บ มอญกละของพระยาเสนาะดุ ริ ย างค์ (แช่ ม สุ น ทรวาทิ น ) เป็ น ต้ น เพลงที่ มี บ ทร้ อ ง เป็นภาษามอญทุกเพลงเป็นเพลงที่มีความไพเราะ ทั้งผู้แต่ง ผู้บรรเลงเพลงและผู้ขับร้อง ต้องใช้ความสามารถอย่างมากในการบรรเลงและขับร้อง ถือได้ว่าเป็นเพลงที่แสดงถึง ความเป็นนักดนตรีและนักร้องในระดับชั้นครูอย่างแท้จริง

ความผิดเพี้ยนของภาษามอญในบทขับร้องเพลงที่เป็นภาษามอญเดิม เพลงส�ำเนียงภาษามอญส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ บทขับร้องมักผิดเพี้ยนไปจากค�ำร้อง ที่เป็นภาษามอญดั้งเดิมจนไม่อาจจะจับความได้ ภาษาเป็นเครื่องหมายบอกอารมณ์ของ เพลงดั ง ที่ ส งั ด ภู เ ขาทอง กล่ า วว่ า “ในดนตรี ไ ทยคงยั ง ต้ อ งอาศั ย ภาษาเป็ น ตั ว น� ำ ไปสู ่ ความเข้าใจในดนตรีมากอยู่ จนบางครั้งแทบคิดว่ามีความจ�ำเป็นควบคู่ไปกับท�ำนองเพลง มิ ใ ช่ ส ่ ว นประกอบในเพลง โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง เพลงชั้ น สู ง ดั ง เช่ น เพลงที่ อ ยู ่ ใ นรู ป เพลง เถาเพลงตั บ ภาษาและค� ำ ร้ อ งก็ ยั ง มี ส ่ ว นส� ำ คั ญ อยู ่ ที่ นั ก ดนตรี จ ะต้ อ งพิ ถี พิ ถั น เลื อ กมา ให้เหมาะสมกับท�ำนอง ลีลาและความหมายของเพลงด้วย.....” (สงัด ภูเขาทอง, ๒๕๓๔, น.๗) ในเรื่ อ งความส� ำ คั ญ ของภาษาในบทขั บ ร้ อ งที่ เ ป็ น ภาษามอญนั้ น ครู ด นตรี ไ ทย หลายท่านได้ร่วมกันปรับปรุงค�ำร้องเพื่อให้ได้ค�ำร้องที่เป็นภาษามอญดั้งเดิมอย่างถูกต้อง เช่ น ครู เ ลื่ อ น สุ น ทรวาทิน ผู้มีเชื้อ สายมอญ เป็นธิดาของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ปรมาจารย์ดนตรีผปู้ ระพันธ์เพลงตับมอญกละ ได้ดำ� เนินการปรับปรุงภาษามอญ ในเพลงตับมอญกละ ร่วมกับสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เพลงแขกมอญ เพลงไพเราะเป็นเลิศมีเนื้อร้องภาษามอญ ส� ำ หรั บ เพลงแขกมอญซึ่ ง เป็ น เพลงที่ มี บ ทขั บ ร้ อ งเป็ น ภาษามอญอยู ่ ด ้ ว ย เพลง แขกมอญนีเ้ ป็นเพลงทีม่ คี วามไพเราะมาก ทัง้ ทางบรรเลงและทางขับร้อง พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร หรือ ครูมีแขก) ปรมาจารย์ทางดนตรีไทยในราชส�ำนัก เป็นผู้ประพันธ์ขึ้นจาก เพลงมอญเก่าด้วยบทร้องที่ว่า


ปี่พาทย์มอญรำ�

ครานั้นจึงโฉมเจ้าวันทอง สะดุ้งตื่นฟื้นตัวไม่ลืมตา เต้ะเอ๋ย เญี่ยะกั่ว ฮัมราว ขวัญหายกายสั่นระรัวริก เล่าความฝันมาประหม่ากลัว เปลวปลาบวาบพลุ่งขึ้นปลายจาก ต้องตัวผัวไหม้ทั้งไส้พุง เรืองเริงเพลิงผลาญม่านหมอกฟูก ไม่มีใครช่วยดับวับวาบแรง ขอเชิญช่วยท�ำนายให้น้องที

183

หลับต้องมนต์มึนยังมืดหน้า ผวากอดขุนแผนนิ่งไม่ติงตัว อาวาว เห้อะชานเอ๋ย ปลุกหยิกคิดว่าขุนช้างผัว ว่าทูนหัวสุมไฟไว้ในมุ้ง ไหม้มากหลายตับยับยุ่ง นอนสะดุ้งโดดกลิ้งอยู่กลางแปลง ถูกน้องพุพองเป็นหลายแห่ง น้องนี้นึกแสยงสลดใจ เช่นนี้น้องหาเคยจะฝันไม่

นักดนตรีและนักร้องจะร้องรับล�ำน�ำเป็นที่เข้าใจกันระหว่างผู้ขับร้องและนักดนตรี ผู้บรรเลงในตอนท่อนสองที่ว่า “สะดุ้งตื่นฟื้นตัวไม่ลืมตา ผวากอดขุนแผนนิ่งไม่ติงตัว” ตอนลงท้ า ยก่ อ นที่ ด นตรี จ ะบรรเลงสอดรั บ นั้ น นั ก ร้ อ งจะขั บ ร้ อ งเป็ น ภาษามอญ ต่อท้ายว่า “เต้ะเอ๋ย เญี่ยะกั้ว ฮัมราว อาวาว เห้อะชาน เอย” ผู้ขับร้องที่ไม่เข้าใจความหมายของภาษาก็จะขับร้องด้วยน�้ำเสียงและลีลาท่วงท�ำนอง ปกติ ซึ่งไม่ตรงกับเหตุการณ์ที่นางวันทองก�ำลังตกอกตกใจกับการฝันร้ายขณะนั้น แต่เมื่อผู้ขับร้องได้เข้าใจความหมายของภาษามอญที่เป็นส่วนหนึ่งของบทขับร้องแล้ว ผู้ขับร้องจะได้ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกออกมาด้วยถ้อยค�ำท่วงท�ำนอง และลีลาของ เนื้อเพลงได้อย่างดียิ่ง เมื่อค�ำแปลจากภาษามอญเป็นภาษาไทยว่า น้องเอ๋ย ใครล่ะที่บอก ว่าพี่ไม่รักเจ้า ขุ น แผนเห็ น อาการตระหนกตกใจของนางวั น ทอง ยั ง ไม่ รู ้ ว ่ า เกิ ด อะไรขึ้ น กั บ นาง ขุนแผนจึงกล่าวปลอบใจเพื่อให้นางวันทองหายจากอาการตกใจ ถ้าผู้ขับร้องเข้าใจความหมายของบทขับร้องเช่นนี้ ย่อมท� ำให้การขับร้องมีอรรถรส และมีชีวิตชีวาจากการปลอบโยนของขุนแผนในบทร้องเฉพาะที่เป็นภาษามอญนี้ ผู้ขับร้อง ต้องเป็นชาย (ผู้ขับร้องภาษาไทยเป็นหญิง) เพราะเป็นเสียงขุนแผนปลอบนางวันทอง เมื่อมีการปรับเนื้อร้องที่เป็นค�ำมอญที่ถูกต้องแล้ว ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต จัดให้ มีการขับร้องเพลงแขกมอญที่บ้านครูบ้านบางล�ำภู ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต เป็นผู้ขับร้อง


184

ปี่พาทย์มอญรำ�

และให้นายไพโรจน์ บุญผูก ร้องสอดรับในส่วนที่เป็นค�ำมอญ การขับร้องครั้งนั้นท�ำให้เพลง แขกมอญมีความไพเราะมาก ได้ทั้งความไพเราะของการบรรเลงดนตรี และการขับร้องที่มี อรรถรสมีชีวิตชีวามากที่สุด สมกับที่เป็นเพลงแขกมอญที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นเพลงชั้นสูง ต้องใช้ความสามารถในการขับร้องและบรรเลงดนตรีในระดับครูจริงๆ เพลงที่ มีค�ำขับ ร้อ งเป็นภาษามอญ อีกหลายเพลง เช่น เพลงมอญยาดเล้ เพลง ตับมอญกละ เป็นต้น ควรที่จะได้มีการปรับถ้อยค�ำที่ผิดเพี้ยนให้เป็นถ้อยค�ำที่ถูกต้องต่อไป จะได้ฟังเพลงส�ำเนียงมอญไพเราะจับใจและได้อรรถรสทางอารมณ์ของบทร้องมากยิ่งขึ้น การที่นักปราชญ์ทางดนตรีของไทยแต่งเพลงไทยส�ำเนียงมอญขึ้นเนื่องจากความ ประทับใจในความไพเราะของเพลงมอญ อันมีผลก่อให้เกิดแรงบันดาลใจคิดแต่งเพลงไทย ส�ำเนียงมอญท�ำให้เกิดเพลงที่มีความไพเราะแปลกไปจากเพลงที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นการแสดง ความสามารถของนักดนตรีไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น พงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราช ที่แปลจากภาษามอญเป็นภาษาไทย โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นวรรณกรรมที่อยู่ ในความนิยมสูงสุดเรื่องหนึ่งของไทย และมีการน�ำมาเป็นบทละครเช่นเดียวกับบทละครเรื่อง อื่นๆ เช่น เรื่อง พระอภัยมณี พระลอ อิเหนา เป็นต้น จึงมีการแต่งเพลงไทยส�ำเนียงมอญขึ้น หลายเพลงเพื่อใช้ประกอบการแสดงละครเรื่องราชาธิราช คนไทยเป็นผู้ที่มีมารยาททางวัฒนธรรมที่ดีคือเป็นผู้เคารพภูมิปัญญาของชนชาติอื่น และให้เกียรติแก่ผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญานั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องดนตรีและนาฏศิลป์ จากความใกล้ชิดสัมพันธ์กันระหว่างชาวไทยและชาวมอญที่มีมาแต่โบราณกาลอันยาวนาน จึงเกิดการถ่ายทอดแลกเปลีย่ นศิลปะการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ซงึ่ เสมือนเป็น “โภชนาการ ทางจิ ต ” อั น เป็ น ความสุ ข ส่ ว นกลางของมนุ ษ ย์ ใ นโลกที่ ส ามารถดื่ ม ด�่ ำ ซึ ม ซั บ รสชาติ อันสุนทรีย์นี้ได้โดยไม่ได้จ�ำกัดเชื้อชาติหรือสัญชาติ ดนตรีและนาฏศิลป์มอญจึงสามารถ บรรเลงและแสดงอยู่ในสังคมไทยทุกระดับได้เป็นอย่างดีเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานสืบต่อมา จนถึงปัจจุบัน ด้วยมารยาทที่ดีของชาวไทยที่ให้เกียรติแก่ชาวมอญ จึงเรียก การร�ำของมอญ ว่า มอญร�ำ เรียกเครื่องปี่พาทย์ของมอญว่า ปี่พาทย์มอญ เพลงมอญแท้ๆ หรือเพลง ที่แต่งขึ้นและมีส�ำเนียงมอญต้องมีชื่อมอญอยู่ในชื่อเพลงนั้นด้วย เช่น เพลงมอญดูดาว มอญร�ำดาบ เป็นต้น

ความนิยมในการบรรเลงเพลงมอญของวงปีพ่ าทย์ วงเครือ่ งสายและวงมโหรีไทย ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีการน�ำเพลงไทยส�ำเนียงต่างชาติมาขับร้องบรรเลงดนตรี ที่เรียกว่า เพลงออกภาษา หรือ ออกสิบสองภาษา หรือเพลงสิบสองภาษา เพลงไทย ส�ำเนียงมอญเป็นเพลงออกภาษาชาติหนึ่งที่นักดนตรีไทยได้น�ำเพลงมอญมาปรับแต่งขึ้นใหม่ น�ำมาขับร้องและบรรเลงในวงดนตรีของไทยอย่างแพร่หลาย


ปี่พาทย์มอญรำ�

185

เพลงไทยส�ำเนียงมอญบางเพลง ผู้ประพันธ์เนื้อร้องได้แต่งเนื้อร้องเป็นภาษามอญ รวมกั บ ภาษาไทย เช่ น เพลงตั บ มอญกละ ผู ้ แ ต่ ง คื อ พระยาเสนาะดุ ริ ย างค์ (แช่ ม สุนทรวาทิน) เพลงมอญยาดเล้ และเพลงแขกมอญ พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) ผู้แต่ง เป็นต้น เพลงมอญเป็นที่นิยมและเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยอย่างแพร่หลายทุกระดับ ตั้งแต่ ในราชส�ำนักจนถึงระดับชาวบ้าน พระมหากษัตริย์ไทยและพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้ทรง พระราชนิ พ นธ์ แ ละทรงนิพ นธ์เพลงไทยส�ำเนียงมอญที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นเพลงที่มี ความไพเราะมากมีอยู่หลายพระองค์ เช่น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทยส�ำเนียงมอญ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ ทรงน�ำเพลงมอญเก่าที่ชื่อว่า มอญดูดาว เป็นเพลงอัตราสองชั้น ทรงน�ำมา แต่งขยายเป็นอัตราสามชั้นและทรงแต่งย่อลงเป็นอัตราชั้นเดียว รวมบรรเลงเป็นเพลงเถา ทีม่ อี ตั ราสามชัน้ สองชัน้ และชัน้ เดียว ทรงประพันธ์เนือ้ ร้องด้วย โปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม เพลงที่ทรงประพันธ์จากเพลงมอญนี้ว่า เพลงราตรีประดับดาว เป็นเพลงที่มีความไพเราะ มาก ทั้งทางร้องและการบรรเลงดนตรีรับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพตั รสุขมุ พันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินติ ทรงน� ำ เพลงมอญตัด แตง ซึ่ง เป็นเพลงมอญเก่า อัตราสองชั้น มาประพันธ์เ ป็นเพลงเถา เมือ่ พ.ศ. ๒๔๕๓ ทรงแต่งขยายออกเป็นอัตราสามชัน้ และตัดลงเป็นอัตราชัน้ เดียวพร้อมด้วย ทางร้องทั้งหมด ทรงประทานชื่อว่า เพลงแขกมอญบางขุ น พรหม เป็นเพลงที่มีความ ไพเราะทั้งทางร้องและการบรรเลงดนตรีอีกเพลงหนึ่ง นอกจากนัน้ ยังมีปรมาจารย์ทางดนตรีไทยหลายท่านได้ประพันธ์เพลงไทยส�ำเนียงมอญ โดยน�ำเพลงมอญเก่ามาแต่งขยาย และแต่งย่อลงรวมเป็นเพลงเถาที่มีความไพเราะเป็น เพลงไทยส�ำเนียงมอญที่นิยมมาจนถึงปัจจุบันหลายท่าน เช่น พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร หรือ ครูมีแขก) แต่งเพลงไทยส�ำเนียงมอญ เช่น เพลงแขกมอญ เพลงแขกมอญบางช้าง พระอาทิตย์ชิงดวง เป็นต้น หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) แต่งเพลงไทยส�ำเนียงมอญไว้หลายเพลง เช่น เพลงมอญล่องเรือ เพลงสมิงทอง เพลงสุดสงวน เป็นต้น ม.ล. ต่วนศรี วรวรรณ แต่งเพลงมอญอ้อยอิ่ง ๒ ชั้น และเพลงไทยส�ำเนียงมอญ ประกอบการแสดงละครร้องไว้หลายเพลง


ปี่พาทย์มอญรำ�

186

อาจารย์มนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ) ได้แต่งเพลงไทยส�ำเนียงมอญหลายเพลง เช่น เพลงสุดสงวน (ต่างกับทางเพลงของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ที่แต่งขึ้นให้ มีส�ำเนียงมอญมากขึ้น) เพลงนางครวญ เพลงระบ�ำทวารวดี เพลงมอญร�ำดาบ เป็นต้น เป็นต้น

ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ แต่งเพลงมอญครวญ แต่งจากเพลงมอญส�ำเนียงโศกของเก่า

เพลงไทยสำ�เนียงมอญมีมากกว่า ๒๐๐ เพลง เนือ่ งจากความไพเราะของเพลงมอญทีม่ อี ยูใ่ นความรับรูข้ องนักดนตรีทงั้ ไทยและมอญ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ปรมาจารย์ทางดนตรีของไทยน�ำเพลงมอญมาปรับแต่งเป็นเพลงไทย ส�ำเนียงมอญดังกล่าวแล้วนั้น ในปัจจุบันมีผู้รวบรวมเพลงส�ำเนียงมอญที่มีอยู่ในประเทศไทย มีมากกว่า ๒๐๐ เพลง ทั้งนี้ไม่รวมเพลงมอญที่วงปี่พาทย์มอญหรือวงเครื่องสายมอญ (วงทะแยมอญ) บรรเลงในพิธีกรรมหรือในการเล่นของมอญโดยเฉพาะ เพลงมอญและเพลงส�ำเนียงมอญที่มีอยู่ในประเทศไทยที่ ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์ (๒๕๔๒) ได้รวบรวมรายชื่อเพลงไทยส�ำเนียงมอญ พร้อมทั้งสรุปย่อรายละเอียดบางส่วนมาแสดงไว้ ในหนังสือสารานุกรมเพลงไทย ซึ่งมีเพลงไทยส�ำเนียงมอญมากกว่าหนึ่งร้อยเพลง ดังนี้

๑. กระต่ายชมจันทร์

เพลงส� ำ เนี ย งมอญท� ำ นองเก่ า สมั ย อยุ ธ ยา อยู ่ ใ นชุ ด เพลง มอญนอกเรื่อง

๒. กระโปรงทอง

เพลงมอญแท้

๓. กราวร�ำมอญ

เป็นเพลงหน้าพาทย์ประเภทกราวส�ำหรับใช้บรรเลง ประกอบ กิริยา เยาะเย้ย ถากถาง

๔. แขกมอญ

ท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา มีท�ำนองไพเราะ นิยมน�ำไปบรรเลง ออกเพลงประจ� ำ วั ด ของวงปี ่ พ าทย์ ม อญ มี ทั้ ง เพลงที่ เ ป็ น อัตราจังหวะสองชั้น เพลงเถา เพลงตับ และเพลงทางเปลี่ยน

๕. แขกมอญทางหลีก เพลงโหมโรง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เพลงแขกมอญทางออล่าง”

๖. แขกมอญ บางขุนพรหม

เพลงเถา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ุ กรมพระนครสวรรค์วรพินติ ทรงพระนิพนธ์ขนึ้ จากเพลงมอญเก่า อัตราจังหวะสองชั้น ชื่อเพลงมอญตัดแตง


ปี่พาทย์มอญรำ�

187

๗. แขกมอญบางช้าง เพลงอัตราจังหวะสองชั้นท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา ต่อมาได้มี การแต่งขยายเป็นเพลงเถา

๘. แขกมอญแปลง

เพลงอัตราจังหวะสองชั้นและชั้นเดียว จัดเป็นเพลงประเภท สองไม้อยู่ในเพลงช้าเรื่องมอญแปลง

๙. ค่าไอยรา

เพลงส�ำเนียงมอญ ท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลง มอญนอกเรื่อง

๑๐. คุณลุงคุณป้า

ท� ำ นองเก่ า สมั ย อยุ ธ ยา มี ส� ำ เนี ย งพม่ า และส� ำ เนี ย งมอญ คละกัน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อะแซหวุ่นกี้

๑๑. คู่มอญร�ำดาบ

เพลงเถา ซึ่งได้จากการน�ำทางเปลี่ยนของเพลงมอญร�ำดาบ อัตราจังหวะสองชั้นเฉพาะท่อนที่ ๓ - ๔ มาแต่ง

๑๒. เคียงมอญร�ำดาบ เพลงเถา นายเฉลิม บัวทั่ง แต่งจากเพลงมอญร�ำดาบ สองชั้น ท�ำนองเก่า ๑๓. งูรัดเขียด

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๔. เงี้ยวเดินทัพ

หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) แต่งขึ้น ให้ท�ำนอง คล้ายส�ำเนียงมอญ เพื่อใช้บรรเลงประกอบเพลงมอญ

๑๕. จอมทอง

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๖. จอมศรี

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๗. จ�ำปาเจ็ดกลีบ

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๘. จ�ำปานารี

เพลงเถา ดัด แปลงจากเพลงจ�ำปานารีสองชั้นท�ำนองเก่า อยู่ในเพลงเรื่องแขกมอญ ใช้ประกอบการแสดงละคร และ เป็นเพลงรวมอยู่ในเพลงตับสมิงทอง

๑๙. จุดเทียน

เพลงส�ำเนียงมอญ ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ

๒๐. ช่อลูกหว้า

เพลงมอญแท้

๒๑. เชิญเจ้า

เพลงมอญแท้ ส�ำเนียงมอญท�ำนองเก่า ภาษามอญเรียกว่า “มันหละ” ชาวรามัญใช้บรรเลงในงานมงคล


188

ปี่พาทย์มอญรำ�

๒๒. เชิดมอญ

เพลงหน้าพาทย์ ส� ำหรับประกอบกิริยาเดินทาง การต่อสู้ ยกทัพของตัวละครตามสัญชาติ คือ สัญชาติมอญในละคร เรื่องราชาธิราช เป็นต้น

๒๓. เชื้อ

เพลงอั ต ราจั ง หวะสองชั้ น หลวงประดิ ษ ฐไพเราะ (ศร ศิ ล ปบรรเลง) แต่ ง ทั้ ง ทางร้ อ งและท� ำ นองดนตรี เพื่ อ ใช้ ประกอบละครเรื่องมะกะโท

๒๔. ดวงฤทัย

เพลงเถา มีส�ำเนียงมอญ ด�ำเนินท�ำนองเรียบๆ มีจุดประสงค์ ในการแต่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้ร�ำลึกถึงพระคุณของมารดา ที่มีต่อบุตร

๒๕. ดอกโสน

เพลงอัตราสองชั้น ส�ำเนียงมอญท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา

๒๖. ด้อมค่าย

เพลงชุด มีอัตราจังหวะสองชั้น ส�ำเนียงมอญ

๒๗. ดาวกระจ่าง

เพลงอั ต ราจั ง หวะสองชั้ น ส� ำ เนี ย งมอญ ใช้ บ รรเลงในวง ปี่พาทย์มอญ

๒๘. ดาวกระจาย

เพลงเถา ส�ำเนียงมอญ

๒๙. ดาวดวงเด่น

เพลงเถา ส�ำเนียงมอญ

๓๐. ดาวดวงหนึ่ง

เพลงอั ต ราจั ง หวะสองชั้ น ท� ำ นองเก่ า สมั ย อยุ ธ ยา อยู ่ ใ น ชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๓๑. ดาวทอง

เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ส�ำเนียงมอญ

๓๒. ตะละแม่ศรี

เพลงมอญแท้ๆ

๓๓. ตะลุมโปง

เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ท�ำนองเก่าสมัยอยุธยาแต่งขึ้นเพื่อ ใช้ร้องประกอบละครเรื่องมะกะโท

๓๔. ตะเลงรัญจวน

เพลงเถา เป็นเพลงที่มีท�ำนองท่อนเดียว

๓๕. ตับมอญกละ

เพลงตับ ส�ำเนียงมอญ เรียบเรียงขึ้นโดยน�ำเพลงส�ำเนียง มอญมาบรรเลงติดต่อกันเป็นเพลงตับ

๓๖. ตุ้งติ้ง

เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้ประกอบ การแสดงละคร อยูใ่ นเพลงมอญนอกเรือ่ งของต�ำราเพลงมโหรี


ปี่พาทย์มอญรำ�

189

๓๗. เต่าทองตัวผู้

เพลงท�ำนองเก่าอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๓๘. เต่าทองตัวเมีย

เพลงท�ำนองเก่าอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๓๙. เต่าฟักไข่

เพลงท�ำนองเก่าอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๔๐. ทยอยมอญ

เพลงเถา นายพินิจ ฉายสุวรรณ ประดิษฐ์ท�ำนองให้มีส�ำเนียง มอญ

๔๑. ทวารวดี

ท�ำนองเพลงทวารวดีจะสอดแทรกส�ำเนียงมอญ แต่งโดย นายมนตรี ตราโมท เพือ่ ประกอบระบ�ำโบราณคดี “ทวารวดี”

๔๒. ทะนานทอง

เพลงท�ำนองเก่า ใช้ขบั ร้องและบรรเลงประกอบการแสดงละคร อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๔๓. ทะแยหงสา

เพลงท�ำนองเก่าส�ำเนียงมอญ ใช้ประกอบการแสดงละคร

๔๔. ท้ายด้อมค่าย

เพลงอั ต ราจั ง หวะสองชั้ น หลวงประดิ ษ ฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) แต่งและน�ำไปบรรเลงให้เข้าชุดกับเพลงชุด ด้อมค่าย

๔๕. ทิพย์

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๔๖. เทพจุติ

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๔๗. ธรณีร้องไห้

เพลงอัตราจังหวะชั้นเดียว ท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา ส�ำหรับ ชื่อเพลงมีผู้เรียกแตกต่างกันไป เช่น (พ) สุธากันแสง ธรณี กันแสง และก�ำสรดพสุธา เพื่อให้เข้าชุดกับเพลงมอญร้องไห้ โดยเรียกให้คล้องจองกันว่า รามัญรันทด - ก�ำสรดพสุธา

๔๘. นกขมิ้น

เพลงมอญแท้

๔๙. นกเอี้ยงตัวผู้

เพลงท�ำนองเก่าอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๕๐. นกเอี้ยงตัวเมีย

เพลงท�ำนองเก่าอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๕๑. นางครวญ

เพลงอัตราจังหวะสามชั้น เป็นเพลงที่มีส�ำนวนท�ำนองคู่กับ เพลงสุ ด สงวน สั น นิ ษ ฐานว่ า นั ก ดนตรี ไ ม่ ท ราบนามแต่ ง ขยายจากเพลงมอญร�ำดาบสองชั้นหรือเพลงนางร�ำ


190

ปี่พาทย์มอญรำ�

๕๒. นารายณ์แปลงรูป เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา จัดเป็น เพลงช้ารวมอยู่ในเรื่องมอญแปลง ๕๓. น�้ำไหลซอกเขา

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๕๔. ประจ�ำบ้าน

เพลงมอญ ใช้ บ รรเลงในวงปี ่ พ าทย์ ม อญ ในกรณี จั ด งาน ที่บ้าน

๕๕. ประจ�ำวัด

เพลงมอญ ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ในกรณีจัดงานที่วัด

๕๖. ผ้าโพก

เพลงอัตราจังหวะสองชัน้ และชัน้ เดียว เป็นเพลงส�ำเนียงมอญ

๕๗. พญาสมุทร

เพลงส�ำเนียงมอญ นิยมบรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ

๕๘. พม่า

เพลงเถา โดยสอดแทรกส�ำเนียงภาษาต่างๆ คือ ส�ำเนียง พม่า มอญ ลาว

๕๙. พม่าเก้าทัพ

เป็นเพลงส�ำเนียงมอญ มีลีลาและท�ำนองรุกเร้าสนุกสนาน

๖๐. พม่าห้าท่อน

เป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้นท�ำนองเก่า มีห้าท่อน ท่อนที่สอง ถึงท่อนที่ห้ามีผู้ปรับแต่งหลายทาง ทางของอาจารย์มนตรี ตราโมท ทางของจางวางทั่ ว พาทยโกศล ได้ ส อดแทรก ส�ำเนียงมอญในท่อนแรก

๖๑. พญาปลอน

เพลงมอญแท้

๖๒. พระจันทร์ลับเหลี่ยม เพลงท� ำ นองเก่ า สมั ย อยุ ธ ยา อยู ่ ใ นเพลงชุ ด เพลงมอญ นอกเรื่อง ๖๓. พระฉันมอญ

เพลงส�ำเนียงมอญ ใช้บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ระหว่างพระฉัน ภัตตาหาร

๖๔. พระอาทิตย์ชิงดวง เพลงอัตราจังหวะสองชั้น แต่งส�ำหรับใช้เป็นเพลงลา ๖๕. มอญแกว่งดาบ

เพลงเถา นายส�ำราญ ภมรสูต แต่งท�ำนองใหม่ทั้งเถา

๖๖. มอญขว้างดาบ

เพลงเถา

๖๗. มอญครวญ

เพลงส�ำเนียงมอญ เป็นเพลงที่มีท�ำนองและอารมณ์เพลง โศกเศร้า

๖๘. มอญจับช้าง

เพลงท�ำนองเก่า ใช้ประกอบการแสดงละครในบทเจรจา


ปี่พาทย์มอญรำ�

191

๖๙. มอญชมจันทร์

เพลงเถา มีส�ำเนียงและท�ำนองคล้ายเพลงมอญดูดาว

๗๐. มอญช่อพุมเรียง

เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ท�ำนองเก่าส�ำเนียงมอญ

๗๑. มอญดอนเจดีย์

เพลงเถา ลักษณะท�ำนองเป็นเพลงส�ำเนียงมอญ

๗๒. มอญเด่น

เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ท�ำนองเก่า ใช้ประกอบการแสดง ละคร

๗๓. มอญดูดาว

เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ท�ำนองเก่า เป็นเพลงส�ำเนียงมอญ

๗๔. มอญตัดแตง

เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ส�ำเนียงมอญ

๗๕. มอญทะแย พระสีนวลลา

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้ประกอบการแสดงละคร

๗๖. มอญท่าอิฐ

เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ท�ำนองเก่า เป็นเพลงส�ำเนียงมอญ

๗๗. มอญบางนางเกร็ง เพลงส�ำเนียงมอญ นิยมใช้บรรเลงทั่วไปในวงปี่พาทย์มอญ ๗๘. มอญบ้านบาตร

เพลงเถา เพลงอัตราจังหวะสองชั้น มีส�ำเนียงมอญ

๗๙. มอญปทุมมาลย์

เพลงมอญแท้

๘๐. มอญแปลง

เพลงเถา นายพินิจ ฉายสุวรรณ น�ำเพลงมอญแปลงสองชั้น มาแต่งขยายและแต่งตัด

๘๑. มอญพญากง

เพลงเถา

๘๒. มอญพุ่งหอก

เพลงอัตราจังหวะสองชัน้ และชัน้ เดียว ใช้บทร้องจากบทละคร เรื่องราชาธิราชตอนหนีเมีย

๘๓. มอญโพกผ้า

เพลงมอญแท้

๘๔. มอญยาดเล้

เพลงอั ต ราจั ง หวะสองชั้ น และชั้ น เดี ย ว นิ ย มบรรเลงในวง ปี่พาทย์มอญ

๘๕. มอญโยนดาบ

เพลงเถา

๘๖. มอญร้องไห้

เพลงตั บ นายถี ร ์ ปี ่ เ พราะ แต่ ง บทร้ อ งและบรรจุ เ พลง ส�ำเนียงมอญ

๘๗. มอญร�ำดาบ

มีสำ� เนียงมอญครบทัง้ เถา ทัง้ ท�ำนองทางร้องและทางดนตรี


192

ปี่พาทย์มอญรำ�

๘๘. มอญเริง

เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ท�ำนองเก่าส�ำเนียงมอญ

๘๙. มอญล่องเรือ

เพลงเถา แต่งขยายและแต่งตัดจากเพลงมอญล่องเรืออัตรา จังหวะสองชั้น ท�ำนองเก่าส�ำเนียงมอญ

๙๐. มอญละว้า

เพลงเถา สอดแทรกทั้ ง ส� ำ เนี ย งมอญและส� ำ เนี ย งแขกไว้ ด้วยกัน

๙๑. มอญเล็ก

เพลงท�ำนองเก่าอยุธยา เป็นเพลงส�ำเนียงมอญ

๙๒. มอญโลมทอง

เพลงประโคมศพของวงกาหลอ ใช้บรรเลงเฉพาะงานศพ

๙๓. มอญสวนอนันต์

เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ส�ำเนียงมอญ

๙๔. มอญใหม่

เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ท�ำนองเก่า เป็นเพลงหนึ่งในบท มโหรีเรื่องกากี

๙๕. มอญอ้อยอิ่ง

ใช้ลีลาและส�ำเนียงเป็นภาษามอญครบเป็นเพลงเถา

๙๖. ม่านรามัญ

เพลงส�ำเนียงมอญ - พม่า

๙๗. ม้าวิ่ง

เพลงในชุดด้อมค่าย

๙๘. มือลม

เพลงท�ำนองเก่าอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๙๙. มุใน

เพลงท�ำนองเก่าอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๐๐. เมาะล�ำเลิง

เพลงเถา

๑๐๑. แมลงปอสะบัดปีก เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง ๑๐๒. แมลงเม่าทองตัวผู้ เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง ๑๐๓. แมลงเม่าทองตัวเมีย เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง ๑๐๔. แมงมุมตีอก

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๐๕. แม่ม่ายสามคน

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๐๖. ยกศพ

เพลงส�ำเนียงมอญ ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ตอนยกศพ ขึ้นเชิงตะกอน

๑๐๗. ยอเร

เพลงเถา ประกอบการแสดงละครอยู่ในเรื่องราชาธิราช


ปี่พาทย์มอญรำ�

193

๑๐๘. รัวมอญ

เพลงรัวท�ำนองหนึง่ มีสำ� เนียงมอญใช้ประกอบการแสดงละคร

๑๐๙. รัศมีจันทร์

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๑๐. รานิเกลิง

ดัดแปลงท�ำนองมาจากเพลงมอญครวญของลิเกบันตนใช้รอ้ ง ในบทรัก สดชื่น

๑๑๑. รามัญรันทด

ท�ำนองเพลงเก่าส�ำเนียงมอญ

๑๑๒. ราตรีประดับดาว

เพลงเถา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ ราชนิพนธ์ขึ้นจากเพลงมอญดูดาวสองชั้น

๑๑๓. ร�ำมอญ

เพลงร�ำท�ำนองหนึ่งมีส�ำเนียงมอญ ใช้ประกอบการแสดง

๑๑๔. เรไรร้อง

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๑๕. เร็วมอญ

เพลงหน้าพาทย์ประกอบกิรยิ าไป - มา ของตัวละคร มีสำ� เนียงมอญ

๑๑๖. เริงรามัญ

เพลงโหมโรง

๑๑๗. ลงสรงมอญ

เพลงท�ำนองเก่าส�ำเนียงมอญ ใช้กบั ตัวละครทีม่ สี ญ ั ชาติมอญ

๑๑๘. ลมบน

ชื่อเพลงท�ำนองเก่าอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๑๙. ลูกติดแม่

เพลงท�ำนองสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๒๐. ลูกวอนแม่

เพลงอัตราสองชั้นท�ำนองเก่า อยู่ในเพลงเรื่องเพลงยาว

๑๒๑. โลมมอญ

เพลงหน้าพาทย์สำ� หรับประกอบกิรยิ าเกีย้ วพาราสีของตัวละคร ที่มีสัญชาติมอญ

๑๒๒. วิเวกเวหา

เพลงส�ำเนียงมอญมีห้าจังหวะ ท�ำนองและลีลาไพเราะน่าฟัง อาจารย์มนตรี ตราโมท สันนิษฐานว่าแต่งในสมัยรัชกาลที่ ๓

๑๒๓. สมิงทองแขก

เพลงท�ำนองเก่าอยุธยา อยู่ในเพลงตับเรื่องสระบุหร่ง

๑๒๔. สมิงทอง

เพลงตับ

๑๒๕. สมิงทองเทศ

เพลงเถา อัตราจังหวะสองชั้นเป็นเพลงท�ำนองเก่า

๑๒๖. สมิงทองไทย

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในเพลงตับเรื่องสระบุหร่ง

๑๒๗. สมิงทองมอญ

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในเพลงตับเรื่องสระบุหร่ง

๑๒๘. สมิงออดอ้อน

เพลงเถา


194

ปี่พาทย์มอญรำ�

๑๒๙. สร้อยทะแย

เพลงเถา เคยได้รับการบรรจุในละครเรื่องขุนช้างขุนแผนตอน พระไวยแตกทัพ ซึ่งเป็นบทของพลายชุมพลต่อว่าต่อขาน พระไวย

๑๓๐. สร้อยสงวน

เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ท�ำนองเก่าอยุธยา ในเพลงเรื่อง มอญแปลงใหญ่

๑๓๑. สองกุมาร

เพลงอัตราสองชั้นส�ำเนียงมอญ

๑๓๒. สามภาษา

เพลงท� ำ นองเก่ า ส� ำ เนี ย งมอญสมั ย อยุ ธ ยา ในชุ ด เพลง มอญนอกเรื่อง

๑๓๓. สารถีต่อยรูป

เพลงส�ำเนียงมอญ

๑๓๔. สุรินทราหู

เพลงท�ำนองเก่ามีส�ำเนียงมอญ นิยมร้องส่งมโหรีมาตั้งแต่ สมัยอยุธยา

๑๓๕. เสมอมอญ

เพลงหน้าพาทย์ ส�ำหรับประกอบกิริยาไป - มา ในระยะใกล้ ของตัวละครที่มีสัญชาติมอญ

๑๓๖. หงส์คาบแก้ว

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๓๗. หงส์ทองมอญ

เพลงร้องออกภาษามอญ ใช้บรรยายบอกเรื่องราวของลิเก

๑๓๘. หงส์ฟ้อน

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๓๙. หงส์บิน

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๔๐. หงส์ร่อน

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๔๑. หงส์ลีลา

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๔๒. หนุมานลองเล็บ

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง

๑๔๓. เหราเล่นน�้ำ

เพลงอัตราจังหวะสามชั้น ท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุด เพลงมอญนอกเรื่อง

๑๔๔. อะแซหวุ่นกี้

เพลงเถา เพลงนี้อัตราจังหวะสองชั้นเป็นท�ำนองเก่าส�ำเนียง เป็นพม่าและมอญคละกัน

๑๔๕. อินทรีคาบแก้ว

เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยา อยู่ในชุดเพลงมอญนอกเรื่อง


ปี่พาทย์มอญรำ�

195

๑๔๖. อุปราชขาดคอช้าง เพลงเถา แต่งขยายและแต่งตัดจากเพลงมอญครวญสองชั้น ๑๔๗. โอดมอญ

เพลงหน้าพาทย์ ส�ำหรับประกอบกิริยาร้องไห้ของตัวละคร ตามสัญชาติ เช่น ตัวละครชาติมอญในเรื่องราชาธิราช

เพลงไทยส� ำ เนี ย งมอญที่ มี ก ารบรรเลงและขั บ ร้ อ ง และมี ชื่ อ อยู่ มี เ พลงไทย ส�ำเนียงมอญเพิ่มจากที่มีการรวบรวมไว้อีก ๑๗ เพลง จึงจัดเป็นล�ำดับและชื่อเพลง ดังนี้

๑๔๘. คู่มอญแปลง

๑๔๙. ต้นมอญแปลง

๑๕๐. ปลายมอญแปลง

๑๕๑. เรือมอญแปลง

๑๕๒. ระบ�ำม่านมอญ

๑๕๓. สองไม้มอญแปลง

๑๕๔. ดาวตะเลง

จากเพลงมอญมาเป็นกลอนร้องด้นเพลงลิเกดัง ลิเกเป็นการแสดงมหรสพที่คนไทยนิยมมากอย่างหนึ่ง ถือก�ำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลิเกเป็นที่นิยมแพร่หลาย มีคณะลิเกเกิดขึ้น ในกรุงเทพฯ หลายคณะและมีการเปิดวิก ซึ่งเป็นชื่อเรียกสถานที่แสดงลิเกขึ้นหลายแห่ง ต่อมามีการเร่ออกไปแสดงลิเกที่ต่างจังหวัดแล้วเลยไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดต่างๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ลพบุรี นครสวรรค์ นครราชสีมา เพชรบุรี เป็นต้น สาระส�ำคัญของการแสดงลิเกอย่างหนึง่ คือการร้องด้น เป็นการร้องกลอนสดทีเ่ กิดจาก ความสามารถและความช�ำนาญของผู้ร้อง เรียกว่า เพลงรานิเกลิง ท�ำนองเพลงรานิเกลิงนี้ เป็นเพลงที่คณะแสดงลิเกต่างๆ น�ำไปขับร้องประกอบการแสดงลิเกคณะของตน จนเพลงนี้ เป็นเอกลักษณ์ของลิเก เมื่อได้ยินเสียงเพลงนี้เมื่อใดเป็นอันเข้าใจของคนทั่วไปว่าเป็นการ ร้องเพลงลิเก นายดอกดิ น เสื อ สง่ า เจ้าของคณะลิเกที่มีชื่อเสียงที่สุดคณะหนึ่งได้น� ำท�ำนอง เพลงมอญซึ่ ง มี ชื่ อ ว่ า มอญครวญมาใช้ ร ้ อ งด้ น กลอนสด มาขั บ ร้ อ งก่ อ นที่ จ ะจั บ เรื่ อ ง แสดง อาจารย์มนตรี ตราโมท ปรมาจารย์ทางดนตรีไทยศิลปินแห่งชาติ ได้กล่าวถึงเพลง รานิเกลิงในหนังสือชีวิตวาที มนตรีรฤก หน้า ๑๐๖ ว่า


196

ปี่พาทย์มอญรำ�

“ต่อมานายดอกดิน เสือสง่า ได้ประดิษฐ์ท�ำนองเพลงขึ้นร้องเป็นสัญลักษณ์ของลิเกขึ้น อีกเพลงหนึ่ง คือ เพลง “รานิเกลิง” เพลงรานิเกลิงนี้ นายดอกดินได้ประดิษฐ์แปลงมาจาก เพลงมอญครวญ เพลงมอญครวญนั้นลิเกบันตนได้ใช้ร้องมาก่อน โดยลูกคู่จะรับรองว่า “รานิเกลิง เอ๋ย นิเกลิงจะกระอ�ำ กระสอดแชว�ำ จะกระอ�ำมวยเกลิง” ซึ่งใช้ร้องเมื่อการแสดง บทโศก นายดอกดินได้เปลี่ยนแปลงเสียงตกให้เป็นอารมณ์รัก ใช้ร้องในบทเกี้ยวพาราสี และ เรียกชื่อว่าเพลง “รานิเกลิง” ตามค�ำร้องลูกคู่เพลงมอญครวญอันเป็นต้นก�ำเนิด” การด้ น กลอนสดของนายดอกดิ น เสือสง่า ด้วยท�ำนองเพลงรานิเกลิงถือว่า เป็นการสร้างเอกลักษณ์ที่ส�ำคัญยิ่งของลิเก เพราะผู ้ ร ้ อ งที่ ดี ต ้ อ งใช้ ค วามสามารถ ของการด้ น กลอนสด เพลงรานิ เ กลิ ง เป็ น เพลงลิ เ กที่ มี ค ณะลิ เ กน� ำ ไปขั บ ร้ อ ง อย่ า งแพร่ ห ลาย ต่ อ มา นายหอมหวล นาคศิ ริ (ภายหลั ง ได้ อุ ป สมบทและเป็ น เจ้าอาวาสวัดป่าเรไร อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี) ได้ขยายการร้องด้นให้ยาว เป็นหลายค�ำกลอน ยิง่ เป็นทีน่ ยิ มชมชอบของ ผู้ชมลิเกมากยิ่งขึ้น นายดอกดิน เสือสง่า

ที่มา: มนตรี ตราโมท (๒๕๕๒). ชีวติ วาทีมนตรีรฤก, น.๑๐๗.

สมัยอยุธยามีเพลงมอญประกอบการแสดงละครมอญ - เพลงมอญ ทะแยพระสีนวลลา รายชื่อเพลงเก่าสมัยอยุธยาในสารานุกรมเพลงไทยของณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์ มีชื่อ เพลงมอญสมัยอยุธยาอยู่หลายเพลง แต่มีเพลงหนึ่งที่น่าพิจารณาประวัติความเป็นมาของ เพลงเป็ น อย่ า งยิ่ ง คื อ “เพลงมอญทะแยพระสี น วลลา” เพลงนี้ น อกจากจะมี ชื่ อ ว่ า มอญทะแย ซึ่งเป็นการยืนยันและรับรองว่าต้องเป็นเพลงมอญอย่างแน่นอนแล้ว ชื่อของ เพลงที่ ก ล่ า วถึ ง “พระสี น วลลา” นั้ น เป็ น นั ย ที่ บ อกให้ รู ้ ถึ ง เรื่ อ งของวรรณกรรมมอญที่ มี ชื่อเสียงเรื่องหนึ่งด้วย


ปี่พาทย์มอญรำ�

197

มอญเรี ย กวรรณกรรมเรื่อ งนี้ว่า “แม่ ง ปล่ า ยซายน่ น ลา” หรือ “พระสี น วลลา” ในภาษาไทย ชื่ อ เต็ ม ของวรรณกรรมมอญเรื่ อ งนี้ มี ชื่ อ ว่ า “แม่ ง ปล่ า ยซายน่ น ลา มิเบ้อะโน่น” หรือ พระสีนวลลาแม่นางจอมปราสาทในภาษาไทย วรรณกรรมมอญเรื่องนี้ ยังปรากฏอยู่ในคัมภีร์ใบลานที่อยู่ในวัดมอญทั้งในประเทศไทยและพม่า ในอดีตได้เป็น บทละครที่มีชื่อเสียงของมอญและมีการน�ำไปขับร้องในการแสดงทะแยมอญ ท�ำนองเป็น เพลงเรื่องของมอญด้วย ในสมัยอยุธยา ศิลปินนักดนตรีมอญคงมีการน�ำวรรณกรรมเรือ่ งนีไ้ ปแสดงเป็นบทละคร และน�ำไปขับร้องในการแสดงทะแยมอญด้วย ค� ำ อธิ บ ายประวั ติ ข องเพลงมอญทะแยพระสี น วลลา ตามสารานุ ก รมเพลงไทย ได้กล่าวว่า เพลงมอญทะแยพระสีนวลลา เพลงท�ำนองเก่าสมัยอยุธยาใช้ประกอบการ แสดงละคร วรรณกรรมมอญเรื่อง พระสีนวลลาแม่นางจอมปราสาท เป็นวรรณกรรมมอญที่ แต่งไว้เป็นค�ำกลอนที่มีความไพเราะ กล่าวถึงเจ้าชายพระสีนวลลาและแม่นางจอมปราสาท ทั้งสองมีความรักและผูกพันต่อกันมาก เมื่อพระสีนวลลาสิ้นพระชนม์ แม่นางจอมปราสาท ตรอมใจสิ้นพระชนม์ไปด้วย เวลาถวายเพลิงพระศพทั้งสองซึ่งตั้งเมรุอยู่คนละฝั่งแม่น�้ำ ได้ก�ำหนดให้ถวายเพลิงในเวลาเดียวกัน ปรากฏว่าควันไฟจากเมรุทั้งสองลอยไปรวมกัน บนท้องฟ้า

เพลงส�ำเนียงมอญที่เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในดนตรีไทย และทรงมีพระ อั จ ฉริ ย ภาพทางดุ ริ ย างคศิ ล ป์ ที่ ป รี ช าสามารถพระองค์ ห นึ่ ง ทรงตั้ ง วงเครื่ อ งสายไทย ส่ ว นพระองค์ ขึ้ น มีส มเด็จ พระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินีและเจ้า นายผู้ใกล้ชิด ร่วมวงเพื่อเป็นการส�ำราญพระราชหฤทัยในเวลาว่างจากพระราชภารกิจ มีหลวงประดิษฐ ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูริยชีวิน) เป็นครูถวายความรู้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความรอบรู้วิทยาการทางดุริยางคศิลป์ไทย ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทรงศึกษาเรียนรู้ดนตรีไทยได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง อย่างมหัศจรรย์ จนเป็นที่ยอมรับว่าทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญทางดุริยางคศิลป์ไทยพระองค์หนึ่ง


198

ปี่พาทย์มอญรำ�

พ.ศ. ๒๔๗๒ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแสดงความสามารถทาง ดุ ริ ย างคศิ ล ป์ ใ ห้ ป รากฏ พระองค์ ไ ด้ น� ำ เพลงมอญดู ด าวซึ่ ง เป็ น เพลงมอญเก่ า ที่ มี ค วาม ไพเราะมากเพลงหนึ่ง และเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวไทยยุคนั้นมาก เพลงมอญ ดูดาวมีจังหวะเพลงเร็วปานกลางที่เรียกว่าเป็นเพลงสองชั้น พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ ขยายให้มีจังหวะช้าในอัตราสามชั้น และย่อให้มีจังหวะเร็วในอัตราชั้นเดียว รวมเรียกว่า เป็นเพลงเถา เป็นเพลงที่ประกอบด้วยจังหวะเพลงทั้ง ๓ จังหวะ คือ จังหวะช้าหรืออัตรา สามชั้นในตอนแรกของเพลง จังหวะปานกลางหรืออัตราสองชั้นในตอนกลางของเพลง และ จังหวะเร็วหรืออัตราชั้นเดียวในตอนสุดท้ายของเพลง ทรงปรับจากหน้าทับมอญ ๑๑ จังหวะ มาเป็ น หน้ า ทั บ ปรบไก่ ๖ จั ง หวะ โดยใส่ เ ถ้ า เข้ า ไปให้ ไ พเราะยิ่ ง ขึ้ น ตามแบบแผนของ ดุริยางค์ไทย เมื่ อ ทรงพระราชนิ พ นธ์ ท� ำ นองเพลงแล้ ว ทรงพระราชนิ พ นธ์ บ ทร้ อ งและท� ำ นอง ร้องให้สมบูรณ์ ครั้นทรงพระราชนิพนธ์เพลงเรียบร้อยทั้งท�ำนองบรรเลงดนตรี บทร้องและ ท�ำนองร้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการในกรมปี่พาทย์หลวงไปต่อเพลง และน�ำไปบรรเลงถวายที่วังสุโขทัยเพื่อทดลองฟังเป็นครั้งแรก ส�ำหรับชื่อเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นนี้ในระยะแรกยังไม่มีชื่อ มิได้ทรงตั้งชื่อเพลง ว่ า เพลงอะไร มี ผู ้ เ สนอชื่ อ เพลงถวายเพื่ อ ทรงพิ จ ารณาหลายชื่ อ เช่ น ดาวประดั บ ฟ้ า ดารารามัญ แต่พระองค์ทรงคิดชื่อเพลงไว้เช่นกัน ส�ำหรับชื่อเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้นี้ อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้กล่าวไว้ในดุริยสาสน์ ฉบับลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๙๘ ไว้ดังนี้ “----พระองค์ทรงคิดชื่อไว้เหมือนกัน คือ ราตรีประดับดาว กับอะไรอีกชื่อหนึ่งจ�ำไม่ได้ เสียแล้ว แต่ก็ยังมิได้ทรงชี้ขาดลงไปว่าจะใช้ชื่อไหนแน่ ระหว่างนี้ก็พอดีกองปี่พาทย์หลวง ต้องไปบรรเลงส่งกระจายเสียง ณ สถานี ๑.๑ ที.เจ ที่ศาลาแดง ซึ่งเป็นงานประจ�ำ ได้น�ำ เพลงนี้ไปบรรเลงส่งกระจายเสียง และประกาศชื่อเพลงว่า “ราตรีประดับดาว” อันเป็นชื่อที่ พระองค์ทรงคิดเองและเห็นว่าเหมาะสมคมคายกว่าชื่ออื่นๆ จึงทรงถือว่าเป็นการตัดสิน และ ใช้ชื่อนี้เป็นชื่อเพลงสืบมา” เพลงราตรีประดับดาวเป็นเพลงแรกที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระราชนิพนธ์ เป็นเพลงที่มีท่วงท�ำนองไพเราะน่าฟัง มีส�ำเนียงมอญตามเพลงมอญดูดาว ซึ่งเป็นเพลงมอญของเก่าอัตราสองชั้น ที่ทรงน�ำมาขยายเป็นอัตราสามชั้นและตัดลงเป็น อัตราชั้นเดียว เป็นเพลงเถาที่มีผู้นิยมมากที่สุดเพลงหนึ่ง ส�ำหรับที่มาของเพลงราตรีประดับดาว ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น อรชวิล ชลวาสิน ได้กล่าวไว้ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการดนตรีไทย (อรชวิล ชลวาสิน, ๒๕๕๕, น. ๒๔)


ปี่พาทย์มอญรำ�

199

ที่มา : พูนพิศ อมาตยกุล, และเสถียร ดวงจันทร์ทพิ ย์. (๒๕๕๖). “พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอย่หู วั กับการดนตรี ของชาติ” ใน ๑๒๐ ปี ผ่านฟ้า ประชาธิปก. นนทบุรี: ส�ำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช. น.๘๙.


200

ปี่พาทย์มอญรำ�

“ที่มาของเพลงนี้ เนื่องด้วยพระองค์ทรงฟังเพลงแขกมอญบางขุนพรหมเถาอันเป็น เพลงพระนิพนธ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นเพลง ส�ำเนียงมอญที่ไพเราะยิ่ง มีบทร้องตอนหนึ่งว่า “แขกมอญบางขุนพรหมมีสมญา ฉันได้มา แต่วังบางขุนพรหม” ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะแต่งเพลงส�ำเนียงมอญล้อเพลงดังกล่าว จึงทรงเลือกเพลงมอญดูดาวสองชั้นมาขยายและตัดลงให้ครบเป็นเถา และทรงพระราชนิพนธ์ บทร้องเลียนแบบว่า “ขอเชิญฟังเพลงวังเวงใจ เพลงของท่านแต่งใหม่ในวังหลวง” ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๒ เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่พระต�ำหนักไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงเขมรละออองค์ เป็นเพลงไทยส�ำเนียงเขมร และเป็นเพลงเถา เพลงนี้มีทั้งท�ำนองบรรเลง และบทร้อง ท�ำนองร้อง ที่มีความไพเราะมาก อีกเพลงหนึ่ง พ.ศ. ๒๔๗๔ ทรงพระราชนิพนธ์เพลงคลื่นกระทบฝั่ง ขณะเสด็จประพาสสัตหีบ ทางชลมารค เพลงนี้ยังมิได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและท�ำนองร้อง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ เป็นเพลงโหมโรงไปก่อน จึงมักเรียกกันว่า เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง เป็นเพลงที่มีความเร็ว ปานกลางที่มีอัตราสองชั้น และมีความไพเราะน่าฟังมากเช่นเดียวกัน

เพลงขนมหวาน เนือ ้ เพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี พระราชนิ พ นธ์ บ ทร้ อ งเพลง พระอาทิตย์ชิงดวง ซึ่งเป็นเพลงลาอันดับที่ ๔ ก่อนหน้านั้นได้พระราชนิพนธ์บทร้องเพลงเต่า กินผักบุ้ง ปลาทอง และอกทะเล ซึ่งเป็นเพลงลาทั้งสามเพลง เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ท�ำนองทางขับร้อง มี ๒ ทาง คือ ทางธรรมดา และทาง ส�ำเนียงมอญของวงปี่พาทย์พาทยโกศลอีกทางหนึ่ง พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) เป็น ผู้ประพันธ์ท�ำนอง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชนิพนธ์เพลงพระอาทิตย์ ชิงดวงที่เรียกกันต่อมาว่า เพลงขนมหวาน ซึ่งมีส�ำเนียงมอญ มีเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ ดังนี้

รวมบรรเลงเพลงดนตรีมีเสนาะ จังหวะเหมาะสมท�ำนองก้องประสาน สายลมหวนอวลกลิ่นสุมามาลย์ ชวนชื่นบานเมื่อสดับเพลงขับเอย

(ดนตรีรับ) (ดนตรีรับ)


ปี่พาทย์มอญรำ�

ดอกเอ๋ย เจ้าดอกสารภี หอมกลิ่นมาลี ไม่ว่างเว้นเอย เจ้าดอกล�ำดวนเอย เจ้าดอกล�ำดวนเอ๋ย ชวนให้เชยชม สังขยาเจ้าเอย ทั้งขนมตาล ทองหยิบฝอยทอง ล้วนแต่ของหวาน ช่างน่ารับประทาน เสียจริงเอย เจ้าขนมครองแครงเอย หม้อแกงขนมถ้วย ขนมชั้นขนมกล้วย กินด้วยกัน สามแซ่แช่อิ่ม ปลากริมไข่เต่า กล้วยแขกข้าวเม่า มาแบ่งปันกัน อร่อยทั่วกัน ทั้งวงเอย ดอกเอ๋ย เจ้าดอกชมนาด อยู่ในวงปี่พาทย์ สบายใจเอย

201

(ดนตรีรับ) (ดนตรีรับ)

บทร้องเพลงขนมหวานข้างต้นส�ำหรับขับร้องในวงปี่พาทย์ แต่ถ้าน�ำไปขับร้องในวง มโหรีบทร้องตอนท้ายจะเป็น ดังนี้

น�้ำเอ๋ยน�้ำกรีนที

อยู่ในวงมโหรีสบายใจเอย

เพลงเด็ก เพลงเด็กของมอญ เป็นเพลงที่ผู้ใหญ่ร้องให้เด็กฟังหรือเป็นเพลงที่เด็กๆ ร้องเล่นกัน เพลงเด็กดังกล่าวนี้เป็นเพลงสั้นๆ สาระของเนื้อเพลงมีทั้งที่เป็นเรื่องมีสาระหรือเรื่องไม่เป็น สาระ ส่วนมากเป็นค�ำกลอนง่ายๆ มีจังหวะและท�ำนองเพลงค่อนข้างช้าและมีความส�ำคัญ มากกว่าถ้อยค�ำและความหมายของเพลง เพลงเด็กของมอญมี ๓ ประเภท คือ ๑. เพลง กล่อมเด็ก ๒. เพลงร้องเล่นกับเด็ก และ ๓. เพลงประกอบการเล่นของเด็ก ๑. เพลงกล่ อ มเด็ ก เป็ น เพลงที่ ขั บ ร้ อ งกล่ อ มเด็ ก ให้ น อนหลั บ ท� ำ ให้ เ ด็ ก รู ้ สึ ก เพลิดเพลินหลับง่าย เสียงเพลงขับกล่อมที่เกิดจากความรักความเอ็นดู ด้วยการเปล่งเสียง ขับร้องที่นุ่มนวล แสดงความรู้สึกผูกพันน่าทะนุถนอม เพลงที่น�ำมาร้องกล่อมเด็ก เป็นเพลงที่มีท�ำนองช้าๆ เนื้อหาของเพลงมีทั้งที่เป็นสาระ และไม่มีสาระ บางครั้งผู้ร้องนึกอะไรขึ้นมาได้ก็ร้องออกมาด้วยท�ำนองช้าๆ หรือท�ำเสียงดนตรี ด้วยการเปล่งเสียงเป็นเสียงกลอง เสียงฆ้อง เป็นต้น ตัวอย่าง เพลงร้องกล่อมเด็กให้เด็กนอนของมอญ


202

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงนกขุนทอง ค�ำมอญ แปลเป็นไทย ซาร้อยกา นุ่มปะดัวคะราง นกขุนทองเอย เจ้าอยู่ในกรง เตี้ยะกรางโล่ฮา ซาร้อยกา ถูกขังไว้ เจ้าขุนทองเอ๋ย ซาร้อยกา โต้งคะลาจก์ เจ้ากระโดดโลดเต้น เจ้าขุนทองเอ๋ย เปี้ยะกั่ว เมี้ยะลาจก์ฮีฮา แมวจ้องมองอยู่ ซาร้อยกา เจ้าขุนทองเอ๋ย ซาร้อยกา เจี้ยอ้ะนะ ขุนทองเอย เจ้ากินอาหาร ก๊กต๊ะละฮา ซาร้อยกา ร้องเรียกเจ้าของ เจ้าขุนทองเอ๋ย

เพลงกล่ อ มเด็ ก ของมอญมี ก ารแต่ ง ขึ้ น เป็ น บทวรรณกรรม โดยเฉพาะมี อ ยู ่ ใ นวรรณกรรมมอญ เช่ น พุ ท ธประวั ติ ตอนพระนางยโสธราพิ ม พา ร้องกล่อมพระราหุล หรือบทเพลงกล่อมเด็กให้รู้จัก คุ ณ พระพุ ท ธ คุ ณ พระธรรมและคุ ณ พระสงฆ์ ผู ้ ที่ สามารถขับร้องบทเพลงดังกล่าวน�ำมาขับกล่อมเด็กได้ มีเฉพาะผูท้ ไี่ ด้ฝกึ และท่องจ�ำบทร้องได้เท่านัน้ เพราะเพลงกล่อมเด็กทีป่ รากฏในวรรณกรรมนัน้ มีท�ำนองและเนื้อเพลงที่มากและยากกว่าเพลงกล่อมเด็กทั่วๆ ไป ๒. เพลงร้องเล่นกับเด็ก เพลงประเภทนี้เป็นเพลงที่ผู้ใหญ่ร้องล้อเล่นกับเด็กด้วย ความเมตตา เอ็นดูเด็กๆ เช่น เพลงแม่โยนลูก ผู้ใหญ่ร้องหยอกล้อเด็กอุ้มเด็กไปด้วย ปากก็ ร้องหยอกล้อเด็กด้วยค�ำร้องและท�ำนองง่ายๆ เช่น ค�ำมอญ โกนมิ้ห์ โกนมิ้ห์ อิม กามิ้ห์ ฮา อะลอเมี้ยะโกนอา แตมฮาโกน มิ้ห์ เฮมา เฮมา เกลิงม่ง เกลิงม่ง ตะงัว โญ่งโญ่ง ฮองซาโน่นเมียะรุ้ เยี้ยเต๊ะ โญ่ง โญ่ง ล่งควาตัวปรุ โกนมิห์เลี้ยะปะอานุ้ห์ จุ้เจี้ยะอายกะมาย เชอระกลุ๊ย่าย น่ายจุ๊ป๊ะซะเมิน

แปลเป็นไทย ลูกแม่ ลูกแม่ ลูกยิ้มให้แม่นะ พ่อเขาไปไหนเอ่ย ลูกแม่รู้ไหมหนอ เฮมา เฮมา พ่อก�ำลังมา พ่อก�ำลังมา วันนี้หงสามีปราสาทสวย พรุ่งนี้ดีใจได้ร่วมตบมือ ลูกแม่อย่าเกียจคร้าน มรดกปู่ย่าตายาย ลูกดูซิ ปู่จะได้เป็นเจ้านาย


ปี่พาทย์มอญรำ�

203

๓. เพลงประกอบการเล่นของเด็กมอญหรือเพลงเด็กเล่น เป็นเพลงที่เด็กมอญ น�ำมาร้องเล่นกัน หรือเพลงที่ผู้ใหญ่สอนเด็กด้วยการให้ร้องเพลงพร้อมกับการเล่นของ เด็ ก ๆ เพลงประเภทนี้ มั ก จะมี ส าระในเชิ ง ให้ ส ติ ให้ ค วามรู ้ แ ก่ เ ด็ ก โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การให้เด็กได้รู้จักการท�ำตัวให้เป็นคนดี เช่น เพลงเล่นให้เป็นเพื่อน และเพลงเล่นแล้วต้อง อ่านหนังสือ เป็นต้น

เพลงเล่นให้เป็นเพื่อน ค�ำมอญ แปลเป็นไทย ว่านกอโต๊ะฮ์รั่ว เล่นให้เป็นเพื่อนกัน ว่านมิ้บญี่ซะเม้าะฮ์ เล่นสนุกสุขพร้อมเพรียง ว่านกอโต๊ะฮ์รั่ว เล่นให้เป็นเพื่อนกัน เญี้ยะอัวป๊ะกรั่วแล้ก พวกเราอย่าทะเลาะกัน

เพลงเล่นแล้วต้องอ่านหนังสือ

ค�ำมอญ ว่านตุยโป้ะฮ์เลิ้ด ว่านมิ้บท้อดเยิ้ก เลิ้ดเลี้ยะป๊ะเวิ้ด ตุยโต้ะฮ์เกิ้ดโป้ะฮ์ญิฮ์

แปลเป็นไทย เล่นกันแล้วต้องไปอ่านหนังสือ เล่นสนุกได้พลังแข็งแรง แต่อย่าลืมหนังสือ เล่นแล้วให้มุมานะไม่ละการอ่านหนังสือ

เพลงเด็กภาษามอญ เป็นค�ำสอนส�ำหรับเด็ก ที่มา : ๒๐ ปี ชมรมเยาวชนมอญ กรุงเทพฯ. (๒๕๓๙) กรุงเทพฯ: เทคโปรโมชั่นแอนด์แอดเวอร์ไทซิ่ง, น.๑๒๗.


ภาพจิตรกรรมในพิพิธภัณฑ์มอญ เมืองเมาะละแหม่ง ที่แสดงให้เห็นถึงนาฏลีลาระบ�ำร�ำฟ้อนของมอญที่มีมาแต่โบราณ


๕ นาฏลีลาระบ�ำร�ำฟ้อนของมอญ นาฏลีลาเป็นการสื่อความโดยใช้อิริยาบถของร่างกายเคลื่อนไหวไปในอาการต่างๆ ที่ เ รี ย กอาการเคลื่อ นไหวดัง กล่าวนี้ว่า ร่ า ยร� ำ ผู้ร่ายร�ำต้องการสื่อความหมายของการ เคลื่อนไหวร่างกายของตนแก่ผู้อื่นซึ่งเป็นมนุษย์ด้วยกันหรือเป็นสิ่งที่นอกเหนือธรรมชาติ เป็ น ที่ รั บ รู ้ ใ นสั ง คมในชุ ม ชนนั้ น ๆ จนเป็ น ที่ ย อมรั บ ในสั ง คม และได้ เ ป็ น ขนบประเพณี ความเชื่อตลอดถึงความเป็นศิลปะของสังคม นาฏศิลป์ของมอญมีลักษณะเป็นการสื่อความโดยอาศัยร่างกาย ที่ถ่ายทอดออกมา เป็นอาการร�ำฟ้อนด้วยลีลาท่าทางต่างๆ และเป็นผลผลิตทางภูมิปัญญาของคนมอญที่ได้ รักษาสืบต่อกันมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันนี้ นาฏศิลป์ของมอญเมื่อน�ำมาพิจารณาใน ความเป็ น สื่ อ ที่ มี บ ทบาทในสั ง คมมอญ ผู ้ รั บ สื่ อ ที่ น าฏศิ ล ป์ ม อญน� ำ เสนอให้ จึ ง ท� ำ ให้ นาฏศิลป์มอญมีหลายประเภท ตามบทบาทและหน้าที่ของสื่อคือนาฏศิลป์มอญนั้นเอง แต่ สาระส�ำคัญของการน�ำเสนอสื่อและผู้รับสื่อสามารถก�ำหนดประเภทได้ ดังนี้ ๑. นาฏศิลป์มอญที่เป็นสื่อกับผู้ชม ผู้ชมในที่นี้มีทั้งผู้ที่เป็นมนุษย์ด้วยกันและผู้ที่ เชื่อว่าเป็นผู้อยู่เหนือธรรมชาติ เช่น เทพต่างๆ การฟ้อนร�ำนี้ ได้แก่ การร�ำอัญเชิญพระสู่ สรวงสวรรค์ร�ำรับพระสู่ทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ มอญร�ำ ร�ำเจ้า ร�ำสามถาด การฟ้อนร�ำ ประเภทนี้เป็นการสื่อความหมายที่สูงกว่าการฟ้อนร�ำอื่นๆ และให้ความส�ำคัญแก่ผู้รับสื่อ มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ด้วยกันหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ ๒. นาฏศิลป์มอญทีเ่ ป็นสือ่ กับผูร้ ว่ มแสดง นาฏศิลป์ประเภทนีจ้ ะไม่มงุ่ เน้นความหมาย แต่ จ ะมี ก ารใช้ ค วามรู ้ สึ ก เพื่ อ สร้ า งความบั น เทิ ง มากกว่ า การใช้ ค วามหมาย ซึ่ ง มี อ ยู ่ ใ น การฟ้อนร�ำประกอบการขับร้องในการแสดงทะแยมอญ เช่น ท่าร�ำที่แสดงการเกี้ยวพาราสี ของฝ่ายชายที่มีความหมายเพื่อสร้างความรู้สึกให้แก่ผู้ร่วมฟ้อนร�ำที่จะร้องโต้ตอบ ๓. นาฏศิลป์ที่สื่อความแก่กลุ่ม นาฏศิลป์ของมอญประเภทนี้จะให้ความส�ำคัญแก่ กลุ่มบุคคลที่มีกิจกรรมร่วมในการจัดร�ำฟ้อนเป็นวัตถุประสงค์หลัก และให้ความสนใจแก่ ผู้ชมเป็นวัตถุประสงค์รอง เช่น ร�ำอาวุธ ร�ำมวย


206

ปี่พาทย์มอญรำ�

ระบ�ำร�ำฟ้อนนาฏกรรมมอญ ร�ำ เป็นค�ำรวมที่หมายถึงการฟ้อนหรือระบ�ำร�ำเต้นเป็นท่าทาง ระบ�ำร�ำฟ้อนของมอญ มีการร่ายร�ำเป็นท่าทางต่างๆ ที่เรียกว่า “การทรงตัว” ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นสามัญลักษณะของ ประเพณี ก ารละเล่ น ฟ้ อ นร� ำ หรื อ ระบ� ำ ร� ำ เต้ น ของผู ้ ค นทั้ ง หลายทั้ ง ไทย มอญ ลาว ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อธิบายถึงสามัญลักษณะของการทรงตัวของท่าร�ำว่า ในช่วงบนของ ร่ า งกายตั้ ง แต่ หั ว ไหล่ ไ ปถึ ง บั้ น เอวจะต้ อ งตั้ ง ตรง ช่ ว งแขนทิ้ ง ไว้ ใ ห้ อ ่ อ นไหว ส่ ว นขาให้ เคลื่อนไหวไปตามลีลาของเพลงดนตรี เมื่อเพลงดนตรีลงจังหวะก็ต้องย่อเข่าลงเรียกว่า “ยุบ” เมื่อสิ้นจังหวะดนตรีเรียกว่า “ยืด” โดยที่ให้ขาแต่ละข้างสลับการรับน�้ำหนักตัว (สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๓๒, น.๗๗, ๗๙) ท่าร�ำของมอญมีสามัญลักษณะดังเช่นที่กล่าวนี้เช่นกัน

การฟ้อนร�ำของมอญที่สามารถสืบทอดเป็นสัญลักษณ์ชนชาติมอญ จนถึงปัจจุบัน ในบรรดาการละเล่นและมหรสพต่างๆ ของมอญที่มีหลายประเภทและมีมานานกว่า หนึ่งพันห้าร้อยปีดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เนื่องจากความไม่สงบของบ้านเมืองมอญ ท�ำให้ การละเล่ น และมหรสพของมอญจ� ำ นวนมากวิ บั ติ สู ญ หายไป แม้ แ ต่ หุ ่ น มอญที่ เ คยเล่ น ในสมัยธนบุรีนี้เองก็สูญหายไม่มีใครรู้จัก ที่คงเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้น้อยมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งนาฏศิลป์การระบ�ำร�ำฟ้อนของมอญ การฟ้อนร�ำของมอญที่คงมีอยู่ในชุมชนมอญ ต่างๆ ในประเทศไทยในปัจจุบันมี ดังนี้ ๑. มอญร�ำ ๒. ร�ำในพิธีร�ำเจ้า ๓. ร�ำในพิธีร�ำสามถาด ๔. ร�ำในพิธีร�ำผี ๕. ร�ำประกอบการขับร้องวงเครื่องสายมอญ (ทะแยมอญ) ๖. ร�ำในพิธีอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์ ๗. ร�ำในพิธีรับพระสู่ทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ ๘. ร�ำอาวุธ ๙. ร�ำมวย ๑๐. ร�ำกลองยาว


ปี่พาทย์มอญรำ�

207

พิธีไหว้ผีบรรพบุรุษ (ผีบ้านผีเรือน) บ้านคลองหม่อมแช่ม อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๗)

การร�ำเจ้า บ้านเวี่ยะคะราว พระประแดง (พ.ศ. ๒๕๓๖)

การร�ำผี บ้านบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๕๓๕)


208

ปี่พาทย์มอญรำ�

ประเภทการฟ้อนร�ำของมอญ การฟ้อนร�ำของมอญ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ การฟ้ อ นร� ำ ในพิ ธี ก รรม การฟ้อนร�ำประเภทนี้จัดขึ้นโดยเฉพาะในพิธีกรรม ซึ่ง อาจเป็ น พิ ธี ก รรมที่ จั ด ขึ้ น เป็ น ประจ� ำ ทุ ก ปี หรื อ เมื่ อ มี เ หตุ ก ารณ์ ใ ดเกิ ด ขึ้ น เช่ น มี ก าร เฉลิมฉลองหรือสมโภชศาสนสถาน เป็นต้น การฟ้อนร�ำในพิธีกรรมจึงไม่ใช่มหรสพหรือ การแสดงที่ จ ะจั ด ขึ้ น เมื่ อ ใดก็ ไ ด้ การฟ้ อ นร� ำ ในพิ ธี ก รรมของมอญ ได้ แ ก่ ๑) มอญร� ำ ๒) ร�ำเจ้า ๓) ร�ำสามถาด ๔) ร�ำผี ๕) ร�ำอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์ ๖) ร�ำรับพระสู่ทิพยวิมาน บนสรวงสวรรค์ การฟ้ อ นร� ำ ที่ ไ ม่ เ ป็ น พิ ธี ก รรม การฟ้ อ นร� ำ ประเภทนี้ เ ป็ น การฟ้ อ นร� ำ ประกอบ การขับร้องเพลงทะแยมอญและการร�ำอาวุธ การขับร้องเพลงทะแยมอญเป็นมหรสพหรือ การละเล่นของมอญ ซึ่งใช้แสดงได้ในโอกาสที่ประกอบพิธีกรรมหรือเพื่อความบันเทิงแต่ไม่ใช่ การฟ้อนร�ำในพิธีกรรม นอกจากนั้นการฟ้อนร�ำของมอญยังแบ่งออกในอีกลักษณะหนึ่ง กล่าวคือเป็นการ ฟ้อนร�ำที่มีแบบแผน การฟ้อนร�ำที่ไม่มีแบบแผน แต่เน้นขั้นตอนพิธีกรรมและการฟ้อนร�ำ ที่ไม่มีแบบแผนและไม่เป็นขั้นตอนพิธีกรรม ดังนี้ ๑. การฟ้อนร�ำที่มีแบบแผนและเน้นความถูกต้องสวยงามของท่าร�ำ การฟ้อนร�ำ ประเภทนี้ ได้แก่ มอญร�ำ ร�ำอัญเชิญพระส่สู รวงสวรรค์ ร�ำรับพระสูท่ พิ ยวิมานบนสรวงสวรรค์ และการร�ำอาวุธ การฟ้อนร�ำดังกล่าวนี้ผู้ร�ำต้องผ่านการฝึกมาก่อนเพราะการฟ้อนร�ำมีการ ก�ำหนดเพลง ท่าร�ำ ขั้นตอน และระเบียบในการร�ำไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งความพร้อมเพรียง ของผู้ฟ้อนร�ำด้วย การฟ้อนร�ำประเภทนี้มีการให้ความส�ำคัญแก่ความสวยงามของท่าร�ำ เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร�ำมอญร�ำและการร�ำอาวุธ

มอญร�ำเป็นการฟ้อนร�ำที่มีแบบแผน และเน้นความถูกต้องสวยงามของท่าร�ำ


ปี่พาทย์มอญรำ�

209

๒. การฟ้ อ นร� ำ ที่ เ น้ น ขั้ น ตอนของพิ ธี ก รรม ไม่เน้นท่าร�ำ การร�ำเจ้า ร�ำสามถาด และร�ำผี บางขั้นตอน ของพิธีมีการใช้ท่าร�ำและเพลงประกอบท่าร�ำเป็นการเฉพาะ ของขั้นตอนนั้นๆ แต่ท่าร�ำดังกล่าวนี้ไม่ยุ่งยากและไม่เน้น การร�ำด้วยท่าที่ถูกต้องหรือสวยงาม การร�ำเจ้า ร�ำสามถาด และการร� ำ ผี จ ะเน้ น ที่ ขั้ น ตอนของพิ ธี ก รรมเป็ น ส� ำ คั ญ ผู ้ ฟ้ อ นร� ำ ไม่ จ� ำ เป็นต้อ งผ่านการฝึกซ้อ มมาก่อ น ส�ำหรับ การฟ้ อ นร� ำ ในพิ ธี ร� ำ ผี อ าจมี ก ารแนะน� ำ กั น อย่ า งง่ า ยๆ ถึ ง ขั้ น ตอนการฟ้ อ นร� ำ ให้ แ ก่ ผู ้ ที่ ฟ ้ อ นร� ำ ส่ ว นผู้ ที่ ฟ ้ อ นร� ำ ในพิธีร�ำเจ้าและร�ำสามถาดส่วนมากผู้ร�ำจะมีประสบการณ์ เพราะผ่ า นการจั ด พิ ธี ม าก่ อ นจึ ง สามารถร� ำ ได้ แต่ อย่ า งไรก็ ต ามการร� ำ เจ้ า และร� ำ สามถาดไม่ ไ ด้ เ น้ น ท่ า ร� ำ แต่เน้นขั้นตอนของพิธีเช่นกัน ๓. การฟ้อนร�ำที่ไม่ได้ก�ำหนดแบบแผนของท่าร�ำและไม่เป็นขั้นตอนพิธีกรรม การร�ำประเภทนี้ ได้แก่ การฟ้อนร�ำประกอบการขับร้องเพลงทะแยมอญ ในขณะที่ขับร้อง เพลงทะแยมอญมีการร่ายร�ำของพ่อเพลงแม่เพลงประกอบการขับร้องไปด้วย การฟ้อนร�ำ ดังกล่าวนี้ไม่ได้ก�ำหนดแบบแผนของท่าร�ำ ผู้ฟ้อนร�ำจะร่ายร�ำตามจังหวะของเสียงดนตรี เครื่องสายมอญด้วยท่าร�ำที่อ่อนช้อยพองาม และไม่ได้ก�ำหนดท่าร�ำว่าต้องมีแบบแผน อย่างใด การเล่นเพลงทะแยมอญจะเน้นที่ค�ำร้องที่เป็นกลอนสดที่แสดงปฏิภาณไหวพริบ เป็นเพลงปฏิพากย์มากกว่าความสวยงามของท่าร�ำ

การฟ้อนร�ำที่ไม่ได้ก�ำหนดแบบแผนท่าร�ำในการแสดงทะแยมอญ แต่เน้นค�ำร้องของเพลง


การฟ้อนร�ำประกอบการขับร้องเพลงทะแยมอญ ไม่เน้นแบบแผนท่าร�ำ แต่จะเน้นที่ค�ำร้องที่เป็นกลอนสด ที่แสดงปฏิภาณไหวพริบมากกว่าความสวยงามของท่าร�ำ (ทะแยมอญคณะหงส์ฟ้ารามัญ บ้านบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร) (พ.ศ. ๒๕๕๑)


ปี่พาทย์มอญรำ�

211

การฟ้อนร�ำของมอญทุกประเภทดังกล่าวข้างต้นมานั้น เป็นการฟ้อนร�ำที่ต้องมีดนตรี บรรเลงประกอบการฟ้อนร�ำ การฟ้อนร�ำของมอญร�ำ ร�ำเจ้า ร�ำสามถาด ร�ำผี ร�ำอัญเชิญพระ ส่สู รวงสวรรค์และร�ำรับพระสูท่ พิ ยวิมานบนสรวงสวรรค์ เป็นการฟ้อนร�ำในพิธกี รรมทีต่ อ้ งบรรเลง ปี่พาทย์มอญประกอบการร�ำ แต่การร�ำประกอบการร้องทะแยมอญใช้วงเครื่องสายมอญ บรรเลงคลอไปกับการขับร้อง

ร�ำเจ้า ตามคติความเชื่อของคนมอญที่ว่าทุกหมู่บ้านตลอดจนถึงเมืองต่างๆ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจ�ำหมู่บ้าน ประจ�ำเมือง มอญเรียกว่า เปี้ยะจุ๊ ซึ่งเป็นชื่อเรียกเจ้าพ่อประจ�ำหมู่บ้านหรือ เจ้าพ่อประจ�ำเมือง ตามหมู่บ้านมอญหรือชุมชนมอญจึงมักมีการสร้างศาลเจ้าเพื่อเป็นที่สถิต ของเจ้ า พ่ อ เช่ น เดี ย วกั บ ตามวั ด มอญทุ ก วั ด จะต้ อ งมี ศ าลเจ้ า ประจ� ำ วั ด มอญเรี ย กว่ า “ตะละทาน” ท้ายเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีหมู่บ้านมอญจะมีพิธีท�ำบุญหมู่บ้าน เรียกว่า ท�ำบุญ กลางบ้าน มีการท�ำบุญเลี้ยงพระที่บริเวณศาลเจ้าหรือที่ใดที่หนึ่งในหมู่บ้าน เช่น ลานหรือ ศาลาสาธารณะในหมู่ บ ้ า น ชาวบ้ า นจะมาร่ ว มกั น ท� ำ บุ ญ เลี้ ย งพระในช่ ว งเวลาตอนเช้ า ตอนบ่ า ยจะมี พิ ธี ร� ำ เจ้ า ที่ บ ริ เ วณศาลเจ้ า หรื อ สถานที่ ที่ ช าวบ้ า นจั ด เตรี ย มไว้ ส� ำ หรั บ จั ด พิธีร�ำเจ้า พิ ธี ร� ำ เจ้ า ต้ อ งมี ป ี ่ พ าทย์ ม อญมาประโคมและบรรเลงตลอดเวลาที่ ท� ำ พิ ธี ร� ำ เจ้ า ผู้ร�ำส่วนมากจะเป็นสตรี

ตะละทานที่วัดฉิมพลีสุทธาวาส ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๒๕ (ปัจจุบันรื้อไปแล้ว)


212

ปี่พาทย์มอญรำ�

การรำ�เจ้าเป็นการรำ�ที่เน้นขั้นตอนของพิธีกรรมไม่เน้นท่ารำ� การร�ำเจ้าเป็นการร�ำในพิธีเพื่อบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เจ้าพ่อ เจ้าแม่ ประจ�ำหมูบ่ า้ นหรือประจ�ำเมือง” ขัน้ ตอนของการบวงสรวงจึงเป็นสาระส�ำคัญ การร�ำ เป็ น เพี ย งส่ ว นประกอบของขั้ น ตอนต่ า งๆ ของพิ ธี ก รรม ท่ า ร� ำ ไม่ ไ ด้ มี ค วามส� ำ คั ญ หรื อ ไม่ ไ ด้ ก� ำ หนดไว้ เ ป็ น แบบแผน ท่ า ร� ำ ในพิ ธี ร� ำ เจ้ า มี ก ารก� ำ หนดไว้ ว ่ า ในแต่ละขั้ น ตอนนั้ น มีท่าร�ำอย่างไร ผู้ร�ำต้องท�ำอะไรในขั้นตอนของพิธีกรรมนั้นๆ ไปพร้อมกับการฟ้อนร� ำ ซึ่ง การฟ้อนร�ำในท่าร�ำนั้นๆ เป็นขั้นตอนหนึ่งๆ ของพิธีกรรมด้วย แต่เป็นท่าร�ำง่ายๆ เช่น การร�ำ ถวายเครื่องเซ่นไหว้ การร�ำดาบ การร�ำใบไม้ เป็นต้น ผู้ร�ำเจ้าไม่ต้องฝึกหรือซ้อมการร�ำ มาก่ อ นก็ ส ามารถร�ำได้ เมื่อ ได้ดูจ ากการฟ้อ นร�ำของผู้ที่ร่วมฟ้อนร�ำด้วยกัน ทั้งนี้เ พราะ การร�ำเจ้าในแต่ละแห่งจะมีผู้ร�ำหลายคน ผู้ร�ำบางคนได้ร�ำเจ้ามาเป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน นับสิบๆ ปี ย่อมเป็นแม่แบบให้ผู้เริ่มร�ำได้เป็นอย่างดี

ปี่พาทย์มอญ พิธีร�ำเจ้าที่บ้านกวานโต้ ต�ำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๖)

ร�ำเจ้าที่บ้านกวานโต้ ต�ำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๖)


ปี่พาทย์มอญรำ�

213

ผู ้ ร� ำ เจ้ า ต้ อ งเริ่ ม ด้ ว ยการแต่ ง ตั ว ด้ ว ยเสื้ อ ผ้ า แบบมอญที่ ไ ด้ เ ตรี ย มจั ด ไว้ พ ร้ อ ม มี ช าวบ้ า นที่ อ ยู ่ ใ นพิ ธี จ ะช่ ว ยแต่ ง ให้ การร� ำ จะด� ำ เนิ น ตามขั้ น ตอนของพิ ธี เฉพาะที่ เ ป็ น ขั้นตอนส�ำคัญมีดังนี้ คือ มอญ

ร�ำเชิญเจ้าพ่อหรือเจ้าแม่สโู่ รงพิธี ผูร้ ำ� จะร�ำด้วยมือเปล่าตามจังหวะของปีพ่ าทย์

ร� ำ ถวายเครื่ อ งเซ่ น ไหว้ ผู ้ ร� ำ จะยกถาดเครื่องเซ่นไหว้จากผู้ส ่ง ถาดด้ว ยมือ ทั้ ง สองไว้ เ สมออก หั น หน้ า ไปทางศาลเจ้ า ร� ำ โยกตั ว ทางด้ า นซ้ า ยและขวาในท่ า ยุ บ ย่อเข่า และยืดยกล�ำตัวโยกทางขวาและทางซ้ายสลับกันประมาณ ๑ นาที และส่งคืนถาด เพื่อรับถาดอื่นและร�ำไปจนครบทุกถาด

ถาดเครื่องเซ่นไหว้ร�ำเจ้าที่ชาวบ้านจัด บ้านละ ๑ ถาด บ้านกวานโต้ เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๖)

ชาวบ้านจะจัดถาดเซ่นไหว้บ้านละ ๑ ถาด ถ้าในหมู่บ้านนั้นมีหลายครัวเรือน จ�ำนวน ถาดเซ่นไหว้จะมีมาก และถ้าผู้ร�ำมีหลายคนการร�ำในขั้นตอนนี้จะใช้ผู้ร�ำได้มากกว่า ๑ คน ปี่พาทย์บรรเลงประโคมเพลงอะเชิน ซึ่งเป็นเพลงที่มีจังหวะช้า การร�ำถวายเครื่องเซ่นไหว้ อาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมงถ้ามีเครื่องเซ่นไหว้มาก


214

ปี่พาทย์มอญรำ�

ร�ำดาบ ๒ มือ ในพิธีร�ำเจ้าบ้านเวี่ยะคะราว อ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (พ.ศ. ๒๕๓๖)

การร�ำดาบสองมือ ผู้ร�ำใช้มือทั้งสองจับดาบมือละหนึ่งเล่ม ร่ายร�ำในจังหวะ เพลงร�ำดาบที่มีจังหวะเร็ว ร่ายร�ำในท่ากวัดแกว่งดาบ ร�ำใบไม้ ผู้ร�ำใช้มือจับใบขาไก่ด�ำหรือใบหว้าที่ก�ำไว้มือละหนึ่งก�ำ ร�ำเพลงร�ำใบไม้ ตามจังหวะของปี่พาทย์มอญที่มีจังหวะเร็ว ร�ำทุ่มมะพร้าว ผู้ร�ำใช้มือด้านหนึ่งถือมะพร้าวแห้งที่ปอกเปลือกและเกลาผิวไว้ เรียบร้อย มืออีกข้างหนึ่งร่ายร�ำและโยกตัวไปตามจังหวะเพลงของวงปี่พาทย์มอญ การร�ำดาบและร�ำใบไม้จะมีหลายครั้งตลอดเวลาที่ประกอบพิธี เช่นเดียวกับการ ร่ า ยร� ำ มื อ เปล่ า ผู ้ ร� ำ บางคนอยู ่ ใ นอาการควบคุ ม ตนเองไม่ ไ ด้ แต่ ส ามารถร่ า ยร� ำ ตาม จังหวะเพลงที่วงปี่พาทย์มอญบรรเลงอยู่ได้ เสียงประสานที่ทุ้มกังวานและย�้ ำจังหวะท่า ร่ายร�ำจากเสียงของตะโพนมอญที่ท�ำให้พิธีดูมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง พิธีร�ำเจ้าใช้เวลาประมาณ ๒ - ๓ ชั่วโมง เครื่องดนตรีใช้วงปี่พาทย์มอญ


ปี่พาทย์มอญรำ�

215

ร�ำสามถาด ร�ำสามถาด มอญเรียกว่า “เล่ ะ ห์ ก ะนาย” หรือ เล่ ะ ห์ ต ะละทาน เป็นการร�ำที่ เป็ น พิ ธี ก รรมอย่ า งหนึ่ ง ของมอญ ที่ จั ด ขึ้ น เพื่ อ เป็ น การอั ญ เชิ ญ และเซ่ น ไหว้ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เมื่ อ จะจั ด งานส� ำ คั ญ ทั้ ง งานมงคลและอวมงคล เช่ น การยกยอดปราสาทหรื อ การจั ด งานศพพระ งานศพผู้มีวัยวุฒิ คุณวุฒิในชุมชน เป็นต้น การร�ำสามถาดมีการร�ำคล้ายการร�ำเจ้า แต่ขั้นตอนของพิธีกรรมและการร�ำมีน้อยกว่า การร� ำ เจ้ า ต้ อ งมี ป ี ่ พ าทย์ ม อญบรรเลงประกอบการร� ำ เช่ น เดี ย วกั บ พิ ธี ร� ำเจ้ า ที่ เ รี ย กพิ ธี ร�ำสามถาดนั้นเนื่องจากเครื่องเซ่นไหว้ที่ใช้ในพิธีมีเพียง ๓ ถาด เท่านั้น ไม่มีเครื่องเซ่นไหว้ มากเหมือนพิธีร�ำเจ้า ผู้ร�ำเป็นชายหรือหญิงก็ได้ จ�ำนวนผู้ร�ำ ๑ คน แต่ถ้าผู้ร�ำสูงอายุอาจใช้ ผู้ร�ำมากกว่า ๑ คน แต่ไม่เกิน ๓ คน ทั้งนี้เครื่องเซ่นไหว้แต่ละถาดจะมีน�้ำหนักมาก ผู้ร�ำ ที่สูงอายุจะต้องยกถาดที่หนักพร้อมกับฟ้อนร�ำที่ใช้เวลาจึงมักจัดให้มีคนร�ำมากกว่า ๑ คน แต่ไม่เกิน ๓ คน โดยให้ฟ้อนร�ำคนละ ๑ ถาด การร�ำจะร�ำครั้งละถาดตามล�ำดับไปจนครบ ๓ ถาด การร� ำ สามถาดจะจั ด ขึ้ น ที่ วั ด วั ด มอญทุ ก วั ด จะมี ศ าลเจ้ า ประจ� ำ วั ด ที่ เ รี ย กว่ า ตะละทาน จึงเรียกในภาษามอญอีกชื่อหนึ่งว่า เล่ะห์ตะละทาน ท่าร�ำแต่ละขัน้ ตอนของพิธรี ำ� สามถาดและเพลงประโคมของวงปีพ่ าทย์มอญ เหมือนกับ การร�ำในพิธีร�ำเจ้า แต่พิธีร�ำสามถาดจะใช้เวลาน้อยกว่า การร�ำสามถาด มีขั้นตอนที่ส�ำคัญตามล�ำดับ ดังนี้ ร�ำถวายเครื่องเซ่นไหว้ ร�ำดาบ ร�ำใบไม้ ร�ำกระสวยทอผ้า มือทั้งสองถือกระสวยมือละ ๑ อัน ร่ายร�ำด้วยการเคลื่อนไหว มือทั้งสองพร้อมโยกกายไปตามจังหวะเพลงของวงปี่พาทย์มอญ การร�ำมือเปล่า ผูร้ ำ� จะร�ำมือเปล่าไม่ถอื สิง่ ใดๆ สลับกับการร�ำถวายเครือ่ งเซ่นไหว้ ร�ำดาบ หรือร�ำใบไม้

• • • • •

พิธีรำ�สามถาดในพิธียกยอดปราสาท ตามคติความเชื่อของคนมอญที่มีความเชื่อว่า ปราสาทเป็นอาคารที่สร้างขึ้นส�ำหรับ ประดิษฐานสิ่งเคารพบูชา หรือเป็นที่สถิตของผู้ที่ควรแก่การเคารพกราบไหว้ เช่น เป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเป็นที่สถิตของเทพหรือที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ในพิธี ฌาปนกิจศพพระสงฆ์มอญ คนมอญจะสร้างปราสาทส�ำหรับฌาปนกิจศพพระและจัดพิธี ยกยอดปราสาท ในพิธียกยอดปราสาทจะมีพิธีร� ำสามถาดในขณะท�ำพิธียกยอดปราสาท และมีปี่พาทย์มอญบรรเลงประกอบในการร่ายร�ำด้วย


เครื่องพิธีร�ำสามถาด

ร�ำถวายเครื่องเซ่นไหว้

ร�ำดาบ

ร�ำใบไม้

ร�ำกระสวยทอผ้า

ร�ำมือเปล่า

การร�ำสามถาด โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี ร�ำในงานยกยอดปราสาทงานศพพระไตรสรณธัช (มาลัย ปุปผทาโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐


ปี่พาทย์มอญรำ�

217

ร�ำผี สังคมของคนมอญมีการก�ำหนดจารีตที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้น้อยและผู้ใหญ่ ผู้เป็นลูกหลานกับปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ซึ่งเป็นผู้อาวุโสในตระกูล แต่ละครอบครัวของ คนมอญจะมีความเชือ่ ในสัมพันธภาพระหว่างผูอ้ าวุโสในครอบครัวกับผูเ้ ป็นลูกหลานด้วยการที่ ลูกหลานต้องยกย่องเคารพบรรพบุรุษของตนในฐานะเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ ลูกหลานต้อง กตัญญูรู้คุณของบรรพบุรุษด้วยการเคารพบูชา ในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการก�ำหนดกรอบ ของจริยธรรมและคุณธรรมโดยอาศัยความเชื่อเช่นนี้ นอกจากจะก�ำหนดวิธีที่ต้องปฏิบัติ เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณของบรรพบุรุษแล้ว ปราชญ์มอญได้ก�ำหนดข้อห้ามมิให้ลูกหลาน ในตระกูลกระท�ำการอันใดที่เป็นการ “ผิดผี” เมื่อมีการผิดผีจะเกิดทุกข์ยากกับคนในครัวเรือน ซึ่งจะต้องมีการ “ร�ำผี” เพื่อเป็นการขอขมาขอโทษต่อบรรพบุรุษ การร�ำผีในกรณีนี้จึงไม่ เกิดขึ้นบ่อยนักและเป็นเรื่องที่แต่ละครอบครัวไม่ต้องการให้เกิดขึ้น

พิธีร�ำผี บ้านบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๕๓๕)


218

ปี่พาทย์มอญรำ�

แต่การร�ำผีในบางกรณีต้องจัดขึ้นไม่ใช่เพราะผิดผี แต่จัดขึ้นเพื่อขอบคุณบรรพบุรุษ ที่ช่วยให้การบนบานไว้สัมฤทธิผล เช่น หายจากการเจ็บป่วยหรือการท�ำงานส�ำเร็จผล เป็นต้น การร� ำ ผี เ ป็ น การร� ำ ตามขั้ น ตอนของพิ ธี ก รรม ไม่ มี แ บบแผนท่ า ร� ำ ที่ ก� ำ หนดไว้ ว ่ า ต้องร�ำด้วยท่าร�ำอะไร แต่มีเจ้าพิธีที่มอญเรียกว่า “โต้ง” เป็นผู้ก�ำกับขั้นตอนต่างๆ ของพิธี ทุกขั้นตอนต้องมีสมาชิกในครอบครัวมาร่วมพิธีด้วยการร่ายร� ำตามขั้นตอนต่างๆ โดยมี ปี่พาทย์มอญบรรเลงประโคมทุกขั้นตอนของพิธีกรรม การบรรเลงปี่พาทย์ถูกก�ำหนดไว้ ชั ด เจนว่ า ขั้ น ตอนของพิธีต อนใดต้อ งบรรเลงเพลงอะไร แต่ท่า ร�ำไม่ได้ก�ำหนดท่าร�ำ ไว้ เพียงแต่ผู้ร�ำร่ายร�ำไปด้วยท่าร�ำง่ายๆ หรือร่ายร�ำตามที่โต้งแนะน�ำหรือร�ำให้ดูเป็นตัวอย่าง พิธีร�ำผีเริ่มตั้งแต่ประมาณ ๐๗.๐๐ น. จนถึงเวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. พิธีร�ำผีของ บางตระกูลมีต่อเนื่องถึงเวลากลางคืน ขั้นตอนของพิธีจึงมีมากการร�ำจึงด�ำเนินไปตลอดทั้งวัน ผู ้ ร� ำ คื อ ผู ้ ที่ เ ป็ น สมาชิ ก ในตระกู ล ที่ จั ด พิ ธี ร� ำ ผี เ ท่ า นั้ น (ยกเว้ น ผู ้ ที่ ม าช่ ว ยจั ด พิ ธี ) ผู ้ ร� ำ ส่วนมากเป็นผู้หญิง การร�ำผีจึงไม่ได้ก�ำหนดว่าจะต้องร�ำให้ถูกต้องหรือต้องร�ำให้สวยงาม ท่าร�ำในพิธีร�ำผีส่วนใหญ่จะเป็นท่าร�ำที่ใช้ในพิธีร�ำเจ้าและร�ำสามถาด คือ ร�ำถวาย เครื่องเซ่นไหว้ ร�ำดาบ ร�ำใบไม้ แต่ในพิธีร�ำผีมีท่าร�ำที่มากกว่าพิธีร�ำเจ้าและพิธีร�ำสามถาด เช่น ร�ำหอก หอกมีความยาวประมาณ ๑ วา ผู้ร�ำจับหอกด้วยมือทั้งสอง ท่าร�ำคล้ายกับ ท่าพุ่งหอก ปี่พาทย์บรรเลงเพลงร�ำหอก ผู้ร�ำร่ายร�ำไปตามจังหวะของเพลง ร�ำกระทบไม้* ท่าร�ำนี้คล้ายกับท่าร�ำลาวกระทบไม้ ใช้ไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ เมตร ๒ ล� ำ หรื อ สากต�ำข้าว ๒ อัน วางขนานกันที่พื้นดิน ตรงปลายทั้งสองข้า งของล�ำไม้ไผ่ หรือสากต�ำข้าวมีคนนั่งจับที่ส่วนปลายของล�ำไม้ไผ่หรือสากจับให้กระทบกัน มีผู้ร่ายร�ำ พร้อมกับก้าวเท้าลงในระหว่างล�ำไม้ไผ่หรือสากต�ำข้าว การฟ้อนร�ำอื่นๆ ตามขั้นตอนของพิธีกรรม ผู้ร�ำจะฟ้อนร�ำไปตามจังหวะของเพลงที่ บรรเลงด้วยท่าร�ำที่ไม่ได้ก�ำหนดรูปแบบ ด�ำเนินไปจนเสร็จพิธี

* ร�ำกระทบไม้ เป็นการเล่นของกลุม่ ชนหลายแห่งในประเทศไทย เช่น ชาวแสก จังหวัดนครพนมทีเ่ รียกว่า แสกเต้นสาก และการเล่นของชาติต่างๆ ในทวีปเอเชีย เช่น ร�ำลาวกระทบไม้ของลาว เขมรและ การละเล่นของชาวฟิลิปปินส์


ปี่พาทย์มอญรำ�

ร�ำอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์

219

พระสงฆ์เป็นปูชนียบุคคลที่คนมอญให้ความเคารพนับถือมาก เมื่อพระสงฆ์มรณภาพ คนมอญจึ ง จั ด พิ ธี ศ พอย่ า งยิ่ ง ใหญ่ ด ้ ว ยความศรั ท ธาว่ า พระสงฆ์ ผู ้ ม รณภาพนั้ น ได้ ไ ปสู ่ สรวงสวรรค์ ในพิธีฌาปนกิจศพพระจึงมีพิธีที่ส�ำคัญคือ พิธีอัญเชิญศพพระ ด้วยการสร้าง ปราสาทหลังใหญ่พอที่จะให้คน ๓๒ คน แบกขึ้นไว้บนบ่า เมื่อเชิญศพขึ้นไว้บนปราสาท แล้ว ชาวบ้านจะมาร่วมกันแห่ปราสาทที่ตั้งศพพระ การแห่นี้จะมีการขับร้องและฟ้อนร�ำไป พร้อมกับมีการบรรเลงปี่พาทย์มอญ พิธีนี้จัดขึ้นเพื่อร�ำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลตาม ความเชื่อของคนมอญที่ว่า เมื่อครั้งที่ถวายเพลิงพระพุทธสรีระนั้นบรรดาเทพยดานางฟ้า ต่ า งลงมาบู ช าพระพุ ท ธสรี ร ะ เทพยดาต่ า งแย่ ง กั น แห่ พ ระพุ ท ธสรี ร ะเพื่ อ จะอั ญ เชิ ญ พระพุทธสรีระไปประดิษฐานบนสรวงสวรรค์ ต่างน�ำปราสาททองมาอัญเชิญพระพุทธสรีระ พร้อมดุริยางค์ดนตรีและเทพบุตรเทพธิดามาร่วมแห่ปราสาททองพร้อมกับการจัดระบ�ำ ร� ำ ฟ้ อ น นอกจากนั้ น คนมอญเชื่ อ ว่ า พระสงฆ์ ที่ ม รณภาพแล้ ว ย่ อ มไปสถิ ต ที่ ส รวงสวรรค์ จึงได้จัดพิธีเช่นนี้ ด้วยความเชื่อดังกล่าวในการจัดพิธีฌาปนกิจศพพระสงฆ์มอญ ชุมชนมอญต่างๆ จะจัดสร้างปราสาทเพื่อแห่ศพพระสงฆ์ ในพิธีนี้มีการฟ้อนร�ำขับร้องประโคมดนตรีด้วย ศรัทธามั่น การฟ้อนร�ำแบ่งผู้ร�ำเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑. กลุ่มนางฟ้าฟ้อนร�ำ ผู้ร�ำเป็นสตรีประมาณ ๒๐ คน ร่ายร�ำไปตามจังหวะของ ปี่พาทย์มอญพร้อมขับร้องพร้อมกัน การแต่งกายแบบหญิงมอญหรือนางฟ้าตามความเชื่อ ของมอญ ๒. กลุม่ เทพบุตรอัญเชิญปราสาทประดิษฐานศพ ผู ้ ร� ำ ต้ อ งเป็ น ชายจ� ำ นวน ๓๒ คน ทุ ก คนต้ อ งมี ร ่ า งกาย แข็ ง แรงและมี ค วามสู ง ไล่ เ ลี่ ย กั น ชายทั้ ง ๓๒ คน นี้ ต้องแบกปราสาทไว้บนบ่าพร้อมกับร่ายร�ำด้วยการขยับเท้า ในท่ า ก้ า วย่ า งหรื อ ถอยหลั ง ตามจั ง หวะของเพลงที่ วงปี ่ พ าทย์ ม อญบรรเลง พร้ อ มกั บ ขั บ ร้ อ งเพลงในขณะที่ ร่ายร�ำด้วย ผู้ร�ำ จ�ำนวน ๓๒ คน นี้มีความหมายถึงอาการ ๓๒ ประการที่เป็นส่วนประกอบของกายมนุษย์ตามค�ำสอน ในพระพุ ท ธศาสนาอั น มี ผ ม ขน เล็ บ ฟั น หนั ง เป็ น ต้ น เพื่ อ เป็ น การพิ จ ารณาถึ ง ความจริ ง ของกายมนุ ษ ย์ ไ ม่ มี ความเป็นตัวตนจริง เป็นเพียงองค์ประกอบของสิ่ง ๓๒ นี้ เท่านั้น และสิ่ง ๓๒ นี้ไม่คงทนต้องแตกดับเน่าเหม็นไป ในที่สุด ไม่ควรที่จะไปหลงยึดผิดๆ ว่าเป็นตัวเราเป็นของเรา

กลุ่มเทพบุตรอัญเชิญปราสาทประดิษฐานศพพระ งานศพพระวัดไผ่ล้อม ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๔)


220

ปี่พาทย์มอญรำ�

การฟ้อนร�ำอัญเชิญพระ สู่สรวงสวรรค์ ในงานศพพระวัดไผ่ล้อม ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๔)

การฟ้อนร�ำรับพระสู่ทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ ในงานศพพระวัดไผ่ล้อม ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๔)


ปี่พาทย์มอญรำ�

221

การร�ำอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์ โดยกลุ่มเทพบุตร ๓๒ คน และนางฟ้าฟ้อนร�ำ ๒๐ คน ร่ายร�ำพร้อมกัน งานศพ พระธรรมเมธาภรณ์ (สนิท สุภาจาโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทน์กะพ้อ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี (ธรรมยุติ) วัดจันทน์กะพ้อ อ�ำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ร�ำรับพระสู่ทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ การฟ้ อ นร� ำ รั บ พระสู ่ ทิ พ ยวิ ม านบนสรวงสวรรค์ เป็นการฟ้อนร� ำในขณะที่ท� ำการ ฌาปนกิจศพพระ ผู้ฟ้อนร�ำมีทั้งชายและหญิงแต่งตัวเป็นเทพบุตรและเทพธิดาแบบมอญ ทุกคนมารวมกันฟ้อนร�ำบริเวณใกล้กับที่ท�ำการฌาปนกิจศพพระและร�ำในขณะที่ท�ำการ ฌาปนกิจศพพระ ขณะฟ้อนร�ำมีการบรรเลงปีพ่ าทย์มอญประกอบการฟ้อนร�ำด้วย การฟ้อนร�ำ เป็นการแสดงว่าพระสงฆ์ผู้มรณภาพได้สถิตอยู่บนสรวงสวรรค์แล้ว บรรดาเทพยดานางฟ้า บนสวรรค์ได้ถวายการต้อนรับพระสงฆ์ผู้มรณภาพนั้นบนสรวงสวรรค์


222

ปี่พาทย์มอญรำ�

การขับร้องในพิธีร�ำรับพระสู่ทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ พระวัดไผ่ล้อม ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๔)

การร�ำอาวุธ การฟ้อนร�ำประกอบการใช้อาวุธเป็นศิลปศาสตร์อย่างหนึ่ง ที่เป็นโบราณราชประเพณี ของพระมหากษัตริย์มอญ เช่นเดียวกับผู้มีบรรดาศักดิ์ ข้าราชบริพารจนถึงประชาชนบางหมู่ นิ ยมฝึ ก หั ด เรี ย นรู ้ เ พลงอาวุ ธ และการร� ำ อาวุ ธ ด้ ว ยเช่ น กั น ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ เ กิ ด ความช� ำนาญ ในการใช้อาวุธได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปอย่างคล่องแคล่วตามยุทธวิธี เช่น ต�ำรา คชศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นวิชาชั้นสูงส�ำหรับการสงครามในสมัยโบราณ ผู้ใดหัดขี่ช้างต้องหัด ฟ้ อ นร� ำ ให้ เ ป็ น สง่ า ราศี ด ้ ว ย หั ด ขี่ ม ้ า ต้ อ งหั ด ขี่ ม ้ า ร� ำ ทวนเพื่ อ ให้ เ กิ ด ความคล่ อ งแคล่ ว ในการใช้ ท วน การร� ำ อาวุ ธ จึ ง เป็ น ทั้ ง ศิ ล ปะและศาสตร์ ใ นการจู ่ โ จมเข้ า ท� ำ ร้ า ยคู ่ ต ่ อ สู ้ และในการป้องกันตัว อีกทั้งเป็นการข่มขวัญคู่ต่อสู้ด้วยการแสดงชั้นเชิงลีลาร่ายร�ำของชาย ชาติทหารประกอบอาวุธ การร�ำอาวุธต้องมีการฝึกท่าร�ำอาวุธประกอบดนตรีในท่าทางต่างๆ อย่างมากมาย แล้วแต่ประเภทของอาวุธ ในการเข้าต่อสู้ด้วยอาวุธในลักษณะตัวต่อตัว มอญเรียกลีลาท่าทาง แต่ละจังหวะหรือขั้นตอนในการต่อสู้แต่ละครั้งว่า เพลง และนับการต่อสู้เป็นจ�ำนวนเพลง การร�ำอาวุธที่ส�ำคัญของมอญในสมัยโบราณ เช่น ๑. การร�ำของ้าวประกอบการขี่ช้างในการท�ำยุทธหัตถี ๒. การขี่ม้าร�ำทวน ๓. การร�ำดาบสองมือ ๔. การร�ำกระบี่กระบอง ๕. การขี่ม้าร�ำหอก ฯลฯ


ปี่พาทย์มอญรำ�

223

การร� ำ อาวุ ธ เป็ น การแสดงท่ า ร� ำ ที่ เ นื่ อ งมาจากการต่ อ สู ้ ห รื อ ศิ ล ปะการป้ อ งกั น ตั ว เป็ น การแสดงชั้ น เชิ ง ลี ล าของผู ้ ช ายประกอบการใช้ อ าวุ ธ อย่ า งสง่ า งาม คล่ อ งแคล่ ว มีไหวพริบและสามารถข่มขวัญคู่ต่อสู้ให้เกรงขามได้ การร� ำ อาวุ ธ เป็ น ศิ ล ปะของผู ้ ช ายมอญที่ มี ม าแต่ โ บราณ เช่ น เดี ย วกั บ ผู ้ ช ายของ ชนชาติต่างๆ เช่น ไทย ลาว ที่มีการร�ำกระบี่กระบอง การร�ำดาบ การร�ำมวยของไทย และ การแสดงสีละของไทยมุสลิมภาคใต้ มอญมีศิลปะการร�ำอาวุธนี้เช่นกัน ในหนังสือพงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราช ได้กล่าวถึงการร�ำอาวุธของทหารมอญ ครั้งส�ำคัญอยู่หลายครั้ง เช่น ตอนสมิงนครอินทร์ ทหารเอกขุนพลของพระเจ้าราชาธิราช กษั ต ริ ย ์ ม อญ ต่ อ สู ้ กั บ มั ง มหานรทาแม่ ทั พ พม่ า พงศาวดารมอญของเจ้ า พระยา พระคลัง (หน) (กรมศิลปากร, ๒๕๑๒, น.๓๕๓) กล่าวว่า “นายทั พ ทั้ ง สามก็ ล ้ อ มไว้ ส ามด้ า นมั่ น คง ดู มั ง มหานรทากั บ สมิ ง นครอิ น ทร์ ร บกั น คล่องแคล่วว่องไวนัก สมิงนครอินทร์กับมังมหานรทารบกันด้วยเพลงทวนเป็นหลายสิบเพลง” ตอนสมิงพระรามทหารกล้าขุนพลของพระเจ้าราชาธิราชกษัตริย์มอญต่อสู้กับกามะนี พงศาวดารมอญของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) (กรมศิลปากร, ๒๕๑๒, น.๕๔๖) กล่าวว่า “ขณะเมื่ อ สมิ ง พระรามร� ำ ตามกั น นั้ น พระเจ้ า กรุ ง ต้ า ฉิ น และพระเจ้ า ฝรั่ ง มั ง ฆ้ อ ง ทอดพระเนตรเห็นทหารเอกทั้งสองร�ำเยื้องกรายตามขบวนเพลงทวน ดูท่วงทีรับรองว่องไวนัก งามเป็นอัศจรรย์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย เปรียบประดุจได้เห็นเทพยดาและพิทยาธรอันร� ำณรงค์ ประลองกันกลางสนาม นายทัพนายกองทะแกล้วทหารสองฝ่ายก็สรรเสริญ กามะนีและ สมิงพระรามว่าเหมือนเทพยดาลงฟ้อนร�ำกลางสนามงามยิ่งนัก.....”

ภาพละครพันทาง เรื่องราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา ฉากสมิงพระรามรบกามะนี ที่มา : พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (๒๕๕๘) สูจิบัตรงานสัปดาห์ประชาธิปก “ดุจแสงทอง ส่องไทย แรงบันดาลใจของแผ่นดิน” วันที่ ๒๔ - ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘, น.๒๔.


224

ปี่พาทย์มอญรำ�

การร�ำอาวุธของมอญที่มีมาแต่โบราณนั้น เป็นวิชาที่ลูกผู้ชายต้องเรียนรู้และฝึกฝน ให้มีความช�ำนาญ แต่สืบไม่ได้ว่ามีท่าร�ำหรือมีเพลงอาวุธอะไรบ้าง สิ่งที่แสดงเป็นหลักฐาน ให้เชื่อได้ว่าการร�ำอาวุธของมอญนั้นมีจริงและเป็นศิลปะที่มีมานานแล้ว คือการร�ำอาวุธ ต่างๆ ที่มีอยู่ในพิธีกรรมของมอญ จึงปรากฏท่าร�ำอาวุธในพิธีกรรมของมอญในพิธีร�ำเจ้า พิธีร�ำสามถาดและพิธีร�ำผี มีการร�ำดาบสองมือ ร�ำหอก ร�ำทวน ร�ำดั้ง แต่ท่าร�ำไม่ปรากฏชัด ว่าท่าร�ำดาบคู่หรือท่าร�ำอาวุธอื่นๆ นั้นมีท่าร�ำที่เป็นแบบแผนของการร�ำดาบสองมือ ร�ำดั้ง ร�ำทวน ร�ำหอก ที่ถูกต้องนั้นมีท่าร�ำอย่างใด การร�ำอาวุธในพิธีร�ำเจ้า พิธีร�ำสามถาดและพิธีร�ำผี ในปัจจุบันเป็นขั้นตอนในพิธีกรรม ที่ต้องมีตามขั้นตอนของพิธีกรรมเท่านั้น แต่ไม่ได้ก�ำหนดว่าต้องร่ายร�ำด้วยท่วงท่าหรือ ลีลาอย่างใด ท่าร�ำของมอญจึงสูญหายไป แต่เพลงที่บรรเลงประกอบท่าร�ำอาวุธในพิธีกรรม ดังกล่าวนั้นยังคงมีอยู่คือ เพลงร�ำดาบ ส่วนเพลงร�ำดั้ง เพลงร�ำทวนและเพลงร�ำหอกใช้เพลง เดียวกันและเป็นเพลงที่อยู่ในชุดเพลงร�ำมวยมอญด้วย ท่าร�ำในพิธีร�ำเจ้า ร�ำสามถาด และร�ำผี มีดังนี้ ๑. การร�ำดาบคู่ ๒. การร�ำดั้ง ๓. การร�ำหอก ๔. การร�ำทวน

ร�ำมวย การชกมวยของมอญมีการก�ำหนดให้ผู้ชกร่ายร�ำด้วยลีลาท่าทางประกอบการบรรเลง ดนตรีได้ โดยปกติเมื่อมีการจัดงานชกมวยมักจะมีดนตรีมาบรรเลงประกอบการชกมวยด้วย คล้ายกับการชกมวยไทยทีจ่ ะมีการเป่าปีป่ ระกอบการชกมวยไทย แต่การชกมวยมอญมีการใช้ ดนตรี บ รรเลงประกอบการชกมวย ต้ อ งใช้ ว งปี ่ พ าทย์ บ รรเลงเพลงชกมวยที่ มี ชื่ อ เพลง เอนแลกปรอย นักมวยจะร่ายร�ำก่อนจะเข้าท�ำการชก แต่ปัจจุบันนี้การร�ำมวยของนักมวย ไม่มีแล้ว คงมีแต่การบรรเลงดนตรีขณะมีการชกมวยเท่านั้น เพลงเอนแลกปรอยเป็นเพลงที่ อยู่ในชุดเพลงร�ำอาวุธมอญด้วย

ร�ำกลองยาว การร�ำกลองยาวเป็นการร่ายร�ำที่ไม่มีแบบแผน แต่ผู้ร�ำร่ายร�ำไปให้สัมพันธ์กับท�ำนอง เพลงกลองยาว คล้ายกับการฟ้อนร�ำของวงทะแยมอญ การบรรเลงกลองยาว มอญเรียกว่า “เชะยัม” (เพชร ตุมกระวิล, ๒๕๔๘, น.๑๙) หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา ได้กล่าวไว้ในเรื่องร�ำไทยว่าการร�ำกลองยาวเป็น การแสดงของมอญไว้ดังนี้ (ดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา, ๒๕๓๕, น.๗)


ปี่พาทย์มอญรำ�

225

“กลองยาวนัน้ เข้าใจกันว่าเดิมเป็นของมอญ พม่ารับไว้เป็นมรดกแพร่เข้ามาในประเทศไทย เมื่อ ๗๐ - ๘๐ ปี มาแล้ว (สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว).....นอกจากใช้ กลองชนิดนี้ประกอบในวงดนตรีแล้ว ยังใช้ในโอกาสรื่นเริงต่างๆ เช่น งานบวช.....ขบวนแห่นั้น ใช้ ก ลองยาวขนาดเล็ ก หลายใบ ฉาบเล็ ก กรั บ โหม่ ง สลั บ แทนเครื่ อ งดนตรี หน้ า ทั บ กลองยาวนั้นจะมีการพลิกแพลงไปตามใจชอบของผู้เล่น วิธีตีก็ครึกครื้นมาก ใช้ศอกบ้าง เข่าบ้าง ร�ำล่อกับฉาบ การเล่นกลองยาวนั้นจึงเป็นเรื่องของความสนุกสนานด้วย”

กลองยาวที่มาร่วมงานยกยอดปราสาท งานศพพระครูปัญญานนทคุณ (บาง ปัญญาทีโป) วัดสโมสร ต�ำบลไทรใหญ่ อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒

ปราสาทมอญ ๑๓ ยอด งานพระราชทานเพลิงศพพระครูปัญญานนทคุณ (บาง ปัญญาทีโป) วัดสโมสร ต�ำบลไทรใหญ่ อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒


มอญร�ำ เป็นการร่ายร�ำเป็นหมู่คณะ ในงานอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญ เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๖)


๖ มอญร�ำนาฏกรรมประจ�ำชาติมอญ มอญร�ำเป็นนาฏศิลป์ประจ�ำชนชาติมอญที่มีมาแต่โบราณ ตั้งแต่เมื่อครั้งมอญยังมี ประเทศ มีพระราชอาณาจักรซึ่งมีสถาบันกษัตริย์ปกครอง ศิลปินมอญได้ประดิษฐ์ท่าร�ำ ที่มีความอ่อนช้อยสวยงาม และประพันธ์ท�ำนองเพลงปี่พาทย์ที่ไพเราะ เพื่อประกอบการ ฟ้อนร�ำ มอญร�ำได้เป็นนาฏศิลป์ประจ�ำราชส�ำนักและประจ�ำสถานพ�ำนักคฤหาสน์ของบรรดา ขุนนางและเจ้านายต่างๆ มีการฝึกสอนและสืบทอดการร�ำกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ยาวนานจนถึ ง ปั จ จุ บั น นี้ มอญร� ำ ได้ เ ป็ น มรดกทางศิ ล ปะที่ มี คุ ณ ค่ าของบรรพบุ รุ ษ มอญ ทีล่ กู หลานมอญในปัจจุบนั ยังคงรักษาไว้ได้เป็นอย่างดียงิ่ ทัง้ ท่าร�ำและเพลงมอญทีบ่ รรเลงด้วย วงปีพ่ าทย์มอญประกอบการร�ำ ทุ ก ชาติ ทุ ก ภาษาในโลกต่ า งมี ศิ ล ปวั ฒ นธรรมเป็ น สิ่ ง ที่ แ สดงออกซึ่ ง ความเป็ น สัญลักษณ์ของชนชาติของตน แม้เมื่อไปอยู่ในถิ่นฐานใดการแสดงออกซึ่งลักษณะประจ�ำ ชาติ ข องตนนั้ น ยั ง คงมี อ ยู ่ ซึ่ ง ตรงกั บ หลั ก การของทฤษฎี ม านุ ษ ยวิ ท ยาวั ฒ นธรรมที่ ว ่ า “ศิลปวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ เมื่อมนุษย์ไปอยู่ในสถานที่แห่งใดก็ตาม มนุ ษ ย์ ย ่ อ มน� ำ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมของตนนั้ น ติ ด ตั ว ไปด้ ว ย” ดนตรีมอญและนาฏศิลป์ มอญเป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องคนมอญ และผู ก พั น ใกล้ ชิ ด กั บ วิ ถี ชี วิ ต ของคนมอญที่ มี ม า แต่โบราณ เมื่อครั้งที่มอญมีบ้านมีเมือง และต้องสูญเสียบ้านเมืองให้แก่พม่าผู้มารุกราน คนมอญจ�ำนวนมากได้หลบภัยมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารใต้ร่มพระบารมีพระมหากษัตริย์ ไทยหลายครั้ง คนมอญเหล่านั้นได้น�ำศิลปวัฒนธรรมประจ�ำชาติที่เป็นสมบัติของชาติมอญ ที่พม่าไม่สามารถปล้นสะดมไปได้นั้นน�ำเข้ามาในประเทศไทยด้วย ศิลปวัฒนธรรมมอญ หลายอย่างจึงยังคงอยู่ได้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

ความหมายของค�ำว่ามอญร�ำ การฟ้อนร�ำที่เป็นนาฏศิลป์และเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของชนชาติมอญที่เรียกว่า “มอญร� ำ ” เพื่ อ พิ จ ารณาถึ ง ความหมายของมอญร� ำ ได้ ถู ก ต้ อ ง จึ ง ต้ อ งน� ำ ค� ำ เรี ย ก


228

ปี่พาทย์มอญรำ�

มอญร�ำในภาษามอญมาประกอบการพิจารณา มอญเรียกมอญร�ำว่า “ปัวฮะเปิ้น” หรือ “เล่ะห์ฮะเปิ้น” ปัวฮะเปิ้น เป็นการน�ำค�ำ ๒ ค�ำมารวมกันคือ ปัว หมายถึง งานฉลองหรือมหรสพ ฮะเปิ ้ น เมื่ อ แปลตามตัวอักษรหมายถึง ตะโพนมอญ แต่ความหมายของฮะเปิ้นหรือ ตะโพนมอญมีนัยที่ส�ำคัญมากกว่าความเป็นเครื่องดนตรีมอญ เนื่องจากตะโพนมอญเป็น เครื่องดนตรีที่เป็นหลักในการก�ำกับจังหวะของเพลงและเป็นเครื่องดนตรีของวงปี่พาทย์มอญ นักดนตรีมอญให้ความส�ำคัญว่าเป็นครูใหญ่หรืออาปาโน้กในวงปี่พาทย์มอญ เช่นเดียวกับ ฆ้องมอญที่ได้รับการนับถือในวงปี่พาทย์มอญว่าเป็นครูใหญ่หรืออาปาโน้กเช่นกัน ฮะเปิ้น หรือตะโพนมอญจึงเป็นสัญลักษณ์ของวงปี่พาทย์มอญและถูกเรียกขานแทนปี่พาทย์มอญ ด้วย เช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไทยซึ่งแต่เดิมชาวบ้านมักจะเรียกวงระนาดแทนค�ำว่าปี่พาทย์ ปั ว ฮะเปิ ้ น จึ ง หมายถึ ง งานฉลองหรื อ นาฏกรรมการฟ้ อ นร� ำ ที่ มี ต ะโพนมอญ วงปี่พาทย์มอญบรรเลงประกอบการร�ำ ส่วนค�ำว่า เล่ะห์ฮะเปิ้น เป็นค�ำที่ใช้เรียกมอญร�ำ มาจากค�ำมอญ ๒ ค�ำ คือเล่ะห์ แปลว่า การฟ้อนร�ำ ฮะเปิ้น แปลว่า ตะโพนมอญหรือวงปี่พาทย์มอญดังกล่าวข้างต้นนี้ เล่ ะ ห์ ฮ ะเปิ ้ น จึ ง หมายถึ ง การร่ า ยร� ำ ตามท่ ว งท� ำ นองของเพลงที่ บ รรเลงในวง ปี่พาทย์มอญที่มีตะโพนมอญตีก�ำกับจังหวะเพลงและท่าที่ร่ายร�ำ ปัวฮะเปิ้น เป็นค�ำเรียกมอญร�ำที่เป็นทางการ เป็นการเน้นให้เห็นถึงความส�ำคัญ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ พิ ธี ก รรมอั น มี ก ารประโคมหรื อ การบรรเลงปี ่ พ าทย์ ม อญ ที่ มี จั ง หวะของ ตะโพนมอญและท่วงท�ำนองของเพลงมอญเป็นหลักของการบรรเลงประกอบการฟ้อนร�ำ ส่วนค�ำว่า เล่ะห์ฮะเปิ้น นั้นเป็นค�ำเรียกขานมอญร�ำของชาวบ้านทั่วไป ซึ่งเน้นที่การฟ้อนร�ำ ตามจังหวะของตะโพนมอญ ความหมายเล่ะห์ฮะเปิ้นนี้จึงมีลักษณะคล้ายกับการเรียกการร�ำ ที่มีการตีกลองยาวประกอบการร�ำว่า ร�ำกลองยาว มอญร�ำ มีค�ำเรียกภาษามอญอีกชื่อหนึ่งว่า “เล่ะห์เจ้าะบาอาคัก” เล่ะห์ แปลว่า การฟ้อนร�ำ เจ้ า ะบา แปลว่า สิบสอง อาคั ก แปลว่า บทเพลง เล่ ะ ห์ เ จ้ า ะบาอาคั ก หมายถึง การร�ำสิบสองบทหรือการร�ำสิบสองเพลง การร่ายร�ำในวิชานาฏศิลป์ของไทยได้ให้ความหมายไว้และรับรู้กันในหมู่ศิลปินไทย ใช้ค�ำว่า ร�ำ และ ระบ�ำ ค�ำทั้งสองนี้มีความหมายต่างกัน ดังนี้


ปี่พาทย์มอญรำ�

229

มอญร�ำต้อนรับผู้มาเยือน ณ วัดปรมัยยิกาวาส เกาะเกร็ด (พ.ศ. ๒๕๓๖)

ร�ำ หมายถึง การแสดงโดยใช้มือกรีดกรายร่ายร�ำไปตามบทและจังหวะของเสียง ดนตรี การร�ำจึงถูกน�ำไปใช้เกี่ยวกับการแสดงที่เป็นเรื่องเป็นราวต่อเนื่องกันไป หรือเป็น การร�ำเพื่อบอกอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การร�ำแม่บท ร�ำฉุยฉาย เป็นต้น ระบ�ำ หมายถึง การร�ำที่เป็นชุดเป็นหมู่มีผู้แสดงตั้งแต่ ๒ คน ขึ้นไป สิ่งส�ำคัญของ ระบ�ำคือความพร้อมเพรียงในการแสดงลีลา ระเบียบแบบแผนของการจัดรูปในการแสดงออก และต้องจัดท่าทางลีลาของการร่ายร�ำให้เป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้ดู มอญร�ำในความหมายของนาฏศิลป์ดังกล่าวข้างต้นนี้จึงหมายถึงระบ�ำ เพราะเป็น การแสดงการร่ า ยร� ำ ที่ เ ป็ น ชุ ด เป็ น หมู ่ ยิ่ ง มี ผู ้ แ สดงมากและมี ค วามพร้ อ มเพรี ย งในการ ร่ายร�ำดี จะยิ่งท�ำให้การร่ายร�ำมีความสวยงามยิ่งขึ้น แต่ในความหมายในภาษามอญไม่ได้มกี ารแยกการร่ายร�ำไว้วา่ เป็นร�ำหรือระบ�ำ คงใช้ ค�ำเรียกภาษามอญว่า เล่ะห์ ซึ่งหมายถึงการร่ายร�ำทั่วไปที่ใช้เรียกทั้งการร�ำเดี่ยวและร�ำหมู่ ในทีน่ จี้ งึ ใช้คำ� ว่า มอญร�ำ ซึง่ เป็นค�ำในภาษาไทยทีใ่ ช้เรียกการร�ำของมอญมาตัง้ แต่สมัยอยุธยา มาแล้ว อย่างไรก็ตามมอญร�ำมีลักษณะที่ส�ำคัญ คือ ๑. เป็นการร�ำที่ไม่มีเรื่องหรือไม่มีบทก�ำกับการร�ำ ๒. เป็นการร�ำเป็นชุดหรือร�ำเป็นหมู่ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ๓. ต้องมีความพร้อมเพรียงในการแสดงลีลาท่าร�ำ ๔. ต้องค�ำนึงถึงระเบียบแบบแผนของการจัดรูปแบบ เช่น ต�ำแหน่งของผู้ร�ำเพื่อ ให้เกิดความสวยงามของหมู่ผู้ร�ำ ๕. ต้องจัดท่าทางลีลาการร่ายร�ำให้เชื่องช้าอ่อนช้อย ละมุนละไมและสวยงาม


230

ปี่พาทย์มอญรำ�

คุณลักษณะของมอญร�ำ การแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และ เคารพผู้ทรงคุณธรรม นอกเหนือจากท่าร�ำที่เป็นแบบแผน ความสวยงาม และความพร้อมเพรียงของผู้ร�ำ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของมอญร�ำแล้ว มอญร�ำยังมีลักษณะเฉพาะ ดังนี้ - ก่อนเริ่มร�ำผู้ร�ำต้องนั่งกราบพระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือในที่นั้นก่อน แล้วกราบไปทางวงปี่พาทย์มอญ - การร�ำในงานศพเมื่อกราบพระพุทธรูปและกราบศพแล้ว ต้องหันหน้าไปกราบครู ที่ ว งปี ่ พ าทย์ คื อ ตะโพนมอญและฆ้ อ งมอญ ผู ้ ร� ำ ต้ อ งแสดงความเคารพสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ดังกล่าวนี้ก่อนจะร�ำทุกครั้ง - เมื่อร�ำจบ ผู้ร�ำต้องกราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหมือนตอนก่อนที่จะร�ำอีกครั้งหนึ่ง

การไหว้พระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนเริ่มร�ำ (พ.ศ. ๒๕๕๓)

ผู้รำ� ร�ำด้วยความเคารพศรัทธาและได้บญ ุ การจัดงานมอญร�ำในโอกาสฉลองสมโภชหรืองานศพพระ คนมอญถือว่าเป็นการ ท�ำบุญและเป็นการแสดงความเคารพถวายสักการะแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือแก่พระสงฆ์ผู้ล่วงลับ ไปแล้ว ดังนั้นเมื่อถึงเวลาร�ำชาวบ้านที่มาร่วมงานที่เป็นหญิงจะมาร่วมร�ำกับผู้ร�ำที่มีการ ก�ำหนดตัวไว้ก่อนด้วย ทั้งนี้เพราะชาวบ้านมีศรัทธาจึงขอร่วมฟ้อนร�ำด้วย ไม่มีการก�ำหนดวัย หรือความช�ำนาญของผู้ร�ำ การร�ำในงานบุญเช่นนี้จึงมีสตรีทุกวัยตั้งแต่วัยเด็ก วัยสาว จนถึง ผู้สูงอายุไปร่วมกันร�ำ


ปี่พาทย์มอญรำ�

231

ในขณะเดียวกันชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งจะน�ำไม้ไผ่ล�ำยาว แล้วนั่งเคาะไม้ไผ่เป็นจังหวะ ประสานกับการบรรเลงปี่พาทย์มอญขณะบรรเลงประกอบการร�ำ ท�ำให้มีบรรยากาศความ สามัคคีพร้อมเพรียงของคนในชุมชนที่เปี่ยมล้นด้วยศรัทธา

มอญร�ำในงานศพพระวัดไผ่ล้อม เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๕๐)

ก�ำเนิดมอญร�ำ มอญร� ำ เกิด จากการบรรเลงเพลงประโคมในพิธีกรรมตามธรรมเนียมการบรรเลง ปี่พาทย์มอญในพิธีกรรม ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืองานอวมงคลปี่พาทย์มอญจะต้องบรรเลง เป็นการประโคมเพื่อเป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่จัดงาน และ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่งานและผู้มาร่วมงาน การประโคมจัดขึ้นตามช่วงเวลาตามก�ำหนดและ เพลงที่บรรเลงแต่ละช่วงเวลา ดังนี้ เวลาย�่ำรุ่ง เวลากลางวัน เวลาเย็น

ประโคมเพลงย�่ำรุ่ง มอญเรียกว่า เพลงจยาจก์ซายจะร่าย ประโคมเพลงย�่ำเที่ยง มอญเรียกว่า เพลงซอยกรอย ประโคมเพลงย�่ำค�่ำ มอญเรียกว่า เพลงจ้ะรอยเปี้ยะปอน

การประโคมในเวลาเที่ยงวันด้วยเพลงย�่ำเที่ยงมีการฟ้อนร�ำประกอบการบรรเลงเพลง ย�่ำเที่ยง การบ�ำเพ็ญกุศลในช่วงกลางวันเช่นนี้ ในสมัยโบราณมีผู้มาร่วมงานมากกว่าเวลา อื่นๆ และขั้นตอนของพิธีกรรมต่างๆ ย่อมมีมากกว่าเวลาอื่น ประกอบกับมีการประโคม ในเวลากลางวันที่เรียกว่าย�่ำเที่ยงเป็นช่วงเวลาศักดิ์สิทธิ์ แม้ชื่อเพลงย�่ำเที่ยงในภาษามอญ


232

ปี่พาทย์มอญรำ�

ที่ มี ชื่ อ ว่ า ซอยกรอย ที่ ห มายถึ ง การแสดงความเคารพหรื อ การให้ ค วามเคารพ ดั ง นั้ น เพื่ อ ให้ ก ารแสดงความเคารพมี ค วามสมบู ร ณ์ แ ละให้ มี ค วามศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ยิ่ ง ขึ้ น จึ ง มี ก าร ประดิษฐ์ท่าร�ำและให้มีการฟ้อนร�ำประกอบการบรรเลงเพลงย�่ำเที่ยง ดร.ปันละ ผู้เชี่ยวชาญ ประวัติศาสตร์มอญประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้กล่าวว่าในอดีตชุมชนมอญ หลายแห่งในเมืองเมาะละแหม่งมีประเพณีการฟ้อนร�ำมอญร�ำในเวลาประโคมเพลงย�่ำเที่ยง แต่ถ้าไม่มีมอญร�ำ (เพราะบางชุมชนไม่มีผู้ร�ำมอญร�ำ) คงมีแต่ก ารบรรเลงเพลงย�่ำเที่ยง เป็นการประโคมเท่านั้น กรณีดังกล่าวนี้จึงมีอยู่ในชุมชนมอญในประเทศไทยเช่นกัน ปัจจุบันในประเทศไทยการประโคมเพลงย�่ำเที่ยงไม่มีมอญร�ำ เพราะเวลาที่มีมอญร�ำ มักจะถูกจัดให้ไปร�ำในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ นักดนตรีวงปี่พาทย์มอญจึงมักเรียก เพลงย�่ำเที่ยงว่า “เพลงมอญร�ำ แต่ไม่มีร�ำ”

มอญร�ำถือก�ำเนิดเมื่อเกิดเพลงประโคมเพลงย�ำ่ เที่ยง โดยปกติแล้วการประดิษฐ์ท่าร�ำของนาฏศิลป์ต้องมีการประพันธ์เพลงประกอบท่าร�ำ ดังนั้นเมื่อน�ำเพลงย�่ำเที่ยงมาบรรเลงประกอบการร�ำ จนมีผู้เข้าใจกันเป็นสามัญทั่วไปในหมู่ นักดนตรีปี่พาทย์มอญที่ว่าเพลงย�่ำเที่ยงคือเพลงมอญร�ำ เพลงมอญร�ำคือเพลงย�่ำเที่ยง ดังนี้จึงเป็นการสืบหาต้นก�ำเนิดของมอญร�ำได้อย่างดีว่า มอญร�ำเกิดขึ้นเพื่อเป็นการฟ้อนร�ำ ประกอบการประโคมเพลงย�่ำเที่ยงในพิธีกรรมของมอญ อันเป็นนัยส�ำคัญของค�ำกล่าวที่ว่า เพลงย�่ำเที่ยงคือเพลงมอญร�ำ เพลงมอญร�ำคือเพลงย�่ำเที่ยงดังได้กล่าวแล้วนั้น ด้วยนัยดังกล่าวจึงท�ำให้เห็นที่มาหรือการก�ำเนิดของมอญร�ำ ดังนี้ ๑. เพลงมอญร�ำได้มีการประพันธ์ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเพลงประโคมในช่วงเวลากลางวัน พร้อมกับการประดิษฐ์ท่าร�ำเพื่อให้มีการฟ้อนร�ำพร้อมกับการประโคม เพื่อให้การประโคมใน พิธีกรรมมีความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น ๒. ช่วงเวลากลางวันเป็นช่วงเวลาทีม่ กี ารด�ำเนินพิธกี รรมทางศาสนามากกว่าช่วงเวลาอืน่ เช่น มีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์สามเณรในเวลาเพล มีการแสดงพระธรรมเทศนาหรือ การเจริญพระพุทธมนต์ ตลอดจนการจัดพิธีกรรมต่างๆ ช่วงเที่ยงวันจึงเป็นช่วงเวลาศักดิ์สิทธิ์ มอญร�ำจึงเข้ามามีบทบาทในช่วงเวลานีด้ ว้ ยการมีการฟ้อนร�ำพร้อมกับการประโคมเพลงย�ำ่ เทีย่ ง ของวงปี่พาทย์มอญ แต่เดิมมาการประโคมเพลงย�่ำเที่ยงจึงมีมอญร�ำด้วย


ปี่พาทย์มอญรำ�

233

มอญร�ำก�ำเนิดในราชส�ำนักมอญเมื่อ ๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว มอญร�ำเป็นนาฏศิลป์ของชนชาติมอญที่มีมาแต่โบราณนานหลายร้อยปี จากลักษณะ ของการร่ายร�ำที่สวยงาม แช่มช้า อ่อนช้อย ละมุนละไมไปตามจังหวะของการบรรเลง ปี่พาทย์มอญที่ไพเราะ และการมีแบบแผนที่แน่นอนชัดเจนของมอญร�ำ จึงเป็นสิ่งแสดงถึง การก�ำเนิดของมอญร�ำว่า “เป็นประเพณีหลวงหรือนาฏศิลป์ของหลวง” มากกว่าที่จะเป็น “ประเพณีราษฎร์หรือการเล่นพื้นบ้าน” แต่เดิมจึงมีการแสดงมอญร�ำและการสอนให้ ฟ้อนร�ำกันเฉพาะในวังหรือในคฤหาสน์เจ้านายต่างๆ เมื่ อ มอญร� ำ เป็ น ประเพณี ห ลวงหรื อ นาฏศิ ล ป์ ข องหลวง ประเพณี ห รื อ ศิ ล ปะของ มอญร�ำย่อมต้องมีศูนย์กลางอยู่ที่ใน “วัง” พระราชอาณาจักรมอญได้สถาปนาขึ้นมานาน นับพันปีล่วงมาแล้ว แต่เนื่องจากพระราชอาณาจักรมอญได้ถูกท�ำลายมาหลายครั้ง หลักฐาน ทีเ่ กีย่ วกับมอญร�ำจึงถูกท�ำลายเสียหายไปด้วย หลักฐานโบราณของมอญทีก่ ล่าวถึงการฉลอง สมโภชบูชาพระเกศธาตุเจดีย์ของพระเจ้าธรรมเจดีย์มหาปิฎกธรที่จารึกไว้ในศิลาจารึก เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๒ ได้กล่าวถึงการมีมหรสพสมโภชในการฉลองครั้งนี้นานถึง ๓ วัน พระราช อาณาจักรมอญในยุคนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่ง เป็นยุคที่บ้านเมืองสงบสุขมีการ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมมอญและการพระศาสนาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของ พระเจ้าธรรมเจดีย์มหาปิฎกธร ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๑๕ - ๒๐๓๕ ตรงกับ สมั ย อยุ ธ ยาตอนต้ น มอญร� ำ สั น นิ ษ ฐานว่ า ได้ เ กิ ด ขึ้ น ในช่ ว งรั ช กาลพระเจ้ า ธรรมเจดี ย ์ มหาปิฎกธร เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๐๑๕ - ๒๐๓๕ หรือประมาณห้าร้อยปีมาแล้ว

มอญร�ำในสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงยุคปัจจุบัน คนมอญได้สืบทอดท่าร�ำและเพลงที่ใช้ประกอบการร�ำสืบต่อๆ กันมา แม้จะเสียบ้าน เสียเมืองแก่พม่าไปแล้ว และเมือ่ ได้อพยพเข้ามาพึง่ พระบรมโพธิสมภารในพระราชอาณาจักร ไทย คนมอญในยุคนั้นได้น�ำศิลปะการร�ำมอญร�ำมาในกรุงศรีอยุธยาด้วย ความเป็นศิลปะ ชั้นสูงที่งดงามอ่อนช้อยของมอญร�ำที่เข้ากับวัฒนธรรมของไทยได้ดี มอญร�ำจึงได้รับการ ยอมรับในสังคมไทยชั้นสูงเป็นอย่างดีตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา ดังปรากฏในพระราช พงศาวดารกรุ ง เก่ า ฉบั บ ของกรมราชบั ณ ฑิ ต ได้ ก ล่ า วถึ ง มอญร� ำ ที่ จั ด ขึ้ น ในพระราชพิ ธี พระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ เมือ่ พ.ศ. ๒๓๐๑ (สมภพ ภิรมย์, ๒๕๓๙, น.๖๒) ดังนี้ “เมื่อจุลศักราชได้ ๑๑๒๐ ปีขาล สัมฤทธิ์ศก วันพุธเดือน ๖ แรม ๕ ค�่ำ พระบรมราชา (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) สวรรคต พระอุทุมพรราชาได้ว่าราชการกรุงทั้งปวง จึงคิดอ่าน กันกับพระเชษฐาธิราชที่จะแต่งการพระบรมศพสมเด็จพระบิดาบรมโกศ.....แล้วจึงตั้งโรงงาน การเล่นมโหรสพทั้งปวง ให้มีโขนหนัง ละครหุ่นและมอญร�ำ ระบ�ำเทพทองทั้งโมงครุ่มกุลา คุลาตีไม้ สารพัดมีการเล่นต่างๆ นานา.....”


234

ปี่พาทย์มอญรำ�

การจัดงานพระราชพิธีครั้งนี้ ถือว่าเป็นหลักฐานส�ำคัญยิ่งของมอญร�ำที่ปรากฏเป็น ลายลักษณ์อกั ษรทีแ่ สดงว่า มอญร�ำทีม่ อี ยูใ่ นประเทศไทยมีมาก่อน พ.ศ. ๒๓๐๑ แล้ว นักฟ้อนร�ำ ของมอญที่ ไ ด้ อ พยพเข้ า มาพึ่ ง พระบรมโพธิ ส มภารพระมหากษั ต ริ ย ์ ก รุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ก่ อ น พ.ศ. ๒๓๐๑ ได้น�ำมอญร�ำมาฟ้อนร�ำในกรุงศรีอยุธยาด้วย จนท�ำให้มอญร�ำเป็นที่นิยมของ คนไทยในเวลาต่อมา และถูกน�ำไปจัดในงานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๑

มอญร�ำคงอยู่เคียงคู่กับพิธีกรรมมอญและศรัทธาของคนมอญ แม้สถาบันกษัตริย์ของมอญได้ล่มสลายไป และคนมอญต้องอพยพหลบภัยมาอยู่ ในพระราชอาณาจักรไทย แต่เนื่องจากมีผู้รู้ทั้งด้านการร�ำและการบรรเลงเพลงประกอบ การร�ำ มอญร�ำนาฏกรรมอันล�้ำค่าของมอญจึงยังคงมีการสืบสานถ่ายทอดต่อกันมาจนถึง ปัจจุบันนี้ ปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้มีการสืบทอดมอญร�ำได้อย่างต่อเนื่องกันมาตั้งแต่โบราณมา จนถึงปัจจุบนั นีค้ อื ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทัง้ นีเ้ พราะบทบาทหน้าทีส่ ำ� คัญของมอญร�ำ คือเป็นพิธีกรรมที่เป็นการแสดงการสักการบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระพุทธรูป พระสถูป เจดีย์ ปูชนียบุคคล เช่น พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชัน้ ผูใ้ หญ่ พระสงฆ์ บิดามารดา ครูอาจารย์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปูชนียบุคคล การเฉลิมฉลองไม่เฉพาะ ท�ำขึ้นขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น แม้เมื่อท่านได้ล่วงลับไปแล้วมอญจะมีพิธีส่งท่าน สู่สรวงสวรรค์ซึ่งเป็นประเพณีที่ส�ำคัญของคนมอญ ประเพณีส�ำคัญดังกล่าวนี้มอญร�ำได้ เป็นกิจกรรมส�ำคัญในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งเคารพศรัทธาดังกล่าวนี้ด้วย จึงเป็นเหตุส�ำคัญ ที่ท�ำให้มีการถ่ายทอดมอญร�ำสืบต่อกันมาไม่ขาดสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยความเชื่อ ที่ ว ่ า “ร� ำ แล้ ว ได้ บุ ญ ” ดั ง นั้ น ทั้ ง ผู ้ ส อนและผู ้ เ รี ย นต่ า งไม่ เ หนื่ อ ยหน่ า ยต่ อ การสอนและ การฝึกฝนท่าร�ำ สถาบันศาสนาจึงเป็นปัจจัยส�ำคัญที่มีส่วนให้มอญร�ำคงอยู่สืบต่อกันมาในสังคมมอญ แม้ปัจจุบันมอญไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้วก็ตาม แต่มอญร�ำยังคงอยู่คู่กับคนมอญได้ ต่อไปด้วยอาศัยความศรัทธาที่มีต่อสถาบันศาสนา

การพัฒนาท่าร�ำของมอญร�ำ ท่าร�ำของมอญร�ำแต่ดั้งเดิมจะเป็นอย่างไร แตกต่างกับท่าร�ำปัจจุบันนี้อย่างไรไม่ได้ มีการบันทึกเป็นหลักฐานไว้ ผู้สอนจดจ�ำมาอย่างไรก็ถ่ายทอดท่าร�ำที่จดจ�ำไว้ต่อๆ กันมา การปรับปรุงพัฒนาท่าร�ำที่ชุมชนมอญบ้านเกาะเกร็ด ต�ำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรีเกิดขึ้น ได้เช่นกัน แต่การปรับปรุงพัฒนาท่าร�ำของมอญร�ำควรน�ำมากล่าวไว้ในที่นี้ ๒ ครั้ง ดังนี้ คือ


ปี่พาทย์มอญรำ�

มอญร�ำงานศพพระวัดไผ่ล้อม เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๔)

235

มอญร�ำในงานศพผู้อาวุโส วัดไทรน้อย อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๘)

การปรั บ ปรุ ง ท่ า ร� ำ ครั้ ง แรก ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๗ - ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าว ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ต่อมาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดเปลี่ยนชื่อวัดปากอ่าวว่า “วัดปรมัยยิกาวาส” ตลอดเวลา ๑๐ ปี ที่มีการปฏิสังขรณ์วัดนั้น มีการบ�ำเพ็ญพระราชกุศล หลายครั้ง รวมทั้งการเสด็จพระราชด�ำเนินพระราชทานผ้าพระกฐิน การบ�ำเพ็ญพระราชกุศล แต่ ล ะครั้ ง มี ก ารฉลองสมโภช การละเล่ น และการแสดงมหรสพต่ า งๆ เช่ น ละคร โขน หนัง รวมทั้งมอญร�ำด้วย จากการแสดงมหรสพดังกล่าวนี้ บรรดาศิลปินไทยที่มาแสดงโขน ละคร ได้ มี โ อกาสสนิ ท สนมกั บ ย่ า ปริ ก ศิ ล ปิ น มอญผู ้ ร� ำ มอญร� ำ ย่ า ปริ ก ได้ เ รี ย นรู ้ ท ่ า ร� ำ ของไทยแล้วน�ำมาปรับปรุงท่าร�ำของมอญร�ำ มีเพลงร�ำเพิ่มเติมไปอีก ๖ เพลง ๓ เพลงแรก เป็นท่าร�ำของการร�ำแม่บทของไทย ได้แก่ เพลงช้า เพลงเร็วและเพลงเดิน ส่วน ๓ เพลงหลัง เป็นท่าร�ำประกอบเพลงต่างภาษา คือ ท่าร�ำเพลงแขกสะดายง ท่าร�ำเพลงทยอยญวน และ ท่าร�ำเพลงลาวกะแซ เมื่อเพิ่มเพลงร�ำอีก ๖ เพลง ดังนั้นเมื่อรวมกับเพลงร�ำมอญบ้านเกาะเกร็ดที่มีอยู่ ๑๒ เพลง จึงรวมเป็น ๑๘ เพลง นับได้ว่าเป็นการปรับปรุงครั้งส�ำคัญที่สุดของมอญร�ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร�ำของมอญร�ำบ้านเกาะเกร็ด การปรับปรุงท่าร�ำครั้งที่ ๒ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๗ นายทอบา บ้านลัดเกร็ด ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นผู้มีความรู้ความช�ำนาญในการบรรเลง ปี ่ พ าทย์ ม อญ มี ม ารดาและน้ อ งสาวคื อ ย่ า ปริ ก เป็ น นั ก ฟ้ อ นมอญร� ำ ด้ ว ย พ.ศ. ๒๔๓๐ นายทอบาได้ เ ดิ นทางไปเมือ งเมาะละแหม่ง ซึ่ง เป็นเมืองเก่าของมอญ (ขณะนั้นอังกฤษ ได้ เ ข้ า ยึ ด ไว้ จ ากพม่ า ) ได้ ไ ปอยู ่ ใ นชุ ม ชนมอญหลายแห่ ง เพื่ อ ศึ ก ษาเพลงมอญต่ า งๆ


236

ปี่พาทย์มอญรำ�

จากวงปี ่ พ าทย์ ม อญที่ เ มื อ งเมาะละแหม่ ง บ้ า นเกาะโต้ บ้ า นเกาะปิ ้ น บ้ า นกะมาวั ก บ้ า นท่ ม ซะ เป็ น ต้ น นายทอบาใช้ เ วลาศึ ก ษาเพลงมอญและท่ า ร� ำ อยู ่ น านถึ ง ๗ ปี จึ ง ได้ เ ดิ น ทางกลั บ นอกจากศึ ก ษาเรื่ อ งเพลงมอญแล้ ว นายทอบาได้ ศึ ก ษาท่ า ร� ำ ของ มอญร�ำด้วย ได้จดจ�ำท่าร�ำและสามารถร�ำได้เป็นอย่างดี พ.ศ. ๒๔๓๗ นายทอบาได้เดินทาง กลั บ มาที่ บ ้ า นเกาะเกร็ด และได้ถ่ายทอดท่าร�ำของมอญร�ำเมาะละแหม่งให้แก่ย่าปริก ผู ้ เ ป็ น น้ อ งสาว ทั้ ง นายทอบาและย่ า ปริ ก ได้ ป รั บ ปรุ ง ท่ า ร� ำ ของมอญร� ำ ให้ ดู ส วยงาม อ่ อ นช้ อ ยมากยิ่ ง ขึ้ น จนครบทั้ ง ๑๒ เพลง เมื่ อ มี ก ารปรั บ ปรุ ง แล้ ว ย่ า ปริ ก ได้ ส อนท่ า ร� ำ ที่ปรับปรุงใหม่นั้นถ่ายทอดแก่ผู้มาฝึกร�ำจนเป็นท่าร�ำของมอญร�ำทั้ง ๑๒ เพลงสืบต่อมา ส่วนเพลงที่บรรเลงประกอบการร�ำหรือเพลงย�่ำเที่ยงที่บรรเลงเป็นการประโคมนั้น นายทอบาได้ปรับปรุงการบรรเลงให้มีความไพเราะถูกต้องกับเพลงที่บรรเลงอยู่ในเมืองมอญ และสัมพันธ์กับท่าร�ำที่เน้นท่าร�ำดั้งเดิมของมอญร�ำให้ดียิ่งขึ้น เพลงบรรเลงนั้นได้เน้นเพลง ย�่ำเที่ยงที่มีอยู่และใช้บรรเลงประกอบการร�ำมอญร�ำมาจนถึงปัจจุบันนี้

บทบาทและหน้าที่ของมอญร�ำเป็นการร�ำในพิธีกรรม เมื่อพิจารณาถึงหน้าที่และบทบาทของมอญร�ำจะเห็นได้ว่า มอญร�ำมิใช่แสดงขึ้น เพื่ อ การบั น เทิ ง หรือ การพักผ่อ นหย่อ นใจให้เกิดความสนุกสนานเป็นส�ำ คัญ แต่มอญร�ำ มีรากฐานที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับพิธีกรรมและความเชื่อ ลักษณะส�ำคัญของมอญร�ำ ที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับความเชื่อต่อพระพุทธศาสนาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนความ สัมพันธ์ต่อบุคคลที่อาวุโสในสังคม คือ ๑. ความเชื่ อ และความศรั ท ธาต่ อ พระพุ ท ธศาสนา เช่ น มี ก ารร� ำ เพื่ อ สมโภช พระพุทธรูป พระธาตุเจดีย์ เป็นต้น ๒. ความเชื่อและความศรัทธาต่อเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ตะโพนมอญและ ฆ้องมอญ ที่เชื่อว่ามีครูอาจารย์สถิตอยู่ ๓. ความเคารพในผู้อาวุโส เช่น พระมหากษัตริย์ พระสงฆ์ บิดามารดา ครูอาจารย์ เป็นต้น มีการร�ำเพื่อฉลองสมโภชให้บุคคลเหล่านี้ในวาระต่างๆ แม้เมื่อท่านสิ้นพระชนม์ ถึงแก่มรณภาพหรือสิ้นชีวิต ก็ยังมีการร�ำเพื่อแสดงความเคารพ จากบทบาทและหน้าที่ของมอญร�ำดังกล่าวนี้จึงเป็นธรรมเนียมที่ผู้ร�ำทุกคนต้องปฏิบัติ ก่อนเริ่มร่ายร�ำ คือ ผู้ร�ำทุกคนต้องกราบพระพุทธรูปหรือสิ่งเคารพในสถานที่นั้น ถ้าเป็นงานศพ ต้องกราบไปทางทีต่ งั้ ศพนัน้ ด้วย และกราบไปทางปีพ่ าทย์เพือ่ แสดงความเคารพต่อครูอาจารย์ ที่สถิตอยู่ที่ตะโพนมอญและฆ้องมอญ


ปี่พาทย์มอญรำ�

มอญร�ำในงานพิธียกยอดฉัตรเจดีย์ วัดจันทน์กะพ้อ อ�ำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

237


238

ปี่พาทย์มอญรำ�

มอญร�ำเป็นการแสดงออกของจิตศรัทธา เมื่ อ ได้ วิ เ คราะห์ เ พื่ อ ให้ เ กิ ด ความเข้ า ใจของความหมาย บทบาทและหน้ า ที่ ข อง การฟ้อนร�ำของคนมอญตามที่นักคติชนวิทยาได้พิจารณาถึงในเชิงหน้าที่นิยม จะพบว่า หน้าที่ที่ประจักษ์แจ้งของการฟ้อนร�ำมอญร�ำของคนมอญ คือเพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ กั บ ความเชื่ อ ทางพระพุ ท ธศาสนาและสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เ หนื อ ธรรมชาติ รวมทั้ ง การสร้ า ง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วย มอญร�ำจึงไม่ใช่การแสดงหรือมหรสพที่ให้ความบันเทิงทางอารมณ์ แต่เป็นการ แสดงออกซึ่ ง ความศรั ท ธาที่ ผู ้ ร� ำ มี ต ่ อ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ ต นเคารพบู ช า ในงานศพพระมอญ จึงเห็นสตรีมอญจ�ำนวนมาก ทั้งผู้สูงอายุหญิงสาว จนถึงเด็กหญิงจะมาร่วมร่ายร�ำมอญร�ำกัน อย่างศรัทธา ด้วยคิดว่าการได้ร�ำเป็นการได้บุญ

สตรีทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุมาร่ายร�ำมอญร�ำ เพื่อแสดงความเคารพบูชา ในงานศพพระสงฆ์วัดไผ่ล้อม เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๔)


ปี่พาทย์มอญรำ�

239

มอญร�ำจัดขึ้นในพระราชพิธีมงคลครั้งส�ำคัญของไทย จากบทบาทหน้าที่ของมอญร�ำดังกล่าวข้างต้น มอญร�ำจึงจัดให้มีขึ้นได้ทั้งในงานหรือ พิธีกรรมที่เป็นมงคลและอวมงคล ส�ำหรับงานพระราชพิธีที่ส�ำคัญของไทยได้จัดให้มีมอญร�ำ สมโภชในพระราชพิธีต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น

พระราชพิธีสมโภชพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๓ ตามหมายรับสั่งเรื่อง โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เสด็จขึ้นไปรับพระแก้ว มรกตจากท่าเจ้าสนุก จังหวัดสระบุรี เพื่ออัญเชิญมาประดิษฐานที่กรุงธนบุรี เมื่ออัญเชิญ พระแก้วมรกตมาถึงต�ำหนักบางธรณี เมืองนนทบุรี * (จังหวัดนนทบุร)ี สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ด้ ว ยขบวนพยุ ห ยาตราทางชลมารค เสด็ จ ขึ้ น ไปอั ญ เชิ ญ พระแก้วมรกตจากพระต�ำหนักบางธรณีไปประดิษฐานที่พระราชวังกรุงธนบุรีด้วยขบวน พยุหยาตราทางชลมารค และมีมหรสพสมโภชฉลองพระแก้วมรกต ในขบวนแห่อัญเชิญ พระแก้วมรกต ได้มีมอญร�ำในพระราชพิธีครั้งส�ำคัญนี้ด้วย ดังนี้ “ครั้น ณ วันอังคาร ขึ้น ๒ ค�่ำ เดิน ๔ เพลาเช้า ล้นเกล้าฯ เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต ณ พระต�ำหนักบางธรณี ครั้นเพลาบ่าย ๓ โมง ทรงฯ ให้แห่ลงมาพระนครธนบุรีเป็นเรือ..... .....เรื อ คู ่ ชั ก (เรื อ ) โขมดยา (เรื อ ) ดั้ ง ลงมา ชั ก ละครร� ำ ๓ รามั ญ ร� ำ ๑ ปลายเชื อ ก ๒ หลัง สามป้าน ๔ (รวม) ๖ (เรือ) กราบพระที่นั่งทรง ๑ แผง ๘ (รวม) ๙ พระเจ้าลูกเธอ ๒๓ (รวม) ๓๒ .....” *

พระราชพิธีฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกมหาราชทรงบู ร ณะวั ด โพธาราม ทรง สถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โปรดเกล้าฯ ให้ฉลองพระอารามเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ ในพระราชพิธีฉลองพระอาราม โปรดเกล้าฯ ให้มี มอญร� ำ ในพระราชพิ ธี ค รั้ ง นั้ น ด้ ว ย ดั ง ปรากฏในจารึ ก เรื่ อ งทรงสร้ า งวั ด พระเชตุ พ นครั้ ง รัชกาลที่ ๑ อยู่ในวิหารทิศพระโลกนาถมุขหลัง ดังนี้ “.....ครั้น ณ วันศุกร์ เดือนห้าแรมสิบสองค�่ ำ ปีระกา ตรีศก ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๑ ให้ตั้งการฉลองอาราธนาพระราชาคณะถานานุกรมอธิการอันดับฝ่ายคันธธุระ วิปัสสนาธุระ * ต�ำหนักบางธรณี คือ วัดบางธรณี เมืองนนทบุรี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกระทรวงพาณิชย์ ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี


240

ปี่พาทย์มอญรำ�

พั น รู ป พร้ อ มกั น ณ พระอุ โ บสถ เพลาหลั ง สี่ โ มงห้ า บาท สมเด็ จ พระบรมนาถบพิ ต ร พระพุทธเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชด�ำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช พระราชวงษานุวงศ์ เสนาพฤฒาราชปุโรหิตาจารย์มายังพระอุโบสถ ทรงสมาทานพระอุโบสถศีล แล้วหลั่งน�้ำ อุทิศแล้วให้ตั้งโรงฉ้อทานเลี้ยงสมณะชีพราหมณะอนาประชาราษฎรทั้งปวง แลมีโขนอุโมงค์ โรงใหญ่ หุ่นละคร มอญร�ำ ระบ�ำโมงครุ่ม.....”

พระราชพิธีสมโภชวัดสระเกศ จดหมายเหตุความทรงจ�ำของกรมหลวงนรินทรเทวี ได้กล่าวถึงการสมโภชวัดสระเกศ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สมโภชพระอารามและ ให้มีมอญร�ำในพระราชพิธีสมโภชครั้งนี้ด้วย (กรมหลวงนรินทรเทวี, ๒๔๗๑, น.๒๙) ดังนี้ “รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกให้เรียกวัดสระเกศ แล้วบูรณะปฏิสังขรณ์.....จุลศักราช ๑๑๕๕ ปีฉลู เบญจศก มีการสมโภชพร้อม โขน ละคอน หุน่ งิว้ มอญร�ำ ครบการเครือ่ งเล่น.....”

พระราชพิธีสมโภชวัดสุทัศน์เทพวราราม พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯ ให้สมโภชพระพุทธรูปพระประธาน วัดสุทัศน์เทพวราราม เมื่อวันพฤหสบดี แรม ๓ ค�่ำ เดือนอ้าย พ.ศ. ๒๓๘๐ ในพระราชพิธี สมโภชครั้ ง นี้ มี ม อญร� ำ ดั ง ปรากฏในจดหมายเหตุ ค วามทรงจ� ำ ของกรมหลวงนริ น ทรทวี (กรมหลวงนรินทรเทวี, ๒๔๗๑, น.๖๗) ดังนี้ “ณ วัน ๕ ฯ ๑ ค�่ำ ชักพระพุทธรูป ทรงเลื่อนชักแห่ ประโคมฆ้อง กลองชนะครื้นครั่น สนั่นเสียงมโหรี จีน ไทย แขก มอญ มีโรงโขนละคอน งิ้ว มอนร�ำ หุ่น.....พระโองการรับสั่ง ขนานนามวัดให้ชื่อวัดสุทัศน์เทพธาราม”

พระราชพิธสี มโภชช้างเผือกคูพ่ ระบารมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราช พิธีสมโภชช้างเผือก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ ที่วัดละมุด (ปัจจุบันคือวัดวิมุติยาราม เชิงสะพาน พระราม ๖ ด้ า นทิศ ตะวันตก) จากจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงพระราชพิธีครั้งนี้ว่ามีมอญร�ำมาแสดงในพระราชพิธี ครั้งนี้ด้วย ดังนี้ “วันอังคารขึ้น ๕ ค�่ำ เดือน ๘ ปีระกา ยังเป็นฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖


ปี่พาทย์มอญรำ�

241

วั น นี้ เ ริ่ ม การรั บ ช้ า งพลายส� ำ คั ญ เจ้ า พนั ก งานได้ ล ่ อ งแพช้ า งส� ำ คั ญ มาทอดอยู ่ ที่ วัดละมุด ตามซึ่งเคยท�ำมาแต่ก่อน พระยานนทบุรีได้มีการสมโภช คือ ละคร เพลง มอญร�ำ ตามธรรมเนียมแต่ก่อนมา.....” วัดละมุดเมื่อครั้งที่อยู่ในเขตปกครองของเมืองนนทบุรีนั้นได้ถูกก�ำหนดให้เป็นสถานที่ จัดพระราชพิธีสมโภชช้างเผือกคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีที่ล่องแพ มาจากภาคเหนื อ เนื่ อ งจากวั ด ละมุ ด อยู ่ เ ขตปกครองของเมื อ งนนทบุ รี แ ละเป็ น วั ด มอญ เจ้าเมืองนนทบุรีในสมัยนั้นจึงจัดให้มีปี่พาทย์มอญและมอญร�ำสมโภชช้างเผือก ผู้ที่ท�ำแพ รับช้างเผือกเป็นคนมอญ เพราะมีความช�ำนาญในการสร้างพลับพลาและต่อแพ ในบรรดา ผู้ที่เป็นช่างฝีมือเหล่านั้น พระยาทวารวดีภิบาล (แจ่ม โรจนวิภาต) เป็นผู้มีฝีมือเยี่ยมที่สุด ท่านหนึ่ง เป็นผู้สืบเชื้อสายขุนนางเชื้อสายมอญที่รับราชการในกรมพระคชบาลมาก่อนตั้งแต่ ครั้งกรุงศรีอยุธยาสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

ภาพช้างเผือกคู่พระบารมี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่มา : สมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ. (๒๔๕๙). แพรับช้างเผือก พิมพ์เป็น อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระยาทวารวดีภบิ าล (แจ่ม โรจนวิภาต). พระนคร: โสภณพิพิธพรรฒธนากร. น.๒๑


242

ปี่พาทย์มอญรำ�

พิธีฉลองวัดปรมัยยิกาวาส ตำ�บลเกาะเกร็ด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ โปรดเกล้าฯ ให้ฉลองวัดและพระราชทานนาม “วั ด ปรมั ย ยิ ก าวาส” พระอารามหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ การฉลองพระอารามครั้งนั้น โปรดเกล้าฯ ให้มีมอญร�ำด้วย ดังปรากฏในโคลงจารึกการบูรณะและฉลองวัดปรมัยยิกาวาสที่แผ่นหินอ่อนที่ผนังด้านหน้า พระอุโบสถ และจารึกที่บานหน้าต่าง ดังนี้

บานหน้าต่างอุโบสถวัดปรมัยยิกาวาสและแผ่นศิลา เสาศิลาหน้าอุโบสถ วัดปรมัยยิกาวาส ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่มีจารึกเรื่องมอญร�ำ (พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘)


ปี่พาทย์มอญรำ�

มหรศพครบเครื่องฟ้อน โขนหุ่นลครขาน มอญร�ำระบ�ำการ ครื้นคฤกกึกมี่ก้อง

243

ประจ�ำงาน พาทยฆ้อง จ�ำอวด เอิกเอย จวบสิ้นการฉลอง

โปรดเกล้าฯ ให้จารึกเรือ่ งทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสงั ขรณ์วดั ปรมัยยิกาวาสไว้ทเี่ สาศิลา หน้าพระอุโบสถวัดปรมัยยิกาวาส ในจารึกนี้ได้กล่าวถึงพระราชพิธีสมโภชวัดปรมัยยิกาวาส โปรดเกล้าฯ ให้มีมอญร�ำด้วย (ไตรสรณธัชอนุสรณ์, ๒๕๔๐, น.๑๒) ดังนี้ “.....ตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ ค�่ำ ไปจนถึง วันแรมค�่ำหนึ่ง.....แลโปรดเกล้าฯ ให้มี การมหรสพ โขน หุ่น งิ้ว ละคร มอญร�ำ แล ไม้ลอยญวนหกการเล่นเต้นร�ำต่างๆ.....”

ที่มา : ไตรสรณธัชอนุสรณ์ เรื่องประวัติวัดปรมัยยิกาวาส โลกภาษิตและท�ำนายฝัน. งานพระราชทานเพลิงศพ พระไตรสรณธัช (มาลัย ปุปผทาโม) วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐. น.๒๖, ๓๐.

นอกจากนี้ ยังโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์หนังสือในการฉลองวัดปรมัยยิกาวาสอีกด้วย ในหนังสือนี้ได้กล่าวถึงโคลงที่จารึกอยู่ที่บานประตูและหน้าต่างอุโบสถวัดไว้ด้วย


244

ปี่พาทย์มอญรำ�

มอญร�ำกับการร�ำฟ้อนของล้านนาไทย ฟ้อนเล็บและฟ้อนเทียนของล้านนาไทยดูละม้ายคล้ายมอญร�ำ ท่วงท่าที่อ่อนช้อย ร่ายร�ำอย่างแช่มช้า และการเขยิบเท้าที่เนิบนาบแต่งดงามด้วยการเคลื่อนไหวร่ายร�ำอย่าง ช้าๆ ของล�ำแขนและล�ำตัว อีกทั้งดนตรีที่บรรเลงเพลงจังหวะช้าๆ ด้วยกลองแอว ปี่มอญ ตะโพนมอญ โหม่ง ฉิ่ง ฉาบ ท�ำให้เกิดเสียงเพลงที่ไพเราะนุ่มนวลชวนฟัง ยิ่งท�ำให้เห็น ความเป็นเครือญาติของมอญร�ำและการฟ้อนของล้านนาไทย ชวนให้คิดว่าควรหาค�ำอธิบาย ให้กระจ่าง

มอญร�ำที่จัดขึ้นในงานพระบรมศพและพระศพ มอญร�ำที่จัดขึ้นในงานพระราชพิธีต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นการให้มีมอญร�ำ ในพระราชพิธีที่เป็นงานมงคล แต่มอญร�ำได้มีโอกาสจัดขึ้นในงานพระเมรุถวายพระเพลิง พระบรมศพพระมหากษั ต ริ ย ์ หรื อ ในงานพระเมรุ พ ระราชทานเพลิ ง พระศพพระบรม วงศานุวงศ์หลายครั้ง ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ อาทิ งานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๑ ปรากฏตามหนังสือค�ำให้การชาวกรุงเก่า ค�ำให้การขุนหลวงหาวัดและพระราชพงศาวดาร กรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติของหอสมุดแห่งชาติ ได้กล่าวถึงการมีมอญร�ำใน งานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ดังนี้ “เมื่อจุลศักราชได้ ๑๑๒๐ ปีขาลสัมฤทธิ์ศก วันพุธเดือน ๖ แรม ๕ ค�่ำ พระบรมราชา (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) สวรรคต พระอุทุมพรราชาได้ว่าราชการกรุงทั้งปวง จึงคิด อ่านกันกับพระเชษฐาธิราชที่จะแต่งการพระบรมศพสมเด็จพระบิดาพระบรมโกศ.....แล้วเชิญ พระโกศนั้นขึ้นบนเตียงหุ้มทอง แล้วจึงเอาเตียงที่รองพระโกศนั้นขึ้นบนพระแท่นแว่นฟ้า..... แล้วจึงตั้งโรงทานการเล่นมหรสพทั้งปวงให้มีโขนหนัง ละครหุ่นและมอญร�ำ ระบ�ำเทพทอง ทั้งโมงครุ่ม กุลาคุลาตีไม้สารพัด มีงานการเล่นต่างๆ นาๆ .....” จากข้อความในหนังสือค�ำให้การและพงศาวดารดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นหลักฐาน ส�ำคัญที่แสดงว่ามอญร�ำและปี่พาทย์มอญที่ต้องใช้บรรเลงประกอบการร�ำนั้นได้เข้ามาสู่ พระราชอาณาจักรไทยมานานแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาทั้งมอญร�ำและปี่พาทย์มอญได้เป็น ที่นิยมและยอมรับในสังคมไทย แม้ในพระราชพิธีที่ส�ำคัญมีการจัดให้มีมอญร�ำด้วย


ปี่พาทย์มอญรำ�

245

งานพระศพเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช มอญร�ำที่จัดขึ้นในงานอวมงคลในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในพระ ราชพิ ธี พ ระราชทานเพลิ ง พระศพกรมขุ น อิ น ทรพิ ทั ก ษ์ แ ละเจ้ า นราสุ ริ ย วงศ์ ผู ้ ค รองเมื อ ง นครศรีธรรมราช ในงานพระราชพิธคี รัง้ นีม้ มี หรสพสมโภชมากมาย มอญร�ำได้จดั ขึน้ ในงานนีด้ ว้ ย ดังปรากฏในหมายรับสั่ง ดังนี้ “.....วันพฤหัสบดีแรม ๒ ค�่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๑๓๘ ปีวอก อัฐศก มีหมายเวร นายควรรู ้ อั ศ ว์ นายเวรมหาดไทยมาว่ า ด้ ว ยพระยาธรรมารั บ สั่ ง ใส่ เ กล้ า ฯ สั่ ง ว่ า จะได้ พระราชทานเพลิงพระศพในกรมขุนอินทรพิทักษ์ เจ้านราสุริยวงศ์ครองเมืองนครศรีธรรมราช ณ วัดบางยี่เรือนอก..... โรงงิ้วใหญ่ พระยาราชาเศรษฐีฯ ปลูกโรง ๑ โรงละครเขมร โรง ๑ เขมรปลูกไม้จากในกรมโรง ๑ โรงรามัญใหม่ร�ำ โรง ๑ พระยารามัญวงศ์ให้รามัญปลูกโรง ๑ กลางวันโขนโรงใหญ่ ๒ โรงๆ ละ ๗ ต�ำลึง วันละ ๑๔ ต�ำลึง รามัญใหม่ร�ำวันละ ๑ ต�ำลึง ๒ บาท ๓ วัน เป็นเงิน ๔ ต�ำลึง ๒ บาท รามัญเก่าร�ำวันละ ๒ ต�ำลึง ๒ บาท ๓ วัน เป็นเงิน ๗ ต�ำลึง ๒ บาท.....”

งานถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิพระเจ้าหลวง (สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก) มี พ ระราชพิ ธี ถ วายพระเพลิ ง พระบรมอั ฐิ พ ระเจ้ า หลวง เมื่ อ พ.ศ. ๒๓๓๘ ใน พระราชพิธีครั้งนี้มีมอญร�ำด้วย ดังปรากฏตอนหนึ่งของโคลงถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิ พระเจ้าหลวง พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเรนทร์กล่าวถึงมอญร�ำที่ได้จัดขึ้น ในพระราชพิธีนี้ว่า มอญร�ำข�ำจริตค้อน ร�ำระมัดระเมียนนม กล้องแกล้งดุจกลึงกลม คนมักลักลอบทิ้ง

งอนคม นาศพริ้ง เอวกล่อม ที่เนื้อนมนาง


246

ปี่พาทย์มอญรำ�

งานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หนังสือพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ได้กล่าวถึง การจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ และมีมอญร�ำในพระราชพิธีครั้งนี้เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ดังนี้ “.....ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันเสาร์ขึ้น ๑๐ ค�่ำ เดือน ๔ เวลาตี ๑๑ ทุ่ม จะได้เชิญพระโกศ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแด่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงพระ ยานมาศ ๓ ล�ำคาน ตั้งกระบวนแห่ตามสถลมารคออกประตูศรีสุนทร.....เชิญพระบรมโกศ ทองสถิตเหนือพระมหาพิชัยราชรถ ทรงตั้งริ้วกระบวนแห่ตามสถลมารค.....เชิญพระบรมโกศ สถิตประดิษฐาน ณ พระที่นั่งบุษบกชั้นพระเบญจาทองค�ำจ�ำหลักประดับด้วยเนาวรัตน์ ภายใต้เศวตฉัตรชัยในพระเมรุทอง.....มีโขน หุ่น หนัง โรงร�ำ ระทา ละคร มอญร�ำ งิ้ว สิงโต มังกร ไม้ต�่ำ ไม้สูง คาบค้อน นอนร้าน หอกดาบ สมโภชแรมอยู่ ๗ วัน ๗ คืน.....” มอญร�ำที่ปรากฏอยู่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ส�ำคัญของไทยดังที่ได้กล่าวมา แล้วนั้น แสดงให้เห็นถึงบทบาทและหน้าที่ของมอญร�ำที่แสดงได้ในโอกาสต่างๆ ทั้งที่เป็น งานมงคล และงานอวมงคล ทั้งที่เป็นงานหลวงและงานราษฎร์ มอญร�ำจึงเป็นการฟ้อนร�ำ ที่สังคมไทยนิยมจัดให้มีขึ้นในโอกาสต่างๆ แม้ในวรรณคดีที่ส�ำคัญของไทยหลายเรื่อง เช่น

ระทา และโรงร�ำที่ตั้งระหว่างระทาทั้ง ๔ ต้น ในงานพระศพสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่มา : กรมศิลปากร. (๒๕๒๘). งานพระเมรุมาศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัตศิ าสตร์. น.๑๓๒.


ปี่พาทย์มอญรำ�

247

พระอภัยมณีและอิเหนา เป็นต้น วรรณคดีดังกล่าวได้น�ำมอญร�ำไปเป็นองค์ประกอบของ พิ ธีก รรม หรื อ เป็ นส่วนหนึ่ง ของการจัด พิธีกรรมเฉลิมฉลองหรือสมโภชในงานมงคลของ ตัวละครที่ส�ำคัญในวรรณคดี ดังบทประพันธ์ดังต่อไปนี้ ส�ำเนียงฆ้องกลองสมโภชอุโฆษครึก อึกกระทึกทั่วไปทั้งไอศวรรย์ โขนละคอนมอญร�ำระบ�ำบัน ถึงเจ็ดวันเจ็ดคืนต่างชื่นชม (ตอนแต่งงานพระอภัยมณี ตอน ๒๓) ผู้หญิงดูอยู่ข้างโขนเมืองผลึก หุ่นละครมอญร�ำระบ�ำไทย (ตอนแต่งงานสินสมุทร ตอน ๔)

บ้างก็นึกเวทนาน�้ำตาไหล เพลงปรบไก่เทพทองร้องค้างคาว

บัดนั้น โขนละครมอญร�ำระบ�ำใน (ตอนแต่งงานอิเหนา)

ฝ่ายพวกมหรสพน้อยใหญ่ แทงวิสัยไต่ลวดประกวดกัน

มอญร�ำในโอกาสส�ำคัญในสมัยรัชกาลปัจจุบัน ในรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ชาวไทยเชื้ อ สายมอญ ได้บ�ำเพ็ญกุศลตามประเพณีมอญ อุทิศส่วนกุศลครั้งส�ำคัญที่พระบรมมหาราชวัง และ ในการจั ด งานได้ มี ม อญร� ำ จากชุ ม ชนบ้ า นเกาะเกร็ ด อ� ำ เภอปากเกร็ ด จั ง หวั ด นนทบุ รี ร่วมฟ้อนร�ำ ดังนี้ ๑. บ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ ที่หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๗

มอญร�ำในงานบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย พระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้า ร�ำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๒๗)


248

ปี่พาทย์มอญรำ�

๒. บ� ำ เพ็ ญ กุ ศ ลอุ ทิ ศ ถวายพระบรมศพสมเด็ จ พระศรี น คริ น ทรา บรมราชชนนี ที่หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ๓.  บ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

มอญร�ำในงานบ�ำเพ็ญกุศล อุทิศถวายพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (พ.ศ. ๒๕๕๑)

มอญร�ำในงานพระราชทานเพลิงพระศพพลโท ม.จ.ชิดชนก กฤดากร (พ.ศ. ๒๕๔๑)

๔. บ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์วาสโน มหาเถระ) ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ๕. งานพระราชทานเพลิงพระศพพลโท ม.จ.ชิดชนก กฤดากร ณ เมรุหน้าพลับพลา อิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑


ปี่พาทย์มอญรำ�

249

มอญร�ำในงานศพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ สุเอ็ด คชเสนี วัดสระเกศ (พ.ศ. ๒๕๕๑)

มอญร�ำเป็นการฟ้อนร�ำของสตรี ท่าร�ำที่ประดิษฐ์ขึ้นส�ำหรับการร�ำเป็นท่าทางที่อ่อนช้อย สวยงาม การเคลื่อนไหว ร่างกาย ตั้งแต่ล�ำตัว แขน ข้อมือ ฝ่ามือ ถึงเท้าจะด�ำเนินไปด้วยท่าทางที่นุ่มนวล แม้การ เคลื่อนเท้าจะไม่ใช้การยกเท้าหรือก้าวเดิน แต่จะใช้กระเถิบเท้าไปทางด้านข้างของล�ำตัว อย่างช้าๆ พร้อมๆ ไปกับการร่ายร�ำของมือทั้งสอง ท่าร�ำที่อ่อนช้อยสวยงามเช่นนี้จึงเหมาะ ส�ำหรับเป็นท่าร�ำของสตรีไม่ใช่ท่าร�ำของบุรุษ

มอญร�ำเป็นการร�ำในพิธีและเพื่อดูเล่นงามๆ สาระส�ำคัญของมอญร�ำที่ควรมีการวิเคราะห์ถึงหน้าที่และบทบาทของมอญร�ำว่า ท่าร�ำของมอญร�ำนั้นแสดงความหมายประการใดบ้าง เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีผู้น�ำท่าร�ำของ มอญร�ำที่มีท่าต่างๆ มาแสดงความหมายต่างๆ เช่นเดียวกับการแปลชื่อหรือความหมาย ของเพลงมอญร�ำว่ามีค�ำแปลหรือความหมายอย่างใด การตีความหมายหรือการหาค�ำแปล จึงเกิดขึ้นอย่างหลากหลายและสร้างความสับสนอย่างมาก ลั ก ษณะส� ำ คั ญ ของมอญร� ำ เมื่ อ เปรี ย บเที ย บลั ก ษณะส� ำ คั ญ ของนาฏศิ ล ป์ ไ ทย แล้ว มอญร�ำมีลักษณะเช่นเดียวกับ “ระบ�ำ” ของไทย การแสดงของไทยแต่โบราณกาล มานั้ น เราจะได้ พ บได้ เ ห็ น ศิ ล ปะแห่ ง การร� ำ ที่ มี ก ารร� ำ พร้ อ มกั น เป็ น หมู ่ เราเรี ย กการร� ำ แบบนี้ว่า “ระบ�ำ” ค�ำว่า ระบ�ำ นั้น พระยาอนุมานราชธน ได้ให้ค�ำนิยามไว้ ว่า “ระบ�ำ เป็นสิ่งที่ร�ำส�ำหรับดูเล่นงามๆ ไม่มีเรื่อง”


250

ปี่พาทย์มอญรำ�

มอญร�ำ มีความหมายเช่นเดียวกับระบ�ำ คือ เป็นสิ่งที่ร�ำส�ำหรับดูเล่นงามๆ ไม่ร�ำ ตามบทหรือตามเรื่อง เมื่ อ มอญร� ำ เป็ น การร� ำ ในพิ ธี ก รรม ประกอบการประโคมเพลงย�่ ำ เที่ ย ง และเป็ น การร�ำส�ำหรับดูเล่นงามๆ ดังนี้แล้ว มอญร�ำจึงไม่ใช่การร�ำบทหรือร�ำตามเรื่อง หรือร�ำตาม บทร้ อ ง ซึ่ ง แสดงถึ ง เรื่ อ งหรื อ ความหมายของท่ า ร� ำ การประดิ ษ ฐ์ ท ่ า ร� ำ ของมอญร� ำ จึ ง ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความงาม ความอ่อนช้อยของการร่ายร�ำ การเคลื่อนไหวอิริยาบถ การเปลี่ยนจากท่าหนึ่งไปอีกท่าหนึ่ง การเยื้องกราย การย่อขา ล�ำตัว การตั้งวง เป็นต้น มอญร�ำจึงเน้นที่ความถูกต้องของแบบแผนการร�ำเป็นหลัก ความหมายของความถูกต้อง คือการร่ายร�ำให้งามที่สุดและถูกต้องตามแบบแผนของมอญร�ำมากที่สุด ส่วนความหมาย ของท่าร�ำและความหมายของเพลงนั้นเป็นเรื่องของการแสดงความเคารพบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือต่อบุคคลที่เคารพนับถือ มอญร�ำจึงเป็นการฟ้อนร�ำเพื่อความสวยงาม เช่นเดียวกับการร�ำระบ�ำโบราณคดี ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ที่เน้นความงดงามของท่าร�ำมากกว่าที่จะแสดงเรื่อง หรือแสดงตาม บทร้อง เพราะมอญร�ำไม่มีทั้งเรื่อง ไม่มีทั้งบทร้อง

มอญร�ำเป็นระบ�ำ ร�ำเป็นหมู่ดูสวยงาม มอญร�ำจะดูสวยงามเมื่อมีการร�ำเป็นหมู่ ความงามของการร�ำอยู่ที่ข้อปฏิบัติ ดังนี้ ๑. การกราบแสดงความเคารพก่อนและหลังการร�ำ ต้องพร้อมเพรียงกัน ๒. ทุกคนต้องรักษาลีลาท่าร่ายร�ำให้พร้อมเพรียงกัน ๓. มีความแม่นย�ำในจังหวะและท�ำนองเพลง ๔. รักษาระเบียบของแถว ระยะช่วง แต่ละคนให้ห่างชิดเท่ากัน ๕. มีปฏิภาณไหวพริบ ในการร�ำคล้อยตามกันอย่างไม่ขัดเขิน ๖. มีความสามัคคี ๗. มีสมาธิดี มารยาทที่ดีของผู้ร�ำ ผู้ร�ำต้องค�ำนึงถึงมารยาทที่ดี ดังนี้ ๑. ไม่พูดคุยกันขณะร�ำ ๒. ไม่ใช้สายตาเกินขอบเขต ๓. ไม่ร�ำชิดกันหรือห่างกันจนเกินงาม ๔. มีกิริยามารยาทเรียบร้อย


ปี่พาทย์มอญรำ�

251

วงปี่พาทย์มอญกับมอญร�ำ (พ.ศ. ๒๕๕๓)

ดนตรีประกอบการร�ำมอญร�ำ การฟ้ อ นร� ำ ทั่ ว ไปจะมี ก ารบรรเลงดนตรี ป ระกอบการฟ้ อ นร� ำ ด้ ว ย เสี ย งดนตรี มีพลังอ�ำนาจสร้างมโนส�ำนึกให้แก่ผู้ฟังได้ นอกจากนั้นดนตรียังถูกน�ำไปใช้ได้ทั้งในลักษณะ เพื่ อ ความบั น เทิ ง และเพื่ อ ใช้ ป ระกอบพิ ธี ก รรม ถ้ า ขาดเสี ย งดนตรี ศิ ล ปะการแสดงก็ ไ ร้ ความหมาย ไร้ความงาม ไร้สุนทรีย์ทางอารมณ์เหมือนดูละครใบ้ นอกจากนั้นเสียงดนตรีท�ำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมหรือเป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดการประสาน ถึงกันได้ระหว่างจิตมนุษย์กับสิ่งที่มนุษย์เชื่อว่ามีพลังเหนือธรรมชาติ มอญร�ำมีหน้าที่หลักคือการฟ้อนร�ำในพิธีการ และมีหน้าที่รองคือเพื่อสร้างเสริม อารมณ์ สุ น ทรี ย ์ ทั้ ง ทางทั ศ นศิ ล ป์ แ ละความงามทางจิ ต สั ม ผั ส เสี ย งดนตรี ที่ เ กิ ด จากการ บรรเลงปี่พาทย์มอญจึงเป็นสื่อส�ำคัญที่เข้าถึงจิตของผู้ฟ้อนร�ำให้เกิดจินตนาการประกอบ การเคลื่อนไหวในกิริยาอาการต่างๆ ของผู้ร่ายร�ำ และเสียงดนตรีที่เกิดจากการบรรเลง ปี่พาทย์มอญนั้นเอง จะท�ำให้ผู้ได้ฟังและได้ชมการฟ้อนร�ำเกิดความรู้สึกคล้อยตามไปกับ ท่วงท�ำนองที่ไพเราะของเสียงเพลงและท่าทางร่ายร�ำที่อ่อนช้อยสวยงามของผู้ร�ำ ปี ่ พ าทย์ ม อญและเพลงมอญจึ ง เป็ น องค์ ป ระกอบที่ ส� ำ คั ญ ในการฟ้ อ นร� ำ มอญร� ำ นอกเหนือจากองค์ประกอบอื่นของมอญร�ำ เช่น ผู้ร�ำ ท่าร�ำ หรือการแต่งกาย เป็นต้น


252

ปี่พาทย์มอญรำ�

มอญร�ำเป็นการฟ้อนร�ำที่ได้ประดิษฐ์ท่าร�ำให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กับท�ำนอง และจังหวะของเพลงมอญที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มอญ ทั้ง ๑๒ เพลง เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบการแสดงมอญร�ำนั้นเป็นเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ มอญ จะเป็ น วงปี ่ พ าทย์ ม อญเครื่ อ งห้ า วงปี ่ พ าทย์ ม อญเครื่ อ งคู ่ หรื อ วงปี ่ พ าทย์ ม อญ เครื่องใหญ่ก็ได้ แต่ถ้าเป็นการร�ำในงานฉลองที่วัด หรือในงานศพพระ ชาวบ้านจะใช้โกร่ง มาตีเป็นเครื่องประกอบจังหวะด้วย โกร่ง เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของมอญที่ชาวบ้านนิยมน�ำมาใช้ตีประกอบจังหวะ ในการฟ้อนร�ำมอญร�ำ โกร่งท�ำจากไม้ไผ่ทั้งล�ำยาวประมาณ ๒ - ๕ วา ผ่าตามยาวหรือ ทุบให้ไม้ไผ่แตกแต่ยังคงเป็นล�ำยาว โกร่งตั้งอยู่บนท่อนไม้ที่วางขวางอยู่ที่ทางด้านล่าง ของล�ำไม้ไผ่ ไม่ให้ล�ำไม้ไผ่วางแนบกับพื้น เพื่อให้เกิดเสียงกังวานเมื่อตีโกร่ง โกร่ ง ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เครื่ อ งดนตรี ของวงปี ่ พ าทย์ม อญ แต่เ ป็นเครื่องประกอบจัง หวะที่ ชาวบ้ า นน� ำ มาตี ร ่ ว มกั บ วงปี ่ พาทย์ ม อญ เมื่ อ มี ม อญร� ำ ที่ เ ป็ น งานของชุ ม ชน เช่ น งาน ฉลองวัด งานศพพระ งานสงกรานต์ เป็นต้น ชาวบ้านผู้ตีนั่งเรียงเป็นแถวตามความยาว ของล�ำไม้ไผ่ ใช้ไม้ตีล�ำไม้ไผ่ตามจังหวะของเพลง พร้อมกับเปล่งเสียงร้องเป็นจังหวะไปด้วย

แม่ครูมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ สาธิตมอญร�ำ ที่วัดสโมสร อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๕๓)


ตะโพน

ปี่มอญ

ระนาดเอก

ระนาดทุ้ม

ฉาบใหญ่

ฆ้องมอญวงเล็ก

ฆ้องมอญวงใหญ่

เปิงมางคอก วงปี่พาทย์มอญ คณะสมจิตร รนขาว เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๕๓)

โหม่ง


254

ปี่พาทย์มอญรำ�

สตรีมอญเกาะเกร็ด ร�ำมอญร�ำในงานบ�ำเพ็ญกุศลพระศพ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน มหาเถระ) ณ วัดราชบพิธสถิตสีมาราม วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒

เครื่องแต่งกายผู้ร�ำมอญร�ำ


ปี่พาทย์มอญรำ�

255

เครื่องแต่งกายของผู้รำ� เครื่องแต่งกายของผู ้ ร� ำ มอญร� ำ โดยทั่วไปผู้ร�ำแต่งชุดของผู้หญิงมอญ นุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อแขนกระบอก คล้องผ้าสไบด้วยการปล่อยชายสไบให้ชายทั้งสองด้านห้อยไปทาง ด้านหน้าของล�ำตัว เกล้าผมแบบมอญ ถ้าผมสั้นไม่สามารถเกล้าผมแบบมอญได้ ก็ให้เกล้า แบบธรรมดา ปัจจุบันนิยมนุ่งผ้าซิ่นที่เป็นผ้านุ่งมอญสีแดงยกดอกธรรมดา หรือยกดอกคาดด้วย เส้นทอง และสวมเสื้อลายลูกไม้ซึ่งเป็นชุดเครื่องแต่งกายของสตรีมอญ การฟ้อนร�ำในงานศพ ผู้ร�ำแต่งกายด้วยเสื้อและผ้านุ่งสีได้เพราะตามธรรมเนียมมอญ ไม่ได้ถือว่าการแต่งกายในงานศพต้องแต่งกายสีด�ำ

เพลงมอญร�ำ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนร�ำมอญร�ำนั้นเป็นเพลงชุด ประกอบด้วยเพลงต่างๆ รวม ๑๒ เพลง เรียกเพลงชุดนี้ว่า เพลงย�่ำเที่ยง เป็นเพลงชุดที่ใช้ประโคมในพิธีกรรมต่างๆ ของมอญ ทั้งงานมงคลและงานอวมงคลในเวลาเที่ยงวัน ปัจจุบันนักดนตรีในวงปี่พาทย์ มักเรียกเพลงชุดย�่ำเที่ยงนี้ว่า เพลงมอญร�ำ แต่ไม่มีการร�ำ เมื่อน�ำเพลงชุดย�่ำเที่ยงนี้มาบรรเลง ประกอบการร�ำมอญร�ำ มีการเรียกไปอีกชื่อหนึ่งว่า เพลงมอญร�ำ ดังนั้นเพลงมอญร�ำคือ เพลงย�่ำเที่ยง เพลงมอญร�ำที่มาจากเพลงย�่ำเที่ยง ซึ่งเป็นเพลงชุดประกอบด้วยเพลงหลายเพลง น�ำมาจัดเรียงและบรรเลงติดต่อกันไปตามล�ำดับ ตั้งแต่เพลงแรกถึงเพลงสุดท้าย ไม่มีการ บรรเลงสลับล�ำดับกัน การบรรเลงต้องบรรเลงทุกเพลง เพลงมอญร�ำที่ประกอบด้วยเพลง หลายเพลงเป็นชุดเช่นนี้ เพลงมอญร�ำจึงมีลักษณะคล้ ายเพลงเรื่องของวงมโหรีไทย เช่น เพลงเรื่องท�ำขวัญ เพลงย�่ำเที่ยง ภาษามอญมีชื่อว่า ซอยกรอย ซึ่งหมายถึงการแสดงความเคารพ เพราะประโคมเพื่อแสดงความเคารพ เมื่อน�ำการฟ้อนร�ำมาประกอบการประโคม มอญร�ำ จึงมีความหมายรวมว่าเป็นการฟ้อนร�ำเพื่อแสดงความเคารพหรือเพื่อแสดงการสักการบูชา แต่ ชื่ อ เพลงชุ ด ที่ ป ระกอบเป็ น เพลงย�่ ำ เที่ ย งหรื อ เพลงซอยกรอย แต่ ล ะเพลงนั้ น ยั ง หา ความหมายและค�ำแปลได้ไม่ชัดเจน เพลงมอญร�ำหรือเพลงย�่ำเที่ยงทั้ง ๑๒ เพลง มีชื่อเป็นภาษามอญทั้งหมด ดังนี้ ๑. เพลงชอป้าต ๒. เพลงย้ากจ้างฮะเปิ้น ๓. เพลงทะบ๊ะชาน ๔. เพลงดอมทอ ๕. เพลงขะวัวตัวห์ ๖. เพลงขะวัวคะนอม


256

ปี่พาทย์มอญรำ�

๗. เพลงดังโรต ๙. เพลงฮะว่าย ๑๑. เพลงป้ากเมี่ยะ ๑๓. เพลงตะละจะร่าย

๘. เพลงกะยาน ๑๐. เพลงแม่งปล่ายฮะเล่ห์ ๑๒. เพลงโน่นทอ

เพลงชอป้าต เพลงอันดับ ๑ เป็นเพลงเริ่มบรรเลงน�ำก่อนที่จะร�ำมอญร�ำคล้ายเพลง โหมโรง เพลงชอป้าตนี้ไม่ใช่เพลงประกอบท่าร�ำ แต่ใช้บรรเลงน�ำขณะผู้ร�ำกราบพระและ ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งไหว้ครูอาจารย์ของวงปี่พาทย์เท่านั้น แต่ถ้าบรรเลงเพลงย�่ำเที่ยงที่ ไม่ มี ก ารร� ำ มอญร� ำ เป็ น การบรรเลงประโคมในเวลาเที่ ย งไม่ ต ้ อ งบรรเลงเพลงชอป้ า ต คงบรรเลงเพลงย�่ำเที่ยงตั้งแต่เพลงล�ำดับที่ ๑ ถึงเพลงล�ำดับที่ ๑๒ อันเป็นเพลงประโคม ย�่ำเที่ยง เมื่อกล่าวถึงชื่อเพลงที่เป็นภาษามอญ จึงขอท�ำความเข้าใจในขั้นนี้ก่อนว่าปัจจุบันนี้ มีผู้ไปท�ำวิจัยหรือท�ำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องเพลงมอญและมอญร�ำกันมาก การวิจัยหรือ การท�ำวิทยานิพนธ์จะพยายามเจาะลึกถึงชื่อเพลงที่เป็นภาษามอญและต้องการเจาะลึก ไปถึงความหมายหรือค�ำแปลของภาษามอญนั้นๆ ด้วย แต่เนื่องจากชื่อเพลงก็ดี ชื่อท่าร�ำ ก็ดีส่วนใหญ่เป็นภาษามอญโบราณและเรียกกันมานานจนหาค�ำแปลหรือความหมายที่ ถูกต้องได้ยาก อีกทั้งชื่อเพลงและชื่อท่าร�ำของมอญส่วนใหญ่จดจ�ำกันมาและถ่ายทอดด้วย มุขปาฐะ ความคลาดเคลื่อนจึงมีได้ง่าย ในการเรียบเรียงครั้งนี้จะพยายามหาความหมาย ทางภาษามอญและชื่อภาษามอญให้ใกล้เคียงที่สุด ชื่อใดที่ไม่สามารถสืบค้นได้ จะขอใช้ ชื่อเฉพาะภาษามอญเพื่อจะได้ไม่สร้างความเข้าใจผิดและมีการน�ำความเข้าใจผิดๆ นั้น ไปเผยแพร่กันต่อไป แต่ขอฝากไว้ให้ผู้เป็นปราชญ์ได้ช่วยศึกษาค้นคว้าต่อไปด้วย ลั กษณะเช่นนี้ปรากฏมีอ ยู่ในเพลงไทยเช่นกัน ที่ชื่อเพลงไทยเป็นชื่อโบราณและ หาค�ำอธิบายได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชื่อเพลงต่างๆ ในเพลงหน้าพาทย์ เช่น เพลงกลม เพลงเสมอ เพลงชุบ เพลงโล้ เพลงแผละ เป็นต้น ชื่อเพลงมอญและชื่อท่าร�ำของมอญ มีลักษณะเช่นเดียวกันกล่าวคือหาความหมายหรือค�ำแปลยาก เรื่องชื่อเพลงที่ไม่สามารถหาค�ำแปลได้เช่นนี้ อาจารย์มนตรี ตราโมท ปรมาจารย์ทาง ดนตรีของไทยและศิลปินแห่งชาติ ได้กล่าวถึงปัญหาเรื่องชื่อเพลงที่ไม่รู้ค�ำแปลไว้ในบทความ ดุริยสาสน์ในหนังสือดุริยสาสน์ ฉบับวันพุธที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ (มนตรี ตราโมท, ๒๕๓๘, น.๙๘) ดังนี้ “.....เพลงประเภทที่มีชื่อแปลไม่ออก เพลงไทยที่แต่งในสมัยโบราณมีชื่อที่เราในสมัย ปัจจุบัน แปลไม่ออกว่าหมายความว่ากระไรมีอยู่มาก เช่น เพลง “ตระ” เพลง “วา” เพลง “เชิด” เพลง “เสมอ” ฯลฯ เพลงเหล่านี้เราแปลความหมายไม่ออกทั้งนั้น.....”


ปี่พาทย์มอญรำ�

257

“ถ้าจะพิจารณาถึงชือ่ เพลงเก่าๆ จะยิง่ แลเห็นว่ามีมากมายเหลือเกินทีเ่ ราไม่รคู้ วามหมาย เช่น เพลงเนียรปาตี ล�ำไป สร้อยต่าน ทองย่อน ยู่หงิด ตะลุ่มโปง ตุ๊ดตู่ พัดชา ยิกิน (หรือ ลิกิน) บ้าระบุ่น จันดิน เนระคันโยค มือลม มุล่ง ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่แปลไม่ออกทั้งสิ้น แต่ เราจะเหมาเอาว่าท่านโบราณาจารย์ผู้แต่งเพลงเหล่านั้นจะตั้งไปโดยลอยลมปราศจาก ความหมายกระนั้ น หรื อ คิ ด ว่ าเป็ น ไปไม่ ไ ด้ ท ่ านผู้แ ต่ง คงจะได้ตั้ง ชื่อเพลงของท่า นให้มี ความหมายอย่างหนึ่ง.....หากแต่ค�ำเหล่านั้นเป็นค�ำที่ใช้กันในสมัยโบราณ มาถึงสมัยปัจจุบัน ได้เลิกใช้หรือเปลี่ยนแปลงความหมายไปจากเดิมเสียแล้ว เราจึงแปลไม่ออก.....” ชื่อเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการร�ำมอญร�ำทั้ง ๑๒ เพลง รวมทั้งชื่อของเพลงชอป้าต ที่บรรเลงก่อนการร่ายร�ำของผู้ฟ้อนร�ำอีก ๑ เพลง และชื่อเพลงมอญอีกจ�ำนวนมากที่มีชื่อ เป็นภาษามอญโบราณที่ยากจะหาค�ำแปลหรือความหมายโดยตรงได้ แต่อย่างไรก็ตามแม้ชื่อเพลงหรือชื่อท่าร�ำของมอญจะท�ำความเข้าใจค�ำแปลหรือ ความหมายได้ยาก แต่นักดนตรีและนักฟ้อนร�ำของมอญก็สามารถจดจ�ำในเรื่อง “หน้าที่” ของเพลงหรือหน้าที่ของท่าร�ำได้ว่าเป็นเพลงอะไรหรือเป็นท่าร�ำอะไร และเพลงนี้บรรเลง เมื่อใดหรือร�ำตอนไหน ทั้งนี้นักดนตรีและนักฟ้อนร�ำได้ก�ำหนดเรียกกันในหมู่นักดนตรีและ นักฟ้อนร�ำเพลงมอญร�ำว่าเพลงที่เท่าใด เช่น เพลงที่ ๑ หรือเพลงที่ ๑๘ เป็นต้น ผู้ร�ำจะใช้ วิธีเรียกชื่อเพลงหรือท่าร�ำในลักษณะนี้เช่นกัน เช่น เรียกว่าท่าร�ำเพลงที่ ๑ ท่าร�ำเพลงที่ ๒ ท่าร�ำเพลงที่ ๑๘ เป็นต้น ปัจจุบันนี้ได้ใช้วิธีการดังกล่าวนี้ส�ำหรับเรียกชื่อเพลงมอญร�ำของ นักดนตรีและผู้ฟ้อนร�ำมอญร�ำทั่วไป

เพลงมอญร�ำของชุมชนมอญเกาะเกร็ด มี ๑๘ เพลง เพลงประกอบการร�ำมอญร�ำในที่นี้จะกล่าวถึงเพลงมอญร�ำทั้ง ๑๘ เพลง ที่เป็น การร�ำของชุมชนมอญเกาะเกร็ด ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นหลัก เพราะมีเพลงร�ำมากถึง ๑๘ เพลง ส่วนชุมชนมอญอื่นเช่นที่จังหวัดปทุมธานีและที่อ�ำเภอ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีเพลงที่ใช้ประกอบการร�ำน้อยกว่า ๑๘ เพลง การใช้เพลง ที่น้อยกว่าไม่ได้หมายความว่าเป็นเพลงต่างกันหรือเพลงไม่เหมือนกัน การร�ำของชุมชนมอญ ที่ปทุมธานีและที่อ�ำเภอพระประแดง ใช้เพลงมอญที่เหมือนกันกับที่ชุมชนมอญเกาะเกร็ด แตกต่างกันที่จ�ำนวนเพลงเท่านั้นที่ไม่เหมือนกัน เพลงมอญร�ำทั้ง ๑๘ เพลงของชุมชนมอญเกาะเกร็ดแบ่งได้ ๓ กลุ่ม คือ ๑. เพลงมอญร�ำ ๑๐ เพลง ๒. เพลงมอญร�ำที่ย่าปริกครูมอญร�ำบ้านเกาะเกร็ดได้จากชุมชนมอญเมาะละแหม่ง ๒ เพลง รวมเป็น ๑๒ เพลง


258

ปี่พาทย์มอญรำ�

๓. เพลงที่ ย ่ า ปริ ก ครู ม อญร� ำ บ้ า นเกาะเกร็ ด ได้ ป ระดิ ษ ฐ์ ท ่ า ร� ำ จากละครของไทย ๖ เพลง

เพลงมอญรำ� ๑๐ เพลง เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่ของคนมอญเพื่อหลบหลีกภัยจากการรุกรานของ พม่ า นั้ น มี อ ยู ่ ต ลอดเวลาในช่ ว งกว่ า ๓๐๐ ปี ที่ ผ ่ า นมา ถึ ง แม้ ค นมอญจะได้ น� ำ ศิ ล ปะ การร่ายร�ำและดนตรีปี่พาทย์ติดตัวมาด้วยเมื่อได้เข้ามาในประเทศไทย ในสถานการณ์ที่ ไม่ปกติเช่นนี้จึงมีส่วนท�ำให้ความสมบูรณ์ของศิลปะทางนาฏศิลป์และดนตรีขาดหายไปได้ เพลงมอญร�ำและท่าร�ำมอญก็อยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ด้วย ดังนี้ เพลงมอญร�ำในประเทศไทย ช่วงหนึ่งจึงมีเพียง ๑๐ เพลง คือ ๑. เพลงย้ากจ้างฮะเปิ้น หรือ เพลงที่ ๑ ๒. เพลงทะบ๊ะชาน หรือ เพลงที่ ๒ ๓. เพลงดอมทอ หรือ เพลงที่ ๓ ๔. เพลงขะวัวตัวห์ หรือ เพลงที่ ๔ ๕. เพลงขะวัวคะนอม หรือ เพลงที่ ๕ ๖. เพลงดังโรต หรือ เพลงที่ ๖ ๗. เพลงกะยาน หรือ เพลงที่ ๗ ๘. เพลงฮะว่าย หรือ เพลงที่ ๘ ๙. เพลงแม่งปล่ายฮะเล่ห์ หรือ เพลงที่ ๙ ๑๐. เพลงป้ากเมี่ยะ หรือ เพลงที่ ๑๐

เพลงมอญรำ� ๑๒ เพลง ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๗ นายทอบา นักดนตรีมอญบ้านเกาะเกร็ดพี่ชายย่าปริกครูสอน มอญร�ำบ้านเกาะเกร็ด ได้น�ำเพลงมอญและท่าร�ำที่นายทอบาได้ไปศึกษามาจากชุมชนมอญ ต่างๆ ในเมืองเมาะละแหม่ง เมืองเก่าของมอญ ปรากฏว่าในเมืองมอญขณะนั้นมีผู้ร�ำมอญได้ ๑๒ เพลง และบรรเลงเพลงมอญร� ำ หรื อ เพลงย�่ ำ เที่ ย งได้ ร วม ๑๒ เพลง มากกว่ า ที่ ร� ำ ในชุ ม ชนมอญในประเทศไทย ๒ เพลง นายทอบาจึ ง จดจ� ำ ท่ า ร� ำ และเพลงที่ บ รรเลง ประกอบท่าร�ำอีก ๒ เพลง นั้น เมื่อกลับมาที่บ้านเกาะเกร็ดจึงได้ถ่ายทอดท่าร�ำ ๒ เพลง ที่ได้จากเมืองเมาะละแหม่งให้ย่าปริก ย่าปริกได้ถ่ายทอดท่าร�ำอีก ๒ เพลงนั้นให้แก่ศิษย์ ที่บ้านเกาะเกร็ด การร�ำมอญร�ำจึงมี ๑๒ เพลง ซึ่งเป็นเพลงมอญร�ำที่มีมาแต่ดั้งเดิม ส่วนเพลงที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มอญ นายทอบาได้ถ่ายทอดการบรรเลงเพลง มอญร�ำที่ได้มาจากเมืองมอญอีก ๒ เพลง ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงในชุดเพลงย�่ำเที่ยง เพลง ประโคมที่ยังคงมีผู้บรรเลงได้ในเมืองเมาะละแหม่งในช่วงเวลานั้น ให้แก่วงปี่พาทย์มอญ


ปี่พาทย์มอญรำ�

259

ในชุมชนมอญเกาะเกร็ด จนสามารถบรรเลงเพลงทั้ง ๑๒ เพลง ประกอบการร�ำมอญร�ำได้ เพลงมอญร�ำที่เพิ่มขึ้นมาจากที่มีอยู่เดิมอีก ๒ เพลง คือ ๑. เพลงโน่นทอ หรือ เพลงที่ ๑๑ ๒. เพลงตะละจะร่าย หรือ เพลงที่ ๑๒ ดังนั้นเพลงบรรเลงประกอบการร�ำมอญร�ำหรือเพลงย�่ำเที่ยง จึงมีรวมทั้งสิ้น ๑๒ เพลง

เพลงมอญรำ�ทั้ง ๑๒ เพลง มีจังหวะหน้าทับตะโพนมอญต่างกัน จังหวะของเพลงมอญร�ำทั้ง ๑๒ เพลง มีตะโพนมอญเป็นผู้ก�ำหนดจังหวะก�ำกับ ความช้าหรือความเร็วของเพลงหรือก�ำกับจังหวะของเพลง การร่ายร�ำของผู้ฟ้อนร�ำมอญร�ำ จะร่ า ยร� ำ ไปตามท� ำ นองของเพลง ขณะเดี ย วกั น จะต้ อ งฟั ง เสี ย งตะโพนมอญเพื่ อ การ ปรับเปลี่ยนกระบวนท่าร่ายร�ำให้พอดีกับจังหวะของตะโพนมอญ ด้วยเหตุที่ต้องใช้เสียง ตะโพนมอญก� ำ กั บ จั ง หวะท่ า ของการร่ า ยร� ำ ดั ง กล่ า ว การร� ำ มอญร� ำ จึ ง มี ชื่ อ เรี ย กใน ภาษามอญว่ า ปั ว ฮะเปิ ้ น หรื อ เล่ ะ ห์ ฮ ะเปิ ้ น ซึ่ ง หมายถึ ง การร่ า ยร� ำ ตามจั ง หวะของ ตะโพนมอญ ซึ่งมีตะโพนมอญบรรเลงก�ำกับประโยคของเพลง

เพลงที่ย่าปริกประดิษฐ์ท่ารำ�เพิ่ม ๖ เพลง ในระหว่ า ง พ.ศ. ๒๔๑๗ - ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าว ที่ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ต่ อ มาโปรดเกล้ า ฯ พระราชทานนามวั ด ว่ า วั ด ปรมั ย ยิ ก าวาส ตลอดเวลาที่ ป ฏิ สั ง ขรณ์ วัดปรมัยยิกาวาสนานถึง ๑๐ ปีนั้น มีการบ�ำเพ็ญพระราชกุศลในวาระต่างๆ หลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีมหรสพของหลวง เช่น โขน ละครไปแสดงพร้อมกับมีมอญร�ำด้วย ย่าปริกได้ มีโอกาสไปร�ำในงานฉลองต่างๆ ที่วัดปรมัยยิกาวาส และได้ฝึกท่าร�ำจากศิลปินที่มาแสดง โขนละคร จากนั้นได้น�ำท่าร�ำของโขน ละครบางท่าน�ำมาปรับปรุงและมาเพิ่มเป็นท่าร�ำ ต่อจากมอญร�ำอีก ๖ เพลง จึงเป็นเพลงที่อยู่ในล�ำดับที่ ๑๓ - ๑๘ ของเพลงมอญร�ำบ้าน เกาะเกร็ด ได้แก่เพลงต่อไปนี้

๑. เพลงช้า หรือ เพลงที่ ๑๓ ๒. เพลงเร็ว หรือ เพลงที่ ๑๔ ๓. เพลงร�ำแม่บท หรือ เพลงที่ ๑๕ ๔. เพลงทยอยญวน หรือ เพลงที่ ๑๖ ๕. เพลงแขกสะดายง หรือ เพลงที่ ๑๗ ๖. เพลงลาวกระแซ หรือ เพลงที่ ๑๘


260

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๓ - เพลงที่ ๑๕ เป็นเพลงประกอบการร�ำแม่ท่าของนาฏศิลป์โขนละคร ของไทย เป็ น เพลงหน้ า พาทย์ ที่ ใ ช้ ป ระกอบพิ ธี ไ หว้ ค รู น าฏศิ ล ป์ ด นตรี ไ ทย เรี ย กเป็ น ภาษามอญรวมกันทั้ง ๓ เพลงว่า “บทละโกน” แปลว่าบทละคร ทั้งนี้เพราะได้เพลงนี้มาจาก เพลงแม่ท่าละครไทย เพลงที่ ๑๖ เพลงทยอยญวนเป็นเพลงประกอบการแสดงละคร ส่วนเพลงที่ ๑๗ - เพลงที่ ๑๘ เป็นเพลงที่ออกส�ำเนียงภาษา ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ นักดนตรีไทยนิยมบรรเลงเพลงที่มีส�ำเนียงต่างประเทศ เช่น เพลงส�ำเนียงจีน มอญ ลาว แขก เขมร ญวน เป็นต้น เรียกกันในหมู่นักดนตรีไทยว่า “เพลงสิบสองภาษา” เพลงที่ ๑๗ เพลงแขกสะดายง เป็นเพลงส�ำเนียงแขกที่มีจังหวะสนุกสนาน เพลงที่ ๑๘ เพลงลาวกระแซ เป็นเพลงส�ำเนียงลาวและต่อด้วยการบรรเลงออกซุ้ม ของเพลงลาว

เพลงโหมโรงเริ่มบรรเลงก่อนการร�ำเพื่อแสดงความเคารพ เพลงส� ำ คั ญ อี ก เพลงหนึ่ ง ของมอญร� ำ เป็ น เพลงที่ จ ะต้ อ งบรรเลงก่ อ นที่ ผู ้ ฟ ้ อ นร� ำ จะร่ายร�ำ มีชื่อเพลงเป็นภาษามอญ คือ เพลงชอป้าต เพลงชอป้าตจะบรรเลงน�ำทุกครั้ง ที่มีการร�ำมอญร�ำ เมื่อผู้ร�ำมานั่งพับเพียบเรียบร้อย ณ สถานที่ร�ำ ปี่พาทย์บรรเลงเพลง ชอป้าตน�ำขึ้นก่อน เพลงชอป้าตเป็นเพลงบรรเลงเพื่อประกอบการแสดงความเคารพต่อ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ณ สถานที่ นั้ น เช่ น พระพุ ท ธรู ป พระเจดี ย ์ แ ละครู อ าจารย์ ที่ ส ถิ ต อยู ่ ใ น วงปี่พาทย์ คือที่ตะโพนมอญและฆ้องมอญ เมื่อปี่พาทย์บรรเลงเพลงชอป้าตผู้ร�ำทุกคน ต้ อ งกราบพระพุ ท ธรู ป และที่ ว งปี ่ พ าทย์ ถ้ า ร� ำ ในงานศพต้ อ งกราบไปทางที่ ตั้ ง ศพด้ ว ย จากนั้นผู้ร�ำจึงลุกขึ้นยืนพร้อมจะร�ำตามเพลงบรรเลงของวงปี่พาทย์ต่อไป เพลงชอป้าตจึงเป็นเพลงส�ำคัญเพลงหนึ่งของเพลงมอญร�ำ เป็นเพลงบรรเลงเพื่อ แสดงความเคารพต่ อ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ต่ ไ ม่ มี ก ารร� ำ มี แ ต่ ก ารบรรเลง เพลงมอญร� ำ ของ ทุกชุมชนมอญที่มีมอญร�ำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นชุมชนมอญเกาะเกร็ด ชุมชนมอญปทุมธานี และชุมชนมอญพระประแดงต้องบรรเลงเพลงชอป้าตทุกครั้งก่อนเริ่มร�ำมอญร�ำ เนื่องจากเพลงชอป้าตของมอญเป็นเพลงเพื่อแสดงความเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว มานี้ อาจจะมีผู้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของเพลงชอป้าตของมอญ ทางราชการไทยจึงได้ น�ำเพลงชอป้าตมาบรรเลงเมื่อถึงเวลาเคารพธงชาติเวลา ๐๘.๐๐ น. และเวลา ๑๘.๐๐ น.


ปี่พาทย์มอญรำ�

261

เพลงมอญร�ำไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีรำ� ผี เมื่อได้ศึกษาเรื่องมอญร�ำและพิธีร�ำผีของคนมอญอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่ามอญร�ำ และพิธีร�ำผีมอญนั้นไม่มีส่วนสัมพันธ์กันอย่างใด กล่าวได้ว่ามอญร�ำคือมอญร�ำ ร�ำผีคือ ร�ำผี มีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อนโดยกล่าวว่ามอญร�ำเป็นส่วนหนึ่งของพิธีร�ำผี บางคนถึงกับ กล่าวว่าก่อนเริ่มพิธีร�ำผีจะต้องเริ่มมอญร�ำก่อน ปี่พาทย์ต้องบรรเลงเพลงมอญร�ำ มีการ ร�ำมอญร�ำก่อนจากนั้นจึงจะด�ำเนินพิธีร�ำผีได้ จากการได้ไปร่วมพิธีร�ำผีของชุมชนมอญ ทุกแห่ งทั้ง ในประเทศไทยและในชุม ชนมอญที่พม่า ไม่ปรากฏว่ามีการจัดมอญร�ำในพิธี ร�ำผี แม้การบรรเลงเพลงมอญร�ำก็ไม่ได้ก�ำหนดไว้ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของพิ ธี ร� ำ ผี เป็นการเฉพาะ พิธีร�ำผีของมอญโดยปกติจะแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง กล่าวคือตั้งแต่เวลาเช้าถึงกลางวัน จะเป็ น ขั้ น ตอนที่ เ คร่ ง ครั ด ต่ อ พิ ธี ก รรมตั้ ง แต่ เ ชิ ญ เครื่ อ งบู ช าประจ� ำ ผี เ รื อ น เช่ น ผ้ า ผี แหวนประจ�ำตระกูล เป็นต้น จากบ้านสู่โรงพิธี จากนั้นมีขั้นตอนพิธีที่ลูกหลานในตระกูล ต้ อ งมาร่ ว มกิ จ กรรมแต่ ล ะขั้ น ตอน เป็ น การเซ่ น ไหว้ แ สดงความเคารพต่ อ บรรพบุ รุ ษ ประจ�ำตระกูล ขั้นตอนต่างๆ ช่วงเช้านี้ไม่มีมอญร�ำแต่อย่างใด ปี่พาทย์ต้องบรรเลงเฉพาะ แต่ละขั้นตอนของพิธี ขั้นตอนพิธีกรรมตอนบ่าย ส่วนใหญ่เป็นขั้นตอนที่ผ่อนคลายไม่เคร่งครัดเหมือน ตอนเช้า ลูกหลานที่มาร่วมพิธีร่ายร�ำด้วยท่วงท่าต่างๆ ไม่ได้ก�ำหนด เพลงร�ำมอญบางเพลง ปี ่พ าทย์ อ าจจะน� ำมาบรรเลงให้ ลู ก หลานได้ ร�ำกันโดยเฉพาะเพลงฮะว่ าย เพลงมอญร�ำ เพลงที่ ๘ ของมอญร� ำ บ้ า นเกาะเกร็ ด เพราะเป็ น เพลงมอญที่ จ ะได้ ยิ น ได้ ฟ ั ง กั น บ่ อ ยๆ จนคุ้นหู เพลงมอญร�ำถูกน�ำมาใช้ในพิธีร�ำผีในลักษณะ “ร�ำเล่นสนุกๆ” เช่นนี้เท่านั้นเอง ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เพลงบั ง คั บ ต้ อ งมี ก ารบรรเลงในพิ ธี ร� ำ ผี เพลงมอญร� ำ จึ ง ไม่ ใ ช่ เ พลงร� ำ ผี ห รื อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของพิ ธี ร� ำ ผี ทั้ ง มอญร� ำ ก็ ไ ม่ ไ ด้ น� ำ ไปร� ำ ในพิ ธี ร� ำ ผี และมอญร� ำ ไม่ ไ ด้ เ ป็ น ส่วนหนึ่งของพิธีร�ำผี ยิ่งกว่านั้นมีการเขียนบทความทางวิชาการว่า ก่อนเริ่มพิธีร�ำผีต้องมี การร�ำมอญร�ำก่อน จากนั้นจึงเริ่มพิธีร�ำผีได้ เป็นการเข้าใจผิดทั้งสิ้น

บ้านลัดเกร็ด หมู่บ้านมอญร�ำในต�ำบลเกาะเกร็ด ต� ำ บลเกาะเกร็ ด ประกอบด้ ว ย ๗ หมู ่ บ ้ า น ตามรู ป แบบการบริ ห ารราชการส่ ว น ท้องถิ่นของทางราชการ ชุมชนมอญตั้งอยู่ที่บ้านลัดเกร็ด หมู่ที่ ๑ หมู่บ้านกวานโต้ หมู่ที่ ๖ และบ้ า นกวานอาม่ า น หมู ่ ที่ ๗ แต่ ชุ ม ชนมอญที่ มี ผู ้ ร� ำ ฟ้ อ นมอญร� ำ ได้ ส ่ ว นใหญ่ อ ยู ่ ใ น ชุมชนมอญหมู่ที่ ๑ บ้านลัดเกร็ด ทั้งนี้เนื่องจากครูสอนมอญร�ำอยู่ที่หมู่ที่ ๑


262

ปี่พาทย์มอญรำ�

นางกาวปรอย มารดาของครูปริกที่สอนมอญร�ำมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๐ และครูปริกที่สอนมอญร�ำมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๐ มีบ้านเรือนอยู่ที่บ้านลัดเกร็ด หมู่ที่ ๑ ต�ำบลเกาะเกร็ด ต่อมามีนางแช่ม ชื่นพันธ์ได้ช่วยฝึกสอนมอญร�ำด้วย นางแช่ม ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หมู่ที่ ๑ ต�ำบลเกาะเกร็ด เช่นกัน เมื่อนางแช่ม เสียชีวิตประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๒ และครูปริกเสียชีวิต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ครูมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ หรือครูปรุงได้ท�ำหน้าที่ครูสอนมอญร�ำสืบต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ จนถึงปัจจุบันก็มีบ้านอยู่ที่บ้านลัดเกร็ด หมู่ที่ ๑ ต�ำบลเกาะเกร็ด บ้านลัดเกร็ด หมู่ที่ ๑ ต�ำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จึงเป็นชุมชนที่มีครูฝึกสอน มอญร�ำ และมีการสอนมอญร�ำต่อเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า ๑๗๐ ปีมาแล้ว

นักฟ้อนมอญร�ำส่วนใหญ่เป็นคนบ้านลัดเกร็ด เนื่องจากการฝึกสอนมอญร�ำแต่เดิมนั้น ฝึกสอนกันในเวลาเย็นจนถึงเวลา ๒๑.๐๐ น. เพราะเป็นเวลาที่ว่างจากการท�ำเครื่องปั้นดินเผาของผู้คนในชุมชนมอญเกาะเกร็ด ผู้มาฝึกหัด เรียนรู้มอญร�ำทุกคนเป็นเด็กหญิงหรือหญิงสาว จึงไม่สะดวกส�ำหรับเด็กหญิงหรือหญิงสาว ที่อยู่หมู่บ้านอื่นๆ นอกจากที่อยู่ในบ้านลัดเกร็ด หมู่ที่ ๑ ต�ำบลเกาะเกร็ดมาฝึกหัดเรียน มอญร�ำ เพราะเดินทางล�ำบากในเวลากลางคืน อีกทั้งสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าในหมู่บ้านดังเช่น ในปัจจุบันนี้ ยิ่งผู้ที่อยู่ในชุมชนมอญอื่นๆ ที่ไกลจากต�ำบลเกาะเกร็ด เช่น บ้านตาล บ้านเตย บ้านบางพูด เป็นต้น แม้จะอยู่ในอ�ำเภอปากเกร็ดแต่ไม่สามารถมาฝึกหัดเรียนมอญร�ำ ที่บ้านลัดเกร็ด หมู่ที่ ๑ ต�ำบลเกาะเกร็ดได้ ผู้ร�ำมอญร�ำจึงอยู่ที่บ้านลัดเกร็ด หมู่ที่ ๑ ต�ำบล เกาะเกร็ดเป็นส่วนใหญ่ แม้ต่อมาเมื่อนางมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ หรือครูปรุง รับหน้ าที่สืบทอดการสอนมอญร�ำ ในช่ ว งระหว่ า ง พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๕๑๐ ผู้รับ การฝึกหัดร�ำ ยังคงเป็นผู้อยู่ที่บ้านลัดเกร็ด ต่อมาในชุมชนเกาะเกร็ดมีไฟฟ้าใช้ในหมู่บ้าน ผู้มาฝึกหัดร�ำที่มาจากชุมชนมอญ หมู่ที่ ๖ และ หมู่ที่ ๗ ต�ำบลเกาะเกร็ด ได้มาฝึกรวมกับผู้ที่มาจากหมู่ที่ ๑ บ้านลัดเกร็ดด้วย นางสุนทรีย์ ล�ำใยทอง เป็นครูสอนมอญร�ำมีภูมิล�ำเนาเดิมอยู่ที่บ้านลัดเกร็ด ต�ำบล เกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เช่นกัน

ครูสอนมอญร�ำบ้านโต้ หมู่ที่ ๖ ต�ำบลเกาะเกร็ด ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๕ นางจ�ำหน่าย ทองเพชร ซึ่งเป็นนักฟ้อนมอญร�ำและเป็นศิษย์ ย่าปริก ได้เป็นครูสอนมอญร�ำที่บ้านโต้ หมู่ที่ ๖ ต�ำบลเกาะเกร็ด นางจ�ำหน่าย เป็นคน บ้านลัดเกร็ด หมู่ที่ ๑ ต�ำบลเกาะเกร็ด เมื่อแต่งงานแล้ว ได้มาอยู่บ้านสามีที่บ้านโต้ หมู่ที่ ๖


ปี่พาทย์มอญรำ�

263

ต�ำบลเกาะเกร็ด มีผู้เป็นศิษย์ซึ่งเป็นเด็กหญิงและหญิงสาวที่อยู่หมู่ที่ ๖ และหมู่ที่ ๗ ต�ำบล เกาะเกร็ด ได้ฝึกหัดเรียนมอญร�ำจากนางจ�ำหน่าย ทองเพชร ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ สุ เ อ็ ด คชเสนี อดี ต นายกสมาคมไทยรามั ญ ได้ ม าฝึ ก หั ด เรี ย นมอญร� ำ จาก นางจ�ำหน่าย ด้วย การที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี ฝึกหัดเรียน มอญร� ำ นั้ น เพื่ อ ต้ อ งการไปถ่ า ยทอดท่ า ร� ำ มอญร� ำ ให้ แ ก่ ส ตรี ใ นชุ ม ชนมอญบางกระดี่ แขวงแสมด�ำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เนื่องจากหาครูมอญร�ำจากบ้านเกาะเกร็ด ไปสอนมอญร� ำ ที่ บ ้ า นบางกระดี่ ไ ม่ ไ ด้ เพราะสมั ย นั้ น การเดิ น ทางจากบ้ า นเกาะเกร็ ด ไปบ้ า นบางกระดี่ ไม่ ส ะดวกเช่ น ในปั จ จุ บั น ศาสตราจารย์ เ กี ย รติ คุ ณ นายแพทย์ สุ เ อ็ ด คชเสนี จึงเรียนท่าร�ำมอญร�ำจากบ้านเกาะเกร็ด จากนั้นจึงไปถ่ายทอดสอนท่ามอญร�ำ ให้ แ ก่ ส ตรี ม อญบ้ า นบางกระดี่ ซึ่ ง ท� ำ ให้ ชุ ม ชนมอญบ้ า นบางกระดี่ เ ป็ น ชุ ม ชนมอญ ที่มีผู้ฟ้อนร�ำมอญร�ำได้ ดังเช่นปัจจุบันนี้ โดยปกติผู้ร�ำมอญร�ำเป็นสตรี มอญร�ำไม่ได้เป็น การฟ้อนร�ำของผู้ชาย แต่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี ฝึกหัดท่าร�ำ และร� ำ ฟ้ อ นมอญร� ำ ได้ เ พราะต้ อ งการไปถ่ า ยทอดให้ ส ตรี ม อญในชุ ม ชนมอญบางกระดี่ ให้ฟ้อนร�ำมอญร�ำได้

มอญร�ำในชุมชนมอญในประเทศไทย ชุมชนมอญในประเทศไทย มีอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ แต่ชุมชนมอญที่ยังคง มีผู้รู้ผู้ฟ้อนร�ำมอญร�ำได้ และมีวงปี่พาทย์มอญและผู้บรรเลงเพลงมอญร�ำได้ในปัจจุบันนี้ คงมีเพียงชุมชนมอญใน ๔ จังหวัด คือ ๑. ชุมชนมอญ บ้านเกาะเกร็ด บ้านบางตะไนย์ อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๒. ชุมชนมอญ อ�ำเภอเมืองปทุมธานี อ�ำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ๓. ชุมชนมอญ อ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๔. ชุ ม ชนมอญบ้ า นไร่ อ� ำ เภอเมื อ งสมุ ท รสาคร และอ� ำ เภอบ้ า นแพ้ ว จั ง หวั ด สมุทรสงคราม ชุมชนมอญในจังหวัดอื่นๆ ที่มีผู้ฟ้อนร�ำมอญร�ำได้ เพราะได้รับการถ่ายทอดไปจาก มอญร�ำเกาะเกร็ดแต่ไม่มีวงปี่พาทย์มอญในชุมชน ได้แก่ ๑. ชุมชนมอญบ้านบางกระดี่ แขวงแสมด�ำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ๒. ชุมชนมอญบ้านบางขันหมาก อ�ำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ๓. ชุมชนมอญบ้านมอญ ต�ำบลบ้านแก่ง อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ๔. ชุมชนมอญบ้านหนองดู่ บ้านบ่อคาว อ�ำเภอป่าซาง จังหวัดล�ำพูน ๕. ชุมชนมอญบ้านบ้านทุ่งเข็น อ�ำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี


264

ปี่พาทย์มอญรำ�

มอญร�ำเยาวชนชุมชนบ้านมอญ ต�ำบลบ้านแก่ง อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ (พ.ศ. ๒๕๕๑)

ชุมชนมอญที่มีผู้ร�ำและวงปี่พาทย์มอญมาก ได้แก่ ชุมชนมอญต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ชุมชนมอญอ�ำเภอเมืองปทุมธานี และอ�ำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และชุมชนมอญอ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

ศิลปะมอญร�ำในปัจจุบัน สภาพของสังคมและการพัฒนาบ้านเมืองในปัจจุบัน ที่มีสภาพแตกต่างจากสภาพ สังคมและบ้านเมืองที่มีมาแต่เดิม และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภาวการณ์เช่นที่ กล่ า วมานี้ ย ่ อ มมี ผ ลถึ ง มอญร� ำ ที่ เ ป็ น องค์ ป ระกอบของชุ ม ชนมอญที่ มี ม าแต่ เ ดิ ม มานั้ น ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปด้วย การเปลี่ยนแปลงอย่างส�ำคัญของมอญร�ำ มีดังนี้ ๑. โอกาสแสดงในงานมงคลมีน้อยลง จากพระราชพงศาวดาร หรือจดหมายเหตุ ของไทย ปรากฏว่ า แต่ เ ดิ ม มานั้ น ในพระราชพิ ธี ห รื อ การฉลองสมโภชครั้ ง ส� ำ คั ญ ได้ มี มอญร�ำร่วมจัดในพระราชพิธีหรืองานสมโภชนั้นด้วย เช่น สมโภชพระพุทธมหามณีรัตน ปฏิมากร (พระแก้วมรกต) สมโภชฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และสมโภชฉลอง วัดปรมัยยิกาวาส ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น ปัจจุบันงานฉลองหรืองานสมโภชศาสนสถานที่มีมอญร�ำจัดขึ้นในโอกาสฉลอง สมโภชนั้นแทบจะไม่มี


ปี่พาทย์มอญรำ�

265

๒. มอญร�ำที่จัดในงานศพยังคงมีอยู่ แต่รูปแบบการจัดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก การจัดงานศพของมอญแต่เดิมนั้น งานศพของมอญจะไม่มีการสวดพระอภิธรรมในเวลา กลางคืน แต่ะจะเป็นช่วงเวลาที่พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา หรือมีการอ่านหนังสือธรรม ให้ผู้มาร่วมงานได้ฟังธรรม มอญร�ำจัดหลังจากการแสดงธรรมจบแล้ว ต่อมามีการสวด พระอภิธรรมตามแบบไทย แต่เดิมมอญร�ำเริ่มร�ำเมื่อเสร็จพิธีสวดพระอภิธรรมแล้ว จึงร�ำได้ และร�ำต่อไปจนดึก ในปัจจุบนั มอญร�ำจัดให้มขี นึ้ ในช่วงเวลาระหว่างพระหยุดพักการสวดพระอภิธรรม เมื่อพระสวดพระอภิธรรมจบแล้ว มอญร�ำจะยุติการร�ำด้วย การจัดมอญร�ำในปัจจุบันจึงมี การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากเดิม เนื่องจากมีเวลาน้อย การจัดมอญร�ำจึงเป็นดังนี้ คือ ๒.๑ การร�ำสลับกับการสวดพระอภิธรรม ซึ่งมีเวลาไม่มาก การร�ำจึงถูกตัดเหลือ รอบละ ๕ - ๖ เพลง ๒.๒ ถ้ามีการร�ำอย่างอื่นด้วย มอญร�ำ จะถูกลดเวลาร�ำให้น้อยลงและมีการร�ำ อย่างอื่นเข้ามาแทรก ๒.๓ เวลาร� ำ มี น ้ อ ย เพราะระยะเวลาในการสวดพระอภิ ธ รรมรวมกั บ การร� ำ ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ ๒ ชั่วโมง เนื่องจากมีเวลาน้อยดังกล่าว มอญร�ำจึงถูกตัดให้มีการร�ำได้ไม่ครบทุกเพลง มอญร�ำเกาะเกร็ดจึงไม่มีการร�ำเพลงที่ ๑๓ - ๑๘ คงร�ำได้เพียง ๑๒ เพลงเท่านั้น บางครั้ง อาจร�ำได้เพียง ๕ - ๖ เพลง เมื่อเวลาส่วนหนึ่งถูกใช้ไปร�ำอย่างอื่นที่ไม่ใช่มอญร�ำ ๓. มอญร�ำที่จัดในกิจกรรมของทางราชการเพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ปัจจุบัน มอญร�ำได้น�ำไปใช้เป็นการแสดงในการจัดงานต่างๆ ทั้งที่เป็นงานของราชการและงานของ ชุมชนมอญเอง เช่น งานเทศกาลสงกรานต์ งานฉลองสถานที่ราชการ เป็นต้น ๔. มอญร� ำ ส� ำ หรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว จากการส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย วของทางราชการ มอญร�ำได้มีโอกาสน�ำเสนอให้เป็นสินค้าทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับชม การแสดง มอญร�ำในปัจจุบันจึงถูกปรับเปลี่ยนจากบทบาทและหน้าที่เดิม ที่เคยมีอยู่ใน ฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของความศรัทธา ความเชื่อ ความเคารพ ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเป็น สัญลักษณ์ของกุลสตรี มอญร�ำในปัจจุบันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถแปลงเป็น สินค้าส�ำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ อีกทั้งยังเป็นการเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับรสนิยม ของคนในยุคปัจจุบัน ที่เป็นตัวก�ำหนดบทบาทและหน้าที่ของมอญร�ำในปัจจุบันและต่อไป ในอนาคตด้วย


266

ปี่พาทย์มอญรำ�

มอญร�ำเยาวชน นักเรียนโรงเรียนราษฎร์นิยม อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ที่คุณครูสุทิน รักการ จัดให้มาเรียนและฝึกหัดจากแม่ครูมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ บ้านเกาะเกร็ด และได้มาร�ำแสดงที่วัดไผ่ล้อม ในงานส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๕๒)


ปี่พาทย์มอญรำ�

มอญร�ำ ในงานอะเมซิ่งไทยแลนด์ ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญและการท่องเที่ยว ณ วัดปรมัยยิกาวาส เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๔๒)

มอญร�ำงานฉลอง ๒๐๐ ปี จังหวัดปทุมธานี วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘

267


แม่ครูมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ ครูมอญร�ำแห่งบ้านเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๕๓)


๗ แม่บทมอญร�ำ ผ่านแม่ครูผู้ถ่ายทอดแห่งบ้านเกาะเกร็ด ครูมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ หรือครูปรุง กล่าวถึงแบบแผนในการร�ำมอญที่ได้ปฏิบัติสืบต่อ กันมาว่า ผู้ร�ำมอญเป็นสตรี นุ่งผ้าซิ่นยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอก พาดสไบไหล่เดียว หรือคล้องคอปล่อยชายให้ห้อยอยู่ข้างหน้าทั้งสองชาย เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจะใช้สีใดก็ได้ แม้ในงานศพ เพราะชาวมอญไม่ถือว่างานศพต้องแต่งสีด�ำ และการร�ำมอญร�ำถือเป็นการร�ำ เพื่ อ แสดงความเคารพบูช าในโอกาสต่างๆ เช่น วันสงกรานต์ งานสมโภช และงานศพ โดยเฉพาะศพพระภิกษุ คนมอญเชื่อว่าเป็นการได้บุญที่ได้ร�ำในงานศพพระ ครั้นยุคสมัย เปลี่ยนแปลง แต่ละพิธีกรรมหาดูได้ยากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายมาก ปัจจุบันจึงได้ชมมอญร�ำ เพียงในงานศพพระและผู้มีฐานะเท่านั้น จึงท�ำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่ามอญร�ำจะร�ำกัน ในงานศพเท่านั้น มอญร� ำ มี ทั้ ง หมด ๑๒ เพลง แต่ ใ นช่ ว งเวลาหนึ่ ง มี ผู ้ บ รรเลงเพลงมอญร� ำ และ ร�ำมอญร�ำได้เพียง ๑๐ เพลง ต่อมานายทอบา นักดนตรีบ้านเกาะเกร็ดได้เพลงมอญร�ำและ ท่าร�ำจากเมืองมอญแบบดัง้ เดิมอีก ๒ เพลง ทีข่ าดหายไป และน�ำมาถ่ายทอดให้นกั ดนตรีมอญ บ้านเกาะเกร็ด และถ่ายทอดท่าร�ำให้น้องสาว (ย่าปริก) เพลงมอญร�ำบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ มอญและเพลงที่ใช้ประกอบการฟ้อนร�ำมอญร�ำจึงมีครบ ๑๒ เพลง แต่ละเพลงมีท่าร�ำหลาย ท่วงท่า ต่อมามีท่าร�ำที่ย่าปริกได้น�ำศิลปะการร่ายร�ำนาฏศิลป์ไทยมาดัดแปลงเพิ่มท่าร�ำอีก ๖ เพลง รวมเป็น ๑๘ เพลง ทั้ง ๑๘ เพลงนี้ใช้ส�ำหรับการร�ำมอญแบบครบชุดของชาวมอญ เกาะเกร็ด

* ส�ำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศึกษาข้อมูล และบันทึกการร�ำมอญร�ำ ถ่ายทอดโดยแม่ครูมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ พ.ศ. ๒๕๕๐, ๒๕๕๓ และทบทวน พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ค�ำอธิบาย ท่าร�ำ และถอดค�ำสัมภาษณ์โดย นายชัยวัฒน์ น่าชม นักเอกสารสนเทศช�ำนาญการ ศูนย์เทคโนโลยี บรรณสารสนเทศ ส�ำนักบรรณสารสนเทศ


ปี่พาทย์มอญรำ�

270

ชื่อท่าร�ำมอญและชื่อเพลงที่ใช้ประกอบการร�ำมอญ ล�ำดับที่

ชื่อเพลงร�ำดั้งเดิม

ชื่อเพลงร�ำมอญ บ้านเกาะเกร็ด

ชื่อท่าร�ำมอญ บ้านเกาะเกร็ด

ย้ากจ้างฮะเปิ้น

ย้ากจ้างฮะเปิ้น

ฮะอุยฮะกา

ทะบ๊ะชาน

ทะบ๊ะชาน

ทะบะทาน

ดอมทอ

ดอมทอ

จยาจก์ซอย

ขะวัวตัวห์

ขะวัวตัวห์

แหละวี่ทอ

ขะวัวคะนอม

ขะวัวคะนอม

เปริงย่างเปราะ

ดังโรต

ดังโรต

แหละวี่ซอน

กะยาน

กะยาน

อะโมตะตา

ฮะว่าย

ฮะว่าย

โปตโม่น

แม่งปล่ายฮะเล่ห์

แม่งปล่ายฮะเล่ห์

จะร่าย

๑๐

ป้ากเมี่ยะ

ป้ากเมี่ยะ

ร่านช่าย

๑๑

โน่นทอ

โน่นทอ

เปริงเประฮะเระ

๑๒

ตะละจะร่าย (เพลงนกขมิ้น) -

ตะละจะร่าย (เพลงนกขมิ้น) เพลงช้า

เปริงเประฮะเริน

๑๓

บทละโกน ๑ (บทละคร ๑)

๑๔

-

เพลงเร็ว

บทละโกน ๒ (บทละคร ๒)

๑๕

-

เพลงเดิน

บทละโกน ๓ (บทละคร ๓)

๑๖

-

ทยอยญวน

บทโศก

๑๗

-

แขกสะดายง

แขก

๑๘

-

ลาวกระแซ

ลาว


ปี่พาทย์มอญรำ�

271

กราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การร�ำมอญจะเริม่ ด้วยการกราบของผูร้ ำ� ก่อนเริม่ ร่ายร�ำทุกครัง้ การกราบเป็นการกราบ พระพุทธรูป กราบศพ (ถ้าร�ำในงานศพ) และหันหน้ามาไหว้ตะโพนมอญทางวงปี่พาทย์มอญ แล้วจึงลุกขึ้นร�ำ เมื่อผู้ร�ำนั่งพับเพียบเรียบร้อย ณ บริเวณที่ร�ำ ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลง ชอป้าตเป็นเพลงโหมโรงน�ำขึ้น ผู้ร�ำจะก้มลงกราบ จากนั้นจึงลุกขึ้นยืนพร้อมที่จะร่ายร�ำ ตามท�ำนองของเพลงที่บรรเลงแต่ละเพลง เมื่อร�ำจบแล้วผู้ร�ำต้องนั่งพับเพียบก้มลงกราบ เช่นเดียวกันกับเมื่อตอนก่อนร�ำ

กราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนเริ่มร่ายร�ำ

ท่วงท่าและลีลาการร�ำมอญร�ำ มอญร�ำเป็นการร่ายร�ำตามจังหวะของเพลงมอญร�ำที่มีมากถึง ๑๒ เพลง แต่ละเพลง มีจังหวะและท�ำนองเพลงเฉพาะของแต่ละเพลง การร่ายร�ำของแต่ละเพลงจึงมีท่วงท่าและ ลีลาเฉพาะของแต่ละเพลงไม่เหมือนกัน เป็นความสามารถที่ยิ่งใหญ่ของครูอาจารย์ทางดนตรี และนาฏศิลป์ของมอญที่คิดประดิษฐ์ท่าร�ำที่มีท่วงท่าลีลา การร่ายร�ำที่สวยงาม และประพันธ์ ท่วงท�ำนองจังหวะของเพลงประกอบการร่ายร�ำได้อย่างไพเราะยิ่งนัก


272

ปี่พาทย์มอญรำ�

ท่าเริ่มต้นและท่าจบของการร�ำมอญ

การกราบเพื่อแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนเริ่มและหลังจบการร�ำมอญ


ปี่พาทย์มอญรำ�

273

เมื่อปี่พาทย์มอญเริ่มบรรเลงผู้ร�ำจะยืนนิ่งๆ แล้วยุบโยกตัวตามจังหวะเพลงไปทาง ด้านข้างพองาม ทางซ้าย ๓ ครั้งแล้วย้ายมาทางขวา ๓ ครั้ง จากนั้นจึงขึ้นท่าร�ำและใช้เท้า เขยิ บ ไปมา เมื่ อ จะเปลี่ ย นท่ า ร� ำ หรื อ จบท่ า ร� ำ ในแต่ ล ะเพลง ผู ้ ร� ำ จะหยุ ด ยื น ปล่ อ ยมื อ ทั้ ง สองลงข้ า งล� ำ ตั ว เอกลั ก ษณ์ ส� ำ คั ญ ของการร� ำ มอญจึ ง อยู ่ ที่ เ ท้ า และสะโพก ผู ้ ร� ำ จะเคลื่อนตัวโดยการเขยิบเท้าในการร�ำมอญร�ำเกือบทุกเพลง และการย่อจังหวะนั้นสะโพก ของผู้แสดงจะออกข้างๆ เล็กน้อย ไม่มีการเก็บสะโพกแบบร�ำไทย และการก้าวเท้าจะไม่ ยกเท้าสูง เป็นการก้าวแบบการสืบเท้าไปข้างหน้า สลับเท้าซ้ายและขวา

การยุบโยกตัวก่อนเริ่มท่าร�ำในแต่ละเพลง

จบท่าโดยลดมือลงก่อนเริ่มร�ำเพลงใหม่


274

ปี่พาทย์มอญรำ�

ท่วงท่าและลีลาในการร�ำมอญแต่ละเพลง เพลงที่ ๑ เพลงประกอบการร�ำชื่อเพลง ย้ากจ้างฮะเปิ้น เพลงที่ ๑ นี้มีท่วงท่าร�ำ เรียกว่า ฮะอุยฮะกา มีท่าร�ำดังนี้

เพลงที่ ๑ ท่วงท่าที่ ๑


ปี่พาทย์มอญรำ�

275

- ท่วงท่าที่ ๑ ของเพลงที่ ๑ ผู้ร�ำจะเริ่มด้วยการตั้งวงหน้าทั้ง ๒ มือ โดยให้แขน ข้างขวาเหยียดตรง แขนข้างซ้ายงอเล็กน้อย ปลายนิ้วมือแขนข้างที่งอเล็กน้อยนี้จะอยู่ ระดับข้อศอกของแขนขวา แขนที่เหยียดตรงจะสูงกว่าแขนข้างที่งอเล็กน้อย ปลายนิ้วมือ อยู่ระดับคางของผู้ร�ำ (ท่วงท่าที่ ๑) แล้ววาดมือย้ายไปทางขวาและทางซ้ายช้าๆ (ท่วงท่าที่ ๒) ยุบโยกตัวพร้อมกับเขยิบเท้าเฉียงไปด้านข้างช้าๆ ตามจังหวะเพลงอย่างสวยงาม (ท่วงท่าที่ ๓) เป็นท่าร�ำที่ ๑ ของเพลงที่ ๑

เพลงที่ ๑ ท่วงท่าที่ ๒

เพลงที่ ๑ ท่วงท่าที่ ๓


276

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑ ท่วงท่าที่ ๔


ปี่พาทย์มอญรำ�

277

- ท่วงท่าที่ ๒ ของเพลงที่ ๑ เริ่มเมื่อผู้ร�ำ ร�ำท่าที่ ๑ ได้ระยะหนึ่งแล้ว (ประมาณ ๓ รอบ) ผู้ร�ำจะวาดมือจากด้านขวาที่ตั้งวงหน้ามาเป็นจีบคว�่ำทั้ง ๒ มือที่บริเวณบั้นเอว ด้านซ้าย (ท่วงท่าที่ ๔) พร้อมยุบโยกตัวไปซ้ายทีขวาทีตามจังหวะเพลง สลับการวาดมือ จากด้านซ้ายมาตั้งวงหน้า โดยมือซ้ายตั้งวงสูงระดับปาก แขนเหยียดตรง มือขวางอเล็กน้อย ปลายมือขวาระดับศอกของมือซ้าย เขยิบเท้าช้าๆ ตามท�ำนองเพลง (ท่วงท่าที่ ๕ และ ๖)

เพลงที่ ๑ ท่วงท่าที่ ๕

เพลงที่ ๑ ท่วงท่าที่ ๖


278

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๒ เพลงประกอบการร�ำชื่อเพลง ทะบ๊ะชาน และท่าร�ำเรียกว่า ทะบะทาน ผู้ร�ำจะเริ่มด้วยท่าร�ำคล้ายๆ กับท่าร�ำเพลงที่ ๑ ยุบโยกตัวพร้อมย้ายมือไปทางซ้ายและ ทางขวาช้าๆ เอนตัวพร้อมกับเขยิบเท้าทีละน้อยเฉียงไปด้านข้าง (ท่วงท่าที่ ๑) เมื่อวาดมือ ในท่วงท่าที่ ๑ มาทางขวามือ ทั้งสองแขนจะตั้งวงหน้า แขนขวาจะสูงกว่าแขนซ้าย เมื่อ เปลี่ยนท่าร�ำ ชักมือขวาจะจีบมาใกล้ใบหู และลดมือซ้ายจีบหงายสุดแขนปัดไปทางด้านหลัง

เพลงที่ ๒ ท่วงท่าที่ ๑


ปี่พาทย์มอญรำ�

279

(ท่วงท่าที่ ๒) พร้อมกับเขยิบเท้าเฉียงมาด้านหน้าเล็กน้อย ลดมือลงโดยให้มือขวาที่จีบ ข้างใบหู ค่อยๆ ลดลงมาตั้งวงหงายมือ ส่วนมือซ้ายที่จีบตั้งอยู่ด้านหลัง ค่อยๆ วาดมือ มาด้ า นหน้ า ตั้ ง วงหน้ า หมุ น เปลี่ ย นมื อ ให้ มื อ ขวาท� ำ วงตั้ ง มื อ ซ้ า ยหงายมื อ ให้ ร ะดั บ มือทั้งสองอยู่เท่าๆ กัน พร้อมจังหวะเขยิบเท้าไปมาตามจังหวะเพลง (ท่วงท่าที่ ๓) สลับมือ มือซ้ายจีบมาใกล้หู มือขวาจีบหงายสุดแขน บิดไปทางด้านหลัง สลับไป - มาจนจบเพลง

เพลงที่ ๒ ท่วงท่าที่ ๒

เพลงที่ ๒ ท่วงท่าที่ ๓


280

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๓ เพลงประกอบการร�ำชื่อเพลง ดอมทอ ท่าร�ำเรียกว่า จยาจก์ ซ อย ผู้ร�ำจะตั้งวงระหว่างอกทั้ง ๒ มือ งอแขนเล็กน้อย (ท่วงท่าที่ ๑) ก้าวเท้าเยื้องไปด้านหน้า พร้อมวาดมือจีบคว�่ำไปด้านข้าง โดยจีบคว�่ำสุดแขนข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งมือหนึ่งจีบคว�่ำ

เพลงที่ ๓ ท่วงท่าที่ ๑

เพลงที่ ๓ ท่วงท่าที่ ๒


ปี่พาทย์มอญรำ�

281

ที่ชายพก (ท่วงท่าที่ ๒ และ ๓) วาดมือขึ้นเปลี่ยนมาตั้งวงเสมออก พร้อมเขยิบเท้าไปมา จนจบเพลง (ท่วงท่าที่ ๔)

เพลงที่ ๓ ท่วงท่าที่ ๓

เพลงที่ ๓ ท่วงท่าที่ ๔


282

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๔ ท่วงท่าที่ ๑


ปี่พาทย์มอญรำ�

283

เพลงที่ ๔ เพลงประกอบการร�ำชื่อเพลง ขะวั ว ตั ว ห์ ท่าร�ำเรียกว่า แหละวี่ ท อ ผู้ร�ำจะตั้งวงระหว่างอกทั้ง ๒ ข้าง โดยมือซ้ายท�ำวงตั้ง มือขวาท�ำวงหงาย งอแขนเล็กน้อย (ท่วงท่าที่ ๑) ก้าวเท้าซ้ายเยื้องมาด้านหน้าเปิดส้นเท้าขวาขวางไว้หลังเท้าซ้ายพร้อมท�ำท่า แขกเต้าเข้ารังจีบเข้าหาล�ำตัว จีบด้านขวา ให้ก้าวเท้าซ้าย จีบด้านซ้าย ให้ก้าวเท้าขวา มื อ ที่ จั บ ด้ า นบนใกล้ใ บหู เลื่อ นลงมาตั้ง วงหน้า ในขณะที่มือที่จับใต้ข้อศอกเลื่อนลงมา ตั้งวงหงายมือ (ท่วงท่าที่ ๒) สลับมือและเท้าไปมาจนจบเพลง (ท่วงท่าที่ ๓)

เพลงที่ ๔ ท่วงท่าที่ ๒

เพลงที่ ๔ ท่วงท่าที่ ๓


284

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๕ ท่วงท่าที่ ๑


ปี่พาทย์มอญรำ�

285

เพลงที่ ๕ เพลงประกอบการร�ำชือ่ เพลง ขะวัวคะนอม ท่าร�ำเรียกว่า เปริงย่างเปราะ ท่าร�ำเพลงที่ ๕ จะเหมือนกับท่าร�ำเพลงที่ ๑ (ท่วงท่าที่ ๑) แต่เพลงที่ ๕ จะวาดมือไป ด้านข้างล�ำตัวและจีบคว�่ำทั้ง ๒ มือสลับไปมาจังหวะในการร�ำจะเร็วกว่าเพลงที่ ๑ เล็กน้อย (ท่วงท่าที่ ๒ และ ๓)

เพลงที่ ๕ ท่วงท่าที่ ๒

เพลงที่ ๕ ท่วงท่าที่ ๓


286

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๖ ท่วงท่าที่ ๑


ปี่พาทย์มอญรำ�

287

เพลงที่ ๖ เพลงประกอบการร�ำชื่อเพลง ดังโรต ท่าร�ำเรียกว่า แหละวี่ซอน ผู้ร�ำ จะวาดมือตั้งวงคว�่ำและหงายสลับกันระหว่างอก (ท่วงท่าที่ ๑) งอแขนเล็กน้อย ท่าร�ำ จะสลับมือตั้งวงคว�่ำและหงาย (ท่วงท่าที่ ๒ และ ๓) จนจบเพลง ความสวยงามของท่าร�ำ อยู่ที่การเขยิบเท้าและโยกตัวไปมาตามจังหวะเพลง

เพลงที่ ๖ ท่วงท่าที่ ๒

เพลงที่ ๖ ท่วงท่าที่ ๓


288

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๗ ท่วงท่าที่ ๑


ปี่พาทย์มอญรำ�

289

เพลงที่ ๗ เพลงประกอบการร� ำ ชื่ อ เพลง กะยาน ท่ า ร� ำ เรี ย กว่ า อะโมตะตา ลักษณะเด่นของท่าร�ำเพลงที่ ๗ ลีลาท่าร�ำจะเด่นที่การก้าวเดินเป็นวงรอบตัวผู้ร�ำ (ท่วงท่าที่ ๑) มือข้างหนึ่งจีบหงาย มืออีกข้างหนึ่งตั้งวงสลับกันไปมาจนจบเพลง (ท่วงท่าที่ ๒ และ ๓) การก้าวเท้าเหมือนเพลงที่ ๔ สลับเท้าซ้าย - ขวา พร้อมสลับมือที่จีบตลอดเพลง

เพลงที่ ๗ ท่วงท่าที่ ๒

เพลงที่ ๗ ท่วงท่าที่ ๓


290

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๘ เพลงประกอบการร�ำชื่อเพลง ฮะว่าย ท่าร�ำเรียกว่า โปตโม่น เป็นท่าร�ำที่มี หลายลีลาและท่วงท่าสวยงามมาก

เพลงที่ ๘ ท่วงท่าที่ ๑


ปี่พาทย์มอญรำ�

291

- ท่วงท่าที่ ๑ ถึง ท่วงท่าที่ ๓ ผู้ร�ำวาดมือทั้งสองเข้าหาตัวโดยมือหนึ่งจีบเข้าหาตัว มือหนึ่งตั้งวงหน้า (ท่วงท่าที่ ๑) พร้อมเขยิบเท้าตามจังหวะเพลง แล้วเปลี่ยนท่าโดยวาดมือ ที่ตั้งวงหน้าไปจีบหงายมือที่ด้านหลัง ส่วนมือที่จีบให้วาดมือขึ้นตั้งวงปลายนิ้วมืออยู่ระดับคาง (ท่วงท่าที่ ๒) พร้อมจังหวะเขยิบเท้าและค่อยๆ วาดมือทั้งสองสลับกันไปมา (ท่วงท่าที่ ๓)

เพลงที่ ๘ ท่วงท่าที่ ๒

เพลงที่ ๘ ท่วงท่าที่ ๓


292

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๘ ท่วงท่าที่ ๔


ปี่พาทย์มอญรำ�

293

- ท่วงท่าที่ ๔ ถึง ท่วงท่าที่ ๖ เปลี่ยนท่าร�ำโดยให้มือที่ตั้งวงบนเลื่อนมาจีบคว�่ำ ด้านหน้า ให้ปลายนิ้วที่จีบอยู่ระดับคาง มือข้างที่จีบหลังเปลี่ยนมาเป็นตั้งวงข้างล�ำตัว (ท่วงท่าที่ ๔ และ ๕) ค่อยๆ สลับมือไปมาตามจังหวะเพลง (ท่วงท่าที่ ๖) เขยิบเท้าและ ก้าวเดินเป็นวงตามจังหวะเพลงจนจบเพลง

เพลงที่ ๘ ท่วงท่าที่ ๕

เพลงที่ ๘ ท่วงท่าที่ ๖


294

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๙ เพลงประกอบการร�ำชื่อเพลง แม่งปล่ายฮะเล่ห์ ท่าร�ำเรียกว่า จะร่าย เป็นท่าร�ำที่มีหลายลีลาและท่วงท่าในเพลงเดียวกัน

เพลงที่ ๙ ท่วงท่าที่ ๑


ปี่พาทย์มอญรำ�

295

- ท่วงท่าที่ ๑ ถึง ท่วงท่าที่ ๓ ผู้ร�ำวาดมือทั้งสองออกข้างล�ำตัวพร้อมจีบคว�่ำ (ท่วงท่าที่ ๑) จีบและปล่อยตามจังหวะเพลง ในลักษณะที่มือทั้งสองยังอยู่ที่ด้านข้างล�ำตัว เขยิบเท้าตามจังหวะเพลง แล้วเปลี่ยนมาร�ำท่าที่ ๒ โดยวาดมือที่จีบคว�่ำทั้งสองข้างมาทาง ด้านหน้า (ท่วงท่าที่ ๒) ตั้งวงหน้า มือข้างหนึ่งหมุนเป็นวงกลมเล็กน้อยให้มีการเคลื่อนไหว พองาม (ท่วงท่าที่ ๓)

เพลงที่ ๙ ท่วงท่าที่ ๒

เพลงที่ ๙ ท่วงท่าที่ ๓


296

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๙ ท่วงท่าที่ ๔


ปี่พาทย์มอญรำ�

297

- ท่วงท่าที่ ๔ ถึง ท่วงท่าที่ ๖ ร�ำท่าที่ ๓ โดยผู้ร�ำจีบคว�่ำทั้งสองมือที่ด้านหน้า ปลายนิ้วมือที่จีบอยู่ระดับคาง (ท่วงท่าที่ ๔) วาดมือทั้งสองข้างออกมาด้านข้างล�ำตัว (ท่วงท่า ที่ ๕) มาตั้งวงด้านข้างทั้งสองมือ (ท่วงท่าที่ ๖) แล้วร�ำซ�้ำท่าที่ ๑ ท่าที่ ๒ และท่าที่ ๓ พร้อมจังหวะเขยิบเท้าจนจบเพลง

เพลงที่ ๙ ท่วงท่าที่ ๕

เพลงที่ ๙ ท่วงท่าที่ ๖


298

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๐ ท่วงท่าที่ ๑


ปี่พาทย์มอญรำ�

299

เพลงที่ ๑๐ เพลงประกอบการร� ำ ชื่ อ เพลง ป้ า กเมี่ ย ะ ท่ า ร� ำ เรี ย กว่ า ร่ า นช่ า ย ความงดงามของท่าร�ำอยู่ที่มือไม่ใช้การจีบ แต่เป็นการใช้นิ้วหัวแม่มือแตะนิ้วนางที่งอลงมา นิ้วชี้กับนิ้วกลางติดกัน กรีดนิ้วก้อยให้สวยงาม มือข้างหนึ่งจีบด้านหน้า หมุนมือเข้าออก มืออีกข้างหนึ่งจีบไว้ที่สะโพก (ท่วงท่าที่ ๑ และ ๒) วาดมือทั้งสองข้างมาทางด้านหน้า สลับมือไปมาเหมือนท่าภมรเคล้า (ท่วงท่าที่ ๓) พร้อมจังหวะเขยิบเท้าตามเสียงดนตรี

เพลงที่ ๑๐ ท่วงท่าที่ ๒

เพลงที่ ๑๐ ท่วงท่าที่ ๓


300

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๑ ท่วงท่าที่ ๑


ปี่พาทย์มอญรำ�

301

เพลงที่ ๑๑ เพลงประกอบการร�ำชื่อเพลง โน่นทอ ท่าร�ำเรียกว่า เปริงเประฮะเระ เป็นเพลงที่มีท่วงท่าและลีลาสวยงามเพลงหนึ่งในการร�ำมอญ ผู้ร�ำจะเริ่มด้วยมือขวาจีบ ด้านข้างสุดแขน มือซ้ายตั้งวงหน้าระดับชายพก (ท่วงท่าที่ ๑) แล้วสลับข้างกัน (ท่วงท่าที่ ๒) ก้าวเท้าสลับลีลาการเขยิบเท้า ท่าร�ำที่ ๒ วาดมือมาทางด้านหน้า มือล่างตั้งวงหน้าระดับ ชายพก อีกมือหนึ่งจีบคว�่ำระดับอก (ท่วงท่าที่ ๓) ร�ำสลับมือไปมา พร้อมลีลาการเขยิบเท้า ตามเสียงเพลง

เพลงที่ ๑๑ ท่วงท่าที่ ๒

เพลงที่ ๑๑ ท่วงท่าที่ ๓


302

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๒ เพลงประกอบการร�ำชื่อเพลง ตะละจะร่าย หรือเพลงนกขมิ้น ท่าร�ำ เรี ย กว่ า เปริ ง เประฮะเริ น เป็ น เพลงสุ ด ท้ า ยในการร� ำ แบบดั้ ง เดิ ม ของการร� ำ มอญ ความสวยงามของท่าร�ำอยู่ที่การสลับมือที่จีบด้านข้างตัวไปมา (ท่วงท่าที่ ๑) ในขณะเดียวกัน ก็มีการกระเถิบเท้าในแนวหน้ากระดานไปด้านซ้ายและด้านขวา (ท่วงท่าที่ ๒)

เพลงที่ ๑๒ ท่วงท่าที่ ๑

เพลงที่ ๑๒ ท่วงท่าที่ ๒


ปี่พาทย์มอญรำ�

303

เพลงที่ ๑๓ เรียกว่า บทละโกน หรือบทละคร เพลงประกอบชื่อ เพลงช้า เป็นการ น�ำท่าร�ำแม่บทและร�ำละครซึ่งเป็นเพลงหน้าทับออกเพลงช้าเพลงเร็วในการร่ายร�ำ ย่าปริก ชาวตะเคี ย น ได้ น� ำ ศิ ล ปะการร่ า ยร� ำ แบบนาฏศิ ล ป์ ไ ทยมาดั ด แปลง มี ท ่ า ร� ำ แม่ บ ทไทย หลายท่า ได้แก่ ท่าเทพนม (ท่วงท่าที่ ๑) ท่ายอดตองต้องลม (ท่วงท่าที่ ๒) ท่าพิสมัย เรียงหมอน (ท่วงท่าที่ ๓) ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง (ท่วงท่าที่ ๔) และท่าผาลาเพียงไหล่ (ท่วงท่าที่ ๕) ที่น�ำมาร้อยต่อกันได้สวยงามตามแบบฉบับมอญร�ำ ร�ำท่าต่างๆ สลับกันไปมา เขยิ บ เท้ า สลั บ การก้ า วเดิ น ในบางท่ ว งท่ า ตามจั ง หวะเพลงช้ า อั น ไพเราะ และมี ท ่ า ร� ำ ที่สวยงาม

เพลงที่ ๑๓ ท่วงท่าที่ ๑


304

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๓ ท่วงท่าที่ ๒

เพลงที่ ๑๓ ท่วงท่าที่ ๓


ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๓ ท่วงท่าที่ ๔

เพลงที่ ๑๓ ท่วงท่าที่ ๕

305


306

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๔ เรียกว่า พะวาย เพลงประกอบชือ่ เพลง เพลงเร็ว ในการร่ายร�ำ เป็นการ ผสมผสานท่าร�ำของนาฏศิลป์ไทยหลายๆ ท่วงท่าเข้าด้วยกัน เริ่มด้วยมือขวาจีบเข้าหาตัว บริเวณไหล่ซ้าย (ท่วงท่าที่ ๑) สลับด้วยท่าเตรียมท่าตัวนาง (ท่วงท่าที่ ๒) ท่าเดินหรือ

เพลงที่ ๑๔ ท่วงท่าที่ ๑

เพลงที่ ๑๔ ท่วงท่าที่ ๒


ปี่พาทย์มอญรำ�

307

จรลี โดยการถัดเท้าก้าวเดิน (ท่วงท่าที่ ๓) ท่าอัมพรและฟ้อนใน (ท่วงท่าที่ ๔) เป็นท่าที่ เลียนท่าร�ำเพลงช้ามาสอดประสานเป็นท่าร�ำที่สวยงาม (ท่วงท่าที่ ๕ ถึง ๘) ตลอดเพลง

เพลงที่ ๑๔ ท่วงท่าที่ ๓

เพลงที่ ๑๔ ท่วงท่าที่ ๔


308

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๔ ท่วงท่าที่ ๕

เพลงที่ ๑๔ ท่วงท่าที่ ๖


ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๔ ท่วงท่าที่ ๗

เพลงที่ ๑๔ ท่วงท่าที่ ๘

309


310

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๕ ท่วงท่าที่ ๑


ปี่พาทย์มอญรำ�

311

เพลงที่ ๑๕ เรี ย กว่ า บทละโกน เพลงประกอบชื่ อ เพลง เพลงเดิ น ท่ า ร� ำ เป็ น ท่าร�ำแม่บทของนาฏศิลป์ไทยหลายๆ ท่าน�ำมาเรียงร้อยให้เกิดความสวยงามในการฟ้อนร�ำ ตามจังหวะเพลงที่มีความอ้อยอิ่งในลีลาท่วงท�ำนอง

เพลงที่ ๑๕ ท่วงท่าที่ ๒

เพลงที่ ๑๕ ท่วงท่าที่ ๓


312

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๕ ท่วงท่าที่ ๔

เพลงที่ ๑๕ ท่วงท่าที่ ๕


ปี่พาทย์มอญรำ�

313

เพลงที่ ๑๖ เรียกว่า บทโศก เพลงประกอบชื่อเพลง ทยอยญวน ที่มีท่วงท�ำนอง เศร้าสร้อย อ้อยอิ่ง ผู้ประดิษฐ์ท่าร�ำจึงบรรจุท่านาฏศิลป์ไทยที่แสดงออกถึงความอาลัยรัก เพื่อให้รับกับท�ำนองเพลง

เพลงที่ ๑๖ ท่วงท่าที่ ๑

เพลงที่ ๑๖ ท่วงท่าที่ ๒


314

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๖ ท่วงท่าที่ ๓

เพลงที่ ๑๖ ท่วงท่าที่ ๔


ปี่พาทย์มอญรำ�

315

เพลงที่ ๑๗ เรียกว่า แขก เพลงประกอบชื่อเพลง แขกสะดายง ผู้ประดิษฐ์ท่าร�ำ ต้องการให้การร�ำมอญร�ำมีความหลากหลายของท่วงท่าในการร�ำ และมีความสนุกเร้าใจคนดู มากขึ้นจากการดูมอญร�ำที่มีความแช่มช้า นุ่มนวลอ่อนช้อย จึงได้บรรจุเพลงที่มีจังหวะ หน้าทับแขกและท่านาฏศิลป์ที่แสดงอย่างแขกไว้ได้อย่างสวยงาม

เพลงที่ ๑๗ ท่วงท่าที่ ๑

เพลงที่ ๑๗ ท่วงท่าที่ ๒


316

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๗ ท่วงท่าที่ ๓

เพลงที่ ๑๗ ท่วงท่าที่ ๔


ปี่พาทย์มอญรำ�

317

เพลงที่ ๑๘ เรียกว่า ลาว เพลงประกอบชื่อเพลง ลาวกระแซ ซึ่งเป็นเพลงไทย ส�ำเนียงลาว และเป็นการร่ายร�ำตามท่วงท�ำนองเพลงลาว เพื่อให้มีความหลากหลายใน การแสดงมากขึ้น

เพลงที่ ๑๘ ท่วงท่าที่ ๑

เพลงที่ ๑๘ ท่วงท่าที่ ๒


318

ปี่พาทย์มอญรำ�

เพลงที่ ๑๘ ท่วงท่าที่ ๓

เพลงที่ ๑๘ ท่วงท่าที่ ๔

ท่าร�ำ เพลงลาวกระแซในช่วงท้ายมีการร�ำออกซุ้ม ผู้ร�ำทุกคนจะมารวมร�ำเป็นวง จีบมือโน้มศีรษะเข้าหากัน จากนั้นเงยหน้าขึ้น สลับก้มและเงยเช่นนี้รวมครบ ๓ ครั้ง จึง ร่ายร�ำแยกกัน สิ้นสุดการร�ำ ผู้ร�ำทุกคนนั่งพับเพียบกราบพระพุทธรูป หรือกราบไปที่ตั้งศพ ถ้าเป็นการร�ำงานศพ และกราบไปทางวงปี่พาทย์อีกครั้งหนึ่ง


ปี่พาทย์มอญรำ�

319

นางมะลิ วงศ์จำ� นงค์ ผู้สืบทอดลมหายใจของมอญร�ำ สตรีมอญในอดีตมักขวนขวายหาครูดีเพื่อขอถ่ายทอดวิชามอญร�ำมาไว้ติดตัว เพราะ นอกจากการเป็นแม่บ้านแม่เรือน มีวิชาการครัว เย็บปักถักร้อยแล้ว การร�ำมอญร�ำยังเป็น วิชาหนึ่งซึ่งแสดงออกถึงความเป็นกุลสตรีมอญอย่างแท้จริง ด้วยลีลาอันอ่อนช้อย อ้อยอิ่ง แลดูท่าร�ำที่เรียบง่าย ทว่าแฝงไว้ด้วยความประณีตในการยักย้ายร่ายร�ำ เน้นการใช้สะโพก การพลิกพลิ้วของข้อมือ และการกระเถิบเท้าที่สวยงาม ท�ำให้มอญร�ำยังคงเปี่ยมเสน่ห์ ผู้คน ให้ความสนใจ และทุกวันนี้ชุมชนมอญเกาะเกร็ดและชุมชนมอญอีกหลายๆ แห่ง ได้เชิญ ครูมอญร�ำเกาะเกร็ดไปถ่ายทอดวิชามอญร�ำโบราณให้กับเยาวชนในท้องถิ่นตน ซึ่งมีผู้ให้ ความสนใจอย่างมาก อันแสดงให้เห็นว่า ลมหายใจของ “มอญร�ำ” ยังคงได้รับการสืบทอด แสดงอวดสายตาชาวโลกได้ตราบนานเท่านาน หนึ่ ง ในบรรดาครู ส อนมอญร� ำ ที่ มี ชื่ อ เสี ย งของชุ ม ชนมอญเกาะเกร็ ด ชื่ อ ครู ม ะลิ วงศ์ จ� ำ นงค์ หรื อ ป้ า ปรุ ง เป็ น ที่ รู ้ จั ก กั น ดี ข องชาวไทยเชื้ อ สายมอญที่ ต ้ อ งการเรี ย นรู ้ การร�ำมอญร�ำตามแบบแผนโบราญอันสวยงามและถูกต้อง ป้าปรุงได้เล่าให้ฟังถึงการเรียน และการสอนร�ำมอญร�ำ ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน

ภาพถ่ายจากหนังสือที่เทศบาลนครปากเกร็ดจัดท�ำที่มีบทความเกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญ ที่แม่ครูมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ เก็บไว้ที่บ้าน


320

ปี่พาทย์มอญรำ�

ท�ำความรู้จักกับแม่ครู “…ญาติ ๆ และคนพื้ น บ้ า นเรี ย กกั น ว่ า “ปรุ ง ” ตามทะเบี ย นราษฎร์ จ ะชื่ อ “มะลิ วงศ์จ�ำนงค์” แต่ไม่ค่อยมีคนรู้จักเรียกกันแต่ป้าปรุง เด็กๆ ก็จะเรียก ย่าปรุง หรือ แม่ครู เกิดเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ปัจจุบันยังสอนพิเศษเกี่ยวกับมอญร�ำที่โรงเรียน วัดปรมัยยิกาวาส และตามโรงเรียนต่างๆ ที่เชิญให้ไปสอน ทั้งในสถานศึกษาและตามชุมชน ต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏหลายแห่งที่เชิญมา ป้าปรุงร�ำมอญมานานแล้วและได้สอนเด็กๆ ไว้หลายรุ่น เด็กสาวๆ ร�ำได้เกือบทุกคน อายุของป้าตอนนี้ ๘๗ ปีแล้ว แต่ก็รักที่จะสอนมอญร�ำ อยากจะถ่ายทอดไว้ ผู้ที่อยากร�ำ ก็มาเรียน เป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สวยงาม ป้าปรุงสอนมอญร�ำมาเรื่อยๆ จนทางจังหวัดรู้ว่า ป้ า ร� ำ มอญร� ำ และสอนร� ำ มอญร� ำ จึ ง ส่ ง คนมาสอบถามว่ า แสดงอะไรตอนนี้ พอรู ้ ว ่ า มีการแสดงหลายๆ อย่าง และการแสดงท้องถิ่นอื่นๆ ด้วย ทางจังหวัดจึงมอบโล่ศิลปิน พื้นบ้านให้ โดยได้รับโล่จากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ แล้วก็ได้รับ โล่อื่นๆ อีกหลายครั้งตามโรงเรียนที่ไปสอนร�ำ...”

โล่ประกาศเกียรติคุณที่แม่ครูมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ ได้รับจากทางราชการในฐานะครูภูมิปัญญา ที่อนุรักษ์และถ่ายทอดการร�ำมอญร�ำให้เยาวชน และผู้สนใจมาช้านาน

นางมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ ครูสอนมอญร�ำบ้านเกาะเกร็ด


ปี่พาทย์มอญรำ�

321

การเรียนร�ำมอญร�ำของ นางมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ นางมะลิ วงศ์ จ� ำ นงค์ แม่ ค รู ผ ู้ ถ ่ า ยทอด แห่งบ้านเกาะเกร็ดได้เล่าถึงการเรียนร�ำมอญร�ำ ของตนเอง ให้นายชัยวัฒน์ น่าชม ที่ไปสัมภาษณ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ว่า “…ตอนนั้ น เป็ น เด็ ก ๆ อายุ ๔ - ๕ ขวบ นอนกับจุ๊ (ย่า หมายถึง ย่าปริก ชาวตะเคียน) จุ๊นี่คืออาของพ่อ ตอนนั้น สาวๆ แถวบ้าน เวลา ย�่ำค�่ำหรือเย็นๆ เค้าก็มาหาจุ๊ สมัยนั้นใช้ตะเกียง น�้ ำ มั น ก๊ า ด เค้ า จะหิ้ ว น�้ ำ มั น ก๊ า ดมาคนละ ครึ่ ง ขวดบ้ า ง ขวดหนึ่ ง บ้ า ง มาหาจุ ๊ แล้ ว มา หัดร�ำ สาวๆ ก่อนนั้นถือว่าการร�ำมอญร�ำเป็นวิชา ของกุลสตรี หัดมอญร� ำนี่เป็นนาฏศิลป์พื้นบ้าน ตอนเย็ น ๆ ก็ จ ะมากั น แล้ ว มาเรี ย นร� ำ มอญร� ำ ป้ า ปรุ ง เองก็ น อนหนุ น ตั ก จุ ๊ นอนดู เ ค้ า ร� ำ ไป ดู ทุ ก วั น ๆ พอสามทุ ่ ม ก็ จ ะเลิ ก หั ด ร� ำ ดู ทุ ก วั น ๆ ดูๆ ไปก็ลุกขึ้นท�ำท่ากับเค้าบ้าง ร�ำอย่างนี้ร�ำอย่างนี้ จุ๊เค้าก็สอนให้ ในที่สุดก็ร�ำมอญเป็น โดยปริยาย พร้อมๆ กับการปั้นเครื่องปั้นดินเผาที่เราปั้นเป็น พ่อแม่เป็นผู้สืบทอดและ ถ่ายทอดภูมิปัญญาเหมือนการร�ำนี่ละ ร�ำไปเรื่อยๆ จนโตเป็นสาวก็ออกไปร�ำกันตามงาน ต่างๆ ก่อนนั้นจุ๊ออกร�ำด้วย ป้าเองก็ออกร�ำกับเค้าบ้าง จุ๊นี่อายุตอนนั้นจวนจะ ๘๐ แล้ว ๗๐ กว่าตอนนั้นนะ แต่ก็ยังพาลูกศิษย์ออกร�ำมอญเรื่อย จุ๊เป็นคนร�ำมอญสวยมาก พี่ชายเค้า ก็ไปเมืองมอญเรื่อย ลูกชายจุ๊เองก็ไปเรื่อย สมัยโน้นติดต่อกับเมืองมอญง่ายไปมาสะดวก ที่ ถู ก แล้ ว จะเรี ย ก “มอญร� ำ ” ตอนนั้ น มอญนะเป็ น คนร� ำ แต่ เ ดี๋ ย วนี้ ค นไทยก็ ร� ำ กั น เยอะแล้ ว เลยเรี ย ก “ร� ำ มอญ” แล้ ว สมั ย นั้ น สมั ย รั ช กาลที่ ๕ สมเด็ จ พระพุ ท ธเจ้ า หลวง (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เสด็จฯ มาที่เกาะเกร็ดบ้านเราเอง ที่วัดปากอ่าว (ปั จ จุ บั น ชื่ อ วั ด ปรมั ย ยิ ก าวาส) แล้ ว ก็ ทู ล หม่ อ มยาย (สมเด็ จ พระเจ้ า บรมมหั ย ยิ ก าเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร) เคยตรัสไว้ว่าถ้าเจอวัดเก่าๆ ก็ขอให้บูรณะสักวัดหนึ่งเถอะ ให้สร้างวัดสักวัด พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาที่วัดนี้ ทอดพระเนตรเห็นวัดก�ำลังโทรมเต็มที วัดปรมัยยิกาวาสก่อนนี้ชื่อ “วัดปากอ่าว” พระองค์ท่านก็เสด็จฯ มาทอดพระกฐิน ก็เหมาะสม ที่จะสร้างวัดให้ทูลหม่อมยาย เลยกลับไปเล่าให้ทูลหม่อมยายฟัง ท่านตกลงให้บูรณะวัดใหม่


322

ปี่พาทย์มอญรำ�

กับดูที่ทางและแบบแปลน พอสร้างบูรณะวัดเสร็จเค้าก็มีจารึกไว้ที่หน้าโบสถ์ มีหุ่น โขน ละคร มอญร�ำมีครบครันเลย ตอนสมัยก่อนโน้นคนมอญก็ร�ำกันเยอะ พวกคนมอญถ้าหากว่า พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชด�ำเนินเค้าต้องร�ำถวายการต้อนรับเรียก “ช้ า งเหยี ย บนา พระยาเหยียบเมือง” แล้วก็ทางปทุมธานีก็เหมือนกัน ถ้าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาคนมอญ ก็ร�ำถวาย การร�ำมอญร�ำนี่ใช้ได้ทุกโอกาส งานมงคลหรืออวมงคลก็ใช้ได้ มอญร�ำจะร�ำได้ ทุกโอกาส สมัยก่อนโน้นงานที่มีปี่พาทย์มอญหาได้ยาก จะมีได้แต่งานเจ้านายผู้ใหญ่หรือ พระผู้ใหญ่ พอตายเค้าก็มีปี่พาทย์มอญ ก็มีคนไปร�ำมอญ แย่งกันร�ำสมัยโน้นร�ำแล้วถือว่า ได้บุญ สมัยก่อนไม่มีเทป หัดร�ำมอญนี่ใช้ปากบอกจังหวะไปเรื่อยๆ แต่ก็เข้ากันได้กับปี่พาทย์ เวลาร�ำเราจะใช้เสียงร้องแทนตะโพน หรือเลียนเสียงเป็น “เปริง เปริง เปริง เตะ เติ่ง ทิน ทิน” ขอย้อนมาเล่าถึงจุ๊ จุ๊ตอนนั้นสอนเด็กเยอะ สาวๆ รุ่นนั้นน่ะค่ะ เดี๋ยวนี้อายุ ๙๔ ปีแล้ว ยังมีเลย รุ่นลูกศิษย์เค้าน่ะแต่จะหลงลืมแล้วล่ะ จุ๊ตอนหลังๆ อายุ ๘๐ กว่าๆ จ�ำได้ว่า ทางโรงเรี ย นสตรี น นทบุ รี เ ค้ า มาขอให้ ไ ปสอน ตอนนั้ น ราวๆ พ.ศ. ๒๔๙๖ ประมาณ ๕๓ ปี ม าแล้ ว ทางโรงเรี ย นสตรี น นทบุ รี เ ค้ า มาหาจุ ๊ จะให้ ไ ปสอนนั ก เรี ย นร� ำ เพื่ อ ไปร�ำในงานวังสราญรมย์ แล้วจะเล่นเรื่อง “มอญอพยพ” ที่เล่าถึงการรวบรวมคนมอญ ให้ เ ป็ น ปึ ก แผ่ น ของพระยาเจ่ง สมัยแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้า ตากสินมหาราช แล้วก็ให้จุ๊ไปสอน จุ๊ไปไม่ไหวแล้ว ตอนนั้นจุ๊อายุ ๘๐ กว่าแล้ว ครูเค้าก็เลยให้ย่าปรุงไป สอนแทน สมัยนั้นเค้าให้วันละ ๑๐ บาท สอนร�ำอย่างเดียว ก็ใช้ปากเลียนท�ำนองอย่างนี้ “เปริง เปริง เปริง เตะ เติ่ง ทิน ทิน” ใช้ปากมาเรื่อย ย่าปรุงก็ไปสอนตามที่ขอ เค้าก็คัดเอา นั ก เรี ย น ๔๐ คน รุ ่ น ๆ สาวทั้ ง นั้ น มาฝึ ก หั ด ร� ำ มอญ อาจารย์ ถ ามเรื่ อ งการแต่ ง กายว่ า จะแต่ ง กายยั ง ไง ย่ า ก็ บ อกว่ า ควรจะเป็ น เสื้ อ แขนยาว คนมอญนี่ ใ ส่ เ สื้ อ แขนยาวหรื อ แขนกระบอกก็ได้ แล้วนุง่ ซิน่ มีผา้ สไบโปร่งทิง้ ชายหรือใช้ผา้ พาดไหล่ทงิ้ ชายก็ได้ ทางโรงเรียน เค้าก็ไปจัดหา พอถึงวันแสดงจริงที่วังสราญรมย์ ตามเนื้อเรื่องผู้แสดงเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี ตรัสถามว่าคนมอญมีวัฒนธรรมการละเล่นหรือการแสดงอะไรบ้าง ไหนแสดงให้ดูสิ ก็จัด มอญร�ำให้ทอดพระเนตร พอเด็กสาวๆ ๔๐ คนออกมาร�ำพร้อมกันสวยงามมาก ร�ำสวย ย่าปรุงเองยังชอบเลย ทีจ่ ำ� ได้แม่นเพราะว่าปีนนั้ น่ะ รูส้ กึ จะเป็นปีสดุ ท้ายของงานวังสราญรมย์ แล้วปีนั้นย่าปริกที่สอนคือจุ๊น่ะตาย และพี่สาวย่าปรุงเองก็ตายปีเดียวกับจุ๊ ต่อมาย่าปรุง ก็สอนลูกหลาน ลูกหลานร�ำมอญเป็นทุกคนค่ะ แม้แต่เด็กๆ ข้างบ้าน ตอนนี้ลูกศิษย์ย่าปรุง อายุ ๕๐ กว่าก็มี ก็สอนลูกๆ เค้าต่อไปอีกตอนนี้ ย่าตั้งใจว่าจะสอนไปเรื่อยๆ เพราะว่า ยังรักวัฒนธรรมเก่าของเราอยู่นะ ดีกว่าอย่างอื่น ดีกว่าไปเล่นอย่างอื่น กระโดดโลดเต้น มันไม่นิ่มนวล ของเรามันนิ่มนวล อยากจะเก็บไว้นานๆ ว่าของมอญ มันเรียบร้อยดีและ ก็ฝึกหัดเด็กไว้เยอะ ตอนนั้นมีมอญร�ำอย่างเดียวไม่มีอย่างอื่น ก็ร�ำถึง ๑๒ ท่า เป็นท่า แม่บทใหญ่ของเรา แม่บทใหญ่ของมอญ มี ๑๒ เพลง แต่จะมีต่ออีก ๖ เพลง คือ ร�ำไทย


ปี่พาทย์มอญรำ�

323

ในแบบของมอญ ที่จุ๊ประดิษฐ์ขึ้นมา สมัยนั้นก็มีละครชาตรี มีอะไรเรื่อย ละครโรงใหญ่นะ จุ๊ก็เลยต่อท่าเพลงเดิน เพลงโศก ทั้งหมดอีก ๖ เพลงที่ต่อไว้ สมัยนั้นคนร�ำก็ร�ำไปจนถึง ๑๘ เพลง คนดูก็ไม่ถอย เค้าชอบแบบนี้ แต่เดี๋ยวนี้มีเพลงอย่างอื่นมาเยอะ เพลงเซิ้งบ้าง เพลงฟ้อนบ้าง เพลงอะไรต่ออะไรมันเยอะ เค้าก็เลยตัดกันออกเป็น ๗ เพลงบ้าง ๑๒ เพลง บ้าง แต่เราก็ยังรักษา ๑๒ เพลงเอาไว้ แต่ต่ออีก ๖ เพลง แบบของย่าปริกเค้านี่ก็สวยดี เหมือนกันค่ะ...”

การสอนร�ำมอญร�ำของแม่ครูมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ ในการฝึกมอญร�ำ แม่ครูมะลิ ผู้สอนท่าร�ำจะบอกจังหวะเพลงมอญร�ำทั้ง ๑๒ เพลง ด้วยปาก จังหวะเพลงมอญร�ำดังกล่าวนี้ก�ำหนดจังหวะตามจังหวะของตะโพนมอญ ๑๑ เพลง ส่ วนเพลง ซึ่ ง เป็ นเพลงฮะว่าย ซึ่ง เป็นเพลงล�ำดับที่ ๘ ก�ำหนดจังหวะเพลงตามจังหวะ หน้าทับมอญของเปิงมาง การบอกจังหวะเพลงมอญร�ำ มีดังนี้ ล�ำดับเพลง ๑

๒ ๓ ๔ ๕

๖ ๗ ๘ ๙

ชื่อเพลง ย้ากจ้างฮะเปิ้น

การบอกจังหวะด้วยปาก

เปริงเปริ้ง เปริงเปริ้ง เปริงเปริ้ง เปริง--เปริง--เปริง เปริง--เปริง--เปริง เตะเติ่ง ปะเริงเตะเติ่ง ปะเริงเตะเติ่ง ปะเริงเตะเติ่ง มะเริงเติ่งทิน มะเริงเติ่งทิน มะเริงเติ่งทิน ทะบ๊ะชาน ติ๊งปะเริ่ง เตะเติ้งเตะ เตะเติ่ง--ทิน เติ่งทินเติ้งเตะ ดอมทอ ติ๊งปะเริ่ง เตะเติ้งเตะ เตะเติ่ง--ทิน เติ่งทินเติ้งเตะ ขะวัวตัวห์ ติ๊งปะเริ่ง เตะเติ้งเตะ เตะเติ่ง--ทิน เติ่งทินเติ้งเตะ ขะวัวคะนอม เปริงเปริ้ง เปริงเปริ้ง เปริงเปริ้ง เปริง--เปริง--เปริง เปริง--เปริง--เปริง เตะเติ่ง ปะเริงเตะเติ่ง ปะเริงเตะเติ่ง ปะเริงเตะเติ่ง มะเริงเติ่งทิน มะเริงเติ่งทิน มะเริงเติ่งทิน ดังโรต ติ๊งปะเริ่ง เตะเติ้งเตะ เตะเติ่ง--ทิน เติ่งทินเติ้งเตะ กะยาน เตะเติ่งเติ้งทิน เติ่งทิน เติ่งทิน เตะเติ่งเติ้งทิน เติ่งทิน เติ่งทิน ฮะว่าย ชะปุง ปุง ปุง ปุง ปุง ปุง ชะปุง ปุง ปุง ปุง ปุง ปุง แม่งปล่ายฮะเล่ห์ เติ้ง น้อต เตะ เติ่ง ทิน เติ้ง น้อต เตะ เติ่ง ทิน เติ้ง น้อต เตะ เติ่ง ทิน


324

ปี่พาทย์มอญรำ�

ล�ำดับเพลง

ชื่อเพลง

๑๐

ป้ากเมี่ยะ

๑๑

โน่นทอ

๑๒

ตะละจะร่าย

การบอกจังหวะด้วยปาก เตะเติ่งทิน เติ่งทิน เติ่งทิน เตะเติ่งทิน เติ่งทิน เติ่งทิน ปะรุ้งปุ้งเปะ ปะรุ้งปุ้งเปะ ปะรุ้งปุ้งเปะ เตะเติ่งทิน เตะเติ่งทิน เตะเติ่งทิน ปุ้งเปะเตะเติ่งทิน ปุ้งเปะเตะเติ่งทิน ปุ้งเปะเตะเติ่งทิน เติ่ง--ทิน เติ่ง--ทิน เติ่ง--ทิน เต้ะเติ่ง--ทิน

การสอนร�ำมอญในท้องถิ่นต่างๆ ที่ได้บันทึกไว้ในระยะหลัง ช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๐ - ปัจจุบัน มีดังนี้ พ.ศ. ๒๕๕๐ สอนมอญร�ำให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดคลองครุ อ�ำเภอเมือง จังหวัด สมุทรสาคร พ.ศ. ๒๕๕๑ สอนมอญร� ำ ให้ แ ก่ เ ด็ ก ในชุ ม ชนบ้ า นมอญ อ� ำ เภอเมื อ ง จั ง หวั ด นครสวรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๒ สอนมอญร�ำให้แก่ชาวบ้านในชุมชนมอญ บ้านหนองคู่ บ้านบ่อคาว อ�ำเภอป่าซาง จังหวัดล�ำพูน พ.ศ. ๒๕๕๓ สอนมอญร�ำให้แก่ชาวบ้านในชุมชนมอญบ้านบางขันหมาก อ�ำเภอ เมือง จังหวัดลพบุรี พ.ศ.๒๕๕๗ สอนมอญร�ำให้แก่ชาวบ้านในชุมชนมอญบ้านทุง่ เข็น อ�ำเภอสองพีน่ อ้ ง จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ.๒๕๕๘ สอนมอญร�ำให้แก่เยาวชนและผู้สนใจที่มาเรียนที่บ้าน

แม่ครูมะลิสอนเยาวชนที่บ้านมอญนครสวรรค์ สอนทั้งมอญร�ำ และร�ำมะเทิ่ง เม้ยเจิง (พ.ศ. ๒๕๕๑)


ปี่พาทย์มอญรำ�

325

แม่ครูน�ำคณะศิษย์มอญร�ำ ร่วมร�ำมอญร�ำสมโภชในพิธีท�ำขวัญเมือง มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ (พ.ศ. ๒๕๔๙) แม่ครูมะลิร�ำในงานศพพระ ที่วัดไผ่ล้อม เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๕๐)

ด้วยวัย ๘๗ ปี แม่ครูมะลิ วงศ์จ�ำนงค์ ยังคงมุ่งมั่นถ่ายทอด การร�ำมอญร�ำให้แก่ผู้สนใจ มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่มาเรียน มีทั้งที่มาเรียนที่บ้าน และไปสอนที่ชุมชนต่างๆ ในต่างจังหวัด เช่น สุพรรณบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ และล�ำพูน เป็นต้น ด้วยหวังสืบทอด ศิลปวัฒนธรรมมอญ ให้คงอยู่สืบไป

(พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๖)


มอญร�ำในงานบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑


๘ เกียรติภูมิวัฒนธรรมมอญ ด้านดนตรีการขับร้องฟ้อนร�ำ วัฒนธรรมมอญที่มีคุณค่าและมีการสืบทอดต่อเนื่องกันมา นับเป็นเวลายาวนานจนถึง ปัจจุบันนี้ ได้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในสังคมไทยและสังคมมอญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีการขับร้องฟ้อนร�ำของมอญได้มีบทบาทในพระราชพิธี และพิธี ที่ส�ำคัญของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

ทอดพระเนตรมอญร�ำผี ปากลัด ภาพยนตร์ทรงถ่าย* ฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอย่หู ัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรม ราชินี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงพสกนิกรชาวไทยเชื้อสายมอญ เสด็จไปทอดพระเนตร พิธีร�ำผีมอญที่ชุมชนมอญปากลัด (พระประแดง) จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ โดยเสด็จพระราชด�ำเนินถึงปากลัด (พระประแดง) เวลาเช้าเพื่อให้ทันเวลา จัดพิธีร�ำผี ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้เวลาทั้งวัน เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ ๐๗.๐๐ น. ไปจนถึง เวลา ๑๘.๐๐ น. ทรงถ่ายภาพยนตร์พิธีร�ำผีมอญตามขั้นตอนต่างๆ ของพิธี เช่น ตอนอาบน�้ำ ให้ ต ้ น ผี ตั ด ต้ น กล้ ว ย ชนไก่ ร� ำ ดาบ ร� ำ ใบไม้ ร� ำ ทวน ร� ำ มื อ เปล่ า เป็ น ต้ น และสิ้ น สุ ด พิธีร�ำผีมอญตอนคล้องช้าง ทรงมีพระวิริยะและทรงสนพระทัยในพิธีกรรมมอญนี้ ทรงถ่าย ภาพยนตร์ ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม จนเสร็ จ พิ ธี ในวั น เดี ย วกั น ได้ เ สด็ จ ไปวั ด โปรดเกศเชษฐาราม พระอารามหลวง อ� ำ เภอพระประแดง จั ง หวั ด สมุ ท รปราการด้ ว ย ภาพยนตร์ ท รงถ่ า ย เสด็จทอดพระเนตร์มอญร�ำผี ปากลัด วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ มีความยาว ๑๒ นาที นั บ ว่ า เป็ น สิ ริ ม งคลยิ่ ง ใหญ่ ที่ ท รงมี พ ระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ แก่ ป วงพสกนิ ก รชาวไทย เชื้อสายมอญ * อนุเคราะห์ภาพยนตร์ทรงถ่าย โดยพิพธิ ภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอย่หู วั สถาบันพระปกเกล้า


328

ปี่พาทย์มอญรำ�

ภาพจากภาพยนตร์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถ่ายเรื่อง ทอดพระเนตร์มอญร�ำผี ปากลัด วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๓

ปี่พาทย์มอญร�ำถวายการต้อนรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ต่อมาได้เถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙) เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรชาวอ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ เวลา ๑๕.๐๐ น. ได้ประทับเรือพระที่นั่งเทียบท่าวัด ปรมัยยิกาวาส โปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรได้เข้าเฝ้าฯ และทอดพระเนตรการแสดงมอญร� ำ เพื่ อ ถวายเป็ น ราชสั ก การะ และการประโคมปี ่ พ าทย์ ม อญ ที่ วั ด ปรมั ย ยิ ก าวาส ต� ำ บล เกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และได้เสด็จพระราชด�ำเนินมาทอดพระเนตร การท�ำเครื่องปั้นดินเผาของชาวบ้านมอญใกล้วัดปรมัยยิกาวาสด้วย มอญร�ำที่จัดแสดง ถวายทอดพระเนตรในครั้ ง นี้ ผู้ ร� ำ เป็ น สตรี ม อญเกาะเกร็ ด วงปี ่ พ าทย์ ม อญที่ บ รรเลง ประกอบการฟ้อนร�ำมอญร�ำ เป็นวงปี่พาทย์มอญศิลปะดุริยางค์ของครูบุญทิว ศิลปดุริยางค์

(ซ้าย) เรือพระที่นั่งเทียบท่าวัดปรมัยยิกาวาส (ขวา) สตรีบ้านเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ร�ำมอญร�ำถวายให้ทอดพระเนตร เมื่อวันที่ ๘​พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙


ปี่พาทย์มอญรำ�

329

พิธีเจริญพระปริตรมอญท�ำน�้ำพระพุทธมนต์ ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระสงฆ์มอญยังคงมีหน้าทีเ่ จริญพระปริตรมอญทีห่ อศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง ทุกวันพระ เพื่อท�ำน�้ำพระพุทธมนต์ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระสงฆ์ สวดพระปริตรมอญด้วยท�ำนองสวดและส�ำเนียงการสวดตามท�ำนองและส�ำเนียงมอญ เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๙ เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ชาวไทยเชื้อสายมอญได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยมี ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ เป็นประธานในพิธี ในการจัดงานครั้งนี้ พระสงฆ์มอญ ๙๐ รูป ได้เจริญพระพุทธมนต์มอญถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

งานเจริญพระพุทธมนต์มอญ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙


330

ปี่พาทย์มอญรำ�

พระสงฆ์วัดมอญในประเทศไทยเจริญพระปริตรมอญ เพื่อท�ำน�้ำพระพุทธมนต์ถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นประธานในพิธี ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ในการนี้ได้ใช้เครื่องปั้นดินเผาสลักลายวิจิตร จากต�ำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี บรรจุน�้ำพระพุทธมนต์ในพิธีด้วย

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๒ ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนม พรรษา ๗๒ พรรษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และชาวไทยเชื้อสายมอญได้จัดพิธีเจริญ พระปริตรมอญ ท�ำน�ำ้ พระพุทธมนต์ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เมือ่ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯ เป็นประธานในพิธีที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีพระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) เป็นประธานสงฆ์ในพิธี พระสงฆ์มอญจากชุมชนมอญต่างๆ ในประเทศไทย ได้ร่วมกันสวดพระปริตรมอญในพิธีครั้งนี้


ปี่พาทย์มอญรำ�

331

การสวดพระปริตรของมอญมีทว่ งท�ำนอง และจังหวะการสวดทีถ่ อื ว่าเป็นการขับล�ำน�ำ ที่มีท่วงท�ำนองและจังหวะการสวดที่ดีและเป็นการท�ำให้เกิดสมาธิได้อย่างดียิ่งด้วย

พิธีท�ำขวัญเมือง สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับชาวไทยเชื้อสายมอญ ได้จัด พิธีท�ำขวัญเมืองเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ประเทศที่หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต วังท่าพระ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พิธีท�ำขวัญเมืองครั้งนี้ได้มีการน�ำดนตรี คือวงปี่พาทย์มอญมาบรรเลงประโคมและ บรรเลงตามขั้ น ตอนของพิธีกรรม มีการขับล�ำน�ำตามธรรมเนียมประเพณีมอญด้วยการ กล่าวค�ำท�ำขวัญเมืองด้วยภาษามอญ มีมอญร�ำนาฏกรรมประจ�ำชนชาติมอญมาร่วมสมโภช ในพิธีด้วย

พิธีท�ำขวัญเมือง มีการบรรเลงประโคมปี่พาทย์มอญ การขับล�ำน�ำด้วยภาษามอญ และการร�ำมอญร�ำ สมโภชในพิธี ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙


332

ปี่พาทย์มอญรำ�

พิธีบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย มีการน�ำปี่พาทย์มอญ มอญร�ำ ร�ำสามถาด มอญร้องไห้ การสวดพระอภิธรรมมอญ การสวดธรรมนิยามมอญ การแสดงพระธรรมเทศนามอญ ชาวไทยเชื้อสายมอญได้จัดขึ้น ในการบ�ำเพ็ญกุศลพระบรมศพและพระศพในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๕๘ ดังนี้

พ.ศ. ๒๕๒๗ งานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินี • ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

ในพระบรมมหาราชวัง พ.ศ. ๒๕๓๒ งานพระศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาส์น วาสโนมหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราช ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ คณะสงฆ์ ม อญและชาวไทยเชื้ อ สายมอญได้ ร ่ ว มบ� ำ เพ็ ญ กุ ศ ลครั้ ง นี้ ได้ มี ก ารประโคม ปี่พาทย์มอญ มอญร�ำ และพิธีสวดพระอภิธรรมมอญ พ.ศ. ๒๕๓๘ งานพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พ.ศ. ๒๕๔๑ งานพระศพพลโท หม่ อ มเจ้ า ชิ ด ชนก กฤดากร เมื่ อ วั น ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และในวันเสด็จพระราชด�ำเนิน พระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๕๑ งานพระศพสมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พ.ศ. ๒๕๕๘ งานพระศพหม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ​วังปลายเนิน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

• • • • •


พระสงฆ์และชาวไทยเชื้อสายมอญทั่วประเทศได้รับพระบรมราชานุญาต ให้จัดพิธีบ�ำเพ็ญกุศลถวายพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ณ​พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ มีพลโท หม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร เสด็จฯ เป็นประธานในพิธี


พระสงฆ์และชาวไทยเชื้อสายมอญทั่วประเทศได้รับพระบรมราชานุญาต ให้จัดพิธีบ�ำเพ็ญกุศลถวายพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง มี ม.ร.ว. ยงสวาสดิ์ กฤดากร เป็นประธานในพิธี


พระสงฆ์และชาวไทยเชื้อสายมอญได้รับ พระบรมราชานุญาตจัดพิธีบ�ำเพ็ญกุศลถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ​พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ มี ม.ร.ว. ยงสวาสดิ์ กฤดากร เป็นประธานในพิธี และ ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ร่วมในพิธีด้วย


งานพิธีบ�ำเพ็ญกุศลพระศพพลโท หม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร ณ​วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑ และงานพระราชทานเพลิงพระศพ ที่เมรุพลับพลาอิสราภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑


การบรรเลง ปี่พาทย์มอญ วง ส.บรรเลงศิลป์ในงานบ�ำเพ็ญกุศลพระศพหม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ วังปลายเนิน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘


338

ปี่พาทย์มอญรำ�

บทบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติ ดนตรีปี่พาทย์มอญ มอญร�ำ ทะแยมอญ ได้มีบทบาทในการอนุรักษ์ศิลปะและ วัฒนธรรมไทย และการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นต้นมา รัฐบาลได้ก�ำหนดนโยบายอนุรักษ์ศิลป วัฒนธรรมไทย ปี่พาทย์มอญ มอญร�ำ และทะแยมอญได้มีการฟื้นฟูและสนับสนุนกิจกรรม ตามนโยบายของรัฐ ในการอนุรกั ษ์ฟน้ื ฟูสง่ เสริมศิลปวัฒนธรรมอย่างดี มีการน�ำปีพ่ าทย์มอญ มอญร�ำ ทะแยมอญ ไปแสดงในงานส�ำคัญต่างๆ ตลอดจนมีการส่งเสริมให้มีการสืบทอด ศิลปะด้านดนตรี นาฏกรรมมอญให้แก่เยาวชนในสถานศึกษาต่างๆ ทั้งในชุมชนมอญและ ในชุมชนอื่นๆ พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๕๐ รัฐบาลได้ก�ำหนดให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวไทย ปี่พาทย์ มอญ มอญร�ำ ทะแยมอญ ได้เป็นปัจจัยในการสร้างจุดขายควบคู่กับศิลปวัฒนธรรมมอญ ด้านอื่นๆ เพื่อขยายเป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนมอญหลายแห่ง ได้รับความส�ำเร็จในการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยดี บทบาทของดนตรีนาฏกรรมและการขับล�ำน�ำท�ำเพลงของมอญ มิใช่มคี วามส�ำคัญใน ชุมชนมอญเท่านั้น แต่ศิลปวัฒนธรรมของมอญด้านดนตรีนาฏกรรมขับล� ำน�ำท�ำเพลง เหล่านี้ ได้เข้าไปมีบทบาทในสังคมไทยในบริบทต่างๆ และตามทิศทางของนโยบายของ บ้านเมืองด้วย

ทะแยมอญ ในงานสงกรานต์เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๓๐)


ปี่พาทย์มอญรำ�

339

มอญร�ำ ในงานต้อนรับแขกผู้มาเยือน ที่ศูนย์วัฒนธรรมมอญ บ้านกวานอาม่าน ต�ำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐

ศูนย์วัฒนธรรมมอญ บ้านกวานอาม่าน ต�ำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับวัดจันทน์กะพ้อ อ�ำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี จัดงานอนุรักษ์มรดกไทย ได้ร่วมกันฟื้นฟูประเพณีต่างๆ ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือร่วมใจจาก ชุมชนมอญปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และชุมชนมอญบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑


จ.พระนครศรีอยุธยา

อ.ไทรน้อย

จ.ปทุมธานี

จ.นครปฐม อ.บางบัวทอง

อ.ปากเกร็ด เกาะเกร็ด อ.เมือง

อ.บางใหญ่ อ.บางกรวย

กรุงเทพมหานคร

แผนที่จังหวัดนนทบุรี


๙ บทสรุป จังหวัดนนทบุรี หรือเมืองนนทบุรีมีความเจริญมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อีกทั้งเป็นที่ตั้ง ของด่านขนอนบ้านปากเกร็ดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเช่นกัน เมื่อคนมอญได้ลี้ภัยจากการที่พม่า ได้เข้ายึดครองชิงบ้านเมืองของมอญไป คนมอญจ�ำนวนมากได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรม โพธิสมภารในประเทศไทยหลายครั้ง ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ คนมอญทีเ่ ข้ามาพึง่ พระบรมโพธิสมภารในสมัยธนบุรี เมือ่ พ.ศ. ๒๓๑๗ และสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๘ และ พ.ศ. ๒๓๖๗ นั้น โปรดเกล้าฯ ให้มาอยู่ที่บ้านปากเกร็ด เมืองนนทบุรี คนมอญที่อพยพมาอยู่บ้านปากเกร็ดนั้นมีนักดนตรีปี่พาทย์มอญ นักขับร้องเพลงทะแยมอญ และนั ก ฟ้ อ นมอญร� ำ ด้ ว ย ดั ง นั้ น เมื่ อ มี ก ารสมโภชพระแก้ ว มรกตเมื่ อ พ.ศ. ๒๓๒๓ ที่พระต�ำหนักบางธรณี เมืองนนทบุรีและที่พระราชวังธนบุรี นักดนตรีและนักขับร้องฟ้อนร�ำ ของมอญจึงได้มีโอกาสร่วมสมโภชในพระราชพิธีครั้งส�ำคัญของไทยครั้งนี้ด้วย ในสมัยอยุธยาปี่พาทย์มอญ มอญร�ำและเพลงมอญได้รับการยอมรับจากสังคมไทย เป็นอย่างดี ด้วยปรากฏว่ามีเพลงมอญ ๔๘ เพลงที่ปรากฏอยู่ในเพลงมโหรีสมัยอยุธยา ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงรวบรวมไว้ในประชุมบทมโหรี ที่มีในสมัยอยุธยา นอกจากนั้นในงานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โปรดเกล้าฯ ให้มีมอญร�ำในพระราชพิธีพระบรมศพด้วย ประวัตคิ วามเป็นมาของนักดนตรี นาฏกรรม และการขับร้องของมอญนัน้ มีความเจริญ มาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๐ มาแล้ว ดังปรากฏภาพปูนปั้นนักดนตรี ๕ นาง ศิลปะ สมั ย ทวารวดี บ ้ า นคู บั ว จั ง หวั ด ราชบุ รี จารึ ก กั ล ยาณี ที่ พ ระเจ้ า ธรรมเจดี ย ์ ม หาปิ ฎ กธร พระมหาราชมอญ (ครองกรุงหงสาวดี พ.ศ. ๒๐๖๑ - ๒๐๖๘) โปรดเกล้าฯ ให้จารึกไว้ที่ กรุงหงสาวดี ได้กล่าวถึงมหรสพและดนตรีประโคมในพระราชพิธีสมโภชพระมหาเกศาธาตุ เจดีย์ และสมโภชพระสงฆ์มอญที่เดินทางกลับจากศรีลังกาถึงกรุงหงสาวดีด้วย


342

ปี่พาทย์มอญรำ�

โบสถ์กัลยาณี เมืองหงสาวดี

เครื่องดนตรีของมอญ เครื่ อ งดนตรี ข องมอญมี ทั้ ง เครื่ อ งดี ด สี ตี แ ละเป่ า เมื่ อ ประสมวงแล้ ว ได้ แ ก่ วงปี่พาทย์มอญและวงเครื่องสายมอญ แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้ เครื่องปี่พาทย์มอญ เครื่องปี่พาทย์มอญประกอบด้วย เครื่องดนตรีที่เป็นเครื่องตี และเครื่ อ งเป่ า เครื่ อ งตี ได้ แ ก่ ฆ้ อ งมอญ ระนาด กลอง ตะโพนมอญ ฉิ่ ง ฉาบ โหม่ ง เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ ปี่พาทย์มอญใช้บรรเลง เป็นการประโคมและบรรเลงตามขั้นตอนของพิธีกรรมต่างๆ ทั้งพิธีกรรมทางศาสนาและพิธีกรรมอื่นๆ เช่น พิธีร�ำเจ้า พิธีร�ำสามถาด และพิธีร�ำผี เป็นต้น การประสมวงปี่พาทย์มอญ ได้มีการก�ำหนดเครื่องดนตรีและรูปแบบการตั้งเครื่อง ดนตรีแต่ละอย่างไว้เป็นแบบแผนที่ชัดเจน คือ ปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ และปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ วงเครื่องสายมอญหรือวงมโหรีมอญมีเครื่องดนตรีที่น�ำมาประสมวงเครื่องสายมอญ ประกอบด้วย เครื่องดีด ได้แก่ จะเข้มอญ เครื่องสี ได้แก่ ซอมอญ เครื่องตี ได้แก่ กลองและฉิ่ง เครื่องเป่าได้แก่ ขลุ่ย เครือ่ งสายมอญส่วนมากใช้บรรเลงประกอบการขับร้องเพลงทะแยมอญ แต่จะบรรเลง โดยไม่มีการขับร้องก็ได้

เพลงมอญ เพลงมอญมี ทั้ ง เพลงที่ บ รรเลงด้ ว ยเครื่ อ งดนตรี เช่ น เพลงปี ่ พ าทย์ ม อญ เพลง เครื่องสายมอญ และเพลงที่เป็นการขับล�ำน�ำค�ำร้องต่างๆ การกล่าวค�ำเชิญขวัญ และ การสวดการเทศน์ของพระสงฆ์ เป็นต้น


ปี่พาทย์มอญรำ�

343

เพลงปี่พาทย์มอญ โบราณาจารย์ดนตรีมอญได้ก�ำหนดแบบแผนกาลเทศะไว้อย่าง เป็นระบบ งานใดต้องบรรเลงเพลงอะไรและสถานที่ใดห้ามบรรเลงเพลงอะไร เพลงประโคม และเพลงบรรเลงตามขั้ น ตอนพิ ธี ก รรมต้ อ งบรรเลงเพลงอย่ า งไร เช่ น เพลงประจ� ำ วั ด ห้ามบรรเลงที่บ้าน เพลงที่บรรเลงตามเวลา เช่น เพลงย�่ำรุ่ง เพลงย�่ำเที่ยง เพลงย�่ำค�่ำ บรรเลง ในเวลาย�่ำรุ่ง เวลาเที่ยงและเวลาค�่ำ ตามชื่อของเพลงดังนี้เป็นต้น เพลงปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนมอญร�ำ พิธีร�ำเจ้า ร�ำสามถาด ร�ำผี มีปี่พาทย์มอญบรรเลงขณะประกอบพิธีกรรม เช่นเดียวกับงานศพมีการบรรเลงปี่พาทย์มอญ ประกอบพิธีกรรม เพลงที่บรรเลงในพิธีกรรมดังกล่าวมีเพลงปี่พาทย์มอญเฉพาะส�ำหรับ แต่ละพิธีซึ่งจะใช้เพลงบรรเลงแตกต่างกันไป และใช้เฉพาะพิธีนั้นๆ เท่านั้น เมื่อกล่าวถึงปี่พาทย์มอญและเพลงมอญในประเทศไทย ที่นักดนตรีมอญน�ำเข้ามาสู่ ประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ทั้งปี่พาทย์มอญและเพลงมอญได้รับความนิยมในสังคม ไทยเป็ น อย่ า งมาก เพลงมอญและเพลงไทยส� ำ เนี ย งมอญจ� ำ นวนมากจึ ง ปรากฏอยู ่ ใ น ประเทศไทยสืบต่อมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน สมัยอยุธยา ปี่พาทย์มอญคงมีเฉพาะในชุมชนมอญ แต่เพลงมอญได้แพร่หลายสู่ สังคมนักดนตรีไทย จึงปรากฏหลักฐานแน่ชดั ว่ามีเพลงมอญอยูใ่ นเพลงมโหรีครัง้ กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี และมีมอญร�ำในงานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยธนบุรี ปรากฏหลักฐานแน่ชัดเช่นกันว่าในพระราชพิธีสมโภชพระแก้วมรกต มีปี่พาทย์มอญประโคมตามหมายรับสั่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ ปี ่ พ าทย์ ม อญ เพลงมอญและมอญร� ำ ได้ มี บ ทบาทใน สังคมไทยทั้งในพระราชพิธีในราชส�ำนักและในสังคมชาวบ้าน เช่น มอญร�ำในพระราชพิธี สมโภชวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระราชพิธีสมโภชวัดปรมัยยิกาวาส ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระราชพิธีสมโภชช้างเผือกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ ณ วัดละมุด (ปัจจุบันคือวัดวิมุตยาราม เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร) เพลงมอญมี บ ทบาทในสั ง คมไทยมากที่ สุ ด ในช่ ว งสมั ย รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ถึ ง รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ระหว่ า ง พ.ศ. ๒๔๐๐ - ๒๔๗๕ ปรมาจารย์ทางดนตรีของไทยหลายท่านได้น�ำเพลงมอญจ�ำนวนมาก มาประพันธ์เป็นเพลงไทยส�ำเนียงมอญ และเกิดเพลงไทยส�ำเนียงมอญที่ไพเราะยิ่งจ�ำนวน มากกว่ า ๑๘๐ เพลง ในบรรดาผู ้ เ ป็ น ปรมาจารย์ ท างดนตรี ข องไทยและน� ำ เพลงมอญ มาประพันธ์เป็นเพลงไทยส�ำเนียงมอญมีตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์และ ครูดนตรีผู้ทรงคุณวุฒิ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย


344

ปี่พาทย์มอญรำ�

ส�ำเนียงมอญชื่อ เพลงราตรีประดับดาว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ุ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงประพันธ์เพลงแขกมอญบางขุนพรหม หลวงประดิษฐ ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นปรมาจารย์ดนตรีของไทยผู้หนึ่งที่น�ำเพลงมอญมาประพันธ์ เป็นเพลงไทยส�ำเนียงมอญขึ้นมาจ�ำนวนมาก และเพลงเหล่านั้นเป็นที่นิยมของสังคมไทย มาก มีผู้น�ำไปบรรเลงในหมู่นักดนตรีรุ่นหลังสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ปี่พาทย์มอญยังได้รับความนิยมน�ำไปใช้ประกอบในงานพิธีการต่างๆ ด้วย เช่น พิธียกยอดฉัตรเจดีย์ พิธีกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น การขับร้องเพลงทะแยมอญ เป็นการขับร้องเล่าเรื่องต่างๆ ตามโอกาสที่แสดง เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานฉลองวัด งานศพ เป็นต้น เรื่องที่น�ำมาขับร้องมักจะเป็นชาดก เช่น พระเวสสันดรชาดก เรื่อง อานิสงส์การบวช เป็นต้น ค�ำร้องของทะแยมอญที่มีความ ไพเราะถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของมอญ ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาชั้นสูงของนักร้อง ทั้งนี้ ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณขับร้องแบบเพลงปฏิพากย์ ต้องร้องโต้ตอบกันด้วยกลอนสดในทันที

การแสดงทะแยมอญ และการเล่นสะบ้าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อนุรักษ์วัฒนธรรม บ้านบางกระดี่ แขวงแสมด�ำ กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๕๕๐)

การขับล�ำน�ำเพลงต่างๆ ของมอญผูกพันกับวิถีชีวิตของคนมอญตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ตาย เพลงกล่อมเด็กเริ่มสัมพันธ์กับเด็กมอญในวัยเยาว์ เมื่อโตขึ้นมีการขับล�ำน�ำท�ำขวัญ โกนจุก เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่มีการขับล�ำน�ำท�ำขวัญ เมื่อบวชและแต่งงาน การขับร้อง เพลงเจ้าขาวเป็นการบอกบุญในเทศกาลกฐิน แม้ยามสุดท้ายของชีวิต เมื่อถึงแก่ความตาย มีการขับล�ำน�ำมอญร้องไห้ ขับร้องเพลงอัญเชิญพระสู่สรวงสวรรค์และขับร้องเพลงรับพระ สู่ทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ ในพิธีกรรมทางศาสนามีการขับล�ำน�ำค�ำสวด ค�ำเทศนาด้วย ท่วงท�ำนองต่างๆ เพื่อเพิ่มพลังและความสนใจของผู้สดับรับฟัง ค�ำสวด ค�ำเทศนา ให้มาก ยิ่งขึ้น


ปี่พาทย์มอญรำ�

345

เพลงมอญจ�ำนวนมากทีม่ อี ยูใ่ นประเทศไทยตัง้ แต่สมัยอยุธยาต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ยังคงได้รับความนิยมแพร่หลายในสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในราชส�ำนักส�ำหรับใช้ใน พระราชพิธอี ย่างเป็นทางการ จนถึงในสังคมของชาวบ้านทัว่ ไป ปรมาจารย์ทางดนตรีของไทย น�ำเพลงมอญมาแต่งขยายและตัดลงเป็นเพลงเถาและเพลงตับทีม่ คี วามไพเราะเป็นจ�ำนวนมาก ที่เรียกว่า เพลงไทยส�ำเนียงมอญ เป็นหมวดเพลงต่างชาติที่มากที่สุด เมื่อเทียบกับส�ำเนียง ภาษาชาติ อื่ น ๆ บางเพลงมี เ นื้ อ ร้ อ งเป็ น ภาษามอญด้ ว ยเช่ น เพลงแขกมอญ มอญกละ มอญยาดเล้ เป็ น ต้ น พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงน� ำ เพลงมอญดู ด าว มาขยายและตัดย่อลงเป็นเพลงเถา พระราชทานนามเพลงราตรีประดับดาว เป็นเพลงไทย ส�ำเนียงมอญที่มีความไพเราะมากเพลงหนึ่ง

วงปี่พาทย์มอญ คณะสุดใจศิลป์ บ้านตาล ต�ำบลบางตะไนย์ อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี บรรเลงในงานพิธีกวนข้าวทิพย์ วัดชมภูเวก ต�ำบลท่าทราย อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี วันอาทิตย์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นการบรรเลงปี่พาทย์มอญ ประสมวงพิเศษ


346

ปี่พาทย์มอญรำ�

การบรรเลงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ ในงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง “พระอาจารย์อะเฟาะ เทพกวีศรีชาวมอญ” จัดโดยศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (ซีมีโอ - สปาฟา) ที่สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘

วงปี่พาทย์มอญคณะโชคสิทธิชัยศิลป์ อ�ำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี บรรเลงในพิธีท�ำขวัญข้าวทิพย์ วัดชมภูเวก ต�ำบลท่าทราย อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี วันจันทร์ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘


ปี่พาทย์มอญรำ�

347

นาฏกรรมร� ำ ฟ้ อ นของมอญมี ทั้ ง การฟ้ อ นร� ำ ในพิ ธี ก รรมและฟ้ อ นร� ำ ประกอบการ บันเทิง นาฏกรรมร�ำฟ้อนของมอญที่มีชื่อคือ มอญร� ำ ยังคงเป็นนาฏกรรมที่เป็น มรดกทางวัฒนธรมล�้ำค่าของมอญที่ยังคงอยู่ในชุมชนมอญ ควบคู่กับเพลงบรรเลง ประกอบมอญร� ำ ที่ ไ พเราะ มอญร�ำถือว่าเป็นนาฏกรรมชั้นสูงของมอญที่มีท่วงท่าลีลา การร่ า ยร� ำ ที่ ส วยงาม เพลงที่ บ รรเลงประกอบการฟ้ อ นร� ำ มี ค วามไพเราะสมกั บ ที่ เ ป็ น การฟ้อนร�ำในราชส�ำนักมอญ มอญร�ำได้มีบทบาทในราชส�ำนักของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นต้นมา ที่มีมอญร�ำในพระราชพิธีครั้งส�ำคัญในประวัติศาสตร์ของไทย เช่น พระราชพิธี พระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. ๒๓๐๑ และในพระราชพิธีต่างๆ ในสมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น พระราชพิธีสมโภชวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระราชพิธี สมโภชวัดปรมัยยิกาวาส ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และพระราชพิธี สมโภชช้างเผือก เป็นต้น ดนตรีปพ่ี าทย์มอญทีม่ คี วามสวยงามและมอญร�ำทีเ่ ป็นการร่ายร�ำส�ำหรับราชส�ำนักมอญ รวมทั้งเพลงมอญต่างๆ ที่มีความไพเราะและมีมากมายนั้นเป็นผลงานอันล�้ำค่าของดนตรี ปีพ่ าทย์และนาฏกรรมของมอญทีม่ คี วามสุนทรียท์ งั้ ทางโสตสัมผัสทีไ่ พเราะดุจเสียงทิพยดุรยิ างค์ และภาพเครือ่ งดนตรีปพ่ี าทย์มอญทีง่ ดงามอลังการนัน้ ท�ำให้เกิดความสุนทรียท์ างจักษุสมั ผัส อย่างวิเศษ

มอญร�ำในงานสงกรานต์ที่พิพิธภัณฑ์กวานอาม่าน เกาะเกร็ด ร่วมกับเทศบาลนครนนทบุรี จัดขึ้นที่หน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่าริมแม่น�้ำเจ้าพระยา (พ.ศ. ๒๕๓๕)


348

ปี่พาทย์มอญรำ�

เมื่อมอญต้องสูญเสียบ้านเมืองแก่พม่า บรรดาศิลปิน นักดนตรี และนักฟ้อนร� ำของ มอญได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในพระราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็ น ต้ น มา ได้ น� ำ เครื่ อ งดนตรี ม อญและทั ก ษะทางดนตรี การขั บ ร้ อ ง ฟ้ อ นร� ำ ของมอญ มาด้วย เรื่องของดนตรีเป็นสมบัติกลางของมนุษยชาติและสามารถเคลื่อนย้ายไปสู่กลุ่มชนได้ โดยไม่จ�ำกัดเชื้อชาติและอาณาเขต ปี่พาทย์มอญและเพลงมอญจึงแพร่หลายและเป็นที่ ยอมรั บ ในสั ง คมไทยอย่ างกว้ างขวาง ตั้ ง แต่ ใ นราชส� ำนั กส� ำหรั บ ใช้ ใ นพระราชพิ ธี ที่ เ ป็ น ทางการจนถึงพิธีของราษฎรทั่วไป จังหวัดนนทบุรีโดยเฉพาะอย่างยิ่งอ�ำเภอปากเกร็ด และจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็น ถิ่นฐานที่ชาวมอญได้มาอาศัยอยู่ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ จึงมีวงปี่พาทย์มอญสืบทอดกันมา ถึงปัจจุบันอยู่หลายคณะ

วงปี่พาทย์มอญ คณะสมจิตร รนขาว อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๕๓)

วงปี่พาทย์มอญโรงเรียนวัดสโมสร อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. ๒๕๕๒)


ปี่พาทย์มอญรำ�

349

ปัจจุบันปี่พาทย์มอญได้มีบทบาทในสังคมไทยมากยิ่งขึ้น วงปี่พาทย์ต่างๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งวงปี่พาทย์ในภาคกลางนิยมสร้างเครื่องปี่พาทย์มอญกันมาก รูปแบบการประสม วงปี่พาทย์มอญได้รับอิทธิพลไทยไปมาก คณะลิเกที่มีชื่อทุกคณะน�ำเครื่องปี่พาทย์มอญ โดยเฉพาะฆ้องมอญมาประกอบเป็นฉากอันอลังการของคณะลิเก เช่นเดียวกับเพลงมอญ จ�ำนวนมากได้น�ำท�ำนองของเพลงมาเป็นเพลงไทยสากล ทั้งเพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุงและ เพลงประจ�ำมหาวิทยาลัย แม้เพลงที่ทางราชการเปิดอยู่ทุกวันในเวลาเคารพธงชาติ เป็น เพลงมอญเช่นกัน ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมเป็นสิ่งยืนยันถึงคุณค่าทางดนตรี นาฏกรรม และการขับร้องของมอญนั้นเป็นสมบัติของมวลมนุษย์ที่มิเพียงแต่เป็นของคนมอญเท่านั้น

มอญร�ำในงานฉลอง ๒๐๐ ปี เมืองปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๕๘ วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘


350

ปี่พาทย์มอญรำ�

บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (๒๕๑๒). ราชาธิราชของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ ๕). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร. (๒๕๑๖). อธิบายเพลงไทย. ใน ที่ระลึกในงานชุมนุมดนตรีไทยอุดมศึกษาครั้งที่ ๗ ณ มหาวิทยาลัย ---------. ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม. ---------. (๒๕๒๑). ประวัติวัดอรุณราชวราราม. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาณ มหาเถร). ---------. (๒๕๒๘). งานพระเมรุ ม าศสมั ย กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ . รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชฯ สยามินทราธิราชบรมนาถพิตร จัดพิมพ์น้อมเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณ ในงานถวาย พระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินใี นรัชกาลที่ ๗ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง วันอังคารที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๘. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์การพิมพ์. ---------. (๒๕๒๙). จดหมายเหตุงานพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗. กรุงเทพมหานคร: คณะอนุกรรมการจัดท�ำจดหมายเหตุ. ขนิษฐา จิตชนะกุล. (๒๕๔๕). คติชนวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (๒๕๑๔). โครงกระดูกในตู้. พระนคร: โรงพิมพ์ชัยฤทธิ์. จดหมายเหตุชาวไทยเชื้อสายมอญ: บ�ำเพ็ญกุศลถวายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ตามลัทธิธรรมเนียมมอญ. (๒๕๕๑). กรุงเทพมหานคร: ชมรมเยาวชนกรุงเทพ. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค ๑๙. โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ พระราชทานในงานพระเมรุสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง. จารึกกัลยาณี. (๒๔๖๗). พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ โปรดให้พมิ พ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา. พระนคร: โสภณพิพิธพรรฒธนากร. จ�ำปา เยื้องเจริญ. (๒๕๓๓). เล่าเรื่องประเพณีมอญ. วารสารศิลปากร, (กันยายน ๒๕๓๓). เจริญใจ สุนทรวาทิน. (๒๕๓๘). พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับดนตรีไทย. ที่ระลึกงานฉลองอายุ ๘๐ ปี อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารกสิกรไทย จ�ำกัด. ฉันทิช กระแสสินธุ์. (๒๕๑๓). ยุทธดุริยางค์. วารสารชุมนุมดนตรีไทย, เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เฉลิมพล โลหะมาตย์. (๒๕๕๑). ดนตรีประกอบพิธีร�ำผีมอญของหมู่บ้านมอญบางกระดี่ แขวงแสมด�ำ เขต บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. ชนิตร ภู่กาญจน์. (๒๕๔๙). แก่นแท้ดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ. ชะโลมใจ กลั่นรอด. (๒๕๔๑). ทะแยมอญ วัฒนธรรมการดนตรีของชาวมอญชุมชนวัดบางกระดี่. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม. ด�ำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (๒๔๕๙). แพรับช้างเผือก. พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานพระราชทาน เพลิงศพพระยาทวารวดีภิบาล (แจ่ม โรจนวิภาต). พระนคร: โสภณพิพิธพรรฒธนากร. ่ี าทย์. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนายอิง พุกกะพันธุ์ ณ ฌาปนสถาน ---------. (๒๕๓๕). ต�ำนานเครือ่ งมโหรีปพ กองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันเสาร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๕. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา. (๒๕๓๕). ร�ำไทย. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อ. โดม สุขวงศ์. (๒๕๕๘). พระอัจฉริยภาพผ่านแผ่นฟิล์ม มรดกทองสู่ยุคปัจจุบัน. เอกสารประกอบการบรรยายใน การสัมมนาวิชาการสัปดาห์ประชาธิปก “ดุจแสงส่องไทย แรงบันดาลใจของแผ่นดิน” วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘ (เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์). กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า. ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (๒๕๔๒). สารานุกรมเพลงไทย. จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน).


ปี่พาทย์มอญรำ�

351

---------. (๒๕๕๒). วิเคราะห์ดนตรีมอญในแง่มุมประวัติศาสตร์. เพลงดนตรี, ๑๕(๑), ๑๘ - ๒๕. ณรงค์ฤทธิ์ คงปิ่น. (๒๕๓๙). การศึกษาวัฒนธรรมดนตรีของปี่พาทย์มอญ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. ไตรสรณธัชอนุสรณ์. (๒๕๔๐). เรื่อง ประวัติวัดปรมัยยิกาวาส โลกภาษิตกับท�ำนายฝัน. งานพระราชทานเพลิงศพ พระไตรสรณธัช (มาลัย ปุปผทาโม) ณ ปราสาท ๕ ยอด วัดปรมัยยิกาวาส ๒๗ เมษายน ๒๕๔๐. นนทบุรี: วัดปรมัยยิกาวาส. ทรงวิทย์ แก้วศิริ. (๒๕๓๓). ดนตรีไทย โครงสร้างอภิธานศัพท์และสาระสังเขป. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร. ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (๒๕๓๙). เพลงและการเล่นพื้นบ้านล้านนา ความสัมพันธ์กับความเชื่อและพิธีกรรม. ใน เอกสารวิชาการชุดล้านนาศึกษา ล�ำดับที่ ๖. เชียงใหม่: โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย เชียงใหม่. เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (๒๕๕๕). เนือ้ เพลงพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี - ประชุมเพลงสวรรค์ เล่ม ๑ - ๒. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงาน พระราชทานเพลิงศพ นางเจริญใจ สุนทรวาทิน ศิลปินแห่งชาติ วัดเทพศิรนิ ทราวาส วันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๕. ธนิต อยู่โพธิ์. (๒๕๒๐). ประวัติเครื่องดนตรีไทย ต�ำนานการประสมวงมโหรีปี่พาทย์และเครื่องสาย. อนุสรณ์ในงาน พระราชทานเพลิงศพหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูริยะชีวิน). ธิดา สาระยา. (๒๕๓๘). (ศรี) ทวารวดี: ประวัติศาสตร์ยุคต้นของสยามประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์. ธีรยุทธ ยวงศรี. (๒๕๓๐). ดนตรีไทยภาคกลางในล้านนาไทย. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่. ---------. (๒๕๓๓). ท่าร�ำไทยได้แบบอย่างมาจากชมพูทวีปจริงหรือ. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนางถนอม ยวงศรี. นรินทรเทวี, กรมหลวง. (๒๔๗๑). จดหมายเหตุความทรงจ�ำ. พิมพ์ในงานศพขุนเทพภักดี (สง จารุสังข์). พระนคร: โสภณพิพิธพรรฒธนากร. นาฏศิลป์ดนตรีไทย. (๒๕๒๒). เอกสารวิชาการหมายเลข ๙. กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (๒๕๒๙). บทบาทของเพลงไทยเดิม. ใน ที่ระลึกดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๗ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. บุญตา เขียนทองกุล. (๒๕๕๘). งานด้านดนตรีตามแนวพระราชด�ำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี. วชิราวุธานุสรณ์สาร, ๒๔(๒), ๑๑. บุญศิริ นิยมทัศน์. (๒๕๔๓). ร�ำมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. ปัญญา รุ่งเรือง. (๒๕๒๑). ประวัติดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช. ประชุมบทมโหรี. (๒๕๔๒). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน. (๒๕๓๕). พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพมหานคร: ชัยวโรจน์ การพิมพ์ จ�ำกัด. ประดิษฐ์ อินทนิล. (๒๕๓๖). ดนตรีไทยและนาฏศิลป์. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น. ประเวช กุมุท. (๒๕๕๓). พื้นบ้าน พื้นเมือง. ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพครูประเวช กุมุท. กรุงเทพมหานคร. ผนึกสัมพันธ์รามัญ - ไทย. (๒๕๔๗). กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง. พัชรินทร์ เหมวรรษ์, มนัส ฟูอินหลง, และพูนพิศ อมาตยกุล. (๒๕๓๗). ฟ้อนเชิงที่มีอิทธิพลต่อฟ้อนในล้านนาไทย. ใน เอกสารวิชาการชุดล้านนาคดีศกึ ษา ล�ำดับที่ ๖. โครงการศูนย์สง่ เสริมศิลปวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พิศาล บุญผูก. (๒๕๓๖). ปี่พาทย์มอญและเพลงมอญที่ใช้บรรเลงในงานมงคล. วารสารไทยคดีศึกษา, ๑๐(๒), ๑๐ - ๑๒. ---------. (๒๕๓๗). เพลงเจ้าขาว. สยามอารยะ, ๒(๒๓), ๕๗ - ๕๙.


352

ปี่พาทย์มอญรำ�

พูนพิศ อมาตยกุล. (๒๕๒๔). สยามสังคีต. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักศิลปวัฒนธรรม. ---------. (๒๕๓๑). เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ ช่างซอรุ่นแรกและรุ่นสุดท้ายของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่. เพชร ตุมกระวิล. (๒๕๔๘). ระบ�ำขแมร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. เพลงตับเรื่องราชาธิราช. (๒๕๒๕). อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพคุณพ่อแอบ อ�่ำประยูร. ๑๑ มกราคม ๒๕๒๕. ไพโรจน์ บุญผูก. (๒๕๓๗). ปี่พาทย์ - มอญร�ำ: ความอลังการแห่งคีตนาฏกรรมที่เรืองรุ่งและด�ำรงอยู่ในจิตวิญญาณของ ความเป็นมอญ. สยามอารยะ, ๒(๒๓), ๔๓ - ๕๓. ---------. (๒๕๓๘ ก). เพลงมอญ. ใน ที่ระลึกดนตรีไทยอุดมศึกษาครั้งที่ ๒๖ วันที่ ๒๖ - ๒๗ มกราคม ๒๕๓๘ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ---------. (๒๕๓๘ ข). เพลงมอญ ลีลาท�ำนองส�ำเนียงเสียงผสานในเพลงไทยเดิม. สยามอารยะ, ๒(๒๓), ๕๔ - ๕๖. ภูมีเสวิน, พระยา (จิตร จิตตเสวี). (๒๕๑๒). ขลุ่ย. วารสารวัฒนธรรมไทย, ๙(๘). มณี พยอมยงค์. (๒๕๑๘). เพลงเด็กสะท้อนหลายทาง. ใน ทีร่ ะลึกดนตรีไทยอุดมศึกษา ครัง้ ที่ ๑๗ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มนตรี ตราโมท. (๒๕๐๑). การบรรเลงปี่พาทย์ในงานพระราชพิธี. พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงบ�ำรุงจิตเจริญ (ธนู สาตนะวิลัย) และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์. ---------. ๒๕๐๕). เครื่องสายไทยของมนตรี ตราโมท และประชุมเพลงไทยเดิมของกรมศิลปากร. พิมพ์ในงาน พระราชทานเพลิงศพนายเปกข์ สุขวงศ์. พระนคร: เกษมสุวรรณ. ---------. (๒๕๐๗). เพลงไทยที่มีชื่อเป็นภาษาต่างๆ ในเกร็ดความรู้เรื่องดนตรีไทย. พระนคร: อ�ำพลวิทยา. ---------. (๒๕๐๙). ศัพท์สังคีต. พระนคร: กรมศิลปากร. ---------. (๒๕๑๖). ประวัติบทขับร้องเพลงไทยบางบท. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร. ---------. (๒๕๑๗). ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์ไทย ปี่พาทย์ชวา. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายโชติ ดุริยประณีต. ---------. (๒๕๒๐). ประวัติเอเซียอาคเนย์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. ---------. (๒๕๒๕). ปี่พาทย์มอญ. ใน ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่ม ๗: นาฏดุริยางคศิลป์ไทย กรุงรัตนโกสินทร์. จัดพิมพ์ เนื่องในโอกาสงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี กรุงเทพมหานคร. ---------. (๒๕๒๘). สารัตถะดนตรีไทย. ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพนายชวลิสร์ กันตารัติ พ.ศ. ๒๕๒๘ ---------. (๒๕๒๙). ความเป็นมาของดนตรีไทย. สารัตถะดนตรีไทย ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพนายชวลิสร์ กันตารัติ. ---------. (๒๕๓๘ ก). ดุริยสาส์น. หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพนายมนตรี ตราโมท ณ เมรุหน้าพลับพลา อิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอาทิตย์ที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘. กรุงเทพมหานคร: ธนาคาร กสิกรไทย. ---------. (๒๕๓๘ ข). ม.ต. ปกิณกะนิพนธ์. หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพนายมนตรี ตราโมท. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ---------. (๒๕๔๐). ดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการ ๑. ใน ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: มติชน. ---------. (๒๕๕๒). ชีวิตวาที มนตรีรฤก. โดย ครูมนตรี ตราโมท (กษภรณ์ ตราโมท รวบรวมถ่ายทอด). นนทบุรี: มูลนิธิ มนตรี ตราโมท ในพระราชูปถัมภ์. ๒๐ ปี ชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ. (๒๕๓๙). กรุงเทพมหานคร: เทคโปรโมชั่นแอนด์แอดเวอร์ไทซิ่ง จ�ำกัด. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๓๘). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. รานี ชัยสงคราม. (๒๕๔๔). นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา. วิทยา ชูพันธ์. (๒๕๓๕). การแผ่นดินกับนาฏศิลป์ดนตรี. ใน ที่ระลึกดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๑๗ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. สงัด ภูเขาทอง. (๒๕๓๒). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์. ---------. (๒๕๓๔). ประชุมบทความทางวิชาการดนตรี. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์. สถาบันพระปกเกล้า. (๒๕๕๘). สูจิบัตรงานสัปดาห์ประชาธิปก “ดุจแสงทองส่องไทย แรงบันดาลใจของแผ่นดิน” วันที่ ๒๔ - ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘. กรุงเทพมหานคร: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.


ปี่พาทย์มอญรำ�

353

สมภพ ภิรมย์. (๒๕๒๓). ชือ่ เพลงตามล�ำดับเสียงของอักษร. อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพนางฟู ศิลปบรรเลง. กรุงเทพมหานคร. ---------. (๒๕๓๙). พระเมรุมาศ พระเมรุและเมรุสมัยรัตนโกสินทร์. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (๒๕๒๘). ประวัติหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง). ๑๐๐ ปี หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ปรมาจารย์ดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร. สุจริตลักษณ์ ดีผดุง, วิจิตร เกิดวิสิษฐ์, อรรถจินดา ดีผดุง, และสุเอ็ด คชเสนี. (๒๕๔๒). มอญ: บทบาทด้านสังคม วัฒนธรรม ความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงในรอบ ๒๐๐ ปี ของกรุงรัตนโกสินทร์. นครปฐม: สถาบัน วิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. สุจิตต์ วงษ์เทศ. (๒๕๓๒). ร้อง ร�ำ ท�ำเพลง ดนตรีและนาฏศิลป์ชาวสยาม. ใน ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: มติชน. ---------. บรรณาธิการ (๒๕๔๒). ประชุมบทมโหรี มีบทมโหรีเก่าใหม่ และพระราชนิพนธ์ ฉบับรวมพิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน). สุรพล วิรุฬรักษ์. (๒๕๔๗). วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๔๗๗. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ---------. (๒๕๕๑). นาฏศิลป์ รัชกาลที่ ๕. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการอ�ำนวยการจัดงานน้อมร�ำลึก ๑๐๐ ปี วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. สุ ร างค์ ดุ ริ ย ะพั น ธ์ . (๒๕๓๘). ร้องเพลงไทยอย่า งไรจึง จะไพเราะ. ใน ที่ ร ะลึ ก ดนตรี ไ ทยอุ ด มศึ ก ษา ครั้ ง ที่ ๙ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. สุเอ็ด คชเสนี. (๒๕๔๗). วัฒนธรรมประเพณีมอญ. อนุสรณ์งานฉลองอายุครบ ๘๐ ปี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี. เสถียร ดวงจันทร์ทิพย์. (๒๕๕๒). เพลง ดนตรีและนาฏศิลป์จากสาสน์สมเด็จ. นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ. (ศิลปินแห่งชาติ) ณ วัดกัลยาณมิตร วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๑. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. อนุสรณ์มอญร�ำลึก. (๒๕๒๗). รามัญอนุสรณ์ชาวไทยเชื้อสายมอญบ�ำเพ็ญมหากุศลพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้า ร�ำไพพรรณี พระบรมราชินใี นรัชกาลที่ ๗ ณ พระทีน่ งั่ ดุสติ มหาปราสาท. กรุงเทพมหานคร: มณีวทิ ยากรการพิมพ์. อรชวิล ชลวาสิน. (๒๕๕๕). พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการดนตรีไทย. ใน ดนตรี - นาฏศิลป์แผ่นดิน พระปกเกล้า. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๑๙ ปี แห่ง วันพระราชสมภพและครบรอบ ๓๕ ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มสธ. อานันท์ นาคคง. (๒๕๕๑). ปี่พาทย์มอญและเพลงมอญ. เอกสารประกอบการแสดงทางวัฒนธรรม ครั้งที่ ๓๘ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ๖ มิถุนายน ๒๕๕๑. อุทศิ นาคสวัสดิ.์ (๒๕๒๖). ๔๘ ปีของข้าพเจ้าและบทความบางเรือ่ ง. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์. ---------. (๒๕๓๐). ทฤษฎีและปฏิบัติดนตรีไทย ภาค ๑ ว่าด้วยหลักและทฤษฎีดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: เทพนิมิตการพิมพ์. Guillon, Emmanuel. (1999). The Mons: a civilization of Southeast Asia. Bangkok: Amarin Printing and Publishing. Holliday, Robert. (1986). Immigration of the Mons into Siam. Bangkok: Siam Society Under Royal Patronage. Holliday, Robert. (๒๐๐๐). The Mons of Burma and Thailand, vol. 1: The Talaings. Bangkok: White Lotus. Holliday, Robert. (๒๐๐๐). Mons of Burma and Thailand, vol. 2: The story of the founding of Pegu. Bangkok: White Lotus. Nai Pan Hla, (1989). The Significant role of the Mon version Dharmasastra. Tokyo: The Center from Southeast Asian Studies Kyoto University.


ปี่พาทย์มอญรำ�

354

แหล่งข้อมูลสัมภาษณ์บคุ คล แหล่งข้อมูลสัมภาษณ์บุคคลด้านดนตรีและขับร้องฟ้อนรำ� ชื่อ

ที่อยู่

ปีที่สัมภาษณ์

กัลยา ปุงบางกะดี่

๓๒ หมู่ที่ ๔ แขวงแสมด�ำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

๒๕๕๑ และ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๗

ชั้น นมศาสตร์

๒๙ หมู่ที่ ๖ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

ชั้น สอนส�ำแดง

๖๒ หมูท่ ี่ ๘ แขวงแสมด�ำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

ชานยิด

บ้านพะอ๊อก เมืองเมาะละแหม่ง รัฐมอญ

๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘

ตู ตู

ตลาดเมาะละแหม่ง เมืองเมาะละแหม่ง รัฐมอญ

๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘

ทรัพย์ หะหวัง (ถึงแก่กรรม)

๑๐ หมู่ที่ ๗ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

๒๕๒๓

ทอฮะอี

บ้านยองตอง เมืองเมาะละแหม่ง รัฐมอญ

๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘

เทียบ ศิริวรรณ (ถึงแก่กรรม)

๗๓ หมู่ที่ ๓ ต.บางคูวัด อ.เมือง จ.ปทุมธานี

๒๕๓๐

บุญทิว ศิลปดุริยางค์ (ถึงแก่กรรม)

๒๒ หมู่ที่ ๗ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๒๕๔๗

๒๔๙๓ - ๒๕๐๖

บุญปลูก พิสมรรัตน์ (ถึงแก่กรรม) ๖๗ หมู่ที่ ๖ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

๒๕๕๔

บุญเลิศ เหมะมูล (ถึงแก่กรรม)

๙๑ หมู่ที่ ๕ ต.ไทรใหญ่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี

๒๕๕๐

บุญเหลือ เหมะมูล

๓๙ หมู่ที่ ๙ ไทรใหญ่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี

๒๕๕๐

ปริก ชาวเรือหัก (ถึงแก่กรรม)

๗๘ หมู่ที่ ๑ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

๒๔๙๖

ปันละ (ถึงแก่กรรม)

สมาคมมอญ นครย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมาร์

๒๕๕๐

มงคล พงษ์เจริญ (ถึงแก่กรรม)

๑๓ หมู่ที่ ๖ ต.บางเดื่อ อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี

๒๕๔๐

มองโต

สมาคมมอญ นครย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมาร์

๒๕๕๑ และ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘

มะลิ วงศ์จ�ำนงค์

๗๘ หมู่ที่ ๑ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

๒๔๙๗ - ๒๕๕๓ ๑ เมษายน ๒๕๕๗

มาน บุญการี

บ้านวังกะ อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี

๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐

เย็น เต้ะอ้วน (ถึงแก่กรรม)

๖๔ หมู่ที่ ๗ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

๒๕๑๐

เยื้อน ธรรมิกานนท์ (ถึงแก่กรรม) ๑๑ หมู่ที่ ๗ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

๒๕๒๐

ระวีทอ

บ้านยองตอง อ.มู่เดิง เมืองเมาะละแหม่ง รัฐมอญ

๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘


ปี่พาทย์มอญรำ�

ชื่อ

ที่อยู่

ศักดา แสงสว่าง

บ้านวังกะ ต.หนองลู อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี

สมจิตร รนขาว

๘ หมู่ที่ ๗ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

สุดจิตต์ ดุรยิ ประณีต (ถึงแก่กรรม) วงปี่พาทย์บ้านบางล�ำภู เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

355

ปีที่สัมภาษณ์ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐ ๒๕๓๐ ๒๕๒๐ - ๒๕๕๐

สุดใจ แก่นใน

๗๑ หมูท่ ี่ ๔ แขวงแสมด�ำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

๑๕ เมษายน ๒๕๕๗

สุบิน สิงหรา ณ อยุธยา

๕๑ หมู่ที่ ๓ ต.ไทรใหญ่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี

๒๕๕๓

หม่อมหลวงสุลักษณ์ สวัสดิกุล (ถึงแก่กรรม)

วงปี่พาทย์บ้านบางล�ำภู เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

๒๕๓๐

สุเอ็ด คชเสนี (ถึงแก่กรรม)

สมาคมไทยรามัญ บ้านบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

แหยม รนขาว (ถึงแก่กรรม)

๘ หมู่ที่ ๗ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

๒๕๐๕

อรัญ รนขาว (ถึงแก่กรรม)

๘ หมู่ที่ ๗ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

๒๕๕๐

๒๕๒๐ - ๒๕๕๐

แหล่งข้อมูลสัมภาษณ์บุคคล ด้านการสวดการเทศน์และการขับลำ�นำ� ชื่อ

ที่อยู่

ปีที่สัมภาษณ์

จ�ำปา เยื้องเจริญ (ถึงแก่กรรม)

๔๓ หมู่ที่ ๒ ต.บางคูวัด อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี

๒๕๒๒

ชุบ ระตะสา (ถึงแก่กรรม)

๒๒ หมู่ที่ ๔ ต.ขุนศรี อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี

๒๕๐๒

ท้วม ทองถนอม (ถึงแก่กรรม)

๔ หมู่ที่ ๓ บ้านปากบ่อ ต.ชัยมงคล อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

๘ สิงหาคม ๒๕๔๒

ทองมล คุ้มผิวด�ำ

๑๖ หมูท่ ี่ ๔ แขวงแสมด�ำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

๒๕๕๔

พระครูวรปริวตั ิ (พลัด) (มรณภาพ) วัดปรมัยยิกาวาส ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

๒๔๙๖

พระครูสิทธิเดชะ (เสน่ห์) (มรณภาพ)

วัดชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

๒๕๒๕

พระครูสาครคุณสาร (ทา) (มรณภาพ)

วัดเกาะ อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร

๒๕๑๕, ๒๕๓๙


356

ปี่พาทย์มอญรำ�

ประวัติสังเขปผู้เขียน นายพิศาล บุญผูก เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๓ ณ ต�ำบลเกาะเกร็ด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรชายคนโตของนายส�ำราญ และนางสารภี บุญผูก ชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่บรรพบุรุษ อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยธนบุรี ได้ศึกษาเล่าเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนบ้านครูทิม ปัญญสิทธิ์ ได้เรียนและฝึกหัดดนตรีปี่พาทย์มอญที่บ้านครูบุญทิว ศิลปดุริยางค์ เกาะเกร็ด ได้เข้าเป็นศิษย์วัดปรมัยยิกาวาส มีพระอาจารย์หลวงปูพ่ ลัดให้การอบรมสั่งสอนทัง้ ภาษาไทย ภาษามอญและเลขคณิต เรียนชั้นประถมทีโ่ รงเรียน วัดปรมัยยิกาวาส และชั้นมัธยมต้นจากโรงเรียนปากเกร็ด (วัดเสาธงทอง) และได้เข้ามาเรียนต่อชั้นมัธยมปลาย ที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ โดยอาศัยอยู่คณะแดงบวร ศิษย์หลวงลุงสะอาด อยู่คงศักดิ์ ส�ำเร็จการศึกษานิติศาสตร์ บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย เมื่อแรกท�ำงานได้เป็นข้าราชการธุรการศาลฎีกา และต่อมาได้เข้ามาท�ำงานที่ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์ (ธกส.) ในยุคแรกตัง้ จนเกษียณอายุในต�ำแหน่งผูช้ ำ� นาญการฝึกอบรม ระดับ ๙ ภายหลังเกษียณแล้ว ธนาคารได้ให้ท�ำงานต่อในหน้าที่ผู้จัดการฝ่ายการต่างประเทศอีกหลายปี ช่วงท�ำงานได้มีบทบาทในการท�ำงาน ในท้องถิน่ ต่างๆ หลายพืน้ ทีท่ วั่ ประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิง่ พืน้ ทีจ่ งั หวัดนนทบุรี ด้วยความเป็นผูร้ กั การเรียนรู้ ด้วยตนเอง ช่างสังเกตและจดจ�ำ ชอบบันทึกเรื่องราวที่ได้เห็น ได้รับฟังจากผู้อาวุโสในชุมชนมาตั้งแต่เป็นเด็ก ต่อเนื่องมาจนถึงวัยท�ำงาน ด้วยอุปนิสัยสมถะเรียบง่าย หลายครั้งเมื่อออกพบปะชาวบ้านจึงได้คลุกคลีกับ ชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถและประกอบอาชีพด้านการดนตรีปี่พาทย์ และการขับร้องฟ้อนร�ำในวิถีชีวิต และด้ ว ยเป็ น ผู ้ มี ค วามรู ้ ค วามสนใจแสวงหาและฝึ ก ฝนสั่ ง สมความรู ้ เ ชิ ง อนุ รั ก ษ์ จึ ง มี ค วามสามารถเล่ น ดนตรีมอญและไทยได้ เมื่อครั้งได้รับทุนจากมูลนิธิมิสเซอริออ ประเทศเยอรมนีให้ไปศึกษาต่อปริญญาโทด้าน การพัฒนาสังคมที่สถาบัน SEARSOLIN (South East Asia Rural and Social Development Institution) ประเทศฟิลิปปินส์ ได้น�ำเครื่องดนตรีไทยติดตัวไปด้วย เมื่อมีกิจกรรมที่ในฐานะคนไทยต้องร่วมงานก็จะใช้ โอกาสแสดงดนตรีให้ชาวต่างชาติชมด้วย


ปี่พาทย์มอญรำ�

357

จากความเป็ น ผู ้ เ สี ย สละอุ ทิ ศ ตนท� ำ งานเพื่ อ ประโยชน์ ส ่ ว นรวมด้ ว ยความบริ สุ ท ธิ์ ใ จอย่ า งมี วิ ริ ย ะ อุ ต สาหะ และซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต ได้ จั ด ตั้ ง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ เ ครื่ อ งปั ้ น ดิ น เผาพื้ น บ้ า นกวานอาม่ า น เพื่ อ จั ด แสดง เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นในจังหวัดนนทบุรีและใกล้เคียง รวมทั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมมอญ ที่ให้ความรู้แก่ นักเรียน นักศึกษา นักวิจัยทุกระดับให้ความร่วมมือแก่หน่วยงาน ส่วนราชการต่างๆ ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ศิ ล ปวั ฒ นธรรมของชาติ ม าอย่ า งต่ อ เนื่ อ งตั้ ง แต่ ป ี พ.ศ. ๒๕๒๖ กอปรกั บ เป็ น ผู ้ ยึ ด มั่ น ในหลั ก ธรรมของ พระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี จึงได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ เข้ารับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคณ ุ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถึง ๒ ครัง้ ในฐานะผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ประจ�ำปี ๒๕๓๔ โดยคณะกรรมการวันอนุรักษ์มรดกไทย และ ในฐานะคนไทยตัวอย่างประจ�ำปี ๒๕๓๕ โดยมูลนิธิธารน�้ำใจ นอกจากนี้สถาบัน SEARSOLIN ประเทศ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ย กย่ อ งให้ เ ป็ น ศิ ษ ย์ เ ก่ า ดี เ ด่ น และให้ ไ ด้ รั บ ดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต กิตติมศักดิ์ด้านการพัฒนาชนบทจากการที่มีผลงานในหน้าที่การงาน และการพัฒนาสังคมโดยรวม พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับโล่สามศรในฐานะ ผู้ท�ำคุณประโยชน์ให้แก่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ด้ ว ยความที่ ส ามารถอ่ า นเขี ย นภาษามอญได้ ดี ปั จ จุ บั น นายพิศาล บุญผูก ยังคงมีส่วนส�ำคัญในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวของท้องถิ่น ค�ำสอนตาม หลักพระพุทธศาสนาที่ปรากฏเป็นหนังสือโบราณ และจารึกในคัมภีร์ ใบลานต่างๆ ที่มีความเสี่ยงจะสูญหายไปตามกาลเวลา

นางวรนุช สุนทรวินิต สัมภาษณ์และเรียบเรียง สิงหาคม ๒๕๕๘


ภาพจิตรกรรมการแสดงนาฏกรรมร�ำฟ้อนมหรสพและการละเล่นโบราณในงานพระราชพิธี ระหว่างระทา (หอสูง) มีโรงร�ำ ญวนหก ไต่ลวด โยนดาบ และหุ่น ฯลฯ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.