นิทานเรื่องศรีปราชญ์

Page 1

นิทานเรื่องศรีปราชญ์ จัดทาโดย นางสาวสุกัญญ นวลเกลี้ยง ปวส.1/1 สาขา บัญชี


สันนิษฐานว่า ศรีปราชญ์ คงจะเกิดในปี พ.ศ. 2196 หรือ 3 ปี ก่อนที่สมเด็จพระนารายณ์เสด็จขึ้น ครองราชย์แทนสมเด็จศรีสุธรรมราชา พระโหราธิบดี บิดาของศรีปราชญ์เข้ารับราชการในรัชสมัยสมเด็จ พระนารายณ์ ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่ง โคลงบทหนึ่ง ว่า

อันใดย้าแก้มแม่ ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย

หมองหมาย ลอบกล้า

แล้วก็ทรงติดขัด แต่งอย่างไรก็ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงพระราชทานให้แก่พระโหราธิบดี (บิดาของศรีปราชญ์) ซึ่งนอกจากจะมีความสามารถทางด้านพยากรณ์แล้ว ยังมีความรู้ ความสามารถอื่นๆอีกรอบด้าน โดยเฉพาะทางด้านการแต่งโคลงกลอนซึ่งถือเป็นมือหนึ่งในสมัย นั้นเลยทีเดียวเมื่อพระโหราธิบดีได้รับแผ่นชนวนก็มีความคิดที่จะแต่งต่อเลยทันทีแต่ทว่าไม่ สามารถแต่งต่อได้พระโหราธิบดีจึงขอพระราชทานนากระดานชนวนนั้นกลับมาที่บ้านเมื่อถึง บ้านแล้วท่านก็นากระดานชนวนไปไว้ที่ห้องพระเนื่องจากถือเป็นของสูง แล้วก็ไปอาบน้าชาระ ร่างกาย ศรีปราชญ์บุตรชายวัย 7 ขวบก็คิดจะเข้ามาหาพ่อที่ห้องพระ แล้วก็เหลือบไปเห็น กระดานชนวนที่วางอยู่จึงแต่งต่อว่า อันใดย้าแก้มแม่ ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย ผิวชนแต่จักกราย ใครจักอาจให้ช้า

หมองหมาย ลอบกล้า ยังยาก ชอกเนื้อเรียมสงวน


เมื่อพระยาโหราธิบดีอาบน้าเสร็จ ก็เข้ามาที่ห้อง พระแล้วสังเกตว่ากระดานวางอยู่ต่างจากเดิม จึง คิดในใจว่า ต้องเป็นฝีมือของเจ้าศรี บุตรชายของ ตนเป็นแน่ แต่ว่า เมื่อเห็นโคลงที่บุตรชายของตน แต่งต่อก็หายโกรธในทันที แล้ววันรุ่งขึ้น พระยา โหราธิบดีก็นากระดานชนวนนั้น ไปถวายสมเด็จ พระนารายณ์

พอวันรุ่งขึ้นหลังจากเข้าเฝ้าถวายแผ่นกระดาน ชนวนแด่องค์สมเด็จพระนารายณ์แล้ว พระองค์ ทอดพระเนตรเห็นบทโคลงที่แต่งต่อ ก็ทรงพอ พระราชหฤทัย ตรัสชมเชยพระยาโหราธิบดีเป็นการใหญ่ พร้อมกับจะปูนบาเหน็จรางวัลให้ แต่ ทว่า หากท่านพระยาโหราธิบดีแกรับพระราชทานบาเหน็จโดยกราบทูลความจริงให้ทรงทราบ หากวันใดทรงทราบความจริงเข้า โทษสถานเดียวคือ "หัวขาด" ด้วย "เพ็ดทูล" พระเจ้าอยู่หัว ดังนั้น ท่านจึงกราบบังคมทูลความจริงให้ทรงทราบว่าแท้ที่จริงแล้ว

ผู้ที่แต่งโคลงต่อจากพระองค์ มิใช่ข้าพระพุทธเจ้า แต่เป็นเจ้าศรีบุตรชายของ ข้าพระพุทธเจ้า ซึ่งทาไปด้วยความซุกซน ต้องขอพระราชทานอภัยโทษแก่มันด้วย ควรมิควร แล้วแต่จะทรงพระกรุณา


เมื่อองค์สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ได้ ทรงสดับความจริงจาก พระยาโหราธิบดี แทนที่ จะทรงกริ้ว กลับทรงพอ พระราชหฤทัยยิ่งขึ้น ถึงกับทรงพระสรวลลั่น ท้องพระโรง และตรัสกับ ท่านพระยาโหรา ฯว่าบ๊ะ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น พ่อเก่งอย่างไร ดูรึ ลูกชายก็เก่งปานกัน หากเราจะขอให้เจ้านาบุตรของ ท่านเข้าถวายตัวเพื่อรับราชการแต่บัดนี้ เจ้าจะว่ากระไร พระยาโหร ฯ ได้ยินเช่นนั้น ก็ถวาย บังคมยกมือขึ้นเหนือเศียร รับใส่เกล้า ฯ ใส่กระหม่อม แล้วจึงกราบบังคมทูลว่า

ขอเดชะ พระอาญาไม่พ้นเกล้า ฯ การที่พระองค์โปรดที่จะให้เจ้าศรีบุตรชายของ ข้าพระพุทธเจ้า เข้าถวายตัวเพื่อรับราชการนั้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น แต่ เนื่องจากบุตรของข้า ฯ ยังเยาว์วัยเพียง 7 ชันษา ยังซุกซนและไม่ประสาในการที่จะรับใช้ใต้เบื้อง พระยุคลบาท เอาไว้ให้เขาเจริญวัยกว่านี้สักหน่อย ค่อยว่ากันอีกที ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระ กรุณา จะว่าไปแล้ว ท่านพระยาโหราธิบดีนั้น ท่านรู้อยู่แก่ใจของท่านดีว่า หากให้เจ้าศรีเข้ารับ ราชการเมื่อไร ก็เร่งเวลาให้เจ้าศรีอายุสั้นมากเท่านั้น ด้วยทราบอุปนิสัยใจคอลูกชายของท่านดี ประกอบกับพื้นดวงชะตาที่ได้คานวณเอาไว้ บ่งบอกชัดเจนว่า เจ้าศรีอายุจะสั้นด้วยต้องอาญา ดังนั้น เมื่อองค์สมเด็จพระนารายณ์ทวงถามเรื่องเจ้าศรีทีไรท่านพระยาโหรก็ต้องหาเรื่องกราบ ทูลผลัดผ่อนเรื่อยไป


จนกระทั่งเจ้าศรีอายุได้ 15 ปี ได้ศึกษาสรรพวิทยาการต่าง ๆ จากท่านพระยาโหร ฯ ผู้เป็น พ่อจนหมดสิ้นแล้ว ท่านพระยาโหร ฯ จึงได้ถามความสมัครใจว่า อยากจะเข้าไปรับราชการใน วังหรือไม่ ซึ่งเจ้าศรีนั้นก็ดีใจ และเต็มใจที่จะเข้าไปรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ดังนั้น เมื่อ พระนารายณ์ทรงทวงถามอีกครั้งหนึ่ง ท่านพระยาโหรฯ จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือผลัดผ่อนได้อีก แต่ก่อนที่จะนาเจ้าศรีเข้าถวายตัวนั้น ได้ทรงขอพระราชทานคาสัญญาจากสมเด็จพระนารายณ์ 1 ข้อ คือ เมื่อเจ้าศรีเข้ารับราชการแล้ว หากกาลต่อไปภายหน้า ถ้ามันกระทาความผิดใด ๆ ที่ไม่ใช่ ความผิดต่อราชบัลลังก์ และมีโทษถึงตาย ก็ขอได้โปรดงดโทษตายนั้นเสียหากจะลงโทษจริง ๆ ก็ขอเพียงให้เนรเทศให้พ้นไปจากเมือง อย่าให้ต้องถึงกับประหารชีวิต ซึ่งพระองค์ก็พระราชทานสัญญานั้นโดยดี ทาให้ท่านพระยาโหร ฯ บรรเทาความวิตก กังวลไปได้มากทีเดียว

สาเหตุของการเนรเทศ

ตอนที่สมเด็จพระนารายณ์เดินทางไปประพาส ยังป่าแก้ว พระยารามเดโชโดนลิงอุจจาระลง ศีรษะบรรดาทหารต่างๆก็หัวเราะ สมเด็จพระ นารายณ์ที่บรรทมอยู่จึงตื่นขึ้นแล้วตรัสถาม อามาตย์แต่ไม่มีใครกล้ากราบบังคมทูลเพราะ กลัวจะไม่สบพระราชหฤทัยสมเด็จพระนารายณ์จึงเรียกมหาดเล็กศรีมาถาม ฝ่ายเจ้าศรีรับใช้มา นานจนทราบพระราชอัธยาศัยจึงกราบบังคมทูลด้วยคาคล้องจองว่า พยัคฆะ ขอเดชะ วานระ ถ่ายอุจจาระ รดศีรษะ พระยารามเดโช สมเด็จพระนารายณ์พอพระทัยเป็นอย่างมากแต่นั่นก็เป็น การสร้างความขุ่นเคืองให้พระยารามเดโชเป็นอย่างมาก สมเด็จพระนารายณ์ถึงกับตรัสว่า ศรีเอ๋ย เจ้าจงเป็นศรีปราชญ์ตั้งแต่บัดนี้เถิด


ในคืนวันลอยกระทงศรีปราชญ์ได้ดื่มสุราแล้วเมาจากนั้นก็เดินไปข้าง ๆ ท้าวศรีจุฬา ลักษณ์เพราะฤทธิ์สุรา ท้าวศรีฯ เห็นศรีปราชญ์มายืนข้างๆก็ไม่พอพระทัยจึงว่าศรีปราชญ์เป็น โคลงว่า

หะหายกระต่ายเต้น

ชมจันทร์

มันบ่เจียมตัวมัน

ต่าต้อย

นกยูงหากกระสัน

ถึงเมฆ

มันบ่เจียมตัวน้อย

ต่าเตี้ยเดียรฉาน ฯ

ศรีปราชญ์ได้ยินดังนั้นก็รู้ว่าพระสนมเอกได้หาว่าตนเป็นเดียรฉานจึงย้อนไปเป็นโคลงว่า

หะหายกระต่ายเต้น

ชมแข

สูงส่งสุดตาแล

สู่ฟ้า

ระดูฤดีแด

สัตว์สู่ กันนา

อย่าว่าเราเจ้าข้า

อยู่พื้นดินเดียว ฯ

สนมเอกได้ฟังก็ไม่พอ พระทัยจึงไปทูลฟ้องสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระองค์จึงให้ศรีปราชญ์ไป อยู่ในคุกหลวงแต่ไม่ต้องไปทางานเหมือนนักโทษคนอื่นๆ พระยารามเดโชเห็นดังนั้นจึงให้ศรี ปราชญ์มาทางานเหมือนนักโทษคนอื่นๆ ฝ่ายศรีปราชญ์นั้นเก่งแต่ทางโคลงมิได้เก่งทางด้านการ ใช้แรงงาน ทางสนมเอกฯ ได้ข่าวก็เสด็จไปที่ที่ศรีปราชญ์ขุดคลองอยู่ เมื่อพระสนมเอกได้ตรัสว่า ศรีปราชญ์สมพระทัยแล้วจึงเสด็จกลับ แต่ต้องสวนกลับทางที่ศรีปราชญ์ได้ขนโคลนไปแล้ว พวกนางรับใช้ของพระสนมเอกหมั่นไส้จึงขัดขาศรีปราชญ์ ดังนั้นโคลนจึงหกใส่พระสนมเอก ซึ่งมีโทษถึงประหาร แต่พระโหราธิบดีได้เคยทูลขอกับสมเด็จพระนารายณ์ฯ ว่า หากเจ้าศรีทาผิด


แล้วมีโทษถึงประหาร ขอพระราชทานให้ลดโทษเหลือเพียงเนรเทศ ดังนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงเนรเทศศรีปราชญ์ไปเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งที่เมืองนครศรีธรรมราชนี้เองที่ศรีปราชญ์ สามารถแสดงทักษะด้านกวีได้อีกเช่นกัน เพราะว่าท่านเจ้าเมืองเองก็มีใจชอบด้านกวีอยู่แล้ว และ ด้วยความเป็นอัจฉริยะของศรีปราชญ์นี้เองที่ทาให้ท่านเจ้าเมืองโปรดปรานเขา

แต่แล้วศรีปราชญ์ไปมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับภรรยาน้อย ของท่านเจ้าเมืองเข้า ท่านเจ้าเมืองโกรธมากและหึงหวงภรรยา น้อย จึงสั่งให้นาตัวศรีปราชญ์ไปประหารชีวิต ศรีปราชญ์ ประท้วงโทษประหารชีวิตแต่ท่านเจ้าเมืองไม่ฟัง ซึ่งปัจจุบันเชื่อ กันว่าสถานที่ใช้ล้างดาบที่ใช้ประหารชีวิตศรีปราชญ์นั้น ตั้งอยู่ ภายในโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกว่า "สระล้างดาบศรีปราชญ์" และก่อนที่เพชฌฆาตจะลง ดาบประหารศรีปราชญ์ได้ขออนุญาตเขียนโคลงบทสุดท้ายไว้ กับพื้นธรณีว่า

ธรณีนี่นี้

เป็นพยาน

เราก็ศิษย์มีอาจารย์

หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร

เราชอบ

เราบ่ผิดท่านมล้าง

ดาบนี้คืนสนอง ฯ

ในขณะที่ถูกประหารนั้นศรีปราชญ์มีอายุประมาณ 30 หรือ 35 ปี ได้ข่าวการประหารศรีปราชญ์ แพร่ไปถึงพระกรรณของสมเด็จพระนารายณ์ผู้ซึ่งใคร่จะเรียกตัวศรีปราชญ์มาใช้งานในเมือง หลวงพระองค์ทรงพระพิโรธเจ้าเมืองนคร ฯ ผู้ซึ่งกระทาการโดยปราศจากความเห็นชอบของ


พระองค์ และเมื่อพระองค์ได้ทราบถึงโคลงบทสุดท้ายของศรีปราชญ์จึงมีพระบรมราชโองการ ให้นาเอาดาบที่เจ้าพระยานคร ฯ ใช้ประหารศรีปราชญ์แล้วนั้นนามาประหารชีวิตเจ้า นครศรีธรรมราช ให้ตายตกไปตามกัน สมดังคาที่ศรีปราชญ์เขียนไว้เป็นโคลงบทสุดท้ายก่อน สิ้นชีวิตว่า “ ดาบนี้คืนสนอง ”


แหล่งที่มาอ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0% B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B9%8C



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.