นิทานเรื่องศรีธนชัย

Page 1

นิทานเรื่องศรีธนชัย จัดทาโดย นางสาวขวัญกมล จันมิตร ปวส1/1 เสาร์-อาทิตย์ สาขาบัญชี 573036


ความเป็นมา ศรีธนญชัย เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านประเภทนิทาน มุขตลกคนเจ้าปัญญา และเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะมา ก่อนที่จะมีการสร้างสรรค์เป็นวรรณกรรมลายลักษณ์ ในรูปแบบของร้อยกรองที่แต่งด้วยคาประพันธ์ ประเภทกาพย์และกลอนเสภา และรูปแบบที่เป็นร้อย แก้ว นิทานศรีธนญชัยมีมาแต่โบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับต้นกาเนิด สมัยที่แต่ง และชื่อผูแ้ ต่ง วรรณกรรมเรื่องนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดเรื่องหนึ่งในท้องถิ่นต่างๆ ของ ไทยตราบถึงปัจจุบัน ภาคกลางและภาคใต้รู้จักกันในชื่อ “ศรีธนญชัย” ส่วนภาคเหนือและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือรู้จักกันในชื่อ “เชียงเมี่ยง” แม้นิทานศรีธนญชัยจะมีหลายสานวน แต่ก็มี ลักษณะร่วมกันในด้านโครงเรื่อง คือ เป็นเรื่องราวชีวิตของชายผู้หนึ่งซึ่งใช้ปฏิภาณไหวพริบเอา ตัวรอดหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ผ่านพ้นไปได้โดยลาดับ ตั้งแต่วัยเด็กจนสิ้นอายุขัย เหตุการณ์ แต่ละตอนมีลักษณะเป็นเรื่องสั้นๆ ซึ่งสามารถหยิบยกมาเล่าแยกกันได้ วรรณกรรมเรื่องนี้แสดงให้เห็นภูมิปัญญาและพลังทางปัญญาในการสร้างสรรค์ อันกอปรด้วย ศิลปะของการถ่ายทอดเรื่องราวที่ทาให้เกิดอารมณ์ขัน โดยแสดงความเจ้าปัญญาของตัวเอกใน ลักษณะที่คาดไม่ถึง หรือพลิกความคาดหมายได้อย่างออกรส และแสดงพลังทางภาษาด้วยการ นาเอาถ้อยคา สานวนมาเล่นคา เล่นความหมายได้ตามความต้องการ ซึ่งนอกจากจะใช้ความเถร ตรงแล้ว ยังใช้กลวิธีอื่นๆ อีก เช่น การใช้กลอุบายการใช้จิตวิทยา และการหาเหตุผลโดยการ เชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ที่ปกติไม่ค่อยมีใครนามาสัมพันธ์กัน หรือโดยการมองสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปใน ทิศทางที่ตรงกันข้ามกับคนอื่นมาแก้ไขปัญหาหรือ เอาตัวรอดได้


เมื่อพินิจนิทานศรีธนญชัยอย่างลึกซึ้งจะ เห็นได้ว่า ศิลปะการสร้างสรรค์ดังกล่าวทาให้ นิทานศรีธนญชัย มิได้มีคุณค่าด้านการให้ความ บันเทิงหรือสนุกสนานเพลิดเพลินเท่านั้น แต่ยังมี คุณค่าที่ให้สาระด้านความคิดด้วย กล่าวคือ ได้ แฝงแนวคิดร่วมหรือแนวคิดที่เป็นสากลของ มนุษยชาติ คือเรื่องความสาคัญของการใช้ปัญญา ปฏิภาณไหวพริบ เรื่องความขัดแย้งกับบุคคล และความขัดแย้งกับค่านิยมของสังคม และ เรื่อง “เสียหน้า” โดยได้นาสภาพแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมไทยมาสอดแทรกไว้ในเนื้อหา ได้อย่างกลมกลืน นอกจากนี้ ยังทาให้ประจักษ์ถึงสัจธรรมเกี่ยวกับความไม่เที่ยงที่ว่า ไม่มีผู้ใดจะ ครองความเป็นผู้ชนะได้ตลอดกาล และทาให้ได้คิดว่า ควรใช้ปัญญาไปในทางสร้างสรรค์มิใช่ ทาลาย นิทานศรีธนญชัยเป็นที่ชื่นชอบของคนทั้งหลายก็เพราะสามารถทาให้เกิดอารมณ์ร่วมไป กับเรื่องราวที่อยู่ในโลกสมมุติได้อย่างเต็มที่ เสียงหัวเราะอันเกิดจากความหฤหรรษ์ในการ ล้อเลียนเสียดสีบุคคล หรือกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดในสังคมนั้นแสดงให้เห็นบทบาทของ “มุกตลก” ว่าเป็นทางออกที่ช่วยผ่อนคลายหรือลดความตึงเครียดของคนในสังคมได้อย่างแยบคาย นิทาน ศรีธนญชัยจึงสะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาของ ความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่ายิ่ง ปัจจุบัน นิทานศรีธนญชัย ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในสังคมไทย และเป็นที่รู้จัก ของชาวต่างชาติด้วย เนื่องจากลักษณะเด่นของศรีธนญชัยคนเจ้าปัญญา ทาให้เกิดแรงบันดาลใจ ให้มีการนาไปสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะในหลายรูปแบบ เช่น จิตรกรรมฝาผนัง ในพระวิหารวัด ปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์การ์ตูน เป็น ต้น


เนื้อเรื่อง นานมาแล้ว มีนางแก้วผู้หนึ่งเป็นคนใจบุญ ชอบทาบุญ ทาทานเสมอ ตลอดพรรษานางไปทาบุญอยู่ที่วัดหนึ่งมิเคย ขาด วันหนึ่ง ใจนางคิดอยากจะไปทาบุญอีกวัดหนึ่งที่อยู่คน ละฝั่งแม่น้ากับที่นางอยู่ เมื่อนางเตรียมข้าวปลาอาหาร พร้อมแล้วที่จะไปตักบาตร เผอิญวันนั้นฝนเกิดตกหนักน้า ท่วมนางก็ไม่อาจจะข้ามไปได้ มีพระรูปหนึ่งพายเรือผ่าน ไป นางขอโดยสารข้ามฟากไปกับพระ พระรูปนั้นรีบร้อน ไม่ยอมหยุดฟังคาพูดของนางเลย พายเรือมาชาติใดก็ขอให้ มีลูกชาย ให้ได้อยู่ร่วมกับพระรูปนั้นและใช้กรรมเวรนี้ให้ จงได้ พลางนางก็โยนของที่เตรียมจะไปทาบุญตักบาตรลง ไปในน้า ต่อมานางก็มีลูกเป็นชายคนหนึ่งพออายุได้ ๑๑ – ๑๒ ขวบ นางก็ส่งไปอยู่วัดตั้งชื่อลูก ว่า ‘' ไอ้กะตาป๋า '' ( ศรีธนญชัย ) และได้ไปอยู่กับพระรูปที่ไม่ให้นางโดยสารเรือไปด้วยในวันที่ นางจะไปทาบุญตัก บาตรวัดฝั่งตรงข้ามบ้านของนาง คาอธิษฐานของนางก็เป็นความจริง เพราะ ศรีธนญชัยลูกของนางก็ได้มาใช้กรรมเวรเหมือนดังคาอธิษฐานที่นางได้ตั้ง ไว้ วันหนึ่งพระสั่ง ให้เอาผ้าไปซัก ศรีธนญชัยซักเสร็จแล้วก็เอาไปตากไว้ที่กองทราย มีหมาตัวหนึ่งผ่านมา ศรีธนญ ชัยนึกในใจว่าจะต้องแกล้งพระรูปนี้สักหน่อย จึงไปหาน้าตาลอ้อยกับงาดามาผสมกันแล้วปั้น เป็นก้อนกลม ๆ เอาไปวางไว้บนผ้าพระที่ตากไว้ พระมาเห็นเข้านึกว่าเป็นขี้หมาก็เอ็ดศรีธนญชัย ว่า ‘' แกนี่มันทาไมถึงโง่นัก ซักผ้าตากไว้ก็ไม่เฝ้า ปล่อยให้หมามาขี้รดเสียแล้ว แกกินขี้หมานี้เข้า ไปเสียนะ ถ้าแกไม่กินข้าจะเขกหัวแกเดี๋ยวนี้แหละ ''ศรีธนญชัยก็แก้ตัวว่า‘' กระผมมั่วแต่ไป ทางาน เลยไม่ได้อยู่เฝ้าผ้า '' ฝ่ายพรดะก็บังคับให้ศรีธนชัยกินให้ได้ ศรีธนญชัยก็หยิบขึ้นมากิน หน้าตาเฉย พระสงสัยก็ถามว่า ‘' แกกินอย่างอร่อยเชียวนะ ‘' ศรีธนญชัยตอบว่า ‘' ขอรับกระผม ขี้หมาตัวนี้อร่อยมาก '' พระขอลองชิมดู ก็เลยสั่งศรีธนญชัยว่า พรุ่งนี้ถ้าหมาตัวนี้ผ่านมาให้จับไว้ นะ บีบเอาขี้หมาออกมาให้หมด วันรุ่งขึ้นอหมาผ่านมา ศรีธนญชัยก็ล่อหมาไปเอาประตูหนีบตัวมันไว้ จนหมาขี้ไหลออกมาก็ เรียกพระให้มากินขี้หมา ตอนนี้ก็ได้แก้แค้นให้แม่ไปได้ตอนหนึ่งแล้วต่อมาอีกวันหนึ่ง พระมี ธุระเข้าไปในเมืองก็สั่งศรีธนญชัยว่า ‘' ใครมาเรียกอย่าเปิดประตูนะให้บอกว่า พระท่านไม่ให้


เปิด '' ตกดึกคืนนั้นพระกลับมาจากธุระ ก็ตะโกนเรียก ให้ศรีธนญชัยเปิดประตูให้ ‘' ไอ้ศรีธนญชัยข้ากลับ มาแล้ว เปิดประตูที '' ศรีธนญชัยตะโกนตอบว่า ‘' หลวง พี่สั่งไม่ให้เปิด '' ‘' ก็ข้ากลับมาแล้ว ข้าเอง เปิดประตูเร็ว ๆ เข้า ‘' ช่างเถอะ หลวงพี่สั่งไม่ให้เปิด ตกลงพระนั้นก็ ไม่ได้เข้าห้อง ต้องนอนตัวงอก่ออยู่นอกกุฏินั่นเอง จนกระทั่งสว่างหลายปีต่อมา ศรีธนญชัยอายุมากขึ้น ร่า เรียนอะไรก็ไม่สาเร็จ ดีแต่แกล้งพระ วันหนึ่งก้ไปหา พระแล้วบอกว่าตนจะไปค้าขายเกลือ พระก็ขอไปด้วย เพราะอยากจะไปเห็นบ้านเมืองอื่นบ้าง พระมีม้าอยู่ตัวหนึ่ง ศรีธนญชัยมันรู้ว่าพระจะขี่ม้าไป พอดีตอนนั้นเป็นฤดูที่ต้นหมามุ่ยออก ดอกมันก็ไปเก็บเอามาเคาะใส่อานม้าไป ศรีธนญชัยก็หาบเกลือเดินตามไป พระก็คันก้นเกาไป ตลอดทางเพราะโดนหมามุ่ย เมื่อขี่ม้ามาทันศรีธนญชัยแล้ว ก็ชวนให้ศรีธนญชัยแลกม้าขี่ พรดะ อาสาหาบเกลือให้ ฝ่ายศรีธนญชัยเมื่อได้ม้าขี่แล้วก็รีบขี่ม้าไปอย่างเร็ว ส่วนพระหาบเกลือมา หนักมาก ตามศรีธนญชัยไม่ทัน ก็เลยคิดได้ว่าจาเป็นที่จะต้องหาบเกลือไปซ่อนก็กลัวคนเห็น เลย ตกลงใจซ่อนไว้ในน้า พระก็เอากาบเกลือทิ้งลงไปในน้าตรงที่ลึกจนมองไม่เห็น แล้วก็ออก เดินทางตามศรีธนญชัยไปจนทัน ฝ่ายศรัธนญัยไม่เห็นหาบเกลือก็ถามว่า ‘' พระเอาหาบเกลือไป ไว้ที่ไหนเสียล่ะ ‘' ‘' เราเอาไปซ่อนไว้ในน้าเสียแล้ว ‘' ศรีธนญชัยก็ชวนพระให้กลับไปงมหาแล้ว พูดว่า ‘' ปลาคงจะเอาไปกินเสียแล้วถ้างมได้ปลาดุกขึ้นมาก็ตบหูปลาดุก เงี่ยงปลาดุกก็ตามือพระ จนทะลุออกมาอีกข้าง พระก็ร้องด้วยความเจ็บปวด และบอกว่าข้าเจ็บมือไปไหนไม่ได้แล้ว เอ็ง ต้องหามข้าไปนะ ศรีธนญชัยตอบว่า '' พระ เราก็มากันสองคนเท่านั้น จะหามกันไปได้อย่างไร ล่ะ'' ศรีธนญชัยก็ปิ่นขึ้นไปบนเขาแล้วก็กลิ้งก้อนกินลงมาทางที่พระนั่งอยู่พร้อม ทั้งตะโกนว่า ‘' ไม่เสือก็หมี ไม่หนีก็ตายเน้อ '' พระกลัวกินจะตกมาทับก็เลยวิ่ง มาจนถึงวัดก็จัดการเอาปลาดุกตัว ที่งมได้นั้นมาปิ้ง สั่งศรีธนญชัยว่าให้เก็บไว้ให้ตนกินบ้าง ศรัธนญชัยกลับกินเสียจนหมด ทิ้งแต่ ก้างไว้ให้กิน แล้วไปหาแมลงวันตัวหนึ่งมาขังไว้ในกล่องข้าว พอพระสั่งให้ศรีธนญชัยให้เอา ข้าวมาให้ พอเปิดกล่องก็มีแมลงวันบินออกมา ศรีธนญชัยก็บอกว่า ‘' หมดแล้วแมลงวันกิน หมดแล้ว เหลือแต่ก้าง เรามาหลอกฆ่าแมลงวันไหมล่ะหลวงพี่ ‘' แล้วศรีธนญชัยก็สานตะแกรง มาให้พระแล้วบอกว่า ‘' ถ้าแมลงวันเกาะผมให้หลวงพี่เอาตะแกรงนี่ตบนะ หากแมลงวันเกาะ หลวงพี่ผมจะตีเอาบ้าง '' เมื่อต่างสัญญากันแล้ว พอแมลงวันเกาะศรีธนญชัยพระก็เอาตะแกรงตบ


เจ็บสักเล็กน้อย แต่พอแมลงวันหนีบินมาเกาะที่ศรีษะพระ พระก็บอกศรีธนญชัยว่า ‘' เอาเลย ตี เลย ‘' ศรีธนญชัยก็เอาค้อนตีไปบนหน้าผากพระ จนพระถึงแก่ความตาย เป็นอันว่าการใช้หนี้ กรรมการทาเวรกันก็จบเรื่องศรีธนญชัยเบียดเบียนพระเพียง เท่านี้ วันหนึ่งศรีธนญชัยนึกอยากไปเล่นหมากรุกกับพระที่วัด เดินจากบ้านมาถึงริมน้าเห็นเณร องค์หนึ่งพายเรือผ่านมา จึงเรียกให้จอดบอกว่า "ขอข้ามเรือสักที" เณรองค์นั้นรีบจอดเรือแล้วทา ทีเป็นเดินข้ามไปข้ามมา ยอดตลกหลวงเจอดีเข้าแล้วรีบบอกว่า "นี่พ่อเณรขออาศัยนั่งเรือข้าม ฟากไปวัดด้วยคน" เณรจึงให้นั่งเรือไปด้วยแต่กลับลุกขึ้นยืนพายอย่างตั้งอกตั้งใจศรีธนญชัยเกรง เรือจะล่มจึงถามไปว่า "ทาไมไม่นั่งพายเล่าพ่อเณร" เณรองค์นั้นก็เอาพายพาดเรือแล้วนั่งทับพาย ไว้ ยอดตลกหลวงเสียทีเณรสองครั้งสองคราติดต่อกันก็คั่งแค้นใจเพราะไม่เคยพ่ายแพ้เชาว์ ปัญญาใครมาก่อน รีบบอกให้เณรพายเรือเหมือนชาวบ้านชาวเมืองเขาพายกันตามปกติเถิด เณร จึงถามว่าจะขึ้นตรงไหน ศรีธนญชัยกาลังโกรธก็ว่าจะจอดตรงไหนก็ตามใจเถิด เณรเห็นหมู่กอ ไผ่ขึ้นเรียงรายอยู่ริมตลิ่งจึงเสือกหัวเรือเข้าไปยอดตลกหลวงเสียทีเป็นครั้งที่ 3ต้องลุยหนามไผ่ หรือหนามซอเกือบครึ่งค่อนวันจึงหลุดออกมาได้ อยู่ต่อมาไม่นานสามเณรซึ่งเฆี่ยนศรีธนญชัย ด้วยแส้ปัญญาจนพ่ายแพ้ยับเยินนึกอยากรับราชการจึงขออนุญาตโยมพ่อโยมแม่และอุปัชฌาย์สึก แล้วไปถวายตัวกับพระเจ้าภูเบศปฎิบัติหน้าที่อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง จนได้เลื่อนขึ้นเป็นนายเวร ผู้พิจารณาความชั้นต้น

วันหนึ่งสองตายายมาร้องเรียนว่าศรีธนญชัยได้ ขอยืมเงินไปหนึ่งชั่งห้าตาลึงบอกสองเดือนจะ นามาคืนให้แต่นผี่ ่านมาปีกว่า ไปทวงครั้งใดก็ทา นิ่งเฉย นายเวรเรียกคู่ความมาสอบสวน ศรีธนญชัย ก็อ้างข้อความในสัญญาบอกสองเดือนจะใช้หนี้ให้ แต่นี่เพิ่งเดือนเดียวเท่านั้น จะรีบทวงไปทาไม นาย เวรรู้ทันเล่ห์ถามว่าท่านหมายถึงเดือนบนฟ้าใช่


หรือไม่ เมื่อยอดตลกหลวงรับว่าใช่ นายเวรจึงเรียกมาตัดสินในเวลากลางคืนพร้อมชี้ให้ดูเดือน บนท้องฟ้ากับเดือนอีกดวงหนึ่งที่ปรากฏเงาอยู่ในน้ารวมเป็นสองเดือนพอดี ศรีธนญชัยจาต้องใช้ หนี้คืนโจทก์ไปและชักแน่ใจว่านายเวรหรืออดีตชาติของสามเณรผู้นี้ คือน้องชายของตนกลับ ชาติมาเกิดเพื่อแก้แค้นนั่นเองหลังจากแพ้คดีศรีธนญชัยก็มีแต่ความกลัดกลุ้มใบหน้าเศร้าหมอง ร่างกายซูบผอม โรคภัยเบียดเบียนคิดว่าตนคงจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานจึงให้ภรรยาไปเฝ้าพระเจ้า ภูเบศว่า ตนมีเรื่องสาคัญจะทูลพระเจ้าภูเบศเห็นแก่คนใกล้จะตาย อุตส่าห์รีบเสด็จมาศรีธนญชัย จึงทูลว่า "การที่จะเสวยปลาหมอปิ้งนั้นให้หมั่นกลับอย่าให้หนังแห้งจึงจะอร่อย"พระเจ้าภูเบศ คลั่งแค้นพระทัยตรัสว่า "มึงตายเมื่อไรกูจะให้สนมนางในมาเยี่ยวรดกองกระดูกให้สมใจ" ได้ ฟังดังนั้น ศรีธนญชัยจึงสั่งภรรยาว่า ให้เอาไม้ลังตังมาเผาศพตนห้ามใช้ไม้อย่างอื่น เมื่อนาง ข้าหลวงได้รับพระบัญชาจากพระเจ้าภูเบศก็พากันมาเยี่ยวรดเถ้ากระดูก ของศรีธนญชัย จึง โดนขุยไม้ลังตังฟุ้งเข้าใส่ในร่มผ้าต่างคันคะเยอแหกปากร้องลั่นไปตามๆ กันนับว่ายอดตลก หลวงยังคงรักษาเกียรติภูมิความเป็นผู้มีเชาว์ปัญญาไว้ได้จนวาระสุดท้ายแม้จะใช้ไปในทางฉลาด แกมโกงซะเป็นส่วนใหญ่




อ้างอิง https://sites.google.com/site/thai022ssru/sri-thny-chay/reuxng-yx http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/folk-literature/252-folk/78-----m-s


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.