จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปีที่ 22 ฉ.1 ม.ค.-มี.ค.56

Page 1

อดุลยเดช สารบัญ... 3 ประสบการณการทําวิจัยและสรางสรรค

ของ ผูชวยศาสตราจารยประภากร สุคนธมณี คณะมัณฑนศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร

8 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับคนทํานาประเทศไทย 11 การแยกเชือ้ แบคทีเรียโปรไบโอติกสจากชองจมูก ลูกสุกร 14 ขาวสารความเคลื่อนไหว ปณิธาน “ส่งเสริมการพัฒนาและเผยแพร่การวิจัยและงานสร้างสรรค์” ทุกทานสามารถแสดงความคิดเห็นในการใหบริการของสถาบันวิจัยและพัฒนาได 5 ชองทาง คือ n โทร.0-3425-5808 o Fax.0-3421-9013 p E-mail : research.inst54@gmail.com q Facebook Page : สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.ศิลปากร r แบบสอบถามความพึงพอใจในการใหบริการของสถาบันวิจัยฯ


ที่ปรึกษา

บทบรรณาธิการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

ฉ บั บ นี้ ข อ เ ริ่ ม ต้ น ด้ ว ย ค อ ลั ม น์ เ ปิ ด โ ล ก ก ว้ า ง เ รื่ อ ง “ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภากร สุคนธมณี จากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และจาก...ชุมชน ขอนําเสนอเรื่อง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับ คนทํานาประเทศไทย” โดย นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญ จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ส่วนงานวิจัยขอ แนะนําผลงานวิจัยเรื่อง “การแยกเชื้อแบคทีเรียโปรไบโอติกส์จาก ช่องจมูกลูกสุกร” โดย อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.จารุณี เกษรพิกุล และคณะ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัย ศิลปากร พร้อมด้ วยข่าวสารความเคลื่อนไหวของสถาบันวิจัยและ พัฒนา ขอเชิญท่านติดตามอ่านในเล่มนะคะ

บรรณาธิการ นางอารีย์วรรณ นวมนาคะ

กองบรรณาธิการ นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นางสาววัชรี น้อยพิทักษ์ นางสาวตปนีย์ พรหมภัทร

เผยแพร่โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3425-5808, 0-3421-9013 โทรสาร 0-3421-9013 E-mail : research.inst54@gmail.com Website : http://www.surdi.su.ac.th

สารบัญ เปิดโลกกว้าง 3 ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์

ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภากร สุคนธมณี คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

วัตถุประสงค์

จาก...ชุมชน 8

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับคนทํานาประเทศไทย

จุล สารสถาบันวิจัยและพัฒ นา เป็นจุล สารอิเล็กทรอนิก ส์ (e-journal) ราย 3 เดือน/ฉบับ จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่ ข่ า วสาร กิ จ กรรมต่ า งๆ ของสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา ตลอดจนความรู้ จ ากบทความวิ ช าการ และผลงานวิ จั ย ของ บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยและพัฒนายินดี เป็น สื่อกลางในการเผยแพร่ผ ลงานวิจัย บทความทางวิช าการ และเกร็ดความรู้ต่างๆ ของชาวศิลปากรทุกท่าน

ผลงานวิจัย 10 การแยกเชื้อแบคทีเรียโปรไบโอติกส์จากช่องจมูก ลูกสุกร

ข่าวสารความเคลื่อนไหว 14 การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยและ สร้างสรรค์ “ศิลปากรวิจัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 6 : บูรณาการศาสตร์และศิลป์” 27 สถาบันวิจัยและพัฒนาทําบุญขึ้นปีใหม่ 2556 28 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและกองแผนงานประชุมหารือ ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเตรียม ความพร้อมในการจัดทํางบประมาณฯ

2 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


เปดโลกกวาง

ประสบการณ์การทําวิจยั และสร้างสรรค์ ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภากร สุคนธมณี คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดี สาขาศิลปะและศิลปประยุกต์) จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจําปี 2556

สัมภาษณ์โดย อารีย์วรรณ นวมนาคะ สถาบันวิจัยและพัฒนา

สร้างสรรค์งานทอมัดหมี่ร่วมสมัย” นับเป็นการได้รับ ทุ น สนั บ สนุ น การวิ จั ย สร้ า งสรรค์ ค รั้ ง แรก ไม่ มี ประสบการณ์ ใ นการเริ่ ม ต้ น มาก่ อ น ว่ าต้ องเริ่ม หยิ บ เริ่ ม จั บ เริ่ ม ลงมื อ ปฏิ บั ติ อ ะไรตรงไหนก่ อ นดี (เป็ น เหมือนทุกขลาภ) กว่าจะตั้งสติได้ว่าต้องเริ่มทําตรงไหน ก่อน ก็ผ่านเลยช่วงที่กําหนดหลายเดือน แต่บุคลากร ใหม่เยี่ยงเรา ซึ่งสามารถแต่ในงานศิลปะ ไฉนเลยจะ เก่งกล้าสามารถในเรื่องของการบัญชีและการเงิน จากการได้ลงมือทําในบางส่วนที่มีเรื่องของเงิน ของงบประมาณมาเกี่ย วข้ อง เริ่ม งงกั บ การที่ต้ อ งใช้ ใบสําคัญรับเงิน (บก.111) ใบเสร็จต่างๆ การจ่ายเงินค่า ต่างๆ ตามหมวดต่างๆ ที่ระบุไว้ หลากหลายมากมาย

๑. ประสบการณ์ ก ารทํ า งานวิ จั ย ที่ ผ่ า นมาและ โครงการวิจัยที่ทําอยู่ในปัจจุบัน เข้ามาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๔๘ เขี ย นขอรั บ ทุ น การวิ จั ย เมื่ อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นการชักชวนและผลักดันกันให้เขียนๆๆ “เขียนขอทุนวิจัยกันเถอะ” จากคณาจารย์ในภาควิชา ประยุกตศิลปศึกษา ต่างคนต่างยุให้เขียนโครงการเพื่อ เสนอขอรับทุนการวิจัย จะได้มีงานวิจัยเป็นของตนเอง ไปคิดกันมา เรื่องของใครของมัน ตามเทคนิคที่ตัวเอง ถนัด แต่ให้มานั่งเขียนด้วยกัน มาคุยกันว่าใครทําเรื่อง อะไร ช่วยกันคิด ช่วยกันเกลา ดูการเขียนว่าต้องเขียน อะไรอย่างไร ก็ปั่นส่งกันอย่างสนุกสนาน ทันส่งการปิด รับ ทุ น ในรอบนั้ น พอดี เมื่ อ ผลออกมาเป็น ว่ า เราที่ นั่ ง เขี ย นด้ ว ยกั น ได้ ทุ น กั น หมดทุ ก คน ต่ า งกั น แค่ เ รื่ อ ง งบประมาณการวิ จัย ที่บ างคนได้ เ พิ่ม บางคนถูกลด ตามความเหมาะสม แต่ทุกคนก็ไม่ได้รู้สึกอะไรในส่วน นั้น กลับกังวลเรื่องของการทํางานมากกว่าว่าจะเริ่มทํา อะไรตรงไหนก่ อ น แล้ ว ...จะเอาเวลาที่ ไ หนไปทํ า ล่ ะ ทีน้ี... งานวิจัย/สร้างสรรค์ที่ได้ในครั้งนี้คือ เรื่อง “การ 3

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


จึงต้องหาตัวช่วย เริ่มต้นเข้าไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ของ คณะที่มีประสบการณ์สูงในเรื่องต่างๆเหล่านี้ ซึ่งพี่ท่าน ก็สามารถตอบได้ทุกคําถาม สามารถสร้างความเข้าใจ ได้เป็นอย่างดี ทุกอย่างง่ายขึ้น จึงมีการทาบทามและ ชิงตัวกันเกิดขึ้น ให้พี่เขาเป็นคนทําเรื่องเกี่ยวกับการ บัญชี การเงิน และเอกสารการลงนามปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่ ง ก็ ส ะดวกและช่ ว ยลดความตึ ง เครี ย ดลงไปได้ ม าก ทีเดียว การทํางานได้ทําตามแผนการดําเนินงานแม้จะ ล่าช้าเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง มีการเดินทางไปเก็บข้อมูล หา วั ต ถุ ดิ บ เพื่ อ เตรี ย มเข้ า สู่ ก ระบวนการสร้ า งสรรค์ งานวิ จั ย และกระบวนการเขี ย นเล่ ม รายงานฉบั บ สมบูรณ์

๒. ทุนวิจัยที่ได้รับและเทคนิคการหาทุนเพื่อใช้ใน การสนับสนุนการทําวิจัย ทุ น วิ จั ย ที่ ไ ด้ รั บ ม า จ า ก แ ห ล่ ง เ ดี ย ว คื อ ทุนอุดหนุนการวิจัย /สร้างสรรค์ของสถาบั นวิจั ยและ พัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากรเท่านั้น สําหรับเทคนิค การหาทุ น ของตนเองยั ง ไม่ มี แต่ พิ จ ารณาแล้ ว การ สนับสนุนการวิจัยที่ผ่านมาเนื่องจากเป็นช่วงของการที่ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรแสดงเอกลั ก ษณ์ ว่ า เป็ น มหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง การสร้ า งสรรค์ ตามปกติ ผ ลงาน สร้ า งสรรค์ ชิ้ น หนึ่ ง หรื อ ชุ ด หนึ่ ง นํ า เสนอหรื อ สื่ อ แสดงออกว่าเป็นงานวิจัย หรือจะให้เขียนเรียบเรียงเพื่อ แสดงกระบวนการสร้างสรรค์น้ันเป็นเรื่องที่ค่อนข้าง ยุ่งยากเล็กน้อยสําหรับอาจารย์ทางสายศิลปะอย่างเรา แต่เมื่อมีการเปิดโอกาส การขอรับโอกาสจึงเป็นเรื่องที่ ควรเข้าถึง การเรียบเรียงกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะ เริ่มจากการทําความเข้าใจกับตนเอง ว่าผลงาน สร้ า งสรรค์ ข องเรานั้ น มี ข้ั น ตอนและกระบวนการ อย่างไรที่สามารถเข้าสู่กระบวนการวิจัยที่ไม่ใช่เพียงแค่ การปฏิบัติงานสร้างสรรค์เฉยๆแล้วจบไป ดังนั้นการ ถ่า ยทอดกระบวนการคิด สร้ า งสรรค์ สู่ก ระบวนการ เขียนเพื่อถ่ายทอดจึงเกิดขึ้น ถ่ายทอดเป็นขั้นเป็นตอน อย่างมีเหตุมีผล และให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายที่สุด ที่ จะสามารถอธิบายผลงานสร้างสรรค์สักชิ้นหนึ่งที่เริ่ม ตั้ ง แต่ ก ารค้ น หาแรงบั น ดาลใจ การหาเทคนิ ค ที่ เหมาะสม การหาความลงตั ว ของการผสมผสานสิ่ ง ใหม่ๆให้เกิดขึ้นให้เป็นงานศิลปะ โดยที่ต้องอาศัยความ งามเป็นพื้นฐาน สิ่งต่างๆเหล่านี้ คือสิ่งที่ต้องอธิบายแก่ แหล่ ง ทุ น หรื อ ผู้ อ นุ มั ติ ทุ น เข้ า ใจในสิ่ ง ที่ เ ราต้ อ งการ ต้องสื่อให้เข้าใจได้ง่ายและชัดเจนที่สุด

ระหว่างทางของการดําเนินการวิจัยฉบับแรก ก็มีความคิดอยากทําวิจัยเรื่องใหม่ๆผุดขึ้นมา (หมายถึง เรื่องเก่ายังไม่เสร็จ และยังไม่ได้ส่งเล่มจริง ส่งเฉพาะ รายงานความก้าวหน้าที่มากพอสมควร) งบประมาณ ของปี พ.ศ.๒๕๕๓ ก็ปิดไปแล้ว จึงคิดอยากจะส่งเรื่อง ใหม่คือ เรื่อง “ศิลปะภาพทอมัดหมี่” ของบประมาณ ใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๕๔ และเมื่อผลประกาศออกมาว่า ได้รับทุนสนับสนุน ยิ่งกว่าดีใจคือ เครียดหนักกว่าเก่า อยากหั ว เราะให้ กั บ ความโลภของตนเองเสี ย จริ ง บทสรุ ป สุ ด ท้ า ยคื อ กว่ า งานวิ จั ย ฉบั บ แรกจะเสร็ จ สมบูรณ์เป็นรูปเล่มพร้อมนําส่งคืนแหล่งทุนได้ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่ ผ่ า นมานี่ เ อง และกํ า ลั ง เร่ ง ทํ า งานวิ จั ย ทุ น ปี พ.ศ.๒๕๕๔ อยู่ ณ ปัจจุบัน 4

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


อยากและคาดว่ า สานต่ อ เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความชั ด เจนใน ผลงานสร้ างสรรค์ ด้านศิ ลปะสิ่ งทอ กั บการวิ จัยด้าน วิทยาศาสตร์ และ/หรือการวิจัยเพื่อคิดค้น หาวัสดุเส้น ใยใหม่ๆสําหรับการทอต่อไป ๖. ความคาดหวังต่อการส่งเสริมและสนับสนุนการ ทํางานวิจัย จากมหาวิทยาลัยศิลปากร คาดหวังที่จะให้คณาจารย์และบุคลากรได้รับ การส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การทํ า วิ จั ย สร้ า งสรรค์ ทางด้านศิลปะมากขึ้น และต่อเนื่อง สร้างความเข้าใจที่ ชัดเจนด้านการเขียน เขียนงานสร้างสรรค์อย่างไรให้ได้ ทุนวิจัย เขียนกระบวนการวิจัยสร้างสรรค์อย่างไรให้ ผู้อนุมัติทุนเข้าใจตามที่ผ้วู ิจัยต้องการสื่อแสดงออก อีกทั้งเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันด้านศิลปะ ระหว่ า งผู้ นํ า เสนอเล่ ม งานวิ จั ย สร้างสรรค์ กั บ ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ขอเสนอให้ กํ า หนดรู ป แบบการพิ ม พ์ งานวิจัยสร้างสรรค์เฉพาะอย่างยิ่งบทที่ ๓-๕ ที่ต้อง นํ า เสนออะไร อย่ า งไร เนื่ อ งจากการนํ า เสนอเล่ ม ผลงานวิจัยสร้างสรรค์ที่ผ่านมาได้ยึดรูปแบบตามที่เคย ทํ า วิ ท ย า นิ พ น ธ์ อ า จ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง ต า ม แ บ บ ข อ ง ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ค าดหวั ง ถึ ง กระนั้ น ความที่ เ ป็ น ผู้ มี ประสบการณ์ไม่มากนัก ยังไม่มีความเป็นอัตบุคคล จึง น้ อ มรั บ ทุ ก ประเด็ น ด้ ว ยความเคารพ และก็ ไ ด้ แ ก้ ไ ข ตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนํา จนทําให้การนําเสนอเล่ม ผลงานมี ค วามลงตั ว ระหว่ า งผู้ วิ จั ย สร้ า งสรรค์ กั บ ผู้ทรงคุณวุฒิ

๓. ประสบการณ์การสร้างทีมวิจัย ยั ง ไม่ มี ป ระสบการณ์ ก ารสร้ า งที ม วิ จั ย เป็ น ผู้รับผิดชอบหรือหัวหน้าโครงการวิจัยเดี่ยว ๒ เรื่อง ดั ง ที่ ก ล่ า วมา แต่ มี ตั ว ช่ ว ยในเรื่ อ งการแสวงหา สารสนเทศ การอ้ า งอิ ง และการจั ด ทํ า เล่ ม จาก บรรณารั ก ษ์ ซึ่ ง ผ่ า นการทํ า วิ ท ยานิ พ นธ์ การทํ า วิ จั ย และการเขียนผลงานทางวิชาการ ๔. คณะมี เ วที วิ ช าการเสนอผลงานวิ จั ย ของ คณาจารย์ในคณะหรือไม่อย่างไร คณะมี ก ารส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ให้ ค ณาจารย์ นําเสนอบทความขนาดยาวของผลงานสร้างสรรค์เพื่อ ตี พิ ม พ์ ลงในสูจิ บัต รงานคณาจารย์ ค ณะมัณ ฑนศิ ล ป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรในปีพ.ศ.๒๕๕๕ เป็นต้นมา และ สนั บ สนุ น ให้ ค ณาจารย์ เ ขี ย นโครงการเพื่ อ ขอรั บ ทุ น สนับสนุนทุนงานวิจัยและสร้างสรรค์จากแหล่งทุนต่างๆ ๕. การทํ า งานวิ จั ย แบบบู ร ณาการกั บ สาขาวิ ช า อื่นๆ ทั้งในมหาวิทยาลัยศิลปากร และหน่วยงาน ภายนอก (ที่ผ่านมามีการดําเนินการหรือไม่ อนาคตมีความคิดเห็นอย่างไร) เคยสอบถามและขอข้อเสนอแนะจากอาจารย์ คณะวิชาอื่นที่คิดว่าสามารถทํางานร่วมกันได้ แต่เป็น เพียงการคุยกันและหาความเป็นไปได้ของการทํางาน เท่านั้น ยังไม่เกิดเป็นรูปเป็นร่างของงานวิจัยร่วม ซึ่ง 5

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


ประวัติและผลงาน

นางสาวประภากร สุคนธมณี ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๒ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๔๖ ศ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ ๒) (ประยุกตศิลปศึกษา) พ.ศ. ๒๕๔๘ ศ.ม. (ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผลงาน(บางส่วน) และรางวัล

ชื่อ-ชื่อสกุล สถานที่ทํางาน ตําแหน่ง ประวัติการศึกษา

๒๕๕๖

๒๕๕๕

๒๕๕๔

ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ ในการประชุมวิชาการและนําเสนอ ผลงานวิจัยสร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ “ศิลปากรวิจยั และสร้างสรรค์ ครั้งที่ ๖: บูรณาการศาสตร์ศิลป์” ในวันที่ ๑๖-๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา หนังสือ “มัด หมี่ ไหม” ร่วมแสดงนิทรรศการสาธิตศิลปกรรมเยาวชนอาเซียน ครั้งที่ ๖ ในวันที่ ๒๓-๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ หอศิลป์สนามจันทร์ รับทุนอุดหนุนการวิจยั เรื่อง “ศิลปะภาพทอมัดหมี”่ คณะกรรมการตัดสินการประกวดออกแบบลายผ้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ปรึกษาโครงการ Crafts and Education ร่วมแสดงงานและนําเสนอผลงานวิจัยในงานสัมมนาระดับนานาชาติ คณะศิลปะประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วันที่ ๙-๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ 6 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


๒๕๕๓

๒๕๕๒

รางวัลชนะเลิศอันดับ ๑ โครงการประกวดหัตถกรรมด้านสิ่งทอในกลุ่ม ยุวช่างหัตถศิลป์ ปี ๒๐๐๙ (ASEAN Awards 2009 for Young Artisans in Textiles) เรียบเรียงและนําเสนอผลงานวิจัยของ Ms. Adele Perry เรื่อง “Crafts and Sustainable Human Development” ในการประชุมระดับชาติว่าด้วยศิลปหัตถกรรมและ การศึกษาโครงการ Craft & Education ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ ศูนย์ส่งเสริม ศิลปาชีพระหว่างประเทศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รบั การคัดเลือกเป็นหนึง่ ในนักออกแบบสินค้าไลฟ์สไตล์ส่ตู ลาดโลกตามโครงการ พัฒนาฯ “Talent Thai 2010” กลุ่ม Talent Thai Now นักออกแบบ ในโครงการ “ASEAN DESIGN & CRAFTS SOURCING HUB” กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมแสดงนิทรรศการ “สาธิตศิลปกรรม วาดเส้นอุษาคเนย์ ครั้งที่ ๓” ระหว่างวันที่ ๕-๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม รับทุนอุดหนุนการวิจยั เรื่อง “การสร้างสรรค์งานทอมัดหมี่ร่วมสมัย” ร่วมแสดงนิทรรศการโครงการศิลปกรรมไทย-อเมริกา 2009 ภายใต้โครงการ แลกเปลีย่ นศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ณ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ และ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๓-๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ร่วมแสดงนิทรรศการวาดเส้นสาธิตศิลปกรรม ครั้งที่ ๒ ของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างวันที่ ๓-๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ ณ สํานักหอสมุดกลาง พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ร่วมแสดงงาน “Face & Flower” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

หมายเหตุ : ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร “วันศิลป์ พีระศรี” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ทุกปี) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙-ปัจจุบนั

7 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


จาก...ชุมชน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กับคนทํานาประเทศไทย สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยและพัฒนา

เมื่อเข้าพื้นที่ครั้งใดก็ได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกับพี่น้อง ในชุมชนหลากหลายเรื่อง บางเรื่องผมก็ได้เรียนรู้จากชุมชน บางครั้ ง ผมก็ มี ข้ อ มู ล ใหม่ ๆ ไปนํ า เสนอเพื่ อ จุ ด ประกาย ความคิ ด ให้ กั บ ผู้ ค นที่ ส นใจในการนํ า ไปสู่ แ นวทางการ ประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นวิ ถี ข องเขาเป็ น ทางเลื อ กที่ ชุ ม ชนจะเป็ น ผู้พิจารณาจะนําสาระจากข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับ ตนเองให้มากที่สุด ข่ า วการรวมตั ว กั น ของประเทศต่ า งๆ ในกลุ่ ม เอเชียตะวั นออกเฉียงใต้ เพื่อประโยชน์ในหลายๆด้าน ที่ สื่ อสารมวลชนแขนงต่ า งๆ นํ าเสนอข่ า วสารข้ อมูล อย่า ง ต่อเนื่องในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ทําให้ชุมชนได้รับทราบ ข้อมู ล ในเบื้องต้ นว่ าในต้ นปี พ.ศ.2558 ประเทศในกลุ่ม อาเซียนเขาจะรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน การไปมาหาสู่ระหว่างประเทศง่ายขึ้น ค้าขายกันสะดวกขึ้น ภาษี จ ะเสี ย น้ อ ยลงหรื อ ไม่ เ สี ย เลย เป็ น การสะท้ อ นจาก ชุมชนเกี่ยวกับ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” พอเป็น สังเขปยังไม่ลงในรายละเอียดเท่าใดนัก หากเจาะลึกเป็น รายประเด็ น เกี่ ย วกั บ สาระของ “ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซียน” อาจจะทําให้การพูดคุยไม่ออกรสเท่าที่ควร แต่ มีเรื่องหนึ่งที่ในวงสนทนาได้หยิบยกขึ้นมาไถ่ถามกัน คือ เรื่ อ ง ราคาข้ า ว ที่ เ วลานี้ ช าวนายั ง ได้ รั บ ประโยชน์ จ าก โครงการรับจํานําข้าวภาครัฐ หากเมื่อใดประเทศต่างๆ ใน อาเซียนหันมาทําข้อตกลงตามที่สื่อมวลชนเสนอมาแล้ว ราคาข้าวจะยังขายได้ราคาเหมือนในตอนนี้หรือเปล่า หรือ มันจะแย่ลง เป็นหัวข้อที่หลายๆ คนในวงสนทนาได้แสดง

ความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง บ้างก็ว่าถ้าจะแย่ลงแน่ เพราะเวลานี้เวี ยดนาม ก็ ทํานาได้ ข้ าวส่งออกได้ปริมาณ พอๆ กับไทยหรือในบางช่วงก็ได้มากกว่าด้วยซ้ํา ทั้งที่พื้นที่ การปลูกข้าวมีน้อยกว่าประเทศไทย ขณะเดียวกันภาครัฐ ของประเทศเวียดนามได้พัฒนาเทคนิค วิธีการเพาะปลู ก และพั ฒ นาพั น ธุ์ ข้ า วที่ ใ ห้ ผ ลผลิ ต สู ง อย่ า งเป็ น ระบบและ ต่อเนื่อง ต่างจากเมืองไทยการให้ความสําคัญน้อยกว่าใน การพัฒนาส่งเสริมเกษตรกรให้รู้จักและเข้าใจวิธีการทํานา ปลู ก ข้า วให้ ไ ด้ ผ ลผลิ ตสู ง ประหยัด ต้ นทุ น แต่ หั น ไปเน้ น ส่ ง เสริ ม การประกั น ราคา การผยุ ง ราคา หรื อ การจํ า นํ า ผลผลิ ต ซึ่ ง ขึ้ น อยู่ กั บ พรรคใดขึ้ น มาเป็ น รั ฐ บาลก็ จ ะเอา นโยบายต่างๆ เหล่านี้มาโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อเก็ บ คะแนนนิยมจากเกษตรกร เป็นการแก้ปัญหาของพี่ น้อง ชาวนาที่ปลายเหตุเกาไม่ถูกที่คัน มีแต่ผลเสียดังจะเห็นได้ ในปั จ จุ บั น ราคาขายส่ ง ออกสู ง กว่ า ประเทศที่ ผ ลิ ต ข้ า ว ส่งออกหลายประเทศ ทําให้ประเทศผู้ต้องการข้าวหันไป ซื้อจากประเทศอื่นๆ ไทยก็เสียตลาดข้าวไปทุกวัน ฝ่าย การเมืองภาคต่างๆ ทั้งฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแค้น ต่าง ผสมโรงจิกตีกันหาสาระประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองน้อย มาก ไม่ ไ ด้ ใ ห้ ค วามสํ า คั ญ กั บ เกษตรกรอย่ า งประเทศ เพื่อนบ้านที่เขากระทํากัน เป็นประเด็นที่พี่น้องในชุมชนที่ ผมมีโอกาสพูดคุยด้วยบอกกล่าวมา

8 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


ข้าวได้วางกลยุทธ์ตั้งบริษัทข้าวครบวงจร หรือ CAVIFOOD โดยเริ่มตั้งแต่ปลูกข้าว จนถึงส่งออกข้าว และหันมาจับมือ กับประเทศพม่าในการร่วมมือตั้งคลังข้าวร่วมกัน รวมถึง การจับมือกับประเทศกัมพูชาด้วยในการร่วมมือระหว่าง 3 ประเทศที่มีการปลูกข้าวจํานวนมาก จะส่งผลให้เกิดความ แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น อาทิ เมื่อประเทศเวียดนามมีข้าวไม่พอ ในการส่งออกก็จะนําข้าวของกัมพูชามาขายในนามบริษัท ของเวียดนาม เป็นการทําธุรกิจแบบ WIN-WIN ขณะที่ ประเทศในกลุ่มอาเซียนหลายประเทศหันมาปลูกข้าวเพื่อ รั บ ประทานในประเทศมากขึ้ น หรื อ บางประเทศมี ข้ อ กํ า หนดในการนํ า เข้ า ข้ า ว อาทิ ประเทศอิ น โดนี เ ซี ย ส่งเสริมให้ one day one rice, กําหนดให้นําเข้าข้าวก่อน ถึงฤดูเก็บเกี่ยวในประเทศ 1 เดือน ฯลฯ เมื่อดูจากนโยบาย ก็จะคล้ายเป็นการลดการนําเข้าข้าวทางอ้อมอย่างไรก็ดี แม้ ข้าวหอมมะลิของไทยจะยังถือว่าเป็นจุดแข็ง และยังครอง ตลาดอยู่ ใ นขณะนี้ แต่ ก็ ไ ม่ อ าจนิ่ ง นอนใจได้ เนื่ อ งจาก รัฐบาลเวียดนามได้มีแนวทางในการส่งเสริม พัฒนาพันธุ์ ข้าวอย่างจริงจัง ปัจจุบันพบว่าข้าวคุณภาพของเวียดนามมี ขนาดเม็ ด ข้ า วที่ ใ กล้ เ คี ย งกั บ ข้ า วหอมมะลิ ข องไทยแล้ ว เพียงแค่ความหอมยังสู้ข้าวหอมมะลิไทยไม่ได้เท่านั้นเมื่อ มองด้ านราคา พบว่ า ราคาที่ต่า งกันมากก็ อ าจทําให้ข้า ว คุณภาพของเวียดนามแย้งตลาดบางส่วนของไทยไปได้แล้ว อาทิ ภัตตาคารบางแห่งของฮ่องกงก็หันไปใช้ข้าวคุณภาพ ของเวียดนามแทนข้าวหอมมะลิของไทย ส่วนบางพื้นที่ใน ประเทศกัมพูชาก็สามารถปลูกข้าวหอมมะลิได้คล้ายคลึง กับประเทศไทยมาก เพียงแต่มีพื้นที่ที่เหมาะสมไม่มากเท่า ประเทศไทย “ปัจจัยด้านราคามีบทบาทสําคัญในการเลือก ซื้อข้าวของตลาดอาเซียน รองลงมาคือด้านคุณภาพ อย่าง ข้ า วขาวของไทยเสี ย แชมป์ ก ารส่ ง ออกในอาเซี ย นให้ เวียดนามมาแล้ว 7-8 ปี หรือตั้งแต่ปี 2547 ทั้งนี้หากข้าว หอมมะลิราคาแตกต่างกับข้าวคุณภาพของเวียดนามมาก หรือคุณภาพเริ่มสูสีกันก็จะเป็นแรงจูงใจให้เสียตลาดมาก ยิ่งขึ้น ซึ่งข้าวหอมมะลิไทยอยู่ที่ประมาณ 1,100 เหรียญ สหรั ฐ ต่ อ ตั น ข้ า วคุ ณ ภาพเวี ย ดนามอยู่ ที่ ป ระมาณ 700 เหรียญสหรัฐต่อตัน” หากโครงการดังกล่าวสําเร็จเมื่อใดก็ บอกได้คําเดียวว่าชาวนาไทยแย่แน่ๆ หากประเทศไทยยัง ไม่ ป รั บ ตั ว หามาตรการรองรั บ ปั ญ หาต่ า งๆ ในภาค การเกษตรโดยเฉพาะพืชหลักอย่างข้าว ย่อมส่งผลกระทบ ต่อชาวนาอย่างรุนแรงในอนาคต

ข้อตกลงเรื่องข้าวในอาเซียน จากข้อตกลงทางการค้าของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนได้กําหนดให้ประเทศในอาเซียนเดิม ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไน ต้อง ลดภาษี สิ น ค้ า ข้ า วเป็ น ศู น ย์ นั บ ตั้ ง แต่ วั น ที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป และกําหนดให้ประเทศ เขมร เวียดนาม ลาว และพม่ า ที่ ไ ด้ เ ข้ า มารวมกั บ ประชาคมอาเซี ย นใน ภายหลัง ต้องลดภาษีสินค้าข้าวเป็นศูนย์ในปี 2558 จะ เห็นได้ว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่มอาเซียนเดิม 6 ประเทศได้เริ่ม ดําเนินการลดภาษีเกี่ยวกับสินค้าข้าวเป็น 0 มาเป็นเวลา 2 ปี เ ศษแล้ ว และในอี ก 2 ปี ข้ า งหน้ า สมาชิ ก ใหม่ อี ก 4 ประเทศก็จะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันเกี่ยวกับภาษีสินค้าข้าว ซึ่ ง จากข้ อ ตกลงเกี ย วกั บ สิ น ค้ า ข้ า วภายในประชาคม อาเซี ยนเป็นเช่นนี้แล้ว รัฐบาลจะยังคงนโยบายเกี่ยวกับ ข้าวภายในประเทศเช่นที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เกษตรกรทํานาย่อมได้รับผลกระทบเรื่องราคาแน่ๆ เวลานี้ ต้นทุนการทํานาของพี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศ ยังมีต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ย เคมีเกษตรต่างๆ มีราคาสูงขึ้นทุกปี ทิศทางการส่งเสริม จากภาครัฐในเรื่องเทคนิควิธีการผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูง ต้นทุนต่ําก็ยังไม่ชัดเจนเดี๋ยวทําเดี๋ยวเลิก เช่นโครงการผลิต ปุ๋ยอิ น ทรีย์ใ ช้ เองในชุมชน 1 โรงปุ๋ ย 1ตํ าบล เวลานี้มีแ ต่ โรงเรือนและเครื่องมือต่างๆ ขึ้นสนิม รอเวลาผุพัง เห็นแล้ว อดเสียดายเงินภาษีที่จ่ายให้รัฐไม่ได้ บางชุมชนลงทุนสร้าง อาคาร ซื้อเครื่องมือ ซื้ออุปกรณ์การผลิตราคาหลายล้าน บาทถูกทิ้งร้างอย่างน่าใจหาย คู่แข่งประเทศค้าข้าวไทย ‘เวียดนาม-พม่า-กัมพูชา’ ประเทศเวียดนามคู่แข่งรายสําคัญที่ขณะนี้มีราคา ข้าวที่ถูกกว่าไทยในทุกตัว และได้เปรียบด้านต้นทุนที่ต่ํา กว่าไทย ภาครัฐให้การสนับสนุนในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ 9

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


งานวิจัย

การแยกเชื้อแบคทีเรียโปรไบโอติกส์จากช่องจมูกลูกสุกร Isolation of Probiotic Bacteria from Nostril of Piglets อาจารย สัตวแพทยหญิง ดร.จารุณี เกษรพิกุล อาจารย นายสัตวแพทยสุรวัฒน ชลอสันติสกุล คณะสัตวศาสตรและเทคโนโลยีการเกษตร

isolated with none catalase production, tolerated to 0.3% and 0.5% bile salt, utilized starch, protein and lipid, grown in pH 2.0 – 9.0, inhibited the growth of pathogenic bacteria as Salmonella typhymurium, Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Streptococcus agalactiae and Pasteurella multocida. These bacterials were classified sequencing of 16S rRNA gene and found the isolate was Enterococcus italicus.

บทคัดย่อ ปั จ จุ บั น มี ก ารนํ า แบคที เ รี ย โปรไบโอติ ก ส์ ม าใช้ ทดแทนสารปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เป็น จํานวนมาก การศึ กษานี้ มีวัตถุประสงค์ใ นการแยกและ คัดเลือกแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติเป็นโปรไบโอติกส์ ที่แยก ได้ จ ากช่ อ งจมู ก ลู ก สุ ก รจํ า นวน 110 ตั ว พบว่ า เชื้ อ แบคทีเรียจํานวน 1 ไอโซเลท เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ไม่ ผลิตเอนไซม์คาตาเลส มีความสามารถในการทนเกลือน้ําดี 0.3% และ 0.5% มีความสามารถในการย่อยแป้ง โปรตีน และไขมัน ทนต่อสภาพความเป็นกรด-ด่างที่ pH 2.0-9.0 มีความสามารถต้านทานต่อสารปฏิชีวนะได้ สามารถยับยั้ง การเจริญของเชื้อก่อโรค Salmonella typhymurium, Escherichia coli, Staphylococcus aureus Streptococcus agalactiae และ Pasteurella multocida ได้ เมื่อนําเชื้อดังกล่าวไปจัดจําแนกสายพันธุ์ โดยใช้เทคนิคชีววิทยาโมเลกุลในการเปรียบเทียบลําดับ เบสของยีน 16S rRNA พบว่าเป็นเชื้อ Enterococcus italicus

Keywords : Probiotic bacteria, Biochemical properties, piglets บทนํา จุ ลิ น ทรี ย์ โ ปรไบโอติ ก ส์ คื อ จุ ลิ น ทรี ย์ ก ลุ่ ม ดี มี ประโยนช์ ส่งเสริมการมีชีวิตที่สมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต และ เป็นอาหารเสริมที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต ซึ่งจะ ไปปรับความสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร (Fuller, 1989; อ้างใน รุจา, 2544) ซึ่งตรงกันข้ามกับ คําว่า สารปฏิชีวนะ (Antibiotics) ที่เป็นการทําลายและ ต่อต้านสิ่งมีชีวิต จุลินทรีย์โปรไบโอติกส์หลายชนิดที่มีอยู่ ในลําไส้ของสัตว์ ช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ โดยจะไป ควบคุมปริมาณของเชื้อโรคจนเชื้อโรคไม่สามารถก่อโรคได้ ดังนั้นแบคทีเรียที่ใช้เป็นโปรไบโอติกส์ต้องมีคุณสมบัติของ การเป็นโปรไบโอติกส์ เช่น เป็นแบคทีเรียที่ไม่ทําให้เกิด โรค สามารถสร้างกรดแลคติคได้ สามารถทนกรดและน้ําดี ได้ สามารถผลิ ต สารต้ า นจุ ล ชี พ ได้ และเพิ่ ม จํ า นวนได้ (Nousiainen and Satala, 1998; อ้างใน ไพรัตน์, 2549)

คําสําคัญ : แบคทีเรียโปรไบโอติกส์, คุณสมบัติทางชีวเคมี และลูกสุกร Abstract Recently, probiotic bacteria are widely used substitute for antibiotics in the animal industry. The objective of this study was to select bacteria probiotics from nostril of piglets. From 110 piglets, found 1 Gram-positive bacteria 10

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


ย่อยโปรตีน ไขมัน และแป้งตามวิธีของ Michael and Pelezar (1995) ทดสอบความสามารถความทนต่อกรดด่างตามวิธีของ Jin et al. (1998) ทดสอบความไวของ เชื้อต่อสารปฏิชีวนะ (Susceptibility Antibiotic Disc) โดยวิธีการกระจายตัวบนจานเพาะเชื้อแบคทีเรีย (Agar Disc Diffution Method) ตามวิธีของ รุจา (2544) ทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคบนอาหารแข็งด้วย วิธีจุดลงบนอาหารเพาะเชื้อแบคทีเรีย (Agar Spot Diffution Medhod) ตามวิธีของ Spelhaug and Harlander (1989) และทดสอบการเลี้ยงแบคทีเรียใน อุณหภูมิที่เหมาะสม ตามวิธีของ งามนิจ (2550)

ใ น ร ะ ย ะ ห ล า ย ปี ที่ ผ่ า น ม า จ น ถึ ง ปั จ จุ บั น นักวิจัยไทยได้เริ่มให้ความสนใจศึกษาถึงการนําโปรไบโอ ติกส์มาใช้เลี้ยงสัตว์รวมถึงแนวทางการคัดเลือกจุลินทรีย์ โปรไบโอติกส์อีกด้วย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลหลักที่สําคัญคือลด หรือทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นที่ ทราบกันดีว่าการใช้ยาปฏิชีวนะดังกล่าวอาจมีผลตกค้างใน เนื้ อ สั ต ว์ แ ละเป็ น ผลเสี ย ต่ อ ผู้ บ ริ โ ภค และเหตุ ผ ลอี ก ประการหนึ่งคือ จุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ที่นํามาใช้ส่วนใหญ่ ยังมาจากผลิตภัณฑ์ที่ นําเข้าและการใช้ ยังไม่แพร่หลาย (เกรียงศักดิ์ พูนสุข, 2545) มีรายงานการศึกษาของ นักวิจัยเหล่านี้ถึงการนําโปรไบโอติกส์มาใช้เลี้ยงสัตว์โดย ได้จากจุลินทรีย์ที่คัดเลือกได้ เช่น การเลี้ยงกุ้ง (วลัยพร, 2544; ศิริรัตน์ และคณะ, 2548;) การเลี้ยงไก่เนื้อ (จิรศักดิ์ และเกรียงศักดิ์, 2545; สุนีย์ และคณะ 2548; ศิริรัตน์ และคณะ, 2540; ศิริรัตน์, 2542) และการเลี้ยงโค (สุรีรักษณ์, 2545) และจากผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์ เช่น การเพิ่ ม สมรรถนะการผลิ ต ในพ่ อ แม่ พั น ธุ์ ไ ก่ เ นื้ อ (เยาวมาลย์ และคณะ, 2537) การเพิ่มภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อ (เชิดชัย และคณะ, 2539) และเพิ่มการเจริญเติบโตในสุกร (นวลจันทร์ และ อุทัย, 2533) เป็นต้น

ผลการทดลอง พบเชื้อแบคทีเรียจํานวน 1 ไอโซเลทเป็นแบคทีเรีย แกรมบวก ไม่ผลิตเอนไซม์คาตาเลส มีความสามารถใน การทนเกลือน้ําดี 0.3% มีความสามารถในการย่อยแป้ง โปรตีน และไขมัน ทนต่อสภาพความเป็นกรด-ด่างที่ pH 3.0-10 มีความสามารถต้านทานต่อสารปฏิชีวนะได้ สามารถยั บ ยั้ ง การเจริ ญ ของเชื้ อ ก่ อ โรค Salmonella typhymurium, Escherichia coli, Staphylococcus aureus Streptococcus agalactiae และ Pasteurella multocida ได้ เมื่อนําเชื้อดังกล่าวไปจัด จํ า แนกสายพั น ธุ์ โ ดยใช้ เ ทคนิ ค ชี ว วิ ท ยาโมเลกุ ล ในการ เปรียบเทียบลําดับเบสของยีน 16S rRNA พบว่าเป็นเชื้อ Enterococcus italicus

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อแยกเชื้อแบคทีเรียโปรไบโอติกส์จากช่องจมูก ลูกสุกร 2. เพื่อทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมีของแบคทีเรีย โปรไบโอติกส์ที่คัดเลือกได้ และสามารถยับยั้งเชื้อ แบคทีเรียก่อโรคทางหายใจ

วิจารณ์และสรุปผลการทดลอง ในการแยกเชื้อที่คาดว่าเป็นแบคทีเรียโปรไบโอติกส์ ได้ในครั้งนี้ เป็นการใช้การทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ของ โปรไบโอติกส์ร่วมกัน ได้แก่ การคัดเลือกแบคทีเรียที่ติดสี แกรมบวก และทดสอบความสามารถในการสร้างเอนไซม์ คาตาเลสให้ ผ ลลบ ความสามารถการทนต่ อ เกลื อ น้ํ า ดี ความสามารถในการย่ อ ยแป้ ง โปรตี น และไขมั น ความสามารถในการทนกรด-ด่ า ง ความไวของเชื้ อ ต่ อ สารปฏิชีวนะ ความสามารถต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ก่อโรค ความสามารถในการเจริญในอุณหภูมิที่เหมาะสม และความสามารถในการเจริ ญ เติ บ โตของแบคที เ รี ย ที่คัดเลือกได้ ถึงแม้จะเป็นการคัดเลือกแบคทีเรียจากช่อง

วิธีการทดลอง ทํ า การเก็ บ ตั ว อย่ า งจากช่ อ งจมู ก สุ ก ร โดยวิ ธี Nasal swap รวมทั้งหมด 110 ตัวอย่าง จากนั้นทําการ เพาะเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้ตามวิธี ISO-15214 (1998) แยกเชื้อแบคทีเรียแลคติคตามวิธีของ Axelsson (1993) ย้อ มสี แ กรมตามวิธีข อง Hans Christian Joachim Gram (1884) ทดสอบกิจกรรมของเอนไซม์ คาตาเลส (Catalase Test) ตามวิธีของไพรัตน์ (2549) ทดสอบความสามารถการทนต่ อ เกลื อ น้ํ า ดี ต ามวี ธี ข อง Conway et al. (1987) ทดสอบความสามารถในการ 11

จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


จมูกลูกสุกรซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร แต่คณะผู้วิจัยเล็งเห็นผลว่าในอนาคตอาจพัฒนาเป็นโปรไบโอติกส์ชนิด ผสมอาหารได้ ดังนั้น เมื่อพิจารณาคุณสมบัติต่างๆ ร่วมกัน สามารถแยกไอโซเลท P2-23 เมื่อนํามาจัดจําแนกสายพันธุ์โดยใช้ เทคนิค ชี ววิ ท ยาโมเลกุ ล ในการเปรี ย บเที ย บลํ า ดับ เบสของยี น 16S rRNA พบว่ า แบคที เรี ย ที่ คั ด เลื อ กได้ เ ป็น เชื้ อ Enterococcus italicus Fortina et al. (2008) ได้ทําการสํารวจหาความปลอดภัยของ Enterococcus italicus ซึ่งแยกได้จากผลิตภัณฑ์นม พบว่ามีความปลอดภัย มีความเสี่ยงต่อสุขภาพต่ํา ดังนั้น สรุปได้ว่าเชื้อ Enterococcus italicus น่าจะสามารถเป็นแบคทีเรีย โปรไบโอติกส์ได้ เอกสารอ้างอิง เกรียงศักดิ์ พูนสุข. 2545. ประมวลการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพในการเลี้ยงสัตว์. ประมวลรายงานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมไทย. วันที่ 23-24 พฤษภาคม 2545 ณ. โรงแรมริมปาว อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ หน้า 231-245. งามนิจ นนทโส. มปป. การแยกเชื้อแบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติคและการบ่งชี้แบคทีเรียกรดแลคติค. แหล่งที่มา : ilti.kku.ac.th/ams/course57/317316/pdf/317316/14isolation_and_identification_of_lactic_acid_bact eria.pdf - , 13 ธันวาคม 2550. จิรศักดิ์ ศรีเมฆารัตน์ และ เกรียงศักดิ์ พูนสุข. 2545. ผลของโปรไบโอติก (Biolac) ต่อการเพิ่มผลผลิตไก่กระทง. ประมวล รายงานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมไทย. วันที่ 23-24 พฤษภาคม 2545 ณ. โรงแรมริมปาว อ.เมือง จ. กาฬสินธุ์ หน้า 31-35. เชิดชัย รัตนเศรษฐากุล วราภรณ์ ศุกลพงศ์ กัลยา เจือจันทร์ และ ประสาทพร บริสุทธิ์เพ็ชร. 2539. ผลของโปรไบโอติก บาซิลลัส โตโยอิ ต่อการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคและการเร่งการเจริญเติบโตในไก่เนื้อ. รายงานการวิจัย ทุนอุดหนุนการวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีงบประมาณ 2539. นวลจันทร์ พารักษา. 2533. สาระน่ารู้เกี่ยวกับโพรไบโอติก. ว.สุกรสาส์น. 16 (63) : 5-8. นวลจันทร์ พารักษา และ อุทัย คันโธ. 2533. ผลของการเสริมส่วนผสมจุลนิ ทรีย์ประเภทโพรไบโอติกและกลุ่มเอนไซม์ใน อาหารลูกสุกรอย่านม. รายงานการประชุมทางวิชาการสาขาสัตว์ ครั้งที่ 28 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. ไพรัตน์ ศรแผลง.2549. แลคติคแอสิดแบคทีเรียที่แยกได้จากมูลไก่พื้นเมือง. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย 40002. เยาวมาลย์ ค้าเจริญ เชิดชัย รัตนเศรษฐากุล และ วราภรณ์ ศุกลพงศ์. 2537. ประสิทธิภาพของโปรไบโอติก บาซิลลัส โตโยอิ ในอาหารพ่อแม่พันธุ์ไก่เนื้อต่อสมรรถนะในการผลิตและการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข. 4(2) : 107-114. รุจา มาลัยพวง. 2544. การผลิตโปรไบโอติคสําหรับอาหารไก่จากแบคทีเรียกรดแลคติคของไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. วลัยพร ทิมบุญธรรม. 2544. การคัดเลือกจุลินทรีย์ทมี่ ีคณ ุ สมบัติเป็นโปรไบโอติกในการเลี้ยงกุ้งกร้ามกราม. วิทยานิพนธ์วิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์. 2542. เปรียบเทียบการให้โพรไบโอติกในการเลี้ยงไก่. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานผลการวิจัย. ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ ฐิติพงศ์ ธนะรัชติการนนท์ และ ปัญชลี ประคองศิลป์. 2540. การใช้แลคติกแอสิดแบคทีเรียเป็น โพรไบโอติกเพื่อเสริมในอาหารไก่. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. 12 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


ศิริรัตน์ ศรีหานาท สมคิด แข็งกลาง ลือชัย ยุตคุป และ วิชัย ลีลาวัชรมาศ. 2548. การยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรคในกุ้ง ด้วยจุลินทรีย์ทแี่ ยกได้จากลําไส้กุ้งก้ามกราม. สงขลานครินทร์ วทท. 27 (ฉบับเสริม) : 265-274. สุรีลักษณ์ รอดทอง. 2545. การอยู่รอดของแลคโตแบซิลไลจากหญ้าหมักในทางเดินอาหารของโค. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี. รายงานผลการวิจัย. อุทัย คันโธ. 2535. หลักการโปรไบโอติกเชิงอาหารสัตว์. ว.สุกรสาส์น 18, 72 (เมย. – มิย.), 11-16. อุทุมพร กุลวงศ์ นัฐพร เปลี่ยนสมัย อาภัสสร อ้นวิเศษ วิชัย ก่อประดิษฐ์สกุล จารุณี เกษรพิกุล และ สุรวัฒน์ ชลอสันติสกุล. 2553. การแยกเชื้อและคุณสมบัติทางชีวเคมีของแบคทีเรียโปรไบโอติกส์ที่แยกได้ จากสัตว์ปีก. วารสารคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม พ.ศ.2553 Axelsson, L. T. 1993. Lactic acid Bacteria : classification and physiology. In Lactic Acid Bacteria. (ed. salminen, S. and Wright,A. V.) New York : Marcel Dekker. Pp. 1-64. Conway, P. L., Corback, S. L. and Goldin. B. R. 1987. Survival of lactic acid bacteria in the humanstomach and adhesion to intestinal cell. J. Dairy Science. 70 : 1-12. Fortina, M.G., G.Ricci, F.Borgo, P.L.Manachini, K.Arends, K.Schiwon, M.Y.Abajy, E.Grohmann. 2008. A survey on biotechnological potential and safety of the novel Enterococcus species of dairy origin, E.italicus. International Journal of Food Microbiology. 123: 204 – 211. Fuller, R. 1989. Probiotic in man and animal. J. App. Bacteriol. 66 : 365-378. Hans Christian Joachim Gram. 1884. ผู้คิดค้นการย้อมแกรมแสตน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http//www.geocities.com/burawatt/September/sep13.html, (วันที่ค้นข้อมูล: 6 พฤศจิกายน 2552) Jin, L. Z., Y. W. Ho, N. Abdullah, N. A. Ali and S. Jalaludin. 1998. Effects of adherent Lactobacillus cultures on growth, weight of organs and intestinal microflora and volatile fatty acids in broilers. Animal Feed Science and Technology. 70 : 197-209. Michael, J. and Pelezar, J. 1995. Hydrolysis of polysaccharide protein and lipid. In laboratoryexercises in microbiology. New York : MC Graw Hill. Pp. 126-188. Nousiainen, J and J. Setala. 1998. Lactic acid bacteria as animal probiotics, pp. 431473. In S. Salminen and A. von Wrigh (eds). Lactic acid Bacteria.2nded., Mercel Dekker Inc., New York. Spelhaug, S. R. and Harlander. S. K. 1989. Inhibition of foodborne bacterial pathogens by bacteriocins from Lactobacillus lactis and Pediococcus pentasacous. J. Food Prot. 52:856-862.

13 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


ขาวสารความเคลื่อนไหว สรุปผลการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ ระดับชาติและนานาชาติ “ศิลปากรวิจัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 6 : บูรณาการศาสตร์และศิลป์” สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรร่ ว มกั บ เครื อ ข่ า ยวิ จั ย อุ ด มศึ ก ษาภาคกลางตอนล่ า ง สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ดําเนินการจั ดการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยและ สร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ “ศิลปากรวิจัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 6 : บูรณาการศาสตร์และศิลป์” ระหว่าง วั น ที่ 16-18 มกราคม 2556 ณ ศู น ย์ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมเฉลิ ม พระเกี ย รติ 6 รอบพระชนมพรรษา และ หอศิ ล ป์ สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม โดยมีรายละเอียดดังนี้ การดําเนินงาน 1. การบรรยายพิเศษ จํานวน 2. การอบรมเชิงปฏิบัติการ จํานวน 3. การนําเสนอผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ จํานวน จํานวน • ภาคบรรยาย จํานวน • ภาคโปสเตอร์ จํานวน • ผลงานสร้างสรรค์ 4. นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของศิลปิน จํานวน ไทยและต่างประเทศ 5. การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งจากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย โรงเรียนราชินีบูรณะ โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย ผู้เข้าร่วมการประชุมรวมทัง้ สิ้นจํานวน 1,068 คน 1. ผู้นําเสนอผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ จํานวน 2. ผู้บริหาร จํานวน 3. วิทยากร/ผู้ดําเนินรายการ/พิธีกร จํานวน 4. ศิลปินไทยและต่างประเทศ จํานวน 5. คณะอนุกรรมการดําเนินงาน/เจ้าหน้าที่ จํานวน 6. ผู้สนใจทั่วไป จํานวน

15 2 74 37 34 3 21

เรื่อง เรื่อง เรื่อง เรื่อง เรื่อง เรื่อง เรื่อง

3

วง

74 11 23 19 46 895

คน คน คน คน คน คน

14 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


วันพุธที่ 16 มกราคม 2556 การบรรยายพิเศษ เรื่อง “งานสร้างสรรค์ : ปัจจัยหลักทางด้านวิชาการเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ ทางด้านศิลปะ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรรเสริญ มิลนิ ทสูต ประธานสภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย เวลา 13.20 – 14.10 น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์

การบรรยายพิเศษ เรื่อง “พิพิธภัณฑ์ชีวิต II ตอนนาฬิกาทราย” โดย รองศาสตราจารย์กมล เผ่าสวัสดิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 14.10 – 14.40 น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์

15 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


การบรรยายพิเศษ เรื่อง “เกมเพื่อการเรียนรู้ เรื่องตารางธาตุ (Game – based Learning : Periodic Table)” โดย อาจารย์จักรพันธ์ เชาว์ปรีชา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เวลา 14.40 – 15.10 น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์

การบรรยายพิเศษ เรื่อง “มิติของงานสิ่งทอ การทับซ้อนของเส้นใย” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ําฝน ไล่สัตรูไกล คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เวลา 15.10 – 15.40 น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์

16 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


การบรรยายพิเศษ เรื่อง “การตีความบทเพลง Suite Persane ประพันธ์โดย Andre Caplet” โดย อาจารย์ดําริห์ บรรณวิทยกิจ คณบดีคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เวลา 15.40 – 16.10 น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์

การบรรยายพิเศษ เรื่อง “การจัดสรรทุนสร้างสรรค์โดยสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ” โดย ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ เวลา 16.10 – 16.30 น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์

17 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง มอบผลงานภาพพิมพ์ เพื่อระดมทุนสร้างสรรค์ 69 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร เวลา 16.30 น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์

พิธีเปิดการประชุมวิชาการฯ และการเปิดตัวทุนสร้างสรรค์ 69 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร เวลา 17.00 – 18.00 น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์

18 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งจากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย โรงเรียนราชินีบูรณะ และโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย เวลา 19.00 – 21.00 น. ณ เวทีการแสดงหน้าศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผา และภาพพิมพ์” วันที่ 16-17 มกราคม 2556 ณ หอศิลป์สนามจันทร์

19 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม 2556 การบรรยายพิเศษเรื่อง “โอกาสของศิลปากรในการเข้าสูป่ ระชาคมอาเซียน” โดย นายภราเดช พยัฆวิเชียร กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยศิลปากร เวลา 09.30 – 10.20 น. ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ

การบรรยายพิเศษเรื่อง “ประเทศไทยกับ ASCC ในมิติทางวัฒนธรรม” โดย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจํา และอดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เวลา 10.20 – 11.10 น. ณ ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ

20 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับธุรกิจการส่งออกของไทย” โดย นายสุวรรณ คงขุนเทียน กรรมการผูจ้ ดั การบริษัท โยธกา อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด เวลา 11.10 – 12.00 น. ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ

การนําเสนอผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ ภาคบรรยาย กลุม่ สาขาวิชาศิลปะและศิลปประยุกต์, กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์, กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เวลา 13.30 – 17.00 น.

21 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2556 การบรรยายพิเศษ เรื่อง “การอนุรักษ์งานศิลปกรรมและโบราณสถานในประเทศไทย” โดย นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร เวลา 09.30 – 10.10 น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์

การบรรยายพิเศษ เรื่อง “แนวความคิดและตัวอย่างการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีเพื่อประโยชน์ของ ชุมชมท้องถิ่น” โดย รองศาสตราจารย์สุรพล นาถะพินธุ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เวลา 10.10 – 10.40 น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์

22 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


การบรรยายพิเศษ เรื่อง “การคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังเพือ่ การอนุรักษ์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิชัย ภิรมย์รักษ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เวลา 10.40 – 11.10 น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์

การบรรยายพิเศษ เรื่อง “วิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์ศิลป์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชฎา บุญเต็ม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เวลา 11.10 – 11.40 น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์

23 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


การบรรยายพิเศษเรื่อง “การพัฒนางานอนุรักษ์ศิลปะภายในหอศิลป์” โดย นายสุชา ศิลปชัยศรี นายช่าง (นักวิชาการช่างศิลป์) หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เวลา 11.40 – 12.00 น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์

นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ โดยศิลปินไทย และต่างชาติ

24 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ โดยศิลปินไทย และต่างชาติ

25 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


นิทรรศการผลงานวิจัย ภาคโปสเตอร์

ผลงานของคณาจารย์ที่ได้รบั รางวัล

26 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


สถาบันวิจัยและพัฒนาทําบุญขึ้นปีใหม่ 2556

. สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นาได้ ทํ า บุ ญ ขึ้ น ปี ใ หม่ 2556 เมื่ อ วั น ที่ 3 มกราคม 2556 เวลา 10.00 น. โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช รักษาราชการแทนอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.คณิต เขียววิชัย รักษาราชการแทนรองอธิการบดีพระราชวังสนามจันทร์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ คณบดีคณะอัษรศาสตร์ รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย คณะกรรมการประจําสถาบันวิจัยและพัฒนา หัวหน้าหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ และบุคลากรของสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมทําบุญขึ้นปีใหม่ ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา

27 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและกองแผนงานประชุมหารือร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทํางบประมาณ ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ประเทศและมหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช รักษาราชการแทนอธิการบดี อาจารย์ปัญจพล เหล่าพูนพัฒน์ รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา อาจารย์ ดร.นนท์ บุญค้ําชู รักษาราชการแทนผู้ช่วย รองอธิ ก ารบดี ฝ่ า ยวางแผนและพั ฒ นา บุ ค ลากรกองแผนงาน ร่ ว มกั บ ผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์ ดร.อริ ศ ร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมประชุมหารือเพื่อ เตรียมความพร้อมในการจัดทํางบประมาณให้สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ประเทศและมหาวิทยาลัย เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2556 เวลา 10.30-14.00 น. ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา

28 จุลสารสถาบันวิจยั และพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2556


สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร นครปฐม 73000 e-mail: research.inst54@gmail.com , http://www.surdi.su.ac.th โทรศัพท 0-3425-5808 โทรสาร 0-3421-9013


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.