แต่งเสริม เติมเต็ม วิจัยในชั้นเรียน

Page 1


คำ�แนะนำ�ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่อง แต่งเสริม......เติมเต็ม....วิจัยในชั้นเรียน ประกอบไปด้วย คำ�นำ� สารบัญ คำ�แนะนำ�การใช้ชุดฝึก อบรมด้วยตนเอง แบบทดสอบก่อนเรียน ชื่อเรื่อง แนวคิด วัตถุประสงค์ หัวข้อเนื้อหากิจกรรมการอบรม สื่อ การอบรม แบบทดสอบ หลังเรียน และแบบเฉลยคำ�ตอบ ขอให้ท่านดำ�เนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1. พยายามศึกษาโครงสร้างของชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง อย่างตั้งใจ และทำ� กิจกรรมตามที่กำ�หนดไว้ ทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่องกันจนจบในแต่ละชุด 2. ศึกษารายเอียดของเนื้อหาในแต่ชุด ผู้ศึกษาจะต้องทำ�แบบทดสอบก่อนเรียนเสียก่อนแล้วจึงศึกษา รายละเอียดเนื้อหาของชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง และทำ�กิจกรรมฝึกปฏิบัติของแต่ละเรื่องตามลำ�ดับจนครบ สมบูรณ์ 3. ทำ�แบบทดสอบหลังเรียนแล้วตรวจคำ�ตอบกับแบบเฉลย

1


เล่มที่ 7 แบบประเมินตนเอง ....ก่อนเรียน แต่งเสริม......เติมเต็ม....วิจัยในชั้นเรียน คำ�ชี้แจง : โปรดทำ�เครื่องหมาย x ทับตัวเลือก ที่ถูกที่สุดเพียงตัวเลือกเดียวตอบลงใน กระดาษคำ�ตอบ 1. การเขียนโครงร่างงานวิจัยมีประโยชน์ในข้อใดมากที่สุด ก. ช่วยให้เห็นอุปสรรคของการแก้ปัญหา ข. ช่วยให้ทราบถึงวิธีวิจัยได้อย่างชัดเจน ค. ช่วยให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายในการวิจัย ง. ช่วยให้เห็นลู่ทางการแก้ไขปัญหา 2. องค์ประกอบในข้อใดไม่ใช่ องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน ก. ทำ�อะไร ข. ทำ�ทำ�ไม ค. ทำ�เมื่อไหร่ ง. ได้ผลอย่างไร 3. การเขียนโครงร่างการวิจัยเปรียบได้กับข้อใด ก. การเขียนเป้าหมายในการออกแบบบ้าน ข. การเขียนแบบบ้านในการก่อสร้าง ค. การตกแต่งบ้าน ง. การต่อเติมบ้าน 4. ชื่อเรื่องของการวิจัยในชั้นเรียนควรมีลักษณะอย่างไร ก. สั้น กะทัดรัดแต่ได้ใจความครบถ้วนตามที่ผู้วิจัยต้องการสื่อ ข. เขียนตามที่ผู้ศึกษาชอบ ค. เขียนตามที่ผู้บริหารสั่ง ง. เขียนให้สอดคล้องกับแผนงาน/โครงการที่ทำ� 5. ข้อใดคือปัญหาการวิจัย ก. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้น ป.4 เรื่อง สมการ ระหว่าง การสอนโดยใช้ชุดการสอนกับการสอนแบบบรรยาย ข. การสอนแบบใดที่ทำ�ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ มากกว่ากันระหว่างการสอนโดยใช้ชุดการสอนแบบบรรยาย ค. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ง. ชุดการสอน

2


6. การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยต้องเขียนอย่างไร ก. เขียนให้สอดคล้องกับประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง ข. เขียนสั้น กะทัดรัด ได้ใจความ ค. ต้องสอดคล้องกับปัญหาการวิจัย ง. ระบุว่าศึกษากับใคร 7 . ปฏิทินปฏิบัติงานวิจัยควรประกอบด้วยอะไรบ้าง ก. ชื่อเรื่อง ข. ชื่อผู้จัดทำ�วิจัย ค. ระยะเวลา ง. กิจกรรม ขั้นตอน และระยะเวลา 8. ส่วนที่ชี้ให้เห็นว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาค้นคว้าอะไร ตรงกับข้อใด ก. กรอบแนวคิดในการวิจัย ข. สมมติฐานการวิจัย ค. ชื่อเรื่องการวิจัย ง. วัตถุประสงค์การวิจัย 9.

หลักการเขียนประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยควรเขียนอย่างไร ก. เขียนเป็นความเรียง ข. สอดคล้องกับความมุ่งหมายการวิจัย ค. สอดคล้องกับตัวแปร ง. เขียนอย่างไรก็ได้

10. ข้อใดเป็นลักษณะของการเขียนโครงร่างงานวิจัยที่ดี ก. มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่แน่นอน ข. มีสาระสำ�คัญครบถ้วน และต่อเนื่อง ค. มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ง. ถูกทุกข้อ

3


โครงสร้างชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่มที่ 7 แต่งเสริมเติมเต็ม...วิจัยในชั้นเรียน แนวคิด

การเขียนเค้าโครงการวิจัยเป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่ระบุรายละเอียดของสิ่งที่ดำ�เนินการว่าจะทำ�อะไร ทำ�ไมต้องทำ� ทำ�อย่างไร ทำ�ที่ไหน ทำ�เมื่อไรและทำ�กับใครนั่นเองมีจุดมุ่งหมายให้ผู้วิจัยหรือผู้อ่านทราบกรอบการดำ�เนินการว่าจะ วิจัยเรื่องอะไรมีวัตถุประสงค์อะไร ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาอย่างไร ใช้รูปแบบการวิจัยอย่างไร และการวิจัยมีประโยชน์ อย่างไรโดยทั่วไปเค้าโครงการวิจัย ในชั้นเรียนจะมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. ชื่อเรื่อง 2. ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหา การวิจัย 3. ปัญหาการวิจัย 4.วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ตัวแปรในการวิจัย การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อ กับการวิจัย วิธีดำ�เนินการวิจัย ปฏิทิน กำ�หนดการวิจัย เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม

วัตถุประสงค์

เมื่อศึกษาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่มที่ 7 จบแล้วท่านสามารถ 1. อธิบายถึงจุดมุ่งหมายโครงร่างของการวิจัยในชั้นเรียนได้ 2. อธิบายถึงองค์ประกอบของโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียนได้ 3. เขียนเค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียนได้

หัวข้อเนื้อหา

เรื่องที่ 1 จุดมุ่งหมาย ของโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน เรื่องที่ 2 องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน

กิจกรรมการอบรม

ให้ครูผู้สอนศึกษารายละเอียดของหัวข้อเนื้อหาของชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่มที่ 7 จนครบสมบูรณ์แล้วทำ� กิจกรรมทบทวนความรู้ความเข้าใจเนื้อหาของชุดฝึกอบรมที่กำ�หนดให้ตามลำ�ดับ

สื่อการอบรม

1. ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่มที่ 7 เรื่อง แต่งเสริม...เติมเต็ม...วิจันในชั้นเรียน 2. เอกสารแนวทางการจัดทำ�วิจัยในชั้นเรียน

การประเมินผล ประเมินผลจากการทำ�แบบทดสอบก่อนและหลังการศึกษาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่มที่ 7

4


เรื่องที่ 1 จุดมุ่งหมาย ของโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน โครงร่างการวิจัยหรือเค้าโครงการวิจัย (research proposal) หมายถึง แผนดำ�เนินงานของการวิจัย ที่ได้กำ�หนดหรือวางแนวทางไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะดำ�เนินการวิจัยจริง การเขียนโครงร่างการวิจัยเป็นเสมือน พิมพ์เขียวที่ระบุรายละเอียดของสิ่งที่ดำ�เนินการว่าจะทำ�อะไร ทำ�ไมต้องทำ� ทำ�อย่างไร ทำ�ที่ไหน ทำ�เมื่อไร และ ทำ�กับใครนั่นเอง มีจุดมุ่งหมายให้ผู้วิจัยหรือผู้อ่านทราบกรอบการดำ�เนินการว่าจะวิจัยเรื่องอะไร มีวัตถุประสงค์ อะไร จะใช้ระเบียบวิธีการศึกษาอะไร จะใช้รูปแบบการวิจัยอย่างไร และการวิจัยมีประโยชน์อย่างไร การเขียนโครงร่างการวิจัยที่ดีผู้เขียนจะต้องมีความรู้ 2 ประการ คือ มีความรู้ในเนื้อหาสาระที่จะทำ�การ วิจัย และความรู้ในวิธีการวิจัย ซึ่งได้แก่ ความรู้เรื่องกระบวนการวิจัย ขั้นตอนการวิจัย การกำ�หนดตัวแปร การออกแบบการวิจัย การสร้างเครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกใช้สถิติ การจัดทำ�รายงานและการนำ�เสนอผลการวิจัย

จุดมุ่งหมายของการเขียนโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินการวิจัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้วิจัยได้ดำ�เนินการ ตามขั้นตอนที่วางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำ�เนินการวิจัยระยะยาว หรือร่วมกันวิจัยหลายคน โครงร่างการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัย ทุกคนมีความเข้าใจตรงกันและดำ�เนินการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบการดำ�เนินการวิจัย เนื่องจากโครงร่าง การวิจัยจะระบุรายละเอียด เกี่ยวกับเรื่องที่จะทำ�วิจัย เช่น ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย ของเขตของการวิจัย สมมติฐานการวิจัย วิธีดำ�เนินการวิจัย ระยะเวลาการทำ�การวิจัย แผนการดำ�เนินงาน และงบประมาณ เป็นต้น ซึ่งใช้เป็นเอกสารสำ�คัญในการตรวจสอบผลการวิจัยทุกขั้นตอนของการดำ�เนินการ วิจัย ช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นปัญหา หรืออุปสรรคต่าง ๆ ในการทำ�การวิจัยล่วงหน้า ซึ่งจะทำ�ให้เกิดความกระจ่าง ในหัวข้อปัญหาการวิจัย ทำ�ให้ทราบค่าใช้จ่ายและสิ่งจำ�เป็นล่วงหน้า เพื่อจะใช้เตรียมการที่ถูกต้อง เช่น วัสดุอุปกรณ์ แรงงาน และค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อใช้ในการนำ�เสนอขอทุนอุดหนุนการวิจัยจากหน่วยงานหรือองค์การต่าง ๆ ใช้เป็นแนวทางในการเขียน รายงานการวิจัย

5


กิจกรรมที่ 1 ทบทวนและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการเขียนโครงร่าง การวิจัยในชั้นเรียน

คำ�ชี้แจง : จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้ ข้อ 1. โครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน หมายถึง .................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ข้อ 2. การเขียนโครงร่างการวิจัยที่ดีผู้เขียนต้องมีความรู้เรื่องอะไรบ้าง ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................ ข้อ 3. จุดมุ่งหมายของการเขียนโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน มีอะไรบ้าง .................................................................................................................. .................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................

เฉลย กิจกรรมสร้างความเข้าใจกิจกรรมที่ 1 ข้อที่ 1 แนวการตอบ หน้า 5 ข้อที่ 2 แนวการตอบ หน้า 5 ข้อที่ 3 แนวการตอบ หน้า 5

6


เรื่องที่ 2 องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน การเขียนโครงร่างการวิจัยเป็นการกำ�หนดรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการดำ�เนินงานวิจัย แต่ละเรื่อง อย่างชัดเจนตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายเพื่อเป็นแนวทางในการทำ�วิจัย สำ�หรับส่วนประกอบของ โครงร่างการวิจัยมี ดังนี้

1. ชื่อเรื่อง ..................................................................... ชื่อผู้วิจัย ................................................................... 2. ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหาการวิจัย ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 3. ปัญหาการวิจัย ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................ 5. ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................ 6. ตัวแปรในการวิจัย 6.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ….............................................................................. 6.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ....................................................................................

7


7. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 8. วิธีดำ�เนินการวิจัย 8.1 แบบแผนการวิจัย ............................................................................................................................................................. ....................................................................................................................................................... 8.2 กลุ่มตัวอย่าง ............................................................................................................................................................. ...................................................................................................................................................... 8.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ............................................................................................................................................................. ...................................................................................................................................................... 8.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล ............................................................................................................................................................. ...................................................................................................................................................... 8.5 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ............................................................................................................................................................. ...................................................................................................................................................... 9. ปฏิทินปฏิบัติงานวิจัย ............................................................................................................................................................. ....................................................................................................................................................... 10. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม .............................................................................................................................................................

8


การเขียนโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน 1. ชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องที่ดีควรมีองค์ประกอบในชื่อเรื่อง 3 ประการ ดังนี้ 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการระบุว่าใช้วิธีการศึกษาแบบใด เช่น การสำ�รวจ การเปรียบ เทียบ การทดลอง การหาความสัมพันธ์ การสังเคราะห์ การสร้างนวัตกรรม เป็นต้น 2) ตัวแปรที่ศึกษา ชื่อเรื่องวิจัยจะระบุตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามที่จะศึกษา 3) กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ชื่อเรื่องวิจัยจะระบุว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเป็นใคร นอกจากองค์ประกอบทั้ง 3 ประการแล้ว ผู้วิจัยควรพิจารณาการตั้งชื่อเรียงตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ชื่อเรื่องควรสั้น กะทัดรัด แต่ได้ใจความครบถ้วนตามที่ผู้วิจัย ต้องการสื่อความหมาย ชื่อเรื่องวิจัยควรจะตรงกับเนื้อหาวิจัย มีการระบุตัวแปร แหล่งที่ศึกษา และระยะเวลาที่ศึกษาไว้ อย่าง ชัดเจน ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำ�นาม ซึ่งจะให้ความสละสลวยกว่าคำ�กริยา เช่น แทนที่จะใช้คำ�ว่า ศึกษา เปรียบเทียบ สำ�รวจ ก็ควรใช้คำ�ที่มีลักษณะคำ�นามนำ�หน้า เช่น การศึกษา การเปรียบเทียบ การ สำ�รวจ เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 1 การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในชั้นเรียน ชื่อเรื่องวิจัยในชั้นเรียน การทดลองสอนซ่อมเสริมวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สื่อประเภทเครื่องเล่น ลักษณะการศึกษา คือ การทดลอง ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ คือ การสอนโดยใช้สื่อประเภทเครื่องเล่น ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชื่อเรื่องวิจัยในชั้นเรียน การสร้างชุดการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ลักษณะการศึกษา คือ การสร้างนวัตกรรม (การสร้างชุดการสอน) ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ คือ ชุดการสอน ตัวแปรตาม คือ ผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

9


2. ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหาการวิจัย

แนวทางในการเขียนความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหาการวิจัยมีวิธีการ ดังนี้ 1. กล่าวถึงสภาพที่พึงปรารถนา หรือสิ่งที่พึงประสงค์ที่มุ่งหวังจะให้เกิดขึ้น 2. กล่าวถึงสภาพปัญหาหรือปัญหาที่ประสบอยู่ โดยบรรยายสภาพปัญหา จากการวิเคราะห์ และถ้ามีข้อมูลที่เป็นตัวเลขประกอบให้นำ�มาระบุไว้ด้วย 3. ผลที่ตามมา หรือปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างของสภาพที่พึงปรารถนา (ข้อ1) กับสภาพปัญหาที่ประสบอยู่ (ข้อ 2) 1) ประเด็นที่ต้องทำ�การวิจัยเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา 2) สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับหลังจากได้แนวทางในการแก้ไขปัญหา

3. ปัญหาการวิจัย

วิธีการตั้งปัญหาการวิจัยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1) เป็นข้อความที่เป็นประโยคคำ�ถาม 2) ประกอบด้วยตัวแปรในการวิจัย 3) มีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการศึกษา 4) สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างที่ 2 ปัญหาการวิจัย ปัญหาการวิจัย 1. การสอนแบบใดที่ทำ�ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง สมการมากกว่ากัน ระหว่างการสอนโดยใช้ชุดการสอนแบบบรรยาย 2. วิธีการสอนโดยใช้ชุดการสอนกับการสอนแบบบรรยาย วิธีใดที่ทำ�ให้นักเรียนมีความสนใจเรียน มากกว่ากัน ฯลฯ

4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าต้องการศึกษาในเรื่องอะไร เขียนให้สอดคล้องกับปัญหาการวิจัย ใช้ภาษาที่กะทัดรัดแต่ได้ใจความชัดเจนและนิยมเขียนอยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า กรณีที่มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยหลายข้อจะเขียนเป็นข้อ ๆ โดยเรียงลำ�ดับจากวัตถุประสงค์หลัก ไปหาวัตถุประสงค์ย่อย การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะขึ้นต้นด้วย “เพื่อ” แล้วตามด้วยลักษณะ

10


ตัวอย่างที่ 3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องสมการระหว่าง การสอนโดยใช้ ชุดการสอนกับการสอนแบบบรรยาย 2. เพื่อเปรียบเทียบความสนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องสมการระหว่างการ สอนโดยใช้ ชุดการสอนกับการสอนแบบบรรยาย จากวัตถุประสงค์ของการวิจัยในข้อ 1 สามารถแยกให้เห็นลักษณะ 3 ประการ ดังนี้ • ลักษณะของการศึกษา ได้แก่ เป็นการเปรียบเทียบ • ตัวแปร ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องสมการ • กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากวัตถุประสงค์ของการวิจัยในข้อ 2 สามารถแยกให้เห็นลักษณะ 3 ประการ ดังนี้ • ลักษณะของการศึกษา ได้แก่ เป็นการเปรียบเทียบ • ตัวแปร ได้แก่ ความสนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสมการ • กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 5. ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ในการทำ�วิจัยผู้วิจัยจะต้องชี้ให้ผู้อ่านเห็น ประโยชน์ของการวิจัย โดยการคาดคะเนผลที่ได้รับจากการวิจัย ซึ่งอาจจะ คาดคะเนได้ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ประโยชน์ในแง่ของความรู้ที่ได้รับ ส่วนที่ 2 ประโยชน์ในแง่ของการนำ�ผลการวิจัยไปใช้ หลักการเขียนประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย • เขียนเป็นข้อ ๆ โดยใช้ภาษาสั้น ๆ กะทัดรัด และได้ใจความชัดเจน • ประโยชน์ของการวิจัยควรสอดคล้องกับความมุ่งหมายของการวิจัย กล่าวคือผู้วิจัยจะต้องพิจารณาความ มุ่งหมายแต่ละข้อว่าก่อให้เกิดความรู้ หรือผลอะไร แล้วจึงพิจารณาต่อไปว่าความรู้หรือผลนั้นจะเป็นประโยชน์ ต่อใคร แล้วจะสามารถนำ�ไปใช้ในเรื่องใด • ไม่ควรเขียนประโยชน์ของการวิจัยเกินความเป็นจริง

11


ตัวอย่างที่ 4 ประโยชน์ของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สมการระหว่าง การสอนโดยใช้ชุดการสอนกับการสอนแบบบรรยาย 2. เพื่อเปรียบเทียบความสนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สมการระหว่างการสอน โดยใช้ชุดการสอนกับการสอนแบบบรรยาย

ประโยชน์ของการวิจัย

ต้องเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยข้างต้น ดังนี้ 1. ทำ�ให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ครูได้ค้นพบวิธีการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียน ซึ่งข้อค้นพบ ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ 2. ได้ชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สมการ ซึ่งจะเป็นแนวทาง ให้ผู้สนใจได้ศึกษา ค้นคว้า 3. ทำ�ให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ครูทราบความสนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างการสอนโดยชุดการสอนกับ การสอนแบบบรรยาย ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพต่อไป

6. ตัวแปรในการวิจัย

ตัวแปร คือ คุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษาซึ่งสามารถแปรค่าได้ เช่น เพศ วิธีการสอนอายุ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นต้น โปรดศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปร ในชุดฝึกอบรม( เล่มที่ 2 )

7. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

ผู้วิจัยจะต้องศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เช่น ตำ�รา บทความ รายงานการวิจัย ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยกำ�ลังศึกษา เพื่อให้ได้ความรู้มาวางแผนดำ�เนิน การวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรดศึกษารายละเอียดเรื่องการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในเล่มที่ 3

12


ตัวอย่างที่ 4 ประโยชน์ของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สมการระหว่าง การสอนโดยใช้ชุดการสอนกับการสอนแบบบรรยาย 2. เพื่อเปรียบเทียบความสนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สมการระหว่างการสอน โดยใช้ชุดการสอนกับการสอนแบบบรรยาย

ประโยชน์ของการวิจัย

ต้องเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยข้างต้น ดังนี้ 1. ทำ�ให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ครูได้ค้นพบวิธีการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียน ซึ่งข้อค้นพบ ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ 2. ได้ชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สมการ ซึ่งจะเป็นแนวทาง ให้ผู้สนใจได้ศึกษา ค้นคว้า 3. ทำ�ให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ครูทราบความสนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างการสอนโดยชุดการสอนกับ การสอนแบบบรรยาย ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพต่อไป

6. ตัวแปรในการวิจัย

ตัวแปร คือ คุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษาซึ่งสามารถแปรค่าได้ เช่น เพศ วิธีการสอนอายุ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นต้น โปรดศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปร ในชุดฝึกอบรม( เล่มที่ 2 )

7. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

ผู้วิจัยจะต้องศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เช่น ตำ�รา บทความ รายงานการวิจัย ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยกำ�ลังศึกษา เพื่อให้ได้ความรู้มาวางแผนดำ�เนิน การวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรดศึกษารายละเอียดเรื่องการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในเล่มที่ 3

13


8.วิธีดำ�เนินการวิจัย

• แบบแผนการวิจัย ระบุลงไปว่าจะใช้แบบแผนการวิจัยอะไร ได้แก่ การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิง สำ�รวจ การวิจัยรายกรณี เป็นต้น โปรดศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับแบบแผนการวิจัยในเล่มที่ 5 • กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา สำ�หรับการวิจัยในชั้น เรียนแล้วส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนในชั้นเรียนที่ครูได้ทำ�การสอนอยู่แล้ว

ตัวอย่างที่ 5

กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียน.... อำ�เภอเมือง จังหวัด สกลนคร ในปีการศึกษา 2544 จำ�นวน 30 คน

• เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัย สนใจศึกษา ซึ่งได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกข้อมูล แบบตรวจสอบรายการ เป็นต้น ผู้วิจัยจะต้องระบุลักษณะเครื่องมือของผู้อื่น และถ้าให้ถูกต้องตามระเบียบวิธี การวิจัยผู้วิจัยจะต้องหาคุณภาพ และรายงานคุณภาพของเครื่องมือนั้นด้วย โปรดศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ เครื่องมือวิจัยในเล่มที่ 6

• การเก็บรวบรวมข้อมูล ระบุถึงวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าจัดเก็บในช่วง เวลาใด ใครเป็นคนเก็บ เก็บอย่างไร สถานที่เก็บข้อมูลเป็นที่ใด และใช้เวลานานเท่าใด • วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ถ้าเป็นข้อมูลเชิง คุณภาพ (คุณลักษณะ) อาจจะวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ เป็นต้น แต่ถ้า เป็นข้อมูลเชิงปริมาณอาจจะวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที (t-test) หรือการนำ�เสนอในรูปตาราง กราฟ เป็นต้น

14


9.ปฏิทินปฏิบัติงานวิจัย ระบุปฏิทินปฏิบัติงานวิจัยตลอดทั้งโครงการจนกระทั่งงานวิจัย เสร็จสมบูรณ์ ปฏิทินปฏิบัติงานวิจัย ควรประกอบด้วยกิจกรรม และขั้นตอนต่าง ๆ รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน

ตัวอย่างที่ 6 ตัวอย่างโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน 1.ชื่อเรื่อง : การศึกษารายกรณีของนักเรียนที่มีปัญหาการปรับตัวกับเพื่อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน................................. อำ�เภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ชื่อผู้วิจัย : นางสาวนันทากร คัมภีร์พงศ์ 2.ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหาวิจัย วัยรุ่นจะเป็นวัยที่ประสบปัญหาการปรับตัวกับเพื่อนมากกว่าวัยอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะเป็นวัยหัวเลี้ยว หัวต่อมีการเปลี่ยนแปลงจากเด็กไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ จึงมีการเปลี่ยนแปลงมากทางร่างกาย และอารมณ์ ดังนั้น จึงมีความยุ่งยากในการปรับตัวเข้ากับเพื่อนสูง จึงเป็นผลให้เด็กเกิดความสับสนไม่มั่นใจ ขาดความมั่นคงทางจิตใจ ซึ่งอาจนำ�ไปสู่ปัญหาต่าง ๆ และเกิดผลเสียกับเด็กได้หากไม่ได้รับการช่วยเหลือแก้ไข จากการสำ�รวจปัญหาเบื้องต้น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน.........ที่มีอายุช่วงวันรุ่นคือระหว่าง 12-15 ปี พบว่า มีปัญหาการปรับ ตัวร้อยละ 30 ปัญหาครอบครัวร้อยละ 30 ปัญหาส่วนตัวร้อยละ 25 และปัญหาสุขภาพร้อยละ 10 และจาก การสำ�รวจเฉพาะปัญหาการปรับตัวพบว่านักเรียนมีปัญหาการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร้อยละ 70 ปัญหาการปรับตัว ด้านการเรียนร้อยละ 25 และปัญหาการปรับตัวกับเพื่อนต่างเพศร้อยละ 5 ผู้วิจัยเห็นว่าการปรับตัวกับเพื่อนเป็น ปัญหาที่นักเรียนประสบมากที่สุด ซึ่งถ้าหากไม่ช่วยเหลือแก้ไขแล้วอาจจะทำ�ให้นักเรียนประสบปัญหาด้านต่าง ๆ และ ปัญหานั้นอาจจะทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาการปรับตัวกับเพื่อนสามารถกระทำ�ได้หลายวิธี แต่การศึกษาราย กรณีเป็นวิธีที่ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษา ทั้งนี้เพราะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถศึกษารายละเอียดบุคคลได้อย่างลึกซึ้ง วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำ�ให้นักเรียนมีปัญหาการปรับตัวกับเพื่อน โดยการหาข้อมูลจากบุคคลต่าง ๆ แล้วแปลความ หมายของพฤติกรรมนั้น ๆ อันจะเป็นแนวทางในการลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา โดยใช้วิธีการศึกษารายกรณีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ที่มีปัญหาการปรับตัวกับเพื่อนโรงเรียน......................อำ�เภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะทำ�ให้ได้ สารสนเทศในการนำ�มาลดพฤติกรรม หรือแก้ไขปัญหาการปรับตัวกับเพื่อนได้

15


3.ปัญหาการวิจัย 1. นักเรียนมีปัญหาการปรับตัวกับเพื่อนเนื่องจากสาเหตุอะไร 2. จะสามารถช่วยเหลือให้นักเรียนหายจากปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร 4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษารายกรณีของนักเรียนที่มีปัญหาการปรับตัวกับเพื่อน จำ�นวน 3 คน อย่างละเอียดให้ทราบถึง ปัญหาต่าง ๆ เพื่อดำ�เนินการช่วยเหลือแก้ไขปัญหา 5. ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ผลการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางให้อาจารย์แนะแนว อาจารย์และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนได้นำ�วิธีการ รายกรณีไปช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาการปรับตัวกับเพื่อนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6. ตัวแปรในการวิจัย ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การศึกษารายกรณี ตัวแปรตาม ได้แก่ ปัญหาการปรับตัวกับเพื่อน 7. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ผูว้ ิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับการวิจัย ตามลำ�ดับดังนี้ 1. แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษารายกรณี (ศึกษาให้ครอบคลุมในเรื่องของการศึกษารายกรณี ได้แก่ ความ หมาย จุดมุ่งหมาย ประโยชน์ วิธีการที่ใช้ในการศึกษารายกรณี เป็นต้น) 2. แนวคิดเกี่ยวกับการปรับตัว (ศึกษาให้ครอบคลุมในเรื่องของการปรับตัว ได้แก่ ความหมาย สาเหตุ ประเภทของการปรับตัว เป็นต้น 3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัว (ถ้าเป็นไปได้ควรศึกษางานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ) 8. วิธีดำ�เนินการวิจัย 8.1 แบบแผนการวิจัย เป็นการวิจัยแบบการศึกษารายกรณี 8.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีปัญหาการปรับตัวกับเพื่อน โรงเรียน............อ.เมือง จ. นครราชสีมา ปีการศึกษา 2544 จำ�นวน 3 คน

16


8.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยใช้เทคนิค 8 เทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1. การสังเกตและการบันทึกการสังเกต ผู้วิจัยจะสังเกตนักเรียนทั้งที่อยู่ในห้องเรียน และนอกห้องเรียนจำ�นวน 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที และจะบันทึกพฤติกรรมพร้อมกับตีความหมายพฤติกรรมทุกครั้งที่ได้สังเกตทันที 2. การสัมภาษณ์ สัมภาษณ์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง อาจารย์ประจำ�ชั้น อาจารย์แนะแนว เพื่อนนักเรียนในห้องเดียวกัน และผู้ปกครองนักเรียน 3. การเยี่ยมบ้าน ไปสังเกตความเป็นอยู่ทางบ้านและรวบรวมข้อเท็จจริงด้วยตนเอง พร้อมทั้งสัมภาษณ์ ผู้ปกครองและบุคคลในบ้านตามความเหมาะสม 4. การเขียนอัตชีวประวัติ ให้นักเรียนเขียนอัตชีวประวัติของนักเรียนตามความเป็นจริง เป็นการเขียน แบบไม่กำ�หนดหัวข้อ 5. บันทึกประจำ�วัน ให้นักเรียนเขียนบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง เป็นการเปิดเผยเรื่องราวความรู้สึก ส่วนตัวที่มีต่อเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมรอบตัว 6. สังคมมิติ ให้นักเรียนทำ�สังคมมิติเพื่อให้ทราบความสัมพันธ์ของนักเรียนในห้องเดียวกันบรรยากาศทาง สังคมและอารมณ์ภายในกลุ่ม 7. แบบสอบถาม สอบถามรายละเอียดบางประการที่เป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยปัญหา โดยสอบถาม ข้อมูลส่วนตัว ความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเอง 8. แบบทดสอบ ซึ่งได้แก่ แบบทดสอบเชาว์ปัญญา แบบทดสอบบุคลิกภาพ 8.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยละเอียดทุกขั้นตอน โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ดังรายละเอียดที่กล่าวไว้ ในหัวข้อที่ 8.3 (เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย) 8.5 การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนำ�ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อสรุปหาข้อเท็จจริง โดยสรุปเป็นภาพรวมทั้ง 3 คน คือ ลักษณะของปัญหา ประวัติด้านต่างๆ โดยย่อ การวินิจฉัย การช่วยเหลือ การป้องกัน การส่งเสริม และการติดตามผล

17


10. เอกสารอ้างอิง กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2527) การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กันยา สุวรรณแสง (2533) การพัฒนาบุคลิกภาพและการปรับตัว กรุงเทพฯ : ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นิภา นิธยายน (2530) การปรับตัวและบุคลิกภาพ กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้า...................... (ลงเอกสารทุกเรื่องที่ผู้วิจัยได้ใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการทำ�วิจัยเรื่องนี้)

18


ตัวอย่างที่ 7

1. ชื่อเรื่อง : การสร้างแบบฝึกทักษะการทำ�เศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ� สำ�หรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ชื่อผู้วิจัย : นางสาวสุดสวย ใจสะอาด 2. ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหาวิจัย ความรู้เรื่องการทำ�เศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ�ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จะเป็นพื้นฐานของการเรียนคณิตศาสตร์ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป แต่จากการ สอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียน ............................... พบว่า นักเรียนประมาณ 10 คน มี ปัญหาการเรียนรู้เรื่องการทำ�เศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ� ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะส่งผลให้ นักเรียนเหล่านั้นขาดทักษะพื้นฐานที่จำ�เป็นในการเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ ต่อไป ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงสร้างแบบฝึก ทักษะการทำ�เศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ�ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีทักษะในการ ทำ�เศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ� 3. ปัญหาการวิจัย วิธีการที่จะให้นักเรียนทำ�เศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ�เป็นอย่างไร 4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 4.1 เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการทำ�เศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ� 4.2 เพื่อศึกษาความสนใจเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เมื่อเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการ ทำ� เศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ� 5. ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ผลการวิจัยจะทำ�ให้ได้แบบฝึกทักษะการทำ�เศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่าง ต่ำ� ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจการทำ�เศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ�ได้ดียิ่งขึ้น 6. ตัวแปรในการวิจัย ตัวแปรอิสระ คือ แบบฝึกทักษะการทำ�เศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ� ตัวแปรตาม คือ ผลการเรียนรู้เรื่องการทำ�เศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ�

19


7. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยตามลำ�ดับ ดังนี้ 7.1 แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างแบบฝึกทักษะ 7.2 แนวคิดเกี่ยวกับหลักการสอน ทฤษฎีการเรียนรู้ 7.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 8. วิธีดำ�เนินการวิจัย 8.1 แบบแผนการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยทดลองกับกลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียวสอบก่อน และหลังการทดลอง (one-group pretest posttest design) 8.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำ�เศษส่วน ให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ� โรงเรียน............................. ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 จำ�นวน 10 คน 8.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบฝึกทักษะการทำ�เศษส่วนให้เป็น เศษส่วนอย่างต่ำ� จำ�นวน 3 ชุด ซึ่งแบบฝึกทักษะนี้ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยยึดหลักการสอนของกาเย่ คือ การเรียนรู้จากง่ายไปหายาก หรือการฝึกจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม และใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์น ไดค์เกี่ยวกับกฎการฝึกหัด กล่าวคือ การฝึกบ่อย ๆ จนทำ�ให้เกิดทักษะ 8.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. เปรียบเทียบคะแนนความก้าวหน้าระหว่างก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะ 2. ศึกษาความสนใจเรียนของนักเรียนเมื่อใช้แบบฝึกทักษะการทำ�เศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ� โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

20


10. เอกสารอ้างอิง ........................................................................................................................................................................ ......................(ลงรายการที่นำ�มาใช้อ้างอิงทั้งหมดที่ผู้วิจัยได้นำ�มาศึกษา)

21


กิจกรรมที่ 2 จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้ ข้อ1. การตั้งชื่อเรื่องที่ดี ควรมีองค์ประกอบ อะไรบ้าง ................................................................................. ........................................................................................................................................................................ ......................................................................................................................................................................

ข้อ2. จงอธิบายหลักการเขียนตั้งปัญหาการวิจัยในชันเรียน .......................................................................... ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................

ข้อ3. การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ดีควรดำ�เนินการอย่างไร ............................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................

ข้อ4. จงบอกถึงลักษณะของโครงร่างงานวิจัยที่ดี ......................................................................................... ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................

22


เฉลย กิจกรรมที่ 2

ข้อ 1 แนวการตอบคำ�ถาม หน้า 9 ข้อ 2 แนวการตอบคำ�ถาม หน้า 10 ข้อ 3 แนวการตอบคำ�ถาม หน้า 10 - 11 ข้อ 4 แนวการตอบคำ�ถาม หน้า 15-18

23


เล่มที่ 7 แบบประเมินตนเอง ....หลังเรียน การเขียนโครงร่าง งานวิจัยในชั้นเรียน คำ�ชี้แจง : โปรดทำ�เครื่องหมาย Î ทับตัวเลือก ที่ถูกที่สุดเพียงตัวเลือกเดียวตอบลงในกระดาษคำ�ตอบ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------1. การเขียนโครงร่างงานวิจัยมีประโยชน์ในข้อใดมากที่สุด ก. ช่วยให้เห็นอุปสรรคของการแก้ปัญหา ข. ช่วยให้ทราบถึงวิธีวิจัยได้อย่างชัดเจน ค. ช่วยให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายในการวิจัย ง. ช่วยให้เห็นลู่ทางการแก้ไขปัญหา 2. องค์ประกอบในข้อใดไม่ใช่ องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน ก. ทำ�อะไร ข. ทำ�ทำ�ไม ค. ทำ�เมื่อไหร่ ง. ได้ผลอย่างไร 3. การเขียนโครงร่างการวิจัยเปรียบได้กับข้อใด ก. การเขียนเป้าหมายในการออกแบบบ้าน ข. การเขียนแบบบ้านในการก่อสร้าง ค. การตกแต่งบ้าน ง. การต่อเติมบ้าน 4. ชื่อเรื่องของการวิจัยในชั้นเรียนควรมีลักษณะอย่างไร ก. สั้น กะทัดรัดแต่ได้ใจความครบถ้วนตามที่ผู้วิจัยต้องการสื่อ ข. เขียนตามที่ผู้ศึกษาชอบ ค. เขียนตามที่ผู้บริหารสั่ง ง. เขียนให้สอดคล้องกับแผนงาน/โครงการที่ทำ�

24


5. ข้อใดคือปัญหาการวิจัย ก. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้น ป.4 เรื่อง สมการ ระหว่าง การสอนโดยใช้ชุดการสอนกับการสอนแบบบรรยาย ข. การสอนแบบใดที่ทำ�ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ มากกว่ากันระหว่างการสอนโดยใช้ชุดการสอนแบบบรรยาย ค. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ง. ชุดการสอน 6. การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยต้องเขียนอย่างไร ก. เขียนให้สอดคล้องกับประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง ข. เขียนสั้น กะทัดรัด ได้ใจความ ค. ต้องสอดคล้องกับปัญหาการวิจัย ง. ระบุว่าศึกษากับใคร 7 . ปฏิทินปฏิบัติงานวิจัยควรประกอบด้วยอะไรบ้าง ก. ชื่อเรื่อง ข. ชื่อผู้จัดทำ�วิจัย ค. ระยะเวลา ง. กิจกรรม ขั้นตอน และระยะเวลา 8. ส่วนที่ชี้ให้เห็นว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาค้นคว้าอะไร ตรงกับข้อใด ก. กรอบแนวคิดในการวิจัย ข. สมมติฐานการวิจัย ค. ชื่อเรื่องการวิจัย ง. วัตถุประสงค์การวิจัย 9. หลักการเขียนประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยควรเขียนอย่างไร ก. เขียนเป็นความเรียง ข. สอดคล้องกับความมุ่งหมายการวิจัย ค. สอดคล้องกับตัวแปร ง. เขียนอย่างไรก็ได้

25


10. ข้อใดเป็นลักษณะของการเขียนโครงร่างงานวิจัยที่ดี ก. มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่แน่นอน ข. มีสาระสำ�คัญครบถ้วน และต่อเนื่อง ค. มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ง. ถูกทุกข้อ

เฉลยแบบประเมินตนเอง ก่อนและหลังเรียน ข้อ 1. ข ข้อ 2. ง ข้อ 3. ข ข้อ 4. ก ข้อ 5. ข ข้อ 6. ค ข้อ 7. ง ข้อ 8. ง ข้อ 9. ข ข้อ 10. ง

26


แบบบันทึกสรุปผลการศึกษาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เล่มที่ 7 ………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………

27


บรรณานุกรม ครุรักษ์ ภิรมย์ษ์. (2543). เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2 .ชลบุรี: โรงพิมพ์ งามช่าง. ทิศนา แขมมณี. (2546). เก้าก้าวสู่ความสำ�เร็จในการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว) จำ�กัด. ประวิต เอราวรรณ์. (2545). การวิจัยในชั้นเรียน (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์ดอก หญ้าวิชาการจำ�กัด. ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกุล. (2543). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พวงรัตน์ ทวัรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. พิสนุ ฟองศรี. (2549). การวิจัยในชั้นเรียน : หลักการและเทคนิคปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด. ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ ฯ : สุวีริยาสาส์น. วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2546). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น. วิจัยทางการศึกษา, กอง. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์การศาสนา. วิชาการ, กรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). การเขียนรายงานวิจัย. ม.ป.ท. สมคิด พรมจุ้ย. (2540). การโครงการวิจัย หลักการและแนวปฏิบัติ. ม.ป.ท. สมทรง อัศวกุล. (2537). เอกสารประกอบการสอนวิชาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. พิมพ์ ครั้งที่ 3 นครราชสีมา : ภาควิชาทดสอบและวิจัยทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏ นครราชสีมา. สุวิมล ว่องวาณิช. (2544). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ ไทยอักษร. อุทุมพร จามรมาน. (2533). การเขียนโครงร่างการวิจัย เล่มที่ 9. กรุงเทพ ฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. อุทุมพร จามรมาน. (2537). การวิจัยครู. ม.ป.ท.

28


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.