เก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ เจาะประเด็น

Page 1


คำ�แนะนำ�การใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่มที่ 6 ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่อง ก≠≠ารวิจัยในชั้นเรียน ประกอบไปด้วย คำ�นำ� สารบัญ คำ�แนะนำ�การใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง แบบทดสอบก่อนเรียน ชื่อเรื่อง แนวคิด วัตถุประสงค์ หัวข้อเนื้อหากิจกรรมการอบรม สื่อการอบรม แบบทดสอบหลังเรียน และแบบเฉลยคำ�ตอบ ขอให้ท่านดำ�เนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1. พยายามศึกษาโครงสร้างของชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง อย่างตั้งใจและทำ�กิจกรรม ตามที่กำ�หนดไว้ทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่องกันจนจบในแต่ละชุด 2. ศึกษารายเอียดของเนื้อหาในแต่ชุด ผู้ศึกษาจะต้องทำ�แบบทดสอบก่อนเรียนเสียก่อนแล้วจึงศึกษารายละเอียดเนื้อหาของชุดฝึกอบรม ด้วยตนเอง และทำ�กิจกรรมฝึกปฏิบัติของแต่ละเรื่องตามลำ�ดับจนครบสมบูรณ์ 3. ทำ�แบบทดสอบหลังเรียนแล้วตรวจคำ�ตอบกับชุดการเรียนซ่อมเสริมข้อใดไม่ถูกต้อง ให้ย้อนกลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่เสร็จแล้วจึงทำ�ชุดการเรียนซ่อมเสริม แต่ถ้าหากทำ�ข้อสอบได้ถูกต้องแล้วให้ศึกษาชุดฝึกอบรมด้วยตนเองในชุดต่อไป


เล่มที่ 6 แบบประเมินตนเอง ....ก่อนเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยในชั้นเรียนสำ�หรับการวิจัยในชั้นเรียน คำ�ชี้แจง : โปรดทำ�เครื่องหมาย X ทับตัวเลือก ที่ถูกที่สุดเพียงตัวเลือกเดียวตอบลงในกระดาษคำ�ตอบ 1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียนมีกี่ประเภท ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท ค. 4 ประเภท ง. 5 ประเภท 2. ข้อใดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ก. แบบทดสอบ ข. แบบสัมภาษณ์ ค. แบบสอบถาม ง. แบบสังเกต 3. ครูวิภาดาต้องการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนศึกษาชุดการสอนจะต้องเลือกใช้เครื่องมืประเภทใด ก. แบบสอบถาม ข. แบบสังเกต ค. แบบทดสอบ ง. แบบสัมภาษณ์ 4. ค่าความยาก (P) ที่ดีมีค่าเท่าใด ก. สูงกว่า 0.8 ข. ต่ำ�กว่า 0.2 ค. อยู่ระหว่าง .20 – 0.8 ง. อยู่ระหว่าง 20 – 80 5. ครูวิภาดา เลือกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ KR-20 เพื่อหาค่าอะไร ก. ค่าดัชนีความสอดคล้อง ข. ค่าเฉลี่ย ค. ค่า t-test ง. ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ


6. ถ้านักเรียน 10 คน สอบย่อยวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนน 8,8,7,6,7,9,7,5,6,10 ค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่าใด ก. 8 ข. 7 ค. 7.3 ง. 5 7. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนหมายถึงอะไร ก. ความห่างของคะแนนต่ำ�สุดกับคะแนนสูงสุด ข. ค่าของคะแนนมีความถี่มากที่สุด ค. ค่าของคะแนนที่อยู่กึ่งกลาง ง. ค่าของคะแนนที่แตกต่างไปจากค่าเฉลี่ย 8. สมมติฐานการวิจัย : ผลสัมฤทธิ์การบวกเลขของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังการใช้สื่อการสอนสูงกว่า ก่อนการใช้สื่อการสอนจะใช้สถิติอะไรทดสอบ ก. t-test independent ข. t-test dependent ค. F-test ง. ACOVA 9. แบบทดสอบที่เป็นภาคปฏิบัติหรือแบบทดสอบที่เป็นอัตนัยหาค่าความเชื่อมั่นได้โดยวิธีใด ก. KR-20 ข. KR-21 ค. alpha-coefficient ง. Test- retest 10. ถ้าแบบสอบถามมีการให้คะแนน 5 ระดับ คือ 5 =มากที่สุด,4 = มาก, 3 = ปานกลาง ,2 = น้อย และ 1= น้อยที่สุด ถ้าค่าเฉลี่ของคะแนนเท่ากับ 3.52 แปลความหมายว่าอย่างไร ก. อยู่ในระดับมาก ข. อยู่ในระดับปานกลาง ค. อยู่ในระดับน้อย ง. อยู่ในระดับมากที่สุด


โครงสร้างชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่มที่ 6 การเก็บรวบรวมข้อมูลและการ วิเคราะห์ข้อมูล สำ�หรับการวิจัยในชั้นเรียน หัวข้อเนื้อหา

เรื่องที่ 1 ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือและการเก็บข้อมูลการวิจัยในชั้นเรียน เรื่องที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ เรื่องที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

แนวคิด

1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียนมี 5 ประเภท ใหญ่ ๆ เช่น เดียวกับการวิจัยทั่ว ๆ ไป คือ แบบสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก และมีแบบย่อยในแต่ละประเภทอีก แต่ สำ�หรับวิจัยในชั้นเรียนความนิยมใช้แบบย่อยมีน้อยกว่าการวิจัยทั่วไป 2. การวิจัยและการวิจัยในชั้นเรียนที่ใช้วิธีเชิงปริมาณทุกเรื่องจำ�เป็นต้องใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิค ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง การจะได้ข้อมูลต้องใช้เครื่องมือ ถ้าจะให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงสมบูรณ์ ต้องใช้ เครื่องมือที่มีคุณภาพ เครื่องมือที่มีคุณภาพจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพก่อน ตามลักษณะสำ�คัญของเครื่องมือ คือ ต้องมีความตรง ความเที่ยง ถ้าเป็นเครื่องมือที่วัดความรู้ต้องมีคุณสมบัติด้านความยาก อำ�นาจจำ�แนก การ ตรวจสอบเครื่องมือมี 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ วิธีใช้สถิติและวิธีที่ไม่ใช้สถิติ 3. สถิติที่ใช้กันมากในการวิจัยในชั้นเรียน มี 4 ประเภท คือ สถิติบรรยาย สถิติอ้างอิงที่ใช้เปรียบเทียบ หรือทดลองสมมุติฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ สถิติที่ใช้หาคุณภาพนวัตกรรม หรือสิ่งที่ครูพัฒนาขึ้น

วัตถุประสงค์

เมื่อศึกษาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่มที่ 6 จบแล้วท่านสามารถ 1. สามารถเลือกใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับงานวิจัย 2. สามารถหาคุณภาพเครื่องมือในการวิจัยได้ 3. เลือกใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรมการอบรม

ให้ครูผู้สอนศึกษารายละเอียดของหัวข้อเนื้อหาของชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่มที่ 6 จนครบสมบูรณ์ แล้วทำ�กิจกรรมทบทวนความรู้ความเข้าใจเนื้อหาของชุดฝึกอบรมที่กำ�หนดให้ ตามลำ�ดับ

สื่อการอบรม

1. ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่มที่ 6 เรื่อง การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล สำ�หรับการวิจัยในชั้นเรียน 2. เอกสารแนวทางการจัดทำ�วิจัยในชั้นเรียนประเมินผลจากการทำ�แบบทดสอบก่อนและหลังการศึกษา ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่มที่ 6

การประเมินผล

ประเมินผลจากการทำ�แบบทดสอบก่อนและหลังการศึกษาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่มที่ 6


เรื่องที่ 1 ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือ และการเก็บข้อมูลการวิจัยในชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียนมี 5 ประเภท ใหญ่ ๆ เช่นเดียวกับการวิจัยทั่วไป ซึ่งเครื่องมือที่ นิยมใช้กันมากมี ดังนี้

แบบสอบหรือแบบทดสอบ

ประเภทของแบบสอบหรือแบบทดสอบ แบบทดสอบนั้นสามารถแบ่งได้หลายประเภท แล้ว แต่ว่าจะยึดอะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่งในที่นี้แบ่งตามลักษณะการเขียนตอบซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. แบบทดสอบปรนัย (objective) แบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ ได้ 5 แบบ คือ ข้อสอบแบบตอบ สั้น ๆ แบบถูก-ผิด แบบเติมคำ� แบบจับคู่ และแบบเลือกตอบ 2. แบบทดสอบอัตนัย (subjective) หรือแบบทดสอบความเรียง หรือแบบทดสอบเรียงความ (essay) หมายถึง แบบทดสอบที่กำ�หนด ปัญหาแล้วให้ผู้ตอบเขียนตอบยาว ๆ 1. แบบทดสอบปรนัย (objective test) ลักษณะโดยทั่วไปของแบบทดสอบปรนัย จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือคำ�ถาม และคำ�ตอบตัวคำ�ถามของ แบบทดสอบปรนัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ตอบได้แสดงความรู้ความสามารถต่าง ๆ ตามที่ผู้ถามต้องการ ซึ่งจะวัด ตั้งแต่ความจำ�ผิวเผินไปจนถึงวัดพฤติกรรมที่ลึกซึ้งคือการประเมินค่าคำ�ถามแต่ละข้อจะถามเฉพาะจุดเล็กๆ ของ เนื้อหา ดังนั้นจึงมีจำ�นวนมากข้อ ส่วนคำ�ตอบของคำ�ถามประเภทนี้ผู้ตอบต้องใช้เวลาในการคิดและการตอบเป็น ส่วนใหญ่ การเขียนตอบจะใช้เวลาน้อยซึ่งอาจเขียนเป็นประโยคสั้น ๆ หรือทำ�เครื่องหมายบนคำ�ตอบที่ต้องการ (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ 2526 : 122) ดังนั้น สาระสำ�คัญของผู้ตอบที่ต้องปฏิบัติมี ดังนี้ (Throndike and Hagen. 1969 : 64) 1. ต้องอ่านข้อสอบที่มีคำ�ถามและคำ�ตอบที่สมบูรณ์ ทำ�ให้ผู้ตอบไม่มีอิสระในการแสดงความ คิดเห็นในคำ�ตอบนั้นเลย 2. เลือกคำ�ตอบที่ถูกที่สุด จากตัวเลือกที่ผู้เขียนข้อสอบกำ�หนดมาให้ 3. ต้องตอบคำ�ถาม จากข้อสอบหลายข้อ แบบทดสอบปรนัยสามารถแบ่งแยกย่อยได้ 5 ประเภท คือ แบบตอบสั้น ๆ แบบเติมคำ� แบบจับคู่ แบบ ถูก-ผิด และแบบเลือกตอบ ซึ่งในที่นี้จะขอเสนอรายละเอียดเพียงประเภทเดียว คือ แบบทดสอบแบบเลือก ตอบ ทั้งนี้เพราะว่าเป็นที่นิยมกันมาก มีหลายหน่วยงานที่สร้างแบบทดสอบประเภทนี้ในรายวิชาต่าง ๆ จนเป็น มาตรฐาน


ข้อสอบแบบเลือกตอบ (multiple choice test) ลักษณะข้อสอบ จะประกอบด้วยโจทย์หรือข้อความที่เป็นประโยคที่สมบูรณ์เป็นตัวคำ�ตอบ(stem) เพื่อวัด ความรู้ความสามารถ และตัวเลือกตั้งแต่ 3 ตัวเลือกขึ้นไปอีก 1 ชุด รวมเป็น 1ข้อ ในตัวเลือกนั้นจะมีทั้งคำ�ตอบ ถูก (key) และคำ�ตอบผิด (distracter) ที่เป็นตัวลวงมาให้นักเรียนพิจารณา

> หลักการสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบ

1. วิเคราะห์จุดประสงค์ เนื้อหาวิชา โดยจะวิเคราะห์ดูว่ามีหัวข้อเนื้อหาใดบ้างที่ ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และแต่ละหัวข้อเหล่านั้นต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมอะไร 2. กำ�หนดพฤติกรรมย่อยที่จะออกข้อสอบ 3. กำ�หนดรูปแบบของข้อคำ�ถาม และศึกษาวิธีการเขียนข้อสอบ 4. ลงมือเขียนข้อสอบตามจุดประสงค์ที่ได้กำ�หนดไว้ 5. นำ�ข้อสอบที่ได้เขียนไว้ในขั้นที่ 4 มาพิจารณาทบทวน โดยพิจารณาในเรื่องความถูกต้องตามหลักวิชา ความชัดเจนของภาษา 6. ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 7. พิมพ์แบบทดสอบฉบับทดลอง 8. ทดลองใช้ วิเคราะห์คุณภาพ และปรับปรุง 9. พิมพ์แบบทดสอบฉบับจริง

> ข้อดีของข้อสอบแบบเลือกตอบ

1. วัดพฤติกรรมทางการศึกษาได้หลายด้าน ตั้งแต่ความรู้ความจำ�ไปจนถึงการประเมินค่า 2. เป็นข้อสอบที่ตรวจให้คะแนนง่าย ถูกต้อง รวดเร็ว และมีความเป็นปรนัย 3. สามารถควบคุมความยากง่ายของข้อสอบได้ 4. เป็นข้อสอบที่ครูสามารถวินิจฉัยสาเหตุแห่งการทำ�ข้อสอบผิด ว่าเนื่องมาจากสาเหตุอะไรบ้าง โดย พิจารณาจากตัวเลือกต่าง ๆ จากกระดาษคำ�ตอบ 5. มีความเชื่อมั่นสูง เพราะมีจำ�นวนข้อสอบมาก และตอบถูกโดยการเดามีน้อย 6. สามารถใช้สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือกราฟมาเขียนข้อสอบได้

> ข้อจำ�กัดของข้อสอบแบบเลือกตอบ

1. สร้างข้อสอบให้ดี ทำ�ได้ยาก และใช้เวลาในการสร้างนาน 2. ไม่เหมาะที่จะวัดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การเสนอแนวคิดหรือทักษะการเขียน 3. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงในการสร้างข้อสอบ


2. ข้อสอบอัตนัย หรือความเรียง (subjective or easy test)

ข้อสอบอัตนัยมีเฉพาะคำ�ถามที่เปิดโอกาสให้ผู้สอบได้สามารถแสดงออก โดยใช้ภาษา ของตนเองเขียนคำ� ตอบตามเสรีภาพตามความรู้ และความคิดเห็นของแต่ละคน

> หลักการสร้างข้อสอบอัตนัย

1. เขียนคำ�ชี้แจงให้ชัดเจนเกี่ยวกับการตอบคำ�ถาม เวลาที่ใช้สอบ และคะแนนเต็มในแต่ละข้อ 2. ควรใช้ถามในสิ่งที่ข้อสอบอัตนัย สามารถวัดได้ดีที่สุด เช่น การบรรยาย การแสดงข้อคิดเห็น และข้อ วิจารณ์ต่าง ๆ และพยายามหลีกเลี่ยงคำ�ถามที่เป็นความรู้ความจำ� 3. การออกข้อสอบควรคำ�นึงถึงความสำ�คัญของจุดมุ่งหมายที่ได้วางไว้ในตารางวิเคราะห์หลักสูตร โดย เลือกถามเฉพาะจุดที่สำ�คัญ ๆ ของเรื่อง 4. พยายามให้ความยาวของข้อสอบ (จำ�นวนข้อสอบ) พอเหมาะกับเวลาที่กำ�หนดให้เพราะผู้สอบต้องใช้ เวลาในการรวบรวม และจัดระบบความคิด และเขียนตอบ 5. ไม่ควรให้มีการเลือกตอบเป็นบางข้อ เช่น มี 5 ข้อให้เลือกทำ� 4 ข้อ เพราะอาจมีการได้เปรียบเทียบอัน เนื่องมาจากข้อสอบมีความยากง่ายไม่เท่ากัน ทำ�ให้คะแนนที่ได้เปรียบเทียบกันไม่ได้ อีกทั้งยังเป็นการไม่ยุติธรรม สำ�หรับผู้ที่ตอบคำ�ถามได้ทุกข้อ

> หลักการตรวจให้คะแนนข้อสอบอัตนัย

1. สร้างรายการคำ�ตอบให้สมบูรณ์ และกำ�หนดคะแนนของแต่ละคำ�ตอบ 2. ควรให้คะแนนคำ�ตอบที่เป็นการรวบรวมความคิด ลักษณะการเขียนชัดเจนการอธิบายความถูกต้อง ของแต่ละตอน 3. ควรตรวจข้อสอบของผู้เรียนทีละข้อพร้อม ๆ กันไปทุกคน เสร็จแล้วจึงค่อยตรวจข้อต่อไป 4. ควรประเมินผลงานตามที่ตอบ ไม่ใช่ตามความรู้สึก หรือความประทับใจของ ผู้ตรวจ ถ้าเป็นไปได้ ควรจะมีผู้ตรวจอย่างน้อย 2 คนตรวจข้อสอบข้อเดียวกัน เพื่อตรวจสอบความยุติธรรมในการให้คะแนน (อุทุมพร จามรมาน, 2530 : 67)

Ø> ข้อดีของข้อสอบอัตนัย

1. สามารถวัดกระบวนการคิด และความสามารถในการเขียนได้เป็นอย่างดี 2. วัดความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการประเมินค่าได้ดี 3. สามารถวัดเจตคติ ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ได้ดี 4. มีความสะดวกและง่ายต่อการออกข้อสอบ 5. ผู้ตอบมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่


Ø>Ø ข้อจำ�กัดของข้อสอบอัตนัย 1. การให้คะแนนไม่แน่นอน คะแนนที่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ตรวจ เช่น อารมณ์ เจตคติลายมือ 2. ขาดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเพราะออกข้อสอบได้น้อย จึงไม่ครอบคลุมเนื้อหา 3. ตรวจให้คะแนนยากเสียเวลามาก แบบสอบถามและแบบสำ�รวจจัดเป็นเครื่องมือประเภทเดียวกัน หมายถึง ชุดของคำ�ถามหรือข้อความที่ กำ�หนดขึ้นเพื่อต้องการทราบข้อเท็จจริงบางอย่างจากผู้ตอบเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา ซึ่งได้แก่ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นบุคลิกภาพและความสนใจต่าง ๆ ประเภทของแบบสอบถาม แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. แบบสอบถามปลายเปิด (open form) เป็นแบบสอบถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็น และใช้คำ�พูดของตนเอง คำ�ถามจะถามกว้าง ๆ และเว้นที่ให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็น 2. แบบสอบถามปลายปิด (close form) จะประกอบด้วยข้อคำ�ถามที่กำ�หนดคำ�ตอบหรือตัวเลือกมาให้ ด้วย

แบบสอบถามปลายเปิด (open form)

เป็นแบบสอบถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็นและใช้คำ�พูดของตนเอง คำ�ถามจะถามกว้าง ๆ และเว้นที่ให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็น Ø> ข้อดีของแบบสอบถามปลายเปิดนี้มีส่วนดีคือ เปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่แต่มี ข้อเสียคือคำ�ตอบจะกระจัดกระจายยากต่อการวิเคราะห์และสรุปผล

แบบสอบถามปลายปิด (close form)

ประกอบด้วยข้อคำ�ถามที่กำ�หนดคำ�ตอบหรือตัวเลือกมาให้ด้วย โดยทั่วไปแบบสอบถามปลายปิดจะมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 2.1 แบบคำ�ถามโดด เป็นรูปแบบที่คำ�ถามและคำ�ตอบของแต่ข้อแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด 2.2 แบบคำ�ตอบร่วม จะใช้คำ�ตอบชุดเดียวสำ�หรับคำ�ถามหลาย ๆ ข้อ โดยแบบสอบถามจะมีคำ�ตอบให้ผู้ตอบพิจารณา พร้อมทั้งมีคำ�ตอบที่แสดงความเข้มของความคิดเห็นในเรื่องนั้น ซึ่งระดับความคิดเห็นเป็นเลขคี่ คือ 3,5,7,9 หรือ 11 ระดับก็ได้ แต่ที่นิยมมากที่สุด คือ 3 หรือ 5 ระดับ คือ มาก ปานกลาง น้อย หรือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด เป็นต้น แบบสอบถามชนิดนี้เรียกว่า มาตรฐาน ส่วนประมาณค่า (rating scale)


ØØ> มาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) มาตราส่วนประมาณค่าเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัด พฤติกรรมด้านจิตพิสัย ซึ่งแบ่งออกได้ ดังนี้ 2.2.1 มาตราส่วนประมาณค่าแบบตัวเลข (numerical rating scale) เป็นมาตราส่วนที่ทำ�ขึ้นโดยใช้รหัส ตัวเลขสำ�หรับประมาณค่าคุณลักษณะต่าง ๆ เลขรหัสนี้ใช้แทนคำ�บรรยาย เช่น 1 แทน นาน ๆ เกิดครั้ง 2 แทน เกิดเป็นครั้งคราว 3 แทน เกิดบ่อยครั้ง และ 4 แทน เกิดเป็นประจำ�

ตัวอย่างที่ 1 มาตราส่วนประมาณค่าแบบตัวเลข

2.2.2 มาตราส่วนประมาณค่าแบบบรรยาย (descriptive rating scale) วิธีการนี้จะเขียนคำ�บรรยาย บอกคุณลักษณะของเรื่องนั้นว่าอยู่ในระดับใด

ตัวอย่างที่ 2 มาตราส่วนประมาณค่าแบบบรรยาย

2.2.3 มาตราส่วนประมาณค่าแบบกราฟ (graphic rating scale) เป็นการกำ�หนดลักษณะของพฤติกรรม ไว้ที่เส้นนั้น ๆ ผู้ประเมินจะเขียนเครื่องหมายไว้บนเส้นที่ตรงกับลักษณะที่จะประเมิน


ตัวอย่างที่ 3 มาตราส่วนประมาณค่าแบบกราฟ

โครงสร้างของแบบสอบถาม แบบสอบถามจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1. คำ�ชี้แจง เป็นการกล่าวถึงวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมาย ของความต้องการข้อมูล ว่าต้องการข้อมูลไปทำ�อะไร คำ�ตอบนี้จะเกิดประโยชน์อะไรบ้าง และที่สำ�คัญจะต้อง ชี้แจงว่าคำ�ตอบที่ได้จะไม่ก่อผลเสียหายต่อผู้ตอบแต่อย่างใด เพราะผู้ตอบไม่ต้องลงชื่อ 2. ข้อมูลส่วนตัว เป็นส่วน ที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ตอบ ซึ่งได้แก่ เพศ อาชีพ อายุ ระดับ การศึกษา เป็นต้น การกำ�หนดข้อมูลส่วนนี้ขึ้น อยู่กับเรื่องที่ผู้เก็บข้อมูลสนใจศึกษา 3. ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษา เป็นคำ�ถามที่ให้แสดงความคิดเห็นต่อ เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ศึกษา ซึ่งรูปแบบของคำ�ถามอาจเป็นปลายเปิด หรือปลายปิด หรือทั้ง 2 แบบผสมกันก็ได้โดย ส่วนนี้อาจจะแบ่งออกเป็นตอน ๆ ตามเรื่องที่ศึกษาว่าจะถามเรื่องย่อยกี่เรื่อง

ขั้นตอนในการสร้างแบบสอบถาม

* จะต้องพิจารณาหัวข้อปัญหาและจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ทราบว่าต้องการข้อมูลชนิดใดและอะไรบ้าง * พิจารณารูปแบบว่าจะใช้แบบใด * ร่างมาตราส่วนประมาณค่าโดยเขียนข้อความให้สอดคล้องกับหัวข้อปัญหา และจุดมุ่งหมาย * ตรวจสอบมาตราส่วนประมาณค่าฉบับร่างเพื่อปรับปรุงแก้ไข ซึ่งสามารถทำ�ได้โดยตรวจสอบเองหรือให้ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ * นำ�มาตราส่วนประมาณค่าไปทดลองใช้ (try out) โดยนำ�ไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะเช่น เดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา * ทำ�การปรับปรุงมาตราส่วนประมาณค่า * สร้างมาตราส่วนประมาณค่าฉบับสมบูรณ์


ข้อดีของแบบสอบถาม

* ประหยัดเวลาและแรงงาน เพราะสามารถเก็บข้อมูลได้จำ�นวนมาก โดยใช้ผู้เก็บข้อมูลเพียงเล็กน้อย เช่น ส่งทางไปรษณีย์ * เก็บรวบรวมข้อมูลได้จำ�นวนมาก * ผู้ตอบมีโอกาสหาเวลาในการตอบ อีกทั้งมีอิสระในการตอบอีกด้วย * ง่ายต่อการนำ�ข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อสรุปผล เพราะใช้มาตราส่วนประมาณค่าแบบเดียวกัน * มาตราส่วนประมาณค่าไปถึงมือผู้ตอบในเวลาเดียวกันทำ�ให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นจากผู้ตอบซึ่ง คิดในเวลาใกล้เคียงกันมีความถูกต้องมากขึ้น

ข้อจำ�กัดของแบบสอบถาม

* ใช้ได้เฉพาะบุคคลที่อ่านออกเขียนไดเท่านั้น * กรณีส่งมาตราส่วนประมาณค่าไปรษณีย์มักจะได้รับกลับคืนมาน้อย ทำ�ให้เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายในการ ส่งมาตราส่วนประมาณค่าไปให้ตอบใหม่ * ถ้าผู้ตอบไม่เข้าใจหรือไม่เห็นคุณค่าในการตอบ ซึ่งตอบแบบขอไปที ทำ�ให้ได้ข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ * เสียเวลา เนื่องจากมาตราส่วนประมาณค่าที่ดีใช้เวลาสร้างนาน * ข้อคำ�ถามน้อยทำ�ให้ไม่ครอบคลุมเนื้อหา แต่ถ้าหากมีข้อคำ�ถามมากจะทำ�ให้ผู้ตอบเกิดความเบื่อหน่าย ในการตอบได้ * ไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่ได้จะได้จากบุคคลที่ต้องการหรือไม่ เช่น ต้องการความคิดเห็นของผู้บริหาร แต่ผู้ บริหารอาจจะให้ครูธุรการตอบ เป็นต้น


การสังเกต (observation)

หมายถึง การศึกษาเพื่อทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคล โดยใช้ประสาทสัมผัสของผู้สังเกตเฝ้าดูพฤติกรรม ต่าง ๆ ที่บุคคลนั้น ๆ แสดงออกมาในลักษณะที่เป็นจริงตามธรรมชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนในการดูและไม่มี การควบคุมสถานการณ์ที่ทำ�การศึกษา

หลักในการสังเกต * ต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการสังเกตที่แน่นอนว่าจะสังเกตพฤติกรรมใด เช่น พฤติกรรมการช่วยเหลือ ผู้อื่น การเสียสละ เป็นต้น * ต้องสังเกตด้วยความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณในการพินิจพิเคราะห์ ทั้งพฤติกรรมดี และไม่ดี และ ต้องมีความยุติธรรมกับเด็กมากที่สุด * ระยะเวลาในการสังเกตต้องติดต่อกัน และต้องทำ�การสังเกตหลาย ๆ ครั้ง หลาย ๆ สถานการณ์ เพื่อที่ จะให้ได้พฤติกรรมที่แท้จริง * วิธีการสังเกตและวิธีการบันทึกข้อมูลต้องเป็นระบบ มีหลักเกณฑ์ที่ แน่นอน เช่น การใช้มาตราส่วน ประมาณค่า ระเบียบพฤติกรรม เป็นต้น * ขณะที่สังเกตจะต้องไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว เพื่อที่จะได้พฤติกรรมที่แท้จริง * บันทึกเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตเห็นเท่านั้น ไม่ใส่ความรู้สึกส่วนตัวของ ผู้สังเกตเข้าไป * การสังเกตจะให้ผลที่แน่นอนน่าเชื่อถือ ควรใช้ผู้สังเกตหลาย ๆ คน

เครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต 1. แบบสังเกตพฤติกรรม

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ที่ได้จากการสังเกตพฤติกรรม การแสดงออก ซึ่งเป็นคุณลักษณะ ด้านจิตพิสัย เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีน้ำ�ใจเป็นนักกีฬา ความรับผิดชอบ เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 4 แบบสังเกตพฤติกรรมที่กำ�หนดรายการพฤติกรรมมาให้แล้วให้ผู้สังเกตประเมิน ความมากน้อย ของพฤติกรรมที่สังเกตเห็น แบบสังเกตพฤติกรรมไม่มีแบบตายตัวขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ประเมินที่จะใช้บันทึกความประพฤติ ของผู้ถูกสังเกต ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ข้อดี คือ บันทึกได้ ข้อมูลเป็นเรื่องเป็นราวชัดเจนแต่มีข้อเสีย คือต้องใช้เวลา มาก เช่น แบบบันทึกพฤติกรรมครูและผู้เรียน


พฤติกรรมครู กำ�หนดแนวทาง

1. ยอมรับความรู้สึกของผู้เรียน 2. ชมเชย 3. นำ�ความคิดเห็นของผู้เรียนไปใช้ 4. ตั้งคำ�ถาม 5. บรรยาย อธิบาย 6. ออกคำ�สั่ง 7. วิจารณ์ใช้อำ�นาจ เช่น ดู ลงโทษ พฤติกรรมผู้เรียน 8. ตอบสนองครู เช่น ตอบคำ�ถาม 9. ริเริ่ม แสดงความคิดเห็น 10. เงียบ หรือสับสนวุ่นวาย

การบันทึกจะต้องจำ�พฤติกรรมทั้ง 10 ข้อให้ได้ และบันทึกทุก 3 วินาที จนกว่าจะหมดชั่วโมงเรียน ผล สรุปจะได้ว่าครูสอนโดยเน้นตัวเองหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

2. แบบสังเกตทักษะ

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตทักษะ

ตัวอย่างที 5 แบบสังเกตความมีน้ำ�ใจเป็นนักกีฬา


การปฏิบัติต่าง ๆ เช่น ทักษะการพูด ทักษะการเล่นกีฬา เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือประกอบ การตรวจผลงานที่ได้จากการปฏิบัติ เช่น การตอนกิ่ง การติดตา การเย็บเสื้อตามแบบที่กำ�หนด เป็นต้น แบบสังเกตทักษะการปฏิบัติงาน ให้ผู้สังเกตบันทึกผลการสังเกต โดยเขียนบรรยายพฤติกรรมที่สังเกตได้ จากรายการที่กำ�หนด แล้วให้คะแนนผลการสังเกต

ตัวอย่างที่ 6 แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักเรียน/แบบสังเกตทักษะการปฏิบัติ ของนักเรียน


คุณสมบัติของผู้สังเกตที่ดี

ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจะถูกต้องแม่นยำ�เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของ ผู้สังเกตดังนั้นผู้สังเกต ที่ดี ควรมีลักษณะ ดังนี้ v มีความรู้พื้นฐานในเรื่องที่จะสังเกตได้ดีพอสมควร v เป็นผู้ที่มีความสนใจและตั้งใจที่จะแสวงหาความรู้ในเรื่องนั้นอย่างจริงจัง v มีความว่องไวในการใช้ประสาทสัมผัสและการสื่อความหมาย v ความยุติธรรม ไม่ลำ�เอียง

ข้อดีของการสังเกต

o ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ไม่สามารถรวบรวมโดยใช้เครื่องมือหรือเทคนิคอย่างอื่น o ช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนพฤติกรรมในสถานการณ์ต่าง ๆอย่างแท้จริง o สามารถบันทึกความจริงในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์นั้น o การสังเกตเป็นวิธีที่ทำ�ได้ง่าย สะดวก และนำ�ไปใช้ได้บ่อยโดยไม่สิ้นเปลืองเงิน o ช่วยให้ผู้สังเกตมีทักษะในการสังเกตดียิ่งขึ้น o มีความสบายใจทั้งสองฝ่าย เนื่องจากผู้ถูกสังเกตไม่เกิดความรู้สึกว่าถูกจ้องหรือจับผิด(กรณีที่ผู้ถูก สังเกตไม่รู้ตัว)

ข้อจำ�กัดของการสังเกต * การสังเกตบางเหตุการณ์กระทำ�ไม่ได้ ถ้าหากว่าเหตุการณ์นั้นไม่เกิดขึ้นใน ช่วงเวลาที่ทำ�การสังเกต * สิ้นเปลืองเวลาที่ต้องคอยติดตามสังเกตพฤติกรรมตามเทศกาลต่าง ๆ * ถ้าผู้สังเกตมีเวลาน้อยอาจทำ�ให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน * การสังเกตบางครั้งทำ�ได้ไม่สะดวก เช่น ที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว


การสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์ (interview) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม หรือการโต้ตอบทางวาจาเป็น หลัก โดยเรียกผู้สอบถามหรือเก็บข้อมูลว่าผู้สัมภาษณ์ และเรียกฝ่ายตอบหรือฝ่ายให้ข้อมูลว่าผู้ให้สัมภาษณ์ การ สัมภาษณ์นี้ใช้ได้ดีสำ�หรับเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึก ความสนใจ ความคิดเห็น หรือทัศนคติเรื่องต่าง ๆ

รูปแบบของการสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแน่นอน (structured interview) เป็นการ สัมภาษณ์ที่ได้กำ�หนดตัวคำ�ถาม และคำ�ตอบไว้เรียบร้อยแล้ว โดยตัวคำ�ตอบจะเป็นแบบให้ เลือกตอบ เช่น ใช่-ไม่ใช่ จริง-ไม่จริง ดี-ไม่ดี เป็นต้น ชนิดที่ 2 การสัมภาษณ์แบบที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน (unstructured interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่มี การกำ�หนดคำ�ตอบไว้แน่นอนตายตัว โดยผู้ตอบ (ผู้ถูกสัมภาษณ์) จะตอบคำ�ถามโดยอิสระ การสัมภาษณ์วิธีนี้ผู้ สัมภาษณ์มีหน้าที่รับฟังและคอยเข้าสู่ประเด็นที่ต้องการ ดังนั้น ผู้สัมภาษณ์จะต้องเป็นผู้ที่มีความชำ�นาญเป็นพิเศษ จะไม่มีรายการล่วงหน้า อาจกำ�หนดรายการคร่าว ๆ ไว้ เหมาะสำ�หรับการสัมภาษณ์เชิงลึก

วิธีการสัมภาษณ์

1. ควรศึกษาจุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์ให้เข้าใจว่าต้องการเก็บข้อมูลในเรื่องใด 2. ศึกษาสภาพแวดล้อม ทำ�ความคุ้นเคยกับผู้ที่จะไปสัมภาษณ์ 3. กำ�หนดวิธีการสัมภาษณ์ นัดแนะเวลา สถานที่ให้เรียบร้อย 4. ฝึกซ้อมคำ�ถาม เตรียมตัวให้พร้อมสำ�หรับการสัมภาษณ์ 5. ดำ�เนินการสัมภาษณ์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ * ขั้นเริ่มต้นการสัมภาษณ์ โดยผู้สัมภาษณ์แนะนำ�ตัวเอง บอกจุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์ * ขั้นสัมภาษณ์ โดยผู้สัมภาษณ์จะต้องให้ผู้ตอบมีความรู้สึกว่าเขามีสิทธิ์ตอบตามความคิดเห็น ของเขา * ขั้นปิดการสัมภาษณ์ โดยผู้สัมภาษณ์ตรวจดูคำ�ถามว่าถามครบทุกข้อหรือไม่ย้ำ�ให้ผู้ถูก สัมภาษณ์มีความภูมิใจ และสบายในการสัมภาษณ์ครั้งนี้

ข้อดีของการสัมภาษณ์

* ได้ข้อมูลจากบุคคลที่ต้องการจริง * สามารถเก็บข้อมูลได้จากทุกคนที่พูดได้ ช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการอ่านการเขียนได้ * สามารถปรับคำ�ถามให้ชัดเจนได้ กรณีที่ผู้สัมภาษณ์ไม่เข้าใจคำ�ถาม

ข้อจำ�กัดของการสัมภาษณ์

* ข้อมูลที่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สัมภาษณ์ ซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน * การเก็บข้อมูลบางครั้งต้องเดินทางไกล ทำ�ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย * ในบางครั้งได้ข้อมูลที่ไม่จริงเนื่องจากผู้ตอบเกิดความกลัว-อายในการตอบคำ�ถาม * เสียเวลาในการฝึกอบรมผู้สัมภาษณ์เพื่อให้เกิดความรู้ความชำ�นาญ


สรุป การวิจัยในชั้นเรียน โดยทั่วไปจะไม่เสียเวลามากกับการสร้างเครื่องมือ ส่วนใหญ่จะใช้เวลากับ การลงมือปฏิบัติ เช่น การตรวจสอบเพื่อเก็บข้อมูล อาจใช้การสังเกต พูดคุย สอบถามนักเรียน ออกแบบ ทดสอบง่าย ๆ และดูผลงานนักเรียน เป็นต้น ดังนั้นการวิจัยในชั้นเรียน จึงเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ เรียกว่า ทำ�ไป เก็บข้อมูลไปและคิดไป ครูผู้ทำ�วิจัยต้องมีความละเอียดรอบคอบและเก็บข้อมูลให้ครอบคลุม ที่สุดแหล่งการวิจัยของครู คือ ผู้เรียน ผู้เกี่ยวข้องและสิ่งแวดล้อมในการเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ครูจึง จำ�เป็นที่จะต้องเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมสำ�หรับการเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน การเลือกเครื่องมือควร เลือกให้เหมาะสมกับพฤติกรรมที่จะวัด

แผนภูมิที่ 1 แสดงสรุปวิธีการและเครื่องมือที่นิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล


กิจกรรมที่ 1 ทบทวนและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง กับเครื่องมือและการเก็บข้อมูลการวิจัยในชั้นเรียน คำ�ชี้แจง : จากจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำ�หนดให้ในข้อ 1 – 6 จงบอกว่าควรเลือกเครื่องมือการวิจัย ชนิดใดจึงจะเหมาะสมที่สุด (แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสำ�รวจ) ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------................... 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนในการใช้แผ่นบัตรคำ�ประกอบการสอนวิชาภาษาไทย ................... 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิธีการสอนแบบร่วมมือกับการสอนตามปกติ ................... 3. เพื่อศึกษาเจตคติการใช้เกมในการสอนวิชาคณิตศาสตร์สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 …………….. 4. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนอ่อน .................... 5. เพื่อศึกษาความต้องการในดารเลือกเรียนต่อในแผนการเรียนคณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 .................... 6. เพื่อศึกษาการใช้สารเคมีในการทดลองวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


เฉลยกิจกรรมที่ 1

แนวการตอบหน้า 8 - 26


เรื่องที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองควรมีการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำ�ไปใช้จริง เครื่องมือที่มีผู้อื่นสร้างไว้ แล้วหากไม่ใช่เครื่องมือมาตรฐานหรือเคยตรวจสอบคุณภาพกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนละกลุ่มกับที่ผู้วิจัยจะศึกษา ก็จำ�เป็นต้องตรวจสอบคุณภาพใหม่

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

2.1 การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบอิงกลุ่ม * การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ ความยากของข้อสอบอิงกลุ่ม (difficulty : p) หมายถึง สัดส่วนของ จำ�นวนผู้ที่ทำ�ข้อสอบข้อนั้นถูกกับจำ�นวนคนทั้งหมด คุณสมบัติของความยาก (P) มีดังนี้ 1. ค่าความยากมีค่าตั้งแต่ .00 ถึง 1.00 2. ถ้าค่าความยากของตัวถูกมีค่าสูง แสดงว่าข้อสอบง่าย หรือมีคนทำ�ถูกมาก 3. ถ้าค่าความยากของ ตัวถูกมีค่าต่ำ� แสดงว่าข้อสอบยาก หรือมีคนทำ�ถูกน้อย 4. ค่าความยากที่ดีสำ�หรับตัวถูกมีค่าอยู่ระหว่าง .20 ถึง .80 ส่วนตัวลวงมีค่าอยู่ระหว่าง .05 ถึง .50 * อำ�นาจจำ�แนกของข้อสอบอิงกลุ่ม (discrimination : r) หมายถึง ประสิทธิภาของ ข้อสอบในการจำ�แนก เด็กออกเป็นกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อน หรือกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ� คุณสมบัติของค่าอำ�นาจจำ�แนก (r) มีดังนี้ 1. ค่าอำ�นาจ จำ�แนกมีค่าตั้งแต่ -1.00 ถึง 1.00 2. ถ้าค่าอำ�นาจจำ�แนกสูง แสดงว่าข้อสอบมีอำ�นาจจำ�แนกสูง 3. ถ้าค่าอำ�นาจ จำ�แนกต่ำ� หรือเป็นศูนย์ แสดงว่าข้อสอบไม่มีอำ�นาจจำ�แนก 4. ค่าอำ�นาจจำ�แนกที่ดีของตัวถูกมีค่าอยู่ระหว่าง .20 ถึง 1.00 ส่วนตัวลวงมีค่าอยู่ระหว่าง .05 ถึง .50

วิธีวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ มีขั้นตอนดังนี้ o นำ�ข้อสอบที่สร้างขึ้นตามตารางวิเคราะห์หลักสูตรไปสอบกับนักเรียน สมมติ ว่าไปทดสอบกับนักเรียน 30 คน แล้ว นำ�มาตรวจให้คะแนน o เรียงกระดาษคำ�ตอบจากคะแนนสูงไปหาคะแนนต่ำ� o ใช้เทคนิค 27 % ถึง 50 % ก็ได้ โดยยึดหลักว่าถ้าจำ�นวนคนที่สอบมีน้อยให้ ใช้เปอร์เซ็นต์สูง แต่ถ้ามีคนเข้าสอบ มาก ๆ ให้ใช้เปอร์เซ็นต์ต่ำ� โดยไม่ต่ำ�กว่า 25 %) วิธีการหากลุ่มสูง ให้เอา 27/100 คูณจำ�นวนคนทั้งหมดที่เข้าสอบ เช่น คนสอบ 30 คนจะได้กลุ่มสูงเท่ากับ 27/100*30 = 8.10 ประมาณ 8 คน ส่วนการหากลุ่มต่ำ�ก็ใช้วิธีการเช่น เดียวกัน คือได้จำ�นวน 8 คน o นับจำ�นวนกระดาษเรียงคะแนนสูงสุดลงมา 27 % ของผู้เข้าสอบคือประมาณ 8 คน เรียกว่ากลุ่มสูง (high group) ใช้สัญลักษณ์ ส หรือ H และเรียงกระดาษคำ�ตอบจากคะแนนต่ำ�สุด 27 % คือประมาณ 8 คน เรียกว่ากลุ่มต่ำ� (low group) ใช้สัญลักษณ์ ต หรือ L


ตารางวิเคราะห์ข้อสอบเป็นรายข้อทุกตัวเลือก โดยใช้เทคนิค 27 %


o นำ�ค่ารวม (H) และค่ารวม (L) ของแต่ละตัวไปหาค่าความยาก (P) และค่าอำ�นาจจำ�แนก (r) โดยใช้สูตร ดังนี้ สูตร P=R H+ RL r= RH + RL NH + NL NH P แทน ค่าความยากของข้อสอบ r แทน ค่าอำ�นาจจำ�แนก ของข้อสอบ RHแทน จำ�นวนคนในกลุ่มสูงที่ตอบถูก NH แทน จำ�นวนคนทั้งหมดในกลุ่มสูง RLแทน จำ�นวนคนในกลุ่ม ต่ำ�ที่ตอบถูก NL แทน จำ�นวนคนทั้งหมดในกลุ่ม


o นำ�ค่ารวม (H) และค่ารวม (L) ของแต่ละตัวไปหาค่าความยาก (P) และค่าอำ�นาจจำ�แนก (r) โดยใช้สูตร ดังนี้ สูตร P=R H+ RL r= RH + RL NH + NL NH P แทน ค่าความยากของข้อสอบ r แทน ค่าอำ�นาจจำ�แนก ของข้อสอบ RHแทน จำ�นวนคนในกลุ่มสูงที่ตอบถูก NH แทน จำ�นวนคนทั้งหมดในกลุ่มสูง RLแทน จำ�นวนคนในกลุ่ม ต่ำ�ที่ตอบถูก NL แทน จำ�นวนคนทั้งหมดในกลุ่ม

ตัวอย่างที่ 7 ในการสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ม.1 โดยใช้ข้อสอบเลือกตอบจำ�นวน 5 ข้อ ทดสอบ กับนักเรียนจำ�นวน 10 คน ปรากฏผลดังตาราง จงหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยวิธี KR20 และ KR-21


ถ้าเปรียบเทียบจะเห็นว่าค่าความเชื่อมั่นที่หาโดยสูตร KR-20 จะได้ค่าที่สูงกว่าสูตร KR-21 ทั้งนี้เพราะว่า สูตร KR-21 เป็นสูตรที่ดัดแปลงมาจากสูตร KR-20 โดยมีแนวคิดว่าข้อสอบทุกข้อมีความยากเท่ากัน ทั้งนี้เพื่อให้ สะดวกในการคำ�นวณนั่นเอง จึงทำ�ให้ความเชื่อมั่นมีความคลาดเคลื่อนสูง ถ้าจะเลือกใช้สูตรในการคำ�นวณหาค่าความ เชื่อมั่นก็ควรใช้สูตร KR-20 เพราะมีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า

ความเที่ยงตรงของแบบทดสอบอิงกลุ่ม

ความเที่ยงตรง (validity) หมายถึง ประสิทธิภาพของแบบทดสอบที่สามารถวัดลักษณะ (trait) ที่ต้องการจะ วัดได้ ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง (construct validity) ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ (predictive validity) และ ความเที่ยงตรงตามสภาพ (concurrent validity) แบบทดสอบแบบอิงกลุ่มควรพิจารณาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง o ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา การหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหานี้ จะหาความสอดคล้องของข้อสอบที่ออกว่าสอดคล้อง กับหลักสูตรที่กำ�หนดให้ หรือครอบคลุมกับเนื้อหาที่จะสอนไว้หรือไม่ ดังนั้นการหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาไม่สามารถ หาได้โดยการแสดงค่าสัมประสิทธ์ของความเที่ยงตรงได้แต่จะใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ก่อนที่จะสร้างแบบทดสอบ แล้วพิจารณาตรวจสอบว่าแบบทดสอบที่สร้างขึ้นนี้มีข้อคำ�ถามที่ได้สัดส่วนพอที่จะเป็น ตัวแทนของมวลความรู้หรือไม่วิธีการนี้เรียกว่า การสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตรนั่นเอง ซึ่งแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนจะหาความเที่ยงตรงแบบนี้ o ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง หมายถึง คุณภาพของแบบทดสอบที่วัดโครงสร้าง หรือ คุณลักษณะตามทฤษฎี เช่น เชาว์ปัญญา ความคล่องทางภาษา ความมีเหตุผล เป็นต้น ถ้าจะสร้างเครื่องมือเพื่อวัดสิ่ง ที่กล่าวมา จำ�เป็นที่จะต้องทำ�ความเข้าใจกับโครงสร้าง หรือคุณลักษณะนั้นให้ดีเสียก่อน ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง เป็นการวัดสภาพปัจจุบันมากกว่าการวัดสภาพอดีต หรืออนาคต


2.2 การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบอิงเกณฑ์ * ความยากของข้อสอบอิงเกณฑ์ การประเมินตามแนวคิดอิงเกณฑ์ เป็นการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบความ สามารถของผู้เรียนกับเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานว่าอยู่ในระดับถึงมาตรฐานที่ยอมรับหรือไม่ การตรวจสอบคุณภาพของ แบบทดสอบตามแนวคิดนี้ มีวิธีหาค่าความยากของข้อสอบเช่นเดียวกับแนวคิดแบบอิงกลุ่มเพียงแต่ค่าความยากนั้นไม่ ได้ถือว่าข้อสอบที่ยากหรือง่ายเป็นข้อสอบที่ไม่ดี แต่จะเน้นการวัดตรงจุดประสงค์เป็นสำ�คัญ ดังนั้น ข้อสอบที่วัดตรง ตามจุดประสงค์ และเป็นข้อสอบที่ง่ายหรือยากก็ถือว่าเป็นข้อสอบที่ดี * อำ�นาจจำ�แนกของข้อสอบอิงเกณฑ์ หมายถึง ประสิทธิภาพในการจำ�แนกระดับ ความสามารถของผู้เรียน รู้แล้ว (กลุ่มรอบรู้) กับผู้ที่ยังไม่เรียน (กลุ่มไม่รอบรู้) การวิเคราะห์ข้อสอบเป็นรายข้อแบบอิงเกณฑ์ จะมุ่งเน้นหาค่า อำ�นาจจำ�แนกของข้อสอบ โดยถือว่าข้อสอบ อิงเกณฑ์ที่ดี ควรมีค่าอำ�นาจจำ�แนกดี (สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. 2522 : 11-13) การหาค่าอำ�นาจจำ�แนกข้อสอบรายข้อแบบอิงเกณฑ์ ในที่นี้จะนำ�เสนอ 2 วิธี คือ วิธีของคริสปีนและเฟลด์ลู เซน (Kryspin and Feldluson) และวิธีของ เบรนแนน (Brennan) * อำ�นาจจำ�แนกตามวิธีของคริสปีน และเฟลด์ลูเซน คริสปีน และเฟลด์ลูเซน ได้เสนอการหาค่าอำ�นาจ จำ�แนกที่เรียกว่าดัชนี S (index of sensitivity) หรือดัชนีความไวในการวัด ซึ่งมีสูตรดังนี้ สูตร S = RA - RB T เมื่อ S แทน ค่าอำ�นาจจำ�แนกของข้อสอบ R แทน จำ�นวนคนตอบถูกหลังสอน R แทน จำ�นวนคนตอบถูกก่อนสอน T แทน จำ�นวนคนที่เข้าสอบทั้งสองครั้ง การแปลความหมายค่า S การพิจารณาคุณภาพของข้อสอบในด้านความไว พิจารณาตามระดับค่า S ดังนี้



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.